NLP Course documentation

ความสามารถพิเศษของตัวตัดคำแบบเร็ว (fast tokenizers)

Hugging Face's logo
Join the Hugging Face community

and get access to the augmented documentation experience

to get started

ความสามารถพิเศษของตัวตัดคำแบบเร็ว (fast tokenizers)

Ask a Question Open In Colab Open In Studio Lab

ในบทนี้ เราจะเรียนเกี่ยวกับความสามารถของ tokenizer ต่างๆ ใน 🤗 Transformers library กัน ในบทก่อนๆ คุณได้ลองใช้ tokenizer เพื่อแยกข้อความให้เป็นคำๆ และเพื่อแปลง ID ของคำให้กลับไปเป็นข้อความแล้ว จริงๆแล้ว tokenizer นั้นยังมีความสามารถอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะ tokenizer จาก 🤗 Tokenizers library

เพื่อให้คุณเห็นภาพได้อย่างชัดเจน เราจะมาลองคำนวณผลลัพธ์ (reproduce) ของ token-classification (ซึ่งเราจะเรียกสั้นๆว่า ner) และสร้าง pipeline สำหรับ question-answering อย่างที่คุณได้เรียนมาแล้วบทที่ 1กัน

เราจะแยก tokenizer เป็นแบบช้า (slow) และแบบเร็ว (fast) ซึ่งแบบช้าหมายถึง tokenizer ที่เขียนด้วย Python และมาจาก 🤗 Transformers library ส่วนแบบเร็วหมายถึง tokenizer ที่เขียนด้วย Rust และมาจาก 🤗 Tokenizers library ถ้าคุณยังจำตารางจากบทที่ 5ได้ ซึ่งเป็นตารางเปรียบเทียบเวลา ที่ tokenizer แบบเร็วและช้า ใช้ในการตัดคำชุดข้อมูล Drug Review คุณก็จะเห็นว่า ทำไมเราจึงเรียกพวกมันว่า แบบช้าและเร็ว

Fast tokenizer Slow tokenizer
batched=True 10.8s 4min41s
batched=False 59.2s 5min3s

⚠️ ถ้าคุณเปรียบเทียบ tokenizer ทั้งสองแบบ โดยดูจากความเร็วในการตัดคำของประโยคเดียว คุณอาจจะไม่เห็นความแตกต่างมาก และบางที fast tokenizer อาจจะช้ากว่า slow tokenizer ด้วยซ้ำ คุณจะเห็นความแตกต่างที่แท้จริง ก็เมื่อลองรันกับ input ที่มีขนาดใหญ่ระดับหนึ่ง เพราะการทำแบบนี้ จะทำให้การประมวลผลแบบ parallel ถูกเรียกใช้งาน

Batch encoding

output ที่ได้จากการตัดคำนั้นไม่ใช่ dictionary แต่เป็น Python object ที่เรียกว่า BatchEncoding ซึ่งเป็น subclass ของ dictionary อีกที ทำให้เราสามารถ index ตัว output ได้ BatchEncoding ต่างจาก dictionary ทั่วไปตรงที่ มันมี method เพิ่มเติม ที่ส่วนมากจะถูกใช้โดย fast tokenizer

นอกจาก fast tokenizer จะสามารถประมวลผลแบบ parallel ได้แล้ว ความสามารถหลักของของมันก็คือ มันจะบันทึก span (ตำแหน่งเริ่มและจบ) ของแต่ละ token ไว้ด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับ span นี้เราเรียกว่า offset mapping

offset mapping สามารถช่วยให้เราโยง “คำ” ไปหา token ของมันได้ (ในที่นี้ “คำ” หมายถึง กลุ่มของตัวอักษรที่ถูกแบ่งด้วย space ซึ่งหนึ่งคำอาจจะถูกแบ่งออกเป็นหลาย token ได้) และนอกจากนั้น ก็ยังช่วยให้เราสามารถโยงตัวอักษร ไปหา token ได้ด้วยเช่นกัน

มาดูตัวอย่างกัน:

from transformers import AutoTokenizer

tokenizer = AutoTokenizer.from_pretrained("bert-base-cased")
example = "My name is Sylvain and I work at Hugging Face in Brooklyn."
encoding = tokenizer(example)
print(type(encoding))

จะเห็นได้ว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากตัดคำ คือ BatchEncoding อย่างที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น:

<class 'transformers.tokenization_utils_base.BatchEncoding'>

เนื่องจาก class AutoTokenizer จะเรียกใช้ตัว fast tokenizer เป็นค่าเริ่มต้น (by default) ซึ่งแปลว่า output ที่ได้คือ BatchEncoding และเราก็จะสามารถใช้ method พิเศษของมันได้ การจะเช็คว่า ตัวตัดคำเป็นแบบเร็วหรือช้า ทำได้สองวิธี วิธีแรกคือเช็คโดยการใช้ attribute is_fast ของ tokenizer :

tokenizer.is_fast
True

อีกวิธีคือเช็ค attribute is_fast ของ encoding:

encoding.is_fast
True

มาดูกันว่า fast tokenizer ทำอะไรได้บ้าง อย่างแรกคือ เราสามารถเรียกดู token ได้ โดยไม่ต้องแปลงแต่ละ ID กลับไปเป็น token

encoding.tokens()
['[CLS]', 'My', 'name', 'is', 'S', '##yl', '##va', '##in', 'and', 'I', 'work', 'at', 'Hu', '##gging', 'Face', 'in',
 'Brooklyn', '.', '[SEP]']

ในตัวอย่างนี้ token ในตำแหน่งที่ 5 คือ ##yl ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า “Sylvain”

นอกจากนั้น คุณยังสามารถใช้ method word_ids() เพื่อเรียกดูตำแหน่งของคำได้ด้วย

encoding.word_ids()
[None, 0, 1, 2, 3, 3, 3, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 8, 9, 10, 11, 12, None]

คุณจะเห็นว่า token พิเศษอย่าง [CLS] และ [SEP] จะถูกจับคู่กับค่า None ส่วน token อื่นๆก็จะถูกจับคู่กับคำต้นตอของมัน ข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการเอาไว้เช็คว่า token ที่เราสนใจนั้น อยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของคำหรือไม่ และเอาไว้เช็คว่า token สองตัว มาจากคำเดียวกันหรือไม่ คุณสามารถเช็คข้อมูลพวกนี้ได้จากการดูที่สัญลักษณ์ ## ที่อยู่ข้างหน้า token (ซึ่งแปลว่า token ตัวนี้ ไม่ได้อยู่ตรงจุดเริ่มต้นคำ) แต่วิธีนี้ ใช้ได้แค่กับตัวตัดคำที่มีโครงสร้างแบบโมเดล BERT เท่านั้น อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ใช้ได้กับตัวตัดคำทุกประเภทที่เป็นแบบเร็ว

ในบทหน้า เราจะมาดูกันว่า เราจะใช้ feature นี้เพื่อจับคู่ label กับ token ใน task เช่น entity recognition (NER) and part-of-speech (POS) tagging ได้อย่างไร นอกจากนั้น คุณยังสามารถใช้ feature นี้ เพื่อทำการปกปิด(mask) token ทุกตัวที่มาจากคำเดียวกัน เวลาใช้ masked language modeling ได้อีกด้วย (การทำแบบนี้เราเรียกว่า whole word masking)

นิยามของ “คำ” นั้นค่อนข้างยากที่จะกำหนด ตัวอย่างเช่น “I’ll” (เป็นการเขียนแบบสั้นของ “I will” ) ควรนับเป็นหนึ่งหรือสองคำ ? คำตอบของคำถามนี้นั้น ขึ้นกับว่า คุณใช้ตัวตัดคำแบบไหน และมีการปรับแต่งข้อความ input ก่อนที่จะทำการตัดคำหรือไม่ ตัวตัดคำบางตัว อาจจะแยกคำด้วย space บางตัวอาจจะแยกคำด้วยเครื่องหมายวรรคตอน (punctuation) ก่อนแล้วจึงแบ่งด้วย space ในกรณีหลังนี้ “I’ll” ก็จะถูกแบ่งเป็นสองคำ

✏️ ลองทำดู! ให้คุณลองสร้างตัวตัดคำจาก checkpoint ของ bert-base-cased and roberta-base แล้วให้ลองตัดคำว่า ”81s” คุณสังเกตเห็นอะไรบ้าง และ ID ของคำที่ได้คืออะไร

นอกจากนั้นยังมี method คล้ายๆกัน ที่ชื่อ sentence_ids() ที่เอาไว้ใช้เพื่อโยง token ไปหาประโยคต้นตอ ในตัวอย่างของเรา คุณสามารถใช้ token_type_ids ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการรัน tokenizer แทน sentence_ids() ได้ เพราะทั้งสองให้ข้อมูลเดียวกัน

ความสามารถสุดท้าย คือโยง token ไปหาแต่ละตัวอักษร หรือกลับกัน โดยการใช้ method word_to_chars() หรือ token_to_chars() และ char_to_word() หรือ char_to_token()

ตัวอย่างเช่น method word_ids() สามารถบอกให้คุณรู้ว่า ##yl เป็นส่วนหนึ่งของคำในตำแหน่งที่ 3 แต่ถ้าคุณอยากรู้ว่า เป็นคำไหนในประโยค คุณสามารถเช็คได้ดังนี้ :

start, end = encoding.word_to_chars(3)
example[start:end]
Sylvain

อย่างที่เราได้บอกข้างต้นแล้ว fast tokenizer สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะมันเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ span ของแต่ละ token เอาไว้ และบันทึกไว้ใน list ของ offsets เพื่อที่จะอธิบายการใช้งานของ feature นี้ เรามาลองคำนวณผลลัพธ์ของ pipeline token-classification กัน

✏️ ลองทำดู! ให้คุณลองคิดข้อความตัวอย่างขึ้นมา แล้วถามตัวเองว่า token ตัวไหนคู่กับ ID ของคำไหน และ คุณจะหา span ของแต่ละคำได้อย่างไร นอกจากนั้น ให้คุณลองสร้างสองประโยคเพื่อเป็น input ให้กับตัวตัดคำของคุณ แล้วดูว่า ID ของประโยคนั้นเหมาะสมหรือไม่

โครงสร้างภายในของ pipeline token-classification

ในบทที่ 1 คุณได้เรียนเกี่ยวกับการสร้างระบบ NER ซึ่งเป้าหมายหลักของระบบนี้ คือการหาส่วนของข้อความที่เป็น entitiy เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ หรือชื่อองค์กร โดยการใช้ฟังก์ชัน pipeline() จาก 🤗 Transformers ส่วนในบทที่ 2 คุณได้เรียนรู้ว่า pipeline ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญ เริ่มจาก การตัดคำ จากนั้นผลลัพธ์ก็จะถูกส่งไปให้โมเดล และสุดท้ายคือ การการปรับแต่งผลลัพธ์ (post-processing) สองขั้นตอนแรกใน pipeline token-classification นั้น จะเหมือนกันกับ pipeline อื่นๆ แต่ขั้นตอน post-processing จะค่อนข้างซับซ้อนกว่า เราจะมาดูรายละเอียดกัน

การคำนวณผลลัพธ์เบื้องต้นด้วยการใช้ pipeline

อันดับแรก เราจะใช้ token classification pipeline เพื่อเปรียบเทียบกับ pipeline ของเรา โมเดลที่ถูกตั้งเป็นค่าเบื้องต้นคือ dbmdz/bert-large-cased-finetuned-conll03-english ซึ่งมันจะคำนวณ NER ของแต่ละ ข้อความ input:

from transformers import pipeline

token_classifier = pipeline("token-classification")
token_classifier("My name is Sylvain and I work at Hugging Face in Brooklyn.")
[{'entity': 'I-PER', 'score': 0.9993828, 'index': 4, 'word': 'S', 'start': 11, 'end': 12},
 {'entity': 'I-PER', 'score': 0.99815476, 'index': 5, 'word': '##yl', 'start': 12, 'end': 14},
 {'entity': 'I-PER', 'score': 0.99590725, 'index': 6, 'word': '##va', 'start': 14, 'end': 16},
 {'entity': 'I-PER', 'score': 0.9992327, 'index': 7, 'word': '##in', 'start': 16, 'end': 18},
 {'entity': 'I-ORG', 'score': 0.97389334, 'index': 12, 'word': 'Hu', 'start': 33, 'end': 35},
 {'entity': 'I-ORG', 'score': 0.976115, 'index': 13, 'word': '##gging', 'start': 35, 'end': 40},
 {'entity': 'I-ORG', 'score': 0.98879766, 'index': 14, 'word': 'Face', 'start': 41, 'end': 45},
 {'entity': 'I-LOC', 'score': 0.99321055, 'index': 16, 'word': 'Brooklyn', 'start': 49, 'end': 57}]

