|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
27,0038,001,อนิยต
|
|
27,0038,002,ศัพท์นี้ แปลว่าไม่แน่ มี ๒ นัย คือ :-
|
|
27,0038,003,๑. เป็นชื่อของวีติกกมะ คือความละเมิดพระบัญญัติ แปลว่า
|
|
27,0038,004,วีติกกมะที่ไม่แน่.
|
|
27,0038,005,๒. เป็นชื่อของสิกขาบท แปลว่าวางอาบัติไว้ไม่แน่.
|
|
27,0038,006,มี ๒ สิกขาบท คือ :-
|
|
27,0038,007,สิกขาบทที่ ๑
|
|
27,0038,008,<B>ภิกษุนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนมี่ควรเชื่อได้
|
|
27,0038,009,มาพูดขึ้นด้วยธรรม ๓ อย่าง คือ ปาราชิก หรือสังฆาทิเสส
|
|
27,0038,010,หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น
|
|
27,0038,011,หรือเขาว่าจำเพาะธรรมใด ให้ปรับจำเพาะธรรมนั้น.</B>
|
|
27,0038,012,ข้อความที่ควรกำหนด ดังนี้ :-
|
|
27,0038,013,ลักษณะว่าจาที่ควรเชื่อ
|
|
27,0038,014,คุณบทว่า มีวาจาที่ควรเชื่อได้ของผู้กล่าวนั้น กล่าวไว้สำหรับ
|
|
27,0038,015,แสดงหลักฐานของผู้พูดจะให้ฟังเอาเป็นจริงได้.
|
|
27,0038,016,วิธีปรับโทษ ๒ ประเภท
|
|
27,0038,017,๑. ผู้พูดไม่ยันลงไปชัดว่าเป็นอย่างนั้น ๆ ให้ปรับตามปฏิญญา
|
|
27,0038,018,ของภิกษุ.
|
|
27,0038,019,ข้อนี้ ควรถือเป็นแบบสำหรับตัดสินอธิกรณ์อันหาพยานมิได้.
|
|
27,0038,020,๒. ถ้าผู้พูดยันลงไปชัดว่าเป็นอย่างนั้น ๆ แม้ภิกษุไม่รับ ท่าน
|
|
27,0038,021,ให้ปรับตามคำของเขา.
|
|
|