url
stringlengths 35
229
| th
stringlengths 206
32.6k
| en
stringlengths 223
32.4k
| title_en
stringlengths 10
150
| title_th
stringlengths 16
150
|
---|---|---|---|---|
https://th.usembassy.gov/th/united-states-donates-vaccine-refrigerators-to-help-thailand-fight-covid-19-th/ | สหรัฐอเมริกาบริจาคตู้เย็นเก็บวัคซีนเพื่อช่วยไทยต่อสู้โรคโควิด-19
ผู้บัญชาการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย เป็นประธานในพิธีส่งมอบตู้เย็นเก็บวัคซีนจำนวน 200 เครื่องซึ่งสหรัฐฯ บริจาคให้แก่ประเทศไทยเพื่อสนับสนุนความพยายามในการกระจายวัคซีนที่จะช่วยชีวิตประชาชนชาวไทย
วันนี้ที่กระทรวงสาธารณสุข พลเรือเอก จอห์น ซี. อากีลีโน ผู้บัญชาการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ส่งมอบตู้เย็นเก็บวัคซีนให้กับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยการบริจาคที่มีมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (40.5 ล้านบาท) ในครั้งนี้จะเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บวัคซีน mRNA ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้กับโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของภาครัฐจำนวน 114 แห่งทั่วประเทศในพื้นที่ที่วัคซีนเป็นที่ต้องการมากที่สุด
“สหรัฐฯ ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ไทยมากว่า 200 ปี โดยจับมือกันเสริมสร้างการค้าระดับทวิภาคี ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองชาติ พัฒนาการสาธารณสุข และส่งเสริมเสถียรภาพของภูมิภาค” พลเรือเอกอากีลีโนกล่าว
รองนายกรัฐมนตรีอนุทินกล่าวว่า “ผมขอแสดงความขอบคุณอย่างยิ่งต่อกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ในความเอื้อเฟื้อที่ได้มอบตู้เย็นเก็บวัคซีนจำนวน 200 เครื่องเพื่อสนับสนุนการตอบโต้โรคโควิดของไทย” และเสริมว่า “แม้ว่าตู้เย็นเก็บวัคซีนจะมีอุณหภูมิที่เย็น แต่ไมตรีของเรานั้นอบอุ่นยิ่ง”
เจ้าหน้าที่ฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสหรัฐฯ กับประชาชน ได้เริ่มจัดส่งตู้เย็นเหล่านี้แล้วเพื่อให้ไปถึงพื้นที่ที่ต้องการอย่างรวดเร็ว อันได้แก่ โรงพยาบาลบางละมุงในจังหวัดชลบุรี และโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชในจังหวัดลพบุรี
หน่วยสนับสนุนประชาชนของกองทัพบกสหรัฐฯ (CMSE) ซึ่งเป็นทีมหลักของฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสหรัฐฯ กับประชาชน ได้ดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยโดยสำเร็จลุล่วงแล้วมากกว่า 20 โครงการ ตั้งแต่ที่การระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคน้ำยาตรวจหาการติดเชื้อ เครื่องตรวจหาลำดับสารพันธุกรรม (genetic variant sequencer) หรือยูนิตแยกโรค และในวันนี้ เป็นการบริจาคตู้เย็นที่ใช้สำหรับการจัดเก็บวัคซีนโดยเฉพาะ
หน่วย CMSE รับผิดชอบโครงการอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อชาวไทย เช่น การสร้างศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การสร้างอาคารให้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และการจัดโครงการด้านการศึกษาให้กับตำรวจตระเวนชายแดน
การบริจาคในครั้งนี้ รวมถึงโครงการสนับสนุนประชาชนโครงการอื่น ๆ ของกองทัพสหรัฐฯ แสดงถึงความทุ่มเทที่อเมริกามีให้กับภาคีชาวไทยของเราในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 และความท้าทายอื่น ๆ ที่เราเผชิญร่วมกัน สหรัฐฯ และไทยมีความร่วมมือด้านการสาธารณสุขที่ยาวนานหลายทศวรรษ นอกจากนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC) สหรัฐฯ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ยังได้ร่วมมือกับไทยในหลากหลายโครงการริเริ่มด้านสุขภาพต่าง ๆ ตั้งแต่มาลาเรียไปจนถึงเอชไอวี มานานกว่า 60 ปี และจะยังคงเดินหน้าดำเนินการต่อไป
ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1XZ48gznZexuXBQAs6p4_MSImaKPz4msA
อ่านคำกล่าวฉบับเต็มของพลเรือเอกอากีลีโนได้ที่ https://th.usembassy.gov/th/remarks-by-admiral-john-c-aquilino-at-the-ministry-of-public-health-cold-storage-mrna-vaccine-refrigerator-donation-event-october-12-2021-th/
โดย U.S. Embassy Bangkok | 12 ตุลาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | United States Donates Vaccine Refrigerators to Help Thailand Fight COVID-19
The top American military officer for the Indo-Pacific and the Thai Minister of Public Health presided over a ceremony to celebrate the U.S. donation of 200 vaccine refrigerators to Thailand to support efforts to bring life-saving vaccines to the Thai people.
The commander of U.S. Indo Pacific Command, Admiral John C. Aquilino, handed over the refrigerators to Deputy Prime Minister and Minister of Public Health, Anutin Charnvirakul, today at the Ministry of Public Health. This donation, valued at approximately $1.2M (40.5M THB), will ensure 114 public hospitals and clinics across Thailand can store safe and effective mRNA vaccines in areas where they are needed most.
“The United States has stood shoulder-to-shoulder with Thailand for over 200 years, partnering to increase bilateral trade, strengthen our people-to-people ties, improve public health, and promote regional stability,” said Admiral Aquilino.
I would like to express my sincere gratitude to the U.S. Department of Defense, and the U.S. Embassy in Thailand for your generosity in providing 200 cold storage vaccine refrigerators in support of Thailand’s response to COVID,” said Deputy Prime Minister Anutin. “The cold storage vaccine refrigerators are cold, but our friendship is warm,” he added.
U.S. civil-military relations teams have already begun delivering the specialized refrigerators to ensure they quickly reach areas in need. Teams have already delivered refrigerators to Banglamung Hospital in Chonburi and King Narai Hospital in Lopburi.
The primary U.S. civil-military relations team, known as the Civil Military Support Element (CMSE), has worked through the U.S. Embassy in Bangkok to complete more than 20 COVID-related projects since the pandemic began, including donations of testing reagents, genetic variant sequencers, isolation units, and now – specialized vaccine storage refrigerators.
The CMSE is responsible for several other projects beneficial to the Thai people such as building an Emergency Operation Center for Thailand’s Department of Disaster Prevention and Mitigation, construction of school buildings in outlying provinces, and education programs for Border Patrol Police.
This donation, and other civil-military projects, demonstrate America’s dedication to our Thai partners in the fight against COVID-19 and other challenges we face together. The United States and Thailand have cooperated on public health for decades. Moreover, our Centers for Disease Control, Armed Forces Institute of Medical Science, and U.S. Agency for International Development have partnered with Thailand across a broad array of health initiatives from malaria to HIV for more than 60 years and will continue to do so.
Download high resolution photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1XZ48gznZexuXBQAs6p4_MSImaKPz4msA.
Read Admiral Aquilino’s full remarks at: https://th.usembassy.gov/remarks-by-admiral-john-c-aquilino-at-the-ministry-of-public-health-cold-storage-mrna-vaccine-refrigerator-donation-event-october-12-2021/.
By U.S. Embassy Bangkok | 12 October, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | United States Donates Vaccine Refrigerators to Help Thailand Fight COVID-19 | สหรัฐอเมริกาบริจาคตู้เย็นเก็บวัคซีนเพื่อช่วยไทยต่อสู้โรคโควิด-19 |
https://th.usembassy.gov/th/remarks-by-admiral-john-c-aquilino-at-the-ministry-of-public-health-cold-storage-mrna-vaccine-refrigerator-donation-event-october-12-2021-th/ | คำกล่าวโดย พลเรือเอก จอห์น ซี. อากีลีโน
ในพิธีส่งมอบตู้เย็นเก็บวัคซีน mRNA ณ กระทรวงสาธารณสุข
12 ตุลาคม 2564
(ดังที่ปรากฏเป็นคำร่าง)
ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คุณอนุทิน ท่านอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน
สวัสดีครับ และขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมได้อยู่กับทุกท่านที่นี่ในวันนี้ที่กระทรวงสาธารณสุข
ผมยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเยือนไทย มิตรประเทศชิดใกล้และพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของเราในภูมิภาคนี้
ในฐานะผู้บัญชาการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ผมยินดีที่ได้อยู่ที่นี่กับเพื่อน ๆ ในขณะที่เราร่วมมือกันเพื่อเอาชนะการระบาดของโรคโควิด-19
สหรัฐฯ และไทยยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กันมากว่า 200 ปี โดยเสริมสร้างการค้าระดับทวิภาคี ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองชาติ ส่งเสริมเสถียรภาพของภูมิภาค และพัฒนาการสาธารณสุขดังที่เราได้เห็นที่นี่ในวันนี้
พันธไมตรีของเรายังคงมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนค่านิยมและผลประโยชน์ร่วมกันของเราในทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
วันนี้ สหรัฐฯ และไทยทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้ประชาชนของเราปลอดภัยจากโรคโควิด
สหรัฐฯ ในความร่วมมือกับรัฐบาลไทย ได้ให้คำมั่นไปแล้วว่าจะบริจาควัคซีนให้กับประชาชนชาวไทยรวมทั้งหมดกว่า 2.5 ล้านโดส
วัคซีนเหล่านี้มีอัตราประสิทธิภาพสูง และเราจะยังคงสนับสนุนรัฐบาลไทยในการมอบวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อฉีดวัคซีนให้กับประชาชน
โดยรวมไปถึงความช่วยเหลือใน
จังหวัดสระบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดกาญจนบุรี
และในชุมชนคลองเตยเมื่อเกิดเหตุการณ์โควิดระบาดเป็นกลุ่มก้อน
นอกจากนี้ เรายังได้มอบตู้เย็นจำนวน 200 เครื่องให้แก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลของภาครัฐ 114 แห่งทั่วประเทศเพื่อการจัดเก็บวัคซีนอย่างปลอดภัย
ทีมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของไทยและสหรัฐฯ ร่วมงานกันมาเป็นเวลากว่า 60 ปี
กองทัพบกสหรัฐฯ และกองทัพบกไทย ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องผ่านทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) เพื่อดูแลพวกเราให้ปลอดภัยจากโรคต่าง ๆ
การวิจัยร่วมกันได้ช่วยให้เราพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาบรรดาโรคที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก
งานดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อไป และเรากำลังสนับสนุนการพัฒนาวัคซีน mRNA ร่วมกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยด้วย
กองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ภูมิใจที่ได้ช่วยร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการเอาชนะโรคระบาดนี้ และผมตั้งตารอที่จะได้กลับมาอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิปีหน้าเพื่อเสริมสร้างพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ขอบคุณครับ ขอบคุณอีกครั้งที่เชิญให้ผมได้มากล่าวกับท่าน
โดย U.S. Embassy Bangkok | 12 ตุลาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | Remarks by Admiral John C. Aquilino at the Ministry of Public Health
Cold Storage mRNA Vaccine Refrigerator Donation Event
October 12, 2021
(As prepared)
Deputy Prime Minister and Health Minister Anutin, Chargé Heath, ladies and gentlemen:
Sawasdee krab and thank you for the opportunity to be with you today here at the Ministry of Public Health.
It is great to be in Thailand, our close friend and oldest ally in the region.
As the Commander of U.S. Indo-Pacific Command, I am delighted to be here with friends as we partner to defeat the COVID-19 pandemic.
The United States and Thailand have stood shoulder-to-shoulder for two centuries, to increase bilateral trade, strengthen our people-to-people ties, promote regional stability and to improve public health as we are demonstrating here today.
Our alliance continues to play a crucial role in advancing our shared values and interests across the Indo-Pacific region.
Today, the United States and Thailand are working together to keep our people safe from COVID.
The U.S., in coordination with the government of Thailand, has committed over two and a half (2 ½) million doses of vaccine for the people of Thailand.
These vaccines have a high efficacy rate, and we will continue to support the Government of Thailand to provide the necessary equipment and supplies to immunize the population.
This includes support to facilities in:
Saraburi
Prachuap Khiri Khan
Kanchanaburi
and in Klong Toey when a COVID cluster emerged.
Additionally, we have provided 200 refrigeration units across 114 public hospitals and clinics throughout the country to safely store the vaccines.
The Thailand – U.S. medical teams have been partnering for over 60 years.
Through the Armed Forces Research Institute of Medical Sciences, the U.S. Army and the Royal Thai Army have been constantly working to keep us free from disease.
Our joint research has contributed to the development of treatments and medical diagnostics for diseases that affect people worldwide.
That combined work will continue, and we are currently supporting the development of an mRNA vaccine with a local university.
USINDOPACOM is proud to partner with the Government of Thailand to defeat this pandemic and I look forward to returning in the Spring to further strengthen the U.S.-Thai alliance.
Kobkhun krab Thank you again for inviting me to speak.
By U.S. Embassy Bangkok | 12 October, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Remarks by Admiral John C. Aquilino at the Ministry of Public Health Cold Storage mRNA Vaccine Refrigerator Donation Event | คำกล่าวโดย พลเรือเอก จอห์น ซี. อากีลีโน ในพิธีส่งมอบตู้เย็นเก็บวัคซีน mRNA ณ กระทรวงสาธารณสุข |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-embassy-and-distinguished-guests-celebrate-start-of-construction-of-new-building-th/ | ซ้ายไปขวา: นายไบรอัน เคลลี่ บริษัท BL Harbert International, นายวิชชุ เวชชาชีวะ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ, นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ, นางมาศวัลย์ ปิ่นสุวรรณ ผู้อำนวยการเขตปทุมวัน และนางสาวพัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตปทุมวัน
สถานทูตสหรัฐฯ และแขกผู้มีเกียรติร่วมฉลองการเริ่มก่อสร้างอาคารแห่งใหม่
วันนี้ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ และนายวิชชุ เวชชาชีวะ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติหลายท่าน ร่วมพิธีเปิดหน้าดินโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ของสถานทูตสหรัฐฯ อันเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย ซึ่งมีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์และมุ่งก้าวสู่อนาคต
อุปทูตฮีธ กล่าวว่า “ในปี 2560 เป็นโอกาสครบรอบ 200 ปีแห่งมิตรภาพระหว่างเราทั้งสองชาติ ในปี 2563 เราเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ ในเชียงใหม่ และได้มีพิธีเปิดหน้าดินสถานกงสุลหลังใหม่ไปแล้ว วันนี้ ผมภูมิใจที่ได้เปิดหน้าดินร่วมกับทุกท่านในพื้นที่ซึ่งเป็นตัวอย่างล่าสุดของความทุ่มเทเพื่ออนาคตที่เรามีร่วมกับไทย”
อธิบดีวิชชุ กล่าวว่า “อาคารสำนักงานสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ทุกแห่งในประเทศไทย มิได้เป็นเพียงแค่อิฐและปูน แต่ประกอบขึ้นด้วยมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เป็นสัญลักษณ์สะท้อนความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ในการเดินหน้าร่วมกับประเทศไทยในทุกสถานการณ์ บนพื้นฐานของค่านิยมและผลประโยชน์ร่วมกัน อาคารใหม่แห่งนี้จะเป็นสัญลักษณ์และช่วยผลักดันเป้าหมายและความพยายามร่วมกันในอนาคตระหว่างไทยกับสหรัฐฯ”
รูปแบบอาคารและภูมิทัศน์สะท้อนมรดกทางวัฒนธรรมของไทย โดยมีการใช้โครงสร้างคล้ายชานเพื่อสร้างพื้นที่พบปะที่มีร่มเงา ตลอดจนมีลักษณะการออกแบบสไตล์ล้านนา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมไทยเดิมของภาคเหนือ
โครงการก่อสร้างอาคารที่ทันสมัยนี้ยังตั้งเป้าที่จะได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับ Silver ภายใต้มาตรฐาน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) และผสมผสานองค์ประกอบด้านการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ระบบการบริหารจัดการน้ำฝนบนพื้นผิวและหลังคา และระบบปรับอากาศแบบแลกเปลี่ยนพลังงาน คุณลักษณะการออกแบบและเทคโนโลยีการก่อสร้างเหล่านี้จะลดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองและแบ่งเบาภาระการใช้สาธารณูปโภคของกรุงเทพฯ ได้ ทั้งนี้ การก่อสร้างอาคารคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568
เพื่อเป็นการยกย่องประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ และอนุรักษ์พรรณไม้อันน่ารื่นรมย์โดยรอบพื้นที่ อาคารใหม่นี้จะมีพื้นที่สีเขียวที่แสดงถึงความงามตามธรรมชาติของไทย อีกทั้งยังลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (heat-island effect) ที่เป็นผลจากการพัฒนาเมืองอีกด้วย การบูรณะศาลาที่มีความสำคัญ 2 หลังจะช่วยให้มีพื้นที่พบปะกันนอกอาคารมากขึ้น อีกทั้งยังแสดงความเคารพต่อประวัติศาสตร์ที่ไทยและสหรัฐฯ มีร่วมกัน
อาคารหลังใหม่ซึ่งจะตั้งอยู่บนพื้นที่เดิมของสถานทูตสหรัฐฯ ในปัจจุบัน จะเป็นศูนย์รวมการปฏิบัติงานของสถานทูต ตลอดจนพัฒนาพื้นที่สำหรับภารกิจทางการทูตและบริการด้านกงสุลให้ทันสมัย อีกทั้งยังเสริมสร้างรากฐานความร่วมมือและการประสานงานระหว่างเราทั้งสองชาติให้มั่นคงต่อไป
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างได้ที่ https://www.state.gov/overseas-buildings-operations/u-s-embassy-bangkok
ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงได้ที่ https://state-low.box.com/v/groundbreaking-ceremony-press
โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 ตุลาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกสารข่าว | Left to right: Mr. Brian Kelly of BL Harbert International, Mr. Witchu Vejjajiva, Director-General, Dept. of American and South Pacific Affairs, Ministry of Foreign Affairs, CDA Michael Heath, Ms. Masawan Pinsuwan, Director of Pathumwan District Office, and Ms. Pacharin Sumsiripong, Pathumwan MP
U.S. Embassy and Distinguished Guests Celebrate Start of Construction of New Building
Chargé d’Affaires Michael Heath and Director-General Witchu Vejjajiva of the Department of American and South Pacific Affairs, Thai Ministry of Foreign Affairs, together with other distinguished guests, broke ground today on a new Embassy annex that is emblematic of the U.S.-Thai relationship: rooted in history and forward-looking.
Chargé d’Affaires Michael Heath commented, “In 2017 we marked 200 years of friendship between our two nations. In 2020 we celebrated both the 70th anniversary of the founding of the Consulate General in Chiang Mai, as well as the groundbreaking of a new Consulate compound.
I am proud to break new ground with you today on this latest example of our commitment to a shared future with Thailand.”
“All the U.S. Embassy office buildings in Thailand represent so much more than bricks and mortar; they embody the amity and spirit of cooperation – symbolizing the commitment to forging ahead with Thailand through thick and thin and on the basis of our shared values and mutual interests,” said Director-General Witchu. “This new building will both symbolize and synergize our common aspirations and joint efforts in the future,” he continued.
The design of the building and grounds reflect Thai cultural heritage, with areas that resemble Thailand’s chaan style of shaded gathering spaces and Lanna design features inspired by traditional Northern architecture.
At the same time, the state-of-the art building, which is expected to be completed in 2025, targets Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) Silver Certification and incorporates environmentally friendly design elements, such as a rainwater and storm water management system and energy recovery air conditioning systems. These design features and construction technologies will reduce our demand for non-renewable energies and ease the burden on the city’s utilities.
To honor Bangkok’s history and the site’s beautiful flora, the new annex incorporates green space to showcase the natural beauty of Thailand, while reducing the heat-island effect associated with urban development. With the restoration of the two historic Salas, we are providing additional space to gather outside and to respect our shared history.
This new building, which will be housed on the existing U.S. Embassy compound, will centralize Embassy operations, modernize our platform for diplomacy and consular services, and strengthen the foundation of cooperation and collaboration between our nations.
For more information, please go to: https://www.state.gov/overseas-buildings-operations/u-s-embassy-bangkok.
Download high resolution photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1RoKAToNU5gKmvanZIVDuI5sN6SzMaGFJ.
By U.S. Embassy Bangkok | 7 October, 2021 | Topics: Events, News, Press Releases, U.S. & Thailand | U.S. Embassy and Distinguished Guests Celebrate Start of Construction of New Building | สถานทูตสหรัฐฯ และแขกผู้มีเกียรติร่วมฉลองการเริ่มก่อสร้างอาคารแห่งใหม่ |
https://th.usembassy.gov/th/ustda-supports-electric-vehicle-transition-in-thailand-th/ | USTDA สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
สำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Trade and Development Agency: USTDA) มอบทุนช่วยเหลือให้แก่บริษัทเอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (SCG International) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดโดยเครือเอสซีจี กลุ่มธุรกิจชั้นนำของไทย ทุนช่วยเหลือดังกล่าวจะช่วยยกระดับกลยุทธ์การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่บริษัทตั้งเป้าไว้ USTDA จะช่วยจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ รวมถึงการติดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศไทย ทางบริษัท SCG International ได้เลือกให้บริษัท Black & Veatch Management Consulting ในรัฐแคนซัสเป็นหน่วยงานที่จะเข้ามาช่วยเหลือในการพัฒนาดังกล่าว
Enoh T. Ebong รักษาการผู้อำนวยการ USTDA กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่าง USTDA และบริษัท SCG International จะกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวของไทย อีกทั้งยังนำมาซึ่งประโยชน์อันมากมายมหาศาล รวมไปถึงการมีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ความช่วยเหลือของเรายังเปิดโอกาสให้บริษัทของสหรัฐฯ ได้เป็นหุ้นส่วนกับประเทศไทย ซึ่งต้องการบริการโซลูชันยานยนต์ไฟฟ้าคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศ”
การศึกษาของ USTDA จะวิเคราะห์กลยุทธ์โดยละเอียด ตลอดจนวางแผนงานเพื่อเร่งรัดการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ รวมถึงการติดตั้งสถานีชาร์จและโครงสร้างพื้นฐานพลังงานหมุนเวียนแบบบูรณาการ ณ สถานที่ตั้งของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างหลายร้อยแห่งของเครือเอสซีจีในประเทศไทย ความช่วยเหลือครั้งนี้ยังจะช่วยออกแบบโครงการนำร่องในสถานที่ดำเนินงาน 3 แห่งที่ SCG International จะทดสอบความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับรถขนส่งสินค้า รถตู้โดยสาร รวมไปถึงรถบรรทุกคอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งบริษัทมียานพาหนะเหล่านี้อยู่เป็นจำนวนมาก
นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการร่วมกับบริษัท SCG International ซึ่งจับคู่นวัตกรรมอเมริกันกับเป้าหมายของไทยนี้ เป็นความพยายามร่วมกันในลักษณะที่เราต้องมีในช่วงเวลาสำคัญที่เราเร่งรัดการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในขณะเดียวกัน โครงการนี้ยังแสดงให้เห็นว่าความพยายามร่วมกันของเราในการแก้ปัญหาความท้าทายทั่วไปจะสามารถสร้างโอกาสให้กับทั้งบริษัทไทยและอเมริกันไ ด้อย่างไรบ้าง”
นายวิชชุ เวชชาชีวะ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กล่าวว่า “ประเทศไทยและสหรัฐฯ มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ความร่วมมือระหว่าง USTDA และ SCG International ในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าในไทย ได้เสริมสร้างความพยายามของเราในการส่งเสริมพลังงานสะอาดและการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราหวังว่าความร่วมมือดังกล่าวจะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมืออื่น ๆ ระหว่าง USTDA และภาคเอกชนของไทยต่อไป เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในวงกว้าง”
นายอบิจิต ดัตต้า กรรมการผู้จัดการของ SCG International เสริมว่า “บริษัท SCG International มุ่งมั่นเต็มที่ในการยกระดับการปฏิบัติงานตามเป้าหมายในการลดก๊าซคาร์บอนของเครือเอสซีจี โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ผมขอขอบคุณ USTDA และ Black & Veatch ที่ให้การสนับสนุน แนะแนวทาง และดำเนินงานเพื่อให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้ เราหวังว่าจะมีความร่วมมือที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต”
โครงการนี้ช่วยให้เป้าหมาย Global Partnership for Climate-Smart Infrastructure ของ USTDA รุดหน้า ซึ่งเป็นการเชื่อมอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เข้ากับโครงการด้านการพัฒนาพลังงานสะอาดและการขนส่งที่สำคัญ ๆ ในตลาดเกิดใหม่
###
สำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Trade and Development Agency) หรือ USTDA ช่วยให้เกิดการสร้างงานในบริษัทของสหรัฐฯ ผ่านทางการส่งออกสินค้าและบริการให้แก่โครงการด้านการพัฒนาที่สำคัญ ๆ ในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ USTDA เชื่อมโยงธุรกิจของสหรัฐฯ กับโอกาสการส่งออกโดยให้เงินสนับสนุนกิจกรรมการเตรียมการดำเนินงานในโครงการและการสร้างความเป็นหุ้นส่วน ซึ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศภาคี
สื่อมวลชนสามารถสอบถามข้อมูลได้จาก Paul Marin | (703) 875-4357
โดย U.S. Embassy Bangkok | 27 กันยายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | USTDA Supports Electric Vehicle Transition in Thailand
The U.S. Trade and Development Agency has awarded a grant to SCG International Corporation Co., Ltd. (SCG International), a wholly owned subsidiary of leading Thai conglomerate SCG, to advance the company’s ambitious decarbonization strategy. USTDA’s assistance will provide a roadmap to guide the electrification of vehicle fleets and deployment of EV charging infrastructure across Thailand. SCG International has selected Kansas-based Black & Veatch Management Consulting to carry out the technical assistance.
“USTDA’s partnership with SCG International will catalyze private sector investment to support Thailand’s green economic transition and bring substantial benefits, including improved air quality,” said Enoh T. Ebong, USTDA’s Acting Director. “Through our assistance we are also expanding opportunities for U.S. companies to partner with Thailand as it seeks high-quality electric vehicle solutions in support of its climate priorities.”
The USTDA study will deliver detailed analysis and plans to accelerate EV adoption and the installation of charging stations and integrated renewable energy infrastructure at hundreds of sites for SCG’s Cement and Building Materials Business in Thailand. The assistance will also design pilot projects at three identified sites for SCG International to test the viability of electrifying the company’s substantial fleet of logistics and commuter vehicles and ready-mix concrete trucks.
“This project with SCG International, which pairs American innovation with Thai ambition, is exactly the kind of joint effort that we need at this critical point in our race to address the climate crisis,” said Michael Health, Chargé d’Affaires at the U.S. Embassy in Bangkok. “At the same time, this project demonstrates how our joint efforts to address common challenges can create opportunities for both Thai and American companies.”
Director-General of the Department of American and South Pacific Affairs, Witchu Vejjajiva, said: “Thailand and the United States share a common vision in forging green economy and sustainable development, particularly through the application of new technologies and innovation. This partnership between USTDA and SCG International revolving around the development of EVs and its ecosystem in Thailand has strengthened our effort to promote clean energy and green growth. It is our hope that it will serve as a catalyst for further cooperation between USTDA and the Thai private sector to advance sustainable economic development in Thailand and the wider Mekong subregion.”
Managing Director of SCG International, Abhijit Datta, added: “SCG International is fully committed to advancing SCG Group’s decarbonization objectives, reducing greenhouse gas emissions and achieving net zero transition by 2050. I would like to express our sincere gratitude to USTDA as well as Black & Veatch for their support, guidance and efforts that have made this project possible. We look forward to our strong future collaboration.”
This project advances the goals of USTDA’s Global Partnership for Climate-Smart Infrastructure, which connects U.S. industry to major clean energy and transportation infrastructure projects in emerging markets.
###
The U.S. Trade and Development Agency helps companies create U.S. jobs through the export of U.S. goods and services for priority infrastructure projects in emerging economies. USTDA links U.S. businesses to export opportunities by funding project preparation and partnership building activities that develop sustainable infrastructure and foster economic growth in partner countries.
MEDIA INQUIRIES: Paul Marin | (703) 875-4357
By U.S. Embassy Bangkok | 27 September, 2021 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: USTDA | USTDA Supports Electric Vehicle Transition in Thailand | USTDA สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/new-partners-group-to-build-upon-u-s-thai-success-to-counter-wildlife-trafficking-th/ | สหรัฐฯ-ไทยพัฒนาเครือข่ายภาคีความร่วมมือใหม่ ต่อยอดความสำเร็จในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า
ภาคีความร่วมมือ อันได้แก่ แหล่งทุน หน่วยงานระดับภูมิภาคและนานาชาติ ตลอดจนหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรด้านการอนุรักษ์ ได้ร่วมกันพัฒนาเครือข่ายภาคีเพื่อยกระดับความร่วมมือและดำเนินงานเพื่อให้การลงทุนต่อต้านการค้าสัตว์ป่าในภูมิภาคเอเชียมีประสิทธิผลย ิ่งขึ้น ภาคีและองค์กรเหล่านี้ได้ออกเอกสารสรุปข้อเจรจา โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของแนวทางความร่วมมือสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่ระบาดอยู่ในขณะนี้ และมุ่งไปสู่การฟื้นฟูหลังจากนี้
ช่องทางการสื่อสารในการประสานความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียถือเป็นหนึ่งในผลสำเร็จจากการประชุมระหว่างภาคีเพื่อกา รต่อต้านการค้าสัตว์ป่า ตั้งแต่วันที่ 21-23 กันยายน ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชของไทยร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นทางออนไลน์
อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ ได้กล่าวระหว่างการประชุม ซึ่งเป็นผลสำเร็จของโครงการ USAID Wildlife Asia ว่า “ประธานาธิบดีไบเดนให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงเวลาวิกฤติที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ โครงการ USAID Wildlife Asia ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมของเรา ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับประเทศและระดับภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อยุติ ต่อต้าน และขัดขวางอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมข้ามชาติ เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้สนับสนุนการจัดการประชุมระหว่างภาคีเพื่อต่อต้านการค้าสัตว์ป่าในครั้งนี้ ร่วมกับภาคีที่ยืนยาวอย่างสำนักงานเลขาธิการอาเซียน และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ภายใต้รัฐบาลไทย ในขณะที่เราร่วมมือกันยกระดับความพยายามต่อต้านการค้าสัตว์ป่า”
นายลิม จ็อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า “หลังจากแถลงการณ์เชียงใหม่ของรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบด้านอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สู ญพันธุ์และการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่าว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมาย (Chiang Mai Statement of ASEAN Ministers Responsible for CITES and Wildlife Enforcement on Illegal Wildlife Trade) ที่ออกมาเมื่อปี 2562 อาเซียนก็ได้ดำเนินงานส่งเสริมให้มีเวทีเสวนาในประเด็นนโยบายด้านการค้าสัตว์ป่าทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมถึงการลดความต้องการการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า และการสนับสนุนให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการประสานความร่วมมือจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการยุติการค้าสัตว์ป่า ซึ่งจะส่งผลดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้ายที่สุด ผมหวังว่าการประชุมออนไลน์ในวันนี้จะช่วยผลักดันการประสานความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมเพื่อความยั่งยืนในอนาคต”
ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โครงการ USAID Wildlife Asia ได้ดำเนินงานเพื่อต่อต้านอาชญากรรมการค้าสัตว์ป่าและปกป้องพันธุ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยทำงานร่วมกับรัฐบาลของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อสนับสนุนให้เกิดกฎหมายการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า การจับกุมและดำเนินคดีการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และลดความต้องการในการซื้อขายและบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าผ่านโครงการรณรงค์ที่มีผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าเป็นกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ โครงการยังช่วยยกระดับการประสานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าในระดับภูมิภาคให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ได้ประกาศแผนสนับสนุนอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการใหม่ที่มีชื่อว่า USAID Reducing Demand for Wildlife ซึ่งต่อยอดจากความสำเร็จของโครงการ USAID Wildlife Asia โดยจะดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป ่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์และการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่า พ.ศ. 2564-2568 (Plan of Action for the ASEAN Cooperation on CITES and Wildlife Enforcement 2021-2025) ซึ่งโครงการ USAID Wildlife Asia ได้ร่วมสนับสนุนการจัดทำขึ้นด้วย นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวจะดำเนินงานโดยนำผลจากการประชุมในครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการประสานงานและประสานความร่วมมือขอ งองค์กรภาคีเครือข่ายในระดับภูมิภาคต่อไป
การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือกับองค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) โครงการคุ้มครองสัตว์ป่าโลกโดยธนาคารโลก (World Bank Global Wildlife Program) กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme)
ตั้งแต่ปี 2559–2564 โครงการ USAID Wildlife Asia ซึ่งมีงบประมาณ 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังได้ดำเนินงานในด้านต่อไปนี้
ริเริ่มโครงการรณรงค์เพื่อลดความต้องการในการซื้อขายและบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยอิงจากผลการวิจัยที่มีหลักฐานรองรับ โครงการรณรงค์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้ที่ตั้งใจจะซื้อผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เวียดนาม และจีน ลดลงมากกว่าร้อยละ 50
พัฒนากฎหมายและนโยบายด้านการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าทั้งหมด 10 นโยบายในกลุ่มประเทศเป้าหมาย เพื่อเพิ่มค่าปรับและบทลงโทษสำหรับอาชญากรรมการค้าสัตว์ป่า
สอดแทรกหลักการทำงานแบบประสานความร่วมมือในหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านอาชญากรรมการค้าสัตว์ป่า โดยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เจ้าหน้าที่จาก 137 หน่วยงานใน 24 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา
ระดมทุนจำนวน 19.6 ล้านเหรียญสหรัฐจากโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐฯ และเอกชน
เกี่ยวกับองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID)
USAID เป็นหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศชั้นนำของโลกที่ดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์ของงานพัฒนา USAID ส่งเสริมความมั่นคงของชาติและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ผ่านโครงการด้านการพัฒนา แสดงให้เห็นถึงความเอื้อเฟื้อของชาวอเมริกัน และส่งเสริมเส้นทางสู่การพึ่งพาตนเองและความสามารถในการฟื้นฟูของผู้รับความช่วยเหลือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.usaid.gov/
เกี่ยวกับโครงการ USAID Wildlife Asia
โครงการ USAID Wildlife Asia ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าซึ่งเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า เสริมสร้างการบังคับใช้กฎหมาย เพิ่มความมุ่งมั่นทางกฎหมายและทางการเมือง และสนับสนุนความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อลดอาชญากรรมต่อสัตว์ป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะกัมพูชา จีน ลาว ไทย และเวียดนาม โครงการ USAID Wildlife Asia มุ่งเน้นไปที่สัตว์ป่า 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ช้าง แรด เสือ และลิ่น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.usaidwildlifeasia.org
เกี่ยวกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประเทศไทย
กรมอุทยานฯ เป็นหน่วยงานระดับกรมในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีภารกิจหลักในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืช รวมทั้งดูแลอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย ตลอดจนทำงานวิจัยและพัฒนางานชุมชนเพื่อปกป้องและฟื้นฟูพันธุ์พืชท้องถิ่น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://portal.dnp.go.th/
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ดอรีน โฮเซ่
ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร
โครงการ USAID Wildlife Asia
โทร: 63-917-6746474
อีเมล: djose@usaidwildlifeasia.org
วิรพร ศรีสุวรรณวัฒนา
เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กร
องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นเอเชีย
โทร: 66-89-811-0106
อีเมล: wsrisuwanwattana@usaid.gov
โดย U.S. Embassy Bangkok | 23 กันยายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย | New Partners’ Group to Build Upon U.S., Thai Success to Counter Wildlife Trafficking
Bangkok, September 23, 2021 – A wide range of partners—including donors, international and regional bodies, and government and conservation organizations—aim to develop a partners’ group to more effectively collaborate and align planned counter wildlife trafficking investments in the region for greater impact. These stakeholders also issued the Partners’ Dialogue Highlights, underscoring the importance of the One Health collaborative approach towards preventing pandemics as well as recovering from the current pandemic.
The Counter Wildlife Trafficking (CWT) Development Partners Coordination Platform for Asia was one of the results of the virtual Counter Wildlife Trafficking Partnership Forum from September 21-23, 2021, co-hosted by the United States and Thailand’s Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation (DNP).
U.S. Embassy Chargé d’Affaires Michael Heath gave remarks at the Forum, the capstone of the USAID Wildlife Asia regional program: “President Biden is prioritizing the environmental agenda at this crucial time when the world is facing a climate crisis,” he said. “As part of our environmental initiatives, our USAID Wildlife Asia program worked with national and regional bodies in Southeast Asia to end, neutralize, and disrupt transnational environmental crime. We are honored to facilitate this program with our long-standing partners, the ASEAN Secretariat and the Government of Thailand’s Department of National Parks, Wildlife Plant and Conservation, as we increase our counter wildlife trafficking efforts,” he continued.
“Following the Chiang Mai Statement of ASEAN ministers responsible for Convention on International Trade and Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES), and wildlife enforcement on illegal wildlife trade in 2019, ASEAN has been moving forward to promote dialogue on issues related to global and regional wildlife trade policies, demand reduction and enhanced law enforcement,” said ASEAN Secretary General Lim Jock Hoi.
Minister Varawut Silpa-archa, Thailand’s Ministry of Natural Resources and Environment, said: “I sincerely believe that our endeavor will further our movement towards the achievement of ending the illegal trade in wildlife and will eventually contribute to the betterment of our natural resources and environment. I wish that our virtual forum today will advance our coordinated action towards a more sustainable and resilient future.”
Since 2016, USAID Wildlife Asia has been deterring wildlife crime and protecting endangered species from extinction by partnering with Southeast Asia countries to strengthen counter wildlife trafficking laws, arrest and prosecute criminals, and reduce demand for wildlife products through game-changing consumer campaigns. The program has also helped catalyze more effective and impactful collaboration and regional integration of counter wildlife trafficking efforts.
The U.S. Embassy announced plans to continue these efforts through a new program, USAID Reducing Demand for Wildlife, which will build on the successes of USAID Wildlife Asia. This includes efforts to implement the regional Plan of Action (POA) for the ASEAN Cooperation on CITES and Wildlife Enforcement (2021-2025) developed with USAID Wildlife Asia support. The program will also work to advance the outcomes of the Partnership Forum including strengthening partner coordination and cooperation in the region.
The forum was organized in collaboration with WWF, the Asian Development Bank, World Bank Global Wildlife Program, Global Environment Facility, and United Nations Development Programme.
From 2016 to 2021, USAID’s $24.5 million Wildlife Asia program also:
Pioneered evidence-based and targeted demand reduction campaigns, leading to a 50% drop in the proportion of people intending to buy wildlife products in Thailand, Vietnam, and China;
Advanced 10 progressive laws and policies towards counter wildlife trafficking that introduced dramatic increases in fines and sentencing for wildlife crime;
Mainstreamed the collaborative approach among law enforcement agencies to countering transnational organized wildlife crime, with officials from 137 law enforcement agencies from 24 countries trained across Asia and Africa; and
Leveraged $19.6 million in public-private partnership initiatives.
About USAID
USAID is the world’s premier international development agency and a catalytic actor driving development results. USAID’s work advances U.S. national security and economic prosperity, demonstrates American generosity, and promotes a path to recipient self-reliance and resilience. For more information, please visit https://www.usaid.gov/
About USAID Wildlife Asia
The USAID Wildlife Asia project works to address wildlife trafficking as a transnational crime. The project aims to reduce consumer demand for wildlife parts and products, strengthen law enforcement, enhance legal and political commitment, and support regional collaboration to reduce wildlife crime in Southeast Asia, particularly Cambodia, China, Laos, Thailand, and Vietnam. USAID Wildlife Asia focuses on four species: elephant, rhinoceros, tiger and pangolin. For more information, please visit www.usaidwildlifeasia.org
About Thailand’s Department of National Parks, Wildlife and Plants Conservation
Thailand’s Department of National Parks, Wildlife and Plants Conservation (DNP) is an organization under the Ministry of Natural Resources and Environment. It is tasked to conserve Thailand’s national parks through research and by promoting community-driven initiatives to protect and restore local flora and fauna. For more information, please visit http://portal.dnp.go.th/
For more information, please contact:
Dorelyn Jose
Communications, Outreach and Learning Specialist
USAID Wildlife Asia
Mobile: 63-917-6746474
Email: djose@usaidwildlifeasia.org
Wiraporn Srisuwanwattana (Cee)
Development Outreach and Communications Specialist
U.S. Agency for International Development
Regional Development Mission for Asia (USAID/RDMA)
Tel: 66-2-257-3160
Mobile: 66-89-811-0106
E-mail: wsrisuwanwattana@usaid.gov
By U.S. Embassy Bangkok | 23 September, 2021 | Topics: News, U.S. & Thailand | Tags: USAID | New Partners’ Group to Build Upon U.S., Thai Success to Counter Wildlife Trafficking | สหรัฐฯ-ไทยพัฒนาเครือข่ายภาคีความร่วมมือใหม่ ต่อยอดความสำเร็จในการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า |
https://th.usembassy.gov/th/united-states-and-thailand-expand-maritime-partnership-th/ | สหรัฐฯ และไทยยกระดับความร่วมมือทางทะเล
สหรัฐอเมริกาและไทยจัดการฝึกความร่วมมือและความพร้อมทางเรือ หรือ “การัต” (Cooperation Afloat Readiness and Training: CARAT) ประจำปี ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 6-10 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งแสดงถึงพลังความร่วมมือและความทุ่มเทที่เรามีร่วมกันในการดำรงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลที่เสรีและเปิดกว้าง
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การฝึกในครั้งนี้ประกอบไปด้วยการฝึกผ่านระบบออนไลน์และการฝึกนอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ซึ่งจำกัดการปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างกองกำลังต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการฝึก
“การฝึกการัตประจำประเทศไทยครั้งที่ 27 นี้เป็นสัญลักษณ์แทนความสัมพันธ์ที่ยาวนานระหว่างรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ ตลอดจนพันธมิตรและหุ้นส่วนที่มีวิสัยทัศน์คล้ายคลึงกัน” ร.อ. ทอม อ็อกเดน ผู้บัญชาการกองเรือพิฆาต (DESRON) ที่ 7 กองทัพเรือสหรัฐฯ กล่าว “ศักยภาพของเราในการเดินเรือและบังคับอากาศยานร่วมกันในฐานะกองกำลังร่วม โดยลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นหลักฐานอันประจักษ์ถึงพันธไมตรีของเรา และแสดงถึงความไว้วางใจที่มีให้แก่กัน ตลอดจนความสามารถในการปฏิบัติการของเราทั้งสองชาติ”
สหรัฐฯ และไทยแสดงศักยภาพความร่วมมือโดยฝึกการลงจอดเฮลิคอปเตอร์ การค้นหาและกู้ภัย รวมถึงการทดสอบการสื่อสารในขณะที่เดินเรือร่วมกันโดยใช้ยุทธวิธีการจัดกระบวนเรือที่ซับซ้อน นอกจากนี้ การฝึกแกะรอยด้วยเครื่องบิน P-8 ยังเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพเรือทั้งสองชาติในการเฝ้าระวังและติดตามเป้าหมายโดยใช้เรือและอากาศยานลาดตระเวนทางทะเลอีกด้วย ในการฝึกดังกล่าวนี้เป็นครั้งแรกที่มีผู้เชี่ยวชาญภาคพลเรือนจากโครงการ Critical Maritime Routes Indian Ocean ของสหภาพยุโรป (EU-CRIMARIO) ให้การสนับสนุน โดยจัดการอภิปรายแลกเปลี่ยนทางออนไลน์เกี่ยวกับปฏิบัติการตรวจค้นเรือในทะเลหลวง และการสร้างความตระหนักรู้สถานการณ์ทางทะเล
การฝึกนอกชายฝั่งดำเนินการในน่านน้ำอาณาเขตและน่านน้ำสากลใกล้สัตหีบและเกาะสมุย โดยสหรัฐฯ ส่งเรือ USS Green Bay (LPD 20) และเครื่องบิน P-8A Poseidon เข้าร่วม ในขณะที่กองทัพเรือไทยส่งอากาศยานและเรือต่าง ๆ เข้าร่วม อาทิ เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร (FFG 421) เรือหลวงตากสิน (FFG 422) และเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช (FFG 471)
“การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ทำให้ปี 2564 เป็นปีที่ท้าทาย เนื่องจากข้อกำหนดด้านสุขภาพเพื่อจำกัดการระบาดของไวรัส” น.อ. อนุรักษ์ พรหมงาม เสนาธิการกองเรือฟริเกตที่ 2 กองทัพเรือไทย กล่าวระหว่างพิธีที่จัดขึ้นทางออนไลน์ “แม้จะมีอุปสรรคต่าง ๆ แต่เราก็ยังสามารถทำตามแผนงานได้อย่างลุล่วง ซึ่งแสดงถึงการทำงานอย่างเต็มที่และความเป็นมืออาชีพของเราในการดำเนินการฝึกครั้งนี้”
การฝึกการัตจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2538 และต่อยอดจากความร่วมมืออื่น ๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยในแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยการประชุมสัมมนาระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และช่วงการฝึกนอกชายฝั่งที่เสริมสร้างการปฏิบัติการร่วมกัน การฝึกการัตพัฒนาศักยภาพของกองทัพเรือในหลายมิติ รวมไปถึงการค้นหาและกู้ภัย ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการตอบสนองต่อภัยพิบัติ
ดาวน์โหลดรูปถ่ายความละเอียดสูงได้ที่ https://www.dvidshub.net/image/6832232/us-navy-royal-thai-navy-participate-carat-exercise-2021
https://www.dvidshub.net/image/6832418/us-navy-royal-thai-navy-participate-carat-exercise-2021 (Royal Thai Navy courtesy photos)
โดย U.S. Embassy Bangkok | 13 กันยายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | United States and Thailand Expand Maritime Partnership
Demonstrating the strength of our partnership and our shared commitment to ensuring a free and open maritime security environment, the United States and the Kingdom of Thailand conducted joint naval training during the 27th annual Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) exercise, which took place from September 6-10.
In order to mitigate the risk of COVID-19, CARAT included virtual exercises and at-sea training in the Gulf of Thailand that minimized direct contact between participating forces.
“The 27th iteration of CARAT Thailand represents the longstanding partnership between the Royal Thai Government, the United States, and our like-minded allies and partners,” said CAPT. Tom Ogden, commander, Destroyer Squadron (DESRON) 7. “Our ability to sail our ships and operate aircraft together as a unified force in a manner that minimized COVID-19 risk is a testament to our alliance and showcased both the mutual trust between and operational capability of both our nations.”
The two countries demonstrated their ability to work together by practicing helicopter landings and search and rescue exercises and testing communications as ships sailed together in complex maneuvers. Tracking exercises with P-8 aircraft increased both navies’ ability to monitor and pursue targets by ship and maritime patrol aircraft. For the first time, the exercise was supported by civilian experts from the European Union’s Critical Maritime Routes Indian Ocean (EU-CRIMARIO) initiative, who hosted a virtual exchange on boarding operations in the high seas and maritime domain awareness.
The at-sea phase took place in territorial and international waters near Sattahip and Ko Samui, where USS Green Bay (LPD 20) and a P-8A Poseidon aircraft joined with ships and aircraft from Thailand for allied training. Royal Thai Navy ships at-sea included the Naresuan-class frigates HTMS Naresuan (FFG 421), HTMS Taksin (FFG 422) and HTMS Bhumibol Adulyadej (FFG 471).
“The COVID 19 pandemic made 2021 a challenging year because of the health restrictions imposed to control the spread of the virus,” said CAPT. Anurak Prom-ngarm, chief of staff, Frigate Squadron 2, Royal Thai Navy during a virtual ceremony. “Despite the impediments, we still managed to successfully finish the plan which shows the hard work and professionalism we devoted to this exercise.”
Beginning in 1995, CARAT has builtupon other engagements in the Indo- Pacific region. Each CARAT exercise features professional symposia and a robust at-sea phase that increases interoperability. CARAT improves a broad range of naval competencies including search and rescue, humanitarian assistance, and disaster response.
Download high resolution photos here:
https://www.dvidshub.net/image/6832232/us-navy-royal-thai-navy-participate-carat-exercise-2021
https://www.dvidshub.net/image/6832418/us-navy-royal-thai-navy-participate-carat-exercise-2021 (Royal Thai Navy courtesy photos)
By U.S. Embassy Bangkok | 13 September, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: CARAT | United States and Thailand Expand Maritime Partnership | สหรัฐฯ และไทยยกระดับความร่วมมือทางทะเล |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-mission-thailand-helps-teachers-and-students-breathe-better-air-in-northern-thailand-th/ | รัฐบาลสหรัฐอเมริกายังคงสนับสนุนความพยายามในการรับมือกับปัญหาคุณภาพอากาศในภาคเหนือของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ในประเทศไทยได้บริจาคเครื่องฟอกอากาศจำนวน 81 เครื่องให้แก่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องฟอกอากาศเหล่านี้มีมูลค่าประมาณ 15,000 เหรียญ (ประมาณ 485,000 บาท) โดยจะส่งมอบไปยัง 25 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่
ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์มูลค่าประมาณ 60,000 เหรียญ (ประมาณ 2 ล้านบาท) เพื่อรับมือกับปัญหาไฟป่าและพัฒนาคุณภาพอากาศในภาคเหนือ โดยมลภาวะทางอากาศนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชนทั่วทั้งภูมิภาค การบริจาคเครื่องฟอกอากาศในครั้งนี้จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น P.M.2.5 ซึ่งสามารถเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้
“พวกเราทุกคนล้วนหายใจด้วยอากาศเดียวกัน สหรัฐฯ มีความภูมิใจที่ได้สนับสนุนพันธมิตรทั่วภาคเหนือของไทย ในการทำงานร่วมกันเพื่อหยุดยั้งมลภาวะทางอากาศ” กงสุลใหญ่ฌอน โอนีลล์กล่าว “เรามีความมุ่งมั่นที่จะปกป้อง สุขภาพของนักเรียนและคุณครูผู้อุทิศตนด้วยการพัฒนาคุณภาพอากาศในห้องเรียน และสร้างสภาพแวดล้อมแห่ง การเรียนรู้ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน”
“ผมขอขอบคุณรัฐบาลสหรัฐอเมริกาสำหรับการส่งมอบเครื่องฟอกอากาศในวันนี้ โดยการส่งมอบอุปกรณ์ดังกล่าว แสดงถึงมิตรภาพระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยที่มีความแน่นแฟ้นและยืนยาวต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยโรงเรียนต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพอากาศภายในห้องเรียนให้แก่นักเรียน อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา” ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์กล่าว
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีคุณภาพอากาศของภาคเหนือโดยสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสถานทูตสหรัฐฯ ที่ https://th.usembassy.gov/air-quality-index-aqi/ข้อมูลนี้คำนวณจาก ข้อมูลมลพิษทางอากาศที่ได้จากเครื่องวัดที่รัฐบาลไทยเป็นเจ้าของและบำรุงรักษา
ดาวน์โหลดภาพถ่ายเพิ่มเติมได้ที่ https://photos.app.goo.gl/dQTukJptCGJUXRs6A
โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 7 กันยายน, 2021 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เอกสารข่าว | The United States continues to support efforts in northern Thailand to address air quality. On September 2, the U.S. Mission to Thailand donated 81 air purifiers to Chiang Mai Provincial Education Office. These air purifiers, worth approximately $15,000 (485,000 THB), will be distributed to 25 schools in Chiang Mai.
Since 2019, the U.S. government has donated approximately $60,000 (2 million THB) in equipment to respond to wildfires and help improve air quality in northern Thailand. As air pollutants can impact human health throughout the region, these donations help reduce ultra-fine dust particles such as PM2.5 which can cause serious health problem.
“We all breathe the same air and the United States is proud to support our Thai partners throughout northern Thailand, as we work together to end air pollution,” said Consul General Sean O’Neill. “We are committed to protecting the health of students and their dedicated teachers by improving air quality in the classroom and creating a safe learning environment for everyone.”
“I would like to thank the U.S. government for the donated equipment. This donation demonstrates strong friendship and ongoing partnership between the United States and Thailand. These air purifiers will help schools improve the air quality for students and teachers in the classrooms,” Chiang Mai Governor Charoenrit Sa-nguansat said.
For more information regarding the U.S. Environmental Protection Agency’s Air Quality Index for northern Thailand, please visit the U.S. Embassy website: https://th.usembassy.gov/air-quality-index-aqi/. The information is calculated based on air pollution data captured by monitors owned and maintained by the Royal Thai government.
Download more photos here: https://photos.app.goo.gl/dQTukJptCGJUXRs6A
By U.S. Consulate Chiang Mai | 7 September, 2021 | Topics: Chiang Mai, Consul General, News, Press Releases, U.S. & Thailand | U.S. Mission Thailand Helps Teachers and Students Breathe Better Air in Northern Thailand | หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ในประเทศไทยช่วยให้ครูและนักเรียนในภาคเหนือของไทย หายใจด้วยอากาศที่สะอาดขึ้น |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-embassy-begins-construction-of-new-annex-th/ | สถานทูตสหรัฐฯ เริ่มก่อสร้างอาคารหลังใหม่
ในเดือนสิงหาคม 2564 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มก่อสร้างอาคารแห่งใหม่บนพื้นที่เดิมของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย โดยอาคารดังกล่าวจะส่งเสริมการเดินหน้ายกระดับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย ทั้งทางการทูต ความมั่นคง และการพาณิชย์ ตลอดจนสานไมตรีระหว่างเราและชาวไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
อาคารหลังนี้คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2568 โดยจะพัฒนาพื้นที่สำหรับบริการด้านกงสุลและภารกิจทางการทูตให้ทันสมัย รวมถึงสะท้อนความสำคัญของพันธมิตรอันยาวนานของเรากับราชอาณาจักรไทย ด้วยมิตรภาพกว่า 2 ศตวรรษ สหรัฐฯ และไทยได้กระชับความร่วมมือในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การค้าระดับทวิภาคี ไปจนถึงการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ และการสาธารณสุข อาคารหลังใหม่จะเป็นที่ทำการของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในหลากหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ และรวมการปฏิบัติงานของเราเข้ามาที่ศูนย์กลาง อีกทั้งเสริมสร้างความร่วมมือระดับทวิภาคีต่อไป
เนื่องจากประเทศไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านการเงิน สื่อ โลจิสติกส์ และการคมนาคม อีกทั้งกรุงเทพฯ ยังเป็นที่ตั้งขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง สหรัฐฯ จึงได้ใช้สถานเอกอัครราชทูตของเราที่นี่เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานระดับภูมิภาคมาเป็นเวลานาน มากกว่าครึ่งของพนักงานสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยมีหน้าที่รับผิดชอบงานระดับภูมิภาค ซึ่งรวมไปถึงการบริหารจัดการความช่วยเหลือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ การสนับสนุนการตั้งถิ่นฐานใหม่ของผู้ลี้ภัยทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประสานงานด้านการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนการระดมเงินทุนภาคเอกชนเพื่อช่วยแก้ไขความท้าทายด้านการพัฒนาที่สำคัญ ๆ
อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต ไมเคิล ฮีธ กล่าวว่า “อาคารใหม่ของสถานทูตที่ออกแบบอย่างทันสมัยแห่งนี้จะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ร่วมมือกับประเทศไทยและอาเซียนเพื่อยกระดับประเด็นสำคัญของภูมิภาค รวมทั้งการปรับปรุงด้านสาธารณสุข การจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม และการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ อาคารนี้ออกแบบให้สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม และผมหวังว่าอาคารหลังใหม่นี้จะเป็นสัญลักษณ์และศูนย์กลางของมิตรภาพระหว่างไทยกับสหรัฐฯ อย่างยืนยาวในอนาคต”
การก่อสร้างอาคารหลังนี้ยังจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ สหรัฐฯ จะใช้งบประมาณ 625 ล้านเหรียญในโครงการดังกล่าว และว่าจ้างคนงานไทยประมาณ 2,000 คนตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง
การออกแบบร่วมสมัยของอาคารได้รับแรงบันดาลใจมาจากมรดกทางสถาปัตยกรรมไทย โดยคำนึงถึงสภาพอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นการผสมผสานขนบไทยเข้ากับสถาปัตยกรรม การออกแบบ วิศวกรรม เทคโนโลยี และการก่อสร้างชั้นเลิศของอเมริกา โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะก่อสร้างอาคารให้ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับ Silver ภายใต้มาตรฐาน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) และมีองค์ประกอบมากมายที่ออกแบบมาเพื่อให้อาคารมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น แม้พิธีเปิดหน้าดินอย่างเป็นทางการจะเลื่อนออกไปเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด แต่ได้มีการจัดพิธีบวงสรวงไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เฉลิมฉลองการเริ่มก่อสร้างร่วมกับภาคีชาวไทยในเดือนต่อ ๆ ไปหลังจากนี้
เผยโฉมอาคารหลังใหม่สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย จะเริ่มก่อสร้างปีนี้
อาคารหลังใหม่จะเป็นที่ตั้งของหลากหลายหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งทำงานร่วมกับภาคีชาวไทย
ออกแบบมาให้เชื่อมโยงกับธรรมชาติและคงพื้นที่สีเขียวเอาไว้
การตกแต่งภายในแสดงพื้นผิว สี และแบบแผนอาคารของไทย
การออกแบบผนังด้านนอกช่วยลดการใช้พลังงาน
"อาคารใหม่ของสถานทูตที่ออกแบบอย่างทันสมัย
แห่งนี้จะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ร่วมมือกับประเทศไทยและอาเซียนเพื่อ
ยกระดับสิ่งที่เป็นความสำคัญของภูมิภาค รวมทั้ง
การปรับปรุงด้านสาธารณสุข การจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม และการต่อสู้กับอาชญากรรม
ข้ามชาติ อาคารนี้ออกแบบให้สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม และผมหวังว่าอาคารหลังใหม่นี้จะเป็นสัญลักษณ์และศูนย์กลางของมิตรภาพระหว่าง
ไทยกับสหรัฐฯ อย่างยืนยาวในอนาคต"
อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ
ประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 31 สิงหาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | U.S. Embassy Begins Construction of New Annex
In August 2021, the United States began construction of a new annex on the existing U.S. Embassy Bangkok compound, which will support the continued expansion of U.S.-Thai diplomatic, security, and commercial relations and strengthen our ties with the Thai people.
Expected to be completed in 2025, the new building will modernize the U.S. Embassy’s platform for providing Consular services and conducting diplomacy and represents the importance of our longstanding alliance with the Kingdom of Thailand. In more than two centuries of friendship, the United States and Thailand have strengthened cooperation in all sectors, from bilateral trade to international law enforcement to public health. The new annex will house U.S. agencies currently located in different facilities across Bangkok, centralize our existing operations, and further strengthen bilateral cooperation.
Given Thailand’s rise as a regional financial, media, logistics, and transport hub and Bangkok’s role as a host to international organizations, the United States has long used its embassy here as a hub for regional operations. More than half of U.S. Embassy Bangkok staff have regional responsibilities, including managing international development assistance, supporting refugee resettlement across Southeast Asia, coordinating with law enforcement to fight transnational crime, and mobilizing private capital to help solve critical development challenges.
Chargé d’Affaires Michael Heath commented, “This state-of-the-art annex to our Embassy will house the many U.S. Government agencies that partner with Thailand and ASEAN to advance regional priorities, including improving public health, addressing environmental challenges, and combatting transnational crime. Designed to reflect traditional Thai architectural motifs, I hope the new building will become a landmark and a center of Thai-American friendship for many years to come.”
Annex construction will also significantly benefit the local economy. The United States will spend $625 million dollars on this project and employ approximately 2,000 local workers throughout the construction period.
Inspired by Thailand’s architectural heritage and sensitive to the Southeast Asian climate, the contemporary design blends Thai traditions with the best in American architecture, design, engineering, technology, and construction. The project targets Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) Silver Certification and incorporates many features designed to make the building more sustainable. Although an official groundbreaking ceremony has been postponed due to the pandemic, a Brahmin blessing ritual was held in July 2021, and we look forward to celebrating the start of construction with our Thai partners in the coming months.
U.S. Embassy Bangkok is unveiling the new annex. Construction will start this year.
The new building will house the many U.S. agencies that work hand in hand with Thai partners.
The structure is designed to connect with nature and maintain green spaces.
The interiors will reflect the textures, colors, and building traditions of Thailand.
The exterior facade will help reduce energy consumption.
“This state-of-the-art annex to our Embassy will house the many U.S. Government agencies that partner with Thailand and ASEAN to advance regional priorities, including improving public health, addressing environmental challenges, and combatting transnational crime. Designed to reflect traditional Thai architectural motifs, I hope the new building will become a landmark and a center of Thai-American friendship for many years to come.”
Chargé d’Affaires Michael Heath
U.S. Embassy Bangkok
By U.S. Embassy Bangkok | 31 August, 2021 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | U.S. Embassy Begins Construction of New Annex | สถานทูตสหรัฐฯ เริ่มก่อสร้างอาคารหลังใหม่ |
https://th.usembassy.gov/th/cobra-gold-21-showcases-strength-of-our-security-and-health-partnerships-th/ | การฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ ครั้งที่ 40 ซึ่งไทยและสหรัฐอเมริการ่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 3-13 สิงหาคม 2564 ประกอบไปด้วยหลากหลายกิจกรรมทั้งทางออนไลน์และในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ในฐานะการฝึกระดับสากลที่ดำเนินมายาวนานเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก คอบร้าโกลด์เสริมสร้างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง อีกทั้งยังทำให้เกิดการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิผล
การฝึกในปีนี้มุ่งเน้นความสำคัญของการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายที่ซับซ้อนซึ่งไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะรับมือได้เพียงลำพัง การวางแผนอย่างมีประสิทธิผลเพื่อบรรเทาความเสี่ยงของโรคโควิด-19 ทำให้ทหารจาก 7 ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกอย่างเต็มรูปแบบ ได้แก่ สหรัฐฯ ไทย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ตลอดจนชาติที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ ได้ผนึกกำลังในการฝึกซ้อมทางทหารร่วม รวมไปถึงการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ในการฝึกซ้อมปีนี้ เหล่าทหารปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อบรรเทาสถานการณ์โควิดของรัฐบาลไทยอย่างครบถ้วน ซึ่งรวมไปถึงการกักตัว 15 วัน ตรวจหาการติดเชื้อโควิด วัดอุณหภูมิร่างกาย และใส่หน้ากาก
อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ไมเคิล ฮีธ กล่าวว่า “ศักยภาพของเราในการจัดคอบร้าโกลด์ รวมถึงการฝึกย่อยต่าง ๆ โดยปลอดภัยด้วยการลดความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 สำหรับประเทศที่เข้าร่วมและประชาชนไทย แสดงให้เห็นถึงพลังของความร่วมมือด้านความมั่นคงและสาธารณสุขระหว่างสหรัฐฯ และไทย”
พลจัตวา แพทริก เอลลิส แห่งกองทัพบกสหรัฐฯ ในฐานะรองผู้บัญชาการกองกำลังผสมนานาชาติการฝึกคอบร้าโกลด์ ประจำปี 2564 และตัวแทนเจ้าหน้าที่อาวุโสกองทัพสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาคของเรา โดยกล่าวว่า “ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา คอบร้าโกลด์เป็นเสาหลักของพันธไมตรีไทย-สหรัฐฯ เรายินดีที่มีโอกาสได้ร่วมจัดการฝึกพหุภาคีที่มีความเป็นมายาวนานนี้อีกครั้งร่วมกับเพื่อน หุ้นส่วน และพันธมิตรทั้งหลายที่นี่ ได้เรียนรู้จากกันและกัน ตลอดจนสานสัมพันธ์ของเราเหล่าทหารให้มั่นคงยิ่งขึ้น”
ในปีนี้ ทหารช่างของไทยและสหรัฐฯ ร่วมกันก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์หลังใหม่ที่โรงเรียนบ้านใหม่ไทยพัฒนา จังหวัดสระแก้ว ซึ่งจะทำให้โรงเรียนสามารถรองรับนักเรียนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นได้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการช่วยเหลือประชาชน (โครงการก่อสร้าง) ของคอบร้าโกลด์ ซึ่งใช้ศักยภาพของกองทัพสหรัฐฯ และไทยเพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น
การฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัยแบบแก้ปัญหาบนโต๊ะประจำปี ครั้งที่ 4 ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นการฝึกทางออนไลน์เป็นครั้งแรก โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วม 54 คนจาก 9 ประเทศได้ร่วมการฝึกทางออนไลน์เพื่อให้พร้อมยิ่งขึ้นในการตอบสนองต่อภัยพิบัติในกรณีที่ไม่สามารถประสานงานในพื้นที่ได้โดยตรง การหารือมุ่งเน้นปฏิบัติการระหว่างพลเรือนและทหารในการตอบสนองต่อภัยพิบัติ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ และรัฐบาลไทย ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ อาทิ สหประชาชาติ อาเซียน องค์กรกาชาด และองค์กรเสี้ยววงเดือนแดง เข้าร่วมด้วย
ในจังหวัดสุรินทร์ กองทัพไทยและสหรัฐฯ ได้ฝึกการกวาดล้างสนามทุ่นระเบิดและทำลายทุ่นระเบิดที่ยังไม่ทำงานกว่า 11,000 ลูก และช่วยปกป้องพลเรือนจากทุ่นระเบิดที่คงเหลืออยู่หลังจากสงคราม การฝึกดังกล่าวยังรวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บด้วย
การฝึกทางการทหารในภาคสนามช่วยให้กองทัพไทยและสหรัฐฯ ทั้งกองทัพบก นาวิกโยธิน และหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ได้สานสัมพันธ์ เรียนรู้จากกันและกัน พัฒนาการปฏิบัติการร่วมกัน ตลอดจนฝึกฝนทักษะทางยุทธวิธี ผ่านการร่วมฝึกการดำเนินยุทธวิธีในกองกำลังขนาดเล็ก การใช้เครื่องกีดขวางตั้งรับและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล การฝึกใช้กระสุนจริงในสนาม และการแลกเปลี่ยนทักษะความรู้ด้านยุทโธปกรณ์
คณะทำงานนานาชาติได้สร้างเสริมประสบการณ์ในการฝึกบัญชาการและบังคับการ โดยร่วมกันวางแผนและบริหารจัดการปฏิบัติการทางการทหารที่ซับซ้อนในฐานะศูนย์บัญชาการกองกำลังผสมการฝึกร่วมเสมือนจริง ปีนี้ยังเป็นปีที่ 3 ที่คอบร้าโกลด์จัดการฝึกเกี่ยวกับปฏิบัติการทางไซเบอร์ในภาคสนาม โดยบรรดาประเทศที่เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่ดีในการปกป้องเครือข่ายไซเบอร์และดำเนินงานในสภาพแวดล้อมด้านข้อมูลข่าวสารที่สมัยใหม่
“คอบร้าโกลด์ไม่ใช่แค่การฝึก แต่ยังเป็นเวทีสร้างความเชื่อมั่นและสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เข้าร่วม เพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค” พลเอก สุพจน์ มาลานิยม เสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด กล่าว
สามารถดูข้อมูล รูปภาพ และเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกคอบร้าโกลด์ รวมถึงการฝึกในปีที่ผ่าน ๆ มาได้จากเว็บเพจของคอบร้าโกลด์ที่ www.dvidshub.net/feature/CobraGold หรือติดตามบัญชี @ExerciseCG บนทวิตเตอร์ หรือ @ExerciseCobraGold บนยูทูบ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม
โดย U.S. Embassy Bangkok | 23 สิงหาคม, 2021 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | The 40th iteration of Exercise Cobra Gold, co-sponsored by Thailand and the United States, took place from August 3 to 13, 2021 and encompassed several virtual and in-person events throughout Thailand. As one of the world’s longest running international exercises, Cobra Gold supports a free and open Indo-Pacific and ensures effective responses to regional crises.
This year’s exercise underscored the importance of working together to solve complex challenges that no single country can address alone. Effective planning to mitigate the risk of COVID-19 allowed service members from seven full participating nations (the United States, Thailand, South Korea, Malaysia, Japan, Indonesia, and Singapore) and other observer nations to collaborate on joint military training and humanitarian assistance and disaster relief efforts. Service members abided by all Royal Thai Government COVID mitigation requirements, including a mandatory 15-day quarantine, COVID testing, temperature checks, and face coverings.
U.S. Embassy Chargé d’Affaires Michael Heath noted that “Our ability to execute Cobra Gold – and its robust slate of exercises — in a safe manner that mitigated COVID-19 risks to participating nations and the Thai public is a testament to the strength of our security and health partnerships.”
Cobra Gold 21 deputy multinational force commander and senior U.S. military representative on the ground U.S. Army Brig. Gen. Patrick Ellis reaffirmed the value of our regional partnerships, stating, “During the past 40 years, Cobra Gold has served as a cornerstone of the Thai-U.S. alliance. We appreciate this opportunity to once again join with friends, partners, and allies here to carry out this long-standing multinational exercise, to learn from one another, and to further strengthen our bonds as military professionals.”
This year, Thai and U.S. military engineers worked together to construct a new multipurpose facility at Baan Mai Thai Pattan School in Sa Kaeo Province, which will enable the school to welcome a growing number of students. The project was part of Cobra Gold’s Engineering Civic Action Program, which utilizes the capabilities of both the U.S. and Royal Thai Armed Forces to support local communities.
The fourth annual Humanitarian Assistance and Disaster Relief Tabletop Exercise moved to a virtual format for the first time ever. The exercise presented an opportunity for the 54 participants from nine nations to pioneer virtual training, better equipping them to be able to respond to disasters when in-person coordination is not possible. Discussions focused on civil-military efforts associated with disaster response and featured experts from the U.S. and Royal Thai Government, as well as international organizations such as the U.N., ASEAN and Red Cross and Red Crescent.
In Surin Province, Royal Thai and U.S. Armed Forces conducted a landmine disposal exercise and unexploded ordnance destruction, eliminating more than 11,000 unexploded ordnance and helping protect civilians from remnants of war. The exercise also included medical trauma response training.
Field training exercises allowed Thai and American troops from the Army, Marines and Special Operations to strengthen bonds, learn from one another, build interoperability and hone their tactical skills. Together they practiced small-unit maneuvers, trained on defensive obstacles and first aid, ran live-fire weapons ranges, and shared expertise on military equipment.
Multinational teams gained experience in a command and control exercise – working together to plan and manage complex military operations as the headquarters for a simulated combined joint task force. Additionally, for the third year in a row, Cobra Gold featured a cyberspace field training exercise, with participating nations joining forces to share best practices for defending networks and operating in a modern information environment.
“Cobra Gold is not just an exercise, but it is a stage for building confidence and strengthening relationships among participating nations in order to maintain security and stability in the region,” said Gen. Suphot Malaniyom, Royal Thai Armed Forces Chief of Joint Staff.
For more information, photos, and stories about Cobra Gold, including past iterations, visit the Cobra Gold webpage at www.dvidshub.net/feature/CobraGold or follow @ExerciseCG (Twitter) or @ExerciseCobraGold (YouTube, Facebook, and Instagram).
By U.S. Embassy Bangkok | 23 August, 2021 | Topics: Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: Cobra Gold | Cobra Gold 21 Showcases Strength of our Security and Health Partnerships | การฝึกคอบร้าโกลด์ ประจำปี 2564 แสดงพลังความร่วมมือด้านความมั่นคงและสาธารณสุขระหว่างไทยและสหรัฐฯ |
https://th.usembassy.gov/th/usaid-and-tica-expand-development-cooperation-look-to-provide-assistance-to-other-countries-in-asia-th/ | องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ขยายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างกันสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชีย
สำหรับเผยแพร่ทันที
เมื่อวันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และดร. สตีเว่น จี. โอลีฟ ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) สำนักงานภาคพื้นเอเชีย ได้ลงนามในเอกสารหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลไทย โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ USAID จะร่วมกันมอบความช่วยเหลือและความร่วมมือด้านการพัฒนาผ่านหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ดังกล่าวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีงบประมาณดำเนินการจำนวน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
ดร. โอลีฟ กล่าวว่า “ในระยะเวลากว่า 7 ทศวรรษที่ผ่านมา ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหรัฐฯ และไทยได้ขยายครอบคลุมโครงการการพัฒนาในหลากหลายสาขา หุ้นส่วนยุทธศาสตร์มูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ สะท้อนถึงการบรรลุผลในความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทย ความสำเร็จของโครงการและการดำเนินงานร่วมกันที่ผ่านมาจะสนับสนุนกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ USAID ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รวมถึงจะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างไทยและประเทศหุ้นส่วนอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย”
อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศเน้นย้ำว่า “การลงนามในเอกสารหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับ USAID แสดงถึงการยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างไทยและสหรัฐฯ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาของไทยและสหรัฐฯ เกื้อหนุนและเสริมสร้างซึ่งกันและกัน ดังที่เห็นได้จากความสำเร็จของการดำเนินโครงการต่างๆ ที่ผ่านมาในไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยและสหรัฐฯ จะร่วมกันเร่งผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย เพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”
การยกระดับความเป็นหุ้นส่วนครั้งนี้พัฒนาและต่อยอดจากความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ ที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี ในทุกด้าน และจะใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ประสบการณ์และความร่วมมือระหว่างกันของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศและ USAID เพื่อรับมือความท้าทายด้านการพัฒนาในภูมิภาคในปัจจุบัน
ดาวน์โหลดรูปถ่ายได้ที่ https://flic.kr/s/aHsmWoSfnS
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นเอเชีย
วิรพร ศรีสุวรรณวัฒนา
เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กรอาวุโส
โทร. 089 811 0106 หรืออีเมล wsrisuwanwattana@usaid.gov
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
เมษ สุวรรณตรา
นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา)
โทร. 02 203 5000 ต่อ 41012 หรืออีเมล ma.suwantra@mfa.mail.go.th
โดย U.S. Embassy Bangkok | 13 สิงหาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | USAID and TICA Expand Development Cooperation, Look to Provide Assistance to Other Countries in Asia
For immediate release
The U.S. Agency for International Development (USAID) and the Thailand International Cooperation Agency (TICA) expanded development cooperation between the U.S. Government and the Royal Thai Government during a signing ceremony for a $5 million Strategic Partnership. Through this partnership, TICA and USAID will jointly provide development assistance to other countries in Southeast Asia.
The ceremony, which was held on Tuesday, August 10, was headlined by USAID Regional Development Mission for Asia Mission Director Dr. Steven G. Olive and TICA Director-General Ureerat Chareontoh.
“Over the past seven decades, our partnership with Thailand has grown to include a broad range of development programs. The $5 million Strategic Partnership is a reflection of the success of our relationship with Thailand. Our joint programs and accomplishments will help TICA and USAID provide aid to other countries in the region – and improve knowledge sharing between Thailand and our other partner countries in Asia,” said Dr. Olive.
“Today’s signing of the TICA-USAID Strategic Partnership signifies that development cooperation between Thailand and the United States is elevating to greater heights. This strategic partnership reflects the complementary relationship between U.S. and Thai development strategies, as evident in successful past projects here in Thailand and other countries in Southeast Asia. Our two countries will further accelerate sustainable economic and social development throughout Asia, thereby contributing to the attainment of Sustainable Development Goal,” said TICA Director-General Ureerat.
This expanded partnership builds upon over 200-years of cooperation between Thailand and the United States across all sectors and will leverage TICA and USAID’s collective knowledge, experience, and partnership to address today’s development challenges in the region.
Download photos at https://flic.kr/s/aHsmWoSfnS
For more information, please contact:
USAID Regional Development Mission for Asia
Wiraporn Srisuwanwattana, Senior Communications Specialist
Tel. 089 811 0106 or Email: wsrisuwanwattana@usaid.gov
Thailand International Cooperation Agency (TICA)
Maes Suwantra, Counsellor
Tel. 02 203 5000 ext. 41012 or Email: ma.suwantra@mfa.mail.go.th
By U.S. Embassy Bangkok | 13 August, 2021 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: USAID | USAID and TICA Expand Development Cooperation, Look to Provide Assistance to Other Countries in Asia | องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ขยายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างกันสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชีย |
https://th.usembassy.gov/th/readout-of-ambassador-linda-thomas-greenfields-meetings-with-thailands-prime-minister-prayut-chan-o-cha-th/ | ถ้อยแถลงจากการประชุมระหว่างเอกอัครราชทูต ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ และนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย
จัดเตรียมโดยโฆษกประจำคณะผู้แทนสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ โอลิเวีย ดัลทัน
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ เข้าพบนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย วันนี้ที่กรุงเทพมหานคร ทั้งสองท่านได้ย้ำถึงความแข็งแกร่งอันยั่งยืนของพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ และไทย ตลอดจนความสำคัญของความร่วมมือที่มีมานานของเรา ซึ่งได้ยกระดับความมั่นคงและมั่งคั่งร่วมกันทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์ยังได้ยืนยันถึงความทุ่มเทของสหรัฐฯ ที่มีต่อความเป็นแกนกลางของอาเซียนอีกด้วย
เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์ได้ยืนยันความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของสหรัฐฯ ในการทำงานร่วมกับไทยเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19 โดยรวมไปถึงการให้คำมั่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าจะมอบความช่วยเหลือมูลค่า 5 ล้านเหรียญ เพื่อการตอบโต้การระบาดของไทย และการบริจาควัคซีนโควิด-19 รวม 2.5 ล้านโดส ซึ่งมีการจัดสรรวัคซีนจำนวน 1.5 ล้านโดสมาแล้วเพื่อช่วยปกป้องประชาชนไทย นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์และนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ ยังได้หารือกันเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านการเมืองและมนุษยธรรมที่ทวีความรุนแรงขึ้นในพม่า
เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์ย้ำถึงความสำคัญของการเคารพสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังชื่นชมความพยายามของไทยในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ และเน้นย้ำความสำคัญของการเร่งดำเนินการในด้านเหล่านี้
โดย U.S. Embassy Bangkok | 13 สิงหาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย | Readout of Ambassador Linda Thomas-Greenfield’s Meeting with Thailand’s Prime Minister Prayut Chan-o-cha
The below is attributable to U.S. Mission to the UN Spokesperson Olivia Dalton:
U.S. Ambassador to the United Nations Linda Thomas-Greenfield met with Prime Minister Prayut Chan-o-cha of Thailand today in Bangkok. Ambassador Thomas-Greenfield and Prime Minister Prayut reaffirmed the enduring strength of the U.S.-Thai alliance and the importance of our longstanding partnership, which has advanced shared prosperity and security across the Indo-Pacific. Ambassador Thomas-Greenfield also affirmed the United States’ commitment to ASEAN centrality.
Ambassador Thomas-Greenfield reiterated the United States’ strong commitment to working together with Thailand to fight COVID-19, including through the recent U.S. commitment of $5 million for Thailand’s pandemic response and the U.S. donation of 2.5 million COVID-19 vaccine doses, 1.5 million of which are already being deployed to protect the people of Thailand. The two leaders also discussed the deepening political and humanitarian crisis in Burma.
Ambassador Thomas-Greenfield raised the importance of respect for human rights, and shared her appreciation for Thailand’s efforts to respond to the climate crisis, as well as the importance of accelerating these efforts.
By U.S. Embassy Bangkok | 13 August, 2021 | Topics: News, U.S. & Thailand | Readout of Ambassador Linda Thomas-Greenfield’s Meeting with Thailand’s Prime Minister Prayut Chan-o-cha | ถ้อยแถลงจากการประชุมระหว่างเอกอัครราชทูต ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ และนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย |
https://th.usembassy.gov/th/telephonic-press-briefing-with-ambassador-linda-thomas-greenfield-u-s-permanent-representative-to-the-united-nation-th/ | คำกล่าวโดยเอกอัครราชทูตลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ ผู้แทนถาวรสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ระหว่างการบรรยายสรุปกับสื่อมวลชนทางโทรศัพท์
เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์: ขอบคุณค่ะ จัสติน และขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมการพูดคุยกับดิฉันที่นี่ในวันนี้ ดิฉันอยากจะเริ่มด้วยการพูดสั้นๆ ถึงการเยือนประเทศญี่ปุ่นและไทย ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันดำเนินการในด้านการเสริมสร้างพันธไมตรีที่สำคัญยิ่ง กระชับความร่วมมือในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 และส่งเสริมโอกาสเพื่อสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพ ในการสนับสนุนภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง
สุดสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้นำคณะผู้แทนประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไปร่วมพิธี – พิธีปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ดิฉันมีโอกาสเชียร์ทีมสหรัฐฯ และร่วมฉลองกับนักกีฬาของเรา ผู้ซึ่งแสดงถึงความเป็นที่สุดของอเมริกาอย่างแท้จริง และดิฉันต้องขอบอกทุกท่านว่า ดิฉันรู้สึกภูมิใจที่นักกีฬาเหล่านี้มีความอดทน และความมุ่งมั่นตั้งใจ และน้ำใจนักกีฬา และความเป็นผู้นำ ทั้งในและนอกสนาม
และดิฉันยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทีมนักกีฬาหญิงของสหรัฐฯ นำเหรียญรางวัลกลับมาให้ประเทศเกือบร้อยละ 60 ของเหรียญที่เราได้รับ ความสำเร็จของพวกเขาเป็นความภูมิใจของอเมริกาเป็นที่สุด ความสำเร็จนั้นแสดงให้โลกเห็นว่า การที่ผู้หญิงมีส่วนร่วมและได้รับการเสริมสร้างศักยภาพ ทำให้ชาติต่างๆ – ชาติของเราแข็งแกร่งขึ้นและมีความสามารถแข่งขันมากขึ้นได้อย่างไร
นอกจากนี้ ดิฉันยังเกิดแรงบันดาลใจที่ได้พบกับสมาชิกทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยผ่านระบบออนไลน์ โดยพวกเขาเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกปีนี้เป็นครั้งที่สอง อาชีพการทำงานของดิฉันส่วนใหญ่คือการทำงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยและประเด็นด้านมนุษยธรรม และดิฉันเข้าใจถึงประสบการณ์อันแสนเจ็บปวดที่นักกีฬาเหล่านี้ต้องเอาชนะเพื่อจะไปถึงกรุงโตเกียวได้
นักกีฬาผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานคนหนึ่งบอกกับดิฉันว่า การแข่งขันยูโดช่วยให้เธอเอาชนะความยากลำบากนั้นได้อย่างไร เธอบอกกับดิฉันว่า สิ่งแรกที่คนๆ หนึ่งเรียนรู้เกี่ยวกับยูโดคือวิธีการล้ม และสิ่งต่อมาคือวิธีการลุกขึ้นมาด้วยตนเอง
ดิฉันภูมิใจในทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยเหลือเกิน และตื่นเต้นที่ได้เห็นพวกเขาเติบโตและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ลี้ภัยหลายล้านคนทั่วโลกต่อไป
ขณะอยู่ที่ญี่ปุ่น ดิฉันยังรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้พบกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ดิฉันได้มีโอกาสยืนยันถึงพันธไมตรีที่สำคัญของเรากับญี่ปุ่น รวมทั้งขอบคุณและยินดีกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลญี่ปุ่นและคณะกรรมการโอลิมปิกที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโดยประสบผลสำเร็จแม้ว่าจะมีความยากลำบากยิ่ง
นอกจากนี้ ดิฉันยังหวังว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จในการจัดการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกในสัปดาห์ที่กำลังจะมาถึงด้วย และเมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีไบเดนประกาศว่า สุภาพบุรุษหมายเลขสอง ดั๊ก เอ็มฮอฟฟ์ จะนำคณะผู้แทนไปเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันดังกล่าว
ท่านประธานาธิบดีไบเดนได้ประกาศไว้ชัดเจนว่า สหรัฐฯ จะให้ชาติพันธมิตรของเราเป็นแกนในนโยบายต่างประเทศของเรา และดังนั้น ดิฉันก็รู้สึกว่า การเดินทางมาประเทศไทยมีความสำคัญยิ่ง เป็นการยืนยันและเสริมสร้างพันธไมตรีอันยาวนานระหว่างชาติของเราทั้งสอง ตลอดจนเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่ต่อเนื่องของเราต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความเป็นแกนกลางของอาเซียน
พันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ และไทย ยังคงสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับชาติของเราทั้งสองอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนช่วยให้ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมีสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งยิ่งขึ้น
วันนี้ ดิฉันมีโอกาสได้เข้าพบท่านนายกรัฐมนตรี หลังจากที่เมื่อวานนี้ได้พบกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดิฉันเชื่อว่า เราได้มีการพูดคุยที่เกิดประโยชน์ในหลายประเด็นที่สำคัญ รวมถึงความแข็งแกร่งของความเป็นพันธมิตรระหว่างกัน สาธารณสุข สภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน และวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมอันเป็นผลจากรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ในเมียนมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดิฉันได้สื่อสารถึงความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของสหรัฐฯ ที่จะยืนเคียงข้างชาวไทยในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 อันที่จริงแล้ว เมื่อเช้าวานนี้ ดิฉันได้ไปเยี่ยมจุดฉีดวัคซีนในกรุงเทพมหานคร ที่มีประชาชนกลุ่มเปราะบางและเจ้าหน้าที่ด่านหน้ามารับวัคซีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดสที่สหรัฐฯ มอบให้กับไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรายังได้ยกระดับความมุ่งมั่นดังกล่าว โดยมอบวัคซีนเพิ่มเติมอีก 1 ล้านโดส ซึ่งจะมาถึงประเทศไทยในอีกไม่ช้า
ดิฉันภูมิใจที่ได้เห็นวัคซีนของเราถูกฉีดให้กับแพทย์และพยาบาลผู้เสียสละของไทย และดิฉันรู้สึกมีกำลังใจที่ได้รู้ว่า สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นในทั่วโลก เพราะสหรัฐฯ ได้ส่งมอบวัคซีนไปแล้วหลายล้านโดส โดยปราศจากเงื่อนไข เพื่อรักษาชีวิตผู้คนและยุติการระบาดใหญ่ครั้งนี้
เมื่อวานนี้ ดิฉันยังได้ – เมื่อวานนี้ ดิฉันยังได้ประกาศความช่วยเหลือรอบใหม่ของสหรัฐฯ มูลค่า 55 ล้านเหรียญ สำหรับการดำเนินการรับมือด้านมนุษยธรรมและการระบาดใหญ่ในไทยและเมียนมา รัฐประหารในเมียนมาและสถานการณ์วิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ตามมา ถูกซ้ำเติมด้วยโรคโควิด-19 และประเทศไทยเป็นด่านหน้ารับมือกับความท้าทายทั้งสองนี้
เงินช่วยเหลือที่ดิฉันประกาศเมื่อวานนี้ จะนำไปสนับสนุนการรับมือการระบาดและบรรเทาภาวะตึงตัวของไทย – ภาวะตึงตัวของระบบสาธารณสุขของไทย ถ้าจะให้เจาะจงลงไปนั้น เงินช่วยเหลือนี้ได้แก่ความช่วยเหลือด้านโรคโควิด-19 มูลค่า 5 ล้านเหรียญให้กับไทย และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอีก 50 ล้านเหรียญที่จะมอบให้กับภาคีองค์การระหว่างประเทศและองค์กรนอกภาครัฐโดยตรง
ความช่วยเหลือนี้จะนำไปใช้สำหรับอาหารช่วยชีวิต น้ำ ที่พักพิง การส่งเสริมสุขภาพ และบริการด้านสุขอนามัยต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางจากเมียนมา ซึ่งรวมถึงผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ
วันนี้ ดิฉันยังมีโอกาสได้พบปะกับองค์การระหว่างประเทศ องค์กรนอกภาครัฐ และองค์กรอื่นๆ ในไทยและเมียนมา เพื่อหารือถึงความท้าทายทางการเมืองและมนุษยธรรมที่ประชาชนชาวเมียนมา รวมถึงผู้ลี้ภัย กำลังเผชิญอยู่ ดิฉันอยากให้พวกเขารู้ว่า เรายืนเคียงข้างพวกเขา เงินสนับสนุนที่เรามอบให้เหล่านี้จะช่วยให้องค์กรนอกภาครัฐและองค์การระหว่างประเทศ รับมือกับวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 และตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ ของประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา
สุดท้ายนี้ ดิฉันขอกล่าวอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ ยังคงมีความกังวลอย่างยิ่งต่อวิกฤตการณ์ที่ยังคงดำเนินอยู่ในเมียนมา ด้วยความร่วมมืออันใกล้ชิดกับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรา เราจะยังคงเดินหน้าเรียกร้องให้มีการกลับสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว และให้มีการปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวโดยพลการทั้งหมด ขณะเดียวกันเราจะยังคงยึดมั่นในการสนับสนุนประชาชนชาวเมียนมาต่อไป
ดิฉันยินดีตอบคำถามของทุกท่าน ขอบคุณมากค่ะ
อ่านคำกล่าวฉบับเต็มเป็นภาษาอังกฤษได้ที่ https://www.state.gov/telephonic-press-briefing-with-ambassador-linda-thomas-greenfield-u-s-permanent-representative-to-the-united-nations/
โดย U.S. Embassy Bangkok | 13 สิงหาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย | Telephonic Press Briefing with Ambassador Linda Thomas-Greenfield, U.S. Permanent Representative to the United Nations
Ambassador Thomas-Greenfield: Thank you, Justin, and thank you all for joining me here today. I want to start with a few brief reflections on my vitally important trip to Japan and Thailand.
Over the past week, I worked on strengthening crucial alliances, deepening cooperation in the fight against COVID-19, and advancing opportunities for peace, security, and stability in support of an open and free Indo-Pacific.
Last weekend, I was honored to lead the United States Presidential Delegation to the ceremony – the Closing Ceremony of the Tokyo Olympics. I had the opportunity to cheer on Team USA, and to celebrate our athletes, who truly represent the best of America. And I have to tell you, I was so proud of their grit and determination and sportsmanship and their leadership – on and off the field.
And I was particularly delighted that the women of Team USA brought home nearly 60 percent of the medals for the United States. Their success is more than a point of pride for America. It showed the world how including and empowering women makes nations – makes our nation stronger and more competitive.
I was also inspired to meet virtually with members of the Refugee Olympic Team competing in its second Olympic Games. I’ve spent most of my career working on refugee and humanitarian issues, and I know the harrowing experiences these Olympians had to overcome to get to Tokyo.
One Afghan refugee Olympian told me about how competing in Judo helped her overcome that adversity. She told me that the first thing you learn in Judo is how to fall, and the next thing you learn is how to pick yourself back up.
I’m so proud of the refugee team and excited to watch them grow and continue to inspire millions of refugees around the world.
While in Japan, I was also honored to meet with the Japanese chief cabinet secretary and the Japanese state minister for foreign affairs. I had the opportunity to reaffirm our crucial alliance with Japan, and to thank and congratulate Japanese and Olympic officials for hosting a successful Olympic Games in the face of great adversity.
I also wished them continued success with the Paralympic games in the coming weeks. And yesterday, President Biden announced that Second Gentleman Doug Emhoff will lead the delegation to that opening ceremony.
President Biden has made clear that we are putting our alliances at the center of our foreign policy. And so I also felt it was important to come here to Thailand, to reaffirm and strengthen the longstanding alliance between our nations, and to underscore our enduring commitment to Southeast Asia and the ASEAN centrality.
The U.S.-Thai alliance continues to create tremendous benefit for both of our nations and contribute to a more peaceful, stable, and prosperous Indo-Pacific region.
Today, I had the opportunity to meet with the prime minister, following meetings yesterday with the deputy prime minister and foreign minister, and the national security council secretary-general. I believe we had productive conversations on a range of priority issues, including the strength of the alliance, public health, climate, human rights, and the humanitarian crisis sparked by the February coup in Myanmar.
In particular, I communicated America’s strong commitment to standing with the Thai people in the fight against COVID-19. In fact, yesterday morning, I visited a vaccine site in Bangkok where vulnerable people and frontline workers were receiving some of the 1.5 million Pfizer vaccines the United States provided to Thailand last week. We are stepping up that commitment with another 1 million vaccine doses, which will arrive soon.
I was proud to see our vaccines going into the arms of Thailand’s heroic doctors and nurses. And I was encouraged to know that this is happening all over the world as the United States delivers hundreds of millions of vaccines – provided with no strings attached – to save lives and stamp out this pandemic.
Yesterday, I was also – yesterday, I also announced $55 million in new U.S. assistance for humanitarian and pandemic response efforts in Thailand and Myanmar. The coup in Myanmar and the resulting humanitarian crisis has been compounded by COVID, and Thailand is on the front lines of the response to both challenges.
The funding I announced yesterday will support the pandemic response and alleviate the strain of Thailand’s – the strain on Thailand’s health systems. Specifically, the funding included $5 million in COVID-19 assistance for Thailand, as well as $50 million in humanitarian aid that will flow directly through international and nongovernmental organization partners.
This aid will provide life-saving food, water, shelter, health care, and hygiene services to vulnerable people from Myanmar, including refugees and internally displaced persons.
Today, I also had the opportunity to meet with international organizations, NGOs, and others working in Thailand and Myanmar to discuss the political and humanitarian challenges facing the people of Myanmar, including refugees. I wanted them to know that we stand with them. The resources we are providing will help these NGOs and international organizations respond to the COVID crisis and meet the needs of vulnerable people, particularly in the Thai-Myanmar border region.
Finally, let me say clearly that the United States remains deeply concerned about the ongoing crisis in Myanmar. In close coordination with our allies and partners, we will continue to press for a swift return to democracy and the release of all those arbitrarily detained, while remaining steadfast in our support for the people of Myanmar.
With that, I look forward to your questions. Thank you very much.
Read full transcript at https://www.state.gov/telephonic-press-briefing-with-ambassador-linda-thomas-greenfield-u-s-permanent-representative-to-the-united-nations/
By U.S. Embassy Bangkok | 13 August, 2021 | Topics: News, U.S. & Thailand | Telephonic Press Briefing with Ambassador Linda Thomas-Greenfield, U.S. Permanent Representative to the United Nations | คำกล่าวโดยเอกอัครราชทูตลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ ผู้แทนถาวรสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ระหว่างการบรรยายสรุปกับสื่อมวลชนทางโทรศัพท์ |
https://th.usembassy.gov/th/message-from-charge-daffaires-michael-heath-in-honor-of-the-89th-birthday-of-her-majesty-queen-sirikit-the-queen-mother-august-12-2021-th/ | สารถวายพระพรชัยมงคลจากอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 89 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
วันที่ 12 สิงหาคม 2564
หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทย ขอถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงและทรงพระเกษมสำราญยิ่ง
ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจของพระองค์ได้เสริมสร้างการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นแบบอย่างของคุณูปการที่ไทยมีต่อการพัฒนาโลกใบนี้ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นมิตรที่มั่นคงยิ่งของสหรัฐฯ และทรงเสริมสร้างสัมพันธไมตรีอันยืนนานระหว่างเราทั้งสองชาติเสมอมา
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ และสุขสันต์วันแม่แห่งชาติแด่คุณแม่ชาวไทยทุกคน
โดย U.S. Embassy Bangkok | 12 สิงหาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว, เอกอัครราชทูต | Message from Chargé d’Affaires Michael Heath in Honor of
The 89th Birthday of Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother,
August 12, 2021
The United States Mission to the Kingdom of Thailand extends our warmest wishes to Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother on the auspicious occasion of Her Majesty’s birthday. We wish Her Majesty good health and happiness.
Her Majesty’s work over many decades has advanced humanitarian and environmental causes and exemplified the positive contributions that Thailand has made to improving our world. Her Majesty has been an unwavering friend to the United States and has strengthened the longstanding partnership between our two great nations.
We want to wish Her Majesty and all Thai mothers a Happy Thai Mother’s Day.
By U.S. Embassy Bangkok | 12 August, 2021 | Topics: Chargé D’Affaires, News, U.S. & Thailand | Message from Chargé d’Affaires Michael Heath in Honor of the 89th Birthday of Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother | สารถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 89 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
https://th.usembassy.gov/th/081021-readout-of-ambassador-linda-thomas-greenfields-meetings-th/ | ถ้อยแถลงจากการประชุมระหว่างเอกอัครราชทูต ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดอน ปรมัตถ์วินัย และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย ณัฐพล นาคพาณิชย์
จัดเตรียมโดยโฆษกประจำคณะผู้แทนสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ โอลิเวีย ดัลทัน
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดอน ปรมัตถ์วินัย และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ณัฐพล นาคพาณิชย์ วันนี้ที่กรุงเทพมหานคร ในทั้งสองการประชุม เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์ ย้ำถึงความแข็งแกร่งของพันธไมตรีอันยาวนานระหว่างสหรัฐฯ และไทย อีกทั้งยังเน้นถึงความมุ่งมั่นที่สหรัฐฯ มีต่อประชาชนไทยขณะที่เราทำงานร่วมกันเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19 ซึ่งรวมไปถึงวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1.5 ล้านโดสที่สหรัฐฯ ได้บริจาคให้เมื่อเร็วๆ นี้ และวัคซีนอีก 1 ล้านโดสที่ประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้ว่าจะบริจาคให้ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์ ยังได้กล่าวถึงการประกาศในวันนี้ว่า สหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือรอบใหม่ มูลค่า 55 ล้านเหรียญ เพื่อช่วยการดำเนินการรับมือกับสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมและการระบาดใหญ่ในภูมิภาค
ในการประชุมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดอน ปรมัตถ์วินัย เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์ ได้แสดงความเป็นกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในพม่า และผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวต่อเสถียรภาพในภูมิภาค เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์ ยังได้เน้นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานด้วย
เอกอัครราชทูตโทมัส-กรีนฟิลด์ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ณัฐพล นาคพาณิชย์ หารือถึงความสำคัญของความร่วมมือที่ต่อเนื่องระหว่างสหรัฐฯ และไทยในประเด็นต่างๆ มากมาย รวมถึงการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และความต้องการด้านมนุษยธรรม
โดย U.S. Embassy Bangkok | 11 สิงหาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | Readout of Ambassador Linda Thomas-Greenfield’s Meetings with Thailand’s Deputy Prime Minister and Foreign Minister Don Pramudwinai and National Security Council Secretary-General Nattaphon Narkphanit
The below is attributable to U.S. Mission to the UN Spokesperson Olivia Dalton:
U.S. Ambassador to the United Nations Linda Thomas-Greenfield met in Bangkok today with Deputy Prime Minister and Foreign Minister Don Pramudwinai and National Security Council Secretary-General Nattaphon Narkphanit. In both meetings, Ambassador Thomas-Greenfield reaffirmed the strength of the longstanding U.S.-Thailand alliance. The Ambassador also underscored the U.S. commitment to the Thai people as we work together to fight COVID-19, including through the recent donation of 1.5 million COVID-19 vaccine doses and a previously-announced commitment of another one million more vaccine doses. She additionally highlighted her announcement today of $55 million in new U.S. assistance for humanitarian and pandemic response efforts in the region.
In her meeting with Deputy Prime Minister and Foreign Minister Don Pramudwinai, Ambassador Thomas-Greenfield expressed concern about the crisis in Burma and its implications for regional stability. Ambassador Thomas-Greenfield also emphasized the importance of protecting human rights and fundamental freedoms.
Ambassador Thomas-Greenfield and NSC Secretary-General Nattaphon Narkphanit discussed the importance of continued cooperation between the United States and Thailand on a range of issues, including the COVID-19 pandemic response and humanitarian needs.
By U.S. Embassy Bangkok | 11 August, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Readout of Ambassador Linda Thomas-Greenfield’s Meetings with Thailand’s Deputy PM and FM Don Pramudwinai and NSC Secretary-General Nattaphon | ถ้อยแถลงจากการประชุมระหว่างเอกอัครราชทูต ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ และรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ |
https://th.usembassy.gov/th/081021-usun-ltg-remarks-th/ | คำกล่าวโดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์
ณ ศูนย์ฉีดวัคซีน โรงพยาบาลเมดพาร์ค
10 สิงหาคม 2564
สวัสดีค่ะ สวัสดีทุกท่าน
ดิฉันอยู่ที่นี่วันนี้ ในฐานะตัวแทนของประธานาธิบดีไบเดน เพื่อเน้นย้ำความมุ่งมั่นที่เรามีต่อชาวไทยระหว่างวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุขโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนี้
สหรัฐฯ ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับประเทศไทยมากว่า 200 ปี
เรามีความร่วมมือที่ครอบคลุมและแข็งแกร่งในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการค้าและการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน ไปจนถึงพันธมิตรทางการทหารที่แน่นแฟ้น และความร่วมมือด้านสาธารณสุข
ความสัมพันธ์ของเรามีรากฐานอยู่บนค่านิยมที่ชาติของเราทั้งสองมีร่วมกันเหนือสิ่งอื่นใด
ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงภูมิใจที่ได้มาที่โรงพยาบาลเมดพาร์คในวันนี้
ดิฉันรู้สึกยินดีที่มีโอกาสได้เห็นการดำเนินการของไทยในการฉีดวัคซีนและปกป้องประชาชนด้วยวัคซีนไฟเซอร์ที่สหรัฐฯ ได้มอบให้เมื่อเร็วๆ นี้
เมื่อเช้านี้ ดิฉันได้พบกับบุคลากรสาธารณสุขด่านหน้าผู้ซึ่งเป็นวีรบุรุษและวีรสตรีของไทย ในขณะที่พวกเขาได้รับวัคซีนเข็มแรก และดิฉันรู้สึกเกิดแรงบันดาลใจที่ได้ฟังเรื่องราวของพวกเขาในการปฏิบัติงานเพื่อรักษาชีวิต
ดิฉันยังได้รับฟังสรุปเกี่ยวกับการจัดสรรวัคซีนเหล่านี้อย่างรวดเร็ว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกคนในประเทศไทยปลอดภัย
นับตั้งแต่ที่เกิดการระบาดใหญ่ สหรัฐฯ ได้มอบเครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และอุปกรณ์สำคัญอื่นๆ ให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อช่วยต่อสู้กับโรคโควิด-19
นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์ชาวอเมริกันยังทำงานเคียงข้างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของไทยในการต่อสู้กับไวรัสที่เลวร้ายนี้ด้วย
ในการยุติโรคโควิด-19 เราทราบดีว่า เราต้องทำงานร่วมกัน เชื้อโควิดนั้นไร้พรมแดน
ไวรัสนี้ไม่สนใจว่าเรามาจากประเทศไทย หรือสหรัฐฯ หรือเมียนมา หรือลาว และไม่มีชาติหนึ่งชาติใดจะสามารถหยุดโรคระบาดใหญ่ได้โดยลำพัง
การกำจัดเชื้อไวรัสนี้จะต้องใช้ความสามารถ ความเป็นผู้นำที่มีหลักการ และความร่วมมือของทุกชาติบนโลก
ประธานาธิบดีไบเดนได้ให้คำมั่นว่า สหรัฐฯ จะมอบวัคซีนให้กับทั่วโลก ท่านประธานาธิบดีเข้าใจดีว่า ไม่มีใครปลอดภัยจนกว่าทุกคนจะปลอดภัย
ดังนั้น เราจึงกำลังบริจาควัคซีนกว่า 500 ล้านโดสให้กับประเทศต่างๆ กว่า 100 ประเทศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และปราศจากเงื่อนไขใดๆ
สำหรับประเทศไทย เราได้จัดส่งวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งดิฉันเพิ่งจะได้เห็นการฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลแห่งนี้ เรายังภูมิใจที่จะจัดส่งวัคซีนอีก 1 ล้านโดสเร็วๆ นี้ด้วย
เรายังทราบอีกว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการรับมือกับความต้องการด้านมนุษยธรรม อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ในพม่า
ดังนั้น ในวันนี้ ดิฉันภูมิใจที่จะประกาศว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะมอบความช่วยเหลือมูลค่า 55 ล้านเหรียญ โดยส่วนใหญ่จะเป็นความช่วยเหลือเพื่อการดำเนินการตอบสนองด้านมนุษยธรรม นอกจากนี้ เราจะให้ความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนการรับมือต่อการระบาด ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาวะตึงตัวของระบบสาธารณสุขของไทย
โดยเราจะมอบความช่วยเหลือเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จำนวน 5 ล้านเหรียญให้กับไทย ซึ่งจะให้การสนับสนุนบุคลากรสาธารณสุขที่ให้บริการฉีดวัคซีนกับประชาชน และเสริมสร้างศักยภาพระบบสาธารณสุขของไทยในการป้องกัน ตรวจหา และตอบสนองต่อโรคโควิด-19 ด้วย
ส่วนเงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจำนวน 50 ล้านเหรียญนั้น จะมอบให้กับภาคีองค์การระหว่างประเทศและองค์กรนอกภาครัฐโดยตรง เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านอาหารกรณีฉุกเฉิน อุปกรณ์ช่วยชีวิต ที่พักพิง การให้บริการสาธารณสุขหลัก น้ำ การส่งเสริมสุขภาพ และบริการด้านสุขอนามัยต่างๆ แก่ประชากรกลุ่มเปราะบางจากเมียนมา ซึ่งรวมถึงผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศกว่า 700,000 คน
ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือดังกล่าวจะช่วยให้ไทย องค์กรนอกภาครัฐ และองค์การระหว่างประเทศสามารถตอบโต้วิกฤตการณ์โควิด-19 และตอบสนองต่อความต้องการของประชากรกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชายแดนฝั่งไทย
ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่ยากลำบากทั้งที่ประเทศไทยและในทั่วโลก และดิฉันอยากจะให้คนไทยทราบว่า สหรัฐฯ จะยืนเคียงข้างพวกท่านต่อไป
นอกจากนี้ ดิฉันยังอยากจะขอบคุณบุคคลเหล่านี้เป็นพิเศษ ได้แก่ พยาบาล หมอ บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัคร และทุกคนที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อหยุดไวรัสนี้และช่วยชีวิตคนมากมาย
ขอบคุณค่ะ
ดาวน์โหลดรูปถ่ายได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1dFbxG3vXL3BmViX_3Xczs0uEAgJLXN4k
โดย U.S. Embassy Bangkok | 10 สิงหาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกสารข่าว | Remarks by U.S. Ambassador to the United Nations Linda Thomas-Greenfield
Med Park Hospital Vaccination Center
August 10, 2021
Sa-wat-dee-kaa. Good morning.
I am here today, as President Biden’s representative, to reaffirm our commitment to the Thai people during this unprecedented global health crisis.
The United States has stood shoulder-to-shoulder with Thailand for over 200 years.
Our partnership is broad and deep. We do so much together, from our trade and people-to-people exchanges, to our steadfast military alliance, to our cooperation on public health.
It’s a relationship based first and foremost on the shared values of our nations.
That’s why I’m proud to be here at Med Park Hospital today.
I’m grateful to have the opportunity to see how Thailand is working to vaccinate and protect people with Pfizer vaccines recently provided by the United States.
This morning, I met frontline health care workers — Thailand’s heroes — as they received their first doses of the vaccine. And I was inspired to hear about their life-saving work.
I was briefed on how these vaccines are being deployed rapidly, strategically, and efficiently to keep all of Thailand safe.
Since the start of the pandemic, the United States has provided ventilators, PPE, and other critical equipment across the globe to help combat COVID-19.
And American medical personnel are working hand-in-hand with Thai public health authorities to fight this terrible virus.
In order to stop COVID, we know we must work together. COVID has no borders.
The virus does not care whether you are from Thailand, or the United States, Myanmar, or Laos. And no one nation can stop a pandemic on its own.
Extinguishing this virus requires ingenuity, principled leadership, and the cooperation of every nation on the earth.
President Biden has committed America to providing vaccines to the world. He understands that no one is safe until everyone is safe.
So we are providing over half a billion doses to over 100 nations, free of charge, with no strings attached.
In Thailand, we have already delivered 1.5 million doses of Pfizer vaccine, which I just saw going into the arms here in the clinic. We are proud to say we will soon be providing another 1 million doses.
We also know that Thailand is dealing with additional pressures, including responding to humanitarian needs resulting from the crisis in Burma.
So today, I am proud to announce the U.S. government is providing 55 million dollars in assistance, the vast majority of which is going toward humanitarian response efforts. We are also providing assistance to support the pandemic response that will help alleviate the strain on Thailand’s health systems.
Specifically, this includes 5 million dollars in COVID-19 assistance for Thailand, which will provide support to health care workers administering vaccines and strengthen Thailand’s health system’s ability to prevent, detect, and respond to COVID-19.
The 50 million in humanitarian aid will flow directly through international and non-governmental organization partners to provide emergency food assistance, lifesaving protection, shelter, essential health care, water, sanitation, and hygiene services to vulnerable people from Myanmar, including more than 700,000 refugees and internally displaced people.
These resources will help ensure Thailand, NGOs, and international organizations can both respond to the COVID crisis and meet the needs of vulnerable people, particularly in the Thai border area.
These are extremely tough times here and across the globe. And I want the people of Thailand to know the United States will continue to stand with you.
I also want to particularly thank the nurses, doctors, medical personnel, volunteers, and everyone working day and night to stop the virus and save lives.
Thank you.
Download photos at https://drive.google.com/drive/folders/1dFbxG3vXL3BmViX_3Xczs0uEAgJLXN4k
By U.S. Embassy Bangkok | 10 August, 2021 | Topics: Events, News, Press Releases, U.S. & Thailand | Remarks by U.S. Ambassador to the United Nations Linda Thomas-Greenfield at Med Park Hospital Vaccination Center | คำกล่าวโดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ลินดา โทมัส-กรีนฟิลด์ ณ ศูนย์ฉีดวัคซีน โรงพยาบาลเมดพาร์ค |
https://th.usembassy.gov/th/1-5-million-pfizer-vaccine-doses-donated-by-the-united-states-arrive-in-thailand-th/ | วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสที่บริจาคโดยสหรัฐฯ มาถึงไทยแล้ว
สหรัฐฯ ได้บริจาควัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์จำนวน 1,503,450 โดสให้กับประเทศไทย โดยวัคซีนจำนวนดังกล่าวมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเวลาเช้าวันนี้ การขนส่งวัคซีนครั้งประวัติศาสตร์นี้เป็นการเน้นย้ำถึงการสนับสนุนที่สหรัฐฯ มีต่อพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของเราในเอเชีย
เรายังภูมิใจที่ได้ยืนยันว่า สหรัฐฯ จะบริจาควัคซีนให้กับไทยรวมทั้งหมด 2.5 ล้านโดส โดยจะบริจาคเพิ่มเติมอีก 1 ล้านโดสนอกไปจากจำนวนที่มาถึงแล้วในวันนี้
รัฐบาลสหรัฐฯ ยืนเคียงข้างไทย หุ้นส่วนของเรา ในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 และเริ่มกระบวนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือกันนี้สะท้อนคำมั่นของประธานาธิบดีไบเดนที่จะมอบวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้กับประเทศต่าง ๆ ที่ขาดแคลน
รัฐบาลภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริสประกาศว่า สหรัฐฯ จะแบ่งปันวัคซีนจำนวน 80 ล้านโดสในส่วนของสหรัฐฯ เองเพื่อช่วยยุติโรคระบาดใหญ่ในทั่วโลกนี้ และการส่งมอบวัคซีนไฟเซอร์ในครั้งนี้แสดงถึงความสำคัญที่สหรัฐฯ ให้กับความร่วมมือระหว่างเรากับไทย ในแผนการบริจาควัคซีน 80 ล้านโดสของประธานาธิบดีไบเดนนั้น สหรัฐฯ จะมอบวัคซีน 23 ล้านโดสให้กับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เพื่อที่จะช่วยให้ภูมิภาคนี้รวมถึงประเทศไทยปลอดภัย การบริจาควัคซีนเหล่านี้เป็นความช่วยเหลือนอกเหนือไปจากความช่วยเหลือมูลค่า 4,000 ล้านเหรียญที่สหรัฐฯ ให้ผ่านทางโคแวกซ์ ซึ่งเป็นโครงการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ให้แก่นานาประเทศอย่างเท่าเทียม
การบริจาควัคซีนจำนวน 1.5 ล้านโดสครั้งนี้ รวมถึงวัคซีนหลายล้านโดสที่สหรัฐฯ มอบให้กับประเทศเพื่อนบ้านของไทย จะช่วยให้ไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเร่งการฉีดวัคซีนเพื่อให้พลเมืองของตนปลอดภัย ตลอดจนฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว
วัคซีนของเรานั้นให้เปล่าโดยไม่มีเงื่อนไข สหรัฐฯ ดำเนินการเช่นนี้ด้วยวัตถุประสงค์หนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นคือการช่วยชีวิตผู้คน และด้วยความตระหนักอย่างถ่องแท้ว่า ไม่มีใครปลอดภัยจนกว่าทุกคนจะปลอดภัย ดังนั้น เราจึงยินดีที่ได้ทราบว่า รัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะกระจายวัคซีนเหล่านี้อย่างเป็นธรรมให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยทุกคน รวมทั้งมุ่งเน้นการจัดสรรวัคซีนให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุด
วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค ซึ่ง Pfizer Inc. บริษัทยาของสหรัฐฯ และ BioNTech SE บริษัทไบโอเทคโนโลยีของเยอรมนี ร่วมกันพัฒนาขึ้น เป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับอนุญาตทะเบียนแบบฉุกเฉินจากองค์การอนามัยโลก และข้อมูลขององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ร้อยละ 95
กว่า 60 ปี สหรัฐฯ และไทยได้ผนึกกำลังรับมือกับปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อสาธารณสุข ความร่วมมือนี้เพิ่มพูนขึ้นนับตั้งแต่เกิดการระบาด โดยสหรัฐฯ ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับภาคีชาวไทยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อตอบสนองต่อโรคโควิด-19 ในไทย รวมถึงช่วยให้ไทยเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญได้ จนถึงปัจจุบัน ความช่วยเหลือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 จากรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ส่งเสริมรัฐบาลไทยในการเตรียมความพร้อมระบบห้องปฏิบัติการ ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับอาการป่วย สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการเพื่อการตอบสนองและเตรียมความพร้อมต่อการระบาด เสริมสร้างการสื่อสารความเสี่ยง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในสถานพยาบาล ตลอดจนช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นตามแนวชายแดน นอกจากนี้ เรายังได้มอบเครื่องช่วยหายใจ หน้ากากกรองอากาศ ชุดตรวจหาการติดเชื้อ หน้ากากอนามัย แว่นตานิรภัย และอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และอาสาสมัครสาธารณสุขชาวไทยที่กล้าหาญซึ่งกำลังทำงานเพื่อควบคุมการระบาดด้วย
ความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และไทยได้ช่วยชีวิตผู้คนนับไม่ถ้วนทั่วโลกผ่านความก้าวหน้าด้านการวิจัย การพัฒนา และการรักษา และเราก็ยังคงทำงานด้วยกันอย่างแข็งขันเพื่อหยุดยั้งโรคโควิด-19 ตั้งแต่การระบาดระลอกแรกเมื่อปีที่แล้ว
นับตั้งแต่ปี 2491 เป็นต้นมา สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดขององค์การอนามัยโลก เราเข้าใจว่าความมั่นคงด้านสุขภาพทั่วโลกขึ้นอยู่กับระบบสาธารณสุขที่ยืดหยุ่นพร้อมฟื้นตัว โปร่งใส และตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ดี สหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการตอบโต้การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก และเป็นผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในโครงการสนับสนุนด้านการเงิน COVAX Advance Market Commitment เพื่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 อย่างเท่าเทียม
ดาวน์โหลดรูปถ่ายและวีดีโอได้ที่ https://state-low.box.com/v/073021-vaccines-donation
โดย U.S. Embassy Bangkok | 30 กรกฎาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกสารข่าว | 1.5 Million Pfizer Vaccine Doses, Donated by the United States, Arrive in Thailand
Today, the United States donated 1,503,450 doses of the Pfizer COVID-19 vaccine to Thailand. This historic shipment, which reaffirms U.S. support to our oldest ally in Asia, arrived at Suvarnabhumi airport this morning.
We are also proud to confirm that the United States will provide an additional one million vaccine doses to Thailand – on top of the doses that arrived today – for a total of 2.5 million doses.
The United States government stands side-by-side with our partner Thailand to fight COVID-19 and begin the process of economic recovery. This partnership reflects President Biden’s commitment to provide safe and effective vaccinations to countries in need.
The Biden-Harris Administration announced that the United States would share 80 million vaccine doses of America’s own vaccine supply to help end this global pandemic, and this shipment of Pfizer doses demonstrates the priority we place on our partnership with Thailand. President Biden’s plan for the 80 million donated doses includes 23 million for Asia, an effort that will help keep the region – and Thailand – safe. These donations are in addition to the United States’ $4 billion in commitments to COVAX, the COVID-19 Vaccines Global Access Initiative.
This donation of 1.5 million Pfizer doses, and the millions of doses the United States is providing to neighboring countries, will help Thailand and the region accelerate their vaccination campaigns, keep their populations safe, and ensure that their economies can recover quickly.
Our vaccines do not come with strings attached. We are doing this with the singular objective of saving lives and with the full knowledge that none of us are safe until all of us are safe. As such, we are happy to hear the Royal Thai Government has committed to distributing these vaccines equitably to all residents of Thailand and to prioritizing those most at risk.
Developed jointly by American pharmaceutical company Pfizer Inc. and German biotechnology company BioNTech SE, the Pfizer-BioNTech COVID-19 vaccine was the first to receive emergency use authorization from the World Health Organization and is 95 percent effective in preventing COVID-19, according to the U.S. Food and Drug Administration.
For over 60 years, the United States and Thailand have joined forces to address critical issues affecting public health. This cooperation has increased since the start of the pandemic, with the United States working hand-in-hand with Thai partners to strengthen local responses to COVID-19 and help Thailand access critical medical equipment. To date, total U.S. government COVID-19-related assistance has helped the Thai government prepare laboratory systems, activate case-finding and event-based surveillance, support technical experts for response and preparedness, promote risk-communications, prevent and control infectious diseases in health facilities, and support displaced people along the border. We have also provided ventilators, respirators, testing kits, surgical masks, goggles, and other protective equipment to Thailand’s heroic medical personnel, nurses, and health volunteers who are working to curb the outbreak.
The U.S. – Thai health partnership has already saved countless lives around the world through research, development, and treatment breakthroughs. And we have been working together vigorously to stop COVID-19 since the first outbreak last year.
Since 1948, the United States has been the largest contributor to the World Health Organization. We understand that global health security depends on resilient, transparent, and responsive health care systems. The United States is committed to leading the global response to the COVID-19 pandemic and is the largest contributor to the COVAX Advance Market Commitment, a global initiative to support equitable access to COVID-19 vaccines.
Download photos and videos at https://drive.google.com/drive/folders/1s9obBf_enV-C0TwRWaeSHRqMZfCkxPnd
By U.S. Embassy Bangkok | 30 July, 2021 | Topics: Events, News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: COVID-19, Vaccine | 1.5 Million Pfizer Vaccine Doses, Donated by the United States, Arrive in Thailand | วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสที่บริจาคโดยสหรัฐฯ มาถึงไทยแล้ว |
https://th.usembassy.gov/th/message-from-u-s-charge-daffaires-michael-g-heath-on-the-occasion-of-his-majesty-king-maha-vajiralongkorn-phra-vajiraklaochaoyuhuas-69th-birthday-th/ | สารถวายพระพรชัยมงคลจากอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จี. ฮีธ
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 69 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันที่ 28 กรกฎาคม 2564
หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทย ขอถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
กว่า 200 ปีมาแล้วที่สหรัฐฯ และไทย ได้ร่วมกันเสริมสร้างเสรีภาพ เสถียรภาพ และความรุ่งเรืองของเราทั้งสอง สหรัฐฯ หวังว่าจะได้สานสัมพันธ์ระหว่างกันต่อไปให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ขณะที่เราผนึกกำลังเพื่อเอาชนะโรคระบาดใหญ่ในปัจจุบัน และสร้างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง มั่นคง และมั่งคั่ง
หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทย ขอพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงและทรงพระเกษมสำราญ ตลอดจนขอให้ประชาชนชาวไทยมีความสุขกายสุขใจ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 กรกฎาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, อุปทูต | Message from U.S. Chargé d’Affaires Michael G. Heath on the Occasion of
His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua’s 69th Birthday, July 28, 2021
The United States Mission to the Kingdom of Thailand extends our warmest congratulations on the auspicious occasion of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua’s birthday.
For over 200 years, the United States and Thailand have partnered to promote freedom, security and prosperity for our two great nations. We look forward to further deepening our partnership as we work together to overcome the current pandemic and build a free, open, secure, and prosperous Indo-Pacific region.
We wish good health and happiness to His Majesty, to the Royal family, and the Thai people.
By U.S. Embassy Bangkok | 28 July, 2021 | Topics: Chargé D’Affaires, News, U.S. & Thailand | Message from U.S. Chargé d’Affaires Michael G. Heath on the Occasion of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua’s 69th Birthday | สารถวายพระพรชัยมงคลจากอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ไมเคิล ฮีธ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 69 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
https://th.usembassy.gov/th/us-vaccine-donation-announced-2021-th/ | สหรัฐฯ วางแผนที่จะบริจาควัคซีนให้กับไทย
ประธานาธิบดีไบเดนของสหรัฐอเมริกาประกาศแผนการส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจำนวน 80 ล้านโดสให้กับประเทศต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นในทั่วโลก ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจำนวนหนึ่งจากการบริจาคดังกล่าว สหรัฐฯ บริจาควัคซีนเหล่านี้เพื่อช่วยชีวิตผู้คนและนำชาติทั้งหลายในการยุติโรคระบาดใหญ่นี้
ในแผนการบริจาควัคซีนจำนวน 80 ล้านโดสดังกล่าว สหรัฐฯ จะมอบวัคซีนกว่า 23 ล้านโดสให้กับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคนี้รวมถึงประเทศไทยปลอดภัย การบริจาควัคซีนเหล่านี้เป็นความช่วยเหลือนอกเหนือไปจากความช่วยเหลือมูลค่า 4,000 ล้านเหรียญที่สหรัฐฯ ได้ให้ผ่านทางโคแวกซ์ ซึ่งเป็นโครงการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ให้แก่นานาประเทศอย่างเท่าเทียม โดยรวมถึงวัคซีนไฟเซอร์ 500 ล้านโดสในปีที่กำลังจะมาถึง
กว่า 60 ปี สหรัฐฯ และไทยผนึกกำลังรับมือกับปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อการสาธารณสุข ความร่วมมือนี้เพิ่มพูนขึ้นนับตั้งแต่เกิดการระบาด โดยสหรัฐฯ ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับภาคีชาวไทยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อตอบสนองต่อโรคโควิด-19 รวมถึงช่วยให้ไทยเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญได้ จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ ได้มอบความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ให้กับไทยแล้วเป็นมูลค่ากว่า 40 ล้านเหรียญ (1,280 ล้านบาท) แผนบริจาควัคซีนครั้งนี้จะเพิ่มมูลค่าความช่วยเหลือดังกล่าวเป็นอย่างมาก
จนถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้มอบความช่วยเหลือซึ่งรวมไปถึงเครื่องช่วยหายใจ หน้ากากกรองอากาศ ชุดตรวจหาการติดเชื้อ หน้ากากอนามัย แว่นตานิรภัย และอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ สำหรับแพทย์และพยาบาลชาวไทย มูลค่ารวม 28.5 ล้านเหรียญ ตลอดจนการช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นตามแนวชายแดน นอกจากนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) ซึ่งมีความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขของไทยมาเป็นเวลากว่า 40 ปี ยังได้มอบความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 แล้วเป็นจำนวน 13 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ แน่วแน่ต่อพันธไมตรีและความร่วมมือระหว่างเรากับไทย ตลอดจนค่านิยมแห่งเสรีภาพ สันติภาพ และความมั่งคั่งที่เราต่างยึดถือ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 กรกฎาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกสารข่าว | United States Plans to Donate Vaccines to Thailand
The President of the United States announced a plan to deliver 80 million safe and effective COVID-19 vaccines to countries in need around the world. Thailand will receive a share of safe and effective vaccines from this world-wide donation. The United States is sharing these vaccines to save lives and to lead the world in bringing an end to the pandemic.
President Biden’s plan for the 80 million donated doses includes over 23 million for Asia, an effort that will keep the region – and Thailand – safe. These donations are in addition to the United States’ $4 billion in commitments to COVAX, the COVID-19 Vaccines Global Access Initiative, including half a billion Pfizer doses over the upcoming year.
For over 60 years, the United States and Thailand have joined forces to address critical issues affecting public health. This cooperation has increased since the start of the pandemic, with the United States working hand-in-hand with Thai partners to strengthen local responses to COVID-19 and help Thailand access critical medical equipment. To date, the U.S. government has provided over $40 million (equivalent to 1.28 billion Thai baht) in COVID-19-related assistance to Thailand. Our plan to donate vaccines will substantially increase this assistance.
U.S. assistance thus far includes $28.5 million in ventilators, respirators, testing kits, surgical masks, goggles, and other protective equipment to Thai doctors and nurses, plus support for displaced people along the border. Additionally, the U.S. Centers for Disease Control and Prevention, which has been a partner of Thailand’s Ministry of Public Health for over 40 years, has provided $13 million in COVID-19-related assistance.
The United States is committed to our alliance and partnership with Thailand and our shared values of freedom, peace, and prosperity.
By U.S. Embassy Bangkok | 7 July, 2021 | Topics: Events, News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: COVID-19 | United States Plans to Donate Vaccines to Thailand | สหรัฐฯ วางแผนที่จะบริจาควัคซีนให้กับไทย |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-mission-thailand-supports-fire-response-in-mae-hong-son-th/ | หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยให้การสนับสนุนภารกิจดับไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
รัฐบาลสหรัฐอเมริกายังคงให้การสนับสนุนภารกิจดับไฟป่าทางภาคเหนือของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยการบริจาควัสดุอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดับไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ได้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบไปด้วย เครื่องเป่าใบไม้ หน้ากาก N95 และอุปกรณ์ดับไฟป่าที่มีมูลค่ารวมประมาณ 15,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 470,000 บาท)
การส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ครั้งล่าสุดนี้ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อช่วยเหลือประเทศไทยในฐานะพันธมิตรในการดับไฟป่าและลดปัญหามลพิษทางอากาศในภาคเหนือ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์มูลค่าประมาณ 45,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.395 ล้านบาท) ให้แก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดับไฟป่าในภาคเหนือ โดยไฟป่านั้นได้คุกคามชีวิต พื้นที่ทางการเกษตร และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศและยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วทั้งภูมิภาค
“สหรัฐฯ มีความภูมิใจที่ได้สนับสนุนพันธมิตรชาวไทย โดยเฉพาะภาคีของเราในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดจนเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทั่วทั้งภาคเหนือต่อสู้กับไฟป่าและมลพิษทางอากาศ” กงสุลใหญ่ฌอน โอนีลล์ กล่าว “ชายหญิงเหล่านี้ได้เอาชีวิตตัวเองเข้าเสี่ยงเพื่อต่อสู้กับไฟป่า อีกทั้งยังพัฒนาคุณภาพอากาศและสุขภาพของผู้คนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ พวกเราทุกคนล้วนหายใจด้วยอากาศเดียวกันและพวกเรารู้สึกขอบคุณสำหรับการทำงานอย่างหนักด้วยความกล้าหาญและทุ่มเท”
“ในนามของประชาชนชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผมขอขอบคุณรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างสูงที่ได้มอบวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดับไฟป่าในครั้งนี้ โดยการส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวแสดงถึงมิตรภาพระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยที่มีความแน่นแฟ้น และความร่วมมือของเราทั้งสองประเทศที่ยังคงดำเนินต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้ปฏิบัติการต่อสู้กับไฟป่าและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันขนาดเล็ก PM2.5 ให้มีประสิทธิผล เพื่อพัฒนาคุณภาพอากาศให้แก่ประชาชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและพื้นที่ข้างเคียง” ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายสิธิชัย จินดาหลวงกล่าว
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดัชนีคุณภาพอากาศของภาคเหนือโดยสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสถานทูตสหรัฐฯ ที่ https://th.usembassy.gov/air-qualityindex-aqi/ ข้อมูลนี้คำนวณจากข้อมูลมลพิษทางอากาศที่ได้จากเครื่องวัดที่รัฐบาลไทยเป็นเจ้าของและบำรุงรักษา
ดาวน์โหลดภาพถ่ายเพิ่มเติมได้ที่ https://photos.app.goo.gl/giUqXFHHuNS4ASn48
โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 1 กรกฎาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์, เอกสารข่าว | U.S. Mission Thailand Supports Fire Response in Mae Hong Son
The UnitedStatescontinued its support for firefighting efforts in northern Thailand through a donation of equipment and materialstoassist firefighters and volunteersin Mae Hong Son.
On June 30, the U.S.Mission to ThailanddonatedequipmenttotheDepartment of Disaster Prevention and Mitigationin Mae Hong Son.The contribution includedleaf blowers,N95 masks, and firefighting equipmentwith a totalvalue of approximately$15,000(470,000 THB).
This is the United States’ latest contribution to help its Thai allies respond to wildfires and air pollution in northern Thailand.Since 2019, the U.S. governmenthasdonated approximately $45,000(1.395 millionTHB) inequipment to firefighters and volunteers in northern Thailand.As fires threaten lives, farmland, and the environment, these donations helppreventfires, which contribute toair pollutionandnegatively impact human healththroughout the region.
“The United States is proudto support our Thai allies, especially our partners in Mae Hong Son Province and the bravefirefighters and volunteers throughout northern Thailand, as they fight wildfires and air pollution,” said Consul General Sean O’Neill.“Thesemen and women put their lives on the line to fight fires and improve the air quality and health of those who live in northern Thailand.We all breathe the same air and are all grateful for their hard work, bravery, and dedication.”
“I would like to thank the U.S. government for the donated equipment. This donation demonstrates strong friendship and ongoing partnership between the U.S. and Thailand. This equipment will help us fight wildfires and tackle PM 2.5 dust particles problem more efficiently, which will improve the air quality for the people of Mae Hong Son and nearby,” Mae Hong Son Governor Sithichai Jindaluang said.
For more information regarding the U.S. Environmental Protection Agency’s Air Quality Index fornorthern Thailand, please visit the U.S. Embassy website: https://th.usembassy.gov/air-quality-index-aqi/. The information is calculated based on air pollution data captured by monitors owned and maintained by the Royal Thai government.
Download more photos here: https://photos.app.goo.gl/giUqXFHHuNS4ASn48
By U.S. Consulate Chiang Mai | 1 July, 2021 | Topics: Chiang Mai, Events, News, Press Releases, U.S. & Thailand | U.S. Mission Thailand Supports Fire Response in Mae Hong Son | หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยให้การสนับสนุนภารกิจดับไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน |
https://th.usembassy.gov/th/the-mekong-u-s-partnership-heroes-series-building-a-bright-future-for-the-mekong-th/ | วิดีโอชุด “ฮีโร่แห่งลุ่มน้ำโขง” ของหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง–สหรัฐฯ: สร้างอนาคตสดใสให้ลุ่มน้ำโขง
“ครูตี๋” ครูผู้พิทักษ์และปกป้องแม่น้ำโขง
กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) ส่งเสริมความมั่นคง สันติภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านทางความร่วมมือระหว่างกัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม พร้อมด้วยการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา โครงการต่างๆ ในกรอบความร่วมมือนี้ส่งผลดีต่อชีวิตของผู้คนหลายล้านชีวิตและช่วยให้ประเทศลุ่มน้ำโขงรับมือกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางน้ำ การวางแผนด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงสะเต็มศึกษาได้ดียิ่งขึ้น กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ต่อยอดขึ้นจากความร่วมมือระยะเวลา 11 ปี และมุ่งพัฒนากิจกรรมในโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายในภูมิภาค
วิดีโอชุด “ฮีโร่แห่งลุ่มน้ำโขง” ของหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ภูมิใจเสนอเรื่องราวของนิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือ “ครูตี๋” นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งลำน้ำโขงและพื้นที่โดยรอบ เรื่องราวของนิวัฒน์เป็นตอนหนึ่งของชุดวิดีโอทั้งหมด 4 ตอนที่บอกเล่าชีวิตของบุคคลจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งแสดงถึงประโยชน์ที่พวกเขาได้รับจากกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ วิดีโอชุดนี้จะเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศเวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา ในวันที่ 29 มิถุนายน 2564
ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขึ้นหลายแห่งอย่างรวดเร็วได้เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของลุ่มน้ำโขง และทำให้ผู้คนหลายล้านชีวิตที่พึ่งพาแม่น้ำสายนี้ต้องเผชิญกับความกดดันมากขึ้น นิวัฒน์เติบโตขึ้นริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงมีความทรงจำถึงช่วงเวลายากดีมีสุขตลอดการใช้ชีวิตเคียงข้างแม่น้ำสายนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพจากการเป็นครูเป็นผู้ให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม นิวัฒน์และคณะผู้ร่วมงานในพื้นที่ได้ดำเนินการวิจัยด้านระบบนิเวศ ตลอดจนพยายามให้ข้อมูลกับชุมชนเกี่ยวกับสิทธิของตนในยามที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยเน้นย้ำถึงความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศและเสริมสร้างศักยภาพในการฟื้นตัวของชุมชนผ่านโครงการวิจัยโดยชุมชนที่เรียกว่างานวิจัยไทบ้าน (หรือ “งานวิจัยจาวบ้าน” ในภาษาเหนือ)
“แม่น้ำโขงเป็นแม่ของคนทั้งโลก ไม่ใช่แม่ของเราคนเดียว แม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไปมากจนไม่อาจกลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว การจัดการทรัพยากรก็คือการจัดการเรื่องของคนทั้งโลกที่มีส่วนได้เสีย เรื่องงานวิจัยไทบ้าน มันเกิดมาจากแนวคิดที่เราใช้องค์ความรู้เป็นการขับเคลื่อนในเรื่องของการต่อสู้ในเรื่องของการปกป้องทรัพยากร” นิวัฒน์กล่าว
รับชมเรื่องราวของนิวัฒน์จากวิดีโอชุด “ฮีโร่แห่งลุ่มน้ำโขง” ได้จากหน้าเฟซบุ๊กทางการของสถานทูตสหรัฐฯ กรุงเทพฯ (@usembassybkk) และสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ (@chiangmai.usconsulate) ได้ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2564 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ได้จาก https://mekonguspartnership.org/ และติดตามหน้าเฟซบุ๊กได้ทาง @lowermekong
โดย U.S. Embassy Bangkok | 29 มิถุนายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | The Mekong – U.S. Partnership Heroes Series: Building a Bright Future for the Mekong
Meet Kru Tee, Teacher, Guardian, and Defender of the Mekong River
TheMekong – U.S.Partnershippromotes the stability, peace, and sustainable development of the Mekong sub-region through collaboration among Cambodia, Laos, Myanmar, Thailand, and Vietnam with support from the United States. Programs directed by the Mekong-U.S. Partnership have positively impacted the lives of millions of people and have helped Mekong countries better address issues on water security, energy and infrastructure planning, and STEM education. Building on 11 years of cooperation, the partnership seeks to expand its programming efforts to resolve regional challenges.
The Mekong – U.S. Partnership Heroes Series is proud to present the story of Niwat Roykaew (Kru Tee), an environmental defender of the Mekong River and its environs. The story of Niwat is one in a four-episode video series which follows different individuals from the Mekong region, illustrating how they have benefited from the Mekong – U.S. Partnership. The videos will be released on the social media platforms of the U.S Missions to Vietnam, Thailand, Laos, Cambodia on June 29, 2021.
In the last two decades, the fast-paced development of hydropower dams, has changed the Mekong ecosystem, increasing pressure on millions of people who rely on this River. Growing up on the banks of the Mekong River, Niwat recalls the highs and lows of the river’s life. As a result of the drastic changes to the River, he decided to switch careers from teaching to environmental education. Together with local teams, he conducts ecosystem research and works to inform communities of their rights in the face of fast-paced economic development, focusing on ecosystem biodiversity and strengthening community resilience through a community-based research project called Thai Baan research (Jao Baan research in Northern Thai Dialect).
“The Mekong River doesn’t just belong to us, it is part of Mother Nature. The Mekong River is no longer the way it used to be. Protecting it needs effort from everyone in the world. With Thai Baan research, there is now knowledge to push forward and fight to protect these resources,” Niwat said.
Learn about Niwat’s story as part of the four-part Mekong Heroes video series, on official Facebook pages for U.S. Embassy Bangkok (@usembassybkk) and U.S. Consulate General Chiang Mai (@chiangmai.usconsulate) beginning on June 29, 2021. For more information about the Mekong – U.S. Partnership, please visit https://mekonguspartnership.org/ and follow the MUSP on Facebook @lowermekong.
By U.S. Embassy Bangkok | 29 June, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: Mekong - U.S. Partnership Heroes Series | The Mekong – U.S. Partnership Heroes Series: Building a Bright Future for the Mekong | วิดีโอชุด “ฮีโร่แห่งลุ่มน้ำโขง” ของหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง–สหรัฐฯ: สร้างอนาคตสดใสให้ลุ่มน้ำโขง |
https://th.usembassy.gov/th/go-for-real-campaign-th/ | สำนักงานสิทธิบัตรและเครืองหมายการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา (USPTO) ร่วมกับหลากหลายหน่วยงาน ได้จัดโครงการ “Go for Real …อยากปัง! ต้องเลิกปลอม” เพื่อสร้างความตระหนักรู้และต่อต้านการละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเตอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ กิจกรรมภายใต้โครงการณ์ประกอบด้วยการประกวดสร้างสรรรค์คลิปวิดิโอสั้น และ การสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้นจำนวน 94 ผลงาน และมีนักเรียนและประชาชนจำนวนหลายร้อยคนเข้าร่วมฟังสัมมนา
รายละเอียดของสามผลงานที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อนำไปใช้สร้างความรู้ความเข้าใจในสื่อโทรทัศน์และช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
รางวัลที่ 1: หยุดหนังเถื่อนหนุนหนังแท้
ผู้สร้างสรรค์
นาย เฉลิมพงษ์ ขจัดมลทิน
นาย ณัฐเวท ชัยวงษ์
นาย ทินกฤต เคยพุดซา
สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เพลง/เสียงประกอบ
“All good in the wood” by Audionautix
“Movement Proposition” by Kevin MacLeod
“On My Way” by Kevin MacLeod
——————————————————————————————————————-
รางวัลที่ 2 : ACSPอยากปัง
ผู้สร้างสรรค์
ด.ช. สิรธีร์ เกตุรัตน์
ด.ช. วชิรวิทย์ แมลงผึ้ง
ด.ช. กันตชาติ ศรีแสงเมือง
สถานศึกษา
โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
เพลง/เสียงประกอบ
“8-Bit Chiptune” by Dneproman ( via “FSFA #Sound Effects”)
——————————————————————————————————————-
รางวัลที่ 3: รวมพลังร่วม เสริมพลังสร้าง ต่อต้านการปลอม
ผู้สร้างสรรค์วิด็โอและเพลงประกอบ
นายศุภกฤษณ์ วิเศษโสภากุล
นายพิชญาณณฐ์ โรจน์ฤทธิไกร
นายวิศิษฏิ์ รัตนโสภา
สถานศึกษา
โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 29 มิถุนายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | The USPTO Attaché, in cooperation with multiple stakeholders, launched the “Go for Real” public awareness campaign to address online intellectual property rights (IPR) violations. The campaign included video-clip contests and webinars on IP protection and enforcement. A total of 94 video clips were submitted for the contest, and several hundred and members of the public attended the webinars. This is information of three videos that have been awarded and will be broadcast to promote IP awareness through online networks and television channels.
The first-place winner: “หยุดหนังเถื่อน หนุนหนังแท้ “(Stop piracy, Support legitimate movies)
Video Creators
Chaloemphong Khachatmonthin
Nathawet Chaivong
Tinakit Kerypudza
Academy
The Suranaree University of Technology
Music used in the video
“All good in the wood” by Audionautix
“Movement Proposition” by Kevin MacLeod
“On My Way” by Kevin MacLeod
——————————————————————————————————————-
The second-place winner: “ACSPอยากปัง” (ACSP want to be distinguished)
Video Creators
Siratee Keturat
Wachirawit Malangpueng
Kantachart Srisangmuang
Academy
Assumption College Samutprakarn
Music used in the video
“8-Bit Chiptune – Intro Beat” by Dneproman ( via “FSFA #Sound Effects”)
——————————————————————————————————————-
The third-place winner: รวมพลังร่วม เสริมพลังสร้าง ต่อต้านการปลอม (Cooperation Against Copyright Piracy)
Video and music (rapping) creators
Supakit Wisetsophakul
Pitchayanon Rojritthikrai
Wisit Rattanasopa
Academy
Assumption College Samutprakarn
By U.S. Embassy Bangkok | 29 June, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | ‘Go for Real’ Campaign | โครงการ “Go for Real …อยากปัง! ต้องเลิกปลอม” |
https://th.usembassy.gov/th/pride-month-webinar-and-public-forum-equal-marriage-legal-and-social-implications-th/ | อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ กล่าวเปิดการเสวนาออนไลน์และพูดคุยผ่านเวทีสาธารณะในหัวข้อ “สมรสเท่าเทียม ความรักไร้พรมแดนเพศ” ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะศิษย์เก่า YSEALI ในประเทศไทย เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศของสถานทูตสหรัฐฯ และมีผู้เข้าร่วมการเสวนา ทั้งตัวแทนจากฝ่ายนิติบัญญัติ นักกฎหมาย อาจารย์ และนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกฎหมายเกี่ยวกับการสมรสเท่าเทียมในประเทศไทย
โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 มิถุนายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | Chargé d’Affaires Michael Heath opened the Pride Month Webinar and Public Forum “Equal Marriage: Legal and Social Implications” on June 25. This event, organized by a group of YSEALI alumni Thailand, was part of U.S. Embassy Bangkok’s celebration of Pride Month, and featured legislators, lawyers, academics, and LGBTQI+ activists who are working toward equal marriage legislation in Thailand.
By U.S. Embassy Bangkok | 28 June, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Pride Month Webinar and Public Forum “Equal Marriage: Legal and Social Implications” | การเสวนาออนไลน์และพูดคุยผ่านเวทีสาธารณะในหัวข้อ “สมรสเท่าเทียม ความรักไร้พรมแดนเพศ” |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-welcomes-the-return-of-ancient-lintels-th/ | สหรัฐฯ ยินดีทับหลังกลับคืนสู่ไทย
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาขอแสดงความยินดีที่ทับหลังสลักด้วยหินทรายจากสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 จำนวน 2 รายการได้กลับคืนสู่ประเทศไทย โดยเป็นผลจากความพยายามร่วมกันตลอดระยะเวลา 4 ปีของสหรัฐฯ และไทย
“ทับหลัง 2 รายการนี้เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของไทย และรัฐบาลสหรัฐฯ ภาคภูมิใจที่ได้ต่อสู้เพื่อนำโบราณวัตถุเหล่านี้กลับมายังประเทศไทย” อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ไมเคิล ฮีธ กล่าวเนื่องในโอกาสเป็นตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ณ พิธีส่งมอบทับหลังในวันนี้
รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม เป็นประธานในพิธีส่งมอบทับหลังกลับคืนสู่ประเทศไทยในครั้งนี้ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อติดตามนำทับหลังชิ้นสำคัญทางศาสนาทั้งสองรายการกลับสู่ถิ่นกำเนิด
ความร่วมมือในครั้งนี้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2560 เมื่อกลุ่มนักวิชาการอิสระได้รวบรวมข้อมูลโบราณวัตถุของไทยจำนวนหนึ่งที่อยู่ในต่างประเทศ จากนั้นจึงดำเนินการร่วมกับนายกรัฐมนตรีและกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ผลจากการประชุมคณะกรรมการได้มีมติให้ติดตามทวงคืนโบราณวัตถุ อันได้แก่ ทับหลังปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชียในนครซานฟรานซิสโก
กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงการต่างประเทศของไทยทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานสืบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ (ซึ่งมีสำนักงานในสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย) และสำนักงานอัยการเขตรัฐแคลิฟอร์เนียตอนบน เพื่อให้บรรลุขั้นตอนทางกฎหมายในการนำทับหลังออกจากการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวและส่งกลับคืนถิ่นเดิมได้ โดยโบราณวัตถุทั้งสองรายการเดินทางมาถึงไทยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564
“เราเฉลิมฉลองการกลับมาของทับหลังเหล่านี้ และทราบดีว่า ความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายและความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีที่แน่นแฟ้นระหว่างเราจะทำให้ชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ได้ชื่นชมมรดกตกทอดอันมีค่ายิ่งของชาติตน” อุปทูตฮีธกล่าว “สหรัฐฯ เป็นประเทศแห่งกฎหมาย และกฎหมายของเราก็มีข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติอื่น ๆ”
สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไทยซึ่งเป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของเราในเอเชียนั้นคงทนถาวร เราร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข การศึกษา การทหาร เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน
การส่งคืนวัตถุสำคัญในครั้งนี้เป็นอีกก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมที่ยาวนานของเรา ซึ่งยังรวมไปถึงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใต้กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (Ambassadors Fund for Cultural Preservation) หรือ AFCP อีกด้วย
ตามข้อตกลง ทับหลังหินทรายทั้งสองรายการนี้ได้รับการส่งคืนสู่ประเทศไทยภายใต้โครงการ Victim Remission Program ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และจะจัดแสดงให้ประชาชนได้ชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นเวลา 3 เดือน
ดาวน์โหลดรูปถ่ายได้ที่https://state-low.box.com/v/US-welcomes-return-lintels
โดย U.S. Mission Thailand | 25 มิถุนายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | U.S. Welcomes the Return of Ancient Lintels
The U.S. government welcomes the return of two 11th century stone lintels to Thailand, marking the end of a four-year effort on behalf of the United States and Thailand to bring these items home.
“These two lintels are visible symbols of Thai culture and history, and the United States government is proud to have fought for their return to Thailand,” said the U.S. Charge d’Affaires Michael Heath who represents the U.S. government at the handover ceremony today.
Presided over by Deputy Prime Minister Wissanu Krea-ngam, the handover ceremony was made possible by close collaboration between the Thai and the U.S. governments, which partnered to seek the return of the two religiously significant lintels.
The cooperation officially kicked off in 2017 when a group of independent academics collected information about a number of overseas Thai antiquities and worked with the Prime Minister and the Ministry of Culture to establish a committee to repatriate these important artifacts. The committee agreed to pursue the return of the two lintels, originally from Prasat Nong Hong in Buri Ram and Prasat Khao Lon in Sa Kaeo, which were on display at the Asian Art Museum in San Francisco.
The Culture Ministry and Ministry of Foreign Affairs worked closely with U.S. Homeland Security Investigations (based out of U.S. Embassy Bangkok) and the U.S. Attorney’s Office of the Northern District of California to complete the legal process necessary to remove the items from the collection of the Asian Art Museum in San Francisco so that they could be repatriated to Thailand. The two lintels arrived in Thailand on May 28, 2021.
“We celebrate the return of these lintels and know that, thanks to our close law enforcement cooperation and bilateral ties, they will now be seen by Thais young and old, as they admire the very rich traditions of their Kingdom,” said Mr. Heath, adding, “The United States is a country of laws, and the laws are very clear regarding cultural relics that belong to other nations.”
The United States has an unbreakable friendship with Thailand, our oldest ally in Asia. Together, we partner to strengthen our health, education, military, economic and people-to-people ties.
The repatriation of these significant items represents another milestone in our long history of cultural cooperation, which also includes support to restore Wat Chaiwatthanaram in Ayutthaya through the U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation.
The stone lintels, according to the agreement, were returned to Thailand through the U.S. Department of Justice’s victim remission program. Upon their return, the lintels will be placed on exhibition at the Bangkok National Museum for three months.
Download all photos athttps://drive.google.com/drive/folders/1gttwC1Lxx0E5Dvk6SvO_bXjvQHNXvijZ
By U.S. Embassy Bangkok | 25 June, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | U.S. Welcomes the Return of Ancient Lintels | สหรัฐฯ ยินดีทับหลังกลับคืนสู่ไทย |
https://th.usembassy.gov/th/united-states-boosts-thailands-ability-to-fight-wildlife-crimes-th/ | สหรัฐฯ เพิ่มขีดความสามารถของไทยในการต่อสู้กับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า
สหรัฐอเมริกาสนับสนุนการประชุมวิชาการตุลาการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยแนวทางปฏิบัติที่ดีในศาลสิ่งแวดล้อมและการพิพากษาคดี ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 17-18 มิถุนายน 2564 โดยมีผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านตุลาการระดับภูมิภาคและระดับโลกหลายสิบท่านเข้าร่วมการประชุมเพื่อร่วมกันพัฒนานิติศาสตร์สิ่งแวดล้อมในภูมิภาค
ปัจจุบัน ไทยอยู่ในขั้นตอนการร่างกฎเกณฑ์กระบวนการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากการประชุมครั้งนี้ ไทยได้รับข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดีและประสบการณ์จากประเทศอื่น ๆ เพื่อนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินคดีด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป การประชุมในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำด้านตุลาการระดับภูมิภาคของไทยในอาเซียนแล้ว ยังช่วยขับเคลื่อนวาระศาลสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้ไปข้างหน้าอีกด้วย
“รัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการเป็นพันธมิตรร่วมกับผู้นำระดับภูมิภาคและระดับชาติทั่วทั้งอาเซียนในการยับยั้งอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และสนับสนุนหลักนิติธรรมเพื่อความมั่นคงในระดับภูมิภาค พร้อมทั้งส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานกับรัฐบาลและศาลฎีกาของไทย เพื่อปรับปรุงกรอบกฎหมาย แบ่งปันนวัตกรรมทางกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างชาติ ตลอดจนปรับบทลงโทษสำหรับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่าในทุกประเทศทั่วภูมิภาคให้สอดคล้องกัน” ไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย กล่าว
โครงการ USAID Wildlife Asia สำนักประธานศาลฎีกา ศาลฎีกาแห่งประเทศไทย และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ด้วยความช่วยเหลือจากสถาบันวิจัยกฎหมายสิ่งแวดล้อมแห่งเอเชีย (Asian Research Institute for Environmental Law) ได้ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการนี้ขึ้น โดยในระหว่างกิจกรรม ศาลฎีกาไทยและพันธมิตรจากสหรัฐฯ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และกลุ่มตุลาการจากทั่วภูมิภาค ได้หารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการพิจารณาตัดสินคดีด้านสิ่งแวดล้อมและศาลสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรับมือกับอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม เช่น การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย
การประชุมดังกล่าวถือเป็นบทสรุปของแผนงานความร่วมมือระยะเวลา 2 ปีระหว่าง USAID Wildlife Asia กับศาลฎีกาไทย และหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ เช่น UNEP เพื่อสนับสนุนตุลาการของไทยในการผลักดันความคิดริเริ่มในการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือนี้ประกอบไปด้วยการสร้างความตระหนักรู้และการสนับสนุนด้านการศึกษาทางกฎหมายอย่างต่อเนื่องแก่กลุ่มเป้าหมายในหลายระดับ เช่น การพัฒนาหลักสูตรเบื้องต้นว่าด้วยกฎหมายและธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้พื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมและอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อเน้นย้ำว่าอาชญากรรมต่อสัตว์ป่าถือเป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม
“ปัจจุบัน เรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ 3 วิกฤตพร้อมกัน ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และมลภาวะ ดังนั้น งานด้านตุลาการจึงยิ่งต้องก้าวให้ทันยุคสมัยและมีความชัดเจนพอที่จะจัดการกับคดีด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่ผ่านมา ผู้พิพากษาจึงควรพยายามส่งเสริมสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการตัดสินคดีโดยคำนึงถึงการแก้ไขวิกฤตการณ์ 3 วิกฤตนี้ไปพร้อมกัน เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประชาชน” อิซาเบล หลุยส์ รองผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ UNEP กล่าว
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ มีหน่วยงานหลายหน่วยงานที่ทำงานเพื่อช่วยเหลือประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคในการต่อสู้กับการลักลอบค้าสัตว์ป่า โครงการ USAID Wildlife Asia เป็นหนึ่งในความพยายามของสหรัฐฯ ในการยับยั้งอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า ปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์จากการสูญพันธุ์ และลดความต้องการผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย
ผู้บรรยายและผู้อภิปรายในการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยตัวแทนจากศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ของไทย ศาลที่ดินและสิ่งแวดล้อมแห่งรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ศาลฎีการัฐฮาวาย ศาลฎีกาของอินเดีย ศาลประชาชนสูงสุดของจีน ศาลฎีกาแห่งปากีสถาน กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ และผู้พิพากษาและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เกี่ยวกับองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID)
USAID เป็นหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศชั้นนำของโลกที่ดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์ของงานพัฒนา USAID ส่งเสริมความมั่นคงของชาติและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ผ่านโครงการด้านการพัฒนา แสดงให้เห็นถึงความเอื้อเฟื้อของชาวอเมริกัน และส่งเสริมเส้นทางสู่การพึ่งพาตนเองและความสามารถในการฟื้นฟูของผู้รับความช่วยเหลือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.usaid.gov/
เกี่ยวกับ USAID Wildlife Asia
โครงการ USAID Wildlife Asia ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าซึ่งเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า เสริมสร้างการบังคับใช้กฎหมาย เพิ่มความมุ่งมั่นทางกฎหมายและทางการเมือง และสนับสนุนความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อลดอาชญากรรมต่อสัตว์ป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะกัมพูชา จีน ลาว ไทย และเวียดนาม โครงการ USAID Wildlife Asia มุ่งเน้นไปที่สัตว์ป่า 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ช้าง แรด เสือ และลิ่น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.usaidwildlifeasia.org
เกี่ยวกับศาลฎีกาแห่งประเทศไทย
ศาลฎีกาเป็นศาลยุติธรรมสูงสุดซึ่งพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งในประเทศไทย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.supremecourt.or.th/
เกี่ยวกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)
UNEP เป็นผู้นำระดับโลกในการเป็นกระบอกเสียงด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นผู้นำและส่งเสริมความร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อมโดยการสร้างแรงบันดาลใจ ให้ข้อมูล และช่วยให้ประเทศต่าง ๆ และประชาชนสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยไม่กระทบต่อคนรุ่นต่อไปในอนาคต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.unep.org/
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
ดอรีน โฮเซ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร โครงการ USAID Wildlife Asia
djose@usaidwildlifeasia.org
วิรพร ศรีสุวรรณวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายสื่อสารองค์กร
U.S. Agency for International Development/Regional Development Mission for Asia (USAID/RDMA)
wsrisuwanwattana@usaid.gov
โดย U.S. Embassy Bangkok | 18 มิถุนายน, 2021 | ประเภท: เหตุการณ์, เอกสารข่าว | United States Boosts Thailand’s Ability to Fight Wildlife Crimes
The U.S.-sponsored Asia-Pacific Judicial Symposium on Best Practices in Environmental Courts and Adjudication, held online from June 17 to 18, 2021, brought together dozens of regional and global judicial leaders and experts to advance environmental jurisprudence in the region.
Thailand is currently drafting its own rules of procedure for environmental cases, which will now be informed by international best practices and other countries’ experiences following the Judicial Symposium. The event promoted Thailand’s regional judicial leadership in ASEAN and advanced Thailand’s own environment courts agenda.
“The United States government remains fully committed to its partnership with regional and national leadership across ASEAN to deter wildlife crime, conserve biodiversity, and uphold the rule of law for the regional stability that underpins a free and open Indo-Pacific. We are honored to work with the Royal Thai Government, and the Supreme Court of Thailand, to improve legal frameworks, to share among nations legal innovations and good practices, and to harmonize the penalties for wildlife crimes across all countries of the region,” said Michael Heath, Chargé d’Affaires of the U.S. Embassy in Thailand.
USAID Wildlife Asia, the Office of the President of the Supreme Court (OPSC), the Supreme Court of Thailand (SCT), and the UN Environment Programme (UNEP), with assistance from Asian Research Institute for Environmental Law, organized the Symposium. At the event, the Supreme Court of Thailand and counterparts from the U.S., Australia, China, India, Indonesia, Malaysia, Pakistan, the Philippines and the larger judicial community in the region discussed best practices in environmental courts and adjudication, including handling environment crimes such as illegal wildlife trafficking.
This is the culmination of a two-year cooperative effort between USAID Wildlife Asia, the Supreme Court of Thailand, and other partners like UNEP to support the Thai Judiciary in advancing their own environment courts initiative. The cooperative effort includes raising awareness and providing targeted continuing legal education at several levels such as the development of the Introductory Course on International and National Environmental Law and Governance in Thailand, which provides the foundations of environmental law and environmental crimes, ensuring that wildlife crime is recognized as an integral part of environmental crime.
“We are confronted by a triple planetary crisis of climate change, biodiversity loss and pollution. More than ever, the judiciary must be innovative and bold when handling environmental cases. Judges should endeavor to promote environmental rights with their decisions to help address this triple crisis and ensure a sustainable future for the people they serve.” said Isabelle Louis, UNEP’s Deputy Regional Director for Asia and the Pacific.
The U.S. Embassy has several agencies working to help Thailand and other countries in the region fight wildlife trafficking. The USAID Wildlife Asia Program is just one of the many U.S.-sponsored efforts to deter wildlife crime, protect endangered species from extinction, and reduce the demand for illegal wildlife products.
Symposium presenters and panelists included representatives from the Thai Supreme Court and Court of Appeal, Land and Environment Court of New South Wales, Australia, the Supreme Court of Hawai’i, Supreme Court of India, Supreme People’s Court of China, Supreme Court of Pakistan, U.S. Department of Justice, and justices and environmental law experts from the Asia Pacific region.
About USAID
USAID is the world’s premier international development agency and a catalytic actor driving development results. USAID’s work advances U.S. national security and economic prosperity, demonstrates American generosity, and promotes a path to recipient self-reliance and resilience. For more information, please visit https://www.usaid.gov/
About USAID Wildlife Asia
The USAID Wildlife Asia project works to address wildlife trafficking as a transnational crime. The project aims to reduce consumer demand for wildlife parts and products, strengthen law enforcement, enhance legal and political commitment, and support regional collaboration to reduce wildlife crime in Southeast Asia, particularly Cambodia, China, Laos, Thailand and Vietnam. USAID Wildlife Asia focuses on four species: elephant, rhinoceros, tiger and pangolin. For more information, please visit www.usaidwildlifeasia.org
About the Supreme Court of Thailand
The Supreme Court of Thailand is the highest Thai court of justice, covering criminal and civil cases in Thailand. For more information, please visit http://www.supremecourt.or.th/
About the UN Environment Programme
UNEP is the leading global voice on the environment. It provides leadership and encourages partnership in caring for the environment by inspiring, informing and enabling nations and peoples to improve their quality of life without compromising that of future generations. For more information, please visit https://www.unep.org/
For more information, please contact:
Dorelyn Jose, Communications, Outreach and Learning Specialist
USAID Wildlife Asia
djose@usaidwildlifeasia.org
Wiraporn Srisuwanwattana, Development Outreach and Communications Specialist
U.S. Agency for International Development/Regional Development Mission for Asia (USAID/RDMA)
wsrisuwanwattana@usaid.gov
By U.S. Embassy Bangkok | 18 June, 2021 | Topics: Events, Press Releases | United States Boosts Thailand’s Ability to Fight Wildlife Crimes | สหรัฐฯ เพิ่มขีดความสามารถของไทยในการต่อสู้กับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-embassy-bangkok-partners-with-duang-prateep-foundation-to-stop-the-spread-of-covid-19-th/ | สถานทูตสหรัฐฯ จับมือกับมูลนิธิดวงประทีปยุติการระบาดของโรคโควิด-19
4 มิถุนายน 2564 – อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ พร้อมด้วยพันเอก เวย์น เทิร์นบุลล์ นายทหารอาวุโสประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เยี่ยมเยือนมูลนิธิดวงประทีป ซึ่งดำเนินการโดยครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ในชุมชนคลองเตยเพื่อมอบเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการรับมือกับโรคโควิด-19 การบริจาคในครั้งนี้แสดงถึงความทุ่มเทของสหรัฐฯ ในการร่วมมือกับภาคีชาวไทยเพื่อต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของโรคดังกล่าว
เครื่องมืออุปกรณ์ประกอบไปด้วยหน้ากากอนามัย 30,000 ชิ้นสำหรับเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ แอลกอฮอล์เจลขนาดพกพา 5,000 หลอด แอลกอฮอล์เจลแบบขวดปั๊ม 5,000 ขวด และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด 400 เครื่อง ซึ่งทางมูลนิธิฯ จะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชนต่อไป
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (จัสแมกไทย) ได้ดำเนินการร่วมกับรัฐบาลไทยและภาคีองค์กรไม่แสวงผลกำไรเพื่อช่วยรับมือกับโรคโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง
อุปทูตฮีธกล่าวว่า “เรายกย่องบทบาทของมูลนิธิดวงประทีปในฐานะศูนย์กลางการให้ข้อมูลและกระจายความช่วยเหลือเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นงานที่ยากลำบาก ชาวอเมริกันจะยืนเคียงข้างท่านทั้งหลายในการต่อสู้ครั้งนี้ เราเชื่อมั่นว่า ด้วยการร่วมมือระหว่างกัน เราจะเอาชนะการระบาดได้ และเราภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ช่วยเหลือชุมชนคลองเตยอีกแรงหนึ่งในระหว่างวิกฤตการณ์ครั้งนี้”
ดาวน์โหลดรูปถ่ายความละเอียดสูงได้ที่ https://state-low.box.com/v/DuangPrateepFoundationDonation
โดย U.S. Embassy Bangkok | 4 มิถุนายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | U.S. Embassy Bangkok partners with Duang Prateep Foundationto stop the spread of COVID-19
June 4, 2021 – U.S. Embassy Chargé d’Affaires Michael Heath, together with U.S. Embassy Bangkok Senior Defense Official Colonel Wayne Turnbull, visited the Duang Prateep Foundation in Klong Toey to donate COVID-19 relief supplies. This donation to the Foundation, under the leadership of Mrs. Prateep Ungsongtham Hata, demonstrates U.S. commitment to work with Thai partners to combat the COVID-19 outbreak.
The donation included 30,000 disposable masks for children, teens, and adults, 5,000 tubes of alcohol gel, 5,000 hand gel dispensers, and 400 pulse oximeters. These supplies will equip the Duang Prateep Foundation to continue to support the community to stop the spread of COVID-19.
The U.S. Embassy in Bangkok and Joint U.S. Military Advisory Group Thailand (JUSMAGTHAI) have been working in collaboration with Thai government authorities and non-profit partners to provide assistance in fighting COVID-19.
Chargé d’Affaires Heath said, “We appreciate the role of the Duang Prateep Foundation as the COVID-19 information and distribution center. It is a tough task. The people of the United States stand together with you in the fight against COVID-19. We believe that together we will prevail, and we are proud to be part of the effort to help the Klong Toey community during this crisis.”
Download high resolution photos here:https://drive.google.com/drive/folders/10UqklcTZd53s6vMz86_06IjhNFJsFcg_
By U.S. Embassy Bangkok | 4 June, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: COVID-19 | U.S. Embassy Bangkok partners with Duang Prateep Foundation to stop the spread of COVID-19 | สถานทูตสหรัฐฯ จับมือกับมูลนิธิดวงประทีปยุติการระบาดของโรคโควิด-19 |
https://th.usembassy.gov/th/statement-on-the-birthday-of-her-majesty-queen-suthida-bajrasudhabimalalakshana-2021-th/ | สารถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
เจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันและชาวไทยของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยร่วมกับประชาชนชาวไทยถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2564 ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ ทรงพระเกษมสำราญ และทรงมีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน
สหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรไทยมีสัมพันธไมตรีอันดีมายาวนานกว่า 2 ศตวรรษ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้สานต่อการดำเนินงานต่าง ๆ ร่วมกัน ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งด้านการสาธารณสุขและการพาณิชย์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศภายหลังการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19
โดย U.S. Embassy Bangkok | 3 มิถุนายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย | Statement on the Birthday of Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana
The American and Thai community of the U.S. Mission to the Kingdom of Thailand join the people of the Kingdom of Thailand in extending our warmest wishes on the auspicious occasion of Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana’s birthday anniversary on 3 June 2021. We wish Her Majesty the Queen good health, happiness, and longevity.
The United States of America and Kingdom of Thailand have enjoyed friendly relations for more than two centuries. We look forward to continuing to work together, and to promote strong health and business cooperation to enable our economies to rebound after the COVID-19 pandemic.
By U.S. Embassy Bangkok | 3 June, 2021 | Topics: News, U.S. & Thailand | Statement on the Birthday of Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana | สารถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี |
https://th.usembassy.gov/th/statement-on-the-visit-of-deputy-secretary-wendy-r-sherman-to-thailand-th/ | แถลงการณ์เกี่ยวกับการเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีช่วยฯ เวนดี้ อาร์. เชอร์แมน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เวนดี้ อาร์. เชอร์แมน เดินทางเยือนราชอาณาจักรไทยในวันที่ 1 และ 2 มิถุนายนนี้ เพื่อเข้าร่วมการหารือทางยุทธศาสตร์กับนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดอน ปรมัตถ์วินัย และตัวแทนจากองค์การระหว่างประเทศ
รัฐมนตรีช่วยฯ เชอร์แมน ยืนยันความมุ่งมั่นที่สหรัฐฯ มีต่อประชาชนไทยในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ซึ่งรวมไปถึงความช่วยเหลือด้านการรับมือกับโรคดังกล่าวรวมมูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในประเด็นนี้
รัฐมนตรีช่วยฯ เชอร์แมน ยังเน้นย้ำว่า สหรัฐฯ ตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีในด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และวัฒนธรรมระหว่างชาติของเรา ซึ่งดำเนินมากว่า 2 ศตวรรษ รวมถึงชื่นชมความร่วมมือด้านการสาธารณสุขของเราที่ยาวนานหลายทศวรรษ การเยือนไทยในครั้งนี้เกิดขึ้นไม่นานภายหลังการหารือยุทธศาสตร์ไทย–สหรัฐฯ และรัฐมนตรีช่วยฯ เชอร์แมน ได้เข้าร่วมการประชุมที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่สหรัฐฯ และไทยได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการเอาชนะการระบาดของโรคโควิด-19 การกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคง การสร้างเสริมการค้าและการลงทุน ตลอดจนการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน
ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่า มิตรภาพระหว่างสหรัฐฯ และไทยมีความสำคัญต่อการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค เช่น วิกฤตการณ์ในพม่า ประเด็นในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และการระบาดอย่างต่อเนื่องของโรคโควิด-19 นอกจากนี้ ยังได้หารือกันด้วยความเข้าใจและสร้างสรรค์ถึงคุณค่าของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือในเวทีระดับภูมิภาค เช่น กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) อาเซียน และหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ
รัฐมนตรีช่วยฯ เชอร์แมน ได้พบปะกับบรรดาตัวแทนจากองค์การระหว่างประเทศและองค์กรนอกภาครัฐ เพื่อหารือถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับผู้พลัดถิ่นจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพม่า นอกจากนี้ ในทุกการประชุมที่กรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีช่วยฯ เชอร์แมน ยังได้ยืนยันถึงข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ให้ยุติความรุนแรงและคืนประชาธิปไตยให้แก่ชาวพม่าโดยทันที เหมือนเช่นที่เรียกร้องในการประชุมต่าง ๆ ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา
โดย U.S. Embassy Bangkok | 2 มิถุนายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | Statement on the Visit of Deputy Secretary Wendy R. Sherman to Thailand
Deputy Secretary of State Wendy R. Sherman visited the Kingdom of Thailand June 1-2 for strategic discussions with Prime Minister Prayut Chan-o-cha, Deputy Prime Minister and Foreign Minister Don Pramudwinai, and representatives from international organizations.
The Deputy Secretary reiterated the U.S. commitment to the people of Thailand in our fight against COVID-19, which includes $30 million in COVID-related assistance to Thailand. The two sides agreed on the importance of continuing to work together to combat COVID-19.
The Deputy Secretary reaffirmed the deep importance the United States places on the bilateral economic, security, and cultural ties between our nations, which span more than two centuries, and highlighted our decades of health cooperation. The visit – coming on the heels of the U.S.-Thai Strategic Dialogue and the Deputy Secretary’s meetings at the ASEAN Secretariat – was an opportunity for both sides to exchange views on defeating the COVID-19 pandemic, deepening security cooperation, increasing trade and investment, and expanding people-to-people ties.
The two sides agreed on the importance of the U.S.-Thai friendship in addressing economic and security challenges in the region, including the crisis in Burma, Mekong regional issues, and the ongoing COVID-19 pandemic. In addition, they had a mutually respectful and positive discussion on the value of democracy, human rights, and fundamental freedoms, including the freedom of expression. Both sides highlighted the importance of cooperation in regional forums, including APEC, ASEAN, and the Mekong-U.S. Partnership.
The Deputy Secretary was able to meet with representatives of international and non-governmental organizations to discuss humanitarian assistance for those displaced by violence in Burma. As she did in meetings with the ASEAN Secretariat in Jakarta, the Deputy Secretary affirmed the United States’ call for an end to violence and an immediate return to democracy for the people of Burma at each of her meetings in Bangkok.
By U.S. Embassy Bangkok | 2 June, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Statement on the Visit of Deputy Secretary Wendy R. Sherman to Thailand | แถลงการณ์เกี่ยวกับการเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีช่วยฯ เวนดี้ อาร์. เชอร์แมน |
https://th.usembassy.gov/th/united-states-celebrates-young-leaders-of-digital-literacy-in-thailand-th/ | สหรัฐฯ ยกย่องผู้นำเยาวชนที่มีทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศไทย
สำหรับเผยแพร่ทันที
วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย – เมื่อวานนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ Facebook ประเทศไทย และ DAI มอบรางวัลชนะเลิศโครงการแข่งขันวัยคิดดิจิทัล (Wai Kid Digital Challenge) ให้กับทีมนักศึกษา 5 คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ด้วยวิดีโอความยาว 90 วินาทีที่พวกเขาจัดทำขึ้น (https://bit.ly/3uCwPFL) ทีมที่ชนะเลิศได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรู้เท่าทันข่าวและการแยกแยะข้อมูลเท็จในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อช่วยให้ประชาชนชาวไทยได้ใช้พื้นที่ออนไลน์อย่างปลอดภัย โครงการแข่งขันวัยคิดดิจิทัลได้ฝึกอบรมนิสิตนักศึกษาเกือบ 400 คนทั่วประเทศในด้านการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อเสริมสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (digital literacy) การคิดเชิงวิเคราะห์ ตัวตนและความปลอดภัยในโลกออนไลน์ การสื่อสารออนไลน์เชิงบวก ตลอดจนการรู้เท่าทันข่าว
ภายในงาน ทีมที่ได้รับรางวัล 3 ประเภท ได้แก่
รางวัลชนะเลิศ: ทีม Yan-Hwang มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (นครราชสีมา)
รางวัลสุดยอดความคิดสร้างสรรค์: ทีมสี่หัวใจแห่งขุนเขา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (กรุงเทพมหานคร)
รางวัลสื่อสารเป็นเลิศ: ทีมผู้มีความรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (นครศรีธรรมราช)
“ทีมของเราอยากสร้างวิดีโอที่สอดคล้องกับสถานการณ์เกี่ยวกับข้อมูลเท็จในช่วงที่เกิดโรคโควิด-19” ธีรภัทร สุขสวัสดิ์ หนึ่งในสมาชิกของทีม Yan-Hwang ซึ่งเป็นทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศกล่าว “ผมหวังว่า วิดีโอของทีมในหัวข้อนี้จะสามารถสร้างความบันเทิงให้กับทุกคนที่รับชม และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมออนไลน์ประจำวันของพวกเขาไปในเชิงบวก เรายังหวังอีกด้วยว่า พวกเขาจะช่วยแชร์วิดีโอนี้ให้คนอื่น ๆ ได้รับชม”
ตัวแทนจากรัฐบาลสหรัฐฯ, Facebook, DAI และภาคีมหาวิทยาลัย 6 แห่งทั่วประเทศไทย (มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) เข้าร่วมงานผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแข่งขันวัยคิดดิจิทัล ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้เสริมสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยภายในงาน นิสิตนักศึกษาและที่ปรึกษาทีม ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์เนื้อหาชั้นนำชาวไทย ได้แบ่งปันบทเรียนหลัก ๆ จากโครงการ ตลอดจนความสำคัญของโครงการรณรงค์ส่งเสริมทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดังเช่นโครงการวัยคิดดิจิทัล
“สหรัฐฯ ภูมิใจที่ได้สนับสนุนเยาวชนและภาคีในประเทศไทย ในการคิดค้นวิธีการสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศดิจิทัลที่เปิดกว้าง ทั่วถึง และปลอดภัย” อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ กล่าว “โครงการแข่งขันวัยคิดดิจิทัลแสดงให้เห็นว่า แนวคิดและวิธีแก้ปัญหาที่น่าทึ่งจะเกิดขึ้นได้ หากเราร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิผล เพื่อจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับเยาวชน”
“ผมประทับใจในความคิดสร้างสรรค์และความเป็นมืออาชีพของนิสิตนักศึกษาตลอดทั้งโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาต้องทำทุกอย่างจากบ้านในช่วงที่มีโรคโควิด-19” จักรพงศ์ พุ่มไพจิตร หรือที่รู้จักกันในนามท็อฟฟี่ วล็อกเกอร์ด้านเทคโนโลยีและอีสปอร์ตชั้นนำของไทย กล่าว “ผมหวังว่าจะได้เห็นโครงการแบบนี้อีก โครงการที่สนับสนุนให้เยาวชนแบ่งปันความคิดเห็นและความรู้ในเรื่องการเป็นพลเมืองดิจิทัลสู่ชุมชนของพวกเขาอย่างสร้างสรรค์”
“ที่ Facebook เรารับฟัง เรียนรู้ และได้รับแรงบันดาลใจจากชุมชนท้องถิ่นอยู่ตลอด โดยเฉพาะชุมชนที่รวมผู้คนจากหลากหลายกลุ่มและที่มา เราตื่นเต้นมากที่ได้เห็นความคิดสร้างสรรค์มากมายจากคนรุ่นใหม่เหล่านี้ที่เข้าร่วมโครงการ” ไมเคิล บัค หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ Facebook ประเทศไทย กล่าว “ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัล และขอขอบคุณผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่าน โครงการนี้แสดงให้เห็นว่า เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานร่วมกันและทำให้วิสัยทัศน์การเป็นพลเมืองดิจิทัลของเราเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น และเยาวชนก็เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการนี้”
นอกจากอุปกรณ์สำหรับสร้างสรรค์เนื้อหา บรรดาทีมที่ชนะรางวัลประเภทต่าง ๆ ยังได้รับโอกาสสุดพิเศษที่จะได้เรียนรู้จากยอดฝีมือในวงการ เพื่อช่วยให้พวกเขาเดินต่อไปบนเส้นทางของผู้เสริมสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหลังสิ้นสุดโครงการ
โครงการแข่งขันวัยคิดดิจิทัลระดับมหาวิทยาลัยต่อยอดมาจากโครงการ We Think Digital โครงการชั้นนำเพื่อทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของ Facebook ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2562 โครงการวัยคิดดิจิทัล ซึ่งดำเนินการโดย Love Frankie เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Digital Asia Accelerator (หรือ Accelerator) ภายใต้องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ที่ดำเนินการโดย DAI
USAID กำลังดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมองโกเลียผ่านโครงการ Accelerator เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและยั่งยืน โดยการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจและประชาชนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผล
ติดตามเส้นทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของเหล่านิสิตนักศึกษา รวมถึงวิดีโอของพวกเขาได้ที่ #WaiKidDigital และ https://www.facebook.com/wtdthailand/ และดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ We Think Digital Thailand ของ Facebook
โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 พฤษภาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | United States Celebrates Young Leaders of Digital Literacy in Thailand
For Immediate Release
Friday, May 28, 2021
BANGKOK, Thailand – Yesterday, the United States Government, together with Facebook Thailand and DAI, awarded theWai Kid Digital Challengegrand prize to a team of five students from Suranaree University of Technology. Through creative 90-secondvideos, the winning teams raised the importance of news literacy and identifying misinformation during COVID-19 to help the Thai public safely navigate online spaces. The Wai Kid Digital Challenge trained nearly 400 university students nationwide on content creation to promote digital literacy, critical thinking, online identity security, and positive online communications.
The Summit celebrated three prize-winning teams:
Grand prize winner: Yan-Hwang Team, Suranaree University of Technology (Nakhon Ratchasima)
Most creative: Four Hearts of the Mountains Team (สี่หัวใจแห่งขุนเขา), Srinakarinwirot University (Bangkok)
Best key message: Those with Knowledge Team (ผู้มีความรู้), Walailak University (Nakhon Si Thammarat)
“We wanted to make a video that was relevant and timely about identifying misinformation during COVID-19,” said Teerapat Suksawat, one of the members of Yan-Hwang, the grand prize winning team. “I hope that my team’s video on this topic can entertain whoever watches it, and influence them to make positive changes to their daily online behavior. We hope that they’ll also share the video with others in their own communities”.
Representatives from the United States government, Facebook, DAI, and six partner universities (Hat Yai University, Mae Fah Luang University, Ramkamhaeng University, Srinakharinwirot University, Suranaree University of Technology, and Walailak University) across Thailand gathered in a virtual Summit to celebrate the students’ journey in the Wai Kid Digital Challenge of becoming digital literacy champions. Students and their Thai content creator mentors shared their key learnings from the program and the importance of having digital literacy campaigns like Wai Kid Digital.
“The United States is proud to support young people and partners in Thailand who are developing creative ways to promote open, inclusive, and secure digital ecosystems,” said Michael Heath, Chargé d’Affaires, a.i. at the U.S. Embassy in Bangkok, Thailand. “The Wai Kid Digital Challenge demonstrates that when we effectively leverage partnerships with the private sector to equip young people with the right tools – incredible ideas and solutions flourish”.
“I am incredibly impressed by the student’s creativity and professionalism throughout the program – especially when they are also navigating through COVID-19 in their homes,” said Chakkraphong Phumphaichit, also known as Toffie, a technology vlogger and e-sport content creator in Thailand. “I hope to see more programs like this that empoweryoung people to share their voices and knowledge creatively about digital citizenship to their communities”.
“At Facebook, we always listen, learn and get inspired by local communities, especially those that are inclusive and diverse. We are very excited to see so much creativity from the young participants who joined the program,” said Michael Bak, Head of Public Policy, Facebook Thailand. “I would like to congratulate all the winners and show our appreciation to all participants. This truly demonstrates that co-creation brings life to our digital citizenship vision – and that young people are a critical part of it!” he added
The winning teams were awarded exclusive learning opportunities with industry experts in addition to content creation equipment that will help the students continue their journey of becoming digital literacy champions beyond the Challenge. The Wai Kid Digital University Challenge is an expansion of Facebook’s flagship “We Think Digital” digital literacy program first launched in Thailand in 2019. Wai Kid Digital is being implemented by Love Frankie, and is part of USAID’s Digital Asia Acceleratoractivity (‘the Accelerator’) implemented by DAI. Through the Accelerator, USAID is working across Southeast Asia and Mongolia to advance inclusive and sustainable economic development by increasing businesses’ and citizens’ capacities to use digital technology safely and effectively.
Follow the students’ journeys and videos on digital literacy at #WaiKidDigital andhttps://www.facebook.com/wtdthailand/. Visit Facebook’sWe Think Digital Thailanddedicated online portal for more information.
By U.S. Embassy Bangkok | 28 May, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: USAID | United States Celebrates Young Leaders of Digital Literacy in Thailand | สหรัฐฯ ยกย่องผู้นำเยาวชนที่มีทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/seventh-u-s-thailand-strategic-dialogue-th/ | สำหรับเผยแพร่ทันที
ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน
การหารือยุทธศาสตร์ไทย–สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 7
คณะผู้แทนเจ้าหน้าที่อาวุโสจากสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยเข้าร่วมการหารือยุทธศาสตร์ไทย–สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 ผ่านระบบออนไลน์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 โดยมีหัวหน้าคณะรองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก อาทุล เคชัป เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายสหรัฐฯ และนายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย
การหารือยุทธศาสตร์เป็นส่วนสำคัญของความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐฯ และไทย ซึ่งดำเนินมากว่า 2 ศตวรรษ และครอบคลุมความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ ในการหารือครั้งนี้ ได้มีการพูดคุยถึงหลากหลายประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งความมั่นคงระดับภูมิภาค ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสาธารณสุข และการดำเนินงานร่วมกันเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นอันยาวนานต่อพันธไมตรีด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งยังประโยชน์แก่ทั้งสหรัฐฯ และไทย ตลอดจนส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่งทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงานสะอาด ธุรกิจการค้า เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน สหรัฐฯ ยืนยันความมุ่งมั่นต่อประชาชนไทยในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 และจนถึงปัจจุบันได้ให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขแก่ประเทศไทยรวมมูลค่าเกือบ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งสองฝ่ายยังได้กล่าวเน้นถึงความสำคัญของความร่วมมือในเวทีระดับภูมิภาค เช่น กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) อาเซียน และหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ
สหรัฐฯ ได้เน้นย้ำความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในประเทศไทย นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังแสดงความกังวลอย่างยิ่งยวดต่อวิกฤตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในพม่า
สหรัฐฯ และไทยเห็นพ้องกันว่า การพบปะพูดคุยระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดผลงอกงาม และตั้งตารอการหารือยุทธศาสตร์ไทย-สหรัฐฯ ครั้งต่อไป
โดย U.S. Embassy Bangkok | 22 พฤษภาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | For Immediate Release
MEDIA NOTE
Seventh U.S.-Thailand Strategic Dialogue
Senior delegations representing the United States and Thailand met virtually on May 21, 2021 for the Seventh U.S-Thailand Strategic Dialogue. Principal Deputy Assistant Secretary for East Asian and Pacific Affairs Atul Keshap led the U.S. delegation, and Permanent Secretary of the Ministry of Foreign Affairs Thani Thongphakdi led the Thai delegation.
The Strategic Dialogue is an integral part of the enduring U.S.-Thai relationship, which has spanned over two centuries and covers political, security, and economic cooperation. The Dialogue addressed a wide variety of issues of mutual interest, including regional security, economic prosperity, health cooperation, and joint efforts to combat transnational crime. Both sides reaffirmed the longstanding commitment to the U.S.-Thai defense alliance, which benefits both nations and supports peace and prosperity across the Indo-Pacific region.
The two delegations explored ways to deepen cooperation in areas, including climate change and clean energy, business, technology, and people-to-people connections. The United States reiterated its commitment to the people of Thailand in our fight against COVID-19, and thus far has provided nearly $30 million in health-related assistance to Thailand. Both sides highlighted the importance of cooperation in regional forums including the Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) forum, ASEAN, and the Mekong-U.S. Partnership.
The United States underscored the importance of protecting human rights and fundamental freedoms. The United States also expressed deep concern about the ongoing crisis in Burma.
The two sides agreed on the benefit of continued high-level engagements and looked forward to the next U.S.-Thailand Strategic Dialogue.
By U.S. Embassy Bangkok | 22 May, 2021 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: U.S.-Thailand Strategic Dialogue | Seventh U.S.-Thailand Strategic Dialogue | การหารือยุทธศาสตร์ไทย–สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 7 |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-government-continues-to-support-better-air-quality-northern-thailand-th/ | รัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนภาคเหนือของไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณภาพอากาศที่ดี
เนื่องในสัปดาห์แห่งการตระหนักรู้เรื่องคุณภาพอากาศในวันที่ 3-7 พฤษภาคมนี้ สหรัฐฯ ได้บริจาควัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อช่วยควบคุมไฟป่าที่ส่งผลให้คุณภาพอากาศทางภาคเหนืออยู่ในระดับอันตราย
ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมของปีนี้ สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ ประจำเชียงใหม่ ได้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์จากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ให้แก่จังหวัดเชียงใหม่ โดยประกอบไปด้วยเครื่องอัดฟางและใบไม้ที่จะช่วยลดเศษตกค้างจากป่าจำนวน 8 เครื่อง มูลค่ารวมประมาณ 15,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 470,000 บาท) และมีนายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้แทนรับมอบ
การส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ของสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดนี้เพื่อช่วยพันธมิตรชาวไทยรับมือกับปัญหาไฟป่าและมลพิษทางอากาศในภาคเหนือ ในปี 2562 และ 2563 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์มูลค่าประมาณ 30,000 เหรียญสหรัฐ (940,000 บาท) ให้แก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดับไฟป่าในเชียงใหม่ ซึ่งได้ช่วยพัฒนากลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไฟป่า ซึ่งคุกคามชีวิต พื้นที่ทางการเกษตร และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศไปทั่วทั้งภูมิภาค
“สหรัฐฯ ภูมิใจที่ได้สนับสนุนพันธมิตรชาวไทยของเราอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคีของเราในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทั่วทั้งภาคเหนือที่ต่อสู้กับไฟป่าและมลพิษทางอากาศ” กงสุลใหญ่ฌอน โอนีลล์กล่าว “ชายหญิงผู้กล้าเหล่านี้ได้เอาชีวิตตัวเองเข้าเสี่ยงเพื่อสู้กับไฟป่า อีกทั้งยังพัฒนาคุณภาพอากาศและสุขภาพของผู้คนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ พวกเราทุกคนหายใจด้วยอากาศเดียวกันและรู้สึกขอบคุณที่พวกเขาทำงานอย่างหนักด้วยความกล้าหาญและทุ่มเท”
“ผมขอขอบคุณรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ได้ส่งมอบให้ ซึ่งแสดงถึงมิตรภาพอันยาวนานกว่า 200 ปีระหว่างสหรัฐฯ และไทย วัสดุอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยลดเศษตกค้างจากป่าและพัฒนาคุณภาพอากาศให้กับประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่” นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าว
หากต้องการข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศของเชียงใหม่โดยสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสถานทูตสหรัฐฯ ที่ https://th.usembassy.gov/air-quality-index-aqi ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่คำนวณจากข้อมูลมลพิษทางอากาศที่ได้จากเครื่องวัดที่รัฐบาลไทยเป็นเจ้าของและบำรุงรักษา
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับสัปดาห์แห่งการตระหนักรู้เรื่องคุณภาพอากาศที่ริเริ่มโดยสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ สามารถดูได้ที่https://www.airnow.gov/aqaw/
ดาวน์โหลดรูปถ่ายเพิ่มเติมได้ที่https://photos.app.goo.gl/iCW1TVm36as3uZKP7
โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 7 พฤษภาคม, 2021 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์ | U.S.GovernmentContinuestoSupportBetter Air QualityNorthern Thailand
In recognition of the Air Quality Awareness Week(May3-7),the United States is donatingequipment to Chiang Mai Province to help control wildfires that contribute to hazardous air quality in Northern Thailand.
In April and May this year, the U.S. Consulate General in Chiang Mai donated equipment supplied by the U.S. Department of Defense to Chiang Mai Province. The contribution included eight haybalersto help reduce forestresidueswith a total value of approximately15,000 USD (470,000 THB). The U.S. Consulate Generalpresented the equipment toDeputy Governor of Chiang Mai ProvinceRattapolNaradisorn.
This isthe United States’latest contribution to help its Thai alliesrespond to wildfiresand air pollutioninnorthern Thailand. In2019 and2020, the U.S.governmentalso donated approximately30,000USD (940,000 THB)in equipmentto firefighters and volunteers in ChiangMai. These donations help develop an effective mechanism to preventfiresthatthreaten lives,farmland, andthe environment,in addition tocausing air pollution throughout the region.
“The United Statesis proud tocontinuetosupportour Thaiallies, especiallyour partnersin Chiang Mai Provinceand thefirefighters and volunteers throughoutnorthernThailand, as they fight wildfires and air pollution,” said Consul General Sean O’Neill. “These brave men and women put their lives on the line tofightfiresandimprove theair quality and health of those who live innorthernThailand. Weall breathe the same air and are allgrateful for their hard work, bravery,and dedication.”
“I would like to thank the U.S. government for the donated equipment. This donation demonstrates over 200 years of friendship between the U.S. and Thailand. This equipment will helpus reduce forest residueandhelp improvethe air quality for the people of Chiang Mai.” saidDeputyGovernor of Chiang MaiRattapolNaradisorn.
For more information regarding the U.S. Environmental Protection Agency’s Air Quality Index for Chiang Mai, please visit the U.S. Embassy website:https://th.usembassy.gov/air-quality-index-aqi/. The information is calculated based on air pollution data captured by monitors owned and maintained by the Royal Thai government.
For more information on the U.S. Environmental Protection Agency’s Air Quality Awareness Week, please visit:https://www.airnow.gov/aqaw/
Download high resolution photos here:https://photos.app.goo.gl/iCW1TVm36as3uZKP7
By U.S. Consulate Chiang Mai | 7 May, 2021 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Events, News, U.S. & Thailand | U.S. Government Continues to Support Better Air Quality Northern Thailand | รัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนภาคเหนือของไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณภาพอากาศที่ดี |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-and-thai-governments-engage-private-sector-to-chart-energy-future-th/ | รัฐบาลสหรัฐฯ จับมือรัฐบาลไทยเชิญภาคเอกชนร่วมวางแผนอนาคตด้านพลังงาน
สหรัฐอเมริกาและไทยบุกเบิกหนทางความร่วมมือด้านใหม่ ๆ ในภาคพลังงานใน “เวทีหารือด้านพลังงานสำหรับภาคเอกชนสหรัฐฯ และไทย” ซึ่งจัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ในวันที่ 27 เมษายน 2564 โดยสืบเนื่องจากมติที่ได้จาก “การประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงาน” ระหว่างทั้งสองประเทศเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมปีที่แล้ว ในเวทีหารือครั้งนี้ มีบริษัทชั้นนำพร้อมด้วยหลากหลายหน่วยงานของภาครัฐทั้งจากสหรัฐฯ และไทยเข้าร่วมการพูดคุย และมีอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ไมเคิล ฮีธ และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานของไทย เป็นประธานร่วม การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจากการพูดคุยนี้จะช่วยให้ประชาชนไทยเข้าถึงแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนและคุ้มทุนได้มากขึ้น อุปทูตฮีธกล่าวว่า “ด้วยการผลักดันจากนโยบายที่ก้าวหน้าของภาครัฐ ร่วมกับนวัตกรรมของภาคเอกชน ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำของภูมิภาคและของโลกในการกำหนดแนวทางความมั่นคงด้านพลังงาน เราขอชื่นชมความพยายามของบริษัททั้งฝ่ายสหรัฐฯ และฝ่ายไทยสำหรับการผลิตพลังงานจากแหล่งที่หลากหลาย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้ทันสมัย และการช่วยสร้างตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าพลังงานในภูมิภาค” ทั้งนี้ นายกุลิศ ปลัดกระทรวงพลังงานได้กล่าวว่า “กระทรวงพลังงานไทยเล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย โดยการประชุมหารือในวันนี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดจากภาคเอกชนด้านพลังงานของทั้งสองประเทศในการพัฒนาแ นวทางการทำธุรกิจด้านพลังงานร่วมกันในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผลักดันให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในด้านพลังงานเพื่อให้เกิดการฟื้นตัวทางภาคเศรษฐกิจ รวมถึงการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัญหาสำคัญในระดับโลกซึ่งจะมีการหารือในประเด็นดังกล่าวนี้ใน การประชุมครั้งนี้อีกด้วย”
ผู้แทนจากทั้งรัฐบาลสหรัฐและรัฐบาลไทยต่างตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนนวัตกรรม และให้คำมั่นว่าจะแสวงหาโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน ตัวแทนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงเครื่องมือใหม่ ๆ ที่จะช่วยผลักดันการเติบโตทางการค้า และกระตุ้นการจัดหาเงินทุนจากภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานความร่วมมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (DFC) และสำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (USTDA) ในโอกาสเดียวกันนี้ ผู้แทนจากฝ่ายไทยได้กล่าวถึงความมุ่งมั่นของประเทศในแผนพลังงานแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำภายใต้แนวคิด “การพัฒนาไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานและความสามารถในการแข่งขันเพื่ออนาคตด้านพลังงา นที่ยั่งยืน” บริษัทเอกชนจากทั้งสองประเทศได้นำเสนอความคิดเห็นเพื่ออนาคตด้านพลังงานที่สดใสยิ่งขึ้น ซึ่งรวมไปถึงความจำเป็นในการมีกรอบการทำงานด้านกฎหมายและนโยบายที่ชัดเจน ผู้เข้าร่วมการประชุมเห็นถึงบทบาทสำคัญของไทยในการอำนวยให้เกิดความเชื่อมโยงและการพัฒนาภาคพลังงานทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสนับสนุนให้ไทยมุ่งดำเนินการตามเป้าหมายที่จะทำให้ภูมิภาคมีความเชื่อมโยงกันยิ่งขึ้น สหรัฐฯ และไทยวางแผนที่จะจัดการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงาน ครั้งที่ 2 ที่ไทยในปีนี้ โดยต่อยอดจากความก้าวหน้าซึ่งเกิดขึ้นนับตั้งแต่การประชุมครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมา
โดย U.S. Embassy Bangkok | 27 เมษายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย | U.S. and Thai Governments Engage Private Sector to Chart Energy Future
The United States and Thailand identified new areas for bilateral collaboration in the energy sector during a virtual “Private Sector Engagement Event” held on April 27. Convened under the bilateral “Energy Policy Dialogue” mechanism established October 27 last year, the event brought together leading U.S. and Thai companies, as well as a wide range of government agencies from the two countries. By improving private and public sector coordination, the initiative will help increase access for the Thai public to sustainable, cost-effective sources of energy. U.S. Chargé d’Affaires Michael Heath and Thai Ministry of Energy Permanent Secretary Kulit Sombatsiri led the delegations. Chargé d’Affaires Heath said, “Driven by forward-leaning government policies and private sector innovation, Thailand is leading the region and the world in charting a path to energy security. We applaud the efforts of both U.S. and Thai companies to diversify energy production, modernize infrastructure, and help build regional markets for exchange of energy commodities.” Energy Permanent Secretary Kulit said, “Thailand’s Ministry of Energy recognizes the importance of U.S.-Thai bilateral cooperation on energy. The meeting today provides a major opportunity as a forum for both countries’ private sectors to exchange data and ideas to create a business environment in the energy sector in the future. This comes at the right time to springboard collaboration from all parties in the energy sector to enable economic recovery, including our efforts to prevent and solve climate change problems — which are important at the global level and will be discussed during this meeting.”
Both U.S. and Thai government representatives recognized the critical role that private industry plays in driving innovation and pledged to help identify opportunities for expanded commercial engagement, particularly in the fields of power generation, natural gas, alternative energy, and energy efficiency. U.S. government representatives highlighted tools available to help drive commercial growth and catalyze private sector financing, including through the United States International Development Finance Corporation and the United States Trade and Development Agency. Thai leaders explained how the country’s ambitious plans fit under Thailand’s new integrated National Energy Plan which will be launched under the concept of “Go green with energy security and competitiveness for sustainable energy future”. Private sector companies on both sides offered feedback on ways to ensure a brighter energy future, including the need for clear regulatory and policy frameworks. Participants noted that Thailand plays a key role in facilitating regional connectivity and development of the energy sector throughout Southeast Asia, and they urged Thailand to continue to pursue the goal of a more connected region. The United States and Thailand plan to convene a second Energy Policy Dialogue in Thailand later this year, building on progress made since last year’s inaugural event.
By U.S. Embassy Bangkok | 27 April, 2021 | Topics: News, U.S. & Thailand | U.S. and Thai Governments Engage Private Sector to Chart Energy Future | รัฐบาลสหรัฐฯ จับมือรัฐบาลไทยเชิญภาคเอกชนร่วมวางแผนอนาคตด้านพลังงาน |
https://th.usembassy.gov/th/thailand-songkran-2021-th/ | สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี เจ. บลิงเคน
12 เมษายน 2564
เทศกาลสงกรานต์ไทย ประจำปี 2564
ในนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ผมขออวยพรให้ประชาชนชาวไทยมีความสุขกายสุขใจเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นวาระวันขึ้นปีใหม่ไทย
ในขณะที่เราเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ ๆ ระดับโลกในปีที่ผ่านมา ทั้งสัมพันธภาพและความมุ่งมั่นของเราในการยกระดับการค้าและการลงทุน ตลอดจนการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ และการรับมือกับความท้าทายในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกนั้นยังคงงอกงามเรื่อยมา ความร่วมมือด้านสาธารณสุขที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการตอบสนองต่อโรคโควิด-19 แสดงถึงการทำงานร่วมกันเพื่อความผาสุกของเราทั้งสองประเทศ กว่า 60 ปีมาแล้วที่หน่วยงานต่าง ๆ ของสหรัฐฯ เช่น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้จับมือกับหน่วยงานภาคีของไทยในการปกป้องดูแลสุขภาพของชาวอเมริกัน ชาวไทย และประชาคมโลก ในขณะนี้ ความร่วมมือดังกล่าวมีความสำคัญยิ่งกว่าที่ผ่านมา
สหรัฐฯ ภูมิใจที่ได้ยกย่องให้ไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่แข็งแกร่งและมั่นคงที่สุดของเรา ความสัมพันธ์นี้ได้ผลักดันให้เราก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญไปสู่จุดมุ่งหมายที่มีร่วมกัน ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาความมั่นคงระดับภูมิภาค การขยายการค้าและการลงทุน และการดำรงไว้ซึ่งสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างประชาชนของชาติเรา สหรัฐฯ ตั้งตารอที่จะได้กระชับมิตรไมตรีของเรากับราชอาณาจักรไทยสืบไป
เราขอส่งความปรารถนาดีให้ปวงชนชาวไทยประสบแต่ความสุขสวัสดีในปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้
โดย U.S. Mission Thailand | 13 เมษายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | PRESS STATEMENT
ANTONY J. BLINKEN, SECRETARY OF STATE
APRIL 12, 2021
Thailand Songkran 2021
On behalf of the Government of the United States of America, I wish the people of the Kingdom of Thailand good health and happiness on the occasion of Songkran, the Thai New Year.
As we have faced unprecedented global challenges over the past year, both our friendship and our commitment to expanding trade and investment, countering transnational crime, and addressing regional challenges in the Indo-Pacific region has continued to grow. Our increased cooperation on health, particularly in response to COVID-19, is a testament to our collaboration for the well-being of our nations. For more than 60 years, U.S. agencies, such as the Centers for Disease Control and Prevention, the Armed Forces Research Institute of Medical Sciences, and the U.S. Agency for International Development have partnered with their Thai counterparts to safeguard the health of American, Thai, and international communities. This collaboration has never been more important.
The United States of America is proud to recognize Thailand as one of our strongest and most enduring allies. Building on our alliance, our nations have achieved notable progress on shared goals including the advancement of regional security, the expansion of trade and investment, and the maintenance of our robust people-to-people ties. We look forward to deepening our friendship with the Kingdom of Thailand even further.
Please accept our best wishes for the people of the Kingdom of Thailand in the coming year.
By U.S. Embassy Bangkok | 13 April, 2021 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand, U.S. Secretary of State | Tags: Songkran, Thai New Year | Thailand Songkran 2021 | เทศกาลสงกรานต์ไทย ประจำปี 2564 |
https://th.usembassy.gov/th/statement-by-charge-daffaires-michael-heath-supporting-the-asian-american-and-pacific-islander-community-th/ | แถลงการณ์สนับสนุนชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและชาวหมู่เกาะแปซิฟิก
โดยอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ไมเคิล ฮีธ
ในฐานะลูกหลานของเครือญาติชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผมรับรู้อย่างชัดแจ้งถึงผลกระทบของการเลือกปฏิบัติต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ความเกลียดชังและการคุกคามที่เราได้เห็นซึ่งมุ่งเป้าไปที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและชาวหมู่เกาะแปซิฟิกไม่เหมาะที่จะอยู่ในสหรัฐอเมริกาเลย และเช่นเดียวกันกับประธานาธิบดีไบเดน ผมขอประณามเหตุการณ์การฆาตกรรมอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นในเมืองแอตแลนตาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ผมอยากจะขอให้มิตร หุ้นส่วน และพันธมิตรของเราที่ประเทศไทยนี้ได้ระลึกว่าชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียมิได้เป็นเพียงเหยื่อ แต่พวกเราได้บากบั่นเพื่อความยุติธรรมถูกต้องและการเปลี่ยนแปลงทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศ เราเป็นนักกีฬา นักวิทยาศาสตร์ ครูอาจารย์ วิศวกร ศิลปิน และนักการทูต สหรัฐฯ มอบโอกาสอย่างมากมายให้แก่พลเมืองทุกคนของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานชาวเอเชียหรือคนผิวสีอื่น ๆ โอกาสเหล่านี้เป็นเหตุผลที่คุณตาคุณยายของผมอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังสหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษ 1930 ญาติของผมหลายคนต่อสู้ในกองทัพสหรัฐฯ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะพวกเขาเชื่อในอุดมการณ์แห่งเสรีภาพและสิทธิแห่งปัจเจกชน หลังสงครามสิ้นสุดลง พวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จในหลากหลายด้าน คุณลุงของผมคนหนึ่งได้เป็นอธิการบดีชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกในสหรัฐฯ ผู้แทนในสภาคองเกรสคนปัจจุบันจากเขตบ้านเกิดของผมเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้รับรองสถานะของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรกในฐานะผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ส่วนที่ประเทศไทยเองก็รู้กันดีว่า คุณแทมมี ดักเวิร์ธ ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย ผู้เป็นทหารผ่านศึกที่เคยได้รับเหรียญกล้าหาญนั้น ได้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ
ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียประสบความสำเร็จในหลากหลายด้าน มิใช่เพียงเพราะสหรัฐฯ เชื่อมั่นในชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุขเพียงเท่านั้น แต่เป็นเพราะเราไม่กลัวที่จะตรวจสอบจุดบกพร่องของเราโดยละเอียด เรามิได้พยายามลบล้างเหตุการณ์อันโหดร้ายทารุณไปจากบันทึกประวัติศาสตร์ของเรา ผมขออ้างถึงคำกล่าวอันคมคายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่รัฐอะแลสกาดังนี้ “ความเป็นผู้นำอันโดดเด่นของสหรัฐฯ ณ มาตุภูมิ คือการไม่หยุดที่จะเสาะแสวงสหภาพที่สมบูรณ์แบบยิ่งกว่าเดิม และการเสาะแสวงนั้นย่อมหมายถึงการรับรู้ถึงข้อด้อยและความไม่สมบูรณ์แบบของเรา เราทุกคนล้วนเคยผิดพลาด แต่สิ่งที่เราทำตลอดประวัติศาสตร์ของเราคือการเผชิญหน้ากับข้อท้าทายเหล่านั้นอย่างเปิดกว้างต่อสาธารณชนและด้วยความโปร่งใส เราจะไม่เพิกเฉยต่อข้อท้าทายต่าง ๆ หรือจะไม่แสร้งทำเป็นไม่รับรู้ว่ามีข้อท้าทายอยู่ แต่ทุกครั้งที่เราผ่านพ้นเรื่องเหล่านี้ไป เราได้ผงาดขึ้นเป็นประเทศที่แข็งแกร่ง ยอดเยี่ยม และเป็นหนึ่งเดียวกันยิ่งกว่าเดิม”
คำกล่าวของรัฐมนตรีบลิงเคน เป็นการเตือนสติชาวอเมริกันให้ทำอะไรมากขึ้นเพื่อขจัดความอยุติธรรมและความเขลาที่ปรากฏขึ้นให้หมดสิ้นไป คำกล่าวนี้จะช่วยนำทางเราในยามต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในและต่างประเทศต่อไป
โดย U.S. Embassy Bangkok | 24 มีนาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, อุปทูต | Statement by Chargé d’Affaires Michael Heath:
Supporting the Asian-American and Pacific Islander Community
As a descendant of Japanese-American relatives who were sent to internment camps during World War II, I am painfully aware of the impact of discrimination against Asian-Americans. The hate and harassment we’ve seen targeting Asian-Americans and Pacific Islanders have no place in the United States, and like President Biden, I condemn the brutal murders committed in Atlanta last week.
I would also like our friends, partners, and allies here in Thailand to remember that Asian-Americans are not just victims; we are those leading the charge for justice and change – at home and abroad. We are athletes, scientists, teachers, engineers, artists, and diplomats. The United States provides tremendous opportunities to all its citizens, including people of Asian descent and other people of color. These opportunities were the reason my grandparents emigrated to the United States during the 1930s. Several of my relatives fought for the U.S. armed forces during World War II because they believed in the cause of freedom and the rights of the individual. After the war ended, they went on to become successful in a number of fields. One of my uncles became the first Asian-American college president in the United States. My home district’s current representative to the U.S. Congress is Japanese-American, and the U.S. Senate just confirmed our first Asian-American to serve as U.S. Trade Representative. It is well-known here that a Thai-American, Tammy Duckworth, already a decorated veteran, has risen to become a U.S. Senator.
Asian-Americans have achieved so much not only because of the United States’ commitment to life, liberty, and the pursuit of happiness, but because we are not afraid to shine a light on our flaws. We do not try to erase harmful events from our history books. I’d like to quote from Secretary of State Antony Blinken’s eloquent remarks this past week in Alaska: “A hallmark of U.S. leadership at home is a constant quest to form a more perfect union, and that quest by definition acknowledges our imperfections and acknowledges that we’re not perfect. We make mistakes, but what we’ve done throughout our history is to confront those challenges — openly, publicly, transparently — not trying to ignore them, not trying to pretend they don’t exist. Each and every time we’ve come out stronger, better, more united, as a country.”
Secretary Blinken’s words exhort Americans to do more to stamp out injustice and ignorance wherever they may appear. They will guide us as we confront these challenges at home as well as abroad.
By U.S. Embassy Bangkok | 24 March, 2021 | Topics: Ambassador, Chargé D’Affaires, News | Statement by Chargé d’Affaires Michael Heath: Supporting the Asian-American and Pacific Islander Community | แถลงการณ์สนับสนุนชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและชาวหมู่เกาะแปซิฟิกโดยอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ไมเคิล ฮีธ |
https://th.usembassy.gov/th/statement-by-secretary-antony-j-blinken-on-world-water-day-th/ | แถลงการณ์โดยรัฐมนตรีแอนโทนี เจ. บลิงเคน
22 มีนาคม 2564
วันน้ำโลก
น้ำเป็นทรัพยากรที่ประเมินค่าไม่ได้ซึ่งเราต้องใช้ในเกือบทุกกิจกรรมของมนุษย์ การเข้าถึงน้ำได้อย่างสม่ำเสมอเป็นรากฐานของการเสริมสร้างสุขภาพ โอกาสทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงในทุกประเทศ และบัดนี้ การทำให้ทั่วโลกสามารถเข้าถึงน้ำที่สะอาดปลอดภัยและเพียงพอต่อความต้องการขั้นพื้นฐานก็เป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำของโลก ทั้งยังเป็นภัยคุกคามต่อน้ำที่ใช้ในภาคสาธารณสุข เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พลังงาน และการประมง รวมไปถึงระบบนิเวศ จึงส่งผลให้ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน เศรษฐกิจ ความมั่นคงของชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ตกอยู่ในอันตราย
สหรัฐฯ มุ่งมั่นช่วยเสริมสร้างโลกให้มีความมั่นคงด้านน้ำมากยิ่งขึ้น โดยกำลังร่วมมือกับภาคีทั่วโลกในการยกระดับความมั่นคงด้านน้ำผ่านการบริหารจัดการน้ำที่ดีขึ้น รวมถึงฟื้นฟูและคุ้มครองระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขยายการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีเพิ่มพูนโอกาสให้สตรีและเด็กหญิงในการหางานและเข้ารับการศึกษา อีกทั้งยังช่วยให้บรรดาชุมชนและสถานบริการสาธารณสุขห่างไกลจากการคุกคามของโรคติดเชื้อ เนื่องในวันน้ำโลกนี้ เราตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีพนี้ และขอยกย่องบุคคลทั้งหลายที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ทุกคนมีน้ำปลอดภัยสำหรับอุปโภคบริโภค
โดย U.S. Embassy Bangkok | 23 มีนาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว | Statement by Secretary Antony J. Blinken
March 22, 2021
World Water Day
Water is an invaluable resource that we rely on for nearly everything we do. Reliable access to water underpins health, economic opportunity, and security in every country, and ensuring global access to safe and adequate water for basic needs is now more important than ever. Climate change is already affecting the world’s water resources and threatens water supplies for health care, agriculture, industry, energy, fisheries, and ecosystems. In turn, food and energy security, the economy, national security, biodiversity, and human and animal health are at risk.
The United States is committed to helping build a more water-secure world. We are working with partners around the globe to strengthen water security through improved water management and by restoring and protecting healthy ecosystems to increase resilience to climate change. Expanding access to safe drinking water and sanitation creates more opportunities for women and girls to find jobs and go to school and helps communities and health care facilities stay safe from infectious disease threats. On this World Water Day, we recognize the importance of protecting this essential resource, and we celebrate those working to ensure safe water for all.
By U.S. Embassy Bangkok | 23 March, 2021 | Topics: News, U.S. Secretary of State | Tags: World Water Day | Statement by Secretary Antony J. Blinken on World Water Day | แถลงการณ์โดยรัฐมนตรีแอนโทนี เจ. บลิงเคน เนื่องในโอกาสวันน้ำโลก |
https://th.usembassy.gov/th/remarks-by-ambassador-atul-keshap-principal-deputy-assistant-secretary-at-the-mekong-u-s-partnership-track-1-5-policy-dialogue-opening-plenary-th/ | คำกล่าวในช่วงเปิดการประชุมเสวนาเชิงนโยบาย Track 1.5 ภายใต้กรอบหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ โดย เอกอัครราชทูต อาทุล เคชัป หัวหน้าคณะรองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
18 มีนาคม 2564
ดังที่ปรากฏเป็นคำร่าง
แม่น้ำโขงมีความสำคัญ
ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มากล่าวในงานวันนี้ ซึ่งเป็นการสนทนาครั้งแรกภายใต้เวทีเสวนา Track 1.5 ที่สำคัญนี้ เราจะได้ฟังหลายฝ่ายในภูมิภาคพูดถึงการเสริมสร้างระบบการจัดการที่โปร่งใสและตอบสนองได้ดี การมารวมตัวกันเช่นนี้เป็นตัวอย่างแสดงถึงมุมมองของประธานาธิบดีไบเดนที่ว่า เราจะสามารถรับมือกับความท้าทายระดับโลกที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันได้ก็ด้วยการทำงานร่วมกันเท่านั้น
ผมยังมีความยินดีที่เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่กลุ่มแรก ๆ ในรัฐบาลไบเดนที่ได้พูดถึงความสำคัญที่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีต่อสหรัฐฯ ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรก ๆ รัฐมนตรีบลิงเคนให้คำมั่นว่าสหรัฐฯ จะยกระดับความร่วมมือของเรา ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ให้ทันสมัย ตลอดจนพัฒนาการตอบสนองที่เราต่างสามารถดำเนินการได้ต่อภัยคุกคามที่มีร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโรคโควิด-19
งานนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเป็นส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนของเราเพื่อความเป็นเอกภาพและความมั่งคั่งของอินโด-แปซิฟิกและอาเซียน
สิ่งที่เราให้ความสนใจคือ การช่วยหุ้นส่วนในลุ่มน้ำโขงของเราเสริมสร้างธรรมาภิบาล ความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมแนวทางที่โปร่งใสและยึดมั่นในกฎกติกาเพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายข้ามพรมแดน แนวทางดังกล่าวปรากฏชัดเจนในการตอบสนองของเราต่อรัฐประหารในพม่า และการเรียกร้องของเราเพื่อให้กองทัพพม่าคืนสถานะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ปล่อยทุกคนที่ถูกคุมขังโดยไม่เป็นธรรม ยกเลิกการจำกัดการสื่อสาร รวมทั้งงดเว้นจากการใช้ความรุนแรง เราเชื่อว่าอาเซียนสามารถมีบทบาทสำคัญในการยุติวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้
หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ
ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เต็มไปด้วยพลัง และการส่งเสริมความสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กับภูมิภาคนี้ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลไบเดนให้ความสำคัญยิ่ง ชาวอเมริกันกว่า 3.5 ล้านคนเป็นผู้อพยพหรือลูกหลานของผู้อพยพจากประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และบริษัทสหรัฐฯ กว่า 1,000 แห่งกำลังดำเนินธุรกิจอยู่ในภูมิภาค
ลุ่มน้ำโขง เรายกระดับความร่วมมือของเรากับประเทศในภูมิภาคนี้ โดยคำนึงถึงครอบครัวผู้ทำงานในสหรัฐฯ และด้วยความเชื่อว่า เราทุกคนสามารถร่วมกันมีความมั่งคั่งที่มากขึ้นได้
ดังที่หลายท่านทราบอยู่แล้วว่า สหรัฐฯ ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเลขาธิการอาเซียน เปิดตัวหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว นับแต่นั้นมา เรามีความคืบหน้าไปมาก และผมตั้งตารอที่จะบอกเรื่องราวนี้กับท่านทั้งหลายในวันนี้
หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ(Mekong-U.S. Partnership) ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดแก่การประสานงานกับรัฐบาลของประเทศในลุ่มน้ำโขง ตลอดจนหุ้นส่วนที่มีมุมมองคล้ายคลึงกัน เรากำลังทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการแม่น้ำและการแบ่งปันข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ เรากำลังใช้เทคโนโลยีร่วมกับสาธารณเกาหลีเพื่อพัฒนาการพยากรณ์อุทกภัยและภัยแล้ง เรากำลังลงทุนในระบบเชื่อมต่อพลังงานระดับภูมิภาคและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนผ่านหุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (Japan-U.S.-Mekong Power Partnership) เรากำลังต่อสู้การค้าสิ่งผิดกฎหมายข้ามพรมแดนผ่านความร่วมมือกับรัฐบาลของประเทศลุ่มน้ำโขงและออสเตรเลีย เรากำลังพิจารณาความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานของแม่น้ำโขงกับประเทศอินเดีย อีกทั้งยังคาดว่าจะใช้ประโยชน์จากการดำเนินการร่วมกันของกลุ่มภาคี 4 ประเทศ (Quad) อีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว เรายังช่วยส่งเสริมมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็น 17 กลุ่มประเทศและสถาบันที่มุ่งมั่นดำเนินการเพื่อภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่เสรีและเปิดกว้าง ผมมีความภูมิใจที่อินเดีย คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และบรูไนในฐานะประธานอาเซียน ได้เข้าร่วมการประชุมมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงครั้งล่าสุดในเดือนมกราคมที่ผ่านมา
หลายสิ่งที่เราทำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นการต่อยอดจากความพยายามของรัฐบาลในแต่ละประเทศ ยกตัวอย่างเช่น เวียดนามสานต่องานของประธานอาเซียนสมัยก่อน ๆ โดยการส่งเสริมให้ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นในปี 2563 อาเซียนควรจะดำเนินการเพิ่มเติมและกำหนดจุดยืนร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นลุ่มน้ำโขง เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงมีผลต่อความเป็นเอกภาพและความเป็นแกนกลางของอาเซียน
ความมั่นคง ความมั่งคั่ง และสภาพภูมิอากาศ
โดยพื้นฐานแล้ว หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับรากฐานความมั่นคงและมั่งคั่ง อันรวมถึงธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ ทุนมนุษย์ ตลอดจนสุขภาพและความมั่นคง ผมอยากจะขออธิบายต่อในเรื่องนี้
แทบจะไม่มีความท้าทายต่ออนาคตที่มั่นคงและมั่งคั่งประการใดเลยที่เร่งด่วนไปกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พม่า กัมพูชา ไทย และเวียดนามต่างติดอันดับ 20 ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลของรายงาน Global Climate Risk Index
เมื่อเร็ว ๆ นี้สำนักข่าวรอยเตอร์ส ได้รายงานว่า ชาวประมงในโตนเลสาบของกัมพูชาจับปลาได้เพียง 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นเศษเสี้ยวของจำนวนที่ปกติจะจับได้ ชีวิตและการดำรงชีพของผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างแท้จริง
รัฐบาลไบเดนกลับเข้าร่วมความตกลงปารีส (Paris Agreement) และกำหนดให้ประเด็นสภาพภูมิอากาศเป็นองค์ประกอบสำคัญของนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของชาติเรา สภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมจะเป็นหัวข้อการพูดคุยในทุกเวทีเสวนา Track 1.5 ที่จะจัดขึ้น รวมทั้งเป็นหัวใจของหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ต่อไปหลังจากนี้
ความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ
หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ จะยังคงส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน
รัฐบาลไบเดนสนับสนุนกฎหมาย BUILD Act ซึ่งเป็นกฎหมายทำให้เกิดการจัดตั้งหน่วยงานความร่วมมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (U.S. International Development Finance Corporation) เราได้เพิ่มจำนวนตัวแทนของหน่วยงานดังกล่าวในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในขณะที่ยกระดับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของเราไปพร้อม ๆ กัน ตลอดจนช่วยพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูงและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพลังงานสะอาด
ภารกิจของหุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (Japan-U.S.-Mekong Power Partnership) เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อขายพลังงานในภูมิภาคยังคงสำคัญต่อการดำเนินการเหล่านี้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของหน่วยงานความร่วมมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาอาเซียนและภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการประชุมกับเอกอัครราชทูตจากกลุ่มประเทศอาเซียน ความร่วมมือกับหุ้นส่วน เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และออสเตรเลียจะทำให้การลงทุนของหน่วยงานมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลมากยิ่งขึ้น
โครงการเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างสหรัฐฯ และอาเซียน (U.S.-ASEAN Digital Economy Series) ยังช่วยสนับสนุนความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น แผนการดำเนินงานตามกรอบการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน (Digital Integration Framework Action Plan) อีกทั้งยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเงินผ่านทางดัชนีความพร้อมการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payments Readiness Index)
ความมั่นคงรูปแบบใหม่
หุ้นส่วนนี้ยังก่อให้เกิดความมั่นคงโดยการขยายงานของเราในด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่อีกด้วย
ทั้งนี้รวมไปถึงความพยายามของเราในการต่อสู้กับโควิด และป้องกันการระบาดครั้งต่อไป เมื่อเร็ว ๆ นี้ ประธานาธิบดีไบเดนได้ประกาศให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ แก่องค์กรพันธมิตรวัคซีนกาวีเพื่อโครงการโคแว็กซ์ (Gavi, theVaccine Alliance for the COVAX Advance Market Commitment) เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางจำนวน 92 ประเทศ วัคซีนเหล่านี้กำลังเดินทางถึงลุ่มน้ำโขงแล้ว สหรัฐฯ วางแผนที่จะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 2 พันล้านเหรียญในปี 2564 และ 2565 ปัจจุบัน สหรัฐฯ เป็นประเทศผู้ให้การสนับสนุนรายเดียวรายใหญ่ที่สุดในการตอบสนองต่อโรคโควิด-19 ในระดับนานาชาติ
ภายใต้หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ เราจะยังยกระดับความมั่นคงด้านสุขภาพเพื่อช่วยชีวิต ส่งเสริมการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนการฟื้นตัวที่ดีขึ้นจากโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งภัยคุกคามทางชีวภาพอื่น ๆ ด้วย
เรากำลังช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงรับมือกับความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้นในด้านอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การลักลอบค้ายาเสพติด สัตว์ป่า ไม้ และมนุษย์ เจ้าหน้าที่ในประเทศไทยและลาวได้ดำเนินการยึดยาเสพติดครั้งสำคัญหลายครั้งในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เราจะยังคงเสริมสร้างศักยภาพของประเทศในลุ่มน้ำโขงต่อไปเพื่อหยุดอาชญากรรมข้ามพรมแดน โดยร่วมมือกับหุ้นส่วนด้านการบังคับใช้กฎหมายในประเทศลุ่มน้ำโขงและออสเตรเลีย
ทุนมนุษย์
หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ยังกำลังสร้างทุนมนุษย์และช่วยพลเมืองของเราแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศอีกด้วย
ในปีนี้ เราจะฉลองครบรอบ 10 ปีการดำเนินงานของเรากับสิงคโปร์ภายใต้โครงการฝึกอบรมประเทศที่สาม (Third Country Training Program) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเจ้าหน้าที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายร้อยคน โดยเกี่ยวข้องกับหลากหลายประเด็น เช่น ความมั่นคง การป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อ ไปจนถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
นอกจากนี้ 6 เมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership เช่น นครโฮจิมินห์และซานฟรานซิสโก รวมถึงเวียงจันทน์และฮิลล์สโบโร รัฐโอเรกอน ซึ่งเป็นตัวอย่างบางส่วนของเมืองหุ้นส่วนที่แลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างชาญฉลาด พนมเปญและบอสตันได้ร่วมกันยกระดับนโยบาย การวางแผน และเทคโนโลยีเพื่อโซลูชันด้านคมนาคมอัจฉริยะ
ธรรมาภิบาลและความโปร่งใส
หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ยังได้เสริมสร้างความรู้ ทักษะ และความโปร่งใสที่จำเป็นต่อการมีธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของชุมชน
เราเชื่อว่า ความมั่นคงระดับภูมิภาคเกิดขึ้นจากความไว้วางใจร่วมกันระหว่างประชาชนและรัฐบาลของประชาชนนั้น ๆ โดยการเคารพสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคมที่มีประสิทธิภาพ และหลักนิติธรรม
ตัวอย่างเช่น การแบ่งปันข้อมูลทรัพยากรน้ำช่วยให้เกิดภาระรับผิดชอบ ตลอดจนเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลประกอบ เรากำลังทำงานร่วมกับหุ้นส่วนในกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการแหล่งทรัพยากรธรรมชาติผ่านทางโครงการข้อริเริ่มในการจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง (Mekong Water Data Initiative) ซึ่งช่วยประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงปรับปรุงการจัดการแม่น้ำโขงข้ามพรมแดน
ในช่วงไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นอำนาจแห่งความโปร่งใสของข้อมูล เมื่อวันที่16มีนาคมเครื่องมือMekong Dam Monitorได้แจ้งเตือนชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทยและลาวเกี่ยวกับระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่จะลดลง1.3เมตรเนื่องจากการจำกัดน้ำจากเขื่อนจิ่งหงในมณฑลยูนนานของประเทศจีน ระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อชุมชนดังกล่าวในวันนี้ แต่เพราะการแจ้งเตือนล่วงหน้าจึงทำให้พวกเขาสามารถปกป้องการดำรงชีพของตนไว้ได้
การเรียกร้องของรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขง รวมถึงพลเมือง และคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้ตอบสนองต่อข้อกังวลใจของชุมชนปลายน้ำอย่างเพียงพอ ทางการจีนควรจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องและสำคัญในเวลาที่เหมาะสมตามที่ประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเรียกร้อง และควรจะหารือกับประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวกับการดำเนินการของเขื่อนในประเทศจีน ซึ่งมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อปริมาณและคุณภาพน้ำที่ปลายน้ำ
สหรัฐฯ จะยังคงตรวจสอบการดำเนินการเหล่านี้ และกิจกรรมอื่น ๆ ที่บ่อนทำลายเอกราชและความมั่นคงของประเทศในลุ่มน้ำโขง ภูมิภาคนี้มีสิทธิที่จะรู้เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อแบบเอารัดเอาเปรียบ (predatory lending) การลักลอบค้าอาวุธ รวมไปถึงสารตั้งต้นที่กระตุ้นการค้ายาเสพติดบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ และเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมและการค้าสิ่งผิดกฎหมายซึ่งน่าวิตกกังวล
วีรบุรุษและวีรสตรีแห่งลุ่มน้ำโขง
มิตรทั้งหลาย ดังที่ท่านได้เห็นแล้วว่า หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ มีภารกิจมากมาย เพราะมีงานที่จะต้องทำอีกมาก และเพราะภูมิภาคนี้เต็มไปด้วยพลังและโอกาส
ผมอยากจะปิดท้ายด้วยการแนะนำบุคคลที่หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ จะยกย่องในช่วงสองสามเดือนหลังจากนี้ไป พวกเขาคือวีรบุรุษและวีรสตรีแห่งลุ่มน้ำโขง เป็นพลเมืองที่ทำงานทุกวันเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและชีวิตของผู้คนในภูมิภาค
คนแรกคือ Ma Sokhak ซึ่งทำงานร่วมกับโครงการWonders of the Mekong ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ซึ่งส่งเสริมให้แม่น้ำโขงอุดมสมบูรณ์ โดยจัดระบบให้ชุมชนหยุดการจับปลาผิดกฎหมายในหมู่บ้านบ้านเกิดของเขาในกัมพูชา เขามุ่งมั่นปกป้องมวลปลาเพื่อคนรุ่นหลัง จึงเป็นวีรบุรุษแห่งลุ่มน้ำโขง
ในประเทศไทย ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี ทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐฯ และ USAID อย่างใกล้ชิดเพื่อนำทีมค้นหาการถ่ายทอดเชื้อโควิด-19 ระหว่างมนุษย์ภายในประเทศไทย เธอเป็นวีรสตรีแห่งลุ่มน้ำโขง
Ngoc Tuyet วิศวกรเคมีจากเวียดนาม ทำงานกับมหาวิทยาลัย Arizona State University เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมอย่างอุปกรณ์ฉีดยาฆ่าแมลงที่ปลอดภัย รวมทั้งเครื่องอบผ้าสำหรับฤดูฝนในลุ่มน้ำโขง นอกจากนี้ เธอยังคิดค้นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานอีกด้วย Tuyet และสิ่งประดิษฐ์ รวมทั้งบริษัทของเธอ มีส่วนส่งเสริมให้ลุ่มน้ำโขงมั่งคั่ง เธอก็เป็นวีรสตรีแห่งลุ่มน้ำโขงเช่นกัน
วีรบุรุษและวีรสตรีแห่งลุ่มน้ำโขงนั้นมีมากมาย เราภูมิใจในบทบาทของหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ในการสนับสนุนพวกเขา เพราะพวกเขาได้แสดงให้เห็นว่า งานของเรามีประสิทธิผลมากที่สุดและยืนยาวที่สุดเมื่อเราสร้างสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองของเรา และแสดงให้เห็นว่าความพยายามของเรามีประโยชน์กับทุกสังคมของเราอย่างไรบ้าง
ขอขอบคุณอีกครั้งที่ให้โอกาสผมได้เปิดตัวกิจกรรมที่สำคัญนี้ และได้กล่าวกับผู้ฟังที่ทรงเกียรติทุกท่าน
โดย U.S. Embassy Bangkok | 22 มีนาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, เอกสารข่าว | Remarks byAmbassador AtulKeshap, Principal Deputy Assistant Secretary for the Bureau of East Asian and Pacific Affairs,at the Mekong-U.S. Partnership Track 1.5 Policy Dialogue Opening Plenary
MARCH 18, 2021
As prepared
The Mekong Matters
It is an honor to speak at this event, the first in this important Dialogue series, where we hear from voices in the region about strengthening transparent, responsive governance. Gatherings like this exemplify President Biden’s view that we can only meet today’s accelerating global challenges by working together.
It is also my pleasure to be among the first Biden administration officials to talk about the Mekong region’s importance to the United States. In one of his first public speeches, Secretary of StateBlinkencommitted the United States to deepening our partnerships, modernizing our relationships, and developing common responses to shared threats, such asclimate changeandCOVID-19.
Thiswork runs through the Mekong region and is integral to our support for theIndo-PacificandASEANunity and prosperity.
Our focus is on helping our Mekong partners strengthen good governance, economic independence, and sustainable development by promoting a transparent, rules-based approach to transboundary challenges.
This approach is evident in our response to the military coup inBurmaand our calls on the Burmese military to restore the democratically elected government, release all those who have been unjustly detained, lift the restrictions on telecommunications, and refrain from violence. We believe ASEAN can play an important role in bringing an end to this crisis.
Mekong-U.S. Partnership
The Indo-Pacific, and particularly Southeast Asia, is dynamic, and enhancing the United States’ economic ties with this region is a Biden administration priority. Over 3.5 million Americans are immigrants or descendants of immigrants from Mekong-region countries, and over 1,000 U.S.companies are active in the Mekong region. We advance our partnership with Mekong-region countries with America’s working families in mind and with the belief that we can all share in greater prosperity.
As many of you know, the United States, foreign ministers from the Mekong region, and the ASEAN Secretary-General launched the Mekong-U.S. Partnership last September. Since then, we have made exciting progress. I look forward to telling you about it today.
TheMekong-U.S. Partnershipputs coordination with Mekong governments and like-minded partners front and center. We are working with the Mekong River Commission to improve river governance and water data sharing. We are harnessing technology with theRepublic of Koreatoenhance flood and drought forecasting. We are investing in regional energy connectivity and renewable energy deployment through theJapan-U.S.-Mekong Power Partnership. We are fighting cross-border trafficking in coordination with Mekong governments andAustralia. We are exploring Mekong infrastructure coordination with India and looking to harness the combined efforts of the Quad.
We arealso strengthening the Friends of the Mekong—a group of 17 countries and institutions committed to a free and open Mekong region. I am proud thatIndia, theMekong River Commission, and ASEAN Chair Brunei joined our last Friends meeting in January.
Much of what we do in the Mekong builds on the efforts of local governments. For example, Vietnam continued the work of previous ASEAN Chairs by raising the profile of the Mekong region in 2020. ASEAN should go further and develop a common position on Mekong issues, because what happens in the Mekong has implications for ASEAN unity and centrality.
Stability, Prosperity, and Climate
At its core, the Mekong-U.S. Partnership aims to strengthen the foundations of stability and prosperity, including good governance, transparency, economic connectivity, human capital, and health and security. Let me explain how.
Few challenges to a stable and prosperous future are more urgentthan climate change. Burma,Cambodia,Thailand, and Vietnam were all ranked in the top 20 countries most impacted by climate change in the last 20 years in theGlobal Climate Risk Index.
Reuters recently reported that fishermen on Cambodia’s Tonle Sap Lake were seeing daily catches as small as one kilogram, a fraction of the traditional amount. Lives and livelihoods are literally at stake.
The Biden administrationrejoined the Paris Agreementand has made climate considerations an essential element of our foreign policy and national security. Climate and the environment will be a theme throughout this dialogue series and for the Mekong-U.S. Partnership going forward.
Economic Connectivity
The Mekong-U.S. Partnership will continue to promote economic connectivity, especially east-west infrastructure.
The Biden administration supports the BUILD Act that established the U.S. International Development Finance Corporation. We have increased the number of DFC representatives in the Mekong region as we continue to improve ourpublic-private cooperation and help to develop high quality, sustainable infrastructure projects, especially in clean energy.
The work of the Japan-U.S.-Mekong Power Partnership to enhance opportunities for regional power trade is also key to these efforts.
The Chief Operating Officer of the U.S. Development Finance Corporation recently stressed our commitment to the development of ASEAN and the Mekong region in a meeting with ASEAN Ambassadors. Coordination with partners like Japan, South Korea,Taiwan, andAustralia will make DFC’s investments more efficient and impactful.
Our U.S.-ASEAN Digital Economy Series is also helping foster economic connectivity in the region with projects such as the Digital Integration Framework Action Plan, and support for financial inclusion through the E-Payments Readiness Index.
Non-Traditional Security
The Partnership is also ensuring stability by expanding our work on non-traditional security.
This includes our efforts to fight COVID and prevent the next outbreak. President Biden recently announced an initial $2 billion contribution to Gavi, the Vaccine Alliance for the COVAX Advance Market Commitment to support access to safe and effective vaccines for 92 low- and middle-income economies. These vaccines are already arriving in the Mekong. The United States plans to provide additional contributions totaling $2 billion in 2021 and 2022. The United States is now the single largest contributor to the international response to COVID-19.
Under the Mekong-U.S. Partnership, we will also advance health security to save lives, promote economic recovery, and build better resilience against future zoonotic diseases and other biological threats.
We are helping Mekong-region governments address the growing challenge of transnational crime, including the trafficking in narcotics, wildlife, timber, and persons. Authorities in Thailand and Laos have made significant drug seizures in recent weeks with U.S. assistance. We will continue to strengthen the capacity of Mekong-region countries to stop cross-border crime in coordination with Mekong law-enforcement partners and Australia.
Human Capital
The Mekong-U.S. Partnership is also building human capital and helping our citizens share best practices.
This year we will celebrate the tenth anniversary of our work withSingapore, through the Third Country Training Program, to train hundreds of Southeast Asian officials on a range of issues, from cybersecurity to preventing the spread of infectious disease to intellectual property protection.
In addition, six cities in the Mekong region are part of the U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership. For example, Ho Chi Minh City and San Francisco, and Vientiane and Hillsboro, Oregon, are some of the partner cities exchanging expertise and technology on smart water management. Phnom Penh and Boston are jointly enhancing policy, planning, and technology for smart transportation solutions.
Good Governance and Transparency
The Mekong-U.S. Partnership is also strengthening the knowledge, skills, and transparency vital to good governance and community engagement.
We believe that regional stability is built on mutual trust between people and their governments through respect forhuman rights,effective civil society, and rule of law.
Water data sharing, for example, helps to ensure accountability and provides the basis for informed decision making. We are working with our partners in the Friends of the Mekong group to strengthen natural resource management through theMekong Water Data Initiative (MWDI), which helps Mekong-region countries and the Mekong River Commission improve transboundary management of the Mekong River.
In just the past few hours, we’ve seen the power of data transparency. On March 16th, theMekong Dam Monitoralerted local communities in Thailand and Laos of an impending1.3-meterdrop in river levels due to restrictions by theJinghongdam in China’s Yunnan province. That dramatic change in water levels hit these communities today – only with advanced warning can they protect their livelihoods.
The calls of Mekong governments, citizens, and the Mekong River Commission make clear that the People’s Republic of China (PRC) is not responding adequately to downstream concerns. Beijing should provide the accurate, timely, and essential data that Mekong-region countries are calling for and should consult with its neighbors on PRC dam operations that so severely impact water quantity and quality downstream.
The United States will continue to shine a light on these and other activities that undermine the autonomy and stability of Mekong states. The region has a right to know about predatory lending, weapons smuggling, trafficking of precursor chemicals that fuel the illicit drug trade in the Golden Triangle, and special economic zones with worrying links to crime and trafficking.
Mekong Heroes
Friends, as you can see, the Mekong-U.S. Partnership is busy. It’s busy because there’s much work to be done, but also because of the dynamism and opportunity in this region.
Let me close by briefly introducing a few individuals the Mekong-U.S. Partnership will be saluting over the next few months. They are Mekong heroes—citizens working every day to improve the environment and lives of the people in the region.
First, there’s MaSokhak, who is working with USAID’sWonders of the Mekong, which promotes a healthy Mekong River, to organize his community to stop illegal fishing in his home village in Cambodia. Committed to protecting fish stocks for future generations, he is a hero of the Mekong.
In Thailand, Dr.SupapornWacharapluesadeeworked closely with U.S. scientists and USAID to lead the team that identified human-to-human transmission of COVID-19 in the country. She is a hero of the Mekong.
Ngoc Tuyet, a chemical engineer from Vietnam, worked with Arizona State University to create innovative products like a safe pesticide sprayer and a clothes dryer for the rainy season in the Mekong. She also invented a natural product to treat symptoms of diabetes. Tuyet, herinventions, and her entrepreneurship are now contributing to the Mekong’s prosperity. She, too, is a Mekong hero.
There are many Mekong heroes. We are proud of the role the Mekong-U.S. Partnership plays in supporting them. They demonstrate that our work is most effective and most enduring when we connect our citizens and demonstrate how our efforts benefit all of our societies.
Thank you again for the opportunity to kick off this important event and to address such a distinguished audience.
By U.S. Embassy Bangkok | 22 March, 2021 | Topics: East Asia & Pacific, News, Press Releases | Remarks byAmbassador AtulKeshap, Principal Deputy Assistant Secretary, at the Mekong-U.S. Partnership Track 1.5 Policy Dialogue Opening Plenary | คำกล่าวในช่วงเปิดการประชุมเสวนาเชิงนโยบาย Track 1.5 ภายใต้กรอบหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ โดย เอกอัครราชทูต อาทุล เคชัป |
https://th.usembassy.gov/th/digital-safety-creator-camp-th/ | เมื่อวันที่ 6-7 มีนาคมที่ผ่านมา คณะศิษย์เก่านักเรียนทุนรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเชียงใหม่เพื่อจัดกิจกรรม Digital Safety Creator Camp โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 35 คน ที่คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตะหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นการสร้างข่าวปลอมในสังคมออนไลน์ และการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการแก้ไขปัญหา โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐฯ กับเครือข่ายเยาวชน Young Good Governance ซึ่งจะได้จัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศต่อไป
โดย U.S. Embassy Bangkok | 10 มีนาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, ศิษย์เก่า, เชียงใหม่, เหตุการณ์ | On March 6-7, USG alumni organizing team visited Chiang Mai to conduct the Digital Safety Creator Camp. Thirty-five students from Chiang Mai and nearby provinces attended the two-day workshop at Faculty of Mass Communication, Chiang Mai University. This workshop aims at raising awareness about the threat of fake news on social media and demonstrating how Thai youth can play an active role in countering misinformation. This program helped participants explore various online platforms that provide accurate information and provided a space for young people to discuss innovative ideas to cope with this issue. The elements of the camp included mentoring session by alumni, group discussion, and idea pitching.
By U.S. Embassy Bangkok | 10 March, 2021 | Topics: Alumni, Chiang Mai, Events, News | Digital Safety Creator Camp | กิจกรรม Digital Safety Creator Camp |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-thai-campaign-reduces-consumer-demand-for-illegal-wildlife-products-by-more-than-half-th/ | รัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลไทย ฉลองวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 3 มีนาคมนี้ โดยกล่าวถึงโครงการสร้างความตระหนักรู้ที่ดำเนินการร่วมกัน ซึ่งช่วยลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้างและเสือในประเทศไทยลงกว่าครึ่งหนึ่ง
จากงานวิจัยขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบว่าสัดส่วนของผู้บริโภคที่ตั้งใจจะซื้อผลิตภัณฑ์จากงาช้างและเสือในประเทศไทยลดลงอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ปี 2561 อันเป็นผลจากโครงการรณรงค์การสื่อสารร่วมกันระหว่าง USAID และกรมอุทยานแห่งชาติฯ
ดร.สตีเว่น จี. โอลีฟ ผู้อำนวยการ USAID สำนักงานภาคพื้นเอเชีย กล่าวถึงผลลัพธ์เชิงบวกนี้ว่า “การลดความต้องการผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าและต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นภัยต่อความมั่นคงของภูมิภาค คุกคามการพัฒนาเศรษฐกิจและความหลากหลายทางชีวภาพของโลก อีกทั้งยังเป็นประตูสู่โรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คน”
การสำรวจออนไลน์ที่จัดทำโดย USAID ในเดือนกรกฎาคม 2563 เพื่อประเมินผลของโครงการรณรงค์ พบว่าตั้งแต่ปี 2561-2563 สัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์งาช้างในอนาคตลดลงจากร้อยละ 79 เป็นร้อยละ 37 ในขณะที่สัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์จากเสือลดลงจากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 31
เพื่อลดปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าโดยผิดกฎหมาย รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ร่วมกับรัฐบาลไทยดำเนินโครงการรณรงค์ 4 โครงการ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อต่อต้านความเชื่อเกี่ยวกับงาช้างและผลิตภัณฑ์จากเสือ ปรับมุมมองเกี่ยวกับความสวยงามของเครื่องประดับและของตกแต่งจากงาช้าง และยับยั้งการซื้อผลิตภัณฑ์งาช้างและเสือผ่านช่องทางออนไลน์
โดย U.S. Embassy Bangkok | 3 มีนาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | The United States and Royal Thai Governments celebrate World Wildlife Day on March 3 noting that a joint awareness campaign has helped reduce the demand for ivory and tiger products in Thailand by more than half.
Research conducted by the U.S. Agency for International Development and Thailand’s Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation (DNP) indicates that the proportion of consumers who intend to buy ivory and tiger products in Thailand has significantly decreased since 2018 thanks to a collaborative communication outreach campaign.
In response to the positive results, USAID Regional Development Mission for Asia Director Dr. Steven G. Olive said, “It is crucial to reduce the demand for wildlife products and combat the illegal wildlife trade as it jeopardizes the region’s security, threatens global economic development and biodiversity, and opens the door to zoonotic diseases.”
An online survey conducted by USAID in July 2020 to assess the impact of the campaigns found that from 2018 to 2020, the proportion of respondents who stated that they will buy ivory products in the future decreased from 79 percent to 37 percent, while respondents who say they will buy tiger products fell from 75 percent to 31 percent.
To address factors that drive consumers to purchase illegal wildlife products, the United States and Thailand governments cooperatively implemented four joint campaigns from December 2019 to June 2020 to counter beliefs about ivory and tiger products; to address the perceived beauty of ivory jewelry and accessories; and to deter online purchases of ivory and tiger products.
By U.S. Embassy Bangkok | 3 March, 2021 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: World Wildlife Day | U.S. – Thai Campaign Reduces Consumer Demand for Illegal Wildlife Products by More than Half | โครงการรณรงค์ของสหรัฐฯ และไทยลดความต้องการผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายลงกว่าครึ่ง |
https://th.usembassy.gov/th/leveraging-u-s-cybersecurity-and-data-protection-expertise-to-advance-thailands-digital-future-th/ | เมื่อวันที่ 3 มีนาคม อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ไมเคิล ฮีธ และคุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหรัฐฯ-ไทย ระยะเวลา 3 วัน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดจนตัวแทนบริษัทไทยและอเมริกันเข้าร่วมเกือบ 800 คน กิจกรรมในครั้งนี้จะใช้เทคโนโลยีของสหรัฐฯ และทักษะความรู้ของภาคเอกชน เพื่อช่วยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0
“เนื่องจากปัจจุบันมีการดำเนินธุรกิจการค้าและการดำเนินงานของภาครัฐมากขึ้นเรื่อย ๆ บนโลกดิจิทัล การพัฒนากรอบการทำงานที่ชัดเจนสำหรับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงสำคัญมากยิ่งกว่าที่ผ่านมา” อุปทูตฮีธ ได้กล่าวในระหว่างพิธีเปิด ในโลกดิจิทัลปัจจุบันนี้ ประชาชนจะต้องเชื่อมั่นว่าข้อมูลของพวกเขาได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม บริษัทและหน่วยงานรัฐเองก็จะต้องมั่นใจว่าการดำเนินงานผ่านระบบดิจิทัลของตนจะไม่เผชิญความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งสร้างควา มเสียหายรุนแรง การโจรกรรมข้อมูลทางธุรกิจที่เป็นความลับ รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา และข้อมูลส่วนบุคคลล้วนทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรง อีกทั้งยังละเมิดความเป็นส่วนตัว ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้วย
“ดิฉันขอขอบคุณสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ สำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐฯ (USTDA) และหน่วยงานอื่น ๆ ของอเมริกาเป็นอย่างยิ่งที่ทำให้การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ลุล่วง ตลอดจนมีส่วนร่วมเสริมสร้างค่านิยมด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” คุณอัจฉรินทร์กล่าว
ในช่วงปีหลัง ๆ มานี้ ประเทศไทยได้ดำเนินการที่สำคัญ โดยการผ่านร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้นับเป็นการต่อยอดหลักชัยดังกล่าว โดยจัดให้เจ้าหน้าที่รัฐของสหรัฐฯ และไทยมีเวทีแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและบทเรียนต่าง ๆ รวมทั้งให้ภาคธุรกิจได้นำเสนอมุมมองที่กว้างกว่าจากประสบการณ์ที่สั่งสมในทั่วโลก การปรับใช้มาตรฐานสากลด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะทำให้ระบบนิเวศทางดิจิทัลของไทยดำรงอยู่อย่างมั ่นคงในโลกอินเทอร์เน็ตที่เสรีและเปิดกว้าง อีกทั้งยังช่วยให้ประชากรและเศรษฐกิจไทยเดินหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ
สหรัฐฯ และไทยมีความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์ที่ยาวนานหลายศตวรรษ ตลอดระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจในประเทศของเรามาสู่ยุคดิจิทัลในวันนี้ ไทยได้รุดหน้าไปมากในโลกดิจิทัล โดยมีอัตราการทำธุรกรรมการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่สูงที่สุดในโลก มีฐานผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และเปิดใช้งานเครือข่าย 5G อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพดีในระดับแนวหน้าของโลก ในขณะที่เศรษฐกิจไทยทะยานสู่ยุคดิจิทัลภายใต้วิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0 สหรัฐฯ และบริษัทอเมริกันพร้อมยืนเคียงข้างไทยอีกครั้งในฐานะภาคี เพื่อที่เราจะบรรลุความสำเร็จร่วมกัน
โดย U.S. Embassy Bangkok | 3 มีนาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | U.S. Chargé d’Affaires Michael Heath and Ministry of Digital Economy and Society Permanent Secretary Ajarin Pattanapanchai kicked off a three-day workshop on March 3, 2021 on cybersecurity and data protection standards for nearly 800 Thai and U.S. government and private sector participants. The event, which leverages U.S. technology and private sector expertise, will help advance Thailand’s 4.0 agenda.
“As commerce and government increasingly occurs in the digital space, it is more important than ever to ensure solid frameworks for cybersecurity and personal data protection are developed,” noted Chargé Heath in his opening remarks. In today’s digital world, citizens need to trust their data is being properly handled and companies and government agencies need to trust their digitized operations will not be at risk of devastating cyberattacks. The theft of confidential business information, intellectual property, and personal information all can have significant negative repercussions and undermines privacy, economic competitiveness, and security.
“I would like to express sincere gratitude towards the U.S. Embassy, the U.S. Trade and Development Agency (USTDA) and other related U.S. agencies for making this workshop possible and taking part in constructing values on cybersecurity and personal data protection,” said Permanent Secretary Pattanapanchai.
Thailand has taken an important step in recent years by passing a Cybersecurity Act and a Personal Data Protection Act. This workshop builds upon that important step by providing a forum for U.S. and Thai officials to share best practices and lessons learned and for industry to provide a broader perspective from their experiences around the world. Adopting global standards on cybersecurity and personal data protection will ensure Thailand’s digital ecosystem remains strongly anchored in the free and open global internet and will allow its citizens and economy to reach their full potential.
The United States and Thailand have enjoyed a commercial relationship that spans the centuries as our economies entered the digital age of today. Thailand has already made tremendous strides into the digital world, boasting the world’s highest adoption rate of mobile banking, supporting one of the world’s most active social media user bases, and introducing one of the earliest and best 5G networks. As Thailand’s economy takes the next leap into the digital age under Thailand 4.0, the United States and its companies stand ready to partner once again to achieve shared prosperity.
By U.S. Embassy Bangkok | 3 March, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: cybersecurity, data protection | Leveraging U.S. Cybersecurity and Data Protection Expertise to Advance Thailand’s Digital Future | การใช้ทักษะความรู้ของสหรัฐฯ ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลเพื่อช่วยขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลของไทย |
https://th.usembassy.gov/th/united-states-provides-over-410000-in-ventilators-and-ppe-to-thailand-ministry-of-public-health-th/ | 24 กุมภาพันธ์ 2564 – วันนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) ภายใต้สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้มอบสิ่งของบรรเทาทุกข์และอุปกรณ์ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคโควิด-19 ให้แก่ประเทศไทยในพิธีส่งมอบที่จัดขึ้น ณ กระทรวงสาธารณสุข
นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พร้อมด้วยนายแพทย์เจมส์ เฮฟเฟลฟิงเกอร์ ผู้อำนวยการ CDC ประจำประเทศไทย ร่วมกับนายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฉลิมฉลองอีกหนึ่งวาระสำคัญในประวัติศาสตร์ความร่วมมือด้านสาธารณสุขอันแข็งแกร่งระหว่างสหรัฐฯ และไทย
ในปี 2563 CDC ประจำประเทศไทย ได้เฉลิมฉลองวาระครบรอบ 40 ปีในการทำงานร่วมกับไทยเพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศไทย สหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก การดำเนินงานของ CDC เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมศักยภาพด้านสาธารณสุขของไทยให้สามารถจัดการรับมือกับภัยคุกคามจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภ าพถือเป็นเสาหลักของความเป็นพันธมิตรด้านสาธารณสุขระหว่างสหรัฐฯ และไทย ในช่วงเวลาที่ผ่านมา CDC ประจำประเทศไทย มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของไทยในการรับมือและตอบโต้การระบาดทั้งในอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการระบาดของโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (ซาร์ส), ไข้หวัดนก H5N1, โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) และการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 โดยให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและการสนับสนุนทางการเงิน
จากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด -19 ระลอกที่สอง อีกทั้งไทยยังมีความต้องการวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศที่อาจเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว CDC ประจำประเทศไทยจึงได้ดำเนินการจัดหางบประมาณให้แก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจจำนวน 12 เครื่อง คิดเป็นมูลค่า 250,000 เหรียญสหรัฐ และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) มูลค่าอีกกว่า 160,000 เหรียญสหรัฐ อุปทูตฮีธได้กล่าวว่า “อุปกรณ์เหล่านี้จะส่งไปยังจังหวัดต่าง ๆ และถึงมือบุคลากรสาธารณสุขด่านหน้าซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้งานอย่างเร่งด่วนที่สุด”
อุปทูตฮีธยังกล่าวเสริมอีกว่า “เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญระหว่างสหรัฐฯ และไทย ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ช่วยชีวิตของผู้คนหลายล้านคน เนื่องจากงานศึกษาวิจัยอันล้ำสมัยเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ เช่น โรคมาลาเรียและโรคซาร์ส นี่เป็นอีกตัวอย่างที่แสดงถึงพันธมิตรที่ประสบผลสำเร็จระหว่างประเทศของเราทั้งสอง”
โดย U.S. Embassy Bangkok | 24 กุมภาพันธ์, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | February 24, 2021 – The United States Centers for Disease Control and Prevention (CDC) of U.S. Embassy Bangkok donated life-saving COVID-19 relief supplies to Thailand at an event at the Thai Ministry of Public Health today.
U.S. Embassy Chargé d’Affaires Michael Heath, together with CDC-Thailand Country Director Dr. James Heffelfinger, joined MOPH Deputy Permanent Secretary Dr. Narong Saiwong to celebrate another milestone in the history of strong health collaboration between the United States and Thailand.
In 2020, CDC-Thailand celebrated 40 years of working with Thailand to address important health issues affecting people in Thailand, the United States and across the globe. CDC’s efforts to support Thailand’s public health capacity to efficiently address threats from emerging infectious diseases is the cornerstone of the health partnership between the United States and Thailand. CDC-Thailand has played a crucial role in Thailand’s successful response to past and present outbreaks including Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS), H5N1 avian influenza, Middle East Respiratory Syndrome (MERS), and the COVID-19 pandemic through technical and financial support.
In light of the second wave of the COVID-19 pandemic here, and Thailand’s urgent need for medical supplies and equipment to assist with any additional surges of COVID-19 cases locally, CDC-Thailand successfully secured funds for the MOPH to procure 12 ventilators worth $250,000 and over $160,000 worth of personal protective equipment (PPE). According to Chargé d’Affaires Heath the “equipment will go to the provinces and frontline health workers that need it most.”
“We are very proud of the historic health cooperation between the United States and Thailand, which has already saved millions of lives due to cutting edge research on diseases like Malaria and SARS. This is yet another example of our successful partnership,” added Chargé Heath.
By U.S. Embassy Bangkok | 24 February, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: CDC, COVID-19 | United States provides over $410,000 in ventilators and PPE to Thailand Ministry of Public Health | สหรัฐฯ มอบเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ PPE มูลค่ากว่า 410,000 เหรียญสหรัฐแก่กระทรวงสาธารณสุขของไทย |
https://th.usembassy.gov/th/2021-afcp-wat-chaiwatthanaram-conservation-project-internship-opportunity-th/ | โครงการนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยฝึกงานประจำปี 2564
ในโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP)
ร่วมกับกองทุนโบราณสถานโลก (WMF)
ด้วยเงินสนับสนุนจากฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ประกาศ
กองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund) และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ประกาศเปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงานในโครงการฝึกงานประจำปี 2564 สำหรับโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP)
นับตั้งแต่การก่อตั้งกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation) หรือ AFCP เมื่อ พ.ศ. 2544 กองทุน AFCP ได้ช่วยอนุรักษ์โบราณสถานทางวัฒนธรรม วัตถุทางวัฒนธรรม และรูปแบบการแสดงออกทางวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก มรดกทางวัฒนธรรมคงอยู่ในฐานะที่เป็นเครื่องย้ำเตือนถึงผลงานและประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ สหรัฐฯ ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้นำในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ได้แสดงให้เห็นถึงการเคารพในวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ โครงการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน AFCP ครอบคลุมตั้งแต่การอนุรักษ์สิ่งปลูกสร้างเก่าแก่และทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ การประเมินและอนุรักษ์เอกสารหายากและของสะสมของพิพิธภัณฑ์ การอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ ตลอดจนการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคงานฝีมือแบบดั้งเดิมและภาษาพื้นเมืองที่เสี่ยงต่อการสูญหาย
ด้วยเงินสนับสนุนของกองทุน ACFP นี้ กองทุนโบราณสถานโลกและกรมศิลปากร อยู่ระหว่างดำเนินการโครงการความร่วมมือระยะยาว เพื่อดำเนินการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม สิ่งก่อสร้างศตวรรษที่ 17 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยฝึกงานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อการศึกษาของฝ่ายการทูตสาธารณะ สถานทูตสหรัฐฯ ซึ่งร่วมกับกองทุนโบราณสถานโลกจัดขึ้นภายใต้โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีสัญชาติไทยเข้าร่วม ในปี 2564 นี้ การฝึกงานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1) ปลายเดือนเมษายนไปจนตลอดเดือนพฤษภาคม และ 2) เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ในแต่ละช่วงเวลา จะมีนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกจำนวน 2 คน (รวมทั้งสิ้น 4 คน) และฝึกงานเป็นเวลา 6 สัปดาห์ (40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการติดต่อให้มาสัมภาษณ์ และประกาศรายชื่อภายในวันที่ 19 มีนาคม 2564
**ผู้เข้าร่วมโครงการจะไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการฝึกงาน อย่างไรก็ตาม กองทุนโบราณสถานโลกจะสนับสนุนค่าที่พักและค่าอาหารตลอดระยะเวลาการฝึก
นักศึกษาที่สนใจสามารถส่งใบสมัคร พร้อมแนบหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักศึกษา ระเบียนแสดงผลการเรียน และบัตรประจำตัวประชาชน มาที่อีเมล afcpwatchai@gmail.com ภายในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 พร้อมตั้งชื่ออีเมลด้วยข้อความต่อไปนี้ “2021 AFCP Wat Chai Intern Program – ชื่อ-นามสกุลผู้สมัคร” สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1hU78bjG2JD6zrvWJxDzJLZ5B_vMRk2Wi/view?usp=sharing หากต้องการตรวจสอบคุณสมบัติว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการหรือไม่ ผู้ต้องการสมัครสามารถส่งคุณสมบัติสั้น ๆ เพียง 1 ย่อหน้า มาให้พิจารณาเบื้องต้นได้ที่อีเมล afcpwatchai@gmail.com ก่อนหมดเขตรับสมัคร
สถานที่ปฏิบัติงาน: วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
มีสัญชาติไทย
เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีแบบเต็มเวลา ชั้นปีที่ 3 หรือชั้นปีที่ 4 ในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย และยังเหลือภาคการศึกษาอีกอย่างน้อย 1 ภาค ก่อนสำเร็จการศึกษา
มีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.80
มีความรู้ภาษาอังกฤษแบบใช้งานได้
สามารถทำงานกลางแจ้งได้
สามารถทำงานบนที่สูงบนนั่งร้านได้
คำบรรยายลักษณะงาน
ประเมินและวิเคราะห์สภาพวัสดุ และจัดทำแผนผังแสดงความเสียหาย
จัดเก็บเอกสารความก้าวหน้าการบูรณะ วิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุเพื่อการฟื้นฟูบูรณะในอนาคต
สนับสนุนงานบูรณะอิฐและปูนฉาบ
สนับสนุนงานบูรณะเพดานไม้และลวดลายประดับ
สนับสนุนงานบูรณะพระพุทธรูปที่มีการลงรักและลวดลายประดับ ตลอดจนงานบูรณะสีผนัง
วางแผนและดำเนินการบูรณะ (การฝึกตามความสนใจ) ภายในวัดไชยวัฒนาราม
ตลอดระยะเวลาการฝึก นักศึกษาจะได้มีส่วนร่วมในกระบวนการบูรณะทุกระยะ โดยมีสาระสังเขปดังนี้
การอนุรักษ์ฟื้นฟู การออกแบบ การตรวจสอบ
การวิเคราะห์สถานะของการบูรณะ
โครงสร้างของกระบวนการผลิต
การจัดเตรียมสถานที่ก่อสร้างและโรงปฏิบัติงาน
งานด้านโลจิสติกส์ การบริหารงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การบริหารจัดการโครงการของกรมศิลปากร
ความรู้เกี่ยวกับภาพรวมกฎหมายด้านความปลอดภัย
ความรู้เกี่ยวกับระบบการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย ซึ่งเป็นไปตามระเบียบในปัจจุบัน
เทคนิคและวิธีการทำงานเพื่อการฟื้นฟูบูรณะ (งานอิฐและปูนฉาบ งานบูรณะเพดานไม้และพระพุทธรูปที่มีการลงรักและมีลวดลายประดับ งานอนุรักษ์สีผนัง)
ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
ความรู้เกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในงานอนุรักษ์
ระบบการจัดเก็บเอกสาร การวิเคราะห์จดหมายเหตุและลำดับชั้นหิน เป็นต้น
การช่วยเหลือในกิจกรรมให้ความรู้เพื่อสาธารณะต่าง ๆ (ถ่ายภาพ แก้ไขรูปภาพ เขียนสรุปกิจกรรม)
การเขียนบล็อกและรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ทักษะที่จำเป็น
สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office และอินเตอร์เน็ตได้
มีทักษะการแก้ไขรูปภาพเบื้องต้น
มีความรู้ด้านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Facebook, Line และ Instagram
มีทักษะการสื่อสารที่ดีเยี่ยม สามารถทำงานโดยอิสระและทำงานเป็นกลุ่มได้ดี
มีความรู้ภาษาอังกฤษแบบใช้งานได้
มีทัศนคติที่ดีและเปิดกว้างกับทุกๆงาน
การศึกษา
ผู้สมัครต้องกำลังศึกษาอยู่ในสาขาที่เกี่ยวกับศิลปะ ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ การจัดการวัฒนธรรม หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อคุณวราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล สถาปนิกและผู้จัดการโครงการกองทุนโบราณสถานโลก ที่หมายเลขโทรศัพท์ 088-456-6219 อีเมล afcpwatchai@gmail.com หรือคุณกัญชลี จิตต์แจ้ง ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านวัฒนธรรม ฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-205-4597
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) สามารถไปที่เว็บไซต์กองทุนโบราณสถานโลก https://www.wmf.org/slideshow/five-years-work-wat-chaiwatthanaram หรืออ่านข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน AFCP ได้ที่ https://eca.state.gov/cultural-heritage-center/ambassadors-fund-cultural-preservation
—————————————————————————————————
*กรุณาใช้ระบบปฏิบัติการ Windows OS ในการกรอกใบสมัคร*
**เอกสารประกอบการสมัครทุกฉบับต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf เท่านั้น**
***ขอสงวนสิทธิ์งดรับเอกสารประกอบการสมัครที่อัปโหลดอยู่บนระบบ Cloud (เช่น Google Drive, One Drive, Dropbox)***
โดย U.S. Mission Thailand | 12 กุมภาพันธ์, 2021 | ประเภท: ข่าว, เอกอัครราชทูต | The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP)
Wat Chaiwatthanaram Conservation Project in Ayutthaya
2021 Thai University Student Intern Program with
World Monuments Fund
as part of a grant from the Public Affairs Section, U.S. Embassy, Bangkok, Thailand
Announcement
The World Monuments Fund and the Thai Ministry of Culture’s Fine Arts Department, in partnership with U.S. Embassy Bangkok, are pleased to announce the 2021 call for applications for the U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) Wat Chaiwatthanaram Conservation Project Internship Opportunity.
Since its inception in 2001, AFCP has helped preserve cultural sites, cultural objects, and forms of traditional cultural expression in Thailand and around the world. Cultural heritage endures as a reminder of the contributions and historical experiences of humanity. By taking a leading role in efforts to preserve cultural heritage, the U.S. shows its respect for other cultures. AFCP-supported projects include the restoration of ancient and historic buildings, assessment and conservation of rare manuscripts and museum collections, preservation and protection of important archaeological sites, and the documentation of vanishing traditional craft techniques and indigenous languages.
Under the AFCP Grants Program, World Monuments Fund and the Fine Arts Department are undertaking a long-term collaborative project to preserve the 17th-century Wat Chaiwatthanaram in Ayutthaya. The Thai University Student Intern Program is part of the World Monuments Fund work with the U.S. Embassy’s Public Diplomacy educational outreach activities at Wat Chaiwatthanaram Conservation Project and is designed for students who are Thai citizens. In 2021, the internship will be offered two timeframes: 1) Late April through May 2021, and 2) June through July 2021. Two (2) interns will be selected for each timeframe (total of four interns) and internship duration is six weeks (40 hours per week). Only short-listed candidates will be invited for interviews and selected candidates will be notified by March 19, 2021.
**Note that this internship is an unpaid role, but housing and meals will be provided by the World Monuments Fund throughout the internship.
Interested students should submit an application form with verification of student status, transcript, and Thai ID card via email to afcpwatchai@gmail.com with the subject line: “2021 AFCP Wat Chai Intern Program – Applicant Name” by midnight of February 28, 2021. Please download application form from https://drive.google.com/file/d/1hU78bjG2JD6zrvWJxDzJLZ5B_vMRk2Wi/view?usp=sharing. To determine if your qualification fits into the internship requirements, interested applicants can email a short one-paragraph of their qualifications to afcpwatchai@gmail.com any time before the deadline for an initial review.
Job Location: Wat Chaiwatthanaram, Ayutthaya, Thailand
Applicant must meet the following criteria:
Be a Thai citizen;
Be a full-time third or fourth year undergraduate student at an accredited university located in Thailand, with at least one semester remaining before graduation/certification;
Minimum 2.80 GPA;
Possess working knowledge of English;
Able to work outdoors;
Able to work at height on scaffolding.
Job Description:
Assess and analyze material conditions and map deteriorations;
Document conservation process and analyze material deterioration for future intervention;
Assist with brick and stucco intervention;
Assist with wood ceilings and their decorations intervention;
Assist with Buddha statues with lacquered and decorated surfaces, wall painting intervention;
Plan and conduct intervention plan (independent exercise) at Wat Chaiwatthanaram;
During the internship, the student is involved in all phases of the restoration process briefly described below:
Preservation, design, diagnostics;
Analysis of the state of preservation;
Organization of the production process;
Construction site/workshop set-up;
Logistic, administrative and legislative aspects of the sector;
Relationship with Works Management and Fine Arts Department;
Knowledge of the legislative panorama in the field of safety;
Knowledge of safety operating systems according to current regulations;
Techniques and working methods for conservative restoration (bricks and stucco intervention, wood ceilings and Buddha statues with lacquered and decorated surfaces, wall paintings conservation);
Practical experience;
Knowledge of conservative materials in use;
Systems of documentation, archiving and stratigraphic analysis, etc.
Assist with Public Education Outreach activities (take/edit photos, write activity summary);
Write blogs and reports about activities in Thai and English.
Skills Required:
Demonstrate a proficiency in Microsoft office products and Internet;
Basic photo editing skills;
Good knowledge of social media, especially Facebook, Line and Instagram;
Excellent communication skills, able to work well independently and as part of a group;
Working knowledge of English language;
Positive, can-do attitude.
Education:
Candidate must be currently enrolled in a university majoring in arts/fine and applied arts, architecture, cultural management, or related fields to conservation work.
For more information, please contact Ms. Waraporn Suwatchotikul, WMF Project Architect and Manager, at Tel: 088-456-6219, Email: afcpwatchai@gmail.com or Ms. Kanchalee Jitjang, Senior Cultural Specialist at Public Affairs Section of U.S. Embassy Bangkok, at Tel: 02-205-4597. For additional information about the AFCP Wat Chaiwatthanaram Conservation project, please visit the WMF website https://www.wmf.org/slideshow/five-years-work-wat-chaiwatthanaram, and for information about the AFCP Program, please visit https://eca.state.gov/cultural-heritage-center/ambassadors-fund-cultural-preservation.
—————————————————————————————————
*Please use Windows OS when filling out Application form*
** Please send all documents in PDF format only**
*** Supporting documents on any Cloud Storage Provider (e.g. Google drive, One drive, Dropbox) are NOT acceptable***
By U.S. Embassy Bangkok | 12 February, 2021 | Topics: Ambassador, Culture, News | Tags: AFCP, U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation | 2021 call for applications for the U.S. AFCP Wat Chaiwatthanaram Conservation Project Internship Opportunity | ประกาศเปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงานในโครงการฝึกงานประจำปี 2564 สำหรับโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) |
https://th.usembassy.gov/th/united-states-promotes-digital-literacy-in-thailand-th/ | กรุงเทพฯ 9 กุมภาพันธ์ 2564 – รัฐบาลสหรัฐฯ พร้อมด้วย Facebook ประเทศไทย และ DAI ร่วมเสริมสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) การคิดเชิงวิเคราะห์ ตัวตนและความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ตลอดจนการสื่อสารออนไลน์เชิงบวก ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยเกือบ 400 คน
โครงการแข่งขันวัยคิดดิจิทัลระดับมหาวิทยาลัย (Wai Kid Digital University Challenge) เชิญชวนเยาวชนจากมหาวิทยาลัยพันธมิตร 6 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ส่งวิดีโอเสนอแนวคิดในการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยต่อยอดมาจากความสำเร็จของโครงการ We Think Digital Thailand ของ Facebook โดยในสัปดาห์นี้ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยดังกล่าวจะเริ่มเข้าค่ายติวเข้มเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อเรียนรู้วิธีสร้างวิดีโอให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการสื่อสารออนไลน์เชิงบวก ตัวตนและความปลอดภัยในโลกออนไลน์ การรับข้อมูลจากข่าวอย่างฉลาด และการคิดเชิงวิเคราะห์ รูปแบบค่ายติวเข้มนี้จะเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเสมือนจริงแบบโต้ตอบได้กับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจาก Facebook Creative Shop, Base Playhouse, Blackbox และองค์กรอื่น ๆ
“สหรัฐอเมริกามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมระบบนิเวศดิจิทัลที่เปิดกว้าง ปลอดภัย และทั่วถึงสำหรับทุกคน และยินดีที่จะสนับสนุนความพยายามในการนำเยาวชน ภาคเอกชน และรัฐบาลของหลายประเทศมาร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันนี้” อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ กล่าว
“ในขณะที่เราก้าวเข้าสู่โลกที่เชื่อมต่อกันมากขึ้นเรื่อย ๆ Facebook มุ่งมั่นที่จะนำเสนอเทคโนโลยีของเราเพื่อเชื่อมโยงทุกคนในสังคมเข้าด้วยกัน และจัดเตรียมทักษะที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมการใช้พื้นที่ออนไลน์ในเชิงบวก” นายไมเคิล บัก หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ Facebook ประเทศไทย กล่าว
หลังจากจบค่ายติวเข้มนี้ นักศึกษาจะเสนอแนวคิดการทำวิดีโอให้กับคณะกรรมการตัดสิน คณะกรรมการจะคัดเลือกทีมจากแต่ละมหาวิทยาลัย โดยพิจารณาจากความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพในการเสริมสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับชาวไทย ทีมที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 6 ทีม จะได้แสดงผลงานวิดีโอในงาน Wai Kid Digital Summit ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2564 ในกรุงเทพฯ และจะมีการประกาศผลทีมที่ชนะเลิศในงานด้วย
“การเชื่อมต่อแบบดิจิทัลทำให้เรามีโอกาสเผยแพร่เรื่องราวดี ๆ ที่จะส่งผลต่อสังคมในเชิงบวกให้กับสังคมไทยอย่างมหาศาล แบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน” คุณธานียา ถึงแสง ผู้จัดการโครงการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัลของ DAI กล่าว “DAI เชื่อมั่นอย่างมากในกระบวนการสร้างสรรค์งานที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเสนอความคิดร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดิจิทัล และเรารู้สึกตื่นเต้นที่จะนำแนวทางนี้ไปใช้ในโครงการแข่งขันวัยคิดดิจิทัลระดับมหาวิทยาลัย”
โครงการแข่งขันวัยคิดดิจิทัลระดับมหาวิทยาลัย เป็นโครงการที่แตกมาจากโครงการ We Think Digital เพื่อความรู้ดิจิทัลโครงการแรกของ Facebook ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2562 โครงการวัยคิดดิจิทัลซึ่งดำเนินการโดย Love Frankie เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Digital Asia Accelerator (หรือ Accelerator) ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ที่ดำเนินการโดย DAI ทั้งนี้ USAID ทำงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมองโกเลียผ่านโครงการ Accelerator เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่ทั่วถึงและยั่งยืน โดยการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจและประชาชนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
กดติดตามโครงการ We Think Digital ที่ https://www.facebook.com/WTDthailand/ เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
#WeThinkDigital #วัยคิดดิจิทัล
โดย U.S. Embassy Bangkok | 9 กุมภาพันธ์, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | Bangkok, February 9, 2021 – The United States government, together with Facebook Thailand and DAI, is working with nearly 400 Thai university students to promote digital literacy, critical thinking, online identity security, and positive online communications.
Building on Facebook’s successful ‘We Think Digital Thailand’ program, the Wai Kid Digital University Challenge invited youth from six partner universities nationwide (Hat Yai University, Mae Fah Luang University, Ramkamhaeng University, Srinakharinwirot University, Suranaree University of Technology, and Walailak University) to submit their video pitches on how to improve digital literacy. This week, students will begin a month-long bootcamp to learn how to create videos that educate the public about positive online communication, online identity and security, news literacy, and critical thinking. The bootcamp includes a series of interactive virtual workshops with leading experts from Facebook Creative Shop, Base Playhouse, Blackbox, and more.
“The United States is committed to promoting open, inclusive, and secure digital ecosystems and is pleased to support the effort to bring youth, the private sector, and governments together to co-create this shared vision,” said Michael Heath, Chargé d’Affaires, a.i. at the U.S. Embassy in Bangkok, Thailand
“As we move into an increasingly hyper-connected world, Facebook is committed to offering our technology to connect everyone in society together and equipping them with the skills needed to foster positive online spaces,” Michael Bak, Head of Public Policy, Facebook Thailand.
Students participating in the bootcamp with leading industry mentors will pitch their final video ideas to a panel of judges who will select the top team from each university based on their creativity and effectiveness at improving digital literacy for Thai citizens. The six selected teams will showcase their videos at the Wai Kid Digital celebration summit in May 2021 in Bangkok, where the winners will be announced.
“Being digitally connected presents us with an opportunity to spread positive impact in Thailand at a scale we have never seen before,” said Thaniya Theungsang, Communications and Digital Technology Program Manager at DAI. “DAI firmly believes in the co-creation process for digital solutions, and we are excited to implement this approach in the Wai Kid Digital University Challenge.”
The Wai Kid Digital University Challenge is an expansion of Facebook’s flagship “We Think Digital” digital literacy program first launched in Thailand in 2019. Wai Kid Digital is being implemented by Love Frankie, and is part of USAID’s Digital Asia Accelerator program (‘the Accelerator’) implemented by DAI. Through the Accelerator, USAID is working across Southeast Asia and Mongolia to advance inclusive and sustainable economic development by increasing businesses’ and citizens’ capacities to use digital technology safely and effectively.
Follow We Think Digital on https://www.facebook.com/WTDthailand/ for more updates.
#WeThinkDigitalThailand #วัยคิดdigital
By U.S. Embassy Bangkok | 9 February, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | United States Promotes Digital Literacy in Thailand | สหรัฐฯ เสริมสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/waiver-process-for-cdc-order-on-pre-flight-testing-th/ | ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคมเป็นต้นไป ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (CDC) กำหนดให้ผู้โดยสารทุกท่านที่จะเดินทางเข้าประเทศสหรัฐฯ ทางอากาศต้องแสดงผลรับรองการตรวจเชื้อโควิด-19 ที่มีผลเป็นลบ (ผลตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ SARS-CoV-2 ที่ได้รับการอนุมัติ หรือตรวจโดยหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับประเทศ) และได้รับการตรวจภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง สายการบินจะต้องยืนยันผลตรวจที่เป็นลบของผู้โดยสารทุกคนก่อนได้รับอนุญาตให้ขึ้นเครื่อง สายการบินจะปฏิเสธไม่ให้ผู้โดยสารที่ไม่แสดงเอกสารยืนยันผลตรวจที่เป็นลบหรือยืนยันว่าหายจากโรคแล้วขึ้นเครื่อง ข้อกำหนดให้แสดงผลตรวจโรคนี้มิใช่ส่วนหนึ่งของกระบวนการสมัครวีซ่า ประกาศประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกฉบับที่ควบคุมการเดินทางเนื่องจากมาจากโควิด-19 ยังคงมีผลบังคับใช้ และจะยังมีผลบังคับใช้กับผู้เดินทางทุกคนโดยไม่เกี่ยวข้องกับผลการตรวจโรคหรือการได้รับวัคซีนป้องกันโรคแต่อย่างใด ผู้เดินทางที่มีข้อยกเว้นอันเนื่องมาจากผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest Exception) ของประเทศสหรัฐฯ จะต้องได้รับการตรวจก่อนการเดินทางตามข้อกำหนดด้วยเช่นกัน
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (CDC) อาจอนุญาตให้ยกเว้นการแสดงผลรับรองการตรวจเชื้อโควิด-19ที่มีผลเป็นลบในบางกรณีที่มีการเดินทางฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน (เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินทางการแพทย์) เพื่อรักษาชีวิตหรือสุขภาพของผู้ป่วยซึ่งทำให้ไม่สามารถรับการตรวจเชื้อได้ก่อนการเดินทาง ผู้ที่มีผลการตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นบวกจะไม่สามารถขอยกเว้นการแสดงผลตรวจได้ บุคคล หรืออากาศยานที่จะอนุญาตให้ผู้โดยสารที่อาจมีคุณสมบัติตามที่แจ้งไว้ในการขึ้นเครื่อง ซึ่งเชื่อว่าสามารถได้รับการยกเว้นการแสดงผลรับรองการตรวจเชื้อจะต้องติดต่อสถานทูตฯหรือสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ ที่ visasbkk@state.gov ให้ข้อมูลตามที่ระบุด้านล่าง สถานทูตฯหรือสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ จะส่งคำร้องขอยกเว้นการแสดงผลรับรองการตรวจเชื้อไปยังศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (CDC) เพื่อการพิจารณา
โปรดส่งข้อมูลดังต่อไปนี้สำหรับผู้โดยสารแต่ละท่าน:
ชื่อ (นามสกุล, ชื่อขึ้นต้น), หมายเลขหนังสือเดินทาง และประเทศ
หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ซึ่งรวมถึงรหัสประเทศของผู้โดยสาร หรือของหัวหน้าครอบครัว ในกรณีที่เดินทางเป็นครอบครัว
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้โดยสาร หรือของหัวหน้าครอบครัว ในกรณีที่เดินทางเป็นครอบครัว
ที่อยู่ตามจุดหมายปลายทางในประเทศสหรัฐฯ
– ที่อยู่ตามจุดหมายปลายทางในประเทศสหรัฐฯ เป็นที่พักอาศัยหรือไม่
วันออกเดินทาง
รายละเอียดตารางบิน
ชื่อของหน่วยงานที่ยื่นเรื่อง ในกรณีที่ต่างจากผู้โดยสาร
ชื่อของบริษัทที่ยื่นเรื่อง ในกรณีที่ยื่นเรื่องแทนผู้โดยสาร (ถ้ามี)
ชื่อของผู้ประสานการติดต่อ ในกรณีที่ยื่นเรื่องแทนผู้โดยสาร (ถ้ามี)
หมายเลขโทรศัพท์และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประสานการติดต่อ ในกรณีที่ยื่นเรื่องแทนผู้โดยสาร
โดย U.S. Embassy Bangkok | 29 มกราคม, 2021 | ประเภท: ข่าว | Effective January 26, the Centers for Disease Control and Prevention (CDC) will require all air passengers entering the United States to present a negative COVID-19 test (a viral detection test for SARS-CoV- 2 approved or authorized by the relevant national authority), taken within 72 hours of departure. Airlines must confirm the negative test result for all passengers before boarding. Airlines must deny boarding of passengers if they do not provide documentation of a negative test or recovery. This requirement is separate from the visa application process. All Presidential Proclamations restricting travel due to COVID-19 remain in place, and continue to apply to subject potential travelers regardless of their test results or vaccination status. Travelers holding a National Interest Exception also remain subject to all applicable pre-departure testing requirements.
Waivers to the testing requirement may be granted by the CDC on an extremely limited basis when extraordinary emergency travel (like an emergency medical evacuation) must occur to preserve someone’s health and safety, and testing cannot be completed before travel. There are no waivers available for individuals who test positive for COVID-19. Individuals – or air carriers seeking to allow boarding by potentially qualifying individuals – who believe they meet the criteria for a waiver should contact the U.S. Embassy or Consulate at visasbkk@state.gov, and provide the information below. The U.S. Embassy or Consulate will then submit the request to the CDC for consideration.
The following information must be provided for each passenger:
Name (family name/surname, given name), passport number and country
Cell phone number including country code of passenger or head of household if family unit
Email address of passenger or head of household if family unit
U.S. destination address
– Is U.S. destination home address?
Departure date
Flight itinerary
Name of submitting entity if different from passenger
Name of company submitting on behalf of passenger(s) (if applicable)
Name of point of contact submitting on behalf of passenger(s) (if applicable)
Phone and email address for POC submitting waiver request on behalf of passenger(s) (if applicable)
By U.S. Embassy Bangkok | 28 January, 2021 | Topics: News | Tags: COVID-19 | Waiver Process for CDC Order on Pre-Flight Testing | ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอยกเว้นการแสดงผลรับรองการตรวจเชื้อโควิด-19 ก่อนขึ้นเครื่องบินจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ |
https://th.usembassy.gov/th/towards-a-resilient-and-connected-mekong-th/ | นายอาทุล เคชัป หัวหน้าคณะรองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
การประชุมหารือเชิงนโยบายกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง
12 มกราคม 2564
ขอขอบคุณท่านผู้ช่วยรัฐมนตรี Nguyen Van Thao และเวียดนามที่ได้เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดการประชุมหารือนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นานนี้ รวมถึงกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง และขอกล่าวสวัสดีปีใหม่ทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วยครับ
ในฐานะประธานอาเซียนเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยมภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทาย ทั้งยังจัดทำวาระการประชุมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นแรงกล้า ซึ่งได้สร้างมาตรฐานระดับสูงสำหรับความเปิดกว้างและการไม่กีดกันของอาเซียน โดยรวมไปถึงการส่งเสริมพลังของสตรี แม้ว่าจะมีอุปสรรคจากโรคโควิด-19 ก็ตาม
เวียดนามยังต่อสู้เพื่อลุ่มน้ำโขงในอาเซียน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของภูมิภาคนี้ต่อความเป็นแกนกลางของอาเซียน และต่อเอกสารมุมมองของอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก
ความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ต่อลุ่มน้ำโขง
สหรัฐฯ มีความมุ่งมั่นเดียวกันนี้ต่อลุ่มน้ำโขง ในเดือนกันยายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากประเทศลุ่มน้ำโขงและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ พร้อมด้วยเลขาธิการอาเซียน ได้เปิดตัวหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ด้วยความร่วมมือนานกว่า 1 ทศวรรษและความช่วยเหลือมูลค่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐจากอเมริกาภายใต้ข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง รวมถึงเงินทุนกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐที่อเมริกามอบให้กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานทั่วอาเซียน เราให้คำมั่นว่าจะกระชับมิตรไมตรีและขยายขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญๆ เช่น การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ และความมั่นคงรูปแบบใหม่ ซึ่งรวมไปถึงอาชญากรรมข้ามชาติ การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ และความมั่นคงด้านสุขภาพ
บัดนี้ เรามารวมตัวกันเพื่อสานต่องานที่ยากแต่เป็นประโยชน์ยิ่งภายใต้ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐฯ กับทุกท่าน ซึ่งเป็นกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง การประชุมหารือครั้งนี้จะช่วยพัฒนาประเด็นสำคัญที่เรามีส่วนกัน รวมถึงขับเคลื่อนให้งานของเรามุ่งไปสู่เป้าหมายหลักเหล่านั้น
การส่งเสริมการประชุมหารือเชิงนโยบายที่ไม่กีดกัน
ผมขอชื่นชมท่านผู้ช่วยรัฐมนตรี Thao และเวียดนามที่ได้ขยายโอกาสการเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ และขอต้อนรับมิตรของเราจากบรูไนที่ได้มาสังเกตการณ์ในฐานะเจ้าภาพอาเซียน เช่นเดียวกับเพื่อนของเราจากอินเดีย ซึ่งเป็นมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงผ่านความร่วมมือลุ่มแม่น้ำแม่โขง-คงคา อีกทั้งยังเป็นภาคีที่เห็นคุณค่าของความโปร่งใสและการเคารพอธิปไตยเช่นเดียวกับเรา และแน่นอนว่าเรายินดีที่ได้พบกับมิตรสหายจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลทรัพยากรที่จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงเพียงองค์กรเดียวในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และยังเป็นภาคีของเราทุกชาติมานาน รวมถึงมีความเหมาะสมที่สุดในการทำให้มั่นใจว่าแม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่จะมีความยั่งยืน นอกเหนือไปจากความเห็นของภาครัฐแล้ว เรายังตั้งตารอรับฟังความเห็นของภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมด้วย
เราขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การประชุมหารือในครั้งนี้ และขอขอบคุณทุกท่านที่ทุ่มเทเพื่อภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมทั้งการเติบโตด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจในพื้นที่ ดังที่รัฐมนตรีปอมเปโอได้กล่าวไว้ในการเปิดตัวหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ว่า ประเทศลุ่มน้ำโขงสมควรมีหุ้นส่วนที่ดี
ขอผมอธิบายสักเล็กน้อยว่า สหรัฐฯ จะสามารถช่วยรับมือความท้าทายสำคัญบางประการได้อย่างไรบ้าง
การวางแผนการดำเนินงานของสหรัฐฯ ในลุ่มน้ำโขง
ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
เราจะเดินหน้าสนับสนุนความโปร่งใสของข้อมูลทรัพยากรน้ำที่มีความสำคัญยิ่ง ด้วยโครงการข้อริเริ่มในการจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง เราพร้อมที่จะช่วยเหลือประเทศลุ่มน้ำโขง ผ่านเครื่องมือติดตามและบริหารจัดการแม่น้ำโขง ตัวอย่างเช่น เรายินดียิ่งที่ได้ส่งเสริมการเปิดตัวเครื่องมือ Mekong Dam Monitor ในเดือนที่แล้ว เป็นครั้งแรกที่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและประชากรในประเทศลุ่มน้ำโขงสามารถเข้าถึงข้อมูลที่โปร่งใสด้านผลกระทบจากเขื่อนในแม่น้ำโขงสายหลักต่อบริเวณแม่น้ำโขงตอนบนจนถึงตอนล่าง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เครื่องมือนี้แสดงให้เราเห็นผลกระทบหนึ่ง นั่นคือ ระดับน้ำที่ลดลง 1 เมตรที่ปลายน้ำเนื่องจากการจำกัดน้ำในจีน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้จีนต้องแจ้งข้อมูลแก่ประเทศเพื่อนบ้านในอีก 5 วันถัดมา ความโปร่งใสมีพลังมากนะครับ
เราต้องการระบุเป้าหมายที่มีร่วมกันในการต่อต้านอาชญากรรมที่เป็นภัยต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การตัดไม้ ทำลายป่าและการทำเหมืองผิดกฎหมาย การลักลอบค้าสัตว์ป่า และการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU)
เราสนใจที่จะร่วมมือกับประเทศลุ่มน้ำโขงด้านประเด็นการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เช่น การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การอนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไมโครพลาสติก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และคุณภาพน้ำ
เรายังอยากจะสานต่อความพยายามของเราร่วมกับกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงในการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการใช้เทคนิคการสำรวจระยะไกลและพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพและความพร้อมของข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำที่จำเป็น อันจะนำไปสู่การพยากรณ์และบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยและภัยแล้ง ตลอดจนเสริมสร้างการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดนโดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
เกาหลีใต้และสหรัฐฯ กำลังติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรน้ำตามเวลาจริง ตลอดจนเพิ่มความปลอดภัยจากภัยพิบัติด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ผ่านการบูรณาการศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำขององค์กร K-water ในเกาหลีใต้โดยใช้ดาวเทียม ประกอบกับศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรน้ำขององค์การนาซาและหน่วยทหารช่างกองทัพบกสหรัฐฯ
ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ออสเตรเลีย ที่เพิ่งจะประกาศไปไม่นานนี้มีมูลค่าความช่วยเหลือกว่า 230 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งเป็นโอกาสที่น่าจับตามองยิ่งสำหรับการประสานงานอย่างใกล้ชิดในหลากหลายประเด็น
ด้านความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน
เรามีความเห็นว่า การมุ่งเน้นโครงสร้างพื้นฐานที่ยังยืนและมีคุณภาพ รวมทั้งการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งตะวันออกและตะวันตก ควรเป็นประเด็นสำคัญสำหรับกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง
เรากำลังพัฒนาแผนการดำเนินงานที่ประกอบไปด้วยเป้าหมาย ขอบเขตโครงการ และความร่วมมือด้านวิชาการที่เฉพาะเจาะจง ภายใต้หุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (JUMPP) และยังยินดีที่จะร่วมมือกับมิตรประเทศอื่นๆ ซึ่งมีโครงการการพัฒนาด้านพลังงานลักษณะคล้ายคลึงกัน
เรายินดีที่จะร่วมมือกับท่านทั้งหลายในด้านเมืองอัจฉริยะ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 20 โครงการภายใต้โครงการ S.-ASEAN Smart Cities Partnership
และเราจะยังคงประสานงานกับหน่วยงานความร่วมมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ สำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐฯ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสหรัฐฯ และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อระบุวิธีที่สหรัฐฯ จะสามารถอำนวยให้เกิดการลงทุนที่มีคุณภาพสูงและความร่วมมือจากภาคเอกชนได้ หน่วยงานมากมายเหล่านี้กำลังดำเนินการร่วมกับสถาบันการเงินและการค้าในประเทศของท่านเพื่อขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจในลุ่มน้ำโขง
ด้านประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่
เรากำลังพัฒนาการตอบสนองต่อโรคระบาดใหญ่โควิด-19 ของภูมิภาคนี้ และเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาดใหญ่ครั้งต่อไป ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา อเมริกาได้ลงทุนไปแล้วกว่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการสาธารณสุขในกลุ่มประเทศอาเซียน และเราวางแผนที่จะสานต่อความช่วยเหลือนี้ผ่านโครงการ S.-ASEAN Health Futures
เราอยากจะแบ่งปันแนวความคิดเรื่องวิธีการร่วมมือต่อต้านภัยจากเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งลักลอบค้ามนุษย์ ยาเสพติด สัตว์ป่า ไม้ และอาวุธ อาชญากรรมเหล่านี้ไม่เพียงเป็นภัยต่อลุ่มน้ำโขงเท่านั้น แต่ยังเป็นภัยต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและทั่วโลกด้วย เรายินดีที่ได้เห็นความพยายามอย่างจริงจังของออสเตรเลียในการต่อต้านอาชญากรรมและการลักลอบสิ่งผิดกฎหมายข้ามชาติในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และจะยังคงทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลออสเตรเลียในประเด็นนี้ที่สำคัญต่อเราทั้งสองชาติ
สุดท้ายนี้ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เราวางแผนที่จะหารือเรื่องโอกาสด้านการศึกษาทางดิจิทัลและเป้าหมายของประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการพัฒนาแรงงานที่มีทักษะให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น โครงการ Billion Futures, โครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative และโครงการอื่นๆ ล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทุนมนุษย์ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง
เราจะสานต่อการทำงานกับประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อคุ้มครองและยกระดับการส่งเสริมพลังของสตรี ในสัปดาห์นี้จะมีการจัดการประชุมหารือเชิงนโยบายว่าด้วยสตรี สันติภาพ และความมั่นคงเพื่อการส่งเสริมสตรีโดยหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ และประเด็นมุ่งเน้นที่เด่นชัดของเวียดนามในด้านโอกาสสำหรับสตรีก็แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของเราได้อย่างดี
เราจะยังคงขับเคลื่อนโครงการใหม่ๆ ของสหรัฐฯ เช่น โครงการ “Mekong Connections” ซึ่งจะเสริมสร้างผลการดำเนินงานด้านความท้าทายข้ามพรมแดนของผู้นำชุมชน
เราจะยังคงสร้างศักยภาพในภูมิภาคผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการฝึกอบรมประเทศที่สามร่วมกับสิงคโปร์ รวมถึงโครงการหุ้นส่วนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ซึ่งดำเนินการโดยองค์กร Pact และโครงการความช่วยเหลือทางเทคนิคภาคพลังงาน ซึ่งเป็นความร่วมมือกับสมาคมคณะกรรมาธิการกำกับดูแลสาธารณูปโภคแห่งชาติ
มิตรสหายทุกท่าน สหรัฐฯ ทุ่มเททำงานกับท่านทั้งหลายเพื่อให้ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมั่นคง เปิดกว้าง และมั่งคั่ง ด้วยหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ และกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงซึ่งแผ่ขยายกว้างขึ้น เราหวังว่าจะได้สานต่อความพยายามระหว่างกันอย่างยาวนานต่อไปในอนาคต
ความท้าทายที่เราเผชิญ
ความพยายามเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สำคัญยิ่ง ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเปี่ยมล้นด้วยศักยภาพ แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายมากเป็นประวัติการณ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนเช่นกัน โดยมีทั้งความท้าทายต่อความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำซึ่งยิ่งเลวร้ายลง อันเป็นผลจากบรรดาเขื่อนขนาดใหญ่ที่ต้นน้ำ ความท้าทายต่อความมั่นคงทางกายภาพ อันเป็นผลจากเครือข่ายอาชญากรรมที่เชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ความท้าทายต่ออำนาจอธิปไตย อันเป็นผลจากแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่เอารัดเอาเปรียบและหนี้ที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนความท้าทายต่อสุขภาพและความยั่งยืน อันเป็นผลจากการลักลอบค้ายาเสพติด มนุษย์ สัตว์ป่าและไม้ ซึ่งทะยานสูงขึ้น
ผมเชื่อว่าผมสามารถกล่าวแทนกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงได้ว่า เรามุ่งมั่นที่จะหาวิธีดำเนินการร่วมกันเพื่อรับมือความท้าทายเหล่านี้ โดยใช้หลักการด้านความโปร่งใสและการเคารพอธิปไตยที่มีร่วมกัน
ความสำคัญของอาเซียน
เรามีหลักการเหล่านี้ร่วมกันกับอาเซียน และหวังว่าจะได้ยกระดับความร่วมมือในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับอาเซียน ผมมีความยินดีที่บรูไน ซึ่งเป็นประธานอาเซียน ได้เข้าร่วมการประชุมหารือในวันนี้ด้วย เสียงของอาเซียนที่รวมเป็นหนึ่งนั้นมีพลังอย่างยิ่ง และเราก็สนับสนุนให้อาเซียนแสดงท่าทีร่วมกันในประเด็นลุ่มน้ำโขง ดังเช่นที่ท่านปฏิบัติเมื่อพูดถึงทะเลจีนใต้
ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรี Thao ภาคี มิตรประเทศ และเพื่อนทุกท่าน ขอบคุณที่ได้ช่วยเราทำให้หุ้นส่วนความร่วมมือนี้แข็งแกร่งและมีประสิทธิผล
ขอให้การประชุมหารือในวันนี้ลุล่วงไปด้วยดีครับ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 12 มกราคม, 2021 | ประเภท: สุนทรพจน์ | REMARKS
AMBASSADOR ATUL KESHAP, PRINCIPAL DEPUTY ASSISTANT SECRETARY
BUREAU OF EAST ASIAN AND PACIFIC AFFAIRS
FRIENDS OF THE MEKONG POLICY DIALOGUE
JANUARY 12, 2021
Thank you Assistant Minister Nguyen Van Thao and Vietnam for co-chairing this first Policy Dialogue under the new Mekong-U.S. Partnership and Friends of the Mekong. And allow me to wish everyone a happy new year!
As ASEAN Chair last year, Vietnam did a remarkable job under challenging circumstances. Vietnam created an ambitious ASEAN agenda, setting high standards for ASEAN openness and inclusivity, including women’s empowerment, despite all the challenges from COVID-19.
Vietnam also championed the Mekong in ASEAN, highlighting the importance of this region to ASEAN centrality and prosperity and to the ASEAN Outlook on the Indo-Pacific.
The U.S. Commitment to the Mekong
The United States shares this commitment to the Mekong. In September, foreign ministers from Mekong-region countries and the U.S. Deputy Secretary of State, along with the ASEAN Secretary-General, joined together to launch the Mekong-U.S. Partnership. Building on more than a decade of cooperation and $3.5 billion in U.S. assistance under the Lower Mekong Initiative and more than $1 billion in U.S. financing for ASEAN-wide infrastructure, we pledged to deepen and broaden our relations, focusing on critical issues like economic connectivity and infrastructure, human resource development, natural resources, and non-traditional security, including transnational crime, disaster preparedness, and health security.
Now we come together to continue the hard but rewarding work of our strengthened partnership with all of you, the Friends of the Mekong. This dialogue will help hone our shared priorities and focus our work to achieve them.
Supporting an Inclusive Policy Dialogue
I want to commend Assistant Minister Thao and Vietnam for broadening participation at this Dialogue. I want to extend a special welcome to our friends from Brunei, observing in its capacity as ASEAN Chair. I also want to recognize our colleagues from India joining this discussion. India is a friend of the Mekong through its Mekong-Ganga Cooperation and a key partner that shares our values of transparency and respect for sovereignty. And of course, we are glad to see our friends from The Mekong River Commission. The Commission, as you know, is the only treaty-based resource governance organization in the Mekong, a longtime partner of all of us, and best suited to ensure the sustainability of the mighty Mekong. We also look forward to hearing ideas from the private sector, from academia, and from civil society, in addition to ideas from member governments.
We welcome all of you to this Dialogue and thank you for your commitment to the Mekong region and its security and economic growth. As Secretary Pompeo said upon the launch of the Partnership, Mekong countries deserve good partners.
Let me take just a few minutes to describe how the United States can help address some key challenges.
U.S. Programming in the Mekong
On Natural Resources Management:
We would like to continue advancing transparency of essential water data. Through the Mekong Water Data Initiative, we stand ready to assist Mekong countries with tools to monitor and manage the Mekong River. For example, we were happy to support the launch of the Mekong Dam Monitor last month. For the first time, the Mekong River Commission and all residents of Mekong-region countries have access to transparent data on the impacts of mainstream dams across the upper and lower portions of the Mekong River. We saw the impact of the Monitor last week when it detected a one-meter drop in downstream water levels due to restrictions in China, which prompted China—five days later—to notify its neighbors. Transparency is powerful.
We want to identify common goals to combat crimes that threaten natural resources, like illegal logging and mining, wildlife trafficking, and illegal, unreported, and unregulated (IUU) fishing.
We are interested in engaging with Mekong-region countries on environmental protection concerns, including species extinction, sustainable conservation and management of natural resources, micro-plastics, climate change, and water quality.
We would also like to continue our efforts with Friends of the Mekong to exchange best practices for the use of remote sensing techniques and develop human capital to improve the quality and availability of essential water data, to predict and mitigate the impacts of floods and droughts, and to foster science-based decision-making in transboundary water governance.
South Korea and the United States are monitoring real-time water resource changes and are enhancing safety from disasters through systematic water resources management by combining K-water’s water management capabilities in South Korea with the satellite utilization and water resources analysis capabilities of NASA and the U.S. Army Corps of Engineers.
The recently announced Mekong Australia Partnership, with its commitment of more than 230 million Australian dollars, is an also an exciting opportunity to closely coordinate on a range of issues.
On Economic Connectivity and Infrastructure:
We think a focus on sustainable and quality infrastructure and east-west connectivity should be a priority for the Friends of the Mekong.
We are developing an action plan that establishes specific goals, project areas, and technical cooperation under the Japan-U.S. Mekong Power Partnership (JUMPP) and welcome coordination with other Friends who have similar power development projects.
We welcome more cooperation with all of you on smart cities and are happy to share more details on the 20 projects under our U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership.
And we will continue to work with the U.S. International Development Finance Corporation, U.S. Trade and Development Agency, the Export-Import Bank of the United States, and Department of Commerce to identify ways that the United States can facilitate high-quality investment and private sector engagement. Many of these agencies are working with your finance and trade institutions to expand economic growth in the Mekong.
On Non-Traditional Security issues:
We’re working to improve the region’s response to the COVID-19 pandemic and to prepare for the next pandemic. Over the last 20 years, the United States has invested over $3.5 billion in supporting public health in ASEAN countries, and we plan to maintain this support through the U.S.-ASEAN Health Futures initiative.
We want to share ideas on how to work together to combat the threat of transnational criminal networks. These networks traffic in people, narcotics, wildlife, timber, and weapons. These crimes are a threat not only to the Mekong, but to the broader Indo-Pacific and the world. We welcome Australia’s substantial efforts to combat transnational crime and trafficking in the Mekong region and we will continue to coordinate closely with Canberra on this shared priority.
Finally, on Human Resources Development:
We plan to discuss digital education opportunities and Mekong-region countries’ goals to further develop their skilled labor forces. Our Billion Futures initiative, the Young Southeast Asian Leaders Initiative, and other programs all work to develop human capital in Mekong countries.
We will continue to work with countries of the Mekong region to protect and promote women’s empowerment. This week’s Mekong-U.S. Partnership Women’s Empowerment Policy Dialogue on Women, Peace and Security and Vietnam’s clear focus on opportunities for women illustrate our commitment.
We will advance new U.S. programs, such as one we call “Mekong Connections,” which will support community leaders’ impact on transboundary challenges.
We will continue to build capacity in the region through programs such as the Third Country Training Program, together with Singapore; the Sustainable Infrastructure Program, implemented by Pact; and the Power Sector Program in partnership with the National Association of Regulatory Utility Commissioners.
Friends, the United States is committed to working with all of you to realize a secure, open, and prosperous Mekong region. Through the Mekong-U.S. Partnership and the broader Friends of the Mekong we look forward to continuing our efforts long into the future.
The Challenges We Face
These efforts come at a critical time. The Mekong region is full of promise but also faces record challenges from the People’s Republic of China: challenges to water security made worse by upstream mega dams, challenges to physical security from criminal networks linked to special economic zones, challenges to sovereignty from predatory business practices and infrastructure-linked debt, and challenges to health and sustainability from a boom in trafficking of drugs, persons, wildlife, and timber.
I think I can speak on behalf of all the Friends of the Mekong when I say that we are committed to a cooperative approach to these challenges based on shared principles of transparency and respect for sovereignty.
The Importance of ASEAN
We share these principles with ASEAN and we look forward to doing more in the Mekong with ASEAN. I am glad that ASEAN Chair Brunei is participating in these discussions today. There is strength in ASEAN’s collective voice, and we encourage ASEAN to develop a common position on the Mekong Basin like it has on the South China Sea.
Assistant Minister Thao, fellow Partners, Friends, and colleagues, thank you for helping us make our Partnership strong and effective.
I wish us all a productive Dialogue.
By U.S. Embassy Bangkok | 12 January, 2021 | Topics: Speeches | Tags: Indo-Pacific | Towards a Resilient and Connected Mekong | คำกล่าวในหัวข้อ “การมุ่งสู่อนาคตลุ่มน้ำโขงที่แข็งแกร่งและเชื่อมโยงกัน” |
https://th.usembassy.gov/th/launch-of-the-mekong-u-s-partnership-expanding-u-s-engagement-with-the-mekong-region-th/ | เอกสารข้อเท็จจริง
สำนักงานโฆษก
14 กันยายน 2563
เมื่อวันที่ 11 กันยายน สหรัฐอเมริกา กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม ได้เปิดตัวกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) เพื่อย้ำจุดยืนความสัมพันธ์ที่ยืนนานระหว่างกัน ในโอกาสนี้ สหรัฐฯ ได้ประกาศแผนการดำเนินงาน โดยร่วมมือกับสภาคองเกรส เพื่อยกระดับการสนับสนุนให้เกิดเอกราช ความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล และการเติบโตที่ยั่งยืนในประเทศภาคีลุ่มน้ำโขง โดยตระหนักว่าการส่งเสริมคุณค่าเหล่านี้สำคัญต่อเอกภาพและประสิทธิภาพของอาเซียนด้วยเช่นกัน
การยกระดับการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ
ตลอดช่วงการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative) ตั้งแต่ปี 2552-2563 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้มอบเงินช่วยเหลือประเทศภาคีลุ่มน้ำโขงทั้ง 5 ประเทศแล้วเกือบ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยครอบคลุมด้านต่อไปนี้
โครงการด้านสาธารณสุข 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
การเติบโตทางเศรษฐกิจ 734 ล้านเหรียญสหรัฐ
สันติภาพและความมั่นคง 616 ล้านเหรียญสหรัฐ
สิทธิมนุษยชนและธรรมภิบาล 527 ล้านเหรียญสหรัฐ
การศึกษาและบริการด้านสังคม 175 ล้านเหรียญสหรัฐ และ
ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 165 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในการต่อยอดจากความสำเร็จของข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขง ประเทศภาคีลุ่มน้ำโขงทั้ง 5 ประเทศและสหรัฐฯ ได้เปิดตัวหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ เพื่อเป็นเวทียุทธศาสตร์ความร่วมมือ ซึ่งจะสานต่องานที่กำลังดำเนินอยู่ และยกระดับความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านพลังงาน การพัฒนาทุนมนุษย์ การจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติข้ามพรมแดน และความมั่นคงรูปแบบใหม่ (non-traditional security) ทั้งนี้ งานด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ประกอบไปด้วยความร่วมมือในด้านภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น การสร้างศักยภาพความมั่นคงด้านสุขภาพ และการตอบสนองต่อโรคระบาด ตลอดจนการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงทางไซเบอร์ และการปราบปรามการค้ามนุษย์ ยาเสพติด และสัตว์ป่า
หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ มีกรอบการดำเนินงานตามค่านิยมที่สอดคล้องกับกรอบงานของมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific) และวิสัยทัศน์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ในด้านความเท่าเทียม ธรรมาภิบาล การเปิดเผย ความโปร่งใส การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเคารพอธิปไตย นอกจากนี้ หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ยังส่งเสริมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) อาเซียน คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ตลอดจนภาคีและกลไกความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอื่นๆ ที่สอดคล้องกับค่านิยมเหล่านี้
สหรัฐฯ ยกระดับความร่วมมือของเรา
มอบความช่วยเหลือรวมแล้วกว่า 52 ล้านเหรียญสหรัฐ ในด้านสาธารณสุข มนุษยธรรม เศรษฐกิจ และการพัฒนาในภาวะฉุกเฉิน เพื่อต่อสู้โรคโควิด-19 ในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
สนับสนุนระบบพลังงานที่ทันสมัย เชื่อมโยง และไว้ใจได้อย่างต่อเนื่องโดยมอบเงิน 33 ล้านเหรียญสหรัฐภายใต้ข้อริเริ่ม Asia EDGE ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้มีการซื้อขายพลังงานในระดับภูมิภาคและเข้าถึงเงินทุนมากขึ้น ตลอดจนภาคเอกชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
วางแผนที่จะมอบเงิน 55 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเสริมศักยภาพของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและยุติธรรมเพื่อปราบปรามอาชาญกรรมข้ามชาติ โดยสอดคล้องกับความช่วยเหลือจากออสเตรเลีย กิจกรรมจะประกอบไปด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งความมั่นคงชายแดน การขัดขวางและสกัดกั้นการลำเลียงสินค้าผิดกฎหมาย โดยเฉพาะยาเสพติดและสารตั้งต้น ตามเส้นทางการค้ายาเสพติดสำคัญๆ การทลายองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และการสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินและอาชญากรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมอบเงินเพิ่มเติมจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและตลาดพลังงาน โดยวางแผนที่จะมอบเงิน 6.6 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงภายใต้โครงการความช่วยเหลือทางเทคนิคภาคพลังงาน (Power Sector Program) หรือ PSP ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
เสริมสร้างธรรมาภิบาลระดับภูมิภาคและส่งเสริมความโปร่งใส ด้วยเงินทุน 6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนความคิดเห็นจากชุมชนท้องถิ่น สร้างเวทีเพื่อขับเคลื่อนการทำวิจัยและศึกษามุมมองที่หลากหลาย สร้างการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมจากตะวันออกสู่ตะวันตกกับอินเดียและบังกลาเทศ ส่งเสริมความสามารถด้านเศรษฐกิจของสตรี และดำเนินโครงการอบอรมประเทศที่สาม (Third Country Training Program) กับประเทศสิงคโปร์อย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น การเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำในแม่น้ำโขง โดยวางแผนที่จะมอบเงิน 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายที่มีร่วมกันกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
ร่วมงานกับประเทศลุ่มน้ำโขงและภาคีอื่นๆ ในการขยายการดำเนินงานบรรเทาภัยพิบัติเพื่อเสริมสร้างการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองในท้องถิ่น
สนับสนุนการประชุมหารือเชิงนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบาย ชุมชนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง
เราจะยังคงสนับสนุนองค์กรภาครัฐและประชาสังคมในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้สามารถปรับและฟื้นตัวได้ดี ตลอดจนมีความโปร่งใสและมีศักยภาพ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาชีวิตของผู้คนในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและพลังงาน
หน่วยงานความร่วมมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (DFC) ได้ลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังจะลงทุนและขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานในลุ่มน้ำโขงด้วยเม็ดเงินอีกหลายพันล้านในอนาคต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศภาคีลุ่มน้ำโขงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจในประเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการค้าและการลงทุนสองทางอันจะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มีคุณภาพสูง และขับเคลื่อนโดยภาคเอกชน
สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและคำปรึกษา ผ่านหุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (Japan-U.S. Mekong Power Partnership) หรือ JUMPP เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาตลาดพลังงานระดับประเทศและภูมิภาค โดยตอบสนองต่อประเด็นสำคัญๆ ของรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขง ความช่วยเหลือของสหรัฐฯ สนับสนุนการลงทุนที่มีคุณภาพสูงและโปร่งใสในภาคพลังงาน รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพ เพื่อขยายการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคผ่าน JUMPP ตลอดจนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) และโครงการโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid initiatives)
สหรัฐฯ และญี่ปุ่นประกาศในแถลงการณ์ร่วม JUMPP ถึงเจตนาที่จะยกระดับการพัฒนาศักยภาพประเทศลุ่มน้ำโขงเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการภาคพลังงาน ช่วยปลดล็อกการลงทุนจากภาคเอกชนในภาคพลังงานของลุ่มน้ำโขง และหล่อเลี้ยงการซื้อขายพลังงานข้ามพรมแดน
โครงการความช่วยเหลือทางเทคนิคภาคพลังงาน (PSP) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้จัดการฝึกอบรมให้กับบรรดาประเทศลุ่มน้ำโขงมาแล้วกว่า 1,000 ชั่วโมง ความช่วยเหลือของเราทำให้ประเทศต่างๆ สามารถเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมการซื้อขายพลังงานข้ามพรมแดน พัฒนากระบวนการด้านการจัดเก็บภาษี รวมถึงพิจารณาบรรทัดฐานและมาตรฐานด้านประสิทธิภาพพลังงาน ความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ยังทำให้ประเทศเวียดนามได้จัดตั้งตลาดพลังงานที่มีความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนพัฒนาการดำเนินการของระบบ และยังได้ให้คำแนะนำแก่ภาคการผลิตไฟฟ้าของไทยเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทซื้อขายพลังงาน และการเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดให้บุคคลที่สามเข้ามาเชื่อมต่อระบบท่อส่งผ่านพลังงานได้
ความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำและการบริหารจัดการน้ำข้ามพรมแดน
โครงการหุ้นส่วนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (SIP) ซึ่งจัดตั้งโดยมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้สร้างเสริมธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในแม่น้ำโขงร่วมกัน ผ่านการพัฒนาศักยภาพด้านความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ เช่น การบริหารจัดการน้ำบาดาล การสำรวจระยะไกล การประเมินผลกระทบสะสม และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเศรษฐสังคม
SIP ร่วมกับ Eyes on Earth, Inc. จัดทำการศึกษาวิจัยที่เผยให้เห็นว่าการดำเนินการของเขื่อนต้นน้ำในสาธารณรัฐประชาชนจีนส่งผลกระทบต่อการไหลของแม่น้ำโขงตามธรรมชาติ ซึ่งได้รับความสนใจในวงกว้างจากสื่อ และกระตุ้นให้เกิดการเรียกร้องความโปร่งใสด้านการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดนที่มากขึ้นใหม่อีกครั้ง
โครงการข้อริเริ่มในการจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง (Mekong Water Data Initiative) หรือ MWDI ซึ่งร่วมด้วย 60 ภาคีจากรัฐบาลของนานาประเทศและองค์กรนอกภาครัฐ ยังคงเดินหน้าพัฒนาการบริหารจัดการแม่น้ำโขงข้ามพรมแดน ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์
ในปี 2562 รัฐมนตรีปอมเปโอเปิดตัวแพลตฟอร์ม org ภายใต้โครงการข้อริเริ่ม MWDI เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล เครื่องมือ และทรัพยากรที่เกี่ยวกับน้ำ ในปัจจุบัน เว็บไซต์ดังกล่าวมีเครื่องมือกว่า 40 ชิ้นจากกว่า 35 ภาคีทั่วโลกซึ่งมาร่วมมือกันในด้านต่างๆ ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ราบลุ่มแม่น้ำและอุทกวิทยา การพยากรณ์อากาศ เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับสาธารณชน ระบบนิเวศ และวิทยาศาสตร์พลเมือง
NexView จับมือกับประเทศลุ่มน้ำโขงและคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในการขับเคลื่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับแม่น้ำโขงโดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ NexView ได้แปลงข้อมูลจากคณะกรรมาธิการฯ ให้เป็นข้อมูลภาพด้วยเครื่องมือ Decision Theater จากมหาวิทยาลัย Arizona State University ซึ่งทำให้ชุมชนลุ่มน้ำโขงสามารถศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและการรักษาสมดุลระหว่างตัวเลือกต่างๆ ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงาน และอาหาร
โครงการแลกเปลี่ยน Sister Rivers ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และคณะกรรมาธิการแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi River Commission) ผ่านการหารือที่ยังคงดำเนินมาจนถึงปัจจุบันในหลากหลายหัวข้อ ได้แก่ ความปลอดภัยเขื่อน การวางแผนวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกัน ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ตลอดจนการฝึกซ้อมและการแลกเปลี่ยนด้านการตอบสนองต่อภัยพิบัติ
หน่วยทหารช่างกองทัพบกสหรัฐฯ (S. Army Corps of Engineers) หรือ USACE สนับสนุนประเทศลุ่มน้ำโขงในประเด็นความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ความช่วยเหลือเชิงวิศวกรรมศาสตร์ว่าด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ และโครงการการก่อสร้างซึ่งเป็นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ตัวอย่างเช่น การช่วยพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขง พ.ศ. 2564-2573 (2021-2030 Mekong Basin Development Strategy) โดยการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและคณะกรรมาธิการแม่น้ำมิสซิสซิปปี รวมถึงการส่งเสริมสปป.ลาวในโครงการริเริ่มด้านความปลอดภัยเขื่อนของชาติ และการก่อสร้างโรงเรียน คลินิก บ่อน้ำ และศูนย์ความร่วมมือเพื่อบริหารจัดการภัยพิบัติทั่วภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยรวมไปถึงสถาบันโภชนาการแห่งชาติ (National Institute for Nutrition) ในสปป.ลาวด้วย
โครงการเซอร์เวียร์-แม่โขง (SERVIR-Mekong) เป็นความร่วมมือที่โดดเด่นระหว่างองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ที่ช่วยให้ประเทศลุ่มน้ำโขงลดความเปราะบางต่อภัยแล้งและอุทกภัยที่ทวีความรุนแรงขึ้นเพราะการดำเนินการของเขื่อนต้นน้ำ ด้วยความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง โครงการเซอร์เวียร์-แม่โขงได้เปิดตัวระบบคลังข้อมูล (Drought Early Warning Platform) เพื่อช่วยพยากรณ์และติดตามผลกระทบของภัยแล้งในประวัติศาสตร์ที่สร้างความเสียหายในลุ่มน้ำโขง
โครงการโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะเพื่อแม่น้ำโขง (Smart Infrastructure for the Mekong) หรือ SIM ออกแบบทางปลาผ่านชุดหนึ่งให้กับภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อพิทักษ์ความมั่นคงด้านอาหาร
การลงทุนเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์
โครงการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ภายใต้ข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Young Scientist Exchange Program) ยังคงลงทุนในนักเรียนและบุคลากรรุ่นใหม่ที่มุ่งพัฒนาทักษะด้านสิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข การประกอบกิจการ และวิทยาศาสตร์ ระหว่างปี 2562-2563 โครงการดังกล่าวเน้นการใช้เครื่องมือสนเทศศาสตร์ในการรับมือโรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น ไข้เลือดออก และในปี 2564 จะมุ่งสนับสนุนนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเกษตร
โครงการการป้องกันและตอบสนองต่อความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ (Gender-Based Violence Prevention and Response Initiative) ส่งเสริมวิธีการที่ครอบคลุมอันเกิดจากความร่วมมือของหลากหลายภาคส่วน เพื่อรับมือกับบรรทัดฐานทางเพศซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ซึ่งอาจรวมไปถึงการสมรสก่อนวัยอันควรและการบังคับให้สมรส ความรุนแรงในสถานศึกษา ความรุนแรงที่กระทำโดยคนรัก ตลอดจนการล่วงละเมิดทางกายและทางเพศ โครงการนี้ได้ช่วยเหลือทั้งชายหญิง ตลอดจนเด็กชายและเด็กหญิงรวมแล้วกว่า 223,000 คน ผ่านการริเริ่มใช้กฎหมายจารีตประเพณีใหม่ๆ และการพูดคุยหารือในชุมชน
สหรัฐฯ สนับสนุนสตรีให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโดยลงทุนกับผู้นำสตรีในรัฐยะไข่ ผ่านโครงการการเสริมสร้างชุมชน (Community Strengthening Project) ของ USAID เพื่อสนับสนุนให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ไม่แบ่งแยกกีดกัน ด้วยวิธีการที่เกิดจากความร่วมมือในระดับชุมชน
สำหรับข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ใหม่ของเราที่ www.mekonguspartnership.org
โดย U.S. Embassy Bangkok | 8 ธันวาคม, 2020 | ประเภท: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, เอกสารข้อเท็จจริง | FACT SHEET
OFFICE OF THE SPOKESPERSON
SEPTEMBER 14, 2020
The United States, Cambodia, Lao PDR, Myanmar, Thailand, and Vietnamreaffirmed their long-standing relationship by launching the Mekong-U.S. Partnershipon September 11. The United States announced plans, working with the U.S. Congress, to increase support for the autonomy, economic independence, good governance, and sustainablegrowthof Mekong partner countries, noting that upholding these values is important also for the unity and effectiveness of ASEAN.
Expanding U.S. Engagement
Over the course of the Lower Mekong Initiative, from 2009 to 2020, the U.S. Department of State and Agency for International Development (USAID) provided nearly $3.5 billion in assistance to the five Mekong partner countries, including:
$1.2 billion for health programs;
$734 million for economic growth;
$616 million for peace and security;
$527 million for human rights and governance
$175 million for education and social services; and
$165 million for humanitarian assistance.
Building on the successes of the Lower Mekong Initiative, the five Mekong partner countries and the United States launched the Mekong-U.S. Partnership as a strategic forum for cooperation.The Partnership will continue existing work and expand our areas of cooperation, including economic connectivity, energy security, human capital development, transboundary water and natural resources management, and non-traditional security. The non-traditional security sector comprises collaboration on emerging threats such as health security capacity building and pandemic response, countering transnational crime, cyber security, and countering trafficking in persons, illicit drugs, and wildlife.
The Mekong-U.S. Partnership is guided by values that are aligned with those enshrined in the ASEAN Outlook on the Indo-Pacific and the U.S. Indo-Pacific vision, including equality, good governance, openness, transparency, economic growth, and respect for sovereignty. The Partnership also promotes complementarity with the Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy (ACMECS), ASEAN, the Mekong River Commission, and with other Mekong development partners and cooperation mechanisms in line with these values.
The United States is Upgrading our Partnership
Providing over $52 million to date in emergency health, humanitarian, economic, and development assistance to combat COVID-19 in countries in the Mekong region.
Supporting modern, connected, reliable energy systems through $33 million in Asia Enhancing Development and Growth through Energy (EDGE) funding in Southeast Asia,to increase regional energy trade, access to capital, and private sector engagement.
Planning to invest $55 million to strengthen the region’s law enforcement and justice sector capacity to combat transnational crime, in alignment with Australia. The efforts will include strengthening border security; interdicting and disrupting the flow of illicit goods, particularly drugs and precursor chemicals, along key trafficking routes; dismantling transnational criminal organizations; and investigating and prosecuting money laundering and associated financial crimes. An additional$2 million is dedicated to combatting trafficking in persons.
Improving energy infrastructure and markets with plans for $6.6 million for the Mekong region in the Department of State’s Power Sector Program.
Strengthening regional governance and promoting transparency with $6 million to support local voices and provide platforms to advance their research and explore diverse perspectives, to develop east-west transportation connectivity with India and Bangladesh, to promote women’s economic empowerment, and continue the Third Country Training Program with Singapore.
Including strengthening Mekong water security with a planned $1.8 million supporting shared goals with the Mekong River Commission (MRC).
Coordinating with Mekong countries and other partners to conduct an expanded disaster relief exercise to strengthen local preparedness and responsiveness.
Sponsoring a series of policy dialogues on evolving opportunities and challenges in the Mekong region, to engage policy makers, local communities, and civil society.
Ongoing U.S. Engagement
We will continue supporting the resilience, transparency, and capacity of government institutions and civil society in countries in the Mekong region, making tangible improvements in the lives of people.
Infrastructure and Energy Investments
Building on $1 billion the U.S. International Development Finance Corporation (DFC) has already invested in Southeast Asia, the DFC aims to invest and catalyze billions more in Mekong infrastructure in the coming years. Foreign Ministers from Mekong partner countries committed to improving their respective business climates to facilitate two-way trade and investment in support of sustainable, high-quality, private sector-led economic development.
Through the Japan-U.S.-Mekong Power Partnership (JUMPP), the United States is providing technical and advisory support to strengthen national and regional power market development,responding to Mekong government priorities. U.S. assistance promotes high-quality and transparent power sector investment and capacity building to expand regional electricity trade in support of JUMPP and complementary Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy (ACMECS) and ASEAN Power Grid initiatives.
The United States and Japan, in a JUMPP Joint Statement, announced their intention to expand capacity building for countries in the Mekong region to strengthen energy sector governance, help unlock private investment in Mekong power sectors, and grow cross-border energy trade.
The Department of State’s Power Sector Program has provided over 1,000 hours of training to countries in the Mekong region. Our assistance has helped countries increase their use of renewable energy, promote cross-border electricity trade, improve tariff methodologies, and consider energy efficiency norms and standards. [U.] S. technical support has also helped Vietnam establish competitive power markets and improve system operation, and advised Thailand’s electric utility on establishing an energy trading company and on preparing for third-party access to transmission.
Water Security and Transboundary River Management
TheSustainable Infrastructure Partnership(SIP), established by the Friends of the Lower Mekong, strengthened good governance and cooperative management of the Mekong River’s natural resources through capacity building on emerging challenges and opportunities, including groundwater management, remote sensing, cumulative impacts assessment, and socio-economic information sharing.
SIP partner Eyes on Earth, Inc. conducted a study that revealed People’s Republic of China upstream dam operations had manipulated natural river flows in the Mekong River, generating widespread media attention and prompting renewed calls for greater transparency in transboundary river governance.
The Mekong Water Data Initiative (MWDI), with more than 60 government and non-governmental partners, continued to improvethe transboundary management of the Mekong River through data sharing and science-based decision making.
In 2019, the Secretary Pompeo launched the MWDI’s MekongWater.org platform, a clearinghouse for water-related data sharing, tools, and resources. The site now hosts more than 40 tools from 35+ global partners on river-basin mapping and hydrology, weather forecasting, open-source data analysis tools, ecosystems, and citizen science.
NexView partnered with countries in the Mekong region and the MRC to advance science-based decision making for the Mekong River. By visualizing MRC data with Arizona State University’s Decision Theater, NexView enables Mekong communities to explore the possible impacts and tradeoffs of water, energy, and food resources management choices.
Sister Rivers Exchange promoted sharing of best practices between the MRC and the Mississippi River Commission with ongoing exchanges on dam safety, shared vision planning, humanitarian assistance, and disaster response exercise and exchange.
The U.S. Army Corps of Engineers (USACE) supported Mekong countries in water and environmental security, disaster risk management technical engineering assistance, and humanitarian assistance construction projects. Examples include assisting the development of the 2021-2030 Mekong Basin Development Strategy, sharing best practices between the MRC and Mississippi River Commission, supporting Lao PDR’s national dam safety initiative, and constructing schools, clinics, water wells, and disaster management coordination centers throughout the Mekong region, including the National Institute for Nutrition in Lao PDR.
SERVIR-Mekong, a unique partnership between USAID and NASA, helped Mekong countries reduce vulnerability to drought and flooding exacerbated by upstream dam operations. Together with the MRC, SERVIR-Mekong launched the Drought Early Warning Platform to help forecast and track damaging effects of historical droughts in the Mekong basin.
Smart Infrastructure for the Mekong (SIM) designed a series of fishways in the Mekong region to protect food security.
Human Capital Investments
The Lower Mekong Initiative Young Scientist Program continues to invest in the next generation of students and young professionals in developing environmental, public health, entrepreneurial, and scientific skills. In 2019-2020, the program focused on the use of informatics tools to tackle vector-borne diseases such as dengue fever. In 2021, the program will focus on innovation in agricultural technologies.
The Gender-Based Violence Prevention and Response Initiative supports a coordinated, multi-sector, and comprehensive approach to addressing gender norms that lead to gender-based violence. These can include early and forced marriage, violence in schools, intimate partner violence, and physical and sexual abuse. The initiative reached over 223,000 men, women, boys, and girls through the roll out of new customary laws and community dialogues.
The United States supports women’s leadership by investing in women leaders in Rakhine State through USAID’s Community Strengthening Project, to promote lasting peace and inclusive economic development through collaborative solutions at the community level.
For further information and resources, please visit our new website:www.mekonguspartnership.org
By U.S. Embassy Bangkok | 8 December, 2020 | Topics: East Asia & Pacific, Fact Sheets | Launch of the Mekong-U.S. Partnership: Expanding U.S. Engagement with the Mekong Region | เปิดตัวหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง |
https://th.usembassy.gov/th/statement-secretary-pompeo-thailand-national-day-2020-th/ | สารจากไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
เนื่องในโอกาสวันชาติไทย
ในนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและชาวอเมริกัน ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมายังรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยเนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองวันชาติไทย
สหรัฐอเมริกามีความภาคภูมิใจในสัมพันธไมตรีและมิตรภาพของเรากับประเทศไทย ตลอดจนค่านิยมที่ทั้งสองประเทศมีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพ สันติภาพ และความมั่งคั่งรุ่งเรือง ไมตรีทางการทูตของเราดำเนินมากว่า 200 ปีแล้ว และเรายังคงยึดมั่นในสายสัมพันธ์ด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนของเราสองประเทศอย่างไม่เสื่อมคลาย การเปิดตัวหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ในปีนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีต่อชาติของเราได้เป็นอย่างดี และยังเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์บทใหม่ของเราอีกด้วย
ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีกับประชาชนชาวไทยในโอกาสที่ท่านเฉลิมฉลองวันชาติไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีโอกาสยกระดับและกระชับมิตรไมตรีของเราต่อไป
โดย U.S. Embassy Bangkok | 5 ธันวาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | STATEMENT BY SECRETARY MICHAEL R. POMPEO
The Kingdom of Thailand’s National Day
On behalf of the Government of the United States and the American people, I extend best wishes to the government and people of Thailand as you celebrate your National Day.
The United States is proud of our partnership and alliance with Thailand and our shared values of freedom, peace, and prosperity. After more than 200 years of diplomatic ties, we remain committed to the strong security, economic, and people-to-people ties that exist between our great countries. This year’s launch of the Mekong-U.S. Partnership reaffirmed the shared importance of the Mekong region to both of our countries and marks the next chapter in our historic relationship.
As Thais celebrates your National Day, I congratulate you while looking forward to expanding our ties and deepening our alliance.
By U.S. Embassy Bangkok | 5 December, 2020 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand, U.S. Secretary of State | Tags: Michael R. Pompeo, Thailand National Day | Statement by Michael R. Pompeo
Secretary of State:
The Kingdom of Thailand’s National Day | สารจากไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องในโอกาสวันชาติไทย |
https://th.usembassy.gov/th/remarks-by-under-secretary-for-political-affairs-david-hale-thailand-national-day-2020-th/ | สารจากเดวิด เฮล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการด้านการเมือง
เนื่องในโอกาสวันชาติไทย
5 ธันวาคม 2563
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ส่งคำทักทายมายังท่านทั้งหลายเนื่องในวันชาติแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นโอกาสให้เราคิดทบทวนถึงพันธมิตรที่เข้มแข็งและยาวนานระหว่างสหรัฐฯ และไทย
ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 187 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศของเราทั้งสอง มิตรภาพของเรามีหลายแง่มุม ทั้งยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่านิยมและผลประโยชน์ที่เรามีร่วมกัน
เมื่อเกือบ 200 ปีที่แล้ว มิชชันนารีชาวอเมริกัน นายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ (หมอบรัดเลย์) เป็นแพทย์ชาวตะวันตกคนแรกที่เดินทางไปเยือนไทย และได้นำแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขที่สำคัญอย่างวัคซีนไปด้วย และตั้งแต่นั้นมา ผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันและชาวไทยได้ร่วมมือกันพัฒนายารักษาโรคบางโรคที่ร้ายแรงที่สุดในโลกขึ้น รวมทั้งโรคโควิด-19
ในเดือนกันยายน สหรัฐฯ และไทยเป็นพันธมิตรในสนธิสัญญากันมาครบ 65 ปี กองทัพของเราได้ต่อสู้ร่วมกันนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา ปัจจุบัน กองทัพของสหรัฐฯ และไทย เข้าร่วมในการฝึกคอบร้า โกลด์ อันเป็นการฝึกซ้อมทางทหารครั้งสำคัญที่จัดขึ้นทุกปีในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และในปีนี้ด้วยเช่นกันที่เราได้เปิดตัวการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐฯ และไทย ไปจนถึงหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ซึ่งข้อริเริ่มทั้งสองนั้นสะท้อนถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของสหรัฐฯ เพื่อความมั่งคั่ง มั่นคง และเพื่อเอกราชของชาติไทย
อเมริกาและไทยได้เป็นมิตร คู่ค้า และพันธมิตรตลอดช่วง 200 ปีที่ผ่านมา เราหวังว่าจะได้เป็นเพื่อนที่ดีและมั่นคงต่อกันไปอีก 2 ศตวรรษข้างหน้าและสืบต่อไป
โดย U.S. Embassy Bangkok | 5 ธันวาคม, 2020 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย | Remarks for Thailand National Day by
Under Secretary for Political Affairs, David Hale
December 5, 2020
It is my honor to greet you on occasion of the National Day of the Kingdom of Thailand. This is an opportunity to reflect on the enduring strength of the American-Thai alliance.
This year marks the 187th anniversary of formal diplomatic ties between our two countries. Our relationship is multifaceted, grounded in shared values and interests.
Almost 200 years ago an American missionary, Dr. Dan Beach Bradley, became the first Western physician to visit Thailand, helping introduce critical public health practices like vaccination.
Since then, American and Thai experts have collaborated to develop medicines to fight some of the world’s most harmful diseases, including COVID-19.
In September, we marked 65 years as treaty allies. Our forces have fought together since World War One. Today they participate together in the Indo-Pacific region’s annual flagship military exercise, Cobra Gold.
This year, we launched the United States-Thailand Energy Policy Dialogue and the Mekong-U.S. Partnership. These developments reflect America’s deepening commitment to Thailand’s prosperity, security, and autonomy.
America and Thailand have become friends, partners, and allies over the past 200 years. We look forward to continuing our “Great and Good Friendship” over the next two centuries and beyond.
By U.S. Embassy Bangkok | 5 December, 2020 | Topics: U.S. & Thailand | Tags: Thailand National Day | Remarks by Under Secretary for Political Affairs, David Hale: Thailand National Day | สารจากเดวิด เฮล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการด้านการเมือง เนื่องในโอกาสวันชาติไทย |
https://th.usembassy.gov/th/video-message-from-u-s-senator-ladda-tammy-duckworth-illinois-on-thai-national-day-2020-th/ | สารจากลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ สมาชิกวุฒิสภาแห่งสหรัฐอเมริกาจากรัฐอิลลินอยส์
เนื่องในวันชาติไทย 2563
สวัสดีค่ะ สวัสดีค่ะทุกคน ดิฉัน วุฒิสมาชิกแทมมี่ ดักเวิร์ธ ขอให้เพื่อน ๆ ชาวไทยทุกคนมีความสุขในวันชาติ 5 ธันวาคมนี้นะคะ ดิฉันภูมิใจมากในมิตรภาพระหว่างไทยและสหรัฐฯ ดิฉันมองว่าตัวเองเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความสัมพันธ์นั้นในฐานะลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้แสดงความยินดีกับราชอาณาจักรไทยในโอกาสอันดีนี้ และถวายความเคารพในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ดิฉันได้มีส่วนร่วมนะคะ และขอกล่าวอีกครั้งว่า สุขสันต์วันชาติค่ะ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 5 ธันวาคม, 2020 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย | A Video Message from U.S. Senator Ladda Tammy Duckworth (Illinois) on Thai National Day 2020
Sawasdee kha. Hi everyone, it’s Senator Tammy Duckworth here to wish all of my Thai friends a very Happy National Day, this December the 5th. I’m so proud of the Thai-U.S. relationship. I think of myself as a symbol of that as a Thai-American. It is my great honor to be able to congratulate the Kingdom of Thailand on this wonderful national day and to also pay my respect to both the late Rama the 9th as well as your current King. Thank you everyone for letting me be a part of this. And again, Happy National Day.
By U.S. Embassy Bangkok | 5 December, 2020 | Topics: U.S. & Thailand | Tags: Thailand National Day | A Video Message from U.S. Senator Ladda Tammy Duckworth (Illinois) on Thai National Day 2020 | สารจากลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ สมาชิกวุฒิสภาแห่งสหรัฐอเมริกาจากรัฐอิลลินอยส์ เนื่องในวันชาติไทย 2563 |
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-desombre-remarks-ipbf-2020-th/ | คำกล่าวในการเสวนาหัวข้อ “โอกาสและอนาคตทางธุรกิจในประเทศลุ่มน้ำโขง”
ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum
โดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
คำกล่าวเปิด
สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน ยินดีต้อนรับสู่การเสวนาหัวข้อ “โอกาสและอนาคตทางธุรกิจในประเทศลุ่มน้ำโขง” ครับ
ผม ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมกับทุกท่านในงานวันนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุม Indo-Pacific Business Forum เวทีธุรกิจสำคัญในเอเชียที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุน และในปีนี้มีรัฐบาลเวียดนามเป็นเจ้าภาพร่วม ผมขอขอบคุณผู้จัดและเจ้าภาพที่ทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วงในช่วงสถานการณ์อันยากลำบาก
ผมได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มาเข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ ได้แก่ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศกัมพูชา แพทริค เมอร์ฟี, เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศลาว ปีเตอร์ เฮย์มอนด์, เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศเวียดนาม แดเนียล เจ. คริเทนบริงค์ และอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศเมียนมา เกว็น คาร์ดโน
สำหรับรูปแบบการดำเนินรายการนั้น ท่านทูต อุปทูต และผมจะผลัดกันอภิปรายกันคนละประมาณ 5 นาที โดยจะพูดถึงบรรยากาศในปัจจุบันและอนาคตทางธุรกิจของประเทศที่เราปฏิบัติหน้าที่อยู่ รวมถึงประโยชน์ที่อาจจะหลั่งไหลเข้ามาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจากการลงทุนของสหรัฐฯ จากนั้นจะเป็นช่วงการถาม-ตอบ อีก 15 นาทีนะครับ
ในระหว่างการอภิปราย ผมอยากให้ท่านผู้ชมส่งคำถามมาทางหน้าต่างสนทนาในโปรแกรมนี้ เราจะพยายามตอบคำถามให้มากที่สุดเท่าที่เวลาจะอำนวย ขอให้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นคำถามสำหรับวิทยากรท่านไหนด้วยนะครับ
สุดท้ายนี้ ผมอยากจะเรียนให้ท่านทราบว่า จริง ๆ แล้วเราอยากจะจัดงานให้วิทยากรทุกท่านได้มาเจอกันบนเวทีมากกว่า ผมมั่นใจว่าเดี๋ยวเราจะได้หารือถึงความท้าทายและอุปสรรคมากมายที่เป็นผลมาจากโรคระบาดใหญ่ในปัจจุบัน
ทว่า เรามุ่งมั่นที่จะพูดคุยกันถึงโอกาสอันดีที่เกิดขึ้นระหว่างที่เราฟื้นตัวจากการระบาดนี้ไปพร้อมกันและปรับตัวรับ “นิวนอร์มัล” เสียมากกว่า โดยพิจารณาคำถามต่าง ๆ เช่น ห่วงโซ่อุปทานจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างไร อุตสาหกรรมใหม่ใดบ้างที่มีแววจะรุ่ง ความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอะไรบ้างที่ถูกมองข้ามมานานและเราสามารถทำให้สำเร็จลุล่วงได้ในขณะนี้ ผู้สร้างนวัตกรรมและผู้ประกอบการจะรับมือกับความท้าทายเร่งด่วนอันดับต้น ๆ ได้อย่างไร
และในโอกาสนี้ ขอเชิญวิทยากรท่านแรกของเรา เอกอัครราชทูตคริเทนบริงค์ จากเวียดนามครับ
คำกล่าวโดยเอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
ขอบคุณครับ ขอแนะนำตัวอีกครั้ง ผม ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย
ในอีกประมาณ 5 นาทีต่อจากนี้ ผมอยากจะแลกเปลี่ยนข้อมูลภาพรวมบรรยากาศการลงทุนของไทยและเหตุผลที่บริษัทต่าง ๆ เลือกที่จะเข้ามาในไทย รวมถึงยกตัวอย่างความช่วยเหลือที่เรามอบให้แก่ไทย เพื่อทำให้ประเทศดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้มากยิ่งขึ้นไปอีก และยังจะอภิปรายด้วยว่า นักลงทุนและบริษัทอเมริกันสร้างประโยชน์ให้กับการพัฒนาไทยและภูมิภาคนี้ได้อย่างไรบ้าง
ก่อนอื่น ผมอยากจะเล่าเรื่องราวของตัวเองสักเล็กน้อย ผมเข้าสู่แวดวงราชการหลังทำงานในภาคเอกชนมานานกว่า 20 ปี โดยได้ช่วยหลากหลายบริษัทให้ลงทุนและสร้างธุรกิจให้เติบโตทั่วเอเชีย
หลังได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีทรัมป์ ผมมาถึงไทยในช่วงปลายเดือนมกราคม และหวังว่าจะได้ใช้ความเชี่ยวชาญของตนเองให้เกิดประโยชน์
แต่ยังไม่ทันไร ก็เกิดโรคระบาดใหญ่ขึ้นเสียก่อน ท่านคงเข้าใจดีว่า เกิดผลกระทบมหาศาลเพียงใดต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทย รวมถึงภารกิจสำคัญในระยะสั้นของผมในฐานะเอกอัครราชทูตด้วย
ทว่า โชคดีที่ไทยรับมือกับโรคระบาดใหญ่ได้ดีเยี่ยม และได้คลายมาตรการล็อกดาวน์ที่เคร่งครัดไปแล้วเกือบทั้งหมด ซึ่งผมจะได้ขยายความต่อไปในอีกสักครู่
และตอนนี้ รัฐบาล ภาคเอกชน และประชาชนชาวไทยต่างก็กำลังวางแผนเชิงรุกสำหรับช่วงเวลาต่อจากนี้ “นิวนอร์มัล” ของไทยจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ผมตอบรับคำขอจากภาคีของเราในรัฐบาลไทย ด้วยการพัฒนาข้อแนะนำที่เฉพาะเจาะจงในด้านต่าง ๆ เช่น การดึงดูดการลงทุนที่มากขึ้นจากสหรัฐฯ รวมทั้งห่วงโซ่อุปทานที่ย้ายฐานออกจากจีน ตลอดจนวิธีพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินระดับภูมิภาค พร้อมทั้งการเอื้ออำนวยให้เกิดระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจเงินร่วมลงทุนและสตาร์ตอัป เป็นต้น
เพื่อพัฒนาข้อแนะนำเหล่านี้ ผมพูดคุยกับบริษัทและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินสัญชาติอเมริกัน ทั้งในและนอกประเทศไทย จึงได้ทราบเหตุผลของทั้งบริษัทที่เลือกก่อตั้งธุรกิจที่นี่ และบริษัทที่เลือกประเทศอื่น
สิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้คือ โรคระบาดใหญ่ได้ทำให้หลายบริษัททบทวนการดำเนินธุรกิจ การลงทุน และห่วงโซ่อุปทานของตนในระดับสากล เพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบทางธุรกิจเหล่านี้มีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง
ห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัยมีอยู่ในนานาประเทศที่เป็นมิตรและพันธมิตรซึ่งต่างยึดมั่นในความโปร่งใส โอกาสที่เป็นเอกเทศ และตลาดเสรีที่ปราศจากการครอบงำของรัฐ
ห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อถือได้มีอยู่ในนานาประเทศที่สื่อมีเสรีภาพและความเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีระบบศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ ซึ่งต่างยึดถือหลักนิติธรรมและหลักความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญา
และห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงมีอยู่ในนานาประเทศที่บริษัทต่าง ๆ ปลอดภัยจากการโจรกรรมทางไซเบอร์และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ดังนั้น สาเหตุหนึ่งที่บริษัทอเมริกันเลือกไทย ก็เพราะความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไทยนั้นเข้มแข็ง อีกทั้งมีพื้นฐานอยู่บนความยึดมั่นในค่านิยมเหล่านี้ร่วมกัน
สัมพันธไมตรีทางการค้าของสหรัฐฯ และไทยแน่นแฟ้นและดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ พ.ศ. 2376 ซึ่งยังคงมอบสิทธิพิเศษให้กับบริษัทอเมริกันในไทยจนถึงปัจจุบัน
บริษัทสัญชาติอเมริกันหลายแห่งดำเนินการในไทยมาหลายชั่วอายุคน โดยรวมแล้วพวกเขาลงทุนในไทยหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และเราก็ยังคงเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย
ผมยังอยากจะกล่าวเน้นถึงความร่วมมือด้านการสาธารณสุขของเรา ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษในสถานการณ์ปัจจุบัน
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร หรือ AFRIMS ได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ไทยมากว่า 60 ปี โดยพัฒนาวัคซีนใหม่ ๆ ที่ช่วยชีวิตผู้คนมากมาย
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) มีสำนักงานนอกประเทศขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่กรุงเทพฯ และทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับกระทรวงสาธารณสุขของไทย รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ในการรับมือกับโรคระบาดต่าง ๆ
ผมมั่นใจว่าความร่วมมือของเรามีส่วนสร้างเสริมการสาธารณสุขของไทยให้สามารถรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี
เราแทบไม่พบการติดเชื้อภายในประเทศมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม วิถีชีวิตของผู้คนกลับคืนสู่ปกติแล้วในหลายแง่มุม นับว่าไทยประสบความสำเร็จเป็นระดับต้น ๆ ของโลกในด้านดังกล่าว
รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการเพื่อต่อยอดความสำเร็จนี้ให้ได้มากที่สุด เพื่อดึงดูดบรรดาบริษัทและห่วงโซ่อุปทานให้เข้ามาในไทย
นอกจากนี้ บริษัทสหรัฐฯ ยังเทคะแนนให้ไทย เนื่องจากตอบสนองต่อโรคระบาดใหญ่โดยให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ กับการพยุงการค้าและอุตสาหกรรมไว้
โรงงานอเมริกันหลายแห่งยังคงดำเนินการได้เต็มศักยภาพหรือใกล้เคียง แม้จะเป็นช่วงที่ไทยอยู่ระหว่างการปิดประเทศอย่างเข้มงวดที่สุด และบางบริษัทก็ยังสามารถย้ายฐานการดำเนินงานมาที่ไทยได้ในระหว่างเกิดโรคระบาดใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการล็อกดาวน์ที่มีข้อจำกัดมากเกินไปในประเทศอื่น ๆ
ไทยยังมีฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในภาคยานยนต์และอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลาง
ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 ประเทศไทยกำลังมุ่งเน้นการดึงดูดการผลิตและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและล้ำสมัยใน 12 ภาคส่วน ซึ่งรวมไปถึงอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ตลอดจนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการบิน
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ สนับสนุนยุทธศาสตร์นี้ด้วยการนำเสนอสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่หลากหลายให้แก่นักลงทุนต่างชาติ โดยจำแนกตามภาคธุรกิจ ประเภทของการลงทุน และปัจจัยอื่น ๆ
บีโอไอยังมอบสิทธิประโยชน์พิเศษให้กับบริษัทที่อยากจะจัดตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในไทยอีกด้วย
บริษัทสัญชาติอเมริกันรายงานว่า บรรดาสิทธิประโยชน์ที่บีโอไอมอบให้สร้างแรงจูงใจสูง และยังมองว่าหน่วยงานมีความเป็นมืออาชีพ การดำเนินงานด้านการสนับสนุน และความโปร่งใสเป็นเลิศ
บีโอไอยังสามารถมอบตัวเลือกสิทธิประโยชน์ที่มีความยืดหยุ่นได้ด้วย ตัวอย่างเช่น การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกิจการสูงสุดถึง 10 ปี การยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับเครื่องจักรกล วัตถุดิบ และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ตลอดจนการยกเว้นอีกมากมายที่ทั้งเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร โดยพิจารณาตามประเภท ภาคธุรกิจ และตำแหน่งที่ตั้งของการลงทุน
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อกับบีโอไอโดยตรงนะครับ พวกเขามีสำนักงานกระจายอยู่ทั่วโลก รวมถึงในนิวยอร์กและลอสแอนเจลิส และทีมงานของผมเองก็ยินดีที่จะเป็นตัวกลางในการประสานงานสำหรับนักลงทุนที่สนใจ
โครงการริเริ่มด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย นั่นคือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาในพื้นที่ 3 จังหวัด และประกอบไปด้วยการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานซึ่งรองรับการพัฒนาที่ล้ำสมัยในรูปแบบของถนน รถไฟความเร็วสูง ท่าอากาศยาน และท่าเรือใหม่ ๆ
สำนักงานอีอีซี มีบทบาทหน้าที่ในการนำเสนอสิทธิประโยชน์พิเศษต่าง ๆ รวมถึงข้อยกเว้นด้านกฎระเบียบที่ดึงดูดใจยิ่งกว่าบีโอไอเสียอีก
ไม่นานมานี้ผมได้ไปเยือนอีอีซี และยินดีที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า บริษัทสหรัฐฯ ทั้งหมดที่ผมได้เข้าเยี่ยมชมกำลังขยายการดำเนินงาน เดินหน้าวิจัยและพัฒนา ตลอดจนสร้างนวัตกรรมในพื้นที่ ดูเหมือนว่าโครงการอีอีซีกำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องนะครับ
ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน ทั้งยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหนือขั้น จึงเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และการคมนาคมสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป
เรากำลังร่วมมือกับไทยในการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว และใช้ประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพด้านโลจิสติกส์และการคมนาคมรูปแบบผสมผสาน
เราสนับสนุนให้ไทยปฏิรูปกระบวนการด้านศุลกากร เพื่ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพในการส่งสินค้าจากการคมนาคมรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น จากเครื่องบินไปสู่รถบรรทุก
ผมทราบมาว่าหนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในประเด็นนี้คือ ขั้นตอนทางราชการที่ยุ่งยากและระบบราชการที่จุดผ่านแดนทางบกของภูมิภาค
ด้วยเหตุดังกล่าว ผมจึงอยากใช้เวทีในวันนี้เชิญชวนท่านทูตคนอื่น ๆ ในภูมิภาคมาช่วยกันอำนวยให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้ามพรมแดน รวมทั้งข้อตกลงและกระบวนการด้านศุลกากรที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าระบบโลจิสติกส์ของภูมิภาคนี้จะไร้รอยต่อ
ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ สหรัฐฯ และไทยได้ร่วมกันก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นในความร่วมมือด้านพลังงาน โดยได้จัดการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสองประเทศเป็นครั้งแรก
ในระหว่างการประชุมระดับสูงนี้ สหรัฐฯ เน้นย้ำความตั้งใจที่จะช่วยให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานระดับภูมิภาคตามที่มุ่งหวัง
ความสำเร็จนี้จะสร้างโอกาสทางการค้าให้ทั้งบริษัทสัญชาติอเมริกันและไทย และยกระดับบรรยากาศการดำเนินธุรกิจในภูมิภาค ด้วยการเข้าถึงแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้มากขึ้นและราคาถูกลงได้มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ การเร่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นหนึ่งในเรื่องดี ๆ ท่ามกลางโรคระบาดใหญ่
เรากำลังช่วยสนับสนุนไทยในด้านนี้เช่นกัน โดยการปรับเปลี่ยนบริการทางการเงินให้เป็นระบบดิจิทัล การพัฒนาเมืองอัจฉริยะและโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาด้านอื่น ๆ
จากการที่ได้เดินทางไปทั่วประเทศและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทางการไทย ผมได้เห็นประโยชน์อันมีลักษณะเฉพาะหลายประการที่บริษัทอเมริกันนำมาสู่ประเทศไทย
บริษัทอเมริกันเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม อีกทั้งยังมีความโดดเด่นในด้านที่มักจะถูกมองข้าม เช่น การพัฒนาบุคลากร แรงงานสัมพันธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความโปร่งใส และความปลอดภัยในที่ทำงาน
ปัจจัยเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้บริษัทสหรัฐฯ ได้เปรียบทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาของประเทศอีกด้วย
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทางการไทยจึงกระตือรือร้นกับการลงทุนของอเมริกา
และเช่นเดียวกัน สถานทูตเองก็กระตือรือร้นที่จะได้ช่วยท่านทั้งหลายค้นหาวิธีส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการเงินที่ยืนนานของเราสองประเทศ ซึ่งมิตรไมตรีนี้ได้สร้างคุณูปการให้ทั้งสหรัฐฯ และไทยมาแล้วมากมาย
หากท่านต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสในไทยเพิ่มเติม สามารถติดต่อผม และทีมเศรษฐกิจและการค้าของผมที่สถานทูตได้เลยนะครับ
ขอบคุณครับ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 ตุลาคม, 2020 | ประเภท: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, สหรัฐอเมริกาและไทย | Remarks by U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre
for Indo-Pacific Business Forum Panel Discussion
“Business Opportunities and Outlook in the Mekong Countries”
Introduction
Ladies and gentlemen, welcome to the panel discussion ‘Business Opportunities and Outlook in the Mekong Countries.’
I am Michael George DeSombre, U.S. Ambassador to the Kingdom of Thailand. It is a privilege to join you today as part of the Indo-Pacific Business Forum, the premier U.S.-sponsored business event in Asia. This year, the Forum is co-hosted by the Vietnamese Government, and I would like to thank the organizers and hosts for putting on such a successful event under difficult circumstances.
I am honored to be joined on this panel by U.S. Ambassador to Cambodia Patrick Murphy, U.S. Ambassador to Laos Peter Haymond, U.S. Ambassador to Vietnam Daniel Kritenbrink, and the Charge D’Affaires of the U.S. Mission to Myanmar, Gwen Cardno.
By way of format, my fellow Chiefs of Mission and I will each speak for approximately five minutes about the current business climate and outlook in our respective countries and the significant benefits U.S. investment can bring to the Mekong region. We will then have about 15 minutes for Q&A.
I encourage you to please submit questions as we move along through the chat window in the platform and we will answer as many of them as we can within the time allotted. I would ask that when you submit a question please make clear which of us you are addressing.
Finally, I would just like to note that obviously we would prefer to be together on one stage for this discussion, and I am sure we will discuss the many challenges and hardships the pandemic has brought.
But we intend to focus more on identifying positive opportunities as we collectively emerge from the pandemic into a new normal, asking questions such as: How will supply chains realign? Which new industries will thrive? What long-ignored structural changes can we now make? How will innovators and entrepreneurs address our most pressing challenges?
With that, I would now like to hand it over to Ambassador Kritenbrink to kick us off in Vietnam.
Ambassador’s Remarks
Thank you. Again, I am Michael George DeSombre, U.S. Ambassador to the Kingdom of Thailand.
Over the next five minutes or so, I want to share with you a brief overview of the Thai investment climate and why companies choose Thailand; highlight some of our efforts to help Thailand become even more attractive to foreign investors; and talk about the unique advantages U.S. investors and companies bring to the Thailand and the region.
First, a little about myself: I came to government service after more than 20 years in the private sector, helping companies invest and grow their businesses around Asia.
After being appointed by President Trump, I arrived in Thailand in late January, looking to bring my expertise to bear.
I had barely begun when the pandemic hit, which as you can imagine had a huge impact both on Thailand’s economic outlook and on my short-term priorities as Ambassador.
Fortunately, Thailand handled the pandemic well and has been able to relax nearly all of the most restrictive lockdown measures, which I will talk about in a minute.
And now, the government, private sector, and the Thai people are actively working out what comes next. What does the new normal look like for Thailand?
At the request of our Thai government partners, since June I have developed specific recommendations to help Thailand attract more U.S. investment, capture supply chains relocating from China, become a regional financial services hub, foster a venture capital and start-up ecosystem, and more.
To develop these recommendations, I spoke to numerous U.S. companies and financial experts both inside and outside Thailand. In doing so, I learned a lot about why the companies that are here chose Thailand, and why the companies that are not chose somewhere else.
One thing I have learned is that the pandemic has led many companies to reexamine their global business operations, investments, and supply chains to ensure they are safe, reliable, and secure.
Safe supply chains run through countries that are friends and allies that share a commitment to transparency, individual opportunity, and markets free from domination by the State.
Reliable supply chains run through countries with a free and robust media, and an independent judiciary, that share a commitment to the rule of law and sanctity of contracts.
And secure supply chains exist in countries where companies are protected from cyber theft and violations of their intellectual property rights.
One reason U.S. companies choose Thailand, therefore, is because the U.S.-Thai relationship is strong and based on mutual commitment to these shared values.
The U.S. and Thailand have enjoyed an unbroken close commercial relationship since the 1833 Treaty of Amity and Commerce, which still affords special privileges to U.S. companies operating here.
Many U.S. companies have been operating in Thailand for generations. American companies have collectively invested tens of billions of dollars in Thailand, and the United States remains Thailand’s top export market.
I also want to specifically highlight our health cooperation, which is particularly relevant given current circumstances.
The Armed Forces Research Institute of Medical Sciences, or AFRIMS, has been cooperating with Thai scientists for over sixty years, developing cutting-edge vaccines that have saved countless lives.
The U.S. Centers for Disease Control and Prevention has its largest office outside of the United States in Bangkok and has been working closely with the Ministry of Public Health and other Thai officials on pandemic response.
I am confident that our cooperation contributed to Thailand’s strong public health response to the COVID-19 pandemic.
We have had essentially no domestically transmitted cases since May, and in many ways daily life has returned to normal. Thailand is one of the world’s success stories in this regard.
The Thai government is now working to capitalize on this success to attract companies and supply chains to Thailand.
Furthermore, U.S. companies broadly give Thailand’s pandemic response strong marks for prioritizing the preservation of commerce and industry.
Many U.S. factories continued to run at or near capacity even at the height of the lockdown, and some companies even moved operations to Thailand during the pandemic to escape restrictive lockdowns in other countries.
Thailand has a strong manufacturing base, particularly in the automotive sector and other mid-range manufacturing.
Under its Thailand 4.0 development strategy, Thailand is now focused on attracting next generation, high-value-added manufacturing and services in 12 key sectors, among them next-generation automobiles; smart electronics; robotics; and logistics and aviation.
The Thai Board of Investment, or BOI, supports this strategy by offering a broad range of investment incentives to foreign investors, depending on sector, type of investment, and other factors.
BOI also offers special incentives for companies looking to establish regional headquarters in Thailand.
U.S. companies report that BOI’s incentive packages are very competitive. They rate BOI highly for professionalism, support, and transparency.
BOI can offer a flexible menu of incentives including: corporate income tax exemptions for up to 10 years; exemptions to import duties for machinery, raw materials, and other inputs; and many other tax and non-tax exemptions depending on type, sector, and location of investment.
For more information, contact the BOI directly. The BOI maintains offices around the world, including in New York and Los Angeles. My team is also happy to make connections for interested investors.
Thailand’s signature economic development initiative is the Eastern Economic Corridor, or EEC, an area-based development project that covers three provinces and involves the construction of industrial estates and next-generation support infrastructure in the form of new roads, high-speed rail, airports, and seaports.
The EEC Office has the authority to offer special incentives and regulatory concessions above and beyond those offered by the BOI.
I recently toured the EEC, and I am pleased to report that all the U.S. companies I visited there were in the process of expanding operations, moving into R&D, and innovating onsite. It appears the EEC project is moving in the right direction.
Thailand is located at the heart of ASEAN, has superior infrastructure, and is therefore a natural fit as a logistics and transportation hub for mainland Southeast Asia.
We are currently working to help Thailand integrate its existing infrastructure and optimize intermodal transport and logistics capabilities.
We are encouraging reforms to customs procedures to allow cargo to be efficiently transferred from one mode of transport to another, for instance from air to truck.
I have heard that one of the major challenges in this regard is red tape and bureaucracy at regional land border crossings.
I would like to use this platform today, therefore, to invite my fellow regional Ambassadors to facilitate cross-border infrastructure upgrades and more efficient customs agreements and procedures to ensure seamless regional logistics.
Earlier this week, the United States and Thailand took an important step forward in our collaboration on energy issues by holding our first ever Energy Policy Dialogue.
During this high-level event, the United States reaffirmed its commitment to help Thailand realize its vision of becoming a regional energy hub.
This will create commercial opportunities for both American and Thai companies and improve the business operating environment in the region through broader access to more reliable, less expensive sources of energy.
One of the silver linings of the pandemic has been the acceleration of the development of the digital economy.
We are working to help Thailand in this regard as well, through the digitization of financial services, the development of smart cities and digital infrastructure, and other areas.
In my travels throughout Thailand and my conversations with Thai officials, I have seen the specific benefits U.S. companies can bring to Thailand.
U.S. companies are leaders in technology and innovation, but also in often overlooked areas such as workforce development, labor relations, corporate social responsibility, transparency, and workplace safety.
These factors not only give U.S. companies a competitive advantage, they contribute to Thailand’s achievement of its development goals.
This is why Thai officials are eager for U.S. investment.
And we at the Embassy are likewise eager to help you explore how you can contribute to our long-standing economic and commercial relationship, which has brought so much benefit to both our nations.
If you want to learn more about the opportunities here, and please do not hesitate to reach out to me and my economic and commercial team at the Embassy.
Thank you.
By U.S. Embassy Bangkok | 28 October, 2020 | Topics: East Asia & Pacific, U.S. & Thailand | Tags: IPBF | Remarks by U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre for Indo-Pacific Business Forum Panel Discussion | คำกล่าวในการเสวนาหัวข้อ “โอกาสและอนาคตทางธุรกิจในประเทศลุ่มน้ำโขง” ในการประชุม Indo-Pacific Business Forum โดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/inaugural-united-states-thailand-energy-policy-dialogue-th/ | การประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 1
เอกสารแถลงการณ์ข่าวร่วม
ข้อความต่อไปนี้เป็นแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทย
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ โดยมีนายฟรานซิส อาร์. แฟนนอน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายทรัพยากรพลังงาน และนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานของไทย ทำหน้าที่หัวหน้าคณะของทั้งสองฝ่าย พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานสหรัฐฯ และไทยเข้าร่วมการประชุม
การประชุมดังกล่าวเป็นเวทีที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างสหรัฐฯ และไทย โดยมุ่งเน้นความร่วมมือในการสร้างการเติบโตของตลาดพลังงาน เสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน และขยายการเชื่อมโยงภาคพลังงานไฟฟ้าในอาเซียนและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทั้งสหรัฐฯ และไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในระดับทวิภาคี ซึ่งมุ่งส่งเสริมกิจกรรมด้านการค้าพลังงาน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการความร่วมมือด้านพลังงานในประเทศไทย รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของความร่วมมือและการสนับสนุนทางวิชาการในอนาคต
ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 2 ร่วมกับผู้นำภาคธุรกิจ ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ตามปกติ และได้เห็นชอบที่จะขยายกิจกรรมความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และไทยเพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของพลังงานสะอาด ตลอดจนน้ำมันและก๊าซ พลังงานทางเลือก ประสิทธิภาพพลังงาน และภาคการผลิตไฟฟ้าอีกด้วย
โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 ตุลาคม, 2020 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย | Inaugural United States-Thailand Energy Policy Dialogue
Joint Press Statement
The following text was released by the Governments of the United States and Thailand:
Representatives from the United States and Thailand convened for the inaugural United States-Thailand Energy Policy Dialogue in a virtual format on October 27. Assistant Secretary of State for Energy Resources Francis R. Fannon and Thai Ministry of Energy Permanent Secretary Kulit Sombatsiri led the delegations.
The discussion reinforced the role of energy cooperation in strengthening the U.S.-Thai partnership and focused on growing energy markets, developing renewable energy opportunities, and expanding power sector integration in ASEAN and the Mekong region. The two countries recognized the importance of ongoing bilateral cooperation, with an emphasis on promoting commercial engagement. In addition, both delegations reviewed the progress of current energy projects in Thailand and established priorities for future cooperation and technical support.
The United States and Thailand discussed plans to hold a second, in-person, dialogue in Thailand with business leaders once travel conditions allow, and to expand U.S.-Thai cooperation in clean energy supply chains, as well as in the oil and gas, alternative energy, energy efficiency, and power generation sectors.
By U.S. Embassy Bangkok | 28 October, 2020 | Topics: U.S. & Thailand | Inaugural United States-Thailand Energy Policy Dialogue Joint Press Statement | การประชุมหารือเชิงนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ครั้งที่ 1 |
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-michael-george-desombre-presented-his-letters-of-credence-to-his-majesty-king-maha-vajiralongkorn-phra-vajiraklaochaoyuhua-th/ | เมื่อวันที่25ตุลาคม2563เอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
https://th.usembassy.gov/wp-content/uploads/sites/90/102520-ambassador-desombre-presented-letters-of-credence.mp4
โดย U.S. Embassy Bangkok | 26 ตุลาคม, 2020 | ประเภท: อดีตเอกอัครราชทูต | Ambassador Michael George DeSombre presented his Letters of Credence to His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua as Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary to the Kingdom of Thailand at a ceremony held at Ambara Villa, Dusit Palace on October 25, 2020.
https://th.usembassy.gov/wp-content/uploads/sites/90/102520-ambassador-desombre-presented-letters-of-credence.mp4
By U.S. Embassy Bangkok | 26 October, 2020 | Topics: Former U.S. Ambassadors | Ambassador Michael George DeSombre presented his Letters of Credence to His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua | เอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง |
https://th.usembassy.gov/th/indo-pacific-virtual-conference-on-strengthening-governance-of-transboundary-rivers-th/ | คำกล่าวปิดการประชุม Indo-Pacific Conference ผ่านระบบออนไลน์
ว่าด้วยการเสริมสร้างการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดน
โดย เอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
ก่อนอื่น ผมขอกล่าวขอบคุณ คุณสทู ลิเม และทีมผู้จัดงานจากศูนย์ East-West Center ขอขอบคุณท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีสติลเวลล์ ตลอดจนเพื่อนร่วมงานจากกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงพวกท่านทุกคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากทั่วเอเชียและทั่วโลก ที่มาประชุมร่วมกันในวันนี้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและช่วยกันสร้างอนาคตที่มั่งคั่งยิ่งขึ้นให้แก่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้ยินท่านเลขาธิการ สมเกียรติ ประจำวงษ์ กล่าวถึงประเด็นที่มีความสำคัญว่าด้วยการทำให้แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำแห่งความมั่งคั่ง ความเชื่อมโยง และความยั่งยืน
สำหรับผมแล้ว การอภิปรายหารือกันในวันนี้เน้นย้ำไม่เพียงแต่ประเด็นความท้าทายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเร่งด่วนอย่างมากของการส่งเสริมข้อตกลงและสถาบันด้านการจัดการน้ำข้ามพรมแดนของเราด้วย ภัยแล้งในปีนี้ที่ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีสติลเวลล์ได้กล่าวถึงนั้นเป็นสัญญาณเรียกให้มีการดำเนินการ พวกเราในประเทศไทยและทั่วทั้งภูมิภาคได้เป็นพยานถึงการหาเลี้ยงชีพ ความเจริญมั่งคั่ง และชีวิตของผู้คนหลายสิบล้านคนที่พึ่งพาแม่น้ำโขงที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย
งานนี้เป็นงานที่ยากลำบาก การสร้างสมดุลระหว่างความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละประเทศในลุ่มน้ำโขงที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก จำเป็นจะต้องมีภาระรับผิดชอบ ความโปร่งใส การสนับสนุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเหนือสิ่งอื่นใดคือ จะต้องมีความไว้วางใจกัน
ชิคาโก บ้านเกิดของผม ตั้งอยู่ที่เกรตเลกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งน้ำที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก สหรัฐฯ และแคนาดาได้เผชิญกับความท้าทายมากมายเกี่ยวกับแหล่งน้ำเหล่านี้ แม้กระนั้นด้วยสถาบันที่มีความเข้มแข็งอย่างคณะกรรมาธิการร่วมนานาชาติ (International Joint Commission) ซึ่งกรรมาธิการเจน คอร์วินได้กล่าวถึงในวันนี้ ทำให้ในช่วงเวลากว่า 100 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศได้ค้นพบวิธีการในการแบ่งปันและจัดการแหล่งน้ำข้ามพรมแดนร่วมกันเพื่อพัฒนาชีวิตของพลเมืองจากทั้งสองฝั่งของพรมแดน
โชคดีที่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีสถาบันลักษณะดังกล่าวเช่นกัน นั่นคือ คณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง (Mekong River Commission) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2500 และเป็นแม่แบบที่มีมายาวนานของความร่วมมือในระดับภูมิภาค อีกทั้งยังเป็นหัวใจสำคัญของการอภิปรายของเราในวันนี้ด้วย ดังเช่นที่เราได้ทราบกันแล้วว่า การพัฒนาศักยภาพขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงเป็นหนึ่งในวิธีที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถส่งเสริมการใช้ทรัพยากรแม่น้ำโขงที่มีความอุดมสมบูรณ์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ดร. ฮัดดา ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กล่าวในวันนี้ว่า คณะกรรมาธิการฯ กำลังทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อหาทางออกด้านการทูตว่าด้วยเรื่องน้ำ อันจะส่งเสริมหลักการการใช้น้ำอย่างเหมาะสมและเท่าเทียม พวกเราจะต้องร่วมกันดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของคณะกรรมาธิการฯ ในการแก้ไขความขัดแย้งที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกัน ทั้งภายในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและกับประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาค
ผมยินดีที่จะกล่าวถึงบทบาทอันโดดเด่นและยาวนานของรัฐบาลสหรัฐฯ ในความพยายามเหล่านี้ โดยล่าสุดเป็นความพยายามผ่านทางความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) ที่ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีสติลเวลล์ได้กล่าวถึงไป ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนงานที่สำคัญของคณะกรรมาธิการฯ ผ่านโครงการและความร่วมมือต่างๆที่ดำเนินการอยู่แล้วอีก 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
จากความพยายามเหล่านี้ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) สำนักงานภาคพื้นเอเชีย ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร กำลังค้นหาวิธีการใหม่ๆ อันเป็นนวัตกรรมที่จะช่วยคณะกรรมาธิการฯ และประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงลดสภาวะเปราะบางต่ออุทกภัยและภัยแล้ง เหมือนเช่นที่เราประสบไปเมื่อต้นปีนี้ USAID ร่วมกับคณะกรรมาธิการฯ เปิดตัว “แพลตฟอร์มเตือนภัยแล้งล่วงหน้า” ภายใต้โครงการ SERVIR-Mekong อันเป็นความร่วมมือกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) โดยเครื่องมือออนไลน์นี้จะช่วยให้ประเทศลุ่มน้ำโขงมีระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่อพยากรณ์และติดตามภัยแล้งในภูมิภาค เรื่องนี้ไม่ควรจะไปถึงมือนักวิทยาศาสตร์อวกาศ แต่การที่ได้พวกเขามาช่วยเราก็เป็นสิ่งที่ดียิ่ง
เราได้ยินกันไปแล้วในวันนี้ว่า ประเทศต่างๆทั่วโลก ตั้งแต่ยุโรปไปจนถึงเอเชียตะวันออก พร้อมที่จะแบ่งปันประสบการณ์และบทเรียนจากการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดนกับประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประเทศสหรัฐฯ เองก็เช่นเดียวกัน หน่วยทหารช่างกองทัพบกสหรัฐฯ ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการแม่น้ำและแหล่งน้ำระหว่างคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและคณะกรรมาธิการแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi River Commission) ตลอดจนได้สนับสนุนการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขง พ.ศ. 2564-2573 เราตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือเหล่านี้ จึงกำลังดำเนินการเพื่อจัดทำข้อตกลงระหว่างหน่วยทหารช่างกองทัพบกสหรัฐฯ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทยขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ความสำเร็จในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถาบันและความร่วมมือที่เข้มแข็งเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการถ่ายโอนข้อมูลอย่างโปร่งใสอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯ จึงจัดตั้งโครงการข้อริเริ่มในการจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง (Mekong Water Data Initiative) โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากรัฐบาลและภาคีองค์กรนอกภาครัฐกว่า 60 แห่ง เพื่อปรับปรุงการแบ่งปันข้อมูลและการตัดสินใจโดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ แพลตฟอร์ม MekongWater.org ซึ่งรัฐมนตรีปอมเปโอได้ประกาศเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว ประกอบไปด้วยเครื่องมือกว่า 40 ชิ้นที่ครอบคลุมตั้งแต่การพยากรณ์อากาศไปจนถึงวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง เราวางแผนที่จะประกาศการยกระดับครั้งสำคัญบนแพลตฟอร์มนี้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ ไบรอัน อายเลอร์ได้กล่าวไว้ระหว่างการประชุมช่วงแรกของวันนี้ว่า การแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใสเป็นกุญแจสำคัญของการเป็น “เพื่อนบ้านที่ดี” ในลุ่มน้ำโขง
สหรัฐฯ ได้เจรจาข้อตกลงว่าด้วยคุณภาพน้ำในแหล่งเกรตเลกส์ (Great Lakes Water Quality Agreement) ร่วมกับแคนาดาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2515 ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่สำคัญต่อแหล่งทรัพยากรที่เรามีร่วมกัน อย่างไรก็ดี ความร่วมมือไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น เพราะนักวิทยาศาสตร์ยังคงทำงานร่วมกันและระบุวิธีการเพื่อพัฒนาข้อตกลงในปี 2521 และเมื่อเร็วๆนี้ในปี 2555 การบริหารจัดการน้ำข้ามพรมแดนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ไม่ใช่ความร่วมมือระหว่างประเทศเพียง 2 ประเทศ แต่เป็นความร่วมมือในกลุ่มประเทศทั้งหก จะต้องใช้แนวทางเดียวกัน ตลอดจนใช้ความอดทนอย่างสูง มีความมุ่งมั่นในการประเมินอย่างต่อเนื่อง มีความโปร่งใส และความไว้วางใจกันท่ามกลางบรรดาประเทศที่ใช้ทรัพยากรจากแม่น้ำร่วมกัน
ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีสติลเวลล์ได้กล่าวไว้เมื่อเปิดการประชุมว่า สหรัฐฯ ตลอดจนมิตรและพันธมิตรของเราจากทั่วโลก มุ่งมั่นที่จะร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อสร้างอนาคตที่มั่งคั่ง ยั่งยืน และสดใส โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน
ผมขอขอบคุณทีมผู้จัดงาน แขกผู้มีเกียรติ และผู้เข้าร่วมงานทุกท่านอีกครั้งที่ร่วมสนับสนุนการประชุมในครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง ผมหวังว่าเราจะร่วมมือกันต่อไป และได้เห็นการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดนที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นในอนาคตข้างหน้านี้
โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 ตุลาคม, 2020 | ประเภท: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, สุนทรพจน์, เอกอัครราชทูต | Ambassador Michael George DeSombre’s Closing Remarks
Indo-Pacific Virtual Conference on Strengthening Governance of Transboundary Rivers
I would like to start by thanking Satu Limaye and the organizers at the East-West Center, Assistant Secretary Stillwell and my colleagues at the State Department, and of course you all – experts from across Asia and beyond – who have come together today to share your thoughts and help create a more prosperous future for the Mekong region. I was especially pleased to hear the important message from Secretary General Somkiat about making the Mekong a river of prosperity, connectivity, and sustainability.
Today’s discussions reinforced for me not only the challenges, but also the utmost urgency of strengthening our cross-border water management agreements and institutions. This year’s drought that Assistant Secretary Stilwell described is a call to action. As we witnessed here in Thailand and across the region – the livelihoods, prosperity, and indeed the very lives of millions of people who depend on the Mekong River hang in the balance.
This work is hard. Balancing the priorities of all the wonderfully diverse Mekong region nations requires accountability, transparency, stakeholder input, and above all, trust.
Chicago, where I was born, is situated on the Great Lakes, which is one of the most famous shared water bodies in the world. And the United States and Canada have faced our fair share of challenges regarding these waters. But through strong institutions – like the International Joint Commission which Commissioner Jane Corwin spoke about today – over the course of more than 100 years, the United States and Canada have found ways to share and jointly manage our transboundary water resources to improve the lives of citizens on both sides of the border.
The Mekong region is fortunate to have just such an institution – the Mekong River Commission. Established in 1957, the MRC is an enduring model for regional cooperation and has been a central focus of our discussions today. As we have learned, improving the capacity of this treaty-based organization is one of the most important ways that we can promote equitable use of the Mekong river’s plentiful resources. As Dr. Hatda, the MRC CEO, said today, the MRC is constantly working toward water diplomacy solutions that promote the principle of reasonable and equitable use. Together, we must work to strengthen the MRC’s capacity to resolve conflicts around joint management of water resources, both within the Mekong region and with countries outside of the region.
I am proud to note the U.S. government’s longstanding, prominent role in these efforts, most recently through the Mekong-U.S. Partnership that Assistant Secretary Stillwell mentioned. This includes an additional $1.8 million to support the MRC’s important work through existing programs and partnerships.
Building on these efforts, our USAID Regional Development Mission for Asia, based here in Bangkok, is finding new and innovative ways to help the MRC and Mekong region nations reduce their vulnerability to floods and droughts like the one we experienced earlier this year. Through a unique partnership with NASA, USAID’s SERVIR Mekong project – together with the MRC – co-launched the “Drought Early Warning Platform.” This online tool will provide Mekong countries with an early warning system to forecast and monitor drought in the region. We shouldn’t need a rocket scientist to solve these problems, but it sure is nice to have some helping us.
As we heard today, countries from across the globe – spanning from Europe to East Asia – stand ready to share with Mekong region nations their experiences and lessons learned on transboundary river management. The United States is no different. As noted previously, the U.S. Army Corps of Engineers has facilitated exchanges between the Mekong River Commission and the Mississippi River Commission to share best practices in river and water management. In addition, the U.S. Army Corps of Engineers supported development of the 2021-2030 Mekong Basin Development Strategy. Recognizing the value of these partnerships, here in Thailand we are working to formalize an agreement between the U.S. Army Corps of Engineers and the Office of National Water Resources in the coming months.
Success in the Mekong region will depend not only on strong institutions and partnerships, but on transparent flow of data as well. That is why the United States created the Mekong Water Data Initiative with input from more than 60 government and NGO partners to improve data sharing and science-based decision making. The MekongWater.org platform, announced by Secretary Pompeo last year, includes more than 40 tools covering everything from weather forecasting to citizen science. We plan to unveil a major upgrade to this platform in coming weeks. As Brian Eyler noted during the first session today, transparent data sharing is a key aspect of being a “good neighbor” in the Mekong River basin.
The United States negotiated our first Great Lakes Water Quality Agreement with Canada in 1972, which led to significant improvements to our shared resources. But that was not the end. Scientists continued to work together and identified ways to improve the agreement in 1978, and again as recently as 2012. Transboundary river management in the Mekong region – among not only two, but six countries – will require the same collaborative approach, extreme patience, and commitment to continued evaluation, transparency, and trust among all nations that share the river’s bounty.
As Assistant Secretary Stilwell noted in his opening remarks, the United States, along with our friends and allies from across the globe, is committed to continued partnership with Mekong region countries to build a prosperous, sustainable, and healthy future based on these shared resources.
Thank you again to the organizers, to our distinguished speakers, and to all the participants for your excellent contributions today. I look forward to our continued collaboration, and stronger, more effective governance of transboundary rivers in years to come.
By U.S. Embassy Bangkok | 19 October, 2020 | Topics: East Asia & Pacific, Former U.S. Ambassadors, Speeches | Indo-Pacific Virtual Conference on Strengthening Governance of Transboundary Rivers | คำกล่าวปิดการประชุม Indo-Pacific Conference ผ่านระบบออนไลน์ ว่าด้วยการเสริมสร้างการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดน โดย เอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี |
https://th.usembassy.gov/th/remarks-david-stilwell-assistant-secretary-at-indo-pacific-conference-on-strengthening-transboundary-river-governance-th/ | แม่น้ำโขง อธิปไตยลุ่มน้ำโขง และอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำกล่าวโดย เดวิด อาร์. สติลเวลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
เนื่องในโอกาสการประชุม Indo-Pacific Conference ผ่านระบบออนไลน์
ว่าด้วยการเสริมสร้างการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดน
15 ตุลาคม 2563
(ดังที่ปรากฏเป็นคำร่าง)
ขอบคุณครับคุณสทู ลิเม และศูนย์ East-West Center ตลอดจนผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่านจากทั่วโลก
ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นผู้เข้าร่วมมากหน้าหลายตา ซึ่งเดิมวางแผนมาประชุมกับเราในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่โรคระบาดใหญ่จะทำให้เราต้องเลื่อนการจัดงานออกไป ขอต้อนรับทุกท่าน รวมถึงผู้เข้าร่วมใหม่หลายท่านในวันนี้ด้วย
เรามาร่วมประชุมกันด้วยตระหนักถึงความสำคัญของแม่น้ำต่อเศรษฐกิจ การหาเลี้ยงชีพ วัฒนธรรม ไปจนถึงอารยธรรมของเรา
ด้วยแม่น้ำคือบริเวณที่บรรพบุรุษของเราในยุคแรกเริ่มมารวมตัวกันเป็นสังคม
น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต ผู้เฒ่าผู้แก่จึงได้ตระหนักและเคารพความสำคัญของแม่น้ำ
แม่น้ำมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อสังคม เกษตรกรรม ประวัติศาสตร์ และอารยธรรมของมนุษย์ในยุคแรกเริ่ม
โลกเราจะมีโฉมหน้าเป็นอย่างไรหากปราศจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึ่งขนาบข้างด้วยแม่น้ำยูเฟรติสและไทกริสที่ยิ่งใหญ่ ดินแดนอียิปต์โบราณจะก่อกำเนิดขึ้นหรือไม่หากไม่มีความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์หล่อเลี้ยง อารยธรรมฮารัปปาได้สูญสิ้นลงเพราะแม่น้ำสุรัสวดีเหือดแห้งและหายไปใช่หรือไม่ กรุงลอนดอนจะเป็นเมืองหลวงระดับโลกได้หรือหากไม่มีแม่น้ำเทมส์ หรือนครนิวยอร์กจะเป็นอ่าวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราได้หรือหากไม่มีแม่น้ำฮัดสัน
การประชุมนี้เดิมทีควรจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเหนือเมืองหลวงแห่งนี้ขึ้นไปอีก 100 ไมล์ บนแม่น้ำเจ้าพระยา ยังมีอยุธยาอันเป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตเคยประทับอยู่ และในปัจจุบัน ริมฝั่งแม่น้ำสายเดียวกันนี้ก็เป็นที่ตั้งของมหานครที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
แม่น้ำทำให้บรรพบุรุษของเราแต่โบราณได้มารวมตัวกัน ทำการเกษตร และหาเลี้ยงคนกลุ่มใหญ่ สังคมยุคแรกเหล่านี้ผลิดอกออกผลเป็นภาษาและอารยธรรม ซึ่งต่อมาเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรม ชนชาติ และจักรวรรดิต่างๆ รวมถึงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
วัฏจักรของอุทกภัยและภัยแล้งในแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเหลืองเป็นที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับความสมดุลในอุดมคติระหว่างหยินและหยาง แม่น้ำมิสซิสซิปปีเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนมากความสามารถอย่างมาร์ก ทเวน ในขณะที่แม่น้ำเทมส์เชื้อเชิญให้ชาวอังกฤษเดินทางออกสู่ทะเลเพื่อแสวงโชค
เหตุใดความเข้าใจนี้เกี่ยวกับแม่น้ำจึงสำคัญ เหตุใดเราจึงควรต้องตระหนักถึงบทบาทอันยิ่งใหญ่ของแม่น้ำสายต่างๆ ในการหล่อเลี้ยงมนุษยชาติให้ก้าวไกล
เพราะว่าผู้ที่กีดกั้น ขัดขวาง หรือเบี่ยงเบนทรัพยากรแม่น้ำเพื่อประโยชน์ของตนนั้น นำมาซึ่งอันตรายและความเสียหายอันใหญ่หลวงต่อความเป็นอยู่ของหลายล้านชีวิต แม่น้ำไม่ได้เป็นเพียงภูมิประเทศ แต่ยังเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ คนนับพันล้านที่อาศัยแม่น้ำคงคา สินธุ ยมุนา และพรหมบุตรในการหล่อเลี้ยงชีพต่างก็เข้าใจความจริงข้อนี้
และเช่นเดียวกัน ประชากรในลุ่มน้ำโขงก็ยิ่งเข้าใจความจริงข้อนี้ดี เพราะพวกเขาต้องเผชิญกับผลกระทบที่เลวร้ายจากการควบคุมน้ำที่ตอนบนของแม่น้ำสายนี้ ซึ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นสำหรับหลายสิบล้านชีวิตที่ถักทอรวมเป็นหนึ่งเดียวกับแม่น้ำ
อเมริกามีความกังวลต่อสถานการณ์เหล่านี้อย่างยิ่ง ผมจึงรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาพูดคุยกับทุกท่านในวันนี้
ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ
โชคดีที่เรามาร่วมพูดคุยกันในวันนี้ได้แม้ว่าจะไม่สามารถพบปะกันได้จริง เพราะว่าแม่น้ำโขงนั้นสำคัญต่อพวกเราทุกคน
ความร่วมมือของสหรัฐฯ กับกัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนามนั้น เติบโตขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ที่เราเริ่มมีข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative) เมื่อ พ.ศ. 2552 ในช่วง 11 ปีที่ผ่านมานี้ รัฐบาลอเมริกันได้มอบความช่วยเหลือให้แก่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นมูลค่าเกือบ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบกับเงินทุนจากรัฐบาลและการลงทุนจากภาคเอกชนของเราอีกหลายพันล้านเหรียญ
ปีนี้ ความร่วมมือระหว่างเรายกระดับสูงขึ้นอีกภายหลังการเปิดตัวความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว การดำเนินการร่วมกันของเราพัฒนากว้างขวาง เจาะลึก เป็นประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ และได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนสะท้อนถึงความสำคัญของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและความมุ่งมั่นของเราต่อประเทศภาคีในภูมิภาค
ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ กำหนดให้ประเด็นการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดนมีความสำคัญสูงสุด ซึ่งสัมพันธ์กับช่วงเวลานี้ ความท้าทายด้านทรัพยากรทางน้ำที่ใช้งานร่วมกันซึ่งภูมิภาคต้องเผชิญรังแต่จะรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่ที่รัฐมนตรีปอมเปโอประกาศความตั้งใจที่จะจัดการประชุมนี้เมื่อ พ.ศ. 2561 ในขณะนั้น ท่านรัฐมนตรีเองมีความกังวลต่อแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นเช่นเดียวกับเรา แต่ในขณะนี้ เรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์อย่างแท้จริง
ภัยแล้งทำลายชีวิต
ชุมชนและระบบนิเวศมากมายที่พึ่งพาวงจรมวลน้ำตามธรรมชาติของแม่น้ำโขงมาตลอดหลายชั่วอายุคนกำลังทนทุกข์จากภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ผลกระทบสั่นคลอนกว่า 60 ล้านชีวิต ตลอดจนความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และอธิปไตยของชาติทั่วทั้งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ผมทราบดีกว่าท่านทั้งหลายมาจากภาคประชาสังคมและแวดวงผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ จึงเห็นผลกระทบเหล่านี้ด้วยตาตนเอง ถึงกระนั้นผมอยากจะขอเน้นย้ำบางประเด็นดังนี้
ไร่ข้าวเกือบ 100,000 เฮกตาร์ทั่วทั้งภูมิภาคถูกทำลายเพราะการขาดแคลนน้ำ ซึ่งทำให้ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวครั้งอื่นๆ ในลาว กัมพูชา และเวียดนามลดลงถึงร้อยละ 50 และยังทำให้ผลผลิตจากการประมงในกัมพูชาลดลงมากถึงร้อยละ 90
ภาวะแล้งนี้กำลังทำให้แม่น้ำขาดตะกอนและทำให้ฤดูน้ำหลากสั้นลง อันเป็นอันตรายอย่างมาก โดยส่งผลให้ชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินไม่มีตะกอนมาสะสม และทำให้พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำทรุดตัวลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
ตัวอย่างเช่น ในจังหวัดอานซางของเวียดนาม แต่ละวันชาวประมงจับปลาได้น้อยลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง เรายังเห็นบทความที่กล่าวว่าชาวประมงในเวียดนามส่วนอื่นๆ จับปลาได้เพียง 10 กิโลกรัมต่อวัน จากเดิม 200 กิโลกรัมต่อวัน
ภาวะการขาดแคลนน้ำเหล่านี้ยิ่งทำให้การรุกล้ำของน้ำเค็มภายในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำรุนแรงขึ้น โดยรุกคืบเข้ามาถึง 90 กิโลเมตรที่บนฝั่ง ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่ที่เคยวัดมา สถานการณ์นี้ยังเป็นภัยต่อผลผลิตทางการเกษตรและข้าว ซึ่งหมายถึงการหาเลี้ยงชีพของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายสิบล้านคน
เขื่อนจีนที่ต้นน้ำ
มีหลักฐานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่แสดงให้เห็นว่าปัญหาเหล่านี้ที่ปลายน้ำโขงทวีความรุนแรงเพราะการก่อสร้างและดำเนินการของเขื่อนบริเวณต้นน้ำในประเทศจีน การที่จีนควบคุมแม่น้ำของท่านทั้งหลายอยู่ฝ่ายเดียวนั้นขัดขวางวงจรมวลน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งเข้ามาเติมเต็มแหล่งน้ำมากมาย เช่น โตนเลสาบของกัมพูชา ตลอดจนหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมประมงและการเกษตร และฟื้นฟูสภาพชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินในแหล่งน้ำจืดทั่วลุ่มน้ำโขง
รัฐบาลจีนโต้แย้งว่า การดำเนินการของเขื่อนจีนยังประโยชน์แก่ประเทศปลายน้ำ โดยทำให้น้ำหลากขึ้นในหน้าแล้ง แต่กลับยอมรับเองว่า จีนปล่อยน้ำในช่วงหน้าแล้งก็เพื่อทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจีนได้รับประโยชน์สูงสุด
ความโปร่งใสและข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ
เช่นเดียวกับความท้าทายอื่น ๆ อีกมาก ความไม่โปร่งใสเป็นส่วนสำคัญของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางการจีน ซึ่งไม่แบ่งปันข้อมูลอย่างเพียงพอเกี่ยวกับการดำเนินการของเขื่อนหรือสภาพการณ์ที่ต้นน้ำ การกระทำดังกล่าวจำกัดประสิทธิภาพของรัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงในการเตรียมรับมือหรือบรรเทาความเสียหายจากการทำงานของเขื่อน ผู้บริหารจัดการเขื่อนของจีนยังปล่อยน้ำโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ส่งผลให้พืชผลที่ปลายน้ำเสียหายเมื่อระดับน้ำสูงขึ้นโดยฉับพลัน
เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลจีนยอมรับว่าได้ควบคุมการไหลของแม่น้ำตามธรรมชาติจริง และให้สัญญาว่าจะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำมากขึ้น แต่เราก็ทราบกันดีว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนมักจะผิดคำพูดเสมอ ประเด็นทะเลจีนใต้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง
เราขอชื่นชมประเทศลุ่มน้ำโขงและคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) ที่มุ่งมั่นโน้มน้าวให้ทางการจีนเปิดเผยข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำมากขึ้น และขอสนับสนุนท่านในการเรียกร้องให้จีนรับผิดชอบเปิดเผยข้อมูลการไหลของน้ำ รวมถึงข้อมูลการดำเนินงานของเขื่อนตามเวลาจริงตลอดทั้งปี และเรายังขอให้จีนร่วมงานกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิด และใช้เครื่องมือและมาตรการต่างๆ ที่มีอยู่
ข้อกังวลและปฏิกิริยาของภูมิภาค
สหรัฐฯ ส่งเสริมองค์การระหว่างภูมิภาค เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) และความพยายามของภาคี เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศในสหภาพยุโรป ในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
นอกจากนี้ เรายังขอยกย่องอาเซียน ซึ่งนำโดยเวียดนามในฐานะประธานปีนี้ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสำคัญต่อความเป็นแกนกลางของอาเซียน เช่นเดียวกับทะเลจีนใต้ เราส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาประเด็นในลุ่มน้ำโขงว่ามีความสำคัญต่อความร่วมมือและการเชื่อมประสานกันระหว่างภูมิภาคไม่แพ้ทะเล
การไหลของแม่น้ำไม่ได้เป็นปัญหาเดียวที่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต้องเผชิญ
ชุมชนต่างๆทั่วภูมิภาคนี้เป็นกังวลเกี่ยวกับหนี้จากโครงการโครงสร้างพื้นฐาน แนวปฏิบัติทางธุรกิจที่เอารัดเอาเปรียบและไม่โปร่งใสของหน่วยงานภายใต้รัฐบาลจีน ตลอดจนการลักลอบค้ามนุษย์ ยาเสพติด และสัตว์ป่าที่เพิ่มสูงขึ้น ประชากรในภูมิภาคก็กังวลกับท่าทีนิ่งเฉยของทางการจีนต่อการปราบปรามการทุจริต องค์กรอาชญากรรม และบริษัทที่ตักตวงประโยชน์จากเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นวิสาหกิจที่เกี่ยวโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน รวมถึงการลาดตระเวนแม่น้ำนอกอาณาเขตของจีน โดยอ้างว่าเป็นปฏิบัติการด้านการบังคับใช้กฎหมาย แม้ว่าอาชญากรรมจะยังคงขยายวงกว้าง
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี้เอง ผมได้อ่านข้อมูลที่ว่า เจ้าเหว่ย อาชญากรรายใหญ่ที่ถูกกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำจากการกระทำผิด ได้วางแผนสร้างและควบคุมท่าเรือแห่งใหม่ใกล้คิงส์ โรมัน กาสิโน ในลาว ซึ่งยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด สัตว์ป่า และมนุษย์มากขึ้นในสามเหลี่ยมทองคำ
เราสนับสนุนนานาประเทศในลุ่มน้ำโขงในการเรียกร้องให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนรับผิดชอบจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ และขอให้เกิดความร่วมมือด้านการพัฒนาที่โปร่งใสและยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นประโยชน์กับประเทศในภูมิภาคนี้ มิใช่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ
ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
มิตรสหายทุกท่านครับ ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงควรค่าที่จะมีมิตรประเทศที่ดี ซึ่งยึดมั่นในความเป็นเอกราช อิสรภาพทางเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล และการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศภาคีลุ่มน้ำโขง
สหรัฐฯ ได้สนับสนุนคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงมาหลายทศวรรษ และจะยังคงดำเนินการเช่นนี้ต่อไป โดยผ่านความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ซึ่งมีหลักการของความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ธรรมาภิบาล และการเคารพในเอกราชและกฎหมายระหว่างประเทศเป็นเครื่องชี้นำ เรามุ่งมั่นทำงานกับท่านเพื่อประโยชน์ที่มีร่วมกัน
เราจะยังคงทำงานภายใต้โครงการข้อริเริ่มในการจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง (Mekong Water Data Initiative) เพื่อเสริมสร้างการแบ่งปันข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ
เราจะยังคงแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญและแนวปฏิบัติที่ดี เช่น การแลกเปลี่ยนระหว่างคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและคณะกรรมาธิการแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi River Commission) รวมทั้งหน่วยทหารช่างกองทัพบกสหรัฐฯ และหน่วยงานด้านดังกล่าวในภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการก่อสร้างและบริหารจัดการเขื่อน
เราจะยังคงดำรงไว้ซึ่งความร่วมมือเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระหว่างกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ และคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
เราจะยังคงสร้างเสริมทักษะและความสามารถให้แก่คนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านโครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative ที่มหาวิทยาลัย Fulbright University Vietnam ซึ่งเพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อเดือนที่แล้ว ตลอดจนเวทีที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งโครงการนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ และช่องทางอื่นๆ อีกมากมาย
สุดท้ายนี้ เราจะร่วมมือกับรัฐบาลและองค์กรนอกภาครัฐที่ดำเนินงานอย่างโปร่งใสและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเช่นเดียวกับเราตลอดไป แน่นอนว่า ความท้าทายของการบริหารจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดนไม่ได้มีเพียงแต่ในลุ่มน้ำโขงเท่านั้น ประสบการณ์ร่วมกันจากทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัยและภัยแล้ง รวมถึงการบรรเทาผลกระทบจากการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เอารัดเอาเปรียบ ทำให้เรายิ่งจะต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้และคิดหาวิธีแก้ไขร่วมกัน
และในระหว่างนี้ เราก็จะต้องตระหนักถึงความวิริยะอุตสาหะของสื่อท้องถิ่นที่รายงานข่าวเกี่ยวกับความสำคัญของแม่น้ำและผลกระทบจากแนวปฏิบัติที่ไม่ยั่งยืน เราขอชื่นชมความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งของนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม ซึ่งเรียกร้องให้เกิดความโปร่งใส ความยั่งยืน และภาระรับผิดชอบ
ความพยายามของเรามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทุกท่านทราบดีกว่า การบริหารจัดการแม่น้ำและความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขงไม่ได้เป็นเพียงประเด็นเชิงวิชาการ แต่มีผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรหลายสิบล้านคน
ดังนั้นผมจึงขอให้ทุกท่าน ณ ที่นี้เป็นกระบอกเสียงแสดงความกังวล ตั้งคำถามที่ท้าทาย และเสนอแนวคิดในการร่วมมือ เพื่อพิทักษ์อนาคตของแม่น้ำโขงที่อุดมสมบูรณ์ เราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำข้ามพรมแดนมากมายมา ณ ที่นี้ จึงเป็นโอกาสอันดีในการหาหนทางสู่ความร่วมมือที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิผล
ผมขอทิ้งท้ายว่า สหรัฐฯ มุ่งมั่นส่งเสริมประเทศลุ่มน้ำโขงในการผดุงรักษาให้แม่น้ำสายนี้อุดมสมบูรณ์และเปี่ยมด้วยพลังชีวิต เพื่อหล่อเลี้ยงลูกหลานอีกหลายชั่วอายุคนในอนาคตสืบไป
ขอบคุณครับ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 ตุลาคม, 2020 | ประเภท: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, สุนทรพจน์ | The Mekong River, Mekong Sovereignty, and the Future of Southeast Asia
REMARKS
DAVID R. STILWELL, ASSISTANT SECRETARY
BUREAU OF EAST ASIAN AND PACIFIC AFFAIRS
INDO-PACIFIC CONFERENCE ON STRENGTHENING TRANSBOUNDARY RIVER GOVERNANCE
VIA VIDEOCONFERENCE
OCTOBER 15, 2020
(As Prepared)
Thank you to Satu Limaye and the East-West Center, and thank you to all who are joining us from around the globe.
It is good to see so many of you who had planned to join us in February before the pandemic forced us to postpone. I welcome you and the many new participants here today.
We have all gathered because we recognize the importance of rivers for our economies, for livelihoods, for our cultures, even our civilizations.
Indeed, rivers are where our earliest ancestors gathered to form human societies.
Water is the essential ingredient of life, and the ancients knew and respected the importance of rivers.
The earliest instances of human society, or human agriculture, or human history, of human civilization reveal the essential role played by rivers.
What would our world be without the civilization of Mesopotamia, bracketed by the two mighty rivers of Euphrates and Tigris? Could ancient Egypt have existed without the life-giving bounty of the Nile? Did Harappan civilization die out because the Saraswati river dried out and disappeared? Would London be a global capital without the Thames, or New York be our greatest harbor without the Hudson?
This conference was supposed to have taken place in Bangkok. A hundred miles north of Bangkok on the Chao Phraya lies Ayutthaya, seat of the ancient Thai Kings. And today, along those same banks, lies one of the great megacities of Southeast Asia.
Rivers enabled our ancient ancestors to gather and farm and feed ever larger groups of people. Those first societies begat language and civilization. Those civilizations begat cultures, nations, empires, and history.
The cycle of floods and droughts on the Yangtze and Yellow rivers gave rise to the concept of ideal balance enshrined in Yin and Yang. The Mississippi River sparked the literary genius of Mark Twain. The Thames inspired the people of England to seek their fortune upon the sea.
Why is this understanding of rivers important? Why is it worth focusing on the great role of rivers in fostering the rise of humanity?
Because those who impede, obstruct, or divert riverine resources for themselves cause grave danger and damage to livelihoods for millions. A river is not merely a geographic feature. It is an essential, fundamental basis of human life. The billion people who depend on the Ganga, Indus, Yamuna, and Brahmaputra knows this essential truth.
And the people of the Mekong particularly know this truth, because they are living with the terrible consequences of upper riparian water control, with increasing and devastating impact on the lives of tens of millions for whom the Mekong represents life itself.
America is concerned about these developments, and it is why I am privileged to speak to you today.
The Mekong-U.S. Partnership
It is fortunate that we can come together even if we are not able to meet in person, as the Mekong River is important to us all.
The U.S. partnership with Cambodia, Laos, Myanmar, Thailand, and Vietnam has grown considerably since we started the Lower Mekong Initiative in 2009. Over those 11 years, the United States government has committed almost $3.5 billion in foreign assistance to the Mekong region, joined by billions of dollars in U.S. government official financing and U.S. private sector investment.
This year marks an even further expansion with the launch just last month of the Mekong-U.S. Partnership. Our collaboration is now broader, deeper, more strategic, and better resourced, reflecting the importance of the Mekong region and our commitment to our Mekong partners.
The Mekong-U.S. Partnership puts cooperation on transboundary river governance front and center, and it comes at a crucial time. Challenges facing the region’s shared water resources have only grown since Secretary Pompeo announced our intent to host this conference in 2019. Back then, the Secretary shared our mounting concerns over these troubling trends. Now, we face a crisis.
The Drought’s Human Toll
The communities and ecosystems that have relied for generations on the Mekong River’s natural flood pulse are suffering from record droughts that affect over 60 million people and have dramatic consequences for food security, economic development, and national sovereignty across the Mekong.
Now, I realize I’m talking to civil society and water governance experts. You see these consequences first-hand. Let me highlight some of them.
Water shortages have damaged nearly 100,000 hectares of rice fields across the region. These shortages have reduced crop yields from other harvests across Laos, Cambodia, and Vietnam by 50 percent. And they have also cut the available fish catch in Cambodia by as much as 90 percent.
This drought is causing harmful sediment-free waters and shorter flood seasons, leading to underground aquifers not being replenished and the ground in the delta sinking faster than anticipated.
In Vietnam’s An Giang province, for example, fishermen have seen their daily fish catch reduced by more than half. We read about fisherman in other parts of Vietnam who used to catch 200 kilos of fish a day now bring in fewer than 10 kilos per day.
These water shortages have exacerbated saltwater intrusion into the delta, up to 90 kilometers inland. These are the highest levels ever recorded, and they imperil agriculture and rice crops that are the livelihoods of tens of millions of Southeast Asians.
China’s Upstream Dams
A growing body of evidence shows that these downstream problems are made worse by the construction and operations of upstream dams in China. China’s unilateral manipulation of your shared river disrupts the natural flood pulse that replenishes bodies of water like Cambodia’s Tonle Sap Lake, revitalizes the fishing and agricultural industry, and restores freshwater aquifers across the Mekong basin.
Beijing argues that its dam operations benefit downstream nations by increasing water flows in the dry season. Yet by Beijing’s own admission, these dry-season water releases are done to maximize profit for China’s electricity producers.
Transparency and Water Data
As with so many challenges involving Beijing, non-transparency is a major part of the problem. Beijing has not shared sufficient information on its dam operations or upstream river conditions, limiting Mekong government’s ability to prepare for or mitigate the damage caused by dam operations. China’s dam operators have also released water unannounced, damaging downstream crops when the river rises unexpectedly.
Beijing has recently acknowledged its role in manipulating natural river flows and has given new assurances to share more water data. But the Chinese Communist Party has a history of empty promises. Just look at the South China Sea.
We commend the countries of the Mekong region and the Mekong River Commission for their persistence in lobbying Beijing to provide more water data. We encourage you to hold China accountable to sharing year-round, real-time flow and dam operations’ data. And we urge Beijing to coordinate closely with the MRC and use existing tools and protocols.
Regional Concerns, Regional Response
The United States supports regional organizations like ACMECS and the efforts of partners like Japan, South Korea, Australia, India, and countries in the European Union to support sustainable development and share global best practices in the Mekong region.
We also applaud ASEAN efforts, led by Vietnam as chair this year, to raise the profile of Mekong issues. The Mekong region is as consequential to ASEAN centrality as the South China Sea. We encourage ASEAN member states to consider the issues in the Mekong region as important to regional cooperation and cohesion as the sea.
River flows aren’t the only challenge facing the Mekong region.
Across the Mekong, communities are concerned about infrastructure-linked debt and the predatory and opaque business practices of Beijing’s state-owned actors. Mekong communities are concerned about the boom in trafficking of persons, drugs, and wildlife. Mekong citizens are likewise concerned with Beijing’s reticence to curb corrupt and criminal organizations and companies working out of special economic zones linked to the Chinese Communist Party. Citizens are concerned about Beijing’s extra-territorial river patrols under the guise of law-enforcement support, even as criminal elements in the region expand their control.
Just last week, I read that Zhao Wei, a criminal kingpin sanctioned by the U.S. Treasury Department for criminal activity, plans to build and control a new port near the Kings Roman casino in Laos, raising greater concern about increased drugs, wildlife, and human trafficking in the Golden Triangle.
We encourage countries of the Mekong region to hold the Chinese Communist Party accountable for its role in addressing these challenges. We call for cooperation on transparent and sustainable development, water resource management, and law enforcement that serves the interests of Mekong-region countries, not those of their neighbors.
How the United States is Helping
Friends, the Mekong region deserves good partners committed to the autonomy, economic independence, good governance, and sustainable growth of Mekong partner countries.
The United States has supported the Mekong River Commission for decades and will continue to do so. We will work through the Mekong-U.S. Partnership, guided by principles of transparency, inclusivity, good governance, and respect for autonomy and international law. We are committed to working with you, for our mutual interests.
We will continue our work under the Mekong Water Data Initiative to improve water data sharing.
We will continue to exchange expertise and best practices, such as those between the Mekong and Mississippi River Commissions and the U.S. Army Corps of Engineers and regional counterparts to improve safety in dam construction and maintenance.
We will maintain our partnership between the U.S. Department of Energy and the MRC on responsible hydropower and water resources management.
We will empower the skill and talent of the Mekong people — through the new Young Southeast Asian Leaders Initiative Academy at Fulbright University Vietnam, which we announced just last month, and also through forums like this, through our Young Scientists Program, and many others.
Finally, we will always partner with governments and NGOs who share our transparent, inclusive approach. Transboundary water governance challenges are not unique to the Mekong, of course. Our shared experiences from across the Indo-Pacific in managing risks from floods and droughts and mitigating the impacts of predatory infrastructure development make it all the more important to examine these issues cooperatively and develop shared solutions.
As we do so, we recognize the hard work of local media reporting on the value of the river and the effects of unsustainable practices. We applaud the tireless efforts of civil society advocates that strive for transparency, sustainability, and accountability.
There is a lot riding on our efforts. As you all know well, river governance and water security in the Mekong are not just technical issues. They affect the lives and livelihoods of tens of millions.
So I encourage everyone today to raise your concerns, ask the hard questions, and suggest ideas for cooperation that protect the future of a healthy Mekong River. We have brought together many experts on transboundary water governance here, and this is an opportunity to identify a path forward to strong and effective partnership.
Let me end by saying that the United States is committed to supporting the countries of the Mekong Region to ensure the river remains healthy and vibrant, sustaining generations far into the future.
Thank you.
By U.S. Embassy Bangkok | 19 October, 2020 | Topics: East Asia & Pacific, Speeches | Tags: Association of Southeast Asian Nations, Environment, Water | The Mekong River, Mekong Sovereignty, and the Future of Southeast Asia | แม่น้ำโขง อธิปไตยลุ่มน้ำโขง และอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
https://th.usembassy.gov/th/five-tips-to-protect-yourself-online-th/ | เราใช้เครื่องมือออนไลน์ในทุกกิจกรรมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ธุรกรรมทางการเงิน หรือบริการด้านสุขภาพ ซึ่งหมายความว่าทุกวันนี้มีข้อมูลที่อาจตกอยู่ในมือของอาชญากรไซเบอร์มากกว่าที่เคยเป็นมา ผู้ไม่ประสงค์ดีเหล่านี้อาจโจรกรรมอัตลักษณ์บุคคล ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) หรือกวาดเงินในบัญชีธนาคารของคุณไปได้
มารู้จักกับ 5 เคล็ดลับการป้องกันตนเองในโลกออนไลน์ดังนี้
1. เข้าอีเมลเมื่อไร ปลอดภัยไว้ก่อน
อย่าคลิกลิงก์ในอีเมลหากไม่แน่ใจว่าผู้ส่งคือใคร แฮกเกอร์จะพยายามหลอกให้คนคลิกลิงก์ที่ปลอมขึ้นมาให้ดูสมจริง เพื่อให้เราดาวน์โหลดมัลแวร์ลงบนอุปกรณ์หรือเข้าเว็บเพจที่จะขโมยข้อมูลส่วนตัว ตัวอย่างเช่น แฮกเกอร์อาจส่งอีเมลที่ดูเหมือนว่ามาจากร้านค้าที่คุณชื่นชอบ ดังนั้นขอแนะนำให้เข้าเว็บไซต์ทางการของร้านโดยเปิดในเบราว์เซอร์แทนที่จะคลิกลิงก์ในอีเมล
ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ อย่าเปิดไฟล์แนบจากผู้ส่งที่เราไม่รู้จัก และควรปิดการตั้งค่าการดาวน์โหลดไฟล์แนบในอีเมลแบบอัตโนมัติ
2. ตั้งรหัสผ่านที่ซับซ้อนและไม่ซ้ำกับรหัสผ่านอื่น
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน (Password manager) เช่น LastPass, 1Password หรือ Keeper ซึ่งจะช่วยกำหนดรหัสผ่านที่ซับซ้อนและทำให้การใช้งานรหัสผ่านเหล่านี้เป็นเรื่องง่าย
ในกรณีที่ไม่ใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน ขอแนะนำให้ตั้งรหัสผ่านที่มีตัวอักษรทั้งตัวพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก รวมทั้งใช้ตัวเลขและเครื่องหมายสัญลักษณ์ ตลอดจนไม่ใช้รหัสผ่านซ้ำกับที่ใช้แล้วในเว็บไซต์อื่น
3. ปกป้องข้อมูลส่วนตัว
บรรดาบริษัทและหน่วยงานรัฐจะไม่ขอรหัสผ่านของเรา ดังนั้นห้ามบอกรหัสผ่านให้ใครทราบไม่ว่าจะเป็นทางอีเมลหรือโทรศัพท์ก็ตาม อย่าคลิกลิงก์ที่นำไปยังหน้าล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบจากอีเมล แต่ให้เข้าเว็บไซต์นั้น ๆ และล็อกอินผ่านเบราว์เซอร์แทน
หากมีบริษัทติดต่อมาขอข้อมูลส่วนตัวโดยไม่คาดคิด อย่าเพิ่งเปิดเผยรายละเอียด ให้วางสายและติดต่อไปทางโทรศัพท์หรือเว็บไซต์ของบริษัทเพื่อยืนยันว่าบริษัทเป็นผู้ขอข้อมูลจริง
4. อัปเดตซอฟต์แวร์ให้ใหม่ล่าสุด
อัปเดตซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแท็บเล็ตให้เป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุดเสมอ และถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้การยืนยันแบบสองขั้นตอน (Two-factor authentication) ซึ่งปลอดภัยกว่าระบบชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน เพราะใช้ข้อมูลที่ต้องมาจากเจ้าของบัญชีเท่านั้น จึงเป็นระบบที่ช่วยรับประกันว่าเป็นผู้ใช้ตัวจริงที่กำลังล็อกอิน ไม่ใช่คนอื่น
5. คอยระวังสิ่งที่น่าสงสัย
หากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตมีบริการส่งข้อความแจ้งเตือนทางโทรศัพท์หรืออีเมล ให้เปิดใช้ระบบดังกล่าว เพื่อที่คุณจะได้ทราบเมื่อมีการเคลื่อนไหวบัญชีที่ผิดปกติ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้ตรวจสอบรายการเดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่ามีรายการธุรกรรมใดที่เราไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการหรือไม่
โดย U.S. Mission Thailand | 6 ตุลาคม, 2020 | ประเภท: ไม่มีหมวดหมู่ | People use online tools for everything from work to banking to healthcare. That means more information than ever before is at risk to cyber criminals who can steal your identity, use “ransomware” to hold your information hostage, or empty your bank accounts.
Here are five tips to protect yourself online:
1. Exercise healthy suspicion when using email
Don’t click on links in emails unless you know the person sending it. Hackers try to trick people into clicking on fake links that look real, but the links actually download malicious software or go to web pages that will try to steal personal information. For example, hackers may send you an email that looks like it’s from your favorite store. Don’t follow the links in that email. Instead, visit the store’s homepage in a new browser window or tab.
For the same reason, never open attachments from people you don’t know. You also should turn off any settings in your email that download attachments automatically.
2. Make passwords complex and unique
Most experts recommend using a password manager such as LastPass, 1Password or Keeper. These programs create complicated passwords for the sites you visit and make it easy to manage them.
If you don’t use a password manager, make sure your passwords have both upper- and lower-case letters, numbers and symbols. Don’t use the same password on more than one website.
3. Protect personal information
Companies and government agencies will not ask you for your password, so do not email your password or give it out over the phone. If you get an email with a link to a login page, do not click it; instead go to that website in your browser and log in there.
If a company unexpectedly contacts you and asks you to provide personal information, don’t! Hang up and contact the company, either by phone or through their website, to confirm the request is really from that company.
4. Use the latest technology
Make sure your computers, phones and tablets have up-to-date software. Additionally, when possible, use another layer of security called two-factor authentication. This approach goes beyond providing a password and username; it also requires information that you, and only you, will have. It’s a great way to verify that it’s you trying to log in and not someone pretending to be you.
5. Keep an eye out for unusual activity
If your bank account or credit card offers text or email alerts, turn them on. That way, even if your account is compromised, you will be alerted. If you cannot turn on text alerts, make sure to monitor your bank statements frequently for charges you did not make.
Graphics by Julia Maruszewski/Doug Thompson/State Department
Originally posted on ShareAmerica
By U.S. Embassy Bangkok | 6 October, 2020 | Topics: Science & Tech | Tags: cybersecurity | Cybersecurity Awareness Month: Five Tips to Protect Yourself Online | เคล็ดลับการป้องกันตนเองในโลกออนไลน์ |
https://th.usembassy.gov/th/celebrating-a-shared-history-of-religious-freedom-th/ | เฉลิมฉลองประวัติศาสตร์เสรีภาพทางศาสนาร่วมกัน
โดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
ในฐานะอเมริกันชนคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ต่างแดนและสร้างครอบครัวในต่างประเทศ ผมมีโอกาสมองเห็นประเทศของผมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและซาบซึ้งในเสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญของเรา หนึ่งในเสรีภาพที่สำคัญที่สุดเหล่านั้นคือเสรีภาพในการนับถือศาสนา และเฉกเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีธรรมเนียมปฏิบัติมาช้านานในการเคารพเสรีภาพในการนับถือศาสนา ในปีนี้ ไทยเฉลิมฉลองครบรอบ 142 ปีแห่งการประกาศพระบรมราชโองการว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2421 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดเห็นว่าศาสนาใดจะถูกต้อง ก็ถือตามชอบใจของผู้นั้น ผิดถูกก็อยู่แก่ผู้ที่ถือศาสนานั้นเอง” แนวคิดที่ทรงพลังนี้ได้ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับของไทยนับแต่นั้นมา
ด้วยตระหนักถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาตร์ที่สำคัญยิ่งนี้ ผมจะเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาในวันนี้เพื่อเป็นเวทีให้ผู้นำประมาณ 15 คนจากสถาบันศาสนา หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาร่วมกันสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับความเคารพสิทธิในเสรีภาพทางศาสนาและความเชื่อที่ไทยมีมายาวนาน ตลอดจนศึกษาโอกาสและความท้าทายในการยกระดับความปรองดองระหว่างความเชื่อในปัจจุบัน
การประกาศพระบรมราชโองการว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนาเกิดขึ้นไม่นานหลังจากผู้เผยแผ่ศาสนาชาวอเมริกันกลุ่มแรกเดินทางมาถึงไทยในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เหล่าบุรุษและสตรีผู้มีศรัทธาทางศาสนาอย่างแรงกล้านี้ได้ทำงานร่วมกับพี่น้องชาวไทยเพื่อจัดตั้งสถาบันทางการแพทย์ขึ้นทั่วประเทศ เช่น โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจรักษาผู้ป่วยหลังทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์วาร์ด คนกลุ่มนี้ยังได้สร้างโรงเรียน เช่น โรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนสตรีแห่งแรก ๆ ทางภาคเหนือของไทย รวมถึงมหาวิทยาลัยพายัพ ซึ่งได้ฝึกอบรมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ นักกฎหมาย และนักบวชชาวไทย บุรุษและสตรีเหล่านี้มีศรัทธาที่ต่างกัน หากแต่มารวมตัวกันด้วยความเคารพในเสรีภาพทางศาสนาและเจตนารมณ์อันเป็นหนึ่งเดียวในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน
บรรพบุรุษของคนกลุ่มนี้ยังช่วยทำให้ความมุ่งมั่นในการผดุงไว้ซึ่งเสรีภาพในการนับถือศาสนาของสหรัฐฯ เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้บุกเบิกเดินเรือมาถึงแผ่นดินที่เป็นสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน เพื่อเสาะหาบ้านหลังใหม่ที่พวกเขาจะสามารถนับถือศาสนาหรือความเชื่อตามที่ตนศรัทธาได้ ศรัทธาความเชื่อในตอนต้นของผู้อพยพชาวอเมริกันกลุ่มแรกที่คนในปัจจุบันเรียกกันว่า “ผู้จาริกแสวงบุญ” (Pilgrims) เป็นจุดเริ่มต้นของความเชื่อของเราในเรื่องเสรีภาพทางศาสนา ความเชื่อนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและครอบคลุมไม่เฉพาะนิกายต่าง ๆ ของศาสนาคริสต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงศาสนาอิสลามและศาสนายิวตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ด้วย นอกจากนี้ นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐของเรา ได้มีการบัญญัติให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นหนึ่งในหลักการเบื้องต้นที่สำคัญ ดังเช่นเดียวกับเสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และเสรีภาพในการร้องทุกข์ต่อรัฐบาลเพื่อจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
จากการอพยพเข้ามาของคนหลากหลายกลุ่มทั่วโลก สหรัฐฯ ได้ให้การต้อนรับผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงชาวพุทธซึ่งเดินทางมาถึงสหรัฐฯ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1820 โดยมีการสร้างวัดพุทธแห่งแรกที่เมืองซานฟรานซิสโกเมื่อปี 2396
อเมริกันชนยังคงต้อนรับผู้คนจากทุกวัฒนธรรมความเชื่อและพยายามปกป้องทุกศรัทธา เราไม่เพียงแต่ยอมรับศรัทธาของผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังต่อต้านบุคคลที่มุ่งร้ายกับผู้อื่นหรือกดขี่ข่มเหงศาสนาด้วยเหตุแห่งความเชื่ออีกด้วย
ปัจจุบันเกิดการโจมตีศาสนาขึ้นทั่วโลก ทั้งการรื้อถอนโบสถ์และมัสยิด รวมถึงการกักขังและบังคับให้ผู้มีศรัทธาสละอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ธรรมเนียมปฏิบัติทางวัฒนธรรม และศรัทธาทางศาสนา ประชากรมากกว่า 8 ใน 10 คนทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่บางคนไม่สามารถปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อที่ตนต้องการได้ เราจะต้องไม่ยอมจำนนต่อผู้ที่จะมาควบคุมการนับถือศาสนาของเรา
ในวันนี้ สหรัฐฯ พร้อมเดินหน้านำความร่วมมือเพื่อพิทักษ์เสรีภาพในการนับถือศาสนาทั่วโลก เราเชื่อว่า หากประเทศหนึ่งยอมรับว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ก็ย่อมมีความมั่นคงสถาพรและเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ด้วยการส่งเสริมให้ผู้คนปฏิบัติตามศรัทธาของตน ประเทศอย่างสหรัฐฯ และไทยก็ได้สร้างรากฐานแห่งการยอมรับความแตกต่างและความไว้เนื้อเชื่อใจที่ยังคุณประโยชน์ให้แก่สังคม ที่ซึ่งความร่วมมือระหว่างกลุ่มศรัทธาจะเจริญงอกงามและศาสนากลุ่มต่าง ๆ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมสวัสดิการทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งเป็นเสมือนเข็มทิศแห่งคุณธรรมของประเทศชาติ เราจึงต้องร่วมแรงร่วมใจกันปกป้องสิทธิของประชาชนทุกแห่งหนในการนับถือศาสนาของพวกเขาได้อย่างเสรีต่อไป
ผมภาคภูมิใจที่ได้สนับสนุนค่านิยมซึ่งเป็นที่ยึดถือของทั้งชาวอเมริกันและผู้มีศรัทธาจากนานาประเทศทั่วโลก รวมถึงแผ่นดินไทยนี้ ที่ซึ่งท่านทั้งหลายได้เปิดประตูและหัวใจต้อนรับผู้คนจากทุกความเชื่อ
(บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์ สำนักข่าวอิศรา และ ไทยพับลิก้า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563)
โดย U.S. Embassy Bangkok | 30 กันยายน, 2020 | ประเภท: ข่าว, เอกอัครราชทูต | Tags: บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตดีซอมบรี | Celebrating a Shared History of Religious Freedom
By U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre
As an American who has lived overseas and raised my family abroad, I have been able to see my country more clearly and appreciate the freedoms enshrined in our Constitution. One of the most important of these freedoms is freedom of religion. Like the United States, Thailand has a long-standing tradition of respecting religious freedom. This year, Thailand celebrates the 142nd anniversary of the Edict of Religious Tolerance. First announced by King Chulalongkorn in 1878, the Edict says that whoever wishes to embrace any religion, after seeing that it is true and proper, can do so without any restriction, and that the responsibility rests on the individual. This powerful idea has been included in every subsequent constitution of Thailand.
In recognition of this important historical event, I will be hosting a roundtable today to provide a forum in which approximately 15 leaders from religious institutions, government ministries, civil society organizations and universities will reflect on Thailand’s long-standing respect for the right to freedom of religion and belief, and explore opportunities for and challenges to expanding inter-religious harmony in the present day.
The Edict came not long after the arrival of the first American missionaries to Thailand in the mid-1800s. These men and women of strong religious faith worked with their Thai brethren to establish medical institutions throughout the country such as McCormick Hospital – where the father of King Rama IX Prince Mahidol treated patients after returning from Harvard Medical School. They also built schools like Dara Academy – one of the first to educate girls in northern Thailand – as well as Payap University, which have trained a generation of Thai healthcare workers, lawyers, and clergy. These were men and women of different faiths, drawn together by a respect for religious freedom and the common call to improve people’s lives.
The forebearers of these men and women helped to shape the United States’ commitment to freedom of religion. In the seventeenth century, those who came to the shores of what is now the United States sought a new home where they could be free to worship as their consciences dictated. The early faith of these first immigrants – whom today we call Pilgrims – was the genesis for our belief in the freedom of religion, a belief that quickly grew to cover not only the many forms of Christianity but also Islam and Judaism as early as the mid-1600s. At the very foundation of our Republic, freedom of religion was established as a first principal, in the same breath as freedom of speech, the freedom to peacefully assemble, and the freedom to petition our government for a redress of grievances.
Waves of subsequent immigrants from around the world saw the United States welcoming many other religions, including Buddhists, who began arriving in the 1820s, with the first Buddhist temple built in San Francisco in 1853.
Americans continue to welcome people of all faith traditions, and we work to protect all faiths. As Americans, not only do we accept the faith of others, but we also oppose those who target others for their faith or who oppress religion for ideological reasons.
Today religion is under attack across the globe. Churches and mosques are torn down and people of faith are detained and forced to renounce their ethnic identities, cultural practices and religious faiths. More than eight out of ten people in the world today live in countries where not all are free to follow the faith of their own choosing. We must not yield to those who would control how we practice our religion.
Today the United States is taking the lead to protect religious freedom throughout the world. We believe that by embracing freedom of religion as a fundamental right, a country will grow stronger and flourish. By empowering people to pursue their own faith, countries like the United States and Thailand build foundations of tolerance and trust that benefit their societies. In such societies, interfaith cooperation flourishes and religious communities contribute significantly to social welfare and serve as a moral compass for their nations. Together, the United States and Thailand must continue to defend the right of people everywhere to freely practice their religion.
I am proud to champion a value held not only by Americans, but by people of faith across the globe, including here in Thailand, where you have opened your doors and hearts to those of diverse faiths.
(This Op-Ed was originally published in The Nation Thailand and ThaiPublica website. The Thai version of this Op-Ed was originally published in Isaranews Agency and ThaiPublica website on September 30, 2020.)
By U.S. Embassy Bangkok | 30 September, 2020 | Topics: Former U.S. Ambassadors, News | Tags: Ambassador DeSombre's Op-Eds, Op-Ed, Op-Ed by the Ambassador | Celebrating a Shared History of Religious Freedom | เฉลิมฉลองประวัติศาสตร์เสรีภาพทางศาสนาร่วมกัน |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-consulate-general-chiang-mai-groundbreaking-ceremony-of-the-new-consulate-compound-th/ | เมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาเริ่มการก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่ได้ก่อตั้งสถานกงสุลขึ้นครั้งแรกที่นี่เมื่อ 70 ปีที่แล้ว โดยออกแบบอาคารหลังใหม่ให้คงอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อย 70 ปี สหรัฐฯ โดยสถานกงสุลที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือแห่งนี้ ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีของไทยมายาวนานเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ต่อสู้กับการค้ายาเสพติด และสร้างงานจำนวนมาก
สถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่มีกำหนดก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี 2566 และจะกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ประจักษ์ถึงความมุ่งมั่นที่สหรัฐฯ มีต่อภาคเหนือของไทยต่อไปในอนาคต โดยโครงการก่อสร้างดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุน 284 ล้านเหรียญสหรัฐ (8,800 ล้านบาท) และทำให้เกิดการว่าจ้างแรงงานในท้องถิ่นกว่า 400 คน
การออกแบบสถานกงสุลใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์และรูปแบบการสร้างอาคารในภาคเหนือที่มีความหลากหลาย โดยผสมผสานภูมิทัศน์ที่เขียวชอุ่มเข้ากับ “ศาลา” ซึ่งมีลักษณะเป็นระเบียงเปิดโล่งเพื่อใช้จัดงานที่เป็นทางการ อาคารสำนักงานแห่งใหม่นี้ยังสะท้อนถึงลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนาโบราณโดยการใช้พื้นที่สาธารณะกั้นส่วนต่างๆของอาคารออกจากกัน
สำนักงานฝ่ายศิลป์ประจำสถานเอกอัครราชทูต กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะจัดแสดงชุดผลงานหลากหลายสื่อศิลป์เป็นการถาวร ซึ่งมีทั้งภาพวาด ภาพถ่าย สิ่งทอ และประติมากรรมจากศิลปินทั้งชาวอเมริกันและชาวไทย นอกจากนี้ ยังจะจัดแสดงผลงานที่รังสรรค์ขึ้นเฉพาะสำหรับสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่นี้ เพื่อสะท้อนถึงความหลากหลายและความรุ่มรวยของมรดกทางวัฒนธรรมของสหรัฐฯ และไทย
โครงการดังกล่าวยังมีเป้าหมายที่จะได้รับการรับรองมาตรฐาน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED®) ระดับ Silver โดยมีองค์ประกอบที่โดดเด่นด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์และระบบน้ำที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับประเทศของไทยในการใช้พลังงานทดแทนและการพัฒนาคุณภาพอากาศ องค์ประกอบที่ยั่งยืนอื่นๆได้แก่ ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ การติดตั้งสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ตลอดจนกรอบอาคารที่ช่วยปรับลดอุณหภูมิภายใน ซึ่งประกอบด้วยหน้าต่างที่ลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ และการออกแบบรูปด้านโครงสร้างโดยรอบภายนอกอาคารโดยใช้แผงบังแดด
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี กล่าวว่า “การก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่นี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ต่อภาคีและพันธมิตรในภาคเหนือ เราชื่นชมสถาปัตยกรรมและการออกแบบล้านนา และในขณะเดียวกันก็ยังมุ่งลงทุนกับแรงงานและเศรษฐกิจในท้องถิ่น เพื่อให้ไทยและอเมริกามีความยั่งยืนและมั่งคั่งยิ่งขึ้นสืบไป”
“ชาวอเมริกันและชาวไทยมีประวัติศาสตร์ร่วมกันในภาคเหนืออันเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจยิ่ง และเราก็หวังที่จะสานต่อความสำเร็จอีกมากมายที่เราจะบรรลุร่วมกันในภายภาคหน้า” กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเชียงใหม่ ฌอน โอนีลล์ กล่าว
“การสร้างสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่ยิ่งแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมถึงความไว้วางใจและความมุ่งมั่นที่เรามีต่อกันในฐานะมิตรและหุ้นส่วนที่ยาวนาน อีกทั้งยังเปิดศักราชใหม่แห่งการยกระดับความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในภาคเหนือ” นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ กล่าว
ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงของโครงการก่อสร้างได้ที่ https://state-low.box.com/v/NewUSConsulateCompound
ดาวน์โหลดวิดีโอการเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ ได้ที่ https://bit.ly/329s4bE
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภาคเหนือของไทยได้ที่ https://th.usembassy.gov/embassy-consulate/chiang-mai/history/then-now/
ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ในภาคเหนือของไทยได้ที่ https://state-low.box.com/v/USinNorthernThailand
โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 25 กันยายน, 2020 | ประเภท: กงสุลใหญ่, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เอกอัครราชทูต | On September 25, 2020, the United States began construction of a new U.S. Consulate in Chiang Mai. America first established its Chiang Mai Consulate 70 years ago and has designed its new compound to last at least another 70 years. With the oldest foreign consulate in northern Thailand, the United States has long collaborated with Thai partners to cure diseases, fight drug trafficking, and create jobs.
Targeted for completion in 2023, the new Consulate compound will be a concrete symbol of America’s continued commitment to northern Thailand for generations to come. The United States will spend USD $284 million (THB 8.8 billion) on this project and employ over 400 local workers to build its new Consulate.
Inspired by the rich architectural landscapes and design traditions of northern Thailand, the design incorporates a lush landscape and a sala, a traditional Thai outdoor terrace that will be used for formal events. The new office building reflects traditional Lanna architecture with modules separated by public spaces.
The permanent art collection, curated by the State Department’s Office of Art in Embassies, will include art from a variety of media, including painting, photography, textiles and sculpture, by both American and Thai artists. Highlights will include site-specific commissions that reflect the diversity and richness of American and Thai cultural heritage.
The project targets Leadership in Energy and Environmental Design (LEED®) Silver Certification. Notable green features include solar photovoltaic (PV) and water systems that support Thailand’s national goals of renewable energy implementation and improved air quality. Other sustainable features include an automated building controls system, water saving plumbing fixtures, and building envelope heat reduction through low heat gain windows and the use of shading elements in the façade design.
Ambassador Michael George DeSombre remarked: “The construction of the New Consulate Compound is a symbol of continued U.S. commitment to our partners and allies in northern Thailand. We honor the local Lanna architecture and design while seeking to invest in the local workforce and economy for a more sustainable and prosperous Thailand and America.”
“Americans and Thais have a proud history together in northern Thailand, and we look forward to the many accomplishments we will continue to achieve together in the future,” said Consul General Sean O’Neill.
“The development of the new Consulatecompound signifies even more concretely our mutual trust and shared commitments as long-time friends and partners, and will open up a new era of enhanced Thai-U.S. cooperationin Northern Thailand,” saidViceMinister of ForeignAffairs AmbassadorVijavatIsarabhakdi.
For high resolution photos of the new Consulate compound project, please see this link: https://drive.google.com/drive/folders/1UC07K8LfBYWgQQoBGGk5uyQNtFkzmPTt
For the 70th Anniversary Video, please see this link: https://bit.ly/329s4bE
To learn more about the history of the United States in northern Thailand, please see this link: https://th.usembassy.gov/embassy-consulate/chiang-mai/history/then-now/
For high resolution graphics of the history of the United States in northern Thailand, please see this link: https://drive.google.com/drive/folders/1WvfF04yWMvyvFAK9Hx0hA8lOj5vEnebP
By U.S. Consulate Chiang Mai | 25 September, 2020 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Former U.S. Ambassadors, U.S. & Thailand | U.S. Consulate General Chiang Mai Groundbreaking Ceremony of the New Consulate Compound | สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเชียงใหม่จัดพิธีเปิดหน้าดินสถานกงสุลแห่งใหม่ |
https://th.usembassy.gov/th/building-the-mekong-u-s-partnership-th/ | ผมทำงานในโลกธุรกิจมากว่า 20 ปี จึงเข้าใจดีถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการที่คู่ค้าที่ไว้ใจได้มาพบเจอกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ไม่ว่าคุณจะกำลังเจรจาข้อตกลงทางธุรกิจที่มีผลประโยชน์สูงหรือกำลังสร้างโครงข่ายไฟฟ้าระดับภูมิภาค ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ที่คุณเลือกที่จะทำงานด้วย จากรากฐานความสัมพันธ์กว่า 2 ศตวรรษ สัปดาห์นี้ไทยและสหรัฐอเมริกาได้ก้าวไปอีกขั้นในการทำงานร่วมกันใกล้ชิดกว่าเดิม ซึ่งยกระดับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและเปี่ยมพลวัตของเรา
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีดอน ปรมัตถ์วินัย และเจ้าหน้าที่จากอีก 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เปิดตัวความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) ครั้งใหม่ โดยต่อยอดจากความร่วมมือหลายทศวรรษ รวมถึงเงินช่วยเหลือ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐที่อเมริกามอบให้ภายใต้ข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (LMI) มากว่า 11 ปี ในการยกระดับการดำเนินงานของเราครั้งนี้ สหรัฐฯ จะส่งเสริมการเชื่อมโยงและการพัฒนาในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น ด้วยโครงการริเริ่มใหม่ ๆ มูลค่ากว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ การทำงานร่วมกันภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวจะขยายขอบเขตครอบคลุมทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ ความมั่นคง ธรรมาภิบาล สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเหมาะสมกับการรับมือปัญหาที่เราเผชิญร่วมกันในภูมิภาค ตั้งแต่ภัยแล้งรุนแรงจนถึงการค้ายาเสพติด
ไทยมีโอกาสดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในการเก็บเกี่ยวผลของการยกระดับความร่วมมือนี้ ประเทศของเราทั้งสองได้หล่อเลี้ยงมิตรภาพที่มีความเชื่อใจ โปร่งใส และผลประโยชน์ร่วมกันมากว่า 200 ปี ไทยในฐานะศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของภูมิภาค เป็นฝ่ายที่จะได้รับประโยชน์อย่างสูงหากภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแข็งแกร่งขึ้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและศักยภาพในการรับมือความท้าทายด้านความมั่นคง สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม สัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเรายืนเคียงข้างกันและแสดงถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่ายในการทำให้เป้าหมายนี้กลายเป็นจริงภายใต้ความร่วมมือใหม่นี้
ประเทศลุ่มน้ำโขงรวมถึงไทย สมควรมีหุ้นส่วนที่ไว้ใจได้อย่างสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนความมุ่งหวังด้านการพัฒนาของประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศควรส่งเสริมโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง อันจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสร้างงานใหม่ ๆ ตลอดจนใช้ความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญในประเทศแทนชาวต่างชาติ และปราศจากการทำสัญญาที่เอารัดเอาเปรียบโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ความช่วยเหลือดังกล่าวจะต้องไม่ทำให้เกิดการทุจริต หนี้สินมหาศาล หรือสัมปทานที่ไม่เป็นธรรม ตัวอย่างเช่น หน่วยงานความร่วมมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (DFC) ได้ลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วราว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังจะลงทุนและขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานในลุ่มน้ำโขงด้วยเม็ดเงินอีกหลายพันล้านในอนาคต นอกจากนี้ เครือข่ายการดำเนินงานและความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ (ITAN) ยังจะสร้างเสริมความสามารถของนานาประเทศในภูมิภาคในการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน โปร่งใส และมีคุณภาพสูง ซึ่งอำนวยประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชากรในลุ่มน้ำโขงด้วย
ผู้นำของไทยเข้าใจถึงข้อดีข้อเสียเหล่านี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้พูดคุยกับคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของไทยในการก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานของภูมิภาค โดยสหรัฐฯ จะสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ผ่านข้อริเริ่ม Asia EDGE เพื่อขับเคลื่อนการค้าพลังงานในภูมิภาค การเข้าถึงเงินทุน และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โครงการริเริ่มเหล่านี้ช่วยให้ไทยมุ่งสู่การพัฒนาที่เอื้อประโยชน์ต่อชาวไทย มิใช่ผู้ฉวยโอกาสต่างชาติหรือเป็นผลประโยชน์จากการบีบบังคับ
มิใช่เพียงสหรัฐฯ เท่านั้นที่มอบความร่วมมือที่ตั้งมั่นในหลักการ มิตรประเทศและหุ้นส่วนอย่างออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และอินเดียต่างก็มาร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง การเติบโตทางเศรษฐกิจ การปกป้องสิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และค่านิยมในการร่วมมือกันของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตัวอย่างเช่น หุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ (JUMPP) สนับสนุนทรัพยากรแก่ประเทศลุ่มน้ำโขงเพื่อขยายการซื้อขายไฟฟ้าระดับภูมิภาค โดยสหรัฐฯ มอบความช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวน 29.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้โครงการนี้ ไทย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเครือข่ายพลังงานที่เชื่อมโยงและตลาดพลังงานที่มีการแข่งขันกันซึ่งจะปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
ความร่วมมือครั้งใหม่ของเราตระหนักว่าการเอาชนะความท้าทายที่ซับซ้อนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะต้องมีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ จะยังคงปกป้องสุขภาพของแม่น้ำโขงซึ่งหล่อเลี้ยง 60 ล้านชีวิตต่อไป และสหรัฐฯ จะยังคงสนับสนุนคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) และการพัฒนาที่ยั่งยืนของแม่น้ำสายสำคัญนี้ เราสนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลน้ำตลอดทั้งปีโดยใช้แพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วของ MRC รวมถึงข้อมูลการปล่อยน้ำจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ต้นน้ำ ในการจัดการแม่น้ำข้ามพรมแดน ความโปร่งใสเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าแม่น้ำโขงจะหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ก็เป็นช่องทางที่องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติใช้ลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย และเพื่อช่วยมิตรประเทศในลุ่มน้ำโขงของเราปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดนเหล่านี้ สหรัฐฯ จะมอบเงินสนับสนุนจำนวน 55 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มเติมจากที่ออสเตรเลียกำลังให้และวางแผนจะให้เพื่อช่วยเหลือในการปราบปรามการค้ามนุษย์ ยาเสพติด ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่า รวมถึงอาชญากรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเมทแอมเฟตามีนที่เพิ่มสูงขึ้น
ในช่วงปีที่ผ่านมา ประเทศของเราทั้งสองได้เห็นว่าเราต้องทำงานร่วมกันเพื่อเอาชนะความท้าทายในยุคสมัยของเรา บางประเทศแสวงประโยชน์ของตนเองจากช่วงเวลาอันไม่แน่นอนนี้ สหรัฐฯ ตระหนักถึงโอกาสในการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่แข็งแกร่งและมั่งคั่งยิ่งขึ้น ดังเช่นการบุกเบิกใด ๆ ก็ตาม หากเราจะขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จในช่วงเวลาที่สถานการณ์โลกต่างจากที่เคยเป็นมานี้ ประเทศของเราทั้งสอง ตลอดจนบรรดาหุ้นส่วนในภูมิภาค จะต้องสร้างข้อตกลงใหม่ ๆ ที่เน้นย้ำถึงมิตรภาพอันยืนนานของเรา และแสดงถึงความมุ่งมั่นของเราต่ออนาคตที่เป็นหนึ่งเดียว
ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ
(บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์ ไทยรัฐเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563)
โดย U.S. Embassy Bangkok | 15 กันยายน, 2020 | ประเภท: ข่าว, เอกอัครราชทูต | Tags: บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตดีซอมบรี | Building the Mekong-U.S. Partnership
By U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre
Having worked in the business world for over 20 years, I understand well the paramount importance of trusted partners in coming together to achieve a common goal. Whether you are negotiating a high-stakes business deal or building a regional power grid, success hinges on the integrity of those with whom you choose to work. Building on a relationship spanning two centuries, this week Thailand and the United States took an important step forward to work even closer together, elevating our already strong and dynamic relationship.
On Friday, along with Deputy Prime Minister Don Pramudwinai and officials from the four other countries in the lower Mekong basin, the United States launched the new Mekong-U.S. Partnership, which will build on decades of collaboration and $3.5 billion in U.S. assistance provided under the Lower Mekong Initiative over the past 11 years. In upgrading our efforts with the Mekong-U.S. Partnership, the United States will support even greater connectivity and development in the region for years to come. With more than $150 million in regional initiatives already in the pipeline, our cooperation through this partnership will expand to include the full range of economic, security, governance, health, and environmental efforts – a fitting approach to collectively address shared challenges in the region, from devastating drought to drug trafficking.
No other country is better positioned to reap the rewards of this enhanced partnership than Thailand, where our two countries came together over 200 years ago to foster a friendship based on trust, transparency, and mutual benefit. Thailand, already a regional center for trade and investment, has much to gain from a more resilient Mekong region with improved infrastructure and enhanced capacity to mitigate security, health, and environmental challenges. Working side by side last week, high level officials from our two countries signaled our mutual commitment to making that a reality through this new partnership.
Mekong nations, including Thailand, deserve reliable partners like the United States to support their development aspirations. Foreign investment should facilitate high-standard infrastructure projects that bring economic prosperity and create new jobs, utilize local—not imported—talent, and have zero-tolerance for predatory contract arrangements. Such support shouldn’t come with corruption, burdensome debt, or exploitative concessions. For example, the U.S. International Development Finance Corporation has already invested $1 billion in Southeast Asia and aims to invest and catalyze billions more in Mekong infrastructure in the coming years. In addition, the U.S. Infrastructure Transaction and Assistance Network will bolster the ability of countries in the region to implement sustainable, transparent, and high-quality infrastructure projects that bring the most value to the populations of the Mekong region.
Thai leaders understand these tradeoffs. I recently spoke with Thailand’s newly appointed Energy Minister, Mr. Supattanapong Punmeechaow, who outlined Thailand’s vision to become a regional energy hub. The U.S. will support this vision through the Asia Enhancing Development and Growth through Energy (EDGE) initiative to increase regional energy trade, access to capital, and private sector engagement. These initiatives help Thailand pursue development that will benefit Thai people—not foreign profiteers or coercive interests.
It is not just the United States that offers a principled partnership. Friends and partners like Australia, Japan, the Republic of Korea, and India have come together to bolster the Mekong region’s security, economic growth, environmental protection, good governance, and cooperative values through dynamic new relationships. For example, the Japan-U.S.-Mekong Power Partnership provides Mekong countries with resources to increase regional electricity trade, with an initial U.S. commitment of $29.5 million. Through this initiative, Thailand, Japan, and the United States are working with our Mekong partners to build an interconnected energy network and competitive power markets that will unlock the economic potential of the region.
Our new partnership recognizes that overcoming the complex challenges facing the Mekong region will require strong cooperation. The Mekong-U.S. Partnership will continue to safeguard the health of the Mekong River, which supports the livelihoods of 60 million people. Accordingly, the United States will maintain support for the Mekong River Commission (MRC) and the sustainable development of this important river. We strongly support sharing of year-round water data using the MRC’s existing platforms, including flow release data from upstream infrastructure projects. When managing a river that transcends national boundaries, transparency is key. While the Mekong River brings life, it can also be a conduit for smuggling by transnational criminal organizations. To help our Mekong friends counter these cross-border crimes, the United States is providing $55 million, complementing ongoing and planned assistance from Australia, to fight the trafficking of people, drugs, natural resources, and wildlife, including crimes linked to the surge in the production of methamphetamines.
This past year our nations have been reminded that we must work together to successfully overcome the challenges of our time. Some countries have exploited this period of uncertainty for their own advantage. The United States recognized the opportunity to work together to build a stronger, more prosperous Mekong region. As with any ground-breaking venture, if we endeavor to achieve success during these unprecedented times, then our two nations, along with partners in the region, must forge new agreements that affirm our enduring friendship and demonstrate our commitment to a united future.
Mekong – U.S. Partnership
(This Op-Ed was originally published in Bangkok Post newspaper. The Thai version of this Op-Ed was originally published in Thai Rathwebsite on September 15, 2020.)
By U.S. Embassy Bangkok | 15 September, 2020 | Topics: Former U.S. Ambassadors, News | Tags: Ambassador DeSombre's Op-Eds, Op-Ed, Op-Ed by the Ambassador | Building the Mekong-U.S. Partnership | เสริมสร้างความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ |
https://th.usembassy.gov/th/statement-refuting-disinformation-th/ | จากกรณีเมื่อเร็วๆนี้ที่เว็บบล็อกซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนโดยเฉพาะ ได้เผยแพร่ภาพถ่ายของอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่ถ่ายไว้เมื่อหลายปีก่อนขณะดำรงตำแหน่งนั้น สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยมีคำแถลงการณ์ดังต่อไปนี้
เอกอัครราชทูตทุกท่านและเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ พบปะกับคนไทยในหลากหลายภาคส่วนอยู่เป็นประจำ มิใช่เพียงแต่นักเรียนนักศึกษาและเยาวชนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุคคลในรัฐบาล กองทัพ ภาคธุรกิจ และผู้นำในภาคส่วนอื่นๆด้วย การพบปะเช่นนี้มิได้แสดงถึงการสนับสนุนมุมมองหนึ่งมุมมองใด
รัฐบาลสหรัฐฯ มิได้ให้เงินทุนหรือให้การสนับสนุนอื่นใดแก่การประท้วงใดๆในประเทศไทย
สหรัฐฯ มิได้สนับสนุนบุคคลหรือพรรคการเมืองใดหากแต่เราสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม
ในฐานะมิตรประเทศของไทย เราสนับสนุนให้ทุกฝ่ายดำเนินการใดๆด้วยความเคารพและระมัดระวังต่อไป ตลอดจนมีส่วนร่วมในการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ถึงแนวทางในการที่ประเทศจะก้าวต่อไปข้างหน้า
โดย U.S. Embassy Bangkok | 11 กันยายน, 2020 | ประเภท: สถานทูต, เอกสารข่าว | In response to the recent dissemination, by a blogsite dedicated to purveying disinformation, of photos taken years ago during the tenure of the prior U.S. Ambassador to Thailand, the U.S. Embassy would like to issue the following statement:
Ambassadors and Embassy personnel regularly meet with a broad cross section of Thai nationals, not just with students and youth, but also with government, military, business and other leaders. Such meetings do not imply endorsement of any views.
The United States government is not funding or otherwise providing support to any of the protests in Thailand.
The United States does not support any individual or political party; we support the democratic process and the rule of law.
As friends of Thailand, we encourage all sides to continue to act with respect and restraint and engage in constructive dialogue on how to move the country forward.
By U.S. Embassy Bangkok | 11 September, 2020 | Topics: embassy, News, Press Releases | Statement Refuting Disinformation | แถลงการณ์แก้ไขข้อมูลบิดเบือน |
https://th.usembassy.gov/th/information-for-visa-applicants-regarding-novel-coronavirus-th/ | ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป สถานทูตสหรัฐฯ กรุงเทพฯ และสถานกงสุลใหญ่เชียงใหม่ ได้เปิดให้ทำการนัดหมายสัมภาษณ์วีซ่าชั่วคราว ทางสถานทูตสหรัฐฯ กรุงเทพฯ และสถานกงสุลใหญ่มีเป้าหมายที่จะดำเนินการพิจารณาคำร้องขอวีซ่าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าอาจจะมีความล่าช้าอันเนื่องมาจากมีการยื่นคำร้องขอวีซ่าเป็นจำนวนมาก ค่าธรรมเนียมวีซ่าของท่านจะยังใช้ได้และสามารถใช้ได้ในประเทศที่ท่านได้ทำการชำระค่าธรรมเนียมวีซ่า โดยมีอายุ 1 ปีนับจากวันชำระค่าธรรมเนียม
ผู้สมัครอาจสามารถยื่นต่ออายุวีซ่าทางไปรษณีย์ได้ หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุบนหน้าเว็บไซต์https://www.ustraveldocs.com/th_th/th-niv-visarenew.aspโปรดศึกษาข้อมูลโดยละเอียดก่อนที่จะทำการส่งเอกสารเพื่อยื่นต่ออายุวีซ่าทางไปรษณีย์
สถานทูตสหรัฐฯ กรุงเทพฯ ได้กลับมาดำเนินการพิจารณาคำร้องวีซ่าถาวรในหลายประเภท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเคสที่ยังไม่ได้รับการพิจารณา เนื่องจากทางแผนกวีซ่าถาวรได้ทำการยกเลิกนัดสัมภาษณ์ไปก่อนหน้านี้ในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยแผนกวีซ่าถาวรจะทำการติดต่อผู้สมัครที่มีสิทธิ์ในการจองนัดสัมภาษณ์ใหม่โดยตรง
โดย U.S. Embassy Bangkok | 10 กันยายน, 2020 | ประเภท: ข่าว, วีซ่า | As of October 1, 2020, the United States Embassy and Consulate General in Thailand resumed routine nonimmigrant visa services. While Embassy Bangkok and Consulate General Chiang Mai aim to process cases as soon as practicable, there is likely to be increased wait times for completing such services due to backlogs. The MRV fee is valid and may be used to schedule an interview appointment in the country where it was purchased within one year of the date of payment.
You may be able to renew your visa by mail, if you meet all the qualifications listed onhttps://www.ustraveldocs.com/th/th-niv-visarenew.asp. Please read all the information before submitting your application by mail.
U.S. Embassy Bangkok has also resumed processing most immigrant visa categories initially focusing on those applicants whose interview appointment was canceled because of the COVID-19 pandemic. The Immigrant Visa unit will be in direct contact with applicants currently eligible to reschedule their interview appointment.
By U.S. Embassy Bangkok | 10 September, 2020 | Topics: News, Visas | Information for Visa Applicants Regarding Novel Coronavirus | ข้อมูลสำคัญสำหรับผู้สมัครวีซ่าเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ |
https://th.usembassy.gov/th/primaries-caucuses-differences-th/ | การเลือกตั้งขั้นต้น (primary) และการประชุมคอคัส (caucus) เป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอนการเลือกตั้ง โดยเป็น 2 วิธีที่ใช้เลือกผู้ที่อาจเป็นตัวแทนสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งมีกระบวนการจัดการและบุคคลที่มีสิทธิร่วมลงคะแนนแตกต่างกัน นอกจากนี้ อัตราการมีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงทั้งสองแบบนี้ก็มีความต่างกันมาก
Voters checking in at a 2008 Washington State Democratic caucus held at the Nathan Eckstein Middle School in Seattle (Wikicommons / Joe Mabel)
การเลือกตั้งขั้นต้น
การเลือกตั้งขั้นต้นจัดโดยรัฐบาลระดับรัฐและระดับท้องถิ่น การลงคะแนนเสียงเป็นแบบไม่เปิดเผยชื่อ บางรัฐจัดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต้นแบบ “ปิด” โดยให้ผู้ที่ประกาศตนว่าเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้นที่จะร่วมลงคะแนนเสียงได้ แต่สำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต้นแบบเปิด ผู้มีสิทธิออกเสียงทุกคนสามารถร่วมลงคะแนนได้ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่เป็นสมาชิกของพรรคก็ตาม
การประชุมคอคัส
การประชุมคอคัสเป็นการประชุมภายในพรรคการเมืองที่พรรคต่าง ๆ จัดขึ้นในระดับเคานตี เขต หรือเขตเลือกตั้ง ในการประชุมคอคัสส่วนใหญ่ ผู้ร่วมประชุมจะแบ่งกลุ่มตามผู้สมัครที่ตนสนับสนุน ในตอนท้าย จำนวนเสียงของผู้เข้าร่วมในแต่ละกลุ่มจะกำหนดจำนวนตัวแทนพรรคที่จะออกเสียงสนับสนุนผู้สมัครแต่ละคน
When are they held?
State and local governments determine the dates on which primary elections or caucuses are held. These dates, and the amount of time between a primary and general election, significantly influence how early candidates begin campaigning and the choices they make about how and when campaign funds are spent.
In the run-up to presidential elections, victories in primaries held very early in the election year, such as that in New Hampshire, can influence the outcome of later state primaries.
โดย U.S. Mission Thailand | 28 สิงหาคม, 2020 | ประเภท: Exclude, เลือกตั้ง | The election process begins with primary elections and caucuses. These are two methods that states use to select a potential presidential nominee. Primary elections and caucuses differ in how they are organized and who participates. And rates of participation differ widely.
Voters checking in at a 2008 Washington State Democratic caucus held at the Nathan Eckstein Middle School in Seattle (Wikicommons / Joe Mabel)
Primaries
Primaries are run by state and local governments. Voting happens through secret ballot. Some states hold “closed” primaries in which only declared party members can participate. In an open primary, all voters can participate, regardless of their party affiliation or lack of affiliation.
Caucuses
Caucuses are private meetings run by political parties. They are held at the county, district, or precinct level. In most, participants divide themselves into groups according to the candidate they support. At the end, the number of voters in each group determines how many delegates each candidate has won.
When are they held?
State and local governments determine the dates on which primary elections or caucuses are held. These dates, and the amount of time between a primary and general election, significantly influence how early candidates begin campaigning and the choices they make about how and when campaign funds are spent.
In the run-up to presidential elections, victories in primaries held very early in the election year, such as that in New Hampshire, can influence the outcome of later state primaries.
By U.S. Mission Thailand | 28 August, 2020 | Topics: Elections, Exclude | Primaries and Caucuses: The Differences | ข้อแตกต่างระหว่างการเลือกตั้งขั้นต้นและการประชุมคอคัส |
https://th.usembassy.gov/th/remarks-by-ambassador-michael-george-desombre-at-mahachulalongkornrajavidyalaya-university-th/ | นมัสการ
กราบขอบพระคุณ พระคุณท่าน ศาสตราจารย์ ดร. พระราชปริยัติกวี สำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และการพาชมสถานศึกษาอันสวยงามแห่งนี้ ตลอดจนการเชิญกระผมมาบรรยายในวันนี้
กราบขอบพระคุณ ท่านรองอธิการบดี พระอาจารย์ ไสว โชติโก และคณะ สำหรับการเตรียมการต่างๆ เพื่อต้อนรับการมาเยือนของกระผม
กระผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นตัวแทนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประจำราชอาณาจักรไทย และได้มากล่าวบรรยายในฐานะผู้แทนของท่านประธานาธิบดีฯ ในหัวข้อเรื่องที่อยู่ในหัวใจของท่านและชาวอเมริกันหลายคน นั่นคือ เสรีภาพในการนับถือศาสนา ในฐานะอเมริกันชนคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ต่างแดนและสร้างครอบครัวในต่างประเทศ กระผมจึงมีโอกาสมองเห็นประเทศของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและซาบซึ้งในคุณค่าแห่งเสรีภาพที่เชิดชูอยู่ในรัฐธรรมนูญของเรา หนึ่งในเสรีภาพที่สำคัญที่สุดคือเสรีภาพในการนับถือศาสนา “สภาคองเกรสห้ามออกกฎหมายยกย่องศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษและห้ามจำกัดสิทธิในการนับถือศาสนาของประชาชน” ข้อความนี้ไม่ใช่คำพูดของกระผมเอง หากแต่เป็นคำกล่าวของกลุ่มบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาของเรา ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2332 ในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐฯ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 กลุ่มบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐฯ ได้บัญญัติเสรีภาพในการนับถือศาสนาไว้ในรัฐธรรมนูญของเรา ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการเบื้องต้นที่สำคัญ เฉกเช่นเดียวกับเสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และเสรีภาพในการร้องทุกข์ต่อรัฐบาลเพื่อจัดการเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งเป็นรากฐานของสาธารณรัฐของเรา สหรัฐฯ ได้ยืนหยัดเพื่ออิสรภาพในการนับถือศาสนามานับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศหรือแม้กระทั่งก่อนหน้านั้น
ชาวอเมริกันกลุ่มแรกเดินทางมายังโลกใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 17 เพื่อแสวงหาเสรีภาพในการนับถือศาสนาหรือความเชื่อตามที่ตนศรัทธา โดยอพยพหนีมาจากทวีปยุโรป ซึ่งในเวลานั้น ตามประวัติศาสตร์ อยู่ภายใต้อิทธิพลของคริสตจักรและศาสนาประจำชาติต่างๆ ศรัทธาความเชื่อในตอนต้นของอเมริกันชนกลุ่มแรกเหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันเราเรียกพวกเขาว่า “ผู้จาริกแสวงบุญ” ก่อให้เกิดลักษณะที่สืบทอดต่อๆ กันมาในเรื่องความเชื่อในเสรีภาพของการนับถือศาสนา ความเชื่อนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งครอบคลุมไม่เฉพาะนิกายต่างๆ ของศาสนาคริสต์แต่ยังรวมถึงศาสนาอิสลามและศาสนายูดาห์ อีกด้วย นับตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 17
จากการอพยพเข้ามาของคนกลุ่มต่างๆ จากทั่วโลก สหรัฐฯ ได้ให้การต้อนรับผู้นับถือศาสนาอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแน่นอนว่ามีชาวพุทธรวมอยู่ด้วย ชาวพุทธเหล่านี้เดินทางมาถึงสหรัฐฯ ในช่วง พ.ศ. 2363 โดยมีการสร้างวัดของศาสนาพุทธขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองซานฟรานซิสโกเมื่อ พ.ศ. 2396 บรรพบุรุษของกระผมเป็นชาวอูว์เกอโนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มชาวโปรเตสแตนต์เพียงส่วนน้อยในประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศคาทอลิก บรรพบุรุษของกระผมถูกข่มเหงเพราะเหตุแห่งศรัทธาของพวกเขา พวกเขาจึงตัดสินใจหนีไปเยอรมนีแทนที่จะต้องเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ผู้จาริกแสวงบุญกลุ่มแรกเดินทางไปยังอาณานิคมอเมริกา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 บรรพบุรุษของกระผมได้อพยพไปยังสหรัฐฯ และได้เรียงร้อยเรื่องราวการอพยพของพวกเขาบนผืนผ้าแห่งประวัติศาสตร์อเมริกัน ผู้อพยพใหม่จำนวนมากที่มายังอาณานิคมต่างมุ่งหน้าไปยังโลกใหม่เพื่อก่อตั้งชุมชนความเชื่อต่างๆ ที่เคยถูกกดขี่ในประเทศบ้านเกิดของตน
สี่รัฐแรกของเรา อันได้แก่ รัฐโรดไอแลนด์ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐนิวเจอร์ซีย์ และ รัฐเพนซิลเวเนีย จัดตั้งขึ้นเพื่อปกป้องเสรีภาพทางศาสนา เป็นการเฉพาะ บางคนเป็นชาวคาทอลิกที่หนีมาจากรัฐโปรเตสแตนต์ ในขณะที่บางคนเป็นชาวโปรเตสแตนต์ที่หนีมาจากรัฐคาทอลิก แต่ทุกคนต่างเชื่อมั่นในศรัทธาของตนว่าพวกเขาจะสามารถนับถือศาสนาของตนได้อย่างอิสระในดินแดนที่กลายมาเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบการณ์แห่งอิสรภาพในการนับถือศาสนาในอดีตนี้เป็นแรงสนับสนุนให้บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐฯ ของเราทำให้มั่นใจว่าจะไม่มีการยกย่องศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษเหนือศาสนาอื่น และประชาชนทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาที่ตนเลือกหรือมีเสรีภาพที่จะไม่ต้องนับถือศาสนาใดๆ ก็ได้เช่นกัน
ทอมัส เจฟเฟอร์สัน ซึ่งเป็นผู้ร่าง “คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา” และประธานาธิบดีคนที่สามแห่งสหรัฐฯ อาจเป็นผู้ที่ถ่ายทอดความลึกซึ้งละเอียดอ่อนในเรื่องนี้ได้ดีที่สุด โดยเขากล่าวว่า “หัวข้อเรื่องศาสนา….เป็นเรื่องระหว่างมนุษย์และผู้สร้างมนุษย์ ซึ่งไม่ว่าผู้ใดหรือกลุ่มใดย่อมไม่มีสิทธิที่จะเข้ามาแทรกแซงได้” เขายังเสริมอีกว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ถูกพรากสิทธิในการนับถือศาสนาแต่อย่างใด หากเพื่อนบ้านของข้าพเจ้าจะกล่าวว่ามีพระเจ้ายี่สิบองค์ หรือไม่มีพระเจ้าก็ตาม” ทอมัส เพน หนึ่งในเพื่อนร่วมงานของเจฟเฟอร์สัน อธิบายว่าทำไมเรื่องนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเขียนไว้ว่า “เสรีภาพทางจิตวิญญาณเป็นรากฐานของเสรีภาพทางการเมือง…เมื่อเสรีภาพทางจิตวิญญาณและเสรีภาพทางการเมืองเป็นสิ่งคู่กันที่แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้…เราจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปกป้องเสรีภาพทั้งสองนี้” นับตั้งแต่นั้นมา ชาวอเมริกันได้ให้การต้อนรับผู้คนจากทุกศรัทธาสู่สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อมาอาศัยและทำงานเคียงข้างกัน และเพื่อนับถือหรือไม่นับถือศาสนาหรือความเชื่อใดๆ ตลอดประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ เราพยายามอยู่เสมอที่จะเจริญรอยตามอุดมคตินี้ เราได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อปกป้องทุกศรัทธา และในวันนี้สหรัฐฯ พร้อมเดินหน้านำความร่วมมือเพื่อพิทักษ์เสรีภาพในการนับถือศาสนาทั่วโลก
เราจะยังคงผลักดันเสรีภาพนี้ต่อไป เราเชื่อว่าเสรีภาพนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เราเชื่อว่าหากประเทศใดยอมรับเสรีภาพในการนับถือศาสนา ประเทศนั้นย่อมจะมั่นคงสถาพรยิ่งขึ้นสืบไปด้วยการอนุญาตให้ประชาชนสามารถนับถือศาสนาใดก็ได้ตามความศรัทธาของตน ประเทศอย่างสหรัฐฯ และไทย ได้สร้างรากฐานแห่งการยอมรับความแตกต่างทางศาสนาและปลูกฝังความไว้เนื้อเชื่อใจที่ยังคุณประโยชน์ให้แก่สังคมของพวกเขา ในสังคมดังกล่าว ความร่วมมือระหว่างกลุ่มศรัทธาต่างๆ จะเจริญงอกงามและศาสนากลุ่มต่างๆ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมสวัสดิการทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งเป็นเสมือนเข็มทิศแห่งคุณธรรมที่จะช่วยนำทางประเทศชาติต่อไป
ประเทศไทยได้ต้อนรับชาวอเมริกันเป็นครั้งแรกเมื่อกลางศตวรรษที่ 19 เหล่าบุรุษและสตรีผู้มีศรัทธาทางศาสนาอย่างแรงกล้านี้ได้ทำงานร่วมกับพี่น้องชาวไทยเพื่อจัดตั้งสถาบันทางการแพทย์ทั่วประเทศ เช่น โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล พระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจรักษาผู้ป่วยหลังจากที่พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์วาร์ด คนกลุ่มนี้ยังได้สร้างโรงเรียน อย่างเช่น โรงเรียนดาราวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนสตรีแห่งแรกทางภาคเหนือของไทย รวมถึงมหาวิทยาลัยพายัพ ซึ่งได้ให้การฝึกอบรมแก่บุคลากรทางการแพทย์ของไทย นักกฎหมาย และ แม้กระทั่งนักบวช บุรุษและสตรีเหล่านี้ซึ่งมาจากกลุ่มศรัทธาที่แตกต่างกัน ต่างมาอยู่ร่วมกัน ด้วยความเคารพในเสรีภาพทางศาสนาและเจตนารมณ์ในการทำความดีร่วมกัน เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ในพระนามของพระเจ้าและในฐานะอเมริกันชน เราไม่เพียงแต่ยอมรับในศรัทธาของผู้อื่นและความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่น แต่เรายังต่อต้านบุคคลที่มุ่งเป้าไปยังผู้อื่นด้วยเหตุแห่งศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มก่อการร้ายหรือรัฐบาลที่กดขี่ศาสนาด้วยเหตุแห่งคตินิยมที่แตกต่างกัน กว่าแปดในสิบคนของประชากรบนโลกนี้อาศัยอยู่ในที่ๆ เขาไม่สามารถที่จะนับถือศาสนาของตนได้อย่างอิสระ เราจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันปกป้องสิทธิของประชาชนทุกแห่งหนในการนับถือศาสนาของพวกเขาได้อย่างเสรี
นี่เป็นหนึ่งในเรื่องที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ดังที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมเคิล ปอมเปโอ ได้กล่าวไว้ในการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมเสรีภาพทางศาสนาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ว่า “การปกป้องเสรีภาพทางศาสนาเป็นแกนกลางของนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลทรัมป์ และการปกป้องสิทธิมนุษยชนในเรื่องนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของความเป็นชาวอเมริกันของเรา” การประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนั้นถือเป็นงานส่งเสริมเสรีภาพทางศาสนาครั้งใหญ่ที่สุดในโลก มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน ซึ่งเป็นผู้นำภาคประชาสังคมและกลุ่มศาสนาต่างๆ ตลอดจนผู้เข้าร่วมประชุมอีกกว่า 100 คน ซึ่งเป็นผู้แทนประเทศต่างๆ ที่ได้รับเชิญ
ประธานาธิบดีทรัมป์ได้สานต่อการประชุมครั้งใหญ่นี้ ด้วยการสถาปนาเครือข่ายว่าด้วยเสรีภาพทางศาสนาระหว่างประเทศขึ้น เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เพื่อประสานความร่วมมือต่างๆ ระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมสิทธิแห่งเสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ทุกคน รวมทั้งสิทธิที่จะไม่นับถือศาสนาหรือความเชื่อใดๆ และ 2) เพื่อปกป้องชนกลุ่มน้อยทางศาสนาจากการถูกข่มเหง อีกกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินการด้านเสรีภาพทางศาสนาในแบบที่กระผมเห็นว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับประเทศไทย คือ กลุ่มผู้ติดต่อระหว่างประเทศว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนาหรือความเชื่อ อันประกอบด้วยตัวแทนที่หลากหลายจากเกือบ 30 ประเทศ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นที่จะปกป้องและส่งเสริมเสรีภาพในการนับถือศาสนาหรือความเชื่อ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ผู้เป็นเจ้าภาพร่วมของกลุ่มผู้ติดต่อระหว่างประเทศว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนาหรือความเชื่อนี้ คือ แคนาดาและสหรัฐฯ ทางกลุ่มมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอเพื่ออภิปรายยุทธศาสตร์ในการปกป้องและส่งเสริมเสรีภาพในการนับถือศาสนาหรือความเชื่อในระดับสากล พวกเรารอคอยที่จะได้ต้อนรับประเทศที่มีแนวคิดแบบเดียวกัน ที่คำนึงถึงเสรีภาพทางศาสนา เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้ติดต่อระหว่างประเทศนี้เพื่อสานต่อพันธกิจที่สำคัญของกลุ่มฯ กระผมรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รณรงค์สนับสนุนค่านิยมที่เป็นที่ยึดถือของทั้งชาวอเมริกันและผู้มีศรัทธาจากนานาประเทศทั่วโลก รวมถึงที่นี่ แผ่นดินไทย ที่ซึ่งท่านได้เปิดประตูและหัวใจต้อนรับผู้คนจากทุกๆ ศรัทธา
ปีนี้ ประเทศไทยเฉลิมฉลองครบรอบ 142 ปีแห่งการประกาศพระบรมราชโองการว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2421 โดยพระบรมราชโองการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อตอบสนองงานของผู้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย ณ เวลานั้น และเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของนิยาม “ศาสนา” ในประเทศไทย ด้วยพระบรมราชโองการนี้ ชาวไทยและชาวต่างประเทศจากทุกศรัทธาจึงสามารถดำเนินงานของพวกเขาต่อไปได้เพื่อประโยชน์ของชาวไทย ความตอนหนึ่งในพระบรมราชโองการว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา กล่าวว่า “ผู้ใดเห็นว่าศาสนาใดจะถูกต้อง ก็ถือตามชอบใจของผู้นั้น ผิดถูกก็อยู่แก่ผู้ที่ถือศาสนานั้นเอง” แนวคิดนี้เป็นอุดมการณ์ที่ทรงพลังและล้ำสมัยในเวลานั้น หลังจากนั้นเป็นต้นมา จึงมีการรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาในรัฐธรรมนูญทุกฉบับของประเทศไทย การเคารพในเสรีภาพทางศาสนาและความรับผิดชอบส่วนบุคคลนี้ เป็นค่านิยมร่วมและเป็นที่เชิดชูของทั้งชาวไทยและชาวอเมริกัน และเป็นค่านิยมที่ทำให้เราทั้งสองชาติแข็งแกร่งและดีขึ้นกว่าเดิม
สำหรับทุกท่านที่มาชุมนุม ณ ที่แห่งนี้ กระผมขอแสดงความชื่นชมที่ท่านเตรียมการที่จะเดินทางไปต่างประเทศเพื่อปฏิบัติกิจในทางพระพุทธศาสนาในวัดไทยหลายแห่งทั่วโลก ซึ่งรวมถึงวัดไทยกว่า 100 แห่งในสหรัฐฯ ภารกิจนี้ไม่ใช่งานที่ง่ายเลย นอกจากท่านจะต้องเรียนรู้ภาษาใหม่แล้ว ท่านยังต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่ในวัฒนธรรมใหม่ได้อีกด้วย และบางท่านอาจจะได้เห็นหิมะเป็นครั้งแรก ท่านควรที่จะภูมิใจกับการอุทิศทุ่มเทและการทำงานหนักของท่าน เจ้าหน้าที่การทูตของเราที่สถานทูตฯ คุ้นเคยกับกระบวนการในการต้องเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่ๆ เราทราบดีถึงความสุขจากการได้พบเจอคนใหม่ๆ และการได้น้อมรับความเชื่อใหม่ๆ กระผมหวังว่าท่านจะได้พบแต่สิ่งที่ดีที่สุดที่อเมริกามี รวมทั้งความใจดีและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอันเป็นคุณลักษณะเด่นของชาวอเมริกัน กระผมหวังว่าท่านจะมีโอกาสได้พบกับผู้นำกลุ่มศาสนาต่างๆ และสามารถเผยแผ่ศาสนาของท่านให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ กระผมหวังว่า นอกเหนือจากการได้ทำกิจต่างๆ ร่วมกันแล้ว ท่านจะได้มีโอกาสฉันภัตตาหารและพบปะพูดคุยกับนักบวชชาวอเมริกันอื่นๆ อีกด้วย สุดท้ายนี้กระผมหวังว่าท่านจะชอบอเมริกาเหมือนอย่างที่กระผมชอบประเทศไทยครับ
กราบขอบพระคุณและขอนมัสการด้วยความเคารพ ครับ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 21 สิงหาคม, 2020 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย, สุนทรพจน์, เอกอัครราชทูต | Na-ma-sa-gan.
Thank you to the Venerable Professor Dr. Phra Rajapariyatkavi for your warm welcome, for sharing your beautiful campus with me, and for inviting me to speak to you all today.
Thank you also to Vice Rector Phra Ajaan Sawai Chotiko and his team for arranging my visit.
I am deeply honored to be President Trump’s personal representative to the Kingdom of Thailand, and to address you in that role on a subject that is dear to the President, as it is to many Americans: religious freedom. As an American who has lived overseas and raised my family abroad, I have been able to see my country more clearly and appreciate the freedoms enshrined in our Constitution. One of the most important of these freedoms is the freedom of religion. “Congress shall make no law respecting an establishment of religion or prohibiting the free exercise thereof.” Those are not my words, but the words of our founding fathers – written in 1789 as the First Amendment of the U.S. Constitution. At the very foundation of our Republic, the founding fathers enshrined in our Constitution freedom of religion as a first principal, in the same breath as freedom of speech, the freedom to peacefully assemble, and the freedom to petition our government for a redress of grievances. The United States has stood for religious liberty from its founding, and even before.
The first Americans came to the new world in the seventeenth century to be free to worship as their consciences dictated, escaping a European continent that at that point in its history was still dominated by establishment churches and prescribed religion. The early faith of these first Americans – whom today we call Pilgrims – was the genesis for our belief in the freedom of religion, a belief that quickly grew to cover not only the many forms of Christianity but also Islam and Judaism as early as the mid-1600s.
With further waves of immigrants from around the world, the United States welcomed adherents of many other religions, including, of course, Buddhists, who began arriving in the 1820s, with the first Buddhist temple built in San Francisco in 1853. My own ancestors were Huguenots, minority Protestants in Catholic France. My ancestors were persecuted for their faith and fled to Germany rather than convert to Catholicism at about the same time as the first Pilgrims came to the American colonies. In the early 1900s, my ancestors immigrated to the United States, weaving their own immigrant story into the canvas of American history. Many of the new immigrants coming to the colonies were moving to the new world to establish communities of faith that were oppressed in their home countries.
Four of our first states, Rhode Island, Connecticut, New Jersey, and Pennsylvania, were specifically founded to protect religious freedom – some were Catholics escaping imposed Protestantism, some Protestants escaping imposed Catholicism, but all confident in their belief that they would be able to freely practice their religion in the land that would become the United States of America. It was this experience of religious liberty that encouraged our founding fathers to ensure that no religion would be given preference over any other, and that all people would be free to practice the religion of their choice, or none at all.
Thomas Jefferson – the author of the American Declaration of Independence and our third President – perhaps captured this sentiment best when he said, “the subject of religion . . . is a matter between every man and his maker, in which no other, and far less the public, has a right to inter-meddle,” adding that, “It does me no injury for my neighbor to say there are twenty gods, or no God.” Thomas Paine, one of Jefferson’s colleagues, explained why this was so necessary, writing, “Spiritual freedom is the root of political liberty. . . . As the union between spiritual freedom and political liberty seems nearly inseparable, it is our duty to defend both.” Since that time, Americans have continued to welcome people of all faiths to the United States to live and work side by side and to practice, or not practice, their faith. Throughout our country’s history, we have always strived to live up to this ideal. We have worked to protect all faiths, and today the United States is taking the lead to protect religious freedom throughout the world.
We will continue to push for this freedom. We believe it is a fundamental right. We believe that by embracing freedom of religion, a country will grow stronger and flourish. By empowering people to pursue their own faith, countries like the United States and Thailand build foundations of tolerance and trust that benefit their societies. In such societies, interfaith cooperation flourishes and religious communities contribute significantly to social welfare and serve as a moral compass to their nations.
Thailand first welcomed Americans in the mid 1800s. These men and women of strong religious faith worked with their Thai brethren to establish medical institutions throughout the country such as McCormick Hospital – where the father of King Rama 9 Prince Mahidol treated patients after returning from Harvard Medical School.They also build schools like Dara Academy – one of the first to educate girls in northern Thailand – as well as Payap University which have trained a generation of Thai healthcare workers, lawyers and – yes – clergy. These were men and women of different faiths, drawn together by a respect for religious freedom and the common call to improve people’s lives in God’s name. And as Americans, not only do we accept the faith of others and our call to serve others, but we also oppose those who target others for their faith, whether that be terrorists or governments that oppress religion for ideological reasons. More than eight in ten people in the world today live where they cannot practice their faith freely. Together, we must continue to defend the right of people everywhere to freely practice their religion.
This is a top priority for the United States. As Secretary Pompeo said at the July 2019 Ministerial to Advance Religious Freedom, “The protection of religious freedom is central to the Trump administration’s foreign policy, and protecting this human right is an essential part of who we are as Americans.” The Ministerial was the largest religious freedom event of its kind in the world, with more than 1,000 civil society and religious leaders, and more than 100 foreign delegations invited.
President Trump built on this landmark gathering by creating the International Religious Freedom (IRF) Alliance on February 5, 2020, to coordinate the efforts of governments and civil society to: advance the right of freedom of religion for all, including the right to not believe; and to protect religious minorities from persecution. Another group that addresses religious freedom in a way that I think is particularly relevant to Thailand is the International Contact Group on Freedom of Religion or Belief, which brings together a diverse group of nearly 30 countries and international organizations committed to protecting and promoting freedom of religion or belief in a more informal setting. The International Contact Group on Freedom of Religion and Belief is co-hosted by Canada and the United States and meets regularly to discuss strategies to protect and promote Freedom of Religion or Belief internationally. We look forward to welcoming likeminded countries that care about religious freedom to join the International Contract Group to advance its vital mission. I am proud to champion a value held not only by Americans, but by people of faith across the globe, including here in Thailand, where you have opened your doors and hearts to those of diverse faiths.
This year, Thailand celebrates the 142nd anniversary of the Edict of Religious Tolerance, announced by King Chulalongkorn in 1878. The Edict was in response to the work of Christian missionaries in Thailand at the time, and was a major turning point in the definition of religion in Thailand. Because of it, Thais and foreigners of faith could continue their work for the benefit of the Thai people. A part of the Edict of Religious Tolerance says that whoever wishes to embrace any religion, after seeing that it is true and proper, is allowed to do so without any restriction, and that the responsibility rests on the individual. This is a powerful ideal and was quite forward looking at the time. Since then, every constitution of Thailand has recognized religious freedom. This respect for religious freedom and individual responsibility is a value Thais and Americans share and cherish and it has made our two countries stronger and better.
Turning to you assembled here today, I commend you as you prepare to travel oversees to serve in the numerous Thai Buddhist temples around the world, including over 100 Thai temples in the United States. This is not an easy calling. You have had to learn a new language and you will have to adapt to living in a new culture. Some of you may even experience snow for the first time! You should be proud of your dedication and hard work. Our diplomats at the Embassy are familiar with the process of learning and adapting to new cultures. We know the joys of meeting new people and being accepting of new beliefs. I hope you will see the best of America. That you will experience the kindness and compassion that Americans are known for. I hope you will have the opportunity to experience interfaith community with other faith leaders. That you can share your faith and work side by side with others to achieve positive results. I hope you will get the opportunity not only to work together but also to share a meal and socialize with Americans. And I hope you come to love America as much as I have come to love Thailand.
Thank you.
By U.S. Embassy Bangkok | 21 August, 2020 | Topics: Former U.S. Ambassadors, Speeches, U.S. & Thailand | Remarks by Ambassador Michael George DeSombre at Mahachulalongkornrajavidyalaya University | ปาฐกถาโดยเอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
https://th.usembassy.gov/th/understanding-americas-electoral-college-th/ | เมื่อชาวอเมริกันลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี หมายความว่าพวกเขาลงคะแนนให้กับใครสักคนอย่าง Hagner Mister หรือ Rex Teter
คุณอาจไม่เคยได้ยินชื่อของ Mister หรือ Teter และในความเป็นจริงแล้ว ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ลงคะแนนให้กับทั้งคู่เมื่อปี 2559 ต่างก็ไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครเช่นกัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งก่อน Mister และ Teter ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้เลือกตั้ง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีส่วนสำคัญในระบบเลือกประธานาธิบดีของสหรัฐฯ โดยกลุ่มบุคคลเหล่านี้เรียกว่า คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ Electoral College
พรรคการเมืองระดับรัฐจะคัดเลือก “ผู้เลือกตั้ง” ซึ่งจะไปรวมตัวกันเลือกประธานาธิบดีหลังวันเลือกตั้งทั่วไป โดยบนบัตรเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเห็นชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่คะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ จะนำไปใช้เลือกคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งผู้เลือกตั้งเหล่านี้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนนั้น ๆ เช่น Mister ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรของรัฐแมริแลนด์ ให้คำมั่นว่าจะเลือกฮิลลารี คลินตัน ในการเลือกตั้งปี 2559 ส่วน Teter นักเทศน์จากรัฐเท็กซัส ให้คำมั่นว่าจะเลือกโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งปีเดียวกัน
จำนวนผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐ จะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐนั้น ๆ ในสภาคองเกรส บวกสอง เนื่องจากแต่ละรัฐมีวุฒิสมาชิกจำนวน 2 คน โดยผู้เลือกตั้งเหล่านี้จะทำหน้าที่เลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไป
(State Dept./J. Maruszewski; Images: © Shutterstock)
จุดเริ่มต้นของระบบคณะผู้เลือกตั้ง
ผู้ก่อตั้งประเทศได้สร้างตำแหน่งประธานาธิบดีขึ้นให้มีอำนาจบริหารเพื่อให้การดำเนินงานต่าง ๆ สำเร็จลุล่วง และเป็นตัวแทนของประชาชนที่จะไม่กลายเป็นผู้นำเผด็จการ
คะแนนเสียงของประชาชนทั่วประเทศจากการเลือกตั้งโดยตรงไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังในสมัยนั้น เนื่องจากประชาชนอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยปราศจากเครื่องมือสื่อสารเหมือนทุกวันนี้ หรือระบบพรรคการเมืองที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยประชาชนในการเลือกผู้สมัคร การเลือกตั้งหลายครั้งลงเอยด้วยการที่ผู้สมัครหลายคนมีคะแนนเสียงใกล้เคียงกัน จนทำให้สมาชิกสภาคองเกรสต้องเป็นผู้ตัดสินว่าใครจะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไป
จำนวนผู้เลือกตั้งที่อิงตามจำนวนผู้แทนในสภาคองเกรส สะท้อนให้เห็นถึงการประนีประนอมระหว่างรัฐต่าง ๆ ในประเด็นจำนวนของผู้แทนในสภา โดยสัดส่วนแล้ว รัฐที่มีประชากรมากกว่าจะมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า และรัฐที่มีประชากรน้อยกว่าจะมีจำนวนวุฒิสมาชิก 2 คน เท่ากับรัฐที่มีประชากรมากกว่า
ดิสทริกออฟโคลัมเบีย และ 48 รัฐ กำหนดให้ผู้เลือกตั้งทั้งหมดของรัฐตน ต้องสนับสนุนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ชนะในรัฐนั้น ๆ เพียงคนเดียว ไม่ว่าผู้สมัครรายนั้นจะชนะแบบฉิวเฉียดหรือชนะด้วยคะแนนหลายพันคะแนน มีเพียงรัฐเนบราสก้าและรัฐเมนเท่านั้นที่ผู้เลือกตั้งสามารถสนับสนุนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้มากกว่า 1 คน
ผลการเลือกตั้ง
คณะผู้เลือกตั้งจะประชุมกันในรัฐของตนในเดือนธันวาคม เพื่อลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ก่อนที่ผลการเลือกตั้งจะถูกส่งไปยังประธานวุฒิสภา ซึ่งก็คือรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั่นเอง ต่อมาในช่วงต้นเดือนมกราคมจะมีการประชุมสภาคองเกรสเพื่อนับคะแนน หลังจากนั้นประธานวุฒิสภาจะประกาศชื่อผู้ชนะ และในเวลาเที่ยงวันของวันที่ 20 มกราคม ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกจะเข้าพิธีสาบานตนและดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(State Dept./M. Rios)
This article was originally posted on ShareAmerica
โดย U.S. Mission Thailand | 18 สิงหาคม, 2020 | ประเภท: Exclude, เลือกตั้ง | When U.S. citizens cast their presidential election ballots, they’ll be voting for someone like Hagner Mister or Rex Teter.
You probably have not heard of Mister or Teter. In fact, most voters who chose them in 2016 did not know who they were. During the last presidential election, Mister and Teter served as electors — a group that is an important part of America’s system for selecting a president. The group is called the Electoral College.
State political parties choose “electors” who convene after Election Day to then choose a president. Voters see the names of the candidates on the ballot, but their votes actually choose the electors who are pledged to those candidates. (Mister, who had been Maryland’s secretary of agriculture, was pledged to vote for Hillary Clinton in 2016. Teter, a Texas preacher, was pledged to vote for Donald Trump that year.)
Each U.S. state gets the same number of electors that it has members of the U.S. House of Representatives plus two more because each state has two U.S. senators. Those electors choose the next president.
(State Dept./J. Maruszewski; Images: © Shutterstock)
A system’s beginnings
The country’s founders created a presidency that has executive power to get things done and is representative of the people so it does not become a dictatorship.
A direct popular vote wasn’t a serious consideration in an era when people were spread throughout the country without today’s communication tools or a developed party system to help them sort through candidates. Elections might frequently have ended with several candidates so close that the House of Representatives would decide the president.
Basing electors on congressional representation mirrors the compromise among states regarding those delegations. States with larger populations are granted a larger, proportionate number of House members, and states with smaller populations are allotted the same number of senators (two) that more populous states have.
The District of Columbia and 48 of the states give all their electoral votes to the candidate who wins their state, whether they squeak by or accumulate thousands more votes. Only Nebraska and Maine allow more than one candidate to win electoral support.
Results
Electors meet in their respective states in December to cast their votes for president and vice president. The results are sent to the president of the Senate, who is the U.S. vice president. The Congress meets in early January to count the votes, after which the president of the Senate declares the winners. On January 20, at noon, the president-elect takes the oath of office and becomes the president of the United States.
(State Dept./M. Rios)
This article was originally posted on ShareAmerica
By U.S. Mission Thailand | 18 August, 2020 | Topics: Elections, Exclude | Understanding America’s Electoral College | คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคือใคร |
https://th.usembassy.gov/th/swing-states-importance-th/ | Voters with masks, a sign of caution about the new coronavirus, arrive at Bow Elementary School in Detroit, Michigan, a swing state, for the state primary election on March 10. (© Paul Sancya/AP Images)
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนพฤศจิกายนนี้ พรรคการเมืองสำคัญ ๆ ของสหรัฐฯ ต่างหวังที่จะเก็บชัยชนะได้ในหลาย ๆ รัฐ แต่มีรัฐจำนวนหนึ่งที่แต่ละพรรคมีคะแนนสูสีกันเกินกว่าที่จะบอกได้ว่าพรรคไหนจะเป็นผู้ชนะ
รัฐที่พรรคการเมืองได้รับคะแนนสนับสนุนสูสีกันเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า Swing state เป็นรัฐที่ประชากรมีความคิดทางการเมืองแตกต่างกันในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน โดยในช่วงหลายปีมานี้ รัฐเหล่านี้สนับสนุนผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันสลับกันไปมา จึงเป็นสมรภูมิที่ผู้สมัครต่างทุ่มสรรพกำลัง การประชาสัมพันธ์ และทีมงานในการหาเสียง
ผู้เชี่ยวชาญเห็นไม่ตรงกันอยู่บ้างในเรื่องรัฐที่เป็น Swing state โดย Cook Political Report เห็นว่า รัฐที่มีคะแนนสูสีกัน ได้แก่ แอริโซนา ฟลอริดา มิชิแกน เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซิน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ เห็นว่านอกจากรัฐเหล่านั้นแล้ว ยังมีนิวแฮมป์เชียร์ นอร์ทแคโรไลนา และรัฐอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง เป็น Swing state ด้วยเช่นกัน
“Swing State” และคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี
ในเดือนพฤศจิกายน ชาวอเมริกันไม่ได้ลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีโดยตรง แต่พวกเขาเลือกคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะประชุมกันในเดือนธันวาคมและลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี ตามที่เสียงส่วนใหญ่ของรัฐตนได้เลือกในเดือนก่อนหน้านั้น จำนวนสมาชิกของคณะผู้เลือกตั้งในแต่ละรัฐขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร เช่น รัฐฟลอริดา ซึ่งมีประชากรมาก มีเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งจำนวน 29 เสียง ซึ่งเท่ากับรัฐนิวยอร์ก แต่น้อยกว่ารัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐเท็กซัส ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ชนะในรัฐ เช่น ฟลอริดา มีโอกาสที่จะชนะการเลือกตั้งมากกว่า ซึ่งผู้ชนะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งอย่างน้อย 270 เสียง
แผนที่ด้านซ้ายแสดงรัฐทั้ง 50 รัฐของสหรัฐอเมริกาในแบบที่หลายคนคุ้นเคย ส่วนแผนที่ด้านขวา แสดงรัฐต่าง ๆ ในขนาดใหญ่เล็กตามจำนวนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งในรัฐนั้น ๆ
ทำไมฟลอริดาจึงเป็นรัฐที่มีความพิเศษ
ฟลอริดาเป็นรัฐที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมีขนาดใหญ่และคาดเดาได้ยากว่าจะเลือกพรรคใดในการเลือกตั้งประธานาธิบดี
รัฐฟลอริดาสนับสนุนพรรคการเมืองสำคัญสลับไปมา เช่น สนับสนุนนายบารัก โอบามา จากพรรคเดโมแครต ในปี 2551 และสนับสนุนนายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช จากพรรครีพับลิกัน ในปี 2543 ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้สมัครที่ชนะในรัฐฟลอริดา หรือ Sunshine State ได้ครองตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งทุกครั้งนับตั้งแต่ปี 2507 จึงยังคงขลังอยู่
สำหรับศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในรัฐฟลอริดาจะมีโอกาสลงคะแนนถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรก คือการเลือกตั้งขั้นต้นของรัฐในวันที่ 17 มีนาคม เพื่อเลือกผู้สมัครที่จะเป็นตัวแทนพรรคเพื่อรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และครั้งที่สองในวันที่ 3 พฤศจิกายน เพื่อเลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ทั้งที่ได้รับการเสนอชื่อจาก 2 พรรคการเมืองสำคัญ และผู้สมัครอิสระ หรือผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่มีชื่ออยู่บนบัตรเลือกตั้ง
ในปีนี้ ความสนใจหลักในการเลือกตั้งขั้นต้นของรัฐฟลอริดา คือ การชิงชัยเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต ทั้งนี้ ตามกฎของรัฐ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมืองเท่านั้น จึงจะสามารถลงคะแนนในวันที่ 17 มีนาคมได้ โดยร้อยละ 37 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งของรัฐฟลอริดา เป็นสมาชิกพรรคเดโมแครต ร้อยละ 35 เป็นสมาชิกพรรครีพับลิกัน และร้อยละ 27 ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคใด
กลุ่มอิสระที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งไม่มีสิทธิลงคะแนนในการเลือกตั้งขั้นต้นเมื่อเดือนมีนาคม แต่เป็นหนึ่งปัจจัยในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนนี้ มีส่วนสำคัญต่อความไม่แน่นอนของพฤติกรรมการลงคะแนนของประชาชนในฟลอริดา
รัฐฟลอริดาได้ชื่อว่าเป็นรัฐที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก แต่ภาพลักษณ์ดังกล่าวก็ไม่ได้สะท้อนถึงจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกต่อไป ในความเป็นจริงแล้ว ประชากร 3 รุ่นหลังสุด หรือผู้ที่เกิดตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา คิดเป็นร้อยละ 54 ของผู้ที่ลงเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุน้อยจำนวนมากเป็นกลุ่มอิสระที่ไม่ได้สังกัดพรรคใด
ผู้หญิงก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกตั้งขั้นต้นและการเลือกตั้งทั่วไป เนื่องจากคิดเป็นสัดส่วนเกินครึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดโดยเฉพาะในพรรคเดโมแครต ซึ่งมีสมาชิกพรรคในรัฐฟลอริดาเป็นผู้หญิงคิดเป็นร้อยละ 58 ขณะที่สมาชิกเพศชายคิดเป็นร้อยละ 39 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังมีความหลากหลายในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ชาวอเมริกันเชื้อสายลาตินแบ่งได้หลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายคิวบาที่มีแนวโน้มจะเลือกพรรครีพับลิกัน หรือชาวเปอร์โตริโกที่เอนเอียงไปทางพรรคเดโมแครต นอกจากนี้ รัฐฟลอริดายังมีชาวอเมริกันจากภูมิภาคมิดเวสต์และตะวันออกเฉียงเหนือที่มาพำนักตลอดช่วงฤดูหนาว ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิที่นี่ด้วย
ด้วยความหลากหลายทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ฟลอริดาจึงเป็นรัฐที่ผู้สมัครจะสามารถทดลองสนามเพื่อหาวิธีว่าจะเข้าถึงประชาชนทั่วประเทศได้อย่างไร
This article was originally posted on ShareAmerica
โดย U.S. Mission Thailand | 18 สิงหาคม, 2020 | ประเภท: Exclude, เลือกตั้ง | Voters with masks, a sign of caution about the new coronavirus, arrive at Bow Elementary School in Detroit, Michigan, a swing state, for the state primary election on March 10. (© Paul Sancya/AP Images)
While each major U.S. political party has many states it counts on winning in November’s presidential election, a handful of states are too close to call.
These “swing states” have populations that are closely divided politically. They have swung back and forth between Democratic and Republican candidates in recent years. They are the battleground states that candidates will target with campaign visits, advertising and staffing.
Experts don’t always agree on which states are swing states. The Cook Political Report sees Arizona, Florida, Michigan, Pennsylvania and Wisconsin as toss-ups. Other experts would add New Hampshire, North Carolina and a handful of others to the list.
Swing states and the Electoral College
Americans do not vote directly for their president in November, but rather choose members of the Electoral College who then meet in December and cast their votes based on how the majority of voters in their state voted the previous month. The number of electors each state gets is based on population. For example, Florida, with its large population, will determine 29 electoral votes. (That ties with New York for the most after California and Texas.) The presidential candidate who wins states like Florida has a better chance of winning the election, which requires 270 electoral votes.
The map on the left, below, shows the 50 states of the United States as you are used to seeing them. The map on the right shows the states sized according to how many electoral votes they have.
Why Florida is a special place
Unpredictable and large, Florida is not to be ignored in the presidential election.
It swings between major parties — the state supported Democrat Barack Obama in 2008 and Republican George W. Bush in 2000, for instance. The fact that the winner in the Sunshine State has won the presidency in every presidential race since 1964 lends it a special mystique.
Florida voters will get two chances to make their mark on the presidential race. First on March 17 in the state primary, when they consider candidates competing for the parties’ nominations, and then on November 3, when they choose from among the two major parties’ nominated candidates and any independent candidate or candidates from other political parties that get listed on the ballot.
This year, the main focus in the Florida primary is on the contested Democratic nomination. Under Florida’s rules, only registered members of a party may vote on March 17. About 37 percent of Florida’s electorate is Democratic, 35 percent is Republican and 27 percent don’t belong to a party.
Independents, who won’t be able to vote in the March primary but will be a factor in November’s general election, contribute to the volatility of Florida’s voting behavior.
While the state is known for its elderly population, that’s not a reflection of the electorate any more. In fact, the youngest three generations (born in 1965 and later) amount to 54 percent of registered voters. Many of the state’s younger voters are independents.
Women will be a big factor in the primary and general elections because they are a majority of the electorate, especially in the Democratic Party. Women make up 58 percent of Florida’s registered Democrats, compared to men’s 39 percent. Voters are diverse in other ways as well. Latinos, for instance, include Republican-leaning Cuban-Americans and Democratic-leaning Puerto Ricans. The state has “snowbirds” registered to vote — winter residents who travel south each year from areas like the Midwest and Northeast.
All that diversity means Florida is where candidates can try out their acts to figure out how to reach a national audience.
This article was originally posted on ShareAmerica
By U.S. Mission Thailand | 18 August, 2020 | Topics: Elections, Exclude | What Swing States Are and Why They’re Important | “Swing State” สมรภูมิเลือกตั้ง |
https://th.usembassy.gov/th/message-from-u-s-ambassador-michael-george-desombre-in-honor-of-the-88th-birthday-of-her-majesty-queen-sirikit-the-queen-mother-august-12-2020-th/ | สารถวายพระพรชัยมงคลจากเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
วันที่ 12 สิงหาคม 2563
เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในนามหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทย ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญ และทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นมิตรที่มั่นคงยิ่งของสหรัฐอเมริกา และทรงมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีอันยืนนานระหว่างเราทั้งสองชาติ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 11 สิงหาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว, เอกอัครราชทูต | Message from U.S. Ambassador Michael George DeSombre in Honor of
The 88th Birthday of Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother,
August 12, 2020
On behalf of the United States Mission to the Kingdom of Thailand, I extend our warmest wishes to Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother for health, happiness, and prosperity on the auspicious occasion of Her Majesty’s 88th birthday.
Her Majesty has been an unwavering friend of the United States and instrumental in strengthening the enduring partnership between our two great nations.
By U.S. Embassy Bangkok | 11 August, 2020 | Topics: Former U.S. Ambassadors, News, Press Releases, U.S. & Thailand | Message from U.S. Ambassador Michael George DeSombre in Honor of The 88th Birthday of Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother, August 12, 2020 | สารถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-ambassador-praises-law-enforcement-partnership-after-golden-triangle-visit-th/ | จากกลางอากาศ ผมเห็นแม่น้ำโขงอันยิ่งใหญ่ไหลคดเคี้ยวผ่านป่าทึบ สีน้ำตาลอ่อนของสายน้ำตัดกับแมกไม้เขียวขจีที่ปกคลุมแนวเขาซึ่งทอดยาวเกือบถึงริมน้ำ แม้จะบินอยู่บนเฮลิคอปเตอร์ห่างจากพื้นดินขึ้นไปหลายร้อยฟุต แต่ผมก็ยังอดรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับแม่น้ำโขงไม่ได้ โชคดีที่ได้มาเห็นภาพแบบนี้ในช่วงฝนชุกที่สุด แม้ระดับน้ำจะยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงนี้ของปี แต่ก็ได้ฟื้นตัวจากสถานการณ์ในเดือนก่อนๆ ที่แม่น้ำสายนี้เปลี่ยนไปจากเดิมมากจนแทบจะจำไม่ได้ เพราะภัยแล้งที่เกิดจากการควบคุมบรรดาเขื่อนต้นน้ำ สัปดาห์นี้ ผมได้รับเกียรติให้เดินทางไปยังสามเหลี่ยมทองคำร่วมกับพลตำรวจโท ชินภัทร สารสิน ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนหุ้นส่วนใกล้ชิดของเราจากหน่วยงานรัฐบาลไทย เพื่อเยี่ยมชมฐานปฏิบัติการดอยช้างมูบและจุดชมวิวต่างๆ ซึ่งทำให้ผมเห็นเมียนมาและลาวจากอีกฟากของแม่น้ำได้
น่าเสียดายที่ความสวยงามของภูมิภาคนี้มักถูกบดบังด้วยข่าวและรายงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ สัตว์ป่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาเสพติด แต่สิ่งที่คนได้ยินน้อยกว่าข่าวสารเหล่านั้นคือความร่วมมือที่ดีเยี่ยมระหว่างหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ และไทย รวมทั้งความคืบหน้าในการคุ้มครองพลเมืองของเราทั้งสองประเทศ แม้จะมีความท้าทายดังกล่าว แต่สหรัฐฯ และไทยก็ได้ร่วมกันต่อต้านองค์กรอาชญากรรมผ่านการสืบสวนสอบสวนและปฏิบัติการด้านการบังคับใช้กฎหมาย ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ไทยได้ตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนมากกว่าประเทศใดในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปริมาณที่ยึดได้ในปี 2561 และ 2562 คือ 116 ตัน นอกจากนี้ สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ยังรายงานว่า ปริมาณเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด (ยาบ้า) ที่ไทยยึดได้ยังสูงขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วงเวลา 5 ปี นั่นคือ จาก 113 ล้านเม็ดในปี 2557 เป็น 381 ล้านเม็ดในปี 2562 ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น การยึดยาไอซ์ของไทยก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก จาก 1,017 กิโลกรัมในปี 2557 เป็น 17,077 กิโลกรัมในปี 2562 ผมภูมิใจที่สหรัฐฯ ได้ช่วยให้พันธมิตรชาวไทยของเราบรรลุหลักชัยเหล่านี้ แต่หนทางข้างหน้ายังอีกยาวไกลนัก
รายงาน Synthetic Drugs in East and Southeast Asia (ยาเสพติดสังเคราะห์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เดือนพฤษภาคม 2563 ของ UNODC ระบุว่าเมทแอมเฟตามีนยังคงเป็นยาเสพติดหลักที่น่ากังวลในประเทศไทย หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายได้ตรวจยึดยาบ้าและยาไอซ์มากเป็นประวัติการณ์ตามแนวแม่น้ำโขงในช่วงปีหลังๆ มานี้ และมีตัวเลขประมาณการว่า ตลาดยาเสพติดประเภทดังกล่าวในภูมิภาคนี้มีมูลค่า 61,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งเกือบเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเมียนมา อย่างไรก็ตาม การตรวจยึดที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นเพียงสัญญาณว่าปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิผลมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังหมายความว่ามีการผลิตยาเสพติดปริมาณสูงขึ้นด้วย โดยจะเห็นได้จากมูลค่าของยาเสพติด เมทแอมเฟตามีนในไทยมีราคาตลาดลดลงถึง 2 ใน 3 จากปี 2553 ถึง 2563 แม้ว่าจะมีการตรวจยึดที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ความบริสุทธิ์ของยายังคงสูงเท่าเดิม และสูงขึ้นด้วยซ้ำในบางกรณี ยาเสพติดสังเคราะห์ (ที่มนุษย์ผลิตขึ้น) เช่นเมทแอมเฟตามีนมีราคาถูกกว่าและใช้กำลังคนผลิตน้อยกว่าการดูแลและเก็บเกี่ยวพืชมาผลิตยา จึงเป็นการเพิ่มทั้งศักยภาพการผลิตและผลกำไรให้สูงขึ้น อีกทั้งยังดึงดูดความสนใจขององค์กรลักลอบค้ายาเสพติดมากขึ้นด้วย
ไม่ใช่เพียงแค่ยาเสพติดเท่านั้นที่เป็นปัญหา แต่สารเคมีตั้งต้นที่นำมาผลิตยาก็เป็นปัญหาด้วยเช่นกัน พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าไม่มีสารเคมีตั้งต้นก็ไม่มียาบ้า ทางการไทยยึดโซเดียมไซยาไนด์ ซึ่งเป็นสารเคมีตั้งต้นสำคัญในการผลิตเมทแอมเฟตามีน 5,550 กิโลกรัมในปี 2557 และจนถึงปี 2562 จำนวนดังกล่าวได้เพิ่มเป็น 99,750 กิโลกรัม สถานการณ์นี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวของปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นมาก เรารู้ว่าสารเคมีตั้งต้นอื่นๆ มากมายได้หลุดรอดการตรวจค้นไป โดยผ่านเข้ามาจากนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาชญากรข้ามชาติแสวงประโยชน์จากพื้นที่แนวชายแดนของเมียนมาและลาวที่ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อลักลอบขนส่งสารเคมีเพื่อการผลิตยาเสพติด โดยสารเคมีเหล่านั้นส่วนใหญ่แล้วมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน
เมื่อมองข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปยังคิงส์ โรมันส์ กาสิโน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำของลาว ผมเห็นอิทธิพลของข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนได้อย่างเด่นชัดจากการก่อสร้างใหม่ที่เกิดขึ้นแม้จะมีผลกระทบจากโรคโควิด-19 กระทรวงการคลังสหรัฐฯ มีคำสั่งคว่ำบาตรคิงส์ โรมันส์ กาสิโน เนื่องจากกาสิโนดังกล่าวดำเนินการฟอกเงินและและลักลอบค้ายาเสพติด ตลอดจนก่ออาชญากรรมร้ายแรงอื่นๆ ทั้งนี้บ่อนการพนันมักมีส่วนพัวพันกับสถาบันการธนาคารระดับชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้เป็นเครื่องมือแทรกซึมระบบการธนาคารของชาติ ทั้งในฮ่องกงและประเทศอื่นๆ ได้ กิจการผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงินและการลักลอบค้ายาเสพติด สั่นคลอนความมั่นคงชายแดน เพิ่มภาระให้ระบบบริการสาธารณสุข บั่นทอนธุรกิจที่ถูกกฎหมาย อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการทุจริตเนื่องจากหลักนิติธรรมเสื่อมโทรมอีกด้วย และแน่นอนว่าสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ยังส่งผลต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยเช่นกัน เฉพาะในปี 2562 คนไทยกว่า 210,000 คนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากติดยาเสพติด
ความร่วมมืออันใกล้ชิดด้านการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นวิธีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติได้อย่างบังเกิดผล และรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ยึดมั่นที่จะดำเนินการด้านดังกล่าวในระยะยาว ประเทศเรามีคำกล่าวว่า “อย่าทำแต่ปาก” ซึ่งหมายถึงการพูดอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่จะต้องลงมือทำด้วย สหรัฐฯ เองได้ลงแรงดำเนินการต่างๆ เสมอมา ดังเช่นการที่เราจัดตั้งหน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดในกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ปี 2506 และในเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2514 นอกจากนี้ สำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ (DEA) ยังได้ส่งเสริมและทำงานร่วมกับองค์กรด้านการบังคับใช้กฎหมายปราบปรามยาเสพติดของไทยตั้งแต่ปี 2541 ผ่านหน่วยสืบสวนพิเศษ (SIU) ซึ่งเป็นโครงการเรือธงนอกมาตุภูมิของ DEA ที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นดำเนินการร่วมกับไทยมากเพียงใดมาโดยตลอด ไทยเป็น 1 ในเพียง 15 ประเทศทั่วโลก และประเทศเดียวในเอเชียที่มีการจัดตั้ง SIU เจ้าหน้าที่และนักวิเคราะห์ข่าวกรองของ DEA ปฏิบัติหน้าที่ประจำหน่วยดังกล่าวเพื่อเป็นที่ปรึกษาด้านการสืบสวนสอบสวน จัดหาเงินทุนสนับสนุนการปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง และให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการกับเจ้าหน้าที่ไทย ความสำเร็จของ SIU เป็นผลจากการร่วมมือเคียงบ่าเคียงไหล่ระหว่างเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายชาวอเมริกันและไทยในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง เพื่อจับกุม ขัดขวาง และทำลายองค์กรลักลอบค้ายาเสพติดรายใหญ่ระหว่างประเทศ
ตัวอย่างความมุ่งมั่นในด้านดังกล่าวของสหรัฐฯ คือ พิธีเปิดอาคารฝึกอบรมยุทธวิธีตำรวจในร่ม หนองสาหร่าย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อาคารมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐหลังนี้รองรับการฝึกในทุกสภาพอากาศ โดยได้รับทุนก่อสร้างจากทั้งกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นอาคารฝึกอบรมตำรวจสำหรับองค์กรด้านการบังคับใช้กฎหมายทั่วอาเซียน ปลายปีนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ จะช่วยเหลือไทยในการเปิดอาคารฝึกอบรมแห่งที่สองภายในพื้นที่ของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ นอกเหนือจากการสนับสนุนผ่านโครงการด้านการฝึกอบรมและการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อการต่อต้านยาเสพติด ในขณะเดียวกัน รัฐบาลสหรัฐฯ ได้บริจาคอุปกรณ์มูลค่ากว่า 600,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมไปถึงจักรยานยนต์ รถบรรทุก กล้อง และเครื่องมือที่ใช้ในการสืบสวนสอบสวน ให้แก่หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายของไทย โดยผ่านกองทุนของสหรัฐฯ สำหรับแม่น้ำโขง และในเวลาไม่นานหลังจากนี้ เราจะบริจาคอุปกรณ์การเฝ้าระวัง ชุดสำหรับการดำเนินยุทธวิธี รถบรรทุก เรือ และรถพ่วงเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและการลักลอบค้ายาเสพติด ทำให้มูลค่าการบริจาครวมอยู่ที่ 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ตัวเลขเหล่านี้จะน่าประทับใจ แต่ก็ไม่สำคัญเท่าผลลัพธ์ที่มีต่อชีวิตของประชาชน เงินทุกสตางค์ที่ใช้ ยาบ้าทุกเม็ดที่ยึดได้ ล้วนช่วยให้ชุมชนปลอดภัยขึ้น
สหรัฐอเมริกาและไทยมีความผูกพันกันไม่เพียงแต่ในฐานะพันธมิตรตามสนธิสัญญาเท่านั้น แต่เรายังเป็นเพื่อนของกันและกันอีกด้วย การเยือนสามเหลี่ยมทองคำในครั้งนี้ทำให้ภูมิทัศน์อันกว้างใหญ่ของพื้นที่ชายแดนแถบแม่น้ำโขงตรึงตราในใจของผม เช่นเดียวกับความท้าทายที่หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายในไทยต้องเผชิญขณะต่อต้านการค้ายาเสพติดในภูมิภาค ผมขอกล่าวกับเพื่อนชาวไทยในฐานะพันธมิตรของท่านว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมไทยในการต่อสู้นี้อย่างแน่วแน่ไม่เปลี่ยนแปลง
(บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์ ไทยพับลิก้า, เชียงใหม่นิวส์ และ เชียงรายรีพอร์ต เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563)
โดย U.S. Mission Thailand | 3 สิงหาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, เอกอัครราชทูต | Tags: บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตดีซอมบรี | From the air, I could see the mighty Mekong snaking through the jungle, its light-brown waters contrasting with the green canopy of the mountains that come almost to the river’s edge. Even from a helicopter hundreds of feet above the ground, it was impossible not to be awed by the river, and I feel lucky to have seen it during the height of the rainy season. While the river’s flow is still below average for this time of year, it has recovered from previous months when it was a shadow of its former self, drought thrust upon it by the control of up-river dams. This week, I was privileged to travel to the Golden Triangle with Royal Thai Police Narcotics Suppression Bureau (NSB) Commissioner Lieutenant General Chinnapat Sarasin and our close partners from the Royal Thai Government, visiting the Doi Chang Moob army outpost and other viewing areas, where I was able to look across the river into Myanmar and Laos.
Unfortunately, the beauty of this region is often overshadowed by news and reports of the trafficking of humans, wildlife, and especially drugs. What is less well-known is the tremendous cooperation between U.S. and Thai law enforcement, and the progress we are making to protect the citizens of our two countries. Despite the challenges, together we have countered criminal organizations through joint investigations and enforcement operations. In recent years, Thailand has seized more methamphetamine than any other country in East and Southeast Asia, confiscating 116 tons in 2018 and 2019. Seizures of methamphetamine tablets (yaba) tripled over a five-year period from 113 million in 2014 to 381 million in 2019, according to the UN Office on Drugs and Crime (UNODC). During that same time-period, seizures of crystal meth increased dramatically from 1,017 kg in 2014 to 17,077 in 2019. I am proud of the assistance the United States has provided our Thai allies to help them achieve these milestones. Yet the job is far from done.
In its May 2020 Synthetic Drugs in East and Southeast Asia report, UNODC noted that methamphetamine remains the primary drug of concern in Thailand. Law enforcement made record tablet and crystal meth seizures across the Mekong in recent years and estimates value the regional market at $61 billion per year, which is nearly as much as the entire GDP of Myanmar. However, increased seizures are a sign not only of more effective policing but also of rising production. We see evidence of this in the value of drugs. The street price of methamphetamine in Thailand actually decreased by two-thirds from 2010 to 2020, despite the dramatic increase in seizures, while the purity of the pills remains as high as ever and, in some cases, has even increased. Synthetic (man-made) drugs such as methamphetamine are cheaper and less labor-intensive than tending and harvesting fields for plant-based drugs, thus increasing the production capacity, profitability, and appeal for drug trafficking organizations.
And it is not only the drugs themselves that present a problem but also the precursor chemicals that make the drugs possible. To put it simply, there would be no methamphetamine tablets without the precursor chemicals used to make them. Thai authorities seized 5,550 kg of sodium cyanide in 2014, a vital precursor for the production of methamphetamine; by 2019, that volume had increased to 99,750 kg. This is only the tip of the iceberg. We know many other precursor chemicals are slipping through, coming from beyond Southeast Asia. Transnational criminals are exploiting the border areas that Myanmar and Laos share with the People’s Republic of China (PRC) to traffic chemicals for drug production – chemicals primarily originating in the PRC.
Looking across the Mekong River toward the Kings Romans Casino in Laos’ Golden Triangle Special Economic Zone, the influence of the PRC’s One Belt One Road Initiative was evident as I witnessed new construction occurring despite the impact of COVID-19. The U.S. Treasury Department sanctioned Kings Romans Casino because the casino laundered money and trafficked drugs, among other serious crimes. Casinos are often linked to national banking institutions, which can then be used by nefarious actors to infiltrate regional banking systems in Hong Kong and elsewhere. Illegal enterprises, such as money laundering and drug trafficking, destabilize border security, strain public health services, undermine legitimate business, and increase the opportunities for corruption as the rule of law breaks down. And there is, of course, a very human side to this tragedy. In 2019 alone, more than 210,000 Thais were admitted to hospitals for drug treatment.
Close international law enforcement partnerships are the proven method to successfully combat transnational crime, and the U.S. government is in it for the long-haul. There is a phrase in the United States – you must put your money where your mouth is – which means you can’t just talk about a problem, you also have to act. And the United States has been acting! The United States has had a federal drug law enforcement presence in Bangkok since 1963 and in Chiang Mai since 1971. Since 1998, the DEA has been supporting and working alongside our Thai law enforcement counterparts through the Sensitive Investigative Unit (SIU) – the DEA’s flagship overseas program that demonstrates the level of commitment the U.S. government maintains for Thailand. Thailand is one of just 15 countries worldwide and the only country in Asia with an established SIU. DEA agents and intelligence analysts are embedded in the unit and act as agent advisors to provide investigative support, operational funding, intelligence sharing, and technical assistance to our Thai partners. The SIUs are successful because U.S. and Thai law enforcement officers work side-by-side to develop and share intelligence in order to make arrests and disrupt and dismantle major international drug-trafficking organizations.
A recent example of our commitment to this effort was February’s opening ceremony for a multi-million dollar all-weather training facility at the Royal Thai Police Central Police Tactical Training Center in Nong Sarai. The project was jointly funded by the U.S. Department of State and the U.S. Department of Defense and serves as a police training center for law enforcement agencies throughout ASEAN. The U.S. government will help Thailand open a second training facility in Mae Taeng, Chiang Mai, on a Royal Thai Border Patrol Police base this autumn, in addition to providing a counter-narcotics training and equipment program. Concurrently, the U.S. Government has donated more than $600,000 worth of equipment to Thai law enforcement agencies, including motorcycles, trucks, cameras, and investigative tools through the U.S. Mekong Fund. In the coming weeks and months, we will be donating additional surveillance equipment, tactical clothing, trucks, and boats and trailers, for a combined total donation of $1.1 million, to help the Royal Thai Police fight transnational crime and drug trafficking. These numbers are impressive, but not nearly as important as the impact they have on people’s lives. Every dollar spent, every yaba pill seized, helps keep communities safe.
The United States and Thailand are bound not only as Treaty Allies but also as friends. As I visited the Golden Triangle, I was struck by the vast terrain of the Mekong border area and the challenges our Thai law enforcement partners face in combatting the regional drug trade. As your ally, I say to my Thai friends that the commitment of the U.S. Government to support you in this fight is steadfast and enduring.
(This Op-Ed was originally published in ThaiPublica and Chiang Rai Report websites. The Thai version of this Op-Ed was originally published in ThaiPublica, Chiang Mai News and Chiang Rai Report websites on August 3, 2020.)
By U.S. Embassy Bangkok | 3 August, 2020 | Topics: Former U.S. Ambassadors, News | Tags: Ambassador DeSombre's Op-Eds, Op-Ed, Op-Ed by the Ambassador | U.S. Ambassador Praises Law Enforcement Partnership After Golden Triangle Visit | ทูตสหรัฐฯ ชื่นชมความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายหลังเยือนสามเหลี่ยมทองคำ |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-provides-coronavirus-disease-2019-covid-19-assistance-to-northern-thailand-th/ | รัฐบาลสหรัฐฯ ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ด้านสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงชุดอ่างล้างมือและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล มูลค่ารวม 14,500 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 450,000 บาท) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 เพื่อสนับสนุนความพยายามของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเปราะบางที่อาศัยอยู่ใน จ.เชียงราย เพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 โดยสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาในเชียงใหม่ เป็นผู้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์จากคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (จัสแมกไทย)
ความช่วยเหลือในครั้งนี้จะช่วยปกป้องสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย และเป็นผลจากความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาในเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยนวัตกรรมเชิงพื้นที่ สำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยทางศูนย์วิจัยและพันธมิตรเครือข่ายได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติใน จ.เชียงราย เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้แก่แรงงานข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์เกือบ 29,000 คนใน จ.เชียงราย ระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้น
ทั่วโลก โครงการนี้ยังช่วยให้ประชากรกลุ่มเปราะบางเข้าถึงมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประเทศไทยอีกด้วย
“เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ช่วยเหลือมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในโครงการริเริ่มที่สำคัญนี้ เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้
สานสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและยืนยาวระหว่างสหรัฐฯ และไทย ผ่านความร่วมมือด้านสาธารณสุขครั้งนี้” กงสุลใหญ่สหรัฐฯ ฌอน เค. โอนีลล์ กล่าว “ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาในเชียงใหม่ปีนี้
เรามองย้อนกลับไปถึงการทำงานของเราในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาที่ช่วยให้ชาวอเมริกันและชาวไทยมีสุขภาพ
ที่ดีขึ้น ตลอดจนมีความปลอดภัยมากขึ้นและมั่งคั่งยิ่งขึ้น ความช่วยเหลือในครั้งนี้เป็นความพยายามล่าสุดของเราที่จะ
มีส่วนเสริมสร้างสุขภาพ ความปลอดภัย และความเจริญมั่งคั่งของชาวไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย”
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคโควิด-19 กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ https://th.usembassy.gov/th/tackling-covid-19-the-latest-challenge-for-u-s-thai-health-cooperation-th/
ดาวน์โหลดภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://photos.app.goo.gl/rcaWGbV1J95PHgyj6
โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 29 กรกฎาคม, 2020 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์ | The United States government donated public health supplies including handwashing stations and personal protective equipment valued at $14,500 USD (approximately 450,000 THB) on July 20 to support Mae Fah Luang University’s effort to assist vulnerable migrant and ethnic communities in Chiang Rai in response to the spread of COVID-19. The U.S. Consulate General in Chiang Mai donated equipment and materials supplied by the Joint U.S. Military Advisory Group Thailand (JUSMAGTHAI).
The donation will protect the health of people throughout northern Thailand and is the result of the close collaboration between the U.S. Consulate General Chiang Mai and Mae Fah Luang University’s School of Social Innovation’s Area-based-Social Innovation Research Center (Ab-SIRC). Ab-SIRC and its partners formed the Aid Coordination Center for Migrant Workers in Chiang Rai to provide humanitarian assistance and personal protective equipment for nearly 29,000 migrant workers and members of ethnic communities in Chiang Rai during the COVID-19 global pandemic. The project also works to ensure this vulnerable population has access to Thailand’s COVID-19 prevention measures.
“It is our pleasure to assist Mae Fah Luang University in this important initiative. We are honored to continue the strong and enduring partnership between the United States and Thailand through this public health collaboration,” said U.S. Consul General Sean K. O’Neill. “As we celebrate the 70th anniversary of the U.S. Consulate General in Chiang Mai this year, we look back on our decades of work to make Americans and Thais healthier, safer, and more prosperous. This donation is our latest effort to contribute to the health, safety and prosperity of Thai and international communities throughout northern Thailand.”
For more information about COVID-19, please visit: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/index.html
Download high resolution photos here: https://photos.app.goo.gl/rcaWGbV1J95PHgyj6
By U.S. Consulate Chiang Mai | 29 July, 2020 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Events, News, U.S. & Thailand | Tags: COVID-19, JUSMAGTHAI | U.S. Provides Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Assistance to Northern Thailand | สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ในภาคเหนือของไทย |
https://th.usembassy.gov/th/message-from-ambassador-michael-george-desombre-on-occasion-of-the-68th-birthday-of-his-majesty-king-maha-vajiralongkorn-phra-vajiraklaochaoyuhua-th/ | สารถวายพระพรชัยมงคลจากเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 68 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันที่ 28 กรกฎาคม 2563
เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 68 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทย ขอถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงและทรงพระเกษมสำราญ สหรัฐอเมริกายังคงยึดมั่นในการพัฒนาสัมพันธไมตรีอันยาวนานระหว่างสหรัฐฯ และไทย ทั้งในด้านความมั่นคง การค้าและการลงทุน ตลอดจนการสาธารณสุข เมื่อร่วมมือกัน ชาติของเราจะผ่านพ้นการแพร่ระบาดใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกไปได้ด้วยความเข้มแข็งยิ่งขึ้น และพร้อมเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างเรา เพื่อประโยชน์ที่ประชาชนของทั้งสองประเทศมีร่วมกัน
โดย U.S. Embassy Bangkok | 24 กรกฎาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว, เอกอัครราชทูต | Message from U.S. Ambassador Michael George DeSombre
on The Occasion of the 68th Birthday of
His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua
July 28, 2020
On the occasion of the 68th birthday of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua, the United States Mission to the Kingdom of Thailand offers our most sincere congratulations. The United States remains deeply committed to advancing the long-standing U.S.-Thai partnership in security, trade and investment, and health. Together, our nations will emerge stronger from the global pandemic, ready to further deepen our partnership for the mutual benefit of our two peoples. We wish His Majesty and the Royal Family good health and happiness.
By U.S. Embassy Bangkok | 24 July, 2020 | Topics: Ambassador, News, Press Releases, U.S. & Thailand | Message from Ambassador Michael George DeSombre on The Occasion of the 68th Birthday of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua | สารถวายพระพรชัยมงคลจากเอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 68 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
https://th.usembassy.gov/th/upholding-the-sovereign-rights-of-all-th/ | การธำรงไว้ซึ่งสิทธิอธิปไตยของรัฐทั้งมวล
โดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
ขณะโลกกำลังมุ่งเน้นความสนใจไปที่การต่อสู้กับโรคโควิด-19 สาธารณรัฐประชาชนจีนกลับฉวยโอกาสเมื่อชาติอื่น ๆ ไม่ทันระวัง ยกระดับการกระทำรุกรานในทะเลจีนใต้ ยุทธวิธีการบีบบังคับ บ่อนทำลาย และให้ข้อมูลบิดเบือนในทะเลจีนใต้ทำให้เกิดคำถามว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนอาจใช้วิธีการดังกล่าวในส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอย่างไรบ้าง
© AP Images
เมื่อวันที่ 1 เมษายน ทางการจีนประกาศดำเนินโครงการใหม่ที่มีชื่อว่า“Blue Sea 2020”ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล โดยระบุว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อ “ยกระดับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล” แต่เหตุการณ์ในวันต่อมาได้สะท้อนถึงเป้าหมายที่แท้จริงเมื่อเรือของจีนจมเรือประมงเวียดนาม ทางการจีนได้เสริมกำลังของฐานทัพหลายแห่งรอบหมู่เกาะสแปรตลี(Spratly Islands)ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาท ด้วยการส่งเครื่องบินเข้าไปประจำการเพิ่ม และจัดตั้ง “สถานีวิจัย” หลายแห่ง ตลอดจนส่งเรือสำรวจแหล่งพลังงานและกองเรือรบติดอาวุธลงพื้นที่เพื่อข่มขวัญผู้ประกอบการน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งมาเลเซีย และยั่วยุอินโดนีเซียโดยการส่งเรือประมงและเรือคุ้มกันจำนวนหลายร้อยลำเข้าไปยังน่านน้ำรอบเกาะนาทูนา (Natuna Island) ของอินโดนีเซีย ทางการจีนเตือนว่าผู้ใดก็ตามที่ต่อต้านคำกล่าวอ้างอธิปไตยอันน่าขันของจีนเหนือทะเลจีนใต้นั้น “จะต้องประสบกับความล้มเหลว”
© AP Images
การกระทำเหล่านี้เข้ากับแบบแผนอย่างหนึ่ง นั่นคือ เมื่อจีนเข้าไปที่ใด เราก็คาดได้เลยว่าจะได้เห็นประเทศนี้ไม่เคารพกฎ สร้างชุดความจริงของตนเองขึ้นมา และไม่รักษาสัญญาที่เคยให้ไว้มากขึ้นเรื่อย ๆ ชาวไทยเองก็เห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้อย่างชัดเจนจากภัยแล้งที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ในแม่น้ำโขง ซึ่งขัดกับคำมั่นที่จีนเคยให้ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะแบ่งปันทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์ให้กับประเทศปลายน้ำ แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เรากลับเห็นหลักฐานว่าการสร้างเขื่อนจำนวนมากที่ต้นน้ำของจีนทำให้บริษัทผลิตไฟฟ้าพลังน้ำสามารถควบคุมการไหลของน้ำมายังปลายน้ำเพื่อผลประโยชน์ที่มากขึ้น ระดับน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันลดลงต่ำสุดในรอบทศวรรษ สัมพันธ์กับการตัดสินใจของจีนในการกักน้ำไว้ที่ต้นน้ำ รัฐบาลไทยได้คัดค้านแผนการระเบิดแก่งและขุดลอกแม่น้ำโขงของจีน ซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกต้องยิ่ง อย่างไรก็ดี ทางการจีนยังคงปฏิบัติการลาดตระเวนในบริเวณแม่น้ำนอกอาณาเขตของตนตามแนวชายแดนไทย และเรายังเห็นการผลักดันให้เกิดกฎเกณฑ์การบริหารจัดการแม่น้ำที่มีจีนเป็นผู้กำหนด ซึ่งจะบั่นทอนการทำงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) อันเป็นเวทีระดับพหุภาคีเกี่ยวกับแม่น้ำโขงเวทีเดียวที่มีสนธิสัญญารับรอง เราจึงขอสนับสนุนประชาชนและรัฐบาลไทยในการเรียกร้องความโปร่งใสและความรับผิดชอบจากจีน เพื่อป้องกันไม่ให้ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายมหาศาลเมื่อปีที่แล้วเกิดขึ้นซ้ำรอย รวมทั้งคุ้มครองสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนไทย
ในทำนองเดียวกัน การกระทำของจีนในทะเลจีนใต้ยังส่งผลโดยตรงต่อไทยด้วย แม้ไทยจะไม่ได้เป็นผู้อ้างกรรมสิทธิ์ทะเลจีนใต้ แต่ไทยก็ได้รับประโยชน์จากการเดินเรืออย่างเสรีในทะเลจีนใต้สูงเป็นอันดับต้น ๆ ในภูมิภาค หากพิจารณาแล้วก็จะเห็นว่า มูลค่าการค้าสินค้าของไทยมักจะเกินร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งคิดเป็นสินค้ามูลค่าเกือบครึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐ และการค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่จะต้องผ่านเส้นทางในทะเลจีนใต้ เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภคของไทยล้วนพึ่งพาการเดินเรืออย่างเสรีในน่านน้ำนี้ ซึ่งอำนวยให้เกิดการค้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ดำเนินต่อไป การกระทำบุ่มบ่ามเพื่อแสดงสิทธิควบคุมทะเลจีนใต้เป็นสัญญาณของการบั่นทอนเสถียรภาพของภูมิภาค และจำกัดเสรีภาพในการเดินเรือซึ่งเป็นหนึ่งแรงผลักดันหลักในการเติบโตของไทยและภูมิภาคนี้
การอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศข้อใดมารองรับ และบางกรณีก็ยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงอีกด้วย เช่น การยืนกรานอย่างไม่สมเหตุสมผลว่าสันดอนเจมส์ (James Shoal) เป็นจุดใต้สุดของดินแดนจีน ทั้งที่บริเวณดังกล่าวอยู่ไกลจากจีนกว่า 1,000 ไมล์ และห่างจากมาเลเซียไม่ถึง 50 ไมล์ อีกทั้งจมอยู่ใต้น้ำลึกกว่า 70 ฟุต ทำให้สันดอนเจมส์ไม่นับว่าเป็นดินแดนด้วยซ้ำไป คำกล่าวอ้างอธิปไตยของทางการจีนดูเหมือนจะมาจากหนังสือแผนที่อังกฤษฉบับเก่าฉบับหนึ่ง และข้อผิดพลาดในคำแปลที่ชี้ว่าสันดอนที่อยู่ใต้น้ำนี้เป็นสันทรายเหนือน้ำ ซึ่งไม่ตรงกับความจริงแต่อย่างใด แต่จีนก็ยังคงให้ข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับประเด็นทางทะเลดังกล่าวต่อไป
Commons, public domain
กลุ่มผู้นำประเทศอาเซียนได้ออกแถลงการณ์แสดงความหนักแน่นฉบับหนึ่ง ณ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ว่าข้อพิพาทในทะเลจีนใต้จะต้องได้รับการแก้ไขโดยใช้กฎหมายระหว่างประเทศ รวมไปถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ข้อความนี้นับว่าควรแก่เวลายิ่ง เนื่องจากวันที่ 12 กรกฎาคมเป็นวันครบรอบคำพิพากษาชี้ขาดของศาลอนุญาโตตุลาการทะเลจีนใต้ในปี 2559 ที่ไม่รับรองคำกล่าวอ้างสิทธิ์ทางทะเลของรัฐบาลจีน โดยระบุว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ จีนจะต้องยอมรับคำพิพากษาในฐานะที่เป็นรัฐภาคีแห่งอนุสัญญา UNCLOS แต่กลับกล่าวว่าคำพิพากษาเป็นเพียง “เศษกระดาษ” แผ่นหนึ่งเท่านั้น และในขณะเดียวกันก็นำขีปนาวุธและเครื่องบินที่ทันสมัยเข้าไปประจำการในค่ายต่าง ๆ บนพื้นที่พิพาทรอบหมู่เกาะสแปรตลี การกระทำนี้ขัดกับคำมั่นของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในการแถลงข่าวที่ทำเนียบขาวเมื่อปี 2558 ที่ระบุว่าจะไม่จัดกำลังทหารในบริเวณดังกล่าว
การกระทำของทางการจีนในทะเลจีนใต้สะท้อนถึงความเพิกเฉยต่อสิทธิอธิปไตยของชาติอื่นโดยสิ้นเชิง การห้ามทำประมงและการคุกคามเรือในทะเลตามอำเภอใจของจีนทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรนอกชายฝั่งของตน รวมไปถึงน้ำมันและก๊าซมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และพื้นที่การประมงที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งหมดนี้นับเป็นมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน เช่นเดียวกับกระแสชีวิตของชุมชนชายฝั่งทะเล และความเป็นอยู่ของประชากรอาเซียนหลายล้านคน
ต้นตอของการกระทำเหล่านี้ทั้งหมดคือความเชื่อของจีนที่ว่า “อำนาจสร้างความชอบธรรม” และจีนไม่ได้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใด ๆ ทางการจีนใช้การบีบบังคับทางเศรษฐกิจกับประเทศที่เล็กกว่าหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยให้ผลิตผลทางการเกษตรที่นำเข้าจากฟิลิปปินส์เน่าเสียที่ท่าเรือของจีนเพื่อประท้วงที่ทางการฟิลิปปินส์เรียกร้องให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการตัดสินประเด็นทะเลจีนใต้ การคว่ำบาตรนอร์เวย์เนื่องจากคณะกรรมการโนเบลตัดสินมอบรางวัลสาขาสันติภาพให้แก่นายหลิว เสี่ยวโป หรือการตัดขาดการค้ากับเกาหลีใต้ที่ติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ THAAD เพื่อยับยั้งการทดสอบยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ทั้งหมดนี้ทำให้ทัศนคติการมองโลกของจีนเป็นที่ประจักษ์ เช่นเดียวกับคำกล่าวของนายหยาง เจียฉือ นักการทูตแนวหน้าของจีน ต่อบรรดานักการทูตอาเซียนในปี 2553 ที่ว่า “จีนเป็นประเทศใหญ่และประเทศอื่น ๆ เป็นประเทศเล็ก และนั่นเป็นความจริง”
ทั้งหมดที่กล่าวมาแสดงถึงทัศนคติของจีนต่อพหุภาคีนิยม คำกล่าวข้างต้นของนายหยาง เจียฉือ เกิดขึ้นระหว่างการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ซึ่งเป็นเวทีเพื่อการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศโดยไม่คำนึงถึงอำนาจทางการทหารหรือเศรษฐกิจ เรายังสามารถเห็นทางการจีนบ่อนทำลายเวทีระดับพหุภาคีในลักษณะดังกล่าว รวมถึงหลักการที่เวทีเหล่านี้ยึดถือ ไม่ว่าจะเป็นการค้าที่เสรีและเป็นธรรม ความโปร่งใส ความเปิดกว้าง หรือการเคารพหลักนิติธรรม จากการกระทำของจีนต่อองค์การการค้าโลก องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ องค์การตำรวจสากล และสหประชาชาติอีกด้วย
กฎหมายและบรรทัดฐานระหว่างประเทศได้นำมาซึ่งความมั่งคั่งอย่างมหาศาลในเอเชียตะวันออกตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับหลายภูมิภาคทั่วโลก การส่งเสริมระเบียบที่เสรี เปิดกว้าง และยึดมั่นในกฎกติการะหว่างประเทศ ตลอดจนการธำรงไว้ซึ่งสิทธิอธิปไตยของทุกรัฐ ไม่ว่ารัฐเหล่านั้นจะมีขนาด อำนาจ และศักยภาพทางการทหารเท่าใดก็ตาม จะทำให้มั่นใจได้ว่าความมั่งคั่งนี้จะยังคงดำเนินต่อไปในอีกครึ่งศตวรรษข้างหน้า
(บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ข่าวสด เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563)
โดย U.S. Embassy Bangkok | 14 กรกฎาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, เอกอัครราชทูต | Tags: บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตดีซอมบรี | Upholding the Sovereign Rights of All
By U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre
As the world focuses on the fight against COVID-19, the People’s Republic of China (PRC) is exploiting others’ distraction to extend its bullying campaign in the South China Sea. The tactics of coercion, subversion and disinformation used in the South China Sea raise questions on how the PRC may use these tools elsewhere in the Indo-Pacific region.
China’s man-made Subi Reef with Chinese military base in the South China Sea, as seen from a Philippine Air Force plane. Photo – Bullit Marquez © AP Images
On April 1, Beijing declared a new maritime law enforcement campaign called “Blue Sea 2020.” Its announced purpose was to “enhance marine environmental protection,” but its real purpose was suggested a day later, when a PRC ship sank a Vietnamese fishing vessel. Beijing has bolstered its military bases in the contested Spratly Islands with new aircraft deployments and “research stations,” dispatched an energy survey vessel and armed flotilla to intimidate Malaysian offshore oil and gas work, and provoked Indonesia by sending hundreds of fishing boats and escorts into waters off Indonesia’s Natuna Island. Beijing warned that anyone bucking its ridiculous claims to sovereignty over the South China Sea is “doomed to fail.”
Damaged Filipino fishing boat F/B Gimver 1 sits ashore in Mindoro province, Philippines. China acknowledged one of its vessels hit a Filipino boat in the South China Sea in an incident that prompted an outcry in the Philippines. © AP Images
These actions fit a pattern. Where the PRC goes, it can increasingly be expected to flout the rules, make up its own facts, and break its promises. Thais are now seeing this clearly along the Mekong River, where a historic drought belies earlier PRC promises that they will share the river’s bountiful water resources with countries downstream. Instead, we see evidence that the PRC’s spree of upstream dam building has enabled its hydropower companies to control downstream flows for greater profits. The Mekong River’s water levels, currently the lowest in a decade, are linked to the PRC’s decision to shut off water upstream. The PRC’s plans to blast and dredge riverbeds have correctly been opposed by the Thai government. Yet, PRC authorities still operate extra-territorial river patrols along the Thai border, and we see a push to craft new Beijing-directed rules to govern the river, thereby weakening the Mekong River Commission – the only treaty-agreed multilateral forum covering the Mekong River. We support the Thai people and the Thai government’s call for transparency and accountability from the PRC to prevent a repeat of last year’s devastating drought and protect the well-being and livelihoods of Thai communities.
Similarly, the PRC’s actions in the South China Sea also have a direct impact on Thailand. Thailand is not a South China Sea claimant, yet Thailand’s interests in free navigation within the SCS are among the most pronounced in the region. Consider this: the value of Thailand’s trade in goods regularly exceeds 80 percent of GDP. That’s nearly a half trillion U.S. dollars’ worth of goods. And much of that trade passes through these very waters. Thailand’s farmers, its manufacturers, and its consumers rely on free navigation of these waters, which facilitates the trade that keeps the Thai economy humming. The reckless actions to assert control over the South China Sea threaten to undermine regional stability and limit the freedom of navigation that has been a key driver of growth for Thailand and the region.
The PRC’s maritime claims in the South China Sea have no basis in international law. Some even lack any basis in reality, such as its absurd insistence that James Shoal is the southernmost tip of China. James Shoal, which is more than 1,000 miles from China, is fewer than 50 miles from Malaysia—and 70 feet underwater, so it isn’t territory at all. Beijing’s sovereignty claim appears to derive from an old British atlas and a translation error suggesting the underwater shoal was actually a sandbank above the waves. It isn’t – yet Beijing continues pushing maritime misinformation.
Chinese vessels artificially building up Subi Reef in the South China Sea. Photo – Commons, public domain
Southeast Asian Leaders issued a strong statement at the June 26 ASEAN Summit that South China Sea disputes must be resolved in line with international law, including the United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS). The message was timely, given the July 12 anniversary of the powerful 2016 ruling by the South China Sea Arbitral Tribunal which rejected Beijing’s maritime claim as a violation of international law. The PRC, as party to UNCLOS, was obligated to comply, but instead dismissed the ruling as a “scrap of paper.” Beijing meanwhile put advanced missiles and aircraft on contested outposts in the Spratlys, in clear violation of Xi Jinping’s 2015 pledge to a White House press conference not to militarize these features.
Beijing’s conduct in the South China Sea reflects its complete disregard for the sovereign rights of other nations. Its arbitrary fishing bans and harassment of ships at sea block Southeast Asian nations from accessing the resources off their coasts, including some $2.5 trillion in oil and gas and some of the world’s richest fisheries. This is the patrimony of Southeast Asian nations, the lifeblood of their coastal communities, and the livelihood of millions of their citizens.
At the root of all these actions is a belief within the PRC that “might makes right,” and that rules don’t apply to them. Beijing’s repeated use of economic coercion against smaller countries – whether letting Philippine agricultural imports rot on Chinese docks to protest Manila’s pursuit of arbitration over the South China Sea, implementing sanctions against Norway for the Nobel Committee’s awarding of its Peace Prize to Liu Xiaobo, or cutting trade with South Korea for deploying the THAAD missile defense system to strengthen its deterrence vis a vis North Korea – reveals their world view clearly. So did the words of Beijing’s top diplomat, Yang Jiechi, in 2010 when he told his Southeast Asian counterparts: “China is a big country and other countries are small countries, and that’s just a fact.”
All this shows what they think of multilateralism. Yang Jiechi made his comment at an ASEAN Regional Forum meeting, after all, which is meant to foster cooperation among countries irrespective of military or economic power. This sort of subversion of multilateral forums and the principles they are meant to uphold – free and fair trade, transparency, openness, respect for rule of law – are also seen in Beijing’s actions toward the World Trade Organization, International Civil Aviation Organization, Interpol, and the UN.
International laws and norms have brought tremendous prosperity to East Asia – and in fact much of the world — over the past half century. Supporting a free and open rules-based order and upholding the sovereign rights of all states regardless of size, power, and military capabilities, will ensure that prosperity continues for the next half century.
(This Op-Ed was originally published in Khaosod English website and The Thai version was originally published in Khaosod newspaper on July 14, 2020.)
By U.S. Embassy Bangkok | 14 July, 2020 | Topics: Ambassador, News | Tags: Ambassador DeSombre's Op-Eds, Op-Ed, Op-Ed by the Ambassador | Upholding the Sovereign Rights of All | การธำรงไว้ซึ่งสิทธิอธิปไตยของรัฐทั้งมวล |
https://th.usembassy.gov/th/historic-thai-u-s-alliance-plans-for-21st-century-challenges-th/ | พลเอก เจมส์ ซี. แมคคอนวิลล์ ผู้บัญชาการทหารบกสหรัฐอเมริกา (Chief of Staff of the United States Army) เดินทางเยือนราชอาณาจักรไทยในวันที่ 9-10 กรกฎาคม โดยเข้าพบพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกไทย รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา และเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เพื่อหารือถึงความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย
ในวันที่ 10 กรกฎาคม พลเอก แมคคอนวิลล์ และพลเอก อภิรัชต์ ได้ลงนามในแถลงการณ์วิสัยทัศน์ทางยุทธศาสตร์ (Strategic Vision Statement) ซึ่งจะขับเคลื่อนและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างกองทัพบกสหรัฐฯ และกองทัพบกไทย ตลอดจนแสดงถึงวิสัยทัศน์และความตั้งใจของผู้บัญชาการทหารบกทั้งสองท่านในการสานสัมพันธ์ทางการทหารที่ยาวนาน 65 ปีระหว่างสหรัฐฯ และไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และพร้อมก้าวไปสู่อนาคต พลเอก แมคคอนวิลล์ และพลเอก อภิรัชต์ ยังได้หารือกันถึงการพัฒนากองทัพให้ทันสมัย ความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน การฝึกร่วม และหลักนิยมต่าง ๆ
พลเอก แมคคอนวิลล์ กล่าวว่า “พันธไมตรีระหว่างเรามีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเกิดผลเป็นอย่างยิ่ง และในเวลานี้เรากำลังรับมือกับความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ไปด้วยกัน ประเทศของเราทั้งสองจัดการฝึกและกิจกรรมทางการทหารร่วมกันเป็นประจำหลายร้อยครั้งในแต่ละปี และเรากำลังดำเนินการร่วมกับรัฐบาลไทยเพื่อให้มั่นใจว่า ทุกการฝึกของเราจะเป็นไปด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดใหญ่ครั้งนี้”
นอกจากนี้ พลเอก แมคคอนวิลล์ ยังได้เยี่ยมชมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) โดยศูนย์วิจัยโรคติดเชื้อร่วมระหว่างสหรัฐฯ และไทยแห่งนี้เป็นแนวหน้าด้านการศึกษาโรคระบาดมาหลายทศวรรษ นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันและชาวไทยที่ AFRIMS กำลังทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่เพื่อเอาชนะโรคอันตรายลำดับต้น ๆ ของโลก เช่น โรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และโรคโควิด-19
การลงนามในแถลงการณ์วิสัยทัศน์ทางยุทธศาสตร์ระหว่างกองทัพบกของทั้งสองประเทศในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการสืบเนื่องจากการลงนามในแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มาร์ก เอสเปอร์ และนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562
โดย U.S. Embassy Bangkok | 10 กรกฎาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | General James C. McConville, the Chief of Staff of the United States Army, visited the Kingdom of Thailand July 9 -10. General McConville met with General Apirat Kongsompong, Commander in Chief of the Royal Thai Army and was joined by Ambassador Michael George DeSombre for a meeting with Prime Minister Prayut Chan-o-cha to discuss the strategic partnership between our nations.
General McConville and General Apirat signed the Strategic Vision Statement on July 10, which energizes and enhances the bilateral army to army relationship, and outlines the vision and objectives the two army chiefs have as they work to deepen the 65 year old U.S.-Thai military alliance and prepare it for the future. The two officers discussed modernization, interoperability, joint training, and doctrine.
“Our alliance has a long and productive history, and now we are taking on 21st century challenges together,” said General McConville. “Our two nations typically have hundreds of military trainings and events each year, and we are working in unison with the Royal Thai Government to ensure that all of our training scenarios will be done with the utmost care with regards to the pandemic,” the general continued.
General McConville also visited the Armed Forces Research Institute of Medical Sciences (AFRIMS), a joint U.S.-Thai infectious disease center that has been at the cutting edge of pandemic research for decades. Thai and American scientists at AFRIMS are working side by side to defeat the world’s most deadly diseases, such as malaria, dengue, and COVID-19.
The signing of the Strategic Vision Statement between the two armies follows on the heels of the Joint Vision Statement signed between Secretary of Defense Mark Esper, and Minister of Defense and Prime Minister Prayut Chan-o-cha as part of the ASEAN meetings in November 2019.
By U.S. Embassy Bangkok | 10 July, 2020 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Historic Thai-U.S. Alliance Plans for 21st Century Challenges | สหรัฐอเมริกาและไทยร่วมเตรียมพร้อมรับความท้าทายแห่งศตวรรษที่ 21 |
https://th.usembassy.gov/th/70th-anniversary-of-fulbright-educational-exchange-program-in-thailand-th/ | สารแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 70 ปี
โครงการแลกเปลี่ยนฟุลไบรท์ในราชอาณาจักรไทย
1 กรกฎาคม 2563
โดย
ฯพณฯ วิชาวัฒน์ อิศรภักดี
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทย
และประธานคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน
และ
ฯพณฯ ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
และประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน
ในโอกาสครบรอบ 70 ปี โครงการฟุลไบรท์ ประเทศไทย เราขอแสดงความยินดีด้วยความจริงใจกับโครงการฟุลไบรท์ ประเทศไทย ตลอดจนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ที่โครงการฟุลไบรท์ ประเทศไทย ได้ก้าวมาถึงหมุดหมายสำคัญของความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในด้านการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวิจัย
โครงการฟุลไบรท์ ประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2493 ตามวิสัยทัศน์ของวุฒิสมาชิก เจ. วิลเลียม ฟุลไบรท์ เพื่อส่งเสริมไมตรีจิตและความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชน มอบโอกาสให้กับผู้รับทุนชาวไทยและชาวอเมริกันที่มีความโดดเด่นแล้วกว่า 3,000 คน ซึ่งไม่เพียงครอบคลุมด้านการเรียน การสอน การศึกษาวิจัย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมเพื่อค้นหาหนทางในการสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาคมโลก แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมโยงและหลอมรวมสายใยแห่งมิตรภาพอันยืนยาวอีกด้วย ศิษย์เก่าโครงการฟุลไบรท์ ประเทศไทย มีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยและอเมริกันมาอย่างต่อเนื่อง และช่วยยกระดับความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นระหว่างสองประเทศ
ตลอดปีแห่งวาระครบรอบนี้ เราจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเฉลิมฉลองพลังแห่งความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งและเจริญงอกงามระหว่างไทยและสหรัฐฯ อันเกิดจากผลประโยชน์และค่านิยมที่ทั้งสองประเทศมีร่วมกัน เราเชื่อมั่นว่าการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกันผ่านโครงการฟุลไบรท์ ประเทศไทย จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอเมริกา ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในหลายทศวรรษข้างหน้านี้
โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 กรกฎาคม, 2020 | ประเภท: การศึกษา, ทุนการศึกษาและโครงการแลกเปลี่ยน | Congratulatory Message on the 70th Anniversary
of theFulbrightEducational Exchange Program in the Kingdom of Thailand
July 1, 2020
by
H.E. Mr. Vijavat Isarabhakdi
Vice Minister for Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand
and Chairman of the Board, Thailand-United States Educational Foundation
and
H.E. Mr. Michael George DeSombre,
Ambassador of the United States to Thailand
and Honorary Chairman, Thailand-United States Educational Foundation
Onthe occasion of the 70th Anniversary of theFulbrightProgram in Thailand,we extend sincere congratulations to the Fulbright Thailand Program along with all Fulbright Thailand alumni and current students, both in Thailand and the United States, on this important milestone in Thai-U.S. binational collaboration on educational and research exchange.
Founded on July 1, 1950 in line with the vision of Senator J. William Fulbright to promote goodwill and people-to-people understanding, the Fulbright ThailandProgram has given opportunities to over 3,000 outstanding Thai and American scholars to not only study, teach, conduct research, exchange ideas, and contribute to finding solutions to benefit the global community, but also to connect and forge lasting bonds of friendship. FulbrightThailand alumni take pride in their continuing contributions toThai and American societies andto enhancingthe close ties between the two countries.
Through year-long anniversary activities,we also celebratethe vitality of the strong and thriving Thai-U.S. relations, underpinned by shared interests and values. We are confident that thefostering of mutual understanding through the Fulbright Thailand Program will further strengthen the close ties and cooperation between the Kingdom of Thailand and the United States of America for decades to come.
By U.S. Embassy Bangkok | 1 July, 2020 | Topics: Education, Scholarships and Exchanges | Tags: Fulbright | Congratulatory Message on the 70th Anniversary of the Fulbright Educational Exchange Program in the Kingdom of Thailand | สารแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 70 ปี โครงการแลกเปลี่ยนฟุลไบรท์ในราชอาณาจักรไทย |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-government-commits-to-countering-transnational-crime-with-royal-thai-government-th/ | รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติร่วมกับรัฐบาลไทย
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน รัฐบาลสหรัฐฯ ได้มอบอุปกรณ์เพื่อการสืบสวนสอบสวนมูลค่าประมาณ 3.11 ล้านบาท (100,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับรัฐบาลไทยเพื่องานด้านการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการลักลอบค้ายาเสพติด โดยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายระหว่างสหรัฐฯ และไทยที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ในโอกาสดังกล่าว กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ ฌอน โอนีลล์ เป็นตัวแทนมอบให้กับ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
ทั้งนี้ สำนักงานกิจการยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ (INL) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นผู้ดำเนินการเพื่อมอบอุปกรณ์ดังกล่าว โดยที่ผ่านมา INL ได้สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด การก่อการร้าย และองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ในงานด้านการ
ต่อต้านยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยมากว่า 40 ปี INL ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค และองค์กรนอกภาครัฐเพื่อพัฒนาข้อริเริ่มต่าง ๆ ในการสร้างศักยภาพให้แก่ภาคส่วนที่ทำงานยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค
“สหรัฐฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้สนับสนุนประเทศไทยในการต่อต้านอาชญากรรมและการลักลอบค้ายาเสพติดข้ามชาติเพื่อปกป้องครอบครัวและชุมชนของเราได้ดียิ่งขึ้น” กงสุลใหญ่สหรัฐฯ ฌอน โอนีลล์กล่าว “ความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายระหว่างสหรัฐฯ และไทยได้เสริมสร้างความมั่นคงระดับชาติให้กับทั้งไทยและสหรัฐฯ”
ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงได้ที่: https://photos.app.goo.gl/fh7yCxSg8fE9W9Y5A
โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 24 มิถุนายน, 2020 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์ | U.S. Government Commits to Countering Transnational Crime with Royal Thai Government
On June 24, the United States donated investigative tools with a value of approximately 3.11 million THB (100,000 USD) to the Royal Thai Government to counter transnational crime and fight drug trafficking as part of a longstanding U.S.-Thai law enforcement partnership. Consul General Sean O’Neill presented the equipment to Pol.Lt.Gen. Prachaub Wongsuk, Commissioner of Provincial Police Region 5.
The donation was made possible by the State Department’s Bureau of International Narcotics and Law Enforcement Affairs (INL). INL has funded activities to combat trafficking in illegal drugs, terrorism, and transnational organized crime, and provided material assistance to counter-drug and law enforcement activities in Thailand for over 40 years. INL collaborates with the Royal Thai Government, other U.S. government entities, regional governments, and non-governmental organizations to develop initiatives to build capacity in the criminal justice sector in Thailand and regionally.
“The United States is proud to support Thailand in countering transnational crime and drug trafficking to better protect our families and communities.” said Consul General Sean O’Neill. “U.S.-Thai law enforcement cooperation strengthens the national security of both Thailand and the United States.”
Download high resolution photos here: https://photos.app.goo.gl/fh7yCxSg8fE9W9Y5A
By U.S. Consulate Chiang Mai | 24 June, 2020 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Events, News, U.S. & Thailand | U.S. Government Commits to Countering Transnational Crime with Royal Thai Government | รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติร่วมกับรัฐบาลไทย |
https://th.usembassy.gov/th/statement-on-the-birthday-of-her-majesty-queen-suthida-bajrasudhabimalalakshana-2020-th/ | สารถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
ในนามของเจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันและชาวไทยของหน่วยงานสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยขอถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์และทรงพระเกษมสำราญยิ่ง
โดย U.S. Embassy Bangkok | 3 มิถุนายน, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย | Statement on the Auspicious Birthday of Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana
On behalf of the American and Thai community of the United States Mission to the Kingdom of Thailand, the U.S. Embassy in Bangkok extends our warmest congratulations on the auspicious occasion of Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana’s birthday. We wish Her Majesty great health and happiness.
By U.S. Embassy Bangkok | 3 June, 2020 | Topics: News, U.S. & Thailand | Statement on the Auspicious Birthday of Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana | สารถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี |
https://th.usembassy.gov/th/safe-reliable-secure-and-cost-effective-supply-chains-belong-in-thailand-th/ | ไทยเหมาะเป็นที่ตั้งของห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ มั่นคง และคุ้มค่าการลงทุน
โดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “เราจะรู้ว่าใครเปลือยกายว่ายน้ำก็ต่อเมื่อน้ำลงแล้วเท่านั้น” โชคร้ายที่ต้นปี 2563 เป็นช่วงน้ำลงสำหรับบรรดาบริษัทระดับโลกที่ถูกถาโถมด้วยการล็อกดาวน์เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่จีนและลุกลามไปสู่การปิดหรือจำกัดการดำเนินกิจการของบริษัทในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก วิกฤตการณ์นี้เผยให้เห็นจุดอ่อนของห่วงโซ่อุปทานในบริษัทระดับโลกจำนวนมาก
อย่างไรก็ดี วิกฤตการณ์มักกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในโลกธุรกิจ หลายกิจการในสหรัฐอเมริกา ไทย และทั่วโลกกำลังมองไปยังอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น และวางแผนเพื่อฟื้นฟูธุรกิจและกลับมาแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมหลังช่วงวิกฤตนี้ผ่านพ้นไป ส่วนสำคัญของกระบวนการดังกล่าวคือ บริษัทต่างๆ กำลังทบทวนการดำเนินธุรกิจ การลงทุน และการจัดการห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง รวมทั้งคุ้มทุนในเวลาเดียวกัน
ห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัยมีอยู่ในนานาประเทศที่เป็นมิตรและพันธมิตรซึ่งต่างยึดมั่นในความโปร่งใส โอกาสที่เป็นเอกเทศ และตลาดเสรีที่ปราศจากการครอบงำของรัฐ ห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อถือได้มีอยู่ในนานาประเทศที่สื่อมีเสรีภาพและความเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีระบบศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ ซึ่งต่างยึดถือหลักนิติธรรมและหลักความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญา และห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงมีอยู่ในนานาประเทศที่บริษัทต่างๆ ปลอดภัยจากการโจรกรรมทางไซเบอร์หรือการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา
ความยึดมั่นในเสรีภาพ หลักนิติธรรม และระบบตุลาการที่เป็นอิสระทำให้สหรัฐอเมริกามีบรรยากาศการลงทุนที่ดีและน่าสนใจ ซึ่งดึงดูดบริษัทจากทั่วโลก ทว่าบริษัทที่ต้องการเข้าถึงตลาดต่างประเทศให้มากขึ้นมีตัวเลือกที่เด่นชัดเพื่อขยายการลงทุนในภูมิภาค ทั้งนี้ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก บริษัทอเมริกันกำลังให้ความสนใจประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่าที่อื่นๆ เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้งของอาเซียนที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีความคุ้มทุน โอกาสในอนาคตดูสดใสยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากอาเซียนจะกลายเป็นตลาดระดับภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดมีอายุต่ำกว่า 30 ปี ใจกลางของอาเซียนคือประเทศไทย อันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ตลอดจนเป็นพันธมิตรด้านสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชีย และเป็นพันธมิตรหลักนอกสนธิสัญญานาโตเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป
ในปีนี้นับเป็นวาระครบรอบ 187 ปีที่ราชอาณาจักรไทยลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ของสหรัฐฯ อันเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเราสองประเทศ ซึ่งงอกงามมาจนถึงทุกวันนี้ บริษัทอเมริกันหลายร้อยบริษัทได้ลงทุนในไทย โดยสร้างงานให้คนไทยหลายหมื่นคนและยังประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับทั้งสหรัฐฯ และไทย ธุรกิจของเราที่ชื่อคุ้นหูมีมากมาย ทั้งซิตี้แบงก์ เชฟรอน และฟอร์ด ซึ่งต่างก็ดำเนินการในไทยมาหลายทศวรรษและยังคงเชื่อมั่นว่าไทยเป็นที่ตั้งที่เหมาะสม
ในขณะเดียวกัน มีธุรกิจอื่นๆ อีกมากที่เพิ่งจะเข้ามาหรือเพิ่งจะขยายการดำเนินงานในไทย ไม่นานมานี้ บริษัทอเมริกันด้านการผลิตวัสดุขั้นสูงแห่งหนึ่งได้เลือกที่จะตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่ประเทศไทยหลังจากวิเคราะห์ตัวเลือกทั้งหมด 24 แห่งในภูมิภาคนี้ บริษัทการ์เดียน กลาส ธุรกิจชั้นแนวหน้าด้านการผลิตกระจกประหยัดพลังงานที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่นๆ ดำเนินการผลิตในไทยมาตั้งแต่ปี 2534 และในปีที่แล้ว ได้เลือกกรุงเทพมหานครเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำเอเชีย-แปซิฟิก เนื่องจากไทยมีชื่อเสียงที่ดีทั้งในด้านการต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ มีเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังขยายตัว และเป็นสถานีการส่งออกไปยังทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัทอลิอันซ์ ลอนดรี้ ยังได้เปิดโรงงานในต่างประเทศแห่งล่าสุดที่ไทยเมื่อปีที่แล้ว โดยพิจารณาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ก้าวหน้าของไทยในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่น่าสนใจ และผลงานด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ผ่านมาซึ่งทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค บริษัทซีเกท ซึ่งดำเนินการในไทยมากว่า 30 ปี ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ทุกวันนี้บริษัทได้ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งในการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและวิชาการในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้บริษัทซีเกท คงตำแหน่งผู้นำระดับโลกด้านการผลิตฮาร์ดไดร์ฟไฮเทคและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำสมัยอื่นๆ
เมื่อผมสอบถามบริษัทเหล่านี้ว่าเหตุใดจึงเลือกประเทศไทย พวกเขาต่างตอบว่า ลักษณะการผลิตในไทยมีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคง ในขณะเดียวกันก็ยังมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ทั้งด้านต้นทุนที่ดิน ค่าแรง และค่าครองชีพ ตัวอย่างเช่น ค่าแรงเฉลี่ยรายเดือนสำหรับภาคการผลิตในไทยต่ำกว่าจีนมากกว่าร้อยละ 50 โดยอ้างอิงจากข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ นอกจากนี้ การเริ่มต้นการดำเนินธุรกิจในไทยยังไม่ซับซ้อนอีกด้วย ในเดือนกุมภาพันธ์ U.S. News and World Report จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 1 ของประเทศที่เหมาะกับการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดจากการสำรวจประจำปี 2563 โดยมีเกณฑ์การตัดสิน 5 ประการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล ระเบียบราชการ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ความเชื่อมโยง และการเข้าถึงเงินทุน นอกจากนี้ ไทยเป็นที่รู้จักดีในด้านคุณภาพของระบบการสาธารณสุข ซึ่งรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้อย่างน่ายกย่อง เช่นเดียวกับโรงเรียนนานาชาติระดับแนวหน้าของโลกที่มีให้เลือกมากมาย ทั้งยังมีสถานที่ทางวัฒนธรรมและท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายและงดงามที่สุดในโลกหลายแห่ง ตลอดจนมีอาหารที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเลิศรส ไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะอยู่แบบเพียงคนเดียวหรือเป็นครอบครัว
ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงกฎระเบียบที่เป็นมิตรกับธุรกิจผ่านการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 กิจการของสหรัฐฯ ในไทยชื่นชมรัฐบาลไทยเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความยืดหยุ่นในการอนุญาตให้โรงงานผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น ในขณะที่อีกด้านก็บังคับใช้มาตรการสาธารณสุขที่เข้มข้นเพื่อชะลออัตราการติดเชื้อ ธุรกิจอเมริกันยังแสดงความประทับใจที่รัฐบาลไทยได้แจ้งข้อบังคับใหม่ล่วงหน้า ส่งผลให้สามารถวางแผนสำรองได้อย่างเหมาะสม ราชอาณาจักรไทยดำเนินการในแง่มุมเหล่านี้ได้อย่างโดดเด่นเมื่อเทียบกับชาติอื่นในเอเชีย
นอกจากนี้ ผมขอชมเชยรัฐบาลไทยที่ให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนต่างๆ ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งยังมอบสิทธิประโยชน์ที่สร้างแรงจูงใจสำคัญให้บริษัทต่างๆ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งนี้บรรดาบริษัทในโครงการดังกล่าวมีข้อได้เปรียบในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของทวีปเอเชีย
นับตั้งแต่ที่ผมได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่มาจากภาคเอกชนเป็นคนแรก ผมได้หารืออย่างกว้างขวางกับธุรกิจทั้งของสหรัฐฯ และไทย เพื่อหาวิธีที่เราจะสามารถกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของสองประเทศได้ ณ ช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์นี้ ขณะที่ทั่วโลกต่อสู้กับผลที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 สหรัฐฯ ต้องการเห็นไทยคว้าโอกาสที่จะได้ส่วนแบ่งในห่วงโซ่อุปทานโลกที่ไทยสมควรจะได้รับ
ประเทศไทยสามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้ด้วยการประกาศให้กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศรับทราบทั่วกันว่าไทยยังคงยึดมั่นในวิสาหกิจเสรี การค้าที่เป็นธรรม ตลาดที่เปิดกว้าง ความโปร่งใส ตลอดจนแนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจที่สุจริต นอกจากนี้ ไทยยังสามารถส่งเสริมให้กำลังแรงงานในประเทศมีความน่าสนใจมากขึ้น ด้วยการดำเนินการหลายประการเฉกเช่นที่เรากำลังพยายามทำในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับหลักสูตรของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาเพื่อเน้นทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (สะเต็ม) รวมถึงเสนอให้มีการฝึกอบรมการทำงานใหม่ และ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เพื่อพัฒนาทักษะให้กับแรงงานที่มีอยู่
สำหรับงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ โดยอาจมีผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงพอภายในประเทศ ไทยควรอนุญาตให้บริษัทต่างๆ ว่าจ้างชาวต่างชาติที่มีความชำนาญ เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายโอนองค์ความรู้ขั้นสูงให้แก่พลเมืองไทย และเพิ่มจำนวนคนไทยที่มีทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก อันจะทำให้ชาวไทยสามารถประกอบอาชีพเหล่านั้นได้ในอนาคต แทนที่จะต้องว่าจ้างชาวต่างชาติ
ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากจุดพลิกผันไปสู่การทำงานทางไกลและธุรกิจดิจิทัลที่เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงการรับมือกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ไทยควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการยกระดับธุรกิจดิจิทัลในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ ตั้งแต่การเงินไปจนถึงการเกษตร รวมทั้งคุ้มครองธุรกิจเหล่านั้นให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยข้อปฏิบัติต่างๆ การปกป้องบริษัทจากการโจรกรรมทางไซเบอร์ยังจะเน้นย้ำถึงข้อได้เปรียบที่ไทยมีมากกว่าประเทศอื่นที่เป็นแหล่งของการโจมตีในลักษณะดังกล่าว นอกจากนี้ ไทยยังสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจดิจิทัล โดยการเข้าร่วมในระบบภายใต้กรอบการควบคุมความเป็นส่วนตัวข้ามพรมแดนของเอเปค (APEC Cross-Border Privacy Rules) ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลสามารถไหลเวียนได้อย่างเสรีและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ท้ายสุดนี้ ไทยสามารถรักษาและพัฒนาแหล่งพลังงานที่มีอยู่หลากหลาย ตลอดจนใช้ศักยภาพในการส่งพลังงานได้อย่างคุ้มทุนและเต็มกำลัง เพื่อจำหน่ายพลังงานที่เชื่อถือได้และราคาไม่แพงภายในประเทศ ไทยมีโอกาสอันยอดเยี่ยมเพราะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ได้พัฒนาขนาดใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งในอ่าวไทย จึงสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติราคาไม่แพงได้ไปอีกหลายชั่วอายุคน นอกจากนี้แล้ว ในระยะสั้น การดำเนินการเพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางในการค้าขายและขนส่งพลังงานในภูมิภาค จะมีส่วนอย่างมากต่อการทำให้เศรษฐกิจไทยมีอุปทานพลังงานที่มีเสถียรภาพและราคาไม่แพงในระยะยาว
ประธานาธิบดี แคลวิน คูลิดจ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ภารกิจของอเมริกาคือธุรกิจ” ทุกวันนี้ที่วิสาหกิจเสรีต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐอีกครั้ง เราจะต้องระลึกถึงอำนาจแห่งวิสาหกิจเสรีแบบอเมริกัน ผมขอปิดท้ายด้วยคำกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ท่านแรกที่เดินทางมาเมืองไทย ประธานาธิบดี ยูลิสิส เอส. แกรนต์ ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งมาเยือนไทยในปี 2422 ว่า “ผมไม่เคยเห็นที่ไหนน่าสนใจเท่า [ประเทศไทย] มาก่อน” ผมเห็นด้วยกับถ้อยคำของประธานาธิบดีแกรนต์และขอย้ำว่า ราชอาณาจักรไทยยังคงเปิดกว้างสำหรับธุรกิจในช่วงเวลาที่ท้าทายเหล่านี้ และเป็นสถานที่ซึ่งปลอดภัย เชื่อถือได้ และมั่นคงสำหรับการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ผมหวังว่าจะได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยและบริษัทสัญชาติไทยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งยิ่งขึ้นให้กับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและพาณิชย์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย อันเฟื่องฟูเป็นอย่างดีนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19
(บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563)
โดย U.S. Embassy Bangkok | 23 พฤษภาคม, 2020 | ประเภท: การค้าระหว่างประเทศ, ข่าว, เอกสารข่าว, เอกอัครราชทูต | Tags: บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตดีซอมบรี | Safe, Reliable, Secure and Cost-Effective Supply Chains Belong in Thailand
By U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre
“You only find out who is swimming naked when the tide goes out,” the famous investor Warren Buffett once said. Unfortunately, the tide went out for global companies in early 2020 as they were slammed by the coronavirus-induced lockdowns that spread from China to shut down or limit operations in most countries around the world. This crisis revealed vulnerabilities in the supply chains of many global companies.
Crisis, however, can spur positive change in the corporate world. Many businesses in the United States, Thailand and around the world are looking to a brighter future, and planning to emerge from this crisis stronger and more resilient than they were before. As a key part of that process, companies are reexamining their global business operations, investments and supply chains to ensure they are safe, reliable and secure while also being cost-effective.
Safe supply chains run through countries that are friends and allies who share a commitment to transparency, individual opportunity, and markets free from domination by the state. Reliable supply chains run through countries with a free and robust media and an independent judiciary who share a commitment to the rule of law and the sanctity of contracts. And secure supply chains exist in countries where companies are secure from cyber theft or the theft of intellectual property.
The commitment to freedom, the rule of law, and the independent legal system in the United States make for a strong, attractive investment climate, attracting companies from around the world. However, for companies seeking closer access to overseas markets, there are also clear choices when deciding where else to invest in the region. In the Indo-Pacific region, American companies are looking much more at the countries of ASEAN as cost-effective locations for supply chains. Future prospects look even brighter, as ASEAN will become one of the world’s fastest growing regional markets with over 50 percent of its population under age 30. Right in the middle of ASEAN is mainland Southeast Asia’s largest transportation and logistics hub: Thailand, the oldest treaty ally of the United States in Asia and the only Major Non-NATO Ally of the United States in mainland Southeast Asia.
This year marks the 187th anniversary of the signing of the United States Treaty of Amity and Commerce with the Kingdom of Thailand, which marks the beginning of the U.S.-Thai commercial relationship. That relationship has flourished. Hundreds of U.S. companies, employing tens of thousands of Thai nationals, have invested in Thailand to the mutual economic benefit of both our nations. Many of our companies are recognizable names like Citibank, Chevron and Ford that have been here for decades and continue to believe Thailand is the right place to be.
But many others have come here recently or have recently expanded their operations in Thailand. A US-based advanced materials company recently chose Thailand as the location to establish a new manufacturing complex, after analyzing 24 different options in the region. Guardian Glass, a global leader in energy-efficient glass for buildings, automotive and other sectors, has produced glass in Thailand since 1991; Guardian, which chose to establish its regional Asia-Pacific Headquarters in Bangkok last year, was attracted to Thailand because of its strong reputation for welcoming foreign investors, growing domestic economy, and location as a platform for global exports. Alliance Laundry also opened its latest international factory in Thailand last year, basing its decision on the advanced transportation infrastructure available in the Eastern Economic Corridor (EEC), attractive investment incentives, and competitive edge that Thailand’s record of protecting intellectual property gave it over other countries in the region. Another company, Seagate, with a presence in Thailand for more than 30 years, today works with Thai universities to develop local engineering and technical skills that help the company maintain its position as a global leader in the manufacture of high-tech hard drives and other cutting-edge data storage products.
When I speak to these companies about why they chose Thailand they tell me it is because of the Safe, Reliable and Secure nature of manufacturing in Thailand while also being competitive with other locations in Asia in the cost of land, labor and living. As an example, average monthly manufacturing wages in Thailand are more than 50% lower than in China according to the most recent available data. Also, establishing operations in Thailand is simple. In February, Thailand was ranked Number 1 by U.S. News and World Report’s 2020 survey of the best countries in which to start a business. It based this ranking on five attributes: affordability, bureaucracy, low manufacturing costs, connectivity, and access to capital. Thailand is also renowned for the quality of its health care system, which has performed admirably during the COVID-19 pandemic, as well as its range of world-class international schools. It has some of the most diverse and beautiful cultural and tourist sites in the world. And the food speaks for itself. It is simply a wonderful place to live, both for individuals and for families.
Thailand has demonstrated its business-friendly regulation through its handling of the COVID-19 pandemic. U.S. businesses in Thailand have been uniform in their praise of the Royal Thai Government’s flexibility in allowing manufacturing facilities to continue uninterrupted while Thailand implemented otherwise stringent public health limitations to flatten the curve of infections. U.S. businesses have similarly appreciated the efforts of the Royal Thai Government to provide advance notice of restrictions which permitted appropriate contingency planning. In these areas, the Kingdom of Thailand has been a stand-out among countries in Asia.
I also want to commend the Royal Thai Government for assistance and support of Thailand’s Board of Investment and the incentives available in the Eastern Economic Corridor (EEC) which have been critical in attracting companies to locate their manufacturing activities in Thailand. Companies in the EEC have taken advantage of its proximity to Laem Chabang, the fourth largest port on the Asian continent, to export goods to the ASEAN regional market and beyond.
Since I was chosen as the first United States Ambassador to the Kingdom of Thailand to come from the private sector, I have engaged extensively with American and Thai businesses on how we can strengthen the U.S.-Thai economic partnership. At this pivotal moment in history, as the world grapples with the outcomes of the COVID-19 pandemic, the United States wants to ensure that Thailand seizes the share of global supply chains that it deserves.
Thailand can help achieve this by broadcasting to the international business community its continued commitment to free enterprise, fair trade, open markets, transparency, and honest business practices. It can also bolster the attractiveness of its labor force by doing many of the things we are trying to do in the United States: Strengthen vocational schools programs; reform curricula to focus on science, technology, engineering and math (STEM) skills; offer job retraining and “lifelong learning” to improve the skills of those already in the workforce.
For those jobs that require special expertise that might not be in adequate supply locally, Thailand should allow companies to hire foreign nationals with special expertise. Doing so will facilitate transfers of advanced knowledge to Thai citizens and broaden the pool of Thais with skills in high demand, enabling Thais, rather than foreigners, to fill such jobs in the future.
Thailand can take advantage of the necessary pivot to telework and digital business that occurred during the coronavirus response. Thailand should support and enable greater digital business across all sectors of the economy, from finance to agriculture, and secure that business with strong cyber security protocols. Protecting companies from cyber theft will also highlight Thailand’s advantages over countries that are the source of such attacks. Thailand can also demonstrate its commitment to facilitating digital business by joining the APEC Cross Border Privacy Rules System to enable the free flow of data and ensure protection of personal information.
Finally, Thailand can maintain and further develop diversified sources of energy and ensure cost-effective and full utilization of transmission capacity to supply reliable, affordable energy domestically. Thailand has a great opportunity with one of the largest undeveloped natural gas fields in the Gulf of Thailand to provide very inexpensive natural gas for many generations to come. Also, in the short term, efforts to develop Thailand into a hub for the trading and transport of energy in the region would contribute substantially to the long term stability and affordability of energy supply to Thailand’s economy.
“The business of America is business” said President Calvin Coolidge. In this day when free enterprise is once again pitted against state-dominated economies, it is important to remember the power of American free enterprise. I would close by quoting the first U.S. President to visit Thailand. President Ulysses S. Grant commented on his visit to Thailand in 1879; “I have never seen anything that interested me more than [Thailand].” I echo the words of President Grant and emphasize that the Kingdom of Thailand remains open for business during these challenging times and Thailand is a safe, reliable and secure place to locate a company’s supply chain. I look forward to collaborating with the Royal Thai Government and Thai companies to further strengthen the U.S.-Thai economic and commercial relationship that has flourished so well since its beginnings in the 1800s.
(The Thai version of this Op-Ed was originally published in Prachachart Turakij newspaper on May 23, 2020.)
By U.S. Embassy Bangkok | 23 May, 2020 | Topics: Ambassador, Commercial Affairs, News, Press Releases | Tags: Ambassador DeSombre's Op-Eds, Op-Ed, Op-Ed by the Ambassador | Safe, Reliable, Secure and Cost-Effective Supply Chains Belong in Thailand | ไทยเหมาะเป็นที่ตั้งของห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ มั่นคง และคุ้มค่าการลงทุน |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-mission-thailand-support-to-fire-response-in-northern-thailand-050820-th/ | หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยร่วมสนับสนุนภารกิจดับไฟป่าในภาคเหนือ
เนื่องในสัปดาห์แห่งการตระหนักรู้เรื่องคุณภาพอากาศ สหรัฐอเมริกาบริจาควัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดับไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่ที่ส่งผลให้คุณภาพอากาศทางภาคเหนืออยู่ในระดับอันตราย
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์จากคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (จัสแมกไทย) ให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติและสถานีควบคุมไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่ โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วยเลื่อยไฟฟ้า ชุดเครื่องมือดับไฟป่า และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 9,000 เหรียญสหรํฐ (ประมาณ 291,000 บาท) เพื่อใช้ในภารกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ ฌอน โอนีลล์ เป็นผู้แทนส่งมอบอุปกรณ์ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์
การส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ครั้งล่าสุดนี้ของสหรัฐอเมริกาเพื่อช่วยเหลือประเทศไทยในฐานะพันธมิตรในการดับไฟป่าในภาคเหนือและลดปัญหามลพิษทางอากาศ ในปี 2562 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ส่งมอบวัสดุอุปกรณ์มูลค่าประมาณ 15,000 เหรียญสหรัฐ (485,000) บาทให้แก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดับไฟป่าในเชียงใหม่เพื่อช่วยดับไฟป่าในภาคเหนือ โดยไฟป่านั้นได้คุกคามชีวิต พื้นที่ทางการเกษตร ป่าธรรมชาติและสัตว์ป่า ตลอดจนก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศไปทั่วทั้งภาคเหนือ
“สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่มีความภูมิใจที่ได้สนับสนุนความพยายามของเพื่อนและเพื่อนร่วมงานชาวไทยของเราที่ต่อสู้กับไฟป่าทั่วทั้งภาคเหนือ” กงสุลใหญ่ฌอน โอนีลล์กล่าว “เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครผู้กล้าหาญเหล่านี้ได้เอาชีวิตตัวเองเข้าเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจากไฟป่าที่มีต่อคุณภาพอากาศและสุขภาพของทุกคนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ พวกเรารู้สึกขอบคุณในสิ่งที่พวกเขาได้ทำ”
“ในนามจังหวัดเชียงใหม่ ผมขอขอบคุณรัฐบาลสหรัฐอเมริกาสำหรับการส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ดับไฟป่าในวันนี้ โดยการส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวแสดงถึงมิตรภาพระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี และขอขอบคุณที่เป็นมิตรกับภาคเหนือของไทยมาตลอด 70 ปี อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยปกป้องชีวิตของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดับไฟป่าที่ทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพอากาศให้แก่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ขอบคุณครับ” ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์กล่าว
ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศของเชียงใหม่โดยสำนักงานคุ้มครองสภาพแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา คำนวณจากข้อมูลมลพิษทางอากาศที่ได้จากเครื่องวัดที่รัฐบาลไทยเป็นเจ้าของและบำรุงรักษา สามารถดูข้อมูลดังกล่าวได้จากเว็บไซต์ของสถานทูตสหรัฐอเมริกาที่ https://th.usembassy.gov/air-quality-index-aqi
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับสัปดาห์แห่งการตระหนักรู้เรื่องคุณภาพอากาศที่ริเริ่มโดยสำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ สามารถดูได้ที่: https://www.airnow.gov/aqaw/
ดาวน์โหลดรูปถ่ายความละเอียดสูงได้ที่ https://photos.app.goo.gl/GpSAoCnd3B9VqpFV9
โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 8 พฤษภาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์, เอกสารข่าว | U.S. Mission Thailand Support to Fire Response in Northern Thailand
In recognition of Air Quality Awareness Week, The United States is donating supplies to assist firefighters and volunteers in Chiang Mai province battling blazes that have contributed to hazardous air quality in northern Thailand.
On May 8, the U.S. Consulate General in Chiang Mai donated equipment and materials supplied by the Joint U.S. Military Advisory Group Thailand (JUSMAGTHAI) to national park and fire station personnel in Chiang Mai. The contribution includes chainsaws, firefighting gear, and other equipment with a total value of approximately 9,000 USD (291,000 THB) to meet immediate and future needs. Consul General Sean K. O’Neill presented the equipment to Governor of Chiang Mai Charoenrit Sanguansat.
This is America’s latest contribution to help its Thai allies fight fires in northern Thailand and the air pollution they cause. In 2019, the U.S. government also donated approximately 15,000 USD (485,000 THB) to firefighters and volunteers in Chiang Mai to help fight last year’s fires in northern Thailand. The fires threaten lives, agricultural land, natural forests, and wildlife, as well as causing air pollution throughout the region.
“The U.S. Consulate General in Chiang Mai is proud to support the efforts of our Thai friends and colleagues as they fight fires throughout northern Thailand,” said Consul General Sean O’Neill. “These brave men and women put their lives on the line to reduce the impact these fires have on the air quality and health of those who live in northern Thailand. We are grateful for their work.”
“I would like to thank the U.S. government for the firefighting equipment donated today. The donation demonstrates over 200 years of friendship between the U.S. and Thailand and thank you for being a great friend to northern Thailand for the past 70 years. This equipment will help protect our firefighters and volunteers as they work to improve the air quality for the people of Chiang Mai. Thank you,” said Governor of Chiang Mai Charoenrit Sanguansat.
Information regarding the U.S. Environmental Protection Agency’s Air Quality Index for Chiang Mai is calculated based on air pollution data captured by monitors owned and maintained by the Royal Thai government. It is shared through the U.S. Embassy website: https://th.usembassy.gov/air-quality-index-aqi/.
For more information on the U.S. Environmental Protection Agency’s Air Quality Awareness Week, please visit: https://www.airnow.gov/aqaw/
Download high resolution photos here: https://photos.app.goo.gl/GpSAoCnd3B9VqpFV9
By U.S. Consulate Chiang Mai | 8 May, 2020 | Topics: Chiang Mai, Events, News, Press Releases, U.S. & Thailand | U.S. Mission Thailand Support to Fire Response in Northern Thailand | หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยร่วมสนับสนุนภารกิจดับไฟป่าในภาคเหนือ |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-provides-additional-covid-19-support-to-increase-thailands-case-identification-rapid-response-th/ | สหรัฐอเมริกามอบความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ประเทศไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการค้นหาผู้ติดเชื้อและการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับเผยแพร่ทันที
กรุงเทพฯ ประเทศไทย 28 เมษายน 2563 —รัฐบาลสหรัฐฯ ผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) มอบความช่วยเหลือเพิ่มเติมมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อบรรเทาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ภายใต้การประสานงานกับรัฐบาลไทย USAID จะทำงานร่วมกับองค์กรท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนประเทศไทยในการควบคุมการระบาดของโรคดังกล่าว
“เรารู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในสัมพันธภาพที่ยาวนานระหว่างสหรัฐฯ และประเทศไทย โดยเห็นได้ชัดเจนจากความร่วมมือด้านสาธารณสุขของทั้งสองประเทศที่ยาวนานถึง 70 ปี ที่เป็นรากฐานให้สหรัฐฯ เพิ่มความช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญแก่ประเทศไทยในการจัดการความท้าทายจากโรคโควิด-19” เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี กล่าว
จนถึงปัจจุบัน USAID ได้มอบความช่วยเหลือมากกว่า 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนประเทศไทยในการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมในครั้งนี้ USAID จะสนับสนุนการดำเนินงานดังต่อไปนี้
· การสื่อสารผ่านโครงการรณรงค์ระดับประเทศเพื่อให้ความรู้แนวทางในการป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแก่ประชาชน โดยมุ่งเน้นไปยังชุมชนผู้ย้ายถิ่นฐาน
· การเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมและการป้องกันการติดเชื้อ
· การเตรียมความพร้อมระบบห้องปฏิบัติการและการสนับสนุนด้านการตรวจวินิจฉัยเพื่อให้สามารถตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว
· การค้นหาผู้ติดเชี้อและการเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับโรคโควิด-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
“เราขอแสดงความขอบคุณต่อ USAID ผู้เป็นพันธมิตรที่ดีของเรา สำหรับความช่วยเหลือในครั้งนี้” นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป และผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโรคโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าว “เรากำลังก้าวไปด้วยกันในฐานะผู้นำด้านความเป็นเอกภาพและความร่วมมือ ความร่วมมือของเราถือเป็นก้าวที่สำคัญในการต่อสู้กับโรคโควิด-19”
USAID ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยในการดำเนินงานโครงการด้านสาธารณสุขต่าง ๆ โดยทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาล และนักวิจัย เพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชนชาวไทย ตัวอย่างเช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากโครงการการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีที่ดำเนินการโดยรัฐบาลไทย โดยร่วมมือกับพันธมิตรชุมชนท้องถิ่นและได้รับการสนับสนุนจากแผนฉุกเฉินของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเพื่อบรรเทาปัญหาเอดส์ (PEPFAR) นอกจากนี้ โครงการพิเศษเพื่อต่อต้านโรคมาลาเรียภายใต้ความริเริ่มของประธานาธิบดี (President’s Malaria Initiative) นำโดย USAID ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย ช่วยชีวิต และขับเคลื่ิอนประเทศไทยเพื่อขจัดเชื้อมาลาเรียให้หมดสิ้นไปภายในปี 2567 สหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วย USAID สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (Armed Forces Research Institute of Medicinal Sciences – AFRIMS) และ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. Centers for Disease Control and Prevention – U.S. CDC) จะยังคงดำเนินงานบนรากฐานของพันธมิตรที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างสหรัฐฯ และรัฐบาลไทย เพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำระดับโลกในการให้ความช่วยเหลือแบบทวิภาคีในด้านสาธารณสุขมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ นับตั้งแต่ปี 2552 ผู้เสียภาษีชาวอเมริกันได้สนับสนุนความช่วยเหลือในด้านสาธารณสุขกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และด้านมนุษยธรรม อีกเกือบ 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากภัยจากโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่งสามารถกลายเป็นภัยในทุก ๆ ที่ สหรัฐฯ จึงขอความร่วมมือจากผู้บริจาครายอื่น ๆ ให้ช่วยสนับสนุนความพยายามในระดับโลกในการต่อสู้กับโรคโควิด-19
ความร่วมมือด้านสาธารณสุขของสหรัฐฯ ในประเทศไทย
ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1is-scOkC1Wf456I-MCgLBMf0Xn4JTznE
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานของ USAID ในการรับมือกับโรคโควิด-19 กรุณาเยี่ยมชม https://www.usaid.gov/coronavirus-covid-19
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
โจเซฟ ทรัง
เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการสื่อสารระดับภูมิภาค
องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นเอเชีย (USAID/RDMA)
อีเมล: JoTruong@usaid.gov
เว็บไซต์: https://www.usaid.gov/asia-regional
วิรพร ศรีสุวรรณวัฒนา
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร
องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นเอเชีย (USAID/RDMA)
อีเมล: wsrisuwanwattana@usaid.gov
เว็บไซต์: https://www.usaid.gov/asia-regional
โดย U.S. Embassy Bangkok | 30 เมษายน, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | U.S. Provides Additional Covid-19 Support to Increase Thailand’s Case Identification, Rapid Response
FOR IMMEDIATE RELEASE
BANGKOK, THAILAND, April 28, 2020 – The United States Government, through the U.S. Agency for International Development (USAID), has committed an additional $1.5 million to mitigate the spread of the COVID-19 outbreak in the Kingdom of Thailand. In coordination with the Royal Thai Government, USAID will partner with local and international organizations to increase its support to curb the pandemic.
“We are extraordinarily proud of the enduring relationship between the United States and the Kingdom of Thailand, marked by 70 years of health cooperation, which we are now building upon as the U.S significantly increases assistance in Thailand to address the challenges of COVID-19,” said U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre.
USAID has provided more than $2.7 million to help Thailand respond to the COVID-19 outbreak to date. Through this additional assistance, USAID will support:
Communications to help educate citizens on steps they can take to prevent and respond to the spread of the virus through country-specific media campaigns, focusing especially on migrant communities.
Enhanced infection prevention and control capacities.
Laboratory system preparedness and diagnostic support for rapid detection of COVID-19 cases.
Case-finding and event-based surveillance for COVID-19 to minimize the risk of onwards transmission to others.
“We would like to express our warmest thanks to USAID, our great partner, for this generous support,” said Dr. Sopon Iamsirithaworn, Director of Thailand’s Ministry of Public Health’s Division of Communicable Diseases and the COVID-19 Incident Commander of the Emergency Operations Center. “We are walking together along the way as champions of unity and collaboration. Our actions are overarching steps in fighting against COVID-19.”
USAID coordinates closely with the Royal Thai Government on health programs, working with doctors, nurses, and researchers to improve the health of the people of Thailand. For example, the HIV/AIDS epidemic in Thailand declined dramatically over the past two decades due to successful HIV prevention and treatment programs implemented by the Royal Thai Government in partnership with local communities, and with the support from the U.S. President’s Emergency Plan for AIDS Relief (PEPFAR). In addition, the President’s Malaria Initiative, led by USAID, continues to partner with the Royal Thai Government to reduce malaria mortality in Thailand, saving lives and moving Thailand towards malaria elimination by 2024. The United States, including USAID, the Armed Forces Research Institute of Medicinal Sciences, and the Centers for Disease Control and Prevention, will continue to build on its long partnership with the Royal Thai Government to advance human health.
For decades, the United States has been the world’s largest provider of bilateral assistance in public health. Since 2009, American taxpayers have generously made available more than $100 billion dollars in health assistance and nearly $70 billion in humanitarian assistance globally. Because an infectious disease threat anywhere can become a threat everywhere, the United States calls on other donors to contribute to the global effort to combat COVID-19.
U.S. Partnership on Public Health in Thailand
Download high resolution graphic here https://drive.google.com/drive/folders/1is-scOkC1Wf456I-MCgLBMf0Xn4JTznE
For more information about USAID’s response to COVID-19, please visit: https://www.usaid.gov/coronavirus-covid-19
Media Contact
Joseph Truong
Supervisory Regional Development Outreach and Communications Specialist
USAID Regional Development Mission for Asia (USAID/RDMA)
E-mail: JoTruong@usaid.gov
Website: https://www.usaid.gov/asia-regional
Wiraporn Srisuwanwattana
Development Outreach and Communications Specialist
USAID Regional Development Mission for Asia (USAID/RDMA)
E-mail: wsrisuwanwattana@usaid.gov
Website: https://www.usaid.gov/asia-regional
By U.S. Embassy Bangkok | 30 April, 2020 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: COVID-19, USAID | U.S. Provides Additional Covid-19 Support to Increase Thailand’s Case Identification, Rapid Response | สหรัฐอเมริกามอบความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ประเทศไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการค้นหาผู้ติดเชื้อและการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างรวดเร็ว |
https://th.usembassy.gov/th/the-united-states-and-asean-are-partnering-to-defeat-covid-19-build-long-term-resilience-and-support-economic-recovery-th/ | สหรัฐอเมริกาและอาเซียนร่วมมือกันเอาชนะโรคโควิด-19 สร้างการฟื้นตัวในระยะยาว และส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
แถลงการณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ
วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563
บรรดาสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของเรามายาวนาน ดังที่เราร่วมมือกันรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และวางแผนสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เราให้คำมั่นว่าจะคงความร่วมมือกับอาเซียน เพื่อเอาชนะการแพร่ระบาดครั้งนี้ และจะกลับมาร่วมกันสร้างอนาคตที่สดใสให้ภูมิภาคนี้ต่อไป
สหรัฐฯ ขอขอบคุณหุ้นส่วนในอาเซียนของเราที่ช่วยสนับสนุนอย่างมากในการลำเลียงเวชภัณฑ์ที่จำเป็นไปยังสหรัฐฯ ให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่เที่ยวบินรับส่งบุคคลกลับภูมิลำเนาของเรา ตัวอย่างเช่น เวียดนามเร่งขั้นตอนการอนุญาตเที่ยวบินเช่าเหมาลำเพื่อขนส่งชุดป้องกันส่วนบุคคลจำนวน 2.2 ล้านชุดไปยังสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะมีการขนส่งชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เพิ่มเติมในอีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน มาเลเซียได้อำนวยความสะดวกในการจัดส่งถุงมือสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุขในสหรัฐฯ กว่า 1.3 ล้านกิโลกรัมอย่างรวดเร็วฉับไว อีกทั้งกัมพูชายังช่วยชาวอเมริกันจากเรือสำราญเวสเตอร์ดัมให้เดินทางกลับประเทศโดยสวัสดิภาพด้วย
สหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าให้การสนับสนุนอย่างล้นหลามแก่ชาติสมาชิกอาเซียนเพื่อช่วยรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 สหรัฐฯ ขอเรียกร้องให้ทุกประเทศเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างครบถ้วนโปร่งใส ความโปร่งใสช่วยรักษาชีวิตคนขณะที่การปกปิดข้อมูลนำพาชีวิตสู่ความเสี่ยง ในการประชุมครั้งนี้ ผมมีความยินดีที่ได้ประกาศโครงการ U.S.-ASEAN Health Futures ซึ่งมุ่งยกระดับการดำเนินงานความมั่นคงด้านสุขภาพผ่านการศึกษาวิจัย การสาธารณสุข และการอบรมบุคลากรด้านสาธารณสุขของอาเซียน จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ได้จัดสรรทุนช่วยเหลือฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกว่า 35.3 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยประเทศสมาชิกอาเซียนต่อสู้กับไวรัสชนิดนี้ โดยเพิ่มเติมจากความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐตลอดทั่วอาเซียนในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ สหรัฐฯ ขอเรียกร้องให้ทางการที่เกี่ยวข้องใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การลำเลียงบริการและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมถึงผู้พลัดถิ่นอันเนื่องมาจากความรุนแรงภายในเมียนมา สหรัฐฯ ขอให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกับสหประชาชาติและองค์การด้านมนุษยธรรมเพื่อให้ความช่วยเหลือส่งถึงชาวโรฮีนจาและผู้พลัดถิ่นกลุ่มอื่นๆ
สหรัฐฯ พร้อมนำทุกเครื่องมือที่มีมาใช้เพื่อที่จะจำกัดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดใหญ่ครั้งนี้พร้อมกับฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เราเริ่มต้นจากรากฐานอันเข้มแข็งมั่นคงด้วยการค้าสองทางมูลค่า 294,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของสหรัฐฯ ในประเทศสมาชิกอาเซียนมูลค่า 273,000 ล้านเหรียญสหรัฐ บรรษัทการเงินเพื่อการพัฒนาของสหรัฐฯ (U.S. Development Finance Corporation) ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั่วภูมิภาค โครงการระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Single Window) ที่องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) สนับสนุนนั้น ช่วยเพิ่มความสะดวกในการปรับใช้การค้าแบบปราศจากการสัมผัส (contactless) ในวงกว้างขึ้นทั่วอาเซียน โครงการ U.S.-ASEAN Internship Program ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการเปิดรับตำแหน่งต่างๆ ในบริษัทใหญ่หลายแห่งของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ โครงการ U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนสหรัฐฯ ด้านโซลูชันเมืองอัจฉริยะและเศรษฐกิจดิจิทัล สหรัฐฯ ยึดมั่นรักษาการลงทุนระยะยาวของเราในความช่วยเหลือด้านวิชาการทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ผ่านโครงการทวิภาคีของ USAID ในประเทศสมาชิกอาเซียน อันได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม
เมื่อพิจารณาความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างสัตว์ป่าผิดกฎหมายที่ขายในตลาดสดกับโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนแล้วนั้น สหรัฐฯ ขอเรียกร้องให้สาธารณรัฐประชาชนจีนปิดตลาดสดค้าสัตว์ป่ารวมถึงตลาดทั้งหมดที่ขายสัตว์ป่าผิดกฎหมายเป็นการถาวร ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลชาติอาเซียนทุกประเทศดำเนินการเช่นเดียวกันด้วย
แม้ในยามที่ต่อสู้กับโรคระบาดนี้ เรายังคงต้องระลึกว่าภัยคุกคามระยะยาวต่อความมั่นคงร่วมกันของเรายังไม่หายจากไปแต่อย่างใด อันที่จริง ภัยคุกคามเหล่านี้กลับยิ่งปรากฏชัดขึ้น รัฐบาลจีนเคลื่อนไหวโดยอาศัยประโยชน์จากเหตุเบี่ยงเบนความสนใจนี้ ตั้งแต่การออกประกาศฝ่ายเดียวครั้งใหม่เพื่อสถาปนาเขตการปกครองเหนือหมู่เกาะและพื้นที่ทางทะเลในข้อพิพาททะเลจีนใต้ ทั้งจมเรือประมงเวียดนามเมื่อต้นเดือนนี้ และตั้ง “สถานีวิจัย” หลายแห่งบนแนวเกาะปะการังเฟียรี ครอส รีฟ (Fiery Cross Reef) และซูบี รีฟ (Subi Reef) สาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงวางกำลังติดอาวุธบริเวณรอบหมู่เกาะสแปรตลี (Spratly Islands) โดยล่าสุดได้ส่งกองเรือที่มีเรือสำรวจแหล่งพลังงานลงพื้นที่ด้วยจุดประสงค์เดียวคือเพื่อข่มขวัญผู้อ้างกรรมสิทธิ์รายอื่นไม่ให้เข้ามาพัฒนากิจการไฮโดรคาร์บอนนอกชายฝั่ง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเน้นย้ำถึงการกระทำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่แสวงประโยชน์จากช่วงเวลาที่โลกมุ่งความสนใจไปยังวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 โดยดำเนินพฤติกรรมยั่วยุอย่างต่อเนื่อง พรรคคอมมิวนิสต์จีนแสดงอำนาจทางการทหารและข่มขู่ประเทศเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้ถึงขั้นจมเรือประมงเวียดนาม สหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการกระทำรุกรานของจีน และหวังว่าชาติอื่นจะเห็นว่าจีนควรรับผิดชอบต่อการกระทำนี้เช่นกัน
สหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อรายงานทางวิทยาศาตร์ที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการเขื่อนต้นน้ำของทางการจีนได้เปลี่ยนแปลงกระแสการไหลของแม่น้ำโขงโดยเป็นการกระทำแต่ฝ่ายเดียว รายงานฉบับดังกล่าวพบว่าการบริหารงานเขื่อนลักษณะนี้ทำให้ประเทศลุ่มน้ำโขงได้รับปริมาณน้ำลดลงมาเป็นเวลาหลายปี โดยในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาได้ส่งผลรุนแรงยิ่งต่อผู้คนกว่า 60 ล้านคนที่พึ่งพาอาศัยแม่น้ำโขงทั้งด้านอาหาร พลังงาน และการคมนาคมขนส่ง
ประวัติศาสตร์สายสัมพันธ์ระหว่างผู้คนนับพันล้านในอเมริกาและอาเซียนเป็นเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจในเชิงบวก พวกเราเคยเผชิญความท้าทายร่วมกันมาแล้ว พวกเราได้ร่วมมือกันช่วยให้ประชาชนของเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยและมั่งคั่งยิ่งขึ้น เรามุ่งมั่นดำเนินการต่อไปในการสร้างอนาคตบนพื้นฐานแห่งหลักการอันจริงแท้ที่ได้พิสูจน์แล้ว อันเป็นหลักการที่เรายึดถือร่วมกัน นั่นคือความเป็นแกนกลางของอาเซียน ความเปิดเผย ความโปร่งใส กรอบการดำเนินงานที่ยึดมั่นในกฎกติกา ธรรมาภิบาล และการเคารพอำนาจอธิปไตย
*การแปลนี้จัดทำขึ้นโดยความอนุเคราะห์และเฉพาะต้นฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้นที่ควรถือว่าเชื่อถือได้
โดย U.S. Embassy Bangkok | 27 เมษายน, 2020 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก | The United States and ASEAN Are Partnering To Defeat COVID-19, Build Long-Term Resilience, and Support Economic Recovery
PRESS STATEMENT
MICHAEL R. POMPEO, SECRETARY OF STATE
APRIL 22, 2020
Members of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) are enduring strategic partners as we respond to the COVID-19 pandemic and plan for economic recovery. We commit to continue our collaboration with ASEAN to beat this pandemic and get back to the business of building a bright future for the region together.
We thank our ASEAN partners for their valuable support in promoting the continued flow of vital medical supplies into the United States, as well as their support for our repatriation flights. For example, Vietnam expedited clearances for charter flights to deliver 2.2 million personal protective suits to the United States, and we expect more shipments of personal protective equipment (PPE) in the coming weeks. Additionally, since the beginning of April, Malaysia facilitated the speedy delivery of over 1.3 million kilograms of gloves for U.S. health care workers. Cambodia helped Americans safely return home from the Westerdam cruise ship.
The United States continues to provide generous support to ASEAN nations to assist them to respond to the COVID-19 pandemic. We urge all countries to embrace full and transparent information sharing. Transparency saves lives; suppression puts them at risk. During this meeting, I was pleased to announce the U.S.-ASEAN Health Futures initiative to enhance our efforts in health security through research, public health, and training the next generation of ASEAN health professionals. To date, the United States has released more than $35.3 million in emergency health funding to help ASEAN countries fight the virus, building on the $3.5 billion in public health assistance provided across ASEAN over the last twenty years.
We also urge authorities to take appropriate measures to facilitate the delivery of humanitarian aid and services to the most vulnerable populations across the Indo-Pacific—including those displaced by violence inside Myanmar. We call for all to work with the United Nations and humanitarian organizations to make that happen for Rohingya and other displaced persons.
The United States is committed to using all available tools to minimize the economic and social damage from the pandemic and restore global growth. We start from a strong foundation with $294 billion in two-way goods trade in 2019 and $273 billion of U.S. Foreign Direct Investment across ASEAN countries. The Development Finance Corporation is investing in infrastructure projects across the region. The USAID-supported ASEAN Single Window is facilitating greater and greater contactless trade throughout ASEAN. The U.S.-ASEAN Internship Program continues to expand with openings at many of our biggest companies in the region. The U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership promotes U.S. private sector engagement in smart city solutions and the digital economy. We remain committed to sustaining our long-term investments in economic technical assistance and human capacity development through our bilateral USAID programs in the ASEAN member states of Cambodia, Indonesia, LAO PDR, Myanmar, the Philippines, Thailand, and Vietnam.
Given the strong link between illegal wildlife sold in wet markets and zoonotic diseases, the United States has called on the People’s Republic of China to permanently close its wildlife wet markets and all markets that sell illegal wildlife. I call on all ASEAN governments to do the same.
Even as we fight the outbreak, we must remember that the long-term threats to our shared security have not disappeared. In fact, they’ve become more prominent. Beijing has moved to take advantage of the distraction, from China’s new unilateral announcement of administrative districts over disputed islands and maritime areas in the South China Sea, its sinking of a Vietnamese fishing vessel earlier this month, and its “research stations” on Fiery Cross Reef and Subi Reef. The PRC continues to deploy maritime militia around the Spratly Islands and most recently, the PRC has dispatched a flotilla that included an energy survey vessel for the sole purpose of intimidating other claimants from engaging in offshore hydrocarbon development. It is important to highlight how the Chinese Communist Party (CCP) is exploiting the world’s focus on the COVID-19 crisis by continuing its provocative behavior. The CCP is exerting military pressure and coercing its neighbors in the SCS, even going so far as to sink a Vietnamese fishing vessel. The U.S. strongly opposes China’s bullying and we hope other nations will hold them to account too.
We expressed concerns over a scientific report showing that Beijing’s upstream dam operations have unilaterally altered flows of the Mekong. The report found that such operations significantly deprived the Mekong countries of water for years, with catastrophic results during the most recent dry season for the 60 million people who depend on the river for food, energy, and transportation.
The story of the ties between the billion people of America and ASEAN is an inspiring, positive one. We have faced shared challenges before. Together, we’ve made our people safer and more prosperous. We commit to continue to build for the future based upon the tried and true principles that we share – ASEAN centrality, openness, transparency, a rules-based framework, good governance, and respect for sovereignty.
By U.S. Embassy Bangkok | 27 April, 2020 | Topics: East Asia & Pacific, News, Press Releases, U.S. Secretary of State | Tags: COVID-19, Health | The United States and ASEAN Are Partnering To Defeat COVID-19, Build Long-Term Resilience, and Support Economic Recovery | สหรัฐอเมริกาและอาเซียนร่วมมือกันเอาชนะโรคโควิด-19 สร้างการฟื้นตัวในระยะยาว และส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-asean-health-futures-th/ | โครงการ U.S.-ASEAN Health Futures
เอกสารข้อเท็จจริง
สำนักงานโฆษก
วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563
วันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ไมเคิล ปอมเปโอ เปิดตัวโครงการ U.S.-ASEAN Health Futures ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานด้านสาธารณสุขร่วมกับอาเซียนทั้งที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและที่ดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อวางรากฐานสำหรับความร่วมมือระยะยาวและการช่วยเหลืออย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งกลับมาให้ความสำคัญกับทรัพยากรขั้นพื้นฐานที่สุดของเรา นั่นคือสุขภาพและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนรวมหนึ่งพันล้านคนในสหรัฐฯ และอาเซียน ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ลงทุนมูลค่ากว่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพภายใต้การดำเนินงานร่วมกับชาติสมาชิกอาเซียน แสดงถึงความร่วมมือระดับสำคัญบนแนวทางที่จริงจังและยั่งยืน เงินทุนนี้วางรากฐานสู่การสาธารณสุขที่เข้มแข็งตลอดทั่วภูมิภาคและเป็นพื้นฐานแห่งความร่วมมือของเราในอนาคต ความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ต่ออาเซียนยังคงมุ่งตอบสนองความต้องการของภูมิภาค โดยจากข้อมูลเมื่อวันที่ 22 เมษายน ความช่วยเหลือนี้รวมถึงเงินทุนฉุกเฉิน 35.3 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับช่วยเหลือชาติสมาชิกอาเซียนรับมือสถานการณ์โรคโควิด-19
สหรัฐฯ กับอาเซียนรุดหน้าไปสู่เป้าหมายร่วมกันหลายประการเพื่ออนาคตที่ดีด้านสาธารณสุขในหลากหลายสาขา เช่น การควบคุมเชื้อเอชไอวี/เอดส์และโรคติดเชื้ออื่นๆ การขยายการเข้าถึงน้ำที่ปลอดภัย การปรับปรุงโภชนาการตลอดจนสุขภาพแม่และเด็ก เราทั้งสองฝ่ายร่วมกันศึกษาวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านสาธารณสุขตลอดทั่วภูมิภาค และดำเนินงานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์รุ่นต่อไป นอกจากนี้ เรายังดำเนินการสำรวจโซลูชันด้านสุขภาพสำหรับเมืองอัจฉริยะผ่านโครงการ U.S-ASEAN Smart Cities Partnership อีกด้วย
การศึกษาวิจัย: องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานสู่การทำความเข้าใจและวินิจฉัยโรค ตลอดจนการพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ การศึกษาวิจัยร่วมของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่
โครงการวิจัยมากกว่า 1,000 โครงการในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งยังคงสถานะดำเนินการอยู่กว่า 300 โครงการ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับสถาบันวิจัยมากกว่า 20 แห่งภายใต้สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (National Institutes of Health)
ทุนวิจัยโดยตรงมากกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมอบให้แก่มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐบาล
การสนับสนุนการวิจัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การวิจัยสารฆ่าจุลชีพ (microbicide) การวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ ระบาดวิทยาของวัณโรค และการวิจัยทางคลินิกด้านโรคติดเชื้อ
ศักยภาพของระบบสาธารณสุข: ระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งมีความสำคัญยิ่งต่อการส่งเสริมให้พลเมืองมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ รวมถึงการรับมือภัยคุกคามและความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อุบัติขึ้นใหม่ การดำเนินงานพัฒนาศักยภาพร่วมกันในอาเซียน ได้แก่
ส่งเสริมระบบและบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและครอบคลุมสำหรับพลเมืองทุกคน โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบาง
สนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการวินิจฉัยและรักษาวัณโรค ความร่วมมือระหว่างองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองและการรักษาวัณโรค ทำให้ผู้ป่วยหลายพันรายทั่วอาเซียนได้รับการรักษาวัณโรคและวัณโรคดื้อยาอย่างเหมาะสม
ควบคุมการระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ปัจจุบัน ผู้ป่วยกว่า 150,000 คนได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (antiretroviral therapy) อันเป็นผลจากความพยายามร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และประเทศสมาชิกอาเซียน ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐฯ เวียดนามกำลังจะเป็นประเทศแรกภายใต้แผนการฉุกเฉินของประธานาธิบดีเพื่อบรรเทาปัญหาเอดส์ (President’s Emergency Plan for AIDS Relief) ที่มีแนวทางบริหารจัดการรับมือกับเชื้อเอชไอวี/เอดส์ของตนเองภายในสิ้นปี 2563 โดยอาศัยทรัพยากรภายในประเทศและการจัดสรรเงินทุนอย่างยั่งยืน
สานต่อการสนับสนุนแก่อาเซียนเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคและโรคมาลาเรียในภูมิภาค ดังเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยโรคมาลาเรียในลาวซึ่งลดลงร้อยละ 70 ตั้งแต่ปี 2557-2560 เป็นต้น
ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังโรคติดต่อระหว่างประเทศ (Global Disease Detection Operations Center) ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention) ติดตามและรายงานการระบาดและความเสี่ยงของการระบาดต่อชุมชนทั่วโลก เช่น การระบาดของโรคติดเชื้อ 44 รายการในอาเซียนระหว่างปี 2557–2562 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรค
USAID ร่วมกับสํานักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) พัฒนาระบบประสานงานภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (Public Health Emergency Coordination System) โดยผสานรวมกลไกอาเซียนที่มีอยู่แต่เดิม เช่น เครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินอาเซียน (ASEAN Emergency Operations Centre Network) ให้สามารถเตรียมพร้อมและรับมือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขอุบัติใหม่
การพัฒนาทุนมนุษย์ด้านสาธารณสุข: การพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเป็นส่วนสำคัญของเป้าหมายร่วมกันเพื่ออนาคตที่ดีด้านสุขภาพ โดยมีการดำเนินงานดังนี้
เครือข่าย U.S.-ASEAN Health Futures Alumni Network เป็นเครือข่ายใหม่ที่เปิดโอกาสให้นักวิชาการและอดีตผู้เข้าร่วมโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในอาเซียนกว่า 2,400 คนได้มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีและพบปะหารือกับผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ โดยตรง
สนับสนุนให้แพทย์ ผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข และนักเรียนนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ เรียนรู้จากประสบการณ์ความชำนาญของสหรัฐฯ ผ่านโครงการศึกษาแลกเปลี่ยนฟุลไบร์ท โครงการ International Visitor Leadership Program และโครงการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนอื่นๆ
ฝึกอบรมนักระบาดวิทยากว่า 1,300 คนจากทั่วอาเซียนให้สามารถติดตามโรค วิจัยการระบาด และตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข
สร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ระดับประเทศจำนวน 4 เครือข่ายและระดับภูมิภาค 1 เครือข่าย เพื่อเตรียมกำลังคนด้านสาธารณสุขให้พร้อมป้องกัน ตรวจหา และตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโรคติดเชื้อ เครือข่ายดังกล่าวฝึกอบรมนักศึกษาและบุคลากรสาธารณสุขมาแล้วกว่า 10,000 คนนับตั้งแต่ปี 2557
ส่งเสริมการดูแลสุขภาพทางไกลและระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้องค์กรปกครองระดับเมืองและบุคลากรสาธารณสุขสามารถให้บริการและส่งต่อข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
*การแปลนี้จัดทำขึ้นโดยความอนุเคราะห์และเฉพาะต้นฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้นที่ควรถือว่าเชื่อถือได้
โดย U.S. Embassy Bangkok | 27 เมษายน, 2020 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข้อเท็จจริง | U.S.-ASEAN Health Futures
FACT SHEET
OFFICE OF THE SPOKESPERSON
APRIL 22, 2020
Today, Secretary Pompeo launched the U.S.-ASEAN Health Futures initiative. Health Futures captures our existing and ongoing work with ASEAN on public health and lays the groundwork for long-term partnership, targeted assistance, and a renewed focus on our most fundamental resource – the health and wellbeing of our combined one billion people. Over the last 20 years, the United States has invested over $3.5 billion in shared health goals in collaboration with ASEAN nations, representing a historic level of engagement in a serious and sustained way. This funding lays the foundation for strong public health throughout the region and is the basis for our engagement going forward. Our assistance to ASEAN continues to be responsive to the region’s needs, including as of April 22, $35.3 million in emergency funding for ASEAN Member States to combat COVID-19.
We have advanced our shared goals for a healthy future in a wide variety of fields, including HIV/AIDS and other infectious disease control, expanding safe water access, and improving nutrition and maternal and child health. Together, we are conducting joint health research, strengthening health capacity across the region and working to develop the next generation of human capital. We are also exploring smart city health solutions through the U.S-ASEAN Smart Cities Partnership.
RESEARCH:Scientific knowledge is fundamental to understanding and diagnosing disease, and the development of new therapeutics. Joint research in the ASEAN region includes:
More than 1,000 research projects over the last ten years, including 300+ active research projects in collaboration between ASEAN members and 20+ institutes at the U.S. National Institutes of Health;
Over $30 million in direct research funding over the last ten years to universities and government research institutions;
Support for HIV prevention trials, microbicide trials, AIDS clinical trials, tuberculosis epidemiology, and infectious disease clinical trials.
HEALTH SYSTEM CAPACITY:Strong health systems are critical to supporting a vibrant, healthy citizenry and addressing emerging health risks and threats. Collaborative capacity building in ASEAN includes:
Supporting quality health care, services, and coverage for all citizens, especially the most vulnerable;
Fostering public-private partnerships to promote healthy populations, especially in the area of diagnosis and treatment of tuberculosis. Public-private partnerships between USAID and U.S. companies have enabled better detection and treatment of tuberculosis, enabling thousands of patients across ASEAN to start appropriate treatments for tuberculosis and drug-resistant tuberculosis;
Controlling the HIV/AIDS epidemic. Over 150,000 patients are now on antiretroviral therapy due to joint efforts between the United States and ASEAN countries. With U.S. support, Vietnam is on track to become the first President’s Emergency Plan for AIDS Relief country to achieve full ownership of its HIV/AIDS response by the end of 2020 by mobilizing domestic resources and ensuring sustainable financing;
Sustained support to ASEAN to reduce tuberculosis and malaria in the region. For example, the number of cases of malaria in Laos dropped 70 percent from 2014 to 2017;
The Centers for Disease Control and Prevention’s Global Disease Detection Operations Center monitors and reports on outbreaks and their risk to communities around the world, including 44 infectious disease outbreaks across ASEAN from 2014-2019, reducing the risk of further spread;
USAID is working with the ASEAN Secretariat to develop a Public Health Emergency Coordination System, bringing together existing ASEAN mechanisms, such as the ASEAN Emergency Operations Centre Network, to prepare for and respond to emerging public health emergencies.
DEVELOPING HUMAN CAPITAL IN HEALTH:Fostering the next generation of health care professionals is a critical part of our shared goals for a healthy future. Efforts include:
Through the newly launched U.S.-ASEAN Health Futures Alumni Network, we are connecting 2,400 ASEAN medical and public health visiting scholar and program alumni to share best practices and directly engage with U.S. experts;
Supporting ASEAN physicians, public health trainees, and science students to learn from U.S. expertise through Fulbright educational exchanges, the International Visitor Leadership Program, and other citizen exchanges;
Training more than 1,300 disease detectives across ASEAN to track diseases, research outbreaks, and respond to health emergencies;
Creating One Health university networks (four country-specific, one regional) to prepare health workforces to prevent, detect, and respond to the threat of infectious diseases, which have trained more than 10,000 students and professionals since 2014.
Promoting telehealth and e-records to help cities and healthcare professionals deliver services and information efficiently.
By U.S. Embassy Bangkok | 27 April, 2020 | Topics: East Asia & Pacific, Fact Sheets, News, Press Releases, U.S. Secretary of State | Tags: COVID-19, Health | U.S.-ASEAN Health Futures | โครงการ U.S.-ASEAN Health Futures |
https://th.usembassy.gov/th/saving-the-mekong-the-economic-lifeblood-of-an-entire-region-th/ | รักษ์แม่โขง: สายโลหิตทางเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงทั้งภูมิภาค
บทความแสดงความคิดเห็นโดย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี
ผมได้ยินถึงความงามของแม่น้ำโขงครั้งแรกเมื่อนานมาแล้วก่อนที่จะย้ายมาอยู่เอเชีย ชาวอเมริกันและชาวไทยต่างให้ความเคารพแม่น้ำในประเทศของเราเหมือนกัน ผมเติบโตขึ้นใกล้กับแม่น้ำมิสซิสซิปปี ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในขนบประเพณีของอเมริกา และเป็นเส้นชีวิตทางเศรษฐกิจตลอดประวัติศาสตร์ของเรา ในภาษาของชนพื้นเมืองอเมริกันที่ตั้งชื่อแม่น้ำสายนี้ “มิสซิสซิปปี” หมายถึง “บิดาแห่งสายน้ำ” ส่วนคำว่า “แม่น้ำ” ในภาษาไทย หมายถึง “มารดาแห่งสายน้ำ” อันสะท้อนถึงสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราทั้งสอง
แม่น้ำโขงไม่ใช่สมบัติของประเทศใดประเทศหนึ่ง แม่น้ำโขงไหลผ่านจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ทั้งยังนำมาซึ่งธาตุอาหารและแหล่งดำรงชีวิต ตะกอนในแม่น้ำโขงหล่อเลี้ยงปลาในท้องน้ำ และสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินริมฝั่งแม่น้ำ ฝูงปลาและผืนดินนั้นเองก็หล่อเลี้ยงผู้คนจำนวน 70 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
เมื่อปีที่ผ่านมา ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่างประสบภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบทศวรรษ และแม้ว่าภัยแล้งดังกล่าวอาจเกิดจากหลายปัจจัย แต่การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่า แม่น้ำโขงเผชิญกับการสร้างเขื่อนจำนวนมากที่ตอนบน ซึ่งขัดขวางการไหลของกระแสน้ำมายังลุ่มน้ำโขงตอนล่าง นอกจากนี้ ระดับน้ำในแม่น้ำโขงยังถึงจุดต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ มาตรวัดน้ำในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ได้บันทึกระดับน้ำต่ำสุดเท่าที่เคยมีมาเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามข้อมูลจากดาวเทียมบ่งชี้ว่าปริมาณน้ำบริเวณต้นน้ำในจีนมีอยู่เหลือเฟือ ทำให้เกิดข้อกังขาสำคัญๆ รวมทั้งคำถามที่ว่าเหตุใดจึงไม่มีน้ำในปริมาณที่มากกว่านี้ไหลมาจากจีนขณะที่ประเทศในลุ่มน้ำโขงประสบกับความขาดแคลนอย่างมาก
ริมฝั่งแม่น้ำโขงที่เหือดแห้ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เดือนพฤศจิกายน 2562 ภาพจาก: กลุ่มรักษ์เชียงของ
องค์กรภาคประชาสังคมของไทยแสดงความกังวลเกี่ยวกับความพยายามของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการสร้างเขื่อนและระเบิดแก่งแม่น้ำโขงระหว่างไทยและลาว แต่กลับถูกสั่งสอนด้วยสัญญาว่าจะมี “ทางออกที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์” ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม รัฐบาลไทยทราบข้อกังวลเหล่านี้ จึงสั่งให้หยุดแผนการระเบิดแก่งและขุดลอกแม่น้ำโขงบางส่วนที่ฝั่งชายแดนไทย รวมทั้งแจ้งข้อกังวลดังกล่าวต่อจีนโดยตรง และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการบริหารจัดการเขื่อนตามแนวแม่น้ำโขงอย่างละเอียดยิ่งขึ้น เราขอสนับสนุนความพยายามดังกล่าวของประชาชนและรัฐบาลไทย
มิใช่เพียงสายน้ำ
อย่างไรก็ดี ทรัพยากรน้ำที่ขาดแคลนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ริมแม่น้ำโขงของไทย กลุ่มอาชญากรต่างๆ รวมไปถึงบางกลุ่มที่ปฏิบัติการในเขตเศรษฐกิจพิเศษและบ่อนการพนันของประเทศเพื่อนบ้าน ใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางสำคัญในการลักลอบค้ายาเสพติด สัตว์ป่า หรือแม้กระทั่งมนุษย์ สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ยืนยันว่า องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติได้ย้ายเข้าไปยังสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเพิ่มการผลิตและขนส่งยาเสพติดผิดกฎหมายจากพื้นที่อีกฟากฝั่งแม่น้ำโขงในรัฐชาน ประเทศเมียนมา รวมทั้งฟอกเงินที่ได้จากผลกำไรดังกล่าวผ่านธุรกิจบ่อนการพนันในภูมิภาค UNODC ประเมินว่าการก่ออาชญากรรมข้ามชาติในลุ่มน้ำโขงมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยเชื่อว่ากว่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐมาจากการค้ามนุษย์ จีนอ้างว่าเหตุผลหนึ่งของการลาดตระเวนลุ่มน้ำโขงนอกอาณาเขตของตนในลาวและเมียนมานั้น คือการปราบปรามขบวนการอาชญากรรม แม้ว่าจีนยังไม่สามารถยับยั้งการลักลอบสารเคมีตั้งต้นจากจีนไปยังเมียนมาได้ อันกระตุ้นให้เกิดการระบาดของเมทแอมเฟตามีนในเอเชีย ตลอดจนความรุนแรงและอาชญากรรมมากมายในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อาชญากรรมข้ามชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในพื้นที่นี้ทำให้ชุมชนท้องถิ่นกลัวว่าจะสูญเสียความมั่นคงนอกเหนือไปจากวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของตน
เพื่อน หุ้นส่วน และพันธมิตร
ความร่วมมือของสหรัฐฯในลุ่มน้ำโขง
สหรัฐอเมริกากำลังช่วยไทยปกป้องพื้นที่ชายแดนและดำเนินการเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยและเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นสำหรับชาวไทย ตั้งแต่ปี 2506 สำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ (DEA) ได้สนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลไทยเพื่อหยุดการลักลอบนำเข้าสารควบคุมในไทย สหรัฐฯ และตลาดโลก เมื่อต้นเดือนนี้ DEA ให้ความช่วยเหลือในปฏิบัติการต่อต้าน 5 เครือข่ายยาเสพติดที่มีมูลค่าการฟอกเงินกว่า 3,000 ล้านบาท และในปี 2562 รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนหน่วยงานการบังคับใช้กฎหมายของไทยในการยึดเมทแอมเฟตามีนกว่า 9 ตัน และยาบ้ากว่า 43 ล้านเม็ด ในขณะที่สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ร่วมต่อต้านการค้ามนุษย์และสัตว์ป่า ทั้งยังเสริมสร้างความมั่นคงให้กับชายแดนไทย เมื่อปีที่แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ ปอมเปโอ ได้ประกาศมอบเงินสนับสนุนเพิ่มเติม 420 ล้านบาทเพื่อต่อต้านอาชญากรรมและการค้ามนุษย์ข้ามชาติในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง
รัฐมนตรีปอมเปโอยังประกาศมอบทุนสนับสนุนประมาณ 60 ล้านบาทให้แก่โครงการข้อริเริ่มในการจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยในพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำโขงแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการไหลของน้ำ เรายังมีโครงการ SERVIR-Mekong ซึ่งเป็นความริเริ่มระหว่าง USAID และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) โดยโครงการดังกล่าวจะใช้ข้อมูลดาวเทียมที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ในการส่งเสริมให้รัฐบาลของประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างลดความเปราะบางต่อสถานการณ์ภัยแล้ง อุทกภัย และการแย่งชิงทรัพยากรน้ำซึ่งรุนแรงขึ้นเพราะเขื่อนต้นน้ำ เมื่อเดือนที่แล้ว คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เปิดตัวระบบคลังข้อมูลเพื่อการเตือนภัยแล้งล่วงหน้า (Drought Early Warning portal) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ MRC และโครงการ SERVIR-Mekong ร่วมกันพัฒนาขึ้น เพื่อให้ประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างนำไปใช้เป็นระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับการพยากรณ์และติดตามภัยแล้งในภูมิภาค
โครงการต่างๆ ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อริเริ่มอีกมากมายที่เรากำลังดำเนินการร่วมกับรัฐบาลไทยและประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เพื่อธำรงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม ต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ และปกป้องทรัพยากรน้ำ โดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการหารืออย่างโปร่งใส ตลอดจนหาวิธีแบ่งปันทรัพยากรน้ำอย่างเป็นธรรม
แด่มิตรภาพอีก 200 ปี
สหรัฐอเมริกาเป็นมิตรที่ซื่อตรงกับไทยมาตลอด 200 ปีที่ผ่านมา และเราจะยังคงดำรงความสัมพันธ์นี้ต่อไปในอีก 200 ปี เนื่องในโอกาสที่แม่น้ำมิสซิสซิปปีปราศจากพิษภัยของสงครามโดยสิ้นเชิงในปี 2406 ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น กล่าวไว้ว่า “บิดาแห่งสายน้ำได้กลับคืนสู่ท้องทะเลโดยสงบอีกครั้งหนึ่ง” เราหวังว่ามารดาแห่งสายน้ำของไทยจะได้กลับคืนสู่ท้องทะเลโดยสงบอีกครั้งหนึ่งเช่นเดียวกัน โดยไม่ถูกกีดขวางด้วยสถานการณ์ปัญหาที่ต้นน้ำโขง
(บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563)
โดย U.S. Embassy Bangkok | 25 เมษายน, 2020 | ประเภท: เอกอัครราชทูต | Tags: บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตดีซอมบรี | Saving the Mekong, the Economic Lifeblood of an Entire Region
By U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre
I first heard about the beauty of the Mekong River (or Mae Nam Khong) long before I moved to Asia. American and Thai people share a common respect for our rivers. I grew up near the Mississippi River, which plays a huge role in the folklore of America and has been an economic lifeline throughout our history. In the language of the Native Americans who named it, Mississippi means “Father of Waters.” It’s a reflection of our affinity that Mae Nam in Thai means “Mother of Waters.”
The Mekong is not the property of any one country. It runs through China, Myanmar, Laos, Thailand, Cambodia, and Vietnam, bringing with it nutrients and life itself. Its sediment sustains fish that swim in it and fertilizes the soil along its floodplains. Those fish and soil nourish the seventy million people who call the lower Mekong region home.
This past year, lower Mekong countries experienced the worst drought in a decade. Though there might be many contributing factors for the drought, a recent study shows that the Mekong is choked by a spree of dam building upstream that disrupts downstream flows. The river has been at its lowest levels in many decades – a gauge in Chiang Saen, Chiang Rai province, recorded its lowest level ever last year, despite satellite data indicating plentiful water available in upstream China. This raises important questions, including why more water did not flow from China when the Mekong countries were in great need.
Dried Mekong riverbanks, Chiang Khong District , Chiang Rai Province, November 2019.Photo credit: Rak Chiang Khong
Thai civil society organizations have raised concerns about the PRC’s efforts to dam the river and blast the stretch of it between Thailand and Laos, but are lectured with promises of “win-win solutions” that never materialize. The Royal Thai Government noted these concerns, halting plans to blast and dredge parts of the river on the Thai border, raising water concerns directly with the PRC, and calling for greater scrutiny of dam operations along the Mekong. We support the Thai people and the Royal Thai Government’s efforts.
More Than Just Water
However, scarce water resources are only part of the problem afflicting Thailand’s Mekong border region. Criminal groups, including some based in neighboring special economic zones and casinos, use the Mekong as their major artery to traffic drugs, wildlife, and even people. The United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) confirms that transnational organized crime syndicates have moved into the Golden Triangle, increasing the production and transport of illegal drugs from sites across the Mekong in Shan State, Myanmar and laundering their profits through the regional casino industry. The UNODC estimates the value of transnational organized crime in the Mekong region to be over $100 billion annually, with human trafficking believed to account for over $9 billion. The PRC has cited combatting organized crime as a reason for its extraterritorial river patrols in Laos and Myanmar, although it has not been able to stem the flow of precursor chemicals from the PRC to Myanmar which fuel the methamphetamine epidemic in Asia and much of the violence and crime in the Golden Triangle. The region’s surge in transnational crime has caused local communities to fear the loss of security in addition to their culture and way of life.
Friends, Partners, and Allies
U.S. Partnerships in the Mekong
The United States is helping Thailand protect its borders and pursue a safer and more prosperous future for the Thai people. Since 1963, the U.S. Drug Enforcement Administration (DEA) has supported the Royal Thai Government’s efforts to stop the smuggling of controlled substances into Thailand, the United States, and the international market. Earlier this month, the DEA assisted an operation against five drug trafficking networks with money laundering operations worth over 3 billion Baht. In 2019, the U.S. government supported Thai law enforcement in seizing over nine tons of methamphetamine and 43 million yaba pills. The Federal Bureau of Investigation, the Department of Homeland Security, United States Agency for International Development (USAID), and the State Department are doing their part to combat human and wildlife trafficking and secure Thailand’s borders. Last year, Secretary of State Pompeo announced a further 420 million Baht to counter transnational crime and trafficking in the Mekong region.
Secretary Pompeo also announced approximately 60 million Baht for the Mekong Water Data Initiative to empower Mekong researchers to share data on water flows. Through the SERVIR-Mekong program, an initiative between USAID and the U.S. National Aeronautics and Space Administration (NASA), publicly available satellite data will help the lower Mekong governments reduce vulnerability to drought, flooding, and transboundary water competition exacerbated by upstream dams. Last month, the Mekong River Commission launched the Drought Early Warning portal, an online platform co-developed with SERVIR-Mekong, that lower Mekong countries can use as an early warning system to forecast and monitor drought in the region.
These are just a few of the many initiatives we are implementing jointly with the Royal Thai Government and lower Mekong countries to uphold the rule of law, combat transnational crime, and protect water resources through scientific data that promotes honest discussions and resolutions on how to equitably distribute water resources.
To the Next 200 Years of Friendship
The United States has been Thailand’s stalwart friend for the past 200 years, and we will remain friends for the next 200 years. In 1863, when the Mississippi was finally free from the burdens of war, President Lincoln said: “The Father of Waters again goes unvexed to the sea.” It is our wish that Thailand’s Mother of Waters again goes unvexed to the sea, unencumbered by upstream troubles.
(The Thai version of this Op-Ed was originally published in Krungthep Turakij newspaper on April 25, 2020.)
By U.S. Embassy Bangkok | 25 April, 2020 | Topics: Ambassador, News, Press Releases | Tags: Ambassador DeSombre's Op-Eds, Op-Ed, Op-Ed by the Ambassador | Saving the Mekong, the Economic Lifeblood of an Entire Region | รักษ์แม่โขง: สายโลหิตทางเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงทั้งภูมิภาค |
https://th.usembassy.gov/th/statement-by-secretary-pompeo-on-the-occasion-of-ramadan-2020-th/ | สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ เนื่องในโอกาสเดือนรอมฎอน
ในนามของประชาชนชาวอเมริกัน ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมายังชุมชนชาวมุสลิมในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกในวาระเริ่มต้นเดือนรอมฎอนอันศักดิ์สิทธิ์ รอมฎอนคือช่วงเวลาแห่งการสำรวจจิตใจ การช่วยเหลือรับใช้ และความเมตตาการุณย์ ภายใต้สถานการณ์ปกติ มัสยิด เคหสถาน และศูนย์ชุมชนมากมายในสหรัฐอเมริกา จะเปิดประตูต้อนรับมิตรสหายและเพื่อนบ้านจากหลากหลายศาสนาและความเชื่อให้มารวมกันเป็นหนึ่งเดียว อันสะท้อนถึงค่านิยมแบบอเมริกันที่เราต่างยึดถือ นั่นคือการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมและการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ในปีนี้ สถานการณ์โรคโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงการรวมตัวกันและการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมจำนวนมากมายทั่วโลกอย่างฉับพลัน ชาวมุสลิมที่วางแผนจะเดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะห์ที่มักกะห์ เพื่อไปเยือนมหามัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์สองแห่งที่เมืองมักกะห์และมาดีนะห์ ได้รับคำแนะนำให้งดการเดินทางเพื่อชะลอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ครอบครัวและญาติมิตรไม่สามารถร่วมรับประทานอาหารในงานเลี้ยง อิฟตาร์ ได้ตามธรรมเนียมประเพณีปกติ หลายคนอาจต้องฉลองกันทางออนไลน์แทน
ช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์นี้ไม่เพียงแต่จะแตกต่างไปเนื่องจากโรคระบาดใหญ่ แต่กลุ่มศาสนาบางกลุ่ม ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มชาวมุสลิม ก็ตกเป็นเหยื่อของการว่าร้ายมากขึ้นตามการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 เราเรียกร้องให้รัฐบาลทุกระดับและชุมชนทุกหนแห่งทุ่มเทเวลาในช่วงนี้ให้กับการช่วยเหลือรับใช้และการสร้างเอกภาพ ตลอดจนตระหนักถึงสุขภาพและความปลอดภัยของกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดและกลุ่มคนชายขอบ ในระหว่างที่เรากำลังต่อสู้เพื่อหยุดวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 รอมฎอนคือเดือนที่เตือนใจบุคคลทุกศาสนาและความเชื่อให้ยึดมั่นในความเมตตาการุณย์ รวมถึงไตร่ตรองการกระทำของตน และช่วยดูแลผู้คนทุกคนให้ปลอดภัยในเวลาแห่งความยากลำบากนี้
ในสถานการณ์ปกติ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของสหรัฐฯ หลายแห่งในทั่วโลกจะจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำ อิฟตาร์ ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองและรำลึกถึงคุณค่าของสันติสุขและมิตรไมตรีที่เป็นหัวใจของรอมฎอน แต่ในปีนี้ สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลเหล่านั้นจะใช้วิธีการที่สร้างสรรค์ต่างๆ แทนเพื่อแสดงให้เห็นถึงมนุษยธรรมและพันธกรณีที่เรามีร่วมกันต่อการส่งเสริมเสรีภาพและการไม่กีดกันทางศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผมจึงขอส่งความปรารถนาดีมายังชาวมุสลิมทั่วโลกอีกครั้ง ขอให้ท่านทั้งหลายประสบความสุขสงบในเดือนรอมฎอนนี้
รอมฎอนกะรีม
โดย U.S. Embassy Bangkok | 24 เมษายน, 2020 | ประเภท: ข่าว | Statement by Secretary Pompeo on the Occasion of Ramadan
On behalf of the American people, I extend my best wishes to Muslim communities in the United States and around the world as they mark the start of the holy month of Ramadan. Ramadan is a time of introspection, service, and compassion. In the United States, under normal circumstances, many mosques, homes, and community centers welcome friends and neighbors of different faiths to unite under one roof, echoing our shared American values of inclusion and charity.
This year, COVID-19 has abruptly changed the gatherings and celebrations of many Muslims throughout the world. Muslims who were planning on traveling to Mecca for Umrah pilgrimage to visit the two Holy Mosques of Mecca and Medina, have been encouraged to hold off on their plans in order to curb the spread of the disease.Iftarmeals, cannot be shared, as they traditionally are, with extended family and friends; many will be moved to online platforms.
And in this sacred season, already reshaped by the pandemic, scapegoating of certain religious groups, including Muslims, has increased with the spread of COVID-19. We urge all governments and communities to use this time to focus on service and unity, to keep in mind the health and safety of the most vulnerable and the marginalized as we continue to fight to stop the COVID-19 crisis. Ramadan is a reminder for people of all faiths to strive for compassion, reflect on our own actions, and ensure all individuals are safe in times of hardship.
Under normal circumstances, many of our embassies and consulates around the world hostiftarreceptions to celebrate and honor the values of peace and friendship represented by Ramadan. This year, they will be engaging in creative ways that continue to demonstrate our common humanity and commitment to promoting religious freedom and inclusion at home and abroad. Once again, I wish Muslim communities around the world celebrating, a blessed and peaceful Ramadan.
Ramadan Kareem
By U.S. Embassy Bangkok | 24 April, 2020 | Topics: News, U.S. Secretary of State | Tags: Ramadan | Statement by Secretary Pompeo on the Occasion of Ramadan | สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ เนื่องในโอกาสเดือนรอมฎอน |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-and-thailand-friends-partners-allies-in-the-fight-against-drug-trafficking-th/ | เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลไทยในปฏิบัติการครั้งใหญ่เพื่อต่อต้านเครือข่ายยาเสพติด 5 เครือข่ายที่มีมูลค่าการฟอกเงินกว่า 3,000 ล้านบาท (ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ) ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยสืบสวนพิเศษ (SIU) สำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ (DEA) ประจำเชียงใหม่ รัฐบาลไทยได้จับกุมผู้ต้องหา 15 รายที่มีความเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ทางการไทยได้จับกุมผู้ต้องหาในจังหวัดเชียงราย ปทุมธานี กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ตาก สระบุรี ฉะเชิงเทรา นนทบุรี และสงขลา โดยยึดทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 72 ล้านบาท (หรือประมาณ 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้ DEA ได้ให้คำแนะนำด้านการสืบสวนสอบสวน จัดหาเงินทุนสนับสนุนปฏิบัติการ และให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในส่วนหนึ่งของปฏิบัติการนี้
หน่วยสืบสวนพิเศษของ DEA ประจำจังหวัดเชียงใหม่เป็นหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจที่ผ่านการคัดสรรและคัดกรอง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และหน่วยปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธร เจ้าหน้าที่สืบสวนพิเศษและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์การข่าวของ DEA ทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ SIU ในฐานะที่ปรึกษา เพื่อสนับสนุนการสืบสวนสอบสวน จัดหาเงินทุนสนับสนุนปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าว และให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคกับเจ้าหน้าที่ไทย ภารกิจของโครงการ SIU คือการเสริมสร้างให้ผู้บังคับใช้กฎหมายของไทยสามารถดำเนินการสืบสวนสอบสวนด้านยาเสพติดที่ซับซ้อน เพื่อระบุ กำหนดเป้าหมาย และทลายองค์กรลักลอบค้ายาเสพติดรายใหญ่ระหว่างประเทศ
เจ้าหน้าที่จาก SIU และ บช.ปส.ได้รับการฝึกอบรมพิเศษในศูนย์ฝึกอบรมของ DEA ที่เมืองควอนติโก รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากทุนสนับสนุนสำหรับอุปกรณ์และการฝึกอบรมจากสำนักงานกิจการยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
“พวกเราเป็นเพื่อน หุ้นส่วน และพันธมิตรกับประเทศไทยในการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดมาหลายทศวรรษ เริ่มจากการเปิดสำนักงาน DEA ประจำกรุงเทพฯ ในปี 2506 ตามด้วยสำนักงาน DEA ประจำเชียงใหม่ในปี 2514” เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี กล่าว “เราจะยังคงสานต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงและการบังคับใช้กฎหมายระหว่างสหรัฐฯ และไทยไปอีกหลายทศวรรษที่จะมาถึง”
“ในขณะที่เรากำลังรับมือกับการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เคียงข้างรัฐบาลไทย เราก็ยังคงทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีในไทย เพื่อปกป้องครอบครัวและชุมชนของเราจากผู้ลักลอบค้ายาเสพติดด้วยเช่นกัน” กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ ฌอน โอนีลล์กล่าว
ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงได้ที่ https://photos.app.goo.gl/8DXeAuxCbFRj8xCB6
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขอเชิญชมการแถลงข่าวของกระทรวงยุติธรรมในวันที่ 10 เมษายน 2563 ได้ที่ https://bit.ly/2y6HdO5
โดย U.S. Embassy Bangkok | 10 เมษายน, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เอกสารข่าว | On April 9, the United States Government assisted the Royal Thailand Government in a large-scale operation against five drug trafficking networks with money laundering operations worth over 3 billion baht (approximately US$100 million). With support from U.S. Drug Enforcement Administration (DEA) Chiang Mai Sensitive Investigative Unit (SIU), the Royal Thai Government arrested 15 suspects who are involved in laundering millions of U.S. dollars across the Thailand-Myanmar border. The Thai authorities arrested suspects in Chiang Rai, Pathum Thani, Bangkok, Chiang Mai, Tak, Saraburi, Chachoengsao, Nonthaburi, and Songkla Provinces and seized assets worth approximately 72 million Baht (approximately US$2.4 million). The U.S. DEA provided investigative mentorship, operational funding, and technical assistance to a part of this operation.
The U.S. DEA’s Sensitive Investigative Unit in Chiang Mai is a vetted task force comprised of investigators from the Royal Thai Police Narcotics Suppression Bureau (NSB); the Office of Narcotics Control Board (ONCB); and the Provincial Police Narcotics Suppression Unit (PPNSU). DEA Agents and Intelligence Analysts are embedded in the unit and act as agent advisors to provide investigative support, operational funding, intelligence sharing and technical assistance to our Thai partners. The mission of the SIU Program is to help Thai law enforcement successfully conduct complex drug investigations to detect, target, and dismantle major international drug trafficking organizations.
SIU and other NSB officers receive specialized training in DEA’s training facilities in Quantico, Virginia in addition to funding for equipment and training from the State Department’s Bureau of International Narcotics and Law Enforcement Affairs.
“We have been friends, partners, and allies with Thailand in this fight against drug trafficking for many decades. First with the opening of our DEA Bangkok office in 1963, then with our DEA Chiang Mai office in 1971,” said U.S. Ambassador Michael George DeSombre. “We will continue this U.S.-Thai security and law enforcement cooperation for many more decades to come.”
“While we tackle this COVID-19 pandemic hand-in-hand with the Royal Thai Government, we also continue to work with our Thai partners to protect our families and communities from drug traffickers,” said Consul General Sean O’Neill.
Download high resolution photos here: https://photos.app.goo.gl/8DXeAuxCbFRj8xCB6
For more information, please access the Ministry of Justice April 10, 2020 press conference here: https://bit.ly/2y6HdO5
By U.S. Consulate Chiang Mai | 10 April, 2020 | Topics: Chiang Mai, News, Press Releases, U.S. & Thailand | U.S. and Thailand – Friends, Partners, Allies in the Fight Against Drug Trafficking | สหรัฐอเมริกาและประเทศไทย – เพื่อน หุ้นส่วน และพันธมิตรในการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด |
https://th.usembassy.gov/th/thailand-new-year-songkran-2020-th/ | สารจากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มอร์แกน ออร์เทกัส
วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563
เทศกาลสงกรานต์ – ปีใหม่ไทย
ในนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ดิฉันขอส่งความปรารถนาดีมายังประชาชนชาวไทยในวาระวันขึ้นปีใหม่ไทย 13 เมษายน
ประเทศของเราทั้งสองมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยาวนานกว่า 200 ปี มิตรภาพและความร่วมมือด้านสาธารณสุขตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาทำให้เรามีความยืดหยุ่นในการรับมือกับวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพระดับโลกซึ่งเกิดจากโรคโควิด-19 ในครั้งนี้ได้ ปีนี้นับเป็นปีที่ 40 แห่งความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) อันเป็นความร่วมมือที่นำมาซึ่งความก้าวหน้าทางนวัตกรรมด้านการค้นคว้าวิจัย และความร่วมมือด้านสาธารณสุขที่ช่วยให้เราทั้งสองประเทศพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น นอกจากนั้น ในปีนี้ยังเป็นปีที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) และกองทัพบกไทยดำเนินงานร่วมกันมาครบ 60 ปีอีกด้วย เรายินดีที่ได้มีส่วนช่วยเหลือประเทศไทยในการดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การร่วมมือกันในครั้งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความร่วมมือและพันธไมตรีของเราในหลากหลายด้าน ซึ่งรวมไปถึงการปฏิบัติการร่วมกันด้านความมั่นคง การบังคับใช้กฎหมาย ธุรกิจและการค้า การศึกษา และด้านอื่นๆ อีกมากมาย
แม้ว่าการระบาดใหญ่นี้เป็นเหตุให้จำต้องงดเว้นการเฉลิมฉลองวันสงกรานต์ของไทย แต่เราหวังว่าความร่วมมือระหว่างเราจะเป็นพรอันประเสริฐในปีใหม่ ขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่สามแห่งมิตรภาพของเรา เราขอยืนยันเจตจำนงอันมุ่งมั่นต่อพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ และไทย โดยจะเดินหน้าทำงานร่วมกันเพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองและผาสุกมาสู่ประชาชนของเราและภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกสืบไป
เราขออวยพรให้ปวงชนชาวไทยประสบแต่ความสุขสวัสดีเนื่องในศุภมงคลสมัยขึ้นปีใหม่นี้
โดย U.S. Embassy Bangkok | 10 เมษายน, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | Statement by Morgan Ortagus
Spokesperson
Washington, DC
April 9, 2020
Thailand New Year – Songkran
On behalf of the Government of the United States of America, I wish the people of the Kingdom of Thailand well as you mark Thailand’s New Yearon April 13.
Our two countries have enjoyed a profound friendship for over 200 years. Our friendship and decades-long health partnership has given us the resilience to address this global health crisis caused by COVID-19. This year marks the 40th anniversary of the partnership between the Royal Thai Government and the U.S. Centers for Disease Control and Prevention – a partnership that has brought about innovative advances in health research and collaboration that has prepared both our nations to combat the current pandemic – as well as over sixty years of cooperation between our Armed Forces Research Institute of Medical Sciences and the Royal Thai Army. We are pleased to provide assistance to Thailand as it works to contain the spread of COVID-19. This collaboration is but one piece of our broad partnership and alliance that includes cooperation on security, law enforcement, business and trade, education, and many other areas.
Although this pandemic has muted this year’s celebration of Songkran in Thailand, we hope our partnership will usher new blessings in the New Year.As we begin our third century of friendship, we reaffirm our commitment to the U.S.-Thai Alliance as we work together to bring about shared prosperity and well-being to our people and the Indo-Pacific region.
We wish the people of the Kingdom of Thailand an auspicious New Year.
By U.S. Embassy Bangkok | 10 April, 2020 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: Songkran, Thai New Year | Thailand New Year – Songkran | เทศกาลสงกรานต์ – ปีใหม่ไทย |
https://th.usembassy.gov/th/tackling-covid-19-the-latest-challenge-for-u-s-thai-health-cooperation-th/ | การต่อสู้กับโรคโควิด-19: ความท้าทายล่าสุดของความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างสหรัฐฯ และไทย
โดย นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
สามารถกดที่ภาพเพื่อดูอินโฟกราฟฟิกขนาดใหญ่ได้
ในปีนี้ วันอนามัยโลก (7 เมษายน) เวียนมาครบรอบอีกครั้งหนึ่งในช่วงที่สถานการณ์กำลังตึงเครียดเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมนุษยชาติกำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ในแต่ละวัน มียอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่จีนจนถึงอิตาลี สหรัฐอเมริกาจนถึงไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจยิ่ง วันอนามัยโลก ปี 2563 นี้จึงเป็นโอกาสพิเศษในการยกย่องและสรรเสริญบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่ช่วยดูแลให้โลกปลอดภัย และผมขอร่วมชื่นชมผู้ที่เสี่ยงชีวิตของตน ณ เวลานี้เพื่อปกป้องพวกเราทุกคนจากโรคร้ายนี้
ท่ามกลางข่าวที่น่าเศร้าใจ เรายังพอเห็นประกายแห่งความหวัง ระบบสาธารณสุขของไทยซึ่งมีความเป็นเลิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น กำลังระดมบุคลากรที่มีความสามารถและทรัพยากรต่างๆ เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้เชี่ยวชาญจากรัฐบาลสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 20 ของพนักงานสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานทูตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ปฏิบัติหน้าที่ด้านสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานภาคีของไทย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC) สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสำนักงานนอกสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่กรุงเทพฯ มีความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขของไทยมานาน 4 ทศวรรษ ทั้งยังตั้งอยู่ภายในกระทรวงสาธารณสุขด้วย CDC ได้สนับสนุนเงินช่วยเหลือกว่า 133 ล้านเหรียญสหรัฐแก่กระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานครในหลากหลายโครงการด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ โรคระบาดไข้หวัดใหญ่ และโรคติดเชื้ออื่นๆ
ตั้งแต่ปี 2546 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เสริมสร้างศักยภาพทางห้องปฏิบัติการให้แก่บุคลากรกระทรวงสาธารณสุขเพื่อตรวจหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีความสำคัญต่อชาวไทย ความร่วมมือระหว่าง CDC และกระทรวงสาธารณสุขนำมาซึ่งการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2557 ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ควบคุมการรับมือโรคโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญชาวไทยหลายคนของ EOC ผ่านการฝึกอบรมจากบุคลากรของสหรัฐฯ พวกเขาได้รับการฝึกอบรมที่ทันสมัยในสหรัฐฯ และในไทย เพื่อเพิ่มพูนทักษะการบริหารงานสาธารณสุข
ตั้งแต่ปี 2504 องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาล และนักวิจัยชาวไทย เพื่อทำให้คนไทยมีสุขภาพดียิ่งขึ้น ตลอด 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ประชาชนชาวอเมริกันมอบความช่วยเหลือผ่าน USAID รวมมูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนประเทศไทย รวมถึงเงินช่วยเหลืออีกเกือบ 2 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเดือนที่ผ่านมา เพื่อช่วยไทยรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) ซึ่งเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐฯ มีต้นกำเนิดย้อนกลับไปกว่า 57 ปี โดยเป็นความร่วมมือทางการแพทย์ทหารระหว่างกองทัพบกสหรัฐฯ และกองทัพบกไทย นอกจากนี้ กองทัพบกสหรัฐฯ และกระทรวงสาธารณสุขไทยได้ร่วมมือกันใน “โครงการวิจัยวัคซีนเอชไอวีครั้งประวัติศาสตร์” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี นั่นคือโครงการ RV144 ในประเทศไทยเมื่อปี 2546 นับเป็นครั้งแรกที่เราเห็นความเป็นไปได้ของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้นำโครงการวิจัยจากกองทัพบกสหรัฐฯ ในครั้งนั้น เป็นที่รู้จักกันดีในเวลานี้ คือ ดร. เดบอราห์ เบิร์ซ เอกอัครราชทูตกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และผู้ประสานงานของคณะทำงานเฉพาะกิจเชื้อไวรัสโคโรนาของทำเนียบขาว AFRIMS และกองทัพบกไทยประสบความสำเร็จอย่างมากในการค้นคว้าวิจัยโรคติดเชื้อเขตร้อนและพัฒนายารักษา วัคซีน และมาตรการอื่นๆ เพื่อปกป้องทั้งชาวอเมริกันและชาวไทย ความร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาเหล่านี้ รวมทั้งการวิจัยด้านวิชาการที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ให้การสนับสนุน ช่วยให้จำนวนผู้ป่วยโรคต่างๆ เช่น ไข้สมองอักเสบเจอี ไวรัสตับอักเสบเอ มาลาเรีย และเอชไอวี ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างสหรัฐฯ และไทยมีประวัติศาสตร์อันแข็งแกร่งย้อนกลับไปเกือบ 200 ปี นับตั้งแต่ที่นายแพทย์แบรดลีย์ (หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “หมอบรัดเลย์”) เข้ามามีส่วนร่วมในวงการแพทย์ไทยช่วงแรกในทศวรรษที่ 1830 และกว่า 100 ปีก่อน เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน” ของไทยทรงอุทิศพระองค์ต่อการสาธารณสุขขณะทรงกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ พระองค์ทรงเจรจาทำข้อตกลงกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เพื่อให้เงินทุนสนับสนุนเริ่มต้นทางด้านการศึกษาในสถาบันการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วของไทย
ความโดดเด่นด้านสาธารณูปการทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ของไทยในวันนี้ถือกำเนิดจากเงินทุนสนับสนุนช่วงแรกที่ได้รับจากความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างรัฐและเอกชนของสหรัฐฯ กับไทย ซึ่งริเริ่มโดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลและนักเรียนไทยในยุคนั้นที่ตามเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษายังมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่ผ่านมาสหรัฐฯ และไทยยังคงเดินหน้าสร้างระบบบริการสาธารณสุขที่เข้มแข็งทั่วทั้งภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งสามารถป้องกัน ตรวจหา และรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อต่างๆ เราร่วมกันทำให้โลกใบนี้มีสุขภาพที่ดีขึ้น สงบสุข และเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นมาหลายชั่วอายุคน และในเวลานี้เราจะร่วมกันต่อสู้เพื่อเอาชนะศัตรูโรคระบาดที่เราต้องเผชิญและจะผ่านพ้นไปด้วยกันอย่างผู้ชนะที่แข็งแกร่งกว่าเดิม
ในมิติของการทำงานระหว่างประเทศ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงให้การสนับสนุนไทยในบทบาทผู้นำของวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (GHSA) ซึ่งเป็นข้อริเริ่มพหุภาคีของ 67 ประเทศทั่วโลก ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ องค์กรนอกภาครัฐ และบริษัทเอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้โลกมั่นคงและปลอดภัยจากภัยคุกคามของโรคติดเชื้อต่างๆ
สหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ตลอดหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2491 โดยในปี 2562 เพียงปีเดียว สหรัฐฯ ให้เงินสนับสนุนมูลค่ากว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ WHO ซึ่งเป็นจำนวนเกือบสองเท่าของมูลค่าเงินสนับสนุนจากผู้สนับสนุนรายใหญ่อันดับสอง
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) อีกด้วย โดยมีส่วนร่วมดำเนินการในกรณีฉุกเฉินต่างๆ ทั่วโลก ในปี 2562 สหรัฐฯ ให้เงินสนับสนุนมูลค่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ UNICEF และในทำนองเดียวกัน เมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือในรูปของทรัพยากรต่างๆ มูลค่ากว่า 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แก่โครงการอาหารโลก (WFP) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 42 ของงบประมาณรวมทั้งหมดของ WFP โดย WFP เป็นโครงการที่ได้ส่งอาหารและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) รวมทั้งสิ้น 85 ครั้ง ไปยัง 74 ประเทศ เพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสนี้
สหรัฐอเมริกาเข้าใจอยู่เสมอว่าความมั่นคงด้านสุขภาพโลกขึ้นอยู่กับระบบบริการสาธารณสุขที่เข้มแข็ง โปร่งใส และตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว หนึ่งในสามของงบประมาณความช่วยเหลือต่างประเทศของอเมริกาทั้งหมด หรือเกือบ 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงมุ่งไปที่โครงการด้านสุขภาพระหว่างประเทศ นับตั้งแต่ปี 2544
งบประมาณดังกล่าวยังรวมถึงความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ มอบให้กับประชาชนจีนในระยะเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในฐานะหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่จีนในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ สหรัฐฯ ได้ส่งเวชภัณฑ์รวมเกือบ 18 ตัน จากประชาชนอเมริกันไปยังเมืองอู่ฮั่นของจีนบนเครื่องบินลำเดียวกันกับที่นำพลเมืองอเมริกันอพยพกลับสหรัฐฯ ในปลายสัปดาห์นั้น สหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นว่าจะมอบความช่วยเหลือมูลค่าสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐแก่จีนและประเทศที่ได้รับผลกระทบอื่นๆ ผ่านองค์การพหุภาคีและความช่วยเหลือระดับทวิภาคี เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดไปทั่วโลกในเวลาต่อมา ในขณะนี้ประธานาธิบดีทรัมป์ได้เพิ่มความช่วยเหลือเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 274 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากความช่วยเหลือของรัฐบาลแล้ว เราจะต้องไม่ลืมว่า ในฐานะผู้สนับสนุนการพัฒนาของภาคเอกชน สหรัฐฯ อาศัยความร่วมมือของพลเมืองอเมริกัน ธุรกิจห้างร้าน องค์การนอกภาครัฐ และองค์กรการกุศลต่างๆ ของสหรัฐฯ ในการมีส่วนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั่วโลก เช่นเดียวกับที่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสาธารณสุขของไทย ความร่วมมือดังกล่าวนั้นจะยังคงเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 และโรคติดเชื้ออื่นๆ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ภาคเอกชนของสหรัฐฯ รวมถึงมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ ได้มอบเงินสนับสนุนมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดนอกสหรัฐฯ ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า เมื่อภาครัฐและภาคเอกชนผนึกกำลังกันทั้งในสหรัฐฯ และไทย เราสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสาธารณสุขระหว่างช่วงเวลาที่ท้าทายนี้
(บทความแสดงความคิดเห็นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563)
โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 เมษายน, 2020 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกอัครราชทูต | Tags: บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตดีซอมบรี | Tackling COVID-19: The Latest Challenge for U.S.-Thai Health Cooperation
By U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre
Click on the infographic to see more details.
This year, World Health Day (April 7) falls during a particularly solemn time, as humankind grapples with the worst disease pandemic of the past 100 years. Each day brings a sobering update of the rising death toll caused by COVID-19, from China to Italy, from the United States to Thailand, and every country in between. World Health Day in 2020 has been designated to honor and celebrate the role of nurses in keeping the world healthy, and I join in paying tribute to those who are putting their lives on the line at this very moment to protect all of us from this terrible disease.
In the midst of this grim news, however, we see glimmers of hope. Thailand’s health care system, widely regarded as among the best in Southeast Asia, is now bringing all of its talent and resources to bear to control the outbreak. It is doing so hand-in-hand with experts from the U.S. government. All told, about 20 percent of the personnel in U.S. Mission Thailand – one of the world’s largest embassies – work on health issues with our Thai partners. Some examples:
Our U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC), which has its largest overseas office right here in Bangkok, has four decades of partnership and is co-located with the Thai Ministry of Public Health (MOPH). It has provided over $133 million to MOPH and the Bangkok Metropolitan Administration to support various public health programs related to HIV/AIDS, pandemic influenza, and other infectious diseases.
Since 2003, the U.S. government has been building the laboratory capacity of MOPH staff to detect emerging infectious diseases of importance to the Thai people. The CDC-MOPH collaboration led to the development of the MOPH emergency operations center (EOC) in 2014, which is today the control center of the response to COVID-19. In the EOC, you will find many U.S.-trained Thai experts who have received state of the art training in the United States and here in Thailand to enhance their public health management.
Since 1961, the United States Agency for International Development (USAID) has worked with Thai doctors, nurses, and researchers to improve the health of the people of Thailand. Over these six decades, the American people, through USAID, have contributed more than $1 billion to support Thailand, including almost $2 million just last month to assist Thailand’s response to the COVID-19 pandemic.
Another U.S. government agency, the Armed Forces Research Institute of Medical Sciences (AFRIMS), traces its roots back over 57 years as a military medical collaboration between the U.S. Army and the Royal Thai Army. The U.S. Army and MOPH collaborated on the famous “moon landing of HIV vaccine research,” the RV144 trial in Thailand that first demonstrated the possibility of preventing HIV infection, back in 2003. The leader of that trial from the U.S. Army side is now a very recognizable face: Dr. Deborah Birx, the State Department Ambassador who is now the coordinator for the White House Coronavirus Task Force. The AFRIMS-Royal Thai Army relationship has also been very successful in researching tropical infectious diseases and developing therapeutics, vaccines, and other measures to protect Americans and Thais alike. These combined efforts in research and development, in conjunction with separate academic research supported by the National Institutes of Health, have led to significant decreases in such diseases as Japanese encephalitis, Hepatitis A, malaria, and HIV.
The strong history of U.S.-Thai collaboration on health extends back almost 200 years to Dr. Dan Beach Bradley’s contributions to early Thai medicine in the 1830’s, and over 100 years since the “Father of Modern Medicine” in Thailand, Prince Mahidol of Songkhla, devoted his life to health care during his studies at Harvard University. It was in Massachusetts that the Prince negotiated an agreement with the Rockefeller Foundation to provide seed funding for education in Thailand’s burgeoning medicine, nursing, and public health institutions.
The prominence of Thailand’s science and medical facilities today was borne from these early seeds of U.S.-Thai public-private health collaboration, instigated by Prince Mahidol and the generations of Thai students that followed him at U.S. universities. The U.S. and Thailand continue to build resilient health care systems throughout the Indo-Pacific region that can prevent, detect, and respond to infectious disease outbreaks. Just as together we have made the world more healthy, peaceful, and prosperous for generations, so will we lead in defeating our shared pandemic enemy and rising stronger in its wake.
In the international arena, the U.S. government continues to support Thailand’s leadership role in the Global Health Security Agenda (GHSA) – a group of 67 countries, international organizations, NGOs, and private sector companies with the goal to have a world safe and secure from infectious disease threats.
The U.S. has been the largest contributor to the World Health Organization (WHO) since 1948. In 2019 alone, the United States gave more than $400 million to the WHO. That’s nearly double the contribution of the second-largest contributor.
The same goes for the United Nations Children’s Fund (UNICEF), which is engaged in emergency actions across the globe. In 2019, the U.S. supported UNICEF with $700 million. Likewise, the World Food Program, which has sent 85 shipments of food and PPE to 74 countries battling the virus. We provided $8 billion in resources last year – 42% of its total budget.
The United States has always understood that global health security depends on resilient, transparent, and responsive health care systems. That’s why one-third of America’s entire foreign-assistance budget goes to international health programs, or nearly $120 billion, since 2001.
That includes the aid the United States offered to the Chinese people in the earliest phases of the COVID-19 pandemic. As one of the first countries to offer assistance to China in early February, the U.S. transported nearly 18 tons of medical supplies from the American people to Wuhan, China, on the same planes that would return full of American citizen evacuees. Later that week, we pledged to spend up to $100 million to assist China and other impacted countries through multilateral organization and bilateral assistance, to fight what would become a pandemic. President Trump has now increased that amount to $274 million in total.
Beyond government assistance, it is also important to remember that as a promoter of private sector development, the United States relies on its citizens, businesses, NGOs and charities to contribute to humanitarian causes worldwide. Just as private-public sector collaboration was instrumental in developing Thailand’s health system infrastructure, so it continues to be in the fight against COVID-19 and other infectious diseases. That is why private American institutions, including the Bill and Melinda Gates Foundation, have given a combined total of $1.5 billion to fight the pandemic overseas. History has shown that when we bring our governments and private sectors together, in both the United States and Thailand, there is no limit to what we can achieve – particularly in the field of health – during these challenging times.
(The Thai version of this Op-Ed was originally published in Thai Rath newspaper on April 7, 2020.)
By U.S. Embassy Bangkok | 7 April, 2020 | Topics: Ambassador, U.S. & Thailand | Tags: Ambassador DeSombre's Op-Eds, COVID-19, Op-Ed, Op-Ed by the Ambassador | Tackling COVID-19: The Latest Challenge for U.S.-Thai Health Cooperation | การต่อสู้กับโรคโควิด-19: ความท้าทายล่าสุดของความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างสหรัฐฯ และไทย |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-support-for-asean-in-fighting-covid-19-th/ | เอกสารข้อเท็จจริง
สำนักงานโฆษก
วันที่31มีนาคม พ.ศ. 2563
ในฐานะผู้นำด้านการสาธารณสุขของโลกและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคโควิด-19 สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนมิตรประเทศอาเซียนของเราในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรค รัฐบาลสหรัฐฯมอบความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินและด้านมนุษยธรรม มูลค่าประมาณ 18.3 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนและจนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2563 สหรัฐฯ มอบความช่วยเหลือเบื้องต้นในด้านดังกล่าวมูลค่าเกือบ 274 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับนานาประเทศที่ขาดแคลน อันเป็นจำนวนที่นอกเหนือไปจากเงินช่วยเหลือที่เราได้มอบให้กับองค์การพหุภาคีต่างๆ เช่น องค์การอนามัยโลก และองค์การยูนิเซฟ
เงินช่วยเหลือจำนวนนี้ประกอบไปด้วยความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินมูลค่าเกือบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านกองทุนสำรองเพื่อการสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินระดับโลก (Global Health Emergency Reserve Fund) ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านบัญชีความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติระดับสากล (International Disaster Assistance) ของ USAID ซึ่งจะมอบให้กับประเทศต่างๆ ที่กำลังเผชิญความเสี่ยงสูงสุดจากภัยคุกคามของโรคระบาดระดับโลกนี้ เป็นจำนวนสูงถึง 64 ประเทศ นอกจากนี้แล้ว สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่า 64 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านสำนักงานกิจการประชากร ผู้ลี้ภัยและการโยกย้ายถิ่น กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อการรับมือกับภัยจากโรคโควิด-19 ในวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลกลุ่มเปราะบางที่สุดส่วนหนึ่งของโลก
เงินช่วยเหลือก้อนใหม่สำหรับอาเซียนเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19
เงินช่วยเหลือที่สหรัฐฯ มอบให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19 มีเป้าหมายดังต่อไปนี้
เตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากตัวอย่างจำนวนมาก
ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารความเสี่ยง
ดำเนินแผนการฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่จุดผ่านแดนต่างๆ
เริ่มดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับอาการป่วยที่มีลักษณะคล้ายไข้หวัดใหญ่
ฝึกอบรมและเตรียมความพร้อมด้านทักษะการสืบสวนโรคและติดตามผู้สัมผัสโรคให้กับบุคลากรตอบสนองเร่งด่วน
ปรับปรุงเอกสารการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุขให้มีเนื้อหาที่ทันสมัย
หน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เป็นแกนหลักในการตอบสนองสถานการณ์การระบาดในระดับสากล เช่น กระทรวงการต่างประเทศ, USAID และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC) กำลังทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อจัดสรรเงินช่วยเหลือ โดยพิจารณาจากพื้นที่ที่เผชิญความเสี่ยงสูงจากโรคโควิด-19 และมีความเปราะบางต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังประสานงานกับผู้บริจาครายอื่นเพื่อเสริมสร้างความช่วยเหลือและหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่ซ้ำซ้อนกัน
ความช่วยเหลือหลักในด้านสาธารณสุขที่สหรัฐฯ มอบให้กับอาเซียน
นอกไปจากความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินข้างต้นแล้ว สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนมูลค่าเกือบ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เราเป็นผู้นำระดับโลกในด้านดังกล่าว โดยในปี 2562 ได้จัดสรรเงินมากกว่า 9,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเสริมสร้างการสาธารณสุขในต่างแดน ซึ่งรวมไปถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความช่วยเหลือจำนวนนี้รวมไปถึงเงินสนับสนุนการต่อต้านภัยคุกคามจากโรคระบาด เอชไอวี/เอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค ตลอดจนความจำเป็นด้านสาธารณสุขอื่นๆ นับตั้งแต่ปี 2552 ผู้เสียภาษีชาวอเมริกันได้สนับสนุนความช่วยเหลือทั่วโลกในด้านสาธารณสุข 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และด้านมนุษยธรรมอีกเกือบ 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศของเราจะยังคงเป็นประเทศผู้บริจาคด้านสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรมรายใหญ่ที่สุด เพื่อความพยายามในการพัฒนาระยะยาวและสร้างศักยภาพของประเทศหุ้นส่วนต่างๆ ไปจนถึงความพยายามในการรับมือฉุกเฉินยามที่เผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำอีกด้วย เงินจำนวนนี้ได้ช่วยรักษาชีวิตผู้คน ปกป้องกลุ่มประชากรเปราะบางที่สุดต่อโรคภัยไข้เจ็บ สร้างสถาบันด้านสาธารณสุข อีกทั้งสร้างเสริมเสถียรภาพของชุมชนและประเทศชาติมาแล้วมากมาย
ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินด้านโรคโควิด-19 ที่สหรัฐฯ มอบให้กับอาเซียน (จนถึง 26 มีนาคม โดยจำแนกตามประเทศ)
สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและการเงินแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในเบื้องต้นคิดเป็นมูลค่า 18.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายละเอียดดังนี้
บรูไน
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประสานไปยังบริษัทในสหรัฐฯ ตามคำขอของบรูไนเพื่อจัดหาเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) หลังจากที่อุปกรณ์เหล่านี้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานภายในสหรัฐฯ แล้ว
กัมพูชา
ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่าประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ จะช่วยรัฐบาลกัมพูชาเตรียมความพร้อมของระบบห้องปฏิบัติการ เริ่มดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการรับมือและเตรียมความพร้อม ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ
CDC ให้ความช่วยเหลือกัมพูชาเกี่ยวกับการจัดการการติดตามผู้สัมผัสโรค การตรวจในห้องปฏิบัติการ การเฝ้าระวัง และการควบคุมการติดเชื้อ
แพทย์โรคติดเชื้อจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้การปรึกษาทางคลินิกและพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยกับโรงพยาบาลรอยัลพนมเปญ (ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ของกัมพูชา)
สหรัฐฯ มอบเงินช่วยเหลือให้กับกัมพูชามาเป็นเวลานาน โดยเป็นความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่ากว่า 730 ล้านเหรียญสหรัฐ และความช่วยเหลือต่างๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
อินโดนีเซีย
ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่า 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ จะช่วยรัฐบาลอินโดนีเซียเตรียมความพร้อมของระบบห้องปฏิบัติการ เริ่มดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการรับมือและเตรียมความพร้อม ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ
CDC กำลังให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของอินโดนีเซียขณะที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ได้มอบน้ำยาตรวจเพิ่มเติมอีก 500 ชุด เมื่อเดือนมีนาคม
สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และความช่วยเหลือต่างๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
ลาว
ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่าเกือบ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ จะช่วยรัฐบาลลาวเตรียมความพร้อมของระบบห้องปฏิบัติการ เริ่มดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการรับมือและเตรียมความพร้อม ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ กระทรวงกลาโหมกำลังดำเนินการเพื่อส่งมอบอุปกรณ์ตรวจให้เพิ่มเติม
ผู้เชี่ยวชาญจาก CDC จำนวน 6 คน ได้เดินทางไปยังประเทศลาว เพื่อฝึกอบรมด้านระบาดวิทยา การเฝ้าระวัง และห้องปฏิบัติการ
CDC และกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ นำการฝึกซ้อมแผนและการฝึกซ้อมแบบเสมือนจริงเพื่อบรรเทาสถานการณ์โรคโควิด-19 ร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างๆ ของรัฐบาลลาวเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งรวมไปถึงการฝึกซ้อมแบบเสมือนจริงในการเตรียมพร้อมและรับมือโรคโควิด-19 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต เมื่อวันที่ 19-20 มีนาคม
สำนักงานบรรเทาภัยคุกคามด้านการป้องกันประเทศ (DTRA) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนและการฝึกอบรมโดยเฉพาะในโครงการบรรเทาภัยคุกคามทางชีวภาพ แก่กระทรวงสาธารณสุขของลาวเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการตรวจโรคโควิด-19 อย่างมืออาชีพ
สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่าเกือบ 92 ล้านเหรียญสหรัฐ และความช่วยเหลือต่างๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 348 ล้านเหรียญสหรัฐกับลาวตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
มาเลเซีย
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ช่วยหาบริษัทในสหรัฐฯ ที่สามารถจัดหาเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้กับรัฐบาลมาเลเซีย หลังจากที่อุปกรณ์เหล่านี้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานภายในสหรัฐฯ แล้ว
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นผู้ประสานระหว่างสถาบันเพื่อการวิจัยทางการแพทย์มาเลเซียกับบริษัทและหน่วยงานต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมการตรวจแอนติเจนและการพัฒนาวัคซีน
เมียนมา
เงินช่วยเหลือด้านสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรมมูลค่าประมาณ 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐ จะนำไปใช้สำหรับจัดหาน้ำและผลิตภัณฑ์สุขอนามัย การจัดการผู้ป่วยโรคโควิด-19 การเฝ้าระวังเหตุการณ์ การประสานงาน ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ
CDC ช่วยเหลือกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา จัดการประชุมให้ความรู้ทางไกลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ผ่านระบบออนไลน์ทั่วประเทศ โดยให้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันกาลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นแนวหน้าในพื้นที่กว่า 100 จุดทั่วเมียนมา
CDC ยังให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการเกี่ยวกับระบาดวิทยา การเฝ้าระวัง และการตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ แก่หน่วยระบาดวิทยากลาง และห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุขแห่งชาติของเมียนมา ตลอดจนจัดการประชุมปรึกษาหารือด้านวิชาการรวม 2 ครั้ง
สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่ากว่า 176 ล้านเหรียญสหรัฐ และความช่วยเหลือต่างๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับเมียนมาตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
ฟิลิปปินส์
ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่าเกือบ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ จะช่วยรัฐบาลฟิลิปปินส์เตรียมความพร้อมของระบบห้องปฏิบัติการ เริ่มดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการรับมือและเตรียมความพร้อม การสื่อสารความเสี่ยง การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ฟิลิปปินส์ เฉพาะด้านสาธารณสุขเพียงด้านเดียว มีมูลค่ามากกว่า 582 ล้านเหรียญสหรัฐ และความช่วยเหลือต่างๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้นเกือบ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
สำนักงานบรรเทาภัยคุกคามด้านการป้องกันประเทศ (DTRA) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้มอบอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่จัดซื้อจากผู้จำหน่ายในประเทศ ตลอดจนอุปกรณ์และวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรม การฝึกซ้อม และห้องปฏิบัติการ
ประเทศไทย
ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ จะช่วยรัฐบาลไทยเตรียมความพร้อมของระบบห้องปฏิบัติการ เริ่มดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการรับมือและเตรียมความพร้อม การสื่อสารความเสี่ยง การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ
CDC ในสหรัฐฯ และทีมในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ให้การสนับสนุนทางห้องปฏิบัติการและความช่วยเหลือในขั้นตอนการนำผู้ป่วยสัญชาติไทยกลับจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน
CDC ได้ให้คำแนะนำด้านการสื่อสารความเสี่ยง การแปลเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการสาธารณสุขที่นอกเหนือจากด้านการแพทย์ และขั้นตอนการคัดกรองที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง
DTRA กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ให้ข้อมูลลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสเพื่อการวินิจฉัยและเฝ้าระวังโรค รวมถึงจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่จัดซื้อจากผู้จำหน่ายในประเทศ ให้กับไทย
ความช่วยเหลือระยะยาวที่สหรัฐฯ มอบให้ไทยรวมไปถึงความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขกว่า 213 ล้านเหรียญสหรัฐ และความช่วยเหลือต่างๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
เวียดนาม
ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขมูลค่าเกือบ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ จะช่วยรัฐบาลเวียดนามเตรียมความพร้อมของระบบห้องปฏิบัติการ เริ่มดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการรับมือและเตรียมความพร้อม การสื่อสารความเสี่ยง การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ
CDC โดยความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การฝึกอบรมกับโรงพยาบาล 15 แห่ง ตลอดจนช่วยฝึกอบรมเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การรายงาน และการเก็บตัวอย่างของโรคโควิด-19 ใน 63 จังหวัด ทั้งยังช่วยเหลือเวียดนามพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคโควิด-19 ระดับประเทศ
รัฐบาลเวียดนามได้ร้องขอการสนับสนุนน้ำยาตรวจโควิด-19 ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับ DTRA เพื่อจัดหาน้ำยาที่ผลิตได้ในประเทศ
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขกว่า 706 ล้านเหรียญสหรัฐ และความช่วยเหลืออื่นๆ ทั้งสิ้นรวมมูลค่ากว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ กับเวียดนาม
อาเซียนในภาพรวม โครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ ของสหรัฐฯ ช่วยเสริมสร้างความชำนาญของบุคลากรทางการแพทย์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการต่อสู้กับโรคโควิด-19แพทย์กว่า 1,400 คน จากประเทศสมาชิกอาเซียน ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียนนักวิชาการในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์หลายแห่งของสหรัฐฯ นอกจากนี้ บุคลากทางการแพทย์และสาธารณสุขจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก 1,000 คน ยังเป็นศิษย์เก่าของโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ด้วย
ในระดับภูมิภาค สหรัฐฯ เดินหน้าสนับสนุนการวิจัยในประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านทาง NIH ซึ่งการวิจัยเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ รวมถึงการบำบัดรักษา วัคซีน และมาตรการรับมือทางการแพทย์ตัวอย่างของงานวิจัยจากความร่วมมือระหว่าง NIH และหน่วยงานภาคีในอาเซียน ได้แก่ การรักษาและการป้องกันโรคมาลาเรีย การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว และงานวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุข
สหรัฐฯ ดำเนินโครงการต่างๆ ในระดับภูมิภาค ผ่าน USAID และ CDC เพื่อยกระดับขีดความสามารถของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาด และสร้างศักยภาพด้านการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ อันได้แก่
การปรับปรุงความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและความปลอดภัยทางชีวภาพทั่วอาเซียนโดยCDC ด้วยการรับรองตู้ชีวนิรภัยที่มีมาตรฐานขั้นสูง
โครงการฝึกอบรมโดย CDC ให้กับประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย) เกี่ยวกับวิธีการรับมือกับภัยจากโรคไข้หวัดใหญ่อุบัติใหม่ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562
การสนับสนุนของ USAID มาอย่างยาวนานผ่านโครงการ One Health Workforce–Next Generation ในประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย และไทย เพื่อเตรียมพร้อม ป้องกัน ตรวจหา และรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ก่อนที่จะพัฒนาเป็นการแพร่ระบาดที่รุนแรงโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงการจัดกำลังคนในระบบสาธารณสุขและหลักสูตรสาธารณสุขในมหาวิทยาลัย โดยนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา นักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญกว่า 10,000 คน ได้ผ่านการฝึกอบรมในหัวข้อโรคติดต่อต่างๆ ผ่านโครงการ Southeast Asia One Health University Network (SEAOHUN)
ความร่วมมือระหว่าง USAID กับกระทรวงสาธารณสุขของไทยในการก่อตั้งเครือข่ายห้องปฏิบัติการสาธารณสุขระดับภูมิภาค (RPHL) เพื่อแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรด้านโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ทั่วอาเซียน นับตั้งแต่มีการก่อตั้งเครือข่ายนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562
โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 เมษายน, 2020 | ประเภท: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, เอกสารข้อเท็จจริง | FACT SHEET
OFFICE OF THE SPOKESPERSON
MARCH 31, 2020
As the leader in the global health and humanitarian response to COVID-19, the United States has acted swiftly to support our ASEAN partners in combating the COVID-19 virus. Since the outbreak began, the U.S. government hasprovided approximately $18.3 million in emergency health and humanitarian assistance to ASEAN Member States. Globally, as of March 26, 2020, the United States is providing an initial investment of nearly $274 million in emergency health and humanitarian assistance to help countries in need, on top of the funding we already provide to multilateral organizations such as the World Health Organization and UNICEF.
This total to date includes nearly $100 million in emergency health assistance from USAID’s Global Health Emergency Reserve Fund and $110 million in humanitarian assistance from USAID’s International Disaster Assistance account, to be provided for up to 64 of the most at-risk countries facing the threat of this global pandemic. Through the State Department’s Bureau of Population, Refugees, and Migration, the UN Refugee Agency (UNHCR) will receive $64 million in humanitarian assistance to help address the threats posed by COVID-19 in existing humanitarian crisis situations for some of the world’s most vulnerable people.
New Funding to Support ASEAN in Fighting COVID-19:
U.S. funding to ASEAN countries on COVID-19 supports the following goals:
Prepare laboratories for large-scale testing for COVID-19;
Infection prevention and control;
Enable risk communication;
Implement public-health emergency plans for border points of entry;
Activate case-finding and event-based surveillance for influenza-like illnesses;
Train and equip rapid-responders in investigation and contact-tracing;
Update training materials for health workers.
U.S. government agencies spearheading out international response, including The Department of State, USAID, and the U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) are working closely to allocate funds based on COVID-19 hotspots and vulnerabilities. The United States also coordinates with other donors to complement assistance and avoid duplicating efforts.
America’s Leading Support for ASEAN’s Public Health
This emergency support is in addition to thenearly $3.5 billion dollars in public health assistance the United States has provided to ASEAN Member States over the last twenty years. The United States is the global leader in public health assistance, with more than $9.5 billion allocated in 2019 to support public health overseas, including in Southeast Asia. This amount includes funding to counter pandemic threats, HIV/AIDS, malaria, tuberculosis (TB), and other health needs. Since 2009, American taxpayers have generously funded more than $100 billion in health assistance and nearly $70 billion in humanitarian assistance globally. Our country continues to be the single largest health and humanitarian donor for both long-term development and capacity building efforts with partners, and emergency response efforts in the face of recurrent crises. This money has saved lives, protected people who are most vulnerable to disease, built health institutions, and promoted the stability of communities and nations.
U.S. Emergency COVID-19 Support for ASEAN Countries (by country, as of March 26):
The United States is providing both technical assistance and financial support to ASEAN Member States, initially $18.3 million. That support is outlined below:
Brunei:
The Department of State conveyed Brunei’s request to U.S. companies for availability of respirators and Personal Protective Equipment (PPE) after U.S. domestic demands are met.
Cambodia:
Approximately$2 million in health assistancewill help the Cambodian government prepare laboratory systems, activate case-finding and event-based surveillance, and support technical experts for response and preparedness, and more.
The CDC is assisting Cambodia with contact tracing clinical management, lab testing, surveillance, and infection control.
A U.S. National Institutes of Health (NIH) infectious disease physician is assisting with clinical consultations, and developing clinical care guidelines for the Royal Phnom Penh Hospital (Cambodia’s designated treatment hospital).
The United States has invested long-term in Cambodia, providingmore than $730 million in healthand more than $1.6 billion in total assistance over the past 20 years.
Indonesia:
$2.3 million in health assistancewill help the Indonesian government prepare laboratory systems, activate case-finding and event-based surveillance, and support technical experts for response and preparedness, and more.
CDC has provided technical assistance to Indonesian health officials. The U.S. Army-led Armed Forces Research Institute of Medical Sciences (AFRIMS), based in Bangkok, provided reagents to run an additional 500 tests in March.
The United States has investedmore than $1 billion in healthand more than $5 billion in total assistance over the past 20 years.
Laos:
Nearly $2 million in health assistancewill help the Lao government prepare laboratory systems, activate case-finding and event-based surveillance, and support technical experts for response and preparedness, and more. The Department of Defense (DOD) is working to provide additional testing equipment.
Six CDC specialists traveled to Laos to provide epidemiology, surveillance, and lab training.
The CDC and DOD led a table-top exercise and simulation with Laos government partners in March on COVID-19 mitigation. This included a simulation exercise on COVID-19 readiness and response at Wattay International Airport on 19-20 March
Ongoing U.S. Defense Threat Reduction Agency (DTRA) support and training, particularly the Biological Threat Reduction Program, support Lao Ministry of Health capacity to professionally test for COVID-19.
The United States has investednearly $92 million in healthand more than $348 million total over the past 20 years in Laos.
Malaysia:
The Department of State is identifying U.S. companies that can supply the Malaysian government with ventilators and PPE after U.S. domestic demands are met.
The Department of State is seeking to link the Malaysian Institute of Medical Research with appropriate companies and agencies for assistance with antigen testing and vaccine development training.
Myanmar:
Approximately $3.8 million in health and humanitarian fundingwill go toward water and sanitation supplies, COVID-19 case management, event-based surveillance, coordination, and more.
TheCDChelped the Ministry of Health and Sports to launch a nationwide online tele-mentoring session on COVID-19, that is providing Myanmar’s frontline health workers with timely, accurate information on the outbreak at 100+ locations nationwide.
The CDC is also providing technical assistance on epidemiology, surveillance and laboratory case detection to the Myanmar’s Central Epidemiology Unit and the National Health Laboratory, and organized two rounds of technical consultations.
The United States has investedmore than $176 million in healthand more than $1.3 billion in total U.S. assistance over the past 20 years in Myanmar.
Philippines:
Nearly $4 million in health assistancewill help the Philippines government prepare laboratory systems, activate case-finding and event-based surveillance, support technical experts for response and preparedness, risk communication, infection prevention and control, and more. The United States has investedmore than $582 million in the Philippines’ health aloneand nearly $4.5 billion in total assistance over the past 20 years.
The Department of Defense’s Defense Threat Reduction Agency (DTRA) provided locally sourced PPE, training, exercises, and laboratory equipment and materials.
Thailand:
Approximately$1.2 million in health assistancewill help the Thai government prepare laboratory systems, activate case-finding and event-based surveillance, support technical experts for response and preparedness, risk communication, infection prevention and control, and more.
CDC in the United States and through its in-country team in U.S. Embassy Bangkok – have provided lab support and assistance with processing Thai national patients returning from Wuhan, China.
CDC has provided advice on risk communication, translation of technical materials, information on non-medical public health measures, and screening procedures at ports of entry.
The Department of Defense’s DTRA provided a genetic sequencer for diagnostic, surveillance, and locally sourced PPE.
U.S. long term assistance in Thailand includesmore than $213 million in healthand more than $1 billion in total assistance over the past 20 years.
Vietnam:
Nearly $3 million in health assistancewill help the Vietnamese government prepare laboratory systems, activate case-finding and event-based surveillance, support technical experts for response and preparedness, risk communication, infection prevention and control, and more.
The CDC provided training to 15 hospitals in conjunction with the WHO, and has helped train for 63 provinces on COVID-19 surveillance, reporting, and sample collection, and is supporting Vietnam in developing its National Infection Prevention and Control guidelines for COVID-19.
The Vietnamese government has requested support for COVID-19 testing reagents, which is currently being coordinated with DTRA for local sourcing.
Over the past 20 years, the United States has investedmore than $706 million in healthassistance and more than $1.8 billion in total assistance for Vietnam.
ASEAN-wide:U.S. exchange programs have strengthened the expertise of the Southeast Asian medical professionals leading their countries’ fight against COVID-19. More than 1,400 physicians from ASEAN countries have been visiting scholars at U.S. universities and medical schools. Another 1,000 Southeast Asian medical and public health professionals are alumni of U.S.-sponsored exchange programs in their fields.
Regionally, the United States through NIH is active in supporting research in ASEAN countries key to countering pandemics, including on therapeutics, vaccines, and medical countermeasures. Examples include NIH work with ASEAN partners on malaria treatment and prevention, bat coronavirus spillover events, and other research of public health benefit.
The United States, through USAID and the CDC, has regional programs to boost ASEAN country capacity to prepare for outbreaks and build lab diagnostic capabilities. These include:
CDC improvements to laboratory safety and biosecurity across ASEAN, by certifying high-standard biological safety cabinets.
A CDC training course for Mekong countries (Burma, Laos, Cambodia, Vietnam and Thailand) on how to counter emerging influenza threats, held in November 2019
Long-standing USAID support through the One Health Workforce – Next Generation project to ASEAN countries, including Indonesia, Vietnam, Malaysia, and Thailand, to prepare for, prevent, detect, and respond to public health emergencies before they pose an overwhelming pandemic threat. The project aims to transform the health workforce and university public health curricula. Since 2014, over 10,000 students and professionals have been trained in infectious disease topics through the Southeast Asia One Health University Network (SEAOHUN).
USAID partnership with the Thailand Ministry of Public Health to build a Regional Public Health Laboratory (RPHL) network, sharing information and resources on emerging infectious diseases across ASEAN since the network’s launch in November 2019.
By U.S. Embassy Bangkok | 1 April, 2020 | Topics: East Asia & Pacific, Fact Sheets | Tags: COVID-19, Global Health, Humanitarian Aid | U.S. Support for ASEAN in Fighting COVID-19 | สหรัฐอเมริกาสนับสนุนอาเซียนต่อสู้โรคโควิด-19 |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-foreign-assistance-in-response-to-the-covid-19-pandemic-th/ | แถลงการณ์
ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ
26 มีนาคม 2563
รัฐบาลสหรัฐฯ เร่งระดมทรัพยากรมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศ วันนี้ผมมีความยินดีที่จะประกาศว่า สหรัฐฯ ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินและด้านมนุษยธรรม มูลค่าเกือบ 274 ล้านเหรียญสหรัฐ ประชาชนชาวอเมริกันตลอดจนภาคเอกชนสหรัฐฯ ยังคงนำหน้าในการรับมือการแพร่ระบาดครั้งนี้
เงินช่วยเหลือมูลค่า 274 ล้านเหรียญสหรัฐในวันนี้ จะมอบให้กับประเทศที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่สุดในโลก 64 ประเทศ เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดได้ดียิ่งขึ้น และมอบให้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางที่สุดในโลก ความช่วยเหลือครั้งใหม่นี้ ได้แก่ ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินมูลค่าเกือบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ความช่วยเหลือด้านภัยพิบัติระหว่างประเทศก้อนใหม่มูลค่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินช่วยเหลือก้อนนี้กับเงินช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉิน จะมอบให้กับประเทศต่างๆ ถึง 64 ประเทศที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น มาตรการรับมือของเรายังรวมไปถึงเงินมูลค่า 64 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่มอบให้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือกับการแพร่ระบาดในกลุ่มประชาชนที่เปราะบางที่สุดในโลก
เงินช่วยเหลือก้อนใหม่นี้เกิดขึ้นจากความเป็นผู้นำตลอดหลายทศวรรษของสหรัฐฯ ในด้านการสาธารณสุขของโลกและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม นับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ผู้เสียภาษีชาวอเมริกันได้สนับสนุนความช่วยเหลือทั่วโลกในด้านสาธารณสุข 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และด้านมนุษยธรรมอีกเกือบ 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศของเราจะยังคงเป็นประเทศผู้บริจาคด้านสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรมรายใหญ่ที่สุด เพื่อความพยายามในการพัฒนาระยะยาวและสร้างศักยภาพของประเทศหุ้นส่วนต่างๆ ไปจนถึงความพยายามในการรับมือฉุกเฉินยามที่เผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำอีกด้วย
สหรัฐฯ จะยังคงเดินหน้าเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เงินก้อนนี้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น นอกเหนือไปจากการให้เงินช่วยเหลือที่มีอยู่แล้วผ่านองค์การพหุภาคีต่างๆ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) นอกจากเงินช่วยเหลือในวันนี้แล้ว เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ประธานาธิบดีทรัมป์ยังได้ลงนามในกฎหมายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมในการเตรียมความพร้อมและการรับมือเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Preparedness and Response Supplemental Appropriations Act) ซึ่งรวมไปถึงเงินช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มเติมอีก 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ทั่วโลกรับมือกับการแพร่ระบาดครั้งนี้
ด้วยเงินบริจาคและเงินช่วยเหลือรวมมูลค่ากว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งจากบรรดาธุรกิจ องค์กรนอกภาครัฐ และองค์กรการกุศลของสหรัฐฯ รวมไปถึงผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมของหุ้นส่วนในต่างประเทศ เรากำลังรวมพลังในฐานะชาติเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสร้ายแรงนี้ เรายังยินดีรับเงินบริจาคที่ต่อเนื่องและไม่มีเงื่อนไขจากผู้บริจาครายอื่นๆ ด้วย เพื่อเร่งรัดความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่ทั่วโลกในการรับมือเชื้อไวรัสชนิดนี้
ความเป็นผู้นำของเราในการรับมือโรคโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งประจักษ์พยาน ที่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของเรา ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ของเรา รวมไปถึงประชาชนของเรา จะยังคงเป็นผู้ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ เงินช่วยเหลือเพิ่มเติม ภาคเอกชน และจิตวิญญาณอันเอื้อเฟื้อของอเมริกันชน สหรัฐอเมริกาเป็นและจะยังคงเป็นผู้นำในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่อันตรายนี้ ไปจนถึงภัยคุกคามที่เชื้อโรคนี้มีต่อสาธารณสุขและความมั่นคงของโลก
โดย U.S. Mission Thailand | 30 มีนาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว | PRESS STATEMENT
MICHAEL R. POMPEO, SECRETARY OF STATE
MARCH 26, 2020
The U.S. government has rapidly mobilized unprecedented resources to respond to the COVID-19 pandemic, both at home and abroad. Today, I am pleased to announce that the United States has made available nearly $274 million in emergency health and humanitarian funding. Along with the U.S. private sector, the American people continue to lead in responding to this pandemic.
Today’s $274 million will provide resources to 64 of the world’s most at-risk countries to better combat the pandemic and enable the UN High Commissioner on Refugees to assist some of the world’s most vulnerable populations. These new pledges include nearly $100 million in emergency health assistance. It also now includes $110 million in new international disaster assistance, which together with our emergency health funding, will be provided for up to 64 of the most at-risk countries. Importantly, our response adds $64 million in humanitarian assistance for the UN High Commissioner for Refugees (UNHCR) to assist in its pandemic response efforts for some of the world’s most vulnerable populations.
Today’s new funding builds upon decades of U.S. leadership in global health and humanitarian assistance. Since 2009, American taxpayers have generously funded more than $100 billion in health assistance and nearly $70 billion in humanitarian assistance globally. Our country continues to be the single largest health and humanitarian donor for both long-term development and capacity building efforts with partners, and emergency response efforts in the face of recurrent crises.
The United States will continue to take action to combat the COVID-19 pandemic. This funding is an initial investment, on top of the continuing funding we already provide to multilateral organizations such as the World Health Organization and UNICEF. In addition to today’s investments, on March 6, President Trump signed the Coronavirus Preparedness and Response Supplemental Appropriations Act, which includes $1.3 billion in additional U.S. foreign assistance to help countries around the world respond to this pandemic.
With more than $1.5 billion in donations and assistance provided by American businesses, NGOs, and charitable organizations, and the incredible ongoing work of implementing partners overseas, we are truly mobilizing as a nation to confront this deadly virus. We welcome continued, no-strings-attached contributions from other donors to further catalyze global response efforts underway.
Our leadership in the COVID-19 response is another example of how America—our government, our businesses and organizations, and our people—continues to be the world’s greatest humanitarians. Between existing resources, supplemental funding, the private sector, and the generous spirit of the American people, the United States is leading – and will continue to lead – the effort to combat this dangerous pathogen and its threat to global health and security.
By U.S. Mission Thailand | 30 March, 2020 | Topics: News, U.S. Secretary of State | Tags: Statement | U.S. Foreign Assistance in Response to the COVID-19 Pandemic | สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือต่างประเทศเพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคโควิด-19 |
https://th.usembassy.gov/th/open-communication-key-during-public-health-crises-th/ | Army soldiers wearing protective suits spray disinfectant as a precaution against the new coronavirus at a shopping street in Seoul, South Korea, Wednesday, March 4, 2020. (AP Photo/Ahn Young-joon)
(แปลจากบทความของ ShareAmerica เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563)
หลังจากที่ได้ยินเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ เจ้าหน้าที่ในเกาหลีใต้ได้ตั้งห้องปฏิบัติการขึ้นหลายแห่งเพื่อสนับสนุนการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสให้ได้ 2 หมื่นคนต่อวัน ในไต้หวัน ทางการได้จัดแถลงข่าวประจำวันเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับสาธารณชนได้รับทราบ และกำจัดข่าวลือต่างๆ ส่วนในสหรัฐอเมริกา สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) เร่งพัฒนางานวิจัยวัคซีนที่เป็นไปได้แทบจะในทันที
ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นแล้วว่า การรับมือที่รวดเร็ว เปิดกว้าง และโปร่งใส ช่วยรักษาชีวิตผู้คนได้นับไม่ถ้วน
หัวใจของการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ คือ การแบ่งปันข้อมูลข่าวสารทั่วโลก ดังเช่นเมื่อ พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐฯ ตรวจพบผู้ป่วย 2 ราย ซึ่งอาศัยอยู่ห่างกัน 130 ไมล์ (ประมาณ 209 กิโลเมตร) มีอาการป่วยจากโรคไข้หวัดซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) ได้แจ้งเตือนไปยังประชาคมโลกอย่างรวดเร็ว
เพียง 9 วันหลังโรคไข้หวัดชนิดใหม่นี้ปรากฏขึ้นในซีกโลกตะวันตก เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้นำข้อมูลของลำดับพันธุกรรมฉบับสมบูรณ์ของเชื้อไวรัสชนิดนี้เข้าสู่ฐานข้อมูลสาธารณะ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้รู้ทันไวรัสตัวนี้ และภายใน 2 สัปดาห์หลังสามารถระบุได้ว่าไวรัสชนิดนี้คือไวรัส H1N1 ทาง CDC ก็พัฒนาชุดทดสอบเป็นผลสำเร็จและส่งชุดทดสอบเหล่านี้ไปยัง 140 ประเทศ
ในการแพร่ระบาดล่าสุดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) CDC ได้เสนอที่จะส่งเจ้าหน้าที่ไปยังเมืองอู่ฮั่นเมื่อวันที่ 6 มกราคม เพื่อช่วยสอบสวนการระบาด แต่รัฐบาลจีนมิได้ตอบรับข้อเสนอ กระทั่งในที่สุดบรรดาผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันได้เดินทางเข้าไปในประเทศจีนร่วมกับคณะขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่า แม้หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้แจ้งเตือนไปยังองค์การอนามัยโลก (WHO) ถึงการแพร่ระบาดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคมแล้ว แต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกลับยับยั้งรายละเอียดสำคัญที่ว่า เชื้อไวรัสสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้
“31 ธ.ค. นั่นเป็นวันเดียวกับที่ไต้หวันพยายามเตือน WHO เป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการติดต่อจากคนสู่คน” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ มอร์แกน ออร์เทกัส ทวีตข้อความเมื่อวันที่ 23 มีนาคม “ส่วนทางการจีนปิดปากแพทย์และปฏิเสธที่จะยอมรับว่าเป็นการติดต่อจากคนสู่คน กระทั่ง 20 ม.ค. ซึ่งตามมาด้วยหายนะ”
ในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี และเกาหลีใต้ ทางการได้ออกมาชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยอดผู้เสียชีวิตอยู่เป็นประจำ รวมไปถึงแบ่งปันข้อมูลระหว่างรัฐบาลและแจ้งข้อมูลให้กับสาธารณชนได้รับทราบ เพื่อช่วยกันชะลอการแพร่ระบาด
รัฐบาลทรัมป์ตั้งแผนรับมือเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วประเทศ โดยทุ่มงบประมาณหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ ไปในด้านสาธารณสุข และให้ทางการระดับรัฐ ระดับท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชน เข้ามามีส่วนในการต่อสู้กับโรคนี้ คณะทำงานเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นใหม่โดยรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนา ก็จัดให้มีการแถลงข่าวประจำวัน ซึ่งบรรดาผู้สื่อข่าวต่างมีอิสระที่จะถามคำถามอะไรก็ได้ตามแต่จะเลือกถาม
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่า แม้จะมีการแพร่ระบาด แต่เจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนในเมืองอู่ฮั่นกลับเดินหน้าเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนในวันที่ 18 มกราคม ซึ่งประชาชนหลายหมื่นคนรับประทานอาหารร่วมกัน และใช้ตะเกียบคีบอาหารให้กัน
ตลอดช่วงวิกฤต พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังพยายามปิดกั้นข้อมูลข่าวสารไม่ให้ไปถึงประชาชน และเมื่อหลี่ เหวินเลี่ยง แพทย์จากเมืองอู่ฮั่น เตือนเพื่อนร่วมงานของเขาเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดใหม่นี้ เขากลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวน และถูกบีบบังคับให้ลงนามในจดหมายที่ให้คำมั่นว่าจะไม่ทำเช่นนั้นอีก ต่อมานายแพทย์หลี่ป่วยจากโรคโควิด-19 ขณะรักษาผู้ป่วยและเสียชีวิตลงในวันที่ 6 กุมภาพันธ์
“รัฐบาลจีนรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงนี้ ระบุเชื้อได้ พวกเขารู้เรื่องนี้ก่อนใคร” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์หนึ่งเมื่อวันที่ 18 มีนาคม รัฐบาล “มิได้ทำสิ่งที่ถูกต้องและพาชีวิตผู้คนนับไม่ถ้วนไปตกอยู่ในความเสี่ยง”
โดย U.S. Mission Thailand | 30 มีนาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, ไม่มีหมวดหมู่ | Tags: shareamerica | Army soldiers wearing protective suits spray disinfectant as a precaution against the new coronavirus at a shopping street in Seoul, South Korea, Wednesday, March 4, 2020. (AP Photo/Ahn Young-joon)
(From ShareAmerica, March 26, 2020)
Within weeks of learning about the deadly coronavirus outbreak that originated in China, officials in South Korea stood up laboratories to support testing of 20,000 citizens per day. In Taiwan, authorities began daily press conferences to inform the public and dispel rumors. And in the United States, the National Institutes of Health quickly ramped up work on a possible vaccine.
History has shown that quick, open and transparent responses save countless lives.
Central to effective public health: sharing information worldwide. In 2009, for example, when U.S. health officials discovered two patients living 130 miles apart had symptoms of an unknown flu, the U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) quickly alerted the international community.
Just nine days after the new flu appeared in the Western Hemisphere, U.S. officials uploaded the virus’s complete genetic sequence to a publicly accessible database, giving scientists worldwide a head start. Within two weeks of identifying the H1N1 virus, CDC developed a test and shipped test kits to 140 countries.
With this latest outbreak of coronavirus (COVID-19), the CDC offered as early as January 6 to send officials to Wuhan to help investigate the outbreak. But the Chinese government did not respond to the request, until eventually U.S. experts joined a WHO mission to China on February 16.
Even after notifying the World Health Organization (WHO) of an outbreak on December 31, the Chinese Communist Party suppressed the critical detail that the virus can spread from person to person, the Wall Street Journal has reported.
“Dec. 31 — that’s the same day Taiwan first tried to warn WHO of human-human transmission,” State Department spokeswoman Morgan Ortagus tweeted March 23. “Chinese authorities meanwhile silenced doctors and refused to admit human-human transmission until Jan. 20, with catastrophic consequences.”
Meanwhile countries such as the U.S., Canada, France, Germany and South Korea all started providing regular updates on coronavirus infections and deaths, sharing information with each other and the public to help slow the spread.
The Trump administration instituted a “whole-of-America” coronavirus response dedicating billions of dollars to public health and involving state and local officials, the private sector and the public to combat the disease. The White House’s newly created coronavirus task force has daily press briefings where reporters are free to ask whatever questions they choose.
Despite the outbreak, party officials in Wuhan went forward with a January 18 Lunar New Year celebration where tens of thousands of people dined together, sharing food with chopsticks, according to the Wall Street Journal.
Throughout the crisis, the Chinese Communist Party has sought to block information from reaching the public. When Li Wenliang, a physician in Wuhan, warned his colleagues about a new coronavirus, he was interrogated by police and forced to sign a letter promising not to do it again. Li later contracted COVID-19 while treating a patient and died on February 6.
“The Chinese government knew about this risk, had identified it, they were the first to know,” U.S. Secretary of State Michael R. Pompeo said in a March 18 interview. The government “didn’t get it right and put countless lives at risk.”
By U.S. Mission Thailand | 30 March, 2020 | Topics: News | Open communication key during public health crises | การสื่อสารที่เปิดกว้างเป็นกุญแจสำคัญในช่วงวิกฤตด้านสาธารณสุข |
https://th.usembassy.gov/th/op-ed-by-ambassador-michael-george-desombre-th/ | ในบทความแสดงความคิดเห็นที่เผยแพร่ในสื่อไทยเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เรียกร้องให้สาธารณรัฐประชาชนจีนดูแลชีวิตให้ปลอดภัย ไม่ใช่รักษาหน้าของตนเอง
ครั้งหนึ่งมาร์ก ทเวน นักเขียนชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง เคยกล่าวไว้ว่า“คำโกหกสามารถเดินทางได้ครึ่งค่อนโลก ขณะที่ความจริงเพิ่งจะเริ่มสวมรองเท้า” คำกล่าวนั้นเป็นจริงอย่างยิ่งในศตวรรษที่21ในยุคสื่อสังคมของโลกปัจจุบัน น่าเศร้าที่เรามักจะเห็นข้อมูลเท็จไปถึงผู้รับสารในวงกว้างผ่านทางอินเทอร์เน็ตในเพียงชั่วพริบตาเดียวอยู่เสมอแม้กระนั้น เราทั้งหลายควรระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อกระบอกเสียงของรัฐบาลเผยแพร่ข้อมูลทฤษฎีสมคบคิดที่ประสงค์ร้ายและเป็นภัย
เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่13ที่ผ่านมา เมื่อโฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวหาสหรัฐอเมริกาอย่างผิดๆ ในเรื่องเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019
ข้อเท็จจริงที่ว่าการระบาดเริ่มจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย และที่ว่ารัฐบาลจีนทราบเรื่องนั้นก่อนใคร เป็นความจริงอย่างไม่มีข้อสงสัย เป็นไปได้ว่าไวรัสโคโรนาแพร่กระจายอยู่ในเมืองอู่ฮั่นตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน และรายงานของสื่อที่น่าเชื่อถือระบุว่ารัฐบาลจีนทราบเกี่ยวกับการระบาดในเมืองนั้นเมื่อวันที่17พฤศจิกายนปีที่แล้ว แพทย์ชาวจีนผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลพยายามรักษาผู้ป่วยกลุ่มแรกๆ อย่างแข็งขัน ขณะเดียวกันพวกเขาได้แจ้งเจ้าหน้าที่มณฑลและรัฐบาลจีนถึงการอุบัติของเชื้อไวรัส “คล้ายซาร์ส” ชนิดใหม่นี้
รัฐบาลจีนมีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญในการให้ข้อมูลอย่างโปร่งใสและครบถ้วนเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญของจีนทราบ แม้กระนั้น ทางการจีนกลับแจ้งข้อมูลดังกล่าวกับองค์การอนามัยโลก(WHO)ล่าช้า จึงทำให้การรับมือในระดับโลกล่าช้าออกไปด้วย
และที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ ทางการจีนดำเนินการอย่างเข้มงวดในการตรวจสอบและลงโทษประชาชนชาวจีนผู้กล้าหาญที่พยายามจะบอกความจริง นายหลี่ เหวินเหลียง จักษุแพทย์ผู้ซึ่งติดเชื้อและเสียชีวิตจากไวรัสนี้ในเวลาต่อมา ถูกทางการหูเป่ยซักถามและบังคับให้ลงชื่อสารภาพว่าเขาปล่อย “ข่าวลือที่ไม่จริง” ทางการจีนทำทุกวิถีทางเพื่อปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019ในขณะที่แพทย์ชาวจีนพยายามช่วยชีวิตผู้คนที่กำลังเจ็บป่วยนับสิบ นับร้อย ไปจนถึงนับพันรายอย่างกล้าหาญในเวลานั้น
เมื่อเวลาอันมีค่าผ่านไปหลายสัปดาห์และความรุนแรงของการระบาดปรากฏเด่นชัด เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนจึงเตรียมการอย่างครอบคลุมเพื่อปกป้องประชากรของตนเอง โดยเลือกที่จะให้ข้อมูลเช่นgenetic sequence dataเพียงบางส่วนเท่านั้น และยังคงบ่ายเบี่ยงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากนานาประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือ ร้องขอการเข้าถึงและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
หากว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ทำสิ่งที่ถูกต้องและแจ้งเตือนเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ดังกล่าว ทั้งประเทศจีน และแน่นอนว่าทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย อาจจะไม่ต้องเผชิญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพลเมืองของเราดังเช่นทุกวันนี้
ประชาชนจีนทราบว่า รัฐบาลจีนเป็นสาเหตุทำให้เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกในครั้งนี้ เมื่อสถานการณ์ทั้งหมดและข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายแพทย์หลี่เป็นที่ปรากฏ ประชาชนชาวจีนมีปฏิกิริยาในเรื่องนี้อย่างมาก แม้แต่แพลตฟอร์มสื่อสังคมของจีนที่ถูกรัฐบาลตรวจสอบโดยละเอียดอย่างWeiboก็เต็มไปด้วยหัวข้อที่สนทนากันอย่างกว้างขวาง เช่น “รัฐบาลอู่ฮั่นต้องขอโทษนายแพทย์หลี่ เหวินเหลียง” และ “เราต้องการเสรีภาพในการพูด” บทสนทนาเหล่านี้มีผู้เข้ามาดูหลายล้านคนก่อนที่จะถูกทางการจีนลบออกไป
แล้วตอนนี้เราจะทำอย่างไรกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019แพร่ระบาดจากอู่ฮั่นไปทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน เราต้องพยายามเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในการร่วมมือกันและแบ่งปันข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคนี้อย่างโปร่งใสในเวลาอันรวดเร็ว
ในประเทศไทย รัฐบาลสหรัฐอเมริกากำลังทำหน้าที่ของเราอยู่ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC)สหรัฐฯ ซึ่งมีสำนักงานนอกประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่กรุงเทพฯ ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยในการติดตามโรคติดเชื้อนี้ในประเทศไทยและให้การสนับสนุนด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา(USAID)มอบถุงมือ หน้ากากอนามัยและเสื้อกาวน์ หน้ากากพร้อมตัวกรองอนุภาค ถุงคลุมรองเท้าและแว่นตาป้องกันให้กับแพทย์และพยาบาลชาวไทยในเวลาที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ เราจะยังคงทำงานร่วมกับทางการไทยเพื่อกำจัดโรคนี้และปกป้องตนเองและคนที่เรารักไปด้วยกัน
ทว่า เมื่อเหตุการณ์วิกฤตบรรเทาลง เราควรพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด และประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความล้มเหลวในการร่วมมือกันระหว่างประเทศ ผลจากการปกปิดข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญ ผลกระทบของการบ่ายเบี่ยงที่จะแบ่งปันข้อมูลในช่วงต้นของการระบาด และผลร้ายของการให้ข้อมูลที่บิดเบือนตลอดช่วงเวลาของการระบาดใหญ่ครั้งนี้
แท้จริงแล้ว วีรบุรุษและวีรสตรีของเรื่องนี้คือแพทย์และพยาบาล ซึ่งหลายคนอยู่ในประเทศจีน พวกเขาเสี่ยงชีวิตของตนเองเพื่อหยุดยั้งโรคที่เลวร้ายนี้ และเตือนให้ผู้คนทั่วโลกได้รู้ถึงอันตรายของมัน ข้อมูลที่ถูกต้องจำเป็นต้องได้รับการเผยแพร่อย่างไร้ข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤต หน้าที่อย่างหนึ่งของรัฐบาลคือดูแลชีวิตให้ปลอดภัย ไม่ใช่รักษาหน้าของตนเอง
โดย U.S. Embassy Bangkok | 21 มีนาคม, 2020 | ประเภท: เอกอัครราชทูต | Tags: บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตดีซอมบรี | In an Op-Ed published in Thai press on March 21, 2020, Ambassador Michael George DeSombre calls on the People’s Republic of China to save lives, not save face.
The celebrated American author Mark Twain once said, “A lie can travel halfway around the world while the truth is putting its boots on.” That statement is especially true in the 21st Century. In today’s age of social media, it has unfortunately become normal to see false information reach a broad audience instantaneously through the internet. When a vicious and dangerous conspiracy theory is uttered from an official government mouthpiece, however, we should take particular notice.
That is exactly what happened this month when a spokesman for the Ministry of Foreign Affairs of the People’s Republic of China (PRC) leveled false accusations against the United States related to the COVID-19 virus.
The fact that the outbreak originated in Wuhan, Hubei province – and that the Chinese government was the first to know about it – is indisputable. The virus had been circulating in Wuhan since December, or earlier, according to Chinese government accounts. Doctors on the front lines frantically tried to treat the first patients even as they notified provincial and PRC government authorities of the emergence of this new “SARS-like” virus.
China had a special responsibility to be fully transparent about what its experts knew. Yet by early January, Chinese authorities had already ordered virus samples destroyed.
Even worse, Chinese authorities actively censored and punished the brave Chinese people who tried to tell the truth. Li Wenliang, an ophthalmologist who later contracted the disease and died from it, was questioned by provincial authorities and forced to sign a confession that he spread “false rumors.” PRC authorities did their best to suppress any information about the spread of COVID-19, even as Chinese doctors heroically attempted to save the lives of dozens, hundreds, and then thousands of patients who were falling ill.
As precious weeks passed and the seriousness of the outbreak became apparent, PRC officials made extensive preparations to protect their own population, while
only selectively sharing information, such as genetic sequence data, and continuing to stonewall international health authorities who were offering assistance, requesting access, and seeking more information.
Had these same authorities done the right thing and sounded the alarm about this new disease, China – and indeed the rest of the world, including Thailand – might have been spared the impact on our populations.
The Chinese people know their government is to blame for this pandemic. When the full picture emerged and news of Dr. Li’s death became known, the local reaction was dramatic. Even China’s heavily-censored social media platform, Weibo, was flooded with trending topics such as “Wuhan government owes Dr. Li Wenliang an apology,” and “We want freedom of speech.” These conversations drew millions of views before the PRC government authorities deleted them.
So, what do we do now? COVID-19 has spread from Wuhan throughout the world and knows no national boundaries. We must redouble our efforts to cooperate and share, factual information about this disease rapidly and transparently.
In Thailand, the U.S. government is doing its part. Our Centers for Disease Control and Prevention (CDC), which has its largest overseas office right here in Bangkok, has worked side-by-side with Thai Ministry of Public Health officials to monitor the disease in Thailand and offer technical support.
Last week, the United States Agency for International Development (USAID) donated tens of thousands of gloves, surgical masks and gowns, respirator masks, shoe covers and protective goggles to Thai doctors and nurses in their time of need. Together, we continue to work with Thai authorities to repel this disease and protect ourselves and our loved ones.
But when the crisis finally abates, we should take stock of the outcome and evaluate the costs of this breakdown in international collaboration, the effects of suppressing important factual information, the impact of stonewalling information sharing during the early stages of the epidemic, and the fallout from disinformation campaigns throughout the course of this pandemic.
Make no mistake, the heroes of this story are the doctors and nurses, many of whom are in China, who put their lives on the line to halt this terrible disease and warn the world of its dangers. Accurate information must move freely – especially during crises. A government’s duty is to save lives, not save face.
By U.S. Embassy Bangkok | 21 March, 2020 | Topics: Ambassador | Tags: Ambassador DeSombre's Op-Eds, Op-Ed, Op-Ed by the Ambassador | Op-Ed by Ambassador Michael George DeSombre | บทความแสดงความคิดเห็นโดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-provides-additional-assistance-to-thailand-to-respond-to-covid-19-th/ | กรุงเทพฯ ประเทศไทย 20 มีนาคม 2563 — รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนเกือบ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) เพื่อขยายขอบเขตความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก การสนับสนุนเงินทุนในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นี้ นับเป็นการสนับสนุนเพิ่มเติมจากโครงการต่างๆ ที่ USAID และรัฐบาลสหรัฐฯ ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันในด้านการพัฒนาสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกัน ตรวจวินิจฉัย และตอบโต้ต่อโรคติดเชื้อต่างๆ โดยความช่วยเหลือนี้จะดำเนินการผ่านองค์กรต่างๆ อันได้แก่ องค์การอนามัยโลก (WHO) จำนวน 700,000 ดอลลาร์สหรัฐ ยูนิเซฟ (UNICEF) จำนวน 329,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ โครงการตรวจเเละเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ (Infectious Disease Detection and Surveillance – IDDS project) จำนวน 800,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านสุขภาพโลกของรัฐบาลสหรัฐฯ
“ความช่วยเหลือในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของมิตรภาพระหว่างสหรัฐฯ และรัฐบาลไทยที่มีมายาวนาน” เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี กล่าว “เป็นเวลากว่า 60 ปี ที่สหรัฐฯ ร่วมมือกับประเทศไทยในการดำเนินโครงการทางด้านสุขภาพผ่าน USAID สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (Armed Forces Research Institute of Medicinal Sciences – AFRIMS) และ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention – CDC) สหรัฐฯ เพื่อปกป้องสุขภาพที่ดีของประชาชนชาวอเมริกัน ประชาชนชาวไทย และประชากรทั่วโลก”
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่อเมริกันได้มอบหน้ากากอนามัย หน้ากาก N 95 ถุงมือยางไนไตร แว่นครอบตานิรภัย และวัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลที่จำเป็นอื่นๆ ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขของไทย https://www.usaid.gov/asia-regional/press-releases/mar-9-2020-us-provides-personal-protective-equipment-royal-thai-covid-19
“ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ แสดงถึงมิตรภาพระหว่างไทยและสหรัฐฯ ที่ยาวนานกว่า 200 ปี ได้ดีกว่าคำพูดใดๆ” นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาณสุข กล่าว “ความร่วมมือในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สะท้อนให้เห็นถึงสองศตวรรษแห่งมิตรภาพอันแน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ”
นอกเหนือจากความช่วยเหลือฉุกเฉินในครั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยในหลายโครงการเพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้อต่างๆ ในภูมิภาค เป็นเวลากว่าทศวรรษที่ USAID ให้การสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ผ่านโครงการความมั่นคงทางด้านสุขภาพโลก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรุณาเยี่ยมชม https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/index.htm
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานของ USAID ในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรุณาเยี่ยมชม https://www.usaid.gov/coronavirus-covid-19
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวาระความมั่นคงทางสุขภาพโลก (Global Health Security Agenda) กรุณาเยี่ยมชม https://www.cdc.gov/globalhealth/healthprotection/ghs/index.html
โดย U.S. Embassy Bangkok | 20 มีนาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | BANGKOK, THAILAND, March 20, 2020 — The United States Government announced nearly $2 million in funding from the U.S. Agency for International Development (USAID) to expand U.S. support for Thailand in response to the global spread of COVID-19. This support builds upon ongoing USAID and other U.S. Government investments in health development, particularly those aimed at building the capacity to prevent, detect and respond to infectious diseases. Specifically, $700,000 will be implemented through the World Health Organization (WHO), $329,000 through the United Nations Children’s Fund (UNICEF), and $800,000 through the Infectious Disease Detection and Surveillance (IDDS) project, which collectively contribute to the U.S. Government’s Global Health Security Strategy.
“This new assistance is yet another example of the strong and enduring partnership between the United States and the Royal Thai Governments,” said U.S. Ambassador Michael George DeSombre. “Over more than 60 years of cooperation on health programs through USAID, the Armed Forces Research Institute of Medicinal Sciences and the Centers for Disease Control and Prevention, the United States works with Thailand to safeguard the health of American, Thai and international communities.”
On March 9, 2020, U.S. officials donated masks, gloves, goggles, and other essential PPE to authorities at the Thai Ministry of Public Health https://www.usaid.gov/asia-regional/press-releases/mar-9-2020-us-provides-personal-protective-equipment-royal-thai-covid-19.
“More than two hundred years of friendship between Thailand and the United States is best demonstrated by actions rather than words,” said Dr. Suwannachai Wattanayingcharoenchai, the Director General of the Department of Disease Control at Thailand’s Ministry of Public Health. “Our partnership in addressing COVID-19 reflects these two centuries of friendship.”
In addition to emergency assistance, the United States works in close partnership with the Royal Thai Government on a range of programs to combat infectious diseases in the region. For example, USAID continues to build on more than a decade of support in the campaign against avian influenza, emerging infectious diseases, and through its Global Health Security program.
For more information about COVID-19, please visit: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/index.html
For more information about USAID’s response to COVID-19, please visit: https://www.usaid.gov/coronavirus-covid-19
For more information about the Global Health Security Agenda, please visit: https://www.cdc.gov/globalhealth/healthprotection/ghs/index.html
By U.S. Embassy Bangkok | 20 March, 2020 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: COVID-19, USAID | U.S. Provides Additional Assistance to Thailand to Respond to Coronavirus Disease 2019 (Covid-19) | สหรัฐอเมริกามอบความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ประเทศไทยเพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
https://th.usembassy.gov/th/remarks-of-michael-george-desombre-at-swearing-in-ceremony-as-u-s-ambassador-to-thailand-th/ | ผมขอขอบคุณรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สำหรับคำชมเชยของท่าน ท่านเป็นผู้นำตัวอย่างของกระทรวงฯ อย่างแท้จริง ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสรู้จักท่านในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และรอคอยที่จะได้ร่วมงานกับท่านและคณะทำงานของท่านหลังจากนี้ไป
ผมขอกล่าวขอบคุณเป็นการพิเศษแด่คุณพ่อยูจีนและคุณแม่แนนซี ลูกสาวสองคนของผม วินโนนาและเกเบรียล และลูกพี่ลูกน้องของผม คีธ ที่มาร่วมพิธีในวันนี้และกล่าวนำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผมในตอนเริ่มพิธี
ผมขอขอบคุณเพื่อนร่วมงานและมิตรสหายจากที่ต่างๆ ซึ่งหลายคนต้องเดินทางมาไกลเพื่อร่วมพิธีในวันนี้ ขอบคุณที่คอยสนับสนุนผมตลอดมา
และที่สำคัญที่สุด ผมขอขอบคุณภรรยาของผม จีน และลูกชายทั้งสองของเรา ไมเคิล เรย์ และฟีนิกส์ ที่ไม่ย่อท้อกับกระบวนการรับรองที่ยาวนานและเดินทางไปกรุงเทพฯ พร้อมกับผม ผมรู้สึกขอบคุณที่พวกเขาอดทนและเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างดี แต่น่าเสียดายที่ภรรยาของผมติดภารกิจเกี่ยวกับธุรกิจข้ามชาติด้านการดูแลสุขภาพในญี่ปุ่นและเกาหลี และลูกชายของผมกำลังเรียนหนังสืออยู่ที่กรุงเทพฯ พวกเขาจึงไม่อาจมาร่วมงานในวันนี้ได้ ภรรยาบอกกับผมด้วยท่าทางจริงจังในแบบฉบับของเธอว่า “คุณคะ ฉันไปร่วมพิธีพิจารณาให้ความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้วนะ คุณบอกว่าพิธีนั้นสำคัญกว่า”
เรียน เอกอัครราชทูตฯ ธานี และเอกอัครราชทูตผู้ทรงเกียรติจากอาเซียน รัฐมนตรีช่วยฯ บีกัน ปลัดกระทรวงฯ คราช ปลัดกระทรวงฯ แมคอินทอช รองผู้บริหารฯ บอนนี่ กลิกค์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ สติลเวลล์ เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ครอบครัวและเพื่อนๆ ทุกท่าน
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีทรัมป์ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นพันธกิจที่สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับประชาชนชาวอเมริกัน
ผมเติบโตขึ้นมาทางตอนใต้ของชิคาโก และได้รับการปลูกฝังให้ทำความดีตอบแทนประเทศบ้านเกิดอยู่เสมอเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณสำหรับโอกาสที่ผมและครอบครัวได้รับ คุณแม่ของผมเติบโตมาในไร่ที่ชนบทของรัฐมินนิโซตา คุณปู่ของผมเป็นช่างตัดผมในเมืองเล็กๆ ในรัฐวิสคอนซิน คุณพ่อคุณแม่ของผมเป็นคนรุ่นแรกของตระกูลที่ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยและทั้งคู่ต่างประสบความสำเร็จในสายอาชีพด้านวิชาการ ผมโชคดีที่ประสบความสำเร็จในการเป็นทนายความด้านธุรกิจระหว่างประเทศเป็นเวลาร่วม 25 ปี จากพื้นฐานครอบครัวชาวไร่/ช่างตัดผมมาเป็นนักวิชาการและทนายความ เสรีภาพอันศักดิ์สิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของเราช่วยสนับสนุนและทำให้เกิดโอกาสมากมายในอเมริกาที่คนจะประสบความสำเร็จได้ด้วยการทำงานหนัก ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสมาปฏิบัติหน้าที่เพื่อรับใช้ประเทศชาติ เพื่อธำรงรักษาเสรีภาพและโอกาสเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไปเพื่อชาวอเมริกันทุกคน
ผมใช้เวลากว่าสองทศวรรษในการช่วยบริษัทสหรัฐฯ และชาติอื่นๆ ขยายการดำเนินงานและการลงทุนในเอเชียและที่อื่นๆ ทั่วโลก หนึ่งในหลักการสำคัญของผมเวลาเจรจาต่อรองคือ “ใช้ไม้แข็งกับเรื่องงาน แต่ใช้ไม้อ่อนกับเรื่องคน” ซึ่งหมายความว่า ในฐานะเอกอัครราชทูตประจำราชอาณาจักรไทย ผมจะมุ่งทำหน้าที่สร้างประโยชน์เพื่อประชาชนชาวอเมริกันด้วยความเข้มแข็งไปพร้อมๆ กับรักษาและส่งเสริมสัมพันธไมตรีที่สั่งสมมายาวนานกับรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย
ดังที่รัฐมนตรีช่วยฯ ได้กล่าวไว้ ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามีประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ “Great and Good Friends” เป็นคำขึ้นต้นในจดหมายที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อับราฮัม ลินคอล์น เขียนกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2405 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ได้พระราชทาน “ของขวัญอันล้ำค่า…ที่เป็นเครื่องแสดงพระราชไมตรีและมิตรภาพของพระองค์ต่อประชาชนอเมริกัน” คำขึ้นต้นที่เรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยความหมายนี้เป็นจุดเริ่มต้นมิตรภาพที่ยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้ ผ่านความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างทั้งสองชาติ
เป็นเวลาหลายทศวรรษที่เราทั้งสองชาติร่วมมือกันทำงานเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมั่งคั่งร่วมกัน ทุกๆ ปี เราจะจัดการฝึกคอบร้าโกลด์ขึ้น ซึ่งเป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารระดับพหุภาคีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยส่งทหารอเมริกันหลายพันนายไปยังประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการฝึกเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารไทยและอาเซียน อันเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ความท้าทายต่างๆ ในอนาคต การปฏิบัติการช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่าในปี 2561 เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่าความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกองทัพของเราทั้งสองสามารถช่วยชีวิตของผู้คนได้
นอกจากนี้ เรายังมีประวัติศาสตร์ความร่วมมืออันยาวนานระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ความร่วมมือดังกล่าวทำให้สามารถสกัดจับและตรวจยึดยาเสพติดเป็นจำนวนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนที่เข้ามาจากบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
ในปี 2563 นี้ยังเป็นโอกาสครบรอบ 40 ปีที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC) ดำเนินงานอยู่ในประเทศไทย ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่าง CDC และกระทรวงสาธารณสุขของไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ณ ช่วงเวลาที่สำคัญในประวัติศาสตร์นี้
หน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต่างมีส่วนช่วยให้เกิดความมั่งคั่งร่วมกันระหว่างสองประเทศ ประเทศไทยเติบโตจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กของสหรัฐฯ จำนวนมาก ล้วนมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจ สมาชิกของหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยมีการลงทุนในประเทศไทยเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศไทยยังเป็นแหล่งการลงทุนโดยตรงในสหรัฐฯ ที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับสาม ในเดือนธันวาคม บริษัทพลังงานของไทย “บ้านปู” ได้ทำพิธีเปิดสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยมีการลงทุนในธุรกิจพลังงานจากหินน้ำมันในสหรัฐฯ เป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ผมยังหวังว่า “พีทีทีจีซี” ซึ่งเป็นบริษัทปิโตรเคมีขนาดใหญ่ของไทย จะดำเนินธุรกรรมการลงทุนมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรัฐโอไฮโอจนเสร็จสมบูรณ์ เรายินดีต้อนรับการลงทุนเหล่านี้ ซึ่งช่วยสร้างงานให้กับประชาชนชาวอเมริกันของเรา
ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ที่ยืนยาว ปีนี้ครบรอบ 70 ปี โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนทุนฟุลไบรท์ของทั้งสองประเทศ ซึ่งทั้งเอกอัครราชทูตฯ ธานีและผมจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดพิธีเฉลิมฉลองโครงการดังกล่าวในฤดูใบไม้ผลินี้ นอกจากนี้ นับตั้งแต่การเปิดตัวในปี 2556 โครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) ก็มีพัฒนาการเติบโตขึ้นตามลำดับ ปัจจุบันโครงการมีสมาชิกเกือบ 15,000 คน
เราเห็นว่าประเทศไทยเป็นผู้นำระดับภูมิภาคของประเทศในแถบลุ่มน้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงยูนนานในประเทศจีน และไหลผ่านผืนแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะไหลออกสู่ทะเลที่อ่าวไทย แม่น้ำโขงที่มีขนาดใหญ่นี้ มีความยาวกว่าแม่น้ำมิสซิสซิปปีถึงเกือบ 400 ไมล์ และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ถือเป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก และเป็นที่อยู่อาศัยทำมาหากินของประชาชนกว่า 60 ล้านคน
ปัจจุบันนี้ แม่น้ำโขงต้องประสบกับความท้าทายหลายประการ มีเขื่อนขนาดใหญ่อยู่ตอนบนและตอนล่างของแม่น้ำ มีโครงการพัฒนาหลายโครงการที่มีขนาดเท่าเมืองตามฝั่งแม่น้ำซึ่งไม่ได้รับการกำกับดูแล และมีการเสนอให้ระเบิดส่วนต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของแม่น้ำโขง เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ผืนดินใต้น้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์เป็นสีน้ำตาลเปลี่ยนไปเป็นสีฟ้าใส ซึ่งบ่งชี้ถึงการขาดแคลนแร่ธาตุที่จำเป็นต่อระบบนิเวศ
ผมเติบโตมาในเมืองชิคาโกใกล้ๆ กับทะเลสาบมิชิแกน ผมจึงรู้ว่าแม่น้ำสายหลักเหล่านี้มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อย่างไรในฐานะที่เป็นเสาหลักทางอัตลักษณ์ที่สำคัญของชุมชนที่อยู่ล้อมรอบ ในอดีตนั้น การพัฒนาต่างๆ ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อทะเลสาบมิชิแกนและแม่น้ำชิคาโก แม่น้ำชิคาโกประสบกับมลภาวะทางน้ำจนกระทั่งเกิดไฟไหม้ขึ้นในปีหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผู้คนทราบกันดี โชคดีที่รัฐบาลระดับท้องถิ่นและรัฐช่วยกันทำความสะอาดแม่น้ำนี้ และในปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นทางเดินเลียบแม่น้ำกลางเมืองชิคาโกที่เป็นที่รู้จักและมีผู้คนหลายล้านคนมาท่องเที่ยวในทุกๆ ปี
ผมทราบดีว่าแม่น้ำโขงเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งสำหรับคนไทย เรามีความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่มีพรมแดนติดกับแม่น้ำสายนี้ เพื่อช่วยกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และทำให้มั่นใจว่าการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะนำประโยชน์มาให้แก่ทุกประเทศในบริเวณลุ่มน้ำโขง นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงสนับสนุนการเสริมสร้างพลังความร่วมมือภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเดินหน้าขยายการมีส่วนร่วมของเราในภูมิภาคนี้ โดยการทำงานร่วมกับภาคีหุ้นส่วนทุกประเทศ เพื่อสนับสนุนอธิปไตยของแต่ละประเทศและหลักนิติธรรม และเราอยากจะบอกให้ท่านทราบว่าสหรัฐอเมริกาเป็นพันธมิตรของท่าน
ผมได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ต่อจากเอกอัครราชทูตท่านก่อนๆ ผู้มีคุณสมบัติอันเป็นเลิศ ทั้งเอกอัครราชทูตกลิน เดวีส์ เอกอัครราชทูตคริสตี้ เคนนี่ย์ เอกอัครราชทูตสกิป บอยซ์ และเอกอัครราชทูตท่านอื่นๆ ซึ่งบางท่านได้ให้เกียรติมาร่วมพิธีในวันนี้ด้วย ขอขอบคุณท่านเป็นอย่างยิ่งที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี ผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ในระหว่างกระบวนการรับรองของผม ผมได้มีโอกาสพบกับเอกอัครราชทูตที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าผมทั้งสี่ท่าน ก่อนที่ผมจะออกเดินทางสู่กรุงเทพฯ ทุกๆ ท่านต่างมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับงานต่างๆ เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผม
พันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ และไทย สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในนามของประธานาธิบดีทรัมป์ ผมขอให้คำมั่นต่อทุกๆ ท่านว่า ในฐานะเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรไทย ผมจะปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดกำลังความสามารถเพื่อรับใช้และปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนชาวอเมริกันและสร้างสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรไทย และภูมิภาคนี้ ผมขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมพิธีกับผมในวันนี้ครับ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 20 มีนาคม, 2020 | ประเภท: เอกอัครราชทูต | I would like to thank the Deputy Secretary for his kind words. Your leadership of the Department is exemplary. It has been a true pleasure getting to know you these last months and I look forward to further working with you and your team.
I would like to particularly thank my parents, Eugene and Nancy, my two daughters Winnona and Gabrielle, and my cousin Keith for being here today and delivering the opening invocation.
To my colleagues and friends, some who have traveled far to be here today, thank you for your continued support.
And most importantly to my wife, Jean, and our two sons, Michael Ray and Phoenix, who have endured the long confirmation process and have accompanied me to Bangkok; I am indebted to their patience and understanding. Unfortunately given my wife’s obligations running a multinational healthcare business in Japan and Korea and my sons’ new school in Bangkok they were not able to join me here today.
As my wife told me in her typical no-nonsense fashion: “Hey: I came to your Senate hearing which you told me was more important.”
Ambassador Thani and other distinguished Ambassadors from ASEAN, Deputy Secretary Biegun, Under Secretary Krach, Under Secretary McIntosh, Deputy Administrator Bonnie Glick, Assistant Secretary Stilwell, members of the United States government, family and friends.
I am deeply honored by President Trump’s appointment of me as the United States Ambassador to the Kingdom of Thailand, a mission of critical importance for the American people.
Growing up on the southside of Chicago, I have always been motivated to give back to my country for the opportunities it has afforded me and my family. My mother grew up on a farm in rural Minnesota. My paternal grandfather was a barber in small-town Wisconsin. My parents were first in their families to attend college and both had successful academic careers. I have been fortunate to have had a successful 25-year career as an international business lawyer. From farmer/barber to professor to lawyer. It is the freedoms enshrined in our Constitution that support and facilitate the great opportunities in America to succeed through hard work. I am so honored to have the opportunity to serve my country to preserve these freedoms and opportunities for all Americans.
I have spent over two decades assisting US and international companies expand their operations and investments in Asia and around the world. One of my main principles when negotiating is to be “Hard on the Issues but Soft on the People”. Which means for my position as Ambassador to the Kingdom of Thailand, I will doggedly pursue the interests of the American people while continuing and deepening the long-lasting friendship with the Royal Thai Government and the Thai people.
As the Deputy Secretary mentioned, Thailand and the United States have a rich history of friendship. “Great and Good Friend” is the salutation President Abraham Lincoln used to address His Majesty Rama IV in 1862 when he wrote to thank the King for sending “rich presents … as tokens of goodwill and friendship for the American people.” This simple yet meaningful salutation continues to represent the multi-faceted partnership between our two nations.
For decades, our two nations have worked together to achieve shared security and prosperity. Every year, through Cobra Gold, the Indo-Pacific’s largest annual multinationalmilitary exercise, we bring thousands of American soldiers into Thailand to participate side-by-side with Thai and Asian counterparts to prepare for future challenges.The 2018 rescue of the Wild Boar soccer team is a testament to how the close collaboration of our two militaries can save lives.
We also have a long history of cooperation between our law enforcement agencies. This cooperation has led to the interdiction and seizure of unprecedented levels of drugs, particularly methamphetamine and heroin flowing from the Golden Triangle.
2020 also marks the 40th year of our CDC operations in Thailand. Our deep cooperation between the CDC and Thailand’s Ministry of Public Health is critically valuable at this time in history.
Our respective private sectors have contributed to shared prosperity. Thailand progressed from a developing nation to now Southeast Asia’s second largest economy. Many major U.S. companies and small businesses contributed to that wealth generation and economic growth. Members of the American Chamber of Commerce in Thailand have invested more than $50B in Thailand. Thailand is also the third-fastest growing source of direct investment in the United States. In December, Thai energy company Banpu held its grand opening of its new headquarters in Pennsylvania, capping off hundreds of millions of dollars in investment in U.S. shale. I also am hopeful PTT GC, a large Thai Petrochemical company, will be able to finalize its $10 billion investment in Ohio. We welcome these investments, which are creating jobs for our fellow Americans.
The foundation of our enduring bond, of course, is our extensive people-to-people ties. This year is the 70th anniversary of Fulbright exchanges between our two countries, marked by celebrations that Ambassador Thani and I will each separately host later this spring. Our Young Southeast Asian Leaders Initiative network, or YSEALI, has grown to nearly 15,000 members in Thailand since its inception in 2013.
We also look to Thailand as a regional leader in the Mekong region and Southeast Asia. The Mekong River originates in the plateaus of Yunnan province in China, cuts through Mainland Southeast Asia, and empties into the Gulf of Thailand. This massive river – which is almost 400 miles longer than the Mississippi River – is the world’s 2nd largest inland fishery, one of the planet’s most biodiverse ecosystems and home to over 60 million people dependent on this resource for their livelihoods.
The Mekong now faces major challenges: Massive dams on both the upper and lower stems of the river, unregulated city-size developments along the banks, and even proposals to blast apart the very foundations of the Mekong River. In recent months the sediment rich, vibrant brown Mekong has turned limpid blue, indicating the lack of nourishment necessary for its ecosystem.
Growing up in Chicago on the edge of Lake Michigan, I know how historically important these major waterways are as a defining pillar of the identity of the communities around them. At that time, development was severely damaging Lake Michigan and the Chicago river. The Chicago river was so polluted that it famously caught on fire one year. Fortunately, local and state governments cleaned up the river, and now the river walk is one of the most vibrant areas enjoyed by millions of people every year.
I know that the Mekong River is a critical issue for my Thai partners. We are committed to working with Thailand and the nations who share the Mekong river to protect the natural environment and vital resources while ensuring that any developments bring benefits to all Mekong River nations. This is why we supported Thailand’s reinvigoration of ACMECS and are expanding our own engagement in the region to work with all partners to support national sovereignty and the rule of law. And we are here to let you know that you have a partner in the United States.
My appointment comes after a long line of eminently qualified Ambassadors. Ambassador Glyn Davies, Kristy Kenney, Skip Boyce, to name a few. Some of you are here today. Thank you for your service. I was very pleased that during my confirmation process I was able to meet in person with my four immediate predecessors prior to my departure to Bangkok. Each of them had great insights that I have already found very valuable.
The U.S.-Thai alliance is vital to American security and economic interests in the Indo-Pacific. On behalf of President Trump, I commit to each of you that as the United States Ambassador to the Kingdom of Thailand, I will do my utmost to serve and protect the interests of the American people and bring about shared peace and prosperity to the benefit of the United States, the Kingdom of Thailand, and the region. I thank you all for joining me in this ceremony today.
By U.S. Embassy Bangkok | 20 March, 2020 | Topics: Ambassador | Remarks of Michael George DeSombre at Swearing-In Ceremony as U.S. Ambassador to Thailand | คำกล่าวของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี ในพิธีสาบานตนเพื่อเข้ารับตำแหน่ง |
https://th.usembassy.gov/th/031220-afcp-wat-chaiwatthanaram-th/ | พระนครศรีอยุธยา— นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร ร่วมพิธีเปิดงานบูรณะระยะใหม่ในโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สถานทูตสหรัฐฯ สนับสนุนการบูรณะวัดไชยวัฒนารามอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2555ผ่านโครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (Ambassadors Fund for Cultural PreservationหรือAFCP)ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนสนับสนุนมูลค่ารวมกว่า1,100,000เหรียญสหรัฐ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันวัดไชยวัฒนารามให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ระดับโลก ซึ่งจะถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของไทยให้ผู้มาเยี่ยมชมได้ศึกษาอีกด้วย ระหว่างการเดินชมโครงการ เอกอัครราชทูตดีซอมบรี กล่าวว่า สหรัฐฯ จะเดินหน้าสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในประเทศไทยต่อไป
การบูรณะวัดไชยวัฒนารามเริ่มต้นขึ้นหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี2554สร้างความเสียหายแก่บริเวณวัดและโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของวัด ในปีถัดมา โครงการAFCPได้สนับสนุนทุนบูรณะ และเริ่มดำเนินงานอย่างจริงจัง จนถึงปัจจุบัน มีการดำเนินการเสริมโครงสร้างโดยรอบวัดให้แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
เอกอัครราชทูตดีซอมบรี กล่าวว่า การสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของไทยเป็นการแสดงถึงความเคารพที่เรามีต่อประชาชนชาวไทย และเจตนารมณ์ที่จะปกป้องจารีตประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาติไทย ทั้งนี้ มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบูรณะซ่อมแซมและอนุรักษ์โบราณสถาน รวมถึงจัดการฝึกอบรมและการพัฒนาแลกเปลี่ยนสำหรับบุคลากรของกรมศิลปากรอย่างต่อเนื่อง โครงการดังกล่าวนับเป็นแบบอย่างของการอนุรักษ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวงกว้างกับโบราณสถานสำคัญอื่นๆ ในไทย และเป็นต้นแบบของความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมในภูมิภาค สหรัฐฯ จะร่วมมือกับไทยอย่างต่อเนื่องในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าไว้ให้แก่ชนรุ่นหลังสืบไป
ดาวน์โหลดรูปถ่ายความละเอียดสูงได้ที่https://state-low.box.com/v/031220-AFCP-Wat-Chai
โดย U.S. Embassy Bangkok | 12 มีนาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกสารข่าว, เอกอัครราชทูต | Phra Nakhon Si Ayutthaya—U.S. Ambassador to Thailand Michael George DeSombre joined Deputy Permanent Secretary of the Thai Ministry of Culture Dr. Yupha Taweewattanakitborvon, Governor of Phra Nakhon Si Ayutthaya Panu Yaemsri, and the Ministry of Culture’s Department of Fine Arts Deputy Director-General Aroonsak Kingmanee, for the inauguration of a new phase of the restoration of Wat Chaiwatthanaram in Ayutthaya Historical Park. The United States Embassy in Thailand has supported ongoing Thai work to restore the temple since 2012 through the Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) under the auspices of the U.S. Department of State. To date, AFCP has provided over $1.1 million in grant funding for the restoration. The project aims to develop Wat Chaiwatthanaram as a world-class education destination, teaching visitors about the rich cultural heritage of Thailand. While touring the site, Ambassador DeSombre said the United States will continue to support cultural heritage preservation throughout the Kingdom.
The restoration of Wat Chaiwatthanaram began in 2011 after major flooding damaged the temple site and endangered its structures. The following year, the U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation funding was secured, and work began. Thus far, the project has preserved the structures around the temple to prevent any further damage.
Ambassador DeSombre said that by supporting the Thai Government’s efforts to preserve Thailand’s cultural heritage, we show our respect for the Thai people and our desire to help protect Thailand’s unique traditions.Internationally recognized experts have been invited to share their expertise on the restoration and preservation of ancient buildings, while conducting workshops and exchanges for Fine Arts Department personnel. The project is a model for preservation that can be widely adapted for other Thai historic buildings, while also being a prototype of cooperation for regional cultural preservation. The United States will continue to work with Thailand in preserving important cultural heritagefor future generations to cherish.
Download High Resolution Photos at: https://drive.google.com/drive/folders/1SNXkSLffxrVc6J1UhVvlig9JD7uswtia
By U.S. Embassy Bangkok | 12 March, 2020 | Topics: Ambassador, Art & Culture, Events, News, Press Releases, U.S. & Thailand | The United States Reaffirms Commitment to Preserving Cultural Heritage at Wat Chaiwatthanaram, Ayutthaya Historical Park | สหรัฐอเมริกาเดินหน้าสนับสนุนโครงการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม ณ วัดไชยวัฒนาราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-provides-personal-protective-equipment-to-the-royal-thai-government-to-assist-covid-19-response-th/ | กรุงเทพฯ ประเทศไทย 9 มีนาคม 2563 — วันนี้ ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) สำนักงานภาคพื้นเอเชีย นายปีเตอร์ เอ. มัลนัค ได้มอบวัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล หรือ Personal Protective Equipment (PPE) ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข ณ จ. นนทบุรี การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งพบการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยการมอบความช่วยเหลือในครั้งนี้ เป็นการตอบรับต่อคำขอของกระทรวงสาธารณสุข
วัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลดังกล่าวประกอบไปด้วยถุงมือยางไนไตร จำนวน 10,000 ชิ้น หน้ากากอนามัย จำนวน 5,000 ชิ้น เสื้อกาวน์ผ่าตัด จำนวน 5,000 ชุด หน้ากากพร้อมตัวกรองอนุภาค จำนวน 5,000 ชิ้น ถุงคลุมรองเท้า จำนวน 5,000 ชิ้น หมวกคลุมผมอนามัย จำนวน 5,100 ชิ้น กระบังเลนส์ป้องกันใบหน้า จำนวน 2,500 ชิ้น และแว่นครอบตานิรภัย จำนวน 500 ชิ้น โดยรัฐบาลไทยจะทำการแจกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ป้องกันตัวดังกล่าวไปยังสถานพยาบาล ในพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ต่อไป
“การส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางพันธมิตรด้านสาธารณสุขที่มีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานระหว่างสหรัฐฯและรัฐบาลไทย ในการจัดการกับภัยคุกคามที่มีสาเหตุุมาจากโรคติดเชื้อ” นายมัลนัคกล่าว “วัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลที่จำเป็นเหล่านี้จากชาวอเมริกัน จะช่วยสนับสนุนการทำงานของ บุคลากรทางการแพทย์เเละเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขของไทยในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019”
“บทเรียนในครั้งนี้ เราจำเป็นต้องเสริมสร้างความเเข็งเเกร่งให้กับระบบสาธารณสุข ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยแต่ยังรวมถึง ระบบสาธารณสุขทั่วโลก” นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าว “พวกเราขอขอบคุณชาวอเมริกันที่ให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลในครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขของไทยสามารถทำงานเพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019”
นอกเหนือจากความช่วยเหลือฉุกเฉินในครั้งนี้และการประสานงานในภูมิภาคอาเซียนในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สหรัฐฯ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยในหลายโครงการเพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้อต่างๆในภูมิภาค เป็นเวลากว่าทศวรรษที่ USAID ให้การสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อต่อสู้กับโรคไข้หวัดนกผ่านโครงการ Global Health Security
โดย U.S. Embassy Bangkok | 10 มีนาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | BANGKOK, THAILAND, March 9, 2020 — United States Agency for International Development (USAID) Regional Development Mission for Asia Mission Director Peter A. Malnak handed over personal protective equipment (PPE) to the Ministry of Public Health in Nonthaburi today as part of the United States’ assistance to Thailand to respond to novel coronavirus disease COVID-19, first identified in Wuhan, China. This assistance package comes at the request of the Thai Ministry of Public Health.
The equipment includes 10,000 gloves, 5,000 surgical masks, 5,000 surgical gowns, 5,000 respirator masks, 5,000 shoe covers, 5,100 surgical caps, 2,500 face shields, and 500 protective goggles. The Royal Thai Government will distribute this equipment to health clinics in areas in greatest need of the supplies.
“Today’s handover of personal protective equipment is another example of the strong partnership between the United States and the Royal Thai Government, whose collaboration in addressing emerging disease threats spans decades,” said Mission Director Malnak. “These critical supplies from the American people will help support medical professionals and health workers as Thailand responds to COVID-19.”
“This is a lesson to strengthen our public health system not only in Thailand but also worldwide,” remarked Dr. Tanarak Plipat, Deputy Director General, Department of Disease Control of the Ministry of Public Health. “We are taking this opportunity to express our appreciation to the American people for supporting personal protective equipment which helps Thai health care professionals for COVID-19 response.”
In addition to this emergency assistance, and broader coordination on COVID-19 diagnostic capacity across the ASEAN region, the United States works in close partnership with the Royal Thai Government on a range of programs to combat infectious diseases in the region. In response to these challenges, USAID is building upon over a decade of support in the campaign against avian influenza, and through its Global Health Security program.
By U.S. Embassy Bangkok | 10 March, 2020 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: COVID-19, USAID | U.S. Provides Personal Protective Equipment to the Royal Thai Government to assist COVID-19 Response | สหรัฐอเมริกามอบวัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลแก่รัฐบาลไทยเพื่อช่วยเหลือในการรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
https://th.usembassy.gov/th/calfex-and-closing-ceremony-of-cobra-gold-2020-th/ | เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี และ พล.อ. พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงและพิธีปิดคอบร้าโกลด์ ประจำปี 2563 โดยมี พล.ท. เฮช. สเตซี คลาร์ดี ผู้บัญชาการกองกำลังนาวิกโยธินโพ้นทะเลที่ 3 เข้าร่วมพิธี การฝึกคอบร้าโกลด์ ครั้งที่ 39 ในปีนี้เป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 29 ประเทศที่เข้าร่วม ซึ่งจะเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคโดยเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือกับประเด็นด้านความมั่นคงที่มีร่วมกัน
โดย U.S. Embassy Bangkok | 6 มีนาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต | U.S. Ambassador Michael George DeSombre and Gen. Pornpipat Benyasri, Thailand’s Chief of Defense Forces, presided over the Combined Arms Live Fire Exercise and Closing Ceremony of Cobra Gold 2020, the largest multilateral exercise in the Indo-Pacific region. Lt. Gen. H. Stacy Clardy, commander of III Marine Expeditionary Force, also joined the events. Cobra Gold 2020 was the 39th exercise in the series and was successful in building relationships and interoperability among the 29 participating nations. The relationships forged in Cobra Gold will strengthen regional collaboration, increasing the ability of participating nations to work together on shared security concerns.
By U.S. Embassy Bangkok | 6 March, 2020 | Topics: Ambassador, Events, News | Tags: cg20, CG2020, FriendsPartnersAllies | CALFEX and Closing Ceremony of Cobra Gold 2020 | การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงและพิธีปิดคอบร้าโกลด์ ประจำปี 2563 |
https://th.usembassy.gov/th/humanitarian-civic-action-site-4-dedication-ceremony-th/ | เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี, พล.อ. เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ เสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ เควิน ฉ็อก เป็นประธานในพิธีส่งมอบอาคารตามโครงการช่วยเหลือประชาชน โครงการที่ 4 โรงเรียนบ้านกร่าง (พระขาวชัยสิทธิ์) จ. พิษณุโลก เมื่อวันที่ 5 มีนาคม โดยมี พล.ท. เฮช. สเตซี คลาร์ดี ผู้บัญชาการกองกำลังนาวิกโยธินโพ้นทะเลที่ 3 เข้าร่วมพิธี ทหารช่างจากไทย สิงคโปร์ และสหรัฐฯ ร่วมกันวางแผนและก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ให้กับโรงเรียนและชุมชนได้ใช้ประโยชน์ โดยอาคารหลังนี้เป็น 1 ใน 7 แห่งที่มิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์มอบให้กับโรงเรียนทั่วไทย
การฝึกคอบร้าโกลด์ประจำปี 2563 นับเป็นการฝึกครั้งที่ 39 โดยมี 29 ประเทศเข้าร่วมฝึกเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและเสถียรภาพระหว่างประเทศทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก การฝึกคอบร้าโกลด์ในปีนี้จะเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค โดยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศที่เข้าร่วมเพื่อให้สามารถปฏิบัติการที่ซับซ้อนร่วมกันในระดับพหุภาคีทั้งทางอากาศ บนบก และทางทะเล
โดย U.S. Embassy Bangkok | 6 มีนาคม, 2020 | ประเภท: ข่าว, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต | Ambassador Michael George DeSombre participated as the U.S. co-chair at the Humanitarian Civic Action Site 4 Dedication Ceremony on March 5 at Ban Krang (Phra Khao Chaiyasit) School in Phitsanulok. He joined Thai co-chair Royal Thai Armed Forces Chief of Staff Gen. Chalermphon Srisawasdi, Singaporean co-chair Ambassador Kevin Cheok, and III Marine Expeditionary Force Commander Lt. Gen. H. Stacy Clardy. The ceremony dedicated a school multipurpose building, which will also be used by the community, planned and constructed by military engineers from Thailand, Singapore, and the U.S. In addition to this project, another six school multipurpose rooms have been built throughout Thailand by the partner nations during Cobra Gold 2020.
2020 marks the 39th year in the Cobra Gold exercise, which brings together 29 nations to address regional and global security challenges and to promote international cooperation and stability across the Indo-Pacific region. This year, Cobra Gold will strengthen regional collaboration, increasing the ability of participating nations to work together on complex multilateral land, sea, and air operations.
By U.S. Embassy Bangkok | 6 March, 2020 | Topics: Ambassador, Events, News | Tags: cg20, CG2020, FriendsPartnersAllies | Humanitarian Civic Action Site 4 Dedication Ceremony | พิธีส่งมอบอาคารตามโครงการช่วยเหลือประชาชน โครงการที่ 4 |
https://th.usembassy.gov/th/ambassador-michael-desombre-the-new-u-s-ambassador-to-thailand-th/ | ขอเชิญทุกคนร่วมต้อนรับเอกอัครราชทูตไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี และครอบครัว สู่ประเทศไทยกันค่ะ ติดตามท่านทูตได้ทางทวิตเตอร์ที่ @USAmbThailand
โดย U.S. Mission Thailand | 3 มีนาคม, 2020 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย | Please join us in welcoming Ambassador Michael George DeSombre and his family to Thailand. You can follow Ambassador on Twitter at @USAmbThailand
By U.S. Embassy Bangkok | 3 March, 2020 | Topics: Ambassador, U.S. & Thailand | Ambassador Michael George DeSombre, the new U.S. Ambassador to Thailand | Ambassador Michael George DeSombre, the new U.S. Ambassador to Thailand |
https://th.usembassy.gov/th/cobragold-20-opening-ceremony-th/ | อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ไมเคิล ฮีธ และพล.อ. พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธีเปิดคอบร้าโกลด์ ครั้งที่ 39 ประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ โดยมีพล.ต. พีท จอห์นสัน รองผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิกเข้าร่วมพิธี
คอบร้าโกลด์เป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่สหรัฐฯ และไทยร่วมกันจัดขึ้นทุกปี ในปีนี้มี 29 ประเทศเข้าร่วมการฝึกเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและเสถียรภาพระหว่างประเทศทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
การฝึกคอบร้าโกลด์จะเพิ่มขีดความสามารถของประเทศที่เข้าร่วมเพื่อให้สามารถปฏิบัติการที่ซับซ้อนร่วมกันในระดับพหุภาคีทั้งทางอากาศ บนบก และทางทะเล ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ นอกจากนี้ การฝึกคอบร้าโกลด์ยังเป็นการสานสัมพันธ์ในภูมิภาคให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและพัฒนาการปฏิบัติการร่วมกันในภารกิจด้านความมั่นคงหลากหลายประเภท
โดย U.S. Embassy Bangkok | 26 กุมภาพันธ์, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | Chargé d’Affaires Michael Heath and General Pornpipat Benyasri, Thailand’s Chief of Defense Forces, presided over the February 25 opening ceremony for Cobra Gold 2020, an annual, multilateral exercise co-hosted by Thailand and the United States. Maj. Gen. Pete Johnson, U.S. Army Pacific Deputy Commander, joined CDA Heath at the ceremony.
2020 marks the 39th iteration of Cobra Gold, bringing together 29 nations to address regional and global security challenges and to promote international cooperation and stability across the Indo-Pacific region.
This year, Cobra Gold will increase the ability of participating nations to work together on complex multilateral joint combined air, ground, and sea operations, as well as the delivery of humanitarian assistance and disaster relief. The exercise will also build relationships across the region and improve interoperability across a wide range of security activities. #FriendsPartnersAllies
U.S. Army Maj. Gen. Pete Johnson, U.S. Army Pacific deputy commander representing U.S. Indo-Pacific Command, shakes hands with an Indonesian soldier during the opening ceremony of exercise Cobra Gold 2020 (U.S. Navy photo by Mass Communication Specialist 1st Class Julio Rivera)
By U.S. Embassy Bangkok | 26 February, 2020 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: CG2020, Cobra Gold | Cobra Gold 20 Opening Ceremony | พิธีเปิดคอบร้าโกลด์ ประจำปี 2563 |
https://th.usembassy.gov/th/statement-on-the-dissolution-of-the-future-forward-party-in-thailand-th/ | เรารับทราบเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญไทยในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ให้ยุบพรรคอนาคตใหม่
สหรัฐอเมริกาส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ในทุกประเทศทั่วโลก และชื่นชมประเทศไทยที่มีรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยวิถีแห่งประชาธิปไตยเมื่อไม่นานมานี้ แม้ว่าสหรัฐฯ ไม่ได้ถือข้างหรือสนับสนุนพรรคการเมืองใดในประเทศไทยเป็นพิเศษ แต่ประชาชนกว่า 6 ล้านคนได้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคอนาคตใหม่ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา คำพิพากษาให้ยุบพรรคอนาคตใหม่อาจนำไปสู่การลิดรอนสิทธิ์ของผู้ลงคะแนนเสียงเหล่านั้น และทำให้เกิดคำถามว่าพวกเขาจะยังคงมีสิทธิ์มีเสียงในระบบการเลือกตั้งของไทยหรือไม่
โดย U.S. Mission Thailand | 22 กุมภาพันธ์, 2020 | ประเภท: ข่าว | We note the Thai Constitutional Court’s decision on February 21 ordering the dissolution of the Future Forward Party.
The United States strongly supports democratic governance around the world, and appreciates Thailand’s recent seating of a democratically elected government. While the United States does not favor or support any particular political party in Thailand, more than six million voters chose the Future Forward Party in the March 24 elections. The decision to disband the party risks disenfranchising those voters and raises questions about their representation within Thailand’s electoral system.
By U.S. Embassy Bangkok | 22 February, 2020 | Topics: embassy | Statement on the Dissolution of the Future Forward Party in Thailand | แถลงการณ์กรณีการยุบพรรคอนาคตใหม่ในประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/the-united-states-announces-assistance-to-combat-the-novel-coronavirus-th/ | แถลงการณ์
ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ
7 กุมภาพันธ์ 2563
สัปดาห์นี้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อำนวยความสะดวกในการขนส่งเวชภัณฑ์อันประกอบไปด้วยหน้ากากอนามัย เสื้อคลุม ผ้าก๊อซ หน้ากากป้องกันระบบทางเดินหายใจ และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นอื่นๆ จำนวนเกือบ 17.8 ตันให้กับประชาชนชาวจีน เวชภัณฑ์ที่ได้รับจากการบริจาคเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจของชาวอเมริกัน
วันนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ขอประกาศว่าเราจะใช้งบประมาณที่มีอยู่แล้วสูงสุดถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ โดยให้ความช่วยเหลือทั้งทางตรงและผ่านองค์กรหลายแห่งเพื่อควบคุมและต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนา งบประมาณส่วนนี้ประกอบกับทุนอีกหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐที่ภาคเอกชนของสหรัฐฯ บริจาคให้นั้นแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ในการรับมือกับการระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว
ความช่วยเหลือนี้เป็นเพียงส่วนเพิ่มเติมจากโครงการต่างๆ ที่สหรัฐฯ ได้ดำเนินการมาตลอดเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขทั่วโลก ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ โดยองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้มอบทุนกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศต่างๆ กว่า 25 ประเทศในการป้องกัน เฝ้าระวัง และตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโรคติดเชื้อที่ระบาดอยู่แล้วและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ภายใต้พันธกรณีที่มีต่อวาระความมั่นคงทางสุขภาพของโลกตั้งแต่ปี 2558 การสนับสนุนนี้ช่วยปรับปรุงระบบเฝ้าระวังและห้องปฏิบัติการ การสื่อสารความเสี่ยง การรับมือกับการระบาด และการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงของการดื้อยาต้านจุลชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
สหรัฐฯ จะยังคงเป็นผู้มอบความช่วยเหลือมูลค่าสูงสุดให้กับนานาประเทศดังที่เคยเป็นเสมอ และเราอยากสนับสนุนให้ทั่วโลกพยายามทุ่มเทในแบบเดียวกัน หากร่วมมือกัน เราจะสามารถควบคุมภัยคุกคามที่กำลังขยายตัวนี้ได้อย่างมีนัยสำคัญ
โดย U.S. Embassy Bangkok | 21 กุมภาพันธ์, 2020 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว | PRESS STATEMENT
MICHAEL R. POMPEO, SECRETARY OF STATE
FEBRUARY 7, 2020
This week the State Department has facilitated the transportation of nearly 17.8 tons of donated medical supplies to the Chinese people, including masks, gowns, gauze, respirators, and other vital materials. These donations are a testament to the generosity of the American people.
Today, the United States government is announcing it is prepared to spend up to $100 million in existing funds to assist China and other impacted countries, both directly and through multilateral organizations, to contain and combat the novel coronavirus. This commitment – along with the hundreds of millions generously donated by the American private sector – demonstrates strong U.S. leadership in response to the outbreak.
This assistance only adds to what the United States has done to strengthen health security programs around the world. For the last 20 years, the United States through USAID has invested over one billion dollars to strengthen the capacity of more than 25 countries to prevent, detect, and respond to existing and emerging infectious disease threats. Since 2015, under our commitment to the Global Health Security Agenda (GHSA), this support has helped improve surveillance and laboratory systems, risk communication, outbreak response, and address the rising threat of anti-microbial resistance.
The United States is and will remain the world’s most generous donor. We encourage the rest of the world to match our commitment. Working together, we can have a profound impact to contain this growing threat.
By U.S. Embassy Bangkok | 21 February, 2020 | Topics: News, Press Releases, U.S. Secretary of State | The United States Announces Assistance To Combat the Novel Coronavirus | สหรัฐอเมริกาประกาศความช่วยเหลือเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนา |
https://th.usembassy.gov/th/mike-pompeo-and-alex-azar-our-coronavirus-response-is-protecting-americans-th/ | American evacuees from the coronavirus outbreak in China arrived in Omaha, Nebraska, on Feb. 7, 2020. (AP Photo/Nati Harnik)
ไมค์ ปอมเปโอ และอเล็กซ์ เอซาร์: สหรัฐฯ รับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเพื่อปกป้องชาวอเมริกัน
สหรัฐฯ แสดงน้ำใจในการระดมทรัพยากรและแจกจ่ายไปทั่วโลกเพื่อช่วยนานาประเทศต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนา
ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ และอเล็กซ์ เอ็ม. เอซาร์ ที่สอง
ผู้เขียน
11 กุมภาพันธ์ 2563
หน้าที่ประการแรกของรัฐบาลกลางคือ ปกป้องพลเมืองของเราให้ปลอดภัย นับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคมหลังจากที่สหรัฐอเมริกาทราบเกี่ยวกับเชื้อไวรัสที่ต่อมารู้จักกันในนาม “เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสหรัฐฯ ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัสดังกล่าว และดำเนินการเพื่อจำกัดการสัมผัสเชื้อของชาวอเมริกัน
คณะทำงานเฉพาะกิจของเรากำลังดำเนินการวางแผนด้านสาธารณสุขเพื่อให้มีทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปกป้องชาวอเมริกัน โดยแผนการดังกล่าวมีลำดับขั้นตอนชัดเจนและทุกหน่วยงานดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน สหรัฐฯ รักษาผู้ป่วย และติดตามประวัติการเดินทางและผู้สัมผัสกับผู้ป่วยเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เราดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อคัดกรองและรับชาวอเมริกันที่เดินทางกลับจากประเทศจีนอย่างปลอดภัย รวมทั้งห้ามชาวต่างชาติที่เพิ่งจะเดินทางไปยังศูนย์กลางของการระบาดเข้าประเทศสหรัฐฯ ด้วย
สหรัฐฯ ได้กำหนดข้อจำกัดด้านการเดินทางหลังจากที่รัฐบาลจีนออกคำสั่งแยกพลเมืองของจีนในมณฑลหูเป่ยประมาณ50ล้านคน ซึ่งข้อจำกัดดังกล่าวสอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก ประเทศอื่นๆ เช่นอิตาลีและเกาหลีใต้ ได้ออกมาตรการที่คล้ายคลึงกัน
การดำเนินงานของสหรัฐฯ ในจีน
จนถึงขณะนี้สหรัฐฯ มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพียง 13รายเท่านั้นเราเสียใจที่ทราบว่าหญิงชาวอเมริกันวัย 60 ปีคนหนึ่งในเมืองอู่อั่นของจีนเสียชีวิตลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ยังคงมุ่งมั่นในการเฝ้าระวังเพื่อปกป้องประชาชนของเรา และเรากำลังระดมทรัพยากรและแจกจ่ายทรัพยากรดังกล่าวไปทั่วโลกเพื่อช่วยเหลือนานาประเทศต่อสู้กับเชื้อไวรัสนี้ อันแสดงถึงน้ำใจของชาวอเมริกันอย่างแท้จริง
ในส่วนของการดำเนินงานในจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีการพบเชื้อไวรัสเป็นครั้งแรก ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า “เราเสนอความช่วยเหลือให้กับพวกเขาอย่างมากมาย” ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC) ของสหรัฐฯ เสนอให้ความช่วยเหลือเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัสและช่วยสนับสนุนการดำเนินการรับมือ
ในเวลาต่อมา กระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชนของสหรัฐฯ จัดเตรียมรายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับสากลให้กับองค์การอนามัยโลก โดยบุคลากรเหล่านี้พร้อมจะเดินทางไปยังประเทศจีนและเรียนรู้จากการดำเนินงานของจีนในความพยายามต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม รัฐมนตรีเอซาร์เสนอให้ความช่วยเหลือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หม่า เสี่ยวเว่ย (Ma Xiaowei) เป็นการส่วนตัว ขณะเดียวกันรัฐมนตรีปอมเปโอก็ดำเนินการเช่นเดียวกันกับมนตรีแห่งรัฐของจีน หยาง เจี๋ยฉือ (Yang Jiechi) ด้วย เราหวังว่าภารกิจนี้จะเริ่มต้นโดยทันที ไม่ว่าจะในรูปแบบความร่วมมือทวิภาคีหรือภายใต้การสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังอำนวยความสะดวกในการขนส่งเวชภัณฑ์จำนวนมหาศาลให้กับประชาชนจีน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศช่วยเหลือในการขนส่งอุปกรณ์จำนวน17.8 ตันไปยังหูเป่ย และสหรัฐฯ จะยังคงเสนอให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมต่อไป โดยเตรียมที่จะใช้เงินสนับสนุนสูงถึง 100 ล้านดอลลาร์ในกองทุนที่มีอยู่แล้วของกระทรวงการต่างประเทศและองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) เพื่อช่วยเหลือจีนและประเทศที่ได้รับผลกระทบอื่นๆ ในการควบคุมและต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จัดการด้านขนส่งนั้นได้รับบริจาคมาจากองค์กรต่างๆ เช่น Samaritan’s Purse, Boeing, Intermountain Healthcareและ The Church of Jesus Christ of Latter-day ภายใต้การประสานงานขององค์กร Project HOPE ซึ่งไม่แสวงผลกำไร ครั้งแล้วครั้งเล่าที่เกิดโรคระบาดและภัยพิบัติขึ้น ชาวอเมริกันลงมือช่วยเหลือพลเมืองของประเทศอื่นๆ โดยไม่ต้องมีการร้องขอ การบริจาคอย่างเอื้อเฟื้อและความมุ่งมั่นตั้งใจของกลุ่มประชาสังคมแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยที่ชาวอเมริกันมีต่อเพื่อนมนุษย์
การร่วมมือกับนานาชาติ
สหรัฐฯ ดำเนินการช่วยเหลือพลเมืองของประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากจีน เจ้าหน้าที่ของ CDC ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 60 ประเทศ กำลังทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานภาคีด้านสาธารณสุขอื่นๆ อย่างใกล้ชิด โดยส่วนใหญ่แล้ว เป็นการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาลกลาง
กรณีตัวอย่างได้แก่ สหรัฐฯ แจกจ่ายชุดตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาไปยังห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองจำนวน 191 แห่งทั่วโลก จนถึงตอนนี้มีคำขอชุดตรวจดังกล่าวจากห้องปฏิบัติการใน 36 ประเทศ นอกจากนี้ เรายังส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาล 15 แห่งของเวียดนาม ในเคนยา ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขที่สถานทูตสหรัฐฯ ไนโรบี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยเฉพาะกิจด้านโรคติดเชื้อของสหรัฐฯ ร่วมดำเนินการกับรัฐบาลของเคนยาตั้งแต่ช่วงแรกๆ เพื่อแนะนำข้อปฏิบัติด้านการคัดกรองโรคในท่าอากาศยานและด้านสาธารณสุขทั่วไป
สหรัฐฯ รับมือกับสถานการณ์ในต่างประเทศอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีต่างๆ ที่สหรัฐฯ มีความร่วมมือด้วยอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษก่อนหน้าที่จะเกิดกรณีระบาดล่าสุดนี้
สหรัฐฯ เชื่อว่าการดำเนินงานของเราจะช่วยชะลอการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสมายังสหรัฐฯ เช่นเดียวกันการแพร่กระจายภายในประเทศของเราและประเทศอื่นๆ ทั้งยังช่วยกระชับมิตรภาพระหว่างสหรัฐฯ กับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรา รวมทั้งช่วยชีวิตของผู้คน โดยการยืดเวลาให้เราสามารถกำหนดมาตรการในการเตรียมตัวได้อย่างเหมาะสมและเข้าใจไวรัสได้ดียิ่งขึ้น
เราทุกฝ่ายหวังว่า ความพยายามจากหลายภาคส่วนจะควบคุมและยับยั้งเชื้อไวรัสนี้ได้ อย่างไรก็ดี ทั่วโลกไม่ต้องรอจนถึงเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงก็สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า อเมริกายังคงเป็นมิตรของนานาประเทศเสมอ
ไมเคิล อาร์. ปอมเปโอ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และอเล็กซ์ เอ็ม. เอซาร์ ที่สอง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชน ติดตามพวกเขาบน Twitter ได้ที่:@SecPompeoand@SecAzar
โดย U.S. Embassy Bangkok | 20 กุมภาพันธ์, 2020 | ประเภท: ข่าว | American evacuees from the coronavirus outbreak in China arrived in Omaha, Nebraska, on Feb. 7, 2020. (AP Photo/Nati Harnik)
Mike Pompeo and Alex Azar: Our coronavirus response is protecting Americans
How we mobilize resources around the world to help other nations fight the disease is American altruism at its finest.
Michael R. Pompeo and Alex M. Azar II
Opinion contributor
February 11, 2020
The first duty of the federal government is to keep our citizens safe. Since the United States first became aware on Dec.30 of what hasbecome known as the novel coronavirus, America’s public health officials have closely monitored the situation, worked to understand the virusand taken steps to limit Americans’ exposure to it.
Our task force is ensuring that our whole of government, layered, public health plan has the resources necessary to protect Americans. We’ve treated the sick, and traced back their travel history and contacts to minimize the spread of the virus. We’ve worked swiftly toscreen and safely receive American travelers returning from China, andbar foreign travelers who have recently visited the epicenter of the outbreak.
Consistent with the World Health OrganizationInternational Health Regulations, our travel restrictions were intentionally devised to complement the Chinese government’s policy ofisolating approximately 50 million of its own citizens in Hubei province.Other nations, such asItalyandSouth Korea, have taken similar measures.
Our efforts in China
Thus far, theUnited States has only had 13confirmed casesof the virus.We were saddened to hear last week thatone American, a 60-year-old woman in Wuhan, China, has died. But we’re undeterred in our vigilance to protect our people. And we’re mobilizing resources around the world to help other nations fight the disease, too. This is American altruism at its finest.
Let’s start with our efforts focused on the country where the virus first appeared —China. In thewords of President Donald Trump, “We’re offering them tremendous help.” During the first week of January, the Centers for Disease Control and Prevention made an offer of assistance in order to understand the disease and help bolster response efforts.
The Department ofHealth and Human Services subsequently provided to the WHO a list of world-class medical professionals ready to deploy their skills in China and learn from China’s efforts to combat this new coronavirus. In the last week of January, Secretary Azar personally extended an offer of help to Health MinisterMa Xiaowei; Secretary Pompeo did the same with Chinese State Councilor Yang Jiechi. We hope the mission will commence immediately, whether bilaterally or under the auspices of the WHO.
We’ve also facilitated the delivery of vast amounts of medical supplies to the Chinese people. Just lastweek, the State Department helpedtransport17.8 tons of relief suppliesto Hubei. And more assistance will continue to be offered — the United States is prepared tospend up to $100 millionin existing State and U.S. Agency for International Development funds to assist China and other impacted countries to contain and combat the virus.
While State managed the logistics, the donations themselves were provided by Samaritan’s Purse, Boeing, Intermountain Healthcareand The Church of Jesus Christ of Latter-day Saints, and coordinated by a nongovernmental organizationcalled Project HOPE. Time and again, when diseases and disasters strike, the American people have stepped up to help citizens of other countries without being asked. Our robust charitable giving and enthusiastic civil society groups are channeling the American people’s concern for their fellow man.
Cooperation with other nations
Then there are America’s actions to help the citizens of other countries, beyond China. CDC staff based in more than 60 countries are working closely with ministries of health and other health partners, often in conjunction with their colleagues at the State Department and other federal agencies.
For instance, the United Stateshas madecoronavirus test kits available to 191 qualified laboratoriesaround the world; so far, labs from 36 countries have put in orders. We’ve deployed staff to train health professionals in 15 hospitals in Vietnam. In Kenya,health experts at the U.S. Embassy in Nairobi, as part of our Infectious Diseases Task Force, engaged the government early on to recommend best practices in airport screening and public health.
Our quick and effective reaction abroad is facilitated by partnerships that Americahas carefully nurtured over decades — long before the latestoutbreak.
We believe our actions will slow the transmission of the virus to and within the United Statesand other countries, solidify our ties of friendship with our allies and partners, and help save lives by giving us more time to refine preparedness measures and better understand the virus.
We all hope that our concerted efforts will control the virus and cause it to subside. But the world doesn’t need to wait for that day to see how America remains a force for good throughout the globe.
Michael R. Pompeo is thesecretary of Stateand Alex M. Azar II is the secretary of Health and Human Services. Follow them on Twitter:@SecPompeoand@SecAzar
By U.S. Embassy Bangkok | 20 February, 2020 | Topics: News, U.S. Secretary of State | Mike Pompeo and Alex Azar: Our coronavirus response is protecting Americans | ไมค์ ปอมเปโอ และอเล็กซ์ เอซาร์: สหรัฐฯ รับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเพื่อปกป้องชาวอเมริกัน |
https://th.usembassy.gov/th/hawaiian-ukulele-musician-daniel-ho-and-hula-teacher-kealii-ceballos-in-thailand-th/ | แดเนียลโฮนักเล่นอูคูเลเลชาวฮาวายและเคย์ลีเซบาโยสอาจารย์สอนระบำฮูลาเดินทางเยือนไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อจัดเวิร์กชอปและคอนเสิร์ตร่วมกับนักเรียนและนักดนตรีรับเชิญชาวไทยในภูเก็ตพังงาขอนแก่นและกรุงเทพฯระหว่างวันที่1-8กุมภาพันธ์2563โดยได้มีการจัดงาน“อะโลฮ่าภูเก็ต:เทศกาลวัฒนธรรมฮาวาย”ที่บ้านอาจ้อเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์เพื่อเฉลิมฉลอง200ปีแห่งมิตรภาพระหว่างสหรัฐฯและไทยซึ่งคุณภัคพงศ์ทวิพัฒน์ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตให้เกียรติเข้าร่วมจากนั้นคณะนักดนตรีเดินทางไปจัดเวิร์กชอปและการแสดงที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต,โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดพังงาและโรงเรียนดนตรียามาฮ่านครภูเก็ต
ที่ขอนแก่นนักแสดงของเราได้จัดคอนเสิร์ตสุดพิเศษร่วมกับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์อีสานพื้นเมืองมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยมีคุณสมศักดิ์จังตระกูลผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเข้าร่วมชมการแสดง
เราปิดท้ายรายการด้วยการแสดงสุดประทับใจในงาน“อะโลฮ่ากรุงเทพฯ:เทศกาลวัฒนธรรมฮาวาย”ที่เดอะแจมแฟคตอรี่ในวันที่8กุมภาพันธ์คุณแดเนียลได้บรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์“ชะตาชีวิต” (H.M. Blues)เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรก่อนจะแสดงดนตรีไทยร่วมกับนักเรียนผ่านเพลง“ช้าง”และการรำวง
โดย U.S. Embassy Bangkok | 14 กุมภาพันธ์, 2020 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์ | Hawaiian ukulele musician Daniel Ho and hula teacher Keali’i Ceballoswere in Thailand last week and conductedworkshops and concerts with students and Thai guest musicians in Phuket, Phang-nga, Khon Kaen and Bangkok from February 1-8, 2020.In Phuket,“Aloha Phuket: Hawaiian Festival”was held atBaan Ar-Jor on February 1 to celebrate 200 years of U.S.–Thai Friendship.The event was attended byGovernor Mr. Phakaphong Tavipatana. The group then travelled to give workshops and performances at Phuket Rajabhat University, Phang-nga School for the Deaf and Yamaha Music School Phuket.
In Khon Kaen, our performers werejoined by Isan traditional music and dance students from Khon Kaen University at a special concert attended by Khon Kaen Governor, Mr. Somsak Changtragul.
The program ended with a special showcase “Aloha Bangkok: Hawaiian Festival” at the Jam Factory on February 8. During the concert, Daniel Ho paid respect to His Majesty King Bhumibol Adulyadej The Great with his performance of “H.M. Blues” before collaborating with students to perform a Thai song, “Chang” (Elephant) and a traditional Thai dance “Ram Wong”.
By U.S. Embassy Bangkok | 14 February, 2020 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Hawaiian Ukulele Musician Daniel Ho and Hula Teacher Keali’i Ceballos in Thailand | แดเนียลโฮนักเล่นอูคูเลเลชาวฮาวายและเคย์ลีเซบาโยสอาจารย์สอนระบำฮูลาเยือนไทย |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-government-supports-royal-thai-government-to-fight-drug-trafficking-th/ | เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 สหรัฐอเมริกามอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มูลค่ารวมประมาณ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่องานด้านการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายระหว่างสหรัฐฯ และไทยที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ในโอกาสดังกล่าว กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ ฌอน โอนีลล์ ร่วมกับนายจอห์น กรินดีน หัวหน้าสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ ประจำเชียงใหม่ เป็นผู้มอบอุปกรณ์ให้กับกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด รับมอบโดย พ.ต.ท.จิรพงษ์ คำมี รองผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 3
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สหรัฐฯ มอบให้ไทยได้แก่กล้องถ่ายรูปจำนวน 30 ตัว เพื่อให้หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจร่วมไทย-สหรัฐฯ ได้ใช้งานเพื่อต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดในไทย ซึ่งหน่วยสืบสวนพิเศษ (SIU) สำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ (DEA) ประจำเชียงใหม่นี้ เป็นหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจที่ผ่านการคัดสรรและคัดกรอง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และหน่วยปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธรภาค 5 ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่สืบสวนพิเศษและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์การข่าวของ DEA ทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ SIU ทั้งในฐานะเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำด้านการสืบสวนสอบสวน จัดหาเงินทุนสนับสนุนการปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าว และให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคกับเจ้าหน้าที่ไทย ภารกิจของโครงการ SIU คือ การให้ความช่วยเหลือหน่วยบังคับใช้กฎหมายของไทยในการสืบสวนสอบสวนด้านการค้ายาเสพติดที่ซับซ้อน เพื่อจุดมุ่งหมายในการกำหนดเป้าหมาย ขัดขวาง และทำลายองค์กรลักลอบค้ายาเสพติดรายใหญ่ระหว่างประเทศ
“อาชญากรรมข้ามชาติส่งผลกระทบต่อพลเมืองของทุกประเทศ สหรัฐฯ ภูมิใจที่ได้สนับสนุนไทยในการหยุดผู้ลักลอบค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนไทย เพื่อที่เราจะได้ปกป้องครอบครัวของเราและเสริมสร้างความมั่นคงของชาติทั้งในประเทศไทยและสหรัฐฯ” กงสุลใหญ่โอนีลล์กล่าว “ความร่วมมือด้านความมั่นคงและการบังคับใช้กฎหมายระหว่างสหรัฐฯ และไทยปกป้องครอบครัวและชุมชนของเราทั้งสองประเทศ”
ท่านสามารถดาวน์โหลดรูปเพิ่มเติมจากงานได้ที่ https://photos.app.goo.gl/uGidRArNLf9resBY9
โดย U.S. Mission Thailand | 12 กุมภาพันธ์, 2020 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เอกสารข่าว | On February 11, the United States donated electronic equipment with a value of approximately $30,000 to the Royal Thai Government to fight drug trafficking and transnational crime as part of a longstanding U.S.-Thai law enforcement partnership. Consul General Sean O’Neill, joined by DEA Chiang Mai Resident Agent in Charge John Grindean, presented the equipment to Narcotics Suppression Bureau’s (NSB) Pol. Lt. Col. Jirapong Khummee, Deputy Superintendent of the NSB Sub-Division 2, Division 3.
The equipment included 30 cameras for use by a joint Thai-U.S. task unit that combats drug trafficking in Thailand. The U.S. Drug Enforcement Administration (DEA) Chiang Mai Sensitive Investigative Unit (SIU) in Chiang Mai is a vetted task force comprised of investigators from the Royal Thai Police Narcotics Suppression Bureau (NSB); the Office of Narcotics Control Board (ONCB); and the Provincial Police Narcotics Suppression Unit (PPNSU). DEA Agents and Intelligence Analyst are embedded in the unit and act as agent advisors to provide investigative support, operational funding, intelligence sharing and technical assistance to our Thai partners. The mission of the Sensitive Investigative Unit Program is to help Thai law enforcement successfully conduct complex drug investigations to detect, target, and dismantle major international drug trafficking organizations.
“Transnational crime affects citizens of all countries. The United States is proud to support Thailand in its fight against drug traffickers on Thailand’s borders so we can protect our families and strengthen the national security of both Thailand and the United States.” said Consul General Sean O’Neill. “U.S.-Thai security and law enforcement cooperation protects our families and communities in both countries.”
Download high resolution photos here: https://photos.app.goo.gl/uGidRArNLf9resBY9
By U.S. Consulate Chiang Mai | 12 February, 2020 | Topics: Chiang Mai, Consul General, News, Press Releases, U.S. & Thailand | U.S. Government Supports Royal Thai Government to Fight Drug Trafficking | รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนรัฐบาลไทยในการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด |
https://th.usembassy.gov/th/u-s-government-convenes-innovators-in-northern-thailand-to-tackle-air-pollution-challenges-th/ | 10 กุมภาพันธ์ 2563 เชียงใหม่ – กลุ่มนักคิดรุ่นใหม่ภายใต้ชื่อทีม “No Grant SMOG” คว้ารางวัลที่หนึ่งในกิจกรรม Smogathon Thailand 2020 ด้วยไอเดียนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับฝุ่นควันสำหรับเด็กระดับประถม องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) โครงการเซอร์เวียร์แม่โขง (SERVIR-Mekong) โครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) และกรมควบคุมมลพิษแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดงาน “Smogathon Thailand 2020” ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 กุมภาพันธ์ เพื่อสนับสนุนผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอความคิดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย กิจกรรม “แฮ็คคาธอน” เชิญชวนเหล่าคนวัยทำงานรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาชาวิชาชีพ มาร่วมกันคิดหาหนทางแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในระดับประเทศ และภูมิภาค รวมไปถึงระดับจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่พัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ อันได้แก่ โครงการเซอร์เวียร์แม่โขง ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง องค์การ USAID และองค์การ NASA, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และกรมควบคุมมลพิษ ในการสังเกตการณ์ ติดตามตรวจสอบ และพยากรณ์คุณภาพอากาศ
“รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับทางรัฐบาลไทยจัดกิจกรรมนี้ขึ้น” กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ นายฌอน โอนีลล์ กล่าว “กิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Geospatial Data หรือข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความแม่นยำในการสังเกตการณ์และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพของอากาศ ผมขอแสดงความยินดีกับนักคิดรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้เพื่อระดมความคิดหาหนทางแก้ไขปัญหา”
หลังจากการเก็บตัวและระดมใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเข้มข้นมาตลอดระยะเวลาสามวัน ทีมผู้ชนะของกิจกรรม Smogathon Thailand 2020 ได้แก่ทีม No grant SMOG ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนิสิตนักศึกษาจากห้าสถาบันในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพฯ นำเสนอความคิดในการออกแบบสื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมในรูปแบบการเล่าเรื่องโดยสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับฝุ่นและควัน และการป้องกันตัวเพื่อปลุกจิตสำนึก โดยผ่านการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วยการใช้ บอร์ดเกมส์ เพื่อสร้างความเข้าใจและใส่ใจปัญหาฝุ่นควันมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มที่จะสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับฝุ่นควันได้ง่าย เมื่อเข้าใจแล้วนักเรียนจะเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ครอบครัวและคนรอบข้างต่อไป ทีม No grant SMOG จะมีโอกาสได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมที่ปรึกษาจากโครงการ SERVIR-Mekong ของ USAID และ NASA ที่ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Prepaedness Center – ADPC) เพื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมในการตรวจวัดคุณภาพอากาศและพัฒนาเครื่องมือการศึกษา
นอกจากนี้ ยังมีรางวัลพิเศษ มอบให้แก่ผู้ที่ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในหมวดต่างๆ ได้แก่ รางวัลความคิดสร้างสรรค์ดีเด่น (ทีม Air4all) รางวัลด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (ทีม FEU Eliminator) รางวัลการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (ทีม Smogless ) รางวัลด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ทีม Potter Innovation) และรางวัลพิเศษจาก True Digital (ทีม Boxcorn) โดยภาคเอกชนเช่นบริษัททรู ดิจิทัล พาร์ค และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลก็ได้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมครั้งนี้อย่างเต็มที่อีกด้วย
“การรับมือกับปัญหามลพิษทางอากาศต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน” นางจูนิเปอร์ นีลล์ รองผู้อำนวยการ USAID สำนักงานภาคพื้นเอเชีย กล่าว “เราหวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นกิจกรรมต้นแบบที่จุดประกายความร่วมมือทางนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคต ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเยาวชนทั้งชาวไทยและในภูมิภาค”
กิจกรรม Smogathon Thailand 2020 ครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากงานครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาและโครงการ YSEALI เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 โดยงานครั้งนั้นส่งผลให้เกิดแนวคิดด้านนวัตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เตาเผาแบบไร้ควัน หรือการจัดทำเว็บไซต์สำหรับแจ้งเตือนแก่ประชาชนเมื่อเกิดการเผาไหม้ในที่โล่ง
โดย U.S. Mission Thailand | 11 กุมภาพันธ์, 2020 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว | Chiang Mai, Thailand, February 10, 2020 – A team of six youth innovators called “No Grant SMOG” won the first prize at Smogathon Thailand 2020 for inventing active-learning tools to educate elementary-school children about smog. To help address air pollution challenges, the United States Agency for International Development (USAID) and the U.S. National Aeronautics and Space Administration (NASA), in collaboration with the U.S. Department of State’s Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) and the Royal Thai Government’s Pollution Control Department, hosted “Smogathon Thailand 2020” in Chiang Mai from February 8 to 10.
This “hackathon” brought together young professionals, students, and technical experts from various fields and challenged them to use a satellite-based air quality monitoring and forecasting tool, created by USAID’s SERVIR-Mekong project and co-developed with NASA, the Royal Thai Government’s Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (GISTDA), and Pollution Control Department to help identify solutions for regional, national, and local air pollution challenges. Over three days, participants competed as teams to develop solutions and turn them into prototypes for a judging panel.
“The U.S. Government is pleased to host this event in partnership with the Royal Thai Government,” says Sean O’Neill, Consul General at the U.S. Consulate in Chiang Mai. “This event challenged participants to use new technologies, including the use of geospatial data, to improve the accuracy of air quality monitoring. I would especially like to congratulate all the young innovators who took part in this challenge to find a solution for their communities.”
Six students from different universities formed a team called No Grant SMOG during this hackathon and were awarded the first prize for creating learning tools such as board games to educate elementary-school children about smog. The board game is designed to walk the children through the game with knowledge about smog, its root causes, and preventive measures. Because children can play an active role in disseminating information to their peers and families, the team hoped the tools will help raise awareness about the issue among the public.
The winning team will continue to work with technical advisors from USAID’s SERVIR-Mekong project at the Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) and NASA to apply satellite-informed air-quality to improve their learning tools.
In addition to the first prize, special prizes were awarded to the other five teams, including Dust Barrier for Environment and Sustainability, Smogless for Civic Engagement, Air4All for Most Innovative Idea, Potter Innovation for Geospatial Application, and Boxcorn for True Digital Spotlight Award.
Private corporations such as True Digital Park and the Digital Economy Promotion Agency (DEPA) also generously supported the event with additional prizes.
“Addressing air pollution challenges requires participation from all sectors,” said Juniper Neill, Deputy Mission Director of USAID Regional Development Mission for Asia. “We hope this event will be a model that leads to future innovative collaborations among governments, the private sector, and young people in Thailand and across the region.”
The event builds upon the success of the first Smogathon organized by the U.S. Consulate and YSEALI in May 2019. Last year’s Smogathon resulted in innovative ideas such as smokeless furnaces and a website for farmers to inform the public when open burning will happen.
By U.S. Mission Thailand | 11 February, 2020 | Topics: Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: USAID, YSEALI | U.S. Government Convenes Innovators in Northern Thailand to Tackle Air Pollution Challenges | รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจับมือนักคิดแก้ปัญหาฝุ่นควันในภาคเหนือของประเทศไทย |
https://th.usembassy.gov/th/statement-on-the-tragic-events-in-nakhon-ratchasima-th/ | สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยจะยืนหยัดเคียงข้างประชาชนไทยเสมอ เรารู้สึกสะเทือนใจอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครราชสีมา และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งเพื่อนและครอบครัวของพวกเขา
โดย U.S. Mission Thailand | 9 กุมภาพันธ์, 2020 | ประเภท: สถานทูต | The Embassy of the United States of America in Bangkok stands with the people of Thailand, saddened by tragic events in Nakhon Ratchasima. We offer our deepest condolences to the victims and their friends and families.
By U.S. Embassy Bangkok | 9 February, 2020 | Topics: embassy | Statement on the tragic events in Nakhon Ratchasima | แถลงการณ์ต่อเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครราชสีมา |