url
stringlengths
30
33
date
stringlengths
16
16
title
stringlengths
5
170
body_text
stringlengths
318
201k
politics
class label
2 classes
human_rights
class label
2 classes
quality_of_life
class label
2 classes
international
class label
2 classes
social
class label
2 classes
environment
class label
2 classes
economics
class label
2 classes
culture
class label
2 classes
labor
class label
2 classes
national_security
class label
2 classes
ict
class label
2 classes
education
class label
2 classes
https://prachatai.com/print/9036
2006-07-19 23:15
ภาคเหนือ: เมล์เขียวอ่วมพิษน้ำมันพุ่งเบรกลงทุน 80 ล้าน ชะลอแผนเข้าอินโดจีน/เล็งซื้อรถจีนลดต้นทุน
20 ก.ค. 2549 เมล์เขียวอ่วมพิษราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด เบรกลงทุนซื้อรถใหม่จากยุโรปเพิ่ม 16 คันมูลค่า 80 ล้านบาท ชะลอแผนเปิดเดินรถนำเที่ยวสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจในเส้นทาง R3e และกลุ่มอินโดจีน พร้อมลดปริมาณเที่ยววิ่งรถโดยสารสายเหนือจาก 200 เที่ยวเหลือ 160 เที่ยวต่อวัน ปรับแผนใหม่เตรียมนำเข้ารถบัส 40 ที่นั่งจากจีนที่มีต้นทุนถูกกว่ารถจากยุโรป หวังช่วยลดต้นทุน ดอดเจรจากับผู้ผลิตรถบัสรายใหญ่ของจีน เล็งเป็นดีลเลอร์ในไทย พ้อมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการของภาครัฐยังไม่ชัดเจน   นายสมชาย ทองคำคูณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด ผู้ให้บริการเดินรถโดยสารประจำทางรายใหญ่ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เปิดเผยว่า เนื่องจากธุรกิจของบริษัทฯต้องพึ่งพาการใช้น้ำมันดีเซล 100% ทำให้ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ในปีนี้ทางบริษัทฯต้องลดต้นทุนในหลายๆด้านลงให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะจำเป็นต้องยกเลิกการลงทุนซื้อรถบัสใหม่จากยุโรปยี่ห้อสแกนเนียจำนวน 16 คัน มูลค่า 80 ล้านบาท ขณะเดียวกันบริษัทฯได้ปรับแผนใหม่โดยจะพิจารณาแหล่งผลิตรถบัสที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับรถยุโรปแต่มีต้นทุนราคาที่ถูกกว่า คาดว่าอาจนำเข้ารถบัสขนาด 40 ที่นั่งจากประเทศจีน ที่มีฐานการผลิตใหญ่อยู่ที่เมือง เซี่ยะเหมิน ยี่ห้อโกลเด้น ดราก้อน ซึ่งได้เข้าไปดูโรงงานผลิตแล้ว พร้อมทั้งได้มีการเจรจาในเบื้องต้นแล้วกับเจ้าของผู้ผลิตแล้ว ซึ่งในอนาคตทางบริษัทฯตั้งเป้าเป็นดีลเลอร์นำเข้ารถจากจีนมาจำหน่ายในประเทศไทยด้วย   ทั้งนี้ เป็นไปได้ค่อนข้างสูงว่าบริษัทฯจะนำเข้ารถบัสจากจีน เพราะนอกจากคุณภาพอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับรถยุโรปแล้ว ต้นทุนราคายังถูกกว่ารถยุโรปมาก ซึ่งรถบัสขนาด 40 ที่นั่งจากจีนราคาประมาณ 3.7 ล้านบาท ส่วนรถยุโรปคันละประมาณ 5 ล้านบาท ขณะที่การนำเข้ารถจากจีนจะเสียภาษีเพียง 30% ตามกฎหมายเอฟทีเอจีน-อาเซียน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการซื้อรถใหม่เพื่อทดแทนรถเก่าของบริษัทฯที่เริ่มหมดสภาพ โดยทุกปีบริษัทฯจะต้องมีการเปลี่ยนรถใหม่แทนรถเก่าเฉลี่ย 10 คัน แต่แผนการนำเข้ารถใหม่จากจีนอาจจะยังไม่ได้เริ่มในปีนี้ เพราะต้องรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะทางการเมืองเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะตัดสินใจลงทุน   นายสมชายกล่าวว่า ตามแผนเดิมทางบริษัทฯ เตรียมขยายการลงทุนให้บริการเดินรถโดยสารนำเที่ยวเชื่อม 3 ประเทศในกลุ่มสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เมื่อการก่อสร้างถนนเชื่อม ไทย-ลาว-จีน หรือ ถนนสาย R3e เสร็จสิ้นตามกำหนดประมาณปี 2550 รวมทั้งได้วางแผนที่จะเข้าไปเดินรถในประเทศพม่า กัมพูชา และเวียดนาม ในลักษณะทัวร์นำเที่ยว หากมีการเปิดเสรีการเดินรถในกลุ่มประเทศอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากปัจจัยรอบด้านแล้ว โดยเฉพาะการแบกภาระต้นทุนน้ำมันที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงทำให้ต้องชะลอแผนทั้งหมดออกไปก่อนอย่างไม่มีกำหนด   อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างถนนสาย R3e แล้วเสร็จ เชื่อว่าจะมีผู้ใช้รถโดยสารระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งในด้านการค้าและการท่องเที่ยว เนื่องจากมีความสะดวกกว่าการใช้เส้นทางคมนาคมทางแม่น้ำโขงที่ยังไม่มีความแน่นอน ทั้งนี้เชื่อว่าหากรถโดยสารสามารถวิ่งให้บริการในเส้นทางสายดังกล่าวได้ จะมีผู้ประกอบการอีกหลายรายเตรียมนำรถโดยสารมาให้บริการ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างประเทศและมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก และค่อนข้างมั่นใจว่าบริษัทฯของตนมีความพร้อมที่จะให้บริการได้ ซึ่งนอกจากรถบัส 200 กว่าคันที่มีอยู่แล้ว บริษัทฯยังมีรถโดยสารประจำทางวิ่งเส้นทางจังหวัดเชียงรายอีกจำนวนหลายคัน ซึ่งการเปิดเส้นทางเดินรถทัวร์นำเที่ยวในกลุ่มประเทศสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจและอินโดจีน ยังคงเป็นแผนที่บริษัทฯจะต้องทำอย่างแน่นอนในอนาคต แต่ต้องรอให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และราคาน้ำมันมีเสถียรภาพมากกว่านี้   ขณะเดียวกันเมื่อราวกลางเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาบริษัทฯก็ได้ปรับลดเที่ยววิ่งของรถโดยสารที่วิ่งให้บริการใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนบางส่วนลง จากเดิมที่วิ่ง 200 เที่ยวต่อวัน ขณะนี้ลดเหลือเพียง 160 เที่ยวต่อวัน โดยได้ลดเที่ยววิ่งรถในช่วงวันที่มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการน้อยคือ วันอังคาร พุธและพฤหัสบดี โดยเฉพาะเส้นทางสายน่านและพะเยา ทั้งนี้ เพื่อลดภาระต้นทุนน้ำมันในเส้นทางที่ไม่สามารถทำกำไรได้มากนัก   นายสมชายกล่าวอีกว่า ขณะนี้ธุรกิจให้บริการเดินรถโดยสารกำลังอยู่ในภาวะที่ยากลำบากมากขึ้น เพราะต้องแบกรับภาระต้นทุนเต็มๆ ซึ่งขณะนี้มาตรการการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐค่อนข้างช้า ล่าสุดมีข้อเสนอให้ผู้ประกอบการรถโดยสารนำรถไปเติมน้ำมันที่ปั๊มใดก็ได้ โดยจะได้ส่วนลดราคา 1 บาทต่อลิตร ขณะนี้มาตรการดังกล่าวก็ยังไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจน จึงอยากให้ภาครัฐมีความจริงใจในการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มากขึ้นกว่านี้ เพื่อที่จะสามารถพยุงธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้   ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด หรือรถเมล์เขียว มีรถโดยสารที่วิ่งให้บริการใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 20 เส้นทาง จำนวนกว่า 200 คัน ใช้น้ำมันประมาณ 600,000 ลิตรต่อเดือน ล่าสุด เมื่อปี 2548 ได้ลงทุนซื้อรถบัสใหม่จากยุโรปจำนวน 20 คัน มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63310
2016-01-05 20:26
เรียก2แดงขอนแก่นปรับทัศนคติแจกปฏิทิน ประยุทธ์ถามมีรูปคนทำผิดกฎหมายหรือไม่
ทหารเรียก 2 แดงขอนแก่นปรับทัศนคติแจกปฏิทิน จ่อเรียกแกนนำแดงชู 3 นิ้วคุยเพิ่ม ประยุทธ์ถามมีคนทำผิดกฎหมายหรือไม่ในปฏิทิน แซะทำไมไม่เอาภาพคนอยู่ในคุกขึ้นบ้าง อนุพงษ์ชี้หากต้องการให้เกิดประโยชน์ผู้รับจริง ไม่ต้องใส่รูปก็ได้ 5 ม.ค. 2559 ที่เรือนรับรอง มทบ.23 ค่ายศรีพัชรินทร์ จ.ขอนแก่น พ.อ.สมชาย ครรภาฉาย รอง ผบ.มทบ.23 พร้อมด้วยพ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี หัวหน้าชุดปฎิบัติการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยพื้นที่จ.ขอนแก่น และนายสัมภาษณ์ ศรีหงส์ ป้องกันจังหวัดขอนแก่น เรียกตัวนางปิญฉาย นาชัย อายุ 72 ปี ประธานกลุ่มสตรี 20 จังหวัดภาคอีสาน และนางอรทัย โพธิ์ศรี อายุ 48 ปี แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงขอนแก่น มารายงานตัวและปรับทัศนคติ หลังร่วมกันแจกจ่ายปฎิทินปีใหม่ ที่มีภาพของนายทักษิณ ชินวัตร และน.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้ออกมาเคลื่อนไหวขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ และอดีต ส.ส.เพื่อไทย เดินทางมาพบปะประชาชนและทำบุญเนื่องในเทศกาลปีใหม่ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น โดยใช้เวลาในการพูดคุยนานกว่า 1 ชั่วโมง พ.อ.สมชาย กล่าวว่า แม้การเคลื่อนไหวจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและอยู่ในกรอบที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กำหนด แต่การแจกจ่ายปฏิทิน หรือการพยายามชูป้ายต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ จึงต้องมีการเรียกตัวมาพูดคุยและทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการหวังผลทางการเมืองที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ตามคำสั่งของ คสช. อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการจับกุม ป้าวาส ไม้ขอน หนึ่งในแกนนำคนเสื้อแดงภาคอีสาน ที่ทำการชู 3 นิ้ว ต่อต้านรัฐบาล ในช่วงที่อดีตนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่อีกด้วย “ในฐานะที่นางปิยฉายเป็นประธานกลุ่มสตรี 20 จังหวัดภาคอีสาน ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการจัดงานต้อนรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรับมนตรี ถือว่าการจัดงานดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งหากมีกิจกรรมใดได้ให้ประสานมาทางเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อได้ช่วยเหลือกัน กรณีการมอบปฏิทินให้กับประชาชนนั้น ทางเจ้าหน้าที่ทหารถือว่าเป็นสิทธิ์ส่วนตัวที่สามารถมอบให้กับคนสนิทคุ้นเคยได้ แต่ขอร้องห้ามแจกจ่ายในสถานที่หรือในการประชุมของทางราชการ ส่วนการเซนต์ชื่อบนปฏิทิน นั้น มองว่าเป็นจะเป็นผลเสียต้ออดีตนายก เนื่องจากเหมือนเป็นการหาเสียง โดยทางทหารเองมองว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่สาธารณะ มีประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงไม่ต้องการให้เกิดภาพในลักษณะนี้ออกไป เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น” พ.อ.สมชาย กล่าว ด้านนางปิยฉาย กล่าวว่า สำหรับปฏิทินนั้น ได้ขอมาจากอดีต ส.ส. คนหนึ่ง จำนวน 20 แผ่น จากนั้นได้นำไปให้กับคนคุ้นเคยกัน ส่วนที่ประชาชนนำมาปฏิทินมาให้น.ส.ยิ่งลักษณ์เซนต์ชื่อให้นั้น คาดว่าประชาชนจะได้รับมาจากแกนนำอดีต ส.ส. คนอื่นๆ เพราะใครเห็นก็อยากได้ โดยไม่มีเจตนาจะสร้างความขัดแย้งแต่อย่างใด  จ่อเรียกแกนนำแดงชู 3 นิ้วกับยิ่งลักษณ์คุย นอกจากนี้ ชุดปฏิบัติการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยพื้นที่ขอนแก่น เตรียมเรียกแกนนำเสื้อแดงที่เรียกขานกันในนาม “ป้าวาส ไม้ขอน” มาพูดคุย เนื่องจากเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 59 ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์  อดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางมาเที่ยวชมงานพรรณไม้นั้น ป้าวาสได้ถ่ายภาพ พร้อมกับชู 3 นิ้ว ถือเป็นการแสดงออกในการต้าน คสช. ประยุทธ์ ถามมีคนทำผิดกฎหมายหรือไม่ในปฏิทิน   วันเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีที่หลายจังหวัดทางภาคอีสานสั่งห้ามแจกปฏิทินอวยพรปีใหม่ 2559 ที่มีภาพนายทักษิณ ชินวัตร คู่กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “ผมขอถามก่อนว่ามันสมควรหรือไม่ ขอถามสื่อก่อนว่า มันสมควรหรือไม่ ปฏิทินแบบนี้ผมไม่ได้บอกว่าผิดหรือถูก แต่ถามว่าปฏิทินดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ทำมาเพื่ออะไร แล้วประเทศนี้บ้านเมืองนี้มันว่าอย่างไรหรือ แล้วมีการผิดกฎหมายหรือเปล่า ไม่เช่นนั้นก็เอาคนที่ทำผิดกฎหมายมาทำปฏิทินแจกสิ แค่นั้นนะ เข้าใจแล้ว”   นายกรัฐมนตรีย้ำว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การเมือง ไม่ได้ไปปิดกั้นอะไรทั้งสิ้น แต่ถามว่าความถูกต้องมันอยู่ตรงไหน เจ้าหน้าที่เขาก็ต้องทำเท่าที่ทำได้ เพราะเขารู้ว่ามีการกระทำผิดกฎหมาย แล้วทำไม จะเอาไปบูชากันหรืออย่างไร ถ้าคิดว่าไม่ได้ผิดจริง ก็กลับมา จะทำปฏิทินให้หลายๆ เล่มด้วย   ส่วนที่พรรคการเมืองทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอความชัดเจนกรณีห้ามแจกปฏิทินดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ย้อนถามกลับว่า “ทำไมผมต้องไปตอบเขาล่ะ ผมนี่นะต้องไปตอบ คิดกันเอาเองว่ามันถูกหรือมันผิด มีคนทำผิดกฎหมายหรือไม่ในปฏิทินนั้น”   “ถามว่าผมเป็นศัตรูกับเขาหรือเปล่า ก็เปล่า ผมเป็นศัตรูกับพรรคเพื่อไทยหรือ ก็เปล่าอีก ผมทำหน้าที่ของผม แล้วทำไมคุณไม่เอาคนอื่นมาใส่ไว้ในปฏิทินบ้างเล่า ติดคุกกันอยู่เต็มไปหมด ในคุกนั่นไง ก็เอามาออกบ้างสิ คดีเยอะแยะไปในคุก เอาออกมาทำปฏิทินกันให้หมด” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ   อนุพงษ์ชี้หากต้องการให้เกิดประโยชน์ผู้รับจริง ไม่ต้องใส่รูปในปฏิทินก็ได้   วันเดียวกัน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งงดแจกปฏิทินรูปคู่ของนายทักษิณ ชินวัตร และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย นำมาแจกให้กับประชาชน ที่มารอต้อนรับน.ส.ยิ่งลักษณ์และคณะในระหว่างการลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา เกรงว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นหรือไม่ ว่า ไม่มีหรอก เขาทำไปตามวิจารณญาณว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอย่างไร ตนขอเรียนว่าอยากให้สังคมเป็นผู้พิจารณาว่าเจตนาเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ หากไม่เกี่ยวก็ไม่เป็นไร แต่คนที่สั่งดูแล้วเห็นว่าน่าเกี่ยวการเมือง และความเห็นส่วนตัวมองว่าการแจกปฏิทินทำได้ แต่ถ้าต้องการให้เกิดคุณประโยชน์กับผู้รับไม่จำเป็นต้องใส่รูปก็ได้ เพราะตนก็ไม่ค่อยเห็นใครเอารูปส่วนตัวไปใส่ปฏิทินแจก และตนไม่ได้ไปมองในแง่การเมือง   เรียบเรียงจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ [1] ข่าวสดออนไลน์ [2] สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น [3] คมชัดลึกออนไลน์  [4]และ มติชนออนไลน์ [5]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13137
2007-06-18 23:21
ILO Global รายงาน "แรงงานไทยทำงานเกินชั่วโมงมาตรฐาน"
แปลและเรียบเรียงโดย เปรมใจ  ใจกล้า โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เรียบเรียงจาก ILO GLOBAL REPORT Thai working hours 'too long' [1]   ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือไอแอลโอ (ILO) พบว่า คนงานหนึ่งในห้าทั่วโลกหรือราว 600 ล้านคน ยังต้องทำงานเกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้มีรายได้ในระดับพอเลี้ยงชีพ ทั้งๆ ที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้กำหนดมาตรฐานสากลเรื่องชั่วโมงการทำงานมาเกือบจะร้อยปีแล้ว ในประเทศไทยผลการสำรวจพบว่าแรงงานไทยร้อยละ 46.7 หรือเกือบครึ่งต้องทำงานเกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง  โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับสาม อันดับสองคือเกาหลี ร้อยละ 49.5  และสำหรับประเทศที่มีระยะเวลาการทำงานยาวนานสุด คือ เปรู โดยมีคนงานร้อยละ 50.9  ที่ต้องทำงานเกินมาตรฐานในระดับชั่วโมงทำงานการทำงานปกติ นอกจากนี้สวัสดิการลาหยุดพักร้อนประจำปีตามกฎหมายของไทยถือว่าต่ำมากถ้าเปรียบเทียบในระดับเอเชีย  สามารถลาหยุดได้ปีละ 10 วันเท่านั้นหรืออาจจะน้อยกว่านี้  ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานตามกฎหมายของกัมพูชา  เวียดนาม และอินโดนีเซีย "Working Time around the World: Trends in working hours, laws, and policies in a global comparative perspective" หรือ ชั่วโมงการทำงานทั่วโลก  แนวโน้มชั่วโมงการทำงาน  กฎหมาย รวมทั้งนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบในระดับสากล  งานวิจัยชิ้นนี้  ได้ศึกษาเรื่องชั่วโมงทำงานในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และพบว่าแรงงานทั่วโลกประมาณร้อยละ 22 หรือเท่ากับ 641.2 ล้านคน ต้องทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมงในหนึ่งวัน  และได้ศึกษาถึงแนวโน้มนโยบายเรื่องชั่วโมงทำงานในประเทศกำลังพัฒนา  ซึ่งจากการสำรวจพบว่าชั่วโมงการทำงานในประเทศกำลังพัฒนานั้นมีความแตกต่างกันมาก  กล่าวคือ  แรงงานบางส่วนทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมงมากเกินไป  ในขณะที่บางส่วนทำงานเพียงไม่กี่ชั่วโมง  ระดับชั่วโมงทำงานโดยเฉลี่ยในภาคการผลิตทั่วโลก อยู่ระหว่าง 35 - 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย เป็นประเทศเดียวที่ชั่วโมงการทำงานภาคการผลิตเฉลี่ยเกิน 59 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเป็นประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ชั่วโมงการทำงานในภาคการผลิตยาวนานกว่าภาคบริการ  ในภาคบริการบางประเภทลูกจ้างทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 50 ชั่วโมง เช่น การขนส่ง  คลังสินค้า และการสื่อสาร (สัปดาห์ละ 50 ชั่วโมง)   อสังหาริมทรัพย์และบริการธุรกิจ (สัปดาห์ละ 50.7 ชั่วโมง)  บริการการเงิน (สัปดาห์ละ 52.9 ชั่วโมง)  บริการด้านสาธารณสุขและสังคม ( 53.4 ชั่วโมง)  คนที่อยู่ในภาคการจ้างงานนอกระบบส่วนใหญ่มักจะทำงานเกินมาตรฐานวันละหลายชั่วโมง ผู้จ้างงานตนเองเกือบร้อยละ 57 ในไทย  ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  มีจำนวนเพียงหนึ่งในแปดเท่านั้นที่ได้ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง ร้อยละ 80 ของผู้จ้างงานตนเองในไทยมีอายุเกิน 41 ปี  ส่วนในประเทศอื่น เช่น อินโดนีเซีย  ปากีสถาน   และศรีลังกา  ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงราวๆ 30 ปีหรืออายุน้อยกว่านี้  นอกจากนี้ ยังมีแรงงานบางส่วนที่ทำงานวันละไม่กี่ชั่วโมงในประเทศกำลังพัฒนาอาจจะต้องทำงานต่ำกว่าทักษะความรู้ความสามารถ  ซึ่งส่งผลให้ยิ่งยากจนกว่าเดิม ความพยายามที่จะลดชั่วโมงการทำงานในประเทศเหล่านี้  ยังไม่สำเร็จด้วยสาเหตุหลายประการ  รวมทั้งสาเหตุความจำเป็นของคนงานที่จะต้องทำงานชั่วโมงมากขึ้น  เพื่อให้ได้รายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพและฝ่ายนายจ้างเองมักจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา (โอที) เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุดภายใต้สถานการณ์ที่ประสิทธิภาพในการผลิตต่ำโดยทั่วไปกฎหมายและนโยบายเรื่องชั่วโมงทำงาน  มีผลน้อยมากต่อชั่วโมงทำงานในทางปฏิบัติโดยเฉพาะเรื่องการกำหนดชั่วโมงทำงานสูงสุดต่อสัปดาห์   ค่าจ้างทำงานล่วงเวลาและการจ้างงานนอกระบบ ชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสมตามมาตรฐานสากลจะส่งผลดีต่อสุขภาพชีวิตของคนงานและครอบครัว  ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น  การลดชั่วโมงทำงานจะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุและอาการเจ็บป่วยอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน  ซึ่งถือเป็นการลดค่าใช้จ่ายของคนงาน  นายจ้าง และสังคมโดยรวม   การกำหนดชั่วโมงทำงานควรจะเน้นที่การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและครอบครัว โดยปรับตามสถานการณ์และยืดหยุ่นได้ในแต่ละประเทศ  ควรจะให้สิทธิในการลาเพื่อครอบครัวโดยเฉพาะกรณีฉุกเฉินและส่งเสริมเรื่องการจ้างงานพาร์ทไทม์ที่มีคุณภาพ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/68002
2016-09-20 17:58
ผิดหมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอม ศาลสั่งจำคุก'นักสิทธิแรงงานข้ามชาติ' 3 ปี ปรับแสนห้า รอลงอาญา 2 ปี
คดีโรงงานสับปะรดกระป๋องฟ้องนักสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ หมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอมฯม.14(1) ศาลสั่งจำคุก 3 ปี ปรับ 150,000 บาท รอลงอาญา 2 ปี อานดี้ ฮอลล์ให้สัมภาษณ์หลังฟังคำพิพากษา โดยมีแรงงานข้ามชาติร่วมให้กำลังใจ 20 ก.ย. 2559 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้อง 405 มีการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีที่บริษัทเนเชอรัล ฟรุต จำกัด ซึ่งส่งออกสับปะรดกระป๋อง ฟ้องนายอานดี้ ฮอลล์ นักสิทธิแรงงานข้ามชาติ ข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ 14(1) จากการจัดทำวิจัยและนำเข้าสู่เว็บไซต์ฟินวอชท์ และแจกเอกสารในการแถลงข่าวงานวิจัย ซึ่งกล่าวหาว่าโจทก์ละเมิดสิทธิแรงงาน ละเมิดกฎหมายแรงงานและมีการค้ามนุษย์ ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง กรณีการเผยแพร่บทความจากงานวิจัยในเว็บไซต์ฟินวอชท์ ซึ่งเป็นองค์กรจดทะเบียนในฟินแลนด์และทำหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนอกประเทศฟินแลนด์ ศาลเห็นว่า แม้จำเลยจะเบิกความว่าได้รับว่าจ้างให้ทำวิจัยและหมดหน้าที่หลังจากส่งรายงานแล้ว แต่การที่บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ลงในเว็บไซต์ฟินวอชท์ มีชื่อและช่องทางติดต่อของจำเลยให้ติดต่อสอบถามได้ เท่ากับยินยอมให้ใช้ข้อมูลของจำเลย หมายความว่าจำเลยร่วมกับฟินวอชท์ ในการนำเอกสารเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว ส่วนกรณีที่มีการระบุในบทความว่า โจทก์ค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก มีการทำงานเกินเวลา หรือมีการทำร้ายร่างกาย ศาลระบุว่า โจทก์มีพยานคือ เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเคยเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการละเมิดสิทธิด้วยตัวเอง 2 ครั้งจากทั้งหมด 4 ครั้งในปี 2556 โดยในครั้งแรก พบว่าไม่มีกรณีที่ต้องดำเนินคดีใดๆ โดยมีข้อบกพร่องเล็กน้อย เช่น ห้องน้ำไม่เพียงพอ มีการปัดเศษทศนิยมค่าทำงานล่วงเวลาทำให้คนงานเสียประโยชน์ ซึ่งหลังจากพยานได้ให้คำแนะนำ พบว่าโจทก์ก็ได้แก้ไขกรณีดังกล่าว ขณะที่ในการตรวจครั้งที่ 4 มีการสุ่มสัมภาษณ์แรงงานพม่า 3 คน ก็ไม่ปรากฏข้อมูลตามที่มีการกล่าวหา นอกจากนี้ยังมีพยานจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัดประจวบฯ เบิกความว่าโจทก์ไม่เคยถูกร้องเรียนว่ากระทำผิดกฎหมายประกันสังคม  รวมถึงมีพยานเป็นแรงงานที่ระบุว่าเคยให้สัมภาษณ์จำเลยว่า ไม่มีการจ้างงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้ค่าจ้างวันละ 240 บาทต่อวัน และไม่มีการทำร้ายร่างกาย โดยหลังให้สัมภาษณ์จำเลยได้จ่ายเงิน 300 บาท ดังนั้น บทความที่เผยแพร่จึงไม่ตรงกับที่พยานเบิกความ ศาลระบุด้วยว่า เมื่ออ้างว่าได้ข้อมูลการละเมิดสิทธิจากการสัมภาษณ์คนงาน 12 คน ก็ควรนำพยานมาเบิกความต่อศาลและส่งหลักฐานเสียงสัมภาษณ์ที่บันทึกไว้ แต่จำเลยกลับส่งเพียงโน้ตย่อสั้น ที่ไม่สื่อความหมาย และภาพถ่ายที่ไม่เห็นหน้าและสถานที่ชัดเจน และไม่ครบ 12 คนตามที่อ้าง พยานที่นำสืบจึงไม่พร้อมให้เชื่อได้ว่าข้อมูลที่ได้เป็นความจริง  นอกจากนี้ พยานโจทก์ยังระบุว่า ตั้งแต่มีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว มีลูกค้าที่ยกเลิกการสั่งซื้อ โดยตั้งแต่ปี 2556 ยอดสั่งซื้อลดลง 30% และมีกลุ่มลูกค้าที่ไม่กลับมาซื้อสินค้าอีก ดังนั้น เว็บไซต์ฟินวอชท์ซึ่งเป็นเว็บสาธารณะที่เปิดให้บุคคลดูข้อความได้ เมื่อมีผู้อ่านบทความแล้วเข้าใจว่ามีการค้ามนุษย์และละเมิดกฎหมาย จึงเกิดความรังเกียจและทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การนำเข้าข้อมูลเท็จจึงเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 ด้วยการโฆษณา ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328  ส่วนการแถลงข่าวเปิดตัวรายงานที่อาคารมณียา เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2556 ซึ่งจำเลยแถลงคนเดียว และมีการแจกเอกสาร 2 ฉบับคือ บทความและบทสรุปผู้บริหาร ซึ่งกล่าวหาบริษัทโจทก์ว่าค้ามนุษย์และละเมิดสิทธิแรงงาน กรณีนี้ แม้จำเลยจะนำสืบว่าตนเองบรรยายสรุปและไม่ได้ใช้เอกสารดังกล่าว แต่พฤติกรรมการแถลงข่าวโดยทราบว่ามีการแจกเอกสารดังกล่าว เท่ากับมีความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 คำตัดสินระบุด้วยว่า การตรวจสอบสิทธิมนุษยชน ต้องทำใต้กรอบกฎหมายแต่ละประเทศและต้องไม่กระทบต่อสิทธิผู้ถูกตรวจสอบ มีการสัมภาษณ์แรงงานข้ามชาติเพียง 12 คน และไม่ฟังคำอธิบายจากบริษัท และอานดี้ ฮอลล์อ้างว่าได้ติดต่อบริษัทแล้วแต่ไม่รอบริษัทตอบกลับแต่ส่งงานวิจัยให้ฟินวอชท์ เท่ากับไม่ใส่ใจได้รับคำอธิบาย จึงไม่ใช่การติชมด้วยความบริสุทธิ์ใจ ศาลตัดสินว่าอานดี้ ฮอลล์มีความผิดตามฟ้อง จากการกระทำสองกรรมดังกล่าว โดยกรณีนำเข้าสู่เว็บไซต์ เป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท (อาญา มาตรา 328 และ พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14(1)) จึงให้ลงโทษด้วยบทที่หนักที่สุดคือ มาตรา 14(1) จำคุก 2 ปีปรับ 100,000 บาท และกรณีเผยแพร่เอกสารในการแถลงข่าว ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จำคุก 2 ปี ปรับ 100,000 บาท รวมจำคุก 4 ปี ปรับ 200,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์ จึงลดโทษ 1 ใน 4 เป็นจำคุก 3 ปี ปรับ 150,000 บาท นอกจากนี้ จำเลยยังทำงานด้านสิทธิ เชี่ยวชาญด้านแรงงานข้ามชาติ เป็นประโยชน์อยู่บ้างและไม่เคยจำคุกมาก่อน จึงให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี รวมถึงให้โฆษณาคำพิพากษาโดยย่อให้เว็บฟินวอชท์ เว็บไซต์สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บไซต์ประชาไท เป็นเวลา 30 วัน และในนสพ.ไทยรัฐ บางกอกโพสต์และนสพ.ท้องถิ่น ขนาด 4*5นิ้ว ติดต่อกัน 7 วันนับแต่มีคำพิพากษา โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาทั้งหมด ในการอ่านคำพิพากษา มีผู้เข้าฟังราว 50 คนจนต้องมีการเสริมเก้าอี้ โดยมีแรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่จากสถานทูตฟินแลนด์และสหภาพยุโรป องค์กรสิทธิฯ สื่อมวลชนไทยและต่างประเทศร่วมสังเกตการณ์ด้วย ขณะที่ก่อนหน้านี้ในช่วงเช้า มีคนงานข้ามชาติกว่า 20 คน มามอบดอกไม้ให้กำลังอานดี้ ฮอลล์ ด้านอานดี้ ฮอลล์ให้สัมภาษณ์สื่อภายหลังการฟังคำตัดสินว่า เขารู้สึกตกใจอย่างมากกับคำพิพากษา พร้อมระบุว่าเขาเคารพคำตัดสินของศาล แต่รู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม "นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของอานดี้ ฮอลล์ คนที่ทำวิจัยเรื่องแรงงานข้ามชาติ แต่เป็นเรื่องของนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนที่ทำวิจัยในประเด็นประโยชน์สาธารณะเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและพัฒนาสังคมไทย" เขากล่าวพร้อมระบุว่าจะอุทธรณ์ในคดีดังกล่าวต่อไป ซอนญา วาร์เทียร์ลา ผู้อำนวยการบริหาร องค์กรฟินน์วอทช์กล่าวว่า ”เรารู้สึกตกใจมากที่ศาลพิพากษาให้ฮอลล์มีความผิด องค์กรฟินน์วอทช์เป็นผู้เขียนและตีพิมพ์รายงานฉบับนี้ ดังนั้นองค์กรจึงเป็นผู้ที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อรายงานฉบับนี้ อานดี้ ฮอลล์เป็นเพียงแพะรับบาป เพื่อปิดปากผู้ที่พยายามออกมาเปล่งเสียงโดยชอบธรรมเพื่อสนับสนุนสิทธิแรงงานข้ามชาติ วาร์เทียร์ลากล่าวว่า ”เป็นวันที่น่าเศร้าสำหรับเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย เราเกรงว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ และเหยื่อการละเมิดของบรรษัทจะหวาดกลัวจนไม่กล้าเปล่งเสียงเพราะคำพิพากษานี้” ”กฎหมายไทยที่อนุญาตให้มีการลงโทษความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยโทษทางอาญาและแม้กระทั่งการโทษจำคุกเป็นการละเมิดพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทยอย่างชัดเจน เป็นการเปิดโอกาสให้บรรษัทฟ้องคดีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาในศาล ประเทศไทยติดตามข้อกล่าวหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติอย่างละเอียดรอบคอบ” ด้านสำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถลงผ่านเฟซบุ๊กว่าทางสำนักงานกังวลต่อสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมระบุว่าคำพิพากษาดังกล่าวนับว่าน่าผิดหวังอย่างยิ่ง เพราะเป็นการพิพากษาเพียงหนึ่งวันหลังจากบรรดาผู้นำโลกยอมรับปฏิญญาฉบับประวัติศาสตร์ของสหประชาชาติที่จะสนับสนุนแรงงานย้ายถิ่น แชมพา พาเทล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านงานวิจัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า “คำพิพากษาในวันนี้เป็นจุดจบอันน่าตกใจของคดีที่ในความจริงแล้วไม่ควรเกิดขึ้นเลยด้วยซ้ำ ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อพันธกรณีที่จะต้องคุ้มครองผู้ทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน มากกว่าที่จะปล่อยให้กฎหมายถูกปล้นใช้โดยบริษัทเอกชนที่ต้องการปิดปากผู้เปิดโปงการละเมิดสิทธิ” "น่าเสียใจที่คดีอานดี้ ฮอลล์เป็นเพียงหนึ่งในคดีหมิ่นประมาททางอาญาหลายคดีที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนต้องเผชิญจากการทำงานอันสำคัญเพื่อช่วยเหลือบุคคลและชุมชนที่เสี่ยงอันตราย ปัจจุบัน มีการใช้กฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาปิดปากผู้ที่ทำงานเปิดโปงความอยุติธรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ทางการไทยจำเป็นต้องพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับกฎหมายที่ถูกใช้เพื่อทำลายมากกว่าเพื่อส่งเสริมความยุติธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง” แชมพา พาเทล กล่าว อนึ่ง นอกจากคดีนี้ ฮอลล์ยังถูกบริษัท เนเชอรัล ฟรุท ฟ้องหมิ่นประมาท (คดีอาญา) จากการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอัลจาซีรา โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2558 เนเชอรัล ฟรุต และอัยการสูงสุดได้รับอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลฎีกา หลังศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องไป และถูกฟ้องหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหายทางแพ่งอีกสองคดี รวมเป็นเงิน 400 ล้านบาท
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/52575
2014-04-03 15:11
การทางพิเศษแจ้งดำเนินคดีผู้ชุมนุมเบี้ยวค่าทางด่วน-นำมอเตอร์ไซค์ใช้ทางพิเศษ
การทางพิเศษอยู่ระหว่างดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมที่ใช้ทางพิเศษโดยไม่จ่ายค่าผ่านทางหลังชัตดาวน์กรุงเทพ เผยดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษแล้ว ธาริตปฏิเสธ ระบุเป็นเข้าใจคลาดเคลื่อน คดีไม่อยู่ในอำนาจดีเอสไอ 3 เม.ย.2557 มติชนออนไลน์ [1]รายงานว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เผยว่ากำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่นำรถยนต์ผ่านทางพิเศษโดยไม่ชำระค่าผ่านทาง ตั้งแต่หลังการชัตดาวน์กรุงเทพเป็นต้นมามีรถสิบล้อและจักรยานยนต์ใช้ทางพิเศษเกือบทุกวัน นางบุษบา ปทุมมาศ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ กทพ. เปิดเผยว่า ตั้งแต่มีการชัตดาวน์กรุงเทพในเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2557 มีกลุ่มผู้ชุมนุมนำรถยนต์ 4 ล้อ รถยนต์ 6-10 ล้อขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ขึ้นไปใช้บนทางพิเศษโดยไม่ชำระค่าผ่านทางพิเศษเกือบทุกวัน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนโดยไม่ชำระค่าผ่านทางพิเศษและการนำรถจักรยานยนต์รวมถึงรถประเภทต้องห้ามมิให้ใช้ในทางพิเศษมาใช้บนทางพิเศษ เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจรในทางพิเศษ พ.ศ.2555 ข้อ 4 และมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 154 ซึ่งตามระเบียบดังกล่าว กำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน 1,000 บาท พระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มาตรา 31, 40, 62 และ 63 ที่กำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 กำหนดโทษจำคุก ไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 8,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ กทพ. กล่าวด้วยว่า ในขณะนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับคดีดังกล่าวไว้เป็นคดีพิเศษแล้ว ต่อมามีรายงานข่าวจากสำนักข่าวไทย [2]ว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว โดยกล่าวว่าอาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการมาร้องทุกข์กล่าวโทษที่ดีเอสไอ และคดีดังกล่าวไม่ใช่ความผิดแนบท้าย พ.ร.บ.คดีพิเศษที่จะรับไว้ดำเนินคดีได้   แก้ไขในเวลา 21.35 น.
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/20378
2009-03-16 23:43
รายงาน: เราจะสร้าง "สังคมสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิต" ในประเทศไทยได้อย่างไร (จบ)
อ่าน รายงาน : เราจะสร้าง "สังคมสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิต" ในประเทศไทยได้อย่างไร (ตอนที่ 1) [1] ที่นี่     ประเด็นเรื่องสวัสดิการสังคม ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ไม่รู้จบ ในขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เน้นย้ำและเร่งนโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการให้กับประชาชนอย่างถี่ยิบ ซึ่งหลายฝ่ายบอกว่า นี่คือประชานิยมตำรับประชาธิปัตย์ ในขณะที่กลุ่มนักวิชาการและประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานก็มีความพยายามจะผลักดันในเรื่องสังคมสวัสดิการ หรือรัฐสวัสดิการ เนื่องจากทุกคนเห็นว่า สวัสดิการเป็นเรื่องพื้นฐาน ที่จะนำมาซึ่งสิทธิและความเท่าเทียมในสังคม   เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา มีการจัดโครงการสัมมนา "การสร้างสังคมสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิต" ณ ศูนย์เกษตรกรสารภี จ.เชียงใหม่ โดยมี ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนในวงสัมมนาถึงประเด็นดังกล่าว   โดยในตอนนี้ ประชาไท ขอนำเสนอมุมมองของ "ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์" จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยละเอียดดังนี้      เผยระบบทุนนิยมของไทยเป็นทุนนิยมครึ่งดิบ เรื่องสวัสดิการสังคม เราต้องใช้ 3 สร้าง เป้าหมายอย่างแรก คือ ต้องสร้าง "กลไกเชิงสถาบัน" เพราะสังคมไทยมีปัญหามาก เพราะว่าเราไม่คิดอะไรใหม่ สังคมมันเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เป็นโลกาวิวัฒน์ แต่พอเกิดปัญหาอะไรก็อิงของเก่า ไปหาสถาบันเก่าๆ คือสถาบันเก่าที่ดี มันเริ่มผุกร่อน แต่จะไปฝากความหวังกับสถาบันเดิมที่มีอยู่ทั้งหมด คิดว่ายาก   ที่จริง มันเป็นระบบเดิมของสังคมไทยเมื่อในอดีต แต่ในสถาบันในปัจจุบันและในอนาคตจะใช้สถาบันเดิมแบบนี้ไม่ได้แล้ว ดังนั้น การสร้างกลไกสถาบันจึงสำคัญมาก เพื่อให้เกิดสวัสดิการแบบใหม่กับยุคไฮเทค   กลไกสถาบันนี้ เป็นกลไกที่สำคัญในระบบทุนนิยม แต่ทุนนิยมของไทยมันมีปัญหา คือ เป็นทุนนิยมครึ่งดิบ คือเราไปรับเอาตั้งหลายอย่าง แต่เอามาครึ่งเดียว เน้นแบบเสรี ในด้านเสรีออกเร็วมาก ดูได้จากในด้านกฎหมาย ถ้าเกิดเมื่อไหร่เกี่ยวกับเสรี 3 วาระรวด ออกวันเดียวเสร็จ แต่ในด้านที่เกี่ยวกับความเป็นธรรมทั้งหลายไม่ค่อยพูด พูดง่ายๆ คือ ทุนนิยมไม่ได้อยู่ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา ก็เอาเงินภาษีไปอุดตลอดเวลา มันไม่เคยเป็นเสรี เป็นเพียงอุดมการณ์กล่าวอ้าง แต่ไม่เคยทำ     ชี้ภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษีมรดก เป็นสถาบันชนิดใหม่ เป็นกลไกที่จัดสรรทรัพยากรได้ดีที่สุดในระบบทุนนิยม ถ้าจะให้ระบบทุนนิยมมันดีจริงต้องนำกลไกภาษีมาใช้ให้มากขึ้นกว่านี้ ที่เราจะพูดคือภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษีมรดก เป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่เวลาพูด ก็พูดเป้าหมายไม่ครบ "กลไกภาษี"เป็นกลไกที่จัดสรรทรัพยากรได้ดีที่สุดในระบบทุนนิยม เพราะจะปรับคนที่มากมาให้คนน้อย กลไกภาษีจึงสำคัญมากและถือเป็นสถาบันชนิดใหม่ เพราะเราอยู่ในระบบทุนนิยม เราไม่เคยอยู่มาก่อน เมื่อเราอยู่ เราก็ต้องใช้ แต่รัฐบาลมักไม่ค่อยนำมาใช้   ดังนั้น การผลักดันให้ใช้ จึงจำเป็นเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ เรียกว่า การกระจายโภคทรัพย์ในสังคมให้เหมาะสม อันนี้เป็นเป้าหมายที่ 2 เริ่มมีการพูดมากขึ้น แต่ที่จริง ภาษีมันมีเป้าหมาย เพราะการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้ มันจะบีบให้คุณดองที่ดิน เป้าหมายที่ 3 การเก็บภาษี มันจะทำให้คุณเอาเงิน แทนที่จะซื้อที่ดินเก็บไว้เอาไปลงทุน การเอาไปลงทุนมันสำคัญมากในระบบทุนนิยม เพราะว่าคนที่โอกาสจะทำกินบนที่ดินมันก็เริ่มน้อยลงฉะนั้นถ้าไม่ลงทุน มันก็ไม่มีงาน สังคมทุนนิยมต้องการให้คนมีงานทำ มันถึงพอจะอยู่ได้ แล้วเวลาเอาเงินไปซื้อที่ดินหมดแล้วเวลานี้ถูกไล่ออกจากงาน ตกงานเต็มไปหมดเลย ก็เพราะว่าไม่ลงทุน   มันก็ต้องบีบให้คนที่ตกงานไปลงทุน ไม่ใช่เก็บไว้เป็นมรดก มันทำให้การลงทุนมันไม่ดี ไม่ลงทุนอะไรที่มีประสิทธิภาพ คนงานก็จะได้ทำงานที่ดี ทำงานที่มีความยั่งยืนมากขึ้น เพราะสังคมในอนาคตต้องการสร้างงานเยอะมาก   สรุปแล้ว ภาษีจึงสำคัญมาก เป็นกลไกเชิงสถาบันที่จะช่วยจัดสรรทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโภคทรัพย์ คือ ความมั่งคั่งในสังคมให้มันเป็นธรรมมากขึ้น และก็ให้เกิดการพัฒนาด้วย นี่คือกลไกสถาบันอันที่ 1 คือ "กลไกภาษี"     "ระบบกรรมสิทธิ์"เป็นการประกันการเข้าถึงทรัพยากร กลไกสถาบันอันที่ 2 คือ "ระบบกรรมสิทธิ์" เป็นกลไกที่สำคัญมาก เพราะเมื่อก่อนรั้วก็ยังไม่ได้สร้าง ถางป่าก็ถางไป มีแรงเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น แต่ว่าในปัจจุบันนี้ไม่ได้ ของเราใช้ 2 ชนิด 2 ระบบ คือรัฐกับเอกชน ซึ่งมันเป็นปัญหา นั่นก็หมายความว่าระบบกรรมสิทธิ์ต้องแจกแจงให้มีหลายระบบมากขึ้นไม่ใช่มีอยู่ 2 ระบบ มันก็ทำให้เกิดปัญหา เพราะว่าที่ดินมันก็ 3ร้อย 20ล้านไร่เพียงเท่านั้นไม่ทางเปลี่ยน แล้วก็ต้องเก็บไว้เป็นป่าจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันก็เหลือราว 80ล้านไร่ซึ่งก็น้อยมาก   ส่วนคนที่ซื้อที่ดินทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ทำบ้าอะไรเลย แต่ถ้าเราที่ดินที่ถูกซื้อทิ้งไว้เฉยๆ สัก 30ล้านไร่ เอามากระจายกัน ป่าจะเพิ่มมากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น ระบบกรรมสิทธิ์สำคัญมาก ในส่วนของที่ดินที่ใช้ในการทำนา ส่วนใหญ่ค่อนข้างที่จะเป็นกรรมสิทธิ์ เพราะเราทำกันมานาน จริงๆแล้วไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ แต่ที่จำเป็น คือในพื้นที่ป่า ถ้าไม่ออกกฎหมาย ก็ตัดต้นไม้กันมากขึ้นไปอีก เพราะไม่มีใครดูแลใครทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าไม่ทำอะไรเกี่ยวกับระบบกรรมสิทธิ์ทรัพยากรธรรมชาติจะเสียหายมาก เพราะระบบกรรมสิทธิ์เป็นการประกันการเข้าถึงทรัพยากรและเป็นการกันเข้าถึงสิทธิเฉพาะส่วนบุคคลและเป็นการการประกันการเข้าถึงที่เกี่ยวข้องกับบุคคลจำนวนมาก     ต้องศึกษาท้องถิ่นเพื่อป้องกันสิทธิส่วนรวมซ้อนไปบนสิทธิส่วนตัว และในอนาคต เรื่องพวกนี้จะร้ายแรงขึ้นมาก เพราะในเวลานี้ เริ่มมีการพูดถึงโรงไฟฟ้าปรมาณูกันแล้ว จึงต้องเสนอสิทธิหลักเชิงซ้อนว่า สิทธิส่วนรวมซ้อนไปบนสิทธิส่วนตัว แต่สิทธิ์ส่วนตัวเป็นสิทธิเป็นเจ้าของ สิทธิส่วนรวมเป็นสิทธิการใช้ ต้องศึกษาท้องถิ่น เพราะคุณใช้ไปมันกระทบเขา เช่น ถ้าคุณสร้างโรงไฟฟ้า ปรมาณู 2หมื่นไร่ ก็กระทบเขาอยู่ดี ที่ประเทศรัสเซีย โรงงานไฟฟ้าปรมาณู ระเบิดมา20ปี 30ปี มาถึงตอนนี้ก็ยังแก้ไม่ตกเลย ฉะนั้น เรื่องระบบกรรมสิทธิ์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องมีการผลักดันให้เกิดระบบกรรมสิทธิ์หลายชนิดที่ซ้อนกัน เพื่อจะเปิดโอกาส หรือเปิดพื้นที่ให้กับคนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับกรรมสิทธิ์เหล่านั้น   เพราะสวัสดิการ ไม่ได้หมายถึงการรอรับเงินช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว แต่สวัสดิการทำให้ชีวิตเราดีขึ้น ดังนั้น ถ้าเราไม่มีสิทธิควบคุมโรงงานที่เกิดซี้ซั้ว เพราะในอนาคต เรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นพิษมันจะหนักลำบาก เพราะว่ารัฐบาลมีกฎเกณฑ์หมด กฎหมายสิ่งแวดล้อมมีเยอะ แต่ไม่กำกับดูแลแบบเข้มข้น เพราะฉะนั้น เราในฐานะภาคประชาชนจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งเหล่านี้ว่ามันเป็นกลไกที่สำคัญมาก เพราะว่าเราก็มีส่วนร่วมในการที่จะกำกับดูแลสิ่งเหล่านี้ ชีวิตคุณภาพคุณจะดีขึ้นไม่ ต้องไปเสี่ยงเพราะสังคมทุนนิยมที่มันพัฒนาไปเขาเรียกว่า สังคมเสี่ยง มันเกิดจากโครงสร้างความเสี่ยงที่เกิดจากโครงสร้างมีเยอะมาก     ภาคประชาชนจำเป็นจะต้องเข้าใจกลไกระบบกรรมสิทธิ์ ยึดธรรมมาภิบาล ตรวจสอบ ถ่วงดุล ดังนั้นประชาชนจะต้องเตรียมตัวมีกลไกที่ตนเองจะต้องกำกับดูแลให้ได้ด้วยเพื่อให้คุณภาพชีวิตอยู่ในความควบคุมของเรา ดังนี้   ต้องใช้หลัก "ธรรมมาภิบาล" แปลว่า การตรวจสอบสมดุล ต้องตีหมายความว่า การทำอะไรต่างๆ เราจะปล่อยให้ใครรวบยอด ทำผูกขาด แต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีการตรวจสอบในทุกกระบวนการในหลายๆ เรื่องด้วยกัน อย่าง กฎหมายป่าชุมชน มันก็เป็นกลไกเชิงสามัญชนิดระบบปกติ และขณะเดียวกันก็เป็นระบบตรวจสอบสมดุล   กฎหมายป่าชุมชนเป็นตัวอย่างของธรรมมาภิบาลชนิดใหม่ซึ่งสำคัญมากเพราะว่าป่าเป็นของรัฐ แต่กฎหมายชุมชนมอบสิทธิในการจัดการและการใช้ประโยชน์ให้แก่ชุมชน คือ มีสิทธิ 2 อันซ้อนกัน และมีอันมี 3 คือ กลไกที่เป็นกลางทำหน้าที่ตรวจสอบสมดุล คือจะมีสิทธิ 3 สิทธิ์ซ้อนกัน สิทธิความเป็นเจ้าของเป็นของรัฐ สิทธิในการใช้ประโยชน์และการจัดการเป็นของชุมชน สิทธิในการตรวจสอบสมดุลเป็นของภาคประชาสังคม มันจะมี 3 ส่วนของสังคมเข้ามาตรวจสอบสมดุล และกลไกเหล่านี้ สามารถนำไปได้ใช้ในหลายเรื่อง เช่นในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น   ฉะนั้น 3 กลไกนี่เป็นตัวอย่าง จริงๆแล้วอาจจะมีกลไกอื่นๆ ที่เรียกว่าเป็นการสร้างสถาบันแบบใหม่ๆ ขึ้นมาในสังคมเพื่อสร้างหลักประกันให้คุณภาพชีวิตของเรา มีความมั่นคงมากขึ้น เราเรียกว่าความมั่นคงในการดำรงชีวิตของคน มันต้องอาศัยสถาบัน เพราะจะพึ่งอะไรมันก็ยาก   ดังนั้น คนรุ่นเราจะต้องสร้างกลไกเหล่านี้ แล้วเราค่อยๆ ผลักขึ้นมา บางอันเราก็สร้างเป็นกฎหมาย แต่บางอันเราก็สร้างเป็นกลไกของชุมชนมันทำได้หลายรูปแบบ     ประชาชนต้องร่วมกันสร้างเวทีหรือพื้นที่ทางสังคม ระบบสวัสดิการต้องยึดระบบเชิงซ้อนเท่านั้นถึงจะไปรอด "การสร้างพื้นที่" พื้นที่นี้หมายถึงเวทีหรือพื้นที่ทางสังคม เช่น เป็นเครือข่ายเป็นการรวมกลุ่ม หรือว่าเป็นการเปิดประเด็นเพราะว่าสวัสดิการสังคมนี้ไม่ได้แปลว่า ให้รัฐมาเจ้ากี้เจ้าการทำแต่เพียงผู้เดียว สวัสดิการมีตั้งหลายชั้น ดังนั้น การทำสวัสดิการต้องทำหลายระดับ ทั้งระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น และก็ระดับที่มีพื้นที่ที่มีการร่วมกันของคนกลุ่มต่างๆที่อาจจะต้องมารวมตัวกัน เพื่อจัดทำสถาบันเป็นเรื่องของพื้นที่ในการรวมตัวกัน คือ เป็นเครือข่ายความร่วมมือ   ยกตัวอย่าง พวกกลุ่มที่ติดเชื้อโรคเอดส์ เขามีการรวมตัวกันเพื่อเปิดพื้นที่ในการดูแลกันเองเพราะว่าบางเรื่องมันเปิดกลุ่มลักษณะพิเศษ เราไม่อาจที่เปิดกว้าง ใครก็ไม่รู้เข้ามาดูแลมันทำลำบาก ดังนั้นการเปิดพื้นที่ใหม่ๆ รวมถึงการเปิดพื้นที่ของความรู้พื้นที่มีหลายอย่าง เช่น พื้นที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชีวิต พื้นที่ของความรู้ ซึ่งจะใช้ระบบเดียวไม่ได้ แล้วที่ผ่านมา เราใช้ระบบเชิงเดี่ยวมาตลอด และมีปัญหามาก   เราไปรับความคิดแบบวิทยาศาสตร์ตะวันตกที่มาจากเรื่องระบบวิวัฒนาการมานานมาก เป็นความคิดของชาวยุโรปชื่อว่า ชาร์ล ดาวิน เป็นนักชีววิทยา แล้วความคิดเหล่านี้เข้ามาปลูกฝังเรานักเรียน นักศึกษาใช้ระบบสายเดี่ยวหมดแบบนี้ใช้กับระบบสวัสดิการไม่ได้ ระบบสวัสดิการต้องเชิงซ้อนอย่างเดียวเท่านั้นถึงจะไปรอด   ดังนั้น พื้นที่ของความรู้ ก็จะต้องมีความรู้หลายระบบ เช่น การรักษาพยาบาล ถ้าใช้แพทย์แผนใหม่อย่างเดียวก็ไม่ได้ มันต้องมีการแพทย์แผนไทย แผนโบราณอันนี้ต้องมีการเปิดพื้นที่ให้คนเอาความรู้หลายๆอย่างมาบวกผสมกัน เพื่อทำให้การดูแลเรื่องสุขภาพดูแลชีวิตของเรามันดีขึ้น มันสำคัญมาก เดี๋ยวนี้รัฐบาลมันปิด คือหมายความว่า ถ้าเกิดคุณไปเปิดแล้วไม่มีใบประกอบอาชีพก็โดนอีกฉะนั้น ต้องเปิดพื้นที่ให้คนเอาหลายอย่างมารวมกันได้   และไม่ใช่เฉพาะเรื่องรักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียว การเกษตรด้วย และที่เกี่ยวข้องกับชีวิต มันต้องมีการผสมความรู้หลายๆอย่าง ฉะนั้นพื้นที่ของความรู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของชีวิตเราเรียกว่าความมั่นคงของการดำรงชีพมันขึ้นอยู่กับพื้นที่ของความรู้     พื้นที่ของภาษา คืออุปสรรคของการจัดสวัสดิการ เพราะว่ามองเป็นมนุษย์ แต่ว่าไม่มีตัวตน "พื้นที่ของภาษา"การอยู่ร่วมกันของคนไทย มีหลายภาษา คือมองสวัสดิการให้เป็นวงกว้างมากที่สุดคือว่า ถ้าเรามีพื้นที่ให้ภาษาต่างๆ อย่างภาษาในโรงเรียนเรียน แค่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ แบบว่าคนที่มีหลายสังคมหลายวัฒนธรรมอยู่ด้วยกันไม่ได้ แล้วขัดแย้งในสังคม ในอนาคตมันจะมีมากขึ้นที่เกิดจากการที่เราไม่รับรู้ ไม่เข้าใจ ไม่เห็น คือ เราต้องสร้างตัวตน เพราะว่าเรามองไม่เห็นคนอื่นในฐานะที่เป็นคน   เรื่องสวัสดิการสำคัญสำหรับการสร้างตัวตน เพราะว่าตัวตนของคนแปลกมาก คือมีอยู่ แต่คนมองไม่เห็น มนุษย์เราในปัจจุบันล่องหนเยอะ เช่น ชาวเขา คือมองเห็นเขาเหมือนกัน แต่มองเห็นเขาไม่ใช่คน ดังนั้นเขาก็ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้   แล้วก็มีปัญหาง่ายๆเช่นคนงานต่างด้าว ที่ทำงานเต็มบ้านเต็มเมือง แต่เรามองไม่เห็นเขา หรือมองเห็นเขาแต่มองเห็นเป็นโจร ดังนั้น การสร้างตัวตนสำคัญมาก พอรัฐจะให้เงินช่วยเหลือ 2000 บาท แกก็ไปให้เฉพาะคนที่มีเงินเดือนประจำแล้ว แต่ว่าถ้าไม่ถึงเขา ที่เรียกว่า แรงงานนอกระบบ ดังนั้น เราจึงต้องสร้างกลุ่มคนเหล่านี้ให้เป็นคนจริงๆ แล้วแรงงานในเมืองไทย แรงงานที่อยู่ในโรงงาน มีไม่ถึงครึ่งที่เหลือรับงานมาทำตามบ้าน   แล้วชาวนา ที่ว่าเป็นสันหลังของชาติ แต่เป็นแรงงานนอกระบบอยู่ดี เพราะคนไม่อยู่ในสังกัด ดังนั้น ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นระบบสวัสดิการ สร้างยังไงพวกนี้ก็เข้าไม่ถึง เพราะว่าเป็นมนุษย์ แต่ว่าไม่มีตัวตน     ย้ำต้องสร้างตัวตนที่สังคมที่มองไม่เห็นให้เข้าถึงระบบสวัสดิการ การสร้างตัวตัวตนจึงสำคัญมาก หมายถึง การผลักดันให้คนมองเห็นว่า มีคนกลุ่มนี้อยู่ อาจจะต้องมีการวิจัย ต้องเปิดพื้นที่ ต้องมีการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อเปิดให้คนในสังคมยอมรับว่า เปิดพลังสำคัญของชาติในการที่พัฒนาประเทศ   ดังนั้น ความคิดในเรื่องของระบบสวัสดิการเราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่าง 3 สร้างขึ้นมาด้วย เพื่อทำให้ผู้คนทุกคน เมื่อเป็นคนต้องมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เราต้องมองคนให้เป็นคน มันถึงจะทำให้ระบบสวัสดิการกระจายไปได้ทั่วถึงทุกคนจริงๆ ไม่ใช่เฉพาะบางกลุ่ม   ฉะนั้น การสร้างตัวตนให้กลุ่มสังคมที่มองไม่เห็น จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมหาศาลที่จะทำให้ระบบสวัสดิการสังคมเข้าถึงคนที่ต้องการความช่วยเหลือ คนที่ไม่สามารถจะช่วยตัวเองได้ หรือคนที่ช่วยเหลือตัวเองได้แต่คนมองไม่เห็นคุณค่าของเขามีเยอะ แล้วกลุ่มคนพวกนี้แหละที่ต้องการการเข้าถึงระบบสวัสดิการเหมือนกับคนอื่นเหมือนกัน     อ่านย้อนหลัง รายงาน : เราจะสร้าง "สังคมสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิต" ในประเทศไทยได้อย่างไร (1) [1], ประชาไท, 14 มี.ค. 52
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/46969
2013-05-30 14:52
ประชุมสามัญประจำปี สมาคมอนุรักษ์สื่อโสตทัศน์ SEAPAVAA ครั้งที่ ๑๗
งานประชุมสามัญประจำปีของสมาคมอนุรักษ์สื่อโสตทัศน์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และปาซิฟิก ครั้งที่ ๑๗  (SEAPAVAA) เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา นายอดิศักดิ์ เบญจศิริวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม คุณโดม สุขวงศ์ ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เปิดงานสมาคมอนุรักษ์สื่อโสตทัศน์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และปาซิฟิก ครั้งที่ ๑๗  (SEAPAVAA) หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับพิพิธภัณฑ์การกระจายเสียงและหอจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์ เป็นเจ้าภาพ ในหัวข้อเรื่อง การให้ความหมายใหม่ของหอจดหมายเหตุสื่อโสตทัศน์ในยุคดิจิทัล เพื่อให้สมาชิกคณะกรรมการบริหารสมาคม สมาชิก บุคลากร และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์สื่อโสตทัศน์จากประเทศสมาชิกและผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ผ่านการนำเสนอรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการรับชมภาพยนตร์ที่สำคัญของหอภาพยนตร์และหอจดหมายเหตุโสตทัศน์ของประเทศสมาชิก ในการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกโสตทัศน์ในภูมิภาคนี้ร่วมกัน งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๗ พฤษภาคม - ๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และโรงแรมเอเชียกรุงเทพ
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/49003
2013-09-30 17:05
ศาลสั่งการตาย 2 เสื้อแดง 10 เมษา หน้าร.ร.สตรีวิทฯ วิถีกระสุนมาจากฝ่าย จนท.
“จรูญ ฉายแม้น-สยาม วัฒนนุกูล”เหยื่อกระสุน 10 เมษา 53 หน้า ร.ร.สตรีวิทฯ เหตุการณ์เดียวกับ ‘ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย’ ศาลสั่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงาน โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ [1] “จรูญ ฉายแม้น-สยาม วัฒนนุกูล” 10.00 น. วันที่ 30 ก.ย. ที่ห้องพิจารณา 603 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอ่านคำสั่งชันสูตรการเสียชีวิต คดีที่พนักงานอัยการสำนักอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายจรูญ ฉายแม้น ผู้ตายที่ 1 และนายสยาม วัฒนนุกูล ผู้ตายที่ 2 ถูกยิงเสียชีวิตหน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถ.ดินสอ ในเหตุกระชับพื้นที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 โดย ศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ผู้ร้องมีประจักษ์พยาน 4 ปากอยู่ในที่เกิดเหตุบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ต่างเบิกความยืนยันว่า เห็นประกายไฟจากกระบอกปืนและได้ยินเสียงปืนจากทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ถอยร่นจากแนวป้องกันบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาไปบริเวณซอยข้างวัดบวรนิเวศใกล้สี่แยกสะพานวันชาติ ซึ่งขณะนั้นประจักษ์พยานเห็นผู้ตายทั้งสองล้มลงที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จึงเชื่อว่าพยานทั้ง 4 ต่างเบิกความไปตามความจริงที่ได้รู้เห็นมา ประกอบกับแพทย์จากนิติเวชที่ชันสูตรศพผู้ตายทั้งสองยืนยันว่านายจรูญ ผู้ตายที่ 1 ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลกลาง โดยสาเหตุการตายเกิดจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบพบเศษลูกกระสุนปืน เศษตะกั่ว เศษเหล็กในศพของผู้ตายที่ 1  ส่วนนายสยาม ผู้ตายที่ 2 เสียชีวิตระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาลกลาง ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืน ตรวจพบเศษตะกั่วในศพผู้ตายที่ 2 ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนยืนยันว่า เศษลูกกระสุนปืนที่พบในศพของผู้ตายที่ 1 เป็นอาวุธปืนที่เจ้าหน้าที่ใช้ในวันเกิดเหตุ และแม้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเศษตะกั่วที่พบในศพผู้ตายที่ 2 มีขนาดเท่าใด แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ตายทั้งสองอยู่ในบริเวณเดียวกันและล้มลงในช่วงระหว่างที่เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงมาทางผู้ชุมนุมที่ติดตามเข้าไป จึงเชื่อว่าผู้ตายทั้งสองถูกกระสุนปืนที่ยิงมาจากบริเวณเดียวกัน นอกจากนี้ คำเบิกความของพยานยังสอดคล้องกับผู้ตรวจวิถีกระสุนในบริเวณที่เกิดเหตุ จากข้อเท็จจริงและเหตุผลทั้งหมดที่ได้วินิจฉัยมา เชื่อได้ว่ากระสุนปืนที่ยิงถูกผู้ตายทั้งสองนั้น มีวิถีกระสุนปืนที่ยิงมาจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ แต่พยานของผู้ร้องทั้งหมดที่นำสืบมา ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ ศาลจึงมีคำสั่งว่า นายจรูญ ผู้ตายที่ 1 ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลกลาง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 เวลาประมาณ 22.00 น. สาเหตุการตายเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงที่ทรวงอก ทำลายปอดและตับ ส่วนนายสยาม ผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายขณะนำส่งโรงพยาบาลกลาง เมื่อวันที่ 10-11 เม.ย.53 สาเหตุการตายเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนที่ด้านหลังทะลุทรวงอก ทำลายหลอดเลือดแดงใหญ่ช่องอก และเสียโลหิตมาก  ซึ่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงานที่ถอยร่นจากแนวป้องกันบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาไปที่บริเวณซอยข้างวัดบวรนิเวศใกล้แยกสะพานวันชาติ โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ ‘ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย’ สำหรับเหตุการณ์คืนวันที่ 10 เม.ย.53 บริเวณหน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถ.ดินสอ นั้น นอกจากการตายของนายจรูญ และนายสยาม แล้ว ยังมีเหตุการณ์ เวลาและสถานที่เดียวกันอีก 3 ศพ สำคัญที่อยู่ในกระบวนการไต่สวนการตายอีกคือ นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น นายวสันต์ ภู่ทอง ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ผู้ชุมนุมนปช. ซึ่งคดีของทั้ง 3 ศพนี้อยู่ในคดีเดียวกันและจะมีการไต่สวนการตายต่ออีกในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/33099
2011-02-13 17:28
“สันติวิธี” จากบทเรียนการชุมนุมบนความขัดแย้งกรณี “เสื้อเหลือง-เสื้อแดง”
รายงาน “บทเรียนจากการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553” ย้ำไม่ได้หาคนถูก-ผิด ไม่มุ่งเสนอทางออกของความขัดแย้ง แต่เน้นคำถามการชุมนุมที่เริ่มต้นโดยสันติเปลี่ยนไปสู่ความรุนแรงได้อย่างไร   โศกนาฏกรรมกลางเมือง จากการขอคืน-กระชับพื้นที่การชุมนุมของรัฐบาล จนเป็นเหตุแห่งการสูญเสียชีวิตกว่า 92 ชีวิต และผู้คนอีกกว่า 1,800 คนต้องบาดเจ็บ หลายคนทุพพลภาพ สะท้อนภาพปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีรากฐานและสาเหตุที่สลับซับซ้อน ที่ทวีความรุนแรงขึ้น นี่จึงถือเป็นความท้าทายสำหรับทุกภาคส่วนในสังคมไทย ในการทำความเข้าใจถึงสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและสร้างแนวทางป้องกันความความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้อีกใน อนาคต   ศจ.ดร.มารค ตามไท (ซ้าย) และ ศจ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (ขวา) นำเสนอรายงาน “บทเรียนจากการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2553”     เมื่อวันที่ 9 ก.พ.54 คณะทำงานโครงการ “ยุทธศาสตร์สันติวิธีสำหรับสังคมไทยในศตวรรษที่ 21” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้นำเสนอรายงานเชิงนโยบายเรื่อง “บทเรียนจากการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2553” เพื่อผลักดันให้เกิดความเข้าใจปัญหาการจัดการกับความรุนแรงทางการเมือง และเป็นแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดสภาพความรุนแรงทางการเมืองเช่นกรณีเสื้อ เหลือง-เสื้อแดงอีกในอนาคต   ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอรายงานการวิจัยฯ ว่า รายงานเล่มนี้แตกต่างจากรายงานเล่มอื่นๆ ที่มีการจัดทำมาก่อนหน้านี้ เพราะไม่ได้พยายามตอบคำถามว่าใครคือคนผิด และไม่ได้ตั้งคำถามถึงสาเหตุและประวัติศาสตร์ของความขัดแย้ง รวมทั้งไม่ได้มุ่งเสนอแนะทางออกเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง แต่มุ่งเน้นเรื่องบทเรียนจากความรุนแรง และคำถามที่สำคัญคือการชุมนุมประท้วงที่เริ่มต้นโดยสันติได้เปลี่ยนไปสู่ ความรุนแรงได้อย่างไร และอะไรคือสาเหตุ โดยการศึกษาใช้การเก็บข้อมูลจากหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ และพยายามแก้ปัญหาอคติและเงื่อนไขเชิงโครงสร้างในการเสนอข่าว ด้วยการทบทวนและเปรียบเทียบหนังสื่อหลายๆ ฉบับ   ชัยวัตน์ กล่าวถึงข้อค้นพบในการศึกษาว่า ช่วงระหว่างวันที่ 13 มีนาคม – 6 กรกฎาคม 2553 มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวของกับการชุมนุมเกิดขึ้นรวม 408 เหตุการณ์ โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ 165 เหตุการณ์ (ร้อยละ 40) รองลงมาคือเชียงใหม่ 24 เหตุการณ์ ขอนแก่น 14 เหตุการณ์ นครราชสีมา 13 เหตุการณ์และปทุมธานี 13 เหตุการณ์ เมื่อเทียบเป็นเหตุการณ์ไม่ใช้ความรุนแรง อาทิ การชุมนุมประท้วง การประท้วงโดยใช้สัญลักษณ์ การคว่ำบาตร การปิดล้อม การยึดครองพื้นที่ และวิธีที่ไม่ใช้ความรุนแรงอื่นๆ มี 247 เหตุการณ์คิดเป็นร้อยละ 60.54 ส่วนเหตุการณ์ความรุนแรงเช่น การปะทะหรือเผชิญหน้าโดยใช้กำลัง การยิง การระเบิด และวิธีอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่คือการเผา มี 153 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 37.50 นอกจากนั้นเป็นกรณีอื่นๆ   รายงานนี้ถือว่าการชุมนุมประท้วงโดยทั่วไปเป็นปฏิบัติการไร้ความรุนแรง การศึกษายังบอกด้วยว่าผู้ที่ก่อเหตุการณ์ความรุนแรงมากที่สุดคือผู้กระทำการ ที่ไม่อาจระบุได้ว่าเป็นใคร โดยก่อเหตุการณ์รุนแรง 86 เหตุการณ์ ส่วนทหาร-ตำรวจก่อเหตุการณ์รุนแรง 18 เหตุการณ์ ทั้งนี้ทั้งสองกลุ่มถือเป็นผู้ใช้ความรุนแรง ในขณะที่กลุ่มเสื้อเหลือง และกลุ่มเสื้อหลากสีไม่มีการใช้ความรุนแรงเลย สำหรับกลุ่มเสื้อแดงจากการก่อเหตุ 227 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 79.2) เป็นเหตุการณ์ไม่ใช่ความรุนแรง และยังพบว่าเหตุการณ์ที่เกิดโดยคนเสื้อแดงในต่างจังหวัดแม้จะมากจุดกว่าแต่ ใช้ความรุนแรงน้อยกว่า โดยเหตุการณ์ในต่างจังหวัด 146 เหตุการณ์ มีความรุนแรงเพียง 11 เหตุการณ์ ขณะที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 80 เหตุการณ์ มีความรุนแรง 36 เหตุการณ์   นอกจากนั้นรายงานยังระบุถึง สถิติผู้เสียชีวิต 92 รายว่า แทบทั้งหมดเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ (มี 2 ราย เสียชีวิตจากเหตุการณ์ประท้วงที่เกิดขึ้นที่ จ.อุดรธานีและ จ.ขอนแก่น ในวันที่ 19 พ.ค.53) ผู้สนับสนุนเสื้อแดงส่วนใหญ่เสียชีวิตระหว่างสองเหตุการณ์ที่ริเริ่มปฏิบัติ การโดยรัฐบาล คือการขอคืนพื้นที่ที่ผ่านฟ้า ถ.ราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.และการปิดล้อมกระชับพื้นที่ที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 14-19 พ.ค.53 ส่วนทหารที่เสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์ทั้งสองมีจำนวน 8 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 2 ราย บริเวณใกล้แยกศาลาแดงและหน้าสวนลุมพินี            ชัยวัฒน์กล่าวต่อมาว่า การประท้วงที่ใช้ความรุนแรงมีสิ่งที่น่าสนใจคือเหตุระเบิดเมื่อถูกนำมาวางลง บนแผนที่เทียบกับเหตุการณ์เผาและการยิง พบว่าเหตุระเบิดในช่วงแรกเกิดขึ้นไกลจากที่ที่มีการชุมนุม แสดงให้เห็นชัดว่าเหตุระเบิดซึ่งเกิดขึ้นตอนกลางคืน ในที่ไม่มีคนอยู่ เป้าหมายจึงไม่ใช่การมุ่งเอาชีวิต แต่มุ่งสร้างความสับสนและหวาดกลัว อย่างไรก็ตามเมื่อไม่ได้ผล ในตอนหลังการระเบิดก็เริ่มมุ่งเอาชีวิต และขยับใกล้พื้นที่ที่มีการชุมนุมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อมองจากช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์จะเห็นได้ชัดว่าตอนแรกกลุ่มคนที่ไม่ อาจระบุได้ว่าเป็นใครเป็นผู้ก่อเหตุความรุนแรง แต่ในตอนท้ายหลังจากที่มีการกระชับพื้นที่แล้วจะเห็นได้ชัดว่าตัวการที่ใช้ ความรุนแรงได้กลายเป็นฝ่ายเสื้อแดง ตรงนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากแรงกระตุ้น   ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี กล่าวถึงข้อคิดเห็นของคณะทำงานฯ จากรายงานฉบับนี้ว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้การชุมนุมประท้วงที่เริ่มจากสันติวิธีของนปช. และความพยายามของรัฐที่จะตอบสนองต่อการชุมนุม ท้ายที่สุดต้องจบลงด้วยความรุนแรง มาจากกระบวนการตัดสินใจของทั้ง 2 ฝ่ายที่มีปัญหา ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน   ด้าน มารค ตามไท รองประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธีฯ และเป็นผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ กล่าวว่า จากการเก็บสถิติที่ผ่านมาพบปัญหาที่แทรกอยู่ในกระบวนการตัดสินใจ นั่นคือความหมายของการไม่ใช้ความรุนแรง และอะไรคือการชุมนุมอย่างสันติ ซึ่งคนในสังคมไทยมีความเข้าใจเรื่องนี้ต่างกันมาก ตรงนี้เป็นปัญหาที่สังคมต้องแก้ไขให้เป็นความเข้าใจรวม หากไม่ทำความเข้าใจให้ตรงกันก็จะทำให้เกิดปัญหาแบบนี้อีก ถ้าสันติวิธีจะเดินหน้าในสังคมไทยต้องหาความหมายนี้ให้ลงตัวเหมือนกัน และไม่ต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะมันเป็นไปไม่ได้   “ความพยายามที่จะหาความหมายรวมของสันติด้วยกฎหมายทำไม่ได้ เพราะเมื่อไม่เห็นด้วยคนก็จะไปทำอย่างอื่น แต่จะทำให้เกิดขึ้นได้โดยกระบวนการทางสังคมเป็น” รศ.ดร.มารคกล่าว   ส่วนกระบวนการตัดสินใจที่มีปัญหา มารคกล่าวเน้นในประเด็นที่เป็นบทเรียนว่า 1.ลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบันแตกต่างจากความขัดแย้ง ในอดีตที่เคยเผชิญ เช่น การชุมนุมของสมัชชาคนจน ที่โดยปกติเมื่อมีการชุมนุมก็จะมีการแก้ปัญหาโดยการใช้สันติวิธี หาทางออกแบบ win-win แต่จากข้อสังเกตของคณะทำงานพบว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังเข้ามาสู่ความขัดแย้งที่อาจจะไม่มี win-win เพราะจุดยืนของคู่ขัดแย้งคือต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งแพ้ เช่น การที่ฝ่ายหนึ่งบอกว่าอยากเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจของสังคมก็มาชุมนุมเรียก ร้องการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่คู่ขัดแย้งคือกลุ่มอำนาจที่อีกเขาต้องการให้ลง ซึ่งโครงสร้างอำนาจนี้ไม่ใช่แค่หน่วยงานแต่เกี่ยวกับสถาบันสำคัญของประเทศทำ ให้การหา win-win เป็นเรื่องยาก เพราะการชนะของฝ่ายหนึ่งคืออีกอีกฝ่ายต้องแพ้ นำมาสู่การตั้งป้อมที่หาจุดร่วมกันไม่ได้   “เราไม่มีคำตอบเสนอ แต่ที่เคยคุยกันคือ มันต้องใส่สิ่งเหล่านี้ไว้ในกรอบที่ใหญ่กว่า ถ้าเรามองทุกอย่างในแง่ดี เชื่อว่าทุกคนบริสุทธิ์ใจก็ถือว่าจุดยืนทั้งหมดไม่ใช่เพื่อตัวเองหรือบุคคล เพราะว่ามีทัศนะที่ต่างกันว่าประเทศไทยควรจะเป็นอย่างไร มันจะสร้างบทสนทนาใหม่ให้แก่สังคมไทยถ้าจะทำงานสันติวิธีในกรอบความขัดแย้ง ทางการเมืองว่า ประเทศไทยควรจะอยู่อย่างไรถึงจะดีที่สุดสำหรับประเทศไทย ในที่สุดมันคือเรื่องนั้น” รองประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธีฯ กล่าวและเสริมว่าถ้าไม่ไว้ในกรอบนี้ ส่วนตัวคิดไม่ออกว่าจะมีกรอบอะไรที่ใหญ่กว่าการที่ฝ่ายหนึ่งชนะอีกฝ่ายหนึ่ง แพ้   ประเด็นที่ 2 การปฏิเสธโอกาสแนวทางสันติวิธีปรองดอง จากรูปแบบความขัดแย้งที่ยากในการปรองดองจึงต้องศึกษาเป็นพิเศษ ซึ่งข้อสังเกตหนึ่งจากการชุมนุมครั้งนี้คือความล้มเหลวของการเจรจา ไม่ควรเข้าใจว่าการเจรจาเรื่องนี้จะเหมือนการเจรจาเรื่องลด-เพิ่มเงินเดือน ไม่ใช่การเจรจาที่ทุกคนจะสามารถได้ผลประโยชน์ เพราะมันเป็นการเจรจาข้ามโลกทัศน์ ซึ่งง่ายมากที่จะพูดและฟังโดยที่ไม่ได้ยินกัน แต่ตรงนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ควรพัฒนาในลักษณะความขัดแย้งที่สังคมกำลังเจออยู่ ซึ่งมันไม่สามารถจะใช้วิธีการเก่าๆ ได้   มารค กล่าวต่อมาว่า คณะทำงานตระหนักดีว่าเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ แต่การตัดสินใจว่าจะเดินต่ออย่างไรทั้งในฝ่ายผู้ประท้วงและรัฐที่จะเข้าไป ควบคุม รวมทั้งการตัดสินใจในการใช้สันติวิธีนั้น อยู่ในกรอบของความเข้าในที่ว่าทำอย่างไรจึงจะนำความมั่นคงมาให้ประเทศชาติ ทุกกลุ่มบอกว่าควรตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อความมั่นคง แต่กลุ่มต่างๆ เข้าใจความหมายของความมั่นคงที่ต่างกัน ทำให้หาวิธีตกลงร่วมกันยาก ดังนั้น เรื่องความมั่นคงคืออะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเมื่อพูดถึงเรื่องสันติ วิธี นอกจากนั้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการแก้ปัญหา ระยะยาวอย่างแยกกันไม่ออก ปัจจุบันคนบางกลุ่มต้องการแก้ปัญหาระยะยาว เช่นการปฏิรูป โดยไม่สนใจเรื่องเฉพาะหน้า ก็เกิดคำถามว่าจะเชื่อใจได้หรือเปล่าว่าจะแก้จริง      ในส่วนการใช้ข่าวสารข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การศึกษาพบว่าการตัดสินใจหลายครั้งอยู่บนฐานการข่าวที่ไม่ชัดเจน ตรงนี้ไม่ใช่เพียงข่าวเท็จหรือข่าวจริง แต่เป็นการข่าวเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างโดยวิธีเลือกให้ข่าว ให้ความจริงเพียงบางส่วน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับทางเลือกอื่นๆ เพื่อนำมาพิจารณาจึงเป็นสิ่งสำคัญ   มารค กล่าวถึงประเด็นปัญหาเรื่องการปรองดองด้วยว่า โจทย์ของการปรองดองอาจไม่ใช่เพียงระหว่างคู่กลุ่มบุคคล แต่เป็นคู่ความคิด ซึ่งมีอยู่หลากหลาย แต่ไม่ว่ากลุ่มไหน การปรองดองที่สำคัญเพื่อจะให้บ้านเมืองเดินต่อได้ คือทุกคนต้องปรองดองกับตัวเอง ต้องพร้อมที่จะไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ แต่ไม่ได้หมายถึงการลดมาตรฐานในความเชื่อของตัวเอง หรือมีอุดมการณ์น้อยลง แต่ต้องพร้อมที่จะไม่ได้ตามอุดมการณ์   “ไม่ใช่แค่พร้อมตาย อันนั้นไม่เท่าไหร่ คล้ายเป็นการเสียสละชีวิต แต่พร้อมฆ่าเพื่อสิ่งนี้ ตรงนี้จะนำมาซึ่งความสูญเสียต่อสังคม ตอนนี้บางคนอาจจะเป็นหรือเปล่าที่บอกว่าพร้อมที่จะฆ่าคนอื่นเพื่ออุดมการณ์ อันนี้คิดว่าจะเป็นปัญหา” มารค กล่าว   มารค กล่าวถึงความหมายของสันติวิธีด้วยว่า สันติวิธีคือการพร้อมเจ็บ คนใช้ต้องพร้อมที่จะสูญเสีย ซึ่งนั้นจะทำให้ความเจ็บในภาพรวมน้อยลง โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ อย่างไรก็ตามในประเทศไทยมีแต่ในระดับตัวบุคคลที่พร้อมจะทำตามแนวทางสันติ วิธี แต่ในระดับกระบวนการซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนที่แตกต่างกันส่วนใหญ่ไม่พร้อมจะ รับ นอกจากนั้นการมองสันติวิธีว่าเป็นวิธีการ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะถูกประเมินว่าจะทำให้เกิดผลได้หรือไม่ซึ่งจะนำไปสู่ การละทิ้งการใช้สันติวิธี แต่การมองสันติวิธีระหว่างว่าเป็นอุดมการณ์กับวิธีการนั้นต่างกัน ดังนั้นจึงต้องขยับบทสนทนาให้เรื่องสันติวิธีเป็นอะไรที่ลึกกว่าเพียงแค่ วิธีการ
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/14517
2007-10-14 07:18
ในหลวงประชวร เหตุผิวพระสมองด้านซ้ายขาดเลือด
13 ต.ค.50  เวลาค่ำ สำนักพระราชวัง ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ความว่า เวลาเช้าวันที่ 13 ตุลาคม 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระอาการพระวรกายด้านขวาอ่อนแรง แพทย์ประจำพระองค์จึงได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปยังโรงพยาบาลศิริราช เพื่อถวายตรวจพระสมองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พบว่ามีผิวพระสมองด้านซ้ายขาดเลือดเล็กน้อย คณะแพทย์จึงขอพระราชทานให้ประทับที่โรงพยาบาล เพื่อถวายพระโอสถรักษาและสังเกตพระอาการ หลังจากถวายการรักษาประมาณ 8 ชั่วโมง ปรากฏว่าพระอาการอ่อนแรงของพระเพลา (ขา) ดีขึ้น จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน สำนักพระราชวัง 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2550 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประทับอยู่ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 16 โดยมีประชาชนที่ทราบข่าว มารอเฝ้าพระอาการตั้งแต่ช่วงบ่าย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63123
2015-12-23 14:37
ย้อนรอยคดีตั้งเฟซปลอมโพสต์หมิ่น และการติดคุกฟรี
ย้อนรอยไม่เพียงกรณีเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดทำเฟซบุ๊กปลอมหมิ่นกษัตริย์ ป้ายสีเท่านั้น ยังมี 'จารุวรรณ' สาวโรงงาน พวก ถูกฝากขัง 84 วัน ปี 54 ยังมีเฟซปลอม 'บุษบาบัณ-กวีไกร' โพสต์หมิ่นฯ จนถูกเสียบประจาน แม้จะเป็นอัลตร้ารอยัลลิสต์ก็ตาม จากกรณีที่ เดลินิวส์ [1] รายงานว่า วันนี้ (23 ธ.ค.58) พ.ต.อ.ธวัชชัย พงษ์วิวัฒนชัย ผกก.สส.1 บก.สส.ภ.5 พร้อมพวกควบคุมตัว วิชัย อายุ 33 ปี ชาวเชียงใหม่ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลทหารกรุงเทพ ที่ 65/2558 ลงวันที่ 15 ธ.ค. ในข้อหา “หมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา” พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือ 3 เครื่อง นำตัวส่งพนักงานสอบสวนบก.ปอท. เพื่อดำเนินคดีต่อไป เดลินิวส์ รายงานต่อว่ากรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เสียหายว่า มีผู้แอบอ้างนำชื่อของตนเองไปเปิดเฟซบุ๊กปลอม และโพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งเกรงว่าจะได้รับผลกระทบ แล้วถูกจับกุมเอาผิดตามกฎหมาย จึงเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน บก.ปอท.ว่า ไม่ได้เป็นผู้โพสต์ หลังรับแจ้ง เจ้าหน้าที่จึงทำการสืบสวน กระทั่งพบเบาะแสว่า ผู้ที่สร้างเพจปลอมคือ วิชัย ซึ่งเป็นอดีตเพื่อนคนสนิทของผู้เสียหาย และมีปากเสียงทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรงก่อนหน้านี้ ด้วยความโกรธแค้น จึงเอาชื่อและข้อมูลของผู้เสียหาย ไปเปิดเฟซบุ๊ก แล้วโพสต์ข้อความต่างๆ ซึ่งเข้าข่ายความผิดข้อหาหมิ่นประมาทเบื้องสูงเพื่อกลั่นแกล้งผู้เสียหาย สำหรับกรณีการปลอมเฟซบุ๊กเพื่อโพสต์ข้อความหมิ่นกษัตริย์นั้นไม่ได้พึ่งเกินขึ้นในกรณีนี้ หากแต่ก่อนหน้านี้มาการปลอมจนถูกเสียบประจาน ตั้งเพจด่าทอ ไปจนถึงการถูกขังมาแล้ว โดยประชาไทได้ประมวลไว้เบื้องต้นดังนี้     จารุวรรณ สาวโรงงาน และพวก ถูกฝากขัง 84 วัน    กรณีนี้ เมตตา วงศ์วัด เขียนรายงานไว้ในเว็บไซต์ประชาไท [2] ว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อมีบัญชีเฟซบุ๊กซึ่งใช้ชื่อและนามสกุลจริงของจารุวรรณรวมทั้งภาพโปรไฟล์ด้วย โพสต์ข้อความที่มีถ้อยคำรุนแรงเกี่ยวกับสถาบัน เรื่องราวเกิดขึ้นคืนวันที่ 15 พ.ย.2557 และบ่ายวันรุ่งขึ้น พ.ท.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ สังกัดกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2) เดินทางเข้าแจ้งความที่กองปราบฯ พร้อมๆ กับที่ทหารและตำรวจบุกไปที่บ้านบิดาของจารุวรรณ และจารุวรรณ ถูกนำตัวมาพร้อมกับแฟน เพื่อสอบสวนและฝากขังยังศาลทหาร โดยที่เธอยืนกรานปฏิเสธ   โดยเธอและพวก ถูกฝากขัง 7 ผัด เป็นเวลา 84 วัน ก่อนที่ตำรวจทำความเห็นสั่งไม่ฟ้อง  เฟซบุ๊กที่ถูกระบุว่าโพสต์หมิ่นฯ   เฟซปลอม 'บุษบาบัณ-กวีไกร' โพสต์หมิ่นฯ จนถูกเสียบประจาน   หากย้อนไหมช่วงที่มีสงครามล่าแม่มดในเฟซบุ๊กอย่างรุนแรงช่วงหนึ่ง ปลายปี 2554 มีผู้ที่ถูกตั้งเฟซบุ๊กปลอมโดยนำชื่อและข้อมูลรูปภาพมาใช้เพื่อตั้งบัญชีหรือเฟนเพจใหม่ และโพสต์ข้อความที่ถึงกษัตริย์ จนถูกนำไปเสียบประจาน โดยรายงานของเครือข่ายพลเมืองเน็ต เสรีภาพและวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตไทย พ.ศ. 2554 [3] ระบุว่ามีอย่างน้อย 2 รายชื่อคือ บุษบาบัณ โกเมศ และ กวีไกร โชคพัฒนเกษมสุข ผู้ที่เคยตกเป็นข่าวกระชากผมสาวเสื้อแดงระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดง ในเดือน เม.ย. 2552 ภาพถูกบันทึกไว้เมื่อปลายปี 54 จากรายงานของพลเมืองเน็ตฯ    กรณีของ บุษบาบัณ นั้นถูกนำไปตั้งเป็นเฟซบุ๊กประเภทบัญชีบุคคล 'บุษบาบัณ โกเมศ ดิฉันเกลียดXXX' โดยทั้งชื่อบัญชีและการโพสต์ข้อความจนถูกเสียบประจานว่าความอาฆาต มาดร้าย ต่อสถาบันกษัตริย์ โดยมีการตั้งเพจต่อต้านเธออีกหลายเพจ เช่น มั่นใจว่าคนไทยเกิน 60 ล้านคน เกลียด บุษบาบัณ XXXX, Anti คนทรยศประเทศ บุษบาบัณ, มั่นใจว่าคนไทยทุกคนเกลียด บุษบาบัณ, ด่าอีต่ำ บุษบาบัณ และ ชาติชั่ว บุษบาบัณ เป็นต้น ซึ่งบางเพจปิดตัวไปแล้ว และบางเพจยังเผยแพร่อยู่แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวแล้วตั้งแต่ปลายปี 54   ตัวบุษบาบัณ ได้ร้องเรียนไปยังสำนักข่าวทีนิวส์ [4] และให้สัมภาษณ์ในช่วงนั้นด้วยว่า ว่า เฟซบุ๊ก บุษบาบัณ โกเมศ ดิฉันเกลียดXXX เป็นบัญชีบุคคลปลอม ซึ่งนำรูปและประวัติของตนเองมาจากเฟซบุ๊กตัวจริงที่ชื่อ Bussababun Komes ตนเองนั้นเป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และตั้งข้อสังเกตว่า บัญชีบุคคลแอบอ้างเกิดขึ้นหลังจากที่ตนเองได้เข้าไปโต้เถียงกับฝ่ายต่อต้านอำนาจเก่า ในเพจหมิ่นชื่อ ชมรมคนเกลียดไอ้. XXX ในเดือนกันยายน 2554 และได้ไปแจ้งความต่อสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย 4 และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแล้ว ภาพถูกบันทึกไว้เมื่อปลายปี 54 จากรายงานของพลเมืองเน็ตฯ      เช่นเดียวกับ กวีไกร เขาถูกนำชื่อและภาพไปตั้งเป็นเฟซบุ๊กชื่อ  กวีไกรเกลียดXXX ขึ้น โดยปรากฏรูป กวีไกรจำนวนมาก และมีการโพสต์ที่ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ด้วยเช่นกัน   เหล่านี้เป็นเพียงกรณีเบื้องต้นเท่านั้น
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/58618
2015-03-28 16:18
21 ลูกเรือประมงไทยในอินโดฯ กลับถึงไทยแล้ว
ลูกเรือประมงไทย 21 คนที่ตกค้างบนเกาะอัมบนของอินโดนีเซีย เดินทางกลับถึงไทยแล้ว หลังได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย และ 1 เม.ย.นี้จะมีแรงงานไทยที่ได้รับการช่วยเหลือกลับมาเพิ่มอีก 6 คน ด้าน 'ฐปณีย์' โพสต์เฟซบุ๊กขอบคุณทุกฝ่าย    28 มี.ค. 2558 สำนักข่าวไทย [1]รายงานว่าที่ท่าอากาศยานดอนเมือง กลุ่มลูกเรือประมงไทยที่ตกค้างบนเกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 21 คน เดินทางกลับถึงไทยโดยสายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบิน QZ252 เมื่อเวลา 20.15 น. หลังได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย โดยมีผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ รวมถึงครอบครัวและญาติของกลุ่มลูกเรือที่มารอรับ   แรงงานทั้งหมดนี้เคยถูกกลุ่มนายหน้าหลอกไปขึ้นเรือประมงที่ จ.สมุทรสาคร โดยเสนอค่าจ้างเป็นเงินจำนวนมาก แลกกับทำงานบนเรือประมง จะถูกส่งไปบนเรือประมงในน่านน้ำเกาะอัมบน และถูกใช้แรงงานอย่างหนัก จนสามารถหลบหนีมาขอความช่วยเหลือได้   สำหรับการช่วยเหลือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะนำตัวผู้เสียหายมาดูแลเพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสอบปากคำ ช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย และคัดกรองบุคคลเข้าเมือง เนื่องจากผู้เสียหายทั้งหมดไม่มีเอกสารประจำตัว โดยจะดำเนินการคัดแยกผู้เสียหาย พร้อมทั้งส่งตัวเข้ารับการคุ้มครองชั่วคราวที่สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ (ชาย) จังหวัดปทุมธานี เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกเรือประมงไทยทั้งหมดที่ได้รับการช่วยเหลือ และติดตามให้การช่วยเหลือในการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งดูแลเกี่ยวกับสิทธิและประโยชน์ให้กับผู้เสียหายก่อนส่งตัวกลับภูมิลำเนา และจะติดตามดูแลครอบครัวตามภูมิลำเนาเดิมของลูกเรือประมงไทยทั้ง 21 คน เพื่อจะได้ช่วยเหลือครอบครัวอย่างต่อเนื่อง   ขณะที่นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ทางการไทยได้ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทย โดยในวันที่ 1 เมษายนนี้ จะมีแรงงานไทยที่ได้รับการช่วยเหลือกลับมาเพิ่มอีก 6 คน ส่วนแรงงานที่อยู่ในเกาะเบจินา 5 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติจากตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซีย คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถช่วยเหลือกลับไทยได้ ขณะนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ช่วยเหลือและส่งลูกเรือประมงไทยที่สมัครใจกลับไทยแล้ว 169 คน แต่ยังไม่ทราบตัวเลขของแรงงานตกค้างที่แน่ชัด เพราะอยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติ   วันเดียวกันนี้ (28 มี.ค.) ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ได้โพสต์ในเฟซบุ๊คส่วนตัว ขอบคุณทุกฝ่าย โดยระบุว่า   สำหรับคนทำข่าว เป้าหมายในการตีแผ่ข้อเท็จจริงต่างๆ ก็เพื่อให้สังคมรับรู้ ตื่นตัว และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ต่างจาก Ngo อย่างมูลนิธิ LPN ทำงานรวบรวมข้อมูลต่างๆก็เพื่อให้ภาครัฐมาแก้ไขร่วมกัน   ดีใจค่ะที่ภาพวันนี้มาถึง ชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานไทยในอินโดนีเซีย สถานทูตไทย ณ.กรุงจาการ์ตา สถานทูตอินโดนีเซียประจำกรุงเทพ ประชุมร่วมกับ ผู้กำกับการสถานีตำรวจเกาะอัมบน เพื่อวางแนวทางช่วยเหลือ ทั้งลูกเรือที่เป็น คนตกเรือ คนผี คนเร่ร่อน ลูกเรือที่อยู่บนเรือและต้องการกลับประเทศไทย รวมทั้งการตรวจสอบศพนิรนามที่ต้องสงสัยว่าเป็นศพคนไทย   ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ,พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ,พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พม.,กระทรงการต่างประเทศ ท่านทูตภาสกร ทูตไทย ณ.กรุงจาการ์ตา และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ         <!--//--><![CDATA[// ><!-- (function(d, s, id) { var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0]; if (d.getElementById(id)) return; js = d.createElement(s); js.id = id; js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/sdk.js#xfbml=1&version=v2.3"; fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);}(document, 'script', 'facebook-jssdk')); //--><!]]> สำหรับคนทำข่าว เป้าหมายในการตีแผ่ข้อเท็จจริงต่างๆ ก็เพื่อให้สังคมรับรู้ ตื่นตัว และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี... Posted by Thapanee Ietsrichai [2] on 28 มีนาคม 2015 [3]
0neg
1pos
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/6623
2005-12-08 07:04
แถลงการณ์ กลุ่มสาละวินว็อชต์คัดค้านการลงนามข้อตกลงเพื่อสร้างเขื่อนในพม่าของ กฟผ.
แถลงการณ์ กลุ่มสาละวินว็อชต์คัดค้านการลงนามข้อตกลงเพื่อสร้างเขื่อนในพม่าของ กฟผ. 7 ธันวาคม 2548   นายไกรสีห์ กรรณสูตร ประธานบริษัท กฟผ. ประกาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2548 ถึงแผนการที่จะลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลทหารพม่า ในโครงการร่วมทุนเพื่อก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำหลายเขื่อนในแม่น้ำสาละวินและตะนาวศรี สมาชิกของพันธมิตรสาละวินว็อชต์มีความกังวลอย่างยิ่ง และมีคำถามเกี่ยวกับกระบวนการวางแผนและดำเนินงานโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและขาดความโปร่งใส และพื้นที่ของโครงการเขื่อนเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลทหารพม่ากระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำสงครามกับกองกำลังชาติพันธุ์อย่างต่อเนื่อง   โครงการที่เป็นการลงทุนด้วยเงินทุนจากทั้งภาคเอกชนและภาครัฐขนาดใหญ่ จะส่งผลให้คนจำนวนมากต้องอพยพหาที่อยู่ใหม่ ทั้งยังมีผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับแผนการสร้างเขื่อน ไม่มีการพูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ไม่มีการปรึกษาหารือกับผู้ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา 58, 59 และ 60 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540   รัฐบาลทหารพม่าทำสงครามเพื่อปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมาเป็นเวลานาน ทำให้มีคลื่นผู้อพยพจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีการทรมาน ข่มขืน และสังหารผู้คนจำนวนมาก ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างเขื่อนและโครงการพัฒนาที่ตามมา การลงทุนร่วมกับรัฐบาลทหารพม่าจะทำให้ทั้งบริษัทกฟผ.และบริษัทจากจีนที่คาดว่าจะร่วมทุนด้วย มีส่วนร่วมในการกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ   ประธานบริษัทกฟผ.ยังกล่าวต่อไปว่า โครงการนี้ "จะช่วยสร้างรายได้ที่จำเป็นต่อประเทศพม่าอย่างมาก" ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลทหารพม่าใช้เงินงบประมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศเพื่อซื้ออาวุธและพัฒนากำลังพล ผลกำไรจากการสร้างเขื่อนในพม่าจะทำให้มีการกดขี่ชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่อไป และทำให้กองทหารพม่าเข้าไปยึดพื้นที่ทำกินของพวกเขามากขึ้น   การที่รัฐบาลไทยอ้างว่าการสร้างเขื่อนในประเทศเพื่อนบ้านทำให้ได้ไฟฟ้า "ราคาถูก" เป็นการมองข้ามต้นทุนที่แท้จริงทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาว และประเทศอื่น ๆ ดังกรณีการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 ขนาด 1,070 เมกะวัตต์ ในประเทศลาว ทั้ง ๆ ที่มีการทักท้วงว่าจะส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมมากมาย เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและบริษัทกฟผ. ซึ่งยังคงเป็นหน่วยงานของรัฐ   ·         ให้ยกเลิกการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลทหารพม่าเพื่อร่วมทุนในการสร้างเขื่อน และไม่เข้าร่วมในโครงการใด ๆ ที่ไม่มีกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีการชี้แจงข้อมูลอย่างถ่องแท้ ทั้งนี้ตามข้อเสนอจากคณะกรรมการเขื่อนโลกและบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญไทย   ·         ให้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะโดยทันที ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนในฝั่งไทยและพม่า โดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการที่ผ่านมา รายงานการศึกษาผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงด้านการร่วมทุน และบันทึกความเข้าใจซึ่งมีการลงนามไปตั้งแต่หลายปีก่อน และบันทึกซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548     กลุ่มพันธมิตรสาละวินว็อชต์ เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อน กลับหน้าแรกประชาไท [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/49319
2013-10-18 17:06
สปสช.เต้นถูก อภ.โยนบาปซื้อยาหัวใจแพง
ตามที่มีข่าวเผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 56 ที่ผ่านมาจากองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ว่า สปสช. ยืนยันจะซื้อยาหัวใจเพิ่มอีก 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาแพงกว่ายา CL จากอินเดียประมาณ20 ล้านบาท ต่อเรื่องดังกล่าว นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.แถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่า จากข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นไปตามที่แหล่งข่าวระดับสูงของ อภ. เปิดเผยเพราะที่ผ่านมายา Clopidogrel ซึ่งเป็นยาสำคัญในการรักษาโรคหัวใจที่เป็นยา CL อภ.สั่งซื้อจากประเทศอินเดียจำนวน 18 ล้านเม็ด แต่ถูกระงับการแจกจ่ายให้กับ โรงพยาบาลต่างๆ เพราะมีปัญหาด้านการตรวจสอบคุณภาพ ทำให้ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2556 เกิดการขาดแคลนยาดังกล่าวและ สปสช.กับ อภ. ได้ตกลงแก้ไขปัญหาแล้วกับ อภ.สรุปให้มีการสั่งซื้อยาจากบริษัทเอกชนที่มีราคาแพงกว่าให้พอใช้ได้ 3 เดือนเพื่อรอยา CL หลังจากซื้องวดแรก 3 ล้านเม็ดซึ่งพอใช้ได้ถึงกลางเดือนกันยายน จากนั้น สปสช.จึงได้มีหนังสือลงวันที่ 5 ก.ย.56 แจ้งว่า ระหว่างที่ยา CL ยังไม่มาขอให้ อภ.ซึ้อยาดังกล่าวจากเอกชนเพิ่มอีก 3 ล้านเม็ดเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้ใช้ถึง ตุลาคม 2556 แต่ อภ.ยังไม่ได้ดำเนินการจัดซื้อยาให้ และต่อมาเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 56 สปสช.เพิ่งได้รับหนังสือจาก อภ.ว่ายา CL ที่ราคาถูกกว่าเอกชนจำนวน 18 ล้านเม็ดได้ผ่านการตรวจคุณภาพจากห้อง LAB เรียบร้อยแล้วและสามารถส่งมอบให้ โรงพยาบาลต่างๆ ได้ภายใน 30 ต.ค. 56 จึงขอให้ สปสช. พิจารณาว่าจะเปลี่ยนการสั่งซื้อยาดังกล่าว 3 ล้านเม็ดมาเป็นยา CL หรือไม่ ซึ่งสปสช.ยังไม่ทันได้ตัดสินใจว่าจะระงับใบสั่งซื้อเดิมเปลี่ยนเป็นซื้อยา CL ใหม่ เพราะต้องรอผลการตรวจคุณภาพยาให้โรงพยาบาลต่างๆ เกิดความเชื่อถือก่อน ดังนั้นข่าวที่ว่า สปสช. ยืนยันจะซื้อยาแพง จึงไม่เป็นความจริง “ข่าวดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดให้กับผู้ป่วย รพ.และสังคมว่า สปสช. ต้องการซื้อราคาแพงทำให้เสียเงินเพิ่มอีกประมาณ 20 ล้านบาท ผิดข้อเท็จจริงเกิดความเสียหายกับความน่าเชื่อถือต่อการบริหารกองทุนของ สปสช. และเกิดความเสียหายต่อความร่วมมือจัดหายาที่มีคุณภาพดีราคาเหมาะสมระหว่าง สปสช.กับ อภ.ที่ช่วยกันตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ความร่วมมือระหว่าง สปสช.กับ อภ.ที่ผ่านมาทำให้ราคายาราคาต่ำลงอย่างมากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ดีขึ้น รัฐบาลประหยัดค่าใช้จ่ายดังนั้นความน่าเชื่อถือที่เสียไปและความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงานของรัฐถูกทำลายไปเป็นการสร้างความเสียหายให้กับส่วนรวมและผู้ป่วย” นพ.ประทีป กล่าว
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/10158
2006-10-20 03:05
โพลล์บีบีซี ระบุ คน 1 ใน 3 ทั่วโลก ยอมรับการทรมานนักโทษ เพื่อสู้ก่อการร้าย
ประชาไท - 19 ต.ค.2549   สำนักข่าวบีบีซีจัดทำการสำรวจ พบว่า ประชาชนทั่วโลกเกือบ 1 ใน 3 (29%) สนับสนุนให้มีการใช้วิธีทรมานนักโทษในเรือนจำได้ในบางโอกาส และยอมรับต่อการใช้วิธีทรมานบางระดับเพื่อต่อสู้กับลัทธิก่อการร้าย แต่ก็มีผู้ต่อต้านเรื่องนี้อยู่ถึง 59%   ขณะเดียวกัน การสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่า คนส่วนใหญ่ต่อต้านการทรมาน แต่ก็ยังน้อยกว่าในยุโรปและที่อื่นๆ โดยการสำรวจได้สอบถามประชาชนกว่า 27,000 คน ใน 25 ประเทศว่า การทรมานเป็นสิ่งที่ยอมรับได้หรือไม่ ถ้าแลกกับข้อมูลที่จะช่วยปกป้องชีวิตผู้บริสุทธิ์ ปรากฏว่าผู้ถูกสำรวจ 36% ในสหรัฐ เห็นว่ายอมรับได้ อีก  58% เห็นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน และด้วยจำนวนของผู้ที่เห็นด้วยนี้ทำให้สหรัฐกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการยอมรับในเรื่องนี้สูงที่สุด   ผู้ถูกสำรวจของ บีบีซี เวิร์ลด์ เซอร์วิส ใน 19 ประเทศ จากทั้งหมด 25 ประเทศ เห็นด้วยว่า ควรคงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ห้ามการทรมานนักโทษในเรือนจำเพราะเห็นแก่หลักจริยธรรม ทั้งกลัวว่าจะทำให้มาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนอ่อนแอลง   รายงานระบุว่า ประชาชนในประเทศที่ถูกสำรวจครั้งนี้เป็นประเทศที่ร่วมลงนามในสนธิสัญญาเจนีวาซึ่งห้ามการทรมาน การทารุณกรรมและการทำลายเกียรติของนักโทษ แต่สำหรับประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาความรุนแรงอยู่มีแนวโน้มยอมรับแนวคิดการอนุญาตให้มีการทรมานนักโทษเนื่องจากภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้าย โดยเฉพาะอิสราเอล มีคนเห็นด้วยกับเรื่องนี้ถึง 43%  ขณะที่คนต่อต้านก็มีอยู่ 48%   นอกจากนี้ยังมีประเทศอื่นๆ ที่มีระดับการยอมรับการทรมานนักโทษในระดับสูง เช่น อิรัก 42% ฟิลิปปินส์ 40%  อินโดนีเซีย 40% รัสเซีย 37%  และจีน 37%   ขณะเดียวกันสำนักข่าวเอเอฟพีก็รายงานว่า ประธานธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐ ยอมรับเป็นครั้งแรกว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในอิรักอาจจะเทียบได้กับสงครามเวียดนาม ดังเช่นที่คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ ได้เปรียบเทียบไว้ก่อนหน้านี้ เพราะความรุนแรงในอิรักเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ และไม่เพียงแต่พยายามสังหารทหารอเมริกันเท่านั้น แต่ยังพยายามปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงระหว่างคนต่างนิกายด้วย โดยมีความเชื่อว่าหากสร้างความวุ่นวายได้มาก ชาวอเมริกันจะรู้สึกเบื่อหน่ายกับความพยายามสร้างสันติภาพและความสงบสุขในอิรัก และส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐต้องถอนทหารและถอนตัวออกจากอิรัก   ด้านนายโทนี่ สโนว์ โฆษกทำเนียบขาวแถลงเมื่อวันพุธว่า การที่ยอดการสูญเสียทหารอเมริกันในอิรักทวีมากขึ้น รวมทั้งมีทหาร 11 นายถูกสังหารเมื่อวันพุธไม่ทำให้ต้องประเมินยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในอิรักเสียใหม่ เพราะได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าสหรัฐฯ ต้องได้ชัยชนะ แต่จะชนะได้ก็ต้องมีการสูญเสีย อย่างไรก็ตาม หลายคนในพรรครีพับลิกันกำลังวิตกว่าสงครามอิรักอาจทำให้พรรคฯ เสียเสียงข้างมากในสภาคองเกรส จากการเลือกตั้งใน 7 พ.ย.นี้ จึงออกมาเรียกร้องเมื่อเร็วๆ นี้ ให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านยุทธศาสตร์ในอิรัก
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/78131
2018-08-05 11:44
ซูเปอร์โพลชี้ประชาชนสนใจเรื่องปากท้องตัวเองมากที่สุด
ซูเปอร์โพล สำรวจความเห็นประชาชนเรื่องความสนใจของสาธารณชน ร้อยละ 90.6 สนใจเรื่องปากท้อง รายได้ รายจ่ายของตัวเองและครอบครัวมากที่สุด ส่วนเรื่องการเมืองร้อยละ 58.3 สนใจว่าเมื่อไหร่จะได้เลือกตั้ง และร้อยละ 56.9 ระบุสนใจน้อยถึงไม่สนใจเลยในเรื่องนักการเมืองย้ายพรรค  5 ส.ค. 2561 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ความสนใจของสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,035 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 1 – 4 ส.ค. 2561 ที่ผ่านมา พบว่าเมื่อสอบถามถึงความสนใจเรื่อง เมื่อไหร่จะได้เลือกตั้ง พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.3 ระบุสนใจมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 41.7 สนใจน้อยถึงไม่สนใจเลย และเมื่อถามถึงความสนใจเรื่อง นักการเมืองย้ายพรรค พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.9 สนใจน้อยถึงไม่สนใจเลย ในขณะที่ร้อยละ 43.1 สนใจมากถึงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ประชาชนสนใจเรื่อง ปากท้อง รายได้รายจ่ายของตัวเองและครอบครัวมากกว่าเรื่องการเมือง โดยพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.6 สนใจเรื่องปากท้องรายได้รายจ่ายของตัวเองและครอบครัวมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 9.4 สนใจน้อยถึงไม่สนใจเลย นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.4 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุดต่อประชาธิปไตยทำเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ในขณะที่ร้อยละ 17.6 เชื่อมั่นน้อยถึงไม่เชื่อมั่น ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่าถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งอยากเห็นคนไทยทำอะไร พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.9 อยากเห็นคนไทยต่อต้านซื้อสิทธิ ขายเสียง รองลงมาคือร้อยละ 63.7 อยากเห็นคนไทยใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากสุดกว่าทุกครั้ง ร้อยละ 61.2 ระบุเลือกคนดี ช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 59.3 ดูแลบ้านเมืองไม่เสียหายซ้ำรอยเดิม ร้อยละ 54.4 ระบุตัดสินที่นโยบายดี มีความเป็นไปได้จริง ร้อยละ 48.9 คิดเห็นสร้างสรรค์ไม่ทำรุนแรง ร้อยละ 43.1 มีสติก่อนตัดสินใจ ร้อยละ 41.9 แจ้งเบาะแสเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 40.5 ดูแลความสงบเรียบร้อย และร้อยละ 38.6 ศึกษาผู้สมัครให้ละเอียดถี่ถ้วน ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 กังวลจะได้คนมีปัญหามาเป็น ส.ส. ในขณะที่ร้อยละ 32.7 ไม่กังวล
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/40247
2012-04-26 18:32
'เขื่อน' ได้เวลาออกกฎหมายจำกัดการสร้าง
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนเกี่ยวกับโครงการหรือกิจกรรมการสร้างเขื่อนนั้นมักเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง นับแต่มีโครงการก่อสร้างเขื่อนขึ้นในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2467 (เขื่อนพระราม 6 จ.อยุธยา) ในยุคแรก ๆ ของการสร้างเขื่อนในประเทศไทย อาจจะไม่ได้รับการต่อต้านมากนัก เพราะประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบที่จะตามมา และไม่เคยเห็นตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรมมาก่อน ที่สำคัญได้รับการโฆษณาชวนเชื่อจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งแต่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคยันท้องถิ่น ว่าเขื่อนนั้นดีเลิศประเสริฐศรียิ่งนัก ข้ออ้างของการสร้างเขื่อนที่สำคัญ คือ เพื่อการชลประทาน การผลิตไฟฟ้า การประมง การป้องกันอุทกภัย และการผลักดันน้ำเค็ม แต่ทว่าอีกด้านหนึ่ง เขื่อนก็ก่อให้เกิดหายนะทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมนุษย์ สัตว์น้ำและสัตว์ป่า ที่ดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ของผืนน้ำและผืนป่า หลายพื้นที่ต้องไล่รื้ออพยพชาวบ้านให้ไปอยู่ที่อื่น หรือต้องหลีกทางอันเป็นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารให้กับสิ่งปลูกสร้างขนาดยักษ์ แต่กลับสร้างประโยชน์ให้มีการคอรัปชั่นกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ตัวใหญ่ยันถึงตัวเล็ก เพราะฉะนั้นจึงเกิดการต่อต้าน การสร้างเขื่อนที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน หลายเขื่อนในประเทศไทยได้รับการคัดค้านการก่อสร้างอย่างรุนแรง เช่น เขื่อนเหวนรก เขื่อนแก่งกรุง เขื่อนน้ำโจน เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนคลองนางน้อย เขื่อนบาโหย เขื่อนรับร่อ เขื่อนแม่ละเมา เขื่อนน้ำปาย 1-3 และเขื่อนแม่ลามาหลวง จนรัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากถูกคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ ที่ต่อต้านเขื่อนอย่างเข้มแข็ง นักสร้างเขื่อนทั้งหลายมักไม่ค่อยสนใจต่อผลกระทบที่จะตามมา หรือสภาพที่ควรอนุรักษ์หรือรักษาไว้ในบริเวณพื้นที่ที่เสนอที่จะสร้างเขื่อนเลย คิดอยู่อย่างเดียวว่าจะผลาญงบประมาณโดยใช้เขื่อนเป็นข้ออ้างได้อย่างไร  เช่น “เขื่อนน้ำโจน” ในบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งปัจจุบันพื้นที่เหล่านั้นได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกไปแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นมีความพยายามที่จะก่อสร้างเขื่อนบริเวณนั้นให้ได้ แต่ก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากภาคประชาชน จนคณะรัฐมนตรีต้องมีมติระงับการสร้างเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2531 ซึ่งเขื่อนดังกล่าว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้พยายามผลักดันให้มีการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าปิดกั้นลำน้ำแควตอนบน บริเวณเขาน้ำโจน เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ. กาญจนบุรี แต่ฝ่ายนักอนุรักษ์คนสำคัญ เช่น สืบ นาคะเสถียร หมอบุญส่ง เลขะกุล ได้เข้าคัดค้านอย่างเต็มที่ เนื่องจากการสร้างเขื่อนจะทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 85,625 ไร่ ที่ระดับความสูง 370 ม. น้ำจะท่วมใจกลางป่าทุ่งใหญ่ฯ เป็นพื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ ต้องใช้เวลาในการก่อสร้างและตัดไม้ออกจากบริเวณอ่างเก็บน้ำนานถึง 3 ปีครึ่ง เงินทุนที่ใช้ในการก่อสร้างกว่า 12,000 ล้านบาท เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 3.6 ของประมาณการความต้องการพลังงานไฟฟ้าปี 2532 การสร้างเขื่อนน้ำโจนก็คือ การทำลายป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ผืนป่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งได้รับการประกาศจากองการณ์ยูเนสโกให้เป็น พื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลกในปัจจุบัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการให้มีการก่อสร้าง “เขื่อนแม่วงก์” ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์และกำแพงเพชรได้ โดยมีข้อสมอ้างว่า เพื่อป้องกันน้ำท่วม และเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง โดยที่ยังไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายก่อนเลย และที่สำคัญเหตุผลของการอนุมัติให้ก่อสร้าง ไม่สามารถตอบโจทย์หรืออรรถาธิบายเหตุผลที่แท้จริงในการก่อสร้างได้ โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งกั้นขวางสายน้ำบริเวณต้นลุ่มน้ำสะแกกรัง มีปริมาณพื้นที่รองรับน้ำสูงสุดได้เพียง 258 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ท่วมภาคเหนือตอนล่างถึงภาคกลางในปี 2554 ที่ผ่านมามีปริมาณนับหมื่นล้านลูกบาศก์เมตร เทียบกันไม่ได้กับปริมาฯน้ำที่เขื่อนแม่วงก์จะใช้เพื่อการป้องกันน้ำท่วมได้ ในขณะเดียวกันในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีเขื่อนเดิมอยู่แล้วหลายเขื่อน เช่น เขื่อนทับเสลา เขื่อนคลองโพธิ์ เขื่อนแม่กวง ซึ่งพื้นที่ที่กรมชลประทานใช้เป็นข้ออ้างในการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรก็อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกันของเขื่อนแม่วงก์ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องสร้างเขื่อนเพิ่มเติมเข้าไปอีกในพื้นที่ดังกล่าว ที่สำคัญพื้นที่ดังกล่าวก็มิใช่พื้นที่แล้งซ้ำซากเหมือนภาคอีสาน แต่เกษตรยังสามารถทำนาได้ปีละ 2-3 ครั้ง เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องสร้างเขื่อนแม่วงก์จึงไม่มีโดยสิ้นเชิง แต่ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณเพื่อนำไปใช้ในโครงการถึง 13,280 ล้านบาท และต้องสูญเสียพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ในความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์ไม้เศรษฐกิจที่มีค่าสูง เช่น ไม้สัก และพันธุ์สัตว์ป่ามากกว่า 564 ประเภทในพื้นที่ดังกล่าวไปกว่า 13,000 ไร่ เหตุผลดังกล่าวสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จึงได้มีข้อเสนอสำคัญขึ้นมาเพื่อนำไปสู่การลดปัญหาของความขัดแย้งกันของภาคประชาชนกับรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ นั่นคือ “การจำกัดการสร้างเขื่อน” โดยใช้มาตรการทางกฎหมายขึ้นมาเป็นข้อกำหนด เพื่อมิให้นักสร้างเขื่อนทั้งหลายเลิกคิดที่จะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ได้อีกต่อไป ซึ่งจะได้หันไปพัฒนาหรือวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับเขื่อนหรืออ่างขนาดเล็กที่มีพื้นที่รองรับน้ำไม่เกิน 50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อไป ซึ่งพื้นที่เขื่อนหรืออ่างขนาดเล็ก มักเป็นที่พอใจของชาวบ้านและไม่ได้รับการต่อต้านจากนักอนุรักษ์มากนัก ร่างกฎหมายดังกล่าวมีทั้งหมด 7 มาตรา ซึ่งมาตราที่สำคัญ ๆ มีดังนี้ มาตรา 5  ห้ามหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรอื่นใดของรัฐและหรือเอกชน เสนอหรือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมการก่อสร้างเขื่อนที่มีขนาดความจุของน้ำเกินกว่า 50 ล้านลูกบาศก์เมตรขึ้นไป มาตรา 6  ห้ามก่อสร้างเขื่อนในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ หรือพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่อนุรักษ์ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าตามกฎหมายเพื่อการนั้น มาตรา 7 การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมการสร้างเขื่อนทุกประเภทจะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใด ๆ และต้องจัดกระบวนการให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจโครงการหรือกิจกรรมทุกขั้นตอน และให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ความเห็นก่อนดำเนินการด้วย ร่างกฎหมายดังกล่าวสมาคมจะเชิญชวนภาคประชาชนที่เห็นด้วยร่วมกันใช้สิทธิตามมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญในการเข้าชื่อกันเสนอกฎหมายดังกล่าวต่อรัฐสภาต่อไป ซึ่งสมาคมและเครือข่ายนักอนุรักษ์ นักกฎหมาย จะได้ออกไปจัดเวทีเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ ที่ดิน ให้กับประชาชนทั่วประเทศในเร็ว ๆ นี้ และจะตั้งโต๊ะล่ารายชื่อของประชาชนที่สนับสนุนแผนงานดังกล่าว จะได้มีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายดังกล่าวร่วมกันต่อไป ทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการปกป้องผืนป่าของชาติร่วมกันในอนาคต ขณะเดียวกันในส่วนของมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเขื่อนแม่วงก์ หากคณะรัฐมนตรีไม่ทบทวนโครงการดังกล่าวตามข้อเสนอของภาคประชาชน ก็จำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการทางศาลปกครองในการฟ้องร้องเพื่อระงับโครงการดังกล่าว และหากประชาชนท่านใดต้องการมีส่วนร่วมในการยับยั้งโครงการดังกล่าวสามารถมอบอำนาจให้สมาคมเป็นตัวแทนไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ โดยไปดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือแต่งตั้งผู้แทนคดีได้ในเว็บไซด์ของสมาคมที่ www.thaisgwa.com [1] แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และรีบส่งมาที่สมาคมตามที่อยู่ในแบบฟอร์มโดยเร็ว เพื่อที่เราจะได้หยุดยั้งโครงการเขื่อนแม่วงก์ของรัฐบาลร่วมกันต่อไป...
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13193
2007-06-22 19:46
แม่ทัพภาคที่ 3 ประกาศยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึกเชียงใหม่
ประชาไท - 22 มิ.ย. 50 พลโทจิรเดช คชรัตน์ แม่ทัพภาคที่ 3 ประกาศว่ายังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึกที่เชียงใหม่ รวมถึงขอร้องวิทยุชุมชนภาคเหนือ ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและบ้านเมืองให้มากที่สุด  ยังไม่ถึงเวลายกเลิกกฎอัยการศึก วันนี้ (22 มิ.ย.) พลโทจิรเดช คชรัตน์ แม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวกับ อสมท. เชียงใหม่ [1] ว่า ยอมรับว่าต้องรีบชี้แจงประชาชนให้เข้าใจถึงกระบวนการประชาธิปไตย ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง รวมถึงชี้สาเหตุที่ไม่ยังยกเลิกกฎอัยการศึก เพราะเกรงว่าจะมีการอ้างเหตุการณ์ชุมนุมแล้วก่อความไม่สงบได้   ทั้งนี้ ยังกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของ อดีต ส.ส. ไทยรักไทย ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนว่า การเคลื่อนไหวให้ประชาชนร่วมลงชื่อเพื่อถวายฎีกาฯ นั้น หากทำในสำนักงานของอดีต ส.ส. เองก็ไม่เป็นปัญหา แม้จะใช้เครือข่ายเดิมในการรวบรวมรายชื่อ   แต่ต้องเฝ้าชี้แจงประชาชนว่าอย่าไปหลงเชื่อ ทั้งนี้ กองทัพได้จับตาคนที่ออกมาเคลื่อนไหว และการที่รัฐบาลได้เลื่อนกำหนดวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้น จึงต้องเร่งชี้แจงประชาชนให้เข้าใจกระบวนการของประชาธิปไตย   " ... ชี้แจงว่ากระบวนการประชาธิปไตยมันควรเป็นยังไง ชาวบ้านบางคนไม่ทราบว่ากระบวนการมันเป็นยังไง ..."   ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ยิงคำถามถึงความหนักใจต่อการเคลื่อนไหวในพื้นที่รวมถึงถามว่าการข่าวอ่อนไปไหม แม่ทัพภาคที่ 3 ได้ตอบว่า "ไม่อ่อนๆ อ่อนได้ยังไง ก็เรารู้หมด"   โดยแม่ทัพภาคที่ 3 ยังได้กล่าวถึงการที่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึกในจังหวัดเชียงใหม่ว่า ยังไม่ถึงเวลาเพราะส่วนหนึ่งยังมีความพยายามรวบรวมกลุ่มที่อาจจะกระทบต่อปัญหาความมั่นคงได้ แต่ส่วนหนึ่งก็มาจากปัญหายาเสพติด   ขอความร่วมมือวิทยุชุมชนภาคเหนือ ทั้งนี้ พลโทจิรเดช คชรัตน์ แม่ทัพภาคที่ 3 ยังได้ไปเป็นประธานเปิดการอบรมจุดเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชน 17 จังหวัดภาคเหนือ ที่สโมสรบันเทิงทัพ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.เมืองพิษณุโลก   โดยได้ขอความร่วมมือให้ใช้สื่อสร้างความเข้าใจอันดีกับประชาชน และให้ความรู้ที่ถูกต้องทันต่อเหตุการณ์ พร้อมทั้งชี้แจงเรื่องภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ได้แก่ภัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกิดจากประชาชนได้รับทราบข่าวสารเพียงด้านเดียว ภัยเกี่ยวกับผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 1 ล้านคน ขึ้นทะเบียนถูกต้องเพียง 2-3 แสนคน ทำให้มีแรงงานเถื่อนก่ออาชญากรรมจำนวนมาก และภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้น กองทัพภาคที่ 3 จึงทำโครงการนิเวศน์ป่าอนุรักษ์น้ำภาคเหนือ ขณะเดียวกันยาเสพติดยังเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ที่มีแหล่งผลิตอยู่ติดชายแดน จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/19663
2009-01-12 03:30
ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: อคติทางชาติพันธุ์ และชาติพันธุ์ในพื้นที่เล็กๆ ของสื่อ
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ผู้สื่อข่าว www.prachatai.com     หมายเหตุ บทความ อคติทางชาติพันธุ์ และชาติพันธุ์ในพื้นที่เล็กๆของสื่อ ใช้ประกอบการการประชุมชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม ในหัวข้อ "อคติทางชาติพันธุ์ และชาติพันธุ์ในพื้นที่สื่อ" ณ โรงแรม The Empres  วันที่ 23 ธ.ค. 51 จังหวัดเชียงใหม่       กรอบนำเสนอ -  รัฐไทยถูกประกอบสร้างบนเงื่อนปมแห่ง "ความกลัว" ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่การแบ่งแยก เป็นอคติทางชาติพันธุ์ องค์ความรู้ถูกจัดการ ชี้นำ และจองจำจากรัฐส่วนกลาง ในแง่มุมของสื่อเองก็ถือว่าเป็น "ฐานคติ" สำคัญในการกำหนดเนื้อหากระแสหลัก   - พื้นที่สื่อกับชาติพันธุ์ต่างๆจากกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ กรณีชาติพันธุ์มอญ - พม่า และกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร   - การช่วงชิงพื้นที่สื่อของชาติพันธุ์ สื่อทางเลือก สื่อพลเมือง ในโลกเสมือนผ่านการถอดบทเรียน "ประชาไท" มุมมองในฐานะคนทำงาน   000   มีคำกล่าวที่น่าสนใจประโยคหนึ่งว่า "สื่อเป็นอย่างไรก็สะท้อนสังคมที่เป็นแบบนั้น" ซึ่งอาจต้องยอมรับความจริงต่อคำกล่าวนี้ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะประเด็นอคติทางชาติพันธุ์คงไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นอคติที่สื่อสร้างขึ้นเองเท่านั้น แต่คงต้องหมายรวมถึงอคติที่มีอยู่ร่วมกันในสังคมไทยด้วย   ดังนั้น หากต้องการมองไปในการนำเสนอเนื้อหาของสื่อมวลชนในปัจจุบันจึงอาจต้องย้อนไปมองถึง "ฐานคติ" อันเป็นที่มาของ "อคติ" ด้วย ทั้งนี้ ทิศทางการนำเสนอเนื้อหาในสื่อโดยเฉพาะปัจจุบันปฏิเสธได้ยากว่ามีปัจจัยผูกโยงกับเงื่อนไขทางธุรกิจที่ทำให้ไม่สามารถมีอิสระจริงตามอุดมคติที่เคยถูกสร้างขึ้นจนสังคมเข้าใจว่าสื่อมีเสรีแท้ แต่การซื้อโฆษณาในพื้นที่สื่อก็ขึ้นอยู่กับผู้บริโภค ความยอกย้อนที่กลายเป็นความจริงแท้แน่นอนก็คือ ปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางของสื่อมวลชนกลับเป็นผู้บริโภค สื่อที่ผลิตเนื้อหาออกมาไม่ถูกรสย่อมถูกคายทิ้งเพราะระคายปากและจะล้มหายตายจากไป   อย่างไรก็ตาม ในเจตนารมณ์แห่งเสรีภาพ สื่อยังเหลืออำนาจในการกำหนดทิศทางอยู่บ้างอย่างอำนาจในการตัดสินใจของกองบรรณาธิการเองที่เลือกว่าจะปฏิเสธการตลาดหรืออำนาจอิทธิพลอื่นมากน้อยเพียงใด   มอง "สื่อรุ่นก่อน" ผ่านหนังสือรุ่นเก๋า "ฐานคติ" ของสื่อหรือของสังคมไทยมีลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ "ความเป็นไทย" ที่ถูกประกอบสร้างมาภายใต้บรรยากาศแห่งความกลัว เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างอคติในพื้นที่สื่อ เพราะแม้ส่วนหนึ่งสื่อจะมีเจตจำนงค์แห่งเสรีภาพในการตัดสินใจก็ตามแต่เมื่อ "ฐานคติ" เป็นสิ่งที่หล่อหลอมตัวตนของสื่อ เนื้อหาที่นำเสนอก็เหมือนถูกกำหนดโดยปากกาที่มองไม่เห็นไปเสียแล้ว   หนังสือ "เมดอิน USA" และ "โง่เง่าเต่าตุ่น" ของ "สุจิตต์ วงษ์เทศ" ในปี พ.ศ. 2514 เป็นหนังสือเก่าเล่มหนึ่งที่เนื้อหาบางตอนสะท้อนบรรยากาศรอบๆตัวตนของสื่อมวลชนในอดีตซึ่งสามารถฉายภาพที่เชื่อมโยงมาสู่ปัจจุบันได้ดี เหตุที่เลือกหนังสือเล่มนี้มาเป็นเสมือนกระจกส่องสื่อมวลชนในอดีตเพราะหนังสือเล่มดังกล่าวเขียนขึ้นในแง่ที่สุจิตต์ วงษ์เทศ เองก็คล้ายยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสื่อมวลชนที่โดนครอบงำด้วย "ความเป็นไทย" อย่างโง่เง่า บรรยายอารมณ์ความรู้สึกที่กระเทาะเปลือกและมีอารมณ์ของความขัดแย้ง ตะเกียกตะกายออกจากด่านมายาคติบางประการ รวมไปถึงการตั้งคำถามกับสิ่งที่เห็นและเป็นไปรอบตัว   นอกจากนี้ "สุจิตต์ วงษ์เทศ" ยังเป็น "นักชาตินิยม" ตัวยงที่สะท้อนตัวตนผ่านงานเขียนก่อนหน้านี้มาอย่าง "ขุนเดช" ที่ดุดันกับคนทำลายกับซากสุโขทัยราวกับว่าศิลาแลงและลายสือไทและความรักพ่อขุนมันวิ่งพล่านอยู่ในกระแสโลหิตของเขา แต่ "สุจิตต์ วงษ์เทศ" ใน "เมดอิน USA" กลับมองโลกที่ต่าง กว้างและขยายออกไปอย่างสิ้นเชิง   ประเด็นสำคัญของหนังสือเล่มนี้ยังอยู่ที่โอกาสการมองเห็นประเทศไทยในมุมมองจากโลกภายนอก ซึ่งก็เป็นไปตามชื่อหนังสือ "สุจิตต์ วงษ์เทศ" เขียนหนังสือเล่มนี้ในโอกาสได้เดินทางไปอเมริกา สิ่งที่น่าสนใจ คือ หนังสือ "เมดอินUSA" ได้กลับมาเป็นกระจกที่สะท้อนบางด้านของสังคมไทยอย่างมีเหลี่ยมมุมคมคาย แต่ก็ชัดเจนว่ามีอะไรบ้างอยู่ในหัวคนไทย สื่อมวลชนไทย และเมื่อสื่อมวลชนไทยยุคเก่าออกไปสัมผัสโลกข้างนอกแล้วเหลียวกลับมามองประเทศไทย เขาสงสัยอะไรจาก "ข้างใน"...เหล่านี้เปิดเผยบรรยากาศแห่งความกลัวและการครอบงำเพื่อสร้าง "ฐานคติ" ให้สังคมไทยทั้งสิ้น    เนื้อที่ยกมานี้ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม 2514 ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ออกแถลงการณ์ผ่านสถานีวิทยุทั่วประเทศว่าจะเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจภาพรวมของสังคมโลกช่วงนี้คือ อเมริกาเป็นหัวขบวนใหญ่ของการต่อต้านคอมมิวนิสต์ซึ่งหมายความว่าจีนในขณะนั้นคือคู่ขัดแย้งสำคัญที่อาจเปรียบเทียบได้กับโลกอาหรับหรือกลุ่มอัลกออิดะห์ในยุคปัจจุบัน ในขณะที่ไทยประเทศไทยก็สมาทานแนวทางของอเมริกาเข้าไปอย่างเต็มตัว   "สำหรับของกูนั้นงงงวยยิ่งขึ้น อะไรคือความเปลี่ยนแปลง อะไรคือความคล่องตัว อะไรกันคือประเทศมหาอำนาจ ชีวิตหนึ่งที่เกิดมานั้นพอลืมตาอ้าปากก็พบแต่คำว่า "คอมมิวนิสต์" คิดร้ายหมายทำลายประเทศ คอมมิวนิสต์คือปีศาจ กูเข้าใจดีและรู้เรื่องดีว่าเราจะต้องสู้ ต่อสู้เพื่อไม่ให้คอมมิวนิสต์เข้าเมืองเราได้ เมาเซตุงตัวอ้วนๆขาวๆ และจูเอนไหลตัวผอมๆเสี้ยวๆ สองคนนี้แหล่ะคือตัวการสำคัญที่จะต้องเพ่งมองและหาทางกำจัดเสียออกจากโลก   ตั้งแต่เกิดมาจนบัดนี้กูได้แต่ตั้งปัญหาว่า ทำไมคอมมิวนิสต์มันจึงไม่ตายไปเสียทีเพราะได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของมันตลอดเวลา ดูเหมือนว่าสายตาของมันจ้องมองมาที่เมืองไทยทุกระยะ ปากของมันแสยะแยกเขี้ยวยิงฟันอย่างมังกรตัวมหึมา ที่จะกลืนแผ่นดินไทยรูปขวานทองด้ามใหม่เอี่ยมนี้เสียให้หมด..."   คำว่า "คอมมิวนิสต์" อาจดูไม่ค่อยมีผลกระทบอะไรมากนักสำหรับยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่วัยรุ่นจะสวมหมวกเขียวดาวแดงอันเป็นสัญลักษณ์แทนคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันก็ดูจะกลายเป็นเพียงแฟชั่นแบบหนึ่ง แต่ในอดีตคำนี้ดูจะมีอิทธิพลทางความรู้สึกและความคิดไม่น้อย ซึ่งสุจิตต์ คงไม่ใช่สื่อมวลชนเพียงคนเดียวที่วางตัวเป็นฝั่งตรงข้าม หรือก่อนหน้านี้ในหนังสืออ่านสนุกอย่าง "พล นิกร กิมหงวน" ของ ป. อินทรปาลิต ที่มีอิทธิพลไม่น้อยต่อนักอ่านและมีแฟนอ่านมาจนถึงปัจจุบันก็มีหลายครั้งที่เอ่ยถึงนโยบายนิยมไทยของหลวงวิจิตรวาทการฯ และชูอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่ขณะเดียวกันตัวละครเชยๆอย่าง "คุณหญิงวาด" ก็อาจเป็นภาพตัวแทนของคนทั่วไปในเวลานั้นที่แม้จะดูแข็งขันอย่างมากกับการต่อต้านและมักชวนลูกหลานให้ออกมาแสดงออกแต่ เมื่อถามว่า "คอมมิวนิสต์" คืออะไร ก็ไม่สามารถอธิบายได้ มีเพียงคำอธิบายที่รับรู้จากรัฐบาลเท่านั้นที่บอกว่าคือมันสิ่งเลวร้าย คือภัยคุกคามอันหน้ากลัวที่ต้องต่อต้านอย่างไม่ต้องมีเหตุผลประกอบเท่านั้นเอง     เช่นเดียวกับความรู้สึกของสื่อมวลชนในยุคหลังอย่าง สุจิตต์  วงษ์เทศ เมื่อเขาบรรยายเพิ่มเติมในหนังสือของเขาว่า   "...กูเกลียดนักการเมืองฝ่ายซ้ายเพราะใครต่อใครพูดกันว่าฝ่ายซ้ายคือคอมมิวนิสต์......สงครามเวียดนามระบาดออกเป็นวงกว้าง ผู้คนล้มหายตายกว่าเป็นเบือ กูด่าทอคอมมิวนิสต์อยู่ในใจด้วยความเคียดแค้นที่ทำให้ผู้คนล้มตายถึงขนาดนั้น ทำไมคอมมิวนิสต์ถึงกระหายเลือดปานนั้นหนอ หัวใจของคอมมิวนิสต์สร้างด้วยอะไร มันไม่มีเลือดเนื้อ มันไม่มีหัวใจกระนั้นหรอ  มนุษยชาติจะสงบสุขถ้าหากคอมมิวนิสต์ไม่มีในโลก ผู้คนจะอยู่อย่างสันติ ถ้าหากนายเมาเซตุง นายจูเอนไหล นายครุสเซฟตายไปเสียได้ ทำไมคนส่วนหนึ่งของโลกจึงหลงไหลอยู่กับปีศาจคอมมิวนิสต์เหล่านี้ได้ ผู้คนเหล่านี้โฉดชั่วช้าหินชาติหรือกระไร ทำไมมนุษย์เราจึงจะต้องไปเป็นคอมมิวนิสต์ ทำไมนายปรีดี พนมยงค์ จึงจะต้องเป็นคอมมิวนิสต์ ทำไม ทำไม และทำไมกันโว้ย - ทำไมกันโว้ย ทำไมไม่มีใครตอบกูบ้าง "   หรืออีกตอนหนึ่งที่เขาคิด...."รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆเหมือนจะจับไข้เข้ามาครอบครองหัวใจกู นี่กูไม่รู้เรื่องอะไรเลยหรือนี่ อเมริกาเป็นไปถึงขนาดนี้หรือนี่ คิดถึงบ้านเหลือเกิน ป่านฉะนี้เราจะเป็นอย่างไร ภัยจากคอมมิวนิสต์จะคืบคลานมาถึงขนาดไหน ถ้าหากอเมริกาคืนดีกับจีนแดงได้อย่างนี้แล้ว บ้านเราจะทำอะไรต่อไป ชีวิตไพร่ฟ้าประชาชนพลเมืองจะทำอย่างไร ความรู้สึกที่เคยเกลียดเคยกลัวคอมมิวนิสต์จะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร ข้อสำคัญคือตัวกูจะเชื่อใครดี "   แต่สิ่งหนึ่งที่ "Made in USA" และ "โง่เง่าเต่าตุ่น" ได้ทะลวงม่านมายาของอคติออกมาบ้าง ก็คือการเปิดพื้นที่ให้กับเสียงของ "ถั่น" ผู้หญิงชาวเวียดนามใต้ที่มาเรียนรัฐศาสตร์ปริญญาเอกในอเมริกา "คอมมิวนิสต์" ที่เคยน่าเกลียดน่ากลัวกลับมีภาพที่สวนกับสิ่งที่สุจิตต์หรือสังคมไทยคิด ในขณะเดียวกันสำหรับอเมริกาที่เคยมีภาพลักษณ์เสมือนมิตรกลับถูกมองอย่างแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง     "เราไม่รู้จักคอมมิวนิสต์ เราไม่มีความรู้สึกชิงชังหรือรักชอบประชาธิปไตย แต่ชาติตะวันตกและมหาอำนาจไม่เคยให้เราจัดการเรื่องราวภายในประเทศของเราเองเลย ทำไมเขาต้องคอยบงการให้เราเป็นอย่างนั้น ให้เราเป็นอย่างนี้ โฮจิมินห์เดินทางมาขอความเห็นใจจากชาติตะวันตก ในสมัยหลังสงครามโลก แต่ชาติตะวันตกเหล่านั้นไม่ยอมที่จะเข้าใจและเห็นใจในเสรีภาพของเวียดนาม ชาติตะวันตกรับรองเสรีภาพของประเทศเล็กๆทางตะวันตก ซึ่งเป็นคนผิวขาวได้ แต่ประเทศเล็กๆอย่างเวียดนามซึ่งเป็นคนผิวเหลืองไม่มีใครสนใจ และโฮจิมินห์ผิดหวังจากการพยายามจะเจรจา ไม่มีทางเลือกโฮจิมินห์จำเป็นต้องเข้าปรึกษาทางฝ่ายเมาเซตุงซึ่งพอจะพูดจากันได้   ..คอมมิวนิสต์หรือไม่เป็นคอมมิวนิสต์ ไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญสำหรับเรา ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีเสรีภาพที่จะแก้ปัญหาภายในชาติของเราเอง การลงนามในสนธิสัญญาเจนีวาเพื่อให้จัดการเลือกตั้งทั่วประเทศนั้นพอจะมีแสงสว่างที่ชาติเราจะทำอะไรด้วยตัวเองบ้าง แต่มหาอำนาจอเมริกาก็พยายามหลีกเลี่ยงและบิดเบือนข้อเท็จจริงในที่สุด อเมริกาค้ำประกันรัฐบาลของโงดินเงียมห์ พยายามทุกวิถีทางไม่ให้มีการเลือกตั้งทั่วเพราะความจริงประจักษ์ออกมาว่าคนเวียดนามส่วนมากเลื่อมใสโฮจิมินห์"   "..สงครามก็ขยายตัวมากขึ้น อเมริกาบอมบ์เวียดนามเหนือด้วยอารมณ์อันป่าเถื่อนและใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงโลกในสมัยหลัง ถ้าหากเป็นประเทศไทยคุณจะคิดอย่างไร คุณจะทนอยู่ได้อย่างไร คุณไม่สามารถเลือกทางของคุณได้เลย ทุกฝีก้าวของคุณจะมีคนคอยบงการอยู่เบื้องหลัง และในที่สุดคนที่บงการคุณอยู่นั้นก็บงการคุณต่อไปให้คุณฆ่ากันเอง...ฉันได้ยินแต่เสียงปืน ระเบิด เครื่องบิน และเสียงครวญครางของผู้คน เสียงขอความช่วยเลหือของชาวนา เสียงระงมของเด็กเล็กๆที่ถูกสะเก็ดระเบิด บางครั้งฉันอยากจะบ้า แต่ฉันพยายามระงับไว้ว่าจะบ้าไม่ได้ คนเวียดนามทุกคนจะบ้าไม่ได้" ถั่นกล่าว พร้อมน้ำตาที่ไหลมาเป็นทางยาว   สงครามในเวียดนามจบไปหลายปีแล้ว...แต่ความกลัวภัยคอมมิวนิสต์ ครั้งหนึ่งได้ก่อให้เกิดกระแสเกลียดชัง "คนญวน" ในเวลานั้นเสียงของคนอย่าง "ถั่น" คงไม่สามารถเข้าไปทำความเข้าใจกับคนไทยได้เท่าไรนัก   ความต่อเนื่องของความกลัว หากลองมองภาพรวมของอคติสังคมไทยในมิติทั้งปัจจัยผู้บริโภคสื่อ (ข่าว) และผู้ผลิตในปัจจุบันแล้ว เมื่อมองจากประสบการณ์ของผู้เขียนและคนในรุ่นราวคราวเดียวกันซึ่งอยู่ในช่วงอายุราว 25 ปีขึ้นไป และปัจจัยในส่วนบรรณาธิการที่มีอำนาจในการตัดสินใจในทิศทางข่าวซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงอายุราว 40 ปีขึ้นไป จะพบว่า คนในทั้งสองยุคสมัยมีประสบการณ์ร่วมบางประการที่สำคัญ นั่นก็คือการตกค้างทางความคิดจากยุคสงครามเย็นที่เน้นเชิดชู "(เชื้อ)ชาติ(ไทย) ศาสนา (พุทธ) และพระมหากษัตริย์" เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์   ภายใต้ความกลัว การสร้างประกอบอุดมการณ์ความเป็นไทยที่มุ่งเน้นไปที่เชื้อชาติ ศาสนาประจำชาติ และพระมหากษัตริย์ จึงมุ่งไปที่การสร้างจินตนาการผ่านความรู้ซึ่งกำหนดทิศทางมาจากรัฐอย่างมีแบบแผน คนรุ่นผู้เขียนกับคนรุ่น "สุจิตต์ วงษ์เทศ" หรือก่อนหน้านั้นที่มีอายุห่างกันนับสิบปียังคงเรียนประวัติศาสตร์ที่เหมือนไม่มีข้อค้นพบใหม่ คนไทยยังคงมาจากเขาอัลไต เป็นเจ้าของน่านเจ้า โดนจีนไล่มาตั้งสุโขทัย อยุธยา มาจนรัตนโกสินทร์ ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นเพราะเป็นชาตินักรบ (แต่เสียกรุงฯ 2 ครั้ง) หรือใช้แบบเรียน "แผนที่" ที่ต้องปวดร้าวกับดินแดนอันมหาศาลที่โดนเฉือนไปเรื่อยๆจนเหลือขวานทองเล่มนิดเดียว แต่ไม่เคยเรียนรู้แผนที่ทางวัฒนธรรมที่อย่างน้อยแต่ละลุ่มน้ำต่างๆก็มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมหรือภาษาแตกต่างกันไป    ถอดราก.. "ความเป็นไทย" สังคมไทยยังคงมีลักษณะเฉพาะอยู่เสมอ บางทีการสร้างบรรยากาศของความกลัวอาจทำให้สถานการณ์ต่างกรรมต่างวาระมีจุดลงเอยคล้ายๆกัน สุจิตต์ วงษ์เทศ เหมือนจะตั้งข้อสังเกตในหนังสือของเขาว่าการเปลี่ยนแปลงท่าทีของสหรัฐที่มีต่อจีนมีผลต่อชนชั้นนำไทย สิ่งที่ตามมาหลังจากกระแสการเปลี่ยนท่าทีของนิกสันก็คือการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย    ทำไมสังคมไทยจึงได้ตกอยู่ภายใต้ความกลัวและ "ความเป็นไทย" สร้างขึ้นมาได้อย่างไร   สังคมไทยและสังคมสื่อช่วงเวลาหนึ่งอาจพูดได้ว่าเป็นยุคของเผด็จการทหารที่สืบเนื่องกันมาจากสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม,จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์, และจอมพลถนอม กิตติขจร ดังนั้น หากจะถอดรากของผู้คนและ "ความเป็นไทย" คงต้องมองย้อนไปถึงแนวทางของกลุ่มทหารตั้งแต่หลังหลังการอภิวัฒน์ พ.ศ.2475      สิ่งที่กำหนด "ฐานคติ" ของสังคมไทยหลัง พ.ศ. 2475 ที่สำคัญอาจเป็นผลมาจาก "การปฏิวัติทางวัฒนธรรม" เพื่อนำไปสู่ "ชาตินิยมไทย" หรือที่หลวงวิจิตรวาทการฯ ปัญญาชนคนสำคัญยุคคณะราษฎร์เรียกว่า "มนุสสปฏิวัติ" ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างฐานอำนาจให้แก่กลุ่มผู้ปกครองใหม่หลังการยึดอำนาจจากฝ่ายสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ ซึ่งได้นำกุศโลบาย "ราชาชาตินิยม" ในสมัยรัชกาลที่ 5-6 ที่เคยใช้อย่างได้ผลเมื่อต้องการรวมอำนาจมาไว้ที่ศูนย์กลางมาต่อยอด และเครื่องมือสำคัญในการสร้างความรู้สึกรวมศูนย์ก็คือการสร้าง "คนอื่น" ขึ้นมาให้ได้เกลียดร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองสายคณะราษฎร์ได้ตัด "ราชา" ออกจาก "ชาตินิยมไทย" และนำ "รัฐธรรมนูญ" มาแทนที่ในการจัดวางระบบระเบียบของสังคม และหลวงวิจิตรวาทการมีบทบาทอย่างยิ่งในกระบวนการดังกล่าวโดยเฉพาะหลังทศวรรษที่ 2480   มีการนิยามความหมายของ "ความเป็นไทย" โดยการเน้นไปที่ "จิตใจ" ที่รักความก้าวหน้า มีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้ มีความอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียรในการทำงานและนิยมการค้าขาย และบอกว่าอุปนิสัยเหล่านี้จะทำให้ "คนไทย" ทั้งปวงร่วมกันสร้าง "ชาติไทย" ให้เจริญรุ่งเรืองและกลายเป็น "มหาอำนาจ" ได้ในที่สุด  "ความเป็นไทย" ในความหมายใหม่เช่นนี้รวมทั้งนโยบายรัฐนิยมที่กำหนดบทบาทหน้าที่พลเมืองเป็นกระแสที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยได้พอสมควร หากเคยดูภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" อาจจะพอนึกบรรยากาศ "ความเป็นไทย" ในแบบยุคจอมพล ป. พิบูลสงครามออก แม้แต่การกินหมากหรือการเล่นดนตรีไทยที่ต้องนั่งเล่นกับพื้นก็ยังกลายเป็นสิ่งต้องห้ามเลยทีเดียว   แม้ว่าภายหลังจาก พ.ศ. 2490 ที่จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เสื่อมอำนาจลงพร้อมๆกับการพ่ายแพ้สงครามโลกของญี่ปุ่นและการเป็นพันธมิตรของไทย แต่ไทยก็ต้องเผชิญหน้ากับสงครามเย็น บรรดาชนชั้นนำไทยกลัวภัยคอมมิวนิสต์กันอย่างจริงจัง "ความเป็นไทย" ยังคงถูกนำมาใช้สืบเนื่องต่อมาแต่เพิ่มการกลับไปผูกโยงกับ "ราชา" (อีกครั้ง) หลังจากหมดบทบาทไปมากหลัง พ.ศ. 2475 รวมไปถึงได้ผูกโยงไปกับ "พุทธศาสนา" ที่แน่นแฟ้นขึ้นในกระบวนการต่อต้านคอมมิวนิสต์   ช่วงเวลาเหล่านี้จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของอุดมการณ์ (เชื้อ)ชาติ(ไทย) ศาสนา(พุทธ) และพระมหากษัตริย์ที่เติบโตขึ้นเป็นหน่อเนื้อเดียวกัน แต่ขณะเดียวกัน "ความเป็นคนอื่น" ก็ได้เกิดขึ้นอย่าง  มโหราฬและขยายวงกว้างไปหลายพื้นที่  "อคติ" ถูกผลิตซ้ำและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ถ่ายทอดส่งต่อกันมาจนถึงปัจจุบันและกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องมาพูดกันอยู่นี้เอง   การผลิตซ้ำ "ความเป็นไทย" นอกจากเกิดในสื่อที่อาจทำไปโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวแล้ว ผู้มีบทบาทสำคัญก็คือเหล่าปัญญาชนสาธารณะหลายคน ตำราเรียน หรือแม้แต่นิทานสำหรับเด็ก   ส่วนสังคมดั้งเดิมหรือ "สังคมสยาม" ที่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์พยายามรณรงค์ว่า  "ประเทศของเรารวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย/ไท ลาว คนเมือง คนอีสาน คนมอญ เขมร กูย แต้จิ๋ว แคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ จาม ชวา มลายู ซาไก มอแกน ทมิฬ ปาทาน ซิกข์ เปอร์เซีย อาหรับ ฮ่อ พวน ไทดำ ผู้ไท ขึน ยอง เวียด ลัวะ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ปะหล่อง มูเซอ อะข่า กำมุ มลาบลี ชอง ญัฮกุร ฝรั่ง (ชาติต่างๆ) แขก (ชาติต่างๆ) ลูกผสม ลูกครึ่งต่างๆ อีกมากมายกว่า 50 ชาติพันธุ์ ฯลฯ " ก็ถูกกันออกไปโดยอัตโนมัติ   เมื่อธรรมชาติของสังคมถูกหล่อหลอมไปด้วย "ความเป็นไทย" ลักษณะนี้มานาน รสนิยม การให้คุณค่าต่อทั้งการสื่อและการเสพจึงไปในทิศทางทางเดียวกัน หรือ DEMAND กับ SUPPLY มาทางเดียวกัน "ความเป็นอื่น" ถูกลดคุณค่าและ "ขายยาก" เหมือนกับแคมเปญข้างต้นของ ดร.ชาญวิทย์ ที่ไม่ค่อยจะมีใครซื้อนัก   อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาสั้นๆของประวัติศาสตร์ สังคมไม่ได้ถูกครอบงำด้วยวิธีคิดแบบเดียวกันหมดไปเสียทีเดียว แต่มีช่วงเวลาของการโต้แย้งสวนกระแสออกมาอยู่ในที โดยเฉพาะปัจจัยแนวคิดแบบสังคมนิยมหรือ "คอมมิวนิสต์" ที่เกรงกลัวกันมากมายนั่นเองที่ทำให้ความรู้ในสังคมไทยได้มีโอกาสได้แตกยอดหรือเคลื่อนตัวจากความหยุดนิ่ง อย่างหนังสือหลายเล่มของ "จิตร ภูมิศักดิ์" ที่ได้ท้าทายการบอกเล่าประวัติศาสตร์แบบชนชั้นหรือแบบศูนย์กลางประวัติศาสตร์อยู่ที่รัฐ และเป็นที่ยอมรับอย่างโดดเด่นหลังปรากฏตัวออกมาระยะหนึ่ง   เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เองก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้สังคมไทยเปิดตัวและค่อนข้างมีเสรีภาพมากขึ้นในหลายๆด้าน  "ความเป็นไทย" ถูกตั้งคำถาม มีการยกหลักฐานและตีความประวัติศาสตร์ใหม่ อุดมการณ์แบบสังคมนิยมกระจายตัวจนสามารถมีพรรคการเมืองได้ ทว่าเวลาแบบนั้นมีในสังคมไทยได้ไม่นานนัก พลังฝ่ายอนุรักษ์นิยมพยายามช่วงชิงชัยชนะกลับคืนไปทุกวิถีทาง แม้ต้องใช้ความป่าเถื่อนอย่างไร้อารยะก็ตาม แท่นพิมพ์แห่งเสรีภาพหลายแห่งถูกปิด หนังสือหลายเล่มกลายเป็นหนังสือต้องห้าม ความรู้ก็ถูกจองจำ "ความเป็นไทย" กระแสหลักถูกนำมาใช้อย่างแข็งขันอย่างที่สุดและเป็นไปในลักษณะของการปราบปราม จนกระทั่งเกิดกรณี 6 ตุลาคม 2519 ขึ้น ความอึมครึมจึงเหมือนสถาปนาตัวอย่างถาวรในสังคมไทยตลอดมา อุดมการณ์(เชื้อ)ชาติ(ไทย) ศาสนา(พุทธ) และพระมหากษัตริย์ ก็กลายเป็นคำตอบสำเร็จของทุกอย่างในสังคมไทยและสังคมสื่อมวลชน   "ความเป็นไทย" กับที่ทาง "ชาติพันธุ์" ในพื้นที่สื่อ   อย่างไรก็ตาม คงต้องแก้ต่างแทนสื่อมวลชนเหมือนกันว่า การที่เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ค่อยได้ปรากฏในพื้นที่สื่ออาจไม่ใช่เรื่องของ "ความเป็นไทย" เสมอไป สื่อเองอาจจะไม่ได้มีเจตนาไม่เสนอเพียงเพราะมองว่าเป็นเรื่องชายขอบที่ถูกวางคุณค่าให้น้อย แต่สื่อเองก็มีบริบทในการนำเสนอเนื้อหาอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นประเด็นในกระแสหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นวันต่อวัน ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง ปัญหาระหว่างประเทศ เพียงเท่านี้เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ก็ยากจะปรากฏตัวบนพื้นที่สื่อแล้ว   เช่นก่อนหน้านี้ในขณะที่สังคมกำลังตึงเครียดเรื่องเหลืองแดง แต่เรื่องที่แหลมออกมาและชาวบ้านเลือกนำไปถกวิจารณ์กันมากกลับเป็นข่าวพริตตี้ถูกสาดน้ำกรด เป็นต้น แต่ข้อสังเกตที่อยากตั้งคำถามและเสนอกรณีตัวอย่างคือ หลังกระบวนการสร้าง "ความเป็นไทย" ดำเนินมาถึงปัจจุบันแล้ว เมื่อสื่อมีพื้นที่ให้พูดเรื่องชาติพันธุ์ สื่อพูดอย่างไร..?   ในแง่การส่งผ่าน "ฐานคติ" หรือผลิตซ้ำ "ความเป็นไทย" ที่เหมือนไม่มีอะไรแต่กลับทรงพลังและซึมลึกกว่าหนังสือหรือเพลงปลุกใจอาจเป็นสื่อแบบบันเทิงก็ได้ เพราะหลังชมหนังเรื่องบางระจันจบหลายคนคงยากปฏิเสธว่าอยากลุกออกไปหาควายขี่รบพม่า แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ก็คือการสื่อความหมายว่า ผู้คนในรัฐทางตะวันตกของไทยไม่ว่ารัฐใดก็ถูกมองเป็นศัตรูไปหมด ซึ่งมันควรเป็นเพียงอารมณ์หลังดูหนังละครเท่านั้นหรือไม่   เพราะมันคงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่เราเกลียดพม่าจากประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นมากกว่าการรังเกียจสิ่งที่รัฐบาลของนายพลตาน ฉ่วย ในปัจจุบันกระทำกับคนพม่าและชาติพันธุ์ในพม่า มันจะน่าเศร้าสักเพียงใดยิ่งเมื่อรับรู้เรื่องราวการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมายของคนในฝั่งเพื่อนบ้านแล้วกลับยิ่งรู้สึกสาสมใจเพียงเพราะวาทกรรม "ศัตรู" ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นโดยไม่ทำความเข้าใจมิติและบริบทที่แตกต่างกันระหว่างสังคมปัจจุบันกับอดีต ความเกลียดแบบเดียวกันนี้คงเหมือนกับที่เคยถูกทำให้เกลียด "ญวน" ด้วยการตราประทับคำว่า "คอมมิวนิสต์" ให้ แต่อย่าลืมว่าหากเราเงี่ยหูฟังเสียงอื่นหรือเปิดโอกาสให้เสียงจากคนเล็กๆอย่าง "ถั่น" ได้พูดให้มากขึ้น บางทีเราอาจจะรู้ เห็นหรือรู้สึกอะไรต่อสิ่งที่ปกปิดไว้เบื้องหลังมากกว่านี้ก็เป็นได้   กรณีพม่ากับไทย เมื่อต้นปี 2551 มีประเด็นแรงงานข้ามชาติที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาจากการนำเสนอข่าวโดยหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ระบุว่า "แรงงานพม่ายึดมหาชัย" ประเด็นก็คือเพียงเพราะมีคำว่า "พม่า" พ่วงท้ายเท่านั้น มันก็สร้างอารมณ์ของการเสียดินแดนไปแล้ว   แต่ในข่าวๆเดียวกันนี้ยังมีมิติอื่นๆที่ต้องทำความเข้าใจอีก ส่วนหนึ่งคือปัจจัยภายในของประเทศไทยเองที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจและต้องการแรงงานราคาถูกมาขับเคลื่อนโดยเฉพาะในภาคประมง ขณะที่คนไทยหรือแรงงานไทยไม่อยากทำงานราคาถูกแบบนี้แล้ว   นอกจากนี้ ยังมีมิติทางชาติพันธุ์ที่ตีความโดยไม่ได้แยก "ความเป็นมอญ" ออกจาก "ความเป็นพม่า" ซึ่งมหาชัยหรือสมุทรสาคารเป็น "ชุมชนมอญ" ที่อยู่อาศัยกันมานานไม่ต่ำกว่าร้อยปี ปัจจุบันแม้คนมอญจะไม่มีประเทศเป็นของตัวเอง แต่ความเป็นมอญก็ยังคงอยู่และแสดงออกผ่านงานรำลึกถึงบรรพบุรุษที่มีทุกปี แต่น่าขันเป็นอย่างยิ่งเมื่อมีข่าวว่าแรงงานพม่ายึดมหาชัย งานรำลึกบรรพบุรุษที่เป็นงานวัฒนธรรมก็กลายเป็นประเด็นความมั่นคงขึ้นมาทันที   "วันชาติมอญไม่ใช่การเรียกร้องทางการเมือง การทหาร หรือการจับอาวุธ แต่สิ่งที่แสดงออกคือชาติกำเนิดที่ต้องรักษา นั่นคือ ภาษา วัฒนธรรมและประเพณี การเป็นแรงงานข้ามชาติและจัดงานแบบนี้ขึ้นก็เพื่อย้ำเตือนว่า เขาคือมอญ แต่การจะเกิดงานวันชาติมอญขึ้นได้นั้นต้องสัมพันธ์กับพื้นที่ด้วย ซึ่งคนในพื้นที่มหาชัยคือคนไทยเชื้อสายมอญมาช่วยให้เกิดวันชาติเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ"  สุกัญญา เบาเนิด นักวิจัยเรื่องแรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร ได้อธิบายให้เห็นภาพทางวัฒนธรรมในพื้นที่ได้ชัดเจนขึ้น   เธอยังกล่าวถึงอคติที่ซ่อนอยู่ในสังคมไทยอีกว่า "กลุ่มชาติพันธุ์มอญ" ที่มาจากประเทศพม่าจะถูกบอกว่าเป็นคนพม่าทั้งหมด แต่แท้จริงแล้วในมหาชัยมีคนมอญมากถึง 70% โดยยังมีสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นมอญที่ปรากฏ ได้แก่ การใช้ภาษามอญในการสื่อสาร ประเพณีและการจัดวันชาติมอญ และจะใช้คำว่า "วันรำลึกบรรพบุรุษมอญ" ในการจัดงานทางวัฒนะรรมเพื่อรำลึกถึงวันตั้งกรุงหงสาวดี   นอกจากนี้ เมื่อได้สัมภาษณ์พระครูปลัดโนราอภิวโร เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นวัดที่ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ต่อเนื่องจากข่าวแรงงานพม่ายึดมหาชัยในทำนองว่าแย่งคนไทยทำบุญนั้น ท่านกล่าวถึงผลกระทบของการเสนอข่าวว่า ทำให้ทางวัดต้องพิจารณาให้หยุดการจัดงานรำลึกบรรพบุรุษปี 2551 เพราะหวั่นเกรงผลกระทบที่อาจเกิดกับทางวัด                                          อย่างไรก็ตาม พระครูยอมรับว่าผู้มาร่วมงานส่วนหนึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองมาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ถูกกฎหมาย และเมื่อมีงานประเพณีจะทำให้ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจจับอย่างเข้มงวดมากขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริง นอกจากวันรำลึกบรรพบุรุษมอญแล้ว กลุ่มแรงงานข้ามชาติจะเข้ามาทำบุญเป็นประจำทุกวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดของโรงงานรวมทั้งวันสำคัญทางศาสนา อยู่แล้ว   "พูดง่ายๆคือคนมอญนิยมทำบุญกันมากกว่าคนไทยเสียอีก" พระครูกล่าว   สำหรับคนมอญพลัดถิ่นแล้ว แม้กฎหมายจะปิดกั้นแต่ด้วยความเชื่อ ความศรัทธา พวกเขายังคงเลือกไปที่วัด ...คำถามคือ หากมองในฐานะชาวพุทธ เราจะจำกัดศาสนาไว้ให้คนไทยสักการะเท่านั้นหรือ.. ?   นอกจากนี้ ประเด็นแรงงานข้ามชาติมีอะไรที่รัฐไทยควรจะต้องจัดการมากกว่ามากระวนกระวายอยู่กับประเด็นชาตินิยม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการกดขี่แรงงานทั้งที่ค่าแรงราคาแสนถูกอยู่แล้ว การก่อตัวขึ้นของกลุ่มมาเฟียในกลุ่มชาติพันธุ์เองและมาเฟียในเครื่องแบบ ปัญหาคุณภาพชีวิต การพัฒนาทางเลือกที่อาจสามารถจัดการให้เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ชวนท่องเที่ยวได้ เพราะมหาชัยเองมีบรรยากาศที่มีลักษณะผสมผสานแบบชายแดน และการค้าชายแดนมักมีเสน่ห์ที่น่าสนใจเสมอ   หากมองข้ามอคติทางชาติพันธุ์ไปในอนาคต อาจมีแหล่งการค้าและการท่องเที่ยวที่ทำรายได้เหมือนไชน่าทาวน์หรือเยาวราชที่สามารถสร้างพลังทางเศรษฐกิจได้จนสามารถต่อรองและกลมกลืนกับความเป็นไทยได้อย่างไม่ขัดเขินก็ได้   ปลายปี 2551 ความชิงชังคนพม่าคล้ายลางเลือนไป แต่ความชิงชังนั้นดูเหมือนจะไปเพิ่มให้ประเทศกัมพูชาแทนเมื่อกรณีปราสาทพระวิหารถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งท่ามกลางกระแสการเมืองอันร้อนระอุ คนกัมพูชาถูกทำให้กลายเป็นศัตรูของชาติคล้ายมีเป้าหมายและกลายเป็นอารมณ์ที่ปรากฏในหน้าสื่ออย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่เรื่องของ "คน" ตามชายขอบของทั้งสองประเทศซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงกลับถูกลดทอนความสำคัญที่จะพูดถึงจากคนในส่วนกลาง ความสัมพันธ์ไม่ว่าจะในมิติเครือญาติทางมานุษยวิทยา ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือทางประวัติศาสตร์ ถูกปิดไว้ภายใต้ร่ม "ธงชาติไทย" และความขัดแย้ง พื้นที่การค้าถูกแปรสภาพให้กลายเป็นพื้นที่สงครามระหว่างประเทศ ข่าวแบบสงครามทำให้หนังสือพิมพ์ขายดีขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคก็ตื่นกระหายเพราะไม่ได้เป็นคนเสี่ยงไปรบในสมรภูมิเอง   ครั้งหนึ่งเคยได้พูดคุยกับ นายอุบลเดช พานพบ คนบ้านภูมิซรอล อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เขาบอกว่า "..เขา (พันธมิตรฯ) ทำตรงนั้นแล้วกลับกรุงเทพ แต่พวกผมต้องอยู่หลบลูกปืน ถ้าเขายิงมาพวกผมก็รับเต็มๆ"   นี้เป็นความรู้สึกของคนในพื้นที่ขัดแย้งคนหนึ่งที่มีต่อการที่กลุ่มพันธมิตรฯยกขบวนไปที่ปราสาทพระวิหาร เพื่อคัดค้านการเป็นมรดกโลกของตัวปราสาทจนเกิดการปะทะกันกับคนในพื้นที่ที่ไม่เห็นด้วย   "พวกผมมีประสบการณ์หลบลูกปืนมาแล้วตั้งแต่สมัยเขมรแดงแต่เด็กรุ่นหลังๆไม่ชิน ผมไม่กลัว แต่ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก"   อุบลเดชบอกด้วยว่า "อยากให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพราะจะได้ค้าขาย แต่เมื่อแบ่งเขตกันไม่ได้และไม่มีใครอยากเสียดินแดน จึงอยากให้พัฒนาร่วมกัน อยากให้ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ตัวปราสาทเรายอมรับว่าเป็นของเขา แต่พื้นที่รอบปราสาทถ้าตกลงกันไม่ได้อยากให้พัฒนาร่วมกัน ทหารจะได้ถอนกำลัง ถ้าร่วมกันพัฒนาไม่ได้ คุยอย่างไรก็ไม่จบ"   เสียงของอุบลเดชถึงตอนนี้ก็อาจยังไม่ค่อยมีใครใส่ใจนัก เขาบอกว่ามีญาติพี่น้องเป็นคนกัมพูชาด้วย คนแถวๆนั้นหากไม่มีเรื่องเส้นพรมแดนก็เป็นเครือญาติที่ข้ามฝั่งกันไปมา แต่ความรู้สึกชาตินิยมก็มีเหมือนคนอื่นๆ   "พระวิหารในความรู้สึกผมตรงเป้ยตาดีเองก็ไม่น่าเป็นของเขมร ทางฝรั่งเศสมันขี้เกียจขีดแผนที่ นอนเขียนที่โรงแรมแล้วขีดไป แต่เรายอมรับว่าศาลตัดสินมา คือถ้าตัดสินกันเองเราก็ลุกฮือได้ แต่นี่เป็นศาลโลก เขาให้ยกมือ เราแพ้เขา 9 ต่อ 3 ปัญหาคือคนที่กรุงเทพฯไม่รู้ว่าชาวบ้านในจุดนั้นเดือดร้อนอย่างไร"   การท่องเที่ยวที่เขาพระวิหารสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่โดยเฉพาะฤดูกาลท่องเที่ยวจะมีคนเข้ามามากถึงวันละ 2,000 - 3,000 คน คนไทยค่อนข้างได้เปรียบทางการค้าชายแดนมากกว่ากัมพูชา หากนับเป็นรายได้เฉลี่ยถึงวันละ 7,000 - 10,000 บาท ส่วนช่วงเทศกาลบางคนเคยได้ถึงวันละ 20,000 บาท แต่หลังปิดชายแดนรายได้ลดลงถึง 90 % หรือไม่มีรายได้จนต้องกลายเป็นทำงานรับจ้าง ติดหนี้สิน หรือแม้แต่ไม่มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน   นี่คือสิ่งที่สูญเสียไปแล้ว เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้น   อีกกรณีตัวอย่างหนึ่ง ปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่สงครามก็ได้ คือ กรณีความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นเรื่องน่าสนใจเพราะที่ผ่านมาสามารถยึดพื้นที่หน้าสื่อได้นานพอสมควรและคงเป็นไปแบบนั้นหากเหตุการณ์การเมืองในกรุงเทพฯไม่ปะทุขึ้นและยืดเยื้อมา 2 ปีแล้ว   สิ่งที่ทำให้ประเด็นชาติพันธุ์สามารถยึดพื้นที่หน้าหนึ่งของสื่อสิ่งพิมพ์ได้ทุกฉบับ ด้านหนึ่งอาจเป็นเพราะมิติของการเป็นปรากฏการณ์ความรุนแรงทำให้คนในพื้นที่ส่วนกลาง "ช็อค" และ "ท้าทาย" อำนาจรัฐอย่างร้อนแรงเมื่อมีเหตุการณ์การปล้นปืนจากค่ายทหารในวันที่ 4 มกราคม 2547 แต่ก็ตามมาด้วยเหตุการณ์กรือเซะในวันที่ 28 เมษายน 2547 และเหตุการณ์ตากใบ วันที่ 25 ตุลาคม 2547   หากสังเกตการพาดหัวข่าวในช่วงแรกของเหตุการณ์ คำว่า "โจร" ถูกนำมาใช้นำหน้ากลุ่มก่อการด้วยน้ำเสียงชิงชังโกรธเกรี้ยว รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดูจะเสียหน้ามากเพราะก่อนหน้านั้นเคยปรามาสกลุ่มก่อการในภาคใต้ไว้ว่าเป็นเพียง "โจรกระจอก" ความร้อนรนในขณะที่ขาดความเข้าใจมิติอันซับซ้อนของสถานการณ์ทำให้เชื่ออย่างง่ายๆว่าเป็นการกระทำของกลุ่มก่อกวนรัฐไทยเหมือนที่เคยเป็นมาก่อนหน้านั้นจึงสั่งจัดการแบบเบ็ดเสร็จด้วยการขีดเส้นตาย การปฏิบัติการจึงมีความเด็ดขาด และมีรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนสูงมากในช่วงนั้น รวมไปถึงการอุ้มหาย   ความร้อนรนยังคงดำเนินต่อไปท่ามกลางการปฏิบัติจนเกิดกรณีกรือเซะและตากใบแล้วนั่นเอง รัฐบาลจึงเหมือนจะเริ่มทบทวนทางยุทธวิธี มีการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ มีสัญญาณที่เปลี่ยนไปของการปฏิบัติที่เห็นได้ชัดขึ้นในกรณีตันหยงลิมอที่ไม่ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการช่วงชิงตัวประกันนาวิกโยธินอันเปรียบเสมือนตัวแทนฝ่ายรัฐไทย ผลคือตัวประกันเสียชีวิต แต่เป็นไปได้ว่าหากรัฐใช้วิธีที่รุนแรงกว่านี้ อาจเกิดการซ้ำรอยของเหตุการณ์ตากใบขึ้นก็ได้   อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สังคมไทยยังไม่ยอมรับหรือไม่ยอมรับรู้ร่วมกันนักคือ การไม่เชื่อว่ามี "ชาติพันธุ์มลายูมุสลิม" อยู่ที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือถึงเชื่อว่ามีก็นึกไม่ออกว่าแตกต่างจากคนในพื้นที่อื่นตรงไหน สิ่งที่นึกออกอาจเป็นเพียงการคลุมผ้า มีเมียได้ 4 คน และไม่กินหมูเท่านั้น หลายคนคงยิ่งอยากตั้งคำถามว่าทำไมกลุ่มคนเหล่านี้จึงไม่รักแผ่นดิน "ไทย" เหมือนที่เขารัก   สื่อเองในช่วงแรกอาจไม่ได้ทำหน้าที่อธิบายปรากฏการณ์มากไปกว่าเป็นการกระทำของกลุ่มโจรแบ่งแยกดินแดนและนำเสนอเฉพาะปรากฏการณ์การสูญเสียรายวันที่เกิดขึ้นเหมือนข่าวอาชญากรรมธรรมดา ไม่มีการอธิบายมากนักเรื่อง "ความเป็นมลายู" ราวกับสื่อเองก็ไม่ยอมรับให้มีการมีตัวตนอยู่ของ "ชาติพันธุ์มลายู" หากไม่ยอมกลืนกลายมาเป็น "ไทย" ในเส้นด้ามขวาน   แต่สำหรับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ประเด็นสำคัญที่สังคมไทยต้องทำความเข้าใจก่อนเป็นอันดับแรกๆก็คือ"ชาติพันธุ์มลายู" เป็นคนในพื้นที่กลุ่มใหญ่ที่สุด มีความแตกต่างจากคนไทหรือไทยทั้งทางศาสนาและมีประวัติศาสตร์ของพื้นที่เอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความแตกต่างอย่างยิ่งจากพื้นที่อื่นๆ   ประเด็นต่อมา พื้นที่ 3 จังหวัดเป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ แม้ว่ามลายูท้องถิ่นจะมีมากที่สุด แต่ก็มีกลุ่มชาติพันธุ์จีนและไทยที่อาศัยในพื้นที่มานานเช่นกัน ที่ผ่านมามีความสัมพันธ์ในระดับแนวราบสอดคล้องกัน หมายความว่าอยู่รวมกันได้ เพราะมีวิถีชีวิตที่ไปด้วยกันได้   ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ ความสัมพันธ์ในแนวดิ่งที่มีรัฐ ประวัติศาสตร์ และความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นปัญหาที่พูดกันไม่จบและกำลังทำลายความสัมพันธ์ในระดับราบไปด้วยความหวาดระแวงกันและกัน ส่วนการนำเสนอข่าวที่ผ่านมาส่วนมากยังคงสอดคล้องกับฐานคติที่เรียกร้อง  "ความเป็นไทย" จากคนในพื้นที่อยู่เสมอ ไม่ค่อยปรากฏความพยายามยอมรับตัวตนของมุสลิมมลายู แม้เพียงในประเด็นของผู้สูญเสีย ผู้ที่ต้องควรเยียวยา เรื่องของความยุติธรรม ซึ่งเป็นคำถามสำคัญต่อรัฐจากคนในพื้นที่เสมอมา   สื่อก็ยังคงนำเสนอปรากฏการณ์แบบอาชญากรรมและมุมที่ไปด้วยกันได้กับรัฐไทย ความรุนแรงจากรัฐไม่ว่าจะเป็นการปราบปรามในมัสยิดกรือเซะ หรือเหตุการณ์ตากใบที่จะพูดกันทุกปีจนเป็นแผ่นเสียงตกร่องกลับเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในสังคมไทย ในขณะที่การเสียชีวิตของครูจูหลิงหรือหมวดตี้จะได้รับการดูแลที่แตกต่างออกไป   ผู้ตายที่เป็นคนในสามจังหวัดถูกมองเป็นคนอื่นที่มากกว่าการเป็นคนสวมหมวกกะปิเยาะหรือคลุมฮิญาบ  ความตายที่ตากใบจึงเป็นเรื่องที่สังคมไทยจดจำได้น้อย ได้รับการดูแลจากสังคมไทยน้อย การให้ความสำคัญของสื่อ (อาจรวมถึงประชาไทด้วย) ก็น้อย ภายใต้เงื่อนปมเหล่านี้คำถามสำคัญคือจะเรียกร้องความรู้สึก "เป็นไทย" ในด้ามขวานเดียวกันจากคนในพื้นที่ได้อย่างไร..?   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแรงหนุนของ "ความเป็นไทย" จะทำให้เกิดการละเลยการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ ละเลยกระบวนการยุติธรรมขั้นพื้นฐานที่พึงมีต่อความเป็นมนุษย์ด้วยกัน แต่ข้อกังขาเหล่านี้จะต้องย้อนกลับไปหา"(เชื้อ)ชาติ(มลายู)" และ "ศาสนา (อิสลาม)"เช่นกัน เพราะภายใต้ความวุ่นวายก็มีการสร้างและใช้ประวัติศาสตร์บาดแผล ศาสนามาสร้างความเป็นอื่นขึ้นมาเพื่อความชอบธรรมในการเคลื่อนไหว หรือสร้าง "ฐานคติ" ในพื้นที่แบบเดียวกับที่รัฐไทยเคยทำเพื่อเบียดขับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นและใช้ละเมิดมนุษยธรรมต่อผู้อื่น กลุ่มขบวนการเหล่านี้จะต้องถูกประณามเช่นกัน    กรณีตัวอย่างความอ่อนไหวทางวัฒนธรรมเหล่านี้อาจเป็นเรื่องเก่า แต่สำคัญที่ต้องตระหนักไว้เสมอว่ามันยังมีอยู่จริง และพร้อมจะบ่มสร้างเพื่อย้อนกลับมาสร้างบาดแผลใหม่ๆให้กับเราทุกคนได้ไม่รู้จบ   ชาติพันธุ์กับสื่อในเส้นทาง "พื้นที่ทางเลือก" ในส่วนนี้อาจเป็นข้อเสนอทางออกจากการถอดบทเรียนสื่อทางเลือก "ประชาไท" ในฐานะคนทำงาน ซึ่งใช้พื้นที่ในโลกอินเตอร์เน็ทในการสื่อสารและได้รับการตอบรับในระดับหนึ่ง แม้ว่าระยะหลังจะมีกฎหมายคอมพิวเตอร์ออกมาจำกัดทำลายความสร้างสรรค์ทางองค์ความรู้ไปมากมาย กระนั้นโลกอินเตอร์เน็ทก็ยังมีเสรีภาพที่กว้างขวางพอต่อการข้ามพรมแดนชาติพันธุ์ ซึ่งโลกอินเตอร์เน็ทมีข้อเด่นที่น่าสนใจคือความสามารถในการสื่อสารสองทาง สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสื่อได้ ในกรณีของ "ประชาไท" คือมีพื้นที่เว็บบอร์ดและมีพื้นที่แสดงความเห็นท้ายข่าว   ทุนในการสร้างพื้นที่ในโลกอินเตอร์เน็ทอาจกล่าวได้ว่าไม่สูงนัก บางกรณีอาจมีเพียงเครื่องมือที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ทได้ก็เพียงพอทำให้การนำเสนอประเด็นชาติพันธุ์และข่าวของคนตัวเล็กตัวน้อย หรือข่าวที่ไม่เป็นข่าวในพื้นที่สื่อกระแสหลักสามารถทำได้ในพื้นที่สื่อทางเลือก และสามารถให้ความสำคัญเฉพาะได้โดยไม่ต้องง้อบริบททางธุรกิจมากนัก   หากทบทวนประสบการณ์ "ประชาไท" ในช่วง 2 ปีแรก แนวทางการนำเสนอเนื้อหาดูจะเน้นไปที่ข่าวนอกกระแสที่สามารถบอกได้ว่านอกกระแสจริงๆ นอกกระแสจนหลายข่าวมีคนอ่านเพียง 2 คน นั่นก็คือบรรณาธิการและผู้เขียนซึ่งมาเช็คข่าวตัวเอง เว้นแต่ช่วงที่กระแสช่วยผลักดันเท่านั้น เช่น ข่าวอย่าง 3 จังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะกรณีตากใบที่สังคมมีความตื่นตัวสูงและต้องการเหตุผลว่าคนเกือบร้อยคนเสียชีวิตได้อย่างไรในคืนเดียว กรณีดังกล่าวทำให้ "ประชาไท" เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะได้ตั้งคำถามตรงๆไปที่รัฐว่ามีการใช้ถุงดำคลุมหน้าดังที่คนในพื้นที่สงสัยหรือไม่ รวมไปถึงการตัดสินใจนำซีดีที่รัฐห้ามเผยแพร่มาลงในเว็บไซต์ เป็นต้น   แม้ว่าจะสร้างกระแสไม่ได้มาก แต่กรณีดังกล่าวทำให้รู้ว่าความจริงแล้วผู้บริโภคยังคงกระหายข้อมูลในหลายๆด้าน และการปกปิดก็ไม่ใช่คำตอบ และความอยากรู้ไม่ได้แสดงออกมาเฉพาะที่เว็บไซต์อย่างจำกัด แต่กลับสะท้อนผ่านไปยังสื่อกระแสหลักต่างๆเช่นกัน แรงกดดันจากสังคมทำให้รัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในการตายที่เกิดขึ้น   หลังกระแส "ประชาไท" ประสบความซบเซาเหมือนเดิม สิ่งที่เรียนรู้อีกอย่างหนึ่งคือบางครั้งการนำเสนอข่าวที่เฉพาะเจาะจงและนอกเหนือจากความสนใจอาจจะไม่ใช่คำตอบของทางเลือกเสมอไป เพราะเมื่อไม่มีคนสนใจก็หมายถึงการไม่บรรลุผลของการสื่อสาร จึงนำมาสู่การปรับตัวไปในทิศทางที่มีการให้พื้นที่ข่าวกระแสหลักมากขึ้น จำนวนผู้อ่านจึงมากขึ้นตามไปด้วย   สิ่งที่ต้องจัดการคือ "การเมืองเรื่องพื้นที่" เพราะในหน้าสื่อทั่วไป ข่าวเด่นดังจะถูกวางไว้ให้เด่น การจัดการหน้าข่าวบนเว็บไซต์ "ประชาไท" จึงจงใจจัดวางข่าวของคนเล็กๆไว้ใกล้ๆข่าวเด่นเพื่อให้ผ่านตา แม้ว่าจะไม่ส่งผลมากนัก แต่อย่างน้อยพบว่ามีการคลิกอ่านข่าวนอกกระแสมากขึ้น ซึ่งในกรณีแบบนี้จะถือเป็นความสำเร็จในการช่วงชิงพื้นที่ได้หรือไม่...ไม่ทราบ   จุดหักเหที่บอกได้ว่า "ประชาไท" มีคนเข้ามาอ่านมากขึ้นอย่างชัดเจน คือ หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ด้วยการประกาศตัวตนอย่างชัดเจนว่าต่อต้านการรัฐประหารในครั้งนี้ และมีท่าทีที่เลือกข้างไปในทางตรงข้ามกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งไม่ขอตอบอีกเช่นกันว่าผิดหรือถูก   แต่ในแง่ส่วนตัวของผู้เขียน หากมองในมิติเชิงชาติพันธุ์หรือพื้นที่ของคนตัวเล็กตัวน้อย ในกรณีของคนอีสานกับคนภาคเหนือ แม้ว่าจะเป็นคนส่วนมากที่ใช้สิทธิเลือกตั้งไปแล้ว แต่พลังในการต่อรองกลับน้อยและถูกมองอย่างมีอคติ ว่า "โง่ จน ซื้อได้" ดังนั้นจะเป็นอย่างไรไป หากประชาไทเลือกจะเปิดพื้นที่ให้กับคนกลุ่มนี้เหมือนกับที่เปิดพื้นที่เรื่องมลายู เรื่องมอญ และเรื่องอื่นๆในลักษณะเดียวกัน   แต่สิ่งที่น่าขันเรื่องหนึ่งคือ ในอดีตเมื่อ "ประชาไท" พูดเรื่องมลายู สิ่งที่สะท้อนออกมาจากความเห็นท้ายข่าวมักจะออกในเชิงว่าขายชาติบ้าง กบฎบ้าง เว็บโจรใต้บ้าง แต่ไม่ค่อยมีการพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนมากนัก ตอนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในปัจจุบันเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ กลายเป็นศัตรูทางการเมืองของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้ว เหตุผลหนึ่งที่สำคัญในการระบุความผิดก็คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และปรากฏเป็นความเห็นในเว็บไซต์ที่มากขึ้น น่าสนใจว่าคนมลายูมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดถูกมองเป็นคนไทยขึ้นมาทันทีหากมีการเอ่ยถึงทักษิณ ชินวัตร   นัยยะนี้อาจมองได้ว่า "ความเป็นไทย" หรือ "ชาตินิยม" สามารถแปรผันตามกระแสความเกลียดชังที่ถูกปลุกขึ้นมาในสังคมไทยได้ด้วย   อย่างไรก็ตาม "ประชาไท" คงไม่สามารถเป็นคำตอบของพื้นที่สื่อทางเลือกบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ทั้งหมด และคงบอกได้ว่าเป็นเพียงกรณีหนึ่งเท่านั้น ที่ผ่านมาในกรณี 3 จังหวัดภาคใต้เอง ความพยายามในการช่วงชิงพื้นที่ในการนำเสนอข่าวที่แตกต่างออกไปจากข่าวกระแสหลักมีให้เห็นหลายครั้ง เช่น การเกิดศูนย์ข่าวอิสราขึ้นบนโลกอินเตอร์เน็ท   ยุคแรกของการก่อตั้งศูนย์ข่าวอิศราเป็นที่ยอมรับอย่างมากในการทำหน้าที่ทั้งในพื้นที่และในสังคมวงกว้าง เพราะนอกจากเนื้อหาที่มีความแตกต่างแล้ว ยังมีมิติของพื้นที่นำเสนออกมาด้วยทั้งวิถีศาสนาและวัฒนธรรม พื้นที่กลมกลืนผสมผสาน การเกาะติดสถานการณ์ที่ฉับไวและแหล่งข่าวเชื่อถือได้ว่าไม่เอนเอียงไปทางรัฐ ในขณะเดียวกันก็พยายามหาเหตุผลของสถานการณ์อยู่เสมอ   นอกจากศูนย์ข่าวอิสราแล้วปัจจุบันยังมีเว็บไซต์ดีพเซาธ์วอทช์ ซึ่งทีมข่าวอิสราชุดแรกๆที่ลงพื้นที่หันมาทำงานข่าวและข้อมูลใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างต่อเนื่อง หรือล่าสุดก็มีเว็บไซต์บุหงารายาซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มนักศึกษาในพื้นที่ที่อยากจะสื่อสารสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้คนส่วนกลางได้รับรู้   ในโลกอินเตอร์เน็ท ยังมีพื้นที่อย่างเว็บบล็อกที่ใครก็สามารถสื่อเรื่องราว จัดสรรและจัดการพื้นที่ของตัวเองได้ ซึ่งก็อาจเป็นอีกคำตอบหนึ่งในการนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ทเกือบล้านคนและมีแนวโน้มที่สูงขึ้น   อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ทมีข้อจำกัดคือการเข้าถึง 40 เปอร์เซ็นยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯและพื้นที่รายรอบ ส่วนตามท้องถิ่นแม้ว่าแทบทุกหน่วยตำบลจะมีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทก็ตาม แต่การใช้งานได้จริงต้องยอมรับว่ามีข้อจำกัดมาก ยังไม่นับรวมไปถึงชาติพันธุ์ที่เป็นชายขอบมากๆ อย่างในพื้นที่ป่ารอบสาละวิน หรือคนในตำบลลึกๆชายแดนใต้ ชาวบ้านที่อยู่ลึกเข้าไปคงไม่มีเวลามานั่งหัดหรือสื่อสารทางอินเตอร์เน็ท หรือกลุ่มแรงงานข้ามชาติไม่ว่าจะเป็นมอญ พม่า เขมร ฯลฯ ก็คงไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ทบอกเรื่องราวของตนเองได้   ในข้อจำกัดเหล่านั้นคงต้องฝากไปยังองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆที่ทำงานด้านนี้ในการสร้างพื้นที่ขึ้นมาสื่อสารแทน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ บล็อก หรือการส่งเรื่องราวไปยังสื่อต่างๆทางอีเมลล์การได้ลงในสื่อสักเรื่องอย่างน้อยคงเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการสื่อสารเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์   ทั้งนี้ เรื่องชาติพันธุ์อาจถูกละเลยมานานจนไม่น่าสนใจ การนำเสนอเนื้อหาโดยตรงอาจมีผลแบบเดียวกับบทเรียนในอดีตของ "ประชาไท" ที่มีคนอ่าน 2 คน ซึ่งน่าท้อแท้ใจอย่างยิ่ง บางทีองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำสื่ออาจต้องมองในลักษณะการตลาดบ้างเพื่อให้เรื่องราวได้ออกสู่สาธารณะอย่างแท้จริง   อย่างน้อยการได้รับรู้เรื่องราวในมุมมองอื่นๆจะได้ทำให้ "อคติ" ที่มาจาก "ความเป็นไทย" ลดลงได้บ้าง แม้วันละนิดวันละน้อยก็ยังดี...         อ้างอิง   ใครว่า พม่ายึดมหาชัย ? "คนมอญ" อยู่มากว่า 200 ปีแล้ว. http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=9858&Key=HilightNews [1]     รายงาน : พิพาทเขาพระวิหาร "เขาทำตรงนั้นแล้วกลับกรุงเทพฯ แต่พวกผมต้องอยู่หลบลูกปืน" http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=14086&Key=HilightNews [2]   สายชล สัตยานุรักษ์ . "ประวัติศาสตร์การสร้าง "ความเป็นไทย" กระแสหลัก" . จินตนาการความเป็นไทย. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีมหาวิทยาลัยมหิดล,2551.   สุจิตต์ วงษ์เทศ.เมด อิน U.S.A. และ โง่เง่าเต่าตุ่น.กรุงเทพฯ : Open Book,2547.   ชาญวิทย์ เกษตรศิริ . หลังเสื้อรณรงค์ Siam not Thailand
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/44912
2013-01-26 01:51
ชาวคะฉิ่นในไทยเรียกร้องจีน-สหรัฐฯ หยุดพม่าโจมตีคะฉิ่น
ชาวคะฉิ่นในประเทศไทยรวมตัวชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลจีนและสหรัฐฯ ผ่านสถานกงสุลในเชียงใหม่ เรียกร้องกดดันรัฐบาลพม่าหยุดโจมตีชนกลุ่มน้อยคะฉิ่น พร้อมขอให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสงคราม และทบทวนการผ่อนคลายการคว่ำบาตร วันนี้ (25 ม.ค. 2556) กลุ่มชุมชนชาวคะฉิ่นในประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มนักเคลื่อนไหวชาวไทใหญ่จำนวนหนึ่ง รวมจำนวนประมาณ 150 คน เดินทางไปยังสถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ตรง ถ.ช่างหล่อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลจีนช่วยกดดันรัฐบาลและกองทัพพม่า เพื่อให้ยุติการโจมตีกองทัพเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Army – KIA) ในรัฐคะฉิ่น ทางตอนเหนือของพม่า ติดกับชายแดนจีน ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมได้เรียกร้องถึงรัฐบาลจีน  3  ข้อ 1.ให้กดดันรัฐบาลพม่าและกองทัพให้เข้าสู่การเจรจาทางการเมืองในระดับชาติอย่างแท้จริง เพื่อแก้ไขความขัดแย้งแทนที่จะโจมตีใส่พลเรือนชาวคะฉิ่น ข้อ.2  เปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยชาวคะฉิ่นที่หลบหนีจากการทำร้ายและการละเมิดสิทธิของกองทัพพม่าข้ามเข้าไปยังประเทศจีนและจัดให้พวกเขามีที่พักพิงอย่างปลอดภัย ข้อ.3 อนุญาตให้หน่วยงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศสามารถเข้าถึงและให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นอิสระต่อชาวคะฉิ่นที่อพยพหลบหนีอยู่ตามแนวพรมแดนประเทศจีน หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวอ่านแถลงกาณ์แสดงเจตนาอยู่นานกว่า 30 นาที ได้มีเจ้าหน้าที่ประจำกงสุลจีนออกมารับหนังสือข้อเรียกร้อง จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินทางไปยังสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ใกล้กับสะพานนครพิงค์ โดยเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ 5 ข้อ 1.ขอให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับพลเรือนผู้พลัดถิ่นตามค่ายอพยพรอบเมืองไหลซา และบริเวณอื่นๆ ตามแนวพรมแดนจีน-คะฉิ่น  2.ให้นำมาตรการคว่ำบาตรทางการค้ามาใช้อีกครั้งกับรัฐบาลพม่า 3.กดดันรัฐบาลจีนให้อนุญาตให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ สามารถตั้งสำนักงานบริเวณพรมแดนจีน-คะฉิ่น เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยคะฉิ่นได้ 4.กดดันให้ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาตินำกรณีปัญหารัฐคะฉิ่นมาพิจารณา เพื่อประโยชน์ของชาวคะฉิ่น 5.กดดันรัฐบาลพม่าให้เข้าสู่การเจรจาทางการเมืองในระดับชาติอย่างแท้จริง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กงสุลสหรัฐฯ ได้ออกมารับหนังสือ จากนั้นทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการร้องเพลงและแสดงความขอบคุณที่ทางสถานกงสุลที่รับเรื่องเรียกร้องก่อนที่จะพากันเดินทางกลับอย่างสงบ โดยระหว่างการชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องผ่านสถานกงสุลทั้ง 2 แห่ง ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการผลัดเปลี่ยนกันอ่านแถลงการณ์ทั้งภาษาพม่า คะฉิ่น ไทย และอังกฤษ โดยมีใจความว่า นับตั้งแต่กองทัพพม่าได้เริ่มทำการโจมตีกองทัพอิสรภาพคะฉิ่น มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554  ซึ่งเป็นเวลานานกว่า 19 เดือน  พบว่าทหารกองทัพพม่าโจมตีและทำร้ายทหารของกองทัพเอกราชคะฉิ่นและพลเมืองชาวคะฉิ่น  โดยมีการก่ออาชญากรรมทุกรูปแบบต่อชาวคะฉิ่น ไม่ว่าจะเป็นการเผาทำลายหมู่บ้าน การสังหารพลเรือน การจับกุมและข่มขืนกระทำชำเรา หรือแม้กระทั่งการสังหารเด็ก ส่งผลให้ชาวคะฉิ่น กว่า 100,000 คน ทั้งผู้หญิงและเด็กต้องหลบหนีหาที่หลบภัย นอกจากนี้  กลุ่มผู้ชุมนุมยังระบุอีกว่า รัฐบาลพม่าไม่ได้พยายามใช้การเจรจาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แต่กลับทำการโจมตีฐานที่มั่นของกองทัพคะฉิ่นที่เมืองไลซา ด้วยกำลังทหาร อากาศยาน และอาวุธหนักต่างๆ อย่างรุนแรงมาโดยตลอด  ทำให้ทั้งทหารและพลเรือนเสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่ารัฐบาลพม่าที่นำโดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง  ไม่ได้ดำเนินการตามโครงการปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตยที่รัฐบาลเคยประกาศเอาไว้แต่อย่างใด ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่http://www.khonkhurtai.org/ [1] "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th [2] หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org [3] ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org [4] และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org [1]
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/52910
2014-04-28 16:22
ชาวบ้านลำปางเดินขบวนกดดันร้องรัฐเพิกถอนใบอนุญาตป่าไม้ฯ ให้นายทุนเหมืองถ่านหิน
28 เมษายน 2557 เวลา 8:00 น. ชาวบ้านแหง ต.บ้านแหง  อ.งาว  จ.ลำปาง และกลุ่มรักษ์บ้านแหง ประมาณ 300 คน เดินขบวนออกจากหมู่บ้าน มาตามเส้นทางจากสามแยกซุปเปอร์ไฮเวย์พะเยา-งาว ถึงที่ว่าการอำเภองาว เรียกร้องให้ยกเลิกใบอนุญาตป่าไม้ จากกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้ออกใบอนุญาตให้ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ใช้พื้นที่ป่าไม้-ป่าสงวนแห่งชาติแม่งาวฝั่งซ้าย เพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์แอ่งงาว      ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่ได้คัดค้านการออกใบอนุญาตดังกล่าว ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบริษัทฯ หน่วยงานรับผิดชอบ และชาวบ้านแหงมานานเป็นเวลาราว 5 ปี โดยกลุ่มอนุรักษ์ฯ ชี้ว่าการอนุญาตให้ใช้ป่าสงวนฯ ในครั้งนี้ยังผิดระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออาศัยอยู่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2548 เนื่องจากการที่บริษัทจะยื่นคำขอและได้รับอนุญาตตามคำขอเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินในการทำเหมืองแร่ถ่านหินตามคำขอที่ 4-8/2553 ได้  กฎหมายกำหนดว่า “จะต้องเป็นพื้นที่ไม่มีความขัดแย้งกับราษฎร  และต้องได้รับความตกลงยินยอมจากราษฎรในพื้นที่ในการเข้าทำประโยชน์เสียก่อน”   โดยกลุ่มชาวบ้านได้เดินทางมาถึงที่ว่าการอำเถองาวในเวลาราว 9.30 ต่อมา นายโกศล ชุมพลวงศ์ ปลัดอำเภออาวุโส เป็นผู้แทนเจรจากับชาวบ้าน โดยข้อเสนอของชาวบ้าน คือ ให้อำเภอฯ ประสาน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) และสำนักงานปฏิรูปที่ดิน (สปก.) ให้ดำเนินการยกเลิกใบอนุญาตใช้พื้นที่ป่าฯ ซึ่งหากผู้ว่าฯ และผู้แทนหน่วยงานที่รับผิดชอบดังกล่าวไม่เดินทางมาเพื่อเจรจากับชาวบ้านภายใน 1 ชั่วโมง ขบวนชาวบ้านจะยกระดับการชุมนุมโดยจะเคลื่อนขบวนไปปิดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์พะเยา-งาว จนกว่าจะได้ข้อตกลง     0000   แถลงการณ์กลุ่มรักษ์บ้านแหง   ต้อง  “ยกเลิกใบอนุญาตป่าไม้” เพื่อขอทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์แอ่งงาว  ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด   นับตั้งแต่เริ่มมีการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์แอ่งงาว  ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด  ในเขตพื้นที่บ้านแหงเหนือ หมู่ที่ ๑,  ๒ และ ๗  ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง  เมื่อปี ๒๕๕๓ หน่วยงานราชการและบริษัทดังกล่าวได้ร่วมกันเร่งรัดดำเนินการในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการ  ดังนี้   ๑. รายงานการไต่สวนพื้นที่ประกอบคำขอประทานบัตร  แปลงที่ ๔-๘/๒๕๕๓  เป็นเท็จ   โดยการไต่สวนฯ พื้นที่ประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่  ระบุว่าไม่พบถนนหนทางและทางน้ำสาธารณะ (ห้วย หนอง คลอง ลำธาร ฯลฯ)  ซึ่งสวนทางกับข้อเท็จจริง เพราะมีถนนหนทางและทางน้ำสาธารณะหลายเส้นทางที่ประชาชนใช้สอยประโยชน์ร่วมกันเพื่อการสัญจรไปมาและทำการเกษตร   ๒. ภรรยาปลดล็อค มาตรา ๖ ทวิ  เพื่อให้สามีขอสัมปทานทำเหมืองแร่ถ่านหินแอ่งงาว เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๑  รัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งเป็นภรรยา  เสนอ ครม. ให้พิจารณายกเลิกพื้นที่ตามมาตรา ๖ ทวิ ของกฎหมายแร่ ๒๕๑๐ โดยนำแหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ๘ พื้นที่ทั่วประเทศ เปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหิน ต่อมาในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ บริษัทของสามีจดทะเบียนบริษัทเพื่อดำเนินการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินที่แอ่งงาว     ๓. บริษัทจดทะเบียนเพื่อประกอบกิจการป่าไม้ การทำไม้ ปลูกสวนป่า เพื่อหลอกซื้อที่ดินชาวบ้าน แต่พอซื้อได้แล้ว กลับนำที่ดินมาขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ภายหลัง    ๔. ขอประทานบัตรทับที่ดินทำกิน ทั้งที่เจ้าของที่ดินไม่ยินยอม เป็นการกระทำเยี่ยงโจรปล้นแผ่นดิน!   ๕. ประชาคมเท็จ หลอกลวง สวมรอย เพื่อช่วยเหลือให้บริษัทดำเนินการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินต่อไปให้ได้ โดยไม่ฟังเสียงประชาชนด้วยการบิดเบือนความเห็นที่ได้จากการประชุม   ในการประชุมชี้แจงข้อมูลของบริษัท เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ ที่ศาลาเอนกประสงค์โรงเรียนบ้านแหงเหนือ โดยมีปลัด อบต.บ้านแหง เป็นผู้บันทึกการประชุม  และผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑ และหมู่ ๗ เป็นผู้รับรองรายงานการประชุม ข้อเท็จจริงที่บันทึกได้ในแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียง พบว่าขัดแย้งกับรายงานการประชุม โดยรายงานการประชุมบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “ใครเห็นด้วยให้บริษัทขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหิน ให้ยกมือขึ้น” แต่ข้อเท็จจริงที่ได้จากแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียงที่บันทึกไว้ได้ในช่วงเวลาเดียวกันระบุว่า “ใครเข้าใจในเรื่องที่อธิบายเกี่ยวกับการชี้แจงการขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหิน ให้ยกมือขึ้น”    ๖. มติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหง เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๓ มิชอบด้วยกฎหมาย   สภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหงมีมติเห็นชอบการขอประทานบัตรและการประกอบกิจการเหมืองแร่ถ่านหินของบริษัท โดยนำรายงานการประชุมชี้แจงข้อมูลของบริษัทเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ ที่บ้านแหงเหนือ มาใช้เป็นหลักฐานพิจารณาลงมติของสภา ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นไปตามหลักการของการมีส่วนร่วมของประชาชน   ๗. ขอประทานบัตรทับที่ดิน ส.ป.ก. ของชาวบ้าน ๕๐๐ กว่าไร่   ทั้งหมดคือสาเหตุที่ทำให้ราษฎรกลุ่มรักษ์บ้านแหงเรียกร้องหาความยุติธรรมมาโดยตลอด   การออกมาเดินรณรงค์และชุมนุมเรียกร้องในวันนี้  ด้วยเหตุผลและความจำเป็น  ได้แก่    (๑) หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้ออกใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าไม้-ป่าสงวนฯ เพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหินแก่ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด  แล้ว  เพื่อจะเร่งรีบออกประทานบัตรให้แก่บริษัทฯ    โดยไม่สนใจใยดีว่ายังมีที่ดินทำกินของราษฎรบ้านแหงเหนือ  หมู่ที่ ๑ และ ๗ ติดอยู่ในพื้นที่คำขอประทานบัตรประมาณ ๑๐๐ กว่าไร่  ที่ยังไม่ยินยอมหรือขายให้บริษัทดังกล่าวเอาไปใช้ประโยชน์เพื่อการทำเหมืองแร่ถ่านหิน    และ ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออาศัยอยู่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘  การที่บริษัทดังกล่าวจะยื่นคำขอและได้รับอนุญาตตามคำขอเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินในการทำเหมืองแร่ถ่านหินตามคำขอที่ ๔-๘/๒๕๕๓  ได้  จะต้องเป็นพื้นที่ไม่มีความขัดแย้งกับราษฎร  และต้องได้รับความตกลงยินยอมจากราษฎรในพื้นที่ในการเข้าทำประโยชน์เสียก่อน  แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทดังกล่าวและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้รับและออกใบอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออาศัยอยู่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยยังมีความขัดแย้งกับราษฎรในพื้นที่คำขอประทานบัตรทั้ง ๕ แปลง  อยู่ในขณะนี้   (๒) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการเหมืองแร่ (คชก.) ได้มีมติให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเหมืองแร่ถ่านหินของบริษัท  เขียวเหลือง  จำกัด และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มีหนังสือแจ้งมติความเห็นชอบไปยังบริษัท เขียวเหลือง จำกัด เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา  ทั้ง ๆ ที่ราษฎรบ้านแหงเหนือที่อาศัยอยู่รอบบริเวณพื้นที่คำขอประทานบัตรทั้ง ๕ แปลง ไม่ได้มีส่วนร่วมและรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการจัดทำรายงานอีไอเอเลยตั้งแต่ต้น  ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ เป็นอย่างยิ่ง.   ด้วยจิตคารวะ ราษฎรกลุ่มรักษ์บ้านแหง ๒๘ เมษายน ๒๕๕๗
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/57370
2015-01-13 13:53
พล.อ.ประยุทธ์ ถ่ายรูปกับเด็กๆ ซึ่งมาขอบคุณนโยบายป้องกันควันบุหรี่
เลขาธิการคุรุสภานำศิลปินและนักเรียนเข้าพบเพื่อมอบ "ดอกกล้วยไม้" สัญลักษณ์วันครูให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนเข้าประชุม ครม. ขณะเดียวกันมีคณะครูพานักเรียนอนุบาลเด่นหล้ามาขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ ที่มีนโยบายป้องกันเด็กและเยาวชนจากควันสูบบุหรี่ 13 ม.ค. 2558 - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย [1] รายงานวันนี้ (13 ม.ค.) ว่า ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเดินทางมาเป็นประธานการประชุม ได้พบกับ นายอำนาจ สุนทรธรรม เลขาธิการคุรุสภา นำคณะนักเรียน นักศึกษาพร้อมศิลปินดาราเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อนำดอกกล้วยไม้ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำวันครูมามอบให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เนื่องในวันครู ที่จะถึงในวันที่ 16 มกราคม ที่หน้าตึกบัญชาการ 1 นอกจากนี้ยังมีคณะผู้แทนจากมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว จากโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า และโรงเรียนนวมินทราชูทิศ นครปฐม เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อมอบโปสการ์ดให้กำลังใจ และขอบคุณนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลที่ได้มีนโยบายในการป้องกันเด็กและเยาวชนจากการสูบบุหรี่ และยาเสพติด ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ร่วมร้องเพลง “วันพรุ่งนี้” ร่วมกับเด็กๆ ด้วย พร้อมกล่าวขอบคุณที่ให้กำลังใจ และจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด นอกจากนี้ตัวแทนจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อมอบเข็มกลัดตราสัญลักษณ์ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558 โดยนายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนให้ท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งขณะนี้มีการจัดแพคเกจท่องเที่ยว 14 กลุ่ม อาทิ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พร้อมทั้งให้สื่อมวลชนร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/71739
2017-06-01 13:09
สุรพศ ทวีศักดิ์: คิดถึงพุทธทาส 111 ปี
พุทธทาสช่วงที่ศึกษาอยู่ที่วัดปทุมคงคา (ภาพจากวิกิพีเดีย) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบชาตกาล 111 ปี ของพุทธทาสภิกขุ ผมมีโอกาสไปร่วมกิจกรรม “คิดถึงพุทธทาส 111 ปี” ที่สังฆะวัชรปัญญา อันเป็นชุมชนของผู้ฝึกปฏิบัติในสายธรรมวัชรยานของเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ที่สืบทอดผ่านประสบการณ์ของธรรมาจารย์เรจินัลด์ เรย์ และอาจารย์วิจักขณ์ พานิช มีบทสนทนาบางแง่มุมที่ผมอยากนำมาเล่าต่อ นับแต่การปฏิรูปพุทธศาสนาโดย ร.4 จนถึงปัจจุบัน นอกเหนือจากพุทธทาสแล้วยังไม่ปรากฏมีพระ (หรือฆราวาส) รูปใดที่สามารถสร้างผลงานอันมีคุณค่าต่อการศึกษาพุทธศาสนา ที่เป็นทั้งการสร้างความรู้, ความคิด, การวิจารณ์เชิงถอดรื้อ, การสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลง และการเสนอคำสอนพุทธศาสนาที่มีมิติลึกทางจิตวิญญาณและอารมณ์ความรู้สึกไปด้วยพร้อมๆ กัน โดยการวิเคราะห์ทัศนะและการตีความคำสอนพุทธศาสนาของ ร.4  จากเอกสารบางส่วน นักวิชาการฝ่ายก้าวหน้าในบ้านเรามองสอดคล้องกันว่า การปฏิรูปพุทธศาสนาโดย ร.4 ในมิติทางปัญญา คือการปฏิเสธคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วงและอรรถกถา แล้วกลับไปหาคำสอนที่มีเหตุผลในพระไตรปิฎก เพื่อนำมาอ้างอิงว่ามีความทันสมัย เข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ กล่าวกันว่ายุคนั้นมีการเน้นให้เห็นมิติความเป็น “มนุษยนิยม” และ “เหตุผลนิยม” ในพุทธศาสนาชัดเจนขึ้นกว่ายุคก่อนหน้า แต่อันที่จริงแล้ว ไตรภูมิพระร่วงก็แต่งขึ้นจากข้อมูลในพระไตรปิฎกและอรรถกถาเป็นด้านหลัก อีกทั้งการปฏิรูปพุทธศาสนาต่อเนื่องจาก ร.4 ในสมัย ร.5 กลับเป็นการรักษาคัมภีร์อรรถกถาไว้อย่างมั่นคงในระบบการศึกษาแบบทางการของคณะสงฆ์ กล่าวคือ ระบบการศึกษาบาลี ตั้งแต่เปรียญ 1-2 ถึงเปรียญ 9 กำหนดให้พระเณรเรียนคัมภีร์อรรถกถาเท่านั้น ไม่มีการเรียนพระไตรปิฎกแต่อย่างใด ปัญญาชนพุทธปัจจุบันที่เห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก เช่นเสฐียรพงษ์ วรรณปก ถึงขนาดเขียนในคำปรารภของหนังสือ “พระไตรปิฎกวิเคราะห์” ว่า “ถึงจะไม่มีการบรรจุพระไตรปิฎกไว้ในหลักสูตรการศึกษานักธรรม-บาลีของคณะสงฆ์ แต่ฆราวาสอย่างเราๆ ก็ควรจะเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก” ซึ่งสะท้อนว่า การปฏิรูปพุทธศาสนาสมัย ร.4-5 ไม่ได้ปฏิเสธหรือลดความสำคัญของอรรถกถาลง ทั้งยังให้ความสำคัญกับการศึกษาอรรถกถามากกว่าพระไตรปิฎกสืบต่อมาจวบจนปัจจุบันอีกด้วย ผู้ที่กลับไปหาพระไตรปิฎกอย่างแท้จริง ด้วยการสร้างการศึกษาพุทธศาสนานอกระบบ คือพุทธทาสภิกขุ ในหนังสือ “เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา” ท่านพุทธทาสเล่าว่าไม่ชอบวิธีการแปลบาลีแบบทางการในระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ที่มีต้นฉบับแปลแบบรักษาโครงสร้างไวยากรณ์และสำนวนแบบโบราณที่คนทั่วไปอ่านไม่รู้เรื่อง แล้วเน้นให้คนเรียนจำและแปลแบบเดียวกัน ท่านต้องการแปลในแบบของตัวเองที่คนอ่านทั่วๆ ไปเข้าใจง่าย ในยุคนั้นมีนิตยสาร “ธรรมจักษุ” ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส สนับสนุนให้พระราชาคณะฝ่ายธรรมยุตแปลพระสูตรบางสูตรในพระไตรปิฎกไปลงตีพิมพ์ ที่เริ่มเปิดกว้างให้มีการแปลต่างจากแบบโบราณบ้าง เช่นแบบเก่าพระพุทธเจ้าพูดกับพระมหากัสสปะจะแปลกันว่า “ดูก่อนกัสสปะ” แต่มีพระบางรูปแปลใหม่ว่า “กัสสปะจ๊ะ” ก็ได้ลงในธรรมจักษุ หากมองการกลับไปหาพระไตรปิฎกเฉพาะตัวบุคคล ท่านพุทธทาสเห็นว่าสมเด็จพระมหาสมณะเจ้าฯ ได้เริ่มต้นไว้ดีในระดับหนึ่ง เช่นการตีความเรื่องราวเชิงปาฏิหาริย์ในพระไตรปิฎกให้เห็นว่ามีแง่คิดที่มีเหตุผลซ่อนอยู่ แต่ก็ไม่มีใครที่กล้าแตะหรือตั้งคำถามและเสนออะไรนอกกรอบที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ วางเอาไว้ ในโลกตะวันตกที่ “ศรัทธา” (faith) กับ “เหตุผล” (reason) หรือศาสนากับปรัชญาปะทะกันมาตลอด การที่ปราชญ์ทางศาสนาจะยืมความคิดทางปรัชญามาอธิบายความเชื่อทางศาสนาถือเป็นเรื่องปกติ เช่นในยุคกลาง God ในมุมองของบรรดาปราชญ์คริสต์มักมีลักษณะเป็นนามธรรมและมีเหตุผลสนับสนุน (justification) ที่รัดกุม ขณะที่ God ในความเชื่อของชาวบ้านทั่วไปมีลักษณะเป็นบุคคลที่มีอำนาจให้คุณและให้โทษแก่ผู้ที่ศรัทธาและนอกรีต อำนาจศาสนจักรก็อยู่บนฐานความเชื่อนี้ หลังการปฏิรูปศาสนาโดยมาร์ติน ลูเธอร์ ที่แยกนิกายโปรเตสแตนท์จากศาสนจักรโรมันคาทอลิก ความเชื่อที่ว่าปัจเจกบุคคลสามารถตีความคัมภีร์จากมุมมองของตนเองได้ และเข้าถึงพระเจ้าได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านอำนาจของนักบวชและศาสนจักรจึงเกิดขึ้น และความเชื่อดังกล่าวนี้ก็เป็นเชื้อให้เกิดแนวคิดเสรีนิยม (liberalism) ในเวลาต่อมา เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ความเชื่อเรื่องพระเจ้าก็ถูกตีความสนับสนุนสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคมากขึ้น การกลับไปหาพระไตรปิฎกในสมัย ร.4-5 ไม่ได้ให้กำเนิดไอเดียเสรีภาพของปัจเจกบุคคลในการตีความพระไตรปิฎก เพราะการสร้างคณะสงฆ์แบบทางการของรัฐที่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องถูก,ผิดพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกได้กลายเป็นการสร้างลัทธิยึดติดคัมภีร์ (fundamentalism) ขึ้นมา แม้ไม่ได้มีอำนาจรูปธรรมมากเหมือนศาสนจักรโรมันคาทอลิก แต่ก็ยังคงมีอิทธิพลครอบงำทางความคิด ความเชื่อผ่านระบบการปกครองและระบบการศึกษาของพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรมาจนถึงปัจจุบัน มีคนถามท่านพุทธทาสว่า “ความรู้บาลีแค่เพียงเปรียญ 3 ประโยคจะทำอะไรกับการศึกษาพระไตรปิฎกได้” ท่านตอบว่า “ไม่ได้ใช้ความรู้บาลีเพียงอย่างเดียว แต่มันมีวิธีใช้เหตุผลแบบอื่นๆ ด้วย” บนวิธีคิดเช่นนี้ทำให้การกลับไปหาพระไตรปิฎกแบบพุทธทาสไม่ได้ทำให้ท่านกลายเป็น fundamentalist แต่เป็นการกลับไปหาพระไตรปิฎกด้วยวิธีวิพากษ์วิจารณ์เชิงถอดรื้อ (reconstruct) ให้เห็นว่าอะไรคือมายาคติ อะไรคือสาระที่มีประโยชน์ อะไรควรนำมาศึกษา อะไรควรฉีกทิ้ง ในมุมมองเชิงวิพากษ์แบบพุทธทาส พระไตรปิฎกไม่ใช่ของศักดิ์สิทธิ์ ในแง่หนึ่งพระไตรปิฎกคือแหล่งอ้างอิงทางวิชาการและการปฏิบัติ แต่ธรรมหรือ “ความจริง” ที่พระไตรปิฎกกล่าวถึงก็เป็นของที่มีอยู่นอกพระไตรปิฎก เพราะการบรรลุธรรมอาจเกิดกับคนที่ไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกเลย หรือไม่เคยรู้จักคำว่า “พุทธศาสนา” มาก่อนเลยก็ได้ ในทัศนะพุทธทาส โลกกับธรรมไม่ได้แยกขาดจากกัน เหมือนเพชรมีอยู่ในหัวคางคก เราก็เรียนรู้ธรรมได้จากการเข้าใจโลกย์ และ “ธรรม” ย่อมมีความหมายกว้างกว่า “ศาสนา” เพราะศาสนาต่างๆ ก็พูดถึงธรรมในแง่ต่างๆ และนอกคำสอนศาสนาก็มีธรรมอยู่เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ธรรมจึงพ้นจากกรอบศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เช่นที่ท่านตีความว่า “ธรรมะคือพระเจ้า พระเจ้าคือธรรมะ” ซึ่งเป็นการท้าทายทั้งคนที่นับถือศาสนาที่มีพระเจ้าและศาสนาที่ไม่มีพระเจ้าให้ค้นหา “ความจริง” ที่ข้ามพ้นกรอบความเชื่อของศาสนาใดๆ โดยเฉพาะ เมื่อมีความจริงที่พ้นกรอบความเชื่อของศาสนาใดศาสนาหนึ่งแล้ว ก็แปลว่ามีความจริงที่พ้นนิกายศาสนาด้วย ดังนั้น พุทธทาสจึงเป็นนักคิดชาวพุทธคนแรกๆ ที่สนับสนุนการก้าวข้ามอคติระหว่างศาสนา/นิกายศาสนาและสนับสนุนการเรียนรู้ข้อดีระหว่างศาสนาและนิกายศาสนา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสร้าง “ขันติธรรม” หรือการมีใจเปิดกว้างในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม คนที่เรียนมาทางปรัชญาย่อมรู้ดีว่า นักปรัชญาต่างๆ ล้วนสร้าง “มโนทัศน์” (concept) บางอย่างที่มี “นิยามเฉพาะ” ขึ้นมาอธิบายความคิดของตัวเอง เช่นเพลโตสร้างมโนทัศน์ Forms, Idea ค้านท์สร้าง Good Will ฟูโกต์สร้าง Biopower เป็นต้น ในหนังสือ “ตามรอยพระอรหันต์” ที่เขียนขึ้นจากพระสูตรสำคัญในพระไตรปิฎกบาลี ในปีแรกที่ออกมาตั้งสวนโมกข์ พ.ศ.2475 (ขณะมีอายุ 26 ปี) พุทธทาสเริ่มสร้างมโนทัศน์ “อริยวิทยาศาสตร์” เพื่ออธิบายความคิดที่ว่า วิธีการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มีความเป็นเหตุเป็นผลและพิสูจน์ผลการปฏิบัติได้อย่างวิทยาศาสตร์ แต่เป็นวิทยาศาสตร์ด้านธรรมธรรม ผู้ที่เคร่งครัดในนิยามของคำว่า “วิทยาศาสตร์” อาจไม่ยอมรับมโนทัศน์ “อริยวิทยาศาสตร์” หรือ “วิทยาศาสตร์ด้านนามธรรม” ของพุทธทาส กระทั่งเห็นเป็นเรื่องตลก แต่ในการศึกษาด้านจิตวิทยาและจิตวิเคราะห์ที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็มากด้วยการสร้างมโนทัศน์ต่างๆ (เช่น id, ego, superego ฯลฯ) ขึ้นมาอธิบายปรากฏการณ์ทางจิต พุทธทาสเองก็มองว่า “กิเลส” เป็นปรากฏการณ์ทางจิตอย่างหนึ่งในระดับสัญชาตญาณหรือ instinct ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่ตรวจสอบได้ และอันที่จริงในการศึกษาพุทธศาสนาในวงวิชาการตะวันตกนั้น การนำความคิดทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายคำสอนพุทธศาสนาในเรื่องทุกข์และวิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เขาก็ทำกันเป็นเรื่องปกติ (เช่นหนังสือ "สมองแห่งพุทธะ" เป็นต้น) มองเผินๆ เหมือนพุทธทาสเป็น “นักประดิษฐ์คำ” (ดังพระเซเลบปัจจุบันนิยมทำกัน) แต่ที่จริงแล้วพุทธทาสคือผู้สร้างมโนทัศน์ต่างๆ ขึ้นมาเพื่ออธิบายความคิดสำคัญของพุทธศาสนาในแบบที่ท่านตีความ เพราะมโนทัศน์ต่างๆ ที่ท่านสร้างขึ้นเช่น อริยวิทยาศาสตร์, จิตว่าง, นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้, ตัวกู ของกู, ธรรมิกประชาธิปไตย, ธรรมิกสังคมนิยม,เผด็จการโดยธรรม ฯลฯ ล้วนแต่เป็นมนโนทัศน์ที่บรรจุตัวความคิด คำอธิบายที่มีรายละเอียดมากมายและซับซ้อน เขียนเป็นหนังสือได้เป็นเล่มๆ อย่างไรก็ตาม ความคิดของพุทธทาสก็เหมือนความคิดของนักคิดอื่นๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ผมเห็นด้วยกับความคิดเรื่องศีลธรรมและสิทธิในปรัชญาของค้านท์ ที่ให้เหตุผลได้หนักแน่นว่าศีลธรรมและสิทธิควรวางอยู่บนการเคารพศักดิ์ศรีและอิสรภาพของมนุษย์ แต่ขณะเดียวกันหลักการทางศีลธรรมและหลักสิทธิแบบค้านท์ก็มีปัญหาในการประยุกต์กับสถานการณ์จริงของชีวิตและสังคมในบางเรื่อง ผมเห็นด้วยกับมิลล์ในการอธิบายเรื่องเสรีภาพและอรรถประโยชน์ของส่วนรวม แต่ไม่เห็นด้วยกับความคิดเรื่องการโหวตที่ถือว่าเสียงของคนจนด้อยการศึกษาสำคัญน้อยกว่าเสียงของคนชั้นกลางมีการศึกษา เช่นเดียวกัน ผมเห็นด้วยกับความคิดพุทธทาสในด้านที่ก้าวหน้าดังที่กล่าวมา (เป็นต้น) แต่ไม่เห็นด้วยกับความคิดทางการเมืองของพุทธทาสที่ไปไม่พ้นอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม เพราะความคิดเรื่องสังคมนิยมเผด็จการโดยธรรม โดยหลักการพื้นฐานแล้วดีในแง่ที่ถือว่า “ตามสภาวะภายใต้กฎธรรมชาติ สรรพสิ่งและมนุษย์ดำรงอยู่ได้เพราะอิงอาศัยกันและกันในรูปแบบสหกรณ์ที่เน้นความสำคัญของส่วนรวม” แต่ข้อวิพากษ์เสรีประชาธิปไตยและสังคมนิยม และข้อเสนอในทางปฏิบัติที่ให้ “คนดี” ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เป็นข้อวิพากษ์และข้อเสนอจากการคิดที่ตื้นเขิน หรือขาดเหตุผลที่รัดกุม พูดรวมๆ บทบาทและความคิดของพุทธทาสย่อมถูกตีความตามการ “อ่าน” ของแต่ละคนไปอีกนาน และคนที่ “อ่าน” พุทธทาสก็มีตั้งแต่คนแบบ ส. ศิวรักษ์, ประเวศ วะสี, นิธิ เอียวศรีวงศ์,เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, พระไพศาล วิสาโล, สมณะโพธิรักษ์ ไปจนถึงพุทธะอิสระกระทั่งยันตระ รวมทั้งคนรุ่นใหม่ๆ อย่างวิจักขณ์ พานิช, ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ฯลฯ แต่ละคนย่อมเห็นแง่มุมต่างๆ ของพุทธทาสตามวิธี “อ่าน” ของตัวเอง สำหรับผม ความคิด คำสอนพุทธทาส ไม่ใช่สัจธรรมที่เถียงไม่ได้ และเราไม่ได้แสวงหา “แก่นแท้” ของพุทธศาสนาจากคำตอบที่พุทธทาสให้มา แต่วิธีการวิจารณ์เชิงถอดรื้อของพุทธทาสทำให้อำนาจการตีความพระไตรปิฎกไม่ได้ขึ้นกับคณะสงฆ์,ปราชญ์ที่เป็นพระหรือฆราวาสอีกต่อไป ใครๆ ก็มีเสรีภาพและมั่นใจจะศึกษาตีความด้วยตนเองได้ แรงบันดาลใจจากพุทธทาส คือการทำให้เรามองความเป็นไปได้ที่คนในวัยหนุ่ม (หรือวัยหลังหนุ่ม) จะค้นพบว่าตัวเองศรัทธาแน่วแน่ในอะไร, ควรมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร และควรเดินไปสู่เป้าหมายอย่างเป็นตัวของตัวเองอย่างไร ชื่อ “พุทธทาส” จะอยู่คู่กับสังคมไทยไปอีกนานเท่าใดไม่อาจทราบได้ แต่ตราบที่ยังมีการศึกษาพุทธศาสนาอยู่ วลีที่ว่า “พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย” ก็ยังคงเป็นจริงอยู่ เพราะงานอรรถาธิบายพุทธศาสนาแบบพุทธทาสจะยังคงถูกศึกษาต่อไป ทั้งจากมุมที่เห็นด้วยและถกเถียงโต้แย้ง
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/71018
2017-04-13 15:29
พสิษฐ์ วงษ์งามดี: ชาติสำคัญไฉน เหตุใดเราจึงต้องรับใช้?
