|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
45,0033,001,พิธีออกพรรษา
|
|
45,0033,002,<B>ออกพรรษา</B> เป็นคำเรียกที่เข้าในกันทั่วไป หมายถึงกาลสิ้นสุดกำหนดอยู่
|
|
45,0033,003,จำพรรษาของภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ มีพิธีเป็นสังฆกรรมพิเศษโดยเฉพาะเรียก
|
|
45,0033,004,โดยภาษาพระวินัยว่า ปวารณากรรม คือ การทำปวารณาของสงฆ์ผู้อยู่ร่วมมาตลอด
|
|
45,0033,005,๓ เดือน บัญญัติให้พระสงฆ์ทำปวารณา คือ การทำปวารณา คือ ยินยอมให้ว่ากล่าว
|
|
45,0033,006,ตักเตือนกันได้ทุกกรณี ไม่ต้องเกรงกันว่าเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย เมื่อใครมีข้อข้องใจ
|
|
45,0033,007,ในเรื่องประพฤติพระวินัยแล้ว ไม่พึงนิ่งไว้ พึงเปิดเผยชี้แจงกันได้ และในการว่ากล่าว
|
|
45,0033,008,ตักเตือนกันตามที่ปวารณานี้ จะถือมาเป็นโทษคุมแค้นกันไม่ได้ด้วย การทำปวารณา-
|
|
45,0033,009,กรรมนี้ ทำในวันสุดท้ายที่ครบ ๓ เดือนนับแต่วันเข้าพรรษา จึงตกในวันเพ็ญเดือน ๑
|
|
45,0033,010,ของทุก ๆ ปี วันนี้ พระสงฆ์ไม่ต้องทำอุปโบสถกรรม คือ สวดพระปาติโมกข์อย่างวันเพ็ญ
|
|
45,0033,011,หรือวันสิ้นเดือนอื่น ๆ แต่มีพระวินัยบัญญัติให้ทำปวารณากรรมแทนสวดพระปาติโมกข์
|
|
45,0033,012,ปีหนึ่ง ๆ ในวัดหนึ่งจะมีปวารณากรรมได้เพียงครั้งเดียว ฉะนั้นปวารณากรรมจึงนับ
|
|
45,0033,013,เป็นสังฆกรรมพิเศษ เป็นหน้าที่บังคับให้ภิกษุทุกรูปต้องทำ และเพราะเหตุที่ภิกษุ
|
|
45,0033,014,ผู้ทำปวารณากรรมแล้ว พ้นข้อผูกพันที่ต้องอยู่ประจำอาจไปไหนมาไหนได้ทั่วไป ฉะนั้น
|
|
45,0033,015,จึงนิยมเรียกปวารณากรรมนี้อย่างเข้าใจง่าย ๆ ว่า ออกพรรษา
|
|
45,0033,016,ปวารณากรรม หรือ การออกพรรษา มีพิธีที่จะต้องปฏิบัติเป็นธรรมเนียม
|
|
45,0033,017,ควรถือเป็นระเบียบได้ดังนี้
|
|
|