date
stringlengths
12
13
title
stringlengths
20
290
text
stringlengths
9
61.3k
02 เม.ย. 2561
จ.อำนาจเจริญ จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ Amnat BiG Cleaning เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2561
วันนี้ (2 เม.ย. 61) เวลา 10.00 น. ที่บริเวณด้านหน้ามุขศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ นายวิชยันต์ บูรณะกิจภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานเปิดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ Amnat BiG Cleaning เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2561 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และจิตอาสาจังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ด้วยคณะอนุกรรมการจัดกิจกรรมบำเพ็ญกุศลและสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2561 มีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดกิจกรรมบำเพ็ญกุศลและสาธารณประโยชน์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สำหรับในส่วนภูมิภาคได้มอบหมายให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นเจ้าภาพหลักจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ Amnat BiG Cleaning เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2561 เพื่อให้ส่วนราชการในจังหวัดอำนาจเจริญ ได้มีส่วนร่วมในการปกป้อง ดูแล เกิดความรัก ความสามัคคี ตลอดจนดูแลรักษาสถานที่ราชการให้น่าอยู่พร้อมที่จะให้บริการประชาชน โดยกิจกรรมในวันนี้ประกอบด้วย การทำความสะอาด เก็บขยะ เก็บใบไม้ กิ่งไม้ แยกขยะ กวาดถนนบริเวณทางเดินโดยรอบ ซึ่งได้แบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ เป็น 2 โซน โดยมีส่วนราชการจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมกิจกรรมตามพื้นที่ที่รับผิดชอบ
02 เม.ย. 2561
จ.ยะลา ปล่อยแถวเจ้าหน้าที่ 4 ฝ่าย ออกปราบปรามอาชญากรรม ความมั่นคง ป้องกันการเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์
จังหวัดยะลา ปล่อยแถวเจ้าหน้าที่ 4 ฝ่าย ออกปราบปรามอาชญากรรม ความมั่นคง ป้องกันการเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่หน้าตำรวจภูธรจังหวัดยะลา นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา พร้อมด้วยพลตำรวจตรี กฤษฎา แก้วจันดี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ได้ร่วมปล่อยแถวกำลังร่วม 4 ฝ่าย เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร อส. และภาคประชาชน จำนวน 300 นาย ออกระดมปราบปรามอาชญากรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2561 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่เขตเมืองยะลา ซึ่งการปล่อยแถวครั้งนี้ สืบเนื่องจากในวันที่ 12-16 เมษายน 2561 เป็นช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ประจำปี ซึ่งเป็นวันหยุดและในปีนี้จะมีวันหยุดราชการต่อเนื่องกันหลายวัน ทำให้ในช่วงวันเวลาดังกล่าวมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อร่วมฉลองวันสงกรานต์และวันแห่งครอบครัวตามประเพณีไทย หรือเดินทางไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก อาจมีการนำทรัพย์สินของมีค่าติดตัวไปด้วย และจะมีสถานที่บางแห่งจัดกิจกรรม หรืองานรื่นเริงที่มีประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปร่วมงานจำนวนมาก อาจเป็นช่องทางให้กลุ่มมิจฉาชีพก่อเหตุขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรืออาจมีกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดีเข้ามาฉวยโอกาส สร้างสถานการณ์ก่อเหตุร้าย หรือความไม่สงบในพื้นที่ขึ้นได้ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2561 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ตำรวจทั่วประเทศ ระดมปราบปรามอาชญากรรม ตำรวจภูธรจังหวัดยะลา จึงได้ร่วมกันระดมสรรพกำลัง 4 ฝ่าย เพื่อปราบปรามอาชญากรรม โดยมีเป้าหมายในการปฏิบัติ คือ ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เส้นทางหลัก เส้นทางรอง เสริมแผนรักษาความปลอดภัยเขตเมือง ลาดตระเวนเส้นทาง ตรวจค้นบุคคล ยานพาหนะ หอพักบ้านเช่า เพื่อค้นหาและจับกุมตามหมายจับคดีความมั่นคง อาวุธปืน วัตถุระเบิด ซึ่งเป็นปัจจัยในการก่อเหตุ ยานพาหนะผิดกฎหมายซึ่งอาจนำมาใช้ในการก่อเหตุ ภัยแทรกซ้อน ซึ่งประกอบด้วย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ และแหล่งอบายมุขต่างๆ การประชาสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกเดินทางท่องเที่ยว ตลอดจนการประชาสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะ ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และงดดื่มสุรา หรือสิ่งมึนเมาทุกชนิด รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพกพาอาวุธในสถานที่สาธารณะ
01 เม.ย. 2561
อสม.นครพนม คว้ารางวัลดีเด่นระดับชาติ สาขาเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคฯ
อสม.นครพนม คว้ารางวัลดีเด่นระดับชาติ สาขาเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคฯ ที่จังหวัดนครพนม นายแพทย์จรัญ จันทมัตตุการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้ทุกวันที่ 20 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และได้กำหนดให้มีการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)ดีเด่น ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เขต/ภาค และชาติ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจแก่ อสม. ที่ได้เสียสละเวลามาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข ช่วยดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ผลงานดีเด่นของอาสาสมัครสาธารณสุขในสาขาต่างๆ และในปี 2561 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้ดำเนินการคัดเลือก อสม.ดีเด่น เพื่อเป็นตัวแทนของจังหวัดนครพนม ซึ่งผลปรากฎว่า นางทองใส หาญเสนา อสม.ตำบลนาถ่อน อ.ธาตุพนม สามารถคว้ารางวัล อสม.ดีเด่น ระดับชาติ สาขาการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ประจำปี 2561 นางทองใส หาญเสนา อสม. ดีเด่นระดับชาติ เปิดเผยว่า ตนเองได้สมัครเข้ามาเป็น อสม.เมื่อ 23 ปีที่แล้ว ด้วยต้องการอยากช่วยดูแลสุขภาพของคนในชุมชนให้มีร่างกายที่แข็งแรง จึงได้มุ่งมั่นทำงานร่วมกับเพื่อนๆ อสม.จนกระทั่งได้รับรางวัลในครั้งนี้ โดยผลงานเด่นคือการนำเอาระบบ 5 ส.และนวัตกรรมสเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุงมาเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ซึ่ง 5 ส. ที่ว่าประกอบด้วย ส.เสียสละ คือต้องมีความเสียสละ มุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ต่อมาคือ ส.สื่อสารที่จะมีการนำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับจากสำนักงานสาธารณสุขมาถ่ายทอดต่อยังเพื่อนบ้าน โรงเรียน และชุมชน ผ่านทางหอกระจายข่าว และการประชุม การอบรมตามสถานที่ต่างๆ ต่อมาคือ ส.สนับสนุน ซึ่งในส่วนนี้จะมีการติดต่อส่วนราชการทั้งระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นเพื่อขอรับการสนับสนุน งบประมาณ วัสดุ/อุปกรณ์ บุคลากร วิทยากรเพื่อมาเติมเต็มการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ต่อมาคือ ส.ส่วนร่วม ที่เป็นเหมือนหัวใจสำคัญเพราะเมื่อทุกคนในชุมชนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในทุกๆกิจกรรมที่กลุ่ม อสม. ออกปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแล้ว ผลการทำงานจะเป็นแบบก้าวกระโดดในทันที และสุดท้ายคือ ส.สิ่งแวดล้อมที่จะมีการออกสำรวจ เฝ้าติดตาม และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุง รวมถึงการปรับปรุงพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้สะอาด ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทำให้ทุกคนห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก สำหรับนวัตกรรม “สเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุง” มีที่มาจากการที่เห็นว่า ในชุมชนมีการปลูกตะไคร้หอมไว้รับประทานในครัวเรือนและการจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อได้รับความรู้มาว่าตะไคร้หอมสามารถไล่ยุงได้ จึงได้คิดพัฒนาจนกลายเป็นสเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุงที่จะนำมาใช้งานก่อนออกปฏิบัติหน้าที่และถ่ายทอดต่อยังคนในชุมชนเพื่อนำไปผลิตใช้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
01 เม.ย. 2561
“ไอเดียดี” ชาวยะลา เตรียมเพาะเลี้ยงนกยูง เปิดแหล่งท่องเที่ยว”พอเพียง” ในหมู่บ้าน ให้เด็กและเยาวชน ได้ศึกษาเรียนรู้
“ไอเดียดี” ชาวยะลา เตรียมเพาะเลี้ยงนกยูง เปิดแหล่งท่องเที่ยว”พอเพียง” ในหมู่บ้าน ให้เด็กและเยาวชน ได้ศึกษาเรียนรู้ เจ้าของฟาร์มแพะการิม หมู่11 ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา ได้นำนกยูงพันธุ์อินเดียมาเลี้ยงไว้ในฟาร์ม ซึ่งมีทั้งแพะ กวาง ไก่ ปลา และสวนผสมอยู่แล้ว เพื่อเตรียมใช้เป็นสถานที่ให้เด็กและเยาวชน ประชาชนในหมู่บ้าน ได้เข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาเรียนรู้การเลี้ยง ที่ผ่านมาได้มีเด็กและเยาวชน มาดูสัตว์ที่เลี้ยงไว้ภายในฟาร์มอย่างต่อเนื่อง นายอับดุลการิม อุเซ็งรานง เจ้าของฟาร์มแพะการิม เปิดเผยว่า ตนเองได้ซื้อนกยูงพันธุ์อินเดียมาเลี้ยงไว้ 3 ตัว โดยมีแนวคิดที่จะทำฟาร์มให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน หลังจากที่ผ่านมาในช่วงเย็น วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ จะมีผู้ปกครองนำเด็กและเยาวชนมาเที่ยวกันจำนวนมาก สำหรับนกยูงที่เลี้ยงไว้ จะขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆ คาดว่า ในอนาคตไม่เกิน 3 ปี จะมีนกยูงเพิ่มมากขึ้น และฟาร์มแห่งนี้ เป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยผสมผสานทั้งเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชหลายชนิดและจะเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของให้เด็กและเยาวชนต่อไป
01 เม.ย. 2561
ททท.จัดเทศกาลอาหารทะเลและดนตรีริมหาด “กินแหลก แหวกทะเล @หาดนางทอง”จ.พังงา
ททท.จัดเทศกาลอาหารทะเลและดนตรีริมหาด “กินแหลก แหวกทะเล @หาดนางทอง” จ.พังงา นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานเปิดงานเทศกาลอาหารทะเลและดนตรีริมหาด “กินแหลก แหวกทะเล@หาดนางทอง”ประจำปี 2561 ที่บริเวณริมทะเลหาดนางทอง เขาหลัก ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก พร้อมร่วมชมคอนเสิร์ตจากศิลปินและชิมอาหารทะเลสดๆจากโรงแรม ร้านอาหารชื่อดัง และกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่จังหวัดพังงา ที่ร่วมออกบูธจำหน่ายอาหารทะเลในราคาพิเศษกว่า 50 ร้าน ซึ่งแต่ละบูธโชว์ลีลาการปรุงกันแบบสดๆ และมีการแต่งชุดไทยย้อนยุคตามละครชื่อดัง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาได้ร่วมปรุงและชิมอาหารของแต่ละบูธ ก่อนจะเปิดงานท่ามกลางสายฝน นายชูชาติ อ่อนเจริญ ผู้อํานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สํานักงานพังงา กล่าวว่า เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2559 ที่ผ่านมา ททท.พังงา ได้มีการจัดงานดนตรีแห่งความทรงจํา Music in Memory บริเวณหาดนางทอง เขาหลัก อําเภอตะกั่วป่า พบว่า ประสบผลสําเร็จในการจัดงานเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นงานใหญ่และเป็นการจัดในช่วงปลายปี เป็นการส่งสัญญาณให้นักท่องเที่ยวทราบว่า จังหวัดพังงาเริ่มเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวและพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกแล้ว สําหรับในครั้งนี้ ททท. ได้มีการวางแผนที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนเมษายน 2561 ททท.พังงาร่วมกับจังหวัดพังงา เทศบาลตําบลคึกคัก และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดพังงาได้จัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการกิจการโรงแรม ร้านอาหารในพื้นที่จังหวัดพังงาให้เกิดการกระจายรายได้ในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ที่สําคัญยังเป็นการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาพักมากขึ้น รวมทั้งเป็นการสร้างความสุขให้กับนักท่องเที่ยวที่อยู่ในบริเวณเขาหลักให้ได้รับฟังเสียงเพลงจากศิลปินชั้นนําของประเทศตลอดงาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นายวชิรชัย สิริสัมพันธ์ ผู้อำนวยการกองตลาดภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท) กล่าวเพิ่มเติมว่า งานดังกล่าวถือเป็นเทศกาลอาหารทะเลแบบสุดยอดอาหารทะเลที่คัดสรรมาให้ผู้เข้าร่วมงานได้ลิ้มชิมรส อาหารซีฟู้ดสดใหม่จากจังหวัดพังงา สําหรับรูปแบบการจัดงานเป็นเทศกาลอาหารทะเลชมพระอาทิตย์ตกดินฟังเสียงเพลงกับบรรยากาศแสนสบายริมทะเล ภายใต้ Concept “หนีความวุ่นวาย มากินอาหารทะเล ฟังเสียงดนตรีเพราะๆกับบรรยากาศแสนสบายริมทะเล” ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวในโซนเขาหลัก และแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของจังหวัดพังงาในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี และคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสนใจเข้ามาร่วมงานตลอด 2 วัน ไม่น้อยกว่า 10,000 คน
01 เม.ย. 2561
จ.พิจิตร แต่งกายย้อนยุค จัดงาน “เพ็ญเดือนห้า และของดีโพธิ์ประทับช้าง ชิมส้มโอหวาน ย้อนตำนานพระเจ้าเ
นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานเปิดงาน “เพ็ญเดือนห้า และของดีโพธิ์ประทับช้าง ชิมส้มโอหวาน ย้อนตำนานพระเจ้าเสือ” ณ บริเวณหน้าวัดโพธิ์ประทับช้าง ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ซึ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้างร่วมกับเทศบาลองค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดงานเพ็ญเดือนห้า และของดีโพธิ์ประทับช้าง ชิมส้มโอหวาน ย้อนตำนานพระเจ้าเสือประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน 2561 ที่บริเวณหน้าวัดโพธิ์ประทับช้าง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของอำเภอโพธิ์ประทับช้าง โดยเฉพาะส้มโอ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศ และอนุสรณ์สถานที่ประสูติสมเด็จพระเจ้าเสือหรือสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวงอาณาจักรอยุธยา และภายในงานดังกล่าวมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ได้แก่ การประกวดผลส้มโอการแปรรูป ส้มโอกวน ร้าน OTOP ของดีโพธิ์ประทับช้าง การประกวดการประกอบอาหารด้วยส้มโอ การประกวดร้องเพลงประเภทท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การประกวดธิดาส้มโอ ซึ่งผู้ร่วมงานได้แต่งกายย้อนยุคสมัยพระนครศรีอยุธยา ภายในงานได้จำลองบรรยากาศไทยโบราณ ตลาดโบราณ การแสดง แสง สี เสียง ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ OTOP จากกลุ่มอาชีพต่างๆ รวมทั้งอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและการละเล่นพื้นบ้านให้คงอยู่สืบไป
29 มี.ค. 2561
ผู้ว่าฯ นครราชสีมา ยืนยันไม่พบการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกในสวนสัตว์นครราชสีมา วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ยืนยันไม่พบการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกในสวนสัตว์นครราชสีมา วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก ขอให้มั่นใจมาตราการป้องกัน นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงกระแสข่าวการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกในพื้นที่สวนสัตว์นครราชสีมา ว่า จากการตรวจสอบของทางสวนสัตว์นครราชสีมา ร่วมกับ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดที่ลงพื้นที่นำซากสัตว์ปีกที่ตายไปตรวจสอบ ยืนยันว่าไม่พบเชื้อไข้หวัดนกตามที่มีกระแสข่าวออกไปอย่างแน่นอน ซึ่งทางจังหวัดมีแผนการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งโรคไข้หวัดนกและโรคพิษสุนัขบ้า อย่างไรก็ตาม ประชาชนอย่าตื่นตระหนกและหากพบเห็นซากสัตว์ตาย โดยไม่รู้สาเหตุไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือสัมผัส แต่ควรแจ้งหน่วยงานของรัฐเข้าไปตรวจสอบเพื่อเก็บซากสัตว์ที่ตายไปตรวจสอบถึงสาเหตุและทำลายอย่างถูกวิธี
27 มี.ค. 2561
รายการเดินหน้าประเทศไทย : ปลดล็อค IUU ออกอากาศวันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561
นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวผ่านรายการเดินหน้าประเทศไทยถึงการเดินหน้าปลดล็อคไอยูยู ว่าการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือไอยูยู ในปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมาก โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามปรับปรุงกฎหมาย สร้างระบบบริหารการจัดการประมงใหม่ เพื่อการทำประมงอย่างยั่งยืน เพราะการเดินทางมาของคณะกรรมการสหภาพยุโรป หรืออียู ที่จะเดินทางมาไทยในเดือนเมษายนนี้ อาจมีการตรวจประเมินไทยอีกครั้ง เพื่อปลดล็อคใบเหลืองได้ ขณะเดียวกันยังระบุว่า กฎหมายการทำประมงใหม่มีความครอบคลุมอย่างมาก จึงอยากให้ผู้ที่ทำประมงตระหนักถึงข้อกฎหมายใหม่ โดยเฉพาะในวันที่ 1 เมษายนนี้ ที่จะเข้าสู่การทำประมงรอบใหม่แล้ว เรือที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายจะออกทะเลไม่ได้ และเรือที่ทำถูกกฎหมายแล้วควรระมัดระวังในการทำประมงด้วย ขณะเดียวกันการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ยังนำไปสู่การปัญหาแรงงานต่างด้าวให้มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความมั่นคงต่อประเทศและสามารถตรวจสอบได้ โดยปัจจุบันภาครัฐได้เปิดให้ผู้ประกอบการที่มีแรงงานประมงต่างด้าว มาจัดเก็บข้อมูลพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลของแรงงาน และจะเปิดลงทะเบียนรายงานตัวจนถึงวันที่ 31 มีนาคมนี้ ขณะที่ปัจจุบันไทยมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานถึง 3.8 ล้านคน และ 1.6 ล้านคนยังเป็นแรงงานที่ลักลอบเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมายและได้รับอนุญาตทำงานชั่วคราว นอกจากนี้ รัฐบาลยังใช้โอกาสในการเข้าร่วมงานบอสตันซีฟู้ด ซึ่งจัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา เพื่อชี้แจ้งและทำความเข้าใจต่อชาวโลกถึงความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาทำประมงของไทยอย่างจริงจังด้วย
27 มี.ค. 2561
ตำรวจ ชาวบ้านในพื้นที่ จ.ยะลา นำสุนัขและแมวมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า คึกคัก
ตำรวจ ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดยะลา นำสุนัขและแมวมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า คึกคัก ขณะที่สุนัขและแมวฉีดวัคซีนแล้ว 1,800 ตัว ทีมสัตวแพทย์ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลา ได้นำหน่วยเคลื่อนที่ออกให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฟรี ให้กับสุนัขและแมวของประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา ตามโครงการเขตปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ที่บริเวณโรงเรียนเทศบาล 2 มลายูบางกอก เขตเทศบาลนครยะลา และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำด่านตรวจมลายูบางกอก ได้นำแมวและสุนัขที่เลี้ยงไว้มารับบริการฉีดวัคซีน จำนวน 4-5 ตัว นอกจากนี้ ประชาชนที่อาศัยตามบ้านเรือนได้จับสุนัขและแมวที่เลี้ยงไว้ บ้านละตัว 2 ตัว จนไปถึง 4-5 ตัว ออกมาฉีดวัคซีนกันอย่างคึกคัก เกือบ 100 ตัว โดยบางบ้านเจ้าของไม่สามารถนำสุนัขออกมาได้ เนื่องจากสุนัขมีอาการตกใจ กลัว เจ้าหน้าที่ได้ไปให้บริการฉีดวัคซีนถึงที่บ้าน ซึ่งล่าสุดทีมสัตวแพทย์ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้กับสุนัขและแมวในเขตเทศบาลนครยะลาไปแล้วจำนวน 1,800 ตัว ทีมสัตวแพทย์ เปิดเผยว่า วัคซีนในล็อตแรกซึ่งเตรียมไว้ จำนวน 2,000 โด๊ส สำหรับสุนัขและแมว 2,000 ตัว ขณะนี้เหลือ 200 โด๊ส 200 ตัว โดยหลังจากนี้ทางทีมสัตวแพทย์จะให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมวที่งานสัตวแพทย์ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลา ในวันเวลาราชการ เพื่อรอวัคซีนชุดใหม่ที่สั่งเพิ่มเติม อีก 1,500 โด๊ส คาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้ จะได้รับวัคซีนในชุดใหม่ จึงจะออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมว ไปจนถึงวันที่ 12 เมษายน 2561 ทั้งนี้ ประชาชนสามารถนำสุนัขและแมวไปรับบริการได้ที่งานสัตวแพทย์ฯ โดยจะต้องนำบัตรประชาชนไปด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จดบันทึกประวัติเจ้าของ พร้อมสุนัขและแมวที่เลี้ยงไว้ สำหรับในปีนี้มีประชาชนให้ความสนใจ และมีความตื่นตัวกับการเฝ้าระวังป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นพิเศษ ซึ่งปีที่ผ่านมาจำนวนสุนัขที่มาฉีดวัคซีน จะน้อยกว่าจำนวนแมวมาก ส่วนปีนี้มีสุนัขมารับบริการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จนมีปริมาณเกือบเท่าจำนวนแมวที่มาฉีดวัคซีน
27 มี.ค. 2561
ชาวอุทัยธานี แห่เช่าชุดไทยย้อนยุคตามกระแสบุพเพสันนิวาส คิวจองยาวถึงสิ้นเดือนหน้า ร้านชุดเช่า
ประชาชนชาวอุทัยธานี แห่เช่าชุดไทยย้อนยุคตามกระแสบุพเพสันนิวาส คิวจองยาวถึงสิ้นเดือนหน้า ร้านชุดเช่าต้องสั่งตัดเพิ่มรองรับลูกค้า รับรายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 4-5 พันบาท กระแสการแต่งชุดไทยย้อนยุคที่จังหวัดอุทัยธานี ยังคงเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มวัยรุ่น ส่งผลให้ร้านชุดไทยโดยเฉพาะร้านบริการชุดเช่า จะคึกคักเป็นพิเศษกว่าร้านที่จำหน่ายชุดไทยโดยตรง เพราะด้วยราคาที่ถูกกว่าเท่าตัว มีชุดให้เลือกหลากหลายและสามารถดัดแปลงชุดได้ตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้ในช่วงนี้ร้านเช่าชุดไทยจะมีรายได้ดีเป็นพิเศษ รับรายได้ไม่ต่ำวันละ 4-5 พัน บาท เช่น ร้านนุช ชุดเช่า ในพื้นที่อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นร้านชุดเช่าขนาดใหญ่และมีชุดให้เลือกหลากหลายเป็นอันดับต้นๆ ของจังหวัดอุทัยธานี มีประชาชนทั้งในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียง สนใจเช่าชุดไทยที่ร้านจำนวนมาก โดยเฉพาะชุดไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่กำลังเป็นที่ต้องการของประชาชน ทั้งชาย และ หญิง ส่งผลให้ที่ร้านมีลูกค้ามาจองเช่าชุดไทยดังกล่าวยาวไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายนอีกด้วย ทั้งนี้ เจ้าของร้านนุช ชุดเช่า หรือ ครูอ้อย กล่าวว่า สืบเนื่องจากกระแสงานอุ่นไอรักคลายความหนาว และตามกรแสของละครดัง ทำให้ในช่วงนี้ที่ร้านของตนนั้นมีประชาชนเดินทางมาเลือกเช่าชุดไทยกันอย่างคึกคัก ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคมเพื่อส่วมใส่ไปงานอุ่นไอรักคลายความหนาวที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 5 และในช่วงนี้ชุดที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดคือ ชุดไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งแต่ละวันจะมีประชาชนเดินทางมาเช่าชุดไม่ต่ำกว่า 10 ราย บางวันมาถึง 20 ราย โดยราคาชุดเช่าของที่ร้านฯ อยู่ที่ราคาชุดละ 300 บาท และหากเช่าครั้งละมากๆ เป็นหมู่คณะราคาชุดละ 250 บาท ซึ่งตอนนี้ได้สั่งตัดสไบ และชุดไทยเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า
27 มี.ค. 2561
ผู้ว่าฯ ลำปาง และรองอธิบดีกรมป่าไม้ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์หมอกควันใน และร่วมทำพิธีปล่อยแถวกำลังพล
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และรองอธิบดีกรมป่าไม้ ติดตามสถานการณ์หมอกควันใน และร่วมทำพิธีปล่อยแถวกำลังพล เข้าปฏิบัติการดับไฟป่าบนเขาดอยพระบาท นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยนายจเรศักดิ์ นันตะวงษ์ รองอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมกันลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์หมอกควันไฟป่าในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง พร้อมร่วมพบปะมอบนโยบายแนวทางการปฏิบัติงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานสังกัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมระดมกำลังพลเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคีเครือข่าย และอาสาสมัครกลุ่มพลังมวลชนจากทุกภาคส่วน ร่วมกิจกรรมเชิงรุกเพื่อการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ที่บริเวณวัดพระธาตุม่อนพระยาแช่ หมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านพิชัย ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีนายชูเกียรติ พงศ์ศิริวรรณ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง) และนายสุรชัย แสงสิริ ผู้อำนวยการส่วนทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง ร่วมกันนำหัวหน้าส่วน หัวหน้าฝ่ายงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมร่วมกันนำทีมเจ้าหน้าที่เหยี่ยวไฟ-เสือไฟในสังกัด รวมกำลังพลกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มพลังมวลชนจากทุกภาคส่วน ทั้งฝ่ายปกครอง ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) และประชาชนในเขตท้องที่อำเภอเมืองลำปาง รวมจำนวนกว่า 200 นาย ร่วมทำกิจกรรมเชิงรุกแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จัดแบ่งกำลังพลนำอุปกรณ์ดับไฟครบมือทั้งไม้กวาด คราด ไม้ตบไฟ และอุปกรณ์ฉีดน้ำ ออกปฏิบัติการทำแนวกันไฟและดับไฟป่าบนเขตพื้นที่สูงเขาดอยพระบาท ทั้งนี้ หลังจากสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดลำปาง ได้ถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควันไฟจนท้องฟ้าสลัวไม่สามารถมองเห็นทิวเขารอบตัวเมืองได้ชัดเจน คุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลางจนถึงระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ในพื้นที่ยังคงพบมีการลักลอบจุดไฟเผาป่า โดยเฉพาะบริเวณ “เขาดอยพระบาท” ซึ่งอยู่ชิดติดกับเขตตัวเมืองลำปางได้เกิดไฟไหม้ป่ายาวนานติดต่อกันมาแล้ว 5 วัน โดยคาดว่ามีพื้นที่ป่าเสียหายจากเหตุการณ์ไฟป่าครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ โดยตลอดห้วงระยะเวลา 5 วัน ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานรวมถึงอาสาสมัครภาคประชาชนได้ร่วมกันทำงานอย่างหนัก ตั้งแต่บริเวณเขตตำบลพิชัยช่วงเขาดอยฝรั่ง เรื่อยมาจนถึงเขาดอยพระบาท โดยการปฏิบัติงานก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขาลาดชันและหุบเหวลึกแม้ทางเจ้าหน้าที่จะมีการปักหลักนอนค้างคืนภายในป่าแต่ก็ยังไม่สามารถทำการดับไฟลงได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่รวมถึงกลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายดับไฟป่าจากทุกภาคส่วน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย รองอธิบดีกรมป่าไม้ ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมนำสิ่งของที่จำเป็น ทั้งอาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำดื่มสะอาด มอบให้แก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครผู้ปฏิบัติงานดับไฟป่า พร้อมได้ร่วมกันมอบแนวทางการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่อาสาสมัครทุกนาย โดยกล่าวขอให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยได้สามัคคีช่วยกันปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดกำลังความสามารถ เพื่อให้สถานการณ์วิกฤตหมอกควันไฟป่าครั้งนี้สงบลงโดยเร็ว และเมื่อหากผ่านพ้นวิกฤตไปแล้วก็ขอให้ทุกหน่วยอย่าได้ประมาท ให้ช่วยกันคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะเข้าปฏิบัติการดับไฟทุกเมื่อหากมีการแจ้งเตือนหรือขอความช่วยเหลือเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย
22 มี.ค. 2561
รายการเดินหน้าประเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรีฉบับประชาชน ออกอากาศวันอังคารที่ 20 มีนาคม 2561
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)] ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดย สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา คือการกำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) สำหรับการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เฉพาะรายรับจากการให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาและพัฒนาที่ดินแก่เกษตรกร ผู้ยากจน ผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดิน องค์กรชุมชน หรือเครือข่ายองค์กรชุมชนและจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ระยะที่ 2 ของธนาคารออมสิน และอนุมัติวงเงินงบประมาณที่ใช้ในโครงการฯ ดังกล่าว เป็นวงเงินงบประมาณสูงสุด ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้สินเชื่อต่อราย ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ต่อครัวเรือน และมีระยะเวลาในการชำระคืนภายใน 5 ปี คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ 3 โครงการ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ได้แก่ 1.โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ โดยให้งบประมาณในการหมุนเวียนรับซื้อยางในโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐจากเกษตรกรชาวสวนยาง และนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในหน่วยงานภาครัฐ 2.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยาง ในวงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท และ 3.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) ในวงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวางเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มเติม ที่ร้านธงฟ้าประชารัฐ จำนวน 10,000 เครื่อง และร้านประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 10,000 เครื่อง เพื่อความสะดวกสบายแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ
22 มี.ค. 2561
รายการเดินหน้าประเทศไทย :ไทยเดินหน้าเทคโนโลยีโรงงานผลิตพืช การเกษตรแนวใหม่ ออกอากาศวันพุธที่ 21 มี
นายสมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย เรื่อง ไทยเดินหน้าเทคโนโลยีโรงงานผลิตพืช การเกษตรแนวใหม่ว่า โรงงานผลิตพืชการเกษตรแนวใหม่ เป็นโรงงานปิดที่ช่วยควบคุมคุณภาพของแสงที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชได้มากกว่าการปลูกพืชธรรมชาติที่สามารถใช้ประโยชน์จากแสงได้เพียง 10% เท่านั้น ปัจจุบันโรงงานในลักษณะนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจการปลูกพืชสมุนไพรที่ประเทศไทยต้องการขับเคลื่อนเป็นศูนย์กลางสมุนไพรโลก อีกทั้งไทยยังได้ประโยชน์จากภูมิศาสตร์ใกล้เส้นศูนย์สูตรทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะที่นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า Plant Factory สามารถทำได้ในพื้นที่ที่จำกัด เพราะปลูกเป็นชั้นในแนวตั้งได้ อีกทั้งสามารถปลูกได้ตลอดวันตลอดคืนเพราะมีระบบการควบคุมภายใน ทั้งแสง อุณหภูมิ ความชื้นและความสะอาด ขณะนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับงบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 200 ล้านบาทไปทำสอบการปลูกพืชสมุนไพรและจะขยายผลไปสู่พืชเกษตรชนิดอื่น ส่งเสริมเกษตรกรตามนโยบายบายสมาร์ทฟาร์มเมอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ดังนั้นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีแนวคิดที่จะทำธนาคารชีวภาพ เพื่อเก็บข้อมูลทั้งพืชและสัตว์ไว้เป็นสมบัติของชาติและคัดพันธุ์พืชดีๆ ที่มีมูลค่าสูงอนุรักษ์ไว้ไม่ให้กลายพันธุ์ไปตามสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และในอนาคตจะผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในราคาถูก พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของชุมชนจัดตั้ง Plant Factory ในรูปแบบสหกรณ์ ฐิตาวัลย์ ลาภขจรสงวน / สวท.
21 มี.ค. 2561
จ.สุราษฎร์ธานี เตรียมพร้อมฝึกซ้อมแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในศาลากลางจังหวัด ป้องกันการสูญเสียต่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เตรียมพร้อมฝึกซ้อมแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในศาลากลางจังหวัด ป้องกันการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน วันนี้ (21 มี.ค. 61) ที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกประชุมส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือเตรียมความพร้อมในการฝึกซ้อมแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2561 ในวันที่ 29 มีนาคม 2561 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย เป็นการป้องกันการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่และส่วนราชการ และเพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายของอัคคีภัย สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องปลอดภัยเมื่อเกิดอัคคีภัย รวมทั้งเพื่อให้การประสานระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติตามแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้มาติดต่อราชการ นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า หากเกิดเหตุการณ์อัคคีภัยขึ้น ทุกภาคส่วนจะได้รับมือได้อย่างถูกวิธี จึงมีความจำเป็นต้องมีการซักซ้อมป้องกันและเผชิญเหตุ ประกอบกับเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ที่มีเหตุเพลิงไหม้โชว์รูมรถยนต์แห่งหนึ่งในเขตเทศบาลตำบลวัดประดู่ โดยเพลิงลุกไหม้นานกว่า 3-4 ชั่วโมง สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการประสานงานของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงทำให้การควบคุมเพลิงเป็นไปล่าช้า ทั้งนี้ ศาลากลางจังหวัดซึ่งเป็นจุดสำคัญเช่นกัน จึงต้องมีแผนเผชิญเหตุ เผชิญภัยต่างๆ ทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ รวมทั้ง แผนการฝึกซ้อมการป้องกันและระงับอัคคีภัย
21 มี.ค. 2561
แขวงทางหลวงชนบทอำนาจเจริญ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการสำรวจออกแบบถนนสาย ค2 และ ข4
แขวงทางหลวงชนบทอำนาจเจริญ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการสำรวจออกแบบถนนสาย ค2 และ ข4 นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการสำรวจออกแบบถนนสาย ค2 และ ข4 ผังเมืองรวมอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ที่ห้องประชุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ โดยสำนักงานแขวงทางหลวงชนบทอำนาจเจริญ จัดโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นถนนเชื่อมโยงโครงค่ายการคมนาคมและขนส่งของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งจะสามารถช่วยลดปัญหาการจราจรในเขตเมือง ทำให้การเดินทางมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นายปรพัทธ์ ภูงามทอง ผู้อำนวยการแขวงการทางหลวงชนบทอำนาจเจริญ เปิดเผยว่า ถนนสาย ค2 กำหนดให้มีเขตทางกว้าง 30 เมตร โดยเริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 บริเวณ กม. 507 000 ไปทางทิศตะวันออกตัดกับคลองชลประทานและลำห้วยปลากแดก จากนั้นแนวเส้นจะมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดผ่านพื้นที่เกษตรกรรม ทางสาธารณประโยชน์และคลองชลประทาน ซึ่งแนวเส้นจะติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 (ถนนอรุณประเสริฐ) บริเวณ กม. 320 200 ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะตัดผ่านพื้นที่เกษตรกรรม ตัดผ่านคูน้ำ อ้อมไปทางด้านทิศตะวันออกของบ้านโนนจาน จากนั้นแนวเส้นจะมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดกับถนนอุดมฤกษ์ และถนน อจ.ถ. 10063 และเข้าต่อเชื่อมกับถนนสาย ข4 รวมระยะทาง ถนนสาย ค2 ความยาวประมาณ 6,875 เมตร จากนั้นตามแนวเส้นทาง ข4 แนวเส้นทางมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม เข้าบรรจบกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 212 ที่บริเวณ กม. 512 900 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดโครงการ รวมระยะทางของโครงการประมาณ 8.400 กิโลเมตร ทั้งนี้กรมทางหลวงชนบทได้พิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการสำรวจออกแบบถนนสาย ค2 และ ข4 ผังเมืองรวมอำนาจเจริญ เป็นถนนที่สามารถเชื่อมโยงระบบโครงค่ายการคมนาคมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียดและดำเนินการก่อสร้างต่อไป กรมทางหลวงชนบทจึงมอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัทสยาม เยนเนอรัล เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัทเชนี่ เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการศึกษาออกแบบโครงการ ซึ่งในการดำเนินโครงการ กรมทางหลวงชนบท ได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วน ตลอดจนหน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันพัฒนาโครงการ เพื่อประโยชน์ต่อชุมชน ท้องถิ่น และสังคมโดยรวม จึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลข่าวสารี่ถูกต้องแก่ประชาชน พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ตลอดจนความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาโครงการควบคู่กันไป โดยจะนำเอาข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่ได้ไปพิจารณาประกอบการศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบ ตลอดจนการกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ เพื่อให้โครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนภายใต้หลักวิชาการ ในการศึกษาและออกแบบทางวิศวกรรม โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนในพื้นที่ และแกนนำทางความคิด กลุ่มประชาชนในชุมชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ รวม 200 คน
21 มี.ค. 2561
จ.ฉะเชิงเทรา จัดฝึกอบรมเยาวชนรักษาดินแดนต้านภัยยาเสพติด (ย.อส.) เพื่อคัดเลือกเยาวชนที่จะเป็นผู้นำทำ
ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กองพลทหารราบที่ 11 อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา พลตรี พณิชย์ ศิริพละ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมเยาวชนอาสารักษาดินแดนต้านภัยยาเสพติด (ย.อส.) ตามนโยบายของกรมการปกครอง ที่ให้จังหวัดและอำเภอ สำรวจ ค้นหาเยาวชนนอกสถานศึกษา ที่พัฒนาเป็นผู้นำหรือแนวร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ที่มีอายุ 15 - 25 ปี เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเยาวชนอาสารักษาดินแดนต้านภัยยาเสพติด (ย.อส.) ระหว่างวันที่ 21-23 มีนาคม 2561 ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน โดยการฝึกอบรมครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 100 คน มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจและคัดเลือกเยาวชนอายุ 15 - 25 ปี ที่จะสามารถพัฒนาให้เป็นผู้นำหรือเป็นแนวร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ตามเป้าหมายที่กรมการปกครองกำหนด รวมทั้งเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและหากิจกรรมการมีส่วนร่วมให้แก่เยาวชนอายุ 15 - 25 ปี ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาภาคปกติ หรือกลุ่มว่างงาน หรือเป็นผู้มีจิตอาสาช่วยเหลืองานสาธารณประโยชน์ได้มีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอต่างๆ ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว ชุมชนได้ตระหนักรู้ถึงปัญหายาเสพติดเพื่อลดและป้องกันผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดรายใหม่ โดยการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของอำเภอในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการนำเยาวชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเยาวชนอาสารักษาดินแดนต้านภัยยาเสพติด(ย.อส.) มาช่วยเหลืองานทางราชการต่อไป
21 มี.ค. 2561
รองผู้ว่าฯ สุราษฎร์ธานี เปิดโครงการอบรมเพื่อการสอบวัดระดับภาษาจีน HSK
วันนี้ (21 มี.ค. 61) นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเพื่อการสอบวัดระดับภาษาจีน HSK ที่โรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตสุราษฎร์ธานี ครอบครัวภาษาจีน ในภาคใต้ผนึกกำลังอย่างเข้มแข็ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยวชุมชนและประสานประชารัฐ และตลาด MICE ในการจัดอบรมภาษาจีนเพื่อการสอบ HSK หลักสูตรยกระดับผลสัมฤทธิ์การสอบวัดระดับภาษา HSK 3 นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การอบรมภาษาจีนเพื่อการสอบ HSK ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา และคณะจากโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ จำนวน 120 คน ร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในการพัฒนาประเทศด้านภาษาต่างประเทศ ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ เป็นการอบรมหลักสูตรเข้มข้นทางด้านภาษาจีนอย่างครบถ้วน และเรียนรู้วัฒนธรรมจีนผ่านกิจกรรมต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนต่างสถาบันถือเป็นประสบการณ์ที่ทรงคุณค่ายิ่ง
21 มี.ค. 2561
จ.ลพบุรี จัดโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า "สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโ
วันนี้ (20 มี.ค.61) เวลา 10.00 น. ที่หอประชุมเทศบาลเมืองเขาสามยอด จังหวัดลพบุรี สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี เทศบาลเมืองเขาสามยอด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี บูรณาการความร่วมมือจัดโครงการเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า "สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า" ตามพระปณิธานศาตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี โดยมีนายวีระชัย นาคมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานเปิดโครงการฯ เพื่อให้สัตว์กลุ่มเสี่ยงได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและสัตว์เลี้ยงอย่างถูกต้อง รวมถึงความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงของตน กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำหมันสุนัข-แมว และการจัดแสดงนิทรรศการโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนและประชาชนที่มาร่วมงาน ซึ่งจากสถานการณ์การเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ปี พ.ศ.2561 พบการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ จำนวน 37 จังหวัด พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในคน จำนวน 6 ราย ที่จังหวัดสุรินทร์ สงขลา ตรัง นครราชสีมา และประจวบคีรีขันธ์ ส่วนพื้นที่จังหวัดลพบุรี อยู่ในโซนสีเขียวคือจังหวัดที่ไม่เคยเกิดโรคพิษสุนัขบ้าตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และไม่มีคนเสียชีวิตจากเชื้อพิษสุนัขบ้า จากพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า ที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติ ทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทยในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และทรงมีพระกรุณาธิคุณทรงรับเป็นประธานกรรมการขับเคลื่อนโครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า” ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนโครงการ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี จึงได้ร่วมบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมจัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ให้แก่นักเรียน และประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในการร่วมบูรณาการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและโรคติดต่อในสัตว์ ให้กับประชาชนได้อย่างถูกต้องต่อไป
19 มี.ค. 2561
ไทยย้ำความสำคัญของการสร้างความเชื่อมโยงทุกมิติ บนพื้นฐานกติกาที่รักษาผลประโยชน์และเคารพสิทธิของทุกฝ่าย
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดอาเซียน – ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ 2018 แบบเต็มคณะ ในหัวข้อ “การส่งเสริมความมั่นคงและความมั่งคั่ง ในภูมิภาค” ณ ศูนย์การประชุมนานาชาตินครซิดนีย์ โดยหัวข้อ “การส่งเสริมความมั่นคงและความมั่งคั่ง ในภูมิภาค" แบ่งเป็น 3 วาระ การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย เพื่อสร้างความมั่นคง และความมั่งคั่งในภูมิภาคให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความใกล้ชิด ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันได้พัฒนาเชิงบวกในทุกมิติ อาเซียนและออสเตรเลียมีผลประโยชน์ร่วมกัน เชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยกลุ่มประเทศขนาดกลางควรหันหน้าเข้าหากัน เพื่อช่วยให้อินโด-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง อยู่บนพื้นฐานของกติกาที่จะรักษาผลประโยชน์และเคารพสิทธิของทุกฝ่าย การส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน โดยเฉพาะความร่วมมือในด้านการศึกษาและความมั่นคงของมนุษย์ การส่งเสริมหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรีเสนอว่าอาเซียนควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และด้านดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมศักยภาพและโอกาสของผู้ประกอบการ MSMEs และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน ขณะที่การก่อการร้ายสากล การเผยแพร่ลัทธิและแนวคิดที่ยึดหลักความรุนแรงและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมใช้ความรุนแรง ถือเป็นภัยคุกคามข้ามพรมแดนที่สำคัญ โดยไทยเห็นควรส่งเสริมความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง เสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชายแดนในอาเซียนและภูมิภาค นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เสนอให้อาเซียนและออสเตรเลีย ร่วมมือกันสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์และมีส่วนร่วมในการพัฒนากฎกติกาสากล
19 มี.ค. 2561
ส.ปชส.สมุทรสงครามบูรณาการปศุสัตว์จังหวัด เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จัดโครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย
นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานพร้อมบรรยาย เรื่อง “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า” ตามพระปณิธานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี โดยมีพระประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในการดูแลทุกข์ของพสกนิกรประชาชนชาวไทย แก่เครือข่าย อสม.,อป.มช. ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และประชาชน จำนวน 40 คน พร้อมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในศูนย์พักพิงบ้านนางวันดี มุ่งเขม้น จำนวน 65 ตัว และจะรณรงค์ในการหาที่พักพิงให้สุนัขจรจัดในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ปัจจุบันในจังหวัดสมุทรสงครามมีสุนัขที่มีเจ้าของจำนวน 30,000 ตัว แมว จำนวน 10,000 ตัว นายอภิชาญ ปานปรีชา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า จากพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีที่ทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า ที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติ ทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และทรงมีพระกรุณาธิคุณทรงรับเป็นประธานกรรมการขับเคลื่อนโครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนโครงการ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสงคราม จึงได้ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสงคราม นายชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดจังหวัดสมุทรสงคราม,เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม นายสมชาย ตันประเสริฐ นายกเทศมนตรีเมืองสมุทรสงคราม จึงได้บูรณาการจัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ให้เครือข่าย อสม.,อป.มช. ผู้นำท้องถื่น ผู้นำท้องที่และประชาชน เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในการร่วมบูรณาการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและโรคติดต่อในสัตว์ ให้กับประชาชนได้อย่างถูกต้องต่อไป
19 มี.ค. 2561
รายการเดินหน้าประเทศไทย : ประชารัฐรวมพลัง สร้างยุวแรงงาน ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2561
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงโครงการประชารัฐรวมพลัง สร้างยุวแรงงาน ผ่านรายการเดินหน้าประเทศไทย ว่า โครงการดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทย นักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสใช้เวลาว่าง โดยเฉพาะในช่วงปิดภาคเรียนได้เรียนรู้จากการทำงาน มีประสบการณ์จากการทำงานจริง ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังเรียนจบ รวมถึงทำให้มีรายได้ระหว่างการเรียนและเห็นคุณค่าของเงินด้วย ขณะที่ในโครงการนี้มีตำแหน่งงานรองรับถึง 34,781 อัตรา และมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการถึง 700 แห่ง สำหรับเยาวชนที่ได้เข้าร่วมโครงการประชารัฐรวมพลัง สร้างยุวแรงงานแล้ว ยังได้รับใบประกาศรับรองการผ่านงานจากสถานประกอบการ โดยนักเรียน นักศึกษา หรือสถานศึกษาใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด หรือโทรศัพท์ที่หมายเลขสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 ปัทมา สุทธิประทีป / สวท.
