|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
48,0044,001,พึงจำถ้อยคำอันเข้าประเด็นไว้เป็นอย่างดี โดยนัยนี้ พึงกำหนดรู้ผู้
|
|
48,0044,002,โจทก์โจทโดยธรรมหรือโดยอธรรม พึงกำหนดรู้ผู้ถูกโจทโดยธรรม
|
|
48,0044,003,หรือโดยอธรรม ถามให้รับสารภาพแล้วให้ทำตามปฏิญญา.
|
|
48,0044,004,อนึ่ง มีข้อที่แปลกอยู่ ท่านห้ามไม่ให้ถามอุปัชฌาย์ อาจารย์
|
|
48,0044,005,สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ผู้ร่วมอาจารย์ และมิให้ถามถึง
|
|
48,0044,006,ชาติ ชื่อโคตร อาคมคือปริยัติที่เรียน กุล ประเทศ ชาติภูมิ เพราะความ
|
|
48,0044,007,รักหรือความชังจะพึงบังเกิดขึ้นในเมื่อได้รู้เรื่อง เป็นทางถึงอคติ ๔.
|
|
48,0044,008,จำเลยพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ :-
|
|
48,0044,009,๑. ให้การตามความจริง.
|
|
48,0044,010,๒. ไม่ขุ่นเคือง.
|
|
48,0044,011,ถ้าจำเลยปฏิญญาเป็นธรรม คือ สมเรื่อง สมราว สมเหตุสมผล
|
|
48,0044,012,พึงให้ทำตามปฏิญญา อย่างนี้ อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ :-
|
|
48,0044,013,๑. สัมมุขาวินัย.
|
|
48,0044,014,๒. ปฏิญญาตกรณะ.
|
|
48,0044,015,สัมมุขาวินัยในอธิการนี้พร้อมด้วยองค์ ๔ คือ :-
|
|
48,0044,016,๑. สงฺฆาสมฺมุขตา.
|
|
48,0044,017,๒. ธมฺมสมฺมุขตา.
|
|
48,0044,018,๓. วินยสมฺมุขตา.
|
|
48,0044,019,๔. ปุคฺคลสมฺมุขตา.
|
|
48,0044,020,ถ้าคำปฏิญญาของจำเลยไม่เป็นธรรม หรือแบ่งรับเบาลงมา
|
|
|