|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
20,0028,001,จะชักนำบุคคลให้ดำเนินผิดทาง ร้ายยิ่งกว่าความไม่รู้ พระพุทธเจ้าผู้
|
|
20,0028,002,ประกอบสัตวโลกในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ได้เทศนาโปรดโดยนัยอัน
|
|
20,0028,003,วิจิตรต่าง ๆ เท่าไรก็ดี เมื่อย่นกล่าวก็มีความสอนให้รู้จริงเป็นที่ตั้ง
|
|
20,0028,004,ดังคำว่า <B>เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺาย ทฏฺพฺพํ </B> ข้อนี้ท่านพึง
|
|
20,0028,005,เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างไรดังนี้เถิด ในพระบาลีประเทศ
|
|
20,0028,006,บางแห่ง พระองค์ทรงแสดงพิปลาส ๔ ประการ ซึ่งเป็นไปในสันดาน-
|
|
20,0028,007,ของสัตว์ เพื่อว่ารู้แล้วจะได้บำบัดเสีย ดังมีแจ้งในคัมภีร์จตุกกนิบาต
|
|
20,0028,008,อังคุตตรนิกาย๑ เป็นพุทธภาษิตบรรยายว่า <B>จตฺตาโรเม ภิกฺขเว สญฺา-
|
|
20,0028,009,วิปลฺลาสา จิตฺตวิปลฺลาสา ทิฏฺิวิปลฺลาสา</B> เป็นต้น ความว่า ดูก่อน
|
|
20,0028,010,ภิกษุทั้งหลาย พิปลาสด้วยอำนาจความสำคัญคิดเห็น มี ๔ ประการ
|
|
20,0028,011,คือ พิปลาสด้วยอำนาจความสำคัญคิดเห็นในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
|
|
20,0028,012,ประการ ๑ ในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขประการ ๑ ในของที่ไม่ใช่ตน
|
|
20,0028,013,ว่าเป็นตนประการ ๑ ในของที่ไม่งามว่างามประการ ๑ นี้แลพิปลาส
|
|
20,0028,014,ด้วยอำนาจความสำคัญคิดเห็น ๔ ประการ.
|
|
20,0028,015,รับประทานถวายวิสัชนาความแห่งพิปลาส ๔ ประการนั้น ตาม
|
|
20,0028,016,ลำดับโดยยุกตินัย คำว่าพิปลาสนั้น แปลว่ากิริยาที่ถือโดยอาการ
|
|
20,0028,017,วิปริตผิดจากความเป็นจริง เรียกชื่อต่างกัน ด้วยอำนาจจิตและเจตสิก
|
|
20,0028,018,ซึ่งวิปริตไปนั้น พิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่าสัญญาพิปลาส
|
|
20,0028,019,พิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่าจิตตพิปลาส พิปลาสด้วยอำนาจเห็น
|
|
20,0028,020,ผิด เรียกว่าทิฏฐิพิปลาส กล่าวด้วยสามารถวัตถุที่ตั้งเป็น ๔ ประการ
|
|
|