|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
41,0007,001,ให้ถอนอัตตานุทิฏฐิเป็นต้นเสียได้ ทำให้บรรลุความบริสุทธิ์ถึงวิมุตติ
|
|
41,0007,002,อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ได้รับสุขสงบอย่างยอดเยี่ยม สมถกัมมัฏฐาน
|
|
41,0007,003,จัดเข้าในอธิจิตตสิกขา วิปัสสนากัมมัฏฐานจัดเข้าในอธิปัญญาสิกขา.
|
|
41,0007,004,๒๔๗๕
|
|
41,0007,005,ถ. อารมณ์ของสมถภาวนามี ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐
|
|
41,0007,006,อนุสสติ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ พรหม-
|
|
41,0007,007,วิหาร ๔ อรูป ๔ ในอารมณ์เหล่านี้ ที่เป็นรูปธรรมก็มี ที่เป็นอรูป-
|
|
41,0007,008,ธรรมก็มี และผู้บำเพ็ญสมถภาวนาจนได้อัปปนาสมาธิ ซึ่งจัดเป็น
|
|
41,0007,009,ตัวฌาน ก็ยังต้องยึดอารมณ์เหล่านี้บริกรรม ก็เมื่อได้สำเร็จฌานแล้ว
|
|
41,0007,010,เหตุใดจึงเรียกว่ารูปฌาน ซึ่งแปลว่าฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์เล่า
|
|
41,0007,011,มีข้อลี้ลับอย่างไร ? ข้อฟัง.
|
|
41,0007,012,ต. อารมณ์ของสมถภาวนามีถึง ๔๐ และในอารมณ์เหล่านี้ที่
|
|
41,0007,013,เป็นรูปธรรมก็มี ที่เป็นอรูปธรรมก็มี. ดังว่านั้นจริง แต่ที่จะให้สำเร็จ
|
|
41,0007,014,อัปปนาสมาธิซึ่งเป็นตัวฌานสมาบัตินั้น หาได้ให้สำเร็จได้ทั้งหมดไม่
|
|
41,0007,015,ที่ให้สำเร็จอัปปนาสมาธิได้ ก็เฉพาะที่เป็นรูปธรรม เช่น กสิณ ๑๐
|
|
41,0007,016,อสุภ ๑๐ เป็นต้น ซึ่งผู้เจริญจะต้องใช้อาการเพ่งและนึกควบกันไป
|
|
41,0007,017,ด้วย ส่วนที่เป็นอรูปธรรม ซึ่งผู้เจริญใช้แต่อาการนึกอย่างเดียว หาได้
|
|
41,0007,018,สำเร็จถึงอัปปนาสมาธิซึ่งเป็นตัวฌานไม่ ฉะนั้น ฌานที่ได้ด้วยอำนาจ
|
|
41,0007,019,เพ่งวัตถุหรือรูปและนึกเป็นอารมณ์นั้น ท่านจึงเรียกว่ารูปฌาน ฌาน
|
|
41,0007,020,มีรูปธรรมเป็นอารมณ์.
|
|
41,0007,021,๒๑/๙/๘๐
|
|
|