dhamma-scholar-book / 34 /340008.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
34,0008,001,ธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง
34,0008,002,๑. ขันติ ความอดทน
34,0008,003,๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม
34,0008,004,วิ. มหา. ๕/๓๓๕ องฺ. ทุก. ๒๐/๑๑๘
34,0008,005,อธิบายศัพท์
34,0008,006,<B>ขันติ</B> แปลว่า <B>ความอดทน</B> เป็นลักษณะของผู้มีมีน้ำใจเข้มแข็ง
34,0008,007,หนักแน่น เป็นสมบัติของนักรบ เหมือนช้างที่ออกสู่สงครามจะต้องเป็น
34,0008,008,ช้างที่อดทนต่อภัยอันตรายจากข้าศึก ความอดทนเป็นคุณสมบัติของ
34,0008,009,นักปกครองด้วย เป็นมงคลเหตุแห่งความเจริญด้วย.
34,0008,010,ขันติ เป็นคำพูดง่าย ๆ แต่แฝงไว้ซึ่งความหมายอย่างลึกซึ้ง เพราะ
34,0008,011,มักจะได้ฟังและใช้พูดกันอยู่เสมอว่า <B>น้ำอด น้ำทน อดได้ ทนได้</B> หรือ
34,0008,012,<B>น้ำใจทรหดอดทน </B> ความอดทนนี้ เป็นหลักคำสอนสำคัญประการหนึ่ง
34,0008,013,ซึ่งเห็นได้จากการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในเรื่องวันสำคัญของศาสนา วัน
34,0008,014,นั้นคือวันมาฆบูชา พระองค์ได้ประทานพระโอวาท คือ โอวาทปาฏิโมกข์
34,0008,015,เป็นการแสดงหลักธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาในที่ประชุมสงฆ์
34,0008,016,"ว่า <B>"" ความอดกลั้นคือความทนทานเป็นตบะธรรมอย่างยอด ""</B> ดังนี้"
34,0008,017,เป็นต้น.
34,0008,018,ความอดทนในที่นี้ หมายเอาความอดทนในฝ่ายดีอย่างเดียว ซึ่ง
34,0008,019,เป็นไปทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ว่าโดยประเภทมี ๓ คือ :-
34,0008,020,๑. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ เช่น ทนหนาว ทนร้อน
34,0008,021,ทนต่อคำสั่งสอน ทนในการศึกษาเล่าเรียน และทนในการประกอบ