title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 6/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 15)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 6/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 9 การจัดทําและส่งรายงานข้อมูลการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน และการลงทุน ในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ข้อ 55 และข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “หมวด 9 การจัดทําและส่งรายงานข้อมูลการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน และการลงทุน ในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 55 ในหมวดนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ข้อ 56 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและส่งรายงานข้อมูลการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน และการลงทุน ในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
100
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 14/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 16 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่กธ. 14/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 16 ) -------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 “เพื่อประโยชน์ในการให้ลูกค้ามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี ศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล นายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรน นายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี และผู้ค้าโทเคนดิจิทัล เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้ลูกค้าทราบด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 7/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนชี้ และผู้ค้าคริปโทเคอร์เรน จัดให้มีการให้คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัตส่วนการลงทุนที่เหมาะสมแก่ลูกค้า (basic asset allocation) เพิ่มเติมด้วย โดยพิจารณาจากการประเมินความเหมาะสมตามวรรคสอง” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 30/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 30/1ก่อนเริ่มให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริบโทเคอร์เรนซี นายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี ต้องจัดให้ลูกค้าเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีหรือการทดสอบความรู้ (knowtedge test) เกี่ยวกับ คริปโทเคอร์เรนซี ทั้งนี้ ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เว้นแต่ลูกค้าเป็นบุคคลตังต่อไปนี้ (1) ผู้มีประสบการณ์ในการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีมาก่อนใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ สําหรับลูกค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลอื่นยกเว้นนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้แทนนิติบุคคลหรือผู้ซึ่งนิติบุคคลหรือผู้ซึ่งนิติบุคคลมอบหมาย เป็นผู้เข้ารับการอบรมหรือทดสอบความรู้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธที่จะเข้ารับการอบรมหรือการทดสอบความรู้เกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนชีตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะให้บริการลูกค้ารายนั้นมิได้" ข้อ 5 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งใช้บริการอยู่แล้วในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต่อไปได้ โดยไม่ต้องดําเนินการตามข้อ 30/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ 6 ให้เพิ่มตารางการรายงานข้อมูลคุณภาพการให้บริการและการใช้ความสามารถของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT usage capacity) ที่แนบท้ายประกาศนี้เป็นตารางแนบท้ายข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ก5. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดีจิหัส ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 7 ให้ยกเลิกตารางกําหนดเวลาการเปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลที่แนบท้ายข้อ 7/2แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป เว้นแต่ (1) ข้อ 1 และข้อ 6 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป (2) ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
101
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 17)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 17) ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 (1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10/1 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 10/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประสงค์จะจัดให้มีผู้แนะนํารายชื่อลูกค้า (introducing broker agent) ให้ดําเนินการได้เฉพาะการให้บริการเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลเท่านั้นและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดขอบเขตและหน้าที่ของผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าไว้อย่างชัดเจน โดยต้องไม่ปฏิบัติงานซึ่งเป็นธุรกิจหลักของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในเรื่อง ตั้งนี้ (ก) พิจารณาวงเงินการใช้บริการ หรืออนุมัติการเปิดบัญชีเพื่อการใช้บริการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ข) ให้คําแนะนําในการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนโทเคนดิจิทัล (ค) รับคําสั่งซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนโทเคนดิจิทัลจากลูกค้า (ง) รับจัดการหรือเก็บรักษาโทเคนดิจิทัลของลูกค้า (2) จัดให้มีมาตรการในการกํากับดูแล ตรวจสอบ และควบคุมการดําเนินงานของผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าในการทําหน้าที่ตามขอบเขตที่กําหนด รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยความถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทําให้ลูกค้าสําคัญผิด (3) กําหนดและเปิดเผยอัตราและวิธีการคํานวณการจ่ายแค่ตอบแทนให้แก่ผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าไว้อย่างชัดเจน (ถ้ามี)" ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในหมวด 7/1 การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ข้อ 34/1 ข้อ 34/2ข้อ 34/3 และข้อ 34/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมวด 7/1 การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย -------------------- ข้อ 34/1 ในหมวดนี้ “การโฆษณา” หมายความว่า การทําให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการหรือการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัล หรือการให้บริการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยทางข้อความ ภาพ เสียง เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ และไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ “บริษัทในกลุ่ม” หมายความว่า บริษัทที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 25 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น หรือบริษัทที่มีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 25 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่เป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือบริษัทที่มีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของบริษัท (3) บริษัทที่มีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของบริษัทเป็นบุคคลเดียวกันกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (4) บริษัทที่มีผู้ที่มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ที่มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งนี้ ไม่ว่าอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด (5) บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตั้งแต่ร้อยละ 11 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น “บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการ" หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ (1) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 25 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท (2) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทได้ (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท (4) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น “การส่งเสริมการขาย" หมายความว่า การให้ของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใตแก่ลูกค้าเพื่อจูงใจให้ลูกค้าใช้บริการหรือตอบแทนที่ลูกค้าใช้บริการ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนําเสนอ ส่วนที่ 1 การโฆษณา ------------------------ ข้อ 38/2 ความในส่วนนี้ ไม่ใช้บังคับกับการโฆษณาชี้ชวนให้ซื้อโทเคนดิจิทัลโดยการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือขี้ชวน ข้อ 38/3 ในการโฆษณา ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนนี้เว้นแต่เป็นการโฆษณาที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการให้การโฆษณาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (1) การแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุน การให้บริการ หรือภาพรวมของสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภทหรือโดยรวม (2) การให้ความรู้หรือการทําความเข้าใจเพื่อการศึกษา หรือการเผยแพร่การวิเคราะห์การลงทุนที่เป็นการให้ข้อมูลแลผู้ลงทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือทําธุรกรรม ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการเชิญชวนหรือจูงใจให้มีการใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 34/ 4 ในกรณีที่เป็นการโฆษณาคริปโทเคอร์เรนชี ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะดําเนินการโฆษณาได้เฉพาะในช่องทางที่เป็นทางการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเท่านั้น ข้อ 34/5 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (1) การโฆษณาโดยการให้สัมภาษณ์ ให้แจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายหลังการให้สัมภาษณ์แล้วเสร็จ (2) การโฆษณาที่มีใช่การให้สัมภาษณ์ ให้แจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ล่วงหน้า 10 วันก่อนเผยแพร่การโฆษณาตังกล่าว และจะเผยแพรโฆษณานั้นได้ เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. มิได้มีหนังสือทักท้วงเป็นประการอื่นภายในระยะเวลาดังกล่าว การแจ้งและเอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 34/6 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการให้การโฆษณามีความเหมาะสมทั้งในต้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือต่อการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบื่อน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) ไม่เร่งรัดให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (3) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือเป็นการแสดงผลการดําเนินงานในอดีตอย่างเหมาะสมหรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วน ดังนี้ (ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม (ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลิต ตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข (ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ซ) อยู่ในรูปแบบที่ลูกค้าสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด (4) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเหมาะสม และมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการหรือการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (5) หากเป็นการโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหรือจะเสนอขายโทเคนดิจิทัลก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ซวนมีผลใช้บังคับ ข้อมูลที่โฆษณาต้องเป็นข้อมูลที่สมารถดําเนินการได้โดยชอบ และต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงว่าเป็นการโฆษณาในระหว่างที่แบบแสตงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลยังไม่มีผลใช้บังคับ (6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้องมีข้อมูลของสินทรัพย์ดิจิทัลที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเป็นเนื้อหาหลัก และข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสระเป็นส่วนน้อย (8) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการให้ผู้ที่มีบทบาทหลักที่ปรากฏในโฆษณาเปิดเผยข้อมูลดังนี้ ในโฆษณาดังกล่าว โดยต้องสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน และเหมาะสมกับรูปแบบการโฆษณา (ก) ข้อมูลผู้ว่าจ้างในการโฆษณา (ข) ข้อมูลความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องระหว่างผู้ที่มีบทบาทหลักดังกล่าวกับผู้ว่าจ้างในการโฆษณา “ผู้ที่มีบทบาทหลัก" หมายความว่า บุคคลที่ปรากฎในโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลนั้นเองภาพวาด การ์ตูน หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เพื่อสื่อ สะท้อน หรือแสดงแทนบุคคลดังกล่าว โดยมีบทบาท โดดเด่นหรือมีความสําคัญ ซึ่งทําให้การโฆษณามีความสมบูรณ์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาในรูปแบบใด ข้อ 34/7 เพื่อให้การโฆษณาเป็นไปอย่างเหมาะสม ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการตั้งต่อไปนี้เพิ่มเติม (1) ดูแลมิให้บริษัทในกลุ่ม และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ดําเนินการเผยแพร่การโฆษณาในลักษณะที่อาจทําให้ประชาชนสับสน หรือสําคัญผิดว่าเป็นการโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 34/3 ข้อ 34/4 ข้อ 34/6 และข้อ 34/8 ด้วย ทั้งนี้ ผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว ให้หมายความรวมถึงบริษัทในกลุ่ม หรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 34/8 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นต้องอย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอและต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย ส่วนที่ 2 การส่งเสริมการขาย ----------------------- ข้อ 34/9 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดลูกค้าโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน (2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดส่วนที่ 2 (3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ลูกค้าจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดที่มีความชัดจน ง่ายต่อการทําความข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสม และเป็นธรรม (4) มีการแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย" ข้อ 3 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีการเผยแพร่การโฆษณาอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขการโฆษณาดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ ทั้งนี้ ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พิชิต อัคราทิตย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
102
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 27/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 18 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 27/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 18 ) --------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(1) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 10(1) มาตรา 30 และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (11) ในบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัล ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 “(11) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 10/4 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) เมื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าตั้งแต่ 15 ล้านบาท ขึ้นไปเป็นระยะเวลา 5 วันติดต่อกัน ให้นําสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งต้องเก็บไว้ในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย เมื่อทําธุรกรรมเท่านั้นไปฝากไว้กับผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามข้อ 10/5 หรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใน 45 วันนับแต่วันที่มีการเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะดังกล่าว เว้นแต่สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นไม่มี ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศที่มีคุณสมบัติดังกล่าว หรือไม่มีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนําสินทรัพย์ดิจิทัล ดังกล่าวไปเก็บไว้ในระบบที่มีลักษณะตาม (1)” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 10/5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฝากสินทรัพย์ดิจิทัลไว้กับผู้ให้บริการรับฝาก สินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง และผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศดังกล่าว มีการตั้งตัวแทนช่วง ตัวแทนช่วงนั้นต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามวรรคหนึ่ง หรือส่วนที่ 3/1 การเป็น ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล แล้วแต่กรณี ด้วย” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 10/7 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 10/4 วรรคหนึ่ง (2) ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีสัญญาการแต่งตั้งเป็นตัวแทนในการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแทน ข้อกําหนดเกี่ยวกับ ผู้รับผิดชอบในกรณีที่สินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าเกิดความเสียหาย และข้อกําหนดให้ตัวแทนต้องปฏิบัติ หน้าที่ให้เป็นไปตามที่ประกาศนี้กําหนด (2) ฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงาน ของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” ข้อ 5 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้า” และ “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” ก่อนบทนิยามคําว่า “ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล” ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 6 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล” และ “ดํารงเงินกองทุน” ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 “ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็น ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล” ข้อ 7 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3” และ “เงินกองทุนขั้นต้น” ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4” หมายความว่า ตํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในกลุ่ม 4 ของภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องดํารง เงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุน ของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 15 ข้อ 15/1 และข้อ 16 (1) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจ เนื่องจากอยู่ระหว่าง สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบความพร้อมก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ (2) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่หยุดประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทุกประเภทและได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามข้อ 7/3 แล้ว ข้อ 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 15/1 ให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ผู้ให้บริการรับฝาก สินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจประเภทอื่น ได้แก่ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนตามประกาศใดประกาศหนึ่ง ดังนี้ด้วย (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารง เงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็น ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อนี้ มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ท้ายประกาศ ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (1) การคํานวณและจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) การคํานวณเงินกองทุนสําหรับบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าตามข้อ 15/1 วรรคสอง ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในตอนที่ 4 การดําเนินการกรณีที่สามารถกลับมาดํารง เงินกองทุนได้ ของส่วนที่ 2 การดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุน ในหมวด 3 การดํารง เงินกองทุน และการดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุน ข้อ 16/9 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ตอนที่ 4 การดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ----------------------------- ข้อ 16/9 ให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุน โดยวิธี NC-4 และไม่สามารถดํารงเงินกองทุนดังกล่าว ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในภาคผนวก 2 การดําเนินการกรณีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถ ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ท้ายประกาศนี้ ข้อ 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นตอนที่ 5 การดําเนินการกรณีที่สามารถกลับมาดํารง เงินกองทุนได้ ของส่วนที่ 2 การดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุน ในหมวด 3 การดํารงเงินกองทุน และการดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุน ข้อ 16/10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ตอนที่ 5 การดําเนินการกรณีที่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ ----------------------------- ข้อ 16/10 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ระงับการประกอบธุรกิจและ สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามข้อ 16/1 ข้อ 16/4 ข้อ 16/8 และข้อ 16/9 ยื่นคําขออนุญาต กลับมาประกอบธุรกิจต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของ สํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคําขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 14 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 3/1 การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 49/1 ถึงข้อ 49/6 ของหมวด 8 ข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ แห่งประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ส่วนที่ 3/1 การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ------------------------------ ข้อ 49/1 ในส่วนนี้ ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจ การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล “การให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า การให้บริการลักษณะใด ลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) การรับฝากหรือเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ (2) การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส (cryptographic key) หรือสิ่งอื่นใดที่ต้อง เก็บรักษาเป็นความลับ เพื่อใช้อนุมัติการโอนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีอํานาจ เบ็ดเสร็จหรือบางส่วน “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า (1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝาก สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหุ้นส่วน (2) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝาก สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดหรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิด ที่มีหุ้นรวมกันเป็นร้อยละ 10 ของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (3) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการ รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือห้างหุ้นส่วนตาม (1) หรือ (2) ถือหุ้นรวมกันเป็นร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้น ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (4) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการ รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือห้างหุ้นส่วนตาม (1) หรือ (2) หรือบริษัทตาม (3) ถือหุ้นรวมกันเป็นร้อยละ 30 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (5) นิติบุคคลที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคล ผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ ดิจิทัลสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ข้อ 49/2 ในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงวิธีปฏิบัติของลูกค้าในการฝากหรือถอน สินทรัพย์ดิจิทัลกับหรือจากผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล วิธีการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ ดิจิทัลในการดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล ของลูกค้า (ถ้ามี) ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ลูกค้าทราบโดยไม่ชักช้า (2) จัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้า ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ สัญญา หรือข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่มีข้อกําหนดในลักษณะที่เป็นการปฏิเสธหรือจํากัดความรับผิดชอบ ต่อสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า และกรณีสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าสูญหายหรือเสียหายอันเนื่องมาจาก การละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการรับฝาก สินทรัพย์ดิจิทัลรับผิดชอบในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าอย่างเต็มจํานวน ข้อ 49/3 ห้ามมิให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลกระทําการใดอันมีผลเป็น การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิของลูกค้าในสินทรัพย์ดิจิทัล เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตาม กฎหมาย คําสั่งศาล หรือคําสั่งของหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ข้อ 49/4 ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้า สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ในการให้บริการ รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลได้ภายในเวลาอันสมควร ข้อ 49/5 ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีระบบงานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ระบบการแยกสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าแต่ละราย รวมทั้งแยกสินทรัพย์ดิจิทัล ของลูกค้าออกจากสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (2) ระบบการจัดทําทะเบียนการรับฝากและเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า โดยต้องแสดงรายการและจํานวนสินทรัพย์ดิจิทัล ตลอดจนบันทึกรายการรับหรือจ่ายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (3) ระบบที่สามารถรองรับการกําหนดเงื่อนไขในการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลเกี่ยวกับ ขนาดธุรกรรมหรือการจํากัดปริมาณธุรกรรม ณ ช่วงเวลาใด ได้ตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 49/6 ห้ามมิให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล แก่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นผู้ถือหุ้นในผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ตนให้บริการเกินร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น โดยนับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย (2) ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลมีผู้ถือหุ้นเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ตนให้บริการเกินร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ใน การพิจารณาผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว ให้นําบทนิยามคําว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง”ตามข้อ 49/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (3) ผู้ถือหุ้นของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ถือหุ้นของ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนให้บริการ ตั้งแต่ร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (4) กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของ ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของผู้ให้บริการ รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนให้บริการ (5) มีความเกี่ยวข้องในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะที่อาจทําให้ ขาดความเป็นอิสระ ในกรณีที่จะต้องมีการวินิจฉัยความเกี่ยวข้องในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ในลักษณะที่อาจทําให้ขาดความเป็นอิสระตามวรรคหนึ่ง (5) ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาโดยเร็ว” ข้อ 15 ให้ยกเลิกตารางท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ตารางโครงสร้างข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลท้ายประกาศนี้ เป็นตารางท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 แทน ข้อ 16 ให้ยกเลิกภาคผนวกการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และ ให้ใช้ภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ เป็นภาคผนวก 1 การดํารง เงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 แทน ข้อ 17 ให้เพิ่มภาคผนวก 2 การดําเนินการกรณีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ท้ายประกาศนี้ เป็นภาคผนวก 2 การดําเนินการกรณี ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ท้ายประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 18 ให้แก้ไขคําว่า “ภาคผนวกการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัลท้ายประกาศนี้” ในบทนิยามคําว่า “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1” “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-2 “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3” “เงินกองทุนขั้นต้น” “เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิด จากการปฏิบัติงาน” และ “เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจ” ของข้อ 12 และในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นคําว่า “ภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้” ข้อ 19 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 20 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
103
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 34/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 19 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 34/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 19 ) ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) มาตรา 30 และมาตรา 31 วรรคหนึ่งแห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (6) ในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(ค) ในกรณีที่เป็นการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ต้องคํานึงถึงความเสี่ยงจากการสูญหาย การทุจริต และการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อ 10/4 และต้องมีระบบการบริหารจัดการกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใช้ในการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล (wallet management) และกุญแจ (key management) ที่มีประสิทธิภาพ คําว่า "กุญแจ" ตามวรรคหนึ่ง ง หมายความว่า กุญแจเข้ารหัส (cryptographic key)หรือสิ่งอื่นใดที่ต้องเก็บรักษาเป็นความลับ เพื่อใช้อนุมัติการโอนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัล" ข้อ 2 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ดําเนินการตามข้อ 9(6) (ค) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้แต่ต้องไม่เกินกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
104
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 17/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 7/2 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 7/1 ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามกําหนดเวลาในตารางกําหนดเวลาการเปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลที่แนบท้ายประกาศนี้” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
105
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) มาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล”( หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล (9) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซี (10) การเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล (11)(( การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ 3 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวทางเดียวกันทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจกําหนดตามประเภทธุรกิจหรือประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลก็ได้ (2) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้และหากผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ (3) เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลกระทําการที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลขอความเห็นชอบการดําเนินการใดตามประกาศนี้ก่อนการดําเนินการนั้นก็ได้ (4) เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถติดตามการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมได้ โดยต้องไม่เป็นภาระต่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจนเกินสมควร ทั้งนี้ ระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดให้เป็นไปตามกรอบดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนและมีผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือลูกค้าอย่างมีนัยสําคัญ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดให้ดําเนินการภายในวันทําการที่เกิดกรณีดังกล่าวได้ (ข) ในกรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้กําหนดระยะเวลาอย่างสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์ เรื่อง และประเด็นที่เกี่ยวข้อง หมวด 1 บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเกี่ยวกับ ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากการให้บริการ ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการตัดหรือจํากัดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเมื่อมีความเสียหาย เกิดขึ้นกับลูกค้า อันเนื่องจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคลากร ไม่ได้ดําเนินธุรกิจหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของประกาศนี้ ข้อ 5( ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดส่งงบการเงินที่จัดทําขึ้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และให้ประกาศงบการเงินดังกล่าวบนเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในระยะเวลาดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต.จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น งบการเงินประจํารอบปีบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ การจัดทําบัญชีให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยสถาบันวิชาชีพที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ 5/1( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประสงค์จะลดทุนจดทะเบียนซึ่งรวมถึงการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมหรือส่วนต่ํากว่ามูลค่าหุ้น ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี (1) กรณีลดทุนจดทะเบียนที่มิใช่ตาม (2) ให้แจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยยื่นสําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการลดทุน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอสําหรับการรองรับการประกอบธุรกิจและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทลงมติดังกล่าว ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นว่าการลดทุนจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งทําให้แหล่งเงินทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เพียงพอสําหรับการรองรับการประกอบธุรกิจและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลชี้แจงหรือแก้ไขการดําเนินการให้ถูกต้องภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับสําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน (2) กรณีลดทุนจดทะเบียนที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ ให้แจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต.โดยยื่นสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ลดทุนภายใน 15 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติดังกล่าว (ก) ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของผู้ถือหุ้น (ข) ไม่ทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินเปลี่ยนแปลงไป (ค) ไม่ขัดต่อบทบัญญัติตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง การยื่นเอกสารหลักฐานหรือการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามเอกสารหลักฐาน ขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 6( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประสงค์จะประกอบกิจการอื่นนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะดําเนินการได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการประกอบกิจการที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) เป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เป็นประโยชน์ หรือสนับสนุนการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ข) ไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เว้นแต่จะแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ค) เป็นกิจการที่ไม่มีความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของลูกค้า ฐานะของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือเป็นกิจการที่อาจมีความเสี่ยงดังกล่าว แต่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถจัดให้มีระบบในการควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเพียงพอ (2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะดําเนินการได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นรายกรณี ข้อ 7( ยกเลิก ข้อ 7/1(( เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถติดตามสภาพตลาดและความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลและการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ทันต่อเหตุการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกํากับดูแลและควบคุมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล การชําระราคาซื้อขายและส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัล การป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล การทุจริต หลอกลวง หรือฉ้อโกงเกี่ยวกับทรัพย์สินของนิติบุคคลตามกฎหมาย รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลตามตารางแนบท้ายประกาศนี้ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้มีรายละเอียดของรูปแบบ วิธีการ และระยะเวลา ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ((เพื่อประโยชน์ในการให้ลูกค้ามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี ศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล นายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี นายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี และผู้ค้าโทเคนดิจิทัล เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้ลูกค้าทราบด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 7/2(( (ยกเลิก) ข้อ 7/3( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประสงค์จะหยุดประกอบธุรกิจเป็นการชั่วคราว ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะดําเนินการได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ในการพิจารณาอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงาน ก.ล.ต. อนุญาตเมื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแสดงได้ว่ามีการเตรียมความพร้อมเพื่อคืนทรัพย์สินให้แก่ลูกค้า หรือเก็บรักษาไว้ในระบบที่มั่นคงปลอดภัยและไม่ได้รับผลกระทบในระหว่างการหยุดประกอบธุรกิจดังกล่าว ในการพิจารณาอนุญาตให้หยุดประกอบธุรกิจ หากเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวหยุดประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท ให้สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย (1) ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรายงานจํานวนทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรักษาไว้ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบเป็นรายวัน และให้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามข้อ 7/1 ในระหว่างการหยุดประกอบธุรกิจ (2) ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลกลับมาประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตประเภทใดประเภทหนึ่งภายใน 180 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. อนุญาตให้หยุดประกอบธุรกิจทุกประเภท ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การหยุดประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามประกาศนี้ อาจเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 34 ได้ หมวด 1/1( การประกอบธุรกิจในฐานะผู้มีวิชาชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7/4 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ (1) ประกอบธุรกิจและให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และใช้ความรู้ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา (2) ให้บริการอย่างมีคุณภาพ และปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันโดยคํานึงถึงประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขของลูกค้า (3) ไม่กระทําการใดที่จะเป็นผลให้ลูกค้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจํากัดหรือหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่ลูกค้าแจ้งว่ามีข้อจํากัดหรือมีหน้าที่ตามกฎหมายนั้น (4) ไม่รับหรือให้ค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าในรูปเงิน สิ่งของ หรือบริการยิ่งกว่าค่าตอบแทนหรือประโยชน์ปกติที่พึงได้รับหรือให้เนื่องจากการประกอบธุรกิจ หมวด 2 โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากร ที่เหมาะสมและเพียงพอให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาความเหมาะสมและเพียงพอตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงลักษณะ ขนาดปริมาณ ความซับซ้อน และความหลากหลาย ของธุรกิจและบริการ ตลอดจนระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับธุรกิจและบริการดังกล่าวด้วย (ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบงานที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญดังต่อไปนี้ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรายงานการเปลี่ยนแปลงระบบงานดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต.โดยไม่ชักช้า (1) ระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และระบบชําระราคาและส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัล (2) ระบบการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งรวมถึงระบบรับฝากและถอนทรัพย์สินทั้งที่เป็นเงินและสินทรัพย์ดิจิทัล (3) ระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทํางานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (4) ระบบงานที่รองรับการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า ข้อ 9 ภายใต้บังคับข้อ 37 และข้อ 42 โครงสร้างการบริหารจัดการและระบบงานตามข้อ 8 ต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดโครงสร้างองค์กร บทบาท อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการดําเนินงานของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรที่ชัดเจน (2) ระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องมีความเหมาะสม น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ (3) ระบบตรวจสอบและควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ โดยต้องคํานึงถึงเรื่อง ดังนี้ (ก) การรักษาความลับ (ข) การรับและจัดการข้อร้องเรียน (ค) การป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริหาร หรือพนักงานของผู้ประกอบธุรกิจ แสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (4) การบริหารและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทุกด้านอย่างรัดกุม โดยต้อง มีมาตรการอย่างเพียงพอที่จะป้องกันและจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ (5) ระบบงานและมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (6) ระบบการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดย (ก) ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าอยู่ภายใต้การดูแลรักษาหรือจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องจัดทําบัญชีของลูกค้าแยกแต่ละราย ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน และเก็บรักษาทรัพย์สิน ในระบบที่มีความมั่นคง ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และต้องมีแผนการจัดการทรัพย์สินของลูกค้าที่เหมาะสม (ข) จัดให้มีการจ่ายผลตอบแทนจากการถือสินทรัพย์ดิจิทัลกับลูกค้าอย่างเป็นธรรมโดยต้องเปิดเผยเงื่อนไขและวิธีการให้ลูกค้าทราบ (ค)(( ในกรณีที่เป็นการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ต้องคํานึงถึงความเสี่ยงจากการสูญหาย การทุจริต และการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อ 10/4และต้องมีระบบการบริหารจัดการกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใช้ในการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล(wallet management) และกุญแจ (key management) ที่มีประสิทธิภาพ คําว่า “กุญแจ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า กุญแจเข้ารหัส (cryptographic key) หรือสิ่งอื่นใดที่ต้องเก็บรักษาเป็นความลับ เพื่อใช้อนุมัติการโอนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัล (7) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบงานและข้อมูล (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity) และความพร้อมใช้ของระบบงาน (availability) โดยคํานึงถึงความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT risk) และความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber risk) (8) ระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ และปลอดภัย โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อ 11 (9) ระบบงานในการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (proprietary trading) ซึ่งเหมาะสมและเพียงพอที่สามารถป้องกันมิให้มีการลงทุน (ก) ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) เป็นผลให้การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลผิดไปจากสภาพปกติของตลาด (ค) มีลักษณะเป็นการลงทุนที่ไม่เหมาะสมในฐานะผู้มีวิชาชีพ (ง) ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ลูกค้าหรือความไม่เป็นธรรมกับลูกค้า (10)( ระบบงานในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล(compliance) ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (11) ระบบงานเพิ่มเติมสําหรับการให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะ ข้อ 10 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีบุคลากรในจํานวนที่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ อย่างเหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย ข้อ 10/1(( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประสงค์จะจัดให้มีผู้แนะนํารายชื่อลูกค้า (introducing broker agent) ให้ดําเนินการได้เฉพาะการให้บริการเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลเท่านั้นและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดขอบเขตและหน้าที่ของผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าไว้อย่างชัดเจน โดยต้องไม่ปฏิบัติงานซึ่งเป็นธุรกิจหลักของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในเรื่องดังนี้ (ก) พิจารณาวงเงินการใช้บริการ หรืออนุมัติการเปิดบัญชีเพื่อการใช้บริการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ข) ให้คําแนะนําในการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนโทเคนดิจิทัล (ค) รับคําสั่งซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนโทเคนดิจิทัลจากลูกค้า (ง) รับจัดการหรือเก็บรักษาโทเคนดิจิทัลของลูกค้า (2) จัดให้มีมาตรการในการกํากับดูแล ตรวจสอบ และควบคุมการดําเนินงานของผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าในการทําหน้าที่ตามขอบเขตที่กําหนด รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ด้วยความถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทําให้ลูกค้าสําคัญผิด (3) กําหนดและเปิดเผยอัตราและวิธีการคํานวณการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าไว้อย่างชัดเจน (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามข้อนี้ ให้คําว่า “ผู้แนะนํารายชื่อลูกค้า” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่แนะนํารายชื่อลูกค้าให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการใช้บริการอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือทําหน้าที่ติดต่อชักชวนให้ลูกค้ามาใช้บริการอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนสําหรับการแนะนํารายชื่อลูกค้าหรือการติดต่อชักชวนลูกค้านั้นหรือไม่ ข้อ 10/2( ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่แต่งตั้งผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าตามข้อ 10/1 มีหน้าที่รายงานการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนํารายชื่อลูกค้าให้แก่สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบเป็นรายไตรมาส ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ 10/3(( ในการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลกรณีที่เป็นทรัพย์สินประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลหรือทรัพย์สินอื่นนอกจากเงิน ต้องแยกทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเก็บรักษาโดยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือนําไปฝากไว้กับบุคคลอื่น ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง เป็นทรัพย์สินเพื่อการทําธุรกรรมเกี่ยวกับ สินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแยกทรัพย์สินดังกล่าวในลักษณะ ตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการนําสินทรัพย์ดิจิทัล ของลูกค้าไปฝากไว้กับบุคคลอื่น และเปิดเผยความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการฝากดังกล่าวให้ลูกค้าทราบ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากการสูญหายหรือ เสียหายจากการฝากสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว ข้อ 10/4( ในการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเก็บไว้ในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทําธุรกรรมเท่านั้น (cold wallet) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าทั้งหมดที่เก็บรักษาไว้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทําธุรกรรมเท่านั้นที่กําหนดให้การโอนสินทรัพย์ดิจิทัลกระทําโดยบุคคลที่ได้รับมอบหมายร่วมกันยืนยันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทั้งนี้ บุคคลที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวต้องไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือบุตรบุญธรรม (ข) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (ค) คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา หรือคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) (2)(( เมื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าตั้งแต่ 15 ล้านบาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 5 วันติดต่อกัน ให้นําสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งต้องเก็บไว้ในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทําธุรกรรมเท่านั้นไปฝากไว้กับผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามข้อ 10/5 หรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใน 45 วันนับแต่วันที่มีการเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะดังกล่าว เว้นแต่สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นไม่มีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศที่มีคุณสมบัติดังกล่าว หรือไม่มีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนําสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวไปเก็บไว้ในระบบที่มีลักษณะตาม (1) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประสงค์จะนําสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งมีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง (2) บางส่วนไปเก็บไว้ในระบบที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง (1) ให้สามารถกระทําได้ทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมดของลูกค้า ข้อ 10/5( ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 10/4 วรรคหนึ่ง (2) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศที่ผู้ให้บริการนั้นมีสถานประกอบการตั้งอยู่ (2) มีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ความพร้อม และได้รับการยอมรับในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (3) มีระบบงานและมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (4) มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) ที่มีประสิทธิภาพ (5) มีการแยกสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ใช้บริการแต่ละรายออกจากสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (5/1)(( มีมาตรการที่แสดงได้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ใช้บริการฝากไว้จะไม่ถูกนําไปใช้หรือหาดอกผลไม่ว่าโดยวิธีใด (6) มีระบบถ่วงดุลหรือมาตรการควบคุมการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยอย่างน้อยต้องกําหนดให้การโอนสินทรัพย์ดิจิทัลกระทําโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันยืนยันการทําธุรกรรม โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามข้อ 10/4 วรรคหนึ่ง (1) รวมทั้งมีการเก็บหรือขอหลักฐานเพื่อยืนยันการทําธุรกรรมจากผู้สั่งการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล เมื่อเป็นการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีปริมาณมากอย่างมีนัยสําคัญ (7) มีระบบที่สามารถรองรับการกําหนดเงื่อนไขในการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลเกี่ยวกับขนาดธุรกรรมหรือการจํากัดปริมาณธุรกรรม ณ ช่วงเวลาใด ได้ตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการ (8) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน (9) ไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าขาดการกํากับดูแลกิจการที่ดี (10) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากรรมการหรือผู้บริหารมีประวัติการถูกลงโทษหรือถูกดําเนินการ หรืออยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินการในลักษณะที่เป็นการหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน ((ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฝากสินทรัพย์ดิจิทัลไว้กับผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง และผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศดังกล่าวมีการตั้งตัวแทนช่วง ตัวแทนช่วงนั้นต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามวรรคหนึ่ง หรือส่วนที่ 3/1 การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล แล้วแต่กรณี ด้วย ข้อ 10/6(( ในการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลกรณีที่เป็นทรัพย์สินประเภทเงิน ให้ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากว่าเป็นการดําเนินการโดยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อประโยชน์ของลูกค้า ในกรณีที่ใช้ระบบอัตโนมัติสําหรับการถอนหรือโอนเงินในบัญชีที่เปิดไว้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องควบคุมดูแลไม่ให้เกิดการแทรกแซงหรือการสั่งถอนหรือโอนเงินโดยบุคคลอื่นนอกจากลูกค้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการถอนหรือโอนเงินจากระบบนั้นเป็นไปตามคําสั่งของลูกค้า ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่มีระบบอัตโนมัติสําหรับการถอนหรือโอนเงิน หรือไม่ใช้ระบบอัตโนมัติสําหรับธุรกรรมใดในบัญชีที่เปิดไว้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดบุคคลผู้มีอํานาจอนุมัติหรือลงนามในการถอนหรือโอนเงินในบัญชีที่เปิดไว้ โดยคํานึงถึงวงเงินในแต่ละระดับ ให้มีระบบตรวจสอบถ่วงดุลที่เหมาะสมและต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าลูกค้าได้แสดงความประสงค์ในการถอนหรือโอนเงินนั้นก่อนดําเนินการ (2) มอบหมายบุคคลผู้มีอํานาจอนุมัติหรือลงนามในการถอนหรือโอนเงินดังนี้โดยในการมอบหมายต้องมีข้อกําหนดให้บุคคลผู้มีอํานาจดังกล่าวทําการตรวจสอบก่อนดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความประสงค์ของลูกค้าในการถอนหรือโอนเงินนั้น (ก) อย่างน้อย 2 คนร่วมกันอนุมัติหรือลงนามในกรณีที่เป็นการถอนหรือโอนเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 50 ล้านบาท (ข) อย่างน้อย 2 คนร่วมกันอนุมัติหรือลงนาม และมีผู้ตรวจสอบก่อนการทํารายการถอนหรือโอนเงินอย่างน้อย 1 คน ในกรณีที่เป็นการถอนหรือโอนเงินตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยผู้ตรวจสอบรายการดังกล่าวต้องสามารถทําหน้าที่ได้โดยอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน เป็นต้น (3) ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตาม (2) เช่นการถอนหรือโอนเงินหลายครั้งในเวลาไล่เลี่ยกันเพื่อให้การถอนหรือโอนเงินนั้นมีจํานวนเงินที่ไม่ต้องอนุมัติ ลงนาม หรือตรวจสอบ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด เป็นต้น ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการตาม (2) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี และตรวจสอบข้อมูลรายการที่มีเหตุสงสัยทุกรายการ ในกรณีที่มีการกําหนดผู้มีอํานาจอนุมัติหรือลงนามในการถอนหรือโอนเงินตั้งแต่2 คนขึ้นไป บุคคลดังกล่าวต้องไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามข้อ 10/4 วรรคหนึ่ง (1) (ก) (ข) และ (ค) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าการทํารายการถอนหรือโอนเงินในบัญชีที่เปิดไว้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าผ่านการอนุมัติ ลงนาม หรือตรวจสอบ ตามวรรคสาม ไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีการทําธุรกรรม ทั้งนี้ ในระยะเวลา 2 ปีแรกต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง เป็นเงินเพื่อการทําธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฝากเงินดังกล่าวในลักษณะตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม ข้อ 10/7(( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 10/4วรรคหนึ่ง (2) ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีสัญญาการแต่งตั้งเป็นตัวแทนในการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าโดยสัญญาดังกล่าวต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแทน ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในกรณีที่สินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าเกิดความเสียหาย และข้อกําหนดให้ตัวแทนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่ประกาศนี้กําหนด (2) ฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 11 ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการจัดการและจัดเก็บที่รัดกุม เป็นระเบียบ และพร้อมนําข้อมูล มาใช้งานหรือตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาอันสมควร (2) ระบบตาม (1) ต้องสามารถป้องกัน (ก) การแก้ไข การสูญหาย หรือการถูกทําลาย อย่างไม่เหมาะสม (ข) การใช้หรือการเข้าถึงข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือขัดกับกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า หรือข้อมูลที่ไม่เปิดเผยหรือยังไม่ได้เปิดเผยเป็นการทั่วไป (3) จัดให้มีบุคลากรทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบการเก็บรักษาข้อมูล เพื่อให้การจัดการและจัดเก็บข้อมูลเป็นไปตามระบบใน (1) และสามารถป้องกันกรณีตาม (2) ได้ (4) จัดเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ข้อ 11/1( ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานระบบสารสนเทศร่วมกันบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้งาน (cloud computing) ดังต่อไปนี้ ให้แก่สํานักงาน ก.ล.ต. ภายในระยะเวลาที่กําหนด โดยให้จัดส่งข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้ (readable format) ทั้งนี้ เมื่อได้รับการร้องขอจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นครั้งคราว (1) ข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ให้บริการระบบสารสนเทศร่วมกันบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้งาน (cloud computing provider) (2) ข้อมูลการเข้าใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (3) ข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บไว้หรือประมวลผลโดยผู้ให้บริการตาม (1) ข้อ 11/2(( ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องคัดกรองสินทรัพย์ดิจิทัลที่นํามาให้บริการแก่ลูกค้า โดยสินทรัพย์ดิจิทัลที่นํามาให้บริการต้องไม่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (2) เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการปกปิดข้อมูลการทําธุรกรรม (privacy coin) โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) สินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นโดยปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอน และปริมาณการโอน (ข) สินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นโดยกําหนดสิทธิให้กับผู้ถือสามารถควบคุมการปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอน หรือปริมาณการโอนได้ (ค) สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะอื่นใดตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ 11/3(( ในการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ไม่นําทรัพย์สินของลูกค้ารายหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของลูกค้ารายอื่นหรือบุคคลอื่นใดนอกจากลูกค้ารายนั้น (2)(( ไม่นําทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลไปหาดอกผลให้ลูกค้าซึ่งรวมถึงการนําสินทรัพย์ดิจิทัลไปฝากและผู้รับฝากมีการนําสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นไปให้บุคคลอื่นยืม เว้นแต่เป็นการนําทรัพย์สินของลูกค้าไปลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลโดยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 46 หรือเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) การเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการยืนยันธุรกรรม (consensus mechanism) โดยมีการให้ดอกผลจากการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นผู้พัฒนาบล็อกเชน (blockchain) นั้น (ข) การให้ดอกผลซึ่งมาจากกระบวนการปรับปรุงบล็อกเชน (hard fork หรือ soft fork) หรือจากการแจกสินทรัพย์ดิจิทัล (airdrop) ของผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว (2/1)(( ในการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องไม่เสนอว่าจะให้หรือให้ดอกผลจากการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) การเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการยืนยันธุรกรรม (consensus mechanism) โดยมีการให้ดอกผลจากการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นผู้พัฒนาบล็อกเชน (blockchain) นั้น (ข) การให้ดอกผลซึ่งมาจากกระบวนการปรับปรุงบล็อกเชน (hard fork หรือsoft fork) หรือจากการแจกสินทรัพย์ดิจิทัล (airdrop) ของผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว (ค) การให้ดอกผลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการส่งเสริมการขายตามข้อ 34/9 (3) ในการนําทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นเงินไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามข้อ 10/6 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอาจตกลงกับลูกค้าเพื่อกําหนดอัตราดอกผลที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะคํานวณให้แก่ลูกค้าสําหรับยอดเงินจํานวนที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีหน้าที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้ อัตราดอกผลดังกล่าวต้องไม่เกินอัตราที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับจริงจากธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (4) มีการสอบทานทรัพย์สินลูกค้าระหว่างบัญชีที่จัดทําขึ้นกับทรัพย์สินที่เก็บไว้เพื่อความถูกต้องและเป็นปัจจุบันทุกวันทําการ ข้อ 11/4(( นอกจากผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องไม่นําทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลไปหาดอกผลให้ลูกค้า และต้องไม่เสนอว่าจะให้หรือให้ดอกผลจากการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 11/3(2) และ (2/1) แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมบริการของบุคคลอื่นที่มีการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลโดยนําสินทรัพย์ดิจิทัลไปหาดอกผลหรือมีการเสนอว่าจะให้หรือให้ดอกผลจากการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีการดําเนินการให้ข้อเท็จจริงหรือความรู้เกี่ยวกับการใช้งานบนระบบบริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์ (decentralized finance) โดยไม่มีการเชิญชวนหรือจูงใจ ให้ลูกค้าใช้บริการดังกล่าว ไม่ถือเป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมการให้บริการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลโดยบุคคลอื่นตามวรรคหนึ่ง หมวด 3( การดํารงเงินกองทุน และการดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 12 ในหมวดนี้และภาคผนวกท้ายประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์”(( หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”(( หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์”(( หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล “นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล “ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล “ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล “ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล “ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล”(( หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็น ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล “ดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพ แล้วแต่กรณี “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1”(( หมายความว่า ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกลุ่ม 1 ของภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-2”(( หมายความว่า ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกลุ่ม 2 ของภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3”(( หมายความว่า ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกลุ่ม 3 ของภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ “ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4”(( หมายความว่า ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกลุ่ม 4 ของภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ “เงินกองทุนขั้นต้น”(( หมายความว่า เงินกองทุนขั้นต้นตามที่กําหนดในกลุ่ม 2ของภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ “เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน”(( หมายความว่า เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงานตามที่กําหนดในกลุ่ม 2 ของภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ “เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจ”(( หมายความว่า เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจตามที่กําหนดในกลุ่ม 2 ของภาคผนวก 1การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ “เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก” หมายความว่า ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) เงินฝาก บัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือตราสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับเงินฝาก (2) ข้อตกลงที่เป็นไปตามหลักชะรีอะฮ์ (Shariah) และมีลักษณะที่เทียบเคียงได้กับเงินฝาก โดยคู่สัญญาที่เทียบเคียงได้กับผู้ฝากสามารถเรียกคืนเงินต้นจากคู่สัญญาฝ่ายที่เทียบเคียงได้กับผู้รับฝากได้เต็มจํานวน ณ เวลาใด ๆ (3) สลากออมทรัพย์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (4) สลากออมสินพิเศษที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน ข้อ 13 ความในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (3)(( บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (4) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่มิได้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น และมีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนตามประกาศใดประกาศหนึ่งดังนี้ (ก) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ข) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 14(( ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 15 ข้อ 15/1 และข้อ 16 (1) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจ เนื่องจากอยู่ระหว่างสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบความพร้อมก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ (2) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่หยุดประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทและได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามข้อ 7/3 แล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจเรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่งส่งเอกสารหรือรายงานที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความสามารถในการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในระยะเวลาดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร ส่วนที่ 1 การดํารงเงินกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 15 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1 เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองซึ่งมีลักษณะดังนี้ ให้ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-2 (ก) ไม่มีการประกอบธุรกิจอื่น หรือหากมีการประกอบธุรกิจอื่นต้องไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (ข) เป็นนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้ง ทั้งนี้ หากมีการประกอบธุรกิจอื่นต้องไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (2) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น และไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองไม่ว่าจะเกิดจากการประกอบธุรกิจประเภทใดให้ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3 (3) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง และมีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ร่วมด้วยให้ดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1 และดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3 ด้วย (ก) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้ง (ข) ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง แต่ไม่รวมถึงผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ((ในการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการโดยครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ ข้อ 15/1(( ให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจประเภทอื่น ได้แก่ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งมีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนตามประกาศใดประกาศหนึ่งดังนี้ด้วย (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อนี้ มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในภาคผนวก 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้ ข้อ 16(( ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (1) การคํานวณและจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) การคํานวณเงินกองทุนสําหรับบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 15/1 วรรคสอง ส่วนที่ 2 การดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตอนที่ 1 การดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16/1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-1และไม่สามารถดํารงเงินกองทุนดังกล่าว ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ระงับการประกอบธุรกิจทุกประเภทจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ และได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ดําเนินธุรกิจได้ตามปกติ (2) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการระงับการดําเนินธุรกิจทุกประเภทโดยไม่ชักช้า (3) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ ตอนที่ 2 การดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-2 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16/2 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-2 และไม่สามารถดํารงเงินกองทุนในส่วนที่เป็นเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือแจ้งการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนพร้อมด้วยสาเหตุ โดยยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการถัดจากวันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (2) จัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถแก้ไขจนสามารถดํารงเงินกองทุนได้ ให้จัดส่งรายงานการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่สามารถแก้ไขเงินกองทุนได้แทนการจัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขนั้น ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอาจขอผ่อนผันระยะเวลาในการจัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้ ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน (3) ดําเนินการตามแผนหรือแนวทางดังกล่าวเพื่อให้สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้โดยเร็ว และต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดในแผนหรือแนวทางนั้นซึ่งต้องไม่เกินกว่า 30 วันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (4) มีหนังสือแจ้งผลการดําเนินการให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ (5) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ภายในระยะเวลาตาม (3) ให้ดําเนินการตามข้อ 16/4 โดยอนุโลม ข้อ 16/3 ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน หรืออยู่ในระหว่างดําเนินการตามข้อ 16/2(3)ห้ามมิให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ (1) ให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ (2) ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มเติม เว้นแต่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินดังนี้ (ก) เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก (ข) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่ไม่มีการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศ โดยต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเท่านั้น (ค) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (3) ในกรณีเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ห้ามรับจัดการเงินทุนของลูกค้าเพิ่มเติม ข้อ 16/4 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนขั้นต้นหรือเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจ หรือไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน ตามระยะเวลาที่กําหนดในแผนหรือแนวทางตามข้อ 16/2(3) หรือระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 16/5 หรือไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่นที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจนเป็นเหตุให้ต้องระงับการประกอบธุรกิจ ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ระงับการประกอบธุรกิจในประเภทที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนหรือฐานะทางการเงินดังกล่าวได้ และได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต.ให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามความจําเป็นและสมควรเพื่อป้องกันมิให้มูลค่าทรัพย์สินซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารจัดการได้รับความเสียหาย หรือการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ของลูกค้าในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ลงทุน (2) แจ้งการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนหรือฐานะทางการเงิน พร้อมด้วยสาเหตุและการระงับการประกอบธุรกิจตาม (1) เป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่สํานักงาน ก.ล.ต. และลูกค้า ภายในวันทําการถัดจากวันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (3) ในกรณีเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ติดต่อลูกค้าโดยเร็วเพื่อสอบถามความประสงค์ของลูกค้าว่าจะให้จัดการทรัพย์สินของลูกค้าอย่างไร ระหว่างวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ทั้งนี้ หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดําเนินการ ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว (ก) เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเพื่อให้ลูกค้ามีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นโดยตรง (ข) ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายเดิมดําเนินการเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายอื่นเข้าจัดการทรัพย์สินได้ ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายเดิมไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้ให้ดําเนินการตาม (3) วรรคหนึ่ง (ก) ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายเดิมดําเนินการจัดการทรัพย์สินของลูกค้าตามวิธีการใน (3) วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ให้ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรายเดิมแจ้งการดําเนินการตาม (3) วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม เป็นลายลักษณ์อักษรต่อลูกค้าโดยไม่ชักช้า (4) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ ข้อ 16/5 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถขอผ่อนผันระยะเวลาในการดําเนินการตามข้อ 16/2(3) ได้ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชนโดยต้องยื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วันก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ โดยให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาผ่อนผันได้เมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร ตอนที่ 3 การดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16/6 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-3และไม่สามารถดํารงเงินกองทุนดังกล่าว ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือแจ้งการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนพร้อมด้วยสาเหตุ โดยยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (2) จัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสํานักงาน ก.ล.ต.ภายใน 10 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถแก้ไขเงินกองทุนได้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ (3) ดําเนินการตามแผนหรือแนวทางการแก้ไขที่ได้แจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตาม (2) เพื่อให้สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวจากสํานักงาน ก.ล.ต. เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน (4) มีหนังสือแจ้งผลการดําเนินการให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามแผนหรือแนวทางแก้ไขที่ได้แจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตาม (2) ข้อ 16/7 ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนหรืออยู่ในระหว่างดําเนินการตามข้อ 16/6(3) ห้ามมิให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ (1) ให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ (2) ขยายระยะเวลาการให้บริการแก่ลูกค้ารายเดิมของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (3) กระทําการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงิน การดําเนินงานหรือการปฏิบัติตามข้อตกลงกับลูกค้า ทั้งนี้ ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ 16/8 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ภายในระยะเวลาตามข้อ 16/6(3) หรือไม่มีเงินกองทุนติดต่อกันเกินกว่า 5 วันทําการ ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ระงับการประกอบธุรกิจในประเภทที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ และได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ (2) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการระงับการประกอบธุรกิจตาม (1)โดยไม่ชักช้า (3) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ ตอนที่ 4(( การดําเนินการกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16/9 ให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 และไม่สามารถดํารงเงินกองทุนดังกล่าว ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในภาคผนวก 2 การดําเนินการกรณีผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนโดยวิธี NC-4 ท้ายประกาศนี้ ตอนที่ 5(( การดําเนินการกรณีที่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16/10 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ระงับการประกอบธุรกิจและ สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามข้อ 16/1 ข้อ 16/4 ข้อ 16/8 และข้อ 16/9 ยื่นคําขออนุญาต กลับมาประกอบธุรกิจต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคําขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน หมวด 4 การดูแลรักษาความปลอดภัยของ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 17 นอกจากที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในส่วนนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ออกตามประกาศดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ 18 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดให้มีการทดสอบการเจาะระบบ (penetration test) กับระบบงานสําคัญก่อนเริ่มให้บริการและภายหลังจากเริ่มให้บริการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยบุคคลที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และรายงานผลต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ แต่ไม่เกิน 90 วัน นับจากวันที่สิ้นสุดกระบวนการทดสอบ ข้อ 19 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดให้มีการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT audit) ก่อนเริ่มให้บริการและภายหลังเริ่มให้บริการแล้วอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและเป็นอิสระ และรายงานผลต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ แต่ไม่เกิน 90 วันนับจากวันที่สิ้นสุดกระบวนการทดสอบ หมวด 5 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 20 ในการติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ให้ลูกค้าทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบ การตัดสินใจเลือกใช้บริการ และพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการดังกล่าว (1) ข้อมูลโดยทั่วไปของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) ลักษณะ ขอบเขต และเงื่อนไขการให้บริการที่เสนอต่อลูกค้า (3) ช่องทางการให้บริการ และการติดต่อสื่อสาร (4) สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และเงื่อนไข ที่ลูกค้ามีหรือต้องปฏิบัติเมื่อใช้บริการ (5) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) (6) วิธีปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นไป ตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลกําหนดขึ้น ข้อ 21 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่มีระบบการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม รวมทั้งกระทําในเวลาที่เหมาะสม โดยข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารต้องชัดเจน น่าเชื่อถือ และไม่ทําให้ลูกค้าสําคัญผิด ข้อ 22 ในการให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเปิดเผยข้อมูลให้กับลูกค้าอย่างเพียงพอ ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด โดยต้องเปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการหรือตัดสินใจลงทุน หมวด 6 การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 23 ก่อนเริ่มให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) ทําความรู้จักลูกค้า (2) จัดประเภทลูกค้า (3) ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า (4) พิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการ ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล อาจดําเนินการผ่านผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรายอื่นได้ ข้อ 24 ในการทําความรู้จักกับลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 23 เพื่อระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยอื่นใด ที่อาจทําให้ไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริง ของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิเสธการให้บริการ ข้อ 25 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงข้อมูล ที่ได้รับตามข้อ 23 ให้เป็นปัจจุบันในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่ถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง และต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวที่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถนําข้อมูลนั้นมาใช้ประกอบการให้บริการกับลูกค้าได้โดยไม่ชักช้า ข้อ 26 ก่อนเริ่มให้บริการแก่ลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยพิจารณาจากข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) ฐานะทางการเงิน (2) ประสบการณ์ในการลงทุน (3) ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน (4) วัตถุประสงค์ในการลงทุน (5) ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ข้อ 27 ในการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 26 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการเกี่ยวกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะไม่ประเมินความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้าก็ได้ (1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน เมื่อได้ทําการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแจ้งผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้า ซึ่งต้องกระทําโดยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ((ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี นายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี จัดให้มีการให้คําแนะนําเบื้องต้นเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความสําคัญในการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมแก่ลูกค้า (basic asset allocation) เพิ่มเติม โดยพิจารณาจากผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนตามวรรคสองรวมทั้งจัดให้มีการดําเนินการต่อไปนี้พร้อมกันไปด้วย (1) จัดให้มีคําเตือนแก่ลูกค้าว่า “คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง โปรดศึกษาและ ทําความเข้าใจความเสี่ยงของคริปโทเคอร์เรนซีอย่างรอบด้าน เพราะท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน” ซึ่งคําเตือนต้องสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเลือกใช้โทนสีของคําเตือนที่แตกต่างจากสีพื้นหลังหรือใช้ตัวอักษรที่หนาขึ้น (2) จัดให้ลูกค้ารับทราบคําเตือนตาม (1) และยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนใน คริปโทเคอร์เรนซีด้วย ข้อ 28 ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการให้ข้อมูลตามข้อ 26 จนทําให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถประเมินความเหมาะสมในการลงทุนของลูกค้าได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิเสธการให้บริการ ข้อ 29 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดูแลให้ลูกค้าลงทุนให้เป็นไปตามผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะลงทุนโดยไม่เป็นไปตามผลการประเมินความเหมาะสม ในการลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้ลูกค้าตระหนักถึงความเสี่ยงจากการลงทุน ข้อ 30 ในการพิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลง ในการใช้บริการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 26 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการที่สอดคล้องกับความสามารถดังกล่าวของลูกค้า ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินหรือพบข้อจํากัดเกี่ยวกับความสามารถของลูกค้า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการไม่ว่าในขณะใด ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิเสธการให้บริการหรือจํากัดขอบเขตการให้บริการ ข้อ 30/1(( ก่อนเริ่มให้บริการแก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี นายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี ต้องจัดให้ลูกค้าเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีหรือการทดสอบความรู้ (knowledge test) เกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี ทั้งนี้ ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เว้นแต่ลูกค้าเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้มีประสบการณ์ในการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีมาก่อนใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ สําหรับลูกค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลอื่นยกเว้นนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้แทนนิติบุคคลหรือผู้ซึ่งนิติบุคคลมอบหมาย เป็นผู้เข้ารับการอบรมหรือทดสอบความรู้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธที่จะเข้ารับการอบรมหรือการทดสอบความรู้เกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะให้บริการลูกค้ารายนั้นมิได้ ข้อ 31 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประสงค์จะแนะนําการลงทุนให้กับลูกค้า ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นผู้ทําหน้าที่ ดังกล่าว หรือดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรายอื่นที่มีบุคลากรที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเป็นผู้ดําเนินการแทน หรือจัดให้มีช่องทางที่ลูกค้าสามารถติดต่อกับบุคลากรที่ทําหน้าที่ดังกล่าวได้ (2) พิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าตามข้อมูลที่ได้จากการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนตามข้อ 26 (3) ดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะแนะนําให้แก่ลูกค้าหรือที่ลูกค้าสนใจลงทุน โดยมีข้อมูลอย่างน้อยตามข้อ 33 อย่างเพียงพอ ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด (4) ดําเนินการให้มีการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าให้เป็นไปตามหน้าที่ซึ่งผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติ (5) ดูแลให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปตามความประสงค์ ของลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังนี้ (ก) มีการให้คําแนะนําเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าอย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมเหตุสมผล และไม่ทําให้สําคัญผิด (ข) มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าลูกค้าเข้าใจลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอย่างดี ก่อนตัดสินใจใช้บริการ (6) ไม่เร่งรัดให้ลูกค้าตัดสินใจลงทุน โดยต้องให้เวลาลูกค้าอย่างเพียงพอที่จะทําให้ลูกค้าศึกษาข้อมูลและตัดสินใจใช้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องควบคุมและป้องกันมิให้มีการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งยังไม่ได้รับการยืนยันความถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเกี่ยวกับการลงทุนของลูกค้า จนกว่าจะได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในระหว่างรอการตรวจสอบ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเตือนให้ลูกค้าใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาตัดสินใจลงทุนหรือทําธุรกรรมด้วย ข้อ 32 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนํามาให้บริการต่อลูกค้า และต้องมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจว่าผู้ทําหน้าที่แนะนําบริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรู้และเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวเป็นอย่างดี และสามารถนําเสนอข้อมูลนั้นได้ ข้อ 33 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 31 ได้แก่ข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะ โครงสร้าง เงื่อนไข และผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัล (2) ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (3) สภาพคล่องของสินทรัพย์ดิจิทัล (4) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัล (ถ้ามี) (5) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล (6) ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (7) ข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการให้บริการ (ถ้ามี) (8) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน (ถ้ามี) หมวด 7 การดําเนินการเมื่อลูกค้าตัดสินใจใช้บริการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 34 เมื่อลูกค้าตัดสินใจใช้บริการแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการตามความประสงค์ของลูกค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการด้วยความรวดเร็วตามสภาพ และดูแลตรวจสอบให้การให้บริการนั้นตรงตามความประสงค์ของลูกค้า (2) ดําเนินการให้การให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมเป็นไปตามกลไกตลาดและได้รับเงื่อนไขดีที่สุดตามสภาพตลาด (duty of best execution) ด้วย (3) รายงานหรือแจ้งผลการดําเนินการให้ลูกค้าทราบโดยมีรายละเอียดอย่างเพียงพอภายในระยะเวลาที่เหมาะสม หมวด 7/1(( การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 34/1(( ในหมวดนี้ “การโฆษณา” หมายความว่า การทําให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการหรือการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัล หรือการให้บริการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยทางข้อความ ภาพ เสียง เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ และไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ “บริษัทในกลุ่ม” หมายความว่า บริษัทที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 25 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น หรือบริษัทที่มีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 25 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่เป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือบริษัทที่มีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของบริษัท (3) บริษัทที่มีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของบริษัทเป็นบุคคลเดียวกันกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (4) บริษัทที่มีผู้ที่มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ที่มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้ ไม่ว่าอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด (5) บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตั้งแต่ร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น “บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการ” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 25ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท (2) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทได้ (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายการจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท (4) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัท เยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น “การส่งเสริมการขาย” หมายความว่า การให้ของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแก่ลูกค้า เพื่อจูงใจให้ลูกค้าใช้บริการหรือตอบแทนที่ลูกค้าใช้บริการ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนําเสนอ ส่วนที่ 1 การโฆษณา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 34/2(( ความในส่วนนี้ ไม่ใช้บังคับกับการโฆษณาชี้ชวนให้ซื้อโทเคนดิจิทัลโดยการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน ข้อ 34/3(( ในการโฆษณา ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนนี้ เว้นแต่เป็นการโฆษณาที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการให้การโฆษณาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบังหรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (1) การแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุน การให้บริการ หรือภาพรวมของสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภทหรือโดยรวม (2) การให้ความรู้หรือการทําความเข้าใจเพื่อการศึกษา หรือการเผยแพร่การวิเคราะห์การลงทุน ที่เป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือทําธุรกรรม ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการเชิญชวนหรือจูงใจให้มีการใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 34/4(( ในกรณีที่เป็นการโฆษณาคริปโทเคอร์เรนซี ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะดําเนินการโฆษณาได้เฉพาะในช่องทางที่เป็นทางการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเท่านั้น ข้อ 34/5 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) การโฆษณาโดยการให้สัมภาษณ์ ให้แจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายหลังการให้สัมภาษณ์แล้วเสร็จ (2) การโฆษณาที่มิใช่การให้สัมภาษณ์ ให้แจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ล่วงหน้า 10 วันก่อนเผยแพร่การโฆษณาดังกล่าว และจะเผยแพร่โฆษณานั้นได้ เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. มิได้มีหนังสือทักท้วงเป็นประการอื่นภายในระยะเวลาดังกล่าว การแจ้งและเอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 34/6 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการให้การโฆษณามีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือต่อการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) ไม่เร่งรัดให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (3) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือเป็นการแสดงผลการดําเนินงานในอดีตอย่างเหมาะสมหรือเป็นการประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม (ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทนในแต่ละเงื่อนไข (ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ลูกค้าสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด (4) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเหมาะสมและมีการแจ้งสถานที่สําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการหรือการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (5) หากเป็นการโฆษณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหรือจะเสนอขายโทเคนดิจิทัลก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ข้อมูลที่โฆษณาต้องเป็นข้อมูลที่สามารถดําเนินการได้โดยชอบ และต้องจัดให้มีข้อความที่แสดงว่าเป็นการโฆษณาในระหว่างที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลยังไม่มีผลใช้บังคับ (6) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (7) ในกรณีที่เป็นการโฆษณาการจัดรายการส่งเสริมการขาย ข้อมูลที่โฆษณาต้องมีข้อมูลของสินทรัพย์ดิจิทัลที่เสนอขายรวมอยู่ด้วย โดยข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเป็นเนื้อหาหลัก และข้อมูลการจัดรายการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลประกอบที่มีสาระเป็นส่วนน้อย (8) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการให้ผู้ที่มีบทบาทหลักที่ปรากฎในโฆษณาเปิดเผยข้อมูลดังนี้ ในโฆษณาดังกล่าว โดยต้องสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน และเหมาะสมกับรูปแบบการโฆษณา (ก) ข้อมูลผู้ว่าจ้างในการโฆษณา (ข) ข้อมูลความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องระหว่างผู้ที่มีบทบาทหลักดังกล่าวกับผู้ว่าจ้างในการโฆษณา “ผู้ที่มีบทบาทหลัก” หมายความว่า บุคคลที่ปรากฏในโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลนั้นเอง ภาพวาด การ์ตูน หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เพื่อสื่อ สะท้อน หรือแสดงแทนบุคคลดังกล่าวโดยมีบทบาทโดดเด่นหรือมีความสําคัญ ซึ่งทําให้การโฆษณามีความสมบูรณ์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาในรูปแบบใด ข้อ 34/7 เพื่อให้การโฆษณาเป็นไปอย่างเหมาะสม ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติม (1) ดูแลมิให้บริษัทในกลุ่ม และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ดําเนินการเผยแพร่การโฆษณาในลักษณะที่อาจทําให้ประชาชนสับสน หรือสําคัญผิดว่าเป็นการโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) ดูแลให้ผู้จัดทําโฆษณาร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 34/3 ข้อ 34/4 ข้อ 34/6 และข้อ 34/8 ด้วย ทั้งนี้ ผู้จัดให้มีการโฆษณาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว ให้หมายความรวมถึงบริษัทในกลุ่ม หรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 34/8 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้ข้อความ คําเตือน หรือข้อมูลใด ๆ ในการโฆษณาสามารถรับฟังหรือมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีความเหมาะสมกับรูปแบบการนําเสนอ และต้องให้ความสําคัญในการแสดงคําเตือนในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับการแสดงข้อความหรือข้อมูลส่วนใหญ่ในโฆษณานั้น ๆ ด้วย ส่วนที่ 2 การส่งเสริมการขาย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 34/9 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอาจจัดให้มีการส่งเสริมการขายได้โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นการจูงใจหรือเร่งรัดลูกค้าโดยใช้การส่งเสริมการขาย เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่คํานึงถึงข้อมูลที่เป็นพื้นฐานซึ่งจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน (2) ไม่เป็นการชิงโชคหรือจับฉลากเพื่อสุ่มหาผู้ได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด (3) มีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ลูกค้าจะได้รับของสมนาคุณ สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใด ที่มีความชัดเจน ง่ายต่อการทําความเข้าใจ ไม่ทําให้สําคัญผิด เหมาะสม และเป็นธรรม (4) มีการแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไปในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย ส่วนที่ 3(( หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการโฆษณาการให้บริการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการนําไปหาดอกผลหรือให้ดอกผล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 34/10 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องไม่จัดให้มีการโฆษณาหรือชักชวนบุคคลทั่วไป เพื่อไปใช้บริการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลโดยบุคคลอื่น ซึ่งบริการดังกล่าวมีการนําสินทรัพย์ดิจิทัลไปหาดอกผล หรือมีการเสนอว่าจะให้หรือให้ดอกผลจากการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล หมวด 8 ข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและ การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 35 ในส่วนนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล ข้อ 36 ให้ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลกับเงินบาทหรือคริปโทเคอร์เรนซีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. เท่านั้น ข้อ 37 ห้ามผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง ข้อ 38 ให้ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจัดให้มีระบบงานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ระบบคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนํามาให้บริการซื้อขาย (2) ระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 39( ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (2) กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และการชําระราคาและการส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัล (3) กําหนดหลักเกณฑ์ในการจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทั้งนี้ ในกรณีที่การกําหนดหลักเกณฑ์นั้นอาจมีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจหรือประโยชน์ได้เสียของผู้ใช้บริการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลดังกล่าว และเสนอรายงานการรับฟังความคิดเห็นนั้นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย เมื่อผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเสนอหลักเกณฑ์เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหลักเกณฑ์และเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือประชาชน ข้อ 39/1(( หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลตามข้อ 39(1) ต้องมีข้อกําหนดที่จะไม่คัดเลือกโทเคนดิจิทัลที่กําหนดสิทธิของบุคคลในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง และพร้อมที่จะให้ผู้ถือใช้ประโยชน์ได้ทันทีในวันที่ออก หรือคริปโทเคอร์เรนซีที่ออกโดยมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ มาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (1) ไม่มีวัตถุประสงค์หรือสาระชัดเจนหรือไม่มีสิ่งใดรองรับโดยมีราคาขึ้นอยู่กับกระแสในโลกโซเชียล (Meme Token) (2) เกิดจากกระแสความชื่นชอบส่วนบุคคล (Fan Token) (3) โทเคนดิจิทัลที่เกิดจากการนําเทคโนโลยีมาใช้แสดงความเป็นเจ้าของหรือให้สิทธิในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือที่เฉพาะเจาะจง โดยไม่สามารถใช้โทเคนดิจิทัลประเภทและชนิดเดียวกัน และจํานวนเท่ากันแทนกันได้ (Non-Fungible Token: NFT) (4) โทเคนดิจิทัลที่ออกโดยผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเองหรือบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลดังนี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์สําหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชน (blockchain) (ก) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมกิจการ (ข) คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของบุคคลตาม (ก) (ค) นิติบุคคลซึ่งบุคคลตาม (ก) มีอํานาจควบคุมกิจการ (ง) บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม ทั้งนี้ ตามลักษณะที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะของกิจการในกลุ่มของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล โดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอํานาจควบคุมกิจการตามวรรคหนึ่ง (4) ให้นําบทนิยามคําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” ตามมาตรา 39 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพ.ศ. 2561 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 39/2(( ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีข้อกําหนดในกรณีที่มีการนําโทเคนดิจิทัลที่ออกโดยผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเองหรือโดยบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนให้บริการ ว่าหากผู้ออกโทเคนดิจิทัลดังกล่าวไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในไวท์เปเปอร์ (white paper) และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในสาระสําคัญ จะเป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพิกถอนโทเคนดิจิทัลดังกล่าวออกจากการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง คําว่า “บุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล” มีความหมายเช่นเดียวกับที่กําหนดไว้ในข้อ 39/1(4) โดยอนุโลม ข้อ 40 ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีระบบการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังนี้ (ก) มีระบบที่สามารถรองรับปริมาณการซื้อขายได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถตรวจสอบความสามารถในการชําระราคาและส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ใช้บริการได้ก่อนมีการส่งคําสั่งซื้อขาย (ข) มีระบบชําระราคาและส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความมั่นคง ปลอดภัย น่าเชื่อถือ (ค) มีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการทํารายการซื้อขายแก่ลูกค้า ซึ่งรวมถึงข้อมูลก่อนทํารายการซื้อขาย (ถ้ามี) (pre-trade information) และข้อมูลภายหลังทํารายการซื้อขาย(post-trade information) อย่างเพียงพอ รวดเร็ว และเหมาะสม (transparency) (ง) มีระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะข้อมูล ที่เกี่ยวกับการทํารายการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้ เพื่อติดตามและตรวจสอบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในภายหลัง (audit trail) (จ) มีระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทํางานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (ฉ) มีระบบเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่นํามาซื้อขายอย่างเพียงพอและเป็นปัจจุบัน (2) จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการซื้อขาย ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ขั้นตอนและวิธีการในการเปิดรับลูกค้าที่ชัดเจนและเป็นธรรม (fair access) และต้องกําหนดประเภทลูกค้าให้เหมาะสมกับประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลที่ซื้อขาย (ข) ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถซื้อขายได้บนระบบที่ให้บริการรวมถึงข้อจํากัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของสินทรัพย์ดิจิทัลในแต่ละประเภท รวมถึงกฎเกณฑ์ในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (ค) ขั้นตอนการชําระราคาและส่งมอบสินทรัพย์ดิจิทัล (ง) ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนที่ 1/1( การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 40/1 ในส่วนนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ข้อ 40/2 เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้าในการใช้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงรูปแบบการทําธุรกรรมซึ่งผู้ประกอบธุรกิจสามารถนํามาให้บริการแก่ลูกค้าได้ในแต่ละกรณี และรายงานให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบถึงการกําหนดและการแก้ไขรูปแบบการทําธุรกรรมดังกล่าวก่อนการให้บริการแก่ลูกค้า ข้อ 40/3 ในการให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลผู้ประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนํามาให้บริการแก่ลูกค้าและดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต้องมีลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) ไม่ตั้งอยู่ในเขตดินแดนหรือประเทศที่ไม่มีมาตรการหรือประยุกต์ใช้ข้อแนะนําของ Financial Action Task Force (FATF) ในการกําหนดมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย รวมถึงเขตดินแดนหรือประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว (Non-Cooperative Countries & Territories หรือ NCCTs) (ข) มีมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (ค) สามารถให้บริการได้โดยชอบด้วยกฎหมายในประเทศที่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีสถานประกอบการตั้งอยู่ (ง) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะไม่สามารถดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัย (2) เปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของตนเองกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่คัดเลือกตาม (1) ให้ลูกค้าทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจใช้บริการ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล”ให้หมายความรวมถึง ศูนย์กลางหรือเครือข่ายที่จัดให้มีการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนํามาให้บริการแก่ลูกค้าด้วย ส่วนที่ 2 การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีและ การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี และการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัลต้องให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อขาย โดยอย่างน้อยต้องมีการแจ้งให้ลูกค้าทราบราคาที่เสนอซื้อขาย เงื่อนไข ระยะเวลาการซื้อขาย และ เหตุแห่งการปฏิเสธไม่รับซื้อขายอย่างชัดเจนด้วย ข้อ 42 ห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี และการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัลเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า ส่วนที่ 3( การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 43 ในส่วนนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีและการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ข้อ 44 ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้าทําสัญญารับจัดการเงินทุนต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนซึ่งได้จากการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (2) เปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจเข้าทําสัญญาต่อผู้ลงทุนอย่างเพียงพอและภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ข้อ 45 ในการรับจัดการเงินทุน ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลต้องทําสัญญารับจัดการเงินทุนเป็นลายลักษณ์อักษรกับลูกค้า ในการนี้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต.มีอํานาจประกาศกําหนดรายการอันเป็นสาระสําคัญแห่งสัญญาดังกล่าวได้ ข้อ 46 ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อลูกค้าได้เฉพาะสินทรัพย์ดิจิทัลดังต่อไปนี้ (1) สินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกและเสนอขายโดยชอบในประเทศไทย (2) สินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบให้ซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ 47 ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการ และระบบงาน ซึ่งครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) คํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญและรักษาผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า (2) ป้องกันไม่ให้มีการใช้ข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานล่วงรู้ข้อมูลจากการให้บริการลูกค้า และไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลนั้นให้บุคคลอื่นได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว ข้อ 48 ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีการวัดผลการดําเนินงานในการจัดการเงินทุนเพื่อลูกค้าอย่างสม่ําเสมอ และเปิดเผยผลการดําเนินงานตลอดจนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับความเป็นไปของการจัดการเงินทุนนั้น เช่น รายละเอียดการลงทุน และค่าใช้จ่ายในแต่ละช่วงเวลา เป็นต้น ต่อลูกค้าด้วยวิธีการที่เพียงพอที่จะทําให้ลูกค้ารับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่องโดยเหมาะสมกับสถานการณ์ การวัดผลการดําเนินงานและการคํานวณมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินที่จัดการเพื่อลูกค้า ให้เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ หรือเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นหรือสมควร ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติเพิ่มเติมหรือแตกต่างจากมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดตามวรรคสองได้ ข้อ 49 ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) การจัดการลงทุนโดยใช้ความสามารถเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเต็มที่ โดยคํานึงถึงการรักษาผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า (2) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฐานะความเป็นผู้มีวิชาชีพจัดการเงินทุน ส่วนที่ 3/1(( การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 49/1 ในส่วนนี้ “ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล “การให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า การให้บริการลักษณะใด ลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) การรับฝากหรือเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ (2) การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส (cryptographic key) หรือสิ่งอื่นใดที่ต้องเก็บรักษาเป็นความลับ เพื่อใช้อนุมัติการโอนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีอํานาจเบ็ดเสร็จหรือบางส่วน “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า (1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหุ้นส่วน (2) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดหรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 10 ของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (3) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือห้างหุ้นส่วนตาม (1) หรือ (2) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (4) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือห้างหุ้นส่วนตาม (1) หรือ (2) หรือบริษัทตาม (3) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 30 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (5) นิติบุคคลที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ข้อ 49/2 ในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงวิธีปฏิบัติของลูกค้าในการฝากหรือถอนสินทรัพย์ดิจิทัลกับหรือจากผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล วิธีการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลในการดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า (ถ้ามี) ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ลูกค้าทราบโดยไม่ชักช้า (2) จัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่มีข้อกําหนดในลักษณะที่เป็นการปฏิเสธหรือจํากัดความรับผิดชอบต่อสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า และกรณีสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าสูญหายหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลรับผิดชอบในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าอย่างเต็มจํานวน ข้อ 49/3 ห้ามมิให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลกระทําการใดอันมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิของลูกค้าในสินทรัพย์ดิจิทัล เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย คําสั่งศาล หรือคําสั่งของหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ข้อ 49/4 ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลได้ภายในเวลาอันสมควร ข้อ 49/5 ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีระบบงานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) ระบบการแยกสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าแต่ละราย รวมทั้งแยกสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าออกจากสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (2) ระบบการจัดทําทะเบียนการรับฝากและเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าโดยต้องแสดงรายการและจํานวนสินทรัพย์ดิจิทัล ตลอดจนบันทึกรายการรับหรือจ่ายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (3) ระบบที่สามารถรองรับการกําหนดเงื่อนไขในการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลเกี่ยวกับขนาดธุรกรรมหรือการจํากัดปริมาณธุรกรรม ณ ช่วงเวลาใด ได้ตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 49/6 ห้ามมิให้ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นผู้ถือหุ้นในผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนให้บริการเกินร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นโดยนับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย (2) ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลมีผู้ถือหุ้นเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนให้บริการเกินร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว ให้นําบทนิยามคําว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ตามข้อ 49/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (3) ผู้ถือหุ้นของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนให้บริการ ตั้งแต่ร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (4) กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนให้บริการ (5) มีความเกี่ยวข้องในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะที่อาจทําให้ขาดความเป็นอิสระ ในกรณีที่จะต้องมีการวินิจฉัยความเกี่ยวข้องในการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะที่อาจทําให้ขาดความเป็นอิสระตามวรรคหนึ่ง (5) ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาโดยเร็ว ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 50 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่จัดให้มีการวิเคราะห์การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับลูกค้าต้องจัดให้มีระบบงานและมาตรการเพิ่มเติมจากที่กําหนดในข้อ 9ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) มาตรการป้องกันมิให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนนําข้อมูลที่มีนัยสําคัญและยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ไปหาประโยชน์หรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่น (2) มาตรการป้องกันมิให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนรับค่าตอบแทนจากบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียกับการวิเคราะห์การลงทุนนั้น (3) ระบบควบคุมดูแลให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนมีความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ โดยไม่ถูกครอบงําหรือได้รับอิทธิพลจากผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลหรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียในการจัดทําการวิเคราะห์การลงทุน (4) ระบบควบคุมดูแลให้บุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้เป็นไปตามประเภทหรือขอบเขตการวิเคราะห์การลงทุนตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ 51 ในกรณีที่เป็นการวิเคราะห์การลงทุนโดยใช้ข้อมูลของบุคคลอื่น ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาคัดเลือกข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน (2) ตรวจสอบและระบุแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อการสืบค้นเพิ่มเติมได้ (3) ดูแลให้การใช้ข้อมูลเป็นไปตามกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล ข้อ 52 การวิเคราะห์การลงทุนที่จัดทําในรูปบทวิเคราะห์หรือรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษรอื่นใด ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีการกําหนดลักษณะความเสี่ยงและความเหมาะสมในการลงทุนอย่างครบถ้วน (2) มีการแสดงข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่ชัดเจน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นปัจจุบัน ไม่มีลักษณะที่อาจทําให้สําคัญผิด และมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ (3) ไม่อ้างอิงกับข้อมูลที่ไม่มีแหล่งที่มาหรือที่มีการปฏิเสธว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (4) ไม่มีลักษณะเป็นการกระตุ้นหรือยุยงให้ลูกค้าใช้บริการเพื่อลงทุนหรือทําธุรกรรมบ่อยครั้ง หรือเร่งรัดให้มีการใช้บริการเพื่อการลงทุนหรือเข้าทําธุรกรรม (5) จัดทําโดยอาศัยหลักการหรือหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป (6) ในสาระที่เป็นการตีความ คาดการณ์ ประเมิน หรือความเห็น จะต้องมีการระบุลักษณะเช่นนั้นไว้อย่างชัดเจน และต้องแสดงเหตุผลหรือที่มาของการตีความ คาดการณ์ ประเมิน หรือความเห็นนั้นด้วย ข้อ 53 ในการเผยแพร่การวิเคราะห์การลงทุนไม่ว่าช่องทางหรือวิธีการอื่นใด ที่จัดทําในรูปบทวิเคราะห์หรือรูปแบบลายลักษณ์อักษรอื่นใด ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของการวิเคราะห์การลงทุนก่อนนําไปเผยแพร่ (2) จัดให้บุคลากรที่ทําหน้าที่แนะนําการลงทุนทําความเข้าใจและนําบทวิเคราะห์การลงทุนนั้นไปใช้ประกอบการให้คําแนะนําแก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม (3) นําเสนอการวิเคราะห์การลงทุนที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าแต่ละประเภท โดยให้พิจารณาจากข้อมูลของลูกค้าที่ได้จากการทําความรู้จักลูกค้าตามหมวด 6 (4) เมื่อมีการเสนอการวิเคราะห์การลงทุนตาม (3) แล้ว ต้องมีการนําเสนอการวิเคราะห์การลงทุนต่อลูกค้านั้นอย่างต่อเนื่อง ให้เหมาะสมกับภาวการณ์ลงทุนหรือความต้องการของลูกค้า ข้อ 54 ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องมีการมอบหมายบุคลากรที่ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนผ่านสื่อไว้อย่างชัดเจน โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์อย่างเพียงพอที่จะทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนดังกล่าวได้ หมวด 9(( การจัดทําและส่งรายงานข้อมูลการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนและการลงทุน ในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 55 ในหมวดนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ข้อ 56 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและส่งรายงานข้อมูลการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนและการลงทุน ในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
106
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และ (2) และมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ออกโทเคนดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ออกโทเคนดิจิทัลตามประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัล “ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ในการให้บริการลูกค้าอันเนื่องมาจากการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล “วงเงินจัดสรร” หมายความว่า วงเงินการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายให้สํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้จัดสรรวงเงิน “สัญญาอัจฉริยะ” (smart contract) หมายความว่า ชุดคําสั่งคอมพิวเตอร์ที่ดําเนินการบังคับตามข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่กําหนด “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกรายและให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ “นิติบุคคลร่วมลงทุน” (venture capital) หมายความว่า นิติบุคคลร่วมลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน “กิจการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า กิจการเงินร่วมลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลจะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจกําหนดตามประเภทโทเคนดิจิทัลหรือผู้ลงทุนก็ได้ (2) สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น (3) เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลกระทําการที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลขอความเห็นชอบการดําเนินการใดตามประกาศนี้ก่อนการดําเนินการนั้นก็ได้ (4) เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถติดตามการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลจัดส่งข้อมูล รายงาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมได้ หรือจะสั่งการเป็นรายกรณีโดยต้องไม่เป็นภาระ ต่อผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลจนเกินสมควร ทั้งนี้ ระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนด ให้เป็นไปตามกรอบ ดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนและมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ผู้ลงทุน หรือตลาดทุน อย่างมีนัยสําคัญ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดให้ดําเนินการภายในวันทําการที่เกิดกรณีดังกล่าวได้ (ข) ในกรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้กําหนดระยะเวลาอย่างสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์ เรื่อง และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๔ บุคคลที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ให้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตาม[แบบ](http://capital.sec.or.th/webapp/nrs/data/6492a0.doc)คําขอที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือประชาชน หมวด ๑ การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ เป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ค่าธรรมเนียมคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล คําขอละ 50,000 บาท โดยให้ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบเสียค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอ ข้อ ๖ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะให้ความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล เมื่อบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติและเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท (3) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจ ในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (5) แสดงได้ว่าจะมีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากร ที่เหมาะสมและเพียงพอให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาความเหมาะสมและเพียงพอตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงลักษณะ ขนาด ปริมาณ ความซับซ้อน และความหลากหลาย ของธุรกิจและบริการ ตลอดจนระดับความเสี่ยง ที่เกี่ยวกับธุรกิจและบริการดังกล่าวด้วย (6) แสดงได้ว่าจะมีบุคลากรในจํานวนที่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ อย่างเหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย (7) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ระบบงานในการกลั่นกรองโทเคนดิจิทัลที่จะเสนอขาย (ข) ระบบในการติดต่อและให้บริการกับผู้ลงทุน (ค) ระบบการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอและน่าเชื่อถือ (ง) ระบบการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทุกด้านอย่างรัดกุม (จ) ระบบการเสนอขายและจัดการค่าจองซื้อโทเคนดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ (ฉ) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบงานและข้อมูล (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity) และความพร้อมใช้ของระบบงาน (availability) โดยคํานึงถึงความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT risk) และความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber risk) ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ออกตามประกาศดังกล่าวด้วย (ช) ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ และปลอดภัย โดยเฉพาะการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือขัดกับกฎหมาย (ซ) ระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง (ฌ) ระบบงานในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (compliance) ตามแนวทางที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (ญ) ระบบการจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนเพื่อระงับข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ (8) ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ซึ่งประกอบธุรกิจอื่นอยู่แล้วก่อนวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ ธุรกิจอื่นของผู้ขอรับความเห็นชอบต้องเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เป็นประโยชน์ หรือสนับสนุนการประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลและไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล เว้นแต่จะแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๗ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลภายใน 90 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลรายใด ให้สํานักงาน ก.ล.ต. แสดงชื่อผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลนั้นไว้ในลักษณะที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่ให้ความเห็นชอบเนื่องจากผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ก.ล.ต. พร้อมทั้งเหตุผลแก่ผู้ยื่นคําขอ โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคสองแล้ว หากผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลนั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะไม่นําเหตุที่ทําให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ข้อ ๘ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 7 คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือบุคคลตามข้อ 6(4) เป็นรายกรณีทั้งนี้ ปัจจัยที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. นํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึง (1) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรม เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น (2) นัยสําคัญของพฤติกรรม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (3) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรม (4) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น (5) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (6) ประวัติพฤติกรรมในอดีต เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น (7) ความตระหนักของผู้กระทําในเรื่องดังกล่าว เช่น จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (8) ข้อเท็จจริงอื่น เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือดําเนินการ การปิดบังอําพรางหรือทําลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรืการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น ข้อ 8/1 ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องประกอบกิจการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ ทั้งนี้ จะเริ่มประกอบกิจการได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลสามารถแสดงได้ถึงความพร้อมของระบบงานตามข้อ 6(5) (6) และ (7) ในกรณีที่ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลไม่สามารถประกอบกิจการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้ ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลชําระค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจปีละ 100,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามปีปฏิทินภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ชําระค่าธรรมเนียมให้แล้วเสร็จก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ ในกรณีที่ระยะเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทิน สําหรับปีแรกที่เริ่มประกอบกิจการเหลือน้อยกว่า 6 เดือน ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบชําระค่าธรรมเนียมเพียงร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง หมวด ๒ มาตรฐานในการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องปฏิบัติตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ (1) ให้บริการแก่ผู้ลงทุนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และใช้ความรู้ความสามารถ และความชํานาญ ด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา (2) ดําเนินธุรกิจโดยรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล รวมทั้งรักษาความน่าเชื่อถือของตลาดทุนเป็นสําคัญ ตลอดจนดําเนินธุรกิจด้วยความสมเหตุสมผลซึ่งเหมาะสมกับเวลา ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจ และการให้บริการ (3) ให้บริการอย่างมีคุณภาพ และปฏิบัติต่อผู้ลงทุนอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันโดยคํานึงถึงประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขของผู้ลงทุน (4) ไม่กระทําการใดที่จะเป็นผลให้ผู้ลงทุนฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจํากัดหรือหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่ผู้ลงทุนแจ้งว่ามีข้อจํากัดหรือมีหน้าที่ตามกฎหมายนั้น (5) ไม่กระทําการใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือที่จะทําให้การให้บริการไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในลักษณะเดียวกันจะพึงกระทํา เว้นแต่เป็นการกระทําที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด หรือเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําตามกฎหมาย (6) ไม่รับหรือให้ค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าในรูปเงิน คริปโทเคอร์เรนซี ดิจิทัลโทเคน สิ่งของ หรือบริการยิ่งกว่าค่าตอบแทนหรือประโยชน์ปกติที่พึงได้รับหรือให้เนื่องจากการให้บริการ (7) ดูแลไม่ให้มีการนําทรัพยากรของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลเข้าไปมีส่วนร่วมหรือถูกนําไปใช้ในทางที่มิชอบ ข้อ ๑๑ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องไม่ทําข้อตกลงกับผู้ลงทุนในลักษณะเป็นการตัดหรือจํากัดความรับผิดของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้ลงทุน อันเนื่องจากการที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล กรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ไม่ได้ดําเนินธุรกิจหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของประกาศนี้ ข้อ ๑๒ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องดํารงคุณสมบัติตามข้อ 6 ตลอดระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบ ข้อ ๑๓ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องดําเนินการให้การเสนอขายและการจองซื้อโทเคนดิจิทัลเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องปฏิบัติตามประกาศที่เกี่ยวข้อง และตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวน (ถ้ามี) ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลตรวจพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ออกโทเคนดิจิทัลหรือการเสนอขายโทเคนดิจิทัลจะมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลปฏิเสธการให้บริการพร้อมทั้งแจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยไม่ชักช้า ข้อ 14/1 ในกรณีประสงค์จะทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ขอรับวงเงินจัดสรรจากสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ การขอรับการจัดสรรวงเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. (2) ดําเนินการตรวจสอบวงเงินก่อนทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรตาม (1) ข้อ ๑๕ ห้ามมิให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลประกอบธุรกิจอื่นนอกเหนือจากการให้บริการเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความเห็นชอบ เว้นแต่ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลจะขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนการเริ่มประกอบกิจการอื่นใดดังกล่าว ทั้งนี้ กิจการนั้นต้องเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เป็นประโยชน์ หรือสนับสนุนการประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลและไม่มีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลโดยผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องแสดงได้ว่าสามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๑๖ 16 ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการกระทําที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยเฉพาะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้ลงทุนกับผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ รวมทั้งต้องดําเนินการและควบคุมดูแลให้กรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงดังกล่าวด้วย ข้อ 16/1 ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ออกตามประกาศดังกล่าว หมวด ๓ การทําหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๗ ในการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบและสอบทานข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (due diligence) และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่เข้าใจและดําเนินการจนเชื่อมั่นว่า (ก) ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัลตามประกาศที่เกี่ยวข้อง มีแผนธุรกิจตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกําหนด และไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการเสนอขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชน (ข) คําขออนุญาตเสนอขายโทเคนดิจิทัล แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน รวมถึงเอกสารประกอบการเสนอขาย (ถ้ามี) มีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่มีข้อมูลที่ยังมิได้เปิดเผยซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการพิจารณาของสํานักงาน ก.ล.ต. และต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน รวมทั้งไม่มีลักษณะที่อาจทําให้ผู้ใช้ข้อมูลสําคัญผิด ทั้งนี้ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (ค) ชุดรหัส (source code) ในสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) หรือกลไกอื่นที่นํามาใช้ทดแทนสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) (ถ้ามี) มีรายละเอียดตรงกับข้อมูลในร่างหนังสือชี้ชวน (2) ให้ความเห็นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม (1) และรับรองต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ถึงการที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศที่เกี่ยวข้อง (3) ให้ความรู้ คําแนะนํา หรือกระทําการใด ๆ เพื่อให้ผู้ออกโทเคนดิจิทัลได้ทราบถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการและการดําเนินการ ที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (4) ติดต่อประสานงานกับสํานักงาน ก.ล.ต. และรับรองการปฏิบัติหน้าที่ตาม (2) และ (3) (5) ในกรณีที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องดําเนินการตามสมควรเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการเผยแพร่หรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลหรือผู้ออกโทเคนดิจิทัลตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงวันปิดการเสนอขายโทเคนดิจิทัล เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ผู้ออกโทเคนดิจิทัล กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกโทเคนดิจิทัล รวมทั้งกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวข้องในการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ไม่ทําการเผยแพร่หรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลหรือผู้ออกโทเคนดิจิทัล โดยที่ไม่ปรากฏข้อมูลดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือร่างหนังสือชี้ชวน และข้อมูลนั้นอาจมีผลต่อการตัดสินใจจองซื้อโทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุน หรือต่อการคาดการณ์เกี่ยวกับราคาหรือผลตอบแทนของโทเคนดิจิทัลที่เสนอขาย (ข) ในกรณีที่การเผยแพร่ข้อมูลกระทําโดยการแจกจ่ายเอกสารหรือจัดสัมมนา ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องดูแลให้เอกสารหรือการชี้แจงข้อมูลดังกล่าวมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน และต้องแจกจ่ายไปพร้อมกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบและสอบทานข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (due diligence) และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่เข้าใจและดําเนินการจนเชื่อมั่นว่า (ก) ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัลตามประกาศที่เกี่ยวข้อง มีแผนธุรกิจตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกําหนด และไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการเสนอขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชน (ข) คําขออนุญาตเสนอขายโทเคนดิจิทัล แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน รวมถึงเอกสารประกอบการเสนอขาย (ถ้ามี) มีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่มีข้อมูลที่ยังมิได้เปิดเผยซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการพิจารณาของสํานักงาน ก.ล.ต. และต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน รวมทั้งไม่มีลักษณะที่อาจทําให้ผู้ใช้ข้อมูลสําคัญผิด ทั้งนี้ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (ค) ชุดรหัส (source code) ในสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) หรือกลไกอื่นที่นํามาใช้ทดแทนสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) (ถ้ามี) มีรายละเอียดตรงกับข้อมูลในร่างหนังสือชี้ชวน (2) ให้ความเห็นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม (1) และรับรองต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ถึงการที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศที่เกี่ยวข้อง (3) ให้ความรู้ คําแนะนํา หรือกระทําการใด ๆ เพื่อให้ผู้ออกโทเคนดิจิทัลได้ทราบถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการและการดําเนินการ ที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (4) ติดต่อประสานงานกับสํานักงาน ก.ล.ต. และรับรองการปฏิบัติหน้าที่ตาม (2) และ (3) (5) ในกรณีที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย โทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ต้องดําเนินการตามสมควรเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการเผยแพร่หรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลหรือผู้ออกโทเคนดิจิทัลตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงวันปิดการเสนอขายโทเคนดิจิทัล เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ผู้ออกโทเคนดิจิทัล กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกโทเคนดิจิทัล รวมทั้งกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวข้องในการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ไม่ทําการเผยแพร่หรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลหรือผู้ออกโทเคนดิจิทัล โดยที่ไม่ปรากฏข้อมูลดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือร่างหนังสือชี้ชวน และข้อมูลนั้นอาจมีผลต่อการตัดสินใจจองซื้อโทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุน หรือต่อการคาดการณ์เกี่ยวกับราคาหรือผลตอบแทนของโทเคนดิจิทัลที่เสนอขาย (ข) ในกรณีที่การเผยแพร่ข้อมูลกระทําโดยการแจกจ่ายเอกสารหรือจัดสัมมนา ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องดูแลให้เอกสารหรือการชี้แจงข้อมูลดังกล่าวมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน และต้องแจกจ่ายไปพร้อมกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ ๑๘ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการระบบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล และต้องเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้อย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถตรวจสอบและอ้างอิงได้ (2) ในกรณีที่ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัล กําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลไว้เช่นใด ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่ประกาศดังกล่าวกําหนดด้วย (3) ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลรายใดไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ออกโทเคนดิจิทัล หรือเห็นว่าข้อมูลที่แสดงในเอกสารต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในหมวดนี้ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลรายนั้นต้องแจ้งรายละเอียดของการไม่ได้รับความร่วมมือดังกล่าว เป็นหนังสือไปยังสํานักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลมิได้แจ้งรายละเอียดดังกล่าว และหากข้อมูลที่เกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะถือว่าผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลนั้นปฏิบัติหน้าที่บกพร่องไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน (4) ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลรายใดไม่มีความเชี่ยวชาญในข้อมูลที่ต้องจัดเตรียมหรือร่วมจัดทําหรือให้ความเห็นในฐานะเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลรายนั้นอาจนําข้อมูลจากบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นมาอ้างอิงได้ ทั้งนี้ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องตรวจสอบจนเชื่อได้ว่าผู้เชี่ยวชาญรายนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี ข้อ ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลร่วมกับผู้ออกโทเคนดิจิทัลชี้แจงเป็นหนังสือต่อสํานักงาน ก.ล.ต. และต่อประชาชนโดยไม่ชักช้า เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) ผลการดําเนินงานไม่เป็นไปตามข้อมูลที่แสดงไว้ในเอกสารแสดงข้อมูลอย่างมีนัยสําคัญ (2) ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีการใช้เงินหรือคริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับจากการเสนอขายโทเคนดิจิทัลไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในเอกสารแสดงข้อมูลอย่างมีนัยสําคัญ เช่น มีการยกเลิก เลื่อนกําหนดเวลา หรือเปลี่ยนแปลงโครงการลงทุน เป็นต้น (3) ผู้ออกโทเคนดิจิทัล หรือกรรมการหรือผู้บริหารของบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดในการอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวน ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลมีหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เฉพาะในกรณีที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลในระหว่างระยะเวลาตามวรรคสอง ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลรายใหม่ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลรายเดิมตลอดระยะเวลาที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนด้วย หมวด ๔ การติดต่อและการให้บริการแก่ผู้ลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๐ ก่อนเริ่มให้บริการแก่ผู้ลงทุน ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องจัดให้มีการรวบรวมและประเมินข้อมูลของผู้ลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) ทําความรู้จักผู้ลงทุน (2) จัดประเภทผู้ลงทุน (3) พิจารณาความสามารถของผู้ลงทุนในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการ ในกรณีที่ผู้ลงทุนปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยอื่นใด ที่อาจทําให้ไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริง ของผู้ลงทุนหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงได้ ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลปฏิเสธการให้บริการ ข้อ ๒๑ ในการจัดประเภทผู้ลงทุนให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลพิจารณาข้อมูลที่ได้ตามข้อ 20 เพื่อให้สามารถนําเสนอบริการที่สอดคล้องกับประเภทผู้ลงทุน รวมทั้งการให้ข้อมูลและการแจ้งเตือนต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนแต่ละประเภท ในกรณีที่ผู้ลงทุนปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล หรือข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอหรือไม่เป็นปัจจุบันอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยที่อาจทําให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลไม่สามารถจัดประเภทผู้ลงทุนได้ ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลจัดให้เป็นผู้ลงทุนประเภทผู้ลงทุนรายบุคคล เมื่อได้ทําการจัดประเภทผู้ลงทุนแล้ว ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบถึงผลการจัดประเภทของผู้ลงทุน และต้องแจ้งให้ทราบถึงสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิของผู้ลงทุนแต่ละประเภทด้วย เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคสอง “ผู้ลงทุนรายบุคคล” หมายความถึง ผู้ลงทุนอื่นที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภท ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ นิติบุคคลร่วมลงทุน หรือกิจการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๒๒ ในการติดต่อหรือให้บริการแก่ผู้ลงทุน ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ให้ผู้ลงทุนทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการ และพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการดังกล่าว (1) ข้อมูลโดยทั่วไปของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (2) ลักษณะ ขอบเขต และเงื่อนไขการให้บริการที่เสนอต่อผู้ลงทุน (3) ช่องทางการให้บริการ และการติดต่อสื่อสาร (4) สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และเงื่อนไข ที่ผู้ลงทุนมีหรือต้องปฏิบัติเมื่อใช้บริการ (5) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) (6) วิธีปฏิบัติระหว่างผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลกับผู้ลงทุน ไม่ว่าจะเป็นไปตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และวิธีปฏิบัติที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลกําหนดขึ้น (7) ความเสี่ยงของการลงทุน ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ความเสี่ยงที่การประกอบธุรกิจของผู้ออกโทเคนดิจิทัลอาจไม่ประสบความสําเร็จ (ข) ในกรณีที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องเลิกกิจการหรือโครงการอันเป็นผลมาจากการประกอบธุรกิจที่ไม่ประสบผลสําเร็จ ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินหรือคริปโทเคอร์เรนซีที่ลงทุนกลับคืน ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างผู้ออกโทเคนดิจิทัลกับผู้ถือโทเคนดิจิทัล (ค) โทเคนดิจิทัลที่เสนอขายอาจมีช่องทางในการเปลี่ยนมือที่จํากัด ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะมีสภาพคล่องน้อย (ง) การสอบทานข้อมูลการเสนอขายและลักษณะการเสนอขายซึ่งผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลได้ดําเนินการนั้น อยู่บนพื้นฐานของการเปิดเผยข้อมูลของผู้ออกโทเคนดิจิทัล ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามวรรคหนึ่งนั้น ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องเปิดเผยข้อมูลการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ลงทุนทราบก่อนการจองซื้อโทเคนดิจิทัลด้วย ข้อ ๒๓ ก่อนการจองซื้อโทเคนดิจิทัล ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องจัดให้ผู้ลงทุนทําแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งต้องปรากฏว่าผู้ลงทุนสามารถทําแบบทดสอบดังกล่าวได้ถูกหมดทุกข้อ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ผู้ลงทุนดังต่อไปนี้ (1) ผู้ลงทุนสถาบัน นิติบุคคลร่วมลงทุน หรือกิจการเงินร่วมลงทุน (2) ผู้ลงทุนที่ผ่านแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนนั้นแล้ว ไม่เกินกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องแสดงคําถามและคําตอบของแบบทดสอบที่ผู้ลงทุนเคยทําไปแล้ว และต้องให้ผู้ลงทุนยืนยันการใช้ผลการทดสอบนั้น ข้อ ๒๔ การติดต่อหรือให้บริการแก่ผู้ลงทุน การแจ้งเตือนเรื่องต่าง ๆ หรือการให้ผู้ลงทุนลงนามรับทราบหรือยอมรับการให้บริการหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลสามารถจัดให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะที่สามารถจัดเก็บข้อมูลและตรวจดูข้อมูลได้ ข้อ ๒๕ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องมีช่องทางสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ลงทุนด้วยกัน ระหว่างผู้ลงทุนกับผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือระหว่างผู้ลงทุนกับผู้ออกโทเคนดิจิทัล ข้อ ๒๖ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของผู้ลงทุนให้เป็นปัจจุบันในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่ถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง และต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวที่ทําให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลสามารถนําข้อมูลนั้นมาใช้ประกอบการให้บริการกับผู้ลงทุนได้โดยไม่ชักช้า หมวด ๕ การเปิดเผยข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๗ ในการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อผู้ลงทุนผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องดําเนินการ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่เป็นปัจจุบันแก่ผู้ลงทุน โดยกระทําผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลดังนี้ก่อนการจองซื้อโทเคนดิจิทัล (ก) ขั้นตอนและวิธีการจองซื้อโทเคนดิจิทัล (ข) ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัล และหนังสือชี้ชวน (ถ้ามี) (ค) ข้อจํากัดเกี่ยวกับมูลค่าการลงทุนของผู้ลงทุนแต่ละราย (ถ้ามี) (ง) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดการโอนโทเคนดิจิทัล (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้องจัดให้ผู้ลงทุนลงนามรับทราบข้อมูลตามวรรคหนึ่งก่อนการจองซื้อทุกครั้ง (2) แจ้งข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ ให้ผู้ลงทุนที่จองซื้อโทเคนดิจิทัลทราบทันทีเมื่อมีผู้ลงทุนดําเนินการจองซื้อสําเร็จ (ก) ชื่อของโทเคนดิจิทัล และชื่อผู้ออกโทเคนดิจิทัล (ข) จํานวนโทเคนดิจิทัลที่จองซื้อ และราคาต่อหน่วยของโทเคนดิจิทัล จํานวนค่าจองซื้อโทเคนดิจิทัลทั้งหมด รวมถึงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด (ถ้ามี) (ค) ชื่อผู้จองซื้อโทเคนดิจิทัล (3) แจ้งให้ผู้ลงทุนที่จองซื้อโทเคนดิจิทัลทราบ เมื่อปรากฏว่ามีผู้จองซื้อโทเคนดิจิทัลครบถ้วนตามจํานวนที่เสนอขาย หรือไม่สามารถเสนอขายโทเคนดิจิทัลได้ครบตามมูลค่าภายในระยะเวลาที่กําหนด หมวด ๖ ระบบการเสนอขายและจัดการค่าจองซื้อโทเคนดิจิทัล ที่มีประสิทธิภาพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๘ ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลดําเนินการเกี่ยวกับค่าจองซื้อโทเคนดิจิทัล ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการจัดการค่าจองซื้อตามระบบที่กําหนด (2) จัดให้มีการโอนค่าจองซื้อโทเคนดิจิทัลให้แก่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลเมื่อปรากฏว่าการจองซื้อโทเคนดิจิทัลครบตามมูลค่าที่กําหนดไว้ (3) จัดให้มีการโอนค่าจองซื้อโทเคนดิจิทัลคืนให้แก่ผู้ลงทุนที่จองซื้อโทเคนดิจิทัลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) ผู้ออกโทเคนดิจิทัลไม่สามารถเสนอขายโทเคนดิจิทัลได้ครบตามมูลค่าและภายในระยะเวลาที่กําหนด (ข) เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีพฤติการณ์อันมีลักษณะเป็นการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ หรือมีการกระทําอันไม่เป็นธรรมที่เป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุน (fraud protection) ข้อ ๒๙ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องจัดให้มีระบบการจัดการค่าจองซื้อที่มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ค่าจองซื้อเป็นคริปโทเคอร์เรนซีให้จัดให้มีการจัดการโดยใช้สัญญาอัจฉริยะ (smart contract) (2) ในกรณีที่ค่าจองซื้อเป็นเงินบาทให้จัดให้มีระบบการจัดการทรัพย์สิน อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (ก) จัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเพื่อการเก็บรักษาเงินจองซื้อโทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (escrow agent) (ข) จัดให้มีบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือซึ่งมีฐานะการเงินที่มั่นคงทําหน้าที่เก็บรักษาเงินจองซื้อโทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุน โดยการดําเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. (ค) จัดให้มีผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถเก็บรักษาทรัพย์สินได้เพื่อเก็บรักษาเงินจองซื้อโทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุน ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลจะรับคริปโทเคอร์เรนซีจากผู้ลงทุนหรือผู้ออกโทเคนดิจิทัลในการทําธุรกรรม ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องรับเฉพาะคริปโทเคอร์เรนซีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. และได้มาจากการซื้อขาย แลกเปลี่ยนหรือฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ซึ่งไม่อยู่ระหว่างถูกระงับการประกอบธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีเท่านั้น ข้อ ๓๑ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องจัดให้มีกลไกการควบคุมมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนโทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุนแต่ละรายให้ไม่เกินกว่าข้อจํากัดการลงทุน (investment limit) (ถ้ามี) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องปฏิบัติตามประกาศที่เกี่ยวข้อง หมวด ๗ การโฆษณาการให้บริการระบบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ในส่วนนี้ “การโฆษณา” หมายความว่า การทําให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการหรือการให้บริการของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล โดยทางข้อความ ภาพ เสียง เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ และไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อ หรือเครื่องมือใด ๆ ข้อ ๓๓ ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลปฏิบัติตามความในส่วนนี้ต่อผู้ลงทุนที่แสดงความสนใจใช้บริการของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลด้วย ข้อ ๓๔ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณาต้องดําเนินการให้การโฆษณานั้น มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือต่อการตัดสินใจลงทุน โดยการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) ไม่เร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจใช้บริการของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือตัดสินใจลงทุน (3) ไม่มีลักษณะชี้นําหรือประกันผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. (4) มีคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนอย่างเหมาะสม และมีการแจ้งวิธีการสําหรับการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการหรือการลงทุน (5) หากเป็นการโฆษณาโดยใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน หมวด ๘ การยื่นรายงานและข้อมูลต่อสํานักงาน ก.ล.ต. \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๕ ยกเลิก ข้อ 35/1 เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถติดตามสภาพตลาดและความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลและการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลได้ทันต่อเหตุการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกํากับดูแลและการควบคุมการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลและการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล การป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล การทุจริต หลอกลวง หรือฉ้อโกงเกี่ยวกับทรัพย์สินของนิติบุคคลตามกฎหมาย รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลเก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลตามตารางแนบท้ายประกาศนี้ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้มีรายละเอียดของรูปแบบ วิธีการ และระยะเวลา ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด หมวด ๙ มาตรการบังคับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๖ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลเป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ร้องขอ ให้ผู้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างกับผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลดังต่อไปนี้ (1) ให้ดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด (2) ให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด (3) พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเปิดเผยการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและข้อ 38 ต่อบุคคลใด ๆ ได้ ข้อ ๓๘ ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดระยะเวลาการพักการให้ความเห็นชอบอันเป็นผลให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลไม่สามารถประกอบธุรกิจตามที่ได้รับความเห็นชอบได้อีกตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่ยังเหลืออยู่หรือในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. พักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งแล้ว หากผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลนั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะไม่นําเหตุที่ทําให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
