dhamma-scholar-book / 26 /260011.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
26,0011,001,อาบัติตก.
26,0011,002,ส่วนสุทธิกปาจิตตีย์ ไม่มีการเสียสละ เป็นแต่ว่า ถ้าเป็นของ
26,0011,003,ที่ห้ามบางอย่าง อันเกี่ยวด้วยภิกษุทำให้เกินกำหนดประมาณ เช่น
26,0011,004,ทำเท้าเตียงให้เกิน ๘ นิ้วพระสุคต หรือทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา
26,0011,005,เขา เป็นต้น ต้องตัดให้ได้ประมาณหรือกำหนดเสียก่อน จึงแสดง
26,0011,006,อาบัติตก.
26,0011,007,ง. ปาฏิเทสนียะ แปลว่า อาบัติอันภิกษุกลับแสดงอย่างอื่น
26,0011,008,คือ เมื่อต้องเข้า การแสดงอาบัติไม่เหมือนอย่างแสดงอาบัติอื่น ๆ.
26,0011,009,จ. ทุกกฏ แปลว่า ทำชั่ว หมายถึงกายกรรม คือ ความประ-
26,0011,010,พฤติส่วนกาย ไม่เรียบร้อยเป็นที่ติเตียนของผู้อื่น.
26,0011,011,ฉ. ทุพภาสิต แปลว่า กล่าวชั่ว หมายความถึงวจีกรรม คือ
26,0011,012,ความประพฤติส่วนวาจา กล่าวคำชั่วหยาบ ตลกคะนองอันนักปราชญ์
26,0011,013,ติเตียน ซึ่งเรียกว่า อักโกสวัตถุ อันจำแนกไว้ ๑๐ อย่าง ดังจะได้กล่าว
26,0011,014,ข้างหน้า.
26,0011,015,๓. การลงโทษแก่ผู้ผิด เพราะล่วงสิกขาบทมี ๒ อย่าง คือ :-
26,0011,016,ก. ลงมหันตโทษ คือปรับโทษเป็นปาราชิก จะเป็นภิกษุอีก
26,0011,017,ไม่ได้ตลอดชาติ.
26,0011,018,ข. ลงอุกเขปนียกรรม คือยกออกเสียจากหมู่ชั่วคราว จนกว่า
26,0011,019,ผู้ผิดจะยอมรับสารภาพ. และอยู่กรรม คือประพฤติวัตรตามกฏที่ท่าน
26,0011,020,กำหนดไว้ ดังมีแจ้งอยู่ในวินัยมุขเล่ม ๓ แล้ว. และลุกะโทษ คือ
26,0011,021,แสดงเปิดเผยเสียแก่ภิกษุด้วยกัน.