|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
30,0030,001,ที่ ๒ มีประโยชน์ที่ทำให้บำเพ็ญไตรสิกขาบริบูรณ์ ระงับกิเลสอย่าง
|
|
30,0030,002,หยาบอย่างกลางและอย่างละเอียดเกื้อกูลแก่ปฏิเวธ. ที่ ๓ มีประโยชน์
|
|
30,0030,003,ทำให้รู้แจ้งแทงตลอดธรรมนั้นๆ ได้รับผล คือพ้นจากกิเลสทั้ง ๓
|
|
30,0030,004,อย่าง อันเป็นคุณค่าอย่างยวดยิ่งในพรหมจรรย์.
|
|
30,0030,005,๑๔/๑๑/๖๓
|
|
30,0030,006,ถ. การปฏิบัติพระธรรม หากจะมีการลงโทษแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ
|
|
30,0030,007,หรือล่วงละเมิดเหมือนพระวินัยแล้ว จักมีผู้ปฏิบัติพระธรรมมากขึ้น
|
|
30,0030,008,อีกไม่ใช่หรือ ? เหตุไฉนท่านจึงไม่ทำเช่นนั้น ? จงอธิบายให้แจ่มแจ้ง.
|
|
30,0030,009,ต. จริงอยู่ คงมีผู้ปฏิบัติพระธรรมมากขึ้นอีกบ้าง แต่ถ้าจะนึก
|
|
30,0030,010,ดูให้ตลอดแล้ว พระวินัยเป็นข้อห้ามไม่ให้ทำความชั่ว และเป็น
|
|
30,0030,011,ระเบียบสำหรับรักษาหมู่ให้เรียบร้อย ซึ่งคนทุกคนอาจจะทำได้โดย
|
|
30,0030,012,ไม่เหลื่อวิสัย และถ้ามีคนในหมู่ไม่ทำตามแล้ว ความเสียหายย่อม
|
|
30,0030,013,เกิดทันที จึงบังคับให้ทำและมีการลงโทษได้ ส่วนพระธรรม
|
|
30,0030,014,นั้น เป็นข้อปฏิบัติสำหรับทำคุณความดียิ่งๆขึ้นไป ซึ่งบางอย่างเป็น
|
|
30,0030,015,ข้อที่ยากและสูงเกินความสามารถของคนบางคนที่จะทำตามได้ ถ้า
|
|
30,0030,016,จะมีการบังคับให้ทำแล้ว ก็จะทำตามไม่ได้เสมอหน้ากัน ซึ่งไม่เป็น
|
|
30,0030,017,การยุติธรรม จึงแล้วแต่ฉันทะและความสามารถของคน ๆหนึ่ง
|
|
30,0030,018,จะทำตามเพียงไร เมื่อประพฤติตามได้มากก็ได้รับผลมาก เมื่อ
|
|
30,0030,019,ประพฤติได้น้อยก็ได้รับผลน้อย เพราะฉะนั้น การปฏิบัติพระธรรม
|
|
30,0030,020,ท่านจึงไม่บังคับเหมือนพระวินัย.
|
|
30,0030,021,๒๔๖๖
|
|
|