url
stringlengths
35
229
th
stringlengths
206
32.6k
en
stringlengths
223
32.4k
title_en
stringlengths
10
150
title_th
stringlengths
16
150
https://th.usembassy.gov/th/fas-administrator-karsting-thailand-th/
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยต้อนรับคุณ Phil Karsting ผู้อำนวยการสำนักงานทูตเกษตรสหรัฐอเมริกา ในโอกาสเยือนประเทศไทย ครั้งนี้ คุณ Karsting พบกับคณะจากบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำเข้าอาหารทะเลจากสหรัฐอเมริกา เช่น คิงแซลมอน ปูอะแลสกา ปลาค็อด กุ้งล็อบสเตอร์ และหอยนางรม พร้อมทั้งร่วมแสดงฝีมือเป็นผู้ช่วยเชฟ Benjamin B. จาก The DOCK Seafood Bar ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท ธรรมชาติ ซีฟู้ด รีเทล ปรุงเมนูพิเศษ “กราแตงต้มยำหอยเชลล์” ที่ใช้หอยเชลล์จากอเมริกา อุตสาหกรรมอาหารทะเลชั้นคุณภาพสูงของสหรัฐอเมริกามีการบริหารจัดการที่เน้นความยั่งยืน ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อป้องกันการจับสัตว์น้ำเกินขนาด พร้อมไปกับรักษาปริมาณประชากรสัตว์น้ำและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยยึดมั่นในหลักความรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ อาหารทะเลของอเมริกานั้นนอกจากเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพแล้ว ยังสะอาดปราศจากการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง โลหะ และเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเลจากสหรัฐอเมริกาที่นำเข้ามาในประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ ปลาทูน่า ปลาแซลมอนซ็อกอาย ปลาพอลลอคอะแลสกา กุ้งล็อบสเตอร์ ปลาค็อด หอยเชลล์ และหอยนางรม โดย U.S. Embassy Bangkok | 10 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์, โอกาสทางการค้า | Tags: สำนักงานทูตเกษตรสหรัฐอเมริกา
On August 10, 2016, U.S. Embassy Bangkok welcomed Foreign Agricultural Service (FAS) Administrator Phil Karsting to Thailand. FAS Administrator Karsting met with Thammachart Seafood team who is the leading importer of U.S. seafood such as U.S. king salmon, Alaska king crab, cod fish, lobster, oysters, and more. A highlight of FAS Administrator Karsting’s visit was serving as sous chef to Chef Benjamin B. from The DOCK Seafood Bar, operated by Thammachart Seafood Retail, as they prepared a special dish: U.S. Scallop Tom Yam Au Gratin. Top quality U.S. seafood is sustainably managed against over fishing using science based methods focused on maintaining and rebuilding stocks and preserving the environment. The United States is committed to traceability and accountability. In addition to being a healthy choice, U.S. seafood is remarkably pure and free of contamination from pesticides, metals, and bacteria. The leading U.S. fish and seafood exports to Thailand included tuna, Sockeye salmon, Alaska Pollock, lobsters, cod, scallops, and more. By U.S. Embassy Bangkok | 10 August, 2016 | Topics: Agriculture, Commercial Opportunities, Events | Tags: FAS, Foreign Agricultural Service
FAS Administrator Karsting in Thailand
ผู้อำนวยการสำนักงานทูตเกษตรสหรัฐอเมริกาเยือนประเทศไทย
https://th.usembassy.gov/th/welcome-reception-new-deputy-chief-mission-th/
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์ เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงต้อนรับนายปีเตอร์ เฮย์มอนด์ อัครราชทูตที่ปรึกษาคนใหม่ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย อัครราชทูตที่ปรึกษาเฮย์มอนด์เป็นเจ้าหน้าที่การทูตของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่มีประสบการณ์กว้างขวางเกี่ยวกับทวีปเอเชีย ทั้งยังสามารถพูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่วและเคยปฏิบัติงานที่ฝ่ายกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2537 เชิญอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัครราชทูตที่ปรึกษาเฮย์มอนด์ที่https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/dcm-th/ โดย U.S. Mission Thailand | 9 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: อัครราชทูตที่ปรึกษา, เหตุการณ์
On August 9, Ambassador Glyn Davies hosted a welcome reception for our new Deputy Chief of Mission (DCM) Peter Haymond. A career service officer with extensive experience in Asia, DCM Haymond speaks Thai fluently and previously served in the Consular section at the U.S. Embassy Bangkok in 1994. You can read more about DCM Haymond athttps://th.usembassy.gov/our-relationship/dcm/ By U.S. Embassy Bangkok | 9 August, 2016 | Topics: Deputy Chief of Mission, Events
Welcome Reception for New Deputy Chief of Mission Peter Haymond
งานเลี้ยงต้อนรับอัครราชทูตที่ปรึกษาปีเตอร์ เฮย์มอนด์
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-davies-visited-phang-nga-th/
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม เอกอัครราชทูตเดวีส์และภริยาเดินทางเยือนจังหวัดพังงาเพื่อใช้โอกาสนี้สนับสนุนภารกิจ ‪#‎OurOcean‬ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น แคร์รี ด้วยการเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) โดยเอกอัครราชทูตเดวีส์ได้กล่าวเน้นย้ำระหว่างเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาถึงพันธกิจของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ต่อประเด็นหลักทั้งสี่ของ #OurOcean อันได้แก่ พื้นที่คุ้มครองทางทะเล การทำประมงยั่งยืน มลภาวะทางทะเล และผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศต่อมหาสมุทร นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตเดวีส์ยังได้พบกับองค์การนอกภาครัฐในท้องถิ่นและองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานอพยพจากพม่าและบทบาทของแรงงานอพยพดังกล่าวในอุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงในภาคใต้ของไทย ต่อข้อถามของผู้สื่อข่าวถึงผลประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตเดวีส์ตอบว่า ท่านทราบว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลเบื้องต้นแล้ว และเห็นได้ชัดว่า ผู้ออกไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญ ท่านกล่าวต่อว่า “จากผลประชามตินี้และผลอย่างเป็นทางการที่จะประกาศในไม่ช้า สหรัฐอเมริกาในฐานะมิตรประเทศและพันธมิตรอันยาวนานของไทยขอให้รัฐบาลกลับคืนสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหนทางหนึ่งในการกลับคืนสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง เราขอเรียกร้องอย่างยิ่งให้รัฐบาลยกเลิกการจำกัดเสรีภาพของพลเมือง ซึ่งรวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ เราเรียกร้องสิ่งเหล่านี้ด้วยเหตุผลเดิมเสมอมาคือ ในฐานะมิตรประเทศและพันธมิตรของไทย เราเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ไทยเข้มแข็งขึ้น และเราเชื่อว่า หนทางเดียวที่ไทยจะเข้มแข็งได้ในที่สุดก็ต่อเมื่อชาวไทยทุกภาคส่วนได้ร่วมพูดคุยอย่างเปิดกว้างถึงอนาคตของพวกเขา เราเชื่อว่า นี่เป็นหนทางที่มีประสิทธิผลที่สุดในการสร้างอนาคตที่เข้มแข็งและยั่งยืนสำหรับประเทศไทย ซึ่งเราชาวอเมริกันมีความห่วงใยอย่างยิ่ง เราอยากให้ชาวไทยเป็นหนึ่งเดียวกันและก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างเข้มแข็ง และนี่คือเหตุผลว่าทำไม เราจึงเรียกร้องให้รัฐบาลอนุญาตให้มีเสรีภาพดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งกลับคืนสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว” โดย U.S. Embassy Bangkok | 8 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
On August 8, Ambassador and Mrs. Davies visited Phang Nga province. The Ambassador used the opportunity to highlight Secretary Kerry’s #OurOcean movement, visiting Ao Phang Nga marine park. The Ambassador toured the park with an expert from the International Union for the Conservation of Nature. During a courtesy call with the governor, the Ambassador reiterated the Department’s commitment to the four key #OurOcean issues: Marine protected areas, sustainable fisheries, marine pollution, and the climate-related impacts on the ocean. The Ambassador also met with local NGOs and the International Organization for Migration to discuss the plight of migrant workers from Burma, and their role in the region’s agriculture and fisheries industries. When asked by local press about the results of the August 7 constitutional referendum, Ambassador Davies noted the Election Commission had announced preliminary results and it was clear that a majority of those who voted approved the draft constitution. He said, “Given this result and the official result that will come out soon, we, the United States of America, as a long-time friend and ally of Thailand, urge the government to return to civilian democratically elected government as soon as possible. As part of moving back to civilian elected government, we strongly urge the government to lift restrictions on civil liberties, including restrictions on freedom of expression and peaceful assembly. And we urge these things for the same reason that we always have: we believe it is important and essential, as a friend and ally of Thailand, for Thailand to become strengthened and we believe the only way that happens ultimately is the Thai people engaging in an open and inclusive dialogue about their future. That is the way we believe will be most effective to build a strong and sustainable future for the Kingdom, which we, Americans, care very deeply about. We want the country to come together and to go forward together into the future, strong, and that is why we call for the government to allow for these freedoms and to go back to democratically elected government soon.” By U.S. Embassy Bangkok | 8 August, 2016 | Topics: Ambassador, Environment, Events, Our Ocean
Ambassador Davies visited Phang Nga
เอกอัครราชทูตเดวีส์เดินทางเยือนจังหวัดพังงา
https://th.usembassy.gov/th/consul-general-jennifer-harhigh-called-chiang-mai-governor-pawin-chamniprasart-th/
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา กงสุลใหญ่ฯ เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ ซึ่งเพิ่งเดินทางมารับตำแหน่งได้เข้าสนทนากับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ปวิณ ชำนิประศาสน์ ทางสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เห็นความสำคัญกับมิตรภาพอันใกล้ชิดที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่ โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 8 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: กงสุลใหญ่, เชียงใหม่
On August 8th, newly-arrived Consul General Jennifer Harhigh called on Chiang Mai Governor Pawin Chamniprasart. The U.S. Consulate values the close partnership it shares with Chiang Mai province. By U.S. Consulate Chiang Mai | 8 August, 2016 | Topics: Chiang Mai, Consul General
Consul General Jennifer Harhigh called on Chiang Mai Governor Pawin Chamniprasart
กงสุลใหญ่ฯ เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ เข้าสนทนากับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ปวิณ ชำนิประศาสน์
https://th.usembassy.gov/th/deputy-chief-mission-dcm-peter-haymond-visited-international-law-enforcement-academy-ilea-th/
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา อัครราชทูตที่ปรึกษาปีเตอร์ เฮย์มอนด์ เดินทางไปเยี่ยมชมสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายในกรุงเทพมหานคร (International Law Enforcement Academy หรือ ILEA Bangkok) เพื่อแสดงความขอบคุณต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ให้การสนับสนุนและการทำงานอย่างอุตสาหะ พร้อมทั้งแสดงความยินดีกับเจ้าหน้าที่ของ ILEA ที่ได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติสำหรับความเป็นเลิศในด้านการฝึกอบรม พล.ต.ต. ภาณุวิชญ์ ทองยิ้ม ผู้บังคับการ สถาบัน ILEA Bangkok ได้กล่าวขอบคุณอัครราชทูตที่ปรึกษาสำหรับการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในโอกาสนี้ อัครราชทูตที่ปรึกษาเฮย์มอนด์ได้พบกับวิทยากรรับเชิญจากหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ ได้แก่ U.S. Bureau of Alcohol, Tobacco and Firearms, Diplomatic Security Service และสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) โดย U.S. Embassy Bangkok | 8 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: อัครราชทูตที่ปรึกษา, เหตุการณ์
Deputy Chief of Mission (DCM) Peter Haymond visited the International law Enforcement Academy (ILEA) in Bangkok on August 8 to express his appreciation to the Royal Thai Police for their support and hard work. DCM Haymond also congratulated ILEA Staff for receiving a Royal Thai Government Public Service Award for Excellence in Training. General Panuwit Thongyim, ILEA Executive Director, thanked the DCM for U.S. government support. During his trip to the academy, DCM Haymond met with visiting instructors from the U.S. Bureau of Alcohol, Tobacco and Firearms, Diplomatic Security Service, and the Federal Bureau of Investigation. By U.S. Embassy Bangkok | 8 August, 2016 | Topics: Deputy Chief of Mission, Events | Tags: ILEA
Deputy Chief of Mission Peter Haymond visited the International law Enforcement Academy
อัครราชทูตที่ปรึกษาปีเตอร์ เฮย์มอนด์ เยี่ยมชมสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
https://th.usembassy.gov/th/farewell-reception-educationusa-advisees-th/
Farewell reception for EducationUSA advisees เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2559 เอกอัครราชทูตเดวีส์เป็นเจ้าภาพจัดงานรับรอง ณ บ้านพักเอกอัครราชทูตเพื่อเลี้ยงส่งผู้ที่มารับคำแนะนำจากแผนก EducationUSAของสถานทูตฯ และได้รับการตอบรับให้ไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ แขกผู้มีเกียรติอื่นๆ ที่มาร่วมงานประกอบด้วยศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ผู้ได้รับทุนฟุลไบรท์ นักวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อาจารย์มหาวิทยาลัยและอาจารย์ที่ปรึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยมีคณะนักร้องประสานเสียงจากมหาวิทยาลัยเยล Whiffenpoofs เป็นผู้ให้ความบันเทิง EducationUSA Thailand ให้บริการคำแนะนำและความช่วยเหลือในการศึกษาต่อในสหรัฐฯ แก่นักเรียนนักศึกษาไทยทั่วประเทศด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการหาทุนการศึกษาและการสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เชิญผู้ที่สนใจสานฝันในการเรียนต่อในสหรัฐฯ ติดต่อเราได้ที่ EducationUSA โดย U.S. Embassy Bangkok | 4 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: การศึกษา, ศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
Farewell reception for EducationUSA advisees On August 4, 2016, Ambassador Davies hosted a farewell reception at his residence for EducationUSA advisees who have been accepted to study at U.S. universities. The reception also brought together Thai alumni of U.S. universities, Fulbright scholars, scholars from the Office of the Civil Service Commission, university professors, and school counselors. The famous all-male a cappella group, the Yale University Whiffenpoofs, provided the evening’s entertainment. EducationUSA Thailand provides free and accurate advising services and assistance to students from all over Thailand by providing them information on how to find scholarships and apply for universities in the U.S. Interested in pursuing your dream to study in the United States? Contact EducationUSA Thailand today to find out more! By U.S. Embassy Bangkok | 4 August, 2016 | Topics: Ambassador, Education, Events, Study in the U.S. | Tags: Whiffenpoofs
Farewell Reception for EducationUSA Advisees
งานรับรองเลี้ยงส่งผู้ที่มารับคำแนะนำจากแผนก EducationUSA
https://th.usembassy.gov/th/u-s-consulate-general-chiang-mai-welcomed-new-consul-general-th/
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ทางสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ได้ให้การต้อนรับกงสุลใหญ่ฯ เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮสู่ภาคเหนือ ท่านกงสุลใหญ่ ได้ทำงานกับกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพมหานคร มอสโคว์ ย่างกุ้ง และล่าสุด ท่านดำรงตำแหน่งรองที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ขณะประจำที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ท่านเคยร่วมคณะเตรียมงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ โคลิน พาวเวลล์ และทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาอาชีพบุคลากรสำหรับข้าราชการชั้นต้นของกระทรวงการต่างประเทศ กงสุลใหญ่ฮาร์ไฮสามารถพูดภาษาไทย ญี่ปุ่น พม่า รัสเซีย และฝรั่งเศส ท่านสมรสกับนายโคลิน เฟิรสต์ ซึ่งเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เช่นกัน ทั้งสองมีบุตรธิดาสามคน สามารถอ่านประวัติของท่านได้ที่https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/consul-general-th/ โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 4 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: กงสุลใหญ่, เชียงใหม่
On August 4th, U.S. Consulate General Chiang Mai welcomed new Consul General Jennifer Harhigh to northern Thailand. Ms. Harhigh’s previous U.S. State Department assignments include Bangkok, Moscow, and Rangoon. She recently served as the Deputy Political Counselor in Tokyo. In Washington, D.C., Ms. Harhigh worked on the Advance Team for Secretary Colin Powell and as a Career Development Officer for Foreign Service officers. She speaks Thai, French, Russian, Japanese and Burmese. She will reside in Chiang Mai with her Foreign Service spouse and their three children.Read her full biographyathttps://th.usembassy.gov/our-relationship/consul-general/ By U.S. Consulate Chiang Mai | 4 August, 2016 | Topics: Chiang Mai, Consul General
U.S. Consulate General Chiang Mai welcomed new Consul General
สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ได้ให้การต้อนรับกงสุลใหญ่ฯ เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ
https://th.usembassy.gov/th/my-digital-america-th/
ขอต้อนรับทุกคนที่เข้ามาอ่านบล็อกปฐมฤกษ์ของเราว่าด้วยเรื่องราวจากการเดินทางไปสหรัฐฯ ของคนไทยในวงการต่างๆ สำหรับบทสัมภาษณ์แรกนี้ เราไปพูดคุยกับคุณวรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง ผู้ก่อตั้งบริษัทจับคู่การลงทุนให้กับ startup Shift Ventures เกี่ยวกับประสบการณ์ทัวร์ Silicon Valley ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองหลวงแห่งโลกเทคโนโลยี บ้านของแบรนด์ดังอย่าง Apple, Google และ Facebook ที่คุณวรวิสุทธิ์ได้ไปสัมผัสมาถึงห้าเดือนเมื่อปีที่แล้ว ทำไมถึงไป San Francisco? ผมไป San Francisco เพราะอยากไปเห็นแหล่งกำเนิดเทคโนโลยี และเป็นแหล่งให้กำเนิด startup ด้วย ที่ไทย startup ต่างๆ เริ่มมาแล้ว อยากไปอัปเดตความรู้เกี่ยวกับโลก startup ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพราะส่วนใหญ่ก็เริ่มจาก Silicon Valley อยากไปดูด้วยว่าสภาพแวดล้อมเขาเป็นอย่างไร ได้ไปทำอะไรมาบ้าง? เข้าร่วมงานประชุมด้านเทคโนโลยีที่เขานำคนเก่งๆ จากแวดวงนี้มาพูด ผมไปมาหลายที่ ที่ดังๆ ก็TechCrunch Disrupt, Lean Startup Conference, Growth Marketing, Angel Launch, Silicon Valley Entrepreneurship Forum แล้วก็มีอะไรยิบย่อยเยอะมาก งานพวกนี้เราสามารถนัดกับวิทยากรได้ เขามี press center ที่เราเข้าไปคุยได้ ทริปนี้ออกเงินเองครับส่วนหนึ่ง บางอันเราเป็นสื่อเพราะเราเขียนลง a day อยู่ เลยบอกได้ว่าเราเป็นสื่อจากเมืองไทย ก็ได้ค่าตั๋วเข้างาน อย่างงาน TechCrunch นี่ไปในนามสื่อ ประหยัดเงินไปได้ 35,000 บาท แต่ก็มีบางงานที่ต้องจ่ายเอง ได้เจอคนไทยที่ทำงานใน Silicon Valley หลายคน มีทั้ง Airbnb, Facebook, Twitter, Google, Salesforce ส่วนมากทำงานเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ ส่วนใหญ่มีคนแนะนำ พอไปอยู่ก็มีคนแนะนำให้รู้จักกัน เวลาไปแต่ละที่ต้องมีคนพาเข้าซึ่งก็คือคนไทยที่เรารู้จัก อย่าง Google นี่มีพนักงานคนไทยเป็นหลายสิบเลย ส่วนมากไปเรียนแล้วได้ทำงานต่อที่นั่น ประทับใจอะไรมาที่สุดจากการไปอเมริกาครั้งนี้? ประทับใจอาหารไทย ของที่นั่นอร่อย! ไปอยู่อเมริกากินอาหารไทยบ่อยมากเพราะไม่ค่อยชอบอาหารฝรั่งเท่าไร San Francisco อร่อยสุดที่ไปมา ผมประทับใจเรื่องความทันสมัยของคน San Francisco ด้วย ที่นั่นเป็นเมืองเทคโนโลยีอยู่แล้ว ชีวิตประจำวันของคนเกี่ยวกับเทคโนโลยีเยอะ Uber นี่ใช้กันเป็นชีวิตประจำวัน Airbnb อีก พวกส่งของส่งอาหาร จองที่จอดรถ ทุกอย่างทำจากแอปได้หมด ไปครั้งนี้ได้ข้อคิดหรือความรู้ใหม่ๆ อะไรกลับมาบ้าง? พวกความรู้ startup มีพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ ตลอด เอามาปรับใช้ได้ หรือวิธีการคิดบางอย่างจากการเข้าไปเจอคน ไปฟัง ได้บรรยากาศคล้ายกับมหาวิทยาลัย ได้ฟังคนจากหลากหลายประเทศพูด ที่นั่นคนจะแย่งกันพูด เคยไปเข้าเวิร์กช็อปที่นึงแล้วพูดไม่ทันเขา เพราะเล็กๆ น้อยๆ เขาก็พูด แย่งกันออกความเห็น เวลาอยู่ในงานประชุมก็ยกมือกันเป็นว่าเล่นจนวิทยากรต้องบอกว่าพอแล้วๆ เขาเป็นคนอยากรู้กัน เป็นเรื่องปกติ มีข้อแนะนำอะไรบ้างในการใช้ชีวิตระหว่างท่องเที่ยวในอเมริกา? เรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายของเขา โดยเฉพาะกฎหมายบนท้องถนน อย่างที่นั่นเขามีป้าย stop sign ขับรถต้องหยุดทุกป้าย เราคนไทยอาจจะเคยชินและไม่ค่อยสนใจ เคยฝ่าไฟแดงหนึ่งครั้งเพราะผมดูไฟผิดเลน ออกตัวปั๊บกล้องมันถ่ายเลย เขาถ่ายรูปส่งมาที่ที่พักเลย แล้วโดนปรับแพงด้วย บ้านเราไฟเหลืองแล้วก็รีบไปเลย ส่วนการใช้ชีวิตที่นู่น คนค่อนข้างเป็นมิตร ไม่น่ากลัว ย่านน่ากลัวก็มี แต่ไปเมืองไหนก็เหมือนกัน ตอนกลางคืนอาจดูน่ากลัว เราก็รีบเดินแต่ก็ไม่มีอะไร ส่วนวิธีการเก็บเงินเวลาไปเที่ยวนานๆ คือต้องทำกับข้าวเองครับ ราคาข้าวแพง ก๋วยเตี๋ยวก็ 10 เหรียญแล้ว แต่ปริมาณกินแล้วอิ่มนานเลย มีอะไรที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำบ้างไหม? เสียดายไม่ได้ไป Disney World ที่ Orlando ตอนแรกว่าจะไปแต่กลับไทยก่อน เดี๋ยวต้องกลับไปอีกแน่นอน รอบนี้ต้องเก็บให้หมด โดย U.S. Embassy Bangkok | 4 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: การเดินทางและท่องเที่ยว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์สำคัญ, ไม่มีหมวดหมู่ | Tags: my america-th
Welcome to the first installment of our “My … America” web special. For our inaugural post, we’re talking with Khun Worawisut Pinyoyang of Shift Ventures who, last year, spent approximately 5 months in the U.S. touring the country’s tech capital Silicon Valley in San Francisco, California, which is home to world’s tech giants such as Apple, Google, and Facebook. Why San Francisco? I wanted to see the birthplace of many technology giants. It is also where startups are happening. The startup scene in Thailand is coming, so I wanted to go get the latest updates about the industry, as most of them all started in Silicon Valley. What did you do during your trip? I got a chance to also attend many of the top technology conferences such as TechCrunch Disrupt, Lean Startup Conference, Growth Marketing, Angel Launch, Silicon Valley Entrepreneurship Forum and many more.At these conferences, I was able to hear leaders in the field talk about their experience and share their knowledge in addition to having an “offline” chat with the speakers at the press center afterwards. Although I was able to attend some of these chats since I was a member of the Thai media ,writing for aday magazine at the time, I wasn’t able to attend them all. However, as a member of the press, I was able to save 35,000 baht to attend the TechCrunch event. I also got the chance to meet with lots of Thai people who work as software engineers for Silicon Valley companies like Airbnb, Facebook, Twitter, Google, and Salesforce. All of them went to the States to study and were then hired by these companies after graduation. What were you most impressed with while you were in the U.S.? I was really impressed with the Thai food in San Francisco because they make it the best! It’s really good and I ate a lot of Thai food while I was there since I don’t like Western food very much. I was also in awe of how technologically advanced the city is. It’s already a tech city so technology exists in almost every aspect of everyday life. Uber use is very common, as well as Airbnb. Everything from food delivery and parking, can be managed with an app. What was your takeaway from this trip? There are a lot of startup insights about the new tools and methods out there that I can apply to my life.. Also, I learned some new perspectives from my meetings and from listening to people at the conferences, which I think had the same atmosphere as a college class. I got to hear opinions and thoughts from people from different countries. People there are also very talkative! I went to a workshop and I couldn’t even keep up. They were very opinionated and wanted to ask questions all the time, especially during the conferences. The host had to tell people to stop asking questions. Americans are very vocal, but that’s normal. Do you have any tips for other travelers about the U.S.? Their laws are very strict, especially traffic laws. Over there you have to stop at every stop sign, while we might beused to ignoring them. I also accidentally ran a red light once because I was looking at the wrong traffic light. A traffic camera captured my license plate and it was sent to where I was staying, and the fine was hefty. In Thailand, when we see a yellow light, we usually speed up. People are also very friendly. It’s not dangerous, but there are of course shady areas like in any city. At night it can get pretty scary, so I would usually walk faster, but nothing happened. Also, if you’re in the U.S. for a longer period of time, the best way to save money is to cook your own food. Food there is very expensive. For example a bowl of Thai noodles costs US$10! But, the portion lasts you the whole day. Anything you wish you could have done? I feel really bummed that I couldn’t go to Disney World in Orlando. Florida. I wanted to go but it was time to go home. I’m definitely going back to do everything I wanted to do that I didn’t get to. Khun WorawisutPinyoyang is the founder ofShift Ventures. He also writes a regular column “IT Trade” about the startup industryin GM Biz magazine. He can be found on Facebook, Instagram, LinkedInand Twitter. By U.S. Embassy Bangkok | 4 August, 2016 | Topics: Art & Culture, Business, Commercial Opportunities, Featured Event, Travel & Tourism, U.S. & Thailand | Tags: my america
My Digital America | Exploring World’s Tech Capital
My Digital America | ทัวร์เมืองหลวงแห่งโลกดิจิตอล
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-august-th/
3 สิงหาคม 1923 แคลวิน คูลลิดจ์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 30 ไม่กี่ชั่วโมงหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดีวอร์เรน จี. ฮาร์ดิง 5 สิงหาคม 1861 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น เรียกเก็บภาษีรายได้บุคคลสำหรับรัฐบาลกลางเป็นครั้งแรกด้วยการลงนามผ่านกฎหมาย Revenue Act ประธานาธิบดีลินคอล์นและสภาคองเกรสตกลงเรียกเก็บภาษีรายได้บุคคลในอัตราร้อยละ 3 สำหรับบุคคลที่มีรายได้เกิน 800 เหรียญต่อปี 6 สิงหาคม 1965 ประธานาธิบดีลินดอน เบนส์ จอห์นสัน ลงนามในกฎหมายสิทธิการเลือกตั้ง (Voting Rights Act) ซึ่งให้การรับรองสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนของชาวแอฟริกันอเมริกัน 8 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน ลาออกจากตำแหน่งหลังเกิดคดี Watergate ซึ่งเป็นคดีโจรกรรมที่อื้อฉาว ประธานาธิบดีนิกสันเป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์อเมริกาที่ลาออก 1945 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ ทำให้สหรัฐอเมริกาประเทศแรกที่ให้สัตยาบันเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศแห่งใหม่นี้ 9 สิงหาคม 1974 หนึ่งวันหลังจากที่ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน ลาออก รองประธานาธิบดีเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 38 ของสหรัฐอเมริกา ณ ห้อง East Room ในทำเนียบขาว 10 สิงหาคม 1949 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ลงนามในร่างกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติจัดตั้งกระทรวงกลาโหม 1874 เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ซึ่งในอนาคตจะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเกิดที่เมือง West Branch รัฐไอโอวา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1874 14 สิงหาคม 1935 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ลงนามผ่านกฎหมายประกันสังคม ซึ่งประกันรายได้สำหรับผู้ที่ตกงานและเกษียณอายุ 21 สิงหาคม 1959 ประธานาธิบดีดไว้ท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ ลงนามประกาศรับฮาวายเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในฐานะรัฐที่ 50 ของสหรัฐอเมริกา 26 สิงหาคม 1964 ลินดอน บี. จอห์นสัน ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้สมัครแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครต ณ เมือง Atlantic City รัฐนิวเจอร์ซีย์ โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 สิงหาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
August 3 1923 Calvin Coolidge was sworn in as the 30th president of the United States, hours after the death of President Warren G. Harding. August 5 1861 Lincoln imposed the first federal income tax by signing the Revenue Act.Lincoln and Congress agreed to impose a 3 percent tax on annual incomes over $800. August 6 1965 President Lyndon Baines Johnson signed the Voting Rights Act, guaranteeing African Americans the right to vote. August 8 1974 President Richard M. Nixon resigned in the wake of the Watergate burglary scandal. He was the first president in American history to resign. 1945 President Harry S. Truman signed the United Nations Charter and the United States became the first nation to complete the ratification process and join the new international organization. August 9 1974 One day after the resignation of President Richard M. Nixon, Vice President Gerald R. Ford was sworn in as the 38th president of the United States in the East Room of the White House. August 10 1949 President Harry S. Truman signed the National Security Bill, which established the Department of Defense. 1874 Future President Herbert Hoover was born on August 10 in 1874 in West Branch, Iowa. August 14 1935 President Franklin D. Roosevelt signed into law the Social Security Act, which guaranteed an income for the unemployed and retirees. August21 1959 President Dwight D. Eisenhower signed a proclamation admitting Hawaii into the Union as the 50th state of United States of America. August 26 1964 Lyndon B. Johnson was nominated to run for the presidency at the Democratic National Convention in Atlantic City, New Jersey. By U.S. Embassy Bangkok | 1 August, 2016 | Topics: Elections, Events, History | Tags: Elections 2016, History, U.S. Elections
U.S. Presidential History: August
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: เดือนสิงหาคม
https://th.usembassy.gov/th/chef-richard-blais-bangkok-th/
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยต้อนรับ Richard Blais ทูตวัฒนธรรมอาหารคนล่าสุดจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกในฐานะผู้ชนะการแข่งขันรายการ Top Chef All Stars และกรรมการผู้ตัดสินในรายการเรียลลิตีโชว์ด้านการทำอาหารหลายรายการ ในการเยือนกรุงเทพมหานครครั้งนี้ เชฟ Blais มีโอกาสได้จัดเตรียมพระกระยาหารกลางวันถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา จากนั้น ในวันพุธ เชฟ Blais เดินทางไปตลาด อ.ต.ก. และเลือกซื้อวัตถุดิบและอาหารท้องถิ่น เช่น ไส้อั่ว เพื่อนำมาสาธิตสอนการปรุงอาหารให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก่อนปิดท้ายด้วยบริการมื้อค่ำสุดพิเศษร่วมกับเชฟต้น ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร ที่ร้านแบกะดินเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม รายการอาหารมื้อพิเศษที่มีผู้สนใจมาร่วมชิมเต็มจำนวนนี้นำเนื้อวัว หอยนางรมและหอยเชลล์คุณภาพมาตรฐาน USDA มาสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคอาหารโมเลกุลแบบฉบับเชฟ Blais โดยทางร้านแบกะดินจะนำเมนูพิเศษนี้กลับมาให้บริการอีกครั้งระหว่างวันที่ 5-12 สิงหาคม 2559 สามารถดูรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ http://www.flickr.com/usembassybkk โดย U.S. Embassy Bangkok | 29 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | Tags: Richard Blais
U.S. Embassy Bangkok welcomed our latest culinary envoyRichard Blais to Thailand. Chef Blais is known worldwide as the winner of Top Chef All Stars and a celebrity judge on many cooking reality shows. He kicked off his trip to Bangkok with a special luncheon service for Her Royal Highness Princess Mahachakri Sirindhorn during her visit to the Embassy July 26. On Wednesday, he visited Aor Tor Kor market to shop for local ingredients such as Sai Ua northern sausage to be used in an educational cooking demo with Bangkok University students. He concluded his trip with a special one-night-only dinner service with Chef Ton Tassanakajohn of Baagadin Restaurant on July 28. The menus for the sold-out culinary event used USDA prime beef, oysters and scallops, and were created with his signature molecular gastronomic techniques. The special menus will be available at Baagadin restaurants again on August 5-12, 2016. For more photos, please see U.S. Embassy Bangkok’s flickr albumhttp://www.flickr.com/usembassybkk By U.S. Embassy Bangkok | 29 July, 2016 | Topics: Culture, Events, U.S. & Thailand | Tags: Chef Richard Blais
Chef Richard Blais in Bangkok
เชฟ Richard Blais เยือนกรุงเทพมหานคร
https://th.usembassy.gov/th/royal-highness-princess-sirindhorn-visited-u-s-embassy-bangkok-th/
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยพร้อมด้วยคณะนักเรียนจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเพื่อทรงรับฟังบรรยายพิเศษเรื่องกระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดย ดร. Robert Sterken นักวิจัยทุนฟุลไบรท์ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินพร้อมคณะนักเรียนฯ ไปยังทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเพื่อเสวยพระกระยาหารกลางวันซึ่งจัดถวายโดยโรงแรมคอนราดและนาย Richard Blais ผู้ชนะการแข่งขัน Top Chef All-Stars โดย U.S. Embassy Bangkok | 26 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: Exclude, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกอัครราชทูต
U.S. Embassy Bangkok welcomed Her Royal Highness Princess Sirindhorn and a group of military cadets from the Chulachomklao Royal Military Academy (CRMA) to a special presentation on the U.S. Presidential election process by Fulbright Scholar Dr. Robert Sterken. Following the lecture, Her Royal Highness and the CRMA group joined Ambassador Davies at his residence for a special luncheon prepared by the Conrad Hotel and Top Chef All Stars winner Richard Blais. By U.S. Embassy Bangkok | 26 July, 2016 | Topics: Ambassador, Exclude, U.S. & Thailand
Her Royal Highness Princess Sirindhorn visited U.S. Embassy Bangkok
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
https://th.usembassy.gov/th/american-youth-leadership-program-thailand-2016-cm-th/
ในวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา American Youth Leadership Program Thailand 2016 สนับสนุนโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เชิญนักเรียนมัธยมปลาย 20 คนจากรัฐมอนทาน่า และผู้ร่วมโครงการอีก 2 ท่านมาร่วมกิจกรรมการศึกษาเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ภาวะโลกร้อน การพัฒนาความเป็นผู้นำ และการบริการชุมชน โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 26 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: การศึกษา, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์
On July 26th, American Youth Leadership Program Thailand 2016, sponsored by the U.S. Department of State, engaged 20 Montana high school students and two adult participants at AUA Chiang Mai on an all-expense paid study of Thailand focused on food security, climate change, leadership development, and community service. By U.S. Consulate Chiang Mai | 26 July, 2016 | Topics: Chiang Mai, Education, Events, U.S. & Thailand | Tags: American Youth Leadership Program
American Youth Leadership Program Thailand 2016
โครงการ American Youth Leadership Program Thailand 2016
https://th.usembassy.gov/th/deputy-chief-mission-visited-chiang-mai-th/
ในวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมาอัครราชทูตที่ปรึกษาของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ปีเตอร์ เฮย์มอนด์ ได้มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่เพื่อพบปะพูดคุยกับพนักงานของสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ พวกเรายินดีต้อนรับท่านสู่ภาคเหนือค่ะ ขอเชิญอ่านประวัติของท่านได้ที่ https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/dcm-th/ โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 25 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: อัครราชทูตที่ปรึกษา, เชียงใหม่
On July 25th, the new Deputy Chief of Mission, Peter Haymond, visited Chiang Mai to meet consulate employees. Welcome to northern Thailand! Read more about him athttps://th.usembassy.gov/our-relationship/dcm/ By U.S. Consulate Chiang Mai | 25 July, 2016 | Topics: Chiang Mai, Deputy Chief of Mission
Deputy Chief of Mission visited Chiang Mai
อัครราชทูตที่ปรึกษาของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาเยือนจังหวัดเชียงใหม่
https://th.usembassy.gov/th/closing-event-jr-nba-youth-basketball-development-program-th/
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม อัครราชทูตที่ปรึกษาปีเตอร์ เฮย์มอนด์ เข้าร่วมพิธีปิดกิจกรรมโครงการพัฒนากีฬาบาสเกตบอลเยาวชน Jr. NBA ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เยาวชนชาย 10 คนและเยาวชนหญิง 5 คนที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมทีม Jr. NBA All-Stars ประเทศไทย จะได้เดินทางไปสัมผัสประสบการณ์ฝึกซ้อมร่วมกับสมาชิกทีม All-Stars จากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปลายปีนี้ ในครั้งนี้ คุณ Will Barton นักกีฬาอเมริกัน NBA จากทีม Denver Nuggets มาเป็นผู้ฝึกสอนนักบาสเกตบอลรุ่นเยาว์ให้เข้าใจพื้นฐานของกีฬาชนิดนี้ พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับความมีน้ำใจนักกีฬา (Sportsmanship) การทำงานเป็นทีม (Teamwork) การมีทัศนคติเชิงบวก (A positive Attitude) และการให้ความเคารพ (Respect) หรือ S.T.A.R. โดย U.S. Embassy Bangkok | 17 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: อัครราชทูตที่ปรึกษา, เหตุการณ์ | Tags: บาสเกตบอล, เยาวชน
Deputy Chief of Mission Peter Haymond attended the closing event of this year’s Jr. NBA youth basketball development program on July 17 at Future Park Rangsit Mall. The ten boys and five girls selected to be Thailand’s Jr. NBA All-Stars will get a unique training experience with other All-Stars from across Southeast Asia later this year. This year’s annual program brought American NBA Star Will Barton of the Denver Nuggets to train the aspiring young basketballers in the fundamentals of the game as well as Sportsmanship, Teamwork, a positive Attitude, and Respect (S.T.A.R.). By U.S. Embassy Bangkok | 17 July, 2016 | Topics: Deputy Chief of Mission, Events | Tags: Jr. NBA, sports, youth
Closing Event of Jr. NBA Youth Basketball Development Program
พิธีปิดกิจกรรมโครงการพัฒนากีฬาบาสเกตบอลเยาวชน Jr. NBA
https://th.usembassy.gov/th/uncle-sam-community-development-camp-heads-south-th/
ในช่วงวันหยุดเรียน 13-15 กรกฎาคมที่ผ่านมา นักศึกษามุสลิมจากศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกันปัตตานีและยะลามาร่วมอบรม “ค่ายพัฒนาชุมชน Uncle Sam” ที่จังหวัดสตูลเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านการทำงานอาสาสมัคร เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมกับฝึกภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา ค่ายอบรมครั้งนี้นำโดยอาสาสมัครสันติภาพสี่คนและมีกิจกรรมที่ให้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน อีกทั้ง ยังแนะนำขนมของอเมริกาให้น้องๆ ได้อร่อยกันคือ s’mores และมาร์ชแมลโลว์ น้องๆ ที่เข้าอบรมช่วยกันคิดโครงการต่างๆ ที่จะนำไปดำเนินการที่ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน เช่น สตรีในการประกอบวิสาหกิจ การสอนภาษาอังกฤษให้แก่เด็กด้อยโอกาส และการให้บริการห้องสมุดสำหรับบุคคลพิการ โดย U.S. Embassy Bangkok | 15 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: American Spaces, การศึกษา, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | Tags: ค่ายพัฒนาชุมชน Uncle Sam, ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน, อาสาสมัครสันติภาพ
During their school break from July 13-15, 40 Muslim students from the American Corner Pattani and Yala joined together in Satun Province at the “Uncle Sam Community Development Camp” to build their awareness of volunteerism, boost their knowledge about the United States, and practice their English with native speakers. Led by four Peace Corps volunteers, the three-day camp was filled with fun learning activities, and also included an introduction to U.S. snacks like s’mores and halal marshmallows. Participants developed projects to implement at American Corners including women in entrepreneurship, English teaching to underprivileged kids, and library services for patrons with disabilities. By U.S. Embassy Bangkok | 15 July, 2016 | Topics: American Spaces, Culture, Education, Events, U.S. & Thailand | Tags: American Corner, Peace Corps, Peace Corps Volunteers, Uncle Sam Community Development Camp
Uncle Sam Community Development Camp Heads South
ค่ายพัฒนาชุมชน Uncle Sam ที่ภาคใต้
https://th.usembassy.gov/th/consulate-general-chiang-mais-consular-economic-sections-met-local-travel-agents-th/
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา แผนกกงสุลและฝ่ายเศรษฐกิจจากสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ ร่วมด้วย U.S. Foreign Commercial Service หรือ FCS ได้เข้าพบปะกับตัวแทนท่องเที่ยวท้องถิ่นเพื่อหารือแนวโน้มเรื่องการท่องเที่ยวของคนไทยในสหรัฐฯ และเรื่องระบบการยื่นขอวีซ่า นอกจากนี้ตัวแทนการท่องเที่ยวของไทยยังได้รับเชิญไปงานการท่องเที่ยวที่ประเทศสิงคโปร์อีกด้วย โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 13 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: การค้าระหว่างประเทศ, การเดินทางและท่องเที่ยว, ธุรกิจ, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, โอกาสทางการค้า
On July 13, U.S. Consulate General Chiang Mai’s Consular and Economic Sections along with the U.S. Foreign Commercial Service (FCS) met with local travel agents to discuss Thai tourism trends to the United States and visa procedures. The Thai travel agents were invited to attend a tourism trade show in Singapore. By U.S. Consulate Chiang Mai | 13 July, 2016 | Topics: Business, Chiang Mai, Commercial Affairs, Commercial Opportunities, Travel & Tourism, U.S. & Thailand
Consulate General Chiang Mai’s Consular and Economic Sections met with local travel agents
แผนกกงสุลและฝ่ายเศรษฐกิจจากสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ พบปะกับตัวแทนท่องเที่ยวท้องถิ่น
https://th.usembassy.gov/th/nba-cares-basketball-clinic-wat-chaimongkol-school-th/
Will Barton แห่งทีม Denver Nuggets และ Chris Summer หัวหน้าโค้ช Jr. NBA จัด NBA Cares Basketball Clinic เพื่อแนะนำเทคนิคการเล่นบาสเก็ตบอลให้แก่นักเรียนที่โรงเรียนวัดชัยมงคลเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2559 เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตกระฉับกระเฉงให้แก่เด็กๆ ตลอดจนสอนการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ ความร่วมมือและการสื่อสาร ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต การทูตด้านกีฬานี้ใช้ความรักกีฬาเป็นสื่อเชื่อมคนให้ก้าวข้ามความต่างและมีใจเป็นหนึ่งเดียวกัน น้องๆ นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะหลายอย่างจากโค้ชคริสและ Will Barton นักบาสเก็ตบอล NBA อีกทั้ง ยังได้สนุกเล่นบาสเก็ตบอลร่วมกันด้วย โดย U.S. Embassy Bangkok | 13 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์
Will Barton of the Denver Nuggets and Jr. NBA Head Coach Chris Summer conducted an NBA Cares Basketball Clinic for Wat Chaimongkol School students on July 13, 2016 to promote an active lifestyle among children; and teach them leadership, cooperation, and communication skills that help young people to succeed in all areas of their lives. This sports diplomacy uses the universal passion for sports as a way to transcend differences and bring people together. The students learned from Coach Chris and NBA Player Will Barton basic basketball skills including dribbling, shooting, passing, and then played a fun basketball game with them. All of the students had a great time. By U.S. Embassy Bangkok | 13 July, 2016 | Topics: Events | Tags: Basketball Clinic, NBA, NBA Cares
NBA Cares Basketball Clinic at Wat Chaimongkol School
NBA Cares Basketball Clinic ที่โรงเรียนวัดชัยมงคล
https://th.usembassy.gov/th/yseali-alumni-thematic-international-exchange-seminar-reception-th/
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม เอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์ เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงรับรอง ณ บ้านพัก เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำเยาวชนอาเซียน 40 คนที่เข้าร่วมสัมมนา YSEALI Alumni Thematic International Exchange Seminar (TIES) งานสัมมนาครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วมกัน ตลอดจนแสวงหาแนวทางสร้างแรงบันดาลใจที่นำไปสู่การดำเนินการเชิงบวกในชุมชน การอาสาสมัคร และการขับเคลื่อนระดับรากหญ้าในชุมชนท้องถิ่นทั่วอาเซียน โดย U.S. Embassy Bangkok | 12 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, ศิษย์เก่า, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
On July 12, Ambassador Glyn T. Davies hosted a reception at his residence in honor of 40 youth leaders who are now attending the YSEALI Alumni Thematic International Exchange Seminar (TIES). During the seminar, the participants explored issues of shared values and discovered ways to inspire positive community action, volunteerism, and grassroots mobilization in local communities throughout ASEAN. By U.S. Embassy Bangkok | 12 July, 2016 | Topics: Alumni, Ambassador, East Asia & Pacific, Events | Tags: AlumniTIES, ExchangeAlumni, YSEALI
YSEALI Alumni Thematic International Exchange Seminar Reception
งานเลี้ยงรับรอง YSEALI Alumni Thematic International Exchange Seminar
https://th.usembassy.gov/th/american-youth-leadership-program-visited-u-s-embassy-th/
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาต้อนรับคณะครูและนักเรียนมัธยมปลายจากรัฐมอนแทนารวม 22 คนที่เดินทางมาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย ตามโครงการ American Youth Leadership Program ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้ทำความรู้จักกับสถานทูตสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย และโครงการ English Access Microscholarship Program (Access Program) พร้อมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงด้านอาหารกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของประเทศไทย โดย U.S. Embassy Bangkok | 8 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: การศึกษา, การเรียนภาษาอังกฤษ, สถานทูต, เหตุการณ์
On July 8, the U.S. Embassy welcomed a group of 22 Montana high school students and teachers visiting here on a U.S Department of State program, the American Youth Leadership Program, to better understand Thailand. They were introduced to the U.S. Embassy, the U.S.-Thailand bilateral relationship, and our English Access Microscholarship Program (Access Program). The program also introduced Montana youth to the issue of food security in the face of climate change in the context of Thailand. By U.S. Embassy Bangkok | 8 July, 2016 | Topics: Education, embassy, English Language Learning, Events | Tags: American Youth Leadership Program, Montana High School
U.S. Embassy Welcomed Montana High School Students and Teachers
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาต้อนรับคณะครูและนักเรียนมัธยมปลายจากรัฐมอนแทนา
https://th.usembassy.gov/th/welcome-new-deputy-chief-mission-th/
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยให้การต้อนรับคุณปีเตอร์ เฮย์มอนด์ อัครราชทูตที่ปรึกษาคนใหม่ของสถานทูตฯ อัครราชทูตที่ปรึกษาเฮย์มอนด์มีประสบการณ์เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทวีปเอเชีย โดยเคยปฏิบัติราชการที่จีน ลาว เกาหลีใต้ และเคยมาประจำที่ไทยระหว่าง พ.ศ. 2537-2539 อีกทั้งสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว เชิญอ่านประวัติของอัครราชทูตที่ปรึกษาเฮย์มอนด์เพิ่มเติมที่https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/dcm-th/ โดย U.S. Embassy Bangkok | 8 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: สถานทูต, อัครราชทูตที่ปรึกษา, เหตุการณ์
Welcome to our new Deputy Chief of Mission (DCM) Mr. Peter Haymond to the U.S. Mission Thailand. DCM Haymond has extensive experience in Asia, having previously served in China, Laos, South Korea, and also Thailand from 1994-1996. He also speaks Thai fluently, so please join us to say yin-dee-ton-rup to DCM Haymond. Read more about him here:https://th.usembassy.gov/our-relationship/dcm/ By U.S. Embassy Bangkok | 8 July, 2016 | Topics: Deputy Chief of Mission, embassy, Events
Welcome to our new Deputy Chief of Mission (DCM) Mr. Peter Haymond to the U.S. Mission Thailand
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยให้การต้อนรับอัครราชทูตที่ปรึกษาคนใหม่
https://th.usembassy.gov/th/brand-new-u-s-embassy-bangkok-website-live-now-th/
Brand New U.S. Embassy Bangkok Website LIVE NOW! สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยมีความยินดีขอประกาศเริ่มให้บริการเว็บไซต์โฉมใหม่ของเราที่ th.usembassy.gov พร้อมนำเสนอข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับทางสถานทูต สถานกงสุลใหญ่ และหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยอย่างครบถ้วน อีกทั้งรองรับการเข้าชมผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตทุกขนาดและรูปแบบ ท่านสามารถเข้าชมเนื้อหาของเว็บไซต์แยกตามหมวดหมู่ โดยแต่ละหมวดแบ่งออกเป็นหมวดย่อยเพื่อช่วยให้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้สะดวกยิ่งขึ้น วีซ่า – ข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่าและคำถามที่พบบ่อย บริการพลเมืองสหรัฐฯ – บริการและข้อมูลสำหรับพลเมืองสัญชาติสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ – ข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับสำนักงานคณะผู้แทนทางการทูตสหรัฐฯ ในประเทศไทย และบุคลากรสำคัญของรัฐบาลสหรัฐฯ ตลอดจนประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ธุรกิจ – ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนโดยภาคธุรกิจอเมริกันในประเทศไทยและข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในสหรัฐอเมริกา การศึกษาและวัฒนธรรม – ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกันในประเทศไทย ทุนการศึกษา และโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ – ข้อมูลติดต่อสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและสถานกงสุลใหญ่ที่เชียงใหม่ ตลอดจนประกาศรับสมัครงาน ข่าวและกิจกรรม – ข่าวสารและข้อมูลล่าสุด ภาพถ่าย วีดิทัศน์ และอื่นๆ เราหวังว่าทุกท่านจะได้รับความสะดวกจากเว็บไซต์โฉมใหม่ของเรา แล้วอย่าลืมแวะเวียนมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรมของเราเป็นประจำ เพื่อติดตามเนื้อหาล่าสุด รวมถึงข่าวสาร กิจกรรม และโอกาสโครงการแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ โดย U.S. Mission Thailand | 6 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: ข่าว, สถานทูต, เชียงใหม่
Brand New U.S. Embassy Bangkok Website LIVE NOW! We are thrilled to announce the launch of our brand new website. The new th.usembassy.gov beautifully displays all of U.S. Mission Thailand’s key information while also being fully compatible with smartphones and tablets of all shapes and sizes. Now, you can now easily navigate through each of the sections, all of which contain sub-categories to assist you in finding more specific information: Visas – Learn more about your Visa requirements and FAQs. U.S. Citizen Services – Providing services and information for U.S. Citizens. U.S.-Thai Relationship – Information about current U.S. Mission Thailand and U.S. Government leaders, in addition to the U.S. – Thailand relationship history. Business – Information regarding U.S. business sector investment in Thailand along with information about investing in the U.S. Education & Culture – Information on studying in the U.S., American corners in Thailand, education scholarships, and exchange opportunities. Embassy & Consulate – Find U.S. Embassy in Thailand and U.S. Consulate Chiang Mai contact details, as well as information on job opportunities. News & Events – Read about our latest news, information, photos, videos, and more. We hope you enjoy our new website and don’t forget to regularly check back as the website along with our Facebook, Twitter, and Instagram will continually be updated with new content, news, events, and exchange opportunities! By U.S. Mission Thailand | 6 July, 2016 | Topics: Chiang Mai, embassy, News
Brand New U.S. Mission Thailand Website LIVE NOW!
เว็บไซต์สถานทูตสหรัฐอเมริกาโฉมใหม่เปิดตัวแล้ววันนี้!