คุณจะเห็นว่า โมเดลนี้สามารถบอกได้ว่า token ที่มาจาก คำว่า “Sylvain” นั้นเป็นชื่อคน และ token ที่มาจากคำว่า “Hugging Face” นั้นเป็นชื่อองค์กร และ “Brooklyn” เป็นชื่อสถานที่ เราสามารถใช้ pipeline นี้เพื่อรวมรวม token ที่มี entity ประเภทเดียวกันได้ด้วย

from transformers import pipeline

token_classifier = pipeline("token-classification", aggregation_strategy="simple")
token_classifier("My name is Sylvain and I work at Hugging Face in Brooklyn.")
[{'entity_group': 'PER', 'score': 0.9981694, 'word': 'Sylvain', 'start': 11, 'end': 18},
 {'entity_group': 'ORG', 'score': 0.97960204, 'word': 'Hugging Face', 'start': 33, 'end': 45},
 {'entity_group': 'LOC', 'score': 0.99321055, 'word': 'Brooklyn', 'start': 49, 'end': 57}]

aggregation_strategy ที่เราเลือก จะเปลี่ยนคะแนนของแต่ละกลุ่ม entity ด้วย ถ้าเราตั้งค่าให้เป็นแบบ "simple" มันจะคำนวณคะแนน โดยการเฉลี่ยคะแนนของแต่ละ token ที่นับเป็น entity เดียวกัน ตัวอย่างเช่น คะแนนของคำว่า “Sylvain” คือค่าเฉลี่ยของคะแนนจาก token ย่อยซึ่งก็คือ S, ##yl, ##va, and ##in

วิธีคำนวณคะแนนรวมแบบอื่น :

  • "first" จะใช้คะแนนของ token แรกเท่านั้น เป็นคะแนนรวม (เช่น คะแนนรวมของคำว่า “Sylvain” ก็จะเป็น 0.993828 ซึ่งมาจากคะแนนของ S)
  • "max" จะใช้คะแนนของ token ที่มีคะแนนมากที่สุด (เช่น คะแนนรวมของคำว่า “Hugging Face” ก็จะเป็น 0.98879766 ซึ่งมาจากคะแนนของ “Face”)
  • "average" จะใช้ค่าเฉลี่ยของแต่ละ token ที่เป็นส่วนของ entity นั้น เป็นคะแนนรวมของ entity (สำหรับคำว่า “Sylvain” คะแนนรวมแบบเฉลี่ยจะไม่ต่างจากคะแนนรวมแบบ "simple" แต่คำว่า “Hugging Face” จำได้คะแนน 0.9819 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ย ของ “Hugging” 0.975 และ “Face” 0.98879)

มาดูกันว่า คุณจะสร้างผลลัพธ์แบบนี้ได้อย่างไร โดยไม่ใช้ฟังก์ชัน pipeline()!

จาก input สู่ ผลลัพธ์

อันดับแรก เราจะเอาข้อความ input มาตัดคำก่อน แล้วส่งต่อผลลัพธ์ที่ได้ไปให้กับโมเดล ขั้นตอนนี้จะเหมือนที่เราทำกันในบทที่ 2 โดยเริ่มจากสร้างตัวตัดคำและโมเดลขึ้นมา โดยใช้คลาส AutoXxx

from transformers import AutoTokenizer, AutoModelForTokenClassification

model_checkpoint = "dbmdz/bert-large-cased-finetuned-conll03-english"
tokenizer = AutoTokenizer.from_pretrained(model_checkpoint)
model = AutoModelForTokenClassification.from_pretrained(model_checkpoint)

example = "My name is Sylvain and I work at Hugging Face in Brooklyn."
inputs = tokenizer(example, return_tensors="pt")
outputs = model(**inputs)

เนื่องจากเราใช้ AutoModelForTokenClassification หลังจากรัน เราจะได้ค่า logit (set of logits) สำหรับแต่ละ token ที่อยู่ในข้อความ input

print(inputs["input_ids"].shape)
print(outputs.logits.shape)
torch.Size([1, 19])
torch.Size([1, 19, 9])

แต่ละ batch ประกอบไปด้วย 1 ข้อความ ซึ่งมี token 19 ตัว และโมเดลที่เราใช้ สามารถทำนายได้ 9 หมวด (label) ดังนั้นขนาดของ output ที่ได้คือ 1 x 19 x 9 เช่นเดียวกับตอนที่เราใช้ text classification pipeline คือเราจะใช้ฟังก์ชัน softmax เพื่อที่จะแปลงค่า logits ไปเป็นค่าความเป็นไปได้ (probabilities) จากนั้นเราจะคำนวณค่า argmax เพื่อคำนวณคำทำนายสุดท้าย (เราใช้ argmax ของค่า logits ตรงนี้ได้ ก็เพราะการคำนวณ softmax จากคะแนนของแต่ละหมวด ไม่ได้ทำให้ลำดับของหมวดเปลี่ยน)

import torch

probabilities = torch.nn.functional.softmax(outputs.logits, dim=-1)[0].tolist()
predictions = outputs.logits.argmax(dim=-1)[0].tolist()
print(predictions)
[0, 0, 0, 0, 4, 4, 4, 4, 0, 0, 0, 0, 6, 6, 6, 0, 8, 0, 0]

attribute model.config.id2label คือตัวที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ mapping ของ index ไปหา label ที่เราเอาไว้ใช้เพื่อดูว่า ผลลัพธ์นั้นถูกต้องหรือไม่

model.config.id2label
{0: 'O',
 1: 'B-MISC',
 2: 'I-MISC',
 3: 'B-PER',
 4: 'I-PER',
 5: 'B-ORG',
 6: 'I-ORG',
 7: 'B-LOC',
 8: 'I-LOC'}

จาก output ข้างบน คุณจะเห็นว่า เรามีคำทำนายทั้งหมด 9 หมวด (label) โดยที่ label O หมายถึง token ที่ไม่ได้เป็น named entity (O มาจากคำว่า “outside”) และ แต่ละประเภทของ entity จะมีอย่างละสอง label (เรามีทั้งหมด 4 entity: miscellaneous, person, organization, and location)

ถ้า token ถูก label ด้วย B-XXX นั่นแปลว่า token นี้อยู่ข้างหน้าของ entity ประเภท XXX ส่วน label I-XXX หมายถึง token นี้อยู่ข้างใน entity ประเภท XXX ถ้าดูจากข้อความตัวอย่างที่เราใช้ข้างบน โมเดลของเราก็ควรจะจับคู่ token S กับหมวด B-PER (ซึ่งแปลว่า S เป็นส่วนข้างหน้าของ entity ประเภทชื่อคน) ส่วน token ##yl, ##va และ ##in ก็ควรจะถูกทำนายให้เป็นหมวด I-PER (ซึ่งหมายถึง token ที่อยู่ข้างใน entity ประเภทชื่อคน)

คุณอาจจะคิดว่า โมเดลของเราทำนายผิดในตัวอย่างนี้ เพราะว่ามันทำนายทั้งสี่ token ให้เป็น I-PER แต่จริงๆแล้ว ทำนายแบบนี้ก็ไม่ได้ผิดไปซะทั้งหมด เพราะว่า การทำนายโดยใช้ label B- และ I- ในงาน NER มีสองแบบ คือ IOB1 and IOB2

IOB1 (สีส้ม) เป็นแบบที่เราใช้ในตัวอย่างข้างบน ส่วน IOB2 (สีม่วง) แตกต่างตรงที่ B- เอาไว้ใช้แบ่ง entity สองตัวที่เป็นประเภทเดียว ให้ออกจากกัน โมเดลที่เราใช้นั้นถูก fine-tune จากชุดข้อมูลที่มี label แบบ IOB2 ทำให้มันทำนาย S เป็น I-PER

IOB1 vs IOB2 format

ตอนนี้เราก็พร้อมที่จะคำนวณผลลัพธ์ ให้ได้แบบเดียวกับ pipeline แรกแล้ว โดยที่เราจะใช้คะแนนและ label ของแต่ละ token ที่ไม่ใช่ Oเท่านั้น

results = []
tokens = inputs.tokens()

for idx, pred in enumerate(predictions):
    label = model.config.id2label[pred]
    if label != "O":
        results.append(
            {"entity": label, "score": probabilities[idx][pred], "word": tokens[idx]}
        )

print(results)
[{'entity': 'I-PER', 'score': 0.9993828, 'index': 4, 'word': 'S'},
 {'entity': 'I-PER', 'score': 0.99815476, 'index': 5, 'word': '##yl'},
 {'entity': 'I-PER', 'score': 0.99590725, 'index': 6, 'word': '##va'},
 {'entity': 'I-PER', 'score': 0.9992327, 'index': 7, 'word': '##in'},
 {'entity': 'I-ORG', 'score': 0.97389334, 'index': 12, 'word': 'Hu'},
 {'entity': 'I-ORG', 'score': 0.976115, 'index': 13, 'word': '##gging'},
 {'entity': 'I-ORG', 'score': 0.98879766, 'index': 14, 'word': 'Face'},
 {'entity': 'I-LOC', 'score': 0.99321055, 'index': 16, 'word': 'Brooklyn'}]

จะเห็นว่าตอนนี้ เราได้ผลลัพธ์ที่คล้ายกับผลลัพธ์จาก pipeline ก่อนหน้านี้แล้ว ข้อแตกต่างเดียวก็คือ ผลลัพธ์จาก pipeline จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตำแหน่งเริ่มและจบในข้อความของแต่ละ entity ด้วย ขั้นตอนต่อไป เราจะได้เรียกใช้ค่า offset mapping เพื่อตั้งค่าให้โมเดลคำนวณค่า offset เราจะเช็ต return_offsets_mapping=True ในตอนที่เราใช้รันตัวตัดคำ

inputs_with_offsets = tokenizer(example, return_offsets_mapping=True)
inputs_with_offsets["offset_mapping"]
[(0, 0), (0, 2), (3, 7), (8, 10), (11, 12), (12, 14), (14, 16), (16, 18), (19, 22), (23, 24), (25, 29), (30, 32),
 (33, 35), (35, 40), (41, 45), (46, 48), (49, 57), (57, 58), (0, 0)]

แต่ละ tuple ในนี้ จะบันทึกค่า span ของแต่ละ token ไว้ โดยที่พวก token พิเศษ ก็จะมีค่า span เป็น (0, 0) ก่อนหน้านี้ เราได้เห็นว่า token ในตำแหน่งที่ 5 คือ ##yl มีค่า offset เป็น (12, 14) ถ้าคุณลอง slice ข้อความ input ด้วย index สองค่านี้

example[12:14]

คุณจะได้ส่วนของข้อความที่เป็น yl โดยที่ ## จะถูกละออกจากผลลัพธ์:

yl

เราจะใช้วิธีนี้ เพื่อคำนวณผลลัพธ์ให้ได้ผลลัพธ์เหมือนใน pipeline:

results = []
inputs_with_offsets = tokenizer(example, return_offsets_mapping=True)
tokens = inputs_with_offsets.tokens()
offsets = inputs_with_offsets["offset_mapping"]

for idx, pred in enumerate(predictions):
    label = model.config.id2label[pred]
    if label != "O":
        start, end = offsets[idx]
        results.append(
            {
                "entity": label,
                "score": probabilities[idx][pred],
                "word": tokens[idx],
                "start": start,
                "end": end,
            }
        )

print(results)
[{'entity': 'I-PER', 'score': 0.9993828, 'index': 4, 'word': 'S', 'start': 11, 'end': 12},
 {'entity': 'I-PER', 'score': 0.99815476, 'index': 5, 'word': '##yl', 'start': 12, 'end': 14},
 {'entity': 'I-PER', 'score': 0.99590725, 'index': 6, 'word': '##va', 'start': 14, 'end': 16},
 {'entity': 'I-PER', 'score': 0.9992327, 'index': 7, 'word': '##in', 'start': 16, 'end': 18},
 {'entity': 'I-ORG', 'score': 0.97389334, 'index': 12, 'word': 'Hu', 'start': 33, 'end': 35},
 {'entity': 'I-ORG', 'score': 0.976115, 'index': 13, 'word': '##gging', 'start': 35, 'end': 40},
 {'entity': 'I-ORG', 'score': 0.98879766, 'index': 14, 'word': 'Face', 'start': 41, 'end': 45},
 {'entity': 'I-LOC', 'score': 0.99321055, 'index': 16, 'word': 'Brooklyn', 'start': 49, 'end': 57}]

ตอนนี้ เราก็ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกับผลลัพธ์จาก pipeline แล้ว!

การรวม entities

ข้อมูลเกี่ยวกับ ตำแหน่งเริ่มและตำแหน่งจบของแต่ละ entity ที่เราได้จาก offset อาจจะไม่เป็นประโยชน์มากนัก แต่ถ้าคุณต้องการจะรวม token ที่อยู่ในกลุ่ม entity เดียวกันเข้าด้วยกัน ข้อมูลจาก offset พวกนี้ จะมีโยชน์มาก และทำให้คุณไม่ต้องเขียนโค้ดเพิ่มเติมด้วย

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะรวม Hu, ##gging, และ Face เข้าด้วยกัน คุณอาจจะเขียนกฎขึ้นมาว่า ให้รวม token แรกกับ token ที่สองเข้าด้วยกัน โดยลบ ## ออก แล้วให้รวม token ที่สามโดยใช้ช่องว่างในการเชื่อม เพราะ Face ไม่ได้เริ่มต้นด้วย ## อย่างไรก็ตามวิธีนี้ ใช้ได้แค่กับตัวตัดคำบางประเภทเท่านั้น สำหรับตัวตัดคำอื่นๆเช่น แบบ SentencePiece หรือ Byte-Pair-Encoding เราก็จะต้องสร้างกฎขึ้นมาใหม่

การที่เราใช้ค่า offset ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเกี่ยวกับกฎพวกนี้ขึ้นมาเอง คุณสามารถใช้ตำแหน่งเริ่มของ token แรก และ ตำแหน่งจบของ token สุดท้าย เป็นค่าในการ slice ข้อความ input เพื่อที่จะคำนวณส่วนของข้อความของ entity ที่คุณสนใจ ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามี 3 token Hu, ##gging, และ Face ซึ่งอยู่ในกลุ่ม entity เดียวกัน เราก็จะใช้ค่า 33 (ตำแหน่งเริ่มของ Hu) เป็นจุดเริ่มต้น และ 45 (ตำแหน่งจบของ Hu) เป็นจุดจบของ entity นี้

example[33:45]
Hugging Face

ขั้นตอนต่อไป เราจะมาเขียนโค้ดเพื่อปรับแต่งผลลัพธ์จากโมเดลกัน (post-processing) โดยจะทำไปพร้อมๆกับการรวมกลุ่ม entity ด้วยวิธีต่อไปนี้

เริ่มจาก token แรกของ entity ซึ่งเป็นได้ทั้ง B-XXX และ I-XXX จากนั้นให้รวม token ตัวถัดๆไป ที่เป็น I-XXX ทั้งหมดเข้าด้วยกัน จนกว่าจะเห็น O (แปลว่าเรากำลังอ่านถึง token ที่ไม่ใช่ entity ใดๆ ให้เราหยุดการรวม) หรือ B-XXX (ให้เราเริ่มต้นรวม entity ตัวใหม่)

import numpy as np

results = []
inputs_with_offsets = tokenizer(example, return_offsets_mapping=True)
tokens = inputs_with_offsets.tokens()
offsets = inputs_with_offsets["offset_mapping"]

idx = 0
while idx < len(predictions):
    pred = predictions[idx]
    label = model.config.id2label[pred]
    if label != "O":
        # Remove the B- or I-
        label = label[2:]
        start, _ = offsets[idx]

        # Grab all the tokens labeled with I-label
        all_scores = []
        while (
            idx < len(predictions)
            and model.config.id2label[predictions[idx]] == f"I-{label}"
        ):
            all_scores.append(probabilities[idx][pred])
            _, end = offsets[idx]
            idx += 1

        # The score is the mean of all the scores of the tokens in that grouped entity
        score = np.mean(all_scores).item()
        word = example[start:end]
        results.append(
            {
                "entity_group": label,
                "score": score,
                "word": word,
                "start": start,
                "end": end,
            }
        )
    idx += 1

print(results)

ตอนนี้ เราก็ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันกับ pipeline แล้ว!

[{'entity_group': 'PER', 'score': 0.9981694, 'word': 'Sylvain', 'start': 11, 'end': 18},
 {'entity_group': 'ORG', 'score': 0.97960204, 'word': 'Hugging Face', 'start': 33, 'end': 45},
 {'entity_group': 'LOC', 'score': 0.99321055, 'word': 'Brooklyn', 'start': 49, 'end': 57}]

อีกตัวอย่างหนึ่งของงานที่ค่า offset เป็นโยชน์มาก ก็คือ question answering ในบทถัดไป คุณจะได้เรียนเกี่ยวกับ pipeline แบบเจาะลึกมากขึ้น ซึ่งคุณจะได้รู้จักกับ feature สุดท้ายของ tokenizers ใน 🤗 Transformers library ซึ่งก็คือ การจัดการกับ tokens ที่ถูกตัดออกจากข้อความ input