|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
19,0023,001,เพราะอากาศต้องปะทะน้ำ อัดตัวเข้า น้ำเข้าไปอีกไม่ได้นั้น เพราะ
|
|
19,0023,002,อากาศอัดตัวเต็มที่แล้วปะทะอยู่ คราวนี้เปิดนิ้วมือจาท่อข้างบนแต่วาง
|
|
19,0023,003,ไว้ตรงปากท่อ จุ่มกระบอกลงไปอีก คงจะรู้สึกว่าน้ำเข้าไปได้อีก ใน
|
|
19,0023,004,ขณะเดียวกันนิ้วมือได้รับสัมผัสเย็นฉิว ๆ ขึ้นมาจากท่อ ธาตุที่ขึ้นมา
|
|
19,0023,005,ถูกนิ้วมือนี้คืออากาศ. อีกอย่างหนึ่ง ขณะที่ไปในยานที่แล่นโดยเร็ว
|
|
19,0023,006,ได้สัมผัสลมเป็นอันมาก แต่ข้างทาง ต้นไม้นิ่งอยู่ ไม่ไหว ลมที่
|
|
19,0023,007,กระทบวู่ ๆ นั้น อากาศนี้เอง ยานเดินโดยเร็วปะทะอากาศโดยแรงจน
|
|
19,0023,008,รู้สึกสัมผัส หากจะเดินเท้าก็ไม่รู้สึก. ท่านพบอากาศธาตุเข้าแล้ว
|
|
19,0023,009,จึงได้เติมขึ้นอีกอย่างเป็นธาตุ ๕ ดังแสดงไว้ในจุลลราหุโลวาทสูตร
|
|
19,0023,010,แต่นักปราชญ์ในชั้นหลังกล่าวว่า วาโยกับอากาศเป็นธาตุเดียวกัน วาโย
|
|
19,0023,011,ก็คืออากาศที่เดินกำลังแรงนั้นเอง ข้อนี้เป็นความจริงอุดหนุนการจัด
|
|
19,0023,012,ธาตุ ๔ ของเดิมให้มั่นเข้า. ในที่นี้จักกล่าวเป็นธาตุ ๔ พอสมแต่ชื่อ
|
|
19,0023,013,ของกัมมัฏฐานบทนี้.
|
|
19,0023,014,ธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย นี้ มีทั้งภายนอกภายใน
|
|
19,0023,015,ธาตุภายนอก เช่นภูเขา แม่น้ำ กองไฟ ลมพัด โดยลำดับกัน ธาตุ
|
|
19,0023,016,เป็นภายในนั้น คือที่คุมเข้าเป็นร่างกายของสัตว์ ส่วนที่แข้นที่แข้.
|
|
19,0023,017,มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น เป็นปฐวีธาตุ.
|
|
19,0023,018,ส่วนที่เหลวไม่แข้นเหมือนปฐวี เอิบอาบอยู่ในปฐวี รักษาปฐวีให้สด
|
|
19,0023,019,อยู่ เช่นโลหิต มันข้น มันเปลว และเหงื่อเป็นต้น เป็นอาโปธาตุ.
|
|
19,0023,020,ส่วนที่ร้อนอบอุ่นรักษาปฐวีไม่ให้เน่า คือไออุ่นเกิดแต่หายใจสูดอากาศ
|
|
19,0023,021,เข้าไปปรุงโลหิตที่เป็นไปโดยปกติ หรือที่แรงจัดขึ้นในเวลาเป็นไข้
|
|
|