url
stringlengths 35
229
| th
stringlengths 206
32.6k
| en
stringlengths 223
32.4k
| title_en
stringlengths 10
150
| title_th
stringlengths 16
150
|
---|---|---|---|---|
https://th.usembassy.gov/th/september1514-th-html/ | มีมโนคติไม่กี่ประการที่มีอานุภาพหรือเปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจของมนุษย์ชาติยิ่งไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย
ผู้คนทั่วโลกต่างปรารถนาประชาธิปไตย อภิสิทธิ์ที่จะได้ใช้สิทธิออกเสียง เสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็น สิทธิที่จะมีรัฐบาลโดยประชาชนและเพื่อประชาชน มโนคติเหล่านี้ยังคงเป็นแรงบันดาลใจต่อไป นับตั้งแต่ชาวอียิปต์ที่เข้ายึดจัตุรัสทาห์รีร์ ไปจนถึงนักรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า รวมทั้งชาวยูเครนผู้กล้าหาญที่นำประเทศไปสู่การเลือกตั้งเมื่อต้นปีนี้
วันนี้เป็นวันประชาธิปไตยสากลซึ่งเป็นวันที่กำหนดขึ้นเพื่อฉลองวิถีชีวิตที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง สารัตถะสำคัญประจำปีนี้คือ การเชิญชวนให้เยาวชนมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะเน้นความสำคัญของเยาวชนในการสร้างและรักษาประชาธิปไตยได้อย่างมาก
สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่แข็งแกร่งเนื่องเพราะประชาชนมีเสรีภาพในการออกมาพูดต่อต้านความอยุติธรรม ตลอดจนอภิปราย ถกเถียง และร่วมกันทำงานแม้แต่กับผู้ที่มีความคิดเห็นตรงข้ามกันเพื่อขับดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ในกรอบประชาธิปไตย เรามีเสรีภาพที่จะเลือกผู้นำของเราเอง ที่จะมีองค์กรรัฐบาลที่รับผิดชอบตรวจสอบได้ และที่จะดำเนินงานร่วมกับองค์กรเหล่านี้เพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงและรุ่งโรจน์ยิ่งขึ้นสำหรับสมาชิกทุกคนในสังคมของเรา
ขณะที่สหรัฐฯ ทำงานเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยในประเทศของเราให้แข็งแกร่ง เราก็จะยังคงสนับสนุนผู้คนทั่วโลกที่ต่อสู้เพื่อให้มีผู้รับฟังเสียงของตน
โดย U.S. Mission Thailand | 15 กันยายน, 2014 | ประเภท: ข่าว | John Kerry
Secretary of State
Washington, DC
There are few ideas more powerful – more infused with universal aspiration – than democracy.
The desire for democracy is shared by people the world over. The privilege to vote, the freedom to speak your mind, the right to a government by the people and for the people, these are ideas that continue to inspire – from the Egyptians who took to Tahrir Square, to democracy activists in Burma, to the brave Ukrainians who took to the ballot box earlier this year.
Today we recognize International Day of Democracy, a day set aside to a way of life that allows each and every citizen to participate in his or her government. This year’s theme – Engaging Young People on Democracy – powerfully underscores the importance of youth in building and preserving democracy.
Democratic societies are strong societies, because people are free to speak out against injustices and to discuss, debate, and work together to drive positive change – even with those who hold opposing views. In a democracy, we are free to choose our leaders, hold government institutions accountable, and work with those institutions to build a more stable and prosperous future for all members of our society.
As the United States works to strengthen our democracy at home, we will continue to support those around the world fighting for their voices to be heard.
By U.S. Mission Thailand | 15 September, 2015 | Topics: News | International Day of Democracy | วันประชาธิปไตยสากล (International Day of Democracy) |
https://th.usembassy.gov/th/september1114-th-html/ | ณ รอยอดีตของอาคารแฝดที่ยิ่งใหญ่ ณ บริเวณศักดิ์สิทธิ์ซึ่งการกระทำอันหาญกล้าได้ช่วยระงับความระทมใจและการทำลายล้างที่รุนแรงยิ่งกว่านี้ และบริเวณด้านนอกกำแพงกระทรวงกลาโหมที่เราได้สร้างขึ้นใหม่ ทว่า ยังตรึงอยู่ในความทรงจำ ณ สถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ และในมุมเงียบสงบทั่วประเทศ ในสัปดาห์นี้ พวกเราทุกคนร่วมกันรำลึกถึงโศกนาฏกรรมแห่งเดือนกันยายนเมื่อ 13 ปีก่อน อีกครั้งหนึ่งที่เรายืนเคียงข้างเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ที่โศกเศร้าอาลัย พวกเราขอยกย่องความกล้าหาญและความเสียสละโดยไม่คำนึงถึงตนเองของผู้ที่ออกมาให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ เรารำลึกถึงความเข้มแข็งและคุณงามความดีที่นำเราพ้นห้วงทุกข์แห่งความสิ้นหวัง และเหนือสิ่งอื่นใด พวกเราขอยืนยันถึงคุณค่าอันเป็นแก่นแท้ของเหตุการณ์วันที่ 11 เดือนกันยายน (9/11) นั่นคือ ความรัก ความเมตตากรุณาและการเสียสละ และเราจะขอเชิดชูคุณค่านี้ไว้ในหัวใจแห่งชาติเราตลอดไป
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด เราจะไม่มีวันลืมวิญญาณที่ปราศจากความผิดที่ถูกยื้อแย่งไปในวันแห่งความมืดมนนั้น วิญญาณของผู้ที่เป็นบิดามารดา บุตรหลาน พี่น้องและสามีภรรยาของบุคคลทุกชาติพันธุ์และทุกศาสนา หมวกนิรภัยที่ฝุ่นจับ ตราเครื่องหมายที่ขัดเงาและถุงมือที่เปื้อนเขม่า เหล่านี้ล้วนเป็นสัญลักษณ์เล็กๆ น้อยๆ ของบุคคลทั้งหลายที่ได้สละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ผู้อื่นได้รอดชีวิต ทว่า เรื่องราวของผู้ที่จากไปและความงามของชีวิตพวกเขาจะส่องแสงเรืองรองให้แก่ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง การเสียสละของบุคคลจำนวนมากได้กำหนดคุณลักษณะถาวรของประเทศเรา และสหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นประเทศที่เข้มแข็งขึ้นและมีความสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น พวกเรายืนหยัดหาญกล้าไม่ระย่อ เพราะไม่มีเหตุการณ์ก่อการร้ายใดจะเทียบได้กับคุณลักษณะของความเป็นหนึ่งของพวกเราหรือจะสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นเราได้
ในแต่ละปีที่ประเทศของเราแสดงความอาลัย ศรัทธาได้ฟื้นคืนแรงใจของเราและปลุกสำนึกในเป้าประสงค์ร่วมกันที่ได้ประจักษ์แก่เราอีกครั้งหลังเหตุการณ์โจมตีครั้งนั้น คำสวดอธิษฐานและการพินิจไตร่ตรองอย่างถ่อมตนนำเราไปสู่หนทางที่เราก้าวเดินไปด้วยกัน และช่วยรักษาบาดแผลลึกที่ยังคงเจ็บปวดจากความสูญเสีย คุณธรรมอันยืนยงเช่นนี้ค้ำจุนเราไว้ไม่เพียงแค่วันหนึ่งวันเดียว หากแต่เป็นทุกๆวัน
ในวาระครบรอบนี้ เราขอย้ำถึงเสรีภาพและความอดทนอดกลั้นอันเป็นค่านิยมพื้นฐานของอเมริกา และเป็นค่านิยมที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับคติสุญนิยมของเหล่าผู้ที่โจมตีเรา ขอให้เราได้ขอบคุณชายและหญิงในเครื่องแบบทุกคนที่ปกป้องคุณค่าที่เราเชิดชูจากภัยคุกคามใหม่ๆ และขอให้เราจดจำเหล่าผู้สละชีพเพื่อประเทศของเรา ขอให้ศรัทธาของเราเป็นเครื่องเผยให้เห็นว่า แม้ค่ำคืนที่มืดมิดยิ่งก็ยังต้องเปิดทางให้แก่รุ่งอรุณอันเรืองรองยิ่งกว่า
โดย U.S. Mission Thailand | 11 กันยายน, 2014 | ประเภท: ข่าว | In the footprints of two mighty towers, at a hallowed field where heroic actions saved even more heartbreak and destruction, and outside a Pentagon wall where we have rebuilt but still remember — in these sacred sites and in quiet corners across our country, we join together this week to remember the tragedy of thirteen Septembers ago. We stand with those who grieve as we offer some measure of comfort once more. We honor the courage and selflessness of all who responded. We reflect on the strength and grace that lift us up from the depths of our despair. Above all, we reaffirm the true spirit of 9/11 — love, compassion, and sacrifice — and we enshrine it forever in the heart of our Nation.
