url
stringlengths
30
33
date
stringlengths
16
16
title
stringlengths
5
170
body_text
stringlengths
318
201k
politics
class label
2 classes
human_rights
class label
2 classes
quality_of_life
class label
2 classes
international
class label
2 classes
social
class label
2 classes
environment
class label
2 classes
economics
class label
2 classes
culture
class label
2 classes
labor
class label
2 classes
national_security
class label
2 classes
ict
class label
2 classes
education
class label
2 classes
https://prachatai.com/print/20773
2009-04-12 02:43
บุญยอดอ้างม็อบ นปช. ขัดต่อประเพณีอันดีของคนไทย เพราะไม่ยอมเลิกช่วงสงกรานต์
ในเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นข่าวหัวข้อ "บุญยอดถามเสื้อแดงคนไทยหรือเปล่า [1]" ระบุว่า นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการชุมนุมในขณะนี้ซึ่งเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์แล้วว่าควรจะยุติได้แล้วเพราะขัดต่อวิถีชีวิตและการรักษาประเพณีอันดีของคนไทย   นายบุญยอด กล่าวต่อไปว่า เอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยซึ่งสืบทอดมาเป็นเวลานาน และได้รับการยอมรับไปทั่วโลกนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกันอย่างไม่น่าให้อภัยคือ   1. การเป็นเจ้าบ้านที่ดี แขกไปใครมาต้องต้อนรับ จะเห็นได้ว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมไปประท้วงที่พัทยา ในการประชุมอาเซียน ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยผู้เข้าร่วมประชุมล้วนเป็นผู้นำคนสำคัญ ซึ่งต้องถือเป็นแขกบ้านแขกเมืองคนสำคัญ ทำให้เสียภาพพจน์ของประเทศ   2. ความเป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสุภาพอ่อนน้อม อันเป็นลักษณะเด่นของสยามเมืองยิ้ม กลุ่มผู้ชุมนุมทำลายเสียสิ้นโดยการใช้ความรุนแรง ใช้คำหยาบคาย และใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย   3. การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ในเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย เป็นวันแห่งการทำบุญ เข้าวัด ทำจิตใจให้สงบ เป็นเทศกาลแห่งการรื่นเริง กลุ่มผู้ชุมนุมกลับมีแต่ความโกรธ ความอาฆาตพยาบาท แสดงถึงความเป็นคนบาปหนา   4. ความกตัญญูกตเวที ในเทศกาลสงกรานต์คนไทยถือว่าเทศกาลนี้จะเป็นโอกาสกลับไปหาครอบครัว เพื่อแสดงความรัก ความกตัญญู คารวะผู้ใหญ่ ในขณะที่แกนนำผู้ชุมนุมบางคนอาจจะลืมพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ไปแล้วหรืออย่างไร จึงจะนำการชุมนุมให้ยืดเยื้อต่อไป   นายบุญยอดยังกล่าวทิ้งท้ายว่า หวังว่าเราคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเสื้อสีอะไรก็ตาม ยังคงรักษาความเป็นไทยให้มั่นคง ไม่มีใครสามารถทำลายความดีงามของความเป็นคนไทยได้ ขอให้ประชาชนที่เข้าร่วมได้มีสติ และควรรีบกลับไปร่วมเทศกาลสงกรานต์ เพราะบ้านทุกคนยังคงรอคอยท่านอยู่     เทพไทถามเสื้อแดงเข้าข่ายก่อการร้ายสากลหรือไม่ เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ ยังพาดหัวข่าว "เทพไท" หวั่นสงกรานต์สาดน้ำ กลายเป็นสงกรานต์เลือดสาด [2] รายงานคำพูดนายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์ที่มีกลุ่มคนเสื้อแดงไปปิดล้อมโรงแรมดุสิตรีสอร์ท เพื่อไม่ให้ผู้นำประเทศจีน เกาหลี เข้าร่วมประชุมได้ว่า เรื่องนี้เป็นการเคลื่อนไหวที่เกินเลยขอบเขตของกฎหมาย   พร้อมกันนี้ได้ตั้งคำถามถึงการปิดล้อมลักษณะดังกล่าวที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์โลก ว่าเป็นการก่อการร้ายหรือไม่ เพราะกระทำต่อผู้นำต่างชาติที่จะเข้าร่วมการชุมนุม และเรื่องนี้รัฐบาลได้ใช้ความอดทน และเจรจา หากยังมีพฤติกรรมเช่นนี้อีก รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการดำเนินการกับกลุ่มคนเหล่านี้ตามขั้นตอน และการปฏิบัติตามแบบสากลต่อไป     อ้างเสื้อแดงจะก่อวินาศกรรม หวั่นเป็นสงกรานต์เลือดสาด นายเทพไท กล่าวว่า พรรคฯ ยืนยันข้อมูลของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ที่ออกมายืนยันว่ามีการวางแผนจากกลุ่มคนเสื้อแดงที่จะก่อวินาศกรรมในกรุงเทพ มหานคร โดยพรรคฯ ได้ติดตามเรื่องนี้ และมีเบาะแสว่าเป็นความจริงที่เรื่องนี้กำลังดำเนินการในเร็ววัน โดยสถานที่ราชการ ธนาคาร รวมไปถึงที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกันนี้นายเทพไท ได้ขอให้พี่น้องประชาชนร่วมกันเฝ้าระวัง และเป็นหูเป็นตาดูแลพฤติกรรมของคนเหล่านี้ และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย   "ผมคิดว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเมื่อคืนตัว พ.ต.ท.ทักษิณได้ใช้ VDO Link ปลุก ระดมมวลชน เกณฑ์คนจากทำเนียบรัฐบาล ไปสร้างความรุนแรงในการประชุมอาเซียน ที่พัทยา ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณคิดว่าตัวเองอยู่ประเทศนี้ไม่ได้แล้ว คุณก็ต้องการที่จะทำลายประเทศนี้ใช้หรือไม่ ผมอยากจะเรียนกับพ.ต.ท.ทักษิณว่า อย่าใช้แนวความคิดที่ว่า พวกกูอยู่ไม่ได้ พวกมึงก็อยู่ไม่ได้ ซึ่งผมคิดว่าประเทศชาติก็จะเสียหาย พรรคประชาธิปัตย์ไม่อยากจะเห็นภาพคนไทยฆ่ากันเอง ไม่อยากจะให้เหตุการณ์เทศกาลวันสงกรานต์ที่เป็นมหกรรมสาดน้ำ ไปเป็นมหกรรมเลือดสาด" นายเทพไท กล่าว     นปช. แก้เกมอยู่ยาว จัดฉลองสงกรานต์ข้างทำเนียบ สำหรับบรรยากาศการชุมนุมของเวทีของ นปช. ข้างทำเนียบรัฐบาล ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โฟนอินเข้ามาได้เรียกร้องให้คนมาร่วมชุมนุมหน้าทำเนียบในช่วงสงกรานต์ เพื่อร่วมกันขับไล่รัฐบาลด้วย   ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. หลังจากปราศรัยสลับกับคลิปวิดีโอกลุ่มเสื้อน้ำเงินปะทะกลุ่มเสื้อแดงที่พัทยา ได้แจ้งผู้ชุมนุมว่าว่า นปช. จะจัดงานฉลองวันมหาสงกรานต์ ในวันที่ 13 เมษายนนี้ จะมีการจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุที่มาร่วมชุมนุม และจะมีการประกวดนางสงกรานต์เสื้อแดง โดยผู้เข้าประกวดต้องอายุไม่เกิน 30 ปี ซึ่งผู้ที่ชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รางวัล 30,000 บาท อันดับ 2 ได้ 20,000 บาท และอันดับ 3 ได้ 10,000 บาท     ที่มา: เรียบเรียงบางส่วนจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/8127
2006-04-13 00:20
มะรุมมะตุ้มรุมฟ้องศาลปกครอง
ประชาไท—13 เม.ย.2549 เอ็นจีโอ รัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ และเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง รุมพึ่งศาลปกครอง ฟ้องกันระนาว ไล่ตั้งแต่ ปตท. องค์การโทรศัพท์ และล่าสุด จาตุรนต์ ฉายแสง ถูกข้าราชการกระทรวงศึกษาฯ ฟ้อง เหตุตำแหน่งไม่ก้าวหน้า   "รสนา"ฟ้องแน่ กรณี ปตท. น.ส.รสนา โตสิตระกูล กรรมการสหพันธ์องค์กรเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า สหพันธ์ยืนยันที่จะฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดต่อการแปรรูป บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ในเดือนเม.ย.แม้ว่าปตท.จะออกมาประกาศว่าจะแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกมา   ขณะนี้สหพันธ์จัดเตรียมประเด็นที่จะยื่นฟ้อง โดยเห็นว่าหากแยกธุรกิจท่อฯ ออกมาควรเป็นของรัฐบาลหรือไม่ประชาชน ไม่ควรให้ปตท.เป็นผู้ถือหุ้น 100% เพราะเป็นกิจการพลังงานที่สำคัญ มีการเวนคืนที่เพื่อวางท่อ และที่ผ่านมาเห็นชัดเจนว่าปตท.คิดค่าผ่านท่อโดยบวกกับราคาก๊าซที่ขายให้ กฟผ.ประมาณ 20 บาทต่อล้านบีทียู แต่ขายให้กับบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือปตท.สผ.เพียง 8 บาทต่อล้านบีทียู ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรม   การฟ้องร้องปตท. ศึกษาไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นรูปแบบเดียวกับการฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่ประกอบด้วยประเด็นว่า การแปรรูปชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ สองมีผลประโยชน์ทับซ้อนกันหรือไม่ และสามทรัพย์สินส่วนกลางที่เป็นของสาธารณะมีการโอนหรือโอนอำนาจให้กับบริษัทหรือไม่ ส่วนอีกรูปแบบนั้นไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะอีกฝ่ายจะใช้ข้อมูลที่เปิดเผยในการแก้ไขหรือเตรียมแก้ไขประเด็นทางกฎหมายดังกล่าวได้   น.ส.สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า การที่ บมจ.ปตท. จะมีการแยกธุรกิจท่อก๊าซฯ ออกมาดำเนินการในรูปของบริษัทนั้น ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง เพราะยังถือเป็นการตบตาประชาชน เนื่องจาก ปตท. ยังคงอำนาจผูกขาดในธุรกิจท่อก๊าซฯ แต่เพียงรายเดียว ทำให้สามารถที่จะกำหนดราคาจำหน่ายก๊าซฯ และไม่ได้ทำให้ราคาก๊าซฯ ถูกลง การแยกธุรกิจท่อก๊าซฯ ปตท.ควรจะดำเนินการเมื่อ 4 ปีก่อนตามที่หนังสือชี้ชวนการกระจายหุ้นระบุไว้ แต่ที่มาดำเนินการขณะนี้ เนื่องจากเกิดจากการทวงถามจากบรรดาผู้ถือหุ้น   ด้าน น.ส.สายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สหพันธ์ฯ ออกมาเคลื่อนไหว เพราะต้องการนำธุรกิจผูกขาดของ ปตท. กลับมาเป็นของประชาชน เนื่องจากธุรกิจท่อก๊าซฯ ก็เหมือนกับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีอำนาจผูกขาด จัดหา ส่วนการตั้งองค์กรกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า ก็ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ไม่ใช่เพียงเสือกระดาษ เหมือนกับคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการค่าไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังพบผลประโยชน์ทับซ้อนใน ปตท. ทำให้ขาดคุณสมบัติของการเป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดี โดยเฉพาะนายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ปตท. ขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการพลังงาน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าอาจจะเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนได้   อย่างไรก็ตาม นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ระบุว่า กำลังศึกษาเรื่องจัดตั้งโฮลดิ้งคอมปานี แล้วแยกบริษัทในเครือออกไปเป็นบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 100 เหมือนกับเครือซิเมนต์ไทยซึ่งหากเห็นว่าเหมาะสมก็จะแยกต่อไปในอนาคต   ทีโอที ยื่นฟ้องเลิกแปรรูปคืนสภาพองค์การโทรศัพท์ฯ ผู้จัดการออนไลน์ อ้างแหล่งข่าวจาก บริษัท ทีโอที ว่า เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา นายชัยพฤกษ์ สิทธิศักดิ์ พนักงานบริษัท ทีโอที กับพวก 11 คนได้ยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุด คดีดำหมายเลขที่ ฟ.11/2549 มีความประสงค์จะขอฟ้อง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่1,นายกรัฐมนตรี ที่ 2,กระทรวงไอซีที ที่ 3,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ที่4 และคณะรัฐมนตรีที่ 5 เป็นผู้ถูกฟ้องคดี   โดยผู้ฟ้องคดีต้องการให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. 2545 สองมีคำพิพากษาให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกลับคืนสู่ฐานะเดิมคือให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497   สามมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นับแต่ศาลได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกายกเลิกกฎหมายว่าด้วยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2545   ทั้งนี้ ผู้ฟ้องคดีให้เหตุผลในการฟ้องว่าขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไม่ได้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทยที่มีการวางจำหน่าย อย่างแพร่หลายติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน   ประการต่อมา พระราชกฤษฎีกาขัดต่อพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 กล่าวคือพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจมีเจตนารมณ์ให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ไม่คล่องตัวหรือไม่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะที่มีการขาดทุนต่อเนื่อง รวมทั้งมิได้มีเจตนารมณ์ที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เป็นกิจการด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน   แต่กิจการโทรศัพท์เกี่ยวพันกับคลื่นความถี่วิทยุโทรคมนาคม อันเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 40 รัฐมีหน้าที่ต้องให้บริการสาธารณะโดยไม่หวังผลกำไรและกิจการโทรศัพท์เป็นกิจการที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศชาติ รัฐจะต้องดำเนินการเอง ทั้งนี้ศาลปกครองรับเรื่องไว้แล้ว และอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา   ข้าราชการพลเรือน ศธ. เตรียมฟ้อง "จาตุรนต์" ต่อศาลปกครอง นายวิศร์ อัครสันตติกุล นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า สมาชิกสมาคมฯเตรียมยื่นฟ้องนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) คณะกรรมการ ก.ค.ศ. และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต่อศาลปกครองกลาง ในวันที่ 20 เมษายนนี้   เหตุผลที่ยื่นฟ้องคือกรณีที่สมาคมได้เคยยื่นหนังสือร้องเรียนให้แก้ปัญหาเรื่องที่สำนักงาน ก.ค.ศ.ยังไม่ได้กำหนดแนวทางการประเมินข้าราชการที่เคยปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด (สปจ.) สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และกรมสามัญศึกษาเดิม เพื่อให้มีตำแหน่งสูงขึ้น แต่การแก้ปัญหายังไม่มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหาให้กับข้าราชการพลเรือนในสังกัด เป็นเหตุให้ข้าราชการพลเรือนขาดโอกาสทั้งด้านความก้าวหน้า และเสียสิทธิในการรับประเมินเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ   "เป็ดไล่ทุ่ง" เอาด้วยฮึดสู้ผ่านศาลปกครอง   ร.ท.ทองมี มีใจดี แกนนำกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง จ.สุพรรณบุรี เปิดเผยว่าหลังจากที่กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีคำสั่งให้การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งต้องเข้าระบบฟาร์มและโรงเรือนทั้งหมด ภายในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตามนโยบายการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก ล่าสุดมีหนังสือด่วนที่สุดจากกรมปศุสัตว์ ที่ กษ.0630/ว6461 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกแห่ง ให้ควบคุมดูแลเป็ดไล่ทุ่งให้เข้าระบบทั้งหมด รวมทั้งกำหนดข้อบังคับต่างๆ อีกมากมาย ให้เกษตรกรถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด คำสั่งดังกล่าวบังคับให้เกษตรกรต้องลงทุนสูงขึ้นมาก   ทั้งนี้ เกษตรกรเคยรวมกลุ่มกันเข้ายื่นหนังสือต่อคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการ รมว.เกษตรและสหกรณ์ และได้รับปากโดยสัญญาว่าจะหาทางออกที่ดีที่สุดให้ แต่พอทางกลุ่มสลายตัวกลับมีข้อบังคับออกมาให้ปฏิบัติตามโดยไม่มีสิทธิโต้แย้ง   การเลี้ยงเป็ดระบบฟาร์มตามที่เคยมีการทดลองในเป็ด 3,000 ตัว ต้องใช้เงินเงินราว 700,000 บาท เป็นค่าก่อสร้างโรงเรือนตามมาตรฐาน ค่าตัวเป็ด และค่าอาหาร ที่ต้องใช้เวลากว่า 6 เดือนกว่าเป็ดจะไข่ ขณะที่การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งจะเสียเพียงค่าตัวเป็ดเท่านั้น หากเปรียบเทียบการลงทุนสูงกว่ามาก
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13267
2007-06-28 11:15
"กลุ่มโดมแสบ" แสดงล้อประจาน มธ.ในวันรำลึก 73 ปี ผู้บริหารขู่ฟ้องหมิ่นประมาท
กลุ่มโดมแสบ และอาสาสมัครเผยแพร่ประชาธิปไตยจากกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์   ประชาไท - 27 มิ.ย. 50   นักศึกษาธรรมศาสตร์ในนามกลุ่มโดมแสบ และอาสาสมัครเผยแพร่ประชาธิปไตยจากกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ จัดกิจกรรมรำลึกวันสถาปนามหาวิทยาลัย ด้วยการวางพวงหรีดรำลึกที่หน้าประตูรั้วมหาวิทยาลัย มีข้อความว่า "แด่มหาวิทยาลัยประชาชนและผลิตผลที่รับใช้เผด็จการ" พร้อมประกาศว่าเพื่อไว้อาลัยแด่จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ที่มักถูกนักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแห่งนี้นำไปแอบอ้างอยู่เสมอ     หลังจากนั้น น.ส. อรุณวนา สนิกะวาที นักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน อ่านแถลงการณ์ของกลุ่มโดมแสบ ต่อด้วยการแสดงบทบาทสมมติมอบรางวัลปลอกคอทองคำให้แก่องครักษ์พิทักษ์เผด็จการดีเด่น ขณะที่ภายในหอประชุมก็ได้จัดงานเนื่องในวันสถาปนา 73 ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมอบรางวัลบุคลากรดีเด่นในสาขาต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน   การแสดงบทบาทสมมติมอบรางวัลปลอกคอทองคำให้แก่องครักษ์พิทักษ์เผด็จการดีเด่น   ระหว่างนั้น รศ.ดร. อุดม รัฐอมฤต รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร  ดร. ชัยวัฒน์ บุนนาค อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งได้ยืนดูและแสดงความเห็นต่อกิจกรรมของนักศึกษาว่าจะฟ้องร้องนักศึกษากลุ่มนี้ในข้อหาหมิ่นประมาท และให้เจ้าหน้าที่ถ่ายรูปไว้  กลุ่มนักศึกษาได้โต้กลับว่านี่เป็นการแสดงตัวคัดค้านอำนาจเผด็จการที่ครองอำนาจอยู่ในประเทศเวลานี้และในฐานะที่เป็นประชาคมธรรมศาสตร์จึงมีสิทธิ์จะประจานผู้บริหารที่เข้าไปรับใช้เผด็จการ คมช. ผู้บริหารไม่มีสิทธิ์มาข่มขู่ และไม่กลัวหากจะมีการฟ้องร้อง   หลังจากนั้นนักศึกษากลุ่มโดมแสบยังเตรียมตัวเผยแพร่เข็มกลัด"ที่ระลึก 73 ปีธรรมศาสตร์ ไม่เอาคมช." และโปสเตอร์ "73ปี ธรรมศาสตร์ประกาศนาม ขอรับใช้เผด็จการทุกชาติไป" แต่รศ.ดร. อุดม ห้ามไม่ให้เข้าไปภายในหอประชุม นักศึกษาจึงได้ยืนไฮปาร์คต่อไปสักระยะหนึ่งก่อนจะแยกย้ายกันไปติดโปสเตอร์ในบริเวณมหาวิทยาลัยแทน     แถลงการณ์เนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   วันนี้เมื่อ 73 ปี ที่แล้ว ได้กำเนิดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง อันเป็นผลพวงของการปฏิวัติ 2475 ที่ต้องการให้การศึกษาแก่ราษฎรอย่างเต็มที่ ดังคำกล่าวของผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์ ตอนหนึ่งว่า "…มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร… ยิ่งในสมัยที่ประเทศของเราดำเนินการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญเช่นนี้แล้ว เป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมหาวิทยาลัยสำหรับประศาสน์ความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองให้แก่พลเมืองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้…" ธรรมศาสตร์ในเวลาต่อมาต่างมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์การต่อสู้กับเผด็จการ ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ และความเป็นธรรมทางสังคม เกียรติภูมิอันสูงส่งนี้ถูกเรียกขานในนาม จิตวิญญาณธรรมศาสตร์   ธรรมศาสตร์วันนี้   เหล่าคณาจารย์ทั้งหลายตั้งแต่อธิการบดีลงมาต่างดาหน้าเข้าเป็นสมุนรับใช้เผด็จการ บทบาทคณาจารย์ในฐานะปัญญาชน โดยเฉพาะด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่ควรถูกคาดหวังว่าจะเป็นผู้คอยชี้นำสังคมไปในทางที่ถูกที่ควร คนเหล่านี้กำลังใช้ฐานะทางวิชาการสร้างสิ่งเลวร้าย พวกเขาสนับสนุนให้เผด็จการได้เถลิงอำนาจเป็นใหญ่เป็นโตในบ้านเมือง โค่นล้มระบอบประชาธิปไตย ฉีกรัฐธรรมนูญ ฯลฯ และคนเหล่านี้ต่างได้รับบำเหน็จรางวัลเป็นตำแหน่งสำคัญๆ กันทั่วหน้าอย่างเอิกเกริก โดยไม่นำพาต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น   นักศึกษาก็ไม่น้อยหน้า ก่อนหน้านี้นักศึกษาธรรมศาสตร์มีส่วนอย่างสำคัญในการเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้ง จนนำไปสู่การลากรถถังและปืนกลเข้ายึดอำนาจ   ธรรมศาสตร์วันนี้กำลังทำตัวเป็นท่อน้ำเชื้อ ส่งผ่านเชื้อชั่วของเผด็จการ กำลังผลิตซ้ำอุดมการณ์ กำลังผลิตซ้ำคนรุ่นต่อไปสืบทอดเชื้อชั่วไม่สิ้นสุด   ธรรมศาสตร์วันนี้มีแต่ความหงอยเหงา เหลืออาจารย์และนักศึกษาเพียงไม่กี่คนที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย จะมีกี่คนที่สนใจว่า การต่อต้านเผด็จการ 19 กันยา เริ่มต้นขึ้นที่นี่ตั้งแต่สัปดาห์แรกของการรัฐประหาร   พวกเราชาวโดมแสบ ขอประณามทุกคนที่รับใช้เผด็จการ   พวกเราไม่ต้องการเรียกร้องจิตวิญญาณอันสูงส่งเช่นในอดีต เพราะพวกเราเข้าใจว่าจิตวิญญาณย่อมแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย พวกเราโบกมือลาจิตวิญญาณแบบนั้นไปนานแล้ว แต่พวกเราขอเรียกร้องชาวธรรมศาสตร์ในฐานะพลเมืองคนหนึ่งให้ทุกคนออกมาปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเองด้วยการโค่นล้มเผด็จการ พวกเราแค่เรียกร้องจิตวิญญาณของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น   ชาวธรรมศาสตร์ในวันนี้ถ้าไม่กระหายในประชาธิปไตย แล้วชาวธรรมศาสตร์กระหายสิ่งใด?   โดมเจ้าพระยาท่าพระจันทร์วันนี้ คือ สัญลักษณ์พิทักษ์สิ่งใด เผด็จการหรือประชาธิปไตย? หรือเป็นอย่างอื่น?   ธรรมศาสตร์วันนี้ยังสอนให้รักประชาชนอยู่หรือ? แล้วประชาชนที่ว่านั้นหมายรวมถึงประชาชนที่ขับไล่เผด็จการอยู่ที่สนามหลวงด้วยหรือไม่?   คนสนามหลวงประกาศก้องว่า "จะต้านเผด็จการทุกชาติไป"  ชาวธรรมศาสตร์วันนี้มีจุดยืนในเรื่องนี้อย่างไร?   กงล้อธรรมจักรอันเป็นสัญลักษณ์ของธรรมศาสตร์ กำลังบดขยี้หัวใจประชาชนผู้รักประชาธิปไตย? และจะบดขยี้ไปถึงเมื่อใด?   73 ปี ธรรมศาสตร์ 75 ปี ปฏิวัติ 2475 อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว     กลุ่มโดมแสบ 27 มิถุนายน 2550 หน้าหอประชุมศรีบูรพา ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/61316
2015-09-09 23:40
ศาลฎีกาให้ประกัน 'เฉลียว' ช่างตัดเสื้อคดี 112 หลังนอนคุก 5 วัน
9 ก.ย.2558 ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนแจ้งว่า เมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา นายเฉลียว วัย 56 ปีช่างตัดเสื้อผู้ตกเป็นจำเลยในคดี 112 ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในเวลาราว 20.00 น. เนื่องจากศาลฎีกาพิจารณาแล้วอนุญาตปล่อยชั่วคราวจำเลย โดยญาติได้ยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวไว้ 400,000 บาท เฉลียวอยู่เรือนจำมาตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย.ซึ่งเป็นวันที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 5 ปีรับสารภาพลดกึ่งหนึ่ง เหลือ 2 ปี 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ขณะที่ศาลชั้นต้นลงโทษต่ำกว่าและให้รอการลงโทษไว้ คือ โทษจำคุก 3 ปีรับสารภาพลดกึ่งหนึ่ง เหลือ 1 ปี 6 เดือน เฉลียวถูกฟ้องจากกรณีโพสต์คลิปเสียง ‘บรรพต’ ที่เว็บฝากไฟล์ 4Share ก่อนหน้านั้นเขาถูกคุมขังที่เรือนจำในชั้นสอบสวนรวม 7 ผัดหรือ 84 วันก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาและทำให้เฉลียวได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ ทนายความระบุด้วยว่า วันที่ 3 ต.ค.นี้จะครบกำหนดที่จำเลยจะต้องยื่นฎีกา และทนายความเตรียมขอยื่นขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/8789
2006-06-24 20:51
อาร์โรโย่ ลงนาม ต่อจากนี้ไม่มีนักโทษประหารในฟิลิปปินส์
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย่ แห่งฟิลิปปินส์ ได้กล่าวยืนยันระหว่างพิธีลงนามที่ทำเนียบมาลากันยังว่า การยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นการให้โอกาสในการใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย โดยการลงนามในกฎหมายที่เรียกว่า รีพับลิค แอคท์ 9346 นั้นจะเป็นการล้มล้างโทษประหารชีวิตในประเทศ และปูทางไปสู่การฟื้นฟูความยุติธรรม พร้อมกันนี้ยังได้ระบุด้วยว่ารัฐบาลจะทุ่มเงินทุนมากขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรม เพื่อลดกระแสการคัดค้านของประชาชนส่วนหนึ่ง   ทั้งนี้นางอาร์โรโย่เผยด้วยว่า ในระหว่างการเดินทางเยือนกรุงวาติกันในสัปดาห์หน้า เธอจะเข้าพบสมเด็จพระสันตปาปาเบเนดิคเป็นการส่วนตัวเพื่อแจ้งถึงการยกเลิกโทษประหารชีวิตครั้งนี้ด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/52384
2014-03-21 17:38
กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตยแต่งดำ-ชูป้ายคัดค้านตัดสินเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ
กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตยใส่เสื้อสีดำ และชูป้ายคัดค้านกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ ที่ จ.เชียงใหม่ 21 มี.ค.57 เวลา 12.00 น. บริเวณหน้าโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก) กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตยและประชาชนทั่วไป ได้รวมตัวกันใส่เสื้อสีดำ และชูป้ายคัดค้านกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ ก่อนหน้าการมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีทั้งบุคลากรด้านสาธารณสุขและประชาชนทั่วไปราว 20 คน ได้ร่วมกันแต่งชุดสีดำ และชูป้ายต่างๆ ที่มีข้อความคัดค้านการตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และคัดค้านการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น “ประชาชนไม่ได้เลือกศาลรัฐธรรมนูญมาบริหาร และปกครองประเทศ” “ไม่มีโมฆะเลือกตั้ง มีแต่โมฆะบุรุษ” “อยุติธรรมนำกลียุค” “สุดท้ายประเทศนี้ต้องตัดสินโดยประชาชน” “ในระบอบประชาธิปไตย ศาลมีไว้ถ่วงดุลอำนาจ ไม่ใช่ถ่วงความเจริญ” เป็นต้นก่อนผู้ร่วมกิจกรรมมีการตะโกนพร้อมกันว่า “คัดค้านโมฆะเลือกตั้ง” และ “หนึ่งเสียงของเรามีความหมาย” และนำป้ายต่างๆ ที่เตรียมมาไปติดไว้ตามประตูรั้ว กรรณิกา วิทย์สุภากร ผู้ประสานงานของกลุ่มสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่าวันนี้ทางศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยในเรื่องการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ซึ่งหลายคนอึดอัดมาตลอดว่าจะมีการให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ จึงอยากมาแสดงพลังพร้อมกับกลุ่มที่กรุงเทพฯ โดยเรามีความเห็นว่าคนร้องเป็นอาจารย์หนึ่งท่าน ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งมีไม่กี่คนก็ไปฟ้องให้ศาลรัฐธรรมนูญมาตัดสิน คน 9 คนจะมาตัดสินเสียงของคน 20 ล้านเป็นโมฆะ เราจึงไม่เห็นด้วย เราอยากให้รู้ว่า 20 ล้านเสียงมีความหมาย กรุณาเคารพสิทธิของเราด้วย การตัดสิทธิ์จะเหมือนกับการทำรัฐประหาร และไม่เห็นหัวของประชาชน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/39304
2012-02-17 23:53
เสวนา: เรายังจะจัดงานบอลกันอีกหรือ?
กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน เสวนาตั้งคำถามต่องานฟุตบอลประเพณี ผู้ร่วมอภิปรายมอง งานบอลมิได้ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างนศ.สองสถาบันตามที่พูดกันทั่วไป หากแต่ยิ่งปลูกฝังความเป็นสถาบันนิยม แนะ ควรนำเงินที่ใช้จัดไปส่งเสริมกองทุนการศึกษา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17.00 น. ห้อง 107 ตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน จัดเสวนาในหัวข้อ “เรายังจะจัดงานบอลกันอีกหรือ” โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา คือ นายดิน บัวแดง นิสิตจากกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน นายกิตติพัฒน์ มณีใหญ่ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายรักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ อุปนายกองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และนายปราบ เลาหะโรจนพันธ์ นักศึกษาจากกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย โดยมีนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไปร่วมวงเสวนากว่า 100 คน นายดิน บัวแดงอธิบายประวัติความเป็นมาของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ โดยชี้ว่าเดิมทีเป็นกิจกรรมเตะฟุตบอลเล็กๆ ของเพื่อนนิสิตและนักศึกษาที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยเป็นกิจกรรมส่วนตัวของนิสิตนักศึกษาอย่างแท้จริง ส่วนรายได้จากการเก็บเงินค่าผ่านประตูนั้นทำไปบำรุงการกุศลอย่างเป็นรูปธรรมเช่น สร้างเรือนพักคนไข้วัณโรค บำรุงการศึกษาสองสถาบัน บำรุงรพ.ทหารบก ช่วยเหลืออัคคีภัยพิษณุโลก และโดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุน “อานันทมหิดล” เพื่อวิจัยโรคเรื้อน เป็นต้น แต่ตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา รายได้จากงานฟุตบอลประเพณีฯ ก็เป็นไปเพื่อ “โดยเสด็จพระราชกุศล” แทบทั้งสิ้น นายดินชี้ว่า กิจกรรมเตะฟุตบอลของนิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันในช่วง 20 ปีแรก (พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2500) ได้มีการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาอย่างสร้างสรรค์ เช่น การแปรอักษร เชียร์ลีดเดอร์หญิง รวมทั้งขบวนพาเหรดล้อการเมืองด้วย อย่างไรก็ตาม ในช่วงต่อมากิจกรรมเตะฟุตบอลได้พัฒนาจนมีขนาดใหญ่โตหรูหรามากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นงานระดับชาติ อย่างไรก็ตามช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นิสิตนักศึกษามีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น ในช่วงนั้น จึงได้มีการเคลื่อนไหวต่อต้านงานฟุตบอลประเพณีอย่างเป็นรูปธรรมโดยนักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มสภาหน้าโดม เขาตั้งข้อสังเกตว่า ความเฟื่องฟูของงานฟุตบอลประเพณีฯ กับการตื่นตัวทางการเมืองของนิสิตนักศึกษามีความสัมพันธ์กันอย่างเห็นได้ชัด คือ ในช่วงเวลาที่นิสิตนักศึกษามีความตื่นตัวทางการเมืองมาก งานฟุตบอลประเพณีจะค่อนข้างซบเซา จะเห็นได้จากการยกเลิกงานฟุตบอลในปี 2516-2518 ซึ่งนักศึกษาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น เช่น ออกสู่ชนบท จัดนิทรรศการต่างๆ เช่น นิทรรศการศิลปะเพื่อชีวิตบนถนนราชดำเนิน นิทรรศการจีนแดง ฯลฯ การรื้อฟื้นงานฟุตบอลประเพณีฯ หรือในเดือนมกราคม 2519 ที่มีการเปลี่ยนเนื้อหาสาระของงานบอลให้รับใช้ประชาชน ลดความฟุ่มเฟือยและเพิ่มการบำเพ็ญประโยชน์ การงดจัดงานฟุตบอลประเพณีในปี 2520 เนื่องจากเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 และในปี พ.ศ. 2534 นักศึกษารุ่น “พฤษภาทมิฬ” ที่ตื่นตัวด้านการเมืองมาก ทำให้สมาชิกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ส่วนใหญ่ลงมติไม่จัดงานบอล นอกจากนี้ยังมีการยกเลิกงานฟุตบอลประเพณีเนื่องด้วยความไม่สะดวกต่างๆ เช่น เหตุน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งนายดิน บัวแดงก็ตั้งคำถามว่า ปีนี้ก็มีเหตุน้ำท่วมใหญ่เช่นกัน ทำไมจึงไม่งดจัดงานฟุตบอลประเพณี นายดิน บัวแดง ทิ้งท้ายด้วยการกล่าวถึงบทเพลงมาร์ชธรรมศาสตร์-จุฬา สามัคคี ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ประพันธ์ขึ้น เพื่อเน้นย้ำว่านิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาธรรมศาสตร์จะต้องรับใช้ประชาชนร่วมกัน ต่อมานายนายรักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของงานฟุตบอลประเพณี และความคุ้มทุน ซึ่งในอดีต ดร. สุรพล สุดารา อดีตประธานเชียร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยอ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเพื่อ “พิสูจน์ให้ประชาชนได้เห็นความสามัคคีระหว่างผู้ที่จะต้องไปใช้สมองร่วมกันรับใช้ประเทศชาติต่อไปในอนาคต” รักชาติ์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของงบประมาณ และชี้ให้เห็นว่า ความสามัคคีที่มักถูกอ้างนั้น เกิดจากการบีบบังคับและปลูกฝังโดยระบอบ SOTUS และกิจกรรมรับน้อง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังความคิดแบบสถาบันนิยม จนทุกวันนี้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็แข่งขันประชดประชันด่าทอกันอย่างรุนแรง ตัวแทนจากอมธ. จึงสรุปว่า งานฟุตบอลประเพณีฯ ไม่ได้ทำนิสิตนักศึกษาของสองสถาบันสมัครสมานสามัคคีกันมากขึ้น ดังมีผู้กล่าวอ้างตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ต่อประเด็นที่ว่างานฟุตบอลประเพณีเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าเพราะมีขบวนล้อการเมืองซึ่งสะท้อนภาพของสังคม นายรักษ์ชาติ์แย้งว่าไม่จริง เพราะนิสิตถูกจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองเสมอมา ทั้งโดยรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยสมาคมศิษย์เก่าในพระบรมราชูปถัมภ์ การมีประธานในพิธีเป็นราชวงศ์ นอกจากนี้ รักษ์ชาติชี้ว่า การควบคุมเสรีภาพมีทั้งในรูปแบบการเซ็นเซอร์เนื้อหา การใช้ความบันเทิงมอมเมาเยาวชน และแม้แต่ยกเลิกงานฟุตบอลประเพณี สำหรับงานฟุตบอลประเพณีในปีนี้ นายรักษ์ชาติ์เห็นว่าเรื่อง มาตรา 112 เป็นเรื่องที่นิสิตถูกจำกัดไม่ให้แสดงความคิดเห็น ในขณะที่งานฟุตบอลประเพณีซึ่งมีถูกใช้ไปใน “การโฆษณาความศักดิ์สิทธิ์และส่งเสริมสถาบันนิยมอย่างล้นเกิน” ดังนั้นหากขบวนล้อการเมืองจะสะท้อนภาพใดได้ ก็คงเป็นภาพการเมืองและประชาธิปไตยที่ตกต่ำของประเทศไทยเท่านั้น สุดท้ายนายรักษ์ชาติ์ได้เชิญชวนให้นิสิตนักศึกษาหันกลับมาทบทวนความถูกต้อง เหมาะสม ว่าจำเป็นที่จะต้องจัดงานให้ยิ่งใหญ่ อลังการ และฟุ่มเฟือยหรือไม่ และที่สำคัญที่สุดคือเจตนารมณ์ที่แท้จริงของงานฟุตบอลประเพณี โดยต้องดิ้นให้หลุดจากภาพมายาเพื่อมองความเป็นจริงของสังคม นายกิตติพัฒน์ มณีใหญ่ ผู้ร่วมเสวนาคนที่สาม ตั้งคำถามเรื่องงบประมาณจำนวนมากที่ใช้ไปกับการจัดงานฟุตบอลประเพณี ซึ่งไม่มีตัวเลขที่สามารถตรวจสอบได้ และยังเสนอให้นำงบประมาณจำนวนดังกล่าวไปใช้ในกิจการที่ส่งเสริมด้านวิชาการมากกว่า เช่น ใช้เป็นกองทุนหนังสือเรียนสำหรับนิสิต นอกจากนี้ นายกิตติพัฒน์ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้งานฟุตบอลประเพณีเป็นพื้นที่สำหรับให้คนกลุ่มหนึ่งออกมาขายหน้าตา ทำให้นิสิตให้ความสำคัญกับรุ่นพี่ที่เป็นดารานักแสดงมากกว่ารุ่นพี่ที่คำคุณประโยชน์ด้านอื่นๆ ให้แก่ประเทศชาติ ต่อประเด็นเรื่องการสร้างความสามัคคีระหว่างนิสิตนักศึกษาโดยใช้งานฟุตบอลประเพณี นายกิตติพัฒน์ชี้ให้เห็นว่าตัวกิจกรรมเตะฟุตบอลที่จริงแล้วไม่ได้รับความสำคัญเท่าที่ควร เนื่องจากนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มผู้จัดกิจกรรมให้ความสำคัญกับการแสดงบนเวทีและการแปรเพลทบนแสตนด์มากกว่า และกิจกรรมอื่นๆ ก็ไม่ได้ส่งเสริมความสามัคคี เช่น หลังจากการเตะฟุตบอลจบแล้ว ก็เวทีคอนเสิร์ตของสองมหาวิทยาลัยแยกกันอยู่ โดยนายกิตติพัฒน์เสนอให้รวมเวที และให้วงดนตรีของทั้งสองมหาวิทยาลัยแสดงร่วมกัน นายกิตติพัฒน์ฝากคำถามที่ตนมองว่าสำคัญที่สุด คือหน้าที่ของสถาบันการศึกษาซึ่งควรจะผลิตบุคคลากรออกมารับใช้ประเทศชาติประชาชน แต่นิสิตนักศึกษากลับแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน และคิดแต่ว่าจะเรียนจบเพื่อไปปกครองคนอื่น ต่อมานายปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ได้วิเคราะห์งานฟุตบอลประเพณีโดยใช้มุมมองในกรอบเศรษฐศาสตร์ โดยชี้ให้เห็นว่าการจัดงานฟุตบอลประเพณีไม่ใช่การตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หากแต่ค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมดังกล่าวทำให้เงินเดินสะพัด เกิดการจ้างงาน ไม่ว่าจะเป็นร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง ช่างตัดชุดเชียร์ลีดเดอร์เป็นต้น นายปราบยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าเป็นเรื่องปรกติที่งานฟุตบอลในปัจจุบันนี้จะมีลักษณะดังเช่นที่เห็น กล่าวคืองานฟุตบอลประเพณีเป็นภาพสะท้อนของค่านิยมทางการเมืองนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ที่มาจากชนชั้นกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขบวนพาเหรดซึ่งแสดงให้เห็นว่านิสิตนักศึกษาไม่ค่อยสนใจการเมืองเท่าไรนัก ทั้งนี้ก็เพราะนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่มาจากชนชั้นกลางซึ่งไม่ค่อยตระหนักถึงความสำคัญของการเมือง ในขณะที่เด็กต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มาจากชนชั้นล่างจะตระหนักดีว่าการเมืองมีความสำคัญเพราะเกี่ยวกับปากท้องของครอบครัวโดยตรง นอกจากนี้นายปราบยังเสนอด้วยว่างานฟุตบอลประเพณีฯ ได้ทำให้อัตลักษณ์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายเป็นสินค้าซึ่งซื้อขายได้ บริโภคง่าย โดยการสวมใส่อัตลักษณ์นั้นๆ คือ เพียงแค่มาร่วมงานฟุตบอลประเพณี ใส่เสื้องานฟุตบอลประเพณี ก็จะมีความเป็นนิสิตนักศึกษาของสถาบันนั้นๆ ขึ้นมาทันที หลังจากวิทยากรทั้งสี่ท่านพูดจบแล้ว ผู้ที่มาร่วมฟังการเสวนาได้ร่วมตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอกันอย่างหลากหลาย เช่น การชื่นชมนิสิตที่ชูป้ายประท้วงงานฟุตบอลประเพณีในงานแถลงข่าว \การแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์\" ครั้งที่ 68 เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่อาคารจัตุรัส จามจุรี การเสนอให้รวมแสตนด์เชียร์ของสองมหาวิทยาลัย การให้นำงบประมาณไปสนับสนุนนิสิตนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมไปถึงการเรียกร้องให้นิสิตนักศึกษาสามารถรวมกรณีมาตรา 112 เข้าในขบวนพาเหรดได้ด้วย นอกจากนี้ ภายในงานเสวนา ยังมีกลุ่มอดีตสมาชิกองค์การบริการสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ในฐานะผู้จัดงานฟุตบอลประเพณีได้เข้าร่วมรับฟัง และชี้แจงว่าตัวเลขงบประมาณของงานฟุตบอลประเพณีปีนี้ถูกลดเหลือเพียง 2 ล้าน 6 แสนบาทเท่านั้น และค่าใช้จ่ายของงานฟุตบอลประเพณีในปีที่ผ่านๆ มาก็มีเก็บไว้เป็นเอกสารอยู่ที่ห้องของอบจ. ซึ่งเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าไปดูได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าฟังเสวนาบางส่วนแสดงความคิดเห็นว่าอบจ. ควรนำตัวเลขดังกล่าวออกมาสู่ที่สาธารณะ ภาพทั้งหมด จากเฟซบุ๊กกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน"
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/52484
2014-03-28 02:54
หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ ศรส.ลุยจับกลุ่มขวางเลือกตั้ง
27 มี.ค. 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ ศรส. ชุดสืบสวนที่ 5 ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้ช่วย ผบ.ตร. นำโดย พ.ต.อ.อุเทน นุ้ยพิน ผกก.สส.บก.น.8 พ.ต.ท.นิรันดร์ ประดิษฐ์อัสดร รอง ผกก. เข้าจับกุมนางกิจจา อุ้ยนอก อายุ 53 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 68/2557 ข้อหาห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการโดยไม่มีอำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อมิให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถใช้สิทธิได้ จึงนำส่งสน.บึงกุ่มดำเนินคดี  ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ชุดเดียวกันยังเข้าจับกุมนายสุเทพ มีทิพย์ อายุ 46 ปี ได้ที่หน้าสำนักงานเขตบางคอแหลม ตามหมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ 86/2557 นายการุณ เชาวลิต ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 275/2557 ในข้อหาเดียวกัน ก่อนนำตัวส่งสถานีตำรวจพื้นที่เกิดเหตุดำเนินคดีต่อไป นอกจากนี้ ยังจับกุมนายมนัส เลิศไกร นายสมาน พัวรักษา และนายรุ่งเรือง แหทอง ตามหมายจับศาลอาญา ข้อหาร่วมกันกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อมิให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถใช้สิทธิได้ ซึ่งทั้งสามเป็นแกนนำของกลุ่มนำมวลชน ที่ปิดล้อม นำกุญแจและโซ่มาคล้องหน่วยเลือกตั้งที่สำนักงานเขตบางซื่อ      ที่มา: ข่าวสดออนไลน์ [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/6202
2005-10-28 23:43
รมต. มาเลเซียเปิดทางไทยกล่อม 131 คนกลับประเทศ
ภาพจากผู้จัดการออนไลน์     เอเอฟพี 28 ต.ค.48 - รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียยืนยัน ไม่ส่งตัว 131 คนไทยมุสลิมกลับประเทศด้วยการบังคับ แต่ไม่ขัดหากสมัครใจ ด้านกันตธีร์หวังไม่เกิน 2 สัปดาห์ได้โอกาสกล่อม 131 คนไทย   ไซยิด ฮามิด อัลบาร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซียกล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังการเดินทางเยือนมาเลเซียของ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีของไทย โดยยืนยันว่าจะไม่ส่งตัว 131 คนไทยมุสลิมกลับประเทศด้วยการบังคับ       "พวกเราไม่สามารถบังคับยัดเยียดทั้ง 131 คนได้ มันมีบรรทัดฐานสากลที่เราต้องถือตาม เมื่อมีผู้มาขอลี้ภัยในประเทศของเรา" โดยทางมาเลเซียยืนกรานว่า เจ้าหน้าที่ของไทยต้องทำให้กลุ่มผู้อพยพเชื่อให้ได้ว่า พวกเขาจะปลอดภัยถ้าหากเดินทางกลับประเทศ   "นั้นคือสาเหตุที่เราอนุญาตให้ทางไทยมาพบและเจรจากับพวกเขา และทำให้พวกเขาเชื่อ" ไซยิด ฮามิด อัลบาร์ กล่าว        สอดคล้องกับ นาจิบ ราซัก รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่ได้ออกมาแถลงหลังเจรจากับ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทยเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ว่า "สิ่งที่สำคัญก็คือ ทั้ง 131 คน ต้องรู้สึกมั่นใจที่จะกลับไป"        ขณะที่นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงความคืบหน้าหลังการเจรจากับทางการมาเลเซียในปัญหา 131 คนไทยที่หลบหนีเข้าประเทศมาเลเซียว่า หลังจากได้พูดคุยกับคนไทย 10 คนไปแล้ว คาดว่า 1-2 สัปดาห์นี้ จะสามารถพบกับคนไทยทั้งหมด ซึ่งจะมีผู้แทนจากฝ่ายความมั่นคงและกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/19207
2008-12-03 01:21
5 อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. ออกแถลงการณ์ คำตัดสินศาล รธน. ยุบ 3 พรรค
5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณี ยุบ 3 พรรคการเมือง ระบุ ความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นในสังคมที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงหรือไม่ มิใช่เพียงเพราะว่าศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้แล้วจึงสมควรยอมรับ  หากยังจำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดของเรื่องประกอบกันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมหรือความอยุติธรรม จะก่อให้เกิดความยุติธรรมอันควรแก่การสมานฉันท์หรือไม่ หรือมีคุณค่าควรแก่การยอมรับนับถือในฐานะที่เป็นคำวินิจฉัยในทางตุลาการหรือไม่   อนึงก่อนหน้านี้ ในเดือนมีนาคม คณาจารย์กลุ่มดังกล่าว ได้แถลงการณ์ถึงการตีความมาตรา 237 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550     000    แถลงการณ์ของ ๕ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคการเมือง   ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้พรรคพลังประชาชน  พรรคชาติไทย  และพรรคมัชฌิมาธิปไตยแถลงปิดคดีในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ โดยหลังจากที่มีการแถลงปิดคดีแล้ว  ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในวันเดียวกันให้ยุบพรรคการเมืองทั้งสามพรรค  พร้อมทั้งสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคทั้งสามพรรคนั้น   ระหว่างรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป  เรา  กลุ่ม ๕ อาจารย์คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ขอแสดงความคิดเห็นเบื้องต้นต่อคำวินิจฉัยของศาลในเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้   ๑.  ความยุติธรรมเป็นคุณค่าสูงสุดที่องค์กรตุลาการจำต้องรักษาไว้ให้มั่นคงและแสดงออกให้สาธารณชนได้เห็นเป็นที่ประจักษ์  เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่ว่าความขัดแย้งภายในสังคมจะเป็นอย่างไร   องค์กรตุลาการจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นว่าการพิจารณาคดีและการวินิจฉัยคดีจะเป็นไปตามกรอบของกฎหมายบนพื้นฐานแห่งความเป็นธรรม   ๒.  ความน่าเชื่อถือต่อองค์กรตุลาการ   แท้ที่จริง หาได้เกิดจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาล หรือการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาเป็นที่สุดแล้วซึ่งเราทุกคนจำต้องเคารพแต่อย่างใดไม่  ตรงกันข้าม  เรื่องดังกล่าวนี้จำต้องเกิดมาจากความสมเหตุสมผลในเหตุผลประกอบคำพิพากษา  ความเป็นภววิสัยของเหตุผลประกอบคำพิพากษา  อีกทั้งความเป็นอิสระและการดำรงตนอย่างปราศจากอคติของผู้พิพากษาเท่านั้น คำพิพากษาของศาลจะมีคุณค่าหรือไม่ อย่างไร  นอกจากเพราะกฎหมายกำหนดให้คำพิพากษามีค่าบังคับแล้ว  ก็ยังต้องอาศัยความเชื่อถืออันกอรปด้วยเหตุผลของสาธารณชนประกอบกัน                  ๓. ในการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อนำไปสู่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แม้ข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๓๒ และข้อ ๓๗ จะกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีดุลพินิจในการงดไต่สวนพยานหลักฐาน หากศาลเห็นว่าคดีหนึ่งคดีใดมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะวินิจฉัยก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญจะปฏิเสธการรับฟังพยานหลักฐานทั้งหมดอย่างสิ้นเชิงจากผู้ถูกร้องตลอดจนจากบุคคลที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำวินิจฉัยได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมจะกล่าวไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำวินิจฉัยได้มีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่แล้วตามหลักการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม                  ๔.  ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันก็คือ แม้ศาลจะเปิดโอกาสให้ผู้ถูกร้องในคดีได้แถลงปิดคดีก็ตาม   แต่ในวันที่มีการแถลงปิดคดี  เมื่อผู้ถูกร้องได้แถลงปิดคดีเสร็จสิ้นแล้ว ถัดจากนั้น ด้วยระยะเวลาเพียงเล็กน้อย  ศาลรัฐธรรมนูญก็อ่านคำวินิจฉัยในทันที และปรากฏความผิดพลาดในคำวินิจฉัยซึ่งทำให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องแก้ไขคำวินิจฉัยในขณะที่อ่าน อันเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั่วไป การอ่านคำวินิจฉัยของศาลโดยรีบด่วนเช่นนี้  คำวินิจฉัยที่ศาลอ่านจะเป็นคำวินิจฉัยที่ผ่านการพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบกอปรด้วยความเป็นธรรมหรือไม่ วิญญูชนย่อมพิจารณาได้เอง      ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น  ในสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังขาดความไว้วางใจระหว่างกันอย่างรุนแรงของผู้คนในสังคม เราเห็นว่าความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ย่อมมิใช่เพียงเพราะว่าศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้แล้วจึงสมควรยอมรับ  หากทว่ายังจำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดของเรื่องประกอบกันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมหรือความอยุติธรรม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคการเมืองทั้งสามพรรคดังกล่าวนี้ จะก่อให้เกิดความยุติธรรมอันควรแก่การสมานฉันท์หรือไม่ หรือมีคุณค่าควรแก่การยอมรับนับถือในฐานะที่เป็นคำวินิจฉัยในทางตุลาการหรือไม่ คำตอบย่อมขึ้นอยู่กับเสียงแห่งมโนธรรมสำนึกของแต่ละบุคคล                                                                        รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์                                                                รองศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช                                                                             อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล                                                                                        อาจารย์ ธีระ สุธีวรางกูร                                                                                อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                                                                                           ๓ ธันวาคม  ๒๕๕๑       อนึ่ง คณาจารย์กลุ่มดังกล่าวได้เคยออกแถลงการณ์ เรื่องการตีความกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2551 โดยมีใจความสำคัญว่าการใช้กฎหมายเกี่ยวด้วยการยุบพรรคการเมืองนั้น พึงต้องระมัดระวังและวินิจฉัยประเด็นความชอบด้วยหลักนิติรัฐและนิติธรรมของบทบัญญัติที่นำมาบังคับใช้ และไม่ควรตีความไปตามตัวบทอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษร ทั้งนี้ ปัญหาที่เกี่ยวกับการตีความรัฐธรรมนูญซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และอาจก่อให้เกิดวิกฤติทางการเมืองตามมาได้ ประชาไทนำมาลงอีกครั้ง เนื่องจากเป็นประเด็นทีเกี่ยวข้องกันในแง่การใช้และการตีความกฎหมายว่าด้วยการยุบพรรคการเมือง   แถลงการณ์ เรื่อง การตีความกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ               ตามที่ปรากฏข้อถกเถียงเกี่ยวกับการตีความกฎหมายอยู่ในขณะนี้ว่าในกรณีที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การกระทำของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นจะส่งผลให้ต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองดังกล่าวและต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคคนอื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดนั้นด้วยหรือไม่นั้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้ายเห็นว่าโดยที่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการตีความรัฐธรรมนูญซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และอาจก่อให้เกิดวิกฤติทางการเมืองตามมาได้ จึงเห็นสมควรที่จะได้แสดงทัศนะทางกฎหมายให้สาธารณชนได้รับทราบไว้ดังต่อไปนี้ ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๗ บัญญัติว่า "ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ถ้าการกระทำของบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา ๖๘ และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง" บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นได้รับการบัญญัติซ้ำไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๐๓ วรรคสอง โดยมีถ้อยคำที่คล้ายคลึงกัน แต่มาตราดังกล่าวบัญญัติเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า "..ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นมีกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง" ๒. พรรคการเมืองนับเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุดสถาบันหนึ่งในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน การรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพอันจะขาดเสียมิได้ ตามหลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปในนานาอารยะประเทศ การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือเป็นกรณีที่เห็นได้ว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปแล้วเท่านั้น เพราะการยุบพรรคการเมืองนอกจากจะทำลายสถาบันทางการเมืองลงแล้วยังมีผลเป็นการทำลายเสรีภาพในการรวมตัวกันเพื่อสร้างเจตจำนงทางการเมืองของราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอีกด้วย การตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองจึงไม่สามารถทำได้โดยการอ่านกฎหมายแบบยึดติดกับถ้อยคำเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงหลักการอันเป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตลอดสิทธิทางการเมืองของปัจเจกบุคคลประกอบด้วยเสมอ ๓. หากพิจารณาจากถ้อยคำที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญประกอบกับความเห็นของอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญบางท่านแล้ว กรณีอาจเห็นไปได้ว่าเมื่อกรรมการบริหารพรรคการเมืองคนหนึ่งกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแล้ว รัฐธรรมนูญให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเท่ากับว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองนั้น และเมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าให้ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และกรณีนี้เป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจสั่งยกเลิกการกระทำได้ เพราะการกระทำได้เสร็จสิ้นไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็ย่อมจะต้องวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองนั้น และต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นทุกคนเป็นเวลาห้าปี มีปัญหาว่าความเข้าใจกฎหมายและการตีความกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความเข้าใจในหมู่ของบุคคลที่มีบทบาทชี้นำสังคม ทั้งที่เป็นนักวิชาการและอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ ๔. ในทางนิติศาสตร์ การใช้และการตีความกฎหมายไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การอ่านถ้อยคำของกฎหมายหรือการสอบถามความเห็นของผู้ร่างกฎหมาย แล้วให้ความหมายของบทกฎหมายนั้นตามถ้อยคำหรือตามความต้องการของผู้ร่างกฎหมายเท่านั้น ถึงแม้ว่าถ้อยคำของบทกฎหมายจะเป็นปฐมบทของการตีความกฎหมายทุกครั้ง แต่การตีความกฎหมายก็ไม่ใช่การยอมตนตกเป็นทาสของถ้อยคำ ถึงแม้ว่าความเห็นของผู้ร่างกฎหมายจะเป็นสิ่งที่ต้องนำมาคำนึงประกอบในการค้นหาความหมายของบทกฎหมาย แต่ความเห็นของผู้ร่างกฎหมายก็ไม่ใช่เครื่องชี้ขาดความหมายของบทกฎหมายบทนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้ร่างกฎหมายได้ร่างกฎหมายขัดแย้งกันเองในกฎหมายฉบับเดียวกัน หรือกรณีที่ผู้ร่างกฎหมายไม่ได้คาดเห็นผลร้ายของการร่างกฎหมายเช่นนั้นขณะร่างกฎหมาย ในการตีความกฎหมาย นอกจากจะต้องพิจารณาถ้อยคำ บริบททางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมในขณะร่างกฎหมายนั้นแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและในหลายกรณีอาจสำคัญยิ่งกว่า คือ การพิจารณาระบบกฎหมายทั้งระบบ พิจารณาหลักเกณฑ์อันเป็นเสาหลักที่ยึดโยงระบบกฎหมายนั้นไว้ ตลอดจนพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของบทกฎหมายบทนั้น (ratio legis) หลักเกณฑ์การตีความดังกล่าวมานี้เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เกิดการตีความกฎหมายที่ส่งอันประหลาดและขัดกับสำนึกในเรื่องความยุติธรรม ๕. กล่าวเฉพาะการตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกับการยุบพรรคการเมืองที่กล่าวมาข้างต้น หากตีความตามถ้อยคำหรือตีความตามความประสงค์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน ก็เท่ากับว่าการกระทำความผิดของบุคคลเพียงคนเดียวย่อมนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่ประกอบไปด้วยสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนมากได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการยุบพรรคการเมืองแล้ว ก็จะต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด ถึงแม้บุคคลดังกล่าวจะไม่ได้มีส่วนผิดในการกระทำนั้น เท่ากับตีความกฎหมายเอาผิดบุคคลซึ่งไม่ได้กระทำความผิดซึ่งขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง การตีความกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ย่อมฝืนต่อสามัญสำนึกของวิญญูชนทั่วไป และเท่ากับทำให้กฎเกณฑ์ทางกฎหมายในประเทศไทยย้อนยุคกลับไปเหมือนกับกฎเกณฑ์การประหารชีวิตญาติพี่น้องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด อันเป็นการฝืนพัฒนาการทางกฎหมายของโลกและจะทำให้สถานะทางกฎหมายของประเทศตกต่ำลงในสายตาของนานาอารยะประเทศด้วย หาใช่ความน่าภูมิใจดังที่มีบางท่านกล่าวอ้างไม่ ๖. ประเด็นที่ผู้สนับสนุนการตีความกฎหมายเอาผิดกับกรรมการบริหารพรรคการเมืองทุกคนและการให้ยุบพรรคการเมือง แม้กรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นเพียงคนเดียวเป็นผู้กระทำความผิดอาจหยิบยกขึ้นอ้างก็คือ รัฐธรรมนูญบัญญัติ "ให้ถือว่า" พรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คำว่า "ให้ถือว่า" เท่ากับไม่เปิดช่องให้ผู้ใช้กฎหมายสามารถตีความกฎหมายเป็นอย่างอื่นได้ อันที่จริงแล้วการบัญญัติกฎหมายโดยใช้คำว่า "ให้ถือว่า" เท่ากับผู้ร่างกฎหมายทำตัวเป็นผู้พิพากษาเสียเองแล้ว การบัญญัติกฎหมายโดยใช้ถ้อยคำดังกล่าวจึงต้องกระทำเท่าที่จำเป็นอย่างยิ่งและต้องไม่ขัดต่อหลักเหตุผล เพราะมิฉะนั้นผู้ร่างกฎหมายก็สามารถบัญญัติกฎหมายอย่างไรก็ได้ โดยใช้คำว่า "ให้ถือว่า" เสียทั้งสิ้น บทบัญญัติที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐๙ เป็นตัวอย่างของความไร้เหตุผลในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติ "ให้ถือว่า" การกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการใดๆที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ทั้งๆที่ยังไม่รู้ว่าการกระทำนั้นจริงๆแล้วชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญหรือไม่ เท่ากับบัญญัติให้การกระทำในอนาคตพ้นไปจากเสียการตรวจสอบในทางตุลาการ ซึ่งขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจอย่างเห็นได้ชัด   ๗. เมื่อผู้ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้นโดยฝ่าฝืนกับหลักเหตุผลเช่นนี้ ในการตีความรัฐธรรมนูญตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ตีความจึงต้องตีความกฎหมายไปในทางแก้ไขให้สอดรับกับหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญนั้นมีทั้งบทบัญญัติที่เป็นคุณค่าพื้นฐานและบทบัญญัติที่เป็นรายละเอียด บทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญย่อมได้แก่ หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและหลักราชอาณาจักรที่เป็นรัฐเดี่ยว ซึ่งรัฐธรรมนูญเองก็ได้รับรองไว้ในมาตรา ๒๙๑ ห้ามมิให้เสนอญัตติขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง เท่ากับว่ารัฐธรรมนูญได้ยกคุณค่าของเรื่องดังกล่าวนี้ให้สูงกว่าบทบัญญัติอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น ในมาตรา ๓ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้บัญญัติให้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม และบทบัญญัติในมาตรา ๒๙ ก็บัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ การจำกัดตัดทอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลจะต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญของสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ ซึ่งย่อมหมายว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะต้องกระทำตามหลักความพอสมควรแก่เหตุเท่านั้น ๘. เมื่อพิเคราะห์หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญแล้ว ย่อมจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติมาตรา ๒๓๗ ของรัฐธรรมนูญ หากพิจารณาแต่เฉพาะถ้อยคำย่อมขัดกับคุณค่าพื้นฐานในตัวรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งหมายความว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตามหลักการที่ตนเองได้ประกาศไว้ เพราะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ไม่ได้รู้เห็นกับการกระทำความผิด จะถือว่าเป็นการกระทำตามหลักนิติธรรมไม่ได้ การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ถือว่าการกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยที่หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นรู้เห็นแล้วปล่อยปละละเลยเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และจะต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองนั้น เป็นการบัญญัติรัฐธรรมนูญจำกัดตัดทอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรกว่าเหตุจึงขัดกับหลักประชาธิปไตยและหลักการประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคล กรณีที่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญขัดกันเองเช่นนี้ องค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายย่อมจะต้องตีความบทบัญญัติที่เป็นรายละเอียดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เป็นหลักการ โดยจำกัดผลการใช้บังคับของบทบัญญัติที่เป็นรายละเอียดลง โดยอาศัยเหตุผลตามหลักวิชาที่ได้แสดงให้เห็นโดยสังเขปข้างต้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้ายจึงมีความเห็นว่า ในกรณีที่กรรมการบริหารพรรคผู้หนึ่งกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งแล้วถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง โดยที่หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย ย่อมถือไม่ได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของพรรคการเมืองนั้น และเมื่อถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของพรรคการเมืองเสียแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะต้องวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปวิถีทางตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ และด้วยเหตุดังกล่าวจึงจะดำเนินการยุบพรรคการเมืองนั้นไม่ได้ การใช้และการตีความกฎหมายเช่นนี้ย่อมสอดคล้องกับหลักเหตุผลและหลักการประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๒๙ กล่าวคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะองค์กรที่ริเริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมืองย่อมมีดุลพินิจที่จะพิจารณาได้ว่าการกระทำของบุคคลหรือของพรรคการเมืองนั้นถึงขนาดที่สมควรจะต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองหรือไม่ และหากเป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ใช้ดุลพินิจริเริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมืองแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีดุลพินิจในการวินิจฉัยในทำนองเดียวกัน ๙. อนึ่ง นอกเหนือจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว หากพิจารณากรณีที่เกิดขึ้นกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่งซึ่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วจะตีความกฎหมายให้ดำเนินการยุบพรรคการเมืองนั้นโดยอัตโนมัติ ผลในทางกฎหมายก็เสมือนกับว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะเป็นผู้มีอำนาจยุบพรรคการเมืองนั้นเองในทางความเป็นจริง เพราะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยศาลฎีกาได้ตีความรับรองไว้ว่าการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุดไม่อาจถูกตรวจสอบได้ (ซึ่งมีปัญหาอย่างยิ่งในทางทฤษฎี) หากยึดติดกับถ้อยคำตามกฎหมายแล้ว เมื่อมีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กลไกการยุบพรรคการเมืองจะตามมาทันที และหากไม่ตีความรัฐธรรมนูญตามที่กล่าวมาแล้ว แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญเองก็อาจจะไม่มีดุลพินิจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงในทางการเมืองว่าใครบ้างที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในระยะเวลาอันใกล้นี้และกฎเกณฑ์การสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีความชอบธรรมหรือไม่ ๑๐. กลไกทางกฎหมายที่ได้รับการออกแบบไว้โดยผู้ร่างรัฐธรรมนูญและผู้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้แม้ว่าอาจจะเกิดจากความหวังดีของผู้ร่างรัฐธรรมนูญและผู้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะขจัดการทุจริตการเลือกตั้ง แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดและรุนแรงเกินสมควรกว่าเหตุ การดำเนินการกับผู้ทุจริตการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำ แต่ต้องดำเนินการกับบุคคลนั้น ไม่ใช่กับพรรคการเมืองหรือบุคคลอื่นที่ไม่ได้กระทำความผิดด้วย มิพักต้องกล่าวว่าการออกแบบกลไกในลักษณะเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างมาก และเมื่อการใช้อำนาจดังกล่าวส่วนหนึ่งปราศจากการตรวจสอบในทางตุลาการ เช่น การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ปัญหามาตรฐานของการวินิจฉัยและความเสมอภาคในการใช้กฎหมาย ตลอดจนความเป็นธรรมต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนั้น กลไกดังกล่าวนี้จะเป็นกลไกที่กระทบกับประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และสร้างปัญหาทั้งทางการเมืองและกฎหมายให้กับประเทศ ๑๑. สมควรตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ด้วยว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ บรรดาบุคคลที่เข้าไปมีส่วนยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นแม้บางท่านจะมีความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง แต่จากวิกฤติการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นต้นมา ทำให้บุคคลเหล่านั้นกลายเป็นฝักฝ่ายทางการเมืองทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับหลักการที่ควรจะเป็นหลายมาตรา ดังนั้นการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งฉบับจึงเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำโดยเร็ว คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้าย ขอเรียกร้องให้บรรดาพรรคการเมืองทุกพรรคการเมืองร่วมมือกันในอันที่จะดำเนินการแก้ไขกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองให้เป็นไปตามหลักกฎหมายที่นานาอารยะประเทศนับถือ และไม่ควรจะจำกัดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียว  ยิ่งไปกว่านั้นขอยืนยันว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่จะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง การกล่าวอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการออกเสียงประชามติ จึงไม่ควรแก้ไขหรือยังไม่ควรแก้ไขนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่จงใจละเลยบริบทของการออกเสียงประชามติที่ประชาชนจำนวนมากถูกบีบบังคับโดยเทคนิคทางกฎหมายให้ต้องยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน เพื่อให้ประเทศพ้นจากสภาวะของรัฐบาลที่เป็นผลพวงจากการยึดอำนาจ และละเลยข้อเท็จจริงที่ว่ามีประชาชนออกเสียงไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้กว่าสิบล้านเสียง ขอเรียนด้วยว่าคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้ายไม่ประสงค์จะเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง แต่การออกแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นไปเพราะต้องการให้การปกครองประเทศเป็นไปตามหลักวิชา และมุ่งหวังให้การแก้ปัญหาทางการเมืองและกฎหมายดำเนินไปอย่างสันติและถูกต้องเป็นธรรมอย่างแท้จริง   รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์                                                                         รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช                                                                         อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล                                                                         อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล                                                                         อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/7737
2006-03-14 12:20
ทักษิณ ลั่นพร้อมเต็มที่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากเกิดเหตุรุนแรง
ประชาไท - 14 มี.ค.49      สำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังคงเป็นไปโดยปกติ โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมประชุมผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์จากจังหวัดอุบลราชธานี  ที่ประชุมครม.มีคำสั่งแต่งตั้งรัฐมนตรีรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี โดยให้พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ขึ้นจากรองนายกฯ คนที่ 3 มาเป็นรองนายกฯ คนที่ 1 แทนนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ โดยพ.ต.ท.ทักษิณระบุว่า การเลื่อนพล.ต.อ.ชิดชัยเป็นรองนายกฯ คนที่ 1 นั้นเนื่องจากดูแลด้านความมั่นคงจะได้ดูแลได้อย่างเต็มที่ในขณะที่ตนเองอยู่ต่างจังหวัด ขณะที่ พล.ต.อ.ชิดชัย เปิดเผยว่า คำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว ไม่มีนัยยะอะไร คงเป็นเพราะไม่ได้ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.และไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคไทยรักไทย ทำให้มีเวลาปฏิบัติหน้าที่มากกว่ารัฐมนตรีคนอื่น เพราะไม่ต้องลงพื้นที่ไปช่วยพรรคหาเสียง           เมื่อมติ ครม.ดังกล่าวออกมา แกนนำพันธมิตรที่ขึ้นปราศรัยบริเวณหน้าทำเนียบได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าการปรับเปลี่ยนรองนายกฯ ดังกล่าวอาจเป็นการเตรียมพร้อมให้มีการใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นการเตรียมการถอยของพ.ต.ท.ทักษิณ   ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ยืนยันหลังเสร็จสิ้นการประชุม ครม.ว่า  "แน่นอน พร้อมประกาศภาวะฉุกเฉิน ก็อยู่ที่ผมนี่แหละ พร้อมเซ็น ถ้ามีความจำเป็น ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายความมั่นคงหากเห็นว่ามีความจำเป็น เขาต้องการกฎหมายมาช่วยดูแลความเรียบร้อยผมก็ต้องเซ็น ถ้าเขาไม่ต้องการสามารถดูแลกันได้โดยไม่มีอะไรผมก็ไม่ทำ เขาให้ผมมาไว้เฉยเป็นก็อบบี้ เตรียมไว้ไม่เสียหาย เตรียมไว้เฉยๆ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ใช้ " นายกฯกล่าว   เมื่อถาม การเตรียมประกาศภาวะฉุกเฉินแสดงว่าประเมินแล้วจะมีเหตุการณ์รุนแรงใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เป็นเพียงการเตรียมพร้อมไว้ เนื่องจากเคยมีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้นในอดีต และผู้ที่เคยอยู่ในอดีตที่มีเหตุการณ์หนักๆ ก็เข้ามาอยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วยก็ต้องระวังไว้ก่อน ส่วนกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลที่จะเข้ามาชุมนุมในกทม.ก็ต้องขอร้องไม่ให้เขาชุมนุมอยู่ใกล้กันเพื่อป้องกันการปะทะ    นอกจากนี้รักษาการนายกฯ ยังประเมินสถานการณ์การชุมนุมว่าคงไม่มีอะไร  แต่เดิมทีมีรายงานว่าจะมีคนพยายามสร้างสถานการณ์หากมีคนมาชุมนุมมากเพียงพอ แต่บังเอิญว่ามีคนชุมนุมไม่มากพอ นอกจากนี้ฝ่ายรัฐยังใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีติดตามเฝ้าดูและถ่ายภาพไว้ทั้งหมด เพื่อที่จะได้มีหลักฐานหากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น   ส่วนความคืบหน้าในการเปิดเวทีพูดคุย ระหว่างกลุ่มต่างๆ นายกฯ กล่าวว่าขณะนี้หลายฝ่ายที่มีความปรารถนาดีต่อบ้านเมืองเชิญแต่ละฝ่ายมาคุยกันทางฝ่ายรัฐบาล ก็ให้ตัวแทนไปพูดคุยกันก็รู้สึกว่ามีท่าทีที่ดี ซึ่งในส่วนรัฐบาล ถ้าฝ่ายไหนมีความปรารถนาดีต่อบ้านเมืองอยากพูดคุย เราก็ส่งตัวแทนไปคุย                               ขณะเดียวกันสำนักข่าว AFP ได้รายงานข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ขู่จะประกาศภาวะฉุกเฉิน หากการชุมนุมต่อต้านตัวเขานำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง ทั้งนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉิน จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 30 วัน โดยไม่ต้องมีการตั้งข้อกล่าวหา,ตรวจค้นและจับกุมโดยไม่ต้องขอหมายจากศาล รวมทั้งสามารถดักฟังโทรศัพท์ นอกจากนี้ การประกาศภาวะฉุกเฉิน ยังคุ้มครองการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ได้รับการยกเว้นการถูกดำเนินคดีทางอาญาด้วย ทั้งนี้ AFP.ระบุว่า แหล่งข่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงรายหนึ่งเปิดเผยว่า หากมีการประกาศภาวะฉุกเฉินจริง สิ่งแรกที่จะทำคือการประกาศเคอร์ฟิว ในเขตกรุงเทพมหานคร
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/75956
2018-03-19 15:30
ชาวบราซิลประท้วงเหตุฆ่า 'มาริเอลล์ ฟรังโก' นักกิจกรรม-นักการเมืองเพื่อคนชายขอบ
ชาวบราซิลนับหมื่นออกมาประท้วงหลังมีเหตุฆาตกรรม มาริเอลล์ ฟรังโก นักกิจกรรมเลสเบียนที่เรียกร้องสิทธิให้กับคนที่ขาดโอกาสและไร้อำนาจทางการเมือง เธอถูกกราดยิงจากรถยนต์จนเสียชีวิตในคืนวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา มีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นการฆาตกรรมที่มีแรงจูงใจทางการเมือง   มาริเอลล์ ฟรังโก (ที่มา: Flickr/  [1]Mídia NINJA [1]) มาริเอลล์ ฟรังโก อายุ 38 ปี เป็นนักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชนและนักการเมืองผู้ถูกลอบสังหารในวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมาหลังจากที่เธอกำลังกลับจากงานรณรงค์การส่งเสริมผู้หญิงคนดำ เหตุเกิดในเมืองริโอเดอจาเนโร การเสียชีวิตของเธอทำให้ชาวบราซิลจำนวนมากออกมาชุมนุมแสดงความเสียใจต่อการจากไปของเธอ รวมถึงประท้วงการสังหารคนดำในบราซิล โดยมีการประท้วงมากกว่า 20 เมืองทั่วประเทศ ประชาชนนับหมื่นคนรวมตัวกันหน้าสภาเทศบาลเมืองเพื่อแสดงการรำลึกถึงมาริเอลล์ มีบางส่วนที่เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในเฟซบุ๊กเป็นรูปเธอเพื่อแสดงการสนับสนุนมาริเอลล์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีการใช้แฮชแท็ก #MariellePresente ที่แปลว่า "มาริเอลล์อยู่ที่นี่" นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมเดินขบวนใหญ่ของคนหลายหมื่นคนในเซาเปาโลด้วย มาริเอลล์เป็นคนที่เติบโตมาในแหล่งสลัมหรือฟาเวลาของริโอเดอจาเนโร เธอนิยามตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) และพยายามริเริ่มให้เกิดวันสร้างความตระหนักรู้ถึงตัวตนของหญิงรักหญิงโดยเคลื่อนไหวผลักดันร่วมกับกลุ่มแนวร่วมเลสเบียนแห่งริโอเดอจาเนโร มาริเอลล์ลงสนามการเมืองในสังกัดพรรคสังคมนิยมและเสรีนิยม (Socialism and Liberty Party) ของบราซิล ในปี 2560 เธอดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะสมาชิกสภาของริโอเดอจาเนโรโดยเป็นประธานกรรมการฝ่ายงานคุ้มครองสตรี จากที่เคยผ่านความยากจนและพบเจอประสบกับความรุนแรงมาก่อนทำให้มาริเอลล์ดำเนินกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน เป็นปากเสียงของคนตัวเล็กๆ โดยเฉพาะคนยากจนและคนเชื้อสายแอฟริกันผู้อยู่อาศัยในฟาเวลา มาริเอลล์วิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผยในเรื่องเดียวกับความรุนแรงจากตำรวจและการใช้กำลังทหารแทรกแซงฟาเวลา โดยในวันก่อนหน้าที่มาริเอลล์จะถูกสังหาร เธอโพสต์ทวิตเตอร์วิจารณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในฟาเวลา กรณีที่ตำรวจสังหารเยาวชนชายขณะที่เขากำลังเดินออกจากโบสถ์ เธอวิจารณ์ต่อไปว่าหน่วยสารวัตรทหารกองพันที่ 41 ที่มีฉายาว่าเป็น "หน่วยฆาตกร" ที่ใช้ความรุนแรงสังหารคนที่ยังเป็นเยาวชน การถูกสังหารของมาริเอลล์ทำให้คนพูดถึงเธอในหลายวงการรวมถึงกลุ่มสิทธิมนุษยชนอย่างแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ทั้งในแง่ของการรำลึกถึงสิ่งที่เธอทำไว้และการตั้งข้อสงสัยถึงแรงจูงใจในการก่อเหตุว่าน่าจะมาจากกลุ่มคนที่กลัวการที่เธอเป็นปากเป็นเสียงให้คนอื่นของเธอ มาร์เซโล เฟรโซ จากพรรคสังคมนิยมและเสรีนิยมบราซิลกล่าวว่าการสังหารดังกล่าวเป็นการจงใจฆาตกรรมอย่างเห็นได้ชัด จากการที่กระสุนทั้งหมดจงใจยิงไปที่เธอ และคาดว่าผู้ก่อเหตุน่าจะเป็น "มืออาชีพ" มีการตั้งข้อสังเกตอีกว่าน่าจะเป็นการสังหารที่มีแรงจูงใจทางการเมือง ราว 2 สัปดาห์ที่แล้ว มาริเอลล์เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รายงานพิเศษของสภาเมืองที่จะคอยตรวจสอบการแทรกแซงของทหารในริโอเดอจาเนโร จูเรมา เวอร์เน็ค ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำบราซิลกล่าวว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่ากลัว เป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นว่าผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนในบราซิลต้องอยู่กับความเสี่ยงอันตราย เวอร์เน็คยังพูดถึงมาริเอลล์อีกว่า ในฐานะที่มาริเอลล์เป็นกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนของริโอเดอจาเนโร เธอทำงานอย่างแข็งขันในการปกป้องสิทธิของหญิงคนดำและเยาวชนในฟาเวลาและในชุมชนชายขอบอื่นๆ เรียบเรียงจาก Brazil mourns lesbian activist assassinated in drive-by shooting, Gay Star News [2], Mar. 16, 2018 Brazilian Rights Activist Marielle Franco Assassinated in Rio, Telesur [3], Mar. 15, 2018 Say Her Name: Marielle Franco, a Brazilian Politician Who Fought for Women and the Poor, Was Killed. Her Death Sparked Protests Across Brazil, Reader Supported News [4], Mar. 16, 2018 ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Wikipedia, Marielle Franco [5]
1pos
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/67040
2016-07-23 22:45
สศช.เตรียมคลอดแผนพัฒนาฉบับ 12 ย้ำสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ประยุทธ์กล่าวปาฐกถาเปิดโชว์วิสัยทัศน์การพัฒนา คาดแผนฉบับ 12 ประกาศใช้ต.ค.นี้ ขณะที่ประธาน สศช.ย้ำ แผน 5 ปีนี้จะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของ คสช. วรัญชัย โชคชนะ โผล่ถามถ้ารัฐบาลจากการเลือกตั้งมีนโยบายไม่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติจะทำอย่างไร วันที่ 22 ก.ค.2559 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีการจัดการการประชุมประจำปี 2559 เรื่อง การร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีการนำเสนอวีดิทัศน์เรื่องการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ซึ่งนำเสนอแนวทางการวางกรอบการพัฒนาประเทศล่วงหน้า 20 ปีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน เปรียบประชาชนเสมือนกับผู้โดยสารรถไฟ โดยมีตั๋ว 664 เป็นหลักการในการวางยุทธศาสตร์ โดยเลข 6 ตัวแรกหมายถึง 6 ยุทธศาสตร์ของร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560 - 2579 ซึ่งเป็นกรอบการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้แก่ การสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ, การสร้างความสามารถในการแข่งขัน, การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน, การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม, การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ตัวเลขที่เหลือ คือ การกำหนดแนวทาง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จำนวน 10 ด้าน สู่การปฏิบัติในช่วง 5 ปีข้างหน้าโดยกำหนดให้สอดคล้องกับ “กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี”  กับ 6 ยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ชาติ (พัฒนาและส่งเสริมทุนมนุษย์, สร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม, สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการแข่งขันอย่างยั่งยืน, การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, ความมั่นคง, เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในภาครัฐและธรรมาภิบาล) บวกอีก 4 ยุทธศาสตร์ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญในการขับเคลื่อนในอีก 5 ปีข้างหน้า (การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์, วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม, การพัฒนาภาคเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ, การต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแสดงปาฐกถาพิเศษว่า แผนยุทธศาสตร์ชาติ 664 เป็นแผนต่อเนื่องระยะยาว ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ เป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนที่จะมาช่วยกันวางแผนพัฒนาประเทศชาติให้ดีกว่าเดิม ลดความเสี่ยงในอนาคตจากทั้งภายในและภายนอก โดยการทำงานของนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานและโครงการอื่นๆ โดยตลอด เช่นโครงการประชารัฐ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ผ่านมาทางครม.และคสช. ได้พยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 คาดว่าจะปรับปรุงจนสามารถประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคมนี้ โดยการพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปีข้างหน้าได้กำหนดทิศทางเอาไว้เรียบร้อยแล้วและจะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เพราะรัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มประสิทธิภาพในการแข็งขันให้มากขึ้น พัฒนาคุณภาพมนุษย์ สร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ นายกรัฐมนตรีกล่าวอีกว่า ในปัจจุบันการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจมีอยู่สูง ประเทศอื่นๆ มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ประเทศไทยจึงเร่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งเพื่อการแข่งขัน โดยหน้าที่ของผู้ใหญ่ในปัจจุบันที่จะต้องสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศ ก็เพื่อสร้างประเทศในระยะยาว เพื่อคนรุ่นหลัง การกำหนดจุดหมายในระยะยาวให้ชัดเจนก็เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาอย่างมีจุดหมาย การพัฒนาต่างๆ จะเชื่อมโยงกัน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การสร้างความมั่นคงนั้นสำคัญ ไม่ใช่แค่มั่นคงในเรื่องการเพิ่มกองกำลังหรืออำนาจทหาร หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความมั่นคงในรูปแบบดังกล่าวประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา นอกจากนี้ยังมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจที่จะเกิดจากการพัฒนาสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าต่างๆ รวมไปถึงกันพัฒนาคุณภาพศักยภาพมนุษย์ ส่วนความเสมอภาคเท่าเทียมนั้นไม่มีในโลกของประชาธิปไตยเพราะมีต้นทุนทางเศรษฐกิจ มีเรื่องการลงทุน การเปิดเสรีต่างๆ ปัญหาก็คือการทุจริตต่างๆ ที่ทำให้ความไม่เท่าเทียมมากขึ้นไปอีกจึงต้องแก้ไขปัญหาทุจริต เรื่องการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จะต้องวางแผนมองไปข้างหน้าถึงแผนต่อๆ ไป ต้องต่อยอดไปเรื่อยๆ ปัจจัยที่จะทำให้แผนยุทธศาสตร์สำเร็จจะอยู่ที่ประชาชน ที่จะเป็นผู้เลือกรัฐบาลต่อๆ ไป นายกรัฐมนตรีเสนอว่า การลงทุนหรือการพัฒนาต่างๆ ควรจะใช้หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือไม่เร็วไม่ช้าไป พอดีๆ ให้พอประมาณตน และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ หลักจริยธรรมต่างๆ ควรปลูกฝังให้แก่เยาวชน เป็นการสร้างจิตสำนึก เมื่อบุคคลากรมีหลักธรรมาภิบาล ปัญหาการทุกจริตก็จะลดลงไป ประเทศไทยก็จะมีจุดยืนในเวทีโลก การเมืองที่ผ่านมาทำให้คุณภาพของการศึกษาไทยตกลงไป เนื่องมาจากความผันผวนทางการเมือง ต่อจากนี้ปัญหาความไม่แน่นอนต่างๆ จะถูกแก้ด้วยหลักยุทธศาสตร์ชาติ เช่นเดียวกันกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือกฎหมาย นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่า การพัฒนาจะต้องมองไปถึงเวทีโลก ประเทศไทยไม่ได้โดดเดี่ยวในเวทีโลก ที่ผ่านมามีการร่วมทางการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับต่างประเทศมาโดยตลอด แนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ต่อมามีการประชุมระดมความเห็น เรื่องการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12  พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานสศช. กล่าวว่า แผนนี้จะเป็นแผนที่กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้า  เป็นระยะแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงถือว่าเป็นช่วงการพัฒนาที่สำคัญของการปฏิรูปและพัฒนาประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการร่างแผนพัฒนาที่จะเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศระยะยาว คือการพัฒนาคุณภาพบุคลากร เช่นการพัฒนาการศึกษาที่จะขัดเกลาจริยธรรม สร้างนิสัยและเพิ่มศักยภาพ โดยให้เน้นการสร้างนิสัยความเป็นไทยที่เท่าทันโลก วรัญชัย โชคชนะ นักกิจกรรมทางการเมืองตั้งคำถามว่า แผนฉบับที่ 12 จะสามารถเพิ่มการพัฒนาการเมืองเข้าไปในแผนพัฒนาด้วยได้หรือไม่ เพราะการพัฒนาการเมืองจะเป็นตัวช่วยให้เกิดการพัฒนาในแง่อื่นๆ ต่อไป คำถามที่สองคือ ถ้านโยบายของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งขัดกับแผนยุทธศาสตร์ชาติจะทำอย่างไร ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการ สศช.ตอบว่า  การพัฒนาการเมืองจะอยู่ในกรอบของการพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อมให้สมดุล เรื่องของการเมืองจะอยู่ในการดูแลของสภาพัฒนาการเมือง การเมืองเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของความมั่นคง นอกเหนือจากนั้นจะเป็นเรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนคำถามที่สองนั้นขอปฏิเสธที่จะตอบแต่ขอถามกลับว่าถ้านักการเมืองอย่างวรัญชัยไม่เอาแผนยุทธศาสตร์จะทำอย่างไร ประเด็นต่างๆ ต้องร่วมกันคิด     ผู้ที่สนใจร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.nesdb.go.th/ewtadmin/ewt/nesdb_th/download/content/Yearend2016/Yearend2016-01.pdf [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/19650
2009-01-11 16:15
ผล เอ็กซิท โพล "สุขุมพันธุ์" ว่าที่ ผู้ว่าฯ กทม.
