sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
603281
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
ประกาศ ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าดำเนินการควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาความวุ่นวาย ซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นั้น โดยที่ปรากฏว่า ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการตามกฎหมายต่าง ๆ เข้าควบคุม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒ บรรดาประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่ง ที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเนื่องจากได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังกล่าว ให้เป็นอันสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๑/๒๔ เมษายน ๒๕๕๒
603192
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าว เท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๔/๑๗ เมษายน ๒๕๕๒
603190
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๓/๑๗ เมษายน ๒๕๕๒
603188
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลาออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑/๑๗ เมษายน ๒๕๕๒
603182
ประกาศ ตามมาตรา 11 (6) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศ ประกาศ ตามมาตรา ๑๑ (๖) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงห้ามกระทำการอย่างใด ๆ ที่เป็นการปิดการจราจร ปิดเส้นทางคมนาคมหรือกระทำการอื่นใด ๆ ที่ทำให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ตามปกติในทุกเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๓/๑๔ เมษายน ๒๕๕๒
603178
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๒ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือ ช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้ ๑. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒. พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ ๓. พระราชบัญญัติสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ๔. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ๖. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๗. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ๘. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓ ๙. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๐. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๑. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑๒. พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ๑๓. พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ ๑๔. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม ๑๕. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ๑๖. ประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ เป็นเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้รับโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี โดยให้ถือเสมือนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายนั้น แต่ทั้งนี้การโอนอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวมิได้เป็นการทำให้การบังคับใช้กฎหมายของผู้รับผิดชอบเดิมหมดไป ซึ่งจะยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑/๑๔ เมษายน ๒๕๕๒
603160
ประกาศ ตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศ ประกาศ ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบด้วยมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใด ๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้น เพื่อการกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม ข้อ ๖ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำนาจสั่งห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประเทศ ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๙ ให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบกำหนด ข้อ ๑๐ ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง หรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้โดยการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายทหารจะทำได้ในกรณีใดได้เพียงใดให้เป็นไปตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยการศึก ข้อ ๑๑ ให้ข้าราชการทหาร ตามที่กำหนดในคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๒ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงหรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ข้อ ๑๒ ในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้ใช้มาตรการตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๓/๑๔ เมษายน ๒๕๕๒
603156
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[๑] ด้วยปรากฏว่า ได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินการปลุกระดม เชิญชวน ทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ การสื่อสาร หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายของแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรไทยหรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายของแผ่นดิน ก่อให้เกิดความวุ่นวาย และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะมีการกระทำที่มีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ ด้วยการยุยงให้มีการกระทำความผิดต่อกฎหมาย ซึ่งการชุมนุมดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงและเกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์อีกส่วนหนึ่ง ดังเช่นการปิดถนนโดยมุ่งหมายให้เกิดความวุ่นวายจนกระทั่งรัฐบาลต้องประกาศหยุดราชการในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๒ มีการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลซึ่งเป็นสถานที่บริหารราชการสำคัญของประเทศ เข้าทำการขัดขวางและบุกยึดโรงแรม รอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุม “สุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ ๑๔” (๑๔ ASEAN Summit and its Related Summits) ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๒ เมษายน ๒๕๕๒ มีการขัดขวางการปฏิบัติราชการและพยายามทำร้ายนายกรัฐมนตรี และหมิ่นประมาท ดูหมิ่นสถาบันสูงสุดและบุคคลสำคัญของประเทศ การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยไม่สงบ ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กรณีเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย และกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๑/๑๔ เมษายน ๒๕๕๒
603152
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
