dhamma-scholar-book / 31 /310029.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
3.06 kB
Book,Page,LineNumber,Text
31,0029,001,แล้วไม่ทำสิ่งนั้น ๑ เมื่อรังเกียจสงสัยแล้ว จะไม่ขืนทำเป็นอันขาด ๑
31,0029,002,เช่นนี้เธอจะยังมีทางต้องอาบัติอย่างไหนบ้างหรือไม่ ?
31,0029,003,ต. มี คือต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นอาบัติ ด้องด้วยสำคัญว่าควร
31,0029,004,ในของที่ไม่ควร ต้องด้วยลืมสติ.
31,0029,005,๒๑/๘/๗๓
31,0029,006,ถ. ข้อว่าสงสัยแล้วขืนทำลง กับข้อว่า สำคัญว่าไม่ควรในของ
31,0029,007,ที่ควรนั้น เป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัติอะไรบ้าง ?
31,0029,008,ต. การสงสัยแล้วขืนทำ ถ้าการที่ทำนั้นผิดพระบัญญัติ ก็ต้อง
31,0029,009,อาบัติตามวัตถุ กล่าวคืออาจเป็นตั้งแต่ปาราชิกลงไปจนถึงทุพภาสิต
31,0029,010,ถ้าไม่ผิดพระบัญญัติ ก็ต้องอาบัติทุกกฎ เพราะสงสัยแล้วขืนทำ ส่วน
31,0029,011,การสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควรนั้น เป็นเหตุให้ต้องอาบัติทุกกฎตาม
31,0029,012,สัญญาอย่างเดียว.
31,0029,013,๑/๑๐/๗๙
31,0029,014,ถ. จงยกตัวอย่าง ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ?
31,0029,015,ต. ตัวอย่าง สำคัญว่าไม่ควรในของที่ควรนั้น คือ เช่นยังเช้าอยู่
31,0029,016,สำคัญว่าเที่ยงแล้ว ฉันอาหารเป็นอาบัติทุกกฎ หรืออีกอย่างหนึ่ง
31,0029,017,เนื้อสุกรสำคัญว่าเนื้อหมี ซึ่งเป็นเนื้อที่เขาไม่ค่อยจะนิยมกินเป็นอาหาร
31,0029,018,กัน เมื่อฉันเข้าไปคงเป็นอาบัติเหมือนกัน.
31,0029,019,๒๔๕๗
31,0029,020,ถ. อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร มีกี่ชื่อ ?
31,0029,021,อะไรบ้าง ?