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-july-th/
2กรกฎาคม 1964 ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน สานต่อการรณรงค์ปฏิรูปสิทธิพลเมืองของจอห์น เอฟ. เคนเนดี โดยลงนามกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) พิธีลงนามครั้งประวัติศาสตร์นี้ถ่ายทอดโทรทัศน์ทั่วประเทศจากทำเนียบขาว 4กรกฎาคม 1776 สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพ สภาภาคพื้นทวีปลงมติรับคำประกาศอิสรภาพ ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งประกาศว่าสหรัฐอเมริกาเป็นอิสระจากราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และกษัตริย์ของราชอาณาจักร 1826 อดีตประธานาธิบดีโทมัส เจฟเฟอร์สัน และอดีตประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ถึงแก่อสัญกรรมในวันเดียวกัน ทั้งสองท่านเป็นสมาชิกสองคนสุดท้ายของคณะผู้ปฏิวัติอเมริกาที่ลุกขึ้นแข็งขืนต่อจักรวรรดิอังกฤษและสร้างระบบการเมืองใหม่ขึ้นในอดีตอาณานิคม 10กรกฎาคม 1850 รองประธานาธิบดีมิลลาร์ด ฟิลมอร์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 13 แห่งสหรัฐอเมริกา หนึ่งวันหลังการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีซาคารี เทเลอร์ 12กรกฎาคม 1957 ดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้โดยสารเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ใช้เทคโนโลยีการบินล่าสุดในยุคนั้น 13กรกฎาคม 1960 วุฒิสมาชิกจอห์น เอฟ. เคนเนดี จากรัฐแมสซาชูเซตส์ ได้รับการเสนอชื่อลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีโดยที่ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครตที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีคะแนนชนะวุฒิสมาชิกลินดอน บี. จอห์นสัน จากรัฐเท็กซัส 16กรกฎาคม 1790 สภาคองเกรสอเมริกันประกาศให้กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเมืองหลวงถาวรของประเทศ “วอชิงตัน” ซึ่งตั้งอยู่ในเขตการปกครองแห่งใหม่ของรัฐบาลกลางที่ชื่อ “District of Columbia” นั้นได้รับการตั้งชื่อตาม จอร์จ วอชิงตัน ผู้นำการปฏิวัติอเมริกาและประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ 2002 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประกาศแผนเพิ่มระดับความมั่นคงภายในประเทศหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายโจมตีนครนิวยอร์กและกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 18กรกฎาคม 1940 แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 เมื่อปี ค.ศ. 1933 ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นวาระที่ 3 ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์อเมริกา แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ซึ่งสังกัดพรรคเดโมแครตจะมีโอกาสดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 4 สมัยหากท่านไม่ถึงแก่อสัญกรรมไปก่อน ท่านเป็นประธานาธิบดีคนเดียวของสหรัฐฯ ที่ดำรงตำแหน่งมากกว่าสองสมัย 20กรกฎาคม 1969 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ดูนักบินอวกาศชาวอเมริกันสองคนเดินบนดวงจันทร์ ท่านได้บันทึกไว้ในสมุดบันทึกประจำวันของท่านสั้นๆ ว่า “ประธานาธิบดีสนทนาข้ามดาวกับนีล อาร์มสตรองและเอ็ดวิน อัลดริน นักบินอวกาศของยานอพอลโล 11 ที่อยู่บนดวงจันทร์” 22กรกฎาคม 1862 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น แจ้งต่อคณะรัฐมนตรีว่าท่านจะออกประกาศเลิกทาส 23กรกฎาคม 1885 ยูลิสซิส เอส. แกรนท์ วีรบุรุษยุคสงครามกลางเมืองและอดีตประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งลำคอ 27กรกฎาคม 1974 คณะกรรมาธิการตุลาการสภาผู้แทนราษฎรฟ้องถอดถอนนายริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีคนที่ 37 ของอเมริกา การยื่นถอดถอนครั้งนี้มีสาเหตุมาจากเรื่องอื้อฉาวหลายเรื่องเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีของนิกสัน ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “คดีวอเตอร์เกท” 29กรกฎาคม 1958 ประธานาธิบดี ดไว้ท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ ลงนามในกฎหมายจัดตั้งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) 31กรกฎาคม 1875 อดีตประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสัน ซึ่งต่อมาได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากที่ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นถูกลอบสังหารเมื่อปี ค.ศ. 1865 นั้นได้ถึงแก่อสัญกรรมในวันนี้จากอาการหัวใจล้มเหลวระหว่างเยือนบุตรสาวที่รัฐเทนเนสซี โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 กรกฎาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง, เหตุการณ์
July 2 1964 U.S. President Lyndon B. Johnson carried out John F. Kennedy’s campaign for civil rights reform and signed into law the historic Civil Rights Act in a nationally televised ceremony at the White House. July 4 1776 U.S. declared independence. In Philadelphia, Pennsylvania, the Continental Congress adopts the Declaration of Independence, which proclaims the independence of the United States of America from Great Britain and its king. 1826 Former Presidents Thomas Jefferson and John Adams died on the same day. They both were the last surviving members of the original American revolutionaries who had stood up to the British Empire and forged a new political system in the former colonies. July 10 1850 Vice President Millard Fillmore was sworn in as the 13th president of the United States. President Zachary Taylor had died the day before. July 12 1957 Dwight D. Eisenhower became the first president to ride in the newest advance in aviation technology: the helicopter. July 13 1960 In Los Angeles, California, Senator John F. Kennedy of Massachusetts was nominated for the presidency by the Democratic Party Convention, defeating Senator Lyndon B. Johnson of Texas. July 16 1790 The American Congress declared that Washington D.C. would be the nation’s permanent capital. “Washington,” in the newly designated federal “District of Columbia,” was named after the leader of the American Revolution and the country’s first president: George Washington. 2002 President George W. Bush announces his plan for strengthening homeland security in the wake of the shocking September 11, 2001, terrorist attacks on New York and Washington, D.C. July 18 1940 Franklin Delano Roosevelt, who first took office in 1933 as America’s 32nd president, is nominated for an unprecedented-third term.Roosevelt, a Democrat, would eventually be elected to a record four terms in office, the only U.S. president to serve more than two terms. July 20 1969 President Richard Nixon watched two American astronauts walk on the moon. He recorded succinctly in his diary “the President held an interplanetary conversation withApollo11 astronauts Neil Armstrong and Edwin Aldrin on the Moon.” July 22 1862 President Abraham Lincoln informed his cabinet that he would issue a proclamation to free slaves. July 23 1885 Civil War hero and former President Ulysses S. Grant died of throat cancer. July 27 1974 The House Judiciary Committee charged that America’s 37th president, Richard M. Nixon, be impeached and removed from office. The impeachment proceedings resulted from a series of political scandals involving the Nixon administration that came to be collectively known as Watergate. July 29 1958 President Dwight D. Eisenhower signs an act that creates the National Aeronautics and Space Administration (NASA). July 31 1875 Former President Andrew Johnson, the man who had become president upon the tragic assassination of Abraham Lincoln in 1865, died of a stroke while visiting his daughter in Tennessee. By U.S. Embassy Bangkok | 1 July, 2016 | Topics: Elections, Events, History | Tags: Elections 2016, History, U.S. Elections
U.S. Presidential History: July
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: เดือนกรกฎาคม
https://th.usembassy.gov/th/u-s-independence-day-reception-2016-th/
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน เอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์ และเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาให้การต้อนรับมิตรสหายทั้งชาวไทยและนานาชาติในงานฉลองครบรอบ 240 ปีแห่งความเป็นเอกราชของสหรัฐอเมริกา โอกาสนี้ยังเป็นการฉลองครบรอบ 100 ปีของกรมอุทยานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (U.S. National Park Service) ด้วยนิทรรศการ “อเมริกาจากชายฝั่งสู่ชายฝั่ง (America from Sea to Shining Sea)” เอกอัครราชทูตเดวีส์กล่าวเน้นความสำคัญของระบบอุทยานแห่งชาติสหรัฐฯ ในประวัติศาสตร์อเมริกาซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงจิตวิญญาณแห่งความเป็นอเมริกัน และกล่าวชื่นชมความสัมพันธ์อุทยานพี่อุทยานน้องระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในประเทศไทยกับอุทยานเกรทสโมกกี้เมาเทนส์ในสหรัฐอเมริกา แขกที่มาร่วมงานมีโอกาสสำรวจแหล่งความงามและประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์ของสหรัฐฯอีกทั้ง ยังได้ชิมอาหารประจำภูมิภาคต่างๆ จากทั่วสหรัฐฯ โดย U.S. Embassy Bangkok | 30 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: ข่าว, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
On June 30, Ambassador Glyn Davies and Embassy colleagues welcomed Thai and international friends to celebrate the 240th anniversary of the Independence of the United States of America. Celebrating the centennial of the U.S. National Park Service through “America from Sea to Shining Sea,” the Ambassador highlighted the significance of the U.S. national parks system in American history and defining the American spirit, and praised the thriving sister park relationship between Khao Yai National Park in Thailand and the Great Smoky Mountains National Park in the United States. Guests were able to explore a number of unique U.S. scenic and historic locations recreated at the event and enjoyed highlights of regional cuisine from across the United States. By U.S. Embassy Bangkok | 30 June, 2016 | Topics: Ambassador, Events, News | Tags: 4th of July, U.S. Independence Day
U.S. Independence Day Reception 2016
งานฉลองความเป็นเอกราชของสหรัฐอเมริกา
https://th.usembassy.gov/th/statement-2016-trafficking-persons-tip-report-th/
การค้ามนุษย์เป็นอาชญากรรมโหดเหี้ยมที่ไร้พรมแดน โดยในแต่ละปี มีประชาชนทั้งชาย หญิงและเด็กหลายสิบล้านคนทั่วโลกตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมอันร้ายกาจนี้ คำว่า “การค้ามนุษย์” และ “การค้าทาสสมัยใหม่” ต่างหมายถึงการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลเพื่อบังคับใช้แรงงานหรือค้าประเวณีโดยการใช้อำนาจบังคับ กลฉ้อฉลหรือการขู่เข็ญบีบบังคับ การค้ามนุษย์มีหลายรูปแบบ ได้แก่ การค้าเพื่อบังคับใช้แรงงานหรือในธุรกิจทางเพศ ซึ่งรวมถึงพันธนาการหนี้และงานรับใช้ตามบ้าน เมื่อบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปีตกอยู่ในสถานภาพที่ต้องค้าประเวณีก็ถือว่าเป็นการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทางเพศ แม้จะไม่มีการบังคับ ล่อลวงหรือขู่เข็ญก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศแถลงออกรายงานการค้ามนุษย์ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 โดยประเทศไทยได้เลื่อนอันดับขึ้นไปอยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2559 ครอบคลุมความพยายามดำเนินการของรัฐบาลต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 การถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองแสดงว่า รัฐบาลไทยได้ดำเนินความพยายามอย่างมีนัยสำคัญในการขจัดการค้ามนุษย์ในช่วงเวลาการทำรายงานจัดอันดับ ทว่า การดำเนินงานนั้นยังไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำสุดอย่างครบถ้วน การถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองนั้นเป็นการย้ำว่า ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยยังมีอยู่กว้างขวางและรัฐบาลต้องแสดงความเป็นผู้นำในการดำเนินการมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโดยให้มีผลงานเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิผล สหรัฐฯ ขอให้ไทยดำเนินงานให้ก้าวหน้ามากขึ้นและอย่างต่อเนื่องในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายการค้ามนุษย์ของไทย รายงานฉบับนี้ได้รวมคำแนะนำต่างๆ ที่ตรงประเด็นการค้ามนุษย์ในไทยที่สหรัฐฯ เชื่อว่าจะช่วยให้รัฐบาลไทยดำเนินการได้ก้าวหน้าขึ้น เราขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการตามคำแนะนำอย่างเต็มที่ หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ ยังคงเป็นหุ้นส่วนร่วมมือทำงานกับรัฐบาลไทยและภาคประชาสังคมในไทยในการพยายามขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ ในปี พ.ศ. 2558 รัฐบาลไทยรายงานว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ทางการได้เพิ่มความพยายามดำเนินการสืบสวนคดีการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทางเพศ และคดีที่ต้องสงสัยว่ามีการบังคับใช้แรงงาน รวมถึงได้ดำเนินคดีและพิพากษาโทษนักค้ามนุษย์หลายร้อยคน นอกจากนี้ รัฐบาลยังเริ่มสืบสวนคดีการค้าแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการประมงหลายสิบคดี กระนั้น การค้ามนุษย์เพื่อใช้แรงงานซึ่งรวมถึงพันธนาการหนี้ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในไทย และการบังคับใช้แรงงานอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหารทะเลยังคงเป็นปัญหาอยู่ เจ้าพนักงานรัฐ นายจ้าง เจ้าของกิจการ นายหน้าและสำนักงานจัดหางานที่สมรู้ร่วมคิดค้ามนุษย์ส่วนใหญ่ยังคงดำเนินกิจการต่อโดยไม่ต้องรับโทษ รัฐบาลไทยได้เริ่มดำเนินคดีที่เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศที่ตกเป็นเหยื่อการกระทำทารุณ สหรัฐฯ ขอให้ทางการไทยติดตามผลการสอบสวน การดำเนินคดีและกระบวนการศาลยุติธรรมสำหรับคดีที่อยู่ในระหว่างดำเนินการอย่างขันแข็งและอยู่ในห้วงเวลาอันเหมาะสม ซึ่งรวมถึงคดีที่เจ้าพนักงานรัฐถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดค้ามนุษย์ และขอให้รัฐบาลไทยใช้คดีที่ประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมาเป็นรากฐานในการระบุและสอบสวนคดีใหม่ด้านการบังคับใช้แรงงาน พันธนาการหนี้และการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทางเพศ ฝ่ายบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์และภาคประชาสังคมของไทยร่วมมือกันระบุตัวบุคคลและให้ความช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากการค้ามนุษย์ในปี พ.ศ. 2558 อย่างไรก็ดี หน่วยงานต่างๆ ทุกหน่วยจำต้องเพิ่มความพยายามร่วมมือดำเนินการที่มีประสิทธิผลมากขึ้น พร้อมร่วมมือกับภาคประชาสังคมเพื่อตรวจพบสิ่งบ่งชี้ต่างๆ ได้ดีขึ้น ว่ามีการค้ามนุษย์ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและสร้างเสริมความสามารถให้แก่ผู้รอดชีวิตจากการค้ามนุษย์ รายงานฉบับนี้เรียกร้องให้ไทยดำเนินการต่อไปในการปรับปรุงความคงเส้นคงวาของกระบวนการระบุตัวบุคคลผู้เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ การจัดลำดับความสำคัญของสิทธิ เสรีภาพและความปลอดภัยของเหยื่อการค้ามนุษย์ จนถึงการออกกฎระเบียบใหม่ๆ ในการให้สถานภาพทางกฎหมายและใบอนุญาตทำงานแก่เหยื่อการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ เราขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการตรวจสอบแนวทางปฏิบัติว่าด้วยการจัดหาแรงงานอย่างละเอียดและแข็งขัน พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงแนวปฏิบัติดังกล่าวผ่านช่องทางทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อประโยชน์ของแรงงานอพยพ ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยดำเนินมาตรการเกี่ยวกับกรณีข้าราชการสมรู้ร่วมคิดการค้ามนุษย์ ซึ่งได้แก่ การพิพากษาจำคุกข้าราชการสองคน แต่ปัญหาทุจริตและข้าราชการสมรู้ร่วมคิดยังคงเป็นอุปสรรคต่อความพยายามปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยหลายๆ คดีที่ข้าราชการถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา มีรายงานหลายฉบับกล่าวว่า ข้าราชการบางคนได้รับผลประโยชน์จากเงินสินบนและมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกรรโชกทรัพย์และขายผู้อพยพให้แก่นายหน้า อันเป็นการเพิ่มสภาวะอ่อนแอเปราะบางของผู้อพยพเหล่านี้ที่จะตกเป็นเหยื่อในธุรกิจทางเพศ แรงงานบังคับและพันธนาการหนี้ ประเทศไทยจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาและสำนักงานคดีค้ามนุษย์ในสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งได้เริ่มดำเนินการพิจารณาคดีแล้ว สหรัฐฯ มีความยินดีและสนใจรอรับทราบผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่จัดตั้งพิเศษเหล่านี้ซึ่งหน่วยงานทั้งสองยังสรรหาทรัพยากรและความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นต่อไป ในบรรดาคดีค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทางเพศนั้น ความพยายามในการสอบสวนคดีเด็กและการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อดำเนินงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดต่อเด็กและเยาวชนได้นำไปสู่การจับคุมนักค้ามนุษย์ทั้งชาวไทยและต่างชาติ สหรัฐฯ จะยังขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการให้ก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมตามกรอบคำแนะนำในรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยในการแก้ไขปัญหาสำคัญนี้ เชิญอ่านรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2559 ได้ที่ http://www.state.gov/j/tip/rls/tiprpt/index.htm โดย U.S. Embassy Bangkok | 30 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว | Tags: รายงานการค้ามนุษย์
Human trafficking is a heinous crime that knows no borders, and creates tens of millions of victims worldwide, including men, women, and children. “Human trafficking,” “trafficking in persons,” and “modern slavery” have been used interchangeably to describe the exploitation of someone for the purposes of compelled labor or commercial sex through the use of force, fraud, or coercion. Forms of human trafficking include sex trafficking and forced labor, including debt bondage and domestic servitude. When a person younger than 18 is subjected to prostitution, it is sex trafficking even without any showing of force, fraud, or coercion. The U.S. Department of State’s Trafficking in Persons (TIP) Report was released in Washington, D.C. on June 30, 2016, and Thailand was upgraded to Tier 2 Watch List. The 2016 TIP Report covers governments’ anti-trafficking efforts from April 1, 2015 through March 31, 2016. The Tier 2 Watch List ranking indicates that the Government of Thailand made significant efforts to eliminate trafficking during the rating period, but still does not fully meet the minimum standards for doing so. The Tier 2 Watch List ranking underscores that the problem of human trafficking in Thailand remains large and requires additional, substantial, and effective government leadership. We encourage Thailand to make further, sustained progress in fighting trafficking and enforcing Thai anti-trafficking laws. The Report includes a list of recommendations specific to the trafficking issues in Thailand that we believe will help the government make progress. We encourage the government to implement those recommendations fully. U.S. government agencies and law enforcement officials remain partners to the government and civil society in Thailand as they work to end human trafficking. In 2015, the Thai government reported increases over the previous year in investigating sex trafficking cases and suspected cases of forced labor, as well as in prosecuting and convicting hundreds of traffickers. The government also began to investigate labor trafficking in the fishing industry in dozens of cases. Labor trafficking, including debt bondage, however, remains a significant problem in Thailand, and widespread forced labor in Thailand’s seafood sector continued to occur. Most complicit officials, employers, owners, brokers and recruitment agencies involved in trafficking continued to operate with relative impunity. The government initiated prosecutions of cases involving abused Rohingya and Bangladeshi migrants. We encourage timely active follow through on investigations, prosecutions, and court proceedings of all pending cases, —including of allegedly complicit government officials, and urge the Thai government to build on its successful cases in the past year to identify and investigate new cases of forced labor, debt bondage, and sex trafficking. Thai law enforcement, social workers, and civil society collaboratively identified and assisted hundreds of trafficking survivors in 2015. Additional effective efforts, however, are needed across agencies and with civil society partners, to better recognize indicators of human trafficking, and assist and empower survivors. The report urges Thailand to continue to improve the consistency of victim identification procedures; prioritize the rights, freedoms, and safety of potential victims; and implement new rules to confer legal status and work permits to trafficking victims. We also encourage the government to actively scrutinize and improve labor recruitment practices through official and non-official channels for migrant workers. In 2015, Thailand took steps to address official complicity, including sentencing two public officials to prison terms; but corruption and official complicity continued to impede anti-trafficking efforts, and many cases involving allegedly complicit officials remained pending. Reports persist that some government officials profit from bribes and direct involvement in the extortion of migrants and their sale to brokers, exacerbating their vulnerability to sexual servitude, forced labor, or debt bondage. Thailand established specialized anti-human trafficking divisions within the Bangkok Criminal Court and the Office of the Attorney General. These institutions began to review cases and we look forward to observing the results of these specialized bodies, as they continue to acquire additional resources and expertise. Among sex trafficking cases, efforts to investigate child cases and the creation of the Thai Internet Crimes Against Children (TICAC) Task Force led to arrests of both foreign and Thai traffickers. We will continue to urge the Thai government to make tangible progress in line with recommendations outlined in the 2016 TIP Report. The U.S. government is committed to working closely with the government and the people of Thailand to address this significant challenge. The 2016 Trafficking in Persons Report is available online here: http://www.state.gov/j/tip/rls/tiprpt/index.htm By U.S. Embassy Bangkok | 30 June, 2016 | Topics: News, Press Releases, TTIP | Tags: TIP, Trafficking in Persons, Trafficking in Persons Report
Statement on 2016 Trafficking in Persons (TIP) Report
คำแถลงเรื่องรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2559
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-glyn-t-davies-visited-national-defense-college-ndc-th/
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน เอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์ เยือนวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของไทยในสาขายุทธศาสตร์และความมั่นคง โดยมีพลโท ไชยอนันต์ จันทคณานุรักษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตเดวีส์ได้บรรยายเกี่ยวกับนโยบายของสหรัฐอเมริกาต่อภูมิภาคเอเชียให้แก่นักศึกษาและคณาจารย์จำนวน 200 ท่าน เอกอัครราชทูตเดวีส์กล่าวย้ำว่าการปรับสมดุลสู่เอเชียของสหรัฐฯ ถือเป็น “แนวทางปกติแนวใหม่” ในนโนบายต่างประเทศของสหรัฐฯ โดยเน้นถึงการขยายขอบเขตความร่วมมือกับภูมิภาคนี้ทางด้านการค้า การพาณิชย์ ความมั่นคง และการแลกเปลี่ยนบุคลากรที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ในงานนี้ มีข้าราชการระดับสูงฝ่ายทหารและตำรวจ รวมทั้งฝ่ายพลเรือนจากกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ตลอดจนนักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเข้าร่วมรับฟังบรรยาย โดย U.S. Embassy Bangkok | 30 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
On June 30, Ambassador Glyn T. Davies visited the National Defense College (NDC), Thailand’s highest educational institution in the field of strategy and security studies. Ambassador Davies was welcomed by NDC Superintendent Lieutenant General Chaianan Jantakananuruk and addressed 200 students and faculty on United States policy in Asia. Stressing that the U.S. rebalance towards Asia has become the “new normal” of U.S. foreign policy, Ambassador Davies highlighted the expanding breadth of U.S. cooperation with the region on trade, commerce, security, and people-to-people exchanges that promote shared prosperity. The event was also attended by senior officers from the military, police, government ministries, and international students enrolled in the college. By U.S. Embassy Bangkok | 30 June, 2016 | Topics: Ambassador, Events, News, U.S. & Thailand | Tags: National Defense College
Ambassador Glyn T. Davies visited the National Defense College (NDC)
เอกอัครราชทูตเดวีส์ เยือนวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
https://th.usembassy.gov/th/love-chiang-mai-university-th/
รักษาการกงสุลใหญ่ฯ คุณเฮนรี วี.จาร์ดีน และอาจารย์กัญญา หิรัณย์วัฒนพงศ์ ผู้ช่วยคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับกับ มูลนิธิ Mplus และ ชาว LGBTIQ (Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender, Intersex and Queer) เปิดงาน “รักนี้เท่าเทียม” ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่, มูลนิธิ Mplus หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เพื่อร่วมฉลองเดือนแห่งความภาคภูมิใจ พร้อมทั้งมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ เช่น การแสดงละครเวที“Love for all” การเสวนาในหัวข้อการจดทะเบียนสมรสของเพศเดียวกัน โดยมีคุณเดวิด วิทเทด รองโฆษกและผู้จัดการด้านข่าวสารและวัฒนธรรมจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเข้าร่วมเสวนาโดยบอกเล่าประสบการณ์ที่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามี นอกจากนี้ยังมีการฉายภาพยนตร์เรื่อง “Gayby Baby” สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะให้การสนับสนุน ความเสมอภาคท่ามกลางความหลากหลายนี้ และมีความเชื่อมั่นในความเท่าเทียมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน ไม่ว่ารสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ขอขอบพระคุณทุกหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน และขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงาน โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 28 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: กงสุลใหญ่, เชียงใหม่, เหตุการณ์
Acting Consul General Henry V. Jardine and Chiang Mai University’s Associate Dean, Faculty of Law Ms.Kanya Hirunwattanapong joined Mplus Foundation and Chiang Mai’s LGBTIQ community to give a speech at “Love for All” event at the Chiang Mai University Art Center. The event is sponsored and organized by the U.S. Consulate General Chiang Mai, Mplus, Chiang Mai Art University Center and the U.S. Embassy Bangkok to celebrate #‎PrideMonth, featured a theatrical play “Love for All”, followed by a panel discussion about same-sex marriage where Mr. David Whitted, Deputy Spokesperson/ Assistant Information Officer from U.S. Embassy Bangkok shared his experience having civil partnership. Last, the event featured film screening “Gayby Baby”. The U.S. Consulate in Chiang Mai proudly supports equality in diversity and believes in the equality & dignity of all persons, regardless of the sexual orientation or gender identity. By U.S. Consulate Chiang Mai | 28 June, 2016 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Events
“Love for All” Event at the Chiang Mai University Art Center
งาน “รักนี้เท่าเทียม” ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-june-th/
2 มิถุนายน 1865 วันสิ้นสุดสงครามกลางเมืองอเมริกัน นายพล Edmund Kirby Smith แห่งฝ่ายสมาพันธรัฐ ลงนามในข้อตกลงยอมแพ้ ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามที่กินเวลากว่าสี่ปี 3 มิถุนายน 1800 จอห์น แอดัมส์ ประธานาธิบดีคนที่สองของสหรัฐอเมริกา เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้พำนักในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี เมืองหลวงใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งสร้างขึ้นแทนนครฟิลาเดลเฟีย ประธานาธิบดีแอดัมส์พำนักอยู่ที่โรงแรม Tunnicliffe’s City Hotel เป็นการชั่วคราวก่อนย้ายเข้าทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 4 มิถุนายน 1919 สภาคองเกรสเห็นชอบผ่านบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา มาตรา 19 ซึ่งระบุให้สตรีมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 5 มิถุนายน 1968 วุฒิสมาชิกโรเบิร์ต เคนเนดี น้องชายของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ถูกลอบสังหารที่นครลอสแอนเจลิสโดยนักเคลื่อนไหวชาวปาเลสไตน์ไม่นานหลังได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งขั้นต้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 2004 โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีคนที่ 40 ของสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรมหลังต่อสู้กับโรคอัลไซเมอร์มาเป็นเวลานาน 6 มิถุนายน 1833 ประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็คสัน เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้โดยสารรถจักร ซึ่งสมัยนั้นเรียกกันว่า “Iron Horse” (“ม้าเหล็ก”) 11 มิถุนายน 1776 สภาภาคพื้นทวีปเริ่มร่างคำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐอเมริกา โดยตั้งคณะกรรมาธิการ 5 คน ประกอบด้วย โทมัส เจฟเฟอร์สัน, เบนจามิน แฟรงกลิน, จอห์น แอดัมส์, โรเบิร์ต อาร์. ลีฟวิงสตัน และโรเจอร์ เชอร์แมน เพื่อดำเนินการร่างเอกสารฉบับนี้ 14 มิถุนายน 1777 สภาภาคพื้นทวีปมีมตินำธง “Stars and Stripes” มาใช้เป็นธงชาติ ข้อมติระบุว่า “ธงชาติสหรัฐอเมริกามีแถบสีแดงและสีขาวสลับกันรวม 13 เส้น” และ “สหภาพคือดาวสีขาว 13 ดวงบนพื้นหลังสีน้ำเงิน อันหมายถึงกลุ่มดาวใหม่” วันที่ 14 มิถุนายน จึงเป็นวันธงชาติ (Flag Day) ในสหรัฐอเมริกา 15 มิถุนายน 1775 จอร์จ วอชิงตัน ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพของกองทัพภาคพื้นทวีป ก่อนก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา 17 มิถุนายน 1885 อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพขนส่งถึงนครนิวยอร์ก ประติมากรรมทองแดงและเหล็กชิ้นนี้เป็นของขวัญจากฝรั่งเศสเนื่องในโอกาสครบ 100 ปีแห่งสัมพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับฝรั่งเศส 19 มิถุนายน 1856 การประชุมใหญ่ครั้งแรกของพรรครีพับลิกันสิ้นสุดลง John Charles Fremont ได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 20 มิถุนายน 1782 สภาคองเกรสมีมติอย่างเป็นทางการให้ใช้ตราประทับของสหรัฐอเมริกา ตราประทับที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้มีรูปนกอินทรีหัวขาว ในกรงเล็บมีช่อมะกอกและลูกธนูอันเป็นสัญลักษณ์แทนอำนาจของรัฐสภาในการสร้างสันติภาพ (ช่อมะกอก) และก่อสงคราม (ลูกธนู) 21 มิถุนายน 1788 รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกามีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ในวันนี้ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ได้ให้สัตยาบันแก่รัฐธรรมนูญเป็นรัฐที่เก้า ทำให้มีรัฐที่ให้สัตยาบันครบตามจำนวนที่กำหนดสำหรับประกาศใช้กฎหมายหลักของแผ่นดิน 22 มิถุนายน 1970 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ลงนามในมาตรการปรับลดอายุขั้นต่ำของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็น 18 ปี 28 มิถุนายน 1836 เจมส์ เมดิสัน ประธานาธิบดีคนที่ 4 ของสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรมที่บ้านพักในรัฐเวอร์จิเนีย ท่านเคยเป็นสมาชิกคณะร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา โดย U.S. Embassy Bangkok | 27 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
June 2 1865 Today marks the end of the American Civil War. Confederate General Edmund Kirby Smith signed the surrender terms, ending the four years of war. June 3 1800 Second President of the United States John Adams becomes the first president to live in Washington, DC. The city was created to replace Philadelphia as the United States’ capital. President Adams moved to a temporary residence at Tunnicliffe’s City Hotel before officially moving to the White House on November 1. June 4 1919 U.S. Congress officially passes the 19th Amendment to the U.S. Constitution, granting voting rights to women. June 5 1968 Senator Robert Kennedy, younger brother of President John F. Kennedy, is assassinated. He was shot in Los Angeles by a Palestinian activist right after the Senator’s win in California presidential primary. June 5 2004 Ronald Reagan, the United States’ 40th president, dies today after a long battle with Alzheimer’s. June 6 1833 President Andrew Jackson becomes the first president to take a locomotive, known as the “Iron Horse,” back in the day. June 11 1776 Continental Congress starts to draft the U.S. Declaration of Independence. The Congress elected Thomas Jefferson, Benjamin Franklin, John Adams, Robert R. Livingston, and Roger Sherman to draft the document. They were later known as the Committee of Five. June 14 1777 The Continental Congress adopts the “stars and stripes” as their flag. In the resolution, it stated that “the flag of the United States be thirteen alternate stripes red and white” and that “the Union be thirteen stars, white in a blue field, representing a new Constellation.” June 14 is known as Flag Day in the U.S. June 15 1775 George Washington is assigned to lead the Continental Army. He would later become the United States’ First President. June 17 1885 The Statue of Liberty arrives in New York City. The copper and iron statue was sent as a gift from France to commemorate a century of U.S.-France friendship. June 19 1856 First Republican national convention comes to its conclusion. John Charles Fremont was nominated for presidency. June 20 1782 U.S. Congress officially adopts the Great Seal of the United States. The seal, which is still in use today, shows a bald eagle clutching olive branch and arrows with its talons, which are the symbols of the Congress’ power to make peace (olive branch) and war (arrows). June 21 1788 The U.S. Constitution is officially ratified. On this day New Hampshire became the ninth and last state to necessary to ratify the Constitution making it the official law of the land. June22 1970 President Richard Nixon signs a measure lowering the voting age to 18 years. June 28 1836 The United States’ 4th president James Madison dies today in his home in Virginia. He was a drafter of the U.S. Constitution. By U.S. Embassy Bangkok | 3 June, 2016 | Topics: Elections
U.S. Presidential History: June
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: เดือนมิถุนายน
https://th.usembassy.gov/th/baker-torch-bt-16-2914-training-closing-ceremony-th/
เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา รักษาการกงสุลใหญ่ มร.เฮนรี วี. จาร์ดีน ได้เข้าร่วมพิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการใช้อาวุธปืน การปฐมพยาบาลและการปราบปรามยาเสพติดฯ (หลักสูตร Baker Torch BT 16-2914) ซึ่งจัดโดยสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 6-24 มิถุนายน 2559 ณ กองกำกับการ 5 กองบังคับการฝึกพิเศษ หลักสูตรนี้ได้เปิดอบรมแก่ข้าราชการในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจภูธรภาค 5 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 5 โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 24 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: กงสุลใหญ่, เชียงใหม่, เหตุการณ์
On Friday, June 24, Acting Consul General Henry V. Jardine attended the Baker Torch BT 16-2914 training closing ceremony organized by the Drug Enforcement Administration (DEA), Bangkok Office in conjunction with Royal Thai Border Patrol Police. A U.S. Special Forces team provided the training to various royal Thai government units: the Border Patrol Police, the Provincial Police Region 5, and the Office of the Narcotics Control Board. The training was from June 6 to 24 at the Sub-Division 5, Special Training Division of the Border Patrol Police and included intermediate and advanced marksmanship training, advanced first aid, and narcotics law enforcement skill set. By U.S. Consulate Chiang Mai | 24 June, 2016 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Events
Baker Torch BT 16-2914 Training Closing Ceremony
พิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตร Baker Torch BT 16-2914
https://th.usembassy.gov/th/kids-making-sense-workshop-chiang-mai-th/
ในวันที่ 24 มิถุนายน รักษาการกงสุลใหญ่ เฮนรี วี. จาร์ดีน ได้กล่าวเปิดงาน ‘Kids Making Sense’ ที่ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ โดยได้กล่าวขอบคุณพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์คุ้มครองสิ่งแวดล้อมไต้หวัน และหน่วยงาน U.S. Environmental Protection Agency ที่ได้ร่วมจัดกิจกรรมนี้และสนับสนุนให้เยาวชนใช้ข้อมูลที่ได้รับจากกิจกรรมทำความเข้าใจกับสถานการณ์เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือ กิจกรรมนี้จัดขึ้นตลอดทั้งวันโดยมีเยาวชนเข้าร่วมกว่า 30 คน เยาวชนเหล่านี้ได้เรียนรู้เรื่องคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ได้เรียนรู้การหาดัชนีวัดคุณภาพอากาศและฝึกวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 24 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: กงสุล, กงสุลใหญ่, เชียงใหม่, เหตุการณ์
Acting Consul General, Henry V. Jardine, was invited to speak at the Opening Ceremonies of a “Kids Making Sense” workshop at the Doi Suthep Nature Study Center on June 24. He thanked the National Science Museum, Chiang Mai University, the Taiwan Environmental Protection Administration, and our U.S. Environmental Protection Agency for collaborating on this great program and encouraged the students to look for ways to use the information they learn in the workshop to better understand and tackle the air pollution challenge in northern Thailand. More than 30 students participated in the full-day workshop, where they learned about particulate matter (PM) and air quality, learned how to measure PM pollution, and practiced analyzing the data they collect. By U.S. Consulate Chiang Mai | 24 June, 2016 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Environment, Events
“Kids Making Sense” Workshop at Doi Suthep Nature Study Center
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “Kids Making Sense” ที่ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ
https://th.usembassy.gov/th/lgbti-pride-reception-2016-th/
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์ เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงรับรองประจำปี #‎LGBTI Pride ณ บ้านพักเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา โดยมีแขกผู้มีเกียรติร่วมงานเกือบ 700 คน ประกอบด้วยนักเคลื่อนไหว LGBTI ทูตานุทูตต่างประเทศ ผู้แทนจากภาครัฐและประชาสังคม บุคคลผู้มีชื่อเสียงในสังคม และกลุ่ม LGBTI ในกรุงเทพฯ ซึ่งต่างมาแสดงการสนับสนุนความเสมอภาค ความหลากหลายทางเพศ และการยอมรับบุคคล LGBTI เอกอัครราชทูตเดวีส์กล่าวสุนทรพจน์ย้ำพันธสัญญาของประธานาธิบดีโอบามาในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก และได้ขอบคุณประเทศไทยที่ส่งสารแสดงความเสียใจไปยังสหรัฐอเมริกาหลังเกิดโศกนาฏกรรมที่เมืองออร์แลนโด ในงานนี้ แขกผู้มีเกียรติได้ชมการแสดงพิเศษของคุณปันปัน นาคประเสริฐ หรือที่รู้จักกันในนาม ปันจีน่า ฮีลส์ (Pangina Heals) ศิลปิน drag queen คนดังของไทย โดย U.S. Embassy Bangkok | 21 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
On June 21, Ambassador Glyn Davies hosted U.S. Embassy Bangkok’s annual #LGBTI Pride reception at his residence. With almost 700 guests, the event brought together LGBTI activists, foreign dignitaries, representatives from the Thai government and civil society, celebrities, and Bangkok’s LGBTI community, all of whom came to show support for equality, diversity, and acceptance of the LGBTI community. During his speech, Ambassador Davies reiterated President Obama’s commitment to promoting human rights for LGBTI persons around the world, and also thanked Thailand for sending heartfelt messages to the United States following the Orlando attacks. Guests were also treated with a special performance by Thailand’s most famous drag artist, Pangina Heals. By U.S. Embassy Bangkok | 21 June, 2016 | Topics: Ambassador, Events
LGBTI Pride Reception 2016
งานเลี้ยงรับรองประจำปี ‎LGBTI Pride 2016
https://th.usembassy.gov/th/kids-making-sense-workshop-bangkok-th/
เมื่อวันที่ 21-22 มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงานคุ้มครองสภาพแวดล้อมสหรัฐอเมริการ่วมกับสำนักงานคุ้มครองสภาพแวดล้อมแห่งไต้หวันและองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติของไทยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเฝ้าสังเกตมลภาวะทางอากาศให้แก่นักเรียนไทยภายใต้ชื่อ “Kids Making Sense” ผู้นำการอบรมคือนักเรียนมัธยมชาวอเมริกันกับไต้หวันได้สอนนักเรียนไทยถึงวิธีการใช้อุปกรณ์เซนเซอร์มือถือ การแปลผลและแบ่งปันข้อมูลผ่านแอพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ และการระบุแหล่งกำเนิดของมลภาวะทางอากาศ อีกทั้ง ยังส่งเสริมศักยภาพนักเรียนเพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมที่ดีในชุมชนของนักเรียนเอง การอบรม “Kids Making Sense” ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จัดนอกประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไต้หวัน โดย U.S. Embassy Bangkok | 21 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์
On June 21-22, the U.S. Environmental Protection Agency partnered with Taiwan’s Environmental Protection Administration and Thailand’s National Science Museum to organize an air-pollution-monitoring workshop for Thai students. The “Kids Making Sense” workshop was led by both American and Taiwanese high-schoolers who instructed the Thai students how to use handheld sensors, interpret and share data via a mobile app, identify local sources of air pollution, and empowered them to drive positive environmental change in their communities. This is the first time the “Kids Making Sense” workshop has been organized outside of the United States or Taiwan. By U.S. Embassy Bangkok | 21 June, 2016 | Topics: Environment, Events
“Kids Making Sense” Workshop in Bangkok
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “Kids Making Sense”
https://th.usembassy.gov/th/iftar-dinner-2016-th/
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน เอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์ เป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำ “อิฟตาร์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ชุมชนชาวไทยมุสลิมและมิตรสหายทุกศาสนาและความเชื่อ ทั้งนี้ อิฟตาร์เป็นส่วนสำคัญของประเพณีปฏิบัติทางศาสนาอิสลามในช่วงเดือนรอมฎอนอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ได้รับเชิญร่วมมื้ออาหารได้แก่ ผู้นำทางศาสนา นักวิชาการ สมาชิกประชาสังคม นักเรียนนักศึกษาและนักการทูต โดย U.S. Mission Thailand | 16 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต | Tags: ชาวไทยมุสลิม, รอมฎอน, อิฟตาร์
On June 16, Ambassador Glyn T. Davies hosted an Iftar dinner to honor the Thai Muslim community and friends of all faiths. Iftars are an important part of religious observances during the holy month of Ramadan. The guests included religious leaders, academics, civil society members, students, and foreign diplomats. By U.S. Embassy Bangkok | 16 June, 2016 | Topics: Ambassador, Events | Tags: iftar, Ramadan, Thai Muslim
Iftar Dinner 2016
งานเลี้ยงอาหารค่ำ “อิฟตาร์” ปี 2559
https://th.usembassy.gov/th/lmi-pcsl-conference-2016-th/
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน รักษาการอัครราชทูตที่ปรึกษาแลรี่ ดิงเกอร์ ให้การต้อนรับอาจารย์สอนภาษาอังกฤษจากพม่า กัมพูชา ลาว ไทยและเวียดนาม ที่เดินทางมากรุงเทพมหานครเพื่อร่วมงาน Community of Practiceในภูมิภาค โดยงานดังกล่าวเป็นการย้ำถึงพันธกรณีของสหรัฐฯ ในการส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาและความร่วมมือระหว่างประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง อาจารย์สอนภาษาอังกฤษเหล่านี้ได้รับเลือกร่วมโครงการ Lower Mekong Initiative (LMI) Professional Communication Skills for Leaders (PCSL) Community of Practice ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและกระทรวงศึกษาธิการของไทย เพื่อเสริมสร้างทักษะการสอน ให้การอบรมด้านหลักสูตรพัฒนาทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และเรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งความรู้เพื่อการการสอนภาษาอังกฤษอื่นๆ ในภูมิภาค โดย U.S. Embassy Bangkok | 15 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: การศึกษา, การเรียนภาษาอังกฤษ, เหตุการณ์
Acting Deputy Chief of Mission Ambassador Larry M. Dinger welcomed 30 English professors from Burma, Cambodia, Lao PDR, Thailand, and Vietnam to Bangkok June 15 for a regional Community of Practice event, underscoring the U.S. government commitment to improving education and strengthening cooperation among countries in the Lower Mekong region. These teachers were selected for the Lower Mekong Initiative (LMI) Professional Communication Skills for Leaders (PCSL) Community of Practice, which is sponsored by the U.S. Embassy and the Thailand Ministry of Education. They will enhance their teaching skills, get training in the PCSL curriculum, and learn about additional professional development resources in the region. By U.S. Embassy Bangkok | 15 June, 2016 | Topics: Education, English Language Learning, Events | Tags: LMI, Lower Mekong Initiative, PCSL, Professional Communication Skills for Leaders
The Lower Mekong Initiative (LMI) Community of Practice Conference 2016
โครงการ Lower Mekong Initiative (LMI) Community of Practice Conference ประจำปี 2559
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-glyn-t-davies-expresses-appreciation-messages-condolences-th/
ในนามของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พลเมืองอเมริกันในประเทศไทย ตลอดจนรัฐบาลและประชาชนชาวอเมริกัน ข้าพเจ้าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยและทรงเป็นกำลังใจ กรณีเหตุโจมตีที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา เมื่อไม่นานนี้ พร้อมกันนี้ ขอแสดงความขอบคุณจากใจถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีสารแสดงความเสียใจพร้อมทั้งให้กำลังใจต่อกรณีดังกล่าวด้วย ข้าพเจ้าขอขอบคุณประชาชนไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะชาวชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่แสดงน้ำใจร่วมไว้อาลัยและส่งกำลังใจมาในโอกาสนี้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 15 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: ข่าว, สุนทรพจน์, เอกสารข่าว, เอกอัครราชทูต
On behalf of the United States Embassy in Bangkok, U.S. citizens resident in Thailand, and of the American Government and people, I extend heartfelt gratitude to Their Majesties King Bhumibol Adulyadej and Queen Sirikit for their kind message of condolence and support regarding the recent senseless attack in Orlando, Florida. I also wish to sincerely thank Prime Minister General Prayut Chan-o-cha and Foreign Minister Don Pramudwinai for their public messages of condolence and support. To the many people of the Kingdom of Thailand, especially members of the LGBTI community, who have sent us thoughtful messages of sympathy and support, I also extend our deep gratitude. By U.S. Embassy Bangkok | 15 June, 2016 | Topics: Ambassador, News, Press Releases, Speeches
Ambassador Glyn T. Davies Expresses Appreciation for Messages of Condolences
เอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์ แสดงความซาบซึ้งต่อพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย และขอบคุณสำหรับสารแสดงความเสียใจ
https://th.usembassy.gov/th/statement-secretary-kerry-70th-anniversary-accession-throne-majesty-king-bhumibol-adulyadej-th/
ข้าพระพุทธเจ้า ประธานาธิบดีโอบามาและประชาชนชาวอเมริกัน ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในวาระแห่งการครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี ในโอกาสมหามงคลนี้ สหรัฐอเมริกาขอร่วมกับปวงชนชาวไทยเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณของพระองค์ด้วยความเลื่อมใสในการทรงงานอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อพัฒนาสุขภาวะของราษฎรและสร้างความเจริญรุ่งเรืองทั่วราชอาณาจักรไทย สหรัฐอเมริกาและไทยธำรงมิตรไมตรีต่อกันมายาวนานกว่า 183 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเราทั้งสองให้เข้มแข็งแน่นแฟ้นตลอดระยะเวลาเจ็ดทศวรรษแห่งการครองราชย์ สหรัฐอเมริกามีความประสงค์ที่จะร่วมดำเนินงานกับไทยสืบต่อไปเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในทั้งสองประเทศ ตลอดจนภูมิภาคนี้และโลก ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอส่งความปรารถนาดีมายังประชาชนชาวไทยในวันประวัติศาสตร์นี้ โดย U.S. Mission Thailand | 8 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: ข่าว, รัฐมนตรี จอห์น แคร์รี, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | Tags: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
I join President Obama and the American people in extending His Majesty King Bhumibol Adulyadej warm congratulations on the 70th anniversary of his accession to the throne. As the Thai people celebrate His Majesty’s many achievements, we also express our deep admiration for his tireless work to advance health and prosperity throughout the Kingdom of Thailand. The United States and Thailand have been friends for more than 183 years, and His Majesty has been instrumental in strengthening the close partnership between our two nations during his seven decades on the throne. We look forward to continuing our work with Thailand to improve the livelihoods of people in both our countries, the region, and beyond. On this historic day, I send our best wishes to King Bhumibol and the people of Thailand for a joyous celebration. By U.S. Mission Thailand | 8 June, 2016 | Topics: Former U.S. Government Leaders, News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: His Majesty King Bhumibol Adulyadej, John Kerry, Statement
Statement by Secretary Kerry on 70th Anniversary of Accession to the Throne of His Majesty King Bhumibol Adulyadej
สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น แคร์รี เนื่องในวาระการครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
https://th.usembassy.gov/th/statement-president-70th-anniversary-accession-throne-majesty-bhumibol-adulyadej-th/
President Barack Obama meet with King Bhumibol Adulyadej of the Kingdom of Thailand, at Siriraj Hospital in Bangkok, Thailand, Nov. 18, 2012. (Official White House Photo by Pete Souza) ในนามของประชาชนชาวอเมริกัน ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และขอแสดงความยินดีกับประชาชนแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี ในวาระประวัติศาสตร์นี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอยกย่องพระอัจฉริยภาพแห่งความเป็นผู้นำประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงพระราชกรณียกิจนานัปการของพระองค์ซึ่งได้ส่งเสริมสายสัมพันธ์อันยืนยงระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ดังเช่นที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ประจักษ์ด้วยตนเองเมื่อครั้งเดินทางเยือนกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2555 บทบาทผู้นำประเทศของพระองค์ช่วยเกื้อหนุนทั้งสองประเทศในการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พระองค์ทรงเป็นพลังโน้มนำความเข้มแข็งและแรงบันดาลใจมาสู่ปวงชนของทั้งสองประเทศตลอดเจ็ดทศวรรษที่ผ่านมา ในฐานะพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงครองราชย์อยู่พระองค์เดียวในโลกที่เสด็จพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีสายใยเชื่อมโยงอย่างพิเศษกับประชาชนอเมริกัน จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดชในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ อันเป็นเมืองพระราชสมภพ คือเครื่องยืนยันถึงสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างประเทศทั้งสอง สหรัฐอเมริกามุ่งหวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนอเมริกันกับประชาชนไทยให้ยิ่งเข้มแข็งขึ้นสืบไป เพื่อเพิ่มพูนความรุ่งเรืองของทั้งสองประเทศ ตลอดจนตอบสนองต่อความท้าทายระดับภูมิภาคและโลกร่วมกัน โดย U.S. Mission Thailand | 8 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: ข่าว, ประธานาธิบดี บารัก โอบามา, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | Tags: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, สารจากประธานาธิบดี
President Barack Obama meet with King Bhumibol Adulyadej of the Kingdom of Thailand, at Siriraj Hospital in Bangkok, Thailand, Nov. 18, 2012. (Official White House Photo by Pete Souza) On behalf of the American people, I send my heartfelt congratulations to His Majesty King Bhumibol Adulyadej and the people of the Kingdom of Thailand as they celebrate the 70th anniversary of the King’s accession to the throne. On this historic occasion, I want to express my admiration for His Majesty’s leadership and his many contributions to deepening the enduring bonds between our peoples. As I saw firsthand during my visit to Bangkok in 2012, His Majesty’s leadership has helped our two countries promote peace and prosperity throughout the Asia-Pacific region. His Majesty has served as a source of strength and inspiration for many in our two countries over the past seven decades. As the only reigning monarch born in the United States, His Majesty shares a special connection with the American people. King Bhumibol Adulyadej Square in Cambridge, Massachusetts, his birthplace, serves as a testament to the close ties between our two countries. We look forward to continuing to strengthen the relationship between the people of the U.S. and Thailand in order to further increase mutual prosperity and address regional and global challenges together. By U.S. Mission Thailand | 8 June, 2016 | Topics: Former U.S. Government Leaders, News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: Barack Obama, His Majesty King Bhumibol Adulyadej, Statement
Statement by the President on the 70th Anniversary of Accession to the Throne of His Majesty Bhumibol Adulyadej
สารจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา เนื่องในวาระการครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
https://th.usembassy.gov/th/anti-human-trafficking-workshop-2016-th/
กลุ่มเยาวชน YSEALI-Combating Against Human Trafficking จากไทย และ Project Liber8 จากมาเลเซีย ร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย (World Vision) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง Anti-Human Trafficking 2016 ให้กับผู้นำเยาวชนไทยและมาเลเซีย 34 คน ที่โรงแรม Al Meroz กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 7-10 มิถุนายน 2559 โดยกิจกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ในภูมิภาค และส่งเสริมบทบาทของเยาวชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่สำคัญนี้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: ศิษย์เก่า, เหตุการณ์ | Tags: ปัญหาการค้ามนุษย์
Thailand YSEALI-Combating Against Human Trafficking Group, Project Liber8 youth group from Malaysia, and World Vision Foundation of Thailand co-organize Anti-Human Trafficking Workshop 2016 for 34 youth leaders from Thailand and Malaysia at Al Meroz Hotel in Bangkok on June 7-10, 2016. The project aims to equip participants with the knowledge to disseminate information about human trafficking awareness and prevention; at the same time, promote the important role that young people can play as stakeholders in the fight against human trafficking. By U.S. Embassy Bangkok | 7 June, 2016 | Topics: Alumni, Events | Tags: Human Trafficking, YSEALI
Anti-Human Trafficking Workshop 2016
การประชุมเชิงปฏิบัติการ Anti-Human Trafficking 2016
https://th.usembassy.gov/th/eco-capitals-forum-signing-ceremony-th/
Eco-Capitals Forum Signing Ceremony (State Dept.) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน เอกอัครราชทูตเดวีส์และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูต 13 ประเทศ สหภาพยุโรป และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Program) ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อเริ่มดำเนินงานโครงการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นนครเชิงนิเวศ ณ สวนลุมพินี ตามโครงการ Bangkok Chapter of the Eco-Capitals Forum ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร สถานเอกอัครราชทูต และองค์การระหว่างประเทศ เพื่อเดินหน้าส่งเสริมโครงการ แนวนโยบายและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานคร นางสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีลงนามครั้งนี้ เอกอัครราชทูตเดวีส์ร่วมกล่าวในพิธี โดยได้เน้นถึงจิตวิญญาณแห่งความร่วมมือผ่านการดำเนินโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความสำคัญของการประสานความสัมพันธ์ทางการทูตเข้ากับการเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อปรับปรุงเมืองทั่วโลกให้สะอาดเรียบร้อยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น โครงการ Eco-Capitals Forum จะสนับสนุนกรุงเทพมหานครสู่เป้าหมายหลักอันได้แก่ การจัดการขยะมูลฝอย การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์พลังงาน และกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดย U.S. Embassy Bangkok | 6 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต | Tags: กรุงเทพมหานคร, สิ่งแวดล้อม, โครงการ Eco-Capitals Forum
Eco-Capitals Forum Signing Ceremony (State Dept.) On June 6, Ambassador Davies joined Bangkok Governor M. R. Sukhumbhand Paribatra, and representatives from 13 foreign embassies, the European Union, and the United Nations Environment Programme for a signing ceremony of the “Environment Performance and Sustainability Pledge” in Lumpini Park. This ceremony establishes the Bangkok Chapter of the Eco-Capitals Forum, a partnership between the Bangkok Metropolitan Administration (BMA), diplomatic missions, and international institutions, to pursue and promote programs, policies, and projects aimed at improving environmental quality in Bangkok. BMA Department of Environment Director Suwanna Jungrungrueng presided over the ceremony, and Ambassador Davies presented remarks, highlighting the spirit of cooperation by working together on environmental initiatives, and the importance of bringing the diplomatic community into the global movement to make cities cleaner and greener. The Eco-Capitals Forum will help BMA to advance their key goals: Solid Waste Management, Increase Green Spaces, Energy Conservation, and Environmental Awareness Activities. By U.S. Embassy Bangkok | 6 June, 2016 | Topics: Ambassador, Environment, Events | Tags: Bangkok Metropolitan Administration, Eco-Capitals Forum, Lumpini Park
Eco-Capitals Forum Signing Ceremony
โครงการ Eco-Capitals Forum
https://th.usembassy.gov/th/jr-nba-2016-kicked-off-june-4-th/
Jr. NBA 2016 Kicked Off on June 4, 2016 Jr. NBA โครงการพัฒนาเยาวชนนานาชาติที่มุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกีฬาบาสเกตบอลและวิถีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ กลับมาประเทศไทยอีกครั้งเป็นปีที่สามโดย โฟร์โมสต์ เป็นผู้สนับสนุนหลัก พิธีเปิดโครงการจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา และจะดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจนสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยเยาวชนชายหญิงอายุระหว่าง 5 ถึง 14 ปี ซึ่งจะได้รับการฝึกฝนพื้นฐานกีฬาบาสเกตบอล พร้อมเรียนรู้ค่านิยมหลักของ Jr. NBA ได้แก่ ความมีน้ำใจนักกีฬา (Sportsmanship) การทำงานเป็นทีม (Teamwork) การมีทัศนคติเชิงบวก (A positive Attitude) และการให้ความเคารพ (Respect) หรือ S.T.A.R. โดยผู้เล่นที่มีอายุระหว่าง 10 ถึง 14 ปีมีโอกาสได้รับคัดเลือกเข้าร่วมค่ายอบรมระดับประเทศกับนักกีฬา NBA นอกจากนี้ โครงการจะคัดเลือกเยาวชนชาย 10 คนและเยาวชนหญิง 5 คนเข้าร่วมทีม Jr. NBA Thailand All-Stars เพื่อเดินทางไปสัมผัสประสบการณ์กีฬาบาสเกตบอลในต่างประเทศ ทั้งยังมีโอกาสลงแข่งขันกับสมาชิกทีม Jr. NBA All-Stars จากประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงปลายปีนี้อีกด้วย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่ http://jrnba.asia/thailand/en/ โดย U.S. Embassy Bangkok | 4 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์ | Tags: โครงการ Jr. NBA
Jr. NBA 2016 Kicked Off on June 4, 2016 Jr. NBA, an international youth development program that promotes basketball participation and an active lifestyle among children, is returning to Thailand for the third consecutive year. Presented by Foremost, this year’s free event launched its opening ceremonies on June 4th and will run through July. Participants, both boys and girls between the ages of 5 and 14 years old, are trained in the fundamentals of basketball and learn the importance of the Jr. NBA core values of Sportsmanship, Teamwork, a positive Attitude, and Respect (S.T.A.R.). Players between the ages of 10 to 14 will be eligible for selection to participate in a National Training Camp that will be visited by a NBA star. The program culminates with the selection of 10 boys and 5 girls, who will be named as Jr. NBA Thailand All-Stars. These standout campers will be provided with a unique, overseas NBA Experience and the opportunity to play against fellow Jr. NBA All-Stars from around Southeast Asia later in the year. For more information, see http://jrnba.asia/thailand/en/ By U.S. Embassy Bangkok | 4 June, 2016 | Topics: Events | Tags: Jr. NBA, sports
Jr. NBA 2016 Kicked Off on June 4
พิธีเปิดโครงการ Jr. NBA 2016
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-davies-visits-suphanburi-th/
Ambassador Davies visits Suphanburi (State Dept.) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน เอกอัครราชทูตเดวีส์และภริยาพร้อมคณะเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาเดินทางเยือนจังหวัดสุพรรณบุรี เอกอัครราชทูตเดวีส์เข้าพบว่าที่ร้อยตรีสุพีร์พัฒน์ จองพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี โดยได้หารือประเด็นต่างๆ เช่น การศึกษา การท่องเที่ยวและเกษตรกรรม ก่อนเดินทางไปเยี่ยมชมวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร หนึ่งในวัดสำคัญของจังหวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ และเคารพศพนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่วัดแห่งนี้ จากนั้น เอกอัครราชทูตเดวีส์ได้พบปะพูดคุยกับนักเรียนและคณาจารย์ของโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาและการเรียนภาษาอังกฤษ และปิดท้ายการเดินทางเยือนครั้งนี้ด้วยการให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 มิถุนายน, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต | Tags: สุพรรณบุรี
Ambassador Davies visits Suphanburi (State Dept.) On June 1, Ambassador and Mrs. Davies and an Embassy team visited Suphanburi, a beautiful province located in the central plain region of Thailand known for its rich history and culture. The Ambassador met with Governor Supeepat Jongpanich to discuss a wide range of topics from education, tourism, and agriculture. He also visited Wat Pa lelai—one of the most important temples in the province—to learn about the magnificent Buddha image, Luang Pho To, and to pay respects to the late Prime Minister Banharn Silpa-Archa, whose remains are currently located at Wat Pa lelai for a 100-day chanting service. The Ambassador later spoke to students and faculty at the Kannasoot Suksalai High School about the importance of education and learning English and ended the day with an interview with Radio Thailand. By U.S. Embassy Bangkok | 1 June, 2016 | Topics: Ambassador, Events | Tags: Suphanburi
Ambassador Davies visited Suphanburi
เอกอัครราชทูตเดวีส์เยือนจังหวัดสุพรรณบุรี
https://th.usembassy.gov/th/presidential-election-conventions-th/
จาก ShareAmerica การประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคการเมืองสหรัฐฯ เป็นรายการแสดงที่มีสีสันมาก เริ่มจากตัวแทนหลายพันคน บวกกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต วิทยุและโทรทัศน์อีกกว่า 15,000 คน แล้วก็อย่าลืมคำปราศรัยต่างๆ ด้วยนะคะ นักกฎหมายจากรัฐอิลลินอยส์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักคนหนึ่งที่ชื่อ บารัค โอบามา ได้รับความสนใจจากคนทั้งประเทศเป็นครั้งแรกก็จากคำปราศรัยของเขาในการประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคเดโมแครตเมื่อปี พ.ศ. 2547 สำหรับชาวอเมริกันที่ชอบการเมือง การประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคการเมืองก็ไม่ต่างจากการแข่งขัน Super Bowl เพราะสนุกมาก มีคนแพ้ คนชนะ และยังดูทางโทรทัศน์ได้ด้วย ไม่ใช่แค่เพื่อความสนุก แม้ว่าการประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคการเมืองจะดูเหมือนการแสดงที่หรูหรา แต่การประชุมก็มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญมาก ในช่วงเวลาสี่วัน (18-21 กรกฎาคมสำหรับพรรครีพับลิกัน และ 25-28 กรกฎาคมสำหรับพรรคเดโมแครต) ที่ประชุมจะต้อง เลือกผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีในนามของพรรค ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนกระตือรือร้นเลือกสิ่งที่พรรคนำเสนอ เห็นชอบหลักการระบุจุดยืนของพรรคเกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญๆ ในช่วงเวลานั้นๆ เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นๆ ในพรรคได้ปรากฏตัวต่อประชาชนทั่วประเทศ ในการประชุมของพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรค ผู้ที่จะได้รับเสนอชื่อเป็นผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามของพรรคคือคนที่ได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของตัวแทน (ตัวแทนมักจะเห็นชอบกับการเลือกผู้สมัครเป็นรองประธานาธิบดีของผู้ที่ได้รับเสนอชื่อเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผู้สมัครเพียงคนเดียวเสมอที่ได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่จากตัวแทนอันเป็นผลจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรค (primary) และการประชุมพรรคเพื่อคัดเลือกตัวแทนหรือการประชุมคอคัส (caucus) ก่อนที่การประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคจะเริ่มต้นเสียอีก ซึ่งหมายความว่า ในการประชุมใหญ่ การเสนอชื่อเป็นผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจึงไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ดังนั้น การประชุมจึงเน้นวัตถุประสงค์อื่นๆ ของการประชุมแทน หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ ตัวแทนจะลงคะแนนเสียงใหม่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถเลือกผู้ชนะได้ เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้พบเห็นกันเลยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 แต่ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ถือเป็นเรื่องปกติมาก ในปี พ.ศ. 2567 พรรคเดโมแครตต้องมี 103 คะแนนเพื่อเสนอชื่อ John W. Davis เป็นผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี (Davis แพ้ไม่ได้รับเลือก) พรรคการเมืองระดับรัฐจะเป็นผู้กำหนดว่าตัวแทนจะออกเสียงอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไป ตัวแทนต้องเลือกผู้สมัครที่ตน “ให้คำมั่น” ว่าจะเลือกในการลงคะแนนเสียงครั้งแรก แต่หลังจากนั้น ตัวแทนสามารถเปลี่ยนไปเลือกคนอื่นได้ การลงคะแนนเสียงถือเป็นจุดเด่นของงาน รัฐต่างๆ จะอ่านรายชื่อตามลำดับตัวอักษร ตัวแทนหนึ่งคนจะรายงานจำนวนตัวแทนทั้งหมดของรัฐนั้นๆ หลายๆ คนถือโอกาสนี้ประชาสัมพันธ์เรื่องเด่นๆ ที่รัฐของตนมีส่วนร่วมในภาพรวมระดับประเทศให้แก่ประชาชนทั่วประเทศได้ทราบ ดังนั้น เราอาจจะได้ยินตัวแทนบางคนกล่าวในทำนองนี้ “ท่านประธานที่เคารพ ผม/ดิฉันมีความภูมิใจมากที่เป็นผู้นำตัวแทนจากรัฐแอละแบมา ขณะนี้ รัฐแอละแบมามีความก้าวหน้ามาก เราเป็นแชมป์ฟุตบอลสามปีซ้อน [มีเสียงโห่จากตัวแทนของรัฐอื่นๆ) เราเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการคมนาคม เรามีโรงงานผลิตมาตรฐานโลกสามแห่ง และเราเพิ่งประกาศเปิดโรงงานผลิตเครื่องยนต์เจ็ท…” เนื่องจากแต่ละพรรคประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างหลากหลาย ความสำเร็จของการประชุมใหญ่ระดับประเทศคือ การที่สามารถประสานผลประโยชน์ของทุกกลุ่มให้เป็นเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนต่อไป! โดย U.S. Embassy Bangkok | 26 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
From ShareAmerica U.S. political conventions are colorful spectacles. Start with several thousand delegates. Add 15,000 or more print, Internet, radio and television journalists. Don’t forget the speeches. A little-known Illinois legislator named Barack Obama first drew national attention through his 2004 Democratic National Convention address. And balloons. Lots of balloons. Republicans dropped 120,000 of them from the rafters at their 2012 Republican convention. For Americans who like politics, the major party conventions are like the Super Bowl; they’re really entertaining, someone wins, and you can watch them on TV. Not just fun Despite the pageantry, the political conventions serve very important purposes. In four days (July 18–21 for Republicans; July 25–28 for Democrats) each convention will: Select the party’s candidates for president and vice president. Help build enthusiasm for that ticket. Approve a platform stating the party’s positions on the issues of the day. Give other party figures an opportunity to appear before a national audience. In both major parties, a simple majority of delegates chooses the presidential nominee. (Delegates routinely approve their presidential candidate’s choice for vice president.) In recent years, one candidate, through caucuses and primary elections, has always won a majority of delegates before the convention even starts. That means there’s little suspense over the presidential nominee, and the focus shifts to the convention’s other objectives. If no candidate captures a majority, the delegates vote again … and again, until a winner is selected. This scenario has not occurred since 1952, but was common earlier in the 20th century. In 1924, Democrats needed 103 ballots to nominate John W. Davis for president. (He lost.) While state party rules govern how delegates vote, generally they must vote on the first ballot for the candidate they are “pledged” to and may change their support after that. The vote itself is a highlight. The states report their tallies in alphabetical order. One delegate reports the totals for that state. Many use the occasion to offer the nation a colorful description of their state’s distinctive contributions to the national fabric. Thus: “Madam Secretary, I’m proud to lead the Alabama delegation. Alabama is on the move! Three national football championships in the last three years. [Some booing from other state delegations.] A leader in transportation technology. Three world-class manufacturing plants and a new jet plant just announced…” Because each party represents a diverse coalition of interests, a successful convention is one that unites those interests around a common goal: electing the next president! By U.S. Embassy Bangkok | 26 May, 2016 | Topics: Elections
Conventions: Thousands of delegates. Even more balloons.
การประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรคการเมือง
https://th.usembassy.gov/th/videos-america-elects-th/
วิดิโอนำเสนอและอธิบายกระบวนการการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดย Voice of America ภาคภาษาไทย. อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร? ตอนที่ 1 ก้าวแรกของการสมัครประธานาธิบดี [English version] อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร? ตอนที่ 2 ระดมทุนหาเสียง [English version] อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร? ตอนที่ 3 ผลสำรวจประชามติและการโต้อภิปราย [English version] อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร? ตอนที่ 4 เลือกตั้งขั้นต้น คอคัสและไพร์มแมรี [English version] โดย Online Media Specialist | 26 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
A video series about the U.S. Presidential Elections process by Voice of America. How America Elects: Becoming a Candidate [English version] How America Elects: Campaign Finance [English version] How America Elects: Polls and Debates [English version] How America Elects: Caucuses and Primaries [English version] By U.S. Embassy Bangkok | 19 May, 2016 | Topics: Elections
VIDEOS: How America Elects
อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร? โดยวีโอเอไทย
https://th.usembassy.gov/th/az-us-elections-th/
Collage of alphabet Here are some selected glossary and facts about the U.S. Presidential Elections, in alphabetical order: A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z A การลงคะแนนเสียงโดยไม่ต้องไปที่หน่วยเลือกตั้ง (absentee voting) เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่สามารถเดินทางไปสถานที่เลือกตั้งสามารถลงคะแนนเสียงได้ สถานการณ์ต่างๆ อาจขัดขวางผู้มีสิทธิเลือกตั้งจนไม่อาจไปสถานที่เลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้ เช่น อาศัยอยู่ต่างประเทศ เจ็บป่วย เดินทาง หรือรับราชการทหาร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนไว้แล้วจะได้รับอนุญาตให้ลงคะแนนเสียงโดยส่งบัตรเลือกตั้งของผู้ไม่สามารถไป ณ ที่เลือกตั้ง (absentee ballot) ผ่านทางไปรษณีย์ รัฐบัญญัติ Uniformed and Overseas Citizens Absentee Voting Act กำกับควบคุมการลงคะแนนเสียงโดยไม่ต้องไปที่หน่วยเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดี ส่วนหลักเกณฑ์การลงคะแนนเสียงโดยไม่ต้องไปที่หน่วยเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งอื่นๆ นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐกำหนด รัฐโอเรกอนดำเนินการเลือกตั้งทั้งหมดทางไปรษณีย์ แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอาจเลือกลงคะแนนเสียงด้วยตนเองที่หน่วยเลือกตั้งของเคาน์ตีก็ได้ B “รัฐสีน้ำเงิน” คือคำที่ใช้เรียกรัฐในสหรัฐอเมริกาที่ผู้ออกเสียงลงคะแนนส่วนใหญ่มักให้การสนับสนุนผู้เข้าแข่งขันและนโยบายของพรรคเดโมแครต C การประชุมใหญ่: ในปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี หลังจากการเลือกตั้งขั้นต้น (primary) และการประชุมแบบคอคัส (caucus) ของรัฐต่างๆ เสร็จสิ้นลง พรรคการเมืองจะจัดการประชุมเพื่อเลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยทั่วไป ผู้สมัครดังกล่าวคือผู้ที่ได้รับเสียงสนับสนุนมากที่สุดจากผู้แทนพรรคที่เข้าร่วมการประชุมใหญ่ โดยขึ้นอยู่กับชัยชนะจากการเลือกตั้งขั้นต้น ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีมักเลือกผู้ร่วมหาเสียงเป็นผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี หรืออาจเริ่มกระบวนการคัดเลือกผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีต่อผู้แทนพรรคที่เข้าร่วมการประชุมใหญ่ได้เลยโดยไม่เสนอชื่อผู้ใดก่อน D ลาเป็นสัญลักษณ์แทนพรรคเดโมแครต ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เป็นสมาชิกพรรคเดโมแครตคนแรกที่ถูกนำไปเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์รูปลานี้ อย่างไรก็ตาม ภาพที่เป็นที่จดจำมากที่สุดมาจากการ์ตูนของโทมัส แนสต์ ที่วาดภาพพรรคเดโมแครตเป็นรูปลาซึ่งเป็นสัตว์ที่มองกันว่าดื้อด้าน แต่พรรคเดโมแครตก็แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของพรรคโดยยอมรับรูปลาเป็นสัญลักษณ์ของพรรคอย่างไม่เป็นทางการ โดยมองว่า ลาและพรรคเดโมแครตมีคุณสมบัติที่ดีเหมือนกันหลายอย่าง เช่น ไม่ยอมจำนนง่ายๆ ทั้งยังนำภาพลารูปแบบต่างๆ มาใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ตลอดช่วงที่ผ่านมา E ช้างเป็นสัญลักษณ์ประจำพรรครีพับลิกัน นักวาดการ์ตูนการเมืองชื่อโทมัส แนสต์ ได้วาดภาพการ์ตูนสัตว์สองชนิดไว้ในนิตยสาร Harper’s Weekly ในปี พ.ศ. 2417 โดยภาพหนึ่งเป็นภาพช้างทำท่าบุกเพื่อหมายถึง “คะแนนเสียงสำหรับพรรครีพับลิกัน” พรรครีพับลิกันรีบอ้าแขนรับภาพนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพรรคทันทีและใช้ภาพนั้นอย่างกว้างขวาง หลายปีผ่านไป ลาและช้างได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับกันของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน F สหรัฐฯ มีระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐที่ซับซ้อน โดยมีรัฐบาลแห่งชาติสำคัญที่สุด แต่รัฐบาลระดับรัฐและระดับท้องถิ่นก็มีอำนาจในเรื่องที่ไม่ได้สงวนไว้สำหรับรัฐบาลกลาง รัฐบาลระดับรัฐและระดับท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในระดับที่แตกต่างกันไปในการจัดการเลือกตั้งในเขตความรับผิดชอบของตน แต่ก็จัดการเลือกตั้งบ่อยครั้ง ซึ่งมีความแน่นอนและราบรื่น G เมื่อการเลือกตั้งขั้นต้นหรือการประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองสิ้นสุดลง ก็จะมีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อตัดสินว่าใครจะได้รับการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่ง ในการเลือกตั้งทั่วไป ผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะตัดสินใจเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองที่อยู่บนบัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้งที่ใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปนี้อาจมีผู้สมัครอิสระ (ซึ่งไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด) ให้เลือกด้วย ผู้สมัครอิสระเหล่านี้จะมีชื่ออยู่บนบัตรเลือกตั้งได้ก็ต่อเมื่อได้ยื่นคำร้องพร้อมลายมือชื่อจากผู้สนับสนุนครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งขั้นต้น นอกจากนี้ บัตรเลือกตั้งของบางรัฐอาจมีช่องให้ใส่ชื่อผู้สมัครที่ไม่ได้มาจากการเสนอชื่อของพรรคการเมือง หรือไม่ได้ยื่นคำร้องพร้อมลายมือชื่อของผู้สนับสนุน ผู้สมัครประเภทนี้อาจเรียกว่า “ผู้สมัครที่เสนอชื่อตัวเอง” และเคยชนะการเลือกตั้งมาแล้วด้วย H การแข่งม้า (Horse race) – เป็นคำอุปมาหมายถึงการหาเสียงเลือกตั้ง คำว่า “การแข่งม้า”จะแสดงความรู้สึกตื่นเต้นของประชาชนในขณะที่ชมการแข่งขันกีฬา คำนี้ยังหมายถึงการเสนอข่าวเกี่ยวกับการหาเสียงซึ่งมักเน้นสถานะความนิยมของผู้สมัครแต่ละคนจากการหยั่งเสียงประชาชนราวกับว่าผู้สมัครเหล่านั้นเป็นม้าแข่ง แทนที่จะกล่าวถึงทัศนคติ ความคิดเห็นของผู้สมัครในเรื่องต่างๆ I ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้สนับสนุนต่างมีความรวดเร็วในการนำอินเทอร์เน็ตไปใช้เป็นเครื่องมือการหาเสียง และได้พิสูจน์แล้วว่าอินเทอร์เน็ตเป็นวิธีการระดมทุนจากผู้ที่คาดว่าจะให้ความสนับสนุนตลอดทั้งเป็นวิธีประชาสัมพันธ์นโยบายและประสบการณ์ของผู้สมัครที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง ในปัจจุบัน องค์กรรณรงค์หาเสียงต่างมีเว็บไซต์ส่วนตัว (blog) ผู้จัดการเว็บไซต์ส่วนตัวเหล่านี้คือ เจ้าหน้าที่รณรงค์หาเสียงที่ได้รับการว่าจ้างให้เขียนเกี่ยวกับคำปราศรัย สุนทรพจน์และกิจกรรมของผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ในขณะเดียวกัน ก็มี blog อิสระหลายพันเว็บไซต์ที่เขียนบทความสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนเองชอบและตอบโต้กับ blogger อื่นๆ J ประธานาธิบดี “จอห์น”:“จอห์น” เป็นชื่อที่มีที่มาจากพระคัมภีร์ไบเบิล มีความหมายว่า พระคุณหรือพระเมตตาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า “จอห์น” ยังเป็นชื่อต้นของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสี่ท่าน ได้แก่ จอห์น แอดัมส์ (ประธานาธิบดีคนที่ 2 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2340-2344) จอห์น ควินซี แอดัมส์ (ประธานาธิบดีคนที่ 6 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2368-2372) จอห์น เทเลอร์ (ประธานาธิบดีคนที่ 10 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2384-2388) และจอห์น ฟิตซ์เจอรัลด์ เคนเนดี (ประธานาธิบดีคนที่ 35 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2504-2506) K จอห์น เอฟ. เคนเนดี คือประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2504-2506) โดยเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับเลือกตั้งสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ท่านถูกลอบสังหารที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส หลังดำรงตำแหน่งได้เพียงหนึ่งพันกว่าวัน จึงนับเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุน้อยที่สุดอีกด้วย ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี เคยให้คำแนะนำอันเป็นที่เลื่องลือแก่ชาวอเมริกันว่า “จงถามว่าคุณทำอะไรให้ประเทศของคุณได้บ้าง” L ในสหรัฐฯ มีอุปกรณ์ลงคะแนนเลือกตั้งมากมายหลายหลาก และลักษณะของเทคโนโลยีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็เปลี่ยนไปตลอดเวลา ในอดีตบางเขตเลือกตั้งยังคงใช้เครื่อง “คันโยก” ซึ่งผู้ออกเสียงลงคะแนนจะโยกคันโยกเล็กๆ ที่อยู่ข้างชื่อผู้สมัครที่ตนชอบหรือประเด็นที่ตนสนับสนุน M การเลือกตั้งกึ่งเทอม (Midterm election) – หมายถึงการเลือกตั้งเพื่อชิงเก้าอี้ในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่ประธานาธิบดียังดำรงตำแหน่งอยู่ หรือ 2 ปีหลังจากที่ประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่งซึ่งมีวาระ 4 ปี บางครั้งจะมีการตีความผลของการเลือกตั้งดังกล่าวว่าเป็นการแสดงถึงทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผลงานของประธานาธิบดีในช่วง 2 ปีแรกที่ดำรงตำแหน่ง การเลือกตั้งกึ่งเทอมนี้เป็นการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกใหม่จำนวนหนึ่งและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ทั้งหมดรวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับรัฐและท้องถิ่นจำนวนมาก N การโฆษณาทางลบ (Negative ads) – หมายถึงการโฆษณาที่พยายามโน้มน้าวให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งด้วยวิธีการสร้างภาพลบให้ผู้สมัครคู่แข่ง อาจเป็นการโจมตีบุคลิกลักษณะของผู้สมัครรายนั้นหรือท่าทีที่ผ่านมาของผู้สมัครในเรื่องต่าง ๆ O นอกจากการเลือกตั้งระดับรัฐบาลกลาง ระดับรัฐและระดับท้องถิ่นซึ่งจัดขึ้นในปีที่เป็นเลขคู่แล้ว บางรัฐและท้องถิ่นบางแห่งก็จัดการเลือกตั้งในปีที่เป็นเลขคี่ด้วย มีหลายแห่งที่จัดการเลือกตั้งพิเศษ ซึ่งอาจจัดในช่วงเวลาใดก็ตาม เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อเลือกตั้งเจ้าหน้าที่เข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างลงอย่างไม่คาดหมาย เป็นต้น P การเลือกตั้งขั้นต้น (Primary election) – หมายถึงการเลือกตั้งที่จัดขึ้นเพื่อเลือกตัวแทนพรรคการเมืองแต่ละพรรคเพื่อเข้าชิงตำแหน่งทางการเมือง การเลือกตั้งขั้นต้นอาจจัดขึ้นในทุกระดับชั้นของรัฐบาล รวมทั้งการเลือกนายกเทศมนตรี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขต การเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐหรือการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกทั่วรัฐ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในการเลือกตั้งขั้นต้น “แบบปิด” นั้น สมาชิกพรรคที่จดทะเบียนเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง ส่วนในการเลือกตั้งขั้นต้น “แบบเปิด” ผู้ลงคะแนนเสียงที่จดทะเบียนกับพรรคหนึ่ง (หรือที่เรียกว่าผู้ลงคะแนนเสียง “ข้ามพรรค”) อาจลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งขั้นต้นของอีกพรรคหนึ่งได้ การเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อคัดเลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะจัดขึ้นในระดับรัฐเพื่อสรรหาผู้ที่ประชาชนในรัฐนั้นๆ เห็นว่าเหมาะสมที่จะเป็นผู้สมัครของพรรค ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงอาจลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ตนชื่นชอบโดยตรง หรืออาจลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกผู้แทนซึ่ง “สัญญา” ว่าจะให้การสนับสนุนผู้สมัครรายนั้นในที่ประชุมใหญ่ของพรรค ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่ากฎหมายของรัฐนั้น ๆ กำหนดไว้อย่างไร การเลือกตั้งขั้นต้นระดับรัฐนี้ ถ้าจัดแต่เนิ่นๆ ในฤดูการเลือกตั้ง อาจทำให้ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีคะแนนนำชะงักอยู่เพียงนั้น และทำให้ผู้สมัครที่คนรู้จักน้อยกว่ามีคะแนนนิยมพุ่งขึ้น กรุณาอย่าลืมว่าการเลือกตั้งขั้นต้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในระบบการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบคอคัส Q ตำแหน่งในรัฐบาลกลางที่มาจากการเลือกตั้งแต่ละตำแหน่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามที่กำหนดไว้ในมาตราที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ตัวอย่างเช่น ผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีต้องมีสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด มีอายุอย่างต่ำ 35 ปี และพำนักอยู่ในสหรัฐฯ อย่างน้อย 14 ปี ผู้สมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดีก็ต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน บทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 ยังระบุว่ารองประธานาธิบดีห้ามมาจากรัฐเดียวกับประธานาธิบดีด้วย สำหรับผู้สมัครตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นั้น ต้องมีอายุอย่างต่ำ 25 ปี มีสัญชาติอเมริกันมาแล้ว 7 ปี และเป็นผู้พำนักอย่างถูกต้องตามกฎหมายของรัฐที่ตนลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนผู้สมัครตำแหน่งวุฒิสมาชิก (ส.ว.) จะต้องมีอายุอย่างต่ำ 30 ปี มีสัญชาติอเมริกันมาแล้ว 9 ปี และเป็นผู้พำนักอย่างถูกต้องตามกฎหมายของรัฐที่ตนลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสำหรับตำแหน่งอื่นๆ ในระดับรัฐหรือระดับท้องถิ่นจะต้องมีคุณสมบัติตามที่รัฐหรือท้องถิ่นของตนกำหนดไว้ R รัฐสีแดง (Red state) หมายถึงรัฐในสหรัฐอเมริกาที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่มักสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งและแนวคิดต่างๆ ของพรรครีพับลิกัน S คำว่า “Super Tuesday” เริ่มใช้กันอย่างกว้างขวางในปี 2531 เมื่อกลุ่มรัฐทางใต้รวมตัวกัน จัดการประชุมขั้นต้นระดับภูมิภาคที่ใหญ่และมีประสิทธิผลมากเป็นครั้งแรกเพื่อเสริมความสำคัญของรัฐทางใต้ในกระบวนการเสนอชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีและลดผลกระทบของการลงคะแนนเสียงก่อนของการประชุมคอคัสในรัฐไอโอวาและการประชุมขั้นต้นในรัฐนิวแฮมเชียร์ ปัจจุบัน ความหมายของวลีนี้เริ่มคลุมเครือ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีหลายรัฐในหลายภูมิภาครวมกลุ่มจัดการประชุมขั้นต้นในวันอังคารเดียวกันหรือคนละวัน การรวมกลุ่มของรัฐเหล่านี้สำคัญมากเพราะน้ำหนักของคะแนนเสียงที่มากและพร้อมเพรียงกันมีโอกาสส่งเสริมหรือสร้างความผิดหวังให้แก่ผู้ที่หวังจะได้รับเสนอชื่อให้เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเพราะมีการเลือกตัวแทนไปเข้าร่วมการประชุมระดับประเทศของพรรคจำนวนมากในคราวเดียวกัน T พรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตได้ครอบครองการเมืองระบบเลือกตั้งมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1860 การที่มีพรรคการเมืองสองพรรคผลัดกันผูกขาดการเลือกตั้งของประเทศมาเป็นระยะเวลานานอย่างไม่มีที่ใดเทียบได้นี้ สะท้อนถึงโครงสร้างของระบบการเมืองอเมริกันและลักษณะพิเศษของพรรคการเมืองในประเทศนี้ U เกิดขึ้นเมื่อจำนวนตัวเลือกที่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกในการแข่งขันน้อยกว่าจำนวนสูงสุดที่อนุญาตให้เลือกได้ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ หรือเมื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงไม่เลือกเลยในกรณีที่การแข่งขันครั้งนั้นมีเพียงตัวเลือกเดียว V การลงคะแนนเสียง (Voting) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและหน้าที่รับผิดชอบของพลเมืองสหรัฐฯ กล่าวคือ สิทธิที่จะมีส่วนออกความคิดเห็นว่า ตนควรอยู่ภายใต้การปกครองลักษณะใด และหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งและประเด็นต่างๆ เมื่อตนไปคูหาเลือกตั้ง W ผู้หญิงในรัฐสภา Jeannette Rankin สมาชิกพรรครีพับลิกันจากรัฐมอนแทนาเข้านั่งประจำที่ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2459 ในฐานะสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งสู่รัฐสภา ก่อนสหรัฐฯ ออกบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบทที่ 19 ในปี พ.ศ. 2463 ซึ่งให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแก่ผู้หญิงอเมริกันทุกคน Rankin ยืนยันว่า ความสามารถและความเชี่ยวชาญของสตรีเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสังคมที่ดีขึ้น เธอกล่าวว่า “ผู้ชายและผู้หญิงก็เหมือนมือขวาและมือซ้าย ไม่มีเหตุผลเลยที่จะไม่ใช้มือทั้งสองข้าง” ในปี 2475 Hattie Caraway ซึ่งแรกเริ่มได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนสามีผู้ล่วงลับ ได้กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นวุฒิสมาชิกรัฐอาร์คันซอ ด้วยตัวของเธอเองโดยเป็นผู้แทนรัฐอาร์คันซอ เธอถูกขนานนามว่า “silent Hattie” เพราะไม่ค่อยอภิปรายสาธารณะบ่อยนัก Caraway ทำงานอย่างเอาจริงเอาจังมากและสร้างชื่อเสียงว่าเป็นบุคคลที่มีจรรยาบรรณสูง Margaret Chase Smith เป็นผู้แทนรัฐเมนโดยครั้งแรกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและต่อมาเป็นวุฒิสมาชิก นับเป็นสตรีคนแรกที่ทำงานในทั้งสองสภา เมื่อปี พ.ศ. 2507 ในการประชุมใหญ่ของพรรครีพับลิกัน ที่ประชุมพิจารณา Smith ให้เป็นผู้แทนพรรคชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่คะแนนสนับสนุนเธอแพ้ต่อ Barry Goldwater X ในสหรัฐฯ มีอุปกรณ์ลงคะแนนเลือกตั้งมากมายหลายหลาก และลักษณะของเทคโนโลยีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็เปลี่ยนไปตลอดเวลา ปัจจุบัน มีเพียงไม่กี่แห่งที่มีการลงคะแนนเสียงด้วยการใช้บัตรกระดาษลงคะแนนที่ต้องทำเครื่องหมายกากบาท X ข้างชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างที่เคยทำในอดีต อย่างไรก็ตาม ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้บัตรกระดาษที่มีการระบายทึบวงกลมหรือลากเส้นโยง จากนั้น จะมีการสแกนบัตรเลือกตั้งเพื่อบันทึกการลงคะแนนเสียง อุปกรณ์นี้เรียกว่า เครื่องสแกน Y ในสหรัฐฯ ในทุกปีที่เป็นเลขคู่ จะมีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่เข้าดำรงตำแหน่งระดับรัฐบาลกลางบางตำแหน่ง และตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับรัฐและระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่ แต่ก็มีรัฐบางรัฐและเขตท้องถิ่นบางเขตจัดการเลือกตั้งในปีที่เป็นเลขคี่ ดังนั้น ทุกๆ สี่ปี ชาวอเมริกันจะเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี และทุกๆ สองปี ชาวอเมริกันจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 435 คน และวุฒิสมาชิกราวหนึ่งในสามของวุฒิสมาชิกทั้งหมด 100 คน วุฒิสมาชิกอยู่ในตำแหน่งคนละหกปี แต่จะครบวาระไม่พร้อมกัน การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปีพ.ศ. 2559 Z John Zogby ผู้ก่อตั้ง “Zogby Poll” และกลุ่มบริษัท Zogby เป็นผู้สำรวจความคิดเห็น ผู้นำทางความคิดและนักเขียนหนังสือขายดีชาวอเมริกันที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก การสำรวจความคิดเห็นของเขาใช้ทั้งวิธีโทรศัพท์และวิธีทางอินเทอร์เน็ตเชิงโต้ตอบ ผลสำรวจความคิดเห็นของ John Zogby ตรงกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2539 อย่างแม่นยำ รวมทั้งอีกสองครั้งต่อมาด้วย การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของ John Zogby ยังคงแม่นยำที่สุดตลอดการเลือกตั้งห้าครั้ง เขาเคยทำหน้าที่นักวิเคราะห์ในการถ่ายทอดสดการเลือกตั้งให้แก่สถานีโทรทัศน์ NBC News, BBC, CBC, และABC (ออสเตรเลีย) และ Foreign Press Center ในกรุงวอชิงตันจะกล่าวถึงเขาในการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2541 โดย Online Media Specialist | 26 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
Collage of alphabet Here are some selected glossary and facts about the U.S. Presidential Elections, in alphabetical order: A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z A Absentee voting allows voters who cannot come to polling places to cast their ballots. A variety of circumstances, including residency abroad, illness, travel or military service, can prevent voters from coming to the polls on Election Day. Absentee ballots permit registered voters to mail in their votes. The Uniformed and Overseas Citizens Absentee Voting Act, a federal law, governs absentee voting in presidential elections. Absentee voting rules for all other elections are set by the states, and vary. In Oregon, all elections are conducted by mail, but voters have the option of voting in person at county polling stations. B Blue state is a term used to refer to a U.S. state where the majority of voters usually support Democratic candidates and causes. C In presidential election years, after state primaries and caucuses have concluded, the political parties gather to select a presidential nominee — usually the candidate who secured the support of the most convention delegates, based on victories in primary elections. The presidential nominee usually chooses a running mate to be the candidate for vice president, but the presidential nominee can throw open the vice presidential selection process to the convention delegates without making a recommendation. D The Donkey represents the Democratic Party. Presidential candidate Andrew Jackson was the first Democrat to be associated with the donkey symbol. However, the most lasting impression came from the cartoons of Thomas Nast, which pictured the Democratic Party as a donkey, an animal considered stubborn. The Democratic Party, demonstrating a sense of humor, accepted the animal as its unofficial symbol, observing that the donkey and the Democratic Party share many fine qualities, such as not giving up easily. They have used various donkey designs on publications over the years. E The Elephant represents the Republican Party. Political cartoonist Thomas Nast created both images for the publication Harper’s Weekly in 1874. One of his cartoons depicted a marauding elephant to represent the “Republican vote.” Republicans quickly embraced the symbol as their party’s own and use the design widely. Over the years, the donkey and the elephant have become the accepted symbols of the Democratic and Republican parties. F The United States relies on a complex federal system of government, where the national government is central; but where state and local governments also exercise authority over matters that are not reserved for the federal government. State and local governments have varying degrees of independence in how they organize elections within their jurisdictions, but they a hold frequent, decisive, and well-administered elections. G Once the primary elections or conventions conclude, the general election is held to determine who will be elected to hold office. In the general election, voters make the final determination from among the party candidates listed on the ballot. The general election ballot may also include independent candidates (those not affiliated with a major political party) who gain access to the ballot by submitting a specified number of petition signatures, rather than by the traditional primary method. Furthermore, in some states, the ballot may include a place to “write in” the names of candidates who were neither nominated by the parties nor qualified by petition. Such candidates may be described as “self-nominated” and they win election to public office from time to time. H Used as a metaphor for an election campaign, “horse race” conveys the feeling of excitement that people experience when watching a sporting event. The term also refers to media coverage of campaigns, which frequently emphasizes the candidates’ standings in public-opinion polls — as if they were horses in a race — instead of the candidates’ stands on the issues. I Candidates and their supporters have been quick to adopt the Internet as a campaign tool. It has proved to be an effective and efficient way to solicit funds from potential supporters and to promote one’s policies and experience. Campaign organizations now maintain their own blogs. The bloggers on these sites are campaign staffers paid to write about the statements and activities of their particular candidates. Meanwhile, thousands of independent bloggers write commentaries in support of their favorite candidates and engage in debate with other bloggers who oppose them. J The name John is a Biblical baby name. In Biblical the meaning of the name John is: the grace or mercy of the Lord. “John” is also the first name of 4 presidents of the United States: John Adams (2nd president, term of office: 1797-1801); John Quincy Adams (6th president, term of office: 1825-1829); John Tyler (10th president, term of office: 1841-1845); and John Fitzgerald Kennedy (35th president, term of office: 1961-1963). K John F. Kennedy was the 35th President of the United States (1961-1963), the youngest man elected to the office. On November 22, 1963, when he was hardly past his first thousand days in office, JFK he was assassinated in Dallas, Texas, becoming also the youngest President to die. President John F. Kennedy famously suggested the American people: “Ask what you can do for your country.” L A wide variety of voting devices is available in the United States, and the landscape of voting technologies is continuously changing. Some jurisdictions still use “lever” machines, on which voters turn a small lever next to the names of the candidates they prefer or the side of an issue they support. M An election for seats in the U.S. Senate and House of Representatives that occurs during a presidential term of office — that is, two years into the four-year presidential term. The results are sometimes interpreted as a popular referendum on that president’s performance for the first two years of his term. Midterm elections determine some members of the U.S. Senate and all members of the House of Representatives, as well as many state and local officials. N Advertisements that try to persuade voters to vote for one candidate by making the opponent look bad, by attacking either the opponent’s character or record on the issues. O In addition to federal, state, and local elections held in even-numbered years, some states and local jurisdictions hold “off-year” elections in odd-numbered years. Many jurisdictions, also, provide for special elections, which can be scheduled at any time to serve a specific purpose, such as filling an unexpected vacancy in an elected office. P A state-level election in which voters choose a candidate affiliated with a political party to run against a candidate who is affiliated with another political party in a later, general election. A primary may be either “open” — allowing any registered voter in a state to vote for a candidate to represent a political party, or “closed” — allowing only registered voters who belong to a particular political party to vote for a candidate from that party. Q Each federal elected office has different requirements, laid out in Articles I and II of the U.S. Constitution. A candidate for president, for example, must be a natural-born citizen of the United States, at least 35 years old, and a resident of the United States for at least 14 years. A vice president must meet the same qualifications. Under the Twelfth Amendment to the U.S. Constitution, the vice president cannot be from the same state as the president. Candidates for the U.S. House of Representatives must be at least 25 years old, have been U.S. citizens for seven years and be legal residents of the state they seek to represent in Congress. U.S. Senate candidates must be at least 30, have been a U.S. citizen for nine years, and be legal residents of the state they wish to represent. Those seeking state or local office must meet requirements established by those jurisdictions. R Red state refers to a U.S. state where the majority of voters usually support Republican candidates and causes. S Widespread use of the phrase “Super Tuesday” dates from 1988, when a group of Southern states banded together to hold the first large and effective regional group of primaries in order to boost the importance of Southern states in the presidential nomination process and lessen the impact of early votes in the Iowa caucus and New Hampshire primary. Today, the meaning of the phrase is blurred, a reflection of the fact that, during the presidential primary season, there may be several groups of state primaries in various regions falling on one or more Tuesdays. These groupings are important because the weight of such a large, simultaneous vote tends to make or break would-be presidential nominees because so many convention delegates are selected at once. In 2020, Super Tuesday was on March 3. T Republicans and Democrats have dominated electoral politics since the 1860s. This unrivaled record of the same two parties continuously monopolizing a nation’s electoral politics reflects structural aspects of the American political system as well as special features of the parties. U Undervote occurs when the number of choices selected by a voter in a contest is less than the maximum number allowed for that contest or when no selection is made for a single choice contest. V Voting is a fundamental right and responsibility of U.S. citizens — the right to have a say in how they are governed and the responsibility to be informed about candidates and issues when they go to the polls. W Jeannette Rankin, a Republican of Montana, took her seat in the U.S. House of Representatives on April 2, 1916, as the first woman elected to Congress — even before the Nineteenth Amendment in 1920 gave all American women the right to vote in elections. Rankin maintained that women’s talents and expertise were needed to build better societies. “Men and women are like right and left hands; it doesn’t make sense not to use both,” she said. In 1932, Hattie Caraway, initially appointed to fill her late husband’s seat, became the first woman elected to the Senate in her own right, representing Arkansas. Nicknamed “silent Hattie” for the rarity of her public speeches, Caraway took her responsibilities seriously and built a reputation for integrity. Margaret Chase Smith represented Maine first in the U.S. House of Representatives and then in the U.S. Senate — the first woman to serve in both chambers of Congress. In 1964, Republican Smith became the first woman considered for the presidential nomination at a national convention; she lost to Barry Goldwater. X A wide variety of voting devices is available in the United States, and the landscape of voting technologies is continuously changing. Today, there are very few places where voting takes place with handheld paper ballots marked with an “X” next to a candidate’s name, as was done in the past, but many computerized systems still depend on paper ballots on which circles are filled in or lines connected. These ballots are then scanned mechanically to have the votes recorded; the equipment is known as an optical scan system. Y Elections occur in every even-numbered year for some federal and most state and local government offices in the United States. Some states and local jurisdictions hold elections in odd-numbered years. Thus, every four years, Americans elect a president and vice president. Every two years, Americans elect all 435 members of the U.S. House of Representatives and approximately one-third of the 100 members of the U.S. Senate. Senators serve staggered terms of six years each. The next U.S. Presidential election is in 2020. Z John Zogby, founder of the “Zogby Poll” and the Zogby companies, is an internationally respected American pollster, opinion leader and best-selling author. His polling incorporates both phone-based polling and interactive, internet-based polling. John Zogby’s Poll called the 1996 presidential election with pinpoint accuracy. And he did it again in the following two elections. His presidential polling remains among the most accurate through five elections. He has served as an on-air election analyst for NBC News, BBC, CBC, ABC (Australia), and has been featured by the Foreign Press Center in Washington every election night since 1998. By U.S. Mission Thailand | 28 April, 2016 | Topics: Elections
A-Z to U.S. Elections
A-Z กับการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-may-th/
1 พฤษภาคม 1931 ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ เปิดอาคาร Empire State ในนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกในขณะนั้นด้วยความสูง 102 ชั้น 3 พฤษภาคม 1940 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ กล่าวปราศรัยต่อสตรีสังกัดพรรคเดโมแครตกว่า 4,000 คนที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นที่ทราบกันดีว่าประธานาธิบดีรูสเวลท์ให้การสนับสนุนบทบาทของสตรีในแวดวงการเมือง 4 พฤษภาคม 1865 พิธีฝังศพประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ที่เมือง Springfield รัฐอิลลินอยส์ หลังจากขบวนรถไฟเคลื่อนศพของท่านเดินทางผ่านเจ็ดรัฐให้ประชาชนได้ร่วมไว้อาลัย 8 พฤษภาคม 1884 แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา เกิดวันนี้ที่รัฐมิสซูรี ท่านเข้ารับตำแหน่งหลังจากที่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง 9 พฤษภาคม 1914 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ประกาศให้วันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นวันแม่ (Mother’s Day) ในสหรัฐอเมริกา ท่านกล่าวว่าวันนี้จะเป็นโอกาสให้ชาวอเมริกัน “แสดงออกความรักและความเคารพต่อมารดาแห่งประเทศของเรา” 10 พฤษภาคม 1872 Victoria Woodhull เป็นสตรีคนแรกที่ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2415 โดยได้รับการเสนอชื่อจากพรรค Equal Rights Party 15 พฤษภาคม 1800 ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ประกาศย้ายที่ตั้งรัฐบาลกลางไปยังวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงแห่งใหม่ของสหรัฐอเมริกา จากเมืองหลวงเดิมคือฟิลาเดลเฟีย 18 พฤษภาคม 1860 อับราฮัม ลินคอล์น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐอิลลินอยส์ ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน 22 พฤษภาคม 1802 Martha Washington สตรีหมายเลขหนึ่งคนแรกของสหรัฐอเมริกาถึงแก่กรรมในวันนี้ที่บ้านพักในเมือง Mount Vernon รัฐเวอร์จิเนีย ขณะมีอายุ 70 ปี 24 พฤษภาคม 1775 จอห์น แฮนค็อก เข้ารับตำแหน่งประธานสภาภาคพื้นทวีปชุดที่สอง ท่านเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเจ้าของลายมือชื่อตัวโตที่สุดที่ลงนามในคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ภายหลังชื่อของท่านได้กลายเป็นคำเรียกที่เข้าใจกันเองแทนคำว่า ลายมือชื่อ 25 พฤษภาคม 1787 สหรัฐอเมริกาจัดการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรก บรรดาผู้แทนซึ่งรวมถึงจอร์จ วอชิงตัน มาประชุมกันเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอเมริกาหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วเป็นเวลาสี่ปี 1961 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ดำเนินโยบายให้ความสำคัญกับโครงการอวกาศ โดยขอให้สภาคองเกรสสนับสนุนแผนการส่งนักบินอวกาศอเมริกันเดินทางเยือนดวงจันทร์ภายในสิ้นทศวรรษที่ 1960 29 พฤษภาคม 1917 จอห์น ฟิตซ์เจอรัลด์ เคนเนดี ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา เกิดวันนี้ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ 30 พฤษภาคม 1922 อดีตประธานาธิบดีวิลเลียม ทัฟท์ เปิดอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งประธานศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา โดย Online Media Specialist | 25 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
May 1 1931 President Herbert Hoover officially opens the Empire State Building in New York City. At the time of its dedication, the Empire State Building was the world’s tallest building at 102 stories. May 3 1940 President Franklin D Roosevelt speaks to over 4,000 Democratic women in Washington, DC. President FDR was known for his support of women’s political advocacy. May 4 1865 The body of President Lincoln in interred in Springfield, Illinois. He was laid to rest after his funeral train had travelled through seven states for mourners to pay their respect. May 8 1884 Harry S. Truman is born in Missouri. He would later become 33rd President of the United States after President Franklin D Roosevelt died while in office. May 9 1914 President Woodrow Wilson issues a presidential proclamation marking second Sunday of every May Mother’s Day in the United States. President Wilson said the day would allow Americans to “publicly express our love and reverence for the mothers of our country.” May 10 1872 Victoria Woodhull became the first woman to run for President in 1872. She was nominated by the Equal Rights Party. May 15 1800 President John Adams announces that federal government will moved to Washington, DC, the United State’s new capital. Philadelphia was previously the country’s capital. May 18 1860 Abraham Lincoln, a U.S. representative from Illinois, is nominated a Republican presidential candidate. May 22 1802 Martha Washington, the United States’ first First Lady, dies on this day at her home in Mount Vernon, Virginia. She was 70 years old. May 24 1775 John Hancock becomes president of the Second Continental Congress. He is well-known for having the biggest signature on the U.S. Declaration of Independence. His name later became a nickname for a signature. May 25 1787 The United States holds its first Constitutional Convention. Delegates including George Washington met four years after the U.S. gained its independence from England to compose a new U.S. Constitution. 1961 President John F Kennedy makes space program a priority. The President asked Congress to support his plan to send an American astronaut to the moon by the end of the decade. May 29 1917 John Fitzgerald Kennedy is born in this day in Massachusetts. He would later become the U.S. 35th President. May 30 1922 Former U.S. President William Taft dedicates the Lincoln Memorial in Washington, DC. At the time of the dedication, he was serving as chief justice of the U.S. Supreme Court. By U.S. Embassy Bangkok | 25 May, 2016 | Topics: Elections, History
U.S. Presidential History: May
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: เดือนพฤษภาคม
https://th.usembassy.gov/th/statement-secretary-kerry-vesak-day-th/
ในนามของประธานาธิบดีโอบามาและประชาชนชาวอเมริกัน ข้าพเข้าขอส่งความปรารถนาดีมายังทุกท่านเนื่องในวันวิสาขบูชา สหรัฐอเมริกาขออวยพรให้ท่านทั้งหลายประสบความสุขเบิกบานใจในวาระแห่งการน้อมรำลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ผู้สถาปนาพระพุทธศาสนา เราขอเชิดชูวันวิสาขบูชานี้ด้วยการยกย่องซึ่งคุณูปการต่อแนวความคิด วัฒนธรรม และความเชื่อที่ศาสนาพุทธซึ่งเป็นหนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกได้เผยแผ่มากว่า 2,500 ปี วันวิสาขบูชามีการเฉลิมฉลองโดยหลากหลายชุมชนชาวพุทธทั้งในเอเชีย สหรัฐอเมริกาและนานาประเทศทั่วโลก วาระนี้เป็นโอกาสอันดีงามที่จะสวดมนต์ภาวนาและรำลึกถึงพระพุทธคุณแห่งปัญญา ความห้าวหาญและความเมตตากรุณา ในขณะที่ท่านเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาร่วมกันกับครอบครัวและมิตรสหาย ขอโปรดทราบว่า สหรัฐอเมริกาสนับสนุนความพยายามของศาสนิกชนทุกความเชื่อที่สั่งสอนและปฏิบัติตามแนวทางแห่งความอดทนและการเคารพให้เกียรติมนุษย์ทุกคน ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุขสวัสดิ์ในวันวิสาขบูชา โดย U.S. Embassy Bangkok | 24 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: Exclude, รัฐมนตรี จอห์น แคร์รี, สุนทรพจน์ | Tags: วันวิสาขบูชา, ศาสนาพุทธ
On behalf of President Obama and the American people, I offer our warmest wishes to all those celebrating Vesak Day. We wish you a joyous commemoration of the birth, enlightenment, and passing of Siddhartha Gautama, the founder of Buddhism. In honor of Vesak Day, we recognize the contributions to thought, culture, and belief that Buddhism, one of the oldest religions in the world, has made for over 2,500 years. Vesak is celebrated by diverse Buddhist communities in Asia, here in the United States, and around the world. It is a wonderful time to engage in prayer and reflect on the virtues of wisdom, courage, and compassion. As you gather with family and friends to celebrate Vesak, know that the United States supports the efforts of people of every faith who preach and practice tolerance and respect for all. May you all enjoy a peaceful and joyful Vesak. By U.S. Embassy Bangkok | 24 May, 2016 | Topics: Exclude, Former U.S. Government Leaders, Speeches | Tags: Buddhism, John Kerry, Vesak
Statement by Secretary Kerry on Vesak Day
สุนทรพจน์ของนายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องในวันวิสาขบูชา
https://th.usembassy.gov/th/statement-president-celebration-vesak-th/
มิเชลล์และข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมายังพุทธศาสนิกชนในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกเนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันนี้ พวกเรารำลึกถึงคำสอนอันเป็นสากลของพระพุทธองค์ว่าด้วยความสงบสันติ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการเคารพซึ่งมนุษยชาติ ซึ่งเป็นค่านิยมเดียวกันที่หล่อรวมพวกเราชาวอเมริกันเข้าด้วยกัน วาระนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราจะระลึกถึงคุณากรแห่งพระพุทธองค์ที่มีต่อความก้าวหน้าของพวกเรา อีกทั้ง ยังเป็นโอกาสให้เราตั้งจิตมั่นอีกครั้งในการสร้างอนาคตที่สดใสให้แก่ทุกชุมชน ทุกวัฒนธรรมและทุกศาสนา และในวาระที่พวกเรามารวมตัวกันเพื่อมุ่งหวังพัฒนาปัญญา ความห้าวหาญและความเมตตากรุณา ครอบครัวของข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมา ณ โอกาสนี้ โดย U.S. Mission Thailand | 24 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: Exclude, ข่าว, ประธานาธิบดี บารัก โอบามา, สุนทรพจน์ | Tags: วันวิสาขบูชา, ศาสนาพุทธ
Michelle and I extend our warmest wishes to Buddhists in the United States and around the world in their celebration of Vesak, a day honoring the birth, enlightenment, and passing of Buddha. During this season, we reflect on Buddha’s universal teachings of peace, service, and recognition of common humanity — shared values that also bind us all as Americans. This occasion gives us an opportunity to commemorate the many contributions of Buddhists to our progress and to recommit ourselves to building a brighter future for all communities, cultures, and religions. As we come together in hope for wisdom, courage, and compassion, our family sends our best wishes during this season. By U.S. Embassy Bangkok | 24 May, 2016 | Topics: Exclude, Former U.S. Government Leaders, Speeches | Tags: Barack Obama, Buddhism, Statement, Vesak
Statement by the President on the Celebration of Vesak
สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีโอบามาเนื่องในวันวิสาขบูชา
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-welcomed-yseali-th/
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์ ได้กล่าวต้อนรับ และร่วมพิธีเปิดการประชุมใหญ่ของศิษย์เก่าโครงการทุนรัฐบาลสหรัฐฯ Young Southeast Asian Leaders Initiative หรือ YSEALI ทั้ง 40 คน ที่สถานทูตสหรัฐฯ โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศิษย์เก่าจะทำความรู้จักกัน และวางแผนกิจกรรมเพื่อได้นำความรู้และประสบการณ์มาใช้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมต่อไป โดย U.S. Embassy Bangkok | 24 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: ศิษย์เก่า, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
U.S. Ambassador Glyn T. Davies welcomed and engaged with 40 Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) alumni at the U.S. Embassy in Bangkok on May 19. This is yet the biggest reunion of Thai YSEALI alumni in Thailand and it kicks-off a two-day Thailand YSEALI Alumni Summit. The overall goal of the Summit is to discuss and plan ways to sustain and expand YSEALI alumni involvement with the Embassy. By U.S. Embassy Bangkok | 19 May, 2016 | Topics: Alumni, Ambassador, Events | Tags: summit, YSEALI
Ambassador Davies welcomed Young Southeast Asian Leaders Initiative Alumni
เอกอัครราชทูตเดวีส์ต้อนรับศิษย์เก่าโครงการทุนรัฐบาลสหรัฐฯ (YSEALI)
https://th.usembassy.gov/th/what-is-super-tuesday-th/
(จาก ShareAmerica) พรรคการเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งคือพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันจะดำเนินการเลือกผู้แทนของพรรคลงรับสมัครแข่งขันเป็นประธานาธิบดีในการประชุมใหญ่ (Convention) ซึ่งการประชุมนี้จะประกอบด้วยตัวแทนจากแต่ละรัฐและดินแดนของสหรัฐฯ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา รัฐไอโอวา นิวแฮมเชียร์ เนวาดาและเซาท์แคโรไลนารวม 4 รัฐได้จัดการเลือกตัวแทนของรัฐไปแล้ว แต่ในวันที่ 1 มีนาคมหรือ Super Tuesday จะมี 14 รัฐและดินแดนจัดการเลือกตั้งขั้นต้นและการประชุมคอคัสเพื่อเลือกตัวแทนกว่า 1,000 คนสำหรับพรรคเดโมแครตและ 600 คนสำหรับพรรครีพับลิกัน ซึ่งตัวแทนเหล่านี้ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเลือกผู้สมัครรับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใดคนหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่จะได้เสนอชื่อเป็นผู้แทนของพรรคไปลงสมัครแข่งขันดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต้องได้รับคะแนนเสียงจากตัวแทนในการประชุมใหญ่ของพรรค (Convention) ถึง 2,382 เสียงเป็นอย่างน้อยสำหรับการเป็นผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต และ 1,237 เสียงสำหรับการเป็นผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน ดังนั้น รัฐที่จัดการเลือกตั้งขั้นต้นในวัน Super Tuesday จึงมีบทบาทมากในการเลือกผู้ที่จะได้เป็นผู้แทนของพรรคไปลงสมัครแข่งขันดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หลายรัฐร่วมมือกัน ทำไมบางรัฐจึงเลือกที่จะจัดการเลือกตั้งขั้นต้นและการประชุมคอคัสในวันเดียวกัน? เหตุผลก็คือ เพื่อเน้นความสำคัญของรัฐตน รัฐและดินแดนที่จัดการเลือกตั้งขั้นต้นในวัน Super Tuesday ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กมีประชากรไม่มากและมีจำนวนตัวแทนน้อย การจัดการแข่งขันในวันเดียวกันทำให้ผลการเลือกตั้งโดยรวมในหลายรัฐเหล่านี้มีอิทธิพลมากขึ้นต่อการกำหนดว่า ผู้ใดจะได้รับเลือกเป็นผู้แทนของพรรคไปลงสมัครแข่งขันดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ หลายๆ รัฐที่จัดการเลือกตั้งขั้นต้นในวัน Super Tuesday มีข้อกังวลระดับประเทศหลายประการร่วมกัน และเนื่องจากรัฐส่วนใหญ่อยู่ทางใต้ สื่อจึงเรียกวันที่ 1 มีนาคมนี้ว่า วันเลือกตั้งขั้นต้นของ SEC (SEC Primary) โดยเลียนตัวย่อ SEC มาจากสมาคม Southeastern Conference ของการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ของ Southeastern Conference เป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ Professor Andrew Dowdle กล่าวกับ KNWA สื่อในท้องถิ่นว่า “เมื่อหลายๆ รัฐที่มีส่วนได้ส่วนเสียคล้ายกันดำเนินการเลือกตั้งในเวลาเดียวกัน อิทธิพลของรัฐเหล่านี้ที่มีต่อกระบวนการเสนอชื่อผู้แทนพรรคจึงมีมากขึ้น” วัน Super Tuesday ยังเป็นการตีกรอบจำนวนผู้ลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดีให้แคบลง ผู้สมัครที่ได้คะแนนน้อยใน 14 รัฐนี้มักจะถอนตัวออกจากการแข่งขันเพราะคิดว่าตนคงไม่มีโอกาสได้รับเลือก หรือเพราะคิดว่า การที่จะดึงดูดใจผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ระดมเงินทุนในการหาเสียง หรือเป็นที่สนใจของสื่อคงจะยากมากขึ้น โดย Online Media Specialist | 24 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
(From ShareAmerica) Many American sports fans look forward to Super Bowl Sunday. But Americans who follow politics wait for “Super Tuesday.” What is Super Tuesday, and why is it important? The major U.S. political parties — Democratic and Republican — select their presidential and vice presidential candidates at a party convention to which each state (and several U.S. territories) sends delegates. During February 2016, four states — Iowa, New Hampshire, Nevada and South Carolina — are selecting delegates. But on March 1, Super Tuesday, 14 U.S. states and territories will hold primaries and caucuses to choose more than 1,000 Democratic and 600 Republican delegates pledged to one or another of the presidential candidates. Since a Democrat needs 2,382 delegates, and a Republican 1,237, to capture the party nomination, Super Tuesday states play a big role in choosing each party’s standard-bearer. States banding together Why do some states choose to hold their primaries and caucuses on the same day? To maximize their influence. Many of the Super Tuesday states and territories have small populations and few delegates. By holding their contests on the same day, they can collectively have a greater effect on selecting the next U.S. president. Another factor is that many Super Tuesday states have similar concerns on national issues. Many of them are in the South — so many that the media has also called March 1 the “SEC Primary,” after the Southeastern Conference in U.S. college athletics. “The idea is you have states who have similar interests go at the same time. That may have a larger effect on the nomination process,” University of Arkansas Professor Andrew Dowdle told local news channel KNWA. Super Tuesday also serves to narrow the field of contenders. A number of candidates who perform poorly in those 14 state contests can be expected to drop out of the race, either because they’ve concluded they can’t win, or because they now will find it more difficult to attract volunteers, raise campaign funds or attract media coverage. By U.S. Embassy Bangkok | 24 May, 2016 | Topics: Elections
What is Super Tuesday?
อะไรคือ Super Tuesday
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-davies-visits-phrae-th/
Ambassador Davies visits Phrae เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม เอกอัครราชทูตเดวีส์และคณะเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ เดินทางเยือนจังหวัดแพร่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับโอกาสด้านอาชีพของประชาชนในจังหวัด พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ สมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่พิพิธภัณฑ์เสรีไทย และรำลึกถึงบทบาทของมิชชันนารีอเมริกันในภาคเหนือของไทยที่บ้านมิชชันนารีเก่าแก่อายุกว่า 120 ปี นอกจากนี้ ท่านทูตยังได้เยี่ยมชมสถานที่ทำงานของกลุ่มผู้ประกอบการสตรีผ้าทอยกลาย ตลอดจนเยี่ยมชมคุ้มวงศ์บุรี ในการเดินทางครั้งนี้ ท่านทูตยังได้สนทนาเกี่ยวกับบทบาทของกีฬาฟุตบอลต่อสังคมไทยและเศรษฐกิจของจังหวัดกับคุณพงษ์สวัสดิ์ ศุภศิริ ประธานสโมสรฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด และให้สัมภาษณ์กับดีเจสุเมธ เมืองแพร่ ผู้จัดรายการท้องถิ่น ก่อนจะปิดท้ายการเยือนครั้งนี้ด้วยการร่วมรับประทานมื้อเย็นกับผู้นำท้องถิ่นพร้อมสนทนาเกี่ยวกับการพัฒนาในจังหวัดแพร่ โดย U.S. Embassy Bangkok | 18 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: กงสุลใหญ่, การศึกษา, ธุรกิจ, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต, โอกาสทางการค้า | Tags: คุ้มวงศ์บุรี, ผ้าทอยกลาย, พิพิธภัณฑ์, เสรีไทย
Ambassador Davies visits Phrae Ambassador Davies and Mission Thailand staff traveled to Phrae province on May 18 to learn about vocational opportunities in Phrae, visit the Seri Thai Museum to learn about U.S.-Thai relations during World War II, and to celebrate the role of U.S. Missionaries in northern Thailand at a 120 year old American missionary house. The Ambassador also toured the facilities of Yok Lai, a women’s entrepreneur group for indigo textiles in Phrae, and visited Wongburi House. During his trip, he discussed the role of soccer in Thai society and provincial economics with Mr. Pongsawad Supasiri, the Chairman of Phrae United, and was interviewed by local DJ, Sumeth Muang Phrae. The trip concluded with Ambassador having dinner with local leaders to discuss developments in Phrae. By U.S. Embassy Bangkok | 18 May, 2016 | Topics: Ambassador, Business, Chiang Mai, Consul General, Culture, Economic Affairs, Education, Events, U.S. & Thailand | Tags: Free Thai Movement, Museum, Phrae, Seri Thai
Ambassador Davies visits Phrae
เอกอัครราชทูตเดวีส์เยือนจังหวัดแพร่
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-davies-visits-seagate-technology-th/
Ambassador Davies visits Seagate Technology. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม เอกอัครราชทูตเดวีส์และคณะเจ้าหน้าที่สถานทูตฯ เยี่ยมชมบริษัท Seagate Technology จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสนับสนุนความสัมพันธ์ด้านธุรกิจระหว่างไทยกับสหรัฐฯ บริษัท Seagate Technology เป็นผู้นำด้าน hard-disk และการเก็บข้อมูล โดยมีพนักงานชาวไทยกว่า 16,000 คน ในระหว่างการชมบริษัท เอกอัครราชทูตเดวีส์ได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท Seagate ในประเทศไทย โดย U.S. Embassy Bangkok | 16 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต | Tags: Seagate, Technology
Ambassador Davies visits Seagate Technology. On May 11, Ambassador Davies and an embassy team visited Seagate Technology, located in Samutprakran, to support the U.S.-Thai business relationship. As a leader of hard-disk drives and storage solutions, Seagate Technology – Thailand employs over 16,000 Thais. During his tour of the facility, the Ambassador had a chance to learn more about Seagate’s operations in the Kingdom. By U.S. Embassy Bangkok | 11 May, 2016 | Topics: Ambassador, Events, Science & Tech, Trade, U.S. & Thailand | Tags: Hard Disk Drives, Seagate Technology
Ambassador Davies visited Seagate Technology
เอกอัครราชทูตเดวีส์และคณะเจ้าหน้าที่สถานทูตฯ เยี่ยมชมบริษัท Seagate Technology
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-davies-visits-u-s-law-firm-tilleke-gibbins-th/
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์เยี่ยมสำนักงานกฎหมายสหรัฐฯ Tilleke & Gibbins และชมพิพิธภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลอมแปลงและเลียนแบบของบริษัท พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจัดแสดงสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา งานที่มีลิขสิทธิ์ อุปกรณ์ไฟฟ้า และอื่นๆ จากนั้น เอกอัครราชทูตเดวีส์ได้ชมนิทรรศการสิ่งทอของ Tilleke & Gibbins อันได้แก่ สิ่งทอคุณภาพระดับพิพิธภัณฑ์ที่แสดงถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 9 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: ธุรกิจ, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต | Tags: พิพิธภัณฑ์, ลิขสิทธิ์, สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
On May 9, Ambassador Glyn Davies visited U.S. law firm Tilleke & Gibbins where they toured the firm’s Museum of Counterfeit Goods. Located in Bangkok, the museum houses a collection pirated goods, including clothing, cosmetics, food products, drugs, copyrighted works, electrical devices, and miscellaneous products. The tour concluded with a viewing of Tilleke & Gibbins’ Textile Collection, which consists of museum-quality textiles that represent the diverse cultures of Southeast Asia. By U.S. Embassy Bangkok | 9 May, 2016 | Topics: Ambassador, Business, Events, Trade | Tags: Counterfeit Goods, intellectual property rights, IPR, Museum
Ambassador Davies visits U.S. Law Firm Tilleke & Gibbins
เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์เยี่ยมสำนักงานกฎหมายสหรัฐฯ Tilleke & Gibbins
https://th.usembassy.gov/th/english-access-microscholarship-program-regional-teacher-training-seminar-th/
English Access Microscholarship Program: Regional Teacher Training Seminar เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้จัดการเอยูเอสาขาเชียงใหม่ คุณเจอรามี วอลเตอร์ ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่ครูอาจารย์ที่ผ่านการอบรมโครงการ ‘English Access Microscholarship Program: Regional Teacher Training Seminar’ ที่โรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา จังหวัดเชียงใหม่ โดยโครงการนี้มุ่งเน้นการอบรมครูอาจารย์เพื่อไปพัฒนาทักษะภาษาของนักเรียนด้อยโอกาส จัดโดย Regional English Language Office (RELO)สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 6 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: การศึกษา, การเรียนภาษาอังกฤษ, เชียงใหม่, เหตุการณ์
English Access Microscholarship Program: Regional Teacher Training Seminar On Friday 6th May, the Chiang Mai Branch Manager of the American University Alumni Language Center (AUA), Jeremy Walter, gave certificates to teachers and university lecturers who completed the ‘English Access Microscholarship Program: Regional Teacher Training Seminar’ at AUA Language Center, Chiang Mai. The program provides English language training to underprivileged primary and secondary school students, and is coordinated by the Regional English Language Office (RELO) at the U.S. Embassy in Bangkok. By U.S. Consulate Chiang Mai | 6 May, 2016 | Topics: Chiang Mai, Education, English Language Learning, Events | Tags: Regional English Language Office, RELO
English Access Microscholarship Program: Regional Teacher Training Seminar
โครงการ ‘English Access Microscholarship Program: Regional Teacher Training Seminar’
https://th.usembassy.gov/th/graduation-ceremony-trilat-hma-th/
Graduation Ceremony for Trilat. Humanitarian Mine Action Training เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม เอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์ ร่วมพิธีปิดการฝึกการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Mine Action) ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี การฝึกครั้งนี้เป็นความร่วมมือจากสามฝ่าย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย และลาว มุ่งพัฒนาขีดความสามารถของครูฝึกเพื่ออบรมเจ้าหน้าที่ของไทยและลาวให้สามารถเก็บกู้ทำลายทุ่นระเบิดในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้อย่างปลอดภัย โดยมีผู้แทนจากศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งเวียดนามและกัมพูชาร่วมสังเกตการณ์ด้วย ในพิธีปิดการฝึกครั้งนี้ เอกอัครราชทูตเดวีส์ขอบคุณเหล่าครูฝึกเก็บกู้ทุ่นระเบิดที่ปฏิบัติงานด้วยความกล้าหาญเพื่อโลกที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น พร้อมกล่าวว่า แม้ทุ่นระเบิดจะเป็นสิ่งที่หลงเหลือมาจากความขัดแย้ง แต่ปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมก็ได้ช่วยส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง จากนั้นท่านทูตได้กล่าวขอบคุณศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติที่เป็นเจ้าภาพจัดการฝึกอบรมครั้งนี้ ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสหรัฐอเมริกา โดย U.S. Embassy Bangkok | 6 พฤษภาคม, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
Graduation Ceremony for Trilat. Humanitarian Mine Action Training On May 06, Ambassador Glyn Davies attended the graduation ceremony for the trilateral (U.S.-Thailand-Laos) Humanitarian Mine Action training in Sattahip, Thailand. This training focused on building capacity for instructors to train Thai and Laos demining personnel to safely dispose of dangerous mines in affected areas. The multilateral event was also attended by observers from the Vietnam and Cambodian Mine Action Centers. Ambassador Davies presented remarks, thanking the mine clearing instructors for their courageous service to make their world a safer place, and noted that, while mines are a legacy of conflict, humanitarian demining efforts promote peace and prosperity. The Ambassador closed by thanking the Thailand Mine Action Center, of which the U.S. is a co-sponsor, for hosting this positive regional training event. By U.S. Embassy Bangkok | 6 May, 2016 | Topics: Ambassador, Events
The Graduation Ceremony for the Trilateral (U.S.-Thailand-Laos) Humanitarian Mine Action Training.
พิธีปิดการฝึกการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Mine Action)
https://th.usembassy.gov/th/imagine-cup-thailand-2016-th/
Imagine Cup Thailand 2016 ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะการแข่งขัน Imagine Cup Thailand 2016 ทุกท่าน Microsoft จัดการแข่งขัน Imagine Cup ขึ้นเป็นประจำทุกปีและได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในปีนี้ ทีม RISCM จากมหาวิทยาลัยมหิดลได้รางวัลชนะเลิศในประเภท World Citizenship ภายใต้หัวข้อภาษาอังกฤษสำหรับทุกคน (English for All) จากการออกแบบโปรแกรม application ที่จะช่วยให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษพัฒนาทักษะการสื่อสารผ่านการอภิปราย โดย application ดังกล่าวจะจัดกลุ่มผู้ใช้ที่มีความสามารถการพูดภาษาอังกฤษในระดับเดียวกันให้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกพูดด้วยกันด้วยการโต้วาทีหรือพูดคุยประเด็นสนุกสนานน่าสนใจที่ไม่ใช่กรณีโต้แย้งต่างๆ นอกจากนี้ เราขอแสดงความยินดีกับทีม Plantorer ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ของไทยด้วยผลงานภายใต้หัวข้อความมั่นคงด้านอาหารกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Food Security and Climate Change) ทีม Plantorer ได้พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชระบบไฮโดรโปรนิกส์และการเลี้ยงปลาในบ้านมาผสมผสานร่วมกันออกมาเป็นระบบเกษตรที่พึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างปลาและพืชผัก อีกทั้ง ยังออกแบบโปรแกรมสำหรับสมาร์ทโฟนเพื่อให้ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการ ตรวจสอบและควบคุมสภาพแวดล้อมของอุปกรณ์ในบ้านดังกล่าวด้วย รองชนะเลิศอันดับ 2 คือทีม On Fire ด้วยผลงาน MindMagic สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นในการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันและการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน สถานทูตสหรัฐฯ ขอแสดงความยินดีกับทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดย U.S. Embassy Bangkok | 29 เมษายน, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์
Imagine Cup Thailand 2016 Congratulations to this year’s winners of Thailand’s Imagine Cup with Microsoft and U.S. Embassy Bangkok. Team RISCM from Mahidol University took first place in the Category of World Citizenship with the theme of English for All. The team designed an application to help English language learners improve their communication skills through debate. The application matches users who share the same level of spoken, English and engages them in a speaking activity – debate with fun, non-controversial topics. We also congratulate team Plantorer who was the first runner-up in Thailand. Their project was submitted under the theme of Food Security and Climate Change. The team developed the technology for equipment for in-house aquaponics with fish farming. Along with this technology they designed an application for smartphone to enable users to manage, check and control the environment of the in-house equipment. The second runner up team was On Fire for MindMagic project for motion-impaired people. This project assists motion-impaired people in performing daily activities. The application allows the motion-impaired to utilize home automation systems independently. The U.S. Embassy would like to congratulate all participants in the #ImagineCupTH2016 competition. Great job teams!Thailand Imagine Cup By U.S. Embassy Bangkok | 29 April, 2016 | Topics: Events, Science & Tech | Tags: Imagine Cup, Microsoft
Imagine Cup Thailand 2016
Imagine Cup Thailand 2016
https://th.usembassy.gov/th/southeast-asia-judicial-cybercrime-workshop-th/
Ambassador Davies gave closing remarks at the first-ever Southeast Asia Cybercrime Judicial Workshop April 29. เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตเดวีส์กล่าวปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Southeast Asia Cybercrime Judicial Workshop โดยมีผู้พิพากษา 100 คนจาก 8 ประเทศในกลุ่มอาเซียน (กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม) และภูฏานรับฟังสุนทรพจน์อย่างสนใจ เอกอัครราชทูตเดวีส์กล่าวว่า ภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ ตลอดจนปัจเจกชนต้องสูญเสียทรัพยากรต่างๆ มากมายอันเนื่องจากอาชญากรรมไซเบอร์ และท่านได้เน้นถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อสู้กับภัยคุกคามทางอาญาระดับนานาชาตินี้ โดยให้คำมั่นว่า สหรัฐอเมริกาจะให้การสนับสนุนและความร่วมมือในการจัดการกับอาชญากรรมและอาชญากรไซเบอร์ การประชุมเชิงปฏิบัติการระยะเวลาสามวันครึ่งนี้จัดโดยฝ่ายกิจการยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ (International Narcotics and Law Enforcement Affairs) ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ และศาลยุติธรรมของไทย โดย U.S. Embassy Bangkok | 29 เมษายน, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต | Tags: กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ, ฝ่ายกิจการยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ, อาเซียน
Ambassador Davies gave closing remarks at the first-ever Southeast Asia Cybercrime Judicial Workshop April 29. Ambassador Davies gave closing remarks at the first-ever Southeast Asia Cybercrime Judicial Workshop April 29. Speaking to an enthusiastic and engaged audience of 100 judges from 8 ASEAN countries (Cambodia, Laos, Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore, Thailand, and Vietnam) as well as Bhutan, he spoke about the costs that cybercrime imposes on governments, businesses, and individuals, and emphasized the importance of international cooperation to combat this global criminal threat, pledging the support and partnership of the United States in dealing with cybercrime and cybercriminals. The three and a half day workshop was organized by U.S. Embassy Bangkok’s International Narcotics and Law Enforcement Affairs office, the U.S. Department of Justice, and the Thai Courts of Justice. By U.S. Embassy Bangkok | 29 April, 2016 | Topics: Ambassador, Events | Tags: ASEAN, Cybercrime, International Narcotics and Law Enforcement, U.S. Department of Justice
Southeast Asia Judicial Cybercrime Workshop
การประชุมเชิงปฏิบัติการ Southeast Asia Cybercrime Judicial Workshop
https://th.usembassy.gov/th/2016-annual-free-thai-movement-luncheon-th/
2016 Annual Free Thai Movement Luncheon เอกอัครราชทูตเดวีส์เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารกลางวันขบวนการเสรีไทยประจำปีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมาเพื่อยกย่องและแสดงความชื่นชมกับผู้ที่เคยทำงานในขบวนการเสรีไทย อีกทั้งเพื่อสานต่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ขบวนการเสรีไทยก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น นักศึกษาไทยในสหรัฐอเมริกาได้รับคัดเลือกทำงานกับสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ (Office of Strategic Services) สำนักฯ แห่งนี้ฝึกอบรมบุคลากรไทยเพื่อทำงานปฏิบัติการใต้ดิน และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง มีคนไทยกว่า 50,000 คนที่ได้รับการอบรมด้านปฏิบัติการต่อต้านอิทธิพลของฝ่ายอักษะในภูมิภาคนี้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 23 เมษายน, 2016 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต | Tags: ขบวนการเสรีไทย, สำนักบริการด้านยุทธศาสตร์
2016 Annual Free Thai Movement Luncheon Ambassador Davies hosted the Annual Free Thai Movement Luncheon on April 23 to honor and show appreciation to those who served in the Free Thai Movement, and to continue the strong relationship between Thailand and the U.S. The Free Thai Movement was established during WWII, during which time Thai students in the United States were recruited to work with the Office of Strategic Services (OSS). The OSS trained Thai personnel for underground activities and by the end of the war, over 50,000 Thai had been trained to resist the Axis powers’ influence in the region. By U.S. Embassy Bangkok | 23 April, 2016 | Topics: Ambassador, Events, U.S. & Thailand | Tags: Free Thai Movement, Office of Strategic Services, OSS
2016 Annual Free Thai Movement Luncheon
งานเลี้ยงอาหารกลางวันขบวนการเสรีไทยประจำปี 2559
https://th.usembassy.gov/th/u-s-embassy-bangkok-celebrates-earth-day-th/
เมื่อวันที่ 22 เมษายน เอกอัครราชทูตเดวีส์พร้อมด้วยสมาชิกองค์การลูกเสือแห่งอเมริกา กอง 701 และกลุ่มกรีนทีมของสถานทูตสหรัฐอเมริการ่วมกันปลูกต้นพะยูง ต้นคูน และต้นมะลิ ชนิดละสองต้นภายในบริเวณสถานทูตฯ ตามโครงการปลูกต้นไม้ “16 trees for 2016” นอกจากนี้ สถานทูตสหรัฐฯ ยังได้เตรียมปลูกต้นไม้เพิ่มอีก 10 ต้นในพื้นที่หน่วยงานอื่นของสถานทูตฯ ในกรุงเทพมหานครเพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการอีกด้วย โดย U.S. Embassy Bangkok | 22 เมษายน, 2016 | ประเภท: เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
On April 22, Ambassador Davies, along with the Boy Scouts of America Troop 701 and the Embassy’s “Green Team”, planted two native Rosewood, two Cassia, and two Jasmine trees on the Embassy’s main chancery compound in celebration of its “16 trees for 2016” planting project. To complete the task, the Embassy will plant an additional 10 trees on other Embassy compounds in Bangkok. By U.S. Embassy Bangkok | 22 April, 2016 | Topics: Ambassador, Environment, Events | Tags: Boy Scouts of America, Earth Day, Green Team
U.S. Embassy Bangkok Celebrates Earth Day
สถานทูตสหรัฐฯร่วมฉลองวันคุ้มครองโลก
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-december-th/
1 ธันวาคม 1842 สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตัดสินว่า ผู้ใดจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2385 ตามบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตราที่ 12 ของสหรัฐอเมริกา ถ้าไม่มีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใดได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของการ เลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรจะมีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาตัดสินเลือกประธานาธิบดี 4 ธันวาคม 1783 จอร์จ วอชิงตัน ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการของกองทัพฝ่ายอาณานิคม (Continental Army) หลังจากที่ชาวอเมริกันได้รับชัยในสงครามปฏิวัติต่อต้านอังกฤษในปี พ.ศ. 2324 อย่างไรก็ดี เขาได้รับการเกลี้ยกล่อมให้ระงับความคิดเกษียณราชการ และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา โดยได้ดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 2340 6 ธันวาคม 1884 อนุสาวรีย์วอชิงตันสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 6 ธันวาคมของปี 2427 ในช่วงเวลานั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก โดยมีความสูง 555 ฟุต 7 ธันวาคม 1787 รัฐเดลาแวร์ลงนามเป็นรัฐแรกอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกาในยุคใหม่ 10 ธันวาคม 1869 ไวโอมิง (ขณะนั้นยังมีฐานะเป็นดินแดนอยู่) เป็นเขตแรกที่ให้สิทธในการลงคะแนนเสียงแก่สตรีอย่างไม่มีข้อจำกัด 1906 ประธานาธิบดีทีโอดอร์ โรสเวลท์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยได้รับรางวัลในฐานะที่เป็นผู้เจรจาไกลเกลี่ยในสงคราวระหว่างรัสเซียและ ญี่ปุ่น 11 ธันวาคม 1815 ประธานาธิบดี เจมส์ เมดิสัน เสนอข้อตกลงการค้ากับอังกฤษต่อสภาคองเกรส ข้อตกลงนี้เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าอังกฤษยอมรับสหรัฐฯ ว่าเป็นประเทศเอกราชจากอังกฤษ 13 ธันวาคม 1918 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน เดินทางไปยุโรป โดยเป็นครั้งแรกที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เยือนยุโรป 14 ธันวาคม 1799 จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกเสียชีวิตที่บ้านในเมือง Mount Vernon รัฐเวอร์จิเนีย เมื่อมีอายุได้ 67 ปี 15 ธันวาคม 1791 ร่างกฎหมายสิทธิพลเมืองผ่านเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 1791 โดยบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา 10 มาตราแรกนี้ให้สิทธิพื้นฐานแก่พลเมืองสหรัฐฯ ทุกคนดังต่อไปนี้ รัฐสภาจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการพูด เสรีภาพของสื่อ เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่อรัฐบาล และเสรีภาพทางศาสนา “พลเรือนติดอาวุธที่ได้รับการจัดการอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยมีความจำเป็นต่อความมั่นคง ของรัฐเสรี ดังนั้น สิทธิของประชาชนที่จะมีและถืออาวุธจะถูกขัดขวางไม่ได้” รัฐบาลไม่อาจส่งทหารเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านของบุคคลใดโดยเจ้าของไม่ยินยอมไม่ได้ รัฐบาลจะออกหมายเพื่อจับกุมหรือค้นเคหสถานของบุคคลไม่ได้ เว้นแต่จะมี “เหตุอันควรเชื่อถือ” ว่าได้มีการก่ออาชญากรรม รัฐบาลไม่อาจพิจารณาคดีบุคคลในคดีที่มีโทษถึงประหารชีวิตได้นอกจากคณะ ลูกขุนใหญ่จะได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว บุคคลใดจะถูกพิพากษาในความผิดอันเดียวกันซ้ำอีกไม่ได้ รัฐบาลไม่อาจลงโทษหรือยึดทรัพย์สินบุคคลโดยไม่ผ่านวิถีทางที่ถูกต้องแห่ง กฎหมายก่อนไม่ได้ บุคคลจะถูกบังคับให้ให้การเป็นภัยแก่ตนเองในคดีอาญาใดๆ ไม่ได้ บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดี อย่างรวดเร็วโดยคณะลูกขุน มีสิทธิที่จะมีทนายว่าความต่างคดีให้ ต้องได้รับแจ้งให้ทราบถึงเหตุที่กล่าวหา ตลอดจนมีสิทธิที่จะมีการสืบพยานโจทก์ต่อหน้า และมีสิทธิที่จะมีวิธีการบังคับพยานฝ่ายตนมาเบิกความ ในคดีแพ่ง ต้องมีการพิจารณาคดีโดยใช้คณะลูกขุน รัฐบาลไม่อาจกำหนดค่าประกันหรือค่าปรับเกินควร หรือการลงโทษที่ทารุณหรือ ผิดปรกติวิสัย บรรดาสิทธิที่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายสิทธิพลเมืองจะตีความให้เป็นการปฏิเสธหรือริดรอนสิทธิของผู้อื่นไม่ได้ บรรดาอำนาจที่รัฐธรรมนูญมิได้ระบุมอบหมายให้เป็นของสหรัฐ ให้สงวนอำนาจเหล่านั้นไว้แก่รัฐต่างๆ หรือประชาชน 24 ธันวาคม 1923 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1923 ประธานาธิบดีแคลวิน คูลลิดจ์ เปิดไฟประดับต้นคริสต์มาสอย่างเป็นทางการต้นแรกที่ตั้งอยู่นอกอาคาร โดยตั้งอยู่ ณ สนามหญ้าทำเนียบขาว และต้นคริสต์มาสต้นนี้ก็เป็นต้นแรกที่ประดับตกแต่งด้วยหลอดไฟฟ้า 26 ธันวาคม 1972 อดีตประธานาธิบดีแฮรี เอส. ทรูแมน ถึงแก่อสัญกรรมที่เมือง Independence รัฐมิสซูรี ท่านเป็นประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกาหลังจากที่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 1945 ประธานาธิบดีทรูแมนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสองสมัยระหว่างปี 1945 – 1953 28 ธันวาคม 1856 เด็กชายวู้ดโรว์ วิลสัน ซึ่งในอนาคตจะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเกิดที่เมือง Staunton รัฐเวอร์จิเนีย ประธานาธิบดีวิลสันได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1920 สำหรับความพยายามร่างแผนสนธิสัญญาที่จะป้องกันความขัดแย้งระดับโลกในอนาคต 29 ธันวาคม 1808 เด็กชายแอนดรู จอห์นสัน ซึ่งในอนาคตจะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เกิดที่เมือง Raleigh รัฐนอร์ทแคโรไลนา ในปี 1864 เมื่อลินคอล์นลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 จอห์นสันลงสมัครร่วมกับอับราฮัม ลินคอล์น โดยจอห์นสันสมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดี เมื่อประธานาธิบดีลินคอล์นถูกลอบสังหารในปี 1865 รองประธานาธิบดีจอห์นสันก็กลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 17 ของสหรัฐอเมริกา โดย U.S. Mission Thailand | 19 เมษายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
December 1 1842 The House of Representatives decide who becomes the U.S. president in 1842 elections. According to the 12th Amendment of the U.S. Consititution, if none of the presidential candidates receives a majority of the electoral votes, the decision will be turned over to the House. December 4 1783 George Washington resigns as commanding general of theContinental Army after the Americans won the Revolutionary War against the British in 1781. However, he was latercoaxed out of retirement and elected as the first president of the United States, a position he held until 1797. December 6 1884 Washington Monument is completed on this day in 1884. The monument was considered the tallest structure in the world at the time of its completion, standing at 555 feet in the air. December 7 1787 Delaware officially becomes the first state of the modern United States. December 10 1869 The state (then territoy) of Wyoming becomes the first to grant unrestricted suffrage to women. 1906 President Theodore Roosevelt becomes the first American to receive a Nobel Prize. He won the Nobel Peace Prize for his role in the mediation of the Russo-Japanese War. December 11 1815 President James Madison presents to Congress a trade agreement with Great Britain. The commerce agreement signified Britain’s acceptance of America as a separate nation. December 13 1918 President Woodrow Wilson makes the first U.S. presidential trip to Europe. December 14 1799 George Washington, the United States’ first president, dies at home in Mount Vernon, Virginia.He was 67 years old. December 15 1791 The Bill of Rights becomes law. The first ten amendments to the United States Constitution give these fundamental rights to all United States citizens: Congress must protect the rights of, freedom of speech, freedom of the press, freedom of assembly, freedom of petition, and freedom of religion. “A well regulated Militia being necessary to the security of a free State, the right of the people to keep and bear arms, shall not be infringed.” The government cannot send soldiers to live in private homes without the permission of the owners. The government cannot get a warrant to arrest a person or search their property unless there is “probable cause” to believe a crime has been committed. The government cannot put a person on trial for a crime until a grand jury has written an indictment. A person cannot be put on trial twice for the same crime. The government must follow due process of law before punishing a person or taking their property. A person on trial for a crime does not have to testify against themselves in court. The person who is accused of a crime should get a speedy trial by a jury. That person can have a lawyer during the trial. They must be told what they are charged with. The person can question the witnesses against them, and can get their own witnesses to testify. A jury trial is needed for civil cases. The government cannot require excessive bail or fines, or any cruel and unusual punishment. The listing of individual rights in the Constitution and Bill of Rights does not include all of the rights of the people and the states (For example, privacy). Any powers that the Constitution does not give to the United States belong to the states and the people. This does not include powers that the Constitution says the states cannot have(Source) December 24 1923 President Calvin Coolidge lights up the first official outdoor national Christmas tree at the White House lawn. The tree was also the first to be decorated with electric lights. December 26 1972 Former President Harry S. Truman dies in Independence, Missouri. He became the United States’ 33rd president after Franklin D Roosevelt passed away on April 12, 1945. Truman served as president for two terms from 1945 to 1953. December 28 1856 Future U.S. President Woodrow Wilson is born in Staunton, Virginia. President Wilson was awarded the Nobel Peace Prize in 1920 for his efforts in planning a treaty to prevent future world conflicts. December 29 1808 Future U.S. President Andrew Johnson is born in Raleigh, North Carolina. In 1864, he ran with Abraham Lincoln as vice president for Lincoln’s second term. When President Lincoln was assassinated in 1865, vice president Johnson then became the 17th president of the United States. By U.S. Mission Thailand | 1 December, 2015 | Topics: Elections, History
U.S. Presidential History: December
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: ธันวาคม
https://th.usembassy.gov/th/april1916-th-html-3/
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในนามของประชาชนอเมริกัน ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบ ๘๘ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคมนี้ ณ โอกาสอันเป็นมงคลนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอแสดงความชื่นชมอย่างยิ่งต่อพระราชกรณียกิจของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่ได้ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา และด้วยสายพระเนตรยาวไกลรวมทั้งพระวิริยะอุตสาหะ ใต้ฝ่าธุลีละอองพระบาทได้ทรงนำมาซึ่งความสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคนี้จนถึงประเทศอื่นๆ ข้าพระพุทธเจ้าหวังอย่างยิ่งว่า ประเทศเราทั้งสองจะคงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อไป ในวันอันมงคลนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคลชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระราชวงศ์ ขอให้ปีที่กำลังจะมาถึงนี้สมบูรณ์พร้อมด้วยความผาสุกร่มเย็น ขอทรงพระเกษมสำราญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายบารัค โอบามา โดย U.S. Mission Thailand | 19 เมษายน, 2016 | ประเภท: ข่าว, สุนทรพจน์
Your Majesty: On behalf of the American people, I extended our best wishes to you on your 88th birthday this December 5. I would like to take this auspicious occasion to express my profound appreciation for your many significant contributions to the U.S.-Thai alliance. Your vision and efforts have advanced the cause of peace and prosperity in both our countries, the region, and beyond. I look forward to continuing our countries’ close cooperation. On this day of celebration, we wish your Majesty and the royal family a peaceful and joyous year to come. Sincerely, Barack Obama By U.S. Mission Thailand | 5 December, 2015 | Topics: News, Speeches
Message from President Obama on the occasion of His Majesty the King’s Birthday
วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คำถวายพระพรของประธานาธิบดีบารัค โอบามา
https://th.usembassy.gov/th/april1916-th-html-4/
ในนามของประชาชนอเมริกัน ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบ 88 พรรษา และขอแสดงความยินดีแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในโอกาสวันชาติไทย วันที่ 5 ธันวาคมนี้ สหรัฐฯ เห็นความสำคัญของมิตรภาพที่ยืนยาวกว่า 180 ปีระหว่างสหรัฐฯ กับประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นเอกบุคคลพิเศษยิ่งที่ทรงชนะหัวใจชาวอเมริกันจำนวนมาก ณ โอกาสอันเป็นมงคลที่ชาวไทยกำลังเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษานี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอแสดงความชื่นชมอย่างยิ่งต่อพระราชกรณียกิจของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทซึ่งได้ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ข้าพระพุทธเจ้าหวังอย่างยิ่งว่า ประเทศเราทั้งสองจะดำรงความสัมพันธ์อันยืนยาวนี้สืบต่อไปเพื่อเสริมสร้างซึ่งความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองของประเทศเราทั้งสอง และภูมิภาคนี้ ตลอดจนประเทศอื่นๆ ในวาระอันมงคลยิ่งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และประชาชนชาวไทย ขอให้ปีที่กำลังจะมาถึงนี้สมบูรณ์พร้อมด้วยความผาสุกร่มเย็น ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ โดย U.S. Mission Thailand | 19 เมษายน, 2016 | ประเภท: ข่าว
On behalf of the people of the United States, I extend our warmest congratulations to His Majesty King Bhumibol Adulyadej on his 88th birthday and to the people of Thailand on your National Day this December 5. We greatly value our enduring friendship with the people of Thailand, which has spanned more than 180 years. The King is a singular figure who has won the hearts of many Americans. As the Thai people celebrate his birthday, I would like to express our deep appreciation for His Majesty’s incalculable contributions to the close bonds and warm relations between our two countries. We look forward to continuing our historic relationship with Thailand to advance security and prosperity in both our countries, the region, and beyond. On this auspicious occasion, I send our best wishes to King Bhumibol and the people of Thailand for a joyful and peaceful year to come. By U.S. Mission Thailand | 3 December, 2015 | Topics: News
His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s Birthday and Thailand’s National Day
คำถวายพระพรของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา จอห์น แคร์รี เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และวันช
https://th.usembassy.gov/th/april1916-th-html-2/
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ทราบข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของ พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ ด้วยความเสียใจยิ่ง ในนามของประชาชนชาวอเมริกัน ผมขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวและมิตรสหายของท่าน รวมทั้งประชาชนชาวไทย ในฐานะหนึ่งในผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดร. ถนัด มีคุณูปการมากมายแก่ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคนี้ ซึ่งยังคงประโยชน์แก่ผู้คนในภูมิภาคจวบจนถึงทุกวันนี้ ความพยายามดั้งเดิมของท่านสร้างคุณอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์อันกว้างขวางหยั่งลึกระหว่างสหรัฐอเมริกากับภูมิภาคนี้ ด้วยการที่ ดร. ถนัด เคยดำรงแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเวลาต่อมา ท่านได้ดำเนินบทบาทหลายประการเพื่อกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศเราทั้งสอง ท่านเป็นผู้รักชาติและรัฐบุรุษที่มีจิตใจเข้มแข็ง และได้ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยไว้ด้วยความอดทนกล้าหาญและสง่างาม เราร่วมขอไว้อาลัยกับการจากไปของท่าน โดย U.S. Mission Thailand | 19 เมษายน, 2016 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
It is with great sadness that we learned of the passing of Dr. Thanat Khoman. On behalf of the American people, I offer our heartfelt condolences to his family, friends, and the people of Thailand. As a founding father of the Association of Southeast Asian Nations, Dr. Thanat’s many contributions to the stability and prosperity of the region still benefit the people of the region today. The United States’ deep and broadening relationship with the region owes much to his original efforts. As Thailand’s Ambassador to the United States and later Foreign Minister, he did much to strengthen ties between our nations. A toughminded patriot and statesmen, he defended Thailand’s interests with grit and grace. We mourn his passing. By U.S. Mission Thailand | 4 March, 2016 | Topics: News, Press Releases
Statement by U.S Ambassador Glyn T. Davies on the Passing of Dr. Thanat Khoman
สารจากเอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์ เรื่อง การถึงแก่อสัญกรรมของ พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์
https://th.usembassy.gov/th/summary-of-the-us-elections-2016-th/
Infographic สรุปขั้นตอนการเลือกตั้งประธานาธิบดี คลิกเพื่อดูภาพที่ใหญ่ขึ้น ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประมาณหนึ่งปีก่อนการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากสองพรรคการเมืองใหญ่คือ พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันจะเริ่มกิจกรรมรณรงค์หาเสียงโดยจะตั้งคณะทำ งานและเริ่ม “ออกเดินทางปราศรัย” ทั่วประเทศเพื่อหาเสียงสนับสนุนและระดมทุนสำหรับการรณรงค์หาเสียง การโต้วาที ในช่วงแรกของการรณรงค์หาเสียง ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากทั้งสองพรรคจะปราศรัยโต้วาทีถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ในระหว่างการโต้วาที ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนจะต้องตอบคำถามยากๆ เกี่ยวกับนโยบายของพวกเขา รวมทั้งต้องแก้ต่างจุดยืนของตนในประเด็นและนโยบายต่างๆ การประชุมขั้นต้นและการประชุมคอคัส การประชุมขั้นต้นและการประชุมคอคัสซึ่งเป็น การลงคะแนนเสียงที่สำคัญเริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ การประชุมนี้นำไปสู่การเลือกตัวแทนซึ่งจะไปเข้าร่วมการประชุมใหญ่ระดับ ประเทศของพรรค รัฐที่ได้รับความสนใจมากคือ ไอโอวา นิวแฮมป์เชียร์ เนวาดาและเซาท์แคโรไลนา ซึ่งผลการเลือกตัวแทนของรัฐเหล่านี้มักจะชี้ว่าใครจะได้รับเสนอชื่อเป็นผู้ สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้ร่วมหาเสียง ราวเดือนกรกฎาคม ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดีจะเริ่มประกาศว่าใครจะเป็น “Running Mate หรือ ผู้ร่วมหาเสียง” ซึ่งคือผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีหากผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งคน นั้นๆ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี การประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง ในการประชุมใหญ่ระดับประเทศของพรรค ตัวแทนระดับรัฐจากการประชุมขั้นต้นและการประชุมคอคัสที่ได้รับเลือกจาก ประชาชนจะให้การ “รับรอง” ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่พวกเขาชื่นชอบ และเมื่อการประชุมใหญ่สิ้นสุดลง พรรคการเมืองก็จะออกประกาศอย่างเป็นทางการว่า พรรคได้เสนอชื่อบุคคลใดเป็นตัวแทนของพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นกระบวนการที่ “ผู้เลือกตั้ง” หรือตัวแทนจากแต่ละรัฐซึ่งจะมีจำนวนเป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากรของรัฐลง คะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดี ผู้เลือกตั้งทั้งหมดมีจำนวน 538 คน ซึ่งได้รับเลือกตามนโยบายของแต่ละรัฐ ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากผู้เลือก ตั้งไม่ต่ำกว่า 270 เสียง การเลือกตั้งทั่วไป เมื่อคนอเมริกันไปคูหาเลือกตั้งในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเขาจะเลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีพร้อมผู้สมัครดำรงตำแหน่งรอง ประธานาธิบดีคนที่ตนชื่นชอบ ในทุกรัฐยกเว้นรัฐเมนและเนแบรสกา หากผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใดได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่จากประชาชน ในรัฐ ผู้สมัครคนนั้นจะได้คะแนนผู้เลือกตั้ง (electoral vote) ทั้งหมดของรัฐนั้นๆ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ได้รับคะแนนเสียงจากผู้เลือกตั้งมากที่ สุดจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี โดย U.S. Mission Thailand | 19 เมษายน, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
Infographic showing the U.S. elections process. Click the image to enlarge. The Candidates About a year before the elections candidates from the two main political parties the Democrats and the Republicans begin their campaign trails. They set up their team and start “going on tour” around the country to rally for support and to fundraise for their campaigns. The Debates At the start of the campaigns the candidates from both parties participate in televised debates. During the debates each candidate will have to answer tough questions about their policies as well as defend their stance on issues and policies against other candidates. The Primaries and Caucuses Beginning in February the main voting events Primaries and Caucuses will lead to a selection of delegates who will represent the people at the upcoming conventions. The main focus will be on the results from Iowa New Hampshire Nevada and South Carolina which can usually determine who the final presidential nominee for each party will be. The Running Mates Around July presidential nominee hopefuls will start announcing their choice of “running mate”—the individual who will become vice president if the nominee is elected president. The National Conventions At the National Conventions state delegates from the primaries and caucuses selected to represent the people will now “endorse” their favorite candidates and the final presidential nominee from each party will be officially announced at the end of the conventions. The Electoral College The Electoral college is a process in which electors or representatives from each state in number proportional to the state’s population cast their vote and determine who will be president. There are a total of 538 electors selected according to each state’s policy. To win the presidency the presidential nominee must receive at least 270 electoral votes. The General Election When Americans go to the polls on November 8 they will select their favorite presidential candidate and running mate. Except in the states of Maine and Nebraska if a candidate receives the majority of the votes from the people of a state then the candidate will receive all electoral votes of that state. The presidential nominee with the most electoral votes becomes the President of the United States. By U.S. Embassy Bangkok | 19 April, 2016 | Topics: Elections
Summary of the U.S. Presidential Election Process
สรุปขั้นตอนการเลือกตั้งประธานาธิบดี
https://th.usembassy.gov/th/importance-of-iowa-caucus-th/
การประชุมคอคัสคืออะไร และเหตุใดรัฐไอโอวาจึงลงคะแนนเสียงก่อนรัฐอื่น รัฐไอโอวาซึ่งจะมีการประชุมคอคัส (caucus) ของทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่รัฐที่มีขนาดใหญ่หรือมีประชากรหนาแน่น กระนั้น รัฐนี้กลับมีบทบาทที่สำคัญในการคัดเลือกตัวแทนพรรคเพื่อลงสมัครแข่งขันรับ เลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ การประชุมคอคัสคืออะไร และเหตุใดรัฐไอโอวาจึงลงคะแนนเสียงก่อนรัฐอื่น พรรคกำหนดกฎระเบียบ รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ และกฎหมายอื่นๆ กำหนดกฎเกณฑ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีและเจ้าพนักงานรัฐบาลกลางอื่นๆ อย่างไรก็ดี วิธีการที่พรรคจะเลือกผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งนั้นขึ้นอยู่กับพรรค พรรคใหญ่ทั้งสองพรรคจะเลือกผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดีและผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่งรองประธานาธิบดีใน ระหว่างการประชุมใหญ่ของพรรค (convention) ในช่วงฤดูร้อนก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ละรัฐจะได้รับการจัดสรรว่าจะมีจำนวนผู้แทนเพื่อเข้าประชุมใหญ่ของพรรค เท่าไร โดยใช้สูตรตามที่พรรคกำหนด (สูตรนี้มักพิจารณาจากจำนวนประชากรของรัฐและรัฐนั้นๆ ออกเสียงเลือกตัวแทนพรรคเพื่อลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดีบ่อยแค่ไหน) การรณรงค์หาเสียงรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีที่เราเห็นส่วนใหญ่ใน ช่วงก่อนการประชุมใหญ่ของพรรคจะเป็นการแข่งขันในระดับรัฐเพื่อเลือกผู้แทน ที่จะเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของพรรค ก่อนหน้านี้ เป็นเวลานานที่เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองเป็นผู้เลือกผู้แทนของรัฐส่วนใหญ่ ดังนั้น ตัวแทนพรรคเพื่อลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีจึงได้รับ เลือกโดยมติของบุคคลสำคัญและเจ้าหน้าที่ของพรรค นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 พรรคการเมืองได้เปิดขั้นตอนที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมการในการคัดเลือก ปัจจุบัน รัฐส่วนใหญ่จัดการเลือกตั้งขั้นต้น (primary election) การเลือกผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเลือกผู้แทนที่ “ให้คำมั่นสัญญา” ว่าจะสนับสนุนผู้ลงสมัครฯ คนนั้นๆ ณ การประชุมใหญ่ของพรรค ปัจจัยกำหนดว่าใครจะเป็นตัวแทนพรรคไปสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดีคือ คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของผู้แทน โดยหลักการนี้ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 สำหรับพรรคเดโมแครต และก่อนปี พ.ศ. 2479 สำหรับพรรครีพับลิกัน รัฐไอโอวาและรัฐอื่นๆ อีกสิบกว่ารัฐเลือกผู้แทนผ่านระบบคอคัส ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะมารวมตัวกันในสถานที่ที่กำหนดประมาณ 2,000 แห่ง ซึ่งมักจะเป็นโรงเรียนหรืออาคารสาธารณะอื่นๆ แต่บางครั้งก็อาจเป็นที่พำนักส่วนบุคคล จากนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะประกาศสนับสนุนผู้ลงสมัครฯ ที่ตนชื่นชอบ การอภิปรายอาจจะเข้มข้น แต่ในที่สุด ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียง (พรรครีพับลิกันจะเขียนตัวเลือกแล้วนำใส่หีบบัตรเลือกตั้ง ส่วนพรรคเดโมแครตจะใช้วิธีเดินไปยังคนละมุมของห้องเพื่อระบุว่าเลือกใคร) พรรค รีพับลิกันและพรรคเดโมแครตมีกฎระเบียบต่างกัน สำหรับพรรคเดโมแครต หากผู้ลงสมัครฯ ได้รับเสียงสนับสนุนต่ำกว่าร้อยละ 15 ณ หน่วยเลือกตั้งแบบคอคัสใด ผู้ที่สนับสนุนผู้ลงสมัครฯ คนนั้นสามารถเปลี่ยนไปสนับสนุนผู้ลงสมัครฯ คนอื่นแทน ลักษณะนี้คือสูตรสำหรับการเมืองแบบโบราณที่มีการแลกเปลี่ยนต่อรองและการ เกลี้ยกล่อม เจ้าหน้าที่ของพรรคจะรับผลการเลือกครั้งสุดท้ายจากหน่วยเลือกตั้งแบบคอคัส แต่ละแห่งและจะนำผลนี้มาใช้ในการกำหนดจำนวนผู้แทนของรัฐไอโอวาในการประชุม ใหญ่ของพรรคสำหรับผู้ลงสมัครฯ แต่ละคน ในขณะที่บางคนเห็นว่า การเลือกตั้งแบบคอคัสมีความเป็นประชาธิปไตยน้อยกว่าการเลือกตั้งแบบprimary แต่ชาวไอโอวาจำนวนมากไม่เห็นด้วย นั่นเพราะการที่ผู้ลงสมัครฯ จะได้ชัยในการเลือกตั้งแบบคอคัส ผู้ลงสมัครฯ ต้องแสดงความสามารถในการโน้มน้าวใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการบริหารผู้สนับสนุน ซึ่งเป็นทักษะที่ประโยชน์สำหรับผู้ที่จะมาเป็นประธานาธิบดี Charlie Szold เจ้าหน้าที่ของพรคครีพับลิกันรัฐไอโอวากล่าวกับ Business Insider ว่า “ผมคิดว่า การประชุมแบบคอคัสเป็นรากฐานของประชาธิปไตย สารัตถะที่สำคัญแห่งรากฐานความเป็นอเมริกาคือแนวความคิดที่เพื่อนบ้านกลุ่ม หนึ่งมาประชุมกันเพื่อหารือและอภิปรายและตัดสินใจว่าใครอยากเป็น ประธานาธิบดีคนต่อไป หรือ ในกรณีนี้ คือ เราจะเสนอชื่อใครเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป” ข้อเสี่ยงคืออะไร ในทางทฤษฎีแล้ว แทบไม่มีอะไรเสี่ยงเลย รัฐไอโอวาจะส่งผู้แทน 52 คนจากทั้งหมด 4,764 คนไปร่วมประชุมใหญ่พรรคเดโมแครต และ 30 คนจากทั้งหมด 2,472 คนไปร่วมประชุมใหญ่พรคครีพับลิกัน ในทางปฏิบัติ รัฐไอโอวามีความสำคัญกว่านั้น ด้วยการที่เป็นรัฐแรกที่จัดประชุมจึงหมายความว่า รัฐนี้ได้ช่วยตีกรอบจำนวนผู้ที่น่าจะเป็นผู้แทนพรรคเพื่อไปแข่งขันชิง ตำแหน่งประธานาธิบดีให้แคบลง ผู้ลงสมัครฯ รณรงค์หาเสียงอย่างทุ่มเทและยาวนานในรัฐไอโอวา เพราะหากผลงานในรัฐนี้ไม่ดี ผู้สนับสนุนและผู้บริจาคเงินสนับสนุนมักจะทิ้งบุคคลที่ตนเดิมเลือกไว้และไป เลือกบุคคลที่ดูมีโอกาสดีกว่า เหตุผลว่าทำไมรัฐไอโอวาจึงจัดการประชุมลงคะแนนเสียงก่อนค่อนข้างซับ ซ้อนเล็กน้อย เพราะปกติ สมัยก่อน ผู้ที่ทำอะไรก่อนมักจะไม่ค่อยสำคัญ กรณีหนึ่งคือ ในปี พ.ศ. 2515 ประธานพรรคเดโมแครตของรัฐต้องการส่งสำเนาเอกสารเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของพรรคตลอด จนข้อเสนอนโยบายของพรรคให้แก่ผู้แทนที่ได้รับเลือกจากการประชุมคอคัสทุกคน เหตุการณ์นี้ ก่อนยุคคอมพิวเตอร์ ประธานพรรคเชื่อว่า ต้องใช้เวลาสี่เดือนในการทำสำเนาทั้งหมดด้วยการใช้เครื่องอัดสำเนาด้วย กระดาษไข (เครื่องโรเนียว) ที่นำสมัย ดังนั้น เขาจึงเลื่อนการประชุมคอคัสเป็นเดือนมกราคม หลังจากความสำเร็จของจิมมี่ คาร์เตอร์ในการเลือกตั้งแบบคอคัสที่รัฐไอโอวาเมื่อปี พ.ศ. 2519 ทำให้เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งและรัฐอื่นๆ จึงเข้าใจถึงประโยชน์ของการทำก่อน อย่างไรก็ดี บรรทัดฐานได้เกิดขึ้นแล้ว รัฐไอโอวาจึงจัดประชุมก่อนรัฐอื่น ถึงขั้นที่ไอโอวาออกกฎหมายให้เลื่อนวันประชุมคอคัสของรัฐได้หากจำเป็นเพื่อ ให้การประชุมของรัฐจัดก่อนรัฐอื่นเช่นที่ดำเนินมาในอดีต โดย U.S. Mission Thailand | 18 เมษายน, 2016 | ประเภท: เลือกตั้ง
Why does Iowa vote first? And what is a caucus? Iowa, which holds its Democratic and Republican caucuses February 1, is neither particularly large nor populous. And yet it plays an outsized role in selecting each major party’s presidential candidate. What is a “caucus?” And, why does Iowa vote first? The parties make the rules The U.S. Constitution and other laws establish the rules governing elections for president and other federal offices, but how political parties select their candidates is up to the parties themselves. Both major parties select their presidential and vice presidential candidates at a convention, held in the summer before a presidential election. Each state is apportioned a number of convention delegates, using a formula established by the party. (It’s usually a combination of the state’s population and how often it has voted for the party’s presidential candidate in recent elections.) Much of the presidential campaigning you see during the months before that convention revolves around state-level contests to select those convention delegates. For a long time, party officials selected most states’ delegates. Presidential candidates thus were selected by a consensus among leading party figures and officeholders. Beginning in the 1970s, parties opened the process to greater voter participation. Most states now hold a primary election. By choosing among candidates for president, voters select delegates “pledged” to support that candidate at the party convention. Since 1936 for Democrats and even earlier for Republicans, a simple majority of delegates determines the party nominee. Iowa and a few other states instead chose their delegates through caucuses. Voters gather in about 2,000 designated locations—typically a school or other public building but sometimes a private home— and make statements in support of their preferred candidate. The discussions can be vigorous, but in the end, every participant casts a vote. (Republicans write down their choice and drop it in a ballot box; Democrats move to different parts of the room to indicate their selection.) Republicans and Democrats have different rules. For Democrats, if a candidate fails to reach 15 percent support at a caucus location, his or her supporters can switch to another candidate. That’s a formula for persuasion, horse-trading, and old -fashioned politics! Party officials receive the final results from each caucus location and use them to allocate Iowa’s convention delegates among the candidates. While some consider the caucus system less democratic than primary elections, many Iowans disagree. To succeed in caucuses, candidates must demonstrate their ability to motivate and, especially, organize supporters — useful skills for a prospective president. “I think the caucuses are what democracies are built on,” Iowa Republican official Charlie Szold told Business Insider. “The idea that a group of neighbors will get together to talk and debate and decide who they want to be our next president, or our next nominee in this case, gets at the very essence of what America is built on.” What’s at stake? In theory, not that much. Iowa will send 52 of 4,764 total delegates to the Democratic convention and 30 of 2,472 to its Republican counterpart. In practice, Iowa counts for much more. Its position as the first state means it helps to narrow the field of potential candidates. Candidates campaign long and hard in Iowa; if they do poorly there, supporters and financial contributors frequently abandon their original choice in favor of a stronger one. Why Iowa votes first is a little complicated. Mostly it’s because going first used not to be that important. One account is that back in 1972, the state’s Democratic chairman wanted to send every caucus-selected delegate their own copy of the party’s lengthy rules and party-platform proposals. This was before computers. Four months would be needed, he believed, to copy all those materials on the era’s state-of-the-art mimeograph machines. So he moved the caucuses to January. It was only after Jimmy Carter’s success in Iowa’s 1976 caucuses propelled him to the presidency that candidates and other states understood the benefit of going first. But the precedent had been set. Iowa goes first. It even passed a law that advances its caucus date as required to stay that way. By U.S. Mission Thailand | 18 April, 2016 | Topics: Elections
Importance of Iowa Caucus
การประชุมคอคัสของรัฐไอโอวาสำคัญอย่างไร
https://th.usembassy.gov/th/april1116-th-html/
ในนามของประธานาธิบดีโอบามาและประชาชนชาวอเมริกัน ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมายังประชาชนชาวไทยในโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ สหรัฐอเมริกามั่นคงในมิตรไมตรีที่ยืนยาวกับไทย อันเป็นความร่วมมือที่ดำเนินมากว่า 183 ปี ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ประเทศทั้งสองทำงานร่วมกันในหลายประเด็นสำคัญ เช่น ส่งเสริมสาธารณสุข สร้างสายสัมพันธ์การค้าและการลงทุน ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนเสริมสร้างความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค สหรัฐอเมริกามุ่งหวังสานต่อความร่วมมืออันทรงคุณค่าของทั้งสองประเทศสืบต่อไปในปีใหม่นี้ ข้าพเจ้าขอให้เทศกาลนี้เต็มไปด้วยความรื่นเริงเบิกบานใจสำหรับชาวไทยทุกคนพร้อมทั้งครอบครัวมิตรสหาย ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และประสบความสุขความเจริญในปีใหม่นี้ สุขสันต์เทศกาลสงกรานต์ โดย U.S. Mission Thailand | 11 เมษายน, 2016 | ประเภท: ข่าว, รัฐมนตรี จอห์น แคร์รี, เอกสารข่าว
John Kerry Secretary of State Washington, DC On behalf of President Obama and the American people, I extend warm wishes to the people of Kingdom of Thailand for the celebration of Songkran. We are committed to our enduring friendship with Thailand, a partnership that has spanned over 183 years. We have worked together over the past year on important issues like promoting public health, building trade and investment ties, combatting transnational crime, and enhancing the security and prosperity of the region. The United States looks forward to continuing our valuable cooperation in the New Year. I wish all Thai people a joyous festival with family and friends, and a healthy and prosperous New Year. Happy Songkran! By U.S. Mission Thailand | 11 April, 2016 | Topics: News, Press Releases | Tags: John Kerry
Songkran Festival – Thai New Year
เทศกาลสงกรานต์ – ปีใหม่ไทย
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-april-th/
2 เมษายน 1917 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ขอให้สภาคองเกรสประกาศสงครามต่อเยอรมนีโดยแถลงว่า “เราต้องรักษาโลกให้ปลอดภัยสำหรับประชาธิปไตย” 3 เมษายน 1948 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนลงนามในแผน Marshall Plan หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ กฎหมาย Foreign Assistance Act ปี ค.ศ. 1948 แผนนี้จัดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปตะวันตกหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 โดยมีมูลค่า 12 พันล้านเหรียญสหรัฐ 4 เมษายน 1818 สภาคองเกรสออกกฎหมายว่าด้วยธง (Flag Act) ปี ค.ศ. 1818 ระบุถึงธงที่กำหนดรูปแบบธงต่างๆ ที่ตามมาให้มี 13 แถบซึ่งหมายถึงอาณานิคม 13 แห่งแรก และมีดาวแต่ละดวงแทนรัฐแต่ละรัฐ 1841 ประธานาธิบดี วิลเลียม เฮนรี แฮร์ริสัน ประธานาธิบดีคนที่ 9 ของสหรัฐอเมริกาถึงแก่อสัญกรรมจากโรคปอดบวม ณ ทำเนียบขาว หลังเข้ารับตำแหน่งได้เพียงสัปดาห์เดียว 6 เมษายน 1841 หลังจากประธานาธิบดีแฮร์ริสันถึงแก่อสัญกรรม นายจอห์น เทเลอร์ รองประธานาธิบดีได้สาบานตนรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในวันนี้ ท่านเป็นรองประธานาธิบดีคนแรกที่รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีเนื่องจาก ประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม 7 เมษายน 1913 ผู้เรียกร้องสิทธิเลือกตั้งเดินขบวนไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งให้แก่สตรี 8 เมษายน 1935 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ลงนามในกฎหมาย Emergency Relief Appropriation Act เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คนอเมริกันในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) โดยตามกฎหมายนี้ สภาคองเกรสอนุญาตให้ประธานาธิบดีใช้เงินห้าล้านเหรียญเพื่อให้ความช่วยเหลือ แก่ประชาชน นับเป็นโครงการบรรเทาทุกข์ขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ 9 เมษายน 1962 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ขว้างลูกเบสบอลตามพิธีการลูกแรก ณ สนามกีฬา “D.C. Stadium” ที่เพิ่งสร้างใหม่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. 12 เมษายน 1945 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ถึงแก่อสัญกรรมจากอาการหัวใจวายขณะอยู่ระหว่างการพักผ่อนที่เมือง Warm Springs รัฐจอร์เจีย ท่านถึงแก่อสัญกรรมสามเดือนหลังจากเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 4 13 เมษายน 1743 โทมัส เจฟเฟอร์สัน ถือกำเนิดในวันนี้ ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐฯ ท่านนี้เป็นหนึ่งในผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา 14 เมษายน 1865 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ถูกลอบยิงโดยนาย John Wilkes Booth ขณะที่ท่านกำลังชมละครที่โรงละคร Ford’s Theater ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ท่านถึงแก่อสัญกรรมเช้าวันต่อมา 15 เมษายน 1865 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ถึงแก่อสัญกรรม ท่านถูกลอบยิงในวันก่อนหน้านี้ (วันที่ 14 เมษายน) ขณะกำลังชมละครที่โรงละคร Ford’s Theater ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. 16 เมษายน 1789 ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งเดินทางออกจากบ้านของท่านในเมือง Mount Vernon รัฐเวอร์จิเนีย ไปยังนครนิวยอร์กเพื่อเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นครั้งแรก ทั้งของท่านและของประเทศ 21 เมษายน 1865 รถไฟที่นำโลงศพประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ที่ถูกลอบสังหารเดินทางไปยังเมือง Springfield รัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ต่อมา ศพของประธานาธิบดีอับราฮัมได้รับการบรรจุฝังในสุสานของตระกูลท่าน โดย U.S. Mission Thailand | 1 เมษายน, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
April 2 1917 President Woodrow Wilson asks Congress to declare war against Germany. “The world must be made safe for democracy,” proclaimed the President on this day. April 3 1948 President Harry S. Truman signs the Marshall Plan. Also knowns as Foreign Assistance Act of 1948, the plan was established to provide $12 billion worth of economic recovery aid for Western Europe after World War II. April 4 1818 The Flag Act of 1818 is enacted by Congress today. It was the flag that determined the design of all succeeding flags to have 13 stripes to represent the first 13 colonies and to have each star representing each state. 1841 President William Henry Harrison dies just after one month in office. The 9th President of the United States succumbed to pneumonia and passed away at the White House. April 6 1841 After the death of President Harrison, John Tyler, the vice president, is sworn in as president on this day. He was the first vice president to assume the presidency due to the death of a president. April 7 1913 Suffragists march to Washington, D.C. to demand voting rights to women. April 8 1935 President Franklin D. Roosevelt signs Emergency Relief Appropriation Act to help struggling Americans during the Great Depression. Through the Act, Congress allowed the President to use $5 million for public assistance, the largest ever relief programs in the country’s history. April 9 1962 President John F. Kennedy throws the first ceremonial pitch at the newly constructed “D.C. Stadium” in Washington, DC. April 12 1945 President Franklin D. Roosevelt dies. The president suffered a stroke while on vacation at Warm Springs, Georgia. He died just three months into his historic fourth term. April 13 1743 Thomas Jefferson is born on this day. The third president was also one of the drafters of the U.S. Declaration of Independence. April 14 1865 President Abraham Lincoln in shot by John Wilkes Booth while attending a play at Ford’s Theater in Washington, D.C. He died the following morning. April 15 1865 President Abraham Lincoln dies. He was shot the day prior while attending a play at Ford’s Theater in Washington, D.C. April 16 1789 The newly elected President George Washington leaves his home in Mount Vernon, Virginia and travels to New York for his, and the country’s, first presidential inauguration. April 21 1865 A train carrying the coffin of assassinated Abraham Lincoln travels to Springfield, Illinois, the president’s home town. President Lincoln was later buried at the family plot. By U.S. Mission Thailand | 1 April, 2016 | Topics: Elections, History
U.S. Presidential History: April
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: เมษายน
https://th.usembassy.gov/th/security-forces/
วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559 นางซาราห์ ซูวัล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาฝ่ายความมั่นคงของพลเรือน ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เดินทางเยือนราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 25-28 มีนาคม เพื่อพบปะกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลและผู้แทนภาคประชาสังคม หารือประเด็นที่มีความสำคัญต่อความร่วมมือของสหรัฐอเมริกากับไทยซึ่งดำเนินมายาวนานกว่า 183 ปี รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อภูมิภาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ย้ำถึงพันธกรณีของรัฐบาลอเมริกันในการร่วมมือกับรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยต่อสู้กับปัญหาการค้ามนุษย์อย่างประสบผลสำเร็จ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ไทยดำเนินการกลับคืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และเน้นย้ำความสำคัญของการเคารพเสรีภาพในการแสดงออกรวมถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอื่นๆ อย่างสมบูรณ์เพื่อนำมาซึ่งธรรมาภิบาลและสถาบันที่มีเสถียรภาพยั่งยืน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยังหยิบยกความสำคัญของการสานต่อการดำเนินงานที่ไทยได้ปฏิบัติมายาวนานด้านการคุ้มครองผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่พักพิง และบุคคลกลุ่มเปราะบางอื่นๆ ที่แสวงหาที่พักพิงที่ปลอดภัย ในโอกาสนี้ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนจังหวัดสงขลา และชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของกระบวนการสันติภาพที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนต่อการแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้ของไทยอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ระหว่างการฝึกอบรมว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง ซึ่งจัดโดยสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ILEA) กรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาคในการต่อสู้กับอาชญากรรม การส่งเสริมความเคารพสิทธิมนุษยชน และการรับรองความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเสมอภาคภายใต้หลักนิติธรรม หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ทางอีเมล PressBKK@state.gov โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 มีนาคม, 2016 | ประเภท: เอกสารข่าว
Under Secretary for Civilian Security, Democracy, and Human Rights Sarah Sewall visited the Kingdom of Thailand March 25-28 to engage senior government officials and representatives of civil society on issues of importance to the 183 year-old U.S.-Thailand partnership and the region. She reiterated the U.S. commitment to partnering with the Royal Thai Government and the people of Thailand in successfully combating the challenge of human trafficking. She urged Thailand to restore democratic governance and stressed the importance of ensuring full respect for freedom of expression and other human rights and fundamental freedoms in order to secure stable and sustainable governance and institutions. Under Secretary Sewall raised the importance of Thailand continuing its long tradition of providing protection to refugees, asylum seekers, and other vulnerable persons seeking safe haven. During a visit to Songkhla province, she highlighted the value of an inclusive peace process to finding a lasting solution to the conflict in the Kingdom’s Deep South. At an anti-hate crimes training at the U.S.-Thai joint International Law Enforcement Academy (ILEA) Bangkok, she emphasized the importance of regional cooperation to fight crime, promote respect for human rights and ensure equal legal protections for all people under the law. For further information, please contact the U.S. Embassy Bangkok atPressBKK@state.gov. By U.S. Embassy Bangkok | 28 March, 2016 | Topics: Press Releases
Visit to Thailand of U.S. Under Secretary for Civilian Security, Democracy, and Human Rights
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาฝ่ายความมั่นคงของพลเรือน ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เดินทางเยือนประเทศไทย
https://th.usembassy.gov/th/scientific/
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย — ในระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคม พ.ศ. 2559 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission Meeting – JCM) เป็นครั้งแรกภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งลงนามเมื่อ พ.ศ. 2556 การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม หรือ JCM ครั้งนี้มี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย และ Judith Garber รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา รับผิดชอบสำนักงานกิจการมหาสมุทร สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ และวิทยาศาสตร์ (Bureau of Oceans and International Environmental and Scientific Affairs) เป็นประธาน และมีนักวิทยาศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ และไทยร่วมประชุมเพื่อหารือการดำเนินความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำคัญร่วมกัน เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ พลังงาน สาธารณสุข การศึกษาแบบ STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์) และน้ำ คณะผู้แทนจากทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การให้ความสำคัญแก่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม นายกลิน เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยกล่าวว่า “ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความร่วมมือทางระหว่างสหรัฐฯ กับไทย การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม หรือ JCM นี้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ กับไทยในการขยายความรู้และส่งเสริมนวัตกรรม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเหล่านี้สร้างสัมพันธภาพและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในวงการวิทยาศาสตร์และการศึกษาของประเทศเราทั้งสอง” คณะผู้แทนของสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม หรือ JCM ครั้งนี้ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายจำนวนกว่า 20 คนจากหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ ได้แก่ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา กระทรวงเกษตร กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ Oak Ridge National Laboratories องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา กรมแพทย์ทหารบกของสหรัฐฯ และสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีศาสตราจารย์ Geraldine Richmond ทูตวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาประจำกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างร่วมประชุมด้วย โดย U.S. Embassy Bangkok | 8 มีนาคม, 2016 | ประเภท: เอกสารข่าว
Bangkok, Thailand – On March 7-8, 2016, the Thai Ministry of Science and Technology (MOST) hosted the first Joint Commission Meeting (JCM) under the Agreement Related to Scientific and Technical Cooperation between the Government of the United States of America and the Government of the Kingdom of Thailand, signed in 2013. The JCM, co-chaired by Weerapong Pairsuwan, the Thai MOST Permanent Secretary, and Judith Garber, the U.S. Department of State’s Acting Assistant Secretary of State for Oceans, Environment, and Science, brought together U.S. and Thai scientists and policymakers to discuss scientific collaboration on issues of mutual importance, including biodiversity; energy; health; science, technology, engineering, and mathematics (STEM) education; and water. The two delegations also addressed science policy issues, including science and technology priorities and the role of science and technology in fostering innovation-driven economic development. “Science and technology cooperation is a cornerstone of the U.S.-Thai partnership,” said Glyn Davies, U.S. Ambassador to Thailand. “The Joint Commission Meeting facilitates collaboration between U.S. and Thai scientists to expand knowledge and foster innovation. These exchanges build relationships and nurture people-to-people ties between our scientific and educational communities.” The U.S. delegation to the JCM consisted of more than twenty scientists and policymakers from the U.S. Centers for Disease Control and Prevention; the Departments of Agriculture, State and Energy; the National Science Foundation; Oak Ridge National Laboratories; the U.S. Agency for International Development; the U.S. Army Medical Department; and the U.S. Geological Survey. Professor Geraldine Richmond, the U.S. Science Envoy to the Lower Mekong countries, also participated. By U.S. Embassy Bangkok | 8 March, 2016 | Topics: Press Releases
U.S. and Thailand Hold First High-Level Scientific Dialogue
การหารือด้านวิทยาศาสตร์ระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูงครั้งแรกระหว่างสหรัฐฯ กับไทย
https://th.usembassy.gov/th/march816-th-html/
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยจัดการประชุมคณะกรรมการร่วม (Joint Commission Meeting – JCM) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อประสานและเพิ่มเติมพันธกรณีระหว่างกันในสาขานี้ ทั้งสองฝ่ายตระหนักร่วมกันว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกลไกซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาท้าทายระดับโลก ทั้งยังสร้างอาชีพและเสริมพลังอำนาจแก่เศรษฐกิจของประเทศทั้งสองเพื่อช่วยให้พลเมืองบรรลุเป้าหมายตามที่ตนปรารถนา ทั้งสองฝ่ายยอมรับว่าความร่วมมือระหว่างประเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อความพยายามทางวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ จึงจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่กรุงเทพมหานคร ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2556 (Agreement Related to Scientific and Technical Cooperation between the Government of the United States of America and the Government of the Kingdom of Thailand, 2013) การประชุมคณะกรรมการร่วมฯ เป็นการหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมถึงจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ในอนาคต รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายรวมมากกว่า 90 คน ส่วนนาง Judith Garber รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา รับผิดชอบสำนักงานกิจการมหาสมุทร สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ และวิทยาศาสตร์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของสหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายมากกว่า 20 คนจากหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ ได้แก่ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา กระทรวงเกษตร กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ Oak Ridge National Laboratories องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา กรมแพทย์ทหารบกของสหรัฐฯ และสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีศาสตราจารย์ Geraldine Richmond ทูตวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาประจำกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างร่วมประชุมด้วย ในการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งนี้ ไทยและสหรัฐฯ ยืนยันบทบาทสำคัญของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผ่านช่องทางดำเนินการที่มั่นคงยาวนาน เช่น ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (Thai Ministry of Public Health – U.S. Centers for Disease Control and Prevention Collaboration) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (Armed Forces Research Institute of Medical Sciences – AFRIMS) และหุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์ ไทย-สหรัฐฯ (Thai-U.S. Creative Partnership) ไทยและสหรัฐฯ มุ่งมั่นกระชับความร่วมมือทวิภาคีในการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองต่อประเด็นที่มีความสำคัญในระดับทวิภาคี ภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งรวมถึงสุขภาพโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การพัฒนาพลังงานสะอาด และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ยอมรับความสำคัญของสะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) ตลอดจนการสานความสัมพันธ์ระดับประชาชนระหว่างภาควิทยาศาสตร์ของไทยและสหรัฐอเมริกา โดยตระหนักถึงการที่ไทยทวีบทบาทผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานผ่านวาระความมั่นคงด้านสุขภาพของโลก (Global Health Security Agenda) ทั้งสองฝ่ายยืนยันพันธกรณีในการแสวงหาโอกาสยกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกันในภูมิภาคผ่านกรอบการทำงานต่างๆ เช่น กรอบข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative) และหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน-สหรัฐฯ (ASEAN-U.S. Strategic Partnership) ทั้งสองฝ่ายมองไปในอนาคต และยินดีสานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องโดยหลักการว่าจะจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งต่อไปที่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2561 โดย U.S. Mission Thailand | 8 มีนาคม, 2016 | ประเภท: ข่าว
The U.S. Department of State and the Thai Ministry of Science and Technology convened the first Joint Committee Meeting (JCM) on Science and Technology to forge, and deepen, mutual commitments in this area. We jointly recognize Science and Technology as an engine that develops solutions to global challenges, that creates jobs and that powers our economy to help our citizens achieve their aspirations. We acknowledge that international cooperation is essential to our scientific endeavors and as such, held the JCM March 7-8, 2016 in Bangkok under the 2013 Agreement Related to Scientific and Technical Cooperation between the Government of the United States of America and the Government of the Kingdom of Thailand. The JCM is a senior-level policy dialogue on science and technology, which provides an opportunity to exchange views on key science and technology issues and to prioritize future scientific collaborations. Weerapong Pairsuwan, the Permanent Secretary of the Ministry of Science and Technology, led the Thai delegation, which consisted of 90+ scientists and policymakers. Judith Garber, the Acting Assistant Secretary of State for Oceans and International Environmental and Scientific Affairs led the U.S. delegation, which consisted of more than twenty scientists and policymakers from the Centers for Disease Control and Prevention (CDC); the Departments of Agriculture, State, and Energy; the National Science Foundation; Oak Ridge National Laboratories; the U.S. Agency for International Development; the U.S. Army Medical Department; and the U.S. Geological Survey. Professor Geraldine Richmond, the U.S. Science Envoy to the Lower Mekong countries, also participated. During the JCM, Thailand and the United States reaffirmed the key role of science and technology cooperation in the Thai-U.S. partnership. They noted successful collaboration on science, technology, and innovation through such enduring platforms as the Thai Ministry of Public Health – U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) Collaboration, the Armed Forces Research Institute of Medical Sciences (AFRIMS), and the Thai-U.S. Creative Partnership. Thailand and the United States committed to deepen bilateral engagement to advance scientific knowledge and technological innovation to address issues of bilateral, regional, and global significance, including global health, climate change, and environmental issues such as biodiversity conservation, clean energy development, and water resource management. They also acknowledged the importance of science, technology, engineering, and mathematics (STEM) education and people-to-people ties between the Thai and U.S. scientific communities. Recognizing Thailand’s emerging regional leadership on science and technology, including through the Global Health Security Agenda, the two sides committed to explore opportunities to leverage their science and technology partnership to advance common goals in the region through such frameworks as the Lower Mekong Initiative and the ASEAN-US Strategic Partnership. Looking forward, Thailand and the United States welcome continued, robust science and technology engagement and agreed in principle to hold the next JCM in the United States in 2018. By U.S. Mission Thailand | 8 March, 2016 | Topics: News
Joint Statement of the Thailand-U.S. Joint Committee Meeting on Science and Technology
ถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-สหรัฐอเมริกา
https://th.usembassy.gov/th/tax-information/
กรุงเทพมหานคร – เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2559 นายกลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยลงนามในข้อตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการปฏิบัติตาม Foreign Account Tax Compliance Act (ความตกลง FATCA) เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสระหว่างประเทศทั้งสองในเรื่องภาษี ข้อตกลงดังกล่าวนี้ส่งเสริมการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศในการสร้างระบบการเงินนานาชาติให้มีความแข็งแกร่ง เสถียรภาพและความรับผิดชอบมากขึ้น เอกอัครราชทูตเดวีส์ซึ่งเป็นผู้ลงนามในนามของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า “การลงนามในวันนี้นับเป็นก้าวสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยในการปราบปรามการเลี่ยงภาษีในต่างประเทศ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่อวยประโยชน์ให้แก่ประเทศเราทั้งสอง” สหรัฐอเมริกาออกกฎหมาย FATCA ในปี พ.ศ. 2553 เพื่อปราบปรามการเลี่ยงภาษีในต่างประเทศโดยส่งเสริมความโปร่งใสของบัญชีในต่างประเทศของผู้เสียภาษีชาวสหรัฐฯ และภายใต้ข้อตกลง FATCA ที่มีการลงนามในวันนี้ ประเทศไทยจะแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวกับบัญชีที่ถือโดยบุคคลสัญชาติสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอเมริกาจะแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวกับบัญชีที่ถือโดยคนไทย สหรัฐอเมริกาได้ลงนามหรืออยู่ระหว่างการเจรจาลงนามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับอีกกว่า 110 ประเทศ โดย U.S. Embassy Bangkok | 4 มีนาคม, 2016 | ประเภท: เอกสารข่าว
Bangkok, March 4, 2016 – U.S. Ambassador to Thailand Glyn T. Davies and Thailand Minister of Finance Apisak Tantivorawong today signed an inter-governmental agreement to implement the Foreign Account Tax Compliance Act (FATCA) to promote transparency between the two nations on tax matters. The agreement underscores growing international cooperation in building a stronger, more stable, and more accountable global financial system. Ambassador Davies, who signed on behalf of the United States, stated, “Today’s signing marks a significant step forward in the partnership between the United States and Thailand to combat offshore tax evasion – an objective that mutually benefits our two countries.” The United States enacted FATCA in 2010 to combat offshore tax evasion by encouraging transparency on accounts held by U.S. taxpayers in other countries. Under the FATCA inter-governmental agreement signed today, Thailand will share information about accounts held by U.S. persons, and the U.S. will share information about accounts held by Thai persons. The United States has concluded or is negotiating inter-governmental agreements with more than 110 jurisdictions. By U.S. Embassy Bangkok | 4 March, 2016 | Topics: Press Releases
United States and Thailand Sign Agreement to Share Tax Information
สหรัฐอเมริกาและไทยร่วมลงนามในข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านภาษี
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%97%e0%b8%b9%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b4/
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ทราบข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของ พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ ด้วยความเสียใจยิ่ง ในนามของประชาชนชาวอเมริกัน ผมขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวและมิตรสหายของท่าน รวมทั้งประชาชนชาวไทย ในฐานะหนึ่งในผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดร. ถนัด มีคุณูปการมากมายแก่ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคนี้ ซึ่งยังคงประโยชน์แก่ผู้คนในภูมิภาคจวบจนถึงทุกวันนี้ ความพยายามดั้งเดิมของท่านสร้างคุณอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์อันกว้างขวางหยั่งลึกระหว่างสหรัฐอเมริกากับภูมิภาคนี้ ด้วยการที่ ดร. ถนัด เคยดำรงแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเวลาต่อมา ท่านได้ดำเนินบทบาทหลายประการเพื่อกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศเราทั้งสอง ท่านเป็นผู้รักชาติและรัฐบุรุษที่มีจิตใจเข้มแข็ง และได้ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยไว้ด้วยความอดทนกล้าหาญและสง่างาม เราร่วมขอไว้อาลัยกับการจากไปของท่าน โดย U.S. Embassy Bangkok | 4 มีนาคม, 2016 | ประเภท: เอกสารข่าว
It is with great sadness that we learned of the passing of Dr. Thanat Khoman. On behalf of the American people, I offer our heartfelt condolences to his family, friends, and the people of Thailand. As a founding father of the Association of Southeast Asian Nations, Dr. Thanat’s many contributions to the stability and prosperity of the region still benefit the people of the region today. The United States’ deep and broadening relationship with the region owes much to his original efforts. As Thailand’s Ambassador to the United States and later Foreign Minister, he did much to strengthen ties between our nations. A toughminded patriot and statesmen, he defended Thailand’s interests with grit and grace. We mourn his passing. By U.S. Embassy Bangkok | 4 March, 2016 | Topics: Press Releases
Statement by U.S Ambassador Glyn T. Davies on the Passing of Dr. Thanat Khoman
สารจากเอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์ เรื่อง การถึงแก่อสัญกรรมของ พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-march-th/
1 มีนาคม 1960 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดีก่อตั้งหน่วยอาสาสมัครสันติภาพหรือ Peace Corps โดยประกาศผู้บริหารฉบับนี้สร้างโอกาสให้พลเรือนอเมริกันได้อาสาทำงานบำเพ็ญ ประโยชน์ สละเวลาและใช้ความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในประเทศด้อย พัฒนา 1872 ประธานาธิบดีแกรนท์ลงนามในกฎหมายซึ่งกำหนดให้ Yellowstone เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศ 3 มีนาคม 1931 เพลง Star-Spangled Banner ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติของสหรัฐอเมริกา 4 มีนาคม 1789 รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกามีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332) โดยมีการประชุมสภาเป็นครั้งแรกที่นครนิวยอร์ก 1861 อับราฮัม ลินคอล์นสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา 1913 วู้ดโรว์ วิลสัน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐอเมริกา 1933 แฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา ในพิธีสาบานตน ท่านได้กล่าวสุนทรพจน์ซึ่งมีความตอนหนึ่งที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายว่า “สิ่งเดียวที่เราควรกลัวคือ ความกลัวนั่นเอง” 11 มีนาคม 1941 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ลงนามในโครงการ Lend-Lease ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยเหลือพันธมิตรของสหรัฐฯ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยให้เงิน วัสดุอุปกรณ์และทรัพยากรทางทหารแก่อังกฤษ 12 มีนาคม 1933 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ กล่าวปราศรัย “fireside” เป็นครั้งแรก โดย “fireside” นี้หมายถึงการถ่ายทอดออกเสียงปราศรัยทางสถานีวิทยุโดยตรงจากทำเนียบขาว โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปลอบขวัญชาวอเมริกันในช่วงเวลาภาวะเศรษฐกิจตก ต่ำครั้งใหญ่หรือ Great Depression ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งตั้งชื่อการปราศรัยนี้ว่า “fireside” เนื่องจากการถ่ายทอดเสียงลักษณะนี้ทำให้ประชาชนรู้สึกราวกับว่า กำลังฟังประธานาธิบดีพูดกับตนอย่างจริงใจและจริงจังขณะที่ท่านนั่งอยู่ข้าง เตาผิงในห้องพักผ่อนของท่าน 14 มีนาคม 1967 ร่างของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้รับการเคลื่อนย้ายไปที่ฝังศพถาวรหลังจากที่ท่านถึงแก่อสัญกรรมสามปี ประธานาธิบดีเคนเนดีเป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้น ท่านจึงมีสิทธิได้รับการบรรจุฝังที่สุสานอาร์ลิงตัน (Arlington National Cemetery) โดยตำแหน่งที่ฝังศพของท่านมีเปลวไฟนิรันดร์ ซึ่งแจ็คกี้ เคนเนดี สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของท่านจัดทำขึ้นเพื่อรำลึกเป็นเกียรติแก่ท่าน 15 มีนาคม 1965 ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน เรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งที่เท่าเทียมกันสำหรับประชาชนทุกคน โดยกล่าวระหว่างแถลงต่อที่ประชุมร่วมสภาคองเกรสว่า “พลเมืองอเมริกันทุกคนต้องมีสิทธิในการเลือกตั้งเท่าเทียมกัน” ไม่ว่าเชื้อชาติหรือผิวสีใด 1767 แอนดรูว์ แจ็คสัน ประธานาธิบดีคนที่ 7 แห่งสหรัฐอเมริกา เกิดวันนี้ในพื้นที่ระหว่างรัฐนอร์ทแคโรไลนาและเซาท์แคโรไลนา ภาพของท่านถูกนำมาตีพิมพ์บนธนบัตรชนิด 20 เหรียญสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 1928 16 มีนาคม 1751 เจมส์ เมดิสัน เกิดวันนี้ที่รัฐเวอร์จิเนีย หลายคนยกย่องประธานาธิบดีคนที่ 4 แห่งสหรัฐอเมริกาผู้นี้ว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา” โดยท่านเป็นหนึ่งในคณะร่างรัฐธรรมนูญและผู้บันทึกการประชุมสภาร่างรัฐ ธรรมนูญอเมริกัน 18 มีนาคม 1837 โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ประธานาธิบดีคนที่ 22 และ 24 แห่งสหรัฐอเมริกา เกิดวันนี้ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ท่านเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวของสหรัฐฯ ที่ดำรงตำแหน่งสองสมัยไม่ต่อเนื่องกัน 20 มีนาคม 1854 พรรครีพับลิกันก่อตั้งขึ้นวันนี้ที่รัฐวิสคอนซิน อดีตสมาชิกพรรค Whig Party ซึ่งเป็นพรรคต่อต้านการมีทาสที่ถูกยุบไปแล้ว มารวมตัวกันในวันนี้เพื่อหารือการก่อตั้งพรรคใหม่ 22 มีนาคม 1972 บทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องสิทธิเสมอภาค (Equal Rights Amendment – ERA) ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาและส่งต่อไปยังรัฐต่างๆ เพื่อให้การรับรอง บทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่า “ความเสมอภาคแห่งสิทธิภายใต้กฎหมายจักต้องไม่ถูกปฏิเสธหรือลิดรอนโดยสหรัฐ อเมริกาหรือมลรัฐใดๆ ในประเด็นที่เกี่ยวกับเพศ” 23 มีนาคม 2010 ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ลงนามกฎหมาย Affordable Care Act หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า Obamacare (โอบามาแคร์) 25 มีนาคม 1933 USS Sequoia ขึ้นระวางประจำการเป็นเรือยอร์ชประจำตำแหน่งประธานาธิบดี เรือลำนี้เคยใช้สำหรับกิจกรรมนันทนาการของประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลายท่าน ก่อนขึ้นระวางประจำการเป็นเรือยอร์ชประจำตำแหน่งประธานาธิบดีในวันนี้เมื่อ ปี ค.ศ. 1933 27 มีนาคม 1775 โทมัส เจฟเฟอร์สัน ได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Congress) ในฐานะผู้แทนจากเวอร์จิเนีย ก่อนจะขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 3 แห่งสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา 28 มีนาคม 1969 ประธานาธิบดีไอเซนเฮาร์ถึงแก่อสัญกรรม ประธานาธิบดีคนที่ 34 แห่งสหรัฐอเมริกาถึงแก่อสัญกรรมที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ขณะมีอายุ 78 ปี 29 มีนาคม 1929 ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ติดตั้งโทรศัพท์ประจำห้องทำงานประธานาธิบดีสายแรกที่ทำเนียบขาว 30 มีนาคม 1870 บทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกามาตราที่ 15 มีผลบังคับใช้ ซึ่งรับรองสิทธิในการลงคะแนนเสียงสำหรับพลเมืองอเมริกันทุกคนไม่ว่าเชื้อ ชาติใด 1981 เหตุการณ์ความพยายามลอบสังหารประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ท่านถูกยิงเข้าที่อกโดยนาย John Hinckley, Jr บุคคลสติไม่ปกติ เขาถูกส่งตัวเข้าสถานดูแลผู้ป่วยทางจิตหลังพบว่าไม่มีความผิดเนื่องจากความ วิกลจริต โดย U.S. Mission Thailand | 1 มีนาคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
March 1 1960 President John F. Kennedy establishes the Peace Corps. The executive order created an opportunity for American civilians to volunteer and donate their time and skills to improving the lives of the people in underdeveloped countries. 1872 President Grant signs the bill creating the nation’s first national park at Yellowstone. March 3 1931 The Star-Spangled Banner is officially recognized as the United States’ national anthem. March 4 1789 The U.S. Constitution takes effect. The first session of the U.S. Congress is held in New York City on this day. 1861 Abraham Lincoln is sworn in as the 16th President of the United States 1913 Woodrow Wilson becomes the 28th President of the United States. 1933 Franklin D. Roosevelt is inaugurated today as the 32nd President of the United States. It was during his address that he gave one of his famous quotes, “the only thing we have to fear is fear itself.” March 11 1941 President FDR signs Lend-Lease Program. The program was crucial in aiding the U.S. allies during the World War II. It would provide money, materials and military resources to the Great Britian. March 12 1933 President FDR gives his first “fireside” chat. A fireside refers to a radio broadcast of his address on radio straight from the White House. The program was launched as a way to comfort the people of the U.S. who at the time were facing the worst period during the Great Depression. It was called a fireside by a journalist as the broadcast made people feel like they were listening to the President sitting in his living room by a fireplace speaking earnestly to the people. March 14 1967 The body of President JFK is moved to its permanent gravesite more than three years after his death. The president was a World War II veteran so he qualified for a plot at Arlington National Cemetery. His gravesite is also home to an eternal flame, a tribute to the President by the first lady Jackie Kennedy. March 15 1965 President Lyndon B. Johnson calls for equal voting rights for all. President Johnson while addressing a joint session of Congress declared that “every American citizen must have an equal right to vote,” regardless of race or color. 1767 Andrew Jackson, the 7th President of the United States, is born today in a region between North and South Carolina. His image was first put on the United States’ $20 bill in 1928. March 16 1751 James Madison, whom many consider the “father of the U.S. Constitution,” is born today in Virginia. The 4th President of the United States was one of the drafters of the U.S. Constitution and also a recorder of the Constitutional Convention. March 18 1837 Grover Cleveland, the 22nd and 24th President of the United States, is born today in New Jersey. He was the only U.S. President to serve two non-consecutive terms. March 20 1854 The Republican Party is founded on this day in Wisconsin. Former members of disbanded anti-slavery Whig Party got together on this day to discuss the formation of the new party. March 22 1972 The Equal Rights Amendment is passed by the U.S. Senate and sent to the states for ratification.The amendment reads, “Equality of rights under the law shall not be denied or abridged by the United States or any State on account of sex.” March 23 2010 The Affordable Care Act, or commonly known as “Obamacare,” is signed into law today by President Barack Obama. March 25 1933 USS Sequoia becomes presidential yacht. The boat was previously used asan occasional venue for recreation for U.S. presidents. It was commissioned as the presidential yacht on this day in 1933. March 27 1775 Thomas Jefferson is elected to the Continental Congress. This Virginia delegate would later become the 3rd President of the United States. March 28 1969 President Eisenhower dies. The 34th president of the United States died in Washington DC at the age of 78. March 29 1929 President Herbert Hoover installed the first presidential telephone line in the Oval Office at the White House. 1870 The 15th Amendment to the U.S. Constitution went into effect, guaranteeing the right to vote regardless of race. March 30 1870 The 15th Amendment to the U.S. Constitution goes into effect, guaranteeing the right to vote for all U.S. citizens regardless of race. 1981 An assassination attempt was made on President Ronald Reagan. He was shot in the chest by John Hinckley, Jr, a deranged person who was later placed in a mental institution after he was found not guiltyby reason of insanity. By U.S. Mission Thailand | 1 March, 2016 | Topics: Elections, History
U.S. Presidential History: March
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: มีนาคม
https://th.usembassy.gov/th/usaid-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0-yseali-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%8a%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b9%88/
กรุงเทพฯ 17 กุมภาพันธ์ 2559 — เยาวชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคได้แล้วด้วยการนำเสนอแนวความคิดพัฒนาเทคโนโลยีที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมในการแข่งขันชิงรางวัลโครงการใหม่ที่ทางองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และโครงการผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (YSEALI) ประกาศเปิดตัวในวันนี้ การแข่งขัน YSEALI World of Food Innovation Challenge จะรวบรวมเอาเทคโนโลยีที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในภูมิภาคที่มีความซับซ้อนยิ่งในด้านเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมง การแข่งขันนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้ประกาศเปิดตัว YSEALI Innovation Challenge ที่การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ที่ซันนี่แลนดส์ แคลิฟอร์เนีย การแข่งขันนวัตกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ YSEALI ซึ่งเป็นความริเริ่มสำคัญของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในการสร้างการมีส่วนร่วมกับเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการแข่งขันนี้จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาความเป็นผู้นำ ตลอดจนสร้างเครือข่ายปฏิสัมพันธ์กันในภูมิภาคนี้ “นวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากที่ดิฉันได้เห็นคนหนุ่มสาวในภูมิภาคนี้ อาเซียนนับว่ามีผู้ที่มีความสามารถทางด้านการเป็นผู้ประกอบการและมีนวัตกรรมสร้างสรรค์จำนวนมาก” นีน่า ฮาชิเกียน ทูตสหรัฐฯประจำภูมิภาคอาเซียนกล่าว “จากการเดินทางในภูมิภาคนี้ ดิฉันได้พบกับผู้นำรุ่นใหม่ที่น่าประทับใจ เป็นผู้ที่มีส่วนร่วม มุ่งมั่นและเปี่ยมด้วยแรงจูงใจ ดิฉันรู้ว่าอนาคตของอาเซียนจะมีความสดใสได้เพราะกลุ่มเยาวชนเหล่านี้และนวัตกรรมของพวกเขาในการแก้ปัญหาท้าทายในภูมิภาค” การแข่งขัน YSEALI World of Food Innovation Challenge จะดำเนินการโดยโครงการเชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านการศึกษาและการฝึกอบรมของ USAID และโครงการหุ้นส่วนอาเซียน-สหรัฐฯเพื่อธรรมาภิบาล ความเท่าเทียม การพัฒนาที่ยั่งยืนและความมั่นคง ซึ่งดำเนินโครงการร่วมกับ Cisco และ Intel ผู้นำเทคโนโลยีรายใหญ่ “ด้วยการจับคู่นักศึกษาที่มีนวัตกรรมเข้ากับผู้นำในอุตสาหกรรม เราได้จัดเตรียมวิธีการเรียนรู้ที่นำไปสู่ความสำเร็จและขยายผลความคิดริเริ่มดี ๆ เหล่านี้ที่มีความหมายต่อพวกเราทุกคน” เบ็ธ เพจ ผู้อำนวยการ USAID สำนักงานภาคพื้นเอเชียกล่าว “การเป็นพันธมิตรกับภาคธุรกิจเป็นหนทางในการทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้น และเราหวังว่าจะเห็นความร่วมมือลักษณะนี้มากขึ้นเรื่อยๆ” การแข่งขันนี้จะมุ่งเน้นไปที่ทีมนักศึกษาที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาทางด้านเกษตร ธุรกิจ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรม วิทยาศาสตร์อาหารและสายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยทีมนักศึกษาจากกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนามสามารถเข้าร่วมการแข่งขันด้วยการนำเสนอวิธีแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ในการจัดการประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ การจัดการและลดขยะและความสูญเสียในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมงอย่างยั่งยืนในอีก 10-20 ปีข้างหน้า การเพิ่มผลิตภาพแรงงานหรือผลผลิตในภาคการเกษตรในอีก 10-20 ปีข้างหน้า การเพิ่มความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของผู้ผลิตอาหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจต่อความต้องการของธุรกิจต่าง ๆ ในสาขาที่เลือกแข่งขัน และ มีค่าใช้จ่ายไม่สูง ประยุกต์ใช้จริงได้ ใช้งานในประเทศต่าง ๆ ได้และรักษาหรือซ่อมบำรุงได้ในระดับท้องถิ่น ทีมที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ 10 ทีมสุดท้ายจะได้เดินทางไปยังประเทศสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมการฝึกอบรมในรูปแบบบู๊ตแคมป์ ซึ่งจะจัดขึ้นโดยบริษัท Cisco และ Intel เพื่อช่วยให้ทีมต่าง ๆ พัฒนาผลงานของตนเอง รางวัลชนะเลิศสำหรับสามทีมสุดท้ายจะเป็นการเดินทางไปศึกษาศูนย์เทคโนโลยีต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาและการเยี่ยมชมกรุงวอชิงตัน ดีซี ผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขัน สมัครได้ที่https://youngsoutheastasianleaders.state.gov/innovation-challenge/ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ Challenge@MekongSkills2Work.org โดย U.S. Embassy Bangkok | 17 กุมภาพันธ์, 2016 | ประเภท: เอกสารข่าว
Youth in Southeast Asia can now help boost regional food security by contributing their innovative technology ideas through a new prize competition announced today by the U.S. Agency for International Development (USAID) and the Young Southeast Asian Leaders Initiativer (YSEALI). The YSEALI World of Food Innovation Challenge will collect innovative technology solutions to some of the region’s most complex challenges in the fields of agriculture, aquaculture and fisheries. The competition launch follows President Barack Obama’s announcement of the YSEALI Innovation Challenge at the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Summit in Sunnylands, California. As a component of YSEALI, the U.S. government’s flagship initiative for engaging with youth in Southeast Asia, the Innovation Challenge will help promote and strengthen leadership development and networking in Southeast Asia. “Innovation is the key to economic growth. From what I have seen of young people in the region, ASEAN has an abundance of entrepreneurial and innovative talent,” said Nina Hachigian, U.S. Ambassador to ASEAN. “Throughout my travel in the region, I have met with impressive young leaders who are engaged, passionate and motivated. I know that the future for ASEAN will remain bright because of them, and their innovations will tackle the region’s challenges.” The YSEALI World of Food Innovation Challenge is being implemented by the USAID Connecting the Mekong through Education and Training program and the USAID-managed ASEAN-U.S. Partnership for Good Governance, Equitable and Sustainable Development and Security project in partnership with technology giants Cisco and Intel. “By matching innovative students with leaders in industry, we set the stage for successful approaches to learning and scaling up great ideas that matter to all of us,” said Beth S. Paige, director of the USAID Regional Development Mission for Asia. “Partnering with the private sector is the way to get this done, and we are looking forward to seeing this collaboration flourish.” The Innovation Challenge targets multi-disciplinary teams of students – such as students in agriculture, business, computer science, engineering, food science and other related disciplines – who are currently enrolled in post-secondary technical vocational education and training (TVET) institutions or universities. Teams of students from Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, Myanmar, Philippines, Thailand, and Vietnam are asked to pose innovative technology-based solutions that address the following issues: Sustainably manage and reduce waste and loss in the aquaculture and fisheries sectors over the next 10 – 20 years; Increase labor productivity and/or yields in the agriculture sector over the next 10-20 years. Increase adaptation capabilities of Southeast Asian food producers to the effects of climate change; Demonstrate an understanding of businesses’ needs in the selected area; and Are low cost, practical, can be fabricated in country and can be maintained/repaired locally. Ten semi-finalist teams will fly to Singapore to participate in a boot camp-style training hosted by Cisco and Intel Corporation to assist the teams to develop their solutions. The grand prize for the top three teams will be a study trip to technology hubs in the United States and a visit to Washington, D.C. To apply to the Challenge, visit:https://youngsoutheastasianleaders.state.gov/innovation-challenge/. For more information, contact: Challenge@MekongSkills2Work.org By U.S. Embassy Bangkok | 17 February, 2016 | Topics: Press Releases
USAID and YSEALI Challenge Youth to Innovate for Food Security
USAID และ YSEALI ขอท้าเยาวชนริเริ่มนวัตกรรมเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9d%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%8b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b9%89/
ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาจะร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ประจำปีระดับพหุภาคีซึ่งจะมีประเทศต่างๆ มากกว่า 20 ประเทศเข้าร่วมงานในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 9-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานต่อไปนี้ 9 ก.พ. พิธีเปิดคอบร้าโกลด์ ณ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ. สัตหีบ จ. ชลบุรี 10 ก.พ. กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ณ โรงเรียนบ้านสระใหญ่ อ. บ้านสระใหญ่ จ. ตราด 14 ก.พ. กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ณ โรงเรียนเขาชีจรรย์ อ. สัตหีบ จ. ชลบุรี 16 ก.พ. พิธีมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสังคม โรงเรียนวัดบ้านหมาก อ. มวกเหล็ก จ. สระบุรี 17 ก.พ. การฝึกอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ขัดแย้ง NEO/TJNO อู่ตะเภา 17 ก.พ. พิธีมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสังคม ณ โรงเรียนบ้านราษฎร์บำรุง อ. ลำสนธิ จ. ลพบุรี 18 ก.พ. พิธีส่งมอบอาคารตามโครงการช่วยเหลือประชาชน ณ อ. บ้านสระใหญ่ จ. ตราด การฝึกซ้อมทางทหารประจำปีคอบร้าโกลด์ 2559 จัดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งที่ 35 โดยเป็นการฝึกซ้อมพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและเป็นส่วนสำคัญของพันธสัญญาของสหรัฐอเมริกาต่อการดำเนินการในภูมิภาค โดยปีนี้ การฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ มีเป้าหมายเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเพิ่มสมรรถนะของประเทศที่ร่วมการฝึกและการทำงานร่วมกันในปฏิบัติการระดับพหุภาคีที่ซับซ้อน เช่น การต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติ คอบร้าโกลด์ปีนี้จะพัฒนาสมรรถนะของประเทศที่ร่วมการฝึกในการวางแผนและดำเนินงานปฏิบัติการร่วม/ผสม สร้างสัมพันธภาพระหว่างประเทศที่ร่วมการฝึกตลอดทั่วภูมิภาคนี้ และเพิ่มพูนความสามารถในการปฏิบัติการร่วมด้านความมั่นคงที่หลากหลาย การฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีครั้งนี้จะประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การฝึกฝ่ายเสนาธิการซึ่งรวมถึงงานสัมมนาผู้นำระดับสูง โครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสังคมในชุมชนของไทย และการฝึกภาคสนามซึ่งมีกิจกรรมการฝึกที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันและความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค CG 16 จะมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 27 ประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศที่เข้าร่วมการฝึกและประเทศที่ร่วมสังเกตการณ์ และจะมีกำลังพลจากสหรัฐอเมริกาประมาณ 3,600 คนร่วมฝึกในกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางบกและทางน้ำ เชิญอ่านข้อมูลตลอดจนชมภาพเกี่ยวกับการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ รวมถึงกิจกรรมในปีที่ผ่านมาได้ทางเพจ Facebook อย่างเป็นทางการของคอบร้าโกลด์ที่http://www.facebook.com/ExerciseCobraGold สื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วมทำข่าว กรุณาแจ้งความประสงค์อย่างน้อย 3 วันล่วงหน้าทางอีเมลที่Pattaro@state.gov หรือ Cobragold.media@gmail.com โดย U.S. Embassy Bangkok | 4 กุมภาพันธ์, 2016 | ประเภท: เอกสารข่าว
Thailand and the United States will co-host the annual, multilateral Exercise Cobra Gold with over two dozen participating nations and events in various areas throughout the Kingdom of Thailand February 9-19, 2016. Media are invited to attend the following events: 9 February: Cobra Gold Opening Ceremony, Royal Thai Marine Corps Base, Sattahip 10 February: Community Relations Event: Ban Sa Yai School, Ban Sa Yai, Trat 14 February: Community Relations Event: Khao Chi Chan School, Sattahip 16 February: Humanitarian Civic Action Dedication Ceremony: Watbanmak School, Saraburi 17 February: Non-combatant Evacuation Operation (NEO) / Transportation of Japanese Nationals Overseas (TJNO), Utapao 17 February: Humanitarian Civic Action Dedication Ceremony: Banrachbamrung School, Lopburi 18 February: Engineer Civic Actions Projects, site 1, Dedication Ceremony, Ban Sa Yai, Trat Cobra Gold 2016, the 35th version of the annual military exercise, is the largest multilateral exercise in the Asia-Pacific region and is an integral part of the U.S. commitment to engagement in the region. This year, Cobra Gold will strengthen regional cooperation and collaboration, increasing the ability of participating nations to work together on complex multilateral operations such as counter-piracy and the delivery of humanitarian assistance and disaster relief. The exercise will improve the capabilities of participating nations to plan and conduct combined, joint operations; build relationships among participating nations from across the region; and improve interoperability over a wide range of security activities. This year’s exercise will consist of three primary events: a command post exercise which includes a senior leader seminar, humanitarian civic assistance projects in Thai communities, and a field training exercise that will include a variety of training events to enhance interoperability and strengthen regional relationships. There will be up to 27 nations either directly participating in or observing Cobra Gold 16, with approximately 3,600 U.S. personnel directly participating in the various events both ashore and afloat. For more information, photos, and stories about the Cobra Gold exercise, including past iterations, please visit the official Facebook page athttp://www.facebook.com/ExerciseCobraGold. Media interested in attending any of these events must RSVP no later than three days prior by sending an email to Pattaro@state.gov orCobragold.media@gmail.com. By U.S. Embassy Bangkok | 4 February, 2016 | Topics: Press Releases
Exercise Cobra Gold 2016 Media Events
การฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ 2559 กิจกรรมสำหรับสื่อทำข่าว
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-february-th/
1 กุมภาพันธ์ 1790 ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาประชุมครั้งแรกที่นครนิวยอร์ก 3 กุมภาพันธ์ 1924 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ถึงแก่อสัญกรรม ประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรมที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ขณะมีอายุ 67 ปี 4 กุมภาพันธ์ 1789 จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา 1792 จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง 6 กุมภาพันธ์ 1911 โรนัลด์ เรแกน เกิดวันนี้ในรัฐอิลลินอยส์ ภายหลังเรแกนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 40 ขอ สหรัฐอเมริกา โดยดำรงตำแหน่งสองสมัยระหว่างปี 1981-1989 9 กุมภาพันธ์ 1825 ไม่มีผู้สมัครลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใดได้รับคะแนนเสียง เพียงพอชนะการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องตัดสินใจด้วยการลงคะแนนเสียงเลือก จอห์น ควินซี แอดัมส์ เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 แห่งสหรัฐอเมริกา 1773 วิลเลียม เฮนรี แฮร์ริสัน ประธานาธิบดีคนที่ 9 แห่งสหรัฐอเมริกา เกิดวันนี้เมื่อปีพ.ศ. 2316 ที่รัฐเวอร์จิเนีย 12 กุมภาพันธ์ 1809 อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที 16 แห่งสหรัฐอเมริกา เกิดวันนี้ที่รัฐเคนทักกี ท่านเป็นประธานาธิบดีที่เป็นที่เคารพนับถือที่สุดท่านหนึ่งของสหรัฐอเมริกา 14 กุมภาพันธ์ 1884 ภรรยาและมารดาของประธานาธิบดีทีโอดอร์ โรสเวลท์ เสียชีวิตในวันนี้ด้วยเวลาห่างกันเพียงไม่กี่ชั่วโมง โศกนาฏกรรมครั้งนี้สร้างความสะเทือนใจแก่โรสเวลท์อย่างมากจนทำให้ท่านเลือก พักจากงานการเมือง โรสเวลท์กลับสู่แวดวงการเมืองอีกครั้งในเวลาต่อมาและกลายเป็นประธานาธิบดีคน ที่ 26 ของสหรัฐอเมริกาหลังจากที่ประธานาธิบดีวิลเลียม แม็คคินลี ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง 1919 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน เสนอร่างกติกาสันนิบาตชาติ สันนิบาตชาติคือองค์การเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศที่มีส่วนนำไปสู่การก่อ ตั้งองค์การสหประชาชาติในเวลาต่อมา 15 กุมภาพันธ์ 1903 ตุ๊กตาหมีที่เรียกว่า teddy bear ตัวแรกวางจำหน่ายในวันนี้ ช่างทำของเล่นชื่อ Morris Michtom ขออนุญาตประธานาธิบดีทีโอดอร์ โรสเวลท์ นำชื่อของท่านมาตั้งชื่อตุ๊กตาหมี และประธานาธิบดีโรสเวลท์ตอบตกลง 1933 ว่าที่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ รอดจากการถูกลอบสังหารที่เมืองไมอามี ขณะรูสเวลท์กล่าวสุนทรพจน์อยู่บนรถ Giuseppe Zangara ช่างก่ออิฐว่างงานได้ชักปืนขึ้นยิงหลายนัด ภายหลังเขาให้การว่าลงมือก่ออาชญากรรมครั้งนี้เพราะความคับข้องใจจากภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) 17 กุมภาพันธ์ 1801 โทมัส เจฟเฟอร์สัน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา ก่อนหน้านี้ท่านดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในสมัยประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ 20 กุมภาพันธ์ 1792 ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ลงนามในกฎหมาย Postal Service Act จัดตั้งกิจการไปรษณีย์สหรัฐฯ 21 กุมภาพันธ์ 1885 พิธีเปิดอนุสาวรีย์วอชิงตัน หรือ Washington Monument ซึ่งสร้างขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา แผนการสร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนสูง 555 ฟุตนี้ได้รับการเสนอขึ้นมาครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2326 ขณะประธานาธิบดีวอชิงตันยังมีชีวิตอยู่ การก่อสร้างถูกระงับชั่วคราวช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน และสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2428 1848 อดีตประธานาธิบดีจอห์น ควินซี แอดัมส์ เกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองขณะกล่าวถ้อยแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร ท่านถึงแก่อสัญกรรมในอีกสองวันต่อมาที่อาคารรัฐสภา 23 กุมภาพันธ์ 1861 ประธานาธิบดีลินคอล์นเลี่ยงความพยายามลอบสังหาร ระหว่างเดินทางไปกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประธานาธิบดีลินคอล์นมีกำหนดการแวะเมืองบัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ ทว่าผู้ช่วยของท่านได้รับรายงานแผนลอบสังหารและสามารถสกัดกั้นแผนการดัง กล่าวได้เป็นผลสำเร็จ 24 กุมภาพันธ์ 1868 ประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสัน เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกถอดถอนจากตำแหน่งสืบเนื่องจากการปลดรัฐมนตรีว่า การกระทรวงสงคราม ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดกฎหมาย Tenure of Office Act สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาออกเสียงถอดถอนประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสัน ออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่าการที่ประธานาธิบดี จอห์นสันปลดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม Edwin M. Stanton เป็นการกระทำละเมิดกฎหมาย Tenure of Office Act มติสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ทำให้ประธานาธิบดี จอห์นสัน กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาที่ถูกถอดถอนออกจาก ตำแหน่ง 25 กุมภาพันธ์ 1870 Hiram Rhoades Revels เข้าพิธีสาบานตนในฐานะสมาชิกสภาคองเกรสคนแรกที่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสาย แอฟริกัน Revels เป็นสมาชิกพรรครีพับลิกันจากรัฐมิสซิสซิปปีและอดีตศาสนาจารย์ ในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน ท่านได้มีส่วนช่วยจัดตั้งกองทหารชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันเพื่อร่วมสนับ สนุนฝ่ายสหพันธรัฐ 27 กุมภาพันธ์ 1922 สมาชิกทั้งแปดคนของศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาประกาศโดยเอกฉันท์ให้บทแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา มาตราที่ 19 ซึ่งระบุให้สตรีมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีผลบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญ โดย U.S. Mission Thailand | 1 กุมภาพันธ์, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
February 1 1790 The Supreme Court of the United States meets for the first time in New York City. 1968 Richard M. Nixon announces his candidacy for president. February 3 1924 President Woodrow Wilson dies. The 28th president of the United States passed away in Washington, D.C. at the age of 67. February 4 1789 George Washington is unanimously elected the first president of the United States. 1792 George Washington is re-elected president. February 6 1911 Ronald Reagan is born on this day in Illinois. He was later elected the 40th president of the United States serving two terms in 1981 and 1989 February 9 1825 No presidential candidate received a substantial number of votes to win the election so the U.S. House of Representatives had to make the decision and voted to elect John Quincy Adams as the 6th President of the United States. 1773 The 9th President of the United States, William Henry Harrison, is born today in 1773 in Virginia. February 12 1809 Abraham Lincoln, the 16th President of the United States, is born today in Kentucky. He later became one of the U.S. most admired presidents. February 14 1884 Wife and mother of President Theodore Roosevelt die today just hours apart. The tragedy devastated him greatly and he took a hiatus from politics. He later returned to political life and became the 26th President of the United States when his predecessor President William McKinley died while still in office. 1919 President Woodrow Wilson presents the draft of the covenant of the League of Nations, an international peace organization that later \ helped shaped the United Nations. February 15 1903 The first ever teddy bear goes on sale. A toy maker Morris Michtom had asked President Theodore Roosevelt for permission to use his name for a stuffed bear toy and the President agreed. 1933 Soon-to-be-president Franklin D. Roosevelt escaped an assassination attempt in Miami. While he was giving a speech on a touring car, several shots were fired by an unemployed brick layer Giuseppe Zangara who later said he commited the crime out of frustration stemmed from the Great Depression. February 17 1801 Thomas Jefferson is elected the 3rd President of the United States. He had previously served as John Adams’ vice president. February 20 1792 President George Washington signs the Postal Service Act, creating the U.S. Postal Service. February 21 1885 The Washington Monument, built in honor of the United States’ first president, is dedicated today in Washington, DC. The plan to build a 555-foot-high marble monument was first proposed in 1783 while President Washington was still alive. Construction was halted during the American Civil War and it was finally completed in 1885. 1848 President John Quincy Adams suffers a stroke while speaking in front of the House of Representatives. He died two days in a bed in the Capitol building. February 23 1861 President Lincoln avoids an assassination attempt. The president had plans to stop at Baltimore, Maryland during his trip to Washington, DC, however his his aides received reports of a planned assassination attempt and managed to foil the plot. February 24 1868 President Andrew Johnson becomes the first president to be impeached. His impeachment resulted from his romoval of Secretary of War, which was a violation of the Tenure of Office Act. February 25 1870 Hiram Rhoades Revels is sworn in as the first African American congressman. The Republican from Mississippi. Revels was a minister and during the Civil War hehelped form African American army regiments for the Union cause. February 27 1922 The 19th amendment to the U.S. Constitution, which provides women voting rights, is unanimously declared constitutional by the eight members of the U.S. Supreme Court. By U.S. Mission Thailand | 1 February, 2016 | Topics: Elections, History
U.S. Presidential History: February
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: กุมภาพันธ์
https://th.usembassy.gov/th/2559-2/
ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาจะร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ประจำปีระดับพหุภาคี ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 9-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 คอบร้าโกลด์เป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเป็นเวลากว่า 30 ปี การฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ประจำปี 2559 ซึ่งเป็นการฝึกครั้งที่ 35 จะมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมการฝึกกว่า 24 ประเทศโดยเน้นการรับมือปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคและทั่วโลก ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเสถียรภาพในภูมิภาคนี้ โดยปีนี้ CG มีเป้าหมายเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเพิ่มสมรรถนะของประเทศที่ร่วมการฝึก เพื่อทำงานร่วมกันในปฏิบัติการระดับพหุภาคีที่ซับซ้อน เช่น การต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติ พร้อมทั้งพัฒนาสมรรถนะของประเทศที่ร่วมการฝึกในการวางแผนและดำเนินงานปฏิบัติการร่วม/ผสม สร้างสัมพันธภาพตลอดทั่วภูมิภาคนี้ และเพิ่มพูนความสามารถในการปฏิบัติการร่วมด้านความมั่นคงที่หลากหลาย การฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีครั้งนี้จะประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การฝึกฝ่ายเสนาธิการซึ่งรวมถึงงานสัมมนาผู้นำระดับสูง โครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสังคมในชุมชนของไทย และการฝึกภาคสนามเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค เชิญอ่านข้อมูลและเรื่องราว ตลอดจนชมภาพเกี่ยวกับการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ รวมถึงกิจกรรมในปีที่ผ่านมาได้ทางเพจ Facebook อย่างเป็นทางการของคอบร้าโกลด์ได้ที่http://www.facebook.com/ExerciseCobraGold สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมสำคัญที่สื่อมวลชมเข้าร่วมทำข่าวได้จะประกาศให้ทราบในสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ โดย U.S. Embassy Bangkok | 25 มกราคม, 2016 | ประเภท: เอกสารข่าว
Thailand and the United States will co-host the annual, multilateral Exercise Cobra Gold in various areas throughout the Kingdom of Thailand February 9-19, 2016. Exercise Cobra Gold, one of the largest multilateral exercises in the Asia-Pacific region, has taken place annually for more than 30 years. Cobra Gold 2016, the 35th version of the military exercise, will bring together more than two dozen nations to address regional and global security challenges and to promote international cooperation and stability within the region. This year, Cobra Gold will strengthen regional cooperation and collaboration, increasing the ability of participating nations to work together on complex multilateral operations such as counter-piracy and the delivery of humanitarian assistance and disaster relief. The exercise will improve the capabilities of participating nations to plan and conduct combined, joint operations; build relationships across the region; and improve interoperability across a wide range of security activities. This year’s Cobra Gold will consist of three primary events: a command post exercise, which includes a senior leader seminar; humanitarian civic assistance projects in Thai communities; and a field training exercise that will build regional relationships. For more information, photos, and stories about the Cobra Gold exercise, including past iterations, please visit the official Facebook page athttp://www.facebook.com/ExerciseCobraGold. Additional information regarding major exercise events open to the media will be made available the first week of February. By U.S. Embassy Bangkok | 29 January, 2016 | Topics: Press Releases
Exercise Cobra Gold 2016 to begin February 9, 2016
การฝึกคอบร้าโกลด์ 2016 เริ่มวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-january-th/
1 มกราคม 1863 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ลงนามในประกาศเลิกทาสซึ่งนำไปสู่การเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา คำประกาศนี้ให้อิสรภาพแก่ทาสทุกคนที่อยู่ในรัฐที่ยังคงมีการต่อต้านอยู่ใน ช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน 2 มกราคม 1960 วุฒิสมาชิกจอห์น เอฟ. เคนเนดี ประกาศลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 3 มกราคม 1959 รัฐอะแลสกาเข้าเป็นรัฐที่ 49 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อประธานาธิบดีไอเซนเฮาร์ลงนามในประกาศพิเศษรับดินแดนนี้ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพ (Union) รัฐอะแลสกากลายเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ 4 มกราคม 2007 ในการประชุมสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 110 Nancy Pelosi ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสตรีเป็นคนแรก 5 มกราคม 1972 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันลงนามในร่างกฎหมายมูลค่า 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐอนุมัติดำเนินการโครงการกระสวยอวกาศ 6 มกราคม 1919 ทีโอดอร์ โรสเวลท์ ประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกาถึงแก่อสัญกรรม ณ บ้านพักของเขาที่นิวยอร์ก ทีโอดอร์ โรสเวลท์ เป็นประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดขณะที่อายุเพียง 43 ปี เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งหลังจากประธานาธิบดีวิลเลียม แม็คคินลี ถูกลอบสังหารในปี 2444 7 มกราคม 1789 สหรัฐอเมริกาจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นเป็นครั้งแรก จอร์จ วอชิงตันชนะการเลือกตั้งและกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2332 ระบบการเลือกตั้งที่ใช้ในปี 2332 นั้นก็ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ 8 มกราคม 1790 ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน แถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา (State of the Union) เป็นครั้งแรก โดยกล่าวสรุปส่วนสำคัญของนโยบายที่อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตันเป็นผู้ร่าง 1867 สภาคองเกรสขยายสิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยอนุญาตให้ชายชาวอเมริกันทุกคนมีสิทธิลงคะแนน รวมถึงชายชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน 9 มกราคม 1913 ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกา เกิดในรัฐแคลิฟอร์เนีย January 11 1908 ประธานาธิบดีทีโอดอร์ โรสเวลท์ ประกาศให้ Grand Canyon เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา 12 มกราคม 1932 Ophelia Wyatt Caraway แห่งพรรคเดโมแครตจากรัฐอาร์คันซอ เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นวุฒิสมาชิก 13 มกราคม 1966 เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันคนแรกที่ได้เป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี สหรัฐฯ โดยประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน แต่งตั้ง Weaver ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเคหะและพัฒนาเมือง 14 มกราคม 1943 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกที่เดินทางในธุระราชการทางเครื่องบิน โดยได้โดยสารเครื่องบินโบอิ้ง Flying Boat 314 เพื่อไปพบกับนายวินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษที่เมืองคาซาบลังกา ทางตอนเหนือของแอฟริกา 15 มกราคม 1870 วันนี้เป็นวันแรกที่ “ลา” ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพรรคเดโมแครต โดยนิตยสาร Harper’s Weekly ตีพิมพ์การ์ตูนล้อการเมืองชื่อ “A Live Jackass Kicking a Dead Lion” ซึ่งใช้ลาเป็นสัญลักษณ์แทนหนังสือพิมพ์ในภาคใต้ที่สนับสนุนพรรคเดโมแครต 17 มกราคม 1961 ประธานาธิบดี ดไว้ท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ กล่าวลาประชาชนในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งสุดท้ายในฐานะประธานาธิบดีซึ่งมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ 18 มกราคม 1919 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสันร่วมประชุม Paris Peace Conference ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือเป็นวาระการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ 19 มกราคม 1945 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ เข้าพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 4 อย่างเป็นทางการ ท่านเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯเพียงคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึงสาม สมัย ท่านถึงแก่อสัญกรรมสามเดือนหลังจากเข้ารับตำแหน่งในสมัยที่ 4 20 มกราคม 1961 จอห์น เอฟ. เคนเนดี เข้าพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา 1969 นายริชาร์ด นิกสัน ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกา 1981 โรนัลด์ เรแกน อดีตนักแสดงภาพยนตร์แนวตะวันตก เข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนที่ 40 ของสหรัฐอเมริกา 22 มกราคม 1973 ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน ถึงแก่อสัญกรรมด้วยอาการหัวใจวายเมื่ออายุได้ 64 ปี 23 มกราคม 1997 แมเดลิน ออลไบรต์ เข้าพิธีสาบานตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกากับรอง ประธานาธิบดี อัล กอร์ นางออลไบรต์กลายเป็นเจ้าหน้าที่รัฐสตรีที่มีตำแหน่งสูงที่สุดในประวัติ ศาสตร์อเมริกา 25 มกราคม 1776 สภาคองเกรสอนุมัติสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติแห่งแรกเพื่ออุทิศแก่พลจัตวา Richard Montgomery ซึ่งเสียชีวิตระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกัน 1961 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี จัดแถลงข่าวถ่ายทอดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก 26 มกราคม 2005 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช แต่งตั้งนางคอนโดลีซซา ไรซ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ไรซ์กลายเป็นเจ้าหน้าที่รัฐสตรีชาวอเมริกันแอฟริกันที่มีตำแหน่งสูงที่ สุดที่อยู่ในคณะรัฐมนตรี 29 มกราคม 1843 วิลเลียม แม็คคินลี ประธานาธิบดีคนที่ 25 ของสหรัฐอเมริกา เกิดวันนี้ในรัฐโอไฮโอ 30 มกราคม 1882 แฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ เกิดในวันนี้ โรสเวลท์ภายหลังได้กลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึงสี่สมัย โดย U.S. Mission Thailand | 1 มกราคม, 2016 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
January 1 1863 President Abraham Lincoln signs the final Emancipation Proclamation, leading to the end of slavery in the United States. The proclamation freed all slaves in states that were still in rebellion during the time of the American Civil War. January 2 1960 Senator John F Kennedy, announces his candidacy for the United States Presidency. January 3 1959 Alaska becomes the United States’ 49th state when President Eisenhower signs a special proclamation admitting the territory into the Union. Alaska became the largest state of the Unites States. January 4 2007 During the 110th United States Congress, Nancy Pelosi is elected the United States’ first female Speaker of the House. January 5 1972 President Richard Nixon signs a $5.5 million bill authorizing a development of a space shuttle program. January 6 1919 The 26th President of the United States, Theodore Roosevelt, dies at his home in New York. In 1901 he became the youngest president at the age of 43 after his predecessor President William McKinley was assassinated. January 7 1789 The first U.S. presidential election is held. George Washington won the election and became the first U.S. president on April 30, 1789. The election system used in 1789 is still in use today. January 8 1790 President George Washington delivers the first State of the Union address. President Washington gave a brief outline of his policies designed by Alexander Hamilton. 1867 Congress expands suffrage, granting all American males the right to vote, including African Americans. January 9 1913 Richard Nixon, the 37th President of the Unites States, is born in California. January 11 1908 President Theodore Roosevelt makes the Grand Canyon a U.S. National Monument. January 12 1932 Ophelia Wyatt Caraway, a Democrat from Arkansas, becomes the first elected female senator. January 13 1966 Robert C. Weaver becomes the first African American cabinet member. Appointed by President Lyndon B. Johnson, Weaver became the head of the Department of Housing and Urban Development. January 14 1943 President Franklin D. Roosevelt becomes the first U.S. President to travel by airplane on official business. President FDR flew on a Boeing 314 Flying Boat to a meeting with British Prime Minister Winston Churchill in Casablanca, North Africa. January 15 1870 Today marks the first time a donkey is used to refer to the Democrat Party. The imagery appeared in an issue of Harper’s Weekly magazine. A political cartoon entitled “A Live Jackass Kicking a Dead Lion,” depicted the donkey as a representation of Democrat-dominated newspapers of the South. January 17 1961 President Dwight D. Eisenhower bids farewell to the nation in a televised speech for the last time as president. January 18 1919 President Woodrow Wilson attends the Paris Peace Conference, an event which officially marked the end of World War I. January 19 1945 President Franklin D. Roosevelt is inaugurated to his fourth term in office. He was the only U.S. president to have served three terms in office. President FDR died just three months after his fourth inauguration. January 20 1961 John F. Kennedy is inaugurated as the 35th president of the United States. 1969 Richard Nixon becomes the 37th president of the United States. 1981 Ronald Reagan, who was once a Western movie actor, is sworn in as 40th president of the United States. January 22 1973 President Lyndon B. Johnson dies at the age of 64 due to a heart attack. January 23 1997 Madeline Albright is sworn in as America’s first female Secretary of State by Vice President Al Gore. Albright became the highest ranking female official in U.S. history. January 25 1776 Congress authorizes the first national memorial dedicated to Brigadier General Richard Montgomery, who was killed during the Revolutionary War. 1961 President John F. Kennedy holds the first televised news conference. January 26 2005 President George W. Bush appoints Condoleezza Rice as the Secretary of State, making her the highest ranking African-American woman to serve in a presidential cabinet. January 29 1843 William McKinley, the 25th president of the Unites States, is born on this day in Ohio. January 30 1882 Franklin D. Roosevelt, who later became the United States’ only president to be elected four times, is born. By U.S. Mission Thailand | 1 January, 2016 | Topics: Elections, History
U.S. Presidential History: January
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: มกราคม
https://th.usembassy.gov/th/december1615-th-html/
คณะผู้แทนระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของไทยและสหรัฐฯ ได้พบหารือกันเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2558 ณ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ ภายใต้กรอบการหารือยุทธศาสตร์ ไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 5 โดยมีนายอภิชาติ ชินวรรโณ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาด้านกิจการภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ ในฐานะพันธมิตรคู่สนธิสัญญาอันยาวนาน สหรัฐฯ และไทยได้เน้นย้ำพันธกิจร่วมในการเสริมสร้างความสงบสุข ความมั่นคง และความมั่งคั่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและของโลก โดยตระหนักถึงบทบาทนำของไทยในภูมิภาค และการให้การสนับสนุนอันสำคัญยิ่งของสหรัฐฯ ต่อสันติภาพและเสถียรภาพ การหารือของสองฝ่ายครอบคลุมประเด็นที่หลากหลายทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชีย-แปซิฟิก และในกรอบอื่นๆ สหรัฐฯ ยืนยันที่จะสนับสนุนความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงแนวทางการเพิ่มพูนความร่วมมือในกรอบภูมิภาคต่างๆ ซึ่งรวมถึงกรอบข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (LMI) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) และหุ้นส่วนยุทธศาสตร์อาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อรับมือกับสิ่งท้าทายต่าง ๆ และส่งเสริมเสถียรภาพและความเจริญของภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงบทบาทอันแข็งขันของไทยในกรอบข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง และมุ่งมั่นกระชับความร่วมมือภายใต้กรอบนี้ในด้านการศึกษา พลังงาน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม และการส่งเสริมบทบาทของสตรี คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำความสำคัญของการประสานงานด้านการให้ความช่วยเหลือในภูมิภาค และการสนับสนุน สปป.ลาว เป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ. 2559 คณะผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ แจ้งว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา มีความยินดีที่จะให้ การต้อนรับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ รวมถึงประเทศไทย ณ การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษในช่วงต้นปี พ.ศ. 2559 ทั้งสองฝ่ายย้ำจุดยืนในการให้ความสำคัญต่อการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล และเสรีภาพในการเดินทางสัญจรซึ่งรวมถึงการบินผ่านทะเลจีนใต้ คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงการใช้กำลังทางทหารในบริเวณพื้นที่ที่เป็นข้อพิพาท ทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำที่จะสนับสนุนความพยายามอย่างต่อเนื่องของอาเซียนและจีนในการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้อย่างเต็มที่ และความพยายามที่จะหาข้อสรุปโดยเร็วสำหรับแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ สำหรับประเด็นทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายยืนยันการเป็นพันธมิตรคู่สนธิสัญญาอันยาวนานและความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางการเพิ่มพูนและการขยายสาขาความร่วมมือด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านการพัฒนากำลังคนในด้านสาธารณสุข การวิจัยทางการแพทย์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับ ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายและการฝึกอบรมโดยสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ILEA) และการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายยืนยันให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านการทหารระหว่างไทย-สหรัฐฯ และมุ่งหวังที่จะปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมวิสัยทัศน์ ค.ศ. 2012 โดยการกระชับความร่วมมือด้านการให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ การรักษาสันติภาพทั่วโลก การวิจัยด้านการแพทย์ทหาร และการมีปฏิสัมพันธ์ด้านการทหารอื่น ๆ ในการประชุมสุดยอดผู้นำด้านการรักษาสันติภาพซึ่งประธานาธิบดีโอบามาเป็นประธานการประชุมนั้น สหรัฐฯ ยินดีที่ไทยแสดงความจำนงที่จะสนับสนุนปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในอนาคตโดยจะสนับสนุนด้านการพัฒนากิจการพลเรือนด้านวิศวกรรม และการส่งทีมแพทย์เข้าร่วมปฏิบัติการ ทั้งนี้ สหรัฐฯ มุ่งหวังที่จะดำเนินงานร่วมกับไทยอย่างต่อเนื่องเท่าที่จะเป็นไปได้ผ่านศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของไทย ในการเสริมสร้างขีดความสามารถและการฝึกอบรมกองกำลังรักษาสันติภาพจากประเทศในภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายมุ่งที่จะให้มีการหารือด้านยุทธศาสตร์กลาโหม (Defense Strategic Talk) ครั้งต่อไปในโอกาสแรก นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการขยายความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน เพื่อสร้างเสริมประโยชน์ให้แก่ทั้งสองประเทศและแก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนภูมิภาคอื่นๆ ในการนี้ ไทยและสหรัฐฯ เห็นชอบร่วมกันที่จะจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมภายใต้ความตกลงทวิภาคี ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขึ้นเป็นครั้งแรกในครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2559 ทั้งสองฝ่ายยังมุ่งหมายที่จะขยายการค้าการลงทุนระหว่างกัน และเห็นพ้องที่จะมีการหารือภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าและการลงทุน (TIFA) ในวงรอบต่อไปในโอกาสแรกของปี พ.ศ. 2559 สหรัฐฯ ยังตระหนักถึงบทบาทนำของไทยด้านสาธารณสุข โดยทั้งสองฝ่ายยืนยันที่จะร่วมกันตรวจตรา ป้องกัน และรับมือกับโรคติดต่อและสิ่งท้าทายด้านสาธารณสุขโดยผ่านกลไกทวิภาคีและพหุภาคี ทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงการจัดทำแผนดำเนินการภายใต้ระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของวาระความมั่นคงด้านสุขภาพของโลก นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่าย ยังเห็นพ้องที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกลไกการประสานงานทวิภาคีด้านสาธารณสุขระหว่างกัน รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาและความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน-สู่-ประชาชน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากแนวทางของประธานาธิบดีโอบามาที่ให้ความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา – STEM) นั้น ทั้งสองฝ่ายจึงได้หารือถึงความร่วมมือทวิภาคีเกี่ยวกับ เรื่องนี้ในอนาคตและการร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคด้านสะเต็มศึกษาในปี พ.ศ. 2559 รวมทั้งรัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ให้คำมั่นต่อพันธสัญญาที่มีต่อกันภายใต้ข้อตกลงหุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์ ไทย-สหรัฐฯ (Thai – US Creative Partnership) ในการกำหนดสาขาและกิจกรรมความร่วมมือใหม่ๆ ในกรอบนี้ ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือดังกล่าวได้ริเริ่มใน ค.ศ. 2010 โดยตระหนักถึงความพยายามและบทบาทของไทยในการจัดการสิ่งท้าทายต่าง ๆ ระดับโลก ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ การโยกย้ายถิ่นฐานอย่างไม่ปกติและการค้ามนุษย์ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ การรักษาสันติภาพ และการต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะมีการจัดประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ในปี 2559 ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในประเทศไทยในปัจจุบันและความมุ่งมั่นของไทยใน การปฏิรูปประเทศที่ครอบคลุมทุกด้าน รวมทั้งแนวทางการกลับสู่ประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน ทั้งสองฝ่ายย้ำความสำคัญของการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลและความร่วมมือด้านมนุษยธรรม ทั้งสองฝ่ายมองไปในอนาคต และยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันอย่างจริงใจและตรงไปตรงมา รวมถึงแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันต่อไปในอนาคต ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าการหารือยุทธศาสตร์ ไทย-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 6 จะมีขึ้นที่สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2559 โดย U.S. Mission Thailand | 16 ธันวาคม, 2015 | ประเภท: ข่าว
Senior delegations representing Thailand and the United States met on December 16, 2015 in Bangkok at the Ministry of Foreign Affairs of Thailand for the Fifth U.S.-Thailand Strategic Dialogue. Permanent Secretary Apichart Chinwanno led the Thailand delegation, and Assistant Secretary of State for East Asian and Pacific Affairs Daniel Russel led the U.S. delegation. As long-time treaty allies, the United States and Thailand reaffirmed their shared commitment to promoting peace, security, and prosperity in the Asia-Pacific region and beyond. Recognizing Thailand’s regional leadership role and the United States’ vital contributions to peace and stability, the two sides engaged in a comprehensive discussion of issues within Southeast Asia and across the broader Asia-Pacific region. The United States reaffirmed its support for ASEAN centrality in the Asia-Pacific regional architecture. The two sides discussed ways to enhance their cooperation in regional frameworks, including the Lower Mekong Initiative (LMI), the East Asia Summit (EAS), and the ASEAN-US Strategic Partnership, with a view to tackling common challenges as well as contributing to greater stability and prosperity of the region. Both sides recognized Thailand’s active engagement in the LMI and look forward to enhancing cooperation under the framework in the areas of education, energy, public health, science and technology, innovation, and women’s empowerment. The two delegations underscored the importance of coordinating assistance in the region and of supporting Lao People’s Democratic Republic 2016 ASEAN Chairmanship. The U.S. delegation noted that President Barack Obama looks forward to hosting leaders from all ten ASEAN nations, including Thailand, at the ASEAN-U.S. Special Summit early next year. The two sides reaffirmed the importance of maintaining peace and stability, ensuring maritime security and safety, and freedom of navigation, including in and over-flight above the South China Sea. The delegations noted the need to avoid the militarization of the disputed areas. The two sides also reaffirmed their support for on-going efforts by ASEAN and China to fully and effectively implement the Declaration of the Conduct of Parties in the South China Sea (DOC) in its entirety, and to work toward the expeditious conclusion of an effective Code of Conduct (COC). On bilateral issues, both sides affirmed their enduring treaty alliance and the strategic importance of their relations. The two delegations discussed ways to further strengthen and expand areas of cooperation, including public health workforce development, medical research, creative economy, prevention and suppression of trafficking in persons and forced labor, law enforcement cooperation, and training through the International Law Enforcement Academy (ILEA), as well as trade and investment. The two sides reaffirmed the value of Thailand-U.S. defense cooperation and look forward to continuing to implement the 2012 Joint Vision Statement by strengthening cooperation on humanitarian assistance and disaster relief, global peacekeeping, and military medical research, among other defense engagements. The United States welcomed Thailand’s pledge at President Obama’s September 2015 Peacekeeping Summit to contribute civil development, engineering, and medical teams to future United Nations peacekeeping missions, and looks forward to continuing to work with Thailand as feasible on capacity building and training of peacekeepers from regional countries through Thailand’s Peacekeeping Operation Centre. The two sides also look forward to resuming their Defense Strategic Talks at the earliest opportunity. Furthermore, the two sides also identified practical ways to expand their comprehensive partnership to benefit their respective countries, the region, and beyond. In particular, Thailand and the United States agreed to hold the first Joint Commission Meeting under their bilateral Science and Technology Agreement in Thailand in the first half of 2016. The two countries look forward to expanding trade and investment ties and agreed to hold the next round of talks under the Trade and Investment Framework Agreement (TIFA) as soon as possible in 2016. The United States recognized Thailand’s leadership in the area of public health. Both sides are committed to working together to detect, prevent, and respond to infectious disease threats and address public health challenges through both bilateral and multilateral mechanisms. The two delegations noted that a five-year plan is being developed to achieve the targets of the Global Health Security Agenda (GHSA). They also agreed to explore the possibility of establishing a bilateral public health coordination mechanism. The two governments recognized the importance of education and people-to-people connectivity. In line with President Obama’s priorities in science, technology, engineering, and mathematics (STEM) education, the two sides discussed future bilateral cooperation and the co-organization of a regional STEM workshop in 2016. The two governments pledged their recommitment to the Thailand-U.S. Creative Partnership, launched at the 2010 U.S.-Thailand Strategic Dialogue, which identifies new opportunities for collaborative ingenuity between the two countries. Recognizing Thailand’s efforts and contributions in addressing global challenges, the two sides also discussed enhanced cooperation on climate change; disease prevention and control; irregular migration and human trafficking; humanitarian assistance and disaster relief; peacekeeping; and counterterrorism. The two sides welcomed the 2016 Nuclear Security Summit. The delegations discussed current political developments in Thailand and the country’s commitment to implementing comprehensive reforms and a return to sustainable democracy. Both sides also affirmed the importance of promoting universal human rights and humanitarian cooperation. Looking forward, the two sides welcomed continued robust, candid exchanges on these and other issues and a continued exchange of visits in the future. The two sides agreed to hold the Sixth U.S.-Thailand Strategic Dialogue in the United States in 2016. By U.S. Mission Thailand | 16 December, 2015 | Topics: News
Joint Statement on the Fifth Thailand-United States Strategic Dialogue
ถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการหารือยุทธศาสตร์ ไทย-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 5
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b9%8c%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%97%e0%b8%b9%e0%b8%95%e0%b8%81/
ผมรู้สึกเศร้าใจยิ่งที่ได้ทราบข่าวการอสัญกรรมของพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี พวกเราทุกคนรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณต่อท่านเป็นอย่างมาก ด้วยท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ตลอดชีวิตรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน ประเทศชาติ และมิตรภาพกับนานาชาติ ในช่วงทศวรรษที่ 1940 ระหว่างเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT ท่านได้ถอดชุดปัญญาชนไปสวมชุดพรางเพื่อร่วมรบกับสหรัฐอเมริกาในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อสู้กับข้าศึกต่างชาติที่เข้ายึดครองประเทศไทย ความผูกพันที่เกิดจากประสบการณ์ครั้งนั้นกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงหลายทศวรรษต่อมาแห่งชีวิตการรับราชการของท่านทั้งในกองทัพอากาศ ในฐานะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลและทางการทูต จนถึงฐานะสมาชิกสภาองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยามที่ประเทศเราทั้งสองร่วมมือกันแก้ไขและรับมือกับความท้าทายระดับสากลต่างๆ พล.อ.อ.สิทธิเป็นผู้นำที่กล้าหาญและมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราที่ยืนยาวผ่านสมรภูมิแห่งความยากลำบาก พวกเราขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งมายังครอบครัวและมิตรสหายของท่านกับการสูญเสียครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านประธานองคมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ โดย U.S. Embassy Bangkok | 9 ธันวาคม, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
It was with great sadness that I learned about the passing of Privy Council member Air Chief Marshall Siddhi Savetsila. All of us owe a debt of gratitude to him for his lifelong service to King, country, and international friendship. As a student at the Massachusetts Institute of Technology in the 1940s, he traded tweeds for jungle fatigues to fight as a member of the Free Thai with the United States against the foreign occupation of Thailand. The bonds born of that experience only strengthened in the following decades of his career in the Air Force, through senior levels of government and diplomacy, and on His Majesty’s Privy Council as we worked together to address many global challenges. ACM Siddhi was a generous, courageous leader, as well as a shining example of the battle-tested, enduring ties between our countries. I offer heartfelt condolences to his family and to his colleagues, especially Privy Council ‎President Prem Tinsulanonda. By U.S. Embassy Bangkok | 9 December, 2015 | Topics: Press Releases
Statement by Ambassador Glyn T. Davies
สาส์นจากเอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์
https://th.usembassy.gov/th/december915-th-html/
ผมรู้สึกเศร้าใจยิ่งที่ได้ทราบข่าวการอสัญกรรมของพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี พวกเราทุกคนรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณต่อท่านเป็นอย่างมาก ด้วยท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ตลอดชีวิตรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน ประเทศชาติ และมิตรภาพกับนานาชาติ ในช่วงทศวรรษที่ 1940 ระหว่างเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT ท่านได้ถอดชุดปัญญาชนไปสวมชุดพรางเพื่อร่วมรบกับสหรัฐอเมริกาในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อสู้กับข้าศึกต่างชาติที่เข้ายึดครองประเทศไทย ความผูกพันที่เกิดจากประสบการณ์ครั้งนั้นกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงหลายทศวรรษต่อมาแห่งชีวิตการรับราชการของท่านทั้งในกองทัพอากาศ ในฐานะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลและทางการทูต จนถึงฐานะสมาชิกสภาองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยามที่ประเทศเราทั้งสองร่วมมือกันแก้ไขและรับมือกับความท้าทายระดับสากลต่างๆ พล.อ.อ.สิทธิเป็นผู้นำที่กล้าหาญและมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราที่ยืนยาวผ่านสมรภูมิแห่งความยากลำบาก พวกเราขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งมายังครอบครัวและมิตรสหายของท่านกับการสูญเสียครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านประธานองคมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ โดย U.S. Mission Thailand | 9 ธันวาคม, 2015 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
It was with great sadness that I learned about the passing of Privy Council member Air Chief Marshall Siddhi Savetsila. All of us owe a debt of gratitude to him for his lifelong service to King, country, and international friendship. As a student at the Massachusetts Institute of Technology in the 1940s, he traded tweeds for jungle fatigues to fight as a member of the Free Thai with the United States against the foreign occupation of Thailand. The bonds born of that experience only strengthened in the following decades of his career in the Air Force, through senior levels of government and diplomacy, and on His Majesty’s Privy Council as we worked together to address many global challenges. ACM Siddhi was a generous, courageous leader, as well as a shining example of the battle-tested, enduring ties between our countries. I offer heartfelt condolences to his family and to his colleagues, especially Privy Council ‎President Prem Tinsulanonda. By U.S. Mission Thailand | 9 December, 2015 | Topics: News, Press Releases
Statement by Ambassador Glyn T. Davies
สาส์นจากเอกอัครราชทูตกลิน ที. เดวีส์
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%8c%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%88/
ผู้ติดต่อ Alison Duquette หรือ Les Dorr โทร. (202) 267-3883 กรุงวอชิงตัน – วันนี้ องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration – FAA) กระทรวงการขนส่งสหรัฐอเมริกา ประกาศว่า ประเทศไทยดำเนินการไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization – ICAO) จึงถูกจัดให้อยู่ในประเภทที่ 2 (Category 2) ตามผลการประเมินหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของประเทศไทยครั้งล่าสุด เจ้าหน้าที่ฝ่ายการบินของสหรัฐอเมริกาและไทยดำเนินความร่วมมือระหว่างกันมายาวนาน ทั้งสองประเทศทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาการรับรองความปลอดภัยด้านการบิน ประเทศที่จัดอยู่ในประเภทที่ 2 ของโครงการการประเมินความปลอดภัยการบินระหว่างประเทศ (International Aviation Safety Assessment – IASA) คือ ประเทศที่ขาดกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลสายการบินให้ดำเนินการตามมาตรฐานขั้นต่ำระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของประเทศที่เป็นองค์กรเทียบเท่ากับ FAA ในประเด็นความปลอดภัยด้านการบิน มีข้อบกพร่องด้านใดด้านหนึ่งหรือมากกว่านั้น อาทิ ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค บุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรม การจัดเก็บบันทึกข้อมูล หรือกระบวนการตรวจสอบ ด้วยประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในประเภทที่ 2 สายการบินของประเทศไทยยังสามารถดำเนินเที่ยวบินเข้าสหรัฐอเมริกาได้ตามที่มีอยู่เดิม แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้เพิ่มเที่ยวบินใหม่เข้าสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยเคยอยู่ในประเภทที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2539 และได้รับการจัดให้อยู่ในประเภทที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2540 ผลการประเมินการดำเนินการใหม่ในปี พ.ศ. 2544 และพ.ศ. 2551 ยังคงให้ประเทศไทยอยู่ในประเภทที่ 1 ตามเดิม การประเมินใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 พบว่าประเทศไทยดำเนินการไม่ได้มาตรฐานระหว่างประเทศ การประกาศในวันนี้เป็นผลสรุปจากการหารือกับรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องหลายครั้งซึ่งเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม หน้าที่ส่วนหนึ่งของโครงการการประเมินความปลอดภัยการบินระหว่างประเทศ (IASA) ขององค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) คือทำการประเมินหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินของทุกประเทศที่มีสายการบินยื่นเรื่องขอดำเนินเที่ยวบินเข้าสหรัฐอเมริกา หรือดำเนินเที่ยวบินเข้าสหรัฐอเมริกาอยู่ในปัจจุบัน หรือร่วมจัดเที่ยวบินรหัสร่วม (code sharing) กับสายการบินของสหรัฐอเมริกาที่เป็นพันธมิตร และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ การประเมินหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของประเทศต่างๆ นี้พิจารณาตามมาตรฐานความปลอดภัยขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ไม่ใช่ตามระเบียบข้อบังคับของ FAA ประเทศที่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 (Category 1) ของโครงการ IASA หมายความว่า หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินพลเรือนของประเทศนั้นๆ ดำเนินการได้มาตรฐานของ ICAO ดังนั้น สายการบินของประเทศนั้นจึงสามารถบริการเที่ยวบินเข้าสหรัฐอเมริกาและใช้รหัสของสายการบินของสหรัฐอเมริกาได้ ในการรักษาระดับให้คงอยู่ในประเภทที่ 1 นั้น ประเทศต้องยึดมาตรฐานความปลอดภัยของ ICAO ซึ่งเป็นองค์กรวิชาการด้านการบินของสหประชาชาติที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมถึงแนวปฏิบัติที่แนะนำสำหรับการดำเนินงานและบำรุงรักษาอากาศยาน เชิญอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ IASA ที่ www.faa.gov/about/initiatives/iasa/ โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 ธันวาคม, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
Contact: Alison Duquette or Les Dorr Phone: (202) 267-3883 WASHINGTON – The U.S. Department of Transportation’s Federal Aviation Administration (FAA) today announced that the Kingdom of Thailand does not comply with International Civil Aviation Organization (ICAO) safety standards and has been assigned a Category 2 rating based on a reassessment of the country’s civil aviation authority. U.S. and Thai aviation officials have a long-standing cooperative relationship and both our countries work continuously to meet the challenge of ensuring aviation safety A Category 2 International Aviation Safety (IASA) rating means that the country either lacks laws or regulations necessary to oversee air carriers in accordance with minimum international standards, or its civil aviation authority – a body equivalent to the FAA for aviation safety matters – is deficient in one or more areas, such as technical expertise, trained personnel, record-keeping, or inspection procedures. With a Category 2 rating, Thailand’s carriers can continue existing service to the United States. They will not be allowed to establish new service to the United States. Thailand was assigned an initial Category 2 rating in 1996 and received a Category 1 rating in 1997. Reassessments of Thailand in 2001 and 2008 continued the Category 1 rating. A reassessment in July 2015 found that Thailand did not meet international standards. Today’s announcement follows ongoing discussions with the government of Thailand which concluded on October 28. As part of the FAA’s IASA program, the agency assesses the civil aviation authorities of all countries with air carriers that have applied to fly to the United States, currently conduct operations to the United States, or participate in code sharing arrangements with U.S. partner airlines, and makes that information available to the public. The assessments determine whether or not foreign civil aviation authorities are meeting ICAO safety standards, not FAA regulations. A Category 1 rating means the country’s civil aviation authority complies with ICAO standards. With an IASA Category 1 rating, a country’s air carriers can establish service to the United States and carry the code of U.S. carriers. In order to maintain a Category 1 rating, a country must adhere to the safety standards of ICAO, the United Nations’ technical agency for aviation that establishes international standards and recommended practices for aircraft operations and maintenance. IASA information is posted at www.faa.gov/about/initiatives/iasa/. By U.S. Embassy Bangkok | 1 December, 2015 | Topics: Press Releases
FAA Announces Revised Safety Rating for the Kingdom of Thailand
องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกาประกาศปรับผลการตรวจประเมินความปลอดภัยสำหรับราชอาณาจักรไทย
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b6%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b2/
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโอบามาประกาศว่า สหรัฐอเมริกาและอีก 30 ประเทศความร่วมมือซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยได้แสดงพันธสัญญาจะทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (Global Health Security Agenda) สหรัฐอเมริกาจะร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกัน ตรวจจับสัญญาณ และดำเนินการตอบโต้การแพร่ระบาดของโรคต่างๆ ในอนาคต สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยยินดีที่ได้รับโอกาสนี้ในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุขที่ยืนนานกับรัฐบาลไทยและประเทศอื่นๆ ตลอดจนผู้ให้การอุปถัมภ์โครงการในการป้องกันโรคระบาดที่ ป้องกันได้ การตรวจจับสัญญาณภัยคุกคามการระบาดแต่เนิ่นๆ และการดำเนินการตอบโต้ภัยคุกคามอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล ในแต่ละปีทั่วโลก โรคติดเชื้อเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยในมนุษย์กว่าพันล้านรายและทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน โรคติดเชื้อในมนุษย์ที่เป็นที่รู้จักกันดีส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึงจุลชีพก่อโรคเชื้อเอดส์ ซาร์ส อีโบลา ไข้หวัดนก และ MERS ล้วนเป็นโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน (zoonotic) คือ เชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์และข้ามขีดคั่นทางประเภทพันธุ์มาติดเชื้อในมนุษย์ ในปี 2557 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับประเทศคู่ความร่วมมือจากทั่วโลกในการเปิดโครงการวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (Global Health Security Agenda หรือ GHSA) ซึ่งเป็นข้อริเริ่มพหุภาคีและพหุภาคของกว่า 40 ประเทศเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของนานาชาติในการรับมือกับภัยคุกคามด้านโรคติดต่อและเพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์อันประเมินได้ตามมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมวัตถุประสงค์ของวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก รัฐบาลสหรัฐฯ จะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยผ่านกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในการเสริมสร้างและสนับสนุนแผนกลยุทธ์ระยะเวลาห้าปีอันมีเป้าหมายเพื่อบ่งชี้การปฏิบัติการที่สำคัญ การดำเนินการขั้นต่อไป ตลอดจนโอกาสต่างๆ ในการบรรลุซึ่งขีดความสามารถในการป้องกัน ตรวจจับ และดำเนินการตอบโต้ภัยคุกคามจากโรคอุบัติใหม่ รวมถึงช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นระหว่างภาคส่วนต่างๆ และระหว่างหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการ นายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยกล่าวว่า “ทั้งในแง่วิทยาศาสตร์ ในแง่เศรษฐกิจ และในแง่ประวัติศาสตร์ ล้วนเป็นที่ชัดเจนว่า การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อเป็นภัยคุกคามระดับโลก ทั้งยังเป็นข้อกังวลอย่างยิ่งทางด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และการพัฒนา สหรัฐอเมริกามีความยินดีที่จะได้ใช้โอกาสนี้เสริมสร้างความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในด้านสาธารณสุข อันเป็นหนึ่งในเสาหลักของความสัมพันธ์ตลอดระยะเวลา 180 ปีของประเทศเราทั้งสองเพื่อพัฒนาการป้องกัน ตรวจจับสัญญาณ และดำเนินการตอบโต้ภัยคุกคามจากโรคติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว” รัฐบาลจะสหรัฐอเมริกาจะดำเนินการผ่านองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) กระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษยชน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค กระทรวงกลาโหม และกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา เพื่อขยายความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขสำหรับมนุษย์และสัตว์ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) นอกจากความร่วมมือทางวิชาการต่างๆ แล้ว ความร่วมมือนี้ยังจะดำเนินงานเพื่อลดการดื้อยาต้านจุลชีพ ปรับปรุงสมรรถนะห้องปฏิบัติการ และพัฒนาบุคลากรที่ครอบคลุมหลายภาคส่วนทั้งในปัจจุบันและอนาคต บทบาทของรัฐบาลไทยที่เป็นผู้นำในแผนปฏิบัติการทั้งสามส่วนภายใต้วาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลกช่วยส่งเสริมความสามารถของกลุ่มในการจัดการกับภัยคุกคามจากโรคอุบัติใหม่และบรรเทาผลของโรคเหล่านี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรและในพื้นที่ใดก็ตาม เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศเจตนาลงทุนสนับสนุนทรัพยากรมูลค่าสูงกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก ให้สามารถป้องกัน ตรวจจับ และดำเนินการตอบโต้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อในอนาคต โดย U.S. Embassy Bangkok | 17 พฤศจิกายน, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
On November 16 President Barack Obama announced that the United States and 30 partner countries, including Thailand, have made a commitment to work together to achieve the targets of the Global Health Security Agenda. Together, we will partner with the Government of Thailand to strengthen the capacity to prevent, detect, and respond to future disease outbreaks. The U.S. Mission in Bangkok welcomes this opportunity to build upon its enduring public health partnership with the Government of Thailand and other nations and donors to prevent avoidable epidemics, detect threats early, and respond rapidly and effectively. Globally, infectious diseases account for a billion human cases each year, leading to millions of deaths. The majority of known human infectious diseases—including pathogens responsible for AIDS, SARS, Ebola, avian influenza, and MERS—are “zoonotic,” meaning they originated in animals, but have crossed the species barrier to infect people. In 2014, the U.S. Government joined with partners from around the world to launch the Global Health Security Agenda (GHSA), a multilateral and multi-sectoral initiative of over 40 countries to enhance global capacities to address infectious disease threats and achieve measurable targets aligned to international standards. To help advance GHSA objectives, the U.S. Government will work with the Government of Thailand across Ministries of Public Health, Agriculture and Cooperatives, and Natural Resources and Environment — and other stakeholders to build and lend support to five-year country roadmaps. These roadmaps are intended to identify specific milestones, next steps, and opportunities toward achieving capacity to prevent, detect, and respond to emerging disease threats and help facilitate better understanding across sectors and among implementing partners. “The science is clear. The economics are clear. And history is clear,” said Glyn T. Davies, U.S. Ambassador to Thailand. “The spread of infectious diseases poses a global threat and presents serious public health, economic, and development concerns. The United States welcomes this opportunity to enhance our partnership with the Government of Thailand in the health arena—a cornerstone of our 180 year relationship—to prevent, detect, and rapidly respond to infectious disease threats.” The U.S. Government, through the U.S. Agency for International Development, the Department of Health and Human Services, the Centers for Disease Control and Prevention, the Department of Defense, and the Department of Agriculture, will expand its partnership with human and animal health authorities and key stakeholders, including the World Health Organization, Food and Agriculture Organization of the United Nations, and the World Organization for Animal Health. Amongst other areas of technical cooperation, the partnership will work to reduce antimicrobial resistance, improve laboratory capacity, and strengthen the existing and future multi-sectoral workforce. Under the Global Health Security Agenda, the Government of Thailand’s leadership role in these three action packages is advancing our collective capacity to address emerging disease threats and mitigate their impact wherever and whenever they arise. In July, 2015, the U.S. Government announced its intent to invest more than $1 billion in resources to expand the GHSA to prevent, detect, and respond to future infectious disease outbreaks. By U.S. Embassy Bangkok | 17 November, 2015 | Topics: Press Releases
Thailand listed among 30 countries in next round of Global Health Security Agenda
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในรายชื่อ 30 ประเทศที่จะเข้าร่วมวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลกครั้งต่อไป
https://th.usembassy.gov/th/presidential-history-november-th/
1 พฤศจิกายน 1800 ในปีสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพียงสมัยเดียว ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ได้ย้ายไปพำนักในอาคารพักของประธานาธิบดีที่เพิ่งสร้างใหม่ซึ่งมีชื่อดั้ง เดิมที่เรียกขานกันจนถึงทุกวันนี้คือ ทำเนียบขาว หรือ White House 2 พฤศจิกายน 1948 ประธานาธิบดีทรูแมนชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นสมัย ที่ 2 ประธานาธิบดีทรูแมนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ถึงแก่อสัญกรรม 3 พฤศจิกายน 1964 ประชาชนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ออกเสียงลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีเป็นครั้งแรก เมื่อประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ตัดสินใจให้ District of Columbia เป็นนครของรัฐบาลกลางของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2333 รัฐสภาได้พิจารณาและลงมติระงับสิทธิในการออกเสียงของประชากรของเมืองนี้ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2504 บทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบทที่ 23 ได้คืนสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนให้แก่ผู้ที่พำนักในเมืองนี้ 4 พฤศจิกายน 2008 ประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีเชื้อสาย แอฟริกัน-อเมริกันเป็นคนแรก อดีตวุฒิสมาชิกของรัฐอิลินอยส์ท่านนี้ได้ชัยเหนือนายจอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกของรัฐแอริโซนาและกลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา 5 พฤศจิกายน 1968 แปดปีหลังจากพ่ายแพ้ต่อนายจอห์น เอฟ. เคนเนดี ผู้สมัครรับเลือกเป็นประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต นายริชาร์ด นิกสันก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา โดยมีชัยเหนือนายฮูเบิร์ต ฮัมฟรีย์ รองประธานาธิบดี 6 พฤศจิกายน 1860 อับราฮัม ลินคอล์น ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันคนแรกที่ชนะการแข่ง ขันรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี 7 พฤศจิกายน 1944 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 4 ท่านเป็นประธานาธิบดีที่ประชาชนไว้วางใจในช่วงเวลาอันยากลำบากที่สุดใน ประวัติศาสตร์ของอเมริกาซึ่งเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ Great Depression และการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านถึงแก่อสัญกรรมหลังจากเข้าพิธีสาบานตนได้สามเดือน 8 พฤศจิกายน 1960 จอห์น เอฟ. เคนเนดี เป็นบุคคลที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ อเมริกา และครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดการอภิปรายของผู้สมัครรับเลือก ตั้งทางโทรทัศน์ หลายคนแสดงความคิดเห็นว่า JFK ชนะการเลือกตั้งก็เนื่องจากสามารถแสดงออกซึ่งบุคลิกและเสน่ห์ประจำตัวผ่าน การโต้วาทีทางโทรทัศน์นี้เอง 9 พฤศจิกายน 1906 ประธานาธิบดีทีโอดอร์ โรสเวลท์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เดินทางไปต่างประเทศอย่างเป็นทางการโดยได้เดินทางไปเยือนประเทศปานามา 10 พฤศจิกายน 1954 ในวันครบรอบ 179 ปีแห่งการก่อตั้งหน่วยนาวิกโยธิน ประธานาธิบดี ดไว้ท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ เป็นประธานในพิธีเปิดอนุสรณ์สถาน USMC War Memorial หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม Iwo Jima Memorial ซึ่งตั้งอยู่ในเขตสุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน 11 พฤศจิกายน 1921 ประธานาธิบดีวอร์เรน จี. ฮาร์ดิง เป็นประธานในพิธีเปิดสุสานทหารนิรนาม หรือ Tombs of the Unknowns ณ สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน 13 พฤศจิกายน 1789 จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาสิ้นสุดการเดินทางเยือนรัฐต่างๆ ในฐานะประธานาธิบดี โดยได้เดินทางไปเยือนรัฐทางตอนเหนือทั้งหมดภายในเวลาสี่สัปดาห์ 15 พฤศจิกายน 1939 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ วางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานเจฟเฟอร์สันที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. 16 พฤศจิกายน 1969 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เข้าร่วมชมการแข่งขันอเมริกันฟุตบอล NFL ฤดูกาลปกติขณะยังดำรงตำแหน่งอยู่ 2000 ประธานาธิบดีบิล คลินตัน เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่เดินทางเยือนเวียดนามนับตั้งแต่สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง 17 พฤศจิกายน 1962 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี เปิดท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตันดัลเลส 18 พฤศจิกายน 1902 Morris Michtom ช่างทำของเล่นในย่านบรูคลิน รัฐนิวยอร์ก ตั้งชื่อตุ๊กตาหมีของเขาตามชื่อประธานาธิบดีทีโอดอร์ “เท็ดดี้” โรสเวลท์ 19 พฤศจิกายน 1863 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น กล่าว “สุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์ก” อันโด่งดัง ณ เมืองเกตตีสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งเคยเป็นสมรภูมิในสงครามกลางเมืองอเมริกันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2406 20 พฤศจิกายน 1942 วันเกิดของนายโจ ไบเดน รองประธานาธิบดีคนที่ 47 แห่งสหรัฐอเมริก 22 พฤศจิกายน 1963 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ถูกลอบสังหารที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ผู้ต้องสงสัยคือ นายลี ฮาร์วีย์ ออสวอลด์ ถูกจับกุมตัวในเวลาต่อมาและถูกตั้งข้อหาฆาตกรรม รองประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากประธานาธิบดีเคนเนดีถึงแก่อสัญกรรม 24 พฤศจิกายน 1963 นายลี ฮาร์วีย์ ออสวอลด์ ผู้ลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ถูกฆาตกรรมที่สำนักงานตำรวจเมืองดัลลัสหลังลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดีได้ สองวัน 25 พฤศจิกายน 1874 พรรคธนบัตรหลังเขียว (Greenback Party) ก่อตั้งขึ้นเป็นพรรคการเมืองโดยมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ได้รับผล กระทบจากความตื่นตระหนกทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1873 (Panic of 1873) ซึ่งเป็นวิกฤติทางการเงินที่จุดชนวนภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในยุโรปและอเมริกา เหนือช่วงปี พ.ศ. 2416–2422 26 พฤศจิกายน 1863 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ประกาศให้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี โดย U.S. Mission Thailand | 1 พฤศจิกายน, 2015 | ประเภท: ประวัติศาสตร์, เลือกตั้ง
November 1 1800 President John Adams, in the last year of his only term as president, moved into the newly constructed President’s House, the original name for what is known today as the White House. November 2 1948 President Truman won a second term as U.S. President. President Truman took the office when President Franklin D. Roosevelt passed away. November 3 1964 D.C. residents cast their first presidential votes. When President George Washington decided to make District of Columbia the country’s “Federal City” in 1790, it was put under jurisdiction of Congress and terminated its voting rights. In 1961, the 23rd Amendment of the Constitution restored these rights. November 4 2008 Barack Obama is elected as America’s first African-American president. The former senator of Illinois beatSenator John McCain of Arizona and became the 44th President of the United States. November 5 1968 Eight years after losing to Democratic candidate John F. Kennedy, Richard Nixon was elected the President of the United States, beating Vice President Hubert Humphrey. November 6 1860 Abraham Lincoln is elected the 16th president of the United States, becoming the first Republican to win the presidency. November 7 1944 Amidst World War II, President Franklin D. Roosevelt became the only U.S. President to win a forth term in office. He was the President the people trusted during the most trying times in American history; the Great Depression and the U.S. entrance into the Second World War. He died three months after his inauguration. November 8 1960 John F. Kennedy becomes the youngest person ever to be elected as U.S. President. This was also the first time the presidential candidates debated on live television. Many credited JFK’s win to his ability to project his charm and personality through the televised debates. November 9 1906 President Theofore Roosevelt becomes the first U.S. President to travel to a foreign country on an official visit. He visited Panama. November 10 1954 On the 179th birthday of the foundation of the U.S. Marine Corps, the USMC War Memorial, or commonly known as the Iwo Jima Memorial, was dedicated by U.S. President Dwight D. Eisenhower in Arlington National Cemetery. November 11 1921 President Warren G. Harding dedicated the Tombs of the Unknowns at Arlington National Cemetery. November 13 1789 First U.S. President George Washington concludes the first ever presidential tour. He visited all of the northern states for four weeks. November 15 1939 President Franklin D. Roosevelt lays the cornerstone of the Jefferson Memorial in Washington, DC. November 16 1969 President Nixon becomes the first president to attend a season NFL game while in office. 2000 Bill Clinton becomes the first U.S. President to visit Vietnam since the end of the Vietnam War. November 17 1962 Washington Dulles International Airport is dedicated byPresident John F. Kennedy. November 18 1902 A toymaker in Brooklyn, New York, Morris Michton names his stuffed bear toy after President Theodore “Teddy” Roosevelt. November 19 1863 President Abraham Lincoln gives his famous “Gettysburg” speech at Gettysburg, Pennsylvania, the site of a Civil War battle in July 1863. November 20 1942 Birthday of Joe Biden, 47th Vice President of the United States. November 22 1963 President John F. Kennedy is assassinated in Dallas, Texas. Suspect Lee Harvey Oswald is later captured and charged with the murder. Vice President Lyndon B. Johnson, becomes President upon Kennedy’s death. November 24 1963 Lee Harvey Oswald, the assassin of President John F. Kennedy, is murdered two days after the assassination atDallas police department headquarters. November 25 1874 The United States Greenback Party is established as a political party consisting primarily of farmers affected by the Panic of 1873, a financial crisis that triggered a depression in Europe and North America that lasted from 1873 until 1879. November 26 1863 President Abraham Lincoln proclaims November 26 as a national Thanksgiving Day, to be celebrated annually. By U.S. Mission Thailand | 1 November, 2015 | Topics: Elections, History
U.S. Presidential History: November
ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา: เดือนพฤศจิกายน
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9c%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b9%88-%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3/
วันนี้ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ประกาศโครงการใหม่เพื่อแบ่งปันเทคโนโลยีและวิธีการจัดการทางการเกษตรในราคาเข้าถึงได้ระหว่างประเทศในเอเชียด้วยกันเพื่อเพิ่มรายได้ในแก่ เกษตรกรผู้ยากไร้ ทั้งนี้ USAID ได้มอบหมายงานดำเนินโครงการ “Feed the Future Asia Innovative Farmers” ให้แก่ Winrock International องค์กรภาคีเครือข่าย ผ่านการสนับสนุนทุนจากรัฐบาลสหรัฐฯในโครงการ Feed the Future ซึ่งเป็นความริเริ่มเพื่อต่อต้านความ หิวโหยและความมั่นคงทางอาหารระดับโลก โดย Winrock และองค์กรภาคีเครือข่ายอื่น ๆ จะเพิ่มโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยี ใหม่ ๆ และวิธีการจัดการทางเกษตรให้แก่เกษตรกรรายย่อยเพื่อเพิ่มรายได้จากการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น “เทคโนโลยีได้สร้างความก้าวหน้าทางการเกษตรให้แก่มนุษยชาติตั้งแต่เกษตรกรเริ่มเพาะพันธุ์พืชป่าเมล็ดแรกมาจนถึงปัจจุบัน” เบ็ธ เพจ ผู้อำนวยการ USAID สำนักงานภาคพื้นเอเชียกล่าว “เทคโนโลยีที่ดีขึ้นทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น จำหน่ายได้มากขึ้น เพิ่มรายได้และอาหารให้แก่เกษตรกรมากขึ้น เรามีความยินดีที่จะได้ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ใน แวดวงการเกษตรในเอเชียเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้” โครงการนี้มุ่งเน้นไปยังประเทศเป้าหมายสามประเทศในโครงการ Feed the Future ซึ่งได้แก่ บังคลาเทศ กัมพูชา และเนปาล รวมไปถึงประเทศอื่น ๆ ในโครงการความริเริ่ม เช่น พม่า ภูมิภาคเอเชียนั้นมีความกว้างใหญ่และหลากหลาย โดยมีหลายประเทศ ที่อยู่ในลำดับขั้นและสภาวะแวดล้อมการพัฒนาที่แตกต่างกัน ความแตกต่างเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อยังประโยชน์ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านได้ กิจกรรมนี้จะนำเครื่องมือและวิธีการที่ประสบความสำเร็จในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการตลาดมา เผยแพร่แก่เกษตรกรผู้ยากไร้อย่างน้อย 26,000 คนในภูมิภาค โครงการจะสนับสนุนระบบการเกษตรวิธีใหม่นี้ที่จะยังคงขยายตัวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ แม้หลังจากจบโครงการระยะเวลา 5 ปีไปแล้ว ตัวอย่างหนึ่งได้แก่การปกป้องพืชผลทางการเกษตรจากศัตรูพืชอย่างปลอดภัย ยากำจัดศัตรูพืชสามารถเป็นทั้งปัญหาได้มาก พอ ๆ กับหนทางแก้ไขปัญหา ซึ่งการใช้อย่างผิดวิธีส่งกระทบต่อรายได้และสุขภาพของเกษตรกร ตลอดจนสุขภาพของผู้บริโภค เทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้แก่มุ้งกันศัตรูพืช ซึ่งเกษตรกรรายย่อยในบางประเทศในภูมิภาคนี้ได้ใช้มุ้งเหล่านี้ในการปกป้อง พืชผลที่มีมูลค่าสูงจากความเสียหายที่เกิดจากศัตรูพืช ในขณะเดียวกันก็ลดความต้องการใช้ยากำจัดศัตรูพืชที่ส่วนใหญ่มีราคาแพง และเป็นอันตราย เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ในบริเวณอื่น ๆ ด้วยการทดสอบและขยายผลเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรโดยรวมได้ ติดตามกิจกรรมโครงการ Feed the Future Innovative Farmers และโครงการอื่น ๆ ของ USAID สำนักงานภาคพื้นเอเชียได้ที่ https://www.usaid.gov/asia-regional อ่านข้อมูลของโครงการ Feed the Future ทั่วโลกได้ที่ www.feedthefuture.gov โดย U.S. Embassy Bangkok | 15 ตุลาคม, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
The United States Agency for International Development (USAID) today announced a new project to share affordable technology and agricultural practices between countries in Asia to increase incomes of poor farmers. USAID awarded its “Feed the Future Asia Innovative Farmers” project to implementing partner Winrock International. With funding from the U.S. Government’s global hunger and food security initiative, Feed the Future, Winrock and its partners will enhance smallholder farmer access to new technologies and management practices to boost their incomes by more efficient use of resources. “Technology has driven agriculture and humanity’s progress since early farmers planted the first wild seeds, and it continues today,” said Beth Paige, director of USAID’s Regional Development Mission for Asia. “Better technology brings better yields, better markets, better incomes and more food on the table. We are excited to encourage greater exchange of knowledge and experiences in Asian agriculture to help improve the lives of the poorest.” The project focuses on the three Feed the Future focus countries of Bangladesh, Cambodia and Nepal as well as other initiative countries such as Burma. The Asia region is vast and diverse, with countries in a wide range of development contexts and these differences can be harnessed to benefit neighboring countries. This activity will help bring successful tools and practices in all stages of the supply chain — from productivity to marketing — to at least 26,000 of the poorest farmers in the region. The project will support farming systems that will continue to expand the reach of these new products long after the five-year project has ended. One example is safely protecting crops from pests. Pesticides can be the problem as much as the solution, due to misuse affecting farmer incomes, their health and the health of consumers. One technology that addresses that issue is a pest-exclusion net. These nets are used effectively by small farmers in some countries in the region to protect their high-value crops from pest damage while also reducing the need for potentially expensive and harmful pesticides. This technology can be brought to new areas, tested and expanded to increase overall benefits to farmers. Follow the Feed the Future Innovative Farmers activity and other USAID Asia projects online at https://www.usaid.gov/asia-regional Read about Feed the Future’s global work at www.feedthefuture.gov By U.S. Embassy Bangkok | 15 October, 2015 | Topics: Press Releases
New U.S. Project Links Asian Farmers with Affordable Technology
ข่าวเพื่อการเผยแพร่ โครงการใหม่ของสหรัฐฯเชื่อมโยงเกษตรกรเอเชียด้วยเทคโนโลยีในราคาที่เข้าถึงได้
https://th.usembassy.gov/th/september2315-th-html/
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยมีความยินดีที่จะแจ้งกำหนดเดินทางถึงประเทศไทยของนายกลิน เดวีส์ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนใหม่ นายกลิน เดวีส์ ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับจะเดินทางถึงประเทศไทยในวันที่ 22 กันยายน 2558 นายกลิน เดวีส์ เป็นข้าราชการการทูตอาวุโสที่มีประสบการณ์กว่า 35 ปี โดยก่อนหน้านี้ ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสของสำนักงานกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทสหรัฐอเมริกาซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และก่อนหน้านั้น ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือ และผู้แทนสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รวมทั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มรองผู้ช่วยรัฐมนตรีและรองผู้ช่วยรัฐมนตรีในสำนักงานกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เอกอัครราชทูตเดวีส์ยังเคยดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงในสำนักต่างๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ อาทิ สำนักงานประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและแรงงาน สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานกิจการยุโรป ตลอดจนสำนักเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำหรับตำแหน่งการทูตประจำต่างประเทศนั้น เอกอัครราชทูตเดวีส์เคยไปปฏิบัติราชการในประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฝรั่งเศสและซาอีร์ (Zaire) เอกอัครราชทูตเดวีส์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา Foreign Service จากมหาวิทยาลัย Georgetown และปริญญาโทสาขายุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติจาก National War College ที่ Fort McNair กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ท่านสมรสกับนางแจ็คเกอลีน เอ็ม. เดวีส์ และมีบุตรสาวสองคนและหลานสาวสองคน เอกอัครราชทูตเดวีส์กล่าวถึงการเดินทางมาประเทศไทยว่า “ผมตั้งใจรอที่จะได้รู้จัก รับฟังและเรียนรู้ความคิดเห็นของคนไทยในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อที่ผมจะได้เข้าใจประเพณีและวัฒนธรรมที่น่าสนใจยิ่งของไทย เป้าหมายของผมคือ ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนของประเทศเราทั้งสองให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งร่วมมือกันทำงานเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความรุ่งเรืองของเราร่วมกัน” เชิญอ่านประวัติเอกอัครราชทูตเดวีส์เพิ่มเติมได้ที่http://thai.bangkok.usembassy.gov/ambassador.html โดย U.S. Mission Thailand | 23 กันยายน, 2015 | ประเภท: ข่าว
The U.S. Embassy in Bangkok is pleased to announce the arrival of Honorable Glyn Townsend Davies as the new Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary of the United States of America to the Kingdom of Thailand. Ambassador-designate Davies arrived in Thailand on September 22, 2015. A career senior Foreign Service officer with 35 years of diplomatic experience, Glyn Davies previously served as a Senior Advisor in the Bureau of East Asian and Pacific Affairs at the Department of State, a position he held since 2014. Prior to that, he was Special Representative for North Korea Policy, and previously served as the United States Representative to the Vienna Office of the United Nations and the International Atomic Energy Agency, and the Principal Deputy Assistant Secretary of State, and Deputy Assistant Secretary of State in the Bureau of East Asian and Pacific Affairs. Ambassador Davies has held senior leadership positions in the State Department’s Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor, Bureau of Public Affairs, and Bureau of European Affairs, as well as the National Security Council. His overseas assignments include posts in the United Kingdom, Australia, France, and Zaire. Ambassador Davies received a B.S.F.S. from Georgetown University and later earned a master’s degree in National Security Strategy from the National War College at Ft. McNair, Washington DC. He and his wife Jacqueline Davies have two adult daughters and two granddaughters. Upon Ambassador Davies’ arrival he said, “I look forward to getting to know, listening to, and learning from people throughout the kingdom. Through them, I hope to understand Thailand’s rich traditions and culture. My goal is to deepen understanding between our people and to work together to enhance our mutual security and prosperity.” Read more about Ambassador Davies here:http://bangkok.usembassy.gov/ambassador.html By U.S. Mission Thailand | 23 September, 2015 | Topics: News
Announcement of the New U.S. Ambassador to the Kingdom of Thailand
ประกาศว่าที่เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนใหม่
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%aa%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%90%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%a2%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97/
สหรัฐอเมริกาชมเชยการดำเนินการที่สำคัญเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2015 ของรัฐบาลไทยที่ร่วมมือกับองค์การนอกภาครัฐในประเทศและหน่วยงานคู่ความร่วมมือนานาชาติในการทำลายงาช้างจำนวน 2.1 ตันที่ทางการยึดได้ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ในการทำลายงาช้างและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าที่ลักลอบค้าผิดกฎหมายเพื่อส่งสารที่ชัดเจนว่า ไม่มีประเทศใดในโลกยอมรับการค้าผิดกฎหมายที่ส่งเสริมการฆ่าสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น ช้าง ความต้องการงาช้างและผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าอื่นๆ ที่ผิดกฎหมายนำไปสู่การสังหารช้างและสัตว์ป่าที่สำคัญๆ เป็นจำนวนมาก การทำลายงาช้างในวันนี้ รวมทั้งความพยายามอย่างต่อเนื่องอื่นๆ เช่นการส่งเสริมการคุ้มครองช้างแอฟริกันภายใต้กฎหมายไทยและการกำหนดกฎระเบียบว่าด้วยการค้างาช้างให้เข้มงวดยิ่งขึ้น เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่จะยับยั้งการลักลอบค้าสัตว์ป่าอันเป็นปัญหาท้าทายระดับโลกที่มีผลกระทบทั้งในด้านการอนุรักษ์ เศรษฐกิจ สุขภาพและความมั่นคง เจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นำโดยรักษาการอัครราชทูต คริสติน่า คาวิน ได้ร่วมสังเกตการณ์การทำลายงาช้างครั้งนี้ สหรัฐอเมริกายังคงมุ่งมั่นดำเนินงานร่วมกับประเทศไทยและรัฐบาลของประเทศต่างๆ รวมถึงชุมชนท้องถิ่น องค์กรนอกภาครัฐ ภาคเอกชน และฝ่ายอื่นๆ เพื่อส่งเสริมพันธกิจโลกในการขจัดการลักลอบค้าสัตว์ป่า โดย U.S. Embassy Bangkok | 26 สิงหาคม, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
The United States applauds the important action by the Royal Thai Government, working with local non-governmental organizations and international partners, in the destruction of confiscated stockpiles of 2.1 tons of ivory on August 26, 2015. The Thai government has joined the United States and other nations in destroying ivory and trafficked wildlife items to send a clear message that the illicit commerce which fuels the slaughter of protected species such as elephants has no place in the world. The demand for ivory and other illicit wildlife products has led to the massive killing of elephants and other iconic species. Today’s event, along with ongoing efforts such as strengthening protection of African elephants under Thai law and tightening regulations on the sale of ivory, signal the Royal Thai Government’s commitment to ending wildlife trafficking, a global challenge with conservation, economic, health, and security dimensions. Officials from the U.S. Embassy in Bangkok, including Acting Deputy Chief of Mission Kristina Kvien, observed the destruction event. The United States remains deeply committed to working in partnership with Thailand and other governments, as well as local communities, non-governmental organizations, the private sector, and others to strengthen the global commitment to end wildlife trafficking. By U.S. Embassy Bangkok | 26 August, 2015 | Topics: Press Releases
The United States Commends Thailand for Ivory Destruction
สหรัฐอเมริกาชมเชยประเทศไทยที่ทำลายงาช้าง
https://th.usembassy.gov/th/statement-2015-trafficking-persons-tip-report-th/
การค้ามนุษย์เป็นปัญหาระดับโลกที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความร่วมมือ การดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลทุกประเทศในอันที่จะบรรลุความก้าวหน้าที่ชัดเจนและสัมฤทธิผลที่ประเมินได้ สหรัฐอเมริกามุ่งสืบสานการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ทางการ บุคลากรฝ่ายบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานภาคประชาสังคมของไทยด้วยจิตวิญญาณแห่งความร่วมมือในยามนี้ที่ประเทศไทยกำลังดำเนินงานปราบปรามการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ซึ่งประเทศไทยยังคงอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) โดยรายงานประจำปี พ.ศ. 2558 นี้ครอบคลุมความพยายามต่อต้านการค้ามนุษย์ของรัฐบาลประเทศต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 แม้ประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์และการประสานงานระหว่างหน่วยงานการปราบปรามการค้ามนุษย์ แต่ทว่า ในช่วงเวลาของการทำรายงาน ไทยมิได้ดำเนินการที่จำเป็นอย่างเพียงพอที่จะบรรลุผลความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ยากลำบากนี้ การจัดระดับประเทศในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์พิจารณาจากการประเมินบันทึกการดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยมิได้คำนึงถึงบริบททางการเมืองของประเทศนั้นๆ เราจะยังคงสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐของไทยดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นในการปราบปรามการค้ามนุษย์ตลอดช่วงการทำรายงานฉบับปี 2559 และตลอดไป เราขอสนับสนุนให้รัฐบาลไทยใช้กรอบกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไขตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาโดยรวมของรัฐบาลเพื่อขยายความพยายามเชิงรุกอย่างต่อเนื่องในการระบุตัวเหยื่อการค้ามนุษย์ที่ถูกบังคับใช้แรงงานและเพื่อธุรกิจทางเพศออกจากกลุ่มประชากรที่อ่อนแอทั้งหลาย รวมทั้งให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม นอกจากนี้ เราขอให้รัฐบาลไทยเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนรู้เห็นในการค้ามนุษย์ โดยดำเนินการสืบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด รวมถึงผู้บังคับใช้แรงงานในเรือประมงหรือผู้ก่ออาชญากรรมการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทางเพศ เราชื่นชมที่นับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคมเป็นต้นมา ทางรัฐบาลไทยได้ยกระดับความพยายามในการปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งรวมถึงความพยายามในการสร้างหน่วยงานพิเศษภายใต้การกำกับดูแลของศาลอาญาเพื่อพิจารณาคดีค้ามนุษย์และจับกุมบุคคลจำนวนมากที่อาจมีส่วนร่วมก่ออาชญากรรมการค้ามนุษย์และละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ กับแรงงานข้ามชาติในภาคใต้ของไทย รายงานฯ ของปีหน้าจะครอบคลุมการดำเนินการหลังวันที่ 31 มีนาคม ตลอดปีหน้านี้ สหรัฐฯ คาดว่าจะมีการดำเนินความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ กับไทยทั้งในประเทศไทยและบนเวทีระหว่างประเทศว่าด้วยประเด็นสำคัญนี้ สหรัฐฯ จะยังคงมอบความช่วยเหลือทางวิชาการเฉพาะด้านตามที่รัฐบาลไทยร้องขอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนและดำเนินคดีปราบปรามการค้ามนุษย์ อีกทั้งให้การสนับสนุนเพื่อสร้างเสริมศักยภาพของสถาบันด้านการบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรม ซึ่งรวมถึงโครงการฝึกอบรมร่วมระดับภูมิภาคผ่านสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร และสหรัฐฯ จะยังคงร่วมมือกับฝ่ายบังคับใช้กฎหมายของไทยจัดการคดีการค้าเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศเหมือนเช่นปีที่ผ่านมา ตลอดจนสนับสนุนองค์กรในท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยและทางการท้องถิ่นเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์และช่วยเหลือเหยื่อ รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นดำเนินงานร่วมกับรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยเพื่อรับมือปัญหาสำคัญนี้ อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อต้านการค้ามนุษย์ทั่วโลกของสหรัฐฯ ท่านสามารถอ่านรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2558 ทางออนไลน์ได้ที่http://www.state.gov/j/tip/rls/tiprpt/2015/index.htm โดย U.S. Embassy Bangkok | 27 กรกฎาคม, 2015 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
Human trafficking is a complex, global challenge that requires cooperation, partnership, and sustained efforts on the part of all governments to achieve tangible progress and measurable results. The United States will continue to work closely with Thai government officials, law enforcement officers, and civil society actors in a spirit of partnership as Thailand works to combat human trafficking. The State Department’s Trafficking in Persons (TIP) Report was released in Washington on July 27, 2015, and Thailand remains on Tier 3. The 2015 TIP Report covers governments’ anti-trafficking efforts from April 1, 2014 through March 31, 2015. Although Thailand took steps to improve trafficking-related laws and coordination between agencies working to combat human trafficking, Thailand did not undertake sufficient action during the reporting period required for tangible progress on its formidable human trafficking problem. TIP report rankings are made based upon a thorough evaluation of the country’s anti-trafficking record and is made without consideration of the country’s current political context. We continue to urge Thai government officials to take bold steps to combat trafficking throughout the ongoing 2016 reporting period and beyond. We encourage the Government of Thailand to use its updated legislative framework and whole-of-government approach to expand efforts to proactively and consistently identify and assist labor and sex trafficking victims among vulnerable populations. We also encourage the Thai government to hold officials complicit in trafficking accountable and rigorously investigate and prosecute individuals, including those who commit forced labor abuses on fishing vessels or who commit sex trafficking crimes. We welcome additional efforts by the Thai government since March 31 to fight trafficking in persons, including efforts to create special units within criminal courts to adjudicate trafficking cases and the arrests of dozens possibly involved in human trafficking crimes and other abuses against migrants in southern Thailand. Actions taken after March 31 will be covered in next year’s report. We also recognize and commend the many committed individuals within the Thai government, law enforcement, and civil society communities who are working hard to reduce and eliminate human trafficking. We look forward to continued dialogue with the Government of Thailand on efforts to implement changes to the 2008 anti-trafficking law, Fisheries Act, and other ministerial regulations that aim to reduce human trafficking and improve working conditions. Over the next year, we anticipate high-level engagement between U.S. and Thai officials both in Thailand and in international fora on this important issue. We will continue to provide specific technical assistance requested by the Thai government related to anti-trafficking investigations and prosecutions, as well as general support for building the capacity of its law enforcement and rule of law institutions, including joint regional training programs through the International Law Enforcement Academy in Bangkok. As in 2014, we will continue to partner with Thai law enforcement to combat cases of child sex trafficking. We will also continue to support local and international organizations that work with the Thai government and local authorities to combat human trafficking and to assist victims. As part of our global efforts to combat human trafficking, the U.S. Government remains committed to working with the Royal Thai Government and the people of Thailand to address this significant challenge. The 2015 Trafficking in Persons Report is available online here:http://www.state.gov/j/tip/rls/tiprpt/2015/index.htm By U.S. Embassy Bangkok | 27 July, 2015 | Topics: News, Press Releases, TTIP | Tags: TIP, Trafficking in Persons, Trafficking in Persons Report
Statement on 2015 Trafficking in Persons (TIP) Report
คำแถลงว่าด้วยการเผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2558
https://th.usembassy.gov/th/july2715-th-html/
การค้ามนุษย์เป็นปัญหาระดับโลกที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความร่วมมือ การดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลทุกประเทศในอันที่จะบรรลุความก้าวหน้าที่ชัดเจนและสัมฤทธิผลที่ประเมินได้ สหรัฐอเมริกามุ่งสืบสานการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ทางการ บุคลากรฝ่ายบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานภาคประชาสังคมของไทยด้วยจิตวิญญาณแห่งความร่วมมือในยามนี้ที่ประเทศไทยกำลังดำเนินงานปราบปรามการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ซึ่งประเทศไทยยังคงอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) โดยรายงานประจำปี พ.ศ. 2558 นี้ครอบคลุมความพยายามต่อต้านการค้ามนุษย์ของรัฐบาลประเทศต่างๆ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 แม้ประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์และการประสานงานระหว่างหน่วยงานการปราบปรามการค้ามนุษย์ แต่ทว่า ในช่วงเวลาของการทำรายงาน ไทยมิได้ดำเนินการที่จำเป็นอย่างเพียงพอที่จะบรรลุผลความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ยากลำบากนี้ การจัดระดับประเทศในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์พิจารณาจากการประเมินบันทึกการดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยมิได้คำนึงถึงบริบททางการเมืองของประเทศนั้นๆ เราจะยังคงสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐของไทยดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นในการปราบปรามการค้ามนุษย์ตลอดช่วงการทำรายงานฉบับปี 2559 และตลอดไป เราขอสนับสนุนให้รัฐบาลไทยใช้กรอบกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไขตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาโดยรวมของรัฐบาลเพื่อขยายความพยายามเชิงรุกอย่างต่อเนื่องในการระบุตัวเหยื่อการค้ามนุษย์ที่ถูกบังคับใช้แรงงานและเพื่อธุรกิจทางเพศออกจากกลุ่มประชากรที่อ่อนแอทั้งหลาย รวมทั้งให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม นอกจากนี้ เราขอให้รัฐบาลไทยเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนรู้เห็นในการค้ามนุษย์ โดยดำเนินการสืบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด รวมถึงผู้บังคับใช้แรงงานในเรือประมงหรือผู้ก่ออาชญากรรมการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทางเพศ เราชื่นชมที่นับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคมเป็นต้นมา ทางรัฐบาลไทยได้ยกระดับความพยายามในการปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งรวมถึงความพยายามในการสร้างหน่วยงานพิเศษภายใต้การกำกับดูแลของศาลอาญาเพื่อพิจารณาคดีค้ามนุษย์และจับกุมบุคคลจำนวนมากที่อาจมีส่วนร่วมก่ออาชญากรรมการค้ามนุษย์และละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ กับแรงงานข้ามชาติในภาคใต้ของไทย รายงานฯ ของปีหน้าจะครอบคลุมการดำเนินการหลังวันที่ 31 มีนาคม ตลอดปีหน้านี้ สหรัฐฯ คาดว่าจะมีการดำเนินความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ กับไทยทั้งในประเทศไทยและบนเวทีระหว่างประเทศว่าด้วยประเด็นสำคัญนี้ สหรัฐฯ จะยังคงมอบความช่วยเหลือทางวิชาการเฉพาะด้านตามที่รัฐบาลไทยร้องขอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนและดำเนินคดีปราบปรามการค้ามนุษย์ อีกทั้งให้การสนับสนุนเพื่อสร้างเสริมศักยภาพของสถาบันด้านการบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรม ซึ่งรวมถึงโครงการฝึกอบรมร่วมระดับภูมิภาคผ่านสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร และสหรัฐฯ จะยังคงร่วมมือกับฝ่ายบังคับใช้กฎหมายของไทยจัดการคดีการค้าเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศเหมือนเช่นปีที่ผ่านมา ตลอดจนสนับสนุนองค์กรในท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยและทางการท้องถิ่นเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์และช่วยเหลือเหยื่อ รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นดำเนินงานร่วมกับรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยเพื่อรับมือปัญหาสำคัญนี้ อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อต้านการค้ามนุษย์ทั่วโลกของสหรัฐฯ ท่านสามารถอ่านรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2558 ทางออนไลน์ได้ที่http://www.state.gov/j/tip/rls/tiprpt/2015/index.htm โดย U.S. Mission Thailand | 27 กรกฎาคม, 2015 | ประเภท: ข่าว
Human trafficking is a complex, global challenge that requires cooperation, partnership, and sustained efforts on the part of all governments to achieve tangible progress and measurable results. The United States will continue to work closely with Thai government officials, law enforcement officers, and civil society actors in a spirit of partnership as Thailand works to combat human trafficking. The State Department’s Trafficking in Persons (TIP) Report was released in Washington on July 27, 2015, and Thailand remains on Tier 3. The 2015 TIP Report covers governments’ anti-trafficking efforts from April 1, 2014 through March 31, 2015. Although Thailand took steps to improve trafficking-related laws and coordination between agencies working to combat human trafficking, Thailand did not undertake sufficient action during the reporting period required for tangible progress on its formidable human trafficking problem. TIP report rankings are made based upon a thorough evaluation of the country’s anti-trafficking record and is made without consideration of the country’s current political context. We continue to urge Thai government officials to take bold steps to combat trafficking throughout the ongoing 2016 reporting period and beyond. We encourage the Government of Thailand to use its updated legislative framework and whole-of-government approach to expand efforts to proactively and consistently identify and assist labor and sex trafficking victims among vulnerable populations. We also encourage the Thai government to hold officials complicit in trafficking accountable and rigorously investigate and prosecute individuals, including those who commit forced labor abuses on fishing vessels or who commit sex trafficking crimes. We welcome additional efforts by the Thai government since March 31 to fight trafficking in persons, including efforts to create special units within criminal courts to adjudicate trafficking cases and the arrests of dozens possibly involved in human trafficking crimes and other abuses against migrants in southern Thailand. Actions taken after March 31 will be covered in next year’s report. We also recognize and commend the many committed individuals within the Thai government, law enforcement, and civil society communities who are working hard to reduce and eliminate human trafficking. We look forward to continued dialogue with the Government of Thailand on efforts to implement changes to the 2008 anti-trafficking law, Fisheries Act, and other ministerial regulations that aim to reduce human trafficking and improve working conditions. Over the next year, we anticipate high-level engagement between U.S. and Thai officials both in Thailand and in international fora on this important issue. We will continue to provide specific technical assistance requested by the Thai government related to anti-trafficking investigations and prosecutions, as well as general support for building the capacity of its law enforcement and rule of law institutions, including joint regional training programs through the International Law Enforcement Academy in Bangkok. As in 2014, we will continue to partner with Thai law enforcement to combat cases of child sex trafficking. We will also continue to support local and international organizations that work with the Thai government and local authorities to combat human trafficking and to assist victims. As part of our global efforts to combat human trafficking, the U.S. Government remains committed to working with the Royal Thai Government and the people of Thailand to address this significant challenge. The 2015 Trafficking in Persons Report is available online here:http://www.state.gov/j/tip/rls/tiprpt/2015/index.htm By U.S. Mission Thailand | 27 July, 2015 | Topics: News
Statement on 2015 Trafficking in Persons (TIP) Report
คำแถลงว่าด้วยการเผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2558
https://th.usembassy.gov/th/july915-th-html/
คำแถลงโดยพลเรือตรี จอห์น เคอร์บี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาขอประณามที่ประเทศไทยเนรเทศเชิงบังคับชนชาติพันธุ์อุยกูร์กว่า 100 คนกลับไปยังประเทศจีนเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ซึ่งเมื่อถึงจีนแล้ว คนกลุ่มนี้อาจถูกปฏิบัติด้วยความรุนแรงและไม่ผ่านกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำดังกล่าวของไทยขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยได้ให้ไว้ รวมทั้งระเบียบปฏิบัติที่ดำเนินมายาวนานว่าด้วยการให้ที่พักพิงที่ปลอดภัยแก่กลุ่มบุคคลที่อ่อนแอ สหรัฐฯ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้แสวงหาที่พักพิงและผู้อพยพกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย และขอเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยรวมถึงรัฐบาลประเทศอื่นใดที่มีชาวอุยกูร์เข้าลี้ภัยให้ยุติการบังคับส่งชาวอุยกูร์ออกนอกประเทศอีก สหรัฐฯ ยังขอเรียกร้องให้ทางการจีนยึดถือแนวปฏิบัติสากล อีกทั้งรับรองความโปร่งใสและกระบวนการทางกฎหมาย ตลอดจนปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้อย่างเหมาะสม สหรัฐฯ จะยังคงเน้นย้ำกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงความสำคัญของการเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ให้ไว้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้ทางการไทยทุกระดับชั้นยึดมั่นในพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยได้ให้ไว้ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน (Convention Against Torture) ซึ่งกำหนดให้ประเทศต่างๆ งดเว้นการส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย นอกจากนี้ องค์การด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศควรสามารถเข้าถึงบุคคลเหล่านี้ได้โดยไม่ถูกจำกัดเพื่อให้มั่นใจว่า กลุ่มคนเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองและการดูแลด้านมนุษยธรรมอันควร สหรัฐฯ ขอเรียกร้องให้ไทยอนุญาตให้ชาวอุยกูร์ที่ยังอยู่ในไทยออกจากประเทศโดยสมัครใจไปยังประเทศที่พวกเขาเลือกเอง โดย U.S. Mission Thailand | 9 กรกฎาคม, 2015 | ประเภท: ข่าว
Statement by John Kirby Department Spokesperson We condemn Thailand’s forced deportation on July 9 of over 100 ethnic Uighurs to China, where they could face harsh treatment and a lack of due process. This action runs counter to Thailand’s international obligations as well as its long-standing practice of providing safe haven to vulnerable persons. We remain deeply concerned about the protection of all asylum seekers and vulnerable migrants in Thailand, and we strongly urge the Government of Thailand, and other governments in countries where Uighurs have taken refuge, not to carry out further forced deportations of ethnic Uighurs. We further urge Chinese authorities to uphold international norms and to ensure transparency, due process, and proper treatment of these individuals. We will continue to stress to all parties concerned the importance of respecting human rights and honoring their obligations under international law. We have consistently urged Thai authorities at all levels to adhere to Thailand’s international obligations under the Convention Against Torture, which mandates that countries refrain from refoulement. International humanitarian organizations should also have unfettered access to them to ensure that their humanitarian and protection needs are met. We urge Thailand to allow those remaining ethnic Uighurs to depart voluntarily to a country of their choice. By U.S. Mission Thailand | 9 July, 2015 | Topics: News
U.S. Condemns Forced Deportation of Ethnic Uighurs in Thailand to China
สหรัฐอเมริกาประณามการบังคับเนรเทศชนชาติพันธุ์อุยกูร์ในไทยไปยังจีน
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2-%e0%b8%aa%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%90%e0%b8%af-%e0%b9%81%e0%b8%96%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%95/
กรุงเทพฯ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558 – วันนี้ กระทรวงสาธารณสุขของไทย พร้อมด้วยหน่วยงานคู่ความร่วมมือของสหรัฐอเมริกา อันได้แก่ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) ได้แถลงข่าวเปิดตัวโครงการวิจัยเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับการตรวจและรักษาเอชไอวีในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) และสาวประเภทสอง (TG) ในประเทศไทย แม้ว่าการระบาดของเอชไอวีในประเทศไทยในกลุ่มประชากรอื่นๆ เช่น พนักงานบริการ จะมีจำนวนลดน้อยลง แต่ความพยายามในการลดการติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เมื่อเดือนตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ใช้นโยบายการให้ยาต้านไวรัสฟรีแก่ผู้มีเชื้อเอชไอวีทุกรายทันทีหลังรู้ว่ามีเชื้อ โครงการตรวจเอชไอวีและรักษาด้วยยาต้านไวรัสทันทีในชุมชนและสถานบริการสาธารณสุข และโครงการประเมินการกินยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวีในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนการฉุกเฉินของประธานาธิบดีเพื่อบรรเทาปัญหาเอดส์ (PEPFAR) รวมทั้ง USAID และ U.S. CDC จะช่วยให้ภาคีเครือข่ายในประเทศไทยสามารถดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวได้ในสถานที่ทำการวิจัยใน 7 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเน้นในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง “การตรวจเอชไอวีและรักษาด้วยยาต้านไวรัสสามารถช่วยชีวิตและป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ได้” นายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยกล่าว “เราสามารถลดการแพร่เชื้อเอชไอวีในประเทศไทยได้หากมีผู้เข้ารับการตรวจมากขึ้น และผู้ที่ตรวจพบเชื้อได้รับยาต้านไวรัสในทันที สหรัฐฯ มีความยินดีที่มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยในโครงการนี้ เนื่องจากเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในระดับโลก” ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ในปี 2558 ประมาณร้อยละ 43 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ทั้งหมดในประเทศไทย อยู่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นหากไม่มีแนวทางป้องกัน โดยชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายไม่ถึงหนึ่งในสาม (ร้อยละ 31) ได้รับผลการตรวจเอชไอวีในปีที่ผ่านมา และในจำนวนผู้ที่ได้รับการตรวจนั้น น้อยกว่าครึ่ง (ประมาณร้อยละ 44) ได้เริ่มยาต้านไวรัส ทาง USAID ซึ่งให้การสนับสนุนการดำเนินงานในศูนย์สุขภาพของชุมชน และ U.S. CDC ซึ่งให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่โรงพยาบาลต่างๆ ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขของไทยในความพยายามเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับการตรวจเอชไอวี และพัฒนาการเข้าถึงและคุณภาพของการให้บริการ โดยหวังว่าจะทำให้เกิดแนวทางดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองในประเทศไทยที่เข้ารับการตรวจและรักษาเอชไอวี “ยิ่งได้รับการตรวจเอชไอวีเร็วขึ้นเท่าไร ก็จะได้รับการรักษาและมีชีวิตปกติได้เร็วขึ้นเท่านั้น” นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกล่าว “เมื่อทราบสถานะการติดเชื้อแล้ว เอชไอวีก็เป็นเหมือนกับโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่สามารถรักษาได้ด้วยการกินยาทุกวัน และผู้มีเชื้อสามารถมีสุขภาพที่ดีได้” โดย U.S. Embassy Bangkok | 4 มิถุนายน, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
BANGKOK, June 4, 2015 – Today, Thailand’s Ministry of Public Health with the support of its U.S. partners, the U.S. Agency for International Development (USAID) and U.S. Centers for Disease Control and Prevention (U.S. CDC), launched a new initiative to increase HIV testing and treatment among men who have sex with men (MSM) and transgender (TG) women in Thailand. While Thailand has slowed the HIV epidemic among other populations, such as commercial sex workers, efforts to reduce new infections among MSM have not been as successful. In October 2014, Thailand became the first country in Asia to offer immediate, free antiretroviral treatment to all people infected with HIV. Through the new “Test, Treat, and Prevent HIV” initiative, which is being implemented with support from the U.S. President’s Emergency Plan for AIDS Relief (PEPFAR), USAID and U.S. CDC will assist Thai national and local partners as they put this new policy into practice in project sites in seven provinces, specifically focused on the needs of MSM and TG women, across Thailand. “HIV testing and treatment can save lives and prevent new infections,” said W. Patrick Murphy, Chargé d’affaires of the U.S. Embassy in Thailand. “We can slow the spread of this disease in Thailand if we increase the number of those who are tested and, if they are infected quickly provide them antiretroviral treatment. We welcome the opportunity to work with the Royal Thai Government on this initiative, as it has valuable global benefits.” Experts believe that about 43 percent of all new HIV infections in Thailand will be among MSM in 2015 and that this will continue to rise if not addressed. Less than a third (31 percent) of MSM in Thailand received the results of an HIV test in the past year. Among those diagnosed with HIV, less than half (about 44 percent) began treatment. By partnering with the Ministry of Public Health to generate demand and improve service access and quality, USAID, which supports activities at community health centers, and the U.S. CDC, which brings technical expertise to hospitals, hope to demonstrate substantially more effective and efficient approaches that increase HIV testing and treatment among MSM and TG women in Thailand. “The faster people get tested for HIV, the faster they can get treated and live normal lives,” said Dr. Sopon Mekthon, Director General of the Department of Disease Control at the Ministry of Public Health. “Once you know your status, HIV is like any other chronic disease where you can take medicine every day and learn how to be healthy again.” By U.S. Embassy Bangkok | 4 June, 2015 | Topics: Press Releases
Thailand-U.S. Launch Test, Treat, and Prevent HIV Project Partnership Responding to HIV Epidemic among Men Who Have Sex with Men in Thailand
ไทย-สหรัฐฯ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการตรวจ รักษา และป้องกันเอชไอวี ในความร่วมมือเพื่อรับมือกับการระบาดของเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในประเ
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2-%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%95-%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8%e0%b8%aa/
นางแอนน์ ซี. ริชาร์ด ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายประชากร ผู้ลี้ภัยและการย้ายถิ่น เดินทางเยือนราชอาณาจักรไทยระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม โดยเป็นผู้นำคณะผู้แทนสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย (Special meeting on Irregular Migration in the Indian Ocean) ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 29 พฤษภาคม ในระหว่างการประชุม ผช.รมต. ริชาร์ดได้ย้ำถึงพันธกิจของสหรัฐอเมริกาในการสนับสนุนความพยายามที่นำโดยภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติเพื่อช่วยชีวิตมนุษย์และแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นที่ต้นเหตุ และเน้นถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างรัฐบาลชาติต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสให้มีการโยกย้ายถิ่นฐานที่ถูกกฎหมาย ปลอดภัยและเป็นระเบียบ รวมทั้งคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่นและประชาชนในประเทศต้นทางด้วย ผช.รมต. ริชาร์ด ได้เสนอความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ด้านวิชาการว่าด้วยแนวทางปฏิบัติที่ดีในการแก้ไขและป้องกันการลักลอบนำคนเข้าเมือง การค้ามนุษย์ และการกระทำทารุณอื่นๆ ต่อผู้ย้ายถิ่น นอกจากนี้ ผช.รมต. ริชาร์ดได้เรียกร้องให้รัฐบาลในภูมิภาคนี้จัดทำเกณฑ์วิธีในการดำเนินการกับผู้ย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ผู้อพยพ ผู้แสวงหาที่พักพิง และเหยื่อการค้ามนุษย์ที่อยู่ในทะเลเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่จำเป็นต้องรับความคุ้มครอง และนำส่งกลับประเทศเดิมด้วยลักษณะที่มีมนุษยธรรมสำหรับผู้ที่ไม่มีความจำเป็นรับความคุ้มครอง โดยกล่าวว่า “เมื่อเราร่วมมือทำงานกัน เราก็สามารถดำเนินการในลักษณะที่จะส่งเสริมความมั่นคง เสถียรภาพและความรุ่งเรืองของภูมิภาคได้” นอกจากนี้ ผช.รมต. ริชาร์ดยังได้ประกาศมอบความช่วยเหลือมูลค่าสามล้านเหรียญสหรัฐให้แก่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ตามคำร้องขอฉุกเฉินเพื่อสนับสนุนความพยายามระดับภูมิภาค เงินเหล่านี้จะสนับสนุนการดำเนินงานที่ประสานและนำโดยรัฐบาลในภูมิภาคซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อประกันความปลอดภัยและความมั่นคงของผู้ย้ายถิ่น และประกันว่า การบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่นฐานและการข้ามพรมแดนจะเป็นไปอย่างมีมนุษยธรรมและเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติที่ต้นเหตุ โดยเงินช่วยเหลือครั้งนี้เป็นเงินเพิ่มเติมสำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่า 109 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนชาวพม่าในประเทศพม่าและในภูมิภาคนี้ที่ตกอยู่ในความเสี่ยง ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ได้มอบให้ตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมา โดย U.S. Embassy Bangkok | 29 พฤษภาคม, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
Assistant Secretary of State for Population, Refugees, and Migration, Anne C. Richard, visited the Kingdom of Thailand May 28-29, leading the U.S. delegation to the Special Meeting on Irregular Migration in the Indian Ocean hosted by the Government of Thailand in Bangkok on May 29. In her remarks at the meeting, Assistant Secretary Richard stressed the U.S. commitment to support regionally-led efforts to address the challenges of irregular migration in order to save lives and address the root causes of migration. She also emphasized the importance for governments and international organizations to work together to develop safe, orderly, and legal migration opportunities, and to ensure the human rights of migrants and people in source countries. She offered U.S. assistance to exchange best practices to address and prevent migrant smuggling, human trafficking, and other abuses against migrants. She also urged regional governments to develop protocols for responding to irregular migrants, refugees, asylum seekers, and victims of trafficking in persons at sea in order to provide protection to those who need it, while humanely returning those who do not. “Working together we can do this in ways that enhance the region’s security, stability, and prosperity,” she stated. Assistant Secretary Richard also announced a contribution of $3 million to the emergency appeal by the International Organization for Migration (IOM) to support the regional response. These funds will support a coordinated, regionally-led response that aims to ensure safety and security for migrants, ensure humane and orderly management of migration and borders, and to address the root causes of irregular migration. This assistance will complement the $109 million in humanitarian assistance to support vulnerable Burmese in Burma and in the region that the U.S. Government has already provided over the last two years. By U.S. Embassy Bangkok | 29 May, 2015 | Topics: Press Releases
U.S. Assistant Secretary Announces New U.S. Support for Regional Humanitarian Response to Indian Ocean Migration
ผู้ช่วย รมต. ต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศสหรัฐอเมริกาสนับสนุนการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมของภูมิภาคในการรับมือการโยกย้ายถิ่นฐานในมหาสมุทรอินเดีย
https://th.usembassy.gov/th/her-royal-highness-princess-maha-chakri-sirindhorns-birthday-statement-th/
ในนามของชุมชนชาวอเมริกันและชาวไทยในหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาและสถานกงสุลใหญ่ เชียงใหม่ ขอร่วมถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ ๕ รอบ ชาวสถานทูตสหรัฐอเมริกาล้วนซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติเพื่อพสกนิกรชาวไทยและประเทศชาติ ตลอดจนคุณูปการนานาประการต่อมิตรสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา ในวันอันเป็นมงคลนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ชาวสถานทูตสหรัฐอเมริกา ขอถวายพระพรชัยมงคลให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์และทรงพระเกษมสำราญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และสถานกงสุลใหญ่ เชียงใหม่ โดย U.S. Mission Thailand | 2 เมษายน, 2015 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
On behalf of the American and Thai community of the U.S. Mission to Thailand, the Embassy of the United States and the U.S. Consulate General in Chiang Mai join the people of the Kingdom of Thailand in extending our best wishes to Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn on the occasion of her auspicious fifth-cycle birthday anniversary. We celebrate her inspirational and enduring work for the people and nation of Thailand, and her many contributions to Thai-American friendship, and wish Her Royal Highness continued health, happiness, and prosperity. By U.S. Mission Thailand | 2 April, 2015 | Topics: News, U.S. & Thailand
Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Birthday Statement
สหรัฐอเมริการ่วมถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%a3/
โดย นายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10.00 น. ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาในการต่อสู้กับภัยก่อการร้ายและหยุดยั้งองค์กรอาชญากรรมระหว่างประเทศคือ ตัวอย่างหนึ่งของความร่วมมือที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อทั้งภูมิภาคและโลก แม้ว่าประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยอันจำเป็นต่อการฟื้นคืนความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้กลับเต็มศักยภาพอีกครั้ง พวกเราก็ยังคงสานต่อความร่วมมือในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญต่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของชาติทั้งสองและของภูมิภาคนี้ โครงการให้ความช่วยเหลือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (Anti-Terrorism Assistance – ATA) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน และสร้างความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและภูมิภาค ทั้งนี้ โครงการ ATA และสำนักงานรักษาความมั่นคงทางการทูต (Regional Security Office – RSO) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ดำเนินการจัดฝึกอบรมด้านการบังคับใช้กฎหมายที่เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและทันยุคสมัยเพื่อต่อสู้กับการขยายตัวของภัยก่อการร้ายข้ามชาติ กระชับความปลอดภัยระหว่างพรมแดน ตลอดจนสกัดกั้นและสืบสวนเหตุโจมตีโดยผู้ก่อการร้าย ATA และ RSO ได้ฝึกเจ้าหน้าที่ไทยไปแล้วกว่า 2,500 นายอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการของข้าราชการฝ่ายบังคับใช้กฎหมายระดับสูงจำนวนมาก นอกจากนี้ ATA ได้สนับสนุนสุนัขตรวจหาวัตถุระเบิดราว 30 ตัว ซึ่งได้ปฏิบัติงานตรวจหาวัตถุระเบิดในเหตุการณ์ต่างๆ หลายพันครั้งทั่วประเทศไทย และได้ช่วยงานสถานทูตสหรัฐฯ หลายครั้ง สำหรับหลักสูตรนี้ ATA and RSO ได้สนับสนุนสุนัขตรวจหาวัตถุระเบิดเพิ่มอีก 12 ตัว โดยสุนัขกลุ่มใหม่นี้จะทดแทนสุนัขอายุมากที่กำลังจะเกษียณราชการ ผมมีความยินดีที่จะแจ้งว่า ATA และ RSO จะส่งสุนัขมาสนับสนุนเพิ่มอีก 10 ตัวภายในปีนี้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มสมรรถนะให้แก่หน่วยสุนัขตรวจหาวัตถุระเบิด นอกจากนั้น ATA and RSO ยังจะจัดอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมสุนัขตรวจหาวัตถุระเบิดให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจไทย 12 นายรวมทั้งผู้สังเกตการณ์ในด้านการฝึกและการดูแลสุนัขตรวจหาวัตถุระเบิด โดยหลักสูตรดังกล่าวมีระยะเวลา 5 สัปดาห์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะสามารถใช้สถานที่ฝึกในร่มแห่งใหม่นี้ในการฝึกสุนัขโดยสภาพดินฟ้าอากาศจะไม่เป็นอุปสรรคใดๆ อีกทั้ง อาคารนี้จะช่วยยืดอายุขัยให้สุนัขพร้อมทั้งขยายโอกาสในการฝึกอีกด้วย โดย U.S. Mission Thailand | 2 มีนาคม, 2015 | ประเภท: ข่าว
Monday, March 2 at 10:00 a.m., Cha-am Cooperation between Thailand and the United States in the fight against terrorism and thwarting international criminal syndicates is one example of collaboration that has regional as well as global benefits. Although Thailand is managing a return to democracy, necessary to restore our relationship to maximum capacity, we continue cooperation on issues that matter to the security and well-being of our countries and the region. The Department of State’s Anti-Terrorism Assistance (ATA) program has assisted Thailand since 1989 to enhance counterterrorism capabilities, amplify respect for human rights, and build bilateral and regional cooperation. The ATA program and our Embassy’s Regional Security Office offer highly specialized and cutting-edge law enforcement training to combat the spread of transnational terrorism, tighten borders, and prevent/investigate terrorist attacks. ATA/RSO has trained more than 2,500 Royal Thai Government officials, which has benefitted the careers of many senior law enforcement leaders. ATA has provided more than two dozen explosive detection dogs, who have responded to thousands of incidents throughout Thailand and assisted numerous U.S. Embassy functions. ATA and RSO have provided 12 new dogs for this course who will eventually replace aging law enforcement working dogs scheduled for retirement. I am pleased to report that ATA and RSO will provide 10 more dogs later this year to help revitalize the explosive detection kennels and increase capacity. ATA and RSO are also providing five weeks of handler training to 12 Royal Thai Police officers plus observers who will learn how to train the explosive detection dogs and properly care for them. The Royal Thai Police will be able to use the new indoor training facility to work with the dogs uninhibited by weather, extending the lifetime of the dogs and expanding training opportunities. By U.S. Mission Thailand | 2 March, 2015 | Topics: News
Chargé d’affaires W. Patrick Murphy’s Opening Remarks for Royal Thai Police Canine Training Facility Opening Ceremony
คำกล่าวในพิธีเปิดอาคารฝึกสุนัขทางยุทธวิธี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
https://th.usembassy.gov/th/february1915-th-html/
นายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตรักษาการแทน สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผมขอขอบคุณท่านผู้ว่าฯ ธนาคม ท่านผู้อำนวยการไพศาล ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ผมรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่พลเอกสมหมาย พลตรี Pasquarette และ พลตรีซู ได้ให้เกียรติมาร่วมงานในวันนี้เพื่อเป็นตัวแทนทหารของทั้งสามชาติที่ร่วมกันดำเนินโครงการนี้ ผมมีความยินดีที่ได้มาเยี่ยมจังหวัดลพบุรี และยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่พิธีส่งมอบอาคารนี้ ขณะนี้ การฝึกคอบร้าโกลด์ 2015 ใกล้สิ้นสุดลงแล้ว โดยในปีนี้ มี 24 ประเทศได้เข้าร่วมในการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีระดับแนวหน้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งนี้ พันธสัญญาของสหรัฐฯต่อการการฝึกคอบร้าโกลด์สะท้อนถึงพันธกิจอันมีขอบเขตกว้างกว่าของเราในการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมทั้งพันธกิจต่อนานาประเทศคู่ความร่วมมือของเราในภูมิภาคนี้ การฝึกคอบร้าโกลด์ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคให้แข็งแกร่งขึ้นพร้อมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงร่วมของพวกเรา อันเป็นประโยชน์ที่สำคัญยิ่งในการรับมือกับปัญหาท้าทายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติและการก่อการร้ายสากล ในขณะที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการเพื่อกลับคืนสู่ระบอบการปกครองอันมีรัฐบาลพลเรือนซึ่งมาจากการเลือกตั้งเราได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกคอบร้าโกลด์โดยเน้นสมรรถนะการปฏิบัติการตอบสนองภัยพิบัติและการดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมประการหนึ่งพร้อมทั้งเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าเหตุใดการฝึกคอบร้าโกลด์จึงมีความสำคัญมากก็คือห้องเอนกประสงค์ห้องนี้ซึ่งจะทำหน้าที่รับใช้นักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองปล้องสืบไปอีกหลายรุ่น โดยเด็กๆ จะได้ศึกษาเล่าเรียนในที่ที่ปลอดภัยและสะดวกสบาย ชาวตำบลเกาะรังยังสามารถใช้สถานที่นี้ในการดำเนินกิจกรรมหลากหลายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อชุมชนอีกด้วย ซึ่งจะช่วยนำพาทุกส่วนของชุมชนให้ได้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสังคมทั้งสี่โครงการของการฝึกคอบร้าโกลด์ 2015 ในประเทศไทย ซึ่งสื่อถึงจิตวิญญาณของการฝึกคอบร้าโกลด์ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ผมทราบดีว่า คณะทำงานนานาชาติได้ทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อให้โครงการนี้เสร็จสิ้นตามกำหนดการ โดยเริ่มต้นกันมานานก่อนการเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ 2015 อย่างเป็นทางการ ในขณะที่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์นี้คณะทำงานนานาชาติอันประกอบไปด้วยทหารและวิศวกรชาวไทย อเมริกันและจีนยังได้สร้างสะพานเชื่อมเส้นแบ่งทางวัฒนธรรมและภาษา อันเป็นการเตรียมความพร้อมแก่ทหารจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้สามารถมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จะช่วยชีวิตผู้คนได้อย่างรวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้นเมื่อเกิดเหตุวิกฤต และนี่คือเป้าหมายสำคัญของการฝึกคอบร้าโกลด์ 24 ชาติทั่วภูมิภาคนี้ได้มาประสานกันรับมือความท้าทายร่วมกันด้านความมั่นคงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกพร้อมทั้งพัฒนาสมรรถภาพในการดำเนินการร่วมด้านการขนส่งเสบียงที่จำเป็นและอำนวยการงานฟื้นฟูหลังเกิดภัยธรรมชาติ ต่อสู้กับโรคระบาด และรักษาความมั่นคงทางทะเล การฝึกคอบร้าโกลด์ 2015 ได้ออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อประเด็นเหล่านี้ โดยประกอบด้วยการฝึกจำลองสถานการณ์อพยพอันเนื่องมาจากสาเหตุที่ไม่ใช่การรบและการฝึกส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การประชุมสัมมนาว่าด้วยประเด็นทางการแพทย์หลังเกิดภัยพิบัติ และการฝึกเฉพาะทางด้านปฏิบัติการตอบสนองภัยพิบัติ ผมขอขอบคุณชาวตำบลเกาะรังเจ้าบ้านที่เปี่ยมน้ำใจเอื้ออารีที่ได้ให้การต้อนรับทหารที่มาเยือนเป็นอย่างดีสายสัมพันธ์ที่ก่อตัวขึ้นที่นี่เป็นสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพล่าสุดระหว่างประชาชนชาวอเมริกันและชาวไทยที่ดำเนินมา 182 ปี ผมต้องขอขอบคุณทหารจากจีน ไทย และอเมริกัน ที่ทำให้โครงการนี้เป็นผลสำเร็จอย่างงดงาม ในฐานะชาวอเมริกันคนหนึ่ง ผมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่จากกองร้อยทหารช่างที่ 797 จากกองทัพบกสหรัฐฯ เป็นพิเศษที่ได้เดินทางจากเกาะกวม ขอให้พวกเราทุกคนภูมิใจในผลงานด้านมนุษยธรรมอันยั่งยืนถาวรของการฝึกคอบร้าโกลด์ 2015 โครงการนี้ โดย U.S. Mission Thailand | 19 กุมภาพันธ์, 2015 | ประเภท: ข่าว
Lopburi Province W. Patrick Murphy, Chargé d’affaires, a.i. Embassy of the United States of America in Thailand Governor Thanakom, Principal Paisaan, thank you for the warm welcome. General Sommai, Maj Gen Pasquarette, Maj Gen Su: I’m honored you could join us today to represent the service members of our three nations. It’s a pleasure to be in Lopburi and welcome you to this dedication ceremony. We are nearing the end of Cobra Gold 2015, the Asia-Pacific region’s marquee multilateral military event, with 24 participating nations. The U.S. commitment to Cobra Gold reflects our broader commitment to peace, prosperity, and our many partners in the region. Cobra Gold strengthens regional cooperation and advances our collective security interests. This is a particular benefit in meeting the growing challenges posed by natural disasters and international terrorism. As Thailand manages its return to elected, civilian-led government, we have in fact refocused Cobra Gold to emphasize disaster response capabilities and humanitarian assistance. One concrete result, and an example why Cobra Gold matters, is right here: this multipurpose room will serve generations of students at Baan Nong Plong, giving them a safe and comfortable place in which to learn. The people of Tambon Koh Rung can also use it for a variety of other civic purposes, bringing the entire community closer together. This is one of four Cobra Gold 2015 humanitarian civic action projects in Thailand, which perfectly symbolizes the spirit of Cobra Gold. I know how hard the multinational team has labored to get this project finished on time, starting well before we officially launched Cobra Gold 2015. In working side-by-side on this project, the multinational team of Thai, American, and Chinese soldiers and engineers spanned cultural and linguistic divides, preparing troops from across the Asia-Pacific to provide life-saving humanitarian assistance faster and more effectively when crises occur. That’s what Cobra Gold is about: two dozen nations from around the region tackling shared global and regional security challenges and increasing a joint capacity to distribute critical supplies and rebuild in the wake of natural disasters, battle infectious diseases, and ensure maritime security. Cobra Gold 2015 is designed to address these issues, with exercises simulating noncombatant evacuations and delivery of humanitarian aid, a symposium on post-disaster medical issues, and specialized disaster response training. I thank the residents of Tambon Koh Rung, who have been such generous and gracious hosts to our visiting soldiers; the bonds formed here are only the latest in the 182-year friendship between the American and Thai peoples. My thanks to the Chinese, Thai, and American multinational force that made this project a success. As an American, I’d like to especially acknowledge the members of the U.S. Army 797th Engineering Company from Guam. We can all be proud of this lasting humanitarian legacy of Cobra Gold 2015. By U.S. Mission Thailand | 19 February, 2015 | Topics: News
Remarks Dedicating Cobra Gold 2015 Humanitarian Civic Action Site
คำกล่าวในพิธีมอบอาคารอเนกประสงค์ ในโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสังคมของการฝึกคอบร้าโกลด์ 2015 ณ จังหวัดลพบุรี
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9d%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%9a/
ศูนย์ National Ability Center (NAC) ร่วมกับมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการจะจัดการอบรมกีฬาเชิงปรับตัวให้แก่เยาวชนทุพพลภาพในเชียงใหม่และหนองคายของไทยสองหลักสูตรๆ ละหนึ่งสัปดาห์ โดยโครงการ “Developing Potential and Transforming Perceptions: An International Sports Project for Individuals with Disabilities (DPTP)” หรือ “การพัฒนาศักยภาพและเปลี่ยนโลกทัศน์: โครงการกีฬาสากลสำหรับบุคคลทุพพลภาพ” นี้ได้รับทุนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และดำเนินการภายใต้การสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและสถานกงสุลใหญ่ที่เชียงใหม่ ทีมอบรมทักษะกีฬาหลากประเภทของอเมริกานี้จะเดินทางมาไทยเพื่อจัดการอบรมโค้ชและเยาวชนทุพพลภาพสองหลักสูตร หลักสูตรละ 6 วัน ตั้งแต่วันที่ 9–22 กุมภาพันธ์ ศกนี้ กีฬาที่อบรมได้แก่ วีลแชร์บาสเก็ตบอล กีฬาว่ายน้ำ กรีฑาประเภทลาน กีฬายิงธนู และกีฬาเทเบิลเทนนิสสำหรับบุคคลทุพพลภาพ โดยพิธีเปิดจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ เวลา 9.30 น. ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 คณะโค้ชและบุคคลทุพพลภาพชาวไทยจะเดินทางเยือนศูนย์ National Ability Center ณ เมือง Park City รัฐยูทาห์ เป็นเวลาสองสัปดาห์ เพื่อเข้าฝึกอบรมกีฬาเชิงปรับตัวและร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมด้วยทุนสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผลของโครงการ DPTP จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อบุคคลทุพพลภาพในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดหนองคาย รวมถึงส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักถึงศักยภาพของบุคคลทุพพลภาพเพื่อให้บุคคลทุพพลภาพเหล่านี้มีบทบาทในชุมชนได้อย่างเต็มที่ เกี่ยวกับ National Ability Center – National Ability Center สนับสนุนบุคคลทุกระดับสมรรถภาพร่างกายด้วยการส่งเสริมให้บุคคลเห็นคุณค่าในตนเอง เสริมสร้างความมั่นใจ และพัฒนาทักษะชีวิตผ่านโครงการด้านกีฬา นันทนาการ และการศึกษา ศูนย์ฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Park City รัฐยูทาห์ เป็นสถานที่ให้บริการด้านนันทนาการและกีฬาสำหรับบุคคลทุกระดับสมรรถภาพร่างกายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ในแต่ละปี National Ability Center จัดฝึกอบรมผ่านโครงการต่างๆ รวมหลายพันบทเรียน เช่น สกี กีฬาขี่ม้า กีฬาขี่จักรยาน และกีฬายิงธนู เชิญศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.discovernac.org โดย U.S. Embassy Bangkok | 11 กุมภาพันธ์, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
The National Ability Center (NAC) in partnership with the Redemptorist Foundation of Thailand for People with Disabilities will conduct two week-long sports trainings in adaptive sports for youth with disabilities in the cities of Chiang Mai and Nong Khai, Thailand. The project, “Developing Potential and Transforming Perceptions: An International Sports Project for Individuals with Disabilities” (DPTP), is funded by the U.S. Department of State and is being carried out with the full support of the US Embassy in Bangkok and the Consulate General in Chiang Mai. A U.S.-based multi-sports skills training team will travel to Thailand to conduct two six-day training programs for coaches and youth with disabilities from February 9-22, 2015 in the sports of wheelchair basketball, swimming, field games, archery and table tennis for people with disabilities. The opening ceremony will take place Tuesday, February 17 at 9:30 a.m. at the Khon Kaen University Campus Stadium in Nong Khai. In July 2015, a group of Thai coaches and people with disabilities will travel to the National Ability Center in Park City, Utah for two weeks of adaptive sports training and cultural activities supported through the U.S. Embassy grant. The impact of Project DPTP will lead to a change in attitude within Chiang Mai and Nong Khai toward individuals with disabilities, expanding community awareness of the potential of persons with disabilities that will enable them to become fully active in community life. ABOUT the National Ability Center – The National Ability Center empowers individuals of all abilities by building self-esteem, confidence and lifetime skills through sport, recreation and educational programs. Located in Park City, Utah, it is one of the largest facilities in the country to provide recreational and sports opportunities to individuals of all abilities. Each year, the National Ability Center provides thousands of lessons in programs including skiing, horseback riding, cycling and archery. For more information, visitwww.discovernac.org. By U.S. Embassy Bangkok | 11 February, 2015 | Topics: Press Releases
American Coaching Team to Provide Sports Training for People with Disabilities
คณะผู้ฝึกสอนอเมริกันอบรมกีฬาให้บุคคลทุพพลภาพ
https://th.usembassy.gov/th/february915-th-html/
นายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตรักษาการแทน สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พวกเรามาที่นี่เพื่อร่วมพิธีเปิดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ คอบร้าโกลด์ได้พัฒนาจนกลายเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมการฝึกถึง 24 ประเทศ วิวัฒนาการของคอบร้าโกลด์ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้องค์ประกอบ นับแต่ปี พ.ศ. 2525 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม จนกลายเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีพลวัตและความเชื่อมโยงมากที่สุดของโลก นอกจากนี้ ยังมีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับปัญหาด้านความมั่นคงที่พวกเราเผชิญร่วมกัน โดยในปัจจุบัน พายุไต้ฝุ่นและการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามที่พบเห็นได้มากกว่ารถถังและตอร์ปิโด ดังนั้น เราจึงได้ปรับการฝึกคอบร้าโกลด์ในปีนี้โดยจะให้ความสำคัญมากขึ้นกับขีดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและในการรับมือกับภัยพิบัติ คอบร้าโกลด์ปีนี้จะสะท้อนการปฏิบัติการและความพยายามพหุภาคีในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในโลกเรา โดยจะมีการดำเนินการฝึกในสถานการณ์จำลองในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่สหประชาชาติอนุมัติ อาทิ การต่อต้านโจรสลัด การอพยพพลเรือนออกจากพื้นที่ประสบภัยพิบัติ และการฝึกพิเศษ สำหรับการประเมินภัยพิบัติและการวางแผนให้ความช่วยเหลือ คอบร้าโกลด์ 2015 ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาและป้องกันภัยคุกคามจากโรคระบาดอุบัติใหม่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โรคระบาดต่างๆ เช่น อีโบลา ไข้หวัดนก และไข้หวัดซาร์แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงทั้งในด้านชีวิตมนุษย์และเศรษฐกิจ การร่วมมือระหว่างประเทศจึงเป็นหนทางเดียวที่จะรับมือภัยคุกคามข้ามชาติเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิผล การปรับเปลี่ยนเหล่านี้ทำให้คอบร้าโกลด์ยังคงมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป ทว่า บางสิ่งยังคงเหมือนเดิม นั่นคือ ความแน่วแน่มั่นคงของสหรัฐฯ ที่มีต่อเอเชีย ต่อสันติภาพ เสรีภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และประชาธิปไตย ตลอดจนคู่ความร่วมมือทั้งหลายของเราในภูมิภาคนี้ รวมถึงประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าภาพร่วม เป็นมิตรประเทศและพันธมิตรใกล้ชิดมายาวนาน 182ปี การเยือนประเทศไทยโดยนักการทูตอาวุโสของสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้ย้ำชัดเจนถึงมิตรภาพอันยาวนานระหว่างเรา รวมถึงการที่สหรัฐฯ ให้ความสนับสนุนคนไทยตลอดมาและหวังว่า ประเทศไทยจะกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว เพื่อให้สามารถฟื้นคืนความสัมพันธ์ทวิภาคีของเราได้อย่างเต็มศักยภาพ กระนั้น เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับพวกเราทุกฝ่าย และส่งผลให้จำต้องมีการปรับเปลี่ยนการฝึกคอบร้าโกลด์ปีนี้ ในยามที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการกลับสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม การฝึกพหุภาคีคอบร้าโกลด์ข้องเกี่ยวมากกว่าเรื่องความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยได้กระชับความร่วมมือระดับภูมิภาค ส่งเสริมประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติที่เข้าร่วมฝึก และก่อประโยชน์อย่างยิ่งต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในวงกว้าง ทั้ง 24 ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ในฐานะประเทศผู้ร่วมฝึกซ้อมและผู้สังเกตการณ์เป็นตัวแทนที่เพียบพร้อมของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พวกเรามีความยินดีที่ได้ร่วมกับสหรัฐฯ และไทยในฐานะผู้เข้าร่วมฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ รวมถึงผู้แทนที่มาในวันนี้จากอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย และสิงคโปร์ ทั้งนี้ เราขอต้อนรับอินเดียเป็นพิเศษที่มาเข้าร่วมการฝึกครั้งนี้ในฐานะผู้สังเกตการณ์ (observer plus) เป็นครั้งแรกในปีนี้ เช่นเดียวกับจีนเมื่อปีที่แล้ว การเข้าร่วมของอินเดียนับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างกลุ่มคอบร้าโกลด์ที่กว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น ประโยชน์ของความร่วมมือในวงกว้างนี้ได้งอกงามขึ้นแล้ว ขณะนี้ ทหารจากสหรัฐฯ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน และอินเดีย มีความก้าวหน้าอย่างมากในการดำเนินโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสังคมในสถานที่สี่แห่ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นไปอีกหลายชั่วคน ตลอดช่วงสองสัปดาห์จากนี้ไป เราหวังว่าประเทศที่เข้าร่วมจะมาแลกเปลี่ยนความคิดและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และสานสายสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการปฏิบัติการตอบสนองความท้าทายด้านความมั่นคงในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เมื่อเราร่วมมือกันทำงาน ย่อมเข้มแข็งกว่าทำคนเดียว ขอบคุณโรงเรียนเตรียมทหารที่กรุณาเป็นเจ้าภาพการฝึกครั้งนี้ในจังหวัดนครนายกที่สวยงามมาก ซึ่งนับว่าเหมาะสมยิ่งด้วยนักเรียนเตรียมทหารจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับพหุภาคีตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการรับราชการทหาร ขอขอบคุณทุกท่านสำหรับการมีส่วนร่วมในงานชิ้นสำคัญด้านความมั่นคงและมนุษยธรรมครั้งนี้อันเป็นประโยชน์โดยตรงต่อพลเมืองหลายพันล้านคนของเราตลอดทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดย U.S. Mission Thailand | 9 กุมภาพันธ์, 2015 | ประเภท: ข่าว
We are here for the opening of the multilateral exercise, Cobra Gold, which we have held annually since 1982. From a modest beginning, Cobra Gold has evolved into the Asia-Pacific region’s marquee multilateral military event, as the two dozen participating nations demonstrate. The evolution of Cobra Gold has not taken place in a vacuum. Since 1982, Southeast Asia has also transformed politically, economically, and socially into one of the world’s most interconnected and dynamic regions. There have also been changes in the security challenges we collectively face: typhoons and terrorism are now more common threats than tanks and torpedoes. Taking this into account, we have refocused Cobra Gold this year to place greater emphasis on humanitarian assistance and disaster response capabilities. Mirroring ongoing real-world operations and multinational efforts, the exercise will include a simulated UN-authorized counter-piracy mission and multilateral evacuation of civilians from a disaster-affected area, and special training for disaster evaluation and assistance planning. Cobra Gold 2015 also features components aimed at mitigating and preventing emerging infectious disease threats. We’ve seen in recent years how diseases like Ebola, Avian Influenza, and SARS can spread quickly and cause tremendous human and economic devastation. International cooperation is the only way to effectively address these transnational threats. These adjustments keep Cobra Gold relevant in a shifting security environment. Some things stay the same, however: An unwavering U.S. commitment to Asia; to peace, freedom, prosperity, and democracy; and to our many partners in the region – including our co-host, Thailand, a close friend and ally for 182 years. A senior U.S. envoy recently visiting Thailand made clear our unwavering friendship and support for the Thai people, as well as our hopes for the country’s return to democracy as soon as possible so we can restore our bilateral relationship to its full potential. Still, we can’t deny that this period is a challenging one for us all, and has necessitated a modified Cobra Gold exercise this year as Thailand manages its return to elected, civilian-led government. The multilateral Cobra Gold exercise, however, transcends any bilateral relationship, strengthens regional cooperation, advances the security interests of participant nations, and delivers significant benefits to the wider Asia-Pacific region. The 24 countries that comprise Cobra Gold as participants and observers represent a formidable cross-section of the Asia-Pacific. We are pleased to have joining the United States and Thailand as full participants, and represented here today, Indonesia, Japan, the Republic of Korea, Malaysia, and Singapore. We extend a special welcome to India, joining the exercise as an “observer plus” for the first time this year. India’s participation, like the addition last year of China, is a tremendous step in building an even broader and more inclusive Cobra Gold group. The benefits of this broader cooperation are already blossoming. U.S., Thai, Indonesian, Malaysian, Chinese, and Indian soldiers are making great progress, as we speak, on projects at four Cobra Gold humanitarian civic action sites that will benefit local communities for generations to come. Over the next two weeks, it’s our hope that all participating nations will exchange ideas and best practices, learn new skills, and build bonds that allow us to respond faster and more effectively to regional and global security challenges. Working together, we are much stronger than any of us are individually. Thank you to the Armed Forces Academy Preparatory School for hosting this year’s exercise in beautiful Nakhon Nayok Province. It is fitting that the young cadets here will see early in their careers the importance of multilateral security cooperation. Thank you all for your contributions to this vital security and humanitarian work, which directly benefits billions of our citizens across the entire Asia-Pacific region. By U.S. Mission Thailand | 9 February, 2015 | Topics: News
Cobra Gold 2015 Opening Remarks by W. Patrick Murphy, Chargé d’affaires, a.i.
คำกล่าวในพิธีเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์
https://th.usembassy.gov/th/exercise-cobra-gold-2015-to-begin-february-9-2015-th/
การฝึกคอบร้าโกลด์ ๒๐๑๕ เป็นการฝึกที่ถูกจัดขึ้นในหลายพื้นที่ของราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ ๙ – ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ การฝึกคอบร้าโกลด์ เป็นหนึ่งในการฝึกพหุภาคีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และได้เกิดขึ้นมาแล้วเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี คอบร้าโกลด์ ๒๐๑๕ (CG15) ครั้งที่ ๓๔ ซึ่งเป็นการฝึกประจำปี โดยจะมี ๒๔ ชาติเข้าร่วม ซึ่งจะเน้นในเรื่องความมั่นคงของโลก การประสานงาน ความร่วมมือและความมั่นคงในภูมิภาค CG15 ปีนี้จะรวมถึงการเพิ่มความสำคัญของการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายความร่วมมือในภูมิภาคสำหรับการเผชิญปัญหาวิกฤต การฝึกพหุภาคีนี้ ประกอบด้วย การฝึกฝ่ายเสนาธิการ โครงการช่วยเหลือประชาชน การสัมมนาทางการแพทย์ การฝึกอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ขัดแย้งและการฝึกภาคสนาม การฝึกฝ่ายเสนาธิการ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จาก ๑๖ ชาติ ในส่วนวางแผน กองกำลังผสมนานาชาติซึ่งตอบโต้สถานการณ์ สมมุติในหัวข้อความมั่นคงทางทะเล การต่อต้านโจรสลัด และการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม สำหรับผู้เข้าร่วมการฝึกจาก ๑๑ ชาติ จะร่วมในส่วนโครงการช่วยเหลือประชาชนเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสาธารณูปโภคพื้นฐานสำหรับคนไทย และการช่วยเหลือทางการแพทย์ ซึ่งมีทั้งแพทย์พลเรือนและแพทย์ทหารระหว่างการฝึกภาคสนาม ผู้เข้าร่วมฝึกจะดำเนินการฝึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการและสานสัมพันธ์ในภูมิภาค สำหรับชาติที่ได้รับเชิญเข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึก มี ๖ ชาติ ข้อมูลต่อไปนี้ คือเหตุการณ์สำคัญที่เผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ซึ่งสื่อที่มีความสนใจขอให้ลงทะเบียนกับหน่วยข้อมูลข่าวสารร่วม ที่ cobragold.media@gmail.com และ cobragoldthailand@gmail.com ก่อนหนึ่งวันของแต่ละเหตุการณ์กรุณากรอกอีเมล์ ชื่อ–นามสกุล หน่วยงาน ชนิดรถ หมายเลขทะเบียน และหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่สื่อที่ลงทะเบียนจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเหตุการณ์ฝึก ชื่อการฝึก สถานที่ วันที่ วัน – เวลา ลงทะเบียน พิธีเปิด จ.นครนายก ๙ ก.พ.๕๘ ๘ ก.พ.๕๘, ๑๓๐๐ การอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ขัดแย้ง เมืองพัทยา ๑๕ ก.พ.๕๘ ๑๔ ก.พ.๕๘, ๑๓๐๐ การสัมมนาทางการแพทย์ จ.ลพบุรี ๑๖-๑๗ ก.พ.๕๗ ๑๕ ก.พ.๕๘, ๑๓๐๐ พิธีส่งมอบโครงการก่อสร้าง จ.จันทบุรี ๑๗ ก.พ.๕๘ ๑๖ ก.พ.๕๘, ๑๓๐๐ พิธีส่งมอบโครงการก่อสร้าง จ.สระบุรี ๑๘ ก.พ.๕๘ ๑๗ ก.พ.๕๘, ๑๓๐๐ พิธีส่งมอบโครงการก่อสร้าง จ.ลพบุรี ๑๘ ก.พ.๕๘ ๑๗ ก.พ.๕๘, ๑๓๐๐ พิธีส่งมอบโครงการก่อสร้าง อ.ชัยบาดาล ๑๙ ก.พ.๕๘ ๑๘ ก.พ.๕๘, ๑๓๐๐ หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ พันเอก อิทธิพล ปิ่นพรหม รองหัวหน้าส่วนประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการฝึกคอบร้าโกลด์ ๑๕ โทรศัพท์ ๐๘ ๙๑๐๔ ๔๑๕๐ อีเมล์ cobragoldthailand@gmail.com หรือ คุณ บุษบงลาวัณย์ พัฒโร โทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๓๓ ๑๑๑๒ อีเมล์ pattaro@state.gov นอกจากนี้สามารถชมภาพและวีดิโอสำหรับสื่อมวลชนนำไปประกอบการทำข่าวได้ที่ https://www.dvidshub.net/feature/Cobragold,https://www.facebook.com/ExerciseCobraGold และhttps://www.facebook.com/CobraGoldThailand.RTARF/(ฝ่ายไทย) โดย U.S. Embassy Bangkok | 6 กุมภาพันธ์, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
Exercise Cobra Gold 2015 is scheduled to be held in various areas throughout the Kingdom of Thailand February 9-20, 2015. Exercise Cobra Gold is one of the largest multilateral exercises in the world and has taken place annually for more than 30 years. Cobra Gold 2015 (CG15), the 34th version of the annual exercise, will bring together 24 nations to focus on regional challenges and global security issues and promote international security cooperation and stability within the region. Cobra Gold will include an increased focus on humanitarian assistance and disaster relief, with the aim of expanding regional cooperation and coordination on these critical challenges. The multilateral exercise will consist of a staff exercise, humanitarian and civic assistance projects, a medical symposium, noncombatant evacuation operations/transfer of Japanese nationals overseas, and a field training exercise. The staff exercise will include service members from 16 nations participating in a multinational force staff planning team that responds to a simulated maritime security counter-piracy and humanitarian assistance scenario. 11 nations will participate in the humanitarian civic assistance projects designed to improve the quality of life and infrastructure for the Thai people, as well as to share medical best practices among local and military medical professionals. During the field training exercise, participants will conduct training designed to enhance interoperability and strengthen regional relationships. Additionally, there are six nations participating in the Combined Observer Liaison Team program. Below is a list of major events open to the media. Media interested in covering events are asked to register with the Combined Joint Information Bureau at cobragold.media@gmail.com and/or CobragoldThailand@gmail.com no later than one day prior to the event date. Please include in the e-mail: full name, agency, vehicle type, vehicle number and a cell phone number of each media member attending. Registered media members will receive additional information prior to the training event. Event Location Date Register by Opening Ceremony Nakhon Nayok Feb. 9 1 p.m. Feb. 8 Non-Combatant Evacuation (NEO)/ Transportation of Japanese Nationals Overseas (TJNO) Pattaya Feb 15 1 p.m. Feb 14 Medical Symposium Lop Buri Feb. 16-17 1 p.m. Feb. 15 Humanitarian Civic Assistance site dedication Chanthaburi Feb. 17 1 p.m. Feb. 16 Humanitarian Civic Assistance site dedication Sara Buri Feb. 18 1 p.m. Feb. 17 Humanitarian Civic Assistance site dedication Lop Buri Feb. 18 1 p.m. Feb. 17 Humanitarian Civic Assistance site dedication Chaibadan Feb. 19 1 p.m. Feb. 18 For more information, please contact Col. Ittipol Pinprom at 089-104-4150, or Bussabonglahwan “Gem” Pattaro at 081-833-1112. In addition, photos and videos for media use are available athttps://www.dvidshub.net/feature/CobraGold,https://www.facebook.com/ExerciseCobraGold, andhttps://www.facebook.com/CobraGoldThailand.RTARF/ By U.S. Embassy Bangkok | 6 February, 2015 | Topics: Press Releases
Exercise Cobra Gold 2015 to begin February 9, 2015
การฝึกคอบร้าโกลด์ ๒๐๑๕
https://th.usembassy.gov/th/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8%e0%b9%84/
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558 นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เดินทางเยือนราชอาณาจักรไทยโดยเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเยือนประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างการเยือนครั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีรัสเซลได้พบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของรัฐบาลและบุคคลในแวดวงการเมืองเพื่อหารือเกี่ยวกับมิตรภาพ 182 ปีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย การดำเนินการของไทยในการกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย และประเด็นอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อทั้งสองประเทศและภูมิภาค ผู้ช่วยรัฐมนตรีรัสเซลยังหารือประเด็นประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนกับผู้นำภาคประชาสังคม รวมถึงมีโอกาสได้พูดคุยกับเยาวชนไทยและผู้แทนภาคประชาสังคมเกี่ยวกับนโยบายปรับดุลยภาพสู่ภูมิภาคเอเชียของสหรัฐฯ และภาวะผู้นำในเยาวชนทั่วภูมิภาค ภายในงานซึ่งจัดโดยสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ การที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีรัสเซลเดินทางเยือนไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แสดงให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้ ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ผู้ช่วยรัฐมนตรีรัสเซลได้อธิบายถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย และนโยบายตามลำดับความสำคัญของสหรัฐฯ สำหรับความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดย U.S. Embassy Bangkok | 26 มกราคม, 2015 | ประเภท: เอกสารข่าว
On Monday, January 26, 2015 Assistant Secretary of State for East Asian and Pacific Affairs Daniel Russel visited the Kingdom of Thailand as part of a broader Southeast Asia trip. During his visit he met with senior government officials and figures from across the political spectrum to discuss the 182 year-old U.S.-Thailand relationship, Thailand’s return to democracy, and issues significant to the two nations and the region. Assistant Secretary Russel also discussed democracy and human rights with civil society leaders and had an opportunity to engage with Thai youth and representatives of civil society, discussing the U.S. rebalance to Asia and youth leadership across the region at an event hosted by the Institute of Security and International Studies. During his interview with Thai PBS, he explained the importance of the U.S.-Thai relationship and U.S. priorities for engagement with the Asia-Pacific region. Assistant Secretary Russel’s travel to Thailand and other Southeast Asian countries illustrates the importance that the United States places on the region. By U.S. Embassy Bangkok | 26 January, 2015 | Topics: Press Releases
Visit to Thailand of U.S. Assistant Secretary of State for East Asian and Pacific Affairs
การเดินทางเยือนประเทศไทยของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก นายแดเนียล รัสเซล
https://th.usembassy.gov/th/january2615-th-html/
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร สวัสดีครับ ขณะนี้ ผมกำลังอยู่ในระหว่างเดินทางเยือนประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงฟิลิปปินส์ มาเลเซียและกัมพูชา ผมเดินทางมาภูมิภาคนี้ด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่ท่านประธานาธิบดีโอบามาเดินทางมาเอเชียสองครั้งในปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลเดียวกับที่นักเรียนและนักธุรกิจชาวอเมริกันต่างพากันมาภูมิภาคนี้ และด้วยเหตุผลเดียวกับที่เรือพานิชย์และกองทัพเรือของเรามาแวะตามเมืองท่าในภูมิภาคนี้ นั่นคือ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของอเมริกามีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกันมากกับความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงของเอเชีย ชุมชนของเราเชื่อมโยงกันด้วยการเดินทาง การค้าและความสัมพันธ์ในครอบครัว และชะตากรรมของเราก็เชื่อมสัมพันธ์กันด้วยปัญหาความท้าทายระดับโลกร่วมกัน ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปจนถึงโรคระบาดและลัทธิคตินิยมสุดโต่งที่นิยมใช้ความรุนแรง ไม่มีประเทศใดที่จะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ตามลำพัง ฉะนั้น ผมขอพูดถึงโครงสร้างของภูมิภาคนี้ที่สหรัฐฯ และพันธมิตรและประเทศคู่ความร่วมมือได้สร้างขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าวเป็นประการแรก จากนั้น ผมจะ เน้นประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย และเส้นทางมิตรภาพของเราในอนาคต เป็นเวลาหลายทศวรรษที่สหรัฐฯ ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และหลังสงครามเย็นยุติลง ความร่วมมือนี้ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นกับประเทศคู่ความร่วมมือ เช่น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน เพื่อพัฒนาความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นประชาธิปไตยทั่วทั้งภูมิภาค ประเทศของเราได้ร่วมกันสร้างโครงสร้างและสถาบันระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมให้แข็งแกร่ง โครงสร้างนี้ได้ช่วยรักษาสันติภาพในภูมิภาคนี้ และหลายประเทศได้ใช้ประโยชน์จากโอกาสอันเป็นผลมาจากความสงบสุขนี้ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เราเห็นสิ่งนี้ในระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งซึ่งกำเนิดขึ้นในสถานที่ที่มีความแตกต่างหลากหลาย อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ในขณะที่พม่ายังคงมีปัญหาอยู่บ้าง แต่เราก็ได้เห็นการเปิดประเทศของพม่าครั้งประวัติศาสตร์หลังจากแยกตัวโดดเดี่ยวมาหลายทศวรรษ และในกัมพูชา ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านเมื่อปีที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสสำหรับการปฏิรูปและการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งขึ้น ในทุกประเทศข้างต้น ความก้าวหน้าในระบอบประชาธิปไตยและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจจะดำเนินคู่ขนานกันไป และเรามักจะพบว่า ความสำเร็จของประเทศใดประเทศหนึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ประธานาธิบดีโอบามาได้ให้การสนับสนุนความก้าวหน้าของภูมิภาคนี้ในหลายๆ ด้าน เช่น การเพิ่มการมีส่วนร่วม ระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนซึ่งเป็นเสาหลักของโครงสร้างของภูมิภาคนี้ ประธานาธิบดีโอบามาได้ตัดสินใจเข้าร่วม ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ และแต่งตั้งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ คนแรกประจำอาเซียน ซึ่งปัจจุบันเป็นวาระของเอกอัครราชทูตคนที่ 2 แล้ว นอกจากนี้ ประธานาธิบดีโอบามายังร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้วยตนเองอีกด้วย สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการเสริมสร้างให้การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเป็นเวทีหลักในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองและด้านความมั่นคงในระดับภูมิภาค เช่น ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ อีกทั้ง สหรัฐฯ ยังสนับสนุนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมีกำหนดจะเปิดตัวในปีนี้ สหรัฐฯ สนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในเอเปคซึ่งเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจในโครงสร้างของภูมิภาคนี้ เอเปคได้ช่วยเร่งการฟื้นตัวจากวิกฤติการเงินโลก ส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจให้สตรี และประกันว่า การเติบโตจะครอบคลุมทุกภาคส่วน โดยประโยชน์ที่ได้รับจะเป็นการช่วยเหลือผู้ยากไร้และเสริมสร้างการเติบโตของชนชั้นกลางตลอดทั่วภูมิภาค และในการประชุมเอเปคปีนี้ สหรัฐฯ ตั้งใจที่จะสำรวจแนวทางที่สหรัฐฯ จะสามารถช่วยขยายการปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น เสาหลักที่เก่าแก่ที่สุดของความสงบเรียบร้อยในภูมิภาคนี้คือ พันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและ สาธารณรัฐเกาหลี ระบบความสัมพันธ์แบบพันธมิตรและความร่วมมือด้านความมั่นคงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ในหลายด้าน ระบบดังกล่าวเป็นแกนหลักของความร่วมมือในภูมิภาคและทั่วโลก และเป็นสิ่งที่จะยืนหยัดเพื่อหลักนิติธรรมระหว่างประเทศเมื่อมีการท้าทายหลักนิติธรรม เช่น การกระทำอันก่อปัญหาที่จะดำเนินการฝ่ายเดียวเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในทะเลจีนใต้ เราทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่า กองทัพของเราจะสามารถพร้อมทำงานร่วมกันได้ในทันทีที่มีสถานการณ์จำเป็น ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน 182 ปีระหว่างสหรัฐฯ กับไทยก็เช่นเดียวกัน ประเทศเราทั้งสองได้ร่วมมือกันแก้ไขวิกฤติการณ์ด้านมนุษยธรรม ปฏิบัติการตอบสนองต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต่อต้านสลัดทะเล ส่งเสริมสาธารณสุข คุ้มครองผู้ลี้ภัย และร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและความพยายามในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยมีขอบเขตกว้างไกลกว่าจำนวนปีที่เราทั้งสองเป็นพันธมิตรกันมา หรือ แม้กระทั่งผลประโยชน์และเจตจำนงที่เรามีร่วมกัน มิตรภาพของเราซึ่งมีจุดเริ่มต้นนานมาแล้วได้รับการกระชับไมตรีอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา อาทิ ด้วยการที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงพำนักในสหรัฐอเมริกาเพื่อ ศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชสมภพในรัฐแมสซาชูเซตส์ และด้วยการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีส่วนในการเกื้อหนุนวัฒนธรรมอเมริกัน มิตรภาพที่กว้างไกลและยั่งยืนของเราได้รับการกระชับสัมพันธ์ด้วยนักเรียนไทยหลายพันคนที่เดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐฯ ทุกปีและชาวอเมริกันที่เข้ามาศึกษาและท่องเที่ยวในไทย เป็นเวลากว่าสองศตวรรษที่ชาวอเมริกันได้ อาศัยอยู่ในไทยและมีส่วนเกื้อหนุนสังคมไทยในด้านต่างๆ มากมาย เช่นเดียวกับที่ชาวไทยได้มีส่วนในสังคมอเมริกัน ประเทศเราทั้งสองได้ยืนหยัดเคียงคู่กันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เราเป็นพันธมิตรที่สนับสนุนอุดมการณ์ประชาธิปไตยในช่วงความขัดแย้งในคาบสมุทรอินโดจีน เราได้ต่อสู้กับการแพร่ขยายของการก่อการร้ายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และเราเป็นประเทศคู่ความร่วมมือที่นำเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่คนไทยและ ภูมิภาคนี้ เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่หน่วยอาสาสันติภาพและบุคลากรสหรัฐฯ ได้มีส่วนช่วยด้านการสอนภาษาอังกฤษและการพัฒนาชนบท บุคลากรด้านสาธารณสุขและนักวิทยาศาสตร์จากประเทศเราทั้งสองได้ร่วมมือในงานวิจัยเพื่อต่อสู้กับโรคมาลาเรีย และเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายของเราก็ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติดและการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ทั้งสองประเทศยังมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าที่ดำเนินมายาวนานและเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย สหรัฐฯ เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่สามของไทย บริษัทอเมริกันหลายบริษัทเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในไทย ส่งเสริมอาชีพหลายแสนตำแหน่ง รวมทั้งนำเทคโนโลยีชั้นนำและมาตรฐานระดับสูงเข้ามาในไทย บริษัทเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่เพียงปริมาณการค้าการลงทุนเท่านั้นที่สำคัญ คุณภาพก็สำคัญเช่นกัน การดำเนินธุรกิจกับอเมริกาได้เพิ่มโอกาสด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะสำหรับแรงงานไทย ตลอดจนมาตรฐานด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโต ช่วยให้ประเทศก้าวข้าม “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” และพัฒนาชีวิตของประชาชนทั่วไปให้ดีขึ้น ผมขอกล่าวถึงแนวทางที่เรากำลังเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคตสำหรับความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับไทยผ่านโครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative หรือ YSEALI ของประธานาธิบดีโอบามา ผมเข้าใจว่ามีสมาชิกโครงการมาร่วมฟังในวันนี้ด้วย เชิญแสดงตัวกันหน่อยครับ… ขอบคุณครับ และผมหวังว่าใครที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกจะมาร่วมเป็นสมาชิกโครงการกับเราด้วยนะครับ YSEALI เป็นโครงการโดดเด่นสำหรับประธานาธิบดีโอบามา ในฐานะที่ท่านเองก็เคยเป็นเยาวชนที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ช่วงหนึ่ง ท่านจึงรู้สึกผูกพันกับภูมิภาคนี้ ประธานาธิบดีโอบามาเคยจัดกิจกรรมพบปะอย่างไม่เป็นทางการกับสมาชิกโครงการในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีชาวไทยเข้าร่วมด้วย อีกทั้งสหรัฐฯ ยังได้พาสมาชิกโครงการ YSEALI ไปเยือนสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน นี่คืออีกแนวทางหนึ่งที่สหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ผู้นำรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนให้เยาวชนได้มาพบปะกันเพื่อร่วมกันสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ด้วยการมีส่วนร่วมและการเป็นผู้นำของทุกท่าน โครงการ YSEALI กำลังสร้างกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันและร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อจัดการปัญหาที่เยาวชนของเราระบุว่าเป็นความท้าทายใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยของพวกเขา อันได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การศึกษา และการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม สมาชิกโครงการ YSEALI ทำให้ทั้งประธานาธิบดีโอบามา ผม และทุกคนที่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาประทับใจมาก ในเวลานี้ ผมทราบดีว่าทุกท่านในที่นี้เป็นผู้ที่มีความคิดลึกซึ้ง ดังนั้น หลังจากที่ผมได้พูดถึงสิ่งที่กำหนดภาพความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยไปแล้ว ทั้งจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาและในอนาคต ผมก็ควรต้องกล่าวสักเล็กน้อยเกี่ยวกับสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ตลอดจนผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในช่วงปีที่ผ่านมา น่าเสียดายว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยต้องเผชิญกับอุปสรรคและยังได้รับผลกระทบจากรัฐประหารโดยกองทัพเมื่อแปดเดือนก่อน ซึ่งได้ปลดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เมื่อเช้านี้ ผมได้พูดคุยกับอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศธนะศักดิ์ ผมหารือกับทั้งสามท่านเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน ทุกฝ่ายกล่าวถึงความสำคัญของการปรองดองและการดำเนินการสู่อนาคตที่เป็นประชาธิปไตยของประเทศไทย ผมเข้าใจดีว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง จึงขอยกประเด็นนี้ขึ้นมาด้วยความนอบน้อมและความเคารพต่อประชาชนชาวไทย สหรัฐฯ ไม่เข้าข้างฝ่ายใดในการเมืองไทย เราเชื่อว่า ประชาชนชาวไทยคือผู้กำหนดความชอบธรรมของกระบวนการทางการเมืองและกระบวนการทางทางกฎหมายของตน ทว่า สหรัฐฯ ยังคงกังวลเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่รัฐประหาร อันรวมถึงข้อจำกัดด้านการพูดและการชุมนุม นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีความกังวลเป็นพิเศษในประเด็นที่ว่า กระบวนการทางการเมืองนี้ไม่ได้เป็นตัวแทนทุกภาคส่วนของสังคมไทย ผมขอย้ำอีกครั้งว่า สหรัฐฯ ไม่ได้กำลังบงการเส้นทางการเมืองที่ไทยควรดำเนินตามเพื่อกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยหรือกำลังเลือกข้างในการเมืองไทย แต่กระบวนการที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนนั้นจะส่งเสริมการปรองดองทางการเมือง ซึ่งสำคัญต่อความมั่นคงในระยะยาว กระบวนการในวงแคบที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนั้นเสี่ยงต่อการปล่อยให้คนไทยจำนวนมากรู้สึกถูกกีดกันจากระบบการเมือง นี่คือเหตุผลที่สหรัฐฯ ยังคงมุ่งสนับสนุนกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมในวงกว้างกว่า ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้รู้สึกว่า กระบวนการดังกล่าวเป็นตัวแทนของตนด้วย นอกจากนี้ มุมมองความเข้าใจเรื่องความเป็นธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญ ผมขอกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า เมื่อผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนโดยผู้มีอำนาจที่ก่อรัฐประหาร และตกเป็นเป้าด้วยข้อหาอาญาในขณะที่กระบวนการและสถาบันพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง ประชาคมโลกจึงเกิดความรู้สึกว่า ขั้นตอนเหล่านี้อาจเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง นี่คือเหตุผลที่สหรัฐฯ หวังว่าจะได้เห็นกระบวนการที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนไทยต่อรัฐบาลและสถาบันตุลาการของตน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นต่อนานาประเทศว่า ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและทุกฝ่ายมีส่วนร่วมด้วย การยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วประเทศและยกเลิกข้อจำกัดเสรีภาพในการพูดและการชุมนุมคือก้าวสำคัญอันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนอย่างแท้จริงซึ่งจะสะท้อนความหลากหลายของความคิดเห็นภายในประเทศ สหรัฐฯ หวังว่า ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้จะนำมาซึ่งสถาบันที่มั่นคงและเป็นประชาธิปไตยที่สะท้อนและตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทย สารที่ผมได้สื่อถึงบุคคลที่ผมเข้าพบในวันนี้ ถึงทุกท่าน และถึงประชาชนชาวไทยทุกคนนั้นเป็นสารเดียวกัน นั่นคือ ประเทศไทยเป็นเพื่อนและพันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ เรามีประวัติศาสตร์ความร่วมมือกันมายาวนานในหลากหลายประเด็น ที่ไม่เพียงสำคัญกับทั้งสองประเทศเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อภูมิภาคนี้ตลอดจนอีกฟากหนึ่งของโลก สหรัฐฯ มีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อสายสัมพันธ์นี้ รวมทั้งต่อมิตรภาพระหว่างเรากับประชาชนทุกคนของประเทศอันแสนวิเศษนี้ สหรัฐฯ มีความห่วงใยอย่างยิ่งเกี่ยวกับโอกาสที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของประเทศไทย ขอให้ทุกท่านประสบแต่สิ่งดีงามครับ โดย U.S. Mission Thailand | 26 มกราคม, 2015 | ประเภท: ข่าว
Institute of Security and International Studies, Chulalongkorn University Bangkok, THAILAND January 26, 2015 Right now, I’m in the middle of a trip across Southeast Asia that also includes stops in the Philippines, Malaysia and Cambodia. I’m here for the same reason that President Obama came to Asia twice last year; the same reason that American students and business people are flocking to the region, the reason our merchant ships and Navy call on your ports. The United States is a resident Asia-Pacific nation. America’s prosperity and security are closely linked with Asia’s. Our communities are linked by travel, trade, and family ties. And our fates are linked by shared global challenges, from climate change to pandemic disease to violent extremism. No single nation can solve these problems alone, so first, I’ll talk about the regional architecture that the U.S. and our allies and partners have built to meet them. Then I’ll focus in on U.S. relations with Thailand and the path forward. For decades, the U.S. has worked with Asia-Pacific allies, and even more since the end of the Cold War, with partners like members of ASEAN to advance security, prosperity, and democracy throughout the region. Together, we’ve built a regional architecture and institutions to strengthen rule of law. This architecture has helped keep the peace in the region, and many nations have taken advantage of the space provided by peace to develop, both politically and economically. We see this in the vibrant democracies that have risen in places as diverse and different as Indonesia, the Philippines, Taiwan, South Korea and Japan. While challenges remain in Myanmar, we have seen the historic opening up of that country after decades of isolation. And in Cambodia, the agreement between the government and the opposition last year has created an opportunity for reform and stronger democracy. In all these places, democratic progress and economic progress have gone hand-in-hand, and we’ve often seen the success of each country inspires its neighbors. President Obama has supported the region’s progress in many ways, such as increasing our engagement with ASEAN, a pillar of the regional order. He decided to join the Treaty of Amity and Cooperation, appointed our first – and now second – resident ambassadors, and personally participates in the East Asia Summit. The U.S. strongly supports building up that Summit as the premier forum for addressing regional political and security issues, such as the South China Sea disputes. And we support the ASEAN Economic Community set to launch this year as well. We support and actively participate in APEC, the economic pillar of the regional architecture. It has done much to further the recovery from the global financial crisis, to empower women economically, and to ensure that growth is inclusive – that its benefits are helping people in poverty and growing the middle class across the region. And at APEC this year, we intend to explore how we can help expand the practice of corporate social responsibility to promote more inclusive economic growth. The oldest pillars of the regional order are the alliances between the United States and Thailand, the Philippines, Australia, Japan, and the Republic of Korea. This system of alliances and security partnerships is essential in the 21st century in many ways: It is the backbone of cooperation in the region and around the globe. And it stands for the international rule of law when it is challenged, for instance by problematic action to unilaterally change the status quo in the South China Sea. We work with allies regularly to make sure our forces can operate together at a moment’s notice. Our enduring 182 year relationship with Thailand is no exception – together, we have addressed humanitarian crises, responded to natural disasters, combatted maritime piracy, advanced public health, protected refugees, and collaborated on counter-terrorism and law enforcement efforts to fight threat to international security. But our relationship with Thailand is defined by more than a number of years that we have been allies, or even by our common interests and aspirations. Our friendship, founded so long ago, has been continuously refreshed over that time – by Prince Mahidol’s [/Ma-hee-doan/] time in the U.S. studying at Harvard; by the birth of His Majesty the King in Massachusetts, and by His Majesty’s contributions to American culture. Our broad, enduring friendship is refreshed by the thousands of Thai students who come to the U.S. every year, and the Americans who come to study and tour here. For over two centuries, Americans have lived in and contributed to Thailand in countless ways, just as the Thai have done in America. We’ve stood as partners during WWII, partners who supported democratic ideals during conflict in Indochina, who have fought the scourge of terrorism for the past decade and more; partners who bring stability and prosperity to the people of Thailand and the region. For over half a century, the Peace Corps and U.S. aid workers have helped with teaching and rural development. Our health care workers and scientist collaborated on research to combat malaria and HIV/AIDS. Our law enforcement officers tackle trafficking in persons, narcotics, and wildlife. We have also enjoyed a long and mutually beneficial economic and trading relationship. The United States is Thailand’s third largest trading partner. American companies are major investors in Thailand, supporting hundreds of thousands of jobs, bringing leading technologies and high standards. These companies show it’s not just the quantity of trade and investment that’s important, it’s the quality. Doing business with America means more training and skills development for Thai workers, and better labor and environmental standards that strengthen growth, help you escape the “middle income trap,” and improve the lives of regular people. I want to speak about how we’re planting the seeds for the future of our relationship, today – through President Obama’s Young Southeast Asian Leaders Initiative, or YSEALI. I understand we have some members in the audience today. Let us know where you are… Thank you. I hope those of you not already involved will join. YSEALI is a signature project for President Obama. As someone who was a young person in Southeast Asia for a few years himself, he feels a connection. He has hosted townhall meetings with members here in the region that Thais have attended. And we’ve brought YSEALI members to the U.S. as well. It’s one more way we’re engaging with young leaders, and helping you engage with each other, to help build an ASEAN identity. With your participation and leadership, YSEALI is creating a cadre of young Southeast Asian leaders who work in partnership with each other and the United States to tackle what you have identified as your generation’s greatest challenges: economic development, environmental protection, education, and civic engagement. YSEALI members have impressed President Obama, and me, and all who have interacted with them. Now, I know that this is a particularly thoughtful group. So, while I have already spoken at some length about what defines our partnership – both historically and looking forward – I also need to say a few words about the political developments here and the impact on U.S.-Thailand relations over the last year. Unfortunately, our relationship with Thailand has been challenged and affected by the military coup that removed a democratically-elected government eight months ago. This morning, I spoke with former Prime Minister Yingluck, former Prime Minister Abhisit, and with Foreign Minister Tanasak. I have discussed the current political situation in Thailand with all of them. All sides have spoken about the importance of reconciliation and working to achieve Thailand’s democratic future. I understand that this is a very sensitive issue, and so I bring it up with all humility and respect for the Thai people. The United States does not take sides in Thai politics. We believe it is for the Thai people to determine the legitimacy of their political and legal processes. But we are concerned about significant restraints on freedoms since the coup, including restrictions on speech and assembly. We are also particularly concerned that the political process does not represent all elements of Thai society. Let me repeat: we are not dictating the political path that Thailand should follow to get back to democracy, or taking sides in Thai politics. But an inclusive process promotes political reconciliation, which, in turn, is key to long-term stability. The alternative — a narrow process — risks leaving many Thai people feeling excluded from the political system. That is why we continue to advocate for a broader, more inclusive political process that allows all sectors of society to feel represented. Also, the perception of fairness is important. I’ll be blunt here: When an elected leader is deposed, impeached by the authorities that implemented the coup, and then targeted with criminal charges while basic democratic processes and institutions are interrupted, the international community is left with the impression that these steps could be politically driven. That is why we hope to see a process that reinforces the confidence of the Thai people in their government and judicial institutions, and builds confidence internationally that Thailand is moving toward stable and participatory democracy. Ending martial law throughout the country and removing restrictions on freedom of speech and assembly are important steps as part of a genuinely inclusive reform process that reflects the broad diversity of views within the country. We hope that the result of that process will be stable, democratic institutions that reflect and respond to the will of the Thai people. The message I am bringing to the people I am meeting with today, to you, and to all Thai people is the same: Thailand is a valued friend and ally, one with whom we have a longstanding history of broad cooperation on a range of issues important not just to our two countries but also to the region and beyond across the globe. We care deeply about this relationship and our friendship with all the people of this wonderful country. We care deeply about Thailand’s prospects for success and wish you well. By U.S. Mission Thailand | 26 January, 2015 | Topics: News
Remarks of Assistant Secretary Daniel Russel
ปาฐกถาของนายแดเนียล รัสเซล
https://th.usembassy.gov/th/december2215-th-html/
ข้าพเจ้าจะไม่มีวันลืมเมื่อครั้งที่ได้ทราบข่าวเหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อสิบปีก่อน ภาพที่ปรากฏนั้นสะเทือนใจยิ่ง เมืองทั้งเมืองในอินโดนีเซียจนถึงโซมาเลียต่างถูกทำลายย่อยยับ คลื่นน้ำโถมกระหน่ำซัดบ้านเรือนจนราบคาบ ผู้คนนับแสนเสียชีวิตและอีกหลายแสนคนต้องพลัดพรากจากครอบครัว วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาขอรำลึกถึงผู้ที่จากไป ทั้งเกษตรกร ชาวประมง ตลอดจนนักเดินทางจากดินแดนของเรา ข้าพเจ้าทราบดีว่า ไม่มีคำใดที่สามารถถ่ายทอดความสูญเสียครั้งร้ายแรงนี้ได้ ไม่มีหนทางใดที่อาจลบล้างความเจ็บปวดของพ่อแม่ที่สูญเสียลูก หรือลูกที่สูญเสียพ่อแม่และจำต้องแบกรับความรับผิดชอบดังเช่นผู้ใหญ่ด้วยวัยที่ยังเยาว์ สหรัฐฯ ยกย่องผู้คนหลายล้านคนที่มีส่วนร่วมในความพยายามฟื้นฟูจากภัยพิบัติ และขอเชิดชูเกียรติของผู้ที่ทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายให้ตั้งต้นฟื้นฟูและสร้างชุมชนของตนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิครั้งนั้นเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งที่เราเคยประสบมา แต่ก็ได้ดึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวพวกเราทุกคนออกมาเช่นกัน เหตุการณ์ครั้งนั้นยังส่งสัญญาณเตือนถึงเราทุกคน พวกเราทราบดีว่าหลายภูมิภาคกำลังเผชิญกับอุทกภัยและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวกันมาหลายปีแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้เกิดพายุรุนแรงขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น ถ้าเราไม่หยุดยั้งและเปลี่ยนแปลงแนวโน้มนี้ เมื่อปีที่แล้ว ข้าพเจ้าได้เดินทางเยือนฟิลิปปินส์และได้เห็นความเสียหายจากพลังทำลายล้างของพายุไต้ฝุ่นไห่เยียน แม้ยังไม่อาจเข้าใจได้ว่าพายุที่รุนแรงเช่นนี้หรือร้ายแรงกว่านี้อาจกลายเป็นเรื่องปกติได้ แต่เราก็ต้องเริ่มดำเนินการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ขณะนี้ ก่อนที่จะสายเกินไปกว่าจะตระหนักถึงสัญญานเตือนภัยดังกล่าว ในวันแห่งการรำลึกนี้ สหรัฐฯ ขอร่วมไว้อาลัยพร้อมกับมิตรของเราในเอเชียและแอฟริกาที่ได้รับผลกระทบจากมหันตภัยนี้ สหรัฐฯ มุ่งมั่นรับมือกับงานหนักที่ยังรอคอยอยู่เบื้องหน้าเพื่อช่วยภูมิภาคนี้สร้างชุมชนที่ปลอดภัยและปรับตัวกับภัยพิบัติได้ดีขึ้น เราจะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อสรรค์สร้างโลกที่ปลอดภัยและยั่งยืนยิ่งขึ้นไว้ให้ลูกหลาน คนรุ่นต่อไปกำลังฝากความหวังไว้กับเรา โดย U.S. Mission Thailand | 22 ธันวาคม, 2014 | ประเภท: ข่าว
John Kerry Secretary of State Washington, DC I’ll never forget hearing the news of the tsunami that struck in the Indian Ocean 10 years ago. The images were gut-wrenching: entire towns razed from Indonesia to Somalia; raging waters sweeping away people’s homes; hundreds of thousands killed and many more separated from their families. Today of all days, we pause to remember those we lost—from farmers and fishers to travelers from our own lands. I know that there are no words to express such a horrific loss. There’s no way to wipe away the pain of parents who lost a child, or children who lost their parents and were forced to assume adult responsibilities at a tender age. We recognize the millions of people who contributed to the recovery effort. And we honor those who have continued to work in the years since to help the victims pick up the pieces and rebuild their communities. The tsunami was one of the worst we have ever seen, but it brought out the best in all of us. It also sounded a warning. We know that many regions are already suffering historic floods and rising sea levels. And scientists have been saying for years that climate change could mean more frequent and disastrous storms, unless we stop and reverse course. Last year I visited the Philippines and saw the devastation of Typhoon Haiyan. It is incomprehensible that that kind of storm – or worse – could become the norm. The time to act on climate change is now – before it’s too late to heed the warning. On this day of reflection, we mourn with our friends in Asia and Africa who were affected by this terrible disaster. We commit to the hard work still ahead to help the region build safer, more resilient communities. And we pledge our best efforts to leave our children and grandchildren a safer and more sustainable planet. Future generations are counting on us. By U.S. Mission Thailand | 22 December, 2014 | Topics: News
Marking the Tenth Anniversary of the Indian Ocean Tsunami
คำแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น แคร์รี เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีเหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย
https://th.usembassy.gov/th/september2214-th-html/
ณ สถาบัน Brookings Institution กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สวัสดีค่ะทุกท่าน ดิฉันรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้กลับมาที่ Brookings อีกครั้งหนึ่ง ดิฉันอยู่ที่นี่ 6 ปี และเนื่องจากคุณแม่ของดิฉันและดิฉันต่างทำงานที่นี่เป็นเวลานาน เรารู้สึกว่าที่นี่เหมือนบ้านของเรา ดิฉันได้พบเพื่อนร่วมงานที่น่าชื่นชมและทรงภูมิจำนวนมากที่นี่ ซึ่งดิฉันยังคงมาขอรับคำแนะนำและความช่วยเหลืออยู่ และช่วงเวลาที่ดิฉันทำงานอยู่ที่นี่คือครั้งสุดท้ายที่ดิฉันได้นอนครบ 7 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงคิดถึงที่นี่มาก Strobe และ Martin ขอบคุณค่ะที่เชิญดิฉันมาในวันนี้ ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาที่นี่พร้อมกับท่านรัฐมนตรีต่างประเทศ Shanmugam ประธานาธิบดีโอบามาและดิฉันได้พบกับประธานาธิบดีลีที่ทำเนียบขาวเมื่อไม่กี่เดือนมานี้เพื่อยืนยันความร่วมมือระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐอเมริกา ดิฉันคิดว่า เป็นการเหมาะสมยิ่งที่ตำแหน่งประธานของเอเชียอาคเนย์ศึกษาของ Brookings ตั้งชื่อตามท่านลี กวน ยู ผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคนี้ เราอาจกล่าวได้ว่า สิงคโปร์เป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ประเทศทั้งหลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังดำเนินการเพื่อให้บรรลุผล ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อมโยงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภายในภูมิภาคเดียวกันและกับเศรษฐกิจของโลก ระบอบเผด็จการที่ฝังรากลึกได้เปิดทางให้กับประชาธิปไตยใหม่ๆ และตลอดทั้งภูมิภาคนี้ ประชาชนเริ่มมีบทบาทมากขึ้นทุกขณะในการปกครองตนเองและในการดำเนินชีวิตด้านประชาสังคม ดังที่ประธานาธิบดีโอบามากล่าวไว้ที่ประเทศมาเลเซียเมื่อต้นปีนี้ว่า “บางที อาจไม่มีภูมิภาคใดในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน” ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาพร้อมกับอิทธิพลและโอกาสที่เพิ่มมากขึ้นในการมีบทบาทบนเวทีโลก บทบาทของเอเชียที่มีเพิ่มขึ้นในกิจการระหว่างประเทศเป็นผลมาจากความมีส่วนร่วมที่ไม่น้อยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือสาเหตุว่า เหตุใดประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงมีความสำคัญและจะยังมีความสำคัญต่อนโยบายปรับดุลยภาพกับภูมิภาคเอเชียของสหรัฐฯ เราถือว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประเทศหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันในภารกิจของเราเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่จะส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนา เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้ประชาชนทุกคน ประธานาธิบดีโอบามาจะยังคงดำเนินภารกิจนี้เมื่อท่านไปเยือนภูมิภาคนี้อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งการแวะที่ประเทศจีนเพื่อร่วมการประชุมเอเปค ที่ประเทศพม่าเพื่อร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกและที่ประเทศออสเตรเลียเพื่อร่วมการประชุมสุดยอดของประเทศสมาชิกกลุ่ม G20 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดของภูมิภาคนี้มีความสำคัญยิ่งต่อความเจริญรุ่งเรืองของอเมริกา กลุ่มประเทศอาเซียนเมื่อรวมกันแล้วนับเป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับเจ็ดของโลกและอันดับสี่ของประเทศคู่ค้าของอเมริกา สหรัฐอเมริกาลงทุนในอาเซียนมากกว่าประเทศใดๆ ในเอเซีย และเนื่องจากอาเซียนมีประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในโลก อาเซียนจึงยิ่งมีความสำคัญต่ออนาคตของเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั่นคือเหตุผลว่า เหตุใดเราจึงมุ่งมั่นดำเนินการความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ Trans-Pacific Partnership – TPP หนึ่งในสามของประเทศคู่ความร่วมมือ TPP เป็นประเทศในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ เวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งสำหรับประเทศเหล่านี้ ข้อตกลงที่มีมาตรฐานสูงหมายถึงการมีความยึดมั่นในพันธกิจใหม่ๆ อย่างจริงจัง อย่างไรก็ดี ข้อตกลงดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์อย่างมากต่อเศรษฐกิจของเราทุกประเทศ และเรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือประเทศคู่ความร่วมมือของเราสามารถดำเนินการตามข้อกำหนดของ TPP ได้ และสามารถสร้างโอกาสเพื่อการค้าและการลงทุนที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงนี้ สหรัฐฯ กำลังดำเนินการเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนมิถุนายน รัฐมนตรี Pritzker ได้นำคณะผู้แทนนักธุรกิจชาวอเมริกันไปเยือนฟิลิปปินส์ เวียดนามและพม่าเพื่อสำรวจโอกาสทางการค้าใหม่ๆ เอกอัครราชทูต Froman ได้พบกับเอกอัครราชทูตของประเทศกลุ่มอาเซียนทั้งหมดในพม่าเมื่อเดือนที่แล้ว พวกเราร่วมกันส่งเสริมการเติบโตที่มีฐานกว้างและยั่งยืนเพื่อว่าประเทศเศรษฐกิจต่างๆ จะสามารถแข่งขันกันได้จากจุดยืนที่เท่าเทียมกันและทุกคนในทุกระดับของสังคมจะต่างมีส่วนร่วมในความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทวีปเอเชีย สหรัฐฯ เป็นพันธมิตรที่ยาวนานกับไทยและฟิลิปปินส์ และเรายังมีความร่วมมือด้านความมั่นคงที่สำคัญกับสิงคโปร์ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโอบามาและประธานาธิบดีอาคิโนได้ประกาศข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมเพิ่มเติม (Enhanced Defense Cooperation Agreement) ซึ่งจะกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพของเราทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ เรายังกำลังดำเนินการกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศอื่นๆ อีกเช่น มาเลเซียและเวียดนาม ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสมรรถภาพของประเทศทั้งสองในการมีส่วนร่วมปฏิบัติการเพื่อความมั่นคงทางทะเล สหรัฐฯ ยังคงร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เราไม่สามารถดำเนินการตามลำพังได้ อาทิ ภัยคุกคามไร้พรมแดน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปฏิบัติการตอบสนองวิกฤตด้านมนุษยธรรมเช่นกรณีไต้ฝุ่นเมื่อปีที่ผ่านมา การต่อต้านความรุนแรงสุดโต่ง และการแก้ไขความขัดแย้งทางทะเลระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอย่างสันติ ในการดำเนินการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ สหรัฐอเมริกาได้ลงทุนครั้งประวัติศาสตร์ในการเสริมความเข้มแข็งให้แก่สถาบันต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งรวมถึงอาเซียนด้วย ประธานาธิบดีโอบามาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างผู้นำสหรัฐฯ กับผู้นำประเทศกลุ่มอาเซียนเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2552 และได้กลายเป็นการประชุมประจำปีในปัจจุบัน ประธานาธิบดีโอบามาได้ส่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ไปประจำอาเซียนเป็นคนแรก และวุฒิสภาเพิ่งรับรองให้ Nina Hachigian ดำรงตำแหน่งดังกล่าวในปีต่อๆ ไป ความร่วมมือกับอาเซียนที่เพิ่มขึ้นนี้ได้อำนวยประโยชน์อย่างเห็นได้ชัดแล้ว เช่น การประสานงานที่ดีขึ้นในการปฏิบัติการตอบสนองภัยธรรมชาติ การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคและแหล่งพลังงานสีเขียว ตลอดจนการขยายความร่วมมือด้านความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเลอย่างรวดเร็ว สหรัฐฯ ดำเนินงานร่วมกับรัฐบาล สถาบันต่างๆ และประชาชน เพื่อเสริมสร้างรากฐานประชาธิปไตยในภูมิภาคและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เราได้เห็นความสำเร็จที่สำคัญหลายประการ เช่น ในอินโดนีเซีย ที่ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของประชาธิปไตยในประเทศผ่านการเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จและการตัดสินชี้ขาดอย่างสันติ ประธานาธิบดีโอบามารอคอยที่จะได้พบกับว่าที่ประธานาธิบดี Widodo ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เราได้เห็นการดำเนินงานที่มีความหวังในพม่า สหรัฐฯ ทำงานร่วมกับรัฐบาลและประชาชนชาวพม่าที่กำลังเดินหน้ากับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยแม้ว่าความท้าทายสำคัญต่างๆ ยังคงมีอยู่ น่าเสียดายที่เราต้องเห็นก้าวถอยหลังที่น่ากังวลด้วยเช่นกัน ดังเช่นในประเทศไทย สหรัฐฯ ยังคงมั่นคงต่อพันธไมตรีที่มีต่อประชาชนชาวไทย แต่เราก็ปรารถนาที่จะเห็นประเทศไทยกลับสู่การปกครองโดยรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยและครอบคลุมทุกภาคส่วนโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังสานความร่วมมือกับประชาชนในภูมิภาคนี้โดยตรงผ่านโครงการต่างๆ เช่น ความริเริ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative) ซึ่งช่วยพัฒนาความสามารถของชุมชนให้จัดหาการดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง ตลอดจนให้การศึกษาแก่บุตรหลาน และรักษาสิ่งแวดล้อม ในกัมพูชา องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กเล็กได้เข้าโรงเรียนมากขึ้น ในอินโดนีเซีย องค์การ Millennium Challenge Cooperation ช่วยเหลือหมู่บ้านต่างๆ ให้สามารถเพิ่มรายได้พร้อมกับลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล สหรัฐฯ ยังได้จัดโครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) ของประธานาธิบดีโอบามา เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างทักษะแก่เยาวชนทั่วภูมิภาค อีกทั้งเชื่อมโยงเยาวชนเหล่านี้เข้ากับทรัพยากรที่จำเป็นในการรับใช้ชุมชนของตน รวมถึงสร้างธุรกิจใหม่ๆ และก้าวขึ้นเป็นผู้นำรุ่นต่อไป ประธานาธิบดีโอบามาเปิดโอกาสให้เยาวชนเหล่านี้มาพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาที่ประเทศมาเลเซีย เยาวชนกลุ่มนี้มีทั้งผู้ประกอบการ นักกิจกรรม และนักเคลื่อนไหว ทุกคนล้วนน่าประทับใจและช่างคิด อีกทั้งแต่ละคนยังมุ่งมั่นสรรค์สร้างอนาคตที่สดใสกว่า พวกเขาไม่เพียงอยากรู้ว่าจะเป็นผู้นำที่เข้มแข็งขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร แต่ยังอยากรู้วิธีเชื่อมประสานความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษา และความเชื่อ เพื่อผสานรวมภูมิภาคที่มีความหลากหลายอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้สามารถดึงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ นั่นคือเป้าหมายที่เรามีร่วมกัน ทั้งนี้ก็เพราะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพมหาศาล อีกทั้งภูมิภาคนี้กำลังเผชิญกับคำถามสำคัญเกี่ยวกับการปรับตัวในช่วงเวลาที่มหาอำนาจหลายชาติเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การผงาดขึ้นมาของจีน การฟื้นคืนอำนาจของญี่ปุ่น การฟื้นฟูของอินเดีย และการปรับดุลยภาพของอเมริกา พลวัตเหล่านี้มีอยู่จริง และมุ่งมาบรรจบกันที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ควรนับว่าแนวโน้มเหล่านี้เป็นโอกาสสำหรับความร่วมมือที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่การแข่งขัน ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ควรต้องเลือกข้างระหว่างมหาอำนาจต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องของสหรัฐฯ และจีน การธำรงรักษาอิสรภาพและเอกราชของคู่ความร่วมมือทุกประเทศในภูมิภาคนี้คือหัวใจหลักของนโยบายสหรัฐฯ ต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันที่จริง ความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับจีนนั้นสำคัญต่ออนาคตของทั้งสองประเทศ สำคัญต่อภูมิภาคนี้ และสำคัญต่อโลก ดิฉันเพิ่งเดินทางไปประเทศจีนเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน และได้พบกับผู้นำอาวุโสของจีนหลายท่าน ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ประธานาธิบดีโอบามาจะพบกับประธานาธิบดีสีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกระชับความร่วมมือในประเด็นความท้าทายที่สำคัญทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก อันจะสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อให้ทั้งสองประเทศสามารถร่วมมือกันในประเด็นความสนใจร่วมกัน และสนทนากันอย่างตรงไปตรงมาในส่วนที่เห็นต่างกัน เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชน ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยังคงสร้างเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีที่เข้มแข็งกับชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง และทำงานร่วมกันด้วยฐานะที่เท่าเทียมผ่านการประชุมพหุพาคีต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้แต่ละชาติรักษาอิสรภาพไว้ได้ พร้อมไปกับบ่มเพาะพลวัตกลุ่มที่ส่งเสริมบรรทัดฐานร่วมกันและป้องปรามไม่ให้รัฐที่ใหญ่กว่ากดดันรัฐที่เล็กกว่า นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งที่สหรัฐฯ มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันระดับภูมิภาคของเอเชีย เช่น การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก สหรัฐฯ ปรารถนาที่จะสร้างและสนับสนุนลักษณะที่ส่งเสริมการร่วมมือกัน เพื่อกำหนดสิทธิและความรับผิดชอบร่วมกันซึ่งในท้ายที่สุดจะช่วยรับรองว่า ทุกฝ่ายจะได้รับโอกาสการแข่งขันเท่าเทียมกัน ความท้าทายที่ดิฉันกล่าวถึงในวันนี้ล้วนเป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าจะมีแรงกดดันจากเหตุการณ์ในโลกที่รุมเร้า ทั้งความขัดแย้งที่ยังคงดำเนินอยู่ในตะวันออกกลาง ความตึงเครียดกับรัสเซียเรื่องยูเครน และการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก สหรัฐฯ ยังคงมุ่งให้ความสำคัญกับเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐฯ เป็นประเทศในภาคพื้นแปซิฟิก อนาคตร่วมกันของเรานั้นแน่นอนเช่นเดียวกับอดีตร่วมกันของเรา ประชาชนของสหรัฐฯ และประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีวิสัยทัศน์สู่อนาคตร่วมกัน นั่นคืออนาคตที่ลูกหลานของเราได้ไปโรงเรียนและไขว่คว้าความฝันของตนอย่างมั่นใจ อนาคตที่ไม่ว่าใครก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้และมีโอกาสประสบความสำเร็จ อนาคตที่สิทธิขั้นพื้นฐานจะไม่มีวันถูกจำกัดหรือถูกปฏิเสธ นี่คือสิ่งที่เราพยายามวางแนวทางตลอดห้าปีที่ผ่านมา นี่คือเหตุผลที่เราร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน ไม่ว่าจะคุ้มครองเส้นทางเดินเรือในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือส่งมอบความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ สายสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของเรายิ่งผูกพันแน่นแฟ้นขึ้นทุกปี ในยามนี้ที่เราร่วมมือกันเพื่อก้าวสู่อนาคตร่วมกันต่อไป สหรัฐฯ จะยังคงเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อใจได้และเป็นมิตรแท้ของประชาชนทุกคนในภูมิภาคนี้ ขอบคุณค่ะ โดย U.S. Mission Thailand | 22 กันยายน, 2014 | ประเภท: ข่าว
The Brookings Institution Washington, DC Good afternoon everyone. It’s great to be back at Brookings. This was my place for six years, and since my mother and I both worked here for so long, it really has the feel of home. This is where I met so many gracious and insightful colleagues, whom I still turn to for guidance and support. And of course, working here was the last time I got a full 7 hours of sleep. So I’m especially nostalgic. Strobe and Martin, thank you for inviting me to participate today. I’m honored to be here with Foreign Minister Shanmugam. President Obama and I met with Prime Minister Lee at the White House a few months ago to affirm the excellent partnership between Singapore and the United States. And, I think it’s fitting that Brookings’ new Chair in Southeast Asian Studies is named for Singapore’s founding father, a man who has played such a key role in shaping the region’s growth, Lee Kuan Yew. In many ways, Singapore embodies the arc of development that nations across Southeast Asia are achieving. The people of Southeast Asia are increasingly connected—to each other and to the global economy. Entrenched dictatorships have given way to new democracies, and throughout the region, citizens are playing a greater role in their government and civil life. As President Obama said in Malaysia earlier this year, “perhaps no region on earth has changed so dramatically” during the past several decades. With this change comes growing influence and greater opportunities to engage on the world stage. Asia’s rise in global affairs is due in no small part to Southeast Asia’s contributions. That’s why the nations of Southeast Asia are and will remain a central focus of America’s rebalance to Asia. We see the nations of Southeast Asia as equal partners in our mission to advance a vision that promotes growth and development, bolsters the security of nations, strengthens democratic governance, and advances human rights for all people. President Obama will continue this work when he visits the region again in November, including stops in China to participate in APEC, Burma for the East Asia Summit, and Australia for the G-20 meeting. Southeast Asia and its markets are critical to America’s prosperity. Together, ASEAN comprises the seventh largest economy in the world and the fourth largest trading partner for the United States. ASEAN nations draw more U.S. investment than any single country in Asia. And, with some of the fastest-growing economies in the world, ASEAN will only become more important to our economic future. That’s why we’re committed to completing the Trans-Pacific Partnership. One-third of TPP participants are from ASEAN, including members like Singapore, Vietnam, and Malaysia, for whom the high-standard agreement means making serious new commitments. But, this agreement will deliver tremendous benefits to all our economies, and we are committed to helping our partners meet TPP’s requirements and realizing the opportunities for greater trade and investment that come with it. We’re working to deepen our trade and investment ties with the region. In June, Secretary Pritzker led a delegation of American business leaders to the Philippines, Vietnam, and Burma to explore new commercial opportunities. Ambassador Froman met with all his ASEAN counterparts in Burma last month. Together, we’re promoting growth that is broad-based and sustainable, so that economies can compete on an equal footing and prosperity is shared among citizens at every level of society. Equally, Southeast Asia plays a vital role in maintaining peace and stability throughout Asia. We have long-standing alliances with Thailand and the Philippines, as well as an important security partnership with Singapore. In April, President Obama and President Aquino announced a new Enhanced Defense Cooperation Agreement that will strengthen cooperation between our militaries. We’re also enhancing our security cooperation with nations like Malaysia and Vietnam, including by improving their capacity to contribute to maritime security. We continue to work with nations in the region on challenges that none of us can meet alone. This includes addressing borderless threats like climate change, responding to humanitarian crises like last year’s super typhoon, countering violent extremism, and peacefully resolving maritime disputes among neighbors. To support cooperative solutions to these challenges, the United States has made historic investments to strengthen the region’s institutions, including ASEAN. President Obama hosted the first U.S.-ASEAN leaders meeting in 2009, and it’s now an annual event. The President sent our first resident ambassador to ASEAN, and the Senate just confirmed Nina Hachigian to fill the post in the coming years. This increased engagement with ASEAN has already delivered substantial benefits, including improved coordination in responding to natural disasters, growing investment in developing the region’s infrastructure and green energy sources, and rapidly expanding cooperation on maritime safety and security. We’re also working with governments, institutions and people to strengthen the democratic foundations of the region and fortify protections for human rights. We’ve seen significant successes, as in Indonesia, which demonstrated the strength of its democracy through successful elections and peaceful arbitration. President Obama is looking forward to meeting with President-elect Widodo in November. We’ve seen hopeful steps in Burma, but significant challenges remain as we continue to work with the government and people as they pursue their democratic transition. Unfortunately, we’ve also seen troubling setbacks, as in Thailand. We remain committed to our alliance with the Thai people, but we want to see the country return soonest to an inclusive and democratic government. We’re also building partnerships directly with the people of the region. We’re doing this through programs like the Lower Mekong Initiative, which helps strengthen communities’ ability to provide for their own healthcare, educate their children, and protect their environment. In Cambodia, USAID is working with local authorities to improve school enrollment among young children. In Indonesia, the Millennium Challenge Cooperation is helping villages raise incomes while reducing their dependence on fossil fuels. And, through President Obama’s Young Southeast Asian Leaders Initiative, we are helping young people across the region build their skills and connect them to the resources they need to serve their communities, create new businesses, and become the next generation of leaders. President Obama hosted a remarkable town hall with many of these young people in April in Malaysia. There were entrepreneurs and activists and advocates, all of them impressive and thoughtful young people, and each determined to forge a brighter future. They wanted to know not just how they could become stronger leaders, but how to bridge gaps of culture and language and belief in order to unite a region as diverse as Southeast Asia so that it can to achieve its full potential. That’s a goal we share—because Southeast Asia is brimming with enormous potential. It’s also facing serious questions about how to adapt as several major powers become more active in the region. China’s rise, Japan’s reemergence, India’s revival, and, of course, America’s rebalance—these dynamics are real, and they converge squarely in Southeast Asia. But, these trends ought to be an opportunity for greater cooperation, not just competition. Southeast Asian nations should not have to choose sides among major powers, particularly when it comes to the United States and China. Preserving the independence and sovereignty of all our partners in the region is at the heart of our policy toward Southeast Asia. To be sure, America’s relationship with China is important to the future of both our nations, to the region, and to the world. I just traveled to China a couple weeks ago and met with their senior leaders. In November, President Obama will meet again with President Xi to continue deepening our cooperation on major regional and global challenges—building a relationship that allows us to work together on shared interests, and to talk frankly about areas where we disagree, including human rights. At the same time, we continue to build stronger bilateral relationships with the nations of Southeast Asia and to work together as equals in multilateral fora so that individual nations can preserve their independence while fostering a group dynamic that reinforces collective norms and prevents large states from pressuring smaller ones. That’s another reason we’ve focused on strengthening Asia’s regional institutions, like the East Asia Summit. We want to build and reinforce habits that encourage collaboration—to establish a common set of rights as well as responsibilities that ultimately ensures a level playing field for all. All of the challenges I’ve discussed today require sustained attention, and even in the press of world events—ongoing conflicts in the Middle East, heightened tensions with Russia over Ukraine, an Ebola epidemic ravaging West Africa—the U.S. commitment to Asia, and to Southeast Asia in particular, remains a priority. The United States is a Pacific nation. Our shared future is as certain as our shared past. And, the people of the United States and the people of Southeast Asia share a common vision for that future—a future where daughters and sons can go to school and reach confidently for their dreams; where anyone can start a business and have a fair shot to succeed; where fundamental rights can never be restricted or denied. That’s what we’ve been building toward for the past five years. That’s why we’ve worked so closely together in pursuit of shared goals—whether we’re securing the sea lanes of the Pacific or delivering relief in the wake of natural disasters. With each year, the ties between our peoples grow stronger. And, as we continue working together toward our shared future, the United States will remain a reliable partner and a true friend to all the people of the region. Thank you. By U.S. Mission Thailand | 22 September, 2014 | Topics: News
Remarks by National Security Advisor Susan E. Rice on Southeast Asia
คำแถลงของที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ ซูซาน อี. ไรซ์ เรื่องภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้