|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0040,001,ทรัพย์สิ่งเดียว. ทรัพย์สิ่งหนึ่ง ๆ อันมีราคาไม่ถึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก
|
|
06,0040,002,ภิกษุลักในคราวเดียวกันเอาตีราคารวมกันได้ เรียกนานาภัณฑะ แปลว่า
|
|
06,0040,003,ทรัพย์ต่างกันคือหลายสิ่ง. คำว่าต่างกันหรือต่าง ๆ ใช้หมายของ
|
|
06,0040,004,ชนิดเดียวกันแต่หลายสิ่งได้ มีอุทาหรณ์ดื่นในภาษาไทย. แม้จะเล็ง
|
|
06,0040,005,ของมีชนิดไม่เหมือนกันโดยเด็ดขาด ก็ยังถูกตามอธิบายนั้น. การที่
|
|
06,0040,006,จัดนานาภัณฑะไว้หมวดหนึ่งนั้น ก็เพื่อจะกันผู้ลักไม่ให้อ้างเลศว่า
|
|
06,0040,007,ของสิ่งหนึ่ง ๆ มีราคาไม่ถึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก ต้องอาบัติตาม
|
|
06,0040,008,วัตถุสิ่งหนึ่ง ๆ มีจำนวนมากหลายเท่าวัตถุเหล่านั้น. ข้อนี้ก็ดี ข้อที่กล่าว
|
|
06,0040,009,ไว้บ้างแล้วในหนหลังก็ดี พอเป็นเครื่องอ้างให้เห็นว่า อวหาร ๒๕
|
|
06,0040,010,ในอรรถกถาฟั่นเฝือนัก.
|
|
06,0040,011,ทรัพย์เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก ที่กำหนดไว้ในสิกขาบทว่า
|
|
06,0040,012,มีราคาเท่าทรัพย์เป็นวัตถุแห่งมหันตโทษแห่งโจรนั้น ในคัมภีร์วิภังค์
|
|
06,0040,013,"นั้นเอง ตอนนิทานกล่าวว่าบาทหนึ่ง ตอนบทภาชนีย์กล่าวว่า ๕ มาสก,"
|
|
06,0040,014,ตามมาตรรูปิยะที่ใช้อยู่ในแคว้นมคธ ณ ครั้นนั้น ๕ มาสกเป็นบาท
|
|
06,0040,015,หนึ่ง ๔ บาทเป็นกหาปณะหนึ่ง กหาปณะเป็นหลังมาตรา เช่น
|
|
06,0040,016,เงินบาทในกรุงสยาม ณ บัดนี้. รูปิยะที่ใช้อยู่ในต่างแคว้น มีอัตรา
|
|
06,0040,017,ไม่เหมือนกัน ต้องมีมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนอีกส่วนหนึ่ง. มาตรา
|
|
06,0040,018,รูปิยะในแคว้นมคธ ณ ครั้งนั้น จะสันนิษฐานเทียบกับมาตรารูปิยะใน
|
|
06,0040,019,บัดนี้ ย่อมรู้ได้ยาก จะเทียบบาทในแคว้นมคธ ณ ครั้นนั้น กับบาทของ
|
|
06,0040,020,เราในครั้งนี้ ด้วยสักว่าชื่อเหมือนกันก็ไม่ได้ มีทางที่พอจะกำหนด
|
|
06,0040,021,เป็นหลักฐานได้สะดวกกว่าอย่างอื่น คือในฎีกาทั้งหลายท่านแสดงไว้ว่า
|
|
|