19 มี.ค. 2561
ปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ติดตามสถานการณ์โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน พร้อมขอให้ประชาชนนำสัตว์เลี้ย
ปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ติดตามสถานการณ์โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน พร้อมขอให้ประชาชนนำสัตว์เลี้ยงฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ที่ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเดชา จิตรภิรมย์ ปศุสัตว์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชุมร่วมกับผู้แทนหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์จังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหารือและติดตามสถานการณ์โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ตามโครงการ "สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า" ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี โดยเฉพาะเรื่องของการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปีนี้ พบโรคสุนัขบ้าในสัตว์ จำนวน 3 จุด ที่อำเภอพระแสง 1 จุด และที่อำเภอบ้านนาสาร 2 จุด นายเดชา จิตรภิรมย์ กล่าวว่า ทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ได้ให้ความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการในพื้นที่จุดเกิดโรคทั้ง 3 จุด คือ เข้าไปแดวัคซีน ผ่าตัดทำหมัน และหลังจากนั้นจะเข้าไปดำเนินการฉีดวัคซีนบริเวณโดยรอบ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังได้ออกรณรงค์ทั้งจังหวัด เป็นระยะเวลา 2 เดือน คือ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเมษายน 2561 ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมโรคได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ และขอประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนที่เลี้ยงสุนัขและแมว ขอความร่วมมือให้นำสัตว์เลี้ยงตั้งแต่อายุ 2-4 เดือนไปฉีดวัคซีน หลังจากนั้นต้องฉีดกระตุ้นทุกปี เพราะการป้องกันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากหากเป็นโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ จะทำให้ให้เสียชีวิตทั้งในคนและสัตว์ และขอฝากให้พี่น้องประชาชนได้ระวังและดูแลตัวเองไม่ให้ถูกสุนัข หรือแมวกัด เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อโรคได้
19 มี.ค. 2561
สคร.9 นครราชสีมา ยืนยัน ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า 2 ราย ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ระบุ เจ้าของสุนัข-แมวไม่นำสัตว์เลี้ยงฉีดวัคซีนมีโทษตามกฎหมาย
สคร.9 นครราชสีมา ยืนยัน ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า 2 ราย ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ระบุ เจ้าของสุนัข-แมวไม่นำสัตว์เลี้ยงฉีดวัคซีนมีโทษตามกฎหมาย สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หลังมีการประกาศพื้นที่การแพร่ระบาด 9 อำเภอ จาก 32 อำเภอ และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่อำเภอสิงสาง นอกจากนี้ยังพบมีชาวบ้านที่อำเภอเสิงสางถูกสุนัขตัวเดียวกันได้ไปกัดชาวบ้านอีก 2 ราย จากการลงพื้นที่ของผู้รับผิดโรคพิษสุนัขบ้าของทางสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา ขอยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเรื่องจริง และยืนยันว่า ขณะนี้ผู้ถูกสุนัขบ้ากัดทั้ง 2 ราย ได้เข้าสู่ระบบติดตามการรับวัคซีนของโรงพยาบาล และอยู่ในการดูแลของแพทย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายแพทย์ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กล่าวถึงโรคพิษสุนัขบ้าว่า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ส่วนมากเกิดในสุนัขและแมว ติดต่อโดยสัตว์ที่ป่วยกัด ข่วน หรือเลีย ทำให้ไวรัสที่อยู่ในน้ำลายเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล หรือบริเวณริมฝีปากและนัยน์ตา หากละเลยไม่ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหลังถูกสัตว์กัดข่วน หรือเลียจะทำให้เสียชีวิตทุกราย อย่างไรก็ตาม โรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีมาตรการในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า คือ ผู้เลี้ยงสัตว์ทุกคนควรนำสัตว์เลี้ยงที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดเป็นประจำทุกปี หากเจ้าของสัตว์เลี้ยงฝ่าฝืนไม่นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 ปรับไม่เกิน 200 บาท และฝากเตือนประชาชนอย่าไว้ใจลูกสุนัขหรือแมวที่เลี้ยงไว้ในบ้าน หากถูกกัด ข่วน หรือเลียผิวหนังที่มีแผล ให้รีบล้างแผล ใส่ยา ไปพบแพทย์ และฉีดวัคซีนให้ครบตามนัด หากพบเห็นสัตว์ป่วยตายผิดปกติห้ามนำมาชำแหละ จำหน่าย หรือปรุงอาหารรับประทาน เพราะเสี่ยงต่อการติดโรคจากสัตว์สู่คน รวมทั้งโรคพิษสุนัขบ้า หากมีความสำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ ควรสวมถุงมือยางหรือถุงพลาสติกทุกครั้ง และทำลายทิ้งโดยการเผาหรือฝังอุปกรณ์ที่สัมผัสสัตว์หรือถุงขยะให้มิดชิด หากสงสัยโรคพิษสุนัขบ้า ส่งห้องตรวจกรมปศุสัตว์ หรือสำนักงานปศุสัตว์ใกล้บ้าน
18 มี.ค. 2561
จ.นครปฐม จัดพิธีถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องในวันท้องถิ่น
นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานพิธีถวายมาลัยพระกร วางพานพุ่มดอกไม้สด จุดธูปเทียนที่เครื่องทองน้อย และกล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องในวันท้องถิ่นไทย ประจำปี 2561 ที่บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ศาลากลางจังหวัดนครปฐม ซึ่งตรงกับวันที่ 18 มีนาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งตำบลท่าฉลอม ขึ้นเป็นสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2448 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจการปกครอง และเป็นการถือกำเนิดของการปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ เพื่อให้สาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น อันเป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย มาจนถึงทุกวันนี้เป็นระยะเวลา 113 ปี จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม อ่านสาส์นพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องในวันท้องถิ่นไทย ประจำปี 2561 และมีหน่วยงานในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 7 อำเภอในจังหวัดนครปฐม ร่วมวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
18 มี.ค. 2561
จ.ยะลา จัดพิธีถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ
จังหวัดยะลา จัดพิธีถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องใน "วันท้องถิ่นไทย" นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในพิธีถวายราชสักการะ กล่าวสดุดี เฉลิมพระเกียรติ รำลึกพระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องใน "วันท้องถิ่นไทย" 18 มีนาคม 2561 ที่บริเวณลานพิธีหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สนามโรงพิธีช้างเผือก เทศบาลนครยะลา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา และประชาชนเข้าร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียง เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลองขึ้นเป็นสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2448 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชน และเป็นการถือกำเนิดของการปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกในประเทศไทย
16 มี.ค. 2561
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2561 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน วันนี้พวกเราทุกคนก็ทราบดีว่า มีเรื่องราวข่าวสารมากมาย ปริมาณมหาศาล ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา ทั้งมาจากสื่อโซเชียล จากการพูดคุย เหล่านี้มีทั้งข้อจริงและข้อเท็จ เป็นข่าวลือและข่าวลวงอยู่บ้าง ก็เหมือน “น้ำในคลอง” เราต้องแกว่งสารส้มให้ตกตะกอนนอนก้นก่อน เราจะได้เห็นน้ำใส ๆ อยู่ข้างบน ผมก็อยากให้คนไทยทุกคนควรยึด “หัวใจนักปราชญ์” ในการใช้ชีวิตคือ “สุ จิ ปุ ลิ” แปลความหมายว่าคือ “ฟัง คิด ถาม เขียน” หมายถึง ว่าจะฟังก็ต้องฟังหูไว้หู หรือถ้าจะเป็นคนรักการอ่าน ก็ต้องมีภูมิคุ้มกัน โดยรู้เท่าทัน จากนั้นต้องคิดตามให้รอบด้าน ใช้เหตุใช้ผล หากสงสัยต้องไต่ถามผู้รู้ ผู้ที่เชื่อได้ เพื่อจะตรวจสอบความถูกต้อง ซักซ้อมความเข้าใจ แล้วฉลาดที่จะขีดเขียน จดจำ แพร่ต่อ ว่าอะไรคือสาระ อะไรคือแก่นสาร ก็ควรจะบันทึกเก็บไว้เป็นองค์ความรู้ เป็นประวัติศาสตร์ ส่วนที่เป็น “กระพี้” คือเปลือกนอกก็อย่าไปเสียเวลามากนัก บางทีก็ไม่ใช่เรื่องของเรา ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรกับสังคม กับประชาชนเลย เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้ง ในช่วงระยะเวลาอันสำคัญยิ่งนี้ อาทิ “วันที่ 13 มีนาคม” ของทุกปี เป็น “วันช้างไทย” สิ่งที่เป็นสาระน่าศึกษา ได้แก่ ปัจจุบัน ประชากรช้างไทยเหลือเพียง 6,000 ตัว โดยประมาณ ถึงแม้ว่าเราจะดูแลอย่างไรก็ตาม มีจำนวนจำกัด จากประชากรช้างทั่วโลก 750,000 ตัว สำหรับประวัติศาสตร์ของชาติไทยนั้น มีความผูกพันกับช้างมายาวนาน ภาษาไทยจึงมีสรรพนามสำหรับช้าง แตกต่างกัน เช่น “ช้างป่า” เราเรียกว่า “ตัว” แต่ถ้าอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เราเรียกว่า “โขลง” เมื่อช้างนำมาฝึก มาเลี้ยงไว้ใช้ในบ้าน เราเรียกว่า “เชือก” แต่ถ้าเป็น “ช้างหลวง” เราใช้สรรพนามว่า “ช้าง” สำหรับช้างตัวผู้เราเรียก “ช้างพลาย” ส่วนช้างตัวเมียเราเรียก “ช้างพัง” นั่นคือความงดงามทางภาษาของเราเป็น “ไทยนิยม” อีกอย่างหนึ่งที่คนไทย เด็กไทยควรจะเรียนรู้ รับรู้ไว้ไม่ลืมเลือนใช้ให้ถูกต้อง เพราะการใช้ภาษานั้นจะสะท้อนระดับการศึกษาของผู้พูด หากจะพูดถึงสาระที่เป็น “ความสำเร็จ” ของรัฐบาลนี้ ที่เกี่ยวข้องกับช้าง รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพันธ์พืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม ที่เรารู้จักในนามอนุสัญญา “CITES” นั้น คนไทยบางส่วนอาจจะลืมไปแล้ว แต่ประชาคมโลกก็ได้จารึกว่า รัฐบาลนี้ และ คสช. ได้ใช้ความพยายามทั้งในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และกระบวนการยุติธรรมเข้ามาแก้ไขปัญหา การค้างาช้างในประเทศไทย จนผลเป็นที่ยอมรับ ในเวทีนานาอารยะชาติ หลังจากที่เป็นปัญหาคู่สังคมไทยมาหลายสิบปี ผมอยากจะเรียกร้องให้ทุกคน ทุกฝ่าย ช่วยกันรักษาสิ่งดี ๆ ที่เราทำไว้ให้นี้ต่อไป วันนี้อาจจะมีปัญหาเรื่องคนกับช้างอยู่บ้าง เราต้องแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง ไม่ให้มีผลกระทบกับคนมากนัก วันนี้เราได้มีการปิดถนนบางเส้นไป แล้วต้องไปดูแลช้าง บางทีก็มีช้างเกเรอยู่ด้วย ต้องหามาตรการว่าจะทำยังไงกับช้างเกเรเหล่านั้น ที่อยู่ที่อาศัยจะทำอย่างไร อันนี้ต้องมองหลายด้านด้วยกัน ย้อนมาที่ “หัวใจนักปราชญ์” อีกครั้ง ผมไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องเป็นนักปราชญ์ หรือ ปราชญ์อะไรที่ว่า เดี๋ยวก็มีคำพูดบิดเบือนไปอีก เพียงแต่นักปราชญ์นั้นเป็นสัญลักษณ์ของ “ผู้ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา และในการดำรงชีวิต” ดังนั้น ผมเพียงต้องการให้ทุกคน “รักการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต” เพื่อพัฒนาตนเอง เนื่องจากจะทำให้คนไทยใน “ยุคดิจิทัล” มีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ (1) รู้อะไรให้รู้จริง รู้อิงหลักวิชาการและหลักเหตุผล และ (2) ทำอะไร ทำให้ถูกกฎกติกา มารยาทสากล และกฎหมายด้วย พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ สำหรับกรณีการร้องเรียนเรื่องการทุจริต ที่มีความถี่มากขึ้นและหลากหลายประเด็น ในสังคมทุกวันนี้นั้น อาจถูกบิดเบือนว่า มีการกระทำทุจริตมากขึ้น ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนี้ และ คสช. ผมอยากให้ตรึกตรองดูให้ดี ให้ใช้ใจมอง ใช้ปัญญากลั่นกรอง เราก็จะเห็น “มุมสว่าง” ของปัญหานี้ ก็เป็นแง่ดีในสังคมไทยปัจจุบัน อย่างที่ผมเห็นหลายประการ ตัวอย่างเช่น เราจะเห็นความจริงว่าปัญหาทุจริตนั้น มีอยู่ทุกระดับในสังคม ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพียงแต่ปัญหาเหล่านั้น เคยเป็นปัญหาอยู่ “ใต้พรม” แล้วก็ถูกเปิดเผยสู่สังคมด้วยบทบาทของสื่อโซเชียล บางอย่างก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวน การสืบสวน เหล่านี้ ซึ่งใช้เวลา แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะบทบาทที่สร้างสรรค์ของโซเชียลนี้ จะเป็นการทำหน้าที่ที่ควรส่งเสริม ทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้น หากแต่จะต้องมีความรับผิดชอบในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร ก่อนนำเข้าสู่ระบบเครือข่าย ประเด็นต่อไปก็คือเรื่องระบบรับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาลนี้ ได้มีการเปิดกว้าง และเข้าถึงง่ายกว่าที่ผ่านๆ มา หลายคนก็บอกว่ารัฐบาลนี้ปิดกั้น การแสดงความคิดเห็น ผมก็ได้เปิดช่องทางหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น “สายด่วน 1111” หรือ “สายด่วน 1567 ศูนย์ดำรงธรรม” หรือ คสช. ก็มีช่องทางทั้งหมด ต้องดูสมัยก่อน ๆ นี้มีหรือไม่ เรื่องแบบนี้ ร้องเรียนที่ไหนได้บ้าง ได้มีการแก้ไขปัญหาบ้างหรือเปล่า วันนี้แม้เด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ที่มาจากต่างจังหวัด ก็สามารถกรอกข้อความเพื่อจะร้องเรียน และเมื่อมีหลักฐาน ก็นำไปสู่กระบวนการตรวจสอบในที่สุด ตามที่เป็นข่าวในทุกวันนี้ นอกจากนี้ ยังสะท้อนได้จากสถิติ 3 ปีที่ผ่านมา มีการขอให้รัฐช่วยดำเนินการมากกว่า 3 ล้านเรื่อง ไม่ใช่น้อย ๆ 3 ล้านเรื่อง และเราก็สามารถดำเนินการไปแล้ว ได้ข้อยุตติ ร้อยละ 98 อันไหนที่ซับซ้อน ก็อยู่ใน 2 ประเด็นที่ว่า ต้องมีการสอบสวน มีการดำเนินการหลาย ๆ อย่าง มีการใช้จ่ายงบประมาณ มีการจัดทำแผนงานโครงการใหม่ หมายถึงว่าวันนี้ รัฐบาลนี้เข้าไปดูทุกเรื่อง ไม่ว่าจะปัญหาน้อยใหญ่ ย่อมถึงมือผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น เมื่อเสนอมา ผมก็ส่งให้หน่วยงานแก้ไข และรัฐบาล คสช. ก็จะติดตาม ผลความคืบหน้าในการดำเนินการดังกล่าว ไม่ใช่ส่งมาแล้วเก็บไว้เฉย ๆ เรื่องมีมาก หลายเรื่องก็ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ ปัญหาในเรื่องเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นความเดือดร้อน หรือการทุจริต ถ้าไม่มีช่องทางที่ผมกล่าวมา พี่น้องก็ต้องหันไปพึ่งผู้มีอิทธิพลบ้าง นักการเมืองไม่ดีบ้าง ก็จะกลายเป็น “หนี้บุญคุณ” ส่งผลต่อการเลือกตั้ง เพราะนิสัยคนไทยคือ “เกรงใจคน” และ “รู้จักบุญคุณคน” อันนี้ก็ขอให้แยกให้ออก ผมไม่ว่าถ้าจะมีความกตัญญูรู้คุณ แต่ต้องในทางที่ถูกต้อง แล้วก็รู้จักบุญคุณของประเทศชาติ รู้บุญคุณของแผ่นดิน สำคัญกว่า อีกเรื่องหนึ่งคือเมื่อเปรียบเทียบเรื่องการทุจริตแล้ว ไม่ปรากฏการทุจริตในระดับนโยบาย ที่ส่งผลกระทบที่รุนแรงและกว้างขวาง หลายเรื่องศาลก็ติดสินลงมาแล้ว บางส่วนก็ยังอยู่ในกระบวนการยุติธรรม เราต้องให้ความเป็นธรรม หาหลักฐาน ทั้งพยานบุคคล วัตถุพยาน ต้องทำให้ได้ แต่ทุกเรื่องที่มีมูลความผิดจริง รัฐบาลนี้ก็ผลักดันเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เนื่องจากเป็น “1 ใน 3 อำนาจอธิปไตย” ของประเทศ โดยฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ ย่อมมีเสรีภาพในส่วนของตน ไม่มีการก้าวก่าย แต่ทำงานต้องเกื้อกูลกัน บูรณาการกัน เพื่อประเทศชาติและประชาชน สำหรับเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือเรื่อง “จิตสำนึก” ของคนในสังคม ผมว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด วันนี้คนไทยมีจิตสำนึกมากขึ้น กล้าแสดงออกในทางที่ถูก ที่ผิดก็มาก เพราะฉะนั้นขอให้เอาเฉพาะที่แสดงในทางที่ถูกจะดีกว่า ตระหนักถึง “ภัยเงียบ” จากการทุจริต ที่ถ่วงความเจริญของสังคมไทยมาช้านาน วันนี้เราจะไม่ยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้น หรือลอยนวลได้ แต่ต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ในการนี้ ผมขอน้อมนำพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานไว้ ให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแก่คณะผู้พิพากษาประจำศาลยุติธรรมที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งแรก ณ วันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา มีใจความสำคัญหลายประการ อาทิ (1) ให้ยึดมั่นในศีลธรรมจรรยาบรรณของผู้พิพากษา ไม่ออกนอกกรอบที่ผิด จากสิ่งที่ได้เรียนรู้และศึกษามาว่าอะไรผิด อะไรถูก อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรที่จะทำให้เดือดร้อนต่อชาติบ้านเมือง ขอให้มีสติ มีปัญญา มีทัศนคติที่ถูกต้องและอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน (2) กฎหมายไม่ว่าประเทศใด มีไว้เพื่อรักษาสิทธิ รักษาความปลอดภัย รักษาความสงบ แต่กฎหมายนั้นมีความลึกซึ้ง ใช้ให้ดีก็ดี ใช้ไม่ดีหรือหาช่องโหว่ในการปฏิบัติต่าง ๆ ก็ไม่ดี เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และ (3) การปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์นั้น หมายถึงการปฏิบัติหน้าที่ในนามของสถาบัน “ทั้ง 3 สถาบัน” คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ซึ่งเป็นสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาติ และเพื่อความสุข ความร่มเย็นความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือ “บ้าน” ของเราทุกคนก็การให้ความยุติธรรม ถูกต้อง และโปร่งใส ทั้งนี้ กระบวนการยุติธรรมจะต้องเป็นที่พึ่งให้กับคนในสังคม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ตำรวจ อัยการ จบที่ศาล ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ซึ่งล้วนก็ต้องว่ากันด้วย “หลักฐาน” ทั้งสิ้น มีการต่อสู้คดีนะครับ อัยการ ทนาย อันนั้นเป็นขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งเราละเว้นไม่ได้ ไม่เพียงแต่เท่านี้ ผมก็อยากจะฝากไปถึงข้าราชการทุกคน ที่เป็นผู้ทำงานต่างพระเนตรพระกรรณ ในบทบาทผู้บังคับใช้กฎหมาย ต้องไม่แสวงประโยชน์จากช่องว่างของกฎหมาย ไม่ตีความเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือพวกพ้อง เพราะท่านก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ในการดำรงไว้ซึ่ง “ความเสมอภาค” ในสังคม เมื่อมีความเสมอภาคแล้ว ความยุติธรรมก็คงอยู่คู่สังคมของเราต่อไป พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ เรื่องที่น่ายินดีในช่วงนี้ เป็นผล “สำเร็จ” ที่มาจากความเพียรของทุก ๆ ฝ่าย ประกอบกับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผมอยากจะขอบคุณ และขอให้พวกเราทุกคนได้ร่วมกันภาคภูมิใจ กับผลการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดประจำปี 2561 (Best countries 2018) จัดทำขึ้นโดย U.S. News & World Report ก็เป็นผลจากการศึกษาของบริษัท เอกชนร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือแห่งหนึ่งของโลก ด้วยการตอบแบบสอบถาม ของนักธุรกิจและคนรุ่นใหม่ทั่วโลก มากกว่า 21,000 คน ถึงความเห็นต่อประเทศต่างๆ ใน 9 มิติ อาทิ คุณภาพชีวิต สิทธิพลเมืองอิทธิพลทางวัฒนธรรมมรดกทางวัฒนธรรมโอกาสการเติบโตในอนาคต โอกาสในการทำธุรกิจ ความสามารถของผู้ประกอบการ การท่องเที่ยวผจญภัยเป็นต้น เพื่อจะนำผลลัพธ์ที่ได้มา จัดอันดับรวม โดยประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของ “ประเทศที่ดีที่สุด” จาก 80 ประเทศ ถึง 3 ด้านด้วยกันได้แก่ 1. ด้านการท่องเที่ยวผจญภัย ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 เป็นผลจากความเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวของคนไทย “สยามเมืองยิ้ม” รักความสนุกสนาน รวมทั้งสภาพอากาศบ้านเราที่เหมาะสมมีธรรมชาติที่สวยงาม มีสิ่งดึงดูดความสนใจและท้าทายอยู่หลายแห่ง ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติมีการใช้จ่ายเงินเพื่อการท่องเที่ยวในไทยเฉลี่ยเกือบ50,000 บาท ต่อครั้ง (1,530 เหรียญสหรัฐ) ก็นับว่าเป็นอีกแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ ที่สามารถกระจายลงไปสู่พี่น้องในชุมชนและพื้นที่ห่างไกลต่าง ๆ ได้โดยตรง แหล่งท่องเที่ยวผจญภัยเหล่านี้ คือ “ต้นทุน” ธรรมชาติ ที่เป็นทรัพยากรคู่ท้องถิ่น คู่บ้านเมือง ที่เหลือคือชุมชนเอง ต้องมีการบริหารจัดการ การให้บริการข้อมูล การอำนวยความสะดวกการเดินทาง ที่พัก ห้องน้ำห้องท่า ความสะอาดถูกสุขลักษณะ การดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งกลไก “ประชารัฐ” ในพื้นที่ช่วยได้มาก ที่สำคัญต้องไม่เอาเปรียบ ไม่ขูดรีดนักท่องเที่ยวหรือหลอกลวง ในส่วนของรัฐบาลก็จะดูแลในภาพใหญ่ เพื่อจะเชื่อมโยงการคมนาคม ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ ทางอากาศ เพื่อให้ “ความเจริญ” เข้าถึงทุกพื้นที่ มีความสะดวกและรวดเร็ว มีการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตให้ครบทุกหมู่บ้าน กว่า 75,000 แห่ง เพื่อใช้ในการหาข้อมูล การทำธุรกรรมและการติดต่อ สื่อสารต่าง ๆ ได้ทั่วไทย รวมทั้งขยายผลการท่องเที่ยวในเมืองรองให้มากขึ้น ซึ่งจะเริ่มจากนักท่องเที่ยวในประเทศก่อน แล้วขยายผลไปยังนักท่องเที่ยวต่างประเทศไปพร้อม ๆ กันให้มากขึ้นในระยะต่อไป เพื่อจะให้มีการกระจายรายได้ และมีโอกาสสร้างงาน สร้างอาชีพ ลงสู่ท้องถิ่น 2.ด้านโอกาสการเติบโตในอนาคต ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ก็เป็นผลมาจากการรักษาเสถียรภาพของประเทศ ความมั่นคง ปลอดภัย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ ของนักลงทุน และรัฐบาลต่างประเทศ โดยรัฐบาลนี้ และ คสช. มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ในการที่จะสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน โดยการผลักดันให้มียุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี มีแผนปฏิรูปประเทศที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แต่สิ่งที่ดำเนินการได้ในทันที เราก็ไม่ได้รีรอ เช่น นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดีแล้วในขณะนี้ ก็คือ “EEC” เรามุ่งส่งเสริม10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ล้วนสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของโลกในอนาคต ซึ่งจะเป็น “แหล่งบ่มเพาะ” นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร แรงงานที่มีทักษะ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ของเราเอง โดยมีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง มีการยกระดับการให้บริการภาครัฐที่ “สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย” และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อขออนุญาตประกอบธุรกิจ (Ease of doing business) เป็นต้น ที่กล่าวมานั้นเป็น “ต้นแบบ” สำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 10 แห่ง ในอนาคต ก็เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศระยะยาวที่ชัดเจน สามารถจะดึงดูด “เม็ดเงิน” การลงทุนระยะยาว และองค์ความรู้ – เทคโนโลยีชั้นสูงจากความเชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เข้ามาช่วยยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชาชนในภาพรวมของประเทศได้ 3. ด้านมรดกทางวัฒนธรรมไทยเราได้รับอันดับที่ 8 โดยเฉพาะด้านอาหารที่ประเทศไทยของเราได้คะแนนสูงเท่ากับประเทศฝรั่งเศส เพราะเรามีทั้งอาหารที่มีเอกลักษณ์ มีรสชาติเป็นที่ชื่นชอบของชาวโลก เช่น “แกงมัสมั่น” ซึ่งได้อันดับ 1 ของโลก ตามที่ CNN ได้จัดอันดับ 50 สุดยอดอาหารเด็ดจาก “ทั่วโลก” รวมทั้งต้มยำกุ้งและส้มตำ ซึ่งผมได้เล่าให้ฟังเมื่อสัปดาห์ก่อนอีกทั้ง ผลไม้เมืองร้อน ที่หลากหลาย หากินง่ายตามฤดูกาล ได้ตลอดทั้งปี โดยรัฐบาลต้องบริหารจัดการน้ำ และ ดูแลปริมาณการผลิตให้เหมาะสมกับตลาดไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เพื่อราคาจะได้ไม่ตก ทำให้เราต้องตามแก้ปัญหาภายหลังกันอีก เช่นที่ผ่านมา ในเรื่องเหล่านี้ก็น่าภูมิใจ ที่ต่างประเทศเขาประเมินประเทศไทยในทางที่ดี แต่ผมก็ไม่เข้าใจว่ายังมีบางคนจะบิดเบือนพยายามให้ข่าวที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เพื่อหวังผลในเรื่องการเมืองอย่างเดียว เพราะฉะนั้นก็อยากให้สังคม สื่อต่าง ๆ ช่วยกันระมัดระวัง ในการให้ข่าวลักษณะนั้นด้วย ช่วงนี้ นอกจากงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยแล้ว โชคดีที่มีละคร “บุพเพสันนิวาส” เข้ามาเสริมอย่างลงตัว ก็ไม่ได้หมายความว่าดีที่สุด ก็เป็นละครที่ดีในเวลานี้ ก็สอดคล้องรักษา สืบสาน ต่อยอด ความเป็น “ไทยนิยม”ตามนโยบายรัฐบาล ให้ดูเข้มแข็งขึ้น หลายคนอาจมองว่าเป็น “กระแส” หรือ “ลมเพ ลมพัด” ไม่นานก็จางหาย แต่ผมมั่นใจว่า “อยู่ในสายเลือด” ของเราทุกคน ทั้งอุดมการณ์ ความรักชาติ คุณธรรม จริยธรรม อะไรก็แล้วแต่ รวมความไปถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของประเทศ เราจะต้องมีความหวงแหนในขนบธรรมเนียมประเพณี อันงดงาม มาแต่โบราณกาล ตั้งแต่การแต่งกาย ภาษา ไปจนถึงโบราณสถาน - โบราณวัตถุ เรามีสถานที่น่าสนใจทางวัฒนธรรมจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างไว้ให้ลูกหลาน วันนี้ ผมดีใจที่เห็นคนไทย ไม่ได้เคอะเขินที่จะแต่งกายย้อนยุคออกจากบ้าน ไปในสถานที่ต่าง ๆ ผมอยากเห็นบรรยากาศ หรือปรากฏการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นทั่วไทย ตามโอกาสต่าง ๆ หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งชาวต่างชาติเอง ต่างก็เห็นคุณค่าและให้ความชื่นชมการแสดงออกลักษณะนี้แล้วเราในฐานะลูกหลาน ก็ควรได้ตระหนักและ ช่วยกันอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติให้กับลูกหลานของเราสืบไป อันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เราควรจะทำ ในส่วนของรัฐบาลเอง วันอังคารเราแต่งชุดผ้าไทยอยู่แล้ว ผมก็ไม่ได้ห้ามถ้าใครจะแต่ชุดไทยย้อนยุคเข้ามาประชุม หรือข้าราชการจะแต่งชุดไทยย้อนยุคมาทำงานก็ได้ ผมก็อยากเห็นหลากหลาย แพร่ไป ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา หรือสถานการทำงานของเอกชน ธุรกิจต่าง ๆ ถ้าแต่งชุดเหล่านี้มาทำงาน ก็ดูน่าสนใจดี แล้วดูทุกคนก็มีบรรยากาศที่เปลี่ยนแปลง ไม่ซึมเศร้า เหงาหงอย แต่ข้อสำคัญคืออย่าไปบังคับ แล้วถ้าทำได้ในการท่องเที่ยว มีคนมาใช้เพื่อถ่ายรูป หรือเที่ยวในพื้นที่ที่มีโบราณสถาน ก็เป็นภาพที่งดงาม ทุกคนอยากได้ทั้งนั้น ก็จะเกิดอาชีพรายได้ขึ้นมา ข้อสำคัญคืออย่าไปขึ้นราคา หรือไปหลอกลวง อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ขอให้ทำให้สุจริต แล้วการผลิตผ้าไทยต่าง ๆ ออกมาก็จะมีคนใช้มากขึ้น เพิ่มงาน เพิ่มรายได้ เขาเรียกว่าการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาโดยวัฒนธรรม นอกจากนี้แล้ว U.S. News and World Report ได้มีการจัดอันดับของประเทศที่ดีที่สุด ในด้านอื่น ๆ “เพิ่มเติม” อีกด้วย อาทิ ในปีนี้ ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดในโลก สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจวัดจากมุมมองด้านต้นทุนการเริ่มธุรกิจต้นทุนในการผลิตความคล่องตัวมากขึ้นของระบบราชการการเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ทั้งด้านระบบขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการบริการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ การเริ่มต้นธุรกิจในประเทศไทยใช้เวลาเพียง 5 วัน อันนี้ก็เป็นผลมาจากความพยายามอย่างยิ่งยวดของภาครัฐ ในการปรับลดขั้นตอนและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ทั้งในเรื่องเอกสาร และการขออนุญาตประกอบธุรกิจ ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (OSS) เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งการได้รับอันดับที่ดีเช่นนี้ ก็สอดคล้องกับการปรับดีขึ้น อย่างมาก ของอันดับ Ease of doing business ที่ธนาคารโลกได้ประกาศออกมาเมื่อช่วงปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ดีขึ้นถึง 20 อันดับ รัฐบาลยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอีกหลาย ๆ ด้าน เพื่อช่วยเพิ่มการอำนวยความสะดวกของภาคธุรกิจ และตอนนี้ก็เร่งรัดภาคเอกชนด้วยในการบริการให้กับประชาชน ในเรื่องเอกสารต่าง ๆ ต้องลดให้ได้โดยเร็ว ทุกส่วนราชการต้องปฏิบัติ ในการจะลดการใช้เอกสาร ตลอดจนผมจะขอประเมินดูผลงานทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวง เราก็หวังว่า สิ่งที่เรากล่าวมาทั้งหมดนั้น จะสามารถดึงดูดธุรกิจจากประเทศต่าง ๆ ให้เข้ามาลงทุน เกิดจ้างงานในพื้นที่ ได้อย่างต่อเนื่อง ในทุกกิจกรรม เพียงแต่พี่น้องประชาชนควรแสวงหาโอกาส ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการเหล่านั้น ในท้องถิ่นของตนให้ได้ ก็จะได้รับประโยชน์อย่างถ้วนหน้า ก็ค่อยเพิ่มไป ๆ ไม่ใช่หวือหวา แล้วบริหารจัดการไม่ดี หรือหวังกำไรแต่เพียงอย่างเดียว ก็ไปไม่รอด ระยะยาวไปไม่รอด ต้องค่อย ๆ เริ่ม ค่อยๆ เพิ่มจนทุกคนยอมรับได้ เราก็ต้องการเพิ่มรายได้ในท้องถิ่นให้มากที่สุด เป็นรายได้ของท้องถิ่นด้วย รัฐบาลก็ได้จากภาษีมา เรื่องของความน่าลงทุนที่สุดนั้น ประเทศไทยของเราได้เป็นอันดับที่ 8 ในมุมของความมีพลวัต มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมีระบบภาษีที่เอื้อต่อการลงทุนมีความสามารถของผู้ประกอบการในการสร้างนวัตกรรม รวมถึงมีแรงงานมีฝีมือและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ที่มีความพร้อม รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมาได้พยายามสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ เร่งสร้างความปรองดอง ที่สำคัญ คือ มียุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ชัดเจน เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนมักพิจารณา เพื่อให้การลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือยกให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต มีการใช้วัตถุดิบ หรือแรงงานในประเทศ ย่อมจะเป็นการช่วยสร้างรายได้เพิ่มเติม และยกระดับความกินดีอยู่ดีให้กับพี่น้องประชาชน ในระยะต่อ ๆ ไปด้วย อีกด้านที่สะท้อนศักยภาพของประเทศไทยในการที่จะเพิ่มคุณภาพของบุคลากรในด้านแรงงานมีฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ คือ การที่เราได้เป็นอันดับที่ 5 ของประเทศที่ดีที่สุด ในการศึกษาต่อต่างประเทศ จากมุมมองที่ไทยมีบรรยากาศที่ให้ความสนุกสนาน มีชีวิตชีวา เหมาะกับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อ และ ใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีการศึกษาที่มีคุณภาพ มีวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่เข้าถึงได้ง่าย และ มีสถานที่น่าสนใจทางวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนว่าเราจะสามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะในภูมิภาค เข้ามาร่วมกันส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรม และการผลิตต่าง ๆ ของประเทศ และภูมิภาคได้ อีกทั้ง จะเป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจ เชื่อมกับกลุ่มที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนภาคเอกชนของประเทศต่าง ๆ ในอนาคตไว้ได้ อีกด้วย นอกเหนือไปจากการท่องเที่ยว การทำธุรกิจ และแนวโน้มในการเติบโตที่ดีแล้ว ประเทศไทยยังได้รับอันดับค่อนข้างดีในเชิงของการใช้ชีวิตด้วย โดยเป็นอันดับที่ 20 ของประเทศที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นอาชีพ โดยพิจารณาจากมุมมองของคนรุ่นใหม่ ในเชิงของตลาดแรงงานที่ตื่นตัว เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ความสามารถของผู้ประกอบการ ความเท่าเทียมทางรายได้ นวัตกรรม ความน่าอยู่อาศัย และความก้าวหน้า ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ชีวิตหลังเกษียณ ก็อยู่ในอันดับที่ 20 เท่ากัน จากการสำรวจจากผู้มีอายุเกิน 45 ปี ที่มีการให้คะแนนความสะดวกสบายของชีวิตหลังเกษียณ โดยจะเห็นว่ามีค่าครองชีพที่ไม่แพง มีภาษีที่เอื้อในการใช้ชีวิต ความเป็นมิตร ความน่าอยู่อาศัย สภาพอากาศที่เหมาะสม การให้สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน และ ระบบสาธารณสุขที่ดี รวมถึงที่น่าสนใจ ได้แก่ การที่ไทยได้อันดับที่ 28 ของประเทศที่มองการณ์ไปข้างหน้า เมื่อพิจารณาจากความสามารถในการปรับตัวต่อความท้าทาย และการขับเคลื่อนธุรกิจของผู้ประกอบการ การมีนวัตกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และระบบราชการที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากขึ้น จะเห็นได้ว่า การจัดอันดับที่เราได้รับทั้งหมดนี้ ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้เอง แต่เป็นผลจากการที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ ภาคเอกชนเข้มแข็ง รู้จักปรับตัว สร้างโอกาส สร้างมูลค่าเพิ่ม ประกอบกับภาคประชาชนให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุน และสนองตอบนโยบายต่าง ๆ เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ผมไม่ได้อยากจะแข่งกับใคร หรืออยากได้ดีกว่าประเทศอื่น แต่ผมอยากให้พวกเราแข่งกับตัวเอง มาทบทวนตัวเอง มาปรับตัวกัน มาพยายามไปร่วมกัน ที่จะรักษาภาพลักษณ์ รักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจ บรรยากาศการลงทุนของประเทศเอาไว้ ร่วมกันปรับตัวให้เข้มแข็งได้จากภายใน พึ่งตนเองได้ ขณะเดียวกัน ก็สามารถเพิ่มศักยภาพของประเทศในการแข่งขัน และเอื้อให้มีการลงทุนจากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในเทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งทั้งหมดนี้จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตของประเทศ ให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ สู่สังคมสงบสุข เพราะทุกคนมีกินมีใช้ ไม่ใช่เพื่อรัฐบาล ไม่ใช่เพื่อรักษาอันดับเหล่านี้ แต่เพื่อความกินดีอยู่ดีของพี่น้องประชาชนและลูกหลานของพวกเราต่อไป ผมขอร้องว่า ขณะนี้เรากำลังเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง อยากให้ทุกคนรักษาบรรยากาศ รักษามุมมองของต่างประเทศกับเราให้ดีที่สุด จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้เขาให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ ในเรื่องของการเมือง ในเรื่องของประชาธิปไตยก็เดินไป เป็นเรื่องของโลกใบนี้ ขอให้กำลังใจกับธุรกิจ การดูแลประชาชน สิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เหล่านี้ รัฐบาลนี้ก็ทำทุกอย่าง แน่นอนต้องมีปัญหาอยู่บ้าง สุดท้ายนี้ เรื่องการเมืองที่ทุกฝ่าย สังคม ให้ความสนใจขอให้เป็นไปตามกระบวนการ ช่วยกันลดความสับสน วุ่นวาย บิดเบือน โจมตี ในสิ่งที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ลงให้ได้ เดินหน้าประเทศ สู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มีคุณภาพจะเป็นอย่างไร ย้อนกลับไปดู ว่าปี 2557 ที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง เราก็น่าจะรู้ว่าเราต้องทำอะไร ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไร อะไรดี อะไรไม่ดีพูดกันมามากพอแล้ว รัฐบาลก็ไม่สามารถจะตอบโต้ได้ทุกประเด็น เราพูดบิดเบือนไม่ได้ เราต้องพูดแต่ข้อเท็จจริง เรื่องการลงโทษ เรื่องการสอบสวน เรื่องการทุจริต รัฐบาลนี้ก็ดำเนินการอยู่ทุกประเด็น ลืมไปอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องการเตรียมการไปสู่วันหยุดยาวสงกรานต์ ผมขอเตือนให้ทุกคนได้ระมัดระวังตั้งแต่วันนี้ การบาดเจ็บสูญเสียนั้นไม่ได้มีเฉพาะวันสงกรานต์อย่างเดียว ในทุกวาระ ทั้งปีมียอดการสูญเสียจำนวนมาก แต่เราไปให้ความสนใจเฉพาะช่วงสงกรานต์ วันหยุดยาว ถ้าเราไปดูทั้งปีมีการบาดเจ็บสูญเสียมาก อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป ถ้ามองในช่วงรายไตรมาส เพราะฉะนั้นสงกรานต์นี้ผมถือว่าการสูญเสียนั้นรวมอยู่ในรายไตรมาส ทุกหน่วยงานต้องไปพิจารณา บริหารจัดการให้เหมาะสม เราต้องลดการสูญเสีย การบาดเจ็บให้ได้ ทั้งปี ขอให้ทุกหน่วย ทุกฝ่าย ได้ร่วมมือกันทำงานด้วย ขอบคุณเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ทหาร ที่ต้องเหน็ดแหนื่อย จากการเตรียมการ หรือการดำเนินงานในช่วงวันหยุดราชการ หรือวันหยุดยาวทุกคนนะครับ ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน ทุกครอบครัว” มีความสุข สวัสดีครับ
15 มี.ค. 2561
รายการเดินหน้าประเทศไทย : วัฒนธรรมสัญจร มนต์เสน่ห์ล้านนา สู่สายตาประชาคม ออกอากาศวันพุธที่ 14 มีนาค
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยในรายการเดินหน้าประเทศไทย ว่า โครงการวัฒนธรรมสัญจรสำหรับคณะทูตานุทูต ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานทูตประเทศต่างๆ ประจำประเทศไทย ดำเนินโครงการวัฒนธรรมสัญจรสำหรับคณะทูตานุทูต ครั้งที่ 10 โดยมีคณะทูตานุทูตและผู้แทน จากประเทศต่างๆเข้าร่วม 24 ประเทศ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นเมืองแห่งศิลปะ ซึ่งโครงการนี้เป็นการเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และจังหวัดเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยเป็นการเชื่อมต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์คล้ายคลึงกัน โดยมีเป้าหมายมุ่งสู่การเชื่อมโยงและพัฒนาความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ผลักดันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศไทย นำไปสู่การสร้างรายได้ สร้างความมั่นคง ให้กับคนในพื้นที่ ซึ่งการจัดโครงการดังกล่าวถือเป็นการประชาสัมพันธ์คุณค่าความสำคัญของแหล่งมรดกวัฒนธรรมของไทยให้เป็นที่รู้จัก เนื่องจากคณะทูตจะเป็นสื่อกลางนำข้อมูลไปเผยแพร่ให้แต่ละประเทศทั่วโลกรู้จักจังหวัดเชียงรายและประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการจัดโครงการแต่ละครั้งจะเลือกสรรสถานที่มีความเกี่ยวข้องกับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทยเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นและพัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังที่กระทรวงวัฒนธรรมการออกรายการเดินหน้าประเทศไทยในแต่ละครั้ง ก็ส่งผลให้การท่องเที่ยวของไทยมีความคึกคักอย่างมาก นำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะทำให้วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของไทยมีความยั่งยืน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต้องร่วมกันผลักดันและเดินหน้าขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กันด้วย นิตยา คุณสิม / สวท.
15 มี.ค. 2561
รายการเดินหน้าปะเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรี ฉบับประชาชน ออกอากาวันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ (สศช.) ที่เสนอแผนการปฏิรูประเทศทั้ง 11 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเมือง 2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3) ด้านกฎหมาย 4) ด้านกระบวนการยุติธรรม 5) ด้านเศรษฐกิจ 6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7) ด้านสาธารณสุข 8) ด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ 9) ด้านสังคม 10) ด้านพลังงาน และ 11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และ พัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสังคมและชุมชนที่เข้มแข็ง คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 และกรอบงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอ โดยอนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 จำนวน 190,000 ล้านบาท และ กรอบงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จำนวน 200,000 ล้านบาท พร้อมเน้นย้ำว่าจะไม่มีการยกเลิกบัตรทอง และขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพทุกคน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิทัล) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ เพื่อกำหนดนิยามของทรัพย์สินดิจิทัล ประเภทเงินได้ของเงินได้เนื่องมาจากทรัพย์สินดิจิทัล และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้เนื่องมาจากทรัพย์สินดิจิทัล โดยให้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินดิจิทัล) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. .... (ยกเว้นค่าธรรมเนียมช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2561) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนแล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยกำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร-เมืองพัทยา รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และทางแยกเข้าพัทยา และบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน-บางพลี ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2561 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2561
12 มี.ค. 2561
รายการเดินหน้าประเทศไทย : เดินหน้าอุโมงค์ส่งน้ำ แม่แตง-แม่งัด-แม่กวง ออกอากาศวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย เดินหน้าอุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง-แม่จัด-แม่กวง ว่าปัญหาน้ำที่จังหวัดเชียงใหม่มี 3 อย่างคือน้ำท่วม ขาดแคลนน้ำ และปัญหาคุณภาพน้ำที่ต้องใช้น้ำดีมาไล่น้ำเสีย จึงเห็นว่าการแก้ปัญหาต้องใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งพิจารณาว่าหน่วยงานใดเกี่ยวข้องแล้วพิจารณาบริหารจัดการการแก้ปัญหา ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าต้องใช้ศาสตร์พระราชาเป็นหลักสำคัญโดยการผันน้ำจากเขื่อนแม่แตงมาเก็บไว้ที่เขื่อนแม่งัด แล้วนำน้ำจากเขื่อนแม่งัดไปซ่อมที่เขื่อนแม่กวง บรรเทาปัญหาอุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีน้ำใช้ปกติ ซึ่งการทำอุโมงค์จะมี 2 ช่วง โดยช่วงแรกจากเขื่อนแม่แตงไปเขื่อนแม่งัด และช่วงที่ 2 จากเขื่อนแม่งัดไปเขื่อนแม่กวง โดยโครงการจากเขื่อนแม่งัดไปเขื่อนแม่กวงเริ่มตั้งแต่ปี 58 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี64 ส่วนช่วงจากเขื่อนแม่แตงไปเขื่อนแม่งัดเริ่มตั้งแต่ปี 59 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 64 เช่นกัน ซึ่งผลการทำงานภาพรวมคืบหน้าไปร้อยละ 17.1 ทั้งนี้หากดำเนินการแล้วเสร็จจะมีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร ขณะนี้การดำเนินการถือว่าต่ำกว่าแผนเล็กน้อยเพราะติดปัญหาเชิงเทคนิคเนื่องจากเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการก่อสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตรที่จะสามารถผันน้ำจากเขื่อนแม่แตงไปเขื่อนแม่งัประมาณ113ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และจากเขื่อนแม่งัดไปเขื่อนแม่กวงอีก160ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ขณะที่พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการบริหารจัดการน้ำต้องมี 3 ประเด็นหลักคือกฎหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำพรบ.น้ำ คาดว่าในปี61จะมีผลบังคับใช้ ประเด็นที่ 2 คือยุทธศาสตร์การทำงานขณะนี้เป็นยุทธศาสตร์20 ปี และประเด็นที่ 3 คือต้องมีคณะและองค์กรที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในลักษณะการบูรณาการโดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำแห่งชาติ(กนช.) ซึ่งจะดูแลครอบคลุมทุกมีติ รวมทั้งการจัดทำงบประมาณ ซึ่งช่วงแรกเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำเดิม เพิ่มศักยภาพน้ำอุปโภคบริโภค โดยที่จังหวัดเชียงใหม่มีแผนงานโครงการอยู่แล้ว แต่ติดปัญหาการใช้พื้นที่และการบริหารจัดการงบประมาณ ซึ่งกนช.จะเข้ามากับกำดูแลเชิงนโยบายให้เป็นไปตามแผนงาน ศิริศุภา กร่างสะอาด / สวท.
11 มี.ค. 2561
รู้ทันป้องกันได้ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า
รู้ทันป้องกันได้ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค สามารถติดตามได้ที่ https://youtu.be/oRcHXMPZ8c4
11 มี.ค. 2561
จ.ลำปาง เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ จัดประชุมสัมมนาสร้างความรู้ความเ
จังหวัดลำปาง เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ จัดประชุมสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ จังหวัดลำปาง โดยสำนักงานจังหวัดลำปาง ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประจำจังหวัดลำปาง จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ตามโครงการ “ลำปางสุจริตใสสะอาด ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ ร่วมเปิดเวทีถ่ายทอดองค์ความรู้ ปลูกฝังค่านิยมโปร่งใสและสุจริตแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคในเขตพื้นที่ ที่ห้องประชุมจันผา โรงแรมเวียงลคอร ตำบลสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีนายศรีโรจน์ นิมมานพัชรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาและกล่าวให้โอวาทแนวทางและข้อคิดต่อการปฏิบัติงาน พร้อมประกาศนโยบายการบริหารงานด้วยความสุจริต เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใสในการบริหารราชการของจังหวัดลำปาง ซึ่งมีคณะผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานส่วนราชการภูมิภาคประจำจังหวัดลำปาง เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากหน่วยงาน สำนักงาน ป.ป.ท., สำนักงาน จ.ลำปาง และ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำ จังหวัดลำปาง บรรยายให้ความรู้สร้างความเข้าใจ อาทิ การบรรยายให้ความรู้ในเรื่องสถานการณ์ แนวโน้ม และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค รวมถึงการซักซ้อมและแบ่งกลุ่มย่อยฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงานส่วนราชการใน จังหวัดลำปาง พร้อมจัดเก็บข้อมูลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA ประจำปี 2561 สำหรับโครงการ “ลำปางสุจริตใสสะอาด ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ” เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของจังหวัดลำปาง เพื่อสนองต่อแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) และนโยบายของรัฐบาล ข้อที่ 10 ว่าด้วยการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ โดยมุ่งหวังที่จะให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในสังกัดหน่วยงานต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการทุจริตทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงร่วมเป็นเครือข่ายสังคมไทยในการต้านภัยทุจริตเพื่อลดปัญหาการคอร์รัปชันในวงราชการทุกรูปแบบ เพื่อส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานส่วนราชการ ทั้งในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่บริหาร และการปฏิบัติงานราชการของบุคลากรให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและสุจริตตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีเป้าหมายให้ผู้ร่วมประชุมสัมมนาได้นำหลักการบริหารว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี รวมทั้งหลักด้านคุณธรรมจริยธรรม ไปปฏิบัติใช้ในการบริหารและการปฏิบัติราชการ และนำเผยแพร่ทั่วทั้งองค์กรเพื่อรวมพลังร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์กรโปร่งใส ผลักดันองค์กรภาครัฐของจังหวัดลำปาง ให้ไปสู่การเป็นองค์กรสุจริตธรรมที่มีศักดิ์ศรี เป็นองค์กรแบบอย่างที่มีสมรรถนะและมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินงานการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในองค์กรได้ในทุกรูปแบบอย่างเป็นรูปธรรม
09 มี.ค. 2561
รายการเดินหน้าประเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรีฉบับประชาชน ออกอากาศ วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ“คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ไปสู่ชุมชนอื่น ๆ อย่างรวดเร็วในชุมชนชายฝั่ง จำนวน 500 ชุมชน ในระยะเวลา 2 ปี มุ่งหวังจะเพิ่มจำนวนลูกปูม้าในธรรมชาติให้มากขึ้น และชาวประมงจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปล่อยไข่ปูม้าจากแม่ปูม้าได้เดือนละ 100 ตัว คาดว่าจะมีลูกปูม้าเพิ่มขึ้น 0.1 - 1 ล้านตัว จะทำให้มีรายได้จากการขยายปูม้า 2.5 ล้านบาท/ชุมชน/เดือน และหากขยายผลมากกว่า 1,000 ชุมชน จะมีมูลค่าถึง 2,500 ล้านบาท/เดือน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) โดยมีสาระสำคัญเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ หลักการคือ นายจ้างที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำรายจ่ายค่าจ้างที่ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นจำนวน 1.5 เท่าของค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายในกรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2561 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ เพื่อให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน การรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน ให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่บังคับใช้ร่างพระราชกำหนดกับแรงงานต่างด้าวที่มีความรู้ความสามารถ ลดขั้นตอนการขออนุญาตเปลี่ยนงานหรือนายแจ้งเป็นเพียงการแจ้งเพื่อทราบ และ แรงงานต่างด้าวมีสิทธิกำหนดว่าต้องการทำงานที่ไหนและอาศัยที่ไหน
08 มี.ค. 2561
รายงานพิเศษ : กรมประชาสัมพันธ์นำคณะสื่อมวลชนเมียนมาลงพื้นที่จ.สมุทรสาคร ติดตามความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว
รายงานพิเศษ : กรมประชาสัมพันธ์นำคณะสื่อมวลชนเมียนมาลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ติดตามความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การสร้างการรับรู้ถึงความตั้งใจของรัฐบาลไทยในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวผ่านสื่อของเมียนมา เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญในการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในด้านการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว กรมประชาสัมพันธ์โดยสำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศให้การต้อนรับนำคณะสื่อมวลชนจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (MRTV) นำโดย ชเว ชเว ธาน ผู้สื่อข่าวอาวุโส, ธี ธี ชเว โปรดิวเซอร์อาวุโส, อี แต พิว ผู้สื่อข่าววิทยุ และวิน ฮตูน ช่างภาพ ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเพื่อถ่ายทำสกู๊ปข่าว รายงานพิเศษ ในประเด็นการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ทั้งภาพรวมการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ตลอดจนการรักษาพยาบาล และการเข้ารับการศึกษาของเด็กต่างด้าวในพื้นที่ คณะสื่อมวลชน MRTV ลงพื้นที่ตลาดทะเลไทย และสำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสัมภาษณ์นายไพบูรณ์ วังสนตระกูล จัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร ในประเด็นภาพรวมสถานการณ์ของแรงงานต่างด้าว และบทบาทหน้าที่ของสำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาครต่อการเข้าทำงานของแรงงานต่างด้าว โดยนายไพบูรณ์ วังสนตระกูล จัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวถึงภาพรวมการทำงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาครว่า สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร เป็นหน่วยงานต้นน้ำที่รับทราบความต้องการของนายจ้างและสถานประกอบการ เป็นสื่อกลางให้นายจ้างนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าไปทำงาน และเมื่อเข้าไปทำงานแล้วจะมีหน่วยงานอื่นๆของกระทรวงแรงงานเข้ามาดูแลสวัสดิการที่ควรได้รับ เช่นค่าจ้าง การรักษาพยาบาล เป็นต้น จัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ต้องการเข้ามาในจังหวัดสมุทรสาคร สามารถทำได้ผ่านระบบ MOU คือรัฐต่อรัฐ โดยผ่านบริษัทจัดหางานที่เมียนมา หรือสถานประกอบการฝั่งประเทศไทยที่ส่งความต้องการผ่านไปยังเมียนมาให้ส่งแรงงานตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งแรงงานที่เข้ามาลักษณะนี้จะมีสัญญาจ้างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ นอกจากนี้ใน MOU จะระบุไว้ 1-2 ปีตามแต่ความต้องการของงานอีกด้วย ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร มีแรงงานที่เข้ามาทำงานผ่าน MOU ที่ถูกต้องตามกฎหมายจำนวน 73,000 คน และแรงงานที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายแต่ผ่านการขึ้นทะเบียนเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องในภายหลัง รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 250,000 คน ส่วนใหญ่ทำงานในกิจการประมงและแปรรูปสัตว์น้ำ เนื่องจากความต้องการแรงงานในระดับล่างหรือแรงงานรายผลิตขาดแคลนแรงงานไทย จึงจำเป็นต้องจ้างแรงงานจากเมียนมาและกัมพูชา ซึ่งหากไม่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาช่วยเสริม จะส่งผลต่อกำลังการผลิตในอนาคต ขณะนี้รัฐบาลผ่อนผันให้แรงงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมายได้รายงานตัวและพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 150,000 ราย ได้ต่ออายุบัตรอนุญาตอีก 2 ปี จนถึงมีนาคม ปี 2563 ซึ่งการดำเนินการจะทำให้เสร็จสิ้นในวันที่ 31 มีนาคม 2561 แรงงานเหล่านี้เมื่อได้รับการปรับสถานะแล้ว จะเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมายทุกประการ สิทธิและสวัสดิการต่างๆได้รับเทียบเท่าคนไทย สามารถเดินทางลาป่วย ลากลับบ้าน ตามเทศกาลได้อย่างเสรี ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่เมื่อลากลับประเทศต้นทางแล้วไม่สามารถกลับมาใหม่ได้ สำหรับประเด็นการรักษาพยาบาลของแรงงานต่างด้าว สปต.นำคณะสื่อมวลชน MRTV ถ่ายทำการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร บริเวณคลินิกแรงงานต่างด้าว จุดคัดกรองผู้ป่วย และห้องจ่ายยา นพ.โมลี วนิชสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร กล่าวว่า โรงพยาบาลสมุทรสาคร ให้การดูแลรักษาแรงงานต่างด้าวอย่างดีที่สุดตามหลักสิทธิมนุษยชน มีคลินิกแรงงานต่างด้าวในโรงพยาบาลเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน อาทิ การแยกห้องตรวจแรงงานต่างด้าวเพื่อช่วยเรื่องการสื่อภาษา ซึ่งเมื่อมีห้องแยกเฉพาะจะทำให้สามารถมีล่ามปฎิบัติงานในห้องตรวจนั้นๆได้อย่างเต็มที่ และเพื่อให้โรงพยาบาลได้จัดสรรแพทย์ประจำคลินิกที่มีความเชี่ยวชาญให้การรักษาได้อย่างตรงถูกต้อง สะดวกและรวดเร็ว ส่วนพื้นที่ของผู้ป่วยในได้จัดแรงงานต่างด้าวอยู่รวมกับคนไทยเพราะติดขัดเรื่องสถานที่ แต่อย่างไรก็ตาม มีล่ามคอยดูแลสื่อสารตลอดเวลา ทั้งนี้ โรงพยาบาลสมุทรสาครจัดสรรล่ามจำนวน 20 คนในเวลาราชการ ประจำจุดบริเวณห้องจ่ายยา ห้องตรวจ ผู้ป่วยใน และศูนย์กลาง เพื่อคอยดูแลปัญหาด้านการสือภาษา หากช่วงกลางคืนมีแรงงานประสบเหตุฉุกเฉิน จะมีล่ามบางจุดที่คอยอยู่ 24 ชั่วโมง มาช่วยสื่อสารให้ นอกจากนี้ ใบสั่งยา หรือป้ายบอกทางในโรงพยาบาลยังมีภาษาพม่าอธิบาย และมีคิวอาร์โค้ดให้ผู้ป่วยได้สแกนเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาได้ด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลสมุทรมีความห่วงใยเรื่องการควบคุมโรค เพราะแรงงานต่างด้าวมีจำนวนมาก และมีความเสี่ยงของโรคติดต่อ จึงอยากให้แรงงานมาขึ้นทะเบียนแรงงานให้ถูกกฎหมาย ซึ่งจะทำให้แรงงานได้รับการตรวจร่างกายและทราบว่ามีโรคหรือไม่ เกิดผลดีกับทั้งแรงงานและประเทศไทย นอกจากนี้ แรงงานที่ขึ้นทะเบียนทำให้โรงพยาบาลได้รับเงินสนับสนุนมาช่วยเหลือรักษาผู้ป่วยแรงงานคนอื่นๆที่อาจไม่มีเงินรักษาอีกด้วย ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า โรงพยาบาลมีความตั้งใจในการดูแลคนต่างด้าวให้ดีที่สุดตามหลักมนุษยธรรม ด้วยมาตรฐานเดียวกัน ด้านการศึกษา สปต.นำคณะสื่อมวลชน MRTV ลงพื้นที่โรงเรียนวัดศรีสุทธาราม หรือโรงเรียนวัดกำพร้า ซึ่งรับนักเรียนทุกสัญชาติ จัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวมทั้งเด็กไทยและต่างด้าวในทุกวิชา โรงเรียนขยายโอกาส เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนรวม 633 คน นางทัศนีย์ รอดทัศนา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนวัดศรีสุทธาราม กล่าวว่า นักเรียนในโรงเรียนได้รับสิทธิเรียนฟรี 15 ปี ครอบคลุมเสื้อผ้า ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน ทุนการศึกษา อาหารกลางวัน เด็กที่เรียนจบสามารถเรียนต่อระดับสูงได้ มีการแนะแนวจากครูและอาจารย์จากที่อื่นๆมาแนะแนว โดยโรงเรียนมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนรวม เน้นวิชาการให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่กับคุณธรรมและการอยู่รวมกันในสังคม ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมต้อนรับและอำนวยความสะดวกผู้สื่อข่าวจากเมียนมา เป็นกิจกรรมตามความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนทีมข่าวระหว่างกรมประชาสัมพันธ์กับกรมวิทยุโทรทัศน์สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (MRTV) ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2554 มีกิจกรรมตามความร่วมมือประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนรายการสารคดี การต้อนรับและอำนวยความสะดวกสื่อมวลชน เป็นต้น
06 มี.ค. 2561
รายการ : ธนาคารปู ล่าสุด ครม. ขยายผลธนาคารปูม้า เพื่อคืนปูม้าสู่ทะเลไทย หลังที่ผ่านมา มีการจับปูม
รายการ : ธนาคารปู ล่าสุด ครม. ขยายผลธนาคารปูม้า เพื่อคืนปูม้าสู่ทะเลไทย หลังที่ผ่านมา มีการจับปูม้าในเวลาอันควร ติดตามรายระเอียดได้จากรายการค่ะ
05 มี.ค. 2561
รายการ : "แหลมผักเบี้ย" บำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด
เทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ เป็นโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางเลียบชายทะเล จากที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี ไปยังหาดเจ้าสำราญ ประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่ข้างวัดสมุทรโคดม มีพื้นที่ 1,135 ไร่ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 1 ใน 5 ของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี โดยน้ำเสียจะถูกส่งมาตามท่อด้วยความยาวกว่า 18 กิโลเมตร ตามจังหวัดเพชรบุรี เพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีชั้นสูง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามได้จากรายงาน
04 มี.ค. 2561
หัวหน้าสำนักงานสะพานปลาจังหวัดสมุทรสาคร ยืนยันความพร้อมในการเข้ารับตรวจของ IUU เนื่องจากได้แก้ปัญหาอย่างถูกต้องและครบถ้วนมาโดยตลอด ตามนโยบายของรัฐบาล
หัวหน้าสำนักงานสะพานปลาจังหวัดสมุทรสาคร ยืนยันความพร้อมในการเข้ารับตรวจของ IUU เนื่องจากได้แก้ปัญหาอย่างถูกต้องและครบถ้วนมาโดยตลอด ตามนโยบายของรัฐบาล นายชัยยุทธ ถมกระจ่าง หัวหน้าสำนักงานสะพานปลาจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวถึงสถานการณ์ประมงในขณะนี้ว่า สถานการณ์ประมงโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2557 ที่มีการเข้มงวดประกาศการแก้ปัญหา IUU ซึ่งปี 2557 จะมีการขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำที่มีเรือขนถ่ายสินค้าโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 18 ลำ ซึ่งประสบปัญหาอยู่บ้างในเรื่องจำนวนเรือประมงที่เข้ามาขนถ่ายสินค้าลดลง สำหรับการเตรียมความพร้อมที่ IUU จะเข้ามาตรวจในเรื่องของการทำประมงผิดกฎหมายของไทยประมาณต้นเดือนเมษายนนั้น ทางสะพานปลาจังหวัดสมุทรสาคร ภาครัฐและเอกชน มีความพร้อมในการเข้ารับตรวจของ IUU เพราะได้มีการดำเนินการแก้ปัญหาตามนโยบายของรัฐบาลและการประกาศของกรมประมงอย่างครบถ้วนถูกต้องมาโดยตลอด โดยมีศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง หรือPort In Port Out (PIPO) ซึ่งบริการตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับการแจ้งเข้า – แจ้งออก เรือประมง การตรวจโดยสแกนม่านตา และระบบติดตามเรือ VMS เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัญหาที่มีผลกระทบต่อชาวประมงก็มีอยู่บ้าง แต่จากการชี้แจง สร้างความเข้าใจ และดำเนินการตามมาตรฐานสากลในทุกมิติ ซึ่งผู้ประกอบการด้านประมงก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อให้การทำประมงที่ถูกกฎหมาย และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาวประมง รวมทั้งความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศไทย
02 มี.ค. 2561
จ.พังงา จัดงานวันพระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย และวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2561
นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประธานในพิธีพร้อมด้วยนายชาญศักดิ์ ถวิล และนายภาคภูมิ อินทรสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา และส่วนราชการทุกภาคส่วน ร่วมประกอบพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย”ณ ศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรมวัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามันจังหวัดพังงา โดยเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2513 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดงานวันแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน ทรงมีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า “ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่างๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่าง จึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุกๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน วิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดี และเพียงพอกับความต้องการ ในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ ประการที่สอง ได้แก่ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งต้องปรับปรุงให้มีความประณีต และประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริงๆ ประการที่สาม ได้แก่ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้ จะต้องกระทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้ และผลกำไรสำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า ข้าพเจ้าใคร่ขอฝากความคิดทั้งนี้ไว้เป็นแนวปฏิบัติของท่านทั้งหลายต่อไป” จากสายพระเนตรอันยาวไกลถึงความสำคัญของช่างฝีมือ ซึ่งมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้มีการพัฒนาฝีมือให้มีตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพราะหมายถึงคุณภาพของของสินค้าและบริการ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำมาปฏิบัติตลอดระยะเวลา 48 ปีที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในด้านต่างๆ กับต่างประเทศ เป็นประโยชน์ในภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย และเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” พร้อมกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคมของทุกปี เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
02 มี.ค. 2561
อ.ต.ก. จัดงาน “ผลไม้คุณภาพ อ.ต.ก.” เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลไม้สด ผลไม้แปรรูปให้แก่เกษตรกร
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร จัดงาน “ผลไม้คุณภาพ อ.ต.ก.” เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลไม้สด ผลไม้แปรรูปให้แก่เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าการเกษตรส่งตรงถึงผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่จังหวัดนครราชสีมา วันนี้ (2 มี.ค. 61) นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ผลไม้คุณภาพ อ.ต.ก.” ซึ่งองค์การตลาดเพื่อเกษตร หรือ อ.ต.ก. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2561 ที่บริเวณลานโปรโมชั่นชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา โดยการจัดงานในครั้งนี้เพื่อให้มีกรอบทิศทางในการพัฒนาผลผลิต การตลาด และการบริหารจัดการผลไม้ของไทยได้อย่างเป็นระบบมีเอกภาพและสามารถแก้ไขปัญหาผลไม้ได้อย่างยั่งยืน มีการส่งเสริมด้านการตลาด สร้างเสริมประสบการณ์ตรงให้แก่เกษตรกร เพิ่มทักษะเรียนรู้ด้านการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ โดยใช้ระบบการตลาดนำการผลิต สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างระบบเครือข่ายร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นเพื่อให้ได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยภายในได้นำผลไม้ที่มีคุณภาพและผลผลิตแปรรูปจากทั่วทุกภูมิภาคมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคกว่า 30 ร้านค้า และกิจกรรมสาธิตการแปรรูปอาหาร ซึ่งผู้ที่เข้าชมงานทางองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ยังได้นำพันธุ์กล้วยไม้สวยงามมาแจกทุกวัน วันละ 100 ต้น ตั้งแต่เวลา 10.00 - 22.00 น. ทุกวัน
02 มี.ค. 2561
ผอ.ชลประทานอุทัยธานี แจ้งเตือนเกษตร ขอความร่วมมืองดทำนาปรังรอบสอง เผยปริมาณน้ำ มีเพียงพอไว้เพื่ออุป
ผู้อำนวยการชลประทานอุทัยธานี แจ้งเตือนเกษตร ขอความร่วมมืองดทำนาปรังรอบสอง เผยปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำทับเสลา และอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว มีเพียงพอไว้เพื่ออุปโภค บริโภคเท่านั้น แต่ไม่เพียงพอเพื่อการเกษตรตลอดฤดูแล้ง นายฐกร กาญจน์จิรเดช ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุทัยธานี เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำหลักเพื่อการเกษตรของชลประทานทั้ง 2 แห่งของจังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำทับเสลา อำเภอลานสัก และอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว อำเภอห้วยคต ล่าสุดอ่างเก็บน้ำทับเสลา มีปริมาณน้ำ 93.68 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 58.55 ของความจุอ่าง 160 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำใช้การได้ 76.68 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 53.62 ส่วนอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้วมีปริมาณน้ำ 22.36 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 51.50 ของความจุอ่าง มีน้ำใช้การได้ 20.19 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 48.96 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการปล่อยน้ำไปช่วยพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะพื้นที่ข้าวนาปี และข้าวนาปรังรอบที่ 1 ได้อย่างเพียงพอทั้งพื้นที่ในเขตและนอกเขตชลประทาน โดยไม่มีพื้นที่ใดได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามเ พื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกรมชลประทานและรัฐบาลที่ต้องใช้น้ำประหยัดและรู้คุณค่า ซึ่งปริมาณน้ำที่เหลือจะกักเก็บไว้เพื่อการอุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ รวมทั้งรักษาความมั่นคงแข็งแรงของอ่างเก็บน้ำ ดังนั้นทางโครงการชลประทานอุทัยธานี จึงได้ขอความร่วมมือจากเกษตรกรชาวนาให้ควรงดการทำนาปรังรอบ 2 หากไม่มั่นใจว่าแหล่งน้ำของตนเองไม่เพียงพอ
01 มี.ค. 2561
สำนักงานพระพุทธศาสนาจ.สุพรรณบุรี จัดโครงการปฏิบัติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี 2561
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี จัดโครงการปฏิบัติธรรม เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ประจำปี 2561 นายณัฐสิทธิ์ วงค์ตลาด ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานเปิดโครงการปฏิบัติธรรม เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2561 ที่สำนักปฏิบัตธรรม วัดไทรงามธรรมธราราม อำเภอเมืองสุพรรณบุรี โดยนายณัฐสิทธิ์ วงค์ตลาด ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า โครงการปฏิบติธรรม เป็นกิจกรรมปฏิบัติบูชาที่ดียิ่งกิจกรรมหนึ่ง เพื่อน้อมนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติ เพราะพระพุทธศาสนาจะมีความเจริญงอกงามมั่นคง และคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขนั้น พุทธศาสนิกชนต้องมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอน โดยศึกษาฝึกฝนปฏิบัติในรูปแบบของการบริหารจิตเจริญปัญญา เป็นการพัฒนาจิตใจ ที่ทำให้ผู้ฝึกปฏิบัติเกิดความสงบและพบความสุข มีความรู้ ความเข้าใจ มองเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา รู้จักรับผิดชอบดูแลตนเอง ใส่ใจ และรับผิดชอบต่อครอบครัว ตามหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์ สามารถนำหลักธรรมไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างมีความสุขตลอดไป ด้านนางสาวสวาท แซ่ตัน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมพระพุทธศาสนาและกิจการพิเศษ กล่าวว่า ในปีนี้ วันมาฆบูชาตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2561 มีเหตุอัศจรรย์สำคัญ 4 ประการ คือ เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย พระภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 และเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ในวันนี้พระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์ ซึ่งเป็นอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติ ที่นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหาโดยสรุปคือ ทำความดีให้ถึงพร้อม ละความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส
01 มี.ค. 2561
สถาบันพระปกเกล้า จัดนิทรรศการเมืองไทยใน รัชกาลที่ 7
สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ เทศบาลนครอุดรธานี จัดนิทรรศการเคลื่อนที่ "เมืองไทยในรัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามทัศนาห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง" ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม 2561 ณ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ที่พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดนิทรรศการเมืองไทยในรัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามทัศนาห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยมีนายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ คณะครูและนักเรียนจากสถาบันการศึกษาต่างๆให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ เทศบาลนครอุดรธานี จัดนิทรรศการเคลื่อนที่ "เมืองไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามทัศนาห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง" ขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี โดยสถาบันพระปกเกล้ามุ่งหวังให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยรูปแบบของนิทรรศการได้จัดวางเนื้อหาไว้ 3 ส่วน คือ เนื้อหาบทนิทรรศการหลักส่วนที่ 1 เรื่องประชาธิปกธรรมราชา เนื้อหาบทนิทรรศการหลักส่วนที่ 2 เรื่องเมืองไทยในอดีต และเนื้อหาบทนิทรรศการหลักส่วนที่ 3 มณฑลอุดร แต่กาลก่อน อุดรธานี ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย กล่าวอีกว่า ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของสถาบันพระปกเกล้า คือ การเผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 หวังเป็นอย่างยิ่งว่านิทรรศการในครั้งนี้จะเป็นส่วนเติมเต็มความรู้ ความเข้าใจ กระตุ้นจิตสำนึกรักบ้านเกิดและประเทศชาติ ให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ และเนื่องในปี 2561 เป็นปีที่สถาบันครบรอบ 20 ปี การจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ดังกล่าวนี้ จะดำเนินจัดให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องไปตามจังหวัดต่างๆ คือ จังหวัดเชียงใหม่ จันทบุรี และปัตตานี สำหรับผู้ที่สนใจในการศึกษาพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี สามารถเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการเคลื่อนที่ "เมืองไทยในรัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามทัศนาห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง" โดยจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม 2561 ณ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-2803414-4 ,042-245976 ,094-0085901หรือติดตามข้อมูลสถาบันพระปกเกล้าได้ที่ www.kpi.ac.th, www.facebook.com/kingprajadhipokmuseum
28 ก.พ. 2561
ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ จ.สระบุรี เร่งประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างและลูกจ้างรีบมา
จังหวัดสระบุรี เร่งดำเนินการให้นายจ้าง นำแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ ลาว พม่า และกัมพูชา รีบเดินทางมาจดทะเบียน ขณะนี้มียอดลงทะเบียนแล้ว 3,285 คน ซึ่งจังหวัดสระบุรีมีจำนวนแรงงานต่างด้าวประมาณ 17,000 คน ที่จะต้องมาลงทะเบียน โดยเร่งประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างและลูกจ้างรีบมาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 31 มีนาคม 2561 ที่ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี บริเวณศาลากลางจังหวัดสระบุรี ไม่เว้นวันหยุดราชการ เพราะหากมาในช่วงใกล้หมดเวลาอาจไม่ได้รับความสะดวก รวดเร็ว หากมีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งการเปิดศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนายจ้างและลูกจ้างในพื้นที่ และจะทำให้แรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมายได้รับการดูแลอย่างเป็นรูปธรรมถูกต้องตามกฎหมาย การจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการค้ามนุษย์ การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ปัญหายาเสพติด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรม หากเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาให้จดทะเบียนแล้วนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายรวมถึงคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่รับอนุญาตและบังคับใช้กฎหมายกับแรงงานต่างด้าวและผู้เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป
28 ก.พ. 2561
ปลัด จ.สมุทรสงครามเป็นประธานเปิดโครงการสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา สานสัมพ
วันนี้ (28 ก.พ. 61) ที่วัดช่องลม ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม นายประจินต์ ธารศิริสิน ปลัดจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานเปิดโครงการสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา สานสัมพันธ์ไมตรีอาเซียน ในมิติพระพุทธศาสนา ประจำปี 2561 ฝ่ายฆราวาส พระครูสมุทรกิตติวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดช่องลม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางสุชาดา ทุ่งหว้า วัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้สนับสนุนงบประมาณให้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม จัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ประจำปี 2561 ซึ่งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสคราม ร่วมกับวัดช่องลม จัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ดำเนินการระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2561 เพื่อส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวเมียนมา ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยปฏิบัติธรรมบำเพ็ญศาสนกิจ รวมถึงได้เป็นการสานสัมพันธ์ไมตรีอาเซียน โดยใช้มิติทางศาสนาเชื่อมโยง ทำให้พุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมสามารถนำแนวทางพระพุทธศาสนา ไปปฏิบัติตน ทำให้จิตใจสะอาด ผ่องใส ละเว้นความชั่ว มุ่งทำความดี เป็นคนดีมีคุณภาพ ตลอดจนให้เห็นคุณค่า วัฒนธรรมและประเพณี ที่ดีงาม เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมที่มีคุณภาพ บนฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่มีความสงบสุข โดยมีพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เข้าร่วม ปฏิบัติธรรม จำนวน 50 คน นอกจากนี้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม ได้กำหนดจัดกิจกรรมพิธีเวียนเทียน ในวันที่ 1 มีนาคม 2561 ณ วัดช่องลม ตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่เวลา 19.30 น. – 20.00 น. จึงขอเชิญชวนประชาชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติร่วมกิจกรรม ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ดังกล่าว
28 ก.พ. 2561
รายการเดินหน้าประเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรี ฉบับประชาชน วันอังคาร ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561
คณะรัฐมนตรี รับทราบความคืบหน้าการจัดสร้างอาคารที่พัก เพื่อดูแลชุมชนแฟลตดินแดง ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 20,292 ยูนิต เพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยแฟลตดินแดงเดิม จำนวน 6,546 ยูนิต และรองรับข้าราชการ ประชาชนผู้มีรายได้ปานกลาง ผู้มีรายได้น้อยและผู้เดือดร้อนจากเหตุการณ์ต่างๆ ได้อีกจำนวน 13,746 ยูนิต ใช้เวลาการก่อสร้าง 8 ปี โดยเฟสแรก จะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน ปี 2561 เฟสที่ 2 จะแล้วเสร็จกลางปี 2563 เฟสที่ 3 แล้วเสร็จปี 2565 และเฟสที่ 4 แล้วเสร็จในปี 2567 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐ สามารถกำหนดรายละเอียดใน TOR เพื่อการจัดซื้อยางพารา จากการยางแห่งประเทศไทย หรือจากองค์กร บริษัท แต่ต้องเป็นยางพาราใหม่โดยไม่ถือว่าเป็นการล็อกสเป็ก โดยปัจจุบันเหลือยางพาราในสต๊อกจำนวน 140,000 ตัน จากเดิมที่มีอยู่ 3 แสนตัน พร้อมสั่งการให้คณะกรรมการกระจายอำนาจและคณะกรรมการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปพูดคุยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการขานรับนโยบายของรัฐบาลในการจัดซื้อจัดหายางพารา คณะรัฐมนตรี มีมติประกาศเพิ่มวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ เป็นเวลา 5 วัน โดยจะเริ่มหยุดตั้งเเต่วันที่ 12 เมษายน จนถึงวันที่ 16 เมษายน เพื่อให้ประชาชนได้เดินทางกลับภูมิลำเนา พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจเเละกระตุ้นการท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการกำชับให้เจ้าหน้าที่รัฐ เตรียมความพร้อมเพื่อดูเเลรักษาความปลอดภัยเเละอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอย่างเต็มที่
28 ก.พ. 2561
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคล
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 เวลา 15.38 น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปยังพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทรงเป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในงานสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี 2561 โดยมีพระสงฆ์จาก 23 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 800 รูป และพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เข้าร่วมพิธีฯ สำหรับงานสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี 2561 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับคณะสงฆ์ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2561 เพื่อส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติตนในวิถีชีวิตและให้ทุกภาคส่วนในสังคมไทยได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศ วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวัน โดยมิได้นัดหมาย พระสงฆ์ทั้งหมดนั้น เป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง พระสงฆ์ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6 และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ทั้งนี้ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส (อะ-ทิ-กะ-มาด) คือ มีเดือน 8 สองหน ก็จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งปีนี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 1 มีนาคม 2561 ข่าวในพระราชสำนัก สทท.
