|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0036,001,ภิกษุมีอำนาจข่มเหงเอาทรัพย์ผู้อื่น ดังราชบุรุษเก็บค่าอากร
|
|
06,0036,002,เกินพิกัด ต้องอาบัติถึงที่สุดในขณะได้ของมา. เพื่องำง่าย ควรเรียก
|
|
06,0036,003,"ว่า กดขี่, อีกอย่างหนึ่ง ขู่ด้วยการทำร้ายให้เจ้าของทรัพย์จำต้องให้"
|
|
06,0036,004,ซึ่งเรียกว่ากรรโชก ก็นับเข้าในบทนี้ บางทีจะชัดกว่า.
|
|
06,0036,005,ภิกษุเห็นของเขาทำตก มีไถยจิตเอาดินกลบเสีย หรือเอาของ
|
|
06,0036,006,มีใบไม้เป็นต้นปิดเสีย ต้องอาบัติในขณะทำสำเร็จ. เพื่อจำง่าย ควร
|
|
06,0036,007,เรียกว่า ลักซ่อน.
|
|
06,0036,008,ไม่ใช่แต่เพียงภิกษุทำเอง สั่งคนอื่นให้ทำอทินนาทาน เป็นส่วน
|
|
06,0036,009,โจรกรรมดังกล่าวแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องอาบัติเหมือนกัน.
|
|
06,0036,010,เหตุดังนั้น อาบัติในสิกขาบทนี้ ชื่อว่าต้องเพราะสั่งด้วย เรียก
|
|
06,0036,011,สาณัตติกะ. ส่วนอาบัติที่ต้องเฉพาะทำเอง เช่นอาบัติในสิกขาบทต้น
|
|
06,0036,012,เรียกอนาณัตติกะ แปลว่าไม่ต้องเพราะสั่ง แต่สั่งในที่นี้พึงเข้าใจว่า
|
|
06,0036,013,สั่งให้คนอื่นทำแก่คนอื่น ไม่นับสั่งให้ทำแก่ตน.
|
|
06,0036,014,ภิกษุมีไถยจิต สั่งให้เขาทำโจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อาบัติ
|
|
06,0036,015,ถึงที่สุดในขณะผู้รับใช้ทำโจรกรรมสำเร็จตามสั่ง ถึงกำหนดโดยอาการ
|
|
06,0036,016,ดังต่อไปนี้ :-
|
|
06,0036,017,สั่งต่อเดียวไม่มีปริกัป อาบัติถึงที่สุดขณะผู้รับใช้ทำโจรกรรม
|
|
06,0036,018,สำเร็จตามสั่ง ต้องด้วยกันทั้ง ๒ รูป ทั้งผู้สั่นทั้งผู้รับสั่ง. ครั้นสั่ง
|
|
06,0036,019,แล้ว แต่ได้ห้ามเสียก่อนแต่ผู้รับสั่งได้ลงมือทำการ แต่ผู้รับสั่งนั้น
|
|
06,0036,020,ขืนทำโดยพละตนเอง ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ต้องแต่ภิกษุผู้รับสั่ง.
|
|
06,0036,021,สั่งเจาะจงทรัพย์ แต่ผู้รับสั่งไพล่ลักเอาสิ่งอื่นมา ก็พึงรู้โดยนัยนี้. สั่ง
|
|
|