|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
26,0028,001,๖. ความยินดีติดใจเพลิดเพลินในรูปต่าง ๆ เรียกรูปราคะ.
|
|
26,0028,002,๗. ความยินดีเพลิดเพลินในสิ่งที่ไม่ใช่รูป เรียกอรูปราคะ.
|
|
26,0028,003,๘. ความหยิ่งจองหองถือตัวชาติโคตร เรียกมานะ.
|
|
26,0028,004,๙. ความคิดอะไรเพลินฟุ้งไป เรียกอุทธัจจกุกกุจจะ.
|
|
26,0028,005,๑๐. ความไม่รู้จริงตามสภาพ เรียกอวิชชา.
|
|
26,0028,006,( ที่เรียกว่าสัญโญชน์ เพราะเป็นเครื่องผูกใจให้นึกอยู่ในสิ่ง
|
|
26,0028,007,เหล่านั้น ) ให้เบาบางน้อยไปด้วยวิธี :-
|
|
26,0028,008,ก. ห้ามสักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา คือความลังเลแห่งจิตและ
|
|
26,0028,009,ความถือศักดิ์สิทธิ์ ถือโชคถือลางผีสางเทวดา.
|
|
26,0028,010,ข. ทำกำหนัดและโทสะให้เบาบาง.
|
|
26,0028,011,ค. ละกำหนัดและโทสะให้เบาบาง.
|
|
26,0028,012,ฆ. ไม่มีความยินดีติดใจในรูป และสิ่งไม่ใช่รูป ชอบในสุข
|
|
26,0028,013,เวทนา ไม่มีมานะความถือตัว จิตไม่ฟุ้งซ่าน กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ
|
|
26,0028,014,และอวิชชา. ๔ อย่างนี้ เรียกว่า อรูปฌาน.
|
|
26,0028,015,มรรคคือความที่ได้ปัญญาเห็นความบริสุทธิ์ เหมือนกิริยาที่จับ
|
|
26,0028,016,โจรฆ่า ผลคือความที่อยู่สงบ ไม่ต้องวุ่นวายไปในอารมณ์ต่าง ๆ
|
|
26,0028,017,เหมือนความสงบราบคาบ ในเวลาที่ปราบโจรสงบแล้ว.
|
|
26,0028,018,<B>การอวดเป็นโทษหนักเบากว่ากันเป็นชั้น ๆ และไม่เป็น</B>
|
|
26,0028,019,๑. กล่าวอวดจัง ๆ คือพูดให้ผู้ฟังเข้าใจความนั้นด้วยอ้างตนเอง
|
|
26,0028,020,โดยรู้อยู่แก่ใจตนเองว่า ไม่ได้ไม่ถึงธรรมนั้น เขาจะเชื่อหรือไม่เชื่อ
|
|
26,0028,021,ก็ตาม เป็นปาราชิก ถ้าผู้ฟังไม่เข้าใจเนื้อความ เป็นเพียงถุลลัจจัย.
|
|
26,0028,022,๒. กล่าวอวดโดยปริยาย คือทางอ้อม เช่นภิกษุพูดอวดกับ
|
|
|