11 ม.ค. 52 - ผล EXIT โพลของสวนดุสิตในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ปรากฎว่าอันดับ 1 คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร 46.75% อันดับ 2 ยุรนันท์ ภมรมนตรี 26.92% อันดับ 3 ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล 18.50% อันดับ 4 แก้วสรร อติโพธิ 6.37% เหตุผลของคน กทม. ที่เลือก "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" อันดับ 1 ชอบพรรคที่สังกัด 32.31% อันดับ 2 ชอบตัวผู้สมัคร 23.08% อันดับ 3 มีประสบการณ์ในการทำงาน 20.00% อันดับ 4 ชอบนโยบาย 15.38% อันดับ 5 จะได้ร่วมงานกับนายกฯ อย่างเต็มที่ 9.23% เหตุผลของคน กทม. ที่ไม่เลือก "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" อันดับ 1 ไม่ชอบพรรคที่สังกัด 47.37% อันดับ 2 มีบุคลิกที่ไม่เด็ดขาด 21.05% อันดับ 3 อายุมากเกินไป 15.79% อันดับ 4 ลองเปิดโอกาสให้คนใหม่ๆ บ้าง 10.53% อันดับ 5 อยากให้มีคนนอกมาคานอำนาจรัฐบาล 5.26% เหตุผลของคนที่ ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันดับ 1 เป็นหน้าที่ของทุกคน/รักษาสิทธิ์ที่มีอยู่ 78.67% อันดับ 2 อยากได้คนดีเข้ามาทำงาน 10.66% อันดับ 3 อยากเห็นกรุงเทพฯมีการพัฒนาที่ดีขึ้น 4.27% อันดับ 4 เดินทางสะดวก ใกล้บ้าน 3.79% อันดับ 5 ชื่นชอบตัวผู้สมัคร 2.61% เหตุผลของคนที่ ไม่ไป ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันดับ 1 ติดธุระ/ไม่ว่าง 34.62% อันดับ 2 เบื่อการเมือง 23.08% อันดับ 3 สุขภาพไม่ดี 17.31% อันดับ 4 เดินทางไม่สะดวก 15.38% อันดับ 5 ไม่มีผู้สมัครที่ถูกใจ 9.61% ปัญหากทม.ที่อยากให้ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่แก้ไข อันดับ 1 การจราจร 46.45% อันดับ 2 ขยายเส้นทางขนส่งมวลชน เช่น 17.73% รถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ ฯลฯ อันดับ 3 ปัญหาเศรษฐกิจ/ปากท้อง 14.18% อันดับ 4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 12.41% อันดับ 5 สิ่งแวดล้อม มลพิษทางน้ำ อากาศ 9.23% ความเคลื่อนไหวหลังสำนักวิจัย ศรีปุทม เอแบคโพล และ สวนดุสิตโพล เปิดเผยผลสำรวจเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.โดยผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความไว้วางใจจากคน กทม.นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดใจหลังปิดหีบลงคะแนนว่า ไม่ว่าผลนับคะแนนเป็นอย่างไร ขอกราบขอบพระคุณ ประชาชนที่ออกมาลงคะแนนในการเลือกตั้ง ยืนยัน จะทำหน้าที่เป็นผู้ว่าฯ ขอคนทุกกลุ่มทุกวัยทุกศาสนาหากได้รับความไว้วางใจจริงดังที่โพลระบุไว้ นอกจากนี้ยังได้ขอบคุณผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทุกคนที่เสนอตัวมาทำงานให้ชาวกรุง ทางด้าน นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ผู้สมัครฯจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งผลเอ็กซิทโพลได้ลำดับสองยังขอดูผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการและไม่เสียใจที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับความไว้วางในลำดับสาม อย่าง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ก็ได้ขอบคุณเสียงสนับสนุนจากประชาชนเช่นเดียวกันโดยพร้อมจะทำงานให้คนกรุงเทพฯในรูปแบบอื่น และพร้อมจะกลับมาในเส้นทางการเมืองใหม่อีกครั้ง นับแล้วร้อยละ97สุขุมพันธ์ขาดลอยกว่า 9 แสน ความคืบหน้าการนับคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่รายงานเข้ามายังศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่ศาลาว่าการ กทม. ณ เวลา 22. 00 น. ขณะนี้สามารถนับคะแนนได้ 97.61% ปรากฏว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ 912,373 คะแนน ,นายยุรนันท์ ภมรมนตรี 597,699 คะแนน ,ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ได้ 326,889 คะแนน ,นายแก้วสรร อติโพธิ 141,060 คะแนน ,นางลีนา จังจรรจา ได้ 8,644 คะแนน ,นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล 5,804 คะแนน ,นายเอธัส มนต์เสรีนุสรณ์ ได้ 4,013 คะแนน ,นายวิทยา จังกอบพัฒนา 3,550 คะแนน ,นายกงจักร ใจดี ได้ 2,317 คะแนน ,นายธรรณม์ชัย รุ่งจิรโรจน์ ได้ 2,171 คะแนน ,นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์ 1,833 คะแนน ,ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญ 1,359 คะแนน ,นายอิสระ อมรเวช ได้ 899 คะแนน และนายอุดม วิบูลเทพาชาติ ได้ 639 คะแนน   อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเขตพญาไท ที่มีปัญหาการร้องเรียนจากนายยุรนันท์นั้น จนถึงเวลา 22.00 น. ก็ยังไม่สามารถนับคะแนนได้ โดยกรรมการนับคะแนนประจำเขต อยู่ระหว่างประชุมร่างประกาศการนับคะแนน เพื่อเตรียมดำเนินการนับคะแนนไปก่อน จากนั้นจึงจะเป็นในส่วนการพิจารณาของ กกต.กทม.ต่อไป   "แซม"ร้องระงับการนับคะแนนเขตพญาไท กกต.ถกด่วน ความคืบหน้าปัญหาที่เขตพญาไท ซึ่งมีการสั่งระงับการนับคะแนนนั้น เมื่อเวลา 19.00 นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย ได้ส่งเจ้าหน้าที่นำหนังสือร้องเรียนขอให้ระงับการนับคะแนนในเขตพญาไท พร้อมส่งหลักฐานการบันทึกภาพ ให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร(กกต.กทม.) นอกจากนี้ ยังร้องเรียนกรณีที่หน่วยเลือกตั้งที่ 70-73 เขตพญาไท ไม่มีการปิดผนึกหีบบัตรเลือกตั้งก่อนขนย้ายไปยังสถานที่นับคะแนนของเขต   ล่าสุด นายมนูญ ศิริวรรณ ประธาน กกต.ท้องถิ่น กทม. เปิดเผยว่า กกต.กทม. และกกต.ท้องถิ่น จะประชุมร่วมกันเป็นการด่วนที่ศาลาว่าการ กทม. เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวว่าจะรับคำร้องหรือไม่ ซึ่งหากที่ประชุมเห็นสมควรรับคำร้องก็จะต้องดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ส่วนผลคะแนนของเขตพญาไทก็จะต้องยกไว้ก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในเวลา 21.00 น. กกต.กทม.จะได้ข้อสรุปเบื้องต้นออกมา   ขณะที่นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ผอ.การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางไปร้องเรียนที่เขตพญาไท ด้วยตนเอง   ปธ.กกต.เชื่อหีบบัตรพญาไทไม่ทำให้ผลเลือกผู้ว่าฯกทม.เปลี่ยน นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. เปิดเผยถึงกรณีการนับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ที่เขตพญาไทไม่ได้ เนื่องจาก พรรคเพื่อไทยร้องว่าหีบบัตรจากหน่วยหนึ่งอาจจะไม่โปร่งใส ซึ่ง กกต. กทม. ได้วินิจฉัยให้บันทึกและรับเป็นเรื่องร้องเรียนเอาไว้ และให้นับคะแนนในเขตดังกล่าว   อย่างไรก็ตาม นายอภิชาตระบุว่า จากกรณีดังกล่าวตนเชื่อว่าจะไม่ทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงเพราะคะแนนห่างเป็นจำนวนมาก และหีบที่มีปัญหาก็มาจากหน่วยเดียวเท่านั้น   กองทัพประสานเสียงให้ผู้ว่าฯกทม.มุ่งมั่นทำงาน เมื่อเวลา 12.30 น.ที่ หน่วยเลือกตั้งที่79 สวนวังทอง2 ซ. ลาดพร้าว 71 เขตวังทองหลาง พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการลงคะแนนเลือกผู้ว่ากรุงเทพฯว่า อยากฝากผู้ว่าคนใหม่ให้ดูแลในเรื่องการจราจร การก่อสร้างอาคารที่ให้ความปลอดภัยกับประชาชน และ เชื่อว่าทุกคนจะไม่เบื่อหน่ายในการมาเลือกตั้ง เพราะเป็นเรื่องของระบอบประชาธิปไตย การใช้สิทธิใช้เสียงถือเป็นเรื่องสำคัญ   พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า ปัญหาในท้องถิ่นที่ทราบกันดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจราจร น้ำท่วม ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของงท้องถิ่น อยากฝากผู้ว่า กทม. คนใหม่ทำทุกอย่างให้ดีขึ้น   พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองใหญ่ มีปัญหามาก ทีมงานต้องมีความรอบรู้ในด้านต่างๆ และผู้ว่าฯคนใหม่จะต้องเสียสละมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานแก้ปัญหาต่างๆอย่างแท้จริง ส่วนเรื่องการดำเนินงานในด้านต่างๆต้องมีความโปร่งใสและเป็นผู้บริหารที่ทำเพื่อคนกรุงเทพฯอย่างแท้จริง ไม่ได้ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง   ปชช.ใช้สิทธิ์ลต.ผู้ว่าฯ54%-ซ่อมสส.60% กกต. แถลงภาพรวมเลือกตั้งหลังปิดหีบ คนใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. 54% ซ่อม สส. 60% มีเรื่องร้องเรียน 25 คดี   นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กล่าวถึงภาพรวมการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส.แทนตำแหน่งที่ว่างลง ใน 22 จังหวัด 26 เขตเลือกตั้ง 29 ตำแหน่ง และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เบื้องต้นมีผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส.ประมาณร้อยละ 60 ส่วนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีผู้ใช้สิทธิ์ประมาณร้อยละ 54 ขณะที่มีการร้องเรียนทุจริตเลือกตั้ง 25 คดี เช่น ร้องเรียนนายอุดร ทองประเสริฐ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อแผ่นดิน กกต.จะรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณา ขณะที่ จ.ลำพูน มีการร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่วางตัวไม่เป็นกลาง 1 คดี โดยข้อร้องเรียนทั้งหมด กกต.จังหวัดจะรวบรวมสืบสวนต่อไป             เรียบเรียงจาก : เว็บไซต์ไอเอ็นเอ็น, เว็บไซต์คมชัดลึก, เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์   หมายเหตุ : เพิ่มเติมข่าววันที่ 12 ม.ค.52 เวลา 0.35 น.
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/32605
2011-01-10 22:07
นักวิชาการชี้ถกแก้สัมพันธ์โครงสร้างรัฐให้บ้านเมืองเดินต่อ
10 ม.ค. 54 - ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) คณะรัฐศาสตร์ จัดสัมมนาประจำปี 2554 เรื่อง " เมืองไทยหลังวิกฤติ : ทิศทางการเมือง การบริหาร และการต่างประเทศไทย"  โดยเชิญนักวิชาการหลายคนมาร่วมเสวนา มี รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มธ. กล่าวในหัวข้อ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข : ที่มาและที่ไป" ใจความสำคัญว่า การปกครองที่ผ่านมาเป็นการปรองดองของชนชั้นนำไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 รอบเหตุการณ์ ซึ่งแบ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพลังนำ เนื้อหาและวิธีการปรองดองกับประชาธิปไตย โดยทุกเหตุการณ์ยังคงมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอ ได้แก่ 1.ระบอบประชาธิปไตยภายใต้การนำของคณะราษฎร 2.ระบอบประชาธิปไตยอันพรั่งพร้อมด้วยความสามัคคีธรรมตามรัฐธรรมนูญ 3.ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 4.ระบอบประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ 5.ระบอบกึ่งประชาธิปไตยใต้ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "เกษียร" ชี้ทหาร-ตุลาการน่าห่วง-นายกฯตกต่ำ นาย เกษียร กล่าวต่อไปว่า ตามรัฐธรรมนูญพ.ศ.2492 โดยเฉพาะประเด็น นายปรีดี พนมยงค์ มองรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับอำมาตย์โดยแท้จริง ซึ่งปัจจุบันกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)ใช้เป็น หลักในการวิพากษ์การเมืองไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังยกตัวอย่างกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้ในช่วงที่เกิดวิกฤติทางการเมือง ระบุว่า “ จำไว้ว่า สถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว เมื่อเกิดสุญญากาศทางการเมืองจริง ๆ อย่างเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516”  นายเกษียร ยังกล่าวถึงบทบาทสำคัญของนักกฎหมายมหาชน มีบทบาทต่อการตีความกฎหมาย โดยกล่าวถึงนายมีชัย ฤชุพันธ์ กรรมการกฤษฎีกา นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ ว่า ขอให้นักกฎหมายเหล่านี้ต้องรักษาอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้ให้ได้ ส่วนกรณีระบอบกึ่งประชาธิปไตยภายใต้ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของอำนาจเครือข่ายของกองทัพ กับตุลาการเกิดขึ้น ทำให้อำนาจทหารถูกต่อต้านอย่างรุนแรง เนื่องจากที่ผ่านมา ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นทางการล่วงล้ำอำนาจที่เป็นทางการ เช่น การประชุมลับของตุลาการ หรือการหารือในมื้ออาหารย่านสุขุมวิท จนถูกมองว่า นายกรัฐมนตรีถูกคุกคามอำนาจ ถึงขั้นตกต่ำมาก โดยรวมถือว่าอำนาจดังกล่าวไม่เวิร์ก "ประจักษ์ "ชี้กองทัพรัฐซ้อนรัฐ-รัฐประหารเกิดได้ ต่อ มา นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มธ. กล่าวในหัวข้อ "รัฐสองขั้ว ประชาสังคมสองเสี้ยว โครงสร้างความรุนแรงการเมืองไทย" ว่า ความขัดแย้งในภาคประชาสังคมไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะคนเราย่อมมีทัศนคติที่แตกต่างกัน แต่ในส่วนของคนไทยที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เพราะการเผชิญหน้าเป็นสองฝักสองฝ่ายในภาคประชาสังคมที่เกิดขึ้นภายใต้บริบท อำนาจรัฐขาดเอกภาพ อีกทั้งสถาบันทางการเมืองไม่พัฒนาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของคนในสังคมจึง ทำให้เกิดความุรนแรง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา ในกรณีของไทยไม่เรื่องศักยภาพ แต่เป็นปัญหาที่สถานะทางการเมืองหลักถูกแทรกแซงจากศูนย์อำนาจนอกการเลือก ตั้ง ที่มีปรากฏการณ์ทหารแตงโม ตำรวจมะเขือเทศ ที่ทุกหน่วยงานมีภาวะความแตกขั้วของการจงรักภักดีทางการเมือง โดยเฉพาะกลไกภาครัฐด้านความมั่นคง กองทัพมีอิสระอย่างสูงเหนือจากกลไกรัฐที่มาจากการเลือกตั้งถือเป็นปัญหาใหญ่ รวมไปถึงกรณีที่บางฝ่ายฝากความจงรักภักดีไว้กับศูนย์อำนาจที่มาจากการเลือก ตั้ง และอีกฝ่ายยอมรับศูนย์อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง   "กองทัพเป็นเหมือนสภาวะรัฐซ้อนรัฐ ทำให้เกิดการรัฐประหารขึ้นได้ การเมืองไทยมีความซับซ้อนมาก โดยเฉพาะความขัดแย้งหลักทางการเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร หรือพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ หรือกลุ่มคนเสื้อเหลืองกับคนเสื้อแดง แต่เป็นความขัดแย้งที่มาจากศูนย์อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งและศูนย์อำนาจนอก เหนือจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ทางออกอยู่ที่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐและสถาบันการเมืองหลักของชาติ คือการเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในพื้นที่สาธารณะด้วยเหตุผลที่สร้างสรรค์ เราจะวางตำแหน่งและวางความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ สถาบันองคมนตรี กองทัพ ตุลาการ พรรคการเมือง รัฐสภา และขบวนการมวลชนอย่างไร" นายประจักษ์ กล่าวสรุปว่า ทางออกป้องกันความรุนแรงคงหนีไม่พ้นต้องปฏิรูปโครงสร้างของรัฐและสถาบันการ เมืองหลักของชาติ ยกตัวอย่าง สเปน และ ญี่ปุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมไปถึงกองทัพต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และไม่ดึงสถาบันลงมาเป็นคู่ขัดแย้ง ขณะเดียวกัน ต้องพิทักษ์ปกป้องพื้นที่ประชาธิปไตยอันเป็นที่แสดงออกของประชาชน ทั้งนี้ ต้องลดทอนอำนาจนอกระบบเลือกตั้งให้มากที่สุด ผู้สื่อข่าวรายงานต่อมาในช่วงบ่าย การสัมมนาหัวข้อ “ทิศทางการต่างประเทศไทย” โดยมีหัวข้ออภิปรายในบทความ “การต่างประเทศไทยในภาวะวิกฤติ” โดยนายจุลชีพ ชินวรรโณ ย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายเตช บุนนาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ใจความสำคัญระบุถึงสถานการณ์ด้านต่าง ประเทศของไทยในรอบปีที่ผ่านมา มีการชุมนุมจนนำไปสู่การใช้กำลังจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงการเมืองภายในกระทบต่อการเมืองการต่างประเทศด้วย โดยมีปัจจัย 3 ประการคือ 1.ความขัดแย้งแตกแยกภายในประเทศ 2.รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 โดยเฉพาะมาตรา 190 ที่ต้องเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร 3.คู่แสดงที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้านการต่างประเทศมีผู้มีส่วนร่วม มากขึ้น ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มีทั้งภาคประชาสังคม ทำให้ส่งผลกระทบต่อความละเอียดอ่อนด้านการต่างประเทศของไทย "จุลชีพ"ห่วงปม"พระวิหาร-4.6ตร.กม.-เอ็มโอยู43" นาย จุลชีพ อธิบายถึงช่วง 6 เดือนหลังของปี 2553 ว่า มีการท้าทายอย่างมากต่อเรื่องทางการไทยส่งตัวนายวิกเตอร์ บูท ให้สหรัฐอเมริกา โดยอ้างข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ขณะเดียวกัน รัสเซียไม่ต้องการส่งตัวให้สหรัฐฯ มีกระแสวิพากษ์ว่า การตัดสินของศาลไทยกรณีนายวิกเตอร์ บูท ถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจ อย่างไรก็ตาม วิกิลีกส์ เปิดเผยข้อมูลอ้างว่ามีการหารือระหว่างทูตสหรัฐฯ กับนายกรัฐมนตรีไทย ขอให้ดำเนินคดีกับนายวิกเตอร์ บูท ซึ่งกรณีนายวิกเตอร์ บูท อาจทำให้อเมริกาต้องดำเนินการต่างตอบแทนกับรัฐบาลไทย แม้จะไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-รัสเซีย ถือเป็นการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกาด้วย กรณี พ.ต.ท.ทักษิณขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม ตั้งข้อสังเกตความสัมพันธ์ไทย- จีน - ญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์เฉื่อยลง เนื่องจากมีช่างภาพญี่ปุ่นเสียชีวิต    นายจุลชีพ ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านว่า ด้านความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียดหลังจาก 7 คนไทยถูกกัมพูชาจับ ส่วนรัฐบาลไทยก็เจรจากับกัมพูชาเพื่อลดความตึงเครียด เรื่องเขตแนวชายแดน ประเด็นการพิจารณามรดกโลกปราสาทพระวิหาร ส่งผลให้กัมพูชาเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ เกิดพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาในรอบ 4 เดือน คือ 1.พ.ต.ท.ทักษิณ ถอนตัวเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจกัมพูชา 2.การส่งทูตกลับคืน 3.มีการพบปะระหว่างผู้นำทางทหารระหว่างไทย-กัมพูชา พัฒนาการดังกล่าวหลายฝ่ายมองว่าความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาจะดีขึ้น แต่กรณี 7 คนไทย โดยเฉพาะ นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ และนายวีระ สมความคิด ถูกจับกุมขึ้นศาลกัมพูชา ทำให้รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศต้องร่วมมือกันดำเนินการประสานความเข้าใจที่ถูกต้อง นายจุลชีพ เสนอประเด็นที่น่าเป็นห่วงระหว่างความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา มีดังนี้ 1.กรณีปราสาทพระวิหารมีข้อถกเถียงยังหาข้อสรุปไม่ได้ 2.พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ต่างฝ่ายจะอ้างสิทธิทับซ้อน 3.กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะเข้าสู่ที่ประชุมยูเนสโก้ กลางปีนี้ ที่บาห์เรน 4.ข้อตกลงตามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา(เอ็มโอยู 2543 ) ต้องนำมาพิจารณาตามคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เจบีซีถือเป็นปัญหาสำคัญ รัฐบาลทั้ง 21 ประเทศ ต่างใช้กระบวนการเจรจา และกระบวนการยุติธรรม ไม่ให้มีอุปสรรคต่อการเจรจา นายจุลชีพกล่าวด้วยว่า แนวโน้มความสัมพันธ์ไทยระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต คือ 1.การเมืองภายในของไทยและความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งภายในอำนาจรัฐและ ภาคประชาสังคม ถือเป็นตัวแปรสำคัญ 2.รัฐธรรมนูญ 2550 ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ามีบทบัญญัติกรณีใดบ้างต้องพิจารณาเข้าสู่สภา 3.ด้านภาคประชาสังคมขอให้มีสติในการดำเนินการใดๆ ที่จะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ "เตช"มองประชาสังคมไม่เป็นปัญหา-แต่ 2 ปีไร้ระเบียบ ด้าน นายเตช บุนนาค อภิปรายว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งตราบใดการเมืองภายในของไทยไม่มีเสถียรภาพ การดำเนินการด้านต่างประเทศจะไม่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มาตรา 190 มีปัญหาระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้มีปัญหาต่อกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ คิดว่าควรจะแก้ไขหรือมีพ.ร.บ.หรือกฎหมายลูกเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคประชาสังคม คิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาต่อการดำเนินการด้านการต่างประเทศ แต่สิ่งที่เกิดขึ้น 2 ปีคือภาคประชาสังคมเข้าร่วมไม่มีระเบียบวินัย หรือไม่พิจารณานโยบายด้านการต่างประเทศได้อย่างสร้างสรรค์ ทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพในการพิจารณา นายเตช กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศมหาอำนาจ กรณีศึกษานายวิกเตอร์ บูท รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ถือว่าตกต่ำลงอย่างมากเมื่อเทียบกับพ.ศ.2546 ในฐานะไทยเป็นเจ้าภาพอาเซียน ถือว่าประวัติการทูตดีสูงสุด แต่ในฐานะที่ไทยไม่สามารถเป็นผู้นำสูงสุดได้ เนื่องจากการเมืองภายในประเทศ ในกรอบอาเซียน การประชุมอาฟต้า ฟรีเทรดแอเรีย ไทยถือเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งอาเซียน อาฟต้า หรือ"แอคมิค" ถือเป็นความริเริ่มของไทยทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การล้มประชุมอาเซียนที่พัทยา ถือเป็นความน่าละอายใจอย่างยิ่ง รัฐบาลนี้ได้อานิสงค์มาจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งสิ้น กรณีการจับกุมนายวิกเตอร์ บูท วิพากษ์รัฐบาลไทยควรจะร่วมมือจับกุมนายวิกเตอร์บูทหรือไม่ กรณีวิกิลีกส์เปิดเผยข้อมูลการทูตถึง 4 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับนายวิกเตอร์ บูท ที่นายอีริค จี จอห์น อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถือเป็นการพูดในทุกโอกาส ทุกระดับ และถือว่าเป็นการซึมซับข้อมูลไปยังทุกระดับ จนกระทั่งมีการส่งตัวนายวิกเตอร์ บูท เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปยังสหรัฐฯ นายเตช กล่าวถึงกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ไทย-กัมพูชา เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ส่วนกรณี 7 คนไทยถูกจับกุมและพิจารณาเข้าสู่ศาลของกัมพูชา จะไม่ขอพูดเนื่องจากจะมีผลต่อนโยบายด้านการต่างประเทศและการตัดสินคดีของศาล กัมพูชา "ตราบใดการเมืองภายในไม่มีเสถียรภาพจะ ทำให้ไม่สามารถทำให้นโยบายด้านการต่างประเทศมีประสิทธิภาพได้ ผมเห็นว่าสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลไม่ได้ทำ เท่าที่จะทำได้ คือรัฐบาลเคยออกมาพูดว่าหวังว่าจะไม่มีการเชื่อมโยงกรณีนายพนิช กับความสัมพันธ์กับกัมพูชา แต่ศัพท์ที่รัฐบาลใช้ คือคำว่า ดีลิงค์ ความสัมพันธ์ ซึ่งส่งผลต่อการเจรจาการปักปันเขตแดน โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับรองนายกฯกัมพูชา นายซก อัน จะหารือกับผู้แทนไทย นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผมคิดว่าผู้จะได้ประโยชน์มากคือประเทศไทย ถนนบริเวณจังหวัดพิษณุโลก เหมือนกับที่นายกรณ์ จาติกวณิชย์ มักพูดเสมอเรื่องการท่องเที่ยวว่าควรดีลิงค์ การท่องเที่ยวกับจังหวัดอื่น ๆ ด้วย" นายเตช กล่าว ที่มาข่าว: กรุงเทพธุรกิจ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/8967
2006-07-14 01:31
คนเชียงใหม่เตรียมจัดเวทีต้านไม่เอาพนังกั้นฝั่งแม่น้ำปิง
ประชาไท—14 ก.ค. 2549 เครือข่ายแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบภาคประชาชน ร่วมกับชมรมเชียงใหม่ฮักฝั่งปิง ต้านไม่เอาพนังกั้นสองฝั่งแม่น้ำปิง ชี้เป็นการแก้ไม่ถูกจุด เตรียมจัดเวทีเสวนาทางวิชาการ"น้ำท่วมเจียงใหม่ เยียะจะใดแก้" ก่อนรวมพลเดินเท้าเข้าร่วมรายการ ITV Hot News พบประชาชน เรื่องวิกฤตน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่   ตามที่เมืองเชียงใหม่ได้ประสบกับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมาหลายครั้งติดต่อกัน จนกระทั่งองค์กรหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายฝ่ายได้ออกมาเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากัน โดยทางภาครัฐได้ออกมาเสนอแนวทางให้มีโครงการสร้างพนังกั้น 2 ฝั่งแม่น้ำปิงในเขตพื้นที่เศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้สร้างความคลางแคลงใจต่อภาคประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่า โครงการสร้างพนังป้องกันน้ำท่วม แต่เดิมนั้น เคยมีการเสนอมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ก่อนที่จะเกิดน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ โดยก่อนหน้านั้น ได้มีการเสนอเงินงบประมาณ 6 ล้านบาท ในระยะทางรวม 11 กิโลเมตร กระทั่งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ โครงการดังกล่าวกลับมีการหยิบยกมานำเสนอขึ้นใหม่ และได้มีการขยายระยะทางก่อสร้างเพิ่มเป็น 19.4 กิโลเมตร ในวงเงินงบประมาณเพิ่มสูงถึง1,385 ล้านบาท   โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เสนอแบบพนังทั้งหมด 5 แบบ มีทั้งการปรับเป็นสวนสาธารณะ 3 ระดับ 2 ระดับ เขื่อนริมน้ำ ปรับปรุงเขื่อนเดิม และปรับปรุงยกระดับถนน แต่ในภาคประชาชน โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ต่างพากันออกมาคัดค้านไม่เอาด้วย กับการสร้างพนังกั้นน้ำปิง โดยเฉพาะชุมชนในย่านฟ้าฮ่าม ย่านวัดเกตุ ถึงกับมีการขึงป้ายคัดค้านการสร้างแนวพนังกั้นน้ำปิงกันตามริมฝั่ง และสะพานข้ามแม่น้ำปิงกันอย่างต่อเนื่อง   นายสืบสวัสดิ์ สนิทวงศ์ ตัวแทนเครือข่ายแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบภาคประชาชน กล่าวว่า จริงๆ แล้ว การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่นั้น มีหลายวิธีที่จะป้องกันไม่ให้น้ำท่วม แต่ดูเหมือนว่าภาครัฐจะจำกัดทางเลือกไว้ โดยมองเพียงด้านเดียวเท่านั้น และยังเป็นแนวทางที่จะสร้างปัญหาใหม่ตามมาอีกหลายอย่าง เช่น กรณีที่น้ำท่วมเกินความสูงของพนัง จะทำให้น้ำที่ไหลเข้าท่วมไม่สามารถระบายกลับลงแม่น้ำได้ เมื่อระดับน้ำลดลง ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในตัวเมืองยาวนานขึ้น   "และที่สำคัญ น้ำไม่ได้ท่วมเมืองเชียงใหม่ทุกปี และท่วมครั้งละ 2-3 วัน แต่หากมีการสร้างพนัง เราจะมีกำแพงคอนกรีตตามแนวแม่น้ำให้ดูชั่วลูกชั่วหลายเช่นนั้นหรือ"   ด้าน นางพาที ชัยนิลพันธุ์ ประธานชุมชนบ้านวัดเกตุ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีการสร้างพนังกั้นปิง เพราะนอกจากทำลายทัศนียภาพของสองฝั่งปิงแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า   "สาเหตุหนึ่งที่น้ำท่วมอย่างหนัก ก็คือ ลำเหมืองเก่าแก่หลายแห่งในเขตเมืองถูกถมหายไปหมด ทั้งที่เมื่อก่อนจะเป็นทางระบายน้ำในเขตเมืองได้อย่างดี ตอนนี้กำลังเสนอเรียกร้องให้มีการรื้อฟื้นขุดลอกลำเหมืองกันขึ้นมาใหม่ ดังนั้น ถ้ามีการสร้างพนังกั้นน้ำ เชื่อว่าชาวบ้านจะออกมาคัดค้านอย่างแน่นอน"   ล่าสุด กลุ่มชาวบ้านในนามเครือข่ายแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบภาคประชาชน ร่วมกับชมรมเชียงใหม่ฮักฝั่งปิง ได้เตรียมจัดเวทีเสวนาทางวิชาการ"น้ำท่วมเจียงใหม่ เยียะจะใดแก้" ขึ้นที่ พุทธสถานเชียงใหม่ ในวันเสาร์ที่ 15 ก.ค.นี้ เพื่อร่วมกันถกปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ โดยมีนักวิชาการ ตัวแทนภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเสวนาตั้งแต่เวลา 13.00 เป็นต้นไป   โดยในงานดังกล่าว มี ผศ..สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.วสันต์ จอมภักดี รองคณะบดีคณะวิศกรรมศาสตร์ มช. จะได้มาพูดถึงประเด็นด้านกฎหมายและบทเรียนการสร้างพนังกั้นน้ำที่จังหวัดอื่น   นอกจากนั้นจะมี พระมหา ดร. บุญช่วย สิรินฺธโร รองอธิการบดี มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(มจร.) เชียงใหม่ พูดถึงเรื่อง จิตวิญญาณของเมืองเชียงใหม่ และ โบสถ์คริสตจักรที่หนึ่ง เชียงใหม่ และมัสยิดอัต-ตักวา จะพูดถึงมุมมองของผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และประเด็นน้ำท่วมซ้ำซากที่ไม่ได้มาจากน้ำปิง   ทั้งนี้ มีรายงานแจ้งว่า หลังจากจบการเสวนาดังกล่าวแล้ว กลุ่มเครือข่ายแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบภาคประชาชน ร่วมกับชมรมเชียงใหม่ฮักฝั่งปิง จะพากันพร้อมเดินขบวนเคลื่อนไปทีบริเวณไนท์บาซาร์ เพื่อร่วมรายการ ITV Hot News พบประชาชน เรื่องวิกฤติน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ โดยในงานดังกล่าว มีนายยงยุทธ ติยะไพรัช รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และนายนิคม พุทธา จากโครงการจัดการลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน เข้าร่วมวงเสวนา
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/35992
2011-07-13 00:11
สัมภาษณ์ 'ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ': “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เข้าใจปัจจุบัน” แชร์ ‘อำนาจ-อนาคต’ เส้นแบ่งการเมืองยุคใหม่
หมายเหตุ : ต้นฉบับคอลัมน์ “ออกแบบประเทศไทย” ที่สัมภาษณ์ ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กรรมการบริหารวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และอดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉบับเต็ม หลังจากที่เคยลงในหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2554 ไปแล้ว แต่เนื่องจากพื้นที่ของหนังสือพิมพ์มีจำกัดจึงมีการตัดทอนเนื้อหาไปบ้าง (สัมภาษณ์โดย อริน เจียจันทร์พงษ์ ผู้สื่อข่าวการเมือง นสพ.มติชน)   ผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยชนะอันดับ 1 ทำให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 เตรียมก้าวสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย แต่ชัยชนะถล่มทลายดังกล่าว ที่มีภาพพ.ต.ท.ทักษิณ ฉายอยู่เบื้องหลัง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองที่เป็นคู่ขัดแย้งกับ อำนาจนอกระบบ “เงาทะมึน” ซึ่งฉาบอยู่เบื้องหลังการเมืองไทยตลอดช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายคนยังวิตกว่า การเมืองไทยข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เพราะบรรดาความเสี่ยงการรัฐประหาร และเงื่อนไขการเผชิญหน้าทั้งหลายยังอยู่ครบ แถมตอกย้ำให้เป็นบรรยากาศแห่งความกลัวเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปีที่แล้ว ที่ฝ่ายรัฐใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลจนเสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บหลักพัน    แต่ในสายตานักประวัติศาสตร์อย่าง “ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ” กรรมการบริหารวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และอดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลับมองอย่างมีความหวังว่า “มีโอกาสบางอย่างในการที่หลังเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็น เส้นแบ่งการเมืองยุคใหม่ของสังคมการเมืองไทย”  “เราต้องเข้าใจประวัติศาสตร์จึงจะมีความหวังกับอนาคต การไม่มีมิติประวัติศาสตร์ ทำให้ผู้ที่จะทำอะไรไม่ว่าจะเป็น ภาคการเมือง ประชาชน รัฐ ราชการ เอกชน เลยเดาไม่ได้ว่า จะเป็นอย่างไรในอนาคต” อาจารย์ธเนศ อธิบายว่า ถ้าประวัติศาสตร์ลงตัว เข้าใจได้ เห็นได้ มันต้องบอกได้ว่า ถ้าคุณทำอย่างนี้ ใช้อำนาจหนักไปทางนี้ อะไรมันจะเกิดขึ้น แล้วจะแก้อย่างไร ก็ดูจากประวัติศาสตร์ว่าพร่องอย่างไร ก็ไปเติมตรงนั้น แต่ของเราจะแก้ที อย่างรัฐธรรมนูญ ก็ไปเปิดดูของคนอื่น เอาพิมพ์เขียวมาใส่ เช่น พรรคไม่เข้มแข็ง ก็เอาของที่อื่นที่เข้มแข็งมาใส่ พอไทยรักไทยขึ้นมา ก็บอกแข็งเกิน แล้วก็แก้ให้อ่อน คือ เราไม่มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ของตนเองอยู่ เลยไม่รู้ว่า ที่ผ่านมามันพร่องเพราะอะไร ในสายตานักประวัติศาสตร์อย่างอาจารย์ธเนศ จึงเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนกังวล เพราะประวัติศาสตร์การเมืองไทยไม่สะเด็ดน้ำ และถูกคนมาอธิบายใหม่ตั้งแต่ 2475 จึงมีภาพที่ถูกสร้างโดยนักการเมือง หรือนักประวัติศาสตร์กระแสหลักที่อยู่กับระบอบปัจจุบัน ที่อธิบายไปตามเหตุผลของตัวเอง หรือเหตุผลในตอนนั้น แต่ไม่ได้สนใจหลักฐานความจริงทางประวัติศาสตร์เลย แต่เป็นวาทกรรมใหม่ทั้งนั้น “ปฏิวัติอเมริกา หรือฝรั่งเศส เขาเลิกพูดกันไปแล้ว เพราะเขาสะเด็ดน้ำว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน มีรัฐธรรมนูญ หลักการใหญ่ๆจบแล้ว แต่ของเราตอนนั้นมันยังเหมือนไม่สำเร็จ แต่มันได้เยอะ เริ่มลงรากปักฐาน แต่จับพลัดจับผลู มันเริ่มเปลี่ยน ถอย ถูกยึดพื้นที่กลับ เดินไปได้แป๊บๆก็โดนเบรก คนก็เลยสงสัยว่า เอ๊ะ ตกลงเราเคยปฏิวัติประชาธิปไตยหรือเปล่า ก็เลยกลับมาพูดกันใหม่ทุกปีเมื่อถึงวันที่ 24 มิถุนายน  ว่า มันเป็นเพราะอะไร เพราะระบบการเมือง วาทกรรม ความเชื่อ ค่านิยมที่มากับระบบการเมืองไทย กระทั่งวันนี้ที่มันเริ่มย้อนกลับไปก่อนยุค 2475 ซึ่งมันหนักข้อขึ้นด้วย” อาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟังว่า อย่างเช่นหลังปี 2490 การเมืองไทยถูกมองว่า เป็นเรื่องของชนชั้นนำกลุ่มน้อยที่แย่งอำนาจ ใช้อำนาจมิชอบ มันก็ไม่ผิดทั้งหมด มันมีความเป็นจริงอยู่ แต่ว่า เวลาเราดูพัฒนาการ ต้องดูว่า ทำไมมันมาถึงจุดนั้น แล้วก็สกัดเอา แก่นของความจริงออกมา ที่คนชอบประณามพรรคการเมือง หรือนักการเมือง คำถามคือ คนยึดอำนาจที่มาจากสถาบันราชการ ทำไมไม่ถูกประณาม หรืออ้างว่าประณามไม่ได้เพราะมีพันธะที่จะทำ ทั้งที่พันธะที่ว่านั้นมันตรงข้ามระบอบประชาธิปไตย หรือความเป็นจริงที่ระบอบต้องการอีกแบบ แต่ก็ทำด้วย ข้ออ้างเรื่องความมั่นคง การดำรงอยู่ของสถาบัน พอคุณสร้างค่านิยมขึ้นมาจากความเชื่อ ข้อมูลสะเปะสะปะ มันเลยกลายเป็นข้อเท็จจริงที่ตอนนี้คนเชื่อกันว่า ล้มเหลวเพราะรัฐสภา นักการเมืองทำให้ล้มเหลว   “คนที่เชื่อเรื่องนี้ไม่ใช่ชาวบ้านนะ เป็นคนมีการศึกษาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ หรือคนที่ได้ไปเรียนทั่วโลก กลับมาด่านักการเมือง ผมก็บอกว่า ผมเรียนประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกา ก็ไม่ได้เห็นนักการเมืองอเมริกามันเก่งกล้า ดี ไหนคุณไปหามาสิ มันดีแบบไม่แตะอะไรเลยจริงเหรอ เฮ้ย มันโดนคดีอยู่ทุกวัน มีเพื่อน มีพวกเหมือนกันแหละ เพียงแต่ระบบก็จัดการมันออกไปสิ ที่เหลือมันก็ทำงานต่อไป ก็เท่านั้น แต่ของเรา โห คุณจะเอาพระอรหันต์เหรอ” พูดเรื่องนี้ก็คิดถึงวาทกรรม “คนดี” ที่เฟ้อมากในช่วง 5-6 ปี หลัง ซึ่งอาจารย์อธิบายว่า เป็นผลผลิตของการสะสมมาตั้งแต่หลังจอมพลสฤษฏิ์ (ธนะรัชต์) ค่านิยมแบบอำนาจนิยมต่างๆ มันมีพื้นฐานอยู่แล้วในวัฒนธรรมไทย มันเลยง่ายอยู่แล้ว แต่สังคมอเมริกัน ถ้าจะบอกว่า ดีแล้วต้องเชื่อ โอย ไม่มีใครเชื่อหรอก มันต้องพิสูจน์ตัวเอง ทุกคนต้องพิสูจน์ตัวเอง แล้วก็ไม่มีอะไรที่มันเลวหมด มันจะเอาข้ออ้างทางศีลธรรมอย่างเดียวไม่ได้ แต่ของเรา ระบบมันไม่เคยทำงานได้ ฉะนั้นที่ผ่านมา อะไรที่ทำสำเร็จ เพราะอาศัยคนที่บารมีหน่อยมาเคลื่อน คนก็รู้สึกอือ ออ แต่มันมีคำถามเรื่องคุณภาพของความสำเร็จนั้นที่ไม่ค่อยพูดกัน สำหรับเรื่อง “โอกาสบางอย่าง” ที่อาจจะเป็นเส้นแบ่งของการเมืองไทยยุคใหม่ อาจารย์ธเนศ เห็นว่า ถ้ามองจากประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 2-3 ปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มากที่สุดในแง่การเข้าร่วมของประชาชน ความตื่นตัว ความสนใจ ความตั้งใจ รวมๆเรียกสำนึกทางการเมือง “ตั้งแต่ 2475 จนถึงการเปลี่ยนแปลงหลายช่วง ที่ผ่านมา คนก็มาเลือกตั้งไม่น้อย คือแสดงว่า คนให้ความสนใจและอยากเปลี่ยนแปลงเยอะ รับรู้เรื่องการเมืองบ้างมากน้อยมาก ตามแต่เทคโนโลยีแต่ละยุค อย่างช่วง 2475 คนอ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือ เยอะถ้าเทียบกับปัจจุบัน ตอนนั้นหนังสือประวัติศาสตร์โลก หรือพวกเรื่องประชาธปไตย เขาพิมพ์กันที 2,000 – 4,000 เล่ม นั่นปี 2475 นะ แสดงว่า คนสนใจมาก แต่เดี๋ยวนี้ หนังสือผมพันเล่มยังขายไม่หมดเลย มันเกิดอะไรขึ้น” วันก่อนไปคุยกับทูตประเทศนึง เขาอ่านประวัติศาสตร์มา เขาถามว่า ตอนปี 2475 คนทีเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเป็นพวกปัญญาชน มีการศึกษาสูงถ้าดูจากชื่อ ทั้งภาคราชการ เอกชน แต่เดี๋ยวนี้ คนคัดค้านการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประชาธิปไตยคือคนกลุ่มนี้ มันตรงข้ามกัน เกิดอะไรขึ้นในเมืองไทย !! ผมหัวเราะเลย ใช่ๆๆ “ถ้ามองแบบเข้าใจก็รู้สึกมีความหวัง”  อาจารย์บอกว่า ก็ต้องให้กำลังใจกัน การเมืองมันอาจจะหยุด หรือถอยหลังบ้าง อ่ะ เรียกว่า ย่ำเท้าในช่วงหลายปี แต่ว่า หลัง 2549 พลังประชาชนที่ก้าวหน้าออกมาเข้าร่วมหมด เยอะมาก ยิ่งขยายออกไป อ่ะเรื่องที่คนออกมาประท้วงเพราะถูกหลอกเป็นเครื่องมือไหมเรายังไม่พูด แต่หมายความว่า โดยปรากฏการณ์นี่มันคือ ปรากฏการณ์ทางการเมืองของมวลชนในระบอบการเมือง เขาก็มีเป้าหมาย ต้องการรัฐธรรมนูญ ต้องการเปลี่ยนรัฐบาล การเลือกตั้ง มันก็เป็นข้อเรียกร้องที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตยที่รับได้ ไม่มีอะไรที่มันเกินเลยไปกว่านั้น ส่วนไอ้ปลีกย่อยอะไรต่างๆ ก็แล้วไป เพราะมันห้ามไม่ได้ พอมันเกิดขบวนการนี้ขึ้นมาแล้ว บางส่วนก็สุดขั้วไปบ้าง มันก็มีทั้งนั้น แต่โดยรวมๆ มันน้อย มันไม่ได้ซีเรียสถึงขนาดว่า ต้องให้บางอย่างพังทลายไปเลย “ต้องถือว่า เป็นการตื่นตัวของมวลชนประชาธิปไตยที่สวยงามที่สุดอันนึง ถ้าเรามองสิ่งที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางว่า ใบไม้ผลิ คนเรียกร้องใหญ่โต ผมก็บอกว่า ของเรามันเกิดหลายรอบแล้วนะ ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 พฤษภาคม 2535 เสื้อเหลืองตอนแรกผมก็นับ เมษายน-พฤษภาคม 53 มันเป็นดอกไม้ประชาธิปไตยซึ่งมันบาน เราทำมาตลอดเลย ไม่ได้มีน้อยกว่าคนอื่น” อย่างเรื่องอดีตนายกฯส่วนใหญ่ที่โดนยึดอำนาจ แล้วออกนอกประเทศก็มักไม่ได้กลับมา แต่อย่างทักษิณ ความเคลื่อนไหวทางการเมืองมันไม่หยุด หลัง 2549 แกไม่ได้ถูกตัดจาดจากความเคลื่อนไหวทางการเมือง ถ้าจะตอบว่า เขามีเงิน ก็จริง มีเงินอย่างเดียวไม่พอนะ เพราะถ้ามายุ่งต่อ เงินจะหมดมากกว่านี้ จะมายุ่งทำไม ผมไม่ได้บอกว่า มันถูกหรือผิดนะ แต่ในแง่พัฒนการประชาธิปไตย ถ้าความเชื่อของบทบาทางการเมืองที่มีฐานจากมวลชน มันไม่ถูกทำลาย แสดงว่า มีเชื้อของการเมืองประชาธิปไต ยที่มันแรง จัดการยังไงก็ไม่หมด แสดงว่า องคาพยพของความเป็นประชิปไตยในเมืองไทยมันมีอยู่แล้ว ทำให้ทักษิณ สร้างชีวิตทางการเมืองเขาออกมาได้ บางคนไปมองในแง่ ด่าเขา โกรธเขาก็ส่วนหนึ่ง แต่ถ้ามองในแง่วิชาการที่เห็นว่า มีพัฒนาการ ต้องมองว่า ปรากฏการณ์แบบนี้มันแสดงว่าอะไรล่ะ ทำไมคนมีเยื่อใย ก็คือการเมืองมันสร้างเขา เขาเป็นผลผลิตของการเมือง ส่วนการย่างก้าวต่อไปนั้น อาจารย์ธเนศ เห็นว่า ที่เหลือเราต้องสรุปบทเรียนของตัวเองว่า ทำไมมันถึงไม่ทำให้มันออกดอกให้บานเต็มที่เสียที คือ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ อุดมการณ์ สถาบัน ระบบการเมืองมันต้องรองรับที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านมันอยู่ในระบบ สงบ สันติ ไปสู่จุดหมายที่รู้ว่า คนต้องการอะไร ก็ให้ไปถึงจุดนั้น จะได้มากน้อยก็ว่ากันไป “แต่ตอนนี้คนไม่มั่นใจว่า โครงสร้างดั้งเดิมที่รองรับ จะทำหน้าที่และให้ความมั่นใจมวลชนทั้งหลายได้ไหม เสื้อแดงก็บอกว่า ไม่เชื่อว่า โครงสร้างที่รองรับระบอบ จะทำหน้าที่ เขาเลยพูดเรื่อง 2 มาตรฐาน ภาคธุรกิจร้อนวันพันปีไม่ค่อยอยากยุ่งการเมือง แต่นี่ออกมาตั้งกลุ่มแอนตี้คอรัปชั่นบ้าง กลุ่มเคารพเสียงเลือกตั้งบ้าง นี่ไง ! แสดงว่า สถาบันโครงสร้างเดิมที่มี มันไม่ฟังก์ชั่น ฉะนั้น ประชาชนถึงได้เอาตัวเองเข้ามา ขอเป็นคนผลักให้มันเปลี่ยนเอง แล้วก็ยืนเฝ้าดูว่า เฮ้ย มันไปจริงไหม เพาะแล้วมันโตจริงไหม จะเฝ้าเองไม่ต้องให้คนอื่นเฝ้าแล้ว แล้วยิ่งเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ สื่อใหม่มันสร้างพื้นที่สาธารณะใหม่ สร้างพลังมวลชนที่เชื่อมโยงกันรวมกลุ่มได้เหนียวแน่นมากขึ้น ระดับการตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจของภาคสังคมจะมากขึ้นเยอะมาก และฝ่ายการเมืองก็ต้องรับผิดชอบมากขึ้นมาก ส่วนโครงสร้างดั้งเดิมก็ต้องปรับตัว ไม่เช่นนั้นก็ชนกัน”  เป้าของเราส่วนหนึ่งน่าจะเป็นการแชร์อำนาจ อำนาจเดิมๆต้องปรับตัว ? อาจารย์พยักหน้า แต่เล่าถึงปัญหาว่า โดยประวัติศาสตร์จริงๆของเรา มันไม่แชร์การแบ่งอำนาจ เป็นคอนเซปตะวันตกหลังยุคเรอเนสซองซ์ ที่อำนาจมันถูกย้ายจาก อำนาจพระเจ้ามาสู่อำนาจมนุษย์ กษัตริย์ต้องเป็นมนุษย์ด้วย มันถึงแบ่งอำนาจได้ คือตอนนั้น แพ้แล้วเลยยอม แบ่งอำนาจไปให้ สภาโน่นนี่แล้วค่อยลงไปถึงชาวบ้าน แต่คอนเซปอำนาจแบบเอเชีย อำนาจมันยังมีที่มาของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ของบารมี มันไม่ใช่อำนาจที่มาด้วยเหตุผล รัฐธรรมนูญของเขามันถึงอยู่ได้ คนไม่ไปแตะ ก็ไปตีความเอาเองสิโดยใช้เหตุผลว่า เขาให้คุณได้เท่าไหร่ ก็ได้เท่านั้น แต่ของเรา มันไม่ได้ เพราะสังคมวัฒนธรรมมไม่ได้สร้างด้วยเหตุผล แต่สร้างด้วยความเชื่อที่ต้องอิงอำนาจศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เราจึงไม่เคยประสบความสำเร็จในการสร้างระบบที่แยกระหว่างศาสนากับสังคม ความเชื่อศาสนากับสังคม มันอยู่ปนกันตลอดเวลา จริงๆแล้วหลังยึดอำนาจ ฝ่ายกุมอำนาจหาเหตุผลรองรับไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องกลับไปสิ่งศักดิ์สิทธิ์เก่า สถาบัน ศาสนา ชาติ “และก็ชาตินิยมของเรา มันไม่เหมือนของคนอื่น ของคนอื่นเป็นของมวลชน แต่ความคิดชาตินิยมนี่พูดแล้วมันปลุกระดมคนข้างล่าง เขาเลยไม่อยากใช้มาก เพราะทำให้คนข้างล่างถามว่า ฉันจะต้องได้อะไร แต่ชาตินิยมของเรารับใช้คนข้างบนและสถาบันของเก่าทั้งนั้น ชาวบ้านไม่ได้ได้ ชาตินิยมแบบเขาพระวิหารดูสิ คนตายคือชาวบ้าน อ้าว รักชาติแล้วกูตายเนี่ย มันได้อะไร เพราะเราทำให้สิ่งอันนี้เป็นของเก่า เพื่อรองรับความชอบธรรมของอำนาจนิยม ฉะนั้นฝ่ายประชาธิปไตย เจอพลังวาทกรรม ความเชื่อ ความคิด พวกนี้จัดการหมด พอเลือกตั้ง คนด่าเลย นักเลือกตั้ง”  อาจารย์ธเนศ เล่าว่า อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ บอกเลยว่า ประชาธิปไตยคือแบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ระบบแบบนี้มันเกิดขึ้นในธรรมชาติ พร้อมกับการมีมนุษย์มีสังคม ลองไปดูชาวบ้านเวลาทำอะไร เขาก็ต้องคุยปรึกษากันแล้ว เสียงส่วนใหญ่เอาแล้วก็ทำตาม นี่ไง ระบอบประชาธิปไตยแบบบุพกาล มันมีอยู่แล้ว “แต่ของเราไม่เคยใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตยจริงๆในชีวิต มันจึงเปิดโอกาสให้นักวิชาการฝ่ายอำนาจนิยม พวกนี้เขียนได้เร็วมาก ทำไมถึงยึดอำนาจ ยึดแล้วดียังไง คนอ่านก็เข้าใจแล้วเชื่อเขาด้วย เออ มันก็สงบ ความคิดของเขาไม่ได้ทำให้วุ่นวายนี่ อ้าว! ตกลงกลายเป็นฝ่ายประชาธิปไตยจริงๆ กลายเป็นพวกที่ไม่สงบ พวกวุ่นวายเหรอ เนี่ยพัฒนาการประชาธิปไตยเมืองไทย” เมื่ออ่านประวัติศาสตร์เพื่อมองเส้นทางอนาคต อาจารย์ธเนศ เห็นว่า มันไม่มีทางจะกลับไปสู่ประชาธปไตยครึ่งใบ หรือเผด็จการอีก เพราะประชาชนไม่ยอม มันเลยเกิดปรากฏการณ์ถล่มทลายแบบเพื่อไทย ส่วนหนึ่งได้ฐานเสียงจากคนเสื้อแดง แต่มันต้องมีส่วนอื่นอีก ประชาธิปัตย์คะแนนโดยรวมเสียเมื่อเทียบกับปี 50 แสดงว่าต้องมีคนเห็นอะไรกับขบวนการที่มันเคลื่อนไหว เขาอาจไม่เห็นด้วยกับกลุ่มรักทักษิณ แต่เขาคิดว่า ไม่ควรจะมีรัฐประหาร การแทรกแซงจากกองทัพ หรือำนาจที่มองไม่เห็น ก็คือกลับไปสู่ที่ปวงชนเป็นใหญ่ กลับไปหาคำนิยามอ.ปรีดี 2477 แสดงว่า มันช้าหน่อย มันคดเคี้ยว แต่มันก็มาแล้ว เริ่มมีอนาคต “คือถ้าดูจากการเปลี่ยนแปลงมาถึงตรงนี้ มันเป็นบวกนะ คนสนใจการเมืองดีกว่าคนไม่สนใจ คนห่วงใยทุ่มเทให้ อันนี้คือหัวใจของประชาธิปไตย ไม่ต้องไปหาทฤษฎีอะไรยากๆ เอาง่ายๆนี่แหละ ถ้าอย่างนี้ไม่มองว่ามันเป็นด้านดี แล้วจะเอาอะไร จะไปหาเทวดาที่ไหน เอาเทวดามานี่ไม่เป็นประชาธิปไตยเด็ดขาด” ธรรมเนียมแบบประชาธิปไตยมันจะอยู่ได้ รัฐสภาต้องทำงานติดต่อกันเป็น 50 ปี 100 ปี แต่ระบบเลือกตั้งไม่ใช่เลือกเทวดา ไม่ใช่แบบที่หวังจะเอาอะไรที่มันดีแล้วก็สำเร็จเลย เพียงแต่แต่ถ้าระบบมันทำงาน ระบบเลือกตั้งคือการมาตรวจสอบครั้งใหญ่ แทนที่จะรอศาลลงโทษ ผู้ลงคะแนนเสียงตัดสินเลย ให้กลับไปนอนแล้วเอาคนใหม่เข้ามา ถ้าเปลี่ยนคนแล้วยังไม่ดีก็เปลี่ยนพรรค เนี่ย ให้ระบบมันดำเนินไป ถ้ามันทำได้ 4- 5 ครั้ง 20 ปี มันจะเริ่มเกิดธรรมเนียม คนจะรู้แล้วว่า ส.ส.ประเภทไหนจะอยู่ได้ อยู่ไม่ได้ แล้วถึงจุดนึง มันจะไม่ใช่พรรคกำหนด แต่ประชาชนเป็นคนกำหนด และสื่อก็เป็นกลไกสำคัญ ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ถ้าตรวจสอบหนักๆมันจะอยู่ได้อย่างไร  ของเรา รัฐสภาถูกตัดตอน สูงสุดกี่ปีเองล่ะ หลัง 35 – 49 มันสร้างธรรมเนียมอะไรได้ มันจึงกลายเป็นมวยวัด คนนั้นเข้าสายตรง อีกคนเข้าสายเหยี่ยววุ่นวายไปหมด ฉะนั้น ทุกฝ่ายต้องเข้ามาคิดกันว่า ระบบมันต้องทำเพื่ออนาคต นักการเมืองอมเริกา เขาออกมาหาเสียง เขาต้องพูดเลยว่า เพื่อที่ 5 ปี ข้างหน้า จะได้อะไร ระบอบประชาธิปไตยเพื่ออนาคตเพื่อลูกหลาน ไม่ใช่ทำเพื่อวันนี้ ระบบมันต้องอยู่เพื่อคนข้างหน้า นโยบายมันจึงเป็นระยะยาว แต่ของบ้านเราที่เราโจมตีว่า ทุกพรรคเป็นนโยบายระยะสั้น อ้าว ก็เพราะทุกคนหวังว่าอยู่ 2 ปี 4 ปี ก็บุญแล้ว มันไม่ได้คิดถึงอนาคตไง เพราะลึกๆไม่มีใครเชื่อว่าระบบรัฐสภาไทยจะอยู่นาน 100 ปี สำหรับเรื่องการปรองดองที่ว่าที่นายกฯหญิงบอกว่า จะไม่ออกกฎหมายช่วยคนๆเดียว อย่างไรก็ดี มันทำอย่างนั้นไม่ได้อยู่แล้ว โดยสภาพ มันต้องยกให้ทุกฝ่ายหมด แต่เท่ากับผู้ที่ต่อสู้กับอำนาจเดิม ยอมประนีประนอม แล้วมวลชนคงไม่ยอม? อาจารย์ธเนศ บอกว่า ใช่ ซึ่งมันยาก ไม่ใช่โจทย์ง่าย สถานการณ์มันต้องลงรอยกว่านี้เยอะ จึงค่อยคิดโจทย์นี้ กว่าจะตอบอันนี้ได้ มันต้องทำอะไรมาก่อนเยอะจนเป็นรูปเป็นร่างก่อน แต่ไม่ต้องกลัวว่าตอนนี้ ยิ่งลักษณ์ มาแล้วจะได้ทักษิณกลับมาด้วย เพราะมันมีกลไกสอดส่องเยอะมาก แม้มีเสียงข้างมากเป็นเบื้องต้น แต่มีการกำกับตรวจสอบ การกดดันให้ปฏิรูปโครงสร้างระยะยาวไม่ใช่แค่หวังระยะสั้น ทั้ง 3 ขามันดึงกันอยู่ มันก็น่าจะดำรงให้มีเลือกตั้งในระบบไปเรื่อยๆ เพราะมันไม่มีใครมายึดกุมอะไรได้ตามใจชอบแล้ว ฝ่ายไหนจะทำอะไรก็ต้องฟังปฏิกริยาจากสาธารณะ และคุณต้องรับผลของการกระทำนั้นได้ จะมาอ้างว่า เพราะความมั่นคงอะไรมันไม่พอแล้ว หรือจะอ้างว่าได้เสียงมามาก เขาก็ต้องถามตัวเอง จะพาซื่อเสียงข้างมากไม่ได้ เพราะในประชาธิปไตยเสียงข้างน้อยก็มีความหมาย ฉะนั้นเขาก็ต้องฟัง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/27155
2009-12-28 00:14
กะเหรี่ยง KNU ปะทะทหารพม่าหลายพื้นที่
กองพลน้อยที่ 2 ปะทะทหารพม่าหลายพื้นที่ เว็บไซต์แกวเก่อลึ [1] อ้างรายงานจากศูนย์ข่าวกลางของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ที่อยู่ในจังหวัดตองอู ภาคพะโค สหภาพพม่า ซึ่งรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 16 ที่ผ่านมากองพลน้อยที่ 2 ของ KNU ดักซุ่มยิงทหารพม่า ทำให้เกิดการปะทะกันขึ้นส่งผลให้ทหารพม่าเสียชีวิต 14 นายในจำนวนนี้มีผู้บัญชาการ 1 นาย และบาดเจ็บ 17 นาย โดยการปะทะกันเริ่มตั้งแต่เวลา 16.00 น. โดยประมาณ ช่วงระหว่างบ้านเก่อหมื่อโหละ กับ ทีหมื่อท่า   และเมื่อ 18 ธ.ค. หน่วยลาดตระเวนพิเศษในกองพลน้อยที่ 2 ของ KNU มีการปะทะกับทหารพม่า บริเวณ ระหว่าง กล๊อมีเดอ กับ เป่อและหวะ ทหารพม่าตาย 5 นาย รวมรองผู้บัญชาการด้วย 1 นาย บาดเจ็บ 9 นาย และก่อนหน้านั้น (17 ธ.ค.) มีการปะทะกัน บริเวณ ทีย่าแปะ ทำให้ทหารพม่าบาดเจ็บ 1 นาย   และตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ทางการทหารหน่วยที่ 7 ของทหารพม่า ที่เคลื่อนไหวอยู่ใน เพลชาโล ซึ่งอยู่ในอำเภอทอเตอทู่ ได้บังคับชาวบ้านบ้านเพลชาโล เย่อโล เลวโลปอพะ รวมถึงบ้านปลอบอเดอ ทั้งหมด 100 กว่าคนในจำนวนนี้มีผู้หญิงอยู่ด้วย 52 คนเพื่อให้ไปเป็นลูกหาบให้เหล่าทหารตั้งแต่บ้านทีหมื่อท่า ถึงบ้านเพลชาโล   ทหารพม่าชุดเดียวกันที่อยู่ในพื้นที่ยังบังคับชาวบ้านจากบ้านก่อเซเดอ เกลโซคี วาโซโค่ และเหล่อโก่ ให้ส่งสมาชิกครอบครัวละ 1 คนไปเป็นลูกหาบให้ทหารพม่าตั้งแต่บ้านหมื่อเดเพเด จนถึง บ้านโกเดเส่อเอท่า โดยทำงานทุกวันจนถึงปัจจุบันนี้     ทหารพม่าและกะเหรี่ยงDKBA เสริมกำลังในพื้นที่กองพลน้อยที่ 5 KNU เว็บไซต์แกวเก่อลึ [2] รายงานเมื่อ 23 ธ.ค. โดยอ้างแหล่งข่าวจากทหารกะเหรี่ยง KNU ซึ่งรายงานว่า ทหารกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย หรือ DKBA ที่อยู่ในเขต บือโหละตรอ (อำเภอแด่วโล) ที่มีกำลังทหารอยู่ 600 กว่านาย ได้มีการเสริมกำลังเพิ่มอีก 100 กว่านาย พร้อมกันนั้นยังมีการขยายพื้นที่ยึดครองเพิ่มบริเวณโข่ ซุย ท่า   แหล่งข่าวยังรายงานเพิ่มเติมว่า ทหารพม่าได้มีความเคลื่อนไหวมากขึ้นในพื้นที่กองพลน้อยที่ 5 ของ KNU โดยมีการเสริมกำลังทั้งทหารและเสบียงอยู่ใน 3 อำเภอที่อยู่ในเขตอิทธิพลกองพลน้อยที่ 5   อีกด้านหนึ่งกองทัพพม่าในหน่วยรบที่ 3 และหน่วยรบที่ 21 ได้มีการเสริมกำลังและเคลื่อนไหวบริเวณ พะกอ เหล่อหมื่อปลอ ซอหมื่อปลอ และซอท่า (อำเภอดูซอ) โดยการสร้างถนนเข้าไปและเสริมหน่วยรบที่ 7 และ 5 เข้าไปจำนวน 3 กองพัน เข้าไปในพื้นที่โชโจ และจิเดชูเค   นายโพละเงียว ที่ปรึกษาที่ 1 ของ KNU กล่าวว่า “ทหารพม่าจะเสริมกำลัง 600 กว่านายนั้น มีความเป็นไปได้ เพราะเขามีเป้าหมาย เราได้วิเคราะห์แล้วอาจเป็นไปได้ที่มีการสับเปลี่ยนกำลังกัน แต่ก็เป็นไปได้เช่นกันที่จะมีการเปิดศึกช่วงเวลานั้น เป้าหมายของเขาคือการโจมตีกองพลน้อยที่ 5, 6, 7 ของเราอย่างสม่ำเสมอและหนักหน่วงมานานแล้ว หากเรามองจากกำลังของเราสามารถเข้าใจได้ ดังนั้นเราจึงเตรียมตัวที่เผชิญกับทหารพม่าแล้วและเราก็พร้อมที่จะรบกับทหารพม่าเช่นกัน”
0neg
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/21403
2005-09-07 01:04
เสียงครวญจากคนแม่อาย : เมื่อรัฐถอนสัญชาติไทยกลายเป็นคนต่างด้าว-รายงานพิเศษ
"คุณมีความรู้สึกอย่างไร  ถ้าสมมุติว่าขณะที่ตัวคุณเองกำลังนั่งอยู่ในบ้าน  แล้วจู่ๆ  ทางการเดินเข้ามาบอกว่า  คุณเป็นคนไร้รัฐ  เป็นคนไร้สัญชาติ  ทั้งๆ  ที่คุณเป็นคนไทยร้อยเปอร์เซนต์  คุณจะรู้สึกเจ็บปวดบ้างไหม..."คำ  โพธิ  ชาวบ้านแม่อายที่ถูกเพิกถอนชื่อคนหนึ่ง เอ่ยออกมาในบ่ายวันนั้น   ในวันที่ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสช.) เดินทางไปเยี่ยมชาวบ้านแม่อาย ณ สถานปฏิบัติธรรมภาวนานิมิตร  ต.ท่าตอน  อ.แม่อาย  จ.เชียงใหม่  เมื่อวันที่  3  ก.ย.ที่ผ่านมา  ภาพที่เห็นในวันนั้น  เป็นภาพที่ทำให้หลายคนที่พบเห็นต้องรู้สึกเศร้าและสงสารระคนกัน   ชาวบ้านร่วมพันคน  นั่งสงบนิ่งอยู่ศาลาปฏิบัติธรรม  ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และคนชรา  บางคนนั่งพับเพียบด้วยชุดขาวด้วยความสำรวม  เมื่อผมเดินเข้าไปนั่งตรงศาลาริมน้ำ  ชาวบ้านหลายคนต่างเดินเข้ามายกมือไหว้ร้องขอเหมือนกับว่ากำลังหมดที่พึ่งหมดหนทางต่อสู้กับปัญหาอันหนักหน่วงเช่นนี้  พร้อมกับเล่าเรื่องราวปัญหาความทุกข์ ความเดือดร้อนต่างๆ  ที่เกิดขึ้น  เหมือนว่าความทุกข์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด   นายเงิน  ปู่ลู   พ่อเฒ่าที่ถูกถอดสัญชาติไทย  บอกเล่าให้ฟังว่า  พื้นที่สบยอนที่ตนเคยเข้าไปอยู่กินที่นั่น  ทางอำเภอพยายามบอกว่าไม่ได้อยู่ในเขตไทย  แต่ทางทหารก็ได้ออกมาระบุแล้วว่า  สบยอนอยู่ในเขตไทย  ซึ่งแต่ก่อนนั้น  พ่อของตนก็เคยเป็นทหารไทยออกไปสู้รบ ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  และอยากบอกว่า  จริงๆ  แล้ว  ชาวบ้านไม่ได้อยู่ที่สบยอน  แต่จะไปทำไร่ทำสวนกันที่นั่น  พอเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก็จะใส่แพล่องลงมาที่ท่าตอน ขอยืนยันว่าเราเป็นคนไทย   นายติ๊บ  ยาหงษ์  ชาวบ้านแม่อายที่ถูกถอนสัญชาติอีกคนหนึ่ง  บอกว่า  เมื่อปี 2543  ตนได้สมัครเป็นทหารเกณฑ์สังกัดอยู่ค่าย ร.7  พัน 2  อ.เชียงดาว และได้ขึ้นไปอยู่ตามชายแดน  ต่อมา  เมื่อทางอำเภอมีการถอนรายชื่อของตนออกจากทะเบียนบ้าน  ทำให้ทางผู้บังคับบัญชาเรียกลงจากดอย  และบอกว่าไม่ต้องเป็นทหารแล้ว  พร้อมกับให้ตนเองกลับบ้าน โดยไม่ทราบสาเหตุ   "ตอนนี้  เอกสารใบสุทธิ  บัตรประชาชน เอกสารทุกอย่างของผม  ยังอยู่ในค่ายทหาร  เพราะก่อนหน้านั้นได้มีการโอนชื่อเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านในค่าย  ซึ่งตอนนี้  ผมเหมือนไร้รัฐ  ทำให้เกิดปัญหาอย่างมากในการใช้ชีวิตในขณะนี้  และไม่เข้าใจว่า  ขนาดผมอาสารับใช้ชาติ  ยังถูกกระทำอย่างนี้ว่า ไม่ใช่คนไทยอีก"นายติ๊บ บอกเล่าด้วยความรู้สึกเจ็บปวด   และทุกวันนี้  ยังมีชาวบ้านที่ออกไปเป็นทหารตามสังกัดค่ายต่างๆ  ไม่ต่ำกว่า  50  ราย  ที่ถูกผลกระทบจากการถอนสัญชาติในกรณีเดียวกันนี้   ด้าน นางแอ  สามแก้ว  แม่เฒ่าในชุดขาว วัย 60 ปี  บอกเล่าให้ฟังว่า  หลังจากที่ทางอำเภอประกาศถอดสัญชาติของครอบครัวของตน  ปัญหาทุกอย่างก็เริ่มเข้ามา  แม้กระทั่ง ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธกส. ที่ตนเคยเป็นสมาชิกในการกู้เงินมาทำการเกษตร  ก็ได้มีหนังสือมาแจ้งว่า  ให้รีบนำเงินที่กู้กับ ธกส. พร้อมทั้งดอกเบี้ยทั้งหมด  มาชดใช้โดยเร็ว  ครั้นไม่มีเงินให้  ทางเจ้าหน้าที่ก็เข้ามายึดอุปกรณ์การเกษตร  ไม่ว่าพวกเครื่องสูบน้ำ  เครื่องตัดหญ้า ไปทั้งหมด   ว่ากันว่า  มีชาวบ้านที่เป็นสมาชิก ธกส.และสหกรณ์อำเภอ เป็นจำนวนหลายร้อยราย   ในขณะที่  น.ส.หอมนวล  คำหยาก  ได้ร้องเรียนว่า  ตนเองเป็นนักเรียนที่จบชั้นมัธยมต้น ที่ อ.แม่อาย  แต่เมื่อไปศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมปลาย ที่โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม แต่ทางโรงเรียนไม่รับ  เพราะว่าไม่มีหลักฐาน   ในบ่ายวันนั้น  หญิงวัยกลางคน คนหนึ่งได้บอกเล่าให้ฟังว่า  ลูกชายเล่าให้ฟังว่า  เวลาไปโรงเรียน  ขณะยืนเข้าแถวเคารพธงชาติ  ถูกเพื่อนล้อว่าไม่ใช่คนไทย  และไล่ให้ไปยืนห่างๆ  ซึ่งตนก็บอกลูกว่า  ไม่ต้องน้อยใจ  เราเกิดในเมืองไทย  สักวันหนึ่ง  เราก็จะต้องได้สัญชาติไทยกลับคืนมา   นอกจากนั้น  ยังมีอีกหลายกรณี  ที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบหลังถูกถอดถอนสัญชาติไทย  ไม่ว่า กรณีประกันสังคมไม่ยอมรับในการรักษาพยาบาล  โรงพยาบาลยึดบัตรประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง  30 บาทรักษาทุกโรค  รวมไปถึงการตัดโอกาสของนักกีฬาคนพิการที่จะได้ทำการแข่งขันในระดับเขต ในระดับประเทศ  และการเดินทางไปยังตัวเมืองเชียงใหม่ ในประเทศ และต่างประเทศ   ครั้นเมื่อย้อนกลับไปฟังคำแถลงปิดคดีต่อศาลปกครอง ของนายกฤษฎา บุญราช อดีตนายอำเภอแม่อาย ในฐานะผู้แทนชาวบ้าน  ได้บอกชัดเจนว่า  ชาวบ้านแม่อายที่ถูกเพิกถอนชื่อนั้น เดิมเป็นคนสัญชาติไทย แต่ไปทำมาหากินตามแนวชายแดน ปี 2519 เพลิงไหม้ที่ว่าการอำเภอ เมื่อชาวบ้านกลับมาขอทำบัตรประชาชนกลับถูกปฏิเสธ ขณะเดียวกัน รัฐบาลมีนโยบายผลักดันบุคคลที่ไม่มีทะเบียนราษฎร จึงทำให้ชาวบ้านต้องทำบัตรชนกลุ่มน้อยไว้ก่อน ไม่เช่นนั้นจะถูกผลักดันออกนอกประเทศ "การสั่งจำหน่ายชื่อชาวบ้านถือว่าผิดกฎหมาย มาตรา 30 วรรคแรก พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เพราะไม่เคยเรียกชาวบ้านไปสอบสวนข้อเท็จจริง ถือเป็นการใช้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของชาวบ้าน  และแสดงให้เห็นว่าการจำหน่ายชื่อชาวบ้านโดยอ้างว่าเป็นคนต่างด้าวนั้นคลาดเคลื่อน ใช้ดุลพินิจที่ไม่รอบคอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย" นายกฤษฎา  กล่าวในวันนั้น   และก่อนหน้านั้น  นางเตือนใจ ดีเทศน์ สมาชิกวุฒิสภา จ.เชียงราย ก็เคยออกมาพูดด้วยความเป็นห่วงว่า การที่ชาวบ้านแม่อายทั้ง  1,243 คน ถูกจำหน่ายจากทะเบียนราษฎร  นั้นทำให้สิทธิความเป็นพลเมืองสูญสิ้นตามกฎหมาย  ซึ่งจะทำให้เหมือนว่า  พวกเขาไม่มีตัวตนในประเทศ "คุณมีความรู้สึกอย่างไร  ถ้าสมมุติว่าขณะที่ตัวคุณเองกำลังนั่งอยู่ในบ้าน  แล้วจู่ๆ  ทางการเดินเข้ามาบอกว่า  คุณเป็นคนไร้รัฐ  เป็นคนไร้สัญชาติ  ทั้งๆ  ที่คุณเป็นคนไทยร้อยเปอร์เซนต์  คุณจะรู้สึกเจ็บปวดบ้างไหม..."ชาวบ้านแม่อายที่ถูกเพิกถอนชื่อคนหนึ่ง เอ่ยออกมาในบ่ายวันนั้น   ทำให้ผมคิดว่า  มันต้องมีบางสิ่งบางอย่างผิดพลาดแน่...ใครเป็นคนผิด  ชาวบ้าน หรือรัฐ และตัวแทนของรัฐ!!
