dhamma-scholar-book / 45 /450042.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
45,0042,001,ขึ้นในวันนั้น พุทธบริษัทในภายหลัง จึงนิยมสืบ ๆ กันมาจนเป็นประเพณีว่าถึงวัน
45,0042,002,แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ทุก ๆ ปี ควรทำบุญตักบาตรให้เหมือนครั้งดั้งเดิม เรียกกันว่า
45,0042,003,<B>ตักบาตรเทโวโรหณะ</B> จนทุกวันนี้
45,0042,004,สำหรับพิธีตักบาตรเทโวโรหณะ ที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ จัดทำขึ้น
45,0042,005,ในวัด เป็นหน้าที่ของทางวัดนั้น ๆ และทายกทายิการ่วมกันจัด มีระเบียบดังต่อไปนี้
45,0042,006,ระเบียบพิธี
45,0042,007,๑. ก่อนถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นกำหนดวันทำบุญตักบาตร
45,0042,008,ทางวัดจะจัดให้มีงานทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ จะต้องเตรียม คือ
45,0042,009,ก) รถทรงพระพุทธรูป หรือคานหามพระพุทธรูป เพื่อชักหรือหามนำ
45,0042,010,หน้าพระสงฆ์ในการรับบาตร มีที่ตั้งพระพุทธรูปทรงกลางประทับรถ
45,0042,011,หรือคานหามด้วยราชวัติ ฉัตร ธงโดยรอบพอสมควรมีที่ตั้งบาตร
45,0042,012,สำหรับรับบิณฑบาตตรงหน้าพระพุทธรูปด้วย ส่วนตัวรถ หรือคานหาม
45,0042,013,จะประดับประดาให้วิจิตรพิสดารอย่างไรแล้วแต่ศรัทธา และกำลังที่
45,0042,014,จะพึงจัดได้ ถ้ามีสามารถจัดรถทรงหรือคานหาม จะใช้อุบาสกเป็นผู้
45,0042,015,เชิญพระพุทธรูปก็ได้ และมีผู้ถือบาตรตามสำหรับบิณฑบาต
45,0042,016,ข) พระพุทธรูปยืน ๑ องค์ จะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แล้วแต่จะมี
45,0042,017,หรือหาได้ สำหรับเชิญขึ้นประดิษฐานบนรถทรงหรือคานหามแล้ว
45,0042,018,ชักหรือหามนำขนวนรับบาตรเทโวโรหณะนั้น แทนองค์สมเด็จพระ-
45,0042,019,สัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าได้พระปางอุ้มบาตรเป็นเหมาะกับเหตุการณ์ที่ดี
45,0042,020,ที่สุด แต่ถ้าไม่มีพระปางอุ้มบาตร จะใช้พระปางห้ามญาติ ปางห้ามสมุทร
45,0042,021,ปางรำพึง ปางถวายเนตร หรือปางลีลา ปางใดปางหนึ่งก็ได้ ขอแต่ให้