ประกาศ ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าควบคุม ระงับยับยั้งและแก้ไขปัญหาความวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ นั้น โดยที่สถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังกล่าวได้สิ้นสุดลง โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการตามกฎหมายต่าง ๆ ระงับยับยั้งและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ตามปกติ และได้ดำเนินการอารักขาคุ้มครองผู้นำประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงและผู้เข้าร่วมประชุมของทุกประเทศเดินทางกลับโดยเรียบร้อยปลอดภัยแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. บรรดาประกาศและคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเนื่องมาจากได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้เป็นอันสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑/๑๑ เมษายน ๒๕๕๒
603148
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี[๑] โดยที่ปรากฏว่า ได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ ทั้งจะไม่ส่งผลดีต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย และกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๓ ง/หน้า ๑/๑๑ เมษายน ๒๕๕๒
596912
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าว เท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๔/๒๐ มกราคม ๒๕๕๒
596910
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๓/๒๐ มกราคม ๒๕๕๒
596908
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า ๑/๒๐ มกราคม ๒๕๕๒
593981
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตดอนเมืองและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครและอำเภอบางพลีและอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
ประกาศ ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่เขตดอนเมืองและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลีและอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่เขตดอนเมือง และเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลีและอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง แก้ไขปัญหาความวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ นั้น โดยที่ปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังกล่าวได้สิ้นสุดลง โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการตามกฎหมายต่าง ๆ ระงับยับยั้งและแก้ไขปัญหาได้ตามปกติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตดอนเมือง และเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลีและอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒. บรรดาประกาศและคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเนื่องมาจากได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ เขตดอนเมืองและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลีและอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้เป็นอันสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทน นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๒๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
593134
ประกาศตามมาตรา 11 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศ ประกาศ ตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ในเขตดอนเมืองและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการแล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบด้วยมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ใช้บังคับข้อกำหนดตามมาตรา ๙ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยให้เป็นอำนาจของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานตามที่เห็นสมควร ข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบมีอำนาจดำเนินการหรือสั่งการตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๗) ตามความเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา ข้อ ๓ ให้กำลังทหารตามที่กำหนดในคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๓๐๑/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงหรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ข้อ ๔ ในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้ใช้มาตรการตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๑ ง/หน้า ๔/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
593131
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตดอนเมืองและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครและอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่เขตดอนเมืองและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ[๑] โดยที่ปรากฏว่ามีกลุ่มบุคคลเข้ายึดท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทำให้เกิดความวุ่นวาย และนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ จำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประชาชน การรักษาความสงบเรียบร้อย และมิให้กระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล ประกอบกับเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแพ่งที่พิพากษาให้บุคคลดังกล่าวออกจากพื้นที่ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบด้วยมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตดอนเมืองและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๑ ง/หน้า ๑/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
589662
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๙ ง/หน้า ๔/๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑
589660
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๙ ง/หน้า ๓/๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑
589658
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๙ ง/หน้า ๑/๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑
587545
ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
ประกาศ ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เข้าดำเนินการควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาความวุ่นวาย ซึ่งนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในกรุงเทพมหานคร นั้น โดยที่ปรากฏว่า ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นอยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการตามกฎหมายต่าง ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒ บรรดาประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่ง ที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเนื่องจากได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้เป็นอันสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทน นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
587105
ประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้มีหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนี้ ให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) เป็นหน่วยงานพิเศษตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้ ๑. องค์ประกอบ ๑.๑ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ๑.๒ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองผู้อำนวยการ ๑.๓ แม่ทัพภาคที่ ๑ เป็นรองผู้อำนวยการ ๑.๔ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ ที่ได้รับมอบหมาย ๑.๕ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ ที่ได้รับมอบหมาย ๑.๖ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกรรมการ และการสื่อสาร ที่ได้รับมอบหมาย ๑.๗ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ ๑.๘ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นกรรมการ ๑.๙ อธิบดีกรมสารนิเทศ เป็นกรรมการ ๑.๑๐ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ ๑.๑๑ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการ ๑.๑๒ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการ ที่ได้รับมอบหมาย ๑.๑๓ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นกรรมการ ที่ได้รับมอบหมาย ๑.๑๔ ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย เป็นกรรมการ กองบัญชาการกองทัพไทย ๑.๑๕ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ ตามความจำเป็นและสถานการณ์ ที่ผู้อำนวยการ เห็นสมควรแต่งตั้ง ๑.๑๖ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ เป็นกรรมการและเลขานุการ ๑.๑๗ เจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็นกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ (๑) ๑.๑๘ เสนาธิการกองทัพภาคที่ ๑ เป็นกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ (๒) ๑.๑๙ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ เป็นเจ้าหน้าที่ และข้าราชการพลเรือน ตามโครงสร้าง การจัดกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ท้ายประกาศ ๒. อำนาจหน้าที่ ๒.๑ เป็นหน่วยงานพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ๒.๒ จัดให้มีหน่วยงาน หรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการภายใต้กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ รายละเอียดตามโครงสร้างการจัดกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามท้ายประกาศนี้ โดยให้มีอำนาจในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม รวมทั้งระงับยับยั้งเหตุฉุกเฉิน ตามที่ได้รับมอบหมาย หรือการสั่งการจากผู้อำนวยการ ๒.๓ ดำเนินการด้านการข่าว และต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๒.๔ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล และประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง ๒.๕ จัดกำลังพลเรือน ตำรวจ และทหาร ดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และสถานที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่นั้นๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก ๒.๖ มอบหมายให้ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ๒.๗ เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร ๒.๘ แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามความจำเป็น ๒.๙ ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้ายล ๑. โครงสร้างการจัดกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ประกอบ ประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๘ กันยายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๔๘ ง/หน้า ๓/๖ กันยายน ๒๕๕๑
587103
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้ ๑. พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ ๒. พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ ๓. พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ๔. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ๖. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓ ๗. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๘. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ ๙. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๐. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ๑๑. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑๒. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๓. พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ ๑๔. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑๕. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๘๕ ๑๖. พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ๑๗. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๘. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม ๑๙. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ๒๐. ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการใช้กำลังทหาร การเคลื่อนกำลังทหาร และการเตรียมพร้อม พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งนี้ ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย ให้ผู้บัญชาการทหารบก/รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหัวหน้ารับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นผู้ใช้อำนาจตามประกาศนี้แทนนายกรัฐมนตรี โดยให้ส่วนราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้น ยังคงใช้อำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไปได้ด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๑
586576
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร[๑] โดยที่ปรากฏว่า ได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย และนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ ทั้งจะไม่ส่งผลดีต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย และกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ กันยายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๑/๒ กันยายน ๒๕๕๑
584402
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ แล้วนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าว เท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๓/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑
584400
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ แล้วนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๒/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑
584397
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่องอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลาออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๑/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑
576444
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าว เท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๔/๑๘ เมษายน ๒๕๕๑
576442
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ แล้วนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๓/๑๘ เมษายน ๒๕๕๑
576440