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/15480
2008-01-18 17:33
อาลัย "นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์" : เส้นทางสู่หลักประกันสุขภาพ ก้อนหินที่ขวางหน้า คือบันไดสู่ทางออก
"สอยดาวสอยเดือนที่เกลื่อนฟ้า เพื่อเอามาเย็บสินเสื่อเผื่อคนจน"                                                              วิทยากร เชียงกูล     บทกวีข้างต้น ถูกเอ่ยถึงเอาไว้ในหนังสือ "บนเส้นทางหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ที่ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เล่าถึงประสบการณ์การทำงานในแวดวงสาธารณสุข เมื่อต้องผลักดันเรื่องยากๆ ขับเคลื่อนผลักดันในเรื่องที่ใครๆ มองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ให้สำเร็จให้จงได้ ตราบเท่าที่ยังมีความตั้งใจ มีความหวัง และมีความฝัน   และมันก็เป็นเช่นนั้น ประเทศไทยในวันนี้ แม้ชื่อของ "สงวน นิตยารัมภ์พงศ์" อาจไม่ใช่ชื่อที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย แต่ในเวลานี้ ไม่มีใครที่ไม่รู้จักโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า "30 บาทรักษาทุกโรค"   นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ หรือหมอสงวนของใครๆ คือคนสำคัญที่มีบทบาทหลักในการผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ล่าสุด ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) เป็นสมัยที่สอง   แต่นั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งในชีวิตและอุดมการณ์ของหมอสงวนเท่านั้น   ที่มาของภาพ: http://www.mat.or.th/news_detail.php?news_id=1180   นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2495 เติบโตมาจากครอบครัวคนจีนในกรุงเทพมหานคร เป็นลูกคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 6 คน   หลังจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หมอสงวนเลือกเอ็นทรานซ์เข้าคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยช่วงที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยหมอสงวนเป็นนักกิจกรรม ได้ออกค่ายในช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งทำให้ได้พบพานประสบการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน อาทิ ความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ยากจน ทั้งบ้านมีเงินไม่ถึง 20 บาท   สมัยเรียนนั้น หมอสงวนชอบอ่านหนังสือสังคมปริทัศน์ เศรษฐศาสตร์ชาวบ้าน น.ส.พ. มหาราช ซึ่งทำให้เห็นสภาพสังคมชนบทที่ต่างจากสังคมเมืองอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ ยังเป็นบรรณาธิการหนังสือ "มหิดลสาร" ของมหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย     แพทย์ชนบทดีเด่น จากนั้น ในปี พ.ศ. 2520 นพ.สงวน เรียนจบ และทำงานที่โรงพยาบาลวชิระ กรุงเทพมหานคร 1 ปี ทั้งนี้ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ซึ่งมีบรรยากาศความตื่นตัวของนักศึกษา นักศึกษาที่เรียนจบมาใหม่ๆ ทั้งพยาบาล เภสัช ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ ล้วนอยากไปทำงานชนบท แม้ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สภาพสังคมเวลานั้นมีความตื่นตัว มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม   หลังจากนั้น เขาได้เลือกออกไปเป็นแพทย์ชนบท ที่ อ.ราศีไศล จ.ศรีสะเกษ อยู่ 5 ปี ประสบการณ์ของแพทย์ชนบทในคราวนั้น ทำให้ได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ความสะดวกสบาย ความสนุกสนาน สิ่งบันเทิง เครื่องกินเครื่องใช้ที่อุดมสมบูรณ์ ต่างกับความขาดแคลน ความอดอยาก แห้งแล้ง   อย่างไรก็ดี นพ.สงวนเคยกล่าวเอาไว้ว่า ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชีวิตมีความสุขมากที่สุด การได้ใกล้ชิดกับชาวบ้านแล้วได้สัมผัสถึงสิ่งที่ชาวบ้านมอบให้อย่างอบอุ่น คือ ความมีน้ำใจ นอกจากนี้ ยังมีทีมงานที่ดี   "ถ้าแพทย์มีบทบาทออกไปสู่ชนบทมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ชาวบ้านได้รับบริการดีขึ้น ซึ่งแต่ก่อน บริการทางการแพทย์เหล่านี้จะกระจุกตัวอยู่แต่ในเมือง ก็เริ่มเปลี่ยนไป ทำให้บริการต่างๆ เข้าถึงประชาชนกว้างขวางขึ้น แต่มีข้อด้อยคืออาจทำให้ชาวบ้านพึ่งตัวเองน้อยลง เพราะแต่เดิม เขาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของเขาอยู่ การไปดึง ให้เขาหันมาพึ่งบริการ ทางการแพทย์สมัยใหม่ อาจทำให้ชาวบ้าน ทอดทิ้งสิ่งดีๆ บางอย่างในท้องถิ่นที่มีอยู่ไป"     บนเส้นทางสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คุณหมอนักกิจกรรมเช่นหมอสงวน ไม่เคยถือเอาตัวตนเป็นใหญ่ ไม่เคยถือเอาผลงานมาเป็นของตัว แม้ใครต่อใครจะพูดกันว่า ความสำเร็จในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเกิดขึ้นได้เพราะมีหมอสงวนเป็นผู้ผลักดันหลักก็ตาม แต่หมอสงวนมักจะพูดว่า นี่ไม่ใช่แนวคิดของเขาคนเดียว แต่เป็นความต้องการของหลายๆ คน   "บางทีเราดูหนัง เห็นคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อถึงเวลาต้องรักษาพยาบาล ต้องขายที่นา ขายวัวควาย บางคนอาจไม่รู้หรอกว่าคนบ้านนอก เจอสภาพอย่างนั้นจริงๆ ถึงเราจะมีโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในอดีต แต่ชาวบ้านที่ไปใช้บริการยังมีความรู้สึกไม่มั่นใจหรือไม่มีศักดิ์ศรี ไม่กล้าพูด เพราะถ้าเป็นไปได้ เขาจะพยายามหาเงินทองมารักษา ถ้าหาไม่ได้ พอเรารักษาเสร็จเคยมีชาวบ้านเอาแมงกีนูนมาให้กินเป็นการตอบแทน"   หมอสงวนกล่าวถึงสภาพสังคมของประเทศไทย ว่าเป็นหนึ่งประเทศแต่มีสองสังคม คือ สังคมเมือง และสังคมชนบท ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก จึงเห็นว่า สังคมที่ดีควรอยู่กันอย่างเฉลี่ยสุข เฉลี่ยทุกข์ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน คนรวยช่วยคนจน คนแข็งแรงช่วยเหลือคนเจ็บไข้ได้ป่วย แนวคิดลักษณะนี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นปรัชญาพื้นฐานที่ทำให้หลายๆ คนร่วมกันพัฒนาระบบประกันสุขภาพขึ้นในประเทศไทย   โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นได้ท่ามกลางอุปสรรคและแรงเสียดทานหลายๆ ประการ จากเดิมที่ประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพเล็กๆ น้อยๆ หลายแบบ เช่น การให้บริการผู้ป่วย ที่มีรายได้น้อย ต่อมาก็ขยายไปสู่ กลุ่มผู้สูงอายุ แล้วก็ขยาย ไปสู่กลุ่มเด็ก แต่เนื่องจากโครงการลักษณะนี้ทำได้ไม่ถ้วนหน้า คนที่จนจริงๆ กลับไม่ได้รับบริการ การทำหลายโครงการส่งผลให้ไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ มีการศึกษาว่าเมื่อทำทีละโครงการแล้วงบประมาณจะพอหรือไม่ ท้ายที่สุด ทางออกที่ร่วมกันผลักดันคือ การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพ ให้มีประสิทธิภาพ เข้าถึงโดยถ้วนหน้า และไม่ฟุ่มเฟือย จนเป็นที่มาของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า   โครงการดังกล่าว เป็นที่รู้จักกันในนาม โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค อันเป็นชื่อและตัวเลขที่ฝ่ายการเมืองเห็นว่าเหมาะสม ที่จะทำให้ผู้มารักษามั่นใจว่า เมื่อรับบริการทางสุขภาพแล้ว จะเสียค่าใช้จ่ายเพียงอัตราเดียวแล้วได้รับการดูแลครบถ้วน และการให้ประชาชนจ่ายเงินบ้าง เพื่ออย่างน้อยแสดงถึงความมีส่วนร่วมในการแบกภาระ โดยที่ไม่เป็นเครื่องกีดขวางให้ไม่กล้ามารับบริการ   เมื่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ริเริ่มขึ้น ส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวกคือ การริเริ่มของโครงการก่อให้เกิดการปฏิรูประบบบริการและงบประมาณด้านสาธารณสุข โดยเอาประชาชนเป็นตัวตั้ง มิใช่นำเอาสถานพยาบาลเป็นตัวตั้ง   ขณะที่ผลด้านลบคือ แม้มีการปฏิรูประบบในเบื้องต้นแล้ว แต่ระบบรองรับยังไม่เกิด ดังนั้น ทันทีที่การตลาดการเมืองของโครงการ 30 บาทเผยแพร่ออกไป ก็สร้างความคาดหวังให้แก่ผู้รับบริการโดยที่ระบบรองรับยังไม่ได้รับการปฏิรูป ก่อให้เกิดความผิดหวัง และปัญหาบางส่วนตามมา   อีกปัญหาใหญ่คือเมื่อระบบงบประมาณสาธารณสุขถูกเปลี่ยนไปจากเดิมที่จ่ายงบประมาณตามขนาดของสถานพยาบาล มาเป็นการจัดสรรงบประมาณโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ได้สร้างความหวั่นไหวให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรของสถานพยาบาลว่าจะไม่มีเงินดำเนินการ   อย่างไรก็ดี แม้จะมีความรู้สึกด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครปฏิเสธปรัชญาพื้นฐาน ว่าด้วยการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขของคนในสังคม ซึ่งมิใช่การสงเคราะห์คนจนตามที่มักมีความเข้าใจผิด ดังนั้น การปรับปรุงแก้ไข การสร้างความเข้าใจ รับมือกับทัศนคติด้านลบเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขไทย คือสิ่งที่ต้องร่วมมือกันต่อไป   คุณหมอแบบที่ นพ.สงวน นิตยารัมภพงศ์ เป็น คือคุณหมอที่ให้ความสำคัญกับการ "สร้างสุขภาพ" มากกว่าการ "ซ่อมสุขภาพ" คือ ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งต้องทำระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพ มิใช่ระบบที่เชื่อว่ายิ่งคนไข้มากยิ่งนำกำไรมา ซึ่งเป็นแนวคิดที่สวนทางกับวิชาชีพแพทย์   การจัดสรรงบประมาณรายหัว แบบที่โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าริเริ่มปฏิรูป คือระบบที่ส่งเสริมว่า ยิ่งประชาชนมีสุขภาพดี หมอก็ได้กำไร หากสถานพยาบาลมีคนมารักษามาก การใช้จ่ายงบประมาณก็ยิ่งมาก ดังนั้น จึงต้องส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้แข็งแรง ป้องกันโรคให้มากขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น อันจะเป็นประโยชน์ระยะยาวของสังคม    นพ.สงวน นิตยารัมภพงศ์ ใช้เวลายาวนานในการฝ่าฟันอุปสรรค ผลักดันให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีศักดิ์ศรี ว่ากันว่า คนดื้อเงียบกัดไม่ปล่อยเช่น นพ.สงวน สามารถพูดเรื่องเดิมได้ซ้ำๆ ยาวนานเป็นสิบปี เพื่อผลักดันให้ระบบสาธารณสุขมีประสิทธิภาพทั่วถึงคนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน   "อุเบกขา เป็นธรรมะ ข้อที่ยากที่สุด การวางอุเบกขาไม่ได้แปลว่าให้วางเฉยและหยุด ไม่ยุ่ง แต่อุเบกขา แปลว่า ให้ทำในสิ่งที่อยากจะทำ อย่างต่อเนื่อง แต่วางใจกับมัน คือ สำเร็จไม่สำเร็จก็ช่าง ฉันก็จะทำ ไม่เลิกล้ม แต่ไม่คาดหวังว่าจะต้องสำเร็จอย่างเดียว"
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/60356
2015-07-14 16:29
รายงานเสวนา: ศิลปะ เสรีภาพ กับการเมือง
สุชาติ สวัสดิ์ศรี-ศิลปะเพื่อชีวิตไร้ความหมาย เวียง-วชิระ บัวสนธ์-ศิลปินอย่าสำคัญตัวผิดว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าคนอื่น อธิคม คุณาวุฒิ-เราจะทำงานได้อย่างไรหากไร้เสรีภาพ เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2558 ที่ห้อง 103 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานรัฐศาสตร์เสวนาครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “ศิลปะ เสรีภาพ กับการเมือง” ซึ่งงานรัฐศาสตร์เสวนาจะมีการจัดเดือนละ 1 ครั้ง ในหัวข้อต่างๆ ที่เป็นประเด็นทางสังคม ตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปี สำหรับการเสวนาในครั้งนี้มีวิทยากรประกอบด้วย สุชาติ สวัสดิ์ศรี, เวียง-วชิระ บัวสนธ์ และอธิคม คุณาวุฒิ ดำเนินการเสวนาโดย เอกวีร์ มีสุข การเสวนาในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมประมาณ 40 คน และมีเจ้าหน้าที่สันติบาลเข้าฟังงานเสวนาด้วย สุชาติ สวัสดิ์ศรี: ศิลปะวางตัวอยู่ในที่ซ่อน แล้วเราจะใช้คำว่า ศิลปะเพื่อชีวิต ไปทำไม สุชาติ เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า ศิลปะ เสรีภาพ และการเมือง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งกับชีวิต และสังคม ศิลปะรับใช้ตัวของมันเอง และตัวของมันเองก็วางอยู่ในที่ซ่อน หมายความว่า ศิลปะมีลักษณะที่เป็นงานปลายเปิด มีทีว่างให้คนเสพศิลปะได้คิดต่อ  เมื่อประมาณ 40 ปี สุชาติเคยคิดว่า ศิลปะนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อชีวิต แต่ว่านัยของคำว่าเพื่อชีวิต ไม่ได้มีชั้นเชิงทางทฤฎีที่กว้างมากพอ โดยส่วนใหญ่จะรับอิทธิพลจากหนังสือ ศิลปะเพื่อชีวิต ของทีปกร หรือจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นความหมายที่ค่อนข้างแคบ คำว่าศิลปะเพื่อชีวิตน่าจะมีนัยอื่นๆ อีก แต่คนในยุคนั้นก็ไม่ได้มีการถกเถียงในเรื่องนี้มากนัก มีเวลาเพียงสั้นๆ ระหว่าง 14 ตุลา 16 ถึง 6 ตุลา 19 ความหมายของคำว่า เพื่อชีวิต จึงถูกตีความโดยนัยว่าเป็น เพื่อประชาชน ทั้งที่สามารถขยายความหมายออกไปได้หลายแบบ ซึ่งช่วงเวลานั้นสุชาติ ซึ่งไม่เห็นด้วยกับนิยามในแบบแคบ ถูกเรียกว่าเป็น “โรคประจำศตวรรษ” สุชาติกล่าวว่า ศิลปะเพื่อชีวิต ที่มีความหมายว่าเพื่อประชาชน ในทางการเมืองได้สิ้นลงพร้อมกับนโยบาย 66/23 แต่คำว่าศิลปะเพื่อชีวิตที่ครั้งหนึ่งเคยมีนัยทางการเมือง ได้กลายเป็นสิ่งซึ่งสามารถใช้ทำมาหากินได้ ในระบบทุนนิยม มันไม่ได้รักษาคอนเซปเดิมที่เคยเป็นเช่น สังคมนิยม ซึ่งเป็นเพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของคำว่าศิลปะเพื่อชีวิต ทว่ามันเปลี่ยนแปลงไป สุชาติกล่าวต่อไปว่า คนทำงานศิลปะจะเพื่ออะไรก็แล้วแต่ เป็นเรื่องของคนอื่นที่จะให้ความหมาย ตีความ หรือศึกษาในชั้นเชิงต่างๆ แต่คนทำงานศิลปะคือคนที่จะต้องทำให้งานของตนเองมีชีวิตเสียก่อน จะด้วยวิธีการสร้างเนื้อหา รูปแบบอย่างไรก็ตาม ถ้างานมีชีวิตแล้ว จะเป็นไปเพื่ออะไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เท่าที่ผ่านมาเรามักจะถูกเรียกร้องให้สร้างงานที่เป็นไปตามความคิดแบบใดแบบหนึ่ง ภายหลังจากโนบาย 66/23 เรื่อยมา คำว่าศิลปะเพื่อชีวิตตามแนวคิดเดิมเริ่มแตกสลาย และขยับความหมายเข้าไปสอดรับกับระบบทุนนิยม สุชาติกล่าวว่า คำว่าเพื่อชีวิต ไม่ได้มีความหมาย เพราะความหมายได้แตกตัวออกไป อย่างที่เห็นว่ามี คาราโอเกะเพื่อชีวิต ร้านกาแฟเพื่อชีวิต ร้านเบียร์เพื่อชีวิต มันเผยให้เห็นถึงการปรับตัวเพื่อที่จะอยู่รอดในสังคมทุนนิยม ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และแต่ละคนก็เดินไปตามเสรีภาพของตัวเอง สุชาติกล่าวว่า ก่อนมางานครั้งนี้ได้ฟังพระเทศน์ผ่านทางวิทยุ มีช่วงหนึ่งของคำเทศน์น่าสนใจคือ “ถ้าอยู่บนฟ้าก็ต้องเป็นนก ถ้าอยู่ในน้ำก็ต้องเป็นปลา ถ้าอยู่ข้างฝาก็ต้องเป็นจิ้งจก” หมายความเป็นนกก็ต้องอยู่บนฟ้า โดยธรรมชาติของนกก็ต้องบิน ถ้าอยู่ในกรงนั้นเริ่มเป็นปัญหา แต่ถ้าหากว่าเปิดกรงแล้วนกยังไม่ยอมบินออกจากกรงก็เริ่มมีปัญหามากกว่าเดิม หรือออกไปแล้วไปไหนก็ไม่รู้ แทนที่จะบินไปแบบโจนาธาน นางนวล บินไปเพื่อแสวงหาเสรีภาพในการใช้ชีวิต ปลาก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องอยู่ในน้ำ โดยธรรมชาติของปลานั้นมันต้องเป็นปลาที่ว่ายทวน ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นปลาที่มีชีวิต ส่วนจิ้งจก แน่นอนว่าอยู่ที่ข้างฝา ซึ่งไม่แน่ชัดนักว่าพัฒนามาจากไดโนเสาร์ยุคไหน  แต่ธรรมชาติของมันคือการกลายสภาพไปตามสีของข้างฝา สุชาติมองว่าประเด็นคำเทศน์ของพระน่าสนใจ บางครั้งผู้ทำงานศิลปะก็คงเปรียบเทียบได้กับสัตว์ 3 ชนิด แต่ปัญหาก็คือ สุชาติมักจะพบแต่ จิ้งจก ซึ่งแน่นอนที่สุดจิ้งจกก็จำต้องพรางตัวเพื่อความอยู่รอดปลอดภัย เวียง-วชิระ บัวสนธ์: สภาพจิตของผู้ผลิตงานศิลปะ อย่าสำคัญตัวผิดว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าคนอื่น เวียง-วิชิระ กล่าวว่า เท่าที่พูดคุยกันในแวดวงนักเขียน และกวี และจากที่สังเกตุ พบว่า สภาพจิตของผู้ผลิตงานศิลปะแขนงต่างๆ ไม่ได้แตกต่างไปจากนักเขียน และกวี แท้จริงแล้วก็คือภาพย่อของจริต และอารมณ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งสามารถจัดกลุ่มอย่างกว้างได้ 4 ประเภทคือ กลุ่มอารมณ์ที่ยังคงเชียร์รัฐบาล กับกลุ่มที่ไม่เชียร์รัฐบาล อีกกลุ่มคือกลุ่มที่เชียร์บ้างไม่เชียร์บ้าง และสุดท้ายยังคงมีกลุ่มพิเศษอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ยุ่งกับโลก และสังคมเลย คือไม่เอาธุระกับอะไรทั้งสิ้นนอกจากเรื่องของตัวเอง เวียง-วชิระ กล่าวต่อไปว่า นักเขียน และกวี ในรุ่นอายุอานามประมาณ 40 ปลายๆ 50 กลางๆ เติบโตทางปัญญามากลับวรรณกรรมเพื่อชีวิต หรือวรรณกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งวรรณกรรมเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัย 14 ตุลา หรืออาจจะเป็นงานเขียนที่มีมาก่อนหน้านั้น แต่ในยุค 14 ตุลา ได้มีการรื้อฟื้อคืนชีวิตให้กับงานเหล่านี้อีกครั้ง การเสพวรรณกรรมเหล่านี้ทรงอิทธิพลต่อการจัดรูปความคิดของคนให้มีจิตสำนึกทางสังคมขึ้น ข้อสังเกตุคือ คนที่เติบโตมาในยุคนั้นแล้วกลายมาเป็นนักเขียน หรือกวี มักจะเป็นลูกชาวบ้าน หลานชาวนา ซึ่งมีพื้นเพ หรือสังกัดอยู่ในชนชั้นล่างของสังคม เมื่อได้เสพวรรณกรรมที่บ่งบอกมูลเหตุของความยากไร้ สภาพความเจ็บช้ำน้ำใจอันเนื่องมาจากการถูกเอารัดเอาเปรียบโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดจนพ่อค้านายทุน ก็ทำให้เลือดลมพลุ่งพล่านเป็นธรรมดา แล้วเมื่อหันเหมาเป็นผู้ผลิตวรรณกรรมเอง อำนาจของวรรณกรรมที่ได้รับมาในช่วงแรก ก็ทำให้คนเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นปากเสียงให้กับคนในชนชั้นตัวเอง เพราะว่านักเขียนต้องเขียนในสิ่งที่คุ้นเคย เขียนในสิ่งที่รู้จริง เนื่องจากการก่อตัวทางความคิดของนักเขียนในรุ่นของตัวเองเติบโตมาแบบนี้ ก็เห็นชัดได้ว่า เมื่อเหตุการณ์พฤภาทมิฬ ไม่มีใครลังเลที่จะประกาศตัวให้โลกรู้ว่า ไม่เอารัฐบาลเผด็จการ แต่ปัญหาคือเกิดอะไรขึ้นกับนักเขียน และกวีส่วนหนึ่ง ที่พาตัว พาใจ ไปยอมรับกับอำนาจเผด็จการ เวียง-วชิระ กล่าวว่า นักเขียนและ กวีที่เคยเชื่อมั่น และศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย หันไปนิยมชื่นชมกับระบอบที่ตรงกันข้าม สร้างความสังสัย และทำในวงการนักเขียน แตกกระจายออกไป การขับไล่รัฐบาลในเวลานั้น ซึ่งกำลังพลักดัน พ.ร.บ. นิริโทษกรรม เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ ที่บรรดาเพื่อนนักเขียนออกมาต่อต้าน แต่สิ่งที่ไม่อาจจะเข้าใจได้คือ ทำไมการส่งสัญญาณว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล จะต้องมาพร้อมกับการฉีกระบอบประชาธิปไตยออกไปพร้อมกัน แทนที่จะปล่อยให้ระบบการเมืองทำงานไปตามปกติ เลือกตั้งกันใหม่ แล้วให้บทเรียนรัฐบาลผ่านการเลือกตั้ง แต่ถ้าผู้คนส่วนใหญ่อยากให้รัฐบาลกลับเข้ามา เราก็จำเป็นต้องยอมรับ และเคารพ ต่อให้ไม่เห็นด้วยแต่เราก็ต้องเคารพ เพราะประเทศนี้ไม่ใช่ของเราเพียงคนเดียว ความน่าสงสัย ในเรื่องที่นักเขียน และกวี หันเหไปยอมรับอำนาจเผด็จการ ทั้งที่เติบโตมาจากวรรณกรรมเพื่อชีวิต ที่ก่อร่างความคิดให้สร้างงานเพื่อเป็นปากเสียงในชนชั้นล่าง และยึดกุมในหลักการประชาธิปไตย เวียง-วชิระ ตั้งข้อสังเกตุว่าเป็นเพราะ 2 ปมปัญหาใหญ่คือ ความรู้สึกว่าประเทศเรามีนักการเมืองคุณภาพต่ำ จึงมีความจำเป็นต้องสร้างบ้านแปรเมืองกันใหม่ หากปล่อยไปประเทศก็จะถูกยึดครองโดยคนหน้าเหลียม และสองเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในข้อแรก หลังจากที่ได้พิสูจน์กันมาหลายปีแล้วว่า คงไม่มีทางเอาชนะคนหน้าเหลียมได้ บวกกับมีกลุ่มการเมืองบนท้องถนน ไม่มีใครยอมใคร ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเชิญให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ เข้ามารับเหมาทำแทน เพื่อที่ตัวเองจะได้ไปใช้ชีวิตตามปกติของตัวเองต่อไป แต่อย่างไรก็ตามด้วยความที่ยังกระอักปากกันอยู่ ไม่อยากให้พวกบ้าประชาธิปไตยคนใดจับไต๋ได้ จึงแทบไม่มีนักเขียน หรือกวีคนใด ออกมารับอย่างซื่อสัตย์ ว่าข้าพเจ้าสนับสนุนรัฐประหารครั้งนี้ เวียง-วชิระ กล่าวต่อไปว่า เพื่อนนักเขียน กวี ชาวใต้ ได้ตั้งข้อสังเกตุว่าปมเงื่อนที่ทำให้นักเขียน และกวี ส่วนใหญ่สนับสนุนรัฐประหารครั้งนี้ ทั้งโดยแอบจิต และเปิดเผยเป็นเพราะว่า พวกเขาได้รับการสถาปนา สถานะทางสังคม จากการได้รับรางวัลทางวรรณกรรมต่างๆ ทำให้เขามีความเชื่อว่าตัวเขาเองมีสภาพจิตที่อยู่เหนือกว่าคนอื่น และด้วยสภาพจิตที่เชื่อว่าอยู่เหนือกว่าคนอื่น มีผลต่อการขับเคลื่อนปัญหาเบื้องลึกโดยไม่รู้จักตึกตรองสิ่งที่สำคัญคือ การมองเห็นหัวคนผู้อื่น โดยทั่วไปนักเขียน กวี หรือผู้ทำงานศิลปะ มักจะเป็นผู้ที่เรียกได้ว่า มีผิวหนังหัวใจเบาะบาง แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปอีกชั้นก็จะพบว่า สิ่งที่มนุษย์จำพวกนี้อ่อนไหว แท้จริงแล้วไม่ใช่เรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมในระบอบประชาธิปไตย หากแต่เป็นความอ่อนไหว รู้สึกไวเสมอ เมื่อมีเหตุอันใดมาสั่นคลอนสถานะ หรือตัวตนของเขา จนต้องออกมาเต้นเร่าเป็นธรรมดา แต่เรื่องที่สมควรจะออกมายืนหยัด พิทักษ์ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนที่เท่าเทียมกันนั้น มนุษย์พันธุ์นี้ ในประเทศที่มหัศจรรย์แห่งหนึ่ง เข้าใจว่า หนังจะหนาเป็นพิเศษ สุดท้าย เวียง-วชิระ เสนอว่า ต่อความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้น จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ไม่ว่าใครจะเชื่อในอะไรก็ตาม ขอแค่เรามีจุดที่เชื่อมั่นเหมือนกันเพียงแค่เรื่องเดียวคือ ปล่อยให้ประเทศนี้ถูกกำหนดด้วยวุฒิภาวะ และสติปัญญาของผู้คน โดยไม่มีเทวดา หรือซาตาน หน้าไหนเข้ามาชกฉวยปล้นสิทธิ์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คนไปอีก ขอแค่นี้… อธิคม คุณาวุฒิ: เราอาจเมาแล้วพูดลดทอนคุณค่า เสรีภาพได้ เมื่อสร่างเมา เราทำงานไม่ได้ถ้าไม่มีเสรีภาพ อธิคม เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึง ช่วงการเติบโตทางความคิดของตน เนื่องจากเป็นคนหนุ่มที่สุดในวง จึงมีการเติบโตที่แตกต่างจากคนอื่นๆ อธิคมกล่าวว่า ตนโตมากับกลุ่มหนังสือหลัง พ.ศ. 2523 กระแสความนิยมหนังสือในช่วงนั้นคือ หนังสือประเภทชีวิตรักนักศึกษา ถ้าเทียบเมืองไทยในยุคนั้นก็คือ ยุค 80 ยุคดิสโก้ การเกิดขึ้นของหนังสือประเภทนี้ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงนั้นสะท้อนให้เห็น ความพยายามสลาย ลดทอนบทบาท ลดทอนคุณค่าบางประการ ของขบวนการนักศึกษา ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศที่ถูกครอบงำมาโดยตลอด ก่อนที่จะหันมาอ่านหนังสือที่เป็นเนื้อหาสาระอย่างที่ คุณสุชาติ และกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว ทำ พูดได้ว่าช่วงชีวิตในวัยรุ่นได้อิทธิพลจากวรรณกรรมทางสังคมที่สะท้อนอุดมคติทางสังคม สะท้อนจุดยืนทางการเมืองบางประการ อธิคม กล่าวต่อไปว่า กระแสเรียกร้องคนทำงานศิลปะ ว่าจะต้องทำเพื่ออะไร มีมาตลอด แต่เมื่อพ้นจากยุคหลัง 66/23 โลกก็เคลื่อนมาสู่การใช้เสรีภาพ ถ้าเทียบกับฝรั่งก็เป็นช่วงยุคดิสโก้ มีการใช้สีสัน ใช้เสื้อผ้าที่ฟุมเฟือย เนื่องจากหมดแรงเหวี่ยงจากยุคฮิปปี้แล้ว เป็นช่วงที่เราสำลักเสรีภาพ แล้วคิดว่าเสรีภาพเป็นของฟรีที่ติดตัวมาแต่เกิด ไม่ต้องออกแรงสู้ อธิคม กล่าวต่อว่า มีความรู้สึกแปลกใจที่หลังจากวันที่ 22 พ.ค. 2557 ทำไมเราเดินย้อนกลับไปก่อนยุค 14 ตุลา ทำไมยังมีคนที่ยังคิดว่าสิ่งที่คณะราษฏรทำเมื่อปี 2475 นั้นเป็นเรื่องผิดหรือถูก ยังมีคนที่เชื่ออย่างสุดจิตสุดใจว่า คนอย่างอาจารย์ปรีดีมักใหญ่ใฝ่สูง ยังมีคนที่ล้อเล่นกับคำว่า สิทธิ เสรีภาพ และภราดรภาพ ราวกับว่าสิ่งเหล่านั้นไม่เคยมีค่า ไม่มีราคา ไม่มีต้นทุนที่ต้องจ่ายมาก่อนจึงจะได้มา ทำให้ย้อนกลับมาคิดว่า ถ้าช่วงที่ผ่านมาเราจับจ่ายใช้สอยเสรีภาพกันอย่างฟุ่มเฟื่อยแล้ว เมื่อถึงจุดหนึ่งมีคนมาบอกว่า ต่อนี้คุณห้ามพูดในสิ่งที่คุณคิด คุณห้ามไปยืนกินแซนวิช ชูสามนิ้วในที่สาธารณะ ถึงตอนนี้รสชาติ ราคาของความหอมหวานของคำสามคำ สิทธิ เสรีภาพ และภราดรภาพ มันจะกลับมาถูกทวงถามอีกครั้งใน พ.ศ. นี้ ในเวลาปัจจุบันนี้ อธิคม เล่าต่อว่า เป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนอย่าง สุชาติ ยังต้องมาทะเลาะกับคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวมาด้วยกัน ทุกครั้งที่มีการถกเถียงกันในเรื่องราวเหล่านี้ ตนคิดว่าในฐานะของคนทำงานศิลปะ หรือในฐานะคนทำงานอย่างตัวเอง ซึ่งมันคาบเกียวกันระหว่างงานด้านสื่อ และงานด้านศิลปะ ถ้าวิชาชีพอย่างเราๆ ไม่ยืนอยู่บนขาสามขานี้ เราจะทำงานกันได้อย่างไร คุณอาจจะไปพูดสนุกในวงเหล้า พูดลดทอนคุณค่าอะไรก็ได้ อาจจะด้วยอารมณ์ของความห่าม แต่ลองถามตัวเองเมื่อถึงตอนที่สร่างเมาแล้ว คุณจะทำงานได้อย่างไรถ้าไม่มีสามขานี้ หรือเปลี่ยนมาสู่เรื่องหลักกำปั้น 5 ข้อ มันก็เป็นเรื่องด้วยกัน เราก็ทำงานไม่ได้ถ้าไม่มีหลักการดังกล่าว เราจะยืนอยู่บนหลักการอะไร ศีล 5 เศรษฐกิจพอเพียง หรือคำสั่งภรรยา (ผู้ฟังหัวเราะ) ทำไมคนที่ผ่านร้อน ผ่านหนาว กอดคอเป็นเพื่อนกันมาในสนามรบจึงมีปัญหากับหลักการ เสรีภาพ หรือกรณีที่ 14 ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ถูกจับ ก็ยังมีคนออกมาบอกว่าเป็นเรื่องที่ต้องตีความ แล้วหาว่ามีคนอยู่เบื้องหลัง อธิคม เสนอบทวิเคราะห์ว่า หนึ่งคือ เป็นไปได้ไหมว่าคนทำงานศิลปะในบ้านเราจำนวนไม่น้อย ยังมีจิตสำนึกที่ผูกติดอยู่กับระบบอุปภัมถ์ อันสืบรากมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวคือ จะต้องเข้าเจ้าเข้านาย ต้องการให้คนค่อยอุปภัมถ์ค้ำจุนคนทำงานศิลปะ จะต้องกลมกลืนกับผู้มีอำนาจ แต่ตอนนี้เจ้านายที่ว่าได้เปลี่ยนรูปมาเป็นระบบราชการ เปลี่ยนรูปมาเป็นการได้รับการยอมรับนับถือทางสังคม แล้วไม่อยากให้มีใครมาเขย่าโครงสร้างที่มั่นคงโดยเด็ดขาด เพราะอยู่ตรงนั้นสบายอยู่แล้ว สองคือ วาทกรรมว่าด้วยความชั่วร้ายของนักการเมือง ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมีกระบวนการนับตั้งแต่การอภิวัฒน์ 2475 และแสดงผลอย่างชัดเจนตั้งแต่ 2500 เป็นต้นมา ส่งผลอย่างรุนแรงต่อมโนสำนึกของคนทำงานศิลปะ ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วน่าจะมีสติปัญญาไตร่ตรองได้ ทุกครั้งที่เราหาตัวละครไม่ได้ ด่าว่าใครชั่วไม่ได้ การด่านักการเมืองเป็นอะไรที่คล่องปากเสมอ โดยเฉพาะกับนักการเมืองที่น่าด่า และมีเรื่องให้ด่าเสมออย่างตระกลูชินวัตร เมื่อด่านักการเมืองมันสร้างความปลอดภัยให้กับคุณ มันไม่ได้ไปกระทบกับโครงสร้างของระบบอุปภัมถ์ที่คุณเอาตัวเองไปฝากไว้อยู่ สามคือ ธรรมชาติของคนในแวดวงนี้(นักเขียน กวี คนทำงานศิลปะ) ลักษณะอย่างหนึ่งคือ มักจะเป็นคนผิวบาง มีความรู้สึกตื่นตัวกับตัวตน ศักดิ์ศรีที่ถูกอุปโลกน์ ขณะเดียวกันก็อาจจะหยุดการเรียนรู้ของตัวเอง พอใจกับเพียงการได้นั่งมองเมฆบังดวงจันทร์ แล้วก็หลั่งน้ำตาได้ ฉะนั้นจึงมองไม่เห็นความจำเป็นว่าจะต้องทิ้งฐานที่มั่นเดิม เพื่อที่จะออกมาเสี่ยงอีกครั้ง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/43995
2012-12-02 18:04
เสวนา: โลกแห่งวิทยาศาสตร์ ในโลกแห่งประชาธิปไตย
อภิปรายที่ Book Re:public โดย “ชัชวาล ปุญปัน” และ “นิธิ เอียวศรีวงศ์” ตั้งแต่เรื่องอนุภาคพระเจ้า กาลิเลโอ สสารมืดในเอกภพ หนังสือต้องห้าม วิกิลีกส์ จนถึงเรื่องประชาธิปไตยไทย วันที่ 6 ต.ค. 55 ร้าน Book Re:public จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ“โลกแห่งวิทยาศาสตร์ ในโลกแห่งประชาธิปไตย” โดยมี อ.ชัชวาล บุญปัน อดีตอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากร ร่วมพูดคุยโดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และดำเนินรายการโดยพิภพ อุดมอิทธิพงศ์ คลิปอภิปราย "โลกแห่งวิทยาศาสตร์ ในโลกแห่งประชาธิปไตย" (ที่มา: Book Re:public [1]/youtube.com)   อ.ชัชวาล บุญปัน เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงการค้นพบอนุนาคพระเจ้า (God Particle หรือ Higgs Particle) โดยในทางฟิสิกส์มีการศึกษาองค์ประกอบของสิ่งต่างๆ และค้นหาอนุภาคมูลฐานจำนวนมาก นำไปสู่การจัดกลุ่มจัดหมวดหมู่ของอนุภาค และมีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งซึ่งตอนนั้นอายุ 35 ปี คือ Peter Higgs คิดว่ายังน่าจะมีอนุภาคอีกตัวหนึ่ง ปัจจุบันเขาอายุกว่า 80 ปีแล้ว จากการทดลองของ CERN (องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป) ก็ได้ประกาศการค้นพบอนุภาคนี้ เมื่อวันที่ 4 ก.ค.55 โดยก่อนหน้านี้นักฟิสิกส์อีกท่านคือ Stephen Hawking ได้พนันกับเพื่อนว่าจะไม่เจออนุภาคนี้เป็นเงิน 100 เหรียญ จนเมื่อมีการประกาศการค้นพบ เขาก็ได้แสดงความยินดีในการค้นพบความจริงเหล่านั้น อ.ชัชวาลชวนกลับมามองในประเทศไทย เหตุการณ์ที่ท่านผู้บัญชาการทหารบกได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 เม.ย.ว่า คนไทยไม่ควรมีเสรีภาพทางความคิด ซึ่งขัดแย้งในสองโลกสองสังคม ในโลกที่คิดว่าเราเป็นประชาธิปไตย กับโลกที่เป็นวิทยาศาสตร์ จึงอยากจะกล่าวถึงสองโลกนี้ที่แตกต่างกัน และพิจารณาเรื่องเสรีภาพในการแสวงหาความจริง อ.ชัชวาลอธิบายว่าในโลกวิทยาศาสตร์ กว่าจะพัฒนามาเป็นความรู้ในปัจจุบัน มันเริ่มมาจากความเชื่อในชุดความจริงที่ว่าโลกไม่เคลื่อนที่ ส่วนดวงอาทิตย์และสิ่งต่างๆ เคลื่อนที่รอบตัวเราทั้งสิ้น เรื่องที่น่าสนใจคือบันทึกในทางดาราศาสตร์แต่โบราณที่พูดเรื่องการเคลื่อนที่ย้อนกลับ ดวงดาวต่างๆ ไม่ได้เคลื่อนที่โคจรเป็นวงรอบโลก แต่เคลื่อนที่เป็นวงย้อนกลับเป็นปกติ ก็มีความพยายามอธิบายบนพื้นฐานว่าโลกไม่เคลื่อนที่ โลกอยู่ตรงกลาง เขาจึงพยายามสร้างวงโคจรย่อย ในวงโคจรใหญ่ พยายามให้คำอธิบายบนกระดาษสอดคล้องกับความจริงบนท้องฟ้า แต่ต่อมา มีการพิสูจน์ทางเลขาคณิต ว่าวงโคจรย่อยมันกลับไม่ได้เคลื่อนที่รอบโลก จุดศูนย์กลางมันเคลื่อนไป ไม่ได้อยู่ที่โลก จึงเกิดคำถามข้อสงสัยขึ้นกับคำอธิบายแบบเดิม นักบวชในสมัยนั้นอย่างโคเปอร์นิคัส จึงมองว่าโลกนั้นเคลื่อนที่ อันอื่นมันเคลื่อนที่เป็นวงกลมตามปกติ ไม่ต้องเคลื่อนที่ย้อนกลับ โลกเพียงแต่เคลื่อนที่อยู่ในวงโคจรวงใน ดาวอังคารอยู่ในวงโคจรวงนอก แต่สิ่งนี้มันกลับเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะคุณพูดเรื่องโลกเคลื่อนที่ไม่ได้ เพราะในมุมมองทางศาสนา โลกเป็นธาตุที่ไม่สะอาดเปลี่ยนแปลงตลอด แต่ขณะที่สิ่งที่อยู่เหนือดวงจันทร์เป็นธาตุสวรรค์ วัตถุจะอยู่เฉพาะในธาตุของมัน วิธีคิดแบบนี้จึงอันตราย คณะกรรมการคาร์ดินัลในขณะนั้นได้วิจารณ์ความคิดของโคเปอร์นิคัส ความคิดที่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลจึงปักหลักอยู่กับที่ เป็นความคิดนอกรีต โง่เขลา พิลึกพิลั่นในเชิงปรัชญา ส่วนความคิดว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางก็ไร้ตรรกะในเชิงปรัชญา และหย่อนศรัทธา หรือกรณีบรูโน่ (Giordano Bruno 1548-1600) นักคณิตศาสตร์ ที่เขียนเกี่ยวกับเอกภพไม่มีที่สิ้นสุด ก็ถูกเรียกไปถามว่าคุณยังศรัทธาอยู่หรือเปล่า เมื่อบรูโน่ยืนยันความเชื่อก็ถูกจับเผา ภาษาปัจจุบันเรียกว่า “เบียดเสียดคนไม่ดีไม่ให้มีที่ยืนในสังคม” หนังสือต้องห้ามของกาลิเลโอ หลังจากโคเปอร์นิคัสตายไป 89 ปี กาลิเลโอได้เขียนหนังสือบทสนทนาโดยตัวแทนทางความคิด ระหว่าง อริสโตเติล โตเลมี และโคเปอร์นิคัส เถียงกันในประเด็นต่างๆ และหนังสือเล่มนี้กลายเป็นหนังสือต้องห้าม และกาลิเลโอถูกไต่สวนโดยศาลศาสนา โดยสังฆราชอูรบันที่ 8 และกลายเป็นพระสันตะปาปา ซึ่งเคยเป็นเพื่อนและเคยชื่นชมความคิดของกาลิเลโอเองด้วย แต่มีม้าเร็วได้ลักลอบเอาหนังสือนี้ไปให้นักประวัติศาสตร์นอกกรุงโรม มีการแปลจากภาษาอิตาลีเป็นภาษาละติน จนอีก 20 ปีต่อมามีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ในตลาดมืดราคาของหนังสือเล่มนี้ก็เพิ่มขึ้นหลายเท่า การอภิปรายเรื่องการเคลื่อนที่ของโลกต้องโทษหนักถึงขั้นขับออกจากศาสนา และห้ามขาดในการกล่าวถึงโคเปอร์นิคัสไม่ว่าทางใด และห้ามเชื่อว่า “โลกเคลื่อนที่” แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีการพิสูจน์ พลังอธิบายของเรื่องนี้ก็มากขึ้น สิ่งที่กาลิเลโอกล่าวไว้ได้กลายเป็นฐานความเข้าใจให้นิวตันนำมาสร้างกฎการเคลื่อนที่ได้ จนเกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ผ่านไป 180 ปี หนังสือเล่มนี้จึงถูกวาติกันปลดจากการเป็นหนังสือต้องห้าม เวลาผ่านไปอีก 324 ปี สำนักกระทรวงวารสารต้องห้ามของศาสนจักรถูกยุบไป จน 350 ปีผ่านไป พระสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 2 ประกาศสนับสนุนปรัชญาของกาลิเลโอ ต่อมาเกือบสี่ศตวรรษ ในปี 1995-1999 ยานกาลิเลโอก็ไปสำรวจดาวพฤหัส ยืนยันการค้นพบของกาลิเลโอ ที่บันทึกดวงจันทร์ของดาวพฤหัสไว้ และเรียกว่าเป็นดาวบริวารดาวพฤหัส กาลิเลโอตั้งชื่อว่าดาวเมเดซี่ (Medici) จะเห็นสิ่งที่เป็นความจริงมันได้พิสูจน์ตัวเอง และกลายเป็นสิ่งปฏิเสธไม่ได้ สิ่งที่ถูกล้มไม่ใช่ศาสนจักร ไม่ใช่ตัวบุคคล แต่เป็นการล้มความเท็จ ใครก็ตามที่จะสามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไป ก็น่าจะอยู่กับความจริงใหม่นั้นได้อย่างยั่งยืน อ.ชัชวาลชวนกลับมาพิจารณาสังคมไทย ก็พบว่ามีสิ่งต้องห้ามมากมายเลย ตนเคยถามนักศึกษาในชั้นเรียนว่าทราบไหมว่าหนังสืออะไรเป็นหนังสือต้องห้ามบ้าง ส่วนใหญ่แทบจะไม่ค่อยรู้ ในหนังสือ “KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life’s Work” (2011) ในหน้า 179 ได้พูดถึงหนังสืออีกเล่มหนึ่งว่าข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ ข้อมูลไม่ตรง คนไทยไม่สนใจ แต่ก็ยอมรับว่าเป็นหนังสือที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสังคมไทย แต่กลับไม่ได้พูดว่าหนังสือเล่มนี้ถูกสั่งห้ามไม่ให้จำหน่ายในประเทศ นั่นคือหนังสือ “The King Never Smile” (2006) กลายเป็นว่าหนังสือเล่มหนึ่งสามารถอ่านได้ ถูกกฎหมาย แต่อีกเล่มถูกห้ามไม่ให้อ่าน รวมทั้งเอกสารอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือวิกิลิกส์ (Wikileaks) ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ มีบทสนทนาของทูตคุยกับบุคคลสำคัญในประเทศ คล้ายกรณีของกาลิเลโอใช้กล้องโทรทัศน์ส่องเข้าไปในจักรวาล เพื่อดูข้อเท็จจริงต่างๆ ในขณะที่จูเลียน อาสซานจ์ (Julian Assange ผู้บริหารวิกิลิกส์) มีฮาร์ดดิสต์อันหนึ่ง แล้วสามารถเผยแพร่ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ไปทั่วโลกได้ ข้อเท็จจริงสองอันนี้ถูกห้ามเหมือนกัน อ.ชัชวาลกล่าวต่อว่าเคยถามเพื่อนสองคนที่อยู่ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ก็ไม่ได้มีการห้ามเข้าและเผยแพร่เอกสารของวิกิลิกส์ แต่ในประเทศไทยกลับไม่ใช่บรรยากาศแบบนั้น หลายคนที่ได้รู้ข้อเท็จจริงบ้าง หรือมองเห็นสังคมที่เคลื่อนไปสวนทางกับประชาธิปไตย ก็พยายามที่จะออกมาพูด แต่ก็กลับโดนข่มขู่คุกคาม หรือโดนฟ้องด้วยมาตรา 112 เช่นกรณีของคุณเอกชัย ที่เอาเอกสารวิกิลิกส์ไปขายชุดละ 20 บาท และถูกจับดำเนินคดีขึ้นศาล กรณีนี้น่าจะเป็นกรณีแรกที่เราได้มองเห็นความจริงของการพูดในศาล ศาลได้พูดในคดีนี้ว่า “ถ้าเป็นจริงก็ผิด ถ้าไม่จริงก็โคตรผิดเลย” ซึ่งสามารถแปลเป็นภาษาวิทยาศาสตร์ได้ว่า “ถ้าคุณพูดจริงว่าโลกไม่เคลื่อนที่ คุณผิด และถ้ายิ่งโลกดันไม่เคลื่อนที่จริงอีก คุณยิ่งผิดเลย” โดยไม่ต้องมาพิสูจน์กันว่าโลกนั้นเคลื่อนที่หรือไม่ เพียงแค่เอ่ยว่าโลกเคลื่อนที่ก็ผิดแล้ว มันสะท้อนว่าสังคมประชาธิปไตยเรามันเหมือนย้อนไป 4 ศตวรรษ การแสวงหาความจริงกลายเป็นสิ่งที่ยากลำบากขึ้น อ.ชัชวาลสรุปว่าในทางวิทยาศาสตร์ มีการพยายามค้นหาเข้าไปในเอกภพ และพบว่าสิ่งที่เราไม่รู้มากกว่าสิ่งที่เรารู้มากเลย เราพบว่าสสารที่เรารู้จักมีแค่ 3.6% อีก 22% เป็นสสารมืด (Dark Matter) และอีก 74% เป็นพลังงานมืด (Dark Energy) เนื่องจากทฤษฎีทีมีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถพยากรณ์การเคลื่อนที่ของดาราจักรได้ กลับต้องมีอะไรอย่างอื่นอีกในเอกภพ “เป็นไปได้ไหมว่าในระบบการเมืองการปกครอง Dark Matter คือ Dark Information เราไม่รู้ข้อมูลอันนั้นเลย แต่มันขับเคลื่อนอะไรบางอย่าง ในขณะที่ Dark Energy ก็คือ Dark Politics คืออำนาจมืดอะไรต่างๆ ที่มันขับเคลื่อนสังคมไปอยู่ตลอดเวลา แล้วทำให้เราไม่มีวันเข้าใจ” แผนภูมิแสดงอัตราส่วนสสารต่างๆ ในจักรวาล   ในช่วงต่อมา ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้กล่าวเสนอต่อว่า ท้องเรื่องหลักอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์เราตั้งแต่โบราณ คือเรื่องของพันธนาการและการปลดปล่อย เรื่องของการที่มนุษย์พันธนาการกัน เอาเปรียบกัน ทำให้เขาไม่มีอำนาจต่อรอง จนหลายร้อยปีต่อมา ก็จะมีคนมาบอกว่าการพันธนาการนั้นไม่เป็นธรรม เปลี่ยนแปลงความคิด และปลอดปล่อยคนจากพันธนาการ โดยเวลาเราพูดถึงพันธนาการ ไม่ได้หมายถึงการใช้กำลังอาวุธ หรือมีพรรคพวกมาก ไปบังคับให้คนอื่นยอมเสียเปรียบ ยอมให้อะไรต่ออะไรเท่านั้น ยิ่งมาถึงโลกปัจจุบันที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แล้วดูประหนึ่งว่าไม่มีพันธนาการ และดูประหนึ่งว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องปลดปล่อย หากในความเป็นจริง พันธนาการก็ยังมีอยู่ ในท่ามกลางการมีการเลือกตั้ง มีความมั่นคงของรัฐสภา เรายังพบว่ายังมีการครอบงำมีพันธนาการผ่านสิ่งหลักๆ สองอย่าง หนึ่ง คือผ่านสิ่งที่เรียกว่าความคิด ความรู้ หรือที่ชอบใช้คำว่า “วาทกรรม” คือทำชุดของความรู้ ชุดของความจริงอันหนึ่งที่ทำให้ทุกๆ คนในสังคม หรือคนส่วนใหญ่ยอมรับว่าไอ้นั่นคือธรรมชาติ ไอ้นั่นคือความจริง และคือสิ่งปกติ เมื่อไรที่คุณไม่เชื่อสิ่งนั้น ไม่ยอมรับสิ่งนั้น ก็กลายเป็นว่าคุณกำลังวิกลจริต หรือมองโลกผิดปกติ ทั้งหมดนั้นสรุปสั้นๆ ก็คือความรู้นั่นเอง ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือพันธนาการของโลกยุคใหม่ที่มีพลังอย่างยิ่ง ความรู้ที่ถูกจัดองค์กรไว้เรียบร้อย (Organize) แล้ว ถูกสถาปนาขึ้นเหนือการสงสัยต่างๆ ของเรา และสอง คือเงิน ซึ่งกลายไปเป็นตัวแทนของทรัพยากรอื่นๆ ทั้งหมด เพื่อจะครอบครองทรัพยากรไม่ว่าสิ่งนั้นคืออะไร คุณใช้เงินไปครอบครองได้หมด อำนาจสองแบบนี้ได้ขัดขวางประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ศ.ดร.นิธิกล่าวต่อถึงวิทยาศาสตร์ ในระยะแรกนั้นได้ทำหน้าที่ปลดปล่อยพันธนาการที่มีมาก่อน นั่นคือพันธนาการจากศาสนา และการจัดสรรอำนาจบางอย่างที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อเหล่านั้น วิทยาศาสตร์แบบของกาลิเลโอ ของโคเปอร์นิคัส ของนิวตันก็ตาม มันได้ไปทำลายอำนาจที่ปลูกฝังผ่านประเพณี ที่มีมานานในยุโรป ในแง่นี้วิทยาศาสตร์ไปช่วยเสริมอำนาจของคนที่สามารถหาเหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์ หรือคนที่พิสูจน์เชิงประจักษ์ได้เก่งที่สุด กลายไปเป็นผู้สามารถตัดสินนโยบายสาธารณะต่างๆ ได้ วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์จึงเปลี่ยนอำนาจของคนไปพร้อมกัน จึงมีผลในทางการเมืองค่อนข้างมาก จึงมีผลในการปลดปล่อยทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ การปลดปล่อยวิชาความรู้ หรือโลกทัศน์อย่างมาก แต่อีก 300-400 ปีต่อมา วิทยาศาสตร์ไม่ได้ทำหน้าที่แบบนั้นแล้ว ตรงกันข้ามมันกลายเป็นเครื่องมือการสร้างพันธนาการแบบใหม่ด้วยซ้ำไป เช่น การใช้เทคโนโลยีต่างๆ หรือการสร้างระบบความรู้ ที่ใช้วิธีวิทยาในเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเนื้อหาสาระ ที่ทำให้คนอื่นๆ เถียงไม่ได้ เช่น เวลานักวิทยาศาสตร์บอกว่าไม่มีพระเจ้าหรือไม่มีนิพพาน หากก็มีสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถจะรู้ได้ในโลกนี้อีกมากเลย แต่วิทยาศาสตร์ได้เสนอตัวเองประหนึ่งว่าให้คำตอบสุดท้ายทุกอย่างที่เกี่ยวกับมนุษย์ ชีวิต หรือจักรวาล ในแง่นี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์กลายเป็นเครื่องมือของการครอบงำ อีกด้าน คือวิทยาศาสตร์ได้ฝากตัวเองกับทุนอย่างแนบแน่น หรือทุนฝากตัวเองกับวิทยาศาสตร์ก็ตาม ทุนกับวิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นสองฝ่ายที่มีผลประโยชน์ร่วมกันสูงมาก จนกระทั่งมันถูกใช้เป็นเครื่องมือในการที่ทุนจะเอาเปรียบเยอะมาก และเป็นเครื่องมือที่โต้แย้งลำบาก เช่น อุตสาหกรรมยาทีสนิทแนบแน่นกับวิทยาศาสตร์ ก็สามารถใช้รัฐเป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองกับประเทศคู่ค้าต่างๆ ศ.ดร.นิธิสรุปว่าในแง่นี้ 400 ผ่านไป วิทยาศาสตร์ก็อาจจะไม่ได้เป็นมิตรกับประชาธิปไตยเหมือน 400 ปีก่อน มันอาจกำลังพันธนาการมนุษย์อยู่ในทุกวันนี้ก็ได้
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/76563
2018-04-25 11:49
ชำนาญ จันทร์เรือง: หน้าที่ของพรรคการเมือง
ในการเปิดโอกาสให้มีการจดแจ้งพรรคการเมืองต่อ กกต.ในช่วงเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา มีกลุ่มการเมืองยื่นเสนอความจำนงถึง 97 พรรค แต่คงมีไม่กี่พรรคที่จะผ่านขั้นตอนการเป็นพรรคโดยสมบูรณ์และลงสนามการเลือกตั้ง หลายคนสงสัยว่ากลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองทั้งที่มีอยู่แล้วและที่สิ้นสภาพไปนั้นมีหน้าที่อะไรกันแน่จึงได้มีพรรคการเมืองเกิดขึ้นมากมาย และก็สิ้นสภาพไปอย่างมากมายเช่นกันด้วยเหตุแห่งการไม่ได้ทำหน้าที่ของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง พรรคการเมือง (political party) คืออะไร พรรคการเมือง (political party) มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Par (คำเดียวกับที่ใช้ในสนามกอล์ฟนั่นแหละครับ) ซึ่งแปลว่า “ส่วน” พรรคการเมืองจึงหมายถึงส่วนของประชาชนในประเทศที่แยกเป็นส่วนๆตามความคิดเห็นและประโยชน์ได้เสียทางการเมือง ในทางทฤษฎีแล้วพรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในระบบการเมือง เพราะพรรคการเมืองเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยคนจำนวนมากที่มีภารกิจที่จะไปสู่จุดหมายเดียวกัน พรรคการเมืองเป็นสื่อกลางที่จะเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับรัฐบาล และพรรคการเมืองเป็นเครื่องมือสำคัญที่ชักนำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง พรรคการเมืองเป็นผู้รวบรวมผลประโยชน์ของประชาชนมาเป็นนโยบายของพรรคตน ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งคนใดเห็นด้วยกับนโยบายของพรรคการเมืองใดก็จะเลือกพรรคการเมืองนั้นเข้าไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนของตนในรัฐสภา แต่ในความเป็นจริงแล้วในระบอบการเมืองไทยที่ผ่านมาพรรคการเมืองไทยแทบจะไม่ได้ทำหน้าที่ที่กล่าวมานี้เลย หน้าที่ของพรรคการเมือง ในเรื่องนี้อาจารย์ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับหน้าที่ของพรรคการเมืองในหนังสือ “รัฐศาสตร์” ซึ่งผมใช้เป็นตำราประกอบการสอนและเขียนบทความมาโดยตลอดอย่างยาวนานกว่าสิบปีว่า 1.ประกาศหรือแถลงนโยบายหลักของพรรคการเมือง เพื่อที่ประชาชนจะได้นำไปศึกษาพิจารณา เพื่อตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง 2.ปลุกเร้าและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งพรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในการสร้างหรือปลุกเร้าความคิดความเห็นทางการเมืองของประชาชน 3.ส่งผู้แทนเข้าสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง    ซึ่งในเรื่องนี้ผมมีข้อสังเกตว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 91 (5) บัญญัติไว้ว่าหากพรรคการเมืองใดไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปสองครั้งติดต่อกันหรือเป็นระยะเวลาแปดปีติดต่อกัน สุดแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่ากัน พรรคการเมืองนั้นเป็นอันสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ฉะนั้น พรรคการเมืองใดที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่มีการส่งสมาชิกลงเลือกตั้งจึงมิใช่พรรคการเมืองทั้งทางทฤษฎีรัฐศาสตร์และทางกฎหมาย 4.จัดตั้งรัฐบาลหากได้รับเสียงข้างมากในสภาฯและปฏิบัติภารกิจตามนโยบายที่ได้วางไว้ 5.ควบคุมรัฐบาลหากไม่สามารถได้เสียงข้างมากในสภาฯก็ทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน คอยควบคุมการทำงานของรัฐบาล โดยการตั้งกระทู้ถามหรือเสนอญัตติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเป็นรายกระทรวงหรือคณะ นอกจากนี้ยังสามารถวิจารณ์การทำงานการทำงานของรัฐบาลผ่านทางสื่อมวลชน การประชุมสัมมนา และช่องทางอื่นๆเพื่อมิให้รัฐบาลใช้อำนาจตามอำเภอใจ 6.ประสานระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับรัฐบาล โดยการพยายามเสนอข้อเสนอของกลุ่มผลประโยชน์ของตนเอง และไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ให้ได้เพื่อผลประโยชน์ของชาติ และในขณะเดียวกันต้องไม่ขัดกับผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองให้ได้มาที่สุด ในความเป็นจริงสำหรับการเมืองไทยเรา พรรคการเมืองไทยแทบจะไม่ได้ทำหน้าที่ที่พึงกระทำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามข้อ 5 และข้อ 6 เพราะแต่ละพรรคต่างก็มุ่งที่จะเป็นพรรครัฐบาล จนมีคำกล่าวได้ว่าพรรคการเมืองมีเพียง “พรรครัฐบาล”กับ “พรรครอร่วมรัฐบาล”เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นเมื่อเป็นพรรคฝ่ายค้านแทนที่จะทำหน้าที่ “ฝ่ายค้าน”อย่างสร้างสรรค์แต่กลับทำหน้าที่เป็น “ฝ่ายแค้น”แทน     จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมืองกันอย่างมาก บางคนเข้าใจว่าพรรคการเมืองมีหน้าที่ฝากลูกฝากหลานเข้าโรงเรียน บางคนเข้าใจว่าพรรคการมีหน้าที่ฝากลูกฝากหลานเข้าทำงานราชการ ฯลฯ แต่ก็อย่างว่าที่ผ่านมาพรรคการเมืองไทยเราก็มักจะสร้างความเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ อย่างไรก็ตามขนบธรรมเนียมของไทยเราเวลามีงานประเพณี งานบวช งานแต่ง งานตาย กฐิน ผ้าป่า ฯลฯ ผู้คนก็หวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากพรรคการเมืองหรือนักการเมืองในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร แต่ไม่ใช่ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดวันเลือกตั้งแล้วย่อมเป็นสิ่งที่ต้องระวังเพราะแทนที่จะได้บุญกลับจะกลายเป็นโทษแทน เมื่อเราเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองที่แท้จริงแล้ว ก็ไม่ยากที่เราจะพิจารณาว่าเราจะเลือกใครหรือพรรคการเมืองใดเข้าไปทำหน้าที่แทนเราในสภาฯ  หมดยุคการเมืองแบบเก่าๆที่ใช้วิธีการกำหนดนโยบายพรรคไว้อย่างสวยหรูแต่ไม่ทำตาม หมดยุคของการที่จะโน้มน้าวให้ประชาชนมาเลือกพรรคหรือสมาชิกของตนด้วยวิธีการใส่ร้ายป้ายสี โดยหันมาเสนอนโยบายหรือวิธีการที่จะบรรลุนโยบายที่วางไว้ว่ามีอะไรและจะทำอย่างไร และกรณีที่จะต้องมีการใช้เงินหรือค่าใช้จ่าย ก็ต้องบอกด้วยว่าจะเอางบประมาณมาจากไหน อย่างไร ประชาธิปไตยเราก่อกำเนิดมาตั้ง ๒๔๗๕ มีการสะดุดหยุดลงหลายครั้งด้วยการรัฐประหาร ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเมืองไทยไม่พัฒนา แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบพรรคการเมืองแบบเก่าๆก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยเราไม่พัฒนาไปเท่าที่ควรเช่นกัน หากระบบพรรคการเมืองเข้มแข็งทั้งประชาชนและพรรคต่างรู้หน้าที่ที่แท้จริงของพรรคการเมือง การรัฐประหารย่อมเกิดขึ้นได้ยากหรือหมดสิ้นไป เพราะจากประวัติศาสตร์การเมืองของโลกเราที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าในที่สุดแล้ว ballots (บัตรเลือกตั้ง) จะชนะ bullets (กระสุนปืนหรือการยึดอำนาจด้วยอาวุธ) เสมอ   หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 25 เมษายน 2561
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/73284
2017-09-18 23:59
ศาลเลื่อนฟังพิพากษาคดีฉีกบัตรประชามติ เป็น 26 ก.ย.นี้
ภาพ โตโต้ ปิยรัฐ ฉีกบัตรลงประชามติ เมื่อวันที่ 7 ส.ค.59 18 ก.ย. 2560 วานนี้ (17 ก.ย.60) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน [1] รายงานว่า จำเลยคดีฉีกบัตรประชามติได้รับหมายศาลจังหวัดพระโขนง แจ้งเลื่อนวันนัดฟังคำพิพากษาจากเดิมวันที่ 19 ก.ย.60 เป็น 9 โมงเช้าของวันที่ 26 ก.ย.60 แทน แต่ในหมายไม่ได้ระบุสาเหตุที่เลื่อนนัดเอาไว้ ทั้งนี้คดีดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 ส.ค.59 ปิยรัฐ จงเทพ หรือ “โตโต้” จำเลยที่ 1 ได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากเห็นว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นโดยไม่เป็นธรรม จึงได้ทำการฉีกบัตรลงคะแนนเสียงประชามติ พร้อมกับตะโกนว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ภายในหน่วยลงคะแนนเสียงในสำนักงานเขตบางนา ทำให้เขาถูกจับกุมดำเนินคดี ใน 4 ข้อหา ได้แก่ ข้อหาทำลายบัตรออกเสียง และก่อความวุ่นวายในหน่วยลงคะแแนน ตามพ.ร.บ.ประชามติ, ข้อหาทำลายเอกสารราชการ และข้อหาทำให้ทรัพย์สินสาธารณะเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา ขณะที่ จิรวัฒน์ เอกอัครนุวัฒน์ จำเลยที่ 2 และ ทรงธรรมแก้ว พันธุ์พฤกษ์ จำเลยที่3 ซึ่งได้ติดตามถ่ายวีดีโอขณะที่ปิยรัฐทำการฉีกบัตร ก็ได้ถูกกล่าวหาดำเนินคดีในข้อหาก่อความวุ่นวายในหน่วยลงคะแนนด้วย
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/18875
2008-11-07 04:07
ข่าวมอนิเตอร์ประจำวันที่ 7 พ.ย. 2551
การเมือง "เพื่อนเนวิน" ค้านแก้ รธน.ช่วงนี้ หวั่นชนวนรุนแรง แนะรอ3 ปีแก้ไม่สาย เว็บไซต์แนวหน้า- นาย ไชยา พรหมา ส.ส. หนองบัวลำภู กลุ่มเพื่อนเนวิน พรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า สำหรับเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญนั้นตอนนี้ ส.ส.ในพรรคพลังประชาชนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มส.ส.ที่เร่งดำเนินการให้มีการแก้ไขโดยเร็ว กับกลุ่มพวกตนที่คิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่ต้องแก้ไขในตอนนี้ เพราะจะกลายเป็นเหตุให้เกิดการเผชิญหน้าและความรุนแรงมากขึ้น วันนี้รัฐบาลควรลดเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเผชิญหน้าไปก่อน แล้วทำให้สังคมยอมรับที่จะรับฟังเหตุผลของแต่ละฝ่ายก่อน เพราะขณะนี้สังคมไม่มีใครฟังเหตุผลใคร คิดแต่จะเอาชนะกัน ตนคิดว่าวันนี้ถ้าไม่มีเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเข้ามาสภาก็สามารถอยู่ไปได้ อีก 3 ปี ถึงตอนนั้นค่อยมาแก้ก็ได้   นายไชยา กล่าวว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาวันนี้คือมีการคิดกันว่ารัฐบาลแก้รัฐธรรมนูญเพื่อที่จะช่วยพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ซึ่งที่จริงเราต้องทำความเข้าใจต่อประชาชน เพราะคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหมดแล้ว แก้รัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถช่วยได้ ดังนั้นถ้าจะแก้จริงๆก็ควรรอเวลาอีกหน่อย และถ้ามีส.ส.ร.ขึ้นมาก็ควรกำหนดให้แก้ในกรอบของ คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ได้ดำเนินการศึกษาไว้แล้ว จะได้พ้นข้อครหาที่กล่าวหาว่าแก้เพื่อใคร   คนบินไทยคว้ามือตบลุกฮือต้านใบสั่งปลด"กัปตันจักรี" เว็บไซต์แนวหน้า - เมื่อเวลา 9.00 น.วันที่ 6 พฤศจิกายน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย พนักงานการบินไทย และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกว่า 300 คน ไปรวมตัวกันบริเวณหน้าอาคาร 5 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ถนนวิภาวดี-รังสิต เพื่อแสดงพลังจุดยืนต่อต้านไม่ให้ภาคการเมืองเข้าแทรกแซงและยุ่งเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ โดยตะโกนโห่ร้องขับไล่คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร นำโดยว่าที่ ร.ต.พงศ์พันธ์ สุนทรชัย เป็นประธาน ที่เดินทางมาตรวจเยี่ยมการทำงานของการบินไทยและประชุมร่วมกับเรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และคณะผู้บริหารของการบินไทย   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมดังกล่าว กลุ่มสหภาพฯได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมด้วย เพราะเกรงจะมีการหยิบยกเรื่องบทลงโทษ น.ต.จักรี จงศิริ กัปตันการบินไทยที่ปฎิเสธไม่รับผู้โดยสารที่เป็นส.ส.พรรคพลังประชาชนขึ้นเครื่องเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมาขึ้นมาหารือและสรุปผลสอบสวนว่ามีความผิดหรือไม่ โดยแกนนำสหภาพฯประกาศว่า ถ้าผลสอบสวนสรุปให้กัปตันจักรี ซึ่งอยู่ระหว่างพักงานมีความผิด สหภาพฯจะเคลื่อนไหวคัดค้านต่อไป   นางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยกล่าวว่า สหภาพฯจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด ถ้าคณะกรรมการฯลงโทษกัปตันจักรีถึงขั้นจะพิจารณาไม่ต่อใบอนุญาตการบิน ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อน.ต.จักรี เพราะกัปตันมีสิทธิ์พิจารณาและตัดสินใจได้ว่าจะให้ผู้โดยสารรายใดขึ้นหรือไม่ขึ้นเครื่องบิน "กลุ่มสหภาพฯขอให้คณะกรรมการสอบสวนให้กัปตันจักรีกลับเข้าทำงานเหมือนเดิม เนื่องจากที่ผ่านมาหลังกัปตันจักรีถูกพักงานไป ทำให้ไม่สามารถมาสอนนักเรียนที่จะทำการบินได้ ซึ่งบางรายถึงขั้นลาออก" นางแจ่มศรี กล่าว   ด้านเรืออากาศโทอภินันทน์กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมไม่มีการสอบถามถึงผลสอบสวนกรณีกัปตันจักรีตามที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่า คณะกรรมาธิการการคมนาคมจะมาแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการสอบสวน และขณะนี้กัปตันจักรีได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกัปตันการบินไทยเช่นเดิมแล้วตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน หลังผลการสอบสวนข้อเท็จจริงของฝ่ายบริหารนักบินที่ได้สอบสวนตามขั้นตอนของคณะกรรมการที่การบินไทยตั้งขึ้นสรุปออกมาแล้ว และให้กลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ประกอบกับกัปตันจักรีทำหนังสือยอมรับว่าจะไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับการเมืองขณะปฏิบัติหน้าที่แบบนั้นอีก   ขณะที่เรืออากาศโทนรหัช พลอยใหญ่ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)กล่าวถึงผลสอบกัปตันจักรีว่า เป็นการสรุปผลเบื้องต้น ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนได้พิจารณา 2 ประเด็นหลักคือ การกระทำดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบของบริษัทหรือไม่ และเรื่องจรรยาบรรณของนักบิน คาดว่าจะสามารถสรุปผลครั้งสุดท้ายได้เร็วๆนี้   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การชุมนุมดำเนินไปจนถึงเวลา 12.30 น.กลุ่มผู้ชุมนุมจึงยอมสลายตัว หลังพบว่าการหารือครั้งนี้ไม่มีประเด็นเรื่องบทลงโทษน.ต.จักรี และได้รับคำชี้แจงจากเรืออากาศโทอภินันทน์ว่า ผลสอบสวนระบุน.ต.จักรีไม่มีความผิดสามารถกลับเข้ามาปฎิบัติหน้าที่ตามเดิม     นักวิชาการแนะทหาร ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง แก้ไขวิกฤตการเมือง ตั้ง กอ.รมน. ดูแลพื้นที่ชุมนุม ปกป้องสถาบันทั่วประเทศ เว็บไซต์แนวหน้า -นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวทางที่กองทัพจะเข้ามาทำหน้าที่รักษาความมั่นคงทางการเมืองตามมาตรา 77 ในขณะนี้ว่า กองทัพสามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ โดยใช้ ร่างพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคง) ซึ่งเป็นกฎหมายที่เปิดให้มีการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอย่างเป็นระบบ มาเป็นเครื่องมือ เพื่อปกป้องสถาบัน และรักษาความสงบสุขของบ้านเมือง โดยเฉพาะในมาตรา 3 ที่ให้กองทัพสามารถตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาจักร(กอ.รมน.) ซึ่งทางกองทัพสามารถยื่นขออนุมัติ จากคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ตั้งกอ.รมน. โดยหน่วยงานที่ว่านี้ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชน ที่ประกอบด้วย องค์กรสิทธิมนุษยชน นักกฏหมาย ซึ่งหากทางครม. และนายกฯอนุมัติ ก็สามารถจัดตั้งกองกำลัง โดยทางกองทัพ ต้องทำเรื่องไปขอกองกำลังจากทางตำรวจ เพื่อช่วยกันแบ่งกำลังคุ้มกันในพื้นที่ที่มีการชุมนุมของประชาชนได้   ผู้สื่อข่าวถามว่า หากทางครม. และนายกฯ ไม่อนุมัติทางกองทัพต้องทำอย่างไร นายปณิธาน กล่าวว่า หากไม่ได้รับการอนุมัติ แต่หากทหารมีข้อมูลหลักฐานว่าบ้านเมืองเกิดความไม่สงบสุข เกิดความขัดแย้ง ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศก็สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปยื่นกับทาง ครม. และนายกฯ แต่หากยังไม่ได้รับอนุมติอีก ก็ถือว่า นายกฯ และครม. ทำผิดกฏหมาย พรบ.ความมั่นคง   เมื่อถามย้ำว่าการที่พันธมิตรฯออกมาเรียกร้องให้ทหารเข้ามามีบทบาทในสถานการณ์ปัจจุบัน ถือว่าเป็นการเชื้อเชิญการปฏิวัติหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า ยังไม่ชัดเจน แต่เป็นไปได้ที่พันธมิตรฯมีท่าทีจะหนุนกองทัพให้ออกมาทำหน้าที่ ซึ่งทหารได้ประกาศว่าจะไม่มีการปฏิวัติ โดยการที่พันธมิตรฯต้องหนุนทหาร เนื่องจากที่ผ่านมาพันธมิตรฯได้เรียกร้องให้รัฐบาล ยุติบทบาท หรือไม่ก็ยุบสภา เพื่อไม่ให้รัฐบาลยืดเยื้ออำนาจอีกต่อไป แต่ทางรัฐบาลกลับไม่มีท่าทีที่อ่อนลงเลย จึงเป็นไปได้ที่พันธมิตรฯมีแนวโน้มที่จะหนุน กองทัพให้ออกมาทำหน้าที่ แต่ก็คิดว่าคงไม่ใช่การปฏิวัติ   "อนุพงษ์"หนุนเวทีสานเสวนาเต็มที่ เว็บไซต์มติชน - พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) สนับสนุนแนวทางของเครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติธรรมเต็มที่ ทั้งให้ใช้สื่อโทรทัศน์-วิทยุของกองทัพบก และใช้สถานที่หน่วยทหารจัดเสวนา รวมทั้งพร้อมส่งกำลังพลร่วมรณรงค์   ทั้งนี้ เมื่อเวลา 13.45 น. วันที่ 6 พฤศจิกายน ที่กองบัญชาการกองทัพบก นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการประสานงานเครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติธรรม เดินทางเข้าพบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เพื่อหารือถึงแนวทางออกปัญหาของประเทศไทย โดยใช้เวลาหารือร่วม 1 ชั่วโมง   นพ.วันชัยกล่าวภายหลังการหารือว่า พล.อ.อนุพงษ์เห็นด้วยและจะให้การสนับสนุนแนวทางของเครือข่ายสานเสวนาฯ และกองทัพพร้อมสนับสนุนจัดส่งกำลังพลหากมีการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และยินดีจะให้ใช้พื้นที่หน่วยทหารจัดเสวนายุติความขัดแย้ง รวมถึงการใช้ช่องทางโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุกองทัพบก 126 สถานี เพื่อขยายแนวคิดและแนะให้ประสานกับทุกกลุ่มเข้าร่วม เพื่อยุติความรุนแรงตามแนวทางนี้ โดยไม่แยกว่าเป็นฝ่ายใด   "พล.อ.อนุพงษ์ระบุว่าหากมีอะไรที่ทหารจะช่วยให้บ้านเมืองสู่สันติสุขได้ ท่านยินดี แต่ท่านห่วงว่าทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาพูดคุยกัน ซึ่งท่านอยากเห็นทุกฝ่ายหันหน้ามาพูดคุยกัน และ ผบ.ทบ.รับประกันว่าทหารพร้อมที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง หากมีการเผชิญหน้ากัน นอกจากนี้ ผบ.ทบ.ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อประเทศ หลังจากนี้กลุ่มจะเข้าพบหารือกับผู้บัญชาการเหล่าทัพท่านอื่นต่อไป" นพ.วันชัยกล่าว   ผู้สื่อข่าวถามถึงการประสานเจรจากับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นพ.วันชัยกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสาน ไม่ได้เร่งรัด เพราะเข้าใจว่าคนที่เคยต่อสู้มา แล้วอยู่ๆ มาเจรจา สังคมไทยยังมองว่าเป็นความแพ้ อยากบอกว่าการมานั่งพูดคุยกัน ไม่ได้หมายความว่าแพ้ เพราะการพูดคุยเป็นวิถีคนกล้า   เมื่อถามถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน (พปช.) เสนอให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นคนกลางในการเจรจา นพ.วันชัยกล่าวว่า ทางกลุ่มคิดว่า พล.อ.เปรมไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง และไม่ได้อยู่ในกระบวนการของการเมือง เราคงไม่เข้าไปประสาน เพราะไม่ได้อยู่ในแนวคิดที่เราจะทำ แต่หาก พล.อ.เปรมมองว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาของชาติบ้านเมือง และท่านจะเข้ามาเป็นผู้นำ ทางกลุ่มก็ยินดี   "สมชาย" ระบุ "เปรม" แก้ปัญหาได้ เว็บไซต์มติชน - นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวตอบผู้สื่อข่าวที่ถามถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน (พปช.) ยื่นหนังสือให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นคนกลางในการแก้ไขวิกฤต ว่า "คงแก้ปัญหาได้" เมื่อถามอีกว่าจะพบกับ พล.อ.เปรมเมื่อไหร่ นายสมชายไม่ตอบแล้วเดินไปขึ้นรถทันที   นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนยื่นหนังสือขอให้ พล.อ.เปรมเข้ามาเป็นคนกลางในการเจรจาทุกฝ่ายเพื่อหาทางออกวิกฤตชาติ ว่า ขณะนี้การสานเสวนาก็เดินหน้าอยู่ แต่ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ จึงอยากขอให้ทุกฝ่ายลดเงื่อนไขตัวเองลงมา โดยรัฐบาลต้องพักเรื่องการจะตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขณะที่กลุ่มพันธมิตรก็ไม่ควรยืนยันอย่างเดียวว่ารัฐบาลจะต้องลาออก ส่วนที่เป็นห่วงว่าการสานเสวนาอาจไม่ทันต่อการแก้วิกฤตนั้น ก็เห็นใจ เพราะละเอียดอ่อน แต่ก็ฝากไปว่าขอให้เร่งทำงาน เพราะความเสี่ยงเกิดขึ้นทุกวัน   ผบ.ทร.หนุน "ป๋า" คนกลางสมานฉันท์ เว็บไซต์มติชน - ที่กองทัพเรือ พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวว่า แนวคิดที่จะเจรจากัน เป็นนิมิตหมายที่ดี หากตกลงกันได้ดี ความสงบเรียบร้อยถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา ก็ภาวนาให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ประเทศชาติจะได้เดินหน้าต่อ เมื่อถามว่า ในฐานะเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะบอกให้ท่านหยุดเคลื่อนไหวหรือไม่ พล.ร.อ.กำธรหัวเราะพร้อมกล่าวว่า "ผมไม่เคยเจอท่านมาหลายปีแล้ว ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะโฟนอินเข้ามาอีกครั้งนั้น ครั้งที่ผ่านมาเหตุการณ์ต่างๆ เรียบร้อย แต่ครั้งใหม่ยังไม่ทราบว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร เพราะยังไม่เกิด แต่เราไม่อยากให้เกิดความไม่เรียบร้อย"   ถามว่า พรรคพลังประชาชนจะยื่นเรื่องเสนอให้ พล.อ.เปรมเป็นคนกลางในการเจรจาแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง พล.ร.อ.กำธรกล่าวว่า พล.อ.เปรมเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสังคม ถือเป็นคนที่ประชาชนให้ความเคารพ ในใจของตนคิดว่าเหมาะ แต่ท่านจะตอบรับหรือไม่ ต้องเรียนถามท่านเอง   นายสมเกียรติ์ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) 1 ใน 90 ส.ส. ที่ลงรายมือชื่อสนับสนุนให้ พล.อ.เปรมเป็นคนกลางในการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในบ้านเมือง กล่าวว่า เต็มใจลงชื่อ คิดว่าอะไรก็ตามที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุขได้ ก็ควรทำ ซึ่ง พล.อ.เปรมเป็นผู้ใหญ่ที่ทุกฝ่ายให้ความเคารพ เป็นรัฐบรุษ เป็นต้นแบบการรักษาคุณงามความดี ไม่มีตำหนิ ถ้าท่านลงมาช่วยก็น่าจะลดความขัดแย้งในสังคมได้   พธม.บอกไม่ถึงขั้นให้"เปรม"ช่วย เว็บไซต์มติชน -ที่ห้องผู้สื่อข่าว ทำเนียบรัฐบาล นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตร แถลงข่าวกรณี ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยื่นหนังสือถึง พล.อ.เปรมให้มาเป็นคนกลางในการคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมืองว่า พันธมิตรไม่รู้ว่า พล.อ.เปรมจะมาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยหรือไม่ แต่ตนมองว่าไม่ต้องทำถึงขนาดนี้ เพราะความจริงแล้ว ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยรัฐบาลยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญและลาออก นอกจากนี้แกนนำพันธมิตรยืนยันไม่เข้าร่วมการสานเสวนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ เพราะไม่มีประโยชน์ เนื่องจากการแก้ปัญหาที่ถูกต้องจะต้องมีฝ่ายรัฐบาลและพันธมิตรเท่านั้น   ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่โฆษกกองทัพออกมาปฏิเสธการเรียกร้องของแกนนำพันธมิตรที่ให้ทหารออกมายุติปัญหาความแตกแยกในชาติ นายพิภพกล่าวว่า พันธมิตรเรียกร้องให้ทหารออกมาทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่การปฏิวัติรัฐประหาร เพราะเราก็ต่อต้านมาตลอด แต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทหารว่าจะดำเนินการอย่างไร ให้การใช้อำนาจของรัฐบาลเพื่อประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณจะต้องยุติลงและไม่ส่งกลุ่มอันธพาลมาทำร้ายก่อกวนการชุมนุมของพันธมิตร   ผู้สื่อข่าวถามกรณี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ตั้งกรรมการสอบ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ผู้ทรงวุฒิกองทัพบก นายพิภพกล่าวว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ พล.อ.อนุพงษ์สั่งให้ตั้งกรรมการสอบสวน เสธ.แดง เพราะทหารมีหน้าที่ดูแลความมั่นคงของชาติและปกป้องประชาชน การที่ เสธ.แดงออกมาขู่ทำร้ายประชาชนเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว "ขอถามว่า เสธ.แดง ทราบหรือไม่ว่าลูกสาวของ เสธ.แดง ก็มาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรด้วย" นายพิภพกล่าว   ผู้สื่อข่าวถามว่า จะเรียกร้องให้ พล.อ.อนุพงษ์ออกมาปราม พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่ นายพิภพกล่าวว่า พล.อ.อนุพงษ์เป็นคนดี รักชาติบ้านเมือง ท่านรู้ดีว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองสงบสุข   "เสธ.แดง" ขู่อีก"พธม."อยู่ไปตายเปล่า เว็บไซต์มติชน - พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิ บก.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่ ผบ.ทบ.ตั้งกรรมการสอบสวนเรื่องการฝึกนักรบพระเจ้าตากว่า มีคำสั่งให้เขียนรายงานว่าการฝึกนักรบพระเจ้าตากเพื่ออะไร จากนั้นก็มีคำสั่งให้หยุดการฝึกและให้สลายกลุ่มไป ตนก็ปฏิบัติตาม โดยเขียนรายงานส่ง พล.ต.วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล เลขาธิการกองทัพบกแล้ว แต่ยังเหลือเพียงกลุ่ม 47 โรนินหรือซามูไรไร้สังกัด เหมือนประเทศญี่ปุ่นที่รวมตัวกันฆ่าคนเลว นักการเมืองเลว แต่ตนจะไม่รับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดกับกลุ่มพันธมิตร เพราะกลุ่มนักรบพระเจ้าตากไม่ได้อยู่ในการควบคุม ดังนั้น อยากให้พันธมิตรย้ายออกจากทำเนียบรัฐบาลให้เร็วที่สุด   พล.ต.ขัตติยะกล่าวว่า ที่ออกมาเตือนถือว่าเป็นบุญคุณกับพันธมิตร หากไม่ออกมาเตือนอาจได้รับอันตรายมากกว่านี้ก็ได้ วันนี้มีคนจองกฐินพันธมิตร 3 รายแล้ว อยู่ไปก็ตายเปล่า ตนไม่ได้ขู่ เพราะไม่เคยขู่มีแต่จะเอาจริง แต่ที่พันธมิตรยังอยู่อย่างปลอดภัยเพราะตนเกรงใจสารวัตรทหาร (สห.) หากไม่มี สห.รักษาความปลอดภัยอยู่กลุ่มพันธมิตรอาจจะถูกทำร้ายมากกว่านี้   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่ พล.ต.ขัตติยะจะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่บริเวณบ่อปลาคราฟ์หน้าอาคารรัฐสภา 1 นั้น ปรากฏว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กำลังเดินไปขึ้นรถยนต์เพื่อเดินทางออกจากรัฐสภา จึงแวะเข้าไปทักทายและพูดคุยกับ พล.ต.ขัตติยะอยู่ครู่หนึ่งด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส   สื่อใหม่นปช.ชื่อ "ทีวีสีแดง" เปิดหลัง พ.ย. เว็บไซต์มติชน - นายอารีย์ ไกรนรา อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี กล่าวถึงกรณีแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เตรียมก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องใหม่ว่า แกนนำ นปช.พูดคุยกันเบื้องต้นแล้ว อาจใช้ชื่อว่า "ทีวีสีแดง" เพราะต้องยอมรับว่าวันนี้คนเสื้อแดงเยอะจริงๆ โดยวัตถุประสงค์การก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ดังกล่าว เพื่อเอาความจริงอีกด้านมาชี้แจงให้ประชาชนรับทราบอย่างตรงไปตรงมา ไม่ได้มุ่งเชียร์ใคร หรือติติงฝ่ายใด ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดผังและรูปแบบรายการต่างๆ อยู่ คาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน โดยจะเปิดให้ประชาชนไปจองจานดาวเทียมที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว   ผู้สื่อข่าวถามว่า 3 ผู้จัดรายการ "ความจริงวันนี้" จะเข้าไปเป็นผู้จัดรายการของสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่หรือไม่ นายอารีย์กล่าวว่า กำลังคิดกันอยู่ แต่มีโอกาสสูง แต่สำหรับตนคงไม่ได้เป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่ เพราะมีตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงจำเป็นต้องแยกบทบาทให้ชัดเจน   เมื่อถามว่า ได้สอบถามความเห็นนายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสื่อถึงข้อกฎหมายหรือยัง นายอารีย์กล่าวว่า ไม่ต้องถาม เพราะทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รับรองว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องการออกอากาศเหมือนพีทีวีแน่ เพราะนำบทเรียนในอดีตมาอุดช่องโหว่ทั้งหมด เชื่อว่าจะเป็นทีวีที่จ๊าบแน่นอน   นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน (พปช.) และผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้ กล่าวถึงการฟื้นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมขึ้นมาใหม่ว่า ยอมรับว่ามีการหารือกันจริง แต่เป็นเพียงความหวังและจินตนาการของตนเท่านั้น ยังไม่เป็นรูปธรรมและยังไม่มีการดำเนินการใดๆ หากจะฟื้นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจริงคงจะต้องใช้เวลานานพอสมควร   แจ้งความทักษิณหมิ่นสถาบัน-ศาล เว็บไซต์ไทยโพสต์- (6 พ.ย.) ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ กับพวก ในข้อหาหมิ่นเบื้องสูง และหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 198 กรณีออกแถลงการณ์จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 22 ต.ค.พาดพิงถึงคำพิพากษาศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก และกรณีโฟนอินเมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา   นายวีระ กล่าวว่า แถลงการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีเนื้อหาพาดพิงถึงศาลและสถาบันเบื้องสูง ส่วนกรณีโฟนอินเข้าข่ายความผิดเพียงเรื่องดูหมิ่นศาลเท่านั้น   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำนายวีระไว้เป็นหลักฐานก่อนเสนอสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาเนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำภายนอกราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20   ทนายทักษิณแจ้งความ "วีระ" กลับ เว็บไซต์ไทยโพสต์- นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ เปิดเผยว่า ทีมทนายความเตรียมแจ้งความดำเนินคดีนายวีระ สมความคิด ในข้อหาแจ้งความเท็จ กรณีที่เข้าแจ้งความพ.ต.ท.ทักษิณ ในข้อหาดูหมิ่นศาลและหมิ่นสถาบัน จากการโฟนอิน เพราะพนักงานสอบสวนได้สรุปความเห็นเป็นเอกฉันท์แล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้กล่าวดูหมิ่นสถาบันแต่อย่างใด นอกจากนี้ทีมทนายยังตรวจสอบคำกล่าวปราศรัยของนายวีระบนเวทีพันธมิตรเพื่อดำเนินคดีกับนายวีระในฐานความผิดอื่นด้วย พันธมิตรฯ ฮุสตัน ต้อนรับ "หมัก" อบอุ่น ผู้จัดการออนไลน์ - จากกรณีเช้าวานนี้ (5 พ.ย.) นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคุณหญิงสุรัตน์ และบุตรสาว ออกเดินทางไปที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อขึ้นเครื่องไปรักษาโรคมะเร็งตับ ที่สถาบันมะเร็งฮุสตัน รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา   ล่าสุด เมื่อนายสมัครพร้อมครอบครัวเดินทางไปถึง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ณ นครฮุสตัน มลรัฐเทกซัส ได้เดินทางไปต้อนรับนายสมัครอย่างอบอุ่นพร้อมกับป้ายต้อนรับ โดยพันธมิตรฯ ฮุสตันระบุว่า ถึงแม้ว่านายสมัครจะป่วยหนัก แต่เราก็จำต้องเดินทางไปประท้วงเขาที่สนามบิน จากพฤติกรรมและการกระทำของเขาต่อนักศึกษา ประชาชนและประเทศชาติ ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะกรณีสังหารนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จนถึงกรณีทำร้ายประชาชนในปี 2551 รวมถึงกรณีปราสาทพระวิหาร   สำหรับป้ายต้อนรับที่พันธมิตรฯ ฮุสตัน ทำไว้ให้นายสมัครโดยเฉพาะนั้นมีรายละเอียดที่น่าสนใจ เช่น "เวรกรรม ไม่ต้องรอชาติหน้า", "พันธมิตร Houston (ไม่) ต้อนรับอ้ายคนขายชาติ" เป็นต้น ทั้งนี้ เมืองฮุสตัน มลรัฐเทกซัสถือเป็นเมืองหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีพันธมิตรฯ หนาแน่นมากเมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทยที่มีการศึกษา เป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ พนักงานบริษัท เป็นต้น   กกต.สั่งยุบ 10 พรรคเล็ก-พ่วงของ "ชูวิทย์" เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ - นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกต.เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อมีคำสั่งยุบพรรคจำนวน 10 พรรค ประกอบด้วยพรรคสตรีเพื่อชาติ, ไทยภูพาน, ไทยร่ำรวย, กฤษไทยมั่นคง, สู้เพื่อไทย, เอกราช, พลังเกษตรกร, อยู่ดีมีสุข, สังคมไท และพรรคอธิปไตย เนื่องจากไม่รายงานผลการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองในรอบปี 2550 ต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายในระยะเวลาที่กำหนด   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรคสู้เพื่อไทยนั้น ได้จดทะเบียนจัดตั้งพรรค โดยมีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งพรรคนี้ นายชูวิทย์ จดแจ้งไว้ เพื่อเตรียมส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง   ศาลให้ประกันผู้ต้องหาฆ่านักข่าวมติชน หลักทรัพย์ 7 แสนบาท, อีกรายนัดฟังคำสั่งพรุ่งนี้ เว็บไซต์แนวหน้า - ศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้ประกันตัวนายศักดิ์ชาย อับดุลอารีย์ หนึ่งในผู้ต้องหาคดีฆาตกรรม นายอธิวัฒน์ ไชยนุรัตน์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ประจำ จ.นครศรีธรรมราช หลังจากทีมทนายความได้ยื่นเรื่องขอประกันตัว ซึ่งศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า นายศักดิ์ชายมีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน และเข้ามอบตัวเอง ไม่มีเจตนาหลบหนี จึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวและให้ประกันตัวไป โดยใช้หลักทรัพย์ 700,000 บาท   ส่วนผู้ต้องหาอีกรายหนึ่งคือ นายลำดวน แก้งสีสด ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำสั่งยื่นขอประกันตัวในวันพรุ่งนี้ เวลา 09.30 น.   คุณภาพชีวิต อย.ห้ามของเล่นใส่ปนกับขนม ฝ่าฝืนปรับหมื่นจำคุกสูงสุดปี เว็บไซต์คมชัดลึก - นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศฉบับที่ 310 พ.ศ. 2551 เรื่องการห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มีการบรรจุสิ่งอื่นหรือวัตถุอื่นที่ไม่ใช่อาหารในภาชนะบรรจุอาหารและหีบห่อ โดยกำหนดให้ ซองวัตถุกันชื้น ซองวัตถุดูดออกซิเจน เพื่อรักษาคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหาร ซองพริกป่น ซองเครื่องปรุงที่บรรจุในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งใช้เป็นเครื่องปรุงหรือประกอบอาหาร ช้อน ส้อมที่บรรจุในซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือช้อนตวงที่บรรจุในกระป๋องนมผง ที่ใช้เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการบริโภคหรือเตรียมอาหาร สามารถบรรจุรวมอยู่ในภาชนะบรรจุอาหารได้ รองเลขาธิการอย.กล่าวอีกว่า สิ่งอื่นที่นอกเหนือจากนี้ หากจะจำหน่ายพร้อมอาหาร จะต้องบรรจุในหีบห่อของภาชนะบรรจุอาหาร คือ ไม่บรรจุรวมในภาชนะชั้นในสุด หรือชั้นที่ห่อหุ้มหรือสัมผัสตัวอาหาร และต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ หรือสำคัญผิดแก่ผู้บริโภคว่าอาจรับประทานได้เช่นเดียวกับอาหาร เพราะที่ผ่านมาพบว่ามีของแถมบางชนิด ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้กับของเล่น หรือของเล่นที่มีขนาดเล็กบรรจุรวมอยู่ในภาชนะบรรจุอาหาร โดยเฉพาะในขนมเด็ก และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็กอาจกินของเล่นเข้าไป จนเกิดอันตรายต่อร่างกายได้   นพ.นรังสันต์กล่าวต่อไปว่าประกาศ อย.ฉบับนี้ เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม2551 ดังนั้นผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามประกาศของ อย.ฉบับนี้ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน- 2 ปีและปรับสูงสุด 2 หมื่นบาท หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองควบคุมอาหารของ อย. โทร.0-2590-7178 และ0 -2590-7185 ในวันและเวลาราชการ     ศิลปวัฒนธรรม วธ.ตั้งวอร์รูมคุมหมิ่นพุทธห้ามใช้พุทธรูป-ธรรมจักร-พระสงฆ์เป็นสัญลักษณ์สินค้า เว็บไซต์คมชัดลึก - เมื่อวันที่ 6 พ.ย. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้แจ้งถึงความคืบหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการหรืออนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์มาตรฐาน หรือคู่มือ แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการนำสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา เป็นตราโฆษณาสินค้า ผลิตภัณฑ์ สถานประกอบธุรกิจ ขณะนี้ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วัฒนธรรม ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวแล้ว โดยมี ตน เป็นประธาน และผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัด วธ. เป็นกรรมการ ได้แก่ อธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมการศาสนา เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานภายนอก อาทิ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์แห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ผู้แทนองค์กรพุทศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ผู้แทนพุทธสมาคม ผู้แทนยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ นายวีระ กล่าวอีกว่า ศ.ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กวช. ได้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการ ควรจะเป็นบุคคล ที่มีความรอบรู้ ในภารกิจตามหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ จึงจะทำให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จ ดังนั้น จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้ส่งผู้แทนที่มีความรู้มาปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้กำหนดความหมายและขอบเขตของสัญลักษณ์ที่ห้ามนำมาใช้เชิงพาณิชย์ 3 สิ่ง ได้แก่ พระพุทธรูป พระธรรมจักร และพระสงฆ์   ขณะเดียวกันยังได้พิจารณาถึงการแก้ไขปัญหาการนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาไปใช้เชิงพาณิชย์ ว่า ควรจะต้องแก้ในส่วนที่เกิดขึ้นในประเทศก่อน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชาวต่างชาติ จากนั้นจึงขยายผลการดำเนินการในส่วนที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยใช้มาตรการระหว่างประเทศ และผลักดันประเด็นปัญหาเข้าสู่ที่ประชุมองค์การยูเนสโก เพื่อขอความร่วมมือดำเนินการจากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ "สำหรับปัญหาที่ต้องดำเนินการลำดับแรก คือ การจัดระเบียบการค้าพระเครื่องและวัตถุมงคลบนทางเท้าโดยเฉพาะบริเวณ วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ รวมทั้งการนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาประดับและออกแบบอาคาร จะขอความร่วมมือกับประชาชนก่อน หากยังไม่ให้ความร่วมมือ ก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ อาทิ กรุงเทพมหานครหารือความเป็นไปได้ในการจัดระเบียบวัตถุมงคล กรมศิลปากร และสมาคมสถาปนิกสยามดูแลกรณีการก่อสร้างอาคารนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ตลอดจนกำหนดจรรยาบรรณของสถาปนิก ให้มีจิตสำนึก ในการนำสัญลักษณ์พรพุทธศาสนามาใช้งานออกแบบ กระทรวงไอซีที สรุปประเด็นปัญหาและประมวลการใช้กฎหมายในการแก้ปัญหาที่ผ่านมา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรมการศาสนา พิจารณาสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเพิ่มเติม ที่ต้องละเว้นไม่นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยขอให้มานำเสนอในที่ประชุมครั้งต่อไป " ปลัดวธ. กล่าว   เศรษฐกิจ เคพีเอ็มจี สำรวจ 87 ประเทศพบภาษีเงินได้ทั่วโลกลดลง เว็บไซต์มติชน - เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล เครือข่ายระดับโลกให้บริการสอบบัญชี ภาษี และการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ มีผลการศึกษา พบว่า อัตราภาษีเงินได้บุคคลทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูงสุดได้ตกลงมาโดยตลอด โดยเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 2.5ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่รัฐบาลต่างๆพยายามที่จะทำให้เกิดดุลยภาพ ระหว่างความต้องการรายได้จากภาษี กับผลกระทบของการโยกย้ายของแรงงานทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้น   อัตราภาษีส่วนบุคคลทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูงสุดได้ตกลงมาโดยตลอดจากค่าเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 31.3ในปี 2546 เป็นอัตราร้อยละ 28.8 ในปี 2551 แต่ในสหภาพยุโรป(อียู) ผู้เสียภาษียังคงชำระภาษีในอัตราสูงสุด ที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 36.4 ตามด้วยผู้เสียภาษีในประเทศเอเชียแปซิฟิคชำระภาษีในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 34.6 และผู้เสียภาษีในลาตินอเมริกาชำระภาษีในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 26.9   นางเบญจมาศ กุลกัตติมาส หุ้นส่วนกรรมการของ บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชยจำกัด และหัวหน้างานให้บริการผู้บริหารต่างชาติ กล่าวว่า อัตราภาษีเงินได้บุคคลในปัจจุบันของประเทศไทย ที่อัตราร้อยละ 37 นั้นสูง เมื่อเปรียบเทียบกับ ค่าเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 34.6 ของเอเชียแปซิฟิค ในบรรยากาศทางการเงินในปัจจุบัน ประเทศต่างๆเหล่านั้นในภูมิภาค ที่มีอัตราภาษีบุคคลที่อยู่ในระดับต่ำกว่าอาจจะเห็นว่าเป็นการง่าย ที่จะดึงดูดบรรดาผู้ลงทุน ในระดับประเทศ ประชากรของเดนมาร์กชำระภาษีในอัตราภาษีสูงที่สุดในโลกโดยอัตราสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 59 โดยไม่รวมประเทศต่างๆที่ไม่มีการเรียกเก็บภาษีเลย อัตราภาษีของอียูที่ต่ำสุดอยู่ในบัลกาเรียด้วยอัตราภาษีใหม่ในอัตราร้อยละ 10 อัตราเดียวซึ่งลดลงจากร้อยละ 24 และอัตราภาษีของเอเชียแปซิฟิคที่ต่ำสุดอยู่ในฮ่องกง ด้วยอัตราร้อยละ 16 และอัตราภาษีที่ต่ำสุดของลาตินอเมริกาอยู่ในปารากวัยด้วยอัตราร้อยละ 10   จากการสำรวจ 87 ประเทศ มี 33 ประเทศได้ลดอัตราภาษีของประเทศเหล่านั้นลงในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาและมีเพียง 7 ประเทศเท่านั้นที่อัตราภาษีสูงสุดได้มีการเพิ่มสูงขึ้นในปีพ.ศ. 2551 กว่าที่ประเทศเหล่านั้นเคยมีมาในปี 2546   ในบรรดาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของยุโรปตะวันตกฝรั่งเศสได้ลดอัตราภาษีของประเทศลงอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุดจากอัตราร้อยละ 48.1 ในปี 2546เป็นร้อยละ 40 ในปี 2550 เยอรมันได้ลดอัตราภาษีของประเทศลงจากอัตราร้อยละ 48.5 เป็น ร้อยละ 45 โดยคงอัตราในระยะสั้นๆอยู่ที่ร้อยละ 42 ในช่วงปี 2548-2549   ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค การแข่งขันทางด้านภาษีระหว่าง ฮ่องกง และสิงคโปร์ ทำให้สิงคโปร์ลดอัตราภาษีของตนลงจากร้อยละ 22 ในปี 2547 เป็นร้อยละ21 ในปี 2549 และร้อยละ 20ในปี 2550   แต่ประเด็นนี้มิได้บอกเรื่องราวทั้งหมด เนื่องจากทั้งรัฐบาลของทั้งฮ่องกง และสิงคโปร์ได้เสนอส่วนลดภาษีให้แก่ประชากรของตนเมื่อได้รับอนุญาตจากการคลังของภาครัฐบาล สำหรับปี 2550-2551 ส่วนลดภาษีของสิงคโปร์ อยู่ที่อัตราร้อยละ 20 ซึ่งจำกัดจำนวนอยู่ที่ 2,000 เหรียญสิงคโปร์ (1,400เหรียญสหรัฐอเมริกา) และส่วนลดภาษีของฮ่องกง อยู่ที่อัตราร้อยละ 75 ซึ่งจำกัดจำนวนอยู่ที่ 25,000 เหรียญฮ่องกง (3,200 เหรียญสหรัฐอเมริกา)   นางเบญจมาศ กล่าวว่า ออสเตรเลียได้ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลลง 2% ด้วยเช่นกันเป็นร้อยละ 45 ในปีก่อน แต่หากความประสงค์คือต้องการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียน ซึ่งได้ย้ายไปทำงานในฮ่องกงหรือสิงคโปร์ เป็นการชั่วคราวกลับไป สิ่งแค่นี้ก็อาจจะไม่เพียงพอ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้ยินจากคนทำงานชาวต่างประเทศว่า เมื่อครอบครัวได้เกิดความคุ้นเคยในการมีกำลังการใช้จ่ายเงิน และการเก็บเงินเพิ่มขึ้น ที่ได้รับจากการที่เสียภาษีในอัตราที่ต่ำเสียแล้วจึงเป็นการยากที่จะหาเหตุผลที่จะดึงดูดให้พวกเขากลับบ้าน   เบญจมาศ กล่าวอีกว่า หากส่วนแบ่งของความมั่งคั่งของประเทศในหลายๆ ประเทศ ที่ได้รับมาจากภาษีเงินได้คงที่หรือมีการเพิ่มขึ้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา การลดลงของอัตราภาษีเงินได้บุคคลและภาษีเงินได้นิติบุคคลก็จะทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้วรัฐบาลเหล่านั้นจะหาเงินทุนมาได้อย่างไรซึ่งเราคิดว่าคำตอบก็อาจจะเป็นเรื่องของการเพิ่มการเก็บภาษีทางอ้อม โดยผ่านภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีสรรพสามิต, ภาษีศุลกากร และค่าธรรมเนียมสำหรับการให้บริการที่เป็นการเฉพาะ   อย่างไรก็ดี ขณะนี้นโยบายของรัฐบาลไทยก็คือการคงไว้ซึ่งภาษีทางอ้อมที่เป็นหลักอยู่(คือภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขณะนี้ และเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นการจำกัดโอกาสสำหรับการลดอัตราต่างๆ ของภาษีเงินได้   การสำรวจอัตราภาษีส่วนบุคคลปี 2551 ของ เคพีเอ็มจี เป็นครั้งรกที่ เคพีเอ็มจี ได้ทำการสำรวจอัตราภาษีส่วนบุคคลระหว่างประเทศกับข้อมูลในอดีต ในช่วงปี 2546 -2551 โดยรายงานดังกล่าวครอบคลุม 87 ประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นระดับสูงที่สุดของภาษีส่วนบุคคล ที่พึงจะต้องชำระให้แก่รัฐบาลกลาง เพื่อเป็นการง่ายในการเปรียบเทียบ การสำรวจดังกล่าวมิได้นำภาษีอื่นๆ (ถ้ามี) เข้ามารวมไว้ในการสำรวจด้วย เช่น การจ่ายเงินสบทบค่าประกันสังคม ภาษีรัฐ และภาษีเทศบาล (ท้องถิ่น) ฯลฯ การศึกษาดังกล่าวได้ให้รายละเอียดการเปรียบเทียบของการเคลื่อนไหวต่างๆ ของอัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลแบบประเทศต่อประเทศ พร้อมด้วยการเปรียบเทียบต่างๆ ของระดับภาษีที่ยอมรับได้ในอัตราที่สูงที่สุด และผลกระทบของการจ่ายเงินสบทบค่าประกันสังคมต่อเงินได้   ต่างประเทศ กษัตริย์"จิกมี"เข้าพิธีราชาภิเษกทรงขอแสงแห่ง"ความสุข"สู่ภูฏาน ผู้จัดการรายวัน -รอยเตอร์-สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งภูฏานเมื่อวานนี้ (6) โดยกษัตริย์หนุ่มในวัย 28 พระชันษา ผู้ทรงสำเร็จการศึกษาจากออกซ์ฟอร์ด จะทรงนำพาดินแดนที่สืบทอดประเพณีโบราณกับจิตวิญญาณของศาสนาพุทธ เข้าสู่โลกสมัยใหม่ในฐานะประเทศประชาธิปไตยหน้าใหม่ที่สุดของโลกด้วย   ระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระสังฆราชของประเทศได้สวดมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ประทานปัญญา เมตตา และญาณทัศน์ แด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และพระองค์ก็ทรงรับพระราชทานมงกุฎไหมสีแดงดำจากสมเด็จพระราชบิดาวัย 52 พระชันษา ผู้ทรงประกาศใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในภูฏานและทรงสละพระราชบัลลังก์เมื่อราว 2 ปีก่อน   กษัตริย์วังชุกทรงฉลองพระองค์สีแดงทองที่เป็นชุดคลุมยาวปิดเข่าอันเรียกกันว่า "โฆ" ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของชายชาวภูฏาน ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์ทองคำ พระพักตร์เคร่งขรึม แต่ก็ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยขณะทรงรับเครื่องถวายแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ใหม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์   พระราชาธิบดีหนุ่มพระองค์นี้ นอกจากทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอันมีชื่อเสียงเก่าแก่ของอังกฤษแล้ว ยังทรงผ่านการศึกษาทั้งจากสหรัฐฯ และอินเดีย และทรงรับเอากระแสการเปลี่ยนแปลงที่พัดพาเข้ามาในดินแดนอนุรักษนิยมในหุบเขาหิมาลัย และกำลังนำพาประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่และเป็นประเทศประชาธิปไตยหน้าใหม่โดยการมองออกสู่โลกภายนอก พร้อมไปกับยืนยันในรากฐานของตนเองที่หยั่งลึกอย่างมั่นคงมาตั้งแต่อดีต   "ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใด" พระราชาธิบดีวังซุกทรงมีพระบรมราโชวาทแก่พสกนิกรหลายพันคนที่มาเข้าเฝ้าพระองค์ในตอนบ่ายวานนี้   "สิ่งที่สำคัญสำหรับข้าพเจ้าคือความหวังและความมุ่งมาดปรารถนาของประชาชน และพระชนมายุอันยืนยาวและพระพลานามัยอันแข็งแรงสำหรับสมเด็จพระราชบิดา จิกมี ซิงเย วังชุก ของข้าพเจ้า"   "ในโอกาสอันพิเศษยิ่งนี้ ขอให้ร่วมกันสวดมนตร์และขออธิษฐานขอให้แสงตะวันเฉิดฉันแห่งความสุขจะสาดส่องลงมาที่ประเทศชาติของเราเสมอไป"   แม้ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาแล้ว แต่กษัตริย์วังชุกก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพในประเทศที่มีประชากรเพียง 650,000 คน ในท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความทันสมัยที่บางครั้งก็เหตุรุนแรงและการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายขึ้น   "พระมหากษัตริย์จะทรงมีบทบาทสำคัญเสมอในฐานะพลังผลักดันทางศีลธรรมในประเทศของเรา" จิกมี ธินเล นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศกล่าวและเสริมว่า "พระองค์ทรงเป็นพลังผลักดันให้ทุกคนมั่นใจว่าประชาธิปไตยของเราจะยั่งยืนและปรับให้เข้ากับยุคสมัยได้"   นอกจากประชาชนหลายพันคนที่มารวมตัวกันถวายพระพรแด่กษัตริย์วังชุกที่หน้าวัดซึ่งประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแขกสำคัญที่ร่วมในพิธีดังกล่าวคือ ประธานาธิบดีประติภา ปาติลแห่งอินเดีย และนางโซเนีย คานธี นักการเมืองคนสำคัญของอินเดียพร้อมด้วยบุตรธิดา เนื่องจากครอบครัวคานธีนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ภูฏาน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/79079
