|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
26,0044,001,อธิบายในหมวดที่ ๑
|
|
26,0044,002,"ทอง, เงิน, กับรูปิยะ ต่างกันอย่างไร ?"
|
|
26,0044,003,"ทอง, เงิน, นั้น ท่านหมายเอาทองแท้เงินแท้ ซึ่งไม่เจือปน"
|
|
26,0044,004,ด้วยแร่ธาตุอย่างอื่น เช่นทองแดงหรือดีบุกตะกั่ว แม้ที่ทำเป็นรูป-
|
|
26,0044,005,พรรณต่าง ๆ อย่างลูกกระดุมเงินหรือพานทองเป็นต้น ก็นับอยู่ใน
|
|
26,0044,006,จำพวกทองเงิน.
|
|
26,0044,007,ส่วนรูปิยะ ท่านหมายเอาของใช้แทนทองและเงิน คือเป็นของ
|
|
26,0044,008,รัฐบาลตั้งมาตรากำหนดลงไปว่า เท่านี้จึงจะเป็นเท่านั้น และให้ใช้
|
|
26,0044,009,แทนเงินทองในพื้นเมือง เช่นเงินบาทสยามบาทหนึ่ง เป็นแบ๊งค์ที่ทำ
|
|
26,0044,010,ด้วยกระดาษเป็นต้น.
|
|
26,0044,011,"ทอง, เงิน, และรูปิยะเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นนิสสัคคีย์โดยวัตถุ"
|
|
26,0044,012,เพราะเป็นวัตถุไม่ควรจับต้องโดยกำเนิด ภิกษุใดจับต้องเข้า เป็น
|
|
26,0044,013,อาบัติทุกกฎ ถ้ารับมาเพื่อตน ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติ
|
|
26,0044,014,ปาจิตตีย์.
|
|
26,0044,015,วัตถุที่เป็นเหตุให้ภิกษุผู้ถือเอาเพื่อตน เป็นเพียงอาบัติทุกกฎ
|
|
26,0044,016,มี ๑๑ อย่าง คือ :-
|
|
26,0044,017,๑. แก้วมุกดา.
|
|
26,0044,018,๒. แก้วมณี.
|
|
26,0044,019,๓. แก้วไพฑูรย์.
|
|
26,0044,020,๔. สังข์ที่เขาขัดแล้ว.
|
|
26,0044,021,๕. ศิลาที่เป็นเครื่องประดับ.
|
|
|