No matter how many years pass, we will never forget the innocent souls stolen on that dark day: parents, children, siblings, and spouses of every race and creed. Dusty helmets, polished badges, and soot-stained gloves serve as small symbols of those who gave everything so others might live. But the stories of all those lost and the beauty of their lives shine on in those they left behind. The sacrifice of so many has forever shaped our Nation, and we have emerged a stronger, more resilient America. We stand tall and unafraid, because no act of terror can match the character of our Union or change who we are.
Each year as our Nation mourns, our faith restores us and summons within us the sense of common purpose we rediscovered after the attacks. Prayer and humble reflection carry us forward on the path we travel together, helping mend deep wounds still sore from loss. These lasting virtues sustain us not just for one day, but every day.
On this solemn anniversary, let us reaffirm the fundamental American values of freedom and tolerance — values that stand in stark contrast to the nihilism of those who attacked us. Let us give thanks for all the men and women in uniform who defend these values from new threats, and let us remember those who laid down their lives for our country. May our faith reveal that even the darkest night gives way to a brighter dawn.
By U.S. Mission Thailand | 11 September, 2014 | Topics: News | 2014 Speech on 9/11 by President Barack Obama | คำแถลงของประธานาธิบดีบารัค โอบามา: 9/11 |
https://th.usembassy.gov/th/august1214-th-html/ | ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้านายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในนามของประชาชนชาวอเมริกัน ขอพระราชทานพระราชวโรกาส กราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 82 พรรษาของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระราชกรณียกิจต่างๆ ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยจํานวนหลายล้านคนและเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้อื่นที่จะส่งเสริมความอยู่เย็นเป็นสุขของประเทศไทย ข้าพระพุทธเจ้ามีความทรงจําอันงดงามในระหว่างการเยือนประเทศไทยที่สวยงามพรั่งพร้อมด้วยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
เป็นเวลา 181 ปี ที่ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์อันอบอุ่นและได้ทํางานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก ข้าพระพุทธเจ้ามั่นใจว่ามิตรภาพระหว่างประเทศของเราจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ด้วยดีและจะยังคงเพิ่มความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในอนาคตข้างหน้า
ในวันอันเป็นมงคลยิ่งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์และพระราชวงศ์ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์และทรงพระเกษมสําราญยิ่งยืนนาน
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้านายจอห์น แคร์รี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
โดย U.S. Mission Thailand | 12 สิงหาคม, 2014 | ประเภท: ข่าว | John Kerry
Secretary of State
Washington, DC
Your Majesty:
On behalf of the American people, I extend my warmest wishes on the occasion of your eighty-second birthday. Your efforts have improved the lives of millions of Thai citizens and inspired others to contribute to the well-being of your wonderful country. I have fond memories of visiting your beautiful kingdom, with its rich history and diverse culture.
For 181 years, Thailand and the United States have enjoyed a warm partnership, working together to promote development and security in Southeast Asia and the world. I am confident our partnership can weather any obstacle and will continue to grow stronger in the years and decades ahead.
I wish you and the royal family continued health, happiness, and prosperity on this very special day.
Sincerely,
John F. Kerry
By U.S. Mission Thailand | 12 August, 2014 | Topics: Former U.S. Government Leaders, News, Speeches | Tags: John Kerry | Her Majesty Queen Sirikit’s Birthday | วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ |
https://th.usembassy.gov/th/june2414-th-html/ | คำให้การของนายสก็อต มาร์เซียล รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกต่อคณะอนุกรรมาธิการการต่างประเทศด้านกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ
กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
เรียน ท่านประธานชาบอทและสมาชิกคณะอนุกรรมาธิการฯ
ขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ผมเข้าพบในวันนี้เพื่อแถลงเกี่ยวกับรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้
ความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกา-ไทย
ปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้จัดงานเพื่อระลึกวาระครบรอบ 180 ปี แห่งมิตรสัมพันธ์กับประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าพันธมิตรตามสนธิสัญญาของสหรัฐฯ ในเอเชีย ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่ง และความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านการไม่แพร่ขยายอาวุธ และด้านความมั่นคง ก็ดำเนินไปอย่างดีเยี่ยมมาตลอด กองทัพของสหรัฐฯ เข้าร่วมในการฝึกซ้อมร่วมทางทหารที่สำคัญอย่างหลากหลายทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมร่วมทางทหารประจำปีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีกองกำลังจาก 27 ประเทศเข้าร่วม เช่น สหรัฐฯ ไทย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ตลอดจนประเทศผู้สังเกตการณ์อีกหลายประเทศ การฝึกซ้อมร่วมเช่นนี้มอบโอกาสอันมีค่าสำหรับกองทัพสหรัฐฯ ในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่สำคัญ อีกทั้งเพิ่มพูนการประสานงานและความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งรวมถึงการตอบสนองต่อวิกฤตด้านมนุษยธรรม
ประเทศไทยมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในประเด็นและเป้าหมายด้านมนุษยธรรมมามาเป็นเวลาหลายปี โดยได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยหลายแสนคนช่วงหลังสงครามเวียดนาม และทุกวันนี้ยังคงเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัย 140,000 คน ซึ่งรวมถึงชนกลุ่มน้อยที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองและต้องเผชิญกับปัญหาหรือถูกเบียดเบียนในส่วนอื่นของภูมิภาค ประเทศไทยดำรงบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาอย่างยาวนาน ทั้งในฐานะสมาชิกอาเซียนและเอเปค ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ทำงานร่วมกับชาวไทยอย่างใกล้ชิดในการตอบสนองต่อภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาค อาทิเช่น เหตุการณ์ที่พม่าซึ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยประสบภัยจากพายุไซโคลนครั้งร้ายแรงเมื่อพ.ศ. 2551 นอกจากนี้ สหรัฐฯ และไทยยังร่วมงานกันอย่างใกล้ชิดในด้านสุขภาพซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของความร่วมมือระดับทวิภาคีที่ประสบความสำเร็จของทั้งสองประเทศ ผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานที่สำคัญ อาทิ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร ไทย-สหรัฐฯ ในความร่วมมือนี้ ประเทศไทยได้ช่วยพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อเอชไอวี/เอดส์เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าให้ผลจริงจากการวิจัยในมนุษย์
ทางด้านการค้า สหรัฐฯ คือคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทยด้วยมูลค่าการค้าระหว่างกันมากกว่า 3หมื่น 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งยังเป็นประเทศที่เข้าลงทุนในไทยมากเป็นอันดับสามด้วยมูลค่าการลงทุนโดยตรงสะสมมากกว่า 1หมื่น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากอินโดนีเซีย และหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยได้เป็นตัวแทนของกว่า 800 บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในเกือบทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทย
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ ทั้งยังคงเป็นหนึ่งในสถานทูตสหรัฐฯ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียด้วยพนักงานชาวไทยและชาวอเมริกันกว่า 3,000 คนจากหน่วยงานต่างๆ มากกว่า 60 หน่วย สหรัฐฯ และไทยดำเนินความสัมพันธ์ระดับประชาชนอย่างใกล้ชิด โดยมีอาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยมากกว่า 5,000 คน เข้ามาปฏิบัติงานที่ได้รับผลสำเร็จลุล่วงในประเทศไทยตลอด 52 ปีที่ผ่านมา
ด้วยเหตุผลทั้งหมดข้างต้น สหรัฐฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์กับประเทศไทยและต่อประชาชนชาวไทย ตลอดหลายปีมานี้ สหรัฐฯ ยินดีที่ได้เห็นประเทศไทยสร้างความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาประชาธิปไตย จนนับว่าเป็นความสำเร็จของภูมิภาคในหลากหลายด้าน ทั้งยังเป็นคู่ความร่วมมือใกล้ชิดของสหรัฐฯ ในประเด็นความสนใจร่วมกันต่างๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบค้าสัตว์ป่า อาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงทางพลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สถานการณ์ทางการเมืองและรัฐประหารในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องผจญกับการถกเถียงโต้แย้งว่าด้วยการเมืองภายในประเทศ ซึ่งไม่เพียงทวีความแตกแยกในชั้นการเมืองเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสังคมโดยรวมอีกด้วย หากจะให้บรรยายการโต้เถียงที่ซับซ้อนนี้คงต้องใช้เวลามากเกินกว่าที่เรามีในวันนี้ แต่โดยพื้นฐานแล้ว นี่เป็นเรื่องระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งมีแนวทางทางการเมืองและการปกครองที่สร้างอิทธิพลอย่างมาก ทว่าก็ทำให้เขากลายเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย การถกเถียงโต้แย้งนี้ยังสะท้อนปัญหาความขัดแย้งที่ร้าวลึกมากยิ่งขึ้นระหว่างฝ่ายต่างๆ ในสังคมบนพื้นฐานของทั้งสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การเมืองไทยเต็มไปด้วยการถกเถียงโต้แย้ง การชุมนุมประท้วง หรือแม้กระทั่งความรุนแรงในบางครั้ง ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่ประชันกันแย่งชิงอิทธิพลทางการเมือง ความแตกแยกเช่นนี้นำไปสู่เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อพ.ศ. 2549 และอีกครั้งหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว
รัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดการต่อสู้ดิ้นรนทางการเมืองอย่างร้อนแรงกว่าหกเดือนระหว่างกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน จนนำมาซึ่งการชุมนุมนานหลายเดือนบนท้องถนนของกรุงเทพมหานครรวมถึงการเข้ายึดอาคารสถานที่ราชการ ความพยายามประนีประนอมไม่ประสบผลสำเร็จ และในวันที่ 22 พฤษภาคม กองทัพก็ได้ก่อรัฐประหาร บรรดาผู้นำกองทัพให้เหตุผลว่า รัฐประหารครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง ยุติภาวะอัมพาตทางการเมือง และสร้างเงื่อนไขปัจจัยสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ตลอดช่วงทศวรรษแห่งความปั่นป่วนนี้ โดยเฉพาะระหว่างช่วงหกเดือนอันวุ่นวายที่เพิ่งผ่านมา จุดยืนของสหรัฐฯ คือหลีกเลี่ยงการเลือกข้างในการชิงชัยทางการเมืองภายในของประเทศไทย ขณะที่ยังคงเน้นย้ำสนับสนุนหลักการประชาธิปไตยและยึดมั่นในความสัมพันธ์กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สหรัฐฯ แสดงความไม่เห็นด้วยต่อรัฐประหารหรือการกระทำนอกรัฐธรรมนูญอื่นๆ ในหลายโอกาสทั้งที่เปิดเผยและไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ สหรัฐฯ ได้เน้นย้ำว่า วิถีทางประชาธิปไตยหนึ่งเดียวที่จะแก้ไขปัญหาได้คือการให้ประชาชนเลือกผู้นำและนโยบายที่พวกเขาพึงพอใจผ่านการเลือกตั้ง สหรัฐฯ สื่อสารดังกล่าวโดยตรงไปยังเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางการไทยมาโดยตลอดผ่านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย รวมถึงระหว่างการเยือนไทยโดยเจ้าหน้าอาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตลอดจนผ่านช่องทางการทหารทั้งระดับสูงและระดับปฏิบัติงาน
อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดรัฐประหาร เราได้แสดงการตอบโต้ทันทีตามหลักการของเราด้วยการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง เริ่มด้วยคำแถลงของรัฐมนตรีแคร์รีเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งเราได้กล่าวตำหนิการทำรัฐประหารมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน ให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ เราได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ของไทยว่า เราเข้าใจดีถึงความอึดอัดใจกับปัญหาการเมืองที่มีมายาวนาน แต่ได้เน้นว่า การทำรัฐประหารนั้นนอกจากจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาแล้ว ยังเป็นการก้าวถอยหลังด้วยซ้ำไป
ในช่วงแรก เรายังมีความหวังว่า การรัฐประหารครั้งนี้จะคล้ายกับรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 กล่าวคือ ฝ่ายทหารจะโอนถ่ายอำนาจสู่รัฐบาลพลเรือนอย่างรวดเร็วและเดินหน้าจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเที่ยงธรรม อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมานี้ได้บ่งชี้ว่า คณะรัฐประหารครั้งนี้นอกจากจะดำเนินการปราบปรามมากกว่าครั้งก่อนแล้ว ยังมีแนวโน้มว่าจะอยู่ในอำนาจนานกว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสั่งให้เข้ารายงานตัว กักกันและคุกคามนักการเมือง นักวิชาการ ผู้สื่อข่าว ผู้แสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ต และผู้ประท้วงอย่างสงบหลายร้อยคน คสช. ยังคงตรวจสอบสื่อในประเทศและอินเทอร์เน็ต และในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คสช. ได้สั่งปิดกั้นสื่อต่างประเทศเช่นกัน การกระทำของฝ่ายทหารได้สร้างความวิตกแก่ชนกลุ่มน้อยและแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย อาทิเช่น รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า มีชาวกัมพูชาเกือบ 200,000 คนได้เดินทางออกนอกประเทศไทยด้วยความหวาดกลัวว่า คสช. จะดำเนินการปราบปรามแรงงานที่ไม่มีเอกสาร
รัฐบาลทหารได้กล่าวว่า จะจัดตั้งคณะรัฐบาลชั่วคราวภายในเดือนกันยายน และได้กำหนดเวลาอย่างไม่ชัดเจนนักว่า จะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาประมาณ 15 เดือน วัตถุประสงค์ในช่วงการบริหารประเทศภายใต้กฎอัยการศึกตามที่คสช. ได้ระบุไว้คือ ลดความขัดแย้งและการแบ่งฝ่ายในสังคมเพื่อแผ้วทางให้เกิดบรรยากาศทางการเมืองที่กลมเกลียวกันกว่านี้เมื่อรัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ ในระหว่างนี้ คณะรัฐบาลทหารได้เริ่มดำเนินการโยกย้ายข้าราชการที่พิจารณาเห็นว่าจงรักภักดีกับรัฐบาลชุดก่อน คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ 56 แห่งซึ่งรวมถึงประธานคณะกรรมการ (ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร) ถูกกระตุ้นให้ลาออกเพื่อเปิดทางให้บุคคลที่ฝ่ายทหารเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน ขณะนี้ กำลังมีการเสนอให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและครอบคลุมในภาคพลังงานและแรงงาน ตลอดจนการพิจารณาข้อจำกัดด้านการลงทุนจากต่างประเทศในบางภาคอุตสาหกรรมเช่น โทรคมนาคม
อย่างไรก็ดี เรามองไม่เห็นว่าการรัฐประหารและการดำเนินการปราบปรามที่ตามมาจะก่อให้เกิดการปรองดองและสมานฉันท์ทางการเมืองที่จำเป็นยิ่งสำหรับประเทศไทย เราไม่เชื่อว่า การสมานฉันท์ที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้จากความหวาดกลัวหรือการกดขี่ ประเด็นเบื้องหลังต่างๆ ตลอดจนความเห็นแตกต่างทางการเมืองที่ฝังรากลึกมานานอันเป็นสาเหตุแห่งความแตกแยกนี้จะสามารถแก้ไขได้โดยประชาชนและผ่านกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น เรามีความรู้สึกเหมือนคนไทยส่วนใหญ่ คือ ต้องการเห็นไทยก้าวไปสู่อุดมการณ์ประชาธิปไตยของประเทศ เสริมสร้างสถาบันประชาธิปไตยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และกลับสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งได้อย่างสันติ
ปกป้องผลประโยชน์ของเราและพิทักษ์ประชาธิปไตย
ผลประโยชน์ของเรารวมถึงการรักษาความสงบและประชาธิปไตยในประเทศไทย ตลอดจนคงความร่วมมือที่สำคัญระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในระยะยาว เรายังคงมุ่งมั่นที่จะเห็นประชาชนไทยอยู่ดีมีสุขและประเทศไทยกลับไปสู่ตำแหน่งผู้นำในภูมิภาค และเราเชื่อว่า หนทางที่ดีที่สุดในการบรรลุซึ่งเป้าหมายดังกล่าวคือการกลับไปสู่การปกครองที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
การรัฐประหารและการดำเนินการปราบปรามที่ตามมาทำให้เราไม่สามารถคงพันธไมตรีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ให้เป็นไป “ตามปกติ” ได้ เราได้ระงับการช่วยเหลือด้านความมั่นคงมูลค่ากว่า 4 ล้าน 7 แสนเหรียญสหรัฐตามที่กฎหมายเราระบุไว้ นอกจากนี้ เรายังได้ยกเลิกการเยือนประเทศของเจ้าหน้าที่ระดับสูง การฝึกซ้อมทางทหาร และการฝึกอบรมกับทหารและตำรวจหลายโครงการ อาทิเช่น เราได้ประสานกับกระทรวงกลาโหมยกเลิกการฝึกซ้อม CARAT (Cooperation Afloat Readiness and Training) ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมระดับทวิภาคีของกองทัพเรือซึ่งกำลังดำเนินการฝึกอยู่เมื่อเกิดรัฐประหาร และได้ยกเลิกการฝึกซ้อมหนุมานการ์เดียน (Hanuman Guardian) ของกองทัพบกซึ่งเป็นการฝึกซ้อมระดับทวิภาคีที่ได้วางแผนไว้แล้ว ขณะนี้ เรายังคงทบทวนพิจารณาโครงการและความร่วมมืออื่นๆ และจะพิจารณาหามาตรการอื่นนอกเหนือจากนี้ตามสถานการณ์ ประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศได้แสดงทัศนะในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ เราหวังว่า สารจากประชาคมโลกที่เด่นชัดนี้รวมทั้งแรงกดดันจากภายในประเทศไทยเองจะทำให้คณะรัฐประการลดการปราบปรามลงและประเทศไทยจะกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว
ในขณะเดียวกัน เราก็ตระหนักดีถึงผลประโยชน์ตามหลักยุทธศาสตร์ระยะยาวของสหรัฐฯ เรายังคงรักษามิตรภาพที่ยืนยงของเรากับคนไทยและกับประเทศไทยซึ่งรวมถึงฝ่ายทหารด้วย สิ่งท้าทายที่สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญคือ การแสดงอย่างชัดเจนว่า เราสนับสนุนให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยและเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยเร็ว และในขณะเดียวกัน เราต้องดำเนินการเพื่อประกันว่า เราจะสามารถรักษาและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่มิตรภาพที่สำคัญและพันธมิตรด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ นี้ได้ในระยะยาว
ในการก้าวไปข้างหน้า สิ่งสำคัญคือการถ่ายโอนอำนาจไปสู่การปกครองโดยพลเรือนอย่างครอบคลุม โปร่งใส ทันกาลและนำไปสู่ประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งที่เสรีและเที่ยงธรรมอันจะสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทย เมื่อประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว เราหวังและตั้งใจอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยซึ่งเป็นมิตรเก่าแก่ของสหรัฐฯ จะยังคงเป็นประเทศคู่ความร่วมมือที่สำคัญในเอเชียอีกนานต่อไปหลายทศวรรษ
สรุป
สุดท้ายนี้ ผมขอกล่าวสรุปประเด็นสุดท้ายว่า เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวประสบผลสัมฤทธิ์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐสภาจากทั้งสองพรรคจะให้การสนับสนุนอย่างเข้มแข็งและยืนนานแก่ความพยายามของเราในการผลักดันให้ประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยรวมถึงความพยายามของเราในการรักษามิตรภาพและผลประโยชน์ระยะยาวของเรา
ขอบคุณครับที่เชิญผมให้มาแถลงประเด็นสำคัญนี้
โดย U.S. Mission Thailand | 24 มิถุนายน, 2014 | ประเภท: ข่าว | Scot Marciel
Principal Deputy Assistant Secretary, Bureau of East Asian and Pacific Affairs
Testimony Before the House Committee on Foreign Affairs Subcommittee on Asia and the Pacific
Washington, DC
Chairman Chabot and Members of the Subcommittee, thank you for the opportunity to appear before you today to discuss the recent coup in Thailand.
The U.S.-Thai Relationship
Mr. Chairman, last year, we commemorated 180 years of friendly relations with Thailand, one of our five treaty allies in Asia. We have enjoyed very close relations, and U.S.-Thai cooperation on regional and global law enforcement, non-proliferation, and security has been extremely good. Our militaries engage in a wide range of important bilateral and multilateral joint exercises. Thailand is host to the largest such event in the Asia-Pacific region, the annual Cobra Gold joint exercise, which brings together the armed forces of 27 countries, including the United States, Thailand, Indonesia, Japan, South Korea, Malaysia, Singapore, and a number of observer countries. These exercises provide invaluable opportunities for our militaries to develop important relationships and increase coordination and cooperation, including on responding to humanitarian disasters.
For many years, Thailand also has been an important partner on humanitarian goals and priorities. It hosted hundreds of thousands of refugees after the Vietnam War, and even today hosts 140,000 refugees, including politically-sensitive minority groups which face problems or persecution elsewhere in the region. Thailand has long played a constructive role in the Asia-Pacific region, including as a member of ASEAN and APEC. In recent years, we have worked closely with the Thais to respond to natural disasters in the region, including when neighboring Burma was hit by a devastating cyclone in 2008. We also work closely together on health issues, one of our major cornerstones for successful bilateral cooperation with the presence of the Centers for Disease Control and Prevention and the Armed Forces Research Institute of Medical Science (AFRIMS), where they have helped develop the only vaccine for HIV/AIDS ever proven efficacious in human trials.
Commercially, the United States is both Thailand’s third-largest bilateral trading partner with more than $37 billion in two-way trade, and its third-largest investor with more than $13 billion in cumulative foreign direct investment. Thailand has the second-largest economy in Southeast Asia, after Indonesia, and our American Chamber of Commerce in Bangkok represents a diverse body of more than 800 companies doing business across nearly all sectors of the Thai economy.
Our Embassy in Bangkok is a regional hub for the U.S. government and remains one of our largest missions in Asia, with over 3,000 Thai and American employees representing over 60 departments and agencies. We enjoy close people-to-people ties, and more than 5,000 Peace Corps Volunteers have served successfully in Thailand over the past 52 years.
So for all these reasons, we care deeply about our relationship and about the people of Thailand. For many years, we were pleased to see Thailand build prosperity and democracy, becoming in many ways a regional success story as well as a close partner on shared priorities such as counterterrorism, wildlife trafficking, transnational crime, energy security, and conservation of the environment.
Thailand’s Political Situation and Coup
Over the past decade, however, Thailand has grappled with an internal political debate that has increasingly divided not only the political class but society as a whole. Describing this complex debate would take more time than we have today, but in the simplest terms it is between supporters and opponents of former Prime Minister Thaksin Shinawatra, whose approach to politics and governance gave him significant influence but also made him a polarizing figure. The debate also reflects deeper conflicts between different segments of society based both on socio-economic status and on geography. For the past ten years, Thai politics has been dominated by debate, protests, and even occasional violence between these groups competing for political influence. These divisions led to a coup in 2006 and again, unfortunately, last month.
This latest coup came at the end of six months of renewed, intense political struggle between rival groups that included months-long demonstrations in the streets of Bangkok and occupations of government buildings. Efforts to forge a compromise failed, and on May 22 the armed forces staged a coup. Military leaders argued that the coup was necessary to prevent violence, end political paralysis, and create the conditions for a stronger democracy.
Our position during the past decade of turbulence, and specifically during the recent six months of turmoil, has been to avoid taking sides in Thailand’s internal political competition, while consistently stressing our support for democratic principles and commitment to our relationship with the Thai nation. On numerous occasions, we publicly and privately stated our opposition to a coup or other extra-constitutional actions, stressing that the only solution in a democracy is to let the people select the leaders and policies they prefer through elections. We consistently communicated that message directly to Thai officials, at high levels, through our Ambassador in Bangkok and during the visits of senior State Department officials to Thailand, as well as through both high-level and working-level military channels.
When the coup nonetheless took place, we immediately reiterated our principled opposition to military intervention. Beginning with Secretary Kerry’s statement on May 22, we have consistently criticized the military coup and called for the restoration of civilian rule, a return to democracy, and full respect for human rights and fundamental freedoms, including the freedoms of expression and peaceful assembly. We have told Thai officials that we understood their frustration with their long-standing political problems, but also stressed that coups not only do not solve these problems, but are themselves a step backwards.
Initially, we held out hope that – as happened with the 2006 coup – the military would move relatively quickly to transfer power to a civilian government and move towards free and fair elections. However, recent events have shown that the current military coup is both more repressive and likely to last longer than the last one. The ruling military council has continuously summoned, detained, and intimidated hundreds of political figures, academics, journalists, online commentators, and peaceful protesters. It continues to censor local media sources and the internet, and has in the past weeks blocked international media as well. Actions by military authorities have raised anxiety among minority groups and migrant workers living within Thailand. For example, recent reports indicate that close to 200,000 Cambodian workers have fled Thailand out of fear that the military council will crack down on undocumented workers.
The military government has said that it will appoint an interim government by September, and has laid out a vague timeline for elections within approximately 15 months. Its stated intention, during the period of military rule, is to reduce conflict and partisanship within society, thereby paving the way for a more harmonious political environment when civilians return to control. Meanwhile, the military government has begun a campaign to remove officials perceived to be loyal to the previous government. Many board members including chairs (mostly appointed by former Prime Minister Yingluck Shinawatra and former Prime Minister Thaksin Shinawatra) of Thailand’s 56 state owned enterprises have been strongly encouraged to resign their positions in favor of military-selected replacements. Rapid, sweeping changes are being proposed in the energy and labor sectors, and greater foreign investment restrictions are being considered in industries like telecommunications.
We do not see, however, how the coup and subsequent repressive actions will produce the political compromise and reconciliation that Thailand so desperately needs. We do not believe that true reconciliation can come about through fear of repression. The deep-rooted underlying issues and differences of opinion that fuel this division can only be resolved by the people of Thailand through democratic processes. Like most Thai, we want Thailand to live up to its democratic ideals, strengthen its democratic institutions, and return peacefully to democratic governance through elections.
Protecting Our Interests and Preserving Democracy
Our interests include the preservation of peace and democracy in Thailand, as well as the continuation of our important partnership with Thailand over the long-term. We remain committed to the betterment of the lives of the Thai people and to Thailand regaining its position of regional leadership, and we believe the best way to achieve that is through a return to a democratically elected government.
The coup and post-coup repression have made it impossible for our relationship with Thailand to go on with “business as usual.” As required by law, we have suspended more than $4.7 million of security-related assistance. In addition, we have cancelled high-level engagements, exercises, and a number of training programs with the military and police. For example, in coordination with the Department of Defense, we halted bilateral naval exercise CARAT (Cooperation Afloat Readiness and Training), which was underway during the coup, and canceled the planned bilateral Hanuman Guardian army exercise. We continue to review other programs and engagements, and will consider further measures as circumstances warrant. Many other nations have expressed similar views. Our hope is that this strong international message, plus pressure from within Thailand, will lead to an easing of repression and an early return to democracy.
At the same time, mindful of our long-term strategic interests, we remain committed to maintaining our enduring friendship with the Thai people and nation, including the military. The challenge facing the United States is to make clear our support for a rapid return to democracy and fundamental freedoms, while also working to ensure we are able to maintain and strengthen this important friendship and our security alliance over the long term.
Moving forward, it is important that the transition to civilian rule be inclusive, transparent, timely, and result in a return to democracy through free and fair elections that reflect the will of the Thai people. After democracy is restored, we fully hope and intend that Thailand, our longtime friend, will continue to be a crucial partner in Asia for many decades to come.
Conclusion
In closing, let me make one final point. Strong, enduring, bipartisan Congressional support for our efforts to move Thailand back towards its democratic tradition and to preserve our long-term friendship and interests are essential for a successful outcome.
Thank you for inviting me to testify on this important topic. I am happy to answer any questions you might have.
By U.S. Mission Thailand | 24 June, 2014 | Topics: News | Thailand: A Democracy at Risk | ประเทศไทย: ประชาธิปไตยในภาวะเสี่ยง |
https://th.usembassy.gov/th/april1916-th-html/ | รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นดำเนินงานร่วมกับรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย เพื่อสกัดกั้นการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด และให้ความช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อต้านการค้ามนุษยทั่วโลกของสหรัฐฯ
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2557 เมื่อเวลา 9.00 น. ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (หรือ 20.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) ของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และจัดอันดับประเทศไทยอยู่ในบัญชีรายชื่อกลุ่มที่ 3 รายงานฉบับดังกล่าวครอบคลุมช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เห็นว่า ประเทศไทยไม่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้เพียงพอที่จะได้รับการจัดลำดับอยู่ในกลุ่มที่ 2 สภาคองเกรสของสหรัฐฯ กำหนดไว้ว่า ประเทศหนึ่งมีสิทธิ์ได้รับการยกเว้นให้คงอยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง ได้เป็นเวลาสองปี และเมื่อครบกำหนดจะต้องได้รับการเลื่อนระดับมาอยู่ในกลุ่มที่ 2 หรือลดระดับเป็นกลุ่มที่ 3 การลดระดับครั้งนี้สะท้อนสถานการณ์ในช่วงเวลาที่ระบุข้างต้นเท่านั้น และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา
สหรัฐฯ ตระหนักดีว่า รัฐบาลไทยมีความก้าวหน้าในการจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์ และหวังที่จะดำเนินความร่วมมืออันใกล้ชิดกับประเทศไทยสืบต่อไป เพื่อแก้ไขปัญหานี้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก จากนี้ต่อไป เราจะต้องพยายามมากยิ่งขึ้นเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป และสหรัฐฯ หวังว่า ประเทศไทยจะสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำของภูมิภาคในเรื่องนี้ได้
ท่านสามารถอ่าน รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2557 ทางออนไลน์ได้ที่http://www.state.gov/j/tip/
โดย U.S. Mission Thailand | 20 มิถุนายน, 2014 | ประเภท: ข่าว | As part of our global efforts to combat human trafficking, the U.S. Government is committed to working with the Royal Thai Government and the people of Thailand to prevent trafficking activity in Thailand, to prosecute perpetrators, and to assist victims.
The State Department Trafficking in Persons (TIP) report was released at 9am time in Washington (8pm in Bangkok) on June 20, 2014 and has ranked Thailand as Tier 3. The TIP reporting period spans from April 1, 2013 to March 31, 2014. The State Department has determined Thailand has not made sufficient progress to be elevated to Tier 2. The U.S. Congress mandates that a country is only eligible to receive a waiver to remain on Tier 2 Watch List for two years and must be upgraded to Tier 2 or downgraded to Tier 3 status. The downgrade reflects the period above and has nothing to do with recent political events in Thailand.
We recognize that the Royal Thai Government has made progress on trafficking-in-persons and we look forward to continuing our close cooperation to tackle this regional and global issue. Now more than ever, we must work harder to eradicate trafficking-in-persons and we hope Thailand can become a leader on this issue in the region.
The 2014 Trafficking In Persons report is available online here:http://www.state.gov/j/tip/
By U.S. Mission Thailand | 20 June, 2014 | Topics: News | Statement on 2014 Trafficking in Persons (TIP) report | คำแถลงเกี่ยวกับรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2557 |
https://th.usembassy.gov/th/june414-th-html/ | ทำเนียบขาว
สำนักงานเลขานุการฝ่ายสื่อมวลชน
เมื่อ 25 ปีที่แล้ว สหรัฐอเมริกาได้ประณามการใช้ความรุนแรงเพื่อสลายการชุมนุมอย่างสงบที่จตุรัสเทียนอันเหมิน บัดนี้ เวลาได้ผ่านไป 25 ปี สหรัฐอเมริกายังคงยกย่องรำลึกถึงผู้สละชีวิตที่จตุรัสเทียนอันเหมินและทั่วประเทศจีน สหรัฐฯ ขอเรียกร้องให้ทางการจีนรับผิดชอบต่อผู้ที่ถูกสังหาร กักขังหรือหายสาบสูญอันเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2532
สหรัฐอเมริกาจะยืนหยัดให้การสนับสนุนเสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่งผู้ชุมนุมที่จตุรัสเทียนอันเหมินแสวงหา อันได้แก่ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพของสื่อมวลชน รวมทั้งเสรีภาพในการสมาคมและการชุมนุม เสรีภาพเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ รัฐธรรมนูญจีนและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และเป็นค่านิยมที่สหรัฐฯ รณรงค์สนับสนุนทั่วโลก
ประชาชนและรัฐบาลอเมริกันชื่นชมความก้าวหน้าอย่างยิ่งของจีนในด้านสังคมและเศรษฐกิจตลอดช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา และสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนและรัฐบาลจีน แม้ว่าเราจะคงดำเนินความร่วมมือในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกันต่อไป แต่สหรัฐฯ ก็ยังแสดงจุดยืนชัดเจนในความแตกต่างระหว่างเราทั้งสองประเทศ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลจีนรับรองสิทธิสากลและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอันเป็นสิทธิที่ติดตัวมาแต่กำเนิดของพลเมืองชาวจีนทุกคน
โดย U.S. Mission Thailand | 4 มิถุนายน, 2014 | ประเภท: ข่าว | THE WHITE HOUSE
Office of the Press Secretary
FOR IMMEDIATE RELEASE
Twenty-five years ago, the United States deplored the use of violence to silence the voices of the peaceful demonstrators in and around Tiananmen Square. Twenty-five years later, the United States continues to honor the memories of those who gave their lives in and around Tiananmen Square and throughout China, and we call on Chinese authorities to account for those killed, detained, or missing in connection with the events surrounding June 4, 1989.
The United States will always speak out in support of the basic freedoms the protestors at Tiananmen Square sought, including the freedom of expression, the freedom of the press, and the freedoms of association and assembly. These freedoms—which are enshrined in the U.S. Constitution, the Chinese Constitution, and the Universal Declaration of Human Rights—are values the United States champions around the world.
The American people and government applaud China’s extraordinary social and economic progress over the past three decades and value good relations with the Chinese people and government. Even as we continue our cooperation on areas of common interest, the United States will continue to be clear about our differences, and urge the Chinese government to guarantee the universal rights and fundamental freedoms that are the birthright of all Chinese citizens.
By U.S. Mission Thailand | 4 June, 2014 | Topics: News | Statement by the Press Secretary on the 25th Anniversary of Tiananmen Square | คำแถลงโดยเลขานุการฝ่ายสื่อมวลชนเนื่องในวันครบรอบ 25 ปี เหตุการณ์ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน |
https://th.usembassy.gov/th/may2414-th-html/ | พลเรือตรีจอห์น เคอร์บี โฆษกกระทรวงกลาโหม ได้ให้คำแถลงดังต่อไปนี้
“สหรัฐฯ ได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า เป็นสิ่งสำคัญที่ทางกองทัพไทยจะต้องยุติภาวะรัฐประหารและเร่งนำทั้งหลักการและกระบวนการแห่งประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประชาชนชาวไทย ซึ่งรวมถึงการดำเนินการอย่างชัดเจนที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง
แม้ว่าสหรัฐฯ จะให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ทางทหารอันยาวนานที่ยังประโยชน์ยิ่งระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ทว่า หลักการประชาธิปไตยและกฎหมายของสหรัฐฯ กำหนดให้ สหรัฐฯ จำต้องทบทวนความช่วยเหลือและความร่วมมือทางทหาร
ดังนั้น สหรัฐฯ จึงขอยกเลิกการดำเนินการต่อไปนี้
การฝึกซ้อมร่วม “CARAT” (Cooperation of Afloat Readiness and Training) ประจำปี 2557 ที่กำลังดำเนินอยู่
การเยือนไทยของพลเรือเอก แฮร์รี แฮร์ริส ผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก
คำเชิญพลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เยือนกองบัญชาการกองเรือสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกในเดือนมิถุนายน
สหรัฐฯ จะดำเนินการทบทวนความร่วมมืออื่นๆ ต่อไปตามความจำเป็นจนกว่าสถานการณ์ในประเทศไทยจะคลี่คลาย
สหรัฐฯ ขอเรียกร้องให้กองทัพไทยดำเนินการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนไทยโดยการยุติการรัฐประหารครั้งนี้และนำหลักนิติธรรมและเสรีภาพที่ประกันโดยหลักการประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประชาชนชาวไทย”
โดย U.S. Mission Thailand | 24 พฤษภาคม, 2014 | ประเภท: ข่าว | Pentagon Press Secretary Rear Admiral John Kirby provided the following statement:
“As we have made clear, it is important that the Royal Thai Armed Forces end this coup and restore to the people of Thailand both the principles and the process of democratic rule, including a clear path forward to elections.
While we have enjoyed a long and productive military-to-military relationship with Thailand, our own democratic principles and U.S. law require us to reconsider U.S. military assistance and engagements.
Accordingly, we have taken action to cancel the following events:
The ongoing Exercise Cooperation Afloat Readiness and Training 2014.
The June visit to Thailand of U.S. Pacific Fleet Commander Admiral Harry Harris.
The invitation to Royal Thai Armed Forces Commander General Tanasak to visit US Pacific Command in June.
We will continue to review additional engagements as necessary until such time that events in Thailand no longer demand it.
We urge the Royal Thai Armed Forces to act in the best interests of their fellow citizens by ending this coup and restoring the rule of law and the freedoms assured those citizens through democratic principles.”
By U.S. Mission Thailand | 24 May, 2014 | Topics: News | Statement by Pentagon Press Secretary Rear Admiral John Kirby on Thailand | คำแถลงโดยพลเรือตรีจอห์น เคอร์บี โฆษกกระทรวงกลาโหม เรื่องประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/may2414-th-html-2/ | สำนักงานโฆษก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
คำแถลงโดยรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มารี ฮาร์ฟ
สืบเนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหารโดยกองทัพในประเทศไทย สหรัฐฯ ยังคงพิจารณาทบทวนความช่วยเหลือและความร่วมมือทางทหารและด้านอื่นๆ ตามที่กฎหมายสหรัฐฯ กำหนด
นอกเหนือจากการระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศแก่ประเทศไทยดังที่ได้ประกาศแล้วก่อนหน้านี้ ในวันนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ประกาศยกเลิกการฝึกร่วม CARAT ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการฝึก รวมถึงโครงการแลกเปลี่ยนสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสบางโครงการ อีกทั้งยกเลิกโครงการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนการเงินโดยรัฐบาลสหรัฐฯ และมีกำหนดเริ่มการอบรมในวันที่ 26 พฤษภาคม ตลอดจนยกเลิกการเดินทางศึกษาดูงาน ณ สหรัฐอเมริกา ที่รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนค่าใช้จ่าย สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสของไทยหลายคนในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งรวมถึงการเยี่ยมชมสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) และการพบปะกับเจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ
สหรัฐฯ ขอเรียกร้องให้ประเทศไทยกลับมามีการบริหารแผ่นดินโดยพลเรือนทันทีและปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองที่ถูกควบคุมตัว ตลอดจนขอเรียกร้องให้ประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งแต่เนิ่นๆ และขอให้เคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
โดย U.S. Mission Thailand | 24 พฤษภาคม, 2014 | ประเภท: ข่าว | Statement by Marie Harf
Deputy Department Spokesperson, Office of the Spokesperson
Washington, DC
In response to the military coup in Thailand, we continue to review our military and other assistance and engagements, consistent with U.S. law.
In addition to our previously announced suspension of foreign assistance to Thailand, the Department of Defense announced today the cancellation of Exercise CARAT, which had been underway, and some senior level exchanges. We have also canceled a U.S. Government-sponsored firearms training program in Thailand for the Royal Thai Police that had been slated to begin May 26, as well as a U.S. Government-sponsored study trip to the United States, scheduled for June, for several senior Royal Thai Police officers that would have included visits to FBI facilities and meetings with U.S. law enforcement counterparts.
We urge the immediate restoration of civilian rule and release of detained political leaders, a return to democracy through early elections, and respect for human rights and fundamental freedoms.
By U.S. Mission Thailand | 24 May, 2014 | Topics: News | Cancellation of U.S.-Thailand Engagements | การยกเลิกความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทย |
https://th.usembassy.gov/th/may_2414-th-html/ | สหรัฐฯ มีความกังวลยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของกองทัพไทยเพียงไม่กี่วันหลังประกาศรัฐประหาร กองทัพได้ประกาศยุบรัฐสภา ควบคุมตัวบุคคล สั่งให้นักวิชาการและผู้สื่อข่าวบางคนเข้ารายงานตัว และยังคงจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชน สหรัฐฯ ขอเรียกร้องอีกครั้งให้กองทัพไทยปล่อยตัวบุคคลต่างๆ ที่ถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมือง ยุติข้อจำกัดต่อสื่อมวลชน และดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยกลับมามีการบริหารแผ่นดินโดยพลเรือนและกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้ง
โดย U.S. Mission Thailand | 24 พฤษภาคม, 2014 | ประเภท: ข่าว | We are increasingly concerned about actions the military has taken, just a few days after it staged a coup. It has dissolved the Senate, detained a number of people, called in some academics and journalists, and continued to restrict the press. We again call on the military to release those detained for political reasons, end restrictions on the media, and move to restore civilian rule and democracy through elections.
By U.S. Mission Thailand | 24 May, 2014 | Topics: News | The following is attributable to U.S. Department of State Deputy Spokesperson Marie Harf: | คำแถลงโดยรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มารี ฮาร์ฟ |
https://th.usembassy.gov/th/may2214-th-html/ | เราได้รับทราบรายงานที่ว่ากองทัพบกไทยได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว และเรากำลังติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด เรายังคงมีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับวิกฤติทางการเมืองที่ถลำลึกยิ่งขึ้นในประเทศไทย และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพหลักการประชาธิปไตย ซึ่งรวมถึงการเคารพเสรีภาพในการพูด เราเข้าใจว่า กองทัพบกไทยได้ประกาศไว้ว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึกครั้งนี้ไม่ใช่การก่อรัฐประหาร เราหวังว่า ทางกองทัพบกไทยจะยึดมั่นให้การประกาศครั้งนี้เป็นเรื่องชั่วคราวเพื่อป้องกันเหตุความรุนแรง และไม่เป็นการบ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกฝ่ายจะต้องดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขความแตกต่างผ่านการเจรจาและแสวงหาหนทางก้าวไปข้างหน้าต่อไป ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นของการเลือกตั้งเพื่อชี้ชัดถึงความปรารถนาของประชาชนชาวไทย
โดย U.S. Mission Thailand | 22 พฤษภาคม, 2014 | ประเภท: ข่าว | John Kerry
Secretary of State
Washington, DC
I am disappointed by the decision of the Thai military to suspend the constitution and take control of the government after a long period of political turmoil, and there is no justification for this military coup. I am concerned by reports that senior political leaders of Thailand’s major parties have been detained and call for their release. I am also concerned that media outlets have been shut down. I urge the restoration of civilian government immediately, a return to democracy, and respect for human rights and fundamental freedoms, such as press freedoms. The path forward for Thailand must include early elections that reflect the will of the people.
While we value our long friendship with the Thai people, this act will have negative implications for the U.S.–Thai relationship, especially for our relationship with the Thai military. We are reviewing our military and other assistance and engagements, consistent with U.S. law.
By U.S. Mission Thailand | 22 May, 2014 | Topics: News | Coup in Thailand | คำแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เจน ซากี |
https://th.usembassy.gov/th/april1114-th-html/ | กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
สำนักงานโฆษก
ในนามของประธานาธิบดีบารัค โอบามา และประชาชนชาวอเมริกัน ผมขอส่งความปรารถนาดีมายังประชาชนชาวไทยทุกคน ผมหวังว่า สงกรานต์ปีนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ชาวไทยจะได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวและมิตรสหายอย่างมีความสุขและเต็มไปด้วยความหวังสำหรับความสวัสดีมีโชคชัยและความเจริญรุ่งเรืองในปีใหม่
เรามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นความมั่นคงแห่งมิตรภาพระหว่างไทยกับสหรัฐฯ อีกปีหนึ่ง ประเทศของเราทั้งสองมีความผูกพันอันยั่งยืนเหนือภาวะการเมืองของทั้งสองประเทศ สหรัฐฯ หวังว่า ในปีใหม่นี้ เราทั้งสองจะได้ร่วมมือทำงานในประเด็นสำคัญๆ เช่น ความสัมพันธ์ทางการค้า การวิจัยด้านสาธารณสุข ความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคง และการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา
ผมหวังว่า ปีใหม่นี้จะนำมาซึ่งโอกาสดีๆ สำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศเราทั้งสองและพันธมิตรของเรา และในวาระสงกรานต์นี้ ผมขออวยพรให้ชาวไทยทุกคนจงมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง
โดย U.S. Mission Thailand | 11 เมษายน, 2014 | ประเภท: ข่าว | John Kerry
Secretary of State
Washington, DC
On behalf of President Obama and the American people, it is my great pleasure to extend New Year’s greetings to the people of Thailand. I hope this Songkran provides all Thais an occasion to spend an enjoyable time with family and friends and to look forward to good luck and prosperity in the New Year.
We are proud to mark another year in the enduring friendship between Thailand and the United States. Our nations enjoy an unshakable bond that transcends politics in either of our countries, and we look forward to working together in the New Year on important issues such as trade relations, health research, security cooperation, and educational exchange.
I look forward to the opportunities that the New Year holds for both of our nations and for our alliance. I wish you a happy and healthy Songkran!
By U.S. Mission Thailand | 11 April, 2014 | Topics: News | Thai New Year | คำแถลงโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา จอห์น แคร์รี เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ไทย (สงกรานต์) |
https://th.usembassy.gov/th/february2814-th-html/ | คำแถลงโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น แคร์รี
เรามีความกังวลอย่างยิ่งต่อความรุนแรงที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองซึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ ในฐานะพันธมิตรและเพื่อนใกล้ชิดของชาวไทย เรารู้สึกโศกเศร้าอย่างยิ่งจากการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่สั่นสะเทือนทั้งประเทศ ในฐานะพ่อและตา การตายของเด็กผู้บริสุทธิ์หลายคนเป็นเรื่องสะเทือนใจอย่างมาก และท้ายที่สุดควรเป็นเสียงเตือนให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง มีความอดทนอดกลั้น และเคารพหลักนิติธรรม
ข้าพเจ้าขอเรียกร้องให้ทางการไทยเร่งตรวจสอบหาความจริงเกี่ยวกับเหตุโจมตีเหล่านี้และนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การใช้ความรุนแรงนั้นไม่ใช่หนทางที่ยอมรับได้ในการแก้ไขปัญหาความแตกต่างทางการเมือง เรายังมีความกังวลต่อการใช้กลวิธีอื่นๆ ที่บ่อนทำลายค่านิยมและกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศไทย ขัดขวางการประนีประนอม และทำให้ความตึงเครียดทางการเมืองทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
สหรัฐอเมริกาไม่เข้าข้างฝ่ายใดในการเมืองของไทย สุดท้ายแล้ว การตัดสินใจว่าจะแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้วยวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนชาวไทยเอง ทุกฝ่ายควรยึดมั่นในการเจรจาเพื่อแสวงหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขความแตกต่างและหาหนทางที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างสันติและเป็นประชาธิปไตย
โดย U.S. Mission Thailand | 28 กุมภาพันธ์, 2014 | ประเภท: ข่าว | John Kerry
Secretary of State
Washington, DC
We are deeply concerned by the ongoing politically-motivated violence in Thailand. As allies and close friends of the Thai people, we are profoundly saddened by the deaths and injuries that have shaken the country. As a father and grandfather, the death of several innocent children is particularly horrifying, and must at last be a wake-up call to all sides to refrain from violence, exercise restraint, and respect the rule of law.
I call upon Thai authorities to investigate these attacks swiftly and bring those responsible to justice. Violence is not an acceptable means of resolving political differences. We are also concerned by the employment of other tactics that undermine Thailand’s democratic values and processes, inhibit compromise, and further exacerbate political tensions.
The United States of America does not take sides in Thai politics. Ultimately, it is up to the people of Thailand to decide how they will resolve their differences. All sides should commit to dialogue in the spirit of seeking common ground to address differences and find a peaceful, democratic way forward.
By U.S. Mission Thailand | 28 February, 2014 | Topics: News | Violence in Thailand | ความรุนแรงในประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/january2714-th-html/ | กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
สำนักโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ
คำแถลงของ Jen Psaki โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ
สหรัฐอเมริการู้สึกกังวลอย่างมากกับความพยายามปิดกั้นหน่วยเลือกตั้งซึ่งเป็นการขัดขวางการเลือกตั้งในประเทศไทย ตลอดจนเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นล่าสุด สหรัฐอเมริกาไม่เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งทางการเมืองนี้และสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมทั้งสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ ทว่า การขัดขวางไม่ให้พลเมืองใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงถือเป็นการละเมิดสิทธิสากลของพลเมืองเหล่านั้นและไม่สอดคล้องกับค่านิยมแห่งประชาธิปไตย
สหรัฐอเมริกาขอย้ำถึงข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ให้ทุกฝ่ายระงับการใช้ความรุนแรง พยายามอดทนอดกลั้นและมุ่งมั่นที่จะเจรจาอย่างจริงใจเพื่อแก้ปัญหาความคิดต่างทางการเมืองอย่างสันติในแนวทางประชาธิปไตย
โดย U.S. Mission Thailand | 27 มกราคม, 2014 | ประเภท: ข่าว | Statement by Jen Psaki
Department Spokesperson
The United States is deeply troubled by efforts to block polls and otherwise prevent voting in Thailand, and by the most recent acts of political violence. While we do not take sides in the political dispute and strongly support freedom of expression and the right to peaceful protest, preventing citizens from voting violates their universal rights and is inconsistent with democratic values.
We reiterate our call for all sides to refrain from violence, exercise restraint, and commit to sincere dialogue to resolve political differences peacefully and democratically.
By U.S. Mission Thailand | 26 January, 2014 | Topics: News | Election-related Unrest in Thailand | เหตุการณ์ความวุ่นวายอันเกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้งในประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/december913-th-html/ | คำแถลงโดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เจน ซากี
สหรัฐอเมริกาสนับสนุนอย่างเต็มที่ในสถาบันประชาธิปไตยและกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและพันธมิตรของเรามายาวนาน นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ได้เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งเพื่อเป็นแนวทางการก้าวไปข้างหน้าท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองและการชุมนุมประท้วงที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ เราขอสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแก้ไขความแตกต่างทางการเมืองโดยสันติตามระบอบประชาธิปไตย ในวิถีทางที่สะท้อนความประสงค์ของประชาชนชาวไทยและส่งเสริมหลักนิติธรรม
โดย U.S. Mission Thailand | 9 ธันวาคม, 2013 | ประเภท: ข่าว | Statement by Jen Psaki
Department Spokesperson
The United States strongly supports democratic institutions and the democratic process in Thailand, a long-time friend and ally. Prime Minister Yingluck has called for elections as a way forward amid ongoing political tensions and demonstrations. We encourage all involved to resolve political differences peacefully and democratically in a way that reflects the will of the Thai people and strengthens the rule of law.
By U.S. Mission Thailand | 9 December, 2013 | Topics: News | Political Tensions in Thailand | ความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/november2513-th-html/ | คำแถลงโดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เจน ซากี
รัฐบาลสหรัฐฯ มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยที่กำลังทวีความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น และได้ติดตามการชุมนุมประท้วงในกรุงเทพมหานครอย่างใกล้ชิด เราขอให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง มีความอดทนอดกลั้น และเคารพหลักนิติธรรม การใช้ความรุนแรงและการเข้ายึดสถานที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชนนั้นไม่ใช่หนทางที่ยอมรับได้ในการแก้ไขปัญหาความแตกต่างทางการเมือง
เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในบรรทัดฐานสากลที่รับประกันเสรีภาพของสื่อและความปลอดภัยของนักข่าว สหรัฐฯ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันแก้ปัญหาความแตกต่างผ่านการเจรจาโดยสันติ บนวิถีทางที่ส่งเสริมประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม
ในฐานะมิตรประเทศเก่าแก่ของประเทศไทย เราขอเป็นกำลังใจให้ประเทศไทยและประชาชนชาวไทยในช่วงเวลาเช่นนี้
โดย U.S. Mission Thailand | 25 พฤศจิกายน, 2013 | ประเภท: ข่าว | Statement by Jen Psaki
Department Spokesperson
The U.S. Government is concerned about the rising political tension in Thailand and is following the ongoing demonstrations in Bangkok closely. We urge all sides to refrain from violence, exercise restraint, and respect the rule of law. Violence and the seizure of public or private property are not acceptable means of resolving political differences.
We call upon all sides to uphold international norms that guarantee freedom of the press and the safety of journalists. The United States firmly believes all parties should work together to resolve differences through peaceful dialogue in ways that strengthen democracy and rule of law.
As long-time friends of Thailand, we strongly support the Thai nation and its people during this period.
By U.S. Mission Thailand | 25 November, 2013 | Topics: News | Protests in Thailand | การชุมนุมประท้วงในประเทศไทย |