title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 35/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 35/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ในวรรคหนึ่งของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “(3) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุข้อความ “ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อกองทุนรวม” ข้อ ๒ ในกรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนรวมดังกล่าวก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ (1) เป็นกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดอายุโครงการไว้อย่างชัดเจนในโครงการและเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (2) เป็นกองทุนรวมอื่นที่ไม่ใช่กองทุนรวมตาม (1) ทั้งนี้ ให้ได้รับยกเว้นเฉพาะในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 180 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
200
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 56/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 56/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป โดยไม่ได้จํากัดผู้ลงทุนที่จะซื้อหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมวายุภักษ์” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมวายุภักษ์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” และคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ““กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมวายุภักษ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
201
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 13/2561 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 13/2561 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมภายใต้โครงการดังต่อไปนี้ ต้องดําเนินการโดยวิธีการตามวรรคหนึ่ง (1) เท่านั้น (1) โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (2) โครงการ Asia Region Funds Passport” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “(6) มีข้อความที่แสดงว่าในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จนทําให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องดําเนินการกับทรัพย์สินของลูกค้าภายใต้การจัดการ หรือไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่นที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจนเป็นเหตุให้ต้องระงับการประกอบธุรกิจนั้น ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการตามที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ดังนี้ และให้ลูกค้ามีสิทธิบอกเลิกสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้โดยบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากลูกค้าอันเนื่องจากการเลิกสัญญาดังกล่าว (ก) จัดให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลอื่นเข้าจัดการเงินทุนของลูกค้าแทน (ข) เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเพื่อให้ลูกค้ามีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นโดยตรง” ข้อ 4 ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ทําไว้กับลูกค้าก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 ให้เป็นไปตามข้อ 37(6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 1 และข้อ 2 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
202
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2562 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6)
--ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 24/09/61 CSDS เลขที่ 47/2561.......... ครั้งที่ 1 ผ่านทาง.....CSDS.................. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2562 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองในข้อ 16 ของส่วนที่ 3 การยื่นคําขออนุมัติในลักษณะที่จะได้รับการอนุมัติเป็นการทั่วไป ในหมวด 2 การจัดตั้งกองทุนรวม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ความในส่วนนี้ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ของประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ (2) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน ซึ่งกําหนดราคาหน่วยลงทุนเพื่อการขายและรับซื้อคืนคงที่ตลอดเวลา” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 38 ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
203
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 2/2563 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 2/2563 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย บริษัทจัดการกองทุนรวมจะกําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมอีทีเอฟ หรือกองทุนรวมเพื่อการออม ตามประกาศการลงทุนไม่ได้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 และข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งกองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อการออม ตามประกาศการลงทุน กองทุนรวมดังกล่าวต้องเป็นกองทุนรวมเปิดเท่านั้น ข้อ 8 หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอาจแบ่งเป็นหลายชนิดได้ โดยต้องกําหนดสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนชนิดเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน และการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนให้แบ่งตามกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน (2) ระยะเวลาการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (3) สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล (4) อัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน (5) กรณีเงินที่รับโอนจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือเงินดังกล่าวพร้อมผลประโยชน์ที่รับโอนต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น (6) สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (7) กรณีอื่นใดตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนดังกล่าวสามารถปฏิบัติได้จริงและได้คํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ตลอดจนผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดจะได้รับแล้ว การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ครอบคลุมถึงกรณีที่มีการกําหนดสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนตามสกุลเงินที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากการชําระค่าขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ถือหน่วยลงทุน การจ่ายเงินปันผลหรือการให้สิทธิและผลประโยชน์อื่นใดในหน่วยลงทุน กองทุนรวมจะแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนเป็นหน่วยลงทุนที่มีลักษณะเดียวกับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่ได้” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 8/1 ในกรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 กองทุนรวมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (2) ไม่เป็นกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (3) ต้องระบุข้อความ “ชนิดเพื่อการออม” ไว้ในชื่อชนิดของหน่วยลงทุนดังกล่าว” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ในวรรคหนึ่งของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 35/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560 “(4) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมตามประกาศการลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุข้อความ “เพื่อการออม” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อกองทุนรวม ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามข้อ 8/1” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
204
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2563 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2563 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 29 ให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลง หากปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุดระยะ เวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมครั้งแรกแล้ว กองทุนรวมมีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ไม่ถึง 35 ราย เว้นแต่เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมอีทีเอฟตามประกาศการลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้สํานักงานทราบกรณีตามวรรคหนึ่งภายใน 15 วันนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าว” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 40 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 40 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศนี้ ซึ่งมีนัยสําคัญต่อการพิจารณาอนุมัติคําขอจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ ให้สํานักงานมีอํานาจที่จะไม่อนุมัติคําขอจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นต่อสํานักงานหรือสั่งระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแล้วในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่ได้เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกต่อประชาชน” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
205
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 70/2563 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 70/2563 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
206
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 76/2563 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 76/2563 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) ในการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ หรือการเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนหลักทรัพย์เพื่อการบริหารสภาพคล่อง ต้องมีการกําหนดวงเงิน เงื่อนไข และอัตราส่วนในการทําธุรกรรมดังกล่าวเมื่อเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินที่มอบหมายให้ลงทุน และมีข้อความแสดงความยินยอมของลูกค้าในการมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการในเรื่องดังกล่าวด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
207
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๕/๒๕๖๖ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๑๒)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๕/๒๕๖๖ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๑๒) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖) ในวรรคสองของข้อ ๕ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๑๓/๒๕๖๖ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๑๑) ลงวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ “(๖) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนตามประกาศการลงทุน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๖ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๒/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย บริษัทจัดการ กองทุนรวมจะกําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมอีทีเอฟ กองทุนรวมเพื่อการออม หรือกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ตามประกาศการลงทุนไม่ได้” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๒/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป และเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งกองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการออม หรือกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ตามประกาศการลงทุน กองทุนรวมดังกล่าวต้องเป็นกองทุนรวมเปิดเท่านั้น ในกรณีที่เป็นการจัดตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน กองทุนรวมดังกล่าวต้องเป็นกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปด้วย” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖/๑) ในวรรคหนึ่งของข้อ ๘ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๒/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ “(๖/๑) สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๒/๑) ของข้อ ๘/๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๒/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ “(๒/๑) ไม่เป็นกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน” ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘/๒ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ “ข้อ ๘/๒ ในกรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ กองทุนรวมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (๒) ไม่เป็นกองทุนรวมเพื่อการออม (๓) ต้องระบุข้อความ “ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน” ไว้ในชื่อชนิดของหน่วยลงทุนดังกล่าว” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๑๓/๒๕๖๖ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่ รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๑๑) ลงวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ การกําหนดชื่อของกองทุนรวมต้องไม่มีลักษณะที่อาจทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดในลักษณะ ประเภท ความเสี่ยง หรือผลตอบแทนของกองทุนรวม และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุชื่อเฉพาะของกองทุนรวมดังกล่าวว่า “กองทุนรวมที่ลงทุนใน กองโครงสร้างพื้นฐาน” กองโครงสร้างพื้นฐานตาม (๑) วรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง (ก) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรม ในตลาดทุน (ค) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนโครงสร้างพื้นฐานตาม (๑) วรรคสอง (ก) หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตาม (๑) วรรคสอง (ข) ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (๒) กรณีที่เป็นกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุชื่อ ของกองทุนรวมดังกล่าวให้สะท้อนถึงหมวดอุตสาหกรรมที่กองทุนรวมนั้นมุ่งลงทุน (๓) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุข้อความ “ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อกองทุนรวม (๔) กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมตามประกาศการลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุข้อความ “เพื่อการออม” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อกองทุนรวม ความใน (๔) วรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ตามข้อ ๘/๑ (๕) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมอิสลาม ตามประกาศการลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุชื่อของกองทุนรวมดังกล่าวให้สะท้อนถึง การมุ่งเน้นลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม (๖) กรณีที่เป็นกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนตามประกาศการลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุข้อความ “ไทยเพื่อความยั่งยืน” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อกองทุนรวม ความใน (๖) วรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ตามข้อ ๘/๒” ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
208
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. ๔๔/๒๕๖๖ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๑๓)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๔๔/๒๕๖๖ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๑๓) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๕/๒๕๖๖ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๑๒) ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในส่วนที่ ๑ โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ได้ ๒ วิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) การยื่นคําขออนุมัติโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบปกติ ซึ่งเป็นไปตามส่วนที่ ๒ (๒) การยื่นคําขออนุมัติโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบเร่งด่วน (fast track) ซึ่งเป็นไปตามส่วนที่ ๓ การขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมดังต่อไปนี้ ต้องดําเนินการโดยวิธีการตามวรรคหนึ่ง (๑) เท่านั้น (๑) กองทุนรวมภายใต้โครงการ Cross - border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (๒) กองทุนรวมภายใต้โครงการ Asia Region Funds Passport (๓) กองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ของประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ (๔) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน ซึ่งกําหนดราคาหน่วยลงทุนเพื่อการขายและรับซื้อคืนคงที่ตลอดเวลา (๕) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมอิสลามตามประกาศการลงทุน (๖) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนตามประกาศการลงทุน (๗) กองทุนรวมตราสารหนี้ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นกองทุน buy & hold ตามประกาศการลงทุน ที่ออกและเสนอขายในประเทศไทย (๘) กองทุนรวมผสมตามประกาศการลงทุนที่ออกและเสนอขายในประเทศไทย ในกรณีที่กองทุนรวมตามวรรคสอง (๗) หรือ (๘) เป็นกองทุนรวมตามข้อ ๑๖ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบเร่งด่วนได้อีกวิธีการหนึ่งด้วย” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในส่วนที่ ๓ การยื่นคําขออนุมัติในลักษณะที่จะได้รับการอนุมัติเป็นการทั่วไป ของหมวด ๒ การจัดตั้งกองทุนรวม ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ และ ข้อ ๒๐ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๑๓/๒๕๖๖ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ ๑๑) ลงวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ส่วนที่ ๓ การยื่นคําขออนุมัติโดยมีการพิจารณา คําขออนุมัติแบบเร่งด่วน ข้อ ๑๖ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามส่วนนี้ได้ต่อเมื่อเป็นกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (๑) กองทุนรวมฟีดเดอร์ตามประกาศการลงทุนที่กําหนดนโยบายการลงทุนในหน่วยของกองทุนปลายทางในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามภาคผนวกกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่สามารถยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบเร่งด่วนแนบท้ายประกาศนี้ซึ่งกองทุนปลายทางดังกล่าวได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมด้วยวิธีการแบบปกติ ตามส่วนที่ ๒ โดยไม่มีการปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนและมีการกําหนดตัวชี้วัดของกองทุนรวมฟีดเดอร์สอดคล้องกับกองทุนปลายทางดังกล่าว (๒) กองทุนรวมฟีดเดอร์ตามประกาศการลงทุนที่กําหนดนโยบายการลงทุนในหน่วยของกองทุนปลายทางในต่างประเทศที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามภาคผนวกกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่สามารถยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบเร่งด่วนแนบท้ายประกาศนี้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนและมีการกําหนดตัวชี้วัดของกองทุนรวมฟีดเดอร์สอดคล้องกับกองทุนปลายทางดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่กําหนดอายุของกองทุนรวมและมีการลงทุนในกองทุนปลายทางที่ไม่มีลักษณะเป็นกองทุน buy & hold ตามประกาศการลงทุน (๓) กองทุนรวมที่กําหนดรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญในเรื่องดังนี้ เหมือนกับกองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเคยได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมด้วยวิธีการแบบปกติ ตามส่วนที่ ๒ (ก) นโยบายการลงทุน (ข) ตัวชี้วัดของกองทุนรวม (ค) ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน (ง) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนและจากกองทุนรวม(จ) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน(ฉ) ข้อความสงวนสิทธิ (ช) การคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ซ) รายละเอียดอื่นที่เป็นสาระสําคัญของกองทุนรวม ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิทธิหรือประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (๔) กองทุนรวมอื่นนอกจาก (๑) (๒) หรือ (๓) ที่จะจัดตั้งโดยมีเงื่อนไขดังนี้ครบถ้วน (ก) กรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ต้องมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวทั้งหมด (ข) กรณีที่จะจัดตั้งกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน การจ่ายผลตอบแทนดังกล่าวต้องสะท้อนจากผลตอบแทนที่กองทุนรวมได้รับจากทรัพย์สินที่ลงทุนอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณใด ๆ (ค) ไม่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมฟีดเดอร์ตามประกาศการลงทุน (ง) ไม่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เว้นแต่เป็นการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (จ) ไม่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน (ฉ) ไม่มีวิธีการจัดการกองทุนรวมที่กําหนดไว้ในโครงการหรือข้อผูกพันที่ต้องขอรับความเห็นชอบหรือขอผ่อนผันจากสํานักงานก่อน ข้อ ๑๗ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ สามารถยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามส่วนนี้พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอต่อสํานักงานผ่านระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (๑) มีระบบงานในเรื่องการจัดตั้งกองทุนรวมและการจัดทําหนังสือชี้ชวน ตามแนวทางที่กําหนดในประกาศแนวปฏิบัติว่าด้วยแนวปฏิบัติเกี่ยวกับระบบงานการประกอบธุรกิจจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากสํานักงานแล้ว (๒) มีการรับรองโดยผู้บริหารของบริษัทจัดการกองทุนรวมว่ากองทุนรวมที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งมีการดําเนินการตามนโยบายและระบบงานในการออกเสนอขายกองทุนรวม (product governance) ให้สํานักงานพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ (๑) ภายในวันทําการที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ตามวรรคหนึ่ง และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ชําระค่าธรรมเนียมคําขอภายในเวลา ๑๕.๓๐ น. สําหรับคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีลักษณะเป็นกองทุน buy & hold และไม่มีข้อกําหนดในโครงการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในระหว่างอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวมหรืออายุของกองทุนรวม (๒) ภายใน ๓ วันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ชําระค่าธรรมเนียมคําขอภายในเวลาทําการของสํานักงาน สําหรับคําขอจัดตั้งกองทุนรวมอื่นนอกจาก (๑) ในการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามส่วนนี้ สํานักงานอาจพิจารณาคําขอโดยวิธีการสุ่มตรวจจากระดับความเสี่ยง (risk – based approach) ก็ได้ เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง (๒) คําว่า “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานระดับผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไป รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการมอบอํานาจ ผู้รับมอบอํานาจต้องมีตําแหน่งไม่น้อยกว่าผู้อํานวยการฝ่ายหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมค่าธรรมเนียมคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตามส่วนนี้ ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ ๑๘ ให้สํานักงานดําเนินการตรวจสอบกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งตามส่วนนี้โดยวิธีการสุ่มตรวจจากระดับความเสี่ยง (risk – based approach) โดยในกรณีที่พบข้อบกพร่องอย่างมีนัยสําคัญจากการตรวจสอบ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งระงับการยื่นคําขอของบริษัทจัดการกองทุนรวมในการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามส่วนนี้ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามส่วนนี้อีกครั้งให้สามารถดําเนินการได้เมื่อพ้นกําหนดเวลา ๖ เดือนนับแต่วันที่สํานักงานพิจารณาแล้วเห็นว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบตามวรรคหนึ่งแล้ว ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมใดยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามส่วนนี้โดยฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (๑) สั่งระงับการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมคําขอใหม่ที่ยื่นตามส่วนนี้ หรือตามส่วนที่ ๒ เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่เห็นสมควร ซึ่งไม่เกิน ๑ ปีนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว (๒) สั่งห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดังกล่าวเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแล้วแต่ยังมิได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตามระยะเวลาที่เห็นสมควร (๓) แจ้งข่าวข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งการของสํานักงานตาม (๑) หรือ (๒) ต่อสาธารณชน หรือ จัดข้อมูลดังกล่าวไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง นอกจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง กรรมการและผู้บริหารของบริษัทจัดการกองทุนรวมอาจถูกดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๒๐ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ ๑๙ สํานักงานสามารถนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา (๑) พฤติกรรมของบริษัทจัดการกองทุนรวมในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (๒) ผลกระทบหรือความเสียหายจากการกระทําของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีต่อผู้ลงทุน (๓) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดพฤติกรรมเดียวกันนั้นซ้ําอีก (๔) พฤติกรรมอื่นของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน (๕) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่ไม่เหมาะสม” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๒๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๑ การขอแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของโครงการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นต่อสํานักงานในการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม ให้กระทําได้ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก เว้นแต่เป็นการยื่นคําขอในลักษณะที่จะได้รับการอนุมัติแบบเร่งด่วนตามส่วนที่ ๓ ต้องไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของโครงการจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมแล้ว” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๑ และข้อ ๓๒ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าการยื่นคําขออนุมัติในลักษณะที่จะได้รับการอนุมัติแบบเร่งด่วน ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในส่วนที่ ๓ หรือมีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระ (substance) ที่แท้จริงของการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น เข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้การอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่สํานักงานกําหนด เว้นแต่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับผ่อนผันจากสํานักงานด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) กองทุนรวมดังกล่าวเข้าข่ายที่จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งได้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบปกติตามส่วนที่ ๒ (๒) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อ ๑๖ แล้วการขอผ่อนผันต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นคําขอผ่อนผันเป็นหนังสือและชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอผ่อนผันตามอัตราที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (๒) ในกรณีขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระส่วนต่างของค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบปกติตามส่วนที่ ๒ และค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติในลักษณะที่จะได้รับการอนุมัติแบบเร่งด่วนตามส่วนที่ ๓ ทั้งนี้ตามอัตราที่กําหนดในประกาศที่ระบุในวรรคสอง (๑) บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคสอง (๑) และส่วนต่างของค่าธรรมเนียมตามวรรคสอง (๒) จากกองทุนรวมมิได้ ข้อ ๓๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติแบบเร่งด่วนตามส่วนที่ ๓ ซึ่งต่อมามีเหตุทําให้การอนุมัติสิ้นสุดลงตามข้อ ๓๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (๑) หากมีการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้ว แต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระเงินดังนี้ ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งถึงการสิ้นสุดลงของกองทุนรวมจากสํานักงาน (ก) เงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน (ข) ผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินตาม (๑) (ก) (ค) ดอกเบี้ยของเงินตาม (๑) (ก) ในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ ๗.๕ ต่อปี โดยให้เริ่มคํานวณตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งการสิ้นสุดลงของกองทุนรวมจนถึงวันที่บริษัทจัดการ กองทุนรวมชําระเงินค่าจองซื้อจนครบถ้วน (๒) ในกรณีที่มีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันทีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับแจ้งถึงการสิ้นสุดลงของกองทุนรวมจากสํานักงาน ทั้งนี้ หากชําระบัญชีกองทุนรวมแล้วปรากฏว่าเงินที่เฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีจํานวนน้อยกว่าผลรวมของเงินดังนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระส่วนต่างแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ชําระบัญชีเสร็จสิ้น (ก) เงินค่าซื้อหน่วยลงทุน (ข) ดอกเบี้ยของเงินตาม (๒) (ก) ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี โดยให้เริ่มคํานวณตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนจนถึงวันที่ผู้ชําระบัญชีเฉลี่ยเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน” ข้อ ๕ ให้เพิ่มภาคผนวกกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่สามารถยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบเร่งด่วนแนบท้ายประกาศนี้ เป็นภาคผนวกกองทุนรวมฟีดเดอร์ ที่สามารถยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบเร่งด่วนแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและการเข้าทําสัญญารับจัดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๖ ในกรณีที่ได้มีการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนต่อสํานักงานแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การพิจารณาอนุมัติคําขอดังกล่าวเป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
209
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(5) มาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 9 วรรคหนึ่ง (1) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสัดส่วนตามนโยบายการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ บทนิยามและคําศัพท์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒ ในประกาศและภาคผนวกท้ายประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศและภาคผนวกท้ายประกาศที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ยกเลิก ยกเลิก “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ “กองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “การลงทุน” หมายความว่า การจัดการลงทุนในทรัพย์สินหรือการเข้าเป็นคู่สัญญาในธุรกรรมทางการเงิน หรือการได้มาหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหรือธุรกรรมดังกล่าว “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารทางการเงินหรือสัญญา ซึ่งมีข้อตกลงและเงื่อนไขที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วย โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ทําให้การชําระหนี้ที่กําหนดไว้ตามตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาหลักทรัพย์ หรือดัชนีราคาทรัพย์สิน เป็นต้น (2) มีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงที่ไม่สัมพันธ์กับตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (3) เป็นผลให้สถานะความเสี่ยงโดยรวมและราคาของตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกัน ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ให้ใช้คําศัพท์ตามภาคผนวก 1 ประกอบการพิจารณาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ส่วน ๒ วัตถุประสงค์ของการกํากับดูแลและ มาตรฐานการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ข้อกําหนดตามประกาศนี้เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการลงทุนของกองทุนที่มุ่งหมายให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการลงทุนเพื่อกองทุนด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ ตลอดจนให้เหมาะสมกับประเภทกองทุนและลักษณะของผู้ลงทุน และมีการกระจายความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยสามารถรักษาสภาพคล่องของกองทุนอย่างเพียงพอในสถานการณ์ต่าง ๆ ข้อ ๕ บริษัทจัดการจะต้องจัดการลงทุนโดย (1) คํานึงถึงประโยชน์ของกองทุนและผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) ไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงหรือบิดเบือนในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) เจตนารมณ์ตามที่กําหนดในข้อ 4 (ข) ข้อกําหนดเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน (ค) การลงทุนตามประเภททรัพย์สิน ภายใต้อัตราส่วนการลงทุนและการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 9 (3) ใช้ความรู้ความสามารถ ความเอาใจใส่ และความระมัดระวัง ตามมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการลงทุน (investment management) หรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอันพึงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (4) ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ลงทุนโดยมีการกระจายความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนให้สอดคล้องกับข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ลงทุน (asset profile) ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับจากผู้ลงทุนด้วย ส่วน ๓ ขอบเขตและการใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการลงทุนของกองทุนรวมซึ่งมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น กองทุนรวมดังต่อไปนี้ เป็นต้น (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (4) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (5) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (6) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (7) กองทุนรวมคาร์บอน ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (Non-retail Mutual Fund) แต่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้มีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 3 ไม่ได้ ข้อ ๗ ในการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ โดยต้องจัดการลงทุนและปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายใต้กรอบการลงทุนที่เป็นที่ยอมรับตาม Part II: the Product Restrictions of Qualifying CIS ซึ่งอยู่ใน Appendix C: Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอผ่อนผันหรือคําขอรับความเห็นชอบใดตามประกาศนี้มาพร้อมกับคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม สํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันหรือคําขอรับความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน หมวด ๒ หลักเกณฑ์การลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ บริษัทจัดการต้องกําหนดนโยบายการลงทุน และลงทุนตามประเภททรัพย์สิน ภายใต้อัตราส่วนการลงทุนและการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในการกําหนดนโยบายการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้มีนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุนตามภาคผนวก 2 และต้องจัดการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในโครงการหรือสัญญารับจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี (ข) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ให้มีนโยบายการลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการ (ค) กรณีเป็นกองทุนส่วนบุคคล ให้มีนโยบายการลงทุนตามที่ระบุไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้ บริษัทจัดการต้องจัดการลงทุนเฉพาะทรัพย์สินตามที่กําหนดในภาคผนวก 3 เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือกองทุนส่วนบุคคล ให้จัดการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 14 ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวต้องไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องโดยรวมในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการจ่ายเงินให้กับสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (3) ในการลงทุนภายใต้อัตราส่วนการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-retail MF (ข) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-AI (ค) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-UI (ง) กรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-PVD (4) ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน บริษัทจัดการต้องคํานวณให้เป็นไปตามภาคผนวก 5 ในกรณีเป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ (Country Fund) บริษัทจัดการสามารถขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) หรืออัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ของภาคผนวก 4-retail MF หรือส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ของภาคผนวก 4-AI แล้วแต่กรณี เมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร ต่อสํานักงานได้ ในกรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (3) (ง) และคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (4) แยกตามรายนโยบายการลงทุนแทนการลงทุนและการคํานวณตามรายกองทุน เว้นแต่เป็นการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามส่วนที่ 4 ของภาคผนวก 4–PVD ให้คํานวณตามรายกองทุน ข้อ 9/1 ในการจัดการลงทุนในต่างประเทศเพื่อกองทุนซึ่งต้องมีการชําระเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ บริษัทจัดการจะลงทุนได้เมื่อเป็นการลงทุนภายใต้วงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากสํานักงาน ในการขอรับการจัดสรรวงเงินเพื่อการจัดการลงทุนในต่างประเทศตามวรรคหนึ่งให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อสํานักงานผ่านระบบควบคุมวงเงินการลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Allotment System) ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๑๐ ในการลงทุนของบริษัทจัดการ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ได้ (1) การกําหนดประเภททรัพย์สินเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการกําหนดลักษณะของกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม (2) การกําหนดประเภท อัตราส่วนการลงทุน และการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนของทรัพย์สินที่กองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนเพิ่มเติม (3) การกําหนดประเภท อัตราส่วนการลงทุน และการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนของตราสารทุนหรือตราสารหนี้ที่กองทุนสามารถลงทุนเพิ่มเติม หรือของตราสารหรือทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมที่กองทุนสามารถใช้ทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (4) การกําหนดนิติบุคคลเพิ่มเติม ที่สามารถมีฐานะเป็นคู่สัญญาในธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์กับกองทุน (5) การกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ในเรื่องดังนี้ (ก) สินค้าหรือตัวแปรเพิ่มเติมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ข) การจัดให้มีทรัพย์สินที่เพียงพอต่อการชําระหนี้ตามภาระผูกพันสําหรับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ค) ลักษณะการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (ง) วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนและฐานะความเสี่ยงของการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และการบริหารความเสี่ยง (จ) วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือตัวแปรที่มีการอ้างอิงโดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (6) วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินของกองทุนที่มีการลดความเสี่ยงโดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนย้ายความเสี่ยงด้านเครดิตของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรฐานสากล (credit derivatives) ในการประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการลงทุนของกองทุน เช่น ความเสี่ยง สภาพคล่อง วิธีการประเมินมูลค่า หรือการเปิดเผยข้อมูล เป็นต้น ประกอบการพิจารณาประกาศกําหนดหลักเกณฑ์นั้นด้วย ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดในการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเกี่ยวกับการควบคุมอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสมาชิกแต่ละรายของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมหรือกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก ตามส่วนที่ 3 การกําหนดนโยบายการลงทุนของ PVD ของภาคผนวก 2 หรือมีนโยบายการลงทุนโดยมีอัตราส่วนการลงทุนผ่อนคลายกว่าอัตราส่วนการลงทุนสําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทั่วไปในภาคผนวก 4-PVD ข้อ ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ให้บริษัทจัดการใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่จะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่นตามภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาใช้อันดับความน่าเชื่อถือให้เหมาะสมกับการลงทุนของกองทุนได้ ข้อ ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ส่วน ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือกองทุนส่วนบุคคล ในตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินอื่นใดได้ทุกประเภท ในกรณีทรัพย์สินที่มีการลงทุนตามวรรคหนึ่งเป็นทรัพย์สินในประเภทที่กองทุนสามารถลงทุนได้ตามภาคผนวก 3 มิให้นําความในภาคผนวกดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ในการลงทุนมาใช้บังคับ ในกรณีที่การลงทุนตามวรรคหนึ่งเป็นการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (short sale) ให้บริษัทจัดการกระทําได้เฉพาะในกรณีที่คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ให้ยืมเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 4(1) ถึง (23) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง โดยอนุโลม ส่วน ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจะมีการลงทุนในทรัพย์สินตามภาคผนวก 4-PVD ส่วนที่ 3 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit)ในข้อ 5.1 ถึงข้อ 5.6 เกินกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (พิจารณาตามรายนโยบายการลงทุน) บริษัทจัดการต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพก่อนทําการลงทุน ข้อ 15/1 หลักเกณฑ์ในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับกองทุนส่วนบุคคล หลักเกณฑ์ในข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18/1 ข้อ 21 ข้อ 22 และข้อ 23 ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หมวด ๓ การดําเนินการเมื่อการลงทุนไม่เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน โดยมีอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนซึ่งได้จากการคํานวณค่าตามมาตรฐานสากลไม่เกินกว่า 92 วันตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 แต่ต่อมาอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดดังกล่าวติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 วันทําการโดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงาน โดยระบุอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าว และสาเหตุที่ไม่สามารถดํารงอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 รวมทั้งจัดส่งต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ดําเนินการแก้ไขอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคหนึ่ง (2) วรรคสอง ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการแก้ไขเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (2) วรรคหนึ่ง หรือบริษัทจัดการมีความเห็นว่าการดําเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน บริษัทจัดการสามารถใช้ดุลยพินิจดําเนินการตามความเหมาะสมได้โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ และต้องส่งรายงานเกี่ยวกับการดําเนินการของบริษัทจัดการในเรื่องดังกล่าวต่อสํานักงาน ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ก่อนครบระยะเวลาที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ในการจัดส่งรายงานดังกล่าวให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการสามารถดําเนินการโดยวิธีการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการแทนได้ (3) จัดทํารายงานเมื่อบริษัทจัดการสามารถแก้ไขอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวได้ โดยให้ระบุอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวของกองทุนรวมและวันที่สามารถแก้ไขได้ และดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) โดยอนุโลม ในระหว่างที่บริษัทจัดการไม่สามารถแก้ไขอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้ครบถ้วนดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคํานึงว่าระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง (2) ได้ล่วงพ้นไปแล้วหรือไม่ (1) จัดทํารายงานเมื่ออายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าว ณ ขณะใดขณะหนึ่งเกินกว่า 4 เดือน และทุกครั้งที่เพิ่มขึ้นเกิน 1 เดือน ตามลําดับ โดยรายงานดังกล่าวให้มีสาระสําคัญตามวรรคหนึ่ง (1) โดยอนุโลม (2) ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) โดยอนุโลม ส่วน ๑ ทรัพย์สินที่ลงทุนขาดคุณสมบัติหรือการลงทุน ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖/๑ ในส่วนนี้ “หน่วยของกองทุนต่างประเทศ” หมายความว่า ตราสารหรือหลักฐานซึ่งแสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะเจ้าของหรือผู้รับประโยชน์ตามโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่ว่าโครงการจัดการลงทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด ข้อ ๑๗ ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ แต่ต่อมาทรัพย์สินที่ลงทุนมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไปจนเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้อีกต่อไป บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนและวันที่ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติ และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่เกิดกรณีดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) จําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (ก) 30 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ กรณีเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน (ข) 90 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ กรณีเป็นกองทุนรวม หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นนอกเหนือจากกองทุนตาม (ก) (3) เมื่อบริษัทจัดการสามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติ หรือทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้ว บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่ได้จําหน่ายทรัพย์สินนั้นออกไปหรือวันที่ทรัพย์สินมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ แล้วแต่กรณี และให้จัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่เกิดกรณีดังกล่าว ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน โดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ไม่ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด (3) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (ก) 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน สําหรับการลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามภาคผนวก 4-retail MF ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 หรืออัตราส่วนการลงทุนตามภาคผนวก 4-UI ในข้อ 1 หรืออัตราส่วนการลงทุนตามภาคผนวก 4-AI ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 แล้วแต่กรณี (ข) 90 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีอื่นใดนอกเหนือจากกรณีตาม (3) (ก) หรือ (ค) เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (ค) 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเนื่องจากมีการลดหรือเพิ่มจํานวนนายจ้างในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจนเป็นเหตุให้นายจ้างรายใดรายหนึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในส่วนของนายจ้างรายนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (4) เมื่อบริษัทจัดการสามารถแก้ไขจนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดแล้ว บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน แล้วแต่กรณี และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการแก้ไขจนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้น (5) ในกรณีที่กองทุนมีหุ้นของบริษัทใดโดยไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามที่กําหนดในภาคผนวก 4-retail MF ภาคผนวก 4-AI หรือภาคผนวก 4-PVD แล้วแต่กรณี นอกจากการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (4) แล้ว บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ด้วย (ก) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุน เว้นแต่กรณีจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ข) ลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ทรัพย์สินเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นผลให้กองทุนได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกองทุนรวมฟีดเดอร์ ในส่วนที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) โดยให้ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 18/1 หรือข้อ 18/2 แล้วแต่กรณี ข้อ 18/1 ในกรณีกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งก่อนวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ หากปรากฏว่ามีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการกองทุนรวม (2) ห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อขยายวงเงินสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฟีดเดอร์ดังกล่าวที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงานแล้ว จนกว่าการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด (3) ในกรณีที่มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามภาคผนวก 6 และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากกองทุนรวมฟีดเดอร์หรือผู้ถือหน่วยลงทุนในลักษณะที่ซ้ําซ้อนกับกองทุนรวมหรือกองทุนต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงดังกล่าว รวมถึงเหตุผลและความจําเป็นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายนั้น ภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (4) ในกรณีที่อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมฟีดเดอร์เป็นไปตามที่กําหนดแล้ว ให้จัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่อัตราส่วนเป็นไปตามที่กําหนด และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายในวันทําการถัดจากวันที่เป็นไปตามที่กําหนดนั้น ข้อ 18/2 ในกรณีกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหลังวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ หากปรากฏว่ามีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน (1) ดําเนินการตามข้อ 18/1(1) และ (4) (2) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (3) เมื่อครบระยะเวลาตาม (2) แล้วหากบริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่สามารถแก้ไขได้ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด ข้อ ๑๙ ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดแต่ต่อมามีกรณีดังต่อไปนี้ จนเป็นเหตุให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 18 หรือข้อ 18/1 แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม (1) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนหรือได้สิทธิจากการเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ตามสัดส่วนที่มีอยู่เดิมนั้น (2) กรณีที่กองทุนได้รับทรัพย์สินมาจากการบริจาค ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการแก้ไขเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 17(2) หรือข้อ 18 วรรคหนึ่ง (3) (ข) หรือ (ค) หรือบริษัทจัดการมีความเห็นว่าการดําเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 16 วรรคหนึ่ง (2) วรรคสอง โดยอนุโลม ส่วน ๒ การลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน ตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่กองทุนมีสัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน พร้อมทั้งเหตุผลที่ทําให้มีการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ดําเนินการแก้ไขให้สัดส่วนการลงทุนของกองทุนเป็นไปตามนโยบายการลงทุน หรือดําเนินการเปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 22 สําหรับกรณีของกองทุนรวม และข้อ 23 สําหรับกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่การลงทุนของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการลงทุนของกองทุนรวมให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุนภายใน 90 วันนับแต่วันที่สัดส่วนการลงทุนของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน เว้นแต่บริษัทจัดการจะได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนให้เปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ในการเปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเดิมในการที่จะออกจากกองทุนรวมก่อนที่การเปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมจะมีผลใช้บังคับ โดยวิธีการดังกล่าวต้องมีระยะเวลาเพียงพอและเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งเมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนให้เปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมแล้ว บริษัทจัดการต้องงดเก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายจนกว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ และในกรณีที่ครบกําหนด 90 วันนับแต่วันที่สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน แต่การเปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมยังไม่มีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการต้องไม่เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเพิ่มเติม ข้อ ๒๓ บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขให้สัดส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เป็นไปตามนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุนภายใน 90 วันนับแต่วันที่สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน เว้นแต่บริษัทจัดการจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้เปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการแจ้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนและการได้รับความยินยอมดังกล่าวให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบด้วย หมวด ๔ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๔ ให้บรรดาคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๒๖ บริษัทจัดการซึ่งประสงค์จะจัดให้กองทุนภายใต้การบริหารจัดการมีการลงทุนตามประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สําหรับการลงทุนในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการสามารถจัดการลงทุนในลักษณะดังกล่าวได้โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ซึ่งกําหนดไว้ในประกาศนี้ในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมหรือเป็นกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการเข้าทําสัญญารับจัดการภายหลังวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับแต่ไม่เกินกว่า 1 ปีนับแต่วันดังกล่าว ทั้งนี้ การลงทุนตามประกาศสํานักงานข้างต้นต้องไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายการลงทุนของกองทุน (2) เป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมหรือเป็นกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และบริษัทจัดการได้ส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงานแล้ว เมื่อพ้นระยะเวลาที่ได้รับผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องจัดการลงทุนให้เป็นไปตามประกาศนี้ โดยหากยังคงมีทรัพย์สินใดที่ลงทุนไว้โดยชอบในช่วงเวลาที่ได้รับผ่อนผันตามวรรคหนึ่งคงค้างอยู่ ให้กองทุนยังคงมีทรัพย์สินนั้นได้ต่อไป แต่หากมีจํานวนลดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้บริษัทจัดการคงทรัพย์สินดังกล่าวไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ ๒๗ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งประสงค์จะจัดให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายใต้การบริหารจัดการมีนโยบายการลงทุนเป็นไปตามความในข้อ 9 วรรคหนึ่ง (1) ในส่วนที่เกี่ยวกับสัดส่วนตามนโยบายการลงทุนที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2 ก่อนวันที่หลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ ให้กระทําได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้มีการควบคุมอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสมาชิกแต่ละรายของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีการควบคุมอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสมาชิกแต่ละราย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่กองทุนรวมวายุภักษ์มีการลงทุนในทรัพย์สินตามที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 32/2556 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ให้บริษัทจัดการสามารถคงไว้ซึ่งการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ต่อไปได้จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่ครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว หากทรัพย์สินนั้นมีจํานวนลดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้บริษัทจัดการคงทรัพย์สินดังกล่าวไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ เมื่อพ้นระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้การลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์เป็นไปตามประกาศนี้ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ไม่ได้รับการผ่อนผันตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ในการประชุมครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
210
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 55/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 3)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 55/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 ในส่วนที่ 1 ทรัพย์สินที่ลงทุนขาดคุณสมบัติหรือการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน ของหมวด 3 การดําเนินการเมื่อการลงทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 16/1 ในส่วนนี้ “หน่วยของกองทุนต่างประเทศ” หมายความว่า ตราสารหรือหลักฐานซึ่งแสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะเจ้าของหรือผู้รับประโยชน์ตามโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่ว่าโครงการจัดการลงทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน โดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ลูกค้าของกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ไม่ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด (3) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (ก) 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน สําหรับการลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามภาคผนวก 4-retail MF-PF ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 หรืออัตราส่วนการลงทุนตามภาคผนวก 4-AI ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 แล้วแต่กรณี (ข) 90 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีอื่นใดนอกเหนือจากกรณีตาม (3) (ก) หรือ (ค) เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (ค) 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเนื่องจากมีการลดหรือเพิ่มจํานวนนายจ้างในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจนเป็นเหตุให้นายจ้างรายใดรายหนึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในส่วนของนายจ้างรายนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (4) เมื่อบริษัทจัดการแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดแล้ว ให้จัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่สามารถแก้ไขได้ และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ลูกค้าของกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการแก้ไขจนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้น (5) ในกรณีที่กองทุนมีหุ้นของบริษัทใดโดยไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามที่กําหนดในภาคผนวก 4-retail MF-PF ภาคผนวก 4-AI หรือภาคผนวก 4-PVD แล้วแต่กรณี นอกจากการปฏิบัติตาม (1) (2) (3) และ (4) แล้ว บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ด้วย (ก) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุน เว้นแต่กรณีจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ข) ลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ทรัพย์สินเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นผลให้กองทุนได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกองทุนดังต่อไปนี้ ในส่วนที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศมีอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้นเป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกันโดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม โดยให้ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 18/1 แทน (1) กองทุนรวมฟีดเดอร์ (2) กองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมฟีดเดอร์” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 18/1 ในกรณีการลงทุนของกองทุนตามข้อ 18 วรรคสอง (1) หรือ (2) ในส่วนที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศมีอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้นเป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน โดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือลูกค้าของกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 90 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (3) เมื่อบริษัทจัดการแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดแล้ว ให้จัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่สามารถแก้ไขได้ และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือลูกค้าของกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการแก้ไขจนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้น (4) ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตาม (2) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ในกรณีเป็นกองทุนรวมฟีดเดอร์ ห้ามมิให้บริษัทจัดการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเพิ่มเติมจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามที่หลักเกณฑ์กําหนด (ข) ในกรณีเป็นกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมฟีดเดอร์ ห้ามมิให้บริษัทจัดการลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามที่หลักเกณฑ์กําหนด” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดแต่ต่อมามีกรณีดังต่อไปนี้ จนเป็นเหตุให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 18 หรือข้อ 18/1 แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม (1) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนหรือได้สิทธิจากการเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ตามสัดส่วนที่มีอยู่เดิมนั้น (2) กรณีที่กองทุนได้รับทรัพย์สินมาจากการบริจาค ข้อ 20 ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการแก้ไขเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 17(2) หรือข้อ 18 วรรคหนึ่ง (3) (ข) หรือ (ค) หรือบริษัทจัดการมีความเห็นว่าการดําเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 16 วรรคหนึ่ง (2) วรรคสอง โดยอนุโลม” ข้อ 5 ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 ภาคผนวก 2 ภาคผนวก 3 ภาคผนวก 4-retail MF-PF ภาคผนวก 4-AI ภาคผนวก 4-PVD และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ภาคผนวก 1 ภาคผนวก 2 ภาคผนวก 3 ภาคผนวก 4-retail MF-PF ภาคผนวก 4-AI ภาคผนวก 4-PVD และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 6 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศนี้ ให้คําว่า “ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 29/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 7 ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนในทรัพย์สินใดไว้แล้วโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ต่อมาการลงทุนในทรัพย์สินนั้นไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศการลงทุนซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้กองทุนดังกล่าวยังคงลงทุนในทรัพย์สินนั้นต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ 8 สําหรับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 120 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการซึ่งประสงค์จะลงทุนตามประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศการลงทุน สามารถกระทําได้โดยการลงทุนในส่วนดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศการลงทุนซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับด้วย เมื่อพ้นระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องจัดการลงทุนให้เป็นไปตามประกาศการลงทุนซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ทั้งนี้ หากกองทุนมีการลงทุนโดยชอบในทรัพย์สินใดในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้น โดยไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศดังกล่าวและไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้กองทุนดังกล่าวยังคงลงทุนในทรัพย์สินนั้นต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นตราสารที่มีกําหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ 9 ในกรณีที่กองทุนได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศการลงทุนซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศการลงทุนจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นตามที่กําหนดในข้อดังกล่าว ข้อ 10 ในกรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และกองทุนดังกล่าวมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Over-the-Counter derivatives) เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบถึงนโยบายการลงทุนดังกล่าวและอัตราส่วนการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้สูงสุดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นตามนโยบายการลงทุนดังกล่าว ภายใน 120 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ คําว่า “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ในวรรคหนึ่ง ให้หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
211
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(5) มาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนส่วนบุคคลรายใหญ่” และ “กองทุนส่วนบุคคลรายย่อย” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “กองทุนส่วนบุคคล” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” และคําว่า “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ““กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ “กองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “(4) ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ลงทุนโดยมีการกระจายความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนให้สอดคล้องกับข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ลงทุน (asset profile) ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับจากผู้ลงทุนด้วย” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 บริษัทจัดการต้องกําหนดนโยบายการลงทุน และลงทุนตามประเภททรัพย์สิน ภายใต้อัตราส่วนการลงทุนและการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในการกําหนดนโยบายการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้มีนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุนตามภาคผนวก 2 และต้องจัดการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในโครงการหรือสัญญารับจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี (ข) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ให้มีนโยบายการลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการ (ค) กรณีเป็นกองทุนส่วนบุคคล ให้มีนโยบายการลงทุนตามที่ระบุไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้ บริษัทจัดการต้องจัดการลงทุนเฉพาะทรัพย์สินตามที่กําหนดในภาคผนวก 3 เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือกองทุนส่วนบุคคล ให้จัดการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 14 ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวต้องไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องโดยรวมในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการจ่ายเงินให้กับสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (3) ในการลงทุนภายใต้อัตราส่วนการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-retail MF (ข) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-AI (ค) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-UI (ง) กรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-PVD (4) ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน บริษัทจัดการต้องคํานวณให้เป็นไปตามภาคผนวก 5 ในกรณีเป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ (Country Fund) บริษัทจัดการสามารถขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) หรืออัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ของภาคผนวก 4-retail MF หรือส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ของภาคผนวก 4-AI แล้วแต่กรณี เมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร ต่อสํานักงานได้ ในกรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (3) (ง) และคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (4) แยกตามรายนโยบายการลงทุนแทนการลงทุนและการคํานวณตามรายกองทุน เว้นแต่เป็นการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามส่วนที่ 4 ของภาคผนวก 4–PVD ให้คํานวณตามรายกองทุน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดในการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเกี่ยวกับการควบคุมอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสมาชิกแต่ละรายของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมหรือกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก ตามส่วนที่ 3 การกําหนดนโยบายการลงทุนของ PVD ของภาคผนวก 2 หรือมีนโยบายการลงทุนโดยมีอัตราส่วนการลงทุนผ่อนคลายกว่าอัตราส่วนการลงทุนสําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทั่วไปในภาคผนวก 4-PVD” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ ข้อ 14 ของหมวด 2 หลักเกณฑ์การลงทุน แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัญ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือกองทุนส่วนบุคคล ในตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินอื่นใดได้ทุกประเภท ในกรณีทรัพย์สินที่มีการลงทุนตามวรรคหนึ่งเป็นทรัพย์สินในประเภทที่กองทุนสามารถลงทุนได้ตามภาคผนวก 3 มิให้นําความในภาคผนวกดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ในการลงทุนมาใช้บังคับ ในกรณีที่การลงทุนตามวรรคหนึ่งเป็นการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (short sale) ให้บริษัทจัดการกระทําได้เฉพาะในกรณีที่คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ให้ยืมเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 4(1) ถึง (23) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง โดยอนุโลม” ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 ของหมวด 3 การดําเนินการเมื่อการลงทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 15/1 หลักเกณฑ์ในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับกองทุนส่วนบุคคล หลักเกณฑ์ในข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18/1 ข้อ 21 ข้อ 22 และข้อ 23 ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน โดยมีอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนซึ่งได้จากการคํานวณค่าตามมาตรฐานสากลไม่เกินกว่า 92 วันตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 แต่ต่อมาอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดดังกล่าวติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 วันทําการโดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงาน โดยระบุอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าว และสาเหตุที่ไม่สามารถดํารงอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 รวมทั้งจัดส่งต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ดําเนินการแก้ไขอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคหนึ่ง (2) วรรคสอง ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการแก้ไขเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (2) วรรคหนึ่ง หรือบริษัทจัดการมีความเห็นว่าการดําเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน บริษัทจัดการสามารถใช้ดุลยพินิจดําเนินการตามความเหมาะสมได้โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ และต้องส่งรายงานเกี่ยวกับการดําเนินการของบริษัทจัดการในเรื่องดังกล่าวต่อสํานักงาน ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ก่อนครบระยะเวลาที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ในการจัดส่งรายงานดังกล่าวให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการสามารถดําเนินการโดยวิธีการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการแทนได้ (3) จัดทํารายงานเมื่อบริษัทจัดการสามารถแก้ไขอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวได้ โดยให้ระบุอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวของกองทุนรวมและวันที่สามารถแก้ไขได้ และดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) โดยอนุโลม” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 17 ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ แต่ต่อมาทรัพย์สินที่ลงทุนมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไปจนเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้อีกต่อไป บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนและวันที่ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติ และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่เกิดกรณีดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) จําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (ก) 30 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ กรณีเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน (ข) 90 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ กรณีเป็นกองทุนรวม หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นนอกเหนือจากกองทุนตาม (ก) (3) เมื่อบริษัทจัดการสามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติ หรือทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้ว บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่ได้จําหน่ายทรัพย์สินนั้นออกไปหรือวันที่ทรัพย์สินมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ แล้วแต่กรณี และให้จัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่เกิดกรณีดังกล่าว” ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 55/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559.และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน โดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ไม่ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด (3) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (ก) 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน สําหรับการลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามภาคผนวก 4-retail MF ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 หรืออัตราส่วนการลงทุนตามภาคผนวก 4-UI ในข้อ 1 หรืออัตราส่วนการลงทุนตามภาคผนวก 4-AI ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 แล้วแต่กรณี (ข) 90 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีอื่นใดนอกเหนือจากกรณีตาม (3) (ก) หรือ (ค) เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (ค) 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเนื่องจากมีการลดหรือเพิ่มจํานวนนายจ้างในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจนเป็นเหตุให้นายจ้างรายใดรายหนึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในส่วนของนายจ้างรายนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (4) เมื่อบริษัทจัดการสามารถแก้ไขจนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดแล้ว บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน แล้วแต่กรณี และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการแก้ไขจนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้น (5) ในกรณีที่กองทุนมีหุ้นของบริษัทใดโดยไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามที่กําหนดในภาคผนวก 4-retail MF ภาคผนวก 4-AI หรือภาคผนวก 4-PVD แล้วแต่กรณี นอกจากการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (4) แล้ว บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ด้วย (ก) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุน เว้นแต่กรณีจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ข) ลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผัน การทําคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ทรัพย์สินเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นผลให้กองทุนได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมฟีดเดอร์ ในส่วนที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้นเป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกันโดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม โดยให้ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 18/1 แทน” ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 18/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 55/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18/1 ในกรณีการลงทุนของกองทุนตามข้อ 18 วรรคสอง ในส่วนที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้นเป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน โดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายในวันทําการถัดจากวันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 90 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (3) เมื่อบริษัทจัดการแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดแล้ว ให้จัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่สามารถแก้ไขได้ และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการแก้ไขจนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้น (4) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมฟีดเดอร์ซึ่งบริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตาม (2) ห้ามมิให้บริษัทจัดการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเพิ่มเติมจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามที่หลักเกณฑ์กําหนด” ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 ในกรณีที่กองทุนมีสัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน พร้อมทั้งเหตุผลที่ทําให้มีการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ดําเนินการแก้ไขให้สัดส่วนการลงทุนของกองทุนเป็นไปตามนโยบายการลงทุน หรือดําเนินการเปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 22 สําหรับกรณีของกองทุนรวม และข้อ 23 สําหรับกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 23 บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขให้สัดส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เป็นไปตามนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุนภายใน 90 วันนับแต่วันที่สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน เว้นแต่บริษัทจัดการจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้เปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการแจ้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนและการได้รับความยินยอมดังกล่าวให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบด้วย” ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 ภาคผนวก 2 ภาคผนวก 3 ภาคผนวก 4-AI ภาคผนวก 4-PVD และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 55/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ภาคผนวก 1 ภาคผนวก 2 ภาคผนวก 3 ภาคผนวก 4-AI และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๑๕ ให้ยกเลิกภาคผนวก 4-retail MF-PF ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 55/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๑๖ ให้เพิ่มภาคผนวก 4-retail MF และภาคผนวก 4-UI ท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก 4-retail MF และภาคผนวก 4-UI ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
212
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 38/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 5)
- ร่าง - ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 12/4/2560 . CSDS เลขที่ 21/2560 . ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 38/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 18/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว” ข้อ 3 ให้ยกเลิกภาคผนวก 4-retail MF ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ภาคผนวก 4-retail MF ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
213
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 6)
- ร่าง - ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 11/7/2560 . CSDS เลขที่ 31/2560 . ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกองทุนรวมฟีดเดอร์ ในส่วนที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) โดยให้ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 18/1 หรือข้อ 18/2 แล้วแต่กรณี” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 18/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 38/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18/1 ในกรณีกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งก่อนวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ หากปรากฏว่ามีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการกองทุนรวม (2) ห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อขยายวงเงินสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฟีดเดอร์ดังกล่าวที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงานแล้ว จนกว่าการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด (3) ในกรณีที่มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามภาคผนวก 6 และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากกองทุนรวมฟีดเดอร์หรือผู้ถือหน่วยลงทุนในลักษณะที่ซ้ําซ้อนกับกองทุนรวมหรือกองทุนต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงดังกล่าว รวมถึงเหตุผลและความจําเป็นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายนั้น ภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (4) ในกรณีที่อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมฟีดเดอร์เป็นไปตามที่กําหนดแล้ว ให้จัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่อัตราส่วนเป็นไปตามที่กําหนด และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายในวันทําการถัดจากวันที่เป็นไปตามที่กําหนดนั้น” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 18/2 ในกรณีกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหลังวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ หากปรากฏว่ามีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน (1) ดําเนินการตามข้อ 18/1(1) และ (4) (2) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (3) เมื่อครบระยะเวลาตาม (2) แล้วหากบริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่สามารถแก้ไขได้ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด” ข้อ 4 ในกรณีที่กองทุนรวมฟีดเดอร์มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงตาม (1) รวมถึงเหตุผลและความจําเป็นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตาม (2) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (1) มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามภาคผนวก 6 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ และการลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) (2) มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากกองทุนรวมฟีดเดอร์หรือผู้ถือหน่วยลงทุนในลักษณะที่ซ้ําซ้อนกับกองทุนรวมหรือกองทุนต่างประเทศ ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
214
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 29/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 29/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 9/1 ในการจัดการลงทุนในต่างประเทศเพื่อกองทุนซึ่งต้องมีการชําระเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ บริษัทจัดการจะลงทุนได้เมื่อเป็นการลงทุนภายใต้วงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากสํานักงาน ในการขอรับการจัดสรรวงเงินเพื่อการจัดการลงทุนในต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อสํานักงานผ่านระบบควบคุมวงเงินการลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Allotment System) ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
215
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 59/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 7)
- ร่าง - ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 20/10/2560 . CSDS เลขที่ 55/2560 . ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 59/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(5) มาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมวายุภักษ์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และคําว่า “กองทุนส่วนบุคคล” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ““กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมวายุภักษ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 6/1 หลักเกณฑ์ในประกาศนี้ในส่วนที่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมวายุภักษ์ด้วย เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (จ) ใน (3) ของข้อ 9 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “(จ) กรณีเป็นกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-VAYU” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 18 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) ในกรณีที่กองทุนมีหุ้นของบริษัทใดโดยไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามที่กําหนดในภาคผนวก 4-retail MF ภาคผนวก 4-AI ภาคผนวก 4-PVD หรือภาคผนวก 4-VAYU แล้วแต่กรณี นอกจากการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (4) แล้ว บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ด้วย (ก) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุน เว้นแต่กรณีจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ข) ลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ทรัพย์สินเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นผลให้กองทุนได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 6 ให้ยกเลิกภาคผนวก 4-retail MF ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 38/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ภาคผนวก 4-retail MF ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 7 ให้เพิ่มภาคผนวก 4-VAYU ท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก 4-VAYU ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 8 ในกรณีที่กองทุนรวมวายุภักษ์มีการลงทุนในทรัพย์สินใดไว้แล้วโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้กองทุนดังกล่าวยังคงลงทุนในทรัพย์สินนั้นต่อไปได้จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 แต่มิให้ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินดังกล่าวจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
216
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 2/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 2/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (3) ในวรรคหนึ่งของข้อ 18 แห่งประกาคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วน การลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) สําหรับการลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามภาคผนวกดังนี้ 1. ภาคผนวก 4-retail MF ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 2. ภาคผนวก 4-UI ในข้อ 1 3. ภาคผนวก 4-AI ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 4. ภาคผนวก 4-VAYU ส่วนที่ 3 ในข้อ 1” ข้อ 2 ให้ยกเลิกภาคผนวกดังต่อไปนี้ และให้ใช้ภาคผนวก 4-PVD ภาคผนวก 5 ภาคผนวก 4-retail MF และภาคผนวก 4-VAYU ท้ายประกาศนี้แทน (1) ภาคผนวก 4-PVD และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (2) ภาคผนวก 4-retail MF และภาคผนวก 4-VAYU ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 59/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ข้อ 3 ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนในทรัพย์สินใดไว้แล้วโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ต่อมาการลงทุนในทรัพย์สินนั้นไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้กองทุนดังกล่าวยังคงลงทุนในทรัพย์สินนั้นต่อไปได้ แต่มิให้ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
217
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 98(5) มาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ เมื่อเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes โดยต้องจัดการลงทุนและปฏิบัติให้เป็นไปตาม Part II: the Product Restrictions of Qualifying CIS ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (2) เป็นการลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการ Asia Region Funds Passport โดยต้องจัดการลงทุนและปฏิบัติให้เป็นไปตาม Annex 3 : Passport Rules ของ Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
218
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 28/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 28/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 และภาคผนวก 3 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ภาคผนวก 1 และภาคผนวก 3 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกภาคผนวก 4-VAYU และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 2/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ภาคผนวก 4-VAYU และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ในกรณีที่กองทุนรวมมีการลงทุนในทรัพย์สินใดไว้แล้วโดยชอบก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 แต่ต่อมาการลงทุนในทรัพย์สินนั้นไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน ในส่วนที่ 1 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) ของภาคผนวก 4-VAYU แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้กองทุนรวมดังกล่าวยังคงลงทุนในทรัพย์สินนั้นต่อไปได้ แต่มิให้ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
219
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 11)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 24/09/61 CSDS เลขที่ 47/2561.......... ครั้งที่ 1 ผ่านทาง.....CSDS.................. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกภาคผนวก 2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ภาคผนวก 2 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
220
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 20/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 12)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 20/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) จัดทํารายงาน โดยระบุอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าว และสาเหตุที่ไม่สามารถดํารงอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 รวมทั้งจัดส่งต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 17 ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ แต่ต่อมาทรัพย์สินที่ลงทุนมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไปจนเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้อีกต่อไป บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติ และจัดส่งรายงานต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว ตลอดจน จัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) จําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (ก) 30 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ กรณีเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน (ข) 90 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ กรณีเป็นกองทุนรวมหรือ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นนอกเหนือจากกองทุนตาม (ก) (3) เมื่อบริษัทจัดการสามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติ หรือทรัพย์สิน ที่ขาดคุณสมบัติมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้ว บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่ได้จําหน่ายทรัพย์สินนั้นออกไปหรือวันที่ทรัพย์สินมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ แล้วแต่กรณี และให้จัดส่งรายงานต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติให้เป็นไปตาม (2) (ข) บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่ง พร้อมสาเหตุที่ไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน ให้จัดส่งรายงาน ตามวรรคหนึ่ง (1) และ (3) วรรคหนึ่ง ต่อสํานักงานด้วย” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 2/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน โดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ไม่ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด (3) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (ก) 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) สําหรับการลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามภาคผนวกดังนี้ 1. ภาคผนวก 4-retail MF ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 2. ภาคผนวก 4-UI ในข้อ 1 3. ภาคผนวก 4-AI ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 4. ภาคผนวก 4-VAYU ส่วนที่ 3 ในข้อ 1 (ข) 90 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีอื่นใดนอกเหนือจากกรณีตาม (3) (ก) หรือ (ค) เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (ค) 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเนื่องจากมีการลดหรือเพิ่มจํานวนนายจ้างในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจนเป็นเหตุให้นายจ้างรายใดรายหนึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในส่วนของนายจ้างรายนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (4) เมื่อบริษัทจัดการสามารถแก้ไขจนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดแล้ว บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน แล้วแต่กรณี และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนได้ ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถแก้ไขให้ไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดตาม (3) (ก) (ข) หรือ (ค) บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่ง พร้อมสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (5) ในกรณีที่กองทุนมีหุ้นของบริษัทใดโดยไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามที่กําหนดในภาคผนวก 4-retail MF ภาคผนวก 4-AI ภาคผนวก 4-PVD หรือภาคผนวก 4-VAYU แล้วแต่กรณี นอกจากการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (4) แล้ว บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ด้วย (ก) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุน เว้นแต่กรณีจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ข) ลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ทรัพย์สินเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นผลให้กองทุนได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน ให้จัดส่งรายงานตามวรรคหนึ่ง (1) และ (4) วรรคหนึ่ง ต่อสํานักงานด้วย ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรือครบอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม (กองทุน buy & hold) (2) กองทุนรวมฟีดเดอร์ ในส่วนที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) โดยให้ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 18/1 หรือข้อ 18/2 แล้วแต่กรณี” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 18/1 และข้อ 18/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18/1 ในกรณีกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งก่อนวันที่ 16 มกราคมพ.ศ. 2559 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ หากปรากฏว่ามีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุน และวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อขยายวงเงินสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฟีดเดอร์ดังกล่าวที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงานแล้ว จนกว่าการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด (3) ในกรณีที่มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามภาคผนวก 6 และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากกองทุนรวมฟีดเดอร์หรือผู้ถือหน่วยลงทุนในลักษณะที่ซ้ําซ้อนกับกองทุนรวมหรือกองทุนต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงดังกล่าว รวมถึงเหตุผลและความจําเป็นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายนั้น ภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (4) ในกรณีที่อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมฟีดเดอร์เป็นไปตามที่กําหนดแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่อัตราส่วนเป็นไปตามที่กําหนด และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่อัตราส่วนการลงทุนเป็นไปตามที่กําหนด ข้อ 18/2 ในกรณีกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหลังวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ หากปรากฏว่ามีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน (1) ดําเนินการตามข้อ 18/1(1) (2) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (3) หากบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนได้ ให้จัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่อัตราส่วนเป็นไปตามที่กําหนด และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาตาม (2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนได้ ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่ง พร้อมสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาตาม (2)” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน พร้อมทั้งเหตุผลที่ทําให้มีการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ” ข้อ 6 ให้ยกเลิกภาคผนวกดังต่อไปนี้ และให้ใช้ภาคผนวก 1 ภาคผนวก 3 ภาคผนวก 4-VAYU ภาคผนวก 5 ภาคผนวก 4-PVD ภาคผนวก 4-retail MF ภาคผนวก 2 และภาคผนวก 4-AI ท้ายประกาศนี้แทน (1) ภาคผนวก 1 ภาคผนวก 3 ภาคผนวก 4-VAYU และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 28/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561 (2) ภาคผนวก 4-PVD และภาคผนวก 4-retail MF ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 2/2561 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 (3) ภาคผนวก 2 และภาคผนวก 4-AI ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนในทรัพย์สินใดไว้แล้วโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ต่อมาการลงทุนในทรัพย์สินนั้นไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้กองทุนดังกล่าวยังคงลงทุนในทรัพย์สินนั้นต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไป ให้คงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลืออยู่ และห้ามมิให้ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
221
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 45/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 13)
- ร่าง - ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 16/5/62 . CSDS เลขที่ 24/2562 . ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 45/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และคําว่า “กองทุนรวมวายุภักษ์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 59/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ““กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 59/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6/1 หลักเกณฑ์ในประกาศนี้ในส่วนที่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ด้วย เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้ (1) กองทุนรวมวายุภักษ์ (2) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (3) ในวรรคหนึ่งของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 59/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-retail MF” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
222
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 56/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 14)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 56/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 14) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 20/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ภาคผนวก 1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
223
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 61/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 15)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 4/10/62 CSDS เลขที่ 64/2562 ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS ที่ ทน. 61/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกภาคผนวก 4-retail MF ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 20/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ภาคผนวก 4-retail MF ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนในทรัพย์สินใดไว้แล้วโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ต่อมาการลงทุนในทรัพย์สินนั้นไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้กองทุนดังกล่าวยังคงลงทุนในทรัพย์สินนั้นต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นได้หมดอายุลง หรือได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไป ให้คงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลืออยู่ และห้ามมิให้ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
224
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 16)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกภาคผนวก 2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 20/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ภาคผนวก 2 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
225
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 25/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 17)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 25/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 17) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “มิให้นําความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15/1 หลักเกณฑ์ในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและกองทุนส่วนบุคคล” ข้อ 3 ให้ยกเลิกภาคผนวกดังต่อไปนี้ และให้ใช้ภาคผนวก 1 ภาคผนวก 4-retail MF และภาคผนวก 4-AI ท้ายประกาศนี้แทน (1) ภาคผนวก 1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 56/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (2) ภาคผนวก 4-retail MF ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 61/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (3) ภาคผนวก 4-AI ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 20/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 ข้อ 4 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
226
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 47/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 18)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 47/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 18) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” และคําว่า “การลงทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 45/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ““กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19” หมายความว่า กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 25/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 บริษัทจัดการต้องกําหนดนโยบายการลงทุน และลงทุนตามประเภททรัพย์สิน ภายใต้อัตราส่วนการลงทุนและการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในการกําหนดนโยบายการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ให้มีนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุนตามภาคผนวก 2 และต้องจัดการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในโครงการหรือสัญญารับจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี (ข) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ให้มีนโยบายการลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการ (ค) กรณีเป็นกองทุนส่วนบุคคล ให้มีนโยบายการลงทุนตามที่ระบุไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้ บริษัทจัดการต้องจัดการลงทุนเฉพาะทรัพย์สินตามที่กําหนดในภาคผนวก 3 เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือกองทุนส่วนบุคคล ให้จัดการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 14 ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวต้องไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องโดยรวมในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการจ่ายเงินให้กับสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (3) ในการลงทุนภายใต้อัตราส่วนการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน ที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-retail MF (ข) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-AI (ค) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-UI (ง) กรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-PVD (จ) กรณีเป็นกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-VAYU (ฉ) กรณีเป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-HYB (4) ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน บริษัทจัดการต้องคํานวณให้เป็นไปตามภาคผนวก 5” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 15/2 หลักเกณฑ์ในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ในกรณีที่การลงทุนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนหรือไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทจัดการจะลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนหรือเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมไม่ได้ จนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด” ข้อ 4 ให้ยกเลิกภาคผนวกดังต่อไปนี้ และให้ใช้ภาคผนวก 1 ภาคผนวก 2 ภาคผนวก 3 และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศนี้แทน (1) ภาคผนวก 1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 25/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 (2) ภาคผนวก 2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (3) ภาคผนวก 3 และภาคผนวก 5 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 20/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 ข้อ 5 ให้เพิ่มภาคผนวก 4-HYB ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นภาคผนวก 4-HYB ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 6 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
227
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2564 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 20)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2564 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 20) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 20/2562 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ไม่ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามข้อ 19” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 55/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนหรือข้อกําหนดที่สามารถลงทุนได้โดยชอบ แต่ต่อมาปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ จนเป็นเหตุให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนหรือข้อกําหนดที่สามารถลงทุนได้โดยชอบ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ (1) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนหรือได้สิทธิจากการเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ตามสัดส่วนที่มีอยู่เดิม เว้นแต่เป็นกรณีตาม (2) (2) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนหรือได้สิทธิตาม (1) ในระหว่างระยะเวลาการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย (3) กรณีที่กองทุนได้รับทรัพย์สินมาจากการบริจาค ในกรณีที่มีการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (3) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 18 หรือข้อ 18/1 แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
228
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 68/2564 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 21)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 68/2564 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 21) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน” ต่อจากบทนิยามคําว่า “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 47/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ““ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/3 และข้อ 15/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 15/3 หลักเกณฑ์ในข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18/1 ข้อ 21 และข้อ 22 ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ข้อ 15/4 หลักเกณฑ์ในข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 18/1 ข้อ 18/2 ข้อ 19 และข้อ 20 ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน ในกรณีที่การลงทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนหรือไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวโดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทจัดการจะลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนหรือเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมไม่ได้ จนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด” ข้อ 4 ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 และภาคผนวก 5 แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 47/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ภาคผนวก 1 และภาคผนวก 5 แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก 1 และภาคผนวก 5 แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แทน ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
229
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2566 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 23)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 21/2566 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 23) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 117แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (2) ในวรรคหนึ่งของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคมพ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่บริษัทจัดการเห็นว่าจะไม่สามารถดําเนินการแก้ไขเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (2) วรรคหนึ่ง เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดหรือเห็นว่าการดําเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน บริษัทจัดการสามารถดําเนินการเพื่อขยายระยะเวลาการแก้ไขได้ โดยต้องดําเนินการดังนี้ (ก) ได้รับความยินยอมจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวโดยบริษัทจัดการต้องจัดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีการติดตามการดําเนินการแก้ไขของบริษัทจัดการ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งจนกว่าการแก้ไขจะแล้วเสร็จ (ข) จัดส่งรายงานเกี่ยวกับการดําเนินการแก้ไขและการได้รับความยินยอมตาม (ก) ต่อสํานักงานและผู้ถือหน่วยลงทุน ก่อนครบระยะเวลาที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ในการจัดส่งรายงานดังกล่าวให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการสามารถดําเนินการโดยวิธีการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการแทนได้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคมพ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2564 เรื่องการลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ไม่ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง(1) (2) หรือ (3)” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (3) ในวรรคหนึ่งของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคมพ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 20/2562เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) สําหรับการลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามภาคผนวก 4-VAYU ส่วนที่ 3ในข้อ 1” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 9/2564 เรื่อง การลงทุนของกองทุน(ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนหรือข้อกําหนดที่สามารถลงทุนได้โดยชอบ แต่ต่อมาปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ จนเป็นเหตุให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนหรือข้อกําหนดที่สามารถลงทุนได้โดยชอบ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ (1) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนหรือได้สิทธิจากการเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ตามสัดส่วนที่มีอยู่เดิม เว้นแต่เป็นกรณีตาม (2) (2) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนหรือได้สิทธิตาม (1) ในระหว่างระยะเวลาการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย (3) กรณีที่กองทุนได้รับทรัพย์สินมาจากการบริจาค (4) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินหรือธุรกรรมใดและในวันดังกล่าวเกิดเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทจัดการ เช่น (ก) มูลค่าทรัพย์สินหรือธุรกรรมที่กองทุนได้ลงทุนเพิ่มเติมมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเกินกว่าการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าดังกล่าวโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาใด ๆ ในอดีต (ข) มูลค่าทรัพย์สินอื่นของกองทุนมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเกินกว่าการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าดังกล่าวโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาใด ๆ ในอดีต (ค) ผู้ถือหน่วยลงทุนมีการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเกินกว่าการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาใด ๆ ในอดีต (ง) ตราสารที่กองทุนลงทุนถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ในกรณีที่มีการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) (3) หรือ (4) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 18 หรือข้อ 18/1 แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทจัดการมีการอ้างอิงช่วงระยะเวลาใด ๆ ในอดีตตามวรรคหนึ่ง (4) (ก)(ข) หรือ (ค) แล้ว บริษัทจัดการต้องไม่เปลี่ยนแปลงช่วงระยะเวลาที่ใช้อ้างอิงดังกล่าวจนอาจเป็นช่องทางให้มีการเปลี่ยนแปลงการอ้างอิงอย่างไม่เหมาะสม” ข้อ 5 ให้ยกเลิกภาคผนวกดังต่อไปนี้ และให้ใช้ภาคผนวก 4-retail MF ภาคผนวก 4-AI และภาคผนวก 4-UI แนบท้ายประกาศนี้แทน (1) ภาคผนวก 4-retail MF และภาคผนวก 4-AI แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 25/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 (2) ภาคผนวก 4-UI แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน(ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ 6 ในกรณีที่กองทุนใดมีการลงทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุนลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ข้อ 1 แห่งประกาศนี้ใช้บังคับซึ่งกองทุนสามารถดําเนินการเพื่อแก้ไขตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 16 วรรคหนึ่ง (2) วรรคสองแห่งประกาศดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อดังกล่าวโดยครบถ้วนแล้วก่อนวันที่ข้อ 1 แห่งประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการได้รับยกเว้นการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 16 วรรคหนึ่ง (2) วรรคสอง แห่งประกาศดังกล่าวซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 1 แห่งประกาศนี้ ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 6 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566 (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
230
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(5) มาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป เว้นแต่ ข้อ 9 วรรคหนึ่ง (1) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสัดส่วนตามนโยบายการลงทุนตามที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป หมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 บทนิยามและคําศัพท์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 2 ในประกาศและภาคผนวกท้ายประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีข้อความใดในประกาศและภาคผนวกท้ายประกาศที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ยกเลิก (ยกเลิก “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ”( หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ”(( หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “กองทุนรวมวายุภักษ์” ( หมายความว่า กองทุนรวมวายุภักษ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 “กองทุนส่วนบุคคล”( หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19”(( หมายความว่า กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 “การลงทุน” หมายความว่า การจัดการลงทุนในทรัพย์สินหรือการเข้าเป็นคู่สัญญาในธุรกรรมทางการเงิน หรือการได้มาหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินหรือธุรกรรมดังกล่าว “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารทางการเงินหรือสัญญา ซึ่งมีข้อตกลงและเงื่อนไขที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วย โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ทําให้การชําระหนี้ที่กําหนดไว้ตามตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาหลักทรัพย์ หรือดัชนีราคาทรัพย์สิน เป็นต้น (2) มีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงที่ไม่สัมพันธ์กับตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (3) เป็นผลให้สถานะความเสี่ยงโดยรวมและราคาของตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกัน “ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน”(( หมายความว่า ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ “ผู้ลงทุนสถาบัน”(( “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่”ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้มีเงินลงทุนสูง”(( ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ 3 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ให้ใช้ คําศัพท์ตามภาคผนวก 1 ประกอบการพิจารณาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของการกํากับดูแลและ มาตรฐานการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 ข้อกําหนดตามประกาศนี้เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการลงทุนของกองทุน ที่มุ่งหมายให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการลงทุนเพื่อกองทุนด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ ตลอดจนให้เหมาะสมกับประเภทกองทุนและลักษณะของผู้ลงทุน และมีการกระจายความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยสามารถรักษาสภาพคล่องของกองทุนอย่างเพียงพอในสถานการณ์ต่าง ๆ ข้อ 5 บริษัทจัดการจะต้องจัดการลงทุนโดย (1) คํานึงถึงประโยชน์ของกองทุนและผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) ไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงหรือบิดเบือนในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) เจตนารมณ์ตามที่กําหนดในข้อ 4 (ข) ข้อกําหนดเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน (ค) การลงทุนตามประเภททรัพย์สิน ภายใต้อัตราส่วนการลงทุนและการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 9 (3) ใช้ความรู้ความสามารถ ความเอาใจใส่ และความระมัดระวัง ตามมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการลงทุน (investment management) หรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอันพึงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (4)( ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ต้องจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ลงทุน โดยมีการกระจายความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนให้สอดคล้องกับข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ลงทุน (asset profile) ที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับจากผู้ลงทุนด้วย ส่วนที่ 3 ขอบเขตและการใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 6 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการลงทุนของกองทุนรวมซึ่งมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การลงทุนกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น กองทุนรวมดังต่อไปนี้ เป็นต้น (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (4) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (5) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (6) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (7) กองทุนรวมคาร์บอน ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (Non-retail Mutual Fund) แต่บริษัทจัดการกองทุนรวมจะแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้มีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 3 ไม่ได้ ข้อ 6/1(( หลักเกณฑ์ในประกาศนี้ในส่วนที่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ด้วย เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้ (1) กองทุนรวมวายุภักษ์ (2) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ข้อ 7( ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ เมื่อเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes โดยต้องจัดการลงทุนและปฏิบัติให้เป็นไปตาม Part II:the Product Restrictions of Qualifying CIS ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (2) เป็นการลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการ Asia Region Funds Passportโดยต้องจัดการลงทุนและปฏิบัติให้เป็นไปตาม Annex 3 : Passport Rules ของ Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport ข้อ 8 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอผ่อนผันหรือคําขอรับ ความเห็นชอบใดตามประกาศนี้มาพร้อมกับคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวม สํานักงานจะพิจารณา คําขอผ่อนผันหรือคําขอรับความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณา คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน หมวด 2 หลักเกณฑ์การลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 9(( บริษัทจัดการต้องกําหนดนโยบายการลงทุน และลงทุนตามประเภททรัพย์สิน ภายใต้อัตราส่วนการลงทุนและการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในการกําหนดนโยบายการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ให้มีนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุนตามภาคผนวก 2 และต้องจัดการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในโครงการหรือสัญญารับจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี (ข) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษให้มีนโยบายการลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการ (ค) กรณีเป็นกองทุนส่วนบุคคล ให้มีนโยบายการลงทุนตามที่ระบุไว้ในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้ บริษัทจัดการต้องจัดการลงทุนเฉพาะทรัพย์สินตามที่กําหนดในภาคผนวก 3 เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือกองทุนส่วนบุคคล ให้จัดการลงทุนตามที่กําหนดในข้อ 14 ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าวต้องไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องโดยรวมในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการจ่ายเงินให้กับสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (3) ในการลงทุนภายใต้อัตราส่วนการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-retail MF (ข) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-AI (ค) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-UI (ง) กรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-PVD (จ)(( กรณีเป็นกองทุนรวมวายุภักษ์ ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก 4-VAYU เว้นแต่เป็นกรณีที่มีการขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนโดยไม่ได้จํากัดเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ให้การลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนสําหรับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปในภาคผนวก 4 - retail MF โดยอนุโลม ตลอดระยะเวลาที่กองทุนรวมวายุภักษ์ยังคงมีผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว (ฉ) กรณีเป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ให้การลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนในภาคผนวก4-HYB (4) ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุน บริษัทจัดการต้องคํานวณให้เป็นไปตามภาคผนวก 5 ในกรณีเป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ (Country Fund) บริษัทจัดการสามารถขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) หรืออัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ของภาคผนวก 4-retail MF หรือส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ของภาคผนวก 4-AI แล้วแต่กรณี เมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร ต่อสํานักงานได้ ในกรณีเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีหลายนโยบายการลงทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (3) (ง) และคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (4) แยกตาม รายนโยบายการลงทุนแทนการลงทุนและการคํานวณตามรายกองทุน เว้นแต่เป็นการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามส่วนที่ 4ของภาคผนวก 4–PVD ให้คํานวณตามรายกองทุน ((มิให้นําความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับกองทุนรวม เสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ข้อ 9/1(( ยกเลิก ข้อ 10 ในการลงทุนของบริษัทจัดการ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนด หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ได้ (1) การกําหนดประเภททรัพย์สินเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการกําหนดลักษณะของกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม (2) การกําหนดประเภท อัตราส่วนการลงทุน และการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนของทรัพย์สินที่กองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนเพิ่มเติม (3) การกําหนดประเภท อัตราส่วนการลงทุน และการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนของตราสารทุนหรือตราสารหนี้ที่กองทุนสามารถลงทุนเพิ่มเติม หรือของตราสารหรือทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมที่กองทุนสามารถใช้ทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (4) การกําหนดนิติบุคคลเพิ่มเติม ที่สามารถมีฐานะเป็นคู่สัญญาในธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์กับกองทุน (5) การกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ในเรื่องดังนี้ (ก) สินค้าหรือตัวแปรเพิ่มเติมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ข) การจัดให้มีทรัพย์สินที่เพียงพอต่อการชําระหนี้ตามภาระผูกพันสําหรับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ค) ลักษณะการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (ง) วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนและฐานะความเสี่ยงของการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และการบริหารความเสี่ยง (จ) วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือตัวแปรที่มีการอ้างอิงโดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (6) วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินของกองทุน ที่มีการลดความเสี่ยงโดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนย้ายความเสี่ยงด้านเครดิตของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยงจากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรฐานสากล (credit derivatives) ในการประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการลงทุนของกองทุน เช่น ความเสี่ยง สภาพคล่อง วิธีการประเมินมูลค่า หรือการเปิดเผยข้อมูล เป็นต้น ประกอบการพิจารณาประกาศกําหนดหลักเกณฑ์นั้นด้วย ข้อ 11( ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดในการดําเนินการ ของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเกี่ยวกับการควบคุมอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสมาชิกแต่ละรายของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมหรือกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก ตามส่วนที่ 3 การกําหนดนโยบายการลงทุนของ PVD ของภาคผนวก 2 หรือมีนโยบายการลงทุนโดยมีอัตราส่วนการลงทุนผ่อนคลายกว่าอัตราส่วนการลงทุนสําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทั่วไปในภาคผนวก 4-PVD ข้อ 12 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่จะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่นตามภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาใช้อันดับความน่าเชื่อถือให้เหมาะสมกับการลงทุนของกองทุนได้ ข้อ 13 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนด แนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทาง ปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ส่วนที่ 2( หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และกองทุนส่วนบุคคล\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 14 บริษัทจัดการสามารถลงทุนเพื่อกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุน รายใหญ่พิเศษ หรือกองทุนส่วนบุคคล ในตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินอื่นใดได้ทุกประเภท ในกรณีทรัพย์สินที่มีการลงทุนตามวรรคหนึ่งเป็นทรัพย์สินในประเภทที่กองทุนสามารถลงทุนได้ตามภาคผนวก 3 มิให้นําความในภาคผนวกดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ในการลงทุนมาใช้บังคับ ในกรณีที่การลงทุนตามวรรคหนึ่งเป็นการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์ มาเพื่อการส่งมอบ (short sale) ให้บริษัทจัดการกระทําได้เฉพาะในกรณีที่คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ให้ยืม เป็นผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 4(1) ถึง (23) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2560 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง โดยอนุโลม ส่วนที่ 3 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 15 ในกรณีที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพจะมีการลงทุนในทรัพย์สินตามภาคผนวก4-PVD ส่วนที่ 3 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit)ในข้อ 5.1ถึงข้อ 5.6 เกินกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (พิจารณาตามรายนโยบายการลงทุน) บริษัทจัดการต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพก่อนทําการลงทุน หมวด 3 การดําเนินการเมื่อการลงทุนไม่เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 15/1(( หลักเกณฑ์ในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและกองทุนส่วนบุคคล ((ยกเลิก ข้อ 15/2(( หลักเกณฑ์ในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ในกรณีที่การลงทุนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนหรือไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 โดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่มบริษัทจัดการจะลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนหรือเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมไม่ได้ จนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด ข้อ 15/3(( หลักเกณฑ์ในข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18/1 ข้อ 21 และข้อ 22 ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ข้อ 15/4(( หลักเกณฑ์ในข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 18/1 ข้อ 18/2 ข้อ 19 และข้อ 20ไม่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน ในกรณีที่การลงทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนหรือไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวโดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทจัดการจะลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนหรือเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพิ่มเติมไม่ได้ จนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด ข้อ 16( ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน โดยมีอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนซึ่งได้จากการคํานวณค่าตามมาตรฐานสากลไม่เกินกว่า 92 วันตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 แต่ต่อมาอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดดังกล่าวติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 วันทําการโดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1)(( จัดทํารายงาน โดยระบุอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าว และสาเหตุที่ไม่สามารถดํารงอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 รวมทั้งจัดส่งต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ดําเนินการแก้ไขอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรก โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคหนึ่ง (2) วรรคสอง ((ในกรณีที่บริษัทจัดการเห็นว่าจะไม่สามารถดําเนินการแก้ไขเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (2) วรรคหนึ่ง เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดหรือเห็นว่าการดําเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน บริษัทจัดการสามารถดําเนินการเพื่อขยายระยะเวลาการแก้ไขได้ โดยต้องดําเนินการดังนี้ (ก) ได้รับความยินยอมจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว โดยบริษัทจัดการต้องจัดให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีการติดตามการดําเนินการแก้ไขของบริษัทจัดการ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งจนกว่าการแก้ไขจะแล้วเสร็จ (ข) จัดส่งรายงานเกี่ยวกับการดําเนินการแก้ไขและการได้รับความยินยอมตาม (ก)ต่อสํานักงานและผู้ถือหน่วยลงทุน ก่อนครบระยะเวลาที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ในการจัดส่งรายงานดังกล่าวให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการสามารถดําเนินการโดยวิธีการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการแทนได้ (3)(( ยกเลิก ในระหว่างที่บริษัทจัดการไม่สามารถแก้ไขอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้ครบถ้วนดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคํานึงว่าระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง (2) ได้ล่วงพ้นไปแล้วหรือไม่ (1) จัดทํารายงานเมื่ออายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุนดังกล่าว ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เกินกว่า 4 เดือน และทุกครั้งที่เพิ่มขึ้นเกิน 1 เดือน ตามลําดับ โดยรายงานดังกล่าวให้มีสาระสําคัญตาม วรรคหนึ่ง (1) โดยอนุโลม (2) ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) โดยอนุโลม ส่วนที่ 1 ทรัพย์สินที่ลงทุนขาดคุณสมบัติหรือการลงทุน ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16/1( ในส่วนนี้ “หน่วยของกองทุนต่างประเทศ” หมายความว่า ตราสารหรือหลักฐานซึ่งแสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะเจ้าของหรือผู้รับประโยชน์ตามโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่ว่าโครงการจัดการลงทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด ข้อ 17(( ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ แต่ต่อมาทรัพย์สินที่ลงทุนมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไปจนเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นทรัพย์สิน ที่กองทุนสามารถลงทุนได้อีกต่อไป บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนและวันที่ทรัพย์สินขาดคุณสมบัติ และจัดส่งรายงานต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) จําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (ก) 30 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ กรณีเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน (ข) 90 วันนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นขาดคุณสมบัติ กรณีเป็นกองทุนรวมหรือ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นนอกเหนือจากกองทุนตาม (ก) (3) เมื่อบริษัทจัดการสามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติ หรือทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้ว บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่ได้จําหน่ายทรัพย์สินนั้นออกไปหรือวันที่ทรัพย์สินมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ แล้วแต่กรณี และให้จัดส่งรายงานต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ขาดคุณสมบัติให้เป็นไปตาม (2) (ข) บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่ง พร้อมสาเหตุที่ไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน ให้จัดส่งรายงานตามวรรคหนึ่ง (1) และ (3) วรรคหนึ่ง ต่อสํานักงานด้วย ข้อ 18(( ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วน การลงทุนที่กําหนด แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน โดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุนและวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2)(( ไม่ลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง(1) (2) หรือ (3) (3) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาดังนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (ก)(( 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) สําหรับการลงทุนในเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามภาคผนวก 4-VAYU ส่วนที่ 3ในข้อ 1 (ข) 90 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีอื่นใดนอกเหนือจากกรณีตาม (3) (ก) หรือ (ค) เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (ค) 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว สําหรับกรณีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนเนื่องจากมีการลดหรือเพิ่มจํานวนนายจ้างในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจนเป็นเหตุให้นายจ้างรายใดรายหนึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในส่วนของนายจ้างรายนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (4) เมื่อบริษัทจัดการสามารถแก้ไขจนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดแล้ว บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน แล้วแต่กรณี และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนได้ ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถแก้ไขให้ไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดตาม (3) (ก) (ข) หรือ (ค) บริษัทจัดการต้องจัดทํารายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่ง พร้อมสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน และผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (5) ในกรณีที่กองทุนมีหุ้นของบริษัทใดโดยไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) ตามที่กําหนดในภาคผนวก 4-retail MF ภาคผนวก 4-AI ภาคผนวก 4-PVD หรือภาคผนวก 4-VAYU แล้วแต่กรณี นอกจากการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (4) แล้ว บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังนี้ด้วย (ก) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจํานวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุน เว้นแต่กรณีจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ข) ลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุม หรือยื่นคําขอผ่อนผัน การทําคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ทรัพย์สินเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นผลให้กองทุนได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อกองทุนรวมตลาดเงินหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตลาดเงิน ให้จัดส่งรายงานตามวรรคหนึ่ง (1) และ (4) วรรคหนึ่ง ต่อสํานักงานด้วย ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรือครบอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม (กองทุน buy & hold) (2) กองทุนรวมฟีดเดอร์ ในส่วนที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) โดยให้ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 18/1 หรือข้อ 18/2 แล้วแต่กรณี ข้อ 18/1(( ในกรณีกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งก่อนวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ หากปรากฏว่ามีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน (1) จัดทํารายงานโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท จํานวน อัตราส่วนการลงทุนและวันที่การลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุน และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อขยายวงเงินสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฟีดเดอร์ดังกล่าวที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงานแล้ว จนกว่าการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด (3) ในกรณีที่มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศที่มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามภาคผนวก 6 และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากกองทุนรวมฟีดเดอร์หรือผู้ถือหน่วยลงทุนในลักษณะที่ซ้ําซ้อนกับกองทุนรวมหรือกองทุนต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงดังกล่าว รวมถึงเหตุผลและความจําเป็นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายนั้น ภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (4) ในกรณีที่อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมฟีดเดอร์เป็นไปตามที่กําหนดแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่อัตราส่วนเป็นไปตามที่กําหนด และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่อัตราส่วนการลงทุนเป็นไปตามที่กําหนด ข้อ 18/2(( ในกรณีกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหลังวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ หากปรากฏว่ามีการลงทุนในหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นเวลา 5 วันทําการติดต่อกัน (1) ดําเนินการตามข้อ 18/1(1) (2) แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวภายในโอกาสแรกโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว (3) หากบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนได้ ให้จัดทํารายงานข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมถึงวันที่อัตราส่วนเป็นไปตามที่กําหนด และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อผู้ดูแลผลประโยชน์ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาตาม (2) ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนได้ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด และให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดทํารายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่งพร้อมสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว และจัดส่งรายงานต่อสํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันครบระยะเวลาตาม (2) ข้อ 19(( ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนหรือข้อกําหนดที่สามารถลงทุนได้โดยชอบ แต่ต่อมาปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ จนเป็นเหตุให้ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนหรือข้อกําหนดที่สามารถลงทุนได้โดยชอบ บริษัทจัดการอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ (1) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนหรือได้สิทธิจากการเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ตามสัดส่วนที่มีอยู่เดิม เว้นแต่เป็นกรณีตาม (2) (2) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนหรือได้สิทธิตาม (1) ในระหว่างระยะเวลาการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย (3) กรณีที่กองทุนได้รับทรัพย์สินมาจากการบริจาค (4) กรณีที่กองทุนมีการลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินหรือธุรกรรมใดและในวันดังกล่าวเกิดเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทจัดการ เช่น (ก) มูลค่าทรัพย์สินหรือธุรกรรมที่กองทุนได้ลงทุนเพิ่มเติมมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเกินกว่าการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าดังกล่าวโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาใด ๆ ในอดีต (ข) มูลค่าทรัพย์สินอื่นของกองทุนมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเกินกว่าการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าดังกล่าวโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาใด ๆ ในอดีต (ค) ผู้ถือหน่วยลงทุนมีการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเกินกว่าการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาใด ๆ ในอดีต (ง) ตราสารที่กองทุนลงทุนถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ในกรณีที่มีการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) (3) หรือ (4) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 18 หรือข้อ 18/1 แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ในกรณีที่บริษัทจัดการมีการอ้างอิงช่วงระยะเวลาใด ๆ ในอดีตตามวรรคหนึ่ง (4) (ก)(ข) หรือ (ค) แล้ว บริษัทจัดการต้องไม่เปลี่ยนแปลงช่วงระยะเวลาที่ใช้อ้างอิงดังกล่าวจนอาจเป็นช่องทางให้มีการเปลี่ยนแปลงการอ้างอิงอย่างไม่เหมาะสม ข้อ 20( ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นใดทําให้บริษัทจัดการไม่สามารถ ดําเนินการแก้ไขเพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 17(2) หรือข้อ 18 วรรคหนึ่ง (3) (ข) หรือ (ค) หรือบริษัทจัดการมีความเห็นว่าการดําเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 16 วรรคหนึ่ง (2) วรรคสอง โดยอนุโลม ส่วนที่ 2 การลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน ตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 21( ในกรณีที่กองทุนมีสัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน ตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุน บริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1)(( จัดทํารายงานเกี่ยวกับการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน พร้อมทั้งเหตุผลที่ทําให้มีการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน และจัดส่งรายงานต่อสํานักงาน รวมทั้งจัดส่งต่อผู้ดูแลผลประโยชน์หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน ตลอดจนจัดเก็บสําเนารายงานไว้ที่บริษัทจัดการ (2) ดําเนินการแก้ไขให้สัดส่วนการลงทุนของกองทุนเป็นไปตามนโยบายการลงทุน หรือดําเนินการเปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 22 สําหรับ กรณีของกองทุนรวม และข้อ 23 สําหรับกรณีของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ 22 ในกรณีที่การลงทุนของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุนตาม การจัดแบ่งประเภทของกองทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุนภายใน 90 วันนับแต่วันที่สัดส่วนการลงทุนของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน เว้นแต่บริษัทจัดการจะได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนให้เปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ในการเปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเดิมในการที่จะออกจากกองทุนรวมก่อนที่การเปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมจะมีผลใช้บังคับ โดยวิธีการดังกล่าวต้องมีระยะเวลาเพียงพอและเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งเมื่อได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนให้เปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมแล้ว บริษัทจัดการต้องงดเก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายจนกว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ และในกรณีที่ครบกําหนด 90 วันนับแต่วันที่สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน แต่การเปลี่ยนแปลงประเภทของกองทุนรวมยังไม่มีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการต้องไม่เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเพิ่มเติม ข้อ 23( บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขให้สัดส่วนการลงทุนของกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ เป็นไปตามนโยบายการลงทุนตามการจัดแบ่งประเภทของกองทุนภายใน 90 วันนับแต่วันที่สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามนโยบายการลงทุน เว้นแต่บริษัทจัดการจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้เปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการแจ้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนและการได้รับความยินยอมดังกล่าวให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบด้วย หมวด 4 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 24 ให้บรรดาคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและ การมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่า จะได้มีคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 25 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของ กองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ 26 บริษัทจัดการซึ่งประสงค์จะจัดให้กองทุนภายใต้การบริหารจัดการมีการ ลงทุนตามประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2552 เรื่อง การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สําหรับการลงทุนในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการสามารถจัดการลงทุนในลักษณะดังกล่าวได้โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ซึ่งกําหนดไว้ในประกาศนี้ในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมหรือเป็นกองทุน ส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการเข้าทําสัญญารับจัดการภายหลังวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับแต่ไม่เกินกว่า 1 ปีนับแต่วันดังกล่าว ทั้งนี้ การลงทุนตามประกาศสํานักงานข้างต้นต้องไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบาย การลงทุนของกองทุน (2) เป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมหรือเป็นกองทุน ส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับ และบริษัทจัดการได้ส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงานแล้ว เมื่อพ้นระยะเวลาที่ได้รับผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องจัดการลงทุน ให้เป็นไปตามประกาศนี้ โดยหากยังคงมีทรัพย์สินใดที่ลงทุนไว้โดยชอบในช่วงเวลาที่ได้รับผ่อนผันตามวรรคหนึ่งคงค้างอยู่ ให้กองทุนยังคงมีทรัพย์สินนั้นได้ต่อไป แต่หากมีจํานวนลดลงไม่ว่าด้วยเหตุใดให้บริษัทจัดการคงทรัพย์สินดังกล่าวไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลือ ข้อ 27 บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งประสงค์จะจัดให้กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารจัดการมีนโยบายการลงทุนเป็นไปตามความในข้อ 9 วรรคหนึ่ง (1) ในส่วนที่เกี่ยวกับสัดส่วนตามนโยบายการลงทุนที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2 ก่อนวันที่หลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวจะมี ผลใช้บังคับ ให้กระทําได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้มีการควบคุมอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสมาชิกแต่ละรายของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดตาม ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีการควบคุมอัตราส่วนการลงทุนสําหรับสมาชิกแต่ละราย ข้อ 28( ยกเลิก ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
231
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. ๔๒/๒๕๖๖ เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ ๒๖)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย ผปก.แล้ว เมื่อวันที่..............29/11/2566.......................... L&R เลขที่..2566-0045.. ครั้งที่ ...........4......... ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๔๒/๒๕๖๖ เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ ๒๖) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และมาตรา ๑๓๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกภาคผนวก ๑ คําศัพท์ ภาคผนวก ๒ การจัดแบ่งประเภทของกองทุน และภาคผนวก ๓ ทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๗/๒๕๕๘ เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๔/๒๕๖๖ เรื่อง การลงทุน ของกองทุน (ฉบับที่ ๒๕) ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ และให้ใช้ภาคผนวก ๑ คําศัพท์ ภาคผนวก ๒ การจัดแบ่งประเภทของกองทุน และภาคผนวก ๓ ทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้ แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก ๑ คําศัพท์ ภาคผนวก ๒ การจัดแบ่งประเภทของกองทุน ภาคผนวก ๓ ทรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๗/๒๕๕๘ เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ แทน ข้อ ๒ ในกรณีที่กองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีการลงทุนในทรัพย์สินใดไว้แล้ว โดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่ต่อมาการลงทุนในทรัพย์สินนั้นไม่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้กองทุนดังกล่าว ยังคงลงทุนในทรัพย์สินนั้นต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินนั้นได้หมดอายุลงหรือได้มีการจําหน่าย ทรัพย์สินนั้นไป ให้คงทรัพย์สินนั้นไว้ได้เพียงจํานวนที่เหลืออยู่ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง ในกรณีเป็นกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีการจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และกองทุนดังกล่าวมีการกําหนดนโยบายการลงทุนในโครงการจัดการกองทุนรวมหรือในสัญญารับจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยได้กําหนดรายชื่อทรัพย์สินที่จะลงทุนซึ่งเป็นหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ไว้แล้วเป็นการเฉพาะ หากทรัพย์สินดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๒.๑.๖ ของส่วนที่ ๒ ในภาคผนวก ๓ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๘๗/๒๕๕๘ เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้กองทุนดังกล่าวยังคงลงทุนในทรัพย์สินนั้นต่อไปได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
232
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมที่มิใช่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (4) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (5) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (6) กองทุนรวมอื่นที่มีประกาศกําหนดเกี่ยวกับข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมไว้เป็นการเฉพาะ ข้อ ๓ ข้อผูกพันอย่างน้อยต้องมีรายการที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องมีข้อกําหนดที่ระบุให้โครงการจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน หรือผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แนบท้ายข้อผูกพันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้ (3) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการกองทุนรวม (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน (5) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน และการเปลี่ยนตัวผู้ประกันในกรณีของกองทุนรวมมีประกัน (6) ข้อจํากัดในการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) (7) วิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น (8) การออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (9) การจัดทําทะเบียนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน (10) การแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ (11) การเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ (12) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน (13) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ (14) การชดใช้หรือเยียวยาความเสียหายแก่กองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนการระงับข้อพิพาทระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน (15) การชําระบัญชีเมื่อเลิกกองทุนรวม ข้อ ๔ รายการอํานาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการกองทุนรวม ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน โครงการจัดการกองทุนรวม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อผูกพันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว ข้อ ๕ รายการสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีความรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินค่าหน่วยลงทุนที่ยังส่งใช้แก่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ครบ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในข้อผูกพันซึ่งลงนามโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมโดยชอบ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิเรียกให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและคืนเงินทุนได้ไม่เกินไปกว่าส่วนของทุนของกองทุนรวมที่ตนถือ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน สิทธิในการได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของหน่วยลงทุนชนิดนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๖ รายการวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวม ผู้ดูแลผลประโยชน์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนผู้มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการชําระหนี้ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ เวลาที่กําหนด เท่านั้น ข้อ ๗ รายการการออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดทําหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้ โดยให้แสดงตัวอย่างหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนด้วย (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจําเป็นต้องใช้ใบหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดทําใบหน่วยลงทุนมอบให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๘ รายการการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุนและข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนหน่วยลงทุนถูกต้อง และการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการให้สิทธิหรือการจํากัดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน หากได้กระทําตามข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์ที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๙ รายการการแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งรวมถึงหน้าที่ดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์รายเดิมมีหน้าที่ดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวรวมถึงการลงลายมือชื่อในหนังสือเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการ งดเว้นกระทําการ หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ ในการดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจใช้สิทธิตามมาตรา 132 ประกอบกับมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องไม่กระทําการอันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ของกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ว่าการกระทํานั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ดูแลผลประโยชน์เองหรือประโยชน์ของผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเรียกค่าตอบแทนในการทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือเป็นการดําเนินการในลักษณะที่เป็นธรรมและได้เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบก่อนอย่างเพียงพอแล้ว โดยผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้ทราบข้อมูลดังกล่าวมิได้แสดงการคัดค้าน (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการอันเป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุนที่ไม่เข้าข้อยกเว้นให้กระทําได้ หากเป็นกรณีที่มีนัยสําคัญและไม่สามารถแก้ไขให้หมดไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีอํานาจบอกเลิกสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่การดําเนินการใดต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการขอมติ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ ข้อ ๑๐ รายการการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม ไม่ว่าโดยคําสั่งของสํานักงาน หรือโดยเหตุอื่นใดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายใหม่เข้าทําหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แก่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายใหม่ ข้อ ๑๑ รายการการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อผูกพันที่เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน และมีสาระสําคัญที่เป็นไปตามและไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจของกฎหมายดังกล่าว ให้ถือว่าข้อผูกพันส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลผูกพันคู่สัญญา (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า เรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ตาม (2) ให้รวมถึง (ก) ข้อกําหนดเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (ข) เรื่องที่ผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ากระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยไม่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (ก) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันให้มีสาระสําคัญสอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือ (ข) ผู้ดูแลผลประโยชน์แสดงความเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันนั้นเหมาะสม มีความจําเป็นหรือสมควร และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันไม่ว่ากรณีใด ต้องกระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้มีข้อกําหนดที่แสดงว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อผูกพันเปิดเผยไว้ ณ ที่ทําการและบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ รวมทั้งจัดส่งสรุปการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันพร้อมทั้งเหตุผลและความจําเป็นให้ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกับการส่งรายงานประจําปีของกองทุนรวม ข้อ ๑๒ รายการหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอมติซึ่งกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) วิธีการขอมติ เช่น การขอมติจะกระทําโดยการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือการส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น (ข) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการขอมติ (ค) องค์ประชุม (ถ้ามี) ในกรณีที่เป็นการขอมติโดยการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (ง) ข้อจํากัดสิทธิในการออกเสียงลงมติของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นต้น (จ) จํานวนเสียงที่ใช้เป็นมติ และวิธีการนับมติ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดดังนี้ 1. ในกรณีที่เป็นการขอมติในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมนั้น เว้นแต่ในกรณีที่กองทุนรวมมีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้มีข้อกําหนดตาม 2. และ 3. 2. ในกรณีที่เป็นการขอมติในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกชนิด ต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดนั้น 3. ในกรณีที่เป็นการขอมติในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง ให้ขอมติเฉพาะจากผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดนั้น โดยให้ใช้จํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยลงทุนชนิดนั้นเป็นฐานในการคํานวณคะแนนเสียงข้างมาก (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การดําเนินการใดที่โครงการจัดการกองทุนรวมหรือกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการเป็นไปตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับมาโดยชอบแล้ว ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงเห็นชอบให้ดําเนินการดังกล่าวและมีผลผูกพันตามมติ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ให้ดําเนินการใดอันเป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมาย ให้ถือว่ามตินั้นเสียไป ข้อ ๑๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงานโดยชอบในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดทําข้อผูกพันที่มีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต่อไป หรือจะแก้ไขให้สอดคล้องกับประกาศนี้ก็ได้ ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
233
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2556 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2556 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ข้อผูกพันอย่างน้อยต้องมีรายการที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องมีข้อกําหนดที่ระบุให้โครงการจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน หรือผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แนบท้ายข้อผูกพันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้ (3) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการกองทุนรวม (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน (5) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน และการเปลี่ยนตัวผู้ประกันในกรณีของกองทุนรวมมีประกัน (6) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน (ถ้ามี) (7) ข้อจํากัดในการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) (8) วิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น (9) การออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (10) การจัดทําทะเบียนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน (11) การแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ (12) การเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ (13) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน (14) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ (15) การชดใช้หรือเยียวยาความเสียหายแก่กองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนการระงับข้อพิพาทระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน (16) การเลิกกองทุนรวม (17) การชําระบัญชีเมื่อเลิกกองทุนรวม” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “ข้อ 5/1 รายการข้อจํากัดในการจ่ายเงินปันผล ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในส่วนที่เกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้น ทั้งนี้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดทําบัญชีและแยกเงินที่ไม่อาจจ่ายเป็นเงินปันผลออกจากบัญชีและทรัพย์สินของกองทุนรวม และไม่นําเงินดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม และจะส่งเงินดังกล่าวให้เป็นรายได้ของแผ่นดิน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีอํานาจปฏิเสธการโอนหน่วยลงทุน ในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (ง) และ (จ) ของ (1) ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ง) การไม่นับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในบางกรณี เช่น กรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (จ) จํานวนเสียงที่ใช้เป็นมติ และวิธีการนับมติ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดดังต่อไปนี้ 1. ในกรณีที่เป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมนั้น 2. ในกรณีที่กองทุนรวมมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “ข้อ 12/1 รายการการเลิกกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวมเมื่อจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมลดลงต่ํากว่าจํานวนที่กําหนดหรือมีการขายคืนหน่วยลงทุนเกินกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทหลักทรัพย์จะเลิกกองทุนรวม เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 หรือเมื่อสํานักงานมีคําสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
234
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2558 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2558 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ในประกาศนี้ คําว่า “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “ข้อผูกพัน” “ผู้ดูแลผลประโยชน์” “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” และ “ผู้มีเงินลงทุนสูง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2556 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) รายละเอียดการประกัน ในกรณีเป็นกองทุนรวมมีประกัน” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 “ข้อ 3/1 รายการรายละเอียดการประกัน ในกรณีของกองทุนรวมมีประกัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขการประกัน เช่น จํานวนเงินลงทุนและผลตอบแทนที่ประกัน ระยะเวลาการประกัน วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือผลตอบแทนตามที่ประกัน ซึ่งต้องไม่เกินห้าวันทําการนับแต่วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนหรือไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่กองทุนรวมเลิก ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกัน ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นต้น (2) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน รวมทั้งการดําเนินการเมื่อต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้ประกัน (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวม” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2556 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือนายทะเบียนหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนและการจํานําหน่วยลงทุน ในกรณีดังนี้ 1. การโอนหน่วยลงทุน ในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ 2. การโอนหน่วยลงทุน ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการโอนหน่วยลงทุนจะทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวม เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก 3. การโอนหรือการจํานําหน่วยลงทุน ในกรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันไม่ว่ากรณีใด ต้องกระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) และบริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อผูกพันเปิดเผยไว้ ณ ที่ทําการและบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ รวมทั้งจัดส่งสรุปการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันพร้อมทั้งเหตุผลและความจําเป็นให้ ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกับการส่งรายงานประจําปีของกองทุนรวม” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
235
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2560 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2560 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2558 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ในประกาศนี้ คําว่า “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “ข้อผูกพัน” “ผู้ดูแลผลประโยชน์” “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” และ “ผู้มีเงินลงทุนสูง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (3) ในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2558 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) การโอนหน่วยลงทุน ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และการโอนหน่วยลงทุนจะทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวม เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2556 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12/1 รายการการเลิกกองทุนรวม โดยอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจะเลิกกองทุนรวมเมื่อเป็นกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมลดลงต่ํากว่าจํานวนที่กําหนดหรือมีการขายคืนหน่วยลงทุนเกินกว่าสองในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (2) เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (3) เมื่อการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมเป็นอันสิ้นสุดลงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (4) เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
236
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 04/09/2018 CSDS เลขที่ 76/2561... ครั้งที่ 1 ผ่านทาง.....CSDS... ... ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2560 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการเลิกกองทุนรวมเปิดอันเนื่องมาจากจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงหรือมีการขายคืนหน่วยลงทุนเกินกว่าจํานวนที่กําหนด หรือปรากฏข้อเท็จจริงที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้วมีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าจะมีการขายคืนหน่วยลงทุนเกินกว่าจํานวนที่กําหนดและการเลิกกองทุนรวมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
237
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 34/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 34/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/2 วรรคสาม และมาตรา 129/3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “มติเสียงข้างมาก” และคําว่า “มติพิเศษ”ต่อจากบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2560 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “ “มติเสียงข้างมาก” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน “มติพิเศษ” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2558 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3/1 รายการรายละเอียดการประกัน ในกรณีของกองทุนรวมมีประกัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขการประกัน เช่น จํานวนเงินลงทุนและผลตอบแทนที่ประกัน ระยะเวลาการประกัน วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือผลตอบแทนตามที่ประกัน ซึ่งต้องไม่เกิน 5 วันทําการนับแต่วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนหรือไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่กองทุนรวมเลิก ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน และผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกัน ในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นต้น (2) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน รวมทั้งการดําเนินการเมื่อต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้ประกัน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2558 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 รายการการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อผูกพันที่เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน และมีสาระสําคัญที่เป็นไปตามและไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจของกฎหมายดังกล่าว ให้ถือว่าข้อผูกพันส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลผูกพันคู่สัญญา (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญต้องได้รับมติพิเศษ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า เรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ตาม (2) ให้รวมถึง (ก) ข้อกําหนดเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (ข) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 6 (ค) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น (ง) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการประกันตามข้อ 3/1 และข้อกําหนดเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์ (จ) เรื่องที่ผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ากระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยไม่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (ก) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันให้มีสาระสําคัญสอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยได้รับมติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษของผู้ถือหน่วยลงทุน หรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน แล้วแต่กรณี หรือ (ข) ผู้ดูแลผลประโยชน์แสดงความเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันนั้นเหมาะสม มีความจําเป็นหรือสมควร และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันไม่ว่ากรณีใด ต้องกระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) และบริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อผูกพันเปิดเผยไว้ ณ ที่ทําการและบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ รวมทั้งจัดส่งสรุปการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันพร้อมทั้งเหตุผลและความจําเป็นให้ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกับการส่งรายงานประจําปีของกองทุนรวม” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2556 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอมติ ซึ่งมีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 129/2 และมาตรา 129/3 และหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการแทน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
238
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 44/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 7)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 17/6/62 CSDS เลขที่ 24/2562 . ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS . ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 44/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/2 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 34/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 “มิให้นําความในวรรคหนึ่ง (2) และ (3) (ข) มาใช้บังคับกับข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวจะนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้รับไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
239
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 57/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่............................................... CSDS เลขที่..79/2562.. ครั้งที่ ................ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 57/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (3) ในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2558 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) การโอนหรือการจํานําหน่วยลงทุนดังนี้ 1. หน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมขายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ในกรณีเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 2. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
240
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 4/2563 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 9)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 4/2563 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อการออม” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และคําว่า “มติเสียงข้างมาก”ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 34/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 “ “กองทุนรวมเพื่อการออม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการออมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (3) ในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 57/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) การโอนหรือการจํานําหน่วยลงทุนดังนี้ 1. หน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมขายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ในกรณีเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 2. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 3. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการออม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
241
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทน. 62/2563 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 10)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว เมื่อวันที่ 08/07/63 CSDS เลขที่ 25/2563 ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 62/2563 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2556 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนและข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียง (ถ้ามี)” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 48/2556 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5/1 รายการข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียง อย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดแสดงว่า หากผู้ถือหน่วยลงทุนถือหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนและหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวมีผู้ถือหน่วยลงทุนเพียงรายเดียว จะนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวได้เต็มตามจํานวนที่ถืออยู่ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอีทีเอฟที่จัดตั้งขึ้นตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 ตามมติที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) (2) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (3) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (4) กองทุนรวมดังนี้ ที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 (ก) กองทุนรวมปิดที่มีข้อกําหนดว่าบริษัทจัดการจะขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวและได้กําหนดวันสิ้นอายุโครงการไว้อย่างแน่นอนในโครงการ โดยไม่มีการขยายอายุโครงการ (ข) กองทุนรวมเปิดที่มีข้อกําหนดในโครงการว่าบริษัทจัดการจะขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (ค) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ (5) กองทุนรวมภายใต้โครงการระหว่างประเทศดังนี้ ที่เป็นการลงทุนของผู้ลงทุน ในต่างประเทศที่มิได้มีสัญชาติไทยหรือผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) (ก) โครงการ Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes to Non-retail Investors (ข) โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (ค) โครงการ Asia Region Funds Passport (6) กองทุนรวมที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว” ข้อ 3 ให้ยกเลิก (ก) ใน (3) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 91/2558 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
242
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 19/2554 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 119(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมที่มิใช่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ 2 ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (4) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (5) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (6) กองทุนรวมอื่นที่มีประกาศกําหนดเกี่ยวกับข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมไว้เป็นการเฉพาะ ข้อ 3 ข้อผูกพันอย่างน้อยต้องมีรายการที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องมีข้อกําหนดที่ระบุให้โครงการจัดการกองทุนรวมที่ผ่านการอนุมัติจากสํานักงาน หรือผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่แนบท้ายข้อผูกพันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อผูกพันนี้ (3) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการกองทุนรวม (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน (5) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน และการเปลี่ยนตัวผู้ประกันในกรณีของกองทุนรวมมีประกัน (6) ข้อจํากัดในการจ่ายเงินปันผล (ถ้ามี) (7) วิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น (8) การออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน (9) การจัดทําทะเบียนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน (10) การแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ (11) การเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ (12) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน (13) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ (14) การชดใช้หรือเยียวยาความเสียหายแก่กองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนการระงับข้อพิพาทระหว่างบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน (15) การชําระบัญชีเมื่อเลิกกองทุนรวม ข้อ 4 รายการอํานาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพันโครงการจัดการกองทุนรวม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อผูกพันหรือโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว ข้อ 5 รายการสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีความรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินค่าหน่วยลงทุนที่ยังส่งใช้แก่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ครบ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในข้อผูกพันซึ่งลงนามโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมโดยชอบ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิเรียกให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและคืนเงินทุนได้ไม่เกินไปกว่าส่วนของทุนของกองทุนรวมที่ตนถือทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน สิทธิในการได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของหน่วยลงทุนชนิดนั้น ๆ ด้วย ข้อ 6 รายการวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนบริษัทจัดการกองทุนรวม ผู้ดูแลผลประโยชน์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนผู้มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการชําระหนี้ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมจะชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏชื่อตามทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนณ เวลาที่กําหนด เท่านั้น ข้อ 7 รายการการออกและส่งมอบเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดทําหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้ โดยให้แสดงตัวอย่างหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนด้วย (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจําเป็นต้องใช้ใบหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดทําใบหน่วยลงทุนมอบให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ 8 รายการการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุนและข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมมีหน้าที่จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 125(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนหน่วยลงทุนถูกต้องและการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการให้สิทธิหรือการจํากัดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน หากได้กระทําตามข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์ที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 9 รายการการแต่งตั้ง อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมและตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งรวมถึงหน้าที่ดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์รายเดิมมีหน้าที่ดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวรวมถึงการลงลายมือชื่อในหนังสือเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลผลประโยชน์ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการ งดเว้นกระทําการ หรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ ในการดูแลรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจใช้สิทธิตามมาตรา 132 ประกอบกับมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ในการฟ้องร้องบังคับคดีกับผู้ดูแลผลประโยชน์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องไม่กระทําการอันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ของกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ว่าการกระทํานั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ดูแลผลประโยชน์เองหรือประโยชน์ของผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเรียกค่าตอบแทนในการทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือเป็นการดําเนินการในลักษณะที่เป็นธรรมและได้เปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบก่อนอย่างเพียงพอแล้ว โดยผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้ทราบข้อมูลดังกล่าวมิได้แสดงการคัดค้าน (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์กระทําการอันเป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุนที่ไม่เข้าข้อยกเว้นให้กระทําได้ หากเป็นกรณีที่มีนัยสําคัญและไม่สามารถแก้ไขให้หมดไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมมีอํานาจบอกเลิกสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่การดําเนินการใดต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ดําเนินการขอมติ ให้ผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนได้ ข้อ 10 รายการการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม ไม่ว่าโดยคําสั่งของสํานักงาน หรือโดยเหตุอื่นใดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายใหม่เข้าทําหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แก่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายใหม่ ข้อ 11 รายการการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพัน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อผูกพันที่เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน และมีสาระสําคัญที่เป็นไปตามและไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจของกฎหมายดังกล่าว ให้ถือว่าข้อผูกพันส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลผูกพันคู่สัญญา (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุน (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า เรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญตาม (2) ให้รวมถึง (ก) ข้อกําหนดเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (ข) เรื่องที่ผู้ดูแลผลประโยชน์เห็นว่ากระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (4) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันในลักษณะดังต่อไปนี้ให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยไม่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (ก) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันให้มีสาระสําคัญสอดคล้องกับโครงการจัดการกองทุนรวมที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือ (ข) ผู้ดูแลผลประโยชน์แสดงความเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันนั้นเหมาะสม มีความจําเป็นหรือสมควร และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (5) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันไม่ว่ากรณีใด ต้องกระทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้ดูแลผลประโยชน์ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้มีข้อกําหนดที่แสดงว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดให้มีข้อผูกพันเปิดเผยไว้ ณ ที่ทําการและบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจดูได้ รวมทั้งจัดส่งสรุปการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันพร้อมทั้งเหตุผลและความจําเป็นให้ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกับการส่งรายงานประจําปีของกองทุนรวม ข้อ 12 รายการหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน และผลบังคับของมติ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอมติซึ่งกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) วิธีการขอมติ เช่น การขอมติจะกระทําโดยการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน หรือการส่งหนังสือขอมติไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น (ข) วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการขอมติ (ค) องค์ประชุม (ถ้ามี) ในกรณีที่เป็นการขอมติโดยการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (ง) ข้อจํากัดสิทธิในการออกเสียงลงมติของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นต้น (จ) จํานวนเสียงที่ใช้เป็นมติ และวิธีการนับมติ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดดังนี้ 1. ในกรณีที่เป็นการขอมติในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมนั้น เว้นแต่ในกรณีที่กองทุนรวมมีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้มีข้อกําหนดตาม 2. และ 3. 2. ในกรณีที่เป็นการขอมติในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกชนิด ต้องได้รับมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดนั้น 3. ในกรณีที่เป็นการขอมติในเรื่องที่กระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง ให้ขอมติเฉพาะจากผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดนั้น โดยให้ใช้จํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยลงทุนชนิดนั้นเป็นฐานในการคํานวณคะแนนเสียงข้างมาก (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การดําเนินการใดที่โครงการจัดการกองทุนรวมหรือกฎหมายกําหนดให้ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการเป็นไปตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับมาโดยชอบแล้ว ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงเห็นชอบให้ดําเนินการดังกล่าวและมีผลผูกพันตามมติ (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ให้ดําเนินการใดอันเป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมาย ให้ถือว่ามตินั้นเสียไป ข้อ 13 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงานโดยชอบในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะจัดทําข้อผูกพันที่มีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต่อไป หรือจะแก้ไขให้สอดคล้องกับประกาศนี้ก็ได้ ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
243
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๗/๒๕๖๖ เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ ๑๑)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๗/๒๕๖๖ เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ ๑๑) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๑๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อการออม” และคําว่า “มติเสียงข้างมาก” ในข้อ ๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๑๙/๒๕๕๔ เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุน กับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๔/๒๕๖๓ เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับ บริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ““กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน” หมายความว่า กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (๓) ในข้อ ๘ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๑๙/๒๕๕๔ เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๔/๒๕๖๓ เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) การโอนหรือการจํานําหน่วยลงทุนดังนี้ ๑. หน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมขายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ในกรณีเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ๒. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ๓. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการออม ๔. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
244
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 61/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 61/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 4/1 ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้เมื่อมีเหตุจําเป็นไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์นั้นได้ เฉพาะในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในประเทศไทย โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงต่อสํานักงานได้ว่าการขอผ่อนผันดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในประเทศที่กองทุนรวมมีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น (host country)” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
245
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 92/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 92/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่น้อยกว่าสองวัน (2) จัดสรรหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นธรรม กรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) กระจายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนอย่างแพร่หลาย (2) ในกรณีที่มีการกําหนดเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้ลงทุนแต่ละรายต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท (3) ในกรณีที่มีการกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุน เงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้ลงทุน อันจะทําให้ไม่มีการกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ (4) ในกรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้ผู้ลงทุนแสดงเจตนาว่าเมื่อกองทุนรวมดังกล่าวเลิกโครงการแล้ว ผู้ลงทุนประสงค์จะให้มีการโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอื่น แล้วแต่กรณี หรือไม่ ในกรณีที่กองทุนรวมดังกล่าวเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หากผู้ลงทุนประสงค์จะให้มีการโอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้ผู้ลงทุนระบุเกี่ยวกับประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่ผู้ลงทุนประสงค์จะให้โอนไปให้ชัดเจนด้วย ทั้งนี้ หากในช่วงเวลาที่จะมีการโอนย้ายการลงทุนไม่มีกองทุนรวมตามที่ผู้ลงทุนระบุไว้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังนี้ (ก) โอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นใดที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเดิม (ข) ในกรณีที่ไม่มีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนตามวรรคสอง (4) วรรคสอง (ก) ให้โอนย้ายการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นที่มีนโยบายการลงทุนซึ่งมีความเสี่ยงต่ําที่สุด ในกรณีที่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง (1) และ (2) ได้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถแสดงได้ว่าการผ่อนผันดังกล่าวมีความจําเป็นเพื่อให้การเสนอขายเป็นไปอย่างเหมาะสมกับชนิดของหน่วยลงทุนนั้น ๆ ความในวรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 2/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ข้อ 13/1 และข้อ 13/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 “หมวด 2/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ข้อ 13/1 เพื่อประโยชน์ตามความในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวม” ให้หมายความว่ากองทุนรวมที่มีลักษณะเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว แล้วแต่กรณี ข้อ 13/2 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เป็นปัจจุบันตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ที่สนใจจะลงทุนจัดส่งคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนพร้อมกับใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว แล้วแต่กรณี ของบริษัทจัดการกองทุนรวมนั้นอยู่แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่จัดส่งคู่มือดังกล่าวก็ได้ หากข้อมูลของคู่มือนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลที่ผู้ลงทุนรายดังกล่าวเคยได้รับ (2) จัดให้มีคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน เพื่อประโยชน์ในการแจกจ่ายแก่ผู้ที่สนใจจะลงทุนได้ตลอดเวลาที่เสนอขายหน่วยลงทุน” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
246
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (4) ของวรรคสองในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 92/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งหมดเพื่อขายต่อ หรือในกรณีที่มีบุคคลใดถือหน่วยลงทุนเพื่อบุคคลอื่นผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และวรรคสอง (1) และ (2) หรือตามที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 11 วรรคสาม โดยอนุโลม” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
247
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 12/1 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes หรือ โครงการ Asia Region Funds Passport ได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีการเสนอขายภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes กองทุนรวมดังกล่าวต้องมีลักษณะเป็นไปตาม Part I : The Qualifications of the CIS Operator, Trustee / Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters และ Part II : The Product Restrictions of Qualifying CIS ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (MOU) และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับเอกสารตามที่กําหนดใน Handbook for CIS Operators of ASEAN CISs จากสํานักงานเพื่อนําไปแสดงต่อหน่วยงานกํากับดูแลที่ลงนามร่วมกันใน MOU แล้ว (2) ในกรณีการเสนอขายภายใต้โครงการ Asia Region Funds Passport กองทุนรวมดังกล่าวต้องมีลักษณะเป็นไปตาม Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport (MOC) และบริษัทจัดการกองทุนรวม ได้รับเอกสารที่แสดงการมีลักษณะดังกล่าวจากสํานักงานเพื่อนําไปแสดงต่อหน่วยงานกํากับดูแลที่ลงนามร่วมกันใน MOC แล้ว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
248
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 43/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 6)
- ร่าง - ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 16/5/62 . CSDS เลขที่ 24/2562 . ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 43/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 92/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่น้อยกว่าสองวัน เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
249
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 7)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่.......04/12/62................................ CSDS เลขที่...79/2562... ครั้งที่ .......3......... ที่ ทน. 58/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในหมวด 2/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ข้อ 13/1 และข้อ 13/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 92/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมวด 2/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ข้อ 13/1 เพื่อประโยชน์ตามความในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี” ให้หมายความว่า กองทุนรวมที่มีลักษณะเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ข้อ 13/2 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีคู่มือการลงทุนซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เป็นปัจจุบันตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ที่สนใจจะลงทุนจัดส่งคู่มือการลงทุนซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนพร้อมกับใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในลักษณะเดียวกันของบริษัทจัดการกองทุนรวมนั้นอยู่แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่จัดส่งคู่มือดังกล่าวก็ได้ หากข้อมูลของคู่มือนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลที่ผู้ลงทุนรายดังกล่าวเคยได้รับ (2) จัดให้มีคู่มือการลงทุนซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน เพื่อประโยชน์ในการแจกจ่ายแก่ผู้ที่สนใจจะลงทุนได้ตลอดเวลาที่เสนอขายหน่วยลงทุน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
250
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 5/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 8)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 5/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13/1 เพื่อประโยชน์ตามความในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี” ให้หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมเพื่อการออม ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
251
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 70/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 70/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในสิ้นเดือนถัดไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นการปรับปรุงและยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตาม (1) วรรคหนึ่ง สําหรับกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมแล้วแต่ยังไม่ครบหนึ่งเดือน ในกรณีที่ข้อมูลซึ่งได้นํามาแสดงไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปรับปรุงข้อมูลในหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันและเปิดเผยต่อผู้ลงทุนผ่านช่องทางที่ผู้ลงทุนเข้าถึงได้ง่าย และยื่นต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
252
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการจัดส่งหรือแจกจ่าย หนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของตน แต่ทั้งนี้ มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (4) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (5) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (6) กองทุนรวมคาร์บอน ข้อ 3 ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมปิด” “กองทุนรวมเปิด” “เงินทุนจดทะเบียน” “เงินทุนโครงการ” และ “บริษัทจัดการกองทุนรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ข้อ 4 นอกจากการปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติให้ เป็นไปตามประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรและการขายหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ด้วย (1) ประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนํา การลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน (3) ประกาศเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของ บริษัทจัดการ ข้อ 4/1[[1]](#footnote-2)1 ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้เมื่อมีเหตุจําเป็น ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์นั้นได้ เฉพาะในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในประเทศไทย โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงต่อสํานักงานได้ว่าการขอผ่อนผันดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในประเทศที่กองทุนรวมมีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น (host country) หมวด 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดส่งและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นหนังสือชี้ชวนที่จะใช้จัดส่ง หรือแจกจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนต่อสํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่งหรือแจกจ่าย (1) เมื่อมีการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของแต่ละกองทุนรวม (2) เมื่อมีการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดเพิ่มเติม เพื่อการเพิ่มเงินทุน จดทะเบียน ข้อ 6 ในกรณีของกองทุนรวมเปิดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปรับปรุงหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมให้เป็นปัจจุบัน และยื่นต่อสํานักงานพร้อมหนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1)[[2]](#footnote-3)8 หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นเดือน และยื่นต่อสํานักงานภายในสิ้นเดือนถัดไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับยกเว้นการปรับปรุงและยื่นหนังสือชี้ชวน ต่อสํานักงานตาม (1) วรรคหนึ่ง สําหรับกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมแล้วแต่ยังไม่ครบหนึ่งเดือน ในกรณีที่ข้อมูลซึ่งได้นํามาแสดงไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปรับปรุงข้อมูลในหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันและเปิดเผยต่อผู้ลงทุนผ่านช่องทางที่ผู้ลงทุนเข้าถึงได้ง่าย และยื่นต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (2) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้น รอบระยะเวลาบัญชี และยื่นต่อสํานักงานภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ข้อ 7 ในการยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 5 และข้อ 6 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวนและการรายงานของกองทุนรวม ของสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลของหนังสือชี้ชวน สํานักงาน อาจกําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยก็ได้ ข้อ 8 ในการเสนอขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องจัดส่งหรือแจกจ่ายตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้จัดส่งหรือแจกจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนทุกรายพร้อมใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน หรือดําเนินการโดยวิธีการอื่นใดที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนทุกรายได้รับข้อมูลในหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวก่อนการตัดสินใจลงทุน (2) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้จัดส่งหรือแจกจ่าย ณ จุดขายด้วยวิธีการใด ๆ ที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนได้รับหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวอย่างทั่วถึง หนังสือชี้ชวนที่จะใช้จัดส่งหรือแจกจ่ายตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการและข้อมูลตรงกับรายการและข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานล่าสุด ข้อ 9 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ให้เป็นผู้ขาย หน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อกําหนดเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 8 อย่างเคร่งครัด (2) ดําเนินการให้บริษัทหลักทรัพย์มีหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดส่งหรือแจกจ่ายต่อผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ (3) ตรวจสอบและดูแลบริษัทหลักทรัพย์ให้จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด หมวด 2 หลักเกณฑ์การเสนอขายหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 10 การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานล่าสุด ข้อ 11[[3]](#footnote-4)2 การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1)[[4]](#footnote-5)5 กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่น้อยกว่าสองวัน เว้นแต่ กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (2) จัดสรรหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นธรรม กรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) กระจายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนอย่างแพร่หลาย (2) ในกรณีที่มีการกําหนดเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้ลงทุนแต่ละรายต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท (3) ในกรณีที่มีการกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุน เงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้ลงทุน อันจะทําให้ไม่มี การกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ (4)[[5]](#footnote-6)3 ยกเลิก ในกรณีที่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง (1) และ (2) ได้ หาก บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถแสดงได้ว่าการผ่อนผันดังกล่าวมีความจําเป็นเพื่อให้การเสนอขายเป็นไปอย่างเหมาะสมกับชนิดของหน่วยลงทุนนั้น ๆ ความในวรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ ข้อ 12[[6]](#footnote-7)3 ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งหมดเพื่อขายต่อ หรือในกรณีที่มีบุคคลใดถือหน่วยลงทุนเพื่อบุคคลอื่นผ่านบัญชีแบบ ไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และวรรคสอง (1) และ (2) หรือตามที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 11 วรรคสาม โดยอนุโลม ข้อ 12/1[[7]](#footnote-8)4 บริษัทจัดการกองทุนรวมจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes หรือ โครงการ Asia Region Funds Passport ได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีการเสนอขายภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes กองทุนรวมดังกล่าวต้องมีลักษณะเป็นไปตาม Part I : The Qualifications of the CIS Operator, Trustee / Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters และ Part II : The Product Restrictions of Qualifying CIS ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (MOU) และบริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับเอกสารตามที่กําหนดใน Handbook for CIS Operators of ASEAN CISs จากสํานักงานเพื่อนําไปแสดงต่อหน่วยงานกํากับดูแลที่ลงนามร่วมกันใน MOU แล้ว (2) ในกรณีการเสนอขายภายใต้โครงการ Asia Region Funds Passport กองทุนรวมดังกล่าวต้องมีลักษณะเป็นไปตาม Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport (MOC) และบริษัทจัดการกองทุนรวม ได้รับเอกสารที่แสดงการมีลักษณะดังกล่าวจากสํานักงานเพื่อนําไปแสดงต่อหน่วยงานกํากับดูแล ที่ลงนามร่วมกันใน MOC แล้ว ข้อ 13 ในการรับชําระค่าหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องรับชําระ ด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าเท่านั้น เว้นแต่มีข้อกําหนดตามประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตาม มาตรา 117 ให้กระทําได้ หมวด 2/1[[8]](#footnote-9)6 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13/1[[9]](#footnote-10)9 เพื่อประโยชน์ตามความในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี” ให้หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการออม หรือกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน ข้อ 13/2 บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีคู่มือการลงทุน ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เป็นปัจจุบันตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับคําสั่ง ซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ที่สนใจจะลงทุนจัดส่งคู่มือการลงทุนซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ ทางภาษีให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนพร้อมกับใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นผู้ถือ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในลักษณะเดียวกัน ของบริษัทจัดการกองทุนรวมนั้นอยู่แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่จัดส่งคู่มือดังกล่าวก็ได้ หากข้อมูลของคู่มือนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลที่ผู้ลงทุนรายดังกล่าวเคยได้รับ (2) จัดให้มีคู่มือการลงทุนซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีไว้ ณ ที่ทําการ ทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน เพื่อประโยชน์ในการแจกจ่ายแก่ผู้ที่สนใจจะลงทุนได้ตลอดเวลาที่เสนอขายหน่วยลงทุน หมวด 3 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 14 ในกรณีที่กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศใดมีหน้าที่ต้องปรับปรุงและยื่นหนังสือชี้ชวนตามรอบระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 6 แห่งประกาศนี้ ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ปรับปรุงและยื่นหนังสือชี้ชวนสําหรับรอบระยะเวลาดังกล่าวก็ได้ ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน 1. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 61/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและ การเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558) [↑](#footnote-ref-2) 2. 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 70/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและ การเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565) [↑](#footnote-ref-3) 3. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 92/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและ การเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559) [↑](#footnote-ref-4) 4. 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 43/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและ การเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) [↑](#footnote-ref-5) 5. 3 ยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560) [↑](#footnote-ref-6) 6. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและ การเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560) [↑](#footnote-ref-7) 7. 4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและ การเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) [↑](#footnote-ref-8) 8. 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและ การเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563) [↑](#footnote-ref-9) 9. 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 38/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและ การเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-10)
253
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 3/2556 หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 3 /2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของตนแต่ทั้งนี้ มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (4) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (5) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (6) กองทุนรวมคาร์บอน ข้อ 3 ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมปิด” “กองทุนรวมเปิด” “เงินทุนจดทะเบียน” “เงินทุนโครงการ”และ “บริษัทจัดการกองทุนรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ข้อ 4 นอกจากการปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรและการขายหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ด้วย (1) ประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน (3) ประกาศเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ หมวด 1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดส่งและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นหนังสือชี้ชวนที่จะใช้จัดส่งหรือแจกจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนต่อสํานักงานไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการก่อนการเริ่มจัดส่งหรือแจกจ่าย (1) เมื่อมีการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของแต่ละกองทุนรวม (2) เมื่อมีการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดเพิ่มเติม เพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ข้อ 6 ในกรณีของกองทุนรวมเปิดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปรับปรุงหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมให้เป็นปัจจุบัน และยื่นต่อสํานักงานพร้อมหนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ (ก) กรณีกองทุนรวมตลาดเงิน ให้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาสามเดือนตามปีปฏิทิน และยื่นต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาสามเดือนดังกล่าว (ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามปีปฏิทิน และยื่นต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนดังกล่าว ในกรณีที่ข้อมูลซึ่งได้นํามาแสดงไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปรับปรุงข้อมูลในหนังสือชี้ชวนดังกล่าวโดยไม่ชักช้า และยื่นต่อสํานักงานภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรือควรรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (2) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และยื่นต่อสํานักงานภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ข้อ 7 ในการยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 5 และข้อ 6 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นผ่านระบบรับและเผยแพร่ข้อมูลหนังสือชี้ชวนและการรายงานของกองทุนรวมของสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลของหนังสือชี้ชวน สํานักงานอาจกําหนดให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วยก็ได้ ข้อ 8 ในการเสนอขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องจัดส่งหรือแจกจ่ายตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้จัดส่งหรือแจกจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนทุกรายพร้อมใบจองซื้อหน่วยลงทุนหรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน หรือดําเนินการโดยวิธีการอื่นใดที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนทุกรายได้รับข้อมูลในหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวก่อนการตัดสินใจลงทุน (2) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้จัดส่งหรือแจกจ่าย ณ จุดขายด้วยวิธีการใด ๆ ที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนได้รับหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวอย่างทั่วถึง หนังสือชี้ชวนที่จะใช้จัดส่งหรือแจกจ่ายตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการและข้อมูลตรงกับรายการและข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานล่าสุด ข้อ 9 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ให้เป็นผู้ขายหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อกําหนดเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 8 อย่างเคร่งครัด (2) ดําเนินการให้บริษัทหลักทรัพย์มีหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดส่งหรือแจกจ่ายต่อผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ (3) ตรวจสอบและดูแลบริษัทหลักทรัพย์ให้จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด หมวด 2 หลักเกณฑ์การเสนอขายหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 10 การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานล่าสุด ข้อ 11 การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) กระจายข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนอย่างแพร่หลาย (2) กําหนดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกไม่น้อยกว่าสองวัน (3) ในกรณีที่มีการกําหนดเงื่อนไขการซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําของผู้ลงทุนแต่ละรายต้องไม่กําหนดไว้สูงกว่าห้าหมื่นบาท (4) ในกรณีที่มีการกําหนดเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิในการจําหน่ายหน่วยลงทุนเงื่อนไขหรือข้อสงวนสิทธิดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการจํากัดกลุ่มผู้ลงทุน อันจะทําให้ไม่มีการกระจายการจําหน่ายหน่วยลงทุนอย่างเพียงพอ (5) จัดสรรหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นธรรม ในกรณีที่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่งมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ได้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถแสดงได้ว่าการผ่อนผันดังกล่าวมีความจําเป็นเพื่อให้การเสนอขายเป็นไปอย่างเหมาะสมกับชนิดของหน่วยลงทุนนั้น ๆ ความในวรรคหนึ่ง (2) และ (3) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ ข้อ 12 ในกรณีที่มีบุคคลใดซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนในวงกว้างทั้งหมดเพื่อขายต่อ หรือในกรณีที่มีบุคคลใดถือหน่วยลงทุนเพื่อบุคคลอื่นผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีข้อกําหนดให้บุคคลนั้นปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) และ (5) หรือตามที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 11วรรคสอง โดยอนุโลม ข้อ 13 ในการรับชําระค่าหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องรับชําระด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าเท่านั้น เว้นแต่มีข้อกําหนดตามประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 117ให้กระทําได้ หมวด 3 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 14 ในกรณีที่กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศใดมีหน้าที่ต้องปรับปรุงและยื่นหนังสือชี้ชวนตามรอบระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 6 แห่งประกาศนี้ ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่ปรับปรุงและยื่นหนังสือชี้ชวนสําหรับรอบระยะเวลาดังกล่าวก็ได้ ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
254
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๘/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ ๑๐)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๘/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ ๑๐) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓/๑ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๓/๒๕๕๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน ลงวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๕/๒๕๖๓ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการเสนอขายหน่วยลงทุน (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓/๑ เพื่อประโยชน์ตามความในหมวดนี้ คําว่า “กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี” ให้หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการออม หรือกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
255
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 117 และมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ไม่รวมถึงกองทุนส่วนบุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับจัดการเงินทุนของผู้ลงทุนรายใหญ่ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ “การลงทุนที่ไม่จํากัดรูปแบบ” หมายความว่า การลงทุนในตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินใด ๆ ที่มิได้มีข้อจํากัดในการลงทุนเกี่ยวกับประเภทหรือลักษณะของตราสารหรือธุรกรรมที่ไปลงทุน เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการลงทุนที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล รวมถึงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว “ประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล รวมถึงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ โดยมีนโยบายการลงทุนในลักษณะของการลงทุนที่ไม่จํากัดรูปแบบ ที่มิได้มีหลักเกณฑ์การจัดตั้งและจัดการตามประกาศฉบับอื่นกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งตามประกาศนี้ต้องไม่เป็นกองทุนรวมประเภทดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (2) กองทุนรวมอีทีเอฟ (3) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ข้อ ๓ ในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้โดยอนุโลม เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือ วางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ (1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม (2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๔ ในการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการยื่นคําขออนุมัติแบบปกติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 การยื่นคําขออนุมัติโดยมีการพิจารณาคําขออนุมัติแบบปกติ ของหมวด 2 การจัดตั้งกองทุนรวม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๕ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนรวมอย่างสม่ําเสมอและเปิดเผยผลการดําเนินงานตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความเป็นไปของกองทุนรวมนั้นในแต่ละช่วงเวลา เช่น รายละเอียดการลงทุน ฐานะการเงิน ค่าใช้จ่าย และความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปด้วยวิธีการที่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การวัดผลการดําเนินงานและการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพิ่มเติมหรือแตกต่างจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดตามวรรคสองได้ ข้อ ๖ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่มีปัญหาอันเนื่องมาจากการอนุโลมใช้ประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมหรือประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีเหตุจําเป็นโดยไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้หรือหลักเกณฑ์เพิ่มเติมอื่นใดที่ออกตามประกาศนี้ สําหรับการจัดการกองทุนรวมใดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยให้กับบริษัทจัดการได้ โดยบริษัทจัดการต้องแสดงได้ว่าการขอผ่อนผันดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในประเทศที่กองทุนรวมมีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น (host country) ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้ (1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) มีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามที่ระบุไว้ในโครงการ (3) บริษัทจัดการไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที ข้อ ๑๐ เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด (1) กองทุนรวมมีการจัดการที่มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามที่ประกาศเกี่ยวข้องกําหนด แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการจัดการกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) การจัดการกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน (3) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน (5) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังนี้ (1) ชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม (2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง (3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
256
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 34/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 2)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 10/3/2560 . CSDS เลขที่ 123/2558 ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 34/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “ข้อ 3/1 การกําหนดชื่อของกองทุนรวมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ระบุข้อความ “เฮดจ์ฟันด์” หรือ “Hedge Fund” ไว้ในชื่อ (2) ระบุข้อความ “ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
257
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 34/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3/1 การกําหนดชื่อของกองทุนรวมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ระบุนโยบายการลงทุนหลักหรือกลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุนไว้ในชื่อ (2) ระบุข้อความ “ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อ” ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
258
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 74/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 74/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การวัดผลการดําเนินงาน การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม และการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน” ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
259
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 6/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 6/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “ข้อ 5/1 เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามสิทธิที่พึงได้รับ และเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการถือปฏิบัติได้ (1) การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุน การชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเมื่อเกิดการคํานวณจํานวนหน่วยลงทุนหรือมูลค่าผิด (2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุน (3) การควบหรือรวมกองทุนรวม (4) การรับชําระหนี้ด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของกองทุนรวม (5) การดําเนินการให้กองทุนรวมเปิดดํารงสภาพคล่องและวิธีปฏิบัติในกรณีที่ไม่สามารถดํารงสภาพคล่องได้ตามที่กําหนด (6) ข้อกําหนดอื่นใดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน หรือเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
260
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 42/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 6)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 42/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 16/5/62 . CSDS เลขที่ 24/2562 ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวม” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
261
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 6/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 7)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 6/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) กองทุนรวมเพื่อการออม” ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
262
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 59/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 8)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 59/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
263
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 67/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 67/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน”และคําว่า “ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน” (subordinated perpetual bond) ระหว่างบทนิยามคําว่า “การลงทุนที่ไม่จํากัดรูปแบบ” และคําว่า “โครงการ” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 42/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ““ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน” หมายความว่า ตราสารหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ตราสารหนี้ที่อยู่ระหว่างผิดนัดชําระหนี้ (distressed bond) (2) ตราสารหนี้ที่มีการเลื่อนกําหนดชําระหนี้คืน (rescheduled bond) (3) ตราสารหนี้ที่ผู้ออกอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ (4) ตราสารหนี้ที่ผู้ออกอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (restructured bond) (5) ตราสารหนี้ที่มีการผิดนัดชําระหนี้เนื่องมาจากเหตุผิดนัดของหุ้นกู้ชุดอื่น ๆ (cross default) (6) ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (subordinated perpetual bond) ที่ผู้ออกมีปัญหาในการชําระหนี้คืน (7) ตราสารหนี้อื่นใดที่ผู้ออกเป็นบุคคลเดียวกับผู้ออกตราสารหนี้ที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (5) “ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน” (subordinated perpetual bond) หมายความว่า ตราสารหนี้ด้อยสิทธิตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 6/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ โดยมีนโยบายการลงทุนในลักษณะของการลงทุนที่ไม่จํากัดรูปแบบหรือมีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน ที่มิได้มีหลักเกณฑ์การจัดตั้งและจัดการตามประกาศฉบับอื่นกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งตามประกาศนี้ต้องไม่เป็นกองทุนรวมประเภทดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (2) กองทุนรวมอีทีเอฟ (3) กองทุนรวมเพื่อการออม” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ในข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “(3) ระบุข้อความ “กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน”ไว้ในชื่อ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีของกองทุนรวมที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “ข้อ 3/2 กองทุนรวมที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืนที่จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งตามประกาศนี้ นอกจากต้องเป็นไปตามข้อ 3 แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) เป็นกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้ (ก) กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ข) กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (auto redemption) (2) มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (3) เริ่มมีการลงทุนครั้งแรกในตราสารหนี้ที่มีปัญหาการชําระหนี้คืนภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ ไม่ให้นําอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุนมาใช้บังคับภายในระยะเวลาดังกล่าว (4) มีการกําหนดอายุของกองทุนรวมที่สอดคล้องกับตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินที่ลงทุน (5) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้เฉพาะกับผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนครั้งแรกและยังมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมเท่านั้น” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “ข้อ 4/1 ในกรณีของกองทุนรวมที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้ หากครบกําหนดระยะเวลาเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกแล้วปรากฏว่ากองทุนรวมมีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนได้ไม่ถึง 10 ราย ให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลง โดยให้ปฏิบัติตามข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยอนุโลม เมื่อปรากฏว่ามีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 รายในวันทําการใด ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม โดยให้ปฏิบัติตามข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยอนุโลม” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
264
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 117 และมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับ ความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและ ผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ไม่รวมถึงกองทุนส่วนบุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับจัดการเงินทุนของผู้ลงทุนรายใหญ่ “กองทุนรวม”[[1]](#footnote-2)5 หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ แต่ไม่รวมถึงกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “การลงทุนที่ไม่จํากัดรูปแบบ” หมายความว่า การลงทุนในตราสารทางการเงินหรือ ธุรกรรมทางการเงินใด ๆ ที่มิได้มีข้อจํากัดในการลงทุนเกี่ยวกับประเภทหรือลักษณะของตราสารหรือ ธุรกรรมที่ไปลงทุน เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการลงทุนที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “ตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน”[[2]](#footnote-3)8 หมายความว่า ตราสารหนี้ซึ่งได้รับ อนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาต ให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ตราสารหนี้ที่อยู่ระหว่างผิดนัดชําระหนี้ (distressed bond) (2) ตราสารหนี้ที่มีการเลื่อนกําหนดชําระหนี้คืน (rescheduled bond) (3) ตราสารหนี้ที่ผู้ออกอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ (4) ตราสารหนี้ที่ผู้ออกอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (restructured bond) (5) ตราสารหนี้ที่มีการผิดนัดชําระหนี้เนื่องมาจากเหตุผิดนัดของหุ้นกู้ชุดอื่น ๆ (cross default) (6) ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (subordinated perpetual bond) ที่ผู้ออกมีปัญหาในการชําระหนี้คืน (7) ตราสารหนี้อื่นใดที่ผู้ออกเป็นบุคคลเดียวกับผู้ออกตราสารหนี้ที่มีลักษณะ ตาม (1) (2) หรือ (5) “ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน”[[3]](#footnote-4)8 (subordinated perpetual bond) หมายความว่า ตราสารหนี้ด้อยสิทธิตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และ การเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล รวมถึงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว “ประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล รวมถึงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือ วางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว ข้อ 2[[4]](#footnote-5)8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ โดยมีนโยบายการลงทุนในลักษณะของการลงทุนที่ไม่จํากัดรูปแบบหรือมีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน ที่มิได้มีหลักเกณฑ์การจัดตั้งและจัดการตามประกาศฉบับอื่นกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ กองทุนรวมที่ขออนุมัติจัดตั้งตามประกาศนี้ต้องไม่เป็นกองทุนรวมประเภทดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (2) กองทุนรวมอีทีเอฟ (3) กองทุนรวมเพื่อการออม (4) [[5]](#footnote-6)9 กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ข้อ 3 ในการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้โดยอนุโลม เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในประกาศนี้หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือ วางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ (1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้ง กองทุนรวม (2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดการ กองทุนรวม ข้อ 3/1[[6]](#footnote-7)2 การกําหนดชื่อของกองทุนรวมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยครบถ้วน ดังต่อไปนี้ (1) ระบุนโยบายการลงทุนหลักหรือกลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุนไว้ในชื่อ (2) ระบุข้อความ “ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อ (3) [[7]](#footnote-8)8 ระบุข้อความ “กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหา ในการชําระหนี้คืน” ไว้ในชื่อ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีของกองทุนรวมที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุน ในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืน ข้อ 3/2[[8]](#footnote-9)8 กองทุนรวมที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการ ชําระหนี้คืนที่จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งตามประกาศนี้ นอกจากต้องเป็นไปตามข้อ 3 แล้ว ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) เป็นกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้ (ก) กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ข) กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (auto redemption) (2) มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีปัญหาในการชําระหนี้คืนโดยเฉลี่ย ในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (3) เริ่มมีการลงทุนครั้งแรกในตราสารหนี้ที่มีปัญหาการชําระหนี้คืนภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณี มีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ ไม่ให้นําอัตราส่วนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยการลงทุนของกองทุนมาใช้บังคับภายในระยะเวลาดังกล่าว (4) มีการกําหนดอายุของกองทุนรวมที่สอดคล้องกับตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินที่ลงทุน (5) เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้เฉพาะกับผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อปรากฏ ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนครั้งแรกและยังมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่มี การเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมเท่านั้น ข้อ 4 ในการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการ ยื่นคําขออนุมัติแบบปกติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 การยื่นคําขออนุมัติโดยมีการพิจารณา คําขออนุมัติแบบปกติ ของหมวด 2 การจัดตั้งกองทุนรวม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทํา สัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 4/1[[9]](#footnote-10)8 ในกรณีของกองทุนรวมที่มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ ที่มีปัญหาในการชําระหนี้ หากครบกําหนดระยะเวลาเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกแล้วปรากฏว่ากองทุนรวมมีการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนได้ไม่ถึง 10 ราย ให้การอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลง โดยให้ปฏิบัติตามข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยอนุโลม เมื่อปรากฏว่ามีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 รายในวันทําการใด ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวม โดยให้ปฏิบัติตามข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยอนุโลม ข้อ 5 บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงานของกองทุนรวมอย่างสม่ําเสมอและเปิดเผยผลการดําเนินงานตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความเป็นไปของกองทุนรวมนั้นในแต่ละช่วงเวลา เช่น รายละเอียดการลงทุน ฐานะการเงิน ค่าใช้จ่าย และความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อ ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปด้วยวิธีการที่เพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนและบุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูล อย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ [[10]](#footnote-11)3การวัดผลการดําเนินงาน การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม และ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้บริษัทจัดการ ปฏิบัติเพิ่มเติมหรือแตกต่างจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด ตามวรรคสองได้ ข้อ 5/1[[11]](#footnote-12)4 เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามสิทธิ ที่พึงได้รับ และเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการถือปฏิบัติได้ (1) การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุน การชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเมื่อเกิดการคํานวณจํานวนหน่วยลงทุนหรือมูลค่าผิด (2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุน (3) การควบหรือรวมกองทุนรวม (4) การรับชําระหนี้ด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของกองทุนรวม (5) การดําเนินการให้กองทุนรวมเปิดดํารงสภาพคล่องและวิธีปฏิบัติในกรณีที่ ไม่สามารถดํารงสภาพคล่องได้ตามที่กําหนด (6) ข้อกําหนดอื่นใดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ผู้ลงทุน หรือเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ข้อ 6 นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ ข้อ 7 ในกรณีที่มีปัญหาอันเนื่องมาจากการอนุโลมใช้ประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้ง กองทุนรวมหรือประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนด แนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ และเมื่อมี การปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ 8 ในกรณีที่บริษัทจัดการมีเหตุจําเป็นโดยไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ในประกาศนี้หรือหลักเกณฑ์เพิ่มเติมอื่นใดที่ออกตามประกาศนี้ สําหรับการจัดการกองทุนรวม ใดที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยให้กับบริษัทจัดการได้ โดยบริษัทจัดการต้องแสดงได้ว่าการขอผ่อนผันดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ การให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในประเทศที่กองทุนรวมมีการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น (host country) ข้อ 9 ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติ ให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้ (1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับ บริษัทจัดการที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) มีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นบุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันหรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามที่ระบุไว้ในโครงการ (3) [[12]](#footnote-13)7 ยกเลิก ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที ข้อ 10 เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏ ข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกระทําการหรือ งดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด (1) กองทุนรวมมีการจัดการที่มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไข ตามที่ประกาศเกี่ยวข้องกําหนด แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระ ที่แท้จริง (substance) ของการจัดการกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) การจัดการกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน (3) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อ ตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบ การตัดสินใจลงทุน (5) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการที่ได้รับอนุมัติ จากสํานักงาน อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังนี้ (1) ชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม (2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง (3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ข้อ 11 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน 1. 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 42/2562 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) [↑](#footnote-ref-2) 2. 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 67/2564 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-3) 3. 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 67/2564 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-4) 4. 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 67/2564 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-5) 5. 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 40/2566 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566) [↑](#footnote-ref-6) 6. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 14/2561 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) [↑](#footnote-ref-7) 7. 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 67/2564 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-8) 8. 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 67/2564 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-9) 9. 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 67/2564 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-10) 10. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 74/2561 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561) [↑](#footnote-ref-11) 11. 4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 6/2562 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562) [↑](#footnote-ref-12) 12. 7 ยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 59/2563 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563) [↑](#footnote-ref-13)
265
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. ๔๐/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ ๑๐)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๔๐/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ ๑๐) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๔) ของข้อ ๒ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๖๗/๒๕๖๔ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง และจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ “(๔) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
266
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 117 และมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ที่จํากัดการเสนอขายและการถือหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศที่ ทน. 88/2558” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “ประกาศที่ สน. 87/2558” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ กองทุนรวมที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งตามประกาศนี้ต้องไม่เป็นกองทุนรวมประเภทดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (2) กองทุนรวมอีทีเอฟ (3) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ข้อ ๓ มิให้นําหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับกองทุนรวมตามประกาศนี้ (1) ข้อ 29 แห่งประกาศที่ ทน. 88/2558 และข้อ 102(1) แห่งประกาศที่ สน. 87/2558 (2) ข้อ 9(3) แห่งประกาศที่ ทน. 88/2558 ข้อ 10 และ ข้อ 31 แห่งประกาศที่ สน. 87/2558 โดยให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 แทน ข้อ ๔ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ข้อ ๖ การกําหนดชื่อของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องระบุข้อความ “สําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อกองทุนรวม ข้อ ๗ บริษัทจัดการจะกําหนดให้มีการรับชําระค่าซื้อหรือชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ต่อเมื่อกําหนดเงื่อนไขการชําระและขั้นตอนการดําเนินการไว้อย่างชัดเจนในโครงการและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ โดยขั้นตอนดังกล่าวต้องสามารถปฏิบัติได้จริงและเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย ข้อ ๘ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างน้อยในวันดังนี้ โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป (ก) ทุกสิ้นวันทําการก่อนวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน (ข) ทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน (ค) ทุกสิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน (ง) ทุกสิ้นวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล (จ) ทุกสิ้นวันทําการที่เกิดเหตุการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าจะมีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (2) คํานวณราคาขายหน่วยลงทุนและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน โดยให้ประกาศภายในวันทําการถัดไป ทั้งนี้ ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคาดังกล่าว ข้อ ๙ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
267
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 7/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 7/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) กองทุนรวมเพื่อการออม” ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
268
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2564. เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ประกาศที่ สน. 87/2558” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ประกาศที่ ทน. 11/2564” ต่อจากบทนิยามคําว่า “ประกาศที่ ทน. 88/2558” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ““ประกาศที่ ทน. 11/2564” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564”. ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 มิให้นําหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับกองทุนรวมตามประกาศนี้ (1) ข้อ 29 แห่งประกาศที่ ทน. 88/2558 และข้อ 29 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งประกาศที่ ทน. 11/2564. (2) ข้อ 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งประกาศที่ ทน. 88/2558 และข้อ 20 แห่งประกาศที่ ทน. 11/2564 โดยให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 และข้อ 7 แทน” ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
269
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับประมวล)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 41/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 117 และมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ที่จํากัดการเสนอขายและการถือหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศที่ ทน. 88/2558” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และ การเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “ประกาศที่ ทน. 11/2564”[[1]](#footnote-2)2 หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ประสงค์จะ เสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ กองทุนรวมที่ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งตาม ประกาศนี้ต้องไม่เป็นกองทุนรวมประเภทดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (2) กองทุนรวมอีทีเอฟ (3)[[2]](#footnote-3)1 กองทุนรวมเพื่อการออม (4)[[3]](#footnote-4)3 กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ข้อ 3[[4]](#footnote-5)2 มิให้นําหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับกองทุนรวมตามประกาศนี้ (1) ข้อ 29 แห่งประกาศที่ ทน. 88/2558 และข้อ 29 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งประกาศที่ ทน. 11/2564. (2) ข้อ 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งประกาศที่ ทน. 88/2558 และข้อ 20 แห่งประกาศที่ ทน. 11/2564 โดยให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 และข้อ 7 แทน ข้อ 4 ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ ข้อ 5 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ข้อ 6 การกําหนดชื่อของกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องระบุข้อความ “สําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ไว้ในส่วนท้ายของชื่อกองทุนรวม ข้อ 7 บริษัทจัดการจะกําหนดให้มีการรับชําระค่าซื้อหรือชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน เป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินได้ต่อเมื่อกําหนดเงื่อนไขการชําระและขั้นตอนการดําเนินการ ไว้อย่างชัดเจนในโครงการและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ โดยขั้นตอนดังกล่าวต้องสามารถปฏิบัติได้จริงและเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย ข้อ 8[[5]](#footnote-6)2 ยกเลิก ข้อ 9 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน 1. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-2) 2. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 7/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) [↑](#footnote-ref-3) 3. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 39/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566)) [↑](#footnote-ref-4) 4. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-5) 5. 2 ยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-6)
270
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๙/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๓๙/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ๔) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๔) ของข้อ ๒ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๔๑/๒๕๖๒ เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน ที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ “(๔) กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
271
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 4/2558 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้(ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ และในแบบท้ายประกาศนี้ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่ได้มาซึ่งหน่วยทรัสต์ครั้งแรกเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท (2) บุคคลตาม (1) ที่ได้หน่วยทรัสต์มาเพิ่มเติม โดยการได้มาซึ่งหน่วยทรัสต์เพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อรวมกับหน่วยทรัสต์ที่ถืออยู่แล้วคิดเป็นมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท การคํานวณมูลค่าหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามมูลค่าการซื้อขายหน่วยทรัสต์ในแต่ละครั้ง “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ “กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด “ทุนชําระแล้ว” หมายความว่า มูลค่ารวมของหน่วยทรัสต์ที่ชําระเต็มจํานวนแล้ว “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน “โครงการที่แล้วเสร็จ” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มมีรายได้ในเชิงพาณิชย์แล้ว “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เข้าลักษณะของโครงการที่แล้วเสร็จ “การกู้ยืมเงิน” ให้หมายความรวมถึงการออกตราสารหรือเข้าทําสัญญา ไม่ว่าในรูปแบบใดที่มีความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) เข้าลักษณะเป็นการกู้ยืมเงิน “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังต่อไปนี้ กับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท (1) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (2) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าวซึ่งหมายถึง (ก) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว (ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่งให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์” หมายความว่า ข้อมูลที่ใช้ในขั้นตอนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ดังต่อไปนี้ (1) จํานวนและราคาที่เสนอขาย (2) ระยะเวลาของการเสนอขาย (3) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหน่วยทรัสต์ (4) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกันหรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) และ (3) คําว่า “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บริษัทใหญ่” และ “บริษัทย่อย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นกองทรัสต์ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนและแสวงหาประโยชน์ในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก ข้อ ๔ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ ให้ยื่นคําขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 ของภาค 1 และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตและหน้าที่ภายหลังการอนุญาตในภาค 2 (2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาค 3 อื่นๆ ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ ประเภททรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และประเภทกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศนี้ ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือสิทธิการเช่าในที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์ ตลอดจนทรัพย์สินอื่นใดที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (2) สิทธิสัมปทานในการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (3) สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต หรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคตของกิจการโครงสร้างพื้นฐานหรือที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือการบริหารจัดการทรัพย์สินอื่นใดที่ได้จากการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (4) สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสัญญาก่อสร้าง หรือสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (5) หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) เป็นบริษัทที่มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตาม (1) (2) (3) หรือ (4) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของบริษัทดังกล่าว หรือมีรายได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตาม (1) (2) (3) หรือ (4) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของรายได้รวมในแต่ละปีบัญชีของบริษัทดังกล่าว (ข) เป็นบริษัทที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. เป็นบริษัทที่กองทรัสต์เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงไม่น้อยกว่าจํานวนสิทธิออกเสียงที่กฎหมายของประเทศที่บริษัทนั้นจัดตั้งขึ้นได้กําหนดไว้สําหรับการผ่านมติที่มีนัยสําคัญ 2. เป็นบริษัทที่กองทรัสต์ไม่สามารถถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวได้ถึงสัดส่วนที่จะเป็นบริษัทตาม 1. เนื่องจากมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น หรือมีเงื่อนไขในการร่วมทุนกับภาครัฐ โดยกองทรัสต์ต้องถือหุ้นหรือจะถือหุ้นไม่น้อยกว่าจํานวนขั้นสูงที่สามารถถือได้ตามกฎหมายหรือตามเงื่อนไขในการร่วมทุนดังกล่าว ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น และแสดงได้ว่ากองทรัสต์มีหรือจะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้นด้วย (6) ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทตาม (5) ที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้นแล้ว ข้อ ๖ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาจเป็นกองทรัสต์ประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) กองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ซึ่งเป็นกองทรัสต์ที่ไม่มีข้อจํากัดตาม (2) (2) กองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ซึ่งเป็นกองทรัสต์ที่มีข้อจํากัดให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ หมวด ๒ การยื่นคําขออนุญาตและระยะเวลาการพิจารณา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรกและยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ ได้แก่ ผู้ก่อตั้งกองทรัสต์ ซึ่งจะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งกองทรัสต์แล้ว (2) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่จัดตั้งแล้ว ได้แก่ ผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่งต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย ข้อ ๘ ให้บุคคลที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้บุคคลที่ยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พร้อมกับการยื่นคําขอดังกล่าว ข้อ ๙ คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในคําขออนุญาต ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่าหรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถทําหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานครบถ้วน อื่นๆ ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาตและ หน้าที่ภายหลังการอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑ การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตสําหรับกองทรัสต์ทุกประเภทในหมวด 1 และหลักเกณฑ์การอนุญาตส่วนเพิ่มสําหรับกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปในหมวด 2 (2) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตสําหรับกองทรัสต์ทุกประเภทในหมวด 1 และผู้ขออนุญาตแสดงให้เห็นได้ว่ากองทรัสต์มีข้อจํากัดการโอนหน่วยทรัสต์ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหน่วยทรัสต์ดังกล่าวจะทําให้หน่วยทรัสต์ที่เสนอขายไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก เมื่อได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายหลังได้รับอนุญาตในหมวด 3 หมวด ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาตสําหรับกองทรัสต์ทุกประเภท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ ลักษณะของผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีประวัติการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนยื่นคําขออนุญาต (2) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้จัดการกองทรัสต์ขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถบริหารจัดการกองทรัสต์ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ ข้อ ๑๓ ทรัสตีของกองทรัสต์ต้องไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ทรัสตีให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ ส่วน ๒ ลักษณะของกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ กองทรัสต์ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าเป็นกองทรัสต์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นหรือถูกใช้เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) (2) กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์ลงทุน ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่บุคคลในวงกว้าง ทั้งนี้ ให้นําการพิจารณาลักษณะของกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในวงกว้างของประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมาใช้กับการพิจารณาลักษณะของกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลในวงกว้างดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ ชื่อหรือคําแสดงชื่อของกองทรัสต์ต้องแสดงลักษณะสําคัญของกองทรัสต์นั้น ๆ และไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในนโยบายการลงทุนของกองทรัสต์ ข้อ ๑๖ กองทรัสต์ต้องกําหนดลักษณะของผู้รับประโยชน์ และหน่วยทรัสต์ ซึ่งมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ผู้ที่จะเป็นผู้รับประโยชน์ของกองทรัสต์ได้ ต้องเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์เท่านั้น (2) การชําระค่าหน่วยทรัสต์ ต้องกระทําด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าเท่านั้น (3) ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) หน่วยทรัสต์ชนิดเดียวกันต้องมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่เท่าเทียมกัน (ข) หน่วยทรัสต์แต่ละชนิดจะมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่แตกต่างกันได้เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การกําหนดประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ 2. ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ 3. กรณีอื่นใดที่แสดงได้ว่าเป็นการแบ่งชนิดหน่วยทรัสต์ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และได้คํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม ตลอดจนผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดจะได้รับแล้ว (4) ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีการออกหน่วยทรัสต์ชนิดที่ให้สิทธิในการไถ่ถอน (redeemable unit) สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องมีข้อกําหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขและระยะเวลาในการไถ่ถอนดังกล่าว และผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าการไถ่ถอนหน่วยทรัสต์นั้นจะไม่กระทบต่อความอยู่รอดของกองทรัสต์ ข้อ ๑๗ กองทรัสต์ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท โดยให้พิจารณาจากมูลค่าของทุนชําระแล้วที่คาดว่าจะมีภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ข้อ ๑๘ การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกองทรัสต์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีมูลค่าการลงทุนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร (2) กรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ แต่ละโครงการต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าสามพันล้านบาท (3) ต้องสามารถระบุทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุนได้อย่างแน่นอนแล้วในขณะที่ยื่นคําขออนุญาต โดยกองทรัสต์พร้อมจะได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นภายในหกเดือนนับแต่วันที่จัดตั้งกองทรัสต์แล้วเสร็จ หรือนับแต่วันที่ปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๙ การคํานวณมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ ให้คํานวณจากผลรวมของราคาที่ทําให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น และมูลค่าเงินลงทุนที่กองทรัสต์คาดว่าจะต้องใช้ในการพัฒนาให้เป็นโครงการที่แล้วเสร็จ (2) กรณีที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของโครงการที่แล้วเสร็จ ให้คํานวณตามราคาที่ทําให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น (3) กรณีที่มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว ให้คํานวณทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนอยู่แล้วนั้น ตามราคาที่ได้จากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินครั้งล่าสุด ซึ่งปรับปรุงด้วยการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ถ้ามี) และการตัดจําหน่ายทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ถ้ามี) ที่เกิดขึ้นภายหลังการประเมินมูลค่าทรัพย์สินล่าสุด กรณีที่กองทรัสต์มีการแบ่งชําระราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน เงินที่กันไว้สําหรับการชําระราคาในคราวถัด ๆ ไป อาจนํามาคํานวณรวมเป็นมูลค่าการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ได้ ข้อ ๒๐ นโยบายการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกองทรัสต์ต้องจํากัดเฉพาะการให้เช่า ให้สิทธิ หรือให้ผู้อื่นดําเนินการเท่านั้น โดยกองทรัสต์ต้องมิได้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานเอง เว้นแต่เป็นการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานผ่านบริษัทที่ออกหุ้นตามข้อ 5(5) ส่วน ๓ สัญญาก่อตั้งทรัสต์ การเปิดเผยข้อมูล และหลักเกณฑ์อื่น ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๑ สัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ แล้วแต่กรณี ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน รวมทั้งประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ข้อ ๒๒ ข้อมูลที่เปิดเผยต่อผู้ลงทุน ต้องไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือมีข้อความที่อาจทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ข้อ ๒๓ ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าหน่วยทรัสต์ที่จะออกและเสนอขายได้ผ่านกระบวนการออกหน่วยทรัสต์เพิ่มเติมตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์มาแล้วโดยชอบ หมวด ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาตส่วนเพิ่มสําหรับ กองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ การตรวจสอบหรือสอบทาน (due diligence) และการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๔ ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุนต้องผ่านการตรวจสอบหรือสอบทาน (การทํา due diligence) ของผู้จัดการกองทรัสต์และที่ปรึกษาทางการเงิน โดยได้จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจการโครงสร้างพื้นฐานและทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ข้อมูลด้านการเงิน กฎหมาย และเทคนิคเฉพาะทาง เป็นต้น และบุคคลดังกล่าวมีความเห็นว่าการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีความเหมาะสมสําหรับการลงทุนของผู้ลงทุนทั่วไป โดยมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทรัสต์นั้น (2) มีเอกสารสิทธิหรือเอกสารสัญญาที่ครบถ้วน ชัดเจน บังคับได้ตามกฎหมาย และเพียงพอต่อการที่กองทรัสต์จะใช้ดําเนินการหรือจัดหาผลประโยชน์ ข้อ ๒๕ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 5(1) (2) (3) หรือ (4) (ก) ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเป็นนิติบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทนั้น ๆ (ข) เป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ (ค) เป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่จัดทําล่วงหน้าก่อนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี (ง) ในกรณีที่การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเป็นการทําธุรกรรมกับผู้จัดการกองทรัสต์ หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องผ่านการประเมินมูลค่าโดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินตาม (ก) อย่างน้อยสองราย (2) กรณีที่เป็นทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 5(5) หรือ (6) (ก) มีการประเมินมูลค่าของหุ้นหรือตราสารหนี้ที่กองทรัสต์ลงทุน โดยที่ปรึกษาทางการเงินที่เป็นอิสระ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (1) (ค) (ข) มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่บริษัทที่ออกหุ้นหรือตราสารหนี้ตาม (ก) ลงทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (1) ข้อ ๒๖ ในกรณีที่กองทรัสต์ประสงค์จะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ ต้องแสดงได้ว่ากองทรัสต์สามารถได้มาและถือครองทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามกฎหมายของประเทศนั้น โดยจัดให้มีความเห็นของที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เชี่ยวชาญในกฎหมายของประเทศนั้นประกอบการตรวจสอบหรือสอบทานแล้ว ส่วน ๒ การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ประเภทต่าง ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่กองทรัสต์ประสงค์จะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ มูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวรวมกันทั้งสิ้นต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ การลงทุนในโครงการที่ไม่แล้วเสร็จตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย (1) การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของหลายโครงการ โดยบางโครงการเป็นโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ (2) การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของโครงการเดียว ซึ่งมีแผนพัฒนาโครงการเป็นส่วน ๆ (phase) โดยบางส่วนยังพัฒนาไม่แล้วเสร็จ ในการคํานวณมูลค่าการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) ด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่กองทรัสต์ประสงค์จะลงทุนในสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตหรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคตตามข้อ 5(3) ต้องแสดงได้ว่าผู้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคู่สัญญาได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีกลไกเพื่อให้ผู้จัดการกองทรัสต์หรือผู้ที่ผู้จัดการกองทรัสต์มอบหมายสามารถเข้าตรวจสอบหรือสอบยันความถูกต้องครบถ้วนของรายได้ที่กองทรัสต์มีสิทธิได้รับตามสัญญา (2) ตกลงที่จะจัดส่งรายงานหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อใช้ในการติดตามและตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของรายได้ที่กองทรัสต์มีสิทธิได้รับตามสัญญา ข้อ ๒๙ กรณีที่กองทรัสต์ประสงค์จะลงทุนในหุ้นที่ออกโดยบริษัทตามข้อ 5(5) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่ามีกลไกการกํากับดูแลให้บริษัทดังกล่าวดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้นโดยตรง ทั้งนี้ กลไกการกํากับดูแลดังกล่าวให้รวมถึงการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) มีการส่งบุคลากรเข้าเป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้น และมีข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่ทําให้การส่งบุคคลดังกล่าวต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ ในกรณีที่บริษัทตามวรรคหนึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ กรรมการของบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งคนต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (2) มีการกําหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตาม (1) ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึง (ก) การกําหนดกรอบอํานาจในการใช้ดุลพินิจที่ชัดเจน และที่มีผลให้การพิจารณาของกรรมการดังกล่าวในการออกเสียงในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทในเรื่องสําคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ก่อน (ข) การติดตามดูแลให้บริษัทดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน การทํารายการระหว่างบริษัทดังกล่าวกับผู้จัดการกองทรัสต์หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ และการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีนัยสําคัญ ให้ครบถ้วนถูกต้อง (ค) การติดตามดูแลให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกําหนด (3) มีกลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การทํารายการระหว่างบริษัทดังกล่าวกับผู้จัดการกองทรัสต์หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือการทํารายการสําคัญอื่นใดของบริษัทดังกล่าว มีสาระของรายการและต้องผ่านระบบในการอนุมัติของกองทรัสต์ตามข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (4) การจัดให้มีมาตรการที่จะทําให้ทรัสตีสามารถตรวจสอบการดําเนินการของผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามกลไกที่วางไว้ตาม (1) (2) และ (3) ส่วน ๓ การหารายได้ การกู้ยืม และการก่อภาระผูกพัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๐ การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีข้อตกลงและเงื่อนไขของสัญญา ซึ่งรวมถึงอัตราค่าเช่า ค่าสิทธิ หรือค่าตอบแทนอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกองทรัสต์ และมีลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทํากับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ข้อ ๓๑ การกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของกองทรัสต์ (ถ้ามี) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีข้อจํากัดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกองทรัสต์ไว้ไม่เกินกว่าสามเท่า โดยให้คํานวณส่วนของหนี้สินและส่วนของทุนของบริษัทย่อยของกองทรัสต์ (ถ้ามี) ตามหลักการจัดทํางบการเงินรวม รวมในอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกองทรัสต์ด้วย การพิจารณาอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาในวันหรือในช่วงเวลาที่จะเกิดธุรกรรมดังกล่าว (2) มีข้อจํากัดให้ก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทรัสต์ได้เฉพาะกรณีที่จําเป็นและเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทรัสต์ดังนี้ (ก) การก่อภาระผูกพันซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการทําข้อตกลงหลักที่กองทรัสต์สามารถกระทําได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ เช่น การนําทรัพย์สินของกองทรัสต์ไปเป็นหลักประกันการชําระเงินกู้ยืม ซึ่งการกู้ยืมเงินนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ (ข) การก่อภาระผูกพันที่เป็นเรื่องปกติในทางพาณิชย์หรือเป็นเรื่องปกติในการทําธุรกรรมประเภทนั้น ส่วน ๔ หลักเกณฑ์กรณีอื่น ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่เพื่อเปลี่ยนลักษณะกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ผู้ขออนุญาตต้องได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งอนุมัติให้เปลี่ยนลักษณะแล้ว โดยมตินั้นต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ด้วย ข้อ ๓๓ ผู้ขออนุญาตต้องแสดงให้เห็นได้ว่า (1) จะสามารถนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ (2) มีกลไกการบริหารจัดการ (fund governance) ที่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งมีมาตรการหรือกลไกการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการกองทรัสต์ เพื่อให้การจัดการกองทรัสต์ดําเนินไปในลักษณะที่เป็นธรรม และไม่เป็นการเอาเปรียบกองทรัสต์ หมวด ๓ หน้าที่ภายหลังได้รับอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๔ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 39 ข้อ 40 ข้อ 42 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 53 ส่วน ๑ การโฆษณาและการส่งเสริมการขายหน่วยทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณา ต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) สาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในโฆษณาต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามภาค 3 ของประกาศนี้ (3) ไม่เร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ (4) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในหน่วยทรัสต์เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม (ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข (ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด (5) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในหน่วยทรัสต์อย่างเหมาะสม และมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยทรัสต์ (6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้องมีข้อมูลของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลหน่วยทรัสต์ต้องเป็นเนื้อหาหลัก และข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสาระเป็นส่วนน้อย (8) การนําค่าโฆษณามาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกองทรัสต์ ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อการโฆษณานั้นเป็นไปเพื่อกองทรัสต์หรือจะเกิดประโยชน์ต่อกองทรัสต์นั้น (9) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ได้รับอนุญาต ดําเนินการให้เป็นไปตาม (1) ถึง (8) ในกรณีที่การโฆษณาตามวรรคหนึ่งเป็นการดําเนินการในช่วงระยะเวลาก่อนที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนจะมีผลใช้บังคับ นอกจากหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับด้วย ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับอนุญาตอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดผู้ลงทุนโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน (2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด (3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ลงทุนจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสมและเป็นธรรม (4) มีการแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย (5) ไม่คิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายจากกองทรัสต์ ส่วน ๒ การเสนอขายและจัดสรรหน่วยทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๓๙ ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการจําหน่ายหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน โดยอนุโลม เว้นแต่ข้อกําหนดในส่วนนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดการอนุโลมใช้ในรายละเอียดให้เหมาะสมกับรูปแบบของกองทรัสต์ได้ ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหน่วยทรัสต์ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับหน่วยทรัสต์ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการดังกล่าวตามประเภทของบริษัทหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม แต่ไม่รวมถึงข้อห้ามในการจัดสรรหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี ที่ทําการชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีความเป็นอิสระจากผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทรัสต์ ข้อ ๔๑ การจัดช่องทางให้ผู้ลงทุนแสดงเจตนาจองซื้อหน่วยทรัสต์ไม่ว่าด้วยรูปแบบหรือวิธีการใด ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดําเนินการให้ช่องทางนั้นแสดงข้อความว่าผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดการจองซื้อ การจัดสรรหน่วยทรัสต์ การยกเลิกการจองซื้อ การยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ และการคืนเงินค่าจองซื้อ ได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ข้อ ๔๒ เมื่อสิ้นสุดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก หากปรากฏกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวนและคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ (1) มีผู้จองซื้อไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย หรือมีการกระจายการถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการรับหน่วยทรัสต์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (2) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จองซื้อเมื่อรวมกับมูลค่าเงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น (ถ้ามี) มีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานหรือไม่ถึงจํานวนตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน (3) มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด หรือผู้ลงทุนต่างด้าว ไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดในส่วนนี้ และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง (4) ไม่สามารถโอนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตี เพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่มีการยกเลิกการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๔๓ ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน หากปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์และคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ (1) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จองซื้อเมื่อรวมกับเงินที่กองทรัสต์กันไว้เพื่อลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานและมูลค่าเงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น (ถ้ามี) มีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน โดยให้ยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวน (2) มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด หรือผู้ลงทุนต่างด้าว และทําให้การถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวเมื่อรวมกับจํานวนหน่วยที่ถืออยู่เดิม (ถ้ามี) ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ โดยให้ยกเลิกการเสนอขายเฉพาะส่วนที่เกินกว่าอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนด ในกรณีที่มีการยกเลิกการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง (1) ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๔๔ เมื่อปรากฏกรณีที่เป็นเหตุให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งให้สํานักงานทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว ข้อ ๔๕ ผู้ได้รับอนุญาตจะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ โดยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 46 ด้วย (1) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ (2) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่กองทรัสต์มีผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทรัสต์หลายราย และผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลดังกล่าว ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลเหล่านั้นรวมกันได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ ข้อ ๔๖ ภายใต้บังคับของข้อ 45 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ หรือบริษัทย่อยของผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลข้างต้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องแบ่งแยกหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าวออกจากหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยประเภทบุคคลดังกล่าวรวมถึงจํานวนที่จะจัดสรรไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ข้อ ๔๗ ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย หากกฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้นกําหนดสัดส่วนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าวไว้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดนั้นด้วย ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามวรรคหนึ่งของหลายโครงการ และบรรดากฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีการกําหนดสัดส่วนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าวไว้แตกต่างกัน ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ต่ําสุดของบรรดากฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดนั้น ข้อ ๔๘ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ผู้ได้รับอนุญาตว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใด ถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบโดยไม่ชักช้าถึงข้อจํากัดสิทธิเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนนและการรับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ซึ่งจัดทําขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (2) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาตรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว ข้อ ๔๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการที่จําเป็นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ การดําเนินการที่จําเป็นให้หมายความรวมถึงการจัดให้มีระบบงานที่สามารถควบคุมการถือหน่วยทรัสต์ หรือการแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีระบบงานดังกล่าว ส่วน ๓ การก่อตั้งกองทรัสต์ และหน้าที่ต่าง ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีสัญญาก่อตั้งทรัสต์ก่อนหรือในวันที่มีการโอนทรัพย์สินที่จะให้เป็นกองทรัสต์แก่ทรัสตี โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีสาระไม่ต่างจากร่างที่ผ่าน การพิจารณาของสํานักงานแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดส่งสําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่ลงนามแล้วต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่เข้าทําสัญญานั้น ข้อ ๕๑ ผู้ได้รับอนุญาตในฐานะผู้ก่อตั้งทรัสต์ต้องโอนหรือดําเนินการให้มีการโอนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตี เพื่อให้การก่อตั้งกองทรัสต์หรือการเพิ่มทุนของกองทรัสต์ แล้วแต่กรณี แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการโอนเงินตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ข้อ ๕๒ ภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก ให้ผู้ได้รับอนุญาตเข้าทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตที่กําหนดไว้ในประกาศนี้และในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดูแลให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์มีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญว่า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ โดยอนุโลม ข้อ ๕๓ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการเพื่อให้หน่วยทรัสต์สามารถเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ข้อ ๕๔ ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดูแลให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมให้สํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ลงนามหรือวันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ตามแต่กรณี ข้อ ๕๕ ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในคําขออนุญาต แบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ตลอดจนข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อ ๕๖ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ หากที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตประสงค์จะได้รับหรือตรวจดูข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลดังกล่าวแก่ที่ปรึกษาทางการเงินด้วย ส่วน ๔ การเปลี่ยนลักษณะจากกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๗ กองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ประสงค์จะเปลี่ยนลักษณะเป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้ดําเนินการได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่จะเปลี่ยนลักษณะดังกล่าวโดยมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การยื่นคําขออนุญาต และการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่สําหรับกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (2) กรณีที่จะเปลี่ยนลักษณะดังกล่าวโดยไม่มีการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ ให้ดําเนินการได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ทั้งนี้ การเปลี่ยนลักษณะดังกล่าวจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งอนุมัติให้เปลี่ยนลักษณะ โดยมตินั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ด้วย (ข) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่าหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์นั้นมีลักษณะอยู่ในข่ายที่จะได้รับอนุญาตตามหลักเกณฑ์การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่สําหรับกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป การเปลี่ยนลักษณะจากกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานไม่ว่ากรณีใด ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติหน้าที่ภายหลังการอนุญาตตามที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปด้วย ข้อ ๕๘ ให้ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะเปลี่ยนลักษณะของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปตามข้อ 57 วรรคหนึ่ง (2) ยื่นคําขอความเห็นชอบการเปลี่ยนลักษณะต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งมีหนังสือแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ส่งข้อมูลเพิ่มเติมต่อสํานักงาน ข้อ ๕๙ การเปลี่ยนลักษณะกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานไม่ว่ากรณีใด ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการยกเลิกข้อจํากัดการโอนซึ่งได้จัดให้มีขึ้นตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (2) ด้วย อื่นๆ ๓ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๐ การเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ข้อ ๖๑ ในกรณีที่การเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้วหากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน หมวด ๒ การยื่นและค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๒ ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐาน โดยให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาจํานวนสองชุด (2) ส่งข้อมูลในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อมูลที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน ในกรณีที่การเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน ข้อ ๖๓ ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 19 ข้อ ๖๔ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือที่อาจทําให้สําคัญผิด และไม่ขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ (2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่นด้วย ต้องมีรายละเอียดข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าที่เปิดเผยในประเทศอื่น (3) มีข้อมูลตามที่กําหนดในมาตรา 69(1) ถึง (10) และข้อมูลเพิ่มเติมตามที่กําหนดในหมวดนี้ แบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล ข้อ ๖๕ ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบ 69-IFT ท้ายประกาศนี้ (2) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ระบุข้อมูลตามที่กําหนดในมาตรา 69(1) ถึง (10) และข้อมูลอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ข้อ ๖๖ งบการเงินและงบการเงินรวมของกองทรัสต์ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ถ้ามี) ต้องผ่านการตรวจสอบและสอบทาน แล้วแต่กรณี จากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และต้องจัดทําตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย ข้อ ๖๗ ก่อนปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุนในหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น ข้อ ๖๘ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ได้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในต่างประเทศ โดยมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามกฎหมายต่างประเทศนั้น เมื่อมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์ดังกล่าวในประเทศไทย ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไม่น้อยกว่ารายละเอียดของข้อมูลที่ได้เปิดเผยในการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นในต่างประเทศ หมวด ๓ วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๙ ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ออกใหม่ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 33 ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ออกใหม่นั้นแล้ว (2) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 19 (3) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและได้เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 77 วรรคสาม (ถ้ามี) แล้ว (4) เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) (ก) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบ 69-IFT 1. สิบสี่วัน ในกรณีทั่วไป 2. สามวันทําการ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน (ข) สามวันทําการ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 65(2) (5) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้ระบุข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว อื่นๆ ๔ อํานาจของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗๐ ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่มาชี้แจงหรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์นั้นอีกต่อไป ข้อ ๗๑ ในกรณีที่เอกสารหรือข้อมูลที่ได้รับจากผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามภาค 2 มีข้อมูลไม่ครบถ้วน มีข้อความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือในกรณีที่มีเหตุจําเป็นหรือกรณีอื่นใดที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน หรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขออนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทรัสต์เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบ (2) จัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุนใหม่ (3) จัดให้มีการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) หรือการให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุน (4) จัดให้มีความเห็นทางกฎหมายในประเด็นข้อกฎหมายที่สําคัญหรือที่ไม่ชัดเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์นั้นอีกต่อไป ข้อ ๗๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 1 ของหมวด 3 ของภาค 2 สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายบางกรณีต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนทําการโฆษณาหรือจัดให้มีการส่งเสริมการขายนั้น เพื่อตรวจสอบให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (2) ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 1 ของหมวด 3 ของภาค 2 สํานักงานอาจสั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ (ก) หยุดการโฆษณา หรือยุติการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ข) แก้ไขข้อมูลหรือข้อความในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย (ค) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงหรือไม่ทําให้สําคัญผิด (ง) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจลงทุน บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทําให้สําคัญผิด ข้อ ๗๓ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาค 2 ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน หรือเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์นั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหน่วยทรัสต์หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด (2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขาย หรือในส่วนที่ยังมิได้มีการโอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปยังกองทรัสต์หรือเพื่อการก่อตั้งกองทรัสต์ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยทรัสต์นั้น ข้อ ๗๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ตามคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามภาค 2 ได้ ฃ (1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหน่วยทรัสต์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงที่ทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทย โดยรวม (4) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อ ๗๕ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาค 2 ได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอและสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน และมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๗๖ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลที่กําหนดเพิ่มเติมตามประกาศนี้ หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์แสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล หรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว ข้อ ๗๗ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามภาค 3 หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดําเนินการดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (1) ชี้แจงหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล (2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน เมื่อสํานักงานดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานหยุดนับระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไว้ชั่วคราวตามที่กําหนดในมาตรา 75 และหากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่งจนล่วงเลยระยะเวลาเกินสมควร ให้ถือว่าผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีก โดยให้สํานักงานคืนแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้นต่อผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อไป ในการกําหนดให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ผ่านทางเว็บไซต์ของสํานักงาน ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้ ข้อ ๗๘ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ขออนุญาตปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
272
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ ผู้ขออนุญาตชี้แจงภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับแบบคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงาน ก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือ สําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับ การพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 57 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ ตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การเปลี่ยนลักษณะจากกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานไม่ว่ากรณีใด ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติหน้าที่ภายหลังการอนุญาตตามที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปด้วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 58 ให้ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะเปลี่ยนลักษณะของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปตามข้อ 57 วรรคหนึ่ง (2) ยื่นคําขออนุญาตเปลี่ยนลักษณะ ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 5 ให้ยกเลิกข้อ 70 และข้อ 71 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
273
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 54/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 54/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “(4) ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่จะลงทุนต้องไม่เป็นของบุคคลที่มีลักษณะตามข้อ 18/1 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตสามารถแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่า บุคคลดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้บุคคลดังกล่าวมีลักษณะตามข้อ 18/1 (1) หรือ (2) แล้ว มิให้นําความในข้อ 18/1 (1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับบุคคลนั้นอีก” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 18/1 กองทรัสต์ต้องไม่เข้าทําสัญญาการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้าง พื้นฐานกับบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ หากบุคคลนั้นเองหรือบุคคลอื่นที่บุคคลดังกล่าวควบคุมได้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทรัสต์ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวเป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็น หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้พิจารณาการมีลักษณะตามที่กําหนดใน (1) (ก) เท่านั้น (1) ภายในระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ บุคคลดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ (ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังต่อไปนี้ 1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมี การเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร 2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ (ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ (ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยในเหตุตาม (ข) หรือ (ค) นั้น (2) ภายในระยะเวลาสิบปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ บุคคลดังกล่าวเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุ ที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
274
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2560 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2560 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 4/2558 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “สมาคม” ระหว่างคําว่า “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” และคําว่า “การกู้ยืมเงิน” ในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ““สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “คําว่า “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทตาม (5) หรือสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทตาม (5) ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวแล้ว” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/1 ในส่วนที่ 2 ลักษณะของกองทรัสต์ ของหมวด 1 หลักเกณฑ์การอนุญาตสําหรับกองทรัสต์ทุกประเภท ในภาค 2 หลักเกณฑ์การอนุญาตและหน้าที่ภายหลังการอนุญาต แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 20/1 การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่ากระทําด้วยวิธีการใด ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (2) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) ให้สิทธิลูกหนี้ในการชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (callable) หรือให้สิทธิกองทรัสต์ในการเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) (ข) กําหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น (ค) ไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (3) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 22/1 ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะระดมทุนครั้งแรกจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) ต้องแสดงได้ว่าผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน แก่กองทรัสต์ ยอมผูกพันที่จะซื้อหน่วยทรัสต์เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 41/1” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 23 ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุนของกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าหน่วยทรัสต์ที่จะออกและเสนอขายได้ผ่านกระบวนการออกหน่วยทรัสต์เพิ่มเติมตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์มาแล้วโดยชอบ” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25 การประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่กองทรัสต์ลงทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 5(1) (2) (3) หรือ (4) (ก) ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเป็นนิติบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทนั้น ๆ (ข) เป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ (ค) เป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่จัดทําล่วงหน้าก่อนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี (ง) ในกรณีที่การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเป็นการทําธุรกรรม กับผู้จัดการกองทรัสต์ หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องผ่านการประเมินมูลค่าโดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินตาม (ก) อย่างน้อยสองราย (2) กรณีทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นหุ้นตามข้อ 5(5) หากหุ้นดังกล่าวมิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่บริษัทที่ออกหุ้นดังกล่าวลงทุนตามหลักเกณฑ์ใน (1) โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงภาระภาษีของบริษัทดังกล่าว และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นด้วย (3) กรณีทรัพย์สินอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) หลักเกณฑ์ของสมาคมเกี่ยวกับการกําหนดราคาทรัพย์สิน (ข) ในกรณีหลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดราคาของทรัพย์สินใด ให้ใช้ราคาที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล” ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) ของข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “(3/1) มีกลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การกู้ยืมเงินของบริษัทดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 31(1) จะพิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์ก็ได้” ข้อ 9 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) การจัดให้มีมาตรการที่จะทําให้ทรัสตีสามารถตรวจสอบการดําเนินการของผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามกลไกที่วางไว้ตาม (1) (2) (3) และ (3/1)” ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 34 ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 39 ข้อ 42 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 53 ทั้งนี้ ในกรณีที่การเสนอขายดังกล่าวเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 40 ด้วย” ข้อ 11 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 41/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 41/1 ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก หากผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้ลงทุนรายอื่น (2) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายให้แก่บุคคลตาม (1) ต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่บุคคลดังกล่าวประสงค์จะซื้อ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ํากว่า (3) ผู้ได้รับอนุญาตต้องก่อตั้งกองทรัสต์โดยการโอนเงินทั้งหมดที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ตาม (2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 51 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้แก่ผู้ลงทุนรายอื่น” ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 51 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 51 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการโอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตีตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่มิใช่กรณีตาม (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (2) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมเงิน ผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) (ก) ให้โอนเงินที่ได้จากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดในข้อ 41/1(2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้ที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุน (ข) ให้โอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือให้แก่ทรัสตีภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในส่วนดังกล่าว (3) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทรัสต์ภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการโอนเงินตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานพร้อมกับการยื่นรายงานผลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) (ก) หรือ (ข) หรือ (3) แล้วแต่กรณี” ข้อ 13 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 65 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ระบุข้อมูลตามที่กําหนดในมาตรา 69(1) ถึง (10) และข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 65/1” ข้อ 14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 65/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 65/1 แบบแสดงรายการข้อมูลของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 65(2) ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการกู้ยืมเงินด้วย ให้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินอย่างน้อยดังนี้ (ก) ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการกันเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ ให้ระบุจํานวนเงินที่จะกันสํารองในแต่ละปีจนกว่าจะชําระหนี้เสร็จสิ้น ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ข) ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (concurrent offering) ให้ระบุมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันกับบุคคลดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขายทั้งหมดในครั้งนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์เป็นบริษัทย่อยของผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ ให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว รวมทั้งเปิดเผยจํานวนและสัดส่วนของหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ และมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย (2) ข้อมูลอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน” ข้อ 15 ให้ยกเลิกความใน 2.5 ของรายการที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ ในส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ของแบบ 69-IFT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “2.5 ในกรณีที่ลงทุนทางอ้อมผ่านการถือหุ้นของบริษัทที่ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ให้ผู้จัดการกองทรัสต์แสดงกลไกการกํากับดูแลให้บริษัทที่กองทรัสต์ถือหุ้นดังกล่าว ดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้นโดยตรง ทั้งนี้ กลไกการกํากับดูแลดังกล่าวต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน” ข้อ 16 ให้ยกเลิกความใน 2.8 ของรายการที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ ในส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ของแบบ 69-IFT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “2.8 ในกรณีที่จะมีการกู้ยืมเงินด้วย ให้ระบุข้อมูลดังนี้ (1) วิธีการกู้ยืมเงิน เช่น การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือการออกหุ้นกู้ เป็นต้น โดยต้องสรุปสาระสําคัญของสัญญากู้ยืมเงิน หรือข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งรายละเอียดการวางหลักประกันการกู้ยืมเงิน (ถ้ามี) รวมทั้งอธิบายถึงประโยชน์ของการกู้ยืมเงินต่อผู้ลงทุนด้วย (2) ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการกันเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ ให้ระบุจํานวนเงินที่จะกันสํารองในแต่ละปีจนกว่าจะชําระหนี้เสร็จสิ้น ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (3) ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (concurrent offering) ให้ระบุมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันกับบุคคลดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขายทั้งหมดในครั้งนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์เป็นบริษัทย่อยของผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ ให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว รวมทั้งเปิดเผยจํานวนและสัดส่วนของหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ และมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย (4) ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินจากบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ หรือจากทรัสตีหรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับทรัสตี ให้อธิบายความสัมพันธ์ และเหตุผลความจําเป็นของการกู้ยืมเงินจากบุคคลดังกล่าว รวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของการกู้ยืมเงินดังกล่าวว่าเป็นทางค้าปกติ หรือไม่อย่างไร” ข้อ 17 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
275
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2561 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2561 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 65/1 แห่งประกาศประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2560 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 65/1 แบบแสดงรายการข้อมูลของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 65(2) ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการกู้ยืมเงิน ให้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินอย่างน้อยดังนี้ (ก) ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการกันเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ ให้ระบุจํานวนเงินที่จะกันสํารองในแต่ละปีจนกว่าจะชําระหนี้เสร็จสิ้น ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ข) ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (concurrent offering) ให้ระบุมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันกับบุคคลดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขายทั้งหมดในครั้งนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์เป็นบริษัทย่อยของผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ ให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว รวมทั้งเปิดเผยจํานวนและสัดส่วนของหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ และมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย (2) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน ให้ระบุข้อมูลดังนี้ (ก) รายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์สูงสุดสิบรายแรกก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งนี้ โดยในการนับการถือหน่วยทรัสต์ดังกล่าวให้นับรวมการถือหน่วยทรัสต์ของกลุ่มบุคคลเดียวกันและบุคคลที่อยู่ภายใต้ผู้มีอํานาจควบคุมเดียวกันเป็นกลุ่มเดียวกัน (ข) จํานวนหน่วยทรัสต์และสัดส่วนการถือหน่วยทรัสต์ของกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์ตาม (2) (ก) (ค) ในกรณีที่รายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์ตาม (2) (ก) ยังไม่แสดงถึงบุคคลที่เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เช่น รายชื่อผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แสดงไว้เป็น nominee account ให้ระบุชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหลักที่เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรที่ทําให้ไม่อาจทราบผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริงได้ (3) ข้อมูลอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในหมายเหตุของ 5.6 ในรายการที่ 5 การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ของส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ของแบบ 69-IFT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมายเหตุ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์มีการจัดทําและเปิดเผยประมาณการผลตอบแทนในแบบแสดงรายการข้อมูล ผู้จัดการกองทรัสต์จะมีหน้าที่ในการเปิดเผยคําอธิบายในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีในปีถัดไปว่าผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างจากการประมาณการผลตอบแทนที่ทําไว้อย่างไร” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน 8.4 ของรายการที่ 8 โครงสร้างและการดําเนินงานของกองทรัสต์ ในส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ของแบบ 69-IFT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “8.4 ในกรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน ให้ระบุรายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์สูงสุด 10 รายแรก พร้อมทั้งจํานวนหน่วยทรัสต์ที่ถือและสัดส่วนการถือหน่วยทรัสต์ล่าสุดก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งนี้ ทั้งนี้ ให้นับการถือหน่วยทรัสต์ของกลุ่มบุคคลเดียวกัน และผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่อยู่ภายใต้ผู้มีอํานาจควบคุมเดียวกันเป็นกลุ่มเดียวกัน ในกรณีที่รายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ปรากฏดังกล่าวข้างต้น ยังไม่แสดงถึงบุคคลที่เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เช่น รายชื่อผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แสดงไว้เป็น nominee account ให้ระบุชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหลักที่เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรที่ทําให้ไม่อาจทราบผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริงได้” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น 8.5 ในรายการที่ 8 โครงสร้างและการดําเนินงานของกองทรัสต์ ของส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ในแบบ 69-IFT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “8.5 ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทรัสต์” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
276
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 66 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 66 งบการเงินและงบการเงินรวมของกองทรัสต์ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ถ้ามี) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามมาตรา 56 โดยอนุโลม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
277
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 และข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีประวัติการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนยื่นคําขออนุญาต (2) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้จัดการกองทรัสต์ขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถบริหารจัดการกองทรัสต์ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ (3) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ข้อ 13 ทรัสตีของกองทรัสต์ต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ทรัสตี ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ (2) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 หรือข้อ 13 แล้วแต่กรณี ห้ามผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จนกว่าผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
278
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ 38 ผู้ได้รับอนุญาตต้องขายหน่วยทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นขอขยายระยะเวลาการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนครบระยะเวลาที่กําหนด โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญด้วย (ถ้ามี) มาพร้อมด้วย ทั้งนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่สํานักงานแจ้งการอนุญาตในครั้งแรก ในกรณีที่รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานมีอายุเกินหนึ่งปีในวันที่กองทรัสต์เสนอขายหน่วยทรัสต์ หรือในกรณีที่มีปัจจัยที่อาจทําให้มูลค่าการประเมินทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการปรับปรุงรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นปัจจุบันก่อนดําเนินการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 หรือข้อ 13 แล้วแต่กรณี ห้ามผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จนกว่าผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
279
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 4/2558 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้(ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ และในแบบท้ายประกาศนี้ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “ผู้ลงทุนรายใหญ่”( หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนสถาบัน”( หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตาม สัญญาก่อตั้งทรัสต์ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ “กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด “ทุนชําระแล้ว” หมายความว่า มูลค่ารวมของหน่วยทรัสต์ที่ชําระเต็มจํานวนแล้ว “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน “โครงการที่แล้วเสร็จ” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มมีรายได้ในเชิงพาณิชย์แล้ว “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เข้าลักษณะของโครงการที่แล้วเสร็จ “สมาคม”( หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “การกู้ยืมเงิน” ให้หมายความรวมถึงการออกตราสารหรือเข้าทําสัญญา ไม่ว่าในรูปแบบใดที่มีความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) เข้าลักษณะเป็นการกู้ยืมเงิน “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังต่อไปนี้ กับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท (1) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (2) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าวซึ่งหมายถึง (ก) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว (ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่งให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสหรือ บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือ เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์” หมายความว่า ข้อมูลที่ใช้ในขั้นตอนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ดังต่อไปนี้ (1) จํานวนและราคาที่เสนอขาย (2) ระยะเวลาของการเสนอขาย (3) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหน่วยทรัสต์ (4) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกันหรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) และ (3) (คําว่า “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บริษัทใหญ่” และ “บริษัทย่อย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นกองทรัสต์ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนและแสวงหาประโยชน์ในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก ข้อ 4 ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ ให้ยื่นคําขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 ของภาค 1 และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตและหน้าที่ภายหลังการอนุญาตในภาค 2 (2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาค 3 ภาค 1 บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด 1 ประเภททรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และประเภทกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศนี้ ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือสิทธิการเช่าในที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์ ตลอดจนทรัพย์สินอื่นใดที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (2) สิทธิสัมปทานในการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (3) สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต หรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคตของกิจการโครงสร้างพื้นฐานหรือที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือการบริหารจัดการทรัพย์สินอื่นใดที่ได้จากการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (4) สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสัญญาก่อสร้าง หรือสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (5) หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) เป็นบริษัทที่มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตาม (1) (2) (3) หรือ (4) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของบริษัทดังกล่าว หรือมีรายได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตาม (1) (2) (3) หรือ (4) รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของรายได้รวมในแต่ละปีบัญชีของบริษัทดังกล่าว (ข) เป็นบริษัทที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. เป็นบริษัทที่กองทรัสต์เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงไม่น้อยกว่าจํานวนสิทธิออกเสียงที่กฎหมายของประเทศที่บริษัทนั้นจัดตั้งขึ้นได้กําหนดไว้สําหรับการผ่านมติที่มีนัยสําคัญ 2. เป็นบริษัทที่กองทรัสต์ไม่สามารถถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวได้ถึงสัดส่วนที่จะเป็นบริษัทตาม 1. เนื่องจากมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น หรือมีเงื่อนไขในการร่วมทุนกับภาครัฐ โดยกองทรัสต์ต้องถือหุ้นหรือจะถือหุ้นไม่น้อยกว่าจํานวนขั้นสูงที่สามารถถือได้ตามกฎหมายหรือตามเงื่อนไขในการร่วมทุนดังกล่าว ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียง ทั้งหมดของบริษัทนั้น และแสดงได้ว่ากองทรัสต์มีหรือจะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้นด้วย (6)( ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทตาม (5) หรือสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทตาม (5) ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวแล้ว ข้อ 6 ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาจเป็นกองทรัสต์ประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) กองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ซึ่งเป็นกองทรัสต์ที่ไม่มีข้อจํากัดตาม (2) (2) กองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ซึ่งเป็นกองทรัสต์ที่มีข้อจํากัดให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ หมวด 2 การยื่นคําขออนุญาตและระยะเวลาการพิจารณา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7 ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรกและยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ ได้แก่ ผู้ก่อตั้งกองทรัสต์ ซึ่งจะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งกองทรัสต์แล้ว (2) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่จัดตั้งแล้ว ได้แก่ ผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่งต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการยื่นคําขอความเห็นชอบเป็น ผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย ข้อ 8 ให้บุคคลที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด (ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ 9 คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในคําขออนุญาต ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่าหรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถทําหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ข้อ 10( เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ ผู้ขออนุญาตชี้แจงภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับแบบคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนโดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง ภาค 2 หลักเกณฑ์การอนุญาตและหน้าที่ภายหลังการอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตสําหรับกองทรัสต์ทุกประเภทในหมวด 1 และหลักเกณฑ์การอนุญาตส่วนเพิ่มสําหรับกองทรัสต์เพื่อ ผู้ลงทุนทั่วไปในหมวด 2 (2) ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตสําหรับกองทรัสต์ทุกประเภทในหมวด 1 และผู้ขออนุญาตแสดงให้เห็นได้ว่ากองทรัสต์มีข้อจํากัดการโอนหน่วยทรัสต์ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหน่วยทรัสต์ดังกล่าวจะทําให้หน่วยทรัสต์ที่เสนอขายไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก เมื่อได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายหลังได้รับอนุญาตในหมวด 3 หมวด 1 หลักเกณฑ์การอนุญาตสําหรับกองทรัสต์ทุกประเภท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 ลักษณะของผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 12( ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีประวัติการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนยื่นคําขออนุญาต (2) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้จัดการกองทรัสต์ขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถบริหารจัดการกองทรัสต์ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ (3) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ข้อ 13( ทรัสตีของกองทรัสต์ต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ทรัสตี ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ (2) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและ การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ส่วนที่ 2 ลักษณะของกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 14 กองทรัสต์ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าเป็นกองทรัสต์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นหรือถูกใช้เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) (2) กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์ลงทุน ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่บุคคลในวงกว้าง ทั้งนี้ ให้นําการพิจารณาลักษณะของกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในวงกว้างของประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมาใช้กับการพิจารณาลักษณะของกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลในวงกว้างดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ 15 ชื่อหรือคําแสดงชื่อของกองทรัสต์ต้องแสดงลักษณะสําคัญของกองทรัสต์นั้น ๆ และไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในนโยบายการลงทุนของกองทรัสต์ ข้อ 16 กองทรัสต์ต้องกําหนดลักษณะของผู้รับประโยชน์ และหน่วยทรัสต์ ซึ่งมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ผู้ที่จะเป็นผู้รับประโยชน์ของกองทรัสต์ได้ ต้องเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์เท่านั้น (2) การชําระค่าหน่วยทรัสต์ ต้องกระทําด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าเท่านั้น (3) ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) หน่วยทรัสต์ชนิดเดียวกันต้องมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่เท่าเทียมกัน (ข) หน่วยทรัสต์แต่ละชนิดจะมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่แตกต่างกันได้เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การกําหนดประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ 2. ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ 3. กรณีอื่นใดที่แสดงได้ว่าเป็นการแบ่งชนิดหน่วยทรัสต์ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และได้คํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม ตลอดจนผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดจะได้รับแล้ว (4) ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีการออกหน่วยทรัสต์ชนิดที่ให้สิทธิในการไถ่ถอน (redeemable unit) สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องมีข้อกําหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขและระยะเวลาในการไถ่ถอนดังกล่าว และผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าการไถ่ถอนหน่วยทรัสต์นั้นจะไม่กระทบต่อความอยู่รอดของกองทรัสต์ ข้อ 17 กองทรัสต์ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท โดยให้พิจารณาจากมูลค่าของทุนชําระแล้วที่คาดว่าจะมีภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ข้อ 18 การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกองทรัสต์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีมูลค่าการลงทุนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร (2) กรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ แต่ละโครงการต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าสามพันล้านบาท (3) ต้องสามารถระบุทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุนได้อย่างแน่นอนแล้วในขณะที่ยื่นคําขออนุญาต โดยกองทรัสต์พร้อมจะได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นภายในหกเดือนนับแต่วันที่จัดตั้งกองทรัสต์แล้วเสร็จ หรือนับแต่วันที่ปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี (4)( ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่จะลงทุนต้องไม่เป็นของบุคคลที่มีลักษณะตามข้อ 18/1 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตสามารถแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่า บุคคลดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้บุคคลดังกล่าวมีลักษณะตามข้อ 18/1(1) หรือ (2) แล้ว มิให้นําความในข้อ 18/1(1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับบุคคลนั้นอีก ข้อ 18/1( กองทรัสต์ต้องไม่เข้าทําสัญญาการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานกับบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ หากบุคคลนั้นเองหรือบุคคลอื่นที่บุคคลดังกล่าวควบคุมได้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทรัสต์ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวเป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้พิจารณาการมีลักษณะตามที่กําหนดใน (1) (ก) เท่านั้น (1) ภายในระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์บุคคลดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ (ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังต่อไปนี้ 1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมี การเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร 2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ (ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อ การตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพรางหรือสร้างข้อมูล ที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ (ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผล อย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยในเหตุตาม (ข) หรือ (ค) นั้น (2) ภายในระยะเวลาสิบปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์บุคคลดังกล่าวเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคล ที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น ข้อ 19 การคํานวณมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ ให้คํานวณจากผลรวมของราคาที่ทําให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น และมูลค่าเงินลงทุนที่กองทรัสต์คาดว่าจะต้องใช้ในการพัฒนาให้เป็นโครงการที่แล้วเสร็จ (2) กรณีที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของโครงการที่แล้วเสร็จ ให้คํานวณตามราคาที่ทําให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น (3) กรณีที่มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว ให้คํานวณทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนอยู่แล้วนั้น ตามราคาที่ได้จากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินครั้งล่าสุด ซึ่งปรับปรุงด้วยการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ถ้ามี)และการตัดจําหน่ายทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ถ้ามี) ที่เกิดขึ้นภายหลังการประเมินมูลค่าทรัพย์สินล่าสุด กรณีที่กองทรัสต์มีการแบ่งชําระราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน เงินที่กันไว้สําหรับการชําระราคาในคราวถัด ๆ ไป อาจนํามาคํานวณรวมเป็นมูลค่าการลงทุนตามวรรคหนึ่ง(1) (2) หรือ (3) ได้ ข้อ 20 นโยบายการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกองทรัสต์ต้องจํากัดเฉพาะการให้เช่า ให้สิทธิ หรือให้ผู้อื่นดําเนินการเท่านั้น โดยกองทรัสต์ต้องมิได้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานเอง เว้นแต่เป็นการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานผ่านบริษัทที่ออกหุ้นตามข้อ 5(5) ข้อ 20/1( การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่ากระทําด้วยวิธีการใด ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอนหุ้นกู้ เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (2) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) ให้สิทธิลูกหนี้ในการชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (callable) หรือให้สิทธิกองทรัสต์ในการเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) (ข) กําหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น (ค) ไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่อ้างอิงกับ ปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (3) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ส่วนที่ 3 สัญญาก่อตั้งทรัสต์ การเปิดเผยข้อมูล และหลักเกณฑ์อื่น ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 21 สัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ แล้วแต่กรณี ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน รวมทั้งประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ข้อ 22 ข้อมูลที่เปิดเผยต่อผู้ลงทุน ต้องไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือมีข้อความที่อาจทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ข้อ 22/1( ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะระดมทุนครั้งแรกจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) ต้องแสดงได้ว่าผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ ยอมผูกพันที่จะซื้อหน่วยทรัสต์เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 41/1 ข้อ 23( ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุนของกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าหน่วยทรัสต์ที่จะออกและเสนอขายได้ผ่านกระบวนการออกหน่วยทรัสต์เพิ่มเติมตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์มาแล้วโดยชอบ หมวด 2 หลักเกณฑ์การอนุญาตส่วนเพิ่มสําหรับกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 การตรวจสอบหรือสอบทาน (due diligence)และการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 24 ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทรัสต์จะลงทุนต้องผ่านการตรวจสอบหรือสอบทาน (การทํา due diligence) ของผู้จัดการกองทรัสต์และที่ปรึกษาทางการเงิน โดยได้จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจการโครงสร้างพื้นฐานและทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ข้อมูลด้านการเงิน กฎหมาย และเทคนิคเฉพาะทาง เป็นต้น และบุคคลดังกล่าวมีความเห็นว่าการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีความเหมาะสมสําหรับการลงทุนของผู้ลงทุนทั่วไป โดยมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทรัสต์นั้น (2) มีเอกสารสิทธิหรือเอกสารสัญญาที่ครบถ้วน ชัดเจน บังคับได้ตามกฎหมาย และเพียงพอต่อการที่กองทรัสต์จะใช้ดําเนินการหรือจัดหาผลประโยชน์ ข้อ 25( การประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่กองทรัสต์ลงทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 5(1) (2) (3) หรือ (4) (ก) ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเป็นนิติบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทนั้น ๆ (ข) เป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ (ค) เป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่จัดทําล่วงหน้าก่อนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี (ง) ในกรณีที่การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเป็นการทําธุรกรรม กับผู้จัดการกองทรัสต์ หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องผ่านการประเมินมูลค่าโดย ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินตาม (ก) อย่างน้อยสองราย (2) กรณีทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นหุ้นตามข้อ 5(5) หากหุ้นดังกล่าว มิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่บริษัทที่ออกหุ้นดังกล่าวลงทุนตามหลักเกณฑ์ใน (1) โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงภาระภาษีของบริษัทดังกล่าว และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นด้วย (3) กรณีทรัพย์สินอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) หลักเกณฑ์ของสมาคมเกี่ยวกับการกําหนดราคาทรัพย์สิน (ข) ในกรณีหลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดราคาของทรัพย์สินใดให้ใช้ราคาที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล ข้อ 26 ในกรณีที่กองทรัสต์ประสงค์จะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ ต้องแสดงได้ว่ากองทรัสต์สามารถได้มาและถือครองทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามกฎหมายของประเทศนั้น โดยจัดให้มีความเห็นของที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เชี่ยวชาญในกฎหมายของประเทศนั้นประกอบการตรวจสอบหรือสอบทานแล้ว ส่วนที่ 2 การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทต่าง ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 27 ในกรณีที่กองทรัสต์ประสงค์จะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ มูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวรวมกันทั้งสิ้นต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ การลงทุนในโครงการที่ไม่แล้วเสร็จตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย (1) การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของหลายโครงการ โดยบางโครงการเป็นโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ (2) การลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของโครงการเดียว ซึ่งมีแผนพัฒนาโครงการเป็นส่วน ๆ (phase) โดยบางส่วนยังพัฒนาไม่แล้วเสร็จ ในการคํานวณมูลค่าการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน ข้อ 19 วรรคหนึ่ง (1) ด้วย ข้อ 28 ในกรณีที่กองทรัสต์ประสงค์จะลงทุนในสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตหรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคตตามข้อ 5(3) ต้องแสดงได้ว่าผู้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคู่สัญญาได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีกลไกเพื่อให้ผู้จัดการกองทรัสต์หรือผู้ที่ผู้จัดการกองทรัสต์มอบหมายสามารถเข้าตรวจสอบหรือสอบยันความถูกต้องครบถ้วนของรายได้ที่กองทรัสต์มีสิทธิได้รับตามสัญญา (2) ตกลงที่จะจัดส่งรายงานหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อใช้ในการติดตามและตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของรายได้ที่กองทรัสต์มีสิทธิได้รับตามสัญญา ข้อ 29 กรณีที่กองทรัสต์ประสงค์จะลงทุนในหุ้นที่ออกโดยบริษัทตามข้อ 5(5)ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่ามีกลไกการกํากับดูแลให้บริษัทดังกล่าวดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้นโดยตรง ทั้งนี้ กลไกการกํากับดูแลดังกล่าวให้รวมถึงการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) มีการส่งบุคลากรเข้าเป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้น และมีข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่ทําให้การส่งบุคคลดังกล่าวต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ ในกรณีที่บริษัทตามวรรคหนึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ กรรมการของบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งคนต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (2) มีการกําหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตาม (1) ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึง (ก) การกําหนดกรอบอํานาจในการใช้ดุลพินิจที่ชัดเจน และที่มีผลให้การพิจารณาของกรรมการดังกล่าวในการออกเสียงในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทในเรื่องสําคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ก่อน (ข) การติดตามดูแลให้บริษัทดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน การทํารายการระหว่างบริษัทดังกล่าวกับผู้จัดการกองทรัสต์หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ และการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีนัยสําคัญ ให้ครบถ้วนถูกต้อง (ค) การติดตามดูแลให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกําหนด (3) มีกลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การทํารายการระหว่างบริษัทดังกล่าวกับผู้จัดการกองทรัสต์หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือการทํารายการสําคัญอื่นใดของบริษัทดังกล่าว มีสาระของรายการและต้องผ่านระบบในการอนุมัติของกองทรัสต์ตามข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (3/1)( มีกลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การกู้ยืมเงินของบริษัทดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 31(1) จะพิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์ก็ได้ (4)( การจัดให้มีมาตรการที่จะทําให้ทรัสตีสามารถตรวจสอบการดําเนินการของผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามกลไกที่วางไว้ตาม (1) (2) (3) และ (3/1) ส่วนที่ 3 การหารายได้ การกู้ยืม และการก่อภาระผูกพัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 30 การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีข้อตกลงและเงื่อนไขของสัญญา ซึ่งรวมถึงอัตราค่าเช่า ค่าสิทธิ หรือค่าตอบแทนอื่นที่เกี่ยวข้องที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกองทรัสต์ และมีลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทํากับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ข้อ 31 การกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของกองทรัสต์ (ถ้ามี) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีข้อจํากัดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกองทรัสต์ไว้ไม่เกินกว่าสามเท่าโดยให้คํานวณส่วนของหนี้สินและส่วนของทุนของบริษัทย่อยของกองทรัสต์ (ถ้ามี) ตามหลักการจัดทํางบการเงินรวม รวมในอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกองทรัสต์ด้วย การพิจารณาอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาในวันหรือในช่วงเวลาที่จะเกิดธุรกรรมดังกล่าว (2) มีข้อจํากัดให้ก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทรัสต์ได้เฉพาะกรณีที่จําเป็นและเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทรัสต์ดังนี้ (ก) การก่อภาระผูกพันซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการทําข้อตกลงหลักที่กองทรัสต์สามารถกระทําได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ เช่น การนําทรัพย์สินของกองทรัสต์ไปเป็นหลักประกันการชําระเงินกู้ยืม ซึ่งการกู้ยืมเงินนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ (ข) การก่อภาระผูกพันที่เป็นเรื่องปกติในทางพาณิชย์หรือเป็นเรื่องปกติในการทําธุรกรรมประเภทนั้น ส่วนที่ 4 หลักเกณฑ์กรณีอื่น ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 32 ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่เพื่อเปลี่ยนลักษณะกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ผู้ขออนุญาตต้องได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งอนุมัติให้เปลี่ยนลักษณะแล้ว โดยมตินั้นต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ด้วย ข้อ 33 ผู้ขออนุญาตต้องแสดงให้เห็นได้ว่า (1) จะสามารถนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ (2) มีกลไกการบริหารจัดการ (fund governance) ที่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งมีมาตรการหรือกลไกการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการกองทรัสต์ เพื่อให้การจัดการกองทรัสต์ดําเนินไปในลักษณะที่เป็นธรรม และไม่เป็นการเอาเปรียบกองทรัสต์ หมวด 3 หน้าที่ภายหลังได้รับอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 34( ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 39 ข้อ 42 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 53 ทั้งนี้ ในกรณีที่การเสนอขายดังกล่าวเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 40 ด้วย ส่วนที่ 1 การโฆษณาและการส่งเสริมการขายหน่วยทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 35 ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณา ต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยการโฆษณา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) สาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในโฆษณาต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามภาค 3 ของประกาศนี้ (3) ไม่เร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ (4) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในหน่วยทรัสต์ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม (ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข (ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด (5) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในหน่วยทรัสต์อย่างเหมาะสม และมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยทรัสต์ (6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูล ที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้อง มีข้อมูลของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลหน่วยทรัสต์ต้องเป็นเนื้อหาหลัก และข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสาระเป็นส่วนน้อย (8) การนําค่าโฆษณามาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกองทรัสต์ ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อการโฆษณานั้นเป็นไปเพื่อกองทรัสต์หรือจะเกิดประโยชน์ต่อกองทรัสต์นั้น (9) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ได้รับอนุญาต ดําเนินการให้เป็นไปตาม (1) ถึง (8) ในกรณีที่การโฆษณาตามวรรคหนึ่งเป็นการดําเนินการในช่วงระยะเวลาก่อนที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนจะมีผลใช้บังคับ นอกจากหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก่อนวันที่ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับด้วย ข้อ 36 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย ข้อ 37 ผู้ได้รับอนุญาตอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดผู้ลงทุนโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ผู้ลงทุน ตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน (2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด (3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ลงทุนจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือ ประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสมและเป็นธรรม (4) มีการแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย (5) ไม่คิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายจากกองทรัสต์ ส่วนที่ 2 การเสนอขายและจัดสรรหน่วยทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 38( ผู้ได้รับอนุญาตต้องขายหน่วยทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นขอขยายระยะเวลาการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนครบระยะเวลาที่กําหนด โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญด้วย (ถ้ามี) มาพร้อมด้วย ทั้งนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่สํานักงานแจ้งการอนุญาตในครั้งแรก ในกรณีที่รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานมีอายุเกินหนึ่งปีในวันที่กองทรัสต์เสนอขายหน่วยทรัสต์ หรือในกรณีที่มีปัจจัยที่อาจทําให้มูลค่าการประเมินทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการปรับปรุงรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นปัจจุบันก่อนดําเนินการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 หรือข้อ 13 แล้วแต่กรณี ห้ามผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จนกว่าผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้อ 39 ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการจําหน่ายหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุนโดยอนุโลม เว้นแต่ข้อกําหนดในส่วนนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดการอนุโลมใช้ในรายละเอียดให้เหมาะสมกับรูปแบบของกองทรัสต์ได้ ข้อ 40 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหน่วยทรัสต์ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับหน่วยทรัสต์ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการดังกล่าวตามประเภทของบริษัทหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม แต่ไม่รวมถึงข้อห้ามในการจัดสรรหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี ที่ทําการชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีความเป็นอิสระจากผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอนให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทรัสต์ ข้อ 41 การจัดช่องทางให้ผู้ลงทุนแสดงเจตนาจองซื้อหน่วยทรัสต์ไม่ว่าด้วยรูปแบบหรือวิธีการใด ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดําเนินการให้ช่องทางนั้นแสดงข้อความว่าผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดการจองซื้อ การจัดสรรหน่วยทรัสต์ การยกเลิกการจองซื้อ การยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ และการคืนเงินค่าจองซื้อ ได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ข้อ 41/1( ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก หากผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ ผู้ลงทุนรายอื่น (2) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายให้แก่บุคคลตาม (1) ต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่บุคคลดังกล่าวประสงค์จะซื้อ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ํากว่า (3) ผู้ได้รับอนุญาตต้องก่อตั้งกองทรัสต์โดยการโอนเงินทั้งหมดที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ตาม (2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 51 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้แก่ผู้ลงทุนรายอื่น ข้อ 42 เมื่อสิ้นสุดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก หากปรากฏกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวนและคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ (1) มีผู้จองซื้อไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย หรือมีการกระจายการถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการรับหน่วยทรัสต์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (2) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จองซื้อเมื่อรวมกับมูลค่าเงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น (ถ้ามี) มีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานหรือไม่ถึงจํานวนตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน (3) มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด หรือผู้ลงทุนต่างด้าว ไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดในส่วนนี้ และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง (4) ไม่สามารถโอนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตี เพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่มีการยกเลิกการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ 43 ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน หากปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์และคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ (1) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จองซื้อเมื่อรวมกับเงินที่กองทรัสต์กันไว้เพื่อลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานและมูลค่าเงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น (ถ้ามี) มีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน โดยให้ยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวน (2) มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด หรือผู้ลงทุนต่างด้าว และทําให้การถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวเมื่อรวมกับจํานวนหน่วยที่ถืออยู่เดิม (ถ้ามี) ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ โดยให้ยกเลิกการเสนอขายเฉพาะส่วนที่เกินกว่าอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนด ในกรณีที่มีการยกเลิกการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง (1) ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ 44 เมื่อปรากฏกรณีที่เป็นเหตุให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งให้สํานักงานทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว ข้อ 45 ผู้ได้รับอนุญาตจะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ โดยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 46 ด้วย (1) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ (2) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่กองทรัสต์มีผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทรัสต์หลายราย และผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลดังกล่าว ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลเหล่านั้นรวมกันได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ ข้อ 46 ภายใต้บังคับของข้อ 45 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุมบริษัทใหญ่ หรือบริษัทย่อยของผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลข้างต้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องแบ่งแยกหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าวออกจากหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยประเภทบุคคลดังกล่าวรวมถึงจํานวนที่จะจัดสรรไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ข้อ 47 ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย หากกฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้นกําหนดสัดส่วนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าวไว้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดนั้นด้วย ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามวรรคหนึ่งของหลายโครงการ และบรรดากฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีการกําหนดสัดส่วนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าวไว้แตกต่างกัน ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ต่ําสุดของบรรดากฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดนั้น ข้อ 48 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ผู้ได้รับอนุญาตว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใด ถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบโดยไม่ชักช้าถึงข้อจํากัดสิทธิเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนนและการรับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ซึ่งจัดทําขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (2) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาตรู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว ข้อ 49 ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการที่จําเป็นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ การดําเนินการที่จําเป็นให้หมายความรวมถึงการจัดให้มีระบบงานที่สามารถควบคุมการถือหน่วยทรัสต์ หรือการแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีระบบงานดังกล่าว ส่วนที่ 3 การก่อตั้งกองทรัสต์ และหน้าที่ต่าง ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 50 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีสัญญาก่อตั้งทรัสต์ก่อนหรือในวันที่มีการโอนทรัพย์สินที่จะให้เป็นกองทรัสต์แก่ทรัสตี โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีสาระไม่ต่างจากร่างที่ผ่านการพิจารณาของสํานักงานแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดส่งสําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่ลงนามแล้วต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่เข้าทําสัญญานั้น ข้อ 51( ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการโอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตีตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่มิใช่กรณี ตาม (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (2) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมเงิน ผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) (ก) ให้โอนเงินที่ได้จากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอนให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดในข้อ 41/1(2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้ที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุน (ข) ให้โอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือให้แก่ทรัสตีภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในส่วนดังกล่าว (3) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทรัสต์ภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการโอนเงินตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานพร้อมกับการยื่นรายงานผลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) (ก)หรือ (ข) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ข้อ 52 ภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก ให้ผู้ได้รับอนุญาตเข้าทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตที่กําหนดไว้ในประกาศนี้และในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดูแลให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์มีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญว่าในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ โดยอนุโลม ข้อ 53 ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการเพื่อให้หน่วยทรัสต์สามารถเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ข้อ 54 ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดูแลให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมให้สํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ลงนามหรือวันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ตามแต่กรณี ข้อ 55 ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในคําขออนุญาต แบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ตลอดจนข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อ 56 ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ หากที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตประสงค์จะได้รับหรือตรวจดูข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องให้ความร่วมมือในการให้ ข้อมูลดังกล่าวแก่ที่ปรึกษาทางการเงินด้วย ส่วนที่ 4 การเปลี่ยนลักษณะจากกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 57 กองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ประสงค์จะเปลี่ยนลักษณะเป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ให้ดําเนินการได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่จะเปลี่ยนลักษณะดังกล่าวโดยมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การยื่นคําขออนุญาต และการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่สําหรับกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (2) กรณีที่จะเปลี่ยนลักษณะดังกล่าวโดยไม่มีการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ให้ดําเนินการได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ทั้งนี้ การเปลี่ยนลักษณะดังกล่าวจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งอนุมัติให้เปลี่ยนลักษณะโดยมตินั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ด้วย (ข) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่าหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์นั้นมีลักษณะอยู่ในข่ายที่จะได้รับอนุญาตตามหลักเกณฑ์การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่สําหรับกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (การเปลี่ยนลักษณะจากกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานไม่ว่ากรณีใด ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติหน้าที่ภายหลังการอนุญาตตามที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปด้วย ข้อ 58( ให้ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะเปลี่ยนลักษณะของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปตามข้อ 57 วรรคหนึ่ง (2) ยื่นคําขออนุญาตเปลี่ยนลักษณะ ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 59 การเปลี่ยนลักษณะกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานไม่ว่ากรณีใด ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการยกเลิกข้อจํากัดการโอนซึ่งได้จัดให้มีขึ้นตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (2) ด้วย ภาค 3 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด 1 ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 60 การเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ข้อ 61 ในกรณีที่การเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้วหากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน หมวด 2 การยื่นและค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 62 ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐาน โดยให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาจํานวนสองชุด (2) ส่งข้อมูลในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อมูลที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน ในกรณีที่การเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน ข้อ 63 ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 19 ข้อ 64 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือที่อาจทําให้สําคัญผิด และไม่ขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ (2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่นด้วย ต้องมีรายละเอียดข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าที่เปิดเผยในประเทศอื่น (3) มีข้อมูลตามที่กําหนดในมาตรา 69(1) ถึง (10) และข้อมูลเพิ่มเติมตามที่กําหนดในหมวดนี้ แบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล ข้อ 65 ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบ 69-IFT ท้ายประกาศนี้ (2)( กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ระบุข้อมูลตามที่กําหนดในมาตรา 69(1) ถึง (10) และข้อมูลเพิ่มเติม ตามข้อ 65/1 ข้อ 65/1( แบบแสดงรายการข้อมูลของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 65(2) ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการกู้ยืมเงิน ให้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน อย่างน้อยดังนี้ (ก) ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการกันเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ ให้ระบุจํานวนเงินที่จะกันสํารองในแต่ละปีจนกว่าจะชําระหนี้เสร็จสิ้น ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน สัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ข) ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (concurrent offering) ให้ระบุมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะ จัดสรรให้แก่ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่ กองทรัสต์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันกับบุคคลดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าหุ้นกู้ ที่เสนอขายทั้งหมดในครั้งนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์เป็นบริษัทย่อยของผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทรัสต์ ให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว รวมทั้งเปิดเผยจํานวนและสัดส่วนของหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ และมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย (2) กรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน ให้ระบุข้อมูลดังนี้ (ก) รายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์สูงสุดสิบรายแรกก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งนี้ โดยในการนับการถือหน่วยทรัสต์ดังกล่าวให้นับรวมการถือหน่วยทรัสต์ของกลุ่มบุคคลเดียวกันและบุคคลที่อยู่ภายใต้ผู้มีอํานาจควบคุมเดียวกันเป็นกลุ่มเดียวกัน (ข) จํานวนหน่วยทรัสต์และสัดส่วนการถือหน่วยทรัสต์ของกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์ตาม (2) (ก) (ค) ในกรณีที่รายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์ตาม (2) (ก) ยังไม่แสดงถึงบุคคลที่เป็น ผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เช่น รายชื่อผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แสดงไว้เป็น nominee account ให้ระบุชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหลักที่เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรที่ทําให้ไม่อาจทราบ ผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริงได้ (3) ข้อมูลอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ข้อ 66( งบการเงินและงบการเงินรวมของกองทรัสต์ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ถ้ามี) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามมาตรา 56 โดยอนุโลม ================================================================================================================================================================================================ ข้อ 67 ก่อนปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของ การลงทุนในหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่ แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น ข้อ 68 ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ได้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในต่างประเทศโดยมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามกฎหมายต่างประเทศนั้น เมื่อมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์ดังกล่าวในประเทศไทย ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยรายละเอียดของ ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไม่น้อยกว่ารายละเอียดของข้อมูลที่ได้เปิดเผย ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นในต่างประเทศ หมวด 3 วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 69 ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน มีผลใช้บังคับ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ออกใหม่ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 33 ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ออกใหม่นั้นแล้ว (2) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 19 (3) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและได้เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 77 วรรคสาม (ถ้ามี) แล้ว (4) เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) (ก) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบ 69-IFT 1. สิบสี่วัน ในกรณีทั่วไป 2. สามวันทําการ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน (ข) สามวันทําการ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 65(2) (5) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้ระบุข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว ภาค 4 อํานาจของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 70( ยกเลิก ข้อ 71( ยกเลิก ข้อ 72 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 1 ของหมวด 3 ของภาค 2 สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายบางกรณีต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนทําการโฆษณาหรือจัดให้มีการส่งเสริมการขายนั้น เพื่อตรวจสอบให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (2) ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 1 ของหมวด 3 ของภาค 2 สํานักงานอาจสั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ (ก) หยุดการโฆษณา หรือยุติการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ข) แก้ไขข้อมูลหรือข้อความในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย (ค) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงหรือไม่ทําให้สําคัญผิด (ง) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจลงทุน บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงและไม่ทําให้สําคัญผิด ข้อ 73 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาค 2 ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน หรือเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์นั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหน่วยทรัสต์หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด (2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้ เสนอขาย หรือในส่วนที่ยังมิได้มีการโอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปยังกองทรัสต์หรือเพื่อ การก่อตั้งกองทรัสต์ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยทรัสต์นั้น ข้อ 74 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ตามคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามภาค 2 ได้ (1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหน่วยทรัสต์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงที่ทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทย โดยรวม (4) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวมหรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อ 75 ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาค 2 ได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอและสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน และมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ 76 ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลที่กําหนดเพิ่มเติมตามประกาศนี้ หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์แสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล หรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว ข้อ 77 ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามภาค 3 หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดําเนินการดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (1) ชี้แจงหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล (2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน เมื่อสํานักงานดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานหยุดนับระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไว้ชั่วคราวตามที่กําหนดในมาตรา 75และหากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่งจนล่วงเลยระยะเวลาเกินสมควร ให้ถือว่าผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีก โดยให้สํานักงานคืนแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้นต่อผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อไป ในการกําหนดให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ผ่านทางเว็บไซต์ ของสํานักงาน ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้ ข้อ 78 สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ขออนุญาตปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
280
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 56 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 86/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศดังต่อไปนี้มาใช้ตามประเภทของตราสาร เว้นแต่จะกําหนดไว้เป็นการเฉพาะเป็นประการอื่น (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัสต์ซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการออกและเสนอขายตราสารหนี้ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนและประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการจัดตั้งและการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการออกและเสนอขายหน่วยลงทุน (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการออกและเสนอขายหน่วยลงทุน (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีหน้าที่ตามประกาศนี้เนื่องจากการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ข้อ ๔ ให้มีบทนิยามเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่มิให้หมายความรวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “ทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “หน่วย” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ แล้วแต่กรณี “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ “ทรัพย์สินหลัก” หมายความว่า ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ สิทธิการเช่า สิทธิเก็บกิน หรือสิทธิเหนือพื้นดิน (2) กรณีทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ที่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้มาซึ่งกรรมสิทธิหรือสิทธิการเช่า (3) กรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานหรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี “ผู้จัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ที่ทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลักของกองทุนรวม “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่ได้มาซึ่งหน่วยครั้งแรกเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท (2) บุคคลตาม (1) ที่ได้หน่วยมาเพิ่มเติม โดยการได้มาซึ่งหน่วยเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อรวมกับหน่วยที่ถืออยู่แล้วคิดเป็นมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าสิบล้านบาทการคํานวณมูลค่าหน่วยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามมูลค่าการซื้อขายหน่วยในแต่ละครั้ง คําว่า “ผู้บริหาร” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (2) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (3) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (4) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๖ การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้มีหน้าที่จัดทําและเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ รวมทั้งประเภทข้อมูลและระยะเวลาในการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามภาค 1 (2) หลักเกณฑ์การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ ดังนี้ (ก) รายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ให้เป็นไปตามภาค 2 (ข) รายงานที่แสดงมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าหน่วย และความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลัก ให้เป็นไปตามภาค 3 (3) การสิ้นสุดหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามภาค 4 (4) อํานาจของสํานักงานในการผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามภาค 5 อื่นๆ ๑ ผู้มีหน้าที่ ประเภทข้อมูล ระยะเวลา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ให้กองทุนรวมโดยบริษัทจัดการ และทรัสต์โดยผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จากทรัสตี จัดทําและเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่มีเหตุที่ทําให้สิ้นสุดหน้าที่ตามที่กําหนดในภาค 4 (1) รายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ซึ่งได้แก่ ประเภทข้อมูลดังนี้ (ก) งบการเงิน (ข) การวิเคราะห์และคําอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (Interim Management Discussion and Analysis) (ค) รายงานประจําปี (ง) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (2) รายงานที่แสดงมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าหน่วย และความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลัก ซึ่งได้แก่ ประเภทข้อมูลดังนี้ (ก) มูลค่าทรัพย์สินรวม มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วย (ข) รายงานความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลัก ในกรณีที่กองทุนรวมหรือทรัสต์เข้าลงทุนในทรัพย์สินหลักขณะที่ยังไม่แล้วเสร็จ ข้อ ๘ การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 7 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระยะเวลา และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) รายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อ 7(1) ให้จัดทําและส่งต่อสํานักงาน โดยในกรณีที่เป็นข้อมูลตามข้อ 7(1) (ค) นอกจากการจัดทําและส่งข้อมูลต่อสํานักงานแล้ว ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังผู้ถือหน่วยด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 2 และตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 17 และตารางท้ายประกาศนี้ (2) รายงานที่แสดงมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าหน่วย และความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลักตามข้อ 7(2) ให้จัดทําและส่งต่อสํานักงาน โดยในกรณีที่เป็นข้อมูลตามข้อ 7(2) (ก) นอกจากการจัดทําและส่งข้อมูลต่อสํานักงานแล้ว ให้เปิดเผยต่อผู้ลงทุนด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดในภาค 3 ข้อ ๙ ให้หน้าที่การจัดทําและส่งข้อมูลตามข้อ 7 เริ่มเมื่อมีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมแล้ว หรือมีการก่อตั้งทรัสต์แล้ว แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ราคาประเมินของทรัพย์สินที่เปิดเผยหรือใช้ในการจัดทํารายงานตามข้อ 7 ต้องกระทําโดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือทรัสต์ อื่นๆ ๒ รายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ของกองทุนรวมและทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ หมวด 1 หลักเกณฑ์การจัดทํางบการเงินและเอกสารประกอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑ งบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจํารอบปีบัญชีของกองทุนรวมและทรัสต์ต้องผ่านการสอบทานหรือตรวจสอบ แล้วแต่กรณี จากผู้สอบบัญชี รายงานของผู้สอบบัญชีตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ต้องใช้ในการจัดทํางบการเงินนั้น (2) ผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตการสอบทานหรือตรวจสอบ แล้วแต่กรณี โดยการกระทําหรือไม่กระทําของบุคคลดังนี้ (ก) ในกรณีของกองทุนรวม ได้แก่ บริษัทจัดการ กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจัดการ และผู้จัดการกองทุนรวม (ข) ในกรณีของทรัสต์ ได้แก่ ผู้จัดการกองทรัสต์ และกรรมการหรือผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ ข้อ ๑๒ งบการเงินของกองทุนรวมและทรัสต์ต้องจัดทําตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย และหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 ข้อ ๑๓ ในการจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย หากการจัดทําหรือการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยครอบคลุม ให้กองทุนรวมและทรัสต์ระบุในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับรายการนโยบายบัญชีที่ใช้ปฏิบัติสําหรับการบันทึกบัญชีรายการนั้น และคําอธิบายว่านโยบายบัญชีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินใด ข้อ ๑๔ รายการที่แสดงในงบการเงินรายไตรมาสของกองทุนรวมและทรัสต์ต้องมีรายการครบถ้วนในลักษณะเดียวกับงบการเงินประจํารอบปีบัญชี ข้อ ๑๕ ในกรณีที่กองทุนรวมหรือทรัสต์มีบริษัทย่อย กองทุนรวมหรือทรัสต์ดังกล่าวต้องดําเนินการเพื่อให้บริษัทย่อยจัดทําข้อมูลทางการเงินและข้อมูลการเปิดเผยอื่นให้แก่กองทุนรวมหรือทรัสต์ แล้วแต่กรณี เพื่อให้กองทุนรวมหรือทรัสต์ดังกล่าวสามารถจัดทํางบการเงินรวมให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวดนี้ ในกรณีมีเหตุตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินรวม หรือมีเหตุจําเป็นที่ทําให้กองทุนรวมหรือทรัสต์ไม่สามารถนําข้อมูลทางการเงินของบริษัทตามวรรคหนึ่งใดมารวมในงบการเงินรวม กองทุนรวมหรือทรัสต์ดังกล่าวต้องเปิดเผยเหตุผลและผลกระทบของการไม่นําข้อมูลทางการเงินของบริษัทนั้นมารวมไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมด้วย ข้อ ๑๖ ให้กองทุนรวมและทรัสต์ส่งเอกสารดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานพร้อมกับการจัดส่งงบการเงิน (1) หนังสือรับรองงบการเงิน ซึ่งมีข้อมูลดังนี้ (ก) กรณีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีข้อมูลตามแบบ 56-REIT3 ท้ายประกาศนี้ (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้มีข้อมูลตามแบบ 56-REIT3 โดยอนุโลม (2) บทสรุปประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ข้อ ๑๗ เมื่อปรากฏว่ารายได้หรือกําไรสุทธิตามงบการเงินงวดใดมีความแตกต่างจากงบการเงินในงวดเดียวกันของปีก่อนเกินกว่าร้อยละ 20 ให้กองทุนรวมหรือทรัสต์จัดทําการวิเคราะห์และคําอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (Interim Management Discussion and Analysis) โดยอย่างน้อยให้แสดงถึงสาเหตุและปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดความแตกต่าง รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยดังกล่าว และส่งต่อสํานักงานพร้อมกับการจัดส่งงบการเงิน ข้อ ๑๘ ให้กองทุนรวมและทรัสต์จัดให้มีการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสอง ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรายเดิมปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบหรือสอบทาน และแสดงความเห็นต่องบการเงินของกองทุนรวมหรือทรัสต์ดังกล่าวมาแล้ว 5 รอบปีบัญชีติดต่อกัน การหมุนเวียนผู้สอบบัญชีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมและทรัสต์สามารถแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรายใหม่ที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชีเดียวกับผู้สอบบัญชีรายเดิมได้ (2) กองทุนรวมและทรัสต์จะแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรายที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนรวมและทรัสต์ได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่างน้อย 2 รอบปีบัญชีนับแต่วันที่ผู้สอบบัญชีรายดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หมวด ๒ หลักเกณฑ์การจัดทํารายงานประจําปี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๙ รายงานประจําปีต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 20 (1) กรณีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ข้อมูลตามแบบ 56-REIT1 ที่ยื่นต่อสํานักงานพร้อมแนบงบการเงินประจํารอบปีบัญชีนั้น (ข) ข้อมูลตามแบบ 56-REIT2 ท้ายประกาศนี้ (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้มีข้อมูลตามแบบใดแบบหนึ่งที่กําหนดใน (1) โดยอนุโลม ข้อ ๒๐ ในกรณีของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานหรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีผู้ถือหน่วยทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ รายงานประจําปีต้องมีข้อมูลเช่นเดียวกับข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่ยื่นต่อสํานักงานพร้อมแนบงบการเงินประจํารอบปีบัญชีนั้น หมวด ๓ หลักเกณฑ์การจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๑ แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีของกองทุนรวมและทรัสต์ต้องมีข้อมูลอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีข้อมูลตามแบบ 56-REIT1 ท้ายประกาศนี้ (2) กรณีของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม และปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบัน (3) กรณีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีผู้ถือหน่วยทรัสต์ทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ต้องมีข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่กําหนดไว้สําหรับทรัสต์ดังกล่าวตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม และปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบัน (4) กรณีของกองทุนรวมหรือทรัสต์ที่ไม่เข้ากรณีตาม (1) (2) และ (3) ต้องมีข้อมูลตามแบบ 56-REIT1 โดยอนุโลม ในกรณีของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (2) หรือกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (4) การรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบ ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งดังนี้เป็นผู้ลงลายมือชื่อ (1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการ (2) บุคคลที่ได้รับมอบอํานาจจากบุคคลตามวรรคสอง (1) หมวด ๔ รูปแบบและวิธีการจัดทําและจัดส่ง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๒ ภาษาที่ใช้ในการจัดทําและเปิดเผยรายงานตามภาคนี้ให้ใช้ภาษาไทย กองทุนรวมและทรัสต์อาจจัดทําและเปิดเผยรายงานตามภาคนี้เป็นภาษาอังกฤษด้วยก็ได้ โดยมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างจากเอกสารฉบับภาษาไทยพร้อมคํารับรองความถูกต้องของข้อมูล ข้อ ๒๓ รายงานที่ต้องจัดส่งต่อสํานักงานตามภาคนี้ ให้กองทุนรวมและทรัสต์จัดส่งในรูปแบบดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการส่งรายงานประจําปีให้ปฏิบัติตามข้อ 24 (1) เอกสารสิ่งพิมพ์จํานวน 1 ฉบับ (2) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการดังต่อไปนี้ (ก) กรณีกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีหน่วยเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง ข้อ ๒๔ กองทุนรวมและทรัสต์อาจจัดทําและส่งรายงานประจําปีต่อสํานักงานและผู้ถือหน่วยในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์หรือแผ่นบันทึกข้อมูลก็ได้ ในการส่งรายงานประจําปีต่อสํานักงาน หากกองทุนรวมหรือทรัสต์ดังกล่าวมีหน่วย เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้กองทุนรวมหรือทรัสต์นั้นส่งรายงานประจําปีในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 23 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ด้วย หากสามารถดําเนินการได้ ในกรณีที่มีการส่งรายงานประจําปีในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม ให้กองทุนรวมและทรัสต์ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 23 วรรคสอง โดยอนุโลม อื่นๆ ๓ หลักเกณฑ์การจัดทําและเปิดเผยรายงานที่แสดงมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าหน่วย และความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลัก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๕ ความในภาคนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีผู้ถือหน่วยทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ ๒๖ ให้กองทุนรวมและทรัสต์จัดทําและเปิดเผยรายงานที่แสดงมูลค่าทรัพย์สินรวม มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วย ของวันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ซึ่งผ่านการรับรองจากผู้ดูแลผลประโยชน์หรือทรัสตี แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ภายใน 45 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส การเปิดเผยรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีหน่วยของกองทุนรวมหรือทรัสต์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการเปิดเผยสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์ (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้เปิดเผยข้อมูลด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวในช่องทางที่เหมาะสม เช่น การประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือการประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น ข้อ ๒๗ มูลค่าทรัพย์สินรวม มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วย ที่แสดงในรายงานตามข้อ 26 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้ราคาที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดเกี่ยวกับวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือทรัสต์ (2) ใช้ตัวเลขทศนิยมดังนี้ (ก) มูลค่าทรัพย์สินรวมและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ให้คํานวณและใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขทศนิยม 2 ตําแหน่งและปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล (ข) มูลค่าหน่วย ให้คํานวณเป็นตัวเลขทศนิยม 5 ตําแหน่งและปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล แต่ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขทศนิยม 4 ตําแหน่ง และตัดทศนิยมตําแหน่งที่ 5 ทิ้ง ในกรณีที่มีเศษเหลือจากการปัดเศษตามวรรคหนึ่ง ให้นําเศษนั้นรวมคํานวณเข้าเป็นทรัพย์สินในกองทุนรวมหรือทรัสต์ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่กองทุนรวมหรือทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักที่ยังไม่แล้วเสร็จ ให้จัดทํารายงานความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลักทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักนั้น และส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 30 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนั้น รายงานความคืบหน้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลความคืบหน้าของการพัฒนาโดยเปรียบเทียบกับแผนการพัฒนา (2) ในกรณีที่ความคืบหน้าของการพัฒนาไม่เป็นไปตามแผนการพัฒนา ให้ระบุแนวทางแก้ไขและผลกระทบที่กองทุนรวมหรือทรัสต์ได้รับหรืออาจได้รับไว้ด้วย เมื่อกองทุนรวมหรือทรัสต์พัฒนาทรัพย์สินหลักจนแล้วเสร็จและพร้อมจะนําไปจัดหาผลประโยชน์ ให้จัดทําและส่งรายงานตามวรรคหนึ่งโดยระบุข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การพัฒนาที่แล้วเสร็จ เช่น วันที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นต้น และส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 30 วันนับแต่วันที่การก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมจะนําไปจัดหาผลประโยชน์ อื่นๆ ๔ การสิ้นสุดหน้าที่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๙ ให้กองทุนรวมและทรัสต์สิ้นสุดหน้าที่ตามประกาศนี้ เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) มีการชําระบัญชีกองทุนรวมหรือทรัสต์ (2) ในกรณีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีผู้ถือหน่วยทรัสต์ทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ หากทรัสต์ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปและเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้ทรัสต์ดังกล่าวสิ้นสุดหน้าที่เฉพาะการจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสต์ตามภาค 2 เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้นั้น (ก) ทรัสต์มิได้เสนอขายหุ้นกู้ภายในระยะเวลาที่ระบุในหนังสือชี้ชวน หรือยกเลิกการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวน (ข) หุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ประเภทที่มีกําหนดระยะเวลาไถ่ถอน ซึ่งครบกําหนดไถ่ถอนแล้ว ข้อ ๓๐ ให้กองทุนรวมหรือทรัสต์แจ้งเหตุที่ทําให้หน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานสิ้นสุดลงตามข้อ 29 ต่อสํานักงานก่อนถึงกําหนดเวลาส่งรายงานดังกล่าว อื่นๆ ๕ อํานาจของสํานักงานในการผ่อนผันการเปิดเผยข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๑ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลในรายงานตามที่กําหนดในประกาศนี้ได้ หากกองทุนรวมหรือทรัสต์แสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานนั้น หรือผู้มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว ข้อ ๓๒ ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้กองทุนรวมหรือทรัสต์ไม่สามารถจัดส่งหรือเปิดเผยรายงานที่กําหนดในประกาศนี้ภายในระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 8 ให้สํานักงาน มีอํานาจผ่อนผันการจัดส่งหรือเปิดเผยรายงานดังกล่าว หากกองทุนรวมหรือทรัสต์มีหนังสือขอผ่อนผันการจัดส่งหรือเปิดเผยรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดไว้ พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะจัดส่งหรือเปิดเผยรายงานนั้น ในกรณีที่สํานักงานไม่ผ่อนผันให้ตามที่กองทุนรวมหรือทรัสต์ร้องขอตามวรรคหนึ่ง ความรับผิดเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 มาตรา 56 หรือมาตรา 117 แล้วแต่กรณี จะเริ่มตั้งแต่วันครบระยะเวลาที่กําหนดในการจัดส่งหรือเปิดเผยรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กําหนดในข้อ 8 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
281
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 78/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 78/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 ให้กองทุนรวมและทรัสต์จัดให้มีการหมุนเวียนผู้สอบบัญชี ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรายใดปฏิบัติหน้าที่สอบทานหรือตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของกองทุนรวมและทรัสต์มาแล้ว 7 รอบปีบัญชีไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ โดยกองทุนรวมและทรัสต์จะแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรายนั้นเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนรวมและทรัสต์ได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่างน้อย 5 รอบปีบัญชีติดต่อกัน เว้นแต่เป็นการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีเพื่อสอบทานหรือตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินในช่วงระยะเวลาและเป็นไปตามประกาศแนวปฏิบัติว่าด้วยแนวทางการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในตลาดทุนและการผ่อนผันการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในตลาดทุน โดยอนุโลม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
282
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ““ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผล ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 24 ให้กองทุนรวมและทรัสต์จัดทําและส่งรายงานประจําปีต่อสํานักงานในรูปแบบดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมหรือทรัสต์ที่มีหน่วยเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้กองทุนรวมหรือทรัสต์นั้นส่งรายงานประจําปีในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 23 วรรคหนึ่ง (2) (ก) (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ส่งรายงานประจําปีตามวิธีที่กําหนดในข้อ 23 วรรคหนึ่ง (2) (ข) ให้กองทุนรวมและทรัสต์ส่งรายงานประจําปีที่มีข้อมูลเช่นเดียวกับที่จัดทําและส่งต่อสํานักงานให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมของผู้ถือหน่วย” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการแทน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
283
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “สมาคม” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 ““สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต ให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคสองในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติทางบัญชีตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 และข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 งบการเงินของกองทุนรวมและทรัสต์ต้องจัดทําตามแนวปฏิบัติทางบัญชีตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 ข้อ 13 ในกรณีที่การจัดทําหรือการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องใดที่แนวปฏิบัติทางบัญชีตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานไม่ครอบคลุมถึง ให้กองทุนรวมและทรัสต์ระบุในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับรายการนโยบายบัญชีที่ใช้ปฏิบัติสําหรับการบันทึกบัญชีรายการนั้น และคําอธิบายว่านโยบายบัญชีดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินใด” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและ ทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีมีเหตุตามที่กําหนดในแนวปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินรวม ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือมีเหตุจําเป็นที่ทําให้กองทุนรวมหรือทรัสต์ไม่สามารถนําข้อมูลทางการเงินของบริษัทตามวรรคหนึ่งใดมารวมในงบการเงินรวม กองทุนรวมหรือทรัสต์ดังกล่าวต้องเปิดเผยเหตุผลและผลกระทบของการไม่นําข้อมูลทางการเงินของบริษัทนั้นมารวมไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมด้วย” ข้อ 5 ให้กองทุนรวมและทรัสต์จัดทํางบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจําปี สําหรับรอบปีบัญชี พ.ศ. 2562 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ก่อนการแก้ไขโดยประกาศนี้ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
284
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและ ทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) รายงานที่แสดงมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าหน่วย และความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลัก ซึ่งได้แก่ ประเภทข้อมูลดังนี้ (ก) มูลค่าทรัพย์สินรวม มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วย (ข) รายงานความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลัก ในกรณีที่กองทุนรวมหรือทรัสต์เข้าลงทุนในทรัพย์สินหลักขณะที่ยังไม่แล้วเสร็จ (ค) รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและรายงานการสอบทานการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 7 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระยะเวลา และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) รายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อ 7(1) ให้จัดทําและส่งต่อสํานักงาน โดยในกรณีที่เป็นข้อมูลตามข้อ 7(1) (ค) นอกจากการจัดทําและส่งข้อมูลต่อสํานักงานแล้ว ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังผู้ถือหน่วยด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 2 และตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 17 และตารางท้ายประกาศนี้ (2) รายงานที่แสดงมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าหน่วย และความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลักตามข้อ 7(2) (ก) และ (ข) ให้จัดทําและส่งต่อสํานักงาน โดยในกรณีที่เป็นข้อมูลตาม ข้อ 7(2) (ก) นอกจากการจัดทําและส่งข้อมูลต่อสํานักงานแล้ว ให้เปิดเผยต่อผู้ลงทุนด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดในภาค 3 (3) รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและรายงานการสอบทานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามข้อ 7(2) (ค) ให้จัดทําและเปิดเผยต่อผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดในภาค 3” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 28/1 ในภาค 3 หลักเกณฑ์การจัดทําและเปิดเผยรายงานที่แสดงมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าหน่วย และความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลัก แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 “ข้อ 28/1 ให้กองทุนรวมและทรัสต์จัดทําและเปิดเผยรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และรายงานการสอบทานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีการจัดทําล่าสุด ด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบผ่านช่องทางที่เหมาะสม เช่น การประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น ทั้งนี้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่การประเมินหรือการสอบทานการประเมินแล้วเสร็จ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 56-REIT1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และแบบ 56-REIT2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและ ทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 56-REIT1 และแบบ 56-REIT2 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
285
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ให้กองทุนรวมและทรัสต์ส่งหนังสือรับรองงบการเงิน ซึ่งมีข้อมูลดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานพร้อมกับการจัดส่งงบการเงิน (1) กรณีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีข้อมูลตามแบบ 56-REIT3 ท้ายประกาศนี้ (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้มีข้อมูลตามแบบ 56-REIT3 โดยอนุโลม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
286
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 7 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระยะเวลา และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) รายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อ 7(1) ให้จัดทําและส่งตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 2 และตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 17 และตารางท้ายประกาศนี้ (2) รายงานที่แสดงมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าหน่วย และความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลักตามข้อ 7(2) (ก) และ (ข) ให้จัดทําและส่งตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดในภาค 3 (3) รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและรายงานการสอบทานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามข้อ 7(2) (ค) ให้จัดทําและเปิดเผยต่อผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดในภาค 3” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 23 รายงานที่ต้องจัดส่งต่อสํานักงานตามภาคนี้ ให้กองทุนรวมและทรัสต์จัดส่งในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีหน่วยเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ข้อมูลที่จัดส่งต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 24 ให้กองทุนรวมและทรัสต์ส่งรายงานประจําปีที่มีข้อมูลเช่นเดียวกับที่จัดทําและส่งตามข้อ 23 ให้แก่ผู้ถือหน่วย ในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมของผู้ถือหน่วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 28 ในกรณีที่กองทุนรวมหรือทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักที่ยังไม่แล้วเสร็จ ให้จัดทํารายงานความคืบหน้าของการพัฒนาทรัพย์สินหลักทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักนั้น และเปิดเผยรายงานดังกล่าวภายใน 30 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนั้น รายงานความคืบหน้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลความคืบหน้าของการพัฒนาโดยเปรียบเทียบกับแผนการพัฒนา (2) ในกรณีที่ความคืบหน้าของการพัฒนาไม่เป็นไปตามแผนการพัฒนา ให้ระบุแนวทางแก้ไขและผลกระทบที่กองทุนรวมหรือทรัสต์ได้รับหรืออาจได้รับไว้ด้วย เมื่อกองทุนรวมหรือทรัสต์พัฒนาทรัพย์สินหลักจนแล้วเสร็จและพร้อมจะนําไปจัดหาผลประโยชน์ ให้จัดทําและเปิดเผยรายงานตามวรรคหนึ่งโดยระบุข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาที่แล้วเสร็จ เช่น วันที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นต้น ภายใน 30 วันนับแต่วันที่การก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมจะนําไปจัดหาผลประโยชน์ การเปิดเผยรายงานตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 26 วรรคสอง” ข้อ 5 ในกรณีที่ระบบรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานยังไม่รองรับการจัดส่งรายงานใด กองทุนรวมและทรัสต์สามารถยื่นรายงานนั้นในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ได้ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
287
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ทรัสต์อื่น” และ “ลงทุนในทรัสต์อื่น” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน” และคําว่า “บริษัทจัดการ” ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ““ทรัสต์อื่น” หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายไทยซึ่งมิใช่หน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายต่างประเทศ “ลงทุนในทรัสต์อื่น” หมายความว่า ลงทุนในทรัสต์อื่นไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ เพื่อให้มีสิทธิในฐานะผู้รับประโยชน์ของทรัสต์อื่นนั้น” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 “ในกรณีที่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มีการลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยอนุโลม” ข้อ 3 ให้ยกเลิกแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามแบบ 56-REIT1 และแบบ 56-REIT2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และให้ใช้แบบ 56-REIT1 และแบบ 56-REIT2 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 4 ในกรณีที่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามแบบ 56-REIT1 หรือแบบ 56-REIT2 ต่อสํานักงานโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ขออนุญาตใช้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวสําหรับการเปิดเผยข้อมูลประจําปีที่ได้ยื่นไว้แล้วนั้นต่อสํานักงานได้ต่อไป ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
288
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 “(2/1) การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามภาค 3/1” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นภาค 3/1 การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ข้อ 28/2 ข้อ 28/3 และข้อ 28/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 “ภาค 3/1 การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 28/2 ในภาคนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ข้อ 28/3 ให้กองทรัสต์โดยผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จากทรัสตี จัดทําและเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคนี้ และมิให้นําความในภาค 1 ภาค 2 และภาค 3 มาใช้บังคับกับกองทรัสต์ เว้นแต่กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ 28/4 ให้กองทรัสต์จัดทําและจัดส่งรายงานดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน และเปิดเผยเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบในช่องทางที่เหมาะสมด้วยวิธีการใด ๆ เช่น การประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือการประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) รายงานประจําปีของกองทรัสต์ (2) งบการเงินประจําปีของกองทรัสต์ โดยให้จัดทําตามหลักเกณฑ์เรื่องการจัดทํางบการเงินประจํารอบปีบัญชีของกองทรัสต์ในภาค 2 ของหมวด 1 โดยอนุโลม งบการเงินประจําปีของกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง (2) ต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (1) ผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (2) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีตาม (ก) สังกัดอยู่ ซึ่งสํานักงานสอบบัญชีดังกล่าวมีลักษณะตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และ การปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตดังกล่าวอยู่ภายใต้ระบบการควบคุมคุณภาพ ของสํานักงานสอบบัญชีนั้น” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
289
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 56 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 56-REIT1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและ ทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 56-REIT1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
290
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10 /2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การยื่นคําขอและการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 1 (2) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 2 (3) การตรวจสอบและขอรับหลักฐานการจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 3 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนกองทรัพย์สินไว้เป็นการเฉพาะ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด “กองทุนรวมปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน “เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอจดทะเบียนไว้กับสํานักงานเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หมวด ๑ การยื่นคําขอและการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกเสร็จสิ้นแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกนั้น โดยแสดงรายการดังต่อไปนี้ (1) จํานวนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุน เพื่อเป็นเงินทุนจดทะเบียนและเพื่อเป็นกองทุนรวม (2) จํานวนเงินทุนโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินผลรวมของวงเงินที่สํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมและร้อยละสิบห้าของวงเงินดังกล่าว ความในวรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (3) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๔ การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าโครงการจัดการกองทุนรวมมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีจํานวนผู้ซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําไม่น้อยกว่าที่กําหนดในประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งและเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนรวม (2) ไม่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนดในประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราการจัดสรรและการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานกําหนด การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงาน (2) กรณีกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และจัดส่งคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ คําขอและเอกสารประกอบคําขอที่ยื่นเป็นหนังสือต้องมีรายละเอียดไม่ต่างจากที่ยื่นผ่านระบบ ข้อ ๖ ให้สํานักงานรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม พร้อมทั้งออกหลักฐานการรับจดทะเบียนให้แก่บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ยื่นคําขอจดทะเบียน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) คําขอจดทะเบียนและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอมีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ แล้ว ข้อ ๗ ในกรณีที่จํานวนเงินทุนโครงการที่สํานักงานรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมเป็นไปตามอัตราในข้อ 3(2) แต่สูงกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ให้ถือว่าเงินทุนโครงการดังกล่าวเป็นวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานแทนวงเงินเดิม หมวด ๒ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9 และข้อ 11 (2) กรณีกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 12 ข้อ ๙ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานกําหนด (1) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (2) เมื่อมีการลดเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ลดทุนแล้วเสร็จ (3) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๐ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานกําหนดผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) กรณีกองทุนรวมปิด (ก) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมปิดนั้น (ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง (2) กรณีกองทุนรวมเปิด (ก) เมื่อมีการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดเพิ่มเติม ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป (ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมเปิดนั้น (ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า การคํานวณเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ ข้อ ๑๑ การรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว และการออกหลักฐานการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 6 โดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามข้อ 12 ข้อ ๑๒ การเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวม ให้ถือว่าสํานักงานรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการ หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) คําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอมีความครบถ้วนตามที่สํานักงานกําหนด (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมคําขอ (ถ้ามี) ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ แล้ว ในกรณีที่เงินทุนโครงการที่สํานักงานรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งสูงกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ให้ถือว่าเงินทุนโครงการที่สํานักงานรับจดทะเบียนไว้นั้นเป็นวงเงินที่ได้รับอนุมัติแทนวงเงินเดิม หมวด ๓ การตรวจสอบและขอรับหลักฐานการจดทะเบียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่หลักฐานการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือหลักฐานการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่จดทะเบียนไว้แล้ว สูญหายหรือถูกทําลาย บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจยื่นคําขอรับใบแทนต่อสํานักงานได้ โดยชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ ๑๔ บุคคลใดที่ประสงค์จะขอตรวจดู หรือขอคัดและรับรองสําเนาเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่จดทะเบียนไว้ ให้กระทําได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ หมวด ๔ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วของกองทุนรวม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
291
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 44/2555 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 44/2555 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” และคําว่า “เงินทุนจดทะเบียน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ““กองทุนรวมคาร์บอน” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคสองในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนรวมคาร์บอน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงาน” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานกําหนด (1) กรณีกองทุนรวมปิด (ก) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมปิดนั้น (ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง (2) กรณีกองทุนรวมเปิด (ก) เมื่อมีการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดเพิ่มเติม ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป (ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมเปิดนั้น (ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และส่งคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมคาร์บอน ให้ยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานเท่านั้น การคํานวณเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
292
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2559 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2559 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
293
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 43/2561 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 43/2561 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน เว้นแต่ในกรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) โดยการกันหน่วยลงทุนบางส่วนที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไป” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
294
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2563 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 5)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2563 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 44/2555 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนรวมคาร์บอน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงาน (2) กรณีกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจากกองทุนรวมตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 44/2555 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน (1) กรณีกองทุนรวมปิด (ก) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมปิดนั้น (ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง (2) กรณีกองทุนรวมเปิด (ก) เมื่อมีการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดเพิ่มเติม ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนของวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป (ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมเปิดนั้น (ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมคาร์บอน ให้ยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานเท่านั้น การคํานวณเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
295
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 117 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การยื่นคําขอและการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 1 (2) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 2 (3) การตรวจสอบและขอรับหลักฐานการจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 3 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนกองทรัพย์สินไว้เป็นการเฉพาะ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ ข้อ 2 ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด “กองทุนรวมปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน”( หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “กองทุนรวมคาร์บอน”( หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคาร์บอน “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน “เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอ จดทะเบียนไว้กับสํานักงานเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หมวด 1 การยื่นคําขอและการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 3 เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมได้เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกเสร็จสิ้นแล้วให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงานภายใน สิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกนั้น โดยแสดงรายการดังต่อไปนี้ (1) จํานวนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุน เพื่อเป็นเงินทุนจดทะเบียนและเพื่อเป็นกองทุนรวม (2) จํานวนเงินทุนโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินผลรวมของวงเงินที่สํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมและร้อยละสิบห้าของวงเงินดังกล่าว ความในวรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (3) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 4 การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องแสดงได้ว่าโครงการจัดการกองทุนรวมมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีจํานวนผู้ซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ําไม่น้อยกว่าที่กําหนดในประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งและเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนรวม (2) ไม่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนดในประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราการจัดสรรและการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลเดียวกัน ข้อ 5( ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนรวมคาร์บอน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงาน (2) กรณีกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจากกองทุนรวมตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ 6 ให้สํานักงานรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม พร้อมทั้งออกหลักฐานการรับจดทะเบียนให้แก่บริษัทจัดการกองทุนรวมที่ยื่นคําขอจดทะเบียน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) คําขอจดทะเบียนและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอมีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ แล้ว ข้อ 7 ในกรณีที่จํานวนเงินทุนโครงการที่สํานักงานรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมเป็นไปตามอัตราในข้อ 3(2) แต่สูงกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ให้ถือว่าเงินทุนโครงการดังกล่าวเป็นวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานแทนวงเงินเดิม หมวด 2 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 8 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9 และข้อ 11 (2) กรณีกองทุนรวมอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 12 ข้อ 9 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานกําหนด (1)( เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียน เป็นหนังสือภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน เว้นแต่ในกรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) โดยการกันหน่วยลงทุนบางส่วนที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (2) เมื่อมีการลดเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ลดทุนแล้วเสร็จ (3) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายใน ห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง ข้อ 10( การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน (1) กรณีกองทุนรวมปิด (ก) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนจดทะเบียนภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมปิดนั้น (ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง (2) กรณีกองทุนรวมเปิด (ก)( ยกเลิก (ข) เมื่อมีการเพิ่มเงินทุนโครงการ ให้ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการภายในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมประสงค์จะเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมเปิดนั้น (ค) เมื่อข้อมูลอื่นที่จดทะเบียนไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ยื่นคําขอภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเปลี่ยนแปลง การยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน เว้นแต่ในกรณีของกองทุนรวมคาร์บอน ให้ยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเป็นหนังสือต่อสํานักงานเท่านั้น การคํานวณเงินทุนจดทะเบียนหรือเงินทุนโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ ข้อ 11 การรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของกองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว และการออกหลักฐานการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ในข้อ 6 โดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวมให้เป็นไปตาม ข้อ 12 ข้อ 12 การเพิ่มเงินทุนโครงการของกองทุนรวม ให้ถือว่าสํานักงานรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมเงินทุนโครงการ หากเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) คําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอมีความครบถ้วนตามที่สํานักงานกําหนด (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมคําขอ (ถ้ามี) ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ แล้ว ในกรณีที่เงินทุนโครงการที่สํานักงานรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งสูงกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ให้ถือว่าเงินทุนโครงการที่สํานักงานรับจดทะเบียนไว้นั้นเป็นวงเงินที่ได้รับอนุมัติแทนวงเงินเดิม หมวด 3 การตรวจสอบและขอรับหลักฐานการจดทะเบียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13 ในกรณีที่หลักฐานการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมหรือหลักฐานการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่จดทะเบียนไว้แล้ว สูญหายหรือถูกทําลายบริษัทจัดการกองทุนรวมอาจยื่นคําขอรับใบแทนต่อสํานักงานได้ โดยชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ 14 บุคคลใดที่ประสงค์จะขอตรวจดู หรือขอคัดและรับรองสําเนาเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม หรือการรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่จดทะเบียนไว้ ให้กระทําได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ หมวด 4 วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 15 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
296
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” และ “โครงการ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมวายุภักษ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล รวมถึงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม “วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการปกติของบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม เฉพาะในส่วนที่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลิกกองทุนรวม โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 12 และข้อ 13 แทน (2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมในเรื่องอื่นนอกจากการเลิกกองทุนรวม ที่ได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ ๓ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามสิทธิที่พึงได้รับ และเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมถือปฏิบัติได้ (1) การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนการดําเนินการเมื่อเกิการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าผิด (2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุน (3) การควบหรือรวมกองทุนรวม (4) การรับชําระหนี้ด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของกองทุน (5) การดําเนินการให้กองทุนรวมดํารงสภาพคล่องและวิธีปฏิบัติในกรณีที่ไม่สามารถดํารงสภาพคล่องได้ตามที่กําหนด (6) ข้อกําหนดอื่นใดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนหรือเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ข้อ ๔ นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่มีปัญหาอันเนื่องมาจากการอนุโลมใช้ประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ ๖ ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน โดยมีหน้าที่กําหนดนโยบายการลงทุนและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในภาพกว้าง เพื่อให้การลงทุนเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการการลงทุน และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการลงทุนไว้ในโครงการด้วย ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติต่อการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการสงวนสิทธิหรือกําหนดเงื่อนไขในการจํากัดจํานวนการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้มีการระบุการสงวนสิทธิหรือเงื่อนไขดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการด้วย (2) ในกรณีที่เป็นการสงวนสิทธิในการจํากัดจํานวนการรับคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน หากผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนเป็นจํานวนรวมมากกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามคําสั่งขายคืนดังกล่าวโดยวิธีการจัดสรรเฉลี่ยตามสัดส่วนจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนทั้งหมด (pro rata basis) ข้อ ๘ กองทุนรวมสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยการออกเป็นหน่วยลงทุนหรือจ่ายเป็นทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นกระทรวงการคลังหรือผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดเดียวกับกระทรวงการคลัง (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีการระบุวิธีการในการจ่ายเงินปันผลในลักษณะดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วในข้อผูกพัน ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิเมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมจนถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลหรือมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น หรือจ่ายได้จากสํารองการจ่ายเงินปันผล ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ (2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล (3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวม ข้อ ๑๐ เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด (1) กองทุนรวมมีการจัดการที่มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามที่ประกาศเกี่ยวข้องกําหนด แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการจัดการกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) การจัดการกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน (3) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน (5) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม (2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง (3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้ (1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือข้อผูกพันที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที ข้อ ๑๒ เมื่อปรากฏว่ามีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 รายในวันทําการใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว (2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบด้วย ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว (3) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น มิให้นําความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีที่กองทุนรวมมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเพื่อจํากัดความเสียหายต่อผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการจนเป็นเหตุให้จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย ข้อ ๑๓ ในกรณีที่จะมีการเลิกกองทุนรวมโดยทราบกําหนดการเลิกล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสํานักงานทราบ และแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ก่อนวันเลิกกองทุนรวมไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ (2) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนทั่วไปทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ เช่น เผยแพร่ข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือทางหนังสือพิมพ์ หรือโดยจัดให้มีข้อมูลเรื่องดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) เป็นต้น (3) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมเพื่อรวบรวมเป็นเงินสด เงินฝากประเภทกระแสรายวัน เงินฝากประเภทออมทรัพย์ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาใช้เงินคืนเมื่อทวงถาม ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลิกกองทุนรวม ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
297
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ (ฉบับที่ 2)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 12/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคสองในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) เปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว โดยวิธีการดังนี้ (ก) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ข) แจ้งเป็นหนังสือถึงผู้ดูแลผลประโยชน์ (ค) แจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบก่อนวันเลิกกองทุนรวมไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ โดยวิธีการดังนี้ (ก) แจ้งเป็นหนังสือถึงผู้ดูแลผลประโยชน์ (ข) แจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ค) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
298
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ (ฉบับประมวล)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 58/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมวายุภักษ์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” และ “โครงการ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมวายุภักษ์ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล รวมถึงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม “วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการปกติของบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ 2 ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม เฉพาะในส่วนที่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลิกกองทุนรวม โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 12 และข้อ 13 แทน (2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมในเรื่องอื่นนอกจากการเลิกกองทุนรวม ที่ได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ 3 เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามสิทธิที่พึงได้รับ และเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมถือปฏิบัติได้ (1) การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม การชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนการดําเนินการเมื่อเกิดการคํานวณจํานวนหน่วยหรือมูลค่าผิด (2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุน (3) การควบหรือรวมกองทุนรวม (4) การรับชําระหนี้ด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของกองทุน (5) การดําเนินการให้กองทุนรวมดํารงสภาพคล่องและวิธีปฏิบัติในกรณีที่ไม่สามารถดํารงสภาพคล่องได้ตามที่กําหนด (6) ข้อกําหนดอื่นใดเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนหรือเพื่อให้มีมาตรฐานการดําเนินงานเป็นอย่างเดียวกัน ข้อ 4 นอกจากที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ ข้อ 5 ในกรณีที่มีปัญหาอันเนื่องมาจากการอนุโลมใช้ประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ 6 ในการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน โดยมีหน้าที่กําหนดนโยบายการลงทุนและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในภาพกว้าง เพื่อให้การลงทุนเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมระบุรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการการลงทุน และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการลงทุนไว้ในโครงการด้วย ข้อ 7 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติต่อการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการสงวนสิทธิหรือกําหนดเงื่อนไขในการจํากัดจํานวนการรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการให้มีการระบุการสงวนสิทธิหรือเงื่อนไขดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในโครงการด้วย (2) ในกรณีที่เป็นการสงวนสิทธิในการจํากัดจํานวนการรับคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนหากผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนเป็นจํานวนรวมมากกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ในโครงการ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการตามคําสั่งขายคืนดังกล่าวโดยวิธีการจัดสรรเฉลี่ยตามสัดส่วนจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนทั้งหมด (pro rata basis) ข้อ 8 กองทุนรวมสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยการออกเป็นหน่วยลงทุนหรือจ่ายเป็นทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็นกระทรวงการคลังหรือผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดเดียวกับกระทรวงการคลัง (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมมีการระบุวิธีการในการจ่ายเงินปันผลในลักษณะดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วในข้อผูกพัน ข้อ 9 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมได้จากกําไรสะสมหรือกําไรสุทธิเมื่อกองทุนรวมมีกําไรสะสมจนถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลหรือมีกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลนั้น หรือจ่ายได้จากสํารองการจ่ายเงินปันผล ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมให้บริษัทจัดการกองทุนรวมประกาศการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1)( เปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ (2) ดําเนินการโดยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการจ่ายเงินปันผล (3) ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ใช้สิทธิขอรับเงินปันผลจํานวนใดภายในอายุความใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามบริษัทจัดการกองทุนรวมนําเงินปันผลจํานวนดังกล่าวไปใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวม ข้อ 10 เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด (1) กองทุนรวมมีการจัดการที่มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามที่ประกาศเกี่ยวข้องกําหนด แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการจัดการกองทุนรวมนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) การจัดการกองทุนรวมอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน (3) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การจัดการกองทุนรวมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน (5) การดําเนินการของกองทุนรวมไม่สอดคล้องกับโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการสั่งการในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม (2) แก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้ถูกต้อง (3) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ข้อ 11 ในกรณีที่ปรากฏเหตุดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมได้ (1) มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือข้อผูกพันที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการให้มีการเลิกกองทุนรวมทันที ข้อ 12 เมื่อปรากฏว่ามีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 รายในวันทําการใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ยุติการรับคําสั่งซื้อและคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว (2)( แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวโดยวิธีการดังนี้ (ก) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ข) แจ้งเป็นหนังสือถึงผู้ดูแลผลประโยชน์ (ค) แจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (3) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมดังกล่าวภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทําได้เพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (4) ชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจํานวนเงินที่รวบรวมได้ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และเมื่อได้ดําเนินการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้วให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมนั้น มิให้นําความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีที่กองทุนรวมมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเพื่อจํากัดความเสียหายต่อผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการจนเป็นเหตุให้จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ราย ข้อ 13 ในกรณีที่จะมีการเลิกกองทุนรวมโดยทราบกําหนดการเลิกล่วงหน้า ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1)( แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบก่อนวันเลิกกองทุนรวมไม่น้อยกว่า 5 วันทําการโดยวิธีการดังนี้ (ก) แจ้งเป็นหนังสือถึงผู้ดูแลผลประโยชน์ (ข) แจ้งสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ค) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกรณีที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) ดําเนินการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนและผู้ลงทุนทั่วไปทราบเรื่องดังกล่าวก่อนวันเลิกกองทุนรวมไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ เช่น เผยแพร่ข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือทางหนังสือพิมพ์ หรือโดยจัดให้มีข้อมูลเรื่องดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ในการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกแห่งของบริษัทจัดการกองทุนรวมและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) เป็นต้น (3) จําหน่ายทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนรวมเพื่อรวบรวมเป็นเงินสด เงินฝากประเภทกระแสรายวัน เงินฝากประเภทออมทรัพย์ และตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาใช้เงินคืนเมื่อทวงถาม ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเลิกกองทุนรวม ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
299