|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0029,001,เป็นทางสันนิษฐานว่า ภิกษุสั่งให้ผู้อื่นพยายามทำเช่นนั้นแก่ตน ย่อม
|
|
06,0029,002,เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
|
|
06,0029,003,วัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัยและทุกกฏ ในสิกขาบทนี้แสดงไว้ฟั่นเฝือ
|
|
06,0029,004,มาก จนถึงท่านผู้อธิบายเอง ก็จับหลักไม่ได้ ในที่นี้ จะแสดงไว้พอ
|
|
06,0029,005,เป็นทางสังเกตตามความเข้าใจของข้าพเจ้า แต่บางทีจะแย้งกับวินิจฉัย
|
|
06,0029,006,ของอาจารย์อื่นก็ได้. ทวารที่เป็นวัตถุของอาบัติปาราชิกนั้น ของ
|
|
06,0029,007,มนุษย์หรือของสัตว์ที่ตายแล้วแหว่งเว้าไปมาก ไม่ให้สำเร็จกิจเต็มที่
|
|
06,0029,008,และองค์กำเนิดของบุรุษเป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย อวัยวะนอกนี้ก็ดี
|
|
06,0029,009,วัตถุอันไม่มีวิญญาณ เช่นตุ๊กตาก็ดี เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกก. ใน
|
|
06,0029,010,วินีตวัตถุแสดงว่า ภิกษุมุ่งจะเสพเมถุนธรรม และพยายามที่อวัยวะ
|
|
06,0029,011,หญิง นอกจากทวาร ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. บางเรื่องก็เห็นชัดว่า
|
|
06,0029,012,เพราะกายสังสัคคะ บางเรื่องจะเป็นเพราะอย่างเดียวกัน หรือเพราะ
|
|
06,0029,013,สัญเจตนิกาไม่ปรากฏชัด. แต่อาบัติอนุโลมแห่งปาราชิกนั้น มีเฉพาะ
|
|
06,0029,014,อาบัติถุลลัจจัยและทุกกฏ. ในวิภังค์วินิจฉัยว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส
|
|
06,0029,015,เช่นนั้น เป็นทางให้สันนิษฐานว่า ถ้ามีสิกขาบทอื่นจะปรับอาบัติได้
|
|
06,0029,016,สูงกว่านั้น ให้ยกเอาสิกขาบทนั้นมาปรับ เช่นภิกษุพยายามในอวัยวะ
|
|
06,0029,017,หญิงนอกจกทวาร ถ้าจะปรับอาบัติอนุโลมตามปาราชิก จะปรับได้
|
|
06,0029,018,อย่างสูงเพียงถุลลัจจัย แต่กิริยาที่ทำนั้น เป็นกายสังสัคคะบ้าง เป็น
|
|
06,0029,019,สัญเจตนิกาบ้าง ถ้าจะเอาสิกขาบทห้ามการ ๒ อย่างนั้นมาปรับ อาจ
|
|
06,0029,020,จะปรับได้ถึงสังฆาทิเสส. วินิจฉัยในวินีตวัตถุนั้นชอบแก่เหตุ ควรถือ
|
|
06,0029,021,เป็นอุทาหรณ์ในสิกขาบทอื่น.
|
|
|