dhamma-scholar-book / 37 /370023.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
37,0023,001,อธิบายคำสั่งของสนามหลวง ( บางตอน )
37,0023,002,"๑. ในคำสั่งของสนามหลวงตอนหนึ่งว่า "" อ้างสุภาษิตอื่นมา"
37,0023,003,"ประกอบไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ "" นักเรียกพึงเข้าใจเถิดว่า "" เราต้อง"
37,0023,004,"อ้างมาให้ครบ ๒ ข้อ ขาดไม่ได้ แต่เกินได้ไม่ห้าม "" เพราะฉะนั้น"
37,0023,005,ในกรณีที่เราแต่งกระทู้ ซึ่งแยกออกได้หลายประเด็น เราจะอ้าง
37,0023,006,สุภาษิตอื่นมาประกอบทุก ๆ ประเด็นก็ได้ และถือว่าถูกตามหลักการ
37,0023,007,แต่งจริง ๆ ด้วย หากนักเรียนพลิกกลับไปดูภาพสังเขปพร้อมทั้งตัวอย่าง
37,0023,008,สังเขป ก็จะเห็นได้ว่าควรอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบทุก ๆ ประเด็น
37,0023,009,และขอแนะนำเป็นพิเศษอีกว่า ในกระทู้ที่มีหลายประเด็น เราอ้าง
37,0023,010,สุภาษิตอื่นมาประกอบให้ได้สัก ๒ ข้อใน ๒ ประเด็น ส่วนในประเด็น
37,0023,011,ที่เหลือ จะอ้างเอานิทานมาสาธกแทนสุภาษิตก็ได้ หรือจะอ้าง
37,0023,012,สุภาษิตอื่นมาประกอบสลับ กับอ้างเอานิทานมาสาธกคนละประเด็นก็ได้
37,0023,013,หรือในประเด็นเดียวกัน เราจะอ้างทั้งนิทานทั้งสุภาษิตก็ได้. แต่ข้อที่
37,0023,014,ควรระวังคือ นิทานที่อ้างมาสาธกนั้น ไม่ควรให้ยืดยาวนัก และให้
37,0023,015,เลือกเอานิทานที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระสาวก หรือ
37,0023,016,บุคคลสำคัญ ๆ ในทางโลก ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เหมาะ ๆ มาสาธก
37,0023,017,และเพื่อความเหมาะสม นักเรียนควรจะหาเวลาอ่านหนังสือธรรมบท
37,0023,018,หรือมงคลทีปนีเสียบ้าง เพราะหนังสือ ๒ อย่างนี้ มีนิทานที่ควรอ้าง
37,0023,019,มาสาธกมากที่เดียว.
37,0023,020,"อนึ่ง ในคำสั่งตอนนี้เองว่า "" สุภาษิตอื่น "" นักเรียนพึงเข้าใจ"
37,0023,021,"เถิดว่า "" สุภาษิตอื่นจากสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นกระทู้ตั้ง "" และพึงเข้าใจ"