|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
01,0049,001,ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
|
|
01,0049,002,สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
|
|
01,0049,003,ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
|
|
01,0049,004,สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
|
|
01,0049,005,ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
|
|
01,0049,006,สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
|
|
01,0049,007,ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่น สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
|
|
01,0049,008,ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวพลาด สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
|
|
01,0049,009,ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
|
|
01,0049,010,ภิกษุประสงค์จะประกาศ แต่ไม่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
|
|
01,0049,011,ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
|
|
01,0049,012,ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
|
|
01,0049,013,ก็หรือภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
|
|
01,0049,014,สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืนด้วยเหตุอย่างนี้แล.
|
|
01,0049,015,สิกขาบทวิภังค์
|
|
01,0049,016,[๓๓] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ประเพณีของชาวบ้าน
|
|
01,0049,017,มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคน
|
|
01,0049,018,เป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกัน นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.
|
|
01,0049,019,[๓๔] ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกษุใดสอดนิมิตเข้าไปทางนิมิต สอดองค์กำเนิดเข้า
|
|
01,0049,020,ไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกษุนั้นชื่อว่า เสพ.
|
|
01,0049,021,[๓๕] คำว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้
|
|
01,0049,022,ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร จะกล่าวไปไยในหญิงมนุษย์
|
|
01,0049,023,เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.
|
|
01,0049,024,[๓๖] คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็น
|
|
01,0049,025,อยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อ
|
|
01,0049,026,สายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
|
|
01,0049,027,[๓๗] บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน
|
|
01,0049,028,อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุ
|
|
01,0049,029,นั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
|
|
|