2018-10-10 09:56
กิตติวุฑฺโฒภิกขุบนเส้นทางสู่ 6 ตุลาฯ
“กิตติวุฑฺโฒภิกขุ” เป็นพระภิกษุในตำนานการเมืองไทยที่ได้รับกล่าวถึงในทุกปีในฐานะ “แขกประจำ” เมื่อมีการรำลึกถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลาคม 2519 และเป็นเจ้าของวลี “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” (พระ)กิตติวุฑฺโฒภิกขุออกโรง นับแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 กระทั่งถึง 6 ตุลาคม พ.ศ.2519  สังคมไทยอยู่ภายใต้บรรยากาศความขัดแย้งทางอุดมการณ์อย่างรุนแรง พระสงฆ์ก็ตกอยู่ภายใต้ภาวะดังกล่าวด้วย พระสงฆ์จำนวนมากมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง มีการรวมกลุ่มแยกตามอุดมการณ์ซ้าย-ขวาอย่างเด่นชัด พระสงฆ์ฝ่ายซ้ายที่มีความคิดโน้มเอียงไปในทางสังคมนิยมซึ่งส่วนใหญ่พระสงฆ์หนุ่ม ได้เข้าร่วมเดินขบวนกับชาวนาและกรรมกรเรียกร้องความเป็นธรรม รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์นายทุน และบทบาทของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน การเคลื่อนไหวของกลุ่มพระการเมืองฝ่ายซ้ายนำไปสู่ปฏิกิริยาโต้ตอบของกลุ่มพระการเมืองฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยม ซึ่งมีทัศนะแบบจารีตนิยม เห็นว่าพฤติกรรมของบรรดาพระสงฆ์ฝ่ายซ้าย รวมถึงบรรดานักศึกษานั้นเป็นคอมมิวนิสต์ ที่บ่อนทำลาย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์[1] ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตติศักดิ์ เจริญสถาพร) หรือที่รู้จักกันดีในนาม กิตติวุฑฺโฒภิกขุ เป็นพระภิกษุที่มีบทบาทสำคัญในการตีความพระพุทธศาสนากับการเมืองอย่างเข้มข้น ชาร์ลส์ เอฟ.คายส์ (Charles F Kyes) ระบุว่าไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดนักเกี่ยวกับชีวิตของกิตติวุฑฺโฒภิกขุในช่วงก่อนบวช ทราบแต่เพียงว่าเขาเป็นหนึ่งในชายไทยหลายคนที่ออกบวชในช่วงงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยเริ่มจำพรรษาที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ และย้ายมายังวัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร ภายในเวลาไม่กี่ปีกิตติวุฑฺโฒภิกขุสร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักด้วยการเป็นพระนักเทศน์ฝีปากกล้า และก่อตั้ง “กลุ่มอภิธรรม”ขึ้น แต่ที่ทำให้กิตติวุฑฺโฒภิกขุเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น คือ การเข้าไปมีบทบาทนำในขบวนการ “นวพล” และ “กระทิงแดง” กิตติวุฑฺโฒภิกขุยังได้ก่อตั้ง “จิตตภาวันวิทยาลัย” ขึ้นที่จังหวัดชลบุรีทำหน้าที่อบรมพระภิกษุและฆราวาส[2] อนึ่งจิตตภาวันวิทยาลัยนั้นเป็นนามที่ได้รับพระราชทาน[3] การดำเนินของกิตติวุฑฺโฒภิกขุเหล่านี้อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ และได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากจอมพลถนอม กิตติขจรและภรรยารวมไปถึงบรรดานายทหารระดับสูงในยุคนั้น[4] “วารสารช่อฟ้า” กับโลกการเมืองของกิตติวุฑฺโฒภิกขุ ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับจุดยืนทางการเมืองของกิตติวุฑฺโฒภิกขุที่ผ่านมามักอ้างเอกสารเพียงชิ้นเดียวเป็นหลัก นั่นคือ บทสัมภาษณ์ของเขาในหนังสือพิมพ์จตุรัส[5] อย่างไรก็ตาม กลุ่มของเขายังมี “ช่อฟ้า” วารสารพระพุทธศาสนารายเดือนเป็นช่องทางสำคัญในการแสดงทรรศนะทางการเมืองด้วย “ช่อฟ้า” เป็นวารสารที่ออกโดย “มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย” มูลนิธินี้ก่อตั้งเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2510 โดยมีพลเอกประภาส จารุเสถียร (ยศในขณะนั้น) รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ[6] วารสารเผยแพร่ครั้งแรกใน พ.ศ.2509 โดยภาพรวมของเนื้อหาก่อนหน้า พ.ศ.2516 นั้น เป็นการนำเสนอสาระธรรมโดยทั่วไป วารสารดังกล่าวแจ้งวัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการว่า เพื่อชำระและแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดให้มีการปาฐกถา อภิปราย เผยแพร่สารธรรมทาง “สถานีวิทยุยานเกราะ 790” จัดอบรมพระภิกษุ “พระหน่วยพัฒนาการทางจิต” เพื่อกลับไปเผยแพร่ธรรมยังภูมิลำเนาเดิม ทั้งนี้ “ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง”[7] แม้จะแจ้งว่าการดำเนินกิจกรรมต่างๆไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็ตาม แต่จากการสำรวจวารสารช่อฟ้ากลับพบว่าช่วงระหว่าง พ.ศ.2516- 2519 เป็นช่วงเวลาที่ ช่อฟ้า นำเสนอข้อเขียนที่แสดงทรรศนะทางการเมืองเด่นชัดที่สุด เช่นเดียวกับสถาการณ์ทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ กิตติวุฑฺโฒภิกขุซึ่งตีความพระพุทธศาสนาแบบอนุรักษ์นิยม[8] ได้รับความสำคัญสูงสุดในช่อฟ้า ได้รับการตีพิมพ์เป็นบทความแรกในทุกฉบับต่อจาก ช่อฟ้ากถามุก (บทบรรณาธิการ-ผู้เขียน) และจำนวนไม่น้อยมีเนื้อหายาวกว่าทุกๆบทความในวารสารเล่มเดียวกัน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เพียงหนึ่งเดือนกิตติวุฑฺโฒภิกขุซึ่งได้รับอารธนานิมนต์จาก “ชมรมพุทธศาสตร์ประเพณี มหาวิทยาลัยมหิดล” เนื่องในงานทำบุญให้กับวีรชนเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ กิตติวุฑฺโฒภิกขุบรรยายหัวข้อ ศีลกับประชาธิปไตย เขาชี้ว่า ทั้งกรีกและสหรัฐอเมริกาที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นแบบประชาธิปไตยนั้นหาได้มีความเจริญก้าวหน้าแท้จริงดังที่เข้าใจไม่ ตรงข้ามระบอบกษัตริย์ตามคติพระพุทธศาสนาต่างหากที่เป็นประชาธิปไตยที่ดีที่สุดและนำความงอกงามไพบูลย์มาสู่ชาติอย่างแท้จริง[9] หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯเป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายและฝันร้ายสำหรับกิตติวุฑฺโฒภิกขุ เพราะเขาเชื่อว่ามีศัตรูคอยยุแยงให้เกิดความเข้าใจผิดต่อกัน โดยการใช้คำพูดต่างๆมาแบ่งแยกชนชั้น เช่น นายทุน กรรมกร ศักดินา จักรวรรดินิยม การขูดรีด ไม่ได้รับความเป็นธรรม ในท่ามกลางการยุแยงเช่นนี้พุทธศาสนิกชนจึงควรตั้งมั่นในหลักคุณธรรมสามัคคีแห่งพระพุทธศาสนา[10] ขณะเดียวกันกิตติวุฑฺโฒภิกขุชี้ชวนให้เห็นว่าคอมมิวนิสต์ซึ่งกำลังคุกคามพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้านนั้นเป็นสิ่งที่ชาวพุทธต้องใส่ใจ และจำเป็นต้องปลูกฝังความสามัคคีขึ้นในชาติ เมื่อชาติมั่นคงแล้ว ความมั่นคงของศาสนาและพระมหากษัตริย์ก็จะตามมา กิตติวุฑฺโฒภิกขุย้ำด้วยว่าสิ่งที่เขาทำมิใช่เพื่อความมั่นคงของศาสนาอย่างเดียวแต่เพื่อความมั่นคงของพระมหากษัตริย์ด้วย เพราะในเมืองไทยนี้ไม่มีใครดีกว่าพระมหากษัตริย์[11]และเมื่อมีคนจุดไฟหวังทำลายบ้านเมืองของเรา เราทุกคนจึงต้องช่วยกันดับไฟนั้น และร่วมกันพิทักษ์ ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ไว้ให้มั่นคง[12] กิตติวุฑฺโฒภิกขุเน้นย้ำว่า ความแตกต่างของบุคคลและชนชั้นมีรากฐานมากจากผลกรรม ไม่ใช่การเอารัดเอาเปรียบกัน เขาเห็นว่าพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่สามารถสร้างความเสมอภาคและล้มเลิกวรรณะได้โดยหลักธรรม ทำนองเดียวกันกับระบบกรรมสิทธิ์ร่วมที่เกิดขึ้นได้โดยลดความโลภด้วยการเสียสละ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้โดยธรรมะไม่ใช่การปฏิวัติข่มขู่บังคับแบบคอมมิวนิสต์[13] กิตติวุฑฺโฒภิกขุชี้ว่า ในระบอบคอมมิวนิสต์ก็ยังมีชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้ถูกปกครอง กรรมกรและชาวนาก็ยังคงเป็นกรรมกรและชาวนาเช่นเดิม และเป็นที่น่าวิตกว่านักศึกษาจำนวนไม่น้อยหลงเชื่อคอมมิวนิสต์ออกยุยงปลุกปั่นชาวบ้านให้คล้อยตามและก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองตามไปด้วย[14] ความรู้สึกในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของกิตติวุฑฺโฒภิกขุขึ้นสู่ขีดสุด เมื่อกิตติวุฑฺโฒภิกขุให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ จตุรัส ในเดือนมิถุนายน 2519 จนนำมาสู่วาทะประวัติศาสตร์ที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”[15]เขาให้เหตุผลว่าเมื่อจตุรัสถามว่า การฆ่าฝ่ายซ้าย หรือ คอมมิวนิสต์บาปหรือไม่ว่า “อันนั้นอาตมาก็เห็นว่าควรจะทำ คนไทยแม้จะนับถือพุทธก็ควรจะทำ แต่ก็ไม่ชื่อว่าถือเป็นการฆ่าคน เพราะว่าใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มันไม่ใช่คนสมบูรณ์ คือต้องตั้งใจ  เราไม่ได้ฆ่าคนแต่ฆ่ามารซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน[16]   ภาพการ์ตูนล้อเลียนกิตติวุฑฺโฒภิกขุ ประชาชาติรายวัน วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2519 ส่วนประเด็นคำถามที่ว่า ผิดศีลหรือไม่ กิตฺติวุฑฺโฒชี้ว่า แม้ผิดก็ผิดน้อยเพราะการฆ่าคนเพื่อรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเป็นการฆ่าที่เป็นกุศล ถึงบาปก็บาปเล็กน้อย  เหมือนฆ่าปลาทำแกงใส่บาตรพระ กิตฺติวุฑฺโฒจึงเห็นว่าการที่คนฆ่าฝ่ายซ้ายแต่ไม่ถูกจับนั้น คงเป็นเพราะบุญกุศลช่วย[17] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2519 ช่อฟ้าตีพิมพ์บทความของกิตฺติวุฑฺโฒ เรื่อง ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป [18]อันเป็นเสมือนคำขยายความขนาดยาวที่เขามีต่อบทสัมภาษณ์ก่อนหน้า ซึ่งนอกจากจะชี้ถึงพระคุณของพระมหากษัตริย์ต่อชาติและพระศาสนา รวมถึงความชั่วร้ายของคอมมิวนิสต์ ขบวนการฝ่ายซ้ายที่แทรกแซงคณะสงฆ์และนักศึกษา ยังได้ชี้ถึงชะตากรรมอันน่าสยดสยองของพระพุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ของเขมร เวียดนาม ภายใต้การปกครองของคอมมิวนิสต์[19] กิตติวุฑโฒภิกขุอธิบายถึงประเด็นที่เขาเคยกล่าวว่าฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาปอันเป็นเสมือนคำแก้ตัวว่า การฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาปนั้นหมายถึง การฆ่ากิเลสไม่ใช่ตัวบุคคล การตีความว่าเขาสนับสนุนการฆ่าบุคคลเป็นการใส่ร้ายและไม่เข้าใจสิ่งที่เขาต้องการสื่อ[20]ควรกล่าวด้วยว่า แม้ว่าข้อเรียกร้องให้มหาเถรสมาคมลงโทษกิตติวุฑโฒภิกขุจะไม่เป็นผลก็ตาม แต่ข้อแก้ตัวของเขาดังกล่าวนี้ก็มิอาจทำให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ว่าเขาเรียกร้องให้ใช้ความรุนแรงกับขบวนการฝ่ายซ้าย[21]   นักเขียนฆราวาส วารสารช่อฟ้ายังมีนักคิดฆราวาสคนสำคัญที่ผลิตงานเขียนอย่างสม่ำเสมอ อาทิ จำนงค์ ทองประเสริฐ งานเขียนของเขาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองปรากฏอย่างเด่นชัดในช่วง พ.ศ.2519 เช่น ในบทความเรื่อง พระพุทธศาสนาซ้ายหรือขวา จำนงค์อธิบายว่าแท้ที่จริงนั้นพระพุทธศาสนามิได้เป็นทั้งซ้ายและขวา หากแต่เป็นทางสายกลางที่ไม่สุดโต่งไปทั้งซ้ายและขวา ส่วนที่คอมมิวนิสต์โจมตีว่าศาสนาเป็นยาเสพติดนั้น จำนงค์เห็นว่าศาสนาที่เชื่อในพระเจ้าเท่านั้นที่เข้าข่าย ส่วนพระพุทธศาสนานั้นสอนให้เชื่อตนเองมิได้ให้งมงายในพระผู้สร้างเช่นศาสนาอื่นๆ[22]ดังนั้น คนไทยจึงควรยึดมั่นในระบอบปกครองที่เราเคยมีมาอย่าได้หลงเชื่อระบอบการเมืองอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยที่ใกล้ชิดประชาชนและไม่เหมือนชาติใดในโลก[23] จำนงยังอธิบายเห็นด้วยว่า พระพุทธเจ้าเองก็ทรงเป็นเผด็จการเช่นกันในการวางพื้นฐานปกครองคณะสงฆ์แต่มิได้ทรงเป็นนักเผด็จการ จำนงค์อ้างว่าซุนยัตเซนก็เอาแบบนี้ไปใช้ และอ้างถึงแนวคิดของโธมัส อไควนัส ว่าระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด[24] สมพร เพชรอาวุธ นักเขียนฆราวาสคนสำคัญอีกผู้หนึ่งซึ่งมีทรรศนะในการต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างเด่นชัด งานเขียนของสมพรส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่สถานการณ์ในขณะนั้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนาของเพื่อนบ้านภายใต้การปฏิวัติคอมมิวนิสต์ สมพรอธิบายว่าไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับทั้งเขมรและลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพระพุทธศาสนานั้นทั้งสามชาติต่างมีความแนบแน่นทั้งในแง่ประเพณีปฏิบัติและนิกาย มีการไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนระหว่างคณะสงฆ์ทั้งสามชาติเสมอๆ แต่แล้วภายใต้สถานการณ์การสู้รบทั้งในลาวและเขมรได้ส่งผลกระทบให้พระพุทธศาสนาของทั้งสองชาติตกอยู่ในภาวะอันตรายแสนสาหัส พระสงฆ์ถูกเข่นฆ่า ศาสนสถานถูกเผาทำลาย ที่เหลือรอดก็มิอาจปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเป็นปกติสุข ดังที่สมเด็จพระสังฆราชเขมรต้องทรงออกมาเรียกร้องสันติภาพให้ยุติการสู้รบ สมพรเน้นย้ำว่าความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาที่ดีของไทยต่อทั้งสองชาติต้องมาขาดสะบั้นลงเพราะการรุกรานของคอมมิวนิสต์[25] สมพรยังได้ตอบโต้ผู้ที่เห็นว่าพระสงฆ์ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งพาดพิงถึงกลุ่มของกิตติวุฑฺโฒภิกขุว่า พระสงฆ์สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ ตราบเท่าที่เป็นไปตามหลักธรรมาธิปไตย เพื่อยกระดับชีวิตของชาวบ้านในชนบทให้พ้นจากอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์และข้าราชการท้องถิ่นที่ฉ้อฉล กรณีการเคลื่อนไหวของกิตติวุฑฺโฒภิกขุและจิตตภาวัณวิทยาลัยนั้นไม่ใช่ขบวนการทางการเมืองดังที่เข้าใจกัน แต่เป็นขบวนการพระพุทธศาสนา ส่วนที่มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่อยู่ในองค์กรนั้นก็เพราะมีศรัทธาเดียวกันหาได้มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝงไม่[26] นอกจากงานเขียนลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว ช่อฟ้ายังได้ตีพิมพ์งานเขียนประเภทนิยายและบทกวีที่น่าสนใจด้วย ดังที่ในปี 2518 ภายใต้สถานการณ์การชุมนุมประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมที่มีนักศึกษาเป็นแกนนำที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในขณะนั้น ช่อฟ้าได้ตีพิมพ์บทกวีชิ้นหนึ่งอันมีเนื้อหาดังนี้ หาก “มนุษย์” เกิดได้คล้ายกันหมด    “เครื่องชูรส” ทั้งหลายคงไร้ค่า ดีแต่นี้พรหมท่านบันดาลมา                     ให้ชะตาแตกต่างกันอย่างดี ทุกข์-สุข น้ำตาและรอยยิ้ม            เป็นแบบพิมพ์เอกลักษณ์ต่างศักดิ์ศรี พร้อม “ช่องว่าง” หว่างคนจนและคนมี         คือสิ่งที่โลกสร้างเราต่างกัน[27]   อิทธิพลทางความคิดของพุทธทาสภิกขุกับกลุ่มช่อฟ้า ในท่ามกลางงานเขียนที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์เหล่านี้ ความคิดทางการเมืองของพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกผลิตซ้ำเพื่อหนุนเสริมความคิดของพวกเขาด้วย ดังที่ปรากฏว่าช่วงปี 2519 ภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียด ช่อฟ้าได้ตีพิมพ์ข้อเขียนของพุทธทาสภิกขุจำนวนหลายชิ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทความบางชิ้นที่เป็นส่วนหนึ่งของ “ธัมมิกสังคมนิยมแบบเผด็จการ” อันเป็นข้อเสนอทางการเมืองที่โด่งดังของพุทธทาสภิกขุ ที่เรียกร้องหา “คนดี”มากปกครองประเทศด้วยเผด็จการที่เป็นธรรม บทความชิ้นหลักๆของพุทธทาสภิกขุที่ถูกตีพิมพ์ซ้ำในช่อฟ้า คือ “ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม”[28]ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในฉบับเดียวกันกับบทความ เรื่อง “พระพุทธศาสนากับลัทธิคอมมิวนิสต์” ของกิตติวุฑฺโฒภิกขุ[29] ต่อจากนั้นคือ เรื่อง โลกรอดได้เพราะเผด็จการโดยธรรม[30] ขณะที่บทความเรื่อง สังคมนิยมที่ช่วยโลกได้[31] ขณะที่บทความเรื่อง อาหารใจ ซึ่งพุทธทาสภิกขุมุ่งอธิบายว่าความสำราญทางกาย/วัตถุนั้นมิใช่ความสุขที่แท้ แต่ความสุขทางใจ/นิพพานต่างคือความสุขที่แท้จริงนั้นได้รับการตีพิมพ์พร้อมกับบทความเรื่อง ลัทธิคอมมิวนิสต์กับศาสนา ของ กิตติวุฑโฒภิกขุ นอกจากนี้ยังมีบทกวี เรื่อง “มองแต่แง่ดีเถิด ตาบอดตาดี”และ “เป็นมนุษย์หรือเป็นคน”อันเป็นบทกวีมีชื่อของพุทธทาสภิกขุ[32] บทกวีดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในฉบับเดียวกับบทความ เรื่อง ความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ของกิตติวุฑโฒภิกขุ[33] การผลิตซ้ำงานเขียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของพุทธทาสภิกขุโดยช่อฟ้ายังคงดำเนินไปในช่วง พ.ศ.2520  ด้วย ดังปรากฏว่าคำโปรยปกในของช่อฟ้าเดือนมิถุนายนนั้น ได้ยกเอาข้อความบางส่วนจากธรรมเทศนาของพุทธทาสภิกขุ มาตีพิมพ์ในชื่อหัวเรื่องว่า “ประชาธิปไตย?” ดังนี้ “.......เมื่อพูดว่า ประชาธิปไตยก็เอาประชาชนเป็นใหญ่ เมื่อพูดว่าธรรมาธิปไตย ก็เอาธรรมะเป็นใหญ่ การเอาประชาชนเป็นใหญ่นั้น มันยังกำกวมและเป็นอันตราย เพราะเรายังรู้ไม่ได้ว่าประชาชนนั้นเป็นคนดีหรือคนเลว ถ้าประชาชนเป็นคนเลวขาดธรรมะแล้ว สิ่งที่ทำโดยประชาชนเพื่อประชาชน ก็คือการทำโลกนี้ให้เป็นนรกนั่นเอง...ทีนี้เราจะเห็นได้ว่า ประชาชนในโลกสมัยนี้กำลังตกเป็นทาสของวัตถุนิยมหนักขึ้นๆๆๆอย่างรั้งไว้ไม่อยู่ เมื่อประชาชนทั้งหมดตกเป็นทาสของวัตถุนิยมแล้ว ประชาธิปไตยก็มีความหมายแต่เพียงว่า ช่วยกันทำโลกนี้ให้เป็นทาสของวัตถุเร็วเข้าๆเท่านั้นเอง และผลที่เกิดขึ้นก็คือการเบียดเบียนกัน เพราะว่าวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง ปราศจากธรรมะแล้วก็ยิ่งมีความลุ่มหลงแล้วก็เห็นแก่ตัว แล้วก็เบียดเบียนกัน---การศึกษามุ่งไปแต่ในทางวัตถุ---ประชาชนในโลกกำลังเป็นทาสของวัตถุมากขึ้น จึงนำโลกนี้ไปสู่ความเป็นนรกมากขึ้น---”[34] ในที่นี้ ไม่อาจทราบได้ว่า งานเขียนของพุทธทาสภิกขุที่ถูกตีพิมพ์ในช่อฟ้าเหล่านี้ เป็นไปโดยความรับรู้และยินยอมจากพุทธทาสภิกขุหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่าแนวคิดทางการเมืองของพุทธทาสภิกขุทรงพลังมากพอในการอธิบายว่า พระพุทธศาสนาแบบไทยเหนือกว่าคอมมิวนิสต์อย่างไร ขณะเดียวกันธัมมิกสังคมนิยมเผด็จการมีส่วนสำคัญในการหนุนเสริมแนวคิดธรรมราชาตามคติพระพุทธศาสนาให้ทรงพลังขึ้นในท่ามกลางการต่อสู้ทางความคิดในบริบทดังกล่าวด้วย อาจกล่าวในเบื้องต้นได้ว่า ภายใต้ปลุกระดมอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่มีกิตติวุฑโฒภิกขุเป็นแกนกลางและสื่อสารผ่านทางวารสารช่อฟ้านี้ พวกเขาก็ยอมรับ/ผนวกเอาแนวคิดทางการเมืองพุทธทาสภิกขุเพื่อบรรลุเป้าหมายในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของพวกเขาด้วย ความเข้าใจก่อนหน้าที่คิดว่าพระภิกษุทั้งสองมีความคิดที่เป็นปฏิปักษ์กัน อาจเป็นประเด็นที่ต้องทบทวนใหม่ หลัง 6 ตุลาฯ ช่อฟ้าประกาศชัย ความคิดในเพื่อต่อต้านและทำลายความชอบธรรมขบวนการคอมมิวนิสต์ และขบวนการนักศึกษาที่ถูกตีตราว่าเป็นภัยที่มีต่อชาติ ศาสนา ราชบัลลังก์ และความเชื่อว่าการฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาปนั้น ความพยายามดังกล่าวที่เรียกว่า “พระพุทธศาสนาที่พร้อมรบ” (Militant Buddhism)[35] หรือ  “การทำสงครามอันศักดิ์สิทธิ์” (Holy War)[36] เพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสนา และราชบัลลังก์ที่มีกิตติวุฑโฒภิกขุเป็นหนึ่งในหัวหอกสำเร็จลงได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ถัดจากนั้นหนึ่งเดือนบทบรรณาธิการวารสารช่อฟ้าฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2519 โปรยคำนำอันเป็นเสมือนคำประกาศชัยชนะบนเส้นทางการต่อสู้ของพวกเขาว่า “เหตุการณ์บ้านเมืองที่เป็นภัยต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เราก็ได้ร่วมมือกันขจัดให้ผ่านพ้นไปอีกเปลาะหนึ่ง แม้จะต้องเสียเลือดเนื้อชีวิตไปบ้าง แต่เราก็สามารถปองกันสถาบันอันเป็นโครงร่างของประเทศชาติไว้ได้ ด้วยความร่วมมือของชาวไทยผู้รักชาติทุกคน และเวลานี้เราก็ได้รัฐบาลพลเรือนเพื่อบริหารประเทศแล้ว  โดยความร่วมมือของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่ได้ยึดอำนาจไว้ชั่วระยะสั้น  เพื่อให้ชาติรอดพ้นจากภัยคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่นี้ต่อไปชาวไทยทุกคนต้องร่วมมือกับรัฐบาลใหม่นี้ ด้วยการปฏิรูปตนเองให้เป็นคนขยัน ประหยัด อดทน  และกตัญญูกตเวที  ต่อสถาบันศักดิ์สิทธิ์ของชาติ และเอกลักษณ์ของความเป็นไทยตามระบอบประชาธิปไตย  ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ประเทศไทย  เป็นเมืองพุทธศาสนา  ประชากร 98 เปอร์เซ็นต์  เป็นพุทธศาสนิกชน  หากพุทธศาสนิกชนประพฤติตนตามคำสอนของพระพุทธเจ้าคือ  มีความสามัคคีต่อกันและกันแล้ว การปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน  เพื่อให้ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ก็จะถึงจุดมุ่งหมายโดยเร็ว”[37]       เชิงอรรถ [1] ดู สมบูรณ์ สุขสำราญ.ความขัดแย้งทางการเมืองและบทบาทของพระสงฆ์.เอกสารสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 28 ธันวาคม 2522. [2] ดูเพิ่มเติมใน Charles F. Kyes. Political Crisis and Militant Buddhism in Contemporary Thailand, in Bardwell L. Smith (editors) Religion and Legitimation of Power in Thailand, Laos, and Burma. Chambersburg PA: ANIMA Books, 1978.pp.147-163. ดูงานเขียนอื่นๆ Somboon Suksamran. Buddhism and Politics in Thailand. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies,1982.pp.132-157.,Peter A. Jackson. Buddhism, Legitimation, and Conflict : The Political Function of Urban Thai Buddhism. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies,1989.pp.147-158. [3]“รู้หรือยัง? 50 ปีที่แล้ว ในหลวง ร.9 ทรงปลูกต้นสาละ เปิดอาคารที่จิตตวันวิทยาลัย บางละมุง” https://mgronline.com/local/detail/9600000108327 [1] สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561 [4] Peter A. Jackson. Buddhism, Legitimation, and Conflict : The Political Function of Urban Thai Buddhism.1989.p.149. [5] จัตุรัส ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2519 น.28-32 [6] ดู เบื้องหลังอภิธรรมมูลนิธิ กิตติวุฑฺโฒภิกขุ กอ.รมน.และซี.ไอ.เอ ใน ข่าวไทยนิกร ปีที่ 2 ฉบับที่(30)+43 สิงหาคม 2521.น.10. [7] ดูรายละเอียดวัตถุประสงค์ของวารสารได้ในปกในหรือปกหลังของวารสารช่อฟ้าทุกฉบับ [8] Peter A. Jackson. Buddhism, Legitimation, and Conflict : The Political Function of Urban Thai Buddhism.p.150. [9] กิตติวุฑฺโฒภิกขุ.ศีลกับประชาธิปไตย ใน ช่อฟ้า  ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 เมษายน 2517 น.4-15.(บรรยายเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2516-ผู้เขียน) [10] กิตติวุฑฺโฒภิกขุ.อปริหานิยธรรม ใน ช่อฟ้า ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2518 น.5,10-11. [11] กิตติวุฑฺโฒภิกขุ.พุทธศาสนากับความมั่นคง ใน ช่อฟ้า ปีที่ 10 ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2518 น.11,16. [12] กิตติวุฑฺโฒภิกขุ.สิ่งที่ควรคำนึง ตอนที่ 1 ใน ช่อฟ้า ปีที่ 10 ฉบับที่ 10 ตุลาคม 2518 น.5-13.,กิตติวุฑฺโฒภิกขุ.สิ่งที่ควรคำนึง ตอนที่ 1 ใน ช่อฟ้า ปีที่ 10 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2518 น.5-11. [13] กิตติวุฑฺโฒภิกขุ.คำบรรยายเรื่อง พระพุทธศาสนากับลัทธิคอมมิวนิสต์ ใน ช่อฟ้า ปีที่ 10 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2518 น.5-16. [14] กิตติวุฑฺโฒภิกขุ.คำบรรยายเรื่อง พระพุทธศาสนากับลัทธิคอมมิวนิสต์ ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11ฉบับที่ 1มกราคม พ.ศ.2511 น.6-8. [15] จัตุรัส ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2519 น.28-32. [16] เรื่องเดียวกัน น.31. [17] เรื่องเดียวกัน น.32. [18] กิตติวุฑโฒภิกขุแสดงปาฐกถานี้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2519 ก่อนที่จะถูกตีพิมพ์ในเดือนถัดมา ดูกิตติวุฑโฒภิกขุ.ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 9 กันยายน 2519.น.5-21. [19] กิตติวุฑโฒ.ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 9 กันยายน 2519 น.10. [20] เรื่องเดียวกัน น.14. [21] ดูสมบูรณ์ สุขสำราญ.ความขัดแย้งทางการเมืองและบทบาทของพระสงฆ์ เอกสารสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 28 ธันวาคม  2522 น. 26. [22] จำนงค์ ทองประเสริฐ.พระพุทธศาสนาเอียงซ้ายหรือขวา ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2519 น.66-72. [23] จำนงค์ ทองประเสริฐ.พระพุทธศาสนาเอียงซ้ายหรือขวาใน ช่อฟ้า ปีที่ 11ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2519 น.43-49. [24] จำนงค์ ทองประเสริฐ.คำบรรยายเรื่อง ประชาธิปไตยกับธรรมาธิปไตย ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 8กรกฎาคม 2519 น.42,47,46.,จำนงค์ ทองประเสริฐ.คำบรรยายเรื่อง ประชาธิปไตยกับธรรมาธิปไตย ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 9 สิงหาคม 2519 น.17-27.และดูงานเขียนอื่นเช่น จำนงค์ ทองประเสริฐ.ศีลธรรมกับแผนเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2519 น.,จำนงค์ ทองประเสริฐ.ศีลธรรมกับแผนเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 4เมษายน 2519 น.40-50. [25] ดู สมพร เพชรอาวุธ.พุทธศาสนาในสาธารณรัฐเขมรปัจจุบัน ใน ช่อฟ้า ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2517 น., สมพร เพชรอาวุธ.สถานการณ์ทางการเมืองกับเสถียรภาพพระพุทธศาสนาในเขมร ใน ช่อฟ้า ปีที่ 9 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2517 น.37-43.,สมพร เพชรอาวุธ.สารคดีเพื่อชาติ “สิ่งควรคำนึง” ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม 2519 น.41-49. [26] สมพร เพชรอาวุธ.พระภิกษุสงฆ์ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ใน ช่อฟ้า ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 เมษายน 2517 น.27-34. [27] ประพันธ์โดย ชาตรี ธีรวุฒิ แห่งชมรมวรรณกวีศรีบุณย์ ดู ช่อฟ้า  ปีที่ 10 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2518 น.32. [28]  พระเทพวิสุทธิเมธี.ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม ใน ช่อฟ้า ปีที่  11 ฉบับที่  1มกราคม2519  น.26-34. [29] กิตติวุฑโฒภิกขุ.คำบรรยายเรื่องพระพุทธศาสนากับลัทธิคอมมิวนิสต์ ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม 2519.น.5-10. [30] พระเทพวิสุทธิเมธี.โลกรอดได้เพราะเผด็จการโดยธรรม ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2519 น.11-18. [31] พระเทพวิสุทธิเมธี.สังคมนิยมที่ช่วยโลกได้ ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11ฉบับที่ 10 ตุลาคม น. 19-34. [32] พระเทพวิสุทธิเมธี.มองแต่แง่ดีเถิด ตาบอดตาดี เป็นมนุษย์หรือเป็นคน? ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 4 เมษายน 2519 ไม่ปรากฏเลขหน้า. [33] กิตติวุฑโฒภิกขุ.ความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ใน ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 4 เมษายน 2519 น.5-14. [34] พุทธทาสภิกขุ.ประชาธิปไตย? ใน ช่อฟ้า ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2520 ไม่ปรากฏเลขหน้า. [35] Charles F. Kyes. Political Crisis and Militant Buddhism in Contemporary Thailand, Bardwell L. Smith (editors). Religion and Legitimation of Power in Thailand, Laos, and Burma. Chambersburg PA : ANIMA Books, 1978. pp. 147 – 163. [36] Somboon Suksamran. Buddhism and  Politics in Thailand. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies,1982. pp.132-157. [37] ช่อฟ้ากถามุข ใน  ช่อฟ้า ปีที่ 11 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2519 น.3.
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/10897
2006-12-13 09:22
ครม.อนุมัติ 1.3 หมื่นล.สร้างบ้านมั่นคง 2 แสนหน่วย - เน้นโปร่งใส
วานนี้ (12 ธ.ค.) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้หารือวาระจำนวนมาก เนื่องจากครั้งที่แล้วได้งดการประชุมไป 1 ครั้ง โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เกี่ยวกับโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งได้มีการตรวจสอบเรื่องความโปร่งใส ประสิทธิภาพ แนวทางการดำเนินงาน ทาง ครม.เห็นว่าโครงการบ้านมั่นคงเป็นโครงการที่ควรจะสนับสนุนให้ดำเนินการต่อไป โดยในภาพรวมโครงการของปี 2550 ถึง 2554 จะมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกประมาณ 2 แสนหน่วย งบประมาณวงเงิน 13,615 ล้านบาท สำหรับปี 50 จะมีการก่อสร้างเพิ่มเติม 3 หมื่นหน่วย งบประมาณ 2,040 ล้านบาท   พร้อมกันนี้ ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาเรื่องที่กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาขอให้ยกเลิกการค้าต่างตอบแทนของกระทรวงกลาโหม ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก ที่ประชุมจึงเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ   นอกจากนี้ยังอนุมัติเห็นชอบตามที่ กพร.ได้เสนอให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปี 2543 และขอแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2545 จำนวน 8 คณะ ประกอบด้วย 1.คณะด้านนิติศาสตร์ 2.คณะด้านเศรษฐศาสตร์ 3.คณะด้านรัฐศาสตร์ 4.คณะด้านบริหารรัฐกิจ 5.คณะด้านบริหารธุรกิจ 6.คณะด้านการเงิน การคลัง 7.คณะด้านจิตวิทยาขององค์การ และ 8.คณะด้านสังคมจิตวิทยา   พล.อ.สุรยุทธ์ ยังได้กล่าวอีกว่าที่ประชุม ครม.มีมติปรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ จาก 300 บาทต่อเดือนเป็น 500 บาทต่อเดือน เท่ากับส่วนอื่นๆ ที่ได้มีการพิจารณาไปแล้วก่อนหน้านี้       ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/40228
2012-04-25 21:20
"ณัฐวุฒิ" ยันไม่ไปรดน้ำดำหัว พล.อ.เปรม พรุ่งนี้
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ให้สัมภาษณ์ "มติชนออนไลน์" ยืนยันพรุ่งนี้ไม่ไปบ้านสี่เสาฯ นายกฯ กับรองนายกฯ จะเป็นคนไป วอนให้กำลังใจนายกฯ นำประเทศสู่สันติภาพ เชื่อปรองดองไม่ได้แปลว่าทุกคนต้องมารักใคร่กลมเกลียวกัน แต่หมายถึงอยู่กันได้ภายใต้ความแตกต่างทางความคิดไม่ต้องใช้ความรุนแรงทำลายล้างกัน ยืนยันยังคงไม่ยอมรับแนวทางการเมืองฝ่ายตรงข้าม วันนี้ (25 เม.ย.) "มติชนออนไลน์" [1] เผยแพร่บทสัมภาษณ์นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ แกนนำ นปช. กล่าวถึง การไม่ได้ร่วมคณะกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รดน้ำขอพร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ว่า ตนเองไม่ได้อยู่ในโปรแกรมดังกล่าว เพราะท่านนายกรัฐมนตรีจะนำรองนายกรัฐมนตรี 3-4 ท่าน เข้าไปรดน้ำ พล.อ.เปรม ส่วนตนเองและรัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในโปรแกรม จะปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในวันนั้น นายณัฐวุฒิกล่าวกับผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ด้วยว่าถ้าจะตีความเป็นนัยยะทางการเมืองทุกเรื่อง มันตีความได้หมด แต่ถ้าหาก เราคิดว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้น มันมีเหตุผล มีมิติ มีที่มา เราจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกคนให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีในการนำพาประเทศสู่สันติภาพ "ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะต้องหันมาผู้สมัครรักใคร่กลมเกลียวกัน แต่หมายถึง เราสามารถอยู่กันได้  ภายใต้ความแตกต่างในสังคมที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง เพื่อทำลายล้างกัน หรือเพื่อรักษาอำนาจกันอีกต่อไป เรายังคงไม่ยอมรับแนวทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม เรายังคงปฏิเสธอุดมการณ์ทางการเมืองอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ก็ยังเป็นเช่นนั้น การต่อสู้หักล้างทางความคิดยังคงดำรงอยู่ แต่จะต้องลดความสุ่มเสี่ยง ที่จะนำไปสู่ความรุนแรง และสูญเสีย นี่คือความหมายของการปรองดองในความคิดของตน" นายณัฐวุฒิกล่าว (อ่านรายงานของมติชนที่นี่) [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/4823
2005-07-12 11:31
1 วัน ยกร่าง "สมานฉันท์ดับไฟใต้" ฉบับด่วนที่สุด
ประชาไท-11 ก.ค. 48 กอส. "จาตุรนต์" นั่งประธานคณะทำงานยกร่างแนวทางสมานฉันท์ฉบับฉบับด่วนที่สุดภายใน 1 วัน ก่อนส่งให้ "อานันท์" ลงนามรับรองเสนอนายกฯ ทันที แหล่งข่าวที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) วันนี้ระบุว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี แสดงความเห็นต่อที่ประชุมคล้ายกับว่ามีความไม่สบายใจในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของรัฐ ก่อนเสนอว่ามีความจำเป็นจะต้องจี้รัฐบาลเพื่อนำมาสู่การปฏิบัติในแนวทางสันติวิธีเป็นการด่วน ทั้งนี้บุคคลที่พอจะมีน้ำหนักในการนำเสนอ ควรจะเป็นนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานกอส.เท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อมีหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอความเห็นจากกอส. เกี่ยวกับ "แนว ทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมเพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทยและ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้" ทำให้ที่ประชุม กอส.ตัดสินใจตั้งคณะทำงานเพื่อยกร่างแนวปฏิบัติเพื่อเป็นคำตอบดัง กล่าว โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะทำงานที่เป็นกรรมการ กอส.อีก 8 คน โดยคณะทำงานดังกล่าว จะมีการจัดประชุมด่วนในวัน พรุ่งนี้ เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล และจะส่งร่างดังกล่าวให้นายอานันท์เป็นผู้เซ็นชื่อในวันถัดไป เพื่อให้รัฐบาลรับแนวทางนำไปปฏิบัติทันที ทั้งนี้ แหล่งข่าวคนเดิมระบุว่า ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีการโต้ตอบกันด้วยความรุนแรงตลอดเวลาทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายผู้ก่อการ หากจะปรับแก้ไขจริงต้องกล้าที่จะปรับนโยบายไปในทางสันติวิธีจริงๆ และขอให้รัฐบาลรับฟังสิ่งที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้เตือนไว้ด้วย ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/55391
2014-09-05 04:21
สภากลุ่มชาติพันธุ์ในพม่ายังสำรองที่นั่งให้ KNU - แม้ถอนตัวจากการประชุม
ผู้แทนสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ถอนตัวจากที่ประชุม "สภาสหพันธรัฐชาติสหภาพ" หรือ UNFC ของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า อย่างไรก็ตามทาง UNFC ยังสงวนที่นั่งคณะกรรมการกลางให้ KNU - ขณะที่ KNU เตรียมหารือภายในว่าจะยังคงเป็นสมาชิกกลุ่มหรือไม่ ธงของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ KNU (แฟ้มภาพ/ประชาไท) 5 ก.ย. 2557 - ในการประชุมประจำปีของกองกำลังและองค์กรทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าในนาม "สภาสหพันธรัฐชาติสหภาพ" (The United Nationalities Federal Council - UNFC) ซึ่งจัดขึ้นที่ชายแดนไทย-พม่า และเพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อวันอังคาร (2 ก.ย.) ที่ผ่านมานั้น มีรายงานว่า สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ได้ถอนตัวจากการประชุมเมื่อคืนวันที่ 31 ส.ค. โดย พล.อ.มูตู เซพอ ผู้บัญชาการ KNU ได้นำตัวแทนกะเหรี่ยง KNU ออกจากที่ประชุม และลงนามในจดหมายฉบับหนึ่งระบุว่า "จะไม่มีการส่งผู้แทน KNU เข้าร่วมการประชุม UNFC" รวมทั้งระบุด้วยว่า "KNU จะตัดสินใจในการประชุมคณะกรรมการกลางบริหาร KNU ว่าจะเข้าร่วม UNFC ต่อไปหรือไม่" ทั้งนี้ตามรายงานของ ดีวีบี [1] เมื่อวันที่ 1 ก.ย. โดยก่อนที่ผู้แทน KNU จะออกจากที่ประชุม มีรายงานว่าผู้แทน KNU เสนอให้มีการเปลี่ยนโครงสร้างของ UNFC โดยให้กระจายอำนาจการตัดสินใจมาที่คณะเลขาธิการ 3-5 คน รวมทั้งมีคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ แทนการให้ประธาน UNFC มีอำนาจการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม นาย หงสา ผู้แทนจากพรรคมอญใหม่ ระบุว่าสมาชิกกลุ่มอื่นๆ ต้องการโครงสร้างเดิมมากกว่า เพราะข้อเสนอจากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU จะทำให้ UNFC มีโครงสร้างอ่อนแอ ทั้งนี้ UNFC ยังคงใช้โครงสร้างองค์กรเดิม และในการประชุมวันสุดท้ายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ที่ประชุม UNFC มีการเลือกคณะกรรมการชุดใหม่ 42 คน รวมทั้งเลือกคณะกรรมการกลางบริหารอีก 12 คน โดยทุกตำแหน่งจะมีวาระไปจนถึง พ.ศ. 2559 ตามรายงานของดีวีบี [2]เมื่อวันที่ 4 ก.ย. โดยหลังจากที่ผู้แทน KNU ออกจากที่ประชุมในคืนวันอาทิตย์ ต่อมาในวันจันทร์ที่ 1 ก.ย. รองประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ซิปโปร่า เส่ง ซึ่งเข้าร่วมการประชุมด้วยและไม่ได้ออกจากที่ประชุมได้เขียนแถลงการณ์ขอโทษต่อที่ประชุมสภาสหพันธรัฐชาติสหภาพ (UNFC) ที่เกิดเหตุดังกล่าวขึ้นและทำให้การประชุมล่าช้า และยังให้คำมั่นว่า KNU จะหาทางออกภายในองค์กรเอง (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [3] ด้าน คูอูเร ตัวแทนจากพรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี (KNPP) กล่าวกับผู้สื่อข่าวดีวีบีว่า "KNU ยังคงได้รับการต้อนรับกลับสู่ UNFC เสมอ" ทั้งนี้จากรายงานของสำนักข่าวฉาน [4] ผลการประชุมเลือกตั้งคณะกรรมการกลางบริหารของ สภาสหพันธรัฐชาติสหภาพ หรือ UNFC ประกอบด้วย (1) นายพลนอ บานละ องค์การแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIO) ประธาน(2) นาย หงสา พรรคมอญใหม่ (NMSP) รองประธานคนที่ 1(3) ตำแหน่งรองประธานคนที่ 2 สำรองให้ผู้แทนสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU)(4) คูอูเร พรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเรนนี (KNPP) เลขาธิการ(5) ขุน โอคก่า องค์การปลดปล่อยชาติปะโอ (PNLO) เลขาธิการร่วมคนที่ 1 (6) สะลาย ทา เฮ แนวร่วมแห่งชาติชิน (CNF) เลขาธิการร่วมคนที่ 2(7) นายแพทย์ ลาจา องค์การแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIO) สมาชิก(8) ตำแหน่งสมาชิก สำรองให้ผู้แทนสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU)(9) พ.อ.จายทู พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (SSPP) สมาชิก(10) นายแพทย์ ขิ่นหม่อง สภาแห่งชาติยะไข่ (ANC) สมาชิก (11) บอวัง ลารอ องค์การแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIO) สมาชิก(12) พล.อ.บีทู พรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเรนนี (KNPP) สมาชิก มีรายงานว่า สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) จะจัดการประชุมเฉพาะกิจในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อพิจารณาว่าจะยังคงเป็นสมาชิกสภาสหพันธรัฐชาติสหภาพ (UNFC) หรือไม่ สำหรับสภาสหพันธรัฐชาติสหภาพ หรือ UNFC ก่อตั้งขึ้นภายหลังกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า 12 กลุ่ม ทั้งกลุ่มกลุ่มที่ทำสัญญาหยุดยิง และกลุ่มที่ไม่ทำสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า ได้หารือกันบริเวณชายแดนไทย-พม่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554 และได้ตัดสินใจที่จะเป็นพันธมิตรร่วมมือกันทางการเมืองการทหาร โดยกลุ่มชาติพันธุ์หลักที่ก่อตั้ง UNFC ได้แก่ องค์การแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIO) พรรครัฐมอญใหม่ (NMSP) พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (SSPP) ซึ่งเป็นปีกการเมืองของกองทัพรัฐฉานเหนือ รวมทั้ง สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ทั้งนี้กองทัพกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่ไม่ได้เข้าร่วม UNFC ได้แก่ สองกองกำลังใหญ่ในรัฐฉานได้แก่ กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Army - UWSA) และกองทัพรัฐฉาน (Shan State Army – SSA) กลุ่ม พล.ท.เจ้ายอดศึก
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/25500
2009-08-18 16:29
นักข่าวพลเมือง: ปั่นจักรยานคุ้มครองบางคล้าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม-ต้านโรงไฟฟ้า
ชาวบางคล้าจัดกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตในชุมชน พร้อมต้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่         ผู้สื่อข่าวพลเมืองรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 52 เวลา 9.00 - 14.00 น. ชมรมอยู่อย่างบางคล้า, ชมรมมะพร้าวน้ำหอม, เครือข่ายลุ่มน้ำแห่งความพอเพียง, ชมรมหมู่บ้านน้ำตาลสด, สมาชิกชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย, กลุ่มรักษ์แปดริ้ว, ร่วมกับคณะครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษา และชาวบ้าน ในอำเภอบางคล้า ร่วมกิจกรรม “ปั่นจักรยานไปคุ้มครองบางคล้า” ในพื้นที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา   วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเพื่อบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน อ.บางคล้า เพื่อซึมซับกลิ่นอาย ความเป็นวิถีท้องถิ่นชนบทของคนในชุมชนอำเภอบางคล้า ตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน และเป้าหมาย ในการคุ้มครองและฟื้นฟู เพื่อคนรุ่นหลังสืบต่อไป และเพื่อสะท้อนปัญหาและผลกระทบหากมีโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อร่วมกันค้นหามาตรการในการป้องกัน และทางออกทุกวิถีทางอย่างเป็นรูปธรรมด้วยความสร้างสรรค์และยั่งยืน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/47737
2013-07-16 23:08
บทเรียนจากเกาหลีสู่ไทย ความขุ่นมัวในโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน
ผมทำงานเรื่องน้ำมานาน ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าโมดุลทั้งหลายในชุดโครงการ 3.5 แสนล้าน มาจากไหน ทั้งเขื่อน แก้มลิงล้านไร่ ฟลัดเวย์ ฯลฯ จนวันนี้ยังไม่เห็นว่ามีการศึกษาชิ้นไหนระบุว่าชุดโครงการนี้จะแก้ปัญหาน้ำ ท่วมได้ เพราะส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหาน้ำท่วมคือ การใช้ที่ดินอย่างไม่มีการวางแผน เมือง บ้านจัดสรร โรงงานไปอยู่ในที่น้ำหลากตามธรรมชาติ ทำลายพื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติ ผมเองก็คงเหมือนคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยไม่รู้จักบริษัทเควอเตอร์ดีพอ และไม่รู้เหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมบริษัทนี้ถึงได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินโครงการฟลัดเวย์และแก้มลิง เมื่อทราบว่าเค วอเตอร์ ทีสัญชาติเป็นเกาหลี ก็คิดถึงเพื่อนที่เกาหลี ซึ่งเป็นคนทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศเกาหลีใต้ เคยประชุมร่วมกันหลายหน และคราวประชุมอนุสัญญาแรมซาร์ ครั้งที่ 9 ที่เกาหลีก็ได้ไปดูงานก่อน จึงติดต่อให้ช่วยมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของเค วอเตอร์ในเกาหลีหน่อย ก็ได้การตอบรับว่ายินดีมาและขอดูพื้นที่พบปะชาวบ้าน ทางเราจึงขอว่าอาจจะมีการจัดแถลงข่าวด้วยหลังลงพื้นที่ ซึ่งเขาเขาก็ยินดี ลงพื้นที่ครั้งนี้มีคุณยัม ฮคองเชิล ผอ.องค์กรสิ่งแวดล้อมเกาหลี KFEM ที่เคยทำงานกันมานานเป็นสิบปี เราร่วมงานกันในเครือข่าย Rivers Watch East and Southeast Asia-RWESA เมื่อปี 2546 เราเคยจัดการประชุมนานาชาติของผู้เดือดร้อนเรื่องเขื่อน ระดับโลกครั้งที่ 2 ที่เขื่อนราษีไศล ยัมและเพื่อนๆ จากเกาหลีก็มาร่วมประชุม ตอนนั้นเขาร่วมกับนักสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านตรวจสอบโครงการเขื่อนหลายแห่งใน เกาหลี โดยเฉพาะเขื่อนกั้นแม่น้ำฮัน ที่ถูกคัดค้านหนักเพราะผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในแวดวงสิ่งแวดล้อมเกาหลี KFEM เป็นองค์กรใหญ่มากและเป็นหัวหอกในหลายด้านโดยเฉพาะการตั้งคำถามต่อโครงการพัฒนาใหญ่ๆ ของทั้งภาครัฐและเอกชน โครงการใหญ่ล่าสุดที่ตรวจสอบกันอย่างหนัก คือโครงการ 4 แม่น้ำสายหลัก 4 Major Rivers Project ที่สร้างเขื่อนเกือบ 20 แห่ง และขุดลอก/เทคอนกรีตแม่น้ำสายหลักของเกาหลี จนเหลือสภาพเป็นแค่คลองระบายน้ำ ระบบนิเวศพังยับเยิน และนี่คือโครงการที่เควอเตอร์ทำในเกาหลี ยัม ร่วมเดินทางลงพื้นที่ตำบลชมภู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และ หลายพื้นที่ในจ.นครสวรรค์ พร้อมกับสื่อหลายสำนัก ข้อมูลที่ได้จากเขา ชัดเจนว่าในเกาหลีเองโครงการที่ผ่านมาสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศมาก ทั้งที่การแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง ก็ยังไม่มีข้อมูลรองรับว่าจะแก้ได้จริง ยิ่งมาเห็นพื้นที่เหนือปากน้ำโพ ที่จะกลายเป็นแก้มลิงขนาดเป็นล้านไร่ และฟลัดเวย์ตั้งเกือบ 300 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 7 จังหวัด ถือเป็นโครงการใหญ่ เขารู้สึกเป็นห่วงเพราะไม่แน่ใจว่าเควอเตอร์จะสามารถทำโครงการได้จริง ล่าสุดในรายงานตรวจสอบโครงการโดยคณะกรรมการตรวจเงินและประเมิน ของเกาหลี(คล้ายๆกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสตง. บ้านเรา) ชี้ว่าโครงการ 4 แม่น้ำสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางน้ำจากเขื่อน 16แห่งและอื่นๆ ทำให้เกิดมลภาวะ สาหร่ายเขียวแพร่กระจาย รายงานแนะนำว่าควรเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะตั้งแต่ต้น รายงานนี้ออกมาเมื่อเดือนเมษา (หาอ่านได้  http://english.bai.go.kr/ [1] ) กลับมามองบ้านเรา เห็นได้ชัดว่าเริ่มมีสัญญาณแปลกๆ จากรัฐบาลเกาหลีมาตั้งแต่ต้นเมื่อครั้งที่ชาวบ้านเดินทางไปยื่นจดหมายที่สถานเอกอัคราชทูตเกาหลีใต้ตอนปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สถานฑูตเขาก็อีเมลตอบสั้นๆ ถามย้อนกลับมาอีกว่าเราไปยื่นจดหมายที่สถานฑูตจีนด้วยหรือเปล่า ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเขาถามเพื่ออะไร ครั้งนี้ก็เช่นกันทูตเกาหลีออกมาแจงแทนบริษัทเควอเตอร์ ทั้งๆที่ยังไม่เคยได้ยินข่าวว่าลงไปดูพื้นที่เลยและไม่รู้ว่าประชาชนไทยจะต้องประสบะตากรรมเยี่ยงไร หากปล่อยให้เควอเตอร์ดำเนินโครงการ จริงๆแล้วสถานทูตควรเป็นตัวแทนของประชาชนชาวเกาหลี มิใช่เป็นตัวแทนบริษัท ที่สำคัญควรคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ของบริษัท คุณยัมได้ถ่ายทอดประสบการที่เกิดขึ้นในเกาหลีให้พวกเราฟังอย่างตรงไปตรงมา แถมยังก็อปปี้ข้อมูลให้ผู้ที่สนใจโดยไม่หวงเลย ตั้งแต่เรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดจนถึงเรื่องที่มาที่ไปและสถานการณ์ ของเค วอเตอร์ ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมไทยไม่เคยรับรู้มาก่อน และเมื่อคุณยัมกลับไปถึงประเทศ เขาก็ต้องพบกับสถานการณ์ยุ่งยากหลายอย่างแต่องค์กรที่เขาทำงานอยู่เป็นองค์กรใหญ่ มีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 8 หมื่นคน มีความหนักแน่น แม้จะถูกคนของรัฐบาลเกาหลีวิพากษ์วิจารณ์ตลอดจนถูกเค วอเตอร์ฟ้องร้อง ผมคิดว่าการที่เค วอเตอร์ แสดงท่าทีอันไม่เป็นมิตรกับการตรวจสอบหรือการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยเช่นนี้ตั้งแต่ต้น น่าจะทำให้การทำงานของเค วอเตอร์ในประเทศไทยลำบาก เพราะเพียงแค่การเปิดโอกาสให้นักสิ่งแวดล้อมเกาหลีมาให้ข้อมูลต่อสังคมไทยคุณยังเกิดปฎิกริยาขนาดนี้ แล้วอนาคตที่มีการตรวจสอบกันอย่างเข้มข้น มิทำให้ความขัดแย้งยิ่งขยายวงกว้างหรือ น้องๆ นักข่าวหลายคนเล่าให้ผมฟังว่า หลังจากที่คุณยัมมาเปิดประเด็นและเป็นข่าวใหญ่ปรากฎว่าได้มีกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเควอเตอร์ เที่ยวโทรศัพท์ไปตามสำนักข่าวต่างๆ เพื่อหาตัวคนทำข่าว พร้อมทั้งพยายามให้ข้อมูลในลักษณะที่ลดความน่าเชื่อถือต่อคุณยัมและคนที่ชักชวนคุณยัมมาเมืองไทย บุคคลกลุ่มนี้ยังพยายามหารายละเอียดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของคุณยัม ถึงขนาดถามหาสถานที่ตั้งของที่ทำงาน ผมคิดว่าวิธีการในลักษณะนี้ส่อไปในทาง “คุกคาม”เสียมากกว่า แทนที่จะให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งมาหักล้างสิ่งที่คุณยัมนำเสนอ ผมยังเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยในการแสวงหาข้อเท็จจริงในมุมต่างๆให้ปรากฎ ข้อมูลที่คุณยัมนำมาอธิบายให้สังคมไทยได้รับรู้นั้น วันนี้บางส่วนปรากฎชัดจากรายงานการตรวจสอบของ สตง.เกาหลีถึงความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศของเขาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่เราเป็นห่วงว่ากำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเรา เมื่อค้นเข้าไปในแหล่งข้อมูลพบว่า เคยมีผู้ทรงอิทธิพลนอกประเทศเดินทางไปพบเค วอเตอร์ก่อนที่ กบอ.จะตัดสินใจเลือกบริษัทเหล่านี้ให้ชนะการประมูล ยิ่งทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น จนมีนักศึกษาไทยในเกาหลีได้เขียนบทความมาอีกหลายชิ้น ชี้ให้เห็นพฤติกรรมของเค วอเตอร์ในโครงการแม่น้ำ 4 สายในเกาหลี ด้วยข้อมูลตรงไปตรงมา ผมเชื่อว่าอีกไม่นาน สังคมไทยคงได้รับรู้ข้อมูลและความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในแม่น้ำสายต่างๆ ของเกาหลีมากขึ้น และเราไม่ควรเพิกเฉยกับบทเรียนเหล่านั้น  นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีเขายืนยันที่จะติดตามโครงการต่อ เพราะส่วนหนึ่งเป็นเงินภาษีของคนในประเทศเขาที่จะต้องมาการันตีโครงการ สำหรับคนไทยเอง โครงการนี้ก็เป็นเงินกู้ก้อนใหญ่ ซึ่งสุดท้ายทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบทั้งต้นและดอกเบี้ย ใช้หนี้กันยาวนานไปยันชั่วลูกชั่วหลาน  เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีสิทธิ์ตั้งคำถามและแสดงความกังวลในโครงการ 3.5 แสนล้านบาทนี้ อย่าปล่อยให้คนเพียงไม่กี่คน ทำลายทรัพยากรของประเทศ แถมยังต้องใช้หนี้กันหัวโต
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/7711
2006-03-13 06:29
มองสิทธิมนุษยชน มองสื่อ ในวันครบรอบ 2 ปีที่ "ทนายสมชาย" หายไป
ประชาไท - 13 มี.ค. 49 เปิดเสวนา "สิทธิมองสื่อ สื่อมองสิทธิ" ในการประกาศผลรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ครั้งที่ 1 ในวันที่ 12 มี.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 2 ปี ที่"สมชาย" ถูกทำหายหายไป ณ อาคารประชาธิปก - รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   นายสมชาย หอมลออ ประธานคณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวในการเสวนาว่า สื่อเป็นช่องทางที่ทำให้ประชาชนบริโภคข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง และเป็นสิ่งสะท้อนข้อมูลข่าวสารของประชาชนต่อสังคมเช่นกัน ดังนั้นสิทธิสื่อจึงไม่ใช่เป็นของสื่อเท่านั้น เป็นของประชาชนด้วย เพียงแต่คนยังไม่คิดเช่นนั้น จึงไม่รู้สึกร้อนหนาวเมื่อสื่อถูกริดรอน   สื่อยังเป็นสิทธิพื้นฐานของสังคมอารยะและสังคมประชาธิปไตย เพราะเสรีสื่อเป็นหลักในการประกันว่าเสียงของคนเล็กคนน้อยเช่น เด็ก ผู้หญิง คนไร้สัญชาติ จะถูกนำมาเสนอต่อสังคม นอกเหนือไปจากการบริโภคข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก เพียงแต่สังคมไทยยังไม่ตระหนักถึงตรงนี้   นายสมชายยังกล่าวถึงสื่อในยุคปัจจุบันด้วยว่า ต้องพึ่งพาทุนสูงจนทำให้หลายครั้งมีสื่อบางฉบับ หรือบางคอลัมน์เสนอข้อมูลออกไปนอกบรรทัดฐานที่ควรเป็นครรลอง เช่น การเสนอข่าวเกี่ยวสถานการณ์ภาคใต้ มีการพาดหัวแบบสร้างความขัดแย้ง หรือก่อทัศนคติเดียดฉันท์ทางเชื้อชาติ ต่อไปจะเป็นเหมือนยาพิษซึมเข้าสังคมและอาจตามมาด้วยความรุนแรงเหมือนที่เคยเกิดในกรณีเผาสถานทูตไทยประจำประเทศเขมรมาแล้ว   ในส่วนที่สังคมมักบอกว่าสื่อต้องเป็นกลางนั้น ในความหมายคือต้องไม่ถูกทำให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง นอกจากนี้สื่อยังต้องทำหน้าที่ในการทำความชัดเจนในเรื่องบางอย่างให้กับสังคม เช่นเรื่องบทบาทของนายกรัฐมนตรีในฐานะบุคคลสาธารณะที่มีตำแหน่งทางการเมืองกับเรื่องส่วนตัว หรือประเด็นความถูกต้องตามกฎหมายที่นายกฯมักอ้างถึงกับเรื่องความถูกต้องทางจริยธรรม   จากนั้นนางสุนีย์ ไชยรส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวในเวทีเดียวกันว่า สื่อมีความน่าสงสาร เพราะอยู่ในพื้นที่ตรงกลางระหว่างประชาชนกับรัฐ หากเอียงไปทางใดอีกฝ่ายก็จะไม่พอใจ อย่างไรก็ตาม นางสุนีย์ระบุว่า สถานการณ์ละเมิดสื่อในปัจจุบันมีความซับซ้อน แต่กลับยังติดอยู่ในจินตภาพการละเมิดสื่อแบบยุคเผด็จการ คือมองการละเมิดสื่อเพียงการสั่งปิดเท่านั้น แต่ในความจริงทุกคนก็ทราบว่า สื่อตอนนี้อยู่ในสถานการณ์แบบไหน   นอกจากนี้ นางสุนีย์ยังมองว่า วิกฤติในตอนนี้ไม่ใช่วิกฤติรัฐธรรมนูญ แต่เป็นวิกฤติละเมิดและไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ เพราะสื่อได้รับการประกันปกป้องอย่างมากในรัฐธรรมนูญนี้ เพราะการให้ข้อมูลข่าวสารและเปิดโอกาสในการแสดงความเห็นคือหัวใจของประชาธิปไตย ส่วนสิ่งที่ต้องทำก็คือ การสร้างเกราะให้กับสื่อร่วมกัน   บรรณาธิการหรือส่วนกลางมีความกล้าในการช่วยสื่อในพื้นที่ที่ต้องเผชิญอิทธิพล ในตอนนี้เป็นไปได้ว่าสื่ออาจจะเป๋ไปเพราะกลัวอิทธิพลในพื้นที่ หรือเลือกที่จะอยู่เฉยๆ เพื่อหนีปัญหา ซึ่งตรงนี้สื่อมีตำนานที่ดีอย่างยาวนานรองรับเรื่องการต่อสู้กับอิทธิพลอยู่แล้ว   อีกทางหนึ่งภาคประชาชนต้องให้กำลังใจกับสื่อที่ดี ส่วนสื่อที่ไม่ดีก็ต้องมีปฏิกิริยากดดันเหมือนที่ทำให้รายการหนึ่งทางช่อง 5 หายไปได้ อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจมีอิทธิพลอื่นด้วย   นอกจากนี้สื่อก็ต้องดูแลกันเอง ตรวจสอบและช่วยเหลือกันและกันเหมือนกรณีที่ช่วยกันต่อต้านทุนเมื่อมติชน และบางกอกโพสต์ถูกคุกคาม   จ๋ามตอง เครือข่ายปฏิบัติงานสตรีไทใหญ่หรือสวอน เล่าให้ฟังถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามแนวชายแดนไทยพม่าที่สื่อไม่เอ่ยถึงว่า ทหารพม่ายังละเมิดสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์อื่นอย่างมาก โดยเฉพาะการข่มขืนอย่างเป็นระบบเพื่อให้ชาติพันธุ์อื่นได้รับความอับอายและรู้สึกว่าไม่มีทางสู้ ข้อมูลจากการทำเรื่อง "ใบอนุญาตข่มขืน" รายงานผลการสำรวจการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหารพม่าที่ทำกับชาวไทใหญ่ 173 คน พบว่า 83 เปอร์เซ็นต์เป็นการข่มขืนโดยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ทำต่อหน้าลูกน้อง   61 เปอร์เซ็นต์เป็นการข่มขืนหมู่ 25 เปอร์เซ็นต์ถูกฆ่า แต่ไม่มีทหารพม่าคนใดได้รับโทษมีเพียงการโยกย้ายเท่านั้น   ส่วนชาติพันธุ์มอญ ทหารพม่าบังคับให้ผู้หญิงและเด็กมาเดินแคทวอร์คเพื่อข่มขืนภายหลัง ดังนั้นที่ใดที่มีกองทหารพม่ามากขึ้น การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็มากขึ้น แต่เหตุที่พม่ายังกระทำการลักษณะดังกล่าวได้ก็เพราะนานาประเทศสนใจในเรื่องการทำธุรกิจมากกว่าสิทธิมนุษยชน เช่นให้ทำเขื่อนสาละวิน จากการสำรวจพบว่าชาวบ้านถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสในจุดที่จะมีการสร้าง การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็สูงขึ้น และก็ทำให้การอพยพเข้ามาประเทศไทยก็มากขึ้น   จ๋ามตองกล่าวในตอนท้ายว่า สื่อมีความสำคัญมากในเรื่องนี้ที่ทำให้สังคมได้รับรู้ และทำหน้าที่เพื่อให้มีความยุติธรรมเกิดขึ้น รวมทั้งสามารถนำความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ มาได้   ด้านวราภรณ์ เจริญพานิช สื่อมวลชนจากโมเดิร์นไนน์ทีวี ซึ่งคลุกคลีกับการทำข่าวในพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่องกล่าวว่า ในช่วงแรกที่ทำข่าวในพื้นที่ มีการอุ้มหาย ประชาชนทั่วไปก็ไม่มีสิทธ์ได้รับรู้ ทั้งๆที่เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องธรรมดา   นอกจากนี้ วราภรณ์ยังกล่าวถึงกรณีที่คนมาชุมนุมกันที่สนามหลวงด้วยว่า เป็นพัฒนาการทางระบอบประชาธิปไตยที่น่าสนใจ เพราะเป็นการเคลื่อนไหวที่สงบสันติ อย่างการเคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาลผู้มาร่วมก็ฟังแกนนำเป็นอย่างดี ส่วนเจ้าหน้าที่ก็ได้รับคำสั่งให้ใจเย็นในการปฏิบัติงาน แต่เรื่องที่เกรงว่าบานปลายคือมือที่สามก่อกวนสร้างสถานการณ์ และยังบอกให้ไม่ต้องกังวลกับการทำหน้าที่ของสื่อ   "ในแง่ของสื่อตอนนี้ก็เลือกข้างแล้วเหมือนกัน แต่คงประกาศในทางสาธารณะไม่ได้"   ส่วนศุภรา จันทร์ชิดฟ้า สื่อมวลชนอีกคนหนึ่งจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ กล่าวว่า สื่อเองนอกจากสู้กับทุนภายนอกแล้ว ยังต้องสู้กับภายในด้วย เพราะต้องยอมรับว่า เจ้าของสื่อก็มีสิทธิในการกำหนดทิศทาง ดังนั้นเสรีภาพสื่อในทางรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่ความจริง ส่วนรัฐเองหากมีการวิพากษ์เมื่อไรก็จะมีโทรศัพท์ จดหมายสนเท่ห์ หรือแม้แต่ในแง่โฆษณาซึ่งเป็นรายได้หลักของสื่อก็อาจถอนไปได้ ดังนั้นคนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนก็ต้องมีความเข้าใจสื่อด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/79442
2018-11-04 13:20
เตือนประชาชนอย่าก๊งเหล้าแก้หนาว ไม่ได้ทำให้อบอุ่นแต่อาจถึงขั้นเสียชีวิต
สพฉ.เตือนประชาชนอย่าก๊งเหล้าแก้หนาว ระบุไม่ได้ทำให้ร่างกายอบอุ่นแต่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ แนะประชาชนที่มีโรคประจำตัวอาทิ โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และโรมอัมพฤกษ์อัมพาต เตรียมยาให้พร้อม ดูแลสุขภาพและรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่ตลอดเวลา  4 พ.ย. 2561 สืบเนื่องจากหลายพื้นที่ในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่อากาศหนาวอย่างเป็นทางการแล้ว สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จึงได้ออกวิธีปฏิบัติตนสำหรับประชาชนในการรับมือกับอากาศหนาว โดยเรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่าประชาชนที่ต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษคือประชาชนที่อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอัมพฤกษ์อัมพาตซึ่งอากาศที่หนาวเย็นมากๆ จะทำให้ผู้ป่วยด้วย 3 โรคดังกล่าวได้รับผลกระทบ เพราะความหนาวเย็นจะส่งผลให้ประสาทส่วนกลางทำงานผิดปรกติ และทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปรกติด้วย เมื่ออากาศหนาวเย็นมากๆ ร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากขึ้นจนส่งผลต่อความดันโลหิตของผู้ป่วยในกลุ่มโรคอาการดังกล่าว ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องเตรียมยาประจำตัวให้พร้อม และดูแลสุขภาพตนเอง รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่ตลอดเวลา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินกล่าวว่านอกจากนี้ยังมีโรคที่มักจะเกิดขึ้นในหน้าหนาวบ่อยมากที่สุดคือโรคปอดบวมโดยกลุ่มประชาชนที่ต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษไม่ให้ป่วยเป็นโรคดังกล่าวเพราะจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายคือกลุ่ม ผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กอายุ 6 เดือนจนถึง 2 ขวบ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังอาทิโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยไตวาย ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด หากผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวนี้มีอาการไข้ไอเจ็บคอมีน้ำมูกและมีอาการหอบเหนื่อยให้รีบพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีอาการปอดบวมที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้  เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะกล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมีประเด็นที่เราเตือนกันทุกๆปีเมื่อเข้าสู่หน้าหนาวคือห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อแก้ความหนาวเย็นเด็ดขาด เพราะมีประชาชนจำนวนมากที่ยังมีความเชื่อว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นจะทำให้ร่างกายอบอุ่นและแก้อากาศหนาวเย็นได้ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างมาก เพราะในความเป็นจริงแล้วการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นจะเป็นตัวเร่งให้ร่างกายสูญเสียความร้อน ที่สำคัญแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดฝอยที่อยู่ใต้ผิวหนังเกิดการขยายตัว ผู้ดื่มจะรู้สึกว่าตัวร้อนขึ้นทำให้เข้าใจผิดว่าร่างกายของตัวเองอบอุ่นแต่ในความเป็นจริงคือ เส้นเลือดฝอยกำลังขยายตัวอย่างหนักนั่นเองและจะเป็นช่องทางให้ความร้อนในร่างกายถูกระบายออกได้ง่ายขึ้น เมื่อเราดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นเท่าไหร่ความร้อนก็จะถูกระบายออกจากร่างกายมากขึ้นไปด้วย และจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงกว่าปกติ เมื่อเราหลับและร่างกายสัมผัสอากาศเย็นเป็นเวลานานจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ “และสำหรับขั้นตอนการดูแลตนเองของประชาชนในช่วงที่อากาศหนาวเย็นนี้ ประชาชนควรดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เตรียมเสื้อกันหนาวมาสวมใส่เพื่อให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ทั้งนี้หากเป็นหวัด ถ้าจะออกนอกบ้านให้สวมผ้าปิดปากป้องกันการติดเชื้อสู่คนรอบข้าง และหากร่างกายเปียกน้ำให้รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อป้องกันภาวะปอดบวมด้วย” เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินกล่าว
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/2861
2005-02-24 00:15
แผ่นดินไหว
-วันที่ 30 ม.ค เกิดแผ่นดินไหวใกล้กับเกาะนิโคบาร์ในมหาสมุทรอินเดีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.6 ริกเตอร์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองบันดาร์อาเจะห์ของอินโดนีเซีย ราว 320 กิโลเมตร -วันที่ 1 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นใต้ทะเล ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างจากทางใต้ของเมืองลูมาจัง ในจังหวัดชวาตะวันออก ราว 19 กิโลเมตร -วันที่ 1 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหววัดความรุนแรงได้ 5.2 ริกเตอร์ บริเวณภาคตะวันออกเฉียง เหนือของไต้หวัน โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใต้ดินลงไป 8 กิโลเมตร ห่างจากเมืองอี้หลาน บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือไปประมาณ 15 กิโลเมตร -วันที่ 3 ก.พ. เกิดแผ่นดินไหว 2 ครั้ง บนเกาะบาหลีและลอมบ็อก โดยครั้งที่แรงที่สุดวัดแรงสั่น สะเทือนได้ 5.5 ริกเตอร์ -วันที่ 3 ก.พ. เกิดแผ่นดินไหวในกรุงย่างกุ้ง วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.5 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตอนใต้ 25.6 ก.ม. -วันที่ 5 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.3 ริคเตอร์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ทางตอนเหนือของหมู่เกาะมาเรียน่า ห่างจากพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไซปัน ประมาณ 100 กิโลเมตร -วันที่ 5 ก.พ. เกิดแผ่นดินไหว วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.3 ริคเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ทางตอนเหนือของเกาะมาเรียนาห่างจากพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของไซปัน ประมาณ 100 กิโลเมตร -วันที่ 8 ก.พ. เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงนอกชายฝั่งของปาปัวนิวกีนี วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.1 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ใต้มหาสมุทรใกล้กับหมู่เกาะนิวไอร์แลนด์และนิวบริเทน -วันที่ 8 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหว วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.8 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ใต้ผิวดิน 70 กิโลเมตร ที่จังหวัดอิบารากิ ทางตอนใต้ของประเทศ และอยู่ห่างจากกรุงโตเกียว ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 50 กิโลเมตร -วันที่ 11 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหวเล็กน้อยขึ้นในพม่า วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.3 ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ใต้ทะเล ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตอนใต้ 17.6 ก.ม. -วันที่ 15 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหวในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมืองอู่สือ มณฑลซินเจียง ติดต่อกัน 2 ครั้ง ครั้งแรกสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.1 ริกเตอร์ ส่วนครั้งที่สองวัดได้ 4.5 ริกเตอร์ -วันที่ 16 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 5.4 ริคเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่เขตอิบารากิ ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตอนเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร -วันที่ 16 ก.พ.เกิดเหตุแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในจังหวัดภูเก็ต ของประเทศไทย ขนาด 5.8 ริคเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจาก จ.ภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือ ระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตร -วันที่ 17 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในจังหวัดภูเก็ตอีกครั้ง ขนาด 6.0 ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจาก จ.ภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ระยะประมาณ 490 กิโลเมตร -วันที่ 19 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 6.9 ริกเตอร์ ที่เกาะสุลาเวสีทางตะวันออกของอินโด นีเซีย ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ที่ใต้ทะเลลึกลงไปราว 37 กิโลเมตร ห่างจากเมืองเบาเบาที่ตั้งอยูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไปราว 70 กิโลเมตร -วันที่ 20 ก.พ. เกิดเหตุแผ่นดินไหวทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น ขนาด 4.0 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวเขตนิอิกาตะ ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตอนเหนือประมาณ 200 กิโลเมตร
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/32254
2010-12-12 01:29
ญาติผู้ต้องขังคดีเผาศาลากลางมุกดาหารร้องกรรมการสิทธิช่วยเรื่องประกันตัว
“วันสิทธิมนุษยชนสากล” ญาติผู้ต้องขังคดีเผาศาลากลางมุกดาหารยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิฯ เรียกร้องให้ช่วยเหลือเรื่องการประกันตัว พร้อมขอข้อมูลเพื่อใช้ต่อสู้คดี เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.53 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงาน “วันสิทธิมนุษยชนสากล” โดยมี อาจารย์ทองใบ ทองเปาด์ และ นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กล่าวเปิดงาน มีรายการอภิปรายและกิจกรรมสำหรับนักเรียน-นักศึกษาตลอดวัน โดยในระหว่างรายการอภิปรายเรื่อง “เสียงเรียกร้องเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในภาคอีสาน” ผู้จัดงานได้เชิญครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เป็นวิทยากร หลังจบการอภิปรายได้มีตัวแทนญาติผู้ต้องขังจากมุกดาหารยื่นหนังสือถึงนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผ่าน นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิฯเรียกร้องให้ช่วยเหลือเรื่องการประกันตัว พร้อมขอข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการต่อสู้คดี ทั้งนี้ในหนังสือร้องเรียนซึ่งเขียนมาจากผู้ต้องขังในเรือนจำ 18 ราย ระบุว่า พวกเขาถูกควบคุมตัวมา 5-6 เดือนแล้ว โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว อันเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่พึงจะได้รับ ทั้งๆ ที่เคยยื่นขอประกันตัวมาแล้วหลายครั้ง ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ และเหตุผลทางด้านครอบครัวที่ขาดคนดูแล อีกทั้งเพื่อให้มีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม หนังสือยังได้ระบุรายละเอียดถึงความจำเป็นของแต่ละราย โดยเฉพาะรายที่มีอาการป่วยมาก เช่น นายทองมาก คนยืน ป่วยด้วยโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เดิน นั่งลำบาก และต้องได้รับการทำกายภาพบำบัด นายสมคิด บางทราย ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบีขั้นรุนแรง เป็นต้น นอกจากนี้ หนังสือยังระบุว่า หลังการจับกุมซึ่งมีการทำร้ายร่างกายด้วย ทางคณะกรรมการสิทธิฯ เข้าไปสอบสวน, บันทึกข้อมูล และถ่ายภาพเอาไว้ จึงขอข้อมูลดังกล่าวเพื่อมอบให้กับทนายความนำไปใช้ประโยชน์ในการต่อสู้คดี และเรียกร้องความเป็นธรรม
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/69412
2016-12-27 16:25
'พลเมืองเน็ต' เปิดวิกิลีกส์เผยเมลติดตั้ง 'โปรแกรมฝังตัวเพื่อเข้าควบคุมเครื่องปลายทาง' ในไทย
อาทิตย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต เปิดวิกิลีกส์(อีกครั้ง)เผยเมลมีการส่งสินค้า ติดตั้ง และทดสอบระบบส่งโปรแกรมฝังตัวเพื่อเข้าควบคุมเครื่องปลายทางในไทย เมื่อ พ.ค.58 พร้อมถามใครเป็นคนควบคุมระบบนี้ ใช้อำนาจตามกฎหมายใด ห่วงการสร้างพยานหลักฐาน อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต (แฟ้มภาพ) 27 ธ.ค. 2559 หลังจากเพจ 'พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway' ได้ปฏิบัติการต่อต้านทางออนไลน์ ต่อกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เช่น นัดชุมนุมออนไลน์หรือเข้าไปกด F5 การเปิดเผยข้อมูลจากเว็บไซต์ราชการต่างๆ พร้อมทั้งผุดซีรีย์  'เยี่ยมบ้านบิ๊กตู่' วันที่ 2 เมื่อวันที่ผ่านมา (26 ธ.ค.59) ด้วยการเผยแพร่ภาพบันทึกหน้าเว็บเพจ พร้อมอ้างว่าเป็นข้อมูลการจัดซื้อ รุ่น SSLX-GEO จำนวน 2 เครื่องและ รุ่น SSLX-T200 จำนวน 2 เครื่อง โดยได้จัดหามาตั้งแต่ปี งบประมาณ 59 (ต.ค.58 ก.ย.59) ต่อมา พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ. ออกมายืนยันว่ากองทัพไม่มีจัดหาเครื่องถอดรหัสดังกล่าว ด้านเพจพลเมืองต่อต้าน Single Gateway งัดหลักฐานตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์โต้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม [1]) อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ที่ติดตามมอนิเตอร์นโยบายรัฐต่อโลกออนไลน์ ได้เขียนบทความ "Hacking Team RCS กับการดู “ข้อมูลเข้ารหัส” โดยไม่ต้องถอดรหัส" เผยแพร่ผ่านล็อก bact.cc [2]   เปิดลีคมีการตั้งระบบส่งโปรแกรมฝังตัวฯ ในไทย ปี 58 อาทิตย์ ระบุว่า แม้จะยังไม่แน่ชัดว่าอุปกรณ์ชื่อ “SSLX-GEO” และ “SSLX-T200” [3] ที่ทางกลุ่ม “พลเมืองต่อต้าน Single Gateway” พบในระบบที่อ้างว่าเป็นของกองทัพบกนั้นคืออะไร และทางกองทัพบกก็ได้ปฏิเสธข้อมูลดังกล่าวแล้ว แต่เมื่อปีที่แล้ว มีเอกสารอีกชุดใน Wikileaks เป็นอีเมลและเอกสารส่งสินค้าของบริษัท Hacking Team ที่ระบุว่ามีการส่งสินค้า ติดตั้ง และทดสอบระบบส่งโปรแกรมฝังตัวเพื่อเข้าควบคุมเครื่องปลายทางที่ชื่อ Remote Control System (RCS) Galileo ในประเทศไทย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 [4] ภาพหน้าจอจากเอกสาร RCS Certificates Case Study [5] (หน้า 1-5) ของ Hacking Team RCS ฝังตัวและอ่านข้อมูลที่เครื่องปลายทาง อาทิตย์  อธิบายว่า RCS ไม่ใช่อุปกรณ์หรือระบบถอดรหัสการสื่อสาร แต่ทำงานโดยไปฝังตัวที่เครื่องปลายทางเพื่อเข้าควบคุมเครื่อง จากนั้นก็สามารถอ่านข้อมูลที่เครื่องเป้าหมาย ก่อนข้อมูลจะถูกเข้ารหัสและส่งออกไป และหลังข้อมูลถูกส่งเข้ามาและได้รับการถอดรหัส (แอปสื่อสารเป็นผู้ถอดรหัสเอง แล้ว RCS ค่อยไปอ่าน) พูดอีกอย่าง แม้ RCS จะไม่ได้ถอดรหัส แต่มันทำให้การเข้ารหัสหมดความหมาย เมื่อ RCS เข้าควบคุมเครื่องได้แล้ว ก็แน่นอนว่าจะสามารถดูข้อมูลอื่นๆ ในเครื่องได้ด้วย ไม่เฉพาะข้อมูลการสื่อสาร Citizen Lab พบหลักฐานว่าระบบนี้ถูกใช้ในหลายประเทศ [6] เช่น อาเซอร์ไบจาน อียิปต์ เอธิโอเปีย ฮังการี อิตาลี คาซัคสถาน เกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก โอมาน ปานามา ซาอุดิอาระเบีย ซูดานอาหรับเอมิเรสต์ ตุรกี และประเทศไทย อาทิตย์  อธิบายอีกว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายนั้น จำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 1) ข้อมูลที่อยู่นิ่งๆ ในเครื่อง หรือ ข้อมูล ณ จุดพัก (data at rest) และ 2) ข้อมูลที่วิ่งไปมาระหว่างเครื่อง 2 เครื่อง หรือ ข้อมูลระหว่างเดินทาง (data in transit) เข้า-ถอดรหัสการสื่อสารด้วย SSL อาทิตย์ ระบุว่า การเข้ารหัสการสื่อสารด้วย SSL (Secure Sockets Layer) หรือ TLS (Transport Layer Security) นั้นเป็นการเข้ารหัสข้อมูลประเภทที่ 2 (ข้อมูลระหว่างเดินทาง) เพื่อให้ข้อมูลที่ส่งจากปลายทางหนึ่งไปยังอีกปลายทางหนึ่งมีความปลอดภัย ไม่สามารถถูกดูได้โดยเครื่องที่ต้องผ่านระหว่างทาง (ระบบอินเทอร์เน็ตทำงานคล้ายระบบไปรษณีย์ในแง่ที่ว่ากว่าข้อมูลจะถึงจุดหมาย ต้องฝากส่งกันหลายต่อหลายทอด) การถอดรหัสข้อมูลที่ส่งด้วย SSL/TLS นั้นเป็นเรื่องยากหากไม่มีกุญแจที่ใช้ส่งข้อมูลแต่ละครั้ง (และระบบทำงานปกติไม่มีรูรั่ว) เมื่อการดักและถอดรหัสข้อมูลประเภทที่ 2 (ข้อมูลระหว่างเดินทาง) ทำได้ยาก อีกวิธีที่จะดูข้อมูลได้ก็คือ พุ่งเป้าไปยังข้อมูลประเภทที่ 1 (ข้อมูล ณ จุดพำนัก) แทน หาก “จุดพำนัก” ดังกล่าวสามารถระบุที่ตั้งได้ชัดเจน เป็นเครื่องในความครอบครองของบุคคลหรือหน่วยงานที่ติดต่อได้ การ “ขอ” ข้อมูลตรงๆ จากบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ (ไม่ว่าจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม) แต่ในกรณีที่ไม่ทราบว่าจุดพำนักข้อมูลชัดๆ ทราบแต่เพียงว่าเป็นของผู้ใช้บัญชีอีเมลหรือโซเชียลมีเดียอะไร หรืออยู่ในระบบเครือข่ายไหน ระบบ RCS จะสามารถช่วยได้ โดยการล่อให้เป้าหมายติดกับ (เช่น เปิดไฟล์แนบหรือคลิกลิงก์ที่มากับอีเมลหรือเว็บไซต์ล่อลวง) ติดตั้งโปรแกรมไปฝังตัวในเครื่อง ทำให้สามารถดูข้อมูลและสั่งการควบคุมเครื่องได้ อ่านความสามารถส่วนหนึ่งของ RCS และรายละเอียดเกี่ยวกับอีเมลสอบถามและการติดตั้งทดสอบในประเทศไทยเมื่อพฤษภาคม 2558 [4] — ระบบนี้อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับคำสั่งกระทรวงไอซีทีที่ 163/2557 ตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามออนไลน์ [7] เมื่อ 15 ธ.ค. 2557 ในแง่นี้ แม้ระบบ Remote Control System จะไม่ใช่ระบบที่ถอดรหัสข้อมูลการสื่อสาร แต่ก็เป็นระบบที่ทำให้การเข้ารหัสข้อมูลการสื่อสารระหว่างเครื่องไม่มีความหมายอีกต่อไป และในกรณีข้อมูลการสื่อสารที่เป็นการสื่อสาร 2 ฝั่งนั้น แม้ปลายทางอีกฝั่งจะไม่ติดเชื้อ RCS แต่เนื่องจากข้อมูลการสื่อสาร (เช่นการแชต) นั้นมีการแลกเปลี่ยนรู้เท่ากันทั้ง 2 ฝั่ง ก็แปลว่าตัว RCS ก็จะรู้ข้อมูลการสื่อสารของอีกฝั่งได้ด้วย (เฉพาะที่มีการแลกเปลี่ยนกับเครื่องที่ติดเชื้อ) มากไปกว่านั้น เนื่องจาก RCS สามารถควบคุมเครื่องเป้าหมายได้ มันจึงสามารถจับภาพหน้าจอ เปิดปิดกล้อง ไมค์ และเซ็นเซอร์อื่นๆ รวมไปถึงการติดตั้งโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมลงในเครื่องได้ด้วย ไม่ใช่เพียงการดูข้อมูลอย่างเดียวเท่านั้น RCS ทำอย่างเจาะจงเป้าหมาย อาศัยรูรั่วของแอป-ระบบ อาทิตย์ อธิบายว่า สิ่งที่พอจะสบายใจได้บ้าง (หรืออาจจะไม่ก็ได้นะ) ก็คือ 1) RCS นั้นจะต้องทำอย่างเจาะจงเป้าหมาย (ส่วนเป้าหมายจะมีได้กี่เป้าหมายนั้น ก็แล้วแต่ทรัพยากร) 2) RCS ฝังตัวที่เครื่องเป้าหมายโดยอาศัยรูรั่วของแอปและระบบปฏิบัติการ (exploits) ถ้าเราหมั่นอัปเดตระบบปฏิบัติการและแอปเสียหน่อย (ใครใช้ระบบรุ่นเก่าๆ ที่โดนผู้ผลิตลอยแพแล้วก็เสียใจด้วย) ไม่ติดตั้งแอปน่าสงสัย และใช้เน็ตอย่างระมัดระวัง ไม่คลิกลิงก์มั่ว ไม่เปิดไฟล์แนบแปลกๆ (RCS Agent สามารถติดมากับไฟล์เช่น PDF, PowerPoint, Word) ก็พอจะปลอดภัยระดับหนึ่ง ใครเป็นผู้ควบคุมระบบ ใช้กม.ใด อาทิตย์ ตั้งคำถามท้ายบทความด้วยว่า 1) ใครเป็นคนควบคุมระบบนี้? ใช้อำนาจตามกฎหมายใด? 2) กลไกอะไรจะตรวจสอบการใช้อำนาจจากระบบนี้ เป็นกลไกที่ทำงานได้จริงไหม? 3) ความสามารถของ RCS นี่มีมากกว่าดักข้อมูล มันควบคุมเครื่องเป้าหมายได้ เปิดปิดกล้องได้ จะดาวน์โหลดข้อมูลอะไรมาใส่เครื่องเป้าหมายก็ได้ ถ้ามีการขอหมายหรือคำสั่งศาล คำสั่งจะอนุญาตให้ทำอะไรได้บ้าง? และ 4) ในซอร์สโค้ดที่หลุดออกมา มีการตั้งชื่อไฟล์ปลอมๆ ที่บ่งถึงรูปโป๊เด็ก เช่น “childporn.avi” และ “pedoporno.mpg” ซึ่งแม้อาจจะเป็นเรื่องตลกในกลุ่มโปรแกรมเมอร์ของ Hacking Team แต่ก็ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ในการ “สร้างพยานหลักฐาน” เรื่องนี้น่าห่วงมากๆ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/2229