28 ก.พ. 2561
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินถึงกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร แล้ว โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย รายงาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินถึงกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร แล้ว โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย รายงาน
28 ก.พ. 2561
วันสุดท้ายลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฟส 2 จังหวัดยะลา คึกคัก
วันสุดท้ายลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฟส 2 จังหวัดยะลา คึกคัก วันนี้ (28 ก.พ. 61) ที่ธนาคารออมสิน สาขายะลา มีประชาชนผู้มีรายได้น้อย ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้เดินทางมารับบัตรคิว ตรวจสอบสิทธิ์ พร้อมกรอกใบสมัครแจ้งความจำนง เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและฝึกอาชีพกันจำนวนมาก โดยเจ้าหน้าที่รับลงทะเบียนได้คอยอำนวยความสะดวก เพื่อให้เกิดความรวดเร็วกับประชาชน ซึ่งตลอดทั้งวันก็จะมีผู้มีรายได้น้อยเดินทางมาลงทะเบียนในวันสุดท้ายจำนวนมาก นอกจากนี้ นายศักทวี ทวีตา ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขายะลา ยังได้ชี้แจงกับประชาชนที่มาลงทะเบียน ถึงหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้พ้นจากความยากจนของภาครัฐ ซึ่งผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้รับเงินเดือนละ 300 บาท อยู่เดิม ที่มาแจ้งความประสงค์ที่จะพัฒนาตนเอง ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจากภาครัฐ อีก 200 บาท แต่ทั้งนี้ถ้าไม่ต้องการที่จะพัฒนาตนเอง ก็ให้แจ้งความจำนงกับทางธนาคารฯ ด้วย โดยประชาชนผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ก็จะกรอกใบสมัครแสดงความประสงค์ที่จะพัฒนาด้านอาชีพที่ตนเองถนัด เพื่อให้มีงานทำ มีรายได้ พึ่งพาตนเองได้ ส่วนผู้มีรายได้น้อยซึ่งเป็นแม่บ้าน บอกว่า ต้องการที่จะพัฒนาตนเองด้วยการฝึกอบรมอาชีพด้านใดก็ได้ เพื่อจะได้มีงานทำ มีรายได้ มาช่วยแบ่งเบาภาระให้กับครอบครัว ขณะที่ ทางธนาคารออมสิน สาขายะลา และสาขาผังเมือง 4 มีจำนวนยอดผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมทั้งสิ้น 20,480 คน โดยตั้งแต่วันที่ 1-27 กุมภาพันธ์ 2561 มีผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในพื้นที่อำเภอเมืองยะลา เข้ามาลงทะเบียนแสดงความจำนงกับทางธนาคารออมสิน สาขายะลา แล้วจำนวน 3,375 คน ทั้งนี้ การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต เฟส 2 เป็นโครงการของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้หลุดพ้นจากความยากจน โดยการสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมอาชีพในด้านต่างๆ พร้อมกับเพิ่มวงเงินให้เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคงยั่งยืนต่อไป
27 ก.พ. 2561
ขนส่งจังหวัดนครพนม มอบอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการจากการใช้รถใช้ถนน
ขนส่งจังหวัดนครพนม มอบอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการจากการใช้รถใช้ถนน นายประทีป ฤทธิกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานมอบอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการจากการใช้รถใช้ถนน ที่บริเวณแลนด์มาร์คพญาศรีสัตตนาคราช ถนนสุนทรวิจิตร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ภายใต้โครงการ Happiness for All : ความสุขทั่วไทย ส่งความปลอดภัยให้ทุกคน ปีที่ 2 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการและผู้ประมูลหมายเลขทะเบียนรถสวยร่วมประกอบพิธี อุบัติเหตุทางถนน คือหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งประเทศไทยมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากเป็นอันดับต้นๆของโลก จังหวัดนครพนม ได้ให้ความสำคัญและมีการบูรณาการทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน โดยมีการตั้งเป้าลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงร้อยละ 10 ของปีที่ผ่านมา และกรมการขนส่งทางบก ได้มีการนำหมายเลขทะเบียนรถออกประมูล เพื่อนำรายได้เข้ากองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) สำหรับเป็นทุนสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินการด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และเพื่อช่วยเหลือผู้พิการอันเนื่องมาจากการประสบอุบัติเหตุทางถนนให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังนั้น จังหวัดนครพนม โดยสำนักงานขนส่งจังหวัดนครพนม จึงได้จัดพิธีมอบอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการจากการใช้รถใช้ถนน ภายใต้โครงการ Happiness for All : ความสุขทั่วไทย ส่งความปลอดภัยให้ทุกคน ปีที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นของขวัญให้กับผู้พิการเหล่านี้ได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นการสร้างขวัญและกำลัง นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่มาร่วมงานและประชาชนที่ผ่านไปมาได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้รถใช้ถนนเป็นการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนน ตลอดจนสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้กับประชาชน ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยที่ทำให้ทุกคนรู้จักการป้องกันตนเอง รวมถึงเตรียมพร้อมรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย โดยอุปกรณ์ช่วยเหลือที่มอบให้ผู้พิการในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย รถนั่งไฟฟ้าปรับยืนได้ 3 คัน รถนั่งธรรมดา 7 คัน ขาเทียมระดับเหนือเข่า 2 ชุด และระดับใต้เข่า 2 ชุด แขนเทียมระดับใต้ศอก 1 ชุด เตียงนอน 3 ไกร 6 เตียง เบาะรองนั่งป้องกันแผลกดทับ 7 ชุด และที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ 1 ชุด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 875,000 บาท
24 ก.พ. 2561
สสจ.ยะลา จัด"มหกรรมรักษ์สุขภาพ" ส่งเสริมการออกกำลังกาย ลดเสี่ยงโรค
มหกรรมรักษ์สุขภาพ “ คนยะลาใส่ใจสุขภาพห่างไกลโรค ” สสจ.ยะลาส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ให้บุคลากรในหน่วยงาน วันนี้ (24 ก.พ 61) สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยะลา ได้งานมหกรรมรักษ์สุขภาพ“ คนยะลาใส่ใจสุขภาพห่างไกลโรค ”ประจำปี 2561 ขึ้นที่ สนามกีฬากลาง สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตยะลา จังหวัดยะลา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสาธารณสุข มีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย มีพฤติกรรมในการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพ ของร่างกายให้แข็งแรง มีจิตใจที่เข้มแข็งลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน รวมถึง ส่งเสริมให้มีน้ำใจนักกีฬา สร้างความสัมพันธ์อันดีภายในหน่วยงานและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร โดยมี นพ.ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลาคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ จาก 8 อำเภอ ใน จ.ยะลา เข้าร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก สำหรับกิจกรรม มีการรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกาย ในรูปแบบกีฬาที่เหมาะสมกับกลุ่มวัย ได้แก่ ฟุตบอลหญ้าเทียม แชร์บอล เปตอง กรีฑา และกีฬาพื้นบ้าน รวมทั้ง การจัดประกวดขบวนพาเหรดรณรงค์ด้านสุขภาพ และประกวดกองเชียร์ น.พ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมตามแนวทาง 3 อ. 2 ส. และสนับสนุนให้หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ดังนั้น เพื่อสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา จึงได้ร่วมกับเครือข่ายบริการสุขภาพและศูนย์วิชาการสังกัดสาธารณสุขจังหวัดยะลาทุกแห่ง จัดทำโครงการมหกรรมรักษ์สุขภาพ“ คนยะลาใส่ใจสุขภาพห่างไกลโรค ” ขึ้นดังกล่าว
24 ก.พ. 2561
จ.เพชรบุรีแถลงข่าวเตรียมเปิดปฏิบัติการพื้นที่สร้างสรรค์เทศกาลศิลปชุมชน “เพชรบุรี...ดีจัง ยังเป็นๆ”
ที่บริเวณลานกิจกรรมตลาดริมน้ำ อำเภอเมืองเพชรบุรี นายสมชาย บำรุงทรัพย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานการแถลงข่าว เปิดปฏิบัติการพื้นที่สร้างสรรค์ เทศกาลศิลปะชุมชน “เพชรบุรี ดีจัง ยังเป็นๆ” ภายใต้แนวความคิด ชุมชนมีวิถี เมืองมีชีวิต กิจกรรมดังกล่าวเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี...ดีจัง ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรีจัดขึ้น เปิดพื้นที่ให้ชุมชนได้เล่าเรื่อง เป็นสนามให้ทุกคนได้เรียนรู้ สร้างการเปลี่ยนแปลง สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความหมายใหม่ให้สังคม โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานราชการ องค์กร บริษัทเอกชน ชุมชนในพื้นที่จัดงานร่วมกันจัดงานในครั้งนี้ นายสมชาย บำรุงทรัพย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีประธานการแถลงข่าว ได้กล่าวด้วยความชื่นชม ถึงกิจกรรมของเด็กและเยาวชนที่มีถึง 47 เครือข่ายที่มาร่วมกันจัดกิจกรรมสร้างสรรค์นี้ จังหวัดเพชรบุรีสนับสนุนกิจกรรมดีๆ อย่างนี้เต็มที่ทางด้านเทศบาลเมืองเพชรบุรี ด้านนายพลยุทธ อังกินันทน์ รองนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี กล่าวว่า จะจัดถนนคนเดินควบคู่ไปด้วยที่บริเวณถนนริมน้ำข้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัด มีการแสดงภูมิปัญญาชาวบ้านของโรงเรียนเทศบาล และกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นรวม 8 กิจกรรม นอกจากนี้ยังจัดรถรางให้บริการนักท่องเที่ยว ส่วนนายสหรัฐ บุนนาค ผอ.กศน.เพชรบุรี แจ้งว่าร่วมจัดกิจกรรมอ่านรู้เรื่องคนเมืองเพชรและไก่เกิดก่อนไข่ หรือไข่เกิดก่อนไก่อยากรู้ว่าเป็นอย่างไรต้องมาเที่ยวชมในงาน ในส่วนของชุมชน จัดทริปเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน เช่น ชุมชนคลองกระแชง ถนนย่านเก่าเล่าวัฒนธรรม เรื่องของมิตร ชัยบัญชา บ้านเก่า ชุมชนตลาดริมน้ำเสนอเสน่ห์ตลาดริมน้ำ สตรีทอาร์ต นางสาวสุนิสา ประทุมเทือง แกนนำเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ผู้ประสานงานมหกรรมครั้งนี้ ได้กล่าวถึงความเป็นมาโดยสรุปว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง จาก 8 อำเภอ ได้ริเริ่มเป็นแกนนำชักชวนหลายองค์กรในจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกันจัดงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี...ดีจัง นำเสนอสื่อ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรีที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จากโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี...ดีจัง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด ตลอดจนยังเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไปอีกด้วย โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณหลักจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ร่วมสมทบมาทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรีมาโดยตลอด แต่ปีนี้ทาง สสส. ได้ลดงบประมาณที่เคยสนับสนุนลง ด้วยเหตุนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดมหกรรมครั้งนี้ และขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีอีกจำนวนหนึ่งด้วย ปีนี้ ใช้ชื่อมหกรรมว่า ปฏิบัติการพื้นที่สร้างสรรค์ เทศกาลศิลปะชุมชน ชุมชนมีวิถี เมืองมีชีวิต “เพชรบุรี ดีจัง ยังเป็นๆ” จะจัดในวันเสาร์ที่ 17 – อาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2561 ณ พื้นที่กลางใจเมืองเพชรบุรี ริม 2 ฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี มีกิจกรรมภาคกลางวัน และภาคค่ำเริ่ม 5 โมงเย็นเป็นต้นไป พิเศษคือ ย่านิด ภัทรจารีย์ อัยศิริ แห่งชุมชนผึ้งน้อยมหัศจรรย์ และนักเล่านิทานเคลื่อนที่ระดับโลก ครูชีวัน วิสาสะ คนเพชรบุรีที่ไปทำงานมีชื่อเสียงอยู่ในกรุงเทพจะมาร่วมจัดกิจกรรมด้วย กิจกรรมภาคกลางวัน มี 3 โปรแกรมเยือนวิถีชีวิตชุมชน ให้เลือกไปชม โดยโครงการท่องเที่ยววิถีเพชร ท่องเที่ยววิถีไทย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี ส่วนในตัวเมืองเพชรนั้นมีกิจกรรมล่องเรือเลียบเมือง ล่องเรือชมความงามวัดริมแม่น้ำเพชรบุรี 2 วัด เพลินเมืองเพชร เยือนชุมชนย่านเมืองเก่าที่ยังมีชีวิต และแม่ค้าตลาดริมน้ำเปิดคอร์สสอนทำขนมหวานเมืองเพชร ภาคกลางคืนพบกิจกรรมและการแสดงที่หลากหลายกระจายเต็มพื้นที่จัดงานติดตามรายละเอียดกิจกรรมและการแสดงได้ที่ Facebook เพชรบุรี ดีจัง และ กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี กนกวรรณ ผดุงขันธ์ ข่าว / อนนท์ ชิ้นฟัก ภาพ
24 ก.พ. 2561
จังหวัดลำพูน ขอเชิญเที่ยวงาน สืบสานตำนานงานไม้แกะสลักอำเภอแม่ทา ครั้งที่ 7
จังหวัดลำพูน ขอเชิญเที่ยวงาน สืบสานตำนานงานไม้แกะสลักอำเภอแม่ทา ประจำปี 2561 ที่ศูนย์โอทอป ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน บรรยากาศงานสืบสานตำนานงานไม้แกะสลักอำเภอแม่ทา ประจำปี 2561 ที่ ศูนย์โอทอป ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ( หมู่บ้านหนองยางฟ้า ) กลุ่มช่างฝีมือผู้ผลิตไม้แกะสลัก ของ อำเภอแม่ทา ได้นำผลงานไม้แกะสลัก ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ มาจัดแสดง จำหน่ายในงานสืบสานตำนานงานไม้แกะสลักอำเภอแม่ทา ประจำปี 2561 ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนและเทศบาลตำบลทาทุ่งหลวงร่วมกันจัดขึ้น โดยมีนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานเปิดงาน นายกำธร เนตรผาบ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นนโยบายขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมชุมชน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เพื่อให้จังหวัดลำพูนเป็น นครแห่งทุนทางวัฒนธรรมชุมชน มีการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน มีการพัฒนาต่อยอด เกิดเศรษฐกิจติดตามบนพื้นฐานของทุนทางวัฒนธรรมชุมชน งานไม้แกะสลักของอำเภอแม่ทา ถือได้ว่า เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า เป็นภูมิปัญญาที่ได้มีการสืบทอดกันมายาวนานหลายร้อยปี และควรค่าอย่างยิ่งที่จะได้สืบทอดสืบสานงานช่างแกะสลักไม้ให้ลูกหลานชาวอำเภอแม่ทา ในงาน มีผู้ประกอบการไม้แกะสลัก ในอำเภอแม่ทา มาออกซุ้ม จำหน่ายไม้แกะสลักในราคาพิเศษ มีการสาธิตภูมิปัญญาการแกะสลัก กาดหมั่วครัวฮอม บรรยากาศแบบลุ่มน้ำทา มีซุ้มนิทรรศการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ซุ้มกาชาดของอำเภอแม่ทา ภาคกลางคืนมีการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งผู้นำท้องถิ่น , การแสดงของเยาวชนในอำเภอแม่ทา และในช่วงค่ำวันที่ 25 กุมภาพันธ์จะมีการประกวดธิดาไม้แกะสลักรอบตัดสิน จึงขอเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำทา ชมสุดยอดผลงานการแกะสลักไม้อำเภอแม่ทา ในงานต้นกำเนิดไม้แกะสลัก ของดีอำเภอแม่ทา ประจำปี 2561 ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์โอทอปอำเภอแม่ทา บ้านหนองยางฟ้า ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
24 ก.พ. 2561
จ.น่าน จัดขบวนแห่งานประเพณีหกเป็ง นมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งประจำปี 2561 เพื่อสืบสานขนบธรรม
จังหวัดน่าน จัดขบวนแห่งานประเพณีหกเป็ง นมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งประจำปี 2561 เพื่อสืบสานขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ที่ถนนพุทธบูชาวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง พุทธศาสนิกชน ประชาชนชาวจังหวัดน่าน จัดขบวนแห่งานประเพณีหกเป็ง นมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ประจำปี 2561 เพื่ออนุรักษ์สืบสานงานประเพณีอันดีของท้องถิ่น ตั้งแต่โบราณกาล ที่พุทธศาสนิกชน ชาวพุทธ ในพื้นที่ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาได้จัดขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกิดปีเถาะไม่ควรพลาดที่จะมานมัสการพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีของผู้ที่เกิดปีเถาะวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดน่านทุกปีจะมีการจัดงานประเพณีหกเป็ง นมัสการพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มานมัสการองค์พระธาตุแช่แห้ง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง และพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า สำหรับในปีนี้ วันแรกของการจัดงาน คือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 15.00 น. ได้จัดให้มีขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา เพื่อบูชาองค์พระธาตุแช่แห้ง ประกอบด้วย ขบวนอัญเชิญน้ำสรงพระราชทาน ผ้าไตรพระราชทาน ผ้าทิพย์พระราชทาน ขบวนแห่ครัวทานงานประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ประจำปี 2561 และในช่วงค่ำมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมรวมถึงการ นำเสนอประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน และการแสดงศิลปวัฒนธรรม ของท้องถิ่น มาแสดงให้ชมด้วย โดยมีนายวิบูรณ์ แววบัญฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงาน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ อีกมากมายในแต่ละวัน อาทิ พิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุ สามเณร พิธีสืบชะตาหลวง ส่งเคราะห์ หลีกภัย ต่ออายุ รับโชค พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์หลวง พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนามหาชาติเวสสันดรชาดก พิธีเวียนเทียนการแสดงศิลปวัฒนธรรม และประเพณีพื้นเมืองน่าน การประกวดการตีกลองบูชา การตีกลองแอว การจุดบอกไฟดอกถวายเป็นพุทธบูชา เป็นต้น
23 ก.พ. 2561
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน เนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 1 รัฐบาลขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่าน หอบลูก จูงหลาน พาคนในครอบครัว ร่วมใจกันปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ณ วัด หรือ ศาสนสถานในชุมชน ใกล้บ้าน ด้วยการทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล เจริญจิตภาวนา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา น้อมนำจิตใจให้ระลึกถึงคำสอน “โอวาทปาฏิโมกข์” ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานไว้ให้ชาวพุทธ อันเป็น “หัวใจพระพุทธศาสนา” คือ “การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจบริสุทธิ์” เพื่อเสริมสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ตนเอง เป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว อีกทั้งจะนำพาความสงบสุข ความรุ่งเรือง มาสู่สังคมและประเทศชาติ โดยรวมในที่สุด รวมทั้งเป็นการสืบสานพระพุทธศาสนาให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ตลอดไป ทั้งนี้ ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม ที่ศาสนิกชนทุกท่านนับถือ ล้วนสอนให้เราทุกคนเป็นคนดี และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพียงแต่เราทุกคนต้องเข้าใจคำสั่งสอนของ “องค์ศาสดา” ที่เป็นแก่นสาร ที่แท้จริง แล้วนำไปสู่การประพฤติ ปฏิบัติตน ให้ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน และ การประกอบสัมมาอาชีวะด้วย การอบรมสั่งสอนลูกหลาน ตาม “ศาสตร์พระราชา” ที่ว่า “บวร คือ บ้าน - วัด - โรงเรียน” นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ที่เป็น “ไทยนิยม” ครอบครัวไม่ควรทิ้งภาระให้โรงเรียน และ ไม่ห่างไกลศาสนา อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน เด็กทุกคน ก็เปรียบเสมือน “ผ้าขาว” หากพ่อแม่ พี่น้อง ครูบาอาจารย์ เพื่อนฝูง รวมทั้งคนในสังคม ช่วยกันรังสรรค์ แต่งเติม สีสัน ให้งดงาม เยาวชนของเรา ก็จะไม่เป็นเพียงผ้าขาว แต่จะเป็น "ผลงานศิลปะ" ที่ทรงคุณค่า แต่หากผู้ใหญ่ อาจารย์ หรือคนในสังคม ใส่ “ชุดความรู้” ที่ผิดเพี้ยน บิดเบี้ยว บิดเบือน อาจด้วยไม่รู้จริง หรือนำเฉพาะหลักวิชาการมาพูด หรืออาจจะมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ หวังผลร้าย ไม่เพียงแต่จะเป็นการทำร้ายเยาวชนของชาติในอนาคต แต่จะเป็นการทำลายสังคมของเราในปัจจุบันอีกด้วย การนำหลักวิชาการ หลักสากล มาปลูกฝังเป็น "หลักคิด" ให้กับลูกหลานเราก็จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจ สามารถแนะนำให้ประยุกต์ใช้ อย่างเหมาะสมกับสังคมของเรา ตามหลัก “ไทยนิยม” การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ก็มีความแตกต่างกัน ในวิธีการปฏิบัติ แต่ “แก่นสาร” ก็ยังคงเหมือน ๆ กัน ซึ่งเป็นที่น่าตกใจ จากผลสำรวจของสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เรื่อง “ประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องการ” จากกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น ราว 1 พันตัวอย่าง ด้วยคำถามปลายเปิด สะท้อนว่า ประชาชน 36% หรือมากกว่า 1 ใน 3 ที่เป็น “ส่วนใหญ่” ไม่รู้ ไม่ทราบ แล้วก็ไม่ตอบในเรื่องของประชาธิปไตยนี้ “ส่วนที่เหลือ” ก็มีคำตอบที่แตกต่างกันตามประสบการณ์ โดยระบุว่า... ประชาธิปไตย คือ ความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ อิสระในการคิดการพูด ฟังเสียงคนข้างมาก รักสามัคคีกัน การมีส่วนร่วม บางคนนึกถึงการเลือกตั้ง บางคนบอกว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ เมื่อถามถึงความชอบต่อประชาธิปไตยแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ หรือต้องการให้เป็นแบบใด พบว่า 41% ชอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ตอนนี้ ขณะที่ 59% ต้องการประชาธิปไตยแบบสงบสุข แบบพอเพียง ไม่มีคอร์รัปชั่น และบางส่วนระบุแบบไหนไม่รู้ แต่ขอให้ดีขึ้นกว่านี้ ที่จำเป็นต้องยกขึ้นมาพูด ซึ่งเป็นผลโพลจากภายนอก ไม่ใช่ของรัฐบาล ของ คสช. เพราะอยากจะให้ทุกคนลองพิจารณาดูว่า สังคมของเรานั้นไดเให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องประชาธิปไตยกันมากพอหรือยัง ใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่เพียงโรงเรียน หรือรัฐบาล แต่ประชาธิปไตยต้องเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน ต้องอยู่ในสายเลือด ในจิตสำนึก ที่ผ่านมาพรรคการเมือง ก็ถือว่าเป็นสถาบันหลัก ที่มีหน้าที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตยด้วย และพรรคการเมืองก็ต้องไม่ถูกแทรกแซง ควบคุม ครอบงำ ชี้นำจากบุคคลอื่นใดนะครับ ที่ไม่ใช่สมาชิกพรรค ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จนขาดความอิสระ ซึ่งก็ระบุชัดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งไม่ใช่เพียง “ประชาธิปไตยไทยนิยม” แต่เป็นหลักสากล พื้นฐาน ที่กล่าวมานั้น ผมสนับสนุนให้สอนเยาวชนด้วยหลักวิชาการ ควรจะยกกรณีความสำเร็จ ความล้มเหลวของต่างประเทศ มาเปรียบเทียบ แต่ก็ไม่ได้ให้ “เดินซ้ำรอยความผิดพลาด” ให้เด็กได้คิด ให้มีพื้นฐานหลักคิดที่ถูกต้อง ว่าประเทศชาติจะสงบสันติได้อย่างไร ด้วยวิธีการอย่างไร ไม่ใช่ให้เอาเยี่ยงอย่าง การล้มล้างสถาบัน การเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยที่ประชาชนยังไม่พร้อม จนต้องบาดเจ็บ ล้มตาย ตามที่หลายประเทศล้มเหลวมาก่อน เราก็ได้รู้ เราได้เห็นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ประวัติศาสตร์เหล่านั้นซ้ำรอยอีก หรือเจ็บแล้วลืม จนต้องล้มแล้วล้มอีก ลองสอนเด็กง่าย ๆ แบบไทย ๆ แบบนี้ได้หรือไม่ หรือปูพื้นฐานให้เขาก่อน ก่อนที่จะเอาตัวอย่างจากที่อื่น ๆ มาสอนต่อ ไม่อย่างนั้นก็ไปสอนให้คิดนอกกรอบกันไปหมด กรอบที่ว่าคือ กรอบคำว่า สงบ สันติ ให้ได้เสียก่อน เช่น การเลือกตั้ง ถ้าเราเปรียบเทียบก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือก “กล้วย” กล้วยที่เปลือกยังเขียวอยู่ ก็ยังไม่สุก ไม่พร้อมจะรับประทาน คุณสมบัติก็ไม่ครบนะครับ กล้วยเปลือกสีเหลือง คือ สุกงอม กินได้ เหมาะสม แต่ถ้ากล้วยเปลือกดำแล้ว คือ ไม่ดี ไม่ควรเลือกกิน แต่ถ้าเราไปสอนโดยยกตัวอย่าง เป็นผลไม้อื่น เช่น แอปเปิ้ล ซึ่งไม่เป็นผลไม้ประจำถิ่นของเรา บางคนเกิดมาก็ยังไม่เคยเห็นต้นแอปเปิ้ลเลย อาจจะเคยทาน แต่ไม่เคยเห็นต้น เด็กไทยคงไม่อาจแยกแยะด้วยสีของเปลือกได้ว่า แอปเปิ้ลผลไหน ดี สุก กินได้ ไม่ง่ายเหมือนกล้วย “แก่นสาร” ของเรื่องนี้คือ ทำอย่างไร ให้คนไทยสามารถแยกแยะว่า ถ้ามีการเลือกตั้งแล้วควรเลือกใคร และเลือกจากอะไร... ไม่ใช่ใช้ความรัก ความชอบ ความคุ้นเคย ใช้อารมณ์ แต่ไม่พิจารณาด้วยเหตุด้วยผล เช่น ดูที่นโยบายพรรค ดูที่ประวัติการทำงาน เหล่านี้ เป็นต้น ทั้งนี้ การเข้าคูหาเลือกตั้งนั้น ต้องคำนึงถึงการเลือกนักการเมืองที่มีคุณภาพ ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย หรือทุจริตมาก่อน เลือกพรรคการเมืองที่น่าเชื่อถือ ดูจากนโยบาย จากการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่มีวาระซ่อนเร้นแอบแฝง หรือ ถูกครอบงำ ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ ผมอยากให้พี่น้องประชาชน มีความรู้ หลักคิด มีหลักการเลือก ส.ส. ที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือพรรคที่มีนโยบายในลักษณะสัญญาว่าจะให้ เพื่อดึงดูดใจ ในสิ่งที่ผิด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นนโยบายที่มีผลต่อการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินที่สิ้นเปลืองมากเกินไป ขาดวินัยการเงินการคลัง หรือ ขัดแย้งพันธกรณีต่างประเทศ เป็นต้น สำหรับเส้นทางสู่การเลือกตั้งของเรานั้น บางคนยังเข้าใจผิดว่า การไม่ไปเลือกตั้ง จะทำให้รัฐบาลหรือ คสช. อยู่ต่อไปได้ ความจริงแล้วคือ หากท่านไม่ไปเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครคนใดได้คะแนนมาก ก็ได้เป็น ส.ส. และ พรรคที่มี ส.ส. มากที่สุดก็จะโอกาสได้ตั้งรัฐบาล ปัจจุบันเราอยู่ระหว่างการออกกฎหมายลูก 4 ฉบับ ที่จำเป็นต่อการเลือกตั้ง ได้แก่ (1) กฎหมายลูกว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) (2) กฎหมายลูกว่าด้วย พรรคการเมือง (3) กฎหมายลูกว่าด้วย การเลือกตั้ง ส.ส. และ (4) กฎหมายลูกว่าด้วย การได้มาซึ่ง ส.ว. ใน 2 ฉบับท้าย กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย สนช. กรธ. และ กกต. เพื่อจะพิจารณาในทุกประเด็น ที่ยังเห็นไม่ตรงกัน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ส่วนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ภาย หลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วในอีก 90 วัน หลังจากประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา การเลือกตั้ง ก็อาจจะเกิดขึ้นในเดือนใดก็ได้ ภายใน 150 วัน หลังจากนั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทุกฝ่าย ทั้งพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และ กกต. ในระหว่างนั้น ครม. จะแจ้ง คสช. ให้เชิญ กกต. กรธ. รวมถึงทุกพรรคการเมืองมาพูดคุยหารือว่า การเลือกตั้งนั้นควรจะเกิดขึ้นเมื่อใด วัน เวลา ที่ทุกฝ่ายพร้อม ทุกฝ่ายเห็นพ้องกัน แล้วก็ถือเป็น “วาระสำคัญของชาติ” อาจจะต้องเป็นสัญญาร่วมกันว่า ทำอย่างไรเราจะเดินหน้าประเทศไป ให้เป็นไปตาม Roadmap ของประเทศ ให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ รัฐบาลและ คสช. ไม่เคยมีความคิด และไม่ไปก้าวล่วงอำนาจใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการคว่ำร่างกฎหมายต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะรัฐบาลไม่อยากให้กำหนดเวลาคลาดเคลื่อน ตามที่มีใครหลายคนพยายามบิดเบือน ให้ข้อมูลผิด ๆ ต่อสังคม เว้นอย่างเดียว คือการเกิดความวุ่นวายประชาชนขัดแย้ง ใช้กำลัง ใช้อาวุธ ใช้ความรุนแรง การหาเสียงมีปัญหา ประชาชนขัดแย้งกันอีกนะครับ เกิดความไม่สงบ เหมือนช่วงก่อนปี 57 อันนั้นก็เป็นอีกเรื่อง ทุกคนต้องช่วยกัน อย่าให้เกิดขึ้น ดังนั้น ประชาชน นักการเมือง และทุก ๆ ฝ่ายก็ต้องช่วยกัน รักษาบรรยากาศ ความมีเสถียรภาพของประเทศ ต้องไม่ขัดแย้ง ไม่แบ่งฝ่ายกันอีกต่อไป แล้วก็ต้องสัญญากันว่า หลังการเลือกตั้ง เราจะได้มีฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านที่จะต้องร่วมมือกัน ทำในสิ่งที่ประเทศชาติและประชาชนทั้งประเทศต้องการ ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ที่เป็นฐานเสียงของฝ่ายใดก็ตาม รวมทั้ง ร่มกัน หรือช่วยกันในการปฏิรูปประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่ ไปพบปะพี่น้องประชาชนในจังหวัดนครปฐม และได้เยี่ยมเยียนโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ ยินดีที่เห็นหลายต่อหลายโครงการประสบความสำเร็จ สามารถประยุกต์ใช้ โดยการนำหลักคิดทฤษฎีเกษตรต่างๆ ภายใต้ “ศาสตร์พระราชา” มาผสมผสานในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความยั่งยืน ให้กับอาชีพและรายได้ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย ต้องดูแลให้ความสำคัญด้วย แห่งแรกคือ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่เรียกว่า ศพก. ณ ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี ที่เป็นจุดเรียนรู้ด้านการเกษตร และเรียนรู้ของเกษตรกร รวมถึงประชาชนที่สนใจ ที่จะเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบ ในการทำอาชีพการเกษตร และประสบความสำเร็จ ได้มีการน้อมนำแนวทางของ “ศาสตร์พระราชา” ทั้งในเรื่องกระบวนการจัด การศัตรูพืช ชุมชน การบริหารจัดการน้ำ การปศุสัตว์ พืชผักในโรงเรือน การแปรรูปข้าว นาข้าวอินทรีย์ และการทำปุ๋ยหมัก มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตที่ได้ก็จะเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนต่างของราคาก็จะมากขึ้น ควบคู่ไปกับการน้อมนำ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ด้วย เพื่อจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ นำไปสู่กระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักคิด “เกษตรกรพัฒนาเกษตรกรด้วยกันเอง ก็จะเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน” นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมแปลงนาบัว ลุงแจ่ม สวัสดิ์โต ที่บ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล ก็เป็นหนึ่งในที่ดินพระราชทาน ตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ปี 2518 เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรไม่มีที่ทำกิน ซึ่งนับเป็นต้นแบบของการปฏิรูปที่ดินของประเทศไทย เนื่องจากราคาข้าวมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ลุงแจ่ม เปลี่ยนมาทำ “นาบัว” แทน เป็นพื้นที่ลุ่มด้วย ได้จัดระบบที่ดินเพื่อการเพาะปลูกให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นนาบัว ก็มีการแบ่งแปลง และคำนวณเวลาปลูก เพื่อให้สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดปี พื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นที่อยู่อาศัย และคันนาล้อมพื้นที่ เพื่อทำเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ โดยมีการปลูกพืชสวนครัว ไม้ดอก ไม้ผล สร้างรายได้เสริมได้ทุกวัน ซึ่งไม่เพียงแต่ลุงแจ่มเท่านั้น พี่น้องบ้านศาลาดิน ก็ได้น้อมนำแนวทางเกษตรแบบผสมผสานไปปรับใช้ อีกทั้ง ยังพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ บนพื้นฐานความต้องการ และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเช่นในปัจจุบันที่ผมกล่าวถึง มีรายได้เพียงพอ แล้วก็เหลือใช้ เก็บออมได้เป็นจำนวนมาก ผมขอขอบคุณพี่น้องประชาชน และข้าราชการในพื้นที่ที่มาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วยความภาคภูมิใจในผลงาน ด้วยความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งข้าราชการ และประชาชน แล้วภาคธุรกิจก็มาร่วมด้วย หลายบริษัทก็เข้าไปดูในเรื่องของการซื้อสินค้าเกษตรจากพี่น้องเกษตรกร ขอขอบคุณ การที่ผมลงไปนั้น ผมต้องการที่จะเข้าไปรับฟังปัญหาของพื้นที่ด้วยตัวเอง เพื่อช่วยแก้ไขให้ได้อย่างตรงจุด หลายอย่างก็ฟังจากข้าราชการ และผมก็ไปสอบถามประชาชนด้วยว่าใช่หรือไม่ จริงหรือไม่ เป็นการตรวจสอบด้วยตัวผมเอง เราจะได้แก้ไขได้ตรงจุด ซึ่งนับจากวันนี้ เราจะมีคณะทำงานตามโครงการไทยนิยมลงไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ใช่แค่รับฟังปัญหา แต่ลงไปช่วยหาแนวทางแก้ไขให้เท่าที่ทำได้ก่อน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถเข้าไปดูแลพี่น้องประชาชนได้รวดเร็วขึ้น อันนี้จริง ๆ แล้วคือหลักการในเรื่องของยุทธศาสตร์การพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 คือเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ชุดนี้ก็จะลงไปทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน คือเข้าใจพื้นที่ เข้าใจประชาชน เข้าถึงปัญหาในทุกมิติ แล้วนำไปสู่การพัฒนา อันนี้คือสิ่งที่เราคาดหวังไว้กับชุดทำงานที่ลงไปในพื้นที่ด้วย พี่น้องประชาชนที่เคารพทุกท่าน ครับ ในอนาคตการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย เราจะมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ ประเด็นต่าง ๆ เป็นกรอบภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ “ฉบับปัจจุบัน” ช่วงนี้อยู่ระหว่างการประชาสัมพันธ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม จากทุกภาคส่วน ก่อนที่คณะกรรมการที่รับผิดชอบ จะนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม แล้วเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบ และมีผลบังคับใช้ต่อไป อย่างไรก็ตาม ก็ยังสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม ที่อาจจะไม่เป็นไปตามการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ และแผนปฏิรูป ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามกลไกที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ คือการรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะชน และการพิจารณาของรัฐสภาเป็นสำคัญ ทั้งนี้ จะต้องมีการประเมินทุก ๆ 5 ปี คู่ขนานกับการปรับปรุงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 – 15 ด้วย ทุกปี คณะทำงานติดตามก็จะมีการติดตามประเมินผล แล้วก็ปรับเปลี่ยนจากสถานการณ์ภายใน และภายนอกประเทศ ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่เหมาะสม ปัจจุบัน รัฐบาลและ คสช. กำลังขับเคลื่อนด้วยโครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน” มีการจัดตั้ง “คณะทำงานบูรณาการ” หน่วยงานทุกภาคส่วน แบ่งออกเป็นระดับรัฐบาล ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ออกเยี่ยมเยียนประชาชนเป็นรายครัวเรือน หรือรายบุคคล เพื่อจะร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาความเดือดร้อน ค้นหาความต้องการของประชาชน หมู่บ้าน ชุมชน เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถ การสร้างมูลค่า หรือการลงทุน เพื่อให้ประชาชนร่วมกันคิดจะทำประโยชน์อย่างไรในพื้นที่ ให้พื้นที่นั้นมีรายได้ ทุกคนที่พอเพียง แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไรให้ได้ตรงจุดและยั่งยืน ก็เหมือนกับเราไปทำให้เกิดการระเบิดจากข้างใน บางพื้นที่อาจจะนึกอะไรไม่ออก