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผล การปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถ จับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชน ในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ขยายระยะเวลา การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๑/๑๘ เมษายน ๒๕๕๑
570504
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี ความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี ความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒ ง/หน้า ๔/๑๘ มกราคม ๒๕๕๑
570501
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๑ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒ ง/หน้า ๓/๑๘ มกราคม ๒๕๕๑
570497
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒ ง/หน้า ๑/๑๘ มกราคม ๒๕๕๑
566825
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาการงดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาการงดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา เพื่อประโยชน์ในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรงในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ ของประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงออกประกาศหลักเกณฑ์และระยะเวลาการงดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตพื้นที่จังหวัดดังกล่าว ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ งดหรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหนังสือล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน หรือ ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนซึ่งมีเหตุอันควรโดยผู้แจ้งไม่อาจแจ้งเป็นหนังสือได้ ผู้แจ้งนั้นอาจแจ้งต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทางโทรศัพท์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น และให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นโดยไม่ชักช้า การแจ้งให้งดหรือระงับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสองให้คำนึงถึงพฤติการณ์แห่งความร้ายแรงของเหตุการณ์ และผลกระทบต่อผู้ใช้งานเท่าที่จำเป็นและคาดหมายได้ว่าจะสามารถระงับ หรือยับยั้งเหตุการณ์ร้ายแรงนั้นได้ และอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ (๑) พื้นที่ที่ตั้งสถานีรับส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (๒) ระบุวันและเวลาเริ่มต้น และ วันและเวลาสิ้นสุด การให้งดหรือระงับ (๓) ระบุหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องการให้งดหรือระงับการให้บริการเฉพาะหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น หรือ (๔) ในกรณีที่ไม่ทราบหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องสงสัยให้ระบุพื้นที่ที่ต้องการให้งดหรือระงับการให้บริการ ข้อ ๓ เมื่อได้รับแจ้งตามข้อ ๒ แล้ว ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่ได้รับแจ้งนั้น ทั้งนี้ ตามวิธีการดำเนินการและเทคโนโลยีของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรายจะสามารถดำเนินการได้ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๑๕/๓ ธันวาคม ๒๕๕๐
565878
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ ร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕๙ ง/หน้า ๓/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐
565876
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕๙ ง/หน้า ๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐
565874
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศ ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐ และของบุคคลซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕๙ ง/หน้า ๑/๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐
560380
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี ความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๓/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐
560378
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๒/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐
560376
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๑/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐
542087
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าวเท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๓/๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
542085
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรี จะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๒/๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
542083
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถจับกุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาสจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี วัชศักดิ์/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑/๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
526224
ประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้มีหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนี้ ๑. ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ (กอ.รมน.ภาค ๔) เป็นหน่วยงานพิเศษ ตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีแม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ (ผอ.รมน.ภาค ๔) ๒. ให้ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการฝ่ายพลเรือนอื่นที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ให้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ เป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานพิเศษตาม ๑. ๓. ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ และให้มีอำนาจจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล (กอ.รมน.จ./อ./กิ่ง อ./ต.) เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการได้ตามที่เห็นสมควร ๔. ในการปฏิบัติหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ให้ปฏิบัติตามนโยบายหรือคำสั่งที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.ภาค ๔) หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) กำหนด รวมทั้งนโยบายและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๔/๑๙ มกราคม ๒๕๕๐
526220
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าว เท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๓/๑๙ มกราคม ๒๕๕๐
526214
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรี จึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ดังกล่าว เท่าที่ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒/๑๙ มกราคม ๒๕๕๐
526180
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามการเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี โสรศ/ผู้จัดทำ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๑/๑๙ มกราคม ๒๕๕๐
513738
ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ฉบับที่ 3 เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ และความในมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจึงให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๔/๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
513736
ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ฉบับที่ 2 เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีการประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ และความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจึงให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๓/๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
513734
ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการและยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ และความในมาตรา ๕ มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๐ ก/หน้า ๑/๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
502054
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การจัดระเบียบการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การจัดระเบียบการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน[๑] โดยที่นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ มาตรา ๖ วรรคสอง กำหนดให้การซื้อขายบัตรประจำตัวผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วราชอาณาจักรต้องเก็บหลักฐานที่ระบุชื่อผู้ซื้อตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงออกประกาศการจัดระเบียบการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน เฉพาะในท้องที่จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ขอจดทะเบียนซิมการ์ดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน ให้ปรากฏรายละเอียดตามแบบฟอร์ม ทก. ๑ แนบท้ายประกาศนี้ โดยขอดูบัตรประจำตัวประชาชนผู้มาซื้อ พร้อมเก็บสำเนาบัตรประจำตัวผู้ขอจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐานทุกรายให้ตรงกับบุคคลที่มาซื้อ จึงจะจำหน่ายซิมการ์ดได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ข้อ ๒ ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องจัดทำสมุดบัญชีคุมการรับซิมการ์ดจากบริษัทต่างๆ มาจำหน่าย ว่ามีวิธีการนำซิมการ์ดมาจำหน่ายเท่าใด จากบริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายใด พร้อมระบุหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขซิมการ์ด เก็บไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ รวมทั้งการจัดทำบัญชี การจำหน่ายซิมการ์ดให้กับผู้ซื้อ โดยจะต้องลงรายละเอียดตามแบบฟอร์ม ทก. ๒ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ขอตรวจสอบ ต้องดำเนินการนำบัญชีต่างๆ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ข้อ ๔ ผู้ครอบครองบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ระบบเติมเงิน หากปรากฏว่า บัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) เกิดสูญหาย ต้องรีบแจ้งต่อศูนย์บริการลูกค้าของแต่ละบริษัทที่ใช้บริการเพื่อการระงับสัญญาณโทรศัพท์ทันที และศูนย์บริการที่รับแจ้งจะต้องออกหนังสือรับรองให้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนำไปแจ้งความต่อสถานีตำรวจต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พนักงานเจ้าหน้าที่ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบข้อมูลผู้จดทะเบียนซิมการ์ดโทรศัพท์เคลื่อนที่ (แบบทก.1) ๒. แบบข้อมูลการจำหน่ายซิมการ์ดของร้าน............................... (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นันทนา/ผู้จัดทำ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๑/๒ สิงหาคม ๒๕๔๙
500349
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขยายผลการปฏิบัติงานกับผู้ก่อความไม่สงบได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถจับกุมตัวผู้ก่อความไม่สงบ ตรวจยึดสิ่งของที่ใช้หรือจะใช้ในการก่อความไม่สงบเป็นของกลางได้จำนวนมาก และสามารถคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดียิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามการเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๖/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙
500292
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีการประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๙/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙
500290
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๘/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙
488019
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีการประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๙ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๖/๒๐ เมษายน ๒๕๔๙
488017
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๙ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้น ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๕/๒๐ เมษายน ๒๕๔๙
488015
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถจำกัดขอบเขตการปฏิบัติงานของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถจับกุมตัวผู้ก่อความไม่สงบ และตรวจยึดสิ่งของที่ใช้หรือจะใช้ในการก่อความไม่สงบเป็นของกลางได้จำนวนมาก แต่ปรากฏว่ายังคงมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามการเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๓ ง/หน้า ๑/๑๙ เมษายน ๒๕๔๙
475245
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ตามประกาศลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างเป็นผลดีขึ้น โดยมีกฎหมายรองรับให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันทุกฝ่ายและมีมาตรการที่จะยุติการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงได้ แต่ปรากฏว่ายังมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามการเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๑๒/๑๙ มกราคม ๒๕๔๙
475241
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีการประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็น กฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้น ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๘ ง/หน้า ๕/๒๐ มกราคม ๒๕๔๙
475239
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีการประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๘ ง/หน้า ๔/๒๐ มกราคม ๒๕๔๙
640282
ประกาศตามมาตรา 11 ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับ Update ณ วันที่ 04/08/2548)
ประกาศตามมาตรา ๑๑ ประกาศตามมาตรา ๑๑ ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใด ๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง และมิใช่เป็นการกล่าวหาว่าบุคคลนั้นกระทำผิดอาญาซึ่งต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้ดำเนินการดังนี้ ๑.๑ ก่อนจับกุมและควบคุมตัวบุคคลตามข้อนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องร้องขอต่อศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจในพื้นที่ที่มีการจับกุมหรือควบคุมตัว หรือจะร้องขอต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่อาจดำเนินการตามมาตรา ๕๙ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ ๑.๒[๒] เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลอนุญาต เว้นแต่ไม่อาจจับกุมในวันเดียวกับวันที่ศาลอนุญาต ให้เริ่มนับเจ็ดวันนับแต่วันที่จับกุมได้ และให้นำตัวผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมตัวไปศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่ง ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุมและควบคุมตัวโดยพลันเพื่อเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาตและจัดสำเนารายงานนั้นไว้ ณ กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศาลากลางจังหวัดที่มีการจับกุมและควบคุมตัวและที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้โดยสะดวก รายงานตามข้อนี้ต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ ก. ชื่อและตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม และผู้ควบคุมตัว ข. ชื่อบุคคลที่ถูกจับกุมและควบคุมตัว ค. เหตุอันเป็นที่มาของการจับกุมและควบคุมตัว โดยให้ระบุพฤติการณ์ตามสมควร ง. สถานที่ที่จะนำไปควบคุมตัว จ. พยานผู้รู้เห็นในการจับกุมและควบคุมตัว อย่างน้อย ๒ คน ฉ. หากมีการย้ายที่ควบคุมตัวก็ต้องดำเนินการตามข้อ ก ข้อ ข ข้อ ง และข้อ จ ๑.๓ การควบคุมตัวบุคคลจะต้องควบคุมตัวไว้ ณ สถานที่ที่ไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขังทัณฑสถาน หรือเรือนจำ แต่ให้ควบคุมไว้ในสถานที่ที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนด ๑.๔ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อบุคคลผู้ถูกควบคุมตัวอย่างผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหา ทั้งนี้ จะล่ามโซ่ตรวน หรือขังในกรงขัง หรือกระทำการอื่นที่รุนแรงต่อบุคคลผู้ถูกควบคุมตัวมิได้ ๑.๕ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการร้องขอต่อศาล และดำเนินการตามข้อ ๑.๑ ถึงข้อ ๑.๔ ในแต่ละครั้งที่มีการร้องขอต่อศาล ทั้งนี้ โดยจะควบคุมตัวไว้ได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลอนุญาตวันแรก การปฏิบัติตามข้อนี้ ให้ยึดถือกฎหมายและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยเคร่งครัด ๒. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่เรียกมารายงานตัวนั้น ให้ดำเนินการตามข้อ ๑ โดยเคร่งครัด ๓. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้น เพื่อการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน ๔. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้นตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ๕. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ๖. ให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายตามที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกาศกำหนดต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ให้การซื้อขายบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (Sim card) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วราชอาณาจักรต้องเก็บหลักฐานที่ระบุชื่อผู้ซื้อตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศกำหนด สำหรับบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (Sim card) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการขายไปก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บุคคลผู้ครอบครองบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (Sim card) ดังกล่าวทั่วราชอาณาจักรไปรายงานการครอบครองโดยระบุชื่อผู้ครอบครอง ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศกำหนด การประกาศตามข้อนี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๗. ให้กำลังทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไป แม้ว่าจะมีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกแล้วก็ตาม โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารปฏิบัติตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับการปฏิบัติการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้การใช้กำลังทหารเป็นไปตามกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร การดำเนินการตามประกาศนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำรายงานตามแบบที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนด เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน[๓] สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๖/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ [๒] ๑.๒ วรรคหนึ่ง ของ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๒/๔ สิงหาคม ๒๕๔๘
466235
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การลงทะเบียนบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด)
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การลงทะเบียนบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด)[๑] โดยที่นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ซึ่งความในข้อ ๖ วรรคสองและวรรคสาม กำหนดให้การซื้อขายบัตรประจำตัวผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วราชอาณาจักร ต้องเก็บหลักฐานที่ระบุชื่อผู้ซื้อ และกรณีที่มีการซื้อขายไปก่อนวันที่ประกาศใช้บังคับ ให้ผู้ครอบครองบัตรประจำตัวผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ทั่วราชอาณาจักรไปรายงานการครอบครองโดยระบุชื่อผู้ครอบครอง ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศกำหนด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการซื้อขายบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ประเภทเติมเงินทั่วราชอาณาจักรผู้ซื้อต้องแสดงเอกสารหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ขาย ดังต่อไปนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน (๒) บัตรประจำตัวข้าราชการ (๓) ใบขับขี่ (๔) บัตรประจำตัวนักเรียน/นิสิต/นักศึกษาที่ออกโดยสถาบันการศึกษาที่ได้รับใบอนุญาต (๕) บัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว (๖) บัตรอื่นที่มีภาพถ่าย ซึ่งออกให้โดยหน่วยงานของรัฐ (๗) หนังสือเดินทางของต่างประเทศ ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องจัดเก็บชื่อ ชื่อสกุล และเลขหมายประจำตัวบุคคล ๑๓ หลักให้ถูกต้องตรงกับหมายเลขโทรศัพท์นั้น เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบชื่อ ชื่อสกุล ของผู้ซื้อ ข้อ ๒ ผู้ครอบครองบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ประเภทเติมเงินทั่วราชอาณาจักรและยังมิได้รายงานการครอบครอง ต้องรายงานการครอบครองโดยแสดงเอกสารหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ ๑ (๑) ถึง (๗) ณ สถานที่ที่ผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่กำหนด ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องจัดเก็บชื่อ ชื่อสกุล เลขหมายประจำตัวบุคคล ๑๓ หลัก ให้ถูกต้องตรงกับหมายเลขโทรศัพท์นั้น เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบชื่อ ชื่อสกุล ของผู้ครอบครอง ทั้งนี้ ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ ข้อ ๓ ผู้ครอบครองบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ประเภทเติมเงิน ซึ่งประสงค์จะใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตท้องที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ต้องรายงานการครอบครองตามวิธีการในข้อ ๒ ภายในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ให้สถานที่ทำการที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ดังต่อไปนี้เป็นสถานที่รายงานการครอบครองเพิ่มเติมจากสถานที่ที่ผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่กำหนดตามข้อ ๒ (๑) ศูนย์บริการลูกค้าของทีโอที (๒) สำนักงานบริการลูกค้าของ กสท. โทรคมนาคม (๓) ที่ทำการไปรษณีย์และไปรษณีย์อนุญาต ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ สรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๙/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466122
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินในท้องที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินในท้องที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส[๑] ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง การลงทะเบียนบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ และความในข้อ ๓ กำหนดให้ผู้ครอบครองบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ประเภทเติมเงิน ซึ่งประสงค์จะใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตท้องที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ต้องรายงานการครอบครองตามวิธีการในข้อ ๒ ภายในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ แล้ว นั้น เพื่อป้องกันหรือระงับการก่อเหตุร้ายแรงโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินเป็นเครื่องมือ พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการระงับหรือยับยั้งการติดต่อสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สำหรับผู้ที่ไม่ได้รายงานการครอบครองบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (ซิมการ์ด) ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ สรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง/หน้า ๒/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
466112
ประกาศตามมาตรา 11 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ประกาศตามมาตรา ๑๑ ประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และต่อมาได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของข้อ ๖ แห่งประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เพื่อประโยชน์ในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ให้ผู้ให้บริการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีหน้าที่ต้องงดการให้บริการตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศกำหนด การประกาศตามข้อนี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๓/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
463336
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงกำหนดให้บรรดาประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๔๐/๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๘
463334
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ[๑] ตามที่ได้มีการประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ แล้ว นั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข หรือระงับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๓๙/๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๘
463332
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ แล้ว นั้น และโดยที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้สร้างสถานการณ์เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของภาครัฐในการให้ความคุ้มครองแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฏได้อย่างชัดเจนว่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้มีการวางแผนเตรียมการ และมีการสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของกลุ่มผู้ก่อการที่ยังคงก่อเหตุการณ์ให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของประชาชนที่ไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงสมควรขยายระยะเวลาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและของบุคคล รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจำเป็นต้องใช้มาตรการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ยุติลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามการเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ออกไปอีกเป็นเวลาสามเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๓๗/๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๘
461594
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การอนุมัติพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นั้น ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวและในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว จึงประกาศมาตามความในมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑๓/๖ กันยายน ๒๕๔๘
460272
ประกาศ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้มีการออกประกาศตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคต่อจากบทอาศัยอำนาจตามประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศเรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ “ประกาศนี้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑.๒ แห่งประกาศตามมาตรา ๑๑ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๑.๒ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลอนุญาต เว้นแต่ไม่อาจจับกุมในวันเดียวกับวันที่ศาลอนุญาต ให้เริ่มนับเจ็ดวันนับแต่วันที่จับกุมได้ และให้นำตัวผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมตัวไปศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่ง” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๒/๔ สิงหาคม ๒๕๔๘
458963
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[๑] โดยที่ปรากฏว่า ได้มีกลุ่มบุคคลก่อความไม่สงบและก่อการร้ายขึ้นในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา โดยใช้กำลังประทุษร้ายทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ บุคลากรทางศาสนาทั้งพุทธและมุสลิมตลอดจนเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง และทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ อันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของรัฐและของบุคคล รวมทั