dhamma-scholar-book / 26 /260048.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
26,0048,001,<B>วิธีหล่อสันถัตอันพ้นอาบัติโทษ</B>
26,0048,002,การที่จะหล่อสันถัต เพื่อไม่ให้ต้องอาบัตินั้น ท่านให้ใช้ขนเจียม-
26,0048,003,ดำแต่เพียงสองส่วน ไม่ให้ใช้เกินกว่านั้นขึ้นไป และให้ใช้ขนเจียมขาว
26,0048,004,หนึ่งส่วน ขนเจียมแดงหนึ่งส่วน และเมื่อหล่อให้ตัดเอาสันถัตเก่าคืบ
26,0048,005,หนึ่ง [ คือสุคต ] มาปนลง.
26,0048,006,<B>อธิบายในหมวดที่ ๒</B>
26,0048,007,เหตุที่ห้ามไม่ให้ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ ผู้ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่
26,0048,008,ปวารณา.
26,0048,009,เมื่อจะกล่าวถึงเหตุที่ห้ามไม่ให้ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ ที่ไม่ใช่ญาติ
26,0048,010,และปวารณา ควรจะเข้าใจคำว่า ญาติ และปวารณาก่อน. คนเช่นไร
26,0048,011,ได้ชื่อว่าเป็นญาติ คนเช่นไรได้ชื่อว่าเป็นคนปาวารณา. คนที่เป็น
26,0048,012,ญาตินั้น ในทางพระวินัย ท่านให้นับทางที่สืบสายโลหิตได้ ๗ ชั่วโคตร
26,0048,013,"คือนับตั้งแต่ตัวภิกษุขึ้นไปทางบุรพบุรุษ คือมารดา, บิดา, น้ำ, อา, ๑,"
26,0048,014,"ปู่, ย่า, ตา, ยาย, ๑, ทวดซึ่งเป็นพ่อแม่ของ ปู่, ย่า, ตา, ยาย, ๑, เป็น"
26,0048,015,"๓ ชั่ว และนับไปทางอนุบุรุษ คือ ลูก ๑, หลาน ๑, เหลน ๑,"
26,0048,016,"เป็น ๓ ชั่ว และชั้นท่ามกลาง คือตัวของเราเช่นพี่หรือน้องของเรา,"
26,0048,017,เป็นต้น อีกชั่วหนึ่ง รวมเป็น ๗ ชั่ว. แต่ญาติที่นับทางเขยและสะใภ้
26,0048,018,ในทางพระวินัยท่านไม่นับว่าเป็นญาติ เว้นไว้แต่เขยและสะใภ้จะเป็น
26,0048,019,ญาติอยู่ก่อนแล้ว โดยเนื่องทางสายโลหิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง.
26,0048,020,คำว่า ปวารณา คือคนที่มายอมตนให้ขอ แต่การปวารณานั้น
26,0048,021,มีประเภทต่าง ๆ กัน เมื่อจะย่นลงกล่าวแล้ว มีอยู่ ๔ อย่าง คือ :-