|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
19,0005,001,อย่างต่ำ มีได้แก่สามัญชน ท่านจัดเป็นแต่กามาวจรธรรม คือเป็น
|
|
19,0005,002,อารมณ์ของสัตว์ผู้หน่วงกามคุณ. สมาธิอย่างสูง คืออัปปนาสมาธิ
|
|
19,0005,003,เฉพาะมีแก่บางคนที่เป็นผู้วิเศษ ท่านจัดว่ารูปาวจรธรรม คือเป็น
|
|
19,0005,004,อารมณ์ของท่านผู้หน่วงรูปธรรม ยกเป็นคุณสูงขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เรียก
|
|
19,0005,005,ว่าฌานโดยมากกว่าอย่างอื่น แจกเป็น ๔ ตามที่นิยมมากในพระ
|
|
19,0005,006,พุทธศาสนา เรียกว่ารูปฌาน เพราะมีรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น
|
|
19,0005,007,อารมณ์. ฌาน ๔ นั้น เรียกชื่อตามลำดับปูรณสังขยาว่า ที่ ๑ ที่ ๒
|
|
19,0005,008,ที่ ๓ ที่ ๔ หรือใช้ศัพท์เช่นนั้นในภาษามคธว่า <B>ปฐมะ ทุติยะ ตติยะ
|
|
19,0005,009,จตุตถะ</B> ท่านกำหนดด้วยองค์สมบัติดังนี้ :-
|
|
19,0005,010,๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งรียกว่าวิตก และ
|
|
19,0005,011,ยังมีตรอง ซึ่งเรียกว่าวิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ
|
|
19,0005,012,แต่ไม่ประกอบด้วยกิเลสกามและอกุศลธรรม ซ้ำมีปีติคือความอิ่มใจ
|
|
19,0005,013,และสุขคืนความสบายใจเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ กับประกอบด้วย
|
|
19,0005,014,จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไป ซึ่งเรียกว่าเอกัคคตา.
|
|
19,0005,015,๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ ลิวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและ
|
|
19,0005,016,สุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา.
|
|
19,0005,017,๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคคตา.
|
|
19,0005,018,๔. จุตตถฌาน มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลางเป็น
|
|
19,0005,019,อุเบกขา คือเฉย ๆ กับเอกัคคตา.
|
|
19,0005,020,ฌาน ๔ นี้ จัดเป็นอุตตริมนุสสธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธ
|
|
19,0005,021,ศาสนา. แต่ในเวลาทุกวันนี้ ธรรมอย่างสูงเช่นฌาน ก็เป็นคุณที่เกิน
|
|
|