dhamma-scholar-book / 14 /140027.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
14,0027,001,เนื่องด้วยกิเลส จึงอำนวยผลอย่างนั้น แต่นับวัฏฏะเป็น ๓ อธิบาย
14,0027,002,นี้จึงฟังไม่ได้สนิท. เมื่อละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย ทำการอย่างใด
14,0027,003,อย่างหนึ่ง ไม่ถึงเป็นกรรรมนำไปสู่ปฏิสนธิ เป็นสักว่ากิริยา วัฏฏะ
14,0027,004,นั้นชื่อว่าขาดสาย การเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะอย่างนี้ นับเป็นวิราคะ
14,0027,005,ด้วย. ความอยาก ชื่อว่าตัณหา อันมีอาการแส่หากามารมณ์
14,0027,006,เป็นกามตัณหา อันมีอาการรนไปในภพ เป็นภวตัณหา อันมี
14,0027,007,อาการส่ายเพื่อพ้นจากภพ เป็นวิภวตัณหา. อรรถาธิบายแห่ง ๒
14,0027,008,ประเภทหลังเป็นอย่างไร เข้าใจกันยังไม่กระจ่าง. ในขุททกวัตถุ
14,0027,009,วิภังค์แห่งวิภังคปกรณ์แก้ว่า ภวตัณหา ได้แก่ราคะสหรตด้วย
14,0027,010,ภวทิฏฐิ วิภวตัณหา ได้แก่ราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ. ทิฏฐิเนื่อง
14,0027,011,ด้วยภพ หรือความเห็นข้างเกิดเป็นภวทิฏฐิ ลงรอยกับอธิบาย
14,0027,012,ข้างต้น. อีกอย่างหนึ่ง จำกัดลงจำเพาะรูปภพและอรูปภพ ส่วน
14,0027,013,กามภพจัดเข้าในกามตัณหา. บางท่านตีความว่า หมายเอาสัสสต-
14,0027,014,ทิฏฐิ เทียบด้วยอุจเฉททิฏฐิ. สัสสตทิฏฐิ ได้แก่เห็นว่าโลกเที่ยง
14,0027,015,ได้กันกับเห็นว่า มีอัตตายั่งยืนดังกล่าวแล้ว ดูไม่ตรงกับรูปศัพท์.
14,0027,016,เป็นแต่ชนบทพร้อมด้วยทิฏฐินี้ น่าจะทำความอยากเกิดในภพ
14,0027,017,อันพึงใจ ทิฏฐิเนื่องด้วยขาดสูญ หรือความเห็นข้างสูญ เป็น
14,0027,018,อุจเฉททิฏฐิ. ความตอนนี้มัว แต่ถ้าถือเอาความแห่งอุจเฉทะเป็น
14,0027,019,อย่างเดียวกับความแห่งวิภวะ คือขาดจากภพหรือตัดความเป็นอยู่
14,0027,020,เสีย ความลงรอยกัน. เพราะอย่างนี้กระมัง ท่านจึงไม่กล่าวถึง
14,0027,021,สัสสตทิฏฐิให้เป็นคู่กันในที่นี้. บางท่านเข้าใจวิภวศัพท์ว่า ภพเจริญ