2005-01-13 00:58
เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน
เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน เป็นเครือข่ายความร่วมขององค์กรประชาชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ซึ่งมีสมาชิกและกิจกรรมการพัฒนากับชุมชนชายฝั่งอันดามันอยู่เดิมในภาคใต้ และองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ 30 องค์กรในกรุงเทพ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก สำนักงานประสานงานภาคใต้ 8/3 ถนนโคกขัน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000 โทรศัพท์/โทรสาร 0- 7521 - 2414 e - mail : samapantrang@hotmail.com [1] สำนักงานประสานงานส่วนกลาง 86 ซอยลาดพร้าว 110(แยก 2) ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2935-2983-4 โทรสาร 0-2935 - 2980 e - mail : preecha@mozart.inet.co.th [2] www.sdfthai.org กองทุนฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน ธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดเมืองตรัง เลขที่บัญชีออมทรัพย์ 372-0-01396-0 Swift Code : KRTH THBK TO… KRUNG THAI BANK PUBLIC COMPANY LIMITED. TALADMUENGTRANG BRANCH ADD. : 122 RACHDAMNERN RD. TB.TUBTHEING AP.MUENG TRANG THAILAND 92000 ACCOUNT NAME : FUND FOR ANDAMAN COASTALCOMMUNITY SUPPORT. ACCOUNT NO. 372-0-01396-0 ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/38511
2011-12-28 19:25
เสวนา: เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 เมื่อเวลา 17.00 น. ห้อง 207 ตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน จัดเสวนาในหัวข้อ “เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย” โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา คือ ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ รักชาติ วงศ์อธิชาติ รองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และ ศรันย์ ฉุยฉาย สมาชิกกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน (ซีซีพี) โดยมีนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไปเข้าร่วมวงเสวนากว่า 150 คน ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในสมาชิกคณะนิติราษฎร์ อธิบายภาพรวมของอำนาจสถาบันพระมหากษัตริยในสังคมไทย โดยชี้ว่า สถานะของสถาบันฯ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีอำนาจมากเกินควรจะเป็นในระบอบประชาธิปไตย มิได้เป็นมาแต่ไหนแต่ไรตามที่หลายๆ คนอาจได้รับรู้ เนื่องจากในความเป็นจริง สถาบันกษัตริย์ถูกยกระดับให้มีอำนาจเท่าที่เป็นในปัจจุบันตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นต้นมา ซึ่งนับเป็นเพียง 40-50 ปีของการช่วงชิงทางความคิดและอุดมการณ์ระหว่างคู่ขัดแย้งฝ่ายต่างๆ ในประวัติศาสตร์เท่านั้น เช่นเดียวกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองจากการเลือกตั้ง และฝ่ายจารีตนิยมที่ใช้การโฆษณาชวนเชื่อ ก็เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินไปของสนามที่ต่อสู้เชิงความคิดที่ยังไม่สิ้นสุดในสังคมไทย เพื่อที่จะสร้างและรักษาระบอบประชาธิปไตยให้ธำรงอยู่ ปิยบุตรชี้ว่า สถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องปรับตัวให้อยู่ได้กับประชาธิปไตย โดยแยกการใช้อำนาจจากรัฐให้เป็นเพียงหน่วยทางการเมืองหน่วยหนึ่ง ซึ่งทำให้กษัตริย์ไม่สามารถใช้อำนาจใดๆ ผ่านรัฐได้อีกต่อไป โดยในทางรูปธรรมนั้นหมายถึง การไม่อนุญาตให้กษัตริย์สามารถทำอะไรเองได้ เนื่องจากผู้ที่รับผิดชอบคือผู้สนองพระบรมราชโองการ รวมถึงการไม่อนุญาตให้กษัตริย์แสดงพระราชดำรัสสดต่อสาธารณะ และการสาบานต่อรัฐสภาในฐานะประมุขว่าจะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ เป็นต้น ด้านรักชาติ วงศ์อธิชาติ นศ. ปีที่ 3 จากคณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของนิสิตนักศึกษาที่ถูกจำกัดลงจากอดีต โดยชี้ว่า ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นับเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อความเท่าเทียมและเสรีภาพในการหาความรู้ อย่างไรก็ตาม หลังจากยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ไม่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่รับเอาอุดมการณ์กษัตริย์นิยมมาใช้ ผ่านพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงมหาวิทยาลัย การให้นักศึกษาเข้ารับฟังการทรงแสดงดนตรี ในขณะเดียวกันก็ทำให้ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประสาสน์การมหาวิทยาลัยกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องบูชากราบไหว้ ซึ่งรักชาติมองว่า แทนที่สถาบันการศึกษาจะทำให้คนตั้งคำถามเรื่องสิทธิเสรีภาพ กลับเป็นเบ้าหลอมให้คนต้องอยู่ในกรอบที่คิดและเชื่อเหมือนๆ กัน นอกจากนี้ ผู้ร่วมเสวนายังกล่าวถึงระเบียบต่างๆ ในมหาวิทยาลัยที่สะท้อนถึงระบบอำนาจนิยม เช่น ระบบโซตัส หรือการบังคับให้แต่งกายถูกระเบียบตามแบบอย่างชุดนิสิต “ในพระปรมาภิไธย” โดยสภาพดังกล่าว เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว สังคมไทยล้วนอยู่ในพระปรมาภิไธย ซึ่งประชาชนไม่สามารถคิดและเห็นต่างได้ มิหนำซ้ำ นอกจากจะ “ห้าม” พูดและคิดแล้ว ยัง “ถูกบังคับให้พูด” เนื่องจากมีกลไกทางสังคมและทางกฎหมายดำรงอยู่ที่พร้อมจะคว่ำบาตรต่อผู้ที่เห็นต่างทันที ซึ่งพิริยะดิศ มานิตย์ อาจารย์จากภาควิชาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในผู้เข้าฟังการเสวนาดังกล่าวชี้ว่า การถูกบังคับให้พูดในสิ่งที่ไม่อยากพูด ก็เปรียบเสมือนกับการข่มขืนดีๆ นี่เอง “สังคมที่คนถูกบังคับให้คิดให้เชื่อเหมือนๆกัน ก็เปรียบเสมือนสังคมนกเพนกวินที่ไม่ได้ใช้ความคิด อย่างนั้นมันไม่ใช่มนุษย์แล้ว เพราะมนุษย์ต้องสามารถคิดและเห็นต่างได้” พิริยะดิศกล่าว รักชาติ กล่าวถึงการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยว่า เป็นอุปสรรคสำคัญที่ไม่เพียงแต่จำกัดเสรีภาพทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนโดยรวม ซึ่งกรณีการตัดสินจำคุก 20 ปีของนายอำพล หรือ “อากง” ก็แสดงให้เห็นแล้วว่ากฎหมายดังกล่าวมีปัญหา อย่างไรก็ตาม เขาชี้ว่า การรณรงค์เพื่อตระหนักรู้ความไม่เป็นธรรมของกฎหมายนี้ ไม่ควรมาจากความน่าสงสารหรือน่าเห็นอกเห็นใจต่อคดีอากงเท่านั้น เนื่องจากยังมีนักโทษการเมืองหลายคนยังถูกจำคุกด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 เช่น สมยศ พฤกษาเกษมสุข “สุรชัย แซ่ด่าน” และ”ดา ตอร์ปิโด” ซึ่งควรได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม และสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีตามสิทธิขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ทางผู้จัดงานเปิดเผยว่า การจัดงานเสวนาดังกล่าวเป็นไปอย่างมีอุปสรรค เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยในการขอใช้ห้องทำกิจกรรมที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อภายหลังได้ทำเรื่องย้ายห้องจัดงานเสวนามาที่คณะรัฐศาสตร์ จึงสามารถจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ ดิน บัวแดง หนึ่งในกลุ่มผู้จัดงานให้ความเห็นว่า เป็นที่ชัดเจนว่าในรั้วมหาวิทยาลัยไม่มีเสรีภาพให้พูดคุยและถกเถียงในประเด็นสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อนาคตของสังคมไทย ทั้งๆ ที่นักวิชาการและนิสิตนักศึกษา ควรจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะในคณะที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ หากแต่เขารู้สึกว่า ในมหาวิทยาลัย กลับเป็นที่ที่เต็มไปด้วย “ความกลัว” และนอกจากจะไม่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการแล้ว กลับห้ามมิให้นิสิตนักศึกษาใช้พื้นที่ดังกล่าวให้เป็นประโยชน์อีกด้วย ดิน บัวแดง นิสิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และหนึ่งในผู้จัดงานเปิดเผยว่า สาเหตุที่จัดงานเสวนาดังกล่าวขึ้นมา เพื่อต้องการให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะในแง่การถกเถียงเรื่องสถาบันกษัตริย์ หากเราไม่มีเสรีภาพในการตำหนิ ก็จะไม่มีการประจบประแจงเกิดขึ้น
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/45558
2013-03-01 20:59
สำนักข่าวทั่วโลกรายงาน “การริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพปาตานี”
รายงานความเคลื่อนไหวในหน้าสื่อทั้งในและต่างประเทศ รายงานข่าวนายกฯ ไทย เยือนมาเลย์ สู่การพูดคุยสันติภาพกับขบวนการ “เป็นความประสงค์ของพระเจ้า, เราจะทำให้ดีที่สุดในการแก้ปัญหา...เราจะบอกให้ประชาชนของเราให้ร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย” สำนักข่าว Al-jazeera อ้างคำกล่าวของ ฮัสซัน ตอยิบ เมื่อเช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ในการเผยแพร่ข่าวการลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างตัวแทนขบวนการเคลื่อนเพื่อปลดปล่อยปาตานีกับตัวแทนทางการไทยเพื่อผลักดันกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพร่วมกัน โดยแทบจะเป็นสำนักเดียวที่อ้างคำพูดของเขา ผู้ที่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นผู้ที่บทบาทสำคัญในขบวนการ BRN ซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่มีปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ เช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักเกาะติดนาทีต่อนาทีเพื่อรายงานข่าวการประชุมร่วมแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้กับผู้นำรัฐบาลมาเลเซีย และเริ่มต้นกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพเพื่อยุติความขัดแย้งที่มีการใช้ความรุนแรงมาตั้งแต่ปี 2547 โดยเว็บไซต์หนังสือพิมพ์จาการ์ต้า โพสต์ ของอินโดนีเซีย พาดหัวว่า “ทางการไทยเล็งพูดคุยสันติภาพกับผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้” (Thailand eyes peace talks with southern insurgents) โดยมีเนื้อหาว่า “หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงประเทศไทย กล่าวว่า รัฐกำลังเร่งดำเนินเพื่อการพูดคุยสันติภาพกับกบฏ (มุสลิม) ผู้อยู่เบื้องหลังที่ความไม่สงบในภาคใต้ของไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมา” พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า ไทยและมาเลเซียกำลังเตรียมในการพูดคุยกับหัวหน้าขบวนการ และมาเลเซียจะเป็นผู้อำนวยการเพื่อนำขบวนการมาขึ้นโต๊ะเจรจา ซึ่งฝ่ายดังกล่าวอาศัยอยู่ในมาเลเซียไม่ถึง 1,000 คน ที่มา: http://www.thejakartapost.com/news/2013/02/27/thailand-eyes-peace-talks-with-southern-insurgents.html [1] สำนักข่าวเอบีซีนิวส์ของออสเตรเลียรายงานว่า ทางการไทยกับกองกำลังติดอาวุธมุสลิมเห็นพ้องร่วมพูดคุยสันติภาพ Thailand, Muslim Militants Agree to Peace Talks โดยระบุว่า พล.ท.ภราดร และตัวแทนอาวุโสของฝ่ายบีอาร์เอ็น ได้ลงนามข้อตกลงที่จะเริ่มต้นการพูดคุยเพื่อสันติภาพในกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย ก่อนหน้าที่จะมีการพบกันระหว่างผู้นำของสองประเทศ ที่มา http://abcnews.go.com/International/wireStory/thailand-muslim-militants-agree-peace-talks-18614304 [2] สำนักข่าวอัล-จาซีรา ของการ์ต้า รายงานโดยอ้างคำพูด ฮัสซัน ตอยิบ ว่าทางการไทยและกลุ่มกบฏเห็นพ้องพูดคุยสันติภาพ (Thailand and rebels agree to peace talks) “เป็นความประสงค์ของพระเจ้า,เราจะทำให้ดีที่สุดในการแก้ปัญหาชายแดนใต้...เราจะบอกให้ประชาชนของเราทำงานร่วมกันแก้ปัญหาชายแดนใต้” ฮัสซัน กล่าว อนึ่ง การรายงานข่าวระหว่างสำนักข่าวในประเทศและต่างประเทศยังมีความแตกต่างในการเรียกตัวแสดงหลักของคู่ขัดแย้ง ที่มา http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2013/02/201322822925178206.html [3]   ขณะที่สำนักข่าวเบอร์นามา ของมาเลเซีย ได้เปลี่ยนหัวข้อข่าวจากเดิมคือ “Kerajaan Thailand, Pemberontak Islam Thailand Tandatangani perjanjian Hasil Inisitif Malaysia” แปลว่า “รัฐบาลไทย และกลุ่มปฏิวัติมุสลิมร่วมลงนามข้อตกลงที่เป็นผลมาจากการริเริ่มโดยมาเลเซีย”เป็น “Kerajaan Thailand, Pejuang Pembebasan Islam Thai Tandatangani Perjanjian Hasil Inisiatif Malaysia” แปลว่า “รัฐบาลไทย และนักรบเพื่อการปลดปล่อยมุสลิมไทยร่วมลงนามข้อตกลงที่เป็นผลมาจากการริเริ่มโดยมาเลเซีย”     ที่มา : http://www.deepsouthwatch.org/dsj/3974 [4]
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/68240
2016-10-07 19:46
ตร.ระบุห้าม 'โจชัว หว่อง' เข้าประเทศอีกต่อไป เหตุจะเป็นภัยต่อความมั่นคง ยันไม่มีชาติใดกดดัน
7 ต.ค. 2559 วานนี้ (6 ต.ค.59)  โจชัว หว่อง เลขาธิการพรรค Demosistō จากฮ่องกง ได้กล่าวปาฐกถาผ่านสไกป์ ในงาน "6 ตุลาฯ ชาวจุฬาฯ มองอนาคต" จัดขึ้นเพื่อรำลึก 40 ปี 6 ตุลา 19 ที่ชั้น 13 อาคารเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากที่เขาไม่สามารถเข้ามายังประเทศไทยได้ (อ่านรายละเอียดปาฐกถาเพิ่มเติม [1]) วันนี้ (7 ต.ค.59) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงเนื้อหาการสไกป์ดังกล่าวว่า จากการตรวจสอบไม่พบว่ามีเนื้อหากระทบความมั่นคง เนื่องจาก โจชัว หว่อง พูดถึงเพียงการเคลื่อนไหวในประเทศตัวเองเท่านั้น จึงไม่ได้มีการดำเนินคดีใดๆ กับโจชัว หว่อง และสถาบันที่จัดกิจกรรมนี้   พล.ต.อ.ศรีวราห์ กล่าวว่า การพิจารณาผลักดัน โจชัว หว่อง ไม่ให้เข้าประเทศนั้นเป็นการพิจารณาของเจ้าหน้าที่เพื่อความมั่นคงของประเทศ เป็นธรรมดาที่ประเทศอื่นๆ ก็ปฏิบัติกันหากพิจารณาแล้วว่าชาวต่างชาติคนใดอาจสร้างความวุ่นวายขึ้นในประเทศของตนก็มีสิทธิสั่งห้ามเข้า เป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้นๆ กรณีนี้เป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ไทย ไม่มีชาติใดหรือใครมากดดันเป็นการพิจารณาเพื่อความมั่นคงภายในประเทศ อย่างไรก็ตามหากมีบุคคลนักเคลื่อนไหวลักษณะนี้มีเจตนาเข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง เจ้าหน้าที่ก็ต้องพิจารณาว่าควรให้เข้าเมืองหรือไม่ ทั้งนี้ไม่ได้ห้ามการจัดกิจกรรมการเมืองใดๆ แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งประกาศ คำสั่ง หัวหน้า คสช.และ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ   ส่วนการขึ้นบัญชีเป็นบุคคลต้องห้ามเข้าเมืองนั้น พล.ต.ต.ภาคภูมิ สัจจพันธุ์ รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระบุว่า ทางการไทยมีข้อมูลพบว่า โจชัว หว่อง จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ จึงได้มีการส่งตัวกลับประเทศต้นทาง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า โจชัว หว่องมีการเปลี่ยนชื่อเป็น หว่อง และทำหนังสือเดินทางใหม่เมื่อวันที่ 24 กันยายน จึงไม่สามารถตรวจสอบพบว่า โจชัว หว่อง เดินทางเข้าประเทศไทย แต่ที่สามารถพบตัว โจชัว หว่อง และผลักดันกลับประเทศได้ เพราะมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ซึ่ง โจชัว หว่อง เป็นบุคคลต้องห้ามที่ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้อีกต่อไป    ทั้งนี้ยืนยันว่า ขณะนี้มีเพียง โจชัว หว่อง เพียงรายเดียวที่เป็นบุคคลเฝ้าระวังห้ามเดินทางเข้าประเทศ   ที่มา : มติชนออนไลน์ [2] และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ [3]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/1982
2004-12-28 23:33
กทพ.ยื่นอุทธรณ์คดีค่าโง่ทางด่วนใน 30 วัน
ประชาไท -- 28 ธ.ค. 2547--การทางพิเศษแห่งประเทศ (กทพ.) เตรียมยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาคดีค่าโง่ทางด่วนภายใน 30 วัน ภายหลังศาลแพ่งกรุงเทพฯ ใต้ ตัดสินให้ กทพ. จ่ายค่าโง่ให้กับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด มหาชน (บีซีแอล)360,898,617 ล้านบาท ศาลแพ่งกรุงเทพฯ ได้พิพากษาคดีข้อพิพาทระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)กับ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ(บีอีซีแอล) ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 6 ปี ในตอนเช้าวันนี้ โดยพิพากษายืนตามคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโต ตุลาการซึ่งมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ให้ กทพ.ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บีอีซีแอล ตามประกาศของกระทรวง มหาดไทยให้มีการปรับลดค่าทางด่วนที่ผิดจากสัญญาเป็นเงิน 360,898,617 ล้านบาท ทั้งนี้ กทพ.ต้องจ่ายส่วนต่างของรายได้ที่บีซีแอลสูญเสียไป จากการเก็บค่าผ่านทางจากรถยนต์ทุกประเภทที่มาใช้ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 นับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2543 จนกว่าจะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับใหม่ให้มีการปรับขึ้นค่าผ่านทางให้สอดคล้องกับสัญญา หรือจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาสูงสุดให้เป็นอันเสร็จสิ้นคดี ซึ่งเชื่อว่าค่าเสียหายดังกล่าวจะมีมูลค่าเฉลี่ยวันละ 500,000 บาท ไม่นับรวมอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลูกค้ารายใหญ่บวกด้วยร้อยละ 2 ภายหลังมีคำพิพากษาดังกล่าว นายอิสสระ หลิมศิริวงศ์ รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีแพ่ง กรุงเทพใต้ เปิดเผยว่าทางอัยการจะทำการยื่นอุทธรณ์เพื่อสู้คดีภายใน 30 วันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สำหรับประเด็นซึ่งฝ่ายอัยการจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นฎีกามี 2 ประเด็น คือ ยกคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโต ตุลาการชุดแรกที่มีนายโสพล รัตนากร อดีตประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ซึ่งได้วินิจฉัยไปแล้วว่า การปรับลดค่าผ่านทางของ กทพ.เป็นไปด้วยชอบตามสัญญา และประเด็นที่ 2 คือ การพิพากษาของศาลในวันนี้ยังไม่ได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา ซึ่งอัยการเชื่อว่าหากมีการต่อสู้ในประเด็นดังกล่าว กทพ.จะมีโอกาสชนะคดี ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/71149
2017-04-22 02:09
ฉลุย สนช.รับ ร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ วาระแรก 'วิษณุ' ชูเหนือกว่า กม.ทุกฉบับ
รองหัวหน้า ปชป. อัด ไม่พ้นทหารคุม 'ซุปเปอร์บอร์ด' แถมรัฐบาลเลือกตั้งทำงานยากเหตุถูกตีกรอบ หลัง สนช.รับ ร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ วาระแรก โดย 'วิษณุ' แจงเป็นกฎหมายอยู่เหนือกว่าทุกฉบับ องค์กรไหนเมินเจอชง ป.ป.ช.ฟันแน่ ยันแก้ได้ไม่ยาก แฟ้มภาพ 21 เม.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเอกฉันท์ 196 เสียง เห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยมีผู้งดออกเสียง 3 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 33 คน แปรญัตติ 15 วัน และมีกรอบการดำเนินการ 60 วัน โดยก่อนลงมติ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้พ่วงกับร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ แต่สำคัญกว่า เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่ารัฐ หมายถึง ครม.ต้องจัดทำกฎหมายยุทธศาสตร์เพื่อวางเป้าหมาย เป็นแผนที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ เศรษฐกิจ การใช้งบประมาณกำลังคนให้เสร็จภายใน 120 วัน หลังร่างรัฐธรรมนูญประกาศใช้ โดยมีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หรือซูเปอร์บอร์ด ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดขึ้นมา ให้เสร็จใน 1 ปี จึงเป็นกฎหมายที่เหนือกว่าทุกฉบับ มีผลผูกพันกับทุกองค์กร หากพบว่าหน่วยงานใดไม่ปฏิบัติตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติจะมีมาตรการในเชิงบังคับ ในสถานเบาจะตักเตือนหน่วยงานที่ฝ่าฝืนให้ปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้ายังไม่นำพา ให้ส่งเรื่องไปที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หาก ป.ป.ช.ชี้ว่ากระทำผิดจริง จงใจฝ่าฝืน ให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อหัวหน้าส่วนราชการที่ฝ่าฝืนได้       “ส่วนที่กังวลกันว่าการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติไว้ล่วงหน้า 20 ปี สุ่มเสี่ยงต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกนั้น รัฐบาลใดก็ตามที่เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก็ปรับแก้ไขกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติได้ ไม่เหนือบ่ากว่าแรง แก้ไขไม่ยาก แต่ต้องเข้าตามตรอกออกตามประตู ให้เหมือนกับตอนตั้งต้นร่างกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ คือจะต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นประชาชน และต้องผ่านสภา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 77 ตามรัฐธรรมนูญที่ต้องร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องรับฟังความเห็นนั้น สนช.ไม่ต้องกังวลเพราะ สปท.ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นส่งมาที่รัฐบาลแล้ว จึงไม่ต้องรับฟังความเห็นเพิ่มอีก และจากนี้จะเปิดเผยเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อสาธารณะเรื่อยๆ” วิษณุ กล่าว ทั้งนี้ สมาชิก สนช. ต่างอภิปรายสนับสนุนจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะทำให้การพัฒนาประเทศเกิดความต่อเนื่อง และมองเห็นอนาคตของประเทศในระยะยาว แต่มีการตั้งข้อสังเกตถึงสัดส่วนในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด ที่มีบุคลากรจากกองทัพมากเกินไป จนเหมือนกันการทำแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง รองหัวหน้า ปชป. อัด ไม่พ้นทหารคุมซุปเปอร์บอร์ด  ด้าน นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี สนช. มีมติรับร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติที่ ครม.เสนอ โดยให้ฝ่ายความมั่นคงเข้ามาเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด เข้ามาทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ให้เสร็จใน 1 ปี ซึ่งเป็นกฎหมายเหนือกว่าทุกฉบับ มีผลผูกพันกับทุกองค์กรว่า เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่เขาเขียนขึ้นมา และเป็นวิธีคิดของรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ เพราะเมื่อเขามีที่มาแบบนี้ เขาก็คิดถึงความมั่นคงเป็นหลัก ที่จะใช้ความมั่นคง  ทางทหารมาคุมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางการเมือง คือเขามองแค่มิตินี้ และคนที่พิจารณาร่างกฎหมายนี้ก็เป็นคนที่เขาตั้งมาเอง ผลจึงออกมาเช่นนี้ ทั้งที่มิตินี้มันล้าหลังที่สุด แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะมิตินี้เขาคิดมาให้แล้วว่า คนในสังคมไม่ต้องคิดอะไรมากแค่ทำตามที่เขาสั่งก็พอ  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ตนมองที่ผลกระทบคือ ต่อไปรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะทำงานยากมากขึ้นเพราะถูกตีกรอบ และการที่ประเทศอยู่ในระบบการปกครองแบบทหารนาน และอยู่ในขาลงทุกด้าน คนในสังคมจะคิดถึงการเลือกตั้ง โดยตั้งความคาดหวังไว้สูง แต่เมื่อได้รัฐบาลเลือกตั้งมาบริหาร ก็จะติดขัดจากกรอบที่ถูกวางไว้ รัฐบาลเลือกตั้งแก้ไขปัญหาได้ช้ากว่า เพราะทุกเรื่องต้องผ่านฉันทามติ สุดท้ายคนก็จะเบื่อและนำไปเปรียบเทียบกับระบบเผด็จการทหารอีกที่แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว เบ็ดเสร็จกว่า เพราะมีอำนาจพิเศษ เช่น ม.44 เป็นเครื่องมือ คนก็จะเรียกร้องหา โดยไม่คิดถึงที่มาของการเข้าสู่อำนาจว่าด้วยวิธีการใด จึงอยากให้ สนช.ล้มร่างกฎหมายเลือกตั้ง เพื่อที่จะให้รัฐบาลนี้อยู่ต่อได้อีก 5-10 ปี เพื่อที่สังคมไทยจะได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองว่า คนในสังคมต้องการจะเลือกระบอบการปกครองแบบใด ซึ่งมีแค่ 3 แบบคือ คอมมิวคอมมิวนิสต์ ประชาธิปไตย และเผด็จการทหาร จึงขึ้นอยู่กับคนในสังคมไทยว่าจะเอาอย่างไร กับประเทศชาติต่อไป ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น [1] ผู้จัดการออนไลน์ [2] และไทยรัฐออนไลน์ [3]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/3717
2005-04-21 11:55
รัฐสรุปพุ่งเป้าจัดระเบียบ" ซิมใหม่"
กรุงเทพฯ- 21 เม.ย.48 รัฐสรุปมุ่งคุม "ซิมการ์ด" ใหม่เป็นหลัก ระบุข้อมูลฝ่ายความมั่นคงชี้ชัด เป็นเครื่องมือก่อวินาศกรรมของผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ภาคใต้ "เป้าหมายของเราอยู่ที่ซิมใหม่" นายคณวัฒน์ วศินสังวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สัมภาษณ์วิทยุคลื่น 101 ช่วงเช้าที่ผ่านมา นายคณวัฒน์อธิบายว่า ข้อมูลของหน่วยข่าวกรองชี้ชัดว่า ผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้มุ่งที่จะใช้ซิมการ์ดระบบบัตรเติมเงิน(พรีเพด) เบอร์ใหม่ ไปใช้ในการก่อวินาศกรรมเป็นหลัก เนื่องจากมีความเสี่ยงน้อยกว่า ดังนั้นการจัดระเบียบซิมการ์ดเบอร์ใหม่ ก็น่าจะสอดคล้อง ทั้งนี้ทางไอซีทีได้นัดหมายหารือร่วมกับภาคเอกชนผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ ถึงรายละเอียดปลีกย่อยอาทิ ฐานข้อมูล สต็อกบัตรเติมเงินที่กระจายวางจำหน่ายตามร้านค้าปลีก รวมถึงซิมการ์ดใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้ถึงมือประชาชน บ่ายวันนี้(21 เม.ย.) ผู้ช่วยรมว.ไอซีทีคาดว่า น่าจะเริ่มต้นบังคับใช้กับซิมการ์ดแบบพรีเพดใหม่ได้ภายในต้นเดือนพ.ค.ศกนี้ โดยผู้ซื้อจะต้องสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน โดยผู้ซื้อกับสำเนาบัตรต้องเป็นคนเดียวกัน โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลของผู้ประกอบการ ส่วนการตรวจสอบทาง บมจ.ทศท.(คอร์เปอเรชั่น) สามารถดำเนินการได้ทันที
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/26495
2009-11-07 03:21
4 ปีเศษของการเดินทางในการค้นหาความจริง กรณีความตายที่ตากใบ
ชื่อบทความเดิม 4 ปีเศษของการเดินทางในการค้นหาความจริง กรณีความตายที่ตากใบ: รายงานการสังเกตการณ์คดีไต่สวนการตาย กรณีตากใบ[๑]   ผู้เขียน ปรีดา ทองชุมนุม[๒], ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล[๓] นักสังเกตการณ์คดี         “เราไม่เพียงต้องการเห็นความยุติธรรมเกิดขึ้น แต่ต้องการเห็นว่า เกิดขึ้นได้อย่างไรด้วย”   -1-               มันไม่น่าจะเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน-เมื่อใครสักคนจะลองอ่านตัวบทมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการไต่สวนการตาย ขั้นตอนของมันก็คือ เมื่อมีความตายของบุคคลเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่  หรือมีความตายภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ กฎหมายจะกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการไต่สวนเพื่อค้นหาความจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในเบื้องต้นว่า การตายของบุคคลโดยผิดธรรมชาติหรือเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงานนั้นมีสาเหตุการตายอย่างไร แน่นอนว่ามันไม่ใช่การดำเนินคดีอาญาโดยตรงของความผิดที่ทำให้ผู้นั้นตาย หรือความผิดที่ผู้ตายได้กระทำลงไป พูดอีกครั้งได้ว่า-มันเป็นกระบวนการไต่สวนเพื่อหาความจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน โดยตอบคำถาม 5 ข้อเท่านั้น คือ (1) ผู้ตายคือใคร (2) ตายที่ไหน (3) เมื่อใด (4) เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย และ (5) ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้กระทำเท่าที่จะทราบได้ (มาตรา 150 วรรค 5 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา และหนังสือที่ อส.0001/281 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2537[๔]) และเมื่อทราบถึงสาเหตุแห่งการตายแล้ว กฎหมายกำหนดให้ศาลส่งสำนวนการไต่สวนของศาลไปยังพนักงานอัยการเพื่อส่งแก่พนักงานสอบสวน (มาตรา 150 วรรค 11) ผลของการไต่สวนดังกล่าวจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนในการดำเนินคดีอาญาต่อไป[๕] ในแง่กระบวนการทางกฎหมายในการไต่สวนการตาย จากการพูดคุยกับญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมหน้าสภอ.ตากใบ บางคน-ซึ่งทั้งหมดคือภรรยาหรือลูกสาว พวกเธอยังคงติดกับความรับรู้ทั่วไป คือภาพของตำรวจที่จะไปตามจับคนร้ายหรือผู้ต้องสงสัยมาขึ้นศาลแล้วผู้พิพากษาจะเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสิน-ลงโทษ เมื่อพวกเธอได้รับการอธิบายจากทนายความว่า จะต้องมีกระบวนการไต่สวนการตายเพื่อค้นหาความจริงมาตอบ 5 คำถามสำคัญข้างต้น แน่นอนว่าพวกเธออาจฟ้องคดีอาญาได้ด้วยตัวเอง แต่กระบวนการไต่สวนการตายที่จะเกิดขึ้น จะช่วยให้พยานหลักฐานถูกนำเข้าสู่ศาล และความจริงทั้ง 5 เรื่องจะถูกเปิดเผยต่อพวกเธอ หลังจากนั้นหากคนที่ทำให้สามีหรือพ่อของพวกเธอเสียชีวิต เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ นั่นหมายความว่าพวกเธอจะมีทนายความของแผ่นดินมาช่วยในการดำเนินคดีต่อไป แม้ความเข้าใจและความรับรู้ต่อการอธิบายของทนายความจะเป็นไปอย่างกระพร่องกระแพร่ง รวมถึงอาจลืม ตอบไม่ได้เมื่อถูกถามใหม่ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ดี สำหรับภรรยาหรือลูกๆ ของผู้เสียชีวิต คำถาม 5 ข้อนี้ แสนจะสำคัญ เพราะพวกเธอต้องการรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะอะไร เพราะใคร สามีหรือพ่อของพวกเธอถึงกับต้องเสียชีวิตจากไปเพียงข้ามคืนนั้น-คืนวันที่ 25 ตุลาในปี 47 ..แล้วความจริงแบบไหนกันที่พวกเธอจะได้รับเป็นคำตอบ   -2-   ข้อเท็จจริงเบื้องต้น วันที่ 25 ตุลาคม 2547 ประชาชนจำนวนนับพันได้ชุมนุมกันที่บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอ (สภ.อ) ตากใบ เรียกร้องความเป็นธรรมกรณีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชบร.) จำนวน 6  คน ถูกเจ้าพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าได้มอบอาวุธปืนของทางราชการให้แก่ผู้ก่อความไม่สงบ โดยตั้งข้อหายักยอกทรัพย์และแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยตัวชรบ.ทั้ง 6 คน โดยไม่มีเงื่อนไข ได้มีความพยายามเจรจาระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐ (ประกอบไปด้วยตัวแทนฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ) กระทั่งแม่ทัพภาคที่ 4 โดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก (ประกาศใช้บังคับในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2547) ให้สลายการชุมนุมและควบคุมผู้ชุมนุมเคลื่อนย้ายจาก สภ.อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ผลจากการสลายการชุมนุมมีประชาชนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุจำนวน 6 คน เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 คน และมีผู้เสียชีวิตระหว่างการขนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จำนวน 78 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ชุมนุมอีกหลายคนที่ได้รับบาดเจ็บ และบาดเจ็บสาหัส ภายหลังเหตุการณ์การสลายการชุมนุม รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ถูกตั้งคำถามทั้งจากสังคมไทยและประชาคมระหว่างประเทศต่อการสลายการชุมนุม และการสลายการชุมนุมฯ อันเป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น เกิดขึ้นโดยการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ จนรัฐบาลต้องแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547[๖] เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและทำความเห็นต่อรัฐบาล ซึ่งสรุปว่า มีเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 3 ราย ได้แก่ พล.ต.เฉลิมชัย วิฬุรเพชร ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่  5 พล.ต.สินชัย นุสถิต รองแม่ทัพภาคที่ 4 และพล.ท.พิศาล วัฒนวงศ์คีรี แม่ทัพภาคที่ 4 (ณ เวลานั้น) เป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้าสภ.ตากใบ รายงานของคณะกรรมการฉบับดังกล่าวได้ตั้งข้อสังเกตต่อการปฏิบัติหน้าที่ว่า ทำไปภายใต้ข้อจำกัดจึงทำให้เกิดความผิดพลาด แต่มิได้มีเจตนาที่จะทำให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะกรรมการจากภาคส่วนอื่นๆของรัฐสภา วันที่ 24 มกราคม 2548 พนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาสได้ยื่นฟ้องผู้ชุมนุมบางส่วน คือจำนวน 59 รายต่อศาลจังหวัดนราธิวาส คดีหมายเลขดำที่ 96, 510/2548 ในข้อหาร่วมกัน “มั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเลิกเสียแต่ผู้มั่วสุมไม่เลิก ร่วมกันข่มขืนใจพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายโดยร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์”โดยพนักงานอัยการได้ยื่นบัญชีระบุพยานบุคคลจำนวน 1,932 คน[๗] ต่อมา อัยการจังหวัดนราธิวาสได้ถอนฟ้องเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 เนื่องจากเห็นว่า “คดีนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การดำเนินคดีต่อไปรังแต่จะก่อให้เกิดความร้าวฉานหวาดระแวงและเกลียดชังระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับจำเลย รวมตลอดถึงญาติพี่น้องของจำเลยซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก อันเป็นการทำลายความสมานฉันท์ของชนในชาติ นอกจากนี้การดำเนินคดีจะต้องใช้เวลานานและมีพยานที่จะต้องนำเข้าเบิกความในศาลเป็นจำนวนมาก และการนำพยานเข้าเบิกความในศาลจะต้องมีการยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งจะเป็นการตอกย้ำถึงการกระทำของจำเลยรวมทั้งการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ได้เข้าไปสลายการชุมนุมจนทำให้เกิดการล้มตายของผู้ร่วมชุมนุมและเป็นเหตุให้ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการปลุกปั่นยุยงให้เกิดความเกลียดชังเจ้าหน้าที่รัฐมากยิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าว หน่วยงานทุกฝ่ายต้องประสานความร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์และระงับความบาดหมางเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีที่ทุกฝ่ายพึงมีต่อกัน การยุติข้อพิพาทในคดีนี้จะเป็นเงื่นนไขหนึ่งที่ส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การฟ้องคดีและการดำเนินคดีนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะชนและอาจกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศชาติ”   -3-   กระบวนการก่อนกระบวนพิจารณาของศาลในกรณีไต่สวนการตาย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่พบศพได้ทำการชันสูตรพลิกศพแล้ว ได้ส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 อัยการจังหวัดปัตตานีได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดปัตตานีไต่สวนการตาย (คดีหมายเลขดำที่ ช.16/2548 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี ผู้ร้อง กับ นายมาหามะ เล๊าะบากอ กับพวกรวม 78 คน ผู้ตาย เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2548 และนางสีตี รอกายะ สาแล๊ะ กับพวกรวม 52 คน ญาติผู้เสียชีวิต และยื่นบัญชีพยานจำนวน 300 อันดับ (พยานบุคคล รวม 299 ปาก) ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 แต่กระบวนการของศาลยังไม่สามารถเริ่มต้นได้ เนื่องจากมีประเด็นว่าอัยการจังหวัดปัตตานีได้ทำเรื่องขอโอนคดีมายังศาลอาญา กรุงเทพมหานคร (กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 26) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2548 ด้วยเหตุผล “ความปลอดภัย”[๘] อย่างไรก็ดี ทนายความของฝ่ายญาติผู้เสียชีวิตได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องดังกล่าว ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 ให้โอนคดีนี้ไปยังศาลจังหวัดสงขลาแทน[๙] อันส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของญาติผู้เสียชีวิตในกระบวนการพิจารณาคดี ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป ก่อนที่กระบวนการพิจารณาคดีจะเริ่มต้น กระบวนการเตรียมความพร้อมของทนายความร่วมกับญาติผู้เสียชีวิตเป็นขั้นตอนที่น่าสนใจ โดยในช่วงปี 2549  คณะทนายความทั้งหมดได้นัดประชุมญาติของเสียชีวิตเพื่อมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีของศาล อธิบายถึงขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไต่สวนการเสียชีวิต การจัดให้มีศาลจำลองเพื่อให้ญาติได้เห็นว่ากระบวนการพิจารณาคดีในห้องพิจารณาคดีเป็นอย่างไร ใครบ้างที่จะเกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี ตำแหน่งที่นั่งของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้พิพากษา อัยการซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีเป็นใคร จะนั่งอยู่ตำแหน่งใด ทนายความ ตัวแทนของญาติจะนั่งอยู่ตำแหน่งใด การดำเนินกิจกรรมบทบาทสมมุติเกี่ยวกับการสืบพยานในห้องพิจารณาคดี ฯลฯ เป็นต้น กิจกรรมต่างๆ ข้างต้น นอกจากทนายความแล้วยังมีตัวแทนของภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชนและตัวแทนของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ก็ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์และประสานงานกับญาติ จนทำให้ญาติของผู้เสียชีวิตเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากจนล้นห้องประชุมของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส ทำให้ญาติของผู้เสียชีวิตมีความมั่นใจในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีข้อสังเกตเพิ่มเติมต่อกรณีผู้เสียชีวิตอีก 6 คน (เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 5 คน เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 1 คน) ที่ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการใดๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการไต่สวนการตายโดยศาล ทั้งๆที่การเสียชีวิตดังกล่าวสืบเนื่องจากการสลายการชุมนุมที่หน้าสภอ.ตากใบเช่นเดียวกัน   -4-   บุคคลในกระบวนการยุติธรรม ศาลหรือคณะตุลาการ[๑๐]  อัยการ   [๑๑] ทนายความ            -5-   การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไต่สวนการตาย การไต่สวนการตายเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 โดย 4 นัดแรกเป็นการส่งประเด็นการพิจารณาสืบพยานผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการชันสูตรพลิกศพที่ศาลจังหวัดนนทบุรี หลังจากนั้น การพิจารณาดำเนินคดีต่อโดยศาลจังหวัดสงขลา โดยนัดแรกกำหนดวันพิจารณาคดีวันที่ 5 มิถุนายน 2550 พนักงานอัยการนำพยานฝ่ายผู้ร้องเข้าสืบจำนวนทั้งสิ้น 70 ปาก ฝ่ายอัยการได้ขอเลื่อนการพิจารณาคดีทั้งหมด 7 ครั้งการสืบพยานฝ่ายผู้ร้องเสร็จสิ้นเมื่อ 20 มกราคม 2552 ส่วนการพิจารณาคดีฝ่ายผู้คัดค้าน (ฝ่ายญาติผู้เสียชีวิต โดยทนายความ) เริ่มพิจารณาตั้งแต่วันที่ 20, 21, 27 และ 28 มกราคม 2552  ฝ่ายทนายความนำพยานเข้าสืบทั้งสิ้น 6 ปาก ศาลจังหวัดสงขลาได้นัดอ่านคำสั่งวันที่ 10 เมษายน 2552 แต่ไม่ได้อ่านคำสั่ง โดยผู้พิพากษาให้เหตุผลว่าวันดังกล่าวรัฐบาล (ชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ[๑๒] ประกอบกับญาติของผู้เสียชีวิตมาไม่ครบ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ศาลจังหวัดสงขลาได้อ่านคำสั่งศาลจังหวัดสงขลา คดีหมายเลขดำที่ ช.16/2548 คดีหมายเลขแดงที่ ช.8/2552 ต่อหน้าญาติผู้เสียชีวิต โดยมีสาระสำคัญว่า “..ผู้ตายทั้งเจ็ดสิบแปดตายที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เหตุและพฤติการณ์ที่ตายคือ ผู้ตายทั้งเจ็ดสิบแปดขาดอากาศหายใจ ในระหว่างอยู่ในควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่”   -6-   ข้อสังเกตต่อกระบวนการไต่สวนการตายกรณีตากใบ 1)             ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า กระบวนการเตรียมความพร้อมของทีมทนายความร่วมกับญาติผู้เสียหายได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2549 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ากระบวนการพิจารณากลับเริ่มต้นขึ้นเมื่อระยะเวลาล่วงเลยไปแล้วร่วม 2 ปีนับแต่เกิดเหตุ ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงขึ้น ผู้ต้องสงสัยถูกจับและถูกดำเนินคดีมากขึ้น ส่งผลให้คณะทนายความไม่สามารถเข้าร่วมในคดีได้ทุกคนเพราะต้องกระจายกันรับคดีความมั่นคงที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกเดือน   2)       แม้การพิจารณาคดีจะกระทำโดยเปิดเผย และทุกคนสามารถเข้ารับฟังการพิจารณาคดีได้ (Right to a public hearing)[๑๓]แต่การจดบันทึกโดยนักสังเกตการณ์คดีและบุคคลภายนอกอื่น เช่น ผู้สื่อข่าว ถูกตั้งคำถามจากผู้พิพากษาและอัยการในช่วงเริ่มต้นของการพิจารณาคดี ภายหลังการชี้แจงผู้พิพากษาจึงอนุญาตให้มีการบันทึกได้ อย่างไรก็ดี มีอยู่ครั้งหนึ่งที่นักสังเกตการณ์คดีถูกตั้งคำถามและถูกห้ามจดบันทึกโดยศาลจังหวัดสงขลาในคดีการไต่สวนการตายกรณีตากใบ เนื่องจากสื่อมวลชนได้เผยแพร่การพิจารณาคดีพยานสำคัญคือ พลเอกพิศาล วัฒนวงศ์คีรี ซึ่งดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาค 4 ในเวลานั้น แต่ภายหลังจากสื่อมวลชนได้ชี้แจงต่อศาลว่าเป็นการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน นักสังเกตการณ์จึงสามารถทำหน้าที่ต่อไปได้               ต่อการมีส่วนเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีของกลุ่มญาติผู้เสียหาย พบว่า นับตั้งแต่มีการสืบพยานที่ศาลจังหวัดสงขลา นับจากวันที่ 1 เมษายน 2550-ประมาณกลางปี 2551 มีญาติผู้เสียหายเข้าร่วมรับฟังการสืบพยานเพียง 2 ครั้ง โดยญาติผู้เสียชีวิตเดินทางมาจากนราธิวาส ซึ่งต้องเดินทางออกจากบ้านแต่เช้ามืด (จากตำบลตากใบ จ.นราธิวาส-จังหวัด ปัตตานี-ศาลจังหวัดสงขลา คิดเป็นระยะทาง) 33+126+96 กิโลเมตร) ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงญาติผู้เสียหายต้องเผชิญกับความเสี่ยงในระหว่างการเดินทาง ต้องออกจากบ้านตั้งแต่เช้ามืด เพื่อร่วมฟังการพิจารณาคดี และต้องออกเดินทางกลับหลังพักทานอาหารเที่ยง ไม่สามารถร่วมรับฟังการพิจารณาในช่วงบ่าย เพราะหากรอจนจบการพิจารณาในวันนัดดังกล่าว ก็หมายความว่าต้องออกเดินทางจากจังหวัดสงขลาประมาณ 16.00 น. ซึ่งกว่าจะถึงบ้านก็มืดค่ำ ไม่มีความปลอดภัย และตัวญาติผู้เสียหายก็ไม่มีเงินสำหรับค่าเช่าโรงแรม นอกจากนี้ยังมีภาระทางครอบครัวอีกด้วย[๑๔]   3)       สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยไม่ล่าช้า (Right to be trial without delay)[๑๕] อาจกล่าวได้ว่า สิทธิดังกล่าวยังคงถูกละเลย ซึ่งประเด็นนี้เชื่อมโยงกับบทบาทและความเป็นอิสระของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม กล่าวคือ               3.1)  การไต่สวนการตายควรถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยความรวดเร็ว แต่ในทางข้อเท็จจริงพบว่า เหตุการณ์สลายการชุมนุมเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 และมีคนเสียชีวิตในคืนดังกล่าว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีซึ่งเป็นท้องที่ที่พบศพได้ทำการชันสูตรพลิกศพแล้ว ได้ส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 หรือใช้เวลา 1 เดือน 21 วัน และอัยการปัตตานีได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดปัตตานีไต่สวนชันสูตรพลิกศพ (คดีหมายเลขดำที่ ช.6/2548) เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2548 แต่กระบวนพิจารณาเริ่มต้นวันที่ 1 เมษายน 2550รวมเป็นระยะเวลา 2 ปี 2 เดือนเศษ ที่ญาติผู้ตายและสังคมไทยรอคอยการเริ่มต้นขึ้นของกระบวนพิจารณาคดีไต่สวนการตายคดีตากใบนี้               3.2) นับจากเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน 2550 ที่กระบวนพิจารณาดำเนินการโดยศาลจังหวัดสงขลา พบว่า พยานฝ่ายผู้ร้องที่อัยการนำเข้ามาสืบในคดี อาทิ พลขับรถที่ถูกเรียกเป็นพยานทั้งสิ้น 20 ปาก (จาก 21 ปาก จำนวน 1 ปากที่เหลือทราบถึงสาเหตุการตาย โดยคาดเดาเอาเอง) ทหารพรานที่เป็นกำลังสนับสนุน 14 ปาก ล้วนแต่เป็นพยานที่ “ไม่รู้ทราบ” “ไม่รู้ ไม่เห็น”               3.3) วันที่ 11 กันยายน 2550 ทนายความได้ดำเนินการแถลงด้วยวาจาขอให้ศาลใช้ดุลพินิจในการตัดพยานในบัญชีพยานที่อัยการเสนอ ศาลไม่มีคำตอบแต่อย่างใด ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2550 ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาล “..ขอศาลได้โปรดสอบถามผู้ร้องถึงจำนวนของพยานผู้ร้องส่วนที่เหลือที่จะนำเข้าเบิกความให้ชัดเจน ให้จัดลำดับความสำคัญของพยานที่จะนำเข้าสืบก่อนหลัง และนำประจักษ์พยานสำคัญที่รู้เห็นการตายที่ 163-208 เข้าเบิกความต่อศาลตามสมควร หากเป็นพยานที่ไม่ทราบถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ขอให้ศาลใช้ดุลพินิจให้ผู้ร้องงดการนำพยานในลักษณะดังกล่าวเข้าเบิกความ หรือตัดลดจำนวนพยานที่ไม่มีความสำคัญลง หรือสอบถามพนักงานอัยการถึงพยานที่จะนำเข้าสืบต่อไปว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างไรต่อเหตุการณ์ หากปรากฎว่าเป็นพยานที่ไม่ทราบเหตุและพฤติการณ์แห่งการตายอีก ประกอบกับมีพยานที่เบิกควมไว้อยู่ก่อน ฟังได้เพียงพอแล้วและคาดหมายได้ว่าจะเป็นพยานที่ซ้ำซ้อน ขอให้ศาลได้โปรดพิจารณาลดทอนจำนวนพยานลงตามที่เห็นสมควร เพื่อให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยเร็ว”                           ต่อคำร้องนี้ ศาลมีความเห็นว่า “..เกี่ยวกับพยานของผู้ร้องในส่วนที่ทนายผู้ร้องมีความเห็นว่า ไม่แตกต่างในสาระสำคัญ ศาลได้สอบถามทนายในห้องพิจารณาคดีเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่พยานได้ให้การกับพนักงานสอบสวน อันจะเป็นเหตุให้กระบวนพิจารณาไม่ยืดเยื้อและเร็วขึ้น แต่ทนายผู้ร้องที่ 3,5 ไม่สามารถรับข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ ทั้งการนำพยานปากใดเข้าเบิกความก่อนหลังก็เป็นเรื่องดุลพินิจขอผู้ร้องเอง”[๑๖]   3.4) ทนายความเรียกร้อง (ด้วยวาจา) ต่อหน้าศาล ให้อัยการนำพยานสำคัญๆ อาทิ พนักงานสอบสวนมานำสืบ แต่ได้รับการชี้แจงจากอัยการว่า การสืบพนักงานสอบสวนจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อสืบพยานผู้เชี่ยวชาญหมดแล้ว (เหลืออีก 1 ปาก คือ แพทย์หญิงปานใจ โวหารดี ซึ่งจะถึงนัดวันพิจารณาคดีในวันที่ 2 ตุลาคม 2550 โดยสืบที่ศาลจังหวัดนนทบุรี เนื่องจากพยานติดราชการไปเรียนต่อต่างประเทศ) ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2550 ทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลได้สอบถามผู้ร้องถึงจำนวนของพยานฝ่ายผู้ร้อง (พนักงานอัยการ) จัดลำดับความสำคัญของพยานที่จะนำเข้าสืบ และนำประจักษ์พยานสำคัญที่รู้เห็นการตาย เข้าเบิกความต่อศาล หากเป็นพยานที่ไม่ทราบถึงเหตุและพฤติกรรมแห่งการตาย ขอให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการให้ผู้ร้องงดการนำพยานในลักษณะดังกล่าวมาเบิกความ หรือตัดลดจำนวนพยานที่ไม่สำคัญลง แต่ศาลเห็นว่าเป็นเรื่องดุลยพินิจของผู้ร้องเอง[๑๗]ดังนั้น ระหว่างนี้ จึงมีแต่พยานที่ “ไม่รู้ ไม่เห็นเหตุการณ์การตาย สาเหตุการตาย” ถูกนำมาสืบ 3.5) ในกรณีวันที่ 2 ตุลาคม 2550 ได้มีการเลื่อนการสืบพยานปาก พญ.ปานใจ ออกไป[๑๘] ดังนั้น จึงมีการนำพยานปากอื่นๆ มานำสืบ แต่นับจากวันที่ 2-25 ตุลาคม (ก่อนนัดสุดท้ายคือวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 สืบพญ.ปานใจ โวหารดี) มีการสืบพยานทั้งสิ้น 13 ปาก พยานทุกปาก “ไม่รู้ ไม่เห็นถึงพฤติการณ์แห่งการตาย” 3.6) นับจากวันที่ 1 เมษายน 2550 จนถึงวันสุดท้ายของนัดพิจารณาคดี (ฝ่ายผู้ร้อง) คือวันที่ 28 มกราคม 2552 มีการสืบพยานทั้งสิ้นจำนวน 70 ปาก โดยมีการเลื่อนการพิจารณาคดี 7 ครั้ง เนื่องจากพยานไม่สามารถมาศาลในวันนัดได้ พยานจำนวน 21 ปากเป็นพลขับรถ และ 3 ปากเป็นผู้นั่งหน้ารถข้างคนขับ ที่โดยสภาพ (ขับรถอยู่ด้านหน้า) ให้การว่าไม่ทราบถึงเหตุและพฤติการณ์แห่งการตาย  นั้นหมายความว่า การค้นหาความจริงที่ใช้ระยะเวลาร่วม 2 ปี คำตอบที่ได้จากการสืบพยานผู้ร้อง (ฝ่ายอัยการ) คือ “ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบถึงสาเหตุการตาย” 3.7) จำนวนพยานบุคคลที่อัยการระบุในบัญชีพยานทั้งสิ้นจำนวน 299 คน แม้บัญชีพยานดังกล่าวจะยื่นโดยอัยการจังหวัดปัตตานี แต่ในการนำพยานเข้าสืบอัยการจังหวัดสงขลาย่อมสามารถใช้ดุลพินิจในการจัดลำดับความสำคัญของพยานที่จะนำเข้าสืบก่อนหลัง รวมถึงใช้ดุลพินิจในการตัดพยานที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันออกไป ซึ่งไม่ปรากฎว่าอัยการจะดำเนินบทบาทในเชิงรุกแต่อย่างใด ผลก็คือพยานที่ฝ่ายอัยการนำสืบทั้งสิ้น 70 ปาก ล้วนเป็น “ผู้ไม่รู้” “ไม่เห็น” สถานการณ์ที่นำไปสู่การตายของทั้ง 78 ชีวิต ที่เกิดขั้น จนนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตว่ากระบวนการนำสืบนี้ เป็น “การไต่สวนการ(ไม่)ตาย” การทำหน้าที่ของอัยการ ภายใต้ภารกิจและบทบาทของพนักงานอัยการตามข้อ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามข้อ 106 แห่งระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547[๑๙] จึงสมควรถูกตั้งข้อสังเกตและตั้งคำถาม     พยานฝ่ายผู้ร้อง (อัยการนำสืบ) จำนวนพยาน (คน) พยานผู้เชี่ยวชาญ 5 พลขับรถที่มีผู้เสียชีวิตในรถ 21     - เจ้าหน้าที่นั่งข้างคนขับรถที่มีผู้เสียชีวิตในรถ 3     -พลขับทราบสาเหตุการตายโดยการคาดเดา 1     -พลขับไม่ทราบพฤติการและสาเหตุการตาย 20 ทหารพรานที่เป็นกำลังสนับสนุน 14 ผู้เสียหายจากเหตุการณ์ 1 อื่นๆ 29 รวม 70                           ที่มา: ดัดแปลงจากข้อมูลของนางสาวจันจิรา จันทร์แผ้ว, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, ตุลาคม 2552                 3.8)  ในจำนวนพยานที่เข้าให้การต่อศาลจำนวน 70 ปากนั้น มีอยู่เพียง 2 ปากที่เป็นชาวบ้าน คนแรกคือ ขขขขขขขขขขะ เจ้าของร้านน้ำชาซึ่งตั้งห่างจากสภ.อ.ตากใบประมาณ 150 เมตร[๒๐] โดยมาให้การเป็นพยานในวันที่ 2ขขขขขขขขน ซึ่งนขขขขขขาถูกตีด้วยไม้กระบองเข้าที่ท้ายทอย ถูกเตะเข้าที่ชายโครงขวาและที่ขา จนหมดสติไประหว่างถูกนำตัวมาไปหน้าสภ.อ.ตากใบ เมื่อได้สติพบว่าตัวเองถูกยิงที่แขนซ้าย ต่อมาจึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในเวลาต่อมา ขขขขขขขาจึงเป็นพยานอีกปากหนึ่งที่ไม่รู้เห็นถึงเหตุและพฤติการณ์แห่งการตาย               ส่วนอีกคนคือขขขขขขขขขขขขขขขง ซึ่งศาลนัดสืบวันที่ ขขขขขขขขขน แต่ขขขขขขขดี ไม่สามารถมาให้การต่อศาลได้ โดยนขขขขขขขดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสงขลาล่วงหน้า คือ ยื่นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550 ว่า “..เนื่องจากพยานมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส ไม่สามารถเดินทางมาศาลจังหวัดสงขลาเพื่อเบิกความเป็นพยานได้ เพราะพยานยากจน ไม่มีเงินค่าพาหนะ และเส้นทางที่มาศาลจังหวัดสงขลาไกลมาก พยานกลัวอันตายและไม่กล้าที่จะเดินทางไปที่แห่งใด ขอศาลได้โปรดส่งประเด็นมาสืบพยานที่ศาลจังหวัดนราธิวาสด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต”                 3.9) โดยหลักการแล้ว ศาลสามารถมีบทบาทเชิงรุกในการทำให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว โดยศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความชี้แจงหรือทำให้ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์เกิดความชัดเจน ตัดพยานหลักฐานที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับคดี จำกัดการเสนอพยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟือยมากเกินความจำเป็น แต่มีข้อสังเกตว่าผู้พิพากษาในคดีนี้ยังไม่แสดงบทบาทในการผลักดันให้กระบวนการพิจารณาดำเนินไปอย่างรวดเร็ว               นอกจากนี้ โดยทั่วไปแล้ว หลังจากที่ศาลได้ฟังข้อเท็จจริงจากการสืบพยานไปแล้วนั้น หากได้ข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจนหรือไม่ครบถ้วนเพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งได้ตามกฎหมาย เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะเรียกพยานที่สืบมาแล้วมาซักถามเพิ่มเติม หรือเรียกพยานอื่นมาสืบเพิ่มเติมก็ได้ (มาตรา 150 วรรค 9 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) แต่ไม่ปรากฏว่ามีการใช้อำนาจดังกล่าวแต่อย่างใด   4)       ข้อน่าสังเกตต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางของผู้พิพากษา (the independence and impartiality of the judiciary หรือ nemo judex in re sua) และสิทธิที่ที่จะได้รับการปฏิบัติโดยเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายและศาล (Right to equality before the Law and courts/ equal treatment by the court) พบว่า บ่อยครั้งที่ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจไม่บันทึกการนำสืบ การถามค้านของทนายความ               นอกจากนี้ผู้พิพากษายังได้เคยแสดงท่าทีเกรงใจพยานซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ โดยเฉพาะ พลเอกพิศาล วัฒนวงศ์คีรี และในวันที่สืบพยานบุคคลนี้ (5 มิถุนายน 2550) ผู้ติดตามของพลเอกพิศาลได้พยายามขอร้องทนายความให้ยุติการซักถามพลเอกพิศาล และได้เข้าไปยังบริเวณตำแหน่งที่นั่งขอทนายความในห้องพิจารณาคดี ในระหว่างการพิจารณาคดี แต่ไม่ปรากฎว่า ผู้พิพากษาจะดำเนินบทบาทในการห้ามปรามผู้ติดตามของพลเอกพิศาลแต่อย่างใด และไม่มีการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวในรายงานกระบวนพิจารณา ความเป็นอิสระของศาลที่มีต่อคู่ความเพื่อเป็นหลักประกันถึงการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่เท่าเทียมกันกับคู่ความหรือผู้ตายและผู้คัดค้านในคดีนี้ จึงควรถูกตั้งข้อสังเกตและคำถาม   5)       บทบาทของเจ้าพนักงานอัยการ นอกจากข้อสังเกตที่มีต่อบทบาทของพนักงานอัยการในคดีนี้ ต่อการนำพยานฝ่ายผู้ร้องเข้าสืบ ดังที่กล่าวไปแล้วในข้อ 3.2)-3.9) ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมต่อบทบาทของอัยการ คือ เนื่องจากวิธีพิจารณาความที่นำหลักทางวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญามาใช้ โดยเปิดโอกาสให้อัยการนำสืบพยาน แล้วจึงค่อยให้ทนายความซัก (ถามค้าน) และให้อัยการถามติง ทำให้บรรยากาศของการสืบพยานคล้ายกับการต่อสู้ในคดีความอาญาหรือแพ่ง มากกว่าจะเป็นการร่วมกันของทุกฝ่าย  ไม่ว่าจะเป็นอัยการ ทนายความ และผู้พิพากษาในการแสวงหาความจริง อีกทั้งการทำหน้าที่ของอัยการ ในการถามติง ชวนให้เข้าใจถึงการทำหน้าที่เพื่อทำลายน้ำหนักพยาน มากกว่าการแสวงหาความจริง ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องตามบทบาทในการไต่สวนการจตาย                 6) บทบาทของทนายความ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่า คดีนี้เป็น “คดีช่วยเหลือ” ที่ศูนย์นิติธรรมฯ จัดทีมทนายความมาช่วยเหลือทางคดี แต่ด้วยปริมาณคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้การทำงานเป็นทีมของคณะทนายความน้อยลง นอกจากนี้ ยังพบว่าในการทำงานของคณะทนายความที่เหลืออยู่ (ประมาณ 7-8  คน) ยังขาดความเป็นเอกภาพในการดำเนินคดี ดังจะเห็นได้จากมีกรณีที่ทนายความผู้ร้องซักถามที่ 3,5 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 เพื่อขอให้ศาลใช้ดุลยพินิจให้พนักงานอัยการงดนำพยานที่ไม่รู้เห็นการเสียชีวิต หรือไม่ทราบสาเหตุและพฤติกรรมแห่งการตายออก ปรากฎว่ามีทนายความผู้ร้องซักถามบางรายไม่เห็นด้วย จึงไม่ได้ร่วมลงลายมือชื่อในคำร้องดังกล่าว รวมถึงการประสานงานกับญาติผู้เสียชีวิตมีน้อยลง ความมีเอกภาพของทีมทนายความ จึงจำเป็นต้องถูกตั้งข้อสังเกตในรายงานนี้               ในส่วนของการนำพยานเข้าสืบในคดีนี้ มีพยานฝ่ายญาติผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 6 ปาก   พยานฝ่ายผู้คัดค้าน (ทนายความนำสืบ) จำนวนพยาน (คน) พยานบุคคลในที่เกิดเหตุ 2 พยานบอกเล่า (นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ, พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ, พิเชษฐ์ สุนทรพิพิธ และดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง) 4 รวม 6                        ที่มา: ปรีดา ทองชุมนุมและภาวีณี ชุ่มศรี, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, ตุลาคม 2552                 7)  พบว่า มีการคุกคามญาติผู้เสียชีวิต โดยปรากฏว่า ญาติผู้เสียชีวิตรายหนึ่งซึ่งช่วยทำหน้าที่ประสานงานครอบครัวญาติผู้เสียชีวิตถูกคุกคามโดยมีชายไม่ทราบชื่อโทรศัพท์ไปข่มขู่และเตือนไม่ให้นำญาติเข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดี[๒๑]                 8) การค้นหาความจริงถึงสาเหตุการตายของ 78 ชีวิต ที่ใช้เวลาถึง 4 ปีเศษ               4 นัดแรกของการพิจารณาคดีไต่สวนการตายนับจากวันที่ 1 เมษายน 2550 เป็นการส่งประเด็นการพิจารณาสืบพยานผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการชันสูตรพลิกศพที่ศาลจังหวัดนนทบุรี หลังจากนั้น การพิจารณาดำเนินคดีต่อโดยศาลจังหวัดสงขลา โดยนัดแรกเริ่มเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 พนักงานอัยการนำพยานฝ่ายผู้ร้องเข้าสืบจำนวนทั้งสิ้น 70 ปาก เลื่อนการพิจารณาคดีทั้งหมด 7 ครั้งการสืบพยานฝ่ายผู้ร้องเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2552ส่วนการพิจารณาคดีฝ่ายผู้คัดค้านเริ่มพิจารณาตั้งแต่วันที่ 20, 21, 27 และ 28 มกราคม 2552  ฝ่ายทนายความนำพยานเข้าสืบทั้งสิ้น 6 ปาก นั่นหมายความ หากนับจากวันสลายการชุมนุมที่หน้าสภอ.ตากใบ จนถึงวันสืบพยานปากสุดท้ายของคดีไต่สวนการตาย รวมระยะเวลาการเดินทางของการค้นหาความจริงโดยกระบวนการยุติธรรมทั้งสิ้น 4 ปี 3 เดือนเศษ               แต่หากบวกเพิ่มวันอ่านคำสั่งศาลที่ถูกเลื่อนจากวันที่ 10 เมษายน 2552 เป็นวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 แล้ว ญาติผู้เสียชีวิตรอคอยคำตอบจากกระบวนการไต่สวนของศาลเพื่อค้นหาความจริงถึงสาเหตุการตายของสามีและลูกชายของพวกเธอร่วม 4 ปี 7 เดือน   9)       ข้อสังเกตต่อคำสั่งศาลจังหวัดสงขลา               กล่าวได้ว่า นับตั้งแต่ศาลจังหวัดสงขลาเริ่มไต่สวนการตาย มีเพียง 2 ครั้งที่ญาติผู้เสียชีวิตหลายครอบครัวมาศาลมากที่สุด คือวันที่ศาลนัดอ่านคำสั่ง ครั้งแรกคือวันที่ 10 เมษายน 2552 และครั้งที่ 2 ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2552               ในวันที่ 10 เมษายน ศาลจังหวัดสงขลาไม่ได้อ่านคำสั่ง โดยผู้พิพากษาให้เหตุผลว่าวันดังกล่าวรัฐบาล (ชุดนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ[๒๒] ซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ก่อนที่จะถึงเวลานัดอ่านคำสั่งของคดีตากใบ ศาลจังหวัดสงขลาได้อ่านคำสั่ง/คำพิพากษาในคดีอื่น ประกอบกับเหตุผลที่ว่า ญาติของผู้เสียชีวิตมาไม่ครบ ก็เป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตเช่นกัน ว่าการที่ญาติมาไม่ครบทำให้ขาดองค์ประกอบในการรับฟังคำสั่งได้อย่างไร  “ผิดหวัง” เป็นเสียงสะท้อนของญาติผู้เสียชีวิตภายหลังการกลั่นกรองความคิดความรู้สึกที่มีต่อคำสั่งศาลจังหวัดสงขลา รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้[๒๓] ในวันที่ 29 พฤษภาคม2552            ที่มา: ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล, ตุลาคม 2552   โดยเจตนารมณ์แห่งกฎหมายว่าด้วยการไต่สวนการตายแห่งมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้สร้างความหวังให้แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตในระหว่างการควบคุมตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมถึงสังคมไทย (ในกรณีที่คดีดังกล่าวกระทบต่อความรู้สึก ความไว้วางใจของสาธารณะ) ว่ากระบวนการยุติธรรมจักสามารถแสวงหาความจริงและพยานหลักฐานเพื่อชี้ถึงสาเหตุการตายของบุคคลผู้เป็นราษฎรแห่งรัฐ ที่เสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานรัฐ อย่างไรก็ดี ในทางข้อเท็จจริงมักพบว่า ผลของการไต่สวนการตายตามมาตรา 150 นี้ หรือคำสั่งในแต่ละคดี ยังไม่สามารถตอบข้อสงสัยของครอบครัวผู้เสียชีวิต คำถามของสังคมไทย รวมไปถึงเจตนารมณ์แห่งมาตรา 150 เอง ในคดีไต่สวนการตายกรณีตากใบ คำตอบที่ปรากฏในคำสั่งศาลจังหวัดสงขลาไม่มีความชัดเจนเพียงพอ หรือกล่าวได้ว่าไม่ทำให้ญาติผู้เสียชีวิตหรือสังคมไทย “พอใจ” หรือ “เป็นธรรม” สำหรับต้นทุนของความยุติธรรมที่ใช้แลก ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล ความเสียหายทางด้านจิตใจ ฯลฯ ในระหว่างทางการค้นหาความจริงของกระบวนการยุติธรรม คำตอบชัดๆ ที่ตอบคำถามของมาตรา 150 ได้แก่ (1) ผู้ตายคือใคร (2) ตายที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี (3) ตายเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 แต่คำถามหัวใจสำคัญอย่าง (4) เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย กลับปรากฎเพียง “ผู้ตายทั้งเจ็ดสิบแปดขาดอากาศหายใจ ในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่” โดยไม่มีการชี้ให้ชัดว่า วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมเป็นสาเหตุแห่งการขาดอากาศหายใจหรือสาเหตุของการตายหรือไม่ อันจะยึดโยงไปถึงคำตอบของคำถามสุดท้ายคือ (5) ใครเป็นผู้กระทำ อาจกล่าวต่อไปได้ว่า คำตอบที่ปรากฏในคำสั่งศาลจังหวัดสงขลานี้ เป็นข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่เป็นที่ประจักษ์ ตั้งแต่เช้าวันที่ 26 ตุลาคมในปี 47 แล้ว เมื่อเวลาผ่านไปร่วม 4 ปี เหตุใดไม่ปรากฏความจริงใดเพิ่มเติมขึ้นมา   บางส่วนของคำเบิกความของพยานที่น่าสนใจ ที่ไม่ปรากฎในคำสั่งศาล พยาน: พ-----------------------------------------------ร์ เมื่อวันที่ --------------------0 -            “สภาพศพที่พบคล้ายกันคือ ศพทั้ง 8 เริ่มเน่า มีรอยช้ำ แผลถลอก มีเลือดออกที่เยื่อบุตาขาว มีรอยกดเป็นเส้นที่ข้อมือ บางศพมีฟันกัดปลายลิ้น -            มี 1 ศพ ที่มีบาดแผลฉีกขาดขอบไม่เรียบ ที่ศีรษะ และมี 1 ศพ ที่กระดูกกรามล่างหัก บาดแผลถลอกเกิดที่ใบหน้าและตามลำตัว -            ทั้ง 8 ศพ มีสภาพคล้ายกันคือ ขาดอากาศหายใจ, มีเลือดออกเยื่อบุตาขาว, บางศพที่ขาดอากาศหายใจ อาจไม่มีจุดเลือดออกที่เยื่อบุตาขาวก็ได้, ทุกศพมีบาดแผลบริเวณใบหน้า-ถลอก-และช้ำ   พยาน:--------------------------------------------------------- เมื่อวันที่ ------------------- -            ลักษณะบาดแผลที่พบคือ เลือดออกที่นัยน์ตาขาว, ใบหน้าคร่ำเลือด, มีบาดแผลบวมช้ำ บริเวณหนังตา, ริมฝีปาก ถลอกบริเวณส่วนนูนของใบหน้า อก หลัง -            ตายเพราะขาดอากาศหายใจ -            สันนิษฐานว่าเกิดจากการกดทับทำให้เกิดการขัดขวางการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินหายใจเข้า-ออก    พยาน: ---------------------------------------------------------------เมื่อวันที่ ------------------- -            สภาพของศพคือ มือไพล่หลัง เราจึงถามว่า นำเคลื่อนมาอย่างไร เพราะศพยังแข็งอยู่และเมืออยู่ในสภาพไขว้หลัง -            ศพที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะการขาดอากาศหายใจจากการทับซ้อนๆ กัน -            ภาวะของการขาดอากาศหายใจ พฤติการณ์คือ มีการนอนเรียงทับซ้อนกัน -            สภาพศพส่วนมาก มีเลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว บ่งบอกว่าขาดอากาศหายใจจากการกดทับบริเวณหน้าอก ..ทุกศพมีเลือดตกมาสู่ที่ต่ำด้านหน้า คือที่หน้าอก ทั้งหมดทุกศพ แสดงถึงขณะเสียชีวิต ผู้ตายนอนคว่ำ มือไพล่หลัง หากนอนคว่ำ แต่ไม่มีคนทับข้างบน ผู้ถูกควบคุมก็จะรอด -            ศพส่วนใหญ่มีลักษณะแผลถลอกตื้นที่ลำตัวและใบหน้า บางส่วนจะมีรอยช้ำที่ใบหน้า บางศพที่มีเลือดออกที่ปาก ฟันหัก ..แสดงว่าถูกกระแทกด้วยของแข็งอย่างรุนแรง -            เอกสารหมายเลข ปร.25 สภาพศพมีหนังศรีษะ ท้ายทอยบวมช้ำ แก้มขวา ริมฝีปากบวมช้ำ รอยแผลกล้ามเนื้อต้นขวา ยาว 1 ซม. -            ลักษณะศพ ถูกกระแทกด้วยของแข็ง ตั้งข้อสังเกตว่าอาจถูกทำร้ายก่อน เป็นบาดแผลเกิดก่อนตาย               น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งต่อคำสั่งศาล ต่อการไม่กล่าวถึงพฤติการณ์เรื่องการขนย้าย สภาพศพหรือสภาพบาดแผลของศพที่พยานผู้เชี่ยวชาญหลายไม่ต่ำกว่า 3 คนได้เบิกความไว้อย่างชัดเจนในชั้นพิจารณาคดี อีกทั้งศาลกลับใช้คำว่า “เมื่อชั่งน้ำหนักพยานแล้ว” ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า การพิจารณาคดีนี้ เป็นการพิจารณาในเชิงคดีอาญาทั่วไปที่เป็นระบบกล่าวหาซึ่งต้องเป็นการชั่งน้ำหนักของโจทก์-จำเลยว่า ใครมีน้ำหนักพยานดีกว่ากัน แต่กรณีไต่สวนการตายเป็นเรื่อง “ไต่สวน” เพื่อให้ได้ความจริงศาลจึงใช้วิธีการชั่งน้ำหนักพยานมาฟังไม่ได้ แต่ต้องเอาพยานทั้งหมดมาฟังประกอบกันเพื่อมีคำสั่ง มีข้อสังเกตเพิ่มเติมด้วยว่า ในวันนัดอ่านคำสั่งนั้น มีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการอ่านคำสั่งจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ในวันนั้นศาลได้ขอให้ “ไม่มีการแปล” เนื้อหาของคำสั่งฯ ให้กับชาวต่างประเทศฟัง โดยศาลได้จัดให้เจ้าหน้าที่มาแปลเป็นภาษาอังกฤษ ภายหลังจากที่ศาลอ่านคำสั่งเสร็จแล้ว เพิ่มเติม   -7-   ข้อเสนอแนะ   ๑)      แม้ว่ามาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะมุ่งหมายถึงการร่วมกันของผู้พิพากษา อัยการ และญาติผู้เสียชีวิตและทนายความในการแสวงหาความจริง และรวบรวมข้อเท็จจริงถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุคคลในระหว่างการควบคุม/การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ แต่ในทางปฏิบัติที่พบในระหว่างการพิจารณาคดี พบว่าระยะเวลาที่ใช้ไปในกระบวนพิจารณาคดีกับคำสั่งสุดท้ายหลังกระบวนการรับฟังพยาน แทบจะไม่มี “หลักฐานใหม่”หรือข้อมูลใหม่ใดๆ ที่จะชี้หรือแสดงถึงความจริง หรือสาเหตุของการเสียชีวิตที่แตกต่างไปจากผลการชันสูตร หรือข้อมูลเดิมที่รู้กันโดยทั่วไปก่อนที่จะมีกระบวนการไต่สวนการตายจะเริ่มต้นขึ้น จึงขอเสนอแนะและเรียกร้องให้กระบวนการยุติธรรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทบทวนเจตนารมณ์และกระบวนพิจารณาความในการไต่สวนการตายตามมาตรา 150 โดยยึดมั่นและคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยไม่ล่าช้า (Right to be trial without delay) ของผู้เสียหาย ๒)     ขอเสนอแนะให้มีการรวบรวมสถิติข้อมูลที่ชี้ถึงการดำเนินการฟ้องเป็นคดีอาญา ภายหลังการไต่สวนการตายเสร็จสิ้นลง ว่ามีทั้งสิ้นกี่คดี และสถิติรวบรวมระยะเวลาทั้งสิ้นที่ถูกใช้ไปเพื่อการดำเนินการของกระบวนการยุติธรรม นับแต่เกิดเหตุ การยื่นคำร้องขอให้มีการไต่สวนการตาย การฟ้องเป็นคดีอาญาจนถึงคดีสิ้นสุด[๒๔] เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการทบทวนมาตรา 150 ต่อไป ๓)     การมีส่วนร่วมของญาติผู้เสียหายหรือผู้เสียชีวิตในชั้นพิจารณาคดีเป็นสาระสำคัญของหลักการเข้าถึงความยุติธรรม การไต่สวนการตายที่มีขึ้นในจังหวัดสงขลา โดยศาลจังหวัดสงขลา ซึ่งห่างไกลจากจังหวัดนราธิวาสและปัตตานีทำให้การเข้าถึงความยุติธรรม หรือการมีส่วนร่วมของญาติผู้เสียชีวิตจึงถูกจำกัด ดังนั้น ภายใต้บริบทของสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอเสนอแนะให้กระบวนการยุติธรรมคำนึงถึงความสะดวก ความปลอดภัยของญาติผู้เสียหาย เพื่อสนับสนุนให้ญาติผู้เสียหายสามารถมีส่วนรับฟังการพิจารณา และการเข้าถึงความยุติธรรม ๔)     ขอเสนอแนะต่อการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของทนายความที่ควรต้องทบทวนเพื่อให้การดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม เกิดขึ้นภายใต้หลักเอกภาพเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย (หรือลูกความ) ๕)     จำเป็นต้องกล่าวถึงในประเด็นนี้ด้วยที่ว่า กรณีตากใบหรือกรณีการสลายการชุมนุมและเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจนนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ชุมนุม 78 รายในระหว่างการเคลื่อนย้าย เป็นกรณีหนึ่งในหลายกรณีที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทของการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ (กฎอัยการศึก-ในเวลานั้น) ซึ่งในสภาวะที่ไม่ปกตินี้เอง กระบวนการยุติธรรมยิ่งจำเป็นต้องตระหนักและยึดมั่นต่อหลักความเป็นอิสระและเป็นกลาง อันเป็นไปตามหลักนิติรัฐและหลักกฎหมายแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ผูกพันประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกติการะหว่างประเทศว่าสิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ดังที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee on ICCPR) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ติดตามสอดส่องรัฐต่างๆในการปฏิบัติตามกติกานี้ ได้ชี้ไว้อย่างชัดเจนว่า สิทธิในการได้รบการพิจารณาคดีโดยคณะตุลาการที่เป็นอิสระและทรงความเที่ยงธรรมนั้น “เป็นสิทธิสมบูรณ์ที่มิอาจยอมให้มีข้อยกเว้นได้”[๒๕] จึงขอเสนอแนะให้บุคคลในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่ายตระหนักและยึดถึอในหลักการดังกล่าวนี้       [๑] ปรับปรุงจากเอกสารประกอบการเสวนาวิชาการ “มุมมองทางกฎหมาย กรณีไต่สวนการตายคดีตากใบ” เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2552 ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, อ้างอิงจาก (ร่าง) รายงานฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2550 [๒] เจ้าหน้าที่กฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม [๓] อดีตเจ้าหน้าที่กฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล, ข้อมูลในรายงานนี้เกิดขึ้นจากการทำหน้าที่นักสังเกตการณ์คดี (Trial Observer) ภายใต้กิจกรรมการสังเกตการณ์คดี (Trial Observation) ที่ทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่กฎหมายให้กับคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists-ICJ) [๔]“โดยที่พนักงานอัยการมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบค้นหาความจริงในคดีอาญาในการดูแลฐานะความเป็น “ประธานในคดี” ของผู้ถูกกล่าวหา ตลอดจนบทบาทในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันในความโปร่งใสหรือการถูกตรวจสอบได้ของกระบวนการยุติธรรม และโดยที่ในคดีที่มีการตายเกิดขึ้น กฎหมายกำหนดกำหนดให้ทำการสอบสวน รวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาและกฎหมายยังกำหนดด้วยว่า เมื่อปรากฎแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานต้องมีการชันสูตรพลิกศพและอาจมีการตรวจสอบหรือผ่าศพโดยแพทย์ หากจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย             แม้ว่าในทางปฏิบัติตามปกติพนักงานสอบสวนได้กระทำตามกฎหมายอยู่แล้ว แต่เพื่อยืนยันหลักประกันในความโปร่งใส หรือการถูกตรวจสอบได้ของกระบวนการยุติธรรมดังกล่าว พนักงานอัยการจึงต้องให้ความสำคัญกับการชันสูตรพลิกศพและการตรวจศพโดยแพทย์ตามบทบาทของพนักงานอัยการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีฆาตกรรมซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ซึ่งเป็นกรณีที่อัยการสูงสุดจะต้องออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องนั้น ในการไต่สวนการตาย พนักงานอัยการจะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทั้งจักต้องให้ความสำคัญกับการแจ้งกำหนดการไต่สวนให้สามี ภรรยา ผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลผู้ตายทราบ รวมทั้งดูแลสิทธิของบุคคลดังกล่าวในการซักถามพยานและการนำสืบพยานไม่ว่าโดยตนเอง หรือโดยทนายความของบุคคลนั้น” [๕] กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, การไต่สวนการตาย, หน้า 419 โดย ศ.ดร.คณิต ณ นคร [๖] คณะกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงฯ ซึ่งมีนายพิเชต สุนทรพิพิธ เป็นประธาน และต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2548 คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) โดยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ได้มีมติให้เปิดเผยผลสอบทั้งหมด, ดู http://web.schq.mi.th/~sri/analysis_cenario/paper_senariosouth/rpt_tagbai.pdf [1] [๗] คดีนี้ ผู้ต้องหาได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากศูนย์นิติธรรมสมานฉันท์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีทนายความผู้รับผิดชอบ จำนวน 12 คน คือ นายพีรวัส ประวีณมัย, นายรัษฎา มนูรัษฎา, นายอนุกูล อาแวะปูเตะ, นายกิจจา อาลีอิสเฮาะ, นายอรรถ เจะบือราเฮง, นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ, นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์, นางบุษบา ฉิมพลิกานนท์, นายพีระพงศ์ ระบิงเกา, นายอาลี เจะเอาะ, นายนิอำรัน สุไลมาน และนายปรัชญา คณานุรักษ์ [๘] “..เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่ลักษณะของความผิดเป็นความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร และความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน จำนวนของ ผู้กระทำความผิดที่รวมชุมนุมมีจำนวน 1,298 คน ซึ่งรวมทั้งนายมาหามะ เล๊าะบากอ กับพวกรวม 78 คน ผู้ตาย ซึ่งผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลทำการไต่สวนและมีคำสั่งนี้ด้วย ซึ่งโดยสภาพความรู้สึกของประชาชนส่วนมากของท้องถิ่นนั้น และเหตุผลด้านความมั่นคง ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ความรู้สึกไม่พอใจของญาติพี่น้องของผู้ตายอาจมีการขัดขวางต่อการพิจารณา และน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายแรงอื่นขึ้น ผู้ร้องจึงขอประทานกราบเรียนต่อศาลที่เคารพเพื่อส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาสั่งโอนคดีไปยังศาลอาญาหรือศาลภายในเขตกรุงเทพมหานคร ตามที่ประธานศาลฎีกาเห็นสมควร” [๙] “.. พิเคราะห์แล้ว ตามลักษณะของคดี จำนวนผู้เกี่ยวข้องและเหตุการณ์ในพื้นที่แล้ว ถือได้ว่าเป็นกรณีที่อาจมีการขัดขวางต่อการพิจารณา หรือน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายอย่างอื่นขึ้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 26 จึงให้โอนคดีนี้ไปยังศาลจังหวัดสงขลา” [๑๐] มาตรา 26 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบํญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรืออาญาทั้งปวง [๑๑]http://www.ago.go.th/about_ago/function.html [2] และ http://www.ago.go.th/html/organ_att.html [3] [๑๒]http://www.prachatai.com/journal/2009/04/20743 [4] [๑๓] การพิจารณาความโดยเปิดเผยเป็นแนวคิดของการบริหารงานยุติธรรมแบบเสรีนิยม มีที่มาจากกาต่อต้านการพิจารณาคดีโดยลับของศาลบางศาลในสมัยก่อน ด้วยการพิจารณาด้วยวาจาจึงจะสามารถเปิดให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างแท้จริง และเป็นหลักการที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพของประชาชนที่มีต่อการใช้อำนาจของรัฐซึ่งเป็นที่ยอมรับกันจนถึงสังคมในยุคใหม่ อีกทั้งยังเป็นการทำให้การบริหารงานยุติธรรมมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น [๑๔]ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ใน การเดินทางและ (อีก) ต้นทุนของความยุติธรรม ในคดีไต่สวนการตาย  http://gotoknow.org/blog/ontheway/160833 [5] [๑๕] ข้อ 14 (3)(c) ICCPR , ข้อ 8(1) ACHR, * ข้อ 6(1) ECHR, ข้อ 7(1) ACHPR, หลักการที่ 17 หลักพื้นฐานว่าด้วยความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ และหลักการที่ 27 แห่งหลักพื้นฐานว่าด้วยบทบาทของทนายความ [๑๖] ผู้พิพากษา ยิ่งยศ ตันอรชน เขียนด้วยลายมือที่หน้าแรกของคำร้อง ลงวันที่ 13 กันยายน 2550 [๑๗] คำสั่งศาลเรื่องคำร้องของทนายความผู้ร้องซักถามกรณีขอให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการตัดพยาน ระบุว่า “เกี่ยวกับพยานของผู้ร้อง ในส่วนที่ทนายผู้ร้องซักถามเห็นว่าไม่แตกต่างกันในสาระสำคัญ ศาลได้สอบถามทนายในห้องพิจารณาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่พยานที่ได้ให้การกับพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้กระบวนพิจารณาได้ยืดเยื้อและเร็วขึ้น แต่ทนายผู้ร้องซักถามที่ 3.5 ไม่สามารถรับข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ ทั้งการนำพยานปากใดเข้าเบิกความก่อนหลัง เป็นเรื่องดุลยพินิจของผู้ร้องเอง” [๑๘] สืบพยานปากพญ.ปานใจ โวหารดี ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 [๑๙] ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 106 เรื่อง การติดตามพยานมาเบิกความ กำหนดว่า พนักงานอัยการต้องตระหนักถึง ความรับผิดชอบในการติดตามพยานมาเบิกความต่อศาล ไม่ควรจะปัดความรับผิดชอบให้หน่วยงานอื่น วิธีการใด ๆ ที่ถูกต้องชอบธรรมในอันที่จะติดตามพยานมาเบิกความให้พึงกระทำ เช่น การติดตามผลการส่งหมายเรียกพยานอย่างจริงจัง การกำชับพนักงานสอบสวนหรือผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนให้ติดตาม หรือนำพยานมาศาล การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในท้องถิ่น การติดต่อกับบุคคลอื่นที่รู้ที่อยู่พยาน การติดต่อกับพยานโดยตรงทางไปรษณีย์หรือทางโทรศัพท์ เป็นต้น [๒๐] ปัจจุบัน แขนซ้ายของขขขขขขขา ไม่สามารถยกของหนักได้ และได้รับเงินเยียวยาจากภาครัฐจำนวน 30,000 บาท [๒๑] จากคำบอกเล่าของผู้ถูกคุกคาม เดือนพฤษภาคม 2550 [๒๒]http://www.prachatai.com/journal/2009/04/20743 [4] [๒๓]นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังที่ศาลชี้ว่า ขาดอากาศหายใจ แต่ไม่ใช่เรื่องการขนย้าย อย่างไรก็ตาม จะหารือกับสภาทนายความเรื่องการยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งกับกองทัพบก กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.), ดู http://news.sanook.com/ศาลสงขลาชี้คดีตากใบ78ศพขาดอากาศตาย-อังคณา-เล็งฟ้องแพ่ง-ทบ.-กห.-ม-767764.html [6] -คดีตากใบ" ศาลสงขลาชี้แค่...ขาดอากาศหายใจ : ความผิดหวังของผลสอบ โดยอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ), ดู http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1213 [7] -คำสั่งศาล กรณีคดีตากใบ เป็นธรรมถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย?, ดู http://www.oknation.net/blog/humanrights/2009/06/30/entry-1 [8] [๒๔] ข้อเสนอการเสวนาวิชาการ“มุมมองทางกฎหมาย กรณีไต่สวนการตายคดีตากใบ”เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2552 [๒๕] ข้อ 14 กติการระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ระบุว่า “บุคคลทั้งปวงยุ่มเสมอกันในการพิจารณาของศาลละคณะตุลาการ” และ “ในการพิจารณาคดีอาญาซึ่งต้องหาว่ากระทำผิด หรือการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของตน บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม โดยคณะตุลาการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีอำนาจ มีความเป็นอิสระ และทรงความเที่ยงธรรม”, หลักการสากลว่าด้วยความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้พิพากษา ทนายความ และอัยการ แนวทางปฏิบัติสำหรับนักปฏิบัติ ลำดับที่ 1 หน้า 6 , คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ไอซีเจ)
1pos
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/70981
2017-04-10 17:59
ม้งช่วยรบ (ตอนจบ) บทสรุปของการต่อสู้เพื่อทวงคืนความเป็นคนไทย