กลายเป็นดราม่าใหญ่โตในอินเตอร์เน็ตถึงเรื่องระบบการเกณฑ์ทหารของไทย เมื่อคุณเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นักศึกษาหัวก้าวหน้าแห่งจุฬาฯ ยื่นขอผ่อนผันการคัดเลือกการเกณฑ์ทหาร โดยหนึ่งในเหตุผลหลักที่คุณเนติวิทย์ใช้เพื่อสนับสนุนคำขอผ่อนผันของตัวเองนั้นก็คือการบอกว่าตนเองกำลังรับใช้ชาติอยู่ แต่เป็นการรับใช้ชาติที่ออกจะประหลาดจากนิยามของรัฐไทยหน่อยเท่านั้นเอง โดยคุณเนติวิทย์บอกว่าตนกำลังรับใช้ชาติโดยการเรียนหนังสือ ฝ่ายคุณชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นักการเมืองผู้กล้าที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลทหารมาแล้ว เมื่อเห็นคุณเนติวิทย์ประกาศขอผ่อนผันด้วยเหตุผลที่ดูจะ “ไม่สมศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย” แถมยังชวนคนอื่นๆให้ไม่ต้องไปเป็นทหารเหมือนตนอีกด้วย ก็ออกมาตำหนิคุณเนติวิทย์ทันที โดยกล่าวว่า “หากไม่อยากรับใช้ชาติ ก็อย่าไปชวนคนอื่นเลย” พร้อมแสดงความเห็นว่า “การเรียนหนังสือไม่ใช่การรับใช้ชาติ แต่เป็นการรับใช้ตัวเองและครอบครัว”[1] ผมเห็นว่าประเด็นเรื่องการรับใช้ชาติที่ทั้งคุณชูวิทย์และคุณเนติวิทย์พูดถึงนี้มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย จึงอยากจะชวนท่านผู้อ่านมาคิดว่า ในทางปรัชญาการเมืองแล้ว “ชาติสำคัญอย่างไร? เราควรรับใช้ชาติด้วยหรือ? และการเป็นทหารเกณฑ์เป็นการรับใช้ชาติหรือไม่” ผมคิดว่าคำถามนี้คงเป็นคำถามที่แปลกมากสำหรับประชาชนภายใต้ระบบรัฐชาติจำนวนมาก เพราะภายใต้ระบบรัฐชาติที่ระบาดไปทั่วโลกนี้ ชนชั้นนำของรัฐเกือบทุกแห่ง (รวมถึงรัฐไทยด้วย) ล้วนต้องปลูกฝังให้ประชาชนรู้สึกรัก หวงแหง และต้องปกป้องชาติของตน[2] เพราะความรู้สึกชาตินิยมเป็นกลไกสำคัญในการสร้างและรักษารัฐชาติให้ธำรงอยู่ได้ การปลูกฝังความรักชาตินี้มีประสิทธิผลจนถึงระดับที่ทำให้ประชาชนในรัฐ ยอม “รับใช้ชาติ” ด้วยการเสียสละทรัพย์สิน (ในรูปของภาษี) หรืออาจจะยอมรับใช้ชาติถึงขั้นสละชีพของตน (โดยการเป็นทหาร) เลยก็ได้ อย่างไรก็ดี ครั้นจะบอกว่าเราควรรับใช้ชาติ เพราะชนชั้นนำของรัฐชาติต้องการให้เรารับใช้ ก็ดูจะเป็นคำตอบที่กำปั้นทุบดินไปเสียหน่อย และผมไม่เชื่อว่าแค่ลูกไม้ของชนชั้นนำจะทำให้ลัทธิชาตินิยม และรูปแบบการปกครองแบบรัฐชาติสมัยใหม่แพร่กระจายไปทั่วโลกได้ขนาดนี้ หากราศจากหลักการอะไรบางอย่างที่น่าเชื่อถือมารองรับ ผมเข้าใจว่าวาทกรรมการรับใช้ชาติมีอิทธิพลต่อประชาชนทั่วโลกได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหลักปรัชญาการเมืองที่ทรงพลัง อย่างน้อยก็ในระดับที่เพียงพอจะช่วยให้ชนชั้นนำเอาหลักปรัชญาเหล่านั้นมาใช้กล่าวอ้างเพื่อชักจูงให้ประชาชนชั้นล่างเสียสละเพื่อรัฐของตนได้ หลักปรัชญาข้อแรก คือ ข้อถกเถียงที่ว่าคนเรามีภาระรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสาธารณะ นักปรัชญาคนสำคัญคนหนึ่งที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือ จอห์น รอลส์ (John Rawls) สังคมในอุดมคติของรอล์ส สรุปง่ายๆแล้วมีอยู่ 2 องค์ประกอบสำคัญ คือ หนึ่ง สังคมนั้นจะต้องเป็นสังคมที่ผู้คนมีสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ประชาชนสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ไม่มีใครมาละเมิดสิทธิเสรีภาพของคุณได้ และสอง การใช้สิทธิและเสรีภาพของผู้คนในสังคมนั้นอยู่บนพื้นฐานที่ว่าเรายังมีภาระอะไรบางอย่างที่จะต้องรับผิดชอบต่อสังคม เช่น เรามีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกประกอบอาชีพอะไรก็ได้ที่เราต้องการ ผู้มีพรสวรรค์ด้านการสร้างรอยยิ้มอาจหาเงินจากการเป็นดาราหรือนักแสดง คนที่มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์อาจจะเป็นหมอหรือวิศวะกร แต่สุดท้ายแล้วทุกคนมีภาระหน้าที่ที่จะต้องจ่ายภาษี เพื่อนำภาษีที่ได้นั้นไปช่วยเหลือคนด้อยโอกาสในสังคม รอล์สเชื่อว่าไม่มีใครมีคุณค่าทางศีลธรรมมากพอที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพในการสะสมความมั่งคั่งไว้กับตนเองเพียงคนเดียวโดยไม่ต้องรับผิดชอบใดๆต่อสังคมเลย หลักปรัชญาข้อที่สอง คือ แนวคิดอรรถประโยชน์นิยมของ เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) เบนแธม กล่าวว่า ความยุติธรรมคือการสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับสังคมโดยรวม เช่น ถ้าคุณไปทานข้าวกับเพื่อน 3 คน และคุณเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ คุณรู้ว่าเพื่อนทั้ง 3 คนชอบทานก๋วยเตี๋ยว ในขณะที่ตัวคุณเองเพียงคนเดียวชอบทานส้มตำ ในกรณีนี้ ความยุติธรรมคือการเลือกไปทานก๋วยเตี๋ยว เพราะมันเป็นตัวเลือกที่ทำให้คนในสังคมได้รับประโยชน์สูงสุด รอลส์ และ เบนแธม เป็นนักปรัชญาที่ทรงอิทธิพลมากในวงการปรัชญาการเมือง จะเห็นได้ว่าแนวคิดของทั้ง 2 คน แอบซ่อนนัยยะของการให้ “ปัจเจกบุคคล” ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อ “สังคมส่วนรวม” เอาไว้ แนวคิดสองข้อนี้เอง เป็นพื้นฐานให้กับวาทกรรมการ “รับใช้ชาติ” เพราะชาตินั้นก็เป็นสังคมแบบหนึ่ง ฉะนั้น เราจึงมักเห็นผู้นำของรัฐชาติออกมาถามว่า “คุณสามารถเสียสละเพื่อส่วนรวมได้หรือไม่?” หรือถามว่า “คุณเป็นคนไทยรึเปล่า?” ถ้าเป็นคนไทย ในฐานะส่วนหนึ่งของชาติไทย คุณก็ควรจะต้อง “ช่วยๆกันหน่อยสิ ปัดโธ่!?” เมื่อมาถึงจุดนี้ ผมควรจะกล่าวให้ชัดเจนว่าผมเห็นด้วยกับหลักการของรอลส์และเบนแธมเป็นอย่างยิ่ง เพราะผมเชื่อว่าคนเราควรมีความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างไรก็ดี ผมไม่คิดว่าปัจเจกบุคคลจำเป็นต้องเสียสละเพื่อสังคมส่วนรวมจนละเลยความสำคัญของสิทธิของตน จนยอมให้ผู้ปกครองเรียกร้องอะไรก็ได้โดยใช้ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นข้ออ้าง และผมเห็นว่าการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารภายใต้บริบทปัจจุบันของรัฐไทยนั้น แม้ดูเร็วๆ (at the first glance) จะคล้ายกับแนวคิดของรอลส์และเบนแธม แต่โดยรากฐานแล้วมันกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วาทกรรมการ “รับใช้ชาติ” ถูกสร้างขึ้นมาโดยแอบอิงหลักการของรอลส์และเบนแธมเพียงผิวเผิน เพื่อใช้อ้างเพียงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นนำเท่านั้น เหตุผลที่ใช้สนับสนุนแนวคิดของผมมีดังนี้ ข้อแรก ผมเห็นว่าคำว่า “ชาติ” ที่ชนชั้นนำไทยใช้อ้างถึงเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนเสียสละนั้น มีความหมายคับแคบมาก และไม่ได้ผนวกรวมปัจเจกทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ความคับแคบและการกีดกันคนบางกลุ่มออกไปนี้ ขัดแย้งกับหลักผลประโยชน์สูงสุดแก่สังคมส่วนรวมของเบนแธมอย่างมาก ผมเข้าใจว่านิยามของคำว่า “ชาติ” ที่ชนชั้นนำไทยนิยมใช้นั้น ถ้ามิได้หมายถึง “อณาเขตบนแผนที่ของรัฐไทย” ก็มักจะหมายถึง “ความเกรียงไกรของชนชั้นนำ” เรามักจะเห็นชนชั้นนำไทยเรียกร้องให้ประชาชนปกป้องชาติในความหมายนี้เสมอผ่านวาทกรรม “เสียดินแดน”อยู่เสมอ สรุปคร่าวๆคือ ชาติในความหมายนี้ ชนชั้นนำไทยยอมให้ประชาชนตายเท่าไหร่ก็ได้ ขอเพียงแค่ไม่เสียดินแดนสักตารางนิ้วหนึ่งก็พอ นิยามของคำว่าชาติในลักษณะนี้ ไม่ได้ให้คุณค่ากับผลประโยชน์ของประชาชนแต่อย่างใด[3] แต่ให้คุณค่ากับบารมีของชนชั้นนำแทน หากประชาชนคนตาดำๆตายสักพันคนก็ย่อมได้ถ้าช่วยให้บารมีของชนชั้นนำเพียงหยิบมือหนึ่งมั่นคงหรือเจิดจำรัสขึ้น[4] อาทิ กรณีของปราสาทเขาพระวิหารและพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรามักจะเห็นชนชั้นนำไทยและคนไทยจำนวนมากเรียกร้องให้ประชาชนในพื้นที่ยอมเสียสละเสี่ยงชีวิตกับการสู้รบเพื่อให้ประเทศไทยไม่เสียดินแดนอีกเป็นครั้งที่ 15 โดยมิได้สนใจถึงชีวิตความเป็นอยู่และความต้องการของคนในพื้นที่เลย แม้หลายๆครั้งเราจะเห็นว่าชนชั้นนำไทยมักจะเรียกร้องให้ประชาชนเสียสละเพื่อ “ชาติ” แต่ “ชาติ” ในความหมายของชนชั้นนำนั้น ไม่ได้หมายถึง “สังคมส่วนรวม” ตามที่รอลส์และเบนแธมเชื่อ แต่กลับหมายถึงตัวของ “ชนชั้นนำ” เอง ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของสังคม คำว่าชาติจึงเป็นเพียงคำสุภาพเสมือนสีพาสเทลที่ช่วยให้การปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นนำดูดีขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างการเรียกร้องให้ประชาชนทำเพื่อชาติ/ชนชั้นนำ ที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ เช่น ชนชั้นนำเรียกร้องให้ประชาชนรับใช้ชาติโดยการเป็นทหาร เพื่อสละชีพปกป้องอณาเขตบนแผนที่ หรือ เรียกร้องให้ประชาชนรับใช้ชาติโดยการเป็นทหารเพื่อให้ทหารระดับสูงมีคนรับใช้ฟรีด้วยภาษีประชาชน หรือ เรียกร้องให้ประชาชนเสียสละจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อให้ชนชั้นนำได้ซื้ออาวุธจากต่างประเทศ และเพื่อเพิ่มความเกรียงไกรแก่ชนชั้นนำ หรือ เรียกร้องให้ประชาชนอดทนรอไม่ต้องให้มีการเลือกตั้งสักพัก เพื่อให้ชนชั้นนำได้ “ปฏิรูป” ประเทศไปในแนวทางที่ชนชั้นนำต้องการ เป็นต้น ฉะนั้น นิยามคำว่าชาติของชนชั้นนำจริงๆแล้วจึงไม่ใช่การเรียกร้องให้ประชาชนส่วนน้อยเสียสละเพื่อสังคมส่วนมาก แต่เป็นการเรียกร้องให้ประชาชนส่วนมาก เสียสละเพื่อชนชั้นนำส่วนน้อยต่างหาก นอกจากนี้ โดยหลักการแล้วเบนแธมให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในการคำนวณประโยชน์สูงสุดของสังคม คนทุกคนจะถูกนับโดยไม่มีการถ่วงน้ำหนักบุคคลกลุ่มไหนมากกว่ากลุ่มอื่นเป็นพิเศษ แต่ในวาทกรรม “เสียสละเพื่อชาติ” หรือ “รับใช้ชาติ” ของชนชั้นนำไทย ดูเหมือนประโยชน์ของชนชั้นนำไทยจะได้รับการถ่วงน้ำหนักให้มีความสำคัญเหนือประโยชน์ของตาสีตาสาตาดำๆเสมอ ข้อสอง ผมคิดว่าถ้ายึดตามหลักการสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่สังคมของเบนแธมแล้ว การไม่เกณฑ์ทหารแต่เปิดโอกาสให้ประชาชนทำสิ่งที่ตนเองถนัด น่าจะเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าการบังคับให้ทุกคนเกณฑ์ทหาร อย่างที่กล่าวไปข้างต้น คำว่าชาติในวาทกรรม “รับใช้ชาติ” ของชนชั้นนำนั้น หมายถึงการเรียกร้องให้ประชาชนเสียสละประโยชน์ของตนเพื่อประโยชน์สูงสุดของชนชั้นนำ ถ้าอิงตามนิยามชาติแบบคับแคบนี้ แน่นอนว่าการเป็นทหารเกณฑ์ย่อมเป็นการรับใช้ชาติอันสูงสุด เพราะทหารเกณฑ์ต้องเสี่ยงชีวิตปกป้องบารมีของชนชั้นนำ หรือ เสียสละเวลาไปเป็นคนรับใช้ของชนชั้นนำ ชนชั้นนำย่อมได้ประโยชน์เป็นอย่างมากจากการบังคับให้ชายไทยทุกคนเกณฑ์ทหารอย่างแน่นอน แต่ถ้าเรานิยามคำว่า “ชาติ” ให้กว้างขวางครอบคุลมมากขึ้น โดยให้มีความหมายถึง “สังคมส่วนรวม” หรือ “มนุษยชาติที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่ที่เรียกว่าประเทศไทย” ผมสงสัยเหลือเกินว่าการบังคับเกณฑ์ทหารจะไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชาติในความหมายที่กว้างขวางนี้ เพราะชายไทยจำนวนมากจะต้องเสียเวลาอันมีค่าไปกับการเสี่ยงโดนละเมิดสิทธิมนุษยชนในค่ายทหาร โดยไม่เกิดประโยชน์กับใคร พวกเขาเสียรายได้ที่สามารถแปรเป็นภาษีให้กับส่วนรวม และเสียโอกาสที่จะประกอบอาชีพตามความถนัดของตัวเอง ซึ่งการทำอะไรที่ตนเชี่ยวชาญน่าจะให้ประโยชน์กับสังคมมากกว่าแน่นอน มีหลักฐานจำนวนหนึ่งที่พอจะสะท้อนให้เห็นได้ว่าคนไทยจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการ “รับใช้ชาติ” ด้วยการเกณฑ์ทหาร เช่น มีข่าวคราวตามหน้าหนังสือพิมพ์มากมายในช่วงเกณฑ์ทหารว่าชายไทยโห่ร้องดีใจเมื่อจับได้ใบดำ ในทางตรงกันข้าม ชายไทยบางคน (หรือครอบครัวของชายไทยกลุ่มนั้น) ถึงกับเป็นลมหรือร้องไห้เมื่อผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารจับได้ใบแดง ยิ่งไปกว่านั้น ก่อนหน้านี้แอพลิเคชั่น People Poll Thailand ได้ทำการสำรวจความเห็นของผู้ใช้แอพลิเคชั่นว่า เห็นด้วยกับการบังคับเกณฑ์ทหารหรือไม่ ผลปรากฎว่าผู้เข้ามาโหวตร้อยละ 80 ไม่เห็นด้วยกับการบังคับเกณฑ์ทหาร หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการเกณฑ์ทหารไม่ได้สอดคล้องกับหลักการประโยชน์สูงสุดแก่สังคมส่วนรวมของเบนแธม (แต่อาจจะสอดคล้องต่อหลักประโยชน์สูงสุดแก่ชนชั้นนำของรัฐไทย) ข้อสาม แนวคิดของรอล์สนั้น แม้จะให้ความสำคัญกับภาระรับผิดชอบที่ปัจเจกบุคคลทุกคนมีต่อสังคม แต่สิ่งที่รอล์สให้ความสำคัญไม่แพ้กันนั้นก็คือ สิทธิและเสรีภาพของปัจเจกที่ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่ควรจะถูกละเมิด ฉะนั้น ในบริบทของกองทัพไทยในปัจจุบัน ที่ชายไทยทุกคนจะต้องเกณฑ์ทหาร และมีความเสี่ยงสูงมากที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างการฝึก จึงน่าจะขัดแย้งกับแนวคิดเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของรอล์สอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ภาระรับผิดชอบต่อสังคมที่รอล์สกล่าวถึงนั้น ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยนิยามอันคับแคบเหมือนอย่างที่ชนชั้นนำไทยทำ เพราะภาระรับผิดชอบที่รอล์สให้ความสำคัญที่สุดนั้น คือ “การเสียภาษี” เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับสังคม ไม่ใช่การสละชีพเพื่อสร้างความเกรียงไกรให้แก่ชนชั้นนำ หรือการรับใช้ชนชั้นนำแต่อย่างใด โดยสรุปแล้ว ผมคิดว่าแนวคิดเรื่องรัฐชาติและชาตินิยมได้รับฐานสนับสนุนจากปรัชญาการเมืองของรอล์สและเบนแธม ที่ว่าปัจเจกบุคคลในสังคมควรมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ อย่างไรก็ดี แนวคิดของรอล์สและเบนแธมก็ถูกบิดเบือน (manipulate) จากชนชั้นนำของรัฐชาติเพื่อหาประโยชน์ให้กับตัวของชนชั้นนำเองเช่นกัน ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของรอล์สและเบนแธมว่า ปัจเจกบุคคลทุกคนที่อยู่ในสังคมควรมีภาระหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะ และควรจะ “ทำเพื่อสังคม” อย่างไรก็ดี การทำเพื่อสังคมนั้น จะต้องไม่ใช่การสละซึ่งสิทธิและเสรีภาพของตนเองอย่างสิ้นเชิง มนุษย์ทุกคนไม่มีใครที่สมควรจะถูกซ้อม ไม่มีใครที่สมควรจะต้องสละเวลาไปรับใช้คนอื่นโดยไม่ยินยอมพร้อมใจ ยิ่งไปกว่านั้น ผมคิดว่านิยามของการ “ทำเพื่อสังคม” ไม่ควรจะถูกนิยามอย่างคับแคบเหมือนอย่างวาทกรรม “รับใช้ชาติ” ของชนชั้นนำไทย ผมเห็นว่าการทำเพื่อสังคมนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องถูกผูกขาดอยู่กับอาชีพใดอาชีพหนึ่งเช่นทหารเพียงอาชีพเดียวเท่านั้น ทุกอาชีพสามารถ “ทำเพื่อสังคม” ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นหมอ ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา สื่อ ตลอดจนถึงชาวนาและผู้ยากไร้ หรือแม้กระทั่งอาชีพที่มักจะถูกชนชั้นนำไทยดูหมิ่น เช่น Sex workers ก็สามารถทำเพื่อสังคมได้ เช่น หมอทำเพื่อสังคมผ่านการช่วยเหลือคนไข้ ชาวนาทำเพื่อสังคมผ่านการผลิตอาหาร นักศึกษาทำเพื่อสังคมผ่านการเตรียมความพร้อมไปประกอบอาชีพที่ตนต้องการ และ Sex workers ทำเพื่อสังคมผ่านการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ[5] และในเวลาเดียวกัน ทุกอาชีพก็ทำเพื่อสังคมได้ด้วยการเสียภาษี (ซึ่งชนชั้นนำพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะหลีกเลี่ยง) การทำเพื่อสังคมส่วนรวมนั้นน่ายกย่อง แต่การรับใช้ชาติ (ซึ่งหมายถึงชนชั้นนำส่วนน้อย) นั้น ไม่ควรค่าแก่การยกย่องแต่อย่างใด   เชิงอรรถ [1] โปรดอ่านที่มาของข่าวจาก https://www.facebook.com/ChuvitIamBack/photos/a.193325407380863.52551.193319037381500/1391645000882225/?type=3&theater [1] และ https://www.prachatai.com/journal/2017/04/70891 [2] [2] ผ่านการใช้เพลง คำขวัญ การสร้างอนุสาวรีย์ การสร้างศัตรูร่วมกัน การสร้างอัตลักษณ์แห่งชาติ การเรียนการสอนในโรงเรียน ฯลฯ [3] มิพึงต้องเอ่ยถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ของประชาชน [4] โปรดดูบทวิเคราะห์ว่าด้วยนิยามของชาติในลักษณะนี้เพิ่มเติมจาก ธงชัย วินิจจะกูล (2559) ‘เสียดินแดนเป็นประวัติศาสตร์หลอกไพร่ไปตายแทน (เพราะไทยไม่เคยเสียดินแดน)’, ใน โฉมหน้าราชาชาตินิยม. หน้า 125-130. และ ประชาไท (2016) หมายเหตุประเพทไทย ตอนที่ 102: Descendants of the Sun สอนให้รักชาติจริงไหมจ๊ะ. https://www.youtube.com/watch?v=RNhf6RtLy70 [3]. และ โปรดดูนิยามของชาติกระแสหลักที่ถูกชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมสร้างขึ้นใน โสภา ชานะมูล (2550) ชาติไทยในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า. กรุงเทพ: มติชน. [5] เอาเข้าจริงแล้วถ้าดูจากปริมาณ GDP ที่ sex workers สร้างขึ้นให้กับประเทศไทย อาจจะถือว่าพวกเขาทำประโยชน์ให้กับสังคมมากกว่าชนชั้นนำไทยเสียอีก   เกี่ยวกับผู้เขียน  พสิษฐ์ วงษ์งามดี เป็นอาจารย์ผู้สอน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/65631
2016-05-05 16:43
เฟซบุ๊กตอบรับคำขอรัฐบาล แบนเพจ 'กูkult' ในไทย อ้างข้อจำกัดทางกฎหมาย
สมศักดิ์ ชี้ต่างประเทศยังเข้าได้ คาดด้วยมาตรการนี้อีกหน่อยเพจอื่นก็โดนด้วย ตั้งข้อสังเกตเกิดไล่เลี่ยกับข่าวเข้าถึงหลังไมค์แอดมินล้อประยุทธ์ เฟซบุ๊กเผยครึ่งหลังปี 58 รัฐไทยขอข้อมูล 3 แอคเคาท์ แต่เฟซบุ๊กไม่ให้ 5 พ.ค. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'กูkult' ซึ่งมีผู้กดไลค์หลายหมื่น และมักมีการโพสต์ภาพเชิงล้อเลียนเสียดสีสังคมและการเมือง รวมทั้งสถาบันกษัติริย์ ไม่สามารถเข้าถึงได้เนื้อหาได้แล้ว โดยเฟซบุ๊กแจ้งว่า "ไม่มีเนื้อหาอยู่ใน ไทย คุณไม่สามารถดูเนื้อหานี้ได้เนื่องจากกฎหมายในท้องถิ่นจำกัดความสามารถของเราในการแสดงเนื้อหานั้น หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ศูนย์ช่วยเหลือ" ทั้งนี้เมื่อเฟซบุ๊กอธิบายถึง ข้อจำกัดทางกฎหมายที่ใช้กับการเข้าถึงเนื้อหา [1] ด้วยว่า ข้อจำกัดทางกฎหมายที่ใช้กับการเข้าถึงเนื้อหาหมายถึงการที่ Facebook ไม่เปิดให้เข้าถึงเนื้อหาตามคำสั่งของรัฐบาล ในบางครั้ง รัฐบาลอาจสั่งให้ Facebook ลบเนื้อหาที่ละเมิดกฎหมายท้องถิ่นออก เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะประเมินความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งดังกล่าว หน่วยงานต้นสังกัดของผู้ออกคำสั่ง นโยบายของเรา และกฎหมายท้องถิ่น ในบางกรณี เราจะไม่เปิดให้เข้าถึงเนื้อหาในประเทศหรือเขตแดนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกรณีที่เราลบเนื้อหาที่ระบุชัดแจ้งว่าผิดกฎหมายซึ่งอาจมีองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลแจ้งให้เราทราบ เช่น กลุ่มองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรหรือองค์กรการกุศล เช่น การปฏิเสธการมีอยู่ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศเยอรมนี และหากทางเราได้รับรายงานดังกล่าว เราจะจำกัดเนื้อหานั้นกับประชาชนในประเทศเยอรมนี เฟซบุ๊กยังเผยแพร่ รายงานคำขอของรัฐบาลทั่วโลก [2] เพื่อดูข้อมูลที่ Facebook จำกัดการเข้าถึงตามกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งสามารถดูได้ตามลิงค์ (https://govtrequests.facebook.com/ [2]) สมศักดิ์ ชี้ต่างประเทศยังเข้าได้ คาดอีกหน่อยเพจอื่นก็โดนได้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ผู้ใช้เฟซบุ๊กเพื่อการสื่อสารและนำเสนอความคิดอยู่เป็นประจำ ซึ่งขณะนี้เขาลี้ภัยทางการเมืองอยู่ต่างประเทศ ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า ในต่างประเทศยังสามารถเข้าถึงเพจดังกล่าวได้  "ถ้าเฟซบุ๊คเป็นคนบล็อกจริง ก็แสดงว่าเฟซบุ๊คยอมร่วมมือกับทางการไทยในการบล็อกเพจ คือไม่ได้ลบเพจ เพราะเพจยังอยู่ ผมดูได้ (แค็พมาให้ดูตัวเป็นตัวอย่างว่ามีข้อความอะไรบ้าง) อย่างนี้อีกหน่อย ก็บล็อกเพจอื่นๆ (เช่นเพจผม) ด้วยข้ออ้างเดียวกันได้สิ อย่างที่บอกว่า โดยส่วนตัว ผมเองยังไม่ถึงกับชัวร์เต็มที่ว่าใครบล็อก ยังไงก็ช่วยเช็คกันดูนะครับ" สมศักดิ์ โพสต์ เกิดไล่เลี่ยกับข่าวเข้าถึงหลังไมค์แอดมินล้อประยุทธ์ Blognone [3] และ Khaosod English [4] รายงานว่า มีการตั้งข้อสังเกตุด้วยว่าเกตุด้วยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับการที่ตำรวจ สามารถเข้าถึงบทสนทนาใน Messenger ของแอดมินเพจ "เรารักพล.อ.ประยุทธ์" ที่โดนตั้งข้อกล่าวหากระทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีการตั้งข้อสงสัยว่าเฟซบุ๊กได้ยื่นมือเข้ามาช่วยมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการปิดกั้นเพจอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เฟซบุ๊กบล็อคคอนเทนต์ที่กระทบความมั่นคงตามคำขอของรัฐบาลไทย [5] เฟซบุ๊กเผยครึ่งหลังปี 58 รัฐไทยขอข้อมูล 3 แอคเคาท์ แต่เฟซบุ๊กไม่ให้ ขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก [6]เปิดเผยรายงานความโปร่งใส ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 (ก.ค.-ธ.ค.) ระบุว่า รัฐไทยข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยจากเฟซบุ๊กเป็นจำนวน 3 ครั้ง 3 แอคเคาท์ โดยเฟซบุ๊กไม่ได้ให้ข้อมูลดังกล่าวแม้แต่รายเดียว (0%) ทั้งนี้ เฟซบุ๊กระบุว่าจะตอบสนองต่อคำขอเกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่มีผลตามกฎหมาย โดยจะมีการตรวจสอบความเพียงพอทางกฎหมายของแต่ละคำขอ และจะปฏิเสธหรือขอให้มีข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงต่อคำขอที่กว้างหรือคลุมเครือเกินไป ขณะที่ช่วงเวลาดังกล่าวเฟซบุ๊กระบุว่า มีจำนวน 30 ชิ้นของเนื้อหาที่จำกัด  "เราจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาในประเทศไทยที่รายงานโดยกระทรวงการต่างประเทศหรือ Thai CERT (ทีมตอบสนองภาวะเหตุการณ์ด้านความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์) ภายใต้กฎหมายท้องถิ่นที่ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์หรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์" เฟซบุ๊กอธิบายการจำกัดเนื้อหาดังกล่าว
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/18819
2008-11-01 23:18
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: ความคิดเห็นของชาว กทม.เกี่ยวกับการเมืองของประเทศ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้สอบถามความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ 1,319 คนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างๆกันเมื่อ วันที่ 25 และ26 ตุลาคม 2551 เกี่ยวกับการเมืองของประเทศในปัจจุบันพบว่า   1. ชาว กทม. ร้อยละ 24.0 คิดว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีน่าจะเป็นผู้ที่สามารถแก้วิกฤตประเทศได้ดีที่สุด รองลงมา คือ นายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ร้อยละ 20.8 อดีต นายกรัฐมนตรี พตท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 20.0 และ ผบ.ทบ.พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ร้อยละ 9.7   2. ชาว กทม. ร้อยละ 30.1 คิดว่าทางออกที่ดีในการยุติการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรัฐบาลคือการยุบสภา รองลงมาคือการเจรจากับกลุ่มพันธมิตรเพื่อหาข้อยุติ ร้อยละ 18.9 ส่วนทางออกโดยการตั้ง สสร 3 แก้รัฐธรรมนูญมีเพียง ร้อยละ 7.2 เท่านั้น   3. ชาว กทม. ถึงร้อยละ 43.9 คิดว่าจุดประสงค์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือ การล้มรัฐบาลที่เป็นนอมินีของอดีตนายกรัฐมนตรี พตท.ทักษิณ ชินวัตร รองลงมาคือการกำจัดระบอบทักษิณ ร้อยละ 22.9 การสร้างระบบการเมืองใหม่ที่ไม่สามารถซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้ ร้อยละ 17.5 และมีเพียงร้อยละ 10.6 คิดว่ากลุ่มพันธมิตรต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล   4. ชาว กทม. ถึงร้อยละ 30.7 คิดว่าจุดประสงค์ของแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ(นปช) คือการต่อต้านกลุ่มพันธมิตรและปกป้องรัฐบาล รองลงมาคือการปกป้องระบอบทักษิณ ร้อยละ 30.1 การต่อต้านเผด็จการ ร้อยละ 18.0 และมีชาวกทม.เพียงร้อยละ 17.1 คิดว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการต่อสู้กับกลุ่มพันธมิตร
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/19002
2008-11-20 02:51
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
อุดร วงษ์ทับทิม   ผมทราบข่าวการถึงอสัญกรรมของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ผู้เป็นปูชนียะบุคคลของคนไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชาจำนวนไม่น้อย ขณะที่ผมเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ในเมืองเชียงรุ่ง จังหวัดปกครองตนเองไตสิบสองปันนา ดินแดนที่อดีตนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล มีความรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่ในบ้านเกิด   ตลอดช่วงชีวิตของท่านผู้หญิงพูนศุขและอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ นั้นได้ให้บทพิสูจน์ชิ้นสำคัญแก่ชาวไทย และผองเพื่อนมนุษย์ทั่วโลก ว่า "คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้" และ "ทองแท้ย่อมไม่กลัวไฟ"   พร้อมกันนี้ผมเชื่อมั่นว่า ประชาชนคนไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ยังไม่ลืมคุณูปการที่ท่านทั้งสองได้กระทำไว้   ดินแดนสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นเสมือนบ้านพี่เมืองน้องที่ใกล้ชิดของไทยเรา ครั้งหนึ่งก็เคยให้ที่พำนักพักพิง และความมั่นคงปลอดภัย แก่ครอบครัวของท่านผู้หญิงพูนศุขและอาจารย์ปรีดี ในช่วงที่เผชิญวิกฤตต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ   ด้วยน้ำใจอันเปี่ยมเมตตา และโอบเอื้ออารีของท่านผู้หญิงพูนศุข ผมมีโอกาสเดินทางไปพบและสัมภาษณ์ท่านสองสามครั้ง รวมทั้งมีครั้งหนึ่งที่เดินทางไปที่บ้านท่านเพื่อถ่ายรูปเป็นการเฉพาะ ช่วงที่ผมเขียนหนังสือ "ปรีดี พนมยงค์ กับขบวนการกู้เอกราชในลาว"   ผนังห้องรับแขกของท่านมีรูปหนึ่งมีรูปท่านพุทธทาสขนาดใหญ่แขวนติดอยู่ หากผมจำไม่ผิดเป็นรูปซึ่งมีข้อความลายมือของท่านพุทธทาสอยู่ด้วย ท่านผู้หญิงย้ำกับผมหลายครั้ง ว่า "ขันติและการให้อภัย คือ สิ่งที่ทำให้ดำเนินชีวิตอยู่ในวันนี้ได้อย่างมีความสุข"   คำพูดของท่านผู้หญิงชวนให้ผมประหวัดไปถึงงานเขียนชิ้นเยี่ยมของเฮอร์มาน เฮสเส เรื่อง STEPPENWOLF ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งกินใจมาก สะดุดความรู้สึกของคนที่เผชิญความเจ็บปวดรวดร้าวอีกมากหลาย เป็นงานเขียนที่อ่านแล้ว "กระแทกใจ" อย่างลุ่มลึก ทำให้สรุปได้เลยว่า ความปวดร้าวนี่เป็นอารมณ์ร่วมอันทรงพลังของมวลมนุษยชาติ ปัญหาก็คือ เราจะเผชิญกับมันอย่างไร ซึ่งเฮสเสได้ให้คำคำตอบไว้แจ่มชัดมาก ด้วยถ้อยคำเพียงไม่กี่คำ และที่สำคัญ ก็คือ เป็นคำๆ เดียวกับของท่านพุทธทาส   "คนทุกวัย ทุกวัฒนธรรม ทุกขนบธรรมเนียมประเพณี ล้วนมีบุคลิก มีความอ่อนแอ ความเข้มแข็ง ความงาม ความอัปลักษณ์ของตนเอง การยอมรับในสิ่งปวดร้าว ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และเผชิญกับสิ่งชั่วร้ายราวปีศาจด้วยขันติ"   ขันติและการให้อภัย ไม่ว่าจะนับถือศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พรามณ์ ผี หรือไม่มีศาสนาเลยก็ตามที หากมีขันติและการให้อภัย โลกและบ้านเมืองแต่ละแห่งคงไม่สับสนวุ่นวายเป็นบ้าเป็นหลัง ดังเช่นในทุกวันนี้ หากจะบอกว่า "ขันติเป็นธรรมที่คุ้มครองโลก" ก็คงไม่ผิดไปจากความจริง เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นชินกับคำว่า "BE PEACE PREVAIL ON EARTH" กันดีพอควร   ประเด็นเนื้อหาสาระจากคำถามที่ผมเตรียมไปถามท่านผู้หญิง เป็นคำถามที่มีขึ้นหลังไปเก็บข้อมูลรายละเอียดเรื่องราวของเจ้าเพ็ดชะลาดอยู่ที่นครหลวงพระบางเป็นระยะเวลานานพอควร โดยมีลุงสิงคำ สิริวัฒนา หรือ "พ่อใหญ่" ของ "ชาวเมืองหลวง" และบรรดาผู้อาวุโสแห่งคณะโขนหลวง และนักมโหรีปี่พาทย์ชั้นครู ประจำวังพระราชวังล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง เช่น ลุงโมนีวง รวมทั้งลุงคำเหล็ก ซึ่งล้วนมีบทบาทอยู่ในคณะกู้อิสรภาพ เพื่อให้พ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ   รายละเอียดในการดำเนินชีวิตของท่านผู้หญิงและอาจารย์ปรีดี รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว จากการเปิดเผยของท่านผู้หญิง เป็นส่วนเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมือง และประวัติศาสตร์สังคมไทย   อุดร : ช่วงเจ้าเพ็ดชะลาดและคณะมาต่อสู้เพื่อเอกราชอยู่ในประเทศไทย ท่านผู้หญิงให้ความช่วยเหลืออย่างมาก   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ดิฉันเคยรับฝากพระพุทธรูปลาว นี่ยังไม่พบใบคืน แต่เขาเอาคืนไปแล้วนะ พระพุทธรูปทองคำ เขาเอามาฝากไว้ ตอนนั้นอยู่คนเดียว เกิดรัฐประหารแล้ว ปรีดี ไม่อยู่   อุดร : เจ้าเพ็ดชะลาดเอามาฝากหรือครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ไม่ใช่ คนอื่นเอามา แต่คงผ่านทางเจ้าเพ็ดชะลาด องค์ก็ไม่ใหญ่โตนะ ย่อมๆ แต่เป็นทองคำแท้   อุดร : สูงแค่นี้หรือเปล่าครับ (กางแขนขนาดหนึ่งช่วงแขน)   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ไม่ถึง   อุดร : ช่วงเจ้าเพ็ดชะลาดมาอยู่กรุงเทพฯ ท่านผู้หญิงช่วยเหลืออะไรบ้างครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ช่วงนั้นฉันเองก็แย่ แต่ก็ไปเยี่ยมเยียนดูแลบ้าง เราถูกรัฐประหารใช่ไหม ตอนนั้นอยู่คนเดียวที่บ้านถนนสีลม ที่ดินที่มีอยู่ก็ขายไปเรื่อยๆ บำเหน็จบำนาญก็ไม่ได้ ไม่ได้ก็…   อุดร : แล้วช่วงนี้ได้หรือยังครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ช่วงนี้เหรอ เดี๋ยวนี้ก็ได้แล้ว พอไปอยู่ฝรั่งเศสก็ยื่นฟ้อง   อุดร : ฟ้องรัฐบาล เวลานั้นใครเป็นรัฐบาล ใครเป็นนายกฯ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : รัฐมนตรีต่างประเทศ คือ คุณถนัด คอมันต์ สาเหตุที่ฟ้องเพราะมีปัญหาเรื่องพาสปอร์ต ……ครอบครัวลี้ภัยไปอยู่เมืองจีน พอจะย้ายมาฝรั่งเศสต้องไปขอพาสปอร์ต ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนต้องใช้พาสปอร์ตแสดงตัว เวลานั้นไม่มีสถานกงสุล ไม่อยากพูดหรอก เอกอัครราชฑูตเขาก็ตายไปแล้ว เขาก็ไม่ได้….. คนจากสถานฑูตมาหาเรา บอกให้ไปแสดงตัวที่สถานทูต   อุดร : ตอนยื่นฟ้องนั้นอยู่ปารีสแล้วใช่ไหมครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : อยู่ปารีส   อุดร : เดินทางจากจีนไปปารีสโดยไม่มีหลักฐานอะไรเลย   ท่านผู้หญิงพูนศุข :มีสิ กระทรวงการต่างประเทศของจีนเขาออกเอกสารประจำตัวให้ พาสปอร์ตเดิมที่มีอยู่หมดอายุ ใช้ได้แค่แสดงว่ามีสัญชาติไทยเท่านั้นแหละ ส่วนอาชีพฉันเลือกเอง ไม่ได้บอกว่าเป็นอาชีพนักการเมืองอะไรหรอก บอกว่าเป็นอาจารย์เลยมาฝรั่งเศสสบาย ซื้อหนังสือก็ได้ลดราคา   อุดร : ตอนอยู่ปารีสใหม่ ๆ การเงินลำบากมากไหมครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ก็ลำบาก แต่ว่ามีรายได้ส่วนตัว บ้านส่วนตัวที่กรุงเทพฯ ให้เช่า   อุดร : หลังไหนครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : บ้านถนนสีลม แล้วก็ที่สาทรอีก มีหลายที่ ที่ดีๆทั้งนั้นแหละ ตอนหลังต้องขายเพื่อไปซื้อบ้านที่โน่น (ฝรั่งเศส) ขายไปขายมาก็เหลือที่นี่ (หมายถึงบ้านหลังที่อยู่ปัจจุบันในซอยสวนพลู) พี่น้องเห็นว่าไม่มีบ้านอยู่แล้ว เวลามาเมืองไทยต้องไปอาศัยเขาอยู่ เขาก็เลยขายให้ แต่ไม่ได้ซื้อจากใครหรอก ซื้อจากกองมรดกแม่ฉันเอง   อุดร : บ้านที่สาทร คือบ้านที่เจ้าสุพานุวงเคยอยู่ใช่ไหมครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ไม่ใช่ คนละหลัง บ้านที่เจ้าสุพานุวงพัก อยู่ในซอยพิกุล เป็นเรือนไม้สองชั้น ส่วนหลังที่เจ้าเพ็ดชะลาดพัก นั้นเข้าทางถนนงามดูพลี บ้านดีนะเป็นตึกสองชั้น บ้านเจ้าเพ็ดชะลาดเดินทะลุถึงสำนักงานจัสแมกซ์ในปัจจุบันได้ คือ แต่ก่อนแถวถนนพระรามสี่มีคลอง ข้ามคลองไปชื่อถนนงามดูพลี เข้าไปทางซ้ายมือสักหลังที่ 3 หรือที่ 4 ปัจจุบันกลายเป็นตึกไปหมดแล้ว   อุดร : หม่อมอภิณพรไปคอยดูแลเจ้าเพ็ดชะลาดที่นั่นใช่ไหมครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : หม่อมอภิณพรนี่ฉันรู้จักตั้งแต่เขายังอยู่กับคุณสละ แสงชูโต สามีเก่า พ่อของคุณสละคือพระยาอนุฑูตวาที มีลูกชายคนเดียวคือคุณสละ ส่วนแม่คุณสละนั้นเป็นเจ้าลาวเก่า ดูเหมือนจะเป็นเจ้าอาของเจ้าเพ็ดชะลาด   อุดร : เจ้าเพ็ดชะลาดเป็นโอรสอุปราชบุนคง อุปราชฝ่ายวังหน้า   ท่านผู้หญิงพูนศุข : คุณก็ดีไปสืบสาวจนได้เรื่อง   อุดร : ผมได้พบคนสนิทของเจ้าเพ็ดชะลาด เป็นคนให้ข้อมูล   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ดี ยังมีชีวิตอยู่   อุดร : ครับ เขาเคยมาเยี่ยมเจ้าเพ็ดชะลาดที่กรุงเทพฯ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เดี๋ยวนี้ยังอยู่หลวงพระบางเหรอ   อุดร : ครับ ยังอยู่หลวงพระบาง แต่ว่าอายุมากแล้ว สำหรับหม่อมอภิณพรนับเป็นญาติผู้ใหญ่ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : หม่อมอภิณพรมีศักดิ์เป็นอาของนายเชื้อ ยงใจยุทธ ลูกชายหม่อมอภิณพรคนหนึ่งเครื่องบินตกเสียชีวิต ลูกสะใภ้เขาดี๊ดี ไม่แต่งงานใหม่ บ้านอยู่ใกล้ๆ นี่ ก็มาเยี่ยมฉันบ่อยๆ หม่อมอภิณพรมีลูกหลายคน ไม่มีลูกผู้หญิง มีแต่ลูกผู้ชาย ลูกเขาก็มาหาเจ้าเพ็ดชะลาด   อุดร : มาหาที่ไหนครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : บ้านซอยงามดูพลี   อุดร : ตอนไปลี้ภัยอยู่ที่จีน รัฐบาลจีนออกค่าใช้จ่ายให้   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เขาให้เราพร้อมหมดนะ ให้ข้าวกิน ให้บ้านอยู่ ให้รถยนต์ไว้ใช้ เจ็บไข้ได้ป่วยก็บำบัดรักษา ปัจจัยสี่น่ะ แต่เราก็มีเงินส่วนตัวของเราไปบ้าง ตอนนายปรีดีไปเนี่ยไม่มีอะไรเลย ไปตัวเปล่า แต่ฉันให้ Letter of credit นะ ตอนฉันไป ฉันไปฝรั่งเศสก่อน ก่อนไปก็ขายทรัพย์สิน มีบ้าน ที่ดิน มีอะไรต่ออะไรก็ขาย รวบรวมเงินทำเช็คเป็นสกุลเงินดอลลาร์ แล้วไปแลกเป็นเงินของเขา (เงินหยวน) ฝากธนาคารไว้ เขาให้ดอกเบี้ยดี อยากได้อะไรก็เอาเงินส่วนตัวของเราซื้อ อย่างเช่นไปเห็นหม้อทำอาหาร มันมีร้านเก่า ๆ ที่ขายของพวกนี้ แล้วก็ซื้อเปียโนเพราะเหงา อยากดีดเปียโนก็เอาเงินส่วนตัวซื้อ   อุดร : ช่วงอยู่ในจีนได้พบโจว เอินไหลหรือเปล่าครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : โจว เอิน ไหลได้พบ แต่กับมาดามโจวไม่ได้พบ ไม่คุ้นเท่าไหร่ เพราะฉันไม่มีอดีต ไม่มีบทบาทในสมาคมสตรี แต่ช่วงเขามาเมืองไทยมาพักอยู่ที่โรงแรมเอราวัณ ฉันเอารูปไปให้ เอาผลไม้ไปให้ เขาก็ดี….. ต้อนรับ   อุดร : ช่วงอยู่ในจีนไม่มีปัญหาใช่ไหมครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : กับจีนไม่มีปัญหา พอเราจะกลับเงินที่เราเหลือ เขาก็ให้ เขาก็ดีนะ เพราะงั้นฉันไม่ลืมเขาเลยนะ จีนเกิดน้ำท่วมหรืออะไรสองหนน่ะ เราก็บริจาคตามกำลังศรัทธา เราไม่เคยลืมบุญคุณราษฎรจีนที่ให้ความช่วยเหลือเรา เราไม่ได้ติดหนี้บุญคุณผู้หนึ่งผู้ใด แต่เราติดหนี้บุญคุณราษฎรจีนทุกคน เราเกรงใจที่ไปอยู่ 21 ปีกว่า เจ็บไข้ได้ป่วยนะ เรากตัญญูไม่เคยลืม เราติดต่อกันเรื่อยนะ จนผ่านมาหลายๆ ปีก็ยังติดต่อกันอยู่   อุดร : ช่วงอยู่ที่นั่นมีสวัสดิการเหมือนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลคนหนึ่ง   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ไม่ถึงขนาดนั้น ไปเปรียบไม่ได้ พวกเราเหมือน expert มากกว่า พวกเขาเรียกกันในภาษาจีนว่า "โจวเจียง" ในจีนมีพวกยุโรปตะวันออก พวกโซเวียตเข้าไปอยู่ เขาก็จัดที่พักจัดที่อยู่ให้ โดยมีโรงอาหารแห่งเดียวกันอะไรอย่างนี้   อุดร : สรุปแล้วมีฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ไม่ได้เป็น แต่อยู่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพราะเขาก็ต้อนรับดีนี่ คือ มีบ้านอยู่คนละหลัง มีโรงอาหารรวม พอถึงเวลาเขาก็ยกมาให้เรากิน แต่ตอนหลังแยกนะคะ เขาก็ให้เราไปอยู่บ้านโดดแห่งหนึ่งที่กวางตุ้ง (มณฑลกว่างตง) เดิมเป็นสำนักงานกงสุลฝรั่งเศส เติ้ง เสี่ยวผิง เดินทางไปเยี่ยมถึงบ้าน ก็เห็นบ้านมันเล็ก คับแคบ เล็กกว่าหลังนี้อีก (บ้านหลังที่อยู่ปัจจุบันในซอยสวนพลู) เติ้ง เสี่ยวผิงก็เลยให้ย้ายไปอยู่บ้านซึ่งเคยเป็นสำนักงานกงสุลอังกฤษ   อุดร : ย้ายจากสำนักงานกงสุลฝรั่งเศส ไปอยู่สำนักงานกงสุลอังกฤษ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ที่กงสุลฝรั่งเศสหลังนิดเดียว ส่วนที่กงสุลอังกฤษมีหลายหลัง ที่นั่นใหญ่หน่อย แต่เขาให้หลังเดียว   อุดร : รู้จักลูกชาย เติ้ง เสี่ยวผิง ที่พิการนั่งรถเข็นหรือเปล่า เขามาเมืองไทยบ่อยนะครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ไม่รู้จัก เรื่องส่วนตัวนะ ไม่รู้ประวัติครอบครัว อยู่ที่โน่นทุกอย่างเป็นเรื่องทางการหมด คบกันส่วนตัวไม่ได้ ในระบบคอมมิวนิสต์ไม่รู้จักกัน ถ้าคนของเขาไม่มาเกี่ยวกับเรา เราก็ไม่ไปรู้จักกับเขา   อุดร : อยู่เป็นเอกเทศใช่ไหมครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ความเป็นอยู่ก็ดีนะ แต่รู้สึกว่าเข้มงวดไปหน่อย เขาก็ดี ออกไปไหนก็มีคนไปด้วยเหมือนมี Body guard คุมไปในตัว เราจะเล็ดรอดไปพบใครหรืออะไรก็ไม่ได้ แล้วยังมีล่ามอีก เราจะไปไหนเพียงลำพังไม่ได้ โดยเฉพาะต่างจังหวัด เรานึกอยากไปเที่ยว เขาก็จัดให้ไปแต่ที่เขาเตรียมไว้ เรานึกอยากเที่ยวโน่นเที่ยวนี่แต่ก็ไปไม่ได้ ไม่เหมือนฝรั่งเศสมีเสรี อยู่ด้วยตัวของเราเอง บ้านของเราเอง เงินของเราเอง เราอยากจะไปเที่ยวจังหวัดไหน หรือจะไปเยอรมัน ไปอังกฤษก็ไปได้โดยอิสระ   อุดร : ช่วงอยู่ฝรั่งเศส ได้พาสปอร์ตกลับคืนมาแล้วใช่ไหม ได้สัญชาติไทยเหมือนเดิมแล้ว รัฐบาลไทยสนับสนุนช่วยเหลืออะไรบ้าง   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ไม่ช่วยอะไรเลย ตอน (นายปรีดี) ตายก็ไม่แสดงความเสียใจ ไม่อะไรเลย ที่ได้พาสปอร์ตเพราะอังกฤษเขาเชิญ ต้องรีบเร่ง เราจะต้องถือใบแสดงสัญชาติ อดีตสมาชิกกองกำลัง 136 (Force 136) ที่ร่วมกันสู้รบกับญี่ปุ่นระหว่างสงคราม (สงครามโลกครั้งที่ 2) เขารู้ว่าเราอยู่ฝรั่งเศสก็เชิญไปพบ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์อะไรเนี่ยเป็นคนเชิญ   อุดร : ลอร์ด หลุย เมาท์แบทแทน   ท่านผู้หญิงพูนศุข : นั่นละ เขาเชิญเราไปค้างที่คฤหาสน์ของเขา ที่ (...... Portland - ฟังไม่ชัด) เราเพิ่งมาจากเมืองจีนได้ไม่กี่เดือน ก็ต้องไปเร่งขอหนังสือ จะให้เอาหนังสือของจีนเดินทางหรืออย่างไร เขาก็ต้อนรับเราดีเชียว   อุดร : ไปพักบ้านของลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบทแทน   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ใช่ ก่อนหน้านี้ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบทแทน เคยเชิญไปเยือนมาแล้วครั้งหนึ่ง ครั้งนั้นพักที่บ้านในเมือง หลังเล็กนิดเดียว แต่พอไปครั้งนี้เขาเชิญไปค้างที่บ้านชนบท เป็นปราสาทใหญ่โตเชียว ฉันนอนเตียงภริยาของดยุ๊ค อ็อฟ เอดินเบอระ ส่วนนายปรีดีนอนเตียง ดยุ๊ค อ็อฟ เอดินเบอระ เลี้ยงน้ำชารสดีมากเลย อีกวันก็เลี้ยงอาหารเช้า แล้วก็ลากลับ เขาต้อนรับเราอย่างดี เขาเห็นใจที่เราถูกใส่ร้ายนะ เขาไม่เชื่อหรอก   อุดร : ผมพบว่ามีหนังสือเอกสารลับของกองทัพบกสองเล่ม ประทับตราลับสุดยอด เขียนโดย หลวงกาจ กาจสงคราม กล่าวใส่ร้ายอาจารย์ปรีดี   ท่านผู้หญิงพูนศุข : สถานทูตอังกฤษ และอเมริกา เขาต้องเขียนรายงานที่เรียกว่า record องค์กรอะไรเนี่ย พอเวลาล่วงไป 25 ปี เขาก็เปิดเผยข้อมูล ข้อมูลเอกสารอะไรๆ ที่ทั้งฝ่ายอังกฤษ และอเมริกา รายงานไปที่รัฐบาลเขา ใครสนใจก็สามารถไปอ่านได้ เคยมีข้าราชการอะไรมาขอพบ บอกว่าจะขอพิมพ์เป็นเล่ม   อุดร : เอกสารเหล่านี้อยู่ที่ลอนดอน   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ไปดูที่ London เมื่อก่อนนักเรียนไทยที่นั่นเห็นอะไรเกี่ยวกับเรา เขาก็คัดมาให้ หลังเกิดกรณีสวรรคต ตอนนั้นถึงกับจะขอให้อังกฤษมายึดเมืองไทยแน่ะ เป็นเจ้า แต่เขาไม่ออกชื่อนะเขาใช้คำว่า Prince Royal HRH ไปยุยงทหารอังกฤษที่มาปลดอาวุธญี่ปุ่นที่เมืองไทย แต่เขาไม่เห็นด้วย   อุดร : ตอนนั้นมีข้อตกลงกันว่า ให้จีนปลดอาวุธญี่ปุ่นที่เหนือเส้นขนาน 16 องศาเหนือ ต่ำลงมาให้เป็นภาระรับผิดชอบของอังกฤษ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : แต่ความเป็นจริง จีนก็ฮึกเหิม   อุดร : ตอนนั้นถึงกับบอกว่า นายพลหลิว ฮั่น ผู้บัญชาการทหารจีน กองพล 93 ที่ลงมาปลดอาวุธ จะลงมายึดประเทศไทย   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ที่ผ่านมาเคยมีคนจีนบอกว่า เขาเป็นเสรีไทยฝ่ายจีน มีจดหมายเสนอให้คณะกรรมการ ๑๐๐ ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ พิจารณา แต่ฉันว่าไม่ใช่ มีเกี่ยวบ้างนิดหน่อย ติดต่ออะไรอย่างนี้ ไม่ขึ้นกับเสรีไทย แต่จะมาอ้างว่าเขาเป็นเสรีไทยฝ่ายจีน   อุดร : ช่วงอยู่ ฝรั่งเศส ชีวิตเป็นอย่างไรบ้างครับ   ท่านผู้หญิงพูนสุข : ก็ปกติเหมือนชาวบ้านทั่วไป บ้านเล็กนะนี่ หนังสือพิมพ์มติชนเขาลง (เชิด ทรงศรีไปเยี่ยมแล้วกลับมาเขียน) เราก็ไปตลาดเอง ลากรถไปจับจ่ายเอง ระยะทางประมาณหนึ่งกิโลเมตรครึ่ง เดี๋ยวนี้แก่ตัวลงเดินไม่ไหวแล้ว ที่นั่นเราต้องอยู่อย่างมัธยัสถ์นะ รายได้น้อย บำนาญประมาณสี่พันกว่า เราขายบ้านไปสองหลังก็มีเงินก้อน ก็ฝากธนาคารกินดอกเบี้ย ธนาคารฝรั่งเศส เงินเราโอนไปถูกต้อง แต่เป็นเงินดอลลาร์ การที่มีสถานที่พำนักอยู่ที่โน้น จะฝากเป็นเงินตราต่างประเทศไม่ได้ ต้องฝากเป็นเงินฟรังค์เท่านั้น แล้วเงินฟรังค์มันไม่แข็ง เราต้องเอาดอลลาร์ไปฝากที่ต่างประเทศ เขาส่งมาให้ทุกเดือน ดอกเบี้ยก็พออยู่ได้อย่างประหยัดนะ   อุดร : ช่วงที่อยู่ในกรุงปารีส อยู่ในโซนใกล้มหาวิทยาลัยไหมครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เราไม่ได้อยู่ในเมืองหรอก บ้านเราอยู่นอกเมือง ห่างจากปารีส 11 กิโลเมตร มีรถเมล์ผ่าน 2 สาย มีรถไฟใต้ดินสะดวก แต่สถานีไม่ใกล้บ้าน ใครเขียนว่า 500 เมตร อู้ฮู้! เดินตอนนั้นมันไม่รู้สึกอะไร แต่ไปทีหลังนี่ไม่ไหว ฉันไปพักที่บ้านหลาน เดินไม่กี่ก้าวก็ถึงสถานีรถไฟใต้ดิน   อุดร : บ้านในปารีสที่ขายไป ตอนนี้เขาใช้เป็นสำนักงานบริษัท หรืออะไรครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : คนซื้อบ้านหลังนี้เป็นคนเวียดนาม เขาก็ปิด เราไปนี่เขาทาสีใหม่ เขาไม่รู้หรอกว่าคนขายเป็นใคร เขาบอกว่าคนไทยที่ขายบ้านนี้น่ะจน ไม่ได้ทำนุบำรุงอะไร เขาปลูกต้นไม้ ไม้ดอก ความจริงเทศบาลเขต "อองโตเม" เขาอนุญาตให้เราทำป้ายว่าบ้านนี้บ้านที่นายปรีดี เคยอยู่เคยตาย แต่เราไม่เคยไปขอร้องเขา เพราะฉะนั้นเขาไม่รู้หรอก ในฝรั่งเศสตึกอาคารหลายแห่งมีชื่อของนักต่อสู้ กู้บ้าน กู้เมืองติดเต็มไปหมด   อุดร : อยู่ฝรั่งเศสได้พบอดีตผู้นำลาวบ้างไหมครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ช่วงอยู่ฝรั่งเศสได้พบปะกินข้าวกับภรรยาเจ้าสุวันนะพูมา เป็นลูกครึ่งฝรั่งเศส คือ ไปกินเลี้ยงน่ะ อดีตทูตฝรั่งเศสเคยประจำอยู่เมืองไทยเชิญเราไปกินเลี้ยง พบหลายคน ท้าวอะไร ต่อท้าวอะไร ทั้งขวาซ้ายมากันหมดนะ ส่วนใหญ่ก็เคยมาอยู่บ้านฉันที่กรุงเทพฯ กันทั้งนั้น บางคนมาเรียนที่ฝรั่งเศส แล้วกลับไปทำงานที่บ้านเกิด กระทั่งได้มาเป็นเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส พอเปลี่ยนรัฐบาลเขาไม่กลับ เขาก็รู้ เขาก็ดี เขาบอกว่าเราเนี่ย (อาจารย์ปรีดีและครอบครัว) ช่วยเหลือประเทศลาว แล้วก็ท้าวอะไรไม่รู้ที่มาพบคุณเตียง เขาทำไหมไทย   อุดร : ท้าวอุ่น ชนะนิกรครับ Jim Thomson เป็นผู้แนะนำให้เขาไปพบนายเตียง เงินสนับสนุนของโอเอสเอส (OSS) ที่มีต่อขบวนการเสรีไทย และนายปรีดีได้นำไปช่วยเหลือขบวนการกู้ชาติในลาว ผ่านทางนายเตียง ตอนที่ท้าวอุ่นมาอยู่กรุงเทพฯ ได้พบกันไหมครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ไม่เคยพบหรอก   อุดร : อุ่น ชนะนิกร เขาเป็นคนประสานงานหลายฝ่าย   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เขาก็เป็นผู้รักชาติ   อุดร : แต่ตอนหลังต้องเลือกว่าอยู่กับใคร พอดีอยู่ฝ่ายขวา   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เขาอยู่กับจอมพล   อุดร : อยู่กับจอมพล ป. หรือครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เปล่า จอมพลเอาเขามาทำงาน   อุดร : สมัยอยู่ลพบุรีหรือเปล่าครับ   ท่านผู้หญิงพูนศูข : เออ! กองแลไม่รู้หายไปไหน กองแลเขามา…เขามาเปิดคุกให้เจ้าสุภานุวงศ์ออกไปฟอร์มรัฐบาล   อุดร : ไม่ทราบแน่ชัด รู้เพียงว่าไปอยู่ฝรั่งเศส ไม่รู้ตอนนี้เขายังอยู่ที่ฝรั่งเศสหรือเปล่า หายเงียบไปนานแล้ว   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เคยกลับจากเมืองจีนมาที เมื่อ พ.ศ.2500 ไปอยู่เมืองจีนได้สัก 4 ปีมั๊ง กลับเข้ามาตอนนั้นสมัย จอมพล ป. เขาเอาไปสอบสวน แล้วตอนนั้นเราก็ไม่ค่อยสบาย เขาก็มาสอบที่บ้าน   อุดร : สอบถามเรื่องอะไรบ้างครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เขาถามว่ารู้จักใครบ้าง เรื่องคนอื่นฉันไม่รู้จัก ชื่อก็ไม่เหมือนกัน มาจากเมืองจีนน่ะ ชื่อที่เรารู้จักมันเป็นภาษาจีนกลาง แต่ทางนี้เขาใช้ภาษาแต้จิ๋ว เราก็ไม่รู้จัก เขาก็ถามบ้าๆบอๆ เช่นนายปรีดีเขาทำไหม เราก็บอกไปถามเขาเอง เราไม่รู้ ตัวใครตัวมัน แต่ว่าไปอยู่ฝรั่งเศสหายไป 18 ปี ถึงได้มาเมืองไทย บ้านที่นี่เราขายหมด ต้องอาศัยน้องอยู่   อุดร : ตอนกลับมาเมืองไทยใหม่ๆ ไม่ได้มาอยู่บ้านหลังนี้ ไปอยู่บ้านน้อง   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ใช่ แล้วถึงได้ซื้อ ตอนนั้นพี่น้องหลายคน ตอนนี้เหลือ 4 พี่น้องมีแยะนะ แล้วมรดกก็แบ่งกันไปหมดแล้ว เหลือที่นี่เป็นของกลางยังไม่ได้แบ่ง มีคนมาขอซื้อ เขาก็เห็นว่าเราไม่มีที่อยู่ แล้วอีกอย่างคนอื่นที่มาขอซื้อ หากขายให้ก็ต้องเสียค่านายหน้า ขายเราก็ไม่ต้องเสีย เขาคิดกันเองเพราะเราไม่มีที่อยู่ มาครั้งแรกหลังหายไป 18 ปี ต้องมาอาศัยเขาอยู่   อุดร : รัฐบาลก็ไม่มีบำนาญอะไรให้ทั้งนั้น   ท่านผู้หญิงพูนสุข : ก็ได้บำเหน็จตกทอดเมื่อตาย ได้นิดเดียว ขี้ปะติ๋ว วันก่อนพบรัฐมนตรีคนหนึ่งแล้วก็งาน 67 ปี รัฐสภา ประวัติเขาก็กล่าวถึงนะว่า นายปรีดี เป็นเลขาคนแรก รัฐสภาเขาก็เชิญไป แขกอายุร้อยหนึ่งก็มีนะเป็นอดีต ส.ส. แต่ไม่ยักกะเชิญฉัน ฉันว่าอย่างนี้นะ ฉันว่าประธานสภาก็ล่วงลับไปแล้ว เมียประธานสภาฯ อดีตเลขาฯ เลขาฯ ล่วงลับไปแล้ว แต่เมียเลขาฯ ยังอยู่ เมียรัฐมนตรี ไม่รู้ทำอะไรได้เหรียญตราเต็มไปหมด เราเป็นอดีตไม่เห็นได้บ้าง แต่เรามีของที่เราภูมิใจมากกว่า ใบประกาศเกียรติคุณของรัฐบาลลาวและรัฐบาลเวียดนาม เขาเขียน เขาแปลมาให้เราเสร็จเชียว   อุดร : ฝรั่งเศสนี่ก็ช่วย   ท่านผู้หญิงพูนสุข : ก็ให้อยู่เท่านั้นแหละ ไม่ถือว่าช่วยอะไร   อุดร : การให้อยู่ก็ถือว่าช่วย เพราะฝรั่งเศสมองว่า อาจารย์ปรีดี สนับสนุนลาว กัมพูชา และเวียดนามในการกู้ชาติจากฝรั่งเศส ถ้าจะว่าไป เราก็ถูกกล่าวหาว่าไปช่วยพวกกู้ชาติ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เขาไม่ว่าอะไรเรา เขาไปว่าหลวงวิจิตรฯ คนเดียว รู้ไหม หลวงวิจิตรวาทการแต่งอะไรต่อมิอะไรด่าเขา ฝรั่งเศสเขาให้เหรียญตราอะไรแก่หลวงวิจิตร แล้วเขาถอนคืน แต่ท่านอาจารย์เขาไม่ถอน ผลที่ได้รับคือใคร หลานได้เรียนหนังสือฟรี เขามีโรงเรียนเนี่ย… ไม่มีคนไทยเข้าไปเลย เฉพาะผู้หญิงนะผู้ชายไม่ให้ ลูก หลาน เหลน ของนายปรีดีได้เรียนทั้งนั้น นี่หลานปู่เรียนจนจบ   อุดร : เหมือนฝรั่งเศสก็ตอบแทนเหมือนกัน   ท่านผู้หญิงพูนศุข : เขาไม่ได้ตอบแทนเราคนเดียว เหรียญตรานี่ส่วนมากเขาให้ทหาร ฌอง บอง เนอ นโปเลียนเป็นคนตั้ง เขาจะตอบแทนพวกทหารผ่านศึก ของเราไม่รู้ช่วยอย่างไร เขาให้แต่ลูก หลาน เหลน ที่เป็นผู้หญิง ถ้าได้เหรียญตรานี้ เผอิญอาจารย์ได้ชั้นหนึ่ง เขามี priority ต้องลูกทหารก่อน พลเรือนทีหลัง แต่พอเราไปสมัครเขาก็รับทันที โรงเรียนมัธยมตั้งอยู่กลางป่าเชียว อยู่ที่ปารีส เคยผ่านไปไม่ได้ตั้งใจ หลายคนจำได้ว่าเป็นโรงเรียนเก่า ก็ถ่ายรูปกัน   อุดร : สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดีนะครับ   ท่านผู้หญิงพูนศุข : ที่มีชีวิตอยู่เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราไม่นึกถึงความหลัง ถ้าเรานึกถึงมันก็เศร้าใจ ห่อเหี่ยว เราไม่นึกว่าใครจะทำแบบนี้ ยกให้เขาหมด เรามีชีวิตมาถึง 88 เนี่ย เราคิดมาคิดไปก็กร่อยลงทุกวัน เราไม่คิด ไม่มีศัตรู ใครตั้งตัวเป็นศัตรูเราก็ช่างเถอะ เรามีหลักธรรมในใจ อยู่อย่างสงบ   (ขอขอบคุณน้องๆ อดีตนักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - พิมและหนึ่ง สุรสม - ที่กรุณาถอดเทปการสนทนานี้ให้)    ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 ในตระกูลขุนนางสกุล ณ ป้อมเพชร์ เป็นธิดาคนที่ 5 บิดาของมหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ และคุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิต (สกุลเดิมสุวรรณศร) ต่อมาสมรสกับนายปรีดี พนมยงค์ (รัฐบุรุษอาวุโส)   ท่านผู้หญิงพูนศุข ถึงแก่อนิจกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา 02:04 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2550 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากได้เข้ารักษาอาการทางโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมสิริอายุ 95 ปี 4 เดือน มีบุตรและธิดารวมทั้งสิ้น 6 คน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/71548
2017-05-19 20:38
3 วันยังไม่ได้กลับบ้าน ทหารเชิญครูตาดีกาสะบ้าย้อยอยู่ค่ายฯ อ้างปลอดภัย หลังถูกอุ้ม
หลังถูกปล่อยจากการถูกอุ้ม ครูสอนตาดีกา ‘ดาโหะ มะถาวร’ ถูกเชิญตัว พร้อมน้องชาย ตั้งแต่ 3 วันที่แล้ว อ้างบำบัดจิตใจ ชี้อยู่ค่ายทหาร ปลอดภัยกว่าบ้าน ด้านนักสิทธิโต้หากเป็นเช่นนี้ ปชช.ทุกคน ก็ต้องอยู่ค่ายฯ เพื่อปลอดภัย แม้วันนี้ญาติเข้าคุยที่ค่ายฯ หวังพากลับ สุดท้ายไร้เงา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ชี้เป็นการควบคุมตัวโดยพลการ ร้องปล่อยตัวทันที ดาโหะ มะถาวร หรือ เจ๊ะฆูโอะ ผู้อำนวยการและครูสอนโรงเรียนตาดีกาประจำหมู่บ้านทุ่งพอ  19 พ.ค. 2560 ความคืบหน้ากรณี ดาโหะ มะถาวร หรือ เจ๊ะฆูโอะ ผู้อำนวยการและครูสอนโรงเรียนตาดีกาประจำหมู่บ้านทุ่งพอ (ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามขั้นพื้นฐาน สำหรับเด็กช่วงชั้นประถมศึกษา) ม.3 อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ถูกอุ้มโดยกลุ่มคนร้ายไม่เปิดเผยตัวตน เมื่อ 13 พ.ค. 2560 เวลาประมาณ 20.20 น. และได้รับการปล่อยตัวที่สถานีขนส่ง (บขส.) จ.สตูล เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 60 ถึงบ้านอย่างปลอดภัย จนกระทั่งช่วงเวลาประมาณ 17.00 – 18.00 น. ของวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา  มีหน่วยงานทหารจากค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี มารับตัวเจ๊ะฆูโอะ ไป วันนี้ (19 พ.ค.60) เจ๊ะฆูโอะ ยังไม่กลับ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม [1]) มาตามนัด คุยกับทหารหวังพากลับ สุดท้ายไร้เงาเจ๊ะฆูโอะกลับบ้านด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมล่าสุดจากการสัมภาษณ์ อัญชณา หีมมิหน๊ะ ประธาน กลุ่มด้วยใจ นักสิทธิที่มีชื่อเสียงด้านการช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกละเมิดสิทธิในพื้นที่จังหวัดชายใต้/ปาตานี หลังกลับจากการพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทหารค่ายอิงคยุทธบริหาร พร้อมภรรยาและพี่สาวของเจ๊ะฆูโอะวันนี้ (19 พ.ค.60) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่ผ่านมา โดย อัญชนา เปิดเผยว่า ตนและครอบครัวเจ๊ะฆูโอะ เดินทางไปถึงค่ายอิงคยุทธฯ ตามเวลาที่นัดหมาย แต่ตนไม่สามารถเข้าไปข้างใน โดยเจ้าหน้าที่ให้ตนและเพื่อนร่วมงานอีกคนรอที่อาคารเยี่ยมญาติ โดยพาภรรยาและพี่สาวของเจ๊ะฆูโอะเข้าไปที่อาคาร “อาร์ต รีสอร์ท” ที่ตั้งอยู่ภายในค่ายอิงคยุทธฯ  เพียงลำพัง กระทั่งครอบครัวเขาคุยกับเจ้าหน้าที่เสร็จโดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ออกมาตนกลับไม่เห็นเจ๊ะฆูโอะและน้องชายเขาเดินออกมาด้วย บวกกับท่าทีของครอบครัวเปลี่ยนไป เหมือนจะไม่กล้าคุยกับตนด้วย นักสิทธิแนะ จนท.ควรหาคนผิดมาลงโทษ - มอบนักจิตวิทยา ดูแลสภาพจิตแทน อัญชณา กล่าวอีกว่า จากนั้นตนขออนุญาติเข้าพบเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงนายหนึ่ง โดยตนได้ถามเจ้าหน้าที่คนนั้นว่า แนวทางที่ถูกต้องรัฐควรทำอย่างไร พร้อมแจ้งไปว่า จริงๆ แล้วสิ่งที่ทุกคนอยากเห็นหลังจากที่เจ๊ะฆูโอะปลอดภัยจากการถูกอุ้ม  คือ การมีนักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยามาดูแลสภาพจิตใจของเจ๊ะฆูโอะและครอบครัว การที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมาย  และมีการร่วมมือกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร อาสาสมัคร ชุดคุ้มครองตำบลและหมู่บ้าน มาร่วมกันคิดถึงมาตรการดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยต่อประชาชนด้วย พาไปอยู่ค่ายฯ สภาพไม่ต่างกับตอนถูกอุ้ม อัญชนา เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า เจ๊ะฆูโอะกลับต้องไปอยู่ในสภาพที่ไม่ต่างกับการเป็นผู้ต้องสงสัย เพราะการไปอยู่ในค่ายทหาร ไปอยู่ในห้องที่มีสภาพไม่ต่างจากตอนทีถูกอุ้มไป ถูกทหารเชิญตัวไปเวลากลางคืนซึ่งสภาพเดียวกันกับช่วงเวลาที่ถูกอุ้ม แต่ครั้งนี้โชคดีที่มีน้องชายของเขาไปอยู่เป็นเพื่อนด้วย แต่น้องชายของเขาเองก็มีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำงานเลี้ยงดูลูกเมีย การต้องมาอยู่ในค่ายทหารแบบนี้เขาและครอบครัวคงได้รับผลกระทบในการดำรงชีพอย่างแน่นอน และวิธีการแบบนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เพราะคนในสังคมมีความเชื่อว่าการไปอยู่ในค่ายทหาร คือ การตกเป็นผู้ต้องสงสัยและอาจเป็นจำเลยของสังคมต่อไป ทหารยันครอบครัวยินยอม ห่วงความปลอดภัย - อยู่ค่ายฯ ต่อจนรู้สึกปลอดภัย อัญชนา กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ก็ยืนยันว่า เป็นความยินยอมของเจ๊ะฆูโอะและครอบครัว เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยของเจ๊ะฆูโอะจึงยินยอมให้อยู่ในค่ายทหาร จนกว่าทุกคนในครอบครัวจะรู้สึกปลอดภัยถึงจะได้กลับไป ที่มา เฟซบุ๊กส่วนตัว “Anchana Heemmina [2]” เผยทหารอ้างบำบัดจิตใจหลังถูกอุ้มและเพื่อความปลอดภัย – นัดส่งเช้าอีกวัน กลับไร้ร่องรอย วานนี้ (18 พ.ค.60) อัญชนา ได้โพสต์ ถึงกรณี เจ๊ะฆูโอะ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารนำตัวไปยังค่ายอิงคยุทธฯ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Anchana Heemmina [2]” ด้วยว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ค.60 เวลา 17.30 น. มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจรวมกัน 7 นาย มารับตัว ดาโหะ มะถาวร อ้างพาไปบำบัดจิตใจที่ค่ายอิงคยุทธฯ หลังจากเจอเหตุถูกอุ้มไประหว่างเดินทางกลับบ้าน  (เมื่อวันที่ 13 พ.ค.60) โดยการไปครั้งนี้มีน้องชายดาโหะตามไปด้วยอีกคนจากการเชิญชวนของเจ้าหน้าที่เพื่อความสบายใจของครอบครัว พร้อมบอกว่า “พรุ่งนี้ (18 พ.ค 60.) เช้าจะนำตัวมาส่งถึงบ้านอย่างปลอดภัย” อัญชณา ยังระบุอีกว่า เจ้าหน้าที่ให้หมายเลขโทรศัพท์ไปหลังจากทางครอบครัวยื้อเวลานานถึงครั่งชั่วโมงเพราะไม่ไว้ใจให้เจ้าหน้าที่พาไป ต่อมาเมื่อเวลา 19.20 น. ของวันเดียวกัน (17 พ.ค.60) ปรากฎว่าไม่สามารถติดต่อไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้ อัญชณา ระบุเพิ่มเติมว่า ตนได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามถึงความเป็นอยู่และเหตุผลที่นำตัวเจ๊ะฆูโอะไปยังค่ายอิงคยุทธฯ จนได้รับคำชี้แจงว่า เจ้าหน้าที่เพียงแค่ต้องการทราบถึงรายละเอียดเหตุการณ์ช่วงเวลาที่เจ๊ะฆูโอะถูกอุ้มตัวไปเท่านั้น รวมทั้งเจ๊ะฆูโอะก็สมัครใจที่จะมาด้วย อีกทั้งครอบครัวของเขาเองก็เข้าใจ สำหรับคำถามถึงวันนัดส่งกลับที่ตามสัญญาไปจนบัดนี้เลยเวลานัดมาหลายชั่วโมงแล้วนั้น อัญชณา ระบุว่า เจ้าหน้าที่บอกว่าหากเดินทางกลับไปช่วงเวลากลางคืนเกรงเจ๊ะฆูโอะและน้องชายเขาจะไม่ปลอดภัย ทั้งที่ช่วงเวลาที่มารับตัวก็เป็นช่วงเวลาเดียวกัน  พร้อมอ้างว่าการอยู่ในค่ายอิงคยุทธฯ จะปลอดภัยกว่าอยู่ที่บ้าน ซึ่งหากอยู่บ้านอาจจะถูกอุ้มไปอีก แต่ทางครอบครัวก็ยืนยันที่จะนำทั้งสองกลับบ้านโดยด่วน จึงมีการนัดหมายเพื่อพบปะและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่วันนี้ (19 พ.ค.) เวลา 09.00 น. ที่ค่ายอิงคยุทธฯ อัญชนาระบุ ปิดท้ายว่า กระบวนการรักษาความปลอดภัยในชุมชนสามารถออกแบบมาตรการได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วประชาชนในพื้นที่ทุกคนจะต้องย้ายไปอยู่ในค่ายอิงคยุทธฯ กระนั้นหรือ ชีวิตทุกชีวิตถึงจะปลอดภัย  ผสานวัฒนธรรม ชี้ควบคุมตัวโดยพลการ ร้องปล่อยตัวทันที วันนี้ (19 พ.ค.60) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แถลงด้วยว่า ได้รับทราบข้อมูลจากญาติ ดาโหะ มะถาวรว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 ช่วงเวลาเย็นประมาณ 17.30 น. ดาโหะและญาติได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจจังหวัดสงขลาว่าให้เดินทางไปกับเพื่อพูดคุยโดยนายดาโหะได้ขอให้น้องชายไปเป็นเพื่อน ซึ่งต่อมาญาติได้รับแจ้งว่าขณะนี้นายดาโหะและน้องชายถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันนายดาโหะ และน้องชายยังอยู่ในการควบคุมตัวโดยไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเป็นการควบคุมตัวตามกฎหมายใด ตั้งแต่เวลา 17.30 น. ของวันที่ 17 พ.ค. 2560 ทางญาติไม่สามารถติดต่อและพูดคุยกับ ดาโหะ และน้องชายได้เพียงได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ทหารว่านายดาโหะและน้องชายกลัวเรื่องความปลอดภัยและต้องการอยู่ในค่ายทหาร แต่ทางญาติต้องการให้มีการปล่อยตัวกลับบ้านและเชื่อว่า ดาโหะและน้องชาย ไม่ได้ประสงค์จะอยู่ในค่ายทหารและไม่ได้กระทำความผิดใดใด  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เห็นว่าการควบคุมตัว ดาโหะและน้องชาย เป็นการควบคุมตัวโดยพลการ (Arbitrary Detention) ซึ่งเป็นการควบคุมตัวโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย อีกทั้งพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อยไม่ใช่พื้นที่ประกาศกฎอัยการศึก ดังนั้นการควบคุมตัวบุคคลจึงต้องเป็นการควบคุมตัวตามหมายศาล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ขอเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายดาโหะและน้องชายโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งขอให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับแจ้งความกรณีการลักพาตัว ดาโหะ ระหว่างวันที่ 13-15 พ.ค. 2560 สืบสวนสอบสวนและนำผู้ต้องสงสัยกระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย และดำเนินการอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้เสียหาย
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/18536
2008-10-11 17:38
พันธมิตรฯ ประกาศจะฟ้องรัฐ 1,000 ล้านชดใช้ความเสียหาย
พันธมิตรฯ ประกาศจะฟ้องรัฐ 1,000 ล้านชดใช้ความเสียหาย นายวีระ สมความคิด แนวร่วมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ในรายการ "สภาท่าพระอาทิตย์"ว่า เหตุใดสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงปล่อยให้พล.ต.สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ใช้สถานที่แถลงข่าว เพราะศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองห้ามเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงสลายกลุ่มผู้ชุมนุม แต่กลับมีวิธีการใช้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) เข้ามาปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ แทน เพราะนายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร ได้ประกาศว่า จะร่วมกับกลุ่มของพล.ต.อ.สล้างในการยึดคืนทำเนียบรัฐบาล  "ตอนนี้ตำรวจไม่มีอำนาจสลายการชุมนุมแล้ว รัฐบาลจึงต้องการใช้กลุ่มนปช.มาสลายพันธมิตรแทน ส่วนกรณีที่ส.ต.ต.ณัฐวุฒิ จันทร ตำรวจที่นั่งชันเข่าถือปืนแล้วอ้างว่าเล็งไปที่ยางรถยนต์นั้น ไม่เป็นจริง แถวนั้นไม่มีรถ เพราะถนนถูกปิดหมดแล้ว แล้วยังอ้างอีกว่าพลขับต้องมีอาวุธป้องกันฝูงชน แต่คนที่ปราบม็อบโดยตรงกับไม่มีอาวุธ เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ ต้องเอาผิดกับผู้บังคับบัญชาที่อนุญาตให้พกพาอาวุธเข้าไป" นายวีระ กล่าว ด้านนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า พันธมิตรฯ เตรียมเตรียมการไว้ 3 แนวทางกรณีวันที่ 7 ต.ค. ดังนี้ 1 .เอาคนผิดมาลงโทษให้ได้ 2 .รัฐบาลต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นให้สมราคาที่สุด ซึ่งทนายพันธมิตรฯ เตรียมเรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท 3.ต้องหาตัวไอ้โม่ง ที่มีคำสั่งสลายกลุ่มผู้ชุมนุมมาลงโทษ โดยการพ้นจากการเมือง นอกจากนี้ จะต้องหยุดกระบวนตำรวจทำลายหลักฐาน ทั้งนี้ คณะกรรมการกลางที่รัฐบาลจะตั้งขึ้น พันธมิตรฯ ไม่ต้องการ นายชัยวัฒน์ สถาอนันท์ อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับกรรมการชุดนี้ เพราะที่ผ่านมานายชัยวัฒน์โจมตีพันธมิตรฯ มาตลอด ซึ่งกรรมการชุดนี้จะเป็นใครก็ได้แต่สังคมยอมรับเท่านั้น    "จำลอง" ซัด"บิ๊กจิ๋ว"โกหก ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นัดชุมนุมที่ท้องสนามหลวง โดยจะจัดกิจกรรมรำลึกประชาธิปไตยระหว่างวันที่ 10-14 ตุลาคมนั้น ปรากฏว่าในช่วงเย็นวันที่ 10 ตุลาคม ไม่มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช.แต่อย่างใด ด้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 19.00 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตร ปราศรัยว่า ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ที่ระบุว่า มีการตกลงกับ พล.ต.จำลอง ว่าจะถอนข้อหากบฏให้กับแกนนำกลุ่มพันธมิตร หากกลุ่มพันธมิตรยอมย้ายออกจากทำเนียบภายในวันที่ 23 ตุลาคมนั้น ขอปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง พล.อ.ชวลิตพูดโกหก ตนไม่เคยบอกว่าจะมีการย้ายออกจากทำเนียบรัฐบาลเพื่อแลกกับการยกเลิกข้อหากบฏ "พล.อ.ชวลิตพูดโกหก และที่บอกว่าจะไปชุมนุมกันต่อที่บ้านพิษณุโลกนั้น ก็ไม่เป็นความจริง เป็นเรื่องฝันไป เพราะไม่มีความจำเป็นอะไรที่พวกเราจะไปชุมนุมที่บ้านพิษณุโลก" พล.ต.จำลองกล่าว "สุริยะใส" ชี้ "สล้าง"คือแผนขั้นที่2 ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตร แถลงที่เวทีมัฆวานรังสรรค์ กรณีที่ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีตรอง อ.ตร.ออกมาประกาศจะยึดทำเนียบรัฐบาลคืนว่า เป็นแผนขั้นที่ 2 หลังจากแผนขั้นที่ 1 ที่เหตุการณ์ในวันที่ 7 ตุลาคมไม่สำเร็จ จากการข่าวทราบว่า พล.ต.อ.สล้างอยากให้เกิดเหตุการณ์เหมือน 6 ตุลา 19 ที่มีการล้อมปราบนักศึกษา โดยจะมีการดีเดย์ในช่วงวันที่ 13-14 ตุลาคมนี้ ซึ่งจะมีการสนธิกำลังทั้งจากตำรวจในและนอกเครื่องแบบ มวลชนที่รัก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมตรี และกุ๊ยนอกรีตที่ต้องคดี ซึ่งยืนยันว่าพันธมิตรจะรักษาทำเนียบไว้เป็นพื้นที่การต่อสู้ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลให้ถึงที่สุด โดยไม่เน้นความรุนแรง นายสุริยะใสกล่าวว่า วันที่ 13 ตุลาคมนี้ กลุ่มพันธมิตรจะออกรณรงค์ใหญ่ในประเทศเพื่อเปิดโปงกรณี 7 ตุลาคม โดยแกนนำจะนำมวลชนเคลื่อนไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงและเปิดโปงว่าใครใช้ความรุนแรงกับประชาชน โดยมีการจัดทำซีดีจำนวน 5 แสนแผ่น และหนังสือเกี่ยวกับความจริงของเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 5 แสนเล่ม ภายใต้ชื่อ "7 ตุลาฯมหาวิปโยค" เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนด้วย   ม็อบเสื้อแดงบุกขอรายชื่อหมอเชียงใหม่เลือกรักษาผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 14.10 น.วันที่ 11 ตุลาคม ม็อบเสื้อแดงอ้างตัวเป็นกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 จำนวน 100 คน ชุมนุมประท้วงหน้าทางเข้าอาคารฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก) เพื่อเรียกร้องขอรายชื่ออาจารย์แพทย์ที่ประกาศไม่รักษาสมาชิกรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยกเว้นกรณีฉุกเฉินหลังเกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม บริเวณหน้ารัฐสภา โดยกำหนดให้เวลาโรงพยาบาลมอบรายชื่อในวันพุธที่ 15 ตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะสลายตัวกลับไปนั้น พนักงานขับรถตู้ให้บริการญาติผู้ป่วยสถานบริการพิเศษ โรงพยาบาลสวนดอก ได้ตะโกนขึ้นว่า "ออกไป" เพราะไม่พอใจการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่ทำให้การจราจรติดขัดและส่งเสียงดังภายในเขตโรงพยาบาล สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นอย่างมากและได้พากันวิ่งเข้าไปรุมทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ทั้งนี้ เจ้าหน้ที่ตำรวจไม่พยายามเข้าไปห้ามปรามหรือป้องกันเหตุ ตั้งแต่เกิดการเคลื่อนขบวนเข้ามาชุมนุมถึงหน้าอาคารโรงพยาบาลสวนดอก   ที่มา: มติชนออนไลน์
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/31775
2010-11-06 09:06
อานนท์ นำภา:บทกวีถึงมหาตุลาการ
คือตราชู ผู้ชี้ เสรีสิทธิ      คือศาลสถิต ยุติธรรม นำสมัย      คือหลัก ประกัน ประชาธิปไตย      มิใช่  อภิชน  คนชั้นฟ้า !                 ครุยที่สวม นั้นมา จากภาษี       รถที่ขี่  เงินใคร ให้หรูหรา       ข้าวที่กิน ดินที่ย่ำ บ้านงามตา       ล้วนแต่เงิน ของมหา ประชาชน                มิได้ อวตาร มาโปรดสัตว์        แต่เป็น "ลูกจ้างรัฐ"  ตั้งแต่ต้น        ให้อำนาจ แล้วอย่าหลง ทนงตน        ว่าเป็นคน เหนือคน  ชี้เป็น-ตาย                     เสาหลัก ต้องเป็นหลัก อันศักดิ์สิทธิ์        ใช่ต้องลม เพียงนิด ก็ล้มหงาย        ยิ่งเสาสูง ใจต้องสูง เด่นท้าท้าย        ใช่ใจง่าย เห็นเงิน แล้วเออออ !                  ต้องเปิด โลกทัศน์ อย่างชัดเจน         ใช่ซ่อนเร้น  อ่านตำรา แต่ในหอ         ออกบัลลังค์ นั่งเพลิน คำเยินยอ         เลือกเหล่ากอ มากอง ห้องทำงาน                                       ตุลาการ คือหนึ่ง อธิปไตย         อันเป็นของ คนไทย ไพร่-ชาวบ้าน                 มิใช่ของ ใครผู้หนึ่ง ซึ่งดักดาน         แต่เป็น  "ตุลาการ" ประชาชน                ฉะนั้นพึง  สำนึก มโนทัศน์         ใช่ด้านดัด   มืดดับ ด้วยสับสน         เปื้อนราคิน กินสินบาท คาดสินบน         แล้วแบ่งคน  แบ่งชั้น บัญชาชี้               เถิด"ตุลาการ"  จงคิด อย่างอิสระ        รับภาระ อันหนักหนา ทำหน้าที่        หากรับใช้ ใบสั่ง ดั่งกาลี        ตุลาการ เช่นนี้  อย่ามีเลย !                                   : อานนท์  นำภา ๖ พฤศจิกายน ๕๓                              แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับเดิม ๓ กันยายน ๕๓
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/76139
2018-03-30 12:18
'สมเด็จพระเทพ' เปิดงาน สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 9.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16  (46th National Book Fair and 16th Bangkok International Book Fair 2018) โดยมี นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนางสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เฝ้าฯ รับเสด็จ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดหนังสือดีเด่นประจำปี 2561 และพระราชทานพระราชดำรัสเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ความว่า “ขอแสดงความชื่นชมผู้จัดงานที่มีความตั้งใจแน่วแน่ ในเรื่องส่งเสริมการอ่านหนังสือเพื่อปลูกผังให้คนในสังคมมีความใฝ่รู้ ชอบที่จะแสวงหาความรู้จากการอ่านหนังสือดี อันเป็นเครื่องช่วยขยายโลกทัศน์ และทัศนคติให้กว้างขวาง ก่อให้เกิดปัญญา ความรอบรู้ ให้สามารถพัฒนาตน พัฒนาความคิดและจิตใจของผู้อ่านการที่คนในสังคมเห็นความสำคัญของหนังสือ รักการอ่าน การแสวงหาความรู้ มีสติปัญญา เป็นสิ่งสำคัญ      ข้อหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นอารยะประการหนึ่ง ผู้ไม่ย่อหย่อนในการแสวงหาความรู้ เชื่อได้ว่าเป็นผู้สามารถนำความเจริญมาสู่ตนและสังคมได้ จึงควรที่ทุกภาคส่วนจะช่วยกันทุกทางที่จะรณรงค์ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปรักการอ่านหนังสือ และสนับสนุนเกื้อกูลผู้ผลิตให้สามารถผลิตหนังสือที่ดี ให้คุณแก่ผู้อ่าน จากนั้นเสด็จฯทอดพระเนตรนิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆและร้านจำหน่ายหนังสือภายในงาน นางสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) เปิดเผยว่า “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16  (46th National Book Fair and 16th Bangkok International Book Fair 2018) ในปีนี้จะมีสำนักพิมพ์ไทยและต่างชาติเข้าร่วมงานกว่า  420 แห่ง รวมทั้งสิ้น 945 บูธ บนพื้นที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร และได้รับเกียรติจาก “ไต้หวัน” เข้าร่วมงานในฐานะ แขกรับเชิญเกียรติยศ (Guest of Honor) นำเสนอนิทรรศการจากแนวคิด Tai-Thai Reading แม้ภาษาจะต่างกัน แต่อาศัยการอ่านเป็นสะพานก้าวข้ามวัฒนธรรม เสริมวิสัยทัศน์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้แก่กันและกัน ข้ามขีดจำกัดของชีวิต ใช้การอ่านพาตนเองออกไปสู่โลกกว้าง โดยนำนิทรรศการมาให้ชม แบ่งออกเป็น โซนนิทรรศการแขกรับเชิญเกียรติยศ (Guest of Honor) โซนแสดงหนังสือนานาชาติ และโซนนิทรรศการ CCC: Creative Comic Collection เปิดประสบการณ์การ์ตูน AR  ในส่วนของนิทรรศการไฮไลท์ซึ่งเป็นจุดเด่นของงานสัปดาห์หนังสือฯในทุกครั้งนั้น ปีนี้คือ “นิทรรศการ อ่าน...อีกครั้ง” โดยร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) นำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญของการอ่าน เล่าประวัติศาสตร์การอ่านในยุคต่างๆ จนมาถึงยุคดิจิทัล แนะนำหนังสือที่มีบทบาทเปลี่ยนแปลงสังคม แบ่งเป็นหนังสือต่างประเทศที่นำมาแปลเป็นภาษาไทย 10 เล่ม และหนังสือที่แต่งโดยนักเขียนไทย 10 เล่ม เน้นให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นอย่างเร่งด่วนของประเทศไทย  ในการสร้างวัฒนธรรมแสวงหาความรู้ โดยมีการอ่านเป็นกิจกรรมสำคัญ  เพื่อให้เราได้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังได้ความร่วมมือจากหอสมุดแห่งชาติ นำต้นฉบับหนังสือโบราณ อาทิ หนังสือ จินดามณี ที่กำลังได้รับความสนใจจากกระแสละครประวัติศาสตร์ รวมทั้งเครื่องพิมพ์โบราณอายุเกือบ 200 ปี จาก องค์การค้าของ สกสค. นำมาจัดแสดงให้ได้ชมกันอีกด้วย “ในการเปลี่ยนผ่านตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถ้าเรามองย้อนกลับไป การอ่านคือปัจจัยทางด้านความรู้ต่างๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างเริ่มจากการอ่าน นำไปสู่การทดลอง และริเริ่มลงมือทำ สิ่งที่คนอ่านก็คือเนื้อหา เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการอ่านไปตามยุคสมัย หากเราต้องการพัตนาคนไทยให้มีคุณภาพและศักยภาพเทียบเท่าระดับนานาชาติ เราจะต้องสร้างวัฒนธรรมการอ่านของชาติให้เข้มแข็งอย่างเร่งด่วน เพราะหนังสือสร้างคน คนสร้างโลก ซึ่งทั้งหมดจะสะท้อนออกมาในนิทรรศการ อ่าน...อีกครั้ง” นางสุชาดากล่าว  นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ นิทรรศการ 100  ปี นายผี อัศนี พลจันทร / นิทรรศการ หนังสือดีเด่น 2561 / นิทรรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา รัตนมณีสาร เมื่อข้าพเจ้าเขียน ‘ย่ำแดนมังกร’ ‘ไป่อิ๋นน่า’ หมู่บ้านลับลี้ริมฝั่งน้ำ” / นิทรรศการ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร (BMA Book & Library Fair) / นิทรรศการ วรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า 2561 และ นิทรรศการ ภาพในวาระ ปีแห่งปะการังสากล ( IYOR 2018) มรดกท้องทะเลไทย (Thai sea Heritage) เตรียมพบกับรายการเสวนาเวทีเอเทรียม “7 วัน อ่าน...อีกครั้ง กับ 7 นักเขียนดัง” ที่จะชวนหนอนหนังสือมาเล่าถึงเรื่องราวจากปลายปากกาของนักเขียนคนดัง อาทิ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช / คำพูน บุญทวี / ป. อินทรมาลิต / มาลัย ชูพินิจ / ประภัสสร เสวิกุล / โกวเล้ง และ มูราคามิ นอกจากนี้ยังมีการเสวนาจากเหล่าคนดังทุกวงการที่พาเหรดกันมางานหนังสือ ไม่ว่าจะเป็น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี / ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย / ศาสตราจารย์ ดร. วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร / ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล / ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล / วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ / ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี / พลเอกบัญชร ชวาลศิลป์ /   พลเอกเอกชัย ศรีวิลาส / บุญชัย-คณชัย เบญจรงคกุล / ฮาราลด์ ลิงค์ / ปิ่น-ณัฎฐนันท์ ฉวีวงษ์ / น้ำผึ้ง-ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ / กาละแมร์-พัชรศรี เบญจมาศ / แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ / ศิลปินจากวง BNK48 และศิลปินดาราวัยรุ่นอีกมากมาย           ครั้งแรกสำหรับงานสัปดาห์หนังสือที่มีการจัดประกวดการตกแต่งบูธจากสำนักพิมพ์ต่างๆที่มาร่วมงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามขนาดบูธ คือ เล็ก กลาง และใหญ่ โดยเน้นย้ำการตกแต่งอย่างสวยงามสร้างสรรค์ และเป็นจุดดึงดูดความสนใจจากผู้เข้าชมงานให้แวะเยี่ยมชม นอกจากนี้ยังมีการเชิญชวนให้บุคคลทั่วไป ร่วมประกวดถ่ายภาพ โครงการ “อ่านด้วยภาพ@สัปดาห์หนังสือ” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า  25,000 บาท อีกด้วย “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 จะจัดขึ้นระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม – วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560รวมทั้งสิ้น 11 วัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” นางสุชาดากล่าวสรุป
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/50319
2013-12-10 13:09
เลี้ยวซ้าย: สภาประชาชนที่แท้จริง คือสภาคนทำงานในระบบสังคมนิยม
ถ้าไม่มีการเลือกตั้งเสรี จะมีประชาธิปไตยไม่ได้ การเลือกตั้งเสรีหมายถึงการเลือกตั้งที่ไม่มีอุปสรรคหรือข้อจำกัดสำหรับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และผู้ไปลงคะแนนเสียง ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางกฎหมาย เงิน หรือความพร้อม ดังนั้นข้อเสนอเหลวไหลของสุเทพและคนอื่นเรื่อง “สภาประชาชน” ที่ไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ กอดคอกับทหาร และกีดกันคนจนออกไป สอบตกในเรื่องประชาธิปไตยตั้งแต่แรก    แต่ถ้าเราจะพัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเลือกตั้งให้ดีกว่านี้ คือดีกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบของรัฐสภาทุนนิยม เรามีตัวอย่างจากคอมมูนปารีสปี 1871 และการปฏิวัติรัสเซียในช่วงระหว่าง 1917-1923 ก่อนที่เผด็จการสตาลินจะขึ้นมาบนซากศพการปฏิวัติสังคมนิยม    ลักษณะการออกแบบเขตเลือกตั้ง และวิธีเลือกตั้งก็มีผลต่อประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก การเลือกตั้งที่มีประชาธิปไตยมากที่สุด เป็นระบบที่เคยพบในสภาคนงานที่เรียกว่าสภา “โซเวียด” หลังการปฏิวัติ 1917 ในรัสเซีย เพราะระบบนี้อาศัยการลงคะแนนหรือลงมติหลังจากที่มีการถกเถียงกันอย่างเสรีต่อหน้าผู้ลงคะแนนเสียง ซึ่งแปลว่าผู้ออกเสียงสามารถพิจารณาข้อถกเถียงของหลายๆ ฝ่าย นอกจากนี้ผู้ออกเสียงจะสามารถประเมินกระแสความคิดของคนอื่นที่จะลงคะแนนร่วมกันได้อีกด้วย และที่สำคัญคือ ผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากสภาคนงานในสถานที่ทำงาน จะถูกตรวจสอบตลอดเวลา และถ้าทำอะไรที่ไม่ถูกใจผู้เลือก จะถูกถอดถอนทันทีและมีการเลือกตั้งใหม่ นี่คือลักษณะของประชาธิปไตยทางตรงในระบบสังคมนิยม    นักมาร์คซิสต์ตั้งแต่สมัย คาร์ล มาร์คซ์ จนถึงทุกวันนี้ เป็นกลุ่มคนที่ปกป้องประชาธิปไตยทุนนิยมจากการคุกคามของเผด็จการอย่างคงเส้นคงวามากกว่าสำนักคิดอื่นๆ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นได้ในวิกฤตการเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 หรือวิกฤตการเมืองในกรีซและอียิปต์เป็นต้น    นักมาร์คซิสต์อย่างโรซา ลัคแซมเบอร์ค เคยพิจารณาว่านักปฏิวัติมาร์คซิสต์ที่ต้องการล้มระบบทุนนิยมและพัฒนาสังคมไปสู่ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบของสังคมนิยม  ควรมีท่าทีอย่างไรต่อประชาธิปไตยครึ่งใบของทุนนิยม    ในหนังสือ “ปฏิวัติหรือปฏิรูป” โรซา ลัคแซมเบอร์ค อธิบายว่าการต่อสู้ประจำวันเพื่อการปฏิรูปในกรอบสังคมปัจจุบันของทุนนิยม รวมถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เป็นโอกาสเดียวของชาวสังคมนิยมที่จะลงมือร่วมสู้ในสงครามชนชั้นของกรรมาชีพเพื่อบรรลุจุดเป้าหมายสุดท้าย คือการยึดอำนาจทางการเมืองและการทำลายระบบการจ้างงานของเผด็จการนายทุน สำหรับชนชั้นกรรมาชีพระบบประชาธิปไตยทุนนิยมเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะรูปแบบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระบบนี้เช่นการบริหารตนเองและสิทธิในการลงคะแนนเสียงชนชั้นกรรมาชีพสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการแปรรูปสังคมทุนนิยมได้ การใช้สิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตยในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นทางเดียวที่จะทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเกิดจิตสำนึกในผลประโยชน์ของชนชั้นตนเองและภาระทางประวัติศาสตร์ของชนชั้นตนเอง แต่ประชาธิปไตยไม่ได้มีความสำคัญเพราะจะทำให้การปฏิวัติยึดอำนาจโดยชนชั้นกรรมาชีพไม่จำเป็นอีกต่อไป ตรงกันข้ามมันทำให้การยึดอำนาจดังกล่าวมีความจำเป็นชัดเจนขึ้น และมีความเป็นไปได้มากขึ้นอีกด้วย    สำหรับนักมาร์คซิสต์ ประชาธิปไตยทุนนิยมหรือสิทธิเสรีภาพต่างๆ ไม่ได้ประทานลงมาจากเบื้องบนหรือถูกออกแบบโดยอภิสิทธิ์ชนแต่อย่างใด  แต่มาจากการต่อสู้ของมวลชนต่างหาก และการต่อสู้ดังกล่าวอาจ “เปิดเผย” เช่นบนท้องถนนหรือ “ซ่อนเร้น” เช่นการต่อสู้เล็กๆ น้อยๆ ประจำวันในสถานที่ทำงาน เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้การก่อตั้งสหภาพแรงงาน  การออกแถลงการณ์หรือการประท้วงต่อต้านเผด็จการ และการคัดค้านม็อบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสุเทพ ล้วนแต่เป็นวิธีหลักในการสร้างประชาธิปไตยทุนนิยม ไม่ใช่ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียง “อุบัติเหตุ” หรือ “ความวุ่นวาย” หรือสิ่งที่ “ไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตย” ดังที่กระแสหลักชอบเสนอ  และเราจะเห็นว่าสำนักมาร์คซิสต์มีให้ความสำคัญกับการรวมตัวกันและการกระทำของพลเมืองในการเปลี่ยนสังคม โดยเน้นชนชั้นกรรมาชีพและเกษตรกรยากจน  แทนที่จะเน้นชนชั้นกลาง  แต่นักวิชาการกระแสหลักมองข้ามบทบาทของชนชั้นกรรมาชีพและคนจนในการสร้างประชาธิปไตยเสมอ    นักมาร์คซิสต์มองว่าการต่อสู้ของมวลชนในฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1986 ในอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 1998 หรือในไทยในปี พ.ศ. 2475, 2516 และ 2535 เป็นสิ่งที่เปิดพื้นที่ประชาธิปไตย และแม้แต่นักวิชาการที่ไม่ใช่มาร์คซิสต์บางคน เช่น Barrington Moore ยังยอมรับว่าประชาธิปไตยทุนนิยมในตะวันตกเป็นผลมาจากการต่อสู้และการปฏิวัติในอดีต นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของอังกฤษชื่อ E.P.Thompson ชี้ให้เห็นว่าประชาธิปไตยอังกฤษ เดิมถูกจำกัดไว้ในหมู่คนชั้นสูงและคนมีเงินเท่านั้น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ม็อบสุเทพต้องการในไทยทุกวันนี้ แต่การต่อสู้ของขบวนการแรงงานอังกฤษเช่นกลุ่ม Chartists เป็นสิ่งที่เปิดพื้นที่ให้พลเมืองทุกระดับมีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียง          นอกจากความสำคัญของบทบาทชนชั้นกรรมาชีพและภาคประชาชนส่วนอื่นๆ ในการรณรงค์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแล้ว สำนักมาร์คซิสต์มองว่าประชาธิปไตยทุนนิยมจะขาดมาตรฐานและทางเลือกทางการเมืองถ้าไม่มีพรรคการเมืองของแรงงานหรือคนจน เช่นพรรคแรงงานหรือพรรคสังคมนิยมชนิดต่างๆ ในสังคม ซึ่งเห็นได้ชัดในกรณีไทยหรือสหรัฐอเมริกา ที่การเมืองรัฐสภาถูกผูกขาดโดยพรรคการเมืองของนายทุน    ข้อเสนอในรูปธรรมของสำนักมาร์คซิสต์เพื่อที่จะการขยายความเป็นประชาธิปไตยภายใต้ระบบทุนนิยมมีหลายข้อเสนอ เช่น 1. ต้องสร้างพรรคของกรรมาชีพและชาวนาเพื่อเสนอทางเลือกทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชนชั้นล่าง และที่แตกต่างกับนโยบายพรรคนายทุน2. ต้องมีกระบวนการในการที่กรรมาชีพและคนจนจะสามารถควบคุม ตรวจสอบ และถอดถอน ส.ส. หรือผู้แทนของตนเองได้ ซึ่งมักจะไม่มีในระบบประชาธิปไตยทั่วไปของทุนนิยม3. สหภาพแรงงานและองค์กรเกษตรกรต้องมีเสรีภาพเต็มที่ในการเคลื่อนไหวต่อสู้หรือนัดหยุดงาน โดยไม่ถูกครอบงำจากรัฐหรือถูกจำกัดในเรื่องสิทธิเสรีภาพโดยกฎหมาย4. ต้องมีการขยายระบบเลือกตั้งไปสู่ศาล ตำรวจ ตำแหน่งสาธารณะทุกตำแหน่ง กรรมการบริหารโรงเรียน โรงพยาบาล เทศบาล สื่อมวลชน และรัฐวิสาหกิจ5. ต้องมีการยกเลิกกฎหมายทั้งหลายที่ปิดปากประชาชน และไม่ให้เราตรวจสอบความถูกต้องของบางสถาบัน เช่นศาลหรือสถาบันกษัตริย์ ต้องยกเลิกกฎหมายความมั่นคงหรือกฎหมายสภาวะฉุกเฉินชนิดต่างๆ และต้องไม่มีงบประมาณลับของใครไม่ว่าจะเป็นทหารหรือองค์กรอื่นๆ6. ต้องนำสื่อมวลชนออกจากการครอบครองของกลุ่มทุน ทหาร และอภิสิทธิ์ชน7. ต้องนำระบบลูกขุนมาใช้ในศาลเพื่อให้พลเมืองมีส่วนหลักในระบบยุติธรรม แทนที่จะมอบอำนาจให้ผู้พิพากษา ลูกขุนต้องประกอบไปด้วยคนธรรมดา ไม่ใช่มีแต่คนชั้นกลาง8. ต้องสร้างรัฐสวัสดิการผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย เพื่อให้พลเมืองส่วนใหญ่มีศักยภาพและความมั่นใจที่จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในระบบการเมือง แต่รัฐสวัสดิการเป็นแค่จุดเริ่มต้นในทุนนิยม มันยังไม่ใช่สังคมนิยมซึ่งเป็นระบบที่คนทำงานควบคุมระบบการผลิตทั้งหมดร่วมกัน    สำนักความคิดมาร์คซิสต์มองว่าในระยะยาวต้องมีการยกเลิกระบบกึ่งเผด็จการของทุนนิยมเพื่อสร้างสังคมนิยมซึ่งจะเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ และถึงแม้ว่าในโลกปัจจุบันยังไม่มีตัวอย่างของสังคมนิยมให้เราเห็น แต่ในอดีตมีหน่ออ่อนของระบบนี้เกิดขึ้น เช่นกรณีคอมมูนปารีส สภาโซเวียต (สภาคนงาน) ซึ่งมีรูปแบบใหม่ของประชาธิปไตยเต็มใบ กล่าวคือ 1. มีการเน้นการประชุมใหญ่ในสถานที่ทำงาน และการมีส่วนร่วมของพลเมืองอย่างต่อเนื่องเพื่อเสนอนโยบายผ่านผู้แทน การเน้นสถานที่ทำงานเพื่อเป็นหน่วยการเมืองเป็นเรื่องสำคัญเพราะนำไปสู่การควบคุมเศรษฐกิจโดยตรง2. มีการเลือกผู้แทนตามสถานที่ทำงาน โดยที่ผู้แทนต้องได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ยของประชาชน และมีระบบถอดถอนผู้แทนตลอดเวลาเพื่อตรวจสอบและควบคุม3. มีระบบสามฝ่ายในการบริหารสถานที่ทำงานและสถาบันสาธารณะทุกชนิด โดยสามฝ่ายดังกล่าวประกอบไปด้วยผู้แทนรัฐบาล ผู้แทนพนักงานในสหภาพแรงงาน และผู้แทนประชาชนในฐานะผู้บริโภค โดยที่ผู้แทนทุกคนมาจากการเลือกตั้ง    โดยสรุปแล้วสำนักมาร์คซิสต์เน้น “ผู้กระทำ” ซึ่งเป็นชนชั้นกรรมาชีพและคนจนในการปกป้องและขยายพื้นที่ประชาธิปไตยทุนนิยม โดยที่การต่อสู้ดังกล่าวมีเป้าหมายระยะยาวในการสร้างประชาธิปไตยเต็มใบของสังคมนิยม    “สังคมนิยม” เป็นระบบที่มนุษย์ฝันถึงมานาน ตั้งแต่เกิดสังคมชนชั้นที่ไร้ความเสมอภาคและความยุติธรรม ในสมัยก่อนเขาอาจไม่เรียกว่า “สังคมนิยม” แต่อาจมีคนเรียกว่า “ยุคพระศรีอารย์” หรือชื่ออื่นๆ แต่มันมีความหมายเดียวกันคือ “สังคมที่สงบสุขเท่าเทียมกัน”    พวกเราชาว “มาร์คซิสต์” เชื่อว่าสังคมนิยมต้องมาจากการกระทำของชนชั้นกรรมาชีพเอง ไม่ใช่มาจากการวางแผนโดยผู้นำคนเดียว กลุ่มคนชั้นสูงในวงแคบๆ ผู้นำพรรค หรือกองทัพปลดแอก มันเป็นเรื่องรากหญ้า ดังนั้นสังคมนิยมจะมีลักษณะตามที่กรรมาชีพและพลเมืองส่วนใหญ่พึงปรารถนา ต้องออกแบบและสร้างจากล่างสู่บนโดยคนรากหญ้าเอง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราจะสร้างสังคมใหม่ที่เป็นสังคมนิยม มันน่าจะมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้คือ 1.       เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยครึ่งใบอย่างทุนนิยมซึ่งอำนาจควบคุมการผลิตเป็นของนายทุน ทั้งนี้เพราะในระบบสังคมนิยมระบบเศรษฐกิจการผลิตจะถูกควบคุมโดยพลเมืองทุกคน ดังนั้นสังคมนิยมจะเป็นระบบก้าวหน้าที่ปลดแอกมนุษย์อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์2.       ในระบบสังคมนิยมจะมีการวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่เพื่อสะสมอาวุธ หรือเพื่อการหวังกำไรของคนส่วนน้อย จะเป็นระบบที่มีความเสมอภาคเต็มที่ ไม่มีคนรวย ไม่มีคนจน ไม่มีการกดขี่ทางเพศหรือเชื้อชาติ3.       ในระบบสังคมจะยกเลิกการขูดรีดของนายทุน โดยการยกเลิกสิทธิ์อันไร้ความชอบธรรมของคนบางคน ที่จะควบคุมปัจจัยการผลิตอย่างผูกขาดแล้วนำกำไรเข้ากระเป๋าตนเองหรือลงทุนเพื่อหากำไรเพิ่ม ทุกสถานที่ทำงาน หรือที่ดินเกษตร จึงต้องเป็นของคนทำงานเอง ของสังคมโดยรวม ไม่มีเจ้านาย ไม่มีชนชั้น บริหารกันเองประสานกับส่วนอื่นของสังคม ทรัพยากรของโลกจะเป็นของส่วนรวม ดังนั้นการกดขี่แย่งชิงกันระหว่างชาติก็จะค่อยๆ หมดไป4.       มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มที่ ไม่ใช่ว่าบางคนมีงานทำที่น่าสนใจ และคนอื่นต้องทำงานซ้ำซาก การทำงานของพลเมืองควรจะเป็นเรื่องที่สร้างความภาคภูมิใจ และสนับสนุนความสร้างสรรค์ที่หลากหลายของเราทุกคน พลเมืองทั้งสังคมจะได้มีศักดิ์ศรีและได้รับความเคารพรักซึ่งกันและกัน แต่ก่อนที่เราจะสร้างประชาธิปไตยของสังคมนิยมได้ เราต้องกำจัดอำนาจของพวกอภิสิทธิ์ชนและคนชั้นกลางที่โบกธงไทยบนท้องถนน และอยากหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคมืดแห่งเผด็จการ เราต้องสร้างพรรคการเมืองของคนชั้นล่างเอง และผลักดันข้อเสนอที่ก้าวพ้นพวกที่รักสมบูรณาญาสิทธิราชย์และพวกที่หลงใหลในอดีตนายกทักษิณ   หมายเหตุ: ชื่อบทความเดิม: สภาประชาชนที่แท้จริง คือสภาคนทำงานในระบบสังคมนิยมไม่ใช่เผด็จการของสุเทพและของพวกที่อ้างว่าเป็นตัวแทน “ประชาสังคม”
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/20058
2009-02-19 02:40
ข่าวพม่าประจำวันที่ 19 ก.พ. 2552
กลุ่มนักธุรกิจถูกทาบทามลงสมัครเลือกตั้งปี 53 สมาคมเพื่อเอกภาพและการพัฒนา(USDA) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรัฐบาลพม่าคอยหนุนหลังได้ทาบทามกลุ่มนักธุรกิจในหลายเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 53 ที่จะถึงนี้   นักธุรกิจคนหนึ่งที่ประชาชนในย่างกุ้งให้การเคารพนับถือเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ USDA ได้ติดต่อทาบทามให้เขาลงสมัครเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีหน้า  เขากล่าวว่า "เจ้าหน้าที่  USDA ขอให้ผมให้คำตอบพวกเขาโดยเร็วที่สุด โดยให้ปิดเรื่องนี้เป็นความลับ  สาเหตุที่พวกมาทาบเพราะผมเป็นคนเดียวในเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้งได้"      เขากล่าวเพิ่มเติมว่า สมาชิกกลุ่ม USDA  จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง แต่จะใช้วิธีการจัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งเป็นตัวแทนของพวกเขาลงชิงชัยแทน    นายเอทาอ่อง ผู้นำชาวอาระกันกล่าวว่า นักธุรกิจบางคนในรัฐอาระกันได้รับการทาบทามจากนายทหารระดับสูงให้ลงสมัครเลือกตั้งเช่นเดียวกัน   ทั้งนี้การเลือกตั้งของพม่าในปี 2533 ที่ผ่านมา มีส.ส.ทั้งหมด 492 ที่นั่ง โดยพรรคเอ็นแอลดีสามารถกวาดที่นั่งในสภาได้กว่า 392 ที่นั่ง  ขณะที่การเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะถึงนี้ มีที่นั่งในสภารวมทั้งสิ้น 440 ที่นั่ง โดยที่นั่งจำนวน 330 ที่นั่งนั้นจะเป็นของผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรง ในขณะที่ที่นั่งในสภาจำนวนที่เหลืออีก 110 ที่นั่งจะเป็นการแต่งตั้งจากกองทัพพม่าตามมาตรา 109 ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2551   แม้รัฐบาลพม่าจะอ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้รับความเห็นชอบอย่างล้นหลามจากประชาชนถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในการลงประชามติเมื่อเดือนพฤษภาคมเมื่อปีที่แล้ว แต่ในสายตาของกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลพม่าและผู้สังเกตการณ์ต่างชาติต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การลงประชามติดังกล่าวปราศจากความยุติธรรม ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการออกเสียง   อย่างไรก็ตาม แม้กำหนดการเลือกตั้งในปี 2553 จะใกล้เข้ามาทุกที แต่รัฐบาลพม่ายังไม่มีทีท่าว่าจะประกาศกฎหมายเลือกตั้งแต่อย่างใด    (ที่มา/Irrawaddy 16 ก.พ.52)     เคเอ็นยูปฏิเสธโจมตีเมืองเมียวดี กองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยูปฏิเสธข้อกล่าวหาที่สื่อท้องถิ่นของพม่าเสนอข่าวว่าเคเอ็นยูก่อเหตุโจมตีพื้นที่ใกล้ชายแดนไทย - พม่าว่าไม่เป็นความจริง พร้อมโต้กลับว่าเป็นแผนของกองทัพพม่าที่ต้องการสร้างภาพให้ศัตรูของตัวเองกลายเป็นผู้ก่อการร้าย   หนังสือพิมพ์เดอะนิวไลท์ออฟเมียนมาร์ กระบอกเสียงของรัฐบาลพม่าได้เสนอข่าวกล่าวหากองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยูโจมตีเมืองเมียวดี ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐกะเหรี่ยงตรงข้ามกับ จ. ตากของไทยในเช้าวันอาทิตย์ที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า มีการใช้อาวุธหนักและยิงปืนคอจำนวน 4 นัด ตกลงใส่ที่พักอาศัยของชาวบ้านและเขตบริเวณของวัดแห่งหนึ่ง แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต    การโจมตีครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่นายโทมัส โดเจีย ควินตานาผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นจะเดินทางเยือนพม่าเป็นเวลา 6 วัน และก่อนวันเกิดเหตุนายโทมัส โดเจีย ควินตานามีกำหนดการเยือนเมืองผาอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง   ด้านเคเอ็นเอ็นยูได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดทันทีว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยนายเดวิด ทาคาพอ รองผู้อำนวยการเคเอ็นยูแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า กองทัพพม่าต้องการกล่าวหาว่าเคเอ็นยูเป็นกลุ่มก่อการร้าย ในระหว่างที่นายควินตานาเยือนพม่า  โดยนายเดวิดยืนยันว่าไม่เคยใช้อาวุธหนักในการโจมตี แต่ทั้งหมดน่าจะเป็นฝีมือของกองทัพพม่ามากกว่า เพราะมีอาวุธทันสมัยกว่าอยู่มาก   ทั้งนี้ สื่อท้องถิ่นของพม่ายังกล่าวหากองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยูว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวบ้าน ทั้งข่มขู่ รีดไถ ปล้นสะดม วางกับระเบิด เป็นต้น ในขณะเดียวกันองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนต่างแสดงหลักฐานว่า กองทัพพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชนประชาชนในช่วงที่สู้รบกับชนกลุ่มน้อยในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/62723
2015-12-02 00:49
ศาลปกครองเปิดแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ ชี้เพิ่มประสิทธิภาพปราบทุจริต
เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา นายไกรรัช  เงยวิจิตร รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง เปิดเผยว่า วันที่ 1 ธ.ค.58 ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้นทุกแห่ง จะดำเนินการเปิดทำการแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ เป็นวันแรก โดยแผนกคดีดังกล่าวจะพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเกี่ยวกับวินัยการคลังและการงบประมาณโดยเฉพาะ ซึ่งหมายถึง คดีพิพาททางปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในกรณีการฝ่าฝืนข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารการเงินและการคลังที่ออกตามความในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดอื่นใดที่เกี่ยวกับการรับ การเบิก การจ่าย การใช้จ่าย การบริหารงบประมาณ และก่อหนี้ผูกพัน การจัดเก็บรายได้ การใช้ประโยชน์ การเก็บรักษาการพัสดุ และการจัดการซึ่งเงินทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ใด ๆ ของหน่วยงานทางปกครอง ที่ได้มาจากเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินกู้ เงินอุดหนุน เงินบริจาค และเงินช่วยเหลือจากแหล่งในประเทศหรือต่างประเทศ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือวัตถุประสงค์ของหน่วยงานทางปกครอง ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงเงิน ทรัพย์สิน สิทธิและผลประโยชน์ดังกล่าวที่หน่วยงานทางปกครองมีอำนาจ หรือสิทธิใช้จ่ายหรือประโยชน์ด้วย ซึ่งเป็นความผิดวินัยทางการคลังและการงบประมาณและได้รับการลงโทษปรับทางปกครองตามกฎหมาย นายไกรรัช กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ เป็นแผนกคดีพิเศษ ลำดับที่ 3 ที่มีการจัดตั้งขึ้นในศาลปกครอง หลังจากที่ได้เปิดทำการแผนกคดีสิ่งแวดล้อม และแผนกคดีบริหารงานบุคคล ไปแล้วเมื่อช่วง 2 – 4 ปี ที่ผ่านมา เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับวินัยการคลังและการงบประมาณเป็นไปโดยรวดเร็ว ทันต่อการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่อาจเกิดขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ โดยประธานศาลปกครองสูงสุดได้มีประกาศลงวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ให้จัดตั้งแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณในศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองเกี่ยวกับวินัยการคลังและการงบประมาณในเขตอำนาจของศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น โดยแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ จะประกอบด้วยองค์คณะและตุลาการผู้แถลงคดีที่มีความเชี่ยวชาญคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ ตามที่ประธานศาลปกครองสูดสุดประกาศกำหนด กรณีเป็นแผนกฯในศาลปกครองสูงสุด และตามที่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นประกาศกำหนด กรณีเป็นแผนกฯ ในศาลปกครองชั้นต้น ทั้งนี้ ประกาศจัดตั้งแผนกคดีดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป อนึ่ง ณ ปัจจุบันมีศาลปกครองชั้นต้นที่เปิดทำการแล้วจำนวนทั้งสิ้น 11 แห่ง ได้แก่ ศาลปกครองกลาง (ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร) ศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลปกครองสงขลา ศาลปกครองนครราชสีมา ศาลปกครองขอนแก่น ศาลปกครองพิษณุโลก ศาลปกครองระยอง ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ศาลปกครองอุดรธานี ศาลปกครองอุบลราชธานี และศาลปกครองเพชรบุรี สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งตุลาการหัวหน้าแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณในศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองชั้นต้น มีรายนามดังนี้ 1.     นายวิษณุ  วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ปฏิบัติหน้าที่ ตุลาการหัวหน้าแผนกคดีวินัยการคลังฯ ในศาลปกครองสูงสุด 2.     นายประวิทย์  เอื้อนิรันดร์ รองอธิบดีศาลปกครองกลาง ปฏิบัติหน้าที่ ตุลาการหัวหน้าแผนกคดีวินัยการคลังฯ ในศาลปกครองกลาง 3.     อธิบดีศาลปกครองในภูมิภาคแต่ละศาล ปฏิบัติหน้าที่ ตุลาการหัวหน้าแผนกคดีวินัยการคลังฯ ในศาลปกครองในภูมิภาคของแต่ละศาล อีกหน้าที่หนึ่ง วิษณุ ชี้พิจารณาได้รวดเร็วขึ้น ลดขั้นตอน ปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพ ล่าสุด 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา นายวิษณุ วรัญญู ได้ ให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าวไทย [1] ด้วย ตอนหนึ่งว่า ประโยชน์ของการแยกแผนกคดีวินัยการคลังและงบประมาณ จะทำให้คดีดำเนินกระบวนพิจารณาได้รวดเร็วขึ้น ลดขั้นตอนบางอย่างลง เมื่อคดีเข้าสู่แผนกเฉพาะ จะได้รับการดำเนินกระบวนการพิจารณาในลักษณะพิเศษ เพราะต้องเสร็จเร็วกว่าปกติ “คดีที่เกี่ยวกับการปฏิบัติไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเงิน คดีทุจริต ประชาชนอยากทราบผลเร็ว หากประชาชนต้องรอผลการตัดสิน 5 ปี 10 ปี ก็อาจจะทำให้รู้สึกว่า การปราบกรามการทุจริตไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าทำให้เสร็จได้โดยเร็ว ก็จะทำให้เห็นว่า การปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพ และจะส่งผลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างระมัดระวัง”  นายวิษณุ กล่าว
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/57425
2015-01-16 01:04
ค้นหารากเหง้า ‘มลายูกรุงเทพ มุสลิมบางกอก’ ผ่านมุมมองของ ‘ศุกรีย์ สาเร็ม’ เลขาฯ สโมสรมลายูแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ค้นหารากเหง้า ‘มลายูกรุงเทพ มุสลิมบางกอก’ ผ่านมุมมองของ ‘ศุกรีย์ สาเร็ม’ เลขาธิการสโมสรมลายูแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา 20 ปีกับการตามหาร่องรอยที่มาของบรรพบุรุษในอดีตตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พบสายตระกูลมาจากภาคใต้ แต่มลายูกรุงเทพ-ปาตานีส่วนใหญ่ยังนับญาติกันไม่เจอ ทว่ายังมีจุดเชื่อมต่อ เผยวางเป้าตั้งสภาวัฒนธรรมมลายูแห่งประเทศไทย ใช้โลกมลายูเชื่อมอาเซียน คนมลายูมุสลิมในกรุงเทพมาจากไหน อาจยังเป็นคำถามคาใจให้คนส่วนหนึ่งหวนนึกถึงเรื่องราวหรือเรื่องเล่าอันโหดร้ายจากอดีต ใครที่จะให้คำตอบได้บ้าง คนมลายูมุสลิมในกรุงเทพเองอธิบายเรื่องนี้อย่างไรโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) คุยกับ ศุกรีย์ สะเร็ม เพื่อหาคำตอบ ศุกรีย์ สะเร็ม เป็นเลขาธิการสโมสรมลายูแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา (Persatuan Melayu Lumbah Chaopraya, Bangkok) และประธานคณะทำงานสภาศิลปวัฒนธรรมมุสลิมสยาม (Muslim Siam Forum for Art and Culture, Thailand) หรือที่คนรู้จักกันในชื่อ “บังยีติ๊ก/Bangyee Tik” ยีติ๊กเป็นลูกหลานคนมลายูบางกอกที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เขาพยายามศึกษาค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับร่องรอยต่างๆ ของคนมลายูและชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร เชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆ ในประเทศ เพื่ออธิบายเรื่องนี้ และต้องการให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้ และรู้สึกภาคภูมิใจต่อเกียรติคุณอันยาวนานของชาวมุสลิมในประเทศไทย ยีติ๊กได้ก่อตั้งสโมสรมลายูแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาขึ้นมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับคนมลายูและมุสลิมทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีทีมงานประมาณ 10 คน มลายูที่จมหายในประวัติศาสตร์กรุงเทพ?เขาอธิบายว่า คนมลายูเป็นชาติพันธุ์หนึ่งที่มีบทบาทด้านต่างๆ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหรือก่อนหน้านั้น และเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลามที่ใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เขาพบว่า ข้อมูลเกี่ยวกับคนมลายูถูกบิดเบือนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพราะมีการบันทึกว่าพวกเขาเป็นชาวจาม ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธุ์มลายูหนึ่งในสาย“ Malayu Polinician” ทำให้เข้าใจว่าเป็นคนที่อาศัยอยู่มาแต่เดิมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งที่ไม่ใช่ ยีติ๊กบอกว่า ในสมัยพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา หัวหน้ากองอาสาจาม คือพระยาราชบังสัน ซึ่งเป็นบุตรของสุลต่านสุลัยมาน ชาร์ เจ้าเมืองมลายูแห่งอาณาจักรสิงฆูรา (สงขลา) ได้รวมเอามลายูเข้าไปอยู่ในกรมกองนี้ด้วย ถูกเหมารวมเรียกเป็นแขกมะหง่ลต่อมาปลายสมัยรัตนโกสินทร์ คำว่า “เปอร์เซีย” มีการแปลเอกสารฝรั่งคำว่า “Moors” หรือแขกมัวร์ หรือมะหง่ล (อ่านว่า มะ-หงน) ว่าเป็นแขกเจ้าเซ็น ซึ่งหมายถึงชีอะห์ที่เป็นชาวเปอร์เซีย ทั้งที่คำเรียก “Moors” หรือแขกมัวร์ ในบันทึกของฝรั่งในภูมิภาคนี้ มักหมายถึงมุสลิมอินเดียจากอาณาจักรโมกุล หรือบันทึกสยามเรียกแขกมะหง่ล และใช้คำนี้เรียกชาวมลายูบางกลุ่มด้วย โดยมิได้เจาะจงนิกายชีอะห์หรือซุนนี คำว่า “Moors” เป็นคำที่ฝรั่งยุโรปใช้ในการเรียกมุสลิม ชาวอาหรับอันดาลุสในยุโรปใต้และแอฟริกาเหนือ ต่อมาใช้คำนี้เรียกชาวอาหรับและชาวออตโตมันด้วย ขอตั้งข้อสังเกตว่าหาก “ชาติพันธุ์เปอร์เซีย ” มีบทบาทหรือมีอิทธิพลจนเป็นที่ประจักษ์ตั้งแต่เดิม ทำไมไม่มีคำว่าเปอร์เซียในการบันทึกของ “โคลงภาพคนต่างภาษา” ซึ่งเป็นโคลงประกอบภาพวาดชนชาติต่างๆ จำนวน 32 ชาติพันธุ์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภาพวาดเพื่อบันทึกชนชาติต่างๆ ในอดีตในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ขณะเดียวกันโลกมลายูในตอนนั้นไม่สามารถที่จะอ้างอะไรได้ เนื่องจากยุคนั้นโลกมลายูกำลังตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของตะวันตกทั้งหมด ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซีย ทั้งที่เป็นยุคที่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ยุคใหม่ จัดมลายูและมุสลิมกรุงเทพในอดีตนายศุกรีย์ เล่าถึงข้อมูลที่ค้นพบเกี่ยวกับเรื่องคนมุสลิมที่มีบทบาทในสยามประเทศในอดีต พบว่ามี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มแรกคือมุสลิมที่มาจากโลกมลายูกับอินเดีย กลุ่มต่อมา คือ คนเติร์ก คนอาหรับและคนเปอร์เซีย แต่สำหรับคนเปอร์เซียมีข้อมูลอ้างอิงถึงน้อยมาก แต่สามารถแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มย่อยๆ ได้แก่ 1.มุสลิมจีน 2.จาม 3.มลายู 4.โมกุล (อินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ) 5.เปอร์เซีย 6.อาหรับ และ 7.เติร์ก สโมสรมลายูแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาเขาเล่าต่อไปว่า ก่อนที่จะตั้งสโมสรมลายูแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้ตั้งชมรมมลายูบางกอกมาก่อน แต่จากการศึกษาพบว่า ร่องรอยของมลายูไม่ได้อยู่เฉพาะในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ยังพบในพื้นที่อื่นๆ ด้วย เช่น คุณย่าของผมเป็นคนเชื้อสายชาวมอญ อาศัยอยู่ที่ จ.ปทุมธานี ส่วนยายทวด (โต๊ะหญัง) เป็นแขกกรุงเก่าเชื้อสายมลายูที่มาจากชุมชนกฎีขาว คลองบางหลวง จ.สมุทรปราการ “ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผมจึงนึกถึงคำว่า “ลุ่มน้ำเจ้าพระยา” เนื่องจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาครอบคลุมพื้นที่ จ.อยุธยา จ.นครนายก จ.ปทุมธานี จ.สมุทรปราการ และย่านธนบุรี กรุงเทพมหานคร บริเวณนี้เป็นพื้นที่ใจกลางของประเทศไทยในรอบ 500 ปีที่ผ่านมา เพราะมีเมืองหลวงถึง 3 เมืองด้วยกัน คือ กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์” ที่สำคัญบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยามีชุมชนต่างชาติจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ ชุมชนมลายู ดังนั้นคนมลายูจึงเป็นคนมุสลิมส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “คนมลายูที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครบางคนมีบรรพบุรุษอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา บางคนถูกนำตัวมาจากทางภาคใต้ไปขึ้นอยู่กรุงเทพด้วยเหตุผลทางสงครามในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-3 แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป กรุงเทพกลายเป็นเมืองที่เจริญขึ้นทางเทคโนโลยีและการศึกษา จึงทำให้คนมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้เดินทางขึ้นมาอาศัยอยู่ในกรุงเทพด้วยความสมัครใจมากขึ้น ทั้งเพื่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ" ด้วยเหตุนี้จึงตั้งชื่อว่า “สโมสรมลายูแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา” บันทึกสายตระกูล ตัวอย่างที่มามลายูกรุงเทพ“ต้นตระกูลของผมมีการบันทึกสายตระกูลไว้ด้วย ทำให้ทราบว่าต้นตระกูลของผมอาศัยอยู่ที่กรุงเทพมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นก่อตั้งกรุงเทพมหานคร โดยสายหนึ่งเป็นคนมลายูมาจากปัตตานี ถูกนำขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2329 ส่วนอีกสายหนึ่ง คือยายทวดเป็นคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี เป็นแขกเก่า ในสมัยนั้น ยายทวดสามารถพูดภาษาไทยปนภาษามลายูได้ เช่น คำว่า “กาเตาะ” แปลว่าคางคก กาก “ซาโบ๊ะ” แปลว่า เปลือกมะพร้าว “ซูดู” แปลว่า ช้อน เป็นต้น เมื่อปี 2515 มัสยิดอัลอิสตีกอมะฮ์ หรือสุเหร่าอาจารย์เซ็ง ถ.ประชาอุทิศ 69 เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และมัสยิดบ้านปากลัด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ยังอ่านคุตบะห์ (ธรรมเทศนา) ด้วยภาษามลายู ซึ่งใช้มาเป็นร้อยๆ ปีมาแล้ว เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ภาษาไทยเมื่อประมาณ 30 ปีมานี้เอง สมัยนั้นภาษามลายูเป็นภาษาวิชาการ เพราะคนสมัยก่อนนิยมเรียนกีตาบ (ตำราเรียนศาสนา) ด้วยภาษามลายูอักษรยาวี ทั้งที่กรุงเทพฯ หรือที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย และที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย” กรุงเทพ-ปาตานียังนับญาติไม่เจอ แต่มีจุดเชื่อม“บางคนถามผมว่า ข้อมูลคนมลายูและมุสลิมในกรุงเทพเชื่อมเชื้อสายกันคนมลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร ผมพยายามเชื่อมกันอยู่แต่มีข้อมูลคนละชุดกัน เช่น เมื่อมีการนับญาติกันก็หาจุดเชื่อมต่อกันไม่เจอ เพราะตั้งแต่คนมลายูถูกนำตัวขึ้นกรุงเทพกับระยะเวลาจนถึงปัจจุบัน มันห่างกันถึง 200 ปี แต่อย่างไรก็ตามผมลงมาในพื้นที่บ่อยเพื่อร่วมสัมมนา หรือค้นหาข้อมูลต่างๆ ในพื้นที่ บางครั้งข้อมูลที่เจอสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่ในกรุงเทพได้บ้าง เช่น เมนูอาหาร การแต่งกาย ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเมนูอาหารหลายชนิด เช่น พริกหยวกยัดไส้ (ซอเลาะ) เป็นต้น หรือในความเป็นจริง แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด แกงกะทิ เป็นแกงมลายู ไม่ใช่แกงสยาม” อิทธิพลมุสลิมใครครัวสยาม“เมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตรงสมัยรัชกาลที่ 5 ทางราชสำนักได้ทำเมนูอาหารชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ประเทศสยาม เพราะอยากรู้ว่าเมนูอาหารในสมัยนั้นมีอะไรบ้าง พบว่ามี 3 เมนู ได้แก่ 1.เมนูจีน 2.เมนูฝรั่ง 3.เมนูราชสำนัก สิ่งที่น่าสนใจคือในเมนูราชสำนัก ปรากฏว่าส่วนใหญ่เป็นอาหารมุสลิม เช่น แกงเขียวหวาน แกงมัสมั่นและขนมอื่นๆ เป็นต้น ตามความหลากหลายของคนมุสลิมเชื้อชาติต่างในสมัยนั้น “ให้มันรู้ไปว่า เรามีอิทธิพลไปถึงในครัวของสยามเลยล่ะ” นอกจากนี้ แม่นมของพระมหากษัตริย์และขุนนางในสมัยก่อน ส่วนใหญ่ก็เป็นมุสลิม เพราะคนมุสลิมตัวสูง ผิวพรรณดี น้ำนมเยอะ และเป็นคนที่มีความสะอาด มีหลัก “ตอฮาเราะห์” เนื่องจากปฏิบัติตามหลักศาสนาเป็นประจำ จากการที่ได้ศึกษาร่องรอยมุสลิมและมลายูในกรุงเทพ ก็มีส่วนทำให้คนกรุงเทพและคนไทยยอมรับคนมุสลิมมากขึ้น และเคารพในอัตลักษณ์ของคนมุสลิมมากขึ้นด้วย ในขณะที่กระแสการตื่นตัวต่อมุสลิมทั้งในแง่ดีหรือไม่ดี โดยเฉพาะกระแสของมุสลิมคือผู้ก่อการร้ายนั้น ผมขออธิบายว่า มุสลิมก็มีส่วนสำคัญในการสร้างประวัติศาสตร์ไทยด้วยเช่นเดียวกัน ตามหลักฐานต่างๆ ที่ยกมาประกอบ” ผลงานที่นำเสนอ“ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะนำไปติดบอร์ด รวมถึงทำเป็นแผ่นพับ และนำบางส่วนไปทำเป็นสื่อดิจิตอล เพื่อนำไปแสดงตามงานทั่วไป เช่น งานรับเสด็จสมเสด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยปี 2557 นอกจากนี้ยังใช้ในการรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จงานมุสลิมบนแผ่นดินไทยของสถาบันเอเชียศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2557 นอกจากนี้ ยังใช้แสดงในงานของดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรก ภายในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 72 ปี โรงเรียนประทีปศาสน์ (ปอเนาะบ้านตาล) อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งจัดที่เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2555 ครั้งที่ 2 ในงานรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จเยี่ยมโรงเรียนประทีปศาสน์ เมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา จากการที่ศึกษาเรื่องคนมลายูและมุสลิมในกรุงเทพฯ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เชิญผมจัดงานมุสลิมในแผ่นดินไทยที่สมเด็จพระเทพฯ เสด็จเปิดงาน ต่อมาผมเป็นหนึ่งในคณะเขียนงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนหนังสื่อชื่อ “สถาบันพระมหากษัตริย์กับมุสลิมบนแผ่นดินไทย” นอกจากนี้ทุกๆ ปี ผมไปบรรยายเรื่องร่องรอยมลายูในแผ่นดินไทยกับมลายูในบางกอก ให้แก่นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษามลายู ที่จุฬาลงกรณ์มาหาวิทยาลัย” วางเป้าตั้งสภาวัฒนธรรมมลายู“ในอนาคต ผมวางแผนไว้ว่าอยากจะตั้งศูนย์ข้อมูลมุสลิมในกรุงเทพ และก่อตั้งสภาวัฒนธรรมมลายูแห่งประเทศไทย เพื่อให้คนมลายูในประเทศไทยสามารถติดต่อโดยตรงกับรัฐมลายูที่อยู่รอบๆ ประเทศไทยได้ ซึ่งสำคัญมากเพราะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีคนมลายูจำนวนมากและจะเป็นโอกาสของประเทศไทยทั้งในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เหมือนกับคนจีนที่อยู่ในประเทศไทยไปจับมือกับคนในประเทศจีน ทำค้าขาย การท่องเที่ยว และอื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย” ศุกรีย์ สาเร็มสำหรับนายศุกรีย์ สะเร็ม นอกจากเป็นเลขาธิการสโมสรมลายูแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา (Persatuan Melayu Lumbah Chaopraya, Bangkok) แล้วยังมีตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ ประธานคณะทำงานสภาศิลปวัฒนธรรมมุสลิมสยาม (Muslim Siam Forum For Art & Culture,Thailand) กรรมการบริหารมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามเพื่อการศึกษาและพัฒนา (วกพ.) ดูแลกองทุนไอดีบี ประเทศไทย หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งอิสลาม อนุกรรมการ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร กรรมการผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาศูนย์วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม – มลายูบ้านปากลัด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ที่ปรึกษา กลุ่มภาคีสถาปัตยกรรมปาตานี คณะกรรมการทำหนังสือสถาบันพระมหากษัตริย์กับมุสลิมในแผ่นดินไทย ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย หัวหน้างานนิทรรศการ งานเมาลิดกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประจำปี 2557 ประธานโครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ปาตานีฯ มูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation, USA)
