|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
49,0030,001,ความในพระคาถานี้ ท่านแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ว่า เป็นธรรมชาติ
|
|
49,0030,002,ที่จะต้องถูกวันคืนรุกร้นเข้ามาหา แสดงถึงอายุว่า เป็นสภาพที่ต้อง
|
|
49,0030,003,หมดไปสิ้นไป ตามความล่วงไปแห่งวันคืน ดุจน้ำอันมีอยู่ในแม่น้ำ
|
|
49,0030,004,น้อย ถูกความร้อนแห่งพระอาทิตย์แผดเผาก็จะหมดสิ้นไป ทั้งที่มีอยู่
|
|
49,0030,005,ในแม่น้ำ ทั้งที่ซึมซาบอยู่ในพื้นแห่งภูมิภาคฉะนั้น หากผู้รักษาตน
|
|
49,0030,006,สงวนตน หวังความผาสุกแก่ตน พึงรักษาตนไว้ให้ดีทั้ง ๓ กาล
|
|
49,0030,007,เพราะถ้าเรามีชีวิตอยู่โดยปราศจากการทำประโยชน์ให้แก่ตนหรือให้แก่
|
|
49,0030,008,โลก ก็จะได้นามว่าเป็นคนรกโลก ติณชาติบางชนิดจะมีประโยชน์
|
|
49,0030,009,มากเสียกว่า บัณฑิตผู้รู้จักคุณค่าแห่งชีวิตและรู้จักราคาแห่งกาลเวลา
|
|
49,0030,010,ย่อมรับขวนขวายบำเพ็ญกรณียกิจแก่ตนและผู้อื่นเสมอ ไม่ยอมปล่อย
|
|
49,0030,011,ให้กาลเวลารุกร้นชีวิตของตนโดยไม่มีสารประโยชน์ และทั้งไม่ปล่อย
|
|
49,0030,012,ให้กาลเวลาล่วงไป โดยพาเอาอายุของตนให้หมดสิ้นไปเปล่า ๆ ด้วย
|
|
49,0030,013,เพราะบัณฑิตย่อมถือว่า กาลเวลาที่ล่วงไปแล้ว ที่ดึงดูดเอาชีวิตของตน
|
|
49,0030,014,ไปแล้ว ย่อมเรียกร้องกลับคืนมิได้ จึงมีความขวนขวายประกอบตน
|
|
49,0030,015,ให้ตรงต่อผลที่มุ่งหมายทั้งคดีโลกและคดีธรรม ด้วยความเพียรบากบั่น
|
|
49,0030,016,ไม่ท้อถอยต่อธุระหน้าที่ ๆ ตนกระทำ ประกอบธุระสมควรแก่กาล-
|
|
49,0030,017,เทศะด้วยความอุตสาหะอย่างแรงกล้า ไม่พรั่นพรึงต่อสิ่งอันเป็นอุปสรรค
|
|
49,0030,018,แก่ความสำเร็จ เพราะมุ่งที่จะปลดแอกแห่งความทุกข์นั้นให้สิ้นไป
|
|
49,0030,019,ได้ในกระทู้ธรรมภาษิต อันเป็นบาทคาถาที่ ๒ รองรับว่า
|
|
|