|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
10,0029,001,เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจรักใคร่กระวนกระวายในกาม
|
|
10,0029,002,เสียได้ อนึ่ง เวทนาเป็น ๓ อย่าง คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา คือ ไม่ใช่
|
|
10,0029,003,ทุกข์ไม่ใช่สุข ในสมัยใดเสวยสุข ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยทุกข์ และ
|
|
10,0029,004,อุเบกขา ในสมัยใด เสวยทุกข์ ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยสุข และ
|
|
10,0029,005,อุเบกขา. สุข ทุกข์ อุเบกขา ทั้ง ๓ อย่างนี้ ไม่เที่ยง ปัจจัยประชุม
|
|
10,0029,006,แต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้วมีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป
|
|
10,0029,007,ดับไปเป็นธรรมดา อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เมื่อเห็นอย่างนี้ย่อมเบื่อหน่าย
|
|
10,0029,008,ทั้งในสุข ทุกข์ อุเบกขา เมื่อเบื่อหน่าย ก็ปราศจากกำหนัด เพราะ
|
|
10,0029,009,ปราศจากกำหนัด จิตก็พ้นจากความถือมั่น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิด
|
|
10,0029,010,ญาณรู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่
|
|
10,0029,011,จบแล้ว กิจที่จำจะต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้
|
|
10,0029,012,มิได้มี ภิกษุผู้พ้นแล้วอย่างนี้ ไม่วิวาทโต้เถียงกับผู้ใด ด้วยทิฏฐิของ
|
|
10,0029,013,ตน โวหารใด เขาพูดกันอยู่ในโลก ก็พูดตามโวหารนั้น แต่ไม่ถือ
|
|
10,0029,014,มั่นด้วยทิฏฐิ. สมัยนั้น พระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด เบื้องพระ-
|
|
10,0029,015,ปฤษฎางค์แห่งพระศาสดา ได้ฟังธรรมเทศนาที่ตรัสแก่ทีฆนขปริพาชก
|
|
10,0029,016,จึงดำริว่า พระศาสดาตรัสสอนให้ละการถือมั่นธรรมเหล่านั้น ด้วย
|
|
10,0029,017,ปัญญาอันรู้ยิ่ง เมื่อท่านพิจารณาอย่างนั้น จิตก็พ้นจากอาสวะ ไม่ถือ
|
|
10,0029,018,มั่นด้วยอุปทาน. ส่วนทีฆนขปริพาชกนั้น เป็นแต่ได้ดวงตาเห็นธรรม
|
|
10,0029,019,สิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธศาสนา ทูลสรรเสริญพระธรรม-
|
|
10,0029,020,เทศนาและแสดงตนเป็นอุบาสก.
|
|
10,0029,021,พระอรรถกถาจารย์ แก้การที่พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหัตช้า
|
|
|