สนทนากับอดีตสมาชิกชุมชนถ้ำกระบอกหลังผ่านยุค “ม้งช่วยรบ” เมื่อพวกเขาเห็นว่าการเป็นคนไร้สัญชาตินั้น เหมือนชีวิตวิ่นแหว่ง ไม่มีความสมบูรณ์ จึงเริ่มต้นเรียกร้องสิทธิเพื่อสัญชาติไทยมาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งต้องใช้เวลานับ 10 ปีจึงจะเริ่มคืบหน้า “อย่างที่บอกนั่นแหละว่า เราได้สัญชาติไทยในครั้งนี้ ไม่ใช่เพราะว่าเราไปช่วยรบ หรือเพราะคุณงามความดีที่เราเคยทำเพื่อประเทศชาติ แต่เราได้มาเพราะต่อสู้ด้วยสิทธิของเราเอง” เยี่ยปาว อดีตสมาชิก “ม้งช่วยรบ” กล่าว 000 เพราะการเป็นคนไร้สัญชาตินั้น เหมือนชีวิตนั้นวิ่นแหว่ง ไม่มีความสมบูรณ์พวกเขาจึงเริ่มต้นเรียกร้องสิทธิ เพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยเป็นการต่อสู้ที่ใช้เวลายาวนาน และต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง เยี่ยปาว แซ่ซง อดีตอาสาสมัคร “ม้งช่วยรบ” เล่าให้ฟังว่า เขากับญาติพี่น้อง ได้เดินทางไปยื่นเอกสารที่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อขอให้ดำเนินการเรื่องสัญชาติ โดยเริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา “พวกผมได้ยื่นคำร้องตามมาตรา 7 ภายใต้การประสานงานจากทหาร แต่หลังจากยื่นคำร้อง ก็ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ประมาณปี พ.ศ. 2551 ได้รับแจ้งจากผู้นำหมู่บ้านว่าให้พวกตนสำรวจใหม่เนื่องจากบัตรประจำตัวที่ขึ้นต้นด้วยเลข 6 ดำเนินการมานานแล้วไม่คืบหน้า ให้เปลี่ยนมาสำรวจทำบัตรประจำตัวเลข 0 ใหม่ทั้งหมด มีคนจำนวนหนึ่งมาสำรวจและทำบัตรเลข 0 ส่วนพวกตนไม่ยอมทำบัตรเลข 0 เนื่องจากพวกตนคิดว่าบัตรเลข 6 ของพวกตนมีคุณสมบัติที่ดีกว่า” แน่นอนว่า การถือบัตรเลข 6 ของเยี่ยปาวและญาติพี่น้องของเขา ทำให้รู้ว่าถูกจำกัดสิทธิในหลายๆ ด้าน “ยกตัวอย่างเช่น เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเช่าซื้อรถ หากใครต้องการซื้อก็ให้คนรู้จักในหมู่บ้านไปเป็นผู้จดทะเบียน ส่วนการเดินทางถ้าเราขับมอเตอร์ไซค์เข้าไปข้างนอก ไปในเมือง ก็มักถูกเรียกตรวจ และถูกปรับในข้อหาไม่มีใบอนุญาตขับขี่” การใช้ชีวิตของพวกเขา จึงพยายามอยู่กันในหมู่บ้านธารทอง แต่เมื่อถึงกรณีจำเป็นที่ต้องออกเดินทางไปทำธุระในการเดินทางต่างอำเภอ ต่างจังหวัด ก็จะเกิดปัญหาตามมาทันที “เวลาเราจำเป็นต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ พวกเราจะใช้เอกสารที่ทางการออกให้เพื่อใช้สำหรับเดินทางไปใน 20 จังหวัดภาคเหนือที่กระทรวงออกให้ก่อนออกมาจากถ้ำกระบอกเป็นหลักฐาน บางครั้งก็ถูกโต้แย้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าไม่สามารถใช้ได้ แต่เมื่อได้รับการอธิบายก็ไม่ถูกจับกุม” และนั่นทำให้พวกเขา เริ่มหันกลับมาเรียกร้องสิทธิ เรียกร้องขอสัญชาติกันอีกครั้ง “การเรียกร้องต่อสู้เรื่องขอสัญชาติ ตอนแรกๆ เราก็ต่อสู้ด้วยตัวเอง มาตอนหลังก็เริ่มเรียนรู้จากองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตอนนั้น มีองค์การแพลน เข้ามาสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงโรงเรียน สนับสนุนก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ และมาถ่ายรูปทำข้อมูลเด็กแพลน และในช่วงนั้นเองพวกเรา ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมเรื่องสัญชาติ ผมจึงได้เสนอเรื่องม้งถ้ำกระบอกไปในที่ประชุม เพื่อขอความช่วยเหลือ จนทำให้กรณีม้งถ้ำกระบอกเป็นที่รู้จักมากขึ้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมเวทีประชุมเรื่องสัญชาติบ่อยมากขึ้น และจากการประชุมที่ศาลากลางจังหวัดพะเยาครั้งนั้น พวกเราจึงได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือ โดยในที่ประชุมครั้งนั้น เราได้พบกับครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ด้วย” เยี่ยปาว แซ่ซ่ง และแสง แสงยาอรุณ จากมูลนิธิ พปส.ที่ ช่วยเหลือไปตามเรื่องสัญชาติ ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แสง แสงยาอรุณ มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง(พปส.) หนึ่งในทีมงานที่่เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มม้งช่วยรบ จนได้สัญชาติไทย เยี่ยปาว บอกว่า หลังจากได้บอกเล่าเรื่องราวให้ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ครูแดงได้แนะนำให้แสง แสงยาอรุณ จากมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง (พปส.) ขอให้เข้ามาช่วยดูแลกรณีม้งถ้ำกระบอก เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีความละเอียดอ่อนและยุ่งยากซับซ้อนกว่ากรณีรายอื่นๆ แต่ที่แน่ๆ ทุกคนรู้ดีว่า ปัญหาในการดำเนินการเรื่องสัญชาติกรณีนี้ จริงๆ แล้ว ปัญหามันอยู่ที่อำเภอเชียงแสนไม่ยอมรับว่า ม้งถ้ำกระบอกมีฐานข้อมูลอยู่ที่อำเภอ “ซึ่งหลังจากได้รับคำปรึกษาในเรื่องนี้ พวกผมก็เลยทำหนังสือถึงจังหวัด และก็ได้รับคำตอบว่า พวกเรามีฐานข้อมูลอยู่ที่อำเภอเชียงแสนจริง” เยี่ยปาว บอกย้ำอย่างหนักแน่น นั่นทำให้เยี่ยปาวและชาวบ้าน ได้กลับมาคุยกัน วางแผนและหาข้อมูลหลักฐานกันใหม่ โดยมีหลายหน่วยงานองค์กรคอยเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนและชี้แนวทางในการทำงานให้ “ใช่ โดยเฉพาะทางมูลนิธิ พปส. พวกเราได้มาเรียนรู้กับเจ้าหน้าที่ พปส. กันหลายเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องการสื่อสาร การเจรจา เวลาไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐ กับอำเภอ ต้องติดต่อยังไง ต้องคุยอย่างไรกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ต้องหาพยานหลักฐานอย่างไร เราก็พยายามช่วยกัน” เยี่ยปาว บอกเล่า เป็นที่รับรู้กันดีว่า การเรียกร้องสิทธิเรื่องสัญชาติ บางครั้งต้องใช้เวลาอันยาวนานกับการต่อสู้ กว่าจะได้มาซึ่งสิทธิของตน กรณีของกลุ่มม้งบ้านธารทองนี้ก็เช่นเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2554 แสง แสงยาอรุณ และทีมงานฝ่ายสถานะบุคคล มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง ได้รับการร้องขอจากเยี่ยปาว ให้เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มม้งที่บ้านธารทอง ซึ่งอพยพมาจากสำนำสงฆ์ถ้ำกระบอก ต่อมา ทางมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง จึงได้ทำการสำรวจ รวบรวมเอกสารและวิเคราะห์สถานะบุคคลของกลุ่มม้งดังกล่าว ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บุคคลประเภท 6-xxxx-68xxx-xx-x มีสำเนาทะเบียนประวัติกลุ่มม้งถ้ำกระบอก มีสำเนาทะเบียนบ้าน (ทร.13) และรายการบุคคลในฐานข้อมูลได้แจ้งย้ายออกจากสำนักทะเบียนเทศบาลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสนที่เป็นภูมิลำเนาปัจจุบันแล้ว แต่ไม่เคยได้รับการจัดทำบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย กลุ่มที่ 2 บุคคลประเภท 6-xxxx-68xxx-xx-x มีสำเนาทะเบียนประวัติกลุ่มม้งถ้ำกระบอก มีสำเนาทะเบียนบ้าน (ทร.13) แต่รายการบุคคลในฐานข้อมูลไม่ได้แจ้งย้ายจากสำนักทะเบียนเทศบาลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ให้มาอยู่ ณ สำนักทะเบียนที่ชาวบ้านมีภูมิลำเนาปัจจุบัน ชาวบ้านอพยพโยกย้ายมาแค่ตัวบุคคล โดยข้อมูลทางทะเบียนของบางคนยังอยู่ที่สำนักทะเบียนเทศบาลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี แต่บางคนถูกจำหน่ายรายการทางทะเบียนราษฎร กลุ่มที่ 3 บุคคลที่มีเอกสารตามกลุ่มที่ 2 หรือ 3 แต่ปัจจุบันบุคคลกลุ่มนี้ได้รับการสำรวจแบบ 89 และถือบัตรประจำตัวบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน (เลข 0) กลุ่มที่ 4 ไม่มีเอกสารทางราชการ มีเพียงเอกสารที่ออกให้โดยสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก และเมื่อมีการพิจารณาตามลักษณะของสภาพปัญหา สามารถจำแนกได้ดังนี้ คือ 1. กลุ่มที่มีทะเบียนประวัติที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ได้มีการแจ้งย้ายฐานข้อมูลมาที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นภูมิลำเนา ณ ปัจจุบัน แต่ไม่เคยได้รับการถ่ายบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่ผิดปกติคือ ชาวบ้านไม่มีทะเบียนประวัติฉบับจริง ณ สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน 2. กลุ่มที่เคยมีทะเบียนประวัติที่อำเภอพระพุทธบาท บางคนมีหนังสือแจ้งย้าย แต่ไม่ได้ย้ายข้อมูลทางทะเบียน หรือบางคนไม่มีหนังสือแจ้งย้าย และไม่ได้ย้ายข้อมูลทางทะเบียน แต่ปัจจุบันรายการบุคคลในฐานข้อมูล(ที่อำเภอพระพุทธบาท)ถูกจำหน่าย ชาวบ้านกลายเป็นบุคคลที่ไม่มีเอกสาร ในทางปฏิบัติจึงมีปัญหาข้อติดขัดในการไปขอคืนรายการบุคคล คือชาวบ้านไปขอคืนรายการบุคคล ณ สำนักทะเบียนที่มีรายการ(อำเภอพระพุทธบาท) แต่เจ้าหน้าที่ทะเบียนที่นั่นแจ้งว่าได้ย้ายไปหมดแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกันแล้ว ขณะที่สำนักทะเบียนที่ชาวบ้านมีภูมิลำเนาปัจจุบัน(อำเภอเชียงแสน) ก็ได้รับการแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีรายการในสำนักทะเบียนนี้ จึงไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ กลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับชาวบ้านอุปสรรคยนยนที่มีรายการ าย (ห้โดยนะบุคคลของกลุ่มม้นักสงฆ์ถ้ำกระบอก และได้ดำเนินการแจ้งย้ายเข้าที่สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน 3. กลุ่มที่เคยมีทะเบียนประวัติชุมชนวัดถ้ำกระบอก ที่อำเภอพระพุทธบาท (6-xxxx-68xxx-xx-x) ไม่ได้แจ้งย้ายมาที่ปลายทางคืออำเภอเชียงแสน รายการบุคคลก็ถูกจำหน่าย และปัจจุบันได้รับการสำรวจเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (0-89) โดยมีรายการต่างๆ ตรงกันกับทะเบียนประวัติที่สำรวจ ณ วัดถ้ำกระบอก จังหวัดสระบุรี (6-xxxx-68xxx-xx-x) และมีหลายคนที่ข้อมูลตามแบบสำรวจ 89 ไม่ตรงกันเช่น วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด จากการดำเนินการช่วยเหลือด้านสถานะบุคคล ของมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง ซึ่งเราได้สำรวจข้อเท็จจริงและวิเคราะห์สถานะบุคคลของชาวม้งบ้านธารทอง ซึ่งถือว่ายากและมีความซับซ้อนกว่ากรณีอื่น โดยเราจำแนกรายละเอียดได้ดังนี้ กลุ่มที่มีเลข 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 6 จำนวน 55 คน กลุ่มที่มีเลข 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 0 (เดิมเป็นเลข 6 แต่เปลี่ยนเป็นเลข 0) จำนวน229 คน กลุ่มที่ไม่มีเลข 13 หลัก (คนไร้รัฐ) จำนวน 50 คน รวมทั้งหมด 334 คน ที่น่าสนใจก็คือ หลังจากมีการสืบค้น รวบรวมหลักฐานต่างๆ กันใหม่ ก็ได้มีหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้กับม้งกลุ่มนี้กันอย่างต่อเนื่อง และแน่นอน มีมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง เป็นองค์กรหลัก ที่โดดเข้ามาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ “ที่ผ่านมา เรามีการประสานงานกับทางสำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และสำนักทะเบียนกลางฯ โดยเสนอคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสถานะและสิทธิของบุคคล เพื่อจัดทำทะเบียนประวัติชุมชนวัดถ้ำกระบอก ทดแทนต้นฉบับที่สูญหาย โดยเฉพาะการประสานงานกับทางสำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดทำบัตรประจำตัวผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งเราได้ประสานงานกับวีระศักดิ์ ศิริสิทธิ์ นายอำเภอเชียงแสนในขณะนั้น เพื่อร่วมหาแนวทางในการช่วยเหลือการพัฒนาสถานะบุคคลของกลุ่มม้งจากถ้ำกระบอก บ้านธารทอง ต่อไป” ตรีลดา แสงยาอรุณ ผู้ประสานงานมูลนิธิ พปส.บอกเล่าให้ฟัง นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง ยังได้ลงพื้นที่หมู่บ้านธารทอง เพื่อตรวจสอบข้อมูลและเตรียมความพร้อมกลุ่มที่มีสิทธิยื่นคำขอลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 ก่อนที่จะลงรับคำขอจริง จัดเวทีทำความเข้าใจกับผู้นำ แกนนำกลุ่มม้งจากถ้ำกระบอก และบุคคลไร้สัญชาติม้งจากถ้ำกระบอกที่บ้านธารทอง จนกระทั่งระหว่างวันที่ 28-31 สิงหาคม 2557 มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง จึงได้ประสานเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานด้านสถานะบุคคล จำนวน 7 องค์กร คือ มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง (พปส.) จังหวัดเชียงราย องค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นเนล ประเทศไทย มูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา (พชภ.) จังหวัดเชียงราย มูลนิธิกระจกเงา จังหวัดเชียงราย องค์การยุติธรรมนานาชาติ (IJM) จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ และมูลนิธิศูนย์ชีวิตใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมช่วยเหลือในการรับคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 (ฉบับที่ 4) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ซึ่งจากความร่วมมือขององค์กรเครือข่ายทั้ง 7 องค์กร ได้นำไปสู่การขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิให้กับชาวม้งกลุ่มนี้ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงพื้นที่รับคำร้อง มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ให้กับกลุ่มบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (เลข 6) และกลุ่มคนหัว 0 มีการสอบ ป.ค.14 ผู้ยื่นและพยาน มีการตรวจคัดกรองเอกสาร ของกลุ่ม (เลข 6) และกลุ่มคนหัว 0 บ้านธารทอง หมู่ 11 ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อทดแทนฉบับเดิมที่สูญหาย จากนั้น มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง ได้ลงพื้นที่บ้านธารทอง เพื่อนำเอกสารที่สอบ ป.ค.14 เสร็จสมบูรณ์แล้ว นำไปให้พยานและผู้ใหญ่บ้านลงนามรับรองเอกสาร และรับเอกสารเพิ่มเติมในส่วนของรายการที่เอกสารไม่ครบถ้วน ก่อนที่มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง จะทำตรวจสอบเอกสาร และทำบันทึกข้อความเอาไว้ กระบวนการทำงาน ดูเหมือนว่าจะราบรื่น แต่แล้วหลายฝ่ายเริ่มมองเห็นอุปสรรคปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกันอีกแล้ว เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2557 มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูงและตัวแทนเครือข่ายฯ ได้ทำการยื่นคำร้อง จำนวน 131 ราย ให้กับวีระศักดิ์ ศิริสิทธิ์ นายอำเภอเชียงแสน ในขณะนั้น โดยมีข้อตกลงกันว่า ขอให้ท่านนายอำเภอเชียงแสน ลงนามให้สัญชาติไทยตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่4 )พ.ศ.2551 นำร่อง 1 ครอบครัว ไปก่อน “แต่ผลสุดท้าย ท่านนายอำเภอไม่ได้ลงนาม จึงไม่มีผู้ได้รับการอนุมัติแม้แต่รายเดียว” ผู้ประสานงานมูลนิธิ พปส. บอกเล่า 7 ตุลาคม 2557 มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูงและตัวแทนเครือข่ายฯ จึงได้ประชุมและชี้แจง ทำความเข้าใจปัญหาที่พบในระหว่างดำเนินการรับคำร้อง และชี้แจงถึงความคืบหน้าของคำร้อง ตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 จำนวน 131 คน ประกอบด้วยกลุ่ม บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (เลข 0) และกลุ่มบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (เลข 6) ที่ส่งมอบให้สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2557 พร้อมกับชี้แจงกลุ่มชาวบ้านที่เอกสารขัดแย้งกันเพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งคนกลุ่มนี้ยังไม่ได้ยื่นคำร้อง ต้องรอแก้ไขเอกสาร เช่น กลุ่มคนที่เคยมีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (เลข 6) แต่ไปทำบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (เลข 0) ทางมูลนิธิ พปส. ได้พยายามติดตามกระบวนการทำงานในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างการดำเนินการรับคำร้องของชาวบ้านส่วนที่เหลือ และการรอความคืบหน้าจากสำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายนั้น ทางมูลนิธิ พปส.ได้จัดส่ง แสง แสงยาอรุณ เข้าเป็นตัวแทนของเครือข่ายเข้าไปเป็นคณะทำงานในระดับจังหวัดและได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ภายใต้ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน โดยได้นำประเด็นปัญหาของกลุ่มม้งที่มีสถานะบุคคลผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (เลข 6) ที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติชุดใหม่แทนชุดที่ทำการสำรวจเมื่อ ปี 2542 ที่หายไป และยังไม่ได้รับการถ่ายบัตรประจำตัว ไปพูดคุย เร่งรัด และผลักดัน ในเวทีคณะทำงานเพื่อให้เร่งดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มี สัญชาติไทย (เลข 6) แก่กลุ่มม้ง จำนวน 54 คน จนกระทั่ง กรมการปกครอง ได้มีคำสั่งถึงสำนักทะเบียนเชียงแสน ให้กลุ่มม้งบ้านธารทอง ที่เป็นกลุ่ม บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (เลข 6) ไปดำเนินการถ่ายบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย จำนวน 54 คน ต่อเนื่องจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้มาจัดทำแบบพิมพ์ทะเบียนประวัติชาวเขา ของชาวบ้านใหม่ แทนอันเดิมที่สูญหายไป และในวันที่ 21 มกราคม 2558 ก็เป็นวันหนึ่งที่สำคัญที่ เยี่ยปาว แซ่ซ่ง และญาติพี่น้องม้ง ต้องจดจำและจารึกไว้ในชีวิตครอบครัวของพวกเขา เมื่อมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูงและตัวแทนเครือข่ายฯ สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน และตัวแทนหน่วยงานทหาร หัวหน้าชุด ชบข. ที่ 3203 กอ.รมน.ภาค 3 สย.2 ได้ร่วมพิธีมอบบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (เลข 6) ให้กับชาวบ้าน ณ หอประชุมบ้านธารทอง หมู่ 11 ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย รวมทั้งสิ้น จำนวน 52 คน ผ่านไปเพียงหนึ่งวัน วันที่ 22 มกราคม 2558 สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน ก็ได้แจ้งข่าวให้มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูงและตัวแทนทางเครือข่ายฯ ทราบถึงความคืบหน้าในการอนุมัติสัญชาติไทยตามมาตรา 23แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551แก่ บี แซ่ท่อร์ และไมเย้ะ แซ่ท่อร์ ซึ่งทั้งสองคน ได้ฟ้องศาลปกครองร่วมกับเพื่อนชาวม้งทั้งหมด 17คน ก่อนที่เครือข่ายสถานะบุคคล จังหวัดเชียงราย ไปก่อนหน้านั้นแล้ว ก่อนที่ทางมูลนิธิ พปส.และเครือข่ายฯ จะเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือรับคำร้องการขอสัญชาติไทย ต่อมา มีการปรับเปลี่ยนนายอำเภอคนใหม่ แต่ปัญหาเรื่องสัญชาติของชาวบ้านยังไม่จบสิ้น จำเป็นต้องมีการเร่งรัดและสานต่อ 3 กุมภาพันธ์ 2558 มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูงและตัวแทนเครือข่ายฯ จึงพากันเข้าพบนายพินิจ แก้วจิตคงทอง นายอำเภอเชียงแสนคนปัจจุบัน เพื่อหารือเรื่องการทำงานด้านสถานะบุคคลในพื้นที่อำเภอเชียงแสน และส่งมอบคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551เพิ่มอีกจำนวน 49 ราย ของกลุ่มชาวม้งจากถ้ำกระบอกที่บ้านธารทอง ให้สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน โดยในการเข้าพบครั้งนั้น มีเตือนใจ ดีเทศน์, แสง แสงยาอรุณ และวีระ อยู่รัมย์ เข้าพบนายอำเภอเชียงแสน เพื่อหารือในประเด็นแนวทางการทำงานและความร่วมมือกัน โดยนายอำเภอบอกว่า เพิ่งเดินทางเข้ามารับตำแหน่งใหม่ จึงขอเวลาศึกษาเอกสาร รายละเอียดต่างๆ ก่อน เพื่อจะได้กำหนดแนวทางการทำงานต่อไป หลังจากนั้น การทำงานพิจารณาและดำเนินการเรื่องสัญชาติก็เริ่มมีความคืบหน้ามากขึ้นตามลำดับ 10-12 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน ได้ประสานมายังมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง เพื่อแก้ไขคำร้อง กลุ่มที่ฟ้องศาลปกครอง จำนวน 16 ราย เตรียมเสนอให้กับนายอำเภอ พิจารณาการอนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสนได้แจ้งถึงความคืบหน้าในการอนุมัติสัญชาติไทยตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มายังมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง จำนวน 10 คน 24 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสนได้แจ้งถึงความคืบหน้าในการอนุมัติสัญชาติไทยตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มายังมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง จำนวน 1 คน อย่างไรก็ตาม กระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ ก็ยังดูติดขัดและล่าช้า เนื่องจากยังมีชาวบ้านม้งบ้านธารทอง อีกจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาให้สัญชาติไทย จนทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่ามันล่าช้า ผิดปกติ 3 มีนาคม 2558 ตัวแทนชาวบ้านธารทอง มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง และตัวแทนเครือข่ายฯ ได้เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดเชียงราย เพื่อยื่นร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม เพื่อขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการดำเนินการขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551ของสำนักทะเบียน ที่มีความล่าช้านานเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 48 คน แต่ทุกอย่างก็เงียบหาย ไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกิดขึ้น 16 มีนาคม 2558 ชาวบ้านธารทอง จำนวน 48 คน จึงตัดสินใจไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากทางอำเภอเชียงแสน ดำเนินการพิจารณาคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 ล่าช้า โดยมีเครือข่ายฯ เป็นผู้ช่วยร่างคำฟ้องและเป็นที่ปรึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น   เมื่อชาวบ้านลุกขึ้นมาเรียกร้อง และฟ้องศาลปกครองทำให้หน่วยงานรัฐขยับและเดินหน้ากันอีกครั้ง ภาพเยี่ยปาว และไซ แซ่ซ่ง กับบัตรประจำตัวประชาชน ที่เรียกร้องต่อสู้จนได้มา หลังจากถูกชาวบ้านฟ้องต่อศาลปกครอง ทำให้สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสนได้เร่งดำเนินการรับรองคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 แก่ชาวบ้านธารทอง ซึ่งมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูงและตัวแทนเครือข่ายฯ ร่วมลงนามรับรองคำร้องให้แก่ชาวบ้าน ต่อมา สำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสนได้แจ้งถึงความคืบหน้าในการอนุมัติสัญชาติไทยตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ให้กับชาวบ้านธารทองที่เหลือทั้งหมด ซึ่งทางมูลนิธิ พปส.ได้สรุปผลการยื่นคำร้องม้งถ้ำกระบอก บ้านธารทอง ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ให้ทุกคนทราบว่า “การลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่4) พ.ศ.2551 จำนวน183 คำร้องได้รับการอนุมัติ และได้สัญชาติไทยทุกคน” เมื่อชาวบ้านได้รับสัญชาติไทยเรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างดีใจ ถอนหายใจ โล่งอก ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐ พยายามขอเจรจาไกล่เกลี่ย ขอให้ชาวบ้านถอนคำฟ้องศาลปกครอง 11 พฤษภาคม 2558 ทางสำนักทะเบียนอำเภอเชียงแสน ได้จัดเวทีหารือถึงการถอนคำฟ้องศาลปกครอง ของชาวบ้านธารทอง จำนวน 48 คน ซึ่งผลการเจรจา ก็มีข้อสรุปคือ ชาวบ้านยินยอมถอนคำฟ้อง “ซึ่งเราก็รู้ว่า ในประเทศไทยเรา ก็มีทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ มีผู้หลักผู้ใหญ่ที่ดีและไม่ดีปะปนกันไป ผู้ที่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนก็มี ผู้ที่ไม่สนใจก็มี เราในฐานะชาวบ้านเล็กๆ คนหนึ่ง ก็ต้องต่อสู้เรียกร้องตามกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมา การเรียกร้องต่อสู้ การดำเนินเรื่องสัญชาติ มันมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากเรามีสมาชิกครอบครัวมาก และดำเนินการหลายครั้ง บางครั้งต้องเดินทางไกล จึงมีค่าใช้จ่ายเป็น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าเอกสาร แต่เราก็อดทน ต่อสู้จนได้สัญชาติไทย” เยี่ยปาว บอกย้ำด้วยสีหน้าจริงจัง ทั้งนี้ มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง (พปส.) ได้สรุปในภาพรวมของเส้นทางการเรียกร้องสิทธิการขอสัญชาติไทย ของกลุ่มม้งช่วยรบ เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า… กลุ่มอดีตม้งช่วยรบ หรือม้งกลุ่มที่ 1 ที่ทางกองทัพไทยเคยใช้ให้พวกเขาทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ ซึ่งมีทั้งส่วนที่ไม่ได้เข้าไปอยู่ในสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก กับกลุ่มที่เคยเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกในจังหวัดสระบุรี ในระยะที่ผ่านมานั้นกลุ่มบางส่วนได้รับสัญชาติไทยแล้ว ขณะที่ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รับสัญชาติไทย กลุ่มที่ได้รับสัญชาติไทยกลุ่มแรก คือชาวม้งที่ชุมชนห้วยขาม เป็นหย่อมบ้านย่อยของหมู่บ้านตะเวน ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ซึ่งไม่เคยเข้าไปอยู่ที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก ในจังหวัดสระบุรี กลุ่มนี้ได้รับสัญชาติไทยเมื่อปี พ.ศ. 2547 จากคำสั่งและการเดินทางมาแจกสัญชาติไทยของจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ส่วนกลุ่มที่สองที่ได้รับสัญชาติไทยเป็นกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มบ้านธารทอง ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่ชาวบ้านต้องดิ้นรนด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะการฟ้องศาลปกครอง ประกอบกับการเข้าไปช่วยเหลือขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสิทธิและสถานะบุคคล กับเจ้าหน้าที่จากสำนักทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง จนทางอำเภอเชียงแสนได้ทยอยดำเนินการอนุมัติสัญชาติให้ และกลุ่มที่สามคือที่อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ที่ชาวบ้านแต่ละคนและแต่ละครอบครัวต้องหาวิธีการในการประสานกับเจ้าหน้าที่สำนักงานทะเบียนของอำเภอเอาเอง โดยในกระบวนการดังกล่าวมีองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าไปช่วยทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนอำเภอเป็นครั้งคราว ส่งผลให้มีการอนุมัติให้สัญชาติไทยแก่กลุ่มม้งจากสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกเป็นบางราย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ยังคงมีกลุ่มม้งที่ออกมาจากสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก แต่ได้กระจายกันไปอยู่ตามชุมชนต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลกและจังหวัดเลย ซึ่งมีบุคคลที่ส่งเอกสารมา ขอคำปรึกษา ยังมูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง จำนวน 338 คน ซึ่งรวมไปถึงลูกหลานในครอบครัวด้วย บุคคลเหล่านี้ต่างดิ้นรน แสวงหาแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยด้วยตนเอง “ซึ่งจริงๆ แล้ว คนม้งกลุ่มนี้ น่าจะได้สถานะตั้งนานแล้ว แต่กรมการปกครองไม่จัดการ ทั้ง ๆ ที่มีมติคณะรัฐมนตรี มาแล้ว แต่มติคณะรัฐมนตรีถูกยกเลิกโดยมติ 7 ธันวาคม 2553 ทำให้ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ สำหรับคนม้งบ้านธารทอง 56 คน ที่ได้ดูแลให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มม้งที่ไม่ยอมไปทำบัตรผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน “เลข 0” เพราะมีเลข 13 หลักที่ขึ้นต้นด้วยเลข “6” บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย อยู่แล้ว โดยคนม้ง กลุ่มนี้มีเอกสารแบบพิมพ์ประวัติ แต่พอได้ไปตรวจสอบที่อำเภอเชียงแสน อำเภอบอกไม่มี บอกว่าอยู่ที่กรมการปกครอง พอเราไปตรวจสอบที่กรมการปกครอง แต่กรมการปกครองก็บอกว่าอยู่ที่อำเภอ ปัญหาแบบพิมพ์ประวัติรูปไม่ชัด ต้องสอบพยานเพิ่มเติม ช่องทางที่แนะนำคือ การยื่นตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง และคนที่เกิดไทย ให้ยื่นตามมาตรา 23 ทุกคนมีเอกสารที่พร้อม มีใบรับรองการเกิด ทร.20/1 ซึ่งในตอนนั้น ได้มีการทดลองยื่น 1 ครอบครัวคือ ครอบครัวนายเยี่ยปาว แซ่ซ่ง แต่ติดอยู่ที่ไม่มีบัตรประจำตัว ตอนนี้อยู่ในขั้นเตรียมทำบัตร คนม้งถ้ำกระบอก กลุ่มม้งกลุ่มที่ 1 ตามที่ได้ดูเอกสาร หลักฐาน มีเพียง 2-3 คน ที่เกิดนอก นอกนั้นเกิดในไทยหมด ทำให้เราเห็นว่า พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติจากการมการปกครอง ทางความมั่นคงได้ใช้ประโยชน์พวกเขาแล้ว ได้บอกจะกำหนดสถานะให้ แต่กรมการปกครองไม่ได้ดำเนินการใดๆ ให้ ทำให้ปัญหาคาราคาซังมาจนถึงปัจจุบัน” แสง แสงยาอรุณ บอกเล่า “ใช่ แต่กระบวนการดังกล่าวไม่ได้ง่ายนัก เพราะชาวบ้านเองก็มีความรู้ ความพร้อมและความเข้าใจในกฎหมายที่แตกต่างกัน บางส่วนก็มีสำเนาของเอกสารที่ทางราชการเคยออกให้ บางส่วนก็ไม่มี นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจและความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาแก่กลุ่มชาวม้งจากสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกดังกล่าวในระดับที่แตกต่างกันด้วย” ตรีลดา แสงยาอรุณ ผู้ประสานงานมูลนิธิ พปส.บอกเล่าให้ฟัง เมื่อเราตั้งคำถามว่า ในฐานะคนทำงานในพื้นที่ อยากเสนอทางออกของปัญหาในเชิงนโยบายไปยังรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง “ก็อยากเสนอให้คณะรัฐมนตรี มีมติ และกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งถึงเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนในท้องที่ให้ดำเนินการสำรวจและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาให้สัญชาติแก่กลุ่มม้งจากสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก โดยอ้างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2545 ที่ยังตกค้างอยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว” ตัวแทนมูลนิธิฯ บอกในตอนท้าย 000 เมื่อหันกลับมามองสีหน้าแววตาของ เยี่ยปาว แซ่ซ่ง และญาติพี่น้องของเขา ในวันนี้ ทุกคนเริ่มมีรอยยิ้มแต้มบนใบหน้าบ้างแล้ว แม้ว่าครั้งหนึ่ง ชีวิตของพวกเขานั้นได้ผ่านศึกสมรภูมิและสงครามความเป็นความตายมานักต่อนักแล้ว แต่เมื่อมาย้อนกลับมาดูการเรียกร้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย นั้นก็หนักหนาสาหัสไม่ใช่น้อย กว่าจะมาถึงวันนี้... แม้ว่าอดีตจะผ่านไปนานนับสิบๆ ปีแล้ว แต่พวกเขายังจำภาพเรื่องราวเก่าๆ ได้ชัดเจน พวกเขากำลังยืนล้อมวงกันบนโต๊ะในกระท่อมไม้ไผ่ ในหมู่บ้านธารทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เยี่ยปาว แซ่ซ่ง ค้นบัตรประจำตัววัดถ้ำกระบอกในกระท่อมนำออกมาวางให้ทุกคนดู ในขณะลี กับไซ แซ่ซ่ง น้องชายและหลานชาย รื้อค้นรูปภาพเก่าๆ สมัยที่พวกเขาอยู่ในสำนักสงฆ์วัดถ้ำกระบอก และอาสาไปเป็นทหารช่วยรบกับคอมมิวนิสต์ลาว มาวางบนโต๊ะให้ทุกคนดู ด้วยสีหน้าเคร่งขรึม ฮึกเหิมและจริงจังในห้วงชีวิตหนึ่งที่ต้องเผชิญกับความเป็นความตายในราวป่า แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขากลับมีสีหน้าแววตา ซึ่งดูเหมือนเจ็บปวดและเศร้า เมื่อนึกถึง เรื่องราวและผลตอบแทนที่ได้รับ เมื่อกลับมา… “ถ้าไปช่วยรบ เมื่อสถานการณ์สงบและยุติแล้วจะให้สัญชาติไทยพร้อมกับที่อยู่อาศัย และที่ทำกินเป็นการตอบแทน” คำสัญญาที่ทางการไทยเคยบอกไว้ในอดีต ยังคงก้องอยู่ในหัวของเยี่ยปาว แซ่ซ่ง กับ ลี น้องชาย และ ไซ หลานชายของเขาอยู่ย้ำๆ อย่างนั้นตลอดมา ซึ่งเป็นเพียงคำสัญญาที่ว่างเปล่า ที่ไม่ได้รับคำตอบ และไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ เลย “รู้ไหม พวกเรารู้สึกเสียใจ เจ็บปวดมาก เมื่อกลับมา ไม่ได้สัญชาติไทยแล้วยังไม่พอ เรายังถูกทางรัฐบาลไทยได้สั่งการให้ทหารหน่วยอื่นมาผลักดันกองกำลังชาวม้งให้ออกจากฐานที่มั่น โดยไม่คำนึงถึงสัญญาที่ให้ไว้” เยี่ยปาว แซ่ซ่ง บอกเล่าด้วยน้ำเสียงปวดร้าว “นี่เรายังถือว่าโชคดีนะ ที่ไปรบกลับมาแล้วไม่สูญเสียอวัยวะ ยังมีร่างกายอยู่ครบ แต่ยังมีพี่น้องเราหลายคน ต้องสูญเสีย ขาขาด เป็นคนพิการอยู่ในหมู่บ้านธารทอง ซึ่งพวกเขาเสียใจมาก ที่รัฐบาลไทยไม่ได้มาเหลียวแลเลย” ไซ แซ่ซ่ง หลานชายของเยี่ยปาว บอกย้ำให้ฟัง “ที่สุดแล้ว เราต้องกลับมาต่อสู้เรียกร้องเรื่องสัญชาติด้วยตัวเราเอง” ลี แซ่ซ่ง น้องชายของเยี่ยปาว เอ่ยออกมา ด้วยสีหน้าเคร่งขรึม “อย่างที่บอกนั่นแหละว่า เราได้สัญชาติไทยในครั้งนี้ ไม่ใช่เพราะว่าเราไปช่วยรบ หรือเพราะคุณงามความดีที่เราเคยทำเพื่อประเทศชาติ แต่เราได้มาเพราะต่อสู้ด้วยสิทธิของเราเอง” เยี่ยปาว แซ่ซ่ง หนึ่งในกลุ่มม้งช่วยรบ บอกย้ำให้ฟังในตอนท้าย.
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/29901
2010-06-06 22:30
ผลเลือกตั้ง สข.ปชป.ชนะยกทีม 10 เขต พท.3 เขต
6 มิ.ย. 53 - นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) 14 เขต ได้แก่ เขตบางกะปิ, เขตลาดพร้าว, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, สะพานสูง, คันนายาว, บางเขน, จตุจักร, หลักสี่, ดอนเมือง, สายไหม, มีนบุรี, คลองสามวาและเขต ลาดกระบัง  มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 1,450,957 คน ออกไปใช้สิทธิใน 2,100 หน่วยเลือกตั้ง มีผู้มาใช้สิทธิ 542,955 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 37.42% มากกว่าครั้งที่แล้ว 2.03% ทั้งนี้มีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนทั้งหมด 37,408 หรือ 6.89% บัตรเสีย 26,668 หรือ 4.91% ลดลงจากเดิม 0.03% โดยเขตคันนายาวมีผู้มาใช้สิทธิมาที่สุด 45.69% รองลงมาเป็นเขตหลักสี่ 41.62% และเขตสะพานสูง 39.88% ส่วนเขตที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือเขตจตุจักร 33.30% สำหรับผลการเลือกตั้ง 14 เขตพบว่า ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ชนะยกทีมทั้งหมด 10 เขต ได้แก่ ลาดพร้าว บึงกุ่ม วังทองหลาง สะพานสูง หลักสี่ บางเขน จตุจักร สายไหม คลองสามวา บางกะปิ ส่วนพรรคเพื่อไทย (พท.) ชนะยกทีม 3 เขต ได้แก่ เขตคันนายาว ดอนเมือง ลาดกระบัง ส่วนเขตมีนบุรี ปชป.ได้รับเลือก 4 คน และพรรคเพื่อไทย 3 คน รวมเก้าอี้ส.ข.ทั้งหมด 105 ราย ปชป.ได้รับเลือกตั้งจำนวน79 คน เพื่อไทย 26 คน 14 เขตเร่งนับคะแนนหลังปิดหีบ การหลังการปิดหีบเลือกตั้งเมื่อเวลา 15.00 น. แต่ละหน่วยเลือกตั้งได้เริ่มนับคะแนนและทยอยนำหีบเลือกตั้งส่งไปรวมคะแนนที่เขต โดยเขตที่นับคะแนนเสร็จครบ 100% เป็นเขตแรกคือ เขตคันนายาว ทั้งนี้เมื่อเวลา 17.30 น.  มีผลการนับคะแนนถูกส่งเข้ามาที่ ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการ กทม.ทั้งสิ้น 46 % จากทั้งหมด โดยพบว่า คะแนนของผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ใน 8 เขต มีคะแนนนำผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ได้แก่ วังทองหลาง บางกะปิ ลาดพร้าว บึงกุ่ม สะพานสูง จตุจักร สายไหม และคลองสามวา ขณะที่ ผลคะแนนในอีก 6 เขต ได้แก่ มีนบุรี ลาดกระบัง บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และคันนายาว ค่อนข้างสูสีกัน นายทวีศักดิ์  เดชเดโช รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ภาพรวมการจัดการเลือกตั้ง สข. ในวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น และไม่มีการร้องเรียนเรื่องการทุจริต ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถนับคะแนนเลือกตั้งแล้วเสร็จและประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการได้ในเวลา 19.00 น. บรรยากาศเลือกส.ข.เงียบเหงา สำหรับบรรยากาศการเลือกตั้ง สข. ทั้ง 14 เขตในวันนี้พบว่า ตลอดทั้งวันมีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ค่อนข้างบางตา ทำให้บรรยากาศแต่ละเขตเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเงียบเหงา ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากประชาชนไม่ทราบวันเวลาการเลือกตั้งที่แน่นอน มีการประชาสัมพันธ์ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ทุกหน่วยเลือกตั้งมีเจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง คอยให้คำแนะนำข้อมูลและวิธีการเลือกตั้งแก่ประชาชน ซึ่งการเลือกตั้งสข.ครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งกว่า 1.4 ล้านคน ในพื้นที่ 14 เขตทั่วกรุงเทพมหานคร โดยจากการสอบถามประชาชนผู้มาใช้สิทธิ์ส่วนหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งครั้งนี้ ระบุว่า การเลือกตั้ง สข.จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาท้องถิ่นได้ ปชป.ขอบคุณประชาชนช่วยเลือกผู้สมัคร ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธานส.ส.กทม. ในฐานะ ผอ.การเลือกตั้งส.ก. ส.ข. พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า พรรคฯ ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ช่วยเลือกผู้สมัครส.ข.จากปชป. อย่างท่วมท้น มากกว่าเมื่อการเลือกตั้งครั้งที่แล้วกว่า 100% โดย เมื่อ 4 ปีที่แล้วพรรคประชาธิปัตย์มี ส.ข. เพียง 4 เขต จำนวน 27 คน แต่การเลือกตั้งครั้งนี้เมื่อนับเพียงบางเขตปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ชนะแล้ว 8 เขต คือเขต ลาดพร้าว วังทองหลาง หลักสี่ สายไหม คลองสามวา บึงกุ่ม บางกะปิ สะพานสูง รวมจำนวนส.ข.ที่ชนะแล้วขณะนี้ 59 คน ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ยังลุ้นอีก 2 เขต ที่ยังนับคะแนนไม่เสร็จคือเขตบางเขน มีนบุรี และจตุจักร นายองอาจ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ผลการเลือกตั้ง ส.ข. 14 เขตนี้พรรคได้รับเลือกน้อยมากมาโดยตลอด แต่คราวนี้ได้มากกว่าเดิมเท่าตัว ซึ่งส่วนหนึ่งของการได้รับเลือกครั้งนี้เพราะในช่วงที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ในหลาย ๆ เขต พรรคฯ พยายามทำงานหนักเพื่อให้พี่น้องประชาชนเห็นผลงานและช่วยสนับสนุนผู้สมัครของพรรค ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนในอีกบางเขตที่พรรค ยังไม่ได้รับเลือกตั้งนั้นก็จะพยายามทำงานหนักต่อไป เพื่อไทยโวยพื้นที่ฐานเสียงถูกขวางใช้สิทธิ์ ด้าน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า การเลือกตั้งส.ข.ในวันนี้ ได้รับแจ้งจากประชาชนว่าพบความผิดปกติในหลายพื้นที่ โดยเขตสายไหม ซึ่งเป็นพื้นที่ของตนพบว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้รับหนังสือแจ้งให้ไปใช้สิทธิ์เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งพบว่ามีการย้ายหน่วยเลือกตั้งโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า บางหน่วยไกลออกไปจากหน่วยเลือกตั้งเดิม 4-5 กม. และเมื่อประชาชนตามไปใช้สิทธิ์ก็ไม่พบรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง สอบถามเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าต้องไปใช้สิทธิ์ที่หน่วยใด ทำให้มีประชาชนจำนวนมากใช้สิทธิ์ไม่ได้และต้องกลับบ้านไป คิดเป็นตัวเลขหลายสิบเปอร์เซ็นต์ "เป็นที่น่าสังเกตว่าการย้ายหน่วยเลือกตั้งเกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่ชุมชนที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย ขณะที่ของพรรคประชาธิปัตย์กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นเจตนาว่าไม่สนับสนุนให้ประชาชนได้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้ง วิธีการเช่นนี้ไม่สมควรแก่เหตุผล และที่ผ่านมาก็ไม่เคยปรากฏเหตุเช่นนี้มาก่อน"น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว อนึ่งสำหรับการเลือกตั้ง สข.ทั้ง 14 เขต ปีนี้มีผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกสภาเขตรวม 275 คน เป็นชาย 210 คน เป็นหญิง 65 คน โดยมีพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สข.ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ 105 คน พรรคเพื่อไทย 105 คน พรรคภูมิใจไทย 7 คน กลุ่มอดีต ส.ส.มงคล 8 คน กลุ่มสุวรรณภูมิ 8 คน กลุ่มดอนเมืองอิสระ 8 คน กลุ่มแนวร่วมพัฒนาหลักสี่ 7 คน กลุ่มพันธมิตรรักบางกะปิ 8 คน และผู้สมัครอิสระอีก 19 คน ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: โพสต์ทูเดย์, ครอบครัวข่าว, สำนักข่าวไทย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/5385
2005-08-24 23:36
ตั้งกรรมการร่วมสางปม 23 ปี อุทยานสามร้อยยอดฯ ทับที่ชาวบ้าน
ประชาไท - 24 ส.ค.48      "ถ้าการกันพื้นที่ทำกินดั้งเดิมของชาวบ้านออกจากพื้นที่อุทยานเขาสามร้อยยอดยึดเอาตามเอกสารสิทธิ์ เชื่อว่าชาวบ้านมีกันไม่ถึง 1% ส่วนใหญ่คนที่มีคือนายทุน เราสู้เรื่องนี้กันมาตั้งแต่รุ่นพ่อ ท้ายที่สุดกำลังจะกลับกลายเป็นเพื่อนายทุน แล้วชาวบ้านต้องไปเช่าที่ดินทำกิน"   ชาวบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวในที่ประชุมคณะอนุกรรมการสิทธิในการจัดการที่ดินและป่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถึงกรณีการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาอุทยานแห่งชาติเขาสามาร้อยยอดประกาศเขตทับที่ทำกินของชาวบ้าน ซึ่งมีแนวทางจะกันพื้นที่ออกโดยยึดตามหลักฐานเอกสารสิทธิ์   การประชุมดังกล่าวเป็นผลต่อเนื่องจากการประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานปกครองในจ.ประจวบฯ กรมอุทยาน ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ และคณะกรรมการสิทธิฯ เมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาซึ่งยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2525 หลังจากที่อุทยานเขาสามร้อยยอด ประกาศขยายแนวเขตอุทยานทับที่ดินชาวบ้าน โดยมติที่ประชุมครั้งที่แล้วสรุปให้ตั้งคณะกรรมการร่วมกันทุกฝ่ายเพื่อดำเนินการรังวัดและกันพื้นที่ทำกินของชาวบ้านที่อยู่มาก่อนปี 2525 ออกจากเขตอุทยาน   โดยที่ประชุมวันนี้มีตัวแทนจากอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ตัวแทนอธิบดีกรมอุทยานฯ ปลัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตัวแทนมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชฯ ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ   ชาวบ้านในพื้นที่กล่าวอีกว่า ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีหลักฐานใด แม้แต่ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (สค.1) ซึ่งมีมาตั้งแต่ก่อนปี 2500 เพราะการออกสค.1 ต้องใช้เงิน 150 บาท ซึ่งเวลานั้นก็เป็นเรื่องเกินความสามารถของชาวบ้าน เมื่อไม่มีหลักฐานก็ต้องช่วยเหลือตัวเองมาโดยตลอด จะกู้เงินก็ต้องกู้จากนอกระบบ   นางสุนี ไชยรส ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิในการจัดการที่ดินและป่า กล่าวสรุปมติที่ประชุมว่าการพิสูจน์สิทธิจะไม่ใช้เอกสารการถือครองต่างๆ อย่างเดียวแต่จะยึดสิ่งบ่งชี้อื่นๆ ด้วย และคณะกรรมการร่วมจะต้องร่วมกันสำรวจพื้นที่ทำกินของชาวบ้านเพื่อกันออกจากพื้นที่อุทยาน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการ่วมดังกล่าวนั้น ทางจังหวัดจะเร่งประกาศภายในอาทิตย์หน้านี้ และที่ประชุมมีมติให้เพิ่มเติมตัวแทนจากอธิบดีกรมอุทยานฯ ด้วย เพื่อจะได้รับทราบข้อมูลตั้งแต่ต้นและไม่มีปัญหาเวลาที่ข้อมูลในพื้นที่ไปถึงคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจอนุมัติการกันพื้นที่ในท้ายที่สุด   คณะกรรมการดังกล่าวจะตั้งต้นพิจารณาข้อมูลจากที่หน่วยงานรัฐทำการรังวัดพื้นที่ทำกินของชาวบ้านซึ่งเพิ่งแล้วเสร็จเมื่อเร็วๆนี้ว่า ส่วนใดที่ถูกต้องและส่วนใดที่มีปัญหา จากนั้นจึงมาถกเถียง ตรวจสอบกัน ก่อนที่จะส่งข้อมูลสุดท้ายให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณา   ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย ตัวแทนชาวบ้าน 9 ตำบลที่เกิดปัญหาตำบลละ 1คน ผู้แทนจังหวัดประจวบฯ ผู้แทนสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบฯ ผู้แทนอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ผู้แทนสำนักบริหารเขตพื้นที่อนุรักษ์ จังหวัดเพชรบุรี ผู้แทนอำเภอกุยบุรี ผู้แทนกิ่งอำเภอเขาสามร้อยยอด ผู้แทนสำนักทรัพยากรธรรมชาติฯ จ.ประจวบฯ  และตัวแทนอธิบดีกรมอุทยานฯ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/62558
2015-11-21 10:17
‘วันสิทธิเด็กสากล’ กับ 2 ตัวอย่างความรุนแรงทำร้ายเด็กปาตานี
วันสิทธิเด็กสากล ขอโอกาสอันเท่าเทียมกัน ยูนิเซฟระบุเด็ก 250 ล้านคนอยู่ในพื้นที่สู้รบ ‘วันสิทธิเด็กปาตานี’ ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยเด็ก สถานการณ์เด็กชายแดนใต้ในวังวนความรุนแรง พบ 2 ตัวอย่างความรุนแรงทำร้ายเด็กปาตานี ‘สุไฮมี ดอเลาะ’ กับ 7 ปีแล้วที่ช่วยตัวเองไม่ได้ แม้แต่หายใจ และความสุขในโลกมืดของ ‘มุคตาร์ มะมิง’?   เด็ก 250 ล้านคนอยู่ในพื้นที่สู้รบ 20 พฤศจิกายน วันสิทธิเด็กสากล องค์กรยูนิเซฟรายงานสถานการณ์เด็กในปีนี้ว่า โลกยังไร้ความยุติธรรมสำหรับกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาสที่สุด ซึ่งมีหลากหลายประเด็น โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสถานการณ์สู้รบ ซึ่งนายแอนโทนีเลค ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูนิเซฟ ระบุว่ามีเด็กเกือบ 250 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศที่มีการสู้รบ และในปีนี้มีเด็กกว่า 200,000 คนต้องเสี่ยงชีวิตเพื่อขอลี้ภัยในทวีปยุโรป รายงานที่ชื่อว่า ขอโอกาสอันเท่าเทียมสำหรับเด็กทุกคน: คำมั่นสัญญาต่อความเท่าเทียม แสดงให้เห็นสถิติที่เด็กที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งว่า เกือบครึ่งของเด็กที่เสียชีวิตก่อนอายุครบ5 ขวบและร้อยละ 43 ของเด็กที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนอาศัยอยู่ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและภัยพิบัติทางธรรมชาติ “เป็นเรื่องที่น่าตกใจมากเมื่อคิดว่า เด็กหนึ่งในเก้าคนอาศัยอยู่ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ต้องเผชิญความรุนแรงโหดร้าย และขาดสิทธิที่จะมีชีวิตรอดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี และไม่ได้รับการศึกษา” ออร์แลนโด บลูม นักแสดงชาวอังกฤษและทูตสันถวไมตรียูนิเซฟกล่าว “...โลกกำลังเผชิญภาวะวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ทุกประเทศที่สามารถช่วยได้ควรยื่นมือเข้าช่วยเหลือเด็กๆ กับครอบครัวที่ได้รับผลกระทบนี้"   ‘วันสิทธิเด็กปาตานี’ ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยเด็ก ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปาตานีตามคำเรียกของคนมลายูในพื้นที่วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2558) มีหลายองค์กรร่วมกันจัดงาน “วันสิทธิเด็กปาตานี” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลังในการร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยเด็ก ซึ่งจัดขึ้นในวันถัดจากวันสิทธิเด็กสากล (A DAY FOR CHILDREN RIGHTS) เพียงวันเดียว งานนี้จัดโดยกลุ่มด้วยใจร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ 14 องค์กรณ สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ปัตตานี โดยจะมีเด็กเข้าร่วมงานกว่า 700 คน นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะหัวหน้ากลุ่มด้วยใจ บอกว่างานนี้มี 3 เป้าหมาย คือ 1.เพื่อสร้างการตระหนักรู้ด้านสิทธิเด็กให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการปกป้องและคุ้มครองเด็ก 2.เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนในการปกป้องและคุ้มครองเด็กในสถานการณ์ความไม่สงบ 3.เพื่อสร้างพื้นที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการปกป้องตนเองและเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันกระบวนการสันติภาพ นางสาวอัญชนา บอกว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็กในพื้นที่นั้น เกิดจากการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กโดยเฉพาะในการปกป้องคุ้มครองเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้เมื่อปี 2535 อนุสัญญาฉบับนี้ได้กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่ทุกประเทศต้องรับประกันสิทธิของเด็กในประเทศของตนเอง ได้แก่ 1. สิทธิที่จะมีชีวิตรอด ต้องได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย 2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม 3.สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การถูกล่วงละเมิด การถูกทอดทิ้ง และการแสวงประโยชน์ในทุกรูปแบบ 4.สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง เธอบอกว่า “สันติภาพที่ทุกฝ่ายอยากเห็นคือไม่มีเด็กเป็นเหยื่อของความรุนแรง”   เด็กชายแดนใต้ในวังวนความรุนแรง ในชายแดนใต้/ปาตานี เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีเด็กได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและการสู้รบ ซึ่งคณะทำงานฐานข้อมูลเหตุการณ์ชายแดนใต้ ของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSID) ได้รายงานสถานการณ์เด็กในพื้นที่นี้ในช่วง 11 ปีของความขัดแย้งที่มีการใช้ความรุนแรงเมื่อต้นปีโดยใช้ชื่อรายงานว่า “...11 ปี ของเด็กและเยาวชนในวังวนแห่งความรุนแรง” [1] รายงานระบุว่า สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อกลุ่มเด็กและเยาวชน ทั้งเสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ ตกเป็นผู้ต้องสงสัย ถูกดำเนินคดีและคุมขัง ถูกพลัดพรากจากครอบครัวอันเนื่องมาจากคนในครอบครัวถูกดำเนินคดี ถูกวิสามัญฆาตกรรม หายสาบสูญหรือหลบหนี และเด็กที่กลายเป็นเด็กกำพร้า ความรุนแรงยังส่งผลให้เด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งและความรุนแรง มีผลกระทบทางจิตใจที่อาจจะนำไปสู่ภาวะความซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล หรือทำให้ชอบใช้ความรุนแรงเสียเอง ยังไม่นับรวมที่ต้องย้ายถิ่นที่อยู่ จากสถิติเหตุไม่สงบระหว่างมกราคม 2547 – ธันวาคม 2557 พบว่า มีเด็กและเยาวชน(อายุต่ำกว่า 15 ปี) เสียชีวิต 81 คน แยกเป็นกลุ่มเด็กที่นับถือศาสนาพุทธ 20 คน ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนเด็กที่ได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 445 คน เป็นกลุ่มเด็กที่นับถือศาสนาพุทธ 156 คน และนับถือศาสนาอิสลาม 287 คน โดยปีที่มีเด็กเสียชีวิตสูงสุด คือ ปี 2550 จำนวน 21 คน และในปีเดียวกันมีเด็กที่ได้รับบาดเจ็บสูงสุดด้วยเช่นกัน คือ 55 คน รายงานฉบับเดียวกันนี้ ยังได้ยกตัวอย่างผลกระทบทางอ้อมต่อเด็กและเยาวชนในสถานการณ์ชายแดนใต้ด้วย เช่น 1.กรณีที่มีครูถูกยิงเสียชีวิตทางโรงเรียนก็จะปิดเรียน 2 วัน ซึ่งทำให้การเรียนของเด็กหยุดชะงักไปด้วย (ในช่วง 11 ปีมีครูเสียชีวิตจากเหตุรุนแรงไปแล้ว 179 ราย) และ 2.กรณีโรงเรียนถูกเผาและทำลาย (รวม 204 แห่ง) ส่งผลกระทบให้เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่มีที่เรียนหรือต้องใช้สถานที่ที่ไม่เอื้อต่อการเรียน เป็นต้น   2 ตัวอย่างความรุนแรงทำร้ายเด็กปาตานี อย่างไรก็ตาม สถิติไม่ได้บอกว่า เด็กที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น ใครเป็นผู้กระทำ แต่หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ก็พอจะมองเห็นได้ว่า ผู้ก่อเหตุรุนแรงอาจจะมาจากหลายฝ่าย ที่มีอาวุธและและมีแนวความคิดที่จะใช้ความรุนแรง ซึ่งต่อไปนี้เป็น 2ตัวอย่างเรื่องราวของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ความรุนแรงในช่วงปีที่สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ส่งผลกระทบต่อเด็กในพื้นที่มากที่สุด แม้ว่าผลกระทบต่อร่างกายอาจผ่านพ้นไปแล้ว แต่ผลกระทบทางด้านจิตใจและการดำเนินชีวิตก้ยังคงอยู่ นั่นคือกรณีของสุไฮมี ดอเลาะ และมุคตาร์ มะมิง   “สุไฮมี ดอเลาะ” 7 ปีแล้วที่ช่วยตัวเองไม่ได้ แม้แต่หายใจ ปีนี้ “สุไฮมี ดอเลาะ” มีอายุ 15 ปีแล้ว แต่เขายังคงต้องนอนอยู่บนเตียงมา 7 ปีแล้ว โดยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แม้กระทั่งหายใจ ย้อนกลับไปในช่วงสายๆ ของวันที่ 17 มีนาคม 2551 วันนั้นสุไฮมีขออนุญาตแม่ออกไปเก็บกระป๋องน้ำอัดลมหน้าบ้านไปขายให้คนรับซื้อของเก่าในตลาดตือบิงติงงี ต.ตลิงชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา จู่ๆรถมอเตอร์ไซค์คันหนึ่งเกิดระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว และเป็นโชคร้ายของเด็ก 9 คนที่เล่นอยู่แถวนั้น หนึ่งในนั้นคือ ด.ช.สุไฮมี วัย 8 ปี เขาถูกสะเก็ดระเบิดที่กระดูกไขสันหลังบริเวณต้นคอ ส่งผลให้เขาไม่สามารถขยับร่างกายเองได้ แขนขาจึงลีบลงอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถแม้กระทั่งหายใจด้วยตัวเองได้ ทำให้ต้องดำรงอยู่ด้วยเครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา อังณา วาเต๊ะแม่ของเขาบอกว่า สุไฮมีไม่สามารถพูดออกเสียงได้ แต่ประสาทการรับรู้และการได้ยินยังทำงานปกติ ปัจจุบันครอบครัวของสุไฮมีอาศัยอยู่ในบ้านหลังใหม่ใกล้ตัวเมืองยะลา ที่ซื้อมาด้วยเหตุผลที่ไม่ต้องการอยู่ไกลจากโรงพยาบาลศูนย์ยะลา เนื่องจากต้องไปเปลี่ยนท่อออกซิเจนทุก 2 เดือน โดยมีเครื่องช่วยหายใจและเครื่องผลิตออกซิเจนติดตัวตลอด ซึ่งหน้าบ้านมีป้ายชื่อ “สุไฮมี ดอเลาะ” ที่นายอำเภอบันนังสตาทำให้เพื่อให้คนทั่วไปทราบ อังณา เล่าว่า หลังเกิดเหตุสุไฮมีต้องใช้เครื่องช่วยหายใจติดตัวตลอดเวลา ราคาเครื่องละ300,000 บาท ถ้าชำรุดก็ต้องเสียค่าซ่อมครั้งละ 16,000 บาท และยังต้องใช้เครื่องสำรองไฟไฟป้องกันไฟตกหรือไฟดับด้วย มีราคา 50,000 บาท แต่เครื่องนี้ทางอำเภอบันนังสตามอบให้ “ก่อนหน้านี้จะมีค่าออกซิเจนวันละถัง ถังละ 220 บาท แต่ได้ใช้ประมาณ 2 ปี ทางวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลมอบเครื่องผลิตออกซิเจนมาใช้ก็เลยไม่ต้องซื้อก๊าซออกซิเจนเหมือนเดิม ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไปได้เยอะ เธอบอกว่า เหตุที่ต้องพาสุไฮมีไปเปลี่ยนท่อช่วยหายใจที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลาทุก 2 เดือนก็เพื่อไม่ให้ท่ออุดตันหรือติดกับเนื้อลำคอ “ทุกครั้งที่เปลี่ยนท่อฉันเหมือนใจจะขาด เพราะหมอต้องให้ยาสลบแล้วก็รีบเปลี่ยน หากช้าไปอาจส่งผลต่อเสียชีวิตได้ การเปลี่ยนท่อช่วยหายใจแต่ละครั้งมีความเสี่ยง 50-50” ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแผ่นละประมาณ 15 บาทซึ่งต้องใช้วันละ 4 แผ่น และค่าอาหารในแต่ละมื้ออีก รวมแล้วเดือนละประมาณ 16,000 บาท อย่างไรก็ตาม สุไฮมีก็ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ500,000 บาท เบี้ยคนพิการเดือนละ 3,000 บาท และเบี้ยทุพลภาพจากองค์การบริหารส่วนตำบลสะเตงนอก อ.เมืองยะลาอีกเดือนละ 500 บาท อังคณา บอกว่า เธอต้องทำหน้าที่ดูแลสุไฮมีตลอดเวลา เพราะเข้าใจสภาพของสุไฮมีมากที่สุด โดยมีลูกสาวคนโตคอยช่วยเหลือ ส่วนลูกคนอื่นๆ ต้องไปเรียนหนังสือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับสุไฮมีทำให้เธอไม่สามารถหางานทำได้และจะไปไหนก็ไม่ได้ รายไดส่วนหนึ่งจากมาจากเงินช่วย ซึ่ง“เมื่อก่อนมีคนมาเยี่ยมสุไฮมีไม่ขาดสายทำให้ได้รับเงินช่วยเหลือมาก แต่ช่วงหลังลดลง” ขณะที่มะตอเฮร์ดอเลาะ พ่อของสุไฮก็มีอาชีพขายส่งสินค้ากิ๊ฟช็อปตามหมู่บ้านหารายได้เลี้ยงภรรยาและลูกๆอีก 9 คน   ความสุขในโลกมืดของ“มุคตาร์ มะมิง”? วันนี้ “มุคตาร์ มะมิง” อายุ 23 ปี กำลังเติบโตเข้าสู่วัยฉกรรจ์ ใครผ่านไปผ่านมาแถวหน้าโรงเรียนบ้านบานา อ.เมืองปัตตานี มักจะได้ยินเสียงสรวลเสเฮฮาของเขาเสมอ มุคตาร์เป็นเด็กหนุ่มอารมณ์ดี ช่างพูดช่างจาก ดูเหมือนว่าเขาเป็นคนมีความสุขอยู่ในโลกมืด แต่ทว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเขาเมื่อ 8 ปีที่แล้วมันไม่มีความสุขเอาเสียเลย เขายังจำได้ดี มุคตาร์ เล่าว่า คืนนั้นเป็นช่วงค่ำของวันที่ 13 เมษายน 2550 เขากับเพื่อนอีก 9 คนซึ่งเป็นวัยรุ่นในหมู่บ้านอายุราว13- 14 ปี กำลังเดินกลับจากตลาดนัดกลางคืนริมถนนใหญ่ทางไปนราธิวาส ตอนนั้นมีเหตุการณ์ลอบเผาตู้โทรศัพท์ที่บ้านบราโหมห่างไปประมาณ 1 กิโมเมตร “ตอนนั้นมีรถทหารคันหนึ่งขับจอดแล้วก็มี4 คนลงจากรถ แล้วมีเสียงตะโกนว่าจับตาย เมื่อได้ยินอย่างนั้นพวกผมก็วิงหนีคนละทิศคนละทาง 4คนวิ่งข้ามไปเลนซ้าย อีก 5 คนวิ่งหนีมาทางเลนขวาซึ่งโชคร้าย เพราะทหารตามมาไล่ยิงทำให้จนเสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บ 3 คนรวมทั้งผม” มุคตาร์ถูกยิงเข้าที่ขมับขวาทะลุขมับซ้าย ตัวเขากระเด็นตกลงไปในพงหญ้าน้ำขัง กระทั่งเสียงปืนสงบและมีคนมายกเขาขึ้นไปในสภาพที่เลือดโชกบริเวณใบหน้าและเปียกชุ่มไปทั้งตัว ภาพที่ชาวบ้านอุ้มเขาขึ้นมานั้นถูกนำเสนอในสื่อประเทศเพื่อนบ้านกลายเป็นข่าวชิ้นหนึ่ง และตามมาด้วยการชุมนุมประท้วงของชาวบ้านหลายชั่วโมงในวันต่อมา และต่อมาทหารชุดดังกล่าวยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้ลงมือ เจะมะ มะมิง พ่อของมุคตาร์ เล่าว่า มุคตาร์บาดเจ็บสาหัสมากและรอยแผลส่งผลให้ตาทั้ง 2 ข้างบอดสนิท เขารักษาตัวที่โรงพยาบาลนาน8 เดือน ในช่วง 3 เดือนแรกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา จากนั้นได้ขอกลับมารักษาที่โรงพยาบาลปัตตานี โดยต้องผ่าตัดสมอง 2 ครั้งและทำให้เขาไม่รู้สึกตัวอะไรและไม่เคลื่อนไหวเลยประมาณ 20 วัน นอกจากนี้ศีรษะยังบวมโตเหมือนลูกมะพร้าว เมื่อได้กลับมาอยู่บ้าน ก็ยังต้องไปตรวจสมองและดวงตาทุก 1 เดือนที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จ.สงขลา เนื่องจากมีขี้ตาออกมาตลอดเวลา แต่สุดท้ายแพทย์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์รักษาไม่หาย แต่แนะนำให้ไปรักษาที่กรุงเทพมหานคร แต่เจะมะไม่ได้พาไปเพราะรู้สึกลำบากที่พูดภาษาไทยไม่ค่อยชัด “หากพาไปรักษาที่กรุงเทพฯโดยไม่มีผมไปด้วย ผมรู้สึกไม่สบายใจ จึงตัดสินใจหยุดรักษาเพียงเท่านี้” เจะมะ กล่าว เจะมะ บอกว่า ปัจจุบัน มุคตาร์ยังมาอาการอยู่เวลาเครียดมากๆ จะเกิดอาการช็อกจนต้องพาไปโรงพยาบาล ส่วนใหญ่เครียดจากเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเขา แม้เวลาผ่านมานานแล้วก็ตาม ไม่เพียงแต่ตาบอดเท่านั้น แต่ภายใต้โพรงจมูกของเขาไม่เหลือระบบประสาทรับกลิ่นด้วยจากคมกระสุน ขณะที่มุคตาร์เองก็บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นสิ่งพระเจ้ากำหนดไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม มุคตาร์ได้เงินช่วยเหลือเยียวยาจารัฐ 850,000 บาท แต่ส่วนใหญ่ก็หมดไปกับการรักษา ระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานีมีชาวบ้านมาเยี่ยมจำนวนมากชาวบ้านบางคนบริจาคเงินให้บ้างคนละ100 บาท 50 บาท ทำให้ตอนนั้นครอบครัวพอมีรายได้บ้างวันละ 1,000 – 2,000 บาท ปัจจุบันยังได้รับเบี้ยพิการเดือนละ 800 บาทด้วย ซึ่งไม่พอแน่นอน เจะมะต้องการเงินช่วยเหลือเยียวยารายเดือนตลอดชีพมากกว่า เพราะมุคตาร์ไม่สามารถประกอบอาชีพเหมือนคนอื่นได้ เจะมะ บอกว่า ทุกวันนี้เขาเป็นดูแลมุคตาร์ให้เงินมุคตาร์ซื้อขนมกินบ้างหรือบางครั้งให้ไปออกกินนอกบ้านบ้าง เช่น ไปกินก๋วยเตี๋ยว อย่างน้อยวันละ 100 บาท เพราะต้องเลี้ยงคนที่พาไปด้วยหรือต้องใส่น้ำมันรถให้ด้วย “ผมพาเขาไปไหนไม่ได้หรือผมไม่ไหวแล้ว ไม่มีแรงตอนนี้อายุ 71 ปีแล้ว ตอนนี้ผมก็ไม่สามารถทำงานเหมือนคนทั่วไปได้อีกแล้วเพราะอายุเยอะ มีรายได้บ้างก็มาจากลูกๆแต่ผมสัญญาว่า ตราบเท่าที่ผมยังมีชีวิตอยู่ ผมได้กินอะไรมุคตาร์ก็ต้องได้กินอย่างนั้น แต่ผมกลัวว่าหากผมไม่อยู่แล้วเขาจะอยู่อย่างไร ใครจะดูแลเขา” เจะมะทิ้งท้าย   ข้อมูลอ้างอิง สถานการณ์เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: 11 ปี ของเด็กและเยาวชนในวังวนแห่งความรุนแรง [1] วันเด็กสากล: ยูนิเซฟชี้เหตุใดความเท่าเทียมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เด็กกว่า 2 แสนเสี่ยงชีวิตขอลี้ภัยในยุโรป [2]
1pos
1pos
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/25862
2009-09-18 07:53
องค์กรสิทธิ-แรงงานร้องยูเอ็นสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาติเเรงงานพม่า
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ยื่นหนังสือต่อผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ เรียกร้องให้ตรวจสอบกระบวนการพิสูจน์สัญชาติเเรงงานข้ามชาติพม่าที่เพิ่งเริ่มดำเนินการในประเทศไทยโดยด่วน จากนั้นมีการยื่นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย กระบวนการดังกล่าวดำเนินการทั้งในประเทศไทยและฝั่งพม่า ซึ่งรัฐบาลไทยได้เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนทราบเพียงเล็กน้อย ทำให้เกิดการหวั่งเกรงถึงความไร้ประสิทธิภาพและทำให้แรงงานข้ามชาติ 2 ล้านคนมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ แถลงการณ์จากองค์กรทั้งสามระบุว่า ในประเทศไทย มีการประมาณการว่ามีเเรงงานข้ามชาติ 3 ล้านคน ส่วนมากมาจากประเทศพม่า แรงงานข้ามชาติจากพม่า ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่าง “ผิดกฎหมาย” เมื่อ พ.ศ.2547 รัฐบาลไทยเเละรัฐบาลทหารพม่าลงนามในบันทึกข้อตกลง ให้มีการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติพม่า เพื่อเป็นกระบวนการฟอกตัวแรงงานให้เป็นคนที่ “ถูกกฎหมาย” ต่อมากระบวนการดังกล่าว ยังไม่ได้รับการดำเนินการ เนื่องจากยังไม่สามารถตกลงเรื่องสถานที่ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติได้ โดยรัฐบาลทหารพม่าเห็นควรให้พิสูจน์สัญชาติในประเทศพม่า ส่วนรัฐบาลไทยต้องการให้ดำเนินการในประเทศไทย   ภาวะชะงักงันดำเนินมาจนถึง พ.ศ.2552 เมื่อรัฐบาล ไทยยอมตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลทหารพม่า เเละตกลงให้มีการดำเนินการตั้งศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติ ณ จุดผ่านแดนฝั่งพม่า 3 แห่ง รัฐบาลไทยประกาศว่าจะไม่มีเเรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศหลังจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เนื่องจากเเรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่ขึ้นทะเบียนเพื่อทำงานในประเทศไทยจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติซึ่งเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ถึง 13 ขั้นตอน ซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐบาลของทั้งสองประเทศ หากแรงงานไม่เข้าสู่กระบวนการดังกล่าว จะต้องถูกผลักดันออกนอกประเทศ   เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้กระบวนการเริ่มขึ้นโดยมีรถโดยสารขนาดใหญ่ขนแรงงานข้ามชาติจากพื้นที่ที่มีแรงงาน อยู่อย่างหนาแน่นไปยังศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติตามเมืองชายแดน แรงงานข้ามชาติต้องข้ามไปยังประเทศพม่าและรีบเดินทางกลับ เข้ามาในประเทศไทย แรงงานข้ามชาติต้องเสียค่าดำเนินการในอัตราต่างๆ เพื่อรับหนังสือเดินทางชั่วคราวของประเทศพม่าเเละวีซ่า ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับพัฒนาการเรื่องนี้แพร่หลายในหมู่ชุมชนแรงงานข้ามชาติ เเต่รัฐบาลไทยยังคงไม่ชี้แจงเเละไม่มีการประชาสัมพันธ์ต่อเเรงงานข้ามชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือองค์การด้านสิทธิเเรงงาน ข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนเพียงแหล่งเดียว คือ ข้อมูลที่มาจากรัฐบาลพม่า ว่าในฝั่งพม่ามีกระบวนการพิสูจน์สัญชาติตามฝั่งชายแดน อย่างไรก็ตาม นายหน้าเอกชนกำลังก่อตัวขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งนายหน้าเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลเเละผู้ให้บริการต่างๆ ในราคาที่แพงอย่างไม่สมเหตุสมผล   ดูเหมือนกระบวนการพิสูจน์สัญชาติจะเป็นกระบวนการสองมาตรฐาน แรงงานข้ามชาติสามารถส่งข้อมูลส่วน บุคคลให้ศูนย์ ของเอกชนเพื่อพิสูจน์สัญชาติ และได้รับหนังสือเดินทางเเละวีซ่า ซึ่งใช้เวลาดำเนินการประมาณหนึ่ง เดือนขึ้นไป หรือส่งข้อมูลให้สำนักจัดหางานและได้รับการตอบรับที่ช้ามาก กระบวนการของภาครัฐเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า (ประมาณ 600-2,100 บาท) ทว่าหากดำเนินการผ่านนายหน้าอย่างไม่เป็นทางการ ค่าดำเนินการจะสูงกว่าของภาครัฐโดยไม่มีการควบคุม เเละราคากำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ (ขณะนี้ราคาเรื่มต้นที่ประมาณ 7,500 บาท) จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีแรงงานข้ามชาติอยู่มากที่สุดในประเทศไทย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องประกาศให้นายจ้างใช้นายหน้าเอกชนที่ได้รับการแนะนำให้เข้ามาดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติเนื่องจากแรงงานข้ามชาติอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาครอยู่เป็นจำนวนมาก และวิธีนี้จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถดำเนินการได้รวดเร็วกว่าและสะดวกกว่าการดำเนินการผ่านกระบวนการของรัฐ   กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มโดยเฉพาะไทใหญ่รู้สึกหวาดกลัวที่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเนื่องจากมีข่าวลือว่าจะส่งผล กระทบในด้านลบต่อครอบครัวของตนเอง ทั้งยังมีข่าวลือว่ารัฐบาลทหารพม่าจะฉวยโอกาสนี้จับนักเคลื่อนไหวทางการเมือง เเละชาวพม่าที่เป็นมุสลิมจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่กระบวนการดังกล่าว แรงงานข้ามชาติหลายคนจ่ายเงินให้นายหน้า แต่นายหน้าก็เชิดเงินไปโดยไม่ได้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแต่อย่างใด   นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า “สรส. มสพ.และ คสรท. วิตกกังวลถึงผลกระทบจากพัฒนาการดังกล่าว เราเกรงว่าความปลอดภัยของเแรงงานข้ามชาติจะได้รับผลกระทบจากกระบวนการพิสูจน์ สัญชาติที่ดูเหมือนจะทำให้แรงงานข้ามชาติถูกแสวงหาประโยชน์อย่างกว้างขวางอีกครั้ง กระบวนการพิสูจน์สัญชาติที่เริ่มแล้วเป็นกระบวนการในเชิงบวกแต่เป็นเรื่องที่อ่อนไหว กระบวนการนี้เริ่มต้นด้วยการทำให้แรงงานข้ามชาติต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น หลังจากเพิ่งสิ้นสุดการขึ้นทะเบียนแรงงานรอบล่าสุดเพียงไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งแรงงานข้ามชาติเพิ่งจะเสียค่าใช้จ่ายอย่างสูงไปแล้วครั้งหนึ่ง รัฐบาลไทยให้ข้อมูลเรื่องนี้เพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะต่อกลุ่มชุมชนแรงงานข้ามชาติ”   นายโคทม อารียา ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา กล่าวเสริมว่า “มสพ. สรส. และ คสรท. จะ เรียกร้องให้ผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ ให้จัดตั้งกระบวนการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ในเรื่องกระบวนการพิสูจน์สัญชาติที่เพิ่งเริมต้นขึ้น เราจะส่งข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลไทยหนึ่งชุด รวมทั้งข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลไทยควรที่จะดำเนินการผลักดันอย่างแข็งขันให้รัฐบาลพม่ามาดำเนินกระบวนการพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย สิ่งเหล่านี้จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ทำให้กระบวนการรวดเร็วยิ่งขึ้น และที่สำคัญย่อมช่วยลดการใช้นายหน้าซึ่งขูดรีดแสวงหาประโยชน์จากแรงงานโดยไม่จำเป็น หากกระบวนการยังคงดำเนินอยู่ต่อไปเช่นนี้คงดูเหมือนว่าไร้ประสิทธิภาพ เรากลัวว่าแรงงานข้ามชาติพม่าอาจจะกลายมาเป็นเหยื่อของการแสวงหาประโยชน์อีกครั้ง เดือดร้อนโดยการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น และบางทีอาจกลายมาเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เช่นเดียวกับการที่พวกเขาเดินทางไปยังชายแดนกับนายหน้าที่ไม่ได้รับการควบคุม   ในส่วนของข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการพิจสูจน์สัญชาติ และลดความเสี่ยงที่แรงงานข้ามชาติจะถูกขูดรีดแสวงประโยชน์ คือ 1.รัฐบาลไทยควรเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าจัดตั้งศูนย์ประสานงานการพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องแบกรับเป็นจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยของแรงงาน เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ และที่สำคัญย่อมช่วยลดการใช้นายหน้าโดยไม่จำเป็น   2.กระทรวงแรงงานและกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการให้ความรู้แก่แรงงานข้ามชาติพม่าอย่างทั่วถึงโดยเร่งด่วน เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าใจกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ รวมทั้งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เมื่อสิ้นสุดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว การประชาสัมพันธ์ควรมีการวางแผนและประสานงานกับเจ้าหน้าที่พม่า การประชาสัมพันธ์ควรจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องให้มีภาษาท้องถิ่นต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า เเละภาษาไทยสำหรับนายจ้าง   3.กระทรวงแรงงานย่อมตระหนักดีว่าแรงงานข้ามชาติเพิ่งเสียค่าขึ้นทะเบียนแรงงานประจำปี 2552-2553 โดย แรงงานแต่ละคนต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 6,000-7,000 บาทต่อคน เเละใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุลง ในอีก 8 เดือนข้างหน้า ในวันที่28 กุมภาพันธ์ 2553 แทนที่จะหมดอายุในเวลาอีก 12 เดือน กระทรวง แรงงานเเละนายจ้าง ควรดำเนินมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติขณะดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งจะลดความเสี่ยงของแรงงานข้ามชาติที่อาจตกเป็นแรงงานทาสเพื่อชดใช้หนีที่เกิดขึ้น   4.หากจำเป็นต้องใช้นายหน้าในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ นายหน้าควรอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวด โดยรัฐบาลไทยเพื่อป้ องกันการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานข้ามชาติ มิเช่นนัน0 ก็ย่อมจะมีความ เป็ นไปได้สูงที่นายหน้าบางกลุ่มจะเรียกราคาเกินควรหรือกระทำการหลอกลวงต้มตุ๋นแรงงานข้ามชาติ ใน สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากไม่มีการกำกับดูแลนายหน้า แรงงานที่ใช้บริการนายหน้าเพื่อเดินทางไป เมืองชายแดนที่ห่างไกล ย่อมมีความเสี่ยงสูงจะตกเป็นเหยื่อการลักลอบขนคนเข้าเมือง หรือกระบวนการ ค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรี ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ โดยอาศัยทุกวิถีทางที่จะกระทำได้   5. รัฐบาลไทยควรบรรเทาความหวาดกลัวในชุมชนแรงงานข้ามชาติ โดยให้ความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน เเละ สหภาพที(ทำงานด้านเเรงงานข้ามชาติ เรื่องกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และ/หรือ จัดให้หน่วยงานดังกล่าว เข้าเยี่ยมชมศูนย์การพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นกระจายข้อมูลต่อไปยังแรงงานข้ามชาติ 6. รัฐบาลไทยกำหนดระยะเวลาที่แรงงานข้ามชาติจะต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งเป็นกำหนดระยะเวลาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และก่อให้เกิดความ หวาดกลัวอย่างรุนแรงในหมู่แรงงานข้ามชาติว่าอาจถูกผลักดันออกนอกประเทศก่อนกระบวนการพิสูจน์ สัญชาติจะแล้วเสร็จ รัฐบาลควรลดความหวาดวิตกกังวลของแรงงานข้ามชาติ เเละควรกำหนดกรอบ ระยะเวลาใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง   7. เนื่องจากการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าเกือบ 2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้เเล้วเสร็จนั้น ย่อม ต้องใช้เวลาดำเนินการ รัฐบาลไทยควรดำเนินการเพื่อให้ผู้ที่ยังมิได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้รับสิทธิต่างๆ เท่าเทียมกับผู้ที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว     ............................. หมายเหตุ: สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คือสมาพันธ์ระดับชาติ ซึ่งเป็นตัวเทนของสหภาพเรงงานพนักงานรัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ในประเทศไทย มีสมาชิกลงทะเบียนกว่า 170,000 คน และเป็นองค์การที่มีความเกี่ยวข้องกับเครือข่าย สมาพันธ์แรงงานนานาชาติ, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เป็นมูลนิธิจดทะเบียนในประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้กับมาตรฐาน ด้านสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ ในประเทศไทย, คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) คือคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยสหพันธ์แรงงาน 24 แห่ง สหภาพแรงงานและองค์การพัฒนาเอกชนที่รณรงค์ประเด็นแรงงานในประเทศไทย
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/47743
2013-07-17 14:43
วิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิตฯ ขอโทษกรณีรับน้องนอกสถานที่ไม่เหมาะสม
กรณีภาพรับน้องริมชายหาดที่มีการเผยแพร่นั้น ล่าสุดวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต ได้เผยแพร่จดหมายขอโทษต่อสาธารณะแล้ว และว่ากิจกรรมดังกล่าวละเมิดนโยบายมหาวิทยาลัย โดยมีการเรียกผู้เกี่ยวข้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมแล้ว กรณีที่เพจ Anti-Sotus [1] มีการเผยแพร่ภาพกิจกรรมรับน้องนอกสถานที่ ฉากหลังเป็นชายหาด มีนักศึกษาหญิงรุ่นพี่ยืนถ่ายรูปคู่กับรุ่นน้องนักศึกษาชาย 6 คน ที่ยืนเปลือยกายใช้มือปิดบังอวัยวะเพศนั้น ล่าสุดวันนี้  (17 ก.ค.) วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต [2] ส่งจดหมาย "แถลงการณ์ ขอโทษต่อกรณีกิจกรรมของนักศึกษาที่ไม่เหมาะสม" หลังจากได้ตรวจสอบภาพดังกล่าว โดยระบุว่ากิจกรรมดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับสถาบัน โดยท้ายแถลงการณ์ได้กล่าวขอโทษสังคมมา และยืนยันว่าจะพยายามเข้มงวดกวดขันไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก โดยจดหมายเนื้อหาดังนี้  "แถลงการณ์ ขอโทษต่อกรณีกิจกรรมของนักศึกษาที่ไม่เหมาะสม" จากกระแสข่าวกรณีความไม่เหมาะสมในภาพกิจกรรมของนักศึกษา ซึ่งมีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ในเบื้องต้นทางผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อภาพที่ปรากฏ พบว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพของนักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ร่วมกันเป็นการส่วนตัว มิได้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของวิทยาลัยฯ แต่ประการใด สำหรับการออกนอกสถานที่ของนักศึกษาที่ไม่เหมาะสม ถือเป็นการละเมิดนโยบายของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีแนวทางการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นแบบอย่างที่ดีของการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ สร้างความรัก ความสามัคคีในกลุ่มนักศึกษา เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของบุคคล อีกทั้งไม่กระทบการเรียนการสอน และได้กำหนดแนวปฏิบัติในการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ให้เป็นไปด้วยความเหมาะสม รวมทั้งไม่อนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เล่นการพนัน หรือกระทำการอื่นใดที่ผิดกฎหมายนักศึกษาต้องแต่งกายสุภาพ และงดการแสดงที่ส่อไปในทางลามกอนาจาร ให้ยึดรูปแบบในเชิงสร้างสรรค์เน้นกิจกรรมเสริมสร้างสังคม สร้างความรัก ความสามัคคี และผูกพันต่อสถาบัน อาจารย์ และนักศึกษา กระทำด้วยความสุภาพสมกับความเป็นปัญญาชน เคารพในสิทธิมนุษยชนและคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยให้การดำเนินกิจกรรมอยู่ในดุลยพินิจและความรับผิดชอบของแต่ละวิทยาลัย / คณะ/ สถาบัน ทั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เชิญนักศึกษามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้ตรงกับระเบียบของมหาวิทยาลัยแล้ว อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงขอโทษสังคมมา ณ โอกาสนี้ และจะพยายามเข้มงวดกวดขันไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/63789
2016-01-30 14:06
ปัญหาลัทธิลูกเทพ (2) : ภาษา, อำนาจ, พิธีกรรม และภาวะความเป็นมนุษย์
ที่มาภาพ: http://selftaughtfilm.com/  คงยังจำกันได้ว่า  หนังเรื่อง Cast away  (ชื่อเรื่องภาษาไทยว่า “คนหลุดโลก”)  มีฉากหนึ่ง  เรียกน้ำตาดราม่ากับผู้ชมได้มาก  และเป็นฉากที่กล่าวกันว่า  ส่งให้หนังเรื่องนี้เข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้วด้วย คือ ฉากที่ตัวเอกอย่างอีตาชาค โนแลนด์ (รับบทโดย ทอม แฮงส์) กำลังว่ายน้ำทะเลอยู่  พร้อมร้องเรียกหาเพื่อนของเขา  อย่างสุดจิตสุดใจ  “วิลสันนนนน”  ก่อนที่วิลสันและตัวเขาจะถูกคลื่นทะเลซัดหายลับจากกันไป  ฉากนี้คงเป็นฉากธรรมดา  หากวิลสันเป็นมนุษย์  หรือแม้แต่หมา แมว  แต่ฉากนี้กลับมีความไม่ธรรมดา  เมื่อวิลสันเพื่อนโนแลนด์นั้นคือลูกบอล  ไม่ใช่มนุษย์  ย้อนกลับไปที่ต้นเรื่อง  เมื่อแรกโนแลนด์กับเพื่อน  เครื่องบินตก  เขารอดชีวิตแต่ไปติดเกาะร้างกลางมหาสมุทรอยู่คนเดียว  แน่นอนเขาเหงา  ไม่มีเพื่อนมนุษย์ให้พูดคุย  ครั้นเห็นลูกบอลติดสีฝ่ามือเป็นรูปคล้ายใบหน้าคน  ทรงผมตั้งตรง  โนแลนด์เกิดไอเดีย  จึงใช้นิ้ววาดรูปตาและปากให้กับลูกบอลนั้น  แล้วตั้งชื่อว่า “วิลสัน”  ตั้งแต่นั้นวิลสันก็กลายเป็นเพื่อนคนเดียวที่มีอยู่บนโลกในยามนั้นของโนแลนด์  เขาพูดคุยสนทนาและปฏิบัติเหมือนวิลสันเป็นมนุษย์  วิลสันทำให้เขาไม่เหงา  ชดเชยกับความรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้อยู่คนเดียวบนเกาะร้าง  และคิดถึงเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ ที่อยู่อีกฟากของทะเล  วิลสันช่วยให้เขารอด  เพราะรักษาความเป็นมนุษย์ในภาวะที่ไร้มนุษย์  ทำไมวิลสันถึงต้องหายไป เมื่อโนแลนด์จะรอดชีวิตออกจากเกาะ ? คิดว่า เพราะวิลสันหมดสิ้นบทบาทหน้าที่ วิลสันคือผู้ช่วยให้โนแลนด์สามารถรักษารูปแบบภาษา การสื่อความหมาย การถ่ายทอดภาวะอารมณ์ความรู้สึก ในแบบที่มนุษย์ผู้อยู่ในสังคมร่วมกับมนุษย์ผู้อื่นพึงมี  เพราะภาษาเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับความเป็นมนุษย์  มนุษย์คิด ตระหนักรู้ และจัดประเภทสิ่งต่างๆ ก็โดยผ่านทางภาษา ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า วิลสันก็คือสังคม คือมนุษย์ที่อีตาโนแลนด์มโนขึ้นมา  เพื่อรักษาจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ของตนเอง  เมื่อโนแลนด์รอดชีวิตออกจากเกาะมาได้แล้ว  วิลสันจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับเขาอีกต่อไป    กลับกันหากเป็นในสังคมที่มีผู้คนมากมาย แต่ก็ยังไม่วายที่มีคนรู้สึกไม่ต่างจากอยู่บนเกาะร้างคนเดียว  วิลสันจะแฝงอยู่กับวัตถุชิ้นไหนในสังคมมนุษย์ ใช่มือถือ,ไอโฟน,ซัมซุง,กระเป๋า,เสื้อผ้า, รถ, คอมพิวเตอร์ ฯลฯ หรือไม่???  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันเอง  กำลังถูกแทนที่แย่งซีนอีกครั้งในสังคมไทย  ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวัตถุ  ผ่านทางภาษาใช่หรือไม่? แล้วมันต่างจากวัตถุอื่นมนุษย์เคยใช้กันมาอย่างไร  ชาวพุทธมโนความสำคัญของพระพุทธรูป สถูปเจดีย์กันแบบไหน ชาวคริสต์คุยกับไม้กางเขนโดยถือว่านั่นคือการสื่อสารกับพระเจ้าได้อย่างไร ฯลฯ       เรื่องลูกเทพ  ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ตัววัฒนธรรมความเชื่อ จะผี พุทธ พราหมณ์ คริสต์ อิสลาม ก็ไม่เกี่ยว หากวัฒนธรรมความเชื่อเป็นเพียงวัฒนธรรมความเชื่อ เป็นเรื่องปัจเจกบุคคล จะไปไหว้ต้นไม้ หรือเซ่นผีที่ไหน คงไม่มีใครว่า แต่ที่มันเป็นปัญหาก็เพราะสาเหตุดังต่อไปนี้   1. ลูกเทพมาใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกับมนุษย์ ในระนาบเดียวกับมนุษย์ ในขณะที่พื้นที่สาธารณะของมนุษย์แต่ละคนในปัจจุบัน ล้วนต่างถูกก็เบียดขับแย่งชิงพื้นที่ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ตั้งแต่ร้านกาแฟ, ร้านอาหาร, ห้างสรรพสินค้า, รถเมล์, แท็กซี่, รถทัวร์, เครื่องบิน ฯลฯ ลำพังมนุษย์ด้วยกันก็ล้นหลามมากอยู่แล้ว ลองนึกถึงช่วงเทศกาล มนุษย์ต้องกินต้องใช้ต้องเดินทาง ต้องการการบริการ ภาวะเร่งรีบ ด้วยกันทั้งนั้น  คนที่ไม่เชื่อ ไม่เล่น ก็เลยรู้สึกถึงความไม่สมเหตุสมผลที่ต้องสูญเสียหรือถูกแย่งชิงพื้นที่ในชีวิตประจำวันไปโดยตุ๊กตา  2. สาวกลัทธินี้ยังมีพฤติกรรม/พิธีกรรม/วัตรปฏิบัติ ที่ถือเป็นการบังคับเรียกร้องให้คนอื่นที่ไม่เชื่อไม่นับถือเหมือนอย่างตน  ต้อง treat ต้องปฏิบัติต่อวัตถุที่ถูกหมายให้เป็น “ลูกเทพ” นั้น ในฐานะมนุษย์  หรือเหมือนอย่างเป็นมนุษย์ไปเหมือนกับตนด้วย เช่นกรณีคนขับแท็กซี่  ที่เล่าว่าถูกผู้โดยสารบอกให้ขับรถดีๆ เพราะลูกเทพเวียนหัว  ซึ่งอันนี้มันอันตราย เพราะเลยพ้นขอบเขตความเป็นวัฒนธรรมความเชื่อที่สังคมจะอนุญาต การบังคับให้คนที่เขาไม่เชื่อเหมือนอย่างตนต้องปฏิบัติต่อวัตถุในจินตนาการความมโนของตน เหมือนอย่างที่ตนปฏิบัติด้วยนั้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิของคนอื่นๆ  ตรงข้าม หากลูกเทพ (ซึ่งจริงๆ ตัวผู้ถือตุ๊กตานั่นต่างหากที่ทำให้ลูกเทพมีวิญญาณสิงไปจริงๆ) ไม่เข้ามาแย่งพื้นที่สาธารณะกับมนุษย์ และผู้ที่เชื่อ/เล่น/เลี้ยง ไม่เรียกร้องหรือบังคับให้คนอื่นต้องปฏิบัติต่อตุ๊กตาของตนเหมือนอย่างมนุษย์ไปกับตนด้วย ลัทธิความเชื่อนี้ก็จะยังมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต และสังคมจะไม่เห็นเป็นพิษเป็นภัยที่ต้องต่อต้านอะไรมากมาย อย่างมากก็ด่าว่าบ้า โง่ งมงาย ไร้สาระ โดยไม่นำพาไปสู่การแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด เพราะเขาไม่มองมันเป็นปัญหา  แต่ท้ายสุดแล้วคนที่เชื่อกับไม่เชื่อ ก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้ บนเงื่อนไขว่าให้อยู่ในพื้นที่ส่วนบุคคล เป็นความเชื่อส่วนบุคคล  มีพื้นที่ ชุมชน ของตนเอง แยกต่างหาก ไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวหรือบังคับคนที่เขาไม่เชื่อเหมือนอย่างตน ให้ต้องเชื่อ ต้องปฏิบัติ  เหมือนอย่างตนไปด้วย มันไม่แฟร์และเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่น  สาวกลัทธิใหม่นี้จึงควรเรียนรู้ที่จะเคารพสิทธิของผู้ที่เชื่อหรือเห็นต่างจากตน ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้ ส่วนความเชื่อเนื่องในลัทธินี้  จะมีรูปแบบเนื้อหาอย่างไร ไหว้อะไร คุยอยู่กับอะไร  โอ๊ยสังคมประเทศนี้มันก็เต็มไปด้วยผีบ้ากันทั้งนั้นแหล่ะครับ  จะทำยังไงให้มันอยู่ร่วมกันได้  ไม่ทำร้ายกันต่างหากล่ะ!!!
