|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0027,001,กัณฑ์ที่ ๔
|
|
06,0027,002,ปาราชิก
|
|
06,0027,003,ศัพท์นี้ เป็นคุณบทของอาบัติ แปลว่า ยังผู้ต้องให้พ่าย. เป็น
|
|
06,0027,004,"คุณบทของบุคคล แปลว่า ผู้พ่าย, เป็นคุณบทของสิกขาบท แปลว่า"
|
|
06,0027,005,ปรับอาบัติปาราชิก. ในที่นี้ เป็นชื่อของสิกขาบทมี ๔ สิกขาบท.
|
|
06,0027,006,สิกขาบทที่ ๑ ว่า ภิกษุใด ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเนียม
|
|
06,0027,007,เลี้ยงชีพร่วมกันของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่กล่าวคืนสิกขา ไม่ได้ทำให้
|
|
06,0027,008,แจ้งความเป็นผู้ถอยกำลัง [คือความท้อแท้] จะพึงเสพเมถุนธรรม
|
|
06,0027,009,โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุนี้เป็นปาราชิก ไม่มีสังวาส [คือ
|
|
06,0027,010,ธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุอื่น].
|
|
06,0027,011,คำว่า ภิกษุ ในที่นี้ ควรจะได้แก่ภิกษุทั้ง ๓ เหล่า แต่ในคัมภีร์
|
|
06,0027,012,วิภังค์ท่านกล่าวว่า ได้แก่ภิกษุที่สงฆ์อุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม
|
|
06,0027,013,คำนี้ส่อว่า คัมภีร์วิภังค์เรียงทีหลัง ครั้งนั้น มีแต่ภิกษุที่สงฆ์อุปสมบท
|
|
06,0027,014,ให้ ท่านจึงกล่าวไว้ดังนั้น. ภิกษุนั้น เบื่อหน่ายในการประพฤติพรหม-
|
|
06,0027,015,จรรย์แล้ว บอกลาสิกขาถือเพศเป็นอนุปสัมบันก็ได้. แต่เธอไม่ได้
|
|
06,0027,016,บอกลสิกขา ยังคงถือเพศเป็นภิกษุอยู่ และจะพึงเสพเมถุนธรรม
|
|
06,0027,017,คือการของคนคู่กันทั้งเป็นภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก เป็นผู้พ่าย
|
|
06,0027,018,จากหมู่ไม่มีสังวาส คือ ธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายอีก คือ
|
|
06,0027,019,ขาดอำนาจอันชอบธรรม ในที่จะถือเอาประโยชน์แห่งความเป็นภิกษุ
|
|
06,0027,020,เช่น ขาดจากสิกขาอันมีเสมอกับภิกษุ กล่าวคือขาดจากความปกครอง
|
|
06,0027,021,ไม่ได้เข้าอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมกับสงฆ์อีก.
|
|
|