|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
26,0004,001,ง่าย และทั้งเป็นยาบำบัดโรคได้ดีอย่างหนึ่ง การที่ท่านชี้อุบายเครื่อง
|
|
26,0004,002,อาศัยของบรรพชิตให้แคบเข้าและต่ำที่สุดเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นข้อปฏิบัติ
|
|
26,0004,003,อย่างเคร่งครัดของภิกษุ และเพื่อจะกันภิกษุผู้ปรารถนาใหญ่ ขอสิ่ง
|
|
26,0004,004,นี้เขามาแล้วไม่เพียงพอ ยังทะยานขอสิ่งอื่น ๆ ต่อไปอีก ไม่ให้ขอ
|
|
26,0004,005,ของเขาจุก ๆ จิก ๆ อันเป็นเหตุให้เขารำคาญ และได้วิปฏิสารความ
|
|
26,0004,006,เดือดร้อน แล้วพากันติเตียน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยให้ภิกษุหันหน้าเข้าหา
|
|
26,0004,007,ความประพฤติผิดกิจวัตรพระวินัยบัญญัติ โดยไม่มีความละอายแก่ใจ
|
|
26,0004,008,และชักชวนให้ภิกษุอื่นให้ประพฤติสิ่งไม่ดี ไม่เป็นที่นิยมนับถือและ
|
|
26,0004,009,เลื่อมใสของประชุมชนทั่วไป แต่นิสัย ๔ อย่างนั้น ท่านก็มิได้จำกัด
|
|
26,0004,010,ลงไปว่า ภิกษุต้องอาศัยเป็นนิตย์ทีเดียว เป็นแต่ว่าถ้าภิกษุไม่มีสิ่ง
|
|
26,0004,011,อื่นซึ่งสมควรแก่สมณะจะอาศัย ก็ควรอาศัยปัจจัย ๔ อย่างนี้ เพื่อยัง
|
|
26,0004,012,ชีวิตให้เป็นไป ถ้ามีอติเรกลาภอื่น ๆ เกิดขึ้น ท่านก็อนุญาตให้ภิกษุ
|
|
26,0004,013,อาศัยได้เหมือนกัน.
|
|
26,0004,014,ในที่นี้จะได้กล่าวประโยชน์พิเศษของภิกษุ ในส่วนอดิเรกลาภ
|
|
26,0004,015,ไว้ด้วย เพื่อจะให้ภิกษุรู้ว่าอดิเรกลาภนั้นได้แก่อะไร คำว่าอติเรกลาภ
|
|
26,0004,016,แปลว่า ลาภยิ่ง ได้แก่ลาภพิเศษ ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุ นอกจากนิสัย ๔
|
|
26,0004,017,อย่าง อันภิกษุอาศัยอยู่เป็นนิตย์ จำแนกเป็น ๔ เหมือนกับนิสัย ๔
|
|
26,0004,018,เช่นเดียวกัน เป็นแต่หมายความกว้างและแคบกว่ากันเท่านั้น คือ :-
|
|
26,0004,019,ก. อติเรกลาภในส่วนอาหาร ได้แก่สังฆภัตร อุทเทสภัตร
|
|
26,0004,020,นิมันตนภัตร สลากภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฏิปทิกภัตร นิตยภัตร
|
|
26,0004,021,[ ดูในบุพพสิกขาววรรณนา ท่านอธิบายไว้แล้ว ].
|
|
|