|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
45,0013,001,พิธีถือนิสสัย
|
|
45,0013,002,เป็นธรรมเนียมในพระวินัย ที่ภิกษุผู้ยังอยู่ในเขตเป็นนวกะ คือ พรรษา
|
|
45,0013,003,ยังไม่พ้น ๕ หรือพ้นแล้ว แต่ยังไม่สามารถจะรักษาตนตามพระวินัยบัญญัติได้ หมายความ
|
|
45,0013,004,ว่ายังไม่มีความรู้ว่าอะไรควรไม่ควรแก่ภาวะของตนอย่างไร จะต้องถือนิสัยต่อภิกษุ
|
|
45,0013,005,ผู้ใหญ่ในสำนักที่ตนอาศัยอยู่ และสามเณรทุกรูปทั้งที่บวชใหม่และบวชแล้วนาน ถ้า
|
|
45,0013,006,มิได้อยู่ในสำนักพระอุปัชฌายะสมควรถือนิสัย ต่อภิกษุผู้ใหญ่ในสำนักที่ตนอาศัยอยู่
|
|
45,0013,007,เช่นเดียวกัน หมายความว่าทั้งภิกษุนวกะและสามเณรที่ห่างพระอุปัชฌายะจะต้อง
|
|
45,0013,008,มอบตัวเป็นศิษย์ขออาศัยต่อพระภิกษุผู้ใหญ่ในสำนักของตนยอมรับนับถือพระภิกษุ
|
|
45,0013,009,ผู้ใหญ่ในสำนักนั้นเป็นอาจารย์ และยอมเชื่อฟังคำอาจารย์ทุกประการ พระภิกษุผู้ใหญ่
|
|
45,0013,010,ในสำนักผู้ควรเป็นอาจารย์ของภิกษุสามเณรได้ในขณะนี้ก็ยอมรับนับถือกันว่า ผู้ดำรง
|
|
45,0013,011,ตำแหน่งเจ้าอาวาสนั้น ๆ รูปเดียว ในวัดหนึ่ง ๆ จะมีอาจารย์ให้ภิกษุสามเณรถือนิสัย
|
|
45,0013,012,หลายรูปไม่ชอบด้วยระเบียบแบบแผน ฉะนั้น การถือนิสสยาจารย์นี้จึงถือต่อภิกษุ
|
|
45,0013,013,ผู้เป็นเจ้าอาวาสเท่านั้น ภิกษุนวกะหรือสามเณร เป็นผู้ย้ายมาจากสำนักอื่น ซึ่งวินัย
|
|
45,0013,014,"โวหารเรียกว่า ""<B>พระอาคันตุกะ</B>"" หรือ ""<B>สามเณรอาคันตุกะ</B>"" ทุกรูปจะต้องประกอบ"
|
|
45,0013,015,พิธีถือนิสสัยต่อท่านเจ้าอาวาสวัดที่ตนมาสำนักใหม่นั้นแต่ในระยะแรกที่ย้ายมา แต่
|
|
45,0013,016,ถือกันเป็นธรรมเนียมว่าพิธีถือนิสสัยนี้ควรทำในวันเข้าพรรษาพร้อมกับพิธีเข้าพรรษา
|
|
45,0013,017,ต่อหน้าสงฆ์สามเณรทั้งวัดที่ชุมนุมกันเพื่อประกอบพิธีเข้าพรรษาในวันนั้นทั้งนี้เพื่อ
|
|
45,0013,018,ประกาศตนให้สงฆ์สามเณรทั้งวัดทราบไปในตัวว่าผู้อาคันตุกะมาอยู่ใหม่นี้ยอมนับถือ
|
|
45,0013,019,ท่านเจ้าอาวาสผู้เป็นประธานของวัดเป็นอาจารย์จริง ๆ นิยมกันแต่ถ้าจะถือนิสสัยก่อน
|
|
45,0013,020,เมื่อย้ายมาใหม่ท่านก็ไม่ห้าม การถือนิสสัยที่ทั่วไปในปัจจุบันนี้ มีระเบียบพิธีดังนี้
|
|
|