เราก็จะมีคำแนะนำลงไปว่าในพื้นที่อื่น ๆ เขาทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง เขาอยากจะทำอย่างนั้นอย่างนี้หรือไม่ ทุกคนก็ต้องเปลี่ยนแปลง วันนี้งบประมาณ เราก็จะมีทั้งจากบนลงไปล่าง แล้วก็จากล่างขึ้นมาบน การจัดทำงบประมาณ เราต้องรับฟังความต้องการของประชาชนด้วย ไม่ใช่กำหนดจาก ท๊อปดาวน์ ลงไปอย่างเดียว เพราะฉะนั้นในการลงไปพื้นที่ครั้งนี้ก็ต้องกำหนดเองจากในพื้นที่ว่า งบประมาณที่เราตั้งกรอบไว้นั้น จะใช้ได้อย่างไร ให้เกิดผลอย่างรวดเร็ว ในลักษณะที่เป็นกลุ่ม หรือว่าเป็นที่รวมกันได้ ที่จะเกิดมูลค่าขึ้น หลายๆ คน หลายๆ ครอบครัว หากเป็นงบประมาณที่นอกเหนือไปจากนี้ งบประมาณมาก ในการทำกิจกรรมที่ไม่ตรงกับหลักการ ของโครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน” ก็จะต้องเป็นการเสนอโครงการเหล่านี้ขึ้นมาในกรอบการเสนอของงบประมาณประจำปี ให้กรรมการที่สูงกว่าขึ้นมา ได้พิจารณานำเสนอการใช้ในงบปกติ หรืองบบูรณาการ ในการใช้จ่ายงบประมาณในปีต่อไปด้วย เหมือกับไปทำ Big data ด้วย สำหรับในเรื่องของใช้จ่ายงบประมาณนั้น หลายคนอาจจะมองว่าทำไมยังทุจริตกันอยู่ จริง ๆ แล้วไม่ใช่ของง่ายเลย แต่ก็ไม่ใช่ของยากเกินไป เพราะเรามีระบบตรวจสอบ วันนี้รัฐบาลในฐานะรัฐบาล คสช. ก็มีเรื่องตรวจสอบมากมาย ทุกอย่างกำลังเข้าสู่กระบวนการ บางครั้งพูดก่อนก็ไม่ได้ ขอให้รอผลที่ออกมาแล้วกัน ส่วนใหญ่กฎหมายเราไม่ได้บกพร่อง อาจจะมีไม่ทันสมัยบ้าง อะไรทำนองนี้ ก็ต้องแก้ไขไม่ให้ล้าสมัย แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคล ประชาชนที่เกี่ยวข้อง หรืออาจะเรียกได้ว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด อาจจะมีส่วนร่วมในการทุจริต มีการสมยอม เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็เป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับจัดทำโครงการ นโยบายก็คือนโยบาย กำหนดลงไป ข้างล่างก็จัดทำโครงการขออนุมัติขึ้นมา ข้างบนก็อนุมัติโครงการลงไป ก็ระมัดระวังเต็มที่ ทีนี้เวลาไปทำ ข้างล่างก็มีการจัดทำสัญญา จัดซื้อจัดจ้าง กำหนดทีโออาร์ อีกมากมาย เพราะฉะนั้นต้องไปดูว่าจะอุดรูรั่วเหล่านี้ตรงไหน เพราะมีช่องว่างของกฎหมาย อาจจะมีการใช้อิทธิพลกล่าวอ้าง และมีการใช้กลไกบริหาร ข่มขู่ ข้าราชการให้หวาดกลัว ให้ร่วมมือกับเขา อันนี้ต้องระมัดระวัง บางครั้ง บริหารราชการทุจริตเชิงนโยบายที่มีส่วนได้เสีย ในผลประโยชน์โดยมิชอบ อันนี้ก็เกิดขึ้นมาโดยเราเห็นอยู่แล้ว บางครั้ง การตรวจสอบเข้าไม่ถึง บางทีมีข่าวออกมา ถูกแพร่หลายออกไปก็ทำให้ภาพลักษณ์เสียหายไปทั้งหมด ทั้งนี้ ขั้นตอนและการจัดทำงบประมาณถือว่าประชาชนต้องมีส่วนร่วมกำหนดเอง ต้องโปร่งใส เราต้องรักษาสิทธิของเรา อย่ายอมให้ใครโกง ไม่มีรอยรั่ว ไม่ใช่ปล่อยไปยาวนานแล้วก็บานปลายกันมา หลายเรื่องทำมานานแล้ว หลายเรื่องเพิ่งทำมาไม่กี่ปีนี้เอง นโยบายดีหมด แต่เวลาไปทำแล้วมีคนโกงไง แล้วเราปล่อยให้โกงอยู่สองปีสามปี ถึงมีเรื่องขึ้นมาแล้วไม่ได้ ต้องไม่เห็นด้วยตั้งแต่ตอนแรก เช่น ไปให้ใครมาเซ็นชื่อ แล้วไม่ได้รับเงินตามกำหนด ตามจำนวนที่ว่า ก็ต้องเลิกตั้งแต่ตอนนั้นเลย หรือมีการล่ารายชื่อมาแล้วไปขึ้นเงิน โดยที่ตัวเองไม่รู้ว่าเขาเอาไปทำอะไร นี่คือสิ่งที่เราต้องรู้กฎหมาย ประชาชนทุกคนต้องเรียนรู้ตรงนี้ ไม่อย่างนั้นนปัญหาก็บานปลายขึ้นมา ต้องนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบที่ยืดเยื้อยาวนาน ไปเร่งมากก็ไม่ได้ เพราะหลักฐานต้องใช้มาก เราต้องมีความร่วมมือระหว่างกันให้มากขึ้นในเรื่องของการปราบปรามทุจริต ต้องไปแยกแยะให้ออก อะไรคือการทุจริต ทุจริตนั้นจะลงโทษกันด้วยอะไร ทางวินัยก็มี โทษทางกฎหมายคดีอาญา คดีแพ่ง มีหมด เพียงแต่ต้องเข้าใจว่าการดำเนินการเป็นอย่างไร วันนี้เราคิดว่า จะเปิดให้มีช่องทางร้องทุกข์กล่าวโทษ เช่น หาหลักฐานในการร้องทุกข์กล่าวโทษนำเข้ากระบวนการ โดยไม่ต้องกลัวผู้กระทำผิด รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลความลับ ความปลอดภัยให้ทุกคนกรุณาอย่านิ่งดูดาย อย่ากลัว ต้องช่วยกันต่อต้าน อย่าเพียงวิจารณ์ ต้องดูว่าเขาทำโปร่งใสหรือไม่ ตัวเองได้ประโยชน์อย่างไร อย่าให้ใครเอาเราไปหาประโยชน์ต่อไปอีก ต้องแก้ไข ทั้งระบบ รัฐบาลนี้ก็มีหลายมาตรการ มีกฎหมาย ทั้งป้องกันและปราบปราม แต่ปัญหาส่วนใหญ่มักอยู่ที่ตัวบุคคล คนเลว ๆ ก็ยังแทรกซึมอยู่ ไม่ใช่ระบบเสียหาย หรือรัฐบาลนี้ทำเสียหาย รัฐบาลนี้ได้ทำหลายอย่างให้เกิดความชัดเจนเกิดขึ้น อะไรที่ไม่ชัดเจนก็ทำต่อไป ไม่ใช่แย่ไปทั้งหมด คงไม่ใช่ เพราะรัฐบาลนี้ คดีความเหล่านี้ได้ออกมาเป็นจำนวนมาก เราไม่ต้องการปกป้องคนทุจริต โดยเฉพาะคนทุจริตที่หลบหนี องค์กรตรวจสอบการทุจริตก็มีมาก ทั้ง สตง. องค์กรอิสระ ภาคเอกชน ฯลฯ ก็ต้องปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันด้วย หลายอย่างเป็นเรื่องของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การปฏิรูปประเทศ ฉะนั้นหลักการทางกฎหมายก็ต้องไปดูว่าเป็นอย่างไร ซึ่งก็เกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ช่วยกันแก้ ทั้งระบบเด็ก ๆ เยาวชน คนรุ่นใหม่ต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ให้มากเพราะเป็นการบ่อนทำลายประเทศ อนาคตของท่าน ของเด็ก ๆ เหล่านั้นที่จะโตขึ้นมาในวันหน้า หากใช้งบประมาณสิ้นเปลือง เกิดผลสัมฤทธิ์น้อย ไม่เป็นผลสัมฤทธิ์ที่ยังยืน เพราะการทำงานโดยไม่มีธรรมาภิบาล เหล่านี้คือปัญหาทั้งสิ้น วันนี้ ผมได้สั่งการให้เพิ่มช่องทางสื่อสารโดยเปิด Website และ Facebook ชื่อ “สายตรง ไทยนิยม” เพื่อรับคำร้องเรียน ร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะ แสดงความคิดเห็น และใช้ในการกระจายข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะประโยชน์ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเป็นสำคัญเสริมช่องทางเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งสายด่วน 1111 และ 1567 ซึ่งโทรฟรีทั่วไทย ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น ส่วนการตอบคำถามนายกรัฐมนตรี 10 ข้อ ที่เราทำมาโดยตลอดนั้น ขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วม เราได้รับสรุปผลรายงานมา 15 ครั้ง แล้วต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชน“เกือบ 1 ล้าน 5 แสนคน” ที่ออกมาแสดงความคิดเห็น ผมถือว่าเป็นความสมัครใจ เพราะไม่ได้ไปกะเกณฑ์ใครมา ไม่รู้จักกัน เขามาตอบคำถามในขณะที่เห็นการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจจะต่างจากการสำรวจโพลต่าง ๆ ที่อาจไม่ตั้งใจ ไม่สมัครใจ หรือมีความรู้พอเพียงที่จะตอบโพลล์เหล่านั้น อันนี้ไม่ใช่โพลล์แบบนั้น มาตอบคำถามด้วยตัวเอง ยืนยันตัวตน ผู้ที่มาตอบคำถามผมนั้น ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องเกษตรกร อายุช่วงวัยแรงงาน 31 - 60 ปีข้อสำคัญคือการศึกษาระดับประถมศึกษาเท่านั้น โดยข้อมูลบางส่วนที่น่าสนใจ อย่างมีนัยสำคัญ เช่น ต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง วันนี้เราก็ทำมาอยู่แล้ว 3- 4 ปีที่ผ่านมา ปฏิรูปในเชิงโครงสร้าง ปฏิรูปองค์กร ปฏิรูปวิธีการทำงาน ปฏิรูปกฎหมาย จะได้เตรียมความพร้อมสู่ระยะที่สองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และคาดหวังว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า จะได้รัฐบาลที่มี ธรรมาภิบาล ซึ่งผมถือว่าเป็น “ภารกิจสำคัญ” ของ คสช. ตั้งแต่ต้น ที่จะต้องทำให้สำเร็จในระยะที่ 1 ที่เราอยู่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเห็นในเรื่องของนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือมีความผิด ส่อทุจริตนั้น คำตอบที่ได้จากพี่น้องประชาชน คือต้องการให้ได้รับโทษที่หนักที่สุด โดยการตัดสิทธิ์ทางการเมือง การติดตามเอาผิดจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้สนับสนุน รวมไปถึง การยุบพรรคด้วย ซึ่งผมเห็นว่าบางอย่างก็แรงไปหรือไม่ ไม่ทราบ แต่นั่นเป็นความเห็นประชาชนเขา ผมก็เห็นว่าต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ตามหลักฐาน ตามกฎหมายที่มีอยู่ ส่วนที่พี่น้องประชาชนคาดหวังให้ คสช. แก้ปัญหาต่าง ๆ ต่อไป และขอให้ผมนิ่ง อารมณ์ดี ยิ้มๆ ไม่หงุดหงิด ผมก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ ผมมีเรื่องที่น่ายินดี สำหรับสัปดาห์นี้ 2 เรื่องที่จะนำมาเล่าให้ฟัง ช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่า เราจะทำอย่างไรต่อไป เพื่อให้สิ่งที่ดี ๆ อยู่แล้ว ดียิ่งขึ้น และสิ่งที่ยังบกพร่องอยู่ ก็ควรจะได้ร่วมมือ ร่วมใจกัน อย่าเอาแต่ติติงกันอย่างเดียว ต้องช่วยกันแก้ไข หาวิธีที่จะปฏิบัติให้ได้ วันนี้สิ่งที่เราทำได้ น่าจะดีขึ้น อาจจะหลายคนมองว่าไม่ดีก็แล้วแต่ วันนี้ภาพลักษณ์ของบ้านเมืองเรา ในสายตาประชาคมโลก เรื่องที่ 1 รายงานผลการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (CPI) ประจำปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยของเรา ได้คะแนนดีขึ้นเล็กน้อย คำว่า “ดีขึ้นเล็กน้อย” เพราะยาก เพราะมีหลายมิติด้วยกัน เมื่อเทียบกับภาพรวมทั่วโลก ส่วนใหญ่ “คงที่” โดยเราได้ 37 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 96 จากประเทศที่เข้าร่วมประเมินทั้งหมด 180 ประเทศ ก็อยู่ประมาณกลาง ๆ เทียบกับปีก่อนหน้านี้ เราได้ 35 คะแนน อยู่ในลาดับที่ 101 จาก 176 ประเทศที่เข้าร่วมประเมิน ทั้งนี้ การประเมินของ CPI ได้รับความน่าเชื่อถือจากประชาคมโลก เนื่องจากมีการประเมินจากหลายแหล่ง หลากวิธีการ ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์ความเสี่ยง นักวิชาการ รวมทั้งนักธุรกิจ ทั้งในประเทศและทั่วโลก ที่สะท้อนข้อเท็จจริง ให้เห็นในประเด็นสำคัญ อาทิ (1) การรับรู้ถึงความมุ่งมั่น จริงจัง ในการดำเนินการของประเทศไทย เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ การต่อต้านการทุจริตติดสินบน อย่างแข็งขันโดยเฉพาะการเร่งรัดดำเนินการตามประกาศคณะรัฐมนตรี ให้ปี พ.ศ.2560 เป็น “ปีแห่งการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ ต่อต้านการรับสินบนทุกรูปแบบ” เป็นต้น (2) ภาพลักษณ์การรับรู้ระบบราชการไทย สังคมไทยทั้งในสายตาประชาชนไทย นักลงทุน ตลอดจนนักวิชาการนานาชาติ ว่าสังคมไทย ยังคงมีกับดักในเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบและ มีการติดสินบนเจ้าหน้าที่ ซึ่งแม้ว่าจะ “ดีขึ้นเล็กน้อย” จากปีที่แล้วมีกติกาเพิ่มขึ้นหลายอย่าง เช่น เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่เราก็ทำคะแนนได้สูงขึ้นอยากให้มองตรงนี้ หากเราเลือกตั้ง ในรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลจริงย่อมจะต้องดีขึ้นกว่านี้อีกในระยะต่อไป เราต้องการยกระดับค่าดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น ในส่วนนี้ให้มีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นอีก อย่างมีนัยสำคัญ จำเป็นต้องมีแนวร่วมทุกภาคส่วน อย่าติกันอย่างเดียว ต้องติเพื่อก่อ อย่าสร้างความขัดแย้ง และรู้ถึงกลไกกฎหมายกระบวนการตรวจสอบให้ชัดเจนไม่งั้นมันก็ตีกันไปมาหมด ทั้งนี้ เพื่อจะเพิ่มกลไกให้อำนาจบทบาทให้องค์กรอิสระภาคส่วนต่าง ๆ นอกภาครัฐ ให้สูงขึ้น ปัจจุบันในด้านจิตสานึกของประชาชนไทยในเรื่องการต่อต้านการทุจริตนั้น มีระดับสูงขึ้นมากแล้ว สำหรับในปีนี้ นับว่าเริ่มต้นเป็นทิศทางการพัฒนาที่ดี โดย “จิตสำนึก” นั้น จะเป็นเหมือน “ภูมิคุ้มกัน” ป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต ตั้งแต่ต้นทาง ช่วยให้มาตรการปราบปราม ที่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ลดความสำคัญลง ซึ่งเราก็เดินทางถูกทางแล้ว ผมขอให้พี่น้องประชาชนทุกคน ร่วมมือกัน “เป็นหู เป็นตา” อย่านิ่งเฉยต่อการกระทำผิด เรื่องที่ 2 คือ Bloomberg มีรายงานว่า ประเทศไทย ยังคงครอง “แชมป์” อันดับ 1 ประเทศที่มีความทุกข์ยากด้านเศรษฐกิจน้อยที่สุดในโลก ปี 2017-2018 เป็นปีที่ 4 ต่อเนื่อง เราก็ต้องมาดูในเรื่องของการกระจายรายได้ การสร้างห่วงโซ่มูลค่า ไทยนิยมกำลังลงไป ทำอย่างไรจะถึงข้างล่าง ทำอย่างไรผู้ผลิตถึงจะได้ เช่น เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นแรงงานเหล่านี้ ทำอย่างไรถึงจะมีรายได้มากขึ้น หลายอย่าง อาชีพเสริม การปรับเปลี่ยนอาชีพ การรวมกลุ่ม การให้ความรู้ การให้เงินทุน แต่เราไม่สามารถจะให้ทุกครอบครัวได้ ต้องสร้างให้เกิดขึ้นข้างล่างในลักษณะที่เป็นการบูรณาการขึ้นมา ถึงจะทำงานได้ งบประมาณมีจำกัด ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน ข้าราชการดีๆ ก็มีอยู่มาก ประชาชนที่ร่วมมือก็มีมาก สุดท้ายนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประกาศตัวเลข การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยว่า ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2560 “ขยายตัว” จากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนหน้าที่ ร้อยละ 4.0 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง ในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับความต้องการจากต่างประเทศที่ดีขึ้น และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีน รวมถึงการบริโภคในภาคเอกชนที่เร่งขึ้นจากรายได้นอกภาคเกษตร และความเชื่อมั่นที่เริ่มดีขึ้น สำหรับภาคการผลิตเราเห็นว่าภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในหมวดการผลิตเพื่อการส่งออก สอดคล้องไปกับการส่งออก ที่ดีขึ้นต่อเนื่องอีกด้านที่ขยายตัวได้ดี คือ โรงแรมและภัตตาคาร จากนักท่องเที่ยว ทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็เลยได้ส่งผลดีไปยัง ภาคขนส่งและการคมนาคม รวมถึง การค้าส่งและค้าปลีกด้วย อย่างไรก็ดี ภาคเกษตรในไตรมาสสุดท้าย ต้องประสบปัญหาฝนตกชุก และอุทกภัย ในบางพื้นที่ทำให้ในภาพรวม ยังไม่ดีขึ้นมาก เทียบกับภาคอื่น ๆ ในช่วงนั้น แต่ในปีนี้ การบริหารจัดการน้ำที่รัฐบาลเร่งดำเนินการมาตลอด คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาในช่วงต่อไปของพี่น้องเกษตรกรได้ ตรงไหนยังไม่ดี ก็ต้องช่วยกันยกระดับแก้ไขเพิ่มเติม หากมองภาพรวมทั้งปี 2560 เศรษฐกิจไทยขยายตัว จากปี 2559 ที่ร้อยละ 3.9 หลัก ๆ มาจากการส่งออกสินค้า และภาคการท่องเที่ยว ที่ปรับดีขึ้น สำหรับการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ก็ถือว่าฟื้นตัว ต่อเนื่อง ในภาพรวม และในปี 2561 นี้ ทางสภาพัฒน์ฯ มองว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ดี ต่อเนื่อง เพราะมีปัจจัยบวก จากการเติบโตต่อเนื่อง ของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน ที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจาก โครงการร่วมทุนของรัฐบาลและเอกชนที่จะทยอยมีมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนใน EEC ที่จะมีความชัดเจนมากขึ้น กระตุ้นการลงทุนด้านการก่อสร้าง นอกจากนี้ การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐเองก็คาดว่าจะเร่งขึ้นได้ โดยได้มีการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมวงเงิน 150,000 ล้านบาท รวมทั้งผมได้เร่งให้ส่วนราชการดำเนินการเบิกจ่ายและก่อหนี้ผูกพัน ให้ได้ตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การใช้จ่ายของภาครัฐ เข้าไปสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น ในปี 2561 นี้รัฐบาลมีแนวทางที่จะบริหารเศรษฐกิจ 4 ด้านเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับพี่น้องประชาชน ได้แก่ (1) การสนับสนุนการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตร ให้สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทั้งภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ผ่านการสร้างความเชื่อมั่น และการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้รายได้กระจายลงไปในฐานรากได้มากขึ้น ในระยะต่อไป (2) การขับเคลื่อนการลงทุนภาครัฐ ทั้งในเรื่องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน และ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ในระยะต่อไป (3) การดูแลพี่น้องเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย รวมถึง SMEs ผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับความผันผวนของดินฟ้าอากาศและ การจัดการกับความเสี่ยง ที่ผลผลิตจะเสียหาย การขับเคลื่อนนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ รวมถึงปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ และ ดูแลการเข้าถึงสินเชื่อการสนับสนุนเงินทุนให้กับเกษตรกร ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงธุรกิจ SMEs (4) การเตรียมพร้อมด้านแรงงานและ ยกระดับคุณภาพแรงงาน ให้เพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคการผลิตและการลงทุน มาตรการเหล่านี้ นอกจากจะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยเติบโต ได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนแล้ว ยังจะช่วยเป็นรากฐานที่เข้มแข็งในการสนับสนุนการปฏิรูปประเทศตามแผนงาน และแผนยุทธศาสตร์ชาติในระยะต่อไปด้วย ปัญหาสำคัญ คือ การจราจร ความปลอดภัย ในการใช้รถใช้ถนน คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมอาชีพรายได้ที่พอเพียงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาและอื่น ๆ อีกมากมาย อันนี้ก็อยู่ในแผนปฏิรูป และยุทธศาสตร์ชาติด้วย ที่เราต้องร่วมมือกันแก้ไข และใช้การปฏิบัติการแบบไทยนิยม คนไทยต้องร่วมมือกันแบบพอดี เพื่อแผ่นดิน เพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว เพื่อประเทศชาติ ให้เกิดความร่วมมือในระดับพื้นที่แบบประชารัฐให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้จงได้ ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน ทุกครอบครัว” มีความสุข พาลูกหลานไปทำบุญ เข้าวัด ฟังเทศน์ เวียนเทียน สนทนาธรรม ในวันมาฆบูชาด้วย จิตใจจะได้ผ่องใสกันทุกคน และว่าง ๆ ก็ไปเที่ยวงานอุ่นไอรักกัน สวัสดีครับ
22 ก.พ. 2561
จ.ชัยนาท เปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ และงานรณรงค์การผลิตพืชไร่คุณภาพดี
จังหวัดชัยนาท เปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ และงานรณรงค์การผลิตพืชไร่คุณภาพดี วันนี้ (22 ก.พ. 61) นายชวพล พันธุมรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานพิธีเปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ และงานรณรงค์การผลิตพืชไร่คุณภาพดี ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเด่นใหญ่ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท นางสาวรัชนี เพชรสม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า การจัดตั้งคลินิกเกษตรเคลื่อนที่เป็นวิธีการดำเนินงานอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้การบริหารทางวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บรรลุผลสำเร็จตามภารกิจที่รับผิดชอบ โดยเป็นการปฏิบัติงานในเชิงรุกทำให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายที่มีปัญหาให้ได้รับการบริการทางการเกษตรอย่างรวดเร็วทั่วถึง และครบถ้วน เช่น การวิเคราะห์ดิน การวินิจฉัยโรค พืชโรคสัตว์ โรคสัตว์น้ำ และการให้วัคซีนป้องกันโรค รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี และฝึกอบรมความรู้การเกษตรเสริมเพิ่มเติมควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเป็นการดำเนินการในลักษณะบูรณาการ การทำงานระหว่างนักวิชาการเกษตร ของหน่วยงานต่างๆ ในแต่ละสาขา ทางด้านพืชสัตว์ ประมงดิน และน้ำ พร้อมด้วยอุปกรณ์ และเครื่องมือทางวิชาการด้านต่างๆ มาให้บริการในคลินิกเกษตร โดยสามารถเคลื่อนที่เข้าไปได้ถึงในระดับตำบล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้ารับบริการทางเกษตรได้อย่างถูกต้องครบถ้วนทุกด้านในคราวเดียวกัน สำหรับการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในวันนี้ ได้ร่วมบูรณาการจัดงานรณรงค์การผลิตไร่คุณภาพดี ( มันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน ) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตการเพิ่มมูลค่า และการตลาดสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยจังหวัดชัยนาทมีพื้นที่เกษตรกรรม 1,266,170 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 81 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด โดยพื้นที่ทางการเกษตรของจังหวัดชัยนาทแยกเป็นพื้นที่สำหรับการปลูกข้าวร้อยละ 69 รองลงมาคือ พื้นที่สำหรับปลูกพืชไร่ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 303,799 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24 แบ่งเป็นมันสำปะหลังประมาณ 108,809 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 3,250 กิโลกรัม/ไร่ และอ้อยโรงงาน 275,429 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 9 ตัน/ไร่ ซึ่งพบว่าผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ยังต่ำอยู่ สาเหตุจากกระบวนการผลิตยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรทั้งคุณภาพดิน น้ำ และพันธุ์พืชที่ใช้ จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในการจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ และงานรณรงค์การผลิตพืชไร่คุณภาพดีครั้งนี้ มีเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ในอำเภอหันคา อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง และอำเภอวัดสิงห์ เข้าร่วมงานประมาณ 500 คน มีหน่วยงานให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ จำนวน 24 หน่วยงาน และหน่วยงานให้ความรู้เกษตรกรด้านการผลิตพืชไร่ จำนวน 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านวิศวกรรมเกษตรจังหวัดชัยนาท, ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดชัยนาท, สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท, ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, และศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
22 ก.พ. 2561
จ.อุทัยธานี เกิดพายุลมฝนพัดกระหน่ำพื้นที่ 3 ตำบลของ อ.ห้วยคต บ้านเรือนประชาชนเสียหาย ต้นไม้หักโค่น
จ.อุทัยธานี เกิดพายุลมฝนพัดกระหน่ำพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอห้วยคต บ้านเรือนประชาชนเสียหาย ต้นไม้หักโค่น เสาไฟฟ้าล้มไฟฟ้าดับทั้งหมู่บ้าน พืชสวนไร่นา ได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ที่จังหวัดอุทัยธานี เช้าวันนี้ ( 22 ก.พ.61) ) เวลา 07.30 น.พันโท ชนกานต์ แสงศร ผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 4 จัดส่งกำลังทหารในสังกัดประจำพื้นที่อำเภอห้วยคต ร่วมกับฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งไปสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนประชาชน หลังเกิดพายุลมฝนพัดกระหน่ำอย่างรุนแรงเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ( 21 ก.พ. 61 ) ส่งผลให้บ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียจำนวนมาก แรงลมยังได้หอบหลังคาปลิวไปไกล โดยพื้นที่ๆได้รับความเสียประกอบด้วย หมู่ที่ 12 บ้านชุมทอง ตำบลสุขฤทัย หมู่ที่ 6 บ้านบางกุ้ง ตำบลห้วยคต และหมู่ที่ 2 บ้านสมอทอง ตำบลทองหลาง มีบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 18 หลังคาเรือน หลายหลังบ้านเรือนถูกพายุถล่มซ้ำจากปีที่ผ่านมาในช่วงเดือนเดียวกัน ส่วนความเสียหายอื่นมีต้นไม้หักโค่นล้มขวางถนนภายในหมู่บ้าน เสาไฟฟ้าถูกแรงพัดโค่นทำไฟฟ้าดับไปทั้งหมู่บ้าน นอกจากนี้ พืชไร่อย่างไร่อ้อยที่อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวส่งโรงงานน้ำตาล ก็ถูกแรงลมพัดถล่มหักโค่นเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหาย และเร่งให้การช่วยเหลือ ตามระเบียบราชการ อย่างเร่งด่วน แล้ว
22 ก.พ. 2561
ผู้ว่าฯ ลำพูน นำคณะทำงาน และวิทยากรโครงการไทยนิยม ยั่งยืน สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ ต.น้ำด
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นำคณะทำงานทีมวิทยากรโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ชี้แจง แนวทางการดำเนินงาน โดยมีประชาชน ชุมชนบ้านห้วยอ้อ หมู่2 ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง ร่วมรับฟังและร่วมเสนอแนะแนวทางดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา ให้ตรงตามความต้องการของประชาชน การลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของจังหวัดลำพูนได้เริ่มขึ้นแล้วในพื้นที่ 51 ตำบล ทั้ง 8 อำเภอ โดยเมื่อช่วงค่ำวันที่ (21 ก.พ. 61) ที่วัดห้วยอ้อ ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ได้พบปะกับประชาชนชาวตำบลน้ำดิบเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการการดำเนินโครงการฯ ซึ่งรัฐบาลมีความต้องการให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพ มีรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ประชาชนมีจิตสำนึกรักสามัคคี โดยมีนายยงยุทธ สุขศิริ นายอำเภอป่าซาง , นางณัฎฐิยาภรณ์ ศรีสุบรรณ์ พัฒนาการจังหวัดลำพูน , ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน , นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำดิบ , หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชน 250 คนร่วมเวทีการขับเคลื่อน จากนั้นทีมวิทยากรของอำเภอป่าซางได้พบปะกับประชาชนเพื่อรับทราบความต้องการของประชาชน และปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ในด้านต่างๆ ซึ่งชาวตำบลน้ำดิบ มีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหา ราคาพืชผลการเกษตร อาทิ ข้าว และลำไย , ปัญหาด้านแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร ,ปัญหากระแสไฟฟ้าในครัวเรือนตกขาดความเสถียร และต้องการให้มีพัฒนาถนนในหมู่บ้านที่ยังเป็นทางลูกรัง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการสัญจร ซึ่งทีมขับเคลื่อนฯ ระดับตำบล จะวิเคราะห์สภาพปัญหาความเดือดร้อน จัดทำแผนงาน โครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม คนไทยไม่ทิ้งกัน และชุมชนอยู่ดีมีสุข
21 ก.พ. 2561
จ.นครศรีธรรมราช ประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบแผนที่ทางสังคมเพื่อการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ Social Map
จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบแผนที่ทางสังคมเพื่อการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ Social Map ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบแผนที่ทางสังคมเพื่อการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ Social Map จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโครงการที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แจ้งให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารมาเป็นพื้นฐานการพัฒนาประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องสร้างฐานข้อมูลขนาดมหาศาล Big Data โดยการบูรณาการด้านข้อมูล ดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลทางสังคมให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงกลุ่มเป้าหมาย ตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และพัฒนาเป็นระบบข้อมูลแผนที่ทางสังคมเพื่อรวบรวมการจัดเก็บข้อมูลผู้ประสบปัญหาทางสังคม และข้อมูลผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือให้ครอบคลุมทุกเป้าหมายในทุกพื้นที่ ซึ่งในการจัดเก็บข้อมูล นายณรงค์ คงคำ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ฝากย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการในเรื่องการจัดเก็บข้อมูล Social Map ให้ถือเป็นนโยบายเร่งด่วน ที่จะต้องเร่งดำเนินการ ในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการตามนโยบายกระทรวงดังกล่าว ทั้งการจัดทำหนังสือประสานขอความร่วมมือไปยังในอำเภอทุกอำเภอ พร้อมแต่งตั้งคณะทำงาน ซักซ้อมแนวทางความเข้าใจ มอบหมายภารกิจ ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ลงพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ในแต่ละอำเภอโดยแบ่งจัดเก็บข้อมูล โดยในที่ประชุมวันนี้เจ้าหน้าที่แต่ละชุดที่ลงพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้รายงานความก้าวหน้าในการจัดเก็บข้อมูล พร้อมระบุถึงปัญหาอุปสรรคจากการปฏิบัติงานบางพื้นที่ ยังคงไม่ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการให้ข้อมูล
21 ก.พ. 2561
ผู้ว่าฯ อ่างทอง เปิดเวทีประชาคมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการ ” ไทยนิยม ยั่งยืน”
วันนี้ (21 ก.พ.61) ที่บริเวณหาดเจ้าพระยา หมู่ที่ 1 ตำบลราชสถิต อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เปิดเวทีประชาคม การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการ ” ไทยนิยม ยั่งยืน” พร้อมกับจังหวัดอื่นทั่วประเทศ ซึ่งจังหวัดอ่างทอง มีทีมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมระดับตำบล ทั้งหมด 73 ทีม ซึ่งแต่ละทีมจะลงพื้นที่จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมในระดับตำบล หมู่บ้าน โดยจะใช้เวลาในการลงพื้นที่ จำนวน 4 ครั้ง มีเป้าหมายหมู่บ้านชุมชนในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 513 หมู่บ้านกับอีก 22 ชุมชน ในการช่วยพัฒนาคนในพื้นที่ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน จำนวน 46,000 คน ให้เกิดความอยู่ดีมีสุขของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป
21 ก.พ. 2561
จัดหางาน จ.สุพรรณบุรี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ ประจำปีงบประมาณ 2561
สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุพรรณบุรี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ ประจำปีงบประมาณ 2561 ที่ห้องประชุมโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมีครูแนะแนว ผู้สอน จากสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 84 คน เข้าร่วมสัมมนา นางจงกล สุวรรณานนท์ จัดหางานจังหวัดสุพรรณบุรี ในนามผู้จัดสัมมนา กล่าวว่า สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุพรรณบุรี มีภารกิจหลักในด้านการจัดหางานและส่งเสริมการมีงานทำของประชาชน โดยมีแนวทางในการดำเนินงานเพื่อป้องกันปัญหาการว่างงานและการขาดแคลนแรงงานในอนาคต คือ การส่งเสริมให้สถานศึกษาสร้างบุคลากร มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งครูแนะแนวในสถานศึกษาเป็นพลังสำคัญ ในการผลักดันให้การดำเนินงานดังกล่าว เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล การจัดสัมมนาครูแนะแนวและผู้ปฏิบัติงานด้านการแนะแนวอาชีพในสถานศึกษาในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือและขยายเครือข่ายในการดำเนินงานด้านการแนะแนวอาชีพ พัฒนาองค์ความรู้ และการใช้ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานเป็นแนวทางในการแนะแนวอาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา ที่จะเลือกอาชีพให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และสอดคล้องกับตลาดแรงงานต่อไป สำหรับการจัดสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากหม่อมหลวงชวียส เกษมสันต์ มาเป็นวิทยากร บรรยายในหัวข้อเรื่อง “ กลวิธี เทคนิค แนะแนวอาชีพอย่างไร ให้เด็กประสบความสำเร็จ “
21 ก.พ. 2561
จ.ยะลา คิกออฟพร้อมกัน ตำบลละ 1 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ "ไทยนิยม ยั่งยืน"
จังหวัดยะลา คิกออฟพร้อมกันตำบลละ 1 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนโครงการพร้อมสังเกตการณ์ วันนี้ (21 ก.พ. 61) ที่มัสยิดบ้านกือแล หมู่ที่ 3 ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เดินทางลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งร่วมสังเกตุการณ์ การดำเนินโครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ของรัฐบาล ซึ่งในวันนี้ได้คิกออฟพร้อมกัน ตำบลละ 1 หมู่บ้าน ทั่วทั้งประเทศ สำหรับกิจกรรมการจัดประชุมเวทีประชาคมเวที ครั้งที่ 1 ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นการถอดประเด็นความต้องการของประชาชนชาวยะลา 6 ด้าน จากสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใต้โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" มีชาวบ้านที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 300 คน ร่วมเปิดเวทีแสดงความคิดเห็น ปัญหาความต้องพื้นฐานรากในพื้นที่ โดยมีหน่วยงานในพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงานคลังจังหวัดยะลา ประมงจังหวัดยะลา ธนาคาร ธ.ก.ส. ปลัดอำเภอประจำตำบลรามัน เกษตรตำบล พัฒนากรประจำอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ทหาร ตำรวจ และครู ซึ่งความต้องการส่วนใหญ่ของประชาชนในพื้นที่ ขั้นแรก คือ ด้านการเกษตร , ด้านโครงสร้างพื้นฐาน , ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , ด้านส่งเสริมอาชีพ , ด้านสาธารณสุข และด้านความมั่นคง โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" เป็นการบูรณาการงานของรัฐบาลและทุกกระทรวง ทั้งงานระดับนโยบาย งานตามภารกิจ และงานเชิงพื้นที่ เป้าหมายสำคัญเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและเป็นภาระของประชาชนในพื้นที่ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูป และปัญหาในเชิงพื้นที่ โดยเป็นการต่อยอดขยายผลจาก "แนวคิดประชารัฐ" และการมีส่วนร่วมเกิดเป็น 3 ประสาน "ราษฎร์ รัฐ และเอกชน" เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างการพัฒนาได้ตรงกับความต้องการของแต่ละพื้นที่อย่างยั่งยืน สำหรับ Road Map แผนการลงพื้นที่เพื่อจัดเวที "ไทยนิยม ยั่งยืน" จำนวน 4 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 เวทีปรับทุกข์ ผูกมิตร เพื่อเป็นการเยี่ยมเยียนประชาชนรับทราบความทุกข์ยากและปัญหา รวมถึงค้นหาความต้องการของประชาชน , ครั้งที่ 2 สร้างความตื่นรู้ในสิทธิ หน้าที่และการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจการอยู่ร่วมกันในสังคม สร้างความสามัคคีปรองดอง ตามหลักประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข , ครั้งที่ 3 ปรับเปลี่ยนความคิด ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และครั้งที่ 4 สร้างการรับรู้ ปรับความคิด เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยมีกรอบการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทย สู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย 10 เรื่อง 1.สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง , 2.คนไทยไม่ทิ้งกัน , 3.ชุมชนอยู่ดีมีสุข , 4.วิธีไทยวิถีพอเพียง , 5.รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย , 6.รู้กลไกการบริหารราชการ , 7.รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม , 8.รู้เท่าเทียมเทคโนโลยี , 9.ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 10.งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน (Function)
21 ก.พ. 2561
จ.แม่ฮ่องสอน ประชุมการเตรียมความพร้อมการต้อนรับสายการบินนกแอร์และการเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธานเปิดงานประเพณีปอยส่างลอง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชุมการเตรียมความพร้อมการต้อนรับสายการบินนกแอร์และการเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธานเปิดงานประเพณีปอยส่างลอง นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานการประชุมการเตรียมความพร้อมการต้อนรับสายการบินนกแอร์ และการเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธานเปิดงานประเพณีปอยส่างลอง และการเตรียมต้อนรับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยสายการบินนกแอร์ร่วมกับสายการบินไทยสมายล์ มีความร่วมมือเที่ยวบินร่วมบริการ เส้นทางไป-กลับดอนเมืองแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบรับนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยเพิ่มเที่ยวบินไปยังจุดบินที่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง ช่วยเพิ่มรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง โดยจะทำการบินเที่ยวแรกในวันที่ 25 มีนาคม 2561 และในห้วงเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีงานวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่ง คือ การจัดงานประเพณีปอยส่างลอง ซึ่งในปี 2561 จังหวัดกำหนดจัดงานประเพณีปอยส่างลอง ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนขึ้น ระหว่างวันที่ 3 – 6 เมษายน 2561 ณ วัดกลางทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประเพณีปอยส่างลอง ถือเป็นงานวัฒนธรรมประเพณีประจำปีของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นงานที่ยิ่งใหญ่และมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีดังกล่าว และจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีนโยบายที่จะพัฒนาน้ำพุร้อนของจังหวัด จำนวน 6 แห่ง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีกำหนดจะมาลงพื้นที่เพื่อมาดูความพร้อมในการพัฒนาน้ำพุร้อนของจังหวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต่อไป
21 ก.พ. 2561
สสจ.ยะลา จัดกิจกรรมรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 10 ที่โรงพยาบาลรามัน
สสจ.ยะลา จัดกิจกรรมรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 10 ที่โรงพยาบาลรามัน เน้นรณรงค์สตรีที่อยู่ห่างไกล กลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจค้นหาในระยะเริ่มแรก วันนี้ (21 ก.พ. 61) ที่โรงพยาบาลรามัน อำเภอรามัน จังหวัดยะลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ร่วมกับโรงพยาบาลรามัน อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และมูลนิธิกาญจนบารมี ได้จัดโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ รวมทั้งรณรงค์ให้สตรีที่อยู่ห่างไกล และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยด้วยมะเร็งเต้านม ได้รับการตรวจค้นหาในระยะเริ่มแรก ตลอดจนเป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มสตรีในจังหวัดยะลา ได้ตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและให้ความสำคัญกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยมีนายวรเชษฐ พรมโอภาษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดโครงการพร้อมตรวจเยี่ยม การจัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม การสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ให้กับสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ จังหวัดยะลา โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา โรงพยาบาลรามัน อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวัง และค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก จึงร่วมกับมูลนิธิกาญจนบารมี จัดโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร อีกทั้ง ยังเป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มสตรีในจังหวัดยะลา ได้ตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและให้ความสำคัญกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยกิจกรรมมีการบรรยายให้ความรู้ และตรวจคัดกรอง ตลอด 3 วัน ระหว่างวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2561 โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนแพทย์ พยาบาลบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จากโรงพยาบาลยะลา โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง และโรงพยาบาลปัตตานี และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
21 ก.พ. 2561
จ.เพชรบูรณ์ Kick off โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
จังหวัดเพชรบูรณ์ Kick off โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย นายเสรี หอมเกษร นายอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนระดับตำบล และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ หมู่ 19 ตำบลท่าพล อำเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ Kick off ขับเคลื่อนโครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" สร้างการรับรู้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ พร้อม รับฟังปัญหา และความต้องการของประชาชน โดยนายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินการ Kick off โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ซึ่งให้ทุกอำเภอพบปะประชาชน ตำบลละ 1 หมู่บ้าน นำร่อง และหลังจากนี้จะจัดโปรแกรมออกพบปะประชาชนทุกวันตลอดระยะเวลา1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม 2561 เพื่อทำความเข้าใจพี่น้องประชาชนว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง ในการที่จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น และนอกจากเป็นการลงสร้างการรับรู้แล้ว ยังลงไปแก้ปัญหาในเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และรับทราบความต้องการของพี่น้องประชาชนในระดับพื้นที่ ที่จะดำเนินโครงการในแต่ละหมู่บ้าน ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ซึ่งทั้งหมดจะต้องดำเนินด้วยความโปร่งใส และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง และหลังจากการ Kick off ในวันนี้จะมีการขับเคลื่อนอีกสามรอบ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจที่รัฐบาลได้กำหนดหลักในการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการ ไทยนิยม ยั่งยืน 10 ข้อ ประกอบด้วย สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง คนไทยไม่ทิ้งกัน ชุมชนอยู่ดีมีสุข วิถีไทยวิถีพอเพียง รู้สิทธิรู้หน้าที่รู้กฎหมาย รู้กลไกการบริหารราชการ รู้จักประชาธิปไตยไทยนิยม รู้เท่าทันเทคโนโลยี ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด และงานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน (Function) สำหรับ Road Map แผนปฏิบัติงานโครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" มีอยู่ด้วยกัน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม 2561 ซึ่งเป็นการดำเนินการสอบถามความเป็นอยู่การประกอบอาชีพวิเคราะห์ปัญหาความเดือดร้อนเยี่ยมเยียนรายครัวเรือน รายบุคคล ค้นหาความต้องการของประชาชนในชุมชนเพื่อจัดทำโครงการ เสนอตามกรอบพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ ครั้งที่ 2 วันที่ 21 มีนาคม - 10 เมษายน 2561 ติดตามขับเคลื่อนการพัฒนา/แก้ไขปัญหา สร้างการรับรู้ และปฏิบัติตามสัญญาประชาคม รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย รู้รักประชาธิปไตย รู้กลไกบริหาร ครั้งที่ 3 ระหว่าง วันที่ 1 - 30 เมษายน 2561 ติดตามขับเคลื่อนการพัฒนาแก้ไขปัญหา สร้างการรับรู้ความคิด (Mind Set) เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนา "วิถีไทยวิถีพอเพียง" และ ครั้งที่ 4 ระหว่าง วันที่ 1 - 20 พฤษภาคม 2561 ติดตามการขับเคลื่อนการพัฒนา/แก้ไขปัญหา สร้างการรับรู้ปรับความคิด (Mind Set) เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนา รู้เท่าทันเทคโนโลยี ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด
21 ก.พ. 2561
จ.ยะลา คิกออฟ "ไทยนิยม ยั่งยืน" เปิดเวทีประชาคม "ผูกใจไทยเป็นหนึ่ง" ด้าน ผู้ว่าฯ ยะลา ลงพื้นที่ตรวจ
จังหวัดยะลา คิกออฟ "ไทยนิยม ยั่งยืน" เปิดเวทีประชาคม "ผูกใจไทยเป็นหนึ่ง" ด้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม สังเกตการณ์ พร้อมสร้างความเข้าใจ วันนี้ (21 ก.พ. 61) เวลา 10.00 น. ที่มัสยิดบ้านกือแล หมู่ที่ 3 ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม สังเกตการณ์ และติดตามการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตามโครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" กิจกรรมการจัดประชุมเวทีประชาคมเวทีที่ 1 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ในพื้นที่ตามโครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ของพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านกือแล ตำบลเนินงาม ซึ่งการจัดเวทีประชาคมครั้งนี้ มีชุดปฎิบัติการตำบลประกอบด้วย ปลัดอำเภอ , ผู้รับผิดชอบประจำตำบล , เกษตรตำบล , พัฒนากร , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล , ครู กศน. , ตำรวจ , ทหาร , ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม โดยมีเป้าหมาย ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ประชาชนผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 200 คนในพื้นที่ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ชีวิตความเป็นอยู่ และปัญหาความเดือดร้อนในด้านการเกษตร ด้านอาชีพ โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และความมั่นคง ทั้งนี้ การดำเนินงานการเปิดเวทีประชาคม "สัญญาประชาคม ผูกใจไทยเป็นหนึ่ง" เป็นไปตามคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 มีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้การขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกรอบการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทย สู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย 10 เรื่อง คือ 1.สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง , 2.คนไทยไม่ทิ้งกัน , 3.ชุมชนอยู่ดีมีสุข , 4.วิธีไทยวิถีพอเพียง , 5.รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย , 6.รู้กลไกการบริหารราชการ , 7.รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม , 8.รู้เท่าเทียมเทคโนโลยี , 9.ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 10.งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน (Function)
21 ก.พ. 2561
รายการเดินกหน้าประเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรี ฉบับประชาชน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. .... ของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิที่จะรับและเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาอย่างทั่วถึง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์ พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของครู รวมถึงส่งเสริมให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา ตลอดจนการศึกษา วิจัย เบื้องต้นรัฐบาลจัดสรรทุนประเดิม 1,000 ล้านบาท และผู้บริจาคเงินให้แก่กองทุนมีสิทธินำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2552 เรื่อง ร่างมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น โดยมีการปรับปรุงทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกัน ควบคุม กำจัดของประเทศไทย รายการที่ 1 - 4 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผ่าน 5มาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่าง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ให้กันวงเงิน จำนวน 800 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามแผนการยกระดับการบริการภาครัฐ จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การพัฒนาระบบการประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ 2.การพัฒนาระบบติดตามการให้บริการ และ 3.การพัฒนาระบบการจองคิวกลาง เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการจากภาครัฐอย่างสมบูรณ์
21 ก.พ. 2561
จ.ฉะเชิงเทรา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาองค์กรและการปฏิบัติร
จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาองค์กรและการปฏิบัติราชการ ( สภากาแฟ ) ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2561 วันนี้ (21 ก.พ.61) ที่บุรีมายา รีสอร์ท แอนด์ เรสเตอรอง นายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานในกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาองค์กรและการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 (สภากาแฟ) ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานขึ้นในครั้งนี้ โดยมีนายกิตติพันธุ์ โรจนชีวะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพบปะสนทนาระหว่างหน่วยงานต่างๆ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ได้เข้าใจทิศทางและยุทธศาสตร์ของจังหวัด จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางในการกำหนดรูปแบบ วิธีการสร้างพลังร่วม สร้างวัฒนธรรม สร้างความผูกพันต่อองค์กรและเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกันและเพื่อให้บุคลากรของจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะ ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน อันจะเป็นผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ตามคาดหวังและความต้องการของผู้รับบริการและเพื่อให้สอดคล้องเชื่อมโยงในองค์กร การถ่ายทอดทิศทางขององค์กร เพื่อสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการทำงาน นอกจากนั้นเพื่อให้หน่วยงานได้รู้จักคุ้นเคยกันมากขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ในการประสานการปฏิบัติงานสำหรับกิจกรรม " สภากาแฟจังหวัดฉะเชิงเทรา ”จัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือนโดยจะมีหน่วยงานต่างๆหมุนเวียนเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละเดือน
21 ก.พ. 2561
กระทรวงอุตสาหกรรม ขยายศูนย์ ITC เปิดหน่วยบริการใหม่ช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ จ.ลำปาง
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขยายศูนย์ ITC เปิดหน่วยบริการใหม่ช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ จังหวัดลำปาง กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดินหน้าขับเคลื่อนแผนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขานรับนโยบายรัฐบาลในการปฏิรูปประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 ทำการจัดตั้งเปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Industry Transformation Center หรือ ITC ) ประจำ จ.ลำปาง ซึ่งได้ทำการเปิดศูนย์บริการแห่งใหม่ขึ้น ณ ที่อาคารทำการศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิค ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยได้รับเกียรติจาก นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มาเป็นประธานในพิธีตัดริบบิ้น เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม จ.ลำปาง อย่างเป็นทางการ พร้อมได้ร่วมพบปะเยี่ยมเยือนพนักงาน เจ้าหน้าที่ ข้าราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำเขตพื้นที่ส่วนภูมิภาคเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดินทางลงพื้นที่ร่วมกับ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นำทีมผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมใน จ.ลำปาง ร่วมให้การต้อนรับ โดยมีคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ จากหน่วยงานองค์กรภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจเอกชนในเขตพื้นที่จังหวัดลำปางและจังหวัดใกล้เคียง มาร่วมแสดงความยินดี และร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม จ.ลำปาง จำนวนมาก สำหรับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมประจำ จ.ลำปาง ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินหน้าปรับเปลี่ยนโครงสร้างประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ตามกรอบนโยบายรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการ ผู้ผลิต นวัตกรรม และงานวิจัย เข้าไว้ด้วยกัน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ICT เพื่อเป็นการรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันที่มีการก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อจะช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่ชุมชน ให้สามารถก้าวทันตามความเปลี่ยนแปลง มีการยกระดับและพัฒนาธุรกิจการค้าไปสู่เชิงพาณิชย์ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่จะประสานพลังกันขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ พัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล โดยที่ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งนี้ จะดำเนินงานให้บริการในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น การเป็นศูนย์บริการด้านข้อมูลของผู้ประกอบการ เพื่อการเชื่อมโยงจับคู่ทางธุรกิจ, การบริการให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหาตามประเด็นความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งการออกแบบ การพัฒนาปรับเปลี่ยนธุรกิจ การจัดหาแหล่งทุนและเครื่องมือทางด้านการเงินต่างๆ, การให้บริการเครื่องมือและอุปกรณ์ ทั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพวัตถุดิบ เครื่อง 3D Printing 3D Scanning, การให้บริการห้องสมุดเพื่อจุดประกายความคิดด้านการออกแบบ, การบริการพื้นที่ทำงานสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบ, การบริการสถานที่สำหรับจัดแสดงนิทรรศการผลงานด้านการออกแบบที่ได้รับการพัฒนาแล้ว และการบริการสถานที่สำหรับการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่วนของจังหวัดลำปาง ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านเซรามิค ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนทำการเปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า สินค้าเซรามิคของจังหวัดลำปาง เป็นสินค้าที่ยังคงมีผู้บริโภคให้ความสนใจอยู่มาก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง โดดเด่นสะดุดตาด้วยรูปแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์ที่ยังอิงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี เพียงแต่ต้องพัฒนาในเรื่องของการผสมผสานนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา ทั้งในเรื่องของเนื้อดิน เพื่อช่วยในเรื่องของการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ให้ง่ายขึ้น พัฒนาในเรื่องการออกแบบรูปทรงให้ผลิตภัณฑ์มีรูปแบบที่ทันสมัยน่าสนใจ แต่ใช้เนื้อดินน้อยเพื่อเพิ่มความบางและเบา ซึ่งจะสามารถสร้างแรงดึงดูดแก่ผู้บริโภคทั้งกลุ่มผู้บริโภคเดิมและกลุ่มผู้บริโภคใหม่ได้
21 ก.พ. 2561
5 หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดยะลา ขานรับนโยบาย "วันแพลน" บูรณาการ การทำงานร่วมกันเพื่อผู้ใช้
5 หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดยะลา ขานรับนโยบาย "วันแพลน" บูรณาการ การทำงานร่วมกันเพื่อผู้ใช้แรงงาน นางสุจินดา บุญแอ แรงงานจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงานที่อยู่ในจังหวัดยะลา ซึ่งมี 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานแรงงานจังหวัด , จัดหางานจังหวัด , สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด , สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 24 ยะลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รวมทั้งผู้บริหาร กระทรวงแรงงาน ต้องการให้มี "วันแพลน" คือ แผนเดียวกันทั้งหมด ทั้งในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กระทรวงแรงงาน ก็จะออกไปบูรณาการทำงานร่วมกัน ในเรื่องการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ใช้แรงงานนอกระบบ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน จะเข้าไปพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดหางานส่งเสริมรวมกลุ่มอาชีพ ประกันสังคม จะไปรณรงค์ให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ เข้าสู่ระบบประกันตนตามมาตรา 40 ส่วนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ก็จะไปดูแลความปลอดภัย อาชีวะสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจังหวัดได้ประชุมทุกหน่วยงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดวันแพลนให้เป็นแผนเดียวกัน โดยทุกหน่วยงานจะขานรับนโยบาย "วันแพลน" พร้อมกัน ในส่วนที่กำลังดำเนินการร่วมกันอยู่ในขณะนี้ จะเป็นการเปิดศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS ) โดยมีจัดหางานจังหวัด เป็นหน่วยงานเจ้าภาพดำเนินการ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ และแรงงานต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติแล้ว สำหรับกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ กลุ่มนี้นายจ้างจะมีลูกจ้าง 2-3 คนอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งทางกระทรวงแรงงาน มีบัณฑิตอาสาอยู่ในพื้นที่ก็จะช่วยเหลือไปเคาะประตูบ้าน ให้แรงงานที่ยังไม่พิสูจน์สัญชาติได้เร่งมาดำเนินการ เนื่องจากกลุ่มนี้จะต้องส่งไปพิสูจน์สัญชาติที่จังหวัดสงขลา ถ้าออกมาเร็ว แจ้งศูนย์ OSS เร็วเท่าใด ก็จะส่งไปพิสูจน์สัญชาติได้เร็วเท่านั้น ซึ่งโครงการเคาะประตูบ้าน เป็นหนึ่งโครงการที่จะร่วมกันดำเนินการที่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำหนดไว้
20 ก.พ. 2561
จ.ฉะเชิงเทรา จัดโครงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.
จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดโครงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ให้แก่ผู้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ วันนี้ (20 ก.พ. 61) ที่โรงแรมแกรนด์รอยัล พลาซ่า นายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานเปิดอบรมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ให้แก่ผู้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย ผู้ประกอบการวีดิทัศน์ ร้านเกม คาราโอเกะ ทั้งรายเก่าและรายใหม่ กว่า 80 คน โดยมีพระมหาคณิตศาสตร์ คเวสโก จากวัดใหม่บางคล้า ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้แทนสถานีตำรวจภูธรจังหวัด มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่ผู้เข้าอบรม จัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ในยุคของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารซึ่งรวมไปถึงด้านภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและมีอิทธิพลต่อสังคม ต่อพฤติกรรมของเยาวชน ประชาชน รัฐบาล จึงได้ตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และได้ประกาศใช้อนุบัญญัติต่างๆ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งจะมีผลเกี่ยวข้องผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ที่จะต้องศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงแห่งพระราชบัญญัติฯ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ร่วมกัน โดยเฉพาะผู้ประกอบกิจการรายใหม่ที่ยังไม่เคยได้ร่วมประชุมจะได้รับทราบข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานทั้งในส่วนของภาครัฐ และในส่วนของผู้ประกอบกิจการ ดำเนินไปได้ด้วยดี ลดข้อขัดแย้งปัญหาอุปสรรคและจะทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และมีจิตสำนึกในการให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองและพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน อันจะทำให้เกิดผลดีต่อตนเองและสังคมโดยรวมของจังหวัดฉะเชิงเทราต่อไป สำหรับพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล การประกอบกิจการด้านภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2551 เป็นต้นมา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ออกอนุบัญญัติเพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด ซึ่งขณะนี้ได้ประกาศใช้อนุบัญญัติต่างๆ ที่ออกมาตามความในพระราชบัญญัติภาพยนต์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ประกอบกิจการและประชาชนทั่วไป จึงจำเป็นต้องส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้ประกอบกิจการ พนักงานเจ้าหน้าที่ และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องและตรงกัน
20 ก.พ. 2561
ผู้ตรวจฯ สำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามนโยบายรัฐบาลและโครงการสำคัญในพื้นที่จังหวัดสุราษ
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามนโยบายรัฐบาลและโครงการสำคัญในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันนี้ (20 ก.พ. 60) ที่ห้องเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี นางสาวปภัสมณ อัมราลิขิต ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยผู้ตรวจราชการกระทรวง และผู้ตรวจราชการกรมในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 6 ประชุมร่วมกับนายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน และผู้เกี่ยวข้อง ในโอกาสลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจติดตามการปฏิบัติราชการแบบบูรณาการของส่วนราชการต่างๆ ตามนโยบายรัฐบาล ได้แก่ โครงการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร , การปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกวิภาวดี , การปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวบึงขุนทะเล , โครงการพัฒนาศักยภาพเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เพื่อบริการผู้ป่วยและผู้สูงอายุพักฟื้นในพื้นที่ท่องเที่ยวระดับโลกภาคใต้ 2 สมุทร , โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้ายของชีวิตตามแนวทางการเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ , แผนงานบรรเทาอุทกภัยภาคใต้ , ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เป็นต้น ในโอกาสนี้ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ส่วนราชการและผู้เกี่ยวข้องมุ่งมั่นและตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มขีดความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
20 ก.พ. 2561
จังหวัดพิจิตร ฝ่ายทหารเตรียมความพร้อมสำหรับลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน
จังหวัดพิจิตร ฝ่ายทหารเตรียมความพร้อมสำหรับลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน วันนี้ (20 ก.พ. 61) ที่ห้องประชุมท้องถิ่นจังหวัด ชั้น 3 อาคารศาลากลางจังหวัดพิจิตร พันเอกดนัย บัวมา รองเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 36 กล่าวในโอกาสเป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมให้กำลังพลเพื่อปฏิบัติงานในโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ตามนโยบายของรัฐบาลว่า คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 และได้มอบหมายให้ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยด่วน พันเอกดนัย บัวมา รองเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 36 กล่าวต่อว่า กองทัพภาคที่ 3 โดยพลโทวิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 ให้มีการจัดทีมขับเคลื่อนระดับตำบล ลงพื้นที่ทุกตำบล จำนวน 1,562 ตำบล และทุกหมู่บ้าน จำนวน 15,939 หมู่บ้าน ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยจะเป็นการลงพื้นที่ เพื่อเข้าไปปรับทุกข์ผูกมิตร ติดตามสภาพปัญหา ค้นหาความต้องการของประชาชน และรายงานผลการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อนำมาจัดทำโครงการเสนอตามกรอบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขับเคลื่อนการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ไปสู่การพัฒนาประเทศ ตาม Road map ที่รัฐบาลกำหนด เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐบาล ให้มีความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ ถึงหลักพื้นฐานการทรงงาน ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ นั่นคือ “การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ตลอดจนเพื่อนำไปปฏิบัติงานในการลงพื้นที่ ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ในการช่วยคิด ช่วยพัฒนา และช่วยแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ต่างๆ ที่เดือดร้อน ในทุกมิติ ตรงกับความต้องการที่แท้จริง และมุ่งไปสู่การอยู่ดีกินดี ยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ทั้งนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการให้กองทัพสนับสนุนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของรัฐบาล อย่างเต็มขีดความสามารถ เพื่อให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม
20 ก.พ. 2561
ชุดเฉพาะกิจพร้อมปฏิบัติการดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวด้วยเรือเร็ว รับมืออุบัติภัยทางทะเลในพื้นที่อ
ชุดเฉพาะกิจพร้อมปฏิบัติการดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวด้วยเรือเร็ว รับมืออุบัติภัยทางทะเลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา ที่ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประธานปล่อยชุดเฉพาะกิจดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ ปภ.จ.พังงา , ปกครองจังหวัดพังงา , แพทย์และพยาบาลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา , สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพังงา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวม 7 คน ออกปฏิบัติการทางทะเลในการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวที่ประสบเหตุในเบื้องต้น หรือเสียชีวิต พร้อมอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงการประเมิน วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ของนักท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นการเพิ่มศักยภาพความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากจังหวัดพังงามีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางทะเล มีหมู่เกาะในทะเลอันดามันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น หมู่เกาะสุรินทร์ และหมู่เกาะสิมิลัน เป็น Destination ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยแต่ละปีมีทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาชมความสวยงามของธรรมชาติในจังหวัดพังงาหลายล้านคน และเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล จากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำบ่อยครั้ง ทำให้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ทั้งจากเรือโดยสาร , การดำน้ำ , การเล่นน้ำ , จมน้ำ และเรือชนกัน ซึ่งจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดพังงา และพื้นที่ใกล้เคียงด้วย จึงมีความจำเป็นที่ต้องเตรียมความพร้อม และเพิ่มมาตรการดูแลความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว โดยชุดเฉพาะกิจทีมแรกจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยเรือเร็ว พร้อมอุปกรณ์พยาบาลกู้ชีพเบื้องต้นอย่างครบครัน มีความคล่องตัวในการเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้อย่างทันที และประจำการอยู่ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นระยะเวลา 7 วัน
19 ก.พ. 2561
ผู้ว่าฯ สมุทรสงครามร่วมกิจกรรม ลงแขกลงคลองของชาวบ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลบางสะแก บางคนที พร้อมนำจิตอาสาทำ
วันนี้ (19 ก.พ. 61) ที่คลองบางสะแกใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วยพ.อ.ปิยะ เกียรติอมรเวช รอง เสนาธิการ มทบ.16 นายณัฐภัทร์ เอมอ่อน นายอำเภอบางคนที นายศุภชัย แสนยุติธรรม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรสงคราม นายมนัส บุญพยุง กำนันตำบล บางสะแก พ.จ.อ. วีระศักดิ์ สังข์กระแส นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และชาวบ้านหมู่ที่ 2 ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีจิตอาสาร่วมกิจกรรม ลงแขกลงคลอง ทำความสะอาด กำจัดขยะ และวัชพืชในลำคลองบางสะแกใหญ่ เพื่อให้เกิด ความอะอาด สวยงาม ของลำคลอง ในหมู่บ้าน เสริมสร้างความรักสามัคคีของคนในชุมชน ส่วนเรื่องของอาหารการกินก็สามารถหาได้ในลำคลอง ในท้องถิ่น มีกุ้งตัวใหญ่ มีปลา ผู้ที่ไม่ได้ลงแรงก็ร่วมด้วยช่วยกันในรูปแบบทุนทรัพย์ มีจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้กว่า 50 คน
19 ก.พ. 2561
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จไปทรงตัดหวายลูกนิมิต ณ อุโบสถวัดสมานมิตร จังหวัดนครราชสีมา
เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2561 เวลา 15.34 น. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จไปยังวัดสมานมิตร ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ทรงประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิตกลางอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งทางวัดฯ และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันจัดสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของพระภิกษุ สามเณร และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน บ้านเสม็ด บ้านโพธิ์น้อย และหมู่บ้านใกล้เคียง โดยอุโบสมีลักษณะทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง ขนาดหน้าตัก กว้าง 99 นิ้ว ใต้ฐานอุโบสถเป็นที่สำหรับทำพิธีลอดโบสถ์เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อโสธรจำลอง ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว และพระแก้วมรกตจำลอง จำนวน 32 องค์ วัดสมานมิตร เดิมเรียกว่า วัดเสม็ด เนื่องจากมีต้นเสม็ดขึ้นอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2425 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2439 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้รับการดูแลทำนุบำรุงจากพุทธศาสนิกชนจากรุ่นสู่รุ่น ร่วมกันพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างเสนาสนะ อาทิ อุโบสถ , กุฏิสงฆ์ , ศาลาการเปรียญ , หอระฆัง , พระพุทธรูป , ศาลาเอนกประสงค์ และวิหารปฏิบัติธรรม ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ปัจจุบันมีพระครูโอภาสศีลคุณ เป็นเจ้าอาวาสวัด มีพระสงฆ์จำพรรษา จำนวน 13 รูป ข่าวในพระราชสำนัก สทท.
17 ก.พ. 2561
จ.พังงา ซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินการ โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" เริ่มขับเคลื่อนระดับจังหวัด 21 ก.
จ.พังงา ซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินการ โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" เริ่มขับเคลื่อนระดับจังหวัด 21 ก.พ.นี้ สร้างการรับรู้ ชุดความรู้ 10 เรื่อง นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประชุมซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ ตามโครงการ "ไทยนิยม ยังยืน" ให้แก่คณะกรรมการขับเคลื่อนระดับจังหวัด อำเภอ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่า โครงการ "ไทยนิยม ยังยืน" เป็นการปูพรม X-Ray ทุกตำบล-หมู่บ้าน-ชุมชน เพื่อจัดโครงการและกลไกการทำงานให้เป็นระบบ โดย "ทีมขับเคลื่อน" ที่จะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียด นำมาวิเคราะห์แล้วกำหนดแนวทางแก้ไข โดยให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ในเรื่องสำคัญของประเทศ เริ่มปฏิบัติงานวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 จังหวัดพังงา ได้เตรียมการพบปะแกนนำในตำบลๆ 7-12 คน รวม 600 คน ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เช่นเดียวกัน โดยจัดประชุมสร้างการรับรู้และเข้าใจให้แก่แกนนำเพื่อขยายผลสู่ประชาชนต่อไป ณ โรงแรมภูงา ภาคเช้า จำนวน 300 คน ประกอบด้วย อำเภอเมือง , อำเภอทับปุด , อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว และภาคบ่าย ประกอบด้วย อำเภอตะกั่วป่า , อำเภอท้ายเหมือง , อำเภอคุระบุรี และอำเภอกะปง จำนวน 300 คน จัดที่อำเภอตะกั่วป่า ภายใต้กรอบวาระงานสำคัญ 10 เรื่อง คือ 1.สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง ด้วยการสร้างความสามัคคีปรองดอง , 2.คนไทยไม่ทิ้งกัน ด้วยการดูแลผู้มีรายได้น้อย , 3.ชุมชนอยู่ดีมีสุข ด้วยการพัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพ และรายได้ , 4.วิถีไทยวิถีพอเพียง , 5.รู้สิทธิ รู้หน้าที่ และกฎหมาย , 6.รู้กลไกการบริหารราชการ , 7.รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม , 8.รู้เท่าทันเทคโนโลยี , 9.ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด , 10.งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน
17 ก.พ. 2561
จ.ชัยนาท จัดกิจกรรม “ปั่นเปิดโรงพัก บอกรักสรรพยา” เป็นการประชาสัมพันธ์โรงพักเก่า ซึ่งมีอายุ 117 ปี
จังหวัดชัยนาท จัดกิจกรรม “ปั่นเปิดโรงพัก บอกรักสรรพยา” เป็นการประชาสัมพันธ์โรงพักเก่า ซึ่งมีอายุ 117 ปี ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ยังคงอยู่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว นายปริญญา โพธิสัตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานในกิจกรรม “ปั่นเปิดโรงพัก บอกรักสรรพยา” ที่โรงพักเก่า ตลาดสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท นายประสาน หงส์ทอง ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า ในการกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โรงพักเก่า ซึ่งมีอายุ 117 ปี ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งในปัจจุบันเทศบาลตำบลสรรพยา ได้นำเสนอของบประมาณในการบูรณะ และปรับปรุงอาคารดังกล่าวเพื่อใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสรรพยา ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว นอกจากเป็นการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของชุมชนคนสรรพยาแล้ว โดยมีแนวคิดใช้จักรยานเป็นเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยว และการจัดงานในครั้งนี้ได้จัดกิจกรรมการปั่นจักรยานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท VIP ระยะทาง 19 กิโลเมตร และประเภทประชาชนทั่วไป ระยะทาง 39 กิโลเมตร มีผู้เข้าสมัครเข้าร่วมปั่นในครั้งนี้ จำนวนกว่า 622 คน โดยรางวัลสำหรับผู้เข้าเส้นชัยลำดับ 1-3 ประเภทวีไอพี และประเภทประชาชนทั่วไป ลําดับ 1-3 รับถ้วยรางวัลจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท และสำหรับผู้เข้าร่วมปั่นจักรยานทุกท่านจะได้รับเหรียญปั่นเปิดโรงพัก บอกรักสรรพยา เป็นที่ระลึกอีกด้วย
17 ก.พ. 2561
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จับมือกับสถานีควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี เร่งให้ความรู้การป
ที่จังหวัดอุทัยธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และสถานีควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้ง ได้ร่วมกันจัดอบรมให้ความรู้มาตรการ การเตรียมความพร้อมในการให้ความรู้และป้องกันการดับไฟป่า ให้แก่ชาวบ้านและเยาวชนบ้านเขาเขียว หมู่ที่ 14 ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ที่เป็นจิตอาสา จำนวน 60 คน ที่ศาลาเอนกประสงค์ประจำหมู่ที่บ้าน โดยมีนายจักรกฤช สิงห์ธนสาร หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้ง เป็นประธานในการเปิดอบรม พร้อมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ สาเหตุของการเกิดไฟป่าซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น ที่เข้าไปหาของป่า ล่าสัตว์ และจุดไฟจนไม่สามารถควบคุมไฟป่าไว้ได้ อันจะเป็นอันตรายต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสอดแทรกจิตสำนักในการรับรู้ถึงการอันตรายจากไฟป่า ที่จะทำลายทรัพยากรของหมู่ตนเอง และภายหลังการอบรมได้มีพิธีการมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งหลังจากอบรมการให้ความรู้ภาคทฤษฎีแล้ว หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าได้นำเจ้าหน้าที่ดับไฟป่า ชาวบ้าน และเยาวชนได้ร่วมกันสวดมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล และร่วมกันสาบานและปฏิญาณตนจะไม่ล่าสัตว์ป่าและไม่เผาป่า อันจะก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เสื่อมโทรม ก่อนที่จะเข้ารับการอบรมและสาธิตการดับไฟป่าภาคปฎิบัติในการใช้เครื่องมือ และการทำแนวกันไฟป้องกันไฟป่าอย่างถูกวิธีในพื้นที่จริง ในป่าชุมชนแนวป่ากันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จากหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้ง และเจ้าหน้าที่ดับไฟป่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายหากเกิดไฟป่าในสถานการณ์จริง ระหว่างการเข้าไปควบคุมสถานการณ์ไฟป่า และภายหลังจากนี้เป็นต้นไปชาวบ้านจะได้ร่วมมือกันทำแนวกันไฟป่า เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับมือที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งเป็นประจำในทุกๆ ปี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงปลายเดือนเมษายนนี้
17 ก.พ. 2561
ศอ.บต. มอบเกียรติบัตร ยกย่องจิตอาสา "ตำรวจบ้าน" ดูแลความสงบเรียบร้อยในชุมชน
ศอ.บต. มอบเกียรติบัตร ยกย่องอาสาสมัครตำรวจบ้าน จิตอาสาจังหวัดยะลา ดูแลความสงบเรียบร้อยในชุมชน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ห้องประชุมน้อมเกล้า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เป็นประธานมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ผ่านการการฝึกอบรม และช่วยเหลือราชการในการอยู่เวรยาม ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน (อาสาสมัครตำรวจบ้าน) ของชุมชนรักชาติ ตอบแทนคุณแผ่นดิน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ได้มอบหมายให้ ศอ.บต. ร่วมกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จัดทำโครงการขึ้น ในปี 2560 ด้วยงบประมาณ จำนวน 50 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนภาคประชาสังคม 223 องค์กร ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยชุมชนรักชาติ ตอบแทนคุณแผ่นดิน ได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้ในการดูแลรักษาความปลอดภัย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติให้กับอาสาสมัครตำรวจบ้าน ใช้ระยะเวลาอบรม จำนวน 9 ครั้ง ในห้วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม 2560 สำเร็จตามเป้าหมาย เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคน เพื่อการพัฒนาชาติสืบไป นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ รัฐบาลจึงได้มีนโยบายในการแก้ปัญหาไว้ 6 ประการ คือ การลดความรุนแรง , ลดเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ , ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข , สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความเข้มแข็ง , ประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่รวมทั้งต่างประเทศ สนับสนุนแนวทางภาครัฐ และสร้างสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่สันติสุข รวมทั้งมีโครงการสำคัญ เช่น โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นโยบายการพูดคุยสันติสุข ภายใต้นโยบายประชารัฐ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สำหรับองค์กรชุมชนรักชาติ ตอบแทนคุณแผ่นดิน เป็นองค์กรหนึ่งใน จำนวน 223 องค์กร ที่ช่วยขับเคลื่อนประเด็นงานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และมีการต่อยอดนำไปสู่ความยั่งยืน โดยสมาชิกอาสาสมัครตำรวจบ้านทุกคนที่ผ่านการอบรม ได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ด้วยการเป็นจิตอาสาปฎิบัติหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจตรา ดูแล ความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน โดยไม่หวังผลตอบแทน ถือได้ว่าทุกคนเป็นผู้เสียสละมีจิตอาสาอย่างแท้จริง
17 ก.พ. 2561
รายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีโอกาสต้อนรับ “อาคันตุกะ” จากหลายประเทศในยุโรป ได้แก่ อิตาลี สหราชอาณาจักร สเปน และฝรั่งเศส ซึ่งผมเองก็ได้มีโอกาสพบปะสร้างความเข้าใจ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คุยกันเรื่องวิสัยทัศน์ และนโยบายกับ 3 ท่าน ท่านแรกคือ รัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี ก็นับเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศรายแรกของสหภาพยุโรปที่เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ หลังจากที่สหภาพยุโรปได้มีมติกลับมาติดต่อทางการเมืองของไทยในทุกระดับ โดยได้มีการส่งสัญญาณทางการเมืองที่ต้องการรื้อฟื้นและกระชับความสัมพันธ์ ในระดับรัฐบาลกับไทยให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และยังถือเป็นการเฉลิมฉลอง 150 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการของทูตทั้ง 2 ประเทศด้วย ทั้งนี้ ได้มีการกล่าวชื่นชมการดำเนินการตามแผนของรัฐบาล และแจ้งว่าจะช่วยถ่ายทอดเรื่องนี้ให้กับสหภาพยุโรปรับทราบอีกทางหนึ่ง ถึงการพัฒนาการของประเทศเรา นอกจากนี้ ยังแสดงความพร้อมที่จะช่วยให้ข้อมูลเชิงบวกของไทยในเวทีสหภาพยุโรป ในประเด็นสำคัญ อาทิ การแก้ไขปัญหา IUU รวมถึงชื่นชมนโยบายเกี่ยวกับ EEC กล่าวว่าเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาวที่ชัดเจนของไทย โดยพร้อมที่จะสนับสนุนให้รัฐบาลและเอกชนของอิตาลีศึกษาโอกาสการลงทุนใน EEC ด้วย อีกประเทศที่ได้มีโอกาสพบปะหารือ คือสหราชอาณาจักร โดยได้พบกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ นายบอริส จอห์นสัน ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน BREXIT ในการมาเยือนไทยครั้งนี้ ถือเป็นการย้ำถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร ที่มีมายาวนานกว่า 400 ปี แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมและกระชับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน ผมได้เชิญชวนให้นักลงทุนชาวอังกฤษ ได้พิจารณามาลงทุนใน EEC และก็หวังว่า สหราชอาณาจักร จะเห็นพ้องในการให้ไทยเป็น “ศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุน” เพื่อผ่านไปยังประเทศ CLMV และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย ซึ่งทางสหราชอาณาจักร ก็มีนโยบาย Global Britain ที่เน้น “การค้าเสรี” เปิดโอกาสให้ สหราชอาณาจักร มีการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกยุโรปมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นโอกาสดีที่ไทยและสหราชอาณาจักร จะขยายความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนระหว่างกันต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ สหราชอาณาจักร ยังชื่นชมไทย ที่ได้รับการปรับสถานะเป็นประเทศที่น่าลงทุนดีขึ้นแบบก้าวกระโดด มาอยู่อันดับที่ 26 ทั้งยังเชื่อมั่นในพัฒนาการทางประชาธิปไตยของไทย และสนับสนุน “กระบวนการไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่ยั่งยืน” ของไทยตาม Roadmap ด้วย นอกจากนี้ ผมได้มีโอกาสพบปะหารือกับเอกอัครราชทูต ราชอาณาจักรสเปนประจำประเทศไทย ในโอกาสที่ได้เข้ามารับตำแหน่ง ตัวท่านเองมีความตั้งใจที่จะช่วยพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทยและสเปน ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง นะครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวและความสัมพันธ์ระดับประชาชนต่อประชาชน นอกจากนี้ ได้หารือในเรื่องการเพิ่มการลงทุนของ EEC ในอุตสาหกรรมที่ สเปนมีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และพลังงาน ซึ่งภาคเอกชน สเปน มีความพร้อมและสนใจที่จะร่วมสนับสนุนการพัฒนาโครงการ EEC ของไทยด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังได้ตกลงกันในการที่จะเพิ่มความร่วมมือด้านการประมง ด้านความมั่นคง ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหา IUU และปัญหาความมั่นคงได้อย่างยั่งยืนด้วย นอกจากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้เข้าหารือกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสหภาพยุโรปและฝรั่งเศสได้แสดงความสนใจที่จะสานต่อการทำความตกลงการค้าเสรีกับไทยอีกครั้ง รวมถึงฝรั่งเศสสนใจเข้ามาลงทุนใน EEC ด้วยเชื่อมั่นว่า จะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคโดยเชื่อมโยงกับอาเซียน นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังสนใจในการเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง การพัฒนาท่าเรือน้ำลึก Smart City และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน รวมทั้งโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ ซึ่งจะช่วยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบุคลากรในประเทศอีกด้วย การเดินทางมาเยือนไทยของรัฐมนตรีต่างประเทศยุโรปถึง 3 ประเทศในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน นอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างกันที่มีมายาวนานแล้ว ยังมีนัยสำคัญต่อการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (EU) หลังจากที่ EU ได้ปรับข้อมติเกี่ยวกับการดำเนินความสัมพันธ์กับไทยไปเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2560 และสะท้อนให้เห็นว่าข้อมติดังกล่าวถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมถึงภาพ ลักษณ์ของประเทศไทยของเราในสายตาประชาคมโลก ได้รับการยอมรับมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศประชาธิปไตยต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ ของโลก ได้เข้าใจ และเห็นความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา และเดินหน้าสู่การปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังด้วย เพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และมิตรประเทศอื่น ๆ อีกด้วย พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่านครับ อีกเรื่อง ที่เป็นเรื่องที่น่ายินดี และเราควรได้ร่วมกันภาคภูมิใจ ที่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ ทางด้านงบประมาณ ได้รายงานผลการสำรวจการเปิดเผยงบประมาณ หรือ “ดัชนีการเปิดเผยงบประมาณ” (OBI) ของรอบปี 2017 โดยประเทศไทยได้รับการประเมิน “สูงขึ้น” มีคะแนนเพิ่ม 14 คะแนน ทำให้อันดับดีขึ้น 28 อันดับ จากปี 2015 ซึ่งการสำรวจการเปิดเผยงบประมาณมีดังนี้ เขาให้ความสำคัญกับ 3 มิติหลัก ได้แก่ 1. ความโปร่งใสทางงบประมาณ (Budget transparency) ซึ่งสะท้อนการเปิดเผยข้อมูลงบประมาณให้สาธารณชนรับทราบ ในกรอบระยะเวลาอันสมควร และให้สาธารณชนเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย สำหรับไทย ในรอบปีที่ผ่านมา สำนักงบประมาณได้พัฒนาและจัดทำเอกสารที่แสดงข้อมูลทั้งด้านการคลัง การงบประมาณ ให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นรวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทำให้การเข้าถึงข้อมูลของสาธารณชนทำได้โดยง่าย ตัวอย่างของข้อมูลที่สำนักงบประมาณจัดทำขึ้นและเผยแพร่ในเว็ปไซต์ ของสำนักงบประมาณ (www.bb.go.th) เพื่อให้ประชาชนสามารถเห็นภาพและเข้าใจโดยง่าย อันได้แก่ ข้อมูล “ประชาชนได้อะไร” จากงบประมาณรายจ่าย และข้อมูลงบประมาณลงพื้นที่จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ระบุรายละเอียด รายการงบประมาณในแต่ละแห่งไว้ ในเอกสารประกอบ พ.ร.บ. งบประมาณ และมีการเผยแพร่ในเว็ปไซต์ด้วย นอกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ ยังได้จัดให้มีการรายงานเรื่อง “ภาษีไปไหน” ในเว็ปไซต์ของกระทรวงเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ ของการใช้จ่ายงบประมาณตามข้อมูลของสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางอีกด้วย เพื่อเป็นการให้ความสำคัญในการเปิดกว้าง และส่งเสริมเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาครัฐ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามายกระดับการให้บริการภาครัฐในเรื่องนี้ 2. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการงบประมาณ สำหรับไทย ตั้งแต่ปี 2017 การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดให้ต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาทุกขั้นตอน ซึ่งสำนักงบประมาณก็ได้มีการดำเนินการในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชนผ่านทาง เว็ปไซต์ เพราะฉะนั้นใครบอกจะไม่ทราบไม่ได้ ถ้าอยากรู้ อยากทราบก็เปิดเข้าไปดู หรือรับฟังคำชี้แจง นอกจากนี้ ตาม ร่าง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฉบับใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นทั้งหน่วยรับงบประมาณ และสามารถขอตั้งงบประมาณได้ในอนาคต ทำให้งบประมาณที่จะจัดสรรลงไปในพื้นที่นั้น เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการงบประมาณ และตอบสนองต่อความต้องการประชาชนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น 3. การมีสถาบันติดตามตรวจสอบที่เข้มแข็งจากทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฉบับใหม่ของไทย ได้กำหนดให้สำนักงบประมาณประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณของทุกหน่วยงาน และให้รัฐสภามีขั้นตอนการตรวจสอบการออก พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายต่าง ๆ โดยไม่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญคอยติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณอีกด้วย ดังนั้น คะแนน OBI “ดัชนีการเปิดเผยงบประมาณ” ของประเทศไทยที่ “เพิ่มขึ้น” ในครั้งนี้ จึงไม่เพียงแต่จะสะท้อนความโปร่งใสของกระบวนการงบประมาณของไทยในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญเท่านั้น แต่จะมีความเชื่อมโยงกับดัชนีอื่น ๆ จากการประเมินภายนอกประเทศ อาทิ การสำรวจตามดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ขององค์กร Transparency International รวมทั้งการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ของสถาบัน IMD ที่หวังว่าจะช่วยให้การประเมินในรอบถัดไปเพิ่มสูงขึ้น ก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของเรา ในสายตาชาวโลกด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เราจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สิ่งดี ๆ เหล่านั้นยังคงอยู่คู่สังคมไทยในระยะยาว หรือต้องทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักคิด “ไทยนิยม” ที่นอกจากจะ “คิดในสิ่งที่ถูกต้อง” แล้ว ยังต้อง “คิดอย่างมีเหตุมีผล” อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของคนไทย สังคมไทย ให้เป็นไปตามครรลองของไทย โดยไม่ทิ้งหลักการสากลที่ต่างก็มุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยกันทั้งสิ้น สำหรับประเด็นภาพลักษณ์ของประเทศและการจัดอันดับต่าง ๆ นั้น หลายท่านอาจจะมองว่าเป็นเรื่องภายนอก เป็นเรื่องของเปลือกนอก ที่ไม่ได้จำเป็นมากนัก แต่ผมขอเรียนว่า สิ่งเหล่านี้ เป็นประเด็นสำคัญในการที่จะสร้างความมั่นใจ ทั้งในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านการเมือง ด้านสังคม การค้า และการลงทุนในต่างแดน โดยเฉพาะการสนับสนุนในเรื่องการลงทุนด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีมูลค่ามหาศาลจากต่างประเทศ ย่อมต้องอาศัยความเชื่อมั่น และไว้วางใจในระดับที่สูงตามไปด้วย เราก็ต้องยอมรับกันว่า ประเทศไทย ยังมีโอกาสอีกมากที่เปิดกว้าง ที่สามารถรองรับการลงทุน รองรับผลประโยชน์ที่จะ “ซึมซับ” และ “แตกแขนง” ไปสู่ทุกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างทั่วถึง ดังนั้นทุกภาคส่วน ทุกสาขาอาชีพจะต้องพัฒนาตนเอง ปรับตัวให้ก้าวทันเทคโนโลยี ช่วยกันยกระดับ เพิ่มความสามารถ เพิ่มศักยภาพ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น ในภาพรวม เราต้องมีการรวมกลุ่มในกิจการทุกประเภท ถ้าเรายังคงประกอบอาชีพ ประกอบการเป็นอิสระ รายย่อยมาก ก็ไม่สามารถจะยกระดับตัวเองขึ้นมาได้หรอก ทั้งนี้ เราจะเห็นได้ชัดว่าประเทศต่าง ๆ เห็นความสำคัญของ EEC หรืออย่างน้อยสนใจที่จะมาศึกษาความเป็นไปได้ที่จะมาเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการเหล่านี้ของเรา นี่คือเหตุผลสำคัญ ที่รัฐบาลนี้ ให้ความสำคัญอย่างมาก ในการขับเคลื่อน EEC ในทุกมิติในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากจะเป็น “คลื่นการปฏิรูปเศรษฐกิจ...ระลอกแรก” ของไทย และระลอกต่อ ๆ ไปในอนาคต ผมมองว่า สิ่งที่เราจะต้องเร่งพัฒนาและให้ความสำคัญในอันดับต้น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและผลไม้ไทย รวมทั้งการแพทย์และการท่องเที่ยว ที่เรามีศักยภาพ โดยอาหารนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่เราต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ และสามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ มีผู้ได้รับผลประโยชน์ส่วนนี้มากมาย จำนวนพี่น้องเกษตรกร หรือบรรดาผู้มีรายได้น้อย จะอยู่ในวงจรดังกล่าว จำนวนมาก ส่วนเทคโนโลยีดิจิทัล Internet of things หุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ AI ที่เป็นทิศทางการพัฒนาของโลก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการ และช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาคน คนไทยทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็น “คนไทย 4.0” เพราะเป็นไปไม่ได้ ตามที่เคยพูดไว้นานแล้ว เราเป็น 4.0 คือเรียนรู้ เข้าใจและอยู่กับสังคม อยู่กับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันให้ได้ นั่นคือ 4.0 แล้ว เพราะว่าคนในสังคมก็เหมือนต้นไม้ในป่า ที่จะต้องมีหลากหลาย นานาพรรณ ต่างต้น ต่างประเภท ก็พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เราต้องสนับสนุน “คนรุ่น เก่ายุค Analog” ที่ถือว่าเป็นคลื่นลูกเก่า ให้ปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน ก็ต้องส่งเสริมบทบาท “คนรุ่นใหม่ ยุคดิจิทัล” ที่เป็นคลื่นลูกใหม่ ที่มากด้วยศักยภาพ มีหลักคิดที่ถูกต้องเป็นพื้นฐาน ให้ได้รับโอกาส ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เหมือนหลายโครงการที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริม อาทิ โครงการ “เน็ตประชารัฐ” ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การรับบริการภาครัฐ และในอีกหลาย ๆ ด้านแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาส สร้างงานในทุกระดับ ทุกสาขาอาชีพ ขอเพียงให้มีหลักคิด “หลักการเรียนรู้ หลักการพัฒนาตนเอง”เป็นอย่างไร ที่ผมอยากให้เป็นอีกหลักคิดหนึ่งของ “ไทยนิยม” ที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ด้วย ผมมี 2 ตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อคิด และแบบอย่าง ของการพัฒนาตนเอง ภายหลังจากการลงพื้นที่ภาคตะวันออก จังหวัดตราดและระยอง ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจัดทำ “ยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจร” เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและการค้าผลไม้ของไทย โดยมีวิสัยทัศน์ในภาพรวมของประเทศ ตามที่มีรายงานข่าวไปแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ติดตามข่าวสารเลือกบริโภคสื่อ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ จากทั้ง Internet และ Social Media แล้วได้พบตัวอย่าง “ผู้ประกอบการ รุ่นใหม่” ที่ประสบความสำเร็จ ในเรื่องการแปรรูปผลไม้ไทยจากรายการสร้างสรรค์สังคม ชื่อ “อายุน้อยร้อยล้าน” ซึ่งมีอีกหลายรายการที่ดี แต่ยังไม่มีโอกาสนำมาเล่าให้ฟัง ตัวอย่างแรก เป็น “การอบแห้ง” ผลไม้ไทย โดยยังสามารถรักษาคุณภาพทางโภชนาการ เป็นของขบเคี้ยว ที่มีประโยชน์มากกว่าขนมกรุกรอบ ที่อาจไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเยาวชนของเราในระยะยาว ส่งขายหลายประเทศ ทั้งในอาเซียน ญี่ปุ่น จีน อเมริกา ตัวอย่างที่สอง เป็น “การทำสบู่” จากผลไม้ไทย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า กว่า 20 ประเทศ ทั่วโลก สิ่งที่ผมสังเกตเห็น มีหลายประการที่คล้าย ๆ กัน คือ (1) การเริ่มทำธุรกิจจากสิ่งที่ตนเองชอบ สิ่งใกล้ตัว ช่วยให้มีแรงผลักดัน (2) การศึกษาค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติม ทั้งในเรื่องการผลิต การแปรรูป การตลาด จากนักวิชาการ จากสื่อออนไลน์ รวมถึงการลงพื้นที่ เพื่อรับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง มาปรับปรุง มาพัฒนากระบวนการผลิต ตัวผลิตภัณฑ์ ให้ตอบรับตลาด เพราะลูกค้าในประเทศเป้าหมายมีความชื่นชอบผลไม้ไทยแตกต่างกันไป (3) การเพิ่มทักษะด้านภาษา เพื่อการติดต่อสื่อสารและการเปิดตลาด โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากล ภาษาจีนก็เป็นโอกาสทางตลาดขนาดใหญ่ และภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีความเชื่อมั่นในสินค้าไทยเป็นทุนเดิม ซึ่งมีโอกาสการเติบโตทางธุรกิจอีกมาก และ (4) ความกล้าหาญ ความอดทน อุตสาหะ ซึ่งทั้ง 2 ผู้ประกอบการตัวอย่างนี้ ไม่ได้ประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก แต่ผ่านอุปสรรค เกือบล้มเหลว แต่ไม่ยอมแพ้ จนประสบความสำเร็จได้ในวันนี้ ขอชื่นชม สำหรับหน้าที่ของรัฐบาล คือการเตรียมการให้ทุกคน ได้รับโอกาสในการสร้างงาน ประกอบอาชีพ อย่างเท่าเทียมกัน อาทิ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงแหล่งผลิตกับตลาด ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โครงการ “เน็ตประชารัฐ” เพื่อให้ทุกคนค้นคว้าหาความรู้ โฆษณาสินค้า ติดต่อตลาด e-Commerce และสถาบันการเงินประชาชน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้พี่น้องประชาชน ในแต่ละท้องถิ่นของตน ตามที่ผมได้กล่าวไปแล้ว ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมหวังว่าที่กล่าวมานั้น จะเป็นแรงบันดาลใจหรือแนวทางในการประกอบอาชีพของหลายต่อหลายคน ที่ไม่ย่อท้อ ตามความฝัน ให้เป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง ด้วย จะเห็นได้ว่าไม่ง่ายนัก แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ยากจนเกินไป ถ้าเรามีความเพียรพยายาม ขอให้ทุกคนได้เดินหน้าไปสู่สิ่งนั้น สิ่งที่เราต้องการให้ได้โดยเร็ว พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ ความเท่าเทียม ไม่เหลื่อมล้ำในสังคม เป็นการรักษาสมดุลระหว่างคนด้วยกันเอง ให้ได้รับการพัฒนา หรือได้รับสวัสดิการแห่งรัฐต่าง ๆ โดย “ไม่ตกหล่น” อาทิ คนพิการทั่วประเทศที่เคยลงทะเบียนกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือทำ “บัตรคนพิการ” เพื่อรับสิทธิในการสงเคราะห์ การพัฒนาและการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มีมากถึง 1.8 ล้านคน ทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ย. 2560) เมื่อตรวจสอบในฐานข้อมูล ทั้งจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงการคลัง แล้วพบว่า (1) การลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมียอดการลงทะเบียนกว่า 14 ล้านคน เหลือผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ “ผู้ที่มีรายได้น้อย” จำนวน 11 ล้านคน เป็นคนพิการราว 7 แสนกว่าคน แล้วอีก 1 ล้านกว่าคน ในบัญชีของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ไม่ได้มาลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ก็ต้องไปดูว่าทำไม เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยหรือไม่ หรือไม่ได้รับทราบ หรือเป็นอย่างไร ต้องดูแลเขา (2) คนพิการจำนวน 7 แสนกว่าคนในบัญชีของกระทรวงการคลังนั้น ประมาณ 25,000 คน ไม่เคยทำบัตรคนพิการ จึงไม่อยู่ในฐานข้อมูลของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ก็จะยังไม่ได้รับสิทธิ์คนพิการ ที่ควรจะได้รับ แม้จะไม่ใช่ผู้ที่มีรายได้น้อยก็ตาม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ข้อมูลต่าง ๆ ต้องมีความทันสมัย สิ่งสำคัญคือผู้รับประโยชน์จะต้องสนใจ ถ้าไม่สนใจก็เชื่อมต่อกันไม่ได้ ต่อให้รัฐบาลมีอะไรลงไปก็ทำไม่ได้ทั้งหมด เพราะไม่รับรู้ รับทราบ โทษรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียวก็คงไม่ได้ ต้องช่วยกัน ดังนั้น แนวทางการช่วยเหลือคนพิการ ทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว เพื่อไม่ให้ตกหล่นจากสวัสดิการแห่งรัฐ (ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง) ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบหมายให้ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด ร่วมกับองค์กรคนพิการ ดำเนินการ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 “คนพิการที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว แต่ไม่มีบัตรคนพิการ ราว 25,000 คน (24,679 คน) ก็จะแนะนำให้ทำบัตรคนพิการเพื่อสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของรัฐ กลุ่มที่ 2 “คนพิการที่มีบัตรคนพิการแล้ว แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ กว่า 180,000 คน (182,180 คน) จะให้คำแนะนำเตรียมการเข้าถึงสิทธิการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐในรอบต่อไป และการช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านค่าครองชีพ ค่าเครื่องอุปโภค-บริโภค ตามความจำเป็น โดยสอดคล้องกับนโยบายสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งนี้ การดำเนินการตามนโยบาย “ไทยนิยมยั่งยืน” นั้น ก็จะต้องนำข้อมูลจากทุกกระทรวงมาบูรณาการกัน เป็น Big Data ในศูนย์รวมที่เรียกว่า Data centerของทุกกระทรวง ทุกหน่วยงาน ระดับกระทรวงก็ต้องไปรวบรวมในส่วนของกรมต่าง ๆ มาด้วย เพื่อใช้ข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์จัดทำในฐานข้อมูลที่เรียกว่า Big data เพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามแนวทาง “ประเทศไทย 4.0” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ อย่างมีธรรมาภิบาลด้วย สุดท้ายนี้ ช่วงเทศกาลตรุษจีน และเทศกาลวันวาเลนไทน์ ทำให้ผมเห็นว่าประเทศไทย เป็น “สังคมพหุวัฒนธรรม” ที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมาช้านาน เป็นอีก “ไทยนิยม” ที่รักความสงบ การท่องเที่ยวก็เป็นอีกวิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งคนไทยเราโชคดีที่เรา “รวยทรัพยากรธรรมชาติ” ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคตของประเทศ ก็ต้องช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมให้บริสุทธิ์ ปลอดภัย สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนให้สะอาด และ “ยิ้มต้อนรับ” นักท่องเที่ยวต่างถิ่น ต่างชาติ ให้ประทับใจ เมื่อวันก่อนได้ไปเยือนงานอุ่นไอรัก ก็มีความสุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ชื่นชมในความมีเอกลักษณ์ของไทย เราเป็นคนในยุคปัจจุบัน อย่าลืมเลือนประวัติศาสตร์ สถาบันมีพระมหากรุณาธิคุณกับประเทศไทยเสมอมา ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เราต้องระลึกถึงอยู่เสมอ ผมเห็นรอยยิ้มของทุกคน ผมรู้สึกมีความสุข ทุกคนที่ไปเที่ยวงาน ทุกคนที่เห็นในข่าวก็คงจะรู้สึกมีความสุขไปด้วย สังคมไทยเป็นสังคมที่อบอุ่น เป็นสังคมที่มีรอยยิ้ม สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม สังคมที่ปรองดอง เพราะฉะนั้น อย่าให้ใครมาทำให้เกิดความแตกแยกตรงนี้โดยเด็ดขาด ผมขอเชิญชวนทุกท่านไปเที่ยวงานอุ่นไอรักได้จนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม วันนี้ ผมขอประชาสัมพันธ์เว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นมือถือ ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เปิดตัวไปแล้ว ในชื่อ “Thailand Tourism Directory” โดยมุ่งที่จะสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศไทย สำหรับทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติ เพราะเว็ปไซต์และแอปพลิเคชั่นนี้ จะเป็นแหล่งรวมข้อมูลดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ครบถ้วน ถูกต้อง และมีการอัพเดตข้อมูลต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะถือเป็น “Big Data ด้านการท่องเที่ยว” ซึ่งภาครัฐเป็นแกนกลางในการจัดทำขึ้น ขณะนี้สามารถรองรับได้ 3 ภาษาคือ ไทย จีน และอังกฤษ พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนเดินทางท่องเที่ยว ทั้งในเรื่องแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว เส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ตลอดถึงรายละเอียดของโรงแรมที่พักที่มีมาตรฐาน และได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะได้รับการเพิ่มเติมหรืออัพเดตเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จากเจ้าของข้อมูลโดยตรง ในพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย โดยผ่านกลไกการตรวจสอบความถูกต้องจากศูนย์ปฏิบัติการ Digital Tourism ทั้งส่วนกลางและส่วนจังหวัดก่อนนำออกเผยแพร่ ผมอยากเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนลองเข้าไปเยี่ยมชมเว็ปไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นมาใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเต็มที่ และฝากเผยแพร่ให้กับพี่น้องเพื่อนฝูงของท่าน โดยเฉพาะเพื่อน ๆ ชาวต่างชาติ เพื่อสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวของประเทศเราด้วย ปัจจุบันรัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด ทั่วประเทศ โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตลอดปี 2561 นี้ ขอขอบคุณจิตอาสาต่าง ๆ ที่ช่วยกันดูแลบ้านเมือง ดูแลงานอุ่นไอรัก หรือทำคุณประโยชน์อันเป็นสาธารณประโยชน์ให้กับประชาชนในทุกพื้นที่ด้วย อันนี้เป็นพระบรมราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้คนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทย ชาติไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา และคงต้องร่วมมือกับการทำงานของโครงการไทยนิยมด้วย เพื่อให้ตรงความต้องการของประชาชน ตรงตามความต้องการของพื้นที่ตามศักยภาพที่มีอยู่ ขอให้ทุกคน ทุกครอบครัว มีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และในช่วง “เดือนแห่งความรัก” และในช่วงเวลาตรุษจีน ขอให้มีความสุขในวันขึ้นปีใหม่ของจีน ซึ่งเราเป็นประเทศที่มีหลายเชื้อชาติ หลายศาสนามาอยู่ร่วมกันในประเทศนี้ สวัสดีครับ
16 ก.พ. 2561
จ.สมุทรปราการ ชี้แจงแนวการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โครงการไทยนิยม ยั่งยืน สร้างความรู้ความเข้าใจแก่หน
จังหวัดสมุทรปราการ ชี้แจงแนวการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โครงการไทยนิยม ยั่งยืน สร้างความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานมอบแนวทางการดำเนินงานและชุดความรู้ภายใต้กรอบการดำเนินการ 10 เรื่อง ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน แก่ ทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ระดับอำเภอและตำบล รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน สามรถขับเคลื่อนโครงการฯ ตามนโยบายรัฐบาลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับกรอบการดำเนินการ 10 เรื่อง ตามโครงการไทยยั้งยืนประกอบด้วย สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง ด้วยการสร้างความสามัคคีปรองดอง จัดให้มีการทำสัญญาประชาคมที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเพื่อรับรู้และปฏิบัติตามร่วมกัน ,คนไทยไม่ทิ้งกัน ด้วยการดูผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มาลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ ,ชุมชนอยู่ดีมีสุข ด้วยการพัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพ และรายได้ให้แก่ประชาชน ,วิถีไทยพอเพียง ด้วยการส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต สร้างวินัยการออมในทุกช่วงอายุ ,รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย ด้วยการให้ความรู้ในเรื่องสิทธิ หน้าที่ การเคารพกฎหมายและการเป็นพลเมืองที่ดี ,รู้จักประชาธิปไตย ไทยนิยม ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล ,รู้เท่าทันเทคโนโลยี ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยี การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง , บูรณาการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างครบวงจร และงานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน (Function)
16 ก.พ. 2561
วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช เปิดศูนย์การเรียนรู้เฉพาะอาชีวศึกษาผลิตแรงงานคุณภาพป้อนตลาด
วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ย้ำ ความสำเร็จเปิดศูนย์การเรียนรู้เฉพาะอาชีวศึกษา ดึง 3 บริษัทใหญ่สนับสนุนอุปกรณ์การเรียน เพื่อต่อยอดไปเป็นกุญแจความสำเร็จของนักศึกษาต่อไปในอนาคต ที่วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เรืออากาศโท สมพร ปานดำ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้เฉพาะอาชีวศึกษา 3 ศูนย์ ประกอบด้วย 1.ศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยียานยนต์ โดยบริษัท อีซูซุ สนับสนุน ชุดเครื่องยนต์อีซูซุ 1.9 ดีดีไอบลูเพาเวอร์ และชุดสาธิตระบบรถยนต์เพื่อการศึกษา ชุดอุปกรณ์การสอนด้านเทคโนโลยียานยนต์ และ ชุดชิ้นส่วนรถยนต์เพื่องานตัวถังและสี , 2.ศูนย์การเรียนรู้และปฏิบัติเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนโดยบริษัท อีมิแนนท์แอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มอบชุดเครื่องปรับอากาศ จำนวน 14 ชุด และ 3.ศูนย์การเรียนรู้และปฏิบัติการอัตโนมัติ สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนโดยบริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มอบชุด Programmable logic controller และ Touch screen จำนวน 11 ชุด สำหรับศูนย์การเรียนรู้เฉพาะอาชีวศึกษา ทั้ง 3 ศูนย์ จัดตั้งเพื่อเตรียมกำลังคนให้รองรับตลาดแรงงาน ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาและการพัฒนาประเทศ การจัดการเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษา ต้องปรับให้สอดคล้องกับสภาพของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยต้องมีการผลิตและพัฒนากำลังคน ให้ตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ ทั้งภายในประเทศและระดับภูมิภาค และมีการเตรียมคนไทยให้พัฒนาเข้าสูประชาคมอาเซียน ตามนโยบาย "ประเทศไทย 4.0" ของรัฐบาล การจัดสถานที่เรียนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเฉพาะทางอาชีวศึกษา จึงมีความจำเป็นและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชน ได้เรียนรู้และเข้าถึงองค์ความรู้โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้
16 ก.พ. 2561
จ.ลำปาง นำตัวแทนเด็กเยาวชนและผู้นำกลุ่มจาก 13 อำเภอ ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้หลักคุณธรรม และหลักการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย
จังหวัดลำปาง นำตัวแทนเด็กเยาวชนและผู้นำกลุ่มจาก 13 อำเภอในเขตพื้นที่ ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้หลักคุณธรรม และหลักการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย ปลูกจิตสำนึกการเคารพเทิดทูนสถาบัน รักสามัคคี สมานฉันท์ และปรองดอง ที่ทำการปกครองจังหวัดลำปาง โดยกลุ่มงานความมั่นคง จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เปิดพื้นที่นำกลุ่มตัวแทนเยาวชนและกลุ่มผู้นำต่างๆ ในจังหวัดลำปาง เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการ “ปลูกฝังสำนึกรักสามัคคีและเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ประจำปี 2561” ที่ห้องประชุมวังธาร โรงแรมรีเจ้นท์ลอด์จ ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีนายสุรพล บุรินทราพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ โดยมีกลุ่มตัวแทนเยาวชน กลุ่มผู้นำเด็กนักเรียน นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ และกลุ่มผู้นำที่เป็นแกนนำในเขตพื้นที่จากทั้ง 13 อำเภอ ของจังหวัดลำปาง รวมจำนวนทั้งสิ้น 115 คน เข้าร่วมรับการฝึกอบรม สำหรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการดังกล่าว ถือเป็นกิจกรรมภายใต้นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ ปลูกฝังแนวคิดสร้างทัศนคติค่านิยมตามหลักคุณธรรม 12 ประการ เพื่อการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้กับประชาชน และขับเคลื่อนแผนงานการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อการธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติในระดับพื้นที่ โดยการดำเนินการ มุ่งเน้นในการที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างแนวความคิดให้แก่เด็กเยาวชน และผู้นำกลุ่มต่างๆ ที่เป็นแกนนำอยู่ในพื้นที่ ให้กลุ่มแกนนำที่เข้ารับการฝึกอบรมได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทรงงานตามศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งร่วมเรียนรู้ถึงหลักการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกในความรัก ความเทิดทูน และความจงรักภักดีต่อสถาบัน ให้ยั่งยืนอยู่ในจิตใจของเด็กเยาวชนและประชาชน ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายเห็นถึงประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นสำคัญมากกว่าประโยชน์สุขส่วนตน โดยการอบรมมุ่งหวังที่จะให้เด็กเยาวชนและผู้นำกลุ่ม ที่เป็นแกนนำในระดับพื้นที่ได้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ และนำเผยแพร่ให้แก่คนในครอบครัว ลงไปถึงคนในพื้นที่ชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ เพื่อให้ทุกคนในแต่ละชุมชนท้องที่ได้ร่วมกันนำไปประพฤติปฏิบัติ อันเป็นแนวทางในการที่จะสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบสุข สร้างความรัก ความสามัคคี และความปรองดอง ให้เกิดขึ้นแก่ชนในชาติ สำหรับการฝึกอบรมครั้งนี้ ได้มีการนำกลุ่มตัวแทนเยาวชนและกลุ่มผู้นำต่างๆ ทั้ง 115 คน ร่วมกันทำกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งได้เน้นกิจกรรมแบบการมีส่วนร่วมทั้งกิจกรรม “ร่วมกันคุย” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างความสามัคคี, กิจกรรม “ร่วมกันคิด” เพื่อระดมสมอง สร้างพลังกลุ่ม และกิจกรรม “ร่วมกันทำ” เพื่อสร้างสังคมปรองดอง โดยกิจกรรมทั้งหมดจะประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ตามหลักสูตรทฤษฎีในห้องเรียน และการแบ่งกลุ่มปฏิบัติทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมการส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมการปกป้องเชิดชู 3 สถาบันหลัก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึงกิจกรรมเรียนรู้ภัยสังคมที่แฝงมากับเทคโนโลยี และการเรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยจากยาเสพติด เป็นต้น
16 ก.พ. 2561
วันตรุษจีน จ.ยะลา คึกคัก ชาวไทยเชื้อสายจีนสวมใส่เสื้อสีแดง นำครอบครัว บุตรหลาน เดินทางกราบไหว้เทพเจ
วันตรุษจีนจังหวัดยะลา คึกคัก ชาวไทยเชื้อสายจีนสวมใส่เสื้อสีแดง นำครอบครัว บุตรหลาน เดินทางกราบไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ เพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างต่อเนื่อง บรรยากาศไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ”ไฉ่ซิงเอี๊ยะ” วันตรุษจีน ที่ศาลเจ้าในเขตเทศบาลนครยะลา คึกคัก โดยที่วัดมหายาน กาญจมาสราษฎร์บำรุง (วัดญวนยะลา) มีประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนสวมใส่เสื้อสีแดงต้อนรับเทศกาลตรุษจีน เดินทางนำครอบครัว บุตรหลาน ไปไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้า เพื่อความเป็นสิริมงคลกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้ร่วมพิธี ไหว้องค์เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยะ ซึ่งทางวัดญวนได้ตั้งเครื่องเซ่นไหว้ พร้อมจัดให้มีพิธีสวดมนต์ เดินตะเกียงประทักษิณ จำนวน 3 รอบ ซึ่งคนจีนถือว่าเป็นการไหว้ เพื่อตอบแทนที่เทพเจ้าให้ความคุ้มครองตลอดปีที่ผ่านมา รวมทั้งขอให้เทพเจ้าคุ้มครองให้ปลอดภัยทั้งสุขภาพ และร่างกายของคนในครอบครัว ความเป็นอยู่ การค้าขายรุ่งเรือง มีเงินมีทอง และเป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิตในวันขึ้นปีใหม่และตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับที่ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวยะลา เขตเทศบาลนครยะลา มีประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนนำครอบครัวบุตรหลาน ไปสักการะกราบไหว้องค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว รวมทั้งองค์พระ องค์เทพเจ้าต่างๆ ที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาลเจ้ากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อขอพรให้ครอบครัวมีแต่ความสุขความเจริญ และเพื่อความเป็นสิริมงคลในวันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่จีน โดยทางศาลเจ้าได้จัดเตรียมธูปเทียน ดอกไม้ รวมทั้งน้ำมันพืชเพื่อใช้เติมตะเกียง ซึ่งถือเป็นการเติมแสงสว่างให้แก่ตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญ นอกจากนี้ ยังมีการจัดโต๊ะสำหรับให้ประชาชนได้กราบไหว้องค์เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยะ หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภสมบัติและเงินทอง ในเวลา 23.00-00.59 น. ซึ่งเป็นช่วงกลางคืนล่วงเช้าวันใหม่ (คืนวันสิ้นปีก่อนจะเป็นเช้าวันปีใหม่) เช่นกัน
15 ก.พ. 2561
ผู้ว่าฯ ฉะเชิงเทรา ประชุมสรุปผลความก้าวหน้าโครงการสานพลังประชารัฐ สร้างฝายมีชีวิต รักษ์น้ำรักษ์ป่า
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประชุมสรุปผลความก้าวหน้าโครงการสานพลังประชารัฐ สร้างฝายมีชีวิต รักษ์น้ำรักษ์ป่า ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากสู่ชุมชนเข้มแข็ง ตามศาสตร์พระราชา ที่ห้องประชุมศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานประชุมสรุปผลความก้าวหน้าการสร้างฝายมีชีวิตตามโครงการสานพลังประชารัฐ สร้างฝายมีชีวิตรักษ์น้ำ รักษ์ป่า ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากสู่ชุมชนเข้มแข็ง โดยมีพระมหาอาจารย์สุภาพ พุทฺธวิริโย วัดป่านาคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ มาให้ความรู้ในเรื่องฝายมีชีวิต การขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา การพึ่งพาตนเอง การใช้ธรรมชาติพึ่งพาธรรมชาติ และการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายกิตติพันธุ์ โรจนชีวะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายอำเภอแปลงยาว นายอำเภอสนามชัยเขต พัฒนาการอำเภอ ครูฝาย และภาคเอกชนที่สนับสนุนการสร้างฝายมีชีวิต นายสุวิทย์ คำดี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า การประชุมในวันนี้เป็นการสร้างความเข้าใจในเรื่องการขับเคลื่อนนโยบายการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา “ลูกหลวงพ่อโสธร ไปด้วยกัน ไปได้ไกล” ซึ่งเป็นการทำงานที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยเฉพาะคนชายขอบ โดยขอให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาชน ให้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อเดินหน้าและก้าวไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของการสร้างฝายมีชีวิต ตามโครงการสานพลังประชารัฐฯ ของจังหวัดฉะเชิงเทรานั้น ขณะนี้ได้ดำเนินการสร้างไปแล้วกว่า 30 ฝาย และที่รอดำเนินการอีก 20 ฝาย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด 90 ฝาย ในปี 2561 ซึ่งโครงการนี้ นอกจากจะช่วยพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่แล้ว โครงการดังกล่าวยังเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ให้ทุกภาคส่วนได้น้อมนำหลักแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์ของพระราชาไปปรับใช้กับการดำรงชีวิต และเป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อนำความผาสุกสู่ตัวเองและชุมชนตลอดไป ในโอกาสเดียวกันนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้กล่าวฝากขอให้ทุกคนมีความตั้งใจในการนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ใช้หลักการอดทน อดกลั้น โอบอุ้มคนชายขอบ และขอให้คนชายขอบพึงระลึกเสมอว่า “ความยากจนไม่ใช่กรรมพันธุ์ แก้ไขด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
17 ก.พ. 2561
ตะลุยสวนผลไม้เมืองจันทบุรี ตอนที่ 3 สวนลำไย
ผลผลิตลำไย สายพันธุ์อีดอ จำนวนมากมายเหล่านี้ กำลังรอการเก็บเกี่ยวเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีนคู่ค้าลำไยรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี มีการปลูกลำไยและพืชเศรษฐกิจสำคัญ ซึ่งจะเป็นลำไยนอกฤดูกาล และกว่า 20 ปีมาแล้วที่ชาวสวนลำไยในพื้นที่โป่งน้ำร้อน หันมาปลูกลำไยกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะสภาพพื้นที่ ที่เอื้อต่อการปลูกลำไยนอกฤดูกาล โดยผลผลิตของลำไยเหล่านี้ ในปีหนึ่งๆ มีปริมาณหลายแสนตัน สร้างรายได้แก่เกษตรกรในภาพรวมนับหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว วิชาญ ตะพัง เจ้าของสวนลำไย อำเภอโป่งน้ำร้อน เล่าว่า ลำไยของชาวสวนที่นี้ 100 เปอร์เซ็นต์จะส่งออกไปประเทศจีนในหลายมณฑล โดยเฉพาะมณฑลกวางเจา โดยมีการจองและทำสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้า ตั้งแต่ลำไยยังไม่ผลิดอกออกผล เรียกว่า การซื้อ "ใบ" ส่วนเหตุผลที่ลำไยที่นี้เป็นที่ต้องการของชาวจีนนั้น เพราะคุณภาพของลำไยที่มีผลใหญ่ เนื้อแห้ง รถชาติหวานหอมและขายได้ราคาดี ส่งผลให้ชาวสวนปลูกกันมากขึ้น เช่นเดียวกับผลผลิตและความต้องการของผู้ซื้อ หรือล้งจากจีน ที่มีมากขึ้นเช่นกัน
14 ก.พ. 2561
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดโครงการประกวดนวัตกรรมชุมชนและนักวิจัยดีเด่นด้านการใช้ป
หม่อมหลวงปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดโครงการ การประกวดนวัตกรรมชุมชนและนักวิจัยดีเด่นด้านการใช้ประโยชน์ ที่ห้องประชุมศิวาลัย ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ภายใต้งานมหกรรมวิชาการและวัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 2 (The 2 nd Buriram Rajabhat Conference and Cultural Festival 2018 : BRICC Festival 2018) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมต่างๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ระหว่างชุมชนกับชุมชน และระหว่างชุมชนกับนักวิจัย ตลอดทั้งการค้นหาและยกย่องผลงานนวัตกรรมชุมชนดีเด่นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสร้างนักวิจัยดีเด่นด้านการใช้ประโยชน์ที่มีผลงานวิจัยที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่วัดผลได้ มีบุคลากร นักวิจัย นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแข่งขัน จำนวน 37 ผลงาน เช่น การจักสาน แปรรูปผ้าไหม และออกแบบผ้าไหมด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กุ้งจ่อมผงโดยการอบแห้ง อุปกรณ์ lot สำหรับการเกษตร ชุดห่อผลไม้ป้องกันแมลงการบริการจัดการเกษตรทฤษฎีใหม่ การบริหารจัดการขยะ สมุนไพร ข้าวเม่านางรอง การพัฒนาอาหารท้องถิ่น และอื่นๆอีกหลายผลงาน หม่อมหลวงปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่มุ่งเน้นให้คณาจารย์ได้นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในศาสตร์ไปใช้ในกาพัฒนาท้องถิ่นกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง สอดรับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล เกิดการนำผลผลิตทางงานวิจัยหรือนวัฒกรรมไปใช้ประโยชน์จริง ประยุกต์สู่การพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
14 ก.พ. 2561
สำนักงานปศุสัตว์ จ.แม่ฮ่องสอน จัดอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครปศุสัตว์ ด้านโรคสุนัข โรคพิษสุนัขบ้า
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครปศุสัตว์ ด้านโรคสุนัข โรคพิษสุนัขบ้า วันนี้ (14 ก.พ. 61) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดอบรมเพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครปศุสัตว์ ด้านโรคสุนัข โรคพิษสุนัขบ้า โดยมีเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่อำเภอขุนยวม และอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จำนวน 30 คน เข้าร่วมการอบรมที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้ยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เพื่อสร้างอาสาปศุสัตว์รุ่นใหม่และพัฒนาอาสาปศุสัตว์เดิมที่มีอยู่แล้วให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และบูรณาการการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าอย่างยั่งยืน ในรูปแบบของประชารัฐโดยความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชนและประชาชน โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัส มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัขและ แมว เป็นพาหะนำโรคเป็น การป้องกัน ควรนำสุนัขและแมว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัข ทุกปี จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประชากรสุนัขที่มีเจ้าของ 21,14 7 ตัว ไม่มีเจ้าของ 117 ตัวแมวมีเจ้าของ 9,006 ตัว ไม่มีเจ้าของ 106 ตัว ในปี 2560 ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขแล้วจำนวน 7 ,623 ตัว แมวจำนวน 2,711 ตัว
14 ก.พ. 2561
หวานชื่น 11 คู่รัก ยะลา ถือฤกษ์ดีเริ่มต้นชีวิตคู่ จดทะเบียนสมรส สัญญารัก เขานางแก้ว “วันวาเลนไทน์”
หวานชื่น 11 คู่รัก ยะลา ถือฤกษ์ดีเริ่มต้นชีวิตคู่ จดทะเบียนสมรส สัญญารัก เขานางแก้ว “วันวาเลนไทน์” บรรยากาศในวันแห่งความรัก หรือวันวาเลนไทน์ ในพื้นที่จังหวัดยะลา เป็นไปอย่างคึกคัก มีคู่รัก จำนวน 11 คู่ จูงมือขึ้นไปบนจุดชมวิวเขานางแก้ว บ้านปอเยาะ หมู่ที่ 4 ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อร่วมจดทะเบียนสมรสในวันแห่งความรัก ซึ่งอำเภอเมืองยะลาได้จัดกิจกรรมการจดทะเบียนสมรสให้คู่รัก หรือคู่แต่งงานที่ประสงค์จะนิติกรรมความมั่นคงของครอบครัวให้ยั่งยืนสืบไป ขณะที่บรรยากาศบริเวณจุดชมวิวเขานางแก้ว เจ้าหน้าที่อำเภอเมืองยะลา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ประดับตกแต่งจุดชมวิวเขานางแก้วไว้อย่างสวยงาม เพื่อให้เป็นสถานที่ถ่ายรูปของคู่บ่าวสาว และญาติพี่น้องได้มาร่วมถ่ายรูป พร้อมทั้งจัดขบวนขันหมาก ผ่านประตูเงิน ประตูทอง ตามประเพณีการแต่งงาน โดยแต่ละคู่ก็จะมีการบอกรัก หอมแก้มกันอย่างหวานชื่น ซึ่งการจดทะเบียนสมรสครั้งนี้มีนายก้องสกุล จันทราช นายอำเภอเมืองยะลา เป็นนายทะเบียนอำเภอเมืองยะลา ลั่นระฆังวิวาห์ พร้อมกล่าวอวยพรให้คู่บ่าวสาวที่ร่วมจดทะเบียนสมรสมีความสุข และให้ใช้เหตุผลหันหน้าเข้ามากันเมื่อเกิดทะเลาะเบาะแว้ง รวมทั้งยึดหลักพอพียงในการดำเนินชีวิตคู่ให้ยาวนาน โดยมีแขกผู้มีเกียรติ ครอบครัว ญาติพี่น้องของคู่รัก ทั้ง 11 คู่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่อำเภอเมืองยะลา ร่วมเป็นสักขีพยานแห่งรัก ขณะที่คู่รักบางคู่ ซึ่งฝ่ายชาย เป็นคนในพื้นที่จังหวัดยะลา ส่วนฝ่ายหญิงเป็นชาวกรุงเทพฯ ชาวสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอื่นๆ ส่วนบางคู่ฝ่ายชายเป็นคนจากต่างพื้นที่ ต่างก็รู้สึกดีใจที่ได้มาเข้าร่วมจดทะเบียนสมรสในวันแห่งความรักที่เขานางแก้ว และไม่รู้สึกกลัวที่ได้มาจังหวัดยะลา และมีคนรักอยู่ที่จังหวัดยะลา ประชาชนในพื้นที่เป็นคนน่ารักทุกคน และสัญญาจะรักกันมั่งคงตลอดไป ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการจดทะเบียนสมรสในวันแห่งความรัก (วันวาเลนไทน์) อำเภอเมืองยะลา ได้จัดทำโครงการขึ้นที่เขานางแก้ว ซึ่งเป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แห่งใหม่ของอำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อให้คู่บ่าวสาวได้มาสัมผัสบรรยากาศแห่งความอบอุ่น และไออุ่นของธรรมชาติที่เหมาะสมกับวันแห่งความรักในปี 2561
14 ก.พ. 2561
จ.ลำปาง เดินหน้าสานต่อโครงการตลาดประชารัฐ เปิดอบรมเทคนิคการขายให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่
จังหวัดลำปาง เดินหน้าสานต่อโครงการตลาดประชารัฐ เปิดอบรมเทคนิคการขายให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ จังหวัดลำปาง โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดลำปาง ร่วมบูรณาการกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง จัดกิจกรรมเชิงรุกเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐด้านการพัฒนาอาชีพ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างเป็นระบบ ร่วมกันนำตัวแทนผู้ประกอบการค้าทุกประเภทในตลาดประชารัฐ จากเขตพื้นที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดลำปาง เข้าฝึกอบรมเสริมทักษะแนวคิดเทคนิควิธีการขายและการสร้างตลาดเพื่อการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า ซึ่งได้มีการจัดการฝึกอบรมขึ้น ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลำปาง ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีนายศรีโรจน์ นิมมานพัชรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ พร้อมกล่าวให้โอวาทบรรยายพิเศษมอบแนวคิดในการพัฒนาเทคนิควิธีการขายและการทำตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการในตลาดประชารัฐของจังหวัดลำปาง สามารถทำการค้าได้ด้วยตนเอง เพื่อการมีรายได้มีความมั่นคงในอาชีพอย่างยั่งยืน โดยการฝึกอบรมมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าชุมชนประเภทต่างๆ ทั้งสินค้าเกษตร OTOP SMEs วิสาหกิจชุมชน ร้านอาหาร หาบเร่ แผงลอย จากตลาดประชารัฐในเขตพื้นที่ 5 อำเภอ ทั้งจากอำเภอเมืองลำปาง ห้างฉัตร งาว แม่ทะ และอำเภอเถิน รวมจำนวนทั้งสิ้น 114 คน ให้ความสนใจเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะแนวคิดเทคนิควิธีการขายร่วมกัน ทั้งนี้ สำหรับการฝึกอบรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งภายใต้โครงการ “การอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการในตลาดประชารัฐจังหวัดลำปาง” ซึ่งทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดลำปาง ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนสานต่อนโยบายของรัฐบาล ด้านการช่วยเหลือสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ผลักดันและต่อยอดแนวความคิดเสริมประสบการณ์ในการพัฒนาขีดความสามารถทางการค้าแก่ผู้ประกอบการค้าในตลาดประชารัฐ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทักษะและองค์ความรู้ในเรื่องเทคนิควิธีการทำธุรกิจการค้าการขาย พร้อมทั้งสามารถที่จะต่อยอดนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในการสร้างธุรกิจของตนเองได้ตลอดห่วงโซ่ทั้งด้านการผลิตและการตลาด โดยการฝึกอบรมครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นในการที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับ การบริหารต้นทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า การวิเคราะห์ตลาด รวมถึงการถ่ายทอดแนวความคิดการบริหารธุรกิจเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่การผลิตสินค้าเชิงนวัตกรรมและบริการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าในตลาดประชารัฐจังหวัดลำปาง สามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์แนวคิดไปพัฒนาต่อยอดใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจของตนเองให้สามารถดำเนินอยู่รอดต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในการฝึกอบรมได้รับเกียรติจาก อาจารย์ปรีดา กัญจะนะ, อาจารย์กรณิศ เปี้ยอุดร, อาจารย์ญาดา คำลือมี คณาจารย์หลักสูตรการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง มาร่วมเป็นทีมวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น การให้ความรู้ในเรื่องการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย, เรื่องเทคนิควิธีการบริหารคิดคำนวณต้นทุน และเรื่องเทคนิควิธีการขายกับการทำตลาดการพัฒนาสินค้าให้ต้องใจตลาด เป็นต้น
14 ก.พ. 2561
วันจ่ายตรุษจีน ชาวไทยเชื้อสายจีนเตรียมไหว้เทพเจ้า-บรรพบุรุษ จับจ่ายซื้ออาหารสด ขนม และผลไม้มงคลตั้
วันจ่ายตรุษจีน ชาวไทยเชื้อสายจีนเตรียมไหว้เทพเจ้า-บรรพบุรุษ จับจ่ายซื้ออาหารสด ขนม และผลไม้มงคลตั้งแต่ช่วงเช้า ขณะ ตำรวจ ภาคประชาชน อำนวยความสะดวกดูแลความปลอดภัย บรรยากาศวันจ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีน วันนี้ (14 ก.พ. 61) ที่ตลาดสดรถไฟ เขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นไปอย่างคึกคักตั้งแต่ช่วงเช้า มีประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนทยอยเดินทางออกมาจับจ่าย เลือกซื้อผลไม้มงคล ส้ม องุ่น ขนมเข่ง ขนมเทียน ขนมถ้วยฟู ขนมสาลี่ เนื้อหมูย่าง หมูสด ไก่ต้ม ไก่ย่าง เป็ดย่าง เป็ดต้มพะโล้ อาหารทะเล ผักสด และอื่นๆ กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดเตรียมสำหรับประกอบอาหารไหว้เทพเจ้า และไหว้บรรพบุรุษในวันไหว้ช่วงเทศกาลตรุษจีน ที่จะมาถึงวันพรุ่งนี้ (15 ก.พ. 61) โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองยะลา ภาคประชาชน คอยอำนวยความสะดวกในด้านการจราจร และดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน ซึ่งตลอดทั้งวันในพื้นที่จังหวัดยะลา จะมีประชาชน ออกมาจับจ่ายซื้อของทั้งในตลาดสด และในย่านการค้าเขตเมืองยะลาช่วงเทศกาลตรุษจีน จำนวนมาก ขณะที่ในปีนี้ราคาอาหาร ขนมไหว้เจ้าต่างๆ ยังคงเดิมไม่ปรับราคาขึ้นแต่อย่างใด เนื้อหมูแดง กิโลกรัมละ 150 บาท หมูสามชั้น กิโลกรัมละ 150 บาท ไก่สด กิโลกรัมละ 190 บาท เป็ดพะโล้ กิโลกรัมละ 490 บาท ไก่ต้ม ไก่ย่าง กิโลกรัมละ 300 บาท หมูย่าง กิโลกรัมละ 490 บาท ผักกาดขาว กิโลกรัมละ 35 บาท คะน้า กิโลกรัมละ 30 บาท กะหล่ำปลี กิโลกรัมละ 40 บาท ผักบุ้ง กิโลกรัมละ 40 บาท หัวผัก กิโลกรัมละ 30 บาท ขนมเข่ง กิโลกรัมละ 100 บาท ขนมเทียน 200 บาท ส่วนขนมสาลี่ ขนมอื่นๆ ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ อื่นๆ ก็ยังราคาคงเดิม มีบางชนิดที่ปรับขึ้นเล็กน้อย
14 ก.พ. 2561
ผู้ตรวจสำนักนายกฯ ติดตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ จ.สมุทรปราการ
ผู้ตรวจสำนักนายกฯ ติดตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ จ.สมุทรปราการ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ตามแผนตรวจราชการแบบบูรณาการที่จังหวัดสมุทรปราการ นายจิรายุ นันท์ธราธร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 3 และคณะฯ เดินทางไปตรวจติดตามการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและการดำเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัด ตามแผนตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ที่จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อรับทราบความก้าวหน้าและอุปสรรคในการดำเนินงาน โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อมูล ภายหลังจากร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะฯ ได้ลงพื้นที่ ตรวจติดตามโครงการส่งเสริมการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานด้านพืช กิจกรรมส่งเสริมการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม่สมุทรปราการคุณภาพเชิงการค้า โดยเป็นโครงการเพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสมุทรปราการ (อพ.สธ.สป.) และสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรโดยการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จากนั้นได้เดินทางไปตรวจติดตามโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตในพื้นที่ระเศรษฐกิจภาคตะวันออก กิจกรรมปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 3344 ตอน อุดมสุข-สมุทรปราการ โดยเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้การเดินทาง การขนส่งสินค้า ทำได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน
14 ก.พ. 2561
รายการเดินหน้าประเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรีฉบับประชาชน วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานแห่งชาติ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการบริหารจัดการ ดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ เฉพาะที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชุมชนนั้นๆ ให้มีอำนาจในการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน หรือสถานที่ที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ที่ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของผู้ใด หรือสถานที่ไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้ก่อน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทำได้ รวมทั้งมีอำนาจในการอนุรักษ์คุ้มครองรักษาปรับปรุงโบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ขึ้นทะเบียนไว้ และสามารถออกข้อบัญญัติในการเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าชมจากประชาชนได้ คณะรัฐมนตรีรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 7) เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับ โดยมุ่งคุ้มครองลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติแต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม ตามมาตรฐานฝีมือ 4 กลุ่มอุตสาหกรรม 16 สาขาอาชีพ
12 ก.พ. 2561
รายงาน : มหาสารคาม ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร พร้อมเติมเต็มภูมิปัญาท้องถิ่น ผลักดันเกษตรกรสู่เป้าห
ผลผลิตมีคุณภาพ ต้นทุนการผลิตลดลง และยังมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นความต้องการของเกษตรกรยุคใหม่ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีทางการเกษตร กิจกรรมในโครงการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตร ของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรจังหวัดมหาสารคาม จึงเป็นความหวังของเกษตรกร จาก จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และมุกดาหาร ที่มาหาความรู้เพิ่มเติมจากแปลงเกษตรสาธิต และได้เรียนรู้รายละเอียด ลึกไปจนถึงขั้นตอนลงมือ ฝึกการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ นายอิทธิพล ไชยวุฒิ เกษตรกร จ.ร้อยเอ็ด บอกว่า การฝึกเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย ตรงกับสิ่งที่ต้องการเติมเต็มให้กับสวนกล้วย ในไร่นาสวนผสม ได้เข้าใจวิธีขยายต้นพันธุ์ที่ปลอดโรค ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพดี และยังสามารถขยายพันธุ์กล้วยรองรับการจำหน่ายต้นพันธุ์ได้ด้วย นายมงคล คงสุข ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ศูนย์ส่งเสริมฯ มีพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ ความท้าทายของศูนย์ฯ คือ ต้องตอบโจทย์ของเกษตรกรในยุคปัจจุบัน และวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตให้ได้ เทคโนโลยีและความรู้สมัยใหม่ด้านการเกษตร จึงถูกนำมาใช้ทดสอบและสาธิต ทั้งในห้องปฏิบัติการ ไปจนถึงแปลงเกษตรและพันธุ์พืชหลายชนิด เพื่อผลักดันเกษตรกรให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์อย่างสมบูรณ์แบบ หลักสูตรถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตร ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ออกแบบมาสำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกรยุคใหม่ เน้นทั้งภาคทฤษฎี เติมเต็มภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้าน และการลงมือทดลองปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในด้านการเพาะปลูกอ้อย กล้วย และไม้ผลอื่นๆ รวมถึงการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยเพิ่มจุดแข็งให้กับเกษตรกร ที่กำลังก้าวสู่ความเป็นเกษตรกรมืออาชีพ กิจกรรมของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรจังหวัดมหาสารคาม นับเป็นอีกหนึ่งกลไกภาครัฐ ในการขับเคลื่อนด้านการเกษตรตามนโยบายรัฐบาล ที่กำลังเร่งรัด เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ โดยดูแลเกษตรกรให้มีรายได้เหมาะสม ด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเกษตรกรดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ชัยชนะ แดงทองคำ ส.ปชส.มหาสารคาม / รายงาน
12 ก.พ. 2561
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OOS) เพื่อให้บริการแรงงานต่างด้าว แล
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OOS) เพื่อให้บริการแรงงานต่างด้าว แล้วเสร็จในจุดเดียว จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีแรงงานต่างด้าวจำนวน 3,089 คนเป็นแรงงานชาวเมียนมา 3,084 คนชาวกัมพูชา 2 คนชาวลาว 3 คน พิสูจน์สัญชาติแล้ว 2,468 คนยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ 621 คน จากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสามารถอยู่ต่อในราชอาณาจักรและขออนุญาตทำงาน ทั้งผู้ถือบัตรสีชมพู และกลุ่มใหม่ซึ่งผ่านการคัดกรองไปเมื่อปีที่แล้ว โดยทุกคนต้องมารายงานตัวที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561 ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่บริเวณหลังหอประชุมอำเภอเมือง แม่ฮ่องสอน มีหน่วยงานต่างๆประกอบด้วยสำนักงานจัดหางาน ปกครองจังหวัด สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานประกันสังคม และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้บริการจัดทำทะเบียนประวัติ ตรวจลงตราวีซ่า (Visa) ตรวจสุขภาพ/ประกันสุขภาพ และขอใบอนุญาตทำงาน โดยให้บริการไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 ไม่เว้นวันหยุดราชการ และเตรียมออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ในพื้นที่ดำเนินการ อำเภอปายและอำเภอปางมะผ้า ครั้งที่ 1 วันที่ 19-23 กุมภาพันธ์ ครั้งที่ 2 วันที่ 12-16 มีนาคม ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอปาย และในพื้นที่ดำเนินการ อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอสบเมยและอำเภอแม่สะเรียง ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม ครั้งที่ 2 วันที่ 21-23 มีนาคม 2561 ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง จึงขอให้แรงงานต่างด้าวทั้ง 2 กลุ่มมารายงานตัวเพื่อดำเนินการปรับปรุง/จัดทำทะเบียนประวัติ ตรวจลงวีซ่า (Visa) ตรวจสุขภาพ/ประกันสุขภาพ และขอรับใบอนุญาตทำงาน ตามวัน เวลา สถานที่ดังกล่าว/
12 ก.พ. 2561
อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี สืบสานงานแต่ง 4 ชาติพันธ์ สัญญารักบนสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำแม่ประจั
นางวิพร แววศรีผ่อง นายอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า หนองหญ้าปล้อง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี มีพี่น้องประชาชนถึง 4 ชาติพันธุ์ อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความปรองดองสมานฉัน ผูกพันสายใยสายสัมพันธ์มาเนิ่นนาน แต่ละชาติพันธ์สืบสานวัฒนธรรมความรักแตกต่างกัน จึงจัดให้มีพิธีสืบสานงานแต่ง 4 ชาติพันธ์ สัญญารักบนสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำแม่ประจันต์ ยืนยันรักแท้ไม่แปรผัน มีการจัดงานแต่งงานตามแบบประเพณีของแต่ละชาติพันธ์ที่สืบทอดมาแต่โบราณ เช่น พิธีงานแต่งของชาวกระเหรี่ยง คู่บ่าวสาวจะแสดงออกถึงความรัก ความอ่อนโยน ผู้หญิงที่เป็นเจ้าสาวจะเริ่ม ด้วยการนำน้ำสะอาดที่สุดมาล้างเท้าฝ่ายชาย เมื่อเสร็จแล้วจะต่อด้วยการนำน้ำขมิ้นมาล้างต่อจากน้ำสะอาด พร้อมทั้งนำมวยผมของเจ้าสาวมาปัดที่เท้าเจ้าบ่าวด้วย และยังมีขั้นตอนพิธีการที่น่าสนใจ แต่ละขั้นตอนรวมทั้งจดทะเบียนสมรสให้ด้วย นายอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า พิธีแต่งงาน 4 ชาติพันธุ์ มีทั้งชาวกระเหรี่ยง, ไทยทรงดำ ,จีน และไทย ประเพณีแบบดั้งเดิมที่หาดูชมยาก นอกจากร่วมสืบสานงานแต่ง 4 ชาติพันธ์ สัญญารักบนสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำแม่ประจันต์ ยืนยันรักแท้ไม่แปรผันแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ หลากหลาย เขากระทิง น้ำตกแม่กระดังงา บ่อน้ำพุร้อน รอยพระบาท วัดวังพุไทร ซึ่งเป็นวัดสมัยรัชกาลที่ 4 มีศิลปะโบราณสวยงามตระการตา ที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ทรงสร้างไว้เป็นวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ศาสนา จึงอยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่มีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีในวันที่ 14 วันแห่งความรักนี้ แวะไปที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี และผู้สนใจที่อยากแต่งงานแบบวิถีไทย ทั้ง 4 ชาติพันธ์แจ้งความประสงค์ได้ที่นายอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี 081-8673475
12 ก.พ. 2561
จ.พิจิตร ผุดโครงการ “สังคมเรา เราต้องดูแล” ขยายผลนโยบายรัฐบาล ไทยนิยม ยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม
จังหวัดพิจิตร ผุดโครงการ “สังคมเรา เราต้องดูแล” ขยายผลนโยบายรัฐบาล ไทยนิยม ยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม วันนี้ (12 ก.พ.61) นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร แถลงแผนปฏิบัติการ “โครงการสังคมเรา เราต้องดูแล” โดยมีส่วนราชการ ผู้นำชุมชน และสื่อมวลชน ร่วมรับฟังและเสนอความคิดเห็น ณ โรงแรมมีพรสวรรค์ อ.เมืองพิจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า โครงการ “สังคมเรา เราต้องดูแล”ของจังหวัดพิจิตร จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศภายใต้โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ให้เกิดประสิทธิภาพ ด้วยการวางรากฐานการแก้ปัญหาสำคัญของจังหวัดพิจิตร ที่สอดคล้องกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านยาเสพติด อุบัติเหตุทางถนน และผักตบชวาในแหล่งน้ำ ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนพิจิตรทุกคน นางณิทฐา แสวงทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร หัวหน้าคณะทำงานด้านการแก้ปัญหายาเสพติด กล่าวถึงกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน คือคนในชุมชน เด็ก เยาวชนในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา มุ่งเน้นให้ทุกโรงเรียนเป็นสมาชิกชมรมทูบีนัมเบอร์วัน และมีแนวทางลดพื้นที่เสี่ยง ลดจำนวนผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตลอดจนมาตรการการสกัดกั้นยาเสพติด นายสมภพ สมิตะสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร หัวหน้าคณะทำงานด้านการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน กล่าวถึงมาตรการสำคัญในการดำเนินงาน ว่าเน้นหนักการบังคับใช้กฎหมาย จับปรับจริง 100 เปอร์เซ็นต์ การตั้งด่านชุมชนสกัดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนน ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมทุกครัวเรือนทุกชุมชน ด้วยกิจกรรม “เคาะประตูบ้าน” กิจกรรมสร้างความปลอดภัย และจัดทำธรรมนูญหมู่บ้าน เพื่อเป็นบทบัญญัติของหมู่บ้านในการแก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน โดยมีหมู่บ้านต้นแบบ คือบ้านเนินหัวโล้ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร ซึ่งได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก ว่าเป็นชุมชนตัวอย่างด้านความปลอดภัยทางถนน เป็นหมู่บ้านตัวอย่างขยายผลไปยังหมู่บ้านชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่ นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ ปลัดจังหวัดพิจิตร หัวหน้าคณะทำงานด้านการแก้ปัญหาผักตบชวา กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาว่า มีแนวทางส่งเสริมรายได้ให้ชุมชนด้วยการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา โดยมีพื้นที่เรียนรู้ที่บ้านวังกร่าง ต.เนินมะกอก อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร นอกจากนั้น ยังเตรียมจัดตั้งชุมชนคนริมน้ำเพื่อดูแลแม่น้ำด้วยกัน ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า โครงการสังคมเรา เราต้องดูแล เน้นหนักที่การวางรากฐานแก้ปัญหา 3 ด้าน คือยาเสพติด อุบัติเหตุทางถนน และกำจัดผักตบชวา จะมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โครงการพัฒนาประเทศตามนโยบาย ไทยนิยม ยั่งยืน ของรัฐบาลประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้ความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของชุมชน และคนพิจิตร
12 ก.พ. 2561
จ.อุดรธานี จัดงานมหกรรมผ้าทอมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงยิ่งใหญ่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2561
จังหวัดอุดรธานีและกลุ่มจังหวัดภาคตะวนันออกเฉียงเหนือตอนบนจัดงาน "มหกรรมผ้าทอมือ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง : GMS Fabric Expo 2018" ภายใต้แนวคิด Colorful Fabric Life : อลังการสีสันผ้าทอมือแห่งลุ่มน้ำโขง สะท้อนภาพเส้นสายลายผ้า เชื่อมโยงสีสันแห่งวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมถักทอ ร้อยเรียงกันจากทั้ง 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2561 งานนี้นักเลงผ้าห้ามพลาด เมื่อเวลา 17.00 น. วันนี้ ( 12 ก.พ.61 ) ที่หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมผ้าทอมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง GMS FABRIC EXPO 2018 ภายใต้แนวคิด Colorful Fabric Life :อลังการสีสัน ผ้าทอมือแห่งลุ่มน้ำโขง โดยมีนายสิธิชัย จินดาหลวง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแถลงข่าว มีหัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมงาน นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภาคเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ มุ่งเน้นการสร้างเข้มแข็งของฐานการผลิตและบริการใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมควบคู่ไปด้วยกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญกับการพัฒนา คือ "เพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจนสู้เป้าหมายการพึ่งพาตนเอง" และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รวมถึงการยกมาตรฐานสินค้ากลุ่มผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าย้อมคราม และส่งเสริม พื้นที่ที่มีศักยภาพให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในระดับภูมิภาค นายสิธิชัย จินดาหลวง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า งาน "มหกรรมผ้าทอมือ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง : GMS Fabric Expo 2018" จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Colorful Fabric Life : อลังการสีสันผ้าทอมือแห่งลุ่มน้ำโขง ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงเส้นสายลายผ้า ซึ่งเชื่อมโยงสีสันแห่งวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมถักทอ ร้อยเรียงกันจากทั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีนตอนใต้(ยูนนาน) สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนามเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติที่ประเทศไทย โดยจังหวัดอุดรธานีและกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเจ้าภาพร่วมกัน เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติข้างต้นและนโยบาย ของรัฐบาล เรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งและยังยืนให้กับเศรษฐกิจของประเทศ (Local Economy) ภายใต้โครงการยกระดับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลาง การออกแบบ และการค้าขายอย่างครบวงจร กิจกรรมภายในงานจัดให้มี การแสดงนิทรรศเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 นิทรรศการอารยธรรมและนวัตกรรมอนุภูมิภาคุล่มน้ำโขง (GMS) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวน Carnival ยิ่งใหญ่อลังการ "อารยธรรมผ้าทอพื้นเมืองกับวิถีชีวิตอีสาน" ขบวน "อารยธรรมผ้าทอมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับศรัทธาแห่งสายน้ำนานาชาติ นาคี นาคา และ ขบวน"ผ้าทอมือนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรมร่วมสมัย" ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ที่สำคัญของงานที่จะสร้างความฮือฮาให้ท้องถนนทุ่งศรีเมืองเต็มไปด้วยความตระการตา ทั้งจากเสียงดนตรีเอกลักษณ์ภาคอีสาน การแต่งกายที่มีสีสัน เรียกได้ว่าเป็นขบวนคาร์นิวัลที่ไม่แพ้ต่างประเทศแน่นอน การประกวดแฟชั่นโชว์เก๋ไก๋ไทยแลนด์ 4.0 การประกวดออกแบบชุดแต่งกายพื้นเมืองหรือผ้าประจำถิ่น การเสวนากูรูผ้าทอพื้นเมืองจากประเทศไทยและประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มนำโขง การจับคู่เจรจา Business Matching และการลงนาม MOU ความร่วมมือในการพัฒนาผ้าทอพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมกันของกลุ่มจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การแสดงของศิลปินชื่อดังระดับประเทศ การแสดงที่โดดเด่นเอกลักษณ์ของจังหวัดต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการแสดงของประเทศในกลุ่มประเทศ GMS การประกวดผ้าทอมือนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ การประกวดผ้าทอมือร่วมสมัย การประกวดหนูน้อยผ้าทอมือลุ่มน้ำโขงทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การประกวดธิดาวัยทีน-ผ้าทอมือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การประกวดเทพบุตรจากทั่วประเทศ การประกวดผ้าประเภทอนุรักษ์ ประกวดลายผ้า ประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมผ้าทอมือ ประกวดภาพถ่ายกิจกรรมการจัดงาน ประกวดและสาธิตการประกอบอาหารนานาชาติและร้านอาหารดั้งเดิมของจังหวัดอุดรธานี การแสดงนิทรรศการและการออกร้านจัดจำหน่ายสินค้าผ้าทอพื้นเมืองที่โดดเด่น (Premium) ทั้งในประเทศและประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อาทิ กัมพูชา จีนตอนใต้(ยูนนาน) สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม พร้อมกันนี้ ยังมีการจัดแสดงลานวัฒนธรรมกลางแจ้งจำลองสถานที่ แหล่งลานวัฒนธรรมอีสาน และของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ร่วมชม ชิม ช็อป ลานอาหารชวนชิมและ Street Food ร้านอาหารนานาชาติ 6 ประเทศ และร้านอาหารไทย 4 ภาค กว่า 40 ร้าน นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะเกิดการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองตามแนวทางความคิดสร้างสรรค์ และการเพิ่มรายได้แก่ประชาชน และกลุ่มผู้ผลิตผ้าพื้นเมืองของจังหวัดอุดรธานี และภาคอีสาน ตลอดจนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาระหว่างกัน เชื่อมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 อย่างได้ผล พร้อมการันตีงานนี้ นักเลงผ้า ประชาชน นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ ไม่ควรพลาด เพราะท่านจะได้สัมผัสกับ พลังแห่งความภาคภูมิในภูมิปัญญา พลานุภาพแห่งศรัทธา มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติซึ่งจังหวัดอุดรธานี มีความพร้อมเตรียมต้อนรับประชาชนและนักท่องเที่ยว กับงาน "มหกรรมผ้าทอมือ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง : GMS Fabric Expo 2018" วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2561 ณ สนามทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุดรธานี เชิญมาชม ชิม ช็อปแบบชิลๆ กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของดีที่โดดเด่นของ 6 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และประเทศไทย พร้อมผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา อาหารนานาชาติ ขอย้ำนักเลงผ้าไม่ควรพลาดงานนี้ที่อุดรธานี
12 ก.พ. 2561
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ วางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเชิญชวนแรงงานต่างด้าวทั้งที่พิสูจน์สัญชาติแล้วและไม่ได้เข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ สามารถมาจดทะเบียนได้ที่ศูนย์ OSS ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561เท่านั้น นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดประชุมเร่งรัดให้แรงงานต่างด้าวดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ห้องศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดเชียงใหม่ (POC) ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม พร้อมประชุมวิดีทัศน์ทางไกล (Video Conference) เพื่อชี้แจงนโยบายให้กับแต่ละอำเภอให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 เห็นชอบการผ่อนผันให้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ทำงานในประเทศไทยให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงรอยต่อจึงมีแรงงานต่างด้าวมาพิสูจน์สัญชาติจำนวนน้อย จึงขอย้ำให้แรงงานต่างด้าวไปดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติ หรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตรวจลงตรา(Visa) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ และขออนุญาตทำงาน ที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จจังหวัดเชียงใหม่(OSS) อาคารปรับปรุงคุณภาพ ศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป ซึ่งแรงงานต่างด้าวต้องดำเนินการ ดังนี้ 1.) แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติแล้ว (เมียนมา ลาว และกัมพูชา) ให้ไปดำเนินการทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตรวจลงตรา ( Visa) ขออนุญาตทำงาน ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือทำประกันสุขภาพ(แล้วแต่กรณี) ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จจังหวัดเชียงใหม่(OSS) ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561 ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้ว จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 2.) แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ให้ไปดำเนินการทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จจังหวัดเชียงใหม่(OSS) อาคารปรับปรุงคุณภาพ ศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561 และให้ไปเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์บริการเพื่อการทำงานของคนต่างด้าวจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกับ ศูนย์ OSS เมื่อพิสูจน์สัญชาติแล้วจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตให้ทำงานได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 นางพรปวีณ์ วิชิต จัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีจำนวนแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวนทั้งสิ้น 123,269 คน ซึ่งอำเภอที่มากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมือง จำนวน 5,854 คน รองลงมาคืออำเภอสันทราย จำนวน 2,397 และอำเภอแม่ริม จำนวน 1,232 คน โดยได้ใช้หลายวิธีในการติดตามแรงงานเข้าศูนย์พิสูจน์สัญชาติจังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการติดต่อโทรศัพท์ส่วนตัว , ส่ง SMS/ส่งจดหมาย , ตรวจเยี่ยม/เคาะประตูบ้าน , ประชุมชี้แจงกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน โดยได้มีการอำนวยความสะดวกให้กับนายจ้าง/สถานประกอบการ สามารถติดต่อจองคิวนัดหมายล่วงหน้าเพื่อนำแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการของตนไปเข้ารับบริการที่ศูนย์ฯ ทางหมายเลขโทรศัพท์ 085-695-5571 ระหว่างเวลา 9.00 - 16.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่(สาขาย่อย) ศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ โทร.0-5311-2911 หรือ Line id : @doecmi ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้เน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเชิญชวนแรงงานต่างด้าวทั้งที่พิสูจน์สัญชาติแล้ว และไม่ได้เข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ จะต้องมาจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ และดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ ศูนย์ OSS ภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้เท่านั้น หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวจะไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ และจะส่งผลให้เป็นแรงงานที่อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างผิดกฎหมาย เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรฐานสากล เช่น สิทธิด้านการประกันสังคม การคุ้มครองดูแลตามกฎหมายโดยยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ
12 ก.พ. 2561
จ.บึงกาฬ ตลาดเนื้อหมูราคาถูกลงรับตรุษจีนแต่เงียบเหงา
จังหวัดบึงกาฬ ตลาดเนื้อหมูราคาถูกลงรับตรุษจีนแต่เงียบเหงา ผู้สื่อข่าวจากจังหวัดบึงกาฬ ได้ลงพื้นที่ตลาดสดเทศบาลตำบลบึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ สำรวจราคาเนื้อสัตว์ ทั้งเนื้อหมู ไก่ เป็ด ก่อนที่จะถึงวันจ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนในปีนี้ พบว่าราคาเนื้อหมู ขยับลงจากกิโลกรัมละ 140 บาท ลดลงเหลือราคากิโลกรัมละ 120 บาท ทุกชนิด ทั้งหมูเนื้อแดง สันใน สันนอก สามชั้น หมูบด ซี่โครง ส่วนราคาหัวหมูที่นิยมนำไปใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง จากที่เคยขายหัวละ 400 – 500 บาท ก็เหลือเพียงหัวละ 300 บาท เท่านั้น เจ็เหล่ย เจ้าของเขียงหมูในตลาดสดบึงกาฬ กล่าวว่า ตรุษจีนปีนี้ราคาเนื้อหมูถูกลง จากปีที่แล้ว 20 บาท สืบเนื่องมาจากมีการเลี้ยงหมูในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น หมูล้นตลาด ไม่มีคนซื้อ อีกทั้งชาวบ้านตามชนบท ก็หันมาเลี้ยงหมู และมีการชำแระขายกันเองในหมู่บ้าน โดยไม่ผ่านระบบตลาด อีกทั้งยังมีเนื้อหมูจากห้างใหญ่ๆ มาขายตีตลาดในราคาที่ถูกกว่า ชาวบ้านจึงหันไปซื้อหมูในห้างมากกว่ามาเดินซื้อตามตลาดสด ทำให้การขายหมูในตลาดซบเซา โดยเฉพาะใกล้จะถึงเทศกาลตรุษจีนราคาหมูถูกลง แต่ไม่มีคนมาซื้อ แตกต่างจากหลายๆ ปีที่ผ่านมา ประกอบกับเศรษฐกิจเป็นช่วงขาลง ประชาชนไม่ค่อยออกมาใช้จ่าย ทำให้บรรยากาศเงียบเหงา มงคล / รายงาน
12 ก.พ. 2561
เรือนจำกลางตากจัดอบรมโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ต้อง
เรือนจำกลางตาก จัดอบรมโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ต้องขังไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำอีก วันนี้ (12 ก.พ. 61 ) ที่เรือนจำกลางตาก นายกฤตย หงษ์สัมฤทธิ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดการอบรมโปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ โดยเรือนจำกลางตากได้จัดขึ้น เพื่อให้ผู้ต้องขังในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ได้นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ และไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำอีก โดยมีหัวหน้าส่วนราชการจากหลายหน่วยงานเข้าร่วมพิธีเปิด นายบำรุง จันทร์บ้านคลอง บัญชาการเรือนจำกลางตาก กล่าวว่า กรมราชทัณฑ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการแก้ไขพัฒนา พฤตินิสัยผู้ต้องขัง เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัย ให้กับสังคม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้กระทำผิด จึงสั่งการให้เรือนจำกลางตากจัดการอบรมโปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิด การกระทำความผิดและลดความเสี่ยงในการกลับมาทำผิดซ้ำ การอบรมในครั้งนี้ เน้นตัวผู้ต้องขังที่กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ผ่านการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังแล้ว ในรุ่นนี้มีผู้ต้องขังเข้ารับการอบรมเป็นผู้ต้องขังชาย จำนวน 49 คน ผู้ต้องขังหญิง จำนวน 3 คนรวมทั้งสิ้น 52 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและบทลงโทษในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์การวิเคราะห์และการสร้างอาชีพ ปรับทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการทำความเข้าใจ พฤติกรรมการกระทำผิดของตนเอง การอบรมมีการเสริมความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและการฝึกภาคปฏิบัติ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีความรู้ความสามารถจากหน่วยงานภายนอก เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำอีกและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและสังคมต่อไป