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/49275
2013-10-16 13:08
"ความฝันเดือนตุลาฯ" ปาฐกถา 40 ปี 14 ตุลาโดยเสกสรรค์ ประเสริฐกุล
วิดีโอปาฐกถาพิเศษวาระ 40 ปี 14 ตุลา โดยเสกสรรค์ ประเสริฐกุล "ความฝันเดือนตุลา สี่สิบปีแห่งการแสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในประเทศไทย" ในงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลา ที่ลานโพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 14 ต.ค. 56   เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 56 ในงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลา จัดโดยมูลนิธิ 14 ตุลาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ลานโพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ผู้นำการเดินขบวนในเดือนตุลาคมปี 2516 อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "ความฝันเดือนตุลา สี่สิบปีแห่งการแสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในประเทศไทย" (ปาฐกถาฉบับเต็ม อ่านที่นี่ [1]) ตอนหนึ่งของปาฐกถาเขากล่าวว่า "แล้วถามว่า ทำไมประชาชนจึงหันมาฝากความหวังไว้กับประชาธิปไตย  คำตอบมีอยู่ว่าเพราะประชาธิปไตยเป็นระบอบการเมือง ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถผลักดันความฝันให้เป็นจริงได้ด้วยพลังของตนเอง" "ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยวิธีการกับจุดหมายสามารถเชื่อมร้อยเป็นเนื้อเดียว  ไม่ว่าจะเป็นการหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง การชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรม การแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐ  หรือการเดินขบวนสำแดงกำลัง" "สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการเคลื่อนไหวที่ไม่เพียงสะท้อนเจตจำนงของประชาชนในประเด็นต่าง ๆ  หากยังเป็นการแสดงออกซึ่งความเท่าเทียมกันของสมาชิกในสังคม  ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่ามันคือเสรีภาพที่ปรากฏตัวอย่างเป็นรูปธรรม" "ในความเห็นของผม เราจำเป็นต้องวัดความคืบหน้าของประชาธิปไตยด้วยบรรทัดฐานนี้  ตราบใดที่ประชาชนหมู่เหล่าต่างๆ สามารถใช้พื้นที่ประชาธิปไตยเป็นเวทีแก้ปัญหาและยกระดับชีวิตของพวกเขาได้ ตราบนั้นเราคงต้องถือว่าระบอบการเมืองกำลังทำงานได้ดี" "ในทางกลับกัน ถ้าความยากลำบากของประชาชนถูกมองข้าม  อำนาจต่อรองของผู้คนจำนวนมากถูกจำกัด หรือพื้นที่ทางการเมืองของพวกเขาถูกปฏิเสธ ก็แสดงว่าระบอบการเมืองเองกำลังมีปัญหา  ไม่ว่าระบอบนั้นจะชูธงประชาธิปไตยหรือไม่ก็ตาม" ในตอนท้ายปาฐกถาเขากล่าวด้วยว่า "ผลกระทบของโลกภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในระดับรัฐบาล ในระดับนี้  ความยากลำบากที่สุดอยู่ที่บทบาทการเป็นผู้นำประเทศ หรือผู้นำของฝ่ายบริหาร  ทั้งนี้เนื่องจากกรอบอ้างอิงเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวมแบบเก่าเริ่มใช้ไม่ได้" "เศรษฐกิจไร้พรมแดนทำให้ผลประโยชน์ต่างชาติกับของคนในประเทศไม่มีเส้นแบ่งอีกต่อไป ขณะที่ผลประโยชน์ของชนชั้นที่ได้เปรียบก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับของชนชั้นที่เสียเปรียบ ยังไม่ต้องพูดถึงความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มประชาชนในอีกสารพัดเรื่อง ซึ่งทำให้ยากต่อการเหมารวมว่ารัฐบาลกำลังทำเพื่อคนไทยทุกคน" "ในเมื่อรัฐบาลขาดข้ออ้างที่ทุกฝ่ายยอมรับ  การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารย่อมถูกคัดค้านถี่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นวิกฤตฉันทานุมัติ อย่างต่อเนื่อง มวลชนจำนวนมหาศาล และหลายหมู่เหล่า เริ่มเห็นว่ารัฐไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะต้องเชื่อฟังกันโดยปราศจากเงื่อนไข  ดังนั้นจึงพร้อมจะกดดันรัฐบาลให้ค้ำประกันผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของพวกเขา" "ตามความเห็นของผม วิธีแก้ไขสภาพดังกล่าวไม่อาจเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้องยอมรับว่าสังคมไทยไม่ได้ประกอบด้วยราษฎรก้อนเดียวที่รักกันอยู่ตลอดเวลา และใครก็ตามที่มีบทบาทนำพาประเทศจะต้องเลิกอ้างอิงผลประโยชน์แห่งชาติแบบลอย ๆ เพื่อปกปิดผลประโยชน์ทางชนชั้นเสียที เพราะถึงอย่างไรก็ปิดไม่มิดอยู่แล้ว" "อันที่จริงผลประโยชน์อันล่อนจ้อนของนายทุนก็มีส่วนทำให้ชนชั้นล่าง ๆ ไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากจะเรียกร้องผลประโยชน์อันล่อนจ้อนของชนชั้นตนด้วย  ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ราคาข้าว ราคายาง หรือค่าชดเชยเรื่องมลภาวะ  พูดกันง่าย ๆ คือไม่มีใครยอมอ่อนข้อ หรือเสียสละเพื่อสิ่งที่จับต้องไม่ได้อีกต่อไป" "ล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เปิดเผยเมื่อต้นเดือนตุลาคมว่าปีนี้มีการชุมนุมของประชาชนไทยมากกว่า 3,000 ครั้ง และในจำนวนนั้นเป็นการประท้วงหรือเรียกร้องเรื่องเศรษฐกิจปากท้องถึง 1,939 ครั้ง ที่เหลือเป็นเรื่องการเมือง" "แน่ละ เราอาจตีความได้ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงสิทธิเสรีภาพของชาวไทยในยุคปัจจุบัน แต่สำหรับความเสมอภาคและความเป็นธรรมแล้วเห็นทีจะไม่ใช่  ข้อเท็จจริงคือผู้คนกำลังเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์  และไม่มีใครยอมรับความเดือดร้อนนี้โดยไม่ต่อสู้ดิ้นรน" "ดังนั้น ผู้นำการเมืองที่ตื่นรู้จึงควรย้ายฐานความชอบธรรมของอำนาจไปสู่การสนองผลประโยชน์รูปธรรมของประชาชนให้มากขึ้น  ยอมรับว่ารัฐบาลต้องมีบทบาทบริหารความเป็นธรรมและแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากกลไกตลาด  รวมทั้งต้องรับฟังเสียงของประชาชนที่หลากหลายแตกต่างไม่เฉพาะในช่วงเสียงเลือกตั้ง หากตลอดช่วงที่อยู่ในอำนาจ และในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ" "หากทำเช่นนั้นได้ก็เท่ากับแปรวิกฤตฉันทานุมัติให้เป็นโอกาสในการพัฒนาประชาธิปไตย" "ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผมต้องขออภัยที่ได้ใช้เวลาค่อนข้างมากในการพูดถึงความเหลื่อมล้ำ และผลกระทบที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยไทย อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าประเด็นนี้คือปัญหาใหญ่สุดของยุคสมัย  ทั้งของโลกและของบ้านเรา มันเป็นสถานการณ์ที่สาปแช่งคนจำนวนมหาศาล ให้จมปลักอยู่กับความต่ำต้อยน้อยหน้า อับจนข้นแค้น และเสียโอกาสที่จะได้ลิ้มรสความเจริญ" "วันนี้ ผมขออนุญาตเป็นปากเสียงให้กับพี่น้องเหล่านั้น เพราะผมคิดว่าพวกเขามีโอกาสน้อยเกินไปในการพูดถึงความเสียเปรียบของตน" "โดยสารัตถะแล้ว สิ่งที่ผมพูดก็ไม่ได้ต่างจากที่เคยพูดเมื่อ 40 ปีที่แล้ว  ไม่ได้หลุดไปจากความฝันเดือนตุลาคมที่หมุดประวัติศาสตร์กำลังจะจดจารึกไว้ เพียงแต่ว่าในวันนี้ บริบทที่เปลี่ยนไปของโลก ทำให้เราเห็นพ้องต้องกันน้อยลง ... ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติรับฟัง"
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/54397
2014-07-03 21:08
คำสั่ง คสช. ฉ.84 ย้าย 'พงศพัศ' พ้นเลขาฯ ปปส. ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์พ้นตำแหน่ง
3 ก.ค.2557 เมื่อเวลาประมาณ 20.40 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เผยแพร่คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 84/2557 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะ หัวหน้า คสช. เรื่องกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง เนื้อหาระบุว่า เพื่อให้การปฏิบัติงานต่างๆ เรียบร้อย หัวหน้า คสช.มีคำสั่ง 1.กำหนดตำแหน่งผู้ตรวจราชการ เพิ่มขึ้นในสำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม 1 ตำแหน่ง2.พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย พ้นจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม3.นายวิทยา สุริยะวงศ์ พ้นจากผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์4.นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ พ้นจากรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม5.พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พ้นจากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) กลับไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ6.ให้นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต รองเลขาธิการ ปปส. ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ปปส. ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป และเมื่อมีการตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และเมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมแล้วให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก ก่อนหน้านี้ ช่วงบ่ายวันเดียวกัน  ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก และทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีมีการเผยแพร่ประกาศคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 83/5 เรื่องการโยกย้ายพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร. และเลขาธิการณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา ว่า ยืนยันว่าเอกสารดังกล่าวที่นำมาเผยแพร่ทางสื่อโซเชียลต่างๆ เป็นของปลอม ไม่ใช่ประกาศคำสั่งของจริง เพราะการประกาศคำสั่งใดๆ ของคสช. จะประกาศผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ คสช. แต่เอกสารฉบับที่เผยแพร่ออกมาตามสื่อต่างๆ เป็นการนำประกาศเก่าๆ ของคสช.มาเรียบเรียงใหม่ อีกทั้งยังใช้ตัวเลขอารบิกซึ่งขัดกับเอกสารจริงที่จะต้องใช้ตัวเลขไทยเท่านั้น ทั้งนี้ ฝ่ายกฎหมายของคสช.ได้ตรวจสอบเพื่อติดตามผู้กระทำการดังกล่าวแล้ว เพราะถือว่าเข้าข่ายความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการและผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จึงขอฝากให้ประชาชนทั่วไปติดตามประกาศ คสช.ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจเพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง อนึ่ง ผู้สื่อข่าวตั้งข้อสังเกตว่า ไม่พบคำสั่ง คสช.ที่ 82 และ 83 ในเว็บไซต์สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งรายงานประกาศและคำสั่ง คสช. อย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด   ที่มา: ข่าวสดออนไลน์ [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/10106
2006-10-15 23:01
ปิดทุก ISP ในเมืองไทย เหตุเข้า www.19sep.net ไม่ได้
ประชาไท - 15 ต.ค. 2549 นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด กล่าวถึงกรณีที่เว็บไซต์ www.19sep.net [1] ซึ่งตนเป็นผู้จดทะเบียนไม่สามารถเข้าถึงได้ ว่า เว็บไซต์ของเขาถูกปิดเมื่อวาน (14ต.ค.) เวลา 16.00น. โดยจากการตรวจสอบทางเทคนิคพบว่า เป็นการบล็อกโดเมน ปิดทุก ISP ในเมืองไทย ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้ได้ เนื่องจากได้ย้ายเซิร์ฟเวอร์มาจากสหรัฐฯ แล้ว   นายสมบัติ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ไม่ได้รับการเตือน หรือการติดต่อจากหน่วยงานไหนเลยว่าทำไมจึงต้องปิดเว็บ ทั้งนี้ จะไม่ย้ายไปไหนแล้ว จะสู้ต่อไป โดยในวันพรุ่งนี้ (16ต.ค.) จะสอบถามไปยังกระทรวงไอซีทีถึงเหตุผลในการปิด หากยังไม่ได้คำตอบก็จะสอบถามต่อไปยังผู้ให้บริการ ISP 18 แห่งในประเทศ อย่างไรก็ตาม หากได้รับคำตอบว่า ปิดเว็บเพราะเราทำผิดกฎหมายก็จะไปสู้กันที่ศาลปกครอง   นายสมบัติ เล่าว่า หลังจากเว็บไซต์แรก คือ www.19sep.org [1] ถูกปิดและได้จดทะเบียนใหม่ในชื่อ www.19sep.net [1] ก็ถูกปิดอีกเช่นกัน โดยได้โทรศัพท์ไปที่กระทรวงไอซีที เมื่อแจ้งชื่อนามสกุลของตัวเอง ทางกระทรวงไอซีทีก็พูดขึ้นว่า "บก.ลายจุดเหรอ" นั่นแสดงว่า เขามอนิเตอร์เราอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม กระทรวงไอซีทีได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ทำการปิดเว็บแต่อย่างใด   ต่อมาได้สอบถามไปที่ ISP ซึ่งทุกเจ้าต่างปฏิเสธว่าไม่ได้ทำอะไร สุดท้าย เมื่อแจ้งไปว่าจะฟ้องร้องดำเนินคดี ทาง ISP จึงติดต่อมาว่า ได้ตรวจสอบทางเทคนิคและแก้ไขให้แล้ว โดยบอกว่า ที่เข้าไม่ได้เพราะมีการ bypass proxy
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/41152
2012-06-20 01:38
จาก 7 ต.ค.-พ.ค.53 คำถามต่อ "แพทย์" ถึงการให้ความช่วยเหลือ
ภาพจาก The doctr [1](CC BY-NC-ND 2.0)     (19 มิ.ย.55) ในการประชุมสังคมวิทยาระดับชาติ ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “แผ่นดินเดียวกันแต่เหมือนอยู่คนละโลก ? : วาระการวิจัยเพื่ออนาคต” ผกาวดี สุพรรณจิตวนา นักวิชาการสาธารณสุข เสนองานวิจัยเรื่อง “การช่วยเหลือทางการแพทย์ในสถานการณ์ความรุนแรงกับพลวัตของความไว้วางใจ” โดยกล่าวว่า เหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดคำถามคือ กรณี เสธ.แดง ที่ถูกยิงห่างจากประตูโรงพยาบาลจุฬาฯ ไม่เท่าไหร่ แต่ถูกนำส่งโรงพยาบาลที่ไกลออกไปมาก ประเด็นสำคัญคือ เกิดอะไรขึ้นกับความไว้วางใจของบุคลากรหรือของสถาบันทางด้านการรักษาพยาบาล จนทำให้ไม่กล้านำคนเจ็บสาหัสเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ได้ชื่อว่าอันดับหนึ่งของประเทศ โดยเมื่อย้อนดูที่มา จะพบการแสดงบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์หลายอย่างที่นำมาสู่จุดนั้น บุคลากรทางการแพทย์หลายคนแสดงจุดยืนโดยไม่ใช่ความรู้ทางการแพทย์มาเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่บอกว่าในฐานะแพทย์ รู้สึกหรือมีจุดยืนอย่างไรกับความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิด อีกกลุ่มคือกลุ่มที่เอาความรู้ความสามารถทางการแพทย์มาเป็นเงื่อนไขทางการเมืองเรียกร้องประเด็นบางอย่างทางการเมือง เช่น การแถลงข่าวงดตรวจตำรวจในเครื่องแบบ ประเด็นนี้ก่อให้เกิดการวิจารณ์จริยธรรมทางการแพทย์อย่างรุนแรงทั้งในกลุ่มแพทย์เองและสังคมทั่วไป หรือการใช้ความรู้ทางการแพทย์เจาะเลือดไม่ใช่เพื่อการรักษา แต่เพื่อแสดงออกทางการเมืองว่า พร้อมพลีเลือดเพื่อประเทศชาติ ทั้งสองกรณีนี้เป็นกลุ่มที่บอกว่าความรู้ทางการแพทย์ถูกนำมาใช้สนับสนุนทางการเมือง และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่บอกว่า ไม่เข้าข้างฝ่ายใด ใครเข้ามาก็รักษา ปัญหาคือพื้นที่รักษาอยู่ตรงไหน โดยพื้นที่ที่เข้าไปรักษาบางครั้งเกี่ยวข้องกับการบอกว่าตัวเองอยู่ข้างไหน ทั้งนี้ บางที ทำงานอยู่ที่เดิม แต่ถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นกลาง ผกาวดีชี้ว่า บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อยสามบทบาทซ้อนทับกัน และไม่สามารถแสดงความชัดเจนในตัวเองออกมาได้ โดยการอ้างว่า ให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด บางทีไม่ได้ถูกสาธารณชนรับรู้ในลักษณะนั้น โดยเฉพาะคู่กรณีของแต่ละฝ่ายไม่ได้รับรู้ว่าความเป็นกลางของบุคลาการทางการแพทย์ในช่วงที่มีวิกฤตทางการเมืองนั้นเป็นกลางจริงหรือไม่ จนนำมาสู่การบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพื่อตรวจค้นในเดือนเมษายน หรือประนามบุคลาการทางการแพทย์ในหลายเหตุการณ์ว่าไม่มีจริยธรรม คำถามคือ เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ ควรทำอย่างไร อยู่เฉยๆ ใครเข้ามาก็รักษา หรือเมื่อถูกกล่าวหาจะทำอย่างไร และเครื่องมือ-ความรู้ทางการแพทย์ สามารถเป็นเงื่อนไขในการแสดงความเห็นทางการเมือง ได้หรือเปล่า ทำให้เกิดสันติวิธีหรือลดความรุนแรงได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรื่องการช่วยเหลือหรือการแทรกแซงทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในต่างประเทศเช่นกัน โดยยังเป็นที่โต้แย้งกันอย่างมาก และปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อสรุป โดยการช่วยเหลือหรือการแทรกแซงทางวัฒนธรรมนั้นมีหลักการว่าต้องยึดความทุกข์-ความยากลำบากของมนุษย์ กรณีกาชาดมีหลักที่ยึดว่า ไม่เผยแพร่หรือประนามฝ่ายใดในพื้นที่ที่ตัวเองทำงาน แต่ก็มีแพทย์กลุ่มย่อยที่ทำงานกับกาชาด บอกว่ากาชาดไม่เป็นกลางจริง แต่สนับสนุนความรุนแรงให้ดำรงอยู่และรุนแรงมากขึ้น เพราะเมื่อเจอรัฐทำรุนแรง กลับปิดปากเงียบ ก้มหน้าก้มตารักษาต่อไป ด้วยเหตุนี้ แพทย์บางกลุ่มจึงแยกตัวออกมา โดยกลุ่มที่เด่นมากคือ กลุ่มแพทย์ไร้พรมแดน เพื่อเผยแพร่ว่าประเทศนั้นๆ รัฐบาลโหดร้ายกับประชาชนอย่างไร อย่างไรก็ตาม การแยกตัวออกมาไม่ได้ทำให้เกิดคำถามเรื่องการปฏิบัติที่แตกต่างเท่านั้น แต่มีความไม่ไว้วางใจในจริยธรรมทางการแพทย์ในทางระหว่างประเทศด้วย ที่พูดถึงมาก คือ กรณีกาชาดในอิรักที่โดนทั้งคาร์บอมและระเบิดหลายครั้ง มีคำถามว่ากาชาดเข้าไปช่วยอย่างดีที่สุดแล้ว ทำไมจึงถูกทำร้าย ก็มีงานศึกษาพบว่า การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในอิรักทั้งหมด ถูกกำหนดโดยรัฐบาลจอร์จ บุชทั้งสิ้น โดยเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ทางการทหาร เพื่อให้ประชาชนอิรักหันมาหาสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีคำถามถึงอิสระในการให้ความช่วยเหลือด้วย โดยพบว่าองค์กรช่วยเหลือทางมนุษยชนหลายแห่งดำรงอยู่ด้วยเงินบริจาคโดยเฉพาะจากแถบยุโรปหรือสหรัฐฯ รวมถึงการบริจาคให้กับองค์กรต่างๆ ก็ขึ้นกับความสนใจของผู้บริจาค เช่น กรณีสึนามิอาจได้รับความสนใจมาก ขณะที่ไม่มีใครยอมบริจาคให้คองโก ซึ่งเกิดการฆ่าจำนวนมาก รวมถึงปัญหาด้านจริยธรรมที่เกิดจากการขยายขอบเขตหน้าที่จากการเป็นผู้ช่วยเหลือมาเป็นผู้สร้างเงื่อนไขให้เกิดสันติภาพ โดยในลิเบีย บาห์เรน ซีเรีย บุคลากรทางการแพทย์ถูกจับ ถูกฆ่า และถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งที่แพทย์ทำงานที่เดิม รักษาคนไข้ที่เดิม แต่ประเด็นคือชุมชนนั้นต่อต้านรัฐบาล เมื่อรัฐบาลทหารยึดพื้นที่นั้นได้ ก็จับแพทย์ที่ผ่าตัดผู้ประท้วงมาฆ่าด้วยข้อหาช่วยเหลือผู้ก่อการร้าย "ส่วนของไทยเอง ตั้งแต่ 7 ต.ค.51 จนกระทั่งถึง 29 เม.ย.53 ในเหตุการณ์บุกโรงพยาบาลจุฬาฯ จะเห็นว่ามันมีปัญหาความไม่ไว้วางใจจากการแสดงบทบาทดังที่ดิฉันได้กล่าวมาตอนต้น แล้วสุดท้ายการปฏิเสธการรักษาแบบมีเงื่อนไขของแพทย์บางกลุ่มและการใช้ความรู้ทางการแพทย์แสดงออกทางการเมือง ย่อมนำไปสู่การที่มีทั้งแนวคิด จริยธรรมและหลักการปฏิบัติทางการแพทย์ที่มีการโต้แย้งกันอยู่และหาข้อสรุปไม่ได้ว่า อะไรคือสิ่งที่เหมาะสมที่สุดที่ตัวเองควรจะทำในแต่ละสถานการณ์ แม้จะประกาศว่าเป็นกลางอย่างที่สุดและไม่เลือกฝ่ายมากที่สุด สังคมก็ยังไม่สามารถรับรู้ในประเด็นนั้นได้ จึงกลายเป็นบริบทที่ยังท้าทายบุคลากรทางการแพทย์และบริบทในประเทศไทย ซึ่งความรุนแรงก็ยังไม่จบสิ้นซะทีเดียว" อย่างไรก็ตาม ผกาวดีกล่าวถึงงานวิจัยชิ้นนี้ว่ายังไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยจากการได้มีการลงพื้นที่ภาคใต้ เพื่อไปดูว่าผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงมีการปฏิบัติทางการแพทย์อย่างไร เบื้องต้นพบว่า มีการใช้ความรู้ทางการแพทย์ตอบโต้กับอำนาจและความรุนแรง อาทิ การปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลคนไข้ที่ทหารต้องการตามจับ การห้ามไม่ให้ทหารเข้าไปตั้งค่ายในสถานีอนามัย หรือการยืนยันจะเข้าไปในพื้นที่ แม้จะถูกไล่จากประชาชนเพราะไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่รัฐ
1pos
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/73866
2017-10-29 20:26
หมายเหตุประเพทไทย #181 อิทธิพลญี่ปุ่นและการทูตวัฒนธรรม
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับ ทรายแก้ว ทิพากร นักวิจัยชำนาญการพิเศษ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ "การทูตวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในประเทศไทยในทศวรรษ 1970-1980" หาคำตอบร่วมกันว่านับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่น นอกจากความสำเร็จในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศแถวหน้าทางเศรษฐกิจแล้ว ญี่ปุ่นยังแก้ไขภาพลักษณ์พร้อมแผ่ขยายอิทธิพลผ่านการทูตวัฒนธรรม รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศอย่างไร พร้อมคำแนะนำหากสังคมไทยจะเลือกรับปรับใช้ซอฟท์พาวเวอร์จากญี่ปุ่น ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/maihetpraphetthai [1]หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai [2]
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/57580
2015-01-26 01:03
หลายองค์กรภาคประชาสังคมชายแดนภาคใต้ ยกคณะช่วยเหลือเหยื่อน้ำท่วมกลันตัน
หลายองค์กรภาคประชาสังคมชายแดนภาคใต้ ในนามเครือข่ายชาวพุทธ สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี ชุมชนศรัทธาและเครือข่ายองค์กรประชาสังคมนราธิวาส ยกคณะช่วยเหลือเหยื่อน้ำท่วมกลันตัน ไม่เลือกชาติพันธ์ ศาสนา พร้อมมอบของบริจาคผ่านเจ้าอาวาสวัดพิกุลทองวราราม,สมาคมชาวสยามรัฐกลันตัน ชาวบ้านเผยหนักที่สุดในประวัติศาสตร์ ยังต้องการน้ำ ไฟฟ้าและแก๊ส   เมื่อวันที่ 24  มกราคม 2558 องค์กรภาคประชาสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในนามเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี ชุมชนศรัทธาและเครือข่ายองค์กรประชาสังคมนราธิวาส ได้นำข้าวสาร อาหารแห้งและน้ำดื่มไปมอบแก่ชุมชน 3 แห่งในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ได้แก่ Kampung Terbak, Kampung Air Dingin อ.ตุมปัต และ Kampung Manek Urai Lama อ.กัวลากือไร ทั้งนี้ทางคณะได้เดินทางข้ามชายแดนที่ด่านสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ถึงจุดนัดหมายแรกที่วัดพิกุลทองวราราม Kampung Terbak มีผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและชาวบ้านมาต้อนรับ ทางคณะได้มอบสิ่งของบริจาคให้แก่ตัวแทนชุมชนผ่านพระครูสุวรรณวรานุกูล รองเจ้าอาวาสและนายชวน รองนายกสมาคมชาวสยามรัฐกลันตัน เพื่อให้ทางผู้นำกระจายสิ่งของที่ได้รับบริจาคให้กับชุมชนบริเวณใกล้เคียงต่อไป จุดหมายที่สอง คณะได้เข้าไปเยี่ยมบ้านของ Mat Saleh ที่ Kampung Air Dingin และได้นั่งพูดคุย Mat Saleh ด้วย โดยเล่าว่า น้ำท่วมครั้งนี้หนักกว่าที่ผ่านมา ซึ่งกลันตันเคยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 1967 (พ.ศ.2510) เรียกว่าปรากฏการณ์น้ำแดง Mat Saleh เล่าต่ออีกว่า น้ำไม่ได้ท่วมที่บ้านของเขาเอง แต่มีคนอพยพมาพักพิงชั่วคราวที่โรงเรียนหน้าบ้านประมาณ 5,000 คน ทำให้ผู้อพยพจำนวนมากมาใช้บ่อน้ำที่บ้านจนต้องต่อแถวตั้งแต่สี่โมงเย็นจนถึงตีสอง และยังช่วยหาซื้อเทียนไขเนื่องจากในวันนั้นไม่มีไฟฟ้าและแก๊สเพื่อต้มน้ำเพื่อชงนมให้เด็กเล็กดื่ม จากนั้นทางคณะมุ่งหน้าสู่ Kampung Manek Urai Lama อ.กัวลา กือไร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักและได้มอบสิ่งของบริจาคให้มัสยิด ในระหว่างนั้นทางคณะได้แยกย้ายไปดูสภาพพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและได้ถามชาวบ้านในวันเกิดเหตุการณ์น้ำหลาก ชาวบ้านบอกว่าก่อนที่น้ำจะมาแรงนั้นฝนตกต่อเนื่อง แล้วก็หยุดน้ำก็ลดลง จากนั้นฝนตกหนักครั้งที่สองตกไม่หยุดสามวัน จากนั้นน้ำก็หลากมาจากหลายทิศหลายทางทำให้ตัวเองตัดสินใจอพยพหนีไปยังที่สูงกว่าประมาณตีสอง ชาวบ้านเล่าอีกว่า ผู้สูงอายุคนหนึ่งในหมู่บ้านอายุ 90 ปีแล้ว บอกว่าไม่เคยประสบภัยพิบัติน้ำท่วมที่หนักกว่านี้มาก่อน ส่วนน้ำท่วมเมื่อปี 1967 ทำให้ชาวบ้าน Kampung Manek Urai Lama ได้อพยพบางส่วนไปยังอีกที่หนึ่ง และได้ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ชื่อว่า Kampung Manek Urai Baru ชาวบ้านคนเดิมเล่าต่อไปว่า นำท่วมครั้งนี้ ทำให้บ้านของตัวเองพังเสียหายทั้งหลังเหลือแต่ที่ดินเปล่า ตอนนี้ตัวเองและครอบครัวต้องนอนในเต็นท์ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้ ตอนนี้มีองค์กรการกุศล ผู้มีจิตศรัทธาทั้งภาครัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือ แต่ก็ยังมีความยากลำบากอีกหลายอย่าง เช่น ห้องน้ำ ที่อาบน้ำ ไฟฟ้าก็ยังไม่มี กลางคืนยังต้องจุดเทียน ชาวบ้านคนนี้กล่าวทิ้งท้ายว่า ปรากฏการณ์ครั้งถือเป็นบททดสอบจากพระผู้เป็นเจ้า เพื่อให้บ่าวมีความยำเกรงและระลึกถึงพระองค์ ทางคณะก็ได้บอกว่ามาเยี่ยมเยียนเนื่องจากได้ทราบข่าวความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นถึงแม้อยู่ไกลจากประเทศไทยก็ตาม ทางคณะก็มาเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจหากมีโอกาสเราจะมาเยี่ยมหมู่บ้านแห่งนี้อีกครั้ง
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/64317
2016-02-28 01:50
TDRI เสนอโมเดลกำกับสื่อยุคหลอมรวม ชี้เน็ตกำกับ-ปิดกั้นยาก รัฐต้องอยู่กับความเป็นจริง
TDRI เสนอแนวทางกำกับสื่อยุคหลอมรวม เสนอกำกับร่วม ชี้ อินเทอร์เน็ตกำกับ-ปิดกั้นยาก รัฐต้องอยู่กับความเป็นจริง ออกแบบระบบที่รักษาสมดุลระหว่างสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการสร้างสื่อที่มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม 26 ก.พ. 2559 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดเสวนาสาธารณะ “ทางเลือกในการปฏิรูปสื่อ กับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ที่โรงแรมสวิสโอเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ โดยในงานเริ่มด้วยการนำเสนอผลการศึกษาเรื่อง "การกำกับดูแลสื่อในยุคหลอมรวม" ก่อนตามด้วยการเสวนา (อ่านที่นี่ [1]) สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI และหัวหน้าโครงการวิจัยการปฏิรูปสื่อ นำเสนอผลการศึกษาเรื่อง "การกำกับดูแลสื่อในยุคหลอมรวม" (ดูเอกสารประกอบที่นี่ [2]) ซึ่งเป็นงานวิจัยของ TDRI ร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ นำโดยพิรงรอง รามสูตว่า การหลอมรวมสื่อทำให้เส้นแบ่งระหว่างการแพร่ภาพกระจายเสียงกับโทรคมนาคมเลือนรางลง การกำกับแบบเดิมที่แยกทั้งสองเรื่องออกจากกันจะทำให้ไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิผล สมเกียรติ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน เนื้อหาสื่อเดียวกัน สามารถเผยแพร่ได้หลายช่องทาง โดยที่ในแต่ละช่องทางก็จะมีความแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น คลิปวิดีโอคลิปหนึ่ง ถ้าเผยแพร่ทางทีวี อาจเจอการกำกับดูแลตรวจสอบจำนวนมากทั้งเรื่องการเซ็นเซอร์และการบริหารจัดการคลื่นความถี่ ถ้าเผยแพร่ในเคเบิลทีวี อาจมีภาระในการทำตามกฎอื่นๆ เช่น กฎมัสแคร์รี ส่วนหากเผยแพร่ทางยูทูบ จะมีกฎระเบียบน้อยกว่ากันเยอะมาก แต่อาจจะมีกฎเรื่องของการรักษาความเป็นส่วนตัว หากไปเผยแพร่ทางแอปพลิเคชันไลน์ หรือมูฟวี่แอปก็จะกำกับดูแลลำบากยิ่งขึ้น เหล่านี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่หน่วยงานรัฐกำลังตั้งคำถามและสังคมยังต้องถกเถียงไปอีกพักใหญ่ ในอนาคต ภาพของการกำกับดูแลสื่อที่จะเกิดขึ้น จะเอียงข้างไปทางการที่ผู้ผลิตสื่อจะเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เพราะเป็นช่องทางที่ถูกกำกับดูแลน้อยกว่า ขณะที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตก้าวไกลไปกว่าเทคโนโลยีของทีวี เพราะฉะนั้น อินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ และจะกำกับดูแลยากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ สมเกียรติชี้ว่า หน่วยงานกำกับดูแลอย่าง กสทช. ในอนาคต จะมีบทบาทน้อยลง โดยเหลือเพียงการกำกับดูแลในมิติของเศรษฐกิจ คือการกำกับแพลตฟอร์ม แต่การกำกับดูแลเนื้อหาจะยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่ว่าจะอย่างไรเนื้อหาจะหลุดรอดได้ตลอดเวลา ถึงจะบล็อคเว็บ ก็จะมีวิธีที่เว็บเดียวกันไปปรากฏที่อื่น แม้ว่าอาจจะทำให้สื่อสารช้าลงแต่ก็จะเกิดอยู่ดี เราจะอยู่กับโลกแบบนี้ต่อไป เป้าหมายของการปฏิรูปสื่อ ประกอบด้วยคุณภาพและพหุนิยมของสื่อ เสรีภาพและความเสมอภาคในการสื่อสาร และประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ จึงมีข้อเสนอให้ดำเนินการ 7 เรื่อง ได้แก่ 1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรกำกับดูแลให้เป็น convergent regulator โดยทำให้ กสทช.เหลือคณะเดียวและลดจำนวนลงเหลือ 7-9 คน และรัฐธรรมนูญจะต้องรับประกันสิทธิในการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ และเสรีภาพในการสื่อสารของประชาชน รวมถึงความเป็นอิสระขององค์กรกำกับดูแล2. ออกแบบการกำกับดูแลที่ลดต้นทุน-ความเสี่ยงของผู้ประกอบกิจการ โดยมีข้อเสนอในระยะสั้นคือ แก้ไขกฎหมายเพื่อสร้างตลาดรอง (secondary market) สำหรับเปลี่ยนมือคลื่นความถี่สำหรับคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบกิจการได้มาผ่านการประมูล3. สร้างกฎกติการองรับการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม ระหว่างผู้ประกอบกิจการ4. นำทรัพยากรมาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกำหนดกรอบเวลาของ Analogue Switch-Off (ASO) และเตรียมการจัดสรรคลื่นแบบหลอมรวม5. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ ความหลากหลาย และพหุนิยมในสื่อ6. คุ้มครองผู้บริโภค และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม7. สนับสนุนการกำกับดูแลร่วม ในส่วนของข้อเสนอเรื่องการกำกับดูแลร่วม สมเกียรติชี้ว่า ที่ผ่านมา ไทยมีระบบกำกับดูแลสองระบบ หนึ่งคือ การกำกับดูแลโดยรัฐ โดยรัฐเข้าไปปิดกั้น บล็อค หรือฟ้องร้องผู้ประกอบการ กับอีกระบบคือการกำกับดูแลกันเองของกลุ่มวิชาชีพสื่อ ซึ่งมีปัญหาทั้งสองระบบ ระบบแรก รัฐเข้าไปแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเยอะมาก ขณะที่ระบบกำกับดูแลกันเอง ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยพบว่าเรื่องร้องเรียนเข้าสู่หน่วยงานกำกับกันเองลดลงเรื่อยๆ สะท้อนว่ามีปัญหา จึงเสนอการกำกับดูแลร่วม (co-regulation) เขาเสนอแนวทางดำเนินการระยะสั้นว่า ควรต้องกำหนดหลักเกณฑ์การดูแลเนื้อหาให้ชัดเจน โดยเฉพาะการกำกับดูแลเนื้อหาตามมาตรา 37 ของ พ.ร.บ. ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยแบ่งแยกระหว่างเนื้อหาที่ผิดกฎหมายกับผิดจริยธรรม รวมถึงแยกโฆษณาที่เอาเปรียบผู้บริโภคกับโฆษณาที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เนื่องจากทั้งสองเรื่องมีวิธีจัดการแตกต่างกัน รวมถึงควรกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีช่องทางรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนด้วย สมเกียรติ อธิบายว่า กรณีผู้ประกอบวิชาชีพ  ทีวี เคเบิลทีวี หรือวิทยุ กระทำผิดกฎหมายให้ กสทช.ดำเนินการทางปกครอง อาทิ เตือน ปรับ พักใช้ใบอนุญาต ส่วน นสพ. ใช้ พ.ร.บ.การพิมพ์ ส่วนการกระทำผิดจริยธรรม เสนอให้มีแนวทางปฏิบัติ 3 ขั้น คือ 1.กำกับดูแลตนเองในองค์กร หากไม่สำเร็จก็ไปสู่ 2. กำกับดูแลกันเองโดยสภาวิชาชีพ โดยควรมีการกำหนดให้สื่อวิทยุโทรทัศน์และ นสพ. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ ซึ่งอาจมีหลายสภาวิชาชีพได้ และสุดท้าย หากไม่พอใจก็ไปที่ 3. กำกับดูแลร่วม โดยสภาวิชาชีพเป็นผู้ตัดสินเรื่องจริยธรรม ส่วนรัฐพิจารณาบังคับให้เกิดผล ปัญหาที่ยาก คือ กรณีสื่อออนไลน์ ซึ่งจะมีการสร้างเนื้อหาสองส่วนโดย 1.ผู้ใช้สื่อ 2.ผู้ผลิตสารสนเทศออนไลน์ ซึ่งทำหน้าที่คล้ายผู้ประกอบการสื่อ แต่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบการ ซึ่งเขาเสนอว่า กรณีผู้ผลิตสารสนเทศออนไลน์ มีเนื้อหาผิดกฎหมาย ให้ใช้ระบบแจ้งเตือนและนำออก (notice and take down) กรณีมีสารสนเทศที่ละเมิดลิขสิทธิ์แล้วเจ้าของลิขสิทธิ์มาพบและแจ้งเตือน หากนำเนื้อหานั้นออกแล้ว จะไม่มีความผิดทางกฎหมาย แต่หากแจ้งแล้วไม่นำออกจะมีความผิดร่วมด้วยกับเจ้าของเนื้อหา กรณีผิดจริยธรรม ให้ใช้การกำกับดูแลตนเองของผู้ผลิตสารสนเทศนั้น ส่วนกรณีผู้ใช้สื่อไปสร้างเนื้อหาเข้าข่ายผิดกฎหมาย เนื่องจากประชาชนทั่วไปใช้ผู้รับใบอนุญาต จึงไม่มีกลไกของ กสทช.ที่จะไปดำเนินการทางปกครอง จึงอาจเยียวยาผ่านกระบวนการยุติธรรม ด้วยการฟ้องร้องคดีแพ่งหรือคดีอาญา แต่หากผู้ใช้สื่อ สร้างเนื้อหาที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่สร้างความเสียหายบางลักษณะที่ไม่เป็นธรรม เขาเสนอว่า ในสังคมที่เปิดกว้างต้องยอมรับว่าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ อาจกระทบกันได้บ้าง แต่ควรมีการกำกับดูแลตนเองของตัวกลาง เช่น ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ต้องกำกับดูแลไม่ให้ผิดจริยธรรม หรือกระทบกระทั่งกันมากเกินไป พร้อมกันนี้ เสนอให้ทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ได้สัดได้ส่วน เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เสนอให้แก้ไขให้ใช้สำหรับการกระทำผิดที่โจมตีต่อระบบ ไม่เกี่ยวกับเรื่องเนื้อหา สมเกียรติ สรุปว่า เรากำลังเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปสู่การหลอมรวมสื่อ ซึ่งการกำกับดูแลก็ต้องปรับตาม ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า การกำกับดูแลทำได้ง่ายยากไม่เหมือนกัน วิทยุโทรทัศน์ กำกับง่ายกว่าผ่านการใช้ระบบใบอนุญาต ส่วนอินเทอร์เน็ตนั้นยากจะกำกับและปิดกั้น เพราะฉะนั้นรัฐและหน่วยงานกำกับดูแลต้องอยู่กับความเป็นจริง และออกแบบระบบที่รักษาสมดุลระหว่างสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความเห็นและการสร้างสื่อที่มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/63152
2015-12-24 19:34
รมว.สาธารณสุข เสนอประชาชนร่วมจ่าย 'บัตรทอง' โอดแบกรับไม่ไหว
รมว.สาธารณสุขเสนอปี 59 ประชาชนร่วมจ่าย 'บัตรทอง' โอดแบกรับไม่ไหว ชี้แนวโน้ม 'บัตรทอง' ใช้งบรัฐสูงขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบันอยู่ที่ 4.6% ของจีดีพี 24 ธ.ค. 2558 นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างงานพบปะสื่อมวลชน เกี่ยวกับผลงาน สธ.ตามนโยบายในรอบ 1 ปีว่า หลายประเทศชื่นชมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของไทยว่าใช้งบประมาณน้อย แต่สามารถดูแลระบบได้ทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม งบประมาณนั้นมาจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว และมีแนวโน้มการใช้งบประมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสัดส่วนอยู่ที่ 16-17% หรือคิดเป็น 4.6 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งประเทศไทยต้องคิดว่าจะปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปหรือไม่ เพราะบางประเทศที่มีระบบเช่นเดียวกับประเทศไทยสามารถอยู่ได้ แต่มีการร่วมกันรับผิดชอบ ดังนั้น ในปี 2559 ประชารัฐจะต้องร่วมสร้างความมั่นคงและยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพฯ ว่าจะดำเนินการแบบไหน อย่างไร เพราะจะให้รัฐบาลรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวไม่ไหว ใครจะช่วยจ่ายด้วยระบบอย่างไรต้องมาหารือร่วมกัน นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ขณะนี้ต้องมาหากระบวนการที่ประชารัฐมีส่วนร่วมที่จะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพฯ เดินหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยล่าสุดคณะกรรมการจัดทำแนวทางเพื่อระดมทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ ที่มี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธาน และ ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา ได้เสนอหลักการภาพรวมว่าจะต้องดำเนินการแบบ SAFE คือ ยั่งยืน เข้าถึงได้ มีความเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ถือเป็นแนวทางที่ดี แต่ต้องมีกระบวนการมีเงินมาช่วยระบบ นอกเหนือจากงบประมาณจากรัฐบาล เพราะไม่มีประเทศไหนที่รวยกว่าประเทศไทยกล้าที่จะใช้งบประมาณจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ประเทศไทยต้องยอมรับความจริง      "ปี 2559 ทางออกในเรื่องนี้ต้องมี โดย สธ.อยู่ระหว่างการระดมข้อมูลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยวันที่ 29 ธันวาคม 2558 จะเชิญคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวมาประชุมร่วมกัน จากนั้นจะตั้งคณะทำงานเพื่อเดินหน้าต่อทันที ส่วนที่ทุกคนบอกว่าถ้าพูดเรื่องให้ประชาชนร่วมจ่ายจะถูกคัดค้าน แต่ถ้าไม่มีใครตีเรื่องนี้ระบบหลักประกันฯ ก็เจ๊ง เรื่องนี้ถ้าใครไม่เห็นด้วยไม่ใช่แค่มาบอกว่าไม่ดีๆ แต่ต้องเสนอมาด้วยว่าที่ดีนั้นคืออะไร ให้ทำอย่างไร จะพัฒนาประเทศอย่างไร นี่คือรูปแบบของประชารัฐซึ่งต้องมาคุยกันด้วยเหตุและผล ต้องเดินหน้าและยืนอยู่บนความจริง ไม่ใช่ตีก่อนเลย และยินดีมากหากภาคประชาชนจะเข้ามาร่วมเสนอแนวทาง เพราะทุกคนเป็นเจ้าของประเทศเหมือนกัน ปัญหาต้องได้รับการแก้ไข" รมว.สธ.กล่าว      ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมามีการติงว่าสวัสดิการข้าราชการใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาลมากกว่าบัตรทอง นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ข้าราชการเงินเดือนน้อยกว่าเอกชน การให้สิทธิการรักษาพยาบาลก็เป็นการให้สวัสดิการ มิฉะนั้น ต้องเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการแล้วมาจ่ายรักษาพยาบาลเท่ากัน   ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ [1] และประชาชาติธุรกิจ [2]
1pos
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/19384
2008-12-18 11:19
สัมภาษณ์ ไพโรจน์ พลเพชร ประธาน กป.อพช. : ความคิดเห็นต่อรัฐบาลใหม่กับการขับเคลื่อนของภาคประชาชน
ทันทีที่การนับคะแนนโหวตนายกรัฐมนตรีคนใหม่เสร็จสิ้น "ประชาไท" คว้าข้อมือ "ไพโรจน์ พลเพชร" ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ซึ่งเป็นวิทยากรในเวทีเสวนาแห่งหนึ่งพอดี มาพูดคุยถึงทัศนะและความหวังที่มีต่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ทิศทางที่ควรจะเป็น ปัญหาเร่งด่วนในสายตาของภาคประชาชน ซึ่งไพโรจน์ระบุว่ามีอยู่ 3 ข้อหลัก ทั้งการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจของทุกๆ ส่วนให้เหมาะสม ลงตัว ในการร่วมกันกำหนดทิศทางการเมือง, การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และสุดท้าย การฟื้นและยึดหลักนิติธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพื่อลดความเกลียดชัง สามงานหินที่รัฐบาลกำลังแบก และยังไม่มีใครบอกได้ว่างานนี้หมู่หรือจ่า   000     ภาพนายยกคนใหม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ไหม? โดยปัจจัยทางการเมืองผมคิดว่ามีข้อจำกัดเยอะมาก หลังจากที่มีการโหวตคุณอภิสิทธ์เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี คือตอนแรกข้อเรียกร้องคือการยุบสภา แต่ปรากฏว่าทางพลังประชาชนเขาไม่รับเงื่อนไขในเรื่องนี้ ในวิถีทางประชาธิปไตยมันก็ต้องเปลี่ยนขั้ว ซึ่งถ้าบอกมันเป็นการเปลี่ยนโดยสถาบันรัฐสภา ก็อาจจะใช่แม้ว่ามันจะมีแรงกดดันทั้งหลายฝ่าย แต่ว่ามันยังอยู่ในกระบวนการซึ่งมันเปลี่ยน ต้องเข้าใจข้อจำกัดการเมืองไทยว่า มันเป็นการเอาเสียงมาสู้กัน เราก็ไม่ได้เห็นพฤติกรรมที่แตกต่างในการตั้งรัฐบาลทุกๆ ครั้ง ก็คือว่ามีการเป็นมิตรกันอยู่ และพร้อมที่จะร่วมมือกันได้แม้ว่าจะมีขั้วที่ต่างกันในอดีตก็ตาม อันนี้ก็เป็นสภาวการณ์ทางการเมืองที่มันดำรงอยู่    นี่เป็นเรื่องที่เราเห็น ปรากฏการณ์ทางการเมืองแบบนี้ มันมีการย้ายขั้ว หรือที่มีความขัดแย้งกันก็สามารถรวมตัวกันได้อะไรทำนองนี้ จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าไม่มีมิตรแท้ หรือศัตรูถาวรในทางการเมือง ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ใช้กันมาตลอด   คิดว่ารัฐบาลนี้จะมีอายุยืนนานสักแค่ไหน? ถามว่าแล้วมันจะอยู่ได้นานหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของรัฐบาลว่าจะมาแก้ปัญหา สามารถสร้างความชอบธรรมต่อเนื่องได้หรือไม่ ผมเชื่อว่าตอนนี้เขามีความชอบธรรม มีคนเห็นและคาดหวังมากๆ ว่าจะแก้นู่นแก้นี่ในภาวะที่มีความขัดแย้งสูง   โดยเฉพาะอย่างยิ่งมี 3 เรื่องใหญ่ที่สำคัญ เรื่องแรกคือการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ดุลอำนาจทางการเมืองที่ไม่ลงตัว มีการต่อสู้กันทางการเมือง ไม่ลงตัวในผลประโยชน์ทางการเมือง โดยเฉพาะในชนชั้นนำทั้งหลาย ซึ่งอันนี้ข้อเรียกร้องที่ผ่านมาในระยะ 1 ปี คือ การปฏิรูปการเมือง เขาจะมีทิศทางหรือนโยบายต่อเรื่องปฏิรูปการเมืองอย่างไร นี่คือเรื่องใหญ่ของความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน   อันนี้เป็นเรื่องใหญ่มากซึ่งถ้าตีโจทย์นี้ไม่แตกก็ไม่สามารถจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจให้ลงตัวได้ ซึ่งความขัดแย้งอาจไปอยู่ที่รัฐธรรมนูญ แต่ว่าที่ลึกกว่านั้นคือความขัดแย้งในเรื่องการปฏิรูปการเมืองและสังคมที่แฝงความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน ความแตกต่างระหว่างผู้คน ระหว่างคนชนบทกับคนเมืองทำไมมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ด้านหนึ่งมันสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย มันไม่ใช่ทางการเมืองอย่างเดียว ไม่ใช่ทัศนะทางการเมืองอย่างเดียว แต่มันหมายถึงความไม่เท่าเทียม ทำไมคนชนบทจึงไม่ได้รับผลของการพัฒนาที่เพียงพอ อันนี้ก็เป็นเรื่องสังคมแท้ๆ   รวมทั้งความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจที่ไม่ลงตัวต่างๆ ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการ ฐานะ บทบาท มันจะเป็นอย่างไร ใครจะมีบทบาท พรรคการเมือง นักการเมืองจะมีบทบาทในอำนาจรัฐแค่ไหน ราชการจะเข้ามามีบทบาทมากแค่ไหน สถาบันที่ใช้อำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายตุลาการ หรือศาล จะเป็นอย่างไร นี่มันเป็นความขัดแย้งทั้งนั้นในปัจจุบัน รวมทั้งในเรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือบทบาทการเมืองของภาคสังคม หรือภาคประชาชนจะมีบทบาท มีที่ยืน มีอำนาจมากแค่ไหน สามารถทำบทบาทใหม่ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างไรในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ผมว่านี้คือสิ่งที่ไม่ลงตัวอยู่ทั้งสิ้น ถ้ารัฐบาลชุดนี้ไม่สามารถตีโจทย์นี้ให้แตก ความขัดแย้งก็จะยังดำรงอยู่ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะสูงขึ้น และก็เป็นเงื่อนไขให้รัฐบาลถูกกดดัน อายุรัฐบาลก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยนี้   ปัจจัยที่สองคือปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลกระทบจากความรุนแรงของระบบทุนนิยมที่มันกระทบเข้ามาในประเทศไทย โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ มันจะไปกระทบกับชนชั้นล่างมาก โดยเฉพาะเรื่องที่มีการพูดกัน คือแรงงานจะต้องถูกปลดออก รัฐบาลจะมีมาตรการอย่างไร แทนที่จะอุ้มชูภาคธุรกิจ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมทั้งที่ฝ่ายธุรกิจจะลดภาษีรายได้นิติบุคล ซึ่งเป็นการไป support กลุ่มธุรกิจโดยตรง จะมีมาตรการอย่างไรที่จะไปช่วยคนละดับล่าง โดยเฉพาะคนที่รายได้น้อย หรือแม้แต่เด็กที่จะจบออกมาไม่มีงานทำ หรือคนที่รายได้คงที่แต่อยู่ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มันผันผวนตรงนี้จะทำอย่างไร   ถ้ารัฐบาลไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนต่อเรื่องเหล่านี้ คิดแต่แก้ไขภาคธุรกิจอย่างเดียว ผมว่าจะเป็นปัญหาต่อภาคคนยากไร้ ประชาชนทั่วไปมาก อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ เป็นเชื้อมูลที่จะทำให้รัฐบาลอายุสั้นได้   เรื่องที่สามเป็นเรื่องเฉพาะหน้า แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก คือ ปัญหาเรื่องวิกฤติความขัดแยงที่ผ่านมา มันสร้างความเกลียดชัง สร้างความบาดหมางทั่วไปในสังคม เกิดความแบ่งฝักฝ่าย เกิดการเลือกปฏิบัติโดยใช้กฎหมายอย่างมากที่ผ่านมา   ทีนี้การที่จะลดความเกลียดชังลง ลดความขัดแย้งระหว่างผู้คน จำเป็นต้องนำหลักการอันหนึ่งมาใช้ให้ได้ในสังคมไทย นั่นคือหลักนิติธรรมที่จะต้องเป็นจริง หมายความว่าจะต้องมีการสอบสวน มีกรรมการหรืออะไรก็แล้วแต่เพื่อที่จะตรวจสอบกระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ทั้งหมด ตั้งแต่การชุมนุมมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี อย่างน้อย 6-7 เดือน หรือ 9 เดือน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วด้านในสังคมไทย มันจำเป็นจะต้องเอาคนผิดก็ผิด ถูกก็ถูกออกมาให้ได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าฝ่ายไหน   2 ปีที่ว่านี้ ก็คือนับรวมตั้งแต่ที่มีรัฐประหารใช่หรือเปล่า? ผมเข้าใจว่าถ้าเอาหลังรัฐประหารมา และช่วงที่มีการชุมนุมของพันธมิตรฯ ซึ่งคัดค้านเคลื่อนไหว เกิดความแตกแยก เกิดความรู้สึกที่ตัวเองไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากหลักกฎหมาย จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากอะไรต่างๆ เราจะเห็นข้อโต้แย้งกันอยู่เสมอๆ ใช้ไหม เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่มากถ้าไม่คลี่คลาย และยิ่งกว่านั้นก็คือ สังคมไทยมันจะต้องเจ๊ากันไม่ได้อีกต่อไปแล้ว หมายความว่าพอจบเหตุการณ์ทุกอย่างก็โอเคจบ ไม่ต้องเอาผิดเอาถูกใครทั้งนั้นแล้วก็หมกเรื่องเหล่านี้ไว้ หมกปัญหา หมกความขัดแย้งเอาไว้ แต่ครั้งนี้สังคมไทยจะหมกเรื่องเหล่านี้ไม่ได้อีกแล้ว ต้องเปิดออกมา   เรียกว่าเป็นพันธะกิจของรัฐบาลชุดใหม่? ถูก คือถ้าไม่ทำเรื่องนี้ ก็จะเป็นปมกลับมาอีก ผมยกตัวอย่าง เช่น จะดำเนินการทางกฎหมายกันพันธมิตรฯ ไหม จะดำเนินการกับคนที่เอาเอ็ม 79 หรือไม่ หรือการฆ่า หรือทำร้ายกันในหลายๆ พื้นที่ทั้งหมด   ไม่ใช่เฉพาะในกรุงเทพฯ? ถูก ไม่ว่าเชียงใหม่ที่ถูกยิง ถูกฆ่า หรือการตีกันไม่ว่าที่บุรีรัมย์ ที่อุดรฯ ทุกพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งจากการเมืองทั้งหลายต้องสะสาง ถ้าไม่สะสางหรือสะสางไม่ดีก็นำไปสู่ความขัดแย้งอีก และมันนำไปสู่เงื่อนไขทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมืองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปมทางการเมือง ปมเศรษฐกิจก็นำไปสู่การเมือง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมทั้งปมปฏิรูปการเมืองหรือสังคม เป็นปมทั้งหมดและเป็นภารกิจที่หนักมากสำหรับรัฐบาล   แล้วสำหรับเรื่องเร่งด่วนอันดับแรก ที่รัฐบาลควรจะทำเมื่อได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว คืออะไร? ผมคิดว่าทั้ง 3 เรื่องนี้ครับ เรื่องที่ 1 ก็คือการสะสางเรื่องที่เกิดขึ้น ต้องเอากฎหมายกลับมา ต้องทำให้เขารู้สึกว่ามันยุติธรรม รัฐต้องทำหน้าที่ทำให้เกิดความเป็นธรรมที่ไม่เลือกปฏิบัติ เสมอหน้ากันทุกฝ่าย มันจึงจะทำให้รัฐสามารถสร้างภาวะการนำที่ได้รับการยอมรับนับถือจากฝ่ายประชาชนทั้งหมด เรื่องที่ 2 ก็คือเรื่องเศรษฐกิจที่ว่า โดยเฉพาะเรื่องภาวะคนว่างงาน คนตกงาน จะทำอย่างไรที่จะมีข้อเสนอที่จะชะลอคนตกงานได้ อะไรทำนองนี้ มาตรการเหล่านี้ต้องคิดให้ได้ เรื่องที่ 3 ปฏิรูปการเมืองต้องพูดให้ชัดว่าเราจะปฏิรูปการเมืองและสังคมด้วยกระบวนการอะไร ใครบ้างจะเข้ามามีส่วนร่วมปฏิรูปสังคมและการเมือง และมีภารกิจให้ชัดว่าจะทำอะไร ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว   รัฐธรรมนูญเป็นแค่เรื่องหนึ่ง เงื่อนไขหนึ่งของการสร้างการปฏิรูปการเมืองและสังคมแต่ไม่ใช่ทั้งหมด มันต้องมามองปมเรื่องการปฏิรูปการเมืองและสังคมเสียก่อนว่ามันมีเรื่องอะไรบ้าง หลังจากนั้นจึงมามองว่าใครควรที่จะเข้ามามีบทบาทช่วยกันคิด ช่วยกันทำ แล้วหลังจากนั้นจึงบอกว่าจะทำอะไรบ้าง   เรื่องรัฐธรรมนูญ ในรัฐบาลชุดเก่าที่เป็นปัญหาเพราะมีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาแก้ไข สำหรับภาคประชาชนเองรัฐธรรมนูญควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจริงหรือเปล่า? ใช่ แต่ว่าต้องมีโจทย์ของการปฏิรูปสังคมและการเมืองก่อน ก่อนที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ไม่อย่างนั้นมันมองภาพรวมไม่ออก อย่างที่ผมพูดตอนต้น ปัญหาทางการเมืองที่เป็นความขัดแย้งในปัจจุบันมาจากการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ไม่ลงตัว ความไม่เท่าเทียมระหว่างผู้คนในการเข้าถึงอำนาจ หรือการใช้อำนาจ และการมองโจทย์นี้ต้องมองเสียก่อนว่าจะปฏิรูปสังคมการเมืองอย่างไร และจึงจะนำไปสู่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญเรื่องอะไร ซึ่งต้องเห็นพ้องต้องกันบางระดับก่อน ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ ก็บอกว่าจะแก้นู่นแก้นี่เหมือนสมัยที่แล้ว ซึ่งมันก็จะเกิดความขัดแย้งอีก เพราะไม่ได้เห็นพ้อง   มันต้องการภาวะของการนำ ผู้นำต้องมีภาวะในการนำที่เด็ดขาดพอสมควร พอที่จะชี้ไปข้างหน้า ซึ่งอันนี้เป็นเงื่อนไขทั้งนั้นว่ารัฐบาลจะอยู่ยาวหรือไม่ยาว อันนี้คือสิ่งที่ต้องทำ แต่แน่นอนว่าเนื่องจากมันร่วมหลายฝ่าย ความขัดแย้งมันมีแน่ๆ ในเรื่องผลประโยชน์ เรื่องอะไรต่างๆ   ขอย้อนไปตรงที่บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์มีความชอบธรรม ช่วยขยายความให้ชัดอีกนิด ? คือมันก็ไม่มีทางเลือกมากกว่านี้ ถูกไหมครับ เสนอยุบสภา ไม่ไป ทีนี้พอตั้งมันจะตั้งยังไง มันก็ต้องมีรัฐบาลขึ้นมาบริหาร อยู่ที่ว่าสถาบันรัฐสภามันแก้ปัญหาได้ไหมในความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ก็หมายความว่าถ้าหากเรายังใช้สถาบันรัฐสภาในการแก้ปัญหามันก็ยังพอยอมรับได้อยู่ แม้ว่าบางฝ่ายอาจจะยังรู้สึกว่ามันไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ว่ายังดีกว่าอย่างอื่น   แต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่เห็นว่าประชาธิปัตย์ไม่ชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล ดูจากภาวการณ์ก่อนหน้านี้ทั้งหมด  คิดว่าควรจะมีการบริหารความขัดแย้งตรงนี้อย่างไร? ผมคิดว่ามันมาจากผลการปฏิบัติจริงๆ ด้วย เรื่องที่ผมพูดมาทั้งหมดมันเป็นเรื่องที่จะพิสูจน์ภาวะการนำของรัฐบาลว่าจะนำพาสังคมได้หรือไม่ แล้วก็จะทำให้เป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ เท่านั้นเองเองที่มีทางเลือกอยู่ เพราะว่ามีคนตรวจสอบ ก็เหมือนกับตอนที่ฝ่ายพลังประชาชนขึ้นแล้วอีกฝ่ายเป็นคนตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ในทางกลับกันก็ต้องถูกตรวจสอบอย่างหนักหน่วง   ทีนี้ถ้าคุณยิ่งเดินไปในหนทางหายนะ คุณไม่แก้ปมบางอย่าง คุณก็จะเจอเหมือนกัน   มองอย่างไรกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง มันมีแนวโน้มลุกลามเหมือนการชุมนุมของพันธมิตรฯ ไหม?  ผมยังไม่อยากมองให้เลวร้าย ไม่อยากเล็งผลร้ายขนาดนั้น แต่แน่นอนว่าเขามีสิทธิจะคัดค้าน ตรวจสอบ แต่ว่าอยู่ในกรอบไหนเท่านั้น ผมคิดว่าเขาก็มีความเห็นได้ ประชาชนอยากตรวจสอบ ไม่เห็นด้วยต้องแสดงออกได้ ต้องยืนหลักการนี้ เพียงแต่ว่าประชาชนจะตรวจสอบรัฐบาลไหนก็ตาม มันสามารถสร้างการยอมรับในสังคมขึ้นมาจนสังคมเห็นพ้องหรือไม่ว่าสิ่งที่รับบาลทำมันไม่ถูก ถ้าเป็นเช่นนี้ก็เป็นเรื่องปกติ   หมายความว่า พันธมิตรฯ ชุมนุมแล้วได้ผลทางการเมืองออกมาเป็นอย่างที่ตั้งใจ คนเสื้อแดงก็ชุมนุมได้?      ชุมนุมได้ ต้องแสดงออกได้ เพียงแต่ว่า... รัฐบาลต้องมีหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้ หมายความว่าคุณจะยอมรับข้อเรียกร้องได้มากขนาดไหน จะสร้างให้คนเข้าใจได้มากขนาดไหนว่าข้อเรียกร้องนี้ใช้ได้ ไม่ได้ มันเป็นเรื่องปกติที่รัฐบาลทำอยู่แล้ว   ถ้าจะไม่ให้เกิดความขัดแย้งที่บานปลายจนเป็นความสูญเสียอีก รัฐบาลก็ต้องสะสางเรื่องเก่าให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ว่าต้องเดิน ต้องสามารถใช้กลไกรัฐจัดการกับความขัดแย้งได้ ใครทำความผิดกฎหมาย ใครสร้างความรุนแรง ต้องโดนดำเนินการทางกฎหมายไม่ว่าเรื่องที่ผ่านมาหรือว่าเรื่องที่จะเกิดขึ้น ตรงนี้สำคัญเพราะจะทำให้รัฐมีฐานะ มีบทบาทจริงๆ มีอำนาจปกครองได้จริง   บทบาทของภาคประชนเองในความขัดแย้งที่ผ่านมา วางตัวเองในระดับไหน เพราะที่ผ่านมาจะมีคำถามว่าทำไมภาคประชาชนไม่ออกมาแสดงบทบาทที่ชัดเจน? ที่จริงผมว่าเราแสดงชัดว่าเราไม่เอาทั้ง 2 ฝ่าย เราแน่ชัดอยู่ แต่แน่นอนว่าภาคประชาชนเรามีหลาย section มันอาจะมีท่าทีทางการเมืองแตกต่างกับไปบ้าง แต่ว่าถ้าพูดถึงโดยรวมในนาม กป.อพช. (คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน) เราก็ไม่เอาทั้ง 2 ฝ่าย คือเราเชื่อว่านี่คือความขัดแย้งของชนชั้นนำที่ไม่สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้ เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาเราคัดค้านความรุนแรง เราคัดค้านรัฐประหาร เราก็ยืนยันจุดนั้นมาตลอด     คิดว่าอะไรคือทางออกของปัญหาความขัดแย้ง ณ ปัจจุบัน? ที่จริงผมตอบไปแล้วนะว่ามัน... คือแน่นอนว่ารัฐบาลเป็นปัจจัยหนึ่งของความขัดแย้ง เพียงแต่รัฐบาลเป็นปัจจัยหลังนั่นเพราะรัฐบาลมีอำนาจที่จะใช้อำนาจได้ ที่จะคลีคลายปัญหากลับได้ เป็นตัวกระทำหลัก เพราะว่าอยู่ในฐานะผู้กุมอำนาจรัฐปกครองประเทศ เพราะฉะนั้นเขาต้องแสดงบทบาทเป็นหลัก มากกว่าจะให้ฝ่ายอื่นๆ   สำหรับภาคประชาชนเองคิดว่าจะมีการขับเคลื่อนอะไรในรัฐบาลสมัยต่อไป? ผมคิดว่าเราพูดถึงการปฏิรูปสังคมและการเมืองที่เป็นปัญหาปมเงื่อนของสังคมไทย ข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปสังคมและการเมืองก็ยังดำรงอยู่ ที่จริงหลายเรื่องอยู่แล้ว ทุกมิติที่เกี่ยวกับการปฏิรูปสังคมการเมืองที่เราต้องขับเคลื่อน รวมทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของพี่น้องประชาชน ในอย่างน้อยรัฐบาลสูญเสียโอกาสตั้งเกือบ 2 ปีกว่า ในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน อันนี้คือปัญหา   เพราะฉะนั้นรัฐบาลใหม่แน่นอนว่าต้องมาแก้ปัญหาที่มีเยอะแยะไปหมด ปัญหาที่ดินทำกินยังดำรงอยู่ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาเมกะโปรเจ็กต์ทั้งหลายที่อาจมีการเดินหน้า ทั้งเรื่องเขื่อน โครงการผันน้ำ เรื่องอะไรต่อมิอะไรจำเป็นต้องทบทวนหมด เพราะว่าเรื่องเหล่านี้มันทับถมปัญหาของประชาชนและไม่ได้รับการดูแลเลย ที่จริงตั้งแต่รัฐประหารมาแล้วปัญหาพวกนี้ไม่ได้รับการดูแลเลย   เกือบ 2 ปี ที่จริงตั้งแต่เริ่มมีการคัดค้านก็เป็น 2 ปีกว่า เรื่องพวกนี้ไม่ได้รับการพูดถึงเลย ผมคิดว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องสำคัญอยู่ที่เราจะเห็นว่าจำเป็นจะต้องมาแก้   ข้อเสนอทั้งระยะยาวและระยะสั้นในส่วนของปัญหาที่พี่น้องประชาชนเผชิญอยู่ ระยะยาวก็คือการปฏิรูปสังคมและการเมือง ผมคิดว่าที่เราทำมาก็ต้องยืนยันที่จะทำต่อ ส่วนปัญหาเฉพาะหน้า คือผลของปัญหาที่เพิ่มเติมจากวิกฤติเศรษฐกิจ รวมทั้งปัญหาโครงการขนาดใหญ่ที่ผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ปัญหาเรื่องทรัพยากร เรื่องที่ดินทำกิน ปัญหาเรื่องหนี้สิน ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ปัญหาเหล่านี้ก็ยังเป็นปัญหาที่รัฐต้องเอาใจใส่ทั้งสิ้น     ต่อไปจะมีการขับเคลื่อนอย่างไร? อันที่จริงยังไม่ได้หารือกันมา แต่เข้าใจว่าคงจะมีการเสนอข้อเสนอใหม่ต่อรัฐบาลอะไรกันบ้าง เราอาจจะต้องคุยกันและต้องดูว่าองค์ประกอบมันเป็นแบบไหน แต่ว่าเรามีข้อเสนออยู่แล้วคร่าวๆ 3 เรื่องที่ผมพูดถึง เป็นแกนหลักของแนวคิด เรื่องปฏิรูปสังคมการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาวิกฤตคนยากไร้ ปัญหาเฉพาหน้าของพี่น้องประชาชนที่เผชิญอยู่ตอนนี้ ปัญหาที่ดิน ปัญหาโรงงานขนาดใหญ่ รวมทั้งปัญหาที่สำคัญคือการสะสางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ในช่วงที่ผ่านมาทั้งหมด ซึ่งเป็นปัญหาที่เป็นพันธกิจที่รัฐบาลต้องทำ   ก็เป็นเรื่องความคาดหวังอยู่ดี ซึ่งผมก็ได้ได้คาดหวังว่ารัฐบาลจะทำอะไรได้มาก เพราะว่ามันมีข้อจำกัดทั้งนั้นไม่ว่าพรรครัฐบาลใหม่จะเป็นอย่างไร แต่ว่าเราคิดว่านี่คือปัญหาของสังคมไทยที่เรามอง เพราะฉะนั้นรัฐบาลเห็นหรือมีทิศทางต่อปัญหาเหล่านี้ มันอาจจะไม่คลี่คลายไปในระยะเวลาอันสั้น แต่ถ้ามีทิศทางของการเดินหน้าว่าจะแก้ มีความตั้งมั่น มีความมุ่งมั่นทางการเมืองหรือไม่ อันนี้สำคัญ   รัฐบาลที่ผ่านมา ความมุ่งมั่นทางการเมืองไม่มี มีแต่เรื่องการตัดสินประโยชน์ทางการเมืองเสียมากกว่า ทุกรัฐบาลเป็นลักษณะแบบนั้น เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นเรื่องข้อเสนอเรื่องความมุ่งมั่นทางการเมือง ในการที่จะแก้ปัญหา ที่เขาเรียกนโยบายทางการเมืองที่ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางการเมือง แท้ที่จริงคือผลประโยชน์ของประชาชน นั่นแหละคือประเด็น
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/36049
2011-07-15 23:40
ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์: ชิงปิดคดี "บิ๊ก" ศาลปกครอง ช่วยหรือทำลายกระบวนการยุติธรรม?
นับแต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีมติเมื่อ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 ให้รับเรื่องร้องเรียน อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดและพวกใน 2 กรณีคือ หนึ่ง ถูกกล่าวหาว่า ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการเปลี่ยนองค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดในการ พิจารณาคดีมิให้นำมติ ครม.นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปดำเนินการใดๆ สอง ถูกกล่าวหา ใช้อำนาจโดยมิชอบในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่ (คลิกดู ป.ป.ช.หงอศาลปกครองสูงสุด ดองคดีแทรกกระบวนการยุติธรรม) ปรากฏว่า เวลาผ่านไปกว่า 7 เดือน การไต่สวนในทั้งสองกรณีไม่มีความคืบหน้าใดๆเพราะ ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุดไม่ยอมให้เข้ามาตรวจสอบในกรณีดังกล่าวโดยอ้างว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจแทรกแซงการทำงานของตุลาการ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้เลขาธิการ ป.ป.ช.ทำหนังสือสอบถามข้อมูลข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากสำนักงานศาลปกครอง นอกจาก ดร.หัสวุฒิจะไม่ยอมให้สำนักงานศาลปกครองส่งข้อมูลข้อเท็จจริงให้แก่คณะ กรรมการ ป.ป.ช.แล้ว ยังนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(ก.ศป.)หลายครั้งและมี มติให้แต่งตั้งคณะกรรมการขื้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงมีนายวิชัย ชื่นชมพูนุท รองประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธาน จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการฯชุดนายวิชัยได้สรุปข้อเท็จจริงทั้งสองกรณีว่า ไม่ มีมูลและแจ้งเรื่องให้แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบซึ่งจะมีการนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณากรณีดังกล่าวว่า จะดำเนินการอย่างไร แต่คำถามที่เกิดขึ้นคือ หนึ่ง กรณีการกล่า วหาว่าอดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบที่มีกระทบต่อ ความยุติธรรมในการพิจารณาคดี ซึ่งส่งต่อความน่าเชื่อถือของศาลปกครอง เมื่อผลสอบสวนสรุปว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ควรที่ ดร.หัสวุฒิจะต้องเปิดเผยผลสอบสวนดังกล่าวต่อสาธารณะหรือไม่ สอง ในการสอบสวนดังกล่าว คณะกรรมการได้สอบสวนตุลาการเสียงข้างมากในองค์คณะจำนวน 3 คนคือ นายชาญชัย แสวงศักดิ์ นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา และนายธงชัย ลำดับวงศ์ หรือไม่ สาม การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวของ ก.ศป.มีอำนาจเพียงการสอบสวนทางวินัยเท่านั้น(ในกรณีผลการสอบสวนข้อเท็จจริงมีมูล) แต่กรณีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นเรื่องการกระทำผิดในทางอาญา จึงเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ สี่ การที่แต่งตั้ง “คนใน”สอบสวนกันเอง โดยที่อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็น “เจ้านาย” เก่ายังนั่งค้ำหัวเป็นที่ปรึกษาศาลปกครองอยู่และเดินทางไปทำงานอยู่ทุกวัน เป็นการลูกหน้าปะจมูกหรือไม่ ผลการสอบสวนน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ด้านคณะกรรมการ ป.ป.ช.เอง เมื่อดูจากกระบวนการแล้วก็ทำแบบกล้าๆกลัวปล่อยให้เรื่องยิดเยื้อมานานกว่า ครึ่งปีโดยไม่ดำเนินการใดๆ ผิดกับบางเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.เร่งรัดให้เดินหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่ข้อกล่าวหาทั้งสองกรณีเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะถ้าข้อกล่าวหาเป็นจริงเท่ากับเป็นการแทรกแซงและทำลายกระบวนการยุติธรรมโดยผู้บริหารระดับสูงในกระบวนการยุติธรรมเอง การปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อแบบซื้อเวลายิ่งทำให้สาธารณะคลางแคลงใจว่า จะมีการช่วยเหลือกันเพื่อปกปิดความผิดหรือไม่ ตรงกันข้าม ถ้ามีการสอบสวนด้วยความโปร่งใสและผลสรุปออกมาว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูลจะทำให้ภาพลักษณ์ของศาลปกครองใสสะอาดหน้าเชื่อถือยิ่ง ขั้น
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/41341
2012-07-01 23:16
สมบัติ บุญงามอนงค์ รับรางวัล “ประทีป อึ้งทรงธรรม” ประจำปี 55
1 ก.ค.55 "หนูหริ่ง" สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด บุคคลที่คนไทยรู้จักกันดีในกลุ่มประชาชนเคลื่อนไหวเรียกร้องการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในปี 2553 และเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมอันดับต้นๆยามประเทศไทยเกิดภัยพิบัติ เช่น ก่อตั้งศูนย์ประสานงานอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัยสึนามิเมื่อปี 2547 และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหรือศปภ.ภาคประชาชนที่สนามบิน ดอนเมือง  เมื่อปี 2554 จากบทบาทนักสังคมสงเคราะห์กลุ่มละครมะขามป้อม ก้าวสู่การจัดตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือสังคมหลายด้านเช่น มูลนิธิกระจกเงา  ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อการต่อต้านการค้ามนุษย์  ผู้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ "บ้านนอกทีวี" และยังมีส่วนผลักดันมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขพระราชบัญญัติเด็กไร้สัญชาติในสมัย นายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสามารถทำให้เด็กชนกลุ่มน้อยกว่า 2000 คนได้สิทธิ์สัญชาติไทยเพื่อรับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งตลอดจากทำงาน 24 ปีเพื่อสังคมไทย ทำให้วันนี้ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ได้รับรางวัล ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ คนที่ 4 ประจำปี 2555 และได้เงินรางวัลมูลค่า 1 ล้านบาท ทั้งนี้ รางวัลประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นรางวัลด้านการพัฒนาสังคมเมืองในโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม 6 สาขาของมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด(มหาชน) และมูลนิธิดวงประทีป โดยการมอบรางวัลนี้ เปรียบเสมือนการส่งไม้ต่อจากครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ นักพัฒนาสังคมที่มีบทบาทต่อการช่วยเหลือสังคมมาหลายสิบปีไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อก่อให้เกิดการเชื่อมร้อยสร้างสรรค์การช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง    ที่มา: Vioce TV [1]
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/23906
2009-05-08 23:44
ตานฉ่วยอ้าง พม่ามีข้าวเหลือเฟือ
นาย พลอาวุโสตานฉ่วยเปิดเผยในระหว่างการประชุมที่กรุงเนย์ปีดอว์ว่า พม่ามีปริมาณข้าวสารมากเกินความต้องการ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญชี้ ประชาชนในพม่าเสี่ยงขาดแคลนอาหารหลังนาร์กิสทำลายพื้นที่เพาะปลูกเมื่อปีที่ แล้ว   นอกจาก นี้ นายพลอาวุโสตานฉ่วย ผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหารพม่ายังออกแถลงการณ์อ้างว่า พม่ามีความก้าวหน้าในด้านเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้น พร้อมระบุ ปีแรกในช่วงที่รัฐบาลก้าวขึ้นมามีอำนาจในปี 2531 พม่าสามารถผลิตข้าวได้เพียง 600 ล้านถังเท่านั้น (1 ถังเท่ากับ 33 กก.) แต่ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 1,600 ล้านถังและจะเพิ่มปริมาณให้ได้ 2,000 ล้านถังในเร็วๆ นี้   ทั้งนี้ คำแถลงดังกล่าวมีขึ้นหลังวันครบรอบ 1 ปีการเกิดภัยพิบัติไซโคลนนาร์กิสเพียงหนึ่งวัน ซึ่งภัยพิบัติครั้งนั้นทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวในพม่าที่มีการปลูกข้าวมาก ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคได้รับความเสียหายอย่างหนัก ขณะที่ชาวนาพื้นที่ประสบภัยนาร์กิสต่างต่อสู้ดิ้นรนเพื่อฟื้นฟูนาข้าวที่ได้ รับความเสียหายจากพายุไซโคลนนาร์กิส   ก่อนหน้านี้ในช่วง 3 เดือนหลังเกิดภัยพิบัติ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN Food and Agriculture Organization)ได้ชี้ว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวกว่า 63 เปอร์เซ็นต์ยังคงจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่เมล็ดพันธุ์พืชมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ถูกทำลายเสียหาย ส่งผลกระทบให้ชาวนา 75 เปอร์เซ็นต์ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์สำหรับใช้เพาะปลูกในปีถัดไป   เจ้าหน้าที่จากโครงการอาหารโลก(World Food Program) แสดงความคิดเห็นว่า “ประชาชน ทุกหลังคาเรือนในพื้นที่ปากแม่น้ำอิรวดีต่างวิตกกังกลว่าพวกเขาจะต้องเผชิญ กับการขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ซึ่งชาวนาบางคนที่มีที่นาเป็นของตัวเอง ยังไม่สามารถเลี้ยงตัวเองให้รอดได้”   ด้านนาย Sean Turnell ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพม่าจากมหาวิทยาลัย Australia’s Macquarie ประเทศออสเตรเลียได้ออกมาตอบโต้ว่า ข้อมูลของผู้นำพม่าเป็นเรื่องไร้สาระและพูดเกินความจริง    “ชาวนา ในพม่าอยู่ภายใต้กระบอกปืนและความกดดัน ดังนั้นพวกเขาจึงมีความจำเป็นที่ต้องรายงานเท็จต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงว่า ได้ผลผลิตข้าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศมหาอำนาจอย่างอดีตสหภาพโซเวียตและ ในพื้นที่อื่นๆของโลก ขณะที่การทุจริตคอรัปชั่นในพม่าก็ยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ” นาย Sean Turnell กล่าว   เขา กล่าวเพิ่มเติมว่า หากเป็นจริงตามคำกล่าวอ้างของนายพลอาวุโสตานฉ่วย พม่าจะต้องเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่กลับพบว่า พม่าส่งออกข้าวไม่มากนัก และยังพบว่าคุณภาพข้าวที่ส่งออกไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งผู้บริโภคข้าวพม่าส่วนมากพบว่าอยู่ในทวีปแอฟริกา และประชาชนในพม่ามีแนวโน้มว่าจะเผชิญกับการขาดแคลนอาหารอย่างหนัก     ............................................................... ที่มา : Irrawaddy 6 พ.ค.52
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/48339
2013-08-22 08:56
โฉนดชุมชน: เอาสมบัติชาติให้กฎหมู่
โสภณ พรโชคชัย วิพากษ์แนวคิดโฉนดชุมชน ยกกรณีคลองโยง จุดเริ่มต้นของการไร้ขื่อแป ทำลายระบบโฉนดที่ดินลดผลผลิตการเกษตรในระยะยาว หลายคนเข้าใจผิดว่าโฉนดชุมชนเป็นแนวทางการช่วยเหลือคนจน หรือเป็นนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจที่สวยหรู แต่แท้จริงกลับตรงข้าม คนที่ได้รับความช่วยเหลือไม่ใช่คนจน แต่เป็นอภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยที่ได้โอกาสเอาสมบัติส่วนรวมของชาติไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน นอกจากนี้โฉนดชุมชนยังถือเป็นการปลูกฝังพิษร้ายอนาธิปไตย เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างน่าอันตราย   คลองโยง: จุดเริ่มต้นของความไร้ขื่อแป เมื่อเอ่ยถึงโฉนดชุมชน ทุกคนคงนึกถึงชุมชนคลองโยงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไปแจกโฉนดชุมชนให้เป็นแห่งแรก จึงทำให้ดูเหมือนว่าคลองโยงเป็นตัวอย่างความสำเร็จของโฉนดชุมชน แต่แท้ที่จริงแล้ว กรณีนี้อาจถือได้ว่ารัฐบาลปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ นำเอาสมบัติของแผ่นดินไปแบ่งให้กับคนบางกลุ่ม โดยรัฐบาลได้ประโยชน์เพราะเป็นการหาเสียง ส่วนชาวบ้านส่วนน้อยนี้ได้ที่ดินไป  จู่ ๆ วันหนึ่ง ชาวบ้านชุมชนคลองโยงก็เหมือนถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 1 กันครอบครัวละหลายใบ เพราะถือว่าได้ที่ดินไปเปล่า ๆ แม้ชาวบ้านจะไม่ได้เป็นโฉนดที่ดินเฉพาะตน แต่ก็ได้ที่ดินไปใช้สอยกันชั่วลูกชั่วหลาน ทั้งที่เมื่อปี 2518 ขณะที่ที่ดินคลองโยง 1,800 ไร่นี้ มีราคาไร่ละ 2,500 บาท ชาวบ้านก็ยินดีจะซื้อ หรือเมื่อต้นปี 2552 ชาวบ้านกับทางราชการยังเห็นร่วมกัน ณ ราคาไร่ละ 500,000 บาท การที่รัฐบาลใช้อำนาจแจกโฉนดชุมชนจึงทำให้ประเทศสูญเสียเงินถึง 900 ล้านบาท    ชุมชนบุกรุก: ยิ่งทำผิดกฎหมาย ยิ่งได้ดี โฉนดชุมชนถือเป็นกลอุบายที่อ้างความจนมาเอาสมบัติของชาติไป ในกรณีปกติ กว่าประชาชนทั่วไปจะมีบ้านเป็นของตนเองได้ ต่างจะต้องเก็บหอมรอมริบ ถ้าจะซื้อที่อยู่อาศัยอยู่ใกล้ใจกลางเมืองก็จะซื้อได้แค่ห้องชุดขนาดเท่าแมวดิ้นตาย ถ้าจะซื้อทาวน์เฮาส์หรือบ้านเดี่ยวก็ต้องออกไปไกลถึงชานเมือง จะไปทำงาน ก็ต้องออกจากบ้านแต่เช้ามืด กว่าจะกลับถึงบ้านแสนรักที่ลงทุนทั้งชีวิตซื้อไว้ ก็มืดค่ำ รุ่งขึ้นก็ต้องออกจากบ้านแต่เช้ามืดอีก วนเวียนยากลำบากอยู่อย่างนี้  แต่สำหรับชุมชนแออัดที่รัฐบาลจะนำมาเข้าโครงการโฉนดชุมชนนั้น เป็นชุมชนบุกรุกผิดกฎหมายที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่สามารถเดินทางสะดวกด้วยระบบรถไฟฟ้า เจ้าของบ้านในชุมชนเหล่านี้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่ามาหลายสิบปี ประหยัดเงินส่วนตัวไปได้หลายแสนบาท ราวหนึ่งในสามยังเก็บกินประโยชน์จากการให้เช่าบ้านราคาดี เดิมทีหากชุมชนเหล่านี้สามารถเช่าที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมาย พวกเขาก็ดีใจหายแล้ว แต่พวกเขากลับจะโชคดีดั่งถูกรางวัล จะได้สมบัติของแผ่นดินไปในนามโฉนดชุมชน    อย่าให้คนอยู่ป่าเขา ฉวยโอกาส เมื่อ 50 ปีที่แล้ว แทบไม่มีหมู่บ้านชาวเขาอยู่บนเขาเลย แต่เดี๋ยวนี้มีมากมาย บุกรุกกันเพิ่มแทบทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี บางแห่งกลายเป็นเมืองไปแล้ว อย่างนี้จะบอกว่าชาวเขาอยู่อย่างพอเพียง รักษาป่า ไม่ขยายตัว ได้อย่างไร แผ่นดินไทยคงไม่กว้างใหญ่ให้เหยียบย่ำทำกินได้เท่าความโลภของคน ประเทศจะปล่อยให้ชุมชนขยายตัวอย่างไร้ขีดจำกัดเช่นนี้ คงไม่ได้ ป่าเขา แม่น้ำ หนอง บึง ชายทะเลหรือทรัพยากรธรรมชาติ เป็นของทุกคนในชาติโดยไม่แบ่งแยก ไม่ใช่ของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ถ้าแต่ละชุมชนอ้างสิทธิ์เฉพาะตน ชุมชนอื่นและประชาชนไทยโดยรวมก็เข้าไม่ถึงทรัพยากร ของหลวงคือสมบัติของประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ให้ใครอยู่ใกล้ทรัพยากร ก็มือใครยาว สาวได้สาวเอา จนไม่เหลือหรอไว้ให้ลูกหลานในอนาคต เราต้องคิดเสียใหม่ว่า ของที่ไม่ใช่ของเรา ไม่ควรถือครอง ไม่ว่าตนจะเป็นคนรวยหรือคนจน ของส่วนรวม ของหลวงก็คือสมบัติของประชาชนไทยที่ต้องรักษาไว้เพื่อทุกคน   กลอุบายแยบยล: อ้างความจน คนที่มารับประโยชน์จากโครงการโฉนดชุมชนนั้นไม่ได้เป็นคนยากจนดังอ้าง เช่น จากผลวิจัยหนึ่งพบว่า ชาวบ้านชุมชนคลองโยง มีรายได้หัวละ 6,278 บาท โดยที่ครัวเรือนหนึ่งมีประชากร 4.5 คน ก็เท่ากับมีรายได้เดือนละประมาณ 28,000 บาท ซึ่งรายได้ขนาดนี้สามารถซื้อบ้านในตลาดเปิดได้ ณ ราคา 2 ล้านบาท (โดยสมมติให้กู้ได้ 85% ของราคาบ้าน ณ อัตราดอกเบี้ย 6% ผ่อน 20 ปี) นอกจากนี้ทุกครอบครัวยังมีรถปิกอัพ 1.5 คัน และมีรถยนต์ 1.1 คัน  แม้แต่ชาวบ้านในชุมชนแออัดบุกรุก ซึ่งผู้เขียนเคยสำรวจไว้ให้กับองค์การสหประชาชาติก็พบมีรายได้ระดับกลาง ในบ้านมีสิ่งอำนวยสะดวกแทบจะครบถ้วน ไม่ใช่คนยากจนดังที่เข้าใจ โครงการโฉนดชุมชนจึงไม่ได้พุ่งเป้าไปช่วยคนจน เช่น ชาวนายากจนที่เช่านาหรือขาดที่ทำกินจริง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป รัฐบาลควรสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยให้กับคนเร่ร่อนไร้บ้านในเมือง คนงานก่อสร้าง คนงานตัวเล็กตัวน้อย คนจนในเมืองที่ต้องเช่าที่ซุกหัวนอนถูก ๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่แทบไร้คนสนใจในสังคม คนเหล่านี้ต่างหากที่รัฐจำเป็นเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนโดยเฉพาะ แต่โดยที่คนเหล่านี้อาจไม่มีกระทั่งบ้านเลขที่ จึงไม่อาจเป็นกลุ่มก้อนที่ฝ่ายการเมืองจะไปหาเสียงด้วยการล่อด้วยโฉนดชุมชน    ทำลายระบบโฉนดที่ดิน โฉนดชุมชนนี้ยังทำลายหลักการออกโฉนดที่ดินที่ออกโดยพระพุทธเจ้าหลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2444 หรือร้อยกว่าปีก่อน และเป็นระบบโฉนดที่ดินที่พัฒนาเรื่อยมา จนกระทั่งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบโฉนดที่ดินที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โฉนดที่ดินเป็นการให้กรรมสิทธิ์สมบูรณ์แก่ผู้ถือครองเพื่อให้ไว้เป็นทุนทรัพย์ สามารถจำนอง จำหน่ายจ่ายโอนได้ในยามจำเป็น หรือหากมีฐานะดีขึ้นก็สามารถที่จะซื้อที่ดินเพิ่มเติมได้ โฉนดชุมชนยังถือเป็นการสร้างความไร้ขื่อแปของการจัดการที่ดิน แทนที่ชาวบ้านจะสามารถซื้อที่ดินเป็นทุนของตนเองแบบโฉนดทั่วไปเช่นคนอื่น กลับได้โฉนดชุมชนกำมะลอนี้ขึ้น ในกรณีคลองโยง เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เลิกทำนา ที่ดินดังกล่าวก็คงมีสภาพเป็นนาร้าง หรือผู้ครอบครองแต่ละรายอาจเช่าให้ผู้อื่นมาใช้ประโยชน์ในทางอื่น ซึ่งคงเหลือผู้คัดค้านเพียงน้อยรายที่ยังอาจทำการเกษตรอยู่   ทำลายระบอบประชาธิปไตย การอ้างสิทธิชุมชนลอย ๆ เป็นอนาธิปไตย สร้างความไร้ขื่อแป เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย เป็นการสร้างความไร้ขื่อแป เอากฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าอนาธิปไตย เป็นการหักล้างระบอบประชาธิปไตยโดยคนส่วนใหญ่ แต่กลับไปติดสินบนคนส่วนน้อย เพื่อหาเสียง เพื่อให้คนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เข้าใจว่าเป็นการช่วยประชาชน แต่แท้จริงเป็นการช่วยเฉพาะกลุ่มกฎหมู่ที่ไม่ใช่คนจนเป็นสำคัญ ในระบอบประชาธิปไตยนั้นที่ถือมติของคนส่วนใหญ่ ก็ใช่ว่าคนส่วนใหญ่จะบีฑาคนส่วนน้อย ทุกคนมีศักดิ์ สิทธิ์และประโยชน์ของตนโดยเท่าเทียมกัน ประเทศสามารถให้ความอนุเคราะห์พิเศษแก่คนส่วนน้อยในฐานะที่เป็นผู้ขาดแคลน เช่น กรณีพิบัติภัย หรือกรณีคนส่วนน้อยที่เป็นคนยากจนและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ แต่สำหรับโฉนดชุมชน เรากลับจะให้อภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยที่ไม่ได้มีฐานะยากจน มาฉวยทรัพยากรของชาติและประโยชน์ของคนส่วนใหญ่     ข้อสังเกตส่งท้าย หลังจากมีโฉนดชุมชนคลองโยงแล้ว อาจมีการแอบอ้างเอาอย่างในการเอาสมบัติของแผ่นดินไปแบ่งกันในพื้นที่อื่น ๆ ในอนาคตอีก แต่เชื่อว่าคงเลียนแบบกันได้ไม่มาก เพราะในความเป็นจริง บุคคลก็ย่อมต้องการโฉนดที่ดินที่ให้กรรมสิทธิ์สมบูรณ์เพื่อเป็นทุนทรัพย์มากกว่า โฉนดชุมชนคงไม่ใช่ทางออกที่เป็นจริงในการจัดการที่ดินของประเทศ ไม่อาจถือเป็นแบบอย่างที่เลียนแบบได้ทั่วไป โดยสรุปแล้วโฉนดชุมชนหาใช่นวัตกรรมการบริหารรัฐกิจ ผู้ได้รับประโยชน์ไม่ใช่ไม่ใช่คนจนแต่เป็นคนส่วนน้อย เช่น ชาวนาชั้นกลาง ชาวชุมชุนบุกรุกที่หลายคนมีบ้านให้เช่า หรือแม้แต่ชาวเขาที่ไม่ได้ยากจน โฉนดชุมชนยังทำลายระบบโฉนดที่ดินและทำลายระบอบประชาธิปไตยเพื่อกฎหมู่ ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรดำเนินการออกโฉนดลักษณะนี้อีกต่อไป บางคนอาจบอกว่า ตอนนี้ไม่ต้องห่วงแล้ว เพราะรัฐบาลที่ทำโฉนดชุมชนไปซะแล้ว แต่จริง ๆ ข้าราชการประจำหรือพนักงานราชการที่ทำด้านนี้ ก็อาจตั้งแท่นได้เสมอ  ถ้ารัฐบาลใหม่จะแสวงหาผลงานแบบง่าย ๆ สุกเอาเผากินเพื่อหาเสียง เข้าทำนอง “ผีกับโลง” ก็เสร็จพวกนี้อีก ดังนั้นเราจึงควรรู้ทันแนวคิดที่ควรทบทวนนี้
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63960
2016-02-09 11:19
'ทนายจูน' เข้ารับทราบข้อหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน-แจ้งความเท็จ แล้ว
ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและหนึ่งในคณะทำงานคดี 14 ขบวนประชาธิปไตยใหม่ เข้ารับทราบข้อหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานแล้ว หลังปฏิเสธไม่ให้ ตร. ที่ไม่มีหมายค้นรถตนเองเพื่อยึดโทรศัพท์ขบวนประชาธิปไตยใหม่ ส่วนคดีแจ้งความเท็จ ไม่ได้ว่าแจ้งความเท็จตรงไหน รอสอบผู้กล่าวหาเพิ่ม ศิริกาญจน์ เจริญศิริ หรือทนายจูน ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน (ที่มาภาพ เพจขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM) 9 ก.พ.2559 เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา ที่สน.ชนะสงคราม ศิริกาญจน์ เจริญศิริ หรือทนายจูน ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน และหนึ่งในคณะทำงานคดี 14 ขบวนประชาธิปไตยใหม่ เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก 2 ฉบับ จากพนักงานสอบสวนสน.ชนะสงคราม เพื่อให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งหมายแรกเป็นข้อหา ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจหน้าที่ ทีมีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร และหมายที่สองแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน สำหรับความคืบหน้า ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหา โดย ศิริกาญจน์ ได้ให้การปฏิเสธ พร้อมทั้งให้การในรายละเอียดด้วยวาจาและหนังสือ โดยตำรวจแจ้งว่าจะไม่มีการส่งตัวไปศาล หรือควบคุมตัว เนื่องจากมาตามหมายเรียก สำหรับคดีนั้นมี 2 คดี โดยคดีหนึ่งเป็นศาลแขวง เนื่องจากเป็นลหุโทษ โดยพนักงานสอบสวนจะไปยื่นที่ศาลเพื่อขอผัดฟ้อง ประมาณ 1 เดือน เพื่อนัดมายื่นฟ้องอีกที และอีกคดีเป็นศาลอาญา ภาวิณี กล่าวถึงสาเหตุของคดีนี้ว่า เเป็นตอนที่ทนายไม่ให้ค้นรถ การที่เจ้าพนักงานตำรวจมาเอาหลักฐานในภายหลังทั้งๆ ที่ตอนจับกลุ่มตัวขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ก็สามารถยึดโทรศัพท์ได้อยู่แล้ว ถ้าหากจะยึดในตอนที่อยู่ สน.พระราชวัง ก่อนที่จะไปศาลทหารก็สามารถเรียกที่จะเอาโทรศัพท์ได้อยู่แล้ว ถ้าหากจะเอา แต่ตันนั้นเข้าไม่เอา กลับมาเอาตอนที่จะส่งตัวขบวนการประชาธิปไตยใหม่เข้าไปในเรือนจำ ซึ่งเรามองแล้วว่าตอนนั้นไม่ปกติ อาจจะมีการไม่สุจริตอะไรบางอย่างในการที่จะยึดโทรศัพท์ของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ไป โดยหน้าที่เราก็ต้องป้องกัน รวมทั้งในการเข้ายึดขณะนั้นก็ไม่มีหมายค้นด้วย เราเห็นว่ามันไม่เป็นไปตามสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยจึงต้องคัดค้าน มันมีเหตุอันสมควรในการที่เราจะปกป้องตรงนี้   สำหรับคดีที่สอง ที่ พ.ต.อ.สุริยา จำนงโชค กล่าวหาว่าศิริกาญจน์แจ้งความเท็จนั้น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานด้วยว่า ระหว่างการแจ้งข้อกล่าวหาว่า ศิริกาญจน์มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.172 และ 174 ฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน เพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษนั้น ทนายความของศิริกาญจน์ได้ถามพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของพฤติการณ์การกระทำความผิดตามที่แจ้งจับ แต่พนักงานสอบสวนไม่อาจชี้แจงได้ว่าข้อความใดที่ศิริกาญจน์ได้แจ้งความไปแล้วเป็นเท็จ เธอจึงไม่อาจรับทราบข้อกล่าวหาและให้การต่อสู้คดีในชั้นนี้ได้ ศิริกาญจน์จึงขอให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำ พ.ต.อ.สุริยา ผู้กล่าวหาในประเด็นนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนจะนัดหมายให้ศิริกาญจน์มารับทราบข้อกล่าวหาและให้การในคดีนี้ภายหลัง   สำหรับคดีดังกล่าว ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ระบุว่าเกิดจากเหตุการณ์การชุมนุมของ 14 ขบวนประชาธิปไตยใหม่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 58 ซึ่งนำมาสู่การจับกุมทั้ง 14 คนในวันถัดมาที่สวนเงินมีมา ถนนเจริญกรุง โดย ศิริกาญจน์ อยู่ร่วมสังเกตการณ์ขณะที่ทั้ง 14 คนถูกจับกุมและได้ติดตามไปยังสน.พระราชวังและศาลทหารเพื่อทำหน้าที่ทนายความ กระบวนการฝากขังในศาลทหารเริ่มต้นเมื่อประมาณ 22.00 น. จนถึงเวลาประมาณ 00.30 น.โดยไม่มีบุคคลภายนอกสามารถเข้าไปในศาลทหารได้ ผู้ต้องหาทั้ง 14 รายจึงจำเป็นต้องฝากสิ่งของไว้กับทนายความเนื่องจากทั้งหมดถูกส่งเข้าเรือนจำในคืนนั้น ทีมทนายความจึงได้นำสิ่งของทั้งหมดของผู้ต้องหาไปเก็บรักษาไว้ภายในรถของ ศิริกาญจน์ ภายหลังการฝากขังเสร็จสิ้นแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจนำโดยพล.ต.ท.ชยพล ฉัตรชัยเดช ผบก.น.6 ได้ขอเข้าตรวจค้นรถของ ศิริกาญจน์ เพื่อขอตรวจค้นโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาทั้ง 14 ราย แต่เนื่องจากทีมทนายความเห็นว่าพนักงานสอบสวนได้อยู่ร่วมกับผู้ต้องหามาตั้งแต่เวลา 17.00 น.จนถึง 00.30 น.โดยมิได้ขอตรวจยึดโทรศัพท์มือถือจากผู้ต้องหาและพล.ต.ท.ชยพล ฉัตรชัยเดช ไม่สามารถตอบได้ว่าต้องการสิ่งใดในโทรศัพท์มือถือ จึงไม่อนุญาตให้ทำการตรวจค้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการยึดรถและผนึกรถด้วยกระดาษ A 4 ทำให้ทนายความจากจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ต้องนอนเฝ้ารถคันดังกล่าวบริเวณหน้าศาลทหารตลอดทั้งคืน   สภาพของรถยนต์ทีมทนายความผู้ต้องหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จอดอยู่ที่ศาลทหาร เช้า 27 มิ.ย.58 โดยเมื่อคืน 26 มิ.ย.58 ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนำแผงกั้นมาล้อมรถ และใช้กระดาษติดเทปกาวแปะรอบประตูรถ อ้างว่าจะค้นรถยนต์หาหลักฐานของผู้ต้องหาเพิ่มเติม และจะค้นรถเมื่อไปขอหมายค้นจากศาลมาแล้ว ล่าสุดทีมทนายความไปแจ้งความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ระบุว่าตำรวจไม่มีอำนาจยึดรถ (ที่มาของภาพ: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน) ต่อมาในวันที่ 27 มิ.ย.58 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำหมายค้นมาแสดง ศิริกาญจน์  จึงยินยอมให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้นและยึดโทรศัพท์มือถือไปทั้งหมด 5 เครื่อง โดยก่อนที่เจ้าหน้าที่จากกองพิสูจน์พยานหลักฐานกลางจะได้ทำการปิดผนึกโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งมอบให้พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ได้นำมือถือเครื่องดังกล่าวไปจากสถานที่เกิดเหตุและเจ้าหน้าที่จากกองพิสูจน์พยานหลักฐานกลาง โดยไม่มีผู้ใดรู้เห็นเป็นพยานกว่าสิบนาที่ เมื่อมีการทักท้วงว่าเป็นการกระทำผิดขั้นตอนเจ้าหน้าที่รายดังกล่าวจึงนำโทรศัพท์มือถือกลับมาเพื่อปิดผนึก ในวันเดียวกันหลังจากการทำบันทึกตรวจยึดสิ่งของที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามแล้ว ศิริกาญจน์ ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสน.ชนะสงครามว่าพล.ต.ท.ชยพล ฉัตรชัยเดชและพวกกระทำความผิดตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จากเหตุการณ์ยึดรถข้ามคืน ซึ่งนำมาสู่เหตุการออกหมายเรียกผู้ต้องหาในวันนี้
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/65175
2016-04-09 19:30
คตง.จ่อพิจารณาไฟประดับ กทม.เอื้อประโยชน์เอกชน
คตง.เตรียมพิจารณาโครงการประดับไฟลานคนเมือง 39.5 ล้านบาทของ กทม. มีพิรุธหลายประเด็นตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นประกวดราคารวมถึงความคุ้มค่าในการจัดจ้างทำโครงการ ส่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน    9 เม.ย. 2559 เว็บไซต์ TNN [1] รายงานว่ารายงานว่าคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เตรียมพิจารณาโครงการประดับตกแต่งไฟเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว บริเวณลานคนเมืองของกรุงเทพมหานคร งบประมาณ 39.5 ล้านบาท ที่เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนของข้าราชการและผู้บริหารระดับสูงของกทม. หลังนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ส่งรายงานผลการตรวจสอบมาให้   โดยนายพิศิษฐ์ ระบุว่าต้องรอให้คตง.พิจารณาอีกครั้ง โดยผู้ที่เกี่ยวข้องมีทั้งบริษัทเอกชน ข้าราชการและผู้บริหารระดับสูงของ กทม.ซึ่งจะเผยแพร่ผลการตรวจสอบอย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้   ทั้งนี้มีรายงานว่า สตง.พบผู้เกี่ยวข้องมีพฤติการณ์เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนเข้ามารับงาน โดยมีพิรุธหลายประเด็น ตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นประกวดราคารวมถึงความคุ้มค่าในการจัดจ้างทำโครงการ   สำหรับโครงการประดับไฟตกแต่งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ กทม.บริเวณลานคนเมืองได้จัดทำเป็นซุ้มอุโมงค์ไฟประดับแอลอีดี 5 ล้านดวง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 ตั้งแต่ 30 ธ.ค. 2558 เป็นเวลา 1 เดือน    ขณะที่ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่า กทม.ได้จัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสมมีแนวคิดแปลกใหม่ในการทำงานและพร้อมให้ทุกฝ่ายเข้าตรวจสอบ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/2004
2004-12-29 01:27
ซึนามิไม่กระทบอาหารทะเล
ตรัง-28 ธ.ค.47 นายภาสกร นันทรักษ์ ผู้จัดการสภาหอการค้าจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 ธันวาคม 2547 ตนจะเดินทางไปที่ท่าเรือกันตัง จังหวัดตรัง เพื่อสอบถามข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเรือประมงพาณิชย์ ที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ทั้งที่ประเทศอินโดนีเซียและพม่า ซึ่งขึ้นท่าที่ท่าเทียบเรือกันตัง หลังจากเกิดเหตุคลื่นยักษ์เข้าถล่มพื้นที่ชายฝั่งของหลายประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียใต้ "คงไม่มีเรือประมงลำไหนกล้าออกไปหาปลาเพราะกลัวอันตราย แต่ตอนนี้ว่ายังไม่กระทบกับโรงงานแปรรูอาหารทะเลในจังหวัดตรัง เพราะแต่ละโรงงานมีการสต็อกวัตถุดิบไว้ก่อนแล้ว และมีจำนวนมากพอถ้าแม้เรือไม่ออกหาปลาอีกหลายวัน อีกทั้งผลกระทบจากคลื่นจะอยู่บริเวณชายฝั่ง แต่ในทะเลไม่มีอันตรายอะไร น่าจะไม่เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบจนต้องปิดโรงงานแน่นอน"นายภาสกรกล่าว ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/60414
2015-07-17 19:52
ชาวนา อ.ผักไห่ ประท้วงให้ชลประทานเปิดประตูน้ำลาดชะโด
ชาวนา 6 ตำบลใน อ.ผักไห่ จ.อยุธยา เรียกร้องให้ชลประทานเปิดประตูน้ำลาดชะโด ระบุไม่มีน้ำใช้เพียงพอ วอนช่วยเหลือพื้นที่นาหลายหมื่นไร่ซึ่งกำลังใกล้ตายรวมถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่ขาดแคลน   17 ก.ค. 2558 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [1] รายงานว่า ชาวนาใน 6 ตำบล ของอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มารวมตัวกันบริเวณหน้าประตูระบายน้ำลาดชะโด เพื่อเรียกร้องขอให้ชลประทานเปิดประตูระบายน้ำช่วยเหลือพื้นที่นาหลายหมื่นไร่ ซึ่งกำลังใกล้ตาย รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่ขาดแคลน สำหรับ 6 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลลาดชิด ลาดชะโด ลำตะเคียน หนองน้ำใหญ่ ดอนลาน และจักราช อำเภอผักไห่ โดยการนำของนายสุรินทร์ ชื่นกุศล กำนันตำบลจักราช นำชาวนามารวมตัวกันที่บริเวณประตูระบายน้ำลาดชะโด เรียกร้องให้ชลประทานเปิดประตูระบายน้ำ และปล่อยน้ำเข้าคลองลาดชะโด ที่กำลังแห้งขอดอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน รวมถึง นาข้าวหลายหมื่นไร่ของชาวนาตลอด 2 ฝั่งคลองใน 6ตำบล ขณะที่ เจ้าหน้าที่ทหารผู้รับผิดชอบในเขตพื้นที่อำเภอผักไห่ ได้เข้ามาเจรจาพูดคุยสร้างความเข้าใจกับชาวนาแล้ว พร้อมรับปากจะไม่ให้ชาวนาได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภคจะต้องไม่ขาดแคลน
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/69419
2016-12-27 23:38
ยกฟ้องคดีที่ 2 ของจำเลยคดียิงกปปส.ตราด เหตุถูกทหารชักจูงให้ปรักปรำตัวเอง-ไม่มีประจักษ์พยาน
ศาลอาญายกฟ้องคดีที่ 2 ของ 'สมศักดิ์' อดีตจำเลยคดียิง กปปส. ตราดปี 57 ในข้อหาครอบครองอาวุธ ศาลยกเหตุไม่มีประจักษ์พยาน-หลักฐานยืนยันว่าเกี่ยวข้องกับของอาวุธกลางในคดี และคำให้การในชั้นสอบสวนมีการตกลงกับทหารมาก่อนถือเป็นการจูงใจโดยมีผลตอบแทน โดยคดีแรกยกฟ้องข้อหาร่วมกันฆ่าในคดียิงเวที กปปส. ตราดไปแล้วเมื่อต้นปี 27 ธ.ค. 2559 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน [1] รายงานว่า ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก มีนัดฟังคำพิพากษาคดีที่ 2 ของสมศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ข้อหาครอบครองอาวุธสงคราม เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีการครอบครองและเคลื่อนย้ายอาวุธที่เป็นของ มนัญชยา เกตุแก้ว และ กริชสุดา คุนะแสน ไปส่งต่อให้ จันทนา วรากรสกุลกิจ อีกทั้งยังอาวุธปืนของกลางในคดีนี้ตามฟ้องระบุว่าถูกเอาไปใช้ในเหตุการณ์คดีแรกของสมศักดิ์ที่เขาถูกกล่าวหาว่าร่วมกันก่อเหตุยิงเวที กปปส. จ.ตราด เมื่อ ก.พ. 2557 ซึ่งในคดีแรกศาลจังหวัดตราดได้ยกฟ้องไปแล้วเมื่อ 27 ม.ค.2559  โดย ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานของโจทก์ยังมีความสงสัยว่า สมศักดิ์ ได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/3 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม  ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ รายงานว่า ศาลได้อ่านคำพิพากษาสรุปได้ว่าข้อเท็จจริงเบื้องต้นปรากฏว่าเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2557 เวลา 10.30 น. ทหารสังกัด ร.29 พัน 3 สังกัดกองทัพภาคที่ 1 ซึ่งมีอำนาจตามกฎอัยการศึกเข้าทำการตรวจค้นพบอาวุธและยุทธภัณฑ์ในห้องเช่าแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสาคร และได้ทำการจับกุม จันทนา วรากรณ์สกุลกิจ ซึ่งศาลต้องพิจารณาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องอัยการซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้หรือไม่ พ.ต.ต.สุระพงษ์ ตรีสมพงษ์ เบิกความว่าได้เข้าไปสอบปากคำนายสมศักดิ์ที่เรือนจำกลาง จ.ตราด จำเลยถูกสอบปากคำในฐานะพยานคดีครอบครองอาวุธสงคราม โดยจำเลยให้การว่าเมื่อเดือน เม.ย. ถึง พ.ค. 2557 ได้รับการติดต่อจาก มนัญชยา  เกตุแก้ว ให้ไปรับอาวุธสงครามที่บ้านของ มนัญชยา ที่ชลบุรี โดยเดินทางไปด้วยรถกระบะพร้อมกับ เสก จันทสาร และชายอีก 4-5 คน จากนั้นได้นำอาวุธไปไว้ในท้ายรถของพวกเขา จากนั้นจำเลยได้นำอาวุธไปเก็บที่บ้านของจำเลยใน จ.ระยอง ก่อน จากนั้นเดือน พ.ค. 2557 มนัญชยา ได้ให้จำเลยนำอาวุธที่ฝากไว้มาให้ที่พุทธมณฑลสาย 4 วันนั้น จันทนา ได้นำรถตู้มารับอาวุธสงครามไป โจทก์ยังนำ พ.ต.อ.อภิชน เจริญผล พนักงานสอบสวนผู้สอบปากคำ ชวัลรัตน์ ชาติชัยภูมิ เบิกความว่า วัลรัตน์ อยู่กินกับจำเลย เคยพบว่า มนัญชยา และ กริชสุดา มีการติดต่อกับจำเลยให้นำอาวุธสงครามที่อยู่ในการครอบครองของจำเลยไปไว้ที่บ้านของ จันทนา พยานได้นำภาพของอาวุธปืน M3 ให้ ชวัลรัตน์ ดู ชวัลรัตน์ บอกว่าตรงกับอาวุธที่จำเลยนำมาที่บ้าน ทั้งนี้คดีนี้ไม่มีประจักษ์พยานขณะเกิดเหตุ โจทก์มีเพียงคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนที่ให้การในฐานะพยานตามที่ พ.ต.ต.สุระพงษ์เบิกความเอาไว้ อีกทั้งโจทก์ไม่สามารถนำผู้ที่ได้เห็นได้ยินเหตุการณ์มาให้การเป็นพยานได้ จึงเป็นเหตุจำเป็นที่ศาลต้องรับฟังคำให้การของจำเลยและน.ส.ชวัลรัตน์ ตาม ป.วิ อาญา 226/3 (2) และ 227/1 ที่ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานด้วยความระมัดระวัง กระนั้นคำให้การของ สมศักดิ์ ไม่มีรายละเอียดชัดแจ้งว่าอาวุธที่นำไปส่งมอบให้ จันทนา เป็นชนิดหรือประเภทใด และจำนวนเท่าใด อีกทั้งจำเลยยังนำสืบด้วยว่าคำให้การที่พนักงานสอบสวนมาสอบสวนจำเลยระหว่างถูกขังในเรือนจำตราดฯ นั้นยังเกิดขึ้นจากการตกลงกันว่าหากจำเลยให้ความร่วมมือจะไม่มีการดำเนินคดีกับจำเลยและ ชวัลรัตน์ และคำให้การดังกล่าวทหารยังเป็นคนบอกจำเลยว่าให้พูดตาม แล้วจำเลยก็ไม่ได้อ่านบันทึกคำให้การของตนก่อนอีกด้วย จึงเป้นหลักฐานที่มาจากการจูงใจไม่ได้ให้การด้วยความสมัครใจ จึงเป็นหลักฐานที่ไม่สามารถรับฟังได้ และคำให้การของ ชวัลรัตน์ ที่เป็นพยานเอกสาร จำเลยก็ไม่มีโอกาสที่จะซักค้านพยานด้วย พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะใช้ในการพิจารณาลงโทษจำเลย ดังนั้นศาลจึงมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานของโจทก์ยังมีความสงสัยว่าสมศักดิ์ได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/3 คดีนี้สืบเนื่องมาจาก สมศักดิ์ ได้ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2557 โดยทหารได้เข้าจับกุม เขาพร้อมภรรยาที่โรงแรมสวีตอิน อ.เขาสมิง จ.ตราด ในการจับกุมทหารจำนวนหลายนาย พร้อมอาวุธได้ใช้ระเบิดควันยิงเข้าไปในห้องพักของโรงแรมก่อนและดำเนินการพังประตูห้องเข้าไปจับกุมตัวทั้งสองคน จากนั้นถูกใช้ผ้าปิดตาและมัดข้อมือไขว้หลังด้วยสายรัดแล้วถูกนำตัวขึ้นรถ จากนั้นก็ถูกนำตัวไปควบคุมไว้ที่ค่ายทหาร และทหารได้ทำการสอบสวนด้วยการข่มขู่ มีการคลุมศีรษะด้วยถุง และทำร้ายร่างกายจนกระทั่งปัสสาวะราด รวมถึงสร้างสถานการณ์จำลองว่าทหารจะมีเจตนาฆ่านายสมศักดิ์ เพื่อให้เกิดความหวาดกลัว เพื่อบังคับให้นายสมศักดิ์ยอมให้ข้อมูลและรับสารภาพว่าเป็นผู้ก่อเหตุกราดยิงเวที กปปส. ตราดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 มาก่อน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/50435
2013-12-14 20:55
‘จิตรา-ประแสง’เปิดพรรคใหม่ ชูรัฐสวัสดิการ ต้านคอรัปชั่น กระจายอำนาจ
เสื้อแดงเปิดตัวพรรคพลังประชาธิปไตย ประแสงยันไม่ใช่พรรคสำรองพรรคใหญ่ เผย กกต.ไม่รับจดชื่อพรรค ‘คนเสื้อแดง’ และคำว่า“แห่งชาติ” จิตราชี้สร้างพรรคมวลชนไม่ใช่พรรคของบางคน ดันนโยบายแรงงาน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีการจัดแถลงข่าวเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ของคนเสื้อแดงชื่อ “พรรคพลังประชาธิปไตย” (Democratic Force Party – DFP)ที่โรงแรม เค รีสอร์ท เลียบทางด่วนรามอินทรา นำโดย ประแสง มงคลศิริ ประธานที่ปรึกษาพรรค จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาพรรค และ สุรชาติ เวชกามา แกนนำ นปช.ยโสธร ในฐานะหัวหน้าพรรค ชู 4 นโยบายเบื้องต้น คือ สร้างรัฐสวัสดิการ ต่อต้านคอรัปชั่นอย่างเข้มข้น จัดสรรทรัพยากรของประเทศใหม่และการกระจายอำนาจการปกครอง โดยสร้างพรรคให้เป็นพรรคมวลชน มีการจัดเก็บค่าบำรงสมาชิกในอัตราก้าวหน้าตามรายได้ พร้อมลงเลือกตั้ง 2 ก.พ.นี้ ประแสง มงคลศิริ  ประแสงยันไม่ใช่พรรคสำรองพรรคใหญ่ ประแสง มงคลศิริ กล่าวว่า พรรคที่ตั้งนี้ไม่ใช่พรรคสำรองของพรรคเพื่อไทยเนื่องจากเขามีพรรคสำรองอยู่แล้ว คือ พรรคเพื่อธรรม โดยพรรคมี 4 กรอบนโยบายเบื้องต้นคือ จะสร้างรัฐสวัสดิการที่แท้จริงให้กับประเทศนี้ จะต่อต้านการคอรัปชั่นอย่างเข้มข้น จะจัดสรรทรัพยากรของประเทศใหม่และจะกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าฯ เป็นต้น เผย กกต.ไม่รับจดทะเบียนชื่อพรรค “คนเสื้อแดง” และคำว่า “แห่งชาติ” ประแสงกล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ตนกับหัวหน้าพรรคที่เป็นแกนนำ นปช.ยโสธร ได้คุยกันแล้วต้องการมีพรรคที่เป็นของมวลชนจริงๆ โดยแกนนำนปช.ยโสธรไปตั้ง “พรรคพลังคนเสื้อแดง” ขณะที่ตนเองไปตั้ง “พรรคคนเสื้อแดง” แต่ถูกปฏิเสธจาก กกต. ไม่ให้จัดตั้ง โดยแจ้งว่าเมื่อ ปี 2554 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขอจัดตั้งพรรคชื่อ “พันธมิตร” แต่ กกต.มีมติไม่อนุญาต จึงเปลี่ยนเป็นพรรคการเมืองใหม่ ทำให้ต้องนำมาตรฐานนั้นมาใช้กับฝ่ายเสื้อแดงด้วย จึงต้องเปลี่ยนชื่อ ประแสง กล่าวในครั้งแรกจะเปลี่ยนมาตั้งชื่อ “พรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ” แต่กลับถูก กกต.ปฏิเสธไม่ให้ใช้คำว่า “แห่งชาติ” โดยอ้างว่าขัดกับระเบียบของ กกต. จึงได้ตัดคำดังกล่าวออกไป ประแสงกล่าวด้วยว่า ตนเองยอมรับสิ่งที่นำเสนอวันนี้อาจมีขอบเขตแนวทางที่อยู่ในพื้นที่จำกัด และพร้อมที่จะรับข้อเสนอใหม่ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวกับแนวนโยบายของพรรค จิตรา คชเดช จิตรา ชี้สร้างพรรคมวลชนไม่ใช่พรรคของบางคน จิตรา คชเดช กล่าวถึงความสำคัญของระบบรัฐสภาว่าปัจจุบันการต่อสู้เรียกร้องสู้เรียกร้องต่างๆนั้นมาก็ต้องเข้ามาสู่การระบบรัฐสภาและการตรากฏหมาย แต่เวลาผู้สมัคร ส.ส. มาหาเสียงกับคนงานกับชาวบ้านนั้นจะเห็นข้อเสนอมากมาย หลังจากเลือกตั้งแล้วเมื่อมีปัญหาจริงๆนั้นกลับพบกับ ส.ส. ยาก เพราะประชาชนถูกทำให้ไม่มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของพรรคการเมือง และ ส.ส. มักอ้างเรื่องให้ฟังมติพรรค แต่พรรคเองก็ไม่ฟังสมาชิกกลับฟังเจ้าของพรรคที่เป้นนายทุนพรรคเป็นหลัก จึงเกิดปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่าง ส.ส.ที่เป็นตัวแทนของประชาชนกับมติพรรคที่เป็นของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น ด้วยเหตุนี้พรรคที่จะสร้างจึงต้องการให้เป็นพรรคของมวลชน เก็บค่าสมาชิกในอัตราก้าวหน้า จิตรา คชเดช นักสหาพแรงงาน กล่าวว่า 4 แนวนโยบายข้างต้นเป็นเพียงเค้าโครงเท่านั้น แต่พรรคจะสร้างนโยบายออกมาจากสมาชิกพรรคที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายของพรรคอีกครั้ง รวมถึงจะมีการจัดระบบให้สมาชิกมีความเป็นเจ้าของพรรคอย่างแท้จริง เช่น การระดมทุนร่วมกัน   จิตรายกตัวอย่างระบบสหภาพแรงงานที่ใช้การจ่ายค่าสมาชิกเป็นรายเดือน โดยมีระบบการการจ่ายค่าบำรุงในอัตราก้าวหน้าเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ต่อเงินเดือน ทำให้ไม่มีเจ้าของพรรคหรือสหภาพเพียงลำพังคนเดียว เธอกล่าวว่า ระบบรัฐสภาไทยที่ผ่านมาจะเห็นว่าหลายกลุ่มเสนอร่างกฏหมายไป แต่กลับถูก ส.ส.ปัดตก เช่น คนงานเสนอ ร่างพ.ร.บ. ประกันสังคม หรือคนรักเรื่องเสรีภาพเสนอ แก้ ม.112 ก็ถูกสภาปัดตกไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นพรรคพลังประชาธิปไตยจะเน้นการฟังเสียงคนจากล่างสู่บน ไม่ใช่จากบนลงล่าง รวมทั้งจะสร้างระบบการโหวตตัวแทนลงเลือกตั้งและระบบที่สามารถโหวต ส.ส. หรือตัวแทน ที่ไม่ทำตามความต้องการของสมาชิกออกจากตำแหน่งด้วย อย่ากลัวแบ่งเสียงพรรคใหญ่ เพราะประชาชนไม่ใช่ของใคร จิตรากล่าวถึงข้อกังวลของฝ่ายประชาธิปไตยและผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยที่มองว่าการตั้งพรรคใหม่จะเป็นการแบ่งคะแนนเสียงเลือกตั้งว่า ต้องถามประชาชนว่าจะถูกแย่งคะแนนหรือไม่ เพราะเราเสนอให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมเป็นสมาชิกพรรค และแสดงตัวชัดเจนว่าจะนำไปสู่อะไร คนที่เลือกเราเขามองเห็นว่าจะเลือกอะไร การมองว่าประชาชนถูกแบ่งคะแนนได้นั้น ไม่ต่างจากความคิดอีกฝ่ายที่มองว่าประชาชนถูกซื้อเสียงได้ การมองแบบนี้นเป็นการมองประชาชนไม่มีตัวตน เป็นการมองว่าประชาชนเป็นของของใครคนใดคนหนึ่ง   ดันนโยบานแรงงาน รับรองอนุสัญญา ILO 87,98 เลือกตั้งในสถานประกอบการ จิตรา กล่าวถึงนโยบายส่วนตัวที่จะผลักดันในพรรค คือนโยบายแรงงาน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่เข้ามาทำพรรคการเมืองนี้ ทั้งคนงานในแรงงานอุตสาหกรรมและภาคบริการ รวมทั้งคนงานในภาคเกษตรกรรมที่ยังไม่มีการรวมตัว ด้วยเหตุนี้จึงจะส่งเสริมให้มีการรวมตัวต่อรองของคนงาน และให้พรรคมีนโยบายรับรองอนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม หรือ ILO 89, 98 นอกจากนี้จะผลักดันให้มีนโยบายการเลือกตั้งในสถานประกอบการ เนื่องจากทุกวันนี้คนงานส่วนใหญ่เป็นคนงานย้านถิ่น ดังนั้นเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งก็ต้องกลับไปเลือกตั้งในจังหวัดบ้านเกิด ซึ่งไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับ ส.ส.ได้  รวมทั้งในพื้นที่ทำงานและหอพักในเมืองก็ไม่สามารถมีอำนาจต่อกับ ส.ส.ในพื้นที่นั้นได้ เพราะไม่ใช่ฐานเสียงโดนตรง จิตราเสนอว่าอาจใช้อ้างอิงสิทธิเลือกตั้งตามบัญชีในระบบประกันสังคมเพื่อให้คนงานเหล่านั้นมีสิทธิในการเลือกตั้งที่แท้จริงในที่ที่เขาอยู่ ไม่ใช่ให้เป็นเพียงพลเมืองที่ไม่มีตัวตนเท่านั้น รวมทั้งจะผลักดันให้มีนโยบานขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรค์ในการสร้างประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่สมาชิกจะเสนอเข้ามาต่อไปด้วย การตั้งพรรคเพื่อส่งเสียงว่าเราต้องการการเลือกตั้ง สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันที่กลุ่ม กปปส. ผลักดันเพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้งในเร็ววันนี้ จิตรากล่าว่า การที่เรามีพรรคการเมืองมันจะนำไปสู่การพูดเรื่องสิทธิการเลือกตั้งได้มากกว่าคนธรรดา ดังนั้นการตั้งพรรคนี้ขึ้นมาสิ่งหนึ่งก็เพื่อส่งเสียงว่าพวกเราต้องให้มีการเลือกตั้งด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/59824
2015-06-17 18:16
‘ประยุทธ์’ ชี้ต้องวางรากฐานต้านคอร์รัปชันเข้มงวด สู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์ที่การตรวจสอบและถ่วงดุลแท้จริง
17 มิ.ย.2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ครั้งที่ 3 (The Third Conference on Evidence-Based Anti-Corruption Policies – CEBAP III) ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจาก 12 ประเทศ ประกอบไปด้วย ผู้บริหารระดับสูง นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงาน องค์กร สถาบันต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ โดย เว็บศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล [1] ได้สรุปประเด็นสาระสำคัญ ดังนี้ ยินดีและเป็นเกียรติที่ได้มากล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ครั้งที่ 3 ซึ่งนับเป็นโอกาสดีที่ทั้งนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านการทุจริตจะได้มาร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการต่อต้านการทุจริตที่ตั้งอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากผลการวิจัยและการสืบสวนสอบสวน การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาใหญ่ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมายาวนานและนับวันจะยิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ประเทศต้องสูญเสียโอกาสในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการขาดความเชื่อมั่นจากสายตาของชาวต่างชาติ ทำให้ถูกปิดกั้นการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งยังทำให้ประเทศสูญเสียทรัพยากรแบบสูญเปล่า พวกเราทุกคนล้วนเป็นพลังสำคัญที่จะต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชัน และสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมการโกงกินที่หยั่งรากลึกมายาวนานให้เป็นสังคมที่โปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อให้สังคมและเศรษฐกิจของเราเดินหน้าต่อไปด้วยความเข้มแข็ง มั่นคง สร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศไทย ตลอดจนเป็นแนวทางที่ดีงามให้เยาวชนไทยยึดถือและนำไปปฏิบัติ รัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และกำหนดให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอยู่ในทุกหัวข้อของการปฏิรูปและถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ การแก้ไขปัญหาทุกด้านจะเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบราชการ ข้าราชการทุกคนต้องนำแนวทางของหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นรากฐานที่ดีต่อการทำงานทุกระดับ ขั้นตอนการดำเนินงานทุกขั้นตอนต้องมีความโปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ ไม่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแม้จะเพียงเล็กน้อย หัวข้อของการประชุมปีนี้ คือ การต่อต้านคอร์รัปชันเชิงระบบ ซึ่งเป็นการคอร์รัปชันที่มีความเชื่อมโยงระหว่างเงินและการเมือง และการครอบงำสถาบันของภาครัฐโดยกลุ่มทุนที่มีอำนาจทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การยอมรับ เรียกร้อง และขู่เข็ญเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสินบน การใช้อำนาจในทางที่ผิดผ่านทางระบบอุปถัมภ์และการเล่นพรรคเล่นพวก การยักยอกทรัพย์สินของรัฐ ตลอดจนการเปลี่ยนหรือผันการใช้งบประมาณภาครัฐอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นภัยอันตรายที่สามารถทำให้ประเทศเป็นอัมพาตได้ ประเทศไทยต้องสร้างรากฐานเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน ในสถานการณ์ปัจจุบันบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เข้มงวด เพื่อนำไปสู่การมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลอย่างแท้จริง แม้จะมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบออกมาบังคับใช้ แต่ทางออกของการแก้ไขปัญหานี้ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน เปลี่ยนจากการเพิกเฉยและการยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันมาเป็นพลังสำคัญในการต่อต้านอย่างจริงจัง และร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นสังคมที่มีบรรยากาศน่าอยู่ มีความชอบธรรมในทุกด้าน นำงบประมาณแผ่นดินที่ต้องสูญเสียไปกับการทุจริตคอร์รัปชันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศของเราเพื่ออนาคตที่ดีของลูกหลานเรา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกลไกหรือเครื่องมือที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการภาครัฐแบบเดิม ได้แก่ กลไกด้านความโปร่งใส ด้านความพร้อมรับผิดและตรวจสอบได้ และกลไกการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นของกลุ่มต่างๆ เช่นภาคประชาคมระหว่างประเทศ ภาคเอกชนในประเทศ ภาคการเงิน และกลุ่มวิชาชีพต่างๆ หรืออาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้กลไกที่เป็นการสั่งการหรือการใช้อำนาจบังคับ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชัน และได้ดำเนินการเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร การผ่านกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจ และอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วมใน Open Government Partnership หรือ ความร่วมมือรัฐบาลเปิด และการเข้าเป็นสมาชิกในข้อตกลงว่าด้วยการจัดซื้อภาครัฐขององค์การการค้าโลกเพื่อการพัฒนาด้านความโปร่งใส และความมีอิสระในการเข้าถึงของข้อมูลข่าวสารอันเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู่กับการคอร์รัปชัน นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มที่จะเป็นสมาชิกโครงการเพื่อความโปร่งใสในการสกัดทรัพยากรธรรมชาติ (Extractive Industries Transparency Initiative-EITI) ซึ่งเป็นมาตรฐานโลกที่กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้มีบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเปิดเผยและตรวจสอบได้ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ประเทศผู้สมัครจะต้องปฏิบัติก่อนเพื่อการเป็นสมาชิก EITI ต่อไป รวมทั้งได้จัดทำโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Construction Sector Transparency หรือ CoST) ในโครงการก่อสร้างภาครัฐขนาดใหญ่ และได้โยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมดที่มีส่วนพัวพันกับคดีการทุจริตคอร์รัปชันซึ่งคดียังไม่สิ้นสุด เพื่อให้กระบวนการสืบสวนแล้วเสร็จโดยเร็วและสามารถดำเนินไปได้ โดยปราศจากการข่มขู่คุกคาม การสืบสวนสอบสวนคดีคอร์รัปชันและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบธรรมภิบาลในระดับชาติ ถือเป็นความท้าทายของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยนโยบายที่ดีต้องมาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดีมาจากงานวิจัย นายกรัฐมนตรีรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่สำนักงาน ป.ป.ช. ไม่ได้จำกัดตัวเองเพียงการทำงานด้านการสืบสวนสอบสวน หากแต่ยังได้สร้างเสริมสมรรถนะและความสามารถในการดำเนินงานผ่านการวิจัยและการบริหารจัดการข้อมูล การประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศฯ ในครั้งนี้ จึงช่วยสนับสนุนการทำงานที่ท้าทายของสำนักงาน ป.ป.ช. และนายกรัฐมนตรีหวังว่าผลของการประชุมนี้จะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นรูปธรรมต่อไป รัฐบาลพร้อมที่จะรับฟังและนำไปเป็นข้อมูลเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และปราบปรามการทุจริตของชาติให้หมดไป
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/59020
2015-04-28 17:23
คณะผู้แทน EU เยี่ยมศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ผู้แทนจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยและประเทศสมาชิกในกลุ่มอียู เข้าเยี่ยมศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชมประทับใจในการทำงาน-ชื่นชมในความพยายามปกป้องสิทธิฯ ทนายจากศูนย์ทนายฯ เผยคุยเรื่องการบังคับใช้มาตรา 44 ภาพจากเพจ European Union in Thailand [1] 28 เม.ย.2558 วานนี้ ผู้แทนจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยและประเทศสมาชิกในกลุ่มอียู เข้าเยี่ยมศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยเพจทางการของคณะผู้แทนสหภาพยุโรปฯ ระบุว่า มีความประทับใจในการทำงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก และรู้สึกชื่นชมในความพยายามของศูนย์ฯ เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้สัมภาษณ์ประชาไทว่า วานนี้ ได้พูดคุยกับคณะผู้แทนสหภาพยุโรปฯ ถึงการทำงานของศูนย์ ปัญหาและอุปสรรคที่พบ โดยคณะผู้แทนสหภาพยุโรปฯ ได้สอบถามถึงผลจากการบังคับใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 แทนกฎอัยการศึก ด้วย เยาวลักษณ์ กล่าวถึงปัญหาสำคัญขณะนี้ว่า ระบบนิติรัฐไม่ได้เป็นไปตามปกติ โดยมีการใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งที่ 3, 4, 5 ให้อำนาจทหารเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเกือบทุกฉบับ ทั้งนี้ ตั้งคำถามกับการเข้ามามีบทบาทในกลไกต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ทหารอย่างกว้างขวางด้วย  เยาวลักษณ์ชี้ว่า บางกรณียังไม่เห็นคำสั่งแต่งตั้ง แต่ก็เห็นการอ้างใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น กรณีจับ อบต. คอร์รัปชันในจังหวัดทางภาคตะวันออก เธอชี้ว่า อุปสรรคการทำงานของศูนย์ทนายฯ คือการเข้าถึงผู้ต้องหา โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร เวลาไปเรือนจำ เพื่อสอบข้อเท็จจริงหรือพูดคุยกับผู้ต้องหา พวกเขาก็ไม่กล้าให้ข้อมูล ขณะที่ศาลทหารเองก็ออกแนวปฏิบัติใหม่ ให้ทนายพบผู้ต้องหาได้สั้นลง เยาวลักษณ์ กล่าวด้วยว่า แม้ คสช. จะยกเลิกกฎอัยการศึกและหันมาใช้มาตรา 44 แทน แต่สถานการณ์ของผู้ต้องหาในกระบวนการยุติธรรมก็ไม่เปลี่ยน และยิ่งเห็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ทหารที่มากขึ้น "ตอนกฎอัยการศึก 7 วัน ทนายไม่ได้พบผู้ต้องหา พอใช้คำสั่งที่ 3 ทนายก็ไม่ได้พบผู้ต้องหาเหมือนกัน เราเข้าถึงให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายได้ยากขึ้น ผู้ต้องหาก็เข้าถึงความยุติธรรมได้ยากขึ้น ทั้งไม่มีการเปิดเผยสถานที่คุมขัง ไม่มีสิทธิพบญาติ และเสี่ยงถูกซ้อมทรมาน"
1pos
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/41729
2012-07-24 19:05
แก้รัฐธรรมนูญ: ทางสองแพร่งที่รัฐบาลต้องเลือก
ไม่ว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการยกคำร้องตามมาตรา 68 ที่ออกมาในวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 จะออกมาเป็นเช่นไร แต่ผมคิดว่าคงเปลี่ยนแปลงจากคำแถลงข่าวในวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมาไม่มากนัก เพราะตามรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้แล้วว่าคำวินิจฉัยกลางต้องและคำวินิจฉัยส่วนตนต้องทำให้เสร็จก่อนการอ่านคำวินิฉัยในวันที่ลงมติ การแก้ไขจะทำได้ก็เพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ ตัวสะกด การันต์ ฯลฯ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะกรณีคำวินิจฉัยกลางของคดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยเกิดเหตุการณ์คำวินิจฉัยกลางที่เป็นทางการไม่ตรงกับการแถลงข่าวมาแล้ว ที่สำคัญก็คือข้อคลางแคลงในคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ที่ว่า “ตัดสินความผิดย้อนหลังก็ได้ ตัดสินคดีล่วงหน้าก็ได้ ไม่มีอำนาจก็ตัดสินได้” ซึ่งไหนๆก็ไหนๆแล้ว ป่วยการที่จะไปแหกปากร้องแรกแหกกระเฌอว่าศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายอำนาจตัวเอง เพราะดันไปรับอำนาจเขาเองตั้งแต่ต้น แทนที่จะเดินหน้าลงมติวาระ 3 ไปให้เสร็จสิ้นกระบวนความ แต่ไปเชื่่อที่ปรึกษาห่วยๆว่าจะถูกองคมนตรีระงับยับยั้งหรือส่งกลับซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญรองรับ หรือเกรงว่าตัวเองจะถูกต้อนเข้าไปสู่ Killing Zone เพราะหากเสนอทูลเกล้าฯไปแล้วมีอันเป็นไป เพราะผมเชื่อว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะขนาดศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวประธานเองและตุลาการบางนายออกมาขู่ฟอดๆอยู่รายวันต่อสื่อมวลชนก่อนวันตัดสินยังต้องเบรกจนตัวโก่งเมื่อเจอฤทธิ์เดชของมวลชนที่ออกมาขู่กลับเช่นกัน ทำให้คำวินิจฉัยออกมาไม่เป็นที่สะใจของฝ่ายที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 แต่ก็ยังไม่วายวางยาหรือระเบิดเวลาไว้ให้ปวดหัวเล่น "Angsana New""> การวางยาหรือระเบิดเวลาที่ว่านี้ก็คือ แม้ว่าจะยกคำร้องแต่ยังไปวินิจฉัยว่ามาตรา นั้นให้แก้เป็นรายมาตราเท่านั้นไม่ให้แก้ทั้งฉบับให้แก้ได้เป็นรายมาตราเท่านั้น หากจะแก้ทั้งฉบับควรจะไปทำประชามติเสียก่อนซึ่งเป็นการแต่งตำราขึ้นมาใหม่โดยศาลรัฐธรรมนูญเอง เพราะไม่มีในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใดที่ให้อำนาจเช่นว่านี้ไว้ ซึ่งผมคงจะงดให้ความเห็นในประเด็นต่างๆเหล่านี้เพราะได้มีผู้ให้ความเห็นไว้มากแล้ว แต่ผมจะมาวิเคราะห์ทางเลือกที่เหลืออยู่ของรัฐบาลว่าจะทำอะไรได้บ้างหรือจะทำอะไรไม่ได้บ้าง ประเด็นแรกที่มีผู้เรียกร้องมากและปัจจุบันก็ยังมีผู้เรียกร้องอยู่ทั้งจากในกลุ่มฮาร์ดคอร์ของพรรคเพื่อไทยเองหรือในฝ่ายนักวิชาการส่วนใหญ่(ผมใช้คำว่าส่วนใหญ่เพราะนักวิชาการที่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล้วนแล้วแต่มีที่มาที่ไปที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่ตนเองกำลังเสวยสุขอยู่แทบเสียจะทั้งสิ้น ไม่เชื่อลองยกชื่อมาวางเป็นรายๆไปเลยก็ได้ว่าใครเกี่ยวข้องอย่างไร)ที่ยังคงอยากให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ต่อไป ซึ่งก็คงจะไปเข้าล็อกของการตีความใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญอีกทีหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่าไม่น่าจะเป็นไร ถ้าเราไม่ยอมรับการขยายอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเสียอย่าง แต่ในทางเลือกนี้คงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลและรัฐสภาได้แสดงให้เห็นถึงอาการปอดแหกมาตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่มีทางที่จะมากลับลำเอาเสียง่ายๆหรอก ก็เป็นอันว่าทางเลือกนี้เป็นอันพับไป ฉะนั้น จึงเหลือแนวทางที่เป็นไปได้เพียง 2 แนวทาง คือ การแก้ไขรายมาตรากับการทำประชามติ ซึ่งเราลองมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ดูว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน  แนวทางแรกการแก้ไขรายมาตราจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในวาระที่ 2 ของการเสนอแก้ไขมาตรา 291 เพียงมาตราเดียว (แต่มีหลายอนุมาตรา) มีการยื้ออภิปรายโดยการสงวนความเห็นของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยว่ากันเสียหลายสิบวัน หากจะแก้อีกหลายมาตราตามที่ต้องการก็กะกันว่าคงใช้เวลากันอีกหลายสิบปี มิหนำซ้ำฤทธิ์เดชของพรรคฝ่ายค้านที่ลากเก้าอี้ประธานรัฐสภาหรือเอาแฟ้มหนังสือขว้างใส่ประธานรัฐสภาจนฉาวโฉ่ไปทั่วโลก ก็เล่นเอาขนหัวลุกว่าเป็นไปได้ถึงเพียงนี้เชียวหรือ แต่บางคนก็เสนอความเห็นเพื่อความสะใจว่าอย่ากระนั้นเลยหากจะแก้เป็นรายมาตรา มาตราแรกที่จะแก้ก็คือการยุบศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นก้างขวางคอหรือการแก้ไขเฉพาะมาตรา ก่อนแล้วค่อยแก้มาตราอื่นๆตามมา ซึ่งผมเห็นว่าทางเลือกนี้ค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลา แต่ก็ยังคงพอมีความเป็นไปได้แต่อาจจะน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกในแนวทางที่สอง แนวทางที่สองการลงประชามติเพื่อนำไปสู่การแก้ไขทั้งฉบับแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะใช้คำว่าควรจะทำประชามติก่อนหากจะมีการแก้ไขทั้งฉบับก็ตาม แต่ดูเหมือนคำว่าควรจะนั้นจะแปลความหมายเป็นคำว่า “ต้อง” ไปเสียเพราะเมื่อคำนึงถึงคำวินิจฉัยสำเร็จโทษที่จะตามมาภายหลังหากไม่เชื่อฟัง ประเด็นจึงเหลือแต่เพียงว่าแล้วจะทำอย่างไรกับร่างที่ยังค้างคาอยู่ในสภา หากทำประชามติก่อนยกร่างก็ต้องให้ร่างที่ค้างอยู่ในสภานั้นตกไป ซึ่งก็คงจะเป็นการถอยตกหน้าผาไปซึ่งก็คาดเดาได้ไม่ยากว่าคนที่ตกหน้าผาสูงถึงเพียงนั้นจะมีชีวิตรอดทางการเมืองได้อย่างไร ก็จึงเหลือทางเลือกอีกที่พอให้ก้าวเดินคือการยังคงคาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ในสภาอยู่อย่างนี้แล้วไปทำประชามติว่าเห็นด้วยกับการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่ค้างคาอยู่ในสภานี้หรือไม่ ซึ่งก็คงใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน หากเห็นด้วยก็ดำเนินการลงมติในวาระ 3 ต่อไป หากไม่เห็นด้วยก็ถอนร่างนี้ออกจากสภาไป พร้อมกับก้มหน้ารับกรรมไปโทษฐานที่ไม่สามารถรักษาคะแนนนิยมไว้ได้ และก็ควรจะลาออกหรือยุบสภาไปเพื่อเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจใหม่ว่ายังจะให้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหรือไม่ แต่บางคนก็บอกว่าก็ในร่างที่คาอยู่ในสภาก็บอกอยู่แล้วนี่ว่าก่อนที่ สสร.จะประกาศใช้ต้องมีลงประชามติอยู่แล้วนี่ ไปทำประชามติก่อนทำไม่ให้เสียเวลา คำตอบก็คือ คนละส่วนกัน ที่สำคัญก็คือ เขาไม่ฟังหรอก เขาในที่นี้ก็คือศาลรัฐธรรมนูญนั่นเอง ฉะนั้น ในทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้ก็คือทางเลือกที่ 2 นั่นเอง อย่างไรก็ตามในส่วนตัวของผมเห็นว่าไหนๆก็จะแก้รัฐธรรมนูญและให้มีการลงประชามติก่อนกันแล้ว น่าจะทำประชามติเสียให้เสร็จเด็ดขาดไปในคราวเดียวกันไปเลยโดยเรามาถามประชามติว่า หากจะแก้รัฐธรรมนูญซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือรูปแบบของรัฐได้ เพราะรัฐธรรมนูญปัจจุบันห้ามไว้ แล้วเรื่องอื่นๆ เราจะเอากันอย่างไร เช่น องค์กรอิสระควรมีต่อไปหรือไม่/ จะเอาศาลเดี่ยว (ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง) หรือศาลคู่ ปฏิรูประบบศาลให้ยึดโยงกับประชาชนหรือนำระบบลูกขุนมาใช้/ ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคแบบร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกันทั่วประเทศหรือไม่ ฯลฯ ให้มันสะเด็ดน้ำ เอาเป็นภาคต่อของ 24 มิถุนายน 2475 ไปเล้ยยยยย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/19631
2009-01-09 15:02
อ่านความเป็นไทยในวัฒนธรรมการสร้างสรรค์
ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากรร่วมกับวารสาร "อ่าน" เตรียมจัดซีรีย์เสวนาเกี่ยวกับ "ความเป็นไทย" ในงานออกแบบสร้างสรรค์ใช้ชื่อว่า "อ่านความเป็นไทยในวัฒนธรรมการสร้างสรรค์" ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ณ หอศิลปะสถาปัตยกรรมพระพรหมพิจิตร ชั้น 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เวลา 15.00-17.30 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย   "ความเป็นไทย" เป็นประเด็นสำคัญของวงวิชาการด้านการออกแบบในสังคมไทย คนทั่วไปต่างคาดหวังว่า งานสร้างสรรค์ที่คิดขึ้นโดย "นักออกแบบไทย" ควรจะต้องมี "ความเป็นไทย" เป็นองค์ประกอบเสมอ อย่างไรก็ตาม แม้สังคมจะสนใจเรื่องการสร้างความเป็นไทย แต่น่าแปลกที่การทำความเข้าใจอย่างจริงจังกลับมีปริมาณไม่มากนัก และที่มีอยู่ก็เป็นเพียงความพยายามหา "ความเป็นไทยสำเร็จรูป" เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำงานออกแบบอย่างฉาบฉวยมากกว่าที่จะศึกษาอย่างวิพากษ์วิจารณ์   ซีรีย์เสวนา "อ่านความเป็นไทยในวัฒนธรรมการสร้างสรรค์" เป็นความพยายามหนึ่งที่จะเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว โดยหวังจะเป็นเวทีที่กระตุ้นการมองอย่างลึกซึ้งและรู้เท่าทัน "ความเป็นไทย" ที่ดาษดื่นและฉาบฉวยอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน    ทั้งนี้ ซีรีย์เสวนา "อ่านความเป็นไทยในวัฒนธรรมการสร้างสรรค์" แบ่งออกเป็น 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ในวันพุธที่ 4 ก.พ. 52 เรื่อง"ความเป็นไทย: ทุนทางวัฒนธรรม มูลค่าเพิ่มในงานออกแบบ?" มีกิตติรัตน์ ปิติพาณิช ผอ.ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการออกแบบ TCDC, ธนญชัย ศรศรีวิชัย บริษัท ฟีโนมีนา จำกัด และชาตรี ลดาลลิตสกุล บริษัท ต้นศิลป์ สตูดิโอ ร่วมพูดคุย ดำเนินการเสวนาโดย อ.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร   ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 11 ก.พ. 52 เรื่อง "ว่าด้วยความเป็นไทย ไม่ไทย และไทยๆ ในงานศิลปะและการออกแบบ" ร่วมพูดคุยโดย ประชา สุวีรานนท์ เจ้าของคอลัมน์ ดีไซน์คัลเจอร์ มติชนสุดสัปดาห์ และผศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร โดยมี รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ดำเนินการเสวนา  และครั้งที่สุดท้าย ในวันอังคารที่ 17 ก.พ. 52 เรื่อง "ความเป็นไทย: กับดักจินตนาการ เพดานของการสร้างสรรค์?" มี อ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ และคำ ผกา นักเขียนและคอลัมนิสต์ ร่วมกับ อ.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร พูดคุยใหความคิดเห็น โดนมีศรัณย์ ทองปาน วารสารเมืองโบราณ ทำหน้าที่ดำเนินการเสวนา
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/57207
2014-12-31 00:14
กมธ.กฎหมายตั้ง 'พะจุณณ์' ปฏิรูปโครงสร้าง ตร.
กมธ.กฎหมาย สปช. ตั้ง 'พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป' เป็นประธานปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ ชี้จะมีการหาข้อสรุปอีกครั้ง 6 ม.ค. 58 30 ธ.ค. 2557 ไทยรัฐออนไลน์ [1] รายงานว่า นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงการปฏิรูปตำรวจ ว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปช. ตั้งคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจหน้าที่ และกระบวนการทำงานของตำรวจ เพื่อประโยชน์ประชาชน มี พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สมาชิก สปช. เป็นประธานฯ ซึ่งการปฏิรูปต้องเป็นไปตามแนวทาง กมธ.ชุดใหญ่ คือ 1.ปฏิรูปรูปแบบการบริหาร เช่น เปลี่ยนเป็นตำรวจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ต้องมีสภากิจการตำรวจแห่งชาติ และคณะกรรมการกิจการตำรวจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค กำกับดูแลเรื่องแต่งตั้งโยกย้าย รวมถึงปฏิรูปรูปแบบการจัดการ เช่น กองบัญชาการ กองบังคับการ 2.อำนาจหน้าที่ตำรวจที่ไปเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ต้องดูว่าควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตำรวจหรือไม่ และ 3.ปฏิรูปกระบวนการการทำงานเรื่องสอบสวน จับกุม ต้องแบ่งส่วนให้ชัดเจนว่าจะมีองค์กรใดถ่วงดุลหรือไม่ นอกจากนี้ นายวันชัย ระบุด้วยว่า ผู้ที่จะเป็นตำรวจควรจะปฏิรูปด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิด้วย ซึ่ง กมธ.ปฏิรูปกฎหมายฯ จะประชุมหาข้อสรุปอีกครั้ง วันที่ 6 ม.ค. 58 อย่างไรก็ตาม องค์กรตำรวจมีปัญหา ถ้าไม่ปฏิรูปประชาชนจะผิดหวัง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13751
2007-08-07 01:51
คปส.-FACT ยืนยัน สิทธิเสรีภาพพลเมือง แม้จะเห็นต่าง
ประชาไท - 7 ส.ค. 50 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ ประเทศไทย (Freedom Against Censorship Thailand - FACT) ร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องสังคมไทย ร่วมกันปกป้องเสรีภาพของตนเอง และ เสรีภาพของผู้อื่น   นอกจากนี้ เครือข่ายทั้งสอง จะร่วมกันรณรงค์เรื่องเสรีภาพ ให้ประชาชนตระหนักเรื่อง ผลกระทบจากกฎหมายสื่อที่จะส่งผลต่อสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ภายใต้แคมเปญที่ว่า "เสรีภาพการสื่อสาร ไม่ใช่! อาชญากรรม" และ "Freedom of Expression is not a crime" โดยนัดกันชุมนุมกัน หน้าตึก ESCAP ณ ที่ทำการสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน เวลา 9.00 น. ของวันพุธที่ 8 ส.ค. ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลจะจัดเวทีสัมมนาระดับชาติว่าด้วยการประกาศใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 [1]   จุดยืนของทั้งสองเครือข่ายที่ปรากฏในแถลงการณ์นั้น กล่าวถึงปรากฏการณ์การละเมิดสิทธิเสรีภาพในช่วงที่ผ่านมา โดยยกกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ การปิดกั้นการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มผู้คัดค้านการรัฐประหาร การปิดกั้นกลุ่มที่รณรงค์ไม่ให้มีการลงประชามติและไม่ให้รับธรรมนูญ การที่ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจากการออกข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย การที่กองทัพบกใช้อำนาจข่มขู่ รท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต ผู้เขียนหนังสือพ็อกเก้ตบุ๊ก "ทักษิณ where are you ?" อีกทั้งมีการขอไม่ให้มีการพิมพ์หนังสือซ้ำ การที่รัฐบาลปัจจุบันพยายามผลักดันกฎหมายหลายฉบับที่มีเนื้อหาละเมิดสิทธิเสรีภาพของพลเมือง   คปส. และ FACT เห็นว่า หากยอมรับการละเมิดสิทธิเสรีภาพต่อคนที่เราเห็นต่าง ไม่เห็นด้วย ไม่สนับสนุน เหล่านี้จะนำไปสู่ภาวะอันตรายต่อความเป็นประชาธิปไตยในอนาคต ในทางตรงกันข้ามหากเราปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นที่คิดเห็นต่างจากเรา เท่ากับว่าเราได้ปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเองเช่นกัน   "ถ้าวันนี้เรายังยอมให้รัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ที่ออกมาคัดค้านและแสดงความคิดเห็นต่างจากรัฐได้ ในวันข้างหน้าเมื่อเราตกอยู่ในสถานะเดียวกัน รัฐย่อมยึดบรรทัดฐานและอ้างความชอบธรรมในการละเมิดสิทธิเสรีภาพเราทุกคนได้เช่นกัน" แถลงการณ์ระบุ   โดยประเด็นสำคัญที่เรียกร้องผ่านทางแถลงการณ์คือ ต้องการปกป้องสิทธิเสรีภาพของกลุ่มพลเมืองที่มีความเห็นต่าง ยืนยันสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รอบด้าน และการแสดงออกทางการเมืองอย่างเปิดเผย และยับยั้งรัฐการผ่านร่างกฎหมายสำคัญที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพ   000     แถลงการณ์ เรียกร้องสังคมไทย ร่วมกันปกป้องเสรีภาพของตนเอง และ เสรีภาพของผู้อื่น   ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หลายคนอาจคาดหวังว่าสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของสังคมไทยอาจจะดีขึ้น หลังจากช่วงระยะเวลา 5 - 6 ปี ที่รัฐบาลไทยรักไทยซึ่งนำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บริหารประเทศนั้น สิทธิเสรีภาพสื่อ สิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งสิทธิมนุษยชนถูกละเมิดขั้นรุนแรง แต่บัดนี้เวลาผ่านไป 10 เดือนเศษ สถานการณ์ยิ่งชัดเจนถึงการใช้อำนาจของรัฐในการควบคุม ลิดรอน ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เห็นต่างทางการเมือง รวมทั้งกำลังไต่ระดับในปริมาณที่สูงและมีความหนักหน่วงมากขึ้นเรื่อยๆ   ทั้งนี้ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) และ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ ประเทศไทย (Freedom Against Censorship Thailand - FACT) เห็นว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน แน่นอนว่าสื่อสารมวลชนและประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลทักษิณมีเสรีภาพมากขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ทว่าประชาชนที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยหรือคุณทักษิณ ชินวัตร หรือ กลุ่มบุคคลที่ต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และการรัฐประหาร กลุ่มคนที่เรียกร้องประชาธิปไตย รวมทั้งผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง หรือกระทั่งผู้ที่ยังไม่ได้เลือกข้างในการแสดงจุดยืนทางการเมืองใด กลับถูกจำกัดเสรีภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รอบด้าน รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น   ปรากฏการณ์ดังต่อไปนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา   1. ความพยายามในการปิดกั้นการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มผู้คัดค้านการรัฐประหาร โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของเครือข่ายแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เช่น กรณีกองทัพภาคใช้อำนาจเกินขอบเขตควบคุมตัว นายสมบัติ บุญงามอนงค์ โดยไม่อนุญาตให้ติดต่อกับใครเป็นเวลาข้ามคืน หรือการกลั่นแกล้งทางการเมืองกับแกนนำนปก. ซึ่งเป็นผู้นำในการชุมนุม รวมทั้งการสกัดกั้นการชุมนุมเคลื่อนไหวของประชาชนในต่างจังหวัด และ การคงประกาศใช้กฎอัยการศึกใน 35 จังหวัด   2. การปิดกั้นกลุ่มที่รณรงค์ไม่ให้มีการลงประชามติและไม่ให้รับธรรมนูญในหลายวิธีการ อาทิ จับกุมการแจกใบปลิว ห้ามติดโปสเตอร์รณรงค์ หรือการไม่เปิดโอกาสให้สื่อของรัฐ (โทรทัศน์ -วิทยุ) เปิดพื้นที่ให้กลุ่มที่คัดค้านมีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นเท่าเทียมกับฝ่ายที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญ เพื่อประกอบการตัดสินใจที่ถูกต้องของประชาชน   3. การที่ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจากการออกข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย เนื่องเพราะกำหนดแนวคำถามให้นักศึกษาได้วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย อีกทั้งยังมีคำสั่งให้ ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ส่งมอบกระดาษคำตอบของนักศึกษาเพื่อใช้ในการสอบสวน แต่ได้รับการปฏิเสธ ซึ่งนับเป็นปรากฎการณ์ตอกย้ำปัญหาการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการในปัจจุบัน   4. การที่กองทัพบกใช้อำนาจข่มขู่ รท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต ผู้เขียนหนังสือพ็อกเก้ตบุ๊ก "ทักษิณ where are you ?" อีกทั้งมีการขอไม่ให้มีการพิมพ์หนังสือซ้ำ กรณีนี้สะท้อนการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารและการเผยแพร่ผ่านสิ่งพิมพ์อย่างชัดเจน   5. การที่รัฐบาลปัจจุบันพยายามผลักดัน กฎหมายหลายฉบับที่มีเนื้อหาละเมิดสิทธิเสรีภาพของพลเมือง เช่น ร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ... รวมทั้งกฎหมายด้านสื่ออีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. ... ร่างพระราชบัญญัติการประกอบการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. ... เป็นต้น ซึ่งหลายมาตราในร่างกฎหมายดังกล่าวนั้นให้อำนาจรัฐในการควบคุม ปิดกั้น การแสดงออกผ่านสื่ออย่างเด็ดขาด   คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ และ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทยมีความเห็นตรงกันว่า หากสังคมไทยยอมรับการใช้อำนาจของรัฐที่กระทำการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าการละเมิดสิทธิเสรีภาพนั้นจะเป็นการกระทำต่อคนที่เรา เห็นต่าง ไม่เห็นด้วย ไม่สนับสนุน หรือต่อต้านก็ตาม ล้วนเป็นตัวชี้วัดที่จะนำไปสู่ภาวะอันตรายต่อความเป็นประชาธิปไตยในอนาคต ในทางตรงกันข้ามหากเราปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นที่คิดเห็นต่างจากเรา เท่ากับว่าเราได้ปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเองเช่นกัน ถ้าวันนี้เรายังยอมให้รัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ที่ออกมาคัดค้านและแสดงความคิดเห็นต่างจากรัฐได้ ในวันข้างหน้าเมื่อเราตกอยู่ในสถานะเดียวกัน รัฐย่อมยึดบรรทัดฐานและอ้างความชอบธรรมในการละเมิดสิทธิเสรีภาพเราทุกคนได้เช่นกัน   ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ครองอำนาจ หลักการเรื่องสิทธิเสรีภาพย่อมต้องเป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตยที่จักต้องดำรงอยู่อย่างมั่นคง หากเราปล่อยให้มันถูกสั่นคลอนมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมยากยิ่งที่เราจะรักษาความเป็นประชาธิปไตยให้กับสังคมไทยได้ในท้ายที่สุด   ทั้งนี้ คปส และ FACT ขอเรียกร้อง สังคมไทย ดังต่อไปนี้   1. ปกป้องสิทธิเสรีภาพของกลุ่มพลเมืองที่มีความเห็นต่างจากเรา   2. ยืนยันสิทธิเสรีภาพของเราเองในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รอบด้าน และ การแสดงออกทางการเมืองอย่างเปิดเผย   3. ยับยั้งรัฐในการผ่านร่างกฎหมายสำคัญที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของเรา เพื่อให้มีกระบวนการพิจารณาอย่างกว้างขวาง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ภายหลังที่มีรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว   ด้วยจิตคารวะ 6 สิงหาคม 2550   เอกสารประกอบ รายละเอียดการสัมมนา [2]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/30193
2010-07-04 15:33
คบท. ชี้ ต้องกำหนดการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการประมูลคลื่น 3G
คบท. ติง กทช. อย่ารวบรัดออกร่างหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่น 3G  ชี้ การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรืองสำคัญ ต้องกำหนดเป็นเงื่อนไขหนึ่งของผู้รับใบอนุญาต แนะประเด็นหลักต้องดูแล ทั้งเรื่องการสนับสนุนผู้ให้บริการรายใหม่ ไม่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ตามที่ กทช. ได้เตรียมการจัดสรรคลื่นความถี่ IMT หรือ 3G and beyond เพื่อผลักดันให้คนไทยได้ใช้บริการ 3G ภายในเร็ววัน และในวันนี้ (3 กรกฏาคม 2553) จะมีการประชุม บอร์ด กทช. วาระพิเศษ เพื่อรับร่างประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน ๒.๑ GHz นั้น  นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (กบท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (คบท.) ในฐานะผู้มีหน้าที่ในการเสนอแนะแนวทางและให้ความเห็นแก่ กทช. เพื่อพิจารณาออกประกาศ หลักเกณฑ์ และมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมให้มีประสิทธิผล มีความเห็นว่า ที่ผ่านมา แม้ กทช. จะได้ปรับปรุงรายละเอียดและหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน  แต่ คบท. เห็นว่า ในร่างดังกล่าวยังมีประเด็นสิทธิผู้บริโภคที่ยังมิได้รับการคุ้มครองอีกมาก  ซึ่ง กทช. ควรให้ความสำคัญ และกำหนดให้เป็นเงื่อนไขหนึ่งของผู้รับใบอนุญาต รวมถึงเรื่องราคาการประมูลที่ยังต่ำเกินไป “การประมูล 3G ครั้งนี้เป็นความพยายามครั้งที่ 2  ของ กทช.  เพราะฉะนั้นควรทำให้ดีที่สุด ไม่ต้องรีบ เพื่อให้ร่างหลักเกณฑ์นี้มีความสมบูรณ์ มีมิติในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค  เพราะการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญในกิจการโทรคมนาคม  กทช. ต้องให้ความสำคัญและต้องเอาเงื่อนไขการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเงื่อนไขหนึ่งของผู้รับใบอนุญาต นอกจากนี้ราคาการประมูลยังต่ำเกินไป รับไม่ได้เพราะหากคำนวณส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาร่วมการงานเดิมเพียงระยะเวลารับใบอนุญาตสั้นที่สุดคือ 3 ปี รัฐก็จะได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 118,200 ล้านบาท ขณะที่ครั้งนี้ระยะเวลาได้รับใบอนุญาตคือ 15  ปี แต่กำหนดราคาเริ่มต้นที่ หมื่นกว่าล้านบาท” นางสาวสารีกล่าว นอกจากนี้ประเด็นสำคัญในข้อเสนอของ คบท. คือ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมอยู่เพียงไม่กี่ราย และเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 3 ราย ซึ่งครองส่วนแบ่งทางการตลาดรวมกันประมาณ ร้อยละ 98  ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้บริการไม่มาก ถูกบีบรัดจากระบบการตลาดที่เกือบจะผูกขาด  ทั้งที่ โทรคมนาคมมีความสำคัญกับชีวิตคนไทยมากขึ้น ในฐานะที่เป็นสาธารณูปโภคประเภทหนึ่ง  ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือ การกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การประมูลที่เปิดโอกาสและสนับสนุน ให้มีผู้ให้บริการรายใหม่เข้ามาแข่งขันมากขึ้น ด้วยวิธีการกำหนดจำนวนใบอนุญาตและระยะเวลาขอรับใบอนุญาต “คบท. เห็นว่า หากจำนวนใบอนุญาตคือ 3 ใบ โดยยึดหลัก n-1 คือพร้อมลดใบอนุญาตลงน้อยกว่าจำนวนผู้ประมูล 1 ใบในกรณีมีผู้เข้าประมูลน้อย กติกานี้ก็นับว่าดี แต่อาจจะเพิ่มเติมเงื่อนไขด้วยว่า กำหนดให้ใบอนุญาต 2 ใบสำหรับผู้ให้บริการรายเดิม และ 1 ใบสำหรับผู้ให้บริการรายใหม่ รวมทั้งขยายระยะเวลาสำหรับการยื่นแบบคำขอเป็น 90 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการรายใหม่มีเวลาเตรียมตัวได้ทัน เพราะการกำหนดระยะเวลายื่นขอรับใบอนุญาตเพียง 30 วันนั้นกระชั้นชิดเกินไป สำหรับผู้ให้บริการรายใหม่ที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวเพื่อร่วมประมูลโครงการขนาดใหญ่ และเหมือนจะเอื้อประโยชน์กับรายเก่ามากกว่า   หากเปรียบเทียบการประกวดราคาโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของประเทศ คือ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ กำหนดระยะเวลาในการยื่นซองถึง 90 วันภายหลังประกาศ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันมีความพร้อมและเข้าร่วมได้มากที่สุด” นางสาวสารีกล่าว นอกจากนี้ ควรกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องมีคุณสมบัติไม่เป็นผู้ดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายในปัจจุบันด้วย เพราะมิฉะนั้นอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ว่า องค์กรกำกับดูแลไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายและการละเมิดสิทธิผู้บริโภค แต่กลับปล่อยให้ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายได้รับใบอนุญาตใหม่ ทำให้กฎหมายขาดความศักดิ์สิทธิ “เป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกวันนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างให้บริการโดยมีลักษณะที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคอย่างชัดเจน เช่น การกำหนดวันหมดอายุระบบเติมเงิน  การตั้งสถานีส่งสัญญาณโดยไม่ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ การไม่เปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายทั้งที่ระยะเวลาล่วงเลยมากว่าที่กฎหมายกำหนด หรือ การไม่มีระบบรับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มีการละเมิดกฎหมายที่ทำกันจนกลายเป็นเรื่องปกติมากมาย ซึ่ง กทช. น่าจะใช้โอกาสนี้ในการกำหนดเป็นคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลต้องไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย “ นางสาวสารีกล่าว              ด้าน นางสาวบุญยืน  ศิริธรรม  กบท. อีกท่านหนึ่ง กล่าวว่า ประเด็นสำคัญอีกประการคือ  ร่าง หลักเกณฑ์ 3G ควรกำหนดให้ชัดเจนในเรื่อง การสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุม เนื่องจากในร่างกำหนดให้สร้างโครงข่ายครอบคลุมจำนวนประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภายใน 4 ปี แต่มิได้กำหนดมิติทางภูมิศาสตร์ จึงควรกำหนดว่า ต้องมีการให้บริการที่ครอบคลุมทุกอำเภอด้วย “ความสำคัญประการหนึ่งของ 3G   คือ เป็นการส่งเสริมการเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ประชาชนผู้อยู่ห่างไกลด้วย  จึงควรกำหนดว่าอย่างน้อยต้องครอบคลุมทุกอำเภอ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ห่างไกล หรือหน่วยราชการที่บริการประชาชนในที่ตั้งอำเภอนั้นสามารถเข้าถึงบริการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงได้ เพื่อลดช่องว่างทางดิจิตอล มิฉะนั้นการขยายเครือข่ายของผู้ให้บริการจะคำนึงถึงผลตอบแทนเชิงพาณิชย์เท่านั้น” นางสาวบุญยืนกล่าว นางสาวบุญยืน กล่าวต่อไปว่า นอกนี้ยังต้องมีการกำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคไว้ในเงื่อนไขใบอนุญาต เพราะที่ผ่านมาผู้ให้บริการมักจะต่อสู้หรือโต้แย้งประเด็นการกำกับดูแลโดยกฎหมาย ทั้งๆที่มาตรการต่าง ๆ ก่อนบังคับใช้ล้วนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมหรือกระบวนการทางปกครองที่ดีกับผู้ให้บริการ จึงควรเพิ่มการกำกับดูแลผ่านเงื่อนไขใบอนุญาต เพื่อให้ผู้ประกาบการไม่สามารถปฏิเสธได้ในภายหลัง เนื่องจากเป็นผู้ยอมรับเงื่อนไขนั้นตั้งแต่ต้น “จะเป็นเรื่องดีมากถ้าการประมูลครั้งนี้ จะนำไปสู่การแก้ปัญหาเดิมที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ด้วยการนำเรื่องการละเมิดสิทธิผู้บริโภคเหล่านั้นมากำหนดเป็นเงื่อนไขใบอนุญาต  เช่น ต้องมีการจัดระบบรับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์เลขหมายสี่ตัวโดยไม่คิดค่าบริการ  ต้องมีการจัดระบบแจ้งบอกรับและระบบยกเลิก SMS รบกวน การกำกับดูแลอัตราค่าบริการประเภทเสียงขั้นสูง ไม่เกิน 50 สตางค์ต่อนาที การกำกับดูแลค่าบริการตามระยะเวลาการใช้งานไม่ใช่ตามปริมาณข้อมูล หรือ การป้องกันเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมไปสู่กลุ่มเยาวชน อันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งรายละเอียดทั้งหมด ทางคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้สรุปความเห็นเพื่อเสนอให้ กทช. พิจารณา ประกอบการร่าง หลักเกณฑ์ 3G แล้ว เพราะเราหวังว่า การประมูลครั้งนี้จะทำให้เกิดมาตรการในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคมากขึ้น คำนึงถึงผลกระทบทางสังคม ไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิคและรายได้ แต่เป็นการบริการคมนาคมที่นำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ดีด้วย” นางสาวบุญยืนกล่าว
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/16561
2008-04-30 00:40
"โชติศักดิ์" รายงานตัว สน.ปทุมวัน สื่อต่างชาติสนใจทำข่าว
สื่อต่างชาติสนใจทำข่าว ไม่ยืนในโรงหนัง ผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ด้านโชติศักดิ์เผยผลการร้องเรียนสภาการหนังสือพิมพ์และองค์กรสื่ออื่นๆ กรณีผู้จัดการไขข่าวโดยใช้ข้อมูลเท็จ ยังไม่มีความคืบหน้า วันที่ 29 เม.ย. เวลา 10.00 น. นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง อายุ 27 ปี ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.อุดม เปี่ยมศักดิ์ รอง ผกก.สส.สน.ปทุมวัน โดยสวมเสื้อยืดรณรงค์สีดำข้อความว่า "ไม่ยืน ไม่ใช่อาชญากร คิดต่าง ไม่ใช่อาชญากรรม" มาพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ           นายโชติศักดิ์ เปิดเผยว่า การมาในวันนี้เข้าใจว่าจะเป็นแค่มารายงานตัวเท่านั้น แต่ทางตำรวจเข้าใจว่าจะเข้ามาให้ปากคำเพิ่มเติม จึงทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน ทำให้วันนี้ไม่ได้ให้การเพิ่มเติมอะไร แต่ได้นัดเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า จะทำคำให้การเป็นหนังสือแล้วส่งทนายความผู้รับมอบอำนาจนำมามอบให้พนักงานสอบสวนภายในวันที่ 8 พ.ค. หลังจากนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพนักงานสอบสวนว่าจะสอบสวนเพิ่มหรือไม่ ถ้าจะสอบเพิ่มก็คงจะต้องนัดอีกครั้ง แต่หากคิดว่าพอแล้ว สอบสวนครบแล้วพนักงานสอบสวนก็จะส่งให้อัยการพิจารณาต่อไป ซึ่งเพราะความเข้าใจผิดดังกล่าวทำให้ใช้เวลาในการประสานงานกันนานกว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง        ผู้สื่อข่าวที่มารอถามว่า หลังจากพนักงานสอบสวนเรียกมารับทราบข้อหาไปแล้วมีใครข่มขู่บ้างหรือไม่ นายโชติศักดิ์ กล่าวว่า มีโทรศัพท์เข้ามาข่มขู่บ้าง นอกจากนี้ ในเว็บไซต์แห่งหนึ่งมีคนนำที่อยู่ทั้งที่อยู่เก่าและที่อยู่ใหม่ไปโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าว ถือว่าเป็นการคุกคามอย่างหนึ่ง จึงเลี่ยงไปใช้วิธีไปนอนตามบ้านเพื่อนบ้าง ถ้าถามว่ากลัวหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว        "ในส่วนของคดีก็ปล่อยไปตามของกระบวนการของศาลไป ส่วนเรื่องที่มีคนมานำผมไปโยงทางการเมือง ผมก็คงจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องออกไป นอกจากนี้ ผมได้ร้องเรียนสภาการหนังสือพิมพ์ไว้ ว่า สื่อในเครือผู้จัดการเอาข้อมูลเกี่ยวกับผมไปเผยแพร่อย่างไม่ถูกต้อง แต่ผมไม่แน่ใจว่า จะทำอะไรกับสื่อที่บิดเบือนได้บ้าง" นายโชติศักดิ์ กล่าว        สำหรับสื่อมวลชนไทยที่ไปทำข่าว มี หนังสือพิมพ์มติชน ผู้จัดการ และประชาไท นอกจากนั้นเป็นสื่อต่างประเทศเช่น อัลจาซีรา เป็นที่สังเกตว่าตำรวจมีความระวังค่อนข้างมาก เมื่อสื่อต่างประเทศต้องการเก็บภาพภายในบริเวณ สน.ปทุมวัน ก็ขอให้ไปถ่ายที่บริเวณด้านนอก   หลังการให้ปากคำ นายโชติศักดิ์ เดินทางไปยังสภาการหนังสือพิมพ์เพื่อยื่นเอกสารเพิ่มเติมในกรณีที่เคยยื่นหนังสือร้องเรียนสื่อผู้จัดการรายงานข่าวเอาข้อมูลของตนไปเผยแพร่อย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งทางสภาการหนังสือพิมพ์ระบุว่าหลังจากได้ข้อมูลเพิ่มแล้วจะส่งเรื่องต่อไปยังอนุกรรมการร้องทุกข์เพื่อพิจารณาดำเนินการ ซึ่งจะมีการประชุมอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม   นายโชติศักดิ์ กล่าวกับ "ประชาไท" ว่า ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนผู้จัดการไปยังองค์กรสื่ออื่นๆด้วย แต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รับคำตอบว่า ยังไม่ได้รับเรื่อง
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg