|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0025,001,สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ปรับอาบัติสูงกว่าทุกกฏขึ้นไป ต่างว่า
|
|
06,0025,002,มีภิกษุพยายามจะละเมิด แต่ไม่ได้ทำความผิดเต็มดังกล่าวไว้ในสิกขาบท
|
|
06,0025,003,เช่นพยายามจะฆ่ามนุษย์ และให้ประหารแล้ว แต่เขาไม่ตาย เช่นนี้
|
|
06,0025,004,จะปรับอาบัติปาราชิกไม่ได้อยู่เอง แต่จะว่าไม่มีโทษก็ไม่ได้เหมือนกัน
|
|
06,0025,005,เพราะเหตุนั้น ท่านจึงปรับอาบัติหย่อนลงมา เหมือนกฎหมายสำหรับ
|
|
06,0025,006,บ้านเมือง ที่วางโทษแก่ผู้ทำผิดไว้อย่างแรง ถ้าทำผิดไม่ถึงที่ ก็ลงโทษ
|
|
06,0025,007,หย่อนลงมา พึงเห็นในโทษฆ่าคนนั้นเถิด. อาบัติที่ลดจากปาราชิกและ
|
|
06,0025,008,สังฆาทิเสส เพราะทำผิดไม่ถึงที่นั้น ถุลลัจจัยบ้าง ทุกกฏบ้าง. อาบัติ
|
|
06,0025,009,ที่ลดจากปาจิตตีย์เว้นโอมสวาท และที่ลดจากปาฏิเทสนียะ มีแต่ทุกกฏ
|
|
06,0025,010,อย่างเดียว. อาบัติที่ลดจากโอมสวาทสิกขาบท มีทุพภาสิตด้วย. ใน
|
|
06,0025,011,เสขิยวัตรข้อหนึ่ง ๆ มีคำว่า พึงทำความศึกษาอย่างนั้น ๆ อธิบายตาม
|
|
06,0025,012,วิภังค์ว่า ถ้าไม่เอื้อเฟื้อต้องทุกกฏ. อาบัติเช่นนี้เรียกเอาชื่อวิภังค์เข้า
|
|
06,0025,013,ประกอบว่า วิภังคถุลลัจจัย วิภังคทุกกฏ เพื่อจะให้แปลกจากอาบัติใน
|
|
06,0025,014,ที่อื่น ส่วนทุพภาสิตนั้นเรียกลอย ๆ เพราะมาในวิภังค์แห่งเดียว. ส่วน
|
|
06,0025,015,สิกขาบทเดิมเป็นต้นเค้านั้นเรียกว่ามาติกา.
|
|
06,0025,016,ในที่นี้กล่าวความแห่งสิกขาบทหนึ่งแล้ว จักแจกอาบัติในวิภังค์
|
|
06,0025,017,นั้นด้วย ในที่อันควรจะกล่าว. ข้าพเจ้าปรารถนาและแสดงสิกขาบท
|
|
06,0025,018,ทั้งหลายให้เป็นหมวด ๆ ตามความหมายของสิกขาบท เพื่อผู้ศึกษา
|
|
06,0025,019,จะได้หยั่งเห็นโทษหนักเบาถนัด แต่การที่ไม่กล่าวตามลำดับในพระ
|
|
06,0025,020,ปาติโมกข์นั้น จะให้จำและค้นคว้ายากเหมือนกัน เหตุนั้น จักกล่าว
|
|
06,0025,021,ตามลำดับในพระปาติโมกข์ก่อน แล้วจึงจักจัดเข้าหมวดต่อไป.
|
|
|