|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
32,0003,001,พุทธเจ้า แต่เหตุไฉนท่านจึงนำเรื่องพระสาวกมาพรรณนาไว้เป็นอันมาก
|
|
32,0003,002,ทำให้ผู้ศึกษาต้องอ่านและจำมากเข้า ?
|
|
32,0003,003,ต. การที่ท่านเอาเรื่องสาวกเข้ามากล่าวไว้ในเรื่องพระพุทธเจ้า
|
|
32,0003,004,ด้วยนั้น คือเป็นธรรมดาอยู่เองของการรจนาหนังสือต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อ
|
|
32,0003,005,ความติดต่อเกี่ยวเนื่องกับยืดยาว อันนับเป็นเรื่องเป็นราว ก็จำต้อง
|
|
32,0003,006,มีทั้งคนดีและคนชั่ว เด็กและผู้ใหญ่ ผู้หญิงและผู้ชาย มิตรและอมิตร
|
|
32,0003,007,บ่าวและนายเป็นต้นอยู่ด้วย แต่ใครเป็นตัวการสำคัญอยู่ในเรื่องนั้น
|
|
32,0003,008,เขาก็ให้ชื่อว่าเรื่องของคนนั้น เช่นเรื่องวงศ์ ๆ จักร ๆ ทางโลก
|
|
32,0003,009,เป็นต้น ส่วนคนนอกนั้นก็เป็นแต่เพียงผู้หนุนเหตุหนุนความดี เป็นผู้
|
|
32,0003,010,รับรองของผู้นั้นให้ปรากฏชัดแจ้งมากขึ้น และให้เนื้อความมั่นและแรง
|
|
32,0003,011,ขึ้นเป็นต้น แม้ถึงเรื่องพุทธประวัติของเราก็เป็นเช่นนั้น ที่ท่าน
|
|
32,0003,012,พรรณนาถึงพระสาวกไว้ด้วย ก็เพื่อจะหาผู้รับรองและเป็นพยานใน
|
|
32,0003,013,พระคุณความดีของพระพุทธเจ้า และพระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้
|
|
32,0003,014,แล้วว่าเป็นของดีจริง ถ้าหากท่านจะไม่พรรณนาถึงพระสงฆ์สาวก
|
|
32,0003,015,ไว้ด้วย ไหนเลยจะรู้ได้ว่าธรรมนั้นดีแท้จริง ไม่มีใครเป็นพยานแห่ง
|
|
32,0003,016,ความตรัสรู้ของพระองค์ คน ๆ เดียวยากที่จะให้คนอื่นผู้ที่เขายังไม่
|
|
32,0003,017,รู้จักหัวนอนปลายเท้าของตนเชื่อถือได้ ต่อมีพยานหรือคนรับรอง
|
|
32,0003,018,หลาย ๆ ปากเขา นั้นแหละคนทั้งหลายเป็นอันมากจึงจะเชื่อถือ ด้วย
|
|
32,0003,019,เหตุผลที่กล่าวมาเพียงเท่านี้เป็นต้น เรื่องพุทธประวัติจึงต้องมีเรื่อง
|
|
32,0003,020,พระสาวกเข้าแทรกอยู่ด้วยเป็นอันมาก แต่พระพุทธเจ้าเป็นประธาน
|
|
32,0003,021,"สำคัญในเรื่องนี้ ท่านจึงขนานนามเรื่องนี้ว่า ""พุทธประวัติ."""
|
|
32,0003,022,๒๒/๖/๕๘
|
|
|