dhamma-scholar-book / 45 /450027.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
45,0027,001,พิธีทำสังฆอุโบสถ
45,0027,002,เป็นธรรมเนียมของพระภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ จะต้องทำอุโบสถกรรม
45,0027,003,ทุกรูปและทุกกึ่งเดือน ไม่มีเหตุจำเป็นที่มีพระบรมพุทธานุญาตไว้จะเว้นหรือขาดการ
45,0027,004,กระทำเสียมิได้ อุโบสถกรรมนี้ต้องทำในสีมาชนิดใดชนิดหนึ่งตามพระวินัย ปัจจุบัน
45,0027,005,นี้วัดส่วนมากมีพัทธสีมาประจำวัดและพระภิกษุทั้งวัดต้องลงร่วมกันทำภายในเขต
45,0027,006,พัทธสีมา คือโรงอุโบสถทุกวันอุโบสถถ้าเป็นวัดไม่มีพัทธสีมา และจะกำหนดสีมาชนิด
45,0027,007,อื่นตามระเบียบพระวินัยใช้เป็นเขตสังฆกรรมไม่เหมาะ ก็ให้ไปรวมทำกับสงฆ์วัดที่ใกล้
45,0027,008,ที่สุดจะถือเป็นเหตุขัดข้องแล้วไม่ทำเลยย่อมไม่ชอบด้วยพระวินัย อุโบสถกรรม
45,0027,009,"ที่พระภิกษุร่วมกันทำตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เรียกว่า ""<B>สังฆอุโบสถ</B>"" ทำเป็นการสงฆ์ ต้อง"
45,0027,010,สวดพระปาติโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์เป็นหลักของการกระทำถ้าพระภิกษุต่ำกว่า ๔ รูป
45,0027,011,"คือมีเพียง ๓ รูป หรือ ๒ รูป ร่วมกันทำเรียกว่า ""<B>ปาริสุทธิอุโบสถ</B>"" ทำเป็นการคณะ"
45,0027,012,ห้ามสวดพระปาติโมกข์ ให้พระภิกษุแต่ละรูปบอกความบริสุทธิ์ของตน ๆ เป็นการ
45,0027,013,ปฏิญาณตนต่อกันว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติโทษ เป็นหลักการทำ ถ้ามีรูปเดียว
45,0027,014,"เท่านั้นทำเรียกว่า ""<B>อธิษฐานอุโบสถ</B>"" ทำเป็นการบุคคล ทำด้วยอธิษฐานใจตนเอง"
45,0027,015,เป็นหลักของการทำ สำหรับอุโบสถกรรมทั้ง ๓ อย่างดังกล่าวนี้สังฆอุโบสถเป็นสำคัญ
45,0027,016,ยิ่ง และนิยมทำกันเป็นหลักสืบ ๆ มา ส่วนอุโบสถกรรมอีก ๒ อย่าง จะมีทำบ้างก็
45,0027,017,เฉพาะในคราวจำเป็น และโอกาสเท่านั้น ฉะนั้น สังฆอุโบสถจึงเกิดเป็นพิธีของสงฆ์
45,0027,018,สืบกันมานาน มีระเบียบแผนที่ปฏิบัติเป็นหลัก พอสรุปกล่าวได้ดังต่อไปนี้