107
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 27/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 3 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 3 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกชื่อหมวด 8 การยื่นรายงานการเสนอขายโทเคนดิจิทัล แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมวด 8 การยื่นรายงานและข้อมูลต่อสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 35/1 ในหมวด 8 การยื่นรายงานและข้อมูลต่อสํานักงาน ก.ล.ต. แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 35/1 เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถติดตามสภาพตลาดและความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลและการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลได้ทันต่อเหตุการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกํากับดูแลและการควบคุมการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลและการประกอบธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล การป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลการทุจริต หลอกลวง หรือฉ้อโกงเกี่ยวกับทรัพย์สินของนิติบุคคลตามกฎหมาย รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลเก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้มีรายละเอียดของข้อมูล รูปแบบ และวิธีการ รวมถึงระยะเวลาในการเปิดเผยข้อมูลตามตารางแนบท้ายประกาศนี้” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
108
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 7/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 4 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 4 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และ (2) และมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) (6) และ (7) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) แสดงได้ว่าจะมีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากร ที่เหมาะสมและเพียงพอให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรับผิดชอบ และเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาความเหมาะสมและเพียงพอตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงลักษณะ ขนาด ปริมาณ ความซับซ้อน และความหลากหลาย ของธุรกิจและบริการ ตลอดจนระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับธุรกิจและบริการดังกล่าวด้วย (6) แสดงได้ว่าจะมีบุคลากรในจํานวนที่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ อย่างเหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่มีประวัติในทางที่เสื่อมเสีย (7) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ระบบงานในการกลั่นกรองโทเคนดิจิทัลที่จะเสนอขาย (ข) ระบบในการติดต่อและให้บริการกับผู้ลงทุน (ค) ระบบการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอและน่าเชื่อถือ (ง) ระบบการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทุกด้านอย่างรัดกุม (จ) ระบบการเสนอขายและจัดการค่าจองซื้อโทเคนดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ (ฉ) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบงานและข้อมูล (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity) และความพร้อมใช้ของระบบงาน (availability) โดยคํานึงถึงความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT risk) และความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber risk) ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ออกตามประกาศดังกล่าวด้วย (ช) ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ และปลอดภัย โดยเฉพาะการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือขัดกับกฎหมาย (ซ) ระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง (ฌ) ระบบงานในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (compliance) ตามแนวทางที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (ญ) ระบบการจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนเพื่อระงับข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 8/1 ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องประกอบกิจการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ ทั้งนี้ จะเริ่มประกอบกิจการได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลสามารถแสดงได้ถึงความพร้อมของระบบงานตามข้อ 6(5) (6) และ (7) ในกรณีที่ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลไม่สามารถประกอบกิจการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามปีปฏิทินภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ชําระค่าธรรมเนียมให้แล้วเสร็จก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 ในหมวด 2 มาตรฐานในการปฏิบัติงาน แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 16/1 ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ออกตามประกาศดังกล่าว” ข้อ 5 คําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้การให้ความเห็นชอบและการชําระค่าธรรมเนียมเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ก่อนการแก้ไขโดยประกาศนี้ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
109
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 11/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 11/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (1) ในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) ชุดรหัส (source code) ในสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) หรือกลไกอื่นที่นํามาใช้ทดแทนสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) (ถ้ามี) มีรายละเอียดตรงกับข้อมูลในร่างหนังสือชี้ชวน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
110
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 35/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 35/1 เพื่อให้สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถติดตามสภาพตลาดและความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลและการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลได้ทันต่อเหตุการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกํากับดูแลและการควบคุมการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลและการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล การป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล การทุจริต หลอกลวง หรือฉ้อโกงเกี่ยวกับทรัพย์สินของนิติบุคคลตามกฎหมาย รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลเก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลตามตารางแนบท้ายประกาศนี้ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้มีรายละเอียดของรูปแบบ วิธีการ และระยะเวลา ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด” ข้อ 2 ให้ยกเลิกตารางแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 27/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ตารางแนบท้ายประกาศนี้เป็นตารางแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
111
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 22/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 22/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
112
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 31/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ” และ “วงเงินจัดสรร” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ผู้ออกโทเคนดิจิทัล” และคําว่า “สัญญาอัจฉริยะ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ““ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ในการให้บริการลูกค้าอันเนื่องมาจากการเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขาย โทเคนดิจิทัล “วงเงินจัดสรร” หมายความว่า วงเงินการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายให้สํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้จัดสรรวงเงิน” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 14/1 ในกรณีประสงค์จะทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ให้ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ขอรับวงเงินจัดสรรจากสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ การขอรับการจัดสรรวงเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. (2) ดําเนินการตรวจสอบวงเงินก่อนทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรตาม (1)” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
113
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 9 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการระบบเสนอชายโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 9 ) ---------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก..ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า "ผู้ลงทุนรายใหญ่" ต่อจากบทนิยามคําว่า“ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่" ข้อ 2 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า "นิติบุคคลร่วมลงทุน" (venture capital) และ “กิจการเงินร่วมลงทุน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ ของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคสอง "ผู้ลงทุนรายบุคคล" หมายความถึงที่มิใช่ผู้ลงทุนประเภทผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่"ผู้ลงทุนอื่น ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้ความเห็นชอบผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(1) ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่" ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้นไป
114
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 8/2552 เรื่อง การกำหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 8/2552 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ทรัสต์อาจก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการดําเนินธุรกรรมในตลาดทุนดังต่อไปนี้ (1) ทรัสต์สําหรับการบริหารและจัดการลงทุน (Active trust) ที่มีการออกใบทรัสต์ซึ่งได้แก่ (ก) การก่อตั้งทรัสต์เพื่อการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบันและรายใหญ่ (Institutional Investor & High Net Worth Trust Fund) (ข) การก่อตั้งทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust) (ค) การตั้ง Exchange-traded fund ในรูปทรัสต์ (ง) การตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจในรูปทรัสต์ (Special Purpose Trust) (จ) การก่อตั้งทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกตราสารศุกูก (Sukuk) (2) ทรัสต์สําหรับการถือครองทรัพย์สินหรือเพื่อประโยชน์ในการชําระหนี้ในการออกหลักทรัพย์ (Passive trust) ได้แก่ (ก) การใช้ทรัสต์ในการออกและเสนอขายหุ้นให้กรรมการและพนักงาน (ข) การใช้ทรัสต์ในโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) (ค) การใช้ทรัสต์ในการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ง) การตั้งบัญชีเงินสํารอง (Reserve account) หรือเงินทุนทยอยชําระ (Sinking fund)ในรูปทรัสต์เพื่อการชําระหนี้ในการออกหุ้นกู้ (จ) การตั้งบัญชีทรัพย์สินในรูปทรัสต์ในการเรียกเก็บหนี้ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้สามารถใช้ทรัสต์เป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมของธุรกรรมประเภทต่าง ๆ ในตลาดทุนได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
115
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 4/2558 เรื่อง การกำหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 4/2558 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมในตลาดทุน ให้ก่อตั้งทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure trust) ได้ ข้อ 2 ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 1 หมายความว่า ทรัสต์ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนและแสวงหาประโยชน์ในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก และมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) คําว่า “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามลักษณะที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนด ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
116
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 9/2563 เรื่อง การกำหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 9/2563 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4(3) มาตรา 8(1) และมาตรา 12(3) แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมในตลาดทุน ให้ผู้ออกโทเคนดิจิทัลก่อตั้งทรัสต์สําหรับธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนได้ โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ทรัสต์สําหรับการถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) (passive trust) (2) ทรัสต์ที่มีทรัพย์สินในกองทรัสต์เป็นหุ้นของนิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.)(passive trust) ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) เป็นการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมด ของนิติบุคคลเฉพาะกิจนั้น (ข) เป็นการถือหุ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ถือโทเคนดิจิทัล เพื่อมิให้ทรัพย์สินของนิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวถูกจําหน่าย จ่าย โอน หรือก่อภาระผูกพัน โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากทรัสตี ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (2) คําว่า “นิติบุคคลเฉพาะกิจ” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ตามข้อกําหนดในการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
117
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 4/2564 เรื่อง การกำหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 4/2564 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4(3) มาตรา 8(1) และมาตรา 12(3) แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 9/2563 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563 ข้อ ๒ 2 เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมในตลาดทุน ให้ผู้ออกโทเคนดิจิทัลก่อตั้งทรัสต์สําหรับธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนได้ โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ทรัสต์สําหรับการถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) (passive trust) (2) ทรัสต์สําหรับการลงทุนในสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์หรือมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) (passive trust) (3) ทรัสต์ที่มีทรัพย์สินในกองทรัสต์เป็นหุ้นของนิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) (passive trust) ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) เป็นการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดและไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมด ของนิติบุคคลเฉพาะกิจนั้น (ข) เป็นการถือหุ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ถือโทเคนดิจิทัล เพื่อมิให้ทรัพย์สิน ของนิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวถูกจําหน่าย จ่าย โอน หรือก่อภาระผูกพัน โดยไม่ได้รับความเห็นชอบ จากทรัสตี ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (3) คําว่า “นิติบุคคลเฉพาะกิจ” หมายความว่า บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ตามข้อกําหนดในการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ๐ ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
118
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 23/2564 เรื่อง การกำหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 23/2564 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 8(1) และมาตรา 12(3) แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 8/2552 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 7/2557 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 4/2558 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 4/2564 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ข้อ ๒ ทรัสต์อาจก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการดําเนินธุรกรรมในตลาดทุนดังต่อไปนี้ (1) ทรัสต์สําหรับการบริหารและจัดการลงทุน (active trust) ที่มีการออกใบทรัสต์ซึ่งได้แก่ (ก) ทรัสต์เพื่อการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบันและรายใหญ่ (Institutional Investor & High Net Worth Trust Fund) (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust) (ค) Exchange-traded fund ในรูปทรัสต์ (ง) นิติบุคคลเฉพาะกิจในรูปทรัสต์ (Special Purpose Trust) (จ) ทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกตราสารศุกูก (Sukuk Trust) (ฉ) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust) (2) ทรัสต์สําหรับการถือครองทรัพย์สินหรือเพื่อประโยชน์ในการชําระหนี้ในการออกหลักทรัพย์ (passive trust) ได้แก่ (ก) ทรัสต์ในการออกและเสนอขายหุ้นให้กรรมการและพนักงาน (ข) ทรัสต์ในโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program Trust) (ค) ทรัสต์ในการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ง) การตั้งบัญชีเงินสํารอง (reserve account) หรือเงินทุนทยอยชําระ (sinking fund) ในรูปทรัสต์เพื่อการชําระหนี้ในการออกหุ้นกู้ (จ) การตั้งบัญชีทรัพย์สินในรูปทรัสต์ในการเรียกเก็บหนี้ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจ (ฉ) ทรัสต์สําหรับธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ (3) ทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust) ไม่ว่าจะเป็นตาม (1) หรือ (2) ข้อ ๓ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 2(1) (ฉ) ต้องเป็นทรัสต์ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนและแสวงหาประโยชน์ในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามลักษณะที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดเป็นหลัก และมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) ข้อ ๔ ทรัสต์สําหรับธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 2(2) (ฉ) ต้องเป็นทรัสต์ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ทรัสต์สําหรับการถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) (2) ทรัสต์สําหรับการลงทุนในสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์หรือมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) (3) ทรัสต์ที่มีทรัพย์สินในกองทรัสต์เป็นหุ้นของนิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) เป็นการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดและไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมด ของนิติบุคคลเฉพาะกิจนั้น (ข) เป็นการถือหุ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ถือโทเคนดิจิทัล เพื่อมิให้ทรัพย์สินของนิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวถูกจําหน่าย จ่าย โอน หรือก่อภาระผูกพัน โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากทรัสตี ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ นิติบุคคลเฉพาะกิจตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ตามข้อกําหนดในการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ข้อ ๕ ทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนตามข้อ 2(3) ต้องมีลักษณะเป็นไปตามองค์ประกอบครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1)1 มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนร่วมกันของผู้ลงทุนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยจํากัดลักษณะของผู้ลงทุนไว้เฉพาะที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ทั้งนี้ ต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (2) มีการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดการเงินทุนและทรัพย์สินที่เกิดจากเงินทุน (3) มีนโยบายการลงทุนในกิจการอื่นผ่านการเข้าทําสัญญาการลงทุนในหุ้นหรือการสนับสนุนทางการเงินที่ก่อให้เกิดสิทธิในการได้มาซึ่งหุ้นของกิจการนั้นในภายหลังโดยมีส่วนในการกํากับดูแลแผนธุรกิจ การดําเนินงานหรือการปรับปรุงการดําเนินงาน หรือการดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่สะท้อนถึงการมีบทบาทต่อการดําเนินธุรกิจของกิจการดังกล่าว ข้อ ๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
119
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 23/2564 เรื่อง การกำหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 23/2564 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 8(1) และมาตรา 12(3) แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 8/2552 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 7/2557 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 4/2558 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 4/2564 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ข้อ ๒ ทรัสต์อาจก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการดําเนินธุรกรรมในตลาดทุนดังต่อไปนี้ (1) ทรัสต์สําหรับการบริหารและจัดการลงทุน (active trust) ที่มีการออกใบทรัสต์ซึ่งได้แก่ (ก) ทรัสต์เพื่อการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบันและรายใหญ่ (Institutional Investor & High Net Worth Trust Fund) (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust) (ค) Exchange-traded fund ในรูปทรัสต์ (ง) นิติบุคคลเฉพาะกิจในรูปทรัสต์ (Special Purpose Trust) (จ) ทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกตราสารศุกูก (Sukuk Trust) (ฉ) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust) (2) ทรัสต์สําหรับการถือครองทรัพย์สินหรือเพื่อประโยชน์ในการชําระหนี้ในการออกหลักทรัพย์ (passive trust) ได้แก่ (ก) ทรัสต์ในการออกและเสนอขายหุ้นให้กรรมการและพนักงาน (ข) ทรัสต์ในโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program Trust) (ค) ทรัสต์ในการออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ง) การตั้งบัญชีเงินสํารอง (reserve account) หรือเงินทุนทยอยชําระ (sinking fund) ในรูปทรัสต์เพื่อการชําระหนี้ในการออกหุ้นกู้ (จ) การตั้งบัญชีทรัพย์สินในรูปทรัสต์ในการเรียกเก็บหนี้ให้นิติบุคคลเฉพาะกิจ (ฉ) ทรัสต์สําหรับธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ (3) ทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust) ไม่ว่าจะเป็นตาม (1) หรือ (2) ข้อ ๓ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 2(1) (ฉ) ต้องเป็นทรัสต์ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนและแสวงหาประโยชน์ในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามลักษณะที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดเป็นหลัก และมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) ข้อ ๔ ทรัสต์สําหรับธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 2(2) (ฉ) ต้องเป็นทรัสต์ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ทรัสต์สําหรับการถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) (2) ทรัสต์สําหรับการลงทุนในสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์หรือมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) (3) ทรัสต์ที่มีทรัพย์สินในกองทรัสต์เป็นหุ้นของนิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) เป็นการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดและไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมด ของนิติบุคคลเฉพาะกิจนั้น (ข) เป็นการถือหุ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ถือโทเคนดิจิทัล เพื่อมิให้ทรัพย์สินของนิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวถูกจําหน่าย จ่าย โอน หรือก่อภาระผูกพัน โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากทรัสตี ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ นิติบุคคลเฉพาะกิจตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ตามข้อกําหนดในการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ข้อ ๕ ทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนตามข้อ 2(3) ต้องมีลักษณะเป็นไปตามองค์ประกอบครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนร่วมกันของผู้ลงทุนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปโดยจํากัดลักษณะของผู้ลงทุนไว้เฉพาะที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ทั้งนี้ ต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (2) มีการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดการเงินทุนและทรัพย์สินที่เกิดจากเงินทุน (3) มีนโยบายการลงทุนในกิจการอื่นผ่านการเข้าทําสัญญาการลงทุนในหุ้นหรือการสนับสนุนทางการเงินที่ก่อให้เกิดสิทธิในการได้มาซึ่งหุ้นของกิจการนั้นในภายหลังโดยมีส่วนในการกํากับดูแลแผนธุรกิจ การดําเนินงานหรือการปรับปรุงการดําเนินงาน หรือการดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่สะท้อนถึงการมีบทบาทต่อการดําเนินธุรกิจของกิจการดังกล่าว ข้อ ๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
120
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 15/2565 เรื่อง การกำหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 15/2565 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ (ฉบับที่ 2 ) ----------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 23/2564 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(1) มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนร่วมกันของผู้ลงทุนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยจํากัดลักษณะของผู้ลงทุนไว้เฉพาะที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ทั้งนี้ ต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ" ข้อ 2 ให้ทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามข้อ 5(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 23/2564 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ยังคงดําเนินธุรกรรมในตลาดทุนตามวัตถุประสงค์ที่ก่อตั้งไว้เดิมต่อไปได้ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
121
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 5/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสต์ของทรัสต์สำหรับธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 5/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสตีของทรัสต์สําหรับ ธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือ มีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8(1) มาตรา 13 วรรคหนึ่ง มาตรา 30 วรรคสองมาตรา 56 วรรคหนึ่ง มาตรา 57(7) และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์สําหรับธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน “ผู้ออกโทเคนดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นของนิติบุคคลใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น “กฎหมายที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลและการเปิดเผยข้อมูล ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว “ประกาศ ที่ กข. 9/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ประกาศดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจและข้อกําหนดในกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ข้อ ๒ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าทรัสต์ได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ ๓ ทรัสต์ต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสต์ของกองทรัสต์ และรับเป็นทรัสต์ของกองทรัสต์เฉพาะกรณีที่มั่นใจว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสต์ของกองทรัสต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระ ข้อ ๔ ในกรณีที่ทรัสต์มีความเกี่ยวข้องกับผู้ออกโทเคนดิจิทัลในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าทรัสต์ขาดความเป็นอิสระ และจะรับเป็นทรัสต์ของกองทรัสต์มิได้ (1) เป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกโทเคนดิจิทัลเกินร้อยละ 5 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกโทเคนดิจิทัลดังกล่าว (2) มีผู้ออกโทเคนดิจิทัลเป็นผู้ถือหุ้นในทรัสต์เกินร้อยละ 5 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของทรัสต์ดังกล่าว (3) มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในทรัสต์เป็นบุคคลเดียวกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในผู้ออกโทเคนดิจิทัล (4) มีกรรมการหรือผู้บริหารของทรัสต์เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกโทเคนดิจิทัล (5) มีความเกี่ยวข้องไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้ออกโทเคนดิจิทัลในลักษณะทํานองเดียวกับ (1) (2) (3) และ (4) หรือในลักษณะอื่นอย่างมีนัยสําคัญในประการที่อาจเป็นเหตุให้ทรัสต์ขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ หากปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังจากการเข้ารับเป็นทรัสต์ของกองทรัสต์ว่าทรัสต์ขาดความเป็นอิสระตามวรรคหนึ่ง ให้ทรัสต์แจ้งกรณีดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งแสดงมาตรการที่สมเหตุสมผลและน่าเชื่อได้ว่าจะทําให้ทรัสต์สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระภายใน 15 วันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว และให้ดําเนินการตามมาตรการที่แสดงไว้นั้น เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ข้อ ๕ ทรัสต์จะถือโทเคนดิจิทัลที่ตนทําหน้าที่เป็นทรัสต์ของกองทรัสต์นั้นได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละ 50 ของจํานวนโทเคนดิจิทัลที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (2) ร้อยละ 50 ของจํานวนโทเคนดิจิทัลที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโทเคนดิจิทัลแต่ละชนิด ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของโทเคนดิจิทัล การคํานวณอัตราการถือโทเคนดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมโทเคนดิจิทัลที่ถือโดยกลุ่มบุคคลเดียวกันกับทรัสต์ด้วย ข้อ ๖ ภายใต้บังคับของข้อ 7 วรรคสองแห่งประกาศ ที่ กข. 9/2552 ในกรณีที่ทรัสต์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน และไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศ ที่ กข. 9/2552 ให้ทรัสต์ดังกล่าวดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในประกาศการดํารงเงินกองทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้โดยอนุโลม ข้อ ๗ ทรัสต์ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามข้อกําหนดขั้นต่ําในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ และหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดขั้นต่ําตามวรรคหนึ่งมีสาระที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ให้ทรัสต์ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้เป็นสําคัญ ข้อ ๘ ทรัสต์ต้องติดตาม ดูแล และตรวจสอบให้ผู้ออกโทเคนดิจิทัลดําเนินการให้เป็นไปตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน และแผนธุรกิจ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการ จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือโทเคนดิจิทัล หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน แผนธุรกิจ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ทรัสต์ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานเสนอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 5 วันทําการนับแต่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว (2) ดําเนินการเพื่อแก้ไข ยับยั้ง หรือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๐ ทรัสต์ต้องเข้าร่วมในการประชุมผู้ถือโทเคนดิจิทัลด้วยทุกครั้ง และหากมีการขอมติที่ประชุมผู้ถือโทเคนดิจิทัลเพื่อดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทรัสต์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ตอบข้อซักถามและให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวว่าเป็นไปตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน แผนธุรกิจ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ (2) ทักท้วงและแจ้งให้ผู้ถือโทเคนดิจิทัลทราบว่าการดําเนินการดังกล่าวไม่สามารถกระทําได้ ในกรณีที่การดําเนินการนั้นไม่เป็นไปตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน แผนธุรกิจ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่เป็นการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือโทเคนดิจิทัล ทรัสต์ต้องจัดให้มีช่องทางสําหรับการตอบข้อซักถาม ให้ความเห็น ทักท้วงและแจ้งต่อผู้ถือโทเคนดิจิทัลตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๑๑ ทรัสต์จะกระทําการใดที่เป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทรัสต์หรืออาจทําให้ทรัสต์ขาดความเป็นอิสระมิได้ เว้นแต่เป็นธุรกรรมที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นธุรกรรมที่มีมาตรการหรือกลไกตรวจสอบและถ่วงดุลความเป็นธรรมของธุรกรรมดังกล่าว (2) ในกรณีที่เป็นการทําธุรกรรมที่เป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทรัสต์ ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผู้ถือโทเคนดิจิทัลทราบก่อนอย่างเพียงพอแล้ว โดยบุคคลดังกล่าวไม่คัดค้านหรือคัดค้านในจํานวนที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําที่เป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ทรัสต์เป็นผู้ถือโทเคนดิจิทัลในกองทรัสต์ที่ตนทําหน้าที่เป็นทรัสต์ หากต้องมีการออกเสียงหรือดําเนินการใด ๆ ในฐานะผู้ถือโทเคนดิจิทัล ให้ทรัสต์คํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือโทเคนดิจิทัลโดยรวม และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริตและความรอบคอบระมัดระวัง รวมถึงไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทรัสต์ของกองทรัสต์ดังกล่าว ข้อ ๑๓ ทรัสต์ต้องดูแลให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์มีสาระสําคัญเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ทรัสต์ต้องดูแลให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และให้ส่งสําเนาซึ่งได้แก้ไขนั้นให้สํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ลงนามหรือวันที่มีการแก้ไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
122
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 1/2542 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 1/2542 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (derivative warrant) เป็นหลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 2 ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 1 หมายความว่า ตราสารที่แบ่งเป็นหน่วย และมีการกําหนดข้อตกลงและเงื่อนไขไว้เป็นการล่วงหน้าในลักษณะที่เท่ากันทุกหน่วยโดยข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าวให้สิทธิในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้แก่ผู้ถือ (1) สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทใด ๆ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ (2) สิทธิที่จะขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทใด ๆ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ (3) สิทธิที่จะได้รับชําระเงินหรือสิ่งตอบแทนอื่นใดที่คํานวณเป็นเงินได้ ตามส่วนต่างของราคาหุ้นที่ออกโดยบริษัทใด ๆ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ กับราคาหุ้นที่กําหนดในตราสาร หรือ (4) สิทธิที่จะได้รับชําระเงินหรือสิ่งตอบแทนอื่นใดที่คํานวณเป็นเงินได้ โดยสิทธิดังกล่าวคํานวณจากส่วนต่างของดัชนีหลักทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ กับดัชนีหลักทรัพย์ที่กําหนดในตราสาร ข้อ 3 ให้ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 1 เป็นหลักทรัพย์ที่กําหนดตามมาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2542 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
123
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 6/2542 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2542 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ออปชัน (option) เป็นหลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ออปชัน (option) ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ตราสารที่ตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยออกเพื่อแสดงสิทธิแก่ผู้ถือดังต่อไปนี้ (1) สิทธิที่จะซื้อหรือสิทธิที่จะขายสินค้าอ้างอิงกับตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต ตามจํานวนและราคาที่กําหนดไว้ในตราสารหรือ (2) สิทธิที่จะได้รับชําระเงินจากตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย โดยสิทธิดังกล่าวคํานวณจากส่วนต่างของราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตกับราคาหรือมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงตามที่กําหนดไว้ในตราสาร ข้อ 2 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 1 “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทจํากัดที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น “สินค้าอ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์หรือเงินตราสกุลใด ๆ “ตัวแปรอ้างอิง” หมายความว่า ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์หรืออัตราดอกเบี้ย ข้อ 3 ตราสารที่มีลักษณะเป็นออปชัน (option) ตามข้อ 1 มิให้ถือเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (derivative warrant) ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 1 /2542 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2542 ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
124
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 34/2543 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2543 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (depositary receipt) เป็นหลักทรัพย์ตามมาตรา 4 ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินเทียบเท่าหรืออ้างอิงกับผลตอบแทนทางการเงินที่ผู้ถือหลักทรัพย์อ้างอิงจะได้รับ โดยผู้ออกตราสารมีหรือจะมีการถือหลักทรัพย์อ้างอิงรองรับ ทั้งนี้ ตราสารดังกล่าวไม่รวมถึงหน่วยลงทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือตราสารที่ให้สิทธิในทํานองเดียวกับตราสารดังกล่าวซึ่งเป็นหลักทรัพย์ประเภทอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ 2 ให้ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามข้อ 1 เป็นหลักทรัพย์ที่กําหนดตามมาตรา 33 และมาตรา 34 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
125
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 7/2558 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2558 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2552 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2553 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ให้ตราสารดังต่อไปนี้ เป็นหลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (1) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ตามข้อ 3 (2) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ตามข้อ 4 (3) ตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากทรัพย์สิน ตามข้อ 5 ข้อ ๓ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หมายความว่า ตราสารที่แบ่งเป็นหน่วย และมีการกําหนดข้อตกลงและเงื่อนไขไว้เป็นการล่วงหน้าในลักษณะที่เท่ากันทุกหน่วย โดยข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าวให้สิทธิในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้แก่ผู้ถือ (1) สิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกโดยกิจการใด ๆ ซึ่งมิใช่บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ (2) สิทธิที่จะขายหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกโดยกิจการใด ๆ ซึ่งมิใช่บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ (3) สิทธิที่จะได้รับชําระเงินหรือสิ่งตอบแทนอื่นใดที่คํานวณเป็นเงินได้จากราคาหลักทรัพย์อ้างอิงที่ออกโดยกิจการใด ๆ ซึ่งมิใช่บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ กับราคาหลักทรัพย์ที่กําหนดในตราสาร (4) สิทธิที่จะได้รับชําระเงินหรือสิ่งตอบแทนอื่นใดที่คํานวณเป็นเงินได้ โดยสิทธิดังกล่าวคํานวณจากระดับของดัชนีหลักทรัพย์อ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กําหนดไว้ กับระดับของดัชนีหลักทรัพย์ที่กําหนดในตราสาร ข้อ ๔ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง หมายความว่า ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะได้รับผลตอบแทนทางการเงินเทียบเท่าหรืออ้างอิงกับผลตอบแทนทางการเงินที่ผู้ถือหลักทรัพย์อ้างอิงจะได้รับ โดยผู้ออกตราสารมีหรือจะมีการถือหลักทรัพย์อ้างอิงรองรับ ทั้งนี้ ตราสารดังกล่าวไม่รวมถึงหน่วยลงทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือตราสารที่ให้สิทธิในทํานองเดียวกับตราสารดังกล่าวซึ่งเป็นหลักทรัพย์ประเภทอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๕ ตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากทรัพย์สิน หมายความว่า ตราสารที่แบ่งเป็นหน่วย แต่ละหน่วยมีข้อตกลงเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งออกโดยผู้รับฝากทรัพย์สินเพื่อแสดงสิทธิของผู้ถือตาสัญญาฝากทรัพย์สินที่จะเรียกคืนทรัพย์สินที่ฝากไว้ และสิทธิอื่นตามที่ผู้รับฝากทรัพย์สินระบุไว้ในการออกตราสารนั้น โดยทรัพย์สินที่ฝากไว้ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (2) หลักทรัพย์ ตราสาร หรือทรัพย์สินอื่น ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๖ ให้ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง และตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากทรัพย์สินเป็นหลักทรัพย์ที่ห้ามมิให้เสนอขายตามมาตรา 33 เว้นแต่จะเป็นไปตามกรณีที่กําหนดไว้ในมาตราดังกล่าว ข้อ ๗ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับตามบทเฉพาะกาลของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2552 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2553 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ.12/2552 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2553 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
126
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 21/2562 เรื่อง การกำหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 21/2562 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2541 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ข้อ ๒ ให้ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription Right หรือ TSR) เป็นหลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๓ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ตามข้อ 2 หมายความว่า ตราสารที่บริษัทมหาชนจํากัดออกให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นนั้นหรือบุคคลอื่นที่ได้รับโอนตราสารดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทมหาชนจํากัดนั้น โดยสิทธิดังกล่าวเป็นสัดส่วนกับจํานวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคนนั้นและให้หมายความรวมถึงตราสารดังกล่าวที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ออกตามส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ โดยไม่ออกให้แก่ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้บริษัทมหาชนจํากัดมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2541 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
127
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 10/2552 การกำหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 10/2552 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และมาตรา 14 และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ใบทรัสต์ (trust certificate) เป็นหลักทรัพย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ใบทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง1 หมายความว่า ตราสารที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในทรัสต์ ซึ่งมีการแบ่งตราสารดังกล่าวเป็นหน่วยโดยหน่วยชนิดเดียวกันมีมูลค่าที่เท่ากัน ข้อ 2 ให้หลักทรัพย์ตามข้อ 1 เป็นหลักทรัพย์ที่ห้ามมิให้เสนอขายตามมาตรา 33แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เว้นแต่จะเป็นไปตามกรณีที่กําหนดไว้ในมาตราดังกล่าว ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
128
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนและการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการ กองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2552 เรื่อง การดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 3 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วยหรือไม่ “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วยหรือไม่ “ดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนหรือดํารงฐานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุดซึ่งมีวิธีการคํานวณตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๓ ประกาศนี้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการกองทุนรวม (2) บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (3) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมหรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวที่มีลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังนี้ (ก) มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อลูกค้าผ่านสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ข้อ ๔ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 3(3) และข้อ 5(2) ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่นอยู่แล้ว (2) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (3) ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้หยุดประกอบธุรกิจจากสํานักงานและอยู่ระหว่างหยุดการประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตนั้น ข้อ ๕ การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นบริษัทจัดการที่มีการประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ ให้เป็นไปตามข้อ 6 (ก) การจัดการกองทุนรวมดังนี้ 1. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 2. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน 3. กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน 4. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง 5. กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ข) การเป็นทรัสตีหรือผู้จัดการกองทรัสต์ สําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน (2) กรณีเป็นบริษัทจัดการที่ไม่มีการประกอบธุรกิจใด ๆ ตาม (1) (ก) หรือ (ข) ให้ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในเอกสารการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ตาราง 1 : การดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการตามข้อ 5(2) แห่งประกาศการดํารงเงินกองทุนท้ายประกาศนี้ (3) กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 3(3) ให้ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในเอกสารการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ตาราง 2 : การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 3(3) แห่งประกาศการดํารงเงินกองทุนท้ายประกาศนี้ เว้นแต่กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะโดยครบถ้วนดังนี้ ให้ดํารงเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 100,000 บาทแทน (ก) ประกอบธุรกิจเฉพาะการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมหรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน (ข) ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในครอบครอง (ค) มีคุณสมบัติและได้แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการตามข้อ 5(1) ดํารงเงินกองทุนดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการที่มิได้มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่น และไม่มีหน้าที่ต้องดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ให้ดํารงส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นวันสุดท้ายของแต่ละเดือน ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้ดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท (ข) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ไม่เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม และมีการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ด้วย ให้ดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท(ค) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ไม่เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม และไม่มีการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท (2) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการที่มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่น หรือที่ต้องดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ให้ดํารงเงินกองทุนหรือดํารงฐานะทางการเงินไม่น้อยกว่าหลักเกณฑ์ของกฎหมายอื่นหรือประกาศดังกล่าว แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวทางเดียวกัน โดยที่การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจกําหนดตามประเภทของผู้ประกอบธุรกิจก็ได้ (2) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
129
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 4/2563 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนและการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และ การค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนและการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า (1) บริษัทจัดการกองทุนรวม (2) บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (3) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมหรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่าย หลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ประกาศนี้ไม่ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่นอยู่แล้ว (2) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (3) ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้หยุดประกอบธุรกิจจากสํานักงานและอยู่ระหว่างหยุดการประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตนั้น” ข้อ ๕ ให้ยกเลิก (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่าย หลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) กรณีเป็นบริษัทจัดการ ให้ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในตาราง 1 : การดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการท้ายประกาศนี้ เพื่อประโยชน์ในการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนตามตารางท้ายประกาศให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่บริษัทจัดการมีการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ใช้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุดของกองทุนรวมดังกล่าวที่บริษัทจัดการจัดทําและเปิดเผยตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในการคํานวณ (ข) กรณีที่บริษัทจัดการมีการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีหรือผู้จัดการกองทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้คํานวณโดยนับรวมมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุดของทรัสต์ดังกล่าวที่ผู้จัดการกองทรัสต์จัดทําและเปิดเผยตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ด้วย (3) กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจอื่นนอกจากกรณีตาม (2) ให้ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในตาราง 2 : การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจอื่นที่มิใช่ บริษัทจัดการท้ายประกาศนี้ เว้นแต่กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะโดยครบถ้วนดังนี้ ให้ดํารงเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 100,000 บาทแทน (ก) ประกอบธุรกิจเฉพาะการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมหรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน (ข) ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในครอบครอง (ค) มีคุณสมบัติและได้แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๘ ให้ยกเลิกตาราง 1 : การดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการตามข้อ 5(2) แห่งประกาศการดํารงเงินกองทุน และตาราง 2 : การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 3(3) แห่งประกาศการดํารงเงินกองทุน ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ตาราง 1 : การดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการ และตาราง 2 : การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจอื่นที่มิใช่บริษัทจัดการ ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดการที่มีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ที่ยังไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในตาราง 1 : การดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการ ท้ายประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องดําเนินการให้มีการดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามตาราง 1 : การดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการ ดังกล่าว (2) ในระหว่างการดําเนินการตาม (1) ให้บริษัทจัดการดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๐ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามความในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ที่ยังใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
130
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 34/2563 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนและการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 34/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(1) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินโดยหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักอื่นโดยตรงอยู่แล้ว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
131
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2565 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการ กองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2565 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการ กองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4 ) ------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(1) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนและการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(2) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
132
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนและการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการ กองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 20/2552 เรื่อง การดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 3 สิงหาคมพ.ศ. 2552 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ”( หมายความว่า (1) บริษัทจัดการกองทุนรวม (2) บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล (3) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมหรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมไม่ว่าจะประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วยหรือไม่ “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วยหรือไม่ “ดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนหรือดํารงฐานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุดซึ่งมีวิธีการคํานวณตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ยกเลิก( ข้อ 3( ยกเลิก ข้อ 4( ประกาศนี้ไม่ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1)( ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินโดยหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักอื่นโดยตรงอยู่แล้ว (2)( ผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (3) ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้หยุดประกอบธุรกิจจากสํานักงานและอยู่ระหว่างหยุดการประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตนั้น ข้อ 5 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (1)( ยกเลิก (2)( กรณีเป็นบริษัทจัดการ ให้ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในตาราง 1 : การดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการท้ายประกาศนี้ เพื่อประโยชน์ในการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ในการคํานวณมูลค่า ทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนตามตารางท้ายประกาศ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่บริษัทจัดการมีการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ใช้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุดของกองทุนรวมดังกล่าวที่บริษัทจัดการจัดทําและเปิดเผยตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในการคํานวณ (ข) กรณีที่บริษัทจัดการมีการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีหรือผู้จัดการกองทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้คํานวณโดยนับรวมมูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุดของทรัสต์ดังกล่าวที่ผู้จัดการกองทรัสต์จัดทําและเปิดเผยตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ด้วย (3)( กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจอื่นนอกจากกรณีตาม (2) ให้ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในตาราง 2 : การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจอื่นที่มิใช่ บริษัทจัดการท้ายประกาศนี้ เว้นแต่กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะโดยครบถ้วนดังนี้ ให้ดํารงเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 100,000 บาทแทน (ก) ประกอบธุรกิจเฉพาะการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมหรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน (ข) ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในครอบครอง (ค) มีคุณสมบัติและได้แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท ข้อ 6( ยกเลิก ข้อ 7 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ประกอบธุรกิจจะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวทางเดียวกัน โดยที่การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจกําหนดตามประเภทของผู้ประกอบธุรกิจก็ได้ (2) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
133
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 14/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 14/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 12(3) มาตรา 13 มาตรา 30 วรรคสอง มาตรา 37(4) มาตรา 55 วรรคหนึ่ง (3) มาตรา 56 และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ระบุให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการบริหารจัดการกองทรัสต์ตามสัญญาดังกล่าว “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นของนิติบุคคลใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น “กฎหมายที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์และการเปิดเผยข้อมูล ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ (1) การเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 (2) การอนุญาตให้เป็นทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 (3) การทําหน้าที่เป็นทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 ข้อ ๔ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าทรัสต์ได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว หมวด ๑ ผู้ก่อตั้งทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ผู้ที่จะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ได้ต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่เป็นหรืออยู่ระหว่างยื่นคําขอเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ก่อตั้งทรัสต์ประสงค์จะถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ตนเป็นผู้ก่อตั้ง ให้ผู้ก่อตั้งทรัสต์ถือหน่วยทรัสต์ได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ และ (2) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ การคํานวณอัตราการถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมหน่วยทรัสต์ที่ถือโดยกลุ่มบุคคลเดียวกันกับผู้ก่อตั้งทรัสต์ด้วย หมวด ๒ การอนุญาตให้เป็นทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ผู้ที่สามารถเป็นทรัสต์ของกองทรัสต์ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาต และการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ (2) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ที่จํากัดเฉพาะการเป็นทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศนี้ ซึ่งเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายเป็นบุคคลที่อาจยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาต และการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์เองได้ (ข) ผู้ถือหุ้นตาม (ก) ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ข้อ ๘ ให้บุคคลที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ที่จํากัดเฉพาะการเป็นทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและวิธีการ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๙ การขออนุญาต หลักเกณฑ์การอนุญาต การอนุญาต เงื่อนไขในการอนุญาตและการเพิกถอนการอนุญาตการประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ที่จํากัดเฉพาะทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งอํานาจของสํานักงาน ก.ล.ต. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้างต้น ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ โดยอนุโลม ข้อ ๑๐ ให้ผู้ขออนุญาตตามข้อ 7(2) ชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาต คําขอละ 30,000 บาท โดยให้ชําระในวันยื่นคําขอ หมวด ๓ การทําหน้าที่ของทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องพิจารณาความพร้อมของตนเองในการปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสต์ และรับเป็นทรัสต์ของกองทรัสต์เฉพาะกรณีที่มั่นใจว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสต์ของกองทรัสต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๑๒ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์มีประโยชน์ขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสต์ และจะรับเป็นทรัสต์ของกองทรัสต์มิได้ (1) เป็นผู้ถือหุ้นในผู้จัดการกองทรัสต์ เกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้จัดการกองทรัสต์ดังกล่าว (2) มีผู้จัดการกองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นในทรัสต์ เกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของทรัสต์ดังกล่าว (3) มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในทรัสต์เป็นบุคคลเดียวกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในผู้จัดการกองทรัสต์ (4) มีกรรมการหรือผู้บริหารของทรัสต์เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ (5) มีความเกี่ยวข้องไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้จัดการกองทรัสต์ในลักษณะทํานองเดียวกับ (1) ถึง (4) หรือในลักษณะอื่นอย่างมีนัยสําคัญในประการที่อาจเป็นเหตุให้ทรัสต์ขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ข้อ ๑๓ ทรัสต์จะถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ตนทําหน้าที่เป็นทรัสต์ได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ และ (2) ร้อยละห้าของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์การคํานวณอัตราการถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมหน่วยทรัสต์ที่ถือโดยกลุ่มบุคคลเดียวกันกับทรัสต์ด้วย ข้อ ๑๔ ทรัสต์ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ําในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยระบบงานการติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสต์ และหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ในกรณีที่หลักเกณฑ์ขั้นต่ําตามวรรคหนึ่งมีสาระที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ให้ทรัสต์ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้เป็นสําคัญ ข้อ ๑๕ ทรัสต์ต้องดูแลให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์มีสาระสําคัญเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ให้ทรัสต์ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ดูแลให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (2) ในกรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์ไม่เป็นไปตาม (1) ให้ทรัสต์ดําเนินการให้เป็นไปตามอํานาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 เพื่อดูแลรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม (3) ในกรณีที่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์หรือการจัดการกองทรัสต์ที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลัง และสัญญาก่อตั้งทรัสต์มีข้อกําหนดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ทรัสต์ดําเนินการเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์นั้น ตามวิธีการที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ หรือตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. มีคําสั่งตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ข้อ ๑๖ ทรัสต์ต้องติดตาม ดูแล และตรวจสอบให้ผู้จัดการกองทรัสต์บริหารจัดการกองทรัสต์ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การติดตาม ดูแล และตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (1) การดูแลให้การบริหารจัดการกองทรัสต์กระทําโดยผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตลอดระยะเวลาที่กองทรัสต์ตั้งอยู่ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 19 (2) การดูแลและดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ผู้จัดการกองทรัสต์มีลักษณะและปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการถอดถอนผู้จัดการกองทรัสต์รายเดิม และการแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่ (3) การควบคุมดูแลให้การลงทุนของกองทรัสต์เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (4) การควบคุมดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์อย่างถูกต้องครบถ้วนตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (5) การแสดงความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการหรือการทําธุรกรรมเพื่อกองทรัสต์ของผู้จัดการกองทรัสต์ เพื่อประกอบการขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ การเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ต่อผู้ลงทุน หรือเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ร้องขอ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการ จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทรัสต์ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ทรัสต์ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานเสนอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในห้าวันทําการนับแต่รู้หรือพึงรู้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว (2) ดําเนินการเพื่อแก้ไข ยับยั้ง หรือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่กองทรัสต์ ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๘ ทรัสต์ต้องเข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ด้วยทุกครั้ง และหากมีการขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทรัสต์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ตอบข้อซักถามและให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวว่าเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ (2) ทักท้วงและแจ้งให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบว่าการดําเนินการดังกล่าวไม่สามารถกระทําได้ ในกรณีที่การดําเนินการนั้นไม่เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ทรัสต์เข้าจัดการกองทรัสต์ตามความจําเป็นเพื่อป้องกัน ยับยั้ง หรือจํากัดมิให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์ของกองทรัสต์หรือผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม และดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ในการจัดให้มีผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่ ทรัสต์ที่เข้าจัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่งจะมอบหมายให้บุคคลอื่นจัดการกองทรัสต์แทนในระหว่างนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ภายในขอบเขต หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้ระบุไว้ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าทรัสต์มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับกองทรัสต์ ให้ทรัสต์ดําเนินการแก้ไขให้ความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้นสิ้นไป และหากไม่สามารถแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน ให้ทรัสต์ลาออกและดําเนินการเพื่อให้มีทรัสต์รายใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ทรัสต์เป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ในกองทรัสต์ที่ตนทําหน้าที่เป็นทรัสต์ หากต้องมีการออกเสียงหรือดําเนินการใด ๆ ในฐานะผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้ทรัสต์คํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริตและความรอบคอบระมัดระวัง รวมถึงไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทรัสต์ของกองทรัสต์ดังกล่าว ข้อ ๒๒ ทรัสต์ต้องจัดให้มีการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ โดยอาจมอบหมายให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดําเนินการแทนได้ การจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดทั่วไป (ก) ชื่อผู้จัดการกองทรัสต์ และทรัสต์ (ข) จํานวนหน่วยทรัสต์ มูลค่าที่ตราไว้ ทุนชําระแล้ว และวัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยทรัสต์ (ค) ข้อจํากัดในเรื่องการโอน (ถ้ามี) (2) รายละเอียดของผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละราย (ก) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ข) เลขที่หน่วยทรัสต์ (ถ้ามี) และจํานวนหน่วยทรัสต์ที่ถือ (ค) วัน เดือน ปี ที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ง) วัน เดือน ปี ที่ยกเลิกใบหน่วยทรัสต์และออกใบหน่วยทรัสต์แทน (ถ้ามี) (จ) เลขที่คําร้องขอให้เปลี่ยนแปลงหรือจดแจ้งรายการในทะเบียน (ถ้ามี) ข้อ ๒๓ ทรัสต์ต้องจัดทําหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยทรัสต์มอบให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีข้อมูลที่จําเป็นและเพียงพอเพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และใช้อ้างอิงต่อทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ และบุคคลอื่นได้ (2) มีข้อมูลของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์ เช่น ทรัสต์ผู้จัดการกองทรัสต์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์สามารถติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นได้ (3) มีข้อมูลที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่สามารถขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยทรัสต์ได้ และในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นไว้ให้ชัดเจน ในกรณีที่ทรัสต์มอบหมายผู้อื่นเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ทรัสต์ต้องกํากับดูแลให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งและสัญญาก่อตั้งทรัสต์ เว้นแต่มีการจัดทําหลักฐานตามระบบของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ข้อ ๒๔ ภายใต้บังคับของข้อ 23 ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ขอให้ทรัสต์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ออกหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยทรัสต์ใหม่แทนหลักฐานเก่าที่สูญหาย ลบเลือน หรือชํารุดในสาระสําคัญ ทรัสต์ต้องออกหรือดําเนินการให้มีการออกหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ภายในเวลาอันควร ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
134
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 5/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 5/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตี ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ประกาศ ที่ กข. 9/2552” และคําว่า “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” ระหว่างคําว่า “กฎหมายที่เกี่ยวข้อง” และคําว่า “ทรัพย์สินหลัก” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 14/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 12/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ““ประกาศ ที่ กข. 9/2552” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ประกาศดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัด จําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 14/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 13/1 ภายใต้บังคับของข้อ 7 วรรคสองแห่งประกาศ ที่ กข. 9/2552 ในกรณีที่ทรัสตีเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน และไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศ ที่ กข. 9/2552 ให้ทรัสตีดังกล่าวดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในประกาศการดํารงเงินกองทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ โดยอนุโลม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
135
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 14/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 14/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 12(3) มาตรา 13 มาตรา 30 วรรคสอง มาตรา 37(4) มาตรา 55 วรรคหนึ่ง (3) มาตรา 56 และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ระบุให้เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการบริหารจัดการกองทรัสต์ตามสัญญาดังกล่าว “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือ เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรก ======================================================================== นับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย ================================================================================================ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นของนิติบุคคลใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น “กฎหมายที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์และการเปิดเผยข้อมูล ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ================================================================================================================================================================================================================================================================================== “ประกาศ ที่ กข. 9/2552”( หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 “ประกาศการดํารงเงินกองทุน”( หมายความว่า ประกาศดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัด จําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ “ทรัพย์สินหลัก”( หมายความว่า ทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์สามารถลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ ========================================================================================================= (1) การเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 ========================================================= (2)( ยกเลิก (3) การทําหน้าที่เป็นทรัสตี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 ข้อ 4 สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าทรัสตีได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว หมวด 1 ผู้ก่อตั้งทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 ผู้ที่จะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ได้ต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่เป็นหรืออยู่ระหว่างยื่นคําขอเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ 6 ในกรณีที่ผู้ก่อตั้งทรัสต์ประสงค์จะถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ตนเป็นผู้ก่อตั้ง ให้ผู้ก่อตั้งทรัสต์ถือหน่วยทรัสต์ได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ และ (2) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ การคํานวณอัตราการถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมหน่วยทรัสต์ที่ถือ โดยกลุ่มบุคคลเดียวกันกับผู้ก่อตั้งทรัสต์ด้วย หมวด 2( การอนุญาตให้เป็นทรัสตี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7( ยกเลิก ข้อ 8( ยกเลิก ข้อ 9( ยกเลิก ข้อ 10( ยกเลิก หมวด 3 การทําหน้าที่ของทรัสตี \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11( ทรัสตีต้องพิจารณาความพร้อมของตนเองในการปฏิบัติหน้าที่เป็นทรัสตีของกองทรัสต์ และรับเป็นทรัสตีของกองทรัสต์เฉพาะกรณีที่มั่นใจว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็น ทรัสตีของกองทรัสต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระ ข้อ 12( ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าทรัสตีขาดความเป็นอิสระ และจะรับเป็นทรัสตี ของกองทรัสต์มิได้ (1) มีความเกี่ยวข้องกับผู้จัดการกองทรัสต์ในลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นผู้ถือหุ้นในผู้จัดการกองทรัสต์เกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียง ทั้งหมดของผู้จัดการกองทรัสต์ดังกล่าว (ข) มีผู้จัดการกองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นในทรัสตีเกินร้อยละห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของทรัสตีดังกล่าว (ค) มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในทรัสตีเป็นบุคคลเดียวกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในผู้จัดการกองทรัสต์ (ง) มีกรรมการหรือผู้บริหารของทรัสตีเป็นบุคคลเดียวกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้จัดการกองทรัสต์ (จ) มีความเกี่ยวข้องไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้จัดการกองทรัสต์ในลักษณะทํานองเดียวกับ (ก) (ข) (ค) และ (ง) หรือในลักษณะอื่นอย่างมีนัยสําคัญในประการที่อาจเป็นเหตุให้ทรัสตีขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ (2) เป็นหรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่กองทรัสต์ ในลักษณะที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างเป็นอิสระ หากปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังจากการเข้ารับเป็นทรัสตีของกองทรัสต์ว่าทรัสตี ขาดความเป็นอิสระตามวรรคหนึ่ง ให้ทรัสตีแจ้งกรณีดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งแสดงมาตรการที่สมเหตุสมผลและน่าเชื่อได้ว่าจะทําให้ทรัสตีสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว และให้ดําเนินการตามมาตรการที่แสดงไว้นั้น เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ข้อ 13( ทรัสตีจะถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ตนทําหน้าที่เป็นทรัสตีได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทรัสต์ และ (2) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์ แต่ละชนิด ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ การคํานวณอัตราการถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมหน่วยทรัสต์ที่ถือ โดยกลุ่มบุคคลเดียวกันกับทรัสตีด้วย ข้อ 13/1( ภายใต้บังคับของข้อ 7 วรรคสองแห่งประกาศ ที่ กข. 9/2552 ในกรณี ที่ทรัสตีเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน และไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศ ที่ กข. 9/2552 ให้ทรัสตีดังกล่าวดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในประกาศการดํารงเงินกองทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ โดยอนุโลม ข้อ 14 ทรัสตีต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ําในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยระบบงานการติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสตี และหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ในกรณีที่หลักเกณฑ์ขั้นต่ําตามวรรคหนึ่งมีสาระที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ให้ทรัสตีปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้เป็นสําคัญ ข้อ 15 ทรัสตีต้องดูแลให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์มีสาระสําคัญเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ให้ทรัสตีดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ดูแลให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (2) ในกรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์ไม่เป็นไปตาม (1) ให้ทรัสตีดําเนินการให้เป็นไปตามอํานาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 เพื่อดูแลรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม (3) ในกรณีที่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์หรือการจัดการกองทรัสต์ที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลัง และสัญญาก่อตั้งทรัสต์มีข้อกําหนดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ทรัสตีดําเนินการเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์นั้น ตามวิธีการที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ หรือตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. มีคําสั่งตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ข้อ 15/1( ทรัสตีต้องมอบหมายการบริหารจัดการกองทรัสต์ให้แก่ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เว้นแต่เป็นการจัดการทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์สินหลักซึ่งทรัสตีอาจดําเนินการด้วยตนเองได้ตามข้อ 15/2 หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นดําเนินการตามข้อ 19 ข้อ 15/2( การจัดการทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ทรัสตีมีการดําเนินการเอง ต้องจัดให้มีมาตรการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) มีการแบ่งแยกหน่วยงานที่ทําหน้าที่จัดการลงทุนในทรัพย์สินอื่นดังกล่าว ออกจากหน่วยงานซึ่งทําหน้าที่ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือความขัดแย้งในการปฏิบัติหน้าที่ (ข) มีมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายใน โดยต้องแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ทําหน้าที่จัดการลงทุนในทรัพย์สินอื่นดังกล่าวออกจากหน่วยงานและบุคลากรอื่นที่มีโอกาสใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว (2) ในกรณีที่มอบหมายให้บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้จัดการกองทรัสต์เป็นผู้รับดําเนินการต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุนโดยอนุโลม ข้อ 16( ทรัสตีต้องติดตาม ดูแล และตรวจสอบให้ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้ได้รับ มอบหมายรายอื่น (ถ้ามี) ดําเนินการในงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การติดตาม ดูแล และตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการทําหน้าที่ ดังต่อไปนี้ด้วย (1) การดูแลให้การบริหารจัดการกองทรัสต์กระทําโดยผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตลอดระยะเวลาที่กองทรัสต์ตั้งอยู่ (2) การติดตามดูแลและดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ผู้รับมอบหมายมีลักษณะและปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึง การถอดถอนผู้รับมอบหมายรายเดิม และการแต่งตั้งผู้รับมอบหมายรายใหม่ (3) การควบคุมดูแลให้การลงทุนของกองทรัสต์เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (4) การควบคุมดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์อย่างถูกต้องครบถ้วนตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (5) การแสดงความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการหรือการทําธุรกรรมเพื่อกองทรัสต์ของผู้จัดการกองทรัสต์ และผู้รับมอบหมายรายอื่น (ถ้ามี) เพื่อประกอบการขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ การเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ต่อผู้ลงทุน หรือเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ร้องขอ ข้อ 17 ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการ จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทรัสต์ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทรัสตีดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานเสนอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในห้าวันทําการนับแต่รู้หรือพึงรู้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว (2) ดําเนินการเพื่อแก้ไข ยับยั้ง หรือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่กองทรัสต์ตามที่เห็นสมควร ข้อ 18 ทรัสตีต้องเข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ด้วยทุกครั้ง และหากมี การขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทรัสตีต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ตอบข้อซักถามและให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวว่าเป็นไปตาม สัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ (2) ทักท้วงและแจ้งให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบว่าการดําเนินการดังกล่าวไม่สามารถ กระทําได้ ในกรณีที่การดําเนินการนั้นไม่เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ 19 ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ทรัสตีเข้าจัดการกองทรัสต์ตามความจําเป็นเพื่อป้องกัน ยับยั้ง หรือจํากัดมิให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์ของกองทรัสต์หรือผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม และดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ในการจัดให้มีผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่ ทรัสตีที่เข้าจัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่งจะมอบหมายให้บุคคลอื่นจัดการกองทรัสต์แทนในระหว่างนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ภายในขอบเขต หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้ระบุไว้ ข้อ 20( ทรัสตีจะกระทําการใดที่เป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทรัสต์หรืออาจทําให้ทรัสตีขาดความเป็นอิสระมิได้ เว้นแต่เป็นธุรกรรมที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นธุรกรรมที่มีมาตรการหรือกลไกตรวจสอบและถ่วงดุลความเป็นธรรมของ ธุรกรรมดังกล่าว (2) ในกรณีที่เป็นการทําธุรกรรมที่เป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทรัสต์ ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบก่อนอย่างเพียงพอแล้ว โดยบุคคลดังกล่าวไม่คัดค้านหรือคัดค้านในจํานวนที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําที่เป็นการขัดแย้งกับประโยชน์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 21 ในกรณีที่ทรัสตีเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ในกองทรัสต์ที่ตนทําหน้าที่เป็นทรัสตี หากต้องมีการออกเสียงหรือดําเนินการใด ๆ ในฐานะผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้ทรัสตีคํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริตและความรอบคอบระมัดระวัง รวมถึงไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทรัสตีของกองทรัสต์ดังกล่าว ข้อ 22 ทรัสตีต้องจัดให้มีการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ โดยอาจมอบหมายให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดําเนินการแทนได้ การจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดทั่วไป (ก) ชื่อผู้จัดการกองทรัสต์ และทรัสตี (ข) จํานวนหน่วยทรัสต์ มูลค่าที่ตราไว้ ทุนชําระแล้ว และวัน เดือน ปี ที่ออกหน่วยทรัสต์ (ค) ข้อจํากัดในเรื่องการโอน (ถ้ามี) (2) รายละเอียดของผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละราย (ก) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ข) เลขที่หน่วยทรัสต์ (ถ้ามี) และจํานวนหน่วยทรัสต์ที่ถือ (ค) วัน เดือน ปี ที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ง) วัน เดือน ปี ที่ยกเลิกใบหน่วยทรัสต์และออกใบหน่วยทรัสต์แทน (ถ้ามี) (จ) เลขที่คําร้องขอให้เปลี่ยนแปลงหรือจดแจ้งรายการในทะเบียน (ถ้ามี) ข้อ 23 ทรัสตีต้องจัดทําหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยทรัสต์มอบให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีข้อมูลที่จําเป็นและเพียงพอเพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และใช้อ้างอิงต่อทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ และบุคคลอื่นได้ (2) มีข้อมูลของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทรัสต์ เช่น ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์สามารถติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นได้ (3) มีข้อมูลที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่สามารถขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยทรัสต์ได้ และในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นไว้ให้ชัดเจน ในกรณีที่ทรัสตีมอบหมายผู้อื่นเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ทรัสตีต้องกํากับดูแลให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งและสัญญาก่อตั้งทรัสต์ เว้นแต่ มีการจัดทําหลักฐานตามระบบของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ข้อ 24 ภายใต้บังคับของข้อ 23 ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ขอให้ทรัสตีหรือ นายทะเบียนหลักทรัพย์ออกหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยทรัสต์ใหม่แทนหลักฐานเก่าที่สูญหาย ลบเลือน หรือชํารุดในสาระสําคัญ ทรัสตีต้องออกหรือดําเนินการให้มีการออกหลักฐานแสดงสิทธิ ในหน่วยทรัสต์ให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ภายในเวลาอันควร ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
136
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 22/2563 เรื่อง ข้อกำหนดที่ออกตามกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน และกฎกระทรวงเกี่ยวกับการควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากัน และการซื้อกิจการ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2563 เรื่อง ข้อกําหนดที่ออกตามกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแยกการประกอบธุรกิจ เงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน และกฎกระทรวงเกี่ยวกับ การควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากัน และการซื้อกิจการ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 2 วรรคสอง (3) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5 ข้อ 7 วรรคสาม (3) และข้อ 12 วรรคสอง (3) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2541 เรื่อง ข้อกําหนดที่ออกตามกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน และกฎกระทรวงเกี่ยวกับการควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากัน และการซื้อกิจการ ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในการยื่นคําขอรับความเห็นชอบในแต่ละกรณีต่อไปนี้ ผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบต้องแสดงได้ว่าบริษัทในแต่ละกรณีดังกล่าวจะมีความสามารถในการดํารงเงินกองทุน ณ วันที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับได้ (1) การขอรับความเห็นชอบการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกันโดยการจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2537) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) การขอรับความเห็นชอบการควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากัน และขอให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (3) การขอรับความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 การดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามมาตรา 97 และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามประกาศดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ 3 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้” ข้อ 2 ให้เพิ่มแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบใบอนุญาตท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2541 เรื่อง ข้อกําหนดที่ออกตามกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน และกฎกระทรวงเกี่ยวกับการควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากัน และการซื้อกิจการ ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
137
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 39/2541 เรื่อง ข้อกำหนดที่ออกตามกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแยกการ ประกอบธุรกิจเงินทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน และกฎกระทรวงเกี่ยวกับการควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากัน และการซื้อกิจการ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 39/2541 เรื่อง ข้อกําหนดที่ออกตามกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแยกการประกอบ ธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน และกฎกระทรวง เกี่ยวกับการควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากัน และการซื้อกิจการ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 2 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 7 วรรคสาม และข้อ 12 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541)ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในการยื่นคําขอตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้ผู้ยื่นคําขอใช้แบบคําขอและยื่นเอกสาร หลักฐานตามที่กําหนดในแต่ละกรณีต่อไปนี้ (1) แบบ 90-12 ที่แนบท้ายประกาศนี้ สําหรับผู้ยื่นคําขอรับความเห็นชอบ (ก) การควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากัน และขอให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยื่นคําขอประสงค์จะขอรับความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ด้วยหรือไม่ (ข) การควบเข้ากันระหว่างสถาบันการเงินและบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ และขอให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นประกอบแบบ 90-12 ได้แก่ (ก) รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทที่เห็นชอบการควบบริษัทเข้ากัน (ข) โครงสร้างการจัดองค์กร อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงานของบริษัทซึ่งจะเกิดขึ้นจากการควบบริษัทเข้ากัน ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ (ค) รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นกรรมการ และผู้จัดการของบริษัทซึ่งจะเกิดขึ้นจากการควบบริษัทเข้ากัน (ง) ระบบการควบคุมภายในและการป้องกันความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทซึ่งจะเกิดขึ้นจากการควบบริษัทเข้ากัน (จ) แหล่งเงินทุนในการดําเนินธุรกิจของบริษัทซึ่งจะเกิดขึ้นจากการควบบริษัทเข้ากัน เว้นแต่บริษัทซึ่งจะเกิดขึ้นจากการควบบริษัทเข้ากันจะมีฐานะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน (ฉ) ประมาณการงบการเงินของบริษัทซึ่งจะเกิดขึ้นจากการควบบริษัทเข้ากัน (ช) ในกรณีที่มีการขอรับความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทลูก ให้ผู้ยื่นคําขอ ยื่นเอกสารหลักฐานตาม (ข), (ค), (ง), (จ) และ (ฉ) ของบริษัทลูกเพิ่มเติมด้วย และในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอ ได้กําหนดหรือมีความตกลงไว้ล่วงหน้าว่าจะให้บุคคลใดเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทลูกไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทลูก ผู้ยื่นคําขอต้องจัดทําคํารับรองว่าบุคคลที่จะเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทลูกดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในกฎกระทรวง (2) แบบ 90-13 ที่แนบท้ายประกาศนี้ สําหรับการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ของบริษัทลูกที่จัดตั้งแล้ว เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นประกอบแบบ 90-13 ได้แก่ (ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท (ข) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์ รับรอง (ค) รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นกรรมการ และผู้จัดการของบริษัทลูก (3) แบบ 90-14 ที่แนบท้ายประกาศนี้ สําหรับผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์เพิ่มเติมสืบเนื่องจากการซื้อกิจการบริษัทหลักทรัพย์อื่น เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นประกอบแบบ 90-14 ได้แก่ (ก) รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งถูกซื้อกิจการที่เห็นชอบ การขออนุญาตเลิกประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ข) หนังสือหรือข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้ยื่นคําขอกับบริษัทหลักทรัพย์ ที่ถูกซื้อกิจการเกี่ยวกับการซื้อสินทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกซื้อกิจการ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ขอรับโอน (ค) โครงสร้างการจัดองค์กร อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงาน ของบริษัทผู้ยื่นคําขอ ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ขอรับโอน (ง) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทผู้ยื่นคําขอที่จะรับผิดชอบส่วนงาน ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ขอรับโอน ข้อ 2( ในการยื่นคําขอรับความเห็นชอบในแต่ละกรณีต่อไปนี้ ผู้ยื่นคําขอรับ ความเห็นชอบต้องแสดงได้ว่าบริษัทในแต่ละกรณีดังกล่าวจะมีความสามารถในการดํารงเงินกองทุนณ วันที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับได้ (1) การขอรับความเห็นชอบการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ ออกจากกันโดยการจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) การขอรับความเห็นชอบการควบบริษัทหลักทรัพย์เข้ากัน และขอให้บริษัท ซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (3) การขอรับความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 การดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามมาตรา 97 และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามประกาศดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ 3( ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2541 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
138
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 5(5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่กําหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในข้อ 2 และให้คิดค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการขออนุญาตดังกล่าวและค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ รวมทั้งค่าธรรมเนียมคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 แล้วแต่กรณี ข้อ ๒ ให้ยกเลิกบทบัญญัติดังต่อไปนี้ (1) ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (2) ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543 (3) ให้ยกเลิกวรรคหนึ่งของข้อ 8/2 และความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 (4) ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (5) ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (6) ให้ยกเลิกวรรคหนึ่งของข้อ 5(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (7) ให้ยกเลิกวรรคหนึ่งของข้อ 6 และความในวรรคหนึ่งของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (8) ให้ยกเลิกวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 62/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (9) ให้ยกเลิกวรรคหนึ่งของข้อ 4 และความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2549 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549 (10) ให้ยกเลิกวรรคหนึ่งและวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ข้อ ๓ คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามประเภทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ คําขอละ 50,000 บาท (1) หุ้น (2) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ (3) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่อ้างอิงกับราคาหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ในวงจํากัดสําหรับหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (3) คําขอละ 25,000 บาท และสําหรับหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (4) คําขอละ 10,000 บาท ข้อ ๔ คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน คําขอละ 30,000 บาท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) คําขออนุญาตสําหรับหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 5(1) และ (2) (2) คําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ไม่คิดค่าธรรมเนียมคําขอดังกล่าว แต่ให้ชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามข้อ 6 ข้อ ๕ คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้หรือใบแสดงสิทธิดังต่อไปนี้ คําขอละ 10,000 บาท (1) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยโดยนําไปเสนอขายในต่างประเทศ (2) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศและเสนอขายต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (3) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยอ้างอิงกับหุ้นกู้หรือพันธบัตร ข้อ ๖ คําขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ คําขอละ 30,000 บาท ข้อ ๗ คําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง คําขอละ 10,000 บาท ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้มีอํานาจลงนาม - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ทุกประเภทไว้ในประกาศฉบับเดียวกัน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
139
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 6/2552 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 5(5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน คําขอละ 30,000 บาท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) คําขออนุญาตสําหรับหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 5(1) (2) และ (3) (2) คําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ไม่คิดค่าธรรมเนียมคําขอดังกล่าว แต่ให้ชําระค่าธรรมเนียมคําขอเกี่ยวกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามข้อ 6 ข้อ 5 คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้หรือใบแสดงสิทธิดังต่อไปนี้ คําขอละ 10,000 บาท (1) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยโดยนําไปเสนอขายในต่างประเทศ (2) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (3) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศและเสนอขายต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยอ้างอิงกับหุ้นกู้หรือพันธบัตร ข้อ 6 คําขอเกี่ยวกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ คําขอละ 30,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป #### ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมอัตราใหม่สําหรับการยื่น คําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีอัตราที่ลดลงซึ่งสอดคล้องกับการพิจารณาคําขออนุญาตที่พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ผ่อนคลายขึ้นสําหรับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทดังกล่าว อีกทั้งปรับปรุงการเก็บค่าธรรมเนียมคําขอเกี่ยวกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ให้สอดคล้องกับประกาศการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกหุ้นกู้ตามโครงการดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
140
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 13/2552 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 3/1 คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ คําขอละ 50,000 บาท” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 7/1 คําขออนุญาตยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขอยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ คําขอละ 10,000 บาท” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อรวบรวมการกําหนดค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ และค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ ไว้ในประกาศเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทต่าง ๆ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
141
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 3/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามประเภทหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ คําขอละ 50,000 บาท (1) หุ้น (2) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นรองรับ (3) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่อ้างอิงกับราคาหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ในวงจํากัดสําหรับหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (3) คําขอละ 10,000 บาท” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/2 และข้อ 3/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 3/2 คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คําขอละ 50,000 บาท ข้อ 3/3 คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วนหรือไม่มีทรัพย์สินเป็นประกัน คําขอละ 30,000 บาท (2) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันเต็มจํานวน คําขอละ 10,000 บาท” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยบริษัทต่างประเทศ และคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
142
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 10/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 10/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) คําขออนุญาตสําหรับหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 5(1) และ (2)” ข้อ 2 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ได้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2552 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ ในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ประกอบกับเพื่อให้การยื่นคําขออนุญาตเสนอขาย หุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศมีอัตราค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับการยื่นคําขออนุญาต เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่เป็นสกุลเงินบาท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
143
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 20/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 7/2 คําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไป ไม่ว่าเป็นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่เป็นรายครั้ง หรือเป็นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการ คําขอละ 30,000 บาท คําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ คําขอละ 10,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาต เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
144
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 15/2555 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 15/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 7/3 คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ออกใหม่ คําขอละ 100,000 บาท” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
145
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 8/2556 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 8/2556 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วนหรือไม่มีทรัพย์สินเป็นประกัน คําขอละ 15,000 บาท” ข้อ 2 ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ได้รับยกเว้นการชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามข้อ 3/3(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากบทเฉพาะกาลให้การอนุญาตที่เคยได้รับไว้เดิมยังคงมีผลอยู่ต่อไปตามข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2553 เรื่อง การออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 36/2556 เรื่อง การออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ฉบับที่ 5 ) ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 แต่ไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์จากเวลาดังกล่าวและได้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ใหม่ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น (2) ค่าธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นให้เป็นดังนี้ (ก) ในกรณีที่ประโยชน์ตามบทเฉพาะกาลเป็นผลให้ระยะเวลาการได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ขยายออกไปจากที่เคยได้รับอนุญาตไว้เดิมมากกว่าสองปี ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมสําหรับการยื่นคําขออนุญาตที่ยื่นในปี พ.ศ. 2556 (ข) ในกรณีที่ประโยชน์ตามบทเฉพาะกาลเป็นผลให้ระยะเวลาการได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ลดลงจากที่เคยได้รับอนุญาตไว้เดิมน้อยกว่าสองปี ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมสําหรับการยื่นคําขออนุญาตที่ยื่นในปี พ.ศ. 2556 และปี พ.ศ. 2557 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
146
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 8/2558 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 8/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 3/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 7/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กม. 15/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7/3 คําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของทรัสต์ดังต่อไปนี้ คําขอละ 100,000 บาท (1) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “ข้อ 7/4 คําขออนุญาตเพื่อเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การขออนุญาตเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศครั้งแรก (ก) กรณีที่ยื่นคําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตมาพร้อมกับคําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามจํานวนที่คํานวณได้จาก (50,000 + (15,000 x X)) บาท (ข) กรณีที่มิได้ยื่นคําขอตาม (ก) มาพร้อมกัน ให้ชําระค่าธรรมเนียมดังนี้ 1. 50,000 บาท เมื่อยื่นคําขอพิจารณาลักษณะผู้ขออนุญาต 2. (15,000 x X) บาท เมื่อยื่นคําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (2) กรณีขออนุญาตเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศครั้งอื่นนอกจาก (1) เมื่อยื่นคําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศให้ชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามจํานวนที่คํานวณได้จาก (15,000 x X) บาท ทั้งนี้ X = จํานวนหลักทรัพย์ต่างประเทศของแต่ละกิจการที่รับฝากในการออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น หากมีหลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะรับฝากเป็นหุ้นของบริษัท A บริษัท B และบริษัท C ในกรณีนี้ X = 3 เป็นต้น” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
147
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 21/2558 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 10/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน คําขอละ 30,000 บาท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) คําขออนุญาตสําหรับพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 5(1) (2) และ (3) (2) คําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์ไม่คิดค่าธรรมเนียมคําขอดังกล่าว แต่ให้ชําระค่าธรรมเนียมคําขอเกี่ยวกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามข้อ 6 ข้อ 5 คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทพันธบัตร หุ้นกู้ หรือใบแสดงสิทธิดังต่อไปนี้ คําขอละ 10,000 บาท (1) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งเสนอขายในต่างประเทศทั้งจํานวน (2) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐไทยซึ่งเสนอขายในต่างประเทศทั้งจํานวน (4) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยอ้างอิงกับพันธบัตรหรือหุ้นกู้” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
148
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 17/2558 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 8/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2558 “ข้อ 3/2 คําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ดังต่อไปนี้ ต่อบุคคลในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด คําขอละ 50,000 บาท (1) หุ้นเพิ่มทุน (2) หุ้นรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
149
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 5(5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 10/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 15/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 8/2556 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 (9) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 8/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (10) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (11) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 2 ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทต่าง ๆ และคําขอที่เกี่ยวข้อง ชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กําหนดไว้ในตารางท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทต่าง ๆ และคําขอที่เกี่ยวข้อง ชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กําหนดไว้ในตารางท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
150
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 5(5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2551.เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 10/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 15/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 8/2556 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 (9) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 8/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (10) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (11) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทต่าง ๆ และคําขอที่เกี่ยวข้อง ชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กําหนดไว้ในตารางท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
151
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 6/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 6/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 5(5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกตารางอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และคําขอที่เกี่ยวข้อง ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ตารางอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และคําขอที่เกี่ยวข้องท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
152
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 6/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 6/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 5(5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกตารางอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และคําขอที่เกี่ยวข้อง ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ตารางอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และคําขอที่เกี่ยวข้องท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
153
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 14/2564 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 14/2564 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3 ) ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชกําหนดนิดิบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกตารางอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และคําขอที่เกี่ยวข้อง ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กม. 21/2560เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 6/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ตารางอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และคําขอที่เกี่ยวข้อง ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นตันไป ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
154
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 34/2564 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 34/2564 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกตารางอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และคําขอที่เกี่ยวข้อง ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 14/2564 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ตารางอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และคําขอที่เกี่ยวข้อง ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
155
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2565 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2565 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2558 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 6/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 14/2564 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 34/2564 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้อ ๒ ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทต่าง ๆ และคําขอที่เกี่ยวข้อง ชําระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กําหนดไว้ในตารางท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
156
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกำหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 9/2541 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การประเมินฐานะและความสามารถของรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม หรือกิจการใด ๆ ในการชําระคืนหนี้ตามตราสารใดตราสารหนึ่ง หรือการชําระคืนหนี้ทั้งหมด หรือการปฏิบัติตามภาระผูกพันตามหุ้นบุริมสิทธิ และแสดงผลการประเมินด้วยการให้สัญลักษณ์ (2) “สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า ผู้ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นทางค้าปกติ โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (3) “ตราสารหนี้” หมายความว่า พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน (4) “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (ก) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้ (ข) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (ง) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้นั้น การถือหุ้นของบริษัทตาม (ก) หรือ (ข) หรือ (ค) หรือ (ง) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภทด้วย (5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า ข้อ ๓ การให้คําแนะนําแก่ประชาชนในลักษณะของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่กระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ข้อ ๔ สํานักงานจะเห็นชอบให้บุคคลใดประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้ จะต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 5 หรือข้อ 6 ข้อ ๕ สํานักงานอาจประกาศให้ความเห็นชอบสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศอยู่แล้ว เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้ โดยกิจการดังกล่าวจะจัดอันดับความน่าเชื่อได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) มีบริษัทใหญ่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ข) ออกและเสนอขายตราสารหนี้ในประเทศไทยและต่างประเทศในคราวเดียวกัน (2) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (3) การเสนอขายตราสารหนี้ที่มีผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัล เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ เมื่อเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัลดังกล่าว (4) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกโดยธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทย หรือบริษัทประกันวินาศภัยหรือบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่มีสาขาที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยหรือธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย (5) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ เมื่อเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันดังกล่าว ข้อ ๖ นอกจากกรณีตามข้อ 5 แล้ว บุคคลใดประสงค์จะประกอบธุรกิจเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จะต้องยื่นคําขอรับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยบุคคลดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท (3) มีสถาบันที่ประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วไปเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (4) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีจริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) มีประวัติเคยถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือต้องคดีเนื่องจากการกระทําทุจริต (ข) มีประวัติการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต (ค) มีประวัติการบริหารงาน หรือการกระทําอื่นใดอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทําผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อย่างร้ายแรง อันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบในการบริหารงาน (5) มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมในจํานวนเพียงพอเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (6) มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่รัดกุมและเชื่อถือได้ ตลอดจนสามารถดําเนินงานได้อย่างเป็นอิสระและสามารถให้ความเห็นได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง (7) มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นสิ่งที่ใช้กันในความหมายสามัญหรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ (ข) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอย่างใด ๆ ที่อาจขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อ ๗ การยื่นคําขอตามข้อ 6 ให้เป็นไปตามแบบที่สํานักงานกําหนด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับผู้ยื่นคําขอ ประวัติของสถาบันที่ประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศที่เข้าร่วมถือหุ้นหรือเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ ประวัติของกรรมการและผู้บริหาร และเอกสารหลักฐานอื่นตามที่สํานักงานกําหนด ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาในการยื่นคําขอตามวรรคหนึ่งได้ ข้อ ๘ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่ยื่นคําขอตามข้อ 6 สํานักงานมีอํานาจแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจง ส่งต้นฉบับหรือสําเนาเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๙ ให้บุคคลตามข้อ 6 ที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ประกอบธุรกิจการเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ข้อกําหนดตามข้อ 10 ถึงข้อ 16 ข้อ ๑๐ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกอบธุรกิจภายใต้ขอบเขตดังต่อไปนี้ (1) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (2) การให้คําชี้แจงหรือเหตุผลประกอบการพิจารณาจัดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณา (3) การให้บริการข่าวสารข้อมูลที่ได้รับมาเนื่องจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เป็นต้น (4) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ข้อ ๑๑ ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ส่งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เผยแพร่แก่ประชาชนต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้เผยแพร่ (2) จัดทําและส่งงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชีและรายงานประจําปีเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อสํานักงานภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี (3) ยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราว ตามที่สํานักงานกําหนด ในการนี้ สํานักงานจะให้ทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ (4) แจ้งการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสัญลักษณ์ หรือความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ต่อสํานักงาน ก่อนการใช้สัญลักษณ์ หรือความหมายของสัญลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมนั้น (5) แจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้บริหาร หรือคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหาร พร้อมทั้งส่งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณวุฒิและประวัติการทํางานของกรรมการและผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งใหม่ และหนังสือรับรองคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารนั้น ต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (6) แจ้งการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีนัยสําคัญต่อโครงสร้างการถือหุ้น หรือ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (7) เก็บรักษาข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาจัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่เผยแพร่ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นต่อประชาชน ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือกระทําการดังต่อไปนี้ (1) ซื้อหรือมีหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นหลักทรัพย์รัฐบาล หรือได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (2) จัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยขาดข้อมูลที่เชื่อถือหรืออ้างอิงได้อย่างเพียงพอ (3) จัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วยการให้สัญลักษณ์อื่นใด นอกจากที่ได้แจ้งไว้กับสํานักงาน (4) จัดอันดับความน่าเชื่อถือให้แก่กิจการที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือหรือกรรมการหรือผู้บริหารมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นไม่สามารถดําเนินงานหรือให้ความเห็นได้ตามข้อ 6(6) (5) ทําการอื่นใดที่สํานักงานกําหนดว่าเป็นการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชนซึ่งใช้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๑๓ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากสํานักงานเข้าไปในสถานที่ตั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือสถานที่ซึ่งรวบรวมหรือประมวลข้อมูลของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในระหว่างเวลาทําการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือใด กระทําการหรือไม่กระทําการ หรือมีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น แก้ไขการกระทําดังกล่าว หรือกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดได้ (1) กระทําการไม่เหมาะสม (2) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6 (3) ประกอบกิจการนอกขอบเขตธุรกิจที่ระบุในข้อ 10 (4) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 11 ข้อ 12 หรือข้อ 13 ข้อ ๑๕ ในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําการไม่เหมาะสมอย่างร้ายแรง หรือมีกรรมการหรือผู้บริหารที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6(4) หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 12 อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชนอย่างร้ายแรง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 14 สํานักงานอาจมีคําสั่งให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นถอดถอนกรรมการหรือผู้บริหารซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดกรณีดังกล่าว และให้แต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าดํารงตําแหน่งแทนด้วยก็ได้ ข้อ ๑๖ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 14 อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชนอย่างร้ายแรง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 15 สํานักงานอาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น และผู้ที่ถูกเพิกถอนความเห็นชอบจะถือเอาประโยชน์ตามข้อ 3 ต่อไปอีกมิได้ ในการเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะกําหนดระยะเวลาที่ไม่ให้ผู้ถูกเพิกถอนความเห็นชอบนั้นยื่นขอความเห็นชอบใหม่ต่อสํานักงานด้วยก็ได้ ข้อ ๑๗ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ซึ่งในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อข้อกําหนด ที่เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ไม่ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน จึงเห็นควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
157
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 9/2553 เรื่อง การกำหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 9/2553 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) (2) และ (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (ก) มีบริษัทใหญ่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ข) ออกและเสนอขายตราสารหนี้ในประเทศไทยและต่างประเทศในคราวเดียวกัน (ค) ออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (2) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ (3) การเสนอขายตราสารหนี้ที่มีผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัล เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หรือหน่วยงานหรือองค์การรัฐบาลของต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เมื่อเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัลดังกล่าว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อรองรับให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ สามารถใช้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ สําหรับการออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
158
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 6/2554 เรื่อง การกำหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 6 /2554 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ง) ใน (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 9/2553 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 “(ง) ออกและเสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่มีผู้มีสิทธิเสนอโครงการเป็นหน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานสามารถจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่มีผู้มีสิทธิเสนอโครงการเป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
159
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกำหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
ร่าง -ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1 /2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 9/2553 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 6/2554 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การประเมินฐานะและความสามารถของรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม หรือกิจการใด ๆ ในการชําระคืนหนี้ตามตราสารใดตราสารหนึ่ง หรือการชําระหนี้คืนทั้งหมด หรือการปฏิบัติตามภาระผูกพันตามหุ้นบุริมสิทธิ และแสดงผลการประเมินด้วยการให้สัญลักษณ์ “สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า ผู้ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นทางค้าปกติ “ตราสารหนี้” หมายความว่า พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน และให้หมายความรวมถึงศุกูก “ตราสารที่มีโครงสร้างซับซ้อน (structured finance product)” หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นตราสารที่ออกโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization) หรือโครงการทางการเงินอื่นใดที่มีลักษณะในทํานองเดียวกัน (2) ความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามตราสารขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินทรัพย์ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของกระแสรายรับที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามตราสารดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ตามตราสารหรือไม่ก็ตาม (3) มีการจัดโครงสร้างกระแสรายรับที่ทําให้ไม่อาจพิจารณาความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามตราสารจากคุณภาพของสินทรัพย์ได้โดยลําพัง “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (1) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้ (2) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (1) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (3) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (2) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (4) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้นั้น การถือหุ้นของบริษัทตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภทด้วย “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกรายและให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ การให้คําแนะนําแก่ประชาชนในลักษณะของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 (2) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 5 ข้อ ๕ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 4(2) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้โดยชอบตามกฎหมายของประเทศที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวจัดตั้งขึ้น และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (2) ไม่มีสถานประกอบธุรกิจในประเทศไทยไม่ว่าในรูปแบบใด เว้นแต่เป็นการถือหุ้นในสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 4(1) (3) ดําเนินการจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ขอบเขตตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6 ข้อ ๖ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศต้องดําเนินการจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ขอบเขตดังต่อไปนี้ (1) จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับการออกตราสารที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) ตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีบริษัทใหญ่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ข) ตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ 1. ตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายในประเทศและต่างประเทศในคราวเดียวกัน 2. หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกและเสนอขายในประเทศไทย 3. หุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่มีผู้มีสิทธิเสนอโครงการเป็นหน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) ตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ (ง) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกโดยธนาคารต่างประเทศหรือบริษัทประกันภัยต่างประเทศ ซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจประกันภัย ในประเทศไทย แล้วแต่กรณี (2) จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับกิจการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตราสารในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) เป็นผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัลของตราสารหนี้ ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หรือหน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ (ข) เป็นผู้ค้ําประกันของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (3) กรณีอื่นใดนอกจาก (1) และ (2) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศต้องดําเนินการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับการออกตราสารหรือกิจการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตราสารเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกับต่างประเทศได้ เช่น จัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะ international scale rating หรือ regional scale rating เป็นต้น หมวด ๒ การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ การยื่นคําขอความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๘ ให้บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามข้อ 7 ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ พร้อมกับการยื่นคําขอดังกล่าว ข้อ ๙ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจง ดําเนินการ หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๑๐ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน ส่วน ๒ หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหมวดนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) มีทุนชําระแล้วไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท (3) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ากรรมการหรือผู้บริหารมีพฤติกรรมที่ขาดความรับผิดชอบ ขาดความน่าเชื่อถือหรือความน่าไว้วางใจ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) มีประวัติเคยถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือถูกดําเนินคดีอันเนื่องมาจากการกระทําทุจริต (ข) มีประวัติการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต (ค) มีประวัติการบริหารงาน หรือการกระทําอื่นใดอันเป็นเหตุให้มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อย่างร้ายแรง อันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบในการบริหารงาน (4) มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถหรือประสบการณ์ในการทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เพียงพอเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (5) แสดงได้ว่าจะสามารถจัดให้มีระบบงานในการติดตามดูแลการปฏิบัติงานเพื่อให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นไปตามมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ (6) มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่รัดกุมและเชื่อถือได้ ตลอดจนสามารถดําเนินงานได้อย่างเป็นอิสระและสามารถให้ความเห็นได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง (7) มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นสิ่งที่ใช้กันในความหมายสามัญหรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ (ข) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอย่างใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารตามวรรคหนึ่ง (3) ให้สํานักงานนําประวัติพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวย้อนหลังไม่เกินสิบปีมาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามของบุคคลดังกล่าวให้คํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรม หรือผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือหรือความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย ข้อ ๑๒ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้ประกอบธุรกิจภายใต้ขอบเขตดังต่อไปนี้ (1) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (2) การให้คําชี้แจงหรือเหตุผลประกอบการพิจารณาจัดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณา (3) การให้บริการข่าวสารข้อมูลที่ได้รับมาเนื่องจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เป็นต้น (4) ธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือไม่มีลักษณะที่ทําให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่สามารถให้ความเห็นได้อย่างเป็นอิสระ ส่วน ๓ หน้าที่ภายหลังได้รับความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้ต้องมีระบบงานที่ชัดเจน รัดกุม และเพียงพอที่จะสามารถควบคุมดูแลให้การดําเนินงานของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14 (2) สามารถดําเนินงานได้อย่างเป็นอิสระ และให้ความเห็นได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15 (3) มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างเพียงพอ โดยข้อมูลดังกล่าวต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจนและไม่ทําให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดในสาระสําคัญของผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยคํานึงถึงผู้ใช้ข้อมูลเป็นสําคัญ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 16 (4) มีการจัดการข้อมูลที่ได้รับมาเนื่องจากการให้บริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ให้ข้อมูล โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17 ข้อ ๑๔ เพื่อให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เผยแพร่แก่ประชาชน (public rating) มีการจัดทําอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดวิธีการและขั้นตอนในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (methodology and procedure) ที่สามารถกลั่นกรองและให้ความเห็นในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้อย่างมีคุณภาพและสะท้อนถึงความสามารถในการชําระหนี้ตามตราสารหรือของกิจการที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ตลอดจนทบทวนวิธีการและขั้นตอนที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างสม่ําเสมอ (2) ใช้ข้อมูลประกอบการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและสามารถอ้างอิงได้ (3) มอบหมายให้บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในตราสารอย่างเพียงพอเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารนั้น (4) ทบทวนผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เผยแพร่แก่ประชาชนเพื่อให้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวสะท้อนความสามารถในการชําระหนี้ตามตราสารหรือของกิจการที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้อย่างทันเหตุการณ์ (5) ทบทวนผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในกรณีที่ผู้ซึ่งเคยเป็นบุคลากรและมีส่วนร่วมในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้แก่กิจการใด ได้เข้าร่วมงานกับกิจการนั้น(look-back review) ข้อ ๑๕ เพื่อให้มั่นใจว่าสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือจะสามารถจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้อย่างเป็นอิสระ และให้ความเห็นได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งดําเนินการตรวจสอบเพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว โดยต้องครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ (1) สายงานบังคับบัญชาและโครงสร้างการจ่ายผลตอบแทนในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งมาตรการป้องกันมิให้บุคลากรซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใช้ตําแหน่งหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่น (2) การไม่รับจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้แก่กิจการที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) กิจการที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ที่ออกโดยกิจการดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นหลักทรัพย์ที่ออกโดยกิจการนั้น เว้นแต่เป็นการถือหลักทรัพย์หรือมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยผ่านบุคคลที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพจัดการเงินทุนหรือการลงทุนให้กับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่สามารถแทรกแซงหรือสั่งการในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นได้ (ข) กิจการที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างของกิจการหรือตราสารที่ออกโดยกิจการนั้น (3) มาตรการที่มิให้ผู้บริหารและพนักงานที่มีความสัมพันธ์กับกิจการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้แก่กิจการนั้น ก) กิจการที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ที่ออกโดยกิจการนั้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือกิจการที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสินค้าอ้างอิงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่บุคคลดังกล่าวเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เว้นแต่เป็นการถือหลักทรัพย์หรือเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยผ่านบุคคลที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพจัดการเงินทุนหรือการลงทุนให้กับบุคคลดังกล่าว และบุคคลดังกล่าวนั้นไม่สามารถแทรกแซงหรือสั่งการในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นได้ (ข) กิจการที่บุคคลดังกล่าวทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างของกิจการหรือตราสารที่ออกโดยกิจการนั้น (ค) กิจการที่บุคคลดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องในลักษณะที่อาจทําให้ไม่สามารถดําเนินการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้อย่างเป็นอิสระ หรือไม่สามารถให้ความเห็นได้อย่างเป็นกลาง (4) มาตรการที่ทําให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ไม่สามารถซื้อหรือขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยกิจการซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้บริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีหลักทรัพย์นั้นเป็นสินค้าอ้างอิง เว้นแต่การซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวกระทําโดยบุคคลที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพจัดการเงินทุนหรือการลงทุนให้กับบุคคลดังกล่าว และบุคคลดังกล่าวนั้นไม่สามารถแทรกแซงหรือสั่งการในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นได้ (5) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในรายงานประจําปี โดยต้องเปิดเผยสัดส่วนของรายได้จากการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเทียบกับรายได้จากการประกอบธุรกิจอื่น ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมีรายได้จากการให้บริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้แก่กิจการหนึ่งกิจการใดตั้งแต่ร้อยละสิบขึ้นไปของรายได้ทั้งหมดในรอบปีบัญชี สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องเปิดเผยรายชื่อกิจการดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๖ เพื่อให้ประชาชนซึ่งใช้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมีข้อมูลอย่างเพียงพอ และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเหมาะสม สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อประชาชนอย่างทันเหตุการณ์โดยไม่เลือกปฏิบัติ พร้อมทั้งระบุเหตุผลประกอบการพิจารณาจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องประกาศให้ประชาชนทราบโดยไม่ชักช้า (2) เปิดเผยวิธีการและขั้นตอนในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางการประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้อย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน (3) มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย พร้อมทั้งอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนและเปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบ ในกรณีที่เป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารที่มีโครงสร้างซับซ้อน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างจากสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ทั่วไป พร้อมทั้งอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนและเปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบด้วย (4) เปิดเผยการวิเคราะห์กระแสเงินสดของสินทรัพย์อ้างอิงและผลกระทบต่อผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ (rating sensitivity) รวมทั้งข้อจํากัดในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (5) เปิดเผยข้อมูลความผิดพลาดในการประเมินผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในอดีต(historical default rate) โดยให้เปิดเผยข้อมูลสถิติและรายละเอียดย้อนหลังเป็นระยะเวลาสิบปี ทั้งนี้ ในกรณีที่ประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ถึงสิบปี ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตั้งแต่เริ่มประกอบธุรกิจจนถึงปัจจุบัน ข้อ ๑๗ เพื่อให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือปฏิบัติต่อข้อมูลที่ได้รับมาเนื่องจากการให้บริการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างเหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ให้ข้อมูล สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องดําเนินการมิให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนําข้อมูลที่ได้รับมานั้นไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม หรือใช้เพื่อการอื่นใดนอกจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้า หรือนําไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่มิได้เป็นไปตามสัญญาหรือข้อตกลงกับผู้ให้ข้อมูลหรือลูกค้า เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามคําสั่งของบุคคลที่มีอํานาจตามกฎหมาย ข้อ ๑๘ ในกรณีที่เป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยไม่ได้รับการว่าจ้างจากผู้ออกตราสาร (unsolicited rating) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในกรณีดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน (2) ในการเผยแพร่ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อประชาชนทุกครั้ง ให้เปิดเผยข้อมูลดังนี้อย่างถูกต้องครบถ้วน (ก) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ได้รับการว่าจ้างจากผู้ออกตราสารและผู้ออกตราสารมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหรือไม่ (ข) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๑๙ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ส่งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เผยแพร่แก่ประชาชนต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่เผยแพร่ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น (2) จัดทําและส่งงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชีและรายงานประจําปีเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อสํานักงานภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี (3) แจ้งการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสัญลักษณ์ หรือความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อสํานักงานก่อนการใช้สัญลักษณ์หรือความหมายของสัญลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมนั้น (4) แจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้บริหารหรือคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหาร พร้อมทั้งส่งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณวุฒิและประวัติการทํางานของกรรมการและผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งใหม่ และหนังสือรับรองคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารนั้น ต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (5) แจ้งการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีนัยสําคัญต่อโครงสร้างการถือหุ้นหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (6) เก็บรักษาข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบข้อมูลได้ทันที (audit trail) เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสองปีนับแต่วันที่มีการเผยแพร่ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (7) ยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สํานักงานกําหนด และทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความรายงานหรือเอกสารที่ยื่นตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๒๐ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากสํานักงานเข้าไปในสถานที่ตั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือสถานที่ซึ่งรวบรวมหรือประมวลข้อมูลของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในระหว่างเวลาทําการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามประกาศนี้ ส่วน ๔ การสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบและบทบังคับอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๑ สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามสมควรแก่กรณี เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ (1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 11 (2) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกอบกิจการนอกขอบเขตธุรกิจที่ระบุในข้อ 12 (3) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 3 และการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้าหรือผู้ใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น ในกรณีที่เกิดเหตุตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจสั่งให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด หรือสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ข้อ ๒๒ ในการสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้ สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หมวด ๓ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๓ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 อยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ และให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ละตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 (นางสาวนวพร เรืองสกุล) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
160
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กช. 16/2558 เรื่อง การกำหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 16/2558 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 เมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามข้อ 7 ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ต่อสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
161
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กช. 25/2561 เรื่อง การกำหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 25/2561 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ในประกาศนี้ “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การประเมินฐานะและความสามารถของรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม หรือกิจการใด ๆ ในการชําระคืนหนี้ตามตราสารใดตราสารหนึ่ง หรือการชําระหนี้คืนทั้งหมด หรือการปฏิบัติตามภาระผูกพันตามหุ้นบุริมสิทธิ และแสดงผลการประเมินด้วยการให้สัญลักษณ์ “สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า ผู้ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นทางค้าปกติ “ตราสารหนี้” หมายความว่า พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน และให้หมายความรวมถึงศุกูก “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกรายและให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “บริษัทใหญ่” หมายความว่า บริษัทใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติในการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ(Code of Conduct Fundamentals for Credit Rating Agencies) ที่กําหนดโดย International Organization of Securities Commissions (IOSCO) ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือ (2) ความเป็นอิสระในการดําเนินงาน และการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (3) ความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง (4) ธรรมาภิบาลองค์กร การบริหารความเสี่ยงองค์กร และการจัดการเกี่ยวกับบุคลากร (5) การเปิดเผยข้อมูลและการสื่อสารกับผู้ร่วมตลาด สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องมีกลไกที่ทําให้มั่นใจได้ว่าคณะกรรมการและผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ข้อ ๔ ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบอยู่ก่อนวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 เมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
162
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กช. 21/2564 เรื่อง การกำหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 21/2564 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 ในหมวด 1 บททั่วไป แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 “ข้อ 6/1 การขอความเห็นชอบ การแจ้ง การยื่น หรือการส่งข้อมูลหรือเอกสารตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานยื่นคําขอความเห็นชอบพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการที่กําหนดตามข้อ 6/1” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
163
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกำหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2555 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 9/2553เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 6/2554เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 ข้อ 3( ในประกาศนี้ “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การประเมินฐานะและความสามารถของรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม หรือกิจการใด ๆ ในการชําระคืนหนี้ตามตราสารใดตราสารหนึ่งหรือการชําระหนี้คืนทั้งหมด หรือการปฏิบัติตามภาระผูกพันตามหุ้นบุริมสิทธิ และแสดงผลการประเมินด้วยการให้สัญลักษณ์ “สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า ผู้ซึ่งประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นทางค้าปกติ “ตราสารหนี้” หมายความว่า พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน และให้หมายความรวมถึงศุกูก “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกรายและให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “บริษัทใหญ่” หมายความว่า บริษัทใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ ทุกประเภท หมวด 1บททั่วไป\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 การให้คําแนะนําแก่ประชาชนในลักษณะของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 (2) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 5 ข้อ 5 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 4(2) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้โดยชอบตามกฎหมายของประเทศที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวจัดตั้งขึ้น และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (2) ไม่มีสถานประกอบธุรกิจในประเทศไทยไม่ว่าในรูปแบบใด เว้นแต่เป็นการถือหุ้นในสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 4(1) (3) ดําเนินการจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ขอบเขตตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6 ข้อ 6 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศต้องดําเนินการจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ขอบเขตดังต่อไปนี้ (1) จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับการออกตราสารที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) ตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีบริษัทใหญ่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ข) ตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ 1. ตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายในประเทศและต่างประเทศในคราวเดียวกัน 2. หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกและเสนอขายในประเทศไทย 3. หุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่มีผู้มีสิทธิเสนอโครงการเป็นหน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) ตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศหน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ (ง) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกโดยธนาคารต่างประเทศหรือบริษัทประกันภัยต่างประเทศ ซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย แล้วแต่กรณี (2) จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับกิจการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตราสารในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) เป็นผู้ค้ําประกันหรือผู้รับอาวัลของตราสารหนี้ ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็น นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หรือหน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ (ข) เป็นผู้ค้ําประกันของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (3) กรณีอื่นใดนอกจาก (1) และ (2) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศต้องดําเนินการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับการออกตราสารหรือกิจการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตราสารเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกับต่างประเทศได้ เช่น จัดอันดับความน่าเชื่อถือในลักษณะ international scale rating หรือ regional scale rating เป็นต้น ข้อ 6/1( การขอความเห็นชอบ การแจ้ง การยื่น หรือการส่งข้อมูลหรือเอกสาร ตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หมวด 2การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1การยื่นคําขอความเห็นชอบ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7( ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบ จากสํานักงานยื่นคําขอความเห็นชอบพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการ ที่กําหนดตามข้อ 6/1 ข้อ 8( เมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามข้อ 7 ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ต่อสํานักงาน ข้อ 9( ยกเลิก ข้อ 10( สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ส่วนที่ 2หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหมวดนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) มีทุนชําระแล้วไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท (3) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ากรรมการหรือผู้บริหารมีพฤติกรรมที่ขาดความรับผิดชอบขาดความน่าเชื่อถือหรือความน่าไว้วางใจ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) มีประวัติเคยถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือถูกดําเนินคดีอันเนื่องมาจากการกระทําทุจริต (ข) มีประวัติการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต (ค) มีประวัติการบริหารงาน หรือการกระทําอื่นใดอันเป็นเหตุให้มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อย่างร้ายแรง อันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบในการบริหารงาน (4) มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถหรือประสบการณ์ในการทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เพียงพอเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (5) แสดงได้ว่าจะสามารถจัดให้มีระบบงานในการติดตามดูแลการปฏิบัติงานเพื่อให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นไปตามมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ (6) มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่รัดกุมและเชื่อถือได้ ตลอดจนสามารถดําเนินงานได้อย่างเป็นอิสระและสามารถให้ความเห็นได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง (7) มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นสิ่งที่ใช้กันในความหมายสามัญหรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ (ข) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอย่างใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารตามวรรคหนึ่ง (3)ให้สํานักงานนําประวัติพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวย้อนหลังไม่เกินสิบปีมาประกอบการพิจารณาด้วยทั้งนี้ ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามของบุคคลดังกล่าวให้คํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรม หรือผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือหรือความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย ข้อ 12 ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้ประกอบธุรกิจภายใต้ขอบเขตดังต่อไปนี้ (1) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (2) การให้คําชี้แจงหรือเหตุผลประกอบการพิจารณาจัดอันดับความน่าเชื่อถือรวมทั้งข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณา (3) การให้บริการข่าวสารข้อมูลที่ได้รับมาเนื่องจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เป็นต้น (4) ธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือไม่มีลักษณะที่ทําให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่สามารถให้ความเห็นได้อย่างเป็นอิสระ ส่วนที่ 3 หน้าที่ภายหลังได้รับความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13( สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติในการประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Code of Conduct Fundamentals for Credit Rating Agencies) ที่กําหนดโดย International Organization of Securities Commissions (IOSCO) ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือ (2) ความเป็นอิสระในการดําเนินงาน และการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (3) ความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง (4) ธรรมาภิบาลองค์กร การบริหารความเสี่ยงองค์กร และการจัดการเกี่ยวกับบุคลากร (5) การเปิดเผยข้อมูลและการสื่อสารกับผู้ร่วมตลาด สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องมีกลไกที่ทําให้มั่นใจได้ว่าคณะกรรมการและผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ข้อ 14( ยกเลิก ข้อ 15( ยกเลิก ข้อ 16( ยกเลิก ข้อ 17( ยกเลิก ข้อ 18( ยกเลิก ข้อ 19 ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ส่งผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เผยแพร่แก่ประชาชนต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่เผยแพร่ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น (2) จัดทําและส่งงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชีและรายงานประจําปีเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อสํานักงานภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี (3) แจ้งการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสัญลักษณ์ หรือความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อสํานักงานก่อนการใช้สัญลักษณ์หรือความหมายของสัญลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมนั้น (4) แจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้บริหารหรือคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหาร พร้อมทั้งส่งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณวุฒิและประวัติการทํางานของกรรมการและผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งใหม่ และหนังสือรับรองคุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหารนั้นต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (5) แจ้งการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีนัยสําคัญต่อโครงสร้างการถือหุ้นหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (6) เก็บรักษาข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบข้อมูลได้ทันที (audit trail) เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสองปีนับแต่วันที่มีการเผยแพร่ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (7) ยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สํานักงานกําหนด และทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความรายงานหรือเอกสารที่ยื่นตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ 20 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากสํานักงานเข้าไปในสถานที่ตั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือสถานที่ซึ่งรวบรวมหรือประมวลข้อมูลของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในระหว่างเวลาทําการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามประกาศนี้ ส่วนที่ 4 การสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบและบทบังคับอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 21 สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามสมควรแก่กรณี เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ (1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 11 (2) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกอบกิจการนอกขอบเขตธุรกิจที่ระบุในข้อ 12 (3) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 3 และการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้าหรือผู้ใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น ในกรณีที่เกิดเหตุตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจสั่งให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด หรือสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ข้อ 22 ในการสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้ สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หมวด 3บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 23 ให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 อยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ และให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ ข้อ 24 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2552 เรื่อง การกําหนดให้การประกอบธุรกิจ ของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 (นางสาวนวพร เรืองสกุล) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
164
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับประมวล) ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 63(5) และมาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ เว้นแต่ประกาศนี้ได้กําหนดไว้เป็นประการอื่น ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท มาใช้กับประกาศนี้ ข้อ ๓ ผู้ที่ไม่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ออกใหม่ ให้หมายความรวมถึงการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้น หุ้นกู้ หรือหลักทรัพย์อื่นที่ออกใหม่ซึ่งรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าวด้วย หมวด 1 ตราสารหนี้ที่ได้รับการยกเว้น ------------------------- ข้อ ๕ มิให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับตราสารหนี้ดังต่อไปนี้ (1) หุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ (2) ตราสารหนี้ที่เสนอขายโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ และผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (3) ตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมจากบุคคลดังต่อไปนี้ และตั๋วเงินดังกล่าวจะต้องมีวัตถุประสงค์ให้โอนเปลี่ยนมือได้เฉพาะภายในกลุ่มบุคคลดังกล่าวเท่านั้น (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) บุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (4) ตั๋วเงินที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย หมวด 2 ลักษณะการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับยกเว้น ------------------------------- ข้อ ๖ ให้การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ข้อ ๗ ให้การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ (ข) การเสนอขายหุ้นกู้ทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือได้รับการรับรองตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) การเสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ (ง) การเสนอขายหุ้นกู้ตามที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะจากสํานักงาน เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว (2) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ต่อเจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ซึ่งข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานกําหนดให้การโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจํากัดอยู่เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) เจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว (ข) ผู้ลงทุนสถาบัน (ค) ผู้ลงทุนใด ๆ ที่มีจํานวนไม่เกินห้าสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่นับรวมส่วนที่โอนให้แก่ผู้ลงทุนตาม (ก) และ (ข) (3) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่โดยบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นการเสนอขายในลักษณะเป็นการทั่วไปโดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้น โดยเป็นการเสนอขายตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ (4) การเสนอขายหุ้นกู้ในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีข้อจํากัดการโอนให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ หุ้นกู้นั้นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เฉพาะกรณีที่มีประกาศกําหนดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ดังกล่าว (ข) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก 2. ผู้ออกหุ้นกู้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 3. หุ้นกู้ที่เสนอขายได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๘ ให้การเสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (1) เป็นหุ้นที่รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพซึ่งได้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (2) ผู้ที่จะใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพอาจไม่ใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท และ (3) หุ้นและหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวออกโดยบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด ข้อ ๙ ให้การเสนอขายตั๋วเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายตั๋วเงิน โดยไม่เข้าลักษณะตามข้อ 5(3) ซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อนับรวมตั๋วเงินทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัท (2) การเสนอขายตั๋วเงินทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือได้รับการรับรองตามกฎหมายต่างประเทศ (3) การเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นในทอดต่อ ๆ ไป เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับตั๋วเงินระยะสั้นนั้นแล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก ข้อ ๑๐ ให้การเสนอขายพันธบัตรที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายพันธบัตรที่ออกใหม่ ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) การเสนอขายพันธบัตรต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ (ข) การเสนอขายพันธบัตรทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือได้รับการรับรองตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) การเสนอขายพันธบัตรตามที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะจากสํานักงาน เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว (2) การเสนอขายพันธบัตรในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) เป็นการเสนอขายพันธบัตรซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานสําหรับการเสนอขายพันธบัตรที่มีข้อจํากัดการโอนให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (ข) การเสนอขายพันธบัตรที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ 1. ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายพันธบัตรดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก 2. ผู้ออกพันธบัตรมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 3. พันธบัตรที่เสนอขายได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๑๑ ให้การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทยที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ โดยมีการจดข้อจํากัดการโอน (2) การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง ตามรายชื่อที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่มีข้อจํากัดการโอนในทอดต่อ ๆ ไปโดยไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนตาม (1) (4) การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในทอดต่อ ๆ ไป หากผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานแล้วในการเสนอขายทอดแรก ข้อ ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 7 ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13 ในกรณีผู้ลงทุนที่จองซื้อตราสารหนี้เป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใดที่มีการถือครองตราสารหนี้แทนบุคคลอื่นให้นับจํานวนผู้ลงทุนหรือ ประเภทผู้ลงทุนจากบุคคลที่เป็นผู้ถือตราสารหนี้ที่แท้จริง ข้อ ๑๓ บุคคลใดจะนําตราสารหนี้ที่นิติบุคคลต่างประเทศเป็นผู้ออกและเสนอขายในต่างประเทศมาเสนอขายในประเทศไทย บุคคลนั้นจะได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่เสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในประเทศไทยต่อธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หากเป็นการเสนอขายต่อธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ ให้บุคคลนั้นได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ ๑๔ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามหมวดนี้ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายตราสารหนี้เป็นการทั่วไป (2) ในกรณีที่ผู้เสนอขายตราสารหนี้ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับตราสารหนี้ ที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีการเสนอขายตราสารหนี้ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ตามข้อ 6 (2) การเสนอขายตราสารหนี้ในทอดต่อ ๆ ไปตามข้อ 7(4) (ข) ข้อ 9(3) ข้อ 10(2) (ข) และข้อ 11(4) (3) การเสนอขายตราสารหนี้ในทอดต่อ ๆ ไปต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 7(4) (ก) และข้อ 10(2) (ก) (4) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศตามข้อ 11(2) ข้อ ๑๕ การเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 7 ข้อ 9 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี ต้องเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้วก่อนผู้ออกตราสารหนี้เสนอขายต่อผู้ลงทุนในทอดแรก ข้อ ๑๖ ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ตามหมวดนี้ รายงานผลการขายตราสารหนี้ต่อสํานักงานตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย (2) วันที่เสนอขายตราสารหนี้ (3) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของตราสารหนี้ (ถ้ามี) (4) ข้อมูลที่แสดงลักษณะของการเสนอขายที่ได้รับยกเว้นดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนและมูลค่าตราสารหนี้ที่เสนอขายทั้งหมด รวมทั้งจํานวนและมูลค่าของตราสารหนี้ที่ขายได้ทั้งหมด (ข) ราคาของตราสารหนี้ที่เสนอขาย โดยกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แสดงราคาและอัตราใช้สิทธิด้วย (ค) ลักษณะหรือประเภทของผู้ซื้อตราสารหนี้ (ง) กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ให้ระบุประเทศที่เสนอขายและสกุลเงินที่ใช้ในการเสนอขาย (จ) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ให้แสดงระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการนั้น ให้ผู้ออกตราสารหนี้รายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งเสนอขายโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวดนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ ๑๗ วันปิดการเสนอขายตามข้อ 16 ให้พิจารณาจากวันปิดการเสนอขายในแต่ละครั้ง หรือในกรณีที่มีการกําหนดช่วงเวลาเสนอขาย ให้พิจารณาจากวันสุดท้ายของช่วงเวลาดังกล่าว เป็นวันปิดการเสนอขาย เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่ไม่ใช่การเสนอขายตามข้อ 7(1) (ก) ข้อ 9(1) ข้อ 10(1) (ก) และข้อ 11(1) ให้ถือว่าวันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขายนั้นเป็นวันปิดการเสนอขาย (2) การเสนอขายหลักทรัพย์รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้วันปิดการเสนอขายหมายความถึงวันดังต่อไปนี้ (ก) วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในแต่ละครั้ง (ข) วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ในกรณีหลักทรัพย์แปลงสภาพที่อาจใช้สิทธิในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ข้อ ๑๘ ให้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับภายใต้บังคับประกาศนี้ต่อไป จนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 39/2547 เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 32/2550 เรื่อง รายชื่อผู้ออกพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
165
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 63(5) และมาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ เว้นแต่ประกาศนี้ได้กําหนดไว้เป็นประการอื่น ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท มาใช้กับประกาศนี้ ข้อ ๓ ผู้ที่ไม่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศนี้ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ออกใหม่ ให้หมายความรวมถึงการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้น หุ้นกู้ หรือหลักทรัพย์อื่นที่ออกใหม่ซึ่งรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าวด้วย หมวด 1 ตราสารหนี้ที่ได้รับการยกเว้น ข้อ ๕ มิให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับตราสารหนี้ดังต่อไปนี้ (1) หุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ (2) ตราสารหนี้ที่เสนอขายโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ และผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (3) ตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ค) บุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด หมวด 2 ลักษณะการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับยกเว้น ข้อ ๖ ให้การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ข้อ ๗ ให้การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ (ข) การเสนอขายหุ้นกู้ทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือได้รับการรับรองตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) การเสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ (ง) การเสนอขายหุ้นกู้ตามที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะจากสํานักงาน เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว (2) การเสนอขายหุ้นกู้ในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีข้อจํากัดการโอนให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่โดยหุ้นกู้นั้นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ข) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก 2. ผู้ออกหุ้นกู้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 3. หุ้นกู้ที่เสนอขายได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ข้อ ๘ ให้การเสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (1) เป็นหุ้นที่รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพซึ่งได้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (2) ผู้ที่จะใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพอาจไม่ใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท และ (3) หุ้นและหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวออกโดยบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด ข้อ ๙ ให้การเสนอขายตั๋วเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายตั๋วเงิน โดยไม่เข้าลักษณะตามข้อ 5(3) ซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบฉบับณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อนับรวมตั๋วเงินทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัท (2) การเสนอขายตั๋วเงินทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือได้รับการรับรองตามกฎหมายต่างประเทศ (3) การเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นในทอดต่อ ๆ ไป เมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับตั๋วเงินระยะสั้นนั้นแล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก ข้อ ๑๐ ให้การเสนอขายพันธบัตรที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายพันธบัตรต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งทําให้มีผู้ถือพันธบัตรประเภทเดียวกันทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้ออกพันธบัตรนั้นไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ (2) การเสนอขายพันธบัตรต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (3) การเสนอขายพันธบัตรในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การเสนอขายพันธบัตรซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน (ข) การเสนอขายพันธบัตรที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายพันธบัตรดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก 2. ผู้ออกพันธบัตรมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ข้อ ๑๑ ให้การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทยที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ โดยมีการจดข้อจํากัดการโอน (2) การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง ตามรายชื่อที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่มีข้อจํากัดการโอนในทอดต่อ ๆ ไปโดยไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนตาม (1) (4) การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในทอดต่อ ๆ ไป หากผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานแล้วในการเสนอขายทอดแรก ข้อ ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 7 ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13 ในกรณีผู้ลงทุนที่จองซื้อตราสารหนี้เป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใดที่มีการถือครองตราสารหนี้แทนบุคคลอื่นให้นับจํานวนผู้ลงทุนหรือประเภทผู้ลงทุนจากบุคคลที่เป็นผู้ถือตราสารหนี้ที่แท้จริง ข้อ ๑๓ บุคคลใดจะนําตราสารหนี้ที่นิติบุคคลต่างประเทศเป็นผู้ออกและเสนอขายในต่างประเทศมาเสนอขายในประเทศไทย บุคคลนั้นจะได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในประเทศไทยต่อธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หากเป็นการเสนอขายต่อธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ ให้บุคคลนั้นได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ ๑๔ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามหมวดนี้ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายตราสารหนี้เป็นการทั่วไป (2) ในกรณีที่ผู้เสนอขายตราสารหนี้ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีการเสนอขายตราสารหนี้ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ตามข้อ 6 (2) การเสนอขายตราสารหนี้ในทอดต่อ ๆ ไป ตามข้อ 7(2)(ข) ข้อ 9(3) ข้อ 10(3)(ข) และข้อ 11(4) (3) การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 7(2)(ก) ข้อ 10(2) และข้อ 10(3)(ก) (4) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศตามข้อ 11(2) ข้อ ๑๕ การเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ตามข้อ 7 ข้อ 9 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้วก่อนผู้ออกตราสารหนี้เสนอขายต่อผู้ลงทุนในทอดแรก ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด หรือ (2) ผู้ออกตราสารหนี้ที่เสนอขายเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวมิใช่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ข้อ ๑๖ ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศนี้ รายงานผลการขายตราสารหนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ (1) ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะตามข้อ 6 ให้ผู้เสนอขายรายงานผลการขายตราสารหนี้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยอนุโลม (2) ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะตามข้อ 7(2)(ข) ข้อ 8 ข้อ 9(3) ข้อ 10(3)(ข) และข้อ 11(4) ให้ผู้เสนอขายรายงานผลการขายตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามความในมาตรา 81 ในส่วนที่ใช้บังคับกับรายงานผลการขายตราสารหนี้ประเภทดังกล่าวต่อประชาชน โดยอนุโลม (3) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) วันที่เสนอขายตราสารหนี้ (ข) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของตราสารหนี้ (ถ้ามี) (ค) จํานวนตราสารหนี้ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนตราสารหนี้ที่ขายได้ทั้งหมด (ง) ราคาของตราสารหนี้ที่เสนอขาย ราคาและอัตราใช้สิทธิ (กรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ) และในกรณีตราสารหนี้ที่เสนอขายหรือหุ้นรองรับตราสารหนี้ที่เสนอขายเป็นหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ระบุราคาตลาดของหุ้นนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณแหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย (จ) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อตราสารหนี้ และจํานวนที่ผู้ซื้อตราสารหนี้แต่ละรายได้รับจัดสรร (ฉ) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ วันปิดการเสนอขายให้หมายถึงวันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย ข้อ ๑๗ ให้ผู้ออกตราสารหนี้รายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งเสนอขายโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวดนี้ โดยให้มีรายละเอียดตามข้อ 16 โดยอนุโลม ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในแต่ละครั้ง ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์แปลงสภาพอาจใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ข้อ ๑๘ ให้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับภายใต้บังคับประกาศนี้ต่อไป จนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 39/2547 เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 32/2550 เรื่อง รายชื่อผู้ออกพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้และร่างหนังสือชี้ชวน โดยคํานึงถึงความจําเป็นและความสามารถของผู้ลงทุนในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ออกตราสารหนี้เป็นสําคัญ ทั้งนี้ ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัด เพิ่มเติมด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
166
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2556 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3 /2556 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีข้อจํากัดการโอนให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยหุ้นกู้นั้นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ไม่กําหนดให้ต้องจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการออกหุ้นกู้ดังกล่าว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
167
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 3 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 3 ) ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 253 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเดิมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 63(5) และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 42552 เรื่อง การยกเวันการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(4) ตั๋วเงินที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย" ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการซื้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ให้การเสนอขายพันธบัตรที่มีลักษณะใหลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายพันธบัตรที่ออกใหม่ ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) การเสนอขายพันธบัตรต่อผู้ลงทุน โดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบรายในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ (ข) การเสนอขายพันธบัตรทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือได้รับการรับรองตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) การเสนอขายพันธบัตรตามที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว (2) การเสนอขายพันธบัตรในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) เป็นการเสนอขายพันธบัตรซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการ โอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานสําหรับการเสนอขายพันธบัตรที่มีข้อจํากัดการโอนให้อยู่ใบกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ (ข) การเสนอขายพันธบัตรที่ ไม่มี ข้อจํากัดการโอน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ 1. ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายพันธบัตรดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก 2. ผู้ออกพันธบัตรมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 3. พันธบัตรที่เสนอขายได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่เสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในประเทศไทยต่อธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หากเป็นการเสนอขายต่อธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ ให้บุคคลนั้นได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือนี้ชวน” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของวรรคสองในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การเสนอขายตราสารหนี้ในทอดต่อ ๆ ไปตามข้อ 7(2)(ข) ข้อ 9(3) ข้อ 10(2)(ข) และข้อ 11(4) (3) การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 7(2)(ก) และข้อ 10(2) (ก)” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นตันไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
168
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 29/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 4 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 29/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 4 ) -------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการซื้อมูลการเสนอขาย ตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 การเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 7 ข้อ 9 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี ต้องเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ให้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้วก่อนผู้ออกตราสารหนี้เสนอขายต่อผู้ลงทุนในทอดแรก” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
169
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2560 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 5 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2560 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 5 ) ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ วันปิดการเสนอขายในกรณีอื่นใดที่ไม่ใช่การเสนอขายตาม ข้อ 7(1) (ก) ข้อ (1) ข้อ10(1) (ก) และข้อ 11(1) ให้หมายถึงวันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
170
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2561 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 6 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่กจ. 5/2561 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 6 ) ------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 63(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2532 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมจากบุคคลดังต่อไปนี้และตั๋วเงินดังกล่าวจะต้องมีวัตถุประสงค์ให้โอนเปลี่ยนมือได้เฉพาะภายในกลุ่มบุคคลดังกล่าวเท่านั้น (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) บุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
171
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2564 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 7 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2564 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2556 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ (ข) การเสนอขายหุ้นกู้ทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือได้รับการรับรองตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) การเสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ (ง) การเสนอขายหุ้นกู้ตามที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะจากสํานักงาน เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว (2) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ต่อเจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ซึ่งข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานกําหนดให้การโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจํากัดอยู่เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) เจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว (ข) ผู้ลงทุนสถาบัน (ค) ผู้ลงทุนใด ๆ ที่มีจํานวนไม่เกินห้าสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่นับรวมส่วนที่โอนให้แก่ผู้ลงทุนตาม (ก) และ (ข) (3) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่โดยบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นการเสนอขายในลักษณะเป็นการทั่วไปโดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้น โดยเป็นการเสนอขายตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ (4) การเสนอขายหุ้นกู้ในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีข้อจํากัดการโอนให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ หุ้นกู้นั้นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เฉพาะกรณีที่มีประกาศกําหนดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ดังกล่าว (ข) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก 2. ผู้ออกหุ้นกู้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 3. หุ้นกู้ที่เสนอขายได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีการเสนอขายตราสารหนี้ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ตามข้อ 6 (2) การเสนอขายตราสารหนี้ในทอดต่อ ๆ ไปตามข้อ 7(4) (ข) ข้อ 9(3) ข้อ 10(2) (ข) และข้อ 11(4) (3) การเสนอขายตราสารหนี้ในทอดต่อ ๆ ไปต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 7(4) (ก) และข้อ 10(2) (ก) (4) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศตามข้อ 11(2)” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2560 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ตามหมวดนี้ รายงานผลการขายตราสารหนี้ต่อสํานักงานตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย (2) วันที่เสนอขายตราสารหนี้ (3) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของตราสารหนี้ (ถ้ามี) (4) ข้อมูลที่แสดงลักษณะของการเสนอขายที่ได้รับยกเว้นดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนและมูลค่าตราสารหนี้ที่เสนอขายทั้งหมด รวมทั้งจํานวนและมูลค่าของตราสารหนี้ที่ขายได้ทั้งหมด (ข) ราคาของตราสารหนี้ที่เสนอขาย โดยกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แสดงราคาและอัตราใช้สิทธิด้วย (ค) ลักษณะหรือประเภทของผู้ซื้อตราสารหนี้ (ง) กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ให้ระบุประเทศที่เสนอขายและสกุลเงินที่ใช้ในการเสนอขาย (จ) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ให้แสดงระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการนั้น ให้ผู้ออกตราสารหนี้รายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งเสนอขายโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวดนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งโดยอนุโลม” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 17 วันปิดการเสนอขายตามข้อ 16 ให้พิจารณาจากวันปิดการเสนอขายในแต่ละครั้ง หรือในกรณีที่มีการกําหนดช่วงเวลาเสนอขาย ให้พิจารณาจากวันสุดท้ายของช่วงเวลาดังกล่าว เป็นวันปิดการเสนอขาย เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่ไม่ใช่การเสนอขายตามข้อ 7(1) (ก) ข้อ 9(1) ข้อ 10(1) (ก) และข้อ 11(1) ให้ถือว่าวันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขายนั้นเป็นวันปิดการเสนอขาย (2) การเสนอขายหลักทรัพย์รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้วันปิดการเสนอขายหมายความถึงวันดังต่อไปนี้ (ก) วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในแต่ละครั้ง (ข) วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ในกรณีหลักทรัพย์แปลงสภาพที่อาจใช้สิทธิในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ” ข้อ ๕ ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนอยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะปฏิบัติตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
172
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2565 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2565 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 63(5) และมาตรา 64 วรรคหนึ่ง (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2556 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอยายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 29/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2560 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2561 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2564 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่ด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท มาใช้บังคับ เว้นแต่ประกาศนี้ได้กําหนดไว้เป็นประการอื่น และให้มีบทนิยามเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ "ข้อจํากัดการโอน" หมายความว่า ข้อจํากัดการโอนตราสารหนี้ที่บริษัทที่ออกตราสารหนี้ได้ยื่นไว้กับสํานักงาน ข้อ ๔ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ ให้หมายความรวมถึงการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้น หุ้นกู้ หรือหลักทรัพย์อื่นที่ออกใหม่ซึ่งรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าวด้วย ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาประเภทผู้ลงทุนตามประกาศนี้ กรณีผู้ลงทุนที่จองซื้อตราสารหนี้เป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใดที่มีการถือครองตราสารหนี้แทนบุคคลอื่น ให้พิจารณาจํานวนผู้ลงทุนหรือประเภทผู้ลงทุนจากบุคคลที่เป็นผู้ถือตราสารหนี้ที่แท้จริง หมวด ๑ ตราสารหนี้ที่ได้รับการยกเว้น ------------------------------ ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535หมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประซาชน มาใช้บังคับกับตราสารหนี้ดังต่อไปนี้ (1) หุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ (2) ตราสารหนี้ที่เสนอขายโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ และผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (3) ตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมจากบุคคลดังนี้ และตั๋วเงินดังกล่าวจะต้องมีวัตถุประสงค์ให้โอนเปลี่ยนมือได้เฉพาะภายในกลุ่มบุคคลดังกล่าวเท่านั้น (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) บุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (4) ตั๋วเงินที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย หมวด ๒ ลักษณะการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับยกเว้น ------------------------------- ข้อ ๗ ให้การเสนอขายตราสารหนี้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (2) การเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรสกุลเงินบาทที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลังตามรายชื่อที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๘ ให้การเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) เป็นการเสนอขายที่มีลักษณะตามที่กําหนดในตารางแนบท้ายประกาศ (2) เป็นการเสนอขายที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว (3) ไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน (ถ้ามี) ข้อ ๙ ให้การเสนอขายตราสารหนี้ในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเป็นการเสนอขายถัดจากการเสนอขายตามข้อ 8 และมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายตราสารหนี้ (แต่ไม่รวมถึงตัวเงิน) ที่มีข้อจํากัดการโอนและไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีตราสารหนี้ที่เสนอขายมีประกาศกําหนดให้ต้องจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ตราสารหนี้ตังกล่าวต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือแล้ว (2) การเสนอขายตราสารหนี้ (แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงิน) ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก (ข) ผู้ออกตราสารหนี้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง. (ค) ตราสารหนี้ที่เสนอขายได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (3) การเสนอขายตั๋วเงินในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) ตั๋วเงินที่เสนอขายในลักษณะตราสารหนี้ PP10 ตามตารางแนบท้ายประกาศ (ข) ตั๋วเงินที่เสนอขายทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือได้รับการรับรองตามกฎหมายต่างประเทศ (ค) ตั๋วเงินระยะสั้น ซึ่งได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับตั๋วเงินระยะสั้นนั้นแล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก ข้อ ๑๐ ให้การเสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (1) เป็นหุ้นที่รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพซึ่งได้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (2) ผู้ที่จะใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพอาจไม่ใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท (3) หุ้นและหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวออกโดยบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด ข้อ ๑๑ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามหมวดนี้ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายตราสารหนี้เป็นการทั่วไป (2) ในกรณีที่ผู้เสนอขายตราสารหนี้ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่จะเสนอยายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้เสนอชายตราสารหนี้ต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีการเสนอขายตราสารหนี้ตามข้อ 7 และข้อ 9 หมวด ๓ ลักษณะการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับยกเว้น ------------------------------- ข้อ ๑๒ ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ตามหมวด 2 รายงานผลการขายตราสารหนี้ต่อสํานักงานตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายใน 15 วันนับแต่วันปิดการเสนอขายโดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย (2) วันที่เสนอขายตราสารหนี้ (3) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของตราสารหนี้ (ถ้ามี) (4) ข้อมูลที่แสดงลักษณะของการเสนอขายที่ได้รับยกเว้นดังต่อไปนี้ (ก)จํานวนและมูลค่าตราสารหนี้ที่เสนอขายทั้งหมด รวมทั้งจํานวนและมูลค่าของตราสารหนี้ที่ขายได้ทั้งหมด (ข) ราคาของตราสารหนี้ที่เสนอขาย โดยกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แสดงราคาและอัตราใช้สิทธิด้วย (ค) ลักษณะหรือประเภทของผู้ซื้อตราสารหนี้ (ง) กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ให้ระบุประเทศที่เสนอขายและสกุลเงินที่ใช้ในการเสนอขาย (จ) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ให้แสดงระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการนั้น ให้ผู้ออกตราสารหนี้รายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งเสนอขายโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวดนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ ๑๓ วันปิดการเสนอขายตามข้อ 12 ให้พิจารณาจากวันปิดการเสนอขายในแต่ละครั้งหรือในกรณีที่มีการกําหนดช่วงเวลาเสนอขาย ให้พิจารณาจากวันสุดท้ายของช่วงเวลาดังกล่าวเป็นวันปิดการเสนอขาย เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่ไม่ใช่การเสนอขายตราสารหนี้ PP10 ตามตารางแนบท้ายประกาศ ให้ถือว่าวันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขายนั้นเป็นวันปิดการเสนอขาย (2) การเสนอขายหลักทรัพย์รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพให้วันปิดการเสนอขายหมายความถึงวันดังต่อไปนี้ (ก) วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในแต่ละครั้ง (ข) วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ในกรณีหลักทรัพย์แปลงสภาพที่อาจใช้สิทธิในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ บทเฉพาะกาล - ---------------------------- ข้อ ๑๔ ในกรณีที่บริษัทมหาชนจํากัด บริษัท หรือเจ้าของหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการเสนอขายตราสารหนี้โดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และการเสนอขายดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ให้บริษัทมหาชนจํากัดบริษัท หรือเจ้าของหลักทรัพย์นั้นสามารถเสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวโดยได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานต่อไปตามประกาศดังกล่าวจนกว่าจะแล้วเสร็จ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๖ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
173
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 2/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นการเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นการเสนอขาย ต่อบุคคลในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64 วรรคหนึ่ง (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ “บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศต่อบุคคลในวงจํากัด ข้อ ๔ ให้ผู้เสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 1 ผู้ที่ไม่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการนั้น หมวด ๑ กรณีที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล และร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามหมวดนี้ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายหุ้นต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นเป็นการทั่วไป (2) ในกรณีที่ผู้เสนอขายหุ้นประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับหุ้นที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้เสนอขายหุ้นต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ข้อ ๖ การเสนอขายหุ้นที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินห้าสิบรายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน (2) การเสนอขายหุ้นที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของหุ้นดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายหุ้นนั้นเป็นเกณฑ์ (3) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนสถาบัน (4) การเสนอขายหุ้นที่ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นนั้นและไม่มีลักษณะเป็นการเสนอขายโดยทั่วไป ข้อ ๗ การนับจํานวนผู้ลงทุนหรือการคํานวณมูลค่าการเสนอขายตามข้อ 6 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การนับจํานวนผู้ลงทุนในหุ้นตามข้อ 6(1) ไม่ให้นับรวมส่วนที่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 6(3) (2) การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหุ้นตามข้อ 6(2) ไม่ให้นับรวมส่วนที่จะเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 6(3) และที่เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามข้อ 6(4) การนับจํานวนผู้ลงทุนหรือการคํานวณมูลค่าการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) ไม่จําต้องคํานึงว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการนับจํานวนผู้ลงทุนหรือการคํานวณมูลค่าการเสนอขายหุ้นตามข้อ 6 ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นโดยผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนการจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศผู้ออกหุ้นหรือผู้ถือหุ้น ให้นับรวมการเสนอขายหุ้นของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนการจําหน่ายหลักทรัพย์นั้นทุกรายเป็นการเสนอขายหุ้นของบริษัทต่างประเทศผู้ออกหุ้นหรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนการจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะซื้อหุ้นที่เสนอขายนั้นเข้าบัญชีของตนเองก่อนหรือไม่ (2) ในกรณีที่มีผู้ถือหุ้นหลายรายร่วมกันเสนอขายหุ้นประเภทเดียวกันซึ่งออกโดยบริษัทต่างประเทศเดียวกัน หรือเสนอขายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ให้นับรวมการเสนอขายของผู้ถือหุ้นทุกรายเป็นการเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นเพียงหนึ่งราย ทั้งนี้ การร่วมกันเสนอขายหุ้นดังกล่าวให้รวมถึงพฤติการณ์ ดังนี้ด้วย (ก) ผู้ถือหุ้นแต่ละรายเสนอขายหุ้นในราคาและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน (ข) ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1. ผู้ถือหุ้นแต่ละรายเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน 2. ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของบริษัทต่างประเทศผู้ออกหุ้นหรือบริษัทย่อย หรือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว 3. เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละรายในที่สุดไปสู่บุคคลเดียวกัน 4. เป็นการเสนอขายหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายใช้ใบจองซื้อหุ้นหรือตัวแทนรับจองซื้อหุ้นร่วมกัน โดยมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้จองซื้อหุ้นมิได้คํานึงว่าตนได้จองซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายใด (3) ในกรณีผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใดที่มีการถือครองหลักทรัพย์แทนบุคคลอื่นให้นับจํานวนผู้ลงทุนหรือประเภทผู้ลงทุนจากบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริง ข้อ ๙ การเสนอขายหุ้นแก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้น หรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับข้อกําหนดในการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ไม่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวดนี้ เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม การเสนอขายหุ้นแก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวดนี้ (1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบัน (2) การเสนอขายหุ้นให้กองทุนรวมนั้นเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหุ้นกับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นที่เสนอขายนั้น ในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป (3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในหุ้นที่เสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ลงทุนในหุ้นที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น (ข) ลงทุนในหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหุ้นที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ในกรณีที่ผู้เสนอขายหุ้นประสงค์จะเสนอขายหุ้นแก่กองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหุ้นแก่กองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหุ้นแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ให้ผู้เสนอขายหุ้นดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสารหลักฐานประกอบ และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบ ให้ผู้เสนอขายหุ้นสามารถเสนอขายหุ้นแก่กองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนสถาบันในครั้งนั้นได้ หมวด ๒ การรายงานผลการขายหุ้น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ให้ผู้เสนอขายหุ้นที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวด 1 รายงานผลการขายหุ้นในประเทศไทยต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่เสนอขายหุ้น (2) จํานวนหุ้นที่เสนอขายในประเทศไทยทั้งหมด และจํานวนหุ้นที่ขายได้ทั้งหมด (3) ราคาของหุ้นที่เสนอขาย และในกรณีที่หุ้นที่เสนอขายเป็นหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ระบุราคาตลาดของหุ้นนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณแหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย (4) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อหุ้น และจํานวนที่ผู้ซื้อหุ้นแต่ละรายได้รับจัดสรร (5) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รายงานผลการขาย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
174
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 26/2564 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นการเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2564 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นการเสนอขาย ต่อบุคคลในวงจํากัด (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นการเสนอขายต่อบุคคลในวงจํากัด ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ให้ผู้เสนอขายหุ้นที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวด 1 รายงานผลการขายหุ้นในประเทศไทยต่อสํานักงานตามแนวทางที่กําหนไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รายงานผลการขาย (2) วันที่เสนอขายหุ้น (3) ข้อมูลที่แสดงลักษณะของการเสนอขายที่ได้รับยกเว้นดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนและมูลค่าหุ้นที่เสนอขายทั้งหมด รวมทั้งจํานวนและมูลค่าของหุ้นที่ขายได้ทั้งหมด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เสนอขายในประเทศไทย (ข) ราคาของหุ้นที่เสนอขาย (ค) ลักษณะหรือประเภทของผู้ซื้อหุ้น” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
175
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 6/2553 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2553 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ข้อ ๒ การเสนอขายที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อผู้ลงทุนสถาบันซึ่งผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้จดข้อจํากัดการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้นกับสํานักงานเพื่อให้การโอนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จํากัดอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน การจดข้อจํากัดการโอนตามวรรคหนึ่งต้องระบุว่าผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะไม่รับจดทะเบียนการโอนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้จดไว้กับสํานักงาน เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก (2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีข้อจํากัดการโอน และเสนอขายโดยไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนดังกล่าว (ข) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน และได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก โดยผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ยังมีการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหน้าที่ที่กําหนด ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ข้อ ๓ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 2(1) ให้หมายความรวมถึงการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์อ้างอิงและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหลักทรัพย์อ้างอิงที่รองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวด้วย (ถ้ามี) ข้อ ๔ ให้ผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 2 รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (2) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ถ้ามี) (3) ประเภท ชื่อ และจํานวนของหลักทรัพย์อ้างอิง (4) ในกรณีที่หลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้ระบุจํานวนหุ้นอ้างอิงในใบสําคัญ แสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกในครั้งนี้ และจํานวนหุ้นอ้างอิงที่ได้รับการยืนยันจากสํานักงาน (5) จํานวนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ขายได้ทั้งหมด (6) ราคาของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขาย ราคาและอัตราใช้สิทธิ และในกรณีหลักทรัพย์อ้างอิงจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ระบุราคาตลาดของหลักทรัพย์อ้างอิงนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณ แหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย (7) วันที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขาย ในกรณีที่เป็นการเสนอขายโดยผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (8) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และจํานวนที่ผู้ซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์แต่ละรายได้รับจัดสรร (9) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ ในกรณีผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์อย่างต่อเนื่อง วันปิดการเสนอขายให้หมายถึงวันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย ข้อ ๕ ให้ผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ส่งมอบหลักทรัพย์อ้างอิงให้แก่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ รายงานผลการขายหุ้นรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวด้วย เมื่อมีการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธินั้น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สิ้นสุดการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง ในกรณีที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ อาจใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้ผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และร่างหนังสือชี้ชวน สําหรับกรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
176
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 27/2564 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2564 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 และข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2553 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้ผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 2 รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายใน 15 วัน นับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย (2) วันที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (3) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ถ้ามี) (4) จํานวนและมูลค่าใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขายทั้งหมด รวมทั้งจํานวนและมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ขายได้ทั้งหมด (5) ราคาของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขาย รวมทั้งราคาและอัตราใช้สิทธิ (6) ลักษณะหรือประเภทของผู้ซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (7) ประเภท ชื่อ และจํานวนของหลักทรัพย์อ้างอิง (8) ในกรณีที่หลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้ระบุจํานวนหุ้นอ้างอิงในใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกในครั้งนี้ และจํานวนหุ้นอ้างอิงที่ได้รับการยืนยันจากสํานักงาน เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ ในกรณีผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์อย่างต่อเนื่อง วันปิดการเสนอขายให้หมายถึงวันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย ข้อ 5 ให้ผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ส่งมอบหลักทรัพย์อ้างอิงให้แก่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ รายงานผลการขายหุ้นรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวต่อสํานักงานตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน เมื่อมีการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธินั้น ภายใน 15 วันนับแต่วันที่สิ้นสุดการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง ในกรณีที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์อาจใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้ผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
177
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 14/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิงไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ข้อ ๒ ให้การเสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ข้อ ๓ ให้ผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย รายงานผลการขายใบแสดงสิทธิต่อสํานักงาน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่เสนอขาย (2) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของใบแสดงสิทธิ (ถ้ามี) (3) จํานวนใบแสดงสิทธิที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนใบแสดงสิทธิที่ขายได้ทั้งหมด (4) ราคาของใบแสดงสิทธิที่เสนอขาย ในกรณีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้ระบุราคาตลาดของหุ้นนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณ แหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย (5) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อใบแสดงสิทธิ และจํานวนที่ผู้ซื้อใบแสดงสิทธิแต่ละรายได้รับจัดสรร (6) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รายงานผลการขาย ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นอํานาจของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ตลอดจนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 30/2546 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
178
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 28/2564 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 28/2564 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิงไทย (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2552 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้ผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิในลักษณะจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย รายงานผลการขายใบแสดงสิทธิต่อสํานักงานตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รายงานผลการขาย (2) วันที่เสนอขาย (3) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของใบแสดงสิทธิ (ถ้ามี) (4) ข้อมูลที่แสดงลักษณะของการเสนอขายที่ได้รับยกเว้นดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนและมูลค่าใบแสดงสิทธิที่เสนอขายทั้งหมด รวมทั้งจํานวนและมูลค่าของใบแสดงสิทธิที่ขายได้ทั้งหมด (ข) ราคาของใบแสดงสิทธิที่เสนอขาย (ค) ลักษณะหรือประเภทของผู้ซื้อใบแสดงสิทธิ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
179
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 5/2551 เรื่อง การกำหนดแบบคำขอและวิธีการขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 5/2551 เรื่อง การกําหนดแบบคําขอและวิธีการขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาต การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 15 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ยื่นคําขอรับใบอนุญาตพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ข้อ ๒ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
180
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 32/2564 เรื่อง การกำหนดแบบคำขอและวิธีการขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2564 เรื่อง การกําหนดแบบคําขอและวิธีการขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาต การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 12 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2563 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 5/2551 เรื่อง การกําหนดแบบคําขอและวิธีการขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ให้ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ยื่นคําขอรับใบอนุญาตพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
181
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 5/2551 เรื่อง การกำหนดแบบคำขอและวิธีการขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาต การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 5/2551 เรื่อง การกําหนดแบบคําขอและวิธีการขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาต การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 12 และข้อ 15 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1( ให้ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ยื่นคําขอรับใบอนุญาตพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด ข้อ 2 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาต การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------SEC Classification : ใช้ภายใน (Internal)
182
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 และมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท (1) การจัดการกองทุนรวม (2) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือ (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับอนุญาต เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับประโยชน์จากหุ้น หมายความถึง ผู้รับประโยชน์จากหุ้นตามที่กําหนดในมาตรา 25 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ข้อ ๒ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือบริษัทหลักทรัพย์อาจยื่นคําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ได้ ข้อ ๓ ผู้ขอรับอนุญาตจะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ ต่อเมื่อมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท (2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (3) สามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นหรือกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น (4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจทรัสต์ของผู้ขอรับอนุญาต หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขอรับอนุญาต มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับกรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขอรับอนุญาตที่เป็นนิติบุคคลด้วย (5) แสดงได้ว่าจะมีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (6) แสดงได้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (7) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ (8) แสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านทรัสต์ ข้อ ๔ ให้ผู้ขอรับอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๕ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับอนุญาตเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้ผู้ขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ได้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะออกใบอนุญาตให้ไว้เป็นหลักฐาน โดยเป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ในการพิจารณาคําขอตามข้อ 5 นอกจากการพิจารณารายละเอียดที่ปรากฏในคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ผู้ขอรับอนุญาตมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาตามที่เห็นสมควรและภายในระยะเวลาที่กําหนดได้ และในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. มีคําสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ผู้ขอรับอนุญาตได้มาชี้แจงหรือได้ส่งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนแล้วรวมเข้ากับการนับระยะเวลาตามข้อ 5 ข้อ ๗ ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) จะเริ่มประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ได้ ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับอนุญาตได้ดําเนินการให้เป็นไปตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3(5) (6) (7) และ (8) (2)ต้องดํารงคุณสมบัติและดําเนินการในเรื่องที่แสดงไว้ในข้อ 3 ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนการอนุญาตดังกล่าวได้ ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมในการขออนุญาต และการอนุญาตเป็นทรัสต์ตามประกาศนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) คําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ คําขอละ 30,000 บาท โดยให้ชําระในวันยื่นคําขอ (2) การอนุญาตเป็นทรัสต์ 500,000 บาท โดยให้ผู้ได้รับอนุญาตชําระในวันรับใบอนุญาต สําหรับค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยการนั้น ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ กําหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้บุคคลเป็นทรัสต์ เพื่อให้มีบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็นทรัสต์อย่างเหมาะสมซึ่งมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในการดูแลและบริหารจัดการทรัพย์สินในกองทรัสต์ให้ตรงตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งทรัสต์ รวมทั้งเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
183
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับอนุญาตเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.เพื่อพิจารณาอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 2/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ คําขอละ 30,000 บาท สําหรับค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยการนั้น เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์แก่สํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
184
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 36/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสต์ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 36/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8(1) มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 และมาตรา 57แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ประกาศการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” และคําว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ““ประกาศการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 9/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ผู้ขอรับอนุญาตจะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าล้านบาท (2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (3) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนหรือกันสํารองอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ในกรณีที่ผู้ขอรับอนุญาตเป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือเป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจและการดํารงเงินกองทุนของนิติบุคคลนั้น ต้องดํารงเงินกองทุนและกันสํารองตามกฎหมายดังกล่าว (ข) ในกรณีผู้ขอรับอนุญาตเป็นนิติบุคคลอื่นนอกเหนือจาก (ก) ต้องดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม และดํารงเงินกองทุนขั้นต้นเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าล้านบาท (4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจทรัสตีของผู้ขอรับอนุญาต หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขอรับอนุญาต มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขอรับอนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้กับ กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของนิติบุคคลนั้นด้วย (5) แสดงได้ว่าจะมีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (6) แสดงได้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (7) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (8) แสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านทรัสตี” ข้อ 4 ให้ยกเลิก (3) ในวรรคหนึ่งของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 9/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
185
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 9/2552 หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 9/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 และมาตรา 57แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท (1) การจัดการกองทุนรวม (2) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือ (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน “ประกาศการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม”( หมายความว่า ประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับอนุญาต เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับประโยชน์จากหุ้น หมายความถึงผู้รับประโยชน์จากหุ้นตามที่กําหนดในมาตรา 25 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ข้อ 2( ยกเลิก ข้อ 3( ผู้ขอรับอนุญาตจะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าล้านบาท (2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (3) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนหรือกันสํารองอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ในกรณีที่ผู้ขอรับอนุญาตเป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือเป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจและการดํารงเงินกองทุนของนิติบุคคลนั้นต้องดํารงเงินกองทุนและกันสํารองตามกฎหมายดังกล่าว (ข) ในกรณีผู้ขอรับอนุญาตเป็นนิติบุคคลอื่นนอกเหนือจาก (ก) ต้องดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม โดยอนุโลม และดํารงเงินกองทุนขั้นต้นเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าล้านบาท (4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจทรัสตีของผู้ขอรับอนุญาต หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขอรับอนุญาต มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขอรับอนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้กับ กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของนิติบุคคลนั้นด้วย (5) แสดงได้ว่าจะมีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (6) แสดงได้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (7) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (8) แสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านทรัสตี ข้อ 4 ให้ผู้ขอรับอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 5( ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับอนุญาตเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้ผู้ขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีได้คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะออกใบอนุญาตให้ไว้เป็นหลักฐาน โดยเป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 6( ยกเลิก ข้อ 7 ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) จะเริ่มประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีได้ ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับอนุญาตได้ดําเนินการให้เป็นไปตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3(5) (6) (7) และ (8) (2) ต้องดํารงคุณสมบัติและดําเนินการในเรื่องที่แสดงไว้ในข้อ 3 ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (3)( ยกเลิก ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนการอนุญาตดังกล่าวได้ ข้อ 8( ค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี คําขอละ 30,000 บาท สําหรับค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าด้วยการนั้น เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีแก่สํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
186
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับ การออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 11/2551 เรื่อง การกําหนดนิยามผู้ที่เกี่ยวข้องตามประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ เว้นแต่ได้กําหนดไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้ใช้บทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ซึ่งกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (2) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (3) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (4) การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (5) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (6) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในประกาศและในแบบท้ายประกาศตามข้อ 2 (1) บทนิยามที่เกี่ยวกับประเภทตราสาร (ก) “ตราสารหนี้” หมายความว่า พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน (ข) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ (ค) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อย เจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ (ง) “หุ้นกู้อนุพันธ์” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. มูลค่าผลตอบแทนที่ชําระขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งปัจจัยอ้างอิงดังกล่าวไม่ใช่อัตราดอกเบี้ย 2. มูลค่าต้นเงินทั้งหมดหรือบางส่วนที่ไถ่ถอนขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า หรือ 3. ให้สิทธิผู้ออกในการไถ่ถอนต้นเงินหรือจ่ายผลตอบแทน หรือให้สิทธิผู้ถือในการได้รับชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่หุ้นที่ออกใหม่โดยผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์หรือทรัพย์สินอื่น (จ) “ตั๋วเงิน” หมายความว่า ตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ (ฉ) “ตั๋วเงินระยะสั้น” หมายความว่า ตั๋วเงินที่มีกําหนดเวลาใช้เงินไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกตั๋ว หรือตั๋วเงินที่ถึงกําหนดใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (2) บทนิยามที่เกี่ยวกับประเภทผู้ลงทุน (ก) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า 1. ธนาคารพาณิชย์ 2. บริษัทเงินทุน 3. บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ 4. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 5. บริษัทประกันภัย 6. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น 7. ธนาคารแห่งประเทศไทย 8. สถาบันการเงินระหว่างประเทศ 9. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 10. กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ 11. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 12. กองทุนรวม 13. ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม 1. ถึง 12. โดยอนุโลม (ข) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า 1. บุคคลธรรมดาที่มีทรัพย์สินตั้งแต่สี่สิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่รวมหนี้สินของบุคคลดังกล่าว 2. นิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่สองร้อยล้านบาทขึ้นไป (3) บทนิยามที่เกี่ยวกับประเภทบุคคล (ก) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ข) “บริษัทใหญ่” หมายความว่า 1. บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้ 2. บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม 1. เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น 3. บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม 2. โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น 4. บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้นั้น การถือหุ้นของบริษัทตาม 1. หรือ 2. หรือ 3. หรือ 4.ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (ค) “บริษัทย่อย” หมายความว่า 1. บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น 2. บริษัทที่บริษัทตาม 1. ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น 3. บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม 2. ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น 4. บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทตาม 1. หรือ 2. หรือ 3. ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น 5. บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทตาม 1. หรือ 2. หรือ 3. หรือ 4. มีอํานาจควบคุมในเรื่องการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทนั้น การถือหุ้นของผู้ออกตราสารหนี้หรือของบริษัทตาม 1. หรือ 2. หรือ 3. หรือ 4. ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (ง) “บริษัทร่วม” หมายความว่า 1. บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทย่อยถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น 2. บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า การถือหุ้นของผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทย่อยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (จ) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า (ฉ) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้เกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้ การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (ช) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ 1. บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท 2. บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทนั้นได้ 3. บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายการจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท 4. บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น (ซ) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลใดในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว 2. บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว 3. ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม 1. หรือ 2. เป็นหุ้นส่วน 4. ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม 1. หรือ 2. เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด 5. บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม 1.หรือ 2. หรือห้างหุ้นส่วนตาม 3. หรือ 4. ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น หรือ 6. บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม 1. หรือ 2. หรือห้างหุ้นส่วนตาม 3. หรือ 4. หรือบริษัทตาม 5. ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น 7. นิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล (ฌ) “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ 1. กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกตราสารหนี้ 2. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ออกตราสารหนี้ 3. ผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ออกตราสารหนี้ 4. บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียน ตามกฎหมายกับบุคคลตาม 1. หรือ 2. หรือ 3. ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิทอื่น 5. นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม 1. หรือ 2. หรือ 3. ถือหุ้น หรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสําคัญ (ญ) “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” หมายความว่า บุคคลที่อยู่ในฐานะที่อาจมีโอกาสล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงอันเนื่องมาจากการมีโครงสร้างการถือหุ้นหรือการจัดการร่วมกับบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย 1. ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง 2. มีบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงเป็นผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 3. มีผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกับผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 4. มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง 5. มีโครงสร้างการถือหุ้นหรือการจัดการในลักษณะอื่นใดที่แสดงให้เห็นได้ว่าผู้ที่ประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตมีอํานาจควบคุมบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง หรือมีบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงเป็นผู้มีอํานาจควบคุม หรือมีผู้มีอํานาจควบคุมเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีอํานาจควบคุมบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง การนับรวมจํานวนหุ้นตาม 1. หรือ 2. หรือ 3. ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวด้วย และในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นนิติบุคคล ให้นับรวมการถือหุ้นของกรรมการและผู้บริหารในสายงานที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ของนิติบุคคลดังกล่าวด้วย (ฎ) “นิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ (ฏ) “สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (4) บทนิยามอื่น ๆ (ก) “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ ของผู้ออกตราสารหนี้ ของผู้ค้ําประกันตราสารหนี้ หรือของผู้รับอาวัลผู้ออกตั๋วเงิน (ข) “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า การใช้สิทธิแปลงสภาพตามหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือการใช้สิทธิส่งมอบหลักทรัพย์อ้างอิงตามหุ้นกู้อนุพันธ์ แล้วแต่กรณี (ค) “การเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง” หมายความว่า การที่ผู้ออกตราสารหนี้ยังมีการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ 1. นําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56 กรณีผู้ออกตราสารหนี้เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด 2. ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับสํานักงานในการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56 และรายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อมีเหตุการณ์ตามมาตรา 57 กรณีผู้ออกตราสารหนี้มิใช่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด (ง) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (จ) “งบการเงินรวม” หมายความว่า งบการเงินรวมของผู้ออกตราสารหนี้และบริษัทย่อย (ฉ) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดความหมายของบทนิยามที่ใช้ร่วมกันของบรรดาประกาศที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภทไว้เป็นประกาศกลาง จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
187
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 5/2554 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5 /2554 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับ การออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฐ) และ (ฑ) ใน (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(ฐ) “นิติบุคคลเฉพาะกิจ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะได้กระทําภายใต้พระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 หรือไม่ก็ตาม (ฑ) “กิจการตามกฎหมายต่างประเทศ” หมายความว่า หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดบทนิยามของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
188
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 3/2555 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2555 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออก และเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ง) ของ (1) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ง) “หุ้นกู้อนุพันธ์” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้ที่กําหนดผลตอบแทนผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น (floating rate notes) 1. มูลค่าผลตอบแทนที่ชําระขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า 2. มูลค่าต้นเงินทั้งหมดหรือบางส่วนที่ไถ่ถอนขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า 3. ให้สิทธิผู้ออกในการไถ่ถอนต้นเงินหรือจ่ายผลตอบแทน หรือให้สิทธิผู้ถือในการได้รับชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่หุ้นที่ออกใหม่โดยผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์หรือทรัพย์สินอื่น” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555 (นางสาวนวพร เรืองสกุล) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
189
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2555 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8 /2555 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับ การออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 4 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) (ค) และ (ง) ของ (3) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) “บริษัทใหญ่” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในผู้ออกตราสารหนี้ 2. บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม 1. 3. บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม 2. ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม 2. (ค) “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้มีอํานาจควบคุมกิจการ 2. บริษัทที่บริษัทตาม 1. มีอํานาจควบคุมกิจการ 3. บริษัทที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม 2. ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม 2. (ง) “บริษัทร่วม” หมายความว่า บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะมีอํานาจควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทย่อยถือหุ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม รวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ง/1) ใน (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(ง/1) “อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า การมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น 2. การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด 3. การมีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
190
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 2/2556 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2556 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับ การออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) บทนิยามที่เกี่ยวกับประเภทผู้ลงทุน (ก) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ (ข) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
191
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 2/2559 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 6)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2559 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออก และเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ง) ของ (1) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2555 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ง) “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” หมายความว่า หุ้นกู้ซึ่งมีข้อตกลงและเงื่อนไขที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วย โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ 1. ทําให้การชําระหนี้ที่กําหนดไว้ตามหุ้นกู้ดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน แตกต่างไปจากการกู้ยืมเงินโดยทั่วไปในรูปหุ้นกู้ อันเนื่องมาจากปัจจัยอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน หลักทรัพย์ สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีอ้างอิง เป็นต้น 2. มีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงที่ไม่สัมพันธ์กับการกู้ยืมเงินโดยทั่วไปในรูปหุ้นกู้อย่างมีนัยสําคัญ 3. เป็นผลให้สถานะความเสี่ยงโดยรวมและราคาของหุ้นกู้ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปจากความเป็นตราสารที่ใช้ในการกู้ยืมเงินโดยทั่วไปอย่างมีนัยสําคัญ” ข้อ 2 ให้ยกเลิก (ญ) ของ (3) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ในกรณีที่ประกาศฉบับอื่นใดที่อ้างอิงบทนิยามคําว่า “หุ้นกู้อนุพันธ์” ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงบทนิยามคําดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงบทนิยามคําว่า “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ข้อ 4 ในกรณีที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับใดมีการระบุถึงคําว่า “หุ้นกู้อนุพันธ์” ไว้ในประกาศ หากประกาศฉบับดังกล่าวไม่ได้มีการกําหนดบทนิยามหรือความหมายไว้เป็นการเฉพาะ ให้คําว่า “หุ้นกู้อนุพันธ์” ตามประกาศนั้น หมายถึงคําว่า “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
192
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2565 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2565 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับ การออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2552 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2556 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) บทนิยามที่เกี่ยวกับประเภทผู้ลงทุน (ก) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ (ข) “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ (ค) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
193
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เว้นแต่ได้กําหนดไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น ให้ใช้บทนิยามที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ซึ่งกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (2) การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (3) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (4) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (5) การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ข้อ ๒ ในประกาศและในแบบท้ายประกาศตามข้อ 1 (1) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ (2) “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (3) “หุ้นรองรับ” หมายความว่า หุ้นที่ออกใหม่ที่จัดไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (4) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บริษัทประกันภัย (ฉ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ฌ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฏ) กองทุนรวม (ฐ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฏ) โดยอนุโลม (5) “การใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า การใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น การใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ แล้วแต่กรณี (6) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (7) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ (8) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (9) “นิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ (10) “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (ก) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์ (ข) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (ง) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกหลักทรัพย์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์นั้น การถือหุ้นของบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (11) “บริษัทย่อย” หมายความว่า (ก) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (ง) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (จ) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) มีอํานาจควบคุมในเรื่องการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทนั้น การถือหุ้นของผู้ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (12) “บริษัทย่อยลําดับเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทย่อยตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกันไม่ว่าบริษัทย่อยนั้นจะอยู่ในชั้นลําดับใด ๆ (13) “บริษัทร่วม” หมายความว่า (ก) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (ข) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า การถือหุ้นของผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (14) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลใดในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว (ข) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (ค) ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) เป็นหุ้นส่วน (ง) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (จ) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ค) หรือ (ง) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น หรือ (ฉ) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ค) หรือ (ง) หรือบริษัทตาม (จ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (ช) นิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล (15) “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้บริหารของผู้ออกหลักทรัพย์ (ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ออกหลักทรัพย์ (ค) ผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ออกหลักทรัพย์ (ง) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียน ตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง บุตร หรือคู่สมรสของบุตร (จ) นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น หรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสําคัญ (16) “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า (17) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในผู้ออกหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์ การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (18) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ (ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท (ข) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทนั้นได้ (ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย ผู้บริหารการจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายการจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท (ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น (19) “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” หมายความว่า บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามประกาศเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ (20) “หุ้นอ้างอิง” หมายความว่า หุ้นอ้างอิงตามประกาศเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ (21) “งบการเงินรวม” หมายความว่า งบการเงินรวมของผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทย่อย (22) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๓ ในกรณีที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับใด มีการอนุโลมใช้บทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การอนุโลมใช้บทนิยามดังกล่าว หมายความถึงการอนุโลมใช้บทนิยามตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดความหมายของบทนิยาม ที่ใช้ร่วมกันของบรรดาประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนไว้ เป็นประกาศกลาง จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
194
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 5/2553 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออก และเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2553 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออก และเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) “การใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า การใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือการใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (19) และ (20) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
195
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 15/2554 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15 /2554 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออก และเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (15) และ (16) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(15) “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกหลักทรัพย์ (ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ออกหลักทรัพย์ (ค) ผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ออกหลักทรัพย์ (ง) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียน ตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง บุตร หรือคู่สมรสของบุตร (จ) นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น หรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสําคัญ (16) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ค) และ (ง) ของ (18) ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท (ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบ ในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (นางสาวนวพร เรืองสกุล) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
196
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 7/2555 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 7/2555 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (10) และ (11) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(10) “บริษัทใหญ่” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในผู้ออกหลักทรัพย์ (ข) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (ก) (ค) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (ข) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (ข) (11) “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์มีอํานาจควบคุมกิจการ (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) มีอํานาจควบคุมกิจการ (ค) บริษัทที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม (ข) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม (ข)” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (13) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(13) “บริษัทร่วม” หมายความว่า บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะมีอํานาจควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยถือหุ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (13/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 “(13/1) “อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า การมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ข) การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด (ค) การมีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
197
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 9/2565 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 9/2565 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5 ) ----------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (14) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2551 เรื่อง การกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกแบบและเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
198
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทำสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 16/2560 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญา รับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 109 มาตรา 117 และมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ก่อนบทนิยามคําว่า “กองทุน” ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้ “คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” และ “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า กองทุนรวมที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไป โดยไม่ได้จํากัดผู้ลงทุนที่จะซื้อหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะผ่อนคลายกว่ากองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป และจํากัดการเสนอขายและการถือหน่วยลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้มีเงินลงทุนสูง” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ในข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 88/2558 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “(5) ในการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ ต้องมีการกําหนดวงเงินและเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินดังกล่าวและมีข้อความแสดงความยินยอมของลูกค้าในการมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการในเรื่องดังกล่าวด้วย” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
199