|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
34,0027,001,ึควรแก่ฐานะ ภาวะ สติ ปัญญา ของตน ๆ.
|
|
34,0027,002,ส่วนลึกที่ไม่ควรรู้ ไม่ควรเป็น เช่นปัญหาเรื่องโลกเที่ยง โลก
|
|
34,0027,003,ไม่เที่ยง โลกมีที่สุด ไม่มีที่สุด เป็นต้น เรื่องทำนองนี้ไม่ใช่ทางที่จะให้
|
|
34,0027,004,พ้นทุกข์ ไม่มีประโยชน์อะไร แม้เหล่าเสื่อมโทรมทางศีลธรรม เช่น
|
|
34,0027,005,สถานเริงรมย์ ระบำลามก ภาพยนตร์ลามก แหล่งมั่วสุมยาเสพติดให้โทษ
|
|
34,0027,006,บ่อนพนัน เป็นต้น ก็เป็นสิ่งไม่ควรรู้ ไม่ควรเป็น คือบุคคลไม่ควร
|
|
34,0027,007,ประพฤติตนให้หมกมุ่นอยู่ในสิ่งเหล่านี้ เพราะมีแต่จะพาให้ฉิบหายวายวอด
|
|
34,0027,008,ไม่เป็นทางที่จะให้พ้นทุกข์ไปได้ พระไม่สอน.
|
|
34,0027,009,พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม ก็ทรงพิจารณาอุปนิสัยของผู้ฟัง
|
|
34,0027,010,เสียก่อน แล้วจึงทรงสั่งสอนเฉพาะเรื่องที่ควรรู้ควรเห็น ให้พอเหมาะแก่
|
|
34,0027,011,อุปนิสัยของผู้ฟังนั้น ๆ จึงปรากฏว่าได้ผลดี เหมือนนายแพทย์ตรวจดู
|
|
34,0027,012,สมุฏฐานของโรคก่อนแล้วจึงวางยา โรคจึงหาย ได้ผลดีฉะนั้น.
|
|
34,0027,013,๒. ข้อที่ว่า <B>ทรงสั่งสอนมีเหตุ</B> นั่น มีอธิบายว่า ทรงแสดงธรรม
|
|
34,0027,014,พร้อมทั้งเหตุ หมายความว่า มีเหตุมีผล ไม่ทรงแสดงธรรมไร้เหตุ คือ
|
|
34,0027,015,ไม่มีเหตุไม่มีผล เช่นบางศาสนาสอนว่า ทำอย่างนี้ ๆ ตายแล้วไปสวรรค์
|
|
34,0027,016,ทำอย่างนั้น ๆ ตายแล้วไปนรก ทั้ง ๆ ที่ผู้แสดงและผู้ฟังไม่รู้ว่า สวรรค์
|
|
34,0027,017,นรก เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน ทางอันแท้จริงเป็นอย่างไร. แต่พระ
|
|
34,0027,018,พุทธเจ้าทรงแสดงธรรมชี้เหตุชี้ผล ให้ผู้ฟังเห็นได้โดยประจักษ์ แจ่มแจ้ง
|
|
34,0027,019,เช่นทรงแสดงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติ
|
|
34,0027,020,ให้ถึงความดับทุกข์. ตัณหาเป็นเหตุ ทุกข์เป็นผล อริยมรรคมีองค์ ๘
|
|
34,0027,021,เป็นเหตุ ความดับทุกข์เป็นผล. นี้ความยากจน นี้เหตุให้เกิดความยากจน
|
|
34,0027,022,นี้ความร่ำรวย นี้ข้อปฏิบัติให้เกิดความร่ำรวย. ความเกียจคร้าน ความไม่
|
|
|