|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0050,001,ภายหลังความโกรธเกิดขึ้นอีก เพราะเหตุอันมากระทบกระทั่ง ทำได้
|
|
06,0050,002,ยั่งยืนก็มี คือละกิเลสอย่างใดขาดแล้ว กิเลสอย่างนั้นก็ขาดไปทีเดียว
|
|
06,0050,003,ไม่เกิดขึ้นอีก ความบริสุทธิ์ยั่งยืนนี้ ท่านกล่าวยกย่องเป็นอย่างสูงว่า
|
|
06,0050,004,โลกุตตรธรรม แปลว่า คุณล่วงโลกขึ้นไป คือ พ้นวิสัยของสัตวโลก.
|
|
06,0050,005,โลกุตตรธรรม แจกเป็นมรรคและผล มีประเภทอย่างละ ๔ กับ
|
|
06,0050,006,พระนิพพาน ๑ รวมเป็น ๙ อย่าง. ผู้ปรารถนาจะเข้าใจ พึงรู้จัก
|
|
06,0050,007,สังโยชน์ ๑๐ ประการก่อน กิเลสอันผูกใจสัตว์อยู่ ชื่อว่าสังโยชน์
|
|
06,0050,008,จำแนกออกเป็น ๑๐ ประการ คือ:-
|
|
06,0050,009,๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน.
|
|
06,0050,010,๒. วิจิกิจฉา ความลังเล เป็นเหตุไม่แน่ใจในปฏิปทาเครื่อง
|
|
06,0050,011,ดำเนินของตน.
|
|
06,0050,012,๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่า จะมี
|
|
06,0050,013,ได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ล่วงธรรมดาวิสัย.
|
|
06,0050,014,๔. กามราคะ คือ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียก
|
|
06,0050,015,แต่เพียงว่าราคะก็มี.
|
|
06,0050,016,๕. ปฏิฆะ คือ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ความหงุด
|
|
06,0050,017,หงิดด้วยอำนาจโทสะ เรียกโทสะตรงทีเดียวก็มี.
|
|
06,0050,018,๕ นี้เป็นสังโยชน์เบื้อต่ำ คืออย่างหยาบ เรียกโอรัมภาคิยะ.
|
|
06,0050,019,๖. รูปราคะ ความติดใจอยู่ในรูปธรรม เช่นชอบใจในบุคคล
|
|
06,0050,020,บางคน หรือในพัสดุบางสิ่ง แม้ในวัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน.
|
|
06,0050,021,๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่นพอใจในสุขเวทนา.
|
|
|