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/5262
2005-08-15 21:21
"ทักษิณ" ฟันธงรุกป่าต้นน้ำ-ถมที่ริมน้ำปิง ทำน้ำท่วมใหญ่เชียงใหม่
ศูนย์ข่าวภาคเหนือ-15 ส.ค.48         นายกฯ ทักษิณ ฟันธงน้ำท่วมใหญ่เชียงใหม่ ในรอบ 40 ปี เพราะการตัดไม้ทำลายป่าในเขตพื้นที่เชียงดาว-แม่แตง - บุกรุกที่ดินริมน้ำปิง  สั่ง "เนวิน" ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ปัญหาด่วน โยนความผิดให้ชาวเขา  ในขณะที่ชาวบ้านบอกว่า ปัญหาจริงๆ อยู่ที่กลุ่มนายทุนเปิดพื้นที่ป่าปลูกสวนส้มในพื้นที่ป่าต้นน้ำ   พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อผู้สื่อข่าว หลังจากขึ้นเฮลิคอปเตอร์ทำการตรวจสภาพปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ตอนเหนือของ จ. เชียงใหม่ ในเขตพื้นที่ อ.เชียงดาว และ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่  พบว่า  ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ในรอบ 40 ปีของเชียงใหม่ครั้งนี้ก็คือ  ปัญหาการบุกรุกริมฝั่งแม่น้ำปิงหลายจุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะดีกันทั้งนั้น   นอกจากนี้ยังมีปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในหลายพื้นที่ของทั้ง  2  อำเภอ     ทั้งนี้  นายกรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่า การตัดไม้ทำลายป่าในเขตพื้นที่ อ.เชียงดาวและ อ.แม่แตง  คาดว่าจะเป็นฝีมือชาวเขา แต่อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ปัญหาจะต้องดำเนินการจัดการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยจะมอบหมายให้นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ามาตรวจสอบจัดการปัญหาดังกล่าวนี้โดยเร็วที่สุด   อย่างไรก็ตาม  นายนิคม พุทธา  เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน  กล่าวว่า  ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ อ.เชียงดาว ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำปิงนั้น  สาเหตุจริงๆ  นั้น  เกิดจากการขยายตัวของกลุ่มนายทุนที่เข้าไปรุกพื้นที่ป่า  เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว เช่น ส้ม หรือข้าวโพด  ในเขตพื้นที่ ต.เมืองนะ  ต.ทุ่งข้าวพวง   เมื่อฝนตกหนักจึงทำให้ความหนาแน่นของป่าและดินนั้น  เกิดภาวะการกักเก็บชะลอน้ำฝนลดลง ประกอบกับมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องถึง 12  ชั่วโมง  จึงทำให้ปริมาณน้ำมากเกินจนทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้   ในขณะที่ นางอาภรณ์  แสงโชติ  ชาวบ้าน ต.เวียงใต้  อ.ปาย  จ.แม่ฮ่องสอน  กล่าวว่า  สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี พูดว่า สาเหตุของน้ำท่วมนั้นมาจากการตัดไม้ทำลายป่านั้น  ตนเห็นด้วย  ไม่ปฏิเสธ  แต่จะระบุว่าเป็นฝีมือของชาวเขาอย่างเดียวนั้นคงไม่ถูกต้อง  เพราะในพื้นที่ของ อ.ปาย  สามารถระบุชี้ชัดได้เลยว่า  สาเหตุนั้นมาจาก การรุกป่าของกลุ่มนายทุนที่เข้าไปตัดไม้อย่างแน่นอน    "เพราะน้ำท่วมในเขตอำเภอปายที่ผ่านมานั้น  จะเห็นเลยว่ามีท่อนซุง  ท่อนไม้สักขนาดใหญ่  จำนวนหลายสิบท่อน  ลอยมากับกระแสน้ำเข้ามาในตัวอำเภอ  นี่เป็นหลักฐานชี้ชัดเลยว่า  เป็นฝีมือของกลุ่มนายทุน  โดยใช้ชาวบ้านบางกลุ่มเข้าไปเป็นเครื่องมือ   ทั้งที่ก่อนหน้านั้น  อ.ปาย  ไม่เคยเกิดน้ำท่วมหนักขนาดนี้มาก่อน  ซึ่งทางนายกรัฐมนตรี  จะต้องส่งคนลงไปตรวจสอบดูด้วย" นางอาภรณ์  กล่าว
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/70472
2017-03-08 17:02
หลังรื้อชุมชนป้อมมหากาฬ 7 ชุมชนขยับ ขอชะลอแผนพัฒนาย่านเก่า
ตัวแทน 7 ชุมชนเก่า ร้องชะลอโครงการพัฒนารอบกรุงรัตนโกสินทร์ ขอมีส่วนร่วมตัดสินใจ ด้านนักวิชาการชี้ย่านชุมชนเก่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ถูกภาครัฐละเลย เพราะเป็นประวัติศาสตร์คนธรรมดา 7 มี.ค. 2560 จากกรณีการรื้อถอนบ้านในชุมชนป้อมมหากาฬ จำนวน 12 หลัง เมื่อปลายปี 2559 และ จำนวน 4 หลัง เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจาก พ.ร.ฏ.เวนคืนเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และสร้างสวนสาธารณะ ปี 2535 ทำให้เกิดกระแสการตื่นตัวของชุมชนในย่านเก่าต่างๆ ที่เกรงว่าจะเกิดกรณีเช่นเดียวกับชุมชนป้อมมหากาฬ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากแผนพัฒนารอบเกาะรัตนโกสินทร์ ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว นักวิชาการ และสถาปนิก จึงจัดเวทีพหุภาคีย่านเมืองเก่าขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอต่อกรณีการพัฒนาพื้นที่ที่ทำให้เกิดปัญหากับชุมชน ที่สวนสันติชัยปราการ กรุงเทพมหานคร โดยจากสถานการณ์ตอนนี้ที่มีโครงการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์จำนวนมาก นำไปสู่การไล่รื้อชุมชนย่านเมืองเก่า เช่น ย่านบางลำพู ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน ชุมชนบ้านพานถม ชุมชนวัดราชนัดดา ชุมชนป้อมมหากาฬ รวมถึงการพัฒนาถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ชุมชนริมน้ำบางอ้อ ชุมชนบ้านปูน ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเป็นการรุกล้ำสิทธิของชุมชนริมน้ำ ทางชุมชนที่ได้รับผลกระทบมีความคิดเห็นตรงกันว่า ในการทำโครงการใดๆ กทม. จึงควรเข้ามารับฟังความคิดเห็นจากชุมชน และมีการวางแผนพัฒนาร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีผู้เสนอว่า นอกจากการทำถนนเพื่อเข้าถึงริมน้ำเจ้าพระยาแล้ว อาจยังมีวิธีอื่นอีก อยากให้มีการหาวิธีร่วมกัน นอกจากนี้ ในเวทีดังกล่าว มีการอ่านข้อเสนอจากเวทีพหุภาคีย่านเมืองเก่าเรียกร้องให้นำหลัก “ศาสตร์ของพระราชา เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” มาใช้ขับเคลื่อนโดยมีกลไกพหุภาคีระดับชาติ ย่าน ชุมชน โดยพหุภาคีจะเป็นกลไกการทำงานไปสู่การคิดและร่วมตัดสินใจ มีเงื่อนไขหยุดการไล่รื้อ หยุดการเดินหน้าโครงการที่มีผลกระทบไว้ก่อน โดยที่ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมและกำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมกัน ประภัสสร์ ชูวิเชียร อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร แสดงความคิดเห็นต่อกรณีการไล่รื้อชุมชนและย่านเก่า รวมถึงชุมชนดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาทางเลียบแม่น้ำว่า ชุมชนเหล่านี้มีคุณค่าทางวิชาการ 3 คุณค่า คือ 1) คุณค่าด้านร่องรอยมรดกการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ อย่างน้อย 200 ปี 2) คุณค่าด้านศิลปกรรมต่างๆ ในย่านเก่า เช่น ตัวบ้าน และฝีมือเชิงช่าง 3) คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีการเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์กระแสหลัก ซึ่งมาจากความทรงจำที่ถ่ายทอดกันลงมาของคนในชุมชน “คำถามคือ ทำไมคุณค่าทั้งสามประการนี้มักถูกละเลยจากภาครัฐ ก็เพราะมันเป็นประวัติศาสตร์ของคนธรรมดา ฝ่ายบริหารไม่เห็นคุณค่าและไม่สนใจในระดับนโยบาย” ประภัสสร์ กล่าว สานนท์ หวังสร้างบุญ ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า กล่าวว่า กทม. มีนักท่องเที่ยวมากติดอันดับ 1-2 ของโลกมาตลอด (15 – 18 ล้านคนต่อปี) ปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 21 ล้านคน ซึ่งจะทำรายได้ 6-8 หมื่นล้านบาทต่อปี นับเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่มาก และปฏิเสธไม่ได้ว่าย่านเมืองเก่าเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว เห็นได้จากปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเข้าชมวัดพระแก้ว 6 ล้านคน โดยคนเหล่านี้ไม่ได้มาแค่ชมวัดพระแก้วแต่ยังจับจ่ายและท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียงด้วย “การพัฒนาย่านเมืองเก่าและเกาะรัตนโกสินทร์ที่ผ่านมาขาดการมีส่วนร่วมในการจัดการ เราต้องส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมทั้งนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ รวมถึงชุมชน” สานนท์ กล่าว
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/20798
2009-04-13 05:34
04.00 น.ปะทะแล้วที่สามเหลี่ยมดินแดงเจ็บ 20 คน
เวลา 04.00 น.  บริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดงเกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารกับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ได้ตั้งด่านแนวป้องกัน โดยเจ้าหน้าที่มีอาวุธปืน และปืนยิงแก๊สน้ำตา ระหว่างการสลายการชุมนุม มีเสียงปืนดังเป็นระยะต่อเนื่อง และมีรายงานผู้บาดเจ็บ โดยทีวีไทยได้เผยแพร่ภาพผู้บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีรถพยาบาลทหารวิ่งลอดอุโมงค์ดินแดงไปมา 7-8 คัน ด้านเวทีกลุ่มคนเสื้อแดงที่ทำเนียบรัฐบาล แกนนำบนเวทีได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมเตรียมพร้อม และระบุถึงสถานการณ์การปะทะบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงว่า  การปะทะที่เกิดขึ้นเป็นกำลังเจ้าหน้าที่ทหารจาก พล.ร 2.ร อ. และมีผู้บาดเจ็บเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาฯแล้วเกือบ 20 คน 5.30 น. ด้าน พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบกให้สัมภาษณ์ทางทีวีไทย ยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ใช้ปืนจริง แต่เป็นการยิงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขู่ผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นการทำการขั้นตอนหลังการเจรจาแล้ว ทั้งนี้อ้างว่า การใช้ปืนดังกล่าว เกิดจากความพยายามของกลุ่มผู้ชุมนุมที่พยายามใช้รถเมล์พุ่งเข้าชนเจ้าหน้าที่ทหาร ด้านนายแพทย์ของศูนย์นเรนทร รายงานยืนยันว่ามีผู้บาดเจ็บแล้วประมาณ 20 คน โดยส่วนใหญ่มาอยู่ที่ ร.พ.รามาฯ โดยศูนย์นเรนทรจะทำหน้าที่ประสานกับ ศูนย์เอราวัญ และมูลนิธิอาสาต่างๆ ในการทำความช่วยเหลือ   มือมืดป่วนยิง M 79 ถล่มศาล รธน. ทหารเจ็บ 1   ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 1.30 น.ร.ต.ต.วีรวัฒน์ สว่างรุ่งโรจน์ชัย ร้อยเวรสอบสวน สน.พระราชวัง รับแจ้งเกิดเหตุระเบิดที่ศาลธรรรมนูญ ถ.จักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมญ์ เขตพระนคร กทม.รุดไปตรวจสอบ โดยมี พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชาผบช.น.เดินทางมาตรวจสอบด้วย ตรวจสอบบริเวณริมรั้วด้านในพบระเบิดเอ็ม 79 ยังไม่ทำงานตกอยู่จำนวน 2 ลูก และที่หน้าต่างชั้น 2 ของศาล ถูกยิงด้วยระเบิดชนิดเดียวกันได้รับความเสียหายเป็นรูกว้างประมาณ 12 นิ้ว มองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีสิบตรีวรรณชัย วรรณวงศ์ศิริ สารวัตรทหาร ดูแลความประจำศาลได้รับบาดเจ็บที่เท้าเนื่องจากถูกสะเก็ดระเบิด อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำยางรถยนต์มาล้อมระเบิดที่ยังไม่ทำงาน 2 ลูกไว้ก่อนจะประสานให้เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระเบิด บก.สตพ.เดินทางมาตรวจสอบ พล.ต.ท.วรพงษ์กล่าวว่า จากสอบถามเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทราบว่า ได้ยินเสียงดังขึ้น 3 นัด โดยนัดแรกถูกหน้าต่างชั้น 2 ได้รับความเสียหาย ส่วนอีก 2 ลูกไม่ทำงาน เบื้องต้นคาดว่าระเบิดที่ยิงใส่ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นระเบิดชนิดเอ็ม 79 เมื่อถามคิดว่าเป็นคนมีสีทำหรือไม่ ผบช.น.กล่าวว่า เป็นไปได้ทั้งนั้น แม้คนธรรมดาก็ใช้ได้ อย่างไรก็ตาม จะเสริมกำลังเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลเพิ่มอีกส่วนจะมากหรือน้อยแค่ไหนนั้นต้อง ขอตรวจสอบให้ละเอียดก่อน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/14159
2007-09-13 17:09
เว็บกฎหมายประกาศปิดตัว หลังเจอข้อหา "หมิ่นศาล"
อุดม แซ่อึ้ง ผู้ดูแลเว็บ www.thaijustice.com ตัดสินใจปิดเว็บไซต์เป็นการถาวร หลังกองปราบส่งหนังสือถึงผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตว่า บุคคลผู้ดูแลเว็บดังกล่าว อาจมีความผิดฐานดูหมิ่นศาล   หลังจากที่จิราวรรณ สุญาณวนิชกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปราม เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 50 ให้ดำเนินคดีกับผู้ส่งข้อความบุคคล ซึ่งเป็นเว็บมาสเตอร์ที่ทำหน้าที่ในฐานะบรรณาธิการเว็บ รวมทั้งเป็นผู้ควบคุมดูแลเว็บ www.thaijustice.com [1] โดยกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ในความผิดฐานดูหมิ่นศาล   ทำให้เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา พันตำรวจเอกวิษณุ ม่วงแพรศี รองผู้กำกับการปฏิบัติราชการแทน ผู้บังคับการปราบปราม ทำหนังสือถึงบริษัทอินเตอร์เน็ท โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด ว่าขอตรวจสอบข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ทของผู้ที่เป็นเจ้าของและผู้ดูแลเว็บไซต์ www.thaijustice.com [1] พร้อมทั้งขอประวัติ ชื่อ ที่อยู่ รวมไปถึงรายละเอียดการใช้บริการของหมายเลข IP ของผู้ใช้บริการดังกล่าว   ล่าสุด ประชาไทพบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา อุดม แซ่อึ้ง ผู้ดูแลเว็บ www.thaijustice.com [1] ตัดสินใจปิดเว็บไซต์เป็นการถาวร พร้อมทั้งระบุในเว็บไซต์ว่า ขอชี้แจงว่ามิได้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น   เว็บไซต์ www.thaijustice.com [1] ได้ระบุเอาไว้ในเว็บไซต์ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารด้วยความสะดวกและรวดเร็ว และเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนทั่วไป กับหน่วยงานยุติธรรมในประเทศไทย   โดยมีบริการต่างๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับศาล ลิงก์กฎหมายใหม่ การค้นหากฎหมายและฎีกา และมีข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีนัดพิจารณาคดีประจำวัน ของศาลจังหวัดสมุทรปราการ ศาลจังหวัดภูเก็ต ศาลอาญารัชดา ศาลอาญากรุงเทพใต้ รวมถึงมีกระดานสนทนาในเว็บไซต์ด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/32871
2011-01-31 14:12
ยกฟ้องคดีหมิ่นเบื้องสูง ผู้ถูกกล่าวหาโพสต์ในเว็บบอร์ดประชาไท
ศาลพิพากษายกฟ้อง ผู้ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันในเว็บบอร์ดประชาไท เมื่อปี 2551 โดยใช้นามแฝงว่า ‘เบนโตะ’ ใช้ ม.112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฟัน ศาลระบุพยานหลักฐานไม่ชัดเจน IP Address ปลอมแปลงได้ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ส่วนคดีผอ.ประชาไท สืบพยานปากแรก 4 ก.พ.  31 ม.ค.54 ที่ห้องพิจารณาคดี 906 ศาลอาญา รัชดา ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นางสาว เอ (นามสมมติ) อายุ 28 ปี ผู้ถูกกล่าวหาว่าใช้นามแฝง ‘บัฟฟาโล่ บอย’ และใช้นามแฝงในเว็บบอร์ดประชาไทว่า ‘เบนโตะ’ โพสต์ข้อความดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร เมื่อเดือนตุลาคม 2551 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 โดยศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่ชัดเจน ยังมีเหตุอันควรสงสัย จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย คำพิพากษาสรุปความได้ว่า จากการนำสืบพบว่าชื่อผู้สมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตและหมายเลขโทรศัพท์เป็นของมารดาจำเลยและของบริษัทครอบครัวจำเลย คอมพิวเตอร์พกพาของจำเลยแม้มีข้อมูลเว็บไซต์ประชาไท แต่ก็ไม่มีหลักฐานถึงการโพสต์ข้อความดังกล่าว จำเลยถูกบุกจำกุมตัวโดยไม่รู้ตัวจึงไม่สามารถลบข้อมูลและทำลายหลักฐานได้ ฝ่ายโจทก์ใช้เพียง IP Address นำมาตรวจสอบกับทางเว็บไซต์ประชาไท และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยวิธีการดังกล่าวไม่มีน้ำหนักเพียงพอ อีกทั้งไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ นอกจากนี้บ้านของจำเลยมีลักษณะเป็นโรงงาน ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง และไม่ปรากฏว่าใช้เครื่องไหนในการโพสต์ พนักงานหลายคนก็สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้ ประกอบการพยานจำเลยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์จากประเทศออสเตรเลียระบุว่า ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์สามารถปลอมแปลง IP Address ได้ มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการปลอมแปลง IP Address พยานหลักฐานจึงมีความน่าสงสัย จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย พิพากษายกฟ้อง ทั้งนี้ คดีนี้เป็นคดีแรกที่มีการฟ้องตามความผิด ม.112 และ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และผู้ต้องหาต่อสู้คดีจนกระทั่งมีการตัดสินคดี โดยผู้ต้องหาถูกบุกค้นบ้านและจับกุมเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552 และถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางราว 10 วันจึงได้รับการประกันตัวออกมาต่อสู้คดี นอกจากนี้คดีดังกล่าวยังถูกใช้อ้างอิงเป็นกระทงที่ 10 ในการฟ้องนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผอ.เว็บไซต์ประชาไท ตามความผิดตามมาตรา15 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีการสืบพยานโจทก์ปากแรกในวันที่ 4 ก.พ.นี้
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/18399
2008-10-03 03:17
รายงาน: 4 ปี คดีสังหาร "เจริญ วัดอักษร"
รวบรวมโดย กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรี จากวันที่ 21 มิถุนายน 2547 จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 4 ปีหลังจากการลอบสังหารนายเจริญ วัดอักษร ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรี ซึ่งมีบทบาทคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 โรงในจังหวัดประจวบฯ ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูดตั้งแต่ พ.ศ. 2538 สืบเนื่องมาจนถึงการเปิดโปงการออกเอกสารสิทธิโฉนดที่ดิน 53 ไร่โดยมิชอบในที่สาธารณะคลองชายธง   บัดนี้ กระบวนการยุติธรรมในทางศาลได้ดำเนินการมาจนถึงขั้นของการสืบพยานจำเลยครั้งสุดท้ายในวันที่ 3 ตุลาคม 2551  โดยปิดท้ายด้วยการสืบนายเจือ หินแก้ว, นายมาโนช หินแก้ว และนายธนู หินแก้ว สามจำเลยข้อหาใช้จ้างวานฆ่า(ผู้รับงาน) หลังจากที่สองมือปืนเสียชีวิตอย่างน่าเคลือบแคลงในเรือนจำไปก่อนหน้านี้ และหลังจากที่ยังคงไม่มีความคืบหน้าในการขยายผลเพื่อหาตัวผู้บงการที่แท้จริงตามที่พวกเราชาวบ้านเรียกร้องมาตลอดสี่ปี ข้อเท็จจริงและข้อสังเกตที่พวกเรามีต่อกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นตำรวจจนกระทั่งเมื่อส่งฟ้องศาล สามารถประมวลได้ตามลำดับความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้     น้ำหน้าตำรวจสอบสวนคดีธรรมดา ผู้รับผิดชอบคดีในเบื้องต้น คือตำรวจในพื้นที่ ,ตำรวจภาค 7 ,กองปราบ,สันติบาล,ตำรวจป่าไม้,ตำรวจสอบสวนกลาง  ในชั้นแรกเจ้าหน้าที่ได้ตั้งประเด็นการสอบสวนในลักษณะที่ครอบคลุมค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ประเด็นความขัดแย้งส่วนตัว, ปัญหาเรื่องชู้สาว, ปัญหาเรื่องการเมืองท้องถิ่น, ปัญหาเรื่องที่สาธารณะ แต่ภายหลังจากการสืบสวนคดีไประยะหนึ่ง มีความพยายามที่จะสรุปประเด็นการตายว่ามาจากความโกรธแค้นส่วนตัว  ส่วนประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกับการสูญเสียผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่และกลุ่มอิทธิพลที่บุกรุกที่สาธารณะ, กลุ่มอิทธิพลที่พยายามครอบครองที่สาธารณะและกลุ่มข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสิทธิ์ในที่ดินสาธารณะ ต่างไม่ได้รับการนำมาพิจารณาสืบสวนขยายผล เสมือนว่ามีกรอบจำกัดในการสืบสวนไว้ล่วงหน้า ดังเช่นที่มีรัฐมนตรีบางคนออกมาชี้นำสังคมในทันทีที่เจริญตายว่า "ไม่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้า"  ในท่ามกลางกระแสกดดันจากชุมชนและสังคม ในที่สุดตำรวจก็สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 4 รายคือ 1. นายเสน่ห์ เหล็กล้วน 2. นายประจวบ หินแก้ว 3. นายธนู หินแก้ว (อดีตผู้สมัครสส.) 4. นายมาโนช หินแก้ว (สจ.ประจวบฯ) แต่ปรากฏว่า กลุ่มผู้ต้องหาที่ถูกจับกุม กลับเป็นเพียงกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นครอบครัวเดียว ที่ประกอบด้วยมือปืน 2 คน ซึ่งรับสารภาพโดยอ้างว่ากระทำการด้วยความโกรธแค้นส่วนตัวเท่านั้น  และผู้ใช้จ้างวาน ที่ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และได้รับการประกันตัวไปในทันที  ตลอดเวลาเกือบ 10ปี ที่กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรีมีความขัดแย้งกับกลุ่มทุนโรงไฟฟ้าและผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นที่ภักดีกับโรงไฟฟ้า การเข้าแจ้งความดำเนินคดีของชาวบ้าน ตำรวจท้องที่ไม่เคยดำเนินการ  ในทางกลับกัน เมื่อกลุ่มนายทุนโรงไฟฟ้าเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้าน ตำรวจท้องที่กลับอำนวยความสะดวกให้อย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งเมื่อโรงไฟฟ้าขอโอนคดีให้กองปราบปรามจัดการกับชาวบ้าน ก็ได้รับการตอบสนองอย่างมิชักช้า ด้วยการอ้างว่าชาวบ้านอย่างเราเป็นผู้มีอิทธิพล คดีที่เราตกเป็นจำเลยนั้น ต่างได้รับโอนมาสู่ส่วนกลางทั้งสิ้น ดังนั้นเอง ชาวบ้านไม่มีความมั่นใจว่าตำรวจพื้นที่ หรือตำรวจภาค 7 หรือกระทั่งตำรวจสอบสวนกลางก็ตาม จะมีความตั้งใจจริงในการที่จะสาวไปถึงผู้อยู่เบื้องหลัง จึงได้เรียกร้องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอเข้ามาทำคดีนี้    น้ำยากรมสอบสวนคดีพิเศษ 30 กรกฎาคม 2547 กรมสอบสวนคดีพิเศษมีมติรับทำคดีเจริญ หลังจากชาวบ้านต้องยกขบวนนับพันคน เข้ามาเรียกร้องถึงสองรอบ 4 สิงหาคม 2547 ดีเอสไอรับมอบสำนวนคดีจากภาค 7 และชี้แจงให้ความมั่นใจกับเราว่า ได้ตั้งประเด็นการสอบสวนไว้จากมูลเหตุจูงใจ 3 ประเด็น ซึ่งล้วนเป็นผลมาจากการทำหน้าที่ในฐานะประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอกของเจริญทั้งสิ้น  คือ 1.บทบาทในฐานะที่เป็นแกนนำสำคัญในการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน จนกระทั่งโรงไฟฟ้าต้องย้ายไป  2. เปิดโปงการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบจำนวน 53 ไร่ ในพื้นที่สาธารณะคลองชายธง  3. ต่อต้านคัดค้านต่อการบุกรุกของกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่น ในพื้นที่สาธารณะคลองชายธง ภายหลังการทำคดีไประยะหนึ่งของดีเอสไอ ก็ได้มีการจับกุมเพิ่มเติมอีก 1 ราย คือนายเจือ หินแก้ว โดยศาลอนุมัติออกหมายจับนายเจือ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547 ในข้อหาร่วมกับลูกชาย (คือนายธนู และนายมาโนช หินแก้ว) ใช้จ้างวานฆ่าเจริญ  นายเจือเข้ามอบตัวและได้รับการประกันตัว หลังจากนั้นดีเอสไอก็รีบเร่งทำคดี โดยอ้างว่าเพื่อรวบรวมสำนวนส่งฟ้องศาลให้ทัน ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาไม่เกิน 84 วัน และไม่ได้มีการกระบวนการสืบเสาะหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อผูกมัดผู้ต้องหาในความผิดใช้จ้างวาน แต่ดีเอสไอก็ยืนยันกับพวกเราอย่างหนักแน่นว่ายังจะไม่มีการปิดคดี และจะทำการสืบสวนต่อไป  อย่างไรก็ตาม จากสำนวนคดีที่ส่งฟ้องศาล เรามองไม่เห็นเลยว่าจะเปิดช่องไปสู่การขยายผลถึงผู้บงการตัวจริง ผู้สมรู้ร่วมคิดและร่วมลงมือกระทำการที่ยังเหลืออยู่ได้อย่างไร  ในเมื่อสำนวนคดีก็บรรยายถึงมูลเหตุจูงใจของผู้ต้องสงสัยใช้จ้างวานไว้เพียงประเด็นความแค้นส่วนตัว และจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ไม่ได้มีการจับกุมผู้ต้องหาเพิ่มเติมแม้แต่รายเดียว  และหากพิจารณาจากการตั้งประเด็นในการสืบสวนคดีตั้งแต่แรก กล่าวคือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคัดค้านการออกเอกสารสิทธิมิชอบในที่สาธารณะคลองชายธง การคัดค้านการบุกรุกที่สาธารณะของกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นในพื้นที่สาธารณะคลองชายธง  และบทบาทในฐานะที่เป็นแกนนำสำคัญในการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน  แต่ผลของการจับกุมกลับได้แต่ตัวที่เป็นบุคคลในท้องถิ่นเท่านั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องไปถึงเหตุหรือปมเงื่อนของการสังหารแต่อย่างใด   9 กันยายน 2547 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 ส่งฟ้องจำเลยทั้งห้าต่อศาลอาญา ประกอบด้วย นายเสน่ห์ เหล็กล้วน อายุ 44 ปี  นายประจวบ หินแก้ว อายุ 39 ปี เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดร่วมกันฆ่านายเจริญตายโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน  นายธนู หินแก้ว อายุ 42 ปี นายมาโนช หินแก้ว อายุ 38 ปี และนายเจือ หินแก้ว อายุ 67 ปี เป็นจำเลยที่ 3-5 ในความผิดร่วมกันใช้ จ้างวาน ให้ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1-2 ให้การรับสารภาพ จำเลยที่ 3-5 ให้การปฏิเสธ  ศาลรับฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำ ที่ 2945/2547     ข้าแต่ศาล...ที่เคารพ 11 ตุลาคม 2547 ศาลอาญาแถลงเปิดคดี  จำเลยที่ 1-2 ให้การรับสารภาพในความผิดฐานมีและพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะและผิดฐานฆ่าเจริญ แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน อ้างว่าเกิดจากเมาสุรา  ส่วนจำเลยที่ 3-5 ยังคงให้การปฏิเสธ 1 ธันวาคม 2547  ศาลอาญาสืบประจักษ์พยานโจทก์นัดแรก       2 ธันวาคม 2547  ศาลอาญาสืบพยานประจักษ์พยานโจทก์นัดที่ 2  จากนั้นส่งประเด็นไปนำสืบที่ศาล จ.ประจวบฯ  เนื่องจากอัยการร้องขอต่อศาลโดยให้เหตุผลว่าเพื่อสะดวกแก่พยานโจทก์             28 มกราคม 2549 สืบพยานโจทก์นัดแรก จำเลยในคดีไม่มาศาลโดยอ้างสิทธิการส่งประเด็นในพื้นที่ ประชาชนจึงรู้สึกว่าระบบความยุติธรรมเอื้อต่อฝ่ายผู้มีอิทธิพลที่เป็นจำเลยมากเกินไป จึงร้องต่อศาลให้จำเลยมาศาล อัยการจึงทำเรื่องโอนกลับไปสืบที่ศาลอาญาตามเดิม เพื่อให้จำเลยมาศาลทุกนัด             ในระหว่างการรอกำหนดนัดศาลใหม่หลังจากโอนคดีกลับมาที่ศาลอาญากรุงเทพฯ จำเลยคือนายประจวบ หินแก้ว เสียชีวิตขณะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ             29 มิถุนายน 2549 เริ่มสืบพยานครั้งใหม่ที่ศาลอาญา กรุงเทพฯ             3 สิงหาคม 2549 จำเลยคือนายเสน่ห์ เหล็กล้วน เสียชีวิตลงอีกคนขณะที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ             รวมเวลาที่ใช้ในการโอนคดีไปมาทั้งสิ้น 2 ปี   ข้อสรุปของเราตั้งแต่เมื่อกระบวนการสืบพยานเพิ่งเริ่มต้น จนถึงนัดสุดท้าย 1. แม้จะมีการส่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหา แต่คำให้การรับสารภาพของ 2 มือปืนว่า ยิงเจริญถึง 10 นัดเพราะโกรธแค้นที่เคยไปด่าแม่เขาในอดีต ย่อมไม่อาจเข้าใจเป็นอื่นได้ว่า  มีความพยายามออกแบบคดีให้เกิดการตัดตอนผู้บงการฆ่าออกจากการกระทำความผิดร่วมกับมือปืน  ในขณะที่ดีเอสไอก็ไม่ได้มีการกระบวนการสืบเสาะหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อผูกมัดผู้ต้องหาในความผิดใช้จ้างวาน อีกทั้งสำนวนคดีก็บรรยายมูลเหตุจูงใจของผู้ต้องหาใช้จ้างวานไว้เพียงแค่ความแค้นส่วนตัว 2. การสังหารเจริญเป็นข่าวครึกโครมไปทั่ว แต่ผลการสืบสวนจับกุมกลับดูเหมือนฉากละครเรื่อง "พ่อบงการลูกให้ใช้หลานกับลูกน้องในบ้านไปฆ่าคน"  เจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่เริ่มต้นทำคดี ได้ยืนยันกับพวกเราอย่างหนักแน่นว่ายังจะไม่มีการปิดคดี และจะทำการสืบสวนต่อไป แต่ในวันนี้กลับไม่มีการขยายผลใดๆเลย หนำซ้ำยังมีการกล่าวจากเจ้าหน้าที่ดีเอสไอระดับสูง ว่า "ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว"  และไม่มีใครใส่ใจต่อข้อเท็จจริงที่ว่ามือปืนทั้งสองคน คือ นายเสน่ห์ เหล็กล้วน , นายประจวบ หินแก้ว ได้เสียชีวิตลงขณะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำอย่างมีเงื่อนงำ ทั้งที่ๆได้เคยมีการซัดทอดจำเลยในคดีเอาไว้ ก่อนที่จะกลับคำให้การในภายหลัง และยังไม่มีโอกาสได้เข้าไปเบิกความในชั้นศาลแต่อย่างใด 3. เราได้พบว่ามีหลายประเด็นที่เกี่ยวเนื่องและสามารถเชื่อมโยงต่อผู้กระทำผิดได้ แต่ไม่ได้ถูกสืบสวนขยายผลแต่อย่างใด เช่น สัญญาณโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงระหว่างนายมาโนชกับนายเสน่ห์(มือปืน) ซึ่งทางตำรวจกองปราบยืนยันว่าสามารถตรวจสอบสัญญาณได้ แต่ในสำนวนคดีกลับไม่มีเรื่องนี้เข้ามาประกอบ หรือกรณีการตรวจสอบเส้นทางปืนที่นายเสน่ห์ใช้ยิงเจริญจนเสียชีวิต ก็ตรวจสอบพบว่ามีนายตำรวจคนหนึ่งนำปืนของโครงการสวัสดิการของรัฐมาจำนำกับนายเจือในราคาสองหมื่นบาท และนายตำรวจคนนี้ก็ไปให้การในชั้นศาลด้วย  การกระทำดังกล่าวนี้น่าจะอยู่ในข่ายของการลักทรัพย์สินของทางราชการ แต่นายตำรวจคนนี้ก็ไม่ถูกดำเนินการในทางคดี กลับเปลี่ยนสถานะเป็นเพียงพยานที่มาให้การในชั้นศาลเท่านั้น 4. ในระหว่างการดำเนินกระบวนการยุติธรรมก่อนการไต่สวน มีการคุ้มครองพยานอย่างมักง่าย จู่ๆ ดีเอสไอก็นำประจักษ์พยานมาเก็บตัวไว้ในระหว่างที่เร่งคดีส่งฟ้องศาลราวกับจะปัดภาระให้พ้นตัว ทำให้พยานต้องออกจากชุมชน แต่เมื่อส่งฟ้องเสร็จแล้วก็ปลดความรับผิดชอบในการคุ้มครองพยานทันที  ความช่วยเหลืออย่างเสียมิได้ที่ประจักษ์พยานทั้งสองได้รับจากดีเอสไอ คืองานห่วยๆกับที่ซุกหัวนอนในสลัม  จนทำให้ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ต้องกลับเข้ามาหางานในชุมชน เมื่อเป็นอย่างนี้พยานจะมีความปลอดภัยไปได้สักกี่ปี วิธีการแบบนี้ของเจ้าหน้าที่รัฐทำให้คนไม่อยากมาเป็นพยาน และทำให้พยานที่สามารถชี้ให้เห็นแนวทางอื่นของคดีได้ ก็ไม่อยากมาเป็นพยาน 5. ในระหว่างการดำเนินกระบวนการยุติธรรมก่อนการไต่สวน  การให้ประกันตัวจำเลยซึ่งเป็นผู้เป็นผู้มีอิทธิพลในคดี ออกไปลอยนวล และเดินสายพูดท้าทายอยู่ตามงานศพงานบวชในชุมชน ทำให้คนในชุมชนและพยานเกิดความหวาดกลัวว่าชีวิตจะมีความปลอดภัยอย่างไร ทำให้พยาน หรือชาวบ้านที่อยากมาเป็นพยาน หรือคนที่ให้การในชั้นสอบสวน ต้องอกสั่นขวัญแขวน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าพยานจะให้การในชั้นศาลอย่างตรงไปตรงมา 6. ตั้งแต่ทำคดีมา มีการเปลี่ยนตัวองค์คณะผู้พิพากษามาแล้วหลายครั้ง เปลี่ยนตัวอัยการถึงสี่ครั้ง ซึ่งอัยการชุดสุดท้ายก็เป็นคนเดีโยวกับที่เคยสั่งฟ้องเจริญ วัดอักษรในคดีความที่บริษัทเจ้าของโรงไฟฟ้าเป็นฝ่ายฟ้องด้วย ระบบของศาลอาจมั่นใจว่าอัยการแต่ละชุดจะสามารถปะติดปะต่อความเข้าใจทางดดีโดยการอ่านระบบเอกสาร แต่สำหรับความรู้สึกชาวบ้าน มันจะต่อเนื่องและเข้าใจเรื่องราวได้อย่างไร             อย่างไรก็ดี ในที่สุดการสืบพยานในศาลก็มาถึงขั้นสุดท้าย ในที่สุดเราก็กำลังจะได้เห็นผลแห่งการรอคอย  หลังจากสองปีที่หายไปเฉยๆ กับกระบวนการ "ธุรการของความยุติธรรม" และสองปีของการไต่สวนคดี ที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมไทย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/67645
2016-08-27 11:54
โปรดเกล้าฯ ตั้ง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เป็น 'พล.ท.' นายทหารฯในสมเด็จพระบรมฯ
เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา [1] เผยแผร่ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ให้นายทหารรับราชการ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ พล.ต.หญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เสนาธิการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย  รักษาพระองค์ (อัตรา พล.ต.) เป็น นายทหารปฏิบัติการพิเศษสํานักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษ ในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ (อัตรา พล.ท.) ตั้งแต่วันที่  26 สิงหาคม 2559 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 พ.ค.56 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา [2] ได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี โปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศ "พล.ต.หญิง" ให้ สุทิดา เนื่องด้วยรับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นผลดีแก่ทางราชการ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/22235
2006-02-20 18:09
แถลงการณ์แกนนำนักศึกษาภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2549 แถลงการณ์ฉบับที่ 1                                                                                       แกนนำนักศึกษาภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี        เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางสังคมและการเมืองในขณะนี้ โดยสาเหตุเกิดจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไร้จริยธรรมในการบริหารประเทศ ตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการใช้อำนาจโดยมิชอบ ดังนี้ คือ              1. มีการใช้อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหารในการแก้ไข และกำหนดโครงสร้างทางการปกครองและบริหาร เช่น กฎหมาย และนโยบายต่างๆ เพื่อที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง ครอบครัว และพวกพ้อง              2. กระทำการแทรกแซง และรวบอำนาจของรัฐสภา อำนาจตุลาการ องค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงาน และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่ตนเอง พวกพ้อง และครอบงำประชาชน              3. ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 209 ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่อนุญาตให้รัฐมนตรีมีผลประโยชน์ หรือมีหุ้นส่วนในบริษัทเอกชน เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐมนตรีมีผลประโยชน์ทับซ้อนในระหว่างการดำรงตำแหน่งทางการเมือง              4. ไร้จริยธรรมในการบริหารประเทศ โดยการใช้อำนาจเสียงข้างมากในรัฐสภาแก้กฎหมายเพื่อกระทำให้ผลประโยชน์ของชาติให้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัว และหลีกเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ อันจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่เยาวชนของชาติในการใช้ความเฉลียวฉลาด และอำนาจ ไปในทางที่ผิดคุณธรรม จริยธรรม              5. ใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อปิดกั้นเสรีภาพสื่อในการนำเสนอข่าวสารอันจะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนตนในทางธุรกิจ กระทำการครอบงำประชาชนผ่านสื่อของรัฐและเอกชน และปิดกั้นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน              ดังนั้น เครือข่ายแกนนำนักศึกษาภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงขอออกแถลงการณ์เรียกร้องให้              1. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ ไร้จริยธรรมในการปกครอง และการบริหารประเทศ              2. หยุดกระทำการขายสื่อสาธารณะต่างๆ ในอันที่จะสั่นคลอนต่อความมั่นคงของประเทศ              3. หยุดกระทำการแทรกแซงอำนาจรัฐ รัฐสภา ตุลาการ และองค์กรอิสระ เพื่อให้องค์กรต่างๆ ทำงานตามปกติในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย              4. หยุดกระทำการใช้อำนาจในการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อในการนำเสนอข่าวสาร และหยุดกระทำการปิดกั้นเสรีภาพในรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน              ดังนั้น เครือข่ายแกนนำนักศึกษา ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงขอแถลงการณ์มายังสื่อมวลชน และพี่น้องประชาชน ให้ช่วยกันสอดส่อง ดูแล และตรวจสอบ โดยการใช้วิจารณญาณในการติดตามข้อมูลข่าวสาร การใช้อำนาจในการหลบหลีก แทรกแซง ละเมิดสิทธิ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน ครอบครัว และพวกพ้อง ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วย
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/45486
2013-02-26 11:46
"ศิลปะเพื่อเสรีภาพ"- สำรวจเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น-เพดานที่พร่าเลือน
22 ก.พ.56 ที่ผ่านมา กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย กลุ่มกวีราษฎร์  กลุ่ม ​Real Frame กลุ่ม FilmVirus เครือข่ายศิลปินอิสระ เครือข่ายเดือนตุลา กลุ่มศิลปินกานต์และเพื่อน และ เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112 ร่วมกันจัดงาน "นิทรรศการศิลปะเพื่อเสรีภาพ" ซึ่งงานเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. และจะสิ้นสุดในวันที่ 28 ก.พ. นี้ วันที่ 22 ก.พ. ซึ่งเป็นวันที่สองของงาน มีการจัดเสวนา "สิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร การแสดงออกและการควบคุมโดยรัฐ และกระบวนการยุติธรรม" มีวิทยาการจากหลากหลายวงการเข้าร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดย วิภา ดาวมณี     ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข - พัฒนาการเสรีภาพในสื่อและผลกระทบคดี “สมยศ” ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่า ศิลปะในเมืองไทยไม่รับใช้เสรีภาพมากเท่าที่ควร เป็นไปในทางธรรม ศาสนา แนวคิดแบบพุทธเสียมาก  และไม่ได้เป็นไปในลักษณะที่เปิดให้คนแสวงหาพระเจ้าของตนเอง ซึ่งประชาชนอาจจะเลือกพระเจ้าองค์เดิมก็ได้ นิทรรศการศิลปะเพื่อเสรีภาพ เป็นงานที่สร้างสรรค์และยิ่งใหญ่สำหรับสังคม ศิลปะเป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงออก แต่ศิลปะก็อาจถูกตีความไปในทางลบได้ เมื่ออยู่ในบริบทหรือกระแสสังคมที่มองอะไรก็หมิ่นเหม่ไปหมด ที่ผ่านมาถือว่าเราได้มีบทเรียนกันอย่างเจ็บช้ำกันพอสมควรแล้ว และเป็นเรื่องที่ไม่เคยคิดว่าเราต้องกลับมาพูดเรื่องนี้กันอีกครั้ง การเกิดขึ้นของไอทีวี ซึ่งเรียกว่าเป็นทีวีเสรี ทีวีเพื่อสาธารณะ ก็เป็นผลมาจากการปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชนในกรณีการนองเลือด พฤษภาคม 2535   รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 39-41 เป็นกฎหมายว่าด้วยเรื่องสื่อที่มีความก้าวหน้ามาก คือ การพยายามแยกออกจากกันระหว่างเสรีภาพของกอง บก. หรือนักข่าวสารที่จะนำเสนอข่าวสาร กับ เจ้าของกิจการหรือรัฐ คือเจ้าของกิจกาจหรือรัฐไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวเพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน และความจริงอยู่ไหนก็ไม่มีใครรู้ จึงต้องเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายเสนอความจริง กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องเสรีภาพของสื่อไว้ ในทางปฏิบัติเป็นไปได้หรือไม่ได้ก็ได้ แต่ก็เห็นพัฒนาการที่ดีระหว่างกอง บก. และเจ้าของกิจการ คือกอง บก. ของหนังสือพิมพ์หลายฉบับเริ่มต่อรองกับเจ้าของกิจการมากขึ้น ความเข้มแข็งในการปกป้องการนำเสนอข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างมาก เราเห็นนักข่าวอย่าง ประวิตร โรจนพฤกษ์ มีสิทธิและเสรีภาพในการที่เขาจะนำเสนอข่าวสาร แม้คุณ สุทธิชัย หยุ่น อาจจะไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่สุดท้ายเกิดการรัฐประหารขึ้น การพยายามทำให้หลักการเสรีภาพเหล่านี้แข็งแรง และหลุดพ้นจากมรดกของคณะเผด็จการในอดีตก็พังลง แม้เราจะมี พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ ที่มีผลยกเลิกมาตราเซ็นเซอร์สื่อ และยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ทุกฉบับ ข้อความที่กล่าวว่า การปิดทั้งสำนักพิมพ์จะกระทำมิได้ ก็ถูกยกเลิกลงไปด้วย แต่เสรีภาพสื่อกลับถูกปิดกั้นมากขึ้นผ่านเครื่องมือที่เรีบกว่าวัฒนธรรม ความบิดเบี้ยวของสื่อวิชาชีพ ทำให้เกิดสื่อใหม่ๆ ซึ่งไม่แบ่งแยกระหว่างเสรีภาพของสื่อมวลชนและเสรีภาพของประชาชน ประชาชนนำเสนอข่าวได้เองผ่านเฟสบุ๊ค หรือ โซเชียลมีเดียอื่นๆ เฟสบุ๊คบางท่านมีจำนวนคนกดติดตาม (Follow) มากกว่าสื่อมืออาชีพบางสื่อเสียอีก โลกมาไกลเกินกว่าจะผูกขาดความดีงามไว้กับกลุ่มสื่อวิชาชีพ ภูมิทัศน์ของวงสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไป ใครๆ ก็ทำสื่อได้ เราจะบอกว่า “Voice of Taksin” (ที่สมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็น บก.) ไม่ใช่สื่อหรือเป็นสื่อเทียม เป็นสื่อที่ไม่รอบด้าน ก็เป็นสิ่งที่ดูจะตกยุคเกินไป หมดยุคที่จะสามารถผูกขาดความถูกต้องได้แล้ว สถาบันต่างๆ ในสังคมไทยอยู่ในภาวะที่ล้มละลายทางความชอบธรรม และภาวะแบบนี้ได้เกิดขึ้นกับสถาบันสื่อมวลชนด้วย และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ วัฒนธรรมการเสพข่าวก็เปลี่ยนไป เราไม่จำเป็นต้องหาซื้อหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ตทำให้เราสามารถอ่านข่าวจากหลายๆ สำนักพิมพ์ได้ หรืออย่างในเฟสบุ๊คก็จะพบว่ามีการแชร์ข่าวสารที่หลากหลาย คำพิพากษากรณีคุณสมยศที่ว่า “ตำแหน่ง บก.บห. ต้องมีวิจารณญาณสูงกว่าประชาชนทั่วไป ย่อมต้องรู้ว่าบทความดังกล่าวหมิ่นประมาทกษัตริย์ และไม่มีความจริง แต่จำเลยยังคงลงพิมพ์ เผยแพร่ จึงเป็นการกระทำโดยเจตนา ส่วนที่ต่อสู้ว่ามีเวลาอ่านบทความจำกัดและเมื่ออ่านแล้วเห็นว่าสื่อถึงอำมาตย์ ไม่คิดว่าเป็นพระมหากษัตริย์นั้นก็ฟังไม่ขึ้น” ซึ่งหากมองในทัศนะของสื่อวิชาชีพก็ถือว่าถูกต้องที่ บก.ต้องรับผิดชอบ แต่หากมองด้วยทัศนะสื่อเล็กๆ อย่างประชาไท หรือ Voice of Taksin หรืออื่นๆ ก็อาจมีปัญหา กรณีคุณสมยศเป็นการมองในลักษณะ “สื่อมีวิชาชีพแบบเดียว” และในทางปฏิบัติจะพบว่า บก. ในสื่อเล็กๆ อาจทำหน้าที่เป็นเจ้าของกิจการด้วย ต้องวิ่งหาแหล่งทุน ต้องทำหน้าที่หาคนเขียนบทความ และโดยมารยาท บก. หรือธรรมเนียมปฏิบัติก็จะไม่เข้าไปก้าวก่ายกอง บก. หรือแม้กระทั่งในฐานะ บก. คุณสมยศอาจจะต้องรับผิดชอบก็ตาม แต่จะชี้ว่าได้กระทำโดยเจตนา ปล่อยให้บทความนั้นผ่านโดยจงใจ มันเกินเลยไปอยู่ดี คำพิพากษากรณีคุณสมยศถือว่าสะเทือนวงการมาก คือ หากสามารถตีความได้หมดเลย ละครจักรๆ วงศ์ๆ ก็สามารถตีความให้หมิ่นได้ หากจะตีความกันจริงๆ กระเทือนถึงสื่อสำนักพิมพ์ นวนิยายอาจถูกตีความว่าหมิ่นได้เหมือนกัน จึงกลายเป็นเสรีภาพที่ผิดเพี้ยนไปหมด บก. ก็แทรกแซงสื่อทั้งหมด เพราะไม่รู้ว่าจะโดนเล่นงานเมื่อไร ก็ต้องถามว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยมองสิ่งเหล่านี้ด้วยแว่นแบบไหน แว่นแบบสื่อวิชาชีพหรือเปล่า   ดิน บัวแดง - เสรีภาพในมหาวิทยาลัย มีจริงหรือ ดิน บัวแดง นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ้างถึงคำพูดของเพื่อนนักศึกษาธรรมศาสตร์ ที่กล่าวว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์ไม่ต้องใส่ชุดนักศึกษาไปเรียน ซึ่งมีอาจารย์หลายท่านก็สอนว่า เป็นเรื่องเสรีภาพของบุคคล แต่ก็มีเรื่องน่าตลกว่า หากเป็นเสรีภาพจริงๆ เหตุใดเมื่อถึงเวลาสอบต้องมีการบังคับให้ใส่ชุดนักศึกษาเข้าสอบด้วย ซึ่งในที่สุดก็ตอบไม่ได้ว่ามันมีไว้เพื่ออะไร สิ่งนี้เกิดขึ้นในธรรมศาสตร์ที่ถือว่าเป็นเสรีนิยมแล้ว หากได้สนทนากับผู้สนับสนุนให้ใส่ชุดนักศึกษาก็จะพบคำตอบที่ใช้อ้างกันอยู่เพียงไม่กี่คำตอบ เช่นว่า ชุดนักศึกษามีไว้เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ “หากคนรวยแต่งชุดหรูๆ มาเรียน แล้วคนจนหละ” หรือก็อาจกล่าวในทำนองว่า เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ ความเรียบร้อยและมีวินัย และสุดท้าย โดยเฉพาะที่จุฬาฯ ก็กลายเป็นเรื่องชุดพระราชทาน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การยกเลิกชุดนักศึกษามันใช่เรื่องที่กระทำได้โดยง่าย เพราะชุดนักศึกษาก็แฝงไปด้วยอุดมการณ์มากหลาย ทั้งเรื่องที่ต่ำที่สูง เรื่องกษัตริย์นิยม นอกจากเรื่องเครื่องแต่งกายแล้ว ยังมีเรื่องการสั่งห้ามไม่ให้ขายวารสารฟ้าเดียวกัน [1] ที่อาคารบรมราชกุมารี เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะว่ามีคนไปแจ้งว่าวารสารฟ้าเดียวกันเป็น วารสารเสื้อแดง วารสารล้มเจ้า นำมาขายได้อย่างไร หลังจากนั้นเขาก็กลัวกัน มหาวิทยาลัยก็สั่งห้ามไม่ให้ขาย  “มหาวิทยาลัยควรจะเป็นแหล่งที่เราเข้าถึงความรู้อะไรต่างๆ แม้แต่ Voice of Taksin ผมก็คิดว่าควรจะมีในห้องสมุด” คือหากต้องการจะสร้างบุคลากร สร้างนิสิตที่มีวิจารณญาณ นิสิตก็ต้องมีโอกาสที่จะเข้าถึงชุดความรู้ต่างๆ และตัดสินใจด้วยตัวเอง แต่ทุกอย่างถูกยัดเยียดไปหมด ซึ่งก็รวมไปถึงเรื่องชุดนิสิตที่กล่าวไว้แล้วด้วย นิสิตจะไม่มีทางเลือกมากนัก แล้วนิสิตจะทำอะไรได้บ้างในภาวะที่ถูกควบคุมด้วยอุดมการณ์อะไรมากมาย หรือปิดกั้นความรู้ไม่ให้เข้าถึงอะไรต่างๆ   วสันต์ พานิช - กฎหมายซึ่งมีที่มาจากการใส่ร้ายป้ายสี วสันต์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์การต่อต้านรัฐบาลของกลุ่มนักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 4 ตุลาคม 2519 ก็มีการเพิ่มอัตราโทษให้สูงขึ้น วันที่ 4 ตุลาตม 2519 มีการแสดงละครล้อเลียนที่ลานโพธิ์ มีการแสดงโดยเอานักศึกษามาแขวนคอให้เห็น มีพระห่มจีวรสีแดงถืออาวุธปืน พอวันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ก็ได้นำเสนอภาพเหตุการณ์ดังกล่าว แต่เกิดเรื่องประหลาดคือมีการโหมข่าวว่าภาพนักศึกษาแขวนคอนั้น ได้แต่งหน้าคล้ายกับพระราชวงศ์ชั้นสูง กลายเป็นเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พอวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ก็มีการล้อมปราบกลุ่มนักศึกษา และทำการรัฐประหาร หลังจากนั้นก็มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ให้มีโทษสูงขึ้น จาก 3 ปี เป็น 15 ปี โดยไม่มีเหตุผลอะไรรองรับ คดีดังกล่าวก็มีการสอบพยาน และปากคำจากพยาน จากสื่อที่ได้ถ่ายภาพก็ยืนยันว่า ตอนถ่ายก็ไม่ได้รู้สึกว่า นักศึกษาที่ถูกแขวนคอมีใบหน้าคล้ายพระราชวงศ์ชั้นสูงแต่อย่างใด แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะมันเป็นการกล่าวร้ายให้นักศึกษาต้องรับโทษ ในที่สุดมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมออกมา ทำให้ไม่ได้เปิดเผยว่าความจริงคืออะไร สุดท้ายก็พบว่า ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เกิดขึ้นจากการใส่ร้ายป้ายสีทางการเมือง อย่างคดีของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ก็แจ้งความจับโดยทหาร สุดท้ายกลับกลายเป็นว่าคนเหล่านี้ที่ไปแจ้งความเป็นกลุ่มคนที่จงรักภักดีเสียเหลือเกิน   ชาญชัย ชัยสุขโกศล - อาณาเขตแห่งเสรีภาพจำกัดไว้ ณ ที่ใด ชาญชัย ชัยสุขโกศล อาจารย์จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันมีการกล่าวเน้นในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมาก แต่น้อยนักที่จะพิจารณากันว่าขอบเขตของเสรีภาพจำกัดไว้อยู่ ณ จุดใด ยกตัวอย่างกรณีของกลุ่ม Neo-Nazism และกลุ่ม Ku Klux Klan  ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวมีพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในประเทศสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในปี ค.ศ.1977 ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเฉลิมฉลองในกลุ่ม Neo-Nazism มีการแต่งเครื่องแบบอย่างนาซี ตกแต่งเครื่องหมายสวัสดิกะ และมีการประกาศว่าจะเดินขบวนผ่านหมู่ Skokie ซึ่งปัญหาก็คือ หมู่บ้าน Skokie มีผู้คนกว่า 60% เป็นชาวยิวหรือผู้ที่เป็นญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ Holocaust (เหตุการณ์พันธุฆาตชาวยิว) ซึ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวและจะกระทบต่อความรู้สึกอย่างมากหากมีการเดินขบวนผ่านหมู่บ้านโดยกลุ่ม Neo-Nazism กลุ่ม Neo-Nazism อ้างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตาม First Amendment ของสหรัฐอเมริกา ทางกรรมการหมู่บ้าน Skokie จึงได้ประชุมกันถึงแนวทางปฏิบัติและได้ข้อสรุปว่า ทางหมู่บ้านจะอนุญาตให้เดินขบวนผ่านได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเดินผ่าน 300,000 ดอลล่าร์ ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันอย่างมากว่าการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นหรือไม่ เรื่องราวใหญ่โตถึงศาลสูงของสหรัฐอเมริกา และสุดท้ายมีคำตัดสินออกมาว่าการกระทำของกลุ่ม Neo-Nazism ถือเป็นเสรีภาพในการแสดงออก จากตัวอย่างดังกล่าวจะพบว่าก็ยังมีปัญหา ยิ่งหากเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากก็ยิ่งมีปัญหามาก แม้แต่ในระดับสากลเองก็ยังไม่ลงตัวนัก ว่า Hate Speech มันมีขอบเขตเท่าไร หรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องจำกัดไว้แค่ไหน แต่สิ่งที่ต้องตระหนักคือการจะมีเสรีภาพได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องมีตัวเลือกให้มากเข้าไว้ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นเพียงเสรีภาพที่ถูกครอบงำจากตัวเลือกที่จำกัด แม้แต่ในการกล่าวถึงวาทกรรมเกี่ยวกับเสรีภาพก็ตาม หลายคนให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนต้องเป็นใหญ่ ประชาชนต้องมีเสรีภาพต่างๆ นานา และคำถามที่ต้องฉุกคิดคือใครบ้างเป็นประชาชน เฉพาะคนที่เห็นด้วยกับเราใช่หรือไม่ คนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับประชาธิปไตย คนที่ไม่เชื่อในเรื่องความเท่าเทียมจะเป็นประชาชนด้วยหรือเปล่า ในหลายกรณีก็จะพบว่าเราก็ยังถูกครอบงำจากหลายๆ ความคิดซ้อนกันอยู่นั่นเอง   ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ - ทุนนิยมต้องเปิดเผย ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ นักเขียนและนักจัดรายการวิทยุชุมชน กล่าวว่า เราเห็นการเผชิญหน้ากันเรื่องสิทธิเล็กๆ น้อยๆ ที่กระทบกระเทือนกับ "ทุน" เคยมีข่าวนักศึกษารามคำแหง ซึ่งได้ทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านต่อต้านโรงโม่หินถูกฆ่าตาย คือโดนอำนาจเถื่อนเล่นงาน  ไม่แน่ใจว่าจะคาบเกี่ยวกับอำนาจในระดับอำนาจบริหารประเทศเลยหรือเปล่า แต่มันแสดงให้เห็นถึงภาวะการเติบโตของอำนาจทุน สื่อหรือนักเขียนก็หันมาสนใจเรื่องโลกาภิวัฒน์ โจมตีทุนนิยม ถ้านึกอะไรไม่ออกก็ใส่เรื่องคนชายขอบ สิทธิทำกินไปด้วย และแนวคิด  Postmodernism เริ่มเติบโตขึ้น ทฤษฎี  Postmodernism ถูกใช้มาอธิบายปรากฏการณ์นี้ แต่สุดท้ายมันก็ปฏิเสธความจริงของระบบทุนนิยม ไม่ได้กล่าวถึงพัฒนาการของทุนนิยมแบบแผนผัง “มันน่าเกิดจากปัญหาป่าแตก” หลังจาก พ.ศ. 2523 แล้วเกิดการประนีประนอมกับทุนเก่า ไม่มีพัฒนาการที่เห็นได้ชัด หากพูดตามข้อเท็จแล้วจะพบว่าการพัฒนาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 มาเรื่อยจนรัชกาลที่ 5 ก็เป็นการพัฒนาโครงสร้างของระบบทุน เป็นการยกระดับการพัฒนาของระบบทุนโดยคนส่วนน้อยของประเทศ คนส่วนน้อยที่ในยุคปัจจุบันเรียกว่า "อํามาตย์" แต่ในยุคสมัยนั้นไม่มีคำอธิบายในเรื่องนี้จากนักเขียนหรือสื่อสารมวลชน หากแต่มีข้อจำกัดเฉพาะทุนร่วมสมัย หรือทุนที่แสดงตนอย่างเปิดเผย และทฤษฎี Postmodern ก็มีข้อบกพร่องในเรื่องการปฏิเสธความจริงอยู่ในตัวของมันเอง สิ่งนี้เองที่ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์โลกาภิวัฒน์ วิจารณ์ทุนเดิม ไม่อาจเกิดขึ้นได้ มันก็กลายเป็นตัดขาดความจริง ไม่สามารถวิเคราะห์หรือขยายความไปสู่การออกมาต่อต้านรัฐประหารในปี 2549 ได้ การรัฐประหารในปี 2549 เป็นเครื่องชี้ชัดเลยว่า คนในสังคมไทยเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ผ่านมาของสังคมไทย มันไม่ได้แค่เปิดหน้ากากฝ่ายเขา แต่เปิดหน้ากากฝ่ายเราด้วยว่าเราเข้าใจมากแค่ไหน รัฐประหาร 2549 ไม่ใช่การรัฐประหารธรรมดา ก่อนการเกิดรัฐประหารมีการออกมาขององคมนตรี หรือการออกมาของผู้พิพากษาเป็นคณะ มันแสดงให้เห็นอะไรชัดเจนมาก และปรากฏการณ์ในทำนองนี้เกิดขึ้นเยอะมากก่อนจะมีการรัฐประหาร 2549 สุดท้ายแล้วก็อยากเห็นถึงการเปิดเผยของทุนนิยม เปิดเผยทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในระบบทุนนิยม แน่นอนว่ามันจะหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้ และมันเกี่ยวข้องกับ ม.112 ด้วย
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/25725
2009-09-07 21:34
คำต่อคำ ‘จอม’ สัมภาษณ์ ‘ทักษิณ’ : สมานฉันท์ เสื้อแดง ข่าวลือ และการขอพระราชทานอภัยโทษ
เช้าวันที่ 6 กันยายน 2552 พ.ต.ท.ทักษิณ โทรเข้ารายการ exclusive 100.5 เมกกะเฮิร์ต โมเดิร์นไนน์ เรดิโอ เพื่อให้สัมภาษณ์ ‘จอม เพชรประดับ’ นี่อาจจะนับเป็นครั้งแรกในรอบปีที่สื่อมวลชนกระแสหลัก เปิดโอกาสให้กับอดีตนายกรัฐมนตรีที่ต้องลี้ภัยการเมือง หรืออาจจะเรียกว่า หลบหนีคำพิพากษาไปอยู่ในต่างประเทศก็ตามที แม้ผลจากการเปิดโอกาสให้กับอดีตนายกฯนี้ จะลงเอยด้วยการที่ผู้ดำเนินรายการจำต้องยุติบทบาทในการจัดรายการทางคลื่น อสมท. และกลายเป็นบันทึกอีกบทในสารบัญว่าด้วยเสรีภาพสื่อ อันมีนัยสำคัญสำหรับสังคมไทย แต่เนื้อหาในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะการย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าว่า นายกรัฐมนตรีไทย ไม่ว่าจะเป็นสมัยของอดีตนายกฯผู้นี้ หรือในสมัยของนายกฯคนปัจจุบัน ไม่มีอำนาจ หรือมีก็อาจจะถูกแทรกแซงได้ตลอดเวลา   มีอีกหลายคำถามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกถามอย่างตรงไปตรงมา ตั้งแต่เสื้อแดงล้มสถาบันจริงไหม ความรวยของทักษิณ และอีกข่าวลือสารพัด ไปจนกระทั่งการขอพระราชทานอภัยโทษ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เปิดเผยว่า “ได้ทำในส่วนที่ถูกกฎหมายไปเรียบร้อยแล้ว”   ต่อจากนี้คือการถอดความบทสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ โดย ‘จอม เพชรประดับ’ แบบ ‘คำต่อคำ’   0 0 0   จอม : วันนี้เราจะพูดคุยกับบุคคลบุคคลหนึ่ง แม้ว่าเขาจะไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่ทุกความเคลื่อนไหว หรือทุกความคิดของเขา ก็ได้ถูกนำเสนอรายงานมายังประเทศไทยตลอดเวลา บุคคลท่านนี้มีคนกลุ่มหนึ่งกล่าวหาว่า เป็นผู้ร้ายบ้าง เป็นผู้ที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศไทย พยายามที่จะทำลายกระบวนการยุติธรรมของประเทศ เพราะไม่ยอมมารับโทษจากคำพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 2 ปีในคดีซื้อขายที่ดินที่รัชดาฯ   แม้ว่าบุคคลท่านนี้ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่ยังมีกลุ่มพลังมวลชน โดยเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดงที่ยังคงระลึกถึงเขา ยังคงช่วยเหลือเขา แม้กระทั่งการขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งทางรัฐบาลและทางราชการก็มองว่า การขอพระราชทานอภัยโทษนั้น นอกจากจะผิดขั้นตอนแล้วก็ยังเป็นการสร้างความเสียหายต่อสถาบันด้วย   บุคคลท่านนี้ยังถูกรัฐบาลไทยมองว่าเป็นคนที่ทำร้ายประเทศไทย คอยป่วนประเทศไทย ไม่ให้เดินหน้าไปได้ พัฒนาไปไม่ได้ หลายกลุ่ม หลายคน จึงพยายามขอร้อง วิงวอนจากบุคคลท่านนี้ว่า ยุติเถอะ เพื่อเห็นแก่ประเทศของตัวเอง และประเทศของคนไทยทุกคน หยุดการเคลื่อนไหวเสียที หยุดการทำร้ายประเทศไทยเสียที      และด้วยข้อกล่าวหา ด้วยความคิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งในลักษณะนี้นี่เอง ทำให้บุคคลท่านถูกมองว่าเป็นสาเหตุของวิกฤตของประเทศที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนบุคคลท่านนี้เป็นใครไปไม่ได้ นั่นก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย   ซึ่งเราจะพูดคุยกับท่านในวันนี้ และการพูดคุยกับท่านในครั้งนี้ จะไม่เหมือนกับการโฟนอินพูดคุยกับกลุ่มเสื้อแดงเหมือนที่ผ่านๆ มา แต่จะเป็นการสัมภาษณ์กับสื่อทางวิทยุ 100.5 อสมท. ซึ่งจะเป็นการสัมภาษณ์กับสื่อเป็นครั้งแรก   และในฐานะที่ผมเป็นคนข่าว ขออธิบายกับท่านผู้ฟังก่อนว่า การสัมภาษณ์ครั้งนี้ไม่ใช่การรับใช้ หรือเอนเอียงเข้าข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ต้องการให้ประชาชนได้ข้อมูลที่รอบด้าน เป็นธรรม เพื่อประกอบการพิจารณาว่าอะไรเกิดขึ้นในสังคมไทย   ตอนนี้ ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่ในสายแล้ว สวัสดีครับ พ.ต.ท.ทักษิณ : สวัสดีครับคุณจอมครับ พูดเสียน่ากลัวมาก น่ากลัวมากเลย   จอม (หัวเราะ) : มีเรื่องน่ากลัวมากมายที่พูดถึงตัวท่านในประเทศไทย แต่ผมว่าน่าคือช่องทางหนึ่งที่ประชาชนจะได้รับฟังจากเสียงของท่านเองว่า ความน่ากลัวทั้งหลายที่คนไทยมองท่าน ท่านจะอธิบายอย่างไร   พ.ต.ท.ทักษิณ : ปัญหาของเราวันนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่า เรากำลังปล่อยให้มีสถานีที่โกหกรายวัน และกรอกหูประชาชนเป็นเวลานาน และทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพยายามที่จะบอกความจริง ก็หาเรื่องถูกทุบตีเรื่อย หาเรื่องปิดบ้างอะไรบ้าง ถ้าสังคมไหนไม่มีกติกา คนโกหกสามารถโกหกได้ตลอดไป คนที่พูดความจริงก็กลายเป็นบุคคลที่มีปัญหา   จอม : แต่อีกฝั่งหนึ่งก็มองว่า ท่านก็พูดโกหกเหมือนกัน ( หัวเราะ) พ.ต.ท.ทักษิณ : คือเวลานี้ คนที่โกหก แล้วทำให้คนอื่นเสียหายนี่ ขึ้นศาล ก็ไม่เป็นธรรม ศาลก็ไม่รับ บางคดีถูกกล่าวหาคดีรุนแรง ศาลถอนคดีให้ ถอนข้อกล่าวหาให้ ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีประวัติ ตั้งแต่ตั้งศาลไทยมา แต่ก็ทำมาแล้วโดยการถอนข้อกล่าวหาให้ มันเอียงกันอย่างชัด ๆ คือสรุปแล้ว ม็อบมีเส้น กับม็อบไม่มีเส้น ใครเข้าม็อบมีเส้นก็สามารถพูดอะไรก็ได้ โกหกอะไรก็ได้ และขึ้นศาลก็ไม่มีความผิด บางทีขึ้นศาลก็ถูกยกคดีไปทุกที่ ที่ไหนไม่มีความเป็นธรรม สังคมไม่มีความสงบหรอกครับ เพราะกฎหมายไม่เป็นกฎหมาย ระบบยุติธรรมไม่มีความยุติธรรม ไม่มีทางหรอกครับ   จอม : ท่านบอกว่า อยากจะกลับบ้านเต็มที อยากมาช่วยชาติบ้านเมือง คิดว่าถ้าท่านกลับมา กระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่เวลานี้ จะให้ความเป็นธรรมกับท่านได้หรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ : คือความยุติธรรมของประเทศไทยในวันนี้ ถ้าไม่มีคนดึงอยู่ข้างหลัง ระบบเขาดีอยู่แล้ว เพราะศาลส่วนใหญ่ วันนี้เขาก็อึดอัดกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะมันมีบางคน คอยไปจิก ไปจี้ เรื่องบางเรื่อง obvious (เห็นได้ชัด) มากเลยครับว่า ต้องผิด แต่ปรากฏว่าไม่ผิด เรื่องบางเรื่องชัดเจนมากว่า มันไม่ผิด แต่ก็ผิด ยกตัวอย่าง เรื่องของการทำกับข้าวของคุณสมัคร สุนทรเวช ซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกมาก และเรื่องมาตรา 100 ที่เล่นงานผมนี่ คือ การซื้อขายไม่ผิด แต่ผมอนุญาตให้ภรรยาไปเซ็นนิติกรรมรับโอนขึ้นมา และใช้บัตรของนายกรัฐมนตรี ซึ่งบังเอิญมันมีบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชนอยู่ในนั้น ซึ่งใช้แทนบัตรประชาชนได้นั้น ก็ผิดมาตรา 100 จำคุก 2 ปี แต่ไปบุกรุกป่าสงวน ยึดยอดเขาทั้งยอดเขา ไม่มีความผิด คือความไม่เป็นธรรมมันรุนแรง   จริง ๆ แล้ว วัตถุประสงค์คือ ต้องการเปลี่ยนข้างการเมืองเท่านั้นเอง เพราะถ้าลงไปเลือกตามประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทางชนะ ก็เลยต้องใช้ทุกวิถีทาง และวันนี้คุณสังเกตดูไหมว่า แกนนำรัฐบาล มีจำนวน ส.ส.ในสภาน้อยกว่าแกนนำฝ่ายค้าน เพราะมีการบังคับให้เกิด position ใหม่ โดยการไปจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ผมว่าวันนี้ ต้องเอาความจริงมาพูดกัน   จอม : ถ้าท่านมองว่า นี่คือความจริงอีกด้านหนึ่งที่สังคมไทยควรจะรู้ ถ้าท่านมีความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง ผมก็ยืนยันว่า ท่านก็คงมีความปรารถนาดีต่อบ้านเมืองอยู่ แต่จะให้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงในปัญหาที่ท่านมองเห็น ท่านกลับมาช่วยแก้ไขไม่ดีกว่าหรือ พ.ต.ท.ทักษิณ : แล้วจะให้แก้อย่างไรละ   จอม : ท่านอาจจะกลับมา แล้วหาทางแก้กันดู ประสานงานกัน แก้ปัญหาบบ้านเมืองร่วมกัน พ.ต.ท.ทักษิณ : ผมไม่รู้จะพูดกับใคร จะให้ผมพูดกับใคร ใครจะพูดกับผมล่ะ ไม่มีหรอก คนที่กำลังสร้างปัญหาอยู่ และแอบกดดันสั่งการอยู่ข้างหลังนั้น คือคนที่ไม่รับผิดชอบอะไรทางการเมืองเลย และไม่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมายด้วย แต่ใช้บารมีสั่งการอยู่อย่างนี้ และระบบยุติธรรมก็เสียหายหมด แล้วจะให้ผมคุยกับใคร วันนี้ผมอยากจะคุย แล้วจะให้ผมคุยกับใคร   จอม : ท่านรองสุเทพ (เทือกสุบรรณ) บอกว่า พยายามหลายครั้งที่จะคุยกับท่าน พ.ต.ท. ทักษิณ – ไม่มีทาง   จอม : ไม่มีทาง เพราะท่านไม่อยากคุยหรืออย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณ : ไม่ใช่ เขาไม่เคยมาพูดเลย   จอม :  ไม่เคยติดต่อมาหาท่านเลยหรือ พ.ต.ท.ทักษิณ : ไม่เคยเลย คือประชาธิปัตย์นี่เก่งมากในการพูดให้คนอื่นเสีย แล้วให้ตัวเองดูดี ไม่มีเลยฮะ (คุณสุเทพ) ไม่โทรหาผมแม้แต่ครั้งเดียว และไม่เคยให้ใคร on behalf  หรือเป็นตัวแทนเขาโทรติดต่อผม ไม่มีเลย   จอม : ถ้าในทางกลับกัน ให้ท่านยอมเสียสละศักดิ์ศรี เกียรติยศบ้างบางส่วน โทร.คุยกับคุณสุเทพ เพื่อหาทางสมานฉันท์ จะทำได้ไหมครับ พ.ต.ท.ทักษิณ : ผมไม่เห็นมีอะไร เดี่ยวก่อนนะฮะ คุณสุเทพเป็นใคร ทำไมต้องคุยกับคุณสุเทพ ถ้าคุณสุเทพโทรมา   จอม : เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ : รองนายกฯ ไม่ใช่หัวหน้าพรรค วันนี้รองนายกฯ จะตั้งคนหนึ่ง นายกฯ จะตั้งคนหนึ่ง ยังตั้งไม่ได้เลย (หมายถึง ผบตร. – ประชาไท) เถียงกันไม่จบเลย วันนี้จะให้ฟังใคร ถามจริงๆ คุณจอม คุณจอมช่วยไปหาคนซึ่งเป็นคนที่สามารถมีอำนาจตัดสินใจได้ แล้วคุยกับผม แล้วบอกผมหน่อย อำนาจการตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์อยู่กับใคร บอกมาเลย แล้วผมคุยได้   จอม : ท่านคิดว่า ไม่ใช่คุณสุเทพใช่มั้ยครับ ในการตัดสินใจในพรรคประชาธิปัตย์ พ.ต.ท.ทักษิณ : ไม่ใช่หรอก เดี่ยวนี้คุณสุเทพยังทะเลาะกับคุณอภิสิทธิ์อยู่เลย   จอม : ถ้ามองว่า นายกรัฐมนตรีคือผู้นำสูงสุดที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย แก้ปัญหาของบ้านเมือง ท่านจะลองคุยกับท่านนายกฯ อภิสิทธิ์มั้ยครับ แล้วหาทางปรองดองกัน คุยกัน พ.ต.ท.ทักษิณ : ก็ไม่เห็นมีอะไร ไม่มีปัญหาเลย ผมคุยกับคนได้ทุกคน   จอม : แต่ใครจะเป็นคนเริ่มคุยก่อน พ.ต.ท.ทักษิณ : ได้ทั้งนั้นแหละครับ ผมไม่มีปัญหา ถ้าอยากคุยก็คุยกัน ไม่มีปัญหาเลย คนไทยด้วยกัน  เพียงแต่ว่า คุยแล้ว เขามีอำนาจตัดสินใจไหม ผมไม่เชื่อว่า คุณอภิสิทธิ์เองจะมีอำนาจตัดสินใจ ผมไม่เชื่อหรอก เพราะวันนี้คุณอภิสิทธิ์จะตั้ง ผบ.ตร. ยังตั้งไม่ได้เลย   จอม : ถ้าอย่างนั้น ปัญหาจะจบลงอย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณ : คุณจอม ผมจะบอกให้ บ้านเมืองที่ยุ่งวันนี้ โครงสร้างปกติไม่สามารถทำงานได้ปกติ เพราะคนที่อยู่นอกโครงสร้างของการบริหารจัดการ เข้ามาสั่งการใช้บารมี ใช้อำนาจจัดการตรงนั้นตรงนี้ ทำให้คนที่อยู่ในโครงสร้างทำงานไม่ได้ ผมเจอปัญหานี้ตอนที่ผมเป็นนายกฯ ปีสุดท้าย ที่สร้างขบวนการพันธมิตรประชาชนฯ เข้ามาไล่ผม เพื่อเป็นเหตุในการปฎิวัต (รัฐประหาร 19 กันยา 49) ตรงนั้นต่างหากละ   ผมมาโดยครรลองที่ถูกต้อง ประชาชนเลือกมาถึง  377 เสียงใน 500 เสียง แต่ปรากฏว่า มีม็อบมาอีกกลุ่มหนึ่ง ม็อบกลุ่มซึ่งผม handle (รับมือ) อะไรไม่ได้เลย ผมจัดการอะไรไม่ได้เลย เพราะมีคนแอบสั่งการ  ศาลก็ไม่ทำงาน ผมเป็นนายกฯ มาจากประชาชน ผมทำงานไม่ได้ เพราะมีคนแอบสั่งการ เสร็จแล้วหลังจากนั้นยังไม่พอ หาเรื่องหาเหตุจนให้มีการปฎิวัต วันนั้นต่างหาก 3 ปีที่แล้วต่างหากที่เป็นเหตุทั้งหมด แล้วตั้งแต่ปฎิวัต ผมออกไปแล้ว บ้านเมืองเป็นอย่างไร  บ้านเมืองเละตุ้มเปะ ระบบยุติธรรมเสียหาย สองมาตรฐานเกิดขึ้นอย่างชัดเจน อย่างนี้ คุณเห็นไหม   จอม : ถ้ามองว่า โครงสร้างของบ้านเมืองผิดเพี้ยนไป ไม่มีความถูกต้อง มีสองมาตรฐาน ท่านเองก็มีพลังประชาชนอยู่ เราให้พลังประชาชนมาร่วมกันทำให้บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติไม่ดีกว่าหรือ พ.ต.ท.ทักษิณ : คุณจอมฮะ กลไกของระบบราชการ เขาไม่ได้ฟัง เขาไม่ได้ฟังโดยตรงจากกลไกของประชาชนหรอก มันมีการเข้าแทรกแซงในหลายระดับ ซึ่งตราบใดที่โครงสร้างไม่ชัดเจน รัฐธรรมนูญไม่ชัดเจน แล้วยังมีคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารแอบสั่งการอย่างนั้น สั่งการนี้ ไม่มีทางที่บ้านเมืองจะสงบหรอกครับ ประชาธิปไตยที่แท้จริงยังไม่มี ไม่สงบหรอกครับ คือวันนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่า เราดูเหมือนเป็นประชาธิปไตยนะ แต่มันไม่ใช่ มันไม่เป็นไปตามกลไกประชาธิปไตย คุณจอม ก็รู้ดีว่า ประชาธิปไตยมันคืออะไร   จอม : ท่านเคยบอกว่าเหมือนกันว่า ถ้าท่านกลับมา ท่านก็พร้อมที่จะอโหสิกรรมให้กับทุกฝ่าย แต่ฟังจากท่านตอนนี้ ดูเหมือนว่า ท่านยังไม่พร้อมที่จะอโหสิกรรมให้กับใคร พ.ต.ท.ทักษิณ : มันไม่เกี่ยวเลยครับ อันนี้ไม่ใช่เรื่องการอโหสิกรรม เรากำลังวิจารณ์กันถึงเรื่องว่า กลไก มันจะเดินอย่างไร ถ้าทุกคนวางมือหมด คืนความเป็นธรรมให้ทุกฝ่าย ไม่ต้องมานั่งทะเลาะเบาะแว้งกัน แล้วกลับไปหาประชาชนนะ ให้ประชาชนตัดสินทั้งหมด แล้วให้โครงสร้างเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียที บ้านเมืองมันก็สงบได้ ผมกำลังบอกว่า ผมไม่ได้อาฆาตใคร แต่ผมกำลังจะบอกว่า ปัญหามันอยู่ที่ไหน   ไม่ต้องอะไรมาก เมื่อเร็ว ๆ นี้เลยนะคุณจอม เมื่อ 7 ตุลาคม (สลายม็อบ พันธมิตร ที่หน้ารัฐสภา) การสลายม็อบเป็นไปตามหลักวิชาทุกอย่าง มีขั้นตอน มีการใช้แก๊สน้ำตา แต่การสลายม็อบที่ดินแดงตี 4 (สงกรานต์เลือด) ยังไม่ทันไรเลย เอาเอ็ม 16 สาดเข้ามา แล้วอีกฝ่ายหนึ่งต้องถูกดำเนินคดีทั้งอาญา ทั้งวินัย ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้น มีคลิปเสียงตำรวจพิสูจน์ออกมาแล้วว่า รอยตัดช่วงที่ไปตัดนะ มีความสมบูรณ์ในตัวเองว่า มีการใช้ความรุนแรง แล้วมีอะไรเกิดขึ้นไหม ไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือมันชัด ๆ ว่า จะเข้าข้างฝั่งนี้แหละ จะเก็บฝั่งนี้ไว้แหละ อีกฝั่งหนึ่งอย่าเข้ามายุ่งนะ   จอม : ท่านคิดอย่างไร กับสิ่งที่สังคมกลุ่มหนึ่งกำลังจะร้องขอและวิงวอนจากท่านบอกว่า ยุติการเคลื่อนไหวเสียทีเถอะ ยุติการทำร้ายประเทศไทยเสียทีเถอะ ขอให้สังคมสงบ แล้วเดินหน้าต่อไปได้ พ.ต.ท.ทักษิณ : แล้ววันนี้สรุปแล้ว หมายความว่า ถ้าปล้นอำนาจเสร็จก็บอกว่า หยุดเถอะนะ ง่าย ๆ อย่างนี้หรือ สมมุติง่ายๆ นะว่า คุณจอมไปปล้นเงินเขามา ได้เงินมาแล้วก็จะไปกินก๋วยเตี๋ยว และเมื่อเจ้าทรัพย์มาตามว่า เฮ้ย! เอาเงินผมคืนมา แล้วคนที่ปล้นเงินเขามาก็บอกว่า เนี่ยมายุ่งกับเงินผม จนผมกินก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ ร้านก๋วยเตี๋ยวก็โกรธ แหวใส่ แทนที่จะอุดหนุนร้านก๋วยเตี๋ยวผมเลยทำไม่ได้ มันถูกไหมละ คือต้องดูต้นเหตุ ไม่ใช่ดูปลายทาง พอดูปลายทางแล้วสรุป ไม่ได้    คือวันนี้ จุดอ่อนของเรา คือการศึกษาของเรา มันสอนให้คนท่องจำ เพราะฉะนั้นมันมี knowledge without understanding คือมีความรู้ แต่ไม่มีความเข้าใจ วิเคราะห์อะไรไม่เป็น พอใครพูดอะไรกรอกหูก็เชื่อเลย ต้องไปหารากฐานเลยว่า หนึ่ง เราเป็นประชาธิปไตยอยู่ดี ๆ ใช่มั้ย สอง บ้านเมืองเรามันดีๆ ใช่ไหม สาม มันมีคนเสียผลประโยชน์คนหนึ่ง รวมตัวกันแล้วขึ้นมาประท้วง เสร็จแล้วก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการจะเปลี่ยนเอาอำนาจเข้าไปสนับสนุน เช่น ไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ก็ดี บุคคลที่อยู่นอกโครงสร้างก็ดี เข้ามายุ่ง ยุ่งแล้วก็หาเรื่องปฎิวัติ วันนี้บ้านเมืองย่อยยับก็มาจากการปฎิวัติ คุณจอม หลังปฎิวัติทุกครั้งเขาไม่ทำกันอย่างนี้ แต่นี่เมื่อปฎิวัติแล้ว เอาคนที่เป็นปฎิปักษ์ทางการเมืองมานั่งสอบสวน หาเรื่องมันทุกเรื่อง อีกฝ่ายหนึ่งผิดก็ไม่ทำอะไร อย่างคนสอบสวนผมคนหนึ่งนี่ พบว่าโกงเครื่องบินโดยสารของการบินไทย ก็ไม่สอบสวนจนป่านนี้   จอม : เมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา ท่านก็เปิดตัวรายการวิทยุเฉพาะของท่านเอง talk around the world ทาง www.thaksinlive.com [1] พอรายการนี้ออกวันแรก ทางคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็บอกว่า ทำอย่างนี้ สักวันหนึ่งหรือสุดท้ายคุณทักษิณก็คงจะรู้ว่าเป็นการทำร้ายตัวเอง และวันเกิดของท่าน ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ ก็ได้อวยพรให้ท่านด้วย ท่านอภิสิทธิ์บอกว่า ขออวยพรให้ท่านทักษิณมีความสุข มีความสมหวัง แล้วสักวันหนึ่งก็คงได้มีดวงตาที่เห็นธรรม คิดอย่างไรกับคำอวยพรนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ : เป็นวันเกิดผม ผมก็ขอบคุณคุณอภิสิทธิ์ไป แต่วันนี้ คุณอภิสิทธิ์เองก็คงดวงตาเห็นธรรมแล้วละว่า การที่มาเป็นนายกฯ แล้วเป็นอย่างไรบ้าง คงเห็นธรรมแล้วละ   จอม : เรื่องของกลุ่มคนเสื้อแดง ตอนนี้เห็นว่ามีการแตกคอกันค่อนข้างมาก คุณจักรภพ (เพ็ญแข) คุณสุรชัย (ด่านวัฒนานุสรณ์) คุณณัฐวุฒิ (ใสยเกื้อ) คุณจตุพร (พรหมพันธุ์) ก็แตกกันออกมา และมีการตั้งกลุ่มแดงสยามขึ้นมาด้วย ท่านมองปัญหานี้อย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณ : ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องจากที่มันมีแกนนำหลายคน ความคิดเห็นต่างกันก็มีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แน่นอน มีความเห็นต่างกันเยอะ แต่ส่วนใหญ่แล้วจริง ๆ เขาต้องการเห็นบ้านเมืองมีประชาธิปไตย ไร้ซึ่งความอยุติธรรมแบบนี้ แล้วให้ระบบสองมาตรฐานหมดไป เขาต้องการอย่างนั้น อยากเห็นการคืนอำนาจให้กับประชาชนเสีย แล้วให้โครงสร้างทุกอย่างทำงานตามปกติ อย่าได้เป็นสองมาตรฐาน หรืออย่าให้ใครเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม เพราะกระบวนศาล เขาสร้างกันมาเป็นเวลาหลายชั่วคนมากนะครับ และเขาก็สร้างมาเป็นที่ยอมรับนับถือ แต่มาถึงวันนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นมันตลกมาก เรื่องของการยุบพรรคไทยรักไทย (ทักษิณพูดผิด ที่จริงควรเป็นพรรคพลังประชาชน – ประชาไท) สืบพยานเช้าบ่ายยุบ ศาลมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง มากกว่าองค์กรใดๆ ในโลก ซึ่งไม่มีใครเขาทำกัน   จอม : เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา คุณจักรภพก็ออกมาพูดเหมือนกันว่า ความพยายามของคนเสื้อแดงที่จะนำท่านกลับมาเมืองไทยไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจจะเป็นฝันสลายก็ได้ โดยบอกว่า ฝันไปเถอะ ถ้าท่านทักษิณกลับมา ก็เป็นเป้าของปืนเสียเปล่าๆ ท่านรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้ หรือว่า ถึงวันนี้ ขณะที่เดินทางอยู่ในต่างประเทศ ท่านรู้สึกว่ามีคนพยายามจะปองร้าย หรือเอาชีวิตของท่านหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ : ในต่างประเทศไม่มีครับ แต่อยู่ในประเทศไทยโดนหลายรอบแล้วครับ คุณจักรภพก็คงห่วงใยผม ถ้าผมกลับเมืองไทย เมื่อเหตุการณ์ไม่สงบ ถ้าผมกลับไป ผมอาจจะถูกลอบฆ่าอีกก็ได้ หลายคนอาจจะกลัวผม คิดว่าผมจะไปแก้แค้น แอบยิงผมก่อน   จอม : ท่านคิดอย่างนั้นไหมครับ พ.ต.ท.ทักษิณ : ก็เป็นไปได้ ซึ่งผมเองก็ต้องคิดเวลาผมกลับไป ต้องคิดว่า กลับไปแล้วจะมีปัญหาไหม  จริงๆ แล้ว คุณจอมฮะ ผมไม่ได้ซีเรียสว่าจะกลับหรือไม่กลับ ผมจะเล่าให้ฟังว่า ผมเองตอนนี้เหมือนหนู  คุณจุดไฟไหม้ป่า ผมก็ตกใจ ผมก็วิ่งเข้าไปอยู่ในโพลงไม้ ตอนแรกก็อึดอัดว่า นอนอยู่ในบ้านดีๆ ตอนนี้กลับมานอนในโพลงไม้ แต่ผมนอนไปสักพักหนึ่ง ผมมีความรู้สึกว่า ฝนตกผมก็ไม่เปียกนี่หว่า แดดออกผมก็ไม่ร้อนนี่หว่า ก็เริ่มปรับตัวว่า เออ ก็เริ่มอยู่ได้เหมือนกัน อยู่ไปอยู่มา ผมก็เริ่มหาอาหารกินได้แล้ว ซึ่งอยู่ในต่างประเทศอาหารการกินก็อุดมสมบูรณ์เหลือเกิน ผมก็เลยอยู่ของผมได้   แต่ปัญหาก็คือ บ้านที่ไฟไหม้อยู่ตอนนี้ เจ้าของบ้านก็ดี คนอยู่ในบ้านก็ดี ไม่ช่วยกันดับ แล้วถามว่า แล้วหนูตายไหม หนูก็ไม่ได้ตายหรอก เพราะหนูมันอยู่นอกบ้านแล้ว อยู่โพรงไม้ และอ้วนด้วยนะ แต่ที่บ้านที่กำลังมีปัญหาอยู่ จะทำอย่างไร ถ้าจะดับไฟก็ช่วยกันดับ แล้วบอกว่า จะให้หนูไปช่วยซ่อมแซมบ้าน หนูก็ไป เพราะหนูตัวนี้นั้น ถึงแม้จะปรับตัวได้ อยู่ได้ แต่มันก็รักบ้านของมัน   จอม : กำลังจะถามต่อพอดีว่า หนูตัวนี้ มีความรักบ้านของตัวเองอยู่หรือเปล่า หรือยังเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้อยู่หรือเปล่า พ.ต.ท.ทักษิณ : แน่นอนครับ รักอย่างสุดๆ ไม่ใช่รักแบบธรรมดาด้วย และรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณคนที่ห่วงใยผม เอาอย่างนี้ ลองถามคนที่เกลียดผมสุดๆ นี่ ถามว่า ตั้งแต่ผมออกมาแล้ว ประเทศดีขึ้นไหม ตั้งแต่ปฎิวัติ แล้วผมเงียบ ผมไม่ได้ยุ่งอะไร ผมเล่นฟุตบอลของผมอย่างเดียวนี่ ถามว่าบ้านเมืองดีขึ้นไหม ก็แย่ลง ดาวนด์ลงทุกวัน เพราะอะไร เพราะความพยายามที่จะขจัดให้สิ้นซาก โดยยอมให้ระบบทั้งหลายเสียหายหมด ยอมให้เกิดระบบสองมาตรฐาน เพราะต้องการขจัดให้สิ้นซาก และผลสุดท้ายมันไม่จบหรอกครับ    นี่นะคุณจอม มีสงครามที่ไหนบ้าง ที่จบด้วยสงคราม มันต้องจบด้วยการเจรจาทั้งนั้น    จอม : ก็นั่นสิครับ ทำไมท่านถึงไม่เริ่มต้นก่อน พ.ต.ท.ทักษิณ : จะให้ผมเริ่มต้นอย่างไร วันนี้ ถามจริง ๆ เถอะว่า ใครมีอำนาจจะคุยกับผมละ   จอม : ผมว่าท่านรู้นะว่าใครมีอำนาจ พ.ต.ท.ทักษิณ : เดี่ยวๆ คุณจอม ไปหาให้ผมเลย แล้วเอาเบอร์โทรศัพท์มาเลย แล้วผมจะโทรไปหา   จอม : แต่ผมเชื่อว่าท่านรู้ ใครมีอำนาจที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ : นี่ ขนาดผมเป็นนายกฯ ผมยังไม่มีอำนาจเลย ผมเป็นนายกฯ ผมมี 377 เสียงนะ ผมยัง solid (มีความมั่นคง) มากกว่าคุณอภิสิทธิ์วันนี้อีก แต่ผมยังไม่มีอำนาจเลย วันนี้คุณอภิสิทธิ์รู้ดี เพราะจะตั้ง ผบ.ตร. ยังตั้งไม่ได้เลย โธ่! ประเทศไทย โครงสร้างมันเพี้ยน   จอม : มีข้อกล่าวหาที่จะเรียกว่าร้ายแรงก็ว่าได้ ที่มีคนกลุ่มหนึ่งกล่าวหาท่านว่า ท่านไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน พ.ต.ท.ทักษิณ : อันนี้เป็นข้ออ้างที่ใช้ในการโค่นล้มทางการเมือง ตั้งแต่หลายสิบปีมาแล้ว และเรื่องนี้ ประชาธิปัตย์ถนัดอยู่แล้ว ผมบอกได้เลย ผมเป็นคนที่มีความจงรักภักดีสูงมาก เนื่องจากผมเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนนายร้อย เวลาเราวิ่งไป เราจะพูดว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เราท่อง เราปฎิญาณตนทุกวันก่อนนอน แล้วยังไม่พอ ผมสมรสพระราชทานนะครับ พ่อตาผมก็เป็นราชองครักษ์ แล้วผมเองก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณหลายเรื่อง ภรรยาผมได้รับพระราชทานเป็นคุณหญิง โดยสมเด็จฯ (สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ) เป็นคนพระราชทานให้นะ   จอม : ความพยายามจะขอพระราชทานอภัยโทษ ทั้งที่ทางราชการบอกว่า เป็นกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง แต่กลุ่มคนเสื้อแดงก็พยายามจะขอพระราชทานอภัยโทษให้กับท่าน แต่สุดท้ายเมื่อไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีการหรือระเบียบการก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสายตาของคนบางกลุ่มคือ กระเทือนต่อสถาบัน พ.ต.ท.ทักษิณ : ผมจะพูดคำเดียว แล้วไม่ต้องถามผมต่อนะ ผมรู้ข้อกฎหมาย และได้ทำในส่วนที่ถูกกฎหมายไปเรียบร้อยแล้วครับ แค่นั้นจบ   จอม : ขออนุญาตที่จะถามเรื่องนี้ เพราะมีคนฝากถามมาว่า ในขบวนการคนเสื้อแดงตอนนี้ มีส่วนหนึ่งจริงหรือเปล่าที่จะล้มสถาบัน แล้วท่านจะจัดการอย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณ : คนเป็นล้านเนี่ยนะ เราไม่สามารถสกรีนได้ทุกคนหรอก แต่ถ้าเมื่อไหร่มีกระบวนการนี้เกิดขึ้น ผมขวางแน่นอน ผมขวางแน่นอน และผมจะไม่ให้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนเสื้อแดงที่เป็นกองเชียร์ผมตกเป็นเครื่องมือแน่นอน แต่วันนี้นี่ คนที่ไปรวมกัน บางคนคิดอย่างไร ผมไม่รู้ เพราะผมไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ผมอาจจะมีการพูดคุยกับคนบางคน แต่ไม่มีเป้าหมายในเรื่องที่จะไปทำอะไรที่เสียหายต่อ พระราชวงศ์ เพราะผมจงรักภักดี ผมไม่ยอม ถ้าเมื่อไหร่ใครจะเอาขบวนการเสื้อแดงไปทำถึงขั้นนั้น ผมขวางแน่นอน   จอม : พูดคุยกับคนบางคน แค่ระดับไหนอย่างไรครับ   พ.ต.ท.ทักษิณ : ผมก็พูดคุยบ้างละครับ อย่างคุณวีระ คุณจตุพร คุณณัฐวุฒิ ผมก็คุยบ้าง แต่ไม่คุยทุกคน ส่วนใหญ่มือถือก็จะโทรหาคนใดคนหนึ่งในสามคนนี้   จอม : คนเสื้อแดงกำลังต่อสู้กับอำมาตยาธิปไตย ถ้าจะขีดเส้นของคำว่า ‘อำมาตยาธิปไตย’ มันแค่ไหน สูงแค่ไหน หรือลงมาแค่ไหน พ.ต.ท.ทักษิณ : อำมาตยาธิปไตย คืออำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน และ over rule (ใช้อำนาจแทรกแซง) ยกตัวอย่าง เช่น อยู่ๆ ตั้งใครก็ไม่รู้ ข้าราชการเกษียณ มีอยู่คนหนึ่งให้สามารถปลดนายกฯ ได้ โดยที่ไม่ต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน แต่นายกฯ มาจากประชาชน กระบวนการประชาธิปไตยนั้น อำนาจอะไรก็แล้ว มันจะต้องเชื่อมโยงไปที่ประชาชน แต่วันนี้ มีการตั้งข้าราชการเกษียณ แล้วแค่หยิบมือ ตั้งกันขึ้นมา ตั้งขึ้นมาแล้วสามารถมีอิทธิฤทธิ์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดด้วยซ้ำ เขียนกฎหมายเองว่างั้นเถอะ ศาลบางศาล อย่างศาลรัฐธรรมนูญ บางครั้งพิจารณาคดี มีการเขียนกฎหมายขึ้นมาเอง ทั้งๆ ที่ ไม่มีกฎหมาย ยกตัวอย่างเรื่องของคุณสมัคร เปรียบเสมือนการเขียนกฎหมายขึ้นมาไหมล่ะ กฎหมายไม่มี เปิดพจนานุกรมเอาอย่างเนี่ย คนที่มาจากการเลือกตั้ง อยู่ ๆ บอกว่าให้โฆษะ   จอม : อย่างคำว่า อำมาตย์ หรือกลุ่มอำมาตย์ ที่คนเสื้อแดงกำลังคัดค้านหรือต่อสู้อยู่นั้น จะรวมแค่ไหนอย่างไร เพราะบางคนบอกว่า เกี่ยวพันถึงสถาบันด้วย พ.ต.ท.ทักษิณ : บอกแล้วไงว่า ถ้าเมื่อไหร่เกี่ยวพันกับสถาบัน (พระมหากษัตริย์ ) ผมขวางแน่ ผมขวางแน่ และผมเชื่อว่า จะให้คนเสื้อแดงกลุ่มใหญ่ที่สนับสนุนผมไม่ให้ล่วงเลยได้ แต่วันนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้คิดอย่างนั้น เขาคิดแค่โครงสร้าง ที่คนที่ไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจของประชาชนเข้ามาลบล้างอำนาจประชาชน ใม่ใช่ให้คนหลายสิบล้านคนลงไปเลือกตั้ง เลือกตั้งขึ้นมาแล้ว ให้คนไม่กี่คน ไม่กี่หยิบมือทำตามคำสั่ง คนนั้นสะกิด คนนี้สะกิด ล้มล้างอำนาจของประชาชน ตรงนี้มันไม่เป็นประชาธิปไตยครับ ไม่รู้นะ ผมไม่ได้คุยกัน แต่ทุกฝ่ายต้อง limit หรือขีดเส้นอยู่แค่นี้ ล้มล้างระบบอำมาตย์ ก็คือล้มล้างระบบแต่งตั้ง ลากตั้งที่มีเหนืออำนาจของประชาชน เท่านั้นเอง ถ้าเกินกว่านี้ ผมไม่เอาด้วย   จอม : ตอนนี้ท่านอยู่ในต่างประเทศ แน่นอนค่าใช้จ่ายสูง คนสงสัยว่าท่านเอาเงินจากที่ไหนมาใช้จ่าย เงินส่วนหนึ่งก็ถูกรัฐบาลไทยยึดไปหมดแล้ว หรือว่ามีเงินบางส่วนท่านแอบไปซ่อนไว้ในต่างประเทศ ไปทำเรื่องฟอกเงินอยู่ในต่างประเทศ จึงเอาเงินเหล่านั้นมาใช้อย่างสบาย เอารายได้มาจากไหน กับการใช้จ่ายในแต่ละวัน แต่ละเดือน พ.ต.ท.ทักษิณ : ผมมีทีมฟุตบอลของผม จำได้มั้ยครับ (จอม : ครับจำได้)   จอม : แต่เงินที่ได้มาก็โดนรัฐบาลอังกฤษยึดไปไม่ใช่หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ : ใครบอกครับ ผมไม่มีเงินฝากที่อังกฤษแม้แต่บาทเดียวครับ นี่ไงฮะ แม้แต่คุณจอมก็ยังเชื่อเขาเลย เพราะมันโกหกทุกวัน   จอม : ผมอยู่ในสื่อเมืองไทยครับท่าน ผมอยู่ประเทศไทยครับ ( หัวเราะ ) พ.ต.ท.ทักษิณ : คุณจำรองนายกฯ หน้าดำๆ ได้ไหม บอกว่า ผมขนเงินกลับมาเมืองไทย 1 หมื่นล้านบาท เพื่อมาเลือกตั้ง พรรคพลังประชาชนก่อนหน้านั้น สถานีโกหกรายวัน บอกว่า ผมขนเงินออกไปตอนไปประชุมนิวยอร์ค ก่อนปฎิวัติ ขนเงินไป 30 กระเป๋า อะไรอย่างนี้ ซึ่งเป็นเรือ่งการปล่อยข่าว และคนที่ใจไม่ชอบกันอยู่แล้วนี่ มันก็เชื่อเลย คนเหล่านี้ก็หลงเชื่อ   จอม : แล้วเอาเงินจากไหนมาใช้จ่ายตอนนี้ครับ พ.ต.ท.ทักษิณ : เอ้า ก็ผมขออนุญาตแบงค์ชาติ เอาเงินไปซื้อทีมฟุตบอลจำได้ไหม แล้วผมก็ขายทีมฟุตบอล แล้วผมก็มีกำไรของผมไง   จอม : เงินที่ไปซื้อเหมืองเพชร เหมืองทอง อันนี้ก็มาจากการขายทีมฟุตบอลด้วยใช่ไหมครับ พ.ต.ท.ทักษิณ : ใช่ครับ นี่เหมืองพวกนี้ไม่กี่ตังค์นะ คุณอย่าคิดว่าเหมืองมันแพงนะ ไม่กี่ตังค์ ไม่แพงหรอก ซึ่งก็แล้วแต่ว่า ซื้อแล้วมันแจ็คพอตไหม สมมุติไปซื้อเหมืองทอง มันอาจจะไม่ได้ทองก็ได้ แต่เราได้ศึกษาล่วงหน้าอย่างดี เช่น เหมืองทอง ถ้าขุดดินขึ้นมาแล้วมีทองอยู่ 2 กรัม ก็ถือว่าคุ้มทุนนะ เกินกว่า 2 กรัมก็ถือว่ากำไรนะ ก่อนที่ผมจะเลือกบล็อก ผมเห็นเหมืองข้างๆ ผม เขาขุดอยู่แล้ว เขาได้ทองวันหนึ่งถึง 25 กรัม และเราดูสายแร่ ดูแล้วสายแร่มาจากที่เรา ดังนั้นของเรา ขี้หมูขี้หมามันต้องมีทองแน่ เราไปเลือกเอาอย่างนี้ อย่างนี้เรียกว่า มีการศึกษา มีไหวมีพริบ  แล้วตอนนี้ต่างประเทศ คนมาเจ๊งกันเยอะ เนื่องจากแบงค์เขาไม่ปล่อยกู้ คนก็หยุดการลงทุนกันหมด ก็ไปหาช่องทางอื่นกัน   จอม : การเดินทางในต่างประเทศของท่าน เจ้าของประเทศไม่รู้สึกระอักกระอ่วนใจหรือครับ เพราะรัฐบาลไทยกำลังตามตัวท่านอยู่ พ.ต.ท.ทักษิณ : เขากระอักกระอ่วนกับรัฐบาลไทย เขาไม่กระอักกระอ่วนกับผม เขาว่าไปยุ่งกับเขาทำไม เขาบอกว่า เขามีอธิปไตยเหนือดินแดนของเขา ทำไมเราไปยุ่งกับเขา เขารับใคร ไม่รับใคร เป็นเรื่องของเขา แล้วเราเที่ยวทำจดหมายไปหาเขา เขาบอกว่า เขารำคาญ   เวลาผมจะเดินทางไปไหน ผมจะติดต่อประเทศนั้นก่อนว่า ผมจะไปนะ จะเป็นอะไรไหม นอกจากบางประเทศบอกว่า ไม่ mind มาคุยกันหน่อยสิ เขาก็ให้ผมไปพบ   จอม : มีบางประเทศไหมครับ ที่อาจจะบอกว่า ขอโทษ ที่ไม่อาจจะรับท่านได้ พ.ต.ท.ทักษิณ : มีฮะ บางประเทศเขาบอกว่า เขารำคาญรัฐบาลไทย เขาบอกว่า อย่าเพิ่งมาเลยตอนนี้ อย่าเพิ่งมาเลย เขาขี้เกียจทะเลาะกับรัฐบาลไทย เอาไว้เงียบ ๆ อีกหน่อยแล้วค่อยมา ก็มีฮะ   จอม : แต่อาจจะมีบางประเทศที่บอกว่า ท่านไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของศาลประเทศไทย พ.ต.ท.ทักษิณ : ไม่มีประเทศใดคิดเช่นนั้น เพราะเขารู้ เขาอ่านคำพิพากษา เขาก็ตลกกันหมดแล้ว การซื้อขายไม่ผิด คนซื้อไม่ผิด คนขายไม่ผิด แต่สามีคนซื้ออนุญาตให้ใช้บัตรประชาชนไปรับโอนนิติกรรม ผิด จำคุก 2 ปี แต่บุกรุกป่าสงวน ไม่เป็นไร อะไรอย่างนี้ เขารู้ครับว่า การเมืองเมืองไทยนั้นกำลังเป็นการเมืองขจัดฝ่ายอยู่   จอม : นอกจากมีเหมืองเพชร เหมืองทองแล้ว ท่านยังมีอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ อีกหรือไม่ เห็นว่ามีเครื่องบินส่วนตัว มีบอดี้การ์ดชั้นเยี่ยมในการดูแลความปลอดภัยของท่าน พ.ต.ท.ทักษิณ : ไม่มี อันนี้ก็ตลกอีกแหละ ผมไม่มีบอดี้การ์ดชั้นเยี่ยมจากที่ไหนหรอก ผมไม่กลัวอยู่แล้ว ผมเป็นคนที่คิดว่า เกิดมาหนเดียวตายหนเดียว และผมคิดว่า พระเจ้ายังไม่เอาผมไปหรอก ผมโดนกี่รอบแล้วตอนเป็นนายกฯ ยังไม่เป็นไรเลย   จอม : ท่านเคยบอกว่า ท่านจะตายไม่ได้ จนกว่าจะค้นพบความยุติธรรมบนโลกใบนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ : ใช่ครับ   จอม : ถ้ามองเมืองไทยตอนนี้ ก่อนที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจหรือปัญหาอะไรก็ตาม สังคมไทยอยากเห็นการร่วมมือกัน การประนีประนอม การพูดจากัน การสร้างความสมานฉันท์ ผมขอกลับมาถามคำถามเดิมอีก พ.ต.ท.ทักษิณ : คุณจอม ประกาศไปแรง ๆ เลยนะ ว่าผมพร้อมเจรจากับทุกคน ก็คนอย่างคุณจอม ยังติดต่อผมได้เลย แล้วทำไมคนที่มีอำนาจในประเทศไทยจะติดต่อผมไม่ได้ เป็นไปได้อย่างไร   วันนี้ ผมจะบอกให้นะคุณจอม แม้กระทั่งคนขับแท็กซี่ ยังมีเบอร์โทรศัพท์ผมเลย เบอร์โทรศัพท์ผม ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย ยังโทรมาหาผม เพราะฉะนั้น มีคนที่ไม่มีโทรศัพท์ผม ก็คงเป็นคนในทำเนียบรัฐบาลนั่นแหละ นอกนั้นมีหมดเลย ดังนั้นผมไม่ใช่คนที่ติดต่อยากอะไรที่ไหนเลย คุณจอมประกาศไปดังๆ เลยนะ ขนาดผมโทรคุยกับแท็กซี่ยังคุยเลย ตำรวจชั้นผู้น้อยก็ยังคุย แม่ค้าขายข้าวหมาก ผมก็ยังคุยเลย เพราะฉะนั้น ทำไมผมจะไม่คุยกับคนที่เป็นระดับนายกรัฐมนตรีก็ดี หรือรองนายกรัฐมนตรีก็ดี ถึงแม้จะหน้าดำหน่อย ผมก็คุยได้   จอม : เอาเป็นว่า ผมสมมติเอาว่า นายกฯ อภิสิทธิ์ โทรมาหาท่าน บอกว่า ท่านครับขอหยุด เรามาร่วมกันสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศเราได้หรือเปล่า สิ่งที่ท่านจะตอบกับท่านอภิสิทธิ์ และเงื่อนไขที่ท่านจะบอกกับท่านอภิสิทธิ์คืออะไร พ.ต.ท.ทักษิณ : ก็ยังไงละ บอกผมมาสิ   จอม : ก็เนี่ยไงฮะ พ.ต.ท.ทักษิณ : หมายถึง เราจะร่วมมือกันอย่างไร   จอม : ครับ เราจะร่วมมือกันอย่างไร เพื่อให้บ้านเมืองสมานฉันท์ เสื้อแดง เสื้อเหลืองทำให้เป็นสีเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ : ผมยินดีเลย จะให้ผมทำอะไรบ้าง บอกมาสิ และรัฐบาลจะทำอย่างไร เพื่อให้เกิดความปรองดอง ไม่ใช่ให้เกิดความปรองดองข้างเดียว ไม่ใช่ปล้นทรัพย์มา แล้วพอเจ้าทรัพย์มาทวงก็บอกว่า เฮ้ย! เจ้าทรัพย์ไปไกลๆ อย่างเพิ่ง เดี่ยวผมกินก่วยเตี๋ยวก่อน ถ้าบอกว่า เอาละ เราจะคุยกันอย่างไรที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะสม เราจะกำหนดความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างไร   จอม : ถ้าท่านอภิสิทธิ์บอกว่า ท่านกลับมา แล้วมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย  จากนั้นเรามาหาทางสมานฉันท์ พ.ต.ท.ทักษิณ : แล้ววันนี้ กระบวนการยุติธรรมมันยุติธรรมหรือเปล่าละ ผมคิดว่าผู้พิพากษาส่วนใหญ่ยุติธรรม เป็นคนดี แต่บางคนก็รับคำสั่ง โดยเฉพาะศาลตอนนี้อึดอัดกันมาก   จอม : ในทางกลับกัน ถ้าท่านอภิสิทธิ์บอกว่า ท่านคิดว่ากระบวนการยุติธรรมไม่เป็นธรรมตรงไหน แล้วเรามาแก้ร่วมกันอย่างนี้โอเคไหมครับ พ.ต.ท.ทักษิณ : ( หัวเราะ) คุณอภิสิทธิ์ ไม่อยู่ในฐานะที่แก้ได้   จอม : แต่ท่าน (อภิสิทธิ์) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย พ.ต.ท.ทักษิณ : วันนี้ ถ้าจะแก้กัน ไม่ใช่ฝ่ายรัฐบาลฝ่ายเดียวครับ เพราะศาลเขามีความเป็นอิสระของเขา แต่วันนี้คนที่มีอำนาจเหนือกว่าศาล เข้าไปแทรกแซง ตรงนี้ต่างหากที่เป็นปัญหา ถ้าอำนาจอธิปไตยมีระบบที่เรียกว่า check and balance มีความสมดุล มีการถ่วงดุลกันเอง ผมคิดว่าบ้านเมืองมันไปได้ครับ ความจริงระบบเดิมมันดีอยู่แล้ว มันมาป่วนตรงที่จะล้มผมนี่แหละ จะล้มผมแล้วไปใช้เครื่องมือทางศาล ใช้เครื่องมือทางด้านทหาร เขาอยากจะล้มผม เพราะล้มผมโดยตรงไม่ได้ เพราะเลือกตั้งทีไรก็ชนะ แต่ก็อยากจะล้ม โดยยอมให้ระบบเสียหายเพื่อที่จะล้มผม   ความจริงวันนั้นถ้าพูดกับผมดีๆ บอกผมว่า เออ ไม่ไหวโว้ย ชนะบ่อยแล้ว ขอให้เลิกเถอะ ผมก็เลิก เฮ้ย! ชนะบ่อยแล้ว ปล่อยให้คนอื่นชิงบ้าง ให้เลิกไปแขวนนวมเสีย ผมก็แขวน ผมไม่ได้บ้าอยากอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ว่า ผมอยากทำภารกิจตอนนั้นให้เสร็จ ผมกะว่าครบสองเทอม ผมจะแก้ปัญหาความยากจนไปให้ได้ เมื่อแก้ได้ ผมก็โอเค ผมมี legendary (เป้าหมาย) ในชีวิตของผม ผมก็พอแล้ว ผมอยากทำงานให้บ้านเมืองแค่นั้นแหละ จบ นี่วันนี้นะ ผมไม่เป็นนายกฯ ถึงแม้ผมอยู่เมืองนอก แต่ผมเชื่อว่าความเครียดของผมน้อยกว่าคุณอภิสิทธิ์นะ หน้าผมใสเลยนะตอนนี้ ขนาดปล่อยข่าวว่าผมเป็นมะเร็ง ทำคีโมทุกวัน แต่ ทำไมผมดกดำอย่างนี้   จอม : ขอบพระคุณท่านมากที่พูดคุยนะครับ ขอให้ปลอดภัยครับ
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/60539
2015-07-26 10:49
แคดเมี่ยม อีกมหันตภัยร้ายจากถ่านหิน(สะอาด)
แคดเมี่ยมเป็นโลหะหนักที่อยู่ในถ่านหิน เมื่อนำถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยการเผา แคดเมี่ยมจะกระจายสู่อากาศ และโดนฝนชะลงสู่แหล่งน้ำ เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ และกินอาหารที่ปนเปื้อนแคดเมี่ยม   ผลกระทบสุขภาพ การหายใจ จะเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดลมและระบบทางเดินหายใจ มะเร็งปอด กินอาหารที่ปนเปื้อนแคดเมียม จะเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคไตวาย โรคกระดูกพรุน   เหตุการณ์การปนเปื้อนแคดเมี่ยมในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนแคดเมี่ยมในแหล่งน้ำ เนื่องจากต้นน้ำแม่ตาวเป็นที่ตั้งของเหมืองแร่สังกะสี (แคดเมี่ยมอยู่ในแร่สังกะสี) และไหลลงลำน้ำแม่ตาว ซึ่งประชาชนในพื้นที่นำมาใช้ทำนา ปลูกผักและอุปโภคบริโภค ทำให้แคดเมี่ยมปนเปื้อนสู่เมล็ดข้าว และพืชผัก ผลกระทบที่ประชาชนได้รับ: พบว่าคนที่กินข้าวที่ปลูกในพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมี่ยม มีแคดเมี่ยมในปัสสาวะสูงกว่าคนที่ไม่ได้กินข้าวที่ปลูกในพื้นที่ ทำให้เกิดภาวะไตเสื่อม และเป็นโรคไตในที่สุด เมื่อไตเสื่อม ทำให้ระบบการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายผิดปกติ นำไปสู่การเกิดโรคกระดูกพรุน เป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้ร่างกายทรุดโทรมและไม่มียาที่จะรักษา อีกทั้งผืนดินที่ปนเปื้อนแคดเมียมที่แม่ตาว ทำให้ชาวนาที่แม่ตาวต้องหยุดการทำนาไปในที่สุดเพราะข้าวและผักที่ปนเปื้อนแคดเมี่ยม ขายไม่ได้ หรือขายได้แต่ถูกกดราคา อีกทั้งชาวบ้านยังต้องซื้อข้าวและผักที่ปลูกนอกพื้นที่ปนเปื้อนมากินทั้งๆที่เดิมเคยพึ่งตนเองได้   สำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลานั้น การปนเปื้อนแคดเมี่ยมเป็นอีกโจทย์ที่น่ากังวล   ปริมาณแคดเมี่ยมนำเข้าจากถ่านหินจากอินโดนีเซียนั้น มีปริมาณสูงสุดตามที่ระบุในรายงานร่าง EHIA คือ 1 mg/kg เมื่อคำนวนจากปริมาณถ่านหินต่อวันที่ใช้ซึ่งเท่ากับ 23 ล้านกิโลกรัม ดังนั้นจะมีแคดเมี่ยมถูกนำเข้าสู่พื้นที่วันละ 23 กิโลกรัม หรือปีละ 8,395 กิโลกรัม หากคำนวณตลอดอายุโรงไฟฟ้าถ่านหิน 40 ปี จะมีการนำเข้าแคดเมียมในพื้นที่ถึง 335,800 กิโลกรัม แน่นอนว่ามวลสารไม่หายไปไหน กลวิธีการกำจัดแคดเมียมออกไม่ให้ปนเปื้อนในบรรยากาศนั้นจัดการได้จริงหรือหรือจัดการได้มากน้อยเพียงใด เป็นคำถามที่สร้างความกังวลอย่างยิ่งต่อหายนะทางสุขภาพที่จะมาสู่คนในชุมชน ในรายงานร่าง EHIA ยังไม่มีความชัดเจนว่ามวลแคดเมียมที่นำเข้าทั้งหมด เมื่อถ่านหินถูกเผาแล้ว แคดเมี่ยมจะปะปนไปในอากาศร้อนที่ระบายสู่ปล่องในสัดส่วนเท่าใด เหลือติดไปกับเถ้าลอยหรือเถ้าหนักจำนวนเท่าใด เถ้าเหล่านั้นหากผังกลบไว้จะสร้างมลพิษสู่ดินสู่น้ำหรือไม่ การบำบัดด้วย ACI หรือการฉีดผงถ่านเข้าไปดูดจับนั้นสามารถดูดซึมแคดเมียมได้มากน้อยเพียงใด การบำบัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วยวิธีให้อากาศร้อนนั้นผ่านน้ำทะเลจะทำให้แคดเมียมปนเปื้อนไปกับน้ำทะเลแค่ไหน ละอองของแคดเมียมสามารถลอยไปได้ไกลเพียงใด  รวมทั้งมีการวัดวิเคราะห์ปริมาณแคดเมียมสะสมในคนในสัตว์ทะเลหรือพืชพันธุ์ในพื้นที่หรือไม่อย่างไร คำถามเหล่านี้ล้วนไม่มีคำตอบในร่าง EHIA ฉบับ ค.3 ที่กำลังจะมีการรับฟังความเห็นแต่อย่างใด โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาจะเปลี่ยนอำเภอเทพาที่มีโรงงานอุตสาหกรรมน้อยที่สุดในจังหวัดสงขลา ซึ่งมีธรรมชาติที่ยังใสสะอาดบริสุทธิ์ ให้เป็นพื้นที่ปนเปื้อนขนาดใหญ่ที่สุดแห่งใหม่ของประเทศไทย  คนเทพาคงไม่อยากเป็นเหมือนคนแม่ตาวที่ต้องอยู่กับแคดเมี่ยมอย่างจำใจ     ภาพแสดงวงจรของแคดเมียม ที่ปะปนในควันจากปากปล่อง จะตกสู่ผืนดินในที่สุด ปนเปื้อนทั้งบนบกและในทะเล แคดเมียมบางส่วนที่จะจมสู่ใต้ทะเลถูกสัตว์หน้าดินกิน ห่วงโซ่อาหารที่ปนเปื้อนแคดเมียม จะผ่านกุ้งหอยมาสู่ปลาเล็ก สู่ปลาใหญ่ และสู่มนุษย์ในที่สุด สุดท้ายปลาในอ่าวจะนะ-เทพา-ปัตตานี ก็คงห้ามบริโภคเช่นเดียวกับข้าวแห่งลุ่มน้ำแม่ตาว
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/33075
2011-02-12 15:30
จากวาทกรรม “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ถึงการเชียร์ให้ปราบคนเสื้อแดงและการรบระหว่างไทย-กัมพูชา
บังเอิญเพื่อนส่งลิงค์เฟซบุ๊คข้อเขียนของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มาให้อ่าน ชื่อ “จตุรัส ฉบับสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์ กิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ: ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป (บางทีจะช่วย “เตือนสติ” ในด้านกลับได้ในตอนนี้)” [1] อ.สมศักดิ์ ได้ลิงค์หน้าปก “จตุสรัส” (ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2519) และส่วนของคำสัมภาษณ์ที่มีเนื้อหาเรื่องการฆ่าคอมมิวนิสต์ “ได้บุญมากกว่า” บาป (ตอนหนึ่ง) ดังนี้   “จตุรัส: แล้วที่มีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ฆ่าประชาชน ๓,๐๐๐ กว่าคนในกรณีถังแดงที่พัทลุง ท่านคิดว่าจริงไหม   กิตฺติวุฑฺโฒ: อันนั้นเรื่องโกหกทั้งเพ ไม่จริง คือฝ่ายหนึ่งต้องการปลุกระดมประชาชนทำให้ประชาชนเคียดแค้น   จตุรัส: การฆ่าฝ่ายซ้าย หรือ คอมมิวนิสต์ บาปไหม   กิตฺติวุฑฺโฒ: อัน นั้นอาตมาก็เห็นว่าควรจะทำ คนไทยแม้จะนับถือพุทธก็ควรจะทำ แต่ก็ไม่ชื่อว่าถือเป็นการฆ่าคน เพราะว่าใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นั้นไม่ใช่คนสมบูรณ์ คือต้องตั้งใจ (ว่า) เราไม่ได้ฆ่าคนแต่ฆ่ามารซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน”   จากเนื้อหาการให้สัมภาษณ์ดังกล่าวทำให้มีการขึ้นปกจัตุรัส “กิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ: ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” และต่อมาเรามักได้ยินการอ้างอิงวาทกรรมดังกล่าวนี้ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”   อันที่จริงการอ้างอิงพุทธศาสนาเพื่อสนับสนุนความรุนแรงโดยรัฐ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เช่น ใน “เทศนาเสือป่า” ของ ร. 6 ตอนหนึ่งว่า   “การ รบเพื่อป้องกันชาติบ้านเมืองไม่เป็นข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามปรามเลย ถ้าทรงห้ามปรามหรือแม้ไม่ทรงไม่ทรงเห็นชอบด้วยแล้ว ที่ไหนเลยจะทรงบังคับให้ทหารที่หนีจากกองทัพพระเจ้าพิมพิสารเข้าไปอุปสมบท นั้น สึกออกไปเข้ารับราชการในกองทัพตามเดิม” [2]   หรือ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า) ทรงเทศนาสนับสนุนรัฐบาลที่ประกาศสงครามกับเยอรมนีในคราวสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยตรัสว่า เป็นการ “อุปถัมภ์ธรรมในระวางมิตร” สอดคล้องกับพุทธภาษิตที่ว่า “เมื่อระลึกถึงธรรม ถึงคราวเข้า ทรัพย์ อวัยวะ แม้ชีวิต ก็ควรสละเสียทั้งนั้น” [3]   แต่ แม้จะมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ยืนยันเช่นนี้ สังคมไทยยังพยายามหลอกตัวเองว่า พระสงฆ์ไทยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง อยู่เหนือการเมือง หรือ “ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง” (ซึ่งไม่รู้ว่าหมายความว่าอะไร)   ซึ่ง ตามข้อเท็จจริงแล้ว โครงสร้างองค์กรสงฆ์ตั้งแต่มีระบบสมศักดิ์เป็นต้นมาพระสงฆ์ไทยก็มีรูปแบบการ ปกครองภายใต้อำนาจรัฐอยู่แล้ว และต้องตอบสนองต่อการเมืองของรัฐหรือผู้มีอำนาจรัฐอยู่แล้ว ภายในวงการคณะสงฆ์เองก็มีการเมืองเรื่องวิ่งเต้นสมณศักดิ์อยู่จริงตั้งแต่ อดีตจวบปัจจุบัน มิหนำซ้ำในสมัยศักดินายังมีพระสงฆ์บางรูปวิ่งเต้นเรื่องสึกออกไปรับราชการ กับขุนนางต่างๆ ด้วย   เชื่อไหมครับ แม้แต่ปัจจุบัน “อาชีพรับราชการ” สำหรับเปรียญลาพรตนั้นมีน้อยมาก คือตรงๆ เลยมีเพียงตำแหน่ง “อนุศาสนาจารย์” ทหารบก เรือ อากาศ เท่านั้น แต่พระสงฆ์สมัยนี้ก็ยังมีการวิ่งเต้นเพื่อสึกไปรับราชการในตำแหน่งดังกล่าวอยู่จริง!   ที่ขำไม่ออกคือ เวลาที่โฆษณาชวนเชื่อกันว่า พระสงฆ์ไทยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเป็นกลางทางการเมืองนั้น โฆษณากันราวกับว่า “พระสงฆ์ไทยบริสุทธิ์สะอาด” ไม่แปดเปื้อนกับ “สิ่งสกปรก” คือ “การเมือง” เลยฉะนั้น   แต่ ถามว่า พระสงฆ์ไทยที่ (อวดอ้างกันว่า) บริสุทธิ์สะอาดจากการเมืองสามารถสร้างพลังทางปัญญาในเรื่องจิตวิญญาณและ สันติภาพของมนุษยชาติได้ดีเทียบเท่ากับพระสงฆ์ธิเบตที่อยู่กับการเมืองหรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการเมืองหรือไม่?   องค์ ทะไลลามะนั้น เป็นทั้งประมุขสงฆ์และผู้นำรัฐบาลพลัดถิ่น แต่งานเขียน บทสนทนา คำปราศรัย การกล่าวสุนทรพจน์ ฯลฯ ของพระองค์สะท้อนจิตวิญญาณแห่งความหลุดพ้น และจิตวิญญาณที่รักสันติภาพอย่างลึกซึ้ง จนทำให้พระองค์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ   แม้ แต่ท่านติช นัท ฮันห์ พระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเซ็น ชาวเวียดนาม ก็เคยต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธีเมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ถึงวันนี้ท่านก็ยังยืนยันจุดยืนเรื่องอิสรภาพทางจิตวิญญาณ ความเข้าใจ ความรักระหว่างเพื่อนมนุษย์ สันติภาพภายในและสันติภาพของโลก   มีแต่พระสงฆ์ไทยที่อ้างว่าบริสุทธิ์จากการเมืองเท่านั้น ที่อ้างหลักการพุทธศาสนา “อย่างทุจริต” เพื่อสนับสนุนสงคราม สนับสนุนการมองเพื่อมนุษย์ที่มีอุดมการณ์ต่างกันว่าพวกเขาไม่ใช่คนแต่เป็น “มาร” การ ฆ่ามารของชาติ ศาสน์ กษัตริย์เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ฆ่าแล้วได้บุญมากกว่าบาป เหมือนฆ่าปลามาทำอาหารถวายพระ การฆ่าปลาเป็นบาป แต่ฆ่าเพื่อทำบุญกับพระได้บุญมากกว่า (นี่คือเหตุผลที่เห็นแก่ตัวสุดๆ!!!)   แล้วในยุคเราเป็นอย่างไร ผู้เคร่งศาสนา “ไม่กินเนื้อสัตว์” อย่างสมณะสันติอโศกกลับมาร่วมชุมนุมทางการเมืองสนับสนุนรัฐประหาร สนับสนุนการใช้กฎอัยการศึกปราบคนเสื้อแดง สนับสนุนการรบระหว่างไทย-กัมพูชา โดยมี “พระอริยะ” ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสอย่างสมณะโพธิรักษ์ และ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองเป็นแกนนำหลัก   พวกเขากล่าวอ้าง “อหิงสา-สันติ” แต่รัฐประหาร กฎอัยการศึก การแสดงแสนยานุภาพทางทหารตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และการรบคือความรุนแรงอย่างยิ่ง และเป็นความรุนแรงที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน!   พวก เขาอ้างว่าเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ปฏิเสธการเลือกตั้ง ปฏิเสธเสรีภาพในการปกครองตนเองของประชาชน และเล่นกลเกมทุกอย่างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐโดยไม่ต้องมีการ เลือกตั้ง   แต่เป็นเรื่องเหลือเชื่อไหมครับ สนธิกับสันติอโศกผสมพันธุ์กับเป็น “พันธมิตร...” กลายเป็น “ม็อบมีเส้น” ที่ใครๆ ก็เกรงใจ พระสงฆ์ไทยก็เกรงใจ ไม่เคยวิพากษ์เลยว่าการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวอโศกในนามของพุทธศาสนานั้นเป็นไปเพื่อ “อหิงสา-สันติ” หรือเป็นไปเพื่อสร้างความเกลียดชัง และการใช้ความรุนแรงแก่เพื่อนมนุษย์ที่มีความเห็นต่าง   สื่อและนักวิชาการก็ยังเกรงใจ “ม็อบมีเส้น” ไม่ตั้งคำถามว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพวกเขาเหล่านั้นทำลาย ประชาธิปไตยอย่างไร สร้างความบาดหมางกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร อหิงสา-สันติที่พวกเขาพยายามสร้างภาพได้นำไปสู่ความรุนแรงอย่างไร   นัก วิชาการ สื่อ ชนชั้นกลางในเมือง ชาวพุทธทนดูคนพวกนี้เอาชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มาเล่มเกมอำนาจจนเกิดความรุนแรงภายในประเทศ และเกิดความรุนแรงกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ได้อย่างไร?!!!       เชิงอรรถ   [1]  http://www.facebook.com/note.php?note_id=178264312216806&id=100001298657012 [2]  พระไพศาล วิสาโล.พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต.(กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์,2546),หน้า 36. [3]  เรื่องเดียวกัน,หน้า 36.
