|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
34,0014,001,<B>ครู อาจารย์ อุปัชฌาย์ </B> ได้ชื่อว่าเป็นบุพพการีของนักเรียน
|
|
34,0014,002,ศิษยานุศิษย์ เพราะเป็นผู้มีหน้าที่แนะนำสั่งสอนอบรมให้มีความรู้ความ
|
|
34,0014,003,สามารถ จนกระทั่งตั้งตนเป็นพลเมืองดี ซึ่งมีหลักที่จะต้องปฏิบัติ ๕
|
|
34,0014,004,ประการ คือ ๑. แนะนำดี ๒. ให้เรียนดี ๓. บอกศิลปให้สิ้นเชิง
|
|
34,0014,005,ไม่ปิดบังอำพราง ๔. ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ๕. ทำความป้องกัน
|
|
34,0014,006,ในทิศทั้งหลาย (คือจะไปทิศไหนก็ไม่ให้อดอยาก) หน้าที่ทั้ง ๕ ประการ
|
|
34,0014,007,นี้ ครูอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ ต้องปฏิบัติให้บริบูรณ์ ถ้าขาดไปแม้เพียง
|
|
34,0014,008,บางข้อบางประการ ก็ชื่อว่าบกพร่องในหน้าที่ของบุพพการี.
|
|
34,0014,009,<B>พระมหากษัตริย์</B> ได้ชื่อว่าทรงเป็นบุพพการีของประชาราษฎร์
|
|
34,0014,010,เพราะทรงมีหน้าที่ปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ผู้อาศัยอยู่ในประเทศให้มี
|
|
34,0014,011,ความร่มเย็นเป็นสุข โดยที่พระองค์ต้องทรงปฏิบัติทศพิธราชธรรม คือ
|
|
34,0014,012,ธรรมสำหรับพระราชา ๑๐ ประการ คือ ๑. ทาน ๒. ศีล ๓. บริจาค
|
|
34,0014,013,๔. ความซื่อตรง ๕. ความอ่อนโยน ๖. คอยกำจัดคนชั่ว ๗. ความ
|
|
34,0014,014,ไม่โกรธ ๘. การไม่เบียดเบียน ๙. ความอดทน ๑๐. ความไม่ผิดใน
|
|
34,0014,015,ทุกกรณีย์.
|
|
34,0014,016,<B>พระพุทธเจ้า</B> ได้ชื่อว่าทรงเป็นบุพพการีของพุทธบริษัท เพราะ
|
|
34,0014,017,ทรงมีพระมหากรุณาอันกว้างขวางโดยไม่มีขอบเขต ทรงประทานพระ-
|
|
34,0014,018,ธรรมเทศนาสั่งสอนเวไนยชน ด้วยหลัก ๓ ประการ คือ ๑. ทรงห้าม
|
|
34,0014,019,มิให้ทำบาปทั้งปวง ๒. ทรงสอนให้ทำบุญกุศลทุกอย่าง ๓. ทรงสอน
|
|
34,0014,020,ให้ทำจิตให้ผ่องใส.
|
|
34,0014,021,"<B> กตัญญู </B> แปลว่า <B>ผู้รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตน, กตเวที</B>"
|
|
|