dhamma-scholar-book / 23 /230017.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
23,0017,001,ให้เหมาะแก่กาล ให้ต้องตามสุภาษิตที่ว่า พึงประกอบธุระให้เหมาะ
23,0017,002,แก่กาลเทียว ดังนี้.
23,0017,003,๓๐. รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา. [ ๕๙ ]
23,0017,004,พึงรักษาความดีของตนไว้ ดั่งเกลือรักษาความเค็ม.
23,0017,005,( ของสมเด็จพระสังฆราช [ สา ] )
23,0017,006,ทำความดีเรื่อยมานาน ชื่อเสียงก็ดีตลอดมา ประพฤติผิดครั้ง
23,0017,007,หนึ่งเลยเสียชื่อเสียคน เพราะรักษาความดีไม่ตลอด. กลับคิด
23,0017,008,เห็นเข้ากับตัวว่า อนิจจัง ทำดีมาเป็นก่ายเป็นกอง ทำผิดครั้งเดียว
23,0017,009,ถึงพินาศ คิดอย่างนี้ผิด ความดีที่ทำมาสิ้นกาลเท่าไร ก็คงได้รับผลดี
23,0017,010,เต็มที่แล้ว ครั้นทำชั่วลงมากแม้ครั้งเดียว ก็ได้รับผลร้ายเหมาะกัน
23,0017,011,จะเอาความดีหลัง ๆ มาคุ้มอะไรอีก. บางทีที่ว่าประพฤติดีมีชื่อเสียง
23,0017,012,นั้น ทำชั่วทั้งนั้น แต่ยังไม่ปรากฏแก่ตาโลก พอถึงคราวจะปรากฏ
23,0017,013,โทษในหนสุด ความเสียแต่หลัง ๆ เลยผุดขึ้นมาหมด จะว่าอย่างไร
23,0017,014,อย่างนี้.
23,0017,015,อนึ่ง เช่น ฤษีตนหนึ่งได้ฌาน เหาะเหินเดินอากาศได้ ใจเป็น
23,0017,016,รูปาวจรแล้ว ภายหลังยินดีในกามารมณ์ ฌานเสื่อมต้องลงเดินดิน
23,0017,017,เป็นกามาวจรไปตามเดิม.
23,0017,018,ตามที่กล่าวมาทั้งทางโลกทางธรรมนี้ เป็นเรื่องรักษาความดีไม่
23,0017,019,ตลอด ผู้มีปัญญาไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง พึงรักษาความดีของตนไว้
23,0017,020,ให้ตลอดไป ดุจเกลือรักษาความเค็มของตนอยู่เสมอ ไม่ยักย้าย