dhamma-scholar-book / 31 /310033.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
3.39 kB
Book,Page,LineNumber,Text
31,0033,001,อย่างนี้ คือ ศีล สำหรับกำจัดกิเลสอย่างหยาบ อันให้ล่วงทางกาย ทาง
31,0033,002,"วาจา เรียกว่าวิติกกมะ, สมาธิ สำหรับกำจัดกิเลสอย่างกลาง ที่ให้"
31,0033,003,"กลัดกลุ้มรุมใจ เรียกว่าปริยุฏฐาน, ปัญญา สำหรับกำจัดกิเลสอย่าง"
31,0033,004,ละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน เรียกว่าอนุสัย.
31,0033,005,๒๔๕๗
31,0033,006,ถ. จงแสดงกิจแห่งสิกขา ๓ อย่าง ?
31,0033,007,"ต. ศีลมีอันป้องกันวิติกกมโทษเป็นกิจ, สมาธิ มีอันปราบปราม"
31,0033,008,"ปริยุฏฐานกิเลสเป็นกิจ, ปัญญา มีอันกำจัดอนุสัยกิเลสเป็นกิจ."
31,0033,009,๒๔๕๗
31,0033,010,ถ. จงแสดงสิกขาของภิกษุ อธิบายพอได้ความ เพื่อเป็นทาง
31,0033,011,ปฏิบัติ ?
31,0033,012,ต. สิกขาของภิกษุนั้นท่านจัดเป็น ๓ อย่าง คือ ศีล ๑ สมาธิ ๑
31,0033,013,ปัญญา ๑ ความสังวรตามพระวินัย ยังอาการกายวาจาให้เรียบร้อยไม่
31,0033,014,ล่วงพระพุทธบัญญัติ และบำเพ็ญวัตรจริยาที่ยังควรจะทำได้ ยังตนให้
31,0033,015,เป็นคนสุภาพ นี้จัดเป็นศีล การรู้วิธีทำใจให้ปลอดจากนิวรณ์ต่าง ๆ
31,0033,016,เรียกว่าสมาธิ ทำจิตให้อาจให้ควรแก่การงานในคราวที่ต้องการ เรียกว่า
31,0033,017,ปัญญา แปลตามศัพท์ว่า ธรรมชาติรู้เห็นชัด หรือธรรมชาติเป็นเหตุ
31,0033,018,ให้เห็นชัด แต่ในพระพุทธศาสนามุ่งความบริสุทธิ์เป็นผล และความ
31,0033,019,บริสุทธิ์นั้นจะมีได้ก็เพราะปัญญากำหนดรู้สังขารภายใน กล่าวคือ กาย
31,0033,020,กับใจนี้ การมีปรีชาหยั่งรู้ธรรมดานิยมและเข้าใจสภาวะทั้งหลาย ตาม
31,0033,021,เป็นไปอย่างไร เรียกว่าความรอบรู้ในกองสังขาร.
31,0033,022,๒๔๕๘