title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 83/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 7ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล เว้นแต่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ (2) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (3) หุ้นกู้ระยะสั้น (4) ตั๋วเงินระยะสั้น (5) หุ้นกู้ที่ออกโดยกองทรัสต์ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งแรกจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์พร้อมกับการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) และมีผู้จัดการกองทรัสต์ที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวแล้ว (ข) มิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถทําหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วน เป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) (2) และ (3)ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 16 ข้อ 19 ข้อ 20 หรือข้อ 20/1 แล้วแต่กรณี (1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารหนี้ (fact sheet) (2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร (4) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 83/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 11 ต่อสํานักงาน โดยให้มีรายละเอียดเป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 20/1 (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW-GOV.AGENCY ท้ายประกาศนี้ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW-REIT ท้ายประกาศนี้ (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้โดยผู้เสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW ท้ายประกาศนี้” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 20/1 ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 11 ต่อสํานักงาน โดยมีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW ตามข้อ 20 วรรคหนึ่ง (3) ทั้งนี้ หากผู้เสนอขายเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ผู้เสนอขายดังกล่าวสามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 11 ต่อสํานักงาน โดยมีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-SP ท้ายประกาศนี้ ก็ได้ การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงตามวรรคหนึ่ง เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมีผลใช้บังคับแล้ว ผู้เสนอขายตามวรรคหนึ่งสามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้น หรือเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ออกโดยสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย แต่การเสนอขายครั้งใด ๆ ต้องมีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ (2) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ไม่เป็นไปตาม (1) ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลทุกครั้งก่อนการเสนอขาย เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง คําว่า “สถาบันการเงิน” ให้หมายความถึง (1) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะเพียงบางประเภทหลักทรัพย์ (3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้น หรือการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงตามข้อ 20/1 วรรคสอง (1) การระบุข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนและราคาตราสารหนี้ที่เสนอขาย ระยะเวลาของการเสนอขาย หรืออัตราผลประโยชน์ตอบแทนในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 19 วรรคสอง (1) ข้อ 20 วรรคสอง (1) หรือข้อ 20/1 วรรคสอง (1) อาจกําหนดข้อมูลเป็นช่วง (range) ข้อมูลตัวเลขสูงสุด (maximum) หรือข้อมูลที่เป็นวิธีการคํานวณที่ให้ผลลัพธ์เฉพาะเจาะจงเมื่อมีการแทนค่าในวิธีการคํานวณนั้น แล้วแต่กรณี” ข้อ 6 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-PO และแบบ 69-DEBT-II&HNW ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้แบบ 69-DEBT-PO และแบบ 69-DEBT-II&HNW ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 7 ให้ยกเลิกตารางระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 83/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ตารางระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
400
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 42/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 42/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 67 มาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 20/1 และข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20/1 ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 11 ต่อสํานักงาน โดยมีรายละเอียดตามแบบดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงทั้งหมดต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้มีรายละเอียดของข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-II&HNW และอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ (ก) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้น เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย แต่การเสนอขายครั้งใด ๆ ต้องมีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ (ข) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ไม่เป็นไปตาม (ก) ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลทุกครั้งก่อนการเสนอขาย (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงทั้งหมดต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ซึ่งผู้เสนอขายเป็นสถาบันการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ผู้เสนอขายดังกล่าวสามารถเลือกยื่นข้อมูลตามแบบที่กําหนดใน (1) หรือตามแบบใดแบบหนึ่งดังนี้ ก็ได้ (ก) แบบ 69-DEBT-SP-1 ท้ายประกาศนี้ และหากแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ให้สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย แต่การเสนอขายครั้งใด ๆ ต้องมีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบ 69-DEBT-SP-1 ที่ได้ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับ (ข) แบบ 69-DEBT-SP-2 ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ได้มีการยื่นข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-1 ไว้อยู่แล้ว โดยระยะเวลาตั้งแต่วันที่แบบ 69-DEBT-SP-1 มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ยื่นข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-2 ต้องไม่เกินหนึ่งปี และเมื่อข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-2 มีผลใช้บังคับแล้ว ให้สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงภายใต้แบบ 69-DEBT-SP-2 โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย แต่การเสนอขายครั้งใด ๆ ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่จะเสนอขายได้ตามแบบ 69-DEBT-SP-1 ดังกล่าวและมูลค่าที่เสนอขายเมื่อรวมกับมูลค่าที่เสนอขายภายใต้การยื่นข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-1 และแบบ 69-DEBT-SP-2 ในครั้งก่อนมีมูลค่าไม่เกินกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในการยื่นข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-1 ข้อ 21 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้น หรือการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงตามข้อ 20/1(2) การระบุข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนและราคาตราสารหนี้ที่เสนอขาย ระยะเวลาของการเสนอขาย หรืออัตราผลประโยชน์ตอบแทนในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน อาจกําหนดข้อมูลเป็นช่วง (range) ข้อมูลตัวเลขสูงสุด (maximum) หรือข้อมูลที่เป็นวิธีการคํานวณที่ให้ผลลัพธ์เฉพาะเจาะจงเมื่อมีการแทนค่าในวิธีการคํานวณนั้น แล้วแต่กรณี” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินระยะสั้นต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่โดยผู้ออกตราสารหนี้ ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันหรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพัน ลงลายมือชื่อ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยื่นข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-2 ผู้ที่ดํารงตําแหน่งระดับบริหารตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่าซึ่งรับผิดชอบในการออกตราสารหนี้ที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพัน จะลงลายมือชื่อในแบบดังกล่าวก็ได้” ข้อ 3 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-SP ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 4 ให้เพิ่มแบบ 69-DEBT-SP-1 และแบบ 69-DEBT-SP-2 เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ข้อ 5 ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-SP ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับประกาศที่แก้ไขใหม่นี้ และให้ถือว่าแบบที่ได้ยื่นไว้แล้วดังกล่าวเป็นแบบ 69-DEBT-SP-1 ตามประกาศนี้ โดยอนุโลม ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
401
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 59/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 11)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 59/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กิจการต่างประเทศ” ถัดจากบทนิยามคําว่า “ผู้จัดการกองทรัสต์” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 83/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ““กิจการต่างประเทศ” หมายความว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ (2) องค์การระหว่างประเทศ (3) นิติบุคคลต่างประเทศ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 และข้อ 7/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 7/1 ในการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนทั่วไปพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือการเสนอขายตราสารหนี้ของกิจการต่างประเทศ ตามประกาศดังต่อไปนี้ ผู้เสนอขายตราสารหนี้สามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ในกรณีที่ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งแปลมาจากข้อมูลที่เป็นภาษาอื่น ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องดําเนินการดังนี้ด้วย (1) รับรองว่าสาระของข้อมูลที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และไม่ได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย (2) ให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ ข้อ 7/2 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานจะต้องมีรายละเอียดข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าที่เปิดเผยในประเทศอื่น” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 13/1 ให้ผู้ออกตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ซึ่งประสงค์จะรายงานข้อมูลตามข้อ 39/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ระบุวิธีการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 39/1 ดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลด้วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 การเสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ทุกกรณี ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 11 ต่อสํานักงาน โดยมีรายละเอียดตามแบบ 69-SECURITIZATION หรือแบบ 69-FD ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 83/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนทั่วไปยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 11 ต่อสํานักงาน โดยให้มีรายละเอียดเป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO-GOV.AGENCY ท้ายประกาศนี้ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO-REIT ท้ายประกาศนี้ (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของผู้เสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนทั่วไปพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น หรือเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของกิจการต่างประเทศ ที่เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 7/1 วรรคหนึ่ง ผู้เสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวสามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-FD ท้ายประกาศนี้ แทนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1) หรือ (3) ได้ การเสนอขายตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่งให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวสามารถเสนอขายตราสารหนี้ได้โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขายจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาในการส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี แต่ต้องปรับปรุงให้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันด้วยการยื่นข้อมูลที่ผู้ออกตราสารหนี้มีหน้าที่จัดทําและส่งตามมาตรา 56 (2) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้อื่นใดที่ไม่ใช่การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นตาม (1) ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลทุกครั้งก่อนการเสนอขาย” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 11 ต่อสํานักงาน โดยให้มีรายละเอียดเป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 20/1 (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW-GOV.AGENCY ท้ายประกาศนี้ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW-REIT ท้ายประกาศนี้ (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของผู้เสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ที่เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 7/1 วรรคหนึ่ง ผู้เสนอขายตราสารหนี้สามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดของรายการตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8) แทนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (3) ได้ ทั้งนี้ ในส่วนของการลงนามรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว ให้นําข้อมูลในส่วนที่ 2 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-DEBT-II&HNW-GOV.AGENCY หรือแบบ 69-DEBT-II&HNW ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1) หรือ (3) แล้วแต่กรณี มาระบุเป็นข้อมูลไว้ด้วย โดยอนุโลม การเสนอขายตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่งให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลของตราสารหนี้ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว ผู้ออกสามารถเสนอขายตราสารหนี้ภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย แต่การเสนอขายครั้งใด ๆ ต้องมีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ (2) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้อื่นใดที่ไม่ใช่การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นตาม (1) ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลทุกครั้งก่อนการเสนอขาย” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 20/2 ในกรณีที่ผู้เสนอขายเป็นกิจการต่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นตามข้อ 19 และข้อ 20 แล้วแต่กรณี ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ด้วย (1) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในเรื่องดังนี้ (ก) สิทธิและความคุ้มครองที่ผู้ลงทุนได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยกิจการต่างประเทศ ซึ่งไม่แตกต่างจากกรณีที่ผู้ลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศเองโดยตรง ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศที่กิจการนั้นจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวให้แสดงในหน้าปกของแบบแสดงรายการข้อมูลด้วยตัวอักษรที่เน้นและสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน (ข) การดําเนินคดีทางกฎหมายกับกิจการต่างประเทศ เนื่องจากไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้ระบุถึงเขตอํานาจศาลในการฟ้องร้องบังคับคดีต่อกิจการดังกล่าวด้วย (ค) ผลกระทบที่ผู้ถือตราสารหนี้ของกิจการต่างประเทศอาจได้รับ ในกรณีที่กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้นมีข้อจํากัดในการส่งเงินออกนอกประเทศ (ถ้ามี) (ง) ข้อจํากัดหรือความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา วิธีการจองซื้อ การชําระราคา และการส่งมอบหลักทรัพย์ รวมทั้งวิธีการโอนหลักทรัพย์ (จ) ข้อจํากัดหรือความเสี่ยงอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการใช้สิทธิหรือการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกในนามของรัฐบาลต่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีข้อมูลทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศห้าปีล่าสุดก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลนั้น โดยอย่างน้อยต้องแสดงถึงรายได้ประชาชาติ ดุลการค้า ดุลบริการ ข้อมูลการนําเข้าและส่งออก เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ภาระหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประมาณการชําระหนี้ต่างประเทศอย่างน้อยห้าปีโดยเริ่มในปีที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน (3) ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากกิจการต่างประเทศให้เป็นตัวแทนของกิจการดังกล่าวในประเทศไทย โดยต้องระบุอํานาจหน้าที่ของตัวแทนนั้นอย่างชัดเจน” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) การเสนอขายตราสารหนี้โดยผู้ออกตราสารหนี้ที่เป็นกิจการต่างประเทศ ธนาคารต่างประเทศซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของกิจการต่างประเทศ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หรือสถาบันการเงิน แล้วแต่กรณี ลงลายมือชื่อ” ข้อ 9 ให้ยกเลิกตารางระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการ ข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ตารางระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
402
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 12)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 59/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 เว้นแต่ประกาศนี้ได้กําหนดไว้เป็นประการอื่น ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท มาใช้กับประกาศนี้ แบบท้ายประกาศ และตารางท้ายประกาศ และให้มีบทนิยามเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “กิจการต่างประเทศ” หมายความว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ (2) องค์การระหว่างประเทศ (3) นิติบุคคลต่างประเทศ “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายตราสารหนี้” หมายความว่า ข้อมูลดังนี้ (1) จํานวนและราคาตราสารหนี้ที่เสนอขาย (2) ระยะเวลาของการเสนอขาย (3) อัตราผลประโยชน์ตอบแทน (4) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร (5) ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ถ้ามี) (6) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตราสารหนี้ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) (3) (4) และ (5) “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ในวรรคหนึ่งของข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 59/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 “(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 7 ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล เว้นแต่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ (2) หุ้นกู้ที่ออกโดยกองทรัสต์ซึ่งหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (4) หุ้นกู้ระยะสั้น (5) ตั๋วเงินระยะสั้น (6) หุ้นกู้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งแรกจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์พร้อมกับการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) และมีผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวแล้ว (ข) มิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ผู้จัดการของกองทรัสต์ดังกล่าวไม่สามารถทําหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ที่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์จะลงทุน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 59/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ ให้มีรายละเอียดตามแบบดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO-REIT ท้ายประกาศนี้ (ข) กรณีที่เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO-IFT ท้ายประกาศนี้” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 59/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ ให้มีรายละเอียดตามแบบดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW-REIT ท้ายประกาศนี้ (ข) กรณีที่เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW-IFT ท้ายประกาศนี้” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (4/2) ของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 83/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4/2) การเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ ให้กรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ที่มีอํานาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อ” ข้อ 7 ให้ยกเลิกตารางระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 59/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ตารางระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
403
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 67 มาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบที่กําหนดไว้ในหมวด 3 และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 7 ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล เว้นแต่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนที่ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดีตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่กําหนดเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และบริษัทดังกล่าวได้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศดังกล่าว รวมทั้งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ (2) หุ้นกู้ที่ออกโดยกองทรัสต์ซึ่งหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (4) ตั๋วเงินระยะสั้น (5) หุ้นกู้ที่ออกโดยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งแรกจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์พร้อมกับการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) และมีผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวแล้ว (ข) มิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ผู้จัดการของกองทรัสต์ดังกล่าวไม่สามารถทําหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ที่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์จะลงทุน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) (2) และ (3) ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 16 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21/3 ข้อ 21/4 หรือข้อ 21/5 แล้วแต่กรณี (1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) (2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร (4) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 รายละเอียดของรายการตามข้อ 11 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ไม่ว่ากรณีใด ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ (2) สําหรับการเสนอขายตราสารหนี้อื่นใดนอกจากหุ้นกู้ตาม (1) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะรายครั้ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ (ข) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในส่วนที่ 3 ของหมวดนี้” ข้อ 5 ให้ยกเลิกชื่อส่วนที่ 2 แบบสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ ในหมวด 3 แบบแสดงรายการข้อมูล แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ชื่อส่วนต่อไปนี้แทน “ส่วนที่ 2 แบบสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้รายครั้ง” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนทั่วไปยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ต่อสํานักงานทุกครั้งก่อนการเสนอขาย โดยให้มีรายละเอียดเป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้ (1) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO-GOV.AGENCY ท้ายประกาศนี้ (2) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO-REIT ท้ายประกาศนี้ (3) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO-IFT ท้ายประกาศนี้ (4) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของผู้เสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก (1) (2) และ (3) ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนทั่วไปพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น หรือเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของกิจการต่างประเทศ ที่เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 7/1 วรรคหนึ่ง ผู้เสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวสามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-FD ท้ายประกาศนี้ แทนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1) หรือ (4) ได้ ข้อ 20 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานทุกครั้งก่อนการเสนอขาย โดยให้มีรายละเอียดเป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้ (1) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW-GOV.AGENCY ท้ายประกาศนี้ (2) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW-REIT ท้ายประกาศนี้ (3) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW-IFT ท้ายประกาศนี้ (4) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของผู้เสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก (1) (2) และ (3) ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ที่เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 7/1 วรรคหนึ่ง ผู้เสนอขายตราสารหนี้สามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดของรายการตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8) แทนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (4) ได้ ทั้งนี้ ในการลงนามรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในการรับรองความถูกต้องของข้อมูลตามส่วนที่ 2 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1) หรือ (4) แล้วแต่กรณี มาระบุเป็นข้อมูลไว้ด้วย โดยอนุโลม” ข้อ 7 ให้ยกเลิกข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 42/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 8 ให้ยกเลิกข้อ 20/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 59/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 42/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 ในกรณีที่ผู้เสนอขายเป็นกิจการต่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นตามข้อ 19 และข้อ 20 แล้วแต่กรณี ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ด้วย (1) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในเรื่องดังนี้ (ก) สิทธิและความคุ้มครองที่ผู้ลงทุนได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยกิจการต่างประเทศ ซึ่งไม่แตกต่างจากกรณีที่ผู้ลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศเองโดยตรง ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศที่กิจการนั้นจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวให้แสดงในหน้าปกของแบบแสดงรายการข้อมูลด้วยตัวอักษรที่เน้นและสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน (ข) การดําเนินคดีทางกฎหมายกับกิจการต่างประเทศ เนื่องจากไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้ระบุถึงเขตอํานาจศาลในการฟ้องร้องบังคับคดีต่อกิจการดังกล่าวด้วย (ค) ผลกระทบที่ผู้ถือตราสารหนี้ของกิจการต่างประเทศอาจได้รับ ในกรณีที่กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้นมีข้อจํากัดในการส่งเงินออกนอกประเทศ (ถ้ามี) (ง) ข้อจํากัดหรือความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา วิธีการจองซื้อ การชําระราคา และการส่งมอบหลักทรัพย์ รวมทั้งวิธีการโอนหลักทรัพย์ (จ) ข้อจํากัดหรือความเสี่ยงอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการใช้สิทธิหรือการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกในนามของรัฐบาลต่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีข้อมูลทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศห้าปีล่าสุดก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลนั้น โดยอย่างน้อยต้องแสดงถึงรายได้ประชาชาติ ดุลการค้า ดุลบริการ ข้อมูลการนําเข้าและส่งออก เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ภาระหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประมาณการชําระหนี้ต่างประเทศอย่างน้อยห้าปีโดยเริ่มในปีที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน (3) ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากกิจการต่างประเทศให้เป็นตัวแทนของกิจการดังกล่าวในประเทศไทย โดยต้องระบุอํานาจหน้าที่ของตัวแทนนั้นอย่างชัดเจน” ข้อ 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 3 แบบสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการ ข้อ 21/1 ข้อ 21/2 ข้อ 21/3 ข้อ 21/4 ข้อ 21/5 และข้อ 21/6 ในหมวด 3 แบบแสดงรายการข้อมูล แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 “ส่วนที่ 3 แบบสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 21/1 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการให้มีสามกรณีดังนี้ (1) กรณีเสนอขายตราสารหนี้ตามที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายตามประกาศที่กําหนดในข้อ 21/2 ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 21/3 (2) กรณีเสนอขายเฉพาะตราสารหนี้ดังนี้ ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 21/4 (ก) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นตามที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (ข) หุ้นกู้หรือตั๋วเงินระยะสั้นตามที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย (3) กรณีเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยผู้เสนอขายเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 21/5 ข้อ 21/2 การเสนอขายตราสารหนี้ที่จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการตามข้อ 21/3 ได้จะต้องเป็นการออกและเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศดังต่อไปนี้ และจะต้องไม่เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ ที่ออกใหม่ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ ข้อ 21/3 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการที่ยื่นต่อสํานักงานให้เป็นไปตามแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งแรก ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-Pricing ท้ายประกาศนี้ ประกอบกับแบบที่มีรายละเอียดตามแบบใดแบบหนึ่งดังนี้ (ก) กรณีเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนทั่วไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบดังนี้ 1. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-PO-REIT ท้ายประกาศนี้ 2. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-PO-IFT ท้ายประกาศนี้ 3. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของผู้เสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก 1. และ 2. ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-PO ท้ายประกาศนี้ (ข) กรณีเสนอขายตราสารหนี้เฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่เท่านั้นให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบดังนี้ 1. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-II&HNW-REIT ท้ายประกาศนี้ 2. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-II&HNW-IFT ท้ายประกาศนี้ 3. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของผู้เสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก 1. และ 2. ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-II&HNW ท้ายประกาศนี้ (2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-Pricing โดยอ้างอิงข้อมูลของแบบตาม (1) ที่ได้ยื่นไว้ในครั้งแรกและอ้างอิงการปรับปรุงข้อมูลบริษัทกรณีเกิดเหตุการณ์ตามที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 1 (ถ้ามี) ด้วยแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-Supplement ท้ายประกาศนี้ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ผู้เสนอขายได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศที่กําหนดไว้ตามข้อ 21/2 ข้อ 21/4 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้น และระยะเวลาการเสนอขาย ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นต่อประชาชนทั่วไปให้ยื่นแบบตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม และสามารถเสนอขายได้โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขายจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาในการส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี โดยต้องปรับปรุงให้แบบดังกล่าวมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันด้วยการยื่นข้อมูลที่ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวมีหน้าที่จัดทําและส่งตามมาตรา 56 ทั้งนี้ หากไม่มีการปรับปรุงข้อมูลตามเงื่อนไขดังกล่าว การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลจะระงับเป็นการชั่วคราวตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 11/2556 เรื่อง การระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (2) กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ยื่นแบบตามข้อ 20 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม และสามารถเสนอขายได้โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขายภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ข้อ 21/5 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่โดยผู้เสนอขายเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ต่อสํานักงาน ให้เป็นไปตามแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยระยะเวลาการเสนอขายภายใต้แบบแต่ละแบบให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนด (1) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งแรก ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-SP-1 ท้ายประกาศนี้ และหากแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ให้สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย แต่การเสนอขายครั้งใด ๆ ต้องมีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบ 69-DEBT-SP-1 ที่ได้ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับ (2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-SP-2 ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ได้มีการยื่นข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-1 ไว้อยู่แล้ว โดยระยะเวลาตั้งแต่วันที่แบบ 69-DEBT-SP-1 มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ยื่นข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-2 ต้องไม่เกินหนึ่งปี และเมื่อข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-2 มีผลใช้บังคับแล้ว ให้สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงภายใต้แบบ 69-DEBT-SP-2 โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย แต่การเสนอขายครั้งใด ๆ ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่จะเสนอขายได้ตามแบบ 69-DEBT-SP-1 ดังกล่าวและมูลค่าที่เสนอขายเมื่อรวมกับมูลค่าที่เสนอขายภายใต้การยื่นข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-1 และแบบ 69-DEBT-SP-2 ในครั้งก่อนมีมูลค่าไม่เกินกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในการยื่นข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-1 ข้อ 21/6 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ตามข้อ 21/1(2) หรือข้อ 21/1(3) ผู้เสนอขายสามารถเลือกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล โดยระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ เป็นช่วง (range) ข้อมูลตัวเลขสูงสุด (maximum) หรือข้อมูลที่เป็นวิธีการคํานวณที่ให้ผลลัพธ์เฉพาะเจาะจงเมื่อมีการแทนค่าในวิธีการคํานวณนั้น แล้วแต่กรณี (1) จํานวนและราคาหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่จะเสนอขาย (2) ระยะเวลาการเสนอขาย (3) อัตราผลตอบแทน” ข้อ 11 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 42/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินระยะสั้นต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่โดยผู้ออกตราสารหนี้ ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันหรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพัน ลงลายมือชื่อ” ข้อ 12 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 “(7) การเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการ การลงลายมือชื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (1) (2) (4/2) หรือ (6) แล้วแต่กรณี หรือหากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไปตามแบบ 69-Pricing หรือการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-2 ผู้ที่ดํารงตําแหน่งระดับบริหารตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพัน จะลงลายมือชื่อในแบบดังกล่าวก็ได้” ข้อ 13 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 26 ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้แล้ว (1) ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 33 (2) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (3) เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ระบุในภาคผนวก 2 ทั้งนี้ ในกรณีที่ภาคผนวกดังกล่าวกําหนดเงื่อนเวลาไว้ในลักษณะของระยะเวลา การเริ่มนับระยะเวลาให้เริ่มต้นในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายตราสารหนี้หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) (4) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและได้เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 23 วรรคสาม (ถ้ามี) (5) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้ระบุข้อมูลตามรายการครบถ้วน ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุดภายหลังเวลา 10.00 น. ของวันทําการใด ให้ถือว่าสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวในวันทําการถัดไป แต่ไม่รวมถึงกรณีการยื่นแบบ 69-Pricing” ข้อ 14 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-PO และแบบ 69-DEBT-II&HNW ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้แบบ 69-DEBT-PO และแบบ 69-DEBT-II&HNW ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 15 ให้เพิ่มแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (1) แบบ 69-BASE-PO (2) แบบ 69-BASE-PO-REIT (3) แบบ 69-BASE-PO-IFT (4) แบบ 69-BASE-II&HNW (5) แบบ 69-BASE-II&HNW-REIT (6) แบบ 69-BASE-II&HNW-IFT (7) แบบ 69-Pricing (8) แบบ 69-Supplement ข้อ 16 ให้เพิ่มภาคผนวก 1 และภาคผนวก 2 เป็นภาคผนวกแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ข้อ 17 ให้ยกเลิกตารางระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 ข้อ 18 ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งได้ยื่นไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศฉบับดังกล่าวต่อไป ข้อ 19 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
404
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 14)
- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 14) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 59/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงาน โดยให้มีรายละเอียดเป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไป ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-PO-SPV ท้ายประกาศนี้ (2) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-II&HNW-SPV ท้ายประกาศนี้ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้ผู้เสนอขายปฏิบัติดังนี้ (1) กรณีที่ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ ให้จัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลเป็นภาษาเดียวกับคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2) กรณีที่ข้อมูลหรือเอกสารที่นิติบุคคลเฉพาะกิจยื่นประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลแปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นภาษาอื่น ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลและการรับรองตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์มาใช้บังคับด้วย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-PO แบบ 69-BASE-PO และแบบ 69-Pricingท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 69-DEBT-PO แบบ 69-BASE-PO และแบบ 69-Pricing ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-PO-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 83/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้แบบ 69-DEBT-PO-REIT ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-PO-IFT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้แบบ 69-DEBT-PO-IFT ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 5 ให้ยกเลิกแบบ 69-SECURITIZATION ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่11 มีนาคม พ.ศ.2556 ข้อ 6 ให้เพิ่มแบบ 69-PO-SPV และแบบ 69-II&HNW-SPV เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
405
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 15)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) และ (6) ในวรรคหนึ่งของข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 “(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “ในกรณีที่ผู้เสนอขายไม่ได้มีสถานะเป็นกิจการต่างประเทศและเสนอขายตราสารหนี้ สกุลเงินตราต่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยตามวรรคหนึ่ง (1) (ง) และ (จ) ด้วย” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 21/1 ข้อ 21/2 ข้อ 21/3 และข้อ 21/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21/1 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการให้มีสามกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศที่กําหนดไว้ในข้อ 7/1 ซึ่งไม่ใช่การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ ที่ออกใหม่ ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 21/2 การเสนอขายตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการเสนอขายตราสารหนี้พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น หรือเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ของกิจการต่างประเทศ ให้สามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 21/3 แทนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้ (2) กรณีเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 21/4 (3) กรณีเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยผู้เสนอขายเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 21/5 ข้อ 21/2 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการตามข้อ 21/1(1) วรรคหนึ่ง ที่ยื่นต่อสํานักงานให้เป็นไปตามแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งแรก ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-PRICING ท้ายประกาศนี้ ประกอบกับแบบใดแบบหนึ่งดังนี้ (ก) กรณีเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนทั่วไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบดังนี้ 1. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-PO-GOV.AGENCY ท้ายประกาศนี้ 2. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ที่เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-PO-REIT ท้ายประกาศนี้ 3. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ที่เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-PO-IFT ท้ายประกาศนี้ 4. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของผู้เสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก 1. 2. และ 3. ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-PO ท้ายประกาศนี้ (ข) กรณีเสนอขายตราสารหนี้เฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่เท่านั้น ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบดังนี้ 1. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-II&HNW-GOV.AGENCY ท้ายประกาศนี้ 2. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ที่เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-II&HNW-REIT ท้ายประกาศนี้ 3. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของกองทรัสต์ที่เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-II&HNW-IFT ท้ายประกาศนี้ 4. กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ของผู้เสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก 1. 2. และ 3. ให้มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-II&HNW ท้ายประกาศนี้ (2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-PRICING โดยอ้างอิงข้อมูลของแบบตาม (1) ที่ได้ยื่นไว้ในครั้งแรกและอ้างอิงการปรับปรุงข้อมูลบริษัทกรณีเกิดเหตุการณ์ตามที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 1 (ถ้ามี) ด้วยแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-SUPPLEMENT ท้ายประกาศนี้ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ผู้เสนอขายได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศที่กําหนดไว้ตามข้อ 7/1 ข้อ 21/3 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการตามข้อ 21/1(1) วรรคสอง ที่ยื่นต่อสํานักงานให้เป็นไปตามแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งแรก ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-PRICING-FD ท้ายประกาศนี้ ประกอบกับแบบ 69-BASE-FD ท้ายประกาศนี้ (2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-PRICING-FD โดยอ้างอิงข้อมูลของแบบตาม (1) ที่ได้ยื่นไว้ในครั้งแรกและอ้างอิงการปรับปรุงข้อมูลบริษัทกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เคยเปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลอย่างมีนัยสําคัญ ด้วยแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-SUPPLEMENT-FD ท้ายประกาศนี้ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ผู้เสนอขายได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศที่กําหนดไว้ตามข้อ 7/1 ข้อ 21/4 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้น และระยะเวลาการเสนอขายให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นต่อประชาชนทั่วไปให้ยื่นแบบตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม และสามารถเสนอขายได้โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขายจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาในการส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี โดยต้องปรับปรุงให้แบบดังกล่าวมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันด้วยการยื่นข้อมูลที่ผู้เสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวมีหน้าที่จัดทําและส่งตามมาตรา 56 ทั้งนี้ หากไม่มีการปรับปรุงข้อมูลตามเงื่อนไขดังกล่าว การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลจะระงับเป็นการชั่วคราวตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการระงับการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นเป็นการชั่วคราว (2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้นเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ยื่นแบบตามข้อ 20 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม และสามารถเสนอขายได้โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขายภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับ” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 21/7 ในส่วนที่ 3 แบบสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการ ของหมวด 3 แบบแสดงรายการข้อมูล แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 21/7 ในกรณีที่ผู้เสนอขายเป็นกิจการต่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการที่ยื่นตามส่วนนี้ ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยตามข้อ 21 วรรคหนึ่ง ด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอขายไม่ได้มีสถานะเป็นกิจการต่างประเทศและเสนอขายตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการที่ยื่นตามส่วนนี้ ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยตามข้อ 21 วรรคหนึ่ง (1) (ง) และ (จ) ด้วย” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) การเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการ การลงลายมือชื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (1) (2) (4) (4/1) หรือ (4/2) แล้วแต่กรณี หรือหากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไปตามแบบ 69-PRICING แบบ 69-PRICING-FD หรือการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-DEBT-SP-2 ผู้ที่ดํารงตําแหน่งระดับบริหารตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพัน จะลงลายมือชื่อในแบบดังกล่าวก็ได้” ข้อ 6 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-PO-GOV.AGENCY และแบบ 69-DEBT-II&HNW-GOV.AGENCY ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้แบบ 69-DEBT-PO-GOV.AGENCY และแบบ 69-DEBT-II&HNW-GOV.AGENCY ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 7 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-SP-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 42/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้แบบ 69-DEBT-SP-1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 8 ให้ยกเลิกแบบ 69-BASE-II&HNW แบบ 69-BASE-II&HNW-REIT และแบบ 69-BASE-II&HNW-IFT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 69-BASE-II&HNW แบบ 69-BASE-II&HNW-REIT และแบบ 69-BASE-II&HNW-IFT ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 9 ให้ยกเลิกแบบ 69-Supplement ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ 10 ให้ยกเลิกแบบ 69-Pricing ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 11 ให้เพิ่มแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (1) แบบ 69-BASE-PO-GOV.AGENCY (2) แบบ 69-BASE-II&HNW-GOV.AGENCY (3) แบบ 69-BASE-FD (4) แบบ 69-PRICING (5) แบบ 69-SUPPLEMENT (6) แบบ 69-PRICING-FD (7) แบบ 69-SUPPLEMENT-FD ข้อ 12 ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 และภาคผนวก 2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ภาคผนวก 1 และภาคผนวก 2 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 13 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
406
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 76/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 16)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 76/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) (2) (3) และ (4) ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 16 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21/2 ข้อ 21/3 ข้อ 21/4 หรือข้อ 21/5 แล้วแต่กรณี (1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) (2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร (4) ข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับกรณีการเสนอขายตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) (5) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารด้วยก็ได้ ข้อมูลเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลของตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามวรรคหนึ่ง (4) อย่างน้อยต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) มาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับที่นํามาใช้อ้างอิงในการขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐาน ASEAN Green Bond Standards (ASEAN GBS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Green Bond Principles (ICMA GBP) เป็นต้น (2) วัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (use of proceeds) (3) กระบวนการที่ใช้ในการประเมินและคัดเลือกโครงการ (process for project evaluation and selection) โดยระบุกระบวนการและปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา รวมทั้งมาตรฐานหรือวิธีการรับรองอื่นใดที่ใช้อ้างอิง (4) การบริหารจัดการเงินที่ได้จากการระดมทุน (management of proceeds) โดยแสดงถึงวิธีการติดตามการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุนไปใช้ในโครงการและวิธีการแบ่งแยกเงินออกจากเงินอื่นของบริษัทให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น การนําเงินที่ได้จากการระดมทุนแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินอื่น ๆ (sub-account) ของผู้เสนอขายตราสารหนี้ เป็นต้น (5) การรายงานและช่องทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการภายหลัง การเสนอขาย (reporting) โดยให้เปิดเผยรายงานประเภทต่าง ๆ จนกว่าจะครบอายุของตราสารหนี้ เช่น รายงานการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุน หรือรายงานความคืบหน้าของโครงการว่าดําเนินการ ถึงขั้นตอนใด จํานวนเงินที่ใช้ และยอดคงเหลือ เป็นต้น รวมทั้งช่องทางการเปิดเผยข้อมูล เช่น บนเว็บไซต์ของผู้เสนอขายตราสารหนี้ ซึ่งควรจัดให้มีการรายงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เป็นต้น” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
407
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 17)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 17) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 76/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) (2) (3) และ (4) ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 16 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21/2 ข้อ 21/3 ข้อ 21/4 หรือข้อ 21/5 แล้วแต่กรณี (1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) (2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร (4) ข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับกรณีการเสนอขายตราสารหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) (ข) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (social bond) (ค) ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (sustainability bond) (5) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารด้วยก็ได้ ข้อมูลเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลของตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง (4) อย่างน้อยต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) มาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับที่นํามาใช้อ้างอิงในการขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวตามแต่กรณีดังนี้ (ก) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐาน ASEAN Green Bond Standards (ASEAN GBS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Green Bond Principles (ICMA GBP) เป็นต้น (ข) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม เช่น มาตรฐาน ASEAN Social Bond Standards (ASEAN SBS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Social Bond Principles (ICMA SBP) เป็นต้น (ค) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน เช่น มาตรฐาน ASEAN Sustainability Bond Standards (ASEAN SUS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Sustainability Bond Guidelines (ICMA SBG) เป็นต้น (2) วัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุน (use of proceeds) (3) กระบวนการที่ใช้ในการประเมินและคัดเลือกโครงการ (process for project evaluation and selection) โดยระบุกระบวนการและปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา รวมทั้งมาตรฐาน หรือวิธีการรับรองอื่นใดที่ใช้อ้างอิง (4) การบริหารจัดการเงินที่ได้จากการระดมทุน (management of proceeds) โดยแสดงถึงวิธีการติดตามการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุนไปใช้ในโครงการและวิธีการแบ่งแยกเงินออกจากเงินอื่นของบริษัทให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น การนําเงินที่ได้จากการระดมทุนแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินอื่น ๆ (sub-account) ของผู้เสนอขายตราสารหนี้ เป็นต้น (5) การรายงานและช่องทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการภายหลังการเสนอขาย (reporting) โดยให้เปิดเผยรายงานประเภทต่าง ๆ จนกว่าจะครบอายุของตราสารหนี้ เช่น รายงานการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุน หรือรายงานความคืบหน้าของโครงการว่าดําเนินการถึงขั้นตอนใด จํานวนเงินที่ใช้ และยอดคงเหลือ เป็นต้น รวมทั้งช่องทางการเปิดเผยข้อมูล เช่น บนเว็บไซต์ของผู้เสนอขายตราสารหนี้ ซึ่งควรจัดให้มีการรายงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เป็นต้น” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
408
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 27/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 18)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 27/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 18) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-PO แบบ 69-DEBT-PO-REIT แบบ 69-DEBT-PO-IFT และแบบ 69-BASE-PO ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการ เสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 69-DEBT-PO แบบ 69-DEBT-PO-REIT แบบ 69-DEBT-PO-IFT และแบบ 69-BASE-PO ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 69-BASE-PO-REIT และแบบ 69-BASE-PO-IFT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 69-BASE-PO-REIT และแบบ 69-BASE-PO-IFT ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ให้ยกเลิกแบบ 69-DEBT-PO-GOV.AGENCY แบบ 69-BASE-PO-GOV.AGENCY แบบ 69-PRICING และแบบ 69-SUPPLEMENT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ แบบ 69-DEBT-PO-GOV.AGENCY แบบ 69-BASE-PO-GOV.AGENCY แบบ 69-PRICING และแบบ 69-SUPPLEMENT ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 4 ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ภาคผนวก 1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
409
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2563 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 19)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2563 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 19) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 69-PRICING ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 27/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ แบบ 69-PRICING ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
410
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2563 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 20)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2563 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 20) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet) (2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร (4) ข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับกรณีการเสนอขายตราสารหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) (ข) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (social bond) (ค) ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (sustainability bond) (5) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารด้วยก็ได้ ข้อมูลเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลของตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง (4) อย่างน้อยต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้ (1) มาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับที่นํามาใช้อ้างอิงในการขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวตามแต่กรณีดังนี้ (ก) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐาน ASEAN Green Bond Standards (ASEAN GBS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Green Bond Principles (ICMA GBP) เป็นต้น (ข) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม เช่น มาตรฐาน ASEAN Social Bond Standards (ASEAN SBS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Social Bond Principles (ICMA SBP) เป็นต้น (ค) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน เช่น มาตรฐาน ASEAN Sustainability Bond Standards (ASEAN SUS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Sustainability Bond Guidelines (ICMA SBG) เป็นต้น (2) วัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุน (use of proceeds) (3) กระบวนการที่ใช้ในการประเมินและคัดเลือกโครงการ (process for project evaluation and selection) โดยระบุกระบวนการและปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา รวมทั้งมาตรฐานหรือวิธีการรับรองอื่นใดที่ใช้อ้างอิง (4) การบริหารจัดการเงินที่ได้จากการระดมทุน (management of proceeds) โดยแสดงถึงวิธีการติดตามการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุนไปใช้ในโครงการและวิธีการแบ่งแยกเงินออกจากเงินอื่นของบริษัทให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น การนําเงินที่ได้จากการระดมทุนแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินอื่น ๆ (sub-account) ของผู้เสนอขายตราสารหนี้ เป็นต้น (5) การรายงานและช่องทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการภายหลังการเสนอขาย (reporting) โดยให้เปิดเผยรายงานประเภทต่าง ๆ จนกว่าจะครบอายุของตราสารหนี้ เช่น รายงานการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุน หรือรายงานความคืบหน้าของโครงการว่าดําเนินการถึงขั้นตอนใด จํานวนเงินที่ใช้ และยอดคงเหลือ เป็นต้น รวมทั้งช่องทางการเปิดเผยข้อมูล เช่น บนเว็บไซต์ของผู้เสนอขายตราสารหนี้ ซึ่งควรจัดให้มีการรายงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เป็นต้น” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 รายละเอียดของรายการตามข้อ 11 ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในตารางแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ท้ายประกาศนี้ และในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ด้วย” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ ให้จัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลเป็นภาษาเดียวกับคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2) กรณีที่ข้อมูลหรือเอกสารที่นิติบุคคลเฉพาะกิจยื่นประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลแปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นภาษาอื่น ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลและการรับรองตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์มาใช้บังคับด้วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกส่วนที่ 2 แบบสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้รายครั้ง ในหมวด 3 แบบแสดงรายการข้อมูล ข้อ 19 และข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 5 ให้ยกเลิกส่วนที่ 3 แบบสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการ ในหมวด 3 ข้อ 21/1 ข้อ 21/2 ข้อ 21/3 ข้อ 21/4 ข้อ 21/5 ข้อ 21/6 และข้อ 21/7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) การเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการ การลงลายมือชื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (1) (2) (4) (4/1) หรือ (4/2) แล้วแต่กรณี หรือหากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไปตามแบบ 69-PO-MTN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-PO-PRICING) แบบ 69-II&HNW-MTN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-II&HNW-PRICING) แบบ 69-FD-MTN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-FD-PRICING) หรือการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-SP (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-SP-2) ผู้ที่ดํารงตําแหน่งระดับบริหารตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพัน จะลงลายมือชื่อในแบบดังกล่าวก็ได้” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 26 ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้แล้ว (1) ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 33 (2) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (3) เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ระบุในตารางแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดเงื่อนเวลาไว้ในลักษณะของระยะเวลา การเริ่มนับระยะเวลาให้เริ่มต้นในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายตราสารหนี้หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) (4) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและได้เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 23 วรรคสาม (ถ้ามี) (5) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้ระบุข้อมูลตามรายการครบถ้วน แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุดซึ่งยื่นต่อสํานักงานภายหลังเวลา 10.00 น. ของวันทําการใด หากไม่ใช่แบบดังนี้ ให้ถือว่าสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวในวันทําการถัดไป (1) แบบ 69-PO-MTN (ส่วนที่ 2 : 69-PO-PRICING) (2) แบบ 69-II&HNW-MTN (ส่วนที่ 2 : 69-II&HNW-PRICING) และ (3) แบบ 69-FD-MTN (ส่วนที่ 2 : 69-FD-PRICING)” ข้อ 8 ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 และภาคผนวก 2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 9 ให้เพิ่มตารางแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ เป็นตารางแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ข้อ 10 ให้ยกเลิกแบบดังต่อไปนี้ (1) แบบ 69-DEBT-II&HNW ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (2) แบบ 69-DEBT-SP-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 42/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (3) แบบ 69-DEBT-II&HNW-IFT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 (4) แบบ 69-DEBT-II&HNW-REIT และแบบ 69-FD ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (5) แบบ 69-PO-SPV แบบ 69-II&HNW-SPV และแบบ 69-BASE-PO ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (6) แบบ 69-DEBT-II&HNW-GOV.AGENCY แบบ 69-DEBT-SP-1 แบบ 69-BASE-II&HNW แบบ 69-BASE-II&HNW-GOV.AGENCY แบบ 69-BASE-II&HNW-REIT แบบ 69-BASE-II&HNW-IFT แบบ 69-BASE-FD แบบ 69-PRICING-FD และแบบ 69-SUPPLEMENT-FD ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (7) แบบ 69-DEBT-PO แบบ 69-DEBT-PO-GOV.AGENCY แบบ 69-DEBT-PO-REIT แบบ 69-DEBT-PO-IFT แบบ 69-BASE-PO-GOV.AGENCY แบบ 69-BASE-PO-REIT แบบ 69-BASE-PO-IFT และแบบ 69-SUPPLEMENT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 27/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการ เสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (8) แบบ 69-PRICING ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2563 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563ศ. 2562 ข้อ 11 ให้เพิ่มแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (1) แบบ 69-PO-รายครั้ง (2) แบบ 69-II&HNW-รายครั้ง (3) แบบ 69-FD (4) แบบ 69-PO-MTN (5) แบบ 69-II&HNW-MTN (6) แบบ 69-FD-MTN (7) แบบ 69-SP ข้อ 12 ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ ซึ่งได้ยื่นไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศฉบับดังกล่าวต่อไป ข้อ 13 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
411
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 2/2564 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 21)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 2/2564 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 21) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกตารางแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2563 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ตารางแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 69-II&HNW-รายครั้ง ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2563 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้แบบ 69-II&HNW-รายครั้ง ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
412
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2564 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 22)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2564 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 22) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 69-PO-รายครั้ง แบบ 69-PO-MTN และแบบ 69-II&HNW-MTN ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2563 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้แบบ 69-PO-รายครั้ง แบบ 69-PO-MTN และแบบ 69-II&HNW-MTN ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 69-II&HNW-รายครั้ง ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 2/2564 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้แบบ 69-II&HNW-รายครั้ง ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 2sd2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
413
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 56/2564 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 23)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 56/2564 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 23) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 69-PO-รายครั้ง แบบ 69-II&HNW-รายครั้ง แบบ 69-PO-MTN และแบบ 69-II&HNW-MTN ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2564 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 และให้ใช้แบบ 69-PO-รายครั้ง แบบ 69-II&HNW-รายครั้ง แบบ 69-PO-MTN และแบบ 69-II&HNW-MTN ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 25642 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
414
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2556 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51 /2556 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “หน่วยทรัสต์” และ “ทุนชําระแล้ว” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ““กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “(3) การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 3” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์มีการจัดการกองทรัสต์อื่นอยู่ด้วย ทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ที่ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่น เว้นแต่กองทรัสต์อื่นนั้นเป็นกองทรัสต์ที่แปลงมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 3” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นภาค 3 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ และข้อ 50 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ภาค 3 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 50 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตตามหมวด 2 และอํานาจสํานักงานเกี่ยวกับการอนุญาตตามหมวด 3 ในภาค 1 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ แต่ไม่รวมถึงหลักเกณฑ์ตามข้อ 12(5) และข้อ 17(2) (2) ให้นําเงื่อนไขภายหลังการเสนอขายในส่วนที่ 3 ของหมวด 4 ในภาค 1 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ แต่ไม่รวมถึงหลักเกณฑ์ตามข้อ 35 และข้อ 37 (3) ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน โดยให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนที่กําหนดในภาค 2 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ แต่ไม่รวมถึงหลักเกณฑ์ตามข้อ 42 และข้อ 49(4) ทั้งนี้ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์หรือข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตาม (3) ของวรรคหนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ให้หมายถึงข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) จํานวนและราคาที่เสนอขาย (2) ระยะเวลาของการเสนอขาย (3) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหน่วยทรัสต์ (4) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกันหรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) และ (3)” ข้อ 5 ให้เพิ่มแบบ 69-REIT (Conversion) ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ 6 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
415
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “การส่งเสริมการขาย” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และ “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2556 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ““การส่งเสริมการขาย” หมายความว่า การให้ของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ลงทุน เพื่อจูงใจให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การให้เช่า และค่าเช่า ให้หมายความรวมถึงการให้ใช้พื้นที่ที่มีการเรียกค่าตอบแทน การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้เช่าหรือให้ใช้พื้นที่ แล้วแต่กรณี และค่าตอบแทนที่ได้รับจากการดําเนินการดังกล่าว” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในคําขออนุญาต เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีลักษณะที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ จะไม่จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาตก็ได้ (1) เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวแล้ว (2) มิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ผู้ขออนุญาตไม่สามารถทําหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ในลักษณะที่จะทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 ในหมวด 1 การยื่นคําขออนุญาต ของภาค 1 การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 9/1 คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามข้อ 9 และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ต้องมีบุคคลดังต่อไปนี้ลงนามรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลด้วย (1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ขออนุญาต (2) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงิน ในกรณีที่ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทําคําขออนุญาต” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) การบริหารจัดการกองทรัสต์ (ก) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่ากลไกการบริหารจัดการกองทรัสต์จะไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์หรือไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างเป็นธรรม (ข) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้ขออนุญาตขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถบริหารจัดการกองทรัสต์ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้อย่างน่าเชื่อถือ (ค) แสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตได้ตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 16 และเปิดเผยข้อมูลและความเสี่ยงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลอย่างครบถ้วนและเพียงพอ (ง) แสดงได้ว่ามีการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการจัดการกองทรัสต์ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17 (จ) แสดงได้ว่าทรัสตีมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ใช่บุคคลที่ขาดความเป็นอิสระตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2556 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “ข้อ 17 การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการจัดการกองทรัสต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีมาตรการหรือกลไกที่สามารถรองรับให้การจัดการกองทรัสต์ดําเนินไปในลักษณะที่เป็นธรรม ไม่เป็นการเอาเปรียบกองทรัสต์ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์มีการจัดการกองทรัสต์อื่นอยู่ด้วย ทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ที่ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่นนั้น เว้นแต่กองทรัสต์อื่นนั้นเป็นกองทรัสต์ที่แปลงสภาพมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 3” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) และ (4/2) ในวรรคหนึ่งของข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “(4/1) การโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหรือจะเสนอขายหน่วยทรัสต์โดยวิธีการอื่นนอกจากการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการส่งเสริมการขาย ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 25/1 ข้อ 25/2 และข้อ 25/3 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้สํานักงานมีอํานาจดังนี้ (ก) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียด เพื่อให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ได้รับอนุญาตจะสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายได้ (ข) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียด เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย และหากผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับอนุญาตมีการปฏิบัติ่ตามหลักเกณฑ์ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น (ค) กําหนดให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายบางกรณีต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนทําการโฆษณาหรือจัดให้มีการส่งเสริมการขายนั้น เพื่อตรวจสอบให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (4/2) ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน (4/1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ (ก) หยุดการโฆษณา หรือยุติการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ข) แก้ไขข้อมูลหรือข้อความในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย (ค) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงหรือไม่ทําให้สําคัญผิด (ง) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจลงทุน บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทําให้สําคัญผิด” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (7) และ (8) ของวรรคหนึ่งในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) ในกรณีที่มีการยกเลิกการเสนอขายไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการ หรือดูแลให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการดังนี้ (ก) คืนเงินค่าจองซื้อหน่วยทรัสต์แก่ผู้จองซื้อภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการยกเลิกการเสนอขาย รวมทั้งดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในกรณีที่ไม่สามารถคืนเงินได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว (ข) ไม่นําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อหน่วยทรัสต์ในส่วนที่คาดว่าต้องคืนให้แก่ผู้จองซื้อตาม (ก) ไปใช้ในกิจการใด ๆ ก่อนที่จะดําเนินการเพื่อคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ (8) เมื่อปรากฏกรณีที่เป็นเหตุให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยกเลิกการเสนอขายตาม (5) หรือ (6) (ก) ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นอันสิ้นสุดลง” ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/1 ข้อ 25/2 และข้อ 25/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 25/1 ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณา ต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) สาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในโฆษณาต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงไว้ใแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามภาค 2 และภาค 3 ของประกาศนี้ (3) ไม่เร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ (4) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในหน่วยทรัสต์เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม (ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข (ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด (5) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในหน่วยทรัสต์อย่างเหมาะสม และมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยทรัสต์ (6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้อง มีข้อมูลของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลหน่วยทรัสต์ต้องเป็นเนื้อหาหลัก และข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสาระเป็นส่วนน้อย (8) การนําค่าโฆษณามาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกองทรัสต์ ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อการโฆษณานั้นเป็นไปเพื่อกองทรัสต์หรือจะเกิดประโยชน์ต่อกองทรัสต์นั้น (9) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ได้รับอนุญาต ดําเนินการให้เป็นไปตาม (1) ถึง (8) ในกรณีที่การโฆษณาตามวรรคหนึ่งเป็นการดําเนินการในช่วงระยะเวลาก่อนที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนจะมีผลใช้บังคับ นอกจากหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับด้วย ข้อ 25/2 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย ข้อ 25/3 ผู้ได้รับอนุญาตอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดผู้ลงทุนโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน (2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด (3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ลงทุนจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสมและเป็นธรรม (4) มีการแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย (5) ไม่คิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายจากกองทรัสต์” ข้อ 10 ให้ยกเลิกข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 42 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อยกเว้นที่กําหนดในข้อ 9 วรรคหนึ่ง” ข้อ 12 ให้ยกเลิกแบบ 69-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้แบบ 69-REIT ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 13 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่สํานักงานได้รับก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ อยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
416
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 18 /2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69(11) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผู้บริหาร” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “การส่งเสริมการขาย” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ““ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23/1 ในส่วนที่ 2 การเสนอขายและการจัดสรรหน่วยทรัสต์ ของหมวด 4 เงื่อนไขการอนุญาต ในภาค 1 การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 23/1 ในส่วนนี้ คําว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ โดยให้พิจารณาจากผู้จัดการกองทรัสต์เป็นสําคัญ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน โดยอนุโลม เว้นแต่ข้อกําหนดในส่วนนี้ จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดการอนุโลมใช้ในรายละเอียดให้เหมาะสมกับกองทรัสต์ก็ได้” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (5) ในวรรคหนึ่งของข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ และ ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (6) ในวรรคหนึ่งของข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว และทําให้การถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลดังกล่าวเมื่อรวมกับจํานวนหน่วยที่ถืออยู่เดิม (ถ้ามี) ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในส่วนนี้ โดยให้ยกเลิกการเสนอการขายเฉพาะส่วนที่เกินกว่าอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนด” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 “ข้อ 28 ภายใต้บังคับข้อ 27 และข้อ 29 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ หรือบริษัทย่อยของผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลข้างต้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องแบ่งแยกหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าวออกจากหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไป ไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยประเภทบุคคลดังกล่าวรวมถึงจํานวนที่จะจัดสรรไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 31 และข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 31 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ผู้ได้รับอนุญาตว่าบุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าวถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบโดยไม่ชักช้าถึงข้อจํากัดสิทธิเกี่ยวกับการออกเสียง ลงคะแนนและการรับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ซึ่งจัดทําขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาตรู้หรือควรรู้ ถึงเหตุดังกล่าว ข้อ 32 ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการที่จําเป็นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว เป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ การดําเนินการที่จําเป็นให้หมายความรวมถึงการจัดให้มีระบบงานที่สามารถควบคุมการถือหน่วยทรัสต์ หรือการแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีระบบงานดังกล่าว” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความตามส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2556 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความตามส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
417
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการ ที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงาน ได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาต ยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะ เริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง” ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
418
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 53/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 53/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ทรัพย์สินหลักที่จะลงทุน (ก) ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 โดยอาจเป็นการลงทุนโดยทางตรงหรือเป็นการลงทุนโดยทางอ้อมตามข้อ 13 ก็ได้ (ข) ต้องระบุได้อย่างแน่นอนในขณะที่ยื่นคําขอ และแสดงได้ว่าพร้อมจะได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งกองทรัสต์แล้วเสร็จในกรณีที่เป็น การเสนอขายครั้งแรกและยังไม่ได้จัดตั้งกองทรัสต์ หรือนับแต่วันที่ปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ภายหลังจัดตั้งกองทรัสต์ (ค) ต้องไม่เป็นของบุคคลที่มีลักษณะตามข้อ 13/1 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตสามารถแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่า บุคคลดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงานระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้บุคคลดังกล่าวมีลักษณะตามข้อ 13/1 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้ว มิให้นําความในข้อ 13/1 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับบุคคลนั้นอีก” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 13/1 กองทรัสต์ต้องไม่เข้าทําสัญญาการลงทุนในทรัพย์สินหลักกับบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ หากบุคคลนั้นเองหรือบุคคลอื่นที่บุคคลดังกล่าวควบคุมได้ จะมีส่วนเกี่ยวข้อง กับการบริหารจัดการกองทรัสต์ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวเป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้พิจารณาการมีลักษณะตามที่กําหนดใน (1) (ก) เท่านั้น (1) ภายในระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ บุคคลดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ (ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เนื่องจาก มีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังต่อไปนี้ 1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร 2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ (ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ (ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผล อย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยในเหตุตาม (ข) หรือ (ค) นั้น (2) ภายในระยะเวลาสิบปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ บุคคลดังกล่าวเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหาย ในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือ ทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมาย ต่างประเทศ (4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะ ตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มี ลักษณะดังกล่าวนั้น” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
419
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 85/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 7)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 85/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ง) ใน (7) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “(ง) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะระดมทุนครั้งแรกจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering) ต้องแสดงได้ว่าผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ ยอมผูกพันที่จะซื้อหน่วยทรัสต์เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 24/1(2)” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 24/1 ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก หากผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้ลงทุนรายอื่น (2) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายให้แก่บุคคลตาม (1) ต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่บุคคลดังกล่าวประสงค์จะซื้อ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ํากว่า (3) ผู้ได้รับอนุญาตต้องก่อตั้งกองทรัสต์โดยการโอนเงินทั้งหมดที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ตาม (2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 35 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้แก่ผู้ลงทุน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 35 ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์โอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตีตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่มิใช่กรณีตาม (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (2) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (ก) ให้โอนเงินที่ได้จากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดในข้อ 24/1(2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้ที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุน (ข) ให้โอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือให้แก่ทรัสตีภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในส่วนดังกล่าว (3) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทรัสต์ภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการโอนเงินตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานพร้อมกับการยื่นรายงานผลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) (ก) หรือ (ข) หรือ (3) แล้วแต่กรณี” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน 2.8 ของรายการที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ในส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ของแบบ 69-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “2.8 ในกรณีที่จะมีการกู้ยืมเงินด้วย ให้ระบุข้อมูลดังนี้ (1) วิธีการกู้ยืมเงิน เช่น การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือการออกหุ้นกู้ เป็นต้น โดยต้องสรุปสาระสําคัญของสัญญากู้ยืมเงิน หรือข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งรายละเอียดการวางหลักประกันการกู้ยืมเงิน (ถ้ามี) รวมทั้งอธิบายถึงประโยชน์ของการกู้ยืมเงินต่อผู้ลงทุนด้วย (2) ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการกันเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ ให้ระบุจํานวนเงินที่จะกันสํารองในแต่ละปีจนกว่าจะชําระหนี้เสร็จสิ้น ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (3) ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (concurrent offering) ให้ระบุมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันกับบุคคลดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าหุ้นกู้ที่เสนอขายทั้งหมดในครั้งนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์เป็นบริษัทย่อยของผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ ให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว รวมทั้งเปิดเผยจํานวนและสัดส่วนของหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ และมูลค่าและสัดส่วนของหุ้นกู้ที่จะจัดสรรให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย (4) ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินจากบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ หรือจากทรัสตีหรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับทรัสตี ให้อธิบายความสัมพันธ์ และเหตุผลความจําเป็นของการกู้ยืมเงินจากบุคคลดังกล่าว รวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของการกู้ยืมเงินดังกล่าวว่าเป็นทางค้าปกติหรือไม่อย่างไร” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น 2.9 ในรายการที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ ของส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ในแบบ 69-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 “2.9 ในกรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์โดยมีวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่การลงทุนในทรัพย์สินชิ้นใหม่ เช่น เพื่อชําระคืนเงินกู้ (refinance) หรือเพื่อซ่อมแซมปรับปรุงสภาพอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ลงทุนในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงการลงทุนและการจัดหาประโยชน์ของกองทรัสต์” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
420
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 41 ก่อนการแสนอขายหน่วยทรัสต์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งนําเอกสารสิ่งพิมพ์นั้นเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ที่จัดไว้เพื่อการรองรับเอกสารสิ่งพิมพ์นั้น ในกรณีที่การเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนฉบับใหม่โดยวิธีการตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 19” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
421
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “สมาคมบริษัทจัดการลงทุน” ระหว่างคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “การส่งเสริมการขาย” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558 ““สมาคมบริษัทจัดการลงทุน” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (1) ในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) แสดงได้ว่ากองทรัสต์จะมีทุนชําระแล้วภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนในทรัพย์สินให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 12 หรือข้อ 12/1” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 53/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 โดยอาจเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือเป็นการลงทุนโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1 ก็ได้” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) การกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันของกองทรัสต์ หากประสงค์จะให้กองทรัสต์กู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันได้ ต้องมีลักษณะดังนี้ (ก) มีข้อกําหนดให้กองทรัสต์กู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันได้อย่างชัดเจนในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ โดยการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่าโดยการออกตราสารหนี้หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงิน ต้องไม่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 13/2 (ข) จํากัดสัดส่วนการกู้ยืมเงินไม่ว่ากระทําโดยวิธีการใด ซึ่งไม่เกินไปกว่าอัตราตามข้อ 14 (ค) จํากัดการก่อภาระผูกพันไว้ไม่เกินไปกว่ากรณีที่กําหนดตามข้อ 15 เท่านั้น การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึง การกู้ยืมเงินของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นตามข้อ 12/1 วรรคหนึ่งด้วย” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 12/1 การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อมตามข้อ 10(2) (ก)ต้องเป็นการลงทุนผ่านการถือหุ้นที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดําเนินการในลักษณะเดียวกันกับกองทรัสต์ตามประกาศนี้ ไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น กองทรัสต์อาจให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทตามวรรคหนึ่งผ่านการถือตราสารหนี้ หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงิน โดยให้ถือว่าการให้บริษัทดังกล่าวกู้ยืมเงินเป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 10(2) (ก) ด้วย” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อมตามข้อ 12/1ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อม ทั้งในชั้นของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นดังนี้ (ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) โดยให้คํานึงภาระภาษีของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมด้วย (ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นตามข้อ 12/1 วรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) (2) มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นที่บริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นได้ลงทุนไว้ตาหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม (ข) ในกรณีหลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล (3) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีมาตรการหรือกลไกที่จะทําให้ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์สามารถดูแลและควบคุมให้บริษัทดังกล่าวดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยตรง เว้นแต่ในกรณีของหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 14 จะพิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์ก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (3) ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดมาตรการหรือกลไกที่ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีขึ้นได้” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 13/2 การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่ากระทําด้วยวิธีการใด ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (2) ให้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้น (3) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง (4) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
422
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “สมาคมบริษัทจัดการลงทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “การแปลงสภาพ” และคําว่า “ประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ” ระหว่างคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “ผู้บริหาร” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 ““การแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “ประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) ผ่านการประเมินมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิและเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน เป็นเวลาไม่เกินกว่าหกเดือนก่อนวันยื่นคําขออนุญาต โดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างน้อยสองราย ที่ผู้ขออนุญาตและที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาต (ถ้ามี) พิจารณาว่ามีความเหมาะสมและสามารถประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (ข) ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนอยู่ในต่างประเทศ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินอาจเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของบุคคลซึ่งทางการหรือหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์กําหนดให้สามารถทําหน้าที่ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อดังกล่าว ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น 2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสากล 3. เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีเครือข่ายกว้างขวางในระดับสากล (international firm)” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อมตามข้อ 12/1 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อม ทั้งในชั้นของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นดังนี้ (ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) โดยให้คํานึงภาระภาษีของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมด้วย (ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นตามข้อ 12/1 วรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) (2) มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นที่บริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นได้ลงทุนไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม (ข) ในกรณีที่หลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล สมาคมบริษัทจัดการลงทุน ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในตราสารหนี้หรือสัญญาที่ถือเป็นการลงทุนโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1 วรรคสอง ต้องมีการประเมินมูลค่าตราสารหรือสัญญาดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ใน (2) ด้วย (4) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีมาตรการหรือกลไกที่จะทําให้ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์สามารถดูแลและควบคุมให้บริษัทดังกล่าวดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยตรง เว้นแต่ในกรณีของหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 14 จะพิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์ก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (4) ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดมาตรการหรือกลไกที่ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีขึ้นได้” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์มีการจัดการกองทรัสต์อื่นอยู่ด้วย ทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ที่ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่น เว้นแต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) กองทรัสต์ที่ขออนุญาตเป็นกองทรัสต์ที่แปลงสภาพมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ (ข) ผู้จัดการกองทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ขออนุญาต เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมซึ่งบริหารจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตาม (ก)” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 50 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2556 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 50 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตตามหมวด 2 และอํานาจสํานักงานเกี่ยวกับการอนุญาตตามหมวด 3 ในภาค 1 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ แต่ไม่รวมถึงหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) หลักเกณฑ์การชําระค่าหน่วยทรัสต์ด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าตามข้อ 10(1) (ฉ) โดยในการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการแปลงสภาพ ให้รับชําระค่าหน่วยทรัสต์ด้วยทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมดังกล่าวตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพได้ (ข) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าตามข้อ 12(5) ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพ และอสังหาริมทรัพย์นั้นผ่านการประเมินมูลค่าโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพแล้ว (2) ให้นําเงื่อนไขการอนุญาตตามหมวด 4 ในภาค 1 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ โดยในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อ 25(5) (ก) และ (ค) และข้อ 25(6) (ข) ให้พิจารณาเสมือนว่าผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพเป็นผู้จองซื้อหน่วยทรัสต์หรือได้รับจัดสรรหน่วยทรัสต์ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ มิให้นําเงื่อนไขการอนุญาตดังนี้มาใช้บังคับ โดยให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ (ก) เงื่อนไขการเสนอขายและการจัดสรรหน่วยทรัสต์ตามข้อ 25(1) (2) (3) (4) (4/1) และ (4/2) ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการเสนอขายให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการแปลงสภาพ (ข) เงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนเงินที่ได้จากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตีตามข้อ 25(5) (ง) และ ข้อ 35 ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการแปลงสภาพ (ค) เงื่อนไขเกี่ยวกับการดําเนินการจดทะเบียนหน่วยทรัสต์ตามข้อ 37 โดยให้ดําเนินการตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ (3) ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงสภาพ (ไม่ว่าจะมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่หรือไม่) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตาม แบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน โดยให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนที่กําหนดในภาค 2 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ เว้นแต่หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่การแปลงสภาพนั้นเป็นการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หนึ่งกองเป็นกองทรัสต์หนึ่งกอง และไม่มีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อื่นเพิ่มเติมจากอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ก) การมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 42 (ข) ระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนตามข้อ 49 วรรคหนึ่ง (4) ทั้งนี้ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)” ข้อ 7 ให้ยกเลิกแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้แบบ 69-REIT (Conversion)ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
423
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 11)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13/2 การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่ากระทําด้วยวิธีการใด ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (2) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) ให้สิทธิลูกหนี้ในการชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (callable) หรือให้สิทธิกองทรัสต์ในการเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) (ข) กําหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น (ค) ไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (3) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
424
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2560 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 12)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2560 ##### เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (7) ในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) คืนเงินค่าจองซื้อหน่วยทรัสต์แก่ผู้จองซื้อตามระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถคืนเงินได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
425
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2561 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2561 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น 7.4 ในรายการที่ 7 โครงสร้างและการดําเนินงานของกองทรัสต์ ของส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ในแบบ 69-REIT ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2557 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 “7.4 ในกรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน ให้ระบุรายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์สูงสุด 10 รายแรก พร้อมทั้งจํานวนหน่วยทรัสต์ที่ถือและสัดส่วนการถือหน่วยทรัสต์ล่าสุดก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งนี้ โดยให้นับการถือหน่วยทรัสต์ของกลุ่มบุคคลเดียวกัน และผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่อยู่ภายใต้ผู้มีอํานาจควบคุมเดียวกันเป็นกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้ การพิจารณา “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่รายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ปรากฏดังกล่าวข้างต้น ยังไม่แสดงถึงบุคคลที่เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เช่น รายชื่อผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แสดงไว้เป็น nominee account ให้ระบุชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหลักที่เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรที่ทําให้ไม่อาจทราบผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริงได้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในรายการที่ 8 โครงสร้างผู้ถือหน่วยทรัสต์ ของส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับกองทรัสต์ ในแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “8. โครงสร้างผู้ถือหน่วยทรัสต์ ในกรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน ให้ระบุรายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์สูงสุด 10 รายแรก พร้อมทั้งจํานวนหน่วยทรัสต์ที่ถือและสัดส่วนการถือหน่วยทรัสต์ล่าสุดก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งนี้ (ถ้ามี) โดยให้นับการถือหน่วยทรัสต์ของกลุ่มบุคคลเดียวกัน และผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่อยู่ภายใต้ผู้มีอํานาจควบคุมเดียวกันเป็นกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้ การพิจารณา “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่รายชื่อกลุ่มผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ปรากฏดังกล่าวข้างต้น ยังไม่แสดงถึงบุคคลที่เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เช่น รายชื่อผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แสดงไว้เป็น nominee account ให้ระบุชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหลักที่เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริง เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรที่ทําให้ไม่อาจทราบผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่แท้จริงได้” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
426
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 14)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 14) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ต่อจากบทนิยามคําว่า “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออก และเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2559 เรื่อง การออกและเสนอขาย หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ““ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผล ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ให้บุคคลที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขอต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยอย่างน้อยเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตต้องมีหนังสือรับรองจากทรัสตีหรือผู้ที่จะเข้าเป็นทรัสต์ของกองทรัสต์ที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ยังมิได้จัดตั้งกองทรัสต์ ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสต์ของกองทรัสต์ โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว และรับรองว่าร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และตนมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสต์ของกองทรัสต์นั้น (2) กรณีที่กองทรัสต์จัดตั้งขึ้นแล้ว ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวรับรองว่ากระบวนการเพิ่มทุนของกองทรัสต์เป็นไปโดยชอบตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ตลอดจนเป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 85/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการโอนเงินตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในวันเดียวกับวันที่ผู้ได้รับอนุญาตรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 41 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามรูปแบบและวิธีการดังต่อไปนี้ และให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนด ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (1) ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อสํานักงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว (2) ให้ยื่นข้อมูลดังต่อไปนี้ ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงาน จํานวนหนึ่งชุดตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ก) ส่วนรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ที่จัดพิมพ์จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งผู้ขออนุญาตได้ยื่นตาม (1) และลงลายมือชื่อแล้ว (ข) ต้นฉบับหนังสือมอบอํานาจที่แสดงว่าผู้ดําเนินการยื่นข้อมูลตาม (1) และ (2) (ก) ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้เสนอขายในการดําเนินการดังกล่าวและการอื่นที่จําเป็น ในกรณีที่การเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนฉบับใหม่โดยวิธีการตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 43 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 43 ในกรณีที่กองทรัสต์มีการประกันรายได้ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันรายได้อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) สรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาประกันรายได้ (2) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับประกันรายได้ที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งระบุการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับประกันรายได้ครั้งล่าสุดซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีก่อนวันยื่นคําขอ และเป็นการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (3) ความเห็นของผู้ได้รับอนุญาตเกี่ยวกับความสามารถของผู้รับประกันรายได้ตาม (2) ในการปฏิบัติตามสัญญารับประกันรายได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้ได้รับอนุญาต ต้องมีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย (4) รายงานการสอบบัญชีของผู้รับประกันรายได้ตาม (2) สําหรับสามรอบปีบัญชีย้อนหลังก่อนยื่นคําขอ โดยอย่างน้อยรอบปีบัญชีล่าสุดต้องจัดทําโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้จัดให้มีหนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์หรือหลักประกันอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งครอบคลุมตามจํานวนและระยะเวลาที่ผู้รับประกันรายได้รับประกันไว้ ผู้ได้รับอนุญาตจะไม่จัดให้มีรายงานการสอบบัญชีดังกล่าวก็ได้” ข้อ 7 ให้ยกเลิกแบบ 69-REIT และแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2561 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 69-REIT และแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
427
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15)
- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “บริษัทที่กองทรัสต์เป็นเจ้าของ” ระหว่างคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “การแปลงสภาพ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 ““บริษัทที่กองทรัสต์เป็นเจ้าของ” (wholly-owned subsidiary) หมายความว่า (1) บริษัทที่มีกองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้น ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่มีกองทรัสต์หรือบริษัทตาม (1) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (3) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น โดยเริ่มจากการถือหุ้นของ (1) หรือ (2)” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (4) ในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกู้ยืมเงินของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นตามข้อ 12/2 ด้วย” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12/1 การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนผ่านบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดําเนินการในลักษณะเดียวกันกับกองทรัสต์ไม่ว่าบริษัทเดียวหรือหลายบริษัท โดยการถือหุ้นหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทดังกล่าว หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินกับบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/2 และในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/3 (2) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่า มีกลไกการกํากับดูแลที่จะทําให้ผู้จัดการกองทรัสต์สามารถดูแลและควบคุมให้บริษัทดังกล่าวดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยตรง โดยต้องมีกลไกการกํากับดูแลอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 12/4 แต่ทั้งนี้ ในกรณีของหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 14 ให้พิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์เท่านั้น (3) มีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/2 ข้อ 12/3 และข้อ 12/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 12/2 บริษัทที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทที่กองทรัสต์เป็นเจ้าของ (wholly-owned subsidiary) (2) ในกรณีที่ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่าหรือให้สิทธิในทรัพย์สินหลักดังกล่าวมิใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้ขออนุญาต ต้องเป็นบริษัทที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทที่มีกองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่มีกองทรัสต์หรือบริษัทตาม (ก) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น โดยเริ่มจากการถือหุ้นของ (ก) หรือ (ข) การถือหุ้นในบริษัทตามวรรคหนึ่งไม่ว่าในชั้นใด ต้องมีสิทธิออกเสียงไม่น้อยกว่าจํานวนที่กฎหมายของประเทศที่บริษัทนั้นจัดตั้งขึ้นได้กําหนดไว้สําหรับการผ่านมติที่มีนัยสําคัญ โดยการถือหุ้นในชั้นสุดท้ายเมื่อคํานวณโดยวิธีตามสัดส่วน (pro rata basis) แล้ว ต้องมีจํานวนหุ้นที่กองทรัสต์ถือไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทในชั้นสุดท้าย (3) เป็นบริษัทที่กองทรัสต์ไม่สามารถถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวได้ถึงสัดส่วนตาม (1) หรือ (2) เนื่องจากมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น โดยกองทรัสต์หรือบริษัทตาม (1) หรือ (2) ต้องถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าจํานวนขั้นสูงที่สามารถถือได้ตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น และแสดงได้ว่ากองทรัสต์มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้นด้วย ข้อ 12/3 ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน การลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมของกองทรัสต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) กรณีที่กองทรัสต์จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหนี้หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินกับบริษัทตามข้อ 12/2 บริษัทใด หากสัดส่วนการลงทุนหรือการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวเกินกว่าสัดส่วนที่กองทรัสต์และบริษัทอื่นตามข้อ 12/2 ถือหุ้นรวมกันในบริษัทนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ได้รับความเห็นชอบจากทรัสตีให้ลงทุนหรือเข้าทําสัญญาดังกล่าว (ข) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการลงทุนหรือการเข้าทําสัญญาดังกล่าว โดยหนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และข้อมูลดังต่อไปนี้ 1. เหตุผลและความจําเป็นในการลงทุนหรือการเข้าทําสัญญาดังกล่าว 2. ความสมเหตุสมผลของอัตราดอกเบี้ย 3. เงื่อนไขการชําระคืนเงินต้น (2) กรณีที่กองทรัสต์จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้นในบริษัทตามข้อ 12/2 (2) หรือ (3) ต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการลงทุนดังกล่าว โดยหนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และข้อมูลดังนี้ (ก) ความเสี่ยงจากการลงทุนโดยการถือหุ้นในสัดส่วนดังกล่าว (ข) รายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขที่สําคัญของการร่วมลงทุน การแบ่งกําไรและประโยชน์ตอบแทนระหว่างกองทรัสต์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัท การมีผลใช้บังคับของสัญญาระหว่างกองทรัสต์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัท ข้อจํากัดในการจําหน่ายหุ้นของบริษัทที่กองทรัสต์ถือ และความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายในเรื่องดังกล่าว ข้อ 12/4 ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนโดยทางอ้อมผ่านบริษัทตามข้อ 12/2 ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าได้จัดให้มีกลไกการกํากับดูแลบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) มีการส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้น และมีระเบียบปฏิบัติหรือข้อกําหนดที่ทําให้การส่งบุคคลดังกล่าวต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ (2) มีการกําหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตาม (1) ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึง (ก) การกําหนดกรอบอํานาจในการใช้ดุลพินิจที่ชัดเจน และที่มีผลให้การพิจารณา ของกรรมการดังกล่าวในการออกเสียงในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทในเรื่องสําคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ก่อน (ข) การติดตามดูแลให้บริษัทดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน การทํารายการระหว่างกัน และการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีนัยสําคัญ ให้ครบถ้วนถูกต้อง (ค) การติดตามดูแลให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกําหนด (3) มีการกําหนดแนวทางการบริหารจัดการในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างกองทรัสต์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัทดังกล่าว (4) มีกลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การทํารายการระหว่างบริษัทดังกล่าวกับบุคคลที่เกี่ยวโยง การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือการทํารายการสําคัญอื่นใดของบริษัทดังกล่าว มีสาระของรายการและได้รับมติจากที่ประชุมคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์หรือที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ก่อนการเข้าทํารายการดังกล่าวของบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ ให้พิจารณาการทํารายการของบริษัทดังกล่าวทํานองเดียวกับการทํารายการในลักษณะและขนาดเดียวกันกับที่กองทรัสต์ต้องได้รับมติของคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์หรือที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (5) กลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเรื่องใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อส่วนได้เสียของกองทรัสต์หรือผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การแก้ไขเอกสารสําคัญ การเลิกหรือเปลี่ยนการประกอบธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน การออกหลักทรัพย์ การกู้ยืมเงิน การให้หลักประกัน การโอนหรือขายทรัพย์สิน เป็นต้น ต้องได้รับอนุมัติจากกองทรัสต์ กลไกการกํากับดูแลตามวรรคหนึ่ง (4) และ (5) มิให้นํามาใช้บังคับกับบริษัทตามข้อ 12/2(3) ที่ถูกถือหุ้นโดยกองทรัสต์และบริษัทตามข้อ 12/2 (ถ้ามี) รวมกันน้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ต้องมีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อม ทั้งในชั้นของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น ดังนี้ (ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) โดยต้องคํานึงถึงสัดส่วนการถือหุ้นของกองทรัสต์ ภาระภาษีของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่การลงทุนโดยทางอ้อมดังกล่าวมีการถือหุ้นในบริษัทตามข้อ 12/2 เป็นทอด ๆ การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ต้องคํานึงถึงปัจจัยตามวรรคหนึ่งของบริษัทในทุกชั้นด้วย (ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัทที่ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) (2) มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นซึ่งบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นและบริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ (ถ้ามี) ได้ลงทุนไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม (ข) ในกรณีที่หลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล สมาคมบริษัทจัดการลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในตราสารหนี้หรือสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงิน ต้องมีการประเมินมูลค่าตราสารหรือสัญญาดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ใน (2) ด้วย” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ในกรณีที่การก่อภาระผูกพันตามวรรคหนึ่งเป็นการดําเนินการเพื่อประโยชน์ของบริษัทใดตามข้อ 12/2 หากสัดส่วนการก่อภาระผูกพันดังกล่าวเกินกว่าสัดส่วนที่กองทรัสต์และบริษัทอื่นตามข้อ 12/2 (ถ้ามี) ถือหุ้นรวมกันในบริษัทนั้น การก่อภาระผูกพันดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/3(1) โดยอนุโลมด้วย” ข้อ 7 ให้ยกเลิกแบบ 69-REIT และแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ 69-REIT และแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
428
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 16)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (จ) ใน (7) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 85/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “(จ) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ขออนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี แล้วแต่กรณี” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2559 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์มีการจัดการกองทรัสต์อื่นอยู่ด้วย ทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ที่ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่น เว้นแต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กองทรัสต์ที่ขออนุญาตเป็นกองทรัสต์ที่แปลงสภาพมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ และผู้จัดการกองทรัสต์เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมซึ่งบริหารจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว (ข) กองทรัสต์ที่ขออนุญาตหรือกองทรัสต์อื่น แล้วแต่กรณี มีการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ขออนุญาตเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่เนื่องจากผู้จัดการกองทรัสต์รายเดิมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(7) (จ) ห้ามผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จนกว่าผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
429
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 17)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 17) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 69-REIT และแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ 69-REIT และแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
430
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 18)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 18) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (3) ในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) มีข้อกําหนดให้กองทรัสต์จัดหาผลประโยชน์โดยการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น และมีข้อจํากัดมิให้ดําเนินการในลักษณะใดที่เป็นการใช้กองทรัสต์เพื่อประกอบธุรกิจอื่น เช่น ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น เว้นแต่ในกรณีที่กองทรัสต์มีความจําเป็นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรืออยู่ระหว่างสรรหาผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายใหม่ กองทรัสต์อาจดําเนินการในลักษณะที่เป็นการใช้กองทรัสต์เพื่อประกอบธุรกิจอื่นดังกล่าวเป็นการชั่วคราวได้” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (จ) ใน (5) ของข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558 “(จ) กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิมซึ่งมีผู้จองซื้อไม่ถึงสองราย” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 40/1 ในส่วนที่ 3 เงื่อนไขภายหลังการเสนอขาย ของหมวด 4 เงื่อนไขการอนุญาต ในภาค 1 การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 40/1 ในกรณีที่กองทรัสต์มีความจําเป็นต้องประกอบธุรกิจอื่นเป็นการชั่วคราวตามข้อ 10(3) (ก) ก่อนการดําเนินการดังกล่าว ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยรายงานเพื่อชี้แจงสาเหตุในการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการดําเนินการของกองทรัสต์ในระหว่างการสรรหาผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายใหม่ และรายงานความคืบหน้าของการดําเนินการดังกล่าวทุกหกเดือนนับแต่วันที่มีการประกอบธุรกิจอื่นเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายใหม่ การเปิดเผยรายงานและการรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีหน่วยทรัสต์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการเปิดเผยสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์ (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้รายงานต่อสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด และเปิดเผยข้อมูลด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวในช่องทางที่เหมาะสม เช่น การประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือการประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นภาค 4 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม ข้อ 51 ข้อ 52 ข้อ 53 ข้อ 54 และข้อ 55แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ภาค 4 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มี ข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืน ให้แก่เจ้าของเดิม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 51 ในภาคนี้ “เจ้าของเดิม” หมายความว่า บุคคลที่เป็นเจ้าของและเป็นผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุนให้แก่กองทรัสต์ และให้หมายความรวมถึงกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าวด้วย “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ 52 ในการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในภาคนี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่หลักเกณฑ์ในภาคอื่น ๆ ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคนี้ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคนี้ ข้อ 53 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีการเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนทั่วไป ทรัพย์สินหลักทั้งหมดที่กองทรัสต์จะลงทุนต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกําหนดให้เจ้าของเดิมมีภาระผูกพัน (obligation) ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวคืนภายในวันเวลาและตามราคาที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว (2) กรณีการเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ก) ต้องมีข้อกําหนดให้มีผู้ถือหน่วยทรัสต์ตั้งแต่สองรายขึ้นไป และต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) รวมทั้งต้องมิได้เป็นไปเพื่อการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ข) ต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยทรัสต์ให้กับผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก (ค) ต้องไม่มีวัตถุประสงค์ในการนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ง) ทรัพย์สินหลักทั้งหมดที่จะลงทุนต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังนี้ 1. เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะตาม (1) 2. เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อย่างน้อยมีข้อตกลง (option) ให้เจ้าของเดิมซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวคืนภายในวันเวลาและตามราคาที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น สัญญาขายฝาก เป็นต้น (3) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนตาม (1) และ (2) อย่างน้อยต้องผ่านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และวิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach) (4) ภาระผูกพัน (obligation) หรือข้อตกลง (option) ตาม (1) และ (2) ต้องทําในรูปแบบของสัญญาที่มีข้อกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังนี้ (ก) ระบุชื่อเจ้าของเดิมที่มีสิทธิซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ (ข) วันเวลาที่เจ้าของเดิมจะซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ (ค) ราคาซื้อคืนเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนและต้องไม่มีเงื่อนไขที่จะทําให้จํานวนเงินที่ตกลงกันไว้เปลี่ยนแปลง (ง) เหตุแห่งการผิดนัดไขว้ (event of cross-default) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถของเจ้าของเดิมในการซื้ออสังหาริมทรัพย์คืน เช่น การผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้หรือมูลหนี้อื่น การหยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สําคัญไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร หรือถูกศาลสั่งอายัดทรัพย์สิน เป็นต้น ทั้งนี้ กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อตกลง (option) ให้เจ้าของเดิมซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวคืนตาม (2) (ง) 2. อาจไม่มีข้อกําหนดนี้ก็ได้ (5) เจ้าของเดิมที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์คืนต้องเป็นนิติบุคคลและไม่มีข้อจํากัดในเรื่องการถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องมีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) มีการจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกําหนดให้เจ้าของเดิมมีภาระผูกพัน (obligation) ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวคืนตาม (1) หรือ (2) (ง) 1. (ข) เจ้าของเดิมที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์คืนได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานยอมรับ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกําหนดให้เจ้าของเดิมมีภาระผูกพัน (obligation) ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวคืนตาม (1) (6) การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ตาม (1) หรือ (2) อาจมีข้อกําหนดให้สามารถจัดหาผลประโยชน์จากการทํากําไรจากส่วนต่างของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนกับราคาขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้ ข้อ 54 ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม มีการจัดการกองทรัสต์อื่นหรือมีการจัดการกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิมอื่นด้วย ทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ดังกล่าวที่ยื่นขออนุญาตเสนอขายตามข้อ 53 ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่นหรือกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิมอื่นที่จัดการอยู่ เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จะแสดงได้ว่ามีมาตรการหรือกลไกในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เหมาะสมและเพียงพอ เช่น ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์อื่นแล้ว เป็นต้น ข้อ 55 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT (1) สรุปสาระสําคัญของข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม (2) ข้อมูลผลการดําเนินงานของอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุน (ถ้ามี) (3) ข้อมูลการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และวิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach) (4) ข้อมูลวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงของการมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม เช่น ลักษณะผลตอบแทนที่คาดว่าผู้ลงทุนจะได้รับ การดําเนินการของกองทรัสต์ภายหลังจากการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม ความเสี่ยงและผลกระทบหากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในสัญญา และแผนการดําเนินการภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นต้น (5) ข้อมูลวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) ของตัวแปรต่าง ๆ ที่อาจกระทบต่อผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวังว่าจะได้รับ เช่น อัตราการเช่า (occupancy rate) เป็นต้น (6) ข้อมูลประมาณการค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาทรัพย์สิน และสัดส่วนของเงินลงทุนที่มีการกันไว้เพื่อดูแลรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพดี (7) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นและอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน (ถ้ามี)” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
431
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 19)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 19) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ทรัสต์อื่น” และ “ลงทุนในทรัสต์อื่น” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทที่กองทรัสต์เป็นเจ้าของ” และคําว่า “การแปลงสภาพ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ““ทรัสต์อื่น” หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายไทยซึ่งมิใช่หน่วยทรัสต์ตามประกาศนี้ หรือทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายต่างประเทศ “ลงทุนในทรัสต์อื่น” หมายความว่า ลงทุนในทรัสต์อื่นไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ เพื่อให้มีสิทธิในฐานะผู้รับประโยชน์ของทรัสต์อื่นนั้น” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (4) ในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกู้ยืมเงินของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นตามข้อ 12/2 การกู้ยืมเงินของผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือการกู้ยืมเงินของทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อมด้วย” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12/1 การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (ก) ลงทุนผ่านบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดําเนินการในลักษณะเดียวกันกับกองทรัสต์ไม่ว่าบริษัทเดียวหรือหลายบริษัท โดยการถือหุ้นหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทดังกล่าว หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินกับบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/2 (ข) ลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน การลงทุน ตาม (1) วรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/3 (2) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่า มีกลไกการกํากับดูแลที่จะทําให้ผู้จัดการกองทรัสต์สามารถดูแลและควบคุมให้บริษัทตาม (1) วรรคหนึ่ง (ก) ผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ตาม (1) วรรคหนึ่ง (ข) ดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยตรง โดยต้องมีกลไกการกํากับดูแลอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 12/4 หรือข้อ 12/5 แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ในกรณี ของหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 14 ให้พิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์เท่านั้น (3) มีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ในข้อ 12/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 “(3) ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1(1) วรรคหนึ่ง (ข) ต้องได้รับความเห็นชอบการลงทุนจากทรัสตีหรือได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการลงทุนดังกล่าว โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 12/5 ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1(1) วรรคหนึ่ง (ข) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่ามีกลไกการกํากับดูแลผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ดังนี้ (1) กลไกที่เทียบเคียงได้กับกลไกการกํากับดูแลบริษัทตามข้อ 12/4 วรรคหนึ่ง (4) และ (5) และในกรณีใดที่กลไกดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะกํากับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของกองทรัสต์ ต้องจัดให้มีกลไกอื่นที่จําเป็นเพิ่มเติมด้วย (2) กลไกกํากับดูแลในการจัดทํางบการเงินรวมของกองทรัสต์ที่ต้องจัดทําตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินด้วย” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 “(4) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1(1) วรรคหนึ่ง (ข) ต้องมีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ใน (1) (2) และ (3) โดยอนุโลม” ข้อ 7 ให้ยกเลิกแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT และแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และให้ใช้แบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT และแบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 8 ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT หรือแบบ 69-REIT (Conversion) ต่อสํานักงานโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ขออนุญาตใช้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวได้ต่อไปสําหรับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ได้ยื่นไว้แล้วนั้น ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
432
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 20)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 20) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (3) ในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ในกรณีที่กองทรัสต์จะให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แก่บุคคลที่จะนําอสังหาริมทรัพย์นั้นไปประกอบธุรกิจที่กองทรัสต์ไม่สามารถดําเนินการได้เอง เช่น ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น ต้องมีข้อตกลงกําหนดค่าเช่าไว้ล่วงหน้าเป็นจํานวนที่แน่นอน และอาจกําหนดค่าเช่าที่อ้างอิงกับผลประกอบการของผู้เช่าเพิ่มเติมด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้เปิดเผยข้อมูลข้อตกลงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี และรายงานประจําปี” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 24 ผู้ได้รับอนุญาตต้องขายหน่วยทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นขอขยายระยะเวลาการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนครบระยะเวลาที่กําหนด โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญด้วย (ถ้ามี) มาพร้อมด้วย ทั้งนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่สํานักงานแจ้งการอนุญาตในครั้งแรก ในกรณีที่รายงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินมีอายุเกินหนึ่งปีในวันที่กองทรัสต์เสนอขายหน่วยทรัสต์ หรือในกรณีที่มีปัจจัยที่อาจทําให้มูลค่าการประเมินทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการปรับปรุงรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบันก่อนดําเนินการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(7) (จ) ห้ามผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จนกว่าผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 40/2 ในส่วนที่ 3 เงื่อนไขภายหลังการเสนอขาย ของหมวด 4 เงื่อนไขการอนุญาต ในภาค 1 การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 40/2 ผู้ได้รับอนุญาตต้องดํารงสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 12 ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่รอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุกองทรัสต์” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
433
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 21)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 21) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ต่อจากบทนิยามคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ““ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) และ (5) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2556 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 “(4) การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 4 (5) การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 5” ข้อ 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ในข้อ 51 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นภาค 5 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ข้อ 56 ถึงข้อ 65 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ภาค 5 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 56 ในการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในภาคนี้ หมวด 1 หลักเกณฑ์การอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 57 ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้ก่อตั้งกองทรัสต์ ซึ่งจะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งกองทรัสต์แล้วในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก และยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ (2) ผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ข้อ 58 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัดให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายต่อบุคคลดังนี้ โดยต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยทรัสต์ให้กับผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนดังกล่าว เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก (ก) ผู้ลงทุนสถาบัน (ข) ผู้จัดการกองทรัสต์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันของผู้จัดการกองทรัสต์ (2) ต้องมีข้อกําหนดให้มีผู้ถือหน่วยทรัสต์ตั้งแต่สองรายขึ้นไป และต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) รวมทั้งต้องมิได้เป็นไปเพื่อการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (3) มีลักษณะทั่วไปของกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(1) (จ) และ (ฉ) รวมทั้งมีสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกตามกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (4) เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์ลงทุนต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังนี้ 1. เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(1) และ (2) 2. เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตาม 1. โดยทางอ้อมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/1(1) และ (2) ข้อ 12/2 ข้อ 12/3 ข้อ 12/4 และข้อ 12/5 (ข) การลงทุนในทรัพย์สินหลักตาม (ก) ต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายทั้งหมดรวมถึงเงินกู้ยืม (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้องได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งกองทรัสต์แล้วเสร็จในกรณีที่เป็นการเสนอขายครั้งแรกและยังไม่ได้จัดตั้งกองทรัสต์ หรือนับแต่วันที่ปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ภายหลังจัดตั้งกองทรัสต์ (ค) ทรัพย์สินหลักตาม (ก) ต้องไม่เป็นของบุคคลที่มีลักษณะตามข้อ 13/1 เว้นแต่บุคคลดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงาน จนทําให้บุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะตามข้อ 13/1 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้ว (5) ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะลงทุนในทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมจากทรัพย์สินหลักตาม (4) ให้สามารถลงทุนในตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินอื่นใดได้ทุกประเภท (6) มีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(3) (7) การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13/2 (8) มีการบริหารจัดการกองทรัสต์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(5) (ก) (ข) (ง) และ (จ) (9) มีการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17 (10) มีการเปิดเผยข้อมูลเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(6) (11) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์หรือทรัสตีสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี แล้วแต่กรณี (12) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล และเอกสารตามหลักเกณฑ์ในข้อ 63 ครบถ้วน ข้อ 59 ผู้ได้รับอนุญาตต้องดํารงสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินหลักตามข้อ 58(4)ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่รอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุกองทรัสต์ ข้อ 60 ให้นําความในข้อ 20 ข้อ 21 ข้อ 27 ข้อ 29 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 32 ข้อ 36 ข้อ 39 ข้อ 40 และข้อ 40/1 ในภาค 1 โดยอนุโลม ข้อ 61 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าการจัดตั้งหรือการจัดการกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หรือการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาคนี้ไว้ก่อนหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในกรณีดังกล่าวได้ ข้อ 62 ในกรณีที่มีความจําเป็นและสมควร ภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ หากผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยทรัสต์เกินกว่าอัตราที่กําหนดในข้อ 27 โดยไม่ถูกจํากัดสิทธิเกี่ยวกับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและการรับประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่จะขอผ่อนผันได้ตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงผู้จัดการกองทรัสต์หรือทรัสตี หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าว หมวด 2 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 63 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัดในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-Private REIT พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน และเอกสารอื่นต่อสํานักงาน ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหนึ่งวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูล ข้อ 64 ให้นําข้อ 47 ในภาค 2 มาใช้บังคับกับการยื่นแบบเสดงรายการข้อมูลของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด หมวด 3 การรายงานผลการขาย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 65 ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานผลการขายและส่งสําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
434
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 47/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 22)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 47/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 22) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน” และ “กองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า” ต่อจากบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ““กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน” หมายความว่า กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม “กองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า” หมายความว่า กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ล่วงหน้า โดยเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่กําหนดเพิ่มเติมขึ้น นอกเหนือจากเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากการผิดสัญญา” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนและกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 4” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (จ) ของ (5) ในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(จ) กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ซึ่งมีผู้จองซื้อไม่ถึงจํานวนดังนี้ 1. ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย เฉพาะกรณีการเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนทั่วไป 2. ไม่ถึงสองราย เฉพาะกรณีการเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในภาค 4 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม ข้อ 51 ข้อ 52 ข้อ 53 ข้อ 54 และข้อ 55 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ภาค 4 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน และกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 51 ในภาคนี้ “เจ้าของเดิม” หมายความว่า (1) บุคคลที่เป็นเจ้าของและเป็นผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุนให้แก่กองทรัสต์ ซึ่งรวมถึงกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าวด้วย ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน (2) บุคคลที่เป็นผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุน ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ 52 ในการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาคนี้ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในภาคนี้เพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีที่หลักเกณฑ์ในภาคอื่น ๆ ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคนี้ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคนี้ ข้อ 53 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน หรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า แก่ผู้ลงทุนทั่วไป จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินหลักทั้งหมดที่กองทรัสต์จะลงทุนต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกําหนดดังนี้ (ก) ในกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน ต้องมีข้อกําหนดให้เจ้าของเดิมมีภาระผูกพัน (obligation) ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์คืน ภายในวันเวลาและตามราคาที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว (ข) ในกรณีกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ต้องมีข้อตกลงให้กองทรัสต์มีสิทธิในการบอกเลิกสัญญาเช่าภายในวันเวลาและตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว และให้กองทรัสต์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากเจ้าของเดิมเมื่อกองทรัสต์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไข ทั้งนี้ เงื่อนไขดังกล่าวต้องไม่มีผลทําให้สัญญาเช่ามีลักษณะเป็นนิติกรรมอําพรางสัญญาอื่น (2) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนตาม (1) อย่างน้อยต้องผ่านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และวิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach) (3) ภาระผูกพัน (obligation) หรือข้อตกลง ตาม (1) ต้องทําในรูปแบบของสัญญาที่มีข้อกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังนี้ (ก) ระบุชื่อเจ้าของเดิมที่มีสิทธิซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้มีสิทธิบอกเลิก สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ข) วันเวลาที่จะซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือบอกเลิกสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ค) เหตุแห่งการผิดนัดไขว้ (event of cross-default) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถของเจ้าของเดิมในการซื้ออสังหาริมทรัพย์คืน หรือในการจ่ายค่าชดเชยเมื่อมีการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า เช่น การผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้หรือมูลหนี้อื่น การหยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สําคัญไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร หรือถูกศาลสั่งอายัดทรัพย์สิน เป็นต้น (ง) กําหนดราคาซื้อคืนเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนและต้องไม่มีเงื่อนไขที่จะทําให้จํานวนเงินที่ตกลงกันไว้เปลี่ยนแปลง ในกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน (จ) มีข้อกําหนดเพิ่มเติมดังนี้ ในกรณีกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า 1. ค่าชดเชยให้แก่กองทรัสต์เมื่อมีการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งต้องเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนหรือเป็นสูตรการคํานวณที่ชัดเจน 2. เงื่อนไขในการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า (4) เจ้าของเดิมต้องมีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) เป็นนิติบุคคลและไม่มีข้อจํากัดในเรื่องการถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ข) มีการจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (ค) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานยอมรับ และมีการทบทวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาจนกว่าจะมีการซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า แล้วแต่กรณี (5) การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนอาจมีข้อกําหนดให้สามารถจัดหาผลประโยชน์จากการทํากําไรจากส่วนต่างของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนกับราคาขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้ ข้อ 54 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน หรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินหลักทั้งหมดที่กองทรัสต์จะลงทุนต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ (ก) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะตามข้อ 53(1) (ข) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ 1. มีข้อตกลง (option) ให้เจ้าของเดิมซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวคืน ภายในวันเวลาและตามราคาที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น สัญญาขายฝาก เป็นต้น 2. มีข้อตกลงให้เจ้าของเดิมมีสิทธิในการบอกเลิกสัญญาเช่าภายในวันเวลาและตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว และให้กองทรัสต์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากเจ้าของเดิมเมื่อเจ้าของเดิมใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไข (2) ในกรณีของกองทรัสต์ที่ลงทุนในทรัพย์สินหลักที่มีลักษณะตาม (1) (ก) ต้องเป็นไปตามข้อ 53(2) ข้อ 53(3) ข้อ 53(4) (ก) และ (ข) และข้อ 53(5) (3) ในกรณีของกองทรัสต์ที่ลงทุนในทรัพย์สินหลักที่มีลักษณะตาม (1) (ข) ต้องเป็นไปตามข้อ 53(2) ข้อ 53(3) (ก) (ข) (ง) และ (จ) ข้อ 53(4) (ก) และข้อ 53(5) (4) ต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) รวมทั้งต้องมิได้เป็นไปเพื่อการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (5) มีข้อจํากัดการโอนหน่วยทรัสต์ให้กับผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก (6) ไม่มีวัตถุประสงค์ในการนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 55 ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาคนี้ มีการจัดการกองทรัสต์อื่นไม่ว่าจะเป็นกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่าหรือไม่ ทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ที่ยื่นขออนุญาตเสนอขายตามข้อ 53 หรือข้อ 54 ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่นที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จัดการอยู่ เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จะแสดงได้ว่ามีมาตรการหรือกลไกในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เหมาะสมและเพียงพอ เช่น ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์อื่นแล้ว เป็นต้น ข้อ 55/1 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT (1) สรุปสาระสําคัญของข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ล่วงหน้า (2) ข้อมูลผลการดําเนินงานของอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุน (ถ้ามี) (3) ข้อมูลการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และวิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach) (4) ข้อมูลวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงของการมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ล่วงหน้า เช่น ลักษณะผลตอบแทนที่คาดว่าผู้ลงทุนจะได้รับ การดําเนินการของกองทรัสต์ภายหลังจากการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม ความเสี่ยงและผลกระทบหากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในสัญญา และแผนการดําเนินการภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นต้น (5) ข้อมูลวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) ของตัวแปรต่าง ๆ ที่อาจกระทบต่อผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวังว่าจะได้รับ เช่น อัตราการเช่า (occupancy rate) เป็นต้น (6) ข้อมูลประมาณการค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาทรัพย์สิน และสัดส่วนของเงินลงทุนที่มีการกันไว้เพื่อดูแลรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพดี (7) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นและอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน (ถ้ามี)” ข้อ 5 ให้คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ และแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ที่สํานักงานได้รับก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ อยู่ภายใต้ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
435
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์”( หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “ทุนชําระแล้ว” หมายความว่า มูลค่ารวมของหน่วยทรัสต์ที่ชําระเต็มจํานวนแล้ว “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “บริษัทที่กองทรัสต์เป็นเจ้าของ”(( (wholly-owned subsidiary) หมายความว่า (1) บริษัทที่มีกองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้น ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่มีกองทรัสต์หรือบริษัทตาม (1) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (3) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้น ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น โดยเริ่มจากการถือหุ้นของ (1) หรือ (2) “ทรัสต์อื่น”(( หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายไทยซึ่งมิใช่หน่วยทรัสต์ตามประกาศนี้ หรือทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายต่างประเทศ “ลงทุนในทรัสต์อื่น”(( หมายความว่า ลงทุนในทรัสต์อื่นไม่ว่าในรูปแบบใด ๆเพื่อให้มีสิทธิในฐานะผู้รับประโยชน์ของทรัสต์อื่นนั้น “การแปลงสภาพ”( หมายความว่า การแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “ประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ”( หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “ผู้บริหาร”( หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ยกเลิก “การส่งเสริมการขาย”( หมายความว่า การให้ของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ลงทุน เพื่อจูงใจให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่สามารถจัดจําหน่ายหน่วยทรัสต์ได้ “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือ เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”(( หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผล ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ “ผู้ลงทุนสถาบัน”(( หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ “กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน”(( หมายความว่า กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม “กองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า”(( หมายความว่า กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ล่วงหน้า โดยเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่กําหนดเพิ่มเติมขึ้น นอกเหนือจากเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากการผิดสัญญา ข้อ 3 การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การขออนุญาต การอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 1 (2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 2 (3)( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 3 (4)(( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนและกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 4 (5)(( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 5 ข้อ 4 เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ในการพิจารณาข้อกําหนดในประกาศนี้ (1) การลงทุน การได้มาหรือจําหน่ายไป และการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ ให้หมายความรวมถึงการดําเนินการดังกล่าวสําหรับสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ด้วย (2)( การให้เช่า และค่าเช่า ให้หมายความรวมถึงการให้ใช้พื้นที่ที่มีการเรียกค่าตอบแทน การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้เช่าหรือให้ใช้พื้นที่ แล้วแต่กรณี และค่าตอบแทนที่ได้รับจากการดําเนินการดังกล่าว ภาค 1 การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด 1 การยื่นคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้ก่อตั้งกองทรัสต์ ซึ่งจะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งกองทรัสต์แล้ว ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก และยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ (2) ผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่จัดตั้งแล้ว ผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่งต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย ข้อ 6(( ให้บุคคลที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขอ ต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยอย่างน้อยเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตต้องมีหนังสือรับรองจากทรัสตีหรือผู้ที่จะเข้าเป็นทรัสตีของกองทรัสต์ที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ยังมิได้จัดตั้งกองทรัสต์ ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์ โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว และรับรองว่าร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตาม พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และตนมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์นั้น (2) กรณีที่กองทรัสต์จัดตั้งขึ้นแล้ว ต้องมีข้อความที่แสดงว่าบุคคลดังกล่าวรับรองว่ากระบวนการเพิ่มทุนของกองทรัสต์เป็นไปโดยชอบตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ตลอดจนเป็นไปตามประกาศนี้และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550โดยได้ศึกษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ขออนุญาตยื่นต่อสํานักงานแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ 7(( ยกเลิก ข้อ 8( เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการ ที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงาน ได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง ข้อ 9( คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในคําขออนุญาต เว้นแต่ในกรณีที่ ผู้ขออนุญาตมีลักษณะที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ จะไม่จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทํา คําขออนุญาตก็ได้ (1) เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวแล้ว (2) มิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้ผู้ขออนุญาตไม่สามารถ ทําหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ ที่กองทรัสต์จะลงทุน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมิได้เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ แก่กองทรัสต์ในลักษณะที่จะทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ข้อ 9/1( คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามข้อ 9 และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ต้องมีบุคคลดังต่อไปนี้ลงนามรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลด้วย (1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ขออนุญาต (2) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงิน ในกรณีที่ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทําคําขออนุญาต หมวด 2 หลักเกณฑ์การอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 10 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จะได้รับอนุญาตจากสํานักงาน เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะทั่วไปของกองทรัสต์ (ก) สัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ แล้วแต่กรณี เป็นไปตาม พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว และหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (ข) มีชื่อหรือคําแสดงชื่อที่แสดงลักษณะสําคัญของกองทรัสต์นั้น ๆ และไม่มี ลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในนโยบายการลงทุนของกองทรัสต์ โดยในกรณีที่มีนโยบายลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องสะท้อนถึงการลงทุนในลักษณะดังกล่าวด้วย (ค)( แสดงได้ว่ากองทรัสต์จะมีทุนชําระแล้วภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนในทรัพย์สินให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 12หรือข้อ 12/1 (ง) มีวัตถุประสงค์ในการนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (จ) ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 (ฉ) กําหนดให้การชําระค่าหน่วยทรัสต์ต้องชําระด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าเท่านั้น (2)( ทรัพย์สินหลักที่จะลงทุน (ก)( ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 โดยอาจเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือเป็นการลงทุนโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1 ก็ได้ (ข) ต้องระบุได้อย่างแน่นอนในขณะที่ยื่นคําขอ และแสดงได้ว่าพร้อมจะได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งกองทรัสต์แล้วเสร็จในกรณีที่เป็น การเสนอขายครั้งแรกและยังไม่ได้จัดตั้งกองทรัสต์ หรือนับแต่วันที่ปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ภายหลังจัดตั้งกองทรัสต์ (ค) ต้องไม่เป็นของบุคคลที่มีลักษณะตามข้อ 13/1 เว้นแต่ในกรณีที่ ผู้ขออนุญาตสามารถแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่า บุคคลดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้บุคคลดังกล่าวมีลักษณะตามข้อ 13/1 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้ว มิให้นําความในข้อ 13/1 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับ กับบุคคลนั้นอีก (3) การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินหลัก ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก)(( มีข้อกําหนดให้กองทรัสต์จัดหาผลประโยชน์โดยการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เท่านั้น และมีข้อจํากัดมิให้ดําเนินการในลักษณะใดที่เป็นการใช้กองทรัสต์เพื่อประกอบธุรกิจอื่น เช่น ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น เว้นแต่ในกรณีที่กองทรัสต์มีความจําเป็น อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรืออยู่ระหว่างสรรหาผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายใหม่ กองทรัสต์อาจดําเนินการในลักษณะที่เป็นการใช้กองทรัสต์เพื่อประกอบธุรกิจอื่นดังกล่าว เป็นการชั่วคราวได้ (ข)(( ในกรณีที่กองทรัสต์จะให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แก่บุคคลที่จะนําอสังหาริมทรัพย์นั้นไปประกอบธุรกิจที่กองทรัสต์ไม่สามารถดําเนินการได้เอง เช่น ธุรกิจโรงแรมหรือธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น ต้องมีข้อตกลงกําหนดค่าเช่าไว้ล่วงหน้าเป็นจํานวนที่แน่นอน และอาจกําหนดค่าเช่าที่อ้างอิงกับผลประกอบการของผู้เช่าเพิ่มเติมด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้เปิดเผยข้อมูลข้อตกลงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี และรายงานประจําปี (ค) มีข้อห้ามมิให้กองทรัสต์ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แก่บุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะนําอสังหาริมทรัพย์นั้นไปใช้ประกอบธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยการให้เช่าในแต่ละครั้ง จะจัดให้มีข้อตกลงเพื่อให้กองทรัสต์สามารถเลิกสัญญาเช่าได้หากปรากฏว่าผู้เช่านําอสังหาริมทรัพย์ไปใช้ในการประกอบธุรกิจดังกล่าว (4)( การกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันของกองทรัสต์ หากประสงค์จะให้กองทรัสต์กู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันได้ ต้องมีลักษณะดังนี้ (ก) มีข้อกําหนดให้กองทรัสต์กู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพันได้อย่างชัดเจนในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ โดยการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่าโดยการออกตราสารหนี้หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงิน ต้องไม่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 13/2 (ข) จํากัดสัดส่วนการกู้ยืมเงินไม่ว่ากระทําโดยวิธีการใด ซึ่งไม่เกินไปกว่าอัตราตามข้อ 14 (ค) จํากัดการก่อภาระผูกพันไว้ไม่เกินไปกว่ากรณีที่กําหนดตามข้อ 15 เท่านั้น ((การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกู้ยืมเงินของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นตามข้อ 12/2 การกู้ยืมเงินของผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือการกู้ยืมเงินของทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อมด้วย (5)( การบริหารจัดการกองทรัสต์ (ก) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่ากลไกการบริหารจัดการกองทรัสต์จะไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์หรือไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างเป็นธรรม (ข) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้ขออนุญาตขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถบริหารจัดการกองทรัสต์ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้อย่างน่าเชื่อถือ (ค) แสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตได้ตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 16 และเปิดเผยข้อมูลและความเสี่ยงไว้ใน แบบแสดงรายการข้อมูลอย่างครบถ้วนและเพียงพอ (ง) แสดงได้ว่ามีการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น ในการจัดการกองทรัสต์ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17 (จ) แสดงได้ว่าทรัสตีมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ใช่บุคคลที่ ขาดความเป็นอิสระตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (6) การเปิดเผยข้อมูล (ก) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าข้อมูลที่เปิดเผยต่อผู้ลงทุนไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือมีข้อความที่อาจทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด (ข) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่าผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตีขาดระบบที่เพียงพอที่จะทําให้สามารถจัดทําและเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามประกาศที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ ได้อย่างต่อเนื่องและน่าเชื่อถือ (7) ข้อกําหนดอื่น ๆ (ก) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตอยู่ระหว่างการยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ บุคคลดังกล่าวจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ เมื่อผู้ขออนุญาตได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์แล้ว (ข) ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ต้องผ่านกระบวนการออกหน่วยทรัสต์เพิ่มเติมมาแล้วโดยชอบ เช่น การได้รับมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์เป็นต้น ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ค) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการประกันรายได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18 (ง)( ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะระดมทุนครั้งแรกจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (concurrent offering)ต้องแสดงได้ว่าผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ ยอมผูกพันที่จะซื้อหน่วยทรัสต์เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในข้อ 24/1(2) (จ)(( ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ขออนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและ การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี แล้วแต่กรณี ข้อ 11 ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยทรัสต์ออกเป็นหลายชนิด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยทรัสต์ชนิดเดียวกันต้องมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่เท่าเทียมกัน (2) หน่วยทรัสต์แต่ละชนิดจะมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่แตกต่างกันได้เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การกําหนดประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ข) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ค) กรณีอื่นใดที่ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่าเป็นการแบ่งชนิดหน่วยทรัสต์ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และได้คํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม ตลอดจนผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดจะได้รับแล้ว ข้อ 12 การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่มีการออก น.ส. 3 ก. (ข) เป็นการได้มาซึ่งสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการออกตราสารแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองประเภท น.ส. 3 ก. (2) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาต้องไม่อยู่ในบังคับแห่งทรัพยสิทธิหรือมีข้อพิพาทใด ๆเว้นแต่ผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตีได้พิจารณาโดยมีความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรว่า การอยู่ภายใต้บังคับแห่งทรัพยสิทธิหรือการมีข้อพิพาทนั้นไม่กระทบต่อการหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ และเงื่อนไขการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม (3) การทําสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ต้องไม่มีข้อตกลงหรือข้อผูกพันใด ๆที่อาจมีผลให้กองทรัสต์ไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ในราคายุติธรรม (ในขณะที่มีการจําหน่าย) เช่น ข้อตกลงที่ให้สิทธิแก่คู่สัญญาในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ได้ก่อนบุคคลอื่น โดยมีการกําหนดราคาไว้แน่นอนล่วงหน้า เป็นต้น หรืออาจมีผลให้กองทรัสต์มีหน้าที่มากกว่าหน้าที่ปกติที่ผู้เช่าพึงมีเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง (4) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาต้องพร้อมจะนําไปจัดหาประโยชน์คิดเป็นมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าหน่วยทรัสต์ที่ขออนุญาตเสนอขายรวมทั้งจํานวนเงินกู้ยืม (ถ้ามี) ทั้งนี้ กองทรัสต์อาจลงทุนในโครงการที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จได้ โดยมูลค่าของเงินลงทุนที่จะทําให้ได้มาและใช้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้แล้วเสร็จเพื่อนําไปจัดหาประโยชน์ต้องไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ (ภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์) และต้องแสดงได้ว่าจะมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอเพื่อการพัฒนาดังกล่าว โดยไม่กระทบกับความอยู่รอดของกองทรัสต์ด้วย (5)( ผ่านการประเมินมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ และเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน เป็นเวลาไม่เกินกว่าหกเดือน ก่อนวันยื่นคําขออนุญาต โดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างน้อยสองราย ที่ผู้ขออนุญาตและ ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาต (ถ้ามี) พิจารณาว่ามีความเหมาะสมและสามารถประเมิน มูลค่าทรัพย์สินให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (ข) ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนอยู่ในต่างประเทศ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินอาจเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของบุคคลซึ่งทางการหรือหน่วยงานกํากับดูแลของ ประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์กําหนดให้สามารถทําหน้าที่ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ นั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อดังกล่าว ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น 2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสากล 3. เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีเครือข่ายกว้างขวางในระดับสากล (international firm) (6) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาททั้งนี้ ในกรณีที่จํานวนเงินที่จะได้จากการระดมทุนผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์น้อยกว่ามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ประสงค์จะลงทุน ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่ามีแหล่งเงินทุนอื่นเพียงพอที่จะทําให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ข้อ 12/1(( การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (ก) ลงทุนผ่านบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดําเนินการในลักษณะเดียวกันกับกองทรัสต์ไม่ว่าบริษัทเดียวหรือหลายบริษัท โดยการถือหุ้นหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทดังกล่าว หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินกับบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/2 (ข) ลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุน การลงทุนตาม (1) วรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/3 (2) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่า มีกลไกการกํากับดูแลที่จะทําให้ผู้จัดการกองทรัสต์สามารถดูแลและควบคุมให้บริษัทตาม (1) วรรคหนึ่ง (ก) ผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ตาม (1) วรรคหนึ่ง (ข) ดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยตรง โดยต้องมีกลไกการกํากับดูแลอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 12/4 หรือข้อ 12/5 แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ในกรณีของหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 14 ให้พิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์เท่านั้น (3) มีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13 ข้อ 12/2(( บริษัทที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทที่กองทรัสต์เป็นเจ้าของ (wholly-owned subsidiary) (2) ในกรณีที่ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่าหรือให้สิทธิในทรัพย์สินหลักดังกล่าวมิใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้ขออนุญาต ต้องเป็นบริษัทที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทที่มีกองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่มีกองทรัสต์หรือบริษัทตาม (ก) เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น โดยเริ่มจากการถือหุ้นของ (ก) หรือ (ข) การถือหุ้นในบริษัทตามวรรคหนึ่งไม่ว่าในชั้นใด ต้องมีสิทธิออกเสียงไม่น้อยกว่าจํานวนที่กฎหมายของประเทศที่บริษัทนั้นจัดตั้งขึ้นได้กําหนดไว้สําหรับการผ่านมติที่มีนัยสําคัญ โดยการถือหุ้นในชั้นสุดท้ายเมื่อคํานวณโดยวิธีตามสัดส่วน (pro rata basis) แล้ว ต้องมีจํานวนหุ้น ที่กองทรัสต์ถือไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ในชั้นสุดท้าย (3) เป็นบริษัทที่กองทรัสต์ไม่สามารถถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวได้ถึงสัดส่วนตาม (1) หรือ (2) เนื่องจากมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น โดยกองทรัสต์หรือบริษัทตาม (1) หรือ (2) ต้องถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าจํานวนขั้นสูงที่สามารถถือได้ตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น และแสดงได้ว่ากองทรัสต์มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้นด้วย ข้อ 12/3(( ในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุนการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมของกองทรัสต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) กรณีที่กองทรัสต์จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านการลงทุน ในตราสารหนี้หรือการเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินกับบริษัทตามข้อ 12/2 บริษัทใด หากสัดส่วนการลงทุนหรือการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวเกินกว่าสัดส่วนที่กองทรัสต์และบริษัทอื่นตาม ข้อ 12/2 ถือหุ้นรวมกันในบริษัทนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ได้รับความเห็นชอบจากทรัสตีให้ลงทุนหรือเข้าทําสัญญาดังกล่าว (ข) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการลงทุนหรือการเข้าทําสัญญาดังกล่าว โดยหนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และข้อมูลดังต่อไปนี้ 1. เหตุผลและความจําเป็นในการลงทุนหรือการเข้าทําสัญญาดังกล่าว 2. ความสมเหตุสมผลของอัตราดอกเบี้ย 3. เงื่อนไขการชําระคืนเงินต้น (2) กรณีที่กองทรัสต์จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้น ในบริษัทตามข้อ 12/2 (2) หรือ (3) ต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการลงทุนดังกล่าว โดยหนังสือนัดประชุมที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และข้อมูลดังนี้ (ก) ความเสี่ยงจากการลงทุนโดยการถือหุ้นในสัดส่วนดังกล่าว (ข) รายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขที่สําคัญของการร่วมลงทุน การแบ่งกําไรและประโยชน์ตอบแทนระหว่างกองทรัสต์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัท การมีผลใช้บังคับของสัญญาระหว่างกองทรัสต์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัท ข้อจํากัดในการจําหน่ายหุ้นของบริษัทที่กองทรัสต์ถือและความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายในเรื่องดังกล่าว (3)(( ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1(1) วรรคหนึ่ง (ข) ต้องได้รับความเห็นชอบการลงทุนจากทรัสตีหรือได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อนุมัติการลงทุนดังกล่าว โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณีโดยอนุโลม ข้อ 12/4(( ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนโดยทางอ้อมผ่านบริษัทตามข้อ 12/2 ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าได้จัดให้มีกลไกการกํากับดูแลบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) มีการส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้น และมีระเบียบปฏิบัติหรือข้อกําหนดที่ทําให้การส่งบุคคลดังกล่าวต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ (2) มีการกําหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง ตาม (1) ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึง (ก) การกําหนดกรอบอํานาจในการใช้ดุลพินิจที่ชัดเจน และที่มีผลให้การพิจารณา ของกรรมการดังกล่าวในการออกเสียงในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทในเรื่องสําคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์ก่อน (ข) การติดตามดูแลให้บริษัทดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน การทํารายการระหว่างกัน และการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีนัยสําคัญ ให้ครบถ้วนถูกต้อง (ค) การติดตามดูแลให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกําหนด (3) มีการกําหนดแนวทางการบริหารจัดการในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างกองทรัสต์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัทดังกล่าว (4) มีกลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การทํารายการระหว่างบริษัทดังกล่าว กับบุคคลที่เกี่ยวโยง การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือการทํารายการสําคัญอื่นใดของ บริษัทดังกล่าว มีสาระของรายการและได้รับมติจากที่ประชุมคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์หรือที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ก่อนการเข้าทํารายการดังกล่าวของบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ ให้พิจารณา การทํารายการของบริษัทดังกล่าวทํานองเดียวกับการทํารายการในลักษณะและขนาดเดียวกันกับ ที่กองทรัสต์ต้องได้รับมติของคณะกรรมการของผู้จัดการกองทรัสต์หรือที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ตามข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (5) กลไกในการกํากับดูแลที่มีผลให้การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเรื่องใด ๆ ที่อาจ ส่งผลกระทบต่อส่วนได้เสียของกองทรัสต์หรือผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การแก้ไขเอกสารสําคัญ การเลิกหรือเปลี่ยนการประกอบธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน การออกหลักทรัพย์ การกู้ยืมเงิน การให้หลักประกัน การโอนหรือขายทรัพย์สิน เป็นต้น ต้องได้รับอนุมัติ จากกองทรัสต์ กลไกการกํากับดูแลตามวรรคหนึ่ง (4) และ (5) มิให้นํามาใช้บังคับกับบริษัทตาม ข้อ 12/2(3) ที่ถูกถือหุ้นโดยกองทรัสต์และบริษัทตามข้อ 12/2 (ถ้ามี) รวมกันน้อยกว่าร้อยละห้าสิบ ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น ข้อ 12/5(( ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1(1) วรรคหนึ่ง (ข) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่ามีกลไกการกํากับดูแลผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ดังนี้ (1) กลไกที่เทียบเคียงได้กับกลไกการกํากับดูแลบริษัทตามข้อ 12/4 วรรคหนึ่ง (4) และ (5) และในกรณีใดที่กลไกดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะกํากับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของกองทรัสต์ ต้องจัดให้มีกลไกอื่นที่จําเป็นเพิ่มเติมด้วย (2) กลไกกํากับดูแลในการจัดทํางบการเงินรวมของกองทรัสต์ที่ต้องจัดทําตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินด้วย ข้อ 13(( การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์โดยทางอ้อม ต้องมีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อม ทั้งในชั้น ของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น ดังนี้ (ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) โดยต้องคํานึงถึงสัดส่วนการถือหุ้นของกองทรัสต์ ภาระภาษีของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่การลงทุนโดยทางอ้อมดังกล่าวมีการถือหุ้นในบริษัทตามข้อ 12/2 เป็นทอด ๆ การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ต้องคํานึงถึงปัจจัยตามวรรคหนึ่งของบริษัทในทุกชั้นด้วย (ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัทที่ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(5) (2) มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นซึ่งบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นและบริษัท ที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ (ถ้ามี) ได้ลงทุนไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของ เงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม (ข) ในกรณีที่หลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล สมาคมบริษัทจัดการลงทุนตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในตราสารหนี้หรือสัญญาที่มีลักษณะเป็น การให้กู้ยืมเงิน ต้องมีการประเมินมูลค่าตราสารหรือสัญญาดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ใน (2) ด้วย (4)(( ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมตามข้อ 12/1(1) วรรคหนึ่ง (ข) ต้องมีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ใน (1) (2) และ (3) โดยอนุโลม ข้อ 13/1( กองทรัสต์ต้องไม่เข้าทําสัญญาการลงทุนในทรัพย์สินหลักกับบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ หากบุคคลนั้นเองหรือบุคคลอื่นที่บุคคลดังกล่าวควบคุมได้ จะมีส่วนเกี่ยวข้อง กับการบริหารจัดการกองทรัสต์ เว้นแต่บุคคลดังกล่าวเป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ ให้พิจารณาการมีลักษณะตามที่กําหนดใน (1) (ก) เท่านั้น (1) ภายในระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์บุคคลดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ (ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังต่อไปนี้ 1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร 2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ (ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพรางหรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ (ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยในเหตุตาม (ข) หรือ (ค) นั้น (2) ภายในระยะเวลาสิบปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์บุคคลดังกล่าวเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น ข้อ 13/2(( การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่ากระทําด้วยวิธีการใด ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (2) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) ให้สิทธิลูกหนี้ในการชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (callable) หรือให้สิทธิกองทรัสต์ในการเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) (ข) กําหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น (ค) ไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (3) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ 14 การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ ต้องมีข้อจํากัดให้มูลค่าการกู้ยืมไม่เกินอัตราส่วนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่การเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินเพิ่มเติม (1) ร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ (2) ร้อยละหกสิบของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ ในกรณีที่กองทรัสต์มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่ได้รับการจัดอันดับโดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานไม่เกินหนึ่งปีก่อนวันกู้ยืมเงิน การกู้ยืมเงินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการออกตราสารหรือเข้าทําสัญญาไม่ว่าในรูปแบบใดที่มีความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) เข้าลักษณะเป็นการกู้ยืมเงิน ข้อ 15 การก่อภาระผูกพันของกองทรัสต์ ต้องมีข้อจํากัดให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่จําเป็นและเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทรัสต์ดังต่อไปนี้ (1) การก่อภาระผูกพันซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการทําข้อตกลงหลักที่กองทรัสต์สามารถกระทําได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ เช่น การนําทรัพย์สินของกองทรัสต์ไปเป็นหลักประกันการชําระเงินกู้ยืมตามข้อ 10(4) เป็นต้น (2) การก่อภาระผูกพันที่เป็นเรื่องปกติในทางพาณิชย์หรือเป็นเรื่องปกติในการทําธุรกรรมประเภทนั้น ((ในกรณีที่การก่อภาระผูกพันตามวรรคหนึ่งเป็นการดําเนินการเพื่อประโยชน์ ของบริษัทใดตามข้อ 12/2 หากสัดส่วนการก่อภาระผูกพันดังกล่าวเกินกว่าสัดส่วนที่กองทรัสต์ และบริษัทอื่นตามข้อ 12/2 (ถ้ามี) ถือหุ้นรวมกันในบริษัทนั้น การก่อภาระผูกพันดังกล่าวต้อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/3(1) โดยอนุโลมด้วย ข้อ 16 ในการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุน ผู้ขออนุญาตต้องดําเนินการเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ โดยอย่างน้อยต้องมีการตรวจสอบและสอบทานในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) สภาพของอสังหาริมทรัพย์ เช่น สภาพที่ตั้ง ทางเข้าออก โอกาสในการจัดหารายได้ และภาระผูกพันต่าง ๆ ของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นต้น (2) ความสามารถของคู่สัญญาในการเข้าทํานิติกรรม ตลอดจนความครบถ้วน ถูกต้อง และบังคับได้ตามกฎหมายของเอกสารสิทธิหรือเอกสารสัญญาที่เกี่ยวข้อง (3) ความเหมาะสมอื่น ๆ ในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น (4) ในกรณีที่อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนอยู่ในต่างประเทศ ต้องตรวจสอบและ สอบทานความสามารถของกองทรัสต์ในการได้มาและถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายของประเทศดังกล่าว โดยต้องจัดให้มีความเห็นของที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เชี่ยวชาญในกฎหมายของประเทศนั้นประกอบการตรวจสอบและสอบทานด้วย ข้อ 17( การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการจัดการกองทรัสต์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีมาตรการหรือกลไกที่สามารถรองรับให้การจัดการกองทรัสต์ดําเนินไปในลักษณะที่เป็นธรรม ไม่เป็นการเอาเปรียบกองทรัสต์ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐาน การปฏิบัติงาน และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2)(( ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์มีการจัดการกองทรัสต์อื่นอยู่ด้วย ทรัพย์สินหลัก ของกองทรัสต์ที่ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่น เว้นแต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กองทรัสต์ที่ขออนุญาตเป็นกองทรัสต์ที่แปลงสภาพมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ และผู้จัดการกองทรัสต์เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมซึ่งบริหารจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว (ข) กองทรัสต์ที่ขออนุญาตหรือกองทรัสต์อื่น แล้วแต่กรณี มีการเปลี่ยนแปลง ให้ผู้ขออนุญาตเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่เนื่องจากผู้จัดการกองทรัสต์รายเดิมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ข้อ 18 ในกรณีที่กองทรัสต์จะได้รับหรือมีการแสดงต่อผู้ลงทุนว่าจะได้รับการประกันรายได้ การประกันรายได้นั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการประกันรายได้ที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายใดรายหนึ่งตามวงเงินที่กําหนดไว้ในสัญญาประกันรายได้ (2) ผู้ประกันรายได้อย่างน้อยหนึ่งรายต้องเป็นนิติบุคคล (3) มีข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ประกันรายได้ยอมผูกพันตนทั้งในฐานะผู้ประกันรายได้และในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่า (4) มีข้อตกลงสามฝ่ายระหว่างผู้ประกันรายได้ ผู้เช่า และกองทรัสต์ว่าในกรณีที่ผู้ประกันรายได้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกันรายได้ ให้ถือว่าผู้เช่าผิดสัญญาเช่า โดยต้องไม่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไข ในลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ข้อตกลงที่เป็นการยกเว้นความรับผิดของผู้ประกันรายได้ เว้นแต่ในกรณีที่ เกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือมิใช่ความผิดของผู้ประกันรายได้ (ข) เงื่อนไขที่เกินความจําเป็นในลักษณะที่จะทําให้การเรียกร้องของกองทรัสต์ตามสัญญาประกันรายได้เป็นไปได้ยาก หรือเป็นการสร้างภาระต่อกองทรัสต์เกินสมควร หมวด 3 อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 19( ยกเลิก ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ตามคําขออนุญาตได้ (1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหน่วยทรัสต์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงที่ทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม หรือ (4) การเสนอขายหน่วยทรัสต์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจ ทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อ 21 ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ได้รับอนุญาตได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอและสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน และมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ หมวด 4 เงื่อนไขการอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22 ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ของภาคนี้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขในหมวดนี้ ข้อ 23 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ไม่ถูกต้องหรือเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์นั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหน่วยทรัสต์หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด (2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขาย หรือในส่วนที่ยังมิได้มีการโอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปยังกองทรัสต์หรือเพื่อการก่อตั้งกองทรัสต์ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยทรัสต์นั้น ส่วนที่ 2 การเสนอขายและการจัดสรรหน่วยทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 23/1( ในส่วนนี้ คําว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ“ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ โดยให้พิจารณาจากผู้จัดการกองทรัสต์เป็นสําคัญ ข้อ 24(( ผู้ได้รับอนุญาตต้องขายหน่วยทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นขอขยายระยะเวลาการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนครบระยะเวลาที่กําหนด โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญด้วย (ถ้ามี)มาพร้อมด้วย ทั้งนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่สํานักงานแจ้งการอนุญาตในครั้งแรก ในกรณีที่รายงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินมีอายุเกินหนึ่งปีในวันที่กองทรัสต์เสนอขายหน่วยทรัสต์ หรือในกรณีที่มีปัจจัยที่อาจทําให้มูลค่าการประเมินทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการปรับปรุงรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบันก่อนดําเนินการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(7) (จ) ห้ามผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จนกว่าผู้ได้รับอนุญาตหรือทรัสตีจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้อ 24/1( ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก หากผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่าหรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้ลงทุนรายอื่น (2) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายให้แก่บุคคลตาม (1) ต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่บุคคลดังกล่าวประสงค์จะซื้อ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ํากว่า (3) ผู้ได้รับอนุญาตต้องก่อตั้งกองทรัสต์โดยการโอนเงินทั้งหมดที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ตาม (2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 35 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้แก่ผู้ลงทุน ข้อ 25 ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้ (1)( ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการเสนอขายหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน โดยอนุโลม เว้นแต่ข้อกําหนดในส่วนนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดการอนุโลมใช้ในรายละเอียดให้เหมาะสมกับกองทรัสต์ก็ได้ (2) จัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้รับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนไปจัดจําหน่าย เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการเองได้ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม (3) ในกรณีที่จัดให้มีบุคคลอื่นเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) กํากับดูแลให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ข) จัดให้มีข้อตกลงกับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์กรณีที่ต้องมีการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยทรัสต์ (4) จัดให้ใบจองซื้อมีข้อความที่แสดงว่า การจองซื้อและการยกเลิก ตลอดจนการจัดสรรหน่วยทรัสต์เป็นไปตามที่ได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน (4/1)( การโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหรือจะเสนอขายหน่วยทรัสต์ โดยวิธีการอื่นนอกจากการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน และการส่งเสริมการขาย ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 25/1 ข้อ 25/2 และข้อ 25/3 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้สํานักงานมีอํานาจดังนี้ (ก) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียด เพื่อให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ ผู้ได้รับอนุญาตจะสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายได้ (ข) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียด เพื่อเป็นการให้ แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริม การขาย และหากผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับอนุญาตมีการปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น (ค) กําหนดให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายบางกรณีต้องได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนทําการโฆษณาหรือจัดให้มีการส่งเสริมการขายนั้น เพื่อตรวจสอบ ให้การโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (4/2)( ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน (4/1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ (ก) หยุดการโฆษณา หรือยุติการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ข) แก้ไขข้อมูลหรือข้อความในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย (ค) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงหรือไม่ทําให้สําคัญผิด (ง) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจลงทุน บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงและไม่ทําให้สําคัญผิด (5) เมื่อสิ้นสุดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก หากปรากฏกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวนและคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ (ก) มีผู้จองซื้อไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย หรือมีการกระจายการถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการรับหน่วยทรัสต์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ข) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จองซื้อเมื่อรวมกับมูลค่าเงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น (ถ้ามี) มีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือไม่ถึงจํานวนตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน (ค)( มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง (ง) ไม่สามารถโอนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตี เพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (จ)(( กองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ซึ่งมีผู้จองซื้อไม่ถึงจํานวนดังนี้ ก1. ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบราย เฉพาะกรณีการเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนทั่วไป ก2. ไม่ถึงสองราย เฉพาะกรณีการเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (6) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพิ่มเติมของกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นแล้วหากปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์และคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ (ก) มูลค่าหน่วยทรัสต์ที่จองซื้อเมื่อรวมกับเงินที่กองทรัสต์กันไว้เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และมูลค่าเงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น (ถ้ามี) มีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน โดยให้ยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ทั้งจํานวน (ข)( มีการจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้ง ทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว และทําให้การถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวเมื่อรวมกับจํานวนหน่วยที่ถืออยู่เดิม (ถ้ามี) ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ โดยให้ยกเลิกการเสนอการขายเฉพาะส่วนที่เกินกว่าอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนด (7)( ในกรณีที่มีการยกเลิกการเสนอขายไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการ หรือดูแลให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการดังนี้ (ก)(( คืนเงินค่าจองซื้อหน่วยทรัสต์แก่ผู้จองซื้อตามระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนดทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถคืนเงินได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีด้วย (ข) ไม่นําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อหน่วยทรัสต์ในส่วนที่คาดว่าต้องคืนให้แก่ ผู้จองซื้อตาม (ก) ไปใช้ในกิจการใด ๆ ก่อนที่จะดําเนินการเพื่อคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อ (8)( เมื่อปรากฏกรณีที่เป็นเหตุให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณี ที่เป็นการยกเลิกการเสนอขายตาม (5) หรือ (6) (ก) ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ เป็นอันสิ้นสุดลง ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเลิกการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง (5) และ (6) ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนด้วย ข้อ 25/1( ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณา ต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) สาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในโฆษณาต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามภาค 2 และภาค 3 ของประกาศนี้ (3) ไม่เร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ (4) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในหน่วยทรัสต์ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม (ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข (ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด (5) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในหน่วยทรัสต์อย่างเหมาะสมและมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยทรัสต์ (6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูล ที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้อง มีข้อมูลของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลหน่วยทรัสต์ต้องเป็นเนื้อหาหลักและข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสาระเป็นส่วนน้อย (8) การนําค่าโฆษณามาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกองทรัสต์ ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อการโฆษณานั้นเป็นไปเพื่อกองทรัสต์หรือจะเกิดประโยชน์ต่อกองทรัสต์นั้น (9) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ได้รับอนุญาต ดําเนินการให้เป็นไปตาม (1) ถึง (8) ในกรณีที่การโฆษณาตามวรรคหนึ่งเป็นการดําเนินการในช่วงระยะเวลาก่อนที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนจะมีผลใช้บังคับ นอกจากหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับด้วย ข้อ 25/2( ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย ข้อ 25/3( ผู้ได้รับอนุญาตอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดผู้ลงทุนโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ผู้ลงทุน ตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน (2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด (3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ลงทุนจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือ ประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสมและเป็นธรรม (4) มีการแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย (5) ไม่คิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายจากกองทรัสต์ ข้อ 26 ในการจัดสรรหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน และตามหลักเกณฑ์ในข้อ 27 ถึงข้อ 30 ด้วย ข้อ 27 ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ และ (2) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์ แต่ละชนิด ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ ข้อ 28( ภายใต้บังคับข้อ 27 และข้อ 29 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดสรรหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุมบริษัทใหญ่ หรือบริษัทย่อยของผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลข้างต้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องแบ่งแยกหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลดังกล่าวออกจากหน่วยทรัสต์ที่จะจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยประเภทบุคคลดังกล่าวรวมถึงจํานวนที่จะจัดสรรไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ข้อ 29 ในกรณีที่ผู้ได้รับการจัดสรรหน่วยทรัสต์เป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี หรือผู้จัดการกองทรัสต์ ให้การจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่บุคคลดังกล่าวเป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน แล้วแต่กรณีด้วย ข้อ 30 ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยหากกฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์นั้นกําหนดสัดส่วนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าวไว้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดนั้นด้วย ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งหลายโครงการและบรรดากฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์นั้นมีการกําหนดสัดส่วนการลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าวไว้แตกต่างกัน ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรหน่วยทรัสต์ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ต่ําสุดของบรรดากฎหมาย กฎ หรือข้อกําหนดนั้น ข้อ 31( ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงแก่ผู้ได้รับอนุญาตว่าบุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าวถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามอัตราหรือหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบโดยไม่ชักช้าถึงข้อจํากัดสิทธิเกี่ยวกับการออกเสียง ลงคะแนนและการรับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ซึ่งจัดทําขึ้นตาม ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาตรู้หรือควรรู้ ถึงเหตุดังกล่าว ข้อ 32( ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการที่จําเป็นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการถือหน่วยทรัสต์ของบุคคลใด กลุ่มบุคคลเดียวกันใด ผู้ก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ลงทุนต่างด้าว เป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ทั้งนี้ การดําเนินการที่จําเป็นให้หมายความรวมถึงการจัดให้มีระบบงานที่สามารถควบคุมการถือหน่วยทรัสต์ หรือการแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีระบบงานดังกล่าว ส่วนที่ 3 เงื่อนไขภายหลังการเสนอขาย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 33 ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในคําขออนุญาตแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ตลอดจนข้อกําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อ 34 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่มีสาระไม่ต่างจากร่างที่ผ่านการพิจารณาของสํานักงานแล้ว ก่อนหรือในวันที่มีการโอนทรัพย์สินที่จะให้เป็นกองทรัสต์แก่ทรัสตีตามข้อ 35 และให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดส่งสําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่ลงนามแล้วต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เข้าทําสัญญาดังกล่าว ข้อ 35( ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์โอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตีตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่มิใช่กรณีตาม (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทําการ นับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ (2) ในกรณีที่เป็นการระดมทุนครั้งแรกผ่านการเสนอขายหน่วยทรัสต์และการกู้ยืมผ่านการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน (ก) ให้โอนเงินที่ได้จากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอนให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าที่กําหนดในข้อ 24/1(2) ให้แก่ทรัสตีเพื่อก่อตั้งกองทรัสต์ให้แล้วเสร็จก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือและหุ้นกู้ที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุน (ข) ให้โอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือให้แก่ทรัสตีภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในส่วนดังกล่าว (3) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้โอนเงินดังกล่าวให้แก่ทรัสตีเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทรัสต์ภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ((ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการโอนเงินตามวรรคหนึ่ง ต่อสํานักงานในวันเดียวกับวันที่ผู้ได้รับอนุญาตรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและ เสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 36 ภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก ให้ผู้ได้รับอนุญาตเข้าทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตที่กําหนดไว้ในประกาศนี้และในสัญญาก่อตั้งทรัสต์เมื่อกองทรัสต์จัดตั้งขึ้นแล้ว ผู้ได้รับอนุญาตต้องดูแลให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์มีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญว่าในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับผู้ได้รับอนุญาตในประกาศนี้ โดยอนุโลม ข้อ 37 ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการเพื่อให้หน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่สามารถเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ข้อ 38 ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ภายหลังการเสนอขายตามประกาศที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 39 ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดูแลให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้ และให้ส่งสําเนาสัญญาซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ลงนามหรือวันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามแต่กรณี ข้อ 40 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทรัสตีตามที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายกําหนด ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และให้แจ้งต่อสํานักงานภายในระยะเวลาเดียวกันนั้นด้วย ข้อ 40/1(( ในกรณีที่กองทรัสต์มีความจําเป็นต้องประกอบธุรกิจอื่นเป็นการชั่วคราวตามข้อ 10(3) (ก) ก่อนการดําเนินการดังกล่าว ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยรายงานเพื่อชี้แจงสาเหตุในการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการดําเนินการของกองทรัสต์ในระหว่างการสรรหาผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายใหม่ และรายงานความคืบหน้าของการดําเนินการดังกล่าวทุกหกเดือนนับแต่วันที่มีการประกอบธุรกิจอื่นเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์รายใหม่ การเปิดเผยรายงานและการรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีหน่วยทรัสต์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการเปิดเผยสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์ (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้รายงานต่อสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด และเปิดเผยข้อมูลด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบข้อมูลดังกล่าวในช่องทางที่เหมาะสม เช่นการประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือการประกาศทางเว็บไซต์ เป็นต้น ข้อ 40/2(( ผู้ได้รับอนุญาตต้องดํารงสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินตามข้อ 12ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่รอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุกองทรัสต์ ภาค 2 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด 1 การยื่นและค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41(( ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามรูปแบบและวิธีการดังต่อไปนี้ และให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนด ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (1) ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อสํานักงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว (2) ให้ยื่นข้อมูลดังต่อไปนี้ ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงาน จํานวนหนึ่งชุด ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ก) ส่วนรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ที่จัดพิมพ์จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งผู้ขออนุญาตได้ยื่นตาม (1) และลงลายมือชื่อแล้ว (ข) ต้นฉบับหนังสือมอบอํานาจที่แสดงว่าผู้ดําเนินการยื่นข้อมูลตาม (1) และ (2) (ก) ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้เสนอขายในการดําเนินการดังกล่าวและการอื่นที่จําเป็น ในกรณีที่การเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุด ลงแล้ว หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนฉบับใหม่โดยวิธีการตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ข้อ 42 แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล 2ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อยกเว้นที่กําหนดในข้อ 9 วรรคหนึ่ง ข้อ 4313 ในกรณีที่กองทรัสต์มีการประกันรายได้ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันรายได้อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) สรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาประกันรายได้ (2) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับประกันรายได้ที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งระบุการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับประกันรายได้ครั้งล่าสุดซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีก่อนวันยื่นคําขอ และเป็น การจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (3) ความเห็นของผู้ได้รับอนุญาตเกี่ยวกับความสามารถของผู้รับประกันรายได้ตาม (2) ในการปฏิบัติตามสัญญารับประกันรายได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน กับผู้ได้รับอนุญาต ต้องมีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย (4) รายงานการสอบบัญชีของผู้รับประกันรายได้ตาม (2) สําหรับสามรอบปีบัญชี ย้อนหลังก่อนยื่นคําขอ โดยอย่างน้อยรอบปีบัญชีล่าสุดต้องจัดทําโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบ จากสํานักงาน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับประกันรายได้จัดให้มีหนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์หรือ หลักประกันอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งครอบคลุมตามจํานวนและระยะเวลาที่ผู้รับประกันรายได้รับประกันไว้ ผู้ได้รับอนุญาตจะไม่จัดให้มีรายงานการสอบบัญชีดังกล่าวก็ได้ ข้อ 44 งบการเงินและงบการเงินรวมของกองทรัสต์ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ถ้ามี) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามมาตรา 56 โดยอนุโลม ข้อ 45 ก่อนปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุนในหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในหน่วยทรัสต์ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูล มีผลใช้บังคับแล้ว ต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น ข้อ 46 ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ได้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในต่างประเทศโดยมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามกฎหมายต่างประเทศนั้น เมื่อมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์ดังกล่าวในประเทศไทย ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไม่น้อยกว่ารายละเอียดของข้อมูลที่ได้เปิดเผย ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นในต่างประเทศ หมวด 2 อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 47 ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศนี้ได้ หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์แสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล หรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว ข้อ 48 ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อ การตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดําเนินการดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (1) ชี้แจงหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม (2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป ในการกําหนดให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ดําเนินการตามวรรคหนึ่งสํานักงานอาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ผ่านทางเว็บไซต์ ของสํานักงาน ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้ หมวด 3 วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 49 ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน มีผลใช้บังคับ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ออกใหม่ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 33 ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ออกใหม่นั้นแล้ว (2) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 19 (3) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและได้เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 48 วรรคสาม (ถ้ามี) แล้ว (4) เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 41 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) (ก) สิบสี่วัน ในกรณีทั่วไป (ข) สามวันทําการ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน (5) ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ได้ระบุข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตาม (4) ของวรรคหนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขาย หน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ให้หมายถึงข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) จํานวนและราคาที่เสนอขาย (2) ระยะเวลาของการเสนอขาย (3) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหน่วยทรัสต์ (4) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกันหรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) และ (3) ภาค 3( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 50( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตตามหมวด 2 และอํานาจสํานักงานเกี่ยวกับ การอนุญาตตามหมวด 3 ในภาค 1 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ แต่ไม่รวมถึงหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) หลักเกณฑ์การชําระค่าหน่วยทรัสต์ด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าตามข้อ 10(1) (ฉ) โดยในการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการแปลงสภาพ ให้รับชําระ ค่าหน่วยทรัสต์ด้วยทรัพย์สินและภาระของกองทุนรวมดังกล่าวตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพได้ (ข) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าตามข้อ 12(5) ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพ และอสังหาริมทรัพย์นั้นผ่านการประเมินมูลค่าโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพแล้ว (2) ให้นําเงื่อนไขการอนุญาตตามหมวด 4 ในภาค 1 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ โดยในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อ 25(5) (ก) และ (ค) และข้อ 25(6) (ข) ให้พิจารณาเสมือนว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพเป็นผู้จองซื้อหน่วยทรัสต์หรือ ได้รับจัดสรรหน่วยทรัสต์ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ มิให้นําเงื่อนไขการอนุญาตดังนี้มาใช้บังคับ โดยให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ (ก) เงื่อนไขการเสนอขายและการจัดสรรหน่วยทรัสต์ตามข้อ 25(1) (2) (3) (4) (4/1) และ (4/2) ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการเสนอขายให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อ การแปลงสภาพ (ข) เงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนเงินที่ได้จากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตีตามข้อ 25(5) (ง) และ ข้อ 35 ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการแปลงสภาพ (ค) เงื่อนไขเกี่ยวกับการดําเนินการจดทะเบียนหน่วยทรัสต์ตามข้อ 37 โดยให้ดําเนินการตามประกาศว่าด้วยการแปลงสภาพ (3) ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงสภาพ (ไม่ว่าจะมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่หรือไม่) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตาม แบบ 69-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน โดยให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนที่กําหนดในภาค 2 ของประกาศนี้มาใช้บังคับ เว้นแต่หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่การแปลงสภาพนั้นเป็นการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หนึ่งกองเป็นกองทรัสต์หนึ่งกอง และไม่มีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อื่นเพิ่มเติมจากอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ก) การมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องของ ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 42 (ข) ระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน ตามข้อ 49 วรรคหนึ่ง (4) ทั้งนี้ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับ การเสนอขายหรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) ภาค 4(( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน และกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 51 ในภาคนี้ “เจ้าของเดิม” หมายความว่า (ก1) บุคคลที่เป็นเจ้าของและเป็นผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุนให้แก่กองทรัสต์ ซึ่งรวมถึงกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าวด้วย ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน (ก2) บุคคลที่เป็นผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์จะลงทุน ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ 52 ในการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาคนี้ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในภาคนี้เพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีที่หลักเกณฑ์ในภาคอื่น ๆ ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคนี้ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคนี้ ข้อ 53 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า แก่ผู้ลงทุนทั่วไป จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก1) ทรัพย์สินหลักทั้งหมดที่กองทรัสต์จะลงทุนต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกําหนดดังนี้ (ก) ในกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน ต้องมีข้อกําหนดให้เจ้าของเดิมมีภาระผูกพัน (obligation) ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์คืน ภายในวันเวลาและตามราคาที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว (ข) ในกรณีกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ต้องมีข้อตกลงให้กองทรัสต์มีสิทธิในการบอกเลิกสัญญาเช่าภายในวันเวลาและตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว และให้กองทรัสต์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากเจ้าของเดิมเมื่อกองทรัสต์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไข ทั้งนี้ เงื่อนไขดังกล่าวต้องไม่มีผลทําให้สัญญาเช่ามีลักษณะเป็นนิติกรรมอําพรางสัญญาอื่น (2) อสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนตาม (1) อย่างน้อยต้องผ่านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และวิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach) (2/1)(( ในกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับการสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนตาม (1) ต้องเป็นราคาที่ลดลงจากมูลค่าที่ได้จากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตาม (2) (3) ภาระผูกพัน (obligation) หรือข้อตกลง ตาม (1)ต้องทําในรูปแบบของสัญญาที่มีข้อกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังนี้ (ก) ระบุชื่อเจ้าของเดิมที่มีสิทธิซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ข) วันเวลาที่จะซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือบอกเลิกสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ค) เหตุแห่งการผิดนัดไขว้ (event of cross-default) ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ความสามารถของเจ้าของเดิมในการซื้ออสังหาริมทรัพย์คืน หรือในการจ่ายค่าชดเชยเมื่อมีการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า เช่น การผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้หรือมูลหนี้อื่น การหยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สําคัญไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร หรือถูกศาลสั่งอายัดทรัพย์สิน เป็นต้น (ง) กําหนดราคาซื้อคืนเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนและต้องไม่มีเงื่อนไขที่จะทําให้จํานวนเงินที่ตกลงกันไว้เปลี่ยนแปลง ในกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน (จ) มีข้อกําหนดเพิ่มเติมดังนี้ ในกรณีกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ก1. ค่าชดเชยให้แก่กองทรัสต์เมื่อมีการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งต้องเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนหรือเป็นสูตรการคํานวณที่ชัดเจน 2. เงื่อนไขในการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า (ฉ)(( ระยะเวลาการลงทุนและระยะเวลาที่ต้องขายทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของเดิมต้องไม่เกินระยะเวลาที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับการสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ (4) เจ้าของเดิมต้องมีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) เป็นนิติบุคคลและไม่มีข้อจํากัดในเรื่องการถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ข) มีการจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (ค) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานยอมรับ และมีการทบทวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาจนกว่าจะมีการซื้อคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า แล้วแต่กรณี (5) การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนอาจมีข้อกําหนดให้สามารถจัดหาผลประโยชน์จากการทํากําไรจากส่วนต่างของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนกับราคาขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้ ข้อ 54 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืน หรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินหลักทั้งหมดที่กองทรัสต์จะลงทุนต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ (ก) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะตามข้อ 53(1) (ข) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ 1. มีข้อตกลง (option) ให้เจ้าของเดิมซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวคืนภายในวันเวลาและตามราคาที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เช่น สัญญาขายฝาก เป็นต้น 2. มีข้อตกลงให้เจ้าของเดิมมีสิทธิในการบอกเลิกสัญญาเช่าภายในวันเวลาและตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่ทําสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว และให้กองทรัสต์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากเจ้าของเดิมเมื่อเจ้าของเดิมใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไข (ห2) ในกรณีของกองทรัสต์ที่ลงทุนในทรัพย์สินหลักที่มีลักษณะตาม (1) (ก)ต้องเป็นไปตามข้อ 53(2) ข้อ 53(3) ข้อ 53(4) (ก) และ (ข) และข้อ 53(5) (3)(( ในกรณีของกองทรัสต์ที่ลงทุนในทรัพย์สินหลักที่มีลักษณะตาม (1) (ข)ต้องเป็นไปตามข้อ 53(2) ข้อ 53(3) (ก) (ข) (ง) (จ) และ (ฉ) ข้อ 53(4) (ก) และข้อ 53(5) (ก4) ต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) รวมทั้งต้องมิได้เป็นไปเพื่อการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (5) มีข้อจํากัดการโอนหน่วยทรัสต์ให้กับผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก (6) ไม่มีวัตถุประสงค์ในการนําหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 55 ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาคนี้ มีการจัดการกองทรัสต์อื่นไม่ว่าจะเป็นกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่าหรือไม่ ทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ที่ยื่นขออนุญาตเสนอขายตามข้อ 53 หรือข้อ 54ต้องไม่เป็นประเภทเดียวกับทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์อื่นที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จัดการอยู่ เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์จะแสดงได้ว่ามีมาตรการหรือกลไกในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เหมาะสมและเพียงพอ เช่น ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์อื่นแล้ว เป็นต้น ข้อ 55/1 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT (1) สรุปสาระสําคัญของข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ล่วงหน้า (2) ข้อมูลผลการดําเนินงานของอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุน (ถ้ามี) (3) ข้อมูลการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และ วิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach) (4) ข้อมูลวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงของการมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาเช่าตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ล่วงหน้า เช่น ลักษณะผลตอบแทนที่คาดว่าผู้ลงทุนจะได้รับ การดําเนินการของกองทรัสต์ภายหลังจากการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม ความเสี่ยงและผลกระทบหากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในสัญญา และแผนการดําเนินการภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นต้น (5) ข้อมูลวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) ของตัวแปรต่าง ๆ ที่อาจกระทบต่อผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวังว่าจะได้รับ เช่น อัตราการเช่า (occupancy rate) เป็นต้น (6) ข้อมูลประมาณการค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาทรัพย์สิน และสัดส่วนของเงินลงทุนที่มีการกันไว้เพื่อดูแลรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพดี (7) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นและอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน (ถ้ามี) ((ในกรณีของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับการสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้เพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-REIT (1) ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าเจ้าของเดิมได้รับผลกระทบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เช่น การเปรียบเทียบรายได้และผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง โดยต้องเป็นการเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันก่อนการระบาดกับในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เป็นต้น (2) ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การใช้เงินของเจ้าของเดิม โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะนําเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินให้กองทรัสต์ไปใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับกิจการของเจ้าของเดิม เช่น ชําระค่าจ้างพนักงาน ค่าบํารุงรักษาทรัพย์สิน หรือชําระคืนเงินกู้หรือดอกเบี้ย เป็นต้น ภาค 5(( การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 56 ในการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในภาคนี้ หมวด 1 หลักเกณฑ์การอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 57 ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้ก่อตั้งกองทรัสต์ ซึ่งจะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งกองทรัสต์แล้วในกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก และยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ (2) ผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ข้อ 58 การขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายต่อบุคคลดังนี้ โดยต้องมีข้อจํากัดการโอนหน่วยทรัสต์ให้กับผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนดังกล่าว เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก (ก) ผู้ลงทุนสถาบัน (ข) ผู้จัดการกองทรัสต์ และกลุ่มบุคคลเดียวกันของผู้จัดการกองทรัสต์ (2) ต้องมีข้อกําหนดให้มีผู้ถือหน่วยทรัสต์ตั้งแต่สองรายขึ้นไป และต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) รวมทั้งต้องมิได้เป็นไปเพื่อการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (3) มีลักษณะทั่วไปของกองทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(1) (จ) และ (ฉ)รวมทั้งมีสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกตามกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (4) เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์ลงทุนต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังนี้ 1. เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12(1) และ (2) 2. เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตาม 1. โดยทางอ้อมตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12/1(1) และ (2) ข้อ 12/2 ข้อ 12/3 ข้อ 12/4 และข้อ 12/5 (ข) การลงทุนในทรัพย์สินหลักตาม (ก) ต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายทั้งหมดรวมถึงเงินกู้ยืม (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้องได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งกองทรัสต์แล้วเสร็จในกรณีที่เป็นการเสนอขายครั้งแรกและยังไม่ได้จัดตั้งกองทรัสต์ หรือนับแต่วันที่ปิดการเสนอขายหน่วยทรัสต์ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ภายหลังจัดตั้งกองทรัสต์ (ค) ทรัพย์สินหลักตาม (ก) ต้องไม่เป็นของบุคคลที่มีลักษณะตามข้อ 13/1เว้นแต่บุคคลดังกล่าวได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงาน จนทําให้บุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะตามข้อ 13/1 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้ว (5) ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะลงทุนในทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมจากทรัพย์สินหลักตาม (4) ให้สามารถลงทุนในตราสารทางการเงินหรือธุรกรรมทางการเงินอื่นใดได้ทุกประเภท (6) มีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(3) (7) การกู้ยืมเงินของกองทรัสต์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13/2 (8) มีการบริหารจัดการกองทรัสต์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(5) (ก) (ข) (ง)และ (จ) (9) มีการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17 (10) มีการเปิดเผยข้อมูลเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(6) (11) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์หรือทรัสตีสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี แล้วแต่กรณี (12) ผู้ขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล และเอกสารตามหลักเกณฑ์ในข้อ 63 ครบถ้วน ข้อ 59 ผู้ได้รับอนุญาตต้องดํารงสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินหลักตามข้อ 58(4) ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวม ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่รอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุกองทรัสต์ ข้อ 60 ให้นําความในข้อ 20 ข้อ 21 ข้อ 27 ข้อ 29 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 32 ข้อ 36 ข้อ 39 ข้อ 40 และข้อ 40/1 ในภาค 1 โดยอนุโลม ข้อ 61 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าการจัดตั้งหรือการจัดการกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามภาคนี้ไว้ก่อนหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ในกรณีดังกล่าวได้ ข้อ 62 ในกรณีที่มีความจําเป็นและสมควร ภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์หากผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยทรัสต์เกินกว่าอัตราที่กําหนดในข้อ 27 โดยไม่ถูกจํากัดสิทธิเกี่ยวกับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและการรับประโยชน์ตอบแทนตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่จะขอผ่อนผันได้ตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงผู้จัดการกองทรัสต์หรือทรัสตี หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลดังกล่าว หมวด 2 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 63 ก่อนการเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัดในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-Private REIT พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน และเอกสารอื่นต่อสํานักงาน ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหนึ่งวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูล ข้อ 64 ให้นําข้อ 47 ในภาค 2 มาใช้บังคับกับการยื่นแบบเสดงรายการข้อมูลของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด หมวด 3 การรายงานผลการขาย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 65 ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานผลการขายและส่งสําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
436
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 98(3) (5) และ (7) มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 16(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป เว้นแต่ (1) ข้อ 42(8) ที่เกี่ยวกับข้อมูลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานของกองทุนรวมให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป (2) ข้อ 34 วรรคสอง ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (basic asset allocation) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป ส่วน ๑ วัตถุประสงค์การกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๒ เนื่องจากการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการในระบบตลาดทุน ส่งผลอย่างมีนัยสําคัญต่อความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทย หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้จึงกําหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นมาตรฐานที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นการให้บริการที่คํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้าเป็นสําคัญ ปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า และป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนและภาพลักษณ์ของตลาดทุนไทย ส่วน ๒ หลักการในการดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๓ ในการดําเนินธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักการดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยในการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ทั้งนี้ การดําเนินธุรกิจในเรื่องใดที่ประกาศนี้หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนฉบับอื่น รวมทั้งประกาศหรือแนวทางที่ออกตามประกาศนี้หรือประกาศดังกล่าว มิได้มีข้อกําหนดไว้ หรือมีข้อกําหนดแต่จําเป็นต้องพิจารณาหรือตีความข้อกําหนดดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินธุรกิจ พิจารณา หรือตีความให้เป็นไปตามหลักการของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ส่วน ๓ สาระสําคัญของข้อกําหนด ข้อ ๔ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในการกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การประกอบธุรกิจในฐานะผู้มีวิชาชีพ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 2 (2) โครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงาน โดยมีรายละเอียดตามหมวด 3 (3) การป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 4 (4) การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า โดยมีรายละเอียดตามหมวด 5 (5) การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย โดยมีรายละเอียดตามหมวด 6 (6) ข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 7 ในการออกข้อกําหนดตามประกาศนี้มีผลเป็นการยกเลิกข้อกําหนดตามประกาศที่มีรายชื่ออยู่ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 34 /2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และรวมถึง ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศที่ยกเลิกดังกล่าว การปฏิบัติตามประกาศนี้ในระยะแรกให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาล โดยมีรายละเอียดตามหมวด 8 ส่วน ๔ อํานาจสํานักงาน ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวเดียวกัน ทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจกําหนดตามประเภทธุรกิจหรือประเภทผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนก็ได้ (2) กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบางประเภทได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกําหนดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามประกาศนี้เป็นการทั่วไปเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าข้อกําหนดในเรื่องดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการให้บริการแก่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) ไม่สอดคล้องหรือไม่เหมาะสมกับสภาพการประกอบธุรกิจ (ค) ไม่มีความจําเป็นสําหรับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนบางประเภท (3) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น (4) เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทําการที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของประกาศนี้ สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขอความเห็นชอบการดําเนินการใดตามประกาศนี้ก่อนการดําเนินการนั้นก็ได้ (5) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือข้อกําหนดที่สํานักงานออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้นแก้ไขหรืองดเว้นการกระทํา หรือสั่งให้กระทําการ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดอย่างสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์ เรื่อง และประเด็นที่เกี่ยวข้อง (6) เพื่อให้สํานักงานสามารถติดตามการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ให้สํานักงานกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งข้อมูล รายงาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่เหมาะสมได้ หรือจะสั่งการเป็นรายกรณีโดยต้องไม่เป็นภาระต่อผู้ประกอบธุรกิจจนเกินสมควร ทั้งนี้ ระยะเวลาที่สํานักงานจะกําหนดให้เป็นไปตามกรอบ ดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนและมีผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ลงทุน หรือตลาดทุน อย่างมีนัยสําคัญ สํานักงานอาจกําหนดให้ดําเนินการภายในวันทําการที่เกิดกรณีดังกล่าวได้ (ข) ในกรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้กําหนดระยะเวลาอย่างสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์ เรื่อง และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ส่วน ๕ บทนิยาม ข้อ ๖ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนหรือการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ และผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ และให้หมายความรวมถึง กองทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วย “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “การโฆษณา” หมายความว่า การทําให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการหรือการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยทางข้อความ ภาพ เสียง เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ และไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อ หรือเครื่องมือใด ๆ “การส่งเสริมการขาย” หมายความว่า การให้ของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแก่ลูกค้า เพื่อจูงใจให้ลูกค้าใช้บริการหรือตอบแทนที่ลูกค้าใช้บริการ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจนําเสนอ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “สมาคม” หมายความว่า (1) สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ (2) สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หมวด ๒ การประกอบธุรกิจในฐานะผู้มีวิชาชีพ ข้อ ๗ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ (1) ประกอบธุรกิจและให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และใช้ความรู้ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา (2) ดําเนินธุรกิจโดยรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งรักษาความน่าเชื่อถือของตลาดทุนเป็นสําคัญ ตลอดจนดําเนินธุรกิจด้วยความสมเหตุสมผลซึ่งเหมาะสมกับเวลา ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจ และการให้บริการ (3) ให้บริการอย่างมีคุณภาพ และปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันโดยคํานึงถึงประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขของลูกค้า (4) ไม่กระทําการใดที่จะเป็นผลให้ลูกค้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจํากัดหรือหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่ลูกค้าแจ้งว่ามีข้อจํากัดหรือมีหน้าที่ตามกฎหมายนั้น (5) ไม่กระทําการใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือที่จะทําให้การทําธุรกิจไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา เว้นแต่เป็นการกระทําที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในส่วนที่ 4 ของหมวด 4 หรือเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําตามกฎหมาย (6) ไม่รับหรือให้ค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าในรูปเงิน สิ่งของ หรือบริการยิ่งกว่าค่าตอบแทนหรือประโยชน์ปกติที่พึงได้รับหรือให้เนื่องจากการประกอบธุรกิจ (7) ดูแลไม่ให้มีการนําทรัพยากรของผู้ประกอบธุรกิจเข้าไปมีส่วนร่วมหรือถูกนําไปใช้ในทางที่มิชอบ ข้อ ๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากร กระทําการให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และต้องมีมาตรการอย่างเหมาะสมที่ทําให้บุคคลดังกล่าวผูกพันที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดนั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการแก้ไข ควบคุม และลงโทษ ตามความร้ายแรงของการกระทําของบุคคลตามวรรคหนึ่งที่เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติการตามประกาศนี้ ข้อ ๙ ในกรณีที่สมาคมมีการกําหนดแนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน หรือการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ โดยแนวทางดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางของสมาคมนั้นด้วย ในกรณีที่สมาคมมีการกําหนดแนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ โดยแนวทางดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้บุคลากรปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานนั้นด้วย ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่ทําข้อตกลงกับลูกค้าในลักษณะเป็นการตัดหรือจํากัดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับลูกค้า อันเนื่องจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคลากร ไม่ได้ดําเนินธุรกิจหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของประกาศนี้ หมวด ๓ โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากร ที่เหมาะสมและเพียงพอให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาความเหมาะสมและเพียงพอตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงลักษณะ ขนาด ปริมาณ ความซับซ้อน และความหลากหลาย ของธุรกิจและบริการ ตลอดจนระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับธุรกิจและบริการดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๒ โครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานตามข้อ 11 ต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดแผนกลยุทธ์ นโยบาย เป้าหมาย และระเบียบวิธีปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจอย่างชัดเจน ครบถ้วน และเข้าใจได้ง่าย (2) การกําหนดโครงสร้างองค์กร บทบาท อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดําเนินงานของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรที่ชัดเจน โดยอย่างน้อยต้องมีกรรมการอิสระซึ่งสามารถดูแล ตรวจสอบ และถ่วงดุลการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในได้ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ความในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการมีกรรมการอิสระ มิให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (3) ระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องมีความเหมาะสม น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า และเพื่อให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องตรงตามหน้าที่และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทําให้ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (4) ระบบในการตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ (5) ระบบตรวจสอบและควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ (6) การบริหารและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทุกด้านอย่างรัดกุม โดยต้องมีมาตรการอย่างเพียงพอที่จะป้องกันและจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ (7) ระบบงานและมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 18(2) (8) ระบบงานในการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (proprietary trading) ซึ่งเหมาะสมและเพียงพอที่สามารถป้องกันมิให้การลงทุน (ก) ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) เป็นผลให้การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนผิดไปจากสภาพปกติของตลาด (ค) มีลักษณะเป็นการลงทุนที่ไม่เหมาะสมในฐานะผู้มีวิชาชีพ (ง) ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ลูกค้าหรือความไม่เป็นธรรมกับลูกค้า (9) ระบบการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดย (ก) ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าอยู่ภายใต้การดูแลรักษาหรือจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ ต้องจัดให้มีระบบการจัดการอย่างเพียงพอในการคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้า และปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศเฉพาะที่กําหนดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (ข) ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้ทรัพย์สินของลูกค้าอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของบุคคลที่สาม ต้องจัดให้มีระบบการรับและส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับบุคคลที่สามที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถติดตามผลการรับและส่งมอบนั้นได้ โดยระหว่างรอการส่งมอบดังกล่าวหรือรอการลงทุนเพื่อลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบควบคุมดูแลทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อมิให้สูญหาย เสียหาย หรือมีการทุจริตในทรัพย์สินของลูกค้า (10) ระบบงานในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ (compliance) ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ (11) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ (12) ระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ และปลอดภัย โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อ 14 (13) ระบบงานเพิ่มเติมสําหรับการให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (ก) การวิเคราะห์การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามข้อ 49 (ข) การให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อลูกค้า (omnibus account) ตามข้อ 57 (ค) ระบบงานเพิ่มเติมที่ประกาศอื่นกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะให้บุคคลอื่นดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่กําหนดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะด้วย ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในจํานวนที่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์อย่างเหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย ในกรณีที่บุคลากรตามวรรคหนึ่งต้องได้ความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนปฏิบัติหน้าที่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้บุคลากรดังกล่าวผ่านการให้ความเห็นชอบของสํานักงานและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกําหนดด้วย ข้อ ๑๔ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการจัดการและจัดเก็บที่รัดกุม เป็นระเบียบ และพร้อมนําข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน มาใช้งานหรือตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาอันสมควร (2) ระบบตาม (1) ต้องสามารถป้องกัน (ก) การแก้ไข การสูญหาย หรือการถูกทําลาย อย่างไม่เหมาะสม (ข) การใช้หรือการเข้าถึงข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือขัดกับกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูล ที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า หรือข้อมูลที่ไม่เปิดเผยหรือยังไม่ได้เปิดเผยเป็นการทั่วไป (3) จัดให้มีบุคลากรทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบการเก็บรักษาเอกสาร หลักฐาน และข้อมูล เพื่อให้การจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานเป็นไปตามระบบใน (1) และสามารถป้องกันกรณีตาม (2) ได้ (4) ในกรณีที่มีการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน ในประกาศฉบับใดไว้เป็นการเฉพาะ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย หมวด ๔ การป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ส่วน ๑ ลักษณะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ข้อ ๑๕ การกระทําที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้หมายความถึงผลประโยชน์ที่ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผลประโยชน์ของลูกค้ากับผู้ประกอบธุรกิจ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (2) ผลประโยชน์ระหว่างลูกค้าด้วยกันของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการหลายประเภทหรือหลายลักษณะธุรกิจซึ่งลูกค้าในแต่ละประเภทหรือลักษณะธุรกิจมีผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน ข้อ ๑๖ การกระทําที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามหมวดนี้ ให้ครอบคลุมถึงการกระทําของผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจในลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) แสวงหาประโยชน์โดยให้ลูกค้าเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย (2) ทําธุรกรรมโดยอาศัยข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจ หรือกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจล่วงรู้มาจากการประกอบธุรกิจ และข้อมูลดังกล่าวไม่เปิดเผยเป็นการทั่วไป (3) ได้รับหรือจะได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าในรูปเงิน สิ่งของ หรือบริการจากบุคคลใด ๆ ยิ่งกว่าประโยชน์ปกติที่พึงได้รับจากการประกอบธุรกิจ (4) ได้รับหรือจะได้รับค่าตอบแทน โดยเอื้อประโยชน์แก่ลูกค้ารายใด ๆ ยิ่งกว่าประโยชน์ของลูกค้าอีกรายหนึ่ง ซึ่งทําให้มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อลูกค้าอีกรายหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มลูกค้าประเภทเดียวกันซึ่งควรจะได้รับบริการที่เท่าเทียมกัน (5) ไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าในแต่ละประเภทหรือลักษณะธุรกิจ ให้ได้รับประโยชน์ที่พึงได้รับอย่างเหมาะสม เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจได้รับประโยชน์จากผลของการให้บริการแก่ลูกค้าหรือการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้า ซึ่งไม่สอดคล้องกับประโยชน์ที่ลูกค้าพึงได้รับ หรือเนื่องจากมีประโยชน์ที่ขัดกันเองระหว่างลูกค้า (6) ทําธุรกรรมเพื่อลูกค้ากับผู้ประกอบธุรกิจนั้นเองหรือกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วน ๒ มาตรการป้องกันและจัดการ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบายป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ และมีการสื่อสารให้ทั่วถึงในองค์กร รวมทั้งต้องดําเนินการและควบคุมดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๘ นโยบายป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 17 ต้องมีสาระอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) กําหนดลักษณะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการประกอบธุรกิจทุกขั้นตอน (2) กําหนดระบบงานและมาตรการเพื่อป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าแต่ละประเภทจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดสําหรับลูกค้าในแต่ละประเภทนั้น (ข) สามารถป้องกันได้อย่างรัดกุมเพื่อไม่ให้มีการใช้ข้อมูลหรือโอกาสจากการให้บริการไปใช้ในทางมิชอบ (ค) จัดให้หน่วยงานและบุคลากรของหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ แยกส่วนการปฏิบัติงานหรือแบ่งแยกพื้นที่การปฏิบัติงาน และกําหนดวิธีปฏิบัติงานเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะเกิดจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานและบุคลากรดังกล่าว (ง) กําหนดระเบียบปฏิบัติหรือป้องกันการมีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้ 1. การห้ามการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทําที่มีลักษณะตามข้อ 16 เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมที่ประกาศนี้ให้กระทําได้ 2. การรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใดจากลูกค้า ผู้ให้บริการ หรือบุคคลอื่น 3. การเปิดบัญชี และการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถติดตามและตรวจสอบการลงทุนของบุคคลดังกล่าวได้ (3) มีมาตรการในการติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการและระบบงานที่กําหนดไว้ตาม (2) (4) กําหนดให้มีการทบทวนความเหมาะสมของมาตรการและระบบงานเพื่อป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตาม (2) เป็นประจํา โดยอย่างน้อยต้องทบทวนทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ และรายงานการทบทวนความเหมาะสมดังกล่าวต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ (5) มีการกําหนดมาตรการดังต่อไปนี้ สําหรับกรณีที่ปรากฏว่ากรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคลากรมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระบบงานหรือมาตรการที่กําหนดไว้ (ก) ลงโทษกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคลากร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามความเหมาะสม (ข) เยียวยาความเสียหายหรือชดเชยผลประโยชน์แก่ลูกค้า (ถ้ามี) (ค) ทบทวนระบบงานและมาตรการดังกล่าว รวมทั้งเสนอการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระบบงานและมาตรการที่กําหนดไว้ (ง) รายงานการดําเนินการตาม (ก) ถึง (ค) ให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า ส่วน ๓ ธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องห้ามมิให้กระทํา ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่กระทําการที่มีลักษณะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่กําหนดในข้อ 16 เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมที่ให้กระทําได้ตามส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่กระทําการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือผู้ลงทุนทั่วไป โดยการใช้ข้อมูลหรือโอกาสจากการให้บริการ ในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ทําธุรกรรมเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนดําเนินการเพื่อลูกค้า โดยอาศัยข้อมูลการสั่งซื้อ ขาย หรือเข้าทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้าหรือการตัดสินใจลงทุนเพื่อลูกค้า (front run) (2) อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนที่ตนเองจัดทําหรือได้รับมาเพื่อจะเผยแพร่ ก่อนมีการเผยแพร่การวิเคราะห์ดังกล่าว เพื่อซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น (3) ซื้อขายหรือเข้าทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยใช้ข้อมูลภายในที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อผู้ลงทุนทั่วไป หรือเปิดเผยข้อมูลภายในนั้นให้บุคคลอื่นได้ใช้ประโยชน์ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (3) คําว่า “ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใด ๆ อันเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ยังไม่ได้เปิดเผยเป็นการทั่วไป ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่ใช้บัญชีซื้อขายหรือบัญชีเพื่อการทําธุรกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้า เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น ส่วน ๔ ธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกระทําได้ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีเหตุอันสมควรที่จะทําธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 16(6) ผู้ประกอบธุรกิจจะทําธุรกรรมดังกล่าวได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นธุรกรรมที่คํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดสําหรับลูกค้า หรือจําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าในสถานการณ์ขณะนั้น (2) เป็นการทําธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติเสมือนเป็นการทําธุรกรรมกับบุคคลทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ (at arm’s length transactions) (3) ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพิ่มเติมที่สํานักงานประกาศกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติก่อนการทําธุรกรรม เพื่อให้มีความโปร่งใสหรือเป็นธรรมกับลูกค้า (ถ้ามี) ข้อ ๒๓ เมื่อผู้ประกอบธุรกิจได้ทําธุรกรรมตามข้อ 22 เรียบร้อยแล้ว ให้เปิดเผยผลการทําธุรกรรมดังกล่าวให้ลูกค้าหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนลูกค้าทราบอย่างเพียงพอและเหมาะสมด้วย ข้อ ๒๔ ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล ประสงค์จะทําธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างกองทุน หรือระหว่างลูกค้า ที่อยู่ภายใต้การจัดการของตนเอง (cross trade) ธุรกรรมที่จะทํานั้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นธุรกรรมที่มีความเหมาะสมต่อลักษณะ นโยบายการลงทุน และความจําเป็นในการลงทุนของกองทุนหรือลูกค้า ทั้งด้านผู้ซื้อและด้านผู้ขาย (2) ธุรกรรมดังกล่าวต้องไม่ใช่การซื้อขายหน่วยลงทุนระหว่างกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 126(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (3) ธุรกรรมดังกล่าวเป็นไปตามข้อ 22 ข้อ ๒๕ ในกรณีที่การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (proprietary trading) อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้าได้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องลงทุนด้วยความระมัดระวัง โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าก่อนประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ หมวด ๕ การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ตอน ๒๖ ในการติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ให้ลูกค้าทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการ และพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการดังกล่าว (1) ข้อมูลโดยทั่วไปของผู้ประกอบธุรกิจ (2) ลักษณะ ขอบเขต และเงื่อนไขการให้บริการที่เสนอต่อลูกค้า (3) ช่องทางการให้บริการ และการติดต่อสื่อสาร (4) สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และเงื่อนไข ที่ลูกค้ามีหรือต้องปฏิบัติเมื่อใช้บริการ (5) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) (6) วิธีปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นไปตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้น ข้อ ๒๗ การติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้า การแจ้งเตือนเรื่องต่าง ๆ หรือการให้ลูกค้าลงนามรับทราบหรือยอมรับการให้บริการหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้อยู่ในรูปเอกสารหรือรูปแบบที่สามารถจัดเก็บข้อมูลและตรวจดูข้อมูลได้ ข้อ ๒๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่มีระบบการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม รวมทั้งกระทําในเวลาที่เหมาะสม โดยข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารต้องชัดเจน น่าเชื่อถือ และไม่ทําให้ลูกค้าสําคัญผิด ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการประกอบธุรกิจอื่นหรือให้บริการอื่นนอกเหนือจากการให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนด้วย ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้การให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการแบ่งแยกพื้นที่ในการติดต่อหรือให้บริการลูกค้าออกจากพื้นที่การประกอบธุรกิจอื่นหรือให้บริการอื่นอย่างเป็นสัดส่วน และจัดให้มีป้ายหรือแสดงสัญลักษณ์ให้ลูกค้าเห็นได้อย่างชัดเจน (2) จัดให้บุคคลที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้าแสดงตนต่อลูกค้าว่าเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบธุรกิจให้ทําหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ทั้งนี้ ต้องแสดงตนตามวิธีการและช่องทางที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนด ส่วน ๑ การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า ข้อ ๓๐ ก่อนเริ่มให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) ทําความรู้จักลูกค้า (2) จัดประเภทลูกค้า (3) ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (4) พิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าเป็นสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเฉพาะวรรคหนึ่ง (3) ในการเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมสําหรับการเป็นสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๓๑ ในการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 30 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้าอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง และข้อมูลของผู้มีอํานาจกระทําการแทนบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี) (2) ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถและแหล่งที่มาของรายได้ที่นํามาใช้ในการชําระหนี้และการวางหลักประกันของลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะใช้บริการที่จําเป็นต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวประกอบด้วย (3) ข้อมูลอื่น ๆ อย่างน้อย ดังนี้ (ก) ฐานะทางการเงิน (ข) ประสบการณ์ในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (ค) ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (ง) วัตถุประสงค์ในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (จ) ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ข้อ ๓๒ ในการทําความรู้จักกับลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 31 เพื่อระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยอื่นใด ที่อาจทําให้ไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิเสธการให้บริการ ข้อ ๓๓ ในการจัดประเภทลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 31 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการที่สอดคล้องกับประเภทลูกค้า รวมทั้งการให้ข้อมูลและการแจ้งเตือนต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละประเภท ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยอื่นใด ที่อาจทําให้ไม่สามารถจัดประเภทลูกค้าได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการลูกค้าโดยจัดเป็นประเภทลูกค้าทั่วไป เมื่อได้ทําการจัดประเภทลูกค้าแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงผลการจัดประเภทของลูกค้า และต้องแจ้งให้ทราบถึงสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิ และระดับความเสี่ยง ของลูกค้าแต่ละประเภทด้วย รวมทั้งแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าอาจขอเปลี่ยนประเภทเพื่อรับการบริการเช่นเดียวกับประเภทลูกค้าทั่วไปได้ ข้อ ๓๔ ในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 31 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าก็ได้ (1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่และมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (3) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ (4) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น โดยลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่แล้วในวันที่ทําการลงทุน หรือในวันที่ได้รับสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น เมื่อได้ทําการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้าตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม พร้อมทั้งให้คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (basic asset allocation) โดยพิจารณาจากการประเมินความเหมาะสมดังกล่าว ในกรณีที่ลูกค้าตามวรรคหนึ่ง (1) แสดงความประสงค์ที่จะได้รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการประเมินข้อมูลของลูกค้าตามวรรคหนึ่งและดําเนินการตามข้อ 35 โดยอนุโลมในกรณีที่ลูกค้าไม่เหมาะสมที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทใด ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิเสธการให้บริการ เว้นแต่ในกรณีที่ลูกค้าเป็นสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและดําเนินการเท่าที่จําเป็นเพื่อให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบถึงประโยชน์และความจําเป็นในการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสม ในกรณีที่ข้อมูลจากการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าแสดงผลว่าลูกค้าไม่เหมาะสมที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทใด ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าทราบ (2) ในกรณีที่ลูกค้ายืนยันที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีคําแนะนําเกี่ยวกับลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทนของการลงทุนหรือการทําธุรกรรมนั้นเพิ่มเติม เพื่อให้ลูกค้าทบทวนหรือพิจารณาการตัดสินใจอีกครั้ง หากลูกค้ายังคงยืนยันที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมนั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ลูกค้าลงนามยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนหรือการทําธุรกรรมดังกล่าว ข้อ ๓๖ ในการพิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 31 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการที่สอดคล้องกับความสามารถดังกล่าวของลูกค้า ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินหรือพบข้อจํากัดเกี่ยวกับความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการไม่ว่าในขณะใด ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิเสธการให้บริการหรือจํากัดขอบเขตการให้บริการ ข้อ ๓๗ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลที่ได้รับตามข้อ 31 ให้เป็นปัจจุบันในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่ถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง และต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวที่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนําข้อมูลนั้นมาใช้ประกอบการให้บริการกับลูกค้าได้โดยไม่ชักช้า ส่วน ๒ การวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุนให้กับลูกค้า ข้อ ๓๘ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะทําการวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุนให้กับลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 13 เป็นผู้ทําหน้าที่ดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นที่มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 13 เป็นผู้ดําเนินการดังกล่าวแทน หรือจัดให้มีช่องทางที่ลูกค้าสามารถติดต่อกับบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 13 ให้ทําหน้าที่ดังกล่าว (2) พิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้าตามข้อมูลที่ได้จากการจัดประเภทลูกค้าและการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามข้อ 33 และข้อ 34 (3) ดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่จะแนะนําให้แก่ลูกค้าหรือที่ลูกค้าสนใจลงทุน โดยมีข้อมูลอย่างน้อยตามข้อ 42 อย่างเพียงพอ ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด (4) ดําเนินการให้มีการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน รวมทั้งเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (fact sheet) แก่ลูกค้า ให้เป็นไปตามหน้าที่ซึ่งผู้ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนต้องปฏิบัติ (5) ดูแลให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นไปตามความประสงค์ของลูกค้า โดยอย่างน้อยผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับบริการหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแก่ลูกค้าอย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมเหตุสมผล และไม่ทําให้สําคัญผิด (ข) มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าลูกค้าเข้าใจลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทนของบริการหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นอย่างดี ก่อนตัดสินใจใช้บริการ (6) ไม่เร่งรัดให้ลูกค้าตัดสินใจลงทุน โดยต้องให้เวลาลูกค้าอย่างเพียงพอที่จะทําให้ลูกค้าศึกษาข้อมูลและตัดสินใจใช้บริการผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมและป้องกันมิให้มีการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งยังไม่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือทําธุรกรรมของลูกค้า จนกว่าจะได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในระหว่างรอการตรวจสอบ ผู้ประกอบธุรกิจต้องเตือนให้ลูกค้าใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาตัดสินใจลงทุนหรือทําธุรกรรมด้วย ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าโดยบุคคลต่างประเทศ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) พิจารณาคัดเลือกบุคคลต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือและมีความสามารถในการให้คําแนะนํา รวมทั้งสามารถให้คําแนะนําได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจในต่างประเทศนั้น (2) พิจารณาคัดเลือกบุคคลต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) หรือหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีบันทึกความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือด้านการบังคับใช้กฎหมายและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสํานักงานในลักษณะทํานองเดียวกับที่กําหนดตาม MMOU และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีอํานาจตามกฎหมายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานได้ตามบันทึกความเข้าใจนั้น (3) แจ้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้บุคคลต่างประเทศทราบ (4) แจ้งชื่อและที่อยู่ของบุคคลต่างประเทศดังกล่าวเพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการให้คําแนะนําได้ และ (5) ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลบทวิเคราะห์ที่กําหนดโดยสมาคม ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะนําเสนอการให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนใดให้แก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องนําเสนอเฉพาะบริการที่มีความเหมาะสมกับลูกค้า โดยคํานึงถึงกรณีดังต่อไปนี้ประกอบกัน (1) ผลการจัดประเภทลูกค้า (2) ผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (3) คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (4) บทวิเคราะห์การลงทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําขึ้นเอง (5) การที่ลูกค้าจะได้รับข้อมูลหรือบริการที่เกี่ยวข้องหลังการลงทุนหรือการทําธุรกรรม ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่สนับสนุนหรือให้ความร่วมมือกับลูกค้าในการใช้บริการที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมกับฐานะทางการเงิน หรือความสามารถชําระหนี้ของบุคคลดังกล่าวต่อระบบการชําระราคาและส่งมอบผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ส่วน ๓ การศึกษาและทําความเข้าใจผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๔๑ ผู้ประกอบธุรกิจต้องศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่จะนํามาให้บริการต่อลูกค้า และต้องมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าผู้ทําหน้าที่แนะนําบริการของผู้ประกอบธุรกิจรู้และเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวเป็นอย่างดี และสามารถนําเสนอข้อมูลนั้นได้ ข้อ ๔๒ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามข้อ 41 ได้แก่ข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะ โครงสร้าง เงื่อนไข และผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (2) ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (3) สภาพคล่องของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (4) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือข้อมูลของผู้ที่จะทําธุรกรรมอีกฝ่ายหนึ่ง (ถ้ามี) (5) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (6) ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (7) ข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการให้บริการ (ถ้ามี) (8) ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของกองทุนรวม (fund performance) ที่ให้บริการเทียบกับผลการดําเนินงานของกองทุนรวมในกลุ่มเดียวกัน โดยต้องเป็นข้อมูลที่แสดงผลการดําเนินงานสูงสุด ต่ําสุด และค่าเฉลี่ย และเทียบกับตัวชี้วัดการดําเนินงาน (benchmark) ของกองทุนรวมที่ให้บริการนั้น (ถ้ามี) (9) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนหรือทําธุรกรรม (ถ้ามี) ส่วน ๔ การดําเนินการเมื่อลูกค้าตัดสินใจใช้บริการ ข้อ ๔๓ เมื่อลูกค้าตัดสินใจใช้บริการแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการตามความประสงค์ของลูกค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการด้วยความรวดเร็วตามสภาพ และดูแลตรวจสอบให้การให้บริการนั้นตรงตามความประสงค์ของลูกค้า (2) ดําเนินการให้การให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมเป็นไปตามกลไกตลาด และได้รับเงื่อนไขดีที่สุดตามสภาพตลาด (duty of best execution) (3) รายงานหรือแจ้งผลการดําเนินการให้ลูกค้าทราบโดยมีรายละเอียดอย่างเพียงพอภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ข้อ ๔๔ ในกรณีที่การให้บริการประเภทใดจําเป็นต้องจัดให้มีการทําข้อตกลงก่อนเริ่มให้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้เอกสารที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ทํากับลูกค้ามีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีการใช้ภาษาและขนาดตัวอักษรเพื่อแสดงเนื้อหาที่อ่านได้ง่าย ชัดเจน และเหมาะสมกับรูปแบบของเอกสาร และมีการเน้นตัวอักษรเมื่อเป็นข้อความสําคัญ เช่น คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง เป็นต้น (2) เลือกใช้ข้อความที่ไม่ทําให้เข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง (3) ไม่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (4) ครอบคลุมลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไข และช่องทางในการติดต่อการให้บริการ (5) มีข้อกําหนดเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจและลูกค้า (6) มีข้อมูล คําเตือน ข้อจํากัด ข้อห้าม หรือความเสี่ยงใดๆ ที่เกิดจากการใช้บริการ (7) จัดให้ลูกค้ารับทราบและยอมรับเงื่อนไขหรือข้อจํากัดการให้บริการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้น เช่น การให้ลูกค้าจัดหาข้อมูลเพิ่มเติม การงดให้บริการ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือพฤติกรรมการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสม (8) มีข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการให้บริการ หมวด ๖ การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ส่วน ๑ การโฆษณา ข้อ ๔๕ ความในส่วนนี้ไม่ใช้บังคับกับการโฆษณาดังต่อไปนี้ (1) การโฆษณาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการให้ความรู้ ทําความเข้าใจ หรือแจ้งข้อเท็จจริง เกี่ยวกับตลาดทุน การลงทุน ภาคการผลิตและบริการ หรือภาพรวมของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละประเภทหรือโดยรวม (2) การโฆษณาชี้ชวนให้ซื้อหลักทรัพย์โดยการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน ข้อ ๔๖ ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณา ต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหรือต่อการตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) ไม่เร่งรัดให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (3) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หรือเป็นการแสดงผลการดําเนินงานในอดีตอย่างเหมาะสม หรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม (ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข (ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ลูกค้าสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด (4) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนอย่างเหมาะสม และมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการหรือการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (5) หากเป็นการโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหรือจะเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ข้อมูลที่โฆษณาต้องเป็นข้อมูลที่สามารถดําเนินการได้โดยชอบ และต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงว่าเป็นการโฆษณาในระหว่างที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ยังไม่มีผลใช้บังคับ (6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้องมีข้อมูลของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนต้องเป็นเนื้อหาหลัก และข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสาระเป็นส่วนน้อย (8) หากเป็นการโฆษณาเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จะกระทําได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นคําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อสํานักงานแล้ว และในกรณีที่คําขอดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาคําขอนั้นจากสํานักงาน (9) หากเป็นการโฆษณาเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจจะนําค่าโฆษณามาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมใด ๆ ได้เฉพาะเมื่อการโฆษณานั้นเป็นไปเพื่อกองทุนรวมหรือจะเกิดประโยชน์ต่อกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ หากเป็นการโฆษณาเพื่อกองทุนรวมหลายกองรวมกัน ต้องมีหลักเกณฑ์การคิดค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากกองทุนรวมแต่ละกองอย่างเป็นธรรมด้วย (10) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ ดําเนินการให้เป็นไปตาม (1) ถึง (8) ข้อ ๔๗ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย ส่วน ๒ การส่งเสริมการขาย ข้อ ๔๘ ผู้ประกอบธุรกิจอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดลูกค้าโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน (2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด (3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ลูกค้าจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสม และเป็นธรรม (4) มีการแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย (5) หากเป็นการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่คิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายจากกองทุนรวม หมวด ๗ ข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ ส่วน ๑ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ข้อ ๔๙ ผู้ประกอบธุรกิจที่จัดให้มีการวิเคราะห์การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนให้กับลูกค้าต้องจัดให้มีระบบงานและมาตรการเพิ่มเติมจากที่กําหนดในข้อ 12 ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) มาตรการป้องกันมิให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนนําข้อมูลที่มีนัยสําคัญและยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ไปหาประโยชน์หรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่น (2) มาตรการป้องกันมิให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนรับค่าตอบแทนจากบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียกับการวิเคราะห์การลงทุนนั้น (3) ระบบควบคุมดูแลให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนมีความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ โดยไม่ถูกครอบงําหรือได้รับอิทธิพลจากผู้ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียในการจัดทําการวิเคราะห์การลงทุน (4) ระบบควบคุมดูแลให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้เป็นไปตามประเภทหรือขอบเขตการวิเคราะห์การลงทุนตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๕๐ ในกรณีที่เป็นการวิเคราะห์การลงทุนโดยใช้ข้อมูลของบุคคลอื่น ผู้ประกอบธุรกิจต้อง (1) พิจารณาคัดเลือกข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน (2) ตรวจสอบและระบุแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อการสืบค้นเพิ่มเติมได้ (3) ดูแลให้การใช้ข้อมูลเป็นไปตามกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล ข้อ ๕๑ การวิเคราะห์การลงทุนที่จัดทําในรูปบทวิเคราะห์หรือรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษรอื่นใด ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีการกําหนดลักษณะความเสี่ยงและความเหมาะสมในการลงทุนอย่างครบถ้วน (2) มีการแสดงข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่ชัดเจน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่อาจทําให้สําคัญผิด และมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ (3) ไม่อ้างอิงกับข้อมูลที่ไม่มีแหล่งที่มาหรือที่มีการปฏิเสธว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (4) ไม่มีลักษณะเป็นการกระตุ้นหรือยุยงให้ลูกค้าใช้บริการเพื่อลงทุนหรือทําธุรกรรมบ่อยครั้ง หรือเร่งรัดให้มีการใช้บริการเพื่อการลงทุนหรือเข้าทําธุรกรรม (5) จัดทําโดยอาศัยหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป (6) ในสาระที่เป็นการตีความ คาดการณ์ ประเมิน หรือความเห็น จะต้องมีการระบุลักษณะเช่นนั้นไว้อย่างชัดเจน และต้องแสดงเหตุผลหรือที่มาของการตีความ คาดการณ์ ประเมิน หรือความเห็นนั้นด้วย ในการวิเคราะห์การลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําให้เป็นไปตามแนวทางการจัดทําบทวิเคราะห์ขององค์กรหรือสถาบันที่ทําหน้าที่กําหนดมาตรฐานการจัดทําบทวิเคราะห์ที่สํานักงานยอมรับ หรือเป็นไปตามแนวทางที่กําหนดโดยสมาคมด้วย ข้อ ๕๒ ในการเผยแพร่การวิเคราะห์การลงทุนไม่ว่าช่องทางหรือวิธีการอื่นใด ที่จัดทําในรูปแบบบทวิเคราะห์หรือรูปแบบลายลักษณ์อักษรอื่นใด ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติดังนี้ (1) ตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของการวิเคราะห์การลงทุนก่อนนําไปเผยแพร่ (2) จัดให้บุคลากรที่ทําหน้าที่แนะนําการลงทุนทําความเข้าใจและนําบทวิเคราะห์การลงทุนนั้นไปใช้ประกอบการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม (3) นําเสนอการวิเคราะห์การลงทุนที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าแต่ละประเภท โดยให้พิจารณาจากข้อมูลของลูกค้าที่ได้จากการทําความรู้จักลูกค้าตามส่วนที่ 1 ของหมวด 5 (4) เมื่อมีการเสนอการวิเคราะห์การลงทุนตาม (3) แล้ว ต้องมีการนําเสนอการวิเคราะห์การลงทุนต่อลูกค้านั้นอย่างต่อเนื่อง ให้เหมาะสมกับภาวะการลงทุนหรือความต้องการของลูกค้า ข้อ ๕๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการมอบหมายบุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนผ่านสื่อไว้อย่างชัดเจน โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์อย่างเพียงพอที่จะทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนดังกล่าวได้ ก่อนการวิเคราะห์การลงทุนผ่านสื่อ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้บุคลากรตามวรรคหนึ่งแสดงตนและให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทนักวิเคราะห์ที่ตนได้รับความเห็นชอบให้ทําหน้าที่ได้ ข้อ ๕๔ ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จํากัดเฉพาะตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุนต้องจัดทําบทวิเคราะห์หุ้นด้านปัจจัยพื้นฐาน (fundamental analysis) และนําเสนอข้อมูลตามบทวิเคราะห์ดังกล่าวต่อลูกค้า โดยการจัดทําและนําเสนอข้อมูลบทวิเคราะห์ให้เป็นไปตามแนวทางเกี่ยวกับการจัดทําบทวิเคราะห์ที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ส่วน ๒ การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุน ข้อ ๕๕ ก่อนการขายหน่วยลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการให้คําแนะนําที่เหมาะสมถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของลูกค้า โดยพิจารณาจากผลการประเมินความเหมาะสมตามข้อ 34 ข้อ ๕๖ ในการให้บริการเพื่อซื้อขายหน่วยลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) จัดให้การซื้อขายหน่วยลงทุนเป็นไปตามโครงการจัดการกองทุน โดยหากจําเป็นต้องให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนที่แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการลงทุน ต้องเป็นการแตกต่างในรายละเอียดที่ไม่เกินกว่าที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุน และต้องเปิดเผยให้ลูกค้าทราบอย่างครบถ้วนและชัดเจน (2) จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศที่เกี่ยวข้อง (3) จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยลงทุนที่ให้บริการซื้อขายให้ลูกค้าทราบอย่างต่อเนื่อง (4) จัดการและจัดเก็บเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของลูกค้าอย่างเหมาะสมเพื่อมิให้เงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนปะปนกับทรัพย์สินอื่น ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ (5) คืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ลูกค้าโดยไม่ชักช้าในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากเงินดังกล่าวได้โดยเร็วที่สุด ข้อ ๕๗ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อลูกค้า (omnibus account) ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานที่รองรับการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการให้บริการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าจะได้รับการปฏิบัติต่อลูกค้าในเรื่องใดที่มีผลให้ลูกค้าได้รับเงื่อนไขหรือสิทธิประโยชน์แตกต่างจากลูกค้าที่ใช้บริการจากบริษัทจัดการกองทุนรวม รวมทั้งต้องจัดให้มีหลักฐานที่แสดงได้ว่าลูกค้าได้รับทราบและยอมรับเงื่อนไขการให้บริการที่แตกต่างดังกล่าวด้วย ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้การให้บริการตามวรรคหนึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และต้องไม่ทําให้ลูกค้าเสียสิทธิความเป็นเจ้าของหรือเสียผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้บริการด้วย ข้อ ๕๘ ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ที่ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องนําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนให้หรือรับเงินค่าขายหน่วยลงทุนคืนจากบริษัทจัดการกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจต้องนําส่งเงินให้หรือรับเงินจากบริษัทจัดการกองทุนรวมโดยไม่ชักช้า ข้อ ๕๙ ในกรณีที่ลูกค้าใช้บริการเพื่อซื้อขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์เป็นครั้งแรกสําหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนแต่ละกรมธรรม์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้สิทธิแก่ลูกค้าในการยกเลิกคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าว โดยในกรณีที่ลูกค้าใช้สิทธิขายคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ ผู้ประกอบธุรกิจจะเก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวมิได้ ข้อ ๖๐ ผู้ประกอบธุรกิจจะซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในตลาดรองได้ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) โครงการจัดการกองทุนรวม และข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ต้องไม่มีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้บริการซื้อขาย (2) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนตรงกับวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องซื้อขายหน่วยลงทุนในราคาเดียวกับราคาขายหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้คํานวณตามวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (3) การให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (2) ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยมูลค่าหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศล่าสุด ตลอดจนข้อมูลอื่นที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งสามารถทําให้ลูกค้าทราบถึงความแตกต่างระหว่างการซื้อขายหน่วยลงทุนกับผู้ประกอบธุรกิจกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ ความในวรรคหนึ่ง (2) และ (3) มิให้นํามาใช้บังคับกับการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ ส่วน ๓ การค้าผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็น หลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ ข้อ ๖๑ ในกรณีที่เป็นการให้บริการเพื่อค้าผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ ประเภทตราสารหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อขาย โดยอย่างน้อยต้องมีการแจ้งให้ลูกค้าทราบราคาที่เสนอซื้อขาย เงื่อนไข ระยะเวลาการซื้อขาย และเหตุแห่งการปฏิเสธไม่รับซื้อขาย อย่างชัดเจนด้วย ข้อ ๖๒ ผู้ประกอบธุรกิจที่ค้าหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เพื่อประโยชน์ในการรายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ ข้อ ๖๓ ผู้ประกอบธุรกิจที่ค้าหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือหน่วยงานอื่นที่สํานักงานยอมรับ ส่วน ๔ การให้บริการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๖๔ ในส่วนนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๖๕ การให้บริการนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการได้เฉพาะกับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น การให้บริการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น ข้อ ๖๖ การให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เฉพาะกับลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ผู้ลงทุนสถาบัน (2) นิติบุคคลอื่นที่ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่นิติบุคคลดังกล่าวมีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้อันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจในเชิงพาณิชย์ ข้อ ๖๗ ในการให้บริการแก่ลูกค้าตามข้อ 66(2) ให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าเป็นคู่สัญญากับลูกค้าได้เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของลูกค้า โดยต้องมีความเสี่ยง (risk profile) ในทางตรงกันข้ามกับความเสี่ยงของลูกค้าที่มีอยู่ในขณะทําสัญญา หรือเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถลดหรือจํากัดความเสี่ยงของลูกค้าที่มีอยู่ในขณะทําสัญญาอย่างมีนัยสําคัญ และต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอื่นเพิ่มเติม ยกเว้นความเสี่ยงที่เกิดจากคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นเอง ในการให้บริการตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจต้องตรวจสอบจนมั่นใจว่าผู้บริหารสูงสุดหรือผู้ได้รับมอบอํานาจของลูกค้าได้ให้ความเห็นชอบในการเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้ประกอบธุรกิจก่อนเข้าทําสัญญาแล้ว ส่วน ๕ การให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๖๘ ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) เมื่อลูกค้ามอบหมายให้ขายหลักทรัพย์โดยที่ผู้ประกอบธุรกิจยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ผู้ประกอบธุรกิจต้อง (ก) ให้ลูกค้านําหลักทรัพย์หรือใบตอบรับการโอนหลักทรัพย์ที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกหรือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์มามอบไว้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้ขายหลักทรัพย์นั้น (ข) บันทึกบัญชีการขายหลักทรัพย์นั้นให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริงไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้ขายหลักทรัพย์นั้น (ค) ดําเนินการส่งมอบเงินค่าขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าในวันทําการที่สามนับแต่วันที่ขายหลักทรัพย์นั้น (2) เมื่อลูกค้ามอบหมายให้ซื้อหลักทรัพย์ใด ผู้ประกอบธุรกิจต้อง (ก) ให้ลูกค้าทําสัญญายินยอมว่าในกรณีที่ลูกค้าไม่ชําระราคาหลักทรัพย์ภายในกําหนดเวลาตาม (2)(ค) ให้ผู้ประกอบธุรกิจขายหลักทรัพย์นั้นได้ทันทีและยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น (ข) บันทึกบัญชีการซื้อหลักทรัพย์นั้นให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริง พร้อมทั้งแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงจํานวนและราคาของหลักทรัพย์ที่ซื้อได้ ไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้ซื้อหลักทรัพย์นั้น (ค) ดําเนินการให้ลูกค้าชําระราคาทันทีหรืออย่างช้าไม่เกินสามวันทําการนับแต่วันที่ซื้อหลักทรัพย์ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งต้องส่งเงินเข้ามาในประเทศไทยเพื่อชําระราคาหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้ลูกค้าชําระราคาภายในสี่วันทําการนับแต่วันที่ซื้อหลักทรัพย์ หากลูกค้าไม่สามารถชําระราคาหลักทรัพย์ได้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการขายหลักทรัพย์นั้นไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว (ง) ดําเนินการส่งมอบหลักทรัพย์ให้ลูกค้าภายในสี่วันทําการนับแต่วันที่ซื้อหลักทรัพย์ โดยให้รวมถึงการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการนําหลักทรัพย์ไปลงทะเบียนโอนหลักทรัพย์หรือแยกหลักทรัพย์กับผู้ออกหลักทรัพย์และยังไม่ได้รับหลักทรัพย์นั้นจากผู้ออกหลักทรัพย์ (3) เมื่อลูกค้ามอบหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อหลักทรัพย์และมอบหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจขายหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้นโดยที่ยังมิได้ชําระราคาค่าซื้อหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้อง (ก) ให้ลูกค้าชําระราคาค่าซื้อหลักทรัพย์ก่อนจึงจะชําระเงินค่าขายหลักทรัพย์นั้นให้ลูกค้า โดยจะใช้การหักกลบราคาซื้อและราคาขายมิได้ (ข) ชําระเงินค่าขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า โดยจ่ายเช็คขีดคร่อมระบุข้อความเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น หมวด ๘ บทเฉพาะกาล ข้อ ๖๙ ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ในรายละเอียด ให้ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 34 /2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว หรือที่ยังมีผลใช้บังคับเนื่องจากบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ แนวทาง คําสั่ง หรือหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๗๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 34 /2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๗๑ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการอิสระตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการแต่งตั้งกรรมการดังกล่าวให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๗๒ ในกรณีที่ข้อตกลงในการให้บริการแก่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจยังไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
437
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2557 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ.9 /2557 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 16(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่ง ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การกําหนดโครงสร้างองค์กร บทบาท อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดําเนินงานของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรที่ชัดเจน โดยอย่างน้อยต้องมีกรรมการอิสระซึ่งสามารถดูแล ตรวจสอบ และถ่วงดุลการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในได้ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ความในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการมีกรรมการอิสระ มิให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนหรือการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 66 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 66 ในกรณีที่เป็นการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเข้าเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เฉพาะกับลูกค้าดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการให้บริการเพื่อลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (1) ผู้ลงทุนสถาบัน (2) นิติบุคคลอื่นที่ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่นิติบุคคลดังกล่าวมีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้อันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจในเชิงพาณิชย์” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 67/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 67/1 ในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องแต่งตั้งบุคลากรเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 71 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 71 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการอิสระตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการแต่งตั้งกรรมการดังกล่าวให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
438
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบงานที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานการเปลี่ยนแปลงระบบงานดังกล่าวต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 34 ในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 31 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าก็ได้ (1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่และมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (3) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ (4) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น โดยลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่แล้วในวันที่ทําการลงทุน หรือในวันที่ได้รับสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น (5) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนโดยการจองซื้อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ซึ่งลูกค้าได้รับสิทธิในการจองเนื่องจากมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ประกอบกัน (ก) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นมีความเสี่ยงไม่เกินกว่าระดับความเสี่ยงในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้น (ข) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นเสนอขายโดยบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกและแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว หรือเสนอขายโดยบริษัทจดทะเบียนอื่น (ค) บริษัทจดทะเบียนที่ลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นอยู่นั้น มีการถือหุ้นในบริษัทตาม (ข) (ง) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นเพื่อรักษาสิทธิที่ได้รับมาในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้เสนอสิทธิให้แก่ลูกค้านั้นจะเป็นบริษัทจดทะเบียนนั้นที่ลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นบริษัทที่เสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตาม (ข) ก็ตาม (6) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนโดยการจองซื้อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ที่ออกใหม่ โดยลูกค้าได้ลงนามยืนยันในเอกสารประกอบการจองซื้อหลักทรัพย์แล้วว่าได้ผ่านการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นมาแล้วไม่เกินกว่าสองปีก่อนวันที่ทําการลงทุน เมื่อได้ทําการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้าตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม พร้อมทั้งให้คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (basic asset allocation) โดยพิจารณาจากการประเมินความเหมาะสมดังกล่าว” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
439
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 62/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 62/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่ง ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2557 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การกําหนดโครงสร้างองค์กร บทบาท อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดําเนินงานของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรที่ชัดเจน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 71 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2557 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
440
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 94/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 94/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “(1/1) ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการจํากัดการโอนหรือการจํานําหน่วยลงทุน ซึ่งระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุข้อจํากัดดังกล่าวไว้ในคําขอเปิดบัญชีเพื่อซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
441
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 39 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน แลการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 39 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าโดยบุคลากรต่างประเทศ ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้า มาใช้บังคับกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าโดยบุคลากรจากต่างประเทศ โดยอนุโลม” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 39/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 39/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําเป็นคําแปลของคําแนะนําหรือบทวิเคราะห์ของบุคลากรต่างประเทศให้แก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลบทวิเคราะห์ที่กําหนดโดยสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยด้วย” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
442
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 16 วรรคหนึ่ง (6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ““ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 62/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558 “(3/1) ระบบงานในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 25/1” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/1 ของหมวด 5 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 25/1 ในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ที่ทําให้มั่นใจว่าช่องทางการติดต่อและให้บริการ การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบ และบุคลากรที่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบธุรกิจ มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความเสี่ยงและความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละประเภท โดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า รวมทั้งมีการกํากับดูแลให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามระบบงานที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นด้วย” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 34 ในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 31 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าก็ได้ (1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (3) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น โดยลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่แล้วในวันที่ทําการลงทุน หรือในวันที่ได้รับสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น (4) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนโดยการจองซื้อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ซึ่งลูกค้าได้รับสิทธิในการจองเนื่องจากมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ประกอบกัน (ก) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นมีความเสี่ยงไม่เกินกว่าระดับความเสี่ยงในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้น (ข) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นเสนอขายโดยบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกและแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว หรือเสนอขายโดยบริษัทจดทะเบียนอื่น (ค) บริษัทจดทะเบียนที่ลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นอยู่นั้น มีการถือหุ้นในบริษัทตาม (ข) (ง) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นเพื่อรักษาสิทธิที่ได้รับมาในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้เสนอสิทธิให้แก่ลูกค้านั้นจะเป็นบริษัทจดทะเบียนนั้นที่ลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นบริษัทที่เสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตาม (ข) ก็ตาม (5) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนโดยการจองซื้อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ที่ออกใหม่ โดยลูกค้าได้ลงนามยืนยันในเอกสารประกอบการจองซื้อหลักทรัพย์แล้วว่าได้ผ่านการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นมาแล้วไม่เกินกว่าสองปีก่อนวันที่ทําการลงทุน เมื่อได้ทําการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้าตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม พร้อมทั้งให้คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (basic asset allocation) โดยพิจารณาจากการประเมินความเหมาะสมดังกล่าว การจัดทําคําแนะนําเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนตามวรรคสอง ต้องกระทําโดยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และเป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 35/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน แลการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 35/1 ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้ลูกค้าลงทุนหรือทําธุรกรรมให้เป็นไปตามผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนตามข้อ 34 ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะลงทุนหรือทําธุรกรรมโดยไม่เป็นไปตามผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้ลูกค้าตระหนักถึงความเสี่ยงจากการลงทุนหรือทําธุรกรรมดังกล่าว” ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
443
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
444
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 18/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 9)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 15/2/2560 . CSDS เลขที่ 123/2558 ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 18/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 9) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 16 วรรคหนึ่ง (6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (3) ในข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้าง การบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) ฐานะทางการเงิน และในกรณีที่เป็นการให้บริการที่จําเป็นต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า (asset profile) ประกอบการให้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวด้วย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 33 ในการจัดประเภทลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้รับตามข้อ 31 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการที่สอดคล้องกับประเภทลูกค้า วัตถุประสงค์ในการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของลูกค้า รวมทั้งให้ข้อมูลและคําเตือนที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละประเภท” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
445
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 17/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 10)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 24/09/61 CSDS เลขที่ 47/2561.......... ครั้งที่ 1 ผ่านทาง.....CSDS.................. ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 17/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 34/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 34/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเสนอขายเฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินเพียงประเภทเดียวเท่านั้น ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าก็ได้” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
446
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 60/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 12)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 60/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 140/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “สาขาเฉพาะออนไลน์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” และ “การโฆษณา” ในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ““สาขาเฉพาะออนไลน์” หมายความว่า สาขาเฉพาะออนไลน์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขา” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) มีการแบ่งแยกพื้นที่ในการติดต่อหรือให้บริการลูกค้าออกจากพื้นที่การประกอบธุรกิจอื่นหรือให้บริการอื่นอย่างเป็นสัดส่วน และจัดให้มีป้ายหรือแสดงสัญลักษณ์ให้ลูกค้าเห็นได้อย่างชัดเจน ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับสาขาเฉพาะออนไลน์ที่มีการระบุถึงการให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ทําให้ลูกค้าสามารถทราบและเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการดังกล่าวได้อย่างชัดเจน” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
447
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 26/2563 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 13)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 26/2563 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 29/1 ของหมวด 5 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 29/1 มิให้นําความในหมวดนี้มาใช้บังคับกับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าสําหรับกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน เว้นแต่ ข้อ 30 วรรคหนึ่ง (1) ข้อ 31(1) ข้อ 32 ข้อ 37 ข้อ 43 และข้อ 44” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 55 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน” ข้อ 3 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
448
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11 ) -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 124/1 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ กํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3/1) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการ ของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3/1) ระบบงานในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 25/4” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้าง การบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 4/1 การติดตามดูแลการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และการกระทําที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมหรือ อาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับข้อ 25/1 ข้อ 25/2 และข้อ 25/3 แห่งประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “หมวด 4/1” การติดตามดูแลการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ ผู้ถือหน่วยลงทุน และการกระทําที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมหรือ อาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 25/1 นอกจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 4 การป้องกัน และการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ด้วย ข้อ 25/2 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการติดตามดูแลการกระทําของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมหรืออาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ โดยการติดตามดูแลดังกล่าวต้องมีความเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการของ บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือต้องมีการถ่วงดุลการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องดําเนินการ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดทําแนวทางในการดําเนินการเพื่อใช้ในการติดตามดูแลการกระทําของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรม หรืออาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ พร้อมทั้งพิจารณาทบทวนความมีประสิทธิภาพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ แนวทางในการดําเนินการดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม แนวทางในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังนี้ (ก) ขอบเขตของการติดตามดูแล โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังนี้ 1. การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงินกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงินที่ ไม่มีราคาตลาดหรือที่ไม่มีสภาพคล่อง 2. วิธีการบริหารจัดการกองทุนรวม 3. การคัดเลือกและติดตามการให้บริการของผู้ให้บริการ 4. การส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงิน 5. การเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน 6. การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ (ข) วิธีการในการติดตามดูแล (ค) ระยะเวลาในการยืดตามดูแล (ง) ผู้ดําเนินการติดตามดูแลตามขอบเขตที่กําหนดไว้ใน (ก) (2)จัดทําความเห็นอย่างน้อยในเรื่องดังนี้ (ก) นโยบายป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะเสนอต่อคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม โดยจัดทําความเห็นทุกครั้งที่มีการทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว (ข) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ วิธีการจัดการ หรือข้อผูกพัน ในกรณีที่ต้องได้รับมติพิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (3) รายงานผลการดําเนินการตาม (1) เสนอต่อคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม และจัดส่งให้สํานักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งภายใน 2 เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน ในกรณีที่พบการกระทําของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมหรืออาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึ่งได้รับ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทจัดการ กองทุนรวมและสํานักงานภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการกระทําดังกล่าว รายงานผลการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังนี้ (ก) เรื่องที่ติดตามดูแล (ข) ผลการติดตามดูแล (ค) แนวทางการแก้ไข (ถ้ามี) ข้อ 25/3 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งความเห็นตามข้อ 25/2 (2)(ข) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน (2) เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 25/2 (3) วรรคหนึ่ง ผ่านช่องทางที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถ เข้าถึงได้โดยง่ายภายในไตรมาสที่ 1 ของทุกปี” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/4 ของหมวด 5 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 25/4 ในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีระบบงาน เพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ที่ทําให้มั่นใจว่าช่องทางการติดต่อและให้บริการ การเปิดเผยข้อมูลการติดตามตรวจสอบ และบุคลากรที่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบธุรกิจ มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความเสี่ยงและความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละประเภท โดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า รวมทั้งมีการกํากับดูแลให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามระบบงานที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นด้วย” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 (นางสาวนวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
449
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2563 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 14)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 69/2563 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 19) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 29/2559 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
450
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 77/2564 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 15)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 77/2564 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 140/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 34/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 34/2 ในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจประเมินความเหมาะสมดังกล่าวของลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนตามภาคผนวกท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตาม 25. (2) ผู้ลงทุนตาม 26. เว้นแต่ผู้ลงทุนนั้นเป็นนิติบุคคลและแสดงเจตนาที่จะไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
451
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงานและการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 98(3) (5) และ (7) มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 16(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป เว้นแต่ (1) ข้อ 42(8) ที่เกี่ยวกับข้อมูลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานของกองทุนรวมให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป (2) ข้อ 34 วรรคสอง ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (basic asset allocation) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป หมวด 1 ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์การกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 2 เนื่องจากการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการในระบบตลาดทุน ส่งผลอย่างมีนัยสําคัญต่อความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทย หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้จึงกําหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นมาตรฐานที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นการให้บริการที่คํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้าเป็นสําคัญ ปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า และป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนและภาพลักษณ์ของตลาดทุนไทย ส่วนที่ 2 หลักการในการดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 3 ในการดําเนินธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักการดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยในการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ทั้งนี้ การดําเนินธุรกิจในเรื่องใดที่ประกาศนี้หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนฉบับอื่น รวมทั้งประกาศหรือแนวทางที่ออกตามประกาศนี้หรือประกาศดังกล่าว มิได้มีข้อกําหนดไว้ หรือมีข้อกําหนดแต่จําเป็นต้องพิจารณาหรือตีความข้อกําหนดดังกล่าวผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินธุรกิจ พิจารณา หรือตีความให้เป็นไปตามหลักการของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ส่วนที่ 3 สาระสําคัญของข้อกําหนด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 ประกาศนี้มีข้อกําหนดในการกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การประกอบธุรกิจในฐานะผู้มีวิชาชีพ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 2 (2) โครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงาน โดยมีรายละเอียดตามหมวด 3 (3) การป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 4 (4) การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า โดยมีรายละเอียดตามหมวด 5 (5) การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย โดยมีรายละเอียดตามหมวด 6 (6) ข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 7 ในการออกข้อกําหนดตามประกาศนี้มีผลเป็นการยกเลิกข้อกําหนดตามประกาศที่มีรายชื่ออยู่ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 34/2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และรวมถึงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศที่ยกเลิกดังกล่าว การปฏิบัติตามประกาศนี้ในระยะแรกให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาล โดยมีรายละเอียดตามหมวด 8 ส่วนที่ 4 อํานาจสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวเดียวกัน ทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจกําหนดตามประเภทธุรกิจหรือประเภทผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนก็ได้ (2) กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบางประเภทได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกําหนดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามประกาศนี้เป็นการทั่วไปเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าข้อกําหนดในเรื่องดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการให้บริการแก่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) ไม่สอดคล้องหรือไม่เหมาะสมกับสภาพการประกอบธุรกิจ (ค) ไม่มีความจําเป็นสําหรับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนบางประเภท (3) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น (4) เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทําการที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของประกาศนี้ สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขอความเห็นชอบการดําเนินการใดตามประกาศนี้ก่อนการดําเนินการนั้นก็ได้ (5) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือข้อกําหนดที่สํานักงานออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้นแก้ไขหรืองดเว้นการกระทํา หรือสั่งให้กระทําการ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดอย่างสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์ เรื่อง และประเด็นที่เกี่ยวข้อง (6) เพื่อให้สํานักงานสามารถติดตามการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ให้สํานักงานกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งข้อมูล รายงาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่เหมาะสมได้ หรือจะสั่งการเป็นรายกรณีโดยต้องไม่เป็นภาระต่อผู้ประกอบธุรกิจจนเกินสมควรทั้งนี้ ระยะเวลาที่สํานักงานจะกําหนดให้เป็นไปตามกรอบ ดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนและมีผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ลงทุน หรือตลาดทุน อย่างมีนัยสําคัญ สํานักงานอาจกําหนดให้ดําเนินการภายในวันทําการที่เกิดกรณีดังกล่าวได้ (ข) ในกรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้กําหนดระยะเวลาอย่างสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์ เรื่อง และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 5 บทนิยาม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 6 ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนหรือการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ และผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ และให้หมายความรวมถึง กองทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วย “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สาขาเฉพาะออนไลน์”(( หมายความว่า สาขาเฉพาะออนไลน์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขา “การโฆษณา” หมายความว่า การทําให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการหรือการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยทางข้อความ ภาพ เสียง เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ และไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อ หรือเครื่องมือใด ๆ “การส่งเสริมการขาย” หมายความว่า การให้ของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแก่ลูกค้า เพื่อจูงใจให้ลูกค้าใช้บริการหรือตอบแทนที่ลูกค้าใช้บริการ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจนําเสนอ “ผู้ลงทุนสถาบัน”( หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ”( หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่” “ผู้ลงทุนรายใหญ่”( หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่” “สมาคม” หมายความว่า (1) สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ (2) สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หมวด 2 การประกอบธุรกิจในฐานะผู้มีวิชาชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7 ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ (1) ประกอบธุรกิจและให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และใช้ความรู้ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา (2) ดําเนินธุรกิจโดยรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งรักษาความน่าเชื่อถือของตลาดทุนเป็นสําคัญ ตลอดจนดําเนินธุรกิจด้วยความสมเหตุสมผลซึ่งเหมาะสมกับเวลา ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจ และการให้บริการ (3) ให้บริการอย่างมีคุณภาพ และปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันโดยคํานึงถึงประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขของลูกค้า (4) ไม่กระทําการใดที่จะเป็นผลให้ลูกค้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจํากัดหรือหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่ลูกค้าแจ้งว่ามีข้อจํากัดหรือมีหน้าที่ตามกฎหมายนั้น (5) ไม่กระทําการใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือที่จะทําให้การทําธุรกิจไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทําเว้นแต่เป็นการกระทําที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในส่วนที่ 4 ของหมวด 4 หรือเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําตามกฎหมาย (6) ไม่รับหรือให้ค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าในรูปเงิน สิ่งของ หรือบริการยิ่งกว่าค่าตอบแทนหรือประโยชน์ปกติที่พึงได้รับหรือให้เนื่องจากการประกอบธุรกิจ (7) ดูแลไม่ให้มีการนําทรัพยากรของผู้ประกอบธุรกิจเข้าไปมีส่วนร่วมหรือถูกนําไปใช้ในทางที่มิชอบ ข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากร กระทําการให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และต้องมีมาตรการอย่างเหมาะสมที่ทําให้บุคคลดังกล่าวผูกพันที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดนั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีมาตรการแก้ไข ควบคุม และลงโทษ ตามความร้ายแรงของการกระทําของบุคคลตามวรรคหนึ่งที่เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติการตามประกาศนี้ ข้อ 9 ในกรณีที่สมาคมมีการกําหนดแนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน หรือการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ โดยแนวทางดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางของสมาคมนั้นด้วย ในกรณีที่สมาคมมีการกําหนดแนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ โดยแนวทางดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้บุคลากรปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานนั้นด้วย ข้อ 10 ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่ทําข้อตกลงกับลูกค้าในลักษณะเป็นการตัดหรือจํากัดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับลูกค้า อันเนื่องจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคลากร ไม่ได้ดําเนินธุรกิจหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของประกาศนี้ หมวด 3 โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11(( ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากร ที่เหมาะสมและเพียงพอให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความรับผิดชอบ และเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจอาจให้บุคคลอื่นที่ดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบธุรกิจตามข้อ 12 วรรคสอง หรือผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นที่ร่วมกันให้บริการต่อลูกค้าตามข้อ 12/1 เป็นผู้ดําเนินการได้ การพิจารณาความเหมาะสมและเพียงพอตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงลักษณะ ขนาด ปริมาณ ความซับซ้อน และความหลากหลาย ของธุรกิจและบริการ ตลอดจนระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับธุรกิจและบริการดังกล่าวด้วย ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานต่อสํานักงาน ตามระยะเวลาที่กําหนด (1) กรณีเปลี่ยนแปลงระบบงานที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อการประกอบธุรกิจ หรือเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบธุรกิจที่ร่วมกันให้บริการต่อลูกค้า ให้รายงานโดยไม่ชักช้า (2) กรณีเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการให้บุคคลอื่นดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบธุรกิจ ให้รายงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ข้อ 12 โครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานตามข้อ 11 ต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดแผนกลยุทธ์ นโยบาย เป้าหมาย และระเบียบวิธีปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจอย่างชัดเจน ครบถ้วน และเข้าใจได้ง่าย (2)3 การกําหนดโครงสร้างองค์กร บทบาท อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดําเนินงานของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรที่ชัดเจน (3) ระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องมีความเหมาะสม น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า และเพื่อให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องตรงตามหน้าที่และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทําให้ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (3/1)(( ระบบงานในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 25/4 (4) ระบบในการตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ (5) ระบบตรวจสอบและควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ (6) การบริหารและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทุกด้านอย่างรัดกุม โดยต้องมีมาตรการอย่างเพียงพอที่จะป้องกันและจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ (7) ระบบงานและมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 18(2) (8) ระบบงานในการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ(proprietary trading) ซึ่งเหมาะสมและเพียงพอที่สามารถป้องกันมิให้การลงทุน (ก) ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) เป็นผลให้การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนผิดไปจากสภาพปกติของตลาด (ค) มีลักษณะเป็นการลงทุนที่ไม่เหมาะสมในฐานะผู้มีวิชาชีพ (ง) ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ลูกค้าหรือความไม่เป็นธรรมกับลูกค้า (9) ระบบการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดย (ก) ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าอยู่ภายใต้การดูแลรักษาหรือจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ ต้องจัดให้มีระบบการจัดการอย่างเพียงพอในการคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้า และปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศเฉพาะที่กําหนดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (ข) ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้ทรัพย์สินของลูกค้าอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของบุคคลที่สาม ต้องจัดให้มีระบบการรับและส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับบุคคลที่สามที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถติดตามผลการรับและส่งมอบนั้นได้ โดยระหว่างรอการส่งมอบดังกล่าวหรือรอการลงทุนเพื่อลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบควบคุมดูแลทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อมิให้สูญหาย เสียหาย หรือมีการทุจริตในทรัพย์สินของลูกค้า (10) ระบบงานในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ (compliance)ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจ (11) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ (12) ระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ และปลอดภัย โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อ 14 (13) ระบบงานเพิ่มเติมสําหรับการให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (ก) การวิเคราะห์การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามข้อ 49 (ข) การให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อลูกค้า (omnibus account) ตามข้อ 57 (ค) ระบบงานเพิ่มเติมที่ประกาศอื่นกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะให้บุคคลอื่นดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่กําหนดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะด้วย ข้อ 12/1(( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจรายใดประสงค์จะร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นในการให้บริการแก่ลูกค้าในงานที่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อให้การบริการเหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทธุรกิจตามใบอนุญาตที่ได้รับ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งแจ้งให้ลูกค้าทราบ (1) ทําข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่ร่วมกันให้บริการ (2) ทําข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายกับลูกค้า ข้อตกลงหรือสัญญาตามวรรคหนึ่งต้องมีการกําหนดเกี่ยวกับการแบ่งแยกหน้าที่ และความรับผิดชอบในการให้บริการอย่างชัดเจน รวมทั้งลักษณะ ขอบเขต และเงื่อนไข ในการให้บริการด้วย ข้อ 13 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในจํานวนที่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์อย่างเหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย ในกรณีที่บุคลากรตามวรรคหนึ่งต้องได้ความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนปฏิบัติหน้าที่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้บุคลากรดังกล่าวผ่านการให้ความเห็นชอบของสํานักงานและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกําหนดด้วย ข้อ 14 ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการจัดการและจัดเก็บที่รัดกุม เป็นระเบียบ และพร้อมนําข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน มาใช้งานหรือตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาอันสมควร (2) ระบบตาม (1) ต้องสามารถป้องกัน (ก) การแก้ไข การสูญหาย หรือการถูกทําลาย อย่างไม่เหมาะสม (ข) การใช้หรือการเข้าถึงข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือขัดกับกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูล ที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า หรือข้อมูลที่ไม่เปิดเผยหรือยังไม่ได้เปิดเผยเป็นการทั่วไป (3) จัดให้มีบุคลากรทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบการเก็บรักษาเอกสาร หลักฐาน และข้อมูล เพื่อให้การจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานเป็นไปตามระบบใน (1) และสามารถป้องกันกรณีตาม (2) ได้ (4) ในกรณีที่มีการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน ในประกาศฉบับใดไว้เป็นการเฉพาะ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย หมวด 4 การป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 ลักษณะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 15 การกระทําที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้หมายความถึงผลประโยชน์ที่ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผลประโยชน์ของลูกค้ากับผู้ประกอบธุรกิจ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (2) ผลประโยชน์ระหว่างลูกค้าด้วยกันของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการหลายประเภทหรือหลายลักษณะธุรกิจซึ่งลูกค้าในแต่ละประเภทหรือลักษณะธุรกิจมีผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน ข้อ 16 การกระทําที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามหมวดนี้ ให้ครอบคลุมถึงการกระทําของผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจในลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) แสวงหาประโยชน์โดยให้ลูกค้าเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย (2) ทําธุรกรรมโดยอาศัยข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจ หรือกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจล่วงรู้มาจากการประกอบธุรกิจ และข้อมูลดังกล่าวไม่เปิดเผยเป็นการทั่วไป (3) ได้รับหรือจะได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าในรูปเงิน สิ่งของ หรือบริการจากบุคคลใด ๆ ยิ่งกว่าประโยชน์ปกติที่พึงได้รับจากการประกอบธุรกิจ (4) ได้รับหรือจะได้รับค่าตอบแทน โดยเอื้อประโยชน์แก่ลูกค้ารายใด ๆ ยิ่งกว่าประโยชน์ของลูกค้าอีกรายหนึ่ง ซึ่งทําให้มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อลูกค้าอีกรายหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มลูกค้าประเภทเดียวกันซึ่งควรจะได้รับบริการที่เท่าเทียมกัน (5) ไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าในแต่ละประเภทหรือลักษณะธุรกิจ ให้ได้รับประโยชน์ที่พึงได้รับอย่างเหมาะสม เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจได้รับประโยชน์จากผลของการให้บริการแก่ลูกค้าหรือการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้า ซึ่งไม่สอดคล้องกับประโยชน์ที่ลูกค้าพึงได้รับ หรือเนื่องจากมีประโยชน์ที่ขัดกันเองระหว่างลูกค้า (6) ทําธุรกรรมเพื่อลูกค้ากับผู้ประกอบธุรกิจนั้นเองหรือกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 มาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 17 ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบายป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ และมีการสื่อสารให้ทั่วถึงในองค์กร รวมทั้งต้องดําเนินการและควบคุมดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวด้วย ข้อ 18 นโยบายป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 17ต้องมีสาระอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) กําหนดลักษณะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการประกอบธุรกิจทุกขั้นตอน (2) กําหนดระบบงานและมาตรการเพื่อป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าแต่ละประเภทจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดสําหรับลูกค้าในแต่ละประเภทนั้น (ข) สามารถป้องกันได้อย่างรัดกุมเพื่อไม่ให้มีการใช้ข้อมูลหรือโอกาสจากการให้บริการไปใช้ในทางมิชอบ (ค) จัดให้หน่วยงานและบุคลากรของหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ แยกส่วนการปฏิบัติงานหรือแบ่งแยกพื้นที่การปฏิบัติงาน และกําหนดวิธีปฏิบัติงานเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะเกิดจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานและบุคลากรดังกล่าว (ง) กําหนดระเบียบปฏิบัติหรือป้องกันการมีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้ 1. การห้ามการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทําที่มีลักษณะตามข้อ 16 เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมที่ประกาศนี้ให้กระทําได้ 2. การรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใดจากลูกค้า ผู้ให้บริการ หรือบุคคลอื่น 3. การเปิดบัญชี และการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถติดตามและตรวจสอบการลงทุนของบุคคลดังกล่าวได้ (3) มีมาตรการในการติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการและระบบงานที่กําหนดไว้ตาม (2) (4) กําหนดให้มีการทบทวนความเหมาะสมของมาตรการและระบบงานเพื่อป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตาม (2) เป็นประจํา โดยอย่างน้อยต้องทบทวนทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ และรายงานการทบทวนความเหมาะสมดังกล่าวต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ (5) มีการกําหนดมาตรการดังต่อไปนี้ สําหรับกรณีที่ปรากฏว่ากรรมการ ผู้บริหารหรือบุคลากรมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระบบงานหรือมาตรการที่กําหนดไว้ (ก) ลงโทษกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคลากร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามความเหมาะสม (ข) เยียวยาความเสียหายหรือชดเชยผลประโยชน์แก่ลูกค้า (ถ้ามี) (ค) ทบทวนระบบงานและมาตรการดังกล่าว รวมทั้งเสนอการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระบบงานและมาตรการที่กําหนดไว้ (ง) รายงานการดําเนินการตาม (ก) ถึง (ค) ให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า ส่วนที่ 3 ธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องห้ามมิให้กระทํา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 19 ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่กระทําการที่มีลักษณะเป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่กําหนดในข้อ 16 เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมที่ให้กระทําได้ตามส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ ข้อ 20 ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่กระทําการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือผู้ลงทุนทั่วไป โดยการใช้ข้อมูลหรือโอกาสจากการให้บริการ ในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ทําธุรกรรมเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนดําเนินการเพื่อลูกค้าโดยอาศัยข้อมูลการสั่งซื้อ ขาย หรือเข้าทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้าหรือการตัดสินใจลงทุนเพื่อลูกค้า (front run) (2) อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนที่ตนเองจัดทําหรือได้รับมาเพื่อจะเผยแพร่ ก่อนมีการเผยแพร่การวิเคราะห์ดังกล่าว เพื่อซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น (3) ซื้อขายหรือเข้าทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยใช้ข้อมูลภายในที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อผู้ลงทุนทั่วไป หรือเปิดเผยข้อมูลภายในนั้นให้บุคคลอื่นได้ใช้ประโยชน์ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (3) คําว่า “ข้อมูลภายใน” หมายความว่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใด ๆ อันเป็นสาระสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ยังไม่ได้เปิดเผยเป็นการทั่วไป ข้อ 21 ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่ใช้บัญชีซื้อขายหรือบัญชีเพื่อการทําธุรกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้า เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น ส่วนที่ 4 ธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกระทําได้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีเหตุอันสมควรที่จะทําธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 16(6) ผู้ประกอบธุรกิจจะทําธุรกรรมดังกล่าวได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นธุรกรรมที่คํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดสําหรับลูกค้า หรือจําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าในสถานการณ์ขณะนั้น (2) เป็นการทําธุรกรรมในลักษณะที่เป็นธรรมเนียมทางค้าปกติเสมือนเป็นการทําธุรกรรมกับบุคคลทั่วไปที่มิได้มีความเกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ (at arm’s length transactions) (3) ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพิ่มเติมที่สํานักงานประกาศกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติก่อนการทําธุรกรรม เพื่อให้มีความโปร่งใสหรือเป็นธรรมกับลูกค้า (ถ้ามี) ข้อ 23 เมื่อผู้ประกอบธุรกิจได้ทําธุรกรรมตามข้อ 22 เรียบร้อยแล้ว ให้เปิดเผยผลการทําธุรกรรมดังกล่าวให้ลูกค้าหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนลูกค้าทราบอย่างเพียงพอและเหมาะสมด้วย ข้อ 24 ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล ประสงค์จะทําธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างกองทุน หรือระหว่างลูกค้า ที่อยู่ภายใต้การจัดการของตนเอง (cross trade) ธุรกรรมที่จะทํานั้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นธุรกรรมที่มีความเหมาะสมต่อลักษณะ นโยบายการลงทุน และความจําเป็นในการลงทุนของกองทุนหรือลูกค้า ทั้งด้านผู้ซื้อและด้านผู้ขาย (2)( ยกเลิก (3) ธุรกรรมดังกล่าวเป็นไปตามข้อ 22 ข้อ 25 ในกรณีที่การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (proprietary trading) อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้าได้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องลงทุนด้วยความระมัดระวังโดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าก่อนประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ หมวด 4/1((การติดตามดูแลการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และการกระทําที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมหรืออาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 25/1 นอกจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 4 การป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์แล้ว บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ด้วย ข้อ 25/2 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องจัดให้มีการติดตามดูแลการกระทําของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมหรืออาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ โดยการติดตามดูแลดังกล่าวต้องมีความเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือต้องมีการถ่วงดุลการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดทําแนวทางในการดําเนินการเพื่อใช้ในการติดตามดูแลการกระทําของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมหรืออาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ พร้อมทั้งพิจารณาทบทวนความมีประสิทธิภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ แนวทางในการดําเนินการดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม แนวทางในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังนี้ (ก) ขอบเขตของการติดตามดูแล โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังนี้ 1. การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงินกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงินที่ไม่มีราคาตลาดหรือที่ไม่มีสภาพคล่อง 2. วิธีการบริหารจัดการกองทุนรวม 3. การคัดเลือกและติดตามการให้บริการของผู้ให้บริการ 4. การส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและตราสารทางการเงิน 5. การเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมหรือผู้ถือหน่วยลงทุน 6. การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ (ข) วิธีการในการติดตามดูแล (ค) ระยะเวลาในการติดตามดูแล (ง) ผู้ดําเนินการติดตามดูแลตามขอบเขตที่กําหนดไว้ใน (ก) (2) จัดทําความเห็นอย่างน้อยในเรื่องดังนี้ (ก) นโยบายป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะเสนอต่อคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวมหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม โดยจัดทําความเห็นทุกครั้งที่มีการทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว (ข) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ วิธีการจัดการ หรือข้อผูกพัน ในกรณีที่ต้องได้รับมติพิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (3) รายงานผลการดําเนินการตาม (1) เสนอต่อคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวมและจัดส่งให้สํานักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งภายใน 2 เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน ในกรณีที่พบการกระทําของบริษัทจัดการกองทุนรวมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และที่อาจมีลักษณะไม่เป็นธรรมหรืออาจทําให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียประโยชน์อันพึงได้รับ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวมและสํานักงานภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการกระทําดังกล่าว รายงานผลการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังนี้ (ก) เรื่องที่ติดตามดูแล (ข) ผลการติดตามดูแล (ค) แนวทางการแก้ไข (ถ้ามี) ข้อ 25/3 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งความเห็นตามข้อ 25/2 (2)(ข) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน (2) เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 25/2 (3) วรรคหนึ่ง ผ่านช่องทางที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายภายในไตรมาสที่ 1 ของทุกปี หมวด 5 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 25/4(( ในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ที่ทําให้มั่นใจว่าช่องทางการติดต่อและให้บริการ การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบ และบุคลากรที่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบธุรกิจ มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความเสี่ยงและความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละประเภท โดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า รวมทั้งมีการกํากับดูแลให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามระบบงานที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นด้วย ข้อ 26 ในการติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ให้ลูกค้าทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการ และพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการดังกล่าว (1) ข้อมูลโดยทั่วไปของผู้ประกอบธุรกิจ (2) ลักษณะ ขอบเขต และเงื่อนไขการให้บริการที่เสนอต่อลูกค้า (3) ช่องทางการให้บริการ และการติดต่อสื่อสาร (4) สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และเงื่อนไข ที่ลูกค้ามีหรือต้องปฏิบัติเมื่อใช้บริการ (5) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) (6) วิธีปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นไปตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้น ข้อ 27 การติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้า การแจ้งเตือนเรื่องต่าง ๆ หรือการให้ลูกค้าลงนามรับทราบหรือยอมรับการให้บริการหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้อยู่ในรูปเอกสารหรือรูปแบบที่สามารถจัดเก็บข้อมูลและตรวจดูข้อมูลได้ ข้อ 28 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่มีระบบการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม รวมทั้งกระทําในเวลาที่เหมาะสม โดยข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารต้องชัดเจน น่าเชื่อถือ และไม่ทําให้ลูกค้าสําคัญผิด ข้อ 29 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการประกอบธุรกิจอื่นหรือให้บริการอื่นนอกเหนือจากการให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนด้วยผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้การให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1)(( มีการแบ่งแยกพื้นที่ในการติดต่อหรือให้บริการลูกค้าออกจากพื้นที่การประกอบธุรกิจอื่นหรือให้บริการอื่นอย่างเป็นสัดส่วน และจัดให้มีป้ายหรือแสดงสัญลักษณ์ให้ลูกค้าเห็นได้อย่างชัดเจน ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับสาขาเฉพาะออนไลน์ที่มีการระบุถึงการให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ทําให้ลูกค้าสามารถทราบและเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการดังกล่าวได้อย่างชัดเจน (2) จัดให้บุคคลที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้าแสดงตนต่อลูกค้าว่าเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบธุรกิจให้ทําหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั้งนี้ ต้องแสดงตนตามวิธีการและช่องทางที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนด ข้อ 29/1(( มิให้นําความในหมวดนี้มาใช้บังคับกับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าสําหรับกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน เว้นแต่ ข้อ 30 วรรคหนึ่ง (1) ข้อ 31(1) ข้อ 32 ข้อ 37 ข้อ 43 และข้อ 44 ส่วนที่ 1 การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 30 ก่อนเริ่มให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) ทําความรู้จักลูกค้า (2) จัดประเภทลูกค้า (3) ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (4) พิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าเป็นสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเฉพาะวรรคหนึ่ง (3) ในการเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมสําหรับการเป็นสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ 31 ในการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 30ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้าอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง และข้อมูลของผู้มีอํานาจกระทําการแทนบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี) (2) ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถและแหล่งที่มาของรายได้ที่นํามาใช้ในการชําระหนี้และการวางหลักประกันของลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะใช้บริการที่จําเป็นต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวประกอบด้วย (3) ข้อมูลอื่น ๆ อย่างน้อย ดังนี้ (ก)( ฐานะทางการเงิน และในกรณีที่เป็นการให้บริการที่จําเป็นต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า (asset profile) ประกอบการให้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวด้วย (ข) ประสบการณ์ในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (ค) ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (ง) วัตถุประสงค์ในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (จ) ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ข้อ 32 ในการทําความรู้จักกับลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 31 เพื่อระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยอื่นใด ที่อาจทําให้ไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิเสธการให้บริการ ข้อ 33( ในการจัดประเภทลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้รับตามข้อ 31 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการที่สอดคล้องกับประเภทลูกค้า วัตถุประสงค์ในการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของลูกค้า รวมทั้งให้ข้อมูลและคําเตือนที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละประเภท ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยอื่นใด ที่อาจทําให้ไม่สามารถจัดประเภทลูกค้าได้ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการลูกค้าโดยจัดเป็นประเภทลูกค้าทั่วไป เมื่อได้ทําการจัดประเภทลูกค้าแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงผลการจัดประเภทของลูกค้า และต้องแจ้งให้ทราบถึงสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิ และระดับความเสี่ยง ของลูกค้าแต่ละประเภทด้วย รวมทั้งแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าอาจขอเปลี่ยนประเภทเพื่อรับการบริการเช่นเดียวกับประเภทลูกค้าทั่วไปได้ ข้อ 34( ในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 31 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าก็ได้ (1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม (3) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น โดยลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่แล้วในวันที่ทําการลงทุน หรือในวันที่ได้รับสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น (4) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนโดยการจองซื้อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ซึ่งลูกค้าได้รับสิทธิในการจองเนื่องจากมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ประกอบกัน (ก) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นมีความเสี่ยงไม่เกินกว่าระดับความเสี่ยงในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้น (ข) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นเสนอขายโดยบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกและแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว หรือเสนอขายโดยบริษัทจดทะเบียนอื่น (ค) บริษัทจดทะเบียนที่ลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นอยู่นั้น มีการถือหุ้นในบริษัทตาม (ข) (ง) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นเพื่อรักษาสิทธิที่ได้รับมาในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้เสนอสิทธิให้แก่ลูกค้านั้นจะเป็นบริษัทจดทะเบียนนั้นที่ลูกค้าเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นบริษัทที่เสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตาม (ข) ก็ตาม (5) ลูกค้าประสงค์จะลงทุนโดยการจองซื้อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ที่ออกใหม่ โดยลูกค้าได้ลงนามยืนยันในเอกสารประกอบการจองซื้อหลักทรัพย์แล้วว่าได้ผ่านการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นมาแล้วไม่เกินกว่าสองปีก่อนวันที่ทําการลงทุน เมื่อได้ทําการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้าตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม พร้อมทั้งให้คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม(basic asset allocation) โดยพิจารณาจากการประเมินความเหมาะสมดังกล่าว การจัดทําคําแนะนําเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนตามวรรคสอง ต้องกระทําโดยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และเป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ ข้อ 34/1( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเสนอขายเฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินเพียงประเภทเดียวเท่านั้น ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าก็ได้ ข้อ 34/2(( ในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจประเมินความเหมาะสมดังกล่าวของลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนตามภาคผนวกท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตาม 25. (2) ผู้ลงทุนตาม 26. เว้นแต่ผู้ลงทุนนั้นเป็นนิติบุคคลและแสดงเจตนาที่จะไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม ข้อ 34/3(( ในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์สําหรับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเฉพาะในธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าดังกล่าวด้วย (1) กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน (2) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (3) บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม ผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีความสัมพันธ์กับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงบุคคลที่เคยมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งข้างต้น ซึ่งพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่เกิน 3 เดือน ข้อ 35 ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิเสธการให้บริการ เว้นแต่ในกรณีที่ลูกค้าเป็นสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพและดําเนินการเท่าที่จําเป็นเพื่อให้สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบถึงประโยชน์และความจําเป็นในการประเมินความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสม ข้อ 35/1( ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้ลูกค้าลงทุนหรือทําธุรกรรมให้เป็นไปตามผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนตามข้อ 34 ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะลงทุนหรือทําธุรกรรมโดยไม่เป็นไปตามผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้ลูกค้าตระหนักถึงความเสี่ยงจากการลงทุนหรือทําธุรกรรมดังกล่าว ข้อ 36 ในการพิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 31 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการที่สอดคล้องกับความสามารถดังกล่าวของลูกค้า ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินหรือพบข้อจํากัดเกี่ยวกับความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการไม่ว่าในขณะใด ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิเสธการให้บริการหรือจํากัดขอบเขตการให้บริการ ข้อ 37 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลที่ได้รับตามข้อ 31 ให้เป็นปัจจุบันในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่ถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง และต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวที่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนําข้อมูลนั้นมาใช้ประกอบการให้บริการกับลูกค้าได้โดยไม่ชักช้า ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุนให้กับลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 38 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะทําการวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุนให้กับลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 13 เป็นผู้ทําหน้าที่ดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นที่มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 13 เป็นผู้ดําเนินการดังกล่าวแทน หรือจัดให้มีช่องทางที่ลูกค้าสามารถติดต่อกับบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 13 ให้ทําหน้าที่ดังกล่าว (2) พิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้าตามข้อมูลที่ได้จากการจัดประเภทลูกค้าและการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามข้อ 33 และข้อ 34 (3) ดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่จะแนะนําให้แก่ลูกค้าหรือที่ลูกค้าสนใจลงทุน โดยมีข้อมูลอย่างน้อยตามข้อ 42 อย่างเพียงพอ ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด (4) ดําเนินการให้มีการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน รวมทั้งเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (fact sheet) แก่ลูกค้า ให้เป็นไปตามหน้าที่ซึ่งผู้ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนต้องปฏิบัติ (5) ดูแลให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นไปตามความประสงค์ของลูกค้า โดยอย่างน้อยผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับบริการหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแก่ลูกค้าอย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมเหตุสมผล และไม่ทําให้สําคัญผิด (ข) มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าลูกค้าเข้าใจลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทนของบริการหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นอย่างดี ก่อนตัดสินใจใช้บริการ (6) ไม่เร่งรัดให้ลูกค้าตัดสินใจลงทุน โดยต้องให้เวลาลูกค้าอย่างเพียงพอที่จะทําให้ลูกค้าศึกษาข้อมูลและตัดสินใจใช้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมและป้องกันมิให้มีการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งยังไม่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือทําธุรกรรมของลูกค้า จนกว่าจะได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในระหว่างรอการตรวจสอบ ผู้ประกอบธุรกิจต้องเตือนให้ลูกค้าใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาตัดสินใจลงทุนหรือทําธุรกรรมด้วย ข้อ 39( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าโดยบุคลากรต่างประเทศ ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้า มาใช้บังคับกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าโดยบุคลากรจากต่างประเทศ โดยอนุโลม ข้อ 39/1( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําเป็นคําแปลของคําแนะนําหรือบทวิเคราะห์ของบุคลากรต่างประเทศให้แก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแปลบทวิเคราะห์ที่กําหนดโดยสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยด้วย ข้อ 40 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะนําเสนอการให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนใดให้แก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องนําเสนอเฉพาะบริการที่มีความเหมาะสมกับลูกค้า โดยคํานึงถึงกรณีดังต่อไปนี้ประกอบกัน (1) ผลการจัดประเภทลูกค้า (2) ผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (3) คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (4) บทวิเคราะห์การลงทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําขึ้นเอง (5) การที่ลูกค้าจะได้รับข้อมูลหรือบริการที่เกี่ยวข้องหลังการลงทุนหรือการทําธุรกรรม ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่สนับสนุนหรือให้ความร่วมมือกับลูกค้าในการใช้บริการที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมกับฐานะทางการเงิน หรือความสามารถชําระหนี้ของบุคคลดังกล่าวต่อระบบการชําระราคาและส่งมอบผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ส่วนที่ 3 การศึกษาและทําความเข้าใจผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ของผู้ประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41 ผู้ประกอบธุรกิจต้องศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่จะนํามาให้บริการต่อลูกค้า และต้องมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าผู้ทําหน้าที่แนะนําบริการของผู้ประกอบธุรกิจรู้และเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวเป็นอย่างดี และสามารถนําเสนอข้อมูลนั้นได้ ข้อ 42 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามข้อ 41 ได้แก่ข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะ โครงสร้าง เงื่อนไข และผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (2) ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (3) สภาพคล่องของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (4) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือข้อมูลของผู้ที่จะทําธุรกรรมอีกฝ่ายหนึ่ง (ถ้ามี) (5) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (6) ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (7) ข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการให้บริการ (ถ้ามี) (8) ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของกองทุนรวม (fund performance) ที่ให้บริการเทียบกับผลการดําเนินงานของกองทุนรวมในกลุ่มเดียวกัน โดยต้องเป็นข้อมูลที่แสดงผลการดําเนินงานสูงสุด ต่ําสุด และค่าเฉลี่ย และเทียบกับตัวชี้วัดการดําเนินงาน (benchmark) ของกองทุนรวมที่ให้บริการนั้น (ถ้ามี) (9) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนหรือทําธุรกรรม (ถ้ามี) ส่วนที่ 4 การดําเนินการเมื่อลูกค้าตัดสินใจใช้บริการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 43 เมื่อลูกค้าตัดสินใจใช้บริการแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการตามความประสงค์ของลูกค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการด้วยความรวดเร็วตามสภาพ และดูแลตรวจสอบให้การให้บริการนั้นตรงตามความประสงค์ของลูกค้า (2) ดําเนินการให้การให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมเป็นไปตามกลไกตลาด และได้รับเงื่อนไขดีที่สุดตามสภาพตลาด (duty of best execution) (3) รายงานหรือแจ้งผลการดําเนินการให้ลูกค้าทราบโดยมีรายละเอียดอย่างเพียงพอภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ข้อ 44 ในกรณีที่การให้บริการประเภทใดจําเป็นต้องจัดให้มีการทําข้อตกลงก่อนเริ่มให้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้เอกสารที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ทํากับลูกค้ามีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีการใช้ภาษาและขนาดตัวอักษรเพื่อแสดงเนื้อหาที่อ่านได้ง่าย ชัดเจน และเหมาะสมกับรูปแบบของเอกสาร และมีการเน้นตัวอักษรเมื่อเป็นข้อความสําคัญ เช่น คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง เป็นต้น (2) เลือกใช้ข้อความที่ไม่ทําให้เข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง (3) ไม่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (4) ครอบคลุมลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไข และช่องทางในการติดต่อการให้บริการ (5) มีข้อกําหนดเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจและลูกค้า (6) มีข้อมูล คําเตือน ข้อจํากัด ข้อห้าม หรือความเสี่ยงใดๆ ที่เกิดจากการใช้บริการ (7) จัดให้ลูกค้ารับทราบและยอมรับเงื่อนไขหรือข้อจํากัดการให้บริการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้น เช่น การให้ลูกค้าจัดหาข้อมูลเพิ่มเติม การงดให้บริการ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือพฤติกรรมการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสม (8) มีข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการให้บริการ หมวด 6 การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 การโฆษณา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 45 ความในส่วนนี้ไม่ใช้บังคับกับการโฆษณาดังต่อไปนี้ (1) การโฆษณาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการให้ความรู้ ทําความเข้าใจ หรือแจ้งข้อเท็จจริง เกี่ยวกับตลาดทุน การลงทุน ภาคการผลิตและบริการ หรือภาพรวมของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละประเภทหรือโดยรวม (2) การโฆษณาชี้ชวนให้ซื้อหลักทรัพย์โดยการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน ข้อ 46 ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณา ต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้นมีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหรือต่อการตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) ไม่เร่งรัดให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (3) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน หรือเป็นการแสดงผลการดําเนินงานในอดีตอย่างเหมาะสม หรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม (ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข (ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ลูกค้าสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด (4) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนอย่างเหมาะสม และมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการหรือการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (5) หากเป็นการโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหรือจะเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ข้อมูลที่โฆษณาต้องเป็นข้อมูลที่สามารถดําเนินการได้โดยชอบ และต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงว่าเป็นการโฆษณาในระหว่างที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ยังไม่มีผลใช้บังคับ (6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้องมีข้อมูลของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนต้องเป็นเนื้อหาหลัก และข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสาระเป็นส่วนน้อย (8) หากเป็นการโฆษณาเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จะกระทําได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นคําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมต่อสํานักงานแล้ว และในกรณีที่คําขอดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากสํานักงาน ต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาคําขอนั้นจากสํานักงาน (9) หากเป็นการโฆษณาเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจจะนําค่าโฆษณามาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมใด ๆ ได้เฉพาะเมื่อการโฆษณานั้นเป็นไปเพื่อกองทุนรวมหรือจะเกิดประโยชน์ต่อกองทุนรวมนั้น ทั้งนี้หากเป็นการโฆษณาเพื่อกองทุนรวมหลายกองรวมกัน ต้องมีหลักเกณฑ์การคิดค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากกองทุนรวมแต่ละกองอย่างเป็นธรรมด้วย (10) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ ดําเนินการให้เป็นไปตาม (1) ถึง (8) ข้อ 47 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย ส่วนที่ 2 การส่งเสริมการขาย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 48 ผู้ประกอบธุรกิจอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดลูกค้าโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัดสินใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน (2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด (3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ลูกค้าจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสม และเป็นธรรม (4) มีการแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย (5) หากเป็นการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่คิดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายจากกองทุนรวม หมวด 7 ข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 49 ผู้ประกอบธุรกิจที่จัดให้มีการวิเคราะห์การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนให้กับลูกค้าต้องจัดให้มีระบบงานและมาตรการเพิ่มเติมจากที่กําหนดในข้อ 12 ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) มาตรการป้องกันมิให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนนําข้อมูลที่มีนัยสําคัญและยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ไปหาประโยชน์หรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่น (2) มาตรการป้องกันมิให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนรับค่าตอบแทนจากบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียกับการวิเคราะห์การลงทุนนั้น (3) ระบบควบคุมดูแลให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนมีความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ โดยไม่ถูกครอบงําหรือได้รับอิทธิพลจากผู้ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียในการจัดทําการวิเคราะห์การลงทุน (4) ระบบควบคุมดูแลให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้เป็นไปตามประเภทหรือขอบเขตการวิเคราะห์การลงทุนตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 50 ในกรณีที่เป็นการวิเคราะห์การลงทุนโดยใช้ข้อมูลของบุคคลอื่น ผู้ประกอบธุรกิจต้อง (1) พิจารณาคัดเลือกข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน (2) ตรวจสอบและระบุแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อการสืบค้นเพิ่มเติมได้ (3) ดูแลให้การใช้ข้อมูลเป็นไปตามกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล ข้อ 51 การวิเคราะห์การลงทุนที่จัดทําในรูปบทวิเคราะห์หรือรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษรอื่นใด ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีการกําหนดลักษณะความเสี่ยงและความเหมาะสมในการลงทุนอย่างครบถ้วน (2) มีการแสดงข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่ชัดเจน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นปัจจุบันไม่มีลักษณะที่อาจทําให้สําคัญผิด และมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ (3) ไม่อ้างอิงกับข้อมูลที่ไม่มีแหล่งที่มาหรือที่มีการปฏิเสธว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (4) ไม่มีลักษณะเป็นการกระตุ้นหรือยุยงให้ลูกค้าใช้บริการเพื่อลงทุนหรือทําธุรกรรมบ่อยครั้ง หรือเร่งรัดให้มีการใช้บริการเพื่อการลงทุนหรือเข้าทําธุรกรรม (5) จัดทําโดยอาศัยหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป (6) ในสาระที่เป็นการตีความ คาดการณ์ ประเมิน หรือความเห็น จะต้องมีการระบุลักษณะเช่นนั้นไว้อย่างชัดเจน และต้องแสดงเหตุผลหรือที่มาของการตีความ คาดการณ์ ประเมิน หรือความเห็นนั้นด้วย ในการวิเคราะห์การลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําให้เป็นไปตามแนวทางการจัดทําบทวิเคราะห์ขององค์กรหรือสถาบันที่ทําหน้าที่กําหนดมาตรฐานการจัดทําบทวิเคราะห์ที่สํานักงานยอมรับ หรือเป็นไปตามแนวทางที่กําหนดโดยสมาคมด้วย ข้อ 52 ในการเผยแพร่การวิเคราะห์การลงทุนไม่ว่าช่องทางหรือวิธีการอื่นใดที่จัดทําในรูปแบบบทวิเคราะห์หรือรูปแบบลายลักษณ์อักษรอื่นใด ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติดังนี้ (1) ตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของการวิเคราะห์การลงทุนก่อนนําไปเผยแพร่ (2) จัดให้บุคลากรที่ทําหน้าที่แนะนําการลงทุนทําความเข้าใจและนําบทวิเคราะห์การลงทุนนั้นไปใช้ประกอบการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม (3) นําเสนอการวิเคราะห์การลงทุนที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าแต่ละประเภท โดยให้พิจารณาจากข้อมูลของลูกค้าที่ได้จากการทําความรู้จักลูกค้าตามส่วนที่ 1 ของหมวด 5 (4) เมื่อมีการเสนอการวิเคราะห์การลงทุนตาม (3) แล้ว ต้องมีการนําเสนอการวิเคราะห์การลงทุนต่อลูกค้านั้นอย่างต่อเนื่อง ให้เหมาะสมกับภาวะการลงทุนหรือความต้องการของลูกค้า ข้อ 53 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการมอบหมายบุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนผ่านสื่อไว้อย่างชัดเจน โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์อย่างเพียงพอที่จะทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนดังกล่าวได้ ก่อนการวิเคราะห์การลงทุนผ่านสื่อ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้บุคลากรตามวรรคหนึ่งแสดงตนและให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทนักวิเคราะห์ที่ตนได้รับความเห็นชอบให้ทําหน้าที่ได้ ข้อ 54 ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จํากัดเฉพาะตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุนต้องจัดทําบทวิเคราะห์หุ้นด้านปัจจัยพื้นฐาน (fundamental analysis) และนําเสนอข้อมูลตามบทวิเคราะห์ดังกล่าวต่อลูกค้า โดยการจัดทําและนําเสนอข้อมูลบทวิเคราะห์ให้เป็นไปตามแนวทางเกี่ยวกับการจัดทําบทวิเคราะห์ที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ส่วนที่ 2 การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ที่เป็นหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 55 ก่อนการขายหน่วยลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการให้คําแนะนําที่เหมาะสมถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของลูกค้า โดยพิจารณาจากผลการประเมินความเหมาะสมตามข้อ 34 ((ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ข้อ 56 ในการให้บริการเพื่อซื้อขายหน่วยลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) จัดให้การซื้อขายหน่วยลงทุนเป็นไปตามโครงการจัดการกองทุน โดยหากจําเป็นต้องให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนที่แตกต่างจากที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุน ต้องเป็นการแตกต่างในรายละเอียดที่ไม่เกินกว่าที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุน และต้องเปิดเผยให้ลูกค้าทราบอย่างครบถ้วนและชัดเจน (1/1)4 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการจํากัดการโอนหรือการจํานําหน่วยลงทุนซึ่งระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุข้อจํากัดดังกล่าวไว้ในคําขอเปิดบัญชีเพื่อซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วย (2) จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศที่เกี่ยวข้อง (3) จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยลงทุนที่ให้บริการซื้อขายให้ลูกค้าทราบอย่างต่อเนื่อง (4) จัดการและจัดเก็บเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของลูกค้าอย่างเหมาะสมเพื่อมิให้เงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนปะปนกับทรัพย์สินอื่น ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ (5) คืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ลูกค้าโดยไม่ชักช้าในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากเงินดังกล่าวได้โดยเร็วที่สุด ข้อ 57 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อลูกค้า (omnibus account) ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานที่รองรับการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยในการให้บริการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าจะได้รับการปฏิบัติต่อลูกค้าในเรื่องใดที่มีผลให้ลูกค้าได้รับเงื่อนไขหรือสิทธิประโยชน์แตกต่างจากลูกค้าที่ใช้บริการจากบริษัทจัดการกองทุนรวม รวมทั้งต้องจัดให้มีหลักฐานที่แสดงได้ว่าลูกค้าได้รับทราบและยอมรับเงื่อนไขการให้บริการที่แตกต่างดังกล่าวด้วย ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้การให้บริการตามวรรคหนึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดที่บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และต้องไม่ทําให้ลูกค้าเสียสิทธิความเป็นเจ้าของหรือเสียผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้บริการด้วย ข้อ 58 ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ที่ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องนําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนให้หรือรับเงินค่าขายหน่วยลงทุนคืนจากบริษัทจัดการกองทุนรวมผู้ประกอบธุรกิจต้องนําส่งเงินให้หรือรับเงินจากบริษัทจัดการกองทุนรวมโดยไม่ชักช้า ข้อ 59 ในกรณีที่ลูกค้าใช้บริการเพื่อซื้อขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์เป็นครั้งแรกสําหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนแต่ละกรมธรรม์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้สิทธิแก่ลูกค้าในการยกเลิกคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนดังกล่าว โดยในกรณีที่ลูกค้าใช้สิทธิขายคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ ผู้ประกอบธุรกิจจะเก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวมิได้ ข้อ 60 ผู้ประกอบธุรกิจจะซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในตลาดรองได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) โครงการจัดการกองทุนรวม และข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม ต้องไม่มีข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้บริการซื้อขาย (2) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนตรงกับวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องซื้อขายหน่วยลงทุนในราคาเดียวกับราคาขายหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้คํานวณตามวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (3) การให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (2) ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยมูลค่าหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกองทุนรวมคํานวณและประกาศล่าสุด ตลอดจนข้อมูลอื่นที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขายหน่วยลงทุน ซึ่งสามารถทําให้ลูกค้าทราบถึงความแตกต่างระหว่างการซื้อขายหน่วยลงทุนกับผู้ประกอบธุรกิจกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ ความในวรรคหนึ่ง (2) และ (3) มิให้นํามาใช้บังคับกับการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ ส่วนที่ 3 การค้าผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็น หลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 61 ในกรณีที่เป็นการให้บริการเพื่อค้าผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหลักทรัพย์ ประเภทตราสารหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อขาย โดยอย่างน้อยต้องมีการแจ้งให้ลูกค้าทราบราคาที่เสนอซื้อขาย เงื่อนไข ระยะเวลาการซื้อขายและเหตุแห่งการปฏิเสธไม่รับซื้อขาย อย่างชัดเจนด้วย ข้อ 62 ผู้ประกอบธุรกิจที่ค้าหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เพื่อประโยชน์ในการรายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ ข้อ 63 ผู้ประกอบธุรกิจที่ค้าหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสํานักงานสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือหน่วยงานอื่นที่สํานักงานยอมรับ ส่วนที่ 4 การให้บริการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 64 ในส่วนนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ 65 การให้บริการนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการได้เฉพาะกับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น การให้บริการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น ข้อ 661 ในกรณีที่เป็นการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเข้าเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เฉพาะกับลูกค้าดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการให้บริการเพื่อลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (1) ผู้ลงทุนสถาบัน (2) นิติบุคคลอื่นที่ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่นิติบุคคลดังกล่าวมีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้อันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจในเชิงพาณิชย์ ข้อ 67 ในการให้บริการแก่ลูกค้าตามข้อ 66(2) ให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าเป็นคู่สัญญากับลูกค้าได้เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของลูกค้า โดยต้องมีความเสี่ยง (risk profile) ในทางตรงกันข้ามกับความเสี่ยงของลูกค้าที่มีอยู่ในขณะทําสัญญา หรือเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถลดหรือจํากัดความเสี่ยงของลูกค้าที่มีอยู่ในขณะทําสัญญาอย่างมีนัยสําคัญ และต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอื่นเพิ่มเติม ยกเว้นความเสี่ยงที่เกิดจากคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นเอง ในการให้บริการตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจต้องตรวจสอบจนมั่นใจว่าผู้บริหารสูงสุดหรือผู้ได้รับมอบอํานาจของลูกค้าได้ให้ความเห็นชอบในการเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้ประกอบธุรกิจก่อนเข้าทําสัญญาแล้ว ข้อ 67/11 ในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องแต่งตั้งบุคลากรเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ส่วนที่ 5 การให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 68 ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) เมื่อลูกค้ามอบหมายให้ขายหลักทรัพย์โดยที่ผู้ประกอบธุรกิจยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง ผู้ประกอบธุรกิจต้อง (ก) ให้ลูกค้านําหลักทรัพย์หรือใบตอบรับการโอนหลักทรัพย์ที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกหรือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์มามอบไว้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้ขายหลักทรัพย์นั้น (ข) บันทึกบัญชีการขายหลักทรัพย์นั้นให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริงไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้ขายหลักทรัพย์นั้น (ค) ดําเนินการส่งมอบเงินค่าขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าในวันทําการที่สามนับแต่วันที่ขายหลักทรัพย์นั้น (2) เมื่อลูกค้ามอบหมายให้ซื้อหลักทรัพย์ใด ผู้ประกอบธุรกิจต้อง (ก) ให้ลูกค้าทําสัญญายินยอมว่าในกรณีที่ลูกค้าไม่ชําระราคาหลักทรัพย์ภายในกําหนดเวลาตาม (2)(ค) ให้ผู้ประกอบธุรกิจขายหลักทรัพย์นั้นได้ทันทีและยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น (ข) บันทึกบัญชีการซื้อหลักทรัพย์นั้นให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริงพร้อมทั้งแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงจํานวนและราคาของหลักทรัพย์ที่ซื้อได้ ไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้ซื้อหลักทรัพย์นั้น (ค) ดําเนินการให้ลูกค้าชําระราคาทันทีหรืออย่างช้าไม่เกินสามวันทําการนับแต่วันที่ซื้อหลักทรัพย์ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งต้องส่งเงินเข้ามาในประเทศไทยเพื่อชําระราคาหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้ลูกค้าชําระราคาภายในสี่วันทําการนับแต่วันที่ซื้อหลักทรัพย์ หากลูกค้าไม่สามารถชําระราคาหลักทรัพย์ได้ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการขายหลักทรัพย์นั้นไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว (ง) ดําเนินการส่งมอบหลักทรัพย์ให้ลูกค้าภายในสี่วันทําการนับแต่วันที่ซื้อหลักทรัพย์ โดยให้รวมถึงการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้เว้นแต่ในกรณีที่มีการนําหลักทรัพย์ไปลงทะเบียนโอนหลักทรัพย์หรือแยกหลักทรัพย์กับผู้ออกหลักทรัพย์และยังไม่ได้รับหลักทรัพย์นั้นจากผู้ออกหลักทรัพย์ (3) เมื่อลูกค้ามอบหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อหลักทรัพย์และมอบหมายให้ผู้ประกอบธุรกิจขายหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้นโดยที่ยังมิได้ชําระราคาค่าซื้อหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้อง (ก) ให้ลูกค้าชําระราคาค่าซื้อหลักทรัพย์ก่อนจึงจะชําระเงินค่าขายหลักทรัพย์นั้นให้ลูกค้า โดยจะใช้การหักกลบราคาซื้อและราคาขายมิได้ (ข) ชําระเงินค่าขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า โดยจ่ายเช็คขีดคร่อมระบุข้อความเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น หมวด 8 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 69 ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ในรายละเอียด ให้ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 34/2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว หรือที่ยังมีผลใช้บังคับเนื่องจากบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ แนวทาง คําสั่ง หรือหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 70 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 34/2556 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ 713 ยกเลิก ข้อ 72 ในกรณีที่ข้อตกลงในการให้บริการแก่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจยังไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงดังกล่าว ให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
452
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(9) และ (10) มาตรา 109 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 15 มาตรา 18 มาตรา 23(3) และ (5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ และรวมถึงแบบคําขอและตารางแนบท้ายที่กําหนดตามประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทจัดการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล “ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน และให้หมายความรวมถึงลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจด้วย “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 “สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 “สมาคม” หมายความว่า (1) สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ (2) สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 เว้นแต่ที่กําหนดในหมวด 7 “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท “ผู้จัดการสาขา” หมายความว่า ผู้จัดการสํานักงานสาขา หรือผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขา “ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นใด ที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น “ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า บุคคลที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์จากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้อื่น “กรรมการในคณะกรรมการลงทุนของกองทุน” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการซึ่งบริษัทจัดการลงทุนแต่งตั้งหรือมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากําหนดกรอบการลงทุนของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือการลงทุนในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ช่วยการจัดการลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน และอาจรับรู้ข้อมูลการลงทุนเนื่องจากการทําหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อตําแหน่งของบุคคลดังกล่าวอย่างใด “ผู้แนะนําการลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําการลงทุนแก่ผู้ลงทุน ซึ่งได้แก่ การติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุน หรือการให้คําแนะนําเพื่อการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยไม่มีการวางแผนหรือการวิเคราะห์การลงทุนประกอบการให้คําแนะนํา “ผู้วางแผนการลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําการลงทุนแก่ผู้ลงทุนซึ่งสามารถวางแผนการลงทุนประกอบการให้คําแนะนําได้ ซึ่งได้แก่ การใช้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายในเชิงลึก เพื่อนํามาประกอบกับการวางแผนและให้คําแนะนําการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งสอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และวัตถุประสงค์การลงทุนของลูกค้าแต่ละราย “นักวิเคราะห์การลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําการลงทุนแก่ผู้ลงทุนซึ่งสามารถวิเคราะห์การลงทุนประกอบการให้คําแนะนําได้ ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์ หรือการให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานหรือการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค “การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน” หมายความว่า การวิเคราะห์เพื่อมุ่งหามูลค่าที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยใช้การพิจารณาจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลการดําเนินงานในอนาคต อาทิ ภาวะเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แนวทางการบริหารงานของผู้ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ทางธุรกิจ เป็นต้น โดยมีการนําข้อมูลการดําเนินงานในอดีตและปัจจุบันมาร่วมคาดการณ์แนวโน้มผลการดําเนินงานในอนาคต “การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค” หมายความว่า การวิเคราะห์โดยศึกษาพฤติกรรมของราคาและปริมาณการซื้อขายของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือพฤติกรรมของตลาดในอดีต โดยมีการจัดทําเป็นกราฟและใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ทางเทคนิค ประกอบกับผลการทดสอบวิจัยมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของตลาดในอนาคต ข้อ ๓ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว หมวด ๒ การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็น บุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๔ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานด้านใดด้านหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับความเห็นชอบ ตามที่ประกาศนี้กําหนด แล้วแต่กรณี (1) งานเกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุม และกํากับดูแลนโยบายของผู้ประกอบธุรกิจ (2) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุน การวางแผนการลงทุน การวิเคราะห์การลงทุนหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน การจัดการลงทุน หรือการจัดการสาขาของผู้ประกอบธุรกิจ (3) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง (4) งานเกี่ยวกับการจัดการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ตราสารหรือทรัพย์สินอื่นที่กําหนดไว้ (5) งานเกี่ยวกับวิเคราะห์ แนะนํา หรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า ข้อ ๕ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(1) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงบุคลากรดังกล่าวตามข้อ 10 (1) กรรมการ (2) ผู้จัดการ (3) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (2) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (4) ที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๖ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(2) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงบุคลากรดังกล่าวตามข้อ 10 (1) รองผู้จัดการ (2) ผู้ช่วยผู้จัดการ (3) ผู้อํานวยการฝ่าย (4) ผู้จัดการสาขา (5) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (1) ถึง (4) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น ข้อ ๗ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(3) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงบุคลากรดังกล่าวตามข้อ 10 (1) รองผู้จัดการ (2) ผู้ช่วยผู้จัดการ (3) ผู้อํานวยการฝ่าย (4) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (5) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (1) ถึง (4) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (6) กรรมการในคณะกรรมการซึ่งผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวทําหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง เช่น คณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น (7) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ว่าจะเรียกชื่อใดซึ่งให้คําปรึกษาหรือความเห็นต่อคณะกรรมการตาม (6) ข้อ ๘ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(4) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการกองทุน (2) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (3) ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (4) ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) ผู้ช่วยการจัดการลงทุนของผู้ดํารงตําแหน่งตาม (1) ถึง (4) (6) กรรมการในคณะกรรมการลงทุนของกองทุน (7) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ว่าจะเรียกชื่อใดซึ่งให้คําปรึกษาหรือความเห็นต่อคณะกรรมการตาม (6) (8) ผู้ส่งคําสั่งซื้อขายเพื่อกองทุน ข้อ ๙ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(5) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงบุคลากรดังกล่าวตามข้อ 11 (1) ผู้แนะนําการลงทุน (2) ผู้วางแผนการลงทุน (3) นักวิเคราะห์การลงทุน ข้อ ๑๐ การแต่งตั้งบุคลากรเพื่อดํารงตําแหน่งตามข้อ 5 ข้อ 6 หรือข้อ 7 ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ (1) เป็นการแต่งตั้งโดยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) เป็นการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นตามมาตรา 103(7) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๑๑ การแต่งตั้งบุคลากรเป็นผู้แนะนําการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน หรือนักวิเคราะห์การลงทุน ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ (1) เป็นการแต่งตั้งโดยผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (ก) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ข) การจัดการเงินร่วมลงทุน (ค) การยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ (ง) การเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (2) เป็นการแต่งตั้งเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศของสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ (3) เป็นการแต่งตั้งผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้กับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยให้แนะนําการลงทุนในตราสารหนี้ในนามของผู้ประกอบธุรกิจประเภทการค้าหลักทรัพย์ ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน (4) เป็นการแต่งตั้งเพื่อให้บริการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (ก) การแต่งตั้งให้ทําหน้าที่ติดต่อเพื่อชักชวนให้ลูกค้าซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ที่มีนโยบายการลงทุนในประเทศไทย (ข) การแต่งตั้งเพื่อให้บริการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายคืนได้ตามราคาที่แน่นอนหรือราคาขั้นต่ําที่ได้กําหนดไว้ตั้งแต่วันที่ออกพันธบัตร ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบธุรกิจจะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ผู้ใดปฏิบัติงานในข้อ 4 จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (1) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลนั้นดํารงตําแหน่งตามข้อ 5 ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในหมวด 3 (ค) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนปฏิบัติงาน เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ 1. ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกําหนดตามมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 2. การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลนั้นดํารงตําแหน่งตามข้อ 6 ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในหมวด 3 (ค) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนปฏิบัติงาน เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกําหนดตามมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (3) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลนั้นดํารงตําแหน่งตามข้อ 7 ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในหมวด 3 (4) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลนั้นดํารงตําแหน่งตามข้อ 8 หรือข้อ 9ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในหมวด 3 (ข) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนปฏิบัติงาน หมวด ๓ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติม ของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๑๓ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถ ประสบการณ์การทํางาน ผ่านการอบรมหรือการทดสอบหลักสูตรของสํานักงานหรือหน่วยงานที่สํานักงานยอมรับ ทั้งนี้ ตามตารางคุณสมบัติของบุคลากรแต่ละประเภทที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๔ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในหมวด 7 หมวด ๔ การขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ ส่วน ๑ การขอรับความเห็นชอบ ข้อ ๑๕ ในการยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ส่วน ๒ ระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ และการต่ออายุ ข้อ ๑๖ การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนให้มีผลดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 8(5) (6) (7) และ (8)ให้มีอายุตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่หรือดํารงตําแหน่งนั้น ๆ ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ (2) กรณีเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(1) (2) และ (4) ให้มีอายุสองปีปฏิทิน โดยในการขอความเห็นชอบครั้งแรก ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ แต่ให้นับระยะเวลาสองปีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการให้ความเห็นชอบบุคลากรที่เคยได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งตามข้อ 8(1) (2) หรือ (4) ประเภทใดประเภทหนึ่งมาก่อนแล้ว และอายุการให้ความเห็นชอบประเภทนั้นยังไม่สิ้นสุดลง ให้ความเห็นชอบทุกประเภทสิ้นสุดลงพร้อมกับอายุการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด (3) กรณีเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(3) ให้มีอายุตลอดเวลาที่ยังสามารถดํารงคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการกองทุนตามข้อ 8(1) หรือผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 8(2)ได้ แล้วแต่กรณี (4) กรณีเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 9 ให้มีอายุสองปีปฏิทิน โดยในการขอความเห็นชอบครั้งแรก ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ แต่ให้นับระยะเวลาสองปีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่เคยได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนําการลงทุน หรือผู้วางแผนการลงทุน ประเภทใดประเภทหนึ่งมาก่อนแล้ว และอายุการให้ความเห็นชอบประเภทนั้นยังไม่สิ้นสุดลง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่การให้ความเห็นชอบครั้งหลังมีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่เหนือกว่าประเภทที่ได้รับความเห็นชอบในครั้งก่อน ให้อายุการให้ความเห็นชอบครั้งก่อนสิ้นสุดลงในวันที่การให้ความเห็นชอบครั้งหลังมีผล (ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้อายุการให้ความเห็นชอบทุกประเภทสิ้นสุดลงพร้อมกับอายุการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด ข้อ ๑๗ การขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(1) (2) และ (4) และข้อ 9 ให้ยื่นคําขอต่ออายุได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม ของปีที่การให้ความเห็นชอบจะสิ้นสุดลง ส่วน ๓ การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง ข้อ ๑๘ การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนสิ้นสุดลงเมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เมื่อบุคคลนั้นไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามภายหลังได้รับความเห็นชอบ ให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวด 7 (2) เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 8(5) (6) (7) และ (8) ซึ่งพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ได้ดํารงตําแหน่งนั้น ๆ ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ (3) เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(1) (2) และ (4) และข้อ 9 ซึ่งไม่มีการขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามข้อ 17 (4) เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(3) ซึ่งขาดคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการกองทุนตามข้อ 8(1) หรือผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 8(2) แล้วแต่กรณี หมวด ๕ หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๑๙ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว (1) บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานตามข้อ 7(4) ข้อ ๒๐ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและจัดเก็บข้อมูลการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังต่อไปนี้ ไว้ที่บริษัทในลักษณะที่พร้อมเรียกดูหรือจัดให้สํานักงานตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ (1) บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5 และข้อ 6 ของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกําหนดตามมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 5(4) (3) บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 7(1) (2) (3) (5) (6) และ (7) ข้อ ๒๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกาศรายชื่อบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(1) (2) (3) และ (4) ไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของผู้ประกอบธุรกิจ และให้เปิดเผยชื่อดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องปรับปรุงข้อมูลภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๒๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงาน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว (1) การไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (2) การมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 29 หรือกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 30 แต่ไม่รวมถึงการมีลักษณะต้องห้ามอันเนื่องจากการดําเนินการของสํานักงาน หมวด ๖ หน้าที่ของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๒๓ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวัง รอบคอบ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (3) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน (4) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กําหนดโดยสมาคมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตลาดทุนที่สํานักงานยอมรับ (5) ไม่มีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น ข้อ ๒๔ ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 23 ให้สํานักงานพิจารณาและดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการมีลักษณะต้องห้ามในกลุ่มที่ 3 ตามหมวด 7 ข้อ ๒๕ ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นตัวแทนของสมาชิกในการซื้อขายด้วยระบบการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หากบุคคลดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากําหนด และการกระทําดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องเดียวกันในหมวดนี้ และตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ดําเนินการลงโทษกับบุคคลดังกล่าวตามกฎเกณฑ์ของตนแล้ว สํานักงานจะไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 24 กับบุคคลนั้นอีกก็ได้ หากเห็นว่าบุคคลดังกล่าวได้รับโทษอย่างเหมาะสมแล้ว ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงโทษด้วยการปรับเป็นเงิน “สมาชิก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๖ ให้นําความในข้อ 25 มาใช้บังคับกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่เป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องเดียวกันในหมวดนี้ และสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยได้ดําเนินการลงโทษกับบุคคลดังกล่าวตามกฎเกณฑ์ของตนแล้ว โดยอนุโลม หมวด ๗ ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๒๗ ในหมวดนี้ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (2) ธุรกิจหลักทรัพย์ (3) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) ธุรกิจประกันภัย (5) ธุรกิจสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ส่วน ๑ การมีลักษณะต้องห้าม ข้อ ๒๘ บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) มีความบกพร่องในด้านความสามารถตามกฎหมายหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลตลาดทุน หรือมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามที่กําหนดไว้ในข้อ 29 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 (2) มีประวัติการถูกดําเนินการหรือถูกลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 30 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 (3) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ลงทุน บริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม หรือตลาดเงินหรือตลาดทุนโดยรวม ในเรื่องที่มีนัยสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 31 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ข้อ ๒๙ ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงานหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี ทั้งนี้ เฉพาะในความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ตามที่ระบุในบัญชีท้ายประกาศนี้ (4) เป็นบุคคลที่สํานักงานปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อของบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากเป็นผู้ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจให้เป็นกรรมการและผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ข้อ ๓๐ ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 (1) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี ทั้งนี้ เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน และทําให้เกิดความเสียหายไม่ว่าจะต่อสถาบันการเงินที่ตนสังกัดหรือต่อลูกค้า (2) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี ทั้งนี้ ในความผิดอาญาแผ่นดินเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน (3) เป็นผู้ที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกันและยังไม่พ้นสามปีนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน (4) เป็นผู้ที่หน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ พิจารณาว่ามีลักษณะต้องห้ามในการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือเป็นบุคคลที่รับผิดชอบงานตามข้อ 4(2) หรือ (3) หรือผู้บริหารของสถาบันการเงิน หรือบุคลากรที่มีหน้าที่ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการบริการทางการเงิน จัดการหรือรับเงินทุนของลูกค้า ทั้งนี้ เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน (5) อยู่ระหว่างถูกดําเนินการอันเป็นผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ถูกสํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือมีลักษณะที่ทําให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุด หรือถูกดําเนินการอื่นในทํานองเดียวกันอันเป็นผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนหรือกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ (ข) การดําเนินการตาม (ก) สืบเนื่องจากการปฏิบัติงานในฐานะเป็นบุคลากรในตําแหน่งที่มีผลกระทบถึงความเหมาะสมในการปฏิบัติงานในตําแหน่งที่พิจารณา (ค) เหตุของการดําเนินการตาม (ก) เป็นเรื่องการกระทําผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง ทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือขาดความระมัดระวัง ขาดความซื่อสัตย์สุจริต หรือขาดจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ข้อ ๓๑ ให้กรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 (1) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมประพฤติผิดต่อหน้าที่หรือการให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (2) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (3) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมในการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารอันเป็นเท็จที่อาจทําให้สําคัญผิด หรือโดยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นหรือจัดส่งต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน คณะกรรมการ ก.ล.ต. หน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงิน หรือผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (4) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแล (ถ้ามี) กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจทรัสต์โดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ การดําเนินธุรกิจ หรือลูกค้าของธุรกิจนั้น (5) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณ หรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกําหนดโดยสมาคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สํานักงานยอมรับ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น ส่วน ๒ ผลของการมีลักษณะต้องห้าม ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ผู้มีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1 เป็นผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้ ให้สํานักงานใช้เหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวในการปฏิเสธการให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวได้ ข้อ ๓๓ สําหรับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ดํารงตําแหน่งตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 หรือข้อ 9ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หากปรากฏว่ามีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1 ให้สํานักงานดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 29 หรือลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 30(1) ถึง (3) ให้สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ (2) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 30(4) หรือ (5) ให้สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามแต่เหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามนั้น (3) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามสมควรแก่กรณี ข้อ ๓๔ สําหรับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ดํารงตําแหน่งตามข้อ 5 ข้อ 6 หรือข้อ 7 ซึ่งไม่จําเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หากปรากฏว่ามีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการห้ามบุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 29 ตั้งแต่เมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดในเรื่องที่กําหนด หรือเมื่อสํานักงานได้มีหนังสือกล่าวโทษบุคคลนั้นต่อพนักงานสอบสวน หรือมีหนังสือแจ้งการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ แล้วแต่กรณี จนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว (2) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตั้งแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 30 ต่อสํานักงาน และสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งบุคคลที่ถูกพิจารณาและผู้ประกอบธุรกิจที่บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งอยู่ให้ทราบถึงการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว จนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว (3) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในหนังสือของสํานักงานซึ่งแจ้งบุคคลที่ถูกพิจารณาและผู้ประกอบธุรกิจที่บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งอยู่ให้ทราบถึงการมีลักษณะต้องห้ามที่กําหนดตามข้อ 31 แล้ว จนกว่าจะพ้นเงื่อนไขหรือระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๓๕ ในการใช้ดุลยพินิจปฏิเสธการให้ความเห็นชอบตามข้อ 32 พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 33(2) และ (3) หรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 34(3) แล้วแต่กรณี ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้แทนหรือประกอบการดําเนินการดังกล่าวได้ (1) กําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบหรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไป โดยระยะเวลาที่กําหนดต้องไม่เกินสิบปี สําหรับการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามในแต่ละกรณี (2) กําหนดระยะเวลาการสั่งพักการให้ความเห็นชอบ ซึ่งเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วให้บุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในตําแหน่งเดิมต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นคําขอความเห็นชอบ ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดต้องไม่เกินกว่าอายุการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ (3) ในกรณีพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 มีลักษณะไม่ร้ายแรง หรือเกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปีนับถึงวันที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน สํานักงานอาจไม่ยกกรณีดังกล่าวขึ้นพิจารณาเป็นเหตุในการปฏิเสธการให้ความเห็นชอบ การพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ หรืออาจลดระดับการดําเนินการเป็นการเปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวก็ได้ ส่วน ๓ การพิจารณาลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๖ ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อการมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 หรือการพิจารณาดําเนินการตามข้อ 35 ให้สํานักงานนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา (1) บทบาทความเกี่ยวข้องและพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกพิจารณา (2) การลงโทษที่บุคคลนั้นได้รับไปแล้ว (3) ผลกระทบหรือความเสียหายต่อลูกค้า ผู้ลงทุน บริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม ตลาดเงิน หรือตลาดทุนโดยรวม หรือผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมที่พิจารณา (4) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า ผู้ลงทุน บริษัท หรือผู้ถือหุ้นโดยรวม ตลาดเงินหรือตลาดทุนโดยรวม หรือแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรม (5) พฤติกรรมอื่นของผู้ถูกพิจารณาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน (6) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดที่แสดงถึงความไม่เหมาะสมที่จะเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓๗ ให้สํานักงานด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งเพื่อทําหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อสํานักงานเกี่ยวกับการพิจารณาเหตุของการห้ามการปฏิบัติหน้าที่ พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่มีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 หรือพิจารณาให้ความเห็นต่อสํานักงานในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามความในหมวดนี้ หรือพิจารณาวางแนวทางและให้ความเห็นต่อสํานักงานในการดําเนินการ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากตลาดเงินหรือตลาดทุนจํานวนไม่เกินห้าคนซึ่งไม่เป็นเลขาธิการหรือพนักงานของสํานักงาน โดยจํานวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ลงทุนจํานวนหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจํานวนหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งจากรายชื่อบุคคลที่สมาคมเป็นผู้เสนออีกสองคน ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้สํานักงานแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ กรรมการรายใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาในลักษณะที่อาจมีผลกระทบต่อการให้ความเห็นอย่างเป็นกลาง ให้ผู้นั้นแจ้งการมีส่วนได้เสียนั้นและห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ข้อ ๓๘ เพื่อให้การใช้ดุลยพินิจสั่งการของสํานักงานตามหมวดนี้มีความชัดเจนและผ่านกระบวนการทบทวนตามสมควร ในการแจ้งเหตุในการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือการห้ามการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากการมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 สํานักงานจะกระทําได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง (2) เสนอข้อเท็จจริงรวมทั้งคําชี้แจงของผู้ถูกพิจารณา (ถ้ามี) ให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน และเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และหากคณะกรรมการประสงค์จะให้ผู้ถูกพิจารณาชี้แจงเพิ่มเติม ให้สํานักงานจัดให้มีการชี้แจงเช่นนั้น ในการปฏิบัติอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ข้อ ๓๙ สํานักงานอาจไม่ดําเนินการตามข้อ 38 วรรคหนึ่งได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการพิจารณาอื่นที่ทําให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจง และเคยผ่านการพิจารณาให้ความเห็นในรูปองค์คณะที่มีผู้มีความรู้ประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจในตลาดทุนเป็นองค์คณะด้วยหรือโดยองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องมาอย่างเพียงพอแล้ว หรือ (2) คณะกรรมการได้กําหนดแนวทางพิจารณาดําเนินการสําหรับกรณีที่มีข้อเท็จจริงทํานองเดียวกันกับกรณีที่พิจารณานี้ไว้ชัดเจนเพียงพอแล้ว หมวด ๘ บทเฉพาะกาล ข้อ ๔๐ ในหมวดนี้ “ประกาศที่ถูกยกเลิก” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ.14 /2557 เรื่อง การยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ ผู้จัดการ และบุคลากรอื่นของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2557 เรื่อง การยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดการกองทุน ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ส่วน ๑ บททั่วไป ข้อ ๔๑ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออก วางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับอยู่โดยอาศัยอํานาจในบทเฉพาะกาล ตามประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔๒ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๔๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงถึงบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงถึงบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้ ข้อ ๔๔ ในกรณีที่คณะกรรมการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 รับพิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการสั่งการกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาต่อไปได้ โดยใช้ข้อกําหนดตามประกาศนี้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ส่วน ๒ การดําเนินการเกี่ยวกับการขอรับความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๔๕ คําขอรับความเห็นชอบที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานตามประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40หรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับประกาศที่ถูกยกเลิกดังกล่าว หากได้มีการยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามแบบและวิธีการแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การให้ความเห็นชอบเป็นไปตามประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40 และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๔๖ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเพื่อดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการซึ่งได้ยื่นคําขอก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 หรือเพื่อดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระซึ่งได้ยื่นคําขอก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ มาใช้บังคับกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๗ ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 48 และข้อ 49 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ถือว่าวันที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบไว้เป็นวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ข้อ ๔๘ ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการซึ่งได้รับความเห็นชอบอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือได้รับความเห็นชอบตามข้อ 46 เข้ารับการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดี ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งมิได้เข้ารับการอบรมตามกําหนดเวลา ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงในวันที่ครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรรมการหรือผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น และกรรมการที่ไม่มีอํานาจลงนาม ข้อ ๔๙ ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระซึ่งได้รับความเห็นชอบอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือได้รับความเห็นชอบตามข้อ 46 ดําเนินการให้มีคุณสมบัติตามที่กําหนดตามข้อ 13 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งไม่สามารถดําเนินการให้มีคุณสมบัติได้อย่างครบถ้วนตามกําหนดเวลา ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงในวันที่ครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ข้อ ๕๐ ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานโดยดํารงตําแหน่งตามข้อ 6 และข้อ 8(5) (6) (7) และ (8) อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ สามารถปฏิบัติงานในตําแหน่งดังกล่าวต่อไปได้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคลากรดังกล่าวต่อสํานักงานภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการห้ามบุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานในตําแหน่งงานดังกล่าว ในระหว่างการปฏิบัติงานในตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนอยู่ภายใต้บังคับตามหมวด 6 และหมวด 7 ด้วย ข้อ ๕๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้วางแผนการลงทุนอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและประสงค์จะทําหน้าที่ดังกล่าวต่อไป สามารถทําหน้าที่เป็นผู้วางแผนการลงทุนต่อไปได้ โดยดําเนินการยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ (1) ผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุน (2) ผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์ (3) นักวิเคราะห์การลงทุนด้านตลาดทุน (4) นักวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์ ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการห้ามบุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานในตําแหน่งงานดังกล่าว ในระหว่างการปฏิบัติงานในตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนอยู่ภายใต้บังคับตามหมวด 6 และหมวด 7 ด้วย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
453
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 63/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 63/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 103(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 23(5) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมกากํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 46 ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเพื่อดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการซึ่งได้ยื่นคําขอก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หรือประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ มาใช้บังคับกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 49 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ 3 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของบุคลากรแต่ละประเภทที่แนบท้ายประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของบุคลากรแต่ละประเภทที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
454
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 81/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 81/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 103(9) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 23(3) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร” ระหว่างบทนิยามคําว่า “นักวิเคราะห์การลงทุน” และคําว่า “การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ““เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ดูแลบัญชีของลูกค้าในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเป็นสินค้าเกษตร โดยบุคคลดังกล่าวสามารถตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อลูกค้าเป็นปกติ (day-to-day decision) ได้ตามความยินยอมที่ลูกค้าได้แสดงเจตนาไว้กับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะมีการให้คําแนะนําการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวด้วยหรือไม่ก็ตาม” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานด้านใดด้านหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับความเห็นชอบ ตามที่ประกาศนี้กําหนด แล้วแต่กรณี (1) งานเกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุม และกํากับดูแลนโยบายของผู้ประกอบธุรกิจ (2) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุน การวางแผนการลงทุน การวิเคราะห์การลงทุนหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน การจัดการลงทุน การจัดการสาขาของผู้ประกอบธุรกิจ หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า (3) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง (4) งานเกี่ยวกับการจัดการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ตราสาร หรือทรัพย์สินอื่นที่กําหนดไว้ (5) งานเกี่ยวกับวิเคราะห์ แนะนํา หรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “(4) เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) กรณีเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 9 ให้มีอายุสองปีปฏิทิน โดยในการขอความเห็นชอบครั้งแรก ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ แต่ให้นับระยะเวลาสองปีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่เคยได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนําการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน หรือเจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร ประเภทใดประเภทหนึ่งมาก่อนแล้ว และอายุการให้ความเห็นชอบประเภทนั้นยังไม่สิ้นสุดลง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่การให้ความเห็นชอบครั้งหลังมีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่เหนือกว่าประเภทที่ได้รับความเห็นชอบในครั้งก่อน ให้อายุการให้ความเห็นชอบครั้งก่อนสิ้นสุดลงในวันที่การให้ความเห็นชอบครั้งหลังมีผล (ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้อายุการให้ความเห็นชอบทุกประเภทสิ้นสุดลงพร้อมกับอายุการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด” ข้อ 5 มิให้นําความในหมวด 7 ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มาใช้บังคับกับบุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคลากรตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ข้อ 6 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของบุคลากรแต่ละประเภทที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของบุคลากรแต่ละประเภทที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
455
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 11/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 11/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
456
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 49/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 49/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(9) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 51/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “ข้อ 51/1 ให้บุคคลซึ่งเคยยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 ที่มีความประสงค์เป็นผู้วางแผนการลงทุนโดยใช้คุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ ยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนต่อสํานักงานได้ภายในสามเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ (1) เป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบโดยใช้คุณสมบัติการเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนําการลงทุน ด้านหลักทรัพย์หรือด้านตลาดทุน แล้วแต่กรณี และการมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อง (2) เป็นผู้ที่ผ่านการอบรม แต่ไม่ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้วางแผนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการทดสอบตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนสิ้นสุดลง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
457
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 5/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 5/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103 (9) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และ มาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 23(3) และ (5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน” และ “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน” ระหว่างคําว่า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” และคําว่า “ผู้จัดการ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ““ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังต่อไปนี้ (1) หน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ได้แก่ หน่วยลงทุนดังนี้ (ก) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ข) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการลงทุนแบบซับซ้อนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกรณีที่กองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (ค) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย (ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีมูลค่าการลงทุนสุทธิ (net exposure) ในสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์นั้น (จ) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้เกินกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (ฉ) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศซึ่งมีลักษณะหรือเงื่อนไขทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนตาม (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ) (2) ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ได้แก่ ตราสารหนี้ดังนี้ (ก) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (hybrid securities) ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้เกินกว่าสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกตราสาร และมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. มีข้อกําหนดให้ผู้ออกตราสารมีสิทธิในการเลื่อนหรืองดการชําระหนี้ตามตราสาร หรือมีสิทธิในการเลื่อนหรืองดการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนตามตราสาร 2. มีข้อกําหนดให้ผู้ถือตราสารมีสิทธิได้รับชําระหนี้คืนจากผู้ออกตราสารด้อยกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ แต่ดีกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหุ้นสามัญของผู้ออกตราสาร (ข) ตราสารหนี้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (ค) ตราสารหนี้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade bond) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) (ง) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หรือตราสารอื่นที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (จ) ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (ฉ) ตราสารหนี้ที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศซึ่งมีลักษณะหรือเงื่อนไขทํานองเดียวกับตราสารหนี้ตาม (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ) (3) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนอื่นใดที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้แนะนําการลงทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้แนะนําการลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําการลงทุนแก่ผู้ลงทุน ซึ่งได้แก่ การติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุน หรือการให้คําแนะนําเพื่อการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยไม่มีการวางแผนหรือการวิเคราะห์การลงทุนประกอบการให้คําแนะนํา ซึ่งแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ (1) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารทั่วไป หมายความว่า ผู้แนะนําการลงทุนที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน (2) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อน หมายความว่า ผู้แนะนําการลงทุนที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อนและผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้เพิ่มเติมด้วย ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ (ก) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1 ซึ่งสามารถแนะนําผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้ทุกประเภท (ข) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2 ซึ่งสามารถแนะนําผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้เฉพาะที่เป็นหน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน และตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (ค) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 3 ซึ่งสามารถแนะนําผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้เฉพาะที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) เป็นการแต่งตั้งเพื่อให้บริการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายคืนได้ตามราคาที่แน่นอนหรือราคาขั้นต่ําที่ได้กําหนดไว้ตั้งแต่วันที่ออกพันธบัตร” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถ ประสบการณ์การทํางาน ผ่านการอบรมหรือการทดสอบหลักสูตรของสํานักงานหรือหน่วยงานที่สํานักงานยอมรับ และมีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและตารางประเภทธุรกรรมที่แนบท้ายประกาศนี้ เว้นแต่ เป็นบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(1) (2) หรือ (3) ซึ่งได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “(5) เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 9(1) โดยใช้คุณสมบัติ ในด้านอายุที่ไม่น้อยกว่าห้าสิบปีและการมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องเป็นเวลามากกว่าสิบปีซึ่งพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ออกหนังสือรับรองประสบการณ์และศักยภาพในการทํางาน” ข้อ 7 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังต่อไปนี้ ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้แนะนําการลงทุนอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและประสงค์จะทําหน้าที่ดังกล่าวต่อไป สามารถทําหน้าที่ผู้แนะนําการลงทุนตามประเภทที่ได้รับความเห็นชอบต่อไปได้ (1) ผู้แนะนําการลงทุนด้านตราสารทุน (2) ผู้แนะนําการลงทุนด้านตราสารหนี้ (3) ผู้แนะนําการลงทุนด้านกองทุน (4) ผู้แนะนําการลงทุนด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) ผู้แนะนําการลงทุนด้านสินค้าเกษตรล่วงหน้า ข้อ 8 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ทําหน้าที่เป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุนและผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์อยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ สามารถทําหน้าที่ดังกล่าวได้ต่อไปอีกเป็นระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ภายในระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งประสงค์จะได้รับความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประเภทดังต่อไปนี้ ให้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่สํานักงานยอมรับ (1) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1 ในกรณีที่เป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุน (2) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2 ในกรณีที่เป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์ ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งไม่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่สํานักงานยอมรับ ให้การได้รับความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง และให้ถือว่าบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนตราสารทั่วไปแทนในวันที่ครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้อายุการได้รับความเห็นชอบของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคสอง และวรรคสามมีระยะเวลาไม่เกินกว่าอายุการได้รับความเห็นชอบเดิมที่เหลืออยู่ ข้อ 9 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้วางแผนการลงทุนอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและประสงค์จะทําหน้าที่ดังกล่าวต่อไป เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรสําหรับการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้วางแผนการลงทุนที่สํานักงานยอมรับภายในสามปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งไม่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่สํานักงานยอมรับภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลดังกล่าวสามารถวางแผนการลงทุนได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อนเท่านั้น ข้อ 10 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตารางประเภทธุรกรรม และตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 81/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตารางประเภทธุรกรรม และตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
458
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 48/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 48/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(10) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 23(3) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 23 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวัง รอบคอบ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (3) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน (4) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กําหนดโดยสํานักงาน สมาคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตลาดทุนที่สํานักงานยอมรับ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 1 การมีลักษณะต้องห้าม ของหมวด 7 ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ 28 ข้อ 29 ข้อ 30 และข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ส่วนที่ 1 การมีลักษณะต้องห้าม ข้อ 28 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) มีความบกพร่องในด้านความสามารถตามกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลตลาดทุน หรือมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามที่กําหนดไว้ในข้อ 29 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 (2) มีประวัติการถูกลงโทษหรือถูกดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 30 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 (3) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ลงทุน บริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม หรือตลาดเงินหรือตลาดทุนโดยรวม ในเรื่องที่มีนัยสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 31 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ข้อ 29 ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (3) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงานหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษ หรือศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอการลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี (ก) ความผิดตามมาตรา 289 ประกอบกับมาตรา 90 (เฉพาะที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชน) หรือมาตรา 306 ถึงมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ข) ความผิดตามมาตรา 92 ถึงมาตรา 100 มาตรา 125 ประกอบกับมาตรา 16 (เฉพาะที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชน) หรือมาตรา 145 ถึงมาตรา 150 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ค) ความผิดตามมาตรา 85 ถึงมาตรา 90 หรือมาตรา 77 ประกอบกับมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (4) เป็นบุคคลที่สํานักงานปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อของบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากเป็นผู้ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจให้เป็นกรรมการและผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารบริษัท ข้อ 30 ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 (1) เป็นบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดอาญาแผ่นดินเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอการลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี (2) เป็นบุคคลที่ศาลมีคําสั่งถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกัน และยังไม่พ้นสามปีนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน (3) เป็นบุคคลที่ไม่สามารถดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ ที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน หรือบุคลากรที่มีหน้าที่ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการบริการทางการเงิน จัดการหรือรับเงินทุนของลูกค้า เนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ และอยู่ระหว่างเวลาที่ยังไม่สามารถกลับมาดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้อีก ทั้งนี้ เฉพาะลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การทุจริตต่อหน้าที่ หรือทุจริต หลอกลวง หรือฉ้อโกงเกี่ยวกับทรัพย์สิน (ข) การบริหารงานที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งของหน่วยงานกํากับดูแล หรือบริหารงานหรือจัดการงานที่ไม่เหมาะสม (ค) การกระทําที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือการกระทําที่ไม่เป็นธรรมหรือเป็นการเอาเปรียบ (4) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกดําเนินการอันเป็นผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ถูกคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง หรือศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ หรือถูกสํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือมีลักษณะที่ทําให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุด หรือถูกดําเนินการอื่นในทํานองเดียวกัน อันเป็นผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนหรือกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ (ข) การดําเนินการตาม (ก) สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติงานในฐานะบุคลากรในตําแหน่งที่มีผลกระทบถึงความเหมาะสมในการปฏิบัติงานในตําแหน่งที่พิจารณา (ค) เหตุของการดําเนินการตาม (ก) เป็นเรื่องการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง ทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือขาดความระมัดระวัง ขาดความซื่อสัตย์สุจริต หรือขาดจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ข้อ 31 ให้กรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 (1) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมประพฤติผิดต่อหน้าที่หรือการให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ขาดความรับผิดชอบและความรอบคอบ เอาเปรียบผู้ลงทุน หรือขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งกําหนดโดยสํานักงาน สมาคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนที่สํานักงานยอมรับ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (2) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแล (ถ้ามี) กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจทรัสต์โดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ การดําเนินธุรกิจ หรือลูกค้าของธุรกิจนั้น (3) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมอันส่อไปในทางไม่สุจริตที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วม หรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น เช่น การแสวงหาหรือเบียดบังผลประโยชน์ใดโดยมิชอบเพื่อตนเอง บริษัทหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่น โดยอาศัยตําแหน่งหน้าที่ที่ตนดํารงอยู่ หรือการทุจริตการสอบ เป็นต้น” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 33 สําหรับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ดํารงตําแหน่งตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 หรือข้อ 9 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หากปรากฏว่ามีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1 ให้สํานักงานดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 29 หรือลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 30(1) หรือ (2) ให้สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ (2) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 30(3) หรือ (4) ให้สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามแต่เหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามนั้น (3) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามสมควรแก่กรณี” ข้อ 4 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่มีพฤติกรรมซึ่งมีลักษณะเป็นการกระทําความผิดตามมาตรา 238 และมาตรา 240 ถึงมาตรา 243 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 จนเป็นเหตุให้เกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 (1) คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งเห็นควรให้นํามาตรการลงโทษปรับทางแพ่งมาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าว โดยมีการแจ้งเป็นหนังสือ (2) สํานักงานกล่าวโทษบุคคลดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวน ข้อ 5 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนใดที่ถูกสํานักงานสั่งพัก หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือถูกสํานักงานสั่งห้ามปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุของการมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ในความผิดที่อาจใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งได้ ให้บุคลากรนั้นยังคงถูกพัก เพิกถอน หรือห้ามปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะครบกําหนดเวลาหรือเงื่อนไขตามที่กําหนด ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
459
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 27/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 27/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 8) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(9) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 23(5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 5/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
460
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 46/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 46/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 9) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(9) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 23(5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 27/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
461
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 70/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 70/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 10) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(9) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้แนะนําการลงทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 5/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้แนะนําการลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุน ซึ่งได้แก่ การติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุน หรือการให้คําแนะนําเพื่อการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยไม่มีการวางแผนหรือการวิเคราะห์การลงทุนประกอบการให้คําแนะนํา ซึ่งแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ (1) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารทั่วไป หมายความว่า ผู้แนะนําการลงทุนที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน (2) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อน หมายความว่า ผู้แนะนําการลงทุนที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อนและผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้เพิ่มเติมด้วย ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ (ก) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1 ซึ่งสามารถแนะนําผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้ทุกประเภท (ข) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2 ซึ่งสามารถแนะนําผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้เฉพาะที่เป็นหน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน และตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (ค) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 3 ซึ่งสามารถแนะนําผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้เฉพาะที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ผู้แนะนําการลงทุนอาเซียน หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําทั่วไป (general advice) แก่ผู้ลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ โดยมิได้มีการติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุนด้วย ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แนะนําการลงทุนจากประเทศที่มีการลงนามในโครงการตามความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศอาเซียน (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ON THE ACMF PASS UNDER ASEAN CAPITAL MARKET PROFESSIONAL MOBILITY FRAMEWORK) (ก) หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอาเซียน (ข) หน่วยลงทุนที่ออกและเสนอขายในประเทศอาเซียนที่ไม่ใช่หน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (ค) ตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายในประเทศอาเซียนที่ไม่ใช่ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน” ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “การให้คําแนะนําทั่วไป” ระหว่างคําว่า “ผู้แนะนําการลงทุน” และคําว่า “ผู้วางแผนการลงทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ““การให้คําแนะนําทั่วไป” หมายความว่า การให้คําแนะนําซึ่งไม่มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “นักวิเคราะห์การลงทุน” ระหว่างคําว่า “ผู้วางแผนการลงทุน” และคําว่า “เจ้าหน้าที่จัดการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 5/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““นักวิเคราะห์การลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําการลงทุนแก่ผู้ลงทุนซึ่งสามารถวิเคราะห์การลงทุนประกอบการให้คําแนะนําได้ ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์ หรือการให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานหรือการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค และให้หมายความรวมถึงนักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน” ข้อ 4 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “นักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน” ระหว่างคําว่า “นักวิเคราะห์การลงทุน” และคําว่า “เจ้าหน้าที่จัดการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ““นักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน” หมายความว่า บุคคลซึ่งสามารถวิเคราะห์การลงทุนและให้คําแนะนําโดยไม่มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะและมิได้มีการติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ซึ่งบุคคลดังกล่าวทําหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนจากประเทศที่มีการลงนามในโครงการตามความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศอาเซียน (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ON THE ACMF PASS UNDER ASEAN CAPITAL MARKET PROFESSIONAL MOBILITY FRAMEWORK) (ก) หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอาเซียน (ข) หน่วยลงทุนที่ออกและเสนอขายในประเทศอาเซียนที่ไม่ใช่หน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (ค) ตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายในประเทศอาเซียนที่ไม่ใช่ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “(6) เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 9(1) หรือ (3) โดยใช้คุณสมบัติการเป็นผู้แนะนําการลงทุนอาเซียนหรือนักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน สิ้นสุดจากการเป็นผู้แนะนําการลงทุนหรือนักวิเคราะห์การลงทุนจากหน่วยงานกํากับดูแลที่บุคคลดังกล่าวได้ขึ้นทะเบียนไว้หรือได้รับความเห็นชอบจากประเทศที่มีการลงนามในโครงการตามความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศอาเซียน (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ON THE ACMF PASS UNDER ASEAN CAPITAL MARKET PROFESSIONAL MOBILITY FRAMEWORK)” ข้อ 6 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตารางประเภทธุรกรรม และตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุ ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 46/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตารางประเภทธุรกรรมและตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
462
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 27/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 11)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 27/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 11) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(9) และ (10) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 5/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “(5) เป็นการแต่งตั้งเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ลงทุนสําหรับกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน” ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
463
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 56/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 12)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 56/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(9) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 23(5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 70/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
464
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 14/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 13)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว เมื่อวันที่ 27/1/2564 . CSDS เลขที่ 105/2563 . ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 14/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 ของหมวด 3 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “ข้อ 14/1 ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งบุคลากรตามข้อ 8(1) ผู้ประกอบธุรกิจต้องพิจารณาให้บุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) ไม่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทอื่น และต้องไม่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่บุคคลอื่นที่ดําเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของผู้ประกอบธุรกิจ เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจแสดงได้ว่ามีการจัดโครงสร้างขององค์กรที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้ (2) ในกรณีที่แต่งตั้งพนักงานของผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคลากรตามข้อ 8(1) บุคคลดังกล่าวต้องดํารงตําแหน่งที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการลงทุน (ข) ตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
465
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 15/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 14)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 15/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 14) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 103(9) และ (10) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 23(3) และ (5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 5/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 9(1) โดยใช้คุณสมบัติในด้านอายุที่ไม่น้อยกว่าห้าสิบปีและการมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องเป็นเวลามากกว่าสิบปี ซึ่งพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ออกหนังสือรับรองประสบการณ์และศักยภาพในการทํางาน แต่ไม่รวมถึงการโอนย้ายการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นกับผู้ประกอบธุรกิจที่ออกหนังสือรับรองประสบการณ์และศักยภาพในการทํางาน ที่อยู่ในกระบวนการหรือภายหลังการควบ รวม หรือซื้อกิจการระหว่างกัน” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 37/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “ข้อ 37/1 การห้ามการปฏิบัติหน้าที่ พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือการดําเนินการใดตามประกาศนี้ เป็นดุลยพินิจของสํานักงานโดยมีปัจจัยที่ระบุไว้ในข้อ 36 ประกอบความเห็นของคณะกรรมการตามข้อ 37 เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา” ข้อ 3 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 56/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
466
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 27/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 15)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 27/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 103(9) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 23(5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้าพ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 5/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถ ประสบการณ์การทํางาน ผ่านการอบรมหรือการทดสอบหลักสูตรของสํานักงานหรือหน่วยงานที่สํานักงานยอมรับ และมีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตารางประเภทธุรกรรม และตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุ ที่แนบท้ายประกาศนี้ เว้นแต่เป็นบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(1) (2) หรือ (3) ซึ่งได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 70/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นตารางแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ 3 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานโดยดํารงตําแหน่งตามข้อ 8(1) และ (4) และข้อ 9 ที่ได้อบรมหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) หรือเข้าร่วมกิจกรรม ตามที่กําหนดไว้ในตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และการอบรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปีปฏิทินล่าสุดก่อนครบอายุการให้ความเห็นชอบสามารถใช้การอบรมหลักสูตรหรือเข้าร่วมกิจกรรมนั้นในการยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
467
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 64/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 16)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 64/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 103(9) มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 มาตรา 23(5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 27/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 5/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถ ประสบการณ์การทํางาน ผ่านการอบรมหรือการทดสอบหลักสูตรของสํานักงานหรือหน่วยงานที่สํานักงานยอมรับ และมีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตารางประเภทธุรกรรม และตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุ ที่แนบท้ายประกาศนี้ เว้นแต่เป็นบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(1) (2) หรือ (3) ซึ่งได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 70/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นตารางแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 แทน ข้อ 4 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานโดยดํารงตําแหน่งตามข้อ 8(1) และ (4) และข้อ 9 ที่ได้อบรมหลักสูตรทบทวนความรู้ (refresher course) หรือเข้าร่วมกิจกรรม ตามที่กําหนดไว้ในตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 70/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และการอบรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวไม่เกิน 2 ปีปฏิทินล่าสุดก่อนครบอายุการให้ความเห็นชอบ สามารถใช้การอบรมหลักสูตรหรือเข้าร่วมกิจกรรมนั้นในการยื่นคําขอต่ออายการให้ความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนได้ ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
468
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 มาตรา 103(9) และ (10) มาตรา 109 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 133 วรรคสอง และมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 15 มาตรา 18 มาตรา 23(3) และ (5) และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป หมวด 1 บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 2 ในประกาศนี้ และรวมถึงแบบคําขอและตารางแนบท้ายที่กําหนดตามประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทจัดการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล “ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่สนใจจะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน และให้หมายความรวมถึงลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจด้วย “ผู้ลงทุนสถาบัน”( หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 “สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 “สมาคม” หมายความว่า (1) สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ (2) สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 เว้นแต่ที่กําหนดในหมวด 7 “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน”( หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังต่อไปนี้ (1) หน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ได้แก่ หน่วยลงทุนดังนี้ (ก) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ข) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการลงทุนแบบซับซ้อนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกรณีที่กองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (ค) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย (ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีมูลค่าการลงทุนสุทธิ (net exposure) ในสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์นั้น (จ) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้เกินกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (ฉ) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศซึ่งมีลักษณะหรือเงื่อนไขทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนตาม (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ) (2) ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ได้แก่ ตราสารหนี้ดังนี้ (ก) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (hybrid securities) ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้เกินกว่าสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกตราสาร และมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. มีข้อกําหนดให้ผู้ออกตราสารมีสิทธิในการเลื่อนหรืองดการชําระหนี้ตามตราสาร หรือมีสิทธิในการเลื่อนหรืองดการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนตามตราสาร 2. มีข้อกําหนดให้ผู้ถือตราสารมีสิทธิได้รับชําระหนี้คืนจากผู้ออกตราสารด้อยกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ แต่ดีกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหุ้นสามัญของผู้ออกตราสาร (ข) ตราสารหนี้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (ค) ตราสารหนี้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้(non-investment grade bond) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) (ง) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หรือตราสารอื่นที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (จ) ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (ฉ) ตราสารหนี้ที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศซึ่งมีลักษณะหรือเงื่อนไขทํานองเดียวกับตราสารหนี้ตาม (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ) (3) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน”( หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนอื่นใดที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท “ผู้อํานวยการฝ่าย” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบงานในระดับส่วนงานภายในบริษัท “ผู้จัดการสาขา” หมายความว่า ผู้จัดการสํานักงานสาขา หรือผู้รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขา “ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมหรือผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งทําหน้าที่ตัดสินใจลงทุนหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นใด ที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น “ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน”( หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 “ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า บุคคลที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์จากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้อื่น “กรรมการในคณะกรรมการลงทุนของกองทุน” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการซึ่งบริษัทจัดการลงทุนแต่งตั้งหรือมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากําหนดกรอบการลงทุนของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือการลงทุนในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ช่วยการจัดการลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน และอาจรับรู้ข้อมูลการลงทุนเนื่องจากการทําหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อตําแหน่งของบุคคลดังกล่าวอย่างใด “ผู้แนะนําการลงทุน”( หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุน ซึ่งได้แก่การติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุน หรือการให้คําแนะนําเพื่อการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยไม่มีการวางแผนหรือการวิเคราะห์การลงทุนประกอบการให้คําแนะนํา ซึ่งแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ (1) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารทั่วไป หมายความว่า ผู้แนะนําการลงทุนที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน (2) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อน หมายความว่า ผู้แนะนําการลงทุนที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อนและผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้เพิ่มเติมด้วย ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ (ก) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1 ซึ่งสามารถแนะนําผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้ทุกประเภท (ข) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2 ซึ่งสามารถแนะนําผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้เฉพาะที่เป็นหน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน และตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (ค) ผู้แนะนําการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 3 ซึ่งสามารถแนะนําผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้เฉพาะที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ผู้แนะนําการลงทุนอาเซียน หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําทั่วไป (general advice) แก่ผู้ลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ โดยมิได้มีการติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุนด้วย ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แนะนําการลงทุนจากประเทศที่มีการลงนามในโครงการตาม ความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศอาเซียน (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ONTHE ACMF PASS UNDER ASEAN CAPITAL MARKET PROFESSIONAL MOBILITY FRAMEWORK) (ก) หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอาเซียน (ข) หน่วยลงทุนที่ออกและเสนอขายในประเทศอาเซียนที่ไม่ใช่หน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (ค) ตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายในประเทศอาเซียนที่ไม่ใช่ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน “การให้คําแนะนําทั่วไป”( หมายความว่า การให้คําแนะนําซึ่งไม่มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ “ผู้วางแผนการลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําการลงทุนแก่ผู้ลงทุนซึ่งสามารถวางแผนการลงทุนประกอบการให้คําแนะนําได้ ซึ่งได้แก่ การใช้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละรายในเชิงลึก เพื่อนํามาประกอบกับการวางแผนและให้คําแนะนําการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งสอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และวัตถุประสงค์การลงทุนของลูกค้าแต่ละราย “นักวิเคราะห์การลงทุน”( หมายความว่า บุคคลที่ให้คําแนะนําการลงทุนแก่ผู้ลงทุนซึ่งสามารถวิเคราะห์การลงทุนประกอบการให้คําแนะนําได้ ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์ หรือการให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานหรือการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค และให้หมายความรวมถึงนักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน “นักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน”( หมายความว่า บุคคลซึ่งสามารถวิเคราะห์การลงทุนและให้คําแนะนําโดยไม่มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะและมิได้มีการติดต่อเพื่อชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ซึ่งบุคคลดังกล่าวทําหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนจากประเทศที่มีการลงนามในโครงการตามความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศอาเซียน (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ON THE ACMF PASS UNDER ASEAN CAPITAL MARKET PROFESSIONAL MOBILITY FRAMEWORK) (ก) หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอาเซียน (ข) หน่วยลงทุนที่ออกและเสนอขายในประเทศอาเซียนที่ไม่ใช่หน่วยลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (ค) ตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายในประเทศอาเซียนที่ไม่ใช่ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน “เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร”2 หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ดูแลบัญชีของลูกค้าในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเป็นสินค้าเกษตร โดยบุคคลดังกล่าวสามารถตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อลูกค้าเป็นปกติ (day-to-day decision) ได้ตามความยินยอมที่ลูกค้าได้แสดงเจตนาไว้กับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะมีการให้คําแนะนําการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวด้วยหรือไม่ก็ตาม “การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน” หมายความว่า การวิเคราะห์เพื่อมุ่งหามูลค่าที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน โดยใช้การพิจารณาจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลการดําเนินงานในอนาคต อาทิ ภาวะเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แนวทาง การบริหารงานของผู้ออกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน รวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ทางธุรกิจ เป็นต้นโดยมีการนําข้อมูลการดําเนินงานในอดีตและปัจจุบันมาร่วมคาดการณ์แนวโน้มผลการดําเนินงานในอนาคต “การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค” หมายความว่า การวิเคราะห์โดยศึกษาพฤติกรรมของราคาและปริมาณการซื้อขายของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือพฤติกรรมของตลาดในอดีต โดยมีการจัดทําเป็นกราฟและใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ทางเทคนิค ประกอบกับผลการทดสอบวิจัยมาคาดการณ์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของตลาดในอนาคต ข้อ 3 สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว หมวด 2 การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เป็น บุคลากรในธุรกิจตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4( บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานด้านใดด้านหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับความเห็นชอบ ตามที่ประกาศนี้กําหนด แล้วแต่กรณี (1) งานเกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุม และกํากับดูแลนโยบายของผู้ประกอบธุรกิจ (2) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการแนะนํา การลงทุน การวางแผนการลงทุน การวิเคราะห์การลงทุนหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน การจัดการลงทุน การจัดการสาขาของผู้ประกอบธุรกิจ หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า (3) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง (4) งานเกี่ยวกับการจัดการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ตราสาร หรือทรัพย์สินอื่นที่กําหนดไว้ (5) งานเกี่ยวกับวิเคราะห์ แนะนํา หรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า หรือการดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า ข้อ 5 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(1) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงบุคลากรดังกล่าวตามข้อ 10 (1) กรรมการ (2) ผู้จัดการ (3) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (2) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (4) ที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 6 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(2) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงบุคลากรดังกล่าวตามข้อ 10 (1) รองผู้จัดการ (2) ผู้ช่วยผู้จัดการ (3) ผู้อํานวยการฝ่าย (4) ผู้จัดการสาขา (5) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (1) ถึง (4) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น ข้อ 7 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(3) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงบุคลากรดังกล่าวตามข้อ 10 (1) รองผู้จัดการ (2) ผู้ช่วยผู้จัดการ (3) ผู้อํานวยการฝ่าย (4) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (5) ผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งตาม (1) ถึง (4) ที่เรียกชื่ออย่างอื่น (6) กรรมการในคณะกรรมการซึ่งผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวทําหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง เช่น คณะกรรมการกํากับดูแลการปฏิบัติงาน คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ หรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น (7) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ว่าจะเรียกชื่อใดซึ่งให้คําปรึกษาหรือความเห็นต่อคณะกรรมการตาม (6) ข้อ 8 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(4) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการกองทุน (2) ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (3) ผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (4) ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) ผู้ช่วยการจัดการลงทุนของผู้ดํารงตําแหน่งตาม (1) ถึง (4) (6) กรรมการในคณะกรรมการลงทุนของกองทุน (7) ผู้ดํารงตําแหน่งไม่ว่าจะเรียกชื่อใดซึ่งให้คําปรึกษาหรือความเห็นต่อคณะกรรมการตาม (6) (8) ผู้ส่งคําสั่งซื้อขายเพื่อกองทุน ข้อ 9 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(5) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ แต่ไม่รวมถึงบุคลากรดังกล่าวตามข้อ 11 (1) ผู้แนะนําการลงทุน (2) ผู้วางแผนการลงทุน (3) นักวิเคราะห์การลงทุน (4)( เจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร ข้อ 10 การแต่งตั้งบุคลากรเพื่อดํารงตําแหน่งตามข้อ 5 ข้อ 6 หรือข้อ 7 ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ (1) เป็นการแต่งตั้งโดยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) เป็นการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นตามมาตรา 103(7) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 11 การแต่งตั้งบุคลากรเป็นผู้แนะนําการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน หรือนักวิเคราะห์การลงทุน ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ (1) เป็นการแต่งตั้งโดยผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (ก) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ข) การจัดการเงินร่วมลงทุน (ค) การยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ (ง) การเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (2) เป็นการแต่งตั้งเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศของสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในต่างประเทศ (3) เป็นการแต่งตั้งผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าตราสารหนี้กับสมาคม ตลาดตราสารหนี้ไทยให้แนะนําการลงทุนในตราสารหนี้ในนามของผู้ประกอบธุรกิจประเภทการค้าหลักทรัพย์ ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน (4)( เป็นการแต่งตั้งเพื่อให้บริการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายคืนได้ตามราคาที่แน่นอนหรือราคาขั้นต่ําที่ได้กําหนดไว้ตั้งแต่วันที่ออกพันธบัตร (5)(( เป็นการแต่งตั้งเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ลงทุนสําหรับกองทุนรวมเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ข้อ 12 ผู้ประกอบธุรกิจจะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ผู้ใดปฏิบัติงานในข้อ 4จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (1) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลนั้นดํารงตําแหน่งตามข้อ 5ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในหมวด 3 (ค) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนปฏิบัติงาน เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ 1. ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกําหนดตามมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 2. การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลนั้นดํารงตําแหน่งตามข้อ 6ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในหมวด 3 (ค) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนปฏิบัติงาน เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกําหนดตามมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (3) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลนั้นดํารงตําแหน่งตามข้อ 7ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ข) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในหมวด 3 (4) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลนั้นดํารงตําแหน่งตามข้อ 8 หรือข้อ 9 ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในหมวด 3 (ข) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนปฏิบัติงาน หมวด 3 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติม ของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13(( บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเกี่ยวกับความสามารถ ประสบการณ์การทํางาน ผ่านการอบรมหรือการทดสอบหลักสูตรของสํานักงานหรือหน่วยงานที่สํานักงานยอมรับ และมีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามตารางคุณสมบัติของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ตารางประเภทธุรกรรม และตารางคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบในการต่ออายุ ที่แนบท้ายประกาศนี้ เว้นแต่เป็นบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานตามข้อ 4(1) (2) หรือ (3) ซึ่งได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ 14 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในหมวด 7 ข้อ 14/1(( ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งบุคลากรตามข้อ 8(1) ผู้ประกอบธุรกิจต้องพิจารณาให้บุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) ไม่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทอื่น และต้องไม่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่บุคคลอื่นที่ดําเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกับการดําเนินการของผู้ประกอบธุรกิจ เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจแสดงได้ว่ามีการจัดโครงสร้างขององค์กรที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นได้ (2) ในกรณีที่แต่งตั้งพนักงานของผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคลากรตามข้อ 8(1)บุคคลดังกล่าวต้องดํารงตําแหน่งที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ตําแหน่งที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการจัดการลงทุน (ข) ตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน หมวด 4 การขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 การขอรับความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 15 ในการยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการพิจารณาให้ ความเห็นชอบตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ส่วนที่ 2 ระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ และการต่ออายุ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16 การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนให้มีผลดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 8(5) (6) (7) และ (8) ให้มีอายุตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่หรือดํารงตําแหน่งนั้นๆ ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ (2) กรณีเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(1) (2) และ (4) ให้มีอายุสองปีปฏิทิน โดยในการขอความเห็นชอบครั้งแรก ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ แต่ให้นับระยะเวลาสองปีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการให้ความเห็นชอบบุคลากรที่เคยได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งตามข้อ 8(1) (2) หรือ (4) ประเภทใดประเภทหนึ่งมาก่อนแล้ว และอายุการให้ความเห็นชอบประเภทนั้นยังไม่สิ้นสุดลง ให้ความเห็นชอบทุกประเภทสิ้นสุดลงพร้อมกับอายุการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด (3) กรณีเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(3) ให้มีอายุตลอดเวลาที่ยังสามารถดํารงคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการกองทุนตามข้อ 8(1) หรือผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 8(2)ได้ แล้วแต่กรณี (4)( กรณีเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 9 ให้มีอายุสองปีปฏิทิน โดยใน การขอความเห็นชอบครั้งแรก ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ แต่ให้นับระยะเวลาสองปีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่เคยได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติงานในตําแหน่งนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนําการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน หรือเจ้าหน้าที่จัดการการซื้อขายด้านสินค้าเกษตร ประเภทใดประเภทหนึ่งมาก่อนแล้ว และอายุการให้ความเห็นชอบประเภทนั้นยังไม่สิ้นสุดลง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่การให้ความเห็นชอบครั้งหลังมีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่เหนือกว่าประเภทที่ได้รับความเห็นชอบในครั้งก่อน ให้อายุการให้ความเห็นชอบครั้งก่อนสิ้นสุดลงในวันที่ การให้ความเห็นชอบครั้งหลังมีผล (ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้อายุการให้ความเห็นชอบทุกประเภทสิ้นสุดลงพร้อมกับอายุการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด ข้อ 17 การขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(1) (2) และ (4) และข้อ 9 ให้ยื่นคําขอต่ออายุได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม ของปีที่การให้ความเห็นชอบจะสิ้นสุดลง ส่วนที่ 3 การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 18 การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนสิ้นสุดลงเมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เมื่อบุคคลนั้นไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามภายหลังได้รับความเห็นชอบ ให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวด 7 (2) เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 8(5) (6) (7) และ (8) ซึ่งพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ได้ดํารงตําแหน่งนั้น ๆ ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ (3) เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(1) (2) และ (4) และข้อ 9 ซึ่งไม่มีการขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามข้อ 17 (4) เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(3) ซึ่งขาดคุณสมบัติ การเป็นผู้จัดการกองทุนตามข้อ 8(1) หรือผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 8(2) แล้วแต่กรณี (5)(( เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 9(1) โดยใช้คุณสมบัติในด้านอายุที่ไม่น้อยกว่าห้าสิบปีและการมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องเป็นเวลามากกว่าสิบปีซึ่งพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ออกหนังสือรับรองประสบการณ์และศักยภาพในการทํางาน แต่ไม่รวมถึงการโอนย้ายการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นกับผู้ประกอบธุรกิจที่ออกหนังสือรับรองประสบการณ์และศักยภาพในการทํางาน ที่อยู่ในกระบวนการหรือภายหลังการควบ รวม หรือซื้อกิจการระหว่างกัน (6)( เมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 9(1) หรือ (3) โดยใช้คุณสมบัติการเป็นผู้แนะนําการลงทุนอาเซียนหรือนักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน สิ้นสุดจากการเป็นผู้แนะนําการลงทุนหรือนักวิเคราะห์การลงทุนจากหน่วยงานกํากับดูแลที่บุคคลดังกล่าวได้ขึ้นทะเบียนไว้หรือได้รับความเห็นชอบจากประเทศที่มีการลงนามในโครงการตามความร่วมมือภายในกลุ่มประเทศอาเซียน (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ON THE ACMF PASS UNDER ASEAN CAPITAL MARKET PROFESSIONAL MOBILITY FRAMEWORK) หมวด 5 หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 19 ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว (1) บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานตามข้อ 7(4) ข้อ 20 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและจัดเก็บข้อมูลการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังต่อไปนี้ ไว้ที่บริษัทในลักษณะที่พร้อมเรียกดูหรือจัดให้สํานักงานตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ (1) บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 5 และข้อ 6 ของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกําหนดตามมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ที่ปรึกษาของบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 5(4) (3) บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 7(1) (2) (3) (5) (6) และ (7) ข้อ 21 ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกาศรายชื่อบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 8(1) (2) (3) และ (4) ไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการทุกแห่งของผู้ประกอบธุรกิจ และให้เปิดเผยชื่อดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องปรับปรุงข้อมูลภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ 22 ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงาน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว (1) การไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (2) การมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 29 หรือกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 30 แต่ไม่รวมถึงการมีลักษณะต้องห้ามอันเนื่องจากการดําเนินการของสํานักงาน หมวด 6 หน้าที่ของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 23( บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่หรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพและปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกรายอย่างเป็นธรรม ด้วยความเอาใจใส่ ระมัดระวัง รอบคอบ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (3) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน (4) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กําหนดโดยสํานักงาน สมาคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตลาดทุนที่สํานักงานยอมรับ ข้อ 24 ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 23ให้สํานักงานพิจารณาและดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการมีลักษณะต้องห้ามในกลุ่มที่ 3 ตามหมวด 7 ข้อ 25 ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นตัวแทนของสมาชิกในการซื้อขายด้วยระบบการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หากบุคคลดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากําหนด และการกระทําดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องเดียวกันในหมวดนี้ และตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ดําเนินการลงโทษกับบุคคลดังกล่าวตามกฎเกณฑ์ของตนแล้ว สํานักงานจะไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 24 กับบุคคลนั้นอีกก็ได้ หากเห็นว่าบุคคลดังกล่าวได้รับโทษอย่างเหมาะสมแล้ว ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงโทษด้วยการปรับเป็นเงิน “สมาชิก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ข้อ 26 ให้นําความในข้อ 25 มาใช้บังคับกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่เป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ซึ่งฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องเดียวกันในหมวดนี้ และสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยได้ดําเนินการลงโทษกับบุคคลดังกล่าวตามกฎเกณฑ์ของตนแล้ว โดยอนุโลม หมวด 7 ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 27 ในหมวดนี้ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (2) ธุรกิจหลักทรัพย์ (3) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) ธุรกิจประกันภัย (5) ธุรกิจสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ส่วนที่ 1( การมีลักษณะต้องห้าม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 28 บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) มีความบกพร่องในด้านความสามารถตามกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลตลาดทุน หรือมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามที่กําหนดไว้ในข้อ 29 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 (2) มีประวัติการถูกลงโทษหรือถูกดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 30 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 (3) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ลงทุน บริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม หรือตลาดเงินหรือตลาดทุนโดยรวม ในเรื่องที่มีนัยสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 31 เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ข้อ 29 ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (3) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงานหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษ หรือศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอการลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี (ก) ความผิดตามมาตรา 289 ประกอบกับมาตรา 90 (เฉพาะที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชน) หรือมาตรา 306 ถึงมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ข) ความผิดตามมาตรา 92 ถึงมาตรา 100 มาตรา 125 ประกอบกับมาตรา 16(เฉพาะที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชน) หรือมาตรา 145 ถึงมาตรา 150 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (ค) ความผิดตามมาตรา 85 ถึงมาตรา 90 หรือมาตรา 77 ประกอบกับมาตรา 54แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 (4) เป็นบุคคลที่สํานักงานปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อของบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากเป็นผู้ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจให้เป็นกรรมการและผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารบริษัท ข้อ 30 ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 (1) เป็นบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดอาญาแผ่นดินเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอการลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี (2) เป็นบุคคลที่ศาลมีคําสั่งถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกัน และยังไม่พ้นสามปีนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน (3) เป็นบุคคลที่ไม่สามารถดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ ที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน หรือบุคลากรที่มีหน้าที่ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการบริการทางการเงิน จัดการหรือรับเงินทุนของลูกค้า เนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ และอยู่ระหว่างเวลาที่ยังไม่สามารถกลับมาดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้อีก ทั้งนี้ เฉพาะลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การทุจริตต่อหน้าที่ หรือทุจริต หลอกลวง หรือฉ้อโกงเกี่ยวกับทรัพย์สิน (ข) การบริหารงานที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งของหน่วยงานกํากับดูแล หรือบริหารงานหรือจัดการงานที่ไม่เหมาะสม (ค) การกระทําที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือการกระทําที่ไม่เป็นธรรมหรือเป็นการเอาเปรียบ (4)(( เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกดําเนินการอันเป็นผลให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ถูกคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งกําหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง หรือศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในมูลเหตุเนื่องจากการกระทําความผิดตามมาตรา 297/1 หรือมาตรา 317/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือความผิดตามมาตรา 74 หรือมาตรา 96 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (ข) ถูกสํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือมีลักษณะที่ทําให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุด หรือถูกดําเนินการอื่นในทํานองเดียวกัน ในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง ทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือขาดความระมัดระวังขาดความซื่อสัตย์สุจริต หรือขาดจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ข้อ 31 ให้กรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมดังต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 (1) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมประพฤติผิดต่อหน้าที่หรือการให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ขาดความรับผิดชอบและความรอบคอบ เอาเปรียบผู้ลงทุน หรือขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งกําหนดโดยสํานักงาน สมาคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนที่สํานักงานยอมรับ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (2) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแล (ถ้ามี) กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้าพ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจทรัสต์โดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ การดําเนินธุรกิจ หรือลูกค้าของธุรกิจนั้น (3) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมอันส่อไปในทางไม่สุจริตที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วม หรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น เช่น การแสวงหาหรือเบียดบังผลประโยชน์ใดโดยมิชอบเพื่อตนเอง บริษัทหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่น โดยอาศัยตําแหน่งหน้าที่ที่ตนดํารงอยู่ หรือการทุจริตการสอบ เป็นต้น ส่วนที่ 2 ผลของการมีลักษณะต้องห้าม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 32 ในกรณีที่ผู้มีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1 เป็นผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้ ให้สํานักงานใช้เหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวในการปฏิเสธการให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวได้ ข้อ 33( สําหรับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ดํารงตําแหน่งตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 หรือข้อ 9 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หากปรากฏว่ามีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1ให้สํานักงานดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 29 หรือลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2ตามข้อ 30(1) หรือ (2) ให้สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ (2) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตามข้อ 30(3) หรือ (4) ให้สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามแต่เหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามนั้น (3) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามสมควรแก่กรณี ข้อ 34 สําหรับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ดํารงตําแหน่งตามข้อ 5 ข้อ 6 หรือข้อ 7 ซึ่งไม่จําเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หากปรากฏว่ามีลักษณะต้องห้ามตามส่วนที่ 1ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการห้ามบุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 29 ตั้งแต่เมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดในเรื่องที่กําหนด หรือเมื่อสํานักงานได้มีหนังสือกล่าวโทษบุคคลนั้นต่อพนักงานสอบสวน หรือมีหนังสือแจ้งการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ แล้วแต่กรณี จนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว (2) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ตั้งแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 30 ต่อสํานักงาน และสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งบุคคลที่ถูกพิจารณาและผู้ประกอบธุรกิจที่บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งอยู่ให้ทราบถึงการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว จนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว (3) กรณีเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในหนังสือของสํานักงานซึ่งแจ้งบุคคลที่ถูกพิจารณาและผู้ประกอบธุรกิจที่บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งอยู่ให้ทราบถึงการมีลักษณะต้องห้ามที่กําหนดตามข้อ 31 แล้ว จนกว่าจะพ้นเงื่อนไขหรือระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ 35 ในการใช้ดุลยพินิจปฏิเสธการให้ความเห็นชอบตามข้อ 32 พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 33(2) และ (3) หรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 34(3) แล้วแต่กรณีให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้แทนหรือประกอบการดําเนินการดังกล่าวได้ (1) กําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบหรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไป โดยระยะเวลาที่กําหนดต้องไม่เกินสิบปี สําหรับการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามในแต่ละกรณี (2) กําหนดระยะเวลาการสั่งพักการให้ความเห็นชอบ ซึ่งเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วให้บุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนในตําแหน่งเดิมต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นคําขอความเห็นชอบ ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดต้องไม่เกินกว่าอายุการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ (3) ในกรณีพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31มีลักษณะไม่ร้ายแรง หรือเกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปีนับถึงวันที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน สํานักงานอาจไม่ยกกรณีดังกล่าวขึ้นพิจารณาเป็นเหตุในการปฏิเสธการให้ความเห็นชอบ การพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ หรืออาจลดระดับการดําเนินการเป็นการเปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวก็ได้ ส่วนที่ 3 การพิจารณาลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 36 ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อการมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 หรือการพิจารณาดําเนินการตามข้อ 35 ให้สํานักงานนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา (1) บทบาทความเกี่ยวข้องและพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกพิจารณา (2) การลงโทษที่บุคคลนั้นได้รับไปแล้ว (3) ผลกระทบหรือความเสียหายต่อลูกค้า ผู้ลงทุน บริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวมตลาดเงินหรือตลาดทุนโดยรวม หรือผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมที่พิจารณา (4) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า ผู้ลงทุน บริษัท หรือผู้ถือหุ้นโดยรวม ตลาดเงินหรือตลาดทุนโดยรวม หรือแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมทํานองเดียวกันนั้นซ้ําอีก (5) พฤติกรรมอื่นของผู้ถูกพิจารณาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน (6) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดที่แสดงถึงความไม่เหมาะสมที่จะเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 37 ให้สํานักงานด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งเพื่อทําหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อสํานักงานเกี่ยวกับการพิจารณาเหตุของการห้ามการปฏิบัติหน้าที่ พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่มีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 หรือพิจารณาให้ความเห็นต่อสํานักงานในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามความในหมวดนี้ หรือพิจารณาวางแนวทางและให้ความเห็นต่อสํานักงานในการดําเนินการ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากตลาดเงินหรือตลาดทุนจํานวนไม่เกินห้าคนซึ่งไม่เป็นเลขาธิการหรือพนักงานของสํานักงาน โดยจํานวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ลงทุนจํานวนหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจํานวนหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งจากรายชื่อบุคคลที่สมาคมเป็นผู้เสนออีกสองคน ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้สํานักงานแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ กรรมการรายใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาในลักษณะที่อาจมีผลกระทบต่อการให้ความเห็นอย่างเป็นกลาง ให้ผู้นั้นแจ้งการมีส่วนได้เสียนั้นและห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ข้อ 37/1(( การห้ามการปฏิบัติหน้าที่ พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือการดําเนินการใดตามประกาศนี้ เป็นดุลยพินิจของสํานักงานโดยมีปัจจัยที่ระบุไว้ในข้อ 36 ประกอบความเห็นของคณะกรรมการตามข้อ 37 เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ข้อ 38 เพื่อให้การใช้ดุลยพินิจสั่งการของสํานักงานตามหมวดนี้มีความชัดเจนและผ่านกระบวนการทบทวนตามสมควร ในการแจ้งเหตุในการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือการห้ามการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากการมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ตามข้อ 31 สํานักงานจะกระทําได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง (2) เสนอข้อเท็จจริงรวมทั้งคําชี้แจงของผู้ถูกพิจารณา (ถ้ามี) ให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน และเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และหากคณะกรรมการประสงค์จะให้ผู้ถูกพิจารณาชี้แจงเพิ่มเติม ให้สํานักงานจัดให้มีการชี้แจงเช่นนั้น ในการปฏิบัติอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ข้อ 39 สํานักงานอาจไม่ดําเนินการตามข้อ 38 วรรคหนึ่งได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการพิจารณาอื่นที่ทําให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจง และเคยผ่านการพิจารณาให้ความเห็นในรูปองค์คณะที่มีผู้มีความรู้ประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจในตลาดทุนเป็นองค์คณะด้วยหรือโดยองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องมาอย่างเพียงพอแล้ว หรือ (2) คณะกรรมการได้กําหนดแนวทางพิจารณาดําเนินการสําหรับกรณีที่มีข้อเท็จจริงทํานองเดียวกันกับกรณีที่พิจารณานี้ไว้ชัดเจนเพียงพอแล้ว หมวด 8 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 40 ในหมวดนี้ “ประกาศที่ถูกยกเลิก” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนหรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ.14/2557 เรื่อง การยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ ผู้จัดการ และบุคลากรอื่นของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 12/2557 เรื่อง การยกเลิกประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดการกองทุน ผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และผู้จัดการของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ส่วนที่ 1 บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออก วางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับอยู่โดยอาศัยอํานาจในบทเฉพาะกาล ตามประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 42 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ 43 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงถึงบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงถึงบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามประกาศนี้ ข้อ 44 ในกรณีที่คณะกรรมการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 รับพิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการสั่งการกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาต่อไปได้ โดยใช้ข้อกําหนดตามประกาศนี้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ส่วนที่ 2 การดําเนินการเกี่ยวกับการขอรับความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 45 คําขอรับความเห็นชอบที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานตามประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40 หรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับประกาศที่ถูกยกเลิกดังกล่าว หากได้มีการยื่นคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามแบบและวิธีการแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การให้ความเห็นชอบเป็นไปตามประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40 และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ 46( ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเพื่อดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการซึ่งได้ยื่นคําขอก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ มาใช้บังคับกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี ข้อ 47 ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 48 และข้อ 49 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 40 เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศนี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ถือว่าวันที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบไว้เป็นวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ข้อ 48 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการซึ่งได้รับความเห็นชอบอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือได้รับความเห็นชอบตามข้อ 46 เข้ารับการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดี ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งมิได้เข้ารับการอบรมตามกําหนดเวลา ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงในวันที่ครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรรมการหรือผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น และกรรมการที่ไม่มีอํานาจลงนาม ข้อ 49( ยกเลิก ข้อ 50 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งปฏิบัติงานโดยดํารงตําแหน่งตามข้อ 6 และข้อ 8(5) (6) (7) และ (8) อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ สามารถปฏิบัติงานในตําแหน่งดังกล่าวต่อไปได้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคลากรดังกล่าวต่อสํานักงานภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการห้ามบุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานในตําแหน่งงานดังกล่าว ในระหว่างการปฏิบัติงานในตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนอยู่ภายใต้บังคับตามหมวด 6 และหมวด 7 ด้วย ข้อ 51 ให้บุคคลดังต่อไปนี้ ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้วางแผนการลงทุนอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและประสงค์จะทําหน้าที่ดังกล่าวต่อไป สามารถทําหน้าที่เป็นผู้วางแผนการลงทุนต่อไปได้ โดยดําเนินการยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ (1) ผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุน (2) ผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์ (3) นักวิเคราะห์การลงทุนด้านตลาดทุน (4) นักวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์ ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการห้ามบุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานในตําแหน่งงานดังกล่าว ในระหว่างการปฏิบัติงานในตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนอยู่ภายใต้บังคับตามหมวด 6 และหมวด 7 ด้วย ข้อ 51/1( ให้บุคคลซึ่งเคยยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 ที่มีความประสงค์เป็นผู้วางแผนการลงทุนโดยใช้คุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ ยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนต่อสํานักงานได้ภายในสามเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ (1) เป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบโดยใช้คุณสมบัติการเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนําการลงทุน ด้านหลักทรัพย์หรือด้านตลาดทุน แล้วแต่กรณี และการมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อง (2) เป็นผู้ที่ผ่านการอบรม แต่ไม่ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้วางแผนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการทดสอบตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนสิ้นสุดลง ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
469
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 129/2 วรรคสาม และมาตรา 129/3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” “กองทุนรวมวายุภักษ์” “โครงการ” และ “บริษัทจัดการกองทุนรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล คําว่า “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนรวมวายุภักษ์ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “มติพิเศษ” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน “มติเสียงข้างมาก” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (4) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (5) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (6) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๓ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ข้อ ๔ ในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการแก้ไขโครงการหรือวิธีการจัดการ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (2) การส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๕ ในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 4 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ (2) กําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมหรือเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติตามข้อ 6 (3) แจ้งการกําหนดวันตาม (1) และ (2) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ การแจ้งการกําหนดวันตาม (2) ให้เป็นไปตามข้อ 7 (4) ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 8 (5) ส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 9 ข้อ ๖ ในการกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจใช้วันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนด (record date) หรือวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน (book closing date) ก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันดังกล่าวแล้วจะเปลี่ยนแปลงมิได้ การกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นวันที่ล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่เกิน 2 เดือน แต่ต้องไม่ก่อนวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ การกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นวันที่ล่วงหน้าก่อนวันประชุม แต่ต้องไม่ก่อนวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ ข้อ ๗ ในการแจ้งวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนด หรือวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ และเปิดเผยในลักษณะที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเข้าถึงได้ (1) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยสารสนเทศและการปฏิบัติการใด ๆ ของกองทุนรวม (2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอื่นที่มิใช่กองทุนรวมตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันดังกล่าว ข้อ ๘ การประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําหนังสือนัดประชุมที่มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลดังนี้ (ก) วัน เวลา และสถานที่ประชุม (ข) ระเบียบวาระการประชุมตามข้อ 10 (ค) วันที่มติมีผลใช้บังคับ (ง) หนังสือมอบฉันทะ (ถ้ามี) ตามข้อ 11 (2) จัดส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 12(1) (3) ดําเนินการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ดําเนินการประชุมให้เป็นไปตามลําดับระเบียบวาระที่กําหนดไว้ในหนังสือนัดประชุม (ข) จัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวโดยให้จัดส่งหนังสือนัดประชุมตาม (ก) ไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุน (4) นัดประชุมใหม่ ในกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนที่เข้าร่วมประชุมไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามมาตรา 129/2 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ การกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมให้เป็นไปตามข้อ 13 ข้อ ๙ การส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําหนังสือขอมติที่มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลดังนี้ (ก) วันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ (ข) ระเบียบวาระการประชุม (ค) ระยะเวลาในการใช้สิทธิออกเสียงลงมติ (ง) วันที่มติมีผลใช้บังคับ (2) จัดส่งหนังสือขอมติถึงผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติตามข้อ 12(2) (3) กําหนดวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติใหม่ ในกรณีที่จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนที่ส่งกลับหนังสือแจ้งมติไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามมาตรา 129/2 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ การกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติให้เป็นไปตามข้อ 13 ข้อ ๑๐ ระเบียบวาระการประชุมในหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ชัดเจน พร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร (1) เรื่องที่จะเสนอผู้ถือหน่วยลงทุน โดยกําหนดว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี (2) ประเภทของมติที่ใช้ในแต่ละเรื่องที่เสนอ (3) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมในแต่ละเรื่องที่เสนอ (4) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับจากการลงมติ (ถ้ามี) ข้อ ๑๑ ในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 4(1) ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจมอบฉันทะ ให้บุคคลอื่นออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้ โดยต้องทําเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้มอบฉันทะ ผู้รับมอบฉันทะต้องนําหนังสือมอบฉันทะตามวรรคหนึ่งมาแสดงในวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ณ สถานที่ที่ประชุมก่อนการเข้าประชุม ทั้งนี้ การมอบฉันทะดังกล่าวให้มอบแก่ผู้รับมอบฉันทะได้เพียงรายเดียว หนังสือมอบฉันทะตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อผู้รับมอบฉันทะ (2) จํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้มอบฉันทะถืออยู่ (3) ครั้งที่ของการประชุมที่มีการมอบฉันทะ ข้อ ๑๒ ในการจัดส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) การส่งหนังสือนัดประชุม (ก) เรื่องที่ต้องใช้มติพิเศษ ให้ส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (ข) เรื่องที่ต้องใช้มติเสียงข้างมาก ให้ส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (2) การส่งหนังสือขอมติ ให้ส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ ข้อ ๑๓ ในการนัดประชุมใหม่หรือในการกําหนดวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติใหม่ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจใช้วันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมหรือผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติตามที่กําหนดไว้เดิม หรือจะกําหนดวันดังกล่าวขึ้นใหม่ก็ได้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเลือกใช้วันที่ที่กําหนดตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันดังกล่าว (2) ส่งหนังสือนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือส่งหนังสือขอมติให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ (3) เปิดเผยในลักษณะที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเข้าถึงได้ ข้อ ๑๔ มิให้นําระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับการประชุมตามข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 12 และข้อ 13 มาใช้กับการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ข้อ ๑๕ ในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน การจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 4 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงความเหมาะสมของผู้ถือหน่วยลงทุน และจัดให้มีระบบงานรองรับการดําเนินการดังกล่าวที่มีความมั่นคงและปลอดภัย ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการดําเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยอนุโลม ข้อ ๑๖ ในการออกเสียงลงคะแนน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคะแนนเสียงเท่าจํานวนหน่วยลงทุนที่ถืออยู่และมิให้นับจํานวนหน่วยลงทุนที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) หน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในเรื่องที่ขอมตินั้น (2) หน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนเฉพาะส่วนที่ถือเกินกว่าอัตราที่กําหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (3) หน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวมที่ไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ข้อ ๑๗ ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือวิธีการจัดการ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับมติเสียงข้างมาก เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ต้องได้รับมติพิเศษ (1) การเปลี่ยนแปลงประเภทหรือนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมที่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ (2) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น (3) การควบรวมกองทุนรวมระหว่างกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) แตกต่างกัน (4) การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนเงิน (5) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 5 ของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ระบุไว้ล่าสุดในโครงการ (6) การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกัน ผู้ประกัน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน หรือการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์ ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการแทน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
470
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 7/6/62 . CSDS เลขที่ 24/2562 . ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS . ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 129/2 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมที่มีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินให้แก่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวจะนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้รับไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 กําหนดให้กอง MF ต้นทางที่จะ pay in kind ไปยัง PVD และ PVD ดังกล่าวนําของไปลงทุนต่อใน MF for PVD ไม่ต้องใช้มติพิเศษในการแก้ไขข้อผูกพัน (จากเดิมเคยกําหนดให้การ pay in kind ของ MF for PVD ไม่ต้องใช้มติพิเศษในการแก้ไขข้อผูกพัน) (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
471
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 129/2 วรรคสาม และมาตรา 129/3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 “(5) ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับจากการลงมติ ในกรณีเป็นการดําเนินการที่มีข้อกําหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์” ข้อ 2 ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 “ข้อ 14/1 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้วมีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่ามีเหตุจําเป็นเพื่อพิทักษ์ประโยชน์และคุ้มครองผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมโดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ ดําเนินการตามระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับการประชุมหรือการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังต่อไปนี้แทนระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 12 และข้อ 13 ได้ (1) การกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติของกองทุนรวมตามข้อ 6 หากเป็นการดําเนินการภายหลังประกาศเลิกกองทุนรวม แต่ยังไม่เสร็จสิ้นการดําเนินการที่ให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันเลิกกองทุนรวม เป็นวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติของกองทุนรวมก็ได้ (2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มิได้มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การแจ้งวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดหรือวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนตามข้อ 7 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 วันก่อนวันที่กําหนดตามข้อ 6 กรณีเป็นการดําเนินการภายหลังประกาศเลิกกองทุนรวมแต่ยังไม่เสร็จสิ้นการดําเนินการที่ให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 วันก่อนวันที่ส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (3) (3) การจัดส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าตามข้อ 12 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ (4) การนัดประชุมใหม่หรือการกําหนดวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติใหม่ตามข้อ 13 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังนี้ (ก) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 วันก่อนวันดังกล่าว (ข) จัดส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าตามข้อ 12 ให้ดําเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ มติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือมีผู้ถือหน่วยลงทุนส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนดังกล่าว แล้วแต่กรณี” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
472
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 61/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 4)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 61/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 129/3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) หน่วยลงทุนทั้งหมดที่มีข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียงตามที่กําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
473
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 13/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 5)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว เมื่อวันที่ 28/12/2563 . CSDS เลขที่ 105/2563 . ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 13/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 129/2 วรรคสาม และมาตรา 129/3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17/1 และข้อ 17/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน และการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 “ข้อ 17/1 ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน นอกจากจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือที่กําหนดไว้ในมาตรา 129/2 และมาตรา 129/3 หรือตามที่กําหนดในประกาศนี้แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) กรณีเป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกชนิด โดยแต่ละชนิดได้รับผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เท่ากัน ต้องได้รับมติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิดที่ได้รับผลกระทบ แล้วแต่กรณี (2) กรณีเป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ว่ากรณีใด ต้องได้รับมติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิดที่ได้รับผลกระทบ แล้วแต่กรณี (3) กรณีเป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้องได้รับมติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิดที่ได้รับผลกระทบ แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งไว้อย่างชัดเจนในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมด้วย ข้อ 17/2 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือวิธีการจัดการ หากปรากฏว่ามติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษมีจํานวนไม่เกินร้อยละ 55 หรือไม่เกินร้อยละ 80 หรือในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษเมื่อคํานวณเฉพาะหน่วยลงทุนแต่ละชนิด มีจํานวนไม่เกินอัตราดังกล่าว แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขอมติและการนับมติไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองผลการนับมตินั้น” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
474
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนและการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 129/2 วรรคสาม และมาตรา 129/3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” “กองทุนรวมวายุภักษ์” “โครงการ” และ “บริษัทจัดการกองทุนรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล คําว่า “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนรวมวายุภักษ์ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “มติพิเศษ” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน “มติเสียงข้างมาก” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ข้อ 2 ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (4) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (5) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (6) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ 3 ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้นได้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ข้อ 4 ในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการแก้ไขโครงการหรือวิธีการจัดการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (2) การส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ 5 ในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 4 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ (2) กําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมหรือเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติตามข้อ 6 (3) แจ้งการกําหนดวันตาม (1) และ (2) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้า ทั้งนี้การแจ้งการกําหนดวันตาม (2) ให้เป็นไปตามข้อ 7 (4) ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 8 (5) ส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 9 ข้อ 6 ในการกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจใช้วันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนด (record date) หรือวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน (book closing date) ก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันดังกล่าวแล้วจะเปลี่ยนแปลงมิได้ การกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นวันที่ล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่เกิน 2 เดือน แต่ต้องไม่ก่อนวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ การกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นวันที่ล่วงหน้าก่อนวันประชุม แต่ต้องไม่ก่อนวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ ข้อ 7 ในการแจ้งวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนด หรือวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ และเปิดเผยในลักษณะที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเข้าถึงได้ (1) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยสารสนเทศและการปฏิบัติการใด ๆ ของกองทุนรวม (2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอื่นที่มิใช่กองทุนรวมตาม (1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันดังกล่าว ข้อ 8 การประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําหนังสือนัดประชุมที่มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลดังนี้ (ก) วัน เวลา และสถานที่ประชุม (ข) ระเบียบวาระการประชุมตามข้อ 10 (ค) วันที่มติมีผลใช้บังคับ (ง) หนังสือมอบฉันทะ (ถ้ามี) ตามข้อ 11 (2) จัดส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 12(1) (3) ดําเนินการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ดําเนินการประชุมให้เป็นไปตามลําดับระเบียบวาระที่กําหนดไว้ในหนังสือนัดประชุม (ข) จัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวโดยให้จัดส่งหนังสือนัดประชุมตาม (ก) ไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์และผู้ถือหน่วยลงทุน (4) นัดประชุมใหม่ ในกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนที่เข้าร่วมประชุมไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามมาตรา 129/2 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ การกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมให้เป็นไปตามข้อ 13 ข้อ 9 การส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําหนังสือขอมติที่มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลดังนี้ (ก) วันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ (ข) ระเบียบวาระการประชุม (ค) ระยะเวลาในการใช้สิทธิออกเสียงลงมติ (ง) วันที่มติมีผลใช้บังคับ (2) จัดส่งหนังสือขอมติถึงผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติตามข้อ 12(2) (3) กําหนดวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติใหม่ ในกรณีที่จํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนที่ส่งกลับหนังสือแจ้งมติไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามมาตรา 129/2 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ การกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติให้เป็นไปตามข้อ 13 ข้อ 10 ระเบียบวาระการประชุมในหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ชัดเจน พร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร (1) เรื่องที่จะเสนอผู้ถือหน่วยลงทุน โดยกําหนดว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบเพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี (2) ประเภทของมติที่ใช้ในแต่ละเรื่องที่เสนอ (3) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมในแต่ละเรื่องที่เสนอ (4) ความเห็นของบริษัทจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับจากการลงมติ (ถ้ามี) (5)( ความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับจากการลงมติ ในกรณีเป็นการดําเนินการที่มีข้อกําหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ผู้ดูแลผลประโยชน์ ข้อ 11 ในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 4(1) ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจมอบฉันทะให้บุคคลอื่นออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้ โดยต้องทําเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้มอบฉันทะ ผู้รับมอบฉันทะต้องนําหนังสือมอบฉันทะตามวรรคหนึ่งมาแสดงในวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ณ สถานที่ที่ประชุมก่อนการเข้าประชุม ทั้งนี้ การมอบฉันทะดังกล่าวให้มอบแก่ผู้รับมอบฉันทะได้เพียงรายเดียว หนังสือมอบฉันทะตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อผู้รับมอบฉันทะ (2) จํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้มอบฉันทะถืออยู่ (3) ครั้งที่ของการประชุมที่มีการมอบฉันทะ ข้อ 12 ในการจัดส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) การส่งหนังสือนัดประชุม (ก) เรื่องที่ต้องใช้มติพิเศษ ให้ส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (ข) เรื่องที่ต้องใช้มติเสียงข้างมาก ให้ส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (2) การส่งหนังสือขอมติ ให้ส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ ข้อ 13 ในการนัดประชุมใหม่หรือในการกําหนดวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติใหม่ บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจใช้วันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมหรือผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติตามที่กําหนดไว้เดิม หรือจะกําหนดวันดังกล่าวขึ้นใหม่ก็ได้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเลือกใช้วันที่ที่กําหนดตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันดังกล่าว (2) ส่งหนังสือนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือส่งหนังสือขอมติให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ (3) เปิดเผยในลักษณะที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเข้าถึงได้ ข้อ 14 มิให้นําระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับการประชุมตามข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 12 และข้อ 13 มาใช้กับการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันและโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ข้อ 14/1( เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่บริษัทจัดการกองทุนรวมพิจารณาแล้วมีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่ามีเหตุจําเป็นเพื่อพิทักษ์ประโยชน์และคุ้มครองผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมโดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ ดําเนินการตามระยะเวลาที่เกี่ยวข้องกับการประชุมหรือการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังต่อไปนี้แทนระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 12 และข้อ 13 ได้ (1) การกําหนดวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้มีสิทธิในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในหนังสือขอมติของกองทุนรวมตามข้อ 6 หากเป็นการดําเนินการภายหลังประกาศเลิกกองทุนรวม แต่ยังไม่เสร็จสิ้น การดําเนินการที่ให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมดังกล่าว บริษัทจัดการกองทุนรวมอาจกําหนด วันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันเลิกกองทุนรวม เป็นวันที่ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีสิทธิในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ในหนังสือขอมติของกองทุนรวมก็ได้ (2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มิได้มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การแจ้งวันที่ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนณ วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมกําหนดหรือวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนตามข้อ 7ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 วันก่อนวันที่กําหนดตามข้อ 6 กรณีเป็นการดําเนินการภายหลังประกาศเลิกกองทุนรวมแต่ยังไม่เสร็จสิ้น การดําเนินการที่ให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวมดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 2 วันก่อนวันที่ส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (3) (3) การจัดส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้า ตามข้อ 12 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนวันประชุมผู้ถือ หน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ (4) การนัดประชุมใหม่หรือการกําหนดวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติใหม่ตามข้อ 13 ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการดังนี้ (ก) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 วันก่อนวันดังกล่าว (ข) จัดส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าตามข้อ 12 ให้ดําเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือวันสุดท้ายของการรับหนังสือแจ้งมติ มติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ หรือมีผู้ถือหน่วยลงทุนส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนดังกล่าว แล้วแต่กรณี ข้อ 15 ในการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน การจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 4 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงความเหมาะสมของผู้ถือหน่วยลงทุน และจัดให้มีระบบงานรองรับการดําเนินการดังกล่าวที่มีความมั่นคงและปลอดภัย ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการดําเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์โดยอนุโลม ข้อ 16 ในการออกเสียงลงคะแนน ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคะแนนเสียงเท่าจํานวนหน่วยลงทุนที่ถืออยู่และมิให้นับจํานวนหน่วยลงทุนที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) หน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในเรื่องที่ขอมตินั้น (2)( หน่วยลงทุนทั้งหมดที่มีข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียงตามที่กําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (3) หน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนรวมที่ไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่บริษัทจัดการเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ข้อ 17 ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือวิธีการจัดการ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องได้รับมติเสียงข้างมาก เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ต้องได้รับมติพิเศษ (1) การเปลี่ยนแปลงประเภทหรือนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมที่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ (2)( การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น เว้นแต่กรณีเป็นกองทุนรวมที่มีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินให้แก่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวจะนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้รับไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (3) การควบรวมกองทุนรวมระหว่างกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) แตกต่างกัน (4) การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนเงิน (5) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 5 ของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเดิมตามที่ระบุไว้ล่าสุดในโครงการ (6) การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกัน ผู้ประกัน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน หรือการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์ ข้อ 17/1( ในกรณีที่กองทุนรวมใดมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน การขอมติผู้ถือหน่วยลงทุน นอกจากจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนที่กําหนดไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม หรือที่กําหนดไว้ในมาตรา 129/2 และมาตรา 129/3 หรือตามที่กําหนดในประกาศนี้แล้ว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) กรณีเป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกชนิด โดยแต่ละชนิดได้รับผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เท่ากัน ต้องได้รับมติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิดที่ได้รับผลกระทบ แล้วแต่กรณี (2) กรณีเป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ว่ากรณีใด ต้องได้รับมติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิดที่ได้รับผลกระทบ แล้วแต่กรณี (3) กรณีเป็นการขอมติที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้องได้รับมติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษของจํานวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิดที่ได้รับผลกระทบ แล้วแต่กรณี บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องระบุหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งไว้อย่างชัดเจนในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมด้วย ข้อ 17/2( ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหรือวิธีการจัดการ หากปรากฏว่ามติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษมีจํานวนไม่เกินร้อยละ 55 หรือไม่เกินร้อยละ 80 หรือในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากปรากฏว่ามติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษเมื่อคํานวณเฉพาะหน่วยลงทุนแต่ละชนิด มีจํานวนไม่เกินอัตราดังกล่าว แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการขอมติและการนับมติไปยังผู้ดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองผลการนับมตินั้น ข้อ 18 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการแทน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
475
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 3/2550 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 3/2550 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 และ 13/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 “ข้อ 13/1 ในกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น โดยบริษัทประสงค์จะได้รับอนุญาตในลักษณะที่จํากัดมูลค่าการเสนอขาย มูลค่าการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ขออนุญาตต้องไม่เกินที่สํานักงานประกาศกําหนด ในการนี้ สํานักงานอาจประกาศกําหนดระยะเวลาที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามคําขอดังกล่าว ต้องเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ให้แล้วเสร็จด้วยก็ได้ ข้อ 13/2 บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นในลักษณะที่จํากัดมูลค่าการเสนอขายตามข้อ 13/1 ต้องยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่จะเสนอขายตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามข้อ 13 ก่อนการเสนอขายในแต่ละครั้ง เพื่อให้การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นครั้งนั้นมีผลสมบูรณ์ ณ วันที่มีการยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน และในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) จากสํานักงานในวันเดียวกัน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ###### ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (นายฉลองภพ **สุสังกร์กาญจน์)** รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
476
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) และมาตรา 43(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “หุ้นกู้อนุพันธ์” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “ตั๋วเงิน” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (2) “ตราสารหนี้” หมายความว่า (ก) หุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์และหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ (ข) ตั๋วเงิน (3) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด (4) “หุ้นกู้แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้ที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นที่ออกใหม่ของผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น (5) “หุ้นรองรับ” หมายความว่า หุ้นออกใหม่ที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ (6) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ (7) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน (8) “ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (9) “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป (10) “การใช้สิทธิแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงสภาพแห่งสิทธิในหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้น ไม่ว่าการแปลงสภาพดังกล่าวจะเกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหรือเกิดจากข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ (11) “การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่กําหนดราคาการใช้สิทธิแปลงสภาพในลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (12) “การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่กําหนดราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเมื่อรวมกับราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นมีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (13) “การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบของราคาตลาด โดยมีราคาตลาดและราคาเสนอขายเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกําหนดราคาตลาดเพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (14) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ของบริษัท ซึ่งให้รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีประกาศใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ซึ่งรวมถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ผู้ใดประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ในกรณีทั่วไป จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในภาค 1 และหมวด 1 ของภาค 2 และหากเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในกรณีทั่วไป จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในหมวด 1 และหมวด 2 ของภาค 3 ด้วย (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในภาค 1 และหมวด 2 ของภาค 2 และหากเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในวงจํากัด จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในหมวด 1 และหมวด 3 ของภาค 3 ด้วย (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในภาค 4 อื่นๆ ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ บริษัทที่มีสถานะดังต่อไปนี้จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ ต่อเมื่อบริษัทดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ (1) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือ (2) ธนาคารต่างประเทศ ซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย โดยธนาคารต่างประเทศดังกล่าวมีความรับผิดต่อเจ้าหนี้ในการชําระหนี้อย่างเต็มจํานวนจากทรัพย์สินของตน ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ บริษัทดังกล่าวต้องมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจํากัดด้วย ข้อ ๖ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามที่ประกาศนี้กําหนด ไม่ว่าก่อนหรือภายหลังได้รับอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด อื่นๆ ๒ การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ การเสนอขายตราสารหนี้ในกรณีทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ การขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามข้อ 6 และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในกรณีที่บริษัทผู้ยื่นคําขอเป็นธนาคารต่างประเทศ ให้สํานักงานสาขาเป็นผู้ดําเนินการยื่นคําขอได้ ข้อ ๘ ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๙ ในการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป ข้อ ๑๐ ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายตราสารหนี้มีลักษณะหรือรูปแบบ เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายตราสารหนี้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน (2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้ (ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น (ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ส่วน ๒ ลักษณะของผู้ขออนุญาต ข้อ ๑๑ ผู้ขออนุญาตที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ที่ออกตามงบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมหรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง (ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (2) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ (ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหาร (2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขนั้น หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (3) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศที่เกี่ยวกับข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (2) ผู้ขออนุญาตต้องมีกรรมการหรือผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง (4) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศที่เกี่ยวกับข้อกําหนดเกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม (5) ไม่เคยเสนอขายหลักทรัพย์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับตามแต่กรณี ส่วน ๓ หลักเกณฑ์การอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามข้อ 11 ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11(4) หรือ (5) ในการแจ้งผลการขาดลักษณะดังกล่าวของผู้ขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขอในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม หรือการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวต่อผู้ขออนุญาต เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11(4) หรือ (5) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้ว สํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้ ข้อ ๑๔ ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลอนุญาตว่า ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ที่มีลักษณะตามข้อ 11 ผู้ขออนุญาตดังกล่าวจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายต่อเมื่อได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ในแต่ละครั้ง (1) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ เมื่อผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 6 ที่แสดงถึงลักษณะของหุ้นกู้แปลงสภาพตามส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ และหุ้นรองรับตามส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของหมวด 2 แห่งภาค 3 แล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับสําหรับครั้งนั้นในวันที่ได้รับแจ้งจากสํานักงานถึงความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารหลักฐานที่ได้ยื่นนั้นแล้ว และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ให้สํานักงานแจ้งผลการตรวจสอบลักษณะและเอกสารหลักฐานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าว (2) ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้อื่นใดนอกเหนือจากกรณีตาม (1) เมื่อผู้ขออนุญาตได้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 6 ที่แสดงถึงลักษณะของตราสารหนี้ที่จะเสนอขาย รวมทั้งที่แสดงถึงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามส่วนที่ 4 ของหมวดนี้แล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้สําหรับครั้งนั้นในวันที่มีการยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น หากผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นนั้น และให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินดังกล่าวรายงานลักษณะของหุ้นกู้หรือตั๋วเงินนั้นต่อสํานักงานตามข้อ 6 ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันที่ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว ความในข้อนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ผู้ขออนุญาตแสดงความประสงค์ที่จะจํากัดมูลค่าการเสนอขายตามข้อ 15 ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตแสดงความประสงค์ไว้ตั้งแต่วันที่ยื่นคําขอว่าจะทําการเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นในลักษณะที่จํากัดมูลค่าการเสนอขายโดยเมื่อรวมกับมูลค่าหุ้นกู้ระยะสั้นและตั๋วเงินระยะสั้นที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว ไม่เกินระยะเวลาและมูลค่าตามที่สํานักงานประกาศกําหนด หากผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นนั้น และในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินดังกล่าวรายงานลักษณะของหุ้นกู้หรือตั๋วเงินนั้นต่อสํานักงานตามข้อ 6 ให้ผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลอนุญาตว่าผู้ขออนุญาตเป็นผู้ที่มีลักษณะตามข้อ 11 ข้อ ๑๖ ระหว่างระยะเวลาตามข้อ 14 หรือข้อ 15 หากปรากฏต่อมาในภายหลังว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11 ผู้ขออนุญาตจะดําเนินการตามข้อ 14(1) หรือ (2) หรือข้อ 15 วรรคสองไม่ได้ และให้ผู้ขออนุญาตแจ้งกรณีเช่นนั้นต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้แก้ไขกรณีนั้นได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 14 หรือข้อ 15 ให้ผู้ขออนุญาตดําเนินการตามข้อ 14(1) หรือ (2) หรือข้อ 15 วรรคสองต่อไปได้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตจงใจหรือเพิกเฉยไม่แจ้งการมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11 ต่อสํานักงาน ผู้ขออนุญาตไม่สามารถที่จะดําเนินการตามข้อ 14(1) หรือ (2) หรือข้อ 15 วรรคสองได้อีกต่อไป แม้จะได้แก้ไขกรณีนั้นได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 14 หรือข้อ 15 แล้วก็ตาม ส่วน ๔ ลักษณะของหุ้นกู้และตั๋วเงิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๗ หุ้นกู้ที่เสนอขายในกรณีทั่วไปจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน (2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น (3) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้นั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง (4) มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ระยะสั้น ข้อ ๑๘ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นเมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย (2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกบริษัท หรือ (3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๙ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท(perpetual bond) ต้องมีการระบุให้ชัดเจนถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกบริษัท (2) ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกบริษัทตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน ข้อ ๒๐ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันไม่ว่าหลักประกันของหุ้นกู้นั้นจะได้จัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้ดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้ (1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้นั้น เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่ ข้อ ๒๑ หุ้นกู้ที่เสนอขายในกรณีทั่วไปต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ หรือ (3) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ขออนุญาต เฉพาะในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ที่มิใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (ก) หุ้นกู้ระยะสั้น หรือ (ข) หุ้นกู้แปลงสภาพที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้นั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากผู้ออกหุ้นกู้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้ (2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๒๒ ตั๋วเงินที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายในกรณีทั่วไป ต้องเป็นตั๋วเงินระยะสั้นที่จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) อันดับความน่าเชื่อถือของตั๋วเงินที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับอาวัลต้นเงินและดอกเบี้ยตามตั๋วเงินเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือ (3) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ขออนุญาต ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในวรรคสองของข้อ 21 มาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม ส่วน ๕ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ให้เสนอขายตราสารหนี้ในกรณีทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่เป็นไปตามข้อ 21 หรือข้อ 22 แล้วแต่กรณี อย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้หรือตั๋วเงินจะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกตราสารหนี้ดังกล่าว ข้อ ๒๕ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมีหนังสือถึงสํานักงานเพื่อรับรองว่าได้จัดให้มีข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ที่มีความชัดเจนและไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหุ้นกู้และประทับตราสําคัญของผู้ออกหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางของข้อกําหนดสิทธิตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๒๖ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1).ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา (2).วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ (3).อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ได้รับอนุญาตและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ (4).อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อกําหนดภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (5) การสิ้นสุดของสัญญา ข้อ ๒๗ ในกรณีการออกหุ้นกู้มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตาม กฎหมาย ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย ข้อ ๒๘ ในการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งเอกสารต่อสํานักงานตามข้อ 6 เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น ข้อ ๒๙ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของหมวดนี้และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้ ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ในกรณีทั่วไปต้องจัดให้มีข้อความ “ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายในกรณีทั่วไป” อยู่บนด้านหน้าตั๋ว ข้อ ๓๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ในกรณีทั่วไป รายงานการชําระหนี้ตามตั๋วเงินต่อสํานักงานตามข้อ 6 หมวด ๒ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ ลักษณะการขายในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ การเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการเสนอขายในวงจํากัด (1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ไม่รวมถึงการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่ได้จดข้อจํากัดการโอนไว้ไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ ซึ่งกรณีดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตาม (2) (2) เสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองหุ้นกู้แทนบุคคลอื่น การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นกู้นั้น (3) เสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ (4) เสนอขายโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ที่จะได้รับอนุญาตต้องแสดงได้ว่า (ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร (ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และ (ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว ข้อ ๓๓ ในกรณีเป็นการขอผ่อนผันเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 32(4) ผู้ที่จะขอผ่อนผันต้องแสดงได้ถึงเหตุจําเป็นและสมควรของกรณีดังกล่าว การไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และการมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ และสํานักงานอาจผ่อนผันมิให้นําหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวก็ได้เท่าที่จําเป็น โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน ข้อ ๓๔ ตั๋วเงินที่ออกในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการออกตั๋วเงินเพื่อเสนอขายในวงจํากัด (1) ตั๋วเงินที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (2) ตั๋วเงินระยะสั้นที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (3) ตั๋วเงินที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) หรือ (2) ซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อนับรวมตั๋วเงินทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัท เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงบุคคลที่กําหนดไว้ในข้อ 5(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ส่วน ๒ กรณีที่ถือว่าได้รับอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๕ ให้บริษัทตามข้อ 5 สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในวงจํากัดตามข้อ 32 ได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่นั้นเมื่อได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขายกับสํานักงานตามความในวรรคสอง รวมทั้งยื่นเอกสารตามวรรคสามแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ ทั้งนี้ ให้บริษัทดังกล่าวรายงานลักษณะของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามข้อ 6 การจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้กับสํานักงานตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความซึ่งแสดงได้ว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายในวงจํากัดตามข้อ 32(1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้บริษัทเสนอร่างข้อกําหนดสิทธิและร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนด้วย ข้อ ๓๖ ให้บริษัทตามข้อ 5 สามารถเสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ในวงจํากัดตามข้อ 34 ได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่นั้นแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 3 และส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ด้วย ทั้งนี้ ให้บริษัทดังกล่าวรายงานลักษณะของตั๋วเงินนั้นต่อสํานักงานตามข้อ 6 ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๗ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ทุกประเภทต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 38 ข้อ 39 และข้อ 40 ข้อ ๓๘ ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (1) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันตราสารหนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของตราสารหนี้ ซึ่งรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับอาวัลต้นเงินและดอกเบี้ยตามตั๋วเงินเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไขด้วย หรือ (3) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในวรรคสองของข้อ 21 มาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๓๙ เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ออกตราสารหนี้แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ในข้อ 38 อย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิเรียกร้องตามตราสารหนี้จะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกตราสารหนี้ดังกล่าว ข้อ ๔๑ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้ได้รับอนุญาตสามารถเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขายภายใต้การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แต่การเสนอขายครั้งใด ๆ ต้องมีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ส่วน ๔ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมภายหลังได้รับอนุญาต สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด ข้อ ๔๒ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องได้รับมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการบริษัทให้ออกหุ้นกู้ได้ เว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัด ต้องได้รับมติให้ออกหุ้นกู้ที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๔๓ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันหรือเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ข้อ ๔๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้หุ้นกู้ที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะดังนี้ (ก) เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน (ข) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 17(1) (2) และ(3) (ค) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 18 และข้อ 19 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) แล้วแต่กรณี (ง) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) ต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42(1) ถึง (9) และดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 29 วรรคหนึ่ง (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดตามข้อ 32(2) (3) หรือ (4) ผู้ได้รับอนุญาต ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ในวงจํากัดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 32(2) (3) หรือ (4) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น (3) จัดให้เอกสารประกอบการเสนอขาย (ถ้ามี) มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนตาม (1)(ก) และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน ข้อ ๔๕ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย ส่วน ๕ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมภายหลังได้รับอนุญาตสําหรับ การเสนอขายตั๋วเงินในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๖ ก่อนการเสนอขายตั๋วเงิน ผู้ได้รับอนุญาตต้องได้รับมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการบริษัทให้ออกตั๋วเงินได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทต้องออกตั๋วเงินตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๔๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความ “ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายในวงจํากัด” บนด้านหน้าของตั๋วเงิน และในกรณีที่เป็นการออกตั๋วเงินตามข้อ 34(1) หรือ (2) ให้ผู้ออกตั๋วเงินจัดให้มีข้อความเพิ่มเติมว่า “โดยเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่” รวมทั้งจัดให้มีข้อความ “และเปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “และมีวัตถุประสงค์ให้เปลี่ยนมือได้เฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกันไว้ด้วย ข้อ ๔๘ ในกรณีเป็นการเสนอขายตั๋วเงินตามข้อ 34(3) ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตโฆษณาการเสนอขายตั๋วเงินดังกล่าว และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 34(3) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ภาค 3 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๙ นอกจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามหมวด 1 ของภาค 2 เมื่อเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป หรือหมวด 2 ของภาค 2 เมื่อเป็นการเสนอขายในวงจํากัดแล้ว ให้การอนุญาตและการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในภาคนี้ด้วย ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพเข้าลักษณะเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ด้วย ให้การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ด้วย ข้อ ๕๐ การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามภาค 2 ให้รวมถึงการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับด้วย ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต้องดําเนินการให้มีการใช้สิทธิแปลงสภาพภายในอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการใช้สิทธิแปลงสภาพแล้ว ให้การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นอันสิ้นสุดลง หมวด ๒ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและ หุ้นรองรับในกรณีทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๑ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ ผู้ขออนุญาตต้องดําเนินการและมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาตเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องระบุข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 53 (2) จัดให้ได้มาซึ่งมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ มติอนุมัติให้บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับต้องได้มาไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 14(1) (3) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่ของผู้ขออนุญาตในจํานวนไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 52 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ขออนุญาตและผู้ถือหุ้นโดยรวม เนื่องจากผู้ขออนุญาตอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ขออนุญาต หรือกรณีอื่นใด (ข) มีการกําหนดราคาและอัตราแปลงสภาพไว้อย่างแน่นอนและไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 55 (ค) ในกรณีที่มีข้อกําหนดบังคับแปลงสภาพ หรือข้อกําหนดที่ให้สิทธิผู้ขออนุญาตเรียกให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกําหนด ข้อกําหนดนั้นต้อง 1. ได้รับการรับรองจากผู้ขออนุญาตว่ามีความเป็นธรรม ชัดเจน และเหตุแห่งการเรียกให้ใช้สิทธิก่อนกําหนดจะอ้างอิงเหตุการณ์หรือการกระทําที่ไม่อยู่ในอํานาจควบคุมของบุคคลใด ๆ 2. กําหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องบังคับแปลงสภาพหรือเรียกให้มีการใช้สิทธิ แปลงสภาพเมื่อมีเหตุการณ์ตามที่กําหนดไว้ 3. ได้รับการรับรองจากผู้ขออนุญาตว่ามีมาตรการที่เพียงพอซึ่งทําให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพในทอดต่อ ๆ ไปทราบถึงข้อกําหนดดังกล่าว (ง) ต้องมีระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิแปลงสภาพครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิ เว้นแต่เป็นการแปลงสภาพตามข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ (4) มีลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน ความในวรรคหนึ่ง (1) และ (2) มิให้ใช้บังคับกับกรณีต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับของบริษัทที่ต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพที่ออกใหม่อย่างเพียงพอ (2) กรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๕๑ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ ผู้ขออนุญาตต้องดําเนินการและมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาตเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องระบุข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 53 (2) จัดให้ได้มาซึ่งมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ มติอนุมัติให้บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับต้องได้มาไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 14(1) (3) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่ของผู้ขออนุญาตในจํานวนไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 52 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ขออนุญาตและผู้ถือหุ้นโดยรวม เนื่องจากผู้ขออนุญาตอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ขออนุญาต หรือกรณีอื่นใด (ข) มีการกําหนดราคาและอัตราแปลงสภาพไว้อย่างแน่นอนและไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 55 (ค) ในกรณีที่มีข้อกําหนดบังคับแปลงสภาพ หรือข้อกําหนดที่ให้สิทธิผู้ขออนุญาตเรียกให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกําหนด ข้อกําหนดนั้นต้อง 1. ได้รับการรับรองจากผู้ขออนุญาตว่ามีความเป็นธรรม ชัดเจน และเหตุแห่งการเรียกให้ใช้สิทธิก่อนกําหนดจะอ้างอิงเหตุการณ์หรือการกระทําที่ไม่อยู่ในอํานาจควบคุมของบุคคลใด ๆ 2. กําหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องบังคับแปลงสภาพหรือเรียกให้มีการใช้สิทธิ แปลงสภาพเมื่อมีเหตุการณ์ตามที่กําหนดไว้ 3. ได้รับการรับรองจากผู้ขออนุญาตว่ามีมาตรการที่เพียงพอซึ่งทําให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพในทอดต่อ ๆ ไปทราบถึงข้อกําหนดดังกล่าว (ง) ต้องมีระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิแปลงสภาพครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิ เว้นแต่เป็นการแปลงสภาพตามข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ (4) มีลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน ความในวรรคหนึ่ง (1) และ (2) มิให้ใช้บังคับกับกรณีต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับของบริษัทที่ต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพที่ออกใหม่อย่างเพียงพอ (2) กรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๕๒ หนังสือนัดประชุมตามข้อ 51(1) ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ และเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น (2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (3) วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ (4) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต ข้อ ๕๓ หนังสือนัดประชุมตามข้อ 51(1) ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ และเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น (2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (3) วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ (4) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต ข้อ ๕๓ หนังสือนัดประชุมตามข้อ 51(1) ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ และเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น (2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (3) วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ (4) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต ส่วน ๒ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๔ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ประสงค์จะเสนอขายให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) และเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ในราคาต่ํา บริษัทได้จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุม (2) หนังสือนัดประชุมตาม (1) มีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ซึ่งนอกจากต้องมีข้อมูลตามข้อ 53 แล้วอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) วัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา (ข) รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในเรื่องจํานวนที่เสนอขาย ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ และราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ ซึ่งเป็นการระบุราคาที่แน่นอน หรือระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอน (ค) ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคาใช้สิทธิ ที่จะซื้อหุ้นตามหุ้นกู้แปลงสภาพ รวมทั้งวิธีการคํานวณ (ง) ในกรณีที่กําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน ต้องระบุกลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะเสนอขาย (จ) ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําที่ขออนุมัติออกในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (ฉ) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําตาม (4) (ช) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับส่วนต่างของราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคาใช้สิทธิแปลงสภาพกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว (ซ) ข้อมูลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งราย ที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย (4) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงและไม่มีผู้ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือหุ้นรองรับนั้น ให้นําความในวรรคสองของข้อ 51 มาใช้กับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๕ นอกจากรายการและสาระสําคัญที่กําหนดไว้ในข้อ 25 แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องจัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ รวมทั้งวิธีการคํานวณการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อมิให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพอันเป็นผลมาจากการรวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น (2) เมื่อผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (3) เมื่อผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา หรือมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นในราคาต่ํา (4) เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น (5) เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ (6) เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ (1) ถึง (5) ที่ทําให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงที่เข้าลักษณะตาม (1) ถึง (6) ซึ่งได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยแสดงได้ว่าจะมีมาตรการอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ลงทุนที่จะได้รับผลกระทบจากการไม่เปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพนั้นทราบก่อนการลงทุนว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจะไม่ดําเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อมีเหตุการณ์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธินั้น ข้อ ๕๖ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพไม่ว่าจะด้วยเหตุที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ก็ตาม หากต้องมีการออกหุ้นที่ออกใหม่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าว ผู้ได้รับอนุญาตจะสามารถออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว ข้อ ๕๗ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถจัดให้มีหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพได้ ในการกําหนดค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเป็นจํานวนไม่ต่ํากว่าส่วนต่างของราคาตลาดของหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นประเภทเดียวกับหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ ณ วันที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพ กับราคาที่คํานวณได้จากอัตราการแปลงสภาพ ข้อ ๕๘ การแก้ไขเพิ่มเติมให้หุ้นกู้มีสิทธิแปลงสภาพภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ในการนี้ ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของหมวดนี้มาใช้บังคับ โดยอนุโลม หมวด ๓ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นรองรับในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๙ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับที่เป็นการเสนอขายในวงจํากัดตามข้อ 32 จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องระบุข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 53 (2) จัดให้ได้มาซึ่งมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอ (3) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ผู้ได้รับอนุญาตออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพ (4) หุ้นกู้แปลงสภาพต้องมีราคาและอัตราแปลงสภาพและจํานวนหุ้นรองรับเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 51(3)(ก)(ข) และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 54 (5) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 56 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพไม่ว่าด้วยเหตุใด ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว ( 6) ในกรณีที่เป็นการออกหุ้นกู้แปลงสภาพที่ผู้ลงทุนรายใหญ่อาจใช้สิทธิแปลงสภาพได้ ผู้ลงทุนรายใหญ่นั้นต้องมีจํานวนหรือลักษณะที่อยู่ในข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ซึ่งประกาศดังกล่าวอนุญาตให้บริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานด้วย ความในวรรคหนึ่งที่กําหนดเกี่ยวกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น มิให้นํามาใช้กับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๖๐ การแก้ไขเพิ่มเติมให้หุ้นกู้มีสิทธิแปลงสภาพภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นและได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 59(1) และ (2) รวมทั้งผู้ถือหุ้นกู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ต้องมีจํานวนหรือลักษณะตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 59(6) ด้วย ทั้งนี้ เมื่อได้ให้สิทธิแปลงสภาพแล้ว การแปลงสภาพนั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 59(4) และ (5) การให้สิทธิแปลงสภาพตามวรรคหนึ่งต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ผู้ได้รับอนุญาตออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพ อื่นๆ ๔ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท และหุ้นรองรับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๑ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ไม่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ให้บริษัทตามข้อ 5 ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด สามารถเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว แลให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่เป็นไปตามข้อ 53 และต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 42 และข้อ 59(2) (2) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ 59(3) (3) ต้องมีคําเรียกชื่อหุ้นกู้แปลงสภาพ อัตราดอกเบี้ย และมูลค่าไถ่ถอนที่เป็นไปตามข้อ 17(1) (2) และ (3) (4) หุ้นกู้แปลงสภาพต้องมีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 51(3) (5) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 18 และข้อ 19 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) แล้วแต่กรณี (6) ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 25 ข้อ 29 ข้อ 55 และข้อ 57 (7) จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออก (8) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 56 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิ แปลงสภาพไม่ว่าด้วยเหตุใด ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิ แปลงสภาพดังกล่าว (9) ให้รายงานลักษณะของหุ้นกู้แปลงสภาพต่อสํานักงานตามข้อ 6 ความในวรรคหนึ่งที่กําหนดเกี่ยวกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น มิให้นํามาใช้กับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน อื่นๆ ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๖๒ คําขออนุญาตที่ได้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตยังคงเป็นไปตามประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๖๓ ให้หุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๖๔ ให้หุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๖๕ ให้หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๖๖ ให้หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและกาอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๖๗ ให้หุ้นกู้แปลงสภาพที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๖๘ ให้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับภายใต้ประกาศนี้จนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2545 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2545 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 39/2547 เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 37/2549 เรื่อง การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๖๙ การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นตามข้อ 15 ให้มีระยะเวลาและมูลค่าการเสนอขายตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สย. 20/2550 เรื่อง การกําหนดมูลค่าและระยะเวลาการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อ 15 จนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และเพื่อให้ตลาดตราสารหนี้ไทยมีการพัฒนาและขยายตัวมากขึ้น โดยการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้แก่ผู้ลงทุนในวงจํากัด อันจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถออกตราสารหนีในการระดมทุนในลักษณะดังกล่าวได้สะดวกขึ้น รวมทั้งจัดกลุ่มประเภทผู้ลงทุนในวงจํากัดขึ้นใหม่ โดยให้รวมถึงการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยไม่จํากัดมูลค่าการเสนอขาย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มตามมาตรฐานสากล จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
477
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2553 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2553 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุน ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้จะต้องมีข้อตกลงให้ชําระค่าตราสารหนี้เป็นสกุลเงินบาท” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. /2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ได้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2552 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ประกอบกับเพื่อกําหนดให้ชัดเจนว่าการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เป็นกรณีที่มีข้อตกลงให้ชําระค่าตราสารเป็นสกุลเงินบาทเท่านั้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
478
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16 /2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) “บริษัท” หมายความว่า (ก) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด (ข) สถาบันการเงิน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ จะต้องมีสถานะดังต่อไปนี้ และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ ทั้งนี้ บริษัทที่จะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพจะต้องมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจํากัดด้วย (1) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) สถาบันการเงิน ทั้งนี้ กรณีเป็นธนาคารต่างประเทศซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวต้องมีความรับผิดต่อเจ้าหนี้ในการชําระหนี้อย่างเต็มจํานวนจากทรัพย์สินของตน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด เว้นแต่ 1. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และแสดงความประสงค์ว่าจะเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินเท่านั้น รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงยอมรับ 2. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(2/1) ไม่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ และไม่มีข้อกําหนดใด ๆ ที่ทําให้ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระหนี้หรือภาระผูกพันเพิ่มเติมจากการเป็นผู้ถือหุ้นกู้ตามปกติ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 22 ตั๋วเงินที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายในกรณีทั่วไป ต้องมีลักษณะและเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) เป็นตั๋วเงินระยะสั้นที่มีมูลค่าหน้าตั๋วไม่ต่ํากว่าสิบล้านบาท (2) มีการกําหนดผลตอบแทนไว้อย่างชัดเจน (3) ไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่ทําให้ตั๋วเงินนั้นมีลักษณะทํานองเดียวกับหุ้นกู้อนุพันธ์ และไม่มีข้อกําหนดใด ๆ ที่ทําให้ผู้ถือตั๋วเงินมีภาระหนี้หรือภาระผูกพันเพิ่มเติมจากการเป็นผู้ถือตั๋วเงินตามปกติ (4) จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของตั๋วเงินที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับอาวัลต้นเงินและดอกเบี้ยตามตั๋วเงินเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข (ค) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ขออนุญาต ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 21 วรรคสอง มาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่ง (4) ด้วย โดยอนุโลม” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 24 ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกตราสารหนี้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นและตั๋วเงิน” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 30 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ในกรณีทั่วไปต้องจัดให้มีข้อความดังต่อไปนี้ (1) ข้อความบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายต่อประชาชน” (2) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นสถาบันการเงินต้องจัดให้มีข้อความเพิ่มเติมบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “ตั๋วเงินนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก” (3) ข้อความเพิ่มเติมอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ข้อความบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน (ข) ข้อความด้านหลังตั๋วเงินที่รองรับการโอนโดยปราศจากสิทธิไล่เบี้ย (without recourse) ในแต่ละทอด หากผู้โอนไม่ได้แสดงเจตนาเป็นประการอื่น” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 34 ตั๋วเงินที่ออกในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการออกตั๋วเงินเพื่อเสนอขายในวงจํากัด (1) ตั๋วเงินระยะสั้นที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่และมีมูลค่าหน้าตั๋วไม่ต่ํากว่าสิบล้านบาท (2) ตั๋วเงินที่ออก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อนับรวมตั๋วเงินที่ออกก่อนหน้านี้และยังไม่ครบกําหนดชําระเงิน มีจํานวนไม่เกินสิบฉบับ ทั้งนี้ ในการนับจํานวนฉบับดังกล่าว ไม่จําต้องนับตั๋วเงินที่ออกตาม (1) และที่ออกสําหรับการเสนอขายในกรณีทั่วไป ตั๋วเงินตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่ทําให้ตั๋วเงินนั้นมีลักษณะทํานองเดียวกับหุ้นกู้อนุพันธ์ และไม่มีข้อกําหนดใด ๆ ที่ทําให้ผู้ถือตั๋วเงินมีภาระหนี้หรือภาระผูกพันเพิ่มเติมจากการเป็นผู้ถือตั๋วเงินตามปกติ” ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 40 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 40 ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกตราสารหนี้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นและตั๋วเงิน” ข้อ 10 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 17(1) (2) (2/1) และ (3)” ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 47 และข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 47 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ในวงจํากัดต้องจัดให้มีข้อความดังต่อไปนี้ (1) ข้อความบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายในวงจํากัด” (2) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นสถาบันการเงินต้องจัดให้มีข้อความเพิ่มเติมบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “ตั๋วเงินนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก” (3) ข้อความเพิ่มเติมดังนี้ (ก) กรณีตั๋วเงินที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ต้องมีข้อความเพิ่มเติมบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “มีวัตถุประสงค์ให้เปลี่ยนมือได้เฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ต้องมีข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. ข้อความบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน 2. ข้อความด้านหลังตั๋วเงินที่รองรับการโอนโดยปราศจากสิทธิไล่เบี้ย (without recourse) ในแต่ละทอด หากผู้โอนไม่ได้แสดงเจตนาเป็นประการอื่น ข้อ 48 ในกรณีเป็นการเสนอขายตั๋วเงินตามข้อ 34(2) ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตโฆษณาการเสนอขายตั๋วเงินดังกล่าว และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 34(2) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น” ข้อ 12 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 61 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ต้องมีคําเรียกชื่อหุ้นกู้แปลงสภาพ อัตราดอกเบี้ย ลักษณะ และมูลค่าไถ่ถอนที่เป็นไปตามข้อ 17(1) (2) (2/1) และ (3)” ข้อ 13 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวสามารถเสนอขายตั๋วเงินภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ก่อนการแก้ไขครั้งนี้ได้ต่อไปตามระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลนั้น ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 6 และข้อ 9 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
479
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 36/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 36 /2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ตามคําขออนุญาตได้ (1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายตราสารหนี้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายตราสารหนี้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายตราสารหนี้อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายตราสารหนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การเสนอขายตราสารหนี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 และข้อ 10/2 ในส่วนที่ 1 การขออนุญาต ของหมวด 1 การเสนอขายตราสารหนี้ในกรณีทั่วไป ในภาค 2 การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 10/1 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกตราสารหนี้หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายตราสารหนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้ (2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อตราสารหนี้นั้น ข้อ 10/2 ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
480
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 46/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 46 /2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 56/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 56/1 ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพกําหนดราคาและอัตราการแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับ และจําเป็นต้องออกหุ้นใหม่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพ ผู้ได้รับอนุญาตจะสามารถออกหุ้นใหม่เพิ่มเติมดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) และ (5/2) ในวรรคหนึ่งของข้อ 59 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(5/1) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 56/1 ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพกําหนดราคาและอัตราการแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับ ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว (5/2) จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายหรือมาตรการเยียวยาอื่น ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถจัดให้มีหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพได้” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 60 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 60 การแก้ไขเพิ่มเติมให้หุ้นกู้มีสิทธิแปลงสภาพภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นและได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 59(1) และ (2) รวมทั้งผู้ถือหุ้นกู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ต้องมีจํานวนหรือลักษณะตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 59(6) ด้วย ทั้งนี้ เมื่อได้ให้สิทธิแปลงสภาพแล้ว การแปลงสภาพนั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 59(4) (5) (5/1) และ (5/2)” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8/1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 61 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(8/1) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 56/1 ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพกําหนดราคาและอัตราการแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับ ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
481
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12 /2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) คําว่า “หุ้นกู้อนุพันธ์” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “ตั๋วเงิน” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 37 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) หรือข้อ 34(1) ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 38 ข้อ 39 ข้อ 39/1 ข้อ 39/2 และข้อ 40 เว้นแต่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่มีลักษณะตามวรรคสอง ผู้ได้รับอนุญาตอาจไม่ปฏิบัติตามข้อ 38 และข้อ 39 ได้ การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (1) มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และ (2) ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม (1) เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 39/1 และข้อ 39/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 39/1 การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) หรือข้อ 34(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ให้แก่ผู้ลงทุนดังกล่าวก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ ข้อ 39/2 การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) หรือข้อ 34(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้การชักชวน แนะนํา หรือเสนอขายตราสารหนี้กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารหนี้และบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องไม่เป็นบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้ได้รับอนุญาต สําหรับกรณีการเสนอขายตราสารหนี้เพื่อประโยชน์ในการนับเป็นเงินกองทุนตามข้อกําหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ออกในปี 2555 (2) การเสนอขายตราสารหนี้กรณีอื่นนอกจาก (1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายตราสารหนี้กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) กรณีผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประเภทดังกล่าวอยู่แล้วโดยผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจนั้นที่กําหนดสําหรับการชักชวน แนะนํา หรือขายตราสารหนี้ด้วย (ข) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ที่มีลักษณะดังนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 1. มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และ 2. ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม 1. เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
482
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ในวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2553 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 “(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 39/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 39/2 การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) หรือข้อ 34(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายตราสารหนี้กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจนั้นที่กําหนดสําหรับการชักชวน แนะนํา หรือขายตราสารหนี้ด้วย (2) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (ก) มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น (ข) ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม (ก) เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
483
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 ผู้ขออนุญาตที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ที่ออกตามงบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้ (ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง (ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด เว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และแสดงความประสงค์ว่าจะเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินเท่านั้น รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงยอมรับ (ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหาร เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการชําระหนี้ของสาขาธนาคารต่างประเทศในไทยของผู้ขออนุญาตที่เป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) และโอกาสในการได้รับชําระหนี้จากผู้ขออนุญาตดังกล่าว ในกรณีที่สาขาธนาคารต่างประเทศในไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงาน งบการเงินตามวรรคหนึ่ง (1) ให้หมายถึง งบการเงินของสาขาธนาคารต่างประเทศในไทยของผู้ขออนุญาตนั้น (2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขนั้น หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (3) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) ผู้ขออนุญาตต้องมีกรรมการหรือผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง (4) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยอนุโลม (5) ไม่เคยเสนอขายหลักทรัพย์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับตามแต่กรณี (6) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก โดยฝ่าฝืนข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออก หรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่มิใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ (ค) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ขออนุญาต ทั้งนี้ หากผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารต่างประเทศในไทยเพิ่มเติมด้วย เว้นแต่ในวันที่ยื่นคําขออนุญาต สาขาธนาคารต่างประเทศดังกล่าวสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามวิธีการคํานวณดังนี้ (2) การเสนอขายหุ้นกู้อื่นนอกจาก (1) ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1) (ก) หรือ (ข)” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (4) ในวรรคหนึ่งของข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ขออนุญาต ทั้งนี้ หากผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารต่างประเทศในไทยเพิ่มเติมด้วย เว้นแต่ในวันที่ยื่นคําขออนุญาต สาขาธนาคารต่างประเทศดังกล่าวสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามวิธีการคํานวณดังนี้ ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 23/1 ผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นธนาคารต่างประเทศตามข้อ 5(2) ซึ่งได้รับยกเว้นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารต่างประเทศตามข้อ 21(1) (ค) หรือข้อ 22(4) (ค) ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (total capital ratio) ของสาขาธนาคาต่างประเทศที่ดํารงไว้ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ยี่สิบห้าของเดือนถัดไปไว้บนเว็บไซต์ของสาขาธนาคารต่างประเทศ จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้หรือตั๋วเงินจะสิ้นสุดลง” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 35 ให้บริษัทตามข้อ 5 สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในวงจํากัดตามข้อ 32 ได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ รวมทั้งรายงานลักษณะของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามข้อ 6 (1) ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขายกับสํานักงานตามความในวรรคสอง และยื่นเอกสารตามวรรคสามแล้ว (2) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก ที่เป็นการฝ่าฝืนลักษณะการขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นจดข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยบริษัทแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 36 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 36 ให้บริษัทตามข้อ 5 สามารถเสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ในวงจํากัดตามข้อ 34 ได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน หากบริษัทไม่เคยเสนอขายขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก ที่เป็นการฝ่าฝืนลักษณะการขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยบริษัทแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว ทั้งนี้ บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 3 และส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ และรายงานลักษณะของตั๋วเงินนั้นต่อสํานักงานตามข้อ 6 ด้วย” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 37 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) หรือข้อ 34(1) ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 38 ข้อ 39 ข้อ 39/1 ข้อ 39/2 ข้อ 39/3 หรือข้อ 40 แล้วแต่กรณี” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 38 ในการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ผู้ได้รับอนุญาตไม่ต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัทต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้นั้น (1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในข้อ 21 วรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ 39/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 39/2 ในการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถเป็นผู้ให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ได้ เว้นแต่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ด้วย (2) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ที่ประกาศฉบับนี้ไม่กําหนดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แต่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันตราสารหนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของตราสารหนี้ (ค) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ขออนุญาต เฉพาะในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้น” ข้อ ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 39/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 39/3 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 39/2 เพื่อให้เข้าลักษณะที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสนอขายตราสารหนี้ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิเรียกร้องตามตราสารหนี้จะสิ้นสุดลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น” ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
484
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2557 /2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 ของภาค 1 บททั่วไป แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 6/1 ในการจําหน่ายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ในกรณีทั่วไปตามหมวด 1 ของภาค 2 และการจําหน่ายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในกรณีทั่วไปตามหมวด 1 และหมวด 2 ของภาค 3 ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
485
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 27/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 27/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาต ต่อสํานักงานตามข้อ 6 และให้บริษัทดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในกรณีที่บริษัทผู้ยื่นคําขอเป็นธนาคารต่างประเทศ ให้สํานักงานสาขาเป็นผู้ดําเนินการยื่นคําขอได้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามข้อ 11 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลอนุญาตว่า ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ที่มีลักษณะตามข้อ 11 ผู้ขออนุญาตดังกล่าวจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายต่อเมื่อก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ผู้ขออนุญาตได้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 6 ที่แสดงถึงลักษณะตามของตราสารหนี้ที่จะเสนอขาย รวมทั้งที่แสดงถึงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามส่วนที่ 4 ของหมวดนี้แล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้สําหรับครั้งนั้นในวันที่มีการยื่นเอกสารดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น หากผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นและตั๋วเงินระยะสั้นนั้น และให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินดังกล่าวรายงานลักษณะของหุ้นกู้หรือตั๋วเงินนั้นต่อสํานักงานตามข้อ 6 ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันที่ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว ความในข้อนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ผู้ขออนุญาตแสดงความประสงค์ที่จะจํากัดมูลค่าการเสนอขายตามข้อ 15” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ระหว่างระยะเวลาตามข้อ 14 หรือข้อ 15 หากปรากฏต่อมาในภายหลังว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11 ผู้ขออนุญาตจะดําเนินการตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 15 วรรคสองไม่ได้ และให้ผู้ขออนุญาตแจ้งกรณีเช่นนั้นต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ ถึงกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้แก้ไขกรณีนั้นได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 14 หรือข้อ 15 ให้ผู้ขออนุญาตดําเนินการตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 15 วรรคสองต่อไปได้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตจงใจหรือเพิกเฉยไม่แจ้งการมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11 ต่อสํานักงาน ผู้ขออนุญาตไม่สามารถที่จะดําเนินการตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 15 วรรคสองได้อีกต่อไป แม้จะได้แก้ไขกรณีนั้นได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 14 หรือข้อ 15 แล้วก็ตาม” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 ในส่วนที่ 3 หลักเกณฑ์การอนุญาต ของหมวด 1 การเสนอขายตราสารหนี้ในกรณีทั่วไป ในภาค 2 การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 16/1 ความในส่วนนี้มิให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 49 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 49 นอกจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของหมวด 1 ในภาค 2 เมื่อเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป หรือหมวด 2 ของภาค 2 เมื่อเป็นการเสนอขายในวงจํากัดแล้ว ให้การอนุญาตและการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในภาคนี้ด้วย ให้กระบวนการ ขั้นตอน และระยะเวลาในการรับคําขอและการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่เป็นไปตามกระบวนการ ขั้นตอน และระยะเวลาในการรับคําขอและการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพเข้าลักษณะเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ด้วย ให้การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ด้วย” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 51 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) จัดให้ได้มาซึ่งมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ มติอนุมัติให้บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับต้องได้มาไม่เกินหนึ่งปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาต” ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
486
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 57/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 11)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 57/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับ ตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 30/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) ไม่มีลักษณะตามข้อ 11/1 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะเฉพาะตามที่กําหนดในข้อ 11/1(1) (ก)” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 11/1 และข้อ 11/2 ในส่วนที่ 2 ลักษณะของผู้ขออนุญาต ของหมวด 1 การเสนอขายตราสารหนี้ในกรณีทั่วไป ในภาค 2 การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 11/1 ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 11/2 (1) ภายในระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ (ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังต่อไปนี้ 1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือ ได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร 2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ (ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ (ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) นั้น (2) ภายในระยะเวลาสิบปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ผู้ขออนุญาตเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมาย ต่างประเทศ (4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น ข้อ 11/2 มิให้นําความในข้อ 11/1(1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับผู้ขออนุญาตซึ่งได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะตามข้อ 11/1(1) หรือ (2) แล้ว” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11(4) ในการแจ้งผลการขาดลักษณะดังกล่าวของผู้ขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขอในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวต่อผู้ขออนุญาต เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11(4) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้ว สํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
487
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 12)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (14) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(14) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
488
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 76/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 13)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ============================ ที่ ทจ. 76/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 59 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นกู้แปลงสภาพและ หุ้นรองรับ โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยรายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในกรณีดังกล่าว (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 53” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของวรรคหนึ่งในข้อ 59 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) หุ้นกู้แปลงสภาพต้องมีราคาและอัตราแปลงสภาพและจํานวนหุ้นรองรับเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 51(3) (ก) (ข)” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 59 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 46/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 “(4/1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา ต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 54 วรรคหนึ่ง (1) (3) และ (4) และหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยรายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขาย หลักทรัพย์ สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 54” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 60/1 ของหมวด 3 การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับในวงจํากัด ในภาค 3 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 60/1 ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน หากการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับตามหมวดนี้ มีลักษณะทํานองเดียวกับเหตุอันควรสงสัยตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 72 / 2558 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยอนุโลม สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหรือสั่งยกเลิกการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นรองรับในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายได้” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
489
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 14)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 14) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) คําว่า “ตั๋วเงิน” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “บริษัทใหญ่” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” และ “หุ้นกู้ระยะสั้น” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) “ตราสารหนี้” หมายความว่า หุ้นกู้ และตั๋วเงิน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ของบริษัท ซึ่งให้รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย ทั้งนี้ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้จะต้องมีข้อตกลงให้ชําระค่าตราสารหนี้และการชําระหนี้ตามตราสารเป็นสกุลเงินบาท” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(4) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้การขออนุญาตและการอนุญาตออกและเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงด้วย เว้นแต่เป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศนี้เท่านั้น (ก) ผู้ออกมีสิทธิในการบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด (callable) หรือผู้ถือมีสิทธิเรียกให้ผู้ออกชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) โดยมีการกําหนดผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (ข) สิทธิตามหุ้นกู้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ และเป็นไปตามเงื่อนไขครบถ้วนดังนี้ 1. กําหนดมูลค่าผลตอบแทนก่อนการใช้สิทธิในการแปลงสภาพไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม 2. มีข้อกําหนดในการแปลงสภาพที่ระบุให้แปลงสภาพเป็นหุ้นของผู้ออกหุ้นกู้เท่านั้น 3. กําหนดราคาแปลงสภาพโดยไม่ผูกอยู่กับปัจจัยอ้างอิงอื่น” ข้อ 5 ให้ยกเลิก (2/1) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่ทําให้ตั๋วเงินนั้นมีลักษณะทํานองเดียวกับหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และไม่มีข้อกําหนดใด ๆ ที่ทําให้ผู้ถือตั๋วเงินมีภาระหนี้หรือภาระผูกพันเพิ่มเติมจากการเป็นผู้ถือตั๋วเงินตามปกติ” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ตั๋วเงินตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่ทําให้ตั๋วเงินนั้นมีลักษณะทํานองเดียวกับหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และไม่มีข้อกําหนดใด ๆ ที่ทําให้ผู้ถือตั๋วเงินมีภาระหนี้หรือภาระผูกพันเพิ่มเติมจากการเป็นผู้ถือตั๋วเงินตามปกติ” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 17(1) (2) และ (3)” ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 49 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 27/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 4(4)(ข) ให้การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงด้วย” ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 61 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 46/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 61 ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 4(4)(ข) ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทให้บริษัทตามข้อ 5 ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด สามารถเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่เป็นไปตามข้อ 53 และต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 42 และข้อ 59(2) (2) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ 59(3) (3) ต้องมีคําเรียกชื่อหุ้นกู้แปลงสภาพ อัตราดอกเบี้ย ลักษณะ และมูลค่าไถ่ถอนที่เป็นไปตามข้อ 17(1) (2) และ (3) (4) หุ้นกู้แปลงสภาพต้องมีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 51(3) (5) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 18 และข้อ 19 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) แล้วแต่กรณี (6) ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 25 ข้อ 29 ข้อ 55 และข้อ 57 (7) จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออก (8) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 56 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพไม่ว่าด้วยเหตุใด ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว (9) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 56/1 ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพกําหนดราคาและอัตราการแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับ ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว (10) ให้รายงานลักษณะของหุ้นกู้แปลงสภาพต่อสํานักงานตามข้อ 6 ความในวรรคหนึ่งที่กําหนดเกี่ยวกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น มิให้นํามาใช้กับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน” ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
490
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2560 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 15)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2560 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 40/1 และข้อ 40/2 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 40/1 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ในวงจํากัดตามข้อ 32 หรือข้อ 34 หากผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ เป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อให้คําแนะนําในการกําหนดลักษณะ ข้อตกลง เงื่อนไข และอายุที่เหมาะสมในการออกและเสนอขายตราสารหนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมอบหมายให้ที่ปรึกษาทางการเงินนั้นวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้ด้วย (1) ลักษณะการประกอบธุรกิจ และแผนธุรกิจในอนาคต (2) ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หรือข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (3) วัตถุประสงค์การใช้เงิน (4) แหล่งเงินทุนสํารองในการชําระหนี้ (5) ทรัพย์สินที่อาจใช้เป็นหลักประกันในการชําระหนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดส่งข้อมูลที่จําเป็นซึ่งมีความถูกต้องและครบถ้วนให้ที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ข้อ 40/2 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อตกลงให้ที่ปรึกษาทางการเงินตามข้อ 40/1 จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่จัดทําขึ้นตามข้อ 40/1 ไว้อย่างน้อยสามปี” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
491
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2560 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 16)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2560 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 5/1 ในกรณีบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดตามข้อ 5(1) ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทดังกล่าวจะยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) และหุ้นกู้แปลงสภาพไม่ได้ (1) บริษัทที่กองทรัสต์ถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี (2) บริษัทที่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทุนรวมในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐาน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย แล้วแต่กรณี (3) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการจัดหาและสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยต่อประชาชนและการจัดการกองทุนรวม” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 37 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 32(1) หรือข้อ 34(1) ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 38 ข้อ 39 ข้อ 39/1 ข้อ 39/2 หรือข้อ 40 แล้วแต่กรณี” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 39/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 39/2 ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ต้องจัดให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับตราสารหนี้ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ด้วย” ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อ 39/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
492
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) และมาตรา 43(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2553 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 36/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 46/2555 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2556 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 (9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2557 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (10) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 27/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (11) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 57/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (12) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 66/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (13) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 76/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (14) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (15) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2560 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (16) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2560 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ คําว่า “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” “ตั๋วเงิน” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” และ “หุ้นกู้ระยะสั้น” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท “ตราสารหนี้” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ดังต่อไปนี้ (1) หุ้นกู้ (2) ตั๋วเงิน “บริษัท” หมายความว่า (1) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) สถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป “หุ้นกู้แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้ที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นที่ออกใหม่ของผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น “หุ้นรองรับ” หมายความว่า หุ้นออกใหม่ที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ “การใช้สิทธิแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงสภาพแห่งสิทธิในหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้น ไม่ว่าการแปลงสภาพดังกล่าวจะเกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหรือเกิดจากข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ “ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้” หมายความว่า ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ “ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน “การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่กําหนดราคาการใช้สิทธิแปลงสภาพในลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา “การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่กําหนดราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเมื่อรวมกับราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นมีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา “การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยกําหนดราคาเสนอขายไว้ต่ํากว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาด โดยมีราคาตลาดและราคาเสนอขายเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการคํานวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกําหนดราคาตลาดเพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา อื่นๆ ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ ขอบเขตของประกาศและหลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ของบริษัทที่มีข้อตกลงในการชําระค่าซื้อตราสารและชําระหนี้ตามตราสารเป็นสกุลเงินบาท ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย โดยประกาศนี้จะไม่ใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ที่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ ข้อ ๕ การเสนอขายตราสารหนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในภาค 1 และหมวด 1 ของภาค 2 (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในภาค 1 และหมวด 2 ของภาค 2 (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ไม่ใช่กรณีตาม (4) ให้เป็นไปตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี และตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวด 1 และหมวด 2 ของภาค 3 ด้วย (ข) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับในวงจํากัดให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวด 1 และหมวด 3ของภาค 3 ด้วย (4) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในภาค 4 (5) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้การขออนุญาตและการอนุญาตออกและเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงด้วย เว้นแต่เป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้เป็นไปตามประกาศนี้เท่านั้น (ก) ผู้ออกมีสิทธิในการบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด (callable) หรือผู้ถือมีสิทธิเรียกให้ผู้ออกชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) โดยมีการกําหนดผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (ข) สิทธิตามหุ้นกู้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ และเป็นไปตามเงื่อนไขครบถ้วนดังนี้ 1. กําหนดมูลค่าผลตอบแทนก่อนการใช้สิทธิในการแปลงสภาพไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม 2. มีข้อกําหนดในการแปลงสภาพที่ระบุให้แปลงสภาพเป็นหุ้นของผู้ออกหุ้นกู้เท่านั้น 3. กําหนดราคาแปลงสภาพโดยไม่ผูกอยู่กับปัจจัยอ้างอิงอื่น ข้อ ๖ ผู้ที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศนี้ จะต้องมีสถานะดังต่อไปนี้ และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ ทั้งนี้ บริษัทที่จะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพจะต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดเท่านั้น (1) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) สถาบันการเงิน ทั้งนี้ กรณีเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าวต้องมีความรับผิดต่อเจ้าหนี้ในการชําระหนี้อย่างเต็มจํานวนจากทรัพย์สินของตน ข้อ ๗ ในกรณีบริษัทตามข้อ 6(1) ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทดังกล่าวจะยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) และหุ้นกู้แปลงสภาพไม่ได้ (1) บริษัทที่กองทรัสต์ถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี (2) บริษัทที่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทุนรวมในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ในการจําหน่ายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามภาค 2 และการจําหน่ายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามภาค 3 ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย ข้อ ๙ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามที่ประกาศนี้กําหนด ไม่ว่าก่อนหรือภายหลังได้รับอนุญาต ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด หมวด ๒ อํานาจสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ตามคําขออนุญาตได้ (1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายตราสารหนี้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายตราสารหนี้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายตราสารหนี้อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายตราสารหนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การเสนอขายตราสารหนี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกตราสารหนี้หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายตราสารหนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้ (2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อตราสารหนี้นั้น ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งมิให้การอนุญาตสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดที่ได้รับอนุญาตมีผล สั่งระงับการเสนอขายตราสารหนี้ หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ได้ แล้วแต่กรณี (1) บริษัทที่จะเสนอขายตราสารหนี้มีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ (2) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ที่ออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (3) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนหรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 16(4) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 15 ปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวต่อผู้ขออนุญาต เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 16(4)เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้ว สํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้ ข้อ ๑๕ ในระหว่างอายุโครงการตามข้อ 27 และข้อ 52 หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาต ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต หรือมีการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายตราสารหนี้ไว้ก่อน หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการได้ อื่นๆ ๒ หลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) งบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) จัดทําขึ้นตามมาตรฐานรายงานทางการเงินตามหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทํางบการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ข) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้ 1. ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง 2. แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน 3. แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต หรือกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ขออนุญาต เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการชําระหนี้ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในไทยของผู้ขออนุญาตที่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 6(2) และโอกาสในการได้รับชําระหนี้จากผู้ขออนุญาตดังกล่าว ในกรณีที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน งบการเงินตาม (1) ให้หมายถึง งบการเงินของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในไทยของผู้ขออนุญาตนั้น (2) ไม่อยู่ระหว่างการดําเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ก) ค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี (ข) ค้างส่งรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี (ค) ปรับปรุงแก้ไขงบการเงิน หรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือ มาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี แจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไข (ง) ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี (3) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 6(2) การพิจารณาตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาเฉพาะกรรมการหรือผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทย (4) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยอนุโลม (5) ไม่มีลักษณะตามข้อ 17 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะเฉพาะตามที่กําหนดในข้อ 17(1) (ก) (6) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก โดยฝ่าฝืนข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการป้องกันการไม่ปฏิบัติดังกล่าวอย่างเหมาะสมแล้ว (7) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่ามีพฤติกรรมการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อประชาชนไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือในลักษณะที่อาจทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด (8) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) มีผลประโยชน์อื่นที่อาจขัดแย้งกับผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการ เว้นแต่ผู้ขออนุญาตสามารถแสดงได้ว่ามีกลไกที่จะทําให้เชื่อมั่นได้ว่า การบริหารจัดการบริษัทจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวม (ข) มีการถ่ายเทผลประโยชน์ออกจากกิจการ (9) ไม่อยู่ระหว่างผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยของตราสารหนี้ หรือผิดนัดชําระหนี้เงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (10) ไม่อยู่ระหว่างผิดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ ข้อ ๑๗ ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 18 (1) ภายในระยะเวลา 5 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังนี้ (ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ (ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังนี้ 1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร 2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ (ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ (ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) นั้น (2) ภายในระยะเวลา 10 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ ผู้ขออนุญาตเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น ข้อ ๑๘ มิให้นําความในข้อ 17(1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับผู้ขออนุญาตซึ่งได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะตามข้อ 17(1) หรือ (2) แล้ว ข้อ ๑๙ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย ส่วน ๒ วิธีการยื่นและการพิจารณาคําขออนุญาต ในลักษณะรายครั้งและโครงการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๐ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ยื่นคําขออนุญาตมาพร้อมกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 9 โดยให้ยื่นคําขออนุญาตได้ตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การขออนุญาตในลักษณะรายครั้ง (2) การขออนุญาตในลักษณะโครงการ ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้ยื่นคําขออนุญาตได้เฉพาะในลักษณะรายครั้งเท่านั้น ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้สํานักงานสาขาเป็นผู้ดําเนินการยื่นคําขอได้ ข้อ ๒๑ ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 19 ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับคําขออนุญาตด้วย ทั้งนี้ ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ ข้อ ๒๒ ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๒๓ ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาต เว้นแต่ในกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ไม่ใช่การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ (2) เป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดีตามที่กําหนดในข้อ 26 (3) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในข้อ 35 และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade) ข้อ ๒๔ ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าที่พักและค่ายานพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการที่เกิดขึ้นจริงและเป็นไปตามสมควร โดยสํานักงานอาจกําหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าวได้ ข้อ ๒๕ เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานพิจารณาตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้เป็นไปตามข้อ 67 วรรคสอง (1) การพิจารณาคําขออนุญาตกรณีเร่งด่วน (fast track) ผู้ขออนุญาตต้องมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ในข้อ 23(2) และ (3) โดยให้สํานักงานดําเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาดังนี้ (ก) สอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังนี้ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน 1. ภายใน 10 วัน กรณีที่ร่างข้อกําหนดสิทธิของบริษัทที่ยื่นมาพร้อมกับคําขออนุญาตเป็นไปตามตัวอย่างที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน 2. ภายใน 30 วัน กรณีที่ไม่เป็นไปตาม 1. (ข) แจ้งผลการพิจารณาภายใน 14 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต (2) การพิจารณาคําขออนุญาตกรณีทั่วไป ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาต ข้อ ๒๖ กรณีที่ถือว่ามีประเด็นเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดี ได้แก่กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) อยู่ระหว่างดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการไม่รักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างไม่เป็นธรรม หรือการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป (2) มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ในช่วง 1 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต (ก) มีประวัติถูกสํานักงานสั่งให้แก้ไขงบการเงิน (ข) เป็นบริษัทที่เป็นเหตุให้สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ออกข่าวเตือนผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวเกี่ยวกับการพิจารณาข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นในการพิจารณาเกี่ยวกับการดําเนินการใด ๆ ของบริษัท (ค) ถูกสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์มีคําสั่งหรือมีหนังสือกําชับหรือตักเตือนบริษัทเกี่ยวกับการไม่รักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างไม่เป็นธรรมหรือการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป (3) เป็นบริษัทที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย NP (Notice Pending) หรือตลาดหลักทรัพย์มีคําสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทเป็นการชั่วคราวโดยขึ้นเครื่องหมาย SP (Trading Suspension) (4) มีกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมที่มีลักษณะดังนี้ (ก) กรรมการหรือผู้บริหารถูกสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์มีคําสั่งหรือมีหนังสือกําชับหรือตักเตือนเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของกรรมการหรือผู้บริหารด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต หรือการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท มติคณะกรรมการ หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในช่วง 1 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต (ข) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมอยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งให้ชี้แจง เนื่องจากมีเหตุสงสัยว่าบุคคลนั้นอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด การกระทําที่ต้องห้าม หรือการกระทําที่เป็นเหตุให้มีลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ เฉพาะกรณีดังนี้ และกรณีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสํานักงาน 1. การกระทําการโดยไม่สุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 2. การเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูล หรือข้อความอันเป็นเท็จที่อาจทําให้สําคัญผิด หรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 3. การกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าว (ค) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมอยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยหน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงของบริษัท หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษ ในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต เกี่ยวกับทรัพย์สินอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ข้อ ๒๗ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการสามารถเสนอขายหุ้นกู้ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 25 จนสิ้นสุดอายุโครงการ รวมถึงให้ถือว่าผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการด้วย ทั้งนี้ ให้การอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการมีอายุ 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นกู้ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งมีสถานะเป็นสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันชีวิต ให้ถือว่าผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการด้วย ข้อ ๒๘ ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 27 หากปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามส่วนที่ 1 ได้ ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวจะดําเนินการเสนอขายตราสารหนี้ตามข้อ 27 ไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 27 หากผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ก่อนที่จะแก้ไขคุณสมบัติได้ ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตราสารหนี้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 29 ด้วย ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขาย หุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 16(1) หรือข้อ 17(2) และ (3) ได้ ต้องแจ้งการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีนั้น ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้หุ้นกู้ที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน (2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น (3) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้นั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง (4) จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ โดยสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 40 ด้วย ข้อ ๓๑ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย (2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกบริษัท (3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๓๒ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท ต้องมีการระบุให้ชัดเจนถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกบริษัท (2) ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกบริษัทตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน ข้อ ๓๓ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันไม่ว่าหลักประกันของหุ้นกู้นั้นจะได้จัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้ดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้ (1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่า 1 ปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้นั้น เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่ ข้อ ๓๔ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ และจัดทําอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของหุ้นกู้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหุ้นกู้ทุกประเภท ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ เว้นแต่เป็นหุ้นกู้ตาม (2) (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ (2) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกิน 270 วันนับแต่วันที่ออก หรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ไม่ใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ (ค) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ขออนุญาต ทั้งนี้ หากผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 6(2) ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในไทยเพิ่มเติมด้วย เว้นแต่ในวันที่ยื่นคําขออนุญาต สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าวสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามวิธีการคํานวณดังนี้ เงินกองทุนทั้งสิ้น (total capital) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 1.5 เท่าของอัตราส่วนเงินกองทุนตามที่ สินทรัพย์เสี่ยง + X ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (X = มูลค่าตราสารหนี้ที่จะเสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้โดยอ้างอิงอัตรา risk weighted ที่ 100%) ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังนี้ (1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้นั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นไม่ได้เกิดจากผู้ออกหุ้นกู้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้ (2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 6(2) ซึ่งได้รับยกเว้นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 35 วรรคหนึ่ง (2) (ค) ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (total capital ratio) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ดํารงไว้ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไปไว้บนเว็บไซต์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ตลอดอายุของหุ้นกู้ ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ข้อ ๓๘ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมีหนังสือถึงสํานักงานเพื่อรับรองว่าได้จัดให้มีข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ที่มีความชัดเจนและไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหุ้นกู้และประทับตราสําคัญของผู้ออกหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางของข้อกําหนดสิทธิตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๓๙ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่ได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้ และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว พร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายใน 15 วันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้ ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา (2) วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ (3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ได้รับอนุญาต และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ (4) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (5) การสิ้นสุดของสัญญา ข้อ ๔๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งเอกสารดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 9 (1) รายงานการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ทั้งนี้ เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ส่งเอกสารต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว (2) รายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบอายุ (3) รายงานอัตราส่วนที่มีนัยสําคัญทางการเงินของผู้ได้รับอนุญาตรายปี (key financial ratio) หมวด ๒ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๒ การเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดตามข้อ 43 หรือข้อ 44 แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตาม (2) ให้ถือว่าได้รับอนุญาตเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในข้อ 45 และหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 (2) การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) หรือข้อ 44(2) แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตตามที่กําหนดในส่วนที่ 3 ส่วน ๑ ลักษณะการเสนอขายในวงจํากัด และหลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๓ การเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการเสนอขายในวงจํากัด (1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกิน 10 ราย ในรอบระยะเวลา 4 เดือนใด ๆ กรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองหุ้นกู้แทนบุคคลอื่น การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่งให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นกู้นั้น (2) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน (3) เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายในลักษณะดังกล่าวจะมีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันด้วยหรือไม่ก็ตาม (4) เสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ (5) เสนอขายโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ที่จะได้รับอนุญาตต้องแสดงได้ว่า (ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร (ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง (ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว ในการพิจารณาผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) จะไม่พิจารณารวมถึงการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่ได้จดข้อจํากัดการโอนไว้ไม่เกิน 10 ราย ในรอบระยะเวลา 4 เดือนใด ๆ ซึ่งกรณีดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง (1) ข้อ ๔๔ ตั๋วเงินที่ออกในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการออกตั๋วเงินเพื่อเสนอขายในวงจํากัด (1) ตั๋วเงินระยะสั้นที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน (2) ตั๋วเงินระยะสั้นที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยผู้ออกและเสนอขายตั๋วเงินต้องมีสถานะเป็นสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันชีวิต ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายในลักษณะดังกล่าวจะมีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันด้วยหรือไม่ก็ตาม (3) ตั๋วเงินที่ออก ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อนับรวมตั๋วเงินที่ออกก่อนหน้านี้และยังไม่ครบกําหนดชําระเงินมีจํานวนไม่เกิน 10 ฉบับ ทั้งนี้ ในการนับจํานวนฉบับดังกล่าว ไม่จําต้องนับตั๋วเงินที่ออกตาม (1) และ (2) ตั๋วเงินตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) จะต้องมีมูลค่าหน้าตั๋วไม่ต่ํากว่า 10 ล้านบาท ตั๋วเงินตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่ทําให้ตั๋วเงินนั้นมีลักษณะทํานองเดียวกับหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และไม่มีข้อกําหนดใด ๆ ที่ทําให้ผู้ถือตั๋วเงินมีภาระหนี้หรือภาระผูกพันเพิ่มเติมจากการเป็นผู้ถือตั๋วเงินตามปกติ ข้อ ๔๕ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดที่จะได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 2 หรือส่วนที่ 3 ของหมวดนี้ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทได้รับมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการบริษัทให้ออกตราสารหนี้ได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นการออกหุ้นกู้โดยบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทต้องได้รับมติให้ออกหุ้นกู้ที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด (2) บริษัทไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก ที่เป็นการฝ่าฝืนลักษณะการขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นจดข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยบริษัทแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว ความในวรรคหนึ่ง (1) ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทต้องออกตราสารหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ส่วน ๒ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดที่ไม่ใช่ การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๖ การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดตามข้อ 43(1) (2) (4) และ (5) ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อบริษัทได้ดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในข้อ 45 และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) จดข้อจํากัดการโอนสําหรับหุ้นกู้ที่จะเสนอขายกับสํานักงาน โดยในการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ต้องมีข้อความซึ่งแสดงได้ว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายในวงจํากัดตามแต่ละลักษณะการเสนอขายที่กําหนดในข้อ 43 ได้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว (2) รายงานลักษณะหุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 9 (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ บริษัทได้เสนอร่างข้อกําหนดสิทธิและร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนตาม (1) ข้อ ๔๗ การเสนอขายตั๋วเงินในวงจํากัดตามข้อ 44(1) และ (3) ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อบริษัทได้ดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในข้อ 45 และได้รายงานลักษณะของตั๋วเงินที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 9 ส่วน ๓ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๘ บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) และข้อ 44(2) ต้องยื่นคําขออนุญาตและจดข้อจํากัดการโอน (ถ้ามี) กับสํานักงาน ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 20 ข้อ 21 และข้อ 22 มาใช้บังคับกับการยื่นคําขออนุญาต โดยอนุโลม ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง ข้อ ๔๙ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตตามข้อ 48 จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ขออนุญาตต้องให้ที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาตด้วย ข้อ ๕๐ ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) หรือข้อ 44(2) แล้วแต่กรณี เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในข้อ 45 และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) แบบแสดงรายการข้อมูลมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน ทั้งนี้ ในการขออนุญาตในลักษณะโครงการ แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวให้หมายถึงเฉพาะแบบแสดงรายการข้อมูลที่ได้ยื่นมาพร้อมกับคําขออนุญาตเท่านั้น (2) ผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติตามข้อ 16(1) ถึง (5) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17 และข้อ 18 ด้วย ข้อ ๕๑ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย ข้อ ๕๒ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการตามข้อ 48 สามารถเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 48 จนสิ้นสุดอายุโครงการ ทั้งนี้ ให้การอนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการมีอายุ 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายตราสารหนี้ ข้อ ๕๓ ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 52 หากปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามข้อ 50 ได้ ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวจะดําเนินการเสนอขายตราสารหนี้ตามข้อ 52 ไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 52 หากผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ก่อนที่จะแก้ไขคุณสมบัติได้ ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตราสารหนี้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 58 ด้วย ส่วน ๔ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้หุ้นกู้ที่จะออกและเสนอขายในวงจํากัดมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่าผู้ได้รับอนุญาตจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน (2) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 30(1) (2) และ (3) (3) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 31 และข้อ 32 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท แล้วแต่กรณี (4) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีเอกสารประกอบการเสนอขายหุ้นกู้ เอกสารดังกล่าวจะต้องมีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอน และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน ข้อ ๕๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้ตั๋วเงินที่จะเสนอขายในวงจํากัดมีข้อความดังต่อไปนี้ (1) ข้อความบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายในวงจํากัด” (2) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นสถาบันการเงินต้องจัดให้มีข้อความเพิ่มเติมบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “ตั๋วเงินนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก” (3) ข้อความเพิ่มเติมอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กรณีตั๋วเงินที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 44(1) ต้องมีข้อความเพิ่มเติมบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “มีวัตถุประสงค์ให้เปลี่ยนมือได้เฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน (ข) กรณีตั๋วเงินที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 44(2) ต้องมีข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. ข้อความบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน 2. ข้อความด้านหลังตั๋วเงินที่รองรับการโอนโดยปราศจากสิทธิไล่เบี้ย (without recourse) ในแต่ละทอด หากผู้โอนไม่ได้แสดงเจตนาเป็นประการอื่น (ค) กรณีตั๋วเงินที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 44(3) ต้องมีข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. ข้อความบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน 2. ข้อความด้านหลังตั๋วเงินที่รองรับการโอนโดยปราศจากสิทธิไล่เบี้ย (without recourse) ในแต่ละทอด หากผู้โอนไม่ได้แสดงเจตนาเป็นประการอื่น และกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่ได้มีสถานะเป็นสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันชีวิต ต้องมีข้อความเพิ่มเติมบนด้านหน้าตั๋วเงินว่า “มีวัตถุประสงค์ให้เปลี่ยนมือได้เฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ และผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับอนุญาต” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกันด้วย ข้อ ๕๖ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดตามข้อ 43(1) และข้อ 44(3) ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เสนอขายตราสารหนี้ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลรวมกันดังนี้ (ก) ผู้ลงทุนสถาบัน (ข) ผู้ลงทุนรายใหญ่ (ค) ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับอนุญาตซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทโดยในการพิจารณานั้นจะต้องคํานึงถึงความเหมาะสมในการลงทุนและการมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งได้แก่ บุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับอนุญาตในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจ การลงทุน หรือการบริหารและการจัดการของผู้ได้รับอนุญาต เช่น ลูกค้า ผู้จําหน่ายวัตถุดิบ บุคคลที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจกับผู้ได้รับอนุญาต บริษัทในเครือของผู้ได้รับอนุญาต (บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน หรือบริษัทร่วม) ผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปของจํานวนหุ้นทั้งหมด กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของผู้ได้รับอนุญาต กรรมการและผู้บริหารของบริษัทในเครือ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ตามความใน (ค) คําว่า “บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทย่อยตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกันไม่ว่าบริษัทย่อยนั้นจะอยู่ในชั้นลําดับใด ๆ (2) ในการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ไม่ได้เป็นผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบริษัทตาม (1) (ค) ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับตราสารหนี้ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ด้วย (3) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายตั๋วเงินมีข้อตกลงนําทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันเพิ่มเติมสําหรับการชําระหนี้ตามตั๋วเงินดังกล่าว ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย โดยคํานึงถึงสภาพของทรัพย์สินแต่ละประเภท ข้อ ๕๗ ในการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดตามข้อ 43(1) (4) (5) หรือข้อ 44(3)ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่โฆษณาการเสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวและหุ้นรองรับ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ในวงจํากัดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 43(1) (4) (5) หรือข้อ 44(3) เท่านั้น ข้อ ๕๘ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) และข้อ 44(2) ในลักษณะโครงการที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 16(1) หรือข้อ 17(2) และ (3) ได้ ต้องแจ้งการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีนั้น ข้อ ๕๙ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดขึ้นตามกฎหมายไทยตามข้อ 43(2) และข้อ 44(1) หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) และข้อ 44(2) ต้องจัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet) ให้แก่ผู้ลงทุนตามแต่ลักษณะก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ ข้อ ๖๐ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 43(2) หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) ต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ข้อ ๖๑ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ตามข้อ 43(2) ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42(1) ถึง (9) และดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 39 วรรคหนึ่ง ข้อ ๖๒ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) และข้อ 44(2) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการเกี่ยวกับข้อกําหนดสิทธิตามข้อ 38 ข้อ 39 และข้อ 40 โดยอนุโลม สําหรับกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ (2) จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 63 สําหรับกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (3) จัดให้การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 56 (2) โดยอนุโลม (4) ส่งเอกสารรายงานอัตราส่วนที่มีนัยทางการเงินของผู้ได้รับอนุญาตรายปีต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 9 ข้อ ๖๓ ในการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัทต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว และจัดทําอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของหุ้นกู้ (1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง (2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในข้อ 35 วรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๖๔ ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องหน้าที่ในการส่งเอกสารตามข้อ 41(1) และ (2) มาใช้บังคับกับผู้ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด โดยอนุโลม ข้อ ๖๕ ในการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด หากผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อให้คําแนะนําในการกําหนดลักษณะ ข้อตกลง เงื่อนไข และอายุที่เหมาะสมในการออกและเสนอขายตราสารหนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมอบหมายให้ที่ปรึกษาทางการเงินนั้นวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะการประกอบธุรกิจ และแผนธุรกิจในอนาคต (2) ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หรือข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (3) วัตถุประสงค์การใช้เงิน (4) แหล่งเงินทุนสํารองในการชําระหนี้ (5) ทรัพย์สินที่อาจใช้เป็นหลักประกันในการชําระหนี้ ผู้ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ต้องดําเนินการดังนี้ด้วย (1) จัดส่งข้อมูลที่จําเป็นซึ่งมีความถูกต้องและครบถ้วนให้ที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) จัดให้มีข้อตกลงให้ที่ปรึกษาทางการเงินจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่จัดทําขึ้นตามวรรคหนึ่งไว้อย่างน้อย 3 ปี ข้อ ๖๖ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย อื่นๆ ๓ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขาย หุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๗ นอกจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามส่วนที่ 1 ของหมวด 1 ในภาค 2 เมื่อเป็นการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป หรือหมวด 2 ของภาค 2 เมื่อเป็นการเสนอขายในวงจํากัดแล้ว ให้การอนุญาตและการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในภาคนี้ด้วย ให้กระบวนการ ขั้นตอน และระยะเวลาในการรับคําขอและการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่เป็นไปตามกระบวนการ ขั้นตอน และระยะเวลาในการรับคําขอและการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม ในกรณีหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 5(5)(ข) ให้การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงด้วย ข้อ ๖๘ การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้รวมถึงการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับด้วย ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต้องดําเนินการให้มีการใช้สิทธิแปลงสภาพภายในอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการใช้สิทธิแปลงสภาพแล้ว ให้การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวในส่วนที่ไม่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นอันสิ้นสุดลง หมวด ๒ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๙ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ ผู้ขออนุญาตต้องดําเนินการและมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาตเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องระบุข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 71 (2) จัดให้ได้มาซึ่งมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ มติอนุมัติให้บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับต้องได้มาไม่เกิน 1 ปีจนถึงวันยื่นคําขออนุญาต (3) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่ของผู้ขออนุญาตในจํานวนไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 70 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ขออนุญาตและผู้ถือหุ้นโดยรวม เนื่องจากผู้ขออนุญาตอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินหรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ขออนุญาต หรือกรณีอื่นใด (ข) มีการกําหนดราคาและอัตราแปลงสภาพไว้อย่างแน่นอนและไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 73 (ค) ในกรณีที่มีข้อกําหนดบังคับแปลงสภาพ หรือข้อกําหนดที่ให้สิทธิผู้ขออนุญาตเรียกให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกําหนด ข้อกําหนดนั้นต้อง 1. ได้รับการรับรองจากผู้ขออนุญาตว่ามีความเป็นธรรม ชัดเจน และเหตุแห่งการเรียกให้ใช้สิทธิก่อนกําหนดจะอ้างอิงเหตุการณ์หรือการกระทําที่ไม่อยู่ในอํานาจควบคุมของบุคคลใด ๆ 2. กําหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องบังคับแปลงสภาพหรือเรียกให้มีการใช้สิทธิแปลงสภาพเมื่อมีเหตุการณ์ตามที่กําหนดไว้ 3. ได้รับการรับรองจากผู้ขออนุญาตว่ามีมาตรการที่เพียงพอซึ่งทําให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพในทอดต่อ ๆ ไปทราบถึงข้อกําหนดดังกล่าว (ง) ต้องมีระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิแปลงสภาพครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันใช้สิทธิ เว้นแต่เป็นการแปลงสภาพตามข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ (4) มีลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน ความในวรรคหนึ่ง (1) และ (2) มิให้ใช้บังคับกับกรณีต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับของบริษัทที่ต้องเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพที่ออกใหม่อย่างเพียงพอ (2) กรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๗๐ จํานวนหุ้นรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายในครั้งนี้ เมื่อรวมกับจํานวนหุ้นที่ผู้ขออนุญาตจัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นในครั้งอื่น ต้องไม่เกิน ร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ขออนุญาต การคํานวณจํานวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ขออนุญาต ให้รวมถึงจํานวนหุ้นอื่นนอกจากหุ้นรองรับ ซึ่งผู้ขออนุญาตจะเสนอขายควบคู่ไปกับหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายในครั้งนี้ (ถ้ามี) (2) จํานวนหุ้นที่ผู้ขออนุญาตได้จัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ไม่ให้รวมถึงจํานวนหุ้นเพื่อรองรับการเสนอขายตามประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ข้อ ๗๑ หนังสือนัดประชุมตามข้อ 69(1) ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ และเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น (2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (3) วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ (4) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต ส่วน ๒ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗๒ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ประสงค์จะเสนอขายให้เฉพาะบุคคลที่กําหนด (placement) และเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้บริษัทเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ในราคาต่ํา บริษัทได้จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วันก่อนวันประชุม (2) หนังสือนัดประชุมตาม (1) มีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ซึ่งนอกจากต้องมีข้อมูลตามข้อ 71 แล้วอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) วัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา (ข) รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในเรื่องจํานวนที่เสนอขาย ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ และราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ ซึ่งเป็นการระบุราคาที่แน่นอน หรือระบุส่วนลดสูงสุดที่แน่นอน (ค) ราคาตลาดที่ใช้เปรียบเทียบกับราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามหุ้นกู้แปลงสภาพ รวมทั้งวิธีการคํานวณ (ง) ในกรณีที่กําหนดราคาเสนอขายที่แน่นอน ต้องระบุกลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะเสนอขาย (จ) ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําที่ขออนุมัติออกในครั้งนี้ โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา และผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution) (ฉ) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําตาม (4) (ช) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงถึงความจําเป็นในการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา โดยอธิบายถึงความคุ้มค่าของประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับเปรียบเทียบกับส่วนต่างของราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและราคาใช้สิทธิแปลงสภาพกับราคาตลาดที่บริษัทต้องสูญเสียไป รวมทั้งความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว (ซ) ข้อมูลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) จัดส่งหนังสือมอบฉันทะไปพร้อมหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ราย ที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ และในกรณีที่กรรมการอิสระดังกล่าวเป็นบุคคลที่อาจได้รับการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพที่ขออนุมัติ ให้แสดงส่วนได้เสียพิเศษของกรรมการอิสระดังกล่าวด้วย (4) ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ําด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงและไม่มีผู้ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละ 10 ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือหุ้นรองรับนั้น ให้นําความในข้อ 69 วรรคสองมาใช้กับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขาย หุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗๓ นอกจากรายการและสาระสําคัญที่กําหนดไว้ในข้อ 38 แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องจัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ รวมทั้งวิธีการคํานวณการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อมิให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตอันเป็นผลมาจากการรวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น (2) ผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา (3) ผู้ได้รับอนุญาตมีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา หรือมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นในราคาต่ํา (4) ผู้ได้รับอนุญาตจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น (5) ผู้ได้รับอนุญาตจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ (6) กรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ (1) ถึง (5) ที่ทําให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงที่เข้าลักษณะตาม (1) ถึง (6) ซึ่งได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยแสดงได้ว่าจะมีมาตรการอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ลงทุนที่จะได้รับผลกระทบจากการไม่เปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพนั้นทราบก่อนการลงทุนว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจะไม่ดําเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อมีเหตุการณ์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้สํานักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธินั้น ข้อ ๗๔ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพไม่ว่าจะด้วยเหตุที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ก็ตาม หากต้องมีการออกหุ้นที่ออกใหม่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าว ผู้ได้รับอนุญาตจะสามารถออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว ข้อ ๗๕ ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพกําหนดราคาและอัตราการแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับ และจําเป็นต้องออกหุ้นใหม่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพ ผู้ได้รับอนุญาตจะสามารถออกหุ้นใหม่เพิ่มเติมดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้มีการยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว ข้อ ๗๖ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถจัดให้มีหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพได้ ในการกําหนดค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเป็นจํานวนไม่ต่ํากว่าส่วนต่างของราคาตลาดของหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นประเภทเดียวกับหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ ณ วันที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพ กับราคาที่คํานวณได้จากอัตราการแปลงสภาพ ข้อ ๗๗ การแก้ไขเพิ่มเติมให้หุ้นกู้มีสิทธิแปลงสภาพภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ในการนี้ ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของหมวดนี้มาใช้บังคับ โดยอนุโลม หมวด ๓ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗๘ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับที่เป็นการเสนอขายในวงจํากัดตามข้อ 43 จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยรายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในกรณีดังกล่าว (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 71 (2) จัดให้ได้มาซึ่งมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอ (3) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ผู้ได้รับอนุญาตออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพ (4) หุ้นกู้แปลงสภาพต้องมีราคาและอัตราแปลงสภาพและจํานวนหุ้นรองรับเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 69(3) (ก) และ (ข) (5) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา ต้องดําเนินการดังนี้ (ก) กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 72 วรรคหนึ่ง (1) (3) และ (4) และหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยรายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ํา (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 72 (6) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 74 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพไม่ว่าด้วยเหตุใด ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว (7) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 75 ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพกําหนดราคาและอัตราการแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับ ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว (8) จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายหรือมาตรการเยียวยาอื่น ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถจัดให้มีหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพได้ (9) ในกรณีที่เป็นการออกหุ้นกู้แปลงสภาพที่ผู้ลงทุนรายใหญ่อาจใช้สิทธิแปลงสภาพได้ผู้ลงทุนรายใหญ่นั้นต้องมีจํานวนหรือลักษณะที่อยู่ในข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ซึ่งประกาศดังกล่าวอนุญาตให้บริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานด้วย ความในวรรคหนึ่งที่กําหนดเกี่ยวกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๗๙ การแก้ไขเพิ่มเติมให้หุ้นกู้มีสิทธิแปลงสภาพภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นและได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 78(1) และ (2) รวมทั้งผู้ถือหุ้นกู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ต้องมีจํานวนหรือลักษณะตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 78(9) ด้วย ทั้งนี้ เมื่อได้ให้สิทธิแปลงสภาพแล้ว การแปลงสภาพนั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 78(4) (6) (7) และ (8) การให้สิทธิแปลงสภาพตามวรรคหนึ่งต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ผู้ได้รับอนุญาตออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพ ข้อ ๘๐ ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน หากการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับตามหมวดนี้ มีลักษณะทํานองเดียวกับเหตุอันควรสงสัยตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 72/2558 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยอนุโลม สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหรือสั่งยกเลิกการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับในส่วนที่ยังไม่ได้เสนอขายได้ อื่นๆ ๔ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท และหุ้นรองรับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘๑ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 5(5)(ข)ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพอาจไม่ใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทให้บริษัทตามข้อ 6ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด สามารถเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่เป็นไปตามข้อ 71 และต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 45(1) และข้อ 78(2) (2) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามข้อ 78(3) (3) ต้องมีคําเรียกชื่อหุ้นกู้แปลงสภาพ อัตราดอกเบี้ย ลักษณะ และมูลค่าไถ่ถอนที่เป็นไปตามข้อ 30(1) (2) และ (3) (4) หุ้นกู้แปลงสภาพต้องมีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 69(3) (5) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 31 และข้อ 32 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท แล้วแต่กรณี (6) ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 38 ข้อ 39 ข้อ 73 และข้อ 76 (7) จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (8) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 74 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพไม่ว่าด้วยเหตุใด ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว (9) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 75 ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพกําหนดราคาและอัตราการแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับ ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว (10) ให้รายงานลักษณะของหุ้นกู้แปลงสภาพต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 9 ความในวรรคหนึ่งที่กําหนดเกี่ยวกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน อื่นๆ ๕ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘๒ คําขออนุญาตที่ได้ยื่นต่อสํานักงานหรือได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 ให้การขออนุญาตและการอนุญาตยังคงเป็นไปตามประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๘๓ ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อ 19 และข้อ 51 ไม่ใช้บังคับกับการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะรายครั้งที่ได้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (2) การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ ๘๔ ให้บริษัทมหาชนจํากัดสามารถเสนอขายตั๋วเงินต่อประชาชนเป็นการทั่วไปได้ หากเป็นไปตามเงื่อนไขและได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทมหาชนจํากัดดังกล่าวจะเสนอขายตั๋วเงินได้ตามระยะเวลาดังนี้ (ก) กรณีบริษัทต้องมีการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปีตามกฎหมายภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 ให้บริษัทเสนอขายตั๋วเงินได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (ข) กรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้บริษัทเสนอขายตั๋วเงินได้ภายในระยะเวลา 60 วันนับแต่วันที่บริษัทมีการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปีตามกฎหมาย (2) ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามประกาศนี้ มาใช้บังคับกับการเสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปของบริษัทโดยอนุโลม (3) ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องลักษณะของตั๋วเงินตามข้อ 22 และข้อความบนตั๋วเงินตามข้อ 30 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับกับการเสนอขายตั๋วเงินที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปของบริษัทด้วย โดยอนุโลม ข้อ ๘๕ ให้บริษัทมหาชนจํากัดซึ่งไม่ได้มีสถานะเป็นสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันชีวิต เสนอขายตั๋วเงินต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ได้ตามระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 84(1) โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดตามหมวด 2 ของภาค 2 ตามประกาศนี้ ข้อ ๘๖ ให้ตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๘๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงประกาศดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๘๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 9/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ ใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
493
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2562 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2562 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
494
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2563 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2563 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ไม่อยู่ระหว่างการดําเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ก) ค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําตามมาตรา 56 (ข) ค้างส่งรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งต่อสํานักงานตามมาตรา 57 หรือค้างส่งรายงานในลักษณะเดียวกันต่อตลาดหลักทรัพย์ (ค) ปรับปรุงแก้ไขงบการเงิน หรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือปรับปรุงแก้ไขในลักษณะเดียวกันตามที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งให้ดําเนินการ (ง) ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 58 หรือตามมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้ยื่นขออนุญาตได้เฉพาะในลักษณะรายครั้งเท่านั้น (1) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (2) หุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (3) หุ้นกู้แปลงสภาพ (4) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (5) หุ้นกู้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือหุ้นกู้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 35 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 20 ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับคําขออนุญาตด้วย ทั้งนี้ ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 28 ของส่วนที่ 2 วิธีการยื่นและการพิจารณาคําขออนุญาตในลักษณะรายครั้งและโครงการ ในหมวด 1 การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปของภาค 2 หลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 28 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 27 หากปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ได้รับอนุญาตจะเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการต่อไปไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติตาม (1) หรือแก้ไขให้หุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ตาม (2) ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 27 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 29 ด้วย (1) ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามส่วนที่ 1 ในหมวด 1 ของภาค 2 ได้ (2) หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หากผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้โดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายหุ้นกู้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 ของส่วนที่ 3 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ในหมวด 1 การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ของภาค 2 หลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 29 เมื่อปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์นั้น (1) ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 16(1) หรือข้อ 17(2) และ (3) ได้ (2) หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” ข้อ 6 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 41/1 ในส่วนที่ 3 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ของหมวด 1 การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ในภาค 2 หลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 41/1 ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยต่อผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายใน 1 วันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุผิดนัด” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 9 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 50 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติตามข้อ 16(1) (2) (3) (4) (5) และ (9) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17 และข้อ 18 ด้วย” ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 53 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 53 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 52 หากปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ได้รับอนุญาตจะเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการต่อไปไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติตาม (1) หรือแก้ไขให้หุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ตาม (2) แล้วแต่กรณี ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 52 ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 58 ด้วย (1) ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามข้อ 50 ได้ (2) หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หากผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้โดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายหุ้นกู้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้” ข้อ 11 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 54 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่าผู้ได้รับอนุญาตจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงานเว้นแต่กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) ผู้ได้รับอนุญาตสามารถจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบันก็ได้” ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 56 การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดตามข้อ 43(1) และข้อ 44(3) ผู้ได้รับอนุญาต ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เสนอขายตราสารหนี้ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลรวมกันดังนี้ (ก) ผู้ลงทุนสถาบัน (ข) ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับอนุญาตซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยในการพิจารณานั้นจะต้องคํานึงถึงความเหมาะสมในการลงทุนและการมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบริษัทในเครือของผู้ได้รับอนุญาต (บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน หรือบริษัทร่วม) เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคสอง 1. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หมายความว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท 2. บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน หมายความว่า บริษัทย่อยตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกันไม่ว่าบริษัทย่อยนั้นจะอยู่ในชั้นลําดับใด ๆ (2) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายตั๋วเงินมีข้อตกลงนําทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันเพิ่มเติมสําหรับการชําระหนี้ตามตั๋วเงินดังกล่าว ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย โดยคํานึงถึงสภาพของทรัพย์สินแต่ละประเภท” ข้อ 13 ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 58 เมื่อปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) และข้อ 44(2) ในลักษณะโครงการแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์นั้น (1) ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 16(1) หรือข้อ 17(2) และ (3) ได้ (2) ตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” ข้อ 14 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 62 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) จัดให้การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับตราสารหนี้ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ด้วย” ข้อ 15 ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 62 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ 16 ให้ยกเลิกความในข้อ 64 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 64 ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องการรายงานตามข้อ 41 และข้อ 41/1 มาใช้บังคับกับผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด โดยอนุโลม” ข้อ 17 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป เว้นแต่ (1) ข้อ 8 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป (2) ข้อ 2 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 13 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป (3) ข้อ 12 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
495
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2563 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2563 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11) ของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “(11) ไม่เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 29/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 29/1 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต้องนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2563 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 “(3) รายงานการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นกู้ โดยในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ที่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานต่อผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 45 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “(3) บริษัทไม่เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันแจ้งวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นกู้ต่อสํานักงาน หรือก่อนวันยื่นคําขออนุญาต แล้วแต่กรณี” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “(4) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 43(1) บริษัทได้แจ้งวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นกู้ต่อสํานักงานมาพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนตาม (1)” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 55/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 55/1 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต้องนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้แจ้งไว้ต่อสํานักงาน หรือที่เปิดเผยไว้ ในแบบแสดงรายการข้อมูล แล้วแต่กรณี เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 58/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 58/1 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดตามข้อ 43(1) (2) และ (3) ต้องรายงานการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นกู้ต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 9 และกรณีที่เป็นหุ้นกู้ที่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานต่อผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย” ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
496
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 ในส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์การอนุญาต ของหมวด 1 การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ในภาค 2 หลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 19/1 ในกรณีหุ้นกู้ที่ประสงค์จะเสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าหุ้นกู้ดังกล่าวจะได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ (issuer rating) อยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade)” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในหมวดนี้ และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade)” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “(5) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ในข้อ 35 โดยในกรณีเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ (issuer rating) ในขณะที่เสนอขายอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade) ด้วย” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 35 และข้อ 36 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 35 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้หุ้นกู้ที่เสนอขายมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งตามตารางดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และจัดทําอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของหุ้นกู้ | | | | | | --- | --- | --- | --- | | ลักษณะของหุ้นกู้ | การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ | การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ | การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ | | - | ตราสาร (issue rating) | ผู้ค้ําประกัน (guarantor rating) | ผู้ออก (issuer rating) | | (1) หุ้นกู้ที่มีการค้ําประกัน\* | P | P | - | | (2) หุ้นกู้ระยะสั้น\*\* | P | - | P | | (3) หุ้นกู้ที่มีลักษณะตาม (1) และ (2) | P | P | P | | (4) หุ้นกู้ที่ไม่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) | P | - | - | \*การค้ําประกัน หมายถึง มีการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ \*\*หุ้นกู้ระยะสั้น หมายถึง หุ้นกู้แปลงสภาพที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกิน 270 วัน นับแต่วันที่ออก หรือ หุ้นกู้ระยะสั้นที่ไม่ใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศซึ่งประสงค์จะจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ (issuer rating) ตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งต้องจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในไทยเพิ่มเติมด้วย เว้นแต่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าวสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนในวันที่ยื่นคําขออนุญาตได้ตามวิธีการคํานวณดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 36 ด้วย (X = มูลค่าตราสารหนี้ที่จะเสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้โดยอ้างอิงอัตรา risk weighted ที่ 100%) ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นไม่ได้เกิดจากผู้ได้รับอนุญาต สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้ (2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานโดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ 36 ผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศซึ่งได้รับยกเว้นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศไทย ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (total capital ratio) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ดํารงไว้ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไปไว้บนเว็บไซต์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ตลอดอายุของหุ้นกู้” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 50 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2563 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 “(3) กรณีผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 19/1 ด้วย” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 54 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 30(1) (2) (3) และ (5)” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 63 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 63 ในการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท(perpetual bond) ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ในข้อ 35 โดยให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ตามที่กําหนดในข้อ 35 มาใช้บังคับด้วย” ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
497
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) รายงานลักษณะหุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 9 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกิน 10 รายตามข้อ 43 วรรคหนึ่ง (1)” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 47 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 47 การเสนอขายตั๋วเงินในวงจํากัดตามข้อ 44(1) และ (3) ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อบริษัทได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในข้อ 45 ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตั๋วเงินตามข้อ 44(1) ต้องรายงานลักษณะของตั๋วเงินที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 9 ด้วย” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
498
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2562 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ของบริษัทที่มีข้อตกลงในการชําระค่าซื้อตราสารและชําระหนี้ตามตราสารเป็นสกุลเงินบาท ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย โดยประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ที่มีหลักเกณฑ์กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศอื่น” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 54 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 30(1) (2) และ (3) และกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัทต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 43(3) ต้องมีลักษณะตามข้อ 30(5) ด้วย” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
499