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/19080
2008-11-25 20:18
ภาพเคลื่อนไหวจากทีวีไทย กลุ่มเสื้อเหลืองไล่ตีเสื้อแดงและเผารถจักรยานยนต์ บริเวณวิภาวดีซอย 3
ช่างภาพของทีวีไทยจับภาพเหตุชุลมุนบริเวณซอยวิภาวดี 3 ซึ่งมีกลุ่มคนใส่เสื้อเหลืองหลายคน มีอาวุธเช่น ปืน มีดดาบ และกระบอง ไล่ตีคนใส่เสื้อแดง ยิง เผาและทุบรถจักรยานยนต์บริเวณดังกล่าว โดยขณะที่ช่างภาพบันทึกเหตุการณ์ ผู้ก่อเหตุหลายคนได้กรูเข้ามาห้ามช่างภาพทำการบันทึกภาพ พร้อมกับผู้ก่อเหตุคนหนึ่งกล่าวว่า "พี่อย่าถ่าย เราไม่ผิด" http://www.youtube.com/watch?v=KNhLI3LDgzQ [1] ช่างภาพของทีวีไทย ทีีวีสาธารณะ จับภาพเหตุชุลมุนบริเวณซอยวิภาวดี 3 ซึ่งมีกลุ่มคนใส่เสื้อเหลืองหลายคน มีอาวุธเช่น ปืน มีดดาบ และกระบอง ไล่ตีคนใส่เสื้อแดง ยิง เผาและทุบรถจักรยานยนต์บริเวณดังกล่าว โดยขณะที่ช่างภาพบันทึกเหตุการณ์ ผู้ก่อเหตุหลายคนได้กรูเข้ามาห้ามช่างภาพทำการบันทึกภาพ พร้อมกับผู้ก่อเหตุคนหนึ่งกล่าวว่า "พี่อย่าถ่าย เราไม่ผิด"   หลังเกิดเหตุการณ์ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรฯ ซึ่งขึ้นเวทีปราศรัยที่สนามบินดอนเมืองได้กล่าวกับผู้ชุมนุมว่า ผู้ก่อเหตุดังกล่าวไม่ใช่กลุ่มพันธมิตรฯ แต่เป็นบุคคลที่ 3 สร้างสถานการณ์   มีรายงานข่าวว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นกลุ่มคนใส่เสื้อสีแดงถูกยิงจำนวน 6 คนจากกรณีดังกล่าว ทั้งนี้เหตุชุลมุนเกิดขึ้นในเวลาประมาณ 17.00 น.ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนการชุมนุมไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อดักรอนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามกำหนดการเดิมจะเดินทางกลับจากประเทศเปรูคืนนี้   อย่างไรก็ตาม ล่าสุด มีรายงานว่า นายสมชาย จะเดินทางถึงประเทศไทยในวันพรุ่งนี้ แต่ยังไม่มีการยืนยันว่า เครื่องบินจะลงจอดที่สนามบินใด
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/44637
2013-01-12 23:03
อมก๋อย: ปัญหาสมาร์ทการ์ดหมด กระทบบุคคลตกสำรวจสถานะบุคคล
สมาร์การ์ดสำหรับทำบัตรประชาชนหมด ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จากปัญหาเปลี่ยนระบบทะเบียนของรัฐ วอนเจ้าหน้าที่เร่งแก้ปัญหาเพราะมีบุคคลตกสำรวจกว่า 700 คน ในพื้นที่   วันที่ 8 มกราคม 2556 เวลา 13.00 น. ณ.ที่ว่าการอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ แม่เฒ่าแนะพอ วัยกว่า 60 ปี เดินทางมาทำบัตรประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภออมก๋อย แต่นางต้องผิดหวังเนื่องจาก ทางอำเภอ ประสบปัญหาบัตรหมด จากการสอบถามนายทะเบียน ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า บัตรจะมาเมื่อไร แม่เฒ่าแนะพอต้องเดินทางกลับหมู่บ้านนาเกียนที่อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 80 กิโลเมตร และรอนัดเพื่อมาทำบัตรครั้งใหม่ จากการลงพื้นที่ โครงการสำรวจทะเบียน สถานะบุคคลกับสภาพทนายความ ของอนุกรรมการด้านสัญชาติและคนไร้รัฐไร้สัญชาติ พื้นที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 5-8 มกราคม 2556 พบผู้ตกสำรวจทางทะเบียนที่จะต้องเผชิญปัญหาเดียวกับแม่เฒ่าแนะพออีกกว่า 700 ราย กว่า 10 หมู่บ้าน ใน เขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ นายทะเบียนอำเภออมก๋อย ระบุว่า บัตรประชาชนจะมาถึงอำเภอภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ต้องเดินทางไปรับที่ศูนย์ในอำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ปัญหาบัตรสมาร์ทการ์ดหมดเกิดขึ้นทั่วประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนระบบโครงสร้างทางทะเบียนของรัฐบาลที่ยังไม่มีกำหนดว่าจะแก้ไขปัญหาได้แล้วเสร็จเมื่อไร อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ในวันที่ 10 เดือนหน้าจะมีการยืนยัน (อย่างไม่เป็นทางการ) ว่า จะมีการแจกจ่ายบัตรสมาร์ทการ์ด 1,000,000 ใบ ทั่วประเทศ แต่ถึงกระนั้น นายทะเบียนอำเภออมก๋อยระบุว่า บัตรสมาร์ทการ์ดจะตกมายังท้องที่เพียงประมาณ 10 ใบเท่านั้น แม่เฒ่าแนะพอ ยื่นบัตรประชาชน ของนางให้ดู แม้ว่า จะต่อบัตรไม่ได้เพราะปัญหาบัตรหมด นางต้องกลับบ้านที่อยู่ห่างจากตัวอำเภอถึง 80 กิโลเมตร ใบประกาศจากสำนักทะเบียน ณ.ที่ว่าการอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ บอกถึง ปัญหาบัตรประชาชนในพื้นที่หมด ใบทะเบียนรายชื่อที่กองสุมอยู่บนโต๊ะทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/78082
2018-08-02 08:18
เอนก เหล่าธรรมทัศน์: ชนชั้นนำของสยาม-ไทย: เก่งหรือไม่เก่ง เปิดหรือปิด
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม-การเมือง หรือ ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาของโลกสมัยใหม่ มีอยู่แม้ในประเทศประชาธิปไตย เป็นปัญหาของไทย อัน ครั้งหนึ่ง นำสู่การโจมตีวิพากษ์ “อมาตย์” โดยคณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า “ไพร่” ส่อนัยว่าชนชั้นนำหรือชนชั้นสูงของไทยนั้นเป็นชนชั้นท่ีล้มเหลวในการนำพา ทั้งยังผูกขาดทรัพยากร เผด็จอำนาจ และปิดกั้นตัวเอง ไม่ให้ “สามัญชน” หรือ ”ไพร่” ได้ขึ้นมาเทียบเคียง เรียกร้องกดดัน หรือ ต่อรองได้ คำถามแรก “อมาตย์ไทย” ที่หมายถึงกษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง เก่ง หรือ ไม่เก่ง ? ผมขอชวนให้คิดว่า ที่จริงแล้วอมาตย์ไทย น่าจะเป็น “อมาตย์” ที่เก่งที่สุดของโลกตะวันออก พวกเขารู้เท่าทันตะวันตก และพัฒนา หรือ ปรับเปลี่ยนได้มากที่สุด จนรักษาบ้านเมืองเอาไว้ได้ เป็น ”อมาตย์” ไม่กี่แห่งในซีกตะวันออก ที่ไม่พังทะลาย หรือไม่ยอมจำนนต่อฝรั่ง หากกลับนำพาบ้านเมืองให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของพวกฝรั่งนักล่าอาณานิคมไปได้ ในยุคสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นบุก ส่วนฝรั่งจะแก้แค้น “เอาคืน” ที่เราไปรบเข้าข้างญี่ปุ่น “อมาตย์” ใหม่ อันเกิดขึ้นมาหลังปี 2475 ก็ยังนำพาประเทศให้อยู่รอดต่อได้อีก ในเวลาต่อมาในยุค ”สงครามเย็น” ช่วงปี 2489-2532 ที่อเมริกาและยุโรป-ญี่ปุ่นฝ่ายหนึ่ง กับโซเวียต-จีน อีกฝ่ายหนึ่ง “แบ่งโลก”กัน จนเกิดศึกขึ้นมารอบประเทศ แต่ปรากฏว่า “อมาตย์” ของไทย ท่ีขึ้นมาด้วยการยึดอำนาจในปี 2500 และ ต่อด้วย “อมาตย์”อีกชุดหนึ่ง ที่ขึ้นมาหลังการล้มรัฐบาลทหารในปี 2516 ก็ยังนำประเทศให้อยู่รอดต่อไปได้อีก สังเกตุเถิดครับว่าท่ามกลาง ไฟสงครามที่ไหม้ประเทศเพื่อนบ้านเราไม่หยุด นับตั้งแต่ร่วมสมัยกับรัชกาลที่สี่ สยามหรือไทยเรานั้น กลับแทบไม่มีสงคราม มีการปะทะกันบ้างตามชายแดน มีการต่อสู้บ้างกับกองกำลังในประเทศ แต่กล่าวโดยทั่วไปประเทศเรามีแต่ “สันติสุข” มาร่วมสองร้อยปี แล้ว เอาละถ้าจะดื้อดึงต่อไป ไม่ยอมรับในชนชั้นนำของเราเลย ก็ช่างเถิด แต่จะมองไม่เห็นความเก่ง หรือ ความสำเร็จของเขาเลย ย่อมจะเป็นการวิพากษ์ที่คลาดเคลื่อน และจะนำไปสู่ความล้มเหลวของการวิพากษ์ คำถามต่อมา “ชนชั้นนำ” ของไทยนั้น”เปิด”หรือ “ปิด” กันแน่ คำตอบ “เปิด” มากกว่าครับ จนผมอดคิดไม่ได้: “หรือ คำว่า “ชนชั้น” ในความหมายกลุ่มผู้มีสถานะทางสังคมที่คงตัวหยุดนิ่งนั้น จะใช้ไม่ค่อยได้กับสังคมเรา ?” ความจริงที่น่าใส่ใจมาก แต่เรากลับไม่ค่อยคิด คือ เจ้านายของสยามหรือไทย นั้น ในสี่ชั่วอายุคนจากกษัตริย์ก็จะลดฐานะลงมาเรื่อยๆ ในทุกช่วงรุ่น ลงมาจนถึงขั้นเป็น “หม่อมเจ้า” นั่นยังถือเป็น “เจ้า” อยู่ แต่ ครั้น ลดต่อมาเป็น ม.ร.ว. และ หม่อมหลวง แล้ว ก็ไม่ใช่ “เจ้า” ต่อไปแล้ว ทุกวันนี้เรามี เด็กชาย นาย นาง นางสาว ที่ใช้นามสกุล ณ อยุธยา อยู่เป็นจำนวนมาก แต่คนเหล่านั้นก็เป็น “สามัญชน” แล้ว อนึ่ง กษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงของเราอาจมีชายาหรือเจ้าจอมที่มิใช่ ”เจ้า” หรือ มิใช่ลูกหลานของขุนนาง-ผู้ดี ก็ย่อมได้ และอันโอรสธิดานั้น ก็ยังมีสถานะเป็นพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ม.ร.ว. ก็ได้ แม้ “แม่” ของท่านจะเป็นเพียงสามัญชน แต่ตรงกันข้ามนะครับในสังคมตะวันตกแห่งอดีตนั้น ลูกเจ้าที่เกิดจากแม่ที่ไม่มี “ชนชั้น”ที่ควรคู่กับพ่อนั้น จะถือเป็นแค่ “bastards” มีสถานะคล้าย “ไพร่สาระเลว” ของเราหรือ “จัณฑาล” ของอินเดีย ไปโน่น เหตุนี้เอง เลือดไพร่และสามัญชน ในสังคมโบราณของสยาม ได้ไหลเข้าไปอยู่ในตระกูลขุนนางและเจ้านายหรือกระทั่งไหลเข้าไปอยู่ในองค์พระมหากษัตริย์ ก็มีครับ เลือด “ต่างด้าว” จะเป็นมอญ เขมร ลาว จีน แขก ฝรั่ง ที่จะเป็นสามัญชน หรือ ขุนนางก็ยังไหลไปรวมกับเลือดของพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงของไทยได้ หรือ เลือดของชาวไทยจากทุกภาค ก็ยังไหลเข้ารวมกับสายพระโลหิตของกษัตริย์และเลือดของขุนนางเมืองหลวง พิจารณาเช่นนี้ ระบบ “ชนชั้นนำ” หรือ “ชนชั้นปกครอง” ของสยามหรือไทย หรือ ระบบ “อมาตย์” ของเรานั้น ย่อมเป็นระบบ “เปิด” มากกว่า “ปิด” ยิ่งในทุกวันนี้ ก็ยิ่ง”เปิด” ครับ ถ้าไม่เชื่อก็ลองอ่านนามสกุลของรัฐมนตรีหรือ สว หรือ สส หรือกระทั่ง สนช ของเราเถิดครับ เป็นนามสกุลชาวบ้าน ชาวเมืองธรรมดา ตระกูลเจ้านายขุนนางผู้ดีในอดีตแทบจะไม่มีเหลือ ทำนองเดียวกัน ฯพณฯเอกอัครราชทูต ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี หรือ กระทั่งปลัดกระทรวง แม่ทัพ ผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ ก็ล้วนมีนามสกุลที่แสนจะ ”ธรรมดา” คือ ใหม่ และมักจะไม่เคยได้ยินกันมาก่อน ส่วนใหญ่ก็มาจากครอบครัวที่เพิ่งก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาไม่นานนี้เอง สะท้อนว่าระบบสรรหาผู้นำและผู้ปกครองของเรานั้น แม้จะมีจุดอ่อนข้อบกพร่อง แต่ก็ “เปิด” และ “รับ” คนใหม่ๆ สามัญชน หรือ “ไพร่” หากจะใช้สำนวนภาษาแบบผู้วิพากษ์รวมทั้งคนจากต่างจังหวัด จากอำเภอ จากตำบลและหมู่บ้าน ให้ได้ไต่ขึ้นมา แข่งกันขึ้นมา ชิงกันขึ้นมา มากทีเดียว สุดท้าย แม้แต่นามสกุล “จันทร์โอชา” ก็ไม่ใช่ “อมาตย์” คือ สูงส่งมาหลายชั่วคน ที่มีจารีตและศักดิ์ศรีแบบ “ผู้ดี-ขุนนางเก่า” แต่เดิมมานั้น สกุล“จันทร์โอชา” ก็ไม่ได้มี “ชั้น” ที่ต่างไปจากสกุลของคนส่วนใหญ่ในสังคม คิดให้จริงจังกว่านั้น นามสกุลของ ฯพณฯนายกรัฐมนตรีส่วนใหญ่ของไทย ก็ เป็นเช่นนั้น ไม่ได้สะท้อนว่าระบบคัดสรรผู้นำ-ผู้ปกครองของไทยปัจจุบันนี้เป็นลักษณะ “ชนชั้น” ข้อสรุปที่ว่า “อมาตย์คือ”ชนชั้นสูง” ที่เป็นชนชั้น“ปิด” ที่สืบอำนาจ ถ่ายทอดอำนาจให้ลูกหลานต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีหยุด และไม่”เปิดรับ” ให้คนชั้นล่างลงไป ได้ขึ้นมาแทน หรือ มาสมทบ จึงดูจะ “คลาดเคลื่อน” ไปมาก แม้ว่าเราจะต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เท่าเทียม พร้อมกับเปิดโอกาสให้โอกาสกับผู้คนให้มากกว่านี้ ดีกว่านี้ เร็วกว่านี้ แต่ การเลื่อนไหล “ขึ้นลง” ตามความสามารถความรู้และผลงานในสังคมของเราก็มีมากทีเดียวครับ   เผยแพร่ครั้งแรกใน: Facebook เอนก เหล่าธรรมทัศน์ Anek Laothamatas [1]
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/66500
2016-06-24 15:18
ประชาชนร่วมรำลึก 84 ปี 2475-เสียงต้านชี้การกระทำคณะราษฎรเป็นมิจฉาทิฐิ
รำลึก 84 ปีที่หมุดคณะราษฎรตอนเช้ามืด จ่านิวโดนตำรวจรวบขึ้นรถ ก่อนมวลชนเจรจาได้ขอตัวมาร่วมวางดอกไม้ วาด รวี ย้ำประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงระบบหรือระเบียบการปกครอง แต่ยังหมายถึงวิธี วิถีทาง ผลลัพธ์ ด้านชายใส่สูทโผล่ร่วมงานชี้การกระทำของคณะราษฎร์เป็นมิจฉาทิฐิก่อนโดนตำรวจกันออก ภาพจากเพจบ้านราษฎร     24 มิ.ย. 2559 เวลา 6.15 น. ประชาชนร่วมรำลึก 84 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย.2475 ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมสถานการณ์รอบบริเวณหมุดคณะราษฎร บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนิน ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ 6.25 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจร่วม 10 คน เข้าควบคุมตัว สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นักกิจกรรม โดยพยายามนำขึ้นรถตำรวจหลังปรากฏตัวที่หมุดคณะราษฎร ท่ามกลางประชาชนที่มาร่วมรำลึกและสื่อมวลชน ก่อนจะปล่อยตัวให้ร่วมกิจกรรมต่อ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวลา 6.30 น. มีการกล่าวรำลึก 84 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง จ่านิวเริ่มกล่าวรำลึกเหตุการณ์ว่า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่เมื่อ 24 มิ.ย.2475 แต่ไม่น่าเชื่อว่าผ่านมา 84 ปี ยังจะต้องมาเรียกร้องประชาธิปไตยอีก กลายเป็นว่าอยู่ในจุดที่ถอยหลังโดยไม่รู้ว่าจะได้ประชาธิปไตยกลับมาอีกครั้งเมื่อไหร่ ทั้งนี้ การร่วมรำลึกเหตุการณ์ครั้งนี้ทุกคนต่างมีจุดร่วม คือ จะทำให้ประชาธิปไตย และเสรีภาพ กลับมาอีกครั้งไม่ว่าจะยากลำบากเพียงใดก็ตาม และจะไม่มีวันที่จะลบเลือนเหตุการณ์เมื่อ 24 มิ.ย.2475 วาด รวี นักเขียน ร่วมกล่าวรำลึก 84 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ด้วยว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงระบบหรือระเบียบการปกครองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงวิธี วิถีทาง ผลลัพธ์และประชาธิปไตยในตัวของมันเอง และสิ่งที่ทำในวันนี้เป็นการพูดคุยกับอดีต ปัจจุบันและดำรงอยู่ต่อไปเพื่อคุยกับลูกหลาน บทสนทนาประชาธิปไตยนี้จะไม่สิ้นสุดลงด้วยการยึดอำนาจใดๆ ประธานกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย กล่าวบทกวีรำลึกใจความว่า 84 ปีที่ผ่านมา คณะราษฎรได้ต่อสู้ด้วยชีวิต ทหาร พลเรือนและผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกันสถาปนาประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น และยืนยันด้วยว่าอำนาจและประเทศเป็นของประชาชน   ภาพจากเพจบ้านราษฎร ต่อมาเมื่อ 6.40 น. ชายคนหนึ่งที่เข้ามาโต้แย้งกลุ่มรำลึก 84 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเขาระบุว่าการกระทำของคณะราษฎรเป็นมิจฉาทิฐิ พร้อมยืนยันว่าสิ่งที่ตนแสดงออกเป็นสิทธิเสรีภาพ หลังจากนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวชายคนหนึ่งออกจากหมุดคณะราษฎรและกักตัวไว้จนกิจกรรมเลิก "นี่คือสิ่งที่ประชาชนจะแสดงออก ภายใต้แผ่นดินนี้ ภายใต้แผ่นดินนี้ ต้องมีอิสระเสรีภาพให้กับทุกคน" ชายคนดังกล่าวยืนยันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/27744
2010-02-16 14:26
เลิกซื้อ จีที 200 หลังทดสอบ 20 ถูกแค่ 4
อภิสิทธิ์แถลงผลทดสอบ สั่งทำความเข้าใจหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โบ้ยรัฐบาลเพิ่งทราบ การจัดซื้อมีมาตั้งแต่ปี 2547 ขณะที่คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติออกแถลงการณ์ให้ยุติการใช้ 16 กุมภาพันธ์ 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผลการทดสอบเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดจีที 200 ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่าจากการทดสอบ 20 ครั้ง สามารถตรวจสอบได้ถูกต้องเพียง 4 ครั้ง ซึ่งหมายความว่า ไม่มีนัยยะทางสถิติ นายอภิสิทธิ์ระบุด้วยว่า รัฐบาลจะไม่มีการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติม และจะได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเร่งทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์ระบุด้วยว่า “รัฐบาลเพิ่งมาทราบเรื่องนี้ โดยกระบวนการจัดซื้อมีมาตั้งแต่ปี 2547" ทั้งนี้ สำนักข่าวไทยรายงานว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ซึ่งเข้าประชุม ครม.ด้วย ได้รับทราบผลแล้ว ซึ่งไม่ได้ขัดข้องกับการระงับดังกล่าว เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานว่า ที่กระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีผลการตรวจสอบเครื่องจีที 200 ว่า เบื้องต้นทราบว่า ผลการทดสอบระบุว่า เครื่องมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาด หลังจากนี้จะหารือกับพญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงาน ในส่วนของสถาบันนิติวิทย์ ซึ่งเขาคงไม่สั่งห้ามให้เลิกหรือหยุดใช้เครื่องดังกล่าว ถ้าเจ้าหน้าที่มีความมั่นใจก็ใช้ต่อไป แต่ถ้าหน่วยงานใดจะขออนุมัติอุปกรณ์ในลักษณะเดียวกับเครื่องจีที 200 อีก เขาจะไม่อนุมัติให้ซื้อเพิ่มแน่นอน เพราะเกิดข้อสงสัยถึงประสิทธิภาพ สำหรับเครื่องอัลฟ่า 6 ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ที่อยู่ระหว่างการส่งมอบอุปกรณ์นั้น ภายหลังผลทดสอบระบุว่า เครื่องมีประสิทธิภาพต่ำ เขาจะหารือกับปปส.ว่า หน่วยงานต่าง ๆ ยังยืนยันในความต้องการจะใช้เครื่องอัลฟ่า 6 อีกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เขาเคยเสนอให้คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ นำเครื่องอัลฟ่า 6 ไปทดสอบพร้อมกัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการทดสอบตรวจค้นสารประกอบระเบิดเท่านั้น  “ประเด็นที่ยังน่าสงสัยคือ ถ้าเครื่องจีที 200 ไม่มีประสิทธิภาพเลย เครื่องไม่น่าจะตรวจพบสารประกอบระเบิด แต่ในการทดสอบยังตรวจพบถึง 4 ครั้ง ส่วนการตรวจ 16 ครั้งไม่พบสารระเบิด ซึ่งจำเป็นต้องหาข้อพิสูจน์ให้ได้” นายพีระพันธุ์กล่าว
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/55135
2014-08-20 01:02
จดหมายเหตุและบันทึกสมัยรัฐพี่เบิ้ม: บทเรียนจากบราซิล กัวเตมาลา อินโดนีเซีย
เวทีเสวนาที่ มช. "ประวัติศาสตร์และความยุติธรรม: หอจดหมายเหตุ ศาล คุก และหลักฐานของความรุนแรง” โดยไทเรล ฮาเบอร์คอร์น เล่าเรื่องเอกสารและบันทึกสมัยรัฐบาลสมัยเผด็จการที่กระทำต่อพลเรือน กรณีศึกษาบราซิล กัวเตมาลา อินโดนีเซีย รวมทั้งประเด็นเรื่องการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การใช้ความรุนแรงในไทยนับแต่ปี 2475 17 ส.ค.57 - ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์อาเซียนศึกษา ร่วมกับ หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสัมมนากฎหมายและสังคมในหัวข้อเรื่อง “ประวัติศาสตร์และความยุติธรรม: หอจดหมายเหตุ ศาล คุก และหลักฐานของความรุนแรง” มีวิทยากรคือไทเรล ฮาเบอร์คอร์น ภาควิชาการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมือง มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และดำเนินรายการโดย นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   รัฐเผด็จการเก็บข้อมูลหลักฐานการทารุณอย่างไร? ไทเรลกล่าวถึงคำถามเริ่มต้นในการศึกษาชิ้นนี้ ซึ่งมาจากที่เคยทำงานวิจัยประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ รัฐเผด็จการต่างๆ ได้บันทึกข้อมูลอะไรบ้างเกี่ยวกับการกระทำอันทารุณ เช่น การกักขังโดยมิชอบ การซ้อมทรมาน การบังคับอุ้มหาย การสังหาร, รัฐเก็บเอกสารบันทึกเหล่านี้ที่ไหนและอย่างไร, นักสิทธิและนักเคลื่อนไหวได้เก็บบันทึกอะไรไว้ และแตกต่างจากเอกสารของรัฐอย่างไร, หลังกระบวนการเปลี่ยนผ่านมีอะไรที่เกิดขึ้นกับเอกสารบันทึกเหล่านี้, ความหมายและประโยชน์ของเอกสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือในกรณีที่ไม่มีกระบวนการเปลี่ยนผ่าน ยังมีรัฐเผด็จการอยู่ หรือมีกลิ่นของมรดกเผด็จการอยู่ การบันทึกเหล่านี้ได้ถูกดึงออกมาใช้ในการต่อต้านได้อย่างไรบ้าง สาเหตุที่สนใจความรุนแรงของรัฐเผด็จการ คือจากมุมมองของนักสิทธิมนุษยชน ความรู้และการเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับการกระทำอันทารุณของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นส่วนสำคัญของการต่อต้านการยกเว้นการรับผิดของเจ้าหน้าที่เอง โดยสหประชาชาติเคยระบุว่ามีสามหลักที่สำคัญ คือสิทธิที่จะรู้ สิทธิที่จะได้รับความยุติธรรม สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและไม่เกิดความรุนแรงซ้ำอีก อันที่สอง คือสนใจศึกษาว่าถ้าอยากศึกษารัฐเผด็จการและการกระทำอันทารุณจะมีหลักฐานอะไรบ้าง โดยปกติรัฐเผด็จการจะบันทึกอะไรเยอะ พบว่ารัฐเก็บข้อมูลของทุกคนที่ถูกสงสัย ประชาชนถูกมองด้วยความสงสัย แต่ช่วงยุคเปลี่ยนผ่านในหลายกรณีๆ ประชาชนก็ได้เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ โดยเอกสารไม่ถูกทำลาย แต่ควรกล่าวด้วยว่ารัฐที่มองตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตย ก็กระทำสิ่งที่โหดร้ายได้เหมือนกัน ในแง่หนึ่ง ไม่แปลกที่รัฐเผด็จการจะเก็บข้อมูลที่เรามองว่าผิดกฎหมายหรือละเมิดต่อความเป็นมนุษย์ โดยรัฐเองก็คงมองในอีกมุมหนึ่ง ที่มองว่ากระทำนั้นทำเพื่อชาติหรือปกป้องความมั่นคง แต่ตนไม่ค่อยสนใจสาเหตุของรัฐที่บันทึก แต่สนใจว่ารัฐเก็บอะไรไว้ แล้วนักสิทธิและนักประวัติศาสตร์นำไปใช้อย่างไรมากกว่า โดยจะใช้กรณีตัวอย่างจากสามประเทศ ได้แก่ บราซิล กัวเตมาลา และอินโดนีเซีย ซึ่งล้วนเป็นประเทศที่เคยมีรัฐเผด็จการอยู่ แต่ได้มีกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยไปแล้ว หรือกำลังมีการเปลี่ยนผ่านในปัจจุบัน ไทเรลกล่าวว่าสิ่งที่ช่วยตอบคำถามของตนมาจากบทความของออเดรอ ลอร์ด (Audre Lorde) ที่เขียนว่า “เครื่องมือของเจ้านายไม่เคยได้ทำให้บ้านเขาล้ม” (The master’s tools will never dismantle the master’s house) โดยตนมองว่าบางครั้งเครื่องมือของเจ้านายเองต่างหากที่ทำให้บ้านเขาล้มลง ซึ่งกรณีของบราซิลและกัวเตมาลาจะชี้ให้เห็นเรื่องนี้   บราซิล: จากเอกสารศาลทหารสู่รายงานการกระทำอันทารุณของรัฐ ไทเรลได้เล่าถึงกรณีบราซิลว่าคณะทหารได้รัฐประหารเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2507 และผลักดันให้ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งต้องออกจากตำแหน่ง เผด็จการทหารนี้อยู่ในอำนาจกว่า 20 ปี ถึงเดือนมีนาคม 2528 ในระหว่างนั้นมีการปราบปรามนักเคลื่อนไหว นักศึกษา แรงงาน ผู้ถูกมองเป็นฝ่ายซ้าย โดยความหมายของ “ความเป็นซ้าย” ในสายตาของรัฐช่วงนั้นกว้างขวางมาก คนที่วิจารณ์การกระทำใดๆ ของรัฐก็สามารถถูกมองว่าเป็น “ภัย” ต่อรัฐ ในช่วงนั้นนักสิทธิมนุษยชนกว่า 400 คน ถูกบังคับสูญหาย หลายพันคนถูกจับกุมและซ้อมทรมาน หลายคนต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมในศาลทหาร โดยมีตั้งข้อหาแปลกๆ และใช้หลักฐานแปลกๆ กับพลเรือน เช่น มีคนถูกตั้งข้อหากบฏ โดยอัยการใช้หลักฐานหลักที่ว่าเขาใช้ชีวิตในสหภาพโซเวียตนาน 9 ปี และหลายคนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารก็ถูกซ้อมทรมาน ในปี 2522 ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง รัฐเผด็จการบอกว่าจะเริ่มกลับสู่ประชาธิปไตย และจะออกพรบ.นิรโทษกรรม ในช่วงนั้นมีกลุ่มนักเคลื่อนไหว กลุ่มศาสนา กลุ่มทนาย และนักศึกษา ร่วมกันคิดว่าอยากจะใช้เอกสารของศาลทหาร เพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลรายละเอียดการกระทำของรัฐเผด็จการ จนเกิดเป็นโครงการ “Brazil: Nunca Mais” มีการใช้วิธีให้ทนายไปยืมสำนวนคดี และนำมาให้คนที่ถ่ายเอกสาร จากหนังสือความทรงจำของคนที่ร่วมในกิจกรรม หลายคนบอกว่าตอนที่ถ่ายเอกสารหลายคนไม่รู้ว่าทำไปเพราะอะไร เข้าใจว่าถ่ายเพื่อให้ทนายไปทำงานของเขา หลายคนเห็นว่าจะปลอดภัยกว่าถ้าไม่บอกรายละเอียดต่อกัน ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ถ่ายเอกสารประมาณ 1 ล้านหน้า มีคดี 700 กว่าคดี โดยมีการทำเป็นไมโครฟิล์มและส่งออกไปรวบรวมไว้นอกประเทศ หลังจากนั้นมีนักวิจัยพยายามศึกษาเอกสารชุดนี้ ใช้เวลาประมาณ 5 ปี เขียนรายงานกว่า 7 พันหน้า เกี่ยวกับการกระทำของรัฐเผด็จการ โดยรายงานนี้มีสี่ส่วน ตั้งแต่อธิบายโครงสร้างของรัฐเผด็จการ อธิบายวิธีการทำโครงการและวิจัย มีการเปรียบเทียบกฎหมายฉบับต่างๆ และกระบวนการในศาลทหาร โดยส่วนสุดท้ายเป็นส่วนสำคัญที่สุด หนากว่า 2,700 หน้า เป็นส่วนที่บันทึกรายละเอียดการกระทำอันทารุณของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนเหตุที่มีข้อมูลแบบนี้ในเอกสารของศาลทหารเพราะคนที่ถูกดำเนินคดีมองว่าตนไม่มีทางชนะ ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือพูดถึงความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา แม้ไม่ได้ออกจากศาลทหาร แต่อย่างน้อยเขาคิดว่าได้พูดความจริงที่เกิดกับชีวิต รายงานในส่วนนี้จึงได้ให้รายละเอียดของการซ้อมทรมาน ชื่อของผู้ซ้อมทรมาน สถานที่ซ้อมทรมาน ชื่อของนักโทษการเมืองที่ถูกสังหาร ชื่อของที่ผู้ถูกบังคับสูญหาย หลังจากนั้น ได้มีนักเคลื่อนไหว-นักหนังสือพิมพ์ ได้เขียนสรุปสั้นๆ ประมาณ 4 ร้อยหน้า เป็นหนังสือเล่มออกมาในปี 2528 หลังการสิ้นสุดของรัฐเผด็จการทหาร และกลายเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดในปีแรกที่ออกพิมพ์ หมายความว่าประชาชนบราซิลล้วนอยากรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในประเทศของเขาในรอบ 20 ปีนั้น ส่วนเอกสารไมโครฟิล์มได้ถูกนำไปอยู่ในห้องสมุดหลายแห่ง มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านหน้า โครงการนี้ตอบสนองต่อสิทธิที่จะรู้ (Right to know) ได้ดีมาก จนในปี 2556 ได้มีการจัดทำหอจดหมายเหตุดิจิทอล ซึ่งเปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี และสามารถค้นหาได้ง่าย ขณะเดียวกัน ก็เริ่มมีกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านในบราซิล ในช่วงปี 2554 จนถึงช่วงสิ้นปี 2556 ได้เริ่มมีการดำเนินคดีอุ้มหายเป็นคดีแรก เอกสารชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่อัยการกำลังใช้ดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่สังหารเขา กล่าวได้ว่าบราซิลกำลังใช้เอกสารของรัฐบาลเผด็จการทหารเอง ในการดำเนินการกับผู้กระทำในช่วงนั้นเอง   กัวเตมาลา: สมุดบันทึกการสังหารและเอกสารตำรวจแห่งชาติ ไทเรลกล่าวถึงกรณีกัวเตมาลา ซึ่งมีสงครามกลางเมืองกว่า 36 ปีในช่วงระหว่างปี 2503-2539 เป็นสงครามระหว่างรัฐเผด็จการ ผู้มีอำนาจอิทธิพล กับกลุ่มต่างๆ ที่รัฐมองว่าเป็นภัย ทั้งชนพื้นเมืองหลายๆ กลุ่ม พรรคการเมืองก้าวหน้า และกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยหลายกลุ่ม มีการปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง กว่า 4-5 หมื่นคนถูกบังคับให้สูญหาย มีอีกจำนวนมากถูกจับกุมและซ้อมทรมาน  หลังสงครามกลางเมือง มีสนธิสัญญาระหว่างกองทัพและตัวแทนของประชาชน ส่วนหนึ่งระบุว่ากองทัพต้องให้มีกรรมาธิการหาความชัดเจนของประวัติศาสตร์ โดยให้มีการเปิดเผยเอกสารของกองทัพ แต่ในความจริงกองทัพก็ไม่ค่อยยอม โดยให้เข้าถึงเอกสารแค่ไม่กี่ชิ้น แต่ก็มีทั้งเอกสารที่รั่วออกมา และเอกสารที่ถูกเจอโดยบังเอิญ  เอกสารที่รั่วออกมา ได้แก่ สมุดบันทึกการสังหาร (El Diario Militar) ยาว 43 หน้า โดยนักเคลื่อนไหวได้รับเอกสารนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2542 ในสมุดนี้มีชื่อของประชาชน 183 คนที่ถูกสังหารโดยทหาร ระหว่างปี 2526-28 โดยให้รายละเอียดการสังหารแต่ละคน และเอกสารนี้ทำให้ญาติและเพื่อนของคนที่อุ้มหายไปและไม่เคยได้เจออีก ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวของตัวเอง คำถามคือทำไมเจ้าหน้าที่ที่จับกุมและสังหารประชาชนถึงบันทึกเหตุการณ์รายละเอียดเหล่านี้ เป็นคำถามที่น่าสนใจทั้งในทางวิชาการและความเป็นมนุษย์ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด ยังมีเอกสารอีกชุดหนึ่งที่ถูกพบโดยบังเอิญ คือเอกสารในอาคารตำรวจแห่งชาติ โดยตำรวจเป็นองค์กรหนึ่งที่มีส่วนในการใช้ความรุนแรงแต่ประชาชน และถูกยุบไปหลังสงครามกลางเมือง จนในปี 2548 ได้มีการระเบิดในตึกเก่าของตำรวจแห่งชาติ แล้วมีการติดต่อร้องเรียนกรรมการสิทธิมนุษยชนให้ไปตรวจสอบอาคารนี้ จนได้พบเอกสารของตำรวจจำนวนกว่า 80 ล้านหน้า ที่มาจากการทำงานของตำรวจแห่งชาติกว่า 100 ปี ซึ่งมีทั้งเอกสารฝ่ายซ้ายที่ตำรวจเก็บไว้ โทรเลข บันทึกประจำวัน ข้อมูลส่วนตัวของบุคคล แผนการต่อต้าน “ผู้ปลุกระดม” หรือบันทึกการสอบสวนต่างๆ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงเป็นหอจดหมายเหตุตำรวจแห่งชาติกัวเตมาลา โดยในปี 2550 ได้มีโครงการทำเป็นหอจดหมายเหตุดิจิทอล เอกสารกว่า 15 ล้านหน้าได้ถูกทำเป็นไฟล์ดิจิทอล ทำให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เอกสารชุดนี้ยังถูกใช้ในกระบวนการยุติธรรม ในปี 2555 ได้ถูกใช้ในดำเนินคดีกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนเดิม ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการอุ้มหายนักศึกษานักกิจกรรมรายหนึ่งตั้งแต่ในปี 2524 โดยลูกสาวของนักกิจกรรมรายนี้ที่เป็นทนาย ได้กล่าวถึงเอกสารชุดนี้ว่าแสดงให้เห็นว่าพ่อของเธอถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่ไหน และใครมีส่วนในการจับตอนนั้น โดยถึงปัจจุบันนี้คดียังดำเนินอยู่ กรณีกัวเตมาลาเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เครื่องมือของเจ้านายเองทำให้บ้านเขาล้ม แต่อาจต้องใช้เวลานาน แม้ผู้กระทำผิดอาจจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ในแง่หนึ่ง ความรู้ก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยสองกรณีในละตินอเมริกานี้เป็นรัฐที่มีการเปลี่ยนผ่านจากรัฐเผด็จการสู่ประชาธิปไตยแล้ว   อินโดนีเซีย: หอจดหมายเหตุเงาของนักกิจกรรม ไทเรลกล่าวถึงกรณีของประเทศที่ยังเปลี่ยนผ่านได้ไม่สมบูรณ์ และยังมีกลิ่นอายของความรุนแรงโดยรัฐอยู่ในสังคม คำถามคือกรณีนี้แบบนี้จะมีหลักฐานอะไรที่ประชาชนสามารถนำมาใช้เข้าใจเผด็จการและเข้าใจการต่อต้านเผด็จการ การตอบคำถามนี้จะเล่าถึงการต่อสู้ของนักศึกษาต่อรัฐบาลซูฮาร์โตในอินโดนีเซีย ในช่วง 10 ปีสุดท้ายของซูฮาร์โต โดยใช้งานชิ้นหนึ่งของเพื่อนนักมานุษยวิทยาที่กำลังจะพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Activism Achieve, Youth culture and Political Past in Indonesia   ใน 33 ปีตั้งแต่ปี 2508 ที่รัฐเผด็จการทหารอยู่ในอินโดนีเซีย เริ่มต้นด้วยการสังหารสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ของอินโดนีเซียหรือคนที่ถูกสงสัยจำนวนมาก และมีคนที่ถูกจับโดยข้อหาทางการเมืองหลายพันคน ลูกหลานของผู้สังหารในช่วงแรกก็ถูกสงสัยจากชุมชนและโรงเรียน แต่ในเวลาเดียวกันตลอด 30 ปีนั้น ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์และต่อสู้ โดยมีเยาวชนเป็นแนวหน้ากลุ่มหนึ่ง งานหนังสือเล่มนี้สนใจว่านักกิจกรรมได้ทำอะไรบ้างในการต่อต้านช่วงสุดท้ายของซูฮาร์โต ช่วงปีพ.ศ.2530-41 รัฐได้ตอบโต้หรือปราบปรามอย่างไร และมีแหล่งข้อมูลอะไรบ้างในเรื่องนี้ สิ่งสำคัญในอินโดนีเซีย คือไม่มีหอจดหมายเหตุหรือเอกสารทางการที่คนธรรมดาเข้าถึงได้เหมือนที่กล่าวถึงในสองประเทศก่อน หนังสือเล่มนี้ได้ใช้เอกสารที่นักกิจกรรมเก็บไว้เอง บางชิ้นก็ถูกนำไว้นอกประเทศ ในห้องสมุดมหาลัยต่างๆ โดยพบว่าการเก็บเอกสารเป็นสิ่งสำคัญในสายตาของนักกิจกรรมอินโดนีเซีย ซึ่งพบว่ามีทั้งบทกวี เรื่องสั้น แถลงการณ์ของกลุ่มต่างๆ หลายพันหน้า เอกสารของศาล เอกสารบันทึกของคนในคุก ข้อความสั้นๆ ในกระดาษเล็กๆ ที่คนถูกดำเนินคดีจะจด และส่งให้เพื่อนหรือคนรักในศาล โดยที่ทั้งสองคนถูกดำเนินคดีเช่นกัน ซึ่งอาจมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้านโดยตรงก็ได้ แม้เอกสารของรัฐในอินโดนีเซียยังไม่เคยถูกเปิดเผย แต่เอกสารที่นักกิจกรรมรวบรวมก็มีลักษณะเป็น “หอจดหมายเหตุเงา” (Shadow Achieve) มีลักษณะเป็นการขัดขวางเอกสารของรัฐโดยตรง นักศึกษายังได้เก็บรวบรวมเอกสารที่บอกว่ารัฐมองเขาอย่างไร และเก็บบันทึกของตำรวจหรือเอกสารของศาล ซึ่งกลายเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ชนิดหนึ่ง ในเอกสารชุดนี้มีเอกสารสองชนิดที่สำคัญ คือ แถลงการณ์เปิดและปิดคดีของฝ่ายจำเลย ในศาลช่วงนั้น นักศึกษาถือเป็นช่องทางในการพูดถึงความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรณีของตัวเองต่อศาล เป็นทั้งการบันทึกความจริงและความกล้าหาญของนักศึกษา เช่น มีนักศึกษาคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าพยายามบ่อนทำลายรัฐ เขาได้กล่าวแถลงปิดคดีว่ารัฐเองต่างหากที่กำลังบ่อนทำลายประเทศชาติ ในอินโดนีเซีย ยังไม่มีกรณีที่นำเอกสารนี้มาใช้ในกระบวนการยุติธรรม ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ แต่เอกสารชุดนี้กลายเป็นบันทึกการเคลื่อนไหวก่อนมีการชุมนุมล้มรัฐบาลในปี 2541 และยังแสดงว่าการล้มรัฐบาลซูฮาร์โตไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในอาทิตย์เดียว แต่เป็นสิ่งที่ดำเนินมาจากการต่อสู้ต่อต้านและเสียสละของหลายคนที่ต้องอยู่ในคุกกว่า 10 ปี ก่อนหน้านั้นแล้ว   คำถามถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ไทเรลได้กล่าวถึงกรณีของไทย จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของการใช้ความรุนแรงโดยรัฐตั้งแต่ปี 2475 ถึงปัจจุบัน หลังจากพยายามหาเอกสารมา 5 ปี ก็ยังไม่เจอเอกสารของรัฐแบบในบราซิลหรือกัวเตมาลา ไทเรลกล่าวว่าสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนในรัฐไทยคือ ประชาชนถูกปราบปรามโดยรัฐมาตลอด ไม่ว่าในรัฐเผด็จการทหาร หรือรัฐที่ดูเป็นประชาธิปไตย ทั้งการสังหาร การกักขังโดยมิชอบ การอุ้มหาย หรือการคุกคามต่างๆ โดยเธอสนใจความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความรุนแรงนอกระบบ ว่ากฎหมายเปิดช่องให้ใช้ความรุนแรงนอกระบบหรือไม่ หรือกฎหมายจะช่วยประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมหรือไม่ อุปสรรคอันใหญ่ที่เจอ คือจะหาหลักฐานที่ไหน โดยไม่ใช้วิธีการหาคนที่ทำงานในกองทัพหรือตำรวจโดยตรงในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ สุดท้ายได้พยายามใช้ข้อมูลที่ปรากฏอยู่แล้วในที่สาธารณะ ทั้งเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารในห้องสมุดรัฐสภา หรือเอกสารในหนังสือพิมพ์ต่างๆ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ฝ่ายขวาที่จะรายงานการกระทำของเจ้าหน้าที่โดยละเอียด ไทเรลได้แนะนำในการหาเอกสารเพื่อศึกษาประเด็นเหล่านี้ เช่น เอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย และเอกสารประกอบการทำกฎหมาย ควรไปค้นเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ส่งไปที่หอจดหมายเหตุ หรือค้นคำพิพากษาของศาล และหนังสืองานศพ โดยข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ที่ร่วมในเหตุการณ์ต่างๆ บางครั้งก็ยังภูมิใจอยู่ในการกระทำ ก็อาจจะมีการเขียนถึงในหนังสือ รวมทั้งหนังสือบันทึกเล่าเรื่องชีวิตของข้าราชการ หรือบันทึกประชุมของสภา ไทเรลสรุปว่าข้อมูลที่อยู่ในที่สาธารณะก็มีความสำคัญในอีกแง่หนึ่ง คือเป็นข้อมูลที่กำลังรอนักประวัติศาสตร์หรือนักคิดจะมารวบรวม โดยบทบาทของนักประวัติศาสตร์ควรจะเป็นการรวบรวมและบันทึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้สังคมลืม
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/35540
2011-06-19 18:49
จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 5
หมายเหตุ - เมื่อเวลา 17.36 น. วันนี้ (19 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนบทความ \จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 5\" โดยเขียนติดต่อกันเป็นตอนที่ 5 และได้เผยแพร่ลงในแฟนเพจ \"Abhisit Vejjajiva\" ของตน โดยชี้ว่า \"ดีแต่พูด\" เป็นวาทกรรมที่ฝ่ายตรงข้ามสร้างขึ้น โดยอภิสิทธิ์กล่าวหาว่าเกิดจากการให้คนเสื้อแดงไปชูป้ายที่งานวันแรงงานที่องค์กรเอกชนจัดขึ้น เพื่อให้ ส.ส.เพื่อไทยเอาไปขยายผล อย่างไรก็ตามการชูป้ายในงานดังกล่าวไม่ใช่วันแรงงาน แต่เป็นการจัดงานเนื่องในวันสตรีสากล โดยจัดล่วงหน้าวันจริงคือวันที่ 6 มีนาคม และคนที่ชูป้ายคือ น.ส.จิตรา คชเดช แกนนำคนงานผลิตชุดชั้นใน Try Arm ที่ถูกบริษัทบอดี้ แฟชั่น ผู้ผลิตสินค้าไทรอัมพ์เลิกจ้างและฟ้อง น.ส.จิตรา และแกนนำสหภาพหลายคดี นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังยืนยันว่าที่ผ่านมานโยบายหลายด้านที่เขาประกาศสามารถทำได้จริงหลายเรื่อง ขณะที่นายอภิสิทธิ์ยังย้อนถามว่า ถ้าดีแต่พูด แปลว่า พูดแล้วทำไม่ได้ จะถือว่าโครงการ Elite Card ค้าปลีกเข้มแข็ง วัวล้านตัว เข้าข่ายไหม เหมือนกับเรื่องจะขึ้นค่าแรง 300 บาท โดยไม่สนว่าธุรกิจจะอยู่ได้ไหม หรือจะใช้เงินซื้อคอมพิวเตอร์แจกเด็กคนละเครื่องโดยไม่ขึ้นภาษี ไม่กู้เพิ่ม นายอภิสิทธิ์ทิ้งท้ายในบทความด้วยว่า \"และถ้าหากว่า ดีแต่พูด แปลว่า พูดแล้วไม่ทำ ใครล่ะที่หลอกพี่น้องเสื้อแดงว่า ให้มาชุมนุมเยอะ ๆ เสียงปืนดังขึ้นเมื่อไหร่จะมายืนแถวหน้า แต่กลับไปช้อปปิ้งอยู่ปารีส แต่ก็มีหลายคนที่ผมเสียดายว่า ไม่ดีแต่พูด แต่ทำจริง พวกที่ประกาศล่วงหน้าให้มา “เผา” ไงครับ\" สำหรับบทความทั้งหมดมีดังนี้ 000 จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 5 by Abhisit Vejjajiva on Sunday
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/39023
2012-01-31 22:15
ถ้าจะไม่ล้มระบบบัตรทอง รมว.วิทยา ต้องตอบสังคม 8 เรื่อง
แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบทฉบับที่ 3 ถ้าจะไม่ล้มระบบบัตรทอง รมว.วิทยา ต้องตอบสังคม 8 เรื่อง ตามที่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เครือข่ายผู้ป่วยและชมรมแพทย์ชนบทได้เปิดโปงแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสี่ขั้นตอน ของกลุ่มแพทย์พาณิชย์ ที่กลัวว่าระบบ สปสช.จะทำให้เสียราคา กลุ่มผู้บริหารบางคนของกระทรวงสาธารณสุขที่กลัวการสูญเสียอำนาจของตน กลุ่มบริษัทยาข้ามชาติที่หวังผูกขาดราคายาและกลุ่มการเมืองในกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งแสวงหาประโยชน์ระยะสั้นจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และต่อมานายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุขได้ชี้แจงกับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 27 มกราคมนี้ว่า ฝ่ายการเมืองไม่มีนโยบายหรือแผนที่จะล้มระบบบัตรทองมีแต่จะพัฒนาให้ประชาชนได้ประโยชน์มากขึ้น ถ้าคำชี้แจงดังกล่าวเป็นความจริงใจที่ต้องการสานต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจริง รมว.วิทยา ต้องตอบคำถามสังคมในสิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบ สปสช. ในขณะนี้ดังนี้ 1. รมว.วิทยาจะดำเนินการอย่างไรกับกรณี นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ผู้แทนสมาคม รพ.เอกชนในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชุดปัจจุบัน ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชุดที่แล้วมีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ถอดถอนเพราะมีความพฤติเสื่อมเสียตามมาตรา 16 (6) พรบ.ประกันสุขภาพแห่งชาติ พศ.2545 เพราะใช้อำนาจหน้าที่ออกหนังสือชักชวนให้ รพ.ในสังกัดสมาคมรพ.เอกชนไม่ให้เข้าร่วมบริการผู้ป่วยไตวายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพราะทำให้เสียราคาที่ระบบสวัสดิการข้าราชการให้ไว้สูงกว่า 2. รมว.วิทยาจะอธิบายสังคมได้อย่างไรกรณีการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนการสรรหาและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำเนินการโดยมิชอบตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ 2545 และผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวไม่มีประวัติหรือผลงานเชี่ยวชาญตามที่กฎหมายกำหนด อาทิเช่น 2.1 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ กรรมการผู้จัดการบริษัทเดคคอร์มาร์ท จำกัด นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เครือแสนสิริและบอร์ดการบินไทย(โควตาพรรคเพื่อไทย??) ไม่มีประวัติหรือผลงานที่เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยต่างจากผู้ทรงคุณวุฒิเดิม คือ ภญ.สำลี ใจดี ประธานกรรมการมูลนิธิการแพทย์แผนไทยและนักวิชาการด้านแพทย์แผนไทย 2.2 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ทางเลือก นพ.พินิจ หิรัญโชค อดีตผู้อำนวยการ รพ.นครปฐมและหุ้นส่วนเจ้าของ รพ.สนามจันทร์ ไม่มีประวัติและผลงานที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ทางเลือกต่างจากผู้ทรงคุณวุฒิเดิมคือ นพ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนจีนและแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์ 2.3 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคม นอ.นพ.อิทธิพร คณะเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ รพ.ภูมิพล และที่ปรึกษากรรมมาธิการหลายคณะใน สส.และสว. ไม่มีประวัติและผลงานที่เกี่ยวข้องกับสังคม ต่างจากผู้ทรงคุณวุฒิเดิมคือ นพ.ยุทธ โพธารามิก เลขาธิการมูลนิธิ พอ.สว. 3. รมว.วิทยาจะอธิบายสังคมได้อย่างไรกรณีทำผิดมติคณะกก.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ตนเองเป็นผู้เสนอให้ นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์และปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้สรรหาอนุกรรมการชุดต่างๆ โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้สรรหาจะต้องไม่เป็นอนุกรรมการเสียเอง แต่กลับใช้อำนาจกลับมติมอบให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานคณะอนุกรรมการที่สำคัญถึงสองคณะ 4. รมว.วิทยาจะอธิบายสังคมได้อย่างไรกรณีแต่งตั้งให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานคณะอนุกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ และประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการของ สปสช. รวมทั้งแต่งตั้งผู้บริหารจำนวนมากของกระทรวงสาธารณสุขเป็นอนุกรรมการทั้งสองคณะเป็นการทำผิดเจตนารมณ์ของพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พศ.2545 ที่ต้องแยก สปสช. ในฐานะตัวแทนผู้ซื้อบริการออกจากกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นผู้ดูแลหน่วยบริการ เป็นการถอยหลังเข้าคลอง และทำให้สิทธิประโยชน์ของประชาชนถูกจำกัดเหมือนในอดีต 5. รมว.วิทยาจะอธิบายสังคมได้อย่างไร กรณีกำหนดให้อธิบดีและผู้บริหารจำนวนมากของกรมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเป็นประธานและอนุกรรมการด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ของสปสช. รวมทั้งให้อธิบดีและผู้บริหารจำนวนมากของกรมควบคุมโรคเป็นประธานและอนุกรรมการพัฒนาและ บริการผู้เชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ของ สปสช. เป็นรูปธรรมของการต้องการดึงการบริหารงบประมาณของกองทุนการแพทย์แผนไทยและกองทุนเอดส์กลับเข้าสู่กระทรวงสาธารณสุข 6. รมว.วิทยาจะอธิบายสังคมได้อย่างไรกรณีจะเก็บ 30 บาทกับผู้ป่วยแล้วคุณภาพการให้บริการจะดีขึ้น เพราะการเก็บ 30 บาทจะได้เงินเพิ่มเติมเพียง 2,000 ล้านบาทหรือเพียงร้อยละ1.5 ของงบเหมาจ่ายรายหัวปีละ 1,200,000 ล้านบาท และคุณภาพการให้บริการขึ้นอยู่กับการลงทุนระยะยาวรวมทั้งการแก้ปัญหากำลังคนด้านสาธารณสุขที่ขาดแคลนจากการไหลเข้าสู่ตัวเมืองและหน่วยบริการเอกชน 7. รมว.วิทยาจะอธิบายสังคมได้อย่างไร กรณีที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขมาตรา41 พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ 2545 เพื่อขยายเอาเงินกองทุน สปสช.ซึ่งมีอยู่จำกัดและได้รับจัดสรรต่ำกว่ากองทุนอื่นอยู่แล้วไปชดเชยความเสียหายให้กับผู้ป่วยในระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการและ รพ.เอกชน โดยรพ.เอกชนไม่ต้องร่วมรับผิดชอบจ่ายสมทบเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดจาการทำธุรกิจค้ากำไรทางการแพทย์ของตน 8. รมว.วิทยาจะรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรที่ปล่อยให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ร่วมกับภาคประชาชนภายใต้การสนับสนุนของ พตท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พรรคไทยรักไทย ได้เริ่มต้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา10 ปี จนเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกประเทศ จะต้องถดถอยและล่มสลายในที่สุดจากกลุ่มแพทย์พาณิชย์ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคตั้งแต่ต้น และจากกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ กลุ่มผู้บริหารเก่าของกระทรวงสาธารณสุขรวมทั้งกลุ่มการเมืองนายทุนพรรค
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/56015
2014-10-15 18:24
'กฤษฎีกา' ตอบสำนักเลขานายกฯ ชี้ประกาศ คสช.เป็นกฎหมาย-คำสั่งบริหาร
วิษณุหารือกฤษฎีกาถึงคำสั่งคสช.หลายฉบับ กฤษฎีกาชี้บ้างเทียบเท่ากฎหมาย บ้างเทียบเท่าคำสั่งทางบริหาร รวมทั้งประกาศ 26/2557 การดูแลและสอดส่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ กระทบเสรีภาพประชาชน 'จึงมีสถานะเป็นกฎหมาย' 15 ต.ค.2557 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เผยแพร่ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา [1] กรณีสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขอหารือเกี่ยวกับสถานะของประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บางฉบับว่าเป็นกฎหมายหรือไม่ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า ประกาศหรือคำสั่งที่เป็นกฎหมายใหม่ หรือที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายที่มีอยู่เดิม หรือมีผลเป็นการยกเว้น เปลี่ยนแปลง หรือระงับใช้กฎหมาย หรือสร้างกลไกขึ้นมาคู่ขนานกับกลไกที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย เป็นกฎหมาย ส่วนประกาศหรือคำสั่งที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่ทั้งชุด เป็นคำสั่งทางบริหาร ทั้งนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา มีข้อสังเกตด้วยว่า คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามคำสั่ง คสช. จำนวนมาก ได้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ใน คสช.เป็นกรรมการบ้าง ให้ปลัดกระทรวงเป็นกรรมการแทนที่รัฐมนตรีบ้าง ซึ่งอาจจำเป็นในระหว่างที่ยังไม่มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี แต่ขณะนี้มีคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จึงควรต้องรีบเร่งพิจารณาคำสั่งแต่ละฉบับว่าจะยังให้คงอยู่ต่อไป หรือสมควรจะปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้ามารับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช.หรือปลัดกระทรวงต่อไป มิฉะนั้นจะเกิดความสับสนในการปฏิบัติหน้าที่ได้   เรื่องเสร็จที่ ๙๕๓/๒๕๕๗ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง  สถานะของประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ                 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๔๐๑.๖/๓๓๕๕ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๗ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า ตามที่ได้มีประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับกำหนดมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบหรืออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายและตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีมาใช้บังคับ เช่น ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ นั้น รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้มีคำสั่งให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวมีสถานะเป็นกฎหมายหรือไม่ และหากจะมีการแก้ไของค์ประกอบ รายชื่อ หรืออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวเพื่อกลับไปสู่หลักการตามกฎหมายเดิมจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า มาตรา ๔๗[๑] ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ บัญญัติให้ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่ว่าประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่รัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีทั้งที่มีฐานะเป็นกฎหมาย (ซึ่งรวมถึงรัฐธรรมนูญด้วย) และที่มีฐานะเป็นกฎ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่ง การจะทราบว่าประกาศหรือคำสั่งใดมีฐานะอย่างใด จำเป็นต้องตรวจสอบสาระสำคัญของประกาศหรือคำสั่งแต่ละฉบับ เป็นกรณีๆ ไป จากการตรวจสอบประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา นับแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ พบว่า ปัจจุบันมีประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มิใช่เป็นเรื่องภายในของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นการเฉพาะ และยังคงมีผลใช้บังคับอยู่และมีการกำหนดเกี่ยวกับองค์ประกอบหรืออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ จำนวน ๔๘ ฉบับ โดยสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท ดังนี้ ๑. ประเภทที่เป็นกฎหมาย สามารถแบ่งได้เป็น ๓ กรณี ดังนี้ ๑.๑ กรณีที่เป็นประกาศหรือคำสั่งที่เป็นกฎหมายใหม่ มีจำนวน ๓ ฉบับ ทั้งนี้ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ ๑๑.๒ กรณีที่เป็นประกาศหรือคำสั่งที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายที่มีอยู่เดิม มีจำนวน ๕ ฉบับ  ทั้งนี้ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ ๒๑.๓ กรณีที่เป็นประกาศหรือคำสั่งที่ไม่ได้แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมาย ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่มีผลเป็นการยกเว้น เปลี่ยนแปลง หรือระงับใช้กฎหมาย หรือเป็นการสร้างกลไกขึ้นมาคู่ขนานกับกลไกที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีประสงค์จะใช้เป็นการชั่วคราว มีจำนวน ๙ ฉบับ  ทั้งนี้ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ ๓ ๒. ประเภทที่เป็นประกาศหรือคำสั่งทางบริหาร มีจำนวน ๓๑ ฉบับ  ทั้งนี้ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ ๔ ในการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว หากประกาศหรือคำสั่งใด มีฐานะเป็นกฎหมาย การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกย่อมต้องทำเป็นร่างพระราชบัญญัติเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป  ส่วนประกาศหรือคำสั่งใดมีฐานะเป็นคำสั่งทางบริหาร การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกย่อมต้องทำโดยคำสั่งทางบริหารหรือโดยมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี (นายดิสทัต  โหตระกิตย์)รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตุลาคม ๒๕๕๗  เอกสารแนบ ๑กรณีที่เป็นประกาศหรือคำสั่งที่เป็นกฎหมายใหม่                 ๑. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๖/๒๕๕๗ เรื่อง การดูแลและสอดส่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เนื่องจากในข้อ ๒ ของประกาศฉบับนี้ได้กำหนดให้คณะทำงานด้านสื่อสังคมออนไลน์ มีอำนาจระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ ทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง และคลิปเสียง ที่ฝ่าฝืนได้ อันเป็นอำนาจที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งโดยปกติต้องออกเป็นกฎหมาย ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๒. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗ เรื่อง ผู้รักษาการประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และการขออนุมัติโครงการใหม่ หรือการทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาทของรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๘/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เนื่องจากในข้อ ๒ ของประกาศฉบับนี้ได้กำหนดให้ในกรณีที่ตำแหน่งประธานกรรมการของรัฐวิสาหกิจใดว่างลง นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หากยังไม่มีการแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นใหม่ ให้รองประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจดังกล่าว เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งประธานกรรมการ อันเป็นการกำหนดกลไกขึ้นใหม่เพื่อใช้บังคับกับกฎหมายของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งโดยปกติต้องออกเป็นกฎหมาย ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๓. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคล เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เนื่องจากในข้อ ๑ ของคำสั่งฉบับนี้ได้กำหนดให้คณะทำงานปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคล อันเป็นอำนาจที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งโดยปกติต้องออกเป็นกฎหมาย คำสั่งฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย                  เอกสารแนบ ๒กรณีที่เป็นประกาศหรือคำสั่งที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายที่มีอยู่เดิม                 ๑. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗ เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๖/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๑/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เนื่องจากประกาศฉบับนี้มีบทบัญญัติให้ยกเลิกบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งการที่จะยกเลิกกฎหมายได้ จะต้องมีฐานะเป็นกฎหมายที่ไม่ต่ำศักดิ์กว่ากัน ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๒. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๒/๒๕๕๗ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ เนื่องจากประกาศฉบับนี้มีบทบัญญัติให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยปกติต้องออกเป็นกฎหมาย ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๓. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เนื่องจากประกาศฉบับนี้มีบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย โดยปกติต้องออกเป็นกฎหมาย ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๔. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๘/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เนื่องจากประกาศฉบับนี้มีบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมายโดยปกติต้องออกเป็นกฎหมาย ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๕. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๙/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เนื่องจากประกาศฉบับนี้มีบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยปกติต้องออกเป็นกฎหมาย ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย                  เอกสารแนบ ๓ กรณีที่เป็นประกาศหรือคำสั่งที่ไม่ได้แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่มีผลเป็นการยกเว้น เปลี่ยนแปลง หรือระงับใช้กฎหมาย หรือเป็นการสร้างกลไกขึ้นมาคู่ขนานกับกลไกที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย                  ๑. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๕/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ แม้ประกาศฉบับนี้จะไม่มีบทบัญญัติให้ยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย แต่ผลของบทบัญญัติต่างๆ ทำให้บทบัญญัติในกฎหมายที่มีอยู่ต้องระงับการใช้บังคับ เช่น ในข้อ ๑ ของประกาศฉบับนี้ กำหนดให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น อันมีผลให้บทบัญญัติดังกล่าวในกฎหมายไม่สามารถใช้บังคับได้ ซึ่งโดยปกติบทบัญญัติที่มีผลให้กฎหมายใช้บังคับไม่ได้ ย่อมต้องมีฐานะไม่ต่ำศักดิ์กว่ากฎหมาย ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๒. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๖/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ประกาศฉบับนี้มีสาระและฐานะเช่นเดียวกับประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๕/๒๕๕๗ฯ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ ๑ ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๓. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๕/๒๕๕๗ เรื่อง การให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ประกาศฉบับนี้มีผลทำให้บทบัญญัติในกฎหมายที่มีอยู่ใช้บังคับไม่ได้ เช่น ในข้อ ๓ ของประกาศฉบับนี้ กำหนดยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการสรรหาตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาใช้บังคับกับการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามประกาศนี้ อันมีผลให้บทบัญญัติดังกล่าวในกฎหมายไม่สามารถใช้บังคับได้ ซึ่งโดยปกติบทบัญญัติที่มีผลให้กฎหมายใช้บังคับไม่ได้ย่อมต้องมีฐานะไม่ต่ำศักดิ์กว่ากฎหมาย ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๔. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ประกาศฉบับนี้มีผลทำให้บทบัญญัติในกฎหมายที่มีอยู่ใช้บังคับไม่ได้ เช่น ในข้อ ๒ ของประกาศฉบับนี้ กำหนดยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ มาใช้บังคับกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่แต่งตั้งตามประกาศนี้ อันมีผลให้บทบัญญัติดังกล่าวในกฎหมายไม่สามารถใช้บังคับได้ ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมายด้วยเหตุผลเดียวกับกรณีที่กล่าวข้างต้น อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) มีข้อสังเกตว่า แม้ประกาศฉบับนี้ จะกำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศนี้ มีวาระอยู่ในตำแหน่งตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าต้องการให้มีผลเป็นการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นการชั่วคราว แต่การกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศฉบับนี้อาจเกิดปัญหาในอนาคตหากบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการโดยชื่อต้องพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ จะมีผลให้ไม่สามารถตั้งผู้อื่นแทนได้ ๕. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๗/๒๕๕๗ เรื่อง ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสิ้นสุดลง ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ประกาศฉบับนี้มีผลทำให้บทบัญญัติในกฎหมายที่มีอยู่ใช้บังคับไม่ได้ เช่น ในข้อ ๒ ของประกาศนี้กำหนดว่า กรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องใด ให้บทบัญญัติว่าด้วยส่วนดังกล่าวเป็นอันงดใช้บังคับ อันมีผลให้บทบัญญัติดังกล่าวในกฎหมายถูกระงับไป ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๖. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒๐/๒๕๕๗ เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ และแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ ประกาศฉบับนี้มีผลทำให้บทบัญญัติในกฎหมายที่มีอยู่ใช้บังคับไม่ได้ เช่น ในข้อ ๓ (๒) ของประกาศนี้กำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓ อันมีผลให้บทบัญญัติดังกล่าวในกฎหมายถูกระงับไป ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๗. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๔/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ เนื่องจากคำสั่งฉบับนี้กำหนดให้คณะกรรมการตามคำสั่งนี้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงานอันเป็นอำนาจที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งโดยปกติต้องออกเป็นกฎหมาย ประกอบกับมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ มีองค์ประกอบแตกต่างจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยไม่ได้ยกเลิกคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติฯ จึงมีลักษณะเป็นการสร้างกลไกขึ้นมาคู่ขนานกับกลไกที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย คำสั่งฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๘. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ เนื่องจากคำสั่งฉบับนี้กำหนดให้คณะกรรมการตามคำสั่งนี้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดราคาและอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อันเป็นอำนาจที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งโดยปกติต้องออกเป็นกฎหมาย ประกอบกับมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ มีองค์ประกอบแตกต่างจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานตามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ ๔/๒๕๔๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๕ โดยไม่ได้ยกเลิกคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานตามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ ๔/๒๕๔๕ฯ จึงมีลักษณะเป็นการสร้างกลไกขึ้นมาคู่ขนานกับกลไกที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย คำสั่งฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย ๙. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ เนื่องจากคำสั่งฉบับนี้กำหนดให้คณะกรรมการตามคำสั่งนี้มีอำนาจหน้าที่ในการยกเว้นค่าธรรมเนียมและพิจารณาอนุมัติคำขอรับการส่งเสริมและช่วยเหลือ ซึ่งจะกระทำได้ก็แต่โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ มีองค์ประกอบแตกต่างจากคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยไม่ได้ยกเลิกคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานฯ จึงมีผลให้คณะกรรมการทั้งสองชุดเกิดขึ้นและดำรงอยู่คู่ขนานกัน จึงมีลักษณะเป็นการสร้างกลไกขึ้นมาคู่ขนานกับกลไกที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย คำสั่งฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นกฎหมาย อนึ่ง ประกาศและคำสั่งในลำดับที่ ๔ ลำดับที่ ๖ ลำดับที่ ๗ ลำดับที่ ๘ และลำดับที่ ๙ ได้เปลี่ยนแปลงหรือสร้างโครงสร้างของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องขึ้นใหม่ให้ผิดไปจากที่เป็นอยู่ตามปกติ โดยกำหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรี และผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือปลัดกระทรวงเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการแทนรัฐมนตรี ซึ่งบัดนี้มีรัฐธรรมนูญใช้บังคับแล้ว และมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว จะสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเข้ารับผิดชอบแทนผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือไม่  นอกจากนั้น ประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวมีบางฉบับก่อให้เกิดคณะกรรมการคู่ขนานกันจนไม่ทราบได้ว่าคณะกรรมการชุดใดจะรับผิดชอบหรือมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แท้จริง หากประกาศหรือคำสั่งเหล่านี้ยังมีผลใช้บังคับต่อไป จะเกิดปัญหาอย่างรุนแรงในทางปฏิบัติได้ จึงสมควรยกเลิกประกาศหรือคำสั่งเหล่านี้โดยเร็ว และหากต้องการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร ก็สมควรดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องแทนต่อไป                  เอกสารแนบ ๔ประเภทที่เป็นประกาศหรือคำสั่งทางบริหาร                ๑. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ประกอบกับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๖/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เนื่องจากอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามประกาศฉบับนี้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และไม่มีอำนาจหน้าที่ใดกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นคำสั่งทางบริหาร ๒. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๒/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เนื่องจากเป็นประกาศที่เพียงแต่แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศฉบับนี้จึงมีฐานะเป็นคำสั่งทางบริหาร ๓. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๔. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๗/๒๕๕๗ เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการต่างๆ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๕. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๗/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๔/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ เพิ่มเติม ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ ๖. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๑/๒๕๕๗ เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๗. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๒/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๙/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๘. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๓/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๙. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๔/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๑๐. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๑๑. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๑๒. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๑/๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ ๑๓. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๘/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๑๔. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๑๕. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๑/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๑๖. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๑๗. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๑/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จังหวัด ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๑๘. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๑๙. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗                 ๒๐. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๗/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายอาหาร ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๒๑. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๒๒. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๒/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ๒๓. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ ๒๔. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ ๒๕. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๘/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ ๒๖. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๙/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองงานด้านกฎหมาย ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๗ ๒๗. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๗๒/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๗๘/๒๕๕๗ เรื่อง เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๒๘. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๗๓/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๒๙. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๗๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๓๐. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๗๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำบัญชีข้าวคงเหลือของรัฐ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๓๑. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๗๗/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ บรรดาคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่แต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ในลำดับที่ ๓ ถึงลำดับที่ ๓๑ ข้างต้นเป็นการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมิได้มีการกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ใดที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แม้บางคำสั่งจะมีการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีอยู่เดิม แต่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวก็มีฐานะเป็นเพียงคำสั่งทางบริหารอย่างหนึ่งเท่านั้น (เช่น คำสั่งในลำดับที่ ๑๒) คำสั่งเหล่านี้จึงมีฐานะเป็นคำสั่งทางบริหาร การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกอาจทำได้โดยคำสั่งทางบริหารของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณีสำหรับคำสั่งในลำดับที่ ๒๐ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) มีความเห็นว่า แม้ว่าในคำสั่งจะกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิด แต่อย่างไรก็ดี อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามคำสั่งฉบับนี้ เป็นเพียงการกำหนดนโยบายและมาตรการในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อให้องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนำไปดำเนินการต่อไปเท่านั้น โดยคณะกรรมการตามคำสั่งฉบับนี้มิได้เป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) มีข้อสังเกตว่า คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นจำนวนมาก ได้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นกรรมการบ้าง ให้ปลัดกระทรวงเป็นกรรมการแทนที่รัฐมนตรีบ้าง ซึ่งอาจจำเป็นในระหว่างที่ยังไม่มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี  บัดนี้ มีคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จึงเป็นการสมควรที่จะต้องรีบเร่งพิจารณาคำสั่งแต่ละฉบับว่าจะยังให้คงอยู่ต่อไป หรือสมควรจะปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้ามารับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือปลัดกระทรวงต่อไป มิฉะนั้นจะเกิดความสับสนในการปฏิบัติหน้าที่ได้                    ส่งพร้อมหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๙๐๔/๔๕๙ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี[๑] มาตรา ๔๗  บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าจะกระทำก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และให้ประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่งใด ที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๔ ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้ง ให้บุคคลนั้นดำรงตำแหน่งนั้นหรือทรงให้บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งนั้นด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63544
2016-01-18 12:05
สมเด็จช่วงสั่งองค์กรพุทธ ถอนแจ้งความคนโพสต์หมิ่น
สมเด็จวัดปากน้ำสั่งองค์กรพุทธ ถอนแจ้งความผู้ที่ทำภาพ-ข้อความหมิ่นประมาท ระบุ “อย่าไปทำอะไรเขาเลย” ด้าน “วิษณุ” รอรวมข้อมูล-ศึกษาข้อเท็จจริงก่อน แจงไม่เคยพูดว่าหากยังขัดแย้งจะไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ 18 ม.ค. 2559 ไทยรัฐออนไลน์ [1]รายงานว่า กระบวนการเสนอชื่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ขึ้นทูลเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ยังคงเป็นที่จับตามองท่าทีของรัฐบาลว่า จะมีการนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯเมื่อใด โดยล่าสุด นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้สอบถามมายังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมในวันที่ 18 ม.ค.นี้ ขณะที่ทั้งฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายค้านยังคงออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 17 ม.ค. หลังได้รับการเปิดเผยจากนายชยพล พงษ์สีดา รอง ผอ.พศ.ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามกรณีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 ว่ายังไม่ทราบว่าในวันที่ 18 ม.ค.นี้ทางนายสุวพันธุ์ต้องการข้อมูลในส่วนใดบ้าง แต่คาดว่าคงจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนของการเสนอชื่อ ซึ่งทางสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ มีข้อมูลพร้อม เพราะการดำเนินการต่างๆ นั้นทางคณะสงฆ์จะยึดหลักตามพระธรรมวินัย กฎหมายและจารีตประเพณี ซึ่งในการเสนอชื่อสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อทูลเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 ก็ดำเนินการตามขั้นตอนในลักษณะเดียวกัน คือมหาเถรสมาคม (มส.) เสนอชื่อไปยังรัฐบาลเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ขณะเดียวกันการให้สัมภาษณ์ของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันชัดเจนว่าการเสนอชื่อต้องมาจากมหาเถรสมาคมเสนอชื่อมายังรัฐบาลและในวันที่ 19 ม.ค.นี้ ทางคณะกรรมการติดตามกรณีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 จะประชุมกันเพื่อติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ อีกครั้ง นายชยพลกล่าวด้วยว่า ช่วงที่ผ่านมาทางสำนัก งานพระพุทธศาสนาฯ ได้รวบรวมข้อมูลคำกล่าวหาต่างๆ รวมทั้งภาพที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ เพื่อหาทางดำเนินการทางกฎหมายเนื่องจากการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายหมิ่นประมาทและเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ม.14 (1) (2) ฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน แต่เมื่อนำข้อมูลต่างๆเข้าหารือกับสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เพื่อให้ท่านมอบอำนาจให้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาฯไปดำเนินการทางกฎหมาย ท่านก็แจ้งมาว่า “ไม่เป็นอะไร ไม่ต้องไปทำอะไรเขาหรอก” ขณะเดียวกัน สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ยังให้องค์กรทางพระพุทธศาสนาบางแห่งที่ไปแจ้งความเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวไว้แล้วให้ถอนแจ้งความด้วย ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงขั้นตอนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 หลังนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับหนังสือจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เรื่องมติกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ที่เสนอเห็นชอบสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ส่งถึงรัฐบาลเพื่อนำความกราบ บังคมทูลฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แล้วว่า ขณะนี้เรื่องยังมาไม่ถึงตน นายสุวพันธุ์แค่โทร.มาแจ้งให้ทราบว่าได้รับมติ มส.แล้ว ขอศึกษาข้อเท็จจริง ขนบธรรมเนียมประเพณีก่อน เพื่อรวบรวมข้อมูลทุกด้าน รวมถึงเรื่องที่มีการทักท้วงมา ซึ่งคงจำเป็น จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือทีละหน่วย หากความเห็นไม่ตรงกัน คงต้องเรียกทั้งหมดมาหารือพร้อมกัน นายวิษณุกล่าวอีกว่า เรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ไม่ได้เป็นห่วงอะไร ส่วนตนหลังจากได้รับเรื่องแล้วต้องระวังคำพูดมากขึ้น เพราะพูดอะไรขึ้นมา จะเกิดการแปล ขึ้นมาทันที เหมือนที่ก่อนนี้พูดอะไรไป บางสื่อว่าตนแทงกั๊ก แต่ถ้าการแทงกั๊กแปลว่าเป็นกลาง ตนก็ยอมแทงกั๊ก ซึ่งตนไปพูดอย่างอื่นไม่ได้ เพราะอยู่ในตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบ ถ้าไม่ยึดกฎหมายไว้ ตนตายแน่ มันจำเป็น แบบนี้มั้งที่เขาเรียกว่า “เนติบริกร” นายวิษณุกล่าวด้วยว่า สำคัญสุด ตนไม่เคยพูดว่าหากยังขัดแย้งจะไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ พูดเพียงว่าถ้าแค่ต่อต้านคัดค้านนั้นไม่เป็นไร ไม่สนใจ แต่อย่าถึงขั้นแตกแยกนำไปสู่ความรุนแรงหรือเกิดการฟ้องร้อง แบบนั้นไม่ได้ อย่าว่าแต่ตำแหน่งพระสังฆราชเลย ตำแหน่งอื่นก็เช่นกัน ตอนที่เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก็เคยเจอสถานการณ์แบบนี้มา 20-30 รายแล้ว ที่มันมีขัดแย้ง จนนำไปสู่ความรุนแรง เกิดการฟ้องร้อง กล่าวหากัน และมีปัจจัยอื่นอีกที่รัฐบาลอาจไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ตนขอไม่บอก เมื่อถามว่า ต้องมีการหารือกับ มส.หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นความจำเป็น เพราะ มส.ได้ส่งมติมาแล้ว ถือว่าท่านจบภารกิจแล้ว หากมีอะไรเพิ่มเติมจะให้ พศ.ไปคุยต่อให้ หรือวันหนึ่งอาจจำเป็นต้องคุยกับ มส.ก็ได้ แต่เป็นการคุยแบบส่วนตัว ส่วนนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายชยพล พงษ์สีดา รอง ผอ.พศ.ระบุว่า ได้เตรียมประชุมร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ว่า ไม่ได้เป็นการประชุมอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด เป็นเพียงการหารือเพื่อสอบถามรายละเอียดในส่วนที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งทาง ผอ.พศ.ต้องไปราชการต่างประเทศในวันที่ 18 ม.ค. จึงมีการพูดคุยกันไปแล้วรอบหนึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยให้สำนักงานพระพุทธศาสนาไปรวบรวมเรื่องความเห็นทางข้อกฎหมาย หนังสือแสดงความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆ ข้อมูลเกี่ยวข้องที่ปรากฏตามสื่อและอื่นๆ ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวยังได้รับการเปิดเผยจาก นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ถึงกรณีที่ขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ก่อนการเลือกพระสังฆราชองค์ต่อไป ว่าตนไม่ได้ไปยื่นฟ้องคัดค้านการแต่งตั้งสมเด็จช่วงเป็นพระสังฆราชองค์ต่อไป เพียงแต่ขอให้ดีเอสไอเข้ามาตรวจสอบในคดีรถหรูจดประกอบ ที่มีชื่อของสมเด็จช่วงเข้ามาพัวพัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเกิดความสงบก่อนที่จะมีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช แต่ไม่ได้มายื่นเพราะเป็นช่วงที่กำลังจะมีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ คดีดังกล่าวเกิดขึ้นมานานยังค้างคา มีข้อครหาเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หากคดียุติจะทำให้ทุกอย่างโปร่งใสและสิ้นกระแสข้อสงสัยของสังคม จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะสมเด็จช่วงเอง ถ้าตรวจสอบแล้วไม่ผิดก็เป็นเรื่องที่ดีจะได้ไม่มีปัญหาตอนแต่งตั้ง แต่ถ้าผิดก็ว่ากันตามกระบวนการของกฎหมาย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/4195
2005-05-31 00:16
ระบุธุรกิจแฝงยึดคลื่นวิทยุชุมชนภาคเหนือ
ศูนย์ข่าวภาคเหนือ-30 พ.ค.48 "ขณะนี้ มีกลุ่มที่เข้ามาทำวิทยุชุมชนโดยวิชาชีพจริงๆ ประมาณ 60% แต่ก็ยังมีกลุ่มที่เข้าแสวงหาผลประโยชน์แอบแฝง เข้ามายึดคลื่นสถานีเพื่อธุรกิจ หรือเพื่อกลุ่มของตนเองประมาณ 40% ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนาความรู้ว่า ทำอย่างไรถึงจะให้ประชาชนสามารถใช้สื่อเพื่อทำให้สังคมเกิดความเข้มแข็งและมีความสุขอย่างแท้จริง" ดร.จิราพร วิทยศักดิ์พันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว ที่ห้องวีระวรรณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือจับมือร่วมกันระดมพลังสู้กลุ่มทุนที่แฝงเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ สร้างอิทธิพลชื่อเสียง ชี้ต้องกู้วิกฤติศรัทธากลับคืนมาให้ได้ โดยเน้นผลประโยชน์ต้องตกอยู่ที่คนในชุมชน ดร.จิราพร กล่าวว่า วิทยุชุมชน ในความหมายที่แท้จริงก็คือ การสื่อสารทางคลื่นวิทยุที่ต้องเอาประชาชนเป็นตัวตั้ง เพื่อให้ประชาชนสามารถได้ใช้สื่อเพื่อสังคมที่เข้มแข็งและเป็นสังคมที่มีความ สุขและจะต้องสนใจในเรื่องสิทธิชุมชน และสิทธิมนุษยชนด้วย ไม่ใช่เพื่อเข้ามาแสวงหาผลกำไรและสร้างชื่อเสียงสร้างอิทธิพลให้กับตัวเอง ด้านนายบัณรส บัวคลี่ ศูนย์ข่าวผู้จัดการภาคเหนือกล่าวว่า ตอนนี้ถือว่าเป็นเรื่องวิกฤติศรัทธาของวิทยุชุมชน เพราะปัญหาอยู่ที่คนในสังคมส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่ากรอบของวิทยุชุมชนนั้นอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้น ทำอย่างไรจึงจะให้คนในชุมชนที่รับฟังวิทยุชุมชนได้รับประโยชน์มากที่สุด ในรายงานมีการสำรวจพบว่า ผู้ที่เข้ามาทำวิทยุชุมชนในเขตภาคเหนือ มีทั้งหมดอยู่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่ยึดปรัชญาของวิทยุชุมชนอย่างแท้จริงโดยไม่ได้หวังผลประโยชน์ส่วนตัว กลุ่มคนที่อยู่ในวงการวิทยุท้องถิ่น ซึ่งถูกบีบจากสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจของท้องถิ่นจากกระแสทุนส่วนกลาง ทำให้ต้องดิ้นรนหาทางมาที่วิทยุชุมชน และกลุ่มสุดท้ายที่สำคัญและน่าจับตามองก็คือ กลุ่มทุนที่เข้ามาเพื่อแสวงหากำไรหาผลประโยชน์ เพื่อสร้างอิทธิพล ชื่อเสียงให้ตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักธุรกิจ นักการเมืองท้องถิ่น และนักการเมืองระดับชาติ ในขณะที่นายภานุเมศ ตันรักษา รายการร่วมด้วยช่วยกัน ได้พูดเรื่องวิทยุชุมชนที่กำลังเป็นปัญหาในขณะนี้ว่า ปัญหาวิทยุชุมชนที่เกิดขึ้นก็คือ เราดำเนินการโดยที่ยังไม่มีความพร้อม โดยที่ยังไม่มีกฎหมายลูกมารองรับ ผลก็คือ เกิดปัญหาในเรื่องการควบคุมสื่อ "อย่างเฉพาะในเขตพื้นที่ อ.เมือง เชียงใหม่มีผู้เข้ามาจดทะเบียนที่เป็นทางการอยู่ทั้งหมด 52 คลื่นสถานี แต่พบว่า มีอีกกว่า 30 คลื่นสถานีที่ไม่ได้มีการจดทะเบียน จนทำให้เกิดปัญหาคลื่นแทรกรบกวนสถานีข้างเคียงกันมากในขณะนี้" นายภานุเมศ กล่าว ด้านนายพิพัฒน์ ชนะสงคราม นักจัดการวิทยุชุมชนกล่าวว่า มาตรา 40 ก็ระบุอยู่แล้วว่า สื่อต้องมีเสรีภาพ คลื่นโทรคมนาคมจะต้องเป็นของสาธารณชนและต้องมีกฎหมายลูกมารองรับ แต่ก็ยังไม่เกิด ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อต้องการให้ชุมชนเข้ามาบริหารสื่อและสนอง ตอบคนในชุมชน "แต่ที่น่าเศร้าใจก็คือ วิทยุชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำตามเจตนารมณ์นี้เลยจะเห็นว่า 80% ของคลื่นวิทยุชุมชนจะเปิดเพลงตอบสนองค่ายเทปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งทำให้ค่ายเทปได้ผลประโยชน์โดยไม่ต้องใช้งบในการโฆษณาเลย" นายพิพัฒน์ กล่าว ทั้งนี้ ข้อมูลจำนวนวิทยุชุมชนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่า ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนประมาณ 195-200 ราย และทางสถานีตรวจสอบการใช้ความถี่วิทยุเชียงใหม่ ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน แจ้งว่า ตั้งแต่กลางปี 2547 จนถึงปัจจุบันได้รับการร้องเรียนของประชาชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 40 เรื่อง โดยมีประเด็นปัญหาหลักคือ วิทยุชุมชนรบกวนข่ายการสื่อสารโทรคม นาคมและวิทยุชุมชนรบกวนวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ อีกทั้งจากการตรวจสอบปัญหาด้านเทคนิคพบว่า มีปัญหาสำคัญหลายด้านเช่น เครื่องส่งไม่ปรากฏยี่ห้อหรือรุ่น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำเองในประเทศ มีจำนวนถึง 60 เครื่อง องอาจ เดชา
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/7672
2006-03-09 21:50
แถลงการณ์จากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)
9 มีนาคม 2549   แถลงการณ์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เรื่องจรรยาบรรณและจุดยืนสื่อสารมวลชนต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง   ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลรักษาการและนายกรัฐมนตรีที่หมดความชอบธรรม 1.    ต้องยุติการใช้สื่อของรัฐเพื่อโฆษณาชวนเชื่อตามแนวคิดของผู้นำรัฐบาล 2.    ต้องยุติการใช้สื่อของรัฐเพื่อหาเสียงให้กับพรรคไทยรักไทย 3.    ต้องยุติการใช้สื่อของรัฐเพื่อบิดเบือนข้อมูลข่าวสารและสร้างช่องว่างแห่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในสังคม   ข้อเรียกร้องต่อสื่อของรัฐ (สถานีโทรทัศน์ 5 ช่อง และวิทยุ 524 สถานี) 1.     ขอให้สื่อในเครือกองทัพทั้งหมด นำเสนอข่าวสารอย่างเป็นอิสระ มีจรรยาบรรณของวิชาชีพ ให้ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชนอย่างรอบด้าน ลดเลิกการเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาลรักษาการและพรรคไทยรักไทย อีกทั้งเปิดพื้นที่ให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประชาสังคมอื่นๆ ได้สื่อสารความจริงและความคิดเห็นต่อประชาชนอย่างเสมอภาค ถ้าคิดว่าปัจจุบันนี้เป็นความขัดแย้งของสองกลุ่มคนในเชิงสัญลักษณ์ รวมทั้งความคิดเห็นของกลุ่มอื่นๆ ที่แตกต่าง 2.     ขอให้สื่อในเครือของบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นสื่อที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง เพื่อสร้างสังคมอุดมปัญญา ไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาลเผด็จการรัฐสภาและกลุ่มทุนผูกขาด 3.     สำหรับสื่อในเครือกรมประชาสัมพันธ์ ถ้าไม่สามารถทำหน้าที่อย่างเป็นกลางได้ ก็ต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงและให้ร้ายฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐบาลรักษาการ   ข้อเรียกร้องพิเศษต่อสถานีโทรทัศน์ไอทีวีซึ่งเป็นสถานีเอกชนที่มีเจตนารมณ์จากเหตุการณ์พฤษภา 2535       ปัจจุบันนี้ สถานีโทรทัศน์ไอทีวีทำหน้าที่ไม่แตกต่างจากกรมประชาสัมพันธ์ในอดีต อีกทั้งข้อครหาเรื่องการตกเป็นสื่อของต่างชาติแล้ว ทำให้ไอทีวีต้องพิสูจน์ตนเองอย่างหนัก ด้วยการรักษามาตรฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อและปกป้องสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในสังคมไทย ในวันนี้ถึงเวลาแล้วที่ไอทีวีต้องเลือกข้างแสดงจุดยืนว่าจะยืนอยู่ข้างรัฐบาลรักษาการที่หมดความชอบธรรมหรือจะยืนอยู่ข้างพลังอิสระของภาคประชาชน       ถ้าไอทีวีเลือกข้างรัฐบาลรักษาการ ก็ควรประกาศต่อสาธารณะทุกต้นชั่วโมง ผ่านสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงจุดยืนที่แท้จริงและไม่ต้องมีความคาดหวังอีกต่อไป       ทั้งนี้ คปส.ขอแสดงความชื่นชมสื่อหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ สถานีโทรทัศน์เนชั่นชาแนล สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี เคเบิ้ลทีวีในต่างจังหวัด เครือข่ายวิทยุชุมชน และนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนทุกแขนง ในการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ เข้มแข็ง เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงและความคิดเห็นรอบด้าน เพื่อเปิดหู เปิดตาประชาชน ด้วยความตระหนักว่าสิทธิเสรีภาพสื่อคือเสรีภาพของประชาชน ส่วนสถานีอื่นเช่น ช่อง 5 7 9 ขอเป็นกำลังใจให้พิสูจน์จุดยืนของตนเองต่อไป ถ้าอยู่ข้างประชาชนก็เชื่อว่าประชาชนจะสนับสนุนและนำไปสู่การปฏิรูปสื่อในที่สุด       สุดท้าย คปส. และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขอเป็นกำลังใจให้นักวิชาชีพสื่อทุกคน ทุกสำนักข่าวยืนหยัดในการทำหน้าที่อย่างมีอิสระตามจรรยาบรรณ เคียงข้างพลังบริสุทธิ์ของประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสันติวิธี ธำรงไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพ เพื่อสืบสานเจตนารมณ์ประชาธิปไตยให้งอกงามยิ่งขึ้นไป   9 มีนาคม 2549                      อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม 2516
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/59448
2015-05-24 13:45
ร่างกาย ความรู้สึก และสุขภาพ
การขยายตัวของกิจกรรมการออกกำลังกายทวีขึ้นมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้ตลาดของเครื่องมือในการออกกำลังกายขยายตัวอย่างกว้างขวาง (รวมจักรยานด้วย)  ประโยคเด็ดของบรรดาคุณหมอทั้งหลายหลังจากตรวจโรคของคนไข้เสร็จแล้ว ก็คือ “ออกกำลังให้มากขึ้นนะ”  นักศึกษาแพทย์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าหลังจากเธอได้ฟังประโยคเด็ดเช่นนี้ของอาจารย์หมอในห้องตรวจแล้ว  เธอเกิดความงงงวย จึงถามอาจารย์หมอว่าโรคที่คนไข้เป็นนั้นมันเกี่ยวอะไรกับการออกกำลังกาย  อาจารย์หมอท่านหัวเราะแล้วก็บอกว่าไม่เกี่ยวหรอก แต่ไม่เป็นไร การออกกำลังกายเป็นเรื่องดีที่ทุกคนควรทำ  (ฮา) กิจกรรมการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ หากแต่เป็นกระบวนการทางสังคมที่สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในหลายมิติและหลายด้านด้วยกัน    ที่สำคัญได้แก่ การขยายตัวของความรู้ทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine) และผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความหมายและความสำคัญของ “ร่างกาย” (body)   รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความหมายของความรู้สึกต่อโลกภายนอกร่างกายด้วย ความรู้ด้านเวชศาสตร์ป้องกันเริ่มต้นในระบบการศึกษาแพทย์ศาสตร์ของสังคมไทยประมาณต้นทศวรรษ ๒๕๐๐ แต่ในช่วงแรกนั้นไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก  สังคมการแพทย์ไทยยังเน้นอยู่ที่การรักษาโรคที่เป็นแล้วให้คนไข้หายจากโรค  จนกระทั่งราวทศวรรษ ๒๕๒๐ จึงได้เริ่มเกิดกระแสการสร้างความรู้ในด้านเวชศาสตร์ป้องกันขึ้นมาใน 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่การเพิ่มความหมายหรือความสำคัญให้แก่การเรียนรู้ด้านเวชศาสตร์ป้องกันในสถาบันการศึกษาทางการแพทย์   และการส่งเสริมให้เกิดความรู้ทางการแพทย์เชิงป้องกันให้แก่ประชาชนทั่วไป การให้ความสำคัญมากขึ้นแก่ความรู้ด้านเวชศาสตร์ป้องกันนั้นเห็นได้ชัดจากการขยายตัวของการเรียนการสอนในด้านนี้ของสถาบันการศึกษาทางแพทย์ศาสตร์  ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑  ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  มีแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันเพียงสองท่าน และพยาบาลอีกหนึ่งท่าน  จนปลายทศวรรษ ๒๕๑๐ จึงได้ตึกทำงานใหม่ และจำนวนบุคลากรเพิ่มมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนสถานะขององค์กรจาก “หน่วยวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน” มาเป็น “ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม”  จากนั้นการเรียนการสอนด้านเวชศาสตร์ป้องกันก็ได้เริ่มขยายตัวไปยังคณะแพทย์ศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัย และถูกจัดให้เป็นยุทธศาสตร์สาธารณสุขสำคัญในปัจจุบัน ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มแพทย์ที่สนใจในปัญหาของสังคมนำโดยนายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว และนายแพทย์ประเวศ วะสี ก็ได้สร้างนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญมาก ได้แก่  การสร้างวารสาร “หมอชาวบ้าน” ขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งต่อมาเมื่อได้รับความสำเร็จก็ได้จัดตั้งมูลนิธิ “หมอชาวบ้าน” ซึ่งหลักการสำคัญที่สุดของการทำงานกลุ่มนี้ ได้แก่  การส่งเสริมให้คนทั่วไปมีศักยภาพในการดูแลตนเองและคนใกล้ชิดด้วยการเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขไปสู่สังคม การแพทย์ในเชิง “ป้องกันไว้ก่อน” ที่ขยายตัวอย่างมากและกว้างขวางในช่วง 30-40 ปีมานี้ (ปีนี้เป็นปีครบรอบ ๓๖ ปี ของวารสารหมอชาวบ้าน)  ในด้านหนึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะสามารถคืนการตัดสินใจในการจัดการดูแลสุขภาพและการรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่ไม่ร้ายแรงของตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้แก่คนทั่วไปได้มากกว่าเดิมมาก  รวมทั้งช่วยให้เกิดความตระหนักที่กว้างขวางขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เครื่องสำอาง  สารเคมีต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฯลฯ ที่ปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว ความรู้ด้านเวชศาสตร์ป้องกันมีพัฒนาการที่สำคัญ จากในช่วงแรกที่เผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ไปสู่ผู้อ่านเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาพและการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการปัญหาโรคภัยไข้เจ็บหรือการเข้ารับการรักษาพยาบาลอย่างมีความรู้และความเข้าใจ  เมื่อถึงทศวรรษ ๒๕๓๐ โดยประมาณก็เริ่มเกิดการสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจชุดใหม่เกี่ยวกับสมุนไพรไทยและการบริโภคอาหารที่มีค่าในการสร้างสมดุลของร่างกาย ความรู้ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาและได้รับการเผยแพร่อย่างต่อเนื่องนี้ได้ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการผลิตหรือการสร้างความคิดว่าการกินผักอะไรหรือผลไม้อะไรจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคนั้นโรคนี้ขึ้น  ดังที่จะเห็นได้ถึงการประกาศสรรพคุณในการป้องกันโรคของพืชผักอาหารสารพัดอย่างในช่วงปัจจุบัน แม้ว่าความรู้เชิงป้องกันนี้มีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมไทย  แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้เกิดผลกระทบในด้านที่ “หมอชาวบ้าน” หรือผู้ทำงานด้านเวชศาสตร์ป้องกันไม่ได้คาดคิดเอาไว้ตามมาผลกระทบที่ไม่คาดคิดหรือคิดไปไม่ถึง ก็คือ การปลดปล่อยคนทั่วไปไม่ให้ต้องติดอยู่กับหมอและโรงพยาบาลด้วยการเพิ่มศักยภาพให้ปัจเจกชนแสวงหาหนทางดูแลตนเองนั้น   กลับทำให้เกิดการดูแลตนเองอย่างไร้ฐานความรู้ การคิดไตร่ตรอง และความเข้าใจที่แท้จริง ในยุคที่คนในวัยหนุ่มสาวให้ความสำคัญแก่ “ร่างกาย” มากขึ้น ในขณะที่คนสูงวัยมีอายุยืนขึ้นและต้องการมีชีวิตในวัยชราที่ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ พร้อมๆ กับการโฆษณาเพื่อขายบริการทางสุขภาพและอาหารเสริมที่ขยายตัวจนดาษดื่นไปหมดทั้งในสื่อเก่าและสื่อใหม่ที่แบ่งแยกเพศและวัยของกลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียดเพื่อสร้างจุดขายให้แก่สินค้าแต่ละประเภท เช่น  เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงามสำหรับของหญิงวัยรุ่น หญิงวัย 30-40 ปี หญิงวัยเกษียณ ชายวัยรุ่น ชายวัยทำงาน ฯลฯ การขยายตัวของการดูแลตนเองอย่างไร้ความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงเห็นได้ชัดเจนจากการบริโภคอาหารเสริมทางเคมีชีวะที่เพิ่มมากขึ้น เพราะท่ามกลางการทำงานในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เข้มข้นมากขึ้น การใช้ชีวิตกลางคืนมากขึ้น รวมทั้งชีวิตประจำวันที่ต้องบริโภคอาหารสำเร็จรูปนานาชนิดที่ไม่เพียงแต่จะด้อยคุณค่าทางโภชนาการเท่านั้นแต่ยังอาจเป็นพิษต่อร่างกายในระยะยาวอีกด้วย คนจำนวนมากจึงหันเข้าหาการป้องกันโรคอย่างมักง่ายด้วยการซื้ออาหารเสริมหรือสร้าง “อาหารเสริมวิเศษ” ขึ้นมาใช้ด้วยตนเอง  เช่น ไข่แช่น้ำส้ม เห็ดหูหนูดำต้มกับขิงและพุทราจีน ฯลฯ พร้อมกันนั้นการป้องกันตนเองก็ขยับขยายออกไปสู่การสร้าง “นิยาย”  เกี่ยวกับการบริโภคพืชผักผลไม้นานาชนิด (จนน่าจะครอบคลุมทุกพันธุ์พืชในเมืองไทยแล้ว อาจจะยังเหลือเปลือกไม้ฉำฉากระมัง  (ฮา )  ต้องบอกก่อนนะครับว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดนี้ ไม่ใช่ความผิดของกลุ่มแพทย์ที่ทำงานส่งเสริมให้สังคมมีความรู้ด้านเวชศาสตร์ป้องกันแต่อย่างใด  หากแต่เป็นเพราะคนในสังคมไทยเองต่างหากที่ได้เลือกการตัดสินใจเองในลักษณะที่ไม่มีฐานความรู้และความเข้าใจเพียงพอ  คำถามที่ต้องตอบให้ได้ก็คือ  ทำไมคนจำนวนมากในสังคมไทยจึงเชื่อในเรื่องเหล่านี้ ความรู้เรื่องเวชศาสตร์ป้องกันดำรงอยู่ในสังคมที่คนจำนวนมากรู้สึกว่าตนเองอยู่ในภาวะ “ความเสี่ยงสูง” ต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ สภาวะ “ความเสี่ยงสูง “ เกิดขึ้นในส่วนของอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าจะเป็นความเสี่ยงจริงๆ ในชีวิตคน   เช่น  ผู้ที่เข้าไปตรวจหาโรคมะเร็งที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติร้อยละ 90 ไม่ได้เป็นมะเร็ง หากแต่เข้าไปตรวจเพราะว่ารู้สึกกลัวว่าจะเป็น ซึ่งความกลัวนี้ก็เกิดขึ้นเพราะความรู้สึกถึงสภาวะ “ความเสี่ยงสูง” นั่นเอง สภาวะทางอารมณ์ความรู้สึกถึง “ความเสี่ยง” ที่ตนเองจะมีโอกาสเป็นโน่นเป็นนี่  จึงทำให้แม้ไปปรึกษาแพทย์มาแล้วและพบว่าตนเองไม่ได้ป่วยเป็นโรคอะไรทั้งสิ้น แต่ก็ยังกังวลอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หากเพื่อนบอกข้อมูลหรือไปอ่านพบในอินเตอร์เน็ตว่ากินพืชผักอะไรแล้วจะป้องกันโรคได้หรือกินอาหารเสริมอะไรแล้วจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น คนกลุ่มนี้ก็จะเชื่อ (อาจไม่เชื่อทั้งหมดแต่ก็ “อย่าลบหลู่ “) และร่วมสร้างกระแสการบริโภคพืชผักหรืออาหารเสริมชนิดนั้นทันที ซึ่งสื่อใหม่ต่างๆ หรือโลกออนไลน์ก็มักมีส่วนสำคัญในการทำให้ “กระแส” นิยมพืชผักสมุนไพรบางตัวกระจายออกไปรวดเร็วราวกับไฟไหม้ฟาง ผลต่อเนื่องจากการขยายตัวของการป้องกันตนเองในลักษณะดังกล่าวนี้ เมื่อประกอบกับเกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านระบอบอารมณ์ความรู้สึกนึกของผู้คนในสังคม รวมทั้งการให้ความสำคัญแก่ “ร่างกาย” มากขึ้น   ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของเวชศาสตร์ป้องกันอีกด้านหนึ่ง นั่นคือ การออกกำลังกายที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว กระบวนการที่ผู้คนรู้สึกว่าตนเองกำลังเผชิญอยู่กับ “ความเสี่ยง” ต่างๆ นานา  พร้อมกับการถูกสร้างให้ “เสรี” ในการตัดสินใจเรื่องสุขภาพมากขึ้นจากความรู้ในด้านเวชศาสตร์ป้องกันที่ได้รับรู้มาในอดีต ในด้านหนึ่งทำให้เกิดการขยายตัวของการสรรหาสิ่งต่างๆ มาบริโภคบนความเชื่อว่ากินแล้วดีต่อสุขภาพดังได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งทำให้ธุรกิจอาหารเสริม พืชผักผลไม้ที่ปิดป้าย “สมุนไพร” เติบโตอย่างรวดเร็ว   แต่ในอีกด้านหนึ่ง กระบวนการแสวงหาทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับการป้องกัน “ความเสี่ยง”  ก็ทำให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย จนเกิดความนิยมในการออกกำลังกายหลากหลายประเภท ซึ่งทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการออกกำลังกายขยายตัว รวมทั้งธุรกิจประเภท “ฟิตเนส” และธุรกิจโฆษณาสินค้าสำหรับออกกำลังกาย   การปลดปล่อยการจัดการสุขภาพของตนเองจากกรอบของแพทย์ศาสตร์แบบรักษา (Curative medicine) มาสู่การเพิ่มพูนศักยภาพของปัจเจกชนในการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพของตนเองนี้มีความสำคัญมาก  เพราะเป็นพื้นฐานของการทำให้ผู้คนรู้สึกว่าสามารถจะป้องกัน “ความเสี่ยง” ได้ด้วยตนเอง  ยิ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงความหมายและความสำคัญของ “ร่างกาย” ก็ยิ่งทำให้เกิดความต้องการที่จะทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงแบบสวยงามด้วยกล้ามเนื้อ โดยปราศจากไขมันพอกพูนในส่วนต่างๆ ของร่างกาย  มิใช่แข็งแรงแบบที่ร่างกายปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เท่านั้น การเปลี่ยนแปลงความหมายและการให้ความสำคัญแก่ร่างกายมากขึ้น ปรากฏอย่างชัดเจนและเข้มข้นมากขึ้นในสังคมไทยราวต้นทศวรรษ ๒๕๔๐ เพราะการขยายตัวของอุตสาหกรรมภาคบริการต่างๆ ได้ทำให้ผู้คนเล็งเห็นว่าร่างกายเป็น “ทุน” ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในชั้นต้นความพอดีของสัดส่วนร่างกายทำให้เกิดโอกาสในการทำมาหากินหรือการประกอบธุรกิจต่างๆ มากขึ้น ในชั้นต่อมา ความพอเหมาะหรือความสมส่วนก็กลายเป็นการวัดระดับของ “ชนชั้น” ว่าเป็นผู้มีการลงทุนในร่างกายได้มากหรือไม่ ชั้นที่ลึกที่สุดแล้ว ความสำนึกเชิงปัจเจกชนที่เข้มข้นมากขึ้นทำให้ผู้คนรู้สึกถึงการเป็น “เจ้าของ” ร่างกายของตนเองแต่เพียงผู้เดียว สามารถใช้ร่างกายของตนไปในทางใดๆ ก็ได้ การให้ความสำคัญต่อ “ร่าง-กาย” จึงเชื่อมต่อเข้ากับการดูแลสุขภาพเพื่อให้ “ร่าง-กาย” พ้นจาก “ความเสี่ยง” และอยู่กับเจ้าของให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้  พร้อมๆ กับการทำให้ร่างกายสวยงามเพื่อจะมีเสน่ห์ในสายตาคนอื่น ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วก็จะนำเอาความสำเร็จมาสู่เจ้าของเรือนร่าง การขยายตัวของการออกกำลังจึงเพิ่มมากขึ้น สถาน “ ฟิตเนส” ต่างๆ ในเขตเมืองขยายตัวรองรับชนชั้นกลางที่มีเงินที่พร้อมจะเป็นสมาชิกรายละหลายหมื่นบาทต่อปี  ในเขตชานเมืองหรือชนบทหน่อยก็จะมีการรวมกลุ่มกันเต้นแอโรบิค  พร้อมกันนั้น  ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิด “ชนชั้นกลาง” เพิ่มมากขึ้นและเริ่มกลายเป็นชนชั้นกลางหลายระดับในทุกพื้นที่ทั้งในเขตเมืองและชนบท ก็ยิ่งทำให้การออกกำลังกายขยายตัวตามไปด้วย กล่าวได้ว่าการขยายตัวของการออกกำลังกายที่รองรับความเปลี่ยนแปลงของการให้ความหมายและความสำคัญใหม่แก่ร่างกายเช่นนี้ได้ทวีความซับซ้อนมากขึ้น  เพราะลำดับชั้นทางสังคมได้ทำให้เกิดความจำเป็นในการสร้างกิจกรรมการออกกำลังกายที่แตกต่างกันออกไป  เมื่อเครื่องมือการออกกำลังกายแบบเดียวกับที่มีอยู่ในสถานฟิตเนสนั้น ปรากฏอยู่ทั่วไปตามสวนสาธารณะหรือตามพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  กลุ่มชนชั้นกลางที่มีเงินในเขตเมืองหรือกลุ่มชนชั้นกลางปัญญาชนก็ต้องแสวงหากิจกรรมการออกกำลังกายรูปแบบใหม่ และพาหันมาสู่มีการสร้างกิจกรรมที่มี “คลาส” มากกว่า เช่น ลีลาศ โยคะ เป็นต้น (ธุรกิจการออกกำลังกายจึงเป็นธุรกิจที่มีอนาคตแต่ก็ต้องตระหนักว่าจะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับความรู้สึกนึกคิดของผู้คนนะครับ) การออกกำลังด้วยการขี่จักรยานในช่วงหลังมานี้จึงผสมผสานไปกับการแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการครอบครองจักรยานคุณภาพสูง ราคาแพง และชุดแต่งตัวแบรนด์เนมที่ทำให้ร่างกายดูดี  จักรยานแม่บ้านที่ใช้ปั่นไปโน่นมานี่ในชีวิตประจำวันจึงถูกเบียดขับออกไป ไม่สามารถที่จะนำออกมาถีบเพื่อออกกำลังกายได้ ทั้งๆ ที่จะได้ออกกำลังในการถีบมากกว่า  ค่ายมวยไทยก็มองเห็นช่องทางในการทำกำไรจากเรื่องนี้เช่นกัน ค่ายมวยหลายแห่งจึงพยายามขยับตนเองออกมาสู่การเป็นสถานฝึกมวยที่ดูดีเฉกเช่นเดียวกับสถานฝึกเทควันโด เป็นต้น พร้อมกันไปกับการขยายตัวของกิจกรรมการออกกำลังกายที่มีความหลากหลายมากขึ้น  เวชศาสตร์ป้องกันก็ได้ทำให้ความอ้วนกลายมาเป็น “โรคอ้วน” ซึ่งยิ่งทำให้ความหมายของ “ร่างกาย” ที่เน้นความพอดี/สมส่วนทวีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย   จากการเผยแพร่ชุดความรู้แพทย์ศาสตร์ด้านการป้องกันโรค เมื่อประกอบเข้ากับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ปัจเจกชนสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจโดยอาศัยปัจเจกลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อร่างกายที่ดูดีมีส่วนสำคัญในการสร้างความประทับใจและอำนาจต่อรอง ก็ยิ่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการให้ความหมายและความสำคัญต่อร่างกายมากขึ้นกว่าเดิมมาก  และกระบวนการทางสังคมที่เกิดขึ้นนี้ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงความรู้สึกต่อโลกภายนอกร่างกายการเกิดความหลากหลายของกิจกรรมการออกกำลังกายบนพื้นฐานของความหมายและความสำคัญของร่างกายกำลังทำให้สภาวะของสังคมแยกย่อย (fragmented society) ปรากฏชัดเจนมากขึ้น โลกภายนอกถูกตีความและมีความหมายแก่คนแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน โลกที่หมุนอยู่ในวิถีความรู้สึกของนักปั่นจักรยานย่อมแตกต่างไปจากผู้ที่เล่นโยคะในสถานที่สงบเงียบ ความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมดถูกจัดเรียงให้สื่อสารกันได้เฉพาะกลุ่มมากขึ้น การออกกำลังกายก่อให้เกิดสภาวะ “เสพติด” ลักษณะหนึ่ง  การออกกำลังกายกลุ่มก็ก่อให้เกิดสภาวะ “ติดกลุ่ม” แบบหนึ่ง ความสามารถเอาชนะ “ร่างกาย” ของตนเองได้ในกิจกรรมรวมหมู่ยิ่งทำให้เกิดสภาวะของการบรรลุจุดสูงสุดของสำนึกเชิงปัจเจกชนมากขึ้น  “สุขภาพ” ที่ดีขึ้นย่อมมีความหมายทางสังคมที่แตกต่างไปจากสุขภาพที่ดีอย่างที่เราเข้าใจกัน    ซึ่งน่าสนใจอย่างมากว่ากระบวนการที่เกิดการขยายตัวของกลุ่มในลักษณะนี้จะนำไปสู่อะไรในอนาคต สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปในทุกมิติ ไม่ใช่เพียงแค่ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อย่างที่เข้าใจกัน หากแต่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่ลึกลงไปในระบบของอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่มีผลต่อความสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทยอย่างลึกซึ้ง  เราจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งศึกษาหรือสร้างความรู้ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์กันให้มากขึ้น เพื่อจะรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่อย่างไรก็จะมาถึงเราอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม การเลือกที่จะทำหรือไม่ทำอะไรและอย่างไรบนฐานความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและรอบด้าน ย่อมเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อน ทั้งเพื่อลด “ความเสี่ยง” ในชีวิตจริงและลด “ความเสี่ยง” ในจินตนาการของเราให้เหลือน้อยที่สุด มิฉะนั้นเราจะอยู่ในโลกอย่างมีความสุขได้ยาก
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/15750
2008-02-13 22:11
ปาฐกถา เสกสรรค์ ประเสริฐกุล - "ถ่วงดุลด้านมืดยุคโลกาภิวัตน์ โดยกอบกู้สติสัมปชัญญะของผู้ตกเป็นเหยื่อ"
เสมสิกขาลัย จัดงาน ปาฐกถา เสม พริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ณ เรือนร้อยฉนำ คลองสาน กรุงเทพ ภายในงานดังกล่าว มีการแสดงปาฐกถาเรื่อง "พุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์" โดย "เสกสรรค์ ประเสริฐกุล" พูดถึงผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ หรือ ระบบทุนนิยมโลกที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม มนุษย์กับโลกทางกายภาพ และระหว่างมนุษย์กับตัวเอง   นอกจากนี้ มีการอ้างถึง "พุทธธรรม" ว่าคืออะไร และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมและภายในจิตใจของปัจเจกบุคคลได้อย่างไร รวมถึงความเกี่ยวโยงสัมพันธ์ระหว่างพุทธธรรมและโลกาภิวัตน์ เพราะทั้งรัฐและรัฐบาลคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับที่ระบอบการเมืองการปกครอง ไม่ว่าเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็แก้ไขไม่ได้ เพราะโครงสร้างทั้งหมด ตลอดจนผู้คนที่เ่กี่ยวข้องต่างๆ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้แก้ไขปัญหาในระดับจิตใจและจิตวิญญาณ   ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องถ่วงดุลด้านมืดของยุคโลกาภิวัตน์ โดยการกอบกู้สติสัมปชัญญะของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ ในระดับบุคคลและการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยอาจารย์เสกสรรค์ ได้ให้ความเห็นว่า ต้องพึ่งพาอาศัย "พุทธธรรม" ในการแก้ไขปัญหา เพราะพุทธธรรมคือคำสอนที่พุ่งเป้าไปสู่การปลดปล่อยบุคคลออกจากการครอบงำตัวเองเป็นสำคัญ   000     ภาพจาก เว็บไซต์เสมสิกขาลัย [1]     "ทุนนิยมโลกาภิวัตน์ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันกระทบต่อชะตากรรมของมนุษย์อยู่ 3 ประการ ได้แก่ หนึ่ง การเสื่อมสลายของรูปแบบการใช้อำนาจแบบรัฐชาติ และความกลวงเปล่าของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน, สอง การเสื่อมสลายของสิ่งที่เรียกว่า "วัฒนธรรมแห่งชาติ" ตลอดจนจารีตประเพณีหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคของการค้าเสรี และ สาม การยึดครองช่องว่างทางจิตใจ และจิตวิญญาณของมนุษยชาติในขอบเขตทั่วโลก"     "กราบเรียนอาจารย์สุลักษณ์ ศิวลักษณ์ที่เคารพยิ่ง เรียนมิตรสหายที่รักและท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน วันนี้ผมรู้สึกภูมิใจและดีใจเป็นอันมากที่ได้มาสนทนากับท่านทั้งหลาย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มชนที่มีสติปัญญา และเป็นผู้อยู่ในวิหารธรรมและเป็นกำลังฝ่ายสร้างสรรค์ของสังคม ผมรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายได้รับเกียรติ ดังนั้นจึงต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้โอกาส   หัวข้อที่เราจะพูดคุยกันในวันนี้เป็นหัวข้อที่ผมเลือกเองและตั้งชื่อเอง และท่านทั้งหลายคงจะสังเกตเห็นว่าผมใช้คำ "พุทธธรรม" แทนที่จะเป็น "พุทธศาสนา" ตรงนี้ขออธิบายว่า แท้จริงแล้วความหมายของทั้งสองอย่างคาบเกี่ยวกันอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่ที่เลือกใ้ืช้คำว่า "พุทธธรรม" ก็เพราะไม่ต้องการแตะต้องศาสนาที่เป็นทางการ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความยากลำบากขึ้นในชีวิตโดยไม่จำเป็น ถ้าเอ่ยถึงศาสนา เราจะพบว่า มักมีผู้ถือสิทธิเป็นเจ้าของ แต่ถ้ากล่าวถึงหลักพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า อันเป็นสัจธรรมสากล ที่ไม่ขึ้นต่อลักษณะชาติหรืออำนาจรัฐใดๆ ในทางผูกขาด ทำความเข้าใจ หรือการหวงแหนกรรมสิทธิ์ คงเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องขออนุญาตชี้แจงเสียตั้งแต่แรกว่าผมเลือกหัวข้อนี้ด้วยใจศรัทธา และไม่ใช่เพราะถือตนว่าเชี่ยวชาญทางธรรมแต่อย่างใด หากจะมีความรู้อยู่บ้างก็ค่อนไปในทางทฤษฎี อีกทั้งยังเป็นความรู้ในระดับงูๆ ปลาๆ จุดมุ่งหมายในการพูดมีเพียงอยากสนับสนุนให้นำพุทธธรรมมาเป็นองค์ความรู้ในการลดทอนความทุกข์หรือดับทุกข์ให้มนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งผมอนุมานไว้แล้วตั้งแต่ต้นว่าท่านทั้งหลายคงคิดอ่านไปในแนวเดียวกัน   ดังนั้น ผมจึงอยากจะเตือนผู้ฟังไว้ล่วงหน้าว่าผู้พูดมีความรู้จำกัด และอาจจะผิดพลาดได้ นอกจากนี้ ที่พูดทั้งหมดคงต้องถือว่าเป็นแค่ทัศนะส่วนตัว   หัวข้อที่ตั้งไว้ ทำให้มีคำถามใหญ่ 3 ประการที่เกี่ยวข้องกันคือ หนึ่ง พุทธธรรมคืออะไร สอง โลกาภิวัตน์คืออะไร และ สาม พุทธธรรมสัมพันธ์กับยุคโลกาภิวัตน์อย่างไร   ในการสนทนาวันนี้ ผมคงจะแสดงความเห็นรอบๆ สามคำถามดังกล่าว แต่เพื่อไม่ให้เป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน และเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดของตัวเอง ผมคงไม่ก้าวล่วงไปพูดถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามากนัก จะขอกล่าวโดยสั้นๆ ว่า ตามความเข้าใจของผม พุทธธรรมคือความจริงอันดำรงอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบ และนำมาสั่งสอนผู้คนในยุคสมัยของท่าน ภายหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพานไปแล้ว คำสอนเหล่านี้จึงได้รับการบันทึกไว้และสืบทอดโดยสาวกรุ่นต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน   ประการต่อมา พุทธธรรมมีจุดเน้นอยู่ที่ความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ โดยมุ่งทำความเข้าใจกับความทุกข์ เหตุที่มาแห่งทุกข์ การดับไปแห่งทุกข์ และหนทางแห่งการดับทุกข์ สุดท้าย พุทธธรรมเป็นการสำรวจชีวิตจากด้านใน โดยถือว่าจิตเป็นต้นทางของปัญหา ดังนั้น กระบวนการแก้ปัญหาจึงเน้นที่การชำระจิตให้สะอาด หรือการข้ามพ้นจิตที่ปรุงแต่งและยึดถือในตัวตน ไปสู่จิตที่บริุสุทธิ์อันมีธรรมชาติเป็นความว่าง ผมกล่าวถึงฐานะและภาพรวมของพุทธธรรมไว้แค่นี้ ก็เพื่อจะใช้เป็นฐานคิดส่งต่อไปสู่การพิจารณายุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งดูจะมีอะไรหลายอย่างที่สวนทางกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่เปิดพื้นที่ให้กับการเผยแผ่พุทธธรรมอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากโลกาภิวัตน์เป็นปรากฎการณ์หลายมิติ เป็นทั้งตัวก่อปัญหาใหม่ๆ และเป็นตัวเปิดโอกาสในการแก้ปัญหาเก่าๆ อยู่ในเวลาเดียวกัน   ถามว่า "โลกาภิวัตน์คืออะไร" ตอบอย่างกว้างสุดก็คงต้องบอกว่าเป็นยุคสมัยที่โลกถูกย่อส่วนให้เล็กลงและหมุนเร็วขึ้นด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร มนุษย์จากทั่วทุกมุมโลกสามารถติดต่อกันได้ รับรู้ความเป็นไปของกันและกันได้ โดยก้าวข้ามทั้งพื้นที่และกาลเวลาในลักษณะที่อัศจรรย์ยิ่ง แน่นอน พูดแค่นี้คงไม่พอ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพลังขับเคลื่อนใหญ่โตที่สุดของกระแสโลกาภิวัตน์คือระบบทุนนิยมโลก ซึ่งมีลักษณะข้ามชาติ และระหว่างประเทศ และมีพลังส่งผลกระทบใหญ่หลวงที่สุดต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม ระหว่างมนุษย์กับโลกทางกายภาพ และระหว่างมนุษย์กับตัวเอง พูดให้ชัดขึ้นก็คือทุนนิยมโลกาภิวัตน์ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ อันกระทบต่อชะตากรรมของมนุษย์อยู่ 3 ประการ ซึ่งเกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ออก   ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้แก่ หนึ่ง การเสื่อมสลายของรูปแบบการใช้อำนาจแบบรัฐชาติ และความกลวงเปล่าของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน สอง การเสื่อมสลายของสิ่งที่เรียกว่า "วัฒนธรรมแห่งชาติ" ตลอดจนจารีตประเพณีหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคของการค้าเสรี สาม การยึดครองช่องว่างทางจิตใจ และจิตวิญญาณของมนุษยชาติในขอบเขตทั่วโลก ด้วยชีวทัศน์วัตถุนิยม บริโภคนิยม และปัจเจกชนนิยมแบบไร้ความรับผิดชอบ   กล่าวสำหรับความเสื่อมทรุดของรัฐชาติและระบอบประชาธิปไตยที่เน้นแต่การเลือกตั้งนั้น อาจจะไม่ใช่ประเด็นใหญ่สำหรับการพูดคุยในวันนี้ แต่็ก็มีความเกี่ยวข้องกันอยู่ในระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น ผมจะขอพูดเพียงกว้างๆ ว่า ระบบทุนโลกาภิวัตน์มีส่วนอย่างยิ่งในการจำกัดอำนาจของรัฐชาติ ไม่ให้ดูแลประชาชนที่ประกอบขึ้นเป็นชาติได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งนี้ โดยการยกเลิกพรมแดนด้านการค้า การลงทุน ลบบทบาทของรัฐในการกระจายความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ปล่อยให้ทุนข้ามชาติเข้ามาหาผลประโยชน์ได้อย่างเสรี ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ   ด้วยเหตุนี้ นับวันระบบเศรษฐกิจแบบไร้พรมแดนจึงยิ่งทำให้ข้ออ้างความชอบธรรมของรัฐ ในฐานะผู้ปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติ ไม่มีความจริงรองรับ ขณะเดียวกัน กลุ่มทุนใหญ่ที่โยงใยกับทุนระดับโลกก็มีแรงจูงใจและมีศักยภาพมากขึ้นในการขึ้นกุมอำนาจรัฐด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพื่อพิทักษ์ระบบที่ตนเองได้เปรียบ และพิทักษ์โครงสร้างผลประโยชน์ของพวกเขา สภาพดังกล่าวอาจจะแก้ไขได้บ้าง โึ้ดยการอาศัยการเมืองภาคประชาชนมาถ่วงดุลการเมืองแบบเลือกตั้ง ด้วยการโอนอำนาจที่เคยมีมาแต่เดิมของรัฐชาติบางส่วนไปไว้ที่ชุมชนท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นได้พัฒนาตนเองตามทางเลือกนอกกระแสหลัก ซึ่งสอดคล้องและเหมาะสมกับเงื่อนไขและวิถีชีวิตของพวกเขามากกว่า หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว คนจำนวนมากก็จะถูกทิ้งให้อยู่กับความหายนะ กลายเป็นแค่ฐานเสียง เป็นหางเครื่องทางการเมือง กระทั่งอาจกลายเป็นบ่อเกิดของมิคสัญญี   อย่างไรก็ดี ในขณะที่ความเสื่อมทรุดของรัฐชาติอาจเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ และสังเกตเห็นยังไม่ได้ชัดเจนในหมู่คนทั่วไป การเสื่อมสลายของสิ่งที่เรียกว่า "วัฒนธรรมแห่งชาติ" และ "จารีตประเพณีพื้นเมือง" กลับปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนกว่า และเกิดขึ้นในอัตราเร่งที่เข้มข้นมา ทั้งนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารอันทรงประสิทธิภาพได้นำพาข่าวสารซึ่งขัดแย้ง กระทั่งหักล้างความคิดความเชื่อในกรอบวัฒนธรรมแห่งชาติเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ อย่างเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ชีวิตทางเพศ รสนิยมทางศิลปะ อาหาร ไปจนถึงเรื่องใหญ่อย่างความสัมพันธ์ทางสังคมและความคิดเรื่องอำนาจ การรับข่าวสารเหล่านี้ ดำเนินมาในลักษณะอนาธิปไตย ไม่มีใครควบคุมได้ ส่วนใหญ่ปราศจากการกลั่นกรอง แล้วก็เป็นไปตามความพอใจของบุคคลมากกว่าเป็นไปเพื่อเชื่อมร้อยและจรรโลงสังคม     "ผลรวมของโลกาภิวัตน์ในประเทศไทย กลายเป็นว่าเกิดพื้นที่รกร้่างขึ้นมาอย่างใหญ่หลวง ในด้านวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ผู้คนจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนและคนชั้นกลาง ได้ถูกหล่อหลอมโดยระบบการค้าเสรี-ระบบข่าวสารเสรี  ให้ิติดหล่มอยู่กับวิถีชีวิตแบบวัตถุนิยมบริโภคนิยม และปัจเจกชนนิยมแบบสุดขั้ว ซึ่งกลายเป็นบ่อทุกข์บ่อใหม่ที่ยังหาทางป่ายปีนขึ้นมาไม่ได้"     แน่นอน เราจะไปโทษกระแสโลกาภิวัตน์ฝ่ายเดียวก็คงไม่ได้ เพราะที่ผ่านมา กระบวนการสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติในประเทศไทย แม้จะมีบทบาททางด้านเชื่อมโยงคนไทยหลายหมู่เหล่าเข้าหากัน แต่ก็เป็นกระบวนการใช้อำนาจของรัฐมาตั้งแต่ต้น รัฐไทยและชนชั้นนำไทย เป็นผู้ินิยามวัฒนธรรมแห่งชาติตามอำเภอใจมาโดยตลอด โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ที่การเชื่อฟังผู้กุมอำนาจ มีเครื่องปรุงภายนอก เลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกในคริสตศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 20 กระทั่งตั้งอยู่บนพื้นฐานการหักล้างวัฒนธรรมอันมีมาแต่เดิมของชุมชนท้องถิ่น ขบวนการดังกล่าว ทำให้ที่ผ่านมา ประชาชนไทยไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในการรังสรรค์วิถีชีวิตของตนเองเท่าที่ควร เพียงแต่ถูกเกณฑ์ให้ทำตามแนวนโยบายของรัฐเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่เรื่องของการแต่งกาย มาจนถึงเรื่องของจิตวิญญาณ เช่นนี้แล้ว ความรู้สึกเป็นเจ้าของวัฒนธรรมแห่งชาติของประชาชนจึงค่อนข้างอ่อนแอ ทำให้ขาดภูมิคุ้มกันในการกลั่นกรองการไหลบ่าเข้ามาของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติ ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่า องค์ประกอบหลายอย่างของสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมแห่งชาติ ไม่ได้ช่วยจรรโลงสังคม และไม่ได้ช่วยให้ปัจเจกบุคคลพบกับความประณีตงามของชีวิตได้อย่างแท้จริง   ที่ผ่านมา รัฐชาติใช้โรงเรียนเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติ เพื่อเข้าแทนที่หรือครอบงำวัฒนธรรมประเพณีอันมีมาแต่เดิมของชุมชนท้องถิ่น ในแง่นี้ นับว่ารัฐประสบความสำเร็จในการดัดแปลงคนในประเทศอยู่มิใช่น้อย แต่ขณะเดียวกัน โรงเรียนก็กลายเป็นสถาบันที่ผูกขาดคุณค่าทางสังคม การศึกษาในห้องเรียนกลายเป็นเครื่องแบ่งแยกฐานะคนในชาติ แทนที่จะสอนคนให้มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ มีอิสระทางความคิด และใช้สติปัญญาไปในทางสร้างสรรค์ กลายเป็นว่า นานวันไป เนื้อในของการศึกษาของสังคมไทยยิ่งขาดแคลนสาระในด้านนี้ การศึกษาขั้นสูงแปรสภาพเป็นแค่บัตรเครดิต หรือหนังสือเดินทางไปสู่ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ และกลายเป็นกองทุนแห่งอำนาจมากกว่าขุมทรัพย์ทางปัญญา   ความล้มเหลวของการศึกษาในโรงเรียนบนพื้นฐานที่วัฒนธรรมชุมชนและตัวชุมชนต่างก็ถูกทำลายไปมากแล้ว ทำให้เด็กไทยรุ่นหลังๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกหลานของคนชั้นกลาง แทบจะไม่มีที่มาที่ไปทางวัฒนธรรมเหลืออยู่เลย พวกเขาขาดแคลนทั้งพุทธิปัญญาและความแข็งแรงทางด้านจิตวิญญาณ ในขณะที่โลกกำลังหมุนไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างไม่หยุดยั้ง ช่องว่างตรงนี้ทำให้ลูกหลานของเราต่างรับเอาข่าวสารข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างหิวกระหาย ปราศจากเครื่องมือทางความคิดในการกลั่นกรอง ขาดสติในการนำมาประยุกต์ใช้ กลายเป็นวิถีชีวิตที่สับสนอลหม่าน ดิบๆ สุกๆ ทางด้านรสนิยม ชีวิตเต็มไปด้วยความสุขระยะสั้นและความทุกข์ระยะยาว พูดกันตามความจริง ข่าวสารที่ส่งผ่านมาตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ระบบโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นข่าวสารที่เปิดกว้างกระจัดกระจายหรือข่าวสารเสรีดังที่เราชอบคิดว่ามันเป็นเสียทั้งหมด หากส่วนใหญ่คือข้อมูลข่าวสารที่ถูกขับเคลื่อนออกมาเป็นกองหนุนของระบบทุนนิยมโลกแทบทั้งสิ้น   ทั้งนี้ก็แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทกว้างๆ คือ หนึ่ง ผ่านมาทางโฆษณาสินค้า และ สอง เป็นการโฆษณาทางความคิดโดยตรง จะว่าไป ในการโฆษณาสินค้าก็มีการโฆษณาความคิดติดมาด้วยเสมอ เช่น สินค้าประเภทเครื่องสำอาง มีนัยยะบ่งบอกเราว่า การปรุงแต่งร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า ไม่เว้นแม้แต่ซอกหลืบต่างๆ ล้วนเป็นความจำเป็นของชีวิต เท่านั้นยังไม่พอ บางทีในการโฆษณาสินค้ายังพ่วงนัยยะทางสังคมติดมาด้วย เช่น เสนอว่าคุณควรจะรักผู้หญิงหรือรักผู้ชายที่ใช้สินค้าตัวนี้เท่านั้น หรือคุณจะได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ ก็ต่อเมื่อคุณบริโภคสิ่งใดบ้าง อะไรทำนองนี้   ส่วนการโฆษณาความคิดนั้น มีหลายรูปแบบ หลายๆ ประเด็นเช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือทั้งหมด ล้วนแตกหน่อมาจากแนวคิดของลัทธิ "เสรีนิยมใหม่" ซึ่งเน้นเรื่องการ "ไม่มีอยู่" ของประเทศชาติ กระตุ้นวิถีชีวิตแบบไร้ราก อวดอัตตา ยืนยันความเชื่อที่ว่าธรรมชาติของมนุษย์ล้วนเห็นแก่ตัว ดังนั้น จึงส่งเสริมการแยกตัวจากส่วนรวมของปัจเจกบุคคล ตลอดจนฝากคุณค่าของชีวิตไว้กับกลไกตลาด เป็นต้น   แน่นอน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบทุนนิยมโลกและกระแสวัฒนธรรมเสรีในยุคโลกาภิวัตน์ก็มีด้านที่ช่วยปลดปล่อยพันธนาการเก่าๆ อยู่ไม่น้อย หากเรายอมรับว่าการดำรงอยู่ของรัฐชาติและวัฒนธรรมแห่งชาติก็มีด้านที่กดขี่ครอบงำอยู่พอสมควร นอกจากนี้ เงื่อนไขทางวัตถุที่เพิ่มขึ้นทั้งในทางปริมาณและคุณภาพ ก็สามารถสนองความจำเป็นในด้านชีวิตความเป็นอยู่ได้มาก การค้าเสรี อาจจะช่วยทำลายการผูกขาดแบบเก่า อาจจะทำให้ของใช้บางอย่างราคาถูกลง ชีวิตบางด้านของประชาชนสะดวกสบายขึ้น อีกทั้งการก้าวพ้นกรอบคิดเรื่องชาติ บางทีก็อาจช่วยเปิดพื้นที่ให้เกิดจิตสำนึกพี่น้องกับเพื่อนมนุษย์ได้ง่ายขึ้น หรือในอีกด้านหนึ่ง ก็อาจจะปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์ในระดับปัจเจกบุคคลได้มากขึ้นโดยไม่ิติดอยู่กับกรอบขันธุ์เพดานใด แต่ก็อีกนั่นแหละ สภาพดังกล่าวถึงจะเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และยิ่งไม่ใช่ด้านหลักของสถานการณ์ปัจจุบัน   ผลรวมของโลกาภิวัตน์ในประเทศไทย กลายเป็นว่าเกิดพื้นที่รกร้่างขึ้นมาอย่างใหญ่หลวง ในด้านวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ผู้คนจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนและคนชั้นกลาง ได้ถูกหล่อหลอมโดยระบบการค้าเสรี-ระบบข่าวสารเสรี ให้ิติดหล่มอยู่กับวิถีชีวิตแบบวัตถุนิยมบริโภคนิยม และปัจเจกชนนิยมแบบสุดขั้ว ซึ่งกลายเป็นบ่อทุกข์บ่อใหม่ที่ยังหาทางป่ายปีนขึ้นมาไม่ได้   ถึงตรงนี้ผมคงต้องชี้แจงสักเล็กน้อยว่า ผมเองไม่ได้มองข้ามการดำรงอยู่ทางกายภาพของโลกและชีวิต ไม่ได้มองข้ามความจำเป็นที่จะต้องใช้เงื่อนไขทางวัตถุมาแก้ปัญหาหลายอย่างของมนุษย์ และยิ่งไม่ได้มองข้ามการดำรงอยู่ในฐานะปัจเจกบุคคลหรือความสำคัญ ตลอดจนศักดิ์ศรีและสิทธิเสรีภาพของบุคคล แต่สิ่งเหล่านี้เป็นคนละอย่างกับวัตถุนิยม บริโภคนิยม และปัจเจกชนนิยมแบบสุดโต่ง จนถึงขั้นอยู่คนละสำนักความคิดกัน   แนวคิดวัตถุนิยมนั้นมีขอบเขตปริมณฑลของความหมายกว้างใหญ่มาก คือเป็นได้ตั้งแต่อภิปรัชญา วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาจนถึงโลกทัศน์หรือทฤษฎีทางสังคมที่ยืนยันว่า "วัตถุกำหนดจิต" ส่วนนั้นเราอาจจะต้องเคารพกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ แ่ต่ที่เป็นปัญหาอยู่ในเวลานี้คือความเชื่อแบบหยาบๆ ว่าชีวิตมนุษย์เป็นเพียงการดำรงอยู่ทางกาย หรือการสนองความต้องการทางกายเป็นที่สุด ตรงนี้นับว่าอันตราย เพราะว่าเป็นแนวทางที่ถอยห่างจากความจริงไปไกล ส่วนบริโภคนิยมนั้น แท้จริงก็แตกหน่อมาจากวัตถุนิยมหยาบๆ นั่นเอง มันหมายถึงการวางคุณค่าชีวิตไว้ที่การถือครองหรือเสพใช้สินค้าและบริการอย่างไม่มีขอบเขต ทั้งนี้ โดยปราศจากการโยงใยอย่างสิ้นเชิงกับคุณค่าทางจิตใจและทางจิตวิญญาณ สุดท้าย ปัจเจกชนนิยมแบบไร้ความรับผิดชอบ หมายถึงการยึดถือความพอใจของตัวเองเป็นเอก ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางในการตัดสินคุณค่าของสรรพสิ่ง เห็นผู้อื่นเป็นเพียงเครื่องมือหรือเป็นแค่ "กรรม" ที่ถูกกระทำโดยตัวเอง ซึ่งเป็นประธาน   ผมคงไม่้ต้องเอ่ยก็ได้ว่าชุดความคิดเหล่านี้ เมื่อผนึกผนวกเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ได้สร้างความทุกข์ให้กับสังคมและตัวบุคคลที่หลงเข้าไปสังกัดมากน้อยแค่ไหน เพราะมันเป็นแนวทางชีวิตที่นำผู้คนไปสู่การดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง แปลกแยกทั้งจากตัวเองและผู้อื่น อีกทั้งขัดแย้งต่อความเป็นจริงของเอกภพ ทุกวันนี้ บุคลิกภาพของคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยหลายชิ้นจะออกมาคล้ายๆ กัน คือเป็นคนที่ทำทุกอย่างเพื่อสร้างความพอใจส่วนตัว ความแตกต่างเรื่องการปรุงแต่งร่างกายทรงผม ตลอดจนการบริโภคสินค้ายี่ห้อต่างๆ ที่อยู่ในกระแสบริโภคนิยม ไม่นับญาติ ไม่นับมิตรกับใคร ไม่สนใจกิจการบ้านเมือง เฉยเมยต่อความยากลำบากของเพื่อนร่วมชาติ อยากได้ปริญญาแต่ไม่อยากเรียนหนังสือ อยากได้ลาภยศสรรเสริญ แต่ไม่อยากทำงาน หมกมุ่นเรื่องเพศ จิตใจอ่อนแอแปรปรวน วันดีคืนดี ถ้าผิดหวังในเรื่องความรักก็อาจจะฆ่าตัวตายง่ายๆ หรือฆ่าคนอื่น หรือฆ่าทีเดียวพร้อมกันทั้งสองคน   ทั้งหมดนี้อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องของเด็กๆ แต่ผู้ใหญ่จำนวนมากก็ไม่ได้ต่างกันนัก เพียงแต่ว่าการแสดงออกที่เป็นรูปธรรมอาจจะไม่เหมือนกัน ประเด็นหลักอยู่ที่่ว่าโลกาภิวัตน์ได้ทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นปัจเจกชนที่ล่องลอย ไร้ราก ไร้สังกัด ดูภายนอกเหมือนจะเปี่ยมล้นไปด้วยอิสรภาพและความสมบูรณ์พูนสุข แต่ลึกๆ แล้วเจ้าตัวก็รู้สึกได้ว่าข้างในเต็มไปด้วยความว่างเปล่า อ่อนแอ และอับจน ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สถิติการฆ่าตัวตาย ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ในประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับจำนวนตัวเลขครอบครัวที่หย่าร้าง สถิติการล่วงละเมิดทางเพศ การตั้งครรภ์ในวัยที่ไม่สมควร ยังไม่ต้องเอ่ยถึงสถิติอาชญากรรมที่ใช้ความรุนแรง และจำนวนผู้ใช้ยาเสพติด ทุกคนดูเหมือนจะมีปัญหาไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง อีกทั้งโทษผู้อื่นว่าก่อปัญหาให้ตน     "ปัญหาระดับมูลฐานที่สุดของคนในยุคโลกาภิวัตน์ คือแม้จะดิ้นรนออกจากการครอบงำของโครงสร้างอำนาจวัฒนธรรมที่รวมศูนย์และกดทับได้ ค่อนข้างเป็นผลสำเร็จ หรือหลุดจากพันธนาการมาได้ในระดับหนึ่ง แต่น่าเสียดายตรงที่มาติดกับอยู่ที่การครอบงำตัวเอง"     ผมทราบดีว่าที่พูดมาทั้งหมดอาจจะเป็นด้านมืดสักหน่อย แต่โปรดเข้าใจว่านี่ไม่ใช่การหมิ่นประณาม หากเป็นความห่วงใย และเป็นความพยายามที่จะเข้าใจความทุกข์ซึ่งกำลังคลี่คลุมผู้คน ถามว่าใครเล่าจะเป็นผู้แก้ไขปัญหาความแปลกแยกดังกล่าว และจะแก้ไขด้วยวิธีใด ต่อเรื่องนี้คงต้องเรียนตรงๆ ว่า ทั้งรัฐและรัฐบาลคงแก้ไขไม่ได้ และระบอบการเมืองการปกครอง ไม่ว่าเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็แก้ไขไม่ได้ สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่าโครงสร้างเหล่านั้น ตลอดจนผู้คนทีเ่กี่ยวข้อง ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้แก้ไขปัญหาในระดับจิตใจและจิตวิญญาณ   อีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะทั้งรัฐ ทั้งระบอบ และรัฐบาลในยุคโลกาภิวัตน์เอง ก็ตกอยู่ในสภาพอ่อนแอสับสนไม่น้อยไปกว่าภาคสังคม ดังนั้น การมุ่งหวังให้สถาบันการเมืองการปกครองมาแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนเช่นนี้ เราคงไม่ต้องเอ่ยถึง   คงไม่ต้องพูดก็ได้ว่าการกลับไปสู่วัฒนธรรมแห่งชาติแบบที่ผ่านมาก็ "สายเกินไป" เช่นกัน เพราะวัฒนธรรมที่รัฐคอยปกป้องสนับสนุน ไม่เพียงมีจุดเน้นอยู่ที่ความสัมพันธ์ทางอำนาจ และมีลักษณะที่ครอบงำมาตั้งแต่แรก หากถึงวันนี้ยิ่งอ่อนแอ ขาดทั้งพลังสร้างสรรค์ของตัวเอง และขาดพื้นที่จะรองรับการสร้างสรรค์ที่เป็นอิสระ จริงอยู่ ปัญหาในยุคโลกาภิวัตน์นั้นมีมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสงครามที่ไร้ขอบเขต ความยากจน ความรุนแรงทางสังคม ความพังพินาศของสิ่งแวดล้อม มลภาวะ หรือความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ อันเนื่องมาจากพฤติกรรมทำลายโลก แต่ถ้าเราสืบค้นไปจนถึงต้นตอของปัญหาร้ายแรงเหล่านี้ ก็จะพบว่ามันมีที่มาจากจิตใจที่ไม่สมดุลของมนุษย์เอง   ในความเห็นของผม คิดว่าในสถานการณ์เช่นนี้ การกอบกู้จิตวิญญาณหรือสร้างสันติสุขให้บังเกิดในดวงจิตของผู้คน อาจจะทำได้ แต่ทำโดยวิถีทางการเมืองล้วนๆ ไม่ได้ แม้ว่าการปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปทางเศรษฐกิจให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นอาจจะยังเป็นความจำเป็นที่ต่อเนื่อง กระทั่งอาจจะมีส่วนเกื้อกูลวิถีชีวิตที่สมดุลก็ตาม ปัญหาระดับมูลฐานที่สุดของคนในยุคโลกาภิวัตน์ คือแม้จะดิ้นรนออกจากการครอบงำของโครงสร้างอำนาจวัฒนธรรมที่รวมศูนย์และกดทับได้ค่อนข้างเป็นผลสำเร็จ หรือหลุดจากพันธนาการมาได้ในระดับหนึ่ง แต่น่าเสียดายตรงที่มาติดกับอยู่ที่การครอบงำตัวเอง ดังนั้น อิสรภาพที่ได้มา จึงไม่ครบถ้วนสมบูรณ์   พูดอย่างรวบรัดก็ึคือว่า การถ่วงดุลด้านมืดของยุคโลกาภิวัตน์ จะทำได้ก็โดยการกอบกู้สติสัมปชัญญะของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเท่านั้น ซึ่งสามารถดำเนินการได้ ทั้งในระดับบุคคล และเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคม หรือเป็นทั้งสองอย่างประสานกัน ตรงนี้แหละที่ทำให้ผมคิดว่า เรามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพึ่งพิงพุทธธรรม เพราะพุทธธรรมเป็นคำสอนที่พุ่งเป้าไปสู่การปลดปล่อยบุคคลออกจากการครอบงำตัวเองเป็นสำคัญ อันนี้ไม่ได้หมายความว่าผมเพียงใช้ตรรกะหยาบๆ มาอธิบายความเห็น หากเป็นข้อเสนอจากเงื่อนไขความเป็นจริง ซึ่งประกอบด้วยทั้งความจำเป็นและความเป็นไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ในแง่ของความจำเป็น ผมได้พูดมามากแล้ว แ่ต่ในแง่ของความเป็นไปได้ หมายความว่าอย่างไร...หมายความว่า ในสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่นี้ เราสามารถเชิญพุทธธรรมไปเกาะเกี่ยวกับพลังสร้างสรรค์ที่มีอยู่ได้โดยไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน โอกาสมีอยู่จริง และเป็นรูปธรรม   เงื่อนไขข้อแรก ดังที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาที่มนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์เผชิญอยู่ เป็นปัญหาในระดับจิตวิญญาณ ดังนั้น จึงตรงกับประเด็นหลักๆ ที่พระพุทธองค์เคยค้นคว้าและหาคำตอบ หากพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ ผู้คนป่วยเป็นโรคที่เรามียารักษาได้โดยตรง เงื่อนไขที่สอง โลกาภิวัตน์ไม่ได้มีแต่ด้านลบอย่างเดียว หากยังมีด้านบวกที่เอื้อต่อการเผยแผ่พุทธธรรมและการปฏิบัติธรรมด้วย เราต้องอาศัยด้านบวกของโลกาภิวัตน์ อันประกอบด้วย เทคโนโลยีการสื่อสาร ความเพียบพร้อมด้วยเงื่อนไขทางวัตถุสำหรับเกื้อหนุนการทำงานและการใช้ชีวิต จิตสำนึกที่ข้ามพรมแดนไปเชื่อมโยงกันในหมู่มนุุษย์และเสรีภาพในการสร้างสรรค์ปัจเจกภาพของปัจเจกบุคคล มาช่วยลดทอนด้านมืด ซึ่งในการเคลื่อนไหวทิศทางนี้ เราสามารถส่งทอดข่าวสารให้เพื่อนมนุษย์ได้สะดวกกว่าเดิมมาก   สุดท้าย ถ้ากล่าวเฉพาะเงื่อนไขพิเศษของสังคมไทย ก็ต้องถือว่าเรามีคลังปัญญาของพุทธธรรมเก็บไว้อย่างล้นเหลือ แม้ว่าที่ผ่านมา คนจำนวนมากยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ข้อได้เปรียบตรงนี้ก็ตาม อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า ตั้งแตพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพานไปแล้ว นับได้กว่า 2,500 ปี คำสอนของพระองค์ ไม่เพียงได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันเท่านั้น หากยังได้การตีความย้ำเน้น แตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งในยุคสมัยที่ต่างกัน และในดินแดนที่ต่างกัน ในจุดนี้ ผมคงต้องเอ่ยถึงความสัมพันธ์ระหว่างพุทธธรรมกับยุคโลกาภิวัตน์เสียเลย เพราะว่าในกระแสโลกาภิวัตน์ การเผยแผ่พุทธธรรมและการศึกษาพุทธธรรม ตลอดจนการสมาทานพุทธธรรม ย่อมจะได้รับผลกระทบจากยุุคสมัยเช่นเดียวกัน   เท่าที่ผมสังเกตเห็นด้วยสายตาจำกัด การศึกษาพุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์มีลักษณะแตกต่างจากสมัยจารีตประเพณีอยู่ 5 ประการ คือ หนึ่ง เป็นการศึกษาและปฏิบัตินอกวัดมากขึ้น สอง เป็นการตีความอิสระโดยปัจเจกบุคคลมากขึ้น สาม ได้รับการยอมรับนับถือโดยประชาชนในประเทศที่ไม่ได้มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของชาติมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในซีกโลกตะวันตก สี่ มีลักษณะบูรณาการระหว่างนิกายมากขึ้น และ ห้า มีการนำไปเทียบเคียงและเกี่ยวโยงกับองค์ความรู้แบบอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวิทยาศาสตร์และสำนักคิดทางจิตวิญญาณต่างๆ   สำหรับประการแรกและประการที่สอง คงเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว ทุกวันนี้แม้คนจำนวนมากจะหมกมุ่นอยู่ในโลกียจิต แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่หันมาศึกษาพุทธธรรม และปฏิบัติธรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจด้วยตนเอง สำนักวิปัสนานอกวัดเกิดขึ้นมากมายหลายแห่ง โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศอันสงบวิเวก หลักสูตรศึกษาและปฏิับัติธรรมระยะสั้นถูกนำมาเสนอให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป อีกทั้งพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ถูกนำมาตีความและตีพิมพ์เผยแพร่ตามร้านหนังสือ ซึ่งหาได้โดยง่าย ยังไม่ต้องเอ่ยถึงการเปิดพื้นที่ให้พุทธธรรมมากขึ้นในสื่อแขนงต่างๆ สภาพดังกล่าวนับว่าช่วยเหลือเกื้อกูลปัจเจกบุคคลที่กำลังแสวงหาคำตอบในทิศทางนี้เป็นอย่างยิ่ง     "การถ่วงดุลด้านมืดของยุคโลกาภิวัตน์ จะทำได้ก็โดยการกอบกู้สติสัมปชัญญะของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเท่านั้น ซึ่งสามารถดำเนินการได้ ทั้งในระดับบุคคล และเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคม หรือเป็นทั้งสองอย่างประสานกัน"     ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่เราจะสามารถหาอ่านคำสอนของปราชญ์และวิปัสนาจารย์ฝ่ายสงฆ์ได้โดยง่ายเท่านั้น แม้แต่งานของธรรมาจารย์ฝ่ายฆราวาสก็มีอยู่ไม่น้อย การดำรงอยู่ของสำนักปฏิบัติธรรมและผู้รู้ธรรมของฝ่ายฆราวาส ตลอดจนตำราพุทธธรรมที่เผยแพร่ทั่วไปเหล่านี้ นับว่าช่วยย่นย่อระยะทางระหว่างคนธรรมดาจากคำสอนของพระพุทธองค์ได้มากขึ้น อีกทั้งยังถูกกับจริตของคนยุคปัจจุบันที่มักปฏิเสธขั้นตอนพิธีรีตองแบบเก่า และอยากเลือก อยากคิดอะไรด้วยตนเอง ขณะเดียวกัน สภาพเช่นนี้ก็สะท้อนระยะห่างระหว่างมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์กับพุทธศาสนาที่เป็นทางการพอสมควร ซึ่งจะโทษฝ่ายแรกฝ่ายเดียวคงไม่ได้ ทุกวันนี้ แม้เราจะยังมีวัดดีๆ พระดีๆ อีกเป็นจำนวนมาก แต่ก็คงต้องยอมรับว่าพลังของศาสนาที่เป็นทางการในการดึงดูดผู้คนเข้ามาไว้ภายใต้รังสีธรรม ได้ลดลงกว่าแต่ก่อน ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่า ศาสนาเองก็ได้รับผลกระทบจากความเคลื่อนไหวทางโลกมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากปรากฎการณ์ที่วัดและพระจำนวนหนึ่งถูกแปรรูปให้มารับใช้จริตทางไสยศาสตร์ของคนชั้นกลาง ซึ่งฉาบทอเอาไว้ด้วยความโลภทางวัตถุธรรม มากกว่าจะเป็นการแสวงหาภาวะหลุดพ้นใดๆ   ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของพุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าได้รับการเผยแผ่จากประเทศของชาวพุทธในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใ้้ต้ไปสู่โลกตะวันตกในอัตราที่เข้มข้นรวดเร็ว ซึ่งส่งผลสะเทือนกลับมายังซีกโลกตะวันออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น พูดกันตามความจริง ชาวตะวันตกได้สัมผัสพุทธธรรมมานาน การขยายอำนาจมาถึงอินเดียของอเล็กซานเดอร์มหาราชมีส่วนอย่างมากในการเปิดทางให้พุทธศาสนาเผยแผ่ไปสู่เอเชียกลาง และบันทึกการสนทนาธรรมระหว่างพญามิลินท์ผู้เป็นเจ้ากรีกกับพระนางเกษมเถระก็กลายเป็นตำราคลาสสิกเ่ล่มหนึ่งของชาวพุทธซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน   อย่างไรก็ดี เมื่อกล่าวถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ หากเราไม่นับการอพยพของชาวจีนชาวญี่ปุ่นไปสู่ทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งนำวัฒนธรรมประเพณีแบบชาวพุทธติดตัวไปด้วย ก็คงต้องถือว่าความสนใจพุทธศาสนาของชาวตะวันตกเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในศตวรรษที่ 19 และต่อเนื่องมาจนถึงคริสตศตวรรษที่ 20 ซึ่งในตอนแรก จำกัดวงอยู่ในหมู่ปัญญาชน ยกตัวอย่างเช่น ในปลายศตวรรษที่ 19 เฮนรี่ เดวิด ธอโร ได้แปลพระสูตรจากภาษาฝรั่งเศสมาเป็นภาษาอังกฤษ, เฟรดริช นิทเช่ นักปรัชญาคนสำคัญ ก็เคยกล่าวยกย่องพุทธศาสนาไว้ในงานของเขา ในปี ค.ศ.1895 และต่อมา ในปี 1924 มีการก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งลอนดอนขึ้น หลังจากนั้นอีก 3 ปี ก็มีการตีพิมพ์คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบตออกเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรก เป็นต้น   จากนั้น พอถึงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 พุทธธรรมในโลกตะวันตกก็ได้รับการเผยแผ่กว้างขวางออกไปอีก ในปี ค.ศ.1959 ซูซูกิ ฮิโรชิ ได้เริ่มเปิดอบรมธรรมะของฝ่ายเซนที่ซานฟรานซิสโก และในปี 1965 ภิกษุจากลังกาจำนวนหนึ่งก็ได้สร้างพุทธวิหารขึ้นที่กรุงวอชิงตันดีซี ต่อจากนั้น การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพในอินโดจีนซึ่งนำโดยหลวงพ่อติชนัทฮันห์ กับเหตุการณ์ที่ชาวทิเบตจำนวนมหาศาล รวมทั้งองค์พระประมุขดาไลลามะต้องลี้ภัยจากการยึดครองของจีน ได้ส่งผลใหญ่หลวงต่อการนำพุทธธรรมไปหยั่งรากในโลกตะวันตก สภาพทั้งหมดนี้ได้ให้กำเนิดทั้งวัดและพระสงฆ์ ตลอดจนธรรมาจารย์ฆราวาสที่เป็นชาวตะวันตกเอง จนอาจกล่าวได้ว่า พระรัตนตรัยมีที่ประดิษฐานอย่างมั่นคงแล้วในซีกโลกนั้น   อย่างไรก็ดี แม้เราไม่อาจลืมคุณูปการของบุคคลอย่างท่านดาไลลามะ หลวงพ่อนัชฮันห์ อาจารย์ซูซูกิ ท่านเชอเกียม ตรุงปะ ท่านโซเกียล รินโปเช และอีกหลายๆ ท่านที่พร่ำสอนชาวตะวันตกให้เข้าใจมรรคผลวิธีของชาวพุทธ แต่ก็คงต้องยอมรับว่าการที่พุทธธรมได้หยั่งรากในโลกตะวันตกได้ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะชาวตะวันตกเองได้เผชิญกับปัญหาต่างๆ จากการพัฒนาด้านวัตถุมาก่อนเรา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเงียบเหงาของชีวิต ความรุนแรงของสังคม ตลอดจนปัญหาพิษภัยต่างๆ จากการล่มสลายของสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่พวกเขา้ต้องหันมาหาหลักธรรมซึ่งเน้นความสมถะสันโดษ และครรลองชีวิตที่สร้างความสงบสันติขึ้นภายในตัวเอง ด้วยตัวเอง   เมื่อไม่นานมานี้มีบันทึกเล่มหนึ่ง ซึ่งสะท้อนภาพความเจ็บปวดของชาวตะวันตกได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนเป็นพระเซนชาวอเมริกัน ชื่อ "เคลาดํ อันชิน โทมัส" (Claude Anshin Thomas) ส่วนหนังสือของท่านชื่อ At Hell"s Gate หรือ "ปากประตูนรก" ท่านโทมัสผู้นี้เคยเป็นทหาร ถูกส่งไปรบในสงครามเวียดนาม และมีส่วนในการสังหารชีวิตชาวเวียดนามหลายร้อยคน ท่านเคยได้รับเหรียญกล้าหาญขั้นสูงของสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากปลดประจำการ ปรากฎว่าสงครามในใจท่านกลับไม่ยอมสงบตาม ท่านไม่สามารถใช้ชีวิตแบบคนปกติธรรมดาได้ เพราะความรุนแรงในชีวิตได้ตามมาหลอกหลอน ท่านโทมัสได้กลายเป็นคนเครียด นอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง มีอารมณ์ฉุนเฉียวและหวาดระแวงตลอดเวลา กลายเป็นคนล้มเหลวในชีวิตครอบครัว ทำงานที่ไหนไม่ได้ และเสี่ยงที่จะเสียสติอยู่ไม่น้อย   จนกระทั่งวันหนึ่ง ท่านโทมัสมีโอกาสได้ไปศึกษาพุทธธรรม และฝึกภาวนาอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ในฝรั่งเศส ของหลวงพ่อนัชฮันห์ จึงได้เรียนรู้ที่จะสรุปกรรม ทำความเข้าใจจิตของตนเอง และค่อยๆ สงบลง สุดท้าย ท่านได้กลับมาบวชเป็นพระเซน ในนิกายโซโตที่อเมริกา และกลายเป็นพระที่เอาการเอางานในการเผยแผ่พุทธธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอหิงสธรรม ซึ่งคัดค้านการใช้ความรุนแรง แน่นอน ผลจากการที่พุทธธรรมไ้ด้หยั่งรากอย่างมั่นคงในโลกตะวันตก ทำให้เกิดอานิสงส์กลับมายังโลกตะวันออกด้วย   ข้อแรก คือ การเผยแพร่ธรรมะอย่างกว้างขวางเป็นภาษาสากล ทำให้เราได้มีโอกาสศึกษาการตีความพุทธธรรมของฝ่ายต่างๆ ซึ่งปกติเข้าถึงได้ยากมาก เนื่องจากอุปสรรคทางด้านภาษา กล่าวคือในปัจจุบัน นอกเหนือจากตำราของเถรวาทที่มีอยู่แล้ว เรายังสามารถอ่านงานสำคัญๆ ของฝ่ายมหายานได้ โดยไม่ต้องรู้ภาษาสันสกฤต สามารถศึกษาวัชรญาณได้ โดยไม่ต้องรู้ภาษาทิเบต อ่านคำสอนของเซนได้อย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องรู้ภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาจีน ยิ่งไปกว่านั้น การมีต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ยังทำให้ง่ายขึ้นต่อการแปลคำสอนเหล่านี้เป็นภาษาไทย   ข้อต่อมา ผลจากการรับพุทธธรรมของฝ่ายตะวันตกอีกอย่างหนึ่งก็คือ โดยวิถีการเรียนรู้ของชาวตะวันตกเอง พวกเขาจำเป็นต้องสกัดส่วนที่เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ ที่ติดมากับคำสอนของนิกายทั้งหลายออกไปมากพอสมควร กระทั่งในบางกรณีก็ต้องกลั่นกรองเอาอคติระหว่างนิกายออกไปด้วย เืพื่อให้ได้เนื้อแท้ของพระธรรมที่เป็นเหตุเป็นผล และประยุกต์เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมของโลกซีกนั้นได้ง่ายขึ้น ผลที่ออกมาคือการบูรณาการคำสอนนิกายต่างๆ เข้าหากัน อ้างอิงซึ่งกันและกันได้โดยไม่มีความรังเกียจเดียดฉันท์และตรวจสอบไต่ถามได้โดยไม่ถือว่าเป็นเรื่องละเมิดล่วงเกิน พูดง่ายๆ คือพวกเขาศึกษาธรรมะตามประเพณีของ Liberal Education หรือการศึกษาเสรี ซึ่งเป็นระเบียบทางปัญญาของฝ่ายตะวันตกมานานนับศตวรรษ   "จุดอ่อนที่สุดของวิทยาศาสตร์ อยู่ตรงที่ไม่สามารถเข้าใจมนุษย์เท่ากับสิ่งนอกตัวมนุษย์ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ ไม่พ้นเรื่องร่างกาย ไม่เข้าใจ กระทั่งปฏิเสธการดำรงอยู่ของจิตและจิตวิญญาณ ช่องว่างตรงนี้ ด้านหนึ่งทำให้วิทยาศาสตร์แก้ปัญหาได้ไม่ครบถ้วน ขณะเดียวกันก็ทำให้มีพื้นที่ว่างสำหรับศาสนา ที่จะเข้าไปเยียวยาผู้ึคน"     ตามความเห็นของผม หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งสะท้อนแนวโน้มในด้านนี้ไว้เป็นอย่างดีคือหนังสือชื่อ "ธรรมะมีหนึ่งเดียว" - One Dharma: The Emerging Western Buddhism ซึ่งเขียนโดย โจเซฟ โกลด์สไตน์ วิปัสนาจารย์คนแรกที่เป็นชาวอเมริกัน ผู้เคยศึกษาพุทธธรรมทั้งจากอาจารย์ไืทย อาจารย์พม่า ซึ่งอยู่ฝ่ายเถรวาท ศึกษาวัชรญาณจากครูทิเบต ตลอดจนศึกษาเซนจากอาจารย์ญี่ปุ่นและเกาหลี ในบทนำของหนังสือเล่มนี้ อาจารย์โกลด์สไตน์ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า   "ลักษณะพิเศษของยุคสมัยปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ที่ตะวันออกกับตะวันตกได้มาพบกันเท่านั้น อาจยังอยู่ที่สำนักนิกายต่างๆ ของเอเชีย มาพบกันเป็นครั้งแรกในรอบหลายศตวรรษ โดยพบกันในโลกตะวันตก ผลจากการปะทะสังสรรค์ของคำสอนเก่าแก่เหล่านี้ ทำให้เกิดสิ่งที่เราพอจะเรียกได้ว่า "พุทธศาสนาของฝ่ายตะวันตก" เราไม่ได้ถูกจำกัดโดยข้อห้ามต่างๆ ของวัฒนธรรมเอเชีย อีกทั้งยังได้รับการเสริมพลังจากสังคมที่สนับสนุนให้มีการตรวจสอบไต่สวน เราจึงเต็มใจที่จะรับเอาสิ่งดีๆ จากทุกสำนักนิกาย มาผนวกกับประสบการณ์ภาคปฏิบัติของเรา"   ไม่เพียงแต่แนวโน้มข้างต้นจะเด่นชัดในซีกโลกตะวันตก ในประเทศไทยเราเอง การน้อมศึกษาพุทธธรรมจากสำนักอื่นที่ไม่ใช่เถรวาท ไม่ว่าท่านจะชอบหรือไม่ก็ตาม กลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นเรื่อยๆ แน่ล่ะ เรื่องนี้จริงๆ แล้ว ท่านอาจารย์พุทธทาสเคยบุกเบิกมาก่อนสมัยโลกาภิวัตน์ ด้วยการแปลคัมภีร์เซนคลาสสิก อย่าง "ฮวงโต" กับ "สูตรเว่ยหล่าง" ออกเผยแพร่ ตั้งแต่กว่า 50 ปีที่แล้ว อีกทั้งยังนำแนวคิดเรื่อง "สุญญตา" หรือ  "ความว่าง" ของมหาญาณ มาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรยายธรรมของท่าน   ยังไม่ต้องเอ่ยว่า ผลงานของฝ่ายฆราวาส เช่น งานแปลคัมภีร์มหายานของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ก็ได้ทำไว้นานแล้วเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เราคงต้องยอมรับว่า ในระยหลังนี้ การนำคัมภีร์โบราณ ตลอดจนตำราธรรมะของฝ่ายทิเบตและเซนมาแปลเป็นภาษาไทย ได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวางกว่าเดิมมาก จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้แสวงหาในยุคปัจจุบันจะคุ้นเคยกับพระนิพนธ์ของท่านดาไลลามะ คุ้นเคยกับปรัชญาปารมิตาฉบับต่างๆ คุ้นเคยกับคำสอนของท่านนัชฮันห์ อ่านงานของเชอเกียม ตรุงปะ, โซเกียล รินโปเช และท่านอื่นๆ ราวกับเป็นครูบาอาจารย์ที่เรารู้จักดี   แน่นอน เราคงต้องขอขอบคุณผู้แปลที่เปี่ยมไปด้วยศรัทธาและความเอางานเอาการ อย่างคุณพจนา จันทรสันติ, ท่านไพศาล วิสาโล, อาจารย์สดใส ขันติวรพงษ์ และท่านอื่นๆ อีกหลายท่านที่ช่วยให้คนไทยเข้าถึงทางปัญญาเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งต้องขอชื่นชมสำนักพิมพ์อย่างโกมลคีมทองและสวนเงินมีมา ที่ลงเรี่ยวลงแรงในด้านนี้มากกว่าใคร ส่วนคุณูปการของท่านอาจารย์สุลักษณ์นั้น แม้ผมไม่เอ่ยถึง ก็เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว   สำหรับผู้ที่ถนัดภาษาอังกฤษ จะพบว่าคำสอนดั้งเดิมของเซน ได้ถูกแปลออกมาเป็นภาษาดังกล่าวหมดแล้ว งานคลาสสิกของท่านเออิ โตเง็น ปรมาจารย์เซนในคริสตศตวรรษที่ 13 เรียวโช โบเง็นโซ่ ซึ่งครั้งหนึ่งแทบสาบสูญไปจากประเทศญี่ปุ่น บัดนี้กลายเป็นหนังสือที่วางขายอยู่กลางศูนย์การค้า ในแถวเดียวกับโพธิสัตว์จรรยารวัฒน์ ของท่านศานติเทวะ มาธยมิกการิกาของท่านนาคารชุน ตลอดจนคำสอนของหลวงปู่มั่น หลวงพ่อชา ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุและครูธรรมฝ่ายเถรวาทอื่นๆ ก็หาอ่านได้ในภาคภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน เรื่องดีสำหรับการขยายขอบฟ้าในด้านการศึกษาพุทธธรรมของชนรุ่นหลังมีอยู่มาก ในการน้อมรับคำสอนของฝ่ายมหายานนิกายต่างๆ ทำให้การติดข้องกับวิถีท้องถิ่นต่างๆ น้อยลง การเปิดประตูกว้างให้ผู้คนศึกษาธรรมะด้วยตนเองเช่นนี้ ไม่เพียงเพิ่มพลังให้พุทธธรรม หากยังสอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันด้วย   ประเด็นสุดท้าย เป็นเรื่องฐานะของพุทธธรรมต่อองค์ความรู้อื่น ต่อเรื่องนี้ เท่าที่ผมสังเกตพบมีอยู่ 2 กรณี คือกรณีแรก คำสอนของพระพุทธองค์ถูกนำไปเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น และกรณีที่สอง พุทธธรรมถูกนำไปใช้อ้างอิงโดยผู้แสวงหาทางด้านจิตวิญญาณมากขึ้น ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นชาวพุทธหรือไม่ก็ตาม กล่าวถึงกรณีแรก ที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะวิทยาศาสตร์มีฐานะเป็นศาสนาหลักของคนยุคปัจจุบัน และเป็นรากฐานของแนวคิดวัตถุนิยม ตั้งแต่ระดับปรัชญาวิชาการ ลงมาถึงระดับสามานย์   ในเมื่อพุทธธรรมมีฐานะโดดเด่นขึ้นในสากล การแลกเปลี่ยนมุมมองและการทดสอบกันและกันจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา นอกจากนี้คงต้องยอมรับว่า แม้วิทยาศาสตร์จะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับโลกและจักรวาลไว้อย่างมหาศาล และมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งปรับปรุงแก้ไขในการดำรงชีพของคนเรา แต่จุดอ่อนที่สุดของวิทยาศาสตร์ อยู่ตรงที่ไม่สามารถเข้าใจมนุษย์เท่ากับสิ่งนอกตัวมนุษย์ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ ไม่พ้นเรื่องร่างกาย ไม่เข้าใจ กระทั่งปฏิเสธการดำรงอยู่ของจิตและจิตวิญญาณ ช่องว่างตรงนี้ ด้านหนึ่งทำให้วิทยาศาสตร์แก้ปัญหาได้ไม่ครบถ้วน ขณะเดียวกันก็ทำให้มีพื้นที่ว่างสำหรับศาสนา ที่จะเข้าไปเยียวยาผู้ึคน รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย   ถามว่า แล้วพุทธธรรมต่างจากคำสอนอื่นตรงไหน จึงดึงดูดการเทียบเคียงกับวิทยาศาสตร์มากกว่าคำสอนของศาสนาอื่นๆ ในความเห็นของผม เป็นเพราะว่าพุทธธรรมไม่ใช่ความเชื่อแบบเทวนิยม ด้วยความเคารพ ไม่ได้รังเกียจศาสนาที่มีความเชื่อด้านนี้ รวมทั้งพุทธธรรมยังยืนยันว่าคำสอนทั้งหมด เป็นไปตามความจริงที่ดำรงอยู่โดยธรรมชาติ กล้าท้าให้พิสูจน์และทดสอบได้ด้วยประสบการณ์จริง เพียงแต่ว่าจุดเน้นของพุทธธรรมอยู่ที่โลกด้านใน เป็นมรรควิธีในการสำรวจตัวเอง อาศัยจิตสำนึกขั้นสูงมาควบคุมและดัดแปลงตนเอง สุดท้ายข้ามพ้นตนเอง หรือจิตสำนึกแห่งตัวตน ด้วยสมมติฐานง่ายๆ แต่เข้าใจยาก คือ "ตัวตนไม่มีจริง" จะว่าไปตรงนี้อาจจะเป็นจุดโต้แย้งที่สุดระหว่างชาวพุทธกับนักวิทยาศาสตร์ ในขณะที่หลายๆ ด้านอาจจะเห็นพ้องต้องกัน   ยกตัวอย่างเช่น ในหนังสือเล่มล่าสุดของท่านดาไลลามะ ชื่อ "จักรวาลในหนึ่งอะตอม" The Universe in a Single Atom ท่านได้แสดงความรอบรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง อีกทั้งเห็นด้วยและเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ในหลายๆ ด้าน แต่พอมาถึงประเด็นของจิตและจิตสำนึก ท่านยังเห็นว่าวิทยาศาสตร์สำรวจความจริงไม่ครบ เน้นแต่วามจริงทางภาวะวิสัย มองข้ามความจริงทางอัตตวิสัย ดังนั้น เมื่อมีการศึกษาเรื่องความรู้สึกนึกคิด วิทยาศาสตร์จึงพยายามทำความเข้าใจจิตสำนึกในแง่ของกระบวนการทางสมองเท่านั้น พูดอีกแบบหนึ่งก็คือทำให้การมีอยู่ของจิตกลายเป็นแค่วัตถุ ตามคตินิยมลดทอนนั่นเอง     "ตามข้อสรุปของวิลเบอร์ การข้ามพ้นจิตสำนึกของตัวตนไปสู่ระดับจิตที่ละเอียดขึ้น และจิตสำนึกที่ไร้ตัวตน เป็นหนึ่งเดียวกับโลกกับจักรวาลนั้น ก็อาศัยแบบแผนเช่นเดียวกับพัฒนาการของจิตสำนึก ตั้งแต่วัยทารกสู่วัยผู้ใหญ่นั่นเอง คืออาศัยจิตใหม่ไปแก้ไขสำนึกเก่า และบูรณาการมาไว้ภายใต้ภาวะสูงสุดที่เจ้าตัวมาถึง"     พูดอีกแบบหนึ่งคือวิทยาศาสตร์ศึกษาจิตในฐานะการทำงานของกายเนื้อล้วนๆ ซึ่งในทางพุทธธรรมถือว่าเป็นไปไม่ได้ ขัดแย้งกับความจริง ก่อนหน้านี้หลายปี ท่านอาจารย์ประยุตต์ ปยุตโต ปราชญ์ทางฝ่ายเถรวาทของไทยก็ได้เปรียบเทียบจุดเหมือนจุดต่างระหว่างพุทธธรรมกับวิทยาศาสตร์ไว้อย่างลึกซึ้ง และโดยพื้นฐานแล้ว ทัศนะของท่านก็ไม่ต่างจากองค์ดาไลลามะ คือเห็นว่าวิทยาศาสตร์ยังมองความจริงได้ไม่ครบ เพราะวิทยาศาสตร์พิจารณาเฉพาะ "ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทางอินทรีย์ 5 หรือประสาททั้งห้าเท่านั้น แต่พุทธศาสนาเอาอินทรีย์ที่ 6 ด้วย แต่ทางวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับอินทรีย์ที่ 6 แต่พุทธศาสนาถือว่าอินทรีย์ที่ 6 ก็พิสูจน์ความจริงได้"   ในหลักประเด็นนี้ ผมเลือกข้างฝ่ายพุทธ แต่ตัวเองก็ไม่มีความรู้พอที่จะอธิบายเพิ่มเติมเฉพาะหน้า และสิ่งที่ผมอยากตั้งข้อสังเกตไว้ก็คือ ในหัวข้อโต้แย้งดังกล่าว ฝ่ายพุทธธรรมดูจะมีพลังกว่ามาก เพราะวิทยาศาสตร์เองไม่สามารถอธิบายเรื่องราวของจิตใจและจิตวิญญาณได้อย่างสมบูรณ์ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงมรรควิธีในการสร้างความสงบภายในให้กับตัวมนุษย์ พูดเช่นนี้แล้วทำให้ผมต้องรีบเอ่ยถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธธรรมกับวิทยาศาสตร์ในอีกมิติหนึ่ง ซึ่งจะเน้นไปในด้านเชื่อมโยงผสมผสาน หรือพูดง่ายๆ ก็คือใช้ความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์์และพุทธธรรมมาสร้างองค์รวมความรู้ให้กับมนุษย์ โดยนำทั้งสองอย่างมาส่งเสริมกัน   ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหลายปีก่อน "เคน วิลเบอร์" (Ken Wilber) นักคิดชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง ได้เขียนหนังสือชื่อ The Atman Project และในหนังสือเล่มดังกล่าว เขาได้พิสูจน์ได้อย่างน่าเชื่อถือว่าพัฒนาการทางจิตวิญญาณของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการตามธรรมชาติ การข้ามพ้นตัวตนหรืออีโก้ (Ego) ไปสู่สภาวะไร้ตัวตน หรือ "จิตนิพพาน" ไม่เพียงเป็นไปได้ หากยังเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในหมู่อริยบุคคล และถือเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของมนุษย์เรา   ในหนังสือเล่มนี้ เคน วิลเบอร์ ได้ย้อนรอยจิตวิเคราะห์ตามหลักวิทยาศาสตร์ตะวันตก ด้วยการชี้ให้เห็นว่าศาสตร์ดังกล่าวศึกษาเรื่องจิตของมนุษย์เอาไว้ครึ่งเดียว ผลการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์สรุปได้กว้างๆ ว่า ช่วงเป็นทารกแรกเกิด มนุษย์เราไม่มีสำนึกแยกตัวเองออกจากโลกภายนอก จากนั้นเมื่อเจริญวัยขึ้นอีกขั้นหนึ่งก็จะแยกตัวเองในทางกายภาพออกจากสิ่งแวดล้อมได้ และสร้างอัตตาทางกาย หรือ Body Ego ทำให้มีพฤติกรรม ตลอดจนข้อเรียกร้องต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องความต้องการทางกายเป็นหลัก ครั้นเติบโตขึ้นเป็นหนุ่มสาวก็จะสร้างตัวตนด้วยความคิดต่างๆ ขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ถือเป็นอัตตาทางจิต หรือ Mind Ego จากนั้นก็จะผสมผสานขั้นตอนที่ผ่านมาทั้งหมดเข้าหากัน เป็นตัวตนที่ลงตัวขึ้น ซึ่งเป็นอัตตาแบบที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป   โดยทั่วไปแล้ว ความรับรู้ของวิทยาศาสตร์กระแสหลักหยุดอยู่แค่ตรงนี้ อย่างไรก็ดี วิลเบอร์ชี้ให้เห็นว่าสิ่่งที่วิทยาศาสตร์สำรวจมาทั้งหมด เป็นแค่พัฒนาการของจิตในระดับธรรมดา แท้จริงแล้ว มนุษย์สามารถเดินทางต่อไปได้ในเส้นทางเดียวกันนี้ เพราะว่าในกระบวนการเติบโตของจิตสำนึกตามขั้นตอนต่างๆ แบบแผนของมันมีอยู่ว่ามนุษย์จะอาศัยตัวตนในขั้นตอนใหม่ไปแก้ไขดัดแปลงตัวตนเก่า รวมทั้งผนวกตัวตนเก่าที่ดัดแปลงแล้วมาไว้ภายใต้การควบคุมของตัวตนใหม่ จนกระทั่งถึงจุดที่อัตตาเติบโตเต็มที่ จนสามารถมาอยู่ปากประตูของการข้ามพ้นอัตตา   ปัญหามีอยู่ว่าคนทั่วไปไม่เพียงหยุดอยู่ตรงนั้นเนื่องจากมีสิ่งฉุดรั้งต่างๆ หลายคนแม้ในระดับอีโก้ ก็ยังมาไม่ถึงอัตตาที่มีวุฒิภาวะเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้ การข้ามพ้นตัวตนจึงเป็นเพียงประสบการณ์ของคนจำนวนน้อย แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่เป็นไปได้ และไม่ขัดแย้งกับธรรมชาติ ตามข้อสรุปของวิลเบอร์ การข้ามพ้นจิตสำนึกของตัวตนไปสู่ระดับจิตที่ละเอียดขึ้น และจิตสำนึกที่ไร้ตัวตน เป็นหนึ่งเดียวกับโลกกับจักรวาลนั้น ก็อาศัยแบบแผนเช่นเดียวกับพัฒนาการของจิตสำนึก ตั้งแต่วัยทารกสู่วัยผู้ใหญ่นั่นเอง คืออาศัยจิตใหม่ไปแก้ไขสำนึกเก่า และบูรณาการมาไว้ภายใต้ภาวะสูงสุดที่เจ้าตัวมาถึง อย่างไรก็ดี การพัฒนาขั้นสูงสุดที่จิตสำนึกคนเข้าสูภาวะไร้ตัวตนนั้น วิลเบอร์ชี้ให้เห็นว่าไม่แตกต่างจากสภาพของตัวทารกแรกเกิดมากนัก ตรงที่ทารกแรกเกิดไม่รู้อะไรเลย จึงแยกภาวะของตัวเองไม่ออก ส่วนผู้บรรลุธรรมนั้นรู้ความจริงครบถ้วน จึงเกิดสำนึกเหนืออัตตา หรือสำนึกที่ไม่แยกตัวเองออกจากจักรวาล   ที่น่าสนใจคือ เคน วิลเบอร์ ได้ใช้จินตภาพทางพุทธศาสนามาชี้ให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ตะวันตก สาขาจิตวิทยานั้น หยุดอยู่แค่การทำความเข้าใจมนุษย์ในระดับ "นิรมาณกาย" หรือ "กายเนื้อ" เท่านั้นเอง ส่วนการดำรงอยู่ในระดับสัมโภคกายและธรรมกาย ซึ่งวิลเบอร์ถือว่ามีอยู่จริง วิทยาศาสตร์ยังไม่มีความรับรู้เพียงพอ พูดอีกแบบหนึ่งก็คือจิตวิทยาตะวันตกอาจจะเข้าใจขันธุ์ 5 - รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ทุกอย่าง แต่ก็ข้ามไม่พ้น เพราะคิดว่าการดำรงอยู่ของชีวิตคนมีอยู่แค่นั้น   แน่นอน วิลเบอร์ไม่ใช่แค่คนเดียวที่มีแนวคิดแบบบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับคำสอนทางศาสนา "ฟริตจอฟ คาปรา" (Fritjof Capra) ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สร้างงานแนวนี้ เพียงแต่งานของเคน วิลเบอร์ อาจจะเน้นเรื่องจิตสำนึกมากเป็นพิเศษ จริงๆ แล้ววิลเบอร์เรียนมาทางเคมีและชีววิทยา แต่เขาก็ฝึกภาวนา และมีศรัทธาในพุทธธรรมของสำนักมัชฌิมามิก ดังนั้น จึงอาจเป็นต้นแบบของคนรุ่นใหม่ได้พอสมควรในการเชื่อมร้อยความรู้ทางโลกเข้ากับทางธรรม   อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงนักคิดนักเขียนทางด้านจิตวิญญาณรุ่นใหม่ๆ ก็อาจกล่าวได้ว่า ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากทีเดียวที่ยกคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประกอบทัศนะของตนได้อย่างกลมกลืน ยกตัวอย่างเช่น "เอ็กฮาร์ท โทลเลอ" (Eckhart Tolle) ผู้ประพันธ์หนังสือ The Power of Now อันโด่งดัง "ดีแพค โชปรา" (Deepak Chopra) นายแพทย์ ครูทางจิตวิญญาณ ผู้เขียนเรื่อง Life after Death ซึ่งกำลังขายดีในขณะนี้   สรุปรวมได้ว่า พุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์นั้น ได้ถูกบรรจุไว้ในหีบห่อที่สมสมัยอยู่พอสมควร   เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น และสอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้คนในยุคตลาดเสรีอยู่ไม่ใช่น้อย ดังนั้น ผมถึงกล่าวว่าการเชิญพุทธธรรมมาเป็นที่พึ่งของคนในยุคนี้ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน หากเป็นไปได้อย่างยิ่ง แน่นอน โลกที่เป็นอยู่กับคำสอนของพุทธองค์ ดูเหมือนขัดแย้งเข้ากันไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วธรรมะไม่เคยขัดแย้งกับใคร ชีวิตทางโลกที่ทำให้มนุษย์เต็มไปด้วยริ้วรอยความรวดร้าว สามารถแปรเป็นเส้นทางไปสู่ประตูธรรมได้ เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับทำความเข้าใจความทุกข์ การดับทุกข์ เหมือนดังที่ท่านเชอเกียม ตรุงปะได้กล่าวไว้ว่า สังสารวัฎคือปากทาง สังสารวัฎคือยานพาหนะที่จะนำไปสู่นิพพาน     "เราจะข้ามพ้นความขัดแย้งได้อย่างไร หากไม่เคยขัดแย้งมาก่อน จะปล่อยวางทางโลกได้อย่างไร หากไม่เคยแบกโลกมาเลย"     กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว พุทธธรรมสอนให้เราข้ามพ้นความขัดแย้งทุกอย่าง เพื่อบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนมนุษย์ ความเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล และเข้าสู่สุญญตาวิโมกข์ แต่เราจะข้ามพ้นความขัดแย้งได้อย่างไร หากไม่เคยขัดแย้งมาก่อน จะปล่อยวางทางโลกได้อย่างไร หากไม่เคยแบกโลกมาเลย พวกเราส่วนใหญ่คงไม่มีบารมีขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้ สำหรับคนทั่วไป การก้าวพ้นผิดถูกดีชั่ว จึงหนีไม่พ้นที่จะเข้าใจผิดถูกชั่วดี เช่นเดียวกับการก้าวข้ามพ้นตัวตน จะต้องรู้ก่อนว่าตัวตนของตัวเองเป็นใคร ในระดับปัจเจก บางทีเราอาจจะต้องเป็นอะไรหลายอย่าง ต้องผ่านอะไรหลายอย่าง ชนะ พ่ายแพ้ สำเร็จ ล้มเหลว ตกต่ำ รุ่งเรือง โดดเดี่ยว รุ่งโรจน์ ดีใจ เสียใจ ทั้งหมดนี้ไม่เป็นไร ถ้ามันทำให้รู้จักตัวเอง ค้นพบตัวเอง   คนเรามีแต่ต้องขึ้นสู่ยอดเขา จึงจะรู้ว่ายอดเขาไม่มีจริง ไม่เคยอยู่ที่ต่ำ ก็ไม่รู้จักที่สูง ไม่เคยขึ้นที่สูงก็ไม่รู้จักที่ต่ำ เมื่อผ่านแล้วทั้งต่ำสูง จึงรู้ว่าทั้งหมดไม่มีจริง ทั้งหมดเพียงอาศัยสิ่งอื่น-ผู้อื่นมาสร้างคำนิยาม มิตรสหายหลายคนเคยถามผมว่า แล้วชีวิตเราไม่หมดสิ้นความหมายไร้พลังหรอกหรือ ถ้าเป็นเช่นนี้ หากเป็นเช่นนั้นแล้วมนุษย์จะอยู่ได้อย่างไร โลกจะรกร้างเรื่องรังสรรค์ใช่หรือไม่ ต่อคำถามดังกล่าว ผมได้ตอบพวกเขาไปว่า จุดหมายและความหมายแบบสัมบูรณ์นั้น บางทีอาจจะไม่มีเลย เพราะว่าทั้งหมดเป็นภาระกดทับ เป็นสิ่งที่บางทีคนอื่นสมมติให้ บ่อยครั้งสมมติเองโดยความพอใจของตนเอง หรือบางทีก็สมมติไว้เพื่อทำร้ายตนเอง แต่พลังสร้างสรรค์นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต่างออกไป มันไม่เพียงลดน้อยถอยลง หากยังเพิ่มพูนไร้ขอบเขต เนื่องจากสิ่งฉุดรั้งจากเวทนาสัญญาต่างๆ หายไปแล้ว การปรุงแต่งสังขารจึงไม่เข้ามาแทรกวิถีแห่งพลัง   ดังนั้น ไม่ว่าภายนอกท่านจะรับบทบาทใด ขอเพียงภายในมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ว่าภายนอกท่านจะทำหน้าที่ไหน ขอเพียงภายในมีแต่กุศลเจตนา ไม่ว่าภายนอกจะเผชิญกับอะไร ขอเพียงภายในเป็นเวิ้งฟ้ากว้างสงัด ท่านจะสามารถแสดงพลังสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ท่านเป็นทุกอย่างได้โดยไม่ต้องยึดถือว่าเป็นอะไร ท่านทำทุกอย่างได้โดยไม่ต้องยึดติดว่าทำไปแค่ไหน เพราะท่านใช้ "ใน" กำหนด "นอก" ใช้ "นอก" รับใช้ "ใน" ยามมีท่านให้ ยามยากไร้ท่านไม่บ่น ยามรุ่งท่านสงบ ยามสงบท่านพร้อมจาก ชีวิตเช่นนี้จะบอกว่าไร้พลังไ้ด้อย่างไร   กล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ ท่านสามารถอยู่กับมารได้ แต่ต้องอยู่กับมันอย่างรู้เท่าทัน อาศัยมารเป็นคำท้า รู้จักพิชิตมารเพื่อสร้างบารมี เทียบไปแล้ว ลีลาชีวิตดังกล่าวคงไม่ต่างจากเพลงดาบของมิยาโมโตะ มุซาชิ นักดาบญี่ปุ่นผู้เลื่องชื่อในศตวรรษที่ 17 ซึ่งหยิบยืมพลังทั้งหมดมาจากจิตที่สงบ ทำให้สามารถเคลื่อนสติไหลเลื่อนไปทั่วร่าง ได้สำแดงท่วงท่าที่เฉียบขาดปราศจากสูตรสำเร็จ จนไม่มีผู้ใดเอาชนะได้ อีกทั้งคงไม่ต่างไปจากปลายพู่กันของจิตรกรที่อาศัยพลังจากการภาวนา ตวัดหมึกสีเดียวและใช้เส้นๆ เดียว เนรมิตโลกทั้งโลกขึ้นมา   บางครั้ง ผมชอบเรียกลีลาชีวิตเช่นนี้ว่า "เพลงดาบอนัตตา" แน่นอน ทั้งหมดเป็นเพียงความพยายามของผมที่จะชี้ให้เห็นว่า การเชื่อมโยงโลกธรรมกับปรมัตสัจจะ เป็นทั้งสิ่งที่จำเป็นและเป็นไปได้ในยุคปัจจุบัน ส่วนการตัดขาดจากโลกียสุขอย่างเด็ดขาดสู่หนทางแห่งบรรพชิตนั้น ผมไม่มีคุณสมบัติพอจะออกความเห็น และคงไม่ใช่ประเด็นในวันนี้ รบกวนท่านทั้งหลายมามากแล้ว ขอขอบคุณที่กรุณารับฟัง"         0 0 0 0 0 0 0     ช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น     เมื่อสิ้นสุดการปาฐกถา ช่วงต่อมาคือการเปิดให้เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล โดยผู้ร่วมงานเสวนาท่านหนึ่งได้ถามว่า เมื่อชาวตะวันตกเริ่มหันเข้าหาพุทธธรรมแล้ว แต่คนไทย 63 ล้านคน ซึ่งมีพุทธศาสนาเป็นหลัก ยังไม่มีความตื่นตัวเท่าที่ควร ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไรให้คนไทยทั้งหมดสามารถเข้าถึงพุทธธรรมและปรับตัวให้เท่าทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ได้   ต่อคำถามดังกล่าว อาจารย์เสกสรรค์ตอบว่า ไม่ควรพูดหรือคิดแทนโดยอ้างฐานะ "เจ้าของประเทศ" หรือ "คนไทย" เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้คน 63 ล้านคนเข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมพร้อมๆ กัน หรือไล่เลี่ยกัน ถ้าเลิกความคิดนี้จะดีกว่า เพราะถ้าไม่เลิกคิดจะทำให้เป็นทุกข์ นอกจากนี้ยังไม่ต้องไปเสียใจว่า บัดนี้ชาวะวันตกเอาจริงเอาจังเอาการเอางานในเรื่องการปฏิับัติธรรม แต่ควรจะดีใจกับเขา อนุโมทนาในสิ่งที่เขาทำ เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ใครจะเสียอะไรเลย มีแต่ได้ อย่าไปตั้งความคิดว่า "ของของเราแท้ๆ แต่คนอื่นมาเอาไป" เพราะที่จริงแล้ว ไม่มีใครเป็นเจ้าของพุทธธรรม   คำถามต่อมา มีการอ้างถึงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ถาม ซึ่งกล่าวว่าการนำพุทธธรรมมาใช้รับมือกับโลกาภิวัตน์ จริงๆ แล้วยังมีข้อจำกัด เพราะบางครั้งไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง   "ตรงนี้ผมเข้าใจ เพราะว่าพลังในสิ่งเย้ายวนมันสูงมาก คุณสามารถเปิดอินเทอร์เน็ต ดูรูปผู้หญิงแก้ผ้าได้ทั้งวัน คุณสามารถยกหูโทรศัพท์เล่นหุ้นได้ คุณสามารถที่จะเดินวันทั้งวันในศูนย์การค้าแล้วยังดูของไม่หมด พลังมันมหาศาล เป็นพลังที่...ถ้าคุณมีจิตใจที่ไม่เข้มแข็งพอ มันยากมากที่จะก้าวพ้น ไม่้ต้องพูดถึงการไปนิพพานนะ เอาแค่ว่า ก้าวพ้นจากชีวิตอย่างนั้น แล้วมาใช้ชีวิตทางโลกในด้านอื่นๆ ที่ดีกว่าบ้าง หรือว่าไม่สิ้นเปลืองบ้าง ก็แสนยาก ผมในฐานะที่เป็นบุคลากรในด้านการศึกษา ผมอยู่กับคนหนุ่มสาวทุกยุคทุกสมัยตลอดเวลา 20 กว่าปีมานี้ เห็นชัด นักศึกษาของผมเป็นเช่นไร" อาจารย์เสกสรรค์กล่าว   "มีหลายคนที่ไม่เข้าเรียนหนังสือ และเมื่อเขาเดินมา เหมือนศูนย์การค้าเคลื่อนที่ คือเสื้อผ้าหนึ่งยี่ห้อ กระเป๋าหนึ่งยี่ห้อ คือเขาต้องการอวดยี่ห้อด้วยนะครับว่ามันทันสมัยใหม่ล่าสุด เพราะฉะนั้นผมเข้าใจว่าพลังดึงดูดมันรุนแรง ถามว่าแล้วจะทำยังไง คือโดยวิถีทางธรรมที่ผมเข้าใจ คนอื่นทำแทนไม่ได้ ผู้ถูกกระทำต้องมีความตระหนักก่อนว่าตัวเองถูกกระทำ เข้าใจตรงนั้นแล้ว จะต้องมีความกล้าหาญที่จะไม่ยอมให้สิ่งเหล่านั้นมากระทำ"   "ทีนี้ถามว่า ถ้าทำไม่ได้จะทำยังไง ทำไม่ได้ก็คือทำไม่ได้ หมายความว่าคุณไม่สามารถที่จะเอาชนะมันได้ ก็อาจจะต้องตกเป็นเหยื่ออีกสักพักใหญ่ๆ ถ้าคุณโชคดีไม่ฆ่าตัวตายและฆ่าผู้อื่นไปก่อน วันหนึ่งคุณอาจจะสรุปได้ ตัวผมเองก็ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะมาเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ผมผ่านร้อนผ่านหนาว ทำผิดทำถูกมายาวนานมาก ชีวิตผมทำบาปมามหาศาล...เพราะฉะนั้นบางทีคนหนุ่มสาวในยุคปัจจุบัน อาจจะต้องสะสมความเข้าใจ ความเจ็บปวด ซึ่งท่านเชอเกียม ตรุงปะบอกว่า "เป็นปุ๋ยอย่างดี" สำหรับการหว่านเพาะประเด็นธรรม"   "ชีวิตทางโลกไม่ได้มีด้านมืดไปซะทั้งหมด วันหนึ่ง ถ้าเรานึกออก มันอยู่ในตัวเรา จริงๆ แทบไม่ต้องให้ใครมาสอน ที่ผมต้องค้นคว้ามากหน่อยก็เพื่อมาพูดกับท่าน เวลาพูดกับตัวเองมันไม่ต้องค้นคว้า มันจะค่อยๆ นึกออกทีละเรื่อง เพราะว่าจริงๆ ก็อย่างที่พระท่านสอนมา จิตเดิมของเรามันสะอาด มันบริสุทธิ์ มันไม่ทำร้ายตัวเองอย่างที่เรากำลังทำอยู่ อาจจะต้องทำใจนะครับ เราอาจจะต้องเห็นลูกหลานเยาวชนมีชีวิตที่พังทลายย่อยยับไปต่อหน้าไปอีกสักพักใหญ่ๆ กว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้"     "การที่ออกไปแข่งรถแข่งกลางดึกก็เพื่อขับไล่ความว่างเปล่าไร้แก่นสารของชีวิตที่เขาเผชิญอยู่ แน่นอน ในทางความรู้ สติสัมปชัญญะ เราก็ต้องเตือนกันไปตลอด แต่ว่าเขาจะหยุดตัวเองได้หรือไม่ มันขึ้นอยู่กับเขาเท่านั้น สังคมอาจจะมีกลไกของตำรวจ ของศาล ของรัฐ ไปหยุดเขา แต่ท้ายที่สุด เขาต้องหยุดตัวเอง"       นอกจากนี้ ได้มีการกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม "เด็กแว้น-เด็กสก๊อย" หรือเยาวชนชายหญิงกว่า 300 ที่ซิ่งมอเตอร์ไซค์บนถนนสาธารณะ ซึ่งอาจารย์เสกสรรค์แสดงความคิดเห็นว่า คงไม่มีใครอยากเห็นเยาวชนทั้งหลายเป็นเด็กมีปัญหา แต่ก็จำเป็นจะต้องวางอุเบกขา   "สถิติของเราในวันนี้ ตั้งครรภ์ในเวลาอันไม่สมควรสูงสุดในเอเชีย ฆ่าตัวตายโดยเฉลี่ยประสบความสำเร็จวันละ 2 คน เฉพาะวัยรุ่น แล้วก็ไม่ต้องพูดเรื่องสถิติยาเสพติด การหย่าร้าง สถิติอาชญากรรมอื่นๆ ก็ลองดูว่าคนเหล่านี้ที่มีภาพของความรุนแรง ความก้าวร้าว อย่างเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา จับไป 300 คนที่แข่งมอเตอร์ไซค์ซิ่ง ตามถนนสาธารณะ มาดของเขาที่อยู่บนมอเตอร์ไซค์ในคืนวันนั้น กับมาดของเขาหลังจากที่ถูกขังมา 5 วันแล้วเจอพ่อแม่ คนละคนเลย ร้องไห้สะอึกสะอื้นเป็นทารกน้อย หลังจากไม่เห็นหน้าแม่มา 5 วัน คนเช่นนี้ไม่ใช่คนเข้มแข็ง แต่เป็นคนอ่อนแอ และการที่ออกไปแข่งรถแข่งกลางดึกก็เพื่อขับไล่ความว่างเปล่าไร้แก่นสารของชีวิตที่เขาเผชิญอยู่"   "แน่นอน ในทางความรู้ สติสัมปชัญญะ เราก็ต้องเตือนกันไปตลอด แต่ว่าเขาจะหยุดตัวเองได้หรือไม่ มันขึ้นอยู่กับเขาเท่านั้น สังคมอาจจะมีกลไกของตำรวจ ของศาล ของรัฐ ไปหยุดเขา แต่ท้ายที่สุด เขาต้องหยุดตัวเอง เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เขาก็จะเดินเข้าเดินออก ตั้งแต่วัยเยาว์ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ระหว่างท้องถนนกับห้องขัง ไม่มีใครหยุดเขาได้ ตราบใดที่วันนั้นยังไม่มาถึง เราก็น่าจะภาวนาให้เขาสามารถคิดเองได้"
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/28231
2010-03-14 18:28
'คนกรุงฯ รัก ปชต.' รณรงค์ต้อนรับการชุมนุม ชี้มหานครสร้างจากชีวิตคนชนบท
(14 มี.ค.53) เวลาประมาณ 10.30น. กลุ่มคนจากเครือข่ายเดือนตุลา สนนท. สมัชชาสังคมก้าวหน้า และเครือข่ายศิลปินเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งรวมกันภายใต้ชื่อ 'กลุ่มคนกรุงเทพฯ รักประชาธิปไตย' ประมาณ 60 คน ออกเดินจากหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ ไปทางถนนราชดำริ เลี้ยวไปตามถนนเพชรบุรี ผ่านหน้าห้างแพลตตินัม และเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกราชเทวี เพื่อเดินต่อไปยังสยามสแควร์ โดยตลอดเส้นทาง ผู้ชุมนุมได้แจกแถลงการณ์ และเชิญชวนคนกรุงเทพฯ ต้อนรับคนเสื้อแดงที่มาจากต่างจังหวัด โดยขณะหยุดอ่านแถลงการณ์บริเวณหน้าสยามเซ็นเตอร์ ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงประมาณ 2,000-3,000 คน เดินทางผ่านมา จึงมีการชูป้ายต้อนรับ สมบัติ บุญงามอนงค์ หนึ่งในผู้ร่วมชุมนุม ระบุว่า ทราบข่าวจากการประชาสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ตจึงมาเข้าร่วม โดยอยากให้คนกรุงเทพฯ มองว่า ผู้ที่เดินทางเข้ามามีสิทธิเท่ากับที่คนกรุงเทพฯ มี ทั้งนี้ เขามองว่า การเข้ามาของรัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นไปอย่างผิดปกติ ขณะที่มีคนกลุ่มหนึ่งบอกว่า ชอบธรรม ก็มีคนบอกว่าไม่ชอบธรรมเช่นกัน ดังนั้น จึงควรยุบสภาให้ประชาชนตัดสิน ทั้งนี้ในแถลงการณ์ของ "กลุ่มคนกรุงเทพฯ รักประชาธิปไตย" มีรายละเอียด ดังนี้   แถลงการณ์'กลุ่มคนกรุงเทพฯ รักประชาธิปไตย' ในช่วงปัจจุบันคนเสื้อแดงรักประชาธิปไตยจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศกำลังเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ยุบสภา ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงนี้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจึงเป็นข้อเรียกร้องที่มีความชอบธรรม กรุงเทพฯ ในฐานะเมืองหลวงของประเทศไทยที่ก่อร่างสร้างตัวจากทรัพยากรและผลผลิตจากทั่วประเทศ โรงงานต่างๆ รอบกรุงเทพฯ อาศัยแรงงานจากชนบทเพื่อผลผลิตประชาชาติให้กับกรุงเทพฯ ขณะเดียวกัน ความสะดวกสบายของเมืองหลวงแห่งนี้อาศัยงบประมาณที่ประชาชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการสร้างทั้งสิ้น กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางบริหารของประเทศนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมาถึงของประชาชนจากทั่วประเทศเพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ในระบอบประชาธิปไตยความเห็นที่แตกต่างเป็นเรื่องปกติ การแก้ไขความขัดแย้งนี้ย่อมต้องใช้วิธีการที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น ขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังต้องการเสถียรภาพเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้ทำมาโดยตลอด ทั้งที่เคยพูดถึงการสร้างความปรองดองแห่งชาติ เมื่อได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การปิดกั้นและกีดกันการเดินทางของคนเสื้อแดงย่อมไม่สามารถทำให้เกิดความปรองดองตามที่ประชาชนทุกคนต้องการและนายอภิสิทธิ์เคยแถลงไว้ ในสื่อกระแสหลักที่พยายามบอกว่า การมาถึงของเสื้อแดงเป็นการสร้างความเดือดร้อนรำคาญซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลไม่ได้พยายามสร้างความสมานฉันท์ และความเดือดร้อนต่อปัญหาการจราจรย่อมเกิดขึ้นเป็นช่วงสั้นๆ แต่ถ้ารัฐบาลพยายามรับฟังคนเสื้อแดง สิ่งเหล่านี้ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้น กรุงเทพฯ จึงเป็นเมืองที่พี่น้องชาวต่างจังหวัดสามารถเดินทางเข้ามาทำกิจกรรมทางการเมืองได้ เราในฐานะชาวกรุงเทพฯ ขอต้อนรับพี่น้องคนเสื้อแดงชาวต่างจังหวัดด้วยความยินดี คนกรุงเทพฯ ยินดีต้อนรับประชาชนเสื้อแดงด้วยความเต็มใจ ท้ายนี้ เราใคร่ขอเสนอสื่อทางเลือก สื่อเสรี สำหรับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ดังนี้ http://www.prachatai.com [1]http://www.thaienews.blogspot.com [2]http://www.newskythailand.com [3] (ต้องการ proxy ในการเข้าชม)
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/25950
2009-09-24 05:08
คำต่อคำจาตุรนต์ ฉายแสง: "3 ปี...หลังปฏิวัติ 19 กันยา ประชาชนเสียอะไร"
อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยระบุ 3 ปีรัฐประหาร ถือเป็นความเลวร้ายที่สุด ทำลายระบอบประชาธิปไตย เพื่อจัดการ "ทักษิณ" เพียงคนเดียว ทำลายกระบวนการยุติธรรมย่อยยับ ต้นเหตุให้ความขัดแย้งบานปลาย ชี้ชัดอำมาตย์อยู่เบื้องหลังรัฐประหารและยังบงการอยู่ สุดท้ายได้รัฐบาลอภิสิทธิ์ที่บริหารประเทศไม่ได้ หมายเหตุ: นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวในงานสัมมนา "3 ปี...หลังปฏิวัติ 19 กันยา ประชาชนเสียอะไร" ที่จัดโดยพรรคเพื่อไทยร่วมกับมูลนิธิ 111 อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ โรงแรมโรงแรมรามาการ์เด้นส์ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552     000   จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย    “ในบรรดาความเลวร้ายทั้งหลายทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นได้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการรัฐประหาร เพราะฉะนั้นประเทศจะมีปัญหาอะไร เลวร้ายขนาดไหน จะเลวร้ายแค่ไหนก็ตาม ไม่สามารถใช้มาเป็นข้ออ้างในการรัฐประหารได้ เพราะว่าเมื่อรัฐประหารแล้วจะยิ่งเลวร้ายกว่านั้นเข้าไปอีกเสมอ...”   000   ท่านหัวหน้าพรรค ท่านนายกฯ ท่านสมาชิกผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน วันนี้แนวความคิดผู้จัดคือ เชิญ 3 พรรคมาพูด พรรคที่ถูกยุบไปแล้ว 2 พรรค พรรคปัจจุบันพรรคหนึ่ง ผมมาพูดในฐานะเคยเป็นรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ธรรมดาถ้าช่วงที่พรรคไทยรักไทยไปพูดปราศรัยที่ไหน ผมปราศรัยแล้วส่วนมากผมจะปราศรัยก่อนนายกฯทักษิณ พอปราศรัยเสร็จก็ส่งไมโครโฟนต่อ วันนี้ส่งไมโครโฟนไม่ได้ เพราะท่านไม่อยู่   ที่เขาตั้งหัวข้อบอกว่า ปฏิวัติ 3 ปีประชาชนเสียอะไร ก็เห็นมีที่เขามักจะตั้งหัวข้อกัน เห็นตามหนังสือพิมพ์เขาไปตั้งว่า รัฐประหาร 3 ปีประชาชนได้อะไร และคำตอบก็เหมือนกันคือ ไม่ได้อะไรสักอย่าง มีแต่เสีย เพราะฉะนั้นการตั้งหัวข้อว่า “ประชาชนเสียอะไร” ถูกต้องแล้ว   การรัฐประหาร   ในบรรดาความเลวร้ายทั้งหลายทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นได้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการรัฐประหาร เพราะฉะนั้นประเทศจะมีปัญหาอะไร เลวร้ายขนาดไหน จะเลวร้ายแค่ไหนก็ตาม ไม่สามารถใช้มาเป็นข้ออ้างในการรัฐประหารได้ เพราะว่าเมื่อรัฐประหารแล้วจะยิ่งเลวร้ายกว่านั้นเข้าไปอีกเสมอ ผมพูดอย่างนี้มานานมากแล้ว ความจริงก็เป็นสิบๆ ปีแล้ว หลัง 19 กันยาฯ ผมก็แสดงความเห็นว่าไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่ต้น ระหว่างรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยอยู่ก็ได้พูดยืนยันมาอย่างนี้ตลอด เมื่อก่อนนี้ครบ 1 เดือนผมก็วิจารณ์มาครั้งหนึ่ง จนกระทั่งมาครบ 1 ปีเราก็วิจารณ์ วิเคราะห์ว่า รัฐประหารแล้วประชาชนเสียอะไรบ้าง ต่อมาก็ห่างหน่อยครบ 2 ปี วันนี้มาครบ 3 ปี ให้มาวิจารณ์อีก จะเปรียบเทียบกับอะไรดีนะว่า ดี ไม่ดียังไง ทางคณะผู้จัดก็ขอให้ผมเปรียบเทียบกับสมัยก่อนบ้าง แต่ว่าผมคงไม่พาท่านย้อนไปไกลว่า ก่อนรัฐประหารบ้านเมืองเป็นยังไง   เพียงแต่ว่าในการจะเปรียบเทียบให้นึกถึงสภาพการเมือง การบริหารประเทศก่อน 19 กันยายน 2549 สักหน่อย ว่า เรามีพรรคการเมืองที่มาทำนโยบายร่วมกับประชาชน เสนอกับประชาชน หาเสียงกับประชาชน และประชาชนเลือกมาด้วยคะแนนเสียงเกือบจะครึ่งหนึ่งของสภา เสร็จแล้วพรรคการเมืองนั้นคือพรรคไทยรักไทยได้นำนโยบายที่เสนอไว้กับประชาชนทั้งหมด ทุกเรื่องติดตามถนนหนทาง ตามสี่แยก ออกวิทยุ โทรทัศน์ ทุกเรื่องไปประกาศเป็นนโยบาย ในที่ประชุมรัฐสภา และทำตามนั้นทุกเรื่อง เป็นปรากฏการณ์ใหม่สุดครั้งแรกในการเมืองไทยเท่าที่เคยมีมา   ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อปี 2548 พรรคไทยรักไทยได้รับเลือกกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ส.ส. 377 เสียง มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และหลังจากนั้นเมื่อ 4 ปีแรก เป็น 4 ปีที่ซ่อมเศรษฐกิจ 4 ปีต่อมาก็ตั้งใจเป็น 4 ปีสร้าง รัฐบาลไทยรักไทย ทำนโยบายต่างๆ ตามที่นายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้พูดไปแล้ว และได้จนกระทั้งประเทศซึ่งเป็นหนี้ต่างประเทศมาก สามารถชำระหนี้ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนด และทำให้ประเทศไทยพ้นจากสถานะการเป็นลูกหนี้ และกลายเป็นเจ้าหนี้ประเทศอื่น เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี   พรรคไทยรักไทยเข้ามาบริหารประเทศในขณะที่งบประมาณแผ่นดินเป็นงบประมาณขาดดุล ซึ่งขาดดุลอยู่มากพอสมควร บริหารไปๆก็ก้าวเข้าสู่การเป็นรัฐบาลที่ใช้งบประมาณสมดุลติดต่อกันประมาณ 3 ปี งบประมาณปีพ.ศ. 2549 เป็นปีก่อนที่พรรคไทยรักไทยจะถูกยึดอำนาจไปนั้น รัฐบาลไทยบริหารประเทศโดยงบประมาณสมดุลนะครับ ที่มาวิจารณ์กันว่าไปล้างผลาญอะไรต่างๆ ไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น นี่เป็นบรรยากาศทางการเมืองก่อนรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 ประเทศไทยอยู่ในช่วงที่มีการแข่งขันนโยบายของพรรคการเมือง มีรัฐบาลที่เข้มแข็งทำงานได้ มีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพสูง มีนายกรัฐมนตรีที่เข้มแข็งและสามารถบริหารประเทศ และเป็นนายกรัฐมนตรีที่ก้าวขึ้นไปเคียงบ่าเคียงไหล่ผู้นำประเทศต่างๆทั่วโลก บางครั้งในการประชุมซัมมิค บางครั้งนายกฯทักษิณพบกับนายกรัฐมนตรีที่เป็นอภิมหาอำนาจ วันเดียวพบแบบตัวต่อตัว 4 คนติดต่อกัน ไม่เคยมีใครทำแบบนี้   นี่คือก่อนการรัฐประหาร เสร็จแล้วเกิดการรัฐประหารแล้วเป็นอย่างไร ก็อย่างที่เรียนท่านทั้งหลายแล้วนะครับว่า ผมพูดมาตั้งแต่พูดทุกเดือน พูดครบ 1 ปีก็พูดที ครบ 2 ปีก็พูดที มาพูดครบ 3 ปีความจริงก็คือ มันก็เป็นเรื่องคล้ายๆเดิมคือ โดยมาพูดก็จะเอา ทั้ง 4 ข้อของข้ออ้างของคณะรัฐประหารมาพูด มาสำรวจว่าเป็นยังไง ปีนี้ใน 4 ข้อนี้ก็ยังต้องพูดอยู่ และ 4 ข้อนี้ก็มาถึงบางอ้อว่า เราก็ไปตรวจอยู่มันก็ล้มเหลวทุกปี 4 ข้อที่บอกว่าจะแก้ๆ เดี๋ยวต้องสำรวจต่อ มาถึงบางอ้อว่า ทำไมถึงล้มเหลว ก็มีคำเฉลยมาจากพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก ประธาน คมช. เมื่อ 2 วันก่อนนี้ท่านบอกว่า ตอนที่ยึดอำนาจไม่ได้นึกถึง 4 ข้อเลย นึกถึงแต่จะจัดการนายกฯทักษิณอย่างเดียว 4 ข้อนี้มาคิดทีหลัง ก็อย่างนี้ใน 4 ข้อไม่เกิดขึ้นเลย เพราะว่ามันไม่ได้คิดมาตั้งแต่ต้น มันผิดมาตั้งแต่คิดจะจัดการกับคนๆเดียว และการพูดอย่างนี้ของพล.อ.สนธิ หลายคนก็บอกว่า ท่านพูดแล้วแสดงว่า ท่านไม่ได้เกี่ยวข้อง ไม่ได้รู้อะไรเท่าไร ที่ว่าไม่รู้อะไรเท่าไร ทีแรกก็คงจะจริง แต่ว่าตอนที่บอกว่าไม่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องรับผิดชอบ ผมยังคิดว่า จะไม่ได้นะครับ   หลังจากนั้นแผนบันได 4 ขั้น ที่ท่านทำกับใครต่อใคร ยุบพรรคการเมือง วางแผนเป็นขั้นเป็นตอน เอาคมช.เข้าไปจัดการกับรัฐธรรมนูญ ไปจัดการกับทุกสิ่งทุกอย่างจนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้ ท่านประสบความสำเร็จไปแล้ว คือการทำให้นายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่รับผิดชอบได้ยังไง ต้องรับผิดชอบ ที่บอกว่าไม่รู้แต่ต้นเป็นการแสดงให้เราเห็นว่า อ๋อที่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร ก็เพราะว่าปฏิวัติรัฐประหารกันแบบไม่มีมันสมอง ไม่ได้คิดอะไร คำอธิบายของพล.อ.สนธิตลอดมาก็คือบอกว่า “ผมทำตามหน้าที่” หน้าที่อะไรผมถามหน่อย หน้าที่อะไร ทหาร ผู้บัญชาการทหารบกก็ต้องมีหน้าที่ปกป้องประเทศซิ ป้องกันประเทศ มีหน้าที่อะไรมาล้มรัฐบาล   เพราะฉะนั้นที่บอกว่า ทำตามหน้าที่ต้องถามต่อว่า หน้าที่ที่ใครมอบหมาย หน้าที่นี้ใครมอบหมาย เดี๋ยวจะต้องพูดกันต่อว่า 3 ปีมานี้ 2 ปีที่แล้วพูดไปแบบหนึ่ง ผมพูดมาเรื่อยๆ 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้เราเห็นอะไรอีกเยอะ ที่บอกว่า ทำตามหน้าที่ แล้วหน้าที่อะไร ใครสั่ง เดี๋ยวต้องพูดกัน ประเมินกันต่อ   แต่ว่าที่อยากประเมินเสียก่อน เอาตาม 4 ข้อเขาละ และหลังจากนั้นต้องมีบางประเด็นที่มันเห็นชัดเจนมากกว่าความล้มเหลวของทั้ง 4 ข้อนี้ แต่เอา 4 ข้อก่อน ขอเริ่มต้นที่ไม่รู้เขาไปจัดลำดับไว้ที่ข้อที่เท่าไร แต่มันเป็นข้อที่พูดสั้นๆ บังเอิญอ้างแล้วมีผลต่อความรู้สึกคนสูงที่สุด มีผลทำให้คนจำนวนไม่น้อยเอาดอกไม้ไปให้ ไปเสียบไว้ที่รถถัง ไปให้ทหารที่ถือปืนเอ็ม 16 ก็คือ ข้ออ้างที่บอกว่า รัฐบาลทักษิณมีการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์   อันนี้พูดสั้นๆ ได้เลย เกิดอะไรขึ้นผ่านมา 3 ปี กับที่บอกว่า รัฐบาลทักษิณมีการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการแจ้งความร้องทุกข์ กล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ รัฐมนตรีบางคน ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ข้อหาทั้งหมดทุกเรื่อง อัยการสั่งไม่ฟ้องไปหมดแล้ว มีแต่กรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวหารัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลทักษิณ ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สู้ความกัน ศาลพิพากษาจำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ฐานหมิ่นประมาท เพราะรัฐมนตรีเหล่านั้นไม่มีการกระทำที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพแต่อย่างใดทั้งสิ้น   ส่วนที่มีการกล่าวหาว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีการไปแจ้งความดำเนินคดี อัยการเตรียมการไปถึงขั้นสั่งฟ้องแล้ว คมช.สั่งให้ยุติการฟ้อง คือสั่งให้อัยการไม่ฟ้องด้วยข้ออ้างว่า เพื่อเห็นแก่ความสมานฉันท์ของคนในชาติ โดยสรุปก็คือ ข้ออ้างที่หนึ่งนี้ ไม่มีมูลใดๆ ทั้งสิ้น ผมถามว่า 3 ปีที่คุณไปอ้าง จนคนเห็นดีเห็นชอบกับการยึดอำนาจ เพราะบอกว่า ก็เพราะรัฐบาลทักษิณหมิ่นสถาบันเอาไว้ได้อย่างไร 3 ปีนี้พิสูจน์ชัดเจนหมดแล้วว่าไม่มีมูลความจริงใดๆ ทั้งสิ้น ถามว่า คมช.ทั้งหลายจะรับผิดชอบยังไง ไม่มีใครรับผิดชอบ แล้วก็แล้วกันไป เหมือนการยึดอำนาจหลายครั้งหลายหนเป็นอย่างนี้ทั้งนั้นละครับ ไปศึกษาดูได้ อ้างเสร็จ ยึดอำนาจเสร็จ เรื่องก็หายไป แล้วก็เจ๊ากันไป ไม่มีอะไรเกิดขึ้นตั้งแต่ผมเป็นเด็กๆ 6 ตุลาฯก็เป็นแบบนี้ รสช.ก็แบบนี้ มารัฐประหารยึดอำนาจจากท่านทักษิณ ไทยรักไทยก็แบบเดียวกัน   เรื่องที่ 2 คือ เรื่องการแทรกแซงองค์กรอิสระ   ที่บอกว่าองค์กรอิสระถูกแทรกแซงมากเหลือเกินในสมัยรัฐบาลทักษิณ ผมถามนิดเดียวว่า ทำไมเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ได้ ถ้ารัฐบาลทักษิณสามารถแทรกแซงองค์กรอิสระ และศาลได้ ทำไมศาลปกครองจึงวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกา กฟผ.ที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีทักษิณจึงเป็นโมฆะ ถ้าแทรกแซงศาลได้ ถ้าแทรกแซงศาลได้ทำไมศาลปกครองจึงระงับการเลือกตั้งที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการยึดอำนาจ ก่อนที่จะถูกตัดสินว่าโมฆะโดยศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าแทรกแซงศาลปกครองได้ ศาลรัฐธรรมนูญได้ ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ได้ ถ้าแทรกแซงองค์กรอิสระได้ ทำไมกกต.จึงเสนอเรื่องให้ยุบพรรคไทยรักไทยได้ ก่อนที่จะมีการรัฐประหารด้วย และอัยการก็สั่งฟ้องตามนั้น ถ้าแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมได้ ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ เอาละการแทรกแซงมีขึ้นบ้างในการเมืองที่ชุลมุนกันไปชุลมุนกันมา แต่บอกว่า แทรกแซงเบ็ดเสร็จไปหมดเห็นได้ชัด แล้วเกิดอะไรขึ้นใน 3 ปีนี้ในองค์กรอิสระ และกระบวนการยุติธรรม   เริ่มองค์กรอิสระก่อน คุณกล่าวอ้างกล่าวหาว่าแทรกแซงศาลรัฐธรรมนูญได้ คมช.ยึดอำนาจเสร็จ คมช.ก็ตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งขึ้นมาเฉยๆเป็นกรรมการ ไม่เป็นศาลด้วย ตั้งมาไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา แต่มาทำหน้าที่มาเป็นกรรมการตุลาการคนหนึ่ง กกต. ป.ป.ช. สตง. เกิดขึ้นในสมัย คมช.ทั้งนั้น เกิดขึ้นในสมัยที่ คมช.มีอำนาจเต็มที่ รับรององค์กรเหล่านี้ มีรัฐธรรมนูญ2550 แล้ว องค์กรเหล่านี้ กรรมการในองค์กรเหล่านี้ยังทำหน้าที่ต่อไปเหมือนเดิม และจะต่อไปอีกประมาณ 5-7 ปี คมช.เป็นผู้เป็นกลางทางการเมืองหรือไม่ ก็ชัดเจนว่า คมช.เป็นผู้ฝักใฝ่ทางการเมือง แผนบันได 4 ขั้นก็บอกแล้วว่า เอาพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล แล้วคุณตั้งองค์กรเหล่านี้ องค์กรเหล่านี้ก็ยังทำหน้าที่อยู่จนทุกวันนี้ สังคมไทยบอกว่า รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งไปแทรกแซงองค์กรอิสระ สุดท้ายยึดอำนาจแล้วมันไม่ใช่แค่แทรกแซงเท่านั้น กลายเป็นองค์กรเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นเอง โดยคณะผู้ยึดอำนาจที่ฝักใฝ่การเมือง เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความหมาย การรัฐประหาร 3 ปีมานี้ได้ทำลายความหมายขององค์กรอิสระไปอย่างยับเยินไปแล้ว ไม่มีองค์กรอิสระในประเทศไทย   000   “ปัญหาใหญ่มันอยู่ที่ว่า ระบบการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นของประเทศล้มสลายไปแล้ว เพราะคุณใช้องค์กรที่มาจาก คมช.ตั้งไว้ไม่เป็นกลางมาตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น คนที่ยึดอำนาจด้วยกัน คนที่รวมกันได้อำนาจมาจนถึงวันนี้จะเกรงกลัวการตรวจสอบเหล่านี้ได้อย่างไร ในเมื่อเป็นพวกเดียวกัน โอกาสที่จะคอรัปชั่นเกิดขึ้นมากมายแน่นอน ไม่มีทางปฏิเสธได้ ไม่มีทางป้องกันได้…”   000   เรื่องทุจริตคอรัปชั่น   ซึ่งพูดกันมาก พูดมากเลยเกิน จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ว่า โอ้โฮ รัฐบาลไทยรักไทยทุจริตมากมายมหาศาล แล้วก็บอกว่า รับรองหากยึดอำนาจได้ติดคุกกันเต็มไปหมด รับรองได้ว่าติดคุกกันเป็นสิบๆ ปี เป็นร้อยๆ ปี มีเป็นสิบๆคดี เป็นสิบๆเรื่อง เดี๋ยวเดียวก็ติด บอกว่าเดี๋ยวเดียวก็จะติดคุกกันหมด หลังจากยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 ผ่านไปปีที่หนึ่ง ไม่มี ผ่านไปปีที่สอง ไม่มี ผ่านไปปีที่สาม เสร็จไปหนึ่งคดี และหนึ่งที่คดีที่ว่านี้เป็นคดีที่ตัดสินว่า ทักษิณทำผิดกฎหมายที่ไปเซ็นหนังสือยินยอมให้ภรรยาทำสัญญานิติกรรมกับกองทุนฟื้นฟูธนาคารแห่งประเทศไทย โดยสัญญานั้นเป็นสัญญาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีการทุจริต ฝ่ายซื้อไม่ผิด ฝ่ายขายไม่ผิด แต่คนเซ็นสัญญายินยอม ผิดกฎหมาย มีเรื่องเดียวเท่านั้น   ปัญหาที่ผมมาพูดไม่มีทาง ที่ใครจะพิสูจน์ได้ ผมเองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า รัฐบาลไทยรักไทยทุจริตหรือไม่ มากหรือน้อย แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ ประเทศนี้ทั้งประเทศไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้อีกแล้ว อย่างที่ทำกันอยู่มา 3 ปีนี้ ไม่มีใครที่จะสามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า รัฐบาลทักษิณมีกระทำการทุจริตหรือไม่ เพราะอะไรถึงพูดอย่างนั้น เพราะว่ากระบวนการที่ใช้ไปตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นมันผิด มันผิดตรงที่ได้ตั้งคณะกรรมการคตส.ขึ้นมาสอบสวน มาตรวจสอบสอบสวน คณะกรรมการชุดนี้ไม่ตรวจสอบเรื่องอื่น นอกจากเรื่องที่เกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณ อันนี้ก็ผิดในการตั้งองค์กรขึ้นมาทำเฉพาะเรื่องคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าใครที่เป็นอริโดยตรงกับคนในรัฐบาลทักษิณ ใครที่ประกาศป่าวๆว่าจะเอาทักษิณติดคุกให้ได้ ประกาศดังๆมากๆ คมช.เชิญมาเป็นกรรมการ คตส.เลย ทำอย่างนี้ไม่ได้   ความจริงผมก็มีเรื่องที่ คตส.สอบ แต่ที่ผมพูดต่อไปนี้ก็เป็นความจริงทั้งนั้น รับรองว่าพูดแล้วทำให้คนเห็นความผิดของ คตส.ก็ไปเอาผิด คตส.ไม่ได้ เพราะ คตส.มีภูมิคุ้มกันอยู่โดยรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 309 แต่ผมพูดก็เอาผิดหมิ่นประมาทผมไม่ได้เหมือนกัน เพราะว่าผมพูดแต่ความจริง คตส. สอบสวนทั้งหมด ไม่ได้คำนึงถึงกฎหมายพิจารณาความอาญา ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายพิจารณาความอาญา ไม่ได้คุ้มครองสิทธิผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหา เชิญคนไปสอบถามว่า มาในฐานะอะไร บอกว่ามาในฐานะพยาน โอ๊ค เอม อะไรทั้งหลาย อีกหลายคนที่เชิญไปสอบเป็นหลายๆ ชั่วโมงไปในฐานะพยาน เมื่อไปในฐานะพยานก็ต้องมีทนาย แต่เอาใครเข้าไปเป็นเพื่อนก็ไม่ได้ ทนายก็ไม่มี แต่พูดไปแล้ว ผมถามเขาว่า สอบแล้วผมจะกลายเป็นผู้ต้องหาได้ไหม เขาบอกว่าได้ หากได้แล้วทำไมไม่ให้มีทนายกันเลย เขาบอกว่าไม่รู้ แต่ว่าก็สอบแบบนี้แหละ   บังเอิญเราก็ตอบไป โดยคิดว่าก็คงไม่เป็นไร เพราะว่าไม่มีอะไรผิด แต่ว่าการสอบแบบนี้มันผิดหลัก สอบภายใต้ความกดดัน สอบไปคาดคั้นไป ล่อหลอกไป เสร็จแล้วเอาบันทึกไปกล่าวหาหมด เอาไปฟ้อง อัยการไม่เห็นด้วย โต้แย้ง คตส.ไม่ได้ความเห็นจากอัยการแล้วก็ไปให้ทนายฟ้องเอง ป.ป.ช.มาทำคล้ายกันอีก ที่ผิดพลาดมากในการสอบสวนของ ป.ป.ช.และ คตส.ในการสอบสวนคดีทุจริตคอรัปชั่น คือเขาไม่ได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายผู้ต้องหาหรือจำเลย ได้แสดงความคิดเห็นได้ต่อสู้ป้องกันตัวอย่างเต็มที่ รวมทั้งได้ปิดกั้นไม่เปิดโอกาสให้มีการนำพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายผู้ต้องหา หรือจำเลยมาแสดงต่อคณะกรรมการที่ตรวจสอบ และจึงทำให้ข้อมูลและหลักฐานเหล่านั้นไม่ถึงศาล อันนี้เป็นอย่างนั้นจริงๆ ในขั้นตอนสอบคดีอัยการถามว่า ทำไมไม่เอาผู้เชี่ยวชาญมาสอบหวยบนดินว่าเป็นสลากกินแบ่งหรือกินรวบ เขาก็ไม่เอามาสอบ เขาถามว่าคุณว่าทุจริต ทำไมคุณไม่เอาสำนวน สตง.เข้ามาดู ว่า สตง.ตรวจสอบว่าทุจริตหรือไม่ อย่างไร คตส.ก็ไม่เอาส่ง ไมเอาส่งเพราะว่าผู้อำนวยการ สตง.มายืนยันกับผมว่า เรื่องนี้ สตง.ตรวจสอบหมดแล้ว ไม่พบการทุจริตใดๆ ทั้งสิ้น   พอมา ป.ป.ช.สอบ ท่านสมชาย พล.อ.ชวลิต ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล สอบไปแล้วผู้ต้องหาที่ถูกตรวจสอบ ขอยื่นหลักฐาน ขอยื่นคำชี้แจง ป.ป.ช. ไม่รับ ถึงเวลาตามกฎหมายต้องรับ นัดประชุม สมมุตินัดประชุมวันอังคาร เขาจะไปยืนวันจันทร์ อันนี้เปลี่ยนมาประชุมวันจันทร์ สรุปไปแล้วไม่ต้องฟังคำชี้แจงผู้ที่ถูกตรวจสอบ อันนี้ไม่ใช่แค่ผิดที่ไม่ทำในสิ่งที่ควรจะทำ ถึงขั้นผิดกฎหมายด้วยป.ป.ช.คนที่เกี่ยวข้องเขาเตรียมที่จะฟ้องร้องเอาเรื่องเอาราว ป.ป.ช.อยู่ เพราะไม่เปิดโอกาสให้เขาชี้แจงตามกฎหมาย ซึ่งเขามีสิทธิตามกฎหมายที่จะชี้แจง ที่ทั้ง คตส.และป.ป.ช.ผิดมาก ผมว่าที่สำคัญที่สุดก็คือ การผิดประเพณีปฎิบัติ ธรรมเนียมปฏิบัติในการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นของข้าราชการ ที่เขาสอบกัน ทั้ง คตส.และ ป.ป.ช.สอบข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ ล้วนเป็นข้าราชการ ผมเป็นประธาน อคพ.กระทรวงมา 2 – 3 กระทรวง เพราะเป็นรัฐมนตรี เวลาสอบข้าราชการก็จะสอบแบบโจรไปปล้น หรือโจรไปฆ่าคนไม่ได้ หมายความว่ายังไง โจรไปฆ่าคน หมายความว่า ผู้ต้องหาสารภาพว่าไปฆ่า เกิดมี นาย ก. นาย ข.เดินมาบอกพนักงานสอบสวนว่า คนนี้ไม่ได้ฆ่า ผมเห็นคนฆ่าเป็นอีกคนหนึ่ง ยังต้องสอบ ยังต้องรับฟังข้อเท็จจริง สอบข้าราชการถ้ามีคนมาบอกว่า ที่เขาไปทำ เป็นการทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ เขาไม่ได้ทำความเสียหายเลย ต้องรีบรับฟัง เพราะว่าสอบเสร็จแล้ว จะต้องให้ความดีความชอบแก่ผู้ถูกสอบ เพราะเขาเป็นข้าราชการมีหน้าที่ไปทำประโยชน์เพื่อบ้านเมือง อันนี้สอบยิ่งกว่าสอบผู้ต้องหาคดีฆ่าคนตาย คือไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกตรวจสอบได้ชี้แจง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น   เพราะฉะนั้นถามว่า ตอนนี้คอรัปชั่นมากกว่าอดีตไหม บอกไม่ถูก รู้แต่ว่าก็เห็นมีมาเรื่อย ปลากระป๋องเน่า ขายข้าวขาดทุน มาถึงเอาเรื่องสองเรื่องมาโยงกันเลยคราวนี้รัฐบาลปัจจุบัน เรื่องที่หนึ่งคือเรื่องหมิ่นเหม่ เรื่องที่สองคือเรื่องคอรัปชั่น ก็คือโครงการชุมชนพอเพียง ชื่อดีๆทำเสียยับเยินหมด อันนี้เรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาใหญ่ยังไม่ได้อยู่ที่ว่า วันนี้คอรัปชั่นมากหรือน้อยแล้วหรือยัง ปัญหาใหญ่มันอยู่ที่ว่า ระบบการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นของประเทศล้มสลายไปแล้ว เพราะคุณใช้องค์กรที่มาจาก คมช.ตั้งไว้ไม่เป็นกลางมาตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น คนที่ยึดอำนาจด้วยกัน คนที่รวมกันได้อำนาจมาจนถึงวันนี้จะเกรงกลัวการตรวจสอบเหล่านี้ได้อย่างไร ในเมื่อเป็นพวกเดียวกัน โอกาสที่จะคอรัปชั่นเกิดขึ้นมากมายแน่นอน ไม่มีทางปฏิเสธได้ ไม่มีทางป้องกันได้ ใครมีอำนาจอยู่ในมือ และเป็นอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้ ก็แน่นอนว่า มันจะนำอำนาจนั้นไปใช้ในทางมิชอบ และเป็นประโยชน์กับตนเอง   เรื่องต่อไปเรื่องการแตกแยกในสังคม   เขาอ้างเป็นข้อแรก คมช.อ้างเป็นข้อแรก เพราะจะมีความแตกแยกในสังคมเกิดความรุนแรงขึ้น ในวันที่ 17 กันยายน กลุ่มพันธมิตรฯประกาศชุมนุมตายเป็นตาย นัดกันวันที่ 20 กันยายน เพราะฉะนั้นเลยต้องยึดอำนาจป้องกันความรุนแรง และรัฐบาลไทยรักไทยนั้นได้สร้างความแตกแยกในสังคมมากมายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน   3 ปีมานี้เป็นยังไงครับ คนเห็นตรงกันไหมเรื่องรัฐประหาร ก็ยังไม่ตรงกันเต็มไปหมด คนเห็นตรงกันไหมเรื่องรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ตรงกันเต็มไปหมด หนักกว่าเดิม คนเห็นตรงกันไหมเรื่องรัฐบาล ใครควรเป็นรัฐบาล มันก็ไม่ตรงกันอย่างเดิม คนเห็นตรงกันไหมในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม ว่ามีความยุติธรรมหรือไม่ เมื่อวันที่ 19 กันยาฯที่ผ่านมา 2-3 วันนี้ ก็เห็นแล้วคนที่ชุมนุมไม่พอใจรัฐบาลก็ชุมนุมกันอยู่ ความจริงเป็นการชุมนุมรำลึก 3 ปีรัฐประหาร และดูซิครับคนที่รวมตัวกันยึดอำนาจไปทำอะไรอยู่ที่ศรีสะเกษ อันนั้นความแตกแยกลดลงไหมครับ มันไม่ใช่แตกแยกภายในเท่านั้น ความคิดแบบคมช.ซึ่งกล่าวนำเอาไว้หลังจากยึดอำนาจใหม่ๆจำได้ไหม นี่ข้อมูลอะไร โทรศัพท์อะไรสิงคโปร์รู้หมด ต้องซื้ออาวุธมากขึ้น เพราะเราจะรบ สงสัยรบชนะกัมพูชา หรือลาว ได้ประเทศเดียว   พูดมาแต่ละครั้ง ปลุกความคิดชาตินิยมบ้าคลั่ง มาตั้งแต่ คมช. พอต่อมาพันธมิตรฯมาปลุกปั่นจะเอาปราสาทพระวิหารคืน หนักๆเข้าจะเอาเขาพระวิหารคืน แกนนำพันธมิตรฯบางคนบอกว่าจะเอา พระตระบอง เสียมราช ศรีโสภณคืนด้วยซ้ำ วันนี้ถึงจะไปฮึมๆอยู่ที่ชายแดน และจะไม่ใช่แตกแยกเฉพาะในประเทศ จะเป็นความแตกแยกระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะกลายเป็นความเสียหายมากมายมหาศาล เพราะเราแก้ปัญหาทั้งหมดด้วยความรุนแรง การรัฐประหารคือการใช้ความรุนแรง จะบอกว่า ไม่เสียเลือดเนื้อไม่ใช่หรอกครับ อ้างไม่ได้ว่าไม่เสียเลือดเนื้อ และไม่รุนแรง   ก็ถ้ามีพวกโจรถือปืนเอ็ม 16 เข้ามาร้อยคน เข้ามาในนี้ แล้วมาริบกระเป๋าไปจากทุกคน ต้อนคนไปอยู่ในมุมหมด ทุกคนในนี้ก็ไม่มีปืนซักคน ก็เอากระเป๋าให้ไปหมด และโจรก็ออกไป และรายงานว่า มีคณะบุคคลเข้ามาในนี้และได้หยิบกระเป๋าไปโดยไม่เกิดความรุนแรง รายงานแบบนี้หรือ มันคือการปล้น รัฐประหารก็คือการปล้นอำนาจไปจากประชาชน เมื่อเริ่มต้นจากการปล้นคือการใช้ความรุนแรง การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การที่คนๆเดียวอยู่เหนือกฎหมายได้ เขียนอะไรเป็นกฎหมายได้หมด ยกเลิกกฎหมายได้หมด แม้กระทั่งรัฐธรรมนูญ แม้กระทั่งพระราชบัญญัติที่มีพระปรมาภิไธยไว้ยกเลิกไปหมด   เพราะฉะนั้นความคิดของคนในการแก้ไขปัญหาต่อไป แน่นอนว่าจะมีหลายฝ่ายเลียนแบบเอาอย่าง ไม่เชื่อถือระบบ ไม่เชื่อถือกฎหมาย ทั้ง 4 ข้อนี้เห็นได้ชัดครับว่า ล้มเหลวหมด เพราะว่าที่เริ่มต้นก็เริ่มต้นผิด เริ่มต้นจะจัดการกับคนๆเดียวคือนายกฯทักษิณ ผลปรากฏว่า 4 ข้อล้มเหลวหมด แต่ข้อเดียวที่ตั้งใจว่า จะขจัดนายกฯทักษิณก็ทำได้เพียงการเอานายกฯทักษิณออกจากความเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ 3 ปีมาแล้ว ไม่สามารถเอานายกฯทักษิณออกจากหัวใจคนไทยทั้งประเทศได้เลย ใน 3 ปีนี้เห็นอะไรเพิ่มเติมบ้าง นอกจาก 4 ข้อที่เขาอ้างแล้วล้มเหลว เราจะพบว่าใน 3 ปีมานี้ได้เกิดความเสื่อมต่อกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะวงการตุลาการอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ที่เกิดเป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า เขาได้ใช้ขบวนการตุลาการภิวัตน์เข้ามาจัดการกับการเมือง โดยหวังว่าจะเอาตุลาการภิวัตน์เข้ามาจัดการกับการเมืองแก้ปัญหาการเมือง สุดท้ายพอเข้ามาแล้วมันเลยระโยงระยางกันไปหมด ตุลาการภิวัตน์ องค์กรอิสระ ซึ่งองค์กรอิสระก็มีบทบาทคล้ายๆกับพนักงานสอบสวน และเป็นศาลอยู่กลายๆ ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่เป็นศาล เพียงแต่เขาไม่มีกฎหมายเรื่องหมิ่นอำนาจศาล คนก็วิจารณ์ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญทำอะไรผิดมากๆเข้า คนก็ไปเข้าใจเรียกว่า ศาล แย่มาก ศาลใช้ไม่ได้ ศาลลำเอียง ศาลใช้พจนานุกรมเป็นเครื่องมือในการตัดสิน ศาลตัดสินโดยไม่ทันฟังเลย เตรียมคำพิพากษามาจากบ้าน ศาลตัดสินโดยที่จะหาทางลงให้กับพันธมิตรฯ แล้วพอมาป.ป.ช.ก็หาทางลงเพื่อที่จะให้นายกฯอภิสิทธิ์ในการตั้งผบ.ตร. เลยชี้มูลผบ.ตร.ว่ามีความผิด มันพัลวันกันหมด คนแยกไม่ออกว่าศาลไหน   ความจริงปัญหาใหญ่อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทำหลายอย่างไม่ถูกหลักถูกเกณฑ์ แนวคิดตุลาการภิวัตน์เอาเข้ามาแล้ว เข้าใจผิดมาก เอาเข้ามาแล้วตั้งให้ผู้พิพากษาฝ่ายศาลมามีอำนาจในการตั้ง ส.ว.ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ส.ว.มีอำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งขั้นสูง รวมทั้งผู้พิพากษา ระโยงระยางกันไปมาก็เกิดระบบต่างตอบแทนขึ้น ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันขึ้น กลายเป็นระบบนี้ มันจะกลายเป็นระบบที่โปร่งใส ยุติธรรมไม่ได้ ทำหนักไปกว่านั้นเขียนรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถเสนอกฎหมายเองได้ อันนี้ผิดอย่างมาก ผิดหลักการในการแบ่งแยกอำนาจ และยังได้บอกด้วยว่า ให้ศาลสามารถเสนอคำแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการงบประมาณได้เอง ก็หมายความว่าศาลสามารถไปต่อรองกับกรรมาธิการงบประมาณ ซึ่งเป็นคนของรัฐบาล เป็นคนของฝ่ายนิติบัญญัติ ต่อรองกันก็ต้องมีได้มีเสีย คนลองต่อรองกันก็ต้องมีฝ่ายหนึ่งได้เรื่องนี้ ฝ่ายหนึ่งเสียเรื่องนั้น หรือฝ่ายเราได้เรื่องหนึ่งต้องเสียเรื่องหนึ่ง เอาศาลเข้ามาพัวพันอย่างนี้ได้อย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำมาหมดครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่น่าแปลกใจเลยที่เมื่อเร็วๆนี้มีโพลออกมาแล้วคนก็บอกว่า ประชาชนกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ที่ตอบคำถามในโพล ซึ่งน่าจะแทนความเห็นคนจำนวนมากได้ ไม่เชื่อถือในกระบวนการยุติธรรมแล้ว ใน 3 ปีมานี้ ถ้าครบ 2 ปีที่แล้วพูดเรื่องตุลาการภิวัตน์ เรื่องกระบวนการยุติธรรมก็ไม่ชัดเจนเท่าวันนี้   “เรื่องที่มันเห็นชัดที่สุดในความหมายคำว่า “อำมาตย์” คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการหารือกันที่บ้านนายปีย์ มาลากุล 2 - 3 ครั้ง มีใครอยู่ที่นั้นบ้าง หารือกันเรื่องอะไรบ้าง และมีคนออกมาเปิดเผยบอกว่า ที่หารือกันนั้นมีบอกว่า จะทำยังไงให้ทักษิณหายไป มีการพูดกันเตรียมการรัฐประหาร มีการนำเรื่องนี้มาเปิดเผยกันหลายครั้งหลายหน ไม่มีใครออกมาแก้ต่าง ผมติดใจทำไมไม่มีใครออกมาแก้ต่าง เอาเรื่องอะไรเลย และถ้าเป็นไปตามนั้น มันก็บอกได้ชัดว่า ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจ และถ้าพูดต่อไปคือ ใครคือผู้มีอำนาจตัวจริงในบ้านเมืองนี้...”   อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่พูดชัดเท่าวันนี้ก็คือคำว่า “อำมาตย์ หรือ อำมาตยาธิปไตย”   ช่วงยึดอำนาจใหม่ๆผมต้องนึกคำมากว่า จะเรียกอะไรดี มันเป็นระบบที่ข้าราชการ จะว่าข้าราชการก็ไม่ใช่ ก็ใช่อยู่บ้าง ก็เป็นผบ.ทบ. ข้าราชการนำโดยทหาร พอหนักๆเข้าก็ไม่ใช่อีกจะเรียกว่าอะไร พอมีบางคนเรียกว่า “อำมาตย์” คนก็มาทักว่า ไม่น่าจะเรียกว่าอำมาตย์เลย มันน่าจะไม่ตรง นักวิชาการบางคนก็เรียกว่า “อำมาตย์” และบางทีก็หายๆ ไป ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานี้ เพราะ 2 ปีมานี้ผมพูดไม่ถนัดในเรื่องว่า คนทั่วไปไม่เข้าใจคำว่า “อำมาตย์” พูดใช้คำว่า อำมาตยาธิปไตย พูดได้ไม่ค่อยเต็มปาก ในปีหนึ่งมานี้ทำไมเป็นอย่างนี้ ผมว่ามี 2 เหตุการณ์มันฟ้องดี ความจริงมีอีกหลายอย่าง ใครไปฟังคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ คุณจตุพร พรหมพันธุ์ ท่านวีระ มุกสิกพงษ์พูด ก็ได้ข้อมูลไปเยอะแล้วนะครับ   แต่ว่าในบรรดาเรื่องเหล่านั้น เรื่องที่มันเห็นชัดที่สุดในความหมายคำว่า “อำมาตย์” คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการหารือกันที่บ้านนายปีย์ มาลากุล 2 - 3 ครั้ง มีใครอยู่ที่นั้นบ้าง หารือกันเรื่องอะไรบ้าง และมีคนออกมาเปิดเผยบอกว่า ที่หารือกันนั้นมีบอกว่า จะทำยังไงให้ทักษิณหายไป มีการพูดกันเตรียมการรัฐประหาร มีการนำเรื่องนี้มาเปิดเผยกันหลายครั้งหลายหน ไม่มีใครออกมาแก้ต่าง ผมติดใจทำไมไม่มีใครออกมาแก้ต่าง เอาเรื่องอะไรเลย และถ้าเป็นไปตามนั้น มันก็บอกได้ชัดว่า ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจ และถ้าพูดต่อไปคือ ใครคือผู้มีอำนาจตัวจริงในบ้านเมืองนี้ และอันนั้นคือตัวบอกว่า ผู้มีอำนาจตัวจริงในบ้านเมืองนี้คือ อำมาตย์ และระบบที่ใช้ปกครองประเทศนี้คือ อำมาตยาธิปไตย ถ้าคนที่มายืนยันได้ดีที่สุดใน 2-3 วันนี้ต้องขอบคุณอีกครั้ง คือพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ท่านบอกว่าท่านยึดอำนาจมา ท่านไม่ได้คิดอะไรเลย ท่านคิดว่าเป็นหน้าที่ในการที่จะเอานายกฯทักษิณออกไป ท่านเป็นผบ.ทบ. นอกนั้นไม่รู้อะไรแล้ว ก็ทำตามแผนบันได 4 ขั้น เขาบอกให้ทำอะไรก็ทำไป ความหมายคืออย่างนั้น   ทำให้เห็นว่า 3 ปีมานี้การเมืองไทย ระบบการเมืองหลังรัฐประหารใน 3 ปีมานี้ เทียบเคียงกับระบบการเมืองหลังการรัฐประหารในอดีต เช่น ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมจอมพลสฤกษ์ ธนรัตน์ ต่างกันลิบ ต่างกันตรงไหน จอมพล ป. พิบูลสงครามคือเป็น ผบ.ทบ.และยึดอำนาจเป็นนายกฯ มีอำนาจสูงสุดเต็มที่ , จอมพลสฤกษ์ ธนะรัชน์ เป็นผบ.ทบ.ยึดอำนาจมีอำนาจสูงสุดเต็มที่   จากคำพูดของพล.อ.สนธิใน 3 วันนี้ พล.อ.สนธิ ซึ่งเป็นผบ.ทบ.เป็นเด็กนิดเดียว และผู้ใหญ่คือใคร อันนี้มันบอกว่าการเมืองมันเปลี่ยนไปจริงๆ ก็คือว่า ที่เขาพูดๆกันว่าระบอบอำมาตยาธิปไตย อ๋อ..มันก็เป็นอย่างนี้นี่เอง เห็นชัดเจน ใน 3 ปีมานี้ที่สำคัญมาก ที่ผมคิดว่าทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมากๆ ที่ผมพูดไป เป็นเรื่องที่ประชาชนเป็นล้านๆ คนเขาเข้าใจกันหมดแล้ว ความไม่ยุติธรรม ความล้มเหลวในการทำลายระบบการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น ตุลาการภิวัตน์ที่ทำให้เสื่อมขบวนการยุติธรรมเสื่อม ใครอยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจ ใครคือผู้มีอำนาจแท้จริงในประเทศนี้ ประชาชนเป็นล้านๆคนรู้หมดแล้ว   เพราะฉะนั้นมาสู่เรื่องที่ว่า อย่างนี้บ้านเมืองจะไปยังไงกันต่อ ความเสียหายที่มันเกิดขึ้นมันมากมาย ให้มาพูดฐานะอดีตรักษาการหัวหน้าไทยรักไทย และต้องขอพูดเรื่องพรรคการเมืองหน่อย เกิดอะไรกับพรรคการเมืองในขณะนี้ยุบพรรคไทยรักไทย มีการยุบพรรคไทยรักไทยจากความผิดของบุคคล และมีการใช้กฎหมายเผด็จการไปย้อนหลังไปเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหาร 111 คน โดยคณะกรรมการตุลาการที่มาจากการแต่งตั้งของเผด็จการ มันก็เกิดกรณีที่พรรคการเมืองก็อ่อนแอลง ไม่หยุดแค่นั้นด้วย ไม่หยุดแค่พรรคไทยรักไทย กรณีของพรรคไทยรักไทย พรรคการเมืองหนึ่งลงสมัครรับเลือกตั้ง ไปหาทางสนับสนุนให้พรรคการเมืองอื่นลงสมัครรับเลือกตั้ง ถูกตัดสินว่า ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย แต่พรรคการเมืองที่ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ไปต่อต้านคัดค้านการลงสมัครรับเลือกตั้งพรรคการเมืองอยู่รอดปลอดภัยทุกอย่าง อันนี้เกิดขึ้นกับพรรคการเมือง   พรรคการเมืองที่ถูกยุบตามมาคือ พรรคพลังประชาชน พรรคมัชฉิมาธิปไตย พรรคชาติไทย ทั้ง 3 พรรคนี้ เท่าที่จำตัวเลขได้ก็ดูเหมือนพรรคชาติไทยมีการใช้เงินหมื่นกว่าบาท บางพรรคใช้สอบสวนแล้วเชื่อว่าทุจริต ไม่มีจำนวนเงินด้วยว่าใช้เท่าไร แต่พรรคประชาธิปัตย์มีการเอาเงินจากบริษัทเอกชนมาใช้จ่ายในแกนนำของพรรค 258 ล้าน ดีเอสไอไปตรวจสอบมีหลักฐานชัดเจนเป็นคันรถๆ ยืนยันว่าทุจริต ผิดกฎหมายพรรคการเมืองแน่นอน 3 พรรคนั้นบางพรรคหมื่นกว่าบาทยุบไปแล้ว เพิกถอนสิทธิไปแล้ว แต่ 258 ล้านมีพนักงานตรวจสอบอย่างดี ยังพิจารณาไม่เสร็จ และที่พิจารณาไม่เสร็จ ทีแรกพรรคประชาธิปัตย์ก็ทำท่าว่า จะสนับสนุนแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพราะข่าวว่า สงสัยจะไปไม่รอดเรื่องเงิน 258 ล้าน มาวันนี้พรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนท่าที คือไม่สนใจการแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ผมก็สงสัยไว้ก่อนว่า ข่าวที่ออกมาว่าอนุกรรมการลงมติกันไปเสียงส่วนใหญ่หลุดหมด ความผิดไม่ถึงพรรคประชาธิปัตย์เลยนั้นคงจะเป็นความจริง   เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองเราก็มาอยู่ในสภาพยังไง อ่อนแอ นักการเมืองไม่ค่อยมีใครอยากเป็น กรรมการบริหารพรรค ต้องอาศัยคนเสียสละ คนกล้าจริงๆ แล้วก็เหลือกรรมการเล็กๆ ไม่มีการแข่งขันในนโยบายแล้ว ก็ยังดีพรรคเพื่อไทยพยายามทำอยู่ พรรคการเมืองอื่นๆ เขาถืออะไรตอนนี้ เขาถือหลักว่า ยอม ถ้าไม่ยอมสยบให้กับผู้มีอำนาจก็มีหวังถูกยุบอีก ก็ยอมสยบซะดีกว่า มันเป็นเรื่องคณิตศาสตร์ไปแล้ว สยบกับผู้มีอำนาจเสร็จ ก็คิดคณิตศาสตร์ใช้วิธีไหนก็ได้ ดึงคนวิธีไหนก็ได้ขอแค่ให้ได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นอันใช้ได้ อันนี้เป็นผมพูดเหตุการณ์การเมืองก่อนการรัฐประหาร มันแตกต่างกันลิบลับหลังการรัฐประหาร   บทบาทของทหาร 3 ปีมานี้ นอกจากรัฐประหารซึ่งเห็นมาก่อนแล้ว ใน 1 ปีมานี้เห็นชัดครับว่า ทหารไม่ได้กลับเข้ากรมกองเลย ทหารมามีบทบาทในการล้มรัฐบาล จะให้รัฐบาลไหนอยู่หรือไม่อยู่ ขึ้นอยู่กับผบ.ทบ.ผู้นำเหล่าทัพ การชุมนุมของพันธมิตรฯ ทหารบอกวางตัวเป็นกลาง การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง ไม่ต้องการใช้ความรุนแรง นายกฯควรจะลาออก นายกฯควรจะยุบสภา ผบ.ทบ.พูดทั้งนั้น พอตอนนี้แค่พูดว่า จะไปชุมนุมรำลึก 19 กันยาฯ ลวดหนามเต็มหมด ทหารเป็นพันๆเต็มหมด ไหนว่าการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง ไหนว่าทหารจะไม่ใช่ความรุนแรง แล้วสงกรานต์หมายว่าอะไร ขั้นตอนสลายการชุมนุมเริ่มต้นเขาบอกว่า เริ่มต้นใช้ไมโครโฟนไปเตือน แล้วเริ่มแรงขึ้นเป็นขั้นๆ จากน้ำไปเป็นกระบอง วันนั้นเริ่มต้นจากเอ็ม 16 แล้วตามด้วยรถฮัมวี่ รถถัง   ก่อนหน้านี้ชัดเจนไปตั้งรัฐบาลกันในค่ายทหาร เพราะฉะนั้นบทบาทของทหารเปลี่ยนแปลง รัฐประหาร 3 ปีมานี้ได้ทำบทบาทของทหารเปลี่ยนไปอย่างมาก ก็คือทหารไทยกลายเป็นผู้ชี้เป็นชี้ตายรัฐบาล เป็นผู้ที่กำหนด เขาอาจจะรับคำสั่งใครมาก็แล้วแต่ แต่เขาเป็นผู้ร่วมชี้ว่า ใครจะเป็นรัฐบาลต่อไปได้หรือไม่ เขาจะให้ใครเป็นก็ได้ ไม่ให้ใครเป็นก็ได้ ก็ง่ายนิดเดียวก็ไม่ให้ความร่วมมือในการชุมนุม จะให้เป็นก็คือ ช่วยแก้ไขปัญหาการชุมนุม   เรื่องที่แย่มากๆที่พูดไปว่า ก่อนรัฐประหารเรามีรัฐบาล ความจริงก่อนรัฐบาลไทยรักไทย ประเทศไทยมีปัญหามาโดยตลอด ถ้าไม่ใช่เป็นรัฐบาลคนกลาง รัฐบาลเผด็จการ เป็นรัฐบาลพลเรือนมาจากการเลือกตั้ง ที่ล้มลุกคลุกคลานตลอดไม่มีเสถียรภาพ นายกฯทำอะไรไม่ได้ ต้องฟังพรรคร่วมรัฐบาลเต็มไปหมด นโยบายเขียนโดยสภาพัฒน์ฯ พรรคไทยรักไทยมาเปลี่ยน ทำให้นโยบายมาจากประชาชน มาจากพรรคการเมือง และมีนายกฯที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้มแข็ง เนื่องจากรัฐธรรมนูญเขียนไว้ บัญญัติไว้ต้องการให้เป็นอย่างนั้น ใน 3 ปีมานี้เกิดอะไร รัฐบาลสุรยุทธ์ รัฐบาลขิงแก่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนนั้น น้ำท่วมก็รอจนน้ำแล้งแล้วยังไม่ไปเยี่ยมเลย เสร็จแล้วก็มารัฐบาลท่านสมัคร ซึ่งก็มีนโยบายดีพอสมควร ทำอะไรมากไม่ได้อีก เพราะว่าต้องมาแก้ปัญหาพันธมิตรฯ เมื่อแก้ปัญหาพันธมิตรฯเสร็จยังต้องมาพะวงกับเรื่องตัวเองอีก ทำครัวออกทีวีถูกถอดออกไปอีก   การบริหารประเทศไม่มีสมาธิ เพราะพลังหลายฝ่ายรุม รุกเร้าเพื่อจะล้มรัฐบาลให้ได้ เพราะแผนบันได 4 ขั้นยังไม่สำเร็จ รัฐบาลท่านสมชายมา 2 เดือนกว่า ท่านมาในขณะที่ทำเนียบถูกยึดไปแล้ว ไม่มีเวลาบริหารประเทศ ไม่มีสมาธิทั้งนั้น เขาอาจจะบอกว่า ทำให้รัฐบาลประเภทที่เชื้อสายไทยรักไทยทั้งหลาย โยงกับไทยรักไทยทั้งหลายทำไม่ได้ ซึ่งประสบความสำเร็จนะ คือเอาจนออกไป แล้วออกไปจนหมดทุกรัฐบาลละ จนมาเป็นฝ่ายค้าน ถ้าหากเขาจะสำเร็จอะไรบ้างก็คือว่า ควรจะต้องได้รัฐบาลอภิสิทธิ์ที่บริหารประเทศได้ แต่นี้พอปรากฎว่า ได้รัฐบาลอภิสิทธิ์มาบริหารประเทศ รัฐบาลอภิสิทธิ์บริหารประเทศไม่ได้ เพราะว่าที่มามันไม่ชอบธรรม และรัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นหนี้บุคคลหลายฝ่ายเหลือเกิน เป็นหนี้บุญคุณทหารและรัฐมนตรีกลาโหม เป็นหนี้บุญคุณกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นหนี้บุญคุณพรรคร่วมรัฐบาล เป็นหนี้บุญคุณสื่อบางแขนง บางคน   พอกลุ่มพันธมิตรฯบอกว่า ต้องช่วยจัดการคดีลอบสังหาร ก็พอไปตรวจสอบก็บอกว่า เจอตอก็จะไปเล่นงานพล.ต.อ.พัชรวาท ก็เจอรมว.กลาโหมคุมอยู่ พรรคร่วมฯเล่นแง่กัน เอากระทรวงหลักๆ ไปหมด เหลือกระทรวงการคลังกระทรวงเดียว มีไว้เพื่อสำหรับกู้เงิน ขึ้นภาษี ทำอะไรไม่ได้เลย นายกรัฐมนตรีจึงไม่สามารถนำพาประเทศได้ เพราะไม่สามารถนำทางนโยบายอะไรได้ คุมกระทรวงเดียวซึ่งไม่ได้ทำอะไรได้ และทำอะไรไม่ได้แล้ว และยังต่อรองกับรัฐมนตรี สั่งการ ประสานงานอะไรกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆไม่ได้ ไม่อยากตั้งก็ต้องตั้ง อยากตั้งไม่ได้ตั้ง ไม่อยากตั้งปลัดกระทรวงพาณิชย์ ไม่อยากตั้งกระทรวงมหาดไทย ไม่อยากเอาใจพรรคร่วมรัฐบาล และยังต้องการต่อรองเรื่องตำแหน่งผบ.ตร.ก็เกี่ยงไม่ตั้งๆ สุดท้ายต้องตั้งหมด แต่ที่อยากตั้งแต่ตั้งไมได้ทุกวันนี้ ถามว่าตั้งผบ.ตร.ไม่ได้เป็นยังไงบ้าง ก็ตำแหน่งเดียว แค่ตำแหน่งเดียวเท่านั้นไม่เป็นไร ตั้งเมื่อไรก็ได้ เมื่อก่อนจะตั้งหลายตำแหน่งเลย ตั้งไม่ได้อีก ถ้ากลับไปถามก็คงบอกว่า ก็ไม่เป็นไร ที่ตั้งหลายตำแหน่งไม่ได้ เพราะว่ารอตำแหน่งเดียวก่อน   000   “เพราะฉะนั้นถ้าจะแก้ปัญหาประเทศให้ได้ ถ้าหวังจะให้มีรัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ต้องแก้กติกา รีบแก้กติกาแล้วไปเลือกตั้งครับ อย่าไปอยู่นาน เพราะอยู่นานก็แก้ปัญหาประเทศไม่ได้ ไม่มีภาวะผู้นำ หมดภาวะผู้นำไปแล้ว รีบแก้กติกา แล้วยุบสภา แล้วไปเลือกตั้ง เสร็จแล้วแก้ใหญ่ แก้รัฐธรรมนูญใหญ่ทั้งฉบับ ประชาชนทั้งประเทศตัดสินอีกรอบหนึ่ง…”   000   ภาวะผู้นำหมดไปแล้ว ในเมื่อสั่งการประสานงานรัฐมนตรีในครม.ไม่ได้เลยอย่างนี้ แล้วจะบริหารยังไง นโยบายเศรษฐกิจก็ไม่มี ไม่ได้มาจากการยืนประกาศนโยบาย 1 , 2 , 3 ,4 ลงเลือกตั้งแล้วให้ประชาชนเลือก แต่คุณได้มา เพราะคุณเอาทหารมายึดอำนาจรัฐบาลไทยรักไทยเขา เสร็จแล้วคุณก็เขียนรัฐธรรมนูญกัน เลือกตั้งแพ้อีกคุณก็ล้มเขาด้วยกลไกตามรัฐธรรมนูญ แล้วก็ใช้กำลังทหารบังคับ ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร เพราะฉะนั้นมันก็แก้ปัญหาไม่ได้ ประเทศไทยจึงมาอยู่ในสภาพที่เป็นวิกฤตมาก วิกฤตคราวนี้มันเกิดขึ้นเนื่องจากการรัฐประหารครั้งนี้ มันไม่ใช่รัฐประหารแล้ว พอได้รัฐธรรมนูญ ได้เลือกตั้งก็เลิกกันไปกลับเข้ากรมกอง มันไม่จริง สำคัญคือมันได้สร้างกติกาที่ไม่ยุติธรรม ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง   คือรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นกติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง ด้วยวัฒนธรรมการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ถูกครอบงำโดยบุคคลที่มีอำนาจในสังคมผสมเข้าไปด้วย จึงทำให้ประเทศมาอยู่ในวิกฤตอยู่ในปัจจุบัน   มีรัฐบาลบริหารประเทศไม่ได้ คนอยากจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนไม่ได้ บอกให้ยุบสภาแล้วก็ไม่ยุบ แล้วถ้ายุบแล้วก็ยังมีปัญหาตามมาอีก ยุบแล้วถ้าประชาธิปัตย์ชนะเป็นรัฐบาลไปแต่ก็คงบริหารไม่ได้ และรอวันที่ประชาชนไล่ เพราะบริหารไม่ได้ แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์แพ้ พรรคเพื่อไทยชนะ และเกิดอะไรขึ้น รัฐธรรมนูญแบบนี้ก็ง่ายนิดเดียว ยุบพรรคง่ายนิดเดียว ผู้สมัครไม่เป็นกรรมการ คุณก็บอกว่าคุณประชุมกันอยู่ สมมุติว่ามาประชุมกันที่นี้อีก เวลาไปเลือกตั้ง หรือประชุมกันที่ไหนก็แล้วแต่ เขาบอกว่า กรรมการบริหารปล่อยปะละเลย ให้ผู้สมัครไปกระทำการทุจริต ไปอ่านรัฐธรรมนูญดู รู้เห็นเป็นใจ หรือปล่อยปะละเลย แล้วปล่อยปะละเลย มันคืออะไร ประชุมอยู่ หรือไปหาเสียงคนละจังหวัด ก็ปล่อยปะละเลยได้อีก ผู้สมัครอีกจังหวัดหนึ่งทุจริตได้ ก็ยุบได้อยู่ดี   เพราะฉะนั้นการเมืองไทยจึงอยู่ในวิกฤต ซึ่งวิกฤตคือเปลี่ยนรัฐบาลไม่ได้ ทั้งๆที่คนไม่พอใจ และยังมีกติกาใหญ่ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เลือกตั้งมาก็เอาอำนาจไปจากประชาชนได้ มีความไม่ยุติธรรมเต็มไปหมด โดยองค์กรตามรัฐธรรมนูญ โดยกระบวนการยุติธรรมที่ถูกบิดเบือน เบี่ยงเบนไป ทำให้ประเทศไทยเสียหายในการจะแก้ปัญหา วิกฤตเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง คนที่บอกว่า การเมืองยุติไปเถอะ เสื้อแดงหยุดชุมนุม ทุกอย่างก็จะกลับมาปกติ รัฐบาลก็จะแก้ปัญหาได้ มันไม่จริง เพราะรัฐบาลก็แก้ไม่ได้อยู่ดี และไม่จริง เพราะว่าประชาชนทั้งประเทศ ประชาชนวันนี้ถ้าวัดกันแล้วให้ไปลงคะแนนกัน ถามว่าประชาชนส่วนใหญ่เขาพอใจรัฐบาลชุดนี้ไหม ผมเชื่อว่าให้ลงคะแนนกันแบบยุติธรรม เขาก็จะบอกว่า ไม่เอารัฐบาลนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะเสื้อแดงหรือไม่เสื้อแดงหรอก และเขาไม่พอใจระบบนี้   เพราะฉะนั้นถ้าจะแก้ปัญหาประเทศให้ได้ ถ้าหวังจะให้มีรัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ต้องแก้กติกา รีบแก้กติกาแล้วไปเลือกตั้งครับ อย่าไปอยู่นาน เพราะอยู่นานก็แก้ปัญหาประเทศไม่ได้ ไม่มีภาวะผู้นำ หมดภาวะผู้นำไปแล้ว รีบแก้กติกา แล้วยุบสภา แล้วไปเลือกตั้ง เสร็จแล้วแก้ใหญ่ แก้รัฐธรรมนูญใหญ่ทั้งฉบับ ประชาชนทั้งประเทศตัดสินอีกรอบหนึ่ง แต่อย่าใช้กระบวนการมาซื้อเวลา จะแก้ 2 มาตรา บอกว่าจะไปประชาพิจารณ์ จะไปประชามติ อันนี้ไม่มีความจริงใจ เพราะอย่างนั้นผมก็เสนอว่า รีบแก้รัฐธรรมนูญตามแนวทางของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯก่อน ยุบสภาแล้วเลือกตั้ง เมื่อเลือกตั้งมาแล้วประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาล ผมคิดว่าประชาชนที่เขาไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ เขาก็คงจะยอมให้เป็นรัฐบาลไป ถ้าบริหารล้มเหลว ทุจริตคอรัปชั่นกันมาก เขาก็อาจจะมาประท้วงกันอีก ต่อต้านกันอีก แต่เขาก็จะให้โอกาสในการบริหาร และถ้าหากฝ่ายหนึ่งชนะบ้าง ก็หวังว่าพวกที่ไม่ยอมรับกติกาซักที พวกที่ไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่มาตลอด อย่างกลุ่มพันธมิตรฯ จะยอมรับเสียงส่วนใหญ่บ้าง และเมื่อเราผ่านกระบวนการที่ให้แก้รัฐธรรมนูญโดยประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วม   ผมยังมีความเชื่อมั่นว่า ถ้าให้ประชาชนตัดสิน ไปลงประชามติกันว่า จะเอารัฐธรรมนูญปี 40 หรือ 50 อย่าลงประชามติภายใต้กระบอกปืน ภายใต้กฎอัยการศึกเหมือนอย่างครั้งที่แล้ว นั้นแหละเชื่อว่าประชาชนทั้งประเทศจะเลือกเอารัฐธรรมนูญปี 40 กลับคืนมา ถ้าไม่ไปทางนี้ก็ยืดเยื้อกันไปอีกนาน และประเทศจะยังอยู่ในวิกฤตอีกนาน จะประสบความเสียหายอย่างยับเยินไปอีกนาน ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในแง่ความขัดแย้ง ความแตกแยกที่รุนแรง แต่ความเสียหายต่อชีวิตเลือดเนื้อจะตามมาในอนาคต เพราะฉะนั้นต้องรีบหาทางออกกันโดยเร็วที่สุด
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/76185
2018-04-01 20:15
หมายเหตุประเพทไทย #203 ระบบมูลนายสมัยรัตนโกสินทร์
ทำความเข้าใจระบบมูลนายสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ที่เป็นระบบความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงระหว่างรัฐและคนที่อยู่ภายใต้รัฐ ทั้งนี้กฎหมายตราสามดวงกำหนดไพร่ต้องสังกัดมูลนาย ทั้งที่เป็นขุนนางหรือเจ้านาย และต้องเข้าเวรรับใช้มูลนายตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่เข้าเวรรับใช้มูลนายก็ต้องส่งส่วยให้รัฐ รวมไปถึงข้าพระหรือเลกวัดที่เป็นไพร่ซึ่งถูกอุทิศให้เป็นข้ารับใช้ของวัด นอกจากนี้ยังมีทาสประเภทต่างๆ ด้วย ทั้งนี้มีไพร่หนีจากระบบมูลนายอยู่เนืองๆ รวมถึงการไปบวชเป็นพระ จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการปฏิรูประบบราชการและใช้การเกณฑ์ทหาร แทนที่ระบบไพร่ รวมทั้งมีการเลิกทาสด้วยในเวลาต่อมา ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย ตอน ระบบมูลนายสมัยรัตนโกสินทร์ พบกับ คำ ผกา และศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/maihetpraphetthai [1]หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai [2]
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/69626
2017-01-14 11:32
รมว.กระทรวงดิจิทัล ยอมรับขอความร่วมมือเฟซบุ๊กบล็อคเนื้อหาไม่เหมาะสม
เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2560 มติชนออนไลน์ [1] รายงานว่านายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่ากรณีที่มีสำนักงานข่าวต่างประเทศแห่งหนึ่งลงข่าว ระบุในทำนองว่า เฟซบุ๊กตอบรับคำขอรัฐบาลบล็อกการเข้าถึงเนื้อหา และข้อความหมิ่นเหม่ผิดกฎหมาย โดยจากกรณีดังกล่าวยอมรับว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงดีอีได้มีหนังสือแจ้งในการขอความความร่วมมือกับทางเฟซบุ๊กในเรื่องดังกล่าวไปแล้วจริง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นการบีบบังคับทางเฟซบุ๊กแต่อย่างใด เพียงแต่ได้อธิบายเหตุผลให้ทางเฟซบุ๊กฟังเท่านั้น โดยเฉพาะการที่วัฒนธรรมของประเทศไทยกับต่างชาติในบางส่วนมีความไม่เหมือนกัน บางเรื่องต่างชาติอาจมองว่าถูก แต่ในประเทศไทยหากมีการเผยแพร่เนื้อหานั้นๆออกไปอาจสร้างความเสียหายต่อสังคมในวงกว้างได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องขอระงับสื่อหรือเนื้อหาที่ไม่เหมาะซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาที่อาจจะตามมาได้
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/55933
2014-10-10 11:23
กวีประชาไท: กลอนรักจากยุคสมัย
ไม่มีถ้อยคำสวยงามเพียงพอให้ไต่ถามถึงความฝันไม่มีกวีแก้วในจินตนาการมีแต่หญิงชาวบ้านหน้ากร้านดำ ไม่อาจทำให้เธอลืมบางดอกไม้อหังการที่ลับหายในบางค่ำเพลงขลุ่ยผิวเหนือทุ่งข้าวเล่าลำนำไม่มีความเคลื่อนไหวในกวี(...เพียงชั่วเหยี่ยวกระหยับปีกเข่นขย้ำก็ไม่มีความเคลื่อนไหว...ในกวี..) ประวัติศาสตร์ยังถูกสร้างอยู่อย่างเก่าลมพัดแผ่วให้ร้อนผ่าวหนาวถึงนี่เพียงแววตาคู่นั้นสั่นระรี้ในหัวอกไม่เคย...มี...หัวใจ ช่วยลืมเขาเสียทีเถิดที่รักปล่อยความทรงจำแตกหักและหล่นหาย(แม้) เธอเติบโตจากเมล็ดพันธุ์ชนิดใดให้สองมือผู้ยากไร้เช็ดน้ำตา ช่วยลืมเขาเสียทีเถิดที่รักหากความทรงจำแตกหักอย่าร้องไห้หากปวดร้าวเกินกว่าจะเข้าใจให้สองมือผู้ยากไร้...เช็ดน้ำตา
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13705
2007-08-03 04:49
แพทย์อังกฤษในโครงการบริการสาธารณสุขแห่งชาติ ท้าทายยาราคาแพง
Sarah Boseley, บรรณาธิการข่าวสุขภาพวันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม 2550เดอะ การ์เดียนบรรดาแพทย์ในประเทศอังกฤษต่างลุกขึ้นมาปฏิวัติต่อต้านยาราคาแพงของบรรษัทยายักษ์ใหญ่ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ยาราคาถูกที่ไม่มีใบอนุญาตเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคตา - สายข่าวเดอะ การ์เดียน รายงานกองทุนด้านการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน (Primary Care Trust) หลายแห่งเปิดไฟเขียวให้แพทย์ในโครงการบริการสาธารณสุขแห่งชาติ (The National Health Service - NHS) ใช้ยาฉีดรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า Avastin มาแบ่งใช้รักษาผู้ป่วยที่สูญเสียการมองเห็นทดแทนยา Lucentis ซึ่งเป็นยามีใบอนุญาตกำกับแต่มีราคาแพงมากจนไม่สามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยได้ ทั้งนี้ยา Avastin มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับยา Lucentis แต่มีราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว และในประเทศสหรัฐเองก็มีการใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยโรคตาอย่างกว้างขวาง ก่อนหน้านี้ นางแพทริเซีย ฮิววิท อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษเคยออกมาเรียกร้องให้ผู้ผลิตยา Avastin ดำเนินงานศึกษาวิจัยการใช้ยาเพื่อรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ขณะนี้สํานักงานบริการสาธารณสุขแห่งชาติได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัยชิ้นสำคัญเพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพยา Avastin กับยา Lucentis โดยตรง ยาทั้งสองชนิดผลิตโดยบริษัทจีเนนเทคทั้งหมดนี้นับเป็นความเคลื่อนไหวเพื่อท้าทายยาราคาแพงของบรรษัทยาอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ สืบเนื่องจากกระแสความวิตกกังวลต่อราคายาตัวใหม่ๆ และยาที่มีราคาแพงมาก ทำให้สถาบันเพื่อสุขภาพและความยอดเยี่ยมทางคลินิกแห่งชาติ (National Institute of Clinical Excellence - NICE) ต้องพิจารณาสั่งห้ามหรือจำกัดการใช้ยาบางชนิดในโครงการบริการสาธารณสุขแห่งชาติ บรรษัทยาต่างอ้างความจำเป็นต้องสร้างยอดขายให้ได้นับพันล้านเหรียญเพื่อมาชดเชยค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยและพัฒนายา แต่บรรดานักวิจารณ์ออกมาประณามพฤติกรรมนี้ว่าเป็นการค้ากำไรเกินควรขณะเดียวกัน สถานการณ์ยาราคาแพงเกินกำลังซื้อของคนในประเทศกำลังพัฒนา ได้สั่นคลอนความน่าเชื่อถือของอุตสาหกรรมยาอย่างมาก จนต้องมีการประกาศลดราคายาและนำไปสู่การประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่ออนุญาตให้มีการจำหน่ายยาชื่อสามัญราคาถูกได้ในที่สุดแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกราว 26,000 ราย โรคนี้สามารถทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน แต่ยา Lucentis สามารถป้องกันหรือกระทั่งรักษาการมองเห็นให้ดีขึ้นได้ ทว่าบริษัทจีเนนเทคผู้ผลิตและบริษัทโนวาร์ติสผู้จัดจำหน่ายยาดังกล่าวในประเทศอังกฤษกลับตั้งราคาไว้สูงถึง 761.20 ปอนด์ต่อเข็ม ทำให้ NICE ต้องระบุให้ใช้ยาได้เฉพาะกับผู้ป่วยเพียงร้อยละ 20ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด และต่อเมื่อผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นในดวงตาข้างหนึ่งข้างใดแล้วเท่านั้นจักษุแพทย์ในประเทศอังกฤษจำนวนหนึ่งรู้สึกตระหนกและไม่พอใจที่สถานการณ์เป็นเช่นนี้ จึงหันมาให้การรักษาด้วยยา Avastin ซึ่งเป็นยาที่คล้ายกันแต่มีขนาดโมเลกุลใหญ่กว่า ยา Avastin ผลิตโดยบริษัทจีเนเทคเช่นกันแต่มีใบอนุญาตกำกับสำหรับใช้รักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยที่ยา Avastin หนึ่งขวดแก้วเล็กสามารถแบ่งเป็นโดสเล็กๆ ในขนาดที่เหมาะสำหรับฉีดเข้าตาได้เป็นจำนวนมาก และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามากเพียง 10 ปอนด์ต่อเข็ม แม้ว่าจะยังไม่มีการทำการศึกษาวิจัยและขอใบอนุญาตเพื่อการนี้ แต่ประเทศสหรัฐได้ใช้ยา Avastin รักษาผู้ป่วยโรคตาอย่างแพร่หลาย โดยมีบันทึกตัวเลขผู้ป่วยในปัจจุบันมากกว่า 7,000 ราย คลินิคเอกชนบางแห่งในประเทศอังกฤษได้เริ่มใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยโรคตาด้วยเช่นกันกลุ่มผู้อำนวยการด้านการสาธารณสุขของ PCT ในเขตเมืองแมนเชสเตอร์เป็นกลุ่มแรกที่ตัดสินใจจะให้การรักษาด้วยยา Avastin แก่ผู้ป่วยในโครงการบริการสาธารณสุขแห่งชาติ "เราคิดว่าเราควรให้การรักษาผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่จะทำได้ตามนี้เราต้องมียา Avastin" กล่าวโดยนายปีเตอร์ เอลตัน ผู้อำนวยการด้านการสาธารณสุขแห่งเมืองบูรี่ ผู้ซึ่งเป็นแกนนำการตัดสินใจสำหรับเขตเมืองแมนเชสเตอร์ "จอตาคุณอาจเสื่อมแค่ข้างเดียว แต่ปีหน้าตาอีกข้างคุณอาจเป็นอะไรไปอีก ถึงตอนนั้นค่อยมารักษาจอตาที่เสื่อมก็อาจสายเกินไป ในแง่จริยธรรมแล้วเรายอมให้เป็นเช่นนั้นไม่ได้"ทั้งปีเตอร์และเพื่อนร่วมงานต่างรู้สึกพึงพอใจกับหลักฐานทางการแพทย์ที่รวบรวมได้ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา พร้อมชี้แจงว่า Medicare ซึ่งเป็นระบบประกันสุขภาพของรัฐบาลสหรัฐก็ให้บริการการรักษาด้วยยาAvastin ครอบคลุมถึง 48 รัฐจาก 50 รัฐโรงพยาบาล Moorfields ในกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจักษุที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ ได้เริ่มหามาตรการที่จะให้การรักษาด้วยยา Avastin แก่ผู้ป่วยในโครงการบริการสาธารณสุขแห่งชาติ ทว่าก็มีความเสี่ยงสูงสำหรับสํานักงานบริการสุขภาพแห่งชาติเพราะจะเป็นแห่งแรกที่ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพยา Avastin กับยา Lucentisในการรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกโดยตรง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/24910
2009-06-30 21:15
รัฐประหารรอบล่าสุดที่ฮอนดูรัส ขวางประชามติแก้รัฐธรรมนูญ
ประธานาธิบดีเซลายาของฮอนดูรัสถูกทหารจับตัวและส่งออกนอกประเทศ ก่อนที่จะมีการลงประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ชาวฮอนดูรัสชุมนุมต่อต้านทหารหนุนประธานาธิบดี หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐ และละตินอเมริกา ออกมาประณามรัฐประหาร ฮูโก้ ชาเวซ เรียกร้องให้โค่นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร     หญิงคนหนึ่งเดินผ่านโฆษณาหน้าในหนังสือพิมพ์เป็นรูปของประธานาธิบดี มานูเอล เซลายา มีข้อความเขียนว่า “เมล (อีกชื่อหนึ่งของมานูเอล): นี่คือรัฐประหาร” (Getty Images / Daylife)     รัฐประหารในฮอนดูรัส หยุดการลงมติแก้รัฐธรรมนูญ เมือวันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมาประธานาธิบดี มานูเอล เซลายา (Manuel Zelaya) ของฮอนดูรัส ถูกทหารฮอนดูรัสจับกุมและส่งตัวไปยังคอสตาริกา โดยก่อนหน้านี้มานูเอล เซลายา ได้วางแผนให้มีการลงมติในวันที่ 28 มิ.ย. เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อขยายให้ประธานาธิบดีมีวาระดำรงตำแหน่งเป็นสองสมัย ขณะที่ทางศาลสูงสุดของฮอนดูรัสตัดสินให้การลงประชามติในครั้งนี้ไม่เป็นไปตามกฎหมาย   สำนักข่าว BBC รายงานว่า ประธานาธิบดี มานูเอล ถูกทหารล้อมบ้านพักจับกุมตัวก่อนการเปิดให้ลงประชามติหนึ่งชั่วโมง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการรัฐประหารในฮอนดูรัส โดยการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ได้รับการคัดค้านจากศาลสูงสุดของฮอนดูรัสและรัฐสภาฮอนดูรัส ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานทางรัฐสภาก็ได้แต่งตั้ง โรเบอร์โต มิเชลเลทตี (Roberto Micheletti) ประธานสภาขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทน โดยโรเบอร์โต มีสังกัดในพรรคเสรีนิยมเช่นเดียวกับมานูเอล แต่ทางบีบีซีระบุว่าเขาเป็นคู่แข่งของมานูเอล   สตีเฟน กิบส์ ผู้สื่อข่าวในพื้นที่ของบีบีซีรายงานสถานการณ์ในวันที่ 28 ว่า มีรถหุ้มเกราะอยู่ตามท้องถนน และกองทัพก็ยิงแกีสน้ำตาเพื่อขับไล่กลุ่มผู้สนับสนุนประธานาธิบดีที่อยู่หน้าบ้านพักของเขา โดยหลังจากที่มานูเอล เซลายาถูกลักพาตัวมายังคอสตา ริกา เขายังคงบอกว่าตนเป็นประธานาธิบดีที่มีความชอบธรรมอยู่และเรียกร้องให้ชาวฮอนดูรัสออกมาต่อต้านผู้ที่ขับไล่เขาออกจากประเทศ โดยบอกว่า "นี้เป็นแผนการของพวกชนชั้นนำที่ต้องการทำให้ประเทศแยกตัวเองจากโลกและดำรงอยู่ภายใต้สถาวะยากแค้นถึงที่สุด"   จากนั้นทางสภาฮอนดูรัสก็ออกมาแสดงจดหมายลาออกของมานูเอล เซลายา แต่เซลายาปฏิเสธว่าเป็นจดหมายปลอม   โรเบอร์โต มิเชลเลทตี ในฐานะผู้นำชั่วคราวของฮอนดูรัสระบุว่าเขาจะดำรงตำแหน่งจวบจนกระทั่งวาระทางการเมืองของมานูเอล เซลายา หมดลงในวันที่ 27 ม.ค. ปีหน้า (2010) โดยจะมีการเลือกประธานาธิบดีใหม่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีนี้   ผู้นำชั่วคราวของฮอนดูรัสยังออกมากล่าวด้วยว่าเขาแน่ใจว่าร้อยละ 80 ถึง 90 ของประชากรฮอนดูรัสจะต้องรู้สึกดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้แน่     ตำรวจปราบจลาจลและทหารประจำการอยู่หน้าทำเนียบประธานาธิบดี (Getty Images / Daylife)   กลุ่มผู้สนับสนุนมานูเอล เซลายา พากันชุมนุมร้องเพลงชาติฮอนดูรัส หน้าทำเนียบประธานาธิบดี (Reuters Pictures / Daylife)     ประท้วงต้านรัฐประหารในฮอนดูรัส หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารโดยมีจับกุมตัวประธานาธิบดีมานูเอล เซลายา ประชาชนที่สนับสนุนเซลายาหลายร้อยคนออกมาประท้วง โดยมีบางคนสวมหน้ากาก ถิอท่อนไม้ วางแนวป้องกันด้วยโซ่รั้ว พังป้ายโฆษณา ที่ใจกลางกรุงเทกูซิกาลปา (Tegucigalpa) เมืองหลวงของฮอนดูรัส และยังมีการปิดถนนที่นำไปยังที่ทำการประธานาธิบดี   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่ามีเสียงปืนดังขึ้นหลังจากมีรถบรรทุกเข้ามาบริเวณนอกที่ทำการประธานาธิบดี จากนั้นก็มีรถพยาบาลตามมาโดยไม่ทราบว่าฝ่ายใดเป็นผู้ยิง แต่มีผู้เห็นเหตุการณ์ผู้หนึ่งบอกว่าเป็นการยิงปืนขึ้นฟ้า และยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ   นอกจากนี้ยังมีบางกลุ่มดึงเสื้อเชิ้ตขึ้นมาคลุมหัวขว้างปาหินใส่รถที่ผ่านในบริเวณนั้น มีการเผายางรถยนต์และซุ้มขายหนังสือพิมพ์ที่แสดงการสนับสนุนรัฐประหาร มีกลุ่มทหารท่าทางอิดโรยถือปืนกลอัตโนมัติเรียงแถวอยู่ภายในรั้วอาคารที่ทำการประธานาธิบดี   โดยกลุ่มผู้สนับสนุนเซลายา ยังได้ละเมิดกฏการกักบริเวณโดยชุมนุมข้ามคืนอยู่รอบที่ทำการประธานาธิบดี ประชาชนในเมืองหลวงของฮอนดูรัสพากันปิดบ้านและร้านค้าเนื่องจากกลัวความรุนแรงจะเกิดขึ้น   ฮูโก้ ชาเวซ ประธานาธิบดีเวเนซุเอลล่า กล่าวว่าการชุมนุมของกลุ่มผู้สนับสนุนเซลายานั้นเป็นการกบฏจากคนยากจนในประเทศ "หากพวกคณาธิปไตยละเมิดกฏเกณฑ์ ประชาชนก็มีสิทธิ์ออกมาต่อสู้ ขัดขืน พวกเราเป็นพวกเดียวกัน" ชาเวซกล่าว   มานูเอล เซลายา (กลาง) เดินมาพร้อมกับดาเนียล ออร์เตกา (ซ้าย) ปธน. นิคารากัว และ ฮูโก้ วาเวซ (ขวา) ขณะที่กำลังเดินทางเข้าร่วมพบปะหารือในกรุงมานากัว ประเทศนิคารากัวในวันที่ 29 มิ.ย. (Reuters Pictures / Daylife)     นานาชาติร่วมประณามรัฐประหาร ในคืนวันที่ 28 มิ.ย. ฮูโก ชาเวซ ประธานาธิบดี เวเนซุเอลลา รวบรวมพรรคพวกผู้นำฝ่ายซ้ายในประเทศบริเวณใกล้เคียงมาร่วมหารือกันในกรุงมานากัว ประเทศนิคารากัว ในที่ประชุมหารือครั้งนี้ประกอบด้วย ราฟาเอล คอร์เรีย ประธานาธิบดีเอกวาดอร์, ดานิเอล ออร์เตกา ประธานาธิบดีนิคารากัว, อิโว โมราเลส ประธานาธิบดีโบลิเวีย และ เลขาธิการองค์กรความร่วมมือกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกา (Organization of American States หรือ OAS) โดยล่าสุด มานูเอล เซลายา ก็เดินทางมาเข้าร่วมการหารือครั้งนี้ด้วย   ฮูโก้ ชาเวช กล่าวว่าเขาจะทำทุกวิถีทางเพื่อล้มผู้ที่ขับไล่เซลายา และบอกว่าหากเอกอัครราชฑูตเวเนซุเอลลาถูกฆ่าหรือมีการส่งกองทัพเข้าไปในเขตสถานฑูตเวเนซุเอลลาแล้วจะมีการตอบโต้ทางการทหารเกิดขึ้น ประธานาธิบดีเวเนซุเอลลายังได้ประกาศว่าหากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นหลังการรัฐประหารในครั้งนี้เขา "จะโค่นล้มมัน จะโค่นล้มมัน รู้ไว้ด้วย"   โดยชาเวซยังได้บอกอีกว่าจะต้องมีการสืบสวนว่าทางการสหรัฐฯ มีส่วนเกี่ยวข้องเหตุการณ์รัฐประหารในครั้งนี้ด้วยหรือไม่ ซึ่งทางการสหรัฐฯ ก็ออกมาปฏิเสธ   รัฐมนตรีต่างประเทศของเอกวาดอร์ออกมาบอกว่าจะไม่ยอมรับรัฐบาลอื่นนอกจากรัฐบาลของเซลายา ขณะที่ประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา คริสตินา คิทซ์เนอร์ บอกว่ารัฐประหารครั้งนี้ทำให้นึกถึงช่วงที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ละตินอเมริกา   ประธานาธิบดี ลูอิซ อิกนาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิลก็ออกมากล่าวในรายการวิทยุวันที่ 29 มิ.ย. ว่าประเทศบราซิลจะไม่ยอมรับรัฐบาลฮอนดูรัสที่ไม่มีเซลายาเป็นประธานาธิบดี เนื่องจากเซลายาได้รับเลือกตั้งจากการลงคะแนนโดยตรง ซึ่งเป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย   รัฐมนตรีต่างประเทศของคิวบา บรูโน รอดริดจ์ ปาร์ริลล่า ก็ออกมากล่าวประณามรัฐประหารในครั้งนี้ด้วย   กลุ่มผู้สนับสนุนมานูเอล เซลายา ในนิคารากัว ออกมาโบกธงนิคารากัวและธงฮอนดูรัส (Reuters Pictures / Daylife)   ด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ออกมาแถลงว่า "ผมขอให้ผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับการเมืองและสังคมในฮอนดูรัสเคารพหลักประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และหลักของกฏบัตรประชาธิปไตยในประเทศเขตทวีปอเมริกา (Inter-American Democratic Charter)" ขณะที่ ฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ระบุว่าการทำรัฐประหารประธานาธิบดีมานูเอล เซลายา เป็นการละเมิดกฏบัตรประชาธิปไตยในประเทศเขตทวีปอเมริกา และสมควรถูกประณาม   ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศสแถลงว่าประเทศฝรั่งเศส "ขอประณามการทำรัฐประหารที่กำลังเกิดขึ้นในฮอนดูรัส" และยังบอกอีกว่าการจับกุมตัวและขับไล่นักการฑูตในฮอนดูรัส เป็นการละเมิดอนุสัญญาเวียนนาขั้นรุนแรง และเป็นเรื่องยอมรับไม่ได้   ขณะที่นายกรัฐมนตรีของสเปน โฆเซ หลุยส์ รอดริจซ์ ซาปาเตโร ก็ออกมาประณามการ "กักขังและขับไล่" ประธานาธิบดีมานูเอล ของฮอนดูรัส และเรียกร้องให้มีการคืนตำแหน่งให้กับมานูเอลโดยเร็วที่สุด   ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน นายหม่า อิง-เจียว (Ma Ying-Jeou) ยกเลิกแผนการเดินทางไปเยือนฮอนดูรัส   บัง คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ก็ออกมาประณามการก่อรัฐประหาร และเรียกร้องให้มีการคืนตำแหน่งให้กับตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย   โรเบอร์โต มิเชลเลทตี ประธานสภาฯ ฮอนดูรัสและผู้นำชั่วคราว ออกมาเรียกร้องว่า "พวกเราเคารพทุกคนและพวกเราก็แค่อยากขอร้องให้พวกเขาเคารพเราด้วย และปล่อยให้เราอยู่อย่างสงบ เพราะว่าประเทศเรากำลังจะมีการเลือกตั้งที่อิสระและโปร่งใสในเดือนพฤศจิกายนนี้แล้ว"   ในวันที่ 29 มิ.ย เอนริค ออร์เตส รัฐมนตรีต่างประเทศของฮอนดูรัสที่ได้รับการแต่งตั้งจากมิเชลเลทตี ออกมาระบุผ่านสถานีวิทยุ HRN ว่าไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้น โดยกล่าวว่ากองทัพแค่ออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ "ที่รัฐบาลก่อนหน้านี้ต้องการแก้ไขโดยปราศจากหลักการและเป็นการดำเนินการอย่างผิดกฏหมาย"   ผู้นำชั่วคราวของฮอนดูรัสยังออกมากล่าวตอบโต้เสียงประณามจากนานาชาติว่า "ไม่มีใคร ไม่ว่าจะเป็นบารัค โอบามา หรือคนอย่าง ฮูโก้ ชาเวซ ที่จะมีสิทธิข่มขู่ประเทศนี้"     กลุ่มผู้สนับสนุนมานูเอล เซลายา ในคอสตา ริกา แสดงการทักทายเซลายาหลังการแถลงข่าว (Reuters Pictures / Daylife)       สถานีวิทยุเรียกร้องให้ชาวฮอนดูรัสกลับสู่ภาวะปกติ เช้าวันที่ 29 มิ.ย. สถานีวิทยุสองแห่งของฮฮนดูรัส คือ เรดิโอ อเมอริกา (Radio America) และ เรดิโอ เอชอาร์เอน (Radio HRN) ที่เป็นสื่อของฝ่ายตรงข้ามประธานาธิบดีมานูเอล ขอร้องให้ชาวฮฮนดูรัสกลับสู่ภาวะปกติและไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับองค์กรพลเมืองที่พยายามผลักดันให้มานูเอล เซลายา กลับคืนสู่ตำแหน่ง   สำนักข่าว ANSA ของอิตาลีรายงานว่า สถานีโทรทัศน์ในฮอนดูรัสไม่มีการนำเสนอข่าว และสื่อต่างประเทศเช่น CNN และ Telesur ถูกคลื่นรบกวน โดยข้อมูลที่ได้รับการสื่อสารออกมา มาจากทางฝั่งรัฐบาลปัจจุบันของฮฮนดูรัสเท่านั้น ยังไม่มีองค์กรสิทธิมนุษย์ชนภายในประเทศหรือสถานีวิทยุใดที่ออกมาประณามการปิดกั้นสื่อในฮฮนดูรัส   กอนซาโล เวิร์จ นักข่าวของอาร์เจนติน่าที่ประจำอยู่ในกรุงเทกูซิกาลปา เล่าถึงเหตุการณ์ในวันที่ 28 มิ.ย ว่าเขาตื่นขึ้นเมื่อได้ยินเสียงเฮลิคอปเตอร์และเสียงหวอ เมื่อมองจากที่พักไปยังที่ทำการรัฐบาลแล้วก็พบว่ามีทหารกำลังล้อมพื้นที่มาพร้อมกับรถถัง   เมื่อเวิร์จ เปิดโทรทัศน์และวิทยุก็พบว่ามีการรายงานเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น แต่ในอีกไม่กี่นาทีถัดมาการแพร่ภาพก็ถูกตัดขาด ทำให้ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือในการต่ออินเตอร์เน็ตและรับข้อมูลจากสื่อ   ประชาชนจำนวนมากให้การต้อนรับเซลายา เมื่อเขาเดินทางมาถึงกรุงมานากัวในวันที่ 29 มิ.ย. ในรูปเขากำลังโดยสารอยู่บนรถบัส (Reuters Pictures / Daylife)       เรื่องราวของประธานาธิบดี ผู้ถูกรัฐประหารทั้งที่ยังอยู่ในชุดนอน มานูเอล เซลายา มีบทบาททางการเมืองจากการเข้าร่วมพรรคเสรีนิยมฮอนดูรัส (Partido Liberal de Honduras หรือ PLH) ในปี 1970 เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากมายภายในพรรคเสรีนิยม และเคยอยู่แผนกการลงทุน ในกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคมของฮอนดูรัส (Honduran Social Investment Fund หรือ FHIS) ในสมัยรัฐบาลของ คาร์ลอส โรเบอร์โต ฟลอเรส เขาได้เสนอโครงการเปิดเขตปกครอง (Open counties programme) ซึ่งเป็นโครงการเพื่อลดการรวมศูนย์จากส่วนกลางในด้านการตัดสินใจ และคืนอำนาจให้กับท้องถิ่น โดยที่ทั้งการแบ่งส่วนตามเขตเทศบาลและแบ่งตามชาติพันธ์หรือชุมชนดั้งเดิม ซึ่งเขาวางแผนจะดำเนินโครงการนีอีกครั้งในวาระที่เขาเป็นประธานาธิบดี   ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งมานูเอล เคยให้คำมั่นว่าจะมีการเพิ่มจำนวนตำรวจเป็นสองเท่าจาก 9,000 นาย เป็น 18,000 นาย และยังได้ริเริ่มโครงการดัดสำนึก (re-education) กับกลุ่มมิชฉาชีพแก็งค์ใหญ่ที่ชื่อว่า มารา ซัลวาตรุชา (Mara Salvatrucha) ซึ่งคู่แข่งของเขาอย่าง เปเป โลโบ จากพรรคชาตินิยมมีแนวทางจัดการแก็งค์นี้ต่างออกไปโดยเสนอให้ลงโทษประหารแก็งค์นี้   มานูเอล เซลายา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 27 ม.ค. 2005 โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 49.9 จากผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด และมีที่นั่งในสภา 62 ที่นั่ง ขณะที่ โลโบ จากพรรคคู่แข่งได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 46.2 และมีที่นั่งในสภา 55 ที่นั่ง   ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีผู้ที่เป็นฝ่ายซ้ายจะชื่นชมเขาในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ และการปฏิรูปสังคม ในขณะเดียวกันบางครั้งมันก็ทำให้เขามีความได้เปรียบด้านอำนาจทางเศรษฐกิจในฮอนดูรัส ขณะที่ฝ่ายหัวอนุรักษ์แสดงท่าทีต่อต้านนโยบายต่างประเทศของเขา อย่างเรื่องที่เขาร่วมเป็นพันธมิตรกับฮูโก้ ชาเวซ ประธานาธิบดีเวเนซุเอลลา การให้ฮอนดูรัสเข้าร่วมกลุ่มสหพันธ์โบลิเวียนเพื่อประชาชนแห่งทวีปอเมริกา (Bolivarian Alliance for the People of Our America หรือ ALBA) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เวเนซุเอลลาตั้งขึ้นมาเมื่อต่อต้านเขตการค้าเสรีของอเมริกา (Free Trade Area of the Americas หรือ FFTA) รวมทั้งตัวมานูเอลเองยังได้กล่าววิพากษ์สหรัฐฯ และมีการเผชิญหน้าในภาคธุรกิจอยู่ตลอดเวลา   อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่าในช่วงที่มานูเอล เซลายา ดำรงตำแหน่งอัตราการก่ออาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น และในช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2007 เซลายาก็มีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์และวิทยุออกอากาศรายการสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลเป็นเวลาสองชั่วโมงต่อวัน ซึ่งทำให้กลุ่มสหภาพนักข่าวในประเทศออกมาวิพากวิจารณ์อย่างรุนแรง และฝ่ายค้านก็เรียกเซลายาว่าเป็น "เผด็จการ"   มานูเอล เซลายาจะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นเวลาสี่ปีจนกระทั่งหมดวาระในวันที่ 27 มกราคม 2010 โดยในรัฐธรรมนูญของฮอนดูรัสระบุไว้ว่าประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวเท่านั้น   จนกระทั่งในปีนี้ (2009) เซลายาก็ออกมาเรียกร้องให้มีการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้รัฐธรรมนูญใหม่อนุญาตให้ประธานาธิบดีคนก่อนได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้งได้ ซึ่งมานูเอลตั้งกระทู้ว่า "พวกคุณเห็นด้วยหรือไม่หากจะมีการตั้งกล่องลงคะแนนกล่องที่สี่ในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกันยายน 2009 เพื่อตัดสินว่าควรให้สภาร่างรัฐธรรมนูญยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่"   โดยทางศาลสูงสุดของฮอนดูรัส ทางรัฐสภา อัยการสูงสุด และกรรมาธิการการเลือกตั้งระดับสูงของฮฮนดูรัส ประกาศว่าประชามติของเซลายาในครั้งนี้ผิดกฏหมาย ทำให้รัฐสภาเริ่มพิจารณาถอดถอนเซลายา นอกจกานี้ยังมีประชาชนหลายพันคนออกมาประท้วงต่อต้านเซลายาในวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา       ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก   Honduran leader forced into exile, BBC, 28-06-2009 http://news.bbc.co.uk/2/hi/americas/8123126.stm [1]   Chaos erupts after Honduras coup, Mica Rosenberg, Reuters, 29-06-2009 http://news.yahoo.com/s/nm/20090629/wl_nm/us_honduras_president_18 [2]   World leaders condemn Zelaya's overthrow, France24, 28-06-2009 http://www.france24.com/en/20090628-honduras-leaders-reactions-president-zelaya-army-troops-constitutional-referendum [3]   Ousted president, replacement duel for Honduras, WILL WEISSERT and FREDDY CUEVAS, AP, 29-06-2009 http://news.yahoo.com/s/ap/20090629/ap_on_re_la_am_ca/lt_honduras_coup [4]   Media in Honduras Call for “Normalcy” After Change of Power, Dean Graber, Blog:Knight Center for Journalism in Americas (University of Texas at Austin), 29-06-2009 http://knightcenter.utexas.edu/blog/?q=en/node/4459 [5]   ALBA presidents condemn coup and back Zelaya, Granma International, 29-06-2009 http://www.granma.cu/ingles/2009/junio/lun29/ALBA.html [6]     ข้อมูลเสริม http://en.wikipedia.org/wiki/Politics_of_Honduras [7] (เข้าดูเมื่อ 29 มิ.ย. 2009) http://en.wikipedia.org/wiki/Manuel_Zelaya [8] (เข้าดูเมื่อ 29 มิ.ย. 2009) http://en.wikipedia.org/wiki/Honduran_general_election,_2005 [9] (เข้าดูเมื่อ 29 มิ.ย. 2009)
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/21487
2005-10-05 08:29
รายงานพิเศษ :"สันติสุขชุมชน" อาวุธดับข่าวลือ
เหตุการณ์ที่บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่  21 กันยายน ที่ผ่านมา บ่งบอกให้เห็นถึงภัยจากความหวาดระแวง และความไม่ไว้วางใจที่ชาวบ้านมีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ "ข่าวลือ" ดูเหมือนกำลังจะกลายเป็นอาวุธสำคัญอันทรงประสิทธิภาพในการรบของฝ่ายก่อความไม่สงบ ทว่าแม้รัฐบาลจะออกมากล่าวโทษข่าวลืออย่างไรก็ตาม แต่ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เชื่อหรือไม่ว่า เครื่องมือที่จะนำมาใช้จัดการในเรื่องดังกล่าวกลับแทบไม่มี   "คณะกรรมการสันติสุขชุมชน" เป็นหนึ่ง ใน 14 มาตรการที่คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เสนอต่อรัฐบาลโดยจุดประสงค์เพื่อเป็นกลไกและเครื่องมือที่ใกล้ชิดชาวบ้านในการดับข่าวลือต่างๆ หลังจากที่การออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2548 ก่อให้เกิดกระแสความห่วงใยและความกังวลไปทั่ว จน   แม้รัฐบาลจะได้มีมติ ครม.เห็นชอบมาตรการเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนไปตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2548 แต่เวลาผ่านไปประมาณ 2 เดือน จนเกิดเหตุการณ์ "ตันหยงลิมอ" ก็แล้ว แต่การตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนเพื่อสร้างตัวกลางในการประสานความเข้าใจก็ยังคงไม่เดินไปถึงไหน ทำให้ กอส.ต้องมาออกแถลงการณ์ "ทวงสัญญา" การตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนอีกครั้ง   "เพื่อป้องกันเหตุร้ายทำนองนี้ในอนาคต กอส. เสนอให้เร่งรัดตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนเพื่อเป็นตัวกลางระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่ ทำหน้าที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่างๆ ได้ติดต่อสื่อสารกันเพื่อรื้อฟื้นความไว้วางใจระหว่างกันกลับคืนมา อันเป็นหนึ่งในมาตรการระยะสั้นทั้ง 14 ข้อที่ กอส. เคยนำเสนอต่อรัฐบาลและสังคมไทยไว้แล้ว"   โดยข้อเสนอในการตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนที่รัฐบาลรับไว้เป็นมติ ครม.มีเนื้อความว่าคณะกรรมการสันติสุขชุมชน จะต้องประกอบด้วย ผู้นำชุมชนเช่น อิหม่ามประจำมัสยิด โต๊ะครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. สมาชิก อบต. ปลัดประจำตำบล ครู เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยตำบล ตลอดจนทหารและตำรวจ   นายจาตุรนต์ ฉายแสง ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะมีการปรับมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน ก็เคยกล่าวอธิบายถึงบทบาทและความสำคัญของ คณะกรรมการสันติสุขชุมชนไว้ว่า   "เขาต้องการให้มีการหารือกัน  ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกฯอบต. อบต. ครู เจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ หารือกันจะทำอย่างไรให้เกิดความสันติสุข จนกระทั่งมาคุยกันว่าเกิดปัญหาอย่างไร  เราจะร่วมมือกันได้อย่างไร อะไรเป็นต้นเหตุสาเหตุ ใครจะปรับปรุงอะไรได้อย่างไร ใครไม่สบายใจเรื่องอะไร ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น ควรจะทำอย่างไร                                           "ในความคิดก็คือว่า ให้เกิดความร่วมมือของทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชน และให้มีทิศทาง ภาระหน้าที่ที่ชัดเจนตามชื่อของมัน ก็คือ "คณะกรรมการสันติสุขชุมชน" ก็คือจะแก้ปัญหาเรื่องความไม่สันติสุขในระดับชุมชนขึ้นมา อันนี้เป็นเรื่องการจะส่งเสริมมาตรการท่านที่ชี้แจงก็ชี้แจงอยู่แล้วว่ากำลังดำเนินการทำนองนี้อยู่   "การดำเนินการต่อไปนี้ ก็ต้องอาศัยเครือข่ายภาคประชาชน อาศัยตัวแทนกรรมการสมานฉันท์บ้าง ในการที่จะมาหารือกันเพราะความคิดในเรื่องพวกนี้  บางทีทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะเข้าใจไม่ดีนัก เว้นแต่บางหน่วยงานที่ถนัดจริงๆ  มันก็จะไม่ค่อยคุ้น เมื่อบอกว่า "สันติสุขชุมชน"  ก็ไม่ค่อยคุ้นแล้ว ดังนั้นก็ต้องหารือกัน แล้วค่อยคิดต่อไป"   แต่ คำว่า "สันติสุขชุมชน" ที่นายจาตุรนต์ ออกตัวว่าเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยคุ้นเคยนั้น กลับไม่ใช่รูปแบบใหม่ในพื้นที่ภาคใต้ หากเทียบย้อนไปดูในเรื่องโครงสร้างของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ "ศอ.บต." ที่เคยทำหน้าที่แบบนี้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลมาก่อน ทว่าถูกรัฐบาล "ทักษิณ" ยุบไปอย่างน่าเสียดายในปี 2545  ซึ่งหากนำโครงสร้างของ ศอ.บต.เดิมมาปรับใช้ในการตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนก็คงไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้   ทั้งนี้ หลายๆ ฝ่ายประเมินการตัดสินใจในครั้งนั้นว่ามีความผิดพลาด จนกลายเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการที่ทำให้สถานการณ์ในภาคใต้รุนแรงในปัจจุบันด้วย   ศอ.บต. ถูกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2524 โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วยคนท้องถิ่นหลายคน เพื่อดูแลและทำความเข้าใจในวัฒนธรรมมลายูมุสลิมของพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ต่อมา คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 56/2539 ลงวันที่ 23 เมษายน 2539 ได้กำหนดบทบาทให้ ศอ.บต.ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นรัฐบาลส่วนหน้า มาตั้งหน่วยอำนวยการอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจำลองหน่วยงานอำนวยการด้านแผนงาน แผนเงิน และแผนคนของรัฐบาลกลางมาอยู่ด้วยกัน   การดำเนินงานของ ศอ.บต. อาศัยหลักการการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เช่นเดียวกับคณะกรรมการสันติสุขชุมชนที่ กอส.เสนอ คือ มีการแต่งตั้งผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และข้าราชการที่มีประสบการณ์เป็น คณะกรรมการที่ปรึกษา ศอ.บต. และเจ้าหน้าที่ ศอ.บต.จะถูกฝึกหัดให้มีความตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเรียนรู้ภาษามลายู ศอ.บต.ที่ตั้งขึ้นจะคอยประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ และการดูแลการคอรัปชั่นและขจัดอคติในหมู่เจ้าหน้าที่ โดยมีอำนาจในการให้รางวัล ลงโทษ หรือย้ายเจ้าหน้าที่ ช่วงปี 2521-2538 มีข้าราชการกว่า 100 คนถูกย้ายออกจากภาคใต้ นอกจากนั้น ศอ.บต.ยังใช้การจัดสัมมนาเป็นประจำเพื่อให้ผู้นำชาวมาเลย์มุสลิมได้ระบายข้อข้องใจ จากการประเมินในช่วงทศวรรษ 80-90 การมี ศอ.บต. พบว่าเหตุรุนแรงลดลงมาก สมาชิกกลุ่มติดอาวุธ หลายคนหันมารับข้อเสนออภัยโทษและเข้าร่วมโครงการพัฒนาหรือเข้าร่วมในกองทัพ พวกที่ลี้ภัยบางคนก็เดินทางกลับมา บางคนเข้าร่วมกองทัพ บางคนไปก่อตั้งปอเนาะ ความรุนแรงที่บานปลายอย่างมากในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นหลังการยุบ ศอ.บต.แทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะในช่วงหลังเริ่มจะมีสัญญาณให้เห็นหลายครั้งว่า คนในพื้นที่เริ่มที่จะไม่ไว้ใจรัฐมากขึ้น ซึ่งอาจจะเห็นได้จากกรณีการห้ามเจ้าหน้าที่เข้าหมู่บ้านที่บ้านละหาน เพราะเชื่อว่าโต๊ะอิหม่ามถูกเจ้าหน้าที่สังหารเสียชีวิต การลี้ภัยของคนไทยมุสลิม 131 คน หรือครั้งหลังสุดในกรณีที่บ้านตันหยงลิมอ   แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตามที่รัฐบาลไม่สามารถตั้ง ศอ.บต.ขึ้นมาใหม่ได้ ก็ไม่ควรเพิกเฉยที่จะสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาความไม่เชื่อใจ อย่างที่ ศอ.บต. เคยทำสำเร็จมาแล้ว ขึ้นมาใหม่ อย่างน้อย การตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนที่ กอส. เสนอ ก็ควรเป็นสิ่งที่ควรจะต้องนำมาพิจารณาให้เกิดความเป็นรูปธรรมมากกว่านี้   ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้คำตอบกับสังคมและ กอส. ว่า รัฐบาลรับปากจะทำตามมาตรการ 14 ข้อ ของ กอส.   "เรายินดีรับข้อเสนอทั้งหมด เพราะมีหลายเรื่องที่รัฐยังไม่ได้ดำเนินการ แต่บางเรื่องได้ทำไปแล้ว ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี"   แต่หากพิจารณากัน ในรอบ 2 เดือน ถึงสิ่งที่รัฐบาลทำ เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีสิ่งที่ กอส. เสนอเลยโดยเฉพาะในเรื่องมาตรการในการดึงมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมนั้น เรียกได้ว่าสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง และในส่วนของการตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนนั้น แทบไม่มีกระแสข่าวแว่วเข้ามาเลยว่ารัฐบาลจะดำเนินการตามที่สัญญาไว้อย่างไร   15 สิงหาคม พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางไป อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เพื่ออ้อนวอนฟื้นสัมพันธ์ในกรณีการสลายการชุมนุมจนทำให้เกิดการเสียชีวิต โดยมีการแจกขนมเด็กๆ หรือเมื่อถามวัยรุ่นว่าจบอะไร พบว่าจบช่างก็สนับสนุนให้เปิดร้านซ่อมรถ เพราะกลัวไม่มีงานทำ คนที่จบบัญชีมาก็ให้มาทำงานที่ร้าน ให้สร้างบ้านแบบน็อคดาวน์  5000 หลัง สำหรับคนไม่มีที่อาศัย และพาทีมเศรษฐกิจมาช่วยฟื้นฟู มีคาราวานแก้จนมาสำรวจ   ส่วน พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ปิ๊งไอเดียการสร้างจิตวิทยามวลชน ด้วยการแจกโทรทัศน์พร้อมติดตั้งยูบีซี เพื่อถ่ายทอดสดกีฬาตามร้านกาแฟ ร้านน้ำชาทั่ว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป้าหมายเดือนแรกที่แจก คือ 500 เครื่อง   ต่อมาเมื่อมีการแจกใบปลิวข่มขู่ห้ามร้านค้าขายของในวันศุกร์ นายกรัฐมนตรีก็เปิดตลาดนัดวันศุกร์และนำทีมดารา เช่น กบ-บรู๊ค ไปช่วยโปรโมตตลาดนัด ในการเปิดตัวตลาดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม เพื่อสู้กับการสร้างข่าวในใบปลิว   และล่าสุด เมื่อเกิดความไม่ไว้วางใจอย่างมากในเหตุการณ์ตันหยงลิมอ รัฐก็แก้ด้วยมาตรการออก สมุดปกขาวมาชี้แจงและทำความเข้าใจ ซึ่งทั้งหมดในสภาพความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้น อย่างมากสิ่งเหล่านี้ก็มีค่าเพียงแค่ "การโฆษณาชวนเชื่อ" ของรัฐบาลเท่านั้น   "ทุกเรื่องเราจะเปิดโปงแผนชั่วของเขา จะพิมพ์ให้คนไทยทั้งชาติได้รู้โดยเฉพาะสื่อ จะได้ช่วยกันกระจาย จะเอาเหตุการณ์สำคัญ ๆ ว่าเขามียุทธศาสตร์อย่างไร พอเรามองดูแล้วจะเกิดความเข้าใจ" พล.ต.อ.ชิดชัย  วรรณสถิตย์ กล่าว   จากตัวอย่างการแก้ปัญหาการสร้างแนวร่วมของรัฐบาลที่ผ่านมา ดูจะไม่มีมาตรการใดที่แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างแท้จริงได้ เพราะไม่มีมาตรการใดที่ออกมาจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่เลย การสร้างความไว้ใจมวลชนของรัฐดูจะมุ่งไปที่การทำการตลาดแบบรายวัน รายสถานการณ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าแก้ปัญหาในทันที  ส่วนที่รับปากกับ กอส.ในแต่ละเรื่อง รวมทั้งการตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนนั้น คล้ายกับรับปากเพราะต้องการเพียงแค่ลดแรงเสียดทานจากกระแสสังคมเท่านั้น   ความจริงการตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชนนั้น เคยมีตัวอย่างความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมอย่าง ศอ.บต. เป็นเข็มทิศอยู่แล้ว การอ้างความไม่คุ้นเคยหรือเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องรอเวลาคงเป็นคำตอบที่ "ไม่โสภา" นัก   ดังนั้นคำตอบในเรื่องนี้คงขึ้นอยู่กับใจรัฐบาลเองว่า "ทำไม่ได้ หรือไม่อยากทำ" ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคำตอบใดก็ตาม สังคมกำลังต้องการเหตุผลดีๆ ที่จะมาตอบ เพราะในช่วงที่ผ่านมารัฐบาล "ช้ามาก" ต่อการดำเนินการในเรื่องนี้ จนดูผิดปกติในความเป็นรัฐบาล "ทักษิณ" ที่ได้ชื่อว่า "คิดไว ทำไว" ที่สุดในประวัติศาสตร์นายกรัฐมนตรีไทยที่ผ่านมา  เพราะทุกๆ ครั้ง หากคิดจะทำอะไรก็ทำได้ทันที แม้แต่การออก "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" ที่มีแต่เสียงทบทวนให้ไตร่ตรองก็ตาม   แต่คราวนี้ เรื่องการตั้งคณะกรรมการสันติสุขชุมชน ไม่น่าจะมีเสียงใดมาคัดค้านให้ไตร่ตรองให้รัฐบาลและ "ท่านผู้นำ" รำคาญใจแน่ๆ  ทำไมไม่คิดทำให้ไวบ้าง    ข่าวประกอบ  ข่าวลือ : กระบวนการสื่อสารดิสเครดิตกลไกรัฐ [1]
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/44011
2012-12-03 17:09
ศอ.บต.ตั้งกรรมการสอบเหตุยิงอิหม่ามยะหาเสียชีวิต
ศอ.บต.ตั้งกรรมการตรวจสอบกรณียิงกรรมการอิสลามยะลา เหตุชาวบ้านเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐทำ เผยยังกำหนดกรอบเวลาไม่ได้ เพราะไม่รู้ใครก่อเหตุ นายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรมศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยกับ DSJ ว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศอ.บต. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการเสียชีวิตของนายอับดุลลาเต๊ะ โต๊ะเดร์ ประธานชมรมอิหม่าม อ.ยะหา จ.ยะลา และกรรมการอิสลามประจำ จ.ยะลา ที่ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่14 พฤศจิกายน 2555 บนถนนสายยะหา – กาบัง อ.ยะหา จ.ยะลาคำสั่งเลขที่ 252/2555 โดยลงนามเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 นายกิตติ เปิดเผยว่า เหตุที่มีการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าว เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน ทำให้ประชาชนรู้สึกขาดความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้นำศาสนาและประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งยังได้รับการร้องเรียกจากประชาชนให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นี้ เพราะเชื่อว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ นายกิตติ เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมามีการนัดประชุมคณะกรรมการชุดนี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องการกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบข้อเท็จ ซึ่งอาจต้องเวลาตรวจสอบประมาณ 2 เดือน เนื่องจากยังไม่สามารถระบุคนร้ายที่ก่อเหตุในครั้งนี้ได้ ส่วนการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 13 ธันวาคม 2555 สำหรับรายชื่อคณะกรรมการชุดนี้มีทั้งหมด 18 คน โดยมีประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา เป็นประธานคณะกรรมการ ส่วนกรรมการ ได้แก่ ผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า(กอ.รมน.ภาค4สน.) ผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศชต.) รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาหรือผู้แทน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลาหรือผู้แทน ผู้บังคับการศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 หรือผู้แทน ตัวแทนจากภาคประชาสังคม ตัวแทนจากภาคประชาสังคม กำนัน ต.ปะแต อ.ยะหา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ปะแต อ.ยะหา ผู้แทนมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดยะลา ผู้แทนมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ผู้แทนสภาทนายความประจำ จ.ยะลา หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือผู้แทน ขณะที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศอ.บต. เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา และผู้แทนสำนักบริหารงานยุติธรรม ศอ.บต. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ส่วนอำนาจหน้าที่และแนวทางในการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดนี้ คือ 1.รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริง ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ เพื่อประมวลผลข้อเท็จจริงผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน และกำหนดแนวทางดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย 2.เรียกเอกสารจากบุคคลหรือเรียกบุคคลมาให้ข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินการตรวจสอบหาค้นหาข้อเท็จจริง 3.รวบรวมปัญหาข้อขัดข้องหรือข้อเสนอแนะต่างๆ โดยเฉพาะด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้นำศาสนาและประชาชนในพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและพิจารณาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและการบังคับใช้กฎหมายต่อไป
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/51682
2014-02-07 20:30
เลือกตั้ง ส.ว. 30 มี.ค. นี้ รับสมัคร 4 - 8 มี.ค. เลือกตั้งล่วงหน้า 23 มี.ค.
7 ก.พ. 2557 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ [1]รายงานว่าที่อาคารโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ตามที่สมาชิกวุฒิภา(ส.ว.) ชุดเดิมจะครบวาระในวันที่ 2 มี.ค.นั้น ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งภายใน 30 วัน โดยขณะนี้กกต.ได้มีมติให้กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ในวันอาทิตย์ที่ 30 มี.ค.นี้ และกำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค. กำหนดเปิดการรับสมัครระหว่างวันที่ 4 - 8 มี.ค. ซึ่งกระบวนการอยู่ระหว่างที่สำนักบริหารงานเลือกตั้งยกร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เพื่อให้กกต.เห็นชอบ ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมกกต.ได้ในวันอังคารที่ 11 ก.พ.นี้
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/64773
2016-03-21 20:04
แจสทิ้งใบอนุญาต 900 เมกะเฮิรตช์-กทค.แถลงแนวทางจัดการ
แจสทิ้งใบอนุญาต 900 เมกะเฮิรตช์ กทค.ยันแจสต้องจ่ายค่าเสียหาย พร้อมเดินหน้าตรวจสอบธุรกิจที่แจสรับใบอนุญาตจาก กสทช.ไป 21 มี.ค. 2559 สำนักข่าวไทย [1] รายงานว่า เวลา 16.45 น. ภายหลังสิ้นสุดกำหนดการรับชำระเงินค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์งวดแรก ของบริษัทแจส โมบาย บรอดแบนด์ (แจส) ในเครือจัสมิน ผู้ประมูลคลื่นได้ ไม่มาชำระเงิน พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) แถลงว่า กทค.ได้วางแนวทางกรณีผู้ชนะการประมูลแต่ไม่ชำระเงินไว้ โดยเห็นว่าหากจะมีการประมูลใหม่ ราคาประมูลจะต้องเริ่มต้นจากราคาที่ผู้ชนะประมูลได้ไป, การประมูลใหม่ไม่ตัดสิทธิผู้ชนะการประมูลครั้งที่แล้ว, หากจัดประมูลแล้วไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลจะเก็บคลื่นความถี่ไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี และเมื่อประมูลใหม่ราคาประมูลเริ่มต้นจะต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่ชนะการประมูลครั้งที่แล้ว สำหรับผู้ไม่มาจ่ายเงิน หน่วยงานจะเรียกร้องค่าเสียหาย และตรวจสอบการดำเนินการในธุรกิจของผู้ชนะประมูล ทั้งด้านการให้บริการโทรคมนาคมและกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ทั้งนี้ กทค.จะประชุมอีกครั้งในวันที่ 23 มี.ค. เพื่อกำหนดรายละเอียดในการออกประกาศที่ชัดเจนอีกครั้ง ส่วนค่าเสียหายที่จะเรียกเก็บจากผู้ชนะประมูลแต่ไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต กทค.จะวิเคราะห์และสรุปค่าเสียหายทั้งหมดอีกครั้ง โดย กทค.ต้องระมัดระวังในการดำเนินการ หลักการของ กทค.จะต้องไม่ทำให้ประเทศสูญเสียทั้งรายได้และการให้บริการประชาชน ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า การประเมินความเสียหายจะมอบให้อนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายเข้ามาพิจารณาเพื่อให้เกิดความชัดเจน ทั้งการดำเนินคดีและการคำนวณค่าเสียหาย โดยข้อสรุปจะนำเสนอกับบอร์ด กทค.พิจารณาต่อไป จากนี้ กสทช.ยึดหลักประกันทางการเงินจำนวน 644 ล้านบาท ผลความเห็นบอร์ด กทค.จะสรุปแนวทางและนำเสนอเรื่องไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยแนวทางว่าจะดำเนินการอย่างไร ด้านนายสืบศักด์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า กรณีถ้าแจสไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต แจสคงต้องเตรียมรับผลกระทบที่จะมีกับธุรกิจในเครือจัสมิน ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบค่อนข้างมากอย่างแน่นอน เพราะแจสเป็นบริษัทลูกของบริษัทจัสมิน ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และจากการทิ้งงานที่ร่วมกับภาครัฐ ในส่วนนี้แจสคงเตรียมรับผลกระทบไว้แล้วเมื่อตัดสินใจที่จะเลือกการไม่ชำระเงิน สำหรับทางออกที่ภาครัฐมองไว้เริ่มจากการประมูลใหม่ในราคา 75,000 ล้านบาท อาจจะลำบากถ้าประมูลใหม่ภายใน 4 เดือน เพราะโอเปอเรเตอร์แต่ละรายได้ลงทุนทางด้านธุรกิจและการขยายเครือข่ายไปมากแล้ว ส่วนหากจะเก็บคลื่นไว้ 1 ปี จึงประมูลใหม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ว่า ผู้ให้บริการจะขานรับหรือไม่ สำหรับแนวทางที่กสทช.เตรียมเสนอให้สิทธิกับผู้เสนอราคาลำดับถัดมาให้มารับสิทธิในเงื่อนไขราคาที่แจสประมูลได้ อาจะเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นทางออกของภาครัฐ ที่มีการรับรู้รายได้จากการประมูลไปแล้ว แนวทางนี้จะยังทำให้มีรายได้เข้ารัฐ แต่ก็ต้องดูด้วยว่าโอเปอเรเตอร์รายถัดไป จะยอมรับเงื่อนไขได้หรือไม่ ที่สำคัญ รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีจะเห็นชอบแนวทางใด เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีคงต้องตัดสินใจเอง อย่างไรก็ดีต้องไม่ลืมว่าไม่ว่าจะเลือกวิธีการใดทางผู้ชนะประมูลอย่างทรูมูฟคงเตรียมทีมกฎหมายจับตาดูอยู่แล้วพร้อมจะร้องต่อศาลเพื่อปกป้องธุรกิจของตัวเองด้วยแน่นอน ด้านเว็บไซต์ข่าวไอที Blognone [2] วิเคราะห์ว่า การจัดประมูลใหม่ โดยมีราคาตั้งต้นเท่าราคาสุดท้ายของรอบก่อน และหวังว่าจะมีคนมาเสนอราคาแข่ง เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะแนวคิดของการประมูลคลื่นคือ ไม่มีใครรู้ว่าราคาควรเป็นเท่าไร จึงให้การแข่งขันในตลาดเป็นตัวกำหนดราคาที่เหมาะสมของคลื่น ณ ช่วงเวลานั้น "ทุกคนทราบดีว่า ราคาสุดท้ายของคลื่น 900MHz แพงมาก ซึ่งสะท้อนถึงมุมมองของผู้ประกอบการทั้ง 4 รายที่ร่วมแข่งขันเสนอราคาในตอนนั้นเมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนไป มุมมองต่อมูลค่าคลื่นย่อมเปลี่ยนไป ถ้าจัดการประมูลรอบใหม่ ราคาคลื่นย่อมต้องลดลงมาจากราคารอบที่ผ่านมา (และมุมมองของผู้เข้าร่วมประมูลที่ไม่ชนะคือ AIS กับ dtac ก็พูดตรงกันว่าสู้ราคาไม่ไหว)" "Blognone มองว่า กสทช. ต้องลดราคาตั้งต้นลงมา แต่ก็เข้าใจความยากลำบากของ กสทช. ในการหาราคาตั้งต้นที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน (ไม่ว่าเลือกทางใด กสทช. ก็โดนด่าอยู่ดี) อย่างไรก็ตาม เราขอให้ กสทช. มองเรื่องการจัดสรรคลื่นไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า มากกว่าการมองถึงตัวเลขรายได้จากการประมูล เพื่อเลี่ยงปัญหาการนำคลื่นไปกองไว้เฉยๆ เพราะจัดประมูลแล้วไม่มีใครมาเสนอราคา ถือเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างเสียเปล่า" Blognone เสนอ
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/49443
2013-10-28 13:16
นิตยสารโรลลิงสโตน เผยเรื่องราวของบริษัทเอกชนที่ช่วยตำรวจสอดแนมผู้ประท้วง
เรื่องของการสอดแนมไม่ได้มีแค่โครงการของหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐฯ เท่านั้น ในการประท้วง Occupy ก็เคยมีการกล่าวถึงเสา SkyWatch ซึ่งคอยสอดส่องการชุมนุม และยังมีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่เสนอเครื่องมือช่วยสอดแนมแก่ผู้บังคับกฏหมายในประเทศต่างๆ 28 ต.ค. 2556 หลังจากกรณีการเปิดโปงเอกสารของหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ โดยเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ทำให้หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐฯ และหน่วยงานสอดแนมอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีกลุ่มองค์กรอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง คือองค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือเรื่องการสอดแนมให้กับหน่วยงานของทางการ หน่วยงานด้านกลาโหม และกลุ่มบรรษัทต่างๆ ทั้งในประเทศสหรัฐฯ และต่างประเทศ นิตยสารโรลลิ่งสโตน [1]นำเสนอเรื่องของหน่วยงานเอกชนที่ให้ความด้านการสอดแนม โดยอิริค คิงส์ หัวหน้านักวิจัยขององค์กรเฝ้าระวังด้านสิทธิความเป็นส่วนตัวไพรเวซีอินเตอร์เนชันแนล (Privacy International) กล่าวว่ากลุ่มบริษัทเอกชนเหล่านี้ต่างได้รับผลประโยชน์ทั้งด้านการเงินและในแง่ของอำนาจ โดยที่บริษัทให้บริการด้านการสอดแนมต่างโฆษณาตัวเองว่าพวกเขาสามารถให้ความช่วยเหลือต่อเจ้าหน้าที่ทางการในการใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาสอดส่องการประท้วงและฝูงชนกลุ่มใหญ่ด้วยวิธีการสอดแนมกิจกรรมทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก เคนเนธ ลิปป์ ผู้สื่อข่าวที่เข้ารับฟังการประชุมของสมาคมอธิบดีกรมตำรวจนานาชาติในเมืองฟิลาเดลเฟีย เมื่อวันที่ 19-23 ต.ค. ที่ผ่านมากล่าวว่าหัวข้อหลักที่พูดกันในที่ประชุมช่วงสัปดาห์นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับสื่อโซเชียลมีเดีย โดยมีการหารือกันเพื่อกำหนดนโยบายในแง่ที่จะหลีกเลี่ยงข้อจำกีดจากศาล คือการหลีกเลี่ยงไม่ต้องอาศัยมาตรการออกหมายค้น โรงลิ่งสโตนกล่าวว่า การสอดแนมประชาชนเป็นวงกว้างโดยไม่มีกระบวนการสืบสวนอย่างตรงไปตรงมาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ อิริค คิงส์กล่าวว่าการสอดแนมหมู่ไม่ว่าที่ใดก็ตามมักจะมีลักษณะเดียวกับการสอดแนมของของสำนักงานความมั่นคงสหรัฐฯ (NSA) คือการ 'เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด' มีการยกตัวอย่างโฆษณาทางยูทูบของบริษัท NICE ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาสามารถใช้เก็บภาพวีดิโอการประท้วงโดยมีนักวิเคราะห์คอยเก็บข้อมูลว่าแหล่งประท้วงมีความหนาแน่นมากเพียงใด นอกจากนี้ยังมีระบบการเก็บข้อมูลเสียงทั้งข้อมูลสื่อสารแบบดิจิตอลทางอินเตอร์เน็ตและข้อมูลการสื่อสารทางวิทยุ โดยข้อมูลมัลติมีเดียทั้งหมดนี้จะถูกนำมาเรียบเรียงใหม่ตามช่วงลำดับเวลาของเหตุการณ์   ในบทสัมภาษณฺ์ของประธานฝ่ายความปลอดภัยของ NICE เปิดเผยว่ามีการใช้ระบบของ NICE ในระบบขนส่งมวลชนของนิวเจอร์ซีย์ และที่อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ ทางด้านซาร่า เปรโต โฆษกของ NICE กล่าวว่าพวกเขามีลูกค้าหลายพันรายจากทั่วโลก โดยเป้าหมายของพวกเขาคือการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้คนรวมถึงการปกป้องทรัพย์สิน มีการร่วมมือกับองค์กรของรัฐภายใต้กรอบของกฎหมายในรัฐนั้นๆ อีกบริษัทหนึ่งคือไบรท์แพลนเน็ต มีโปรแกรมที่เรียกว่า 'บลูเจย์' (BlueJay) ซึ่งมีการโฆษณากับเจ้าหน้าที่ทางการว่าเป็น "โปรแกรมตรวจจับอาชญากรรมทางทวิตเตอร์" ที่ให้ตำรวจสามารถสอดส่องบัญชีผู้ใช้และแฮ๊ชแท็ก โดยในหน้าโฆษณามีการกล่าวถึงแฮ๊ซแท็ก #Gunfire #Protest และ #Meth (ย่อมาจาก Methamphetamine แปลว่ายาบ้า) ในเอกสารโฆษณาอีกฉบับหนึ่งบอกว่าบลูเจย์สามารถใช้สอดส่องงานกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก เหตุจลาจล การสื่อสารของกลุ่มแก็งค์ บุคคลผู้มีแนวโน้มก่ออาชญากรรม รวมถึงสามารถติดตามผู้ที่กรมตำรวจต้องการได้ ส่วนบริษัทที่ชื่อ 3i:Mind มีผลิตภัณฑ์ชื่อ OpenMIND ซึ่งเป็นระบบให้ข้อมูลเบื้องต้นและสอดส่องการชุมนุม โปรแกรมนี้จะทำการค้นหาเว็บเพจ เว็บไซต์ซเชียลเน็ตเวิร์ก เว็บล็อก กระดานข่าว และแหล่งอื่นๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุม เช่นบอกว่าเป็นการชุมนุมที่มีลักษณะเป็นไปอย่างสงบหรือรุนแรง ผู้เข้าร่วมมีพื้นเพแบบใด โดยมีการพยายามระบุตัวนักกิจกรรมที่เป็นแกนนำทั้งในโลกจริงและโลกออนไลน์แล้วเก็บข้อมูลของพวกเขาไว้ นอกจากนี้ยังทำการสอดส่องการชุมนุมได้ตามเวลาจริงและส่งสัญญาณเตือนเมื่อมีการยกระดับเหตุการณ์ โดยทาง 3i:Mind ได้ยกตัวอย่างว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาจะช่วยเตือนเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อการชุมนุมทางการเมืองกลายเป็นเหตุรุนแรงและมีการพยายามเข้ายับยั้งสถานการณ์ก่อนที่ความรุนแรงจะเกิดขึ้น ไมมีข้อมูลว่ามีหน่วยงานหรือรัฐบาลของประเทศใดใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท 3i:Mind บ้าง แต่ทางบริษัทก็มีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์นี้ในงานแสดงสินค้าและในการประชุมของกลุ่มตำรวจ มีผลิตภัณฑ์อีกชิ้นหนึ่งซึ่งผู้ประท้วง 'ยึดวอลล์สตรีท' (Occupy Wall Street) น่าจะรู้จักดีคือเครื่องที่เรียกว่า 'สกายวอทช์' (SkyWatch) ของบริษัท FLIR ซึ่งเป็นเสาเคลื่อนที่บรรจุคนได้ราวสองคน ในโบรชัวร์กล่าวว่าสกายวอทช์มีความสามารถในการสอดแนมได้หลายแง่ จากการใช้กล้องหรือเรดาร์รวมถึงการปรับแต่งอื่นๆ ตามความต้องการ ซึ่งหน่วยงานตำรวจของนิวยอร์คยังคงตั้งเครื่องสกายวอทช์นี้อยู่ที่มุมของสวนสาธารณะซัคคอตติซึ่งเคยเป้นแหล่งชุมนุมของกลุ่ม Occupy โรลลิ่งสโตนกล่าวว่าเมื่อพิจารณาจากเนื้อหาโฆษณาเหล่านี้แล้วทำให้ตำรวจในพื้นที่สหรัฐฯ มีความเป็นทหารมากขึ้น และมีความเป็นไปได้ว่าทางกรมตำรวจสหรัฐฯ จะใช้งบประมาณไปกับการปฏิบัติการสอดแนมข้อมูลมากขึ้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติเกินอำนาจดั้งเดิมของผู้บังคับกฏหมาย เคด ครอกฟอร์ด ประธานโครงการเทคโนโลยีเพื่อเสรีภาพของสหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน (ACLU) กล่าวว่าสิ่งที่ทำให้โครงการสอดแนมเป็นเรื่องอันตรายในอเมริกามีอยู่สองประการ ประการแรกคือการทุ่มงบประมาณลงไปในโครงการ 'ความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ' (homeland security) ทำตำรวจในหลายรัฐสั่งซื้อเทคโนโลยีการสอดแนมได้ ประการที่สองคือการที่เทคโนโลยีในปัจจุบันกำลังนำหน้ากฏหมายเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว "หลังจากได้เครื่องมือหรูๆ ชิ้นใหม่แล้ว ตำรวจก็ได้แทรกซึมลงไปในกลุ่มคนที่พวกเขาสอดแนมมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนรายได้ต่ำ ชุมชนคำผิวสี และกลุ่มต่อต้านรัฐบาล" เคด ครอกฟอร์ดกล่าว ในแง่ทางกฏหมายก็ยังไม่มีการตัดสินแน่ชัดได้ว่าตำรวจสามารถใช้วิธีการเช่นนี้ได้หรือไม่ โดยนักกฏหมายจากโครงการเพื่อเสรีภาพและความมั่นคงแห่งชาติ ไฟซา ปาเทล กล่าวว่าถึงแม้ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ให้สาธารณะได้เห็นอย่างโพสท์ของทวิตเตอร์และเฟซบุ๊คจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 4 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา (มาตราที่กล่าวถึงการห้ามจับกุมหรือตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นหรือไม่มีเหตุผลอันสมควร) แต่อาจจะมีการตั้งคำถามด้านกฏหมายหากมีการรวบรวมข้อมูลจำนวนมากในวงกว้างโดยเฉพาะในแง่ข้อมูลทางการเมือง, ศาสนา หรือทางเชื้อชาติ ซึ่งอาจนำไปใช้ในทางที่ละเมิดกฏหมายรัฐธรรมนูญได้ ทางด้านฝ่ายตำรวจ โฆษกของสำนักงานตำรวจฟิลาเดลเฟียกล่าวว่าสำนักงานตำรวจของพวกเขาไม่ต้องพึ่งพาบริการจากบริษัทเอกชนเพราะมีกล้องวงจรปิดของตนเอง แต่เมื่อถามถึงซอฟท์แวร์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูลจำนวนมากโฆษกได้ต่อเรื่องนี้ให้กับสำนักงานรองนายกเทศมนตรีแต่ก็ไม่มีการตอบกลับ ส่วนสำนักงานตำรวจลอสแองเจลลิสหลังจากถูกถามว่าได้ใช้โปรแกรมสอดแนมการชุมนุมหรือไม่ก็ตอบอีเมลล์กลับมาเพียงว่า "พวกเราไม่ทราบในเรื่องนี้" โดยไม่มีการลงชื่อ ส่วนสำนักงานตำรวจอื่นๆ ในสหรัฐฯ ไม่มีการตอบกลับคำขอสัมภาษณ์หลังจากนิตยสารโรงลิ่งสโตนได้พยายามติดต่อไปยังสำนักงานตำรวจในนิวยอร์กซิตี้, ลอสแองเจลลิส, ชิคาโก้, พิลาเดลเฟีย และวอชิงตันดีซี   เรียบเรียงจาก Meet the Private Companies Helping Cops Spy on Protesters, Common Dreams, [2] 25-10-2013
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/49290
2013-10-17 02:29
ชาวเมืองหยูเหยาประท้วงทางการจีน เหตุช่วยเหลือหลังเกิดอุทกภัยล่าช้า
ชาวจีนในเมืองหยูเหยาปะทะกับตำรวจ หลังประท้วงกรณีรัฐบาลจีนแก้ปัญหาอุทกภัยล่าช้าและไม่ดีพอ ขณะที่สื่อทางการจีนบอกว่าจับตัวผู้ประท้วงบางส่วนในข้อหาก่อความรุนแรงไว้ได้ 16 ต.ค. 2013 - ชาวเมืองหยูเหยาในมณฑลเจื้อเจียงหลายพันคนพากันออกมาชุมนุมในพื้นที่จนกระทั่งปะทะกับตำรวจเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาเพื่อแสดงความไม่พอใจรัฐบาลจีนต่อการแก้ไขปัญหาบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม หลังจากเกิดเหตุพายุไต้ฝุ่นพิโทว์พัดถล่มทางภาคตะวันออกของจีนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำนักข่าวโกลบอลไทม์ของทางการจีนระบุว่า ผู้ประท้วงซึ่งเป็นคนในพื้นที่ไม่พอใจที่เจ้าหน้าที่ทำงานตอบสนองต่อเหตุอุทกภัยได้ไม่ดีพอ รวมถึงการฟื้นฟูไฟฟ้าและสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นไปอย่างเชื่องช้า สื่อจีนระบุอีกว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวประชาชนไว้ได้ส่วนหนึ่งจากการที่พวกเขาใช้ความรุนแรง โดยไม่ได้บอกตัวเลขผู้ถูกจับ โดยพวกเขาบอกว่ามีผู้ประท้วงส่วนหนึ่งขว้างปาก้อนอิฐและสร้างความเสียหายต่อยานพาหนะของทางราชการ เหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย ในมณฑลเจื้อเจียง ทำให้ประชากร 11 ล้านคนถูกตัดขาดจากไฟฟ้าและประปา สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน ธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐานในเมืองหยูเหยาและเมืองใกล้เคียงคือ หนิงปอ และเซี่ยงไฮ้ รวมแล้ว 2 พันล้านดอลลาร์ (ราว 65,200 ล้านบาท) การประท้วงเจ้าหน้าที่ทางการในจีนเริ่มกลายเป็นเรื่องปกติ โดยอาจเริ่มจากเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน เรื่องมลภาวะจากโรงงาน ไปจนถึงการใช้อำนาจในทางที่ผิดของเจ้าหน้าที่ทางการ แต่ BBC ก็บอกว่าเรื่องการประท้วงเหล่านี้ถูกนำเสนอน้อยมากในสื่อรัฐบาลจีน ภาพถ่ายจากเว่ยป๋อ เว็บไมโครบล็อกของจีนเผยให้เห็นผู้ชุมนุมเดินทางมารวมตัวกันหน้าที่ว่าการท้องถิ่น มีผู้ประท้วงบางคนพยายามถอดป้ายคำขวัญของพรรคคอมมิวนิสต์ที่เขียนว่า "รับใช้ประชาชน" ออกจากหน้าอาคารที่ว่าการ นอกจากนี้วิดีโอบางชิ้นได้แสดงให้เห็นภาพผู้ประท้วงผลักให้รถตำรวจพลิกคว่ำ ขณะเดียวกันก็มีภาพผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจากการถูกตำรวจทุบตี หลิว หยูเฟย ผู้ก่อตั้งองค์กรดูแลด้านสิทธิและคุณภาพชีวิตของพลเมือง ยืนยันว่ารูปเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นรูปจริง โดยบอกว่าเขาได้พูดคุยกับคนในหยูเหยาซึ่งบอกกับเขาว่ามีกำลังตำรวจติดอาวุธอยู่ทุกที่และมีคนถูกจำกุม แต่ไม่รู้จำนวนที่แน่ชัด ทางด้านสื่อท้องถิ่น หยูเหยาเดลี่ ซึ่งเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กล่าววิจารณ์ผู้ชุมนุมว่ามีผู้ชุมนุมจำนวนเล็กน้อยที่ใช้ความรุนแรงขณะที่ปฏิบัติการบรรเทาทุกข์กำลังดำเนินถึงช่วงสำคัญ และเรียกร้องให้ผู้อาศัยในพื้นที่แสดงออกถึงความต้องการอย่างมีเหตุผลและในเวลาที่เหมาะสม ความไม่พอใจของประชาชนชาวจีนมักจะถูกเสริมด้วยความคิดว่าคนรวยและผู้มีอำนาจมักได้รับการปฏิบัติดีกว่า ขณะที่การสั่งการจากผู้นำอำนาจนิยมจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนส่วนกลางก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ยังทำให้เจ้าหน้าที่ทางการจีนทางภาคตะวันออกมีความตื่นตัวมากขึ้นและมีแผนเพิ่มรายจ่ายด้านความมั่นคงทั้งที่ในตอนนี้จีนใช้งบประมาณด้านกลาโหมเกินกว่าที่มีอยู่แล้ว   เรียบเรียงจาก China flood protests: Police out in force in Yuyao, BBC, 16-10-2013http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-24548515 [1] Thousands protest in flood-hit Chinese city, Aljazeera, 16-10-2013http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2013/10/thousands-protest-flood-hit-chinese-city-201310165830317539.html [2]
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/22338
2006-03-06 23:17
จดหมายเปิดผนึกจากจำลองถึงทักษิณ ฉบับที่ 2
อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม   4 มีนาคม 2549   ดร.ทักษิณครับ             ผมต้องเขียนจดหมายรักถึงดร.ทักษิณ เป็นฉบับที่ 2 เพราะดร.ทักษิณพูดถึงผมที่สนามหลวงเมื่อคืนนี้ (คืนวันที่ 3 มีนาคม หนังสือพิมพ์บางฉบับพิมพ์คำต่อคำ             "ส่วนท่านจำลอง ไม่สบายใจอะไรก็มาบอกกัน มาบอกลูกน้องผมก็ได้ ใครไม่ให้พูดสายกับผมหรือเปล่า ผมไม่รู้ แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ผมจะเขกกบาลให้ ท่านจำลองก็เคยรักผมเหมือนศิษย์เอกคนหนึ่ง แต่วันนี้เข้าใจผิดกัน ผมพร้อมจะไปหา"             ผมไม่ได้โทรถึง ดร.ทักษิณหรอกครับ เพราะจดหมายฉบับแรกของผม ตามด้วยข้อเสนอในระยะเวลาต่อมา ที่ขอให้ ดร.ทักษิณลาออกนั้น มีรายละเอียดอยู่ครบแล้ว ดร.ทักษิณ พูดว่าจะไปหาผม ไม่ต้องหรอกครับ จะเสียเวลา เพราะเวลาของคนที่ทำหน้าที่ นายกฯ มีน้อยอยู่แล้ว เอาเวลาไปทำอย่างอื่นให้เกิดประโยชน์จะดีกว่า             ถ้าไปหาผม คุยกันก็ต้องเถียงกัน ต่างคนต่างยืนยัน ผมก็จะเสนอแนะเหมือนเดิมให้ ดร.ทักษิณลาออก ดร.ทักษิณก็จะพูดคำเดิม "ไม่ออก" เสียเวลาเปล่าๆ             ดร.ทักษิณพูดว่า "เข้าใจผิดกัน" ผมเข้าใจถูก เข้าใจเหมือนประชาชนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารหลายคน หลายองค์กรทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งออกมาเรียกร้องให้ ดร.ทักษิณลาออกเพราะขาดความชอบธรรม มีทั้งคณาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ (นำโดยอาจารย์อมรา คณบดีคณะรัฐศาสตร์จุฬา) ครูบาอาจารย์ทั่วทุกภาดของประเทศ นิสิต นักศึกษา นักเรียน องค์กรประชาธิปไตยอีกนับไม่ถ้วน             เมื่อวานซืนนี้ (2 มีนาคม) เครือข่ายแพทย์อาวุโส ประกอบด้วย คุณหมอผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพรักของคนทั้งบ้านทั้งเมือง เช่น อาจารย์หมอบรรลุ อาจารย์หมอไพโรจน์ อาจารย์หมออารี อาจารย์หมอมรกต อาจารย์หมอมงคล อาจารย์หมอจุรี ก็ออกแถลงการณ์ว่า "หนทางเดียวที่จะแก้ปัญหาวิกฤตของชาติครั้งนี้ คือ นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) สมควรแสดงความเสียสละ ด้วยการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเว้นวรรคทางการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตของชาติ และให้การพัฒนาประชาธิปไตยสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้รับการยกย่องในฐานะผู้กล้าหาญและเสียสละต่อประเทศชาติ ที่คนรุ่นหลังจะได้จารึกไว้" ส่วนอาจารย์หมอประเวศนั้น ท่านทั้งพูดทั้งเขียนแนะให้ ดร.ทักษิณลาออก สำหรับอาจารย์หมอเสม ซึ่งเคยทุ่มสุดตัวช่วย ดร.ทักษิณ มาแล้ว ท่านก็ขอร้องอย่างเดียวกัน ก่อนที่ผมจะแถลงขอให้ ดร.ทักษิณลาออกนั้น ผมโทรเรียนหารือท่าน ท่านก็เห็นด้วย ท่านสมณะโพธิรักษ์ ซึ่งเป็นพระอีกองค์หนึ่งที่ระดมญาติธรรมชาวสันติอโศกหนุน ดร.ทักษิณตลอดมานั้น เมื่อกลางเดือนที่แล้ว ผมไปปฏิบัติธรรมที่พุทธสถาน ศาลีอโศก ท่านเรียกผมไปพบ แล้ววิเคราะห์เกี่ยวกับ ดร.ทักษิณให้ผมฟัง ลงเอยด้วยคำพูดว่า ท่านไม่ได้บอกนะว่าผมควรจะทำอะไร แต่หัวข้อของหนังสือ "เราคิดอะไร" (ที่ผมเขียนอยู่เป็นประจำด้วย) ชื่อว่า "เพราะข้าโง่มาก่อนไง...จึงหลงส่งเสริมเขา" ผมคิดเถียงในใจว่าผมไม่โง่ที่ไปเชื่อเชิญ ดร.ทักษิณมาสู่วงการเมือง เพราะเป็นนายกฯ 3 ปีแรก ทำได้ดี มาเริ่มเขวเอาปีที่ 4 พอปีที่ 5 ก็พลาดหลายเรื่อง โดยเฉพาะการขายหุ้นให้สิงคโปร์ เมื่อคืนนี้ ดร.ทักษิณพูดถึงท่านประธานอุทัยว่า "วันก่อนที่เห็นท่านอุทัย (พิมพ์ใจชน) เดินขึ้นเวทีสนามหลวงก็ตกใจ เพราะความจริงไม่มีอะไรกันเลย"   อาจารย์หมอเฉก  พูดกับผมหลายครั้ง (ที่โรงเรียนผู้นำ) ว่าจำได้ตอนที่ท่านประธานอุทัย ตอบผู้สื่อข่าวในทำนองว่าสนับสนุน ดร.ทักษิณ เพราะ ดร.ทักษิณมาจากพลังธรรม ต้องมีอะไรดีๆ ติดมาแน่ ดร.ทักษิณ เปิดใจว่า"ทำงานมากไป ไม่มีเวลาให้เพื่อนฝูง เพื่อนเลยน้อยใจหนีไปเป็นแถว" ทุกคนที่หนีไปไม่ใช่เพราะต้องการเวลาจาก ดร.ทักษิณ  พวกเราต้องการ "ความชอบธรรม" ในตัวท่านนายกฯ ต่างหาก ดร.ทักษิณ ชอบพูดธรรมะ เป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ต้องให้ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า "ยถาวาที ตถาการี" "พูดอย่างใดต้องทำให้ได้อย่างนั้น"  ไม่ใช่ พูดอย่างทำอย่าง  พระท่านเตือนนักปฏิบัติธรรมเวมอๆ ว่า "ตั้งตนอยู่ในคุณธรรมอันสมควรก่อน แล้วพร่ำสอนผู้อื่น จะไม่มัวหมองภายหลัง" วิกฤตของชาติขณะนี้ มีวิธีแก้อยู่ทางเดียวคือ ดร.ทักษิณ ต้องลาออก ไปแก้อย่างอื่นแก้ไม่ได้ ยิ่งแก้ยื่งเพิ่มปัญหา เช่น รวบรัดยุบสภา พรรคใหญ่อื่นๆ ตั้งตัวไม่ทันเลยคว่ำบาตร ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะไปขอร้องเขาเท่าไหร่ เขาก็ยืนยันอย่างเดิม เลือกตั้งเละแน่ๆ  ดร.ทักษิณขอให้ประชาชนส่งไปรษณีย์สนับสนุนมากๆ และไปร่วมชุมนุมที่สนามหลวงมากๆ ยิ่งมีไปรษณียบัตรมากเท่าไร มีคนไปชุมนุมมากเท่าไร สังคมยิ่งแตกแยก (แบ่งเป็นสองฝ่าย) มากเท่านั้น จะเป็นนายกฯ ไปได้อย่างไรครับท่ามกลางความแตกแยกที่นับวันจะมากยิ่งขึ้น ผมไม่บังอาจที่จะพูดอย่างที่ ดร.ทักษิณ พูดเมื่อคืนนี้ว่า ดร.ทักษิณ เป็นศิษย์เอกของผม  ดร.ทักษิณให้เกียรติมากมายเกินไป  ผมเป็นเพียงเพื่อน และพี่ มีอะไรก็เตือนเพื่อนเตือนน้องเพราะ "การให้ธรรมทานนั้น ล้ำเลิศกว่าการให้ทานใดๆ" ดร.ทักษิณ เคยต่อว่าผมว่าช่างสอน, ชอบทำตัวเป็นพี่อยู่เรื่อย ดร.ทักษิณครับ เป็นนักการเมืองที่ดีนั้น นอกจากจะต้องซื่อสัตย์ และเสียสละแล้วต้องเป็นสุภาพบุรุษด้วย  อย่าเอาเปรียบฝ่ายตรงข้ามแม้โอกาสจะอำนวยก็ตาม  แพ้-ชนะ ไม่สำคัญ  เราต้องเป็นสุภาพบุรุษตลอดเวลา  ไปรวบรัดยุบสภาทั้งๆ ที่พูดหยกๆ ว่า "ไม่ยุบ" พรรคฝ่ายค้าน ๓ พรรคเลยประท้วง นี่ก็เหมือนกันครับ ดร.ทักษิณเชิญคนไปฟังเมื่อวานนี้ (๓ มีนาคม) ตำรวจไม่กักรถเลย (รถที่บรรทุกคนฟังมาก ๆ เดินทางต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ"  พรุ่งนี้ (๕ มีนาคม) ก็ต้องทำอย่างเดียวกัน อย่าเอาเรียบครับ เพราะไม่ใช่วิสัยของสุภาพบุรุษ ตอนอยู่พลังธรรม มีอยู่ครั้งหนึ่ง ดร.ทักษิณ เอ่ยคำว่า"ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้" ติดปากมาจากโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นคำให้กำลังใจได้เป็นอย่างดี การลาออกจากนายกฯ นั้น ดร.ทักษิณ ทำได้แน่ ขอย้ำ ขอสอนอีกที นายตำรวจและแม่ทัพนายกองที่ผ่านโรงเรียนเตรียมทหาร จะต้องยึดคำขวัญ ชาติ เกียรติ วินัย กล้าหาญ ขณะนี้ชาติต้องการการเสียสละของนายกฯ เป็นนายกฯ ผู้ทรงเกียรติ  ไปได้อย่างไรเมื่อมีคนมากๆ ตะโกนไล่อยู่ทุกวัน  ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองออกมาแนะทางสว่างให้ลาออกแล้วไม่ฟัง ดร.ทักษิณ กลายเป็นคนไม่มีวินัย  ดร.ทักษิณต้องกล้าหาญที่จะลาออก  ซึ่งง่ายมาก ง่ายกว่าที่ผมและหลายๆ คนต้องไปชุมนุม นอนกลางดินกินกลางทรายเพื่อขอร้องให้ดร.ทักษิณลาออก ผมเคยบอกผ่านคุณสุดารัตน์ ถึงดร.ทักษิณว่า คุณศิริลักษณ์ ที่ ดร.ทักษิณเรียกพี่ทุกครั้งได้เตือนผมว่า ผมเตรียมตัวติดตะรางอีกครั้งหนึ่งได้แล้ว เพราะ ดร.ทักษิณเอาเรื่องผมแน่ ไม่เป็นไรครับ หากติดตะรางอีก ออกจากตะรางก็เป็นพี่เป็นน้องกันเหมือนเดิม ดร.ทักษิณ ทำให้เต็มที่ อย่าได้เกรงใจ เพราะ "ตถตา" ผมเป็นคนเช่นนั้นเอง                                                                                       โชคดีครับ                                                                                     จำลอง  ศรีเมือง                                                                                     เพื่อนและพี่ที่หวังดีตลอดเวลา
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/46
2004-08-24 16:02
ชนชั้นกลางในความหมายของ เกษียร เตชะพีระ
รศ. เกษียร เตชะพีระ กล่าวอธิบายความหมายของชนชั้นกลางในการกล่าวในการเสวนาหัวข้อ "ทักษิโนมิกส์" จัดขึ้นโดยกลุ่มเศรษฐศาสตร์สถาบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา" ชนชั้นกลางคือ กลุ่มคนที่ไต่เต้าขึ้นมาเงยหน้าอ้าปากอย่างกะทันหันพร้อมคลื่นเศรษฐกิจฟองสบู่ระลอกต่างๆ ชนชั้นกลางพึ่งพาอาศัยให้รัฐอุ้มให้ถูกต่างชาติเอื้อโอกาส พวกเขาจึงดำรงชีวิตอยู่อย่าง Insecure วิตกจริตไม่วายว่า เมื่อไหร่ฟองสบู่จะแตก ว่าดวงตนจะตก ตัวเองจะตกจากสถานะชนชั้นที่เพิ่งได้มา ความตื้นเขินขาดด้อยประสบการณ์ทำให้ง่ายที่พวกเขาจะยกโขยงเข้าแห่ห้อมฟองสบู่การเมืองที่สามารถเป่าเสกความหวัง ความมั่นคงอุ่นอกอุ่นใจให้ยามสิ้นหวังซังกะตาย แต่กระนั้นพวกเขาก็ไม่ซื่อกับใคร พร้อมจะหันกลับมาหวาดระแวงแว้งกัดปรักปรำกล่าวโทษคนอื่นต่อสภาวะเลวร้ายที่เกิดขึ้นแทนที่จะโทษตัวเอง นี่คือกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้มาตลอด ก็คือ ออกมาช่วยนักศึกษาตอน 14 ตุลาฯ แล้วกลัวคอมมิวนิสต์ หันมากระทืบนักศึกษาตอน 6 ตุลาฯ เป็นกลุ่มคนที่เข้าพบมอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีกับรัฐประหาร รสช. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2534 แล้วก็ออกมาชุมนุมประท้วงขับโค่นรัฐบาลพลเอกสุจินดาเมื่อพฤษภาคม ปี 2535 นี่คือ กลุ่มคนที่ร่วมเสี่ยงเจ็บเสี่ยงตายเดินขบวนขับไล่รัฐบาลสุจินดาภายใต้การนำของพลตรีจำลอง ศรีเมือง แต่แล้วก็ปันใจไปเลือก ส.ส.ประชาธิปัตย์แทนพรรคพลังธรรมในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกันยายน 2539 ถึง 9 ที่นั่งจน ชวน หลีกภัย ได้ขึ้นเป็นนายกฯ แทนที่จะเป็นพลตรี จำลอง แล้วต่อมายังโหวตเลือกพิจิตร รัตกุลเป็นผู้ว่ากทม. แทนพลตรีจำลอง จนฝ่ายหลังอกหักประกาศบอกลาการเมืองกรุงเทพฯ (ชั่วคราว) เทคะแนนกว่าล้านเสียงเลือกคุณสมัคร สุนทรเวชเป็นผู้ว่า กทม. อย่างไม่เคยมีคะแนนสูงขนาดนี้มาก่อนในปี 2543 โดยไม่แคร์ภูมิหลังทางการเมืองสมัย 6 ตุลา ของคุณสมัคร แต่แล้วก็โอดครวญแสดงความผิดหวังสำนึกเสียใจเมื่อปลายสมัยคุณสมัคร นี่คือกลุ่มคนที่ไปโหวตให้ทักษิณ เพราะผลกระเทือนจากวิกฤติเศรษฐกิจ นี่คือกลุ่มคนที่มองดูทักษิณควบรวมอำนาจในกลุ่ม Elite เฉย ๆ และยืนเอามือกอดอกดูระบอบทักษิณเอื้ออาทรและฆ่าตัดตอนคนชั้นล่าง" รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/14256
2007-09-24 01:44
FTA ไทย - ญี่ปุ่นไม่จบ เอ็นจีโอขู่รัฐบาลทำตามรัฐธรรมนูญ ส่ง สนช.พิจารณาก่อนลงนามครั้งสุดท้าย
วันที่ 23 ก.ย. 50 กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชาน หรือ เอฟทีเอว็อทช์ แถลงข่าว กรณีที่รัฐบาลตัดสินใจจะเดินหน้าทำหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตกับรัฐบาลญี่ปุ่นในวันที่ 2 ต.ค.นี้ ซึ่งจะมีผลให้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) มีผลบังคับใช้สมบูรณ์ภายใน 30 วัน (1 พ.ย.) โดยไม่นำความตกลงดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)   เอฟทีเอว็อทช์ ระบุว่า การที่นายกรัฐมนตรีถึงกับประกาศพร้อมเอาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นประกัน โดยหากมีการเข้าชื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องไม่นำ JTEPA เข้าสู่ สนช. แล้วศาลวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ  พล.อ.สุรยุทธ์ ก็พร้อมจะลาออกนั้น เป็นการแสดงออกถึงความไม่รับผิดชอบ และเหมือนกับการเอาประเทศไทยเป็นตัวประกันหากมีการชะลอการให้สัตยาบัน JTEPA ดังนั้นจึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีหยุดการกระทำที่ไม่โปร่งใสดังกล่าว และยุติการละเมิดรัฐธรรมนูญใหม่เสียเอง โดยต้องนำข้อตกลงนี้เข้าสู่ สนช. เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 190  กำหนดให้การทำหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประมาณของประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน    ทั้งนี้ ในช่วงรัฐบาลที่แล้ว มีการถกเถียงกันมากว่าความตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาหรือไม่ มีการถกเถียงกันโดยตีความอ้างมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ตลอดมา และในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 190 เกิดขึ้นมาแทนมาตรา 224 เดิมบนพื้นฐานการรับรู้ปัญหาที่เคยเกิดมาก่อน เป็นการพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิดที่ว่าข้อตกลงทวิภาคีอย่าง JTEPA, ไทย-สหรัฐ หรือเอฟทีเออื่น ๆ รวมถึงข้อตกลงทางการค้าอีกหลายฉบับ และข้อตกลงทางสิ่งแวดล้อม ควรให้รัฐสภาพิจารณา   นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน กล่าวว่า กระบวนการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศมี 7 ขั้นตอนนับจากการเริ่มต้นถึงการบังคับใช้ ส่วนการลงนามของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ญี่ปุ่นนั้นถือเป็นขั้นตอนที่ 5 การรับรองความถูกต้องแท้จริง ยังไม่มีผลผูกพันใดๆ ขั้นต่อไปคือทั้งสองประเทศแสดงเจตนาผูกพัน ซึ่งในขั้นตอนนี้แต่ละประเทศมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของตนว่าต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนไปลงสัตยาบัน   ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา ทางกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามโดยนายนิตย์ พิบูลย์สงคราม รมว.การต่างประเทศ ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ กต.1305/2007 ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) นำความตกลง JTEPA เข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งแม้จะล่าช้าไปบ้างแต่จะเพิ่มความรอบคอบและสามารถอธิบายกับฝ่ายญี่ปุ่นได้   นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังระบุถึงข้อกังวลว่า หาก ครม. ไม่ขอความเห็นชอบจาก สนช.ก่อน สมาชิกที่ไม่เห็นด้วยอาจเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งหากศาลวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็จะส่งผลต่อการปฏิบัติตามความตกลงนั้นทั้งระดับในประเทศและระหว่างประเทศ อยู่ในสถานการณ์ "กลืนไม่เข้าคายไม่ออก" สูญเสียความเชื่อถือในสายตาประชาคมโลก นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน กล่าวว่า ประเด็น JTEPA เราติดตามมาโดยตลอดและคัดค้านมาโดยตลอด โดยเฉพาะเรื่องการทำให้ขยะเป็นสินค้า แล้วลดภาษีให้ขยะ การจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต รวมถึงการเปิดเสรีบริการด้านสาธารณสุข ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อคนไทย "พล.อ.สุรยุทธ์ไม่ควรใช้กรณี JTEPA มาขู่ และกดดันทั้งศาล และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สิ่งที่เราเรียกร้องวันนี้คือ ควรทำให้ถูกขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด วันนี้เรามาเตือนรัฐบาล ต่อไปเราจะต้องติดตามมติคณะรัฐมนตรีว่ามีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร และเราฟ้องศาลรัฐธรรมนูญแน่ถ้ารัฐบาลทำผิดรัฐธรรมนูญ" นางสาวสารีกล่าว.
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/58658
2015-03-31 23:30
คปก.แนะ รธน.ใหม่ต้องคงเสรีภาพสื่อ เสนอแก้กฎหมายจำกัดสิทธิประชาชน
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) แนะนายกฯ ประธาน สนช. ประธาน สปช. คงเสรีภาพสื่อในรัฐธรรมนูญ เสนอแก้ ก.ม.จำกัดเสรีภาพประชาชน-สื่อมวลชน แนะ สตง.ตรวจสอบองค์กรกำกับดูแลคลื่นความถี่ เผยต่อสาธารณะทุก 3 เดือน 31 มี.ค.2558 นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติโดย คปก.มีความเห็นว่า เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นประเด็นสำคัญที่มีความเชื่อมโยงกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และเสรีภาพของสื่อมวลชนคือเสรีภาพของประชาชน ในข้อเสนอแนะของ คปก.เสนอให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะต้องคงไว้ซึ่งหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนเพื่อเป็นการรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งถือเป็นหลักการที่สอดคล้องกับหลักการมีส่วนร่วมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและฝ่ายการเมืองผ่านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการนำเสนอของสื่อมวลชน นอกจากนี้ คปก.ยังยืนยันให้คงหลักเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สื่อมวลชนสามารถปฏิบัติภารกิจในการนำเสนอข่าวตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำหรือแทรกแซงภาครัฐ รวมถึงฝ่ายการเมืองหรือเจ้าของกิจการและรัฐธรรมนูญจะต้องคงไว้ซึ่งหลักการข้อห้ามนักการเมืองเข้าครอบงำกิจการสื่อสารมวลชนโดยการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนตามที่ปรากฏในมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดย คปก.ยังได้เสนอให้มีกฎหมายรองรับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อเป็นการปกป้องเสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานแห่งวิชาชีพสื่อ สำหรับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เป็นข้อห้ามมิให้กระทำการที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกันระหว่างคนในชาติหรือศาสนา หรือยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ หรือใช้ความรุนแรงระหว่างกันนั้น คปก.มีความเห็นว่า จะต้องเป็นการบัญญัติให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองด้วย ส่วนข้อเสนอแนะของ คปก.ต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอแนะให้มีการทบทวนกฎหมายที่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน และเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน และต้องสร้างกลไกการตรวจสอบองค์กรกำกับดูแลคลื่นความถี่ให้มีความโปร่งใส-ตรวจสอบได้ โดยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้ามาทำหน้าที่ดูแลองค์กรดังกล่าวเป็นการเฉพาะ และจะต้องเปิดเผยรายงานการตรวจสอบดังกล่าวต่อสาธารณะเป็นรายไตรมาส
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/79547
2018-11-10 16:25
'ชนกนันท์' อดีตโฆษกประชาธิปไตยใหม่ ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยในเกาหลีใต้แล้ว
น.ส.ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หรือ 'การ์ตูน' อดีตโฆษกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (แฟ้มภาพประชาไท) 10 พ.ย. 2561 มติชนออนไลน์ [1] รายงานว่า น.ส.ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หรือ 'การ์ตูน' อดีตโฆษกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ได้ไลฟ์สดเฟสบุ๊คจากประเทศเกาหลี โดยระบุว่าเวลานี้ ตัวเองได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัยในเกาหลีเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเพียง 9 เดือนเท่านั้น โดย น.ส.ชนกนันท์ ได้เล่าถึงขั้นตอน การเตรียม เอกสารในการร้องขอต่อรัฐบาลเกาหลีใต้ จนกระทั่งได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ถือเป็นคนแรกของปีนี้ที่ได้รับสถานะโดยไม่ต้องขึ้นศาล สาเหตุสำคัญที่ได้รับสถานะเร็ว น่าจะเป็นเพราะได้รับความช่วยเหลือ จากผู้ขอลี้ภัยคนอื่นๆที่ได้รับสถานะแล้วจากประเทศอื่นๆ ที่สำคัญคืออาจจะเป็นเพราะเคยมีนักข่าวเกาหลีจากนิตยสาร ฉบับหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างมาก มาสัมภาษณ์ และตนได้ขึ้นหน้าปก "ดีใจมากที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยแล้ว ขอบคุณทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือด้วยดีเสมอมา ต่อไปนี้ก็คงไปสมัครเรียนต่อ อยากเรียกมนุษยวิทยา ไม่อยากเรียนรัฐศาสตร์" น.ส.ชนกนันท์ กล่าว
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/737
2004-10-11 22:15
ฉลากจีเอ็มโอ : คุ้มครองแบบไม่ครอบคลุม
ยังคงพูดถึงกันอย่างต่อเนื่อง สำหรับกรณีพืชตัดแต่งพันธุกรรมหรือ "จีเอ็มโอ" ที่จะว่าไปก็คงเป็นกรณีที่ได้รับความสนใจไปอีกนาน ตราบใดที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าพืชจีเอ็มโอเป็นอันตรายหรือไม่ แต่อย่างน้อยที่สุดเราก็น่าจะมี "สิทธิ" ป้องกันตัวเองได้บ้าง ด้วย "การเลือก" ว่าจะบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบเป็นพืชจีเอ็มโอหรือไม่ และวิธีที่จะส่งเสริมสิทธิของผู้บริโภคดังกล่าวนั้นก็คือ "ฉลาก" น่าดีใจที่ประเทศไทยมีมาตรการว่าด้วยการติดฉลากอาหารที่มีวัตถุดิบจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบแล้วภายใต้ ประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 251/2545 หลังจากมีกระแสเรียกร้องมาอย่างยาวนาน 1 ปี หลังจากนั้นเป็นช่วงเวลาที่ให้ผู้ประกอบการเตรียมตัวต่อเรื่องดังกล่าว ดังนั้น มาตรการนี้จึงมีผลใช้จริงในปี 2546 อย่างไรก็ตาม ชนิดของวัตถุดิบที่ระบุให้ต้องมีฉลากมีเพียง "ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง" - "ข้าวโพดและผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด" ที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม (Genetic modification)หรือพันธุวิศวกรรม (Genetic engineering)ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมเพียง 22 ชนิดเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์อาหารที่พบว่ามีการปนเปื้อนจีเอ็มโอ อาทิเช่น มันฝรั่ง ที่เด็กๆ ชื่นชอบ ยังไม่นับรวมปัญญาการระบุในฉลากที่ไม่ชัดเจน ชนิดที่ไม่เพ่งไม่ตั้งใจค้นหาก็แถบไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ในทางกลับกันผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อก็โฆษณาตัวโตว่า "ไม่ใช่จีเอ็มโอ" ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะในประกาศระบุไม่ให้โฆษณาเช่นนั้น ใครอยากรู้ต้องดูผลการสำรวจเร็วๆ นี้ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ได้สำรวจตลาดและรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาทั้ง 2 แบบไว้แล้ว ดังข้อมูลในตารางด้านล่าง นอกจากนี้ยังมีปัญหาว่าด้วย "การเล่นกับตัวเลข" ในข้อกำหนดที่ระบุว่า จะเขียนในฉลากก็ต่อเมื่อวัตถุดิบนั้นเป็นส่วนประกอบหลักใน 3 ลำดับต้น และจะต้องมีสัดส่วนมากกว่า 5 % ขององค์ประกอบทั้งหมด ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้ผู้ผลิตไม่ต้องระบุก็ได้ หากวัตถุดิบจีเอ็มโออยู่ในลำดับที่ 4 หรือเป็นจีเอ็มโอ 100% แต่มีสัดส่วนเทียบกับองค์ประกอบทั้งหมดแล้วมีแค่ 4% ข้อเรียกร้องสำคัญของกลุ่มองค์กรผู้บริโภคคือ ต้องการให้กำหนดสัดส่วนไว้ที่ 1% ซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นสัดส่วนต่ำที่สุดที่จะตรวจพบว่าเป็นจีเอ็มโอ (ต่ำกว่า1% จะไม่สามารถตรวจพบ) ข้อเรียกร้องนี้ถูกปัดตกจากคณะกรรมการกลางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อครั้งที่ออกประกาศกระทรวง ด้วยเหตุว่า "ญี่ปุ่น" ยังกำหนดเพียง 5% แล้วพี่ไทยจะอะไรนักหนา แถมห้องแลบก็ไม่มีความพร้อมที่จะรองรับการตรวจถึงขั้นนั้น อันที่จริงแล้วผู้ที่จะทำหน้าที่ออกมาตรการเหล่านี้ต้องเป็นองค์กรอิสระผู้บริโภค ตามมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่เมื่อยังไม่มี(และยังไม่มีวี่แววว่าจะมี) อย. จึงต้องจัดการไปก่อนพลางๆ ดูปัจจัยต่างๆ แล้ว ก็น่าคิดว่ามันเป็นประกาศที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้บริโภค หรือเป็นหุ่นไล่กาที่ตั้งไว้เฉยๆ โดยขยับเขยื้อนตัวไม่ได้กันแน่... ภาณุวัฒน์ อภิวัฒนชัย ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/7639
2006-03-08 04:55
"อชิรวิทย์" เสนอปฏิรูปการเมือง ทักษิณสละตำแหน่งหลังเลือกตั้ง
ประชาไท - 7มี.ค.49         พล.ต.ท.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช ผู้ช่วย ผบ.ตร. และโฆษก ตร.กล่าวถึงการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 6 มี.ค.ว่ามีประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าตนเองพูดแทนรัฐบาล จนมีการด่าว่าตำรวจผ่านทางเว็บไซต์อย่างรุนแรง ตนเองขอยืนยันว่า นั่นเป็นการพูดแทนตำรวจกว่า 220,000 นาย ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ดูแลการชุมนุมที่ยืดเยื้อไม่ว่าของฝ่ายใด   ผู้ช่วย ผบ.ตร.กล่าวว่า เมื่อ 10 วันที่ผ่านมาได้ยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีว่า อยากให้นายกฯ ประกาศไม่รับตำแหน่งหลังการเลือกตั้งหากพรรคไทยรักไทยชนะ โดยให้สรรหาบุคคลที่เหมาะสม มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมมาดำรงตำแหน่งแทน แต่ฝ่ายค้านก็ต้องลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย โดยขอพระราชทานแก้ไขพระราชกฤษฎีกาเลื่อนวันเลือกตั้ง ถือเป็นการถอยคนละก้าว ซึ่งหากประชาชนตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งก็ไม่มีปัญหา ทั้งนี้ เมื่อเลือกตั้งเสร็จผู้ที่ได้รับเลือกต้องตั้งคณะกรรมการมาปฏิรูปการเมือง หลังจากครบ 1 ปีก็ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ จะได้รักษากติกาของบ้านเมืองโดยไม่ต้องขอพระราชทานนายกฯ ตามมาตรา 7 ให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท   พล.ต.ท.อชิรวิทย์ เสนอว่า ขอให้ประชาชนที่ส่วนใหญ่ที่เฝ้าดูสถานการณ์ความขัดแย้งแสดงพลังเงียบ โดยการเปิดไฟหน้ารถ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายปรองดองกันเจรจากันด้วยสันติ ปีนี้ก็เป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี จึงเป็นปีที่ประชาชนน่าจะมาช่วยกันรักษาบ้านเมือง   เมื่อถามว่า การออกมาพูดในลักษณะเช่นนี้จะถูกมองว่าเป็นตำรวจที่ฝักใฝ่การเมืองหรือไม่ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ตอบว่าตนเองเป็นตำรวจที่ฝักใฝ่ประชาชน การออกมาในครั้งนี้ไม่กลัวถูกตำหนิและพร้อมที่จะไป เพราะอายุราชการก็เหลือไม่มาก หากมีปัญหาก็พร้อมยื่นใบลาออก           ขณะที่พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์การชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง ว่า การรักษาความปลอดภัยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้ดูแล ส่วนทหารจะเตรียมแผนและติดตามสถานการณ์ ทหารคงไม่เข้าไปเกี่ยวข้องอะไร แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทหารก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล และสถานการณ์การชุมนุม           กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมประกาศจะเคลื่อนย้ายเรียกร้องขับไล่นายกรัฐมนตรีที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 13 มี.ค. นั้น พล.อ.สิริชัย กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์การชุมนุมครั้งที่ผ่านมาไม่พบว่ามีอะไรที่น่าวิตก เพราะต่างฝ่ายต่างพยายามใช้แนวทางสันติวิธีที่ไม่ให้เกิดการปะทะ หากกลุ่มเคลื่อนไหวปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญก็จะไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งตำรวจต้องดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมให้อยู่ในกรอบ       จาก เว็บไซต์ผู้จัดการ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/73577
2017-10-06 19:28
อัยการสูงสุด ชี้ขาดสมควรสั่งฟ้อง 'ทักษิณ' คดี ม.112-พ.ร.บ.คอมฯ ประสาน ปอท.
เข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุดคนใหม่ พร้อมรื้อคดี 'ทักษิณ' ปล่อยกู้แบงค์กรุงไทย-ภาษีสรรพสามิตในศาลฎีกานักการเมือง  ระบุอัยการสูงสุด ชี้ขาดสมควรสั่งฟ้อง 'ทักษิณ' คดี ม.112-พ.ร.บ.คอมฯ ประสาน  ปอท. ออกหมายจับติดตามตัว แฟ้มภาพ 6 ต.ค.2560 รายงานข่าวระบุว่า เข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุดคนที่ 14 ซึ่งรับตำแหน่งวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้ตอบข้อซักถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับการบริหารองค์กรเพื่ออำนวยความยุติธรรมและประโยชน์ของรัฐว่า มีนโยบายพัฒนาบุคลากรในองค์กรสำนักงานอัยการสูงสุดเน้นหลักเป็นทั้งคนเก่งและคนดี สั่งคดีอย่างเป็นธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรม คุณธรรม ตามพยานหลักฐานที่สมบูรณ์ที่สุด ถ้าพยานหลักฐานเพียงพอฟ้องเราจะฟ้องคนทำผิด ไม่ฟ้องคนที่บริสุทธิ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน เมื่อถามถึงคดีที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ( ปอท.) เคยรวบรวมหลักฐานเมื่อปี 2558 กล่าวหา ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 และความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายนอกราชอาณาจักรที่ให้อำนาจอัยการสูงสุดชี้ขาดนั้น เข็มชัย กล่าวว่า ขณะนี้มีความเห็นแล้วโดยอัยการสูงสุดคนก่อน คือ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร ได้ทำความเห็นสมควรสั่งฟ้องแล้วภายหลังจากที่อัยการสูงสุด ยุคตระกูล วินิจนัยภาค ได้ตั้งอัยการสำนักสอบสวน ร่วมทำการสอบสวนกับ ปอท. ซึ่งจากนี้เมื่อมีคำสั่งสมควรสั่งฟ้องแล้วก็เหลือเพียงกระบวนการติดตามตัวโดยประสาน ปอท. ให้ดำเนินการออกหมายจับหากทราบแหล่งที่อยู่ชัดเจนก็จะต้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนทันทีเพื่อดำเนินกระบวนการฟ้องคดี ซึ่งคดีนี้เป็นคดีอาญาไม่ใช่คดีทุตริต ที่อยู่ในอำนาจศาลฎีกาฯดังนั้นการฟ้องจะต้องมีตัวจำเลยยื่นต่อศาล ต่อกรณีคำถามว่ากังวลหรือไม่เรื่องการดำเนินคดีว่าพุ่งเป้าที่ทักษิณ นั้น เข็มชัย กล่าวว่า ก็มีความกังวลเกี่ยวกับกระแสสังคมที่มีหลายฝ่ายมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันแต่มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ เนื่องจากมีการออกกฎหมายมาแล้ว หากไม่ดำเนินการก็จะถูกวิจารณ์จากอีกฝ่ายว่าไม่บังคับใช้กฎหมาย แต่เมื่อเรื่องถึงขั้นตอนศาลแล้วศาลจะจะเห็นอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับคำถามถึงการขอสถานะลี้ภัยของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ศาลฎีกาฯตัดสินให้จำคุก 5 ปีไม่รอลงอาญาคดีที่อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องคดีจำนำข้าวนั้น เข็มชัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะขอสถานะลี้ภัยที่ประเทศใด ซึ่งการขอลี้ภัยเป็นเรื่องที่ประเทศนั้นๆจะต้องเป็นผู้พิจารณาไปตามกฎหมายประเทศ ซึ่งอัยการไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้ โดยการลี้ภัยจะต้องถามจากกระทรวงการต่างประเทศ แต่ในส่วนกระบวนการของไทยที่จะทำได้คือต้องติดตามตัวจำเลยถึงแม้นางสาวยิ่งลักษณ์ จะได้รับสถานะลี้ภัยในประเทศใดอัยการก็จะต้องยื่นขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน เนื่องจากเป็นคนละประเด็นกัน โดยการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนต้องทราบแหล่งที่อยู่ที่ชัดเจนก่อน ถึงจะพิจารณาในส่วนกฎหมายของแต่ละประเทศได้ แต่สุดท้ายการพิจารณาก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของฝ่ายบริหารในประเทศนั้นด้วยว่าจะให้ส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ แม้ตามหลักสากลจะไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามความผิดทางการเมือง แต่มันก็ขึ้นอยู่กับการตีความว่าความผิดทางการเมืองครอบคลุมแค่ไหน แต่หากประเทศใดมีการขอรายละเอียดคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ เราก็จะต้องยืนยันว่าคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นคดีทุจริต ไม่ใช่คดีความผิดทางการเมือง ส่วนกรณีที่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฉบับใหม่ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมาจะส่งผลถึงคดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทยกับกลุ่มกฤษดามหานคร และคดีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือและดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิต ที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนของ ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ไม่เดินทางมาศาล และถูกออกหมายจับหรือไม่นั้น เข็มชัย กล่าวว่าคดีดังกล่าวเป็นการยื่นฟ้องคดีในกฎหมายเก่าปี พ.ศ.2542 (พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542)ที่เดิมไม่สามารถที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีลับหลังโดยที่ไม่มีตัวจำเลยได้แต่กฎหมายใหม่ที่เพิ่งออกมา พ.ศ.2560 มาตรา 28 ให้ศาลสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาคดีโดยไม่มีตัวจำเลย หรือ พิจารณาคดีลับหลัง ดังนั้นจึงเป็นการคาบเกี่ยวกับการออกกฎหมายใหม่ แต่ในบทเฉพาะกาล มาตรา 69 ของกฎหมายใหม่ได้ระบุไว้ว่าการดำเนินการใดที่เกิดขึ้นมาโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายเก่าแล้วนั้นจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ให้พิจารณาต่อไปตามกฎหมายใหม่ที่บังคับใช้ ดังนั้นความเห็นส่วนตัวจึงเห็นว่าคดีดังกล่าวสามารถรื้อฟื้นกลับมาพิจารณาใหม่ได้ ซึ่งอัยการจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ เพื่อดำเนินการต่อไป โดยตนจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ ที่จะให้อธิบดีสำนักงานคดีพิเศษซึ่งเดิมเคยเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบคดีเป็นผู้เสนอรายชื่อคณะทำงานที่เหมาะสมขึ้นมา ซึ่งการดำเนินการยื่นคำร้องนั้นไม่มีการกำหนดระยะเวลา แต่จะกำชับให้คณะทำงานดำเนินการโดยรวดเร็วไม่ชักช้า ทั้งนี้เมื่อยื่นคำร้องแล้วหากศาลฎีกาฯนักการเมืองเห็นตรงกันในการบังคับใช้กฎหมายส่วนนี้ก็สามารถคดีก็สามารถดำเนินการต่อได้ ต่อกรณีคำถามที่ถามว่าส่วนคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ยื่นฟ้อง ทักษิณ เองต่อศาลฎีกาฯ เช่น คดีปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออก หรือเอ็กซ์ซิมแบงค์ ให้กับรัฐบาลเมียนมาร์เพื่อทำสัญญากิจการโทรคมนาคม และคดีทุจริตโครงการออกสลากหวยบนดินนั้นจะใช้หลักปฎิบัติเดียวกันที่ ป.ป.ช. จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลหรือไม่ เข็มชัย อัยการสูงสุด กล่าวว่า อย่างตนบอกว่าในส่วนคดีที่อัยการเป็นผู้ยื่นฟ้องและจะมีการตั้งคณะทำงานฯ ดูแลการรื้อคดีมาดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นั้นเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของตนที่เห็นว่าสามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ แต่ในส่วน ป.ป.ช. จะต้องเป็นพิจารณาเอง ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น [1], เดลินิวส์ [2] และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ [3]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/73063
2017-09-01 23:31
ขยายเวลาใช้สิทธิ์ให้ ปชช.นำบัตรสมาร์ทการ์ดแลกกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ ถึง 31 ธ.ค.นี้
กสทช. ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิ์ให้ประชาชนสามารถนำบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดไปแลกกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ได้ถึงวันที่ 31 ธ.ค.นี้ 1 ก.ย. 2560 รายงานข่าวจาก สำนักสื่อสารองค์กร สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) แจงว่า ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า กสทช. ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิ์ให้ประชาชนที่ได้รับหนังสือแจ้งสิทธิ์จากสำนักงาน กสทช. ว่าเป็นครัวเรือนที่มีสิทธิ์ได้รับคูปองดิจิตอลทีวีสามารถนำบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดไปแลกกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2560 จากเดิมที่สามารถใช้สิทธิ์แลกได้ถึงแค่วันที่ 2 ก.ย. 2560 สำหรับการขยายระยะเวลาการใช้สิทธิ์นี้เฉพาะครัวเรือน 4 กลุ่ม ที่ได้รับหนังสือแจ้งสิทธิ์จากสำนักงาน กสทช. ว่ามีสิทธิ์ได้รับคูปองได้แก่ 1.ครัวเรือนที่ได้รับสิทธิ์แจกคูปองครั้งแรก แต่ไม่ได้รับคูปองดังกล่าว (เฉพาะที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ส่งคืนสำนักงาน กสทช.) 2. ครัวเรือนที่มีทะเบียนบ้านและมีเจ้าบ้านซึ่งมีขึ้นภายหลังวันที่ 16 ก.ย. 2557 3. ครัวเรือนที่มีทะเบียนบ้านและมีผู้อยู่อาศัย แต่ไม่มีเจ้าบ้าน และ 4. ครัวเรือนที่มีทะเบียนบ้านชั่วคราว และมีเจ้าบ้าน ฐากร กล่าวว่า สำหรับการใช้สิทธิ์ประชาชนสามารถเลือกที่จะนำบัตรประจำตัวประชาชนสมาร์ทการ์ดไปใช้สิทธิ์ ณ จุดบริการที่เข้าร่วมโครงการ หรือลงทะเบียนแลกรับกล่อง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ “การขยายระยะเวลาการใช้สิทธิ์ในครั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยประโยชน์ให้กับประชาชน ให้สามารถแลกรับกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์เพื่อสามารถรับชมทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินที่มีความคมชัดได้” ฐากร กล่าว
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/53597
2014-05-28 03:30
ประกาศ คสช. ฉ.43 เด็ก-เยาวชนไม่ขึ้นศาลทหาร ฉ.44 เรือนจำปฏิบัติตามกม.ศาลทหาร
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 43/2557 การทำผิดของเด็กหรือเยาวชนต้องขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัว ฉบับที่ 44/2557 เรือนจำทั้งหลายที่อยู่ในสังกัดกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายของศาลทหาร เมื่อวันที่ 27 พ.ค. มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 43/2557 เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหาร และฉบับที่ 44/2557 เรื่อง ให้เรือนจำในสังกัดกรมราชทัณฑ์กระทรวงยุติธรรมปฏิบัติตามกฏหมายของศาลทหาร 000 ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 43/2557เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหาร ตามที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 นั้น เพื่อให้การดำเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเป็นไปอย่างเหมาะสม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงประกาศให้การกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชนตามประกาศฉบับดังกล่าว เป็นคดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว และไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 000 ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 44/2557เรื่อง ให้เรือนจำในสังกัดกรมราชทัณฑ์กระทรวงยุติธรรมปฏิบัติตามกฏหมายของศาลทหาร ตามที่คณะความรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และฉบับที่ 38/2557 เรื่องคดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 นั้น เพื่อให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลทหาร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงประกาศให้เรือนจำทั้งหลายที่อยู่ในสังกัดกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายของศาลทหารด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/56881
2014-12-08 16:28
อ่านมือถือบนรถไฟฟ้า-พอดีเห็นโพสต์ ลูกจ้าง รพ.ศรีนครินทร์-เลยมาแจ้งความ ม.112
อาสาสมัครพิทักษ์ปกป้องสถาบัน นั่งรถไฟฟ้าบีทีเอสเห็นโพสต์ของลูกจ้าง รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น แล้วทนไม่ได้เลยมาแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ สน.ลุมพินี ด้าน พนง.สอบสวน จะตั้งคณะกรรมการพิจารณาก่อน กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ปกป้องสถาบัน แจ้งความต่อนางอารีย์ (ขอสงวนนามสกุล) ที่ สน.ลุมพินีวันนี้ (8 ธ.ค.)  (ที่มาของภาพ: สำนักข่าวไทย [1]) 8 ธ.ค. 2557 - กรณีเจ้าหน้าที่จาก กอ.รมน. ได้เชิญตัวนางอารีย์ (ขอสงวนนามสกุล) ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งบุคลากรทางการแพทย์ ของ รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปสอบสวนหลังถูก นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ชื่อดังประจำ รพ.สมิติเวช โพสต์ร้องเรียนว่านางอารีย์โพสต์รูปชุดดำและโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คซึ่งเขาเห็นว่าไม่เหมาะสมนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [2] ล่าสุดที่ สน.ลุมพินี กรุงเทพมหานคร น.ส.ณวศรสวรรค์ (อ่านว่า นะ-วะ-สอน-สะ-หวัน) ถิระโครต กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ปกป้องสถาบันพร้อมประชาชน รวม 5 คน เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีกับนางอารีย์ ในรายงานของมติชนออนไลน์ น.ส.ณวศรสวรรค์ เปิดเผยว่าไม่รู้จักเป็นการส่วนตัวกับผู้โพสต์ข้อความ แต่เห็นข้อความดังกล่าวบนรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงสถานีชิดลม ในฐานะคนไทยคนหนึ่งไม่สามารถปล่อยให้เกิดเรื่องแบบนี้ได้ จึงตั้งใจมาแจ้งความผู้โพสต์ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้าน พ.ต.อ.เดชา พรมสุวรรณ์ พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะหัวหน้างานสอบสวน สน.ลุมพินี กล่าวว่าเบื้องต้นจะรับคำกล่าวโทษตามผู้ร้องมาร้องเรียนไว้ พร้อมจะตั้งคณะกรรมการในการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยจะเสนอเรื่องไปถึงผู้บังคับบัญชา ในกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 เพื่อให้ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล พิจารณาคำร้องดังกล่าวซึ่งกรณีหมิ่นสถาบันทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ในคดีนี้แล้ว ส่วนรายงานล่าสุด กอ.รมน. ได้เชิญนางอารีย์ และเพื่อนที่ปรากฏในภาพถ่าย มาสอบถามที่ มทบ.23 แล้ว มีการปรับทัศนคติและปล่อยกลับบ้านแล้ว โดยกินเวลา 5 ชั่วโมง โดย รอง.ผอ.กอ.รมน. จ.ขอนแก่น แนะบุคคลที่มาปรับทัศนคติให้ใช้ราชาศัพท์เพื่อสื่อว่ารักในหลวงจริง ขอให้พร้อมแสดงตนเทิดทูนสถาบัน และร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติ ส่วนการดำเนินการตามกฎหมายให้ทหารพระธรรมนูญ ตำรวจพิจารณาพรุ่งนี้ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [3]
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/79112
2018-10-11 22:14
กกต. บอกพรรคการเมือง ถ้าจะระดมทุน-รับบริจาค ต้องไปขออนุญาต คสช. ก่อน
เลขาธิการ กกต. แจ้งไม่ห้ามหากพรรคการเมืองระดมทุนหรือรับบริจาคเงิน แต่ไปขอ คสช. ก่อน ยันไม่ออกคำสั่งห้ามเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จะมีหนังสือเวียนไปทุกพรรค หากอนาคตใหม่ยังสังสัยให้มาถาม ส่วนรองเลขาธิการ กกต. เผยได้ผู้ตรวจการเลือกตั้งครบ 77 จังหวัดแล้ว 11 ต.ค. 2561 สืบเนื่องจาก วานนี้ (10 ต.ค.61) พรรคอนาคตใหม่ได้รับการติดต่อ จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่าทางพรรคไม่สามารถที่จะเปิดให้มีการระดมทุนพรรคจากการจัดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งเปิดรับบริจาคเงินจากสมาชิกพรรคการเมืองได้ เนื่องจากถือว่าเป็นการขัดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ฉบับที่ 57/2557 ที่ห้ามพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วประชุมหรือดำเนินกิจการใดๆ ซึ่งกกต. ได้มีมติ สั่งห้ามพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิม รวมทั้งพรรคที่เกิดขึ้นใหม่ รับการบริจาคเงิน หรือทำกิจกรรมระดมทุนด้วย ซึ่งต่อมา ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ได้แถลงว่า คำสั่งดังกล่าวของ กกต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการจำกัดสิทธิที่เกิดกว่าเหตุ และเห็นว่าการเปิดรับบริจาค หรือระดมทุนด้วยการจัดกิจกรรมนั้น ไม่ได้เป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง หรือความสงบของชาติ พร้อมขอให้ กกต. ทบทวนคำสั่งดังกล่าว หรือไม่ก็ให้มีคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรออกมา เพื่อที่ทางพรรคจะได้ดำเนินการยื่นฟ้องเพิกถอนคำสั่งได้ แต่ยังหวังว่า กกต. จะไม่เป็นเครื่องให้ คสช. ใช้บีบพรรคการเมือง ล่าสุดวันนี้ สำนักข่าวไทย รายงานว่า พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต. กล่าวถึงกรณีการรับเงินบริจาคของพรรคการเมือง และการระดมทุนของพรรคการเมืองว่า ต้องเป็นไปตามประกาศ คสช.ที่ 57/2557 ที่ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการใด ๆ ในทางการเมือง แม้หัวหน้า คสช. จะมีคำสั่งที่ 53/2560 และ 13/2561 คลายล็อคเรื่อง การดำเนินการตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง แต่ประกาศคสช.ที่ 57/2557 ยังมีผลอยู่  “การจะดำเนินการอื่นใดที่นอกเหนือจากการคลายล็อค 6 ข้อตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 จะต้องขออนุญาตจาก คสช. เช่นกรณีการประชุมของกรรมการบริหารพรรคเพื่อเลิกกิจการพรรคที่ไม่ได้อยู่ในการคลายล็อคทั้ง 6 ข้อ ซึ่งมีพรรคขออนุญาตเพื่อดำเนินการเลิกกิจการของพรรค กรณีการรับเงินบริจาคหรือระดมทุนซึ่งไม่ได้ห้าม แต่ต้องขออนุญาต อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ กกต. จะออกหนังสือเวียนแจ้งให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ทราบอีกครั้งว่าหากพรรคจะดำเนินกิจการทางการเมือง นอกเหนือจากการคลายล็อคทั้ง  6  ข้อจะต้องขออนุญาตคสช.ก่อน” เลขาธิการ กกต. กล่าว ส่วนกรณีที่พรรคอนาคตใหม่มองว่า กกต. เป็นเครื่องมือของ คสช. ยุบพรรคการเมือง นั้น พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวว่า เราเป็นเครื่องมือของกฎหมาย หากกฎหมายให้ทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น และในฐานะเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองทำผิดกฎหมายอยู่แล้ว ขอให้ทุกพรรคการเมืองอดทน เพราะเท่าที่ทราบ คสช. กำลังพิจารณาเรื่องการปลดล็อค ข่าวว่าคงอีกไม่นาน อยากให้มีพรรคการเมืองเหลืออยู่ทุกพรรคจนถึงการเลือกตั้ง เพราะเป็นสีสันประชาธิปไตย  “ส่วนกรณีพรรคอนาคตใหม่ท้าให้ กกต. ออกหนังสือคำสั่งห้ามรับบริจาคหรือระดมทุนอย่างเป็นทางการ เราคงไม่ออกคำสั่งลักษณะดังกล่าว เพราะ กกต. จะมีหนังสือเวียนชี้แจงพรรคการเมืองอยู่แล้ว และหากทางพรรคอนาคตใหม่ยังมีข้อสงสัยให้ถามมา” เลขาธิการ กกต. กล่าว ตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งครบ 77 จังหวัดแล้ว จำนวน 603 ดำรงตำแหน่ง 5 ปี สำหรับความเคลื่อนไหวอื่นๆ ของ กกต. ในวันนี้ ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า ณัฎฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการ กกต. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ให้ทราบว่าอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต.ได้ลงนามในคำสั่ง กกต.ที่ 64/2561 เรื่องการแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งแล้ว โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29 พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. 2560 และ ข้อ 20 ของระเบียบ กกต.ว่าด้วยผู้ตรวจการเลือกตั้ง 2561 ประกอบมติ กกต.เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม และ 8 ตุลาคม เห็นควรให้แต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง ทั้ง 77 จังหวัด รวม 603 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมเป็นต้นไป และให้บัญชีรายชื่อดังกล่าว มีระยะเวลา 5 ปี นับแต่มีคำสั่ง และให้สำนักงาน กกต.จังหวัดแจ้งให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งรับทราบและเตรียมเข้ารายงานตัวเพื่อฝึกอบรม  อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา ศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.ในขณะนั้นได้ประกาศรายชื่อ ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้งจังหวัดละ 8 คน รวม 616 คน และได้ให้สำนักงาน กกต.จังหวัดทั่วประเทศปิดประกาศเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูล หรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และพฤติการณ์ของผู้ได้รับการคัดเลือกมายัง กกต. ซึ่งการพิจารณาของ กกต.ชุดปัจจุบันก็ได้มีการคัดเลือกไว้ 603 คน ทำให้ทุกจังหวัดไม่ได้มีผู้ตรวจการเลือกตั้งจำนวนไม่เท่ากัน แต่จะไม่น้อยกว่า 5-8 คน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/69891
2017-02-02 14:18
สนช.รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.การสาธารณสุข เปิดช่องตั้ง กก.จังหวัด บังคับใช้ กม.ระดับพื้นที่
มติ สนช. รับหลักการร่าง พ.ร.บ.การสาธารณสุข ไว้พิจารณา รมว.สาธารณสุข แจงตั้งคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมายในระดับพื้นที่ (แฟ้มภาพ เพจ วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา)   2 ก.พ. 2560 เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา รายงานว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ไว้พิจารณาด้วยคะแนนเห็นด้วย 203 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 3 เสียง กำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน ระยะเวลาการดำเนินงาน 30 วัน     ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ไม่มีกลไกหรือหน่วยงานที่ขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมายในระดับพื้นที่โดยตรง ทำให้การจัดการปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประกอบกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมากขึ้น จึงควรกำหนดให้มีคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดและคณะกรรมการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมายในระดับพื้นที่ โดยคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ เพื่อระงับและจัดการตามความจำเป็นมิให้เหตุรำคาญนั้นเกิดขั้นอีก ตลอดจนกำหนดให้ผู้ขออนุญาตในกิจการบางประเภทหรือบางขนาดต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดก่อนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาออกใบอนุญาต นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการอุทธรณ์ให้เกิดความรอบคอบโดยให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และกำหนดระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษและบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน   สมาชิก สนช. เห็นด้วยกับหลักการและมองว่าการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีความสำคัญ และทำเพื่อให้เนื้อหาเกิดความสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ขณะเดียวกันได้ตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในหลายประเด็น อาทิ องค์ประกอบของคณะกรรมการจังหวัด ควรเพิ่มกลไกการมีส่วนร่วมของภาคสังคมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จะช่วยให้การบังคับใช้กฎหมายลักษณะนี้เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่ใช่เกิดจากความหวาดกลัว แต่เกิดจากสำนึกความรับผิดชอบร่วมกัน บทกำหนดโทษควรเพิ่มทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงควรระบุนิยามคำว่า "เหตุรำคาญ" ให้มีความชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดการตีความภายหลัง     ที่มา : เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา  [1]
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/16969
2008-06-06 01:30
สมัคร เบรกแตกงานสิ่งแวดล้อมโลก อัดเอ็นจีโอค้านสร้างเขื่อน ปลุกผี แก่งเสือเต้น
5 มิ.ย. 51 - นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวเปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดกิจกรรมภายใต้คำขวัญที่องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น กำหนดว่า CO2 Kick the Habit! Towards a Low Carbon Economy หรือ '' ลดวิกฤตโลกร้อน เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิดสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ'' ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ตอนหนึ่งว่า นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เตือนว่าในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า น้ำจะท่วมประเทศเพราะน้ำทะเลขึ้นสูง แต่เท่าที่เงี่ยหูฟังกรมอุตุนิยมวิทยา ก็ยังเห็นว่าปกติ แต่ก็ไม่ละเลย   นายสมัครกล่าวว่า ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่สร้างภาวะก๊าซเรือนกระจกสูงอันดับที่ 31 ของโลก จากทั้งหมด 192 ประเทศ ก็แปลว่าไทยเป็นประเทศที่เจริญดีพอสมควร แต่ไอ้หัวโจกอย่างสหรัฐทำลายมาก แต่เวลาประเทศอื่นเขาประชุมกัน ก็ไม่ยอมทำตาม และมีการจำแนกปัญหาโรคร้อนในประเทศไทยว่า เกิดจากภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 50 ชาวนาร้อยละ 23 ป่าไม้ร้อยละ 17 มนุษย์ร้อยละ 10 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นประชาชนทั่วไป ดังนั้น เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้ปลูกต้นไม้ และเห็นด้วยการกับการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ ซึ่งสามารถป้องกันน้ำท่วม ปล่อยน้ำทำการเกษตรกรรม ผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว   '' เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เก็บกักน้ำได้ 1.3 หมื่นลูกบาศก์เมตร เคราะห์ดีที่สร้างก่อนจะมีขบวนการปลุกระดม ก่อนเอ็นจีโอจะเกิด เช่นเดียวกับเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เก็บกักน้ำได้ 9.7 พันล้านลูกบาศก์เมตร แต่เขื่อนที่จะสร้างขึ้นมากั้นแม่น้ำยม จ.สุโขทัย เถียงกันมา 17 ปี จนบัดนี้ผ่านมา 30 ปีแล้ว ก็ยังสร้างไม่ได้ เพราะทุกคนต้องคารวะคุณพ่อเอ็นจีโอ ก็เลยสร้างไม่ได้ ก็ปลุกระดมกันบอกว่าทำไม่ได้ ซึ่งข้อดีของการมีเขื่อนพลังน้ำคือ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ อย่างเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ผลิตไฟฟ้าป้อน 32 จังหวัด ซึ่งต่อไปทุกอย่างจะใช้พลังไฟฟ้า ไม่ใช่รถจักรไอน้ำ หรือน้ำมันดีเซลอีกต่อไป นี่คือความสนับสนุนที่อยู่ในใจของผม''  นายสมัครกล่าว   นายสมัครกล่าวว่า ลาวมีเขื่อนพลังน้ำ 3 เขื่อน คือ เขื่อนน้ำงึม ผลิตไฟฟ้าใช้เองร้อยละ 10 ขายให้ไทยร้อยละ 90 เขื่อนน้ำเทิน 1 และเขื่อนน้ำเทิน 2 เก็บไฟไว้ใช้เองร้อยละ 15 ขายให้ไทยร้อยละ 85 และที่ลาวทำเขื่อนพลังน้ำได้เพราะไม่มีเอ็นจีโอ ไม่น่าเชื่อก็แล้วกัน ของไทยมีแร่โพแทช แต่ขุดมาใช้ไม่ได้ เพราะคุณพ่อเอ็นจีโอไม่ให้ขุด ขณะที่ลาวมีแร่เหล็กอะลูมินัม ให้เอกชนไทยเข้าไปขุดได้แล้วเอามาถลุงในไทย และให้ประเทศออสเตรเลียเข้าไปทำเหมืองทองแดง นี่แหละเพื่อนบ้าน ทำได้เพราะไม่มีคุณพ่อ คุณแม่ คุณพี่เอ็นจีโอ   นายสมัครยังกล่าวถึงข้อเสนอในการลดภาวะโลกร้อน และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีว่า 1) เปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส และถอดเสื้อนอก 2) ส่งเสริมการใช้น้ำมันอี 85 3) ส่งเสริมการขับรถด้วยความเร็วไม่เกินร้อยละ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง 4) ต่อต้านการใช้ถุงพลาสติค ก็โอเค แต่ขอบ่นหน่อยว่า ถ้าไปตลาดแล้วเจอแกงก็ซื้อไม่ได้น่ะสิ เพราะถุงผ้าใส่แกงไม่ได้ ครั้นจะเอากล่องพลาสติคไปใส่ก็ไม่ได้อีก คิดว่าคงหิ้วหม้อไปตลาดด้วย   นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการ ทส. กล่าวว่า การประชุมผู้บริหาร ทส.สัปดาห์หน้า จะหยิบยกการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่ลุ่มแม่น้ำยม ที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงขึ้นมาหารือ เพื่อศึกษาผลดีผลเสีย เพราะมีการศึกษาเรื่องพื้นที่และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น หากมีการตัดสินใจสร้างเขื่อน ซึ่งไม่ได้กำหนดระยะเวลาว่าต้องสร้างเมื่อใด ก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ด้วย   '' การสร้างเขื่อนในแม่น้ำยม มีความจำเป็นสำหรับประชาชนมาก เพราะที่ผ่านมาในช่วงฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมหนักทุกปี และส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนจำนวนมาก ถ้ามีการสร้างเขื่อนจะทำให้เก็บกักน้ำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติได้ แต่ยังยืนยันไม่ได้ว่าจะผลักดันให้สำเร็จในรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาถูกต่อต้านมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันเชื่อว่ากระแสการต่อต้านน่าจะน้อยลง เพราะเห็นความจำเป็นของเขื่อนมากขึ้น '' นางอนงค์วรรณกล่าว   นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) กล่าวว่า ในฐานะที่ทำงานองค์การพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) มาก่อน ยินดีจะเชิญนายกรัฐมนตรี และนางอนงค์วรรณ ลงพื้นที่ดูสภาพป่าสักทองในพื้นที่โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นป่าเสื่อมโทรมอย่างที่เข้าใจ หรือได้รับการบอกเล่ามาหรือไม่ ซึ่งทุกวันนี้ชาวบ้านยังไม่ไว้ใจ กลัวจะมีการปลุกโครงการขึ้นมาอีก เฝ้าระวังกันตลอด ยิ่งตอนนี้หน้าฝนป่าเขียวชุ่มชื่น มีนกยูงออกหากินร้องระงม นับร้อยๆ ตัว ไปพิสูจน์กันได้ตลอดเวลา   นายหาญณรงค์กล่าวว่า ที่นายกฯบอกว่าสร้างเขื่อนช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น เป็นการพูดเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าเป็นคนมีภูมิปัญญา แต่ความจริงแล้วรู้ไม่หมด รู้แค่ครึ่งเดียว เพราะขณะนี้ยูเอ็นมีข้อมูลออกมาชัดเจนทั่วโลกรู้กันหมดแล้วว่า ช่วง 10 ปีแรกของการเกิดเขื่อนนั้น ตัวเขื่อนจะปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นตัวทำลายชั้นบรรยากาศ และเป็น 1 ในส่วนประกอบของก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนด้วย   '' นายกฯไม่ระวังคำพูดเหมือนเช่นทุกครั้ง ที่เรียกเอ็นจีโอว่า คุณพ่อ ไม่มีใครบอกเขาเลยหรือว่า มากกว่าครึ่งของจำนวนคนกว่า 2,000 คน ที่นั่งฟังท่านอยู่ในห้องประชุมนั้นเป็นชาวบ้าน และเอ็นจีโอทั้งหมด ส่วนนางอนงค์วรรณบอกว่าจะเรียกประชุมข้าราชการที่เกี่ยวข้องหารือเรื่องการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดว่าเป็นรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปกป้องทรัพยากรบ้านตัวเอง''  นายหาญณรงค์กล่าว   ...... ที่มา: เวบไซต์มติชน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/43858
2012-11-25 14:02
คนงานเหมาค่าแรงในภาคตะวันออกยังไม่ยอมจำนน …และเขาพร้อมแล้วที่จะชักธงรบ
ในช่วงฤดูกาลนี้ของทุกปีตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นช่วงที่สหภาพแรงงานจำนวนมากครบกำหนดยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสภาพการจ้างให้กับสมาชิกสหภาพแรงงาน และคนงานประจำทั้งหลายในส่วนที่ยังไม่มีสหภาพแรงงานและไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานก็ได้รับผลพลอยได้หรือผลประโยชน์ตามสมควรกับสถานะของสถานประกอบการที่ตนเองทำงานอยู่ แต่ ณ อีกมุมหนึ่งของโรงงานมีแรงงานอีกจำนวนมากที่ทุกคนรู้จักเขาดีในนามของพนักงาน “ซับคอนแทรค” หรือในภาษาวิชาการเรียกเขาเหล่านั้นว่า “ลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรง” เขาเหล่านั้นไม่กล้าแม้แต่จะคิดว่าจะได้โบนัสหรือสวัสดิการอะไรเพิ่มขึ้นบ้างนอกจ้างค่าจ้าง 300 บาทตามนโยบายของรัฐบาล แต่มันก็ไม่สมดุลกับค่าของชีพ ณ ปัจจุบันที่ถีบตัวสูงขึ้น   หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 ได้มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฏหมายได้บัญัติให้มีการจ้างงานในระบบเหมาค่าแรงได้เพื่อเป็นการลดต้นทุนให้กับนายจ้าง โดยที่ภาครัฐเองไม่ได้ตระหนักว่าคุณภาพชีวิตของกรรมกรไทยจะเป็นอย่างไรในอนาคต หลังจากนั้นขบวนการแรงงานไทยจากหลายภาคส่วนได้พยายามที่จะขับเคลื่อนและผลักดันให้แรงงานในระบบเหมาค่าแรงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงานประจำ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี 2548-2551 ได้มีการรณรงค์กดดันทั้งในส่วนของการผลักดันกฏหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับการจ้างงานไว้ในมาตรา 84(7) บัญญัติว่า “ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ”   หลังจากนั้นการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 บัญญัติไว้ในมาตรา 11/1 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตามให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว   ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ”   และในขณะเดียวกันระหว่างปี 2548-2551 โดยเฉพาะในส่วนของนักสหภาพแรงงานเองในภาคตะวันออกซึ่งมีการใช้การจ้างงานในระบบเหมาค่าแรงอย่างเข้มข้น นอกเหนือจากการกดดันเพื่อให้เกิดการแก้ไขกฏหมายแล้วก็มีการรณรงค์ในพื้นที่ สหภาพแรงงานได้ออกมาลุกขึ้นสู้โดยการยื่นข้อเรียกร้องในนามสหภาพแรงงานต่อนายจ้างของตนเองเพื่อให้พนักงานเหมาค่าแรงเหล่านั้นได้รับการบรรจุเป้นพนักงานประจำหรือได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกับพนกงานประจำ หรือแม้แต่พนักงาเหมาค่าแรงเองก็ได้ลุกออกมาเพื่อที่จะปกป้องและรักษาสิทธิ์ของตนเองโดยการยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างซึ่งเป็นบริษัทเหมาค่าแรง ถึงแม้จะมีกฏหมายออกมาประกาศและบังคับใช้แล้วแต่ในทางปฏิบัติคนงานเหมาค่าแรงเหล่านั้นก็ยังคงได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากพนักงานประจำอย่างสิ้นเชิง ยิ่งต่อสู้ความหวังก็ดูเหมือนจะยิ่งเลือนลางลงไปเรื่อยเพราะแกนนำของคนงานเหมาค่าแรงเมื่อลุกออกมาต่อสู้มักจะถูกเลิกจ้างหรือกลั่นแกล้งจนทนทำงานอยู่ต่อไปไม่ได้เสมอ หรือนักสหภาพแรงงานที่มีความเข้มแข็งพยายามที่จะเป็นแกนให้กับคนงานเหมาค่าแรงก็จะถูกกลั่นแกล้งหรือเลิกจ้างไม่แตกต่างไปกว่ากัน จนท้ายที่สุดกระแสการต่อสู้ของคนงานในระบบเหมาค่าแรงก็เริ่มที่จะแผ่วเบาลงไปเรื่อยๆ   จะเห็นได้ว่าการยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานแต่ละแห่งในปีนี้แทบจะไม่มีประเด็นที่จะเสนอข้อเรียกร้องใหกับพนักงานในระบบเหมาค่าแรงเลย จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจและท้าทายต่อการหาคำตอบพอสมควรเพราะในปัจจุบันในอุตสาหกรรมยานยนต์หรือผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เกือบทุกแห่งมีลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรงเกือบเท่ากับพนักงานประจำหรือในบางแห่งมีมากกว่าพนักงานประจำเสียอีก วันนี้อาจพูดได้ว่าในอุตสาหกรรมคนที่ได้ชื่อว่า “คนงานเหมาค่าแรง” กลายเป็นแรงงานหลักของสถานประกอบการไปแล้ว   แต่สถานการณ์ด้านการจ้างงานและคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนงานเหล่านี้ผู้ที่ทุกคนเรียกเขาว่า “พนักงานเหมาค่าแรง” จำนวนมากยังถูกเอาเปรียบถูกกดขี่ เป็นแรงงานชั้นสองของสังคมอยู่ วันนี้หลายสหภาพแรงงานกำลังพูดถึงโบนัส และสวัสดิการดีๆ ให้กับสมาชิกของตน แต่ถ้าเราตระหนักให้ดีเราจะพบว่าผู้ที่ร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจและกำไรมูลค่ามหาศาลให้กับบริษัทต่างๆ พวกเขาเหล่านั้นคือใคร? "คนงานเหมาค่าแรง" เขาคือใคร ณ วันนี้เขาอยู่ส่วนใดของสังคมคนทำงาน ถึงเวลาหรือยังครับที่ท่านผู้นำสหภาพแรงงานทั้งหลายจะหยิบยื่นโอกาส ในการที่จะรับเขาเหล่านั้นเข้าเป็น "สมาชิกสหภาพแรงงาน"ของพวกท่าน โปรดอย่าได้เอาคำว่า "มันไม่ถูกกฎหมาย" มาเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองเลย ถึงเวลาแล้วที่คนงานไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของโรงงานต้องหันหน้ามาจับมือและฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคไปพร้อมๆ กัน   แต่วันนี้ก็ยังไม่สิ้นหวังเสียทีเดียวได้มีบางสหภาพแรงงานในภาคตะวันออกได้พยายามที่จะคิดนอกกรอบเดิมๆ โดยการรับคนงานเหมาค่าแรงภายในสถานประกอบการของตนเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และยื่นข้อเรียกร้องในนามสหภาพแรงงานให้กับบริษัทเหมาค่าแรงในนามสหภาพแรงงานได้เป็นผลสำเร็จ แต่ก็พบอุปสรรคอยู่บ้างที่มีเจ้าหน้าที่รัฐที่ยังมีแนวคิดแบบเดิมๆ อ้างแต่กฏหมายฉบับเก่าๆ ว่าเป็นอุตสาหกรรมคนละประเภทไม่สามารถเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในสถานประกอบการได้ แต่นักสหภาพแรงงานรุ่นใหม่ต้องกล้าที่จะคิดและก้าวให้พ้นปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้ เพราะวันนี้กฏหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 64 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น” นั่นหมายถึงทุกคนย่อมมีสิทธิ์เสรีภาพอันชอบด้วยกฎหมายที่จะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน กฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นกฏหมายสูงสุด กฏหมายใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญย่อมบังคับใช้ไม่ได้ และสหภาพแรงงานที่พี่น้องคนงานจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นองค์กรณ์นิติบุคคลที่ถูกต้องตามกฏหมาย สามารถที่จะเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับใครหรือนิติบุคคลใดก็ได้ ดังนั้นการที่สหภาพแรงงานซึ่งเป็นนิติบุคคลได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงสภาพการจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงซึ่งเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกันย่อมมีผลผูกพันธ์ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาย่อมฟ้องบังคับทางแพ่งได้ตามกฏหมาย     สถานการณ์การลุกขึ้นสู้ของคนงานเหมาค่าแรงล่าสุดวันนี้ 24 พฤศจิกายน 2555 เวลา 17.30 น. พนักงานเหมาค่าแรงานในบริษัท CUEL ได้มาชุมนุมรวมตัวกันที่หน้าบริษัท CUEL ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังกว่า 500 คน จาก 4 บริษัท โดยมีแกนนำหลักจากสองบริษัทคือ แกนนำจากบริษัทเทกาเทค อินดัสเทรียล คอนซัลแทนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด และแกนนำจากบริษัท บรูเนล เทคนิคัล เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัดเนื่องจากยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่เดือนกรกกาคม 2555 แต่ผลการเจรจาไม่มีความคืบหน้าและนายจ้างพยายามจะหยิบยื่นสวัสดิการเพียงเล็กน้อยแต่มีเงื่อนไขมากมายให้แล้วบอกให้ทำสัญญาข้อตกลงสามปีทำให้พนักงานส่วนใหญ่ยอมรับไม่ได้ หลังจากนั้นพนักงานเหมาค่าแรงสี่บริษัท ได้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาสองสหภาพแรงงาน คือ สหภาพแรงงานเพื่อนแรงงานไทยใน CUEL และอีกหนึ่งสหภาพแรงงานคือ พลังซับคอนแทคไทย ใน CUEL ซึ่งทั่งสองสหภาพแรงงาน จะรับพนักงานเหมาค่าแรงที่มีอยู่ในรั้วของ บริษัท CUEL ทั้งหมดกว่า 2500 คน เข้าเป็นสมาชิกให้ได้นั่นคือเป้าหมายที่พวกเขาวางไว้ เป็นก้าวแรกและเป็นก้าวที่กล้าเพราะในสัปดาห์หน้าจะมีการนัดชุมนุมคนงานเหมาค่าแรงที่มีอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังทั้งหมด เพื่อแสดงพลังและเปลี่ยนแปลงสังคมของคนงานเหมาค่าแรงมันอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ภายในวันเดียว เรารู้ว่าการต่อสู้ทุกอย่างมันต้องใช้เวลา บางครั้งมันมีความเจ็บปวด มันต้องมีการสูญเสีย แต่เพื่อก้าวไปสู่สังคมที่ดีกว่าเราต้องทำ   พี่น้องกรรมกรที่รักทั้งหลายครับวันนี้เราต้องกล้าที่จะลุกออกมาช่วยกันปกป้องสิทธิ์ที่เรามีอยู่ให้มันเป็นจริงให้ได้อย่างที่กฏหมายบัญญัติ ไม่เช่นนั้นชีวิตของเราหรือลูกหลานของเราในอนาคตก็จะไม่ต่างจากทาสหรอกครับ จึงอยากจะฝากถึงกรรกกรทุกท่านว่า “จงช่วยกันลุกออกมาต่อสู้อย่าอยู่อย่างยอมจำนน”
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/26459
2009-11-04 22:39
เปิดคำวินิจฉัยผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อย ปฏิเสธอำนาจคณะรัฐประหาร!!!!!
“หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชน จากการใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปักรักษาประชาธิปไตยดังกล่าวมาข้างต้น ทั้งเป็นการละเลยหลักยุติธรรมตามธรรมชาติที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จากความฉ้อฉลหรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ร่ำไป”........... 28 กันยายน 2552 องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีมติเสียงข้างมากพิพากษาตัดสิทธิทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีต รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเวลา5 ปี กรณีปกปิดข้อเท็จจริงในการยื่นบัญชีแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งยังพิพากษาให้มีโทษทางอาญา ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยมีคำสั่งให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 4 พันบาท แต่โทษจำคุกให้รอไว้ก่อน 1 ปี คดีดังกล่าว มี ป.ป.ช.เป็นผู้ร้อง โดยยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่า นายยงยุทธ อาจเข้าข่ายจงใจปกปิดการยื่นรายการแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2548   ข่าวเลือนหายไปจากความสนใจอย่างเงียบเชียบในเวลาไม่นาน แม้แต่ตัวของนายยงยุทธเองก็น้อมรับคำวินิจฉัยอย่างไม่ยี่หระพร้อมกล่าวว่า "คมช.เข้ามา ผมก็ถูกดำเนินคดีโหลนึง วันนี้เป็นคดีที่ 4 ยังมีคดีที่เหลือต้องขึ้นศาลอีก รอดครั้งนี้ ก็ไม่รู้ว่าครั้งหน้าจะรอดหรือไม่" ทว่ามติของศาลฏีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองครั้งนี้ จะกลายเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์กระบวนการกฎหมายไทยที่ผู้พิพากษารายหนึ่งมีคำวินิจฉัยปฏิเสธอำนาจของคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมอ้างอิงหลักกฎหมายในการวินิจฉัยความไม่ชอบธรรมของคณะรัฐประหารผ่านคำวินิจฉัยส่วนตนซึ่งใช้ประกอบการลงมติตัดสินคดีดังกล่าว และนี่คือคำวินิจฉัยของผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อย 000 "ส่วนหนึ่งจากคำวินิจฉัยส่วนตนของนายกีรติ กาญจนรินทร์ ในคดีหมายเลขแดงที่ อม. ๙/๒๕๕๒" ................................................. ปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) คดีนี้หรือไม่ เห็นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชน ศาลจึงต้องใช้ อำนาจดังกล่าวเพื่อประชาชนอย่างสร้างสรรในการวินิจฉัยคดีเพื่อให้เกิดผลในทางที่ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหากศาลไม่รับใช้ประชาชน ย่อมทำให้ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกท้าทายและสั่นคลอน นอกจากนี้ศาลควรมีบทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมายรวมถึงพันธกรณีในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยมิชอบและพันธกรณีในการปกปักรักษาประชาธิปไตยด้วย การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยความไม่ยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ เท่ากับเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย การปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ย่อมเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชน จากการใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปักรักษาประชาธิปไตยดังกล่าวมาข้างต้น ทั้งเป็นการละเลยหลักยุติธรรมตามธรรมชาติที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จากความฉ้อฉลหรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ร่ำไป ยิ่งกว่านั้นยังเป็นช่องทางให้บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวยืมมือกฎหมายเข้ามาจัดการสิ่งต่างๆ ข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปัจจุบันอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ นานาอารยะประเทศส่วนใหญ่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ยอมรับอำนาจที่ได้มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ฉะนั้นเมื่อกาละและเทศะในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วจากอดีต ศาลจึงไม่อาจที่จะรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปเช่นกันว่า ผู้ร้องประกอบด้วยคณะกรรมการที่เป็นผลพวงของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) แต่ คปค. เป็นคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  113 จึงเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตยดังเหตุผลข้างต้น ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้จะได้รับการนิรโทษกรรมภายหลังก็ตาม หาก่อให้เกิดอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำการใดอย่างรัฏฐาธิปัตย์ ผู้ร้องประกอบด้วยคณะบุคคลที่เป็นผลพวงของ คปค. ย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 ด้วยเช่นกัน ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) คดีนี้ อำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ปัญหาว่าผู้คัดค้านจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย วินิจฉัยให้ยกคำร้องของผู้ร้อง นายกีรติ กาญจนรินทร์ หมายเหตุ คำวินิจฉัยมีทั้งหมด 10 หน้า ประชาไทลงเฉพาะคำวินิจฉัยหน้า 8-10 จากเนื้อหาทั้งหมด 10 หน้า เนื่องจากก่อนหน้านั้นเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในคำร้องของป.ป.ช. เมื่อศาลปฏิเสธรัฐประหาร : ก้าวแรกในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย   ปิยบุตร แสงกนกกุล   หากพิจารณาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยยุคใหม่ คงไม่เกินเลยไปนักหากจะกล่าวว่า เป็นวัฒนธรรมทางกฎหมายไปแล้วที่ศาลไทยยอมรับ-ให้ความสมบูรณ์แก่รัฐประหาร และผลิตผลของรัฐประหาร   เมื่อเผชิญหน้ากับรัฐประหาร ศาลไทยไม่เคยปฏิเสธรัฐประหาร ไม่เคยประกาศผ่านคำพิพากษาว่ารัฐประหารไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตรงกันข้ามในคำพิพากษาศาลฎีกาหลายกรณี ศาลยอมรับการดำรงอยู่ของคณะรัฐประหาร โดยถือหลักว่าเมื่อเริ่มแรกรัฐประหารเป็นสิ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนกระทั่งคณะรัฐประหารได้กระทำการจนสำเร็จและยึดอำนาจได้อย่างบริบูรณ์ สามารถยืนยันอำนาจของตนและปราบปรามอำนาจเก่าหรือกลุ่มที่ต่อต้านให้เสร็จสิ้น เมื่อนั้นคณะรัฐประหารก็มีสถานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ มีอำนาจออกรัฐธรรมนูญใหม่หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญเก่า ตลอดจนการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมายได้   พูดง่ายๆก็คือ ศาลไทยให้ความสำคัญ “อำนาจ” ในความเป็นจริงเป็นสำคัญ มากกว่าจะพิจารณาถึงความถูกต้องของ “กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจ” นั่นเอง   เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๖๒/๒๕๐๕ “ในพ.ศ.๒๕๐๑ คณะปฏิวัติได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกด้วยคำแนะนำหรือยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม” หรือคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๓๔/๒๕๒๓ “แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็หาได้มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองผ่นดินไม่ ประกาศหรือคำสั่งนั้นจึงยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่”   ถึงกระนั้นก็ตาม ศาลไทยพยายามใช้และตีความกฎหมายเพื่อพิพากษาไปในทางที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากประกาศคณะรัฐประหารอยู่บ้าง โดยพิจารณาว่าประกาศของคณะรัฐประหารขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ดังกรณี “กฎหมายควบคุมอันธพาล” หรือกรณีประกาศ รสช.เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง กรณี “กฎหมายควบคุมอันธพาล” นั้น ศาลแขวงอุบลราชธานีในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ๙๑๘/๒๕๑๒ เห็นว่าประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔๓ พ.ศ.๒๕๐๓ เกี่ยวกับการควบคุมตัวอันธพาลนั้นขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ ให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นอันธพาล และมีอำนาจส่งตัวบุคคลนั้นไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพจึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจพิจารณาคดีชี้ความผิดและลงโทษบุคคลได้ นอกจากนี้ประกาศฉบับนี้ยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาการลงโทษที่แน่นอนชัดเจน และโทษที่จะลงนั้นหนักเบาสถานใด สุดแท้แต่คณะกรรมการจะพิจารณา ทำให้โทษที่ได้รับไม่ได้สัดส่วนกับความผิดและไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกลงโทษ อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ยืนยันในคำวินิจฉัยที่ ๑/๒๕๑๓ ว่าประกาศฉบับนี้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ   แม้ศาลจะไม่ปฏิเสธความเป็นกฎหมายของประกาศคณะรัฐประหาร แต่ศาลก็พยายามใช้และตีความเพื่อลดความเข้มข้นของประกาศคณะรัฐประหารและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามประกาศคณะรัฐประหารต่างๆ เพื่อควบคุมตัวในข้อหาบ่อนทำลายความมั่นคงบ้าง ในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์บ้าง ในข้อหาเป็นภัยต่อสังคมบ้าง ศาลก็จะใช้และตีความกฎหมายไปในทางที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยการสั่งให้ปล่อยตัวบ้าง ลดจำนวนวันคุมตัวบ้าง ตลอดจนพิจารณาว่ามูลเหตุแห่งการควบคุมตัวนั้นตรงตามที่ประกาศคณะรัฐประหารกำหนดหรือไม่   มีข้อควรสังเกตว่า เมื่อศาลไทยเผชิญหน้ากับรัฐประหาร ผลิตผลของคณะรัฐประหาร คำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารแล้ว ศาลจะรับรองการดำรงอยู่ของสิ่งเหล่านี้ เว้นเสียแต่ว่า ผลิตผลของคณะรัฐประหารเข้ามารุกล้ำศาล มีผลกระทบกระเทือนต่อศาล หรือลิดรอนอำนาจของศาล เมื่อนั้นศาลก็ไม่ลังเลที่จะปฏิเสธคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธผ่านทางคำพิพากษา หรือปฏิเสธผ่านทางการแสดงออกด้วยการกดดัน   การปฏิเสธประกาศคณะรัฐประหารผ่านทางคำพิพากษา ก็โดยการวินิจฉัยว่าประกาศคณะรัฐประหารขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ “ตั้ง “คณะบุคคลที่มิใช่ศาล” ให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล” หรือ “ใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคล” ส่วนการปฏิเสธประกาศคณะรัฐประหารด้วยการกดดัน ก็เช่นกรณี “กฎหมายโบดำ” ที่คณะรัฐประหารของจอมพลถนอม กิตติขจรได้ตราประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๙ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ เกี่ยวกับระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ฝ่ายตุลาการเห็นกันว่าประกาศนี้ส่งให้ฝ่ายบริหารเข้าแทรกแซงความเป็นอิสระของศาล มีการรณรงค์คัดค้านประกาศนี้อย่างกว้างขวาง ประธานศาลฎีกาออกโรงมาเขียนแถลงการณ์สาธารณะแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน มีการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศนี้ เพียงสองสัปดาห์ รัฐบาลถนอมก็ทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องผลักดันให้ตราพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๙๙   คงไม่เกินเลยไปที่จะกล่าวว่า ศาลไทยพร้อมจะ “ชน” กับคณะรัฐประหาร ถ้าคณะรัฐประหารเข้ามาล้ำแดนความเป็นอิสระของศาลหรือเข้ามาแตะต้องวัฒนธรรมองค์กร แต่กับกรณีที่คณะรัฐประหารเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลอันขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรงนั้น ศาลไทยกลับยอมรับ หรือกรณีที่หัวหน้าคณะรัฐประหารใช้อำนาจเผด็จการตามมาตรา ๑๗ แบบสฤษดิ์ ศาลไทยกลับนิ่งเฉยไม่รับคำฟ้องโดยให้เหตุผลว่าไม่มีอำนาจ ตลอดจนกรณีที่คณะรัฐประหารตราธรรมนูญการปกครองชั่วคราวเพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญเดิม โดยมีเนื้อหาที่ขัดกับหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ให้อำนาจเผด็จการแก่หัวหน้าคณะรัฐประหารเพียงผู้เดียว ศาลไทยกลับยืนยันว่าทำได้   อาจเหมือนที่เสน่ห์ จามริกตั้งข้อสังเกตไว้ใน “การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ” ว่าท่าทีของฝ่ายตุลาการที่ต่อต้านประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๙ อย่างจริงจังถึงขั้นชุมนุมประท้วงนั้น เพราะเนื้อหาของประกาศฉบับนี้กระทบต่อการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตุลาการ น่าเสียดายที่ท่าทีคัดค้านอย่างชัดเจนรุนแรงขององค์กรตุลาการเช่นนี้กลับไม่เกิดขึ้นกับการก่อการรัฐประหารหรือประกาศคณะรัฐประหารที่มีเนื้อหาไม่เป็นธรรมอื่นๆ   เมื่อพิจารณาประกอบกับบทบัญญัติในมาตรา ๓๐๙ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติว่า “บรรดาการใดๆ ที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราขอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฏหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้” แล้ว คงแทบไม่ต้องคาดหวังเลยว่าศาลไทยจะประกาศไม่ยอมรับรัฐประหาร ๑๙ กันยายน   นับแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ มีบททดสอบหลายกรณีขึ้นไปสู่ศาล ศาลมีโอกาสหลายครั้งในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับรัฐประหารหรือผลผลิตของรัฐประหาร แต่คำตอบที่สังคมได้รับยังคงอยู่ในสูตรเดิมๆ ประเภทที่ว่า “คณะรัฐประหารเป็นรัฏฐาธิปัตย์” หรือทันสมัยหน่อยก็เช่น “บทบัญญัติในมาตรา ๓๐๙ ของรัฐธรรมนูญรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้กับรัฐประหารและผลผลิตของคณะรัฐประหาร” จนกระทั่งมาถึงคดีที่สังคมสนใจไม่มากเท่าไรนัก อย่างคดีของนายยงยุทธ ติยะไพรัช จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ (คดีหมายเลขแดงที่ อม.๙/๒๕๕๒) ดังที่ปรากฏตามข่าว ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ด้วยมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า นายยงยุทธจงใจแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จโดยปกปิดข้อเท็จจริงไม่แจ้งให้ทราบ จึงต้องห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ และถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา ๕ ปี และมีความผิดตามพระราชบัญญัติ ป.ป.ช. ให้จำคุก ๒ เดือน ปรับ ๔,๐๐๐บาท แต่นายยงยุทธไม่เคยมีคดีถูกลงโทษจำคุก จึงให้รอลงโทษไว้ ๑ ปี ผลของคำวินิจฉัยอาจไม่เกินความคาดหมายของนายยงยุทธ ผู้สนับสนุนนายยงยุทธ ผู้สนับสนุนขั้วการเมืองขั้วเดียวกับนายยงยุทธ ตลอดจนศัตรูทางการเมืองของนายยงยุทธ แต่ความน่าสนใจอยู่ที่ ในคำวินิจฉัยส่วนตนของผู้พิพากษาท่านหนึ่งที่ร่วมเป็นองค์คณะในคดีนี้ (เสียงข้างน้อย) ได้ประกาศชัดเจนและตรงไปตรงมาถึงการไม่รับรองรัฐประหาร   ผมมีข้อสังเกตสั้นๆ สามประเด็น   หนึ่ง ผู้พิพากษาท่านนี้เห็นว่าศาลมีพันธกิจในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และปกปักรักษาประชาธิปไตย   สอง ผู้พิพากษาท่านนี้เห็นว่าหากศาลรับรองรัฐประหาร ย่อมเป็นการส่งเสริมให้เกิดรัฐประหาร เป็นวงจรอุบาทว์อยู่ร่ำไป   สาม ผู้พิพากษาท่านนี้เห็นว่าโลกปัจจุบัน นานาอารยะประเทศไม่ยอมรับรัฐประหาร เมื่อกาละและเทศะเปลี่ยนไปจากเดิม ศาลจึงไม่อาจรับรองรัฐประหาร ดังที่เคยปรากฏตามคำพิพากษาในอดีต   ขอคารวะในความกล้าหาญ ความกล้าที่จะเป็นหินก้อนแรกของท่านผู้พิพากษากีรติ กาญจนรินทร์ หินก้อนแรกที่หย่อนลงไปในสายธารประวัติศาสตร์ ประกาศให้สังคมได้รับรู้ว่า...   ในนิติรัฐ “แบบไทยๆ” และประชาธิปไตย “แบบไทยๆ” เป็นไปได้ที่ศาลจะไม่ยอมรับรัฐประหาร   ....
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/7258
2006-02-09 05:47
เด็กจีนแห่เข้าเรียนสถาบันศิลปะตามจางจื๋ออี๋
ภาพจาก www.manager.co.th [1]   ประชาไท—9 ก.พ. 2549 สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า สถาบันการศึกษาทางด้านศิลปะในจีนเริ่มเปิดรับสมัครแล้วในเดือนนี้ พบทั้งเด็กนักเรียนและผู้ปกครองต่างให้ความสนใจในสถาบันมากเป็นประวัติการณ์   สถาบันศิลปะภาคกลาง (The Central Academy of Drama- CAD) และ สถาบันภาพยนตร์ปักกิ่ง ( Beijing Film Academy- BFA) ซึ่งเป็นสถาบันทางด้านการผลิตภาพยนตร์ชื่อดังในจีน ที่เพิ่งเปิดรับไปในวันที่ 6 กุมภาพันธ์เป็นวันแรก เพียงวันเดียวพบว่ามีคนมาสมัครถึง 4,000 คน ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากเมื่อปีที่ผ่านมาถึงกว่า 30%   ที่มณฑลชานตงทางภาคตะวันออกของจีน ได้มีการลงทะเบียนสมัครเรียนในสถาบันศิลปะถึง 160,000 คน มากกว่าปี 2005 ถึง 18,000 คนและคิดเป็น 20% ของนักเรียนในชานตงทั้งหมดที่ลงทะเบียนเข้าสอบเอ็นทรานซ์ในปีนี้   สาเหตุที่มีการลงทะเบียนเรียนใน CAD ซึ่งเป็นสถาบันเดียวที่ จาง จื้ออี้ ( Zhang Ziyi) นักแสดงชื่อดังระดับโลก (แสดงนำใน memoirs of geisha) เคยเข้าเรียนนั้นส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะว่า ทางสถาบันได้ยกเลิกระเบียบของการรับสมัครในเรื่องของส่วนสูงของคนที่จะเข้าเรียนได้ออกไป โดยเดิมนั้นมีกฎว่าผู้ชายจะต้องสูง 175 เซนติเมตร และหญิงต้องสูง 162 เซ็นติเมตรขึ้นไป   นอกจากนั้นแล้วอีกเหตุผลหนึ่งที่มีนักเรียนเข้ามาเรียนในสถาบันศิลปะกันมากขึ้นเพราะมีความหวังว่าจะได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในจอภาพยนตร์และสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองได้   ลี่ ยู่ชุน ( Li Yuchun) ร็อคสตาร์ชื่อดัง หนึ่งใน วง "ซูเปอร์ เกิร์ล" ที่โด่งดังมากๆ มาตั้งแต่ปีที่แล้วก็เป็นหนึ่งในนักศึกษาของสถาบันดนตรีซื่อชวน ( เสฉวน) จากภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน   อย่างไรก็ตาม โอกาสของการได้เข้าเรียนในสถาบันดังกล่าวของผู้สมัครนั้นคงจะไม่มากนัก เมื่อปีที่แล้วนั้นมีผู้สมัครเข้าสอบแข่งขัน 8,000 คนในสถาบัน BFA แต่ทางสถาบันสามารถรับนักศึกษาได้เพียง 30% เท่านั้น   ผู้ปกครองของเด็กบางคนมองว่าการเรียนศิลปะเป็นทางที่จะทำให้ลูกเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ง่ายขึ้นเพราะว่าสถาบันทางด้านศิลปะนั้นคะแนนต่ำกว่าสายสามัญในการสอบเอ็นทรานซ์   อย่างไรก็ตาม ทางผู้เชี่ยวชาญก็ดิ้ดมาเตือนผู้ปกครองว่า ต้องไม่ลืมข้อเท็จจริงที่ว่าเรียนสายศิลปะนั้นค่าหน่วยกิต และค่าธรรมเนียมอื่นๆแพงกว่าสายสามัญ   ------------------------------------------ ที่มา: http://english.people.com.cn/200602/08/eng20060208_240971.html
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/30864
2010-08-28 01:55
“วันแรงงานทำงานบ้านสากล” ที่เชียงใหม่ พร้อมแถลงการณ์เรียกร้องสิทธิคนทำงานบ้าน
“มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์” จัดประชุมเนื่องใน “วันแรงงานทำงานบ้านสากล” ที่เชียงใหม่ “กลุ่มแรงงานทำงานบ้านในประเทศไทย” ย้ำสิทธิแรงงานทำงานที่บ้านคือสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน  คลิปรายงานข่าว “วันแรงงานทำงานบ้านสากล” ที่ จ.เชียงใหม่ โดยสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (ดีวีบี) กิจกรรม “วันแรงงานทำงานบ้านสากล” ที่เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อ "อะไรๆ ก็แจ๋ว แล้วสิทธิของแจ๋วอยู่ไหน?" “ลูกจ้างทำงานบ้าน” หรือ “แรงงานทำงานบ้าน” คือ บุคคลไม่ว่าหญิงหรือชายที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ที่ตกลงทำงานบ้านเป็นงานประจำ และได้รับค่าจ้างโดยตรงจากเจ้าของบ้านหรือนายจ้าง เพื่อทำงานที่ระบุไว้ว่าเป็นงานบ้านในครัวเรือน เช่น ทำความสะอาดบ้าน ซักรีดเสื้อผ้า ทำอาหาร เลี้ยงเด็ก ดูแลคนชรา ดูแลคนในครอบครัวนายจ้าง เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ทำสวน ตลอดจนงานอื่นที่นายจ้างสั่งให้ทำ รวมถึงลูกจ้างที่พักอาศัยอยู่ในบ้านนายจ้าง และลูกจ้างทำงานบ้านที่เดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ ซึ่งเป็นแรงงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ จากการประชุมเมื่อวันที่ 26-28 สิงหาคม 2545 ที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติและองค์กรระดับภูมิภาค ซึ่งในการประชุมมีประเด็นข้อห่วงกังวลถึงเรื่องการคุ้มครอง และการตระหนักในสิทธิของแรงงานทำงานบ้าน ส่งผลให้เกิดการลงมติยอมรับคำประกาศ ณ กรุงโคลัมโบในการสนับสนุนการทำงานและส่งเสริมสิทธิแรงงานที่ทำงานในบ้าน โดยที่ประชุมได้ลงมติและบัญญัติให้ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม ของทุกปี เป็น “วันแรงงานทำงานบ้านสากล” ด้านมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ หรือ มูลนิธิแมพ ซึ่งทำงานกับแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในบ้าน ในการสร้างความตระหนักในเรื่องการทำงานที่ปลอดภัย สิทธิพื้นฐานตามกฎหมาย หน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ทำงานในบ้าน โดยผ่านกิจกรรมการอบรม สัมมนา จัดทำสื่อเอกสารการให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงจัดการสัมมนาเนื่องใน “วันแรงงานทำงานบ้านสากล” เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่โรงแรมฮอลิเดย์ การ์เดน จ.เชียงใหม่ ภายใต้หัวข้อ "อะไรๆ ก็แจ๋ว แล้วสิทธิของแจ๋วอยู่ไหน?" ในการประชุม มีการเสวนาแลกเปลี่ยนปัญหาของแรงงานที่ทำงานในบ้าน โดยนายชฤทธิ์ มีสิทธิ์ นักวิชาการด้านกฎหมายแรงงาน นางเบญจวรรณ วิทยชำนาญกุล นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สวัสดิการคุ้มครองแรงงาน จ.เชียงใหม่ และผู้แทนแรงงานทำงานบ้าน เป็นวิทยากร โดยจากการเสวนายังพบว่า แรงงานทำงานในบ้านขณะนี้ยังไม่มีหลักประกันใดๆ ที่จะให้การคุ้มครองสิทธิ มีความไม่แน่นอนทั้งเรื่องค่าจ้าง เวลาทำงาน สิทธิการลา ประกันสังคม รวมทั้งสภาพการทำงานและการอยู่อาศัยในบ้านนายจ้างอย่างปลอดภัย การขาดกฎหมายคุ้มครองประกอบกับความโดดเดี่ยวในบ้านนายจ้าง นอกจากจะเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดแล้ว ยังปิดกั้นโอกาสในการได้รับการคุ้มครองสิทธิด้วย โดยในการประชุมยังมีตัวแทนแรงงานทำงานบ้าน ออกมาเปิดเผยว่า ทำงานบ้านในบ้านนายจ้างมานานหลายปี แต่ขณะนี้นายจ้างยังไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้เต็มจำนวน น.ส.สาธิดา หน่อโพ ผู้ประสานงานมูลนิธิแมพ เปิดเผยว่า นอกจากการทำงานด้านสิทธิแรงงานชาติข้ามชาติแล้ว มูลนิธิก็ทำงานด้านสิทธิแรงงานทำงานบ้านด้วยเช่นกัน โดยในรอบปีนี้ เคยมีแรงงานทำงานบ้านร้องเรียนว่าทำงานแล้วไม่ได้รับค่าจ้าง และมีกรณีที่ร้องเรียนว่าทำงานในบ้านนายจ้าง แล้วถูกนายจ้างข่มขืน จนตั้งครรภ์ ปัจจุบันต้องออกจากงานแล้วมาเลี้ยงลูก ผู้ประสานงานมูลนิธิแมพ ยังเปิดเผยว่า ทางมูลนิธิแมพมีการประชุมกับเครือข่ายแรงงานทำงานบ้านทุกๆ เดือน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปัญหาการทำงานของแรงงานทำงานบ้านเพื่อหาทางออก และเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิแรงงาน การทำงานบ้านอย่างไรให้มีความปลอดภัย มีการถ่ายทอดทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพทำงานบ้านด้วย เช่น สอนวิธีทำน้ำยาล้างจาน หรืออบรมเรื่องการทำงานบ้านให้ปลอดภัย ทั้งนี้ แม่บ้านที่เข้ามาประชุมกับมูลนิธิแมพ เป็นแม่บ้านที่มีวันหยุด และนายจ้างมีความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ตาม แม่บ้านที่ทำงานอยู่ในบ้านและนายจ้างเข้มงวด ทางมูลนิธิยังเข้าถึงยากมาก นอกจากนี้ มูลนิธิร่วมกับแรงงานทำงานบ้าน ยังมีการจัดรายการวิทยุร่วมกันด้วย โดยจัดรายการผ่านวิทยุชุมชนของมูลนิธิ FM 99.00 MHz ซึ่งรับฟังได้ในพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยแม่บ้านจะจัดรายการทุกวันศุกร์ เวลา 11.00 – 13.00 น. โดยในแต่ละครั้ง มีเพื่อนแรงงานโทรศัพท์เข้ามาในรายการไม่ต่ำกว่า 30 สาย และกินเวลาหลายชั่วโมง “จะเรียกว่า รายการแม่บ้านถึงบ้าน” ก็ได้ น.ส.สาธิดา กล่าว ทั้งนี้หลังการเสวนา นางแสงเงิน ตัวแทนแรงงานทำงานในบ้าน ในนาม “กลุ่มแรงงานทำงานบ้านในประเทศไทย” ได้อ่านข้อเรียกร้องเนื่องในวันแรงงานทำงานบ้านสากล มีรายละเอียดดังนี้ ---------------------------------------------------- แถลงการณ์เรียกร้องสิทธิแรงงานทำงานที่บ้าน แรงงานทำงานบ้านมีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของคนในบ้านและในสังคม ในประเทศไทยเองจำนวนแรงงานทำงานบ้านทั้งที่เป็นแรงงานข้ามชาติและที่เป็นชาวไทยนั้นมีจำนวนไม่น้อย สถิติอย่างเป็นทางการล่าสุดจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานหรือ IOM พบว่า จำนวนแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนบัตรอนุญาตทำงานอาชีพทำงานบ้านในปี พ.ศ. 2552 มีถึง 129,901 คน แต่เนื่องจากประมาณการจำนวนแรงงานข้ามชาติที่ไม่จดทะเบียนมีอีกเป็นเท่าตัว* จึงประมาณว่ามีจำนวนแรงงานข้ามชาติทำงานบ้านประมาณ 250,000 คน หากรวมกับจำนวนแรงงานบ้านที่เป็นชาวไทยอีก คาดว่าจะมีไม่น้อยกว่า 500,000 คน เมื่อเทียบกับสถิติโดยธนาคารกสิกรไทยเมื่อปี พ.ศ.2550 พบว่ามีจำนวนแรงงานทำงานบ้านในประเทศไทยประมาณ 400,000 คน จะเห็นได้ว่าความต้องการแรงงานทำงานบ้านมีเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่สมาชิกวัยแรงงานของครอบครัวส่วนใหญ่ต้องออกมาทำงานนอกบ้าน ไม่สามารถดูแลงานภายในบ้านด้วยตนเองได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นแงงานทำงานบ้านจึงนับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างราบรื่น แต่สำหรับสภาพการทำงานรวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ชองแรงงานทำงานบ้านเองกลับไม่มีความราบรื่นอย่างที่แรงงานพึงได้รับ เนื่องจากกฎหมายยังไม่ให้การยอมรับว่างานบ้านก็คืองาน เช่นเดียวกับอาชีพอื่นที่ถูกจัดประเภทเป็นแรงงานนอกระบบ จึงยังไม่มีหลักประกันใดๆ ที่จะให้การคุ้มครองสิทธิแก่แรงงานเหล่านี้ ทำให้ชีวิตของแรงงานทำงานบ้านไม่ต่างกับการเสี่ยงโชค ไม่รู้ว่าตนจะเจอนายจ้างแบบไหน ค่าจ้างจะได้เท่าไหร่ สภาพการทำงานและความเป็นอยู่ในบ้านนายจ้างจะเป็นเช่นไร คนทำงานบ้านจึงขาดกลไกคุ้มครองสิทธิในวันหยุด เวลาทำงานที่แน่นอน ค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งสภาพการทำงานและการอยู่อาศัยในบ้านนายจ้างอย่างปลอดภัย การขาดกฎหมายคุ้มครองประกอบกับความโดดเดี่ยวในบ้านนายจ้าง นอกจากจะเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดแล้ว ยังปิดกั้นโอกาสในการได้รับการคุ้มครองสิทธิด้วย จึงนับว่าแรงงานทำงานบ้านในประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิเป็นอย่างมากซึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ดังนั้นกลุ่มแรงงานทำงานบ้านในประเทศไทยร่วมกับองค์กรภาคเอกชนต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติจึงร่วมกันรณรงค์เพื่อสิทธิของแรงงานทำงานบ้านมาโดยตลอด เนื่องในโอกาสวันแรงงานทำงานบ้านสากลปี พ.ศ. 2553 นี้ เราขอเรียกร้องให้ประเทศไทยกำหนดมาตรฐานในการจ้างแรงงานทำงานบ้านด้วยการออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงานทำงานบ้านและมีกลไกการคุ้มครองสิทธิอย่างรอบด้าน รวมทั้งจะต้องให้การคุ้มครองวันหยุดอย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์โดยได้รับค่าจ้าง การกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอน การมีวันหยุดตามประเพณี การได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งการมีสภาพการทำงานและการอยู่อาศัยในบ้านนายจ้างอย่างปลอดภัย สิทธิแรงงานทำงานที่บ้าน คือสิทธิแรงงาน และสิทธิมนุษยชน โดยกลุ่มแรงงานทำงานบ้านในประเทศไทย 22 สิงหาคม 2553, เชียงใหม่ หมายเหตุ: *การประมาณโดยมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ชองแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation)
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/64136
2016-02-17 23:51
โอบามาเตรียมเยือนลาวเวียดนามเป็นครั้งแรก - หนุนไทยคืนประชาธิปไตย
โอบามาแถลงระหว่างประชุมผู้นำอาเซียน-สหรัฐอเมริกา เตรียมติดต่อสัมพันธ์กับประชาชนพม่าต่อไปหลังเลือกประธานาธิบดีใหม่และมีการหยุดยิงกับชนกลุ่มน้อย เตรียมเยือนลาวและเวียดนามเป็นครั้งแรก พร้อมหนุนให้ไทยฟื้นฟูรัฐบาลพลเรือนโดยเร็ว มั่นใจประธานาธิบดีสหรัฐสมัยหน้าจะสานต่อความสัมพันธ์กับอาเซียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จับมือกับ ประธานาธิบดีบารัก โอบามาของสหรัฐอเมริกา เมื่อ 16 ก.พ. 59 ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐ-อาเซียน ที่มลรัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา (ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย) ในการพบหารือของบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กับผู้แทนจากชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ สมัยพิเศษที่เมืองแรนโชมิราจ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 ก.พ. นั้น ต่อมาประธานาธิบดีโอบามาได้กล่าวแถลงข่าว ตามใบแถลงข่าวของทำเนียบขาว ของทางการสหรัฐ ตอนหนึ่งโอบามากล่าวว่า สหรัฐอเมริกาจะยังคงยืนหยัดร่วมกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำงานเพื่อความก้าวหน้าของนิติรัฐ ธรรมาภิบาล สถาบันที่มีความโปร่งใส สิทธิมนุษยชนสากลสำหรัประชาชนทุกคน เราจะยังคงสนับสนุนการฟื้นคืนการปกครองของพลเรือนในประเทศไทย เราจะติดต่อสัมพันธ์กับประชาชนของพม่าต่อไป เมื่อประธานาธิบดีคนใหม่ได้รับการคัดเลือก และสัญญาหยุดยิงได้รับการปฏิบัติเพื่อการเดินหน้าของการปรองดองแห่งชาติ ทั่วทั้งภูมิภาค เราจะหยัดยืนร่วมกับพลเมืองและภาคประชาชนสังคม เพื่อปกป้องเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพการรวมตัวสมาคม และเสรีภาพสื่อ ไม่ควรมีใคร รวมทั้งฝ่ายค้านที่ควรต้องถูกควบคุมตัวหรือจำคุกเพียงเพราะเขาพูดสิ่งที่อยู่ในใจของเขา สิ่งนี้ขัดขวางต่อความก้าวหน้า และทำให้บรรดาประเทศเจริญเติบโตและก้าวหน้าด้วยความยากลำบาก โอบามากล่าวด้วยว่าจะเตรียมเยือนเวียดนามเป็นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมนี้ และจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่จะเยือนประเทศลาว ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเชียตะวันออกในเดือนกันยายนนี้ และช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการประยุทธ์และ โอบามากล่าวด้วยว่า สหรัฐอเมริกาและชาติอาเซียนจะทำข้อตกลงที่มีความท้าทายข้ามชาติร่วมกันด้วย โดยเขาเสนอความช่วยเหลือชาติอาเซียนในการเพิ่มข้อมูลของตำรวจสากล เพื่อป้องกันการไหลบ่าของนักรบก่อการร้ายจากต่างชาติ ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติอาเซียนเห็นพ้องร่วมกันที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสเรื่องความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมทั้งประยุกต์และบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และจะสนับสนุนให้ก้าวผ่านเรื่องนี้ด้วยการหาพลังงานแหล่งใหม่ที่สะอาดในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ ทั้งนี้โอบามายังแสดงความมั่นใจว่า ไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีก็จะสานต่อในสิ่งที่ได้ก่อร่างขึ้นนี้ เพราะว่าเป็นแรงสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่แข็งขัน ยั่งยืน และเกิดขึ้นจากทั้งสองฝ่าย โอบามายังว่าและด้วยโครงการผู้นำรุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (YSEALI) ที่รวมคนรุ่นใหม่จากภาคธุรกิจ ประชาสังคม องค์กรรากหญ้าจากภูมิภาค เขาเชื่อว่าในอนาคตก็จะมีสิ่งร้อยรัดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสหรัฐอเมริกาเข้าไว้ด้วยกันด้วยจิตวิญญาณของหุ้นส่วนและมิตรภาพ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมช่วงที่ 2 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา Source : The White House, Remarks by President Obama at U.S.-ASEAN Press Conference https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2016/02/16/remarks-president-obama-us-asean-press-conference [1]
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/40111
2012-04-18 00:37
เริ่มสืบคดี"สมยศ"ต่อพรุ่งนี้ ด้านองค์กรแรงงานเกาหลีร้องไทยปล่อยสมยศทันที
ศาลอาญา รัชดาเริ่มสืบคดี "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ต่อวันพรุ่งนี้ ขณะที่สหภาพแรงงานเกาหลี-ออสเตรเลีย ร่อนจดหมายถึงศาลอาญา-นายกรัฐมนตรี ร้องปล่อยตัวสมยศและแก้ไขม. 112 ทันที วันพรุ่งนี้ (18 เม.ย.) ที่ศาลอาญารัชดา จะมีการสืบพยานคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 2962/2554 ในข้อหาละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการเป็นบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Thaksin ซึ่งทางการระบุว่ามีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง โดยการสืบพยานจะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 18-20, 24-26 เม.ย. และ 1-4 พ.ค. 55 ในขณะที่สหภาพแรงงานในเกาหลี-ออสเตรเลียส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลไทยปล่อยตัวสมยศทันที พร้อมให้แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งนี้ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ 4 สำนักงานอัยการสูงสุด ได้นัดสืบพยานโจทก์ในระหว่างวันที่ 18 เม.ย.- 26 เม.ย. และสืบพยานจำเลย ระหว่างวันที่ 1 พ.ค.- 4 พ.ค. ในเวลา  9.00- 16.00 น. ณ ศาลอาญารัชดา กรุงเทพฯ ขณะที่ในวันนี้ (17 เม.ย.) สมาพันธ์แรงงานเกาหลีซึ่งระบุว่ามีสมาชิกราว 800,000 คน ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกจากกรุงโซล ประเทศเกาหลี ถึงนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และประธานศาลฎีกาประเทศไทย แสดงความกังวลต่อการดำเนินคดีของสมยศ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกทุกข้อกล่าวหาพร้อมปล่อยตัวสมยศทันที  [1] เช่นเดียวกับสภาแรงงานแห่งรัฐวิคตอเรีย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 400,000 คน ได้ออกจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ต่อเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศออสเตรเลีย ณ กรุงเเคนเบอร์รา เรียกร้องให้ทางการไทยให้ยกเลิกทุกข้อกล่าวหา และปล่อยตัวสมยศ รวมถึงนักโทษทางการเมืองคนอื่นๆ (ดูข่าวที่เกี่ยวข้อง [2]) นอกจากนี้ ทั้งสมาพันธ์แรงงานเกาหลีและสภาแรงงานจากออสเตรเลีย ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนและปรับแก้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย เนื่องจากมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการแสดงความคิดเห็นและประชาธิปไตยในประเทศไทย ทั้งนี้ สมยศถูกจับกุมที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสระแก้วเมื่อวันที่ 30 เม.ย.54 ขณะพาคณะทัวร์เตรียมผ่านแดนไปกัมพูชา โดยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากเป็นบรรณาธิการนิตยสาร Vioce of Taksin ซึ่งตีพิมพ์บทความเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง 2 บทความ เขาถูกคุมขังนับแต่นั้นและไม่ได้รับการประกันตัว ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการสืบพยาน โดยที่ผ่านมามีการสืบพยานโจทก์ไปแล้ว 4 ครั้งในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 21 พ.ย.54, จังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.54, จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 16 ม.ค.55, จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 13 ก.พ.55 แต่มีการเลื่อนมาสืบพยานที่กรุงเทพฯ เนื่องจากพยานอยู่กรุงเทพฯ 0000  จดหมายเปิดผนึกจากสมาพันธ์แรงงานเกาหลี เรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข แปลโดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ 17 เมษายน 2555 เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในนามของสมาชิกสมาพันธ์แรงงานเกาหลี 800,000 คน ข้าพเจ้าเขียนจดหมายมายัง ฯพณฯ ท่าน เกี่ยวกับการการดำเนินคดีกับสมยศ พฤกษาเกษมสุขที่จะมีการไตร่สวนในไม่กี่วันนี้ รวมทั้งการคุมขังเขาด้วยข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สมยศเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในขบวนการแรงงานเกาหลี ในการทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยย่อท้อเพื่อจัดตั้งขบวนการแรงงานประชาธิปไตย และในความแข็งขันต่อการร่วมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างคนงานในเอเชีย พวกเรารู้สึกกังวลใจเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในทางที่ปิดกั้นการนำเสนอข้อเรียกร้องจากขบวนการแรงงานและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เราขอเตือนความทรงจำ ฯพณฯ ท่านด้วยความนับถือยิ่งว่า ปฎิญญาสากลของสหประชาชาติ ว่าด้วยนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ระบุว่ามนุษย์ไม่ว่าจะในฐานะปัจเจกบุคคลหรือในนามกลุ่มองค์การทางสังคม ต่างได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมให้ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลและหลักการแห่งเสรีภาพ ที่ผ่านการลงมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 ซึ่งปฏิญญานี้ ยอมรับถึงสิทธิในการดำเนินกิจกรรมของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ในสิทธิในการรวมตัว และสิทธิในการเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างหลักประกันว่า นักต่อสู้เพื่อสิทธิสามารถดำเนินกิจกรรมโดยไม่ต้องกลัวการถูกปราบปราม พวกเราเชื่อว่าการคงใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่นั้น มีแรงผลักมาจากเหตุผลทางการเมือง และมันรังแต่จะสร้างความเสียหายให้กับขบวนการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย กฎหมายเช่นนี้จำเป็นจะต้องได้รับการทบทวนปรับแก้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล  ด้วยเหตุนี้ พวกเราขอเรียกร้องเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยทุกฝ่าย ให้ยุติการดำเนินการทุกคดีกับสมยศ พฤกษาเกษมสุข และปล่อยเขาออกจากเรือนจำโดยทันทีและโดยปราศจากเงื่อนไข พวกเราเชื่อว่า นี่เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ควรจะทำ เพื่อก้าวสู่การฟื้นฟูและพัฒนาการของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและประชาธิปไตยในประเทศไทย  ขอแสดงความนับถือ  Kim Young-hoon
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/4343
2005-06-09 10:28
ปธน.โบลิเวียลาออกแล้วแต่ปัญหาไม่จบ
เอพี/เอเอฟพี/เดอะ สก็อตแมน- ฝ่ายนิติบัญญัติโบลิเวียกำลังเตรียมจัดประชุมฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสภาพสุญญากาศทางการเมืองของโบลิเวียภายหลังจากประธานาธิบดีคาร์ลอส เมซาประกาศลาออก โดยหวังว่าจะลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ของชาวอินเดียนและกลุ่มคนจนที่ต้องการอำนาจคืนจากคนขาวที่เป็นชนชั้นปกครอง และไม่ยอมรับรักษาการณ์ที่มาจากพรรคเดียวกับประธานาธิบดี ประธานาธิบดีคาร์ลอส เมซา ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมาหลังจากที่ที่ประชาชนได้ออกมาเดินขบวนกดดันอย่างหนักเนื่องเพื่อเรียกร้องสิทธิการครอบครองก๊าซธรรมชาติภายในประเทศและให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ชนเผ่าต่างๆมีส่วนร่วมมากขึ้น การประท้วงประกอบด้วนชนเผ่าอินเดียนซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศได้ร่วมกับบรรดาเกษตรกรผู้ยากไร้ ครู อาจารย์ สหภาพแรงงานและคนงานเหมืองที่ต่างลุกฮือกันขึ้นมาเมื่อสภาคองเกรสมีมติให้ขึ้นภาษีบริษัทต่างชาติเท่าเข้ามาทำกิจการน้ำมันในประเทศโบลิเวีย ด้วยเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เพียงพอที่จะทำให้กิจการด้านพลังงานกลับมาเป็นของชาวโบลิเวียได้ ทั้งนี้ โบลิเวียนั้นมีทรัพยากรน้ำมันมากเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้รองจากเวเนซูเอลา แต่กลับเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในอเมริกาใต้ เนื่องจากกิจการน้ำมันถูกบริษัทต่างชาติยึดครองไปหมด โดยราว 30 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมดมีรายได้วันละไม่ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐ การลาออกในครั้งนี้คาดว่าจะทำให้มีการเรียกประชุมลงมติกันในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ซึ่งจะเป็นไปได้ว่าโบลิเวียจะเป็นประเทศที่เจ็ดในกลุ่มลาตินอเมริกาที่ขยับไปในเป็นรัฐบาลฝ่ายซ้ายที่ต่อต้านนโยบายของสหรัฐฯในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตามแม้ว่านายเมซาได้ประกาศลาออกไปแล้วก็ตามแต่ทางกลุ่มผู้ประท้วงก็ยังคงเดินหน้าทำการประท้วงต่อโดยการปิดกั้นถนนตัดการขนส่ง รวมทั้งธุรกิจต่างๆก็หยุดดำเนินการทำให้กรุงลา ปาซ เรียกได้ว่าแทบเป็นอัมพาต ทั้งนี้โดยทางกลุ่มผู้ประท้วงนั้นหวั่นเกรงว่าผู้ที่จะขึ้นมาดำรงแหน่งแทนนั้นจะเป็นรองประธานาธิบดีซึ่งมาจากสายพรรคการเมืองเดียวกันโดยที่ผู้นำจากชนเผ่าอินเดียนหวังว่า จะให้คนพวกนี้ได้หลุดพ้นออกจากตำแหน่งไปด้วย และคาดหวังว่าผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่นั้นไม่ควรจะมาจากพรรคเดิม รองประธานรัฐสภาเอโว โมราลส์ผู้นำจากพรรคฝ่ายซ้ายซึ่งมีฐานเสียงมาจากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโคคา ได้ออกมาเตือนว่ากลุ่มผู้สนับสนุนเขานับหมื่นๆคนจะออกมาประท้วงต่อไปเพื่อไม่ให้ทั้งประธานรัฐสภาและประธานวุฒิสภาคนปัจจุบันซึ่งมีความเป็นไปได้ในลำดับที่ 1 และ 2 ที่จะมารักษาการณ์ประธานาธิบดีจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ในขณะที่ ผู้ที่เป็นไปได้ในอันดับที่ 3 ในขณะนี้คือ เอ็ดวาร์โด โรดริเก้ ประธานศาลฎีกา "เราไม่ยอมให้เขาขึ้นมาครองอำนาจแน่นอน ตอนนี้ถึงเวลาที่ชนกลุ่มใหญ่ของชาติจะได้ขึ้นมาปกครองประเทศแล้ว" โมราลส์กล่าว ในขณะเดียวกัน บรรดากลุ่มคนยากจนจากชนเผ่าอินเดียนส่วนใหญ่กล่าวว่าพวกเขาอยากได้ผู้สมัครที่ไม่ได้มาจากพรรคอนุรักษ์นิยมดั้งเดิม อยากได้คนอย่างโมราลส์ ผู้ที่ชื่นชมประธานาธิบดีฮูโก เปอร์เวซ แห่งเวเนซูเอลาอย่างมากที่หาญกล้าต่อต้านกับสหรัฐฯได้บ่อยครั้งมาก
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/13072
2007-06-13 05:24
2 ปีกับมรณกรรมของ "พระสุพจน์ สุวโจ" : แม้แต่พระยังต้องสังเวยต่ออำนาจทุนนิยม (1)
ตอนที่ 1 : ความตายของพระนักพัฒนา : "พื้นที่ - ผลประโยชน์ - อิทธิพล" โดย วิทยากร บุญเรือง     พระสุพจน์ สุวโจ (ที่มาภาพ : http://www.semsikkha.org)   18 มิ.ย.48 พระสุพจน์ สุวโจ ถูกพบว่าเสียชีวิตบริเวณพงหญ้าริมทางเดินเล็กๆ ในเขตสถานปฏิบัติธรรม สวนเมตตาธรรม ในเบื้องต้นพบว่า พระสุพจน์ สุวโจ ถูกทำร้ายกระทั่งถึงแก่มรณภาพด้วยของมีคมไม่ทราบชนิด อย่างเหี้ยมโหด แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถค้นหาอาวุธ หลักฐาน หรือวัตถุพยานใดๆ ระดับบ่งชี้บุคคล ได้ในที่เกิดเหตุ ทั้งไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ทำร้าย เพราะไม่มีประจักษ์พยาน ตลอดจนไม่สามารถประมวลข้อมูลที่มี-ที่ทราบ เพื่อนำไปสู่การค้นหาตัวผู้ต้องสงสัยใดๆ ได้แม้แต่คนเดียว   ความตายของพระสุพจน์ สุวโจ ยังคงทำให้ถูกเป็นปริศนา ...แต่ใครหลายคนก็พอที่จะปะติดปะต่อเหตุการณ์นี้ได้ลางๆ โดยผู้เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับการทำงานร่วมกับพระสุพจน์ สุวโจ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เบื้องหลังของเหตุการณ์ลอบสังหารครั้งนี้ ก็คือ การที่ภิกษุกลุ่มพุทธทาส ซึ่งรวมถึงตัวท่านด้วย อาจหาญเข้ามาปกป้องพื้นที่ ปกป้องชุมชน และปกป้องชาวบ้าน จากการรุกรานของอำนาจทุน อำนาจเถื่อนของผู้มีอิทธิพลในเขตสถานปฏิบัติธรรม สวนเมตตาธรรม   เพราะว่าสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ เคยถูกข่มขู่คุกคามจากผู้มีอิทธิพล นายทุน ที่หวังจะใช้ประโยชน์จากที่ดินซึ่งมีสภาพเป็นป่าต้นน้ำที่สถานปฏิบัติธรรมดูแลอยู่   พระสุพจน์ สุวโจ และเพื่อนภิกษุ มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยใช้ศาสนาเพื่อระงับความขัดแย้ง ตลอดจนการแก้ปัญหาความรุนแรง อันเกิดจากการกระทำของรัฐและฝ่ายทุนด้วยสันติวิธี ร่วมกับขบวนการและเครือข่ายภาคประชาชน จนก่อให้เกิดความไม่พอใจจากฝ่ายปกครองและนายทุนเสมอ   ซึ่งมันคือความขัดแย้งทางชนชั้น ระหว่าง นายทุน-ชนชั้นปกครอง กับประชาชนส่วนใหญ่ !   คดีนี้อาจจะเป็นเพียงคดีฆาตกรรมทั่วไป ที่ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือนักบวชก็มีสิทธิ์สุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อในยุคสมัยอันมืดมนอย่างปัจจุบัน แต่เมื่อหากพินิจพิเคราะห์จากรายละเอียดเรื่องราวต่อจากนี้ไป เราจะเห็นความเชื่อมโยงและปัญหาในมุมที่กว้างขึ้น ซึ่งมันไม่ใช่แค่การฆ่าพระที่ อ.ฝาง ไม่ใช่แค่การฆ่าพระที่เชียงใหม่ และมันไม่ใช่การฆ่าพระที่ประเทศไทย ปัญหานี้มันยิ่งใหญ่กว่านั้นหลายเท่านัก   มันคือปัญหาการช่วงชิงทรัพยากรของโลกนี้ โดยกลุ่มนายทุน-ชนชั้นปกครอง เพื่อนำไปแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มตนเอง มันคือปัญหาการเหลื่อมล้ำทางชนชั้นที่ทำให้มนุษย์ผู้รักความยุติธรรมหลายๆ คนต้องออกมาสู้ แม้ว่าผลลัพธ์ของการต่อสู้อาจจะมีความตายรออยู่เบื้องหน้า ...แต่มนุษย์ผู้รักความยุติธรรม จักไม่ยอมหยุดสยบและถอยก้าวออกไป เช่นเดียวกับพระสุพจน์ สุวโจ     ความตายของพระนักพัฒนา : "พื้นที่ - ผลประโยชน์ - อิทธิพล" หลังรัฐประหาร ปี 2550 วงการสงฆ์ไทยกำลังครึกครื้นด้วยการระดมพลเคลื่อนไหวขอให้บรรจุ ถ้อยความเจาะจงให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ลงไปในรัฐธรรมนูญเถื่อนที่เกิดจากการรัฐประหารของผู้ที่มีอาวุธอยู่ในมือ นับว่าไม่มีให้เห็นมากนัก ที่เราจะเห็นสงฆ์ไทยออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นการเมือง แต่กลับเป็นเกมการเมืองแบบชนชั้นนำ   แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ 9 ปีที่แล้ว มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปช่วยชาวบ้าน เคลื่อนไหวในประเด็นการเมือง การเมืองของชาวบ้าน เกมแห่งความเป็นความตายระหว่างการนายทุนที่รังแกชาวบ้าน   โดยกลุ่มพุทธทาสศึกษาที่ยังคงอยู่ ได้สรุปเหตุการณ์และความเป็นมา กรณีการลอบสังหาร พระสุพจน์ สุวโจ ไว้ดังนี้ ...   เมื่อปี 2541 พระภิกษุหนุ่ม "กลุ่มพุทธทาสศึกษา" ซึ่งประกอบด้วย พระสุพจน์ สุวโจ พระมหากิตติ ธัมมปาโล , พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ , พระทวีศักดิ์ จิรธัมโม และพระมหาเชิดชัย กวิวํโส ได้โยกย้ายจากวัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมาจำพรรษาที่สถานปฏิบัติธรรม สวนเมตตาธรรม บ้านห้วยงูใน หมู่ ๕ ต.สันทราย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ตามคำอาราธนาของพระอาจารย์สิงห์ทน นราสโภ (ดร.สิงห์ทน คำซาว) และนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ โดยความเห็นชอบของท่านเจ้าคุณโพธิรังสี รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ (ในขณะนั้น) เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม ตลอดจนเผยแผ่ศาสนา ตามแนวทางของท่านพุทธทาสภิกขุ และแนวปฏิบัติของสวนโมกขพลาราม และดูแลที่ดินจำนวนกว่า 1,500 ไร่ ที่พระอาจารย์สิงห์ทนมอบให้อยู่ในความดูแลของสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ ซึ่งที่ดินแห่งนี้นั้น เป็นที่หมายปองของนายทุนที่ต้องการมาลงทุนในอ.ฝาง ยิ่งนัก โดยที่ที่ดินดังกล่าวนั้น เดิมถูก ดร.สิงห์ทน คำซาว ซื้อมาแบบมือเปล่า ตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2523 จากชาวบ้านหลายราย และหลายครั้ง ภายหลังออกหนังสือแสดงสิทธิ์เป็นเอกสารสปก. 4-01 ในนามคนงานและชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงซึ่งเคยทำงานกับพระอาจารย์สิงห์ทนครั้งยังมิได้อุปสมบทแทบทั้งสิ้น จึงเป็นที่หมายตาของผู้มีอิทธิพล ที่จะเข้ามาข่มขู่เพื่อบีบบังคับให้ชาวบ้านอนุญาตให้เข้าไปทำการเกษตรเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้โดยง่าย นอกจากบริเวณที่จัดไว้เป็นเขตสังฆาวาสประมาณ 75 ไร่เศษเท่านั้น ที่มีหนังสือแสดงสิทธิ์ นส.3 ก. ในชื่อนายสิงห์ทน คำซาว ในครั้งแรกเริ่ม ก็มีความพยายามจากผู้มีอิทธิพลและนักเลงอันธพาลในพื้นที่ พยายามกดดัน ข่มขู่ คุกคาม ต่อผู้อยู่อาศัยในสถานปฏิบัติธรรมสวนเมตตาธรรม มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะจุดไฟเผาป่า ส่งคนมาลอบยิงปืนใกล้กุฏิพระ ส่งคนมาลักลอบตัดฟันต้นไม้และพืชสมุนไพรที่ทางคณะสงฆ์พยายามปลูกไว้เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า เป็นต้น ในปี 2542 คณะสงฆ์ในสถานปฏิบัติธรรมหารือร่วมกับเจ้าของที่ดินเพื่อยกที่ดินจำนวน 800 ไร่ ให้เป็นป่าชุมชน และแบ่งบางส่วนเป็นที่พักสงฆ์ (ซึ่งเป็นพระในพื้นที่) ขึ้นอีกที่หนึ่ง เพื่อลดปริมาณการถือครอง ไม่ให้มีมากเกินไป แต่การคุกคามก็มิได้ลดลงแต่อย่างใด ในปี 2543 จึงได้จัดตั้งมูลนิธิ "เมตตาธรรมรักษ์" ขึ้น และได้รับใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย ในวันที่ 20 ธ.ค.43 (ใบอนุญาตเลขที่ ก.ท.1064)โดยมี นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นายพิภพ ธงชัย นายอนันต์ วิริยพินิจ นายสุรสีห์ โกศลนาวิน เป็นกรรมการชุดแรก เพื่อให้สถานปฏิบัติธรรมอยู่ภายใต้การดูแลของทางมูลนิธิที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง ในปี 2544 (โดยประมาณ) เจ้าของที่ดิน (พระสิงห์ทน นราสโภ) มอบอำนาจจัดการที่ดิน การดูแลสถานปฏิบัติธรรม ตลอดจนผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ แก่พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มพุทธทาสศึกษาและตัวแทนคณะสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ที่นั่น โดยกำหนดไว้ชัดเจนว่า เพื่อให้ดูแลและจัดการให้เป็นไปโดยประโยชน์ของการเผยแผ่พระศาสนาเท่านั้น จากนั้น คณะสงฆ์และมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ก็มีกิจกรรมและดำเนินการอย่างแข็งขัน จึงมีการกดดันจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น กลางปี 2544 มีนายทหารนอกราชการ สมาชิก อบต. และผู้กว้างขวางในพื้นที่ส่วนหนึ่ง รวมกลุ่มกันและชักชวนให้กลุ่มคนเข้ามารุมทำร้าย นายไพบูลย์ เมืองสุวรรณ อดีตลูกศิษย์และผู้ดูแลสถานที่ของพระสิงห์ทน นราสโภ และนายไซ คนงานเชื้อสายปะหล่อง ผู้อาศัยอยู่ในสวนเมตตาธรรม จนได้รับบาดเจ็บ ขณะเดียวกัน ก็มีการเรียกเก็บหนังสือแสดงสิทธิ์ สปก.4-01 จากชาวบ้านรอบๆ สถานปฏิบัติธรรม "สวนเมตตาธรรม" เพื่อดำเนินการจัดสรรที่ดินใหม่ สปก. 4-01 ขึ้นใหม่อีกด้วย ปี 2545 คณะสงฆ์แห่งสถานปฏิบัติธรรมสวนเมตตาธรรมและเจ้าของที่ดิน ได้มอบหมายให้ พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ เป็นตัวแทนเพื่อแจ้งความดำเนินคดี ทั้งในกรณีการบุกรุกที่ดิน การข่มขู่คุกคาม ตลอดจนการลักทรัพย์ของสถานปฏิบัติธรรม แต่ไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่แต่อย่างใด จากนั้นกลุ่มผู้มีอิทธิพลเริ่มปฏิบัติการก่อกวน ด้วยการลักทรัพย์ของสถานปฏิบัติธรรม เช่น เครื่องสูบน้ำ หรืองัดแงะกุฏิสงฆ์หลายครั้งหลายครา กระทั่งในที่สุดก็บุกรุกเข้าตัดไม้แล้วแผ้วถาง เพื่อตัดแบ่งที่ดินบางส่วนประมาณ 70-80 ไร่ ในการดูแลของสถานปฏิบัติธรรม ขายที่ดินให้กับคนนอกพื้นที่ เพื่อให้ทำสวนส้ม ซึ่งระยะนั้นเริ่มเป็นที่สนใจ และมีการขยายพื้นที่ปลูกกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่นิยมของนายทุนการเกษตรขนาดใหญ่แพร่หลายไปทั่วพื้นที่อำเภอฝาง รวมถึงการเข้ามาข่มขู่พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ และพระสุพจน์ สุวโจ ถึงในบริเวณกุฏิสงฆ์ ด้วยการกล่าวว่า "ให้พระเลิกเกี่ยวข้องกับที่ดิน และให้ออกนอกพื้นที่เสียโดยเร็ว มิเช่นนั้นจะไม่รับรองความปลอดภัย" พร้อมทั้งพยายามแสดงให้เห็นว่า ตนมีอาวุธครบมือ พร้อมที่จะทำร้ายหรือเข่นฆ่าได้โดยง่าย โดยกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า "ถึงแม้เป็นพระ ก็อย่าคิดว่าจะไม่กล้าทำอะไรรุนแรง" นอกจากนี้ยังมีการเข้ามาลักลอบเข้ามาตัดฟันไม้และจุดไฟเผาป่าในที่ดินซึ่งเป็นที่รกร้างไปกว่า 20 ไร่ เพิ่มเติมอีก การกดดันของกลุ่มผู้มีอิทธิพลดำเนินการอย่างเป็นระบบมากว่า 3 ปี (2545-2548) ในที่สุด มีกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งบุกรุกเข้ามาไถเกรดปรับสภาพที่ดิน เพื่อเตรียมที่จะใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรในพื้นที่ที่ยังมีปัญหา และเมื่อชาวบ้านใกล้เคียงทราบข่าว ก็แจ้งให้ พระสุพจน์ สุวโจทราบ พระสุพจน์จึงประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ส่งเจ้าหน้าที่สายตรวจมาตรวจสอบในที่เกิดเหตุ ซึ่งต่อมาทราบว่า เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปห้ามปรามและตักเตือนคนขับรถไถ ตลอดจนคนดูแลการทำงาน พร้อมทั้งแนะนำให้คนเหล่านั้นมาขออนุญาตจากพระสุพจน์เสียก่อน พร้อมๆ กันนั้น มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ก็อนุมัติให้ทางคณะสงฆ์ใช้งบประมาณของมูลนิธิ เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ ตลอดจนขุดลอกสระน้ำ และจัดทำแนวทางเดิน รวมทั้งถนนในเขตสถานปฏิบัติธรรมทั้งหมด เพื่อเตรียมการเคลื่อนย้ายสำนักงานมูลนิธิในส่วนกลาง มาเปิดสำนักงานใหม่ขึ้นในบริเวณสถานปฏิบัติธรรม ซึ่งกำหนดไว้โดยเบื้องต้น ว่าจะดำเนินงานต่างๆ อย่างเต็มรูปแบบ หลังการฉลอง 100 ปีชาตกาลพุทธทาสภิกขุ ในปี 2549 และโดยที่มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์กับกลุ่มเสขิยธรรม เริ่มเตรียมการประสานงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายองค์กรชาวบ้านอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และมีแนวโน้มจะเปิดโครงการอื่นๆ ตามมาอีก ทำให้ในที่สุด ก็คล้ายกับว่า ความตื่นตัวเหล่านั้นทำให้ผู้ประสงค์ร้าย ตัดสินใจลงมือสังหารพระสุพจน์ สุวโจ ในวันที่ 17 มิ.ย.48 นั่นเอง ดังนั้นความตายของพระสุพจน์ สุวโจ ถ้าไม่ใช่อุบัติเหตุอื่นใด เราก็มองไม่เห็นว่าสาเหตุอื่นจะสำคัญเท่ากับการที่ท่านออกมาปกป้องพื้นที่ ปกป้องชุมชน และปกป้องชาวบ้าน ซึ่งมันย่อมอาจไปขวางทางอิทธิพลในการเข้าครอบครองพื้นที่ของกลุ่มอิทธิพลและนายทุน อย่างเห็นได้ชัด !         (โปรดติดตาม "2 ปีกับมรณกรรมของ "พระสุพจน์ สุวโจ" : แม้แต่พระยังต้องสังเวยต่ออำนาจทุนนิยม" -  ตอนที่ 2 เบื้องหลัง "อำเภอฝาง ... สวรรค์ของนายทุน")         สรุปประวัติ พระสุพจน์ สุวโจ (ด้วงประเสริฐ) พระสุพจน์ สุวโจ เกิดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2509 จบการศึกษาจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อทำงานได้ระยหนึ่งแล้วจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ในปี พ.ศ. 2535 ขณะบวชมีอายุ 26 ปี หลังจากบวชแล้วพระสุพจน์ได้ศึกษาปฎิบัติธรรมหลายแห่ง และได้เข้าร่วมการอบรมอานาปานสติที่สวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี ทำให้ท่านสนใจที่จะศึกษาปฏิบัติธรรมในสวนโมกข์มานับแต่นั้น อุปนิสัยโดยทั่วไปของท่าน เป็นคนโอบอ้อมอารี เป็นมิตรกับผู้อื่นได้ง่าย และด้วยพื้นฐานของความเป็นสัตวแพทย์ที่รักและเมตตาสัตว์ ท่านจึงมักจะคอยช่วยเหลือสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บอยู่เสมอ ท่านสุพจน์เป็นคนมีอัธยาศัยดี เป็นที่รักของคนรอบข้าง และเป็นคนประนีประนอม ไม่ชอบมีเรื่องขัดแย้งกับใคร ท่านมักจะยินดีให้ความช่วยเหลือแก่คนที่เดือดร้อนเสมอ ทั้งในด้านของวัตถุและการให้คำปรึกษา ผลงานในระหว่างที่อยู่สวนโมกข์ * ช่วยงานด้านเอกสารต่างๆ และงานบัญชีของวัด โดยรับผิดชอบงานด้านนี้อย่างเต็มตัว ในฐานะผู้ช่วยเจ้าอาวาส (แต่งตั้งเป็นการภายใน) ในระยะเวลาต่อมา* รับผิดชอบและดูแลงานห้องสมุดธรรมะ ของสวนโมกข์ (โมกขพลบรรณาลัย)* เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมธรรมะให้กับกลุ่มเยาวชน และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่สนใจเข้ามาศึกษาปฎิบัติธรรมในสวนโมกข์* ช่วยงานของวัดในการอบรมอานาปานสติ และการจัดค่ายเยาวชน* ริเริ่มและพัฒนาการฝึกอบรมในสวนโมกข์โดยใช้วิธีการอบรมแบบมีส่วนร่วม* ร่วมจัดตั้งกลุ่มพุทธทาสศึกษา เพื่อศึกษาผลงานของท่านอาจารย์พุทธทาสอย่างเป็นระบบ* จัดทำเอกสาร และเตรียมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมประยุกต์ธรรมะเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม* ร่วมเตรียมการและจัดกิจกรรม ในโครงการธรรมยาตราเพื่อฟื้นฟูทะเลสาปสงขลา ซึ่งเป็นการเดินรณรงค์ให้ชุมชนหันมาสนใจทะเลสาปสงขลา ที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยโครงการนี้ได้จัดอย่างเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี พงศ. 2538 - 2548* ร่วมรือฟื้นหนังสือพิมพ์ "พุทธศาสนา" เพื่อสื่อสารธรรมะของท่านอาจารย์พุทธทาสกับคนร่วมสมัยให้มากขึ้น* ออกแบบและจัดรูปเล่มหนังสือธรรมะของท่านอาจารย์พุทธทาสให้น่าดึงดูดใจผู้อ่านมากขึ้น โดยผลงานจัดรูปเล่มหนังสือที่สำคัญในช่วงนี้คือ ผลงานชุด "ปณิธาน : เพื่อสืบสานปณิธานพุทธทาส" จำนวน ๑๒ เล่ม * ร่วมกิจกรรมที่เน้นประเด็นทางสังคม โดยประสานงานกับกลุ่มต่างๆ ทั้งในและนอกสวนโมกข์ ผลงานหลังออกจากสวนโมกข์และจัดตั้งกลุ่มพุทธทาสศึกษา * เป็นรองประธานของมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามหลักธรรมะ และสนับสนุนกิจกรรมทางด้านชุมชน การศึกษาและสิ่งแวดล้อม* ทดลองจัดทำเว็บไซต์ธรรมะ "สมาคมคนน่ารัก" (www.khonnarak.com) เพื่อสื่อสารหลักธรรมอย่างเรียบง่าย และงดงามผ่านอินเทอร์เน็ต* จัดทำและพัฒนาเว็บไซต์พุทธทาสศึกษา (www.buddhadasa.org) ซึ่งมีผู้เข้ามาใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก* จัดทำและพัฒนาเว็บไซต์กลุ่มเสขิยธรรม (www.skyd.org) ซึ่งเป็นเครือข่ายของพระสงฆ์และแม่ชีที่ทำงานด้านประยุกต์ใช้ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม* จัดทำและพัฒนาเว็บไซต์ www.kruamas.org และล่าสุดกำลังเตรียมการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อรณรงค์ให้วัด และพระปลอดบุหรี่ ชื่อเว็บไซต์ โครงการเสริมสร้างภูมิชีวิตพิชิตบุหรี่ในเพศบรรชพชิต (www.nosmoke.in.th)* ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ การใช้คอมพิวเตอร์กับองค์กรต่างๆ ที่ทำงานทางด้านสังคมอยู่อย่างสม่ำเสมอ ดังเช่น องค์กรในเครือข่ายของมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป มูลนิธิโกมลคมทอง เครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม* เป็นบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ของจดหมายข่าวเสขิยธรรมรายสามเดือน * จัดรูปเล่มหนังสือธรรมะต่างๆ จำนวนมาก อาทิเช่น หนังสือชุดสรรนิพนธ์พุทธทาส ชุดธรรมทัศน์ของพุทธทาส จดหมายข่าวธรรมานุรักษ์ และหนังสือธรรมะอื่นๆ จำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 100 เล่ม พระสุพจน์ สุวโจ มรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2548 โดยถูกรุมทำร้ายจากคนไม่ทราบจำนวน ด้วยของมีคม และวิธีการที่โหดเหี้ยมทารุณยิ่ง ณ สวนเมตตาธรรม อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ขณะมีอายุ 39 ปี อายุพรรษา 13 พรรษา จนถึงปัจจุบัน (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550) ความคืบหน้าของคดีนี้ ยังไม่คืบไปจนถึงการเสาะหาตัวผู้สังหารหรือผู้บงการได้   ที่มา : http://www.semsikkha.org
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/74965
2018-01-16 02:57
ประธานป.ป.ช.ระบุปมนาฬิกาหรูยังไม่คืบ ยันพร้อมออกหากคุณสมบัติขัด รธน.
ประธานป.ป.ช. ระบุปมนาฬิกาหรูยังไม่คืบ ยันไม่หวั่นถูกยื่นตีความ กรณีสนช.ต่ออายุจนครบวาระ ย้ำเป็นเรื่องดี ไม่ทำให้คลุมเครือต่อการทำงาน พร้อมพ้นตำแหน่งหากคุณสมบัติขัดรธน. ด้าน รอง ปธ. สนช.ยัน สมาชิก สนช.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณียกเว้นคุณสมบัติและลักษณะต้องของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้    15 ม.ค. 2561 รายงานข่าวระบุว่า พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบการครอบครองนาฬิกาหรูของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลให้ครบทุกด้าน ยังไม่ได้รับรายงานความคืบหน้า แต่ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ยิ่งประเด็นนี้อยู่ในความสนใจของประชาชน ยิ่งต้องดำเนินการให้รอบคอบ จึงไม่ได้กำหนดกรอบเวลา เพราะมีแนวทางทำงานอยู่แล้ว ส่วนจะต้องนำส่งนาฬิกาทุกเรือนให้ป.ป.ช ตรวจสอบหรือไม่ เป็นแนวทางการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ และต้องตรวจสอบภาพที่พล.อ.ประวิตรสวมนาฬิกาว่าเกิดขึ้นเมื่อใด  ส่วนการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน 40 อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ร่วมผลักดันกฎหมาย นิรโทษกรรม ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ไม่คิดว่าจะรวดเร็วตามที่เกิดกระแสข่าว เพราะ ป.ป.ช.มีเรื่องค้างการพิจารณาจำนวนมาก ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมายลูก  อีกทั้งผู้ถูกกล่าวหามีจำนวนมากและเป็นผู้ใหญ่ทั้งรัฐมนตรีและอดีตส.ส. จึงต้องให้ความเป็นธรรมในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน  ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าคดีนี้จะเป็นการล้างส.ส.พรรคเพื่อไทยหรือไม่ นั้น ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า คงไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากการพิจารณาคดีต้องทำเป็นองค์คณะ ทุกอย่างต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ เพราะกฎหมายใหม่กำหนดให้ผู้ที่มีความสงสัยในมติป.ป.ช.สามารถขอตรวจสอบมติที่ออกมาได้ ในฐานะประธานป.ป.ช.ได้ย้ำเสมอว่าทุกเรื่องที่มีความสำคัญ กรรมการต้องครบองค์ประชุม 9 คน จะไม่ยอมให้ขาด ลา เว้นแต่กรรมการคนนั้นต้องห้ามร่วมประชุมตามข้อกฎหมาย ดังนั้น ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง สำหรับกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีการดำรงตำแหน่งจนครบวาระของกรรมการ ป.ป.ช.ที่มีคุณสมบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่นั้น ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ไม่รู้สึกกังวลใจ แต่มองว่าเป็นเรื่องดีจะได้ไม่เกิดความคลุมเครือต่อการปฏิบัติหน้าที่ในอนาคต หากจะต้องพ้นจากตำแหน่งมีเพียง 2 คน คือ ตนเองและนายวิทยา อาคมพิทักษ์เท่านั้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นต้องสรรหาใหม่ ส่วนกรรมการ ป.ป.ช.ที่เหลือสามารถทำงานต่อไปได้  “ผมอยากให้เรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความชัดเจน ยืนยันไม่หวั่นไหว เพราะไม่เคยเดินหนีปัญหา โดยขอให้ทำตามขั้นตอนของกฎหมาย หากศาลเห็นว่าคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามต้องขัดต่อรัฐธรรมนูญก็พร้อมพ้นจากตำแหน่ง ดีกว่าจะให้มติของป.ป.ช.ที่ผ่านมาต้องมีข้อครหา แต่หากไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ต้องทำงานเต็มที่และทำให้ดีกว่าเดิม” ประธานป.ป.ช. กล่าว ส่วนความเห็นต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วย ป.ป.ช. พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ได้ส่งความเห็นกลับไปยังสนช.แล้วและไม่มีข้อท้วงติง เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ  ซึ่งสุดท้ายจะตั้งกรรมาธิการร่วมหรือไม่อยู่ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รอง ปธ.สนช. ยันสมาชิกร้องศาล รธน.วินิจฉัย กรณียกเว้นคุณสมบัติ ป.ป.ช.ได้  ด้าน สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่หนึ่ง กล่าวถึงกรณีที่มีสมาชิก สนช.บางส่วนเตรียมเข้าชื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเนื้อหาของ พ.ร.ป. ว่าด้วย ป.ป.ช.ที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ สนช.ไปแล้ว ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการยกเว้นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ ป.ป.ช. นั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า สมาชิก สนช. บางส่วน เห็นว่าคำวินิจฉัยเดิมของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยกเว้นเฉพาะคุณสมบัติของกรรมการองค์กรอิสระเท่านั้น แต่ไม่ได้ครบคลุมถึงลักษณะต้องห้าม ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อยุติจึงควรยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว สุรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนตัวเห็นว่า หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ได้ข้อยุติที่ชัดเจนแล้ว จะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะ ป.ป.ช. จะได้มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและไม่มีข้อครหาตามมาในอนาคต หรือหากมีประเด็นอย่างหนึ่งอย่างใด จะได้มีการแก้ไขร่างกฎหมายลูกว่าด้วย ป.ป.ช.ก่อนที่ประธาน สนช. จะส่งร่างกฎหมายดังกล่าวไปยังนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาเคยมี สมาขิก สนช.เข้าชื่อ เพื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเนื้อหาของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมาแล้ว เชื่อว่ากระบวนการดังกล่าวสังคมจะให้การยอมรับ   รายงานข่าวระบุว่า สมาชิก สนช. ที่ติดใจเนื้อหากฎหมายดังกล่าว ต้องรวมกลุ่มกันเข้าชื่อจำนวน 1 ใน 10 ของสมาชิก สนช.ที่มีอยู่ คือ 25 คน โดยสามารถยื่นผ่าน สนช. หรือยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงก็ได้ ซึ่งเป็นสิทธิที่สมาชิก สนช. สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาที่ ประธาน สนช.จะต้องส่งร่างกฎหมายไปยังนายกรัฐมนตรี ซึ่งหาก สมาชิก สนช.ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สนช.ก็ต้องรอให้ศาลมีคำวินิจฉัยแล้วเสร็จก่อน จึงจะดำเนินการต่อไปได้   รายงานข่าวยังระบุอีกว่า ตามบทเฉพาะกาลของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช.นั้น สนช.มีมติเสียงข้างมาก ให้ยกเว้นการใช้ลักษณะต้องห้าม เพื่อให้กรรมการ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบันอยู่ทำหน้าที่ต่อจนครบวาระ อาทิ ลักษณะต้องห้ามที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส.ส. หรือ ส.ว. มาก่อนระยะ 10 ปี ก่อนเข้ารับการสรรหา ซึ่ง พล.ต.อ.วัชรพล ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิก สนช.ที่ทำหน้าที่ ส.ส.และ ส.ว.มาในปี 2557 และยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองให้กับรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมาก่อนด้วย   ที่มา : สำนักข่าวไทย [1] และเว็บไซต์วิทยุรัฐสภา [2]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/71201
2017-04-26 18:11
ชำนาญ จันทร์เรือง: การบังคับให้เสียค่าสมาชิกพรรคการเมือง ขัดรัฐธรรมนูญ
“มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน...การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ... ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม... จะกระทำมิได้” “มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งต้องกำหนดให้เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกำหนดนโยบายและการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และกำหนดมาตรการให้สามารถดำเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น รวมทั้งมาตรการกำกับดูแลมิให้สมาชิกของพรรคการเมืองกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พลันที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ เข้าสู่สภานิติบัญญัติและได้ผ่านวาระแรกซึ่งเป็นวาระของการรับหลักการไปด้วยเสียงท่วมท้นในสภา 175 ต่อ 0 โดยมีเงื่อนไขที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างอื้ออึงทั้งจากพรรคการเมืองและนักวิชาการ ซึ่งเงื่อนไขที่ว่านั้นก็เช่น ให้คนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องจ่ายเงินบำรุงพรรคไม่น้อยกว่า 100 บาทต่อปีหรือไม่เกิน 2,000บาทตลอดชีพ,ผู้ขอยื่นจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองจะต้องจ่ายเงินลงขันตั้งกองทุนประเดิม 1 ล้านบาท,ต้องหาสมาชิกพรรคไม่ต่ำกว่า 5,000 คนภายใน 1 ปี,ต้องหาสมาชิกเพิ่มให้เกิน 10,000 คน ภายใน 4 ปี ฯลฯ ในภาพรวมทั้งฉบับถูกวิจารณ์ว่าเป็นการกีดกันการจัดตั้งพรรคการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคขนาดเล็กอย่างชัดเจน หรือแม้แต่พรรคขนาดใหญ่ก็มีความยากลำบากที่จะสามารถปฏิบัติตามได้ จึงเป็นที่สงสัยว่าวัตถุประสงค์ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้มีวัตถุส่งเสริมหรือทำลายพรรคการเมืองกันแน่ พรรคการเมืองคืออะไร พรรคการเมือง(political party)มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Par (คำเดียวกันกับที่ใช้ในสนามกอล์ฟนั่นแหล่ะครับ)ซึ่งแปลว่า “ส่วน” พรรคการเมืองจึงหมายถึงส่วนของประชากรภายในประเทศ ซึ่งก็คือการที่แยกประชากรออกเป็นส่วนๆ ตามความคิดเห็นและประโยชน์ได้เสียทางการเมือง พรรคการเมืองถือว่าเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะพรรคการเมืองเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยบุคคลจำนวนมากที่มีภารกิจที่ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน พรรคการเมืองเป็นสื่อกลางที่จะเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะชักนำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง พรรคการเมืองจึงเป็นผู้ที่รวบรวมผลประโยชน์ของประชาชนมาเขียนไว้ในนโยบายของพรรคตน ประชาชนคนใดเห็นพ้องกับนโยบายของพรรคการเมืองใดก็จะเข้าไปมีส่วนร่วมในพรรคการเมืองนั้นทั้งการสมัครเข้าไปเป็นสมาชิกพรรคนั้นด้วยตนเองหรือการเลือกสมาชิกของพรรคการเมืองนั้นเข้าไปทำหน้าที่แทนตนในรัฐสภา จากหลักการดังกล่าวข้างต้นเมื่อนำมาประกอบเข้ากับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 45 ที่บัญญัติว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้วจะเห็นได้ว่าเนื้อของร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯฉบับที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อ สนช.นี้ขัดหลักการทางวิชาการและหลักการสำคัญในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน เพราะเป็นจำกัดเสรีภาพของบุคคลในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง เนื่องจากเป็นการยากที่จะสามารถรวบรวมเงินค่าสมาชิกจากทุกคนได้ จริงอยู่เงิน 100 บาทอาจจะดูไม่มากนักแต่ค่าใช้จ่ายในการติดตามอาจจะมากกว่ามูลค่า 100 บาทด้วยซ้ำไปและถือได้ว่าเป็นการสร้างอุปสรรคและเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่สนใจจะเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ตนเองชื่นชอบ การที่จะอ้างเหตุผลว่าการที่สมาชิกเสียเงินแล้วจะได้มีความรูสึกเป็นเจ้าของนั้นฟังไม่ขึ้นแต่อย่างใด เพราะความรู้สึกในการเป็นเจ้าของนั้นมีได้หลายวิธีไม่จำเพาะเพียงแต่การเสียเงินค่าบำรุงเท่านั้น และยิ่งไปสร้างข้อจำกัดว่าผู้ขอยื่นจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองจะต้องจ่ายเงินลงขันตั้งกองทุนประเดิม 1 ล้านบาทนั้นเป็นการกีดกันคนจนอย่างเห็นได้ชัด มิหนำซ้ำกลับมองเห็นว่าอาจจะเป็นเจตนาที่จะจับผิดหรือทำลายพรรคการเมืองด้วยซ้ำไปหากสมาชิกชำระเงินที่ไม่ได้เป็นของตนเองซึ่งอาจจะด้วยวิธีการใดก็ตาม เช่น พรรคออกให้,สมาชิกพรรคคนอื่นออกให้ ฯลฯ โอกาสที่พรรคการเมืองจะถูกลงโทษจึงเป็นไปได้สูง ที่สำคัญเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา27ที่ว่าด้วยเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคมอีกเช่นกัน กรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเองจะขัดรัฐธรรมนูญได้อย่างไร ดูเผินๆก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่เพราะตามระบบกฎหมายไทยและรัฐธรรมนูญปัจจุบันองค์กรที่อำนาจวินิจฉัยว่ากฎหมายในระดับร่าง พ.ร.บ.หรือ พ.ร.บ.ขึ้นไปใดจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญมิใช่อำนาจของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญหรือ กรธ.นะครับ ที่สำคัญหากเรายังไม่ลืมตอนที่มีการส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังการลงประชามติจาก กรธ.ไปศาลรัฐธรรมนูญมีการส่งกันกลับไปกลับมาตั้งหลายรอบ จนมีการเปรยๆว่าเห็นทีจะมีการเอาคืนกันบ้างเสียแล้วกระมัง มิหนำซ้ำศาลรัฐธรรมนูญยังมีคำวินิจฉัยที่ 6/2559 ลว.28 ก.ย.59 ให้ กรธ.ปรับแก้บทเฉพาะกาลเพื่อให้สอดคล้องกับคำถามพ่วงประชามติ ในเรื่องการขอยกเว้นใช้ข้อบังคับในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอจากเดิมที่ กรธ.ระบุให้เฉพาะ ส.ส. จำนวนกึ่งหนึ่งเท่านั้นมีสิทธิเป็นผู้เสนอของดใช้ข้อบังคับให้ปรับแก้มาเป็นสมาชิกรัฐสภาเสียอีก กอปรกับเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้แล้วดูเหมือนว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายคนจะขาดคุณสมบัติเอาเสียด้วยหาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าศาลรัฐธรรมนูญมีผล อย่างไรก็ตามด้วยเหตุจำกัดของเวลาที่ สนช.จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หากมีการแก้ไขก็จะต้องตั้งกรรมการร่วมระหว่าง สนช.กับกรธ.หรือหากกฎหมายฉบับนี้ตกไปก็ต้องนับหนึ่งใหม่ ผมจึงคิดว่าน่าจะมีทางออกในเรื่องนี้หากไม่อยากให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ตกไปไม่ว่าจะเป็นในชั้นของ สนช.หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ผมจึงขอเสนอว่าน่าจะแบ่งประเภทของสมาชิกเป็นหลายประเภทอาจจะเป็นประเภทที่ต้องเสียค่าบำรุงหรือเป็นประเภทที่ไม่ต้องเสียค่าบำรุงแต่เป็นสมาชิกด้วยคุณสมบัติอื่น ซึ่งมีทางออกอีกเยอะแยะ ส่วนในเรื่องอื่นๆ เอาให้พอดีๆ ก็แล้วกัน อย่าทำให้ถูกมองว่าเจตนาที่จะ “ทำหมัน”พรรคการเมืองตั้งแต่ยังไม่ได้เกิดเลยครับ เพราะแทนที่จะได้ภาคภูมิใจว่าเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านถือว่าใช้หนี้แผ่นดินแล้ว จะกลายเป็นติดหนี้แผ่นดินจนไม่อาจชดใช้ได้ไปเสียน่ะครับ   หมายเหตุ:  ปรับปรุงจากการเผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 26 เม.ย. 59
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/17212
2008-06-29 01:00
เวทีสภาประชาชนภาคเหนือ ถามอภิปรายเสร็จแล้ว ทำไมพันธมิตรฯ ไม่ยอมหยุด
เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2551 กลุ่มสมาพันธ์ชาวเหนือเพื่อประชาธิปไตยจัดเวทีสภาประชาชนภาคเหนือ ครั้งที่ 3 ขึ้นที่ข่วงประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเมื่อเวลา 17.00 น.มีฝนตกลงมา ทำให้ผู้มาร่วมบางตา เมื่อฝนเริ่มซาลง จึงได้มีการทำพิธีส่งวิญญาณโดยใช้รูปหน้าของ พลตรีจำลอง ศรีเมือง กับ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง มาผูกติดกับหุ่นฟางแล้วใช้ไม้ทิ่มแทงรูปใบหน้าที่ติดอยู่ ส่วนบนเวที ผู้ที่ใช้นามแฝงในอินเทอร์เน็ตว่า "ลำใยแห้ง" ได้แสดงความเห็นว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วงที่ผ่านมา เป็นไปเพื่อหวังจะให้เกิดความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมที่กรุงเทพฯ หรือการอ้างเรื่องเขาพระวิหารก็ล้วนแต่เป็นการยุยงให้มีการใช้ความรุนแรงทั้งสิ้น  รวมถึงที่พันธมิตรฯ จะขึ้นมาเชียงใหม่เพื่อมาจัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง "มองการเมืองประเทศไทยผ่านสถานการณ์ปัจจุบัน" ที่โรงแรมเชียงใหม่รัตนโกสินทร์ ในวันพรุ่งนี้ (29 มิ.ย.) นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการยั่วยุให้ให้เกิดการใช้ความรุนแรง เพื่อที่พวกเขาจะได้รับความชอบธรรม เช่นเดียวกับเมื่อตอนที่พรรคประชาธิปัตย์เคยถูกรื้อเวทีเมื่อราวสามปีก่อน "พันธมิตรฯ คิดจะเข้ามายั่วยุให้เกิดเรื่องในเชียงใหม่ เพราะยั่วยุที่ กทม. ไม่สำเร็จ"   "ลำใยแห้ง" กล่าวต่อว่า กลุ่มพันธมิตรฯ มักจะบอกว่าพวกที่ไม่เห็นด้วยกับตนเป็นฝ่ายผิด และพยายามจะโจมตีฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามตนเสมอ ไม่ว่าจะเป็น กกต., พระพยอม, รวมถึงรัฐบาลนี้ด้วย   จากนั้นได้พูดถึงกรณีที่นายสุริยะใส กตะศิลา บอกว่าจะให้ประชาชนเลือกตั้งผู้แทนฯ ได้แค่จำนวนร้อยละ 30 อีก ร้อยละ 70 จะมาจากการแต่งตั้งนั้น เป็นการกระทำที่ใกล้เคียงกับระบอบเผด็จการ และจะนำมาซึ่งรัฐประหาร เพราะการที่จะทำให้ระบอบของสุริยะใสนี้เป็นจริงได้จะต้องล้มล้างรัฐบาลเสียก่อน   ทางด้านผู้ใช้นามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิปว่า "เวียงกาหลง" ได้ขึ้นมาแสดงความเห็นว่า การอภิปรายในสภาก็เสร็จสิ้นไปแล้ว บ้านเมืองน่าจะเข้าสู่ภาวะปกติได้แล้ว แต่ทางกลุ่มพันธมิตรฯ ยังไม่ยอมหยุด "ทำไมไม่ยอมหยุด สภาฯ ก็สงบไปแล้ว ศาลก็คุ้มครองแล้ว แต่ฉันสงสารคนที่ต้องไปนั่งๆ นอนๆ กลางป่าคอนกรีตเพื่อร่วมชุมนุม เพื่อพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นคนแค่ 5-6 คน"   ขณะเดียวกัน ทางด้านตัวแทนของพ่อค้าที่ขายของในถนนคนเดินออกมาโจมตีว่า การชุมนุมของพันธมิตรฯ ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวน้อยลง พวกตนก็ขายของได้น้อยลง   เมื่อฝนเริ่มซา ช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. มีผู้ทยอยมาร่วมในบริเวณดังกล่าวประมาณ 80-100 คน บนเวทีมีการอภิปรายแสดงความเห็นสลับกับการแสดงดนตรีของเบิ้ม เสรีชน โดยนำเพลงของจิ้น กรรมาชน และจิตร ภูมิศักดิ์ รวมถึงนำเนื้อเพลงบางเพลงมาแปลงเพื่อแสดงความเห็นทางการเมือง   สำหรับการจัดเวทีสภาประชาชนภาคเหนือครั้งถัดไปในวันที่ 5 ก.ค. ทางกลุ่มสมาพันธ์ชาวเหนือเพื่อประชาธิปไตยประกาศว่า จะจัดขึ้นที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังได้แจกเอกสารแนะนำกลุ่มสมาพันธ์ฯ ไว้ดังนี้   ความเป็นมา ... สมาพันธ์ชาวเหนือเพื่อประชาธิปไตย แรกทีเดียวนั้น เริ่มจากการรวมตัวกันของชาวไซเบอร์และเพื่อนเพียงสองสามคน ปรึกษาหารือกันเรื่องแรงกดดันทั้งหลายจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ... กิจกรรมแรก คือการแจกคำประกาศเรียกร้องการยกเลิกกฏอัยการศึกเพื่อเรียกสภาวการณ์ทางเศณษฐกิจกลับคืน แต่ก็ถูกทหารเชิญไปนอนในค่ายกาวิละกันหกเจ็ดคนในวันแจกประกาศเรียกร้องนั่นเอง ... ขณะนี้ เรามีสมาชิกที่เข้าร่วมองค์กรแล้วจำนวนสองร้อยเศษ ยังไม่รวมถึง ชาวไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนประมาณสามสิบสี่สิบคน (จำนวนอาจคลาดเคลื่อน เพราะเหตุว่าบางคนใช้ล็อคอินถึงสามสี่ชื่อตามซีบ็อกของเว็บเหล่านี้ http://hello-siam.blogspot.com/ [1] , http://thaienews.blogspot.com [2] , http://www.NewSkythailand.com [3] , http://www.thaipeoplevoice.org [4] , http://www.konthai.org [5] , http://www.sapaprachachon.org [6] , http://khunnudang.xm.com/ [7] , http://www.rakchard.blogspot.com/ [8] , http://www.arkomsydney.com [9] , http://www.chupong.newsit.es [10] , http://www.democraticthai.com/ [11] , http://www.prachatai.com/ [12] และ http://www.serichon.com/index2.php [13]) กิจกรรมเวที ณ ข่วงประตูท่าแพสองครั้งที่ผ่านมาเราได้รับเงินบริจาคครั้งละสี่พันกว่าบาท (ไม่รวมการบริจาคค่าใช้จ่ายเวทีครั้งแรกและการบริจาคน้ำ, อาหาร , ที่พักวิทยากรจากองค์กร คปพร.) และกำไรจากการขายสินค้า เสื้อ หนังสือ และอื่นๆ โอกาสหน้าหากเรามีทุนเพิ่มขึ้นเราจะพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้รวมถึงการหลบหนีภัยคุกคามจากการรัฐประหารที่ผ่านมาและบัญชีรายรับรายจ่ายขององค์กรของเราออกมาเพื่อเป็นที่รับทราบโดยทั่วกัน ... ด้วยจิตคารวะ ... สมาพันธ์ชาวเหนือเพื่อประชาธิปไตย     ข่าวที่เกี่ยวข้อง สภาประชาชนปราศรัยเชียงใหม่ ยันปกป้องประชาธิปไตย [14] , 22/6/2551
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/50021
2013-11-27 21:59
สุเทพปราศรัย: จะช่วงชิงอำนาจรัฐจากระบอบทักษิณ ตั้งรัฐบาลประชาชน
สุเทพ เทือกสุบรรณ ชื่นชมผู้ชุมนุมเดินเท้ามาถึงศูนย์ราชการ ลั่นงานนี้เพื่อชาติ ไม่มีเจตนายึดศาลปกครอง-ผู้พิากษาให้ถือว่าได้ลากิจฟรีๆ และจะขอพักค้างที่ศูนย์ราชการติดแอร์ ย้ำเป้าหมายสภาประชาชน รัฐบาลประชาชนเท่าทั้น เมินยุบสภาและไม่เจรจากับยิ่งลักษณ์   สุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยที่ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2556 (ที่มา: Blue Sky Channel) บรรยากาศการชุมนุมที่ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2556 (ที่มา: เพจ Prachatai [1]) บรรยากาศการชุมนุมที่ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2556 (ที่มา: เพจ Prachatai [1])   ชื่นชมผู้ชุมนุมเดินเท้า 17 กิโลเมตร ไม่มีในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย 27 พ.ย. 2556 - หลังการผู้ชุมนุมขจัดระบอบทักษิณ เดินทางจากกระทรวงการคลัง ถ.พระราม 6 มายังศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ และเข้าชุมนุมอยู่ในพื้นที่ของศูนย์ราชการในช่วงบ่ายวันนี้ (27 พ.ย.) นั้น ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. สุเทพ เทือกสุบรร อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี และแกนนำผู้ชุมนุม ได้ขึ้นปราศรัย กล่าวถึงการเดินขบวนในวันนี้ว่า สิ่งที่เขาทำนั้น ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง เพราะไม่ได้ไปฆ่า หรือไปเผา มาวันนี้กว่าจะมายึดได้ เหนื่อยแทบตาย เพราะเดิน 17 กิโลเมตร สำหรับมวลมหาประชาชนนั้นตัวเขากราบเท้าได้ทุกคน ทั้งๆ ที่เมื่อคืนไม่ได้นอนกันเลย ไม่เคยมีใคร หรือมีการขบวนชุดไหน ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เดินไกล กลางแดดแบบนี้ "น้องๆ ของผมที่เป็นแกนนำ สะกิดถามหลายทีว่า พี่ครับ 17 กิโลเมตร กลางแดด คนจะไปถึงสักกี่คนครับ ผมตอบว่า ถ้าแค่ 17 กิโลเมตรไม่ได้ จะทำอย่างอื่นได้อย่างไร ผมตัดสินใจขึ้นเวทีที่กระทรวงการคลัง กราบเรียนพี่้น้อง คนอายุเท่าผมเกินผม พวกผู้สูงวัยไม่ต้องออกรบแนวหน้าเฝ้ากระทรวงการคลังก่อนแล้วกัน ปรากฏว่าพ่อยกแม่ยกก็ตามมา"   ยันทำเพื่อชาติ ไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง แต่รัฐบาลหน้าด้าน-ระบอบทักษิณเมิน สุเทพกล่าวต่อไปว่า เราได้ปฏิญาณต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่ามวลมหาประชาชนทำการคราวนี้ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์คนใดคนหนึ่งหรือนักการเมือง แต่เพื่อประเทศชาติ มวลมหาประชาชนที่ลุกขึ้นยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับเรา ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันแล้ว "ผมถามซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าที่ลุกขึ้นสู้คราวนี้ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาติด้วยมือของประชาชนจริงๆ ผมในฐานะที่ทำหน้าที่แกนนำ ต้องรับผิดชอบต่อการเดินหน้าของมวลมหาประชาชน ผมต้องถามย้ำแล้วย้ำอีก กลางที่มหาประชาชน เอาอย่างนั้นแน่นะครับ เขายุบสภาพี่น้องไม่หยุดใช่ไหมครับ เขาลาออกพี่น้องก็ไม่หยุดใช่ไหมครับ เพราะพี่น้องตั้งใจว่าคราวนี้จะต้องสร้างสภาประชาชน สร้างรัฐบาลของประชาชน และวางรากฐานการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ผมต้องถามเรื่อยๆ เพราะการแสดงเจตนาของพี่น้องเป็นเหมือนแผนที่ เหมือนเข็มทิศ ถ้าแปลผิดก็จะเข้ารกเข้าพง ผมถามแล้ว ผมเช็คกับหลวงปู่พุทธะอิสระด้วย ว่าพี่น้องต้องการอย่างนี้ ผมบอกถ้าอย่างนั้นเดินหน้า" "แต่เดินหน้าก็ผิดกฎหมาย เพราะรัฐบาลนี้มันหน้าด้าน สภานี้มันก็หน้าหนา และด้านพอๆ กับหน้านายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ระบอบทักษิณมันไม่สนใจ อย่าว่าแต่ลุกขึ้นมาชุมนุมล้านคนเลย ห้าล้าน สิบล้าน มันก็จะเฉย เชิญพวกมึงเฮไปทั้งปี กูไม่เดือดร้อน เพราะมันรู้ว่ามวลมหาประชาชนของเราที่ลุกขึ้นมาต่อสู้คราวนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองดีทั้งนั้น พลเมืองดีมีอาชีพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่มีใครสู้ยาวกับมันทั้งปีทั้งชาติ ต้องกลับบ้าน มันถึงได้ปล่อยไงครับ ปล่อยให้เราหมดแรงไปเอง แต่ผมในฐานะแกนนำพอผมมั่นใจว่าพี่้น้องต้องการอะไร ปรึกษากันทันที 9 คน และออกปฏิบัติการ" "ผมบอกพี่น้องตรงๆ ระบอบทักษิณที่อยู่ได้ เพราะมันมีทุน มีนักธุรกิจที่ร่วมหัวจมท้าย แบ่งกำไร อุดหนุน เกื้อกูลมัน ผมถึงเชิญพี่น้องต่อต้านสินค้าและบริการของทักษิณ แต่เห็นผลช้าวางไว้ก่อน สองสื่อมวลชนช่องโน้น ช่องนี้ รับเงินทักษิณ บางคนส่งลูกไปเรียนเมืองนอก พ่อมันก็หลับหูหลับตาเชียร์ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ เชียร์แม้แต่ไอ้โอ๊ค ด่าผมทุกวัน แต่ผมไม่รู้สึก เพราะผมไม่สนใจคนไม่มีอุดมการณ์มาด่าผม ไม่รู้สึกคันแม้แต่ฝ่าเท้า ไม่สน แต่คนพวกนี้ครับพี่น้อง มันไม่รายงานข้อเท็จจริง ประชาชนชุมนุมกันเป็นล้าน ที่ต่อต้านขัดขืน มันเขียนให้สองบรรทัด หรือออกทีแผล็บนึงในทีวี"   ลั่นใช้ไอทีสื่อตัวถึงตัวไม่ง้อสื่อมวลชน วันไหนมี รบ.ประชาชนอย่าร้องไห้แล้วกัน "วันนี้เราเดินตั้ง 5 ชั่วโมง 17 กิโล ไกลที่สุด ไม่มีใครเดินได้เหมือนเรา รับรองข่าวไม่มี ผมคิดว่าข่าวคงปรากฏเฉพาะช่องบลูสกาย ทีนิวส์ เนชั่น เพราะวันนี้คุณกนกมาเดินกับเราด้วย ส่วนช่องอื่นก็ลงหร็อมแหร็มไม่มีสาระ แต่นั่นได้เตือนแล้ว เราพามวลชนไปพบท่านทุกช่อง และรอท่านปรับตัว และบอกท่านเลย ถึงวันนี้ ท่านกลับตัวได้ กลับตัวไม่ได้ มวลมหาประชาชนไม่สนใจ มึงไม่เสนอข่าว กูไปทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตัวถึงตัวก็ได้ วันไหนมีรัฐบาลประชาชนจริงๆ อย่าร้องไห้ มากราบมือกราบเท้าประชาชนก็แล้วกัน จำไว้แล้วกันเพื่อนเอ๋ย" สุเทพกล่าวด้วยว่า "มีคนมาเตือนมาก 'ว่าอย่าไปยุ่งกับสื่อมวลชนคุณสุเทพ ไม่มีอนาคต' ผมบอกว่าไม่มีอนาคตอยู่แล้ว ผมทำม็อบครั้งนี้ครั้งเดียว เดินมาตามถนนวันนี้ 17 กิโลเมตร มีแต่มวลชนออกมาเชียร์ มายุส่งทั้งนั้น สุเทพสู้ๆ ลุงกำนันสู้ๆ ตลอดทาง ผมนึกว่าตัวเองหนุ่มเสมอ มาคราวนี้ถึงรู้ว่าแก่ เพราะคนเรียก ลุงกำนัน คนออกมาโบกไม้โบกมือ เชียร์กันมากมาย ทั้งนักศึกษาพ่อค้า แม่ขาย เพื่อนบอก เที่ยวหน้าสมัครผู้ว่า กทม. ดีไหมท่าน ฮ่าๆๆ" "ผมก็คุยกับเพื่อนรัก คุณสนธิญาณ (หมายถึง - สนธิญาณ หนูแก้ว หรือสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม) นี่ผมกระซิบคุณนะ เผลอๆ ผมทำงานให้ประชาชนเสร็จสิ้นคราวนี้ ผมคงล้างมือแล้ว กลับไปเอาใจลูกเมียดีกว่า เพราะไม่เคยช่วยเขาเลย ผมเรียนกับพี่น้อง สู้กับพี่้น้องคราวนี้ผมเทหมดหน้าตักจริงๆ ลูกเมียตาปริบๆ แล้วยิ่งพี่น้องยุอย่างนี้นะ ผมยอมตาย ไม่มีถอยแม้แต่นิดเดียว" ผมไม่เชื่อนะครับ ว่าผมฉลาดกว่ายิ่งลักษณ์ เฉลิม หรือประชา แต่ผมก็ไม่รู้ว่าผู้ชุมนุมมีกี่หมื่นกี่แสน หัวขบวนมาถึงศูนย์ราชการแล้ว ท้ายขบวนยังเตาะแตะๆ ที่หลักสี่นู่น แล้วสองหมื่นตั้งเวทีอยู่ดีเอสไอ เพราะสงสัยตั้งใจพักเหนื่อย เพิ่งตามเมื่อเราตั้งเวทีใหญ่เสร็จ ประมาณว่าร่วมสองหมื่น ชื่นใจจริงๆ ที่มาจนถึง   ชวนข้าราชการเลิกรับใช้ 'ระบอบทักษิณ' "เราผ่านบททดสอบมาหลายบท เริ่มจากสามเสน บอกกับเพื่อนว่าจะทำให้ได้สามแสนคนก็หัวเราะ พอเราถึงสามเสนไปอยู่ราชดำเนิน บอกจะมีเป็นล้าน คนก็หัวเราะ ถึงล้านก็ไม่มีน้ำยา เพราะไม่ระคายเคืองรัฐบาล ถ้าฉันยึดกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ จะเอาท่อน้ำเลี้ยงที่ไหนไปใช้ รัฐบาลเอ๋ย เสร็จเรา แล้วเราทำอะไรเปิดเผย สื่อมวลชนมาถามว่าถ้ายึดสำนักงบประมาณแล้ว กระทรวงการคลังแล้ว จะทำอะไรต่อ ผมบอก เราก็ยึดทุกกระทรวง ยึดทุกจังหวัด เขาก็หัวเราะ นึกว่าเราทำไม่ได้" สุเทพกล่าวด้วยว่า "พี่น้องข้าราชการมาร่วมกับประชาชนเถิด อย่าร่วมกับระบอบทักษิณ พี่น้องข้าราชการยังลังเล เราพูดแล้วพูดอีก เราก็เห็นใจเพราะเขาเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย ส่วนข้าราชการผู้ใหญ่เขาถูกชุบเลี้ยงเอาไว้ เลยรับใช้เหมือนสุนัขที่ซื่อสัตย์อย่างไรอย่างนั้น ข้าราชการชั้นผู้น้อยเขาไม่กล้าขยับ ข้าราชการสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังไปบอกแกนนำเอง ว่าช่วยมายึดกระทรวงการคลังที รัฐบาลจะถูกตัดท่อน้ำเลี้ยง พี่น้องเห็นไหม เราเดินจากราชดำเนินมาถึงกระทรวงการคลังไม่ได้บุกเข้าไปเลย นั่งกันรอข้าวห่อ กินข้าวห่อเสร็จ กินน้ำเสร็จ ชวนข้าราชการก็กวักมือบอกเข้ามาเลยๆ เราถึงได้เข้าไป" "ตลอดเวลาที่อยู่ในกระทรวงการคลัง ก็มีข้าราชการมาบอก ให้มาถอดตรงนี้ ถอดตรงนั้น โอนเงินไม่ได้ ผมไม่เคยเรียนทีวียังเปิดไม่ถูกเลย คิดดูแล้วกัน มีข้าราชการมานั่งฟังปราศรัย เราก็ถามมาทำไมไม่ทำงานรึ เขาว่า เคยมาทุกวัน มาฟังพวกพี่ สนุกดี เขาว่า ฟังไปฟังมาเป็นนักปฏิวัติประชาชนร่วมเดินทางมาที่นี่ด้วยทั้งกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ"   เผยได้รับความสนับสนุนจากข้าราชการศูนย์ราชการเป็นอย่างมาก สุเทพกล่าวต่อว่า "แต่ข้าราชการกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ยังสู้ข้าราชการที่ศูนย์ราชการแห่งนี้ไม่ได้ ต้องชมว่าสุดยอด ผมอายุ 64 แล้ว เดินฝ่าแดด 17 กม. นั่งหอบบนรถ ไม่ได้พูดอะไร ให้น้องๆ พูดไปเรื่อยๆ ผมได้กุหลาบแดงมาสองมัดใหญ่ๆ เอากุหลาบไปมอบว่าเรามาด้วยความรัก เอานกหวีดไปให้ แต่ว่าเดินมา 5 ชม. เหี่ยวคอพับหมด ที่น่าชื่นใจข้าราชการมีกุหลาบที่สดเอามามอบให้ผมแทน แถมยังบอกรอมาห้าชั่วโมงแล้ว โถถ้าท่านคิดอย่างนี้ ผมไม่ต้องตากแดดเดินมาไกลขนาดนั้น ขอต้อนรับมวลมหาประชาชนด้วยความยินดี และพร้อมจะต่อสู้ร่วมกับเรา ผมขอตั้งข้อสังเกตข้าราชการที่นี่ฐานะดี ผมมานั่งแป๊บเดียว ควักกระเป๋ายื่นให้ๆ ได้แสนกว่าบาท" "ผมชักนึกว่าตัวเองไม่เบาแล้ว เพราะว่าถ้าจะได้ระดับแสนนี่หลวงปู่พุทธะอิสระเทศน์ทีหนึ่งแสนสองแสน แต่ผมต้องกราบหลวงปู่นะครับ นั่งหอบเฉยๆ ได้แสนกว่าใช้ได้เหมือนกัน ที่ต้องพูดอย่างนี้ให้พี่น้องประชาชนที่อื่น ได้เข้าใจว่าบรรยากาศที่นี่เป็นอย่างไร บอกให้ผู้ชมทางบ้านได้ทราบ เพราะสื่อในระบอบทักษิณคงไม่ช่วยรายงานเรื่อยนี้เท่าไหร่นัก"   เผยยึดได้หลายกระทรวง และยึดศาลากลางได้ในต่างจังหวัด "พี่น้องทั้งหลายครับ เรื่องที่เราจะทำไม่สำเร็จ มันยากจริงๆ เพราะเราไม่มีความรุนแรง เราอยากเปลี่ยนประเทศไทย สันติวิธี สงบ มือเปล่า อหิงสา มันจึงยาก เราต้องการความร่วมแรงแข็งขันของชาวไทยทุกคน เพราะเราเรียกร้องข้าราชการเลือกข้างเขาต้องคิด เลยต้องอาศัยพลังประชาชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เมื่อคืนนี้พอผมพูดเป้าหมาย วิธีการเปิดใจพี่น้องหมด คุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตยส่งสัญญาณไปยังจังหวัดต่างๆ ขอให้พี่น้องประชาชนไปที่ศาลากลางดำเนินการอย่างที่พวกเราทำที่กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ปรากฏว่าได้ผลครับพี่น้อง อย่างที่หนึ่ง คุณสาทิตย์ ถูกออกหมายจับแล้วตอนนี้ ตอนนี้ผมได้เพื่อนเพิ่มคือสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แต่พี่น้องเชื่อเถิดครับ ที่เหลืออีก 7 คนต้องตามมา รัฐบาลไม่เว้นให้หรอกครับ" สุเทพกล่าวด้วยว่า มีการยึดศาลากลางไปแล้วหลายจังหวัด โดยระบุว่า "ผลประการที่สอง ปรากฏว่ารายงานที่เขาส่งถึงผม มีจังหวัดที่เราเข้าไปดำเนินการยึดแล้วเกือบครึ่งประเทศแล้วครับ ที่ผมบอกว่าเกือบครึ่งประเทศคือ ประเทศไทยมี 77 จังหวัด พี่น้องยึดได้แล้ว 30 จังหวัดครับ และพรุ่งนี้คงมีอีกหลายจังหวัด" โดยเขากล่าวด้วยว่า การเคลื่อนไหวได้เริ่มต้นแล้ว พรุ่งนี้จะตามมาหลายจังหวัด สำหรับกระทรวงทั้งหลายวันนี้มวลมหาประชาชนยึดไปได้แล้ว 9 กระทรวงครับพี่น้องครับ มหาดไทย การคลัง เกษตร แรงงาน คมนาคม การท่องเที่ยว พลังงาน พัฒนาสังคม อุตสาหกรรม ยังไม่นับศูนย์ราชการ ที่อยู่ในมือเราแล้ว   ไม่เจตนายึดศาลปกครอง-ถือเสียว่าได้พักฟรีๆ และจะนอนค้างที่ศูนย์ราชการ "เรียนพี่น้องครับที่เรามายึดศูนย์ราชการ มีเรื่องไม่สบายใจสองเรื่อง หนึ่งติดศาลปกครองไปด้วยตรงนี้ ต้องกราบเรียนท่านผู้พิพากษา ไม่มีความตั้งใจละเมิดศาลเลย เผลอไผลลูกน้องทำไปแล้ว ผมจะพยายามหาทางแก้ไข ที่ยังแก้อยู่ขอความกรุณาใต้เท้าท่านผู้พิพากษาถือว่าได้พักงานฟรีๆ ลากิจไปสักสองสามวันแล้วกัน ที่ผมไม่ค่อยพอใจเรื่องที่สองคือ คุณถาวร เสนเนียม แกไปยึดดีเอสไอมาด้วย ผมไม่พอใจอย่างมาก มันมีธาริต เพ็งดิษฐ์อยู่ ผมไม่อยากให้มันได้พักผ่อน ไอ้ธาริตมันขยัน มันประจบรัฐบาลคุณปูเขา ผมอยากให้มันทำงานทุกวันไม่ต้องพัก นี่พอเรายึดมันเลยได้พัก ผมก็เสียใจเล็กน้อยนะ พี่น้องทั้งหลายเราคงไม่ยึดอะไรต่อแล้ว แต่จะจัดการแถวนี้ให้เรียบร้อย วันนี้ให้พี่น้องพักผ่อนให้สบาย คนที่จะนอนค้างที่นี่ได้นอนห้องแอร์เพราะที่นี่เปิดแอร์ทั้งอาคาร"   จะช่วงชิงอำนาจรัฐจากทักษิณ มาจัดอำนาจใหม่ให้ประเทศก้าวหน้า สุเทพกล่าวด้วยว่า จะต้องมีสภาประชาชน "โดยมีความเอาจริงเอาจัง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพี่น้องประชาชน คือการช่วงชิงอำนาจรัฐจากระบอบทักษิณ มาจัดอำนาจใหม่ให้ประเทศเจริญก้าวหน้า แต่พวกนั้นไม่ยอมง่ายๆ แน่ จึงต้องออกแรงกันมาก ต้องพร้อมใจกันมาก" สุเทพกล่าวต่อไปว่า ผมดูๆ หลวงปู่จะไปไกลกว่าผมแล้ว หลวงปู่บอกฮวงจุ้ยดูมาก ผมไม่มีความรู้เลย ชี้ไปแล้วตั้งเวทีทิศโน้น ประชาชนอยู่ตรงนี้ เราจะรับได้สองล้านคน ที่ผมพูดตรงนี้คือ กล้องทีวีอยู่่ตรงนี้ ขอถือโอกาสนี้กราบเรียนไปถึงพี่น้องกระทรวงการคลังนะครับ ไม่ได้ตั้งใจทอดทิ้งเลย แต่คืนนี้กลับไปเยี่ยมไม่ได้ ตำรวจมันดักกลางทางครับพี่น้อง   เมินยุบสภา เมินเจรจา ตั้งเป้าสภาประชาชน รัฐบาลประชาชน "วันที่ 28 พ.ย. นี้ หมดวาระสมัยประชุมสภา เขาอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จ ถ้ารัฐบาลนี้หมดทางออก มันจะยุบสภา เพราะฉะนั้นไปคุยกันให้ดี ถามใจตัวเองให้ดี ถ้าเขายุบสภา เรายังเดินหน้าต่อไปตามเจตนารมณ์ใช่หรือเปล่าครับ กรุณาอย่าหลอกผมนะครับ ผมมือใหม่หัดครับ ติดคุกฟรีอย่างเดียว เราเตรียมการเตรียมใจเสียก่อนว่าเราถึงแม้เขายุบสภา เพราะเป้าหมายเราคือสภาประชาชน รัฐบาลประชาชน เพื่ออนาคตประเทศไทย" "วันนี้สื่อมวลชนมาถามผม ว่านายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์เขาอยากจะคุยด้วย" ทำให้ผู้ชุมนุมตะโกนว่า "ไม่เอา"  สุเทพปราศรัยต่อว่า "ทำไม ทำไมพี่น้องไม่ให้เสรีภาพในการตัดสินใจของของผมบ้าง เพราะพี่น้องไม่ให้คุย ตกลงไม่คุยกับมันแน่นอน ไม่ต้องมาต่อรองกัน การเมืองประเทศไทยวันนี้ ไม่มีการต่อรองกันแล้ว ใช่ไหมพี่น้อง ไม่ใช่พรรคการเมือง นักการเมือง ต่อไปเป็นเรื่องประชาชนล้วนๆ ผมจะเดินหน้าพร้อมกับบรรดาแกนนำทั้งหลาย พี่น้องประชาชนต้องมาช่วยกันให้มาก ทำตามแผนการให้สำเร็จได้ไหมพี่น้อง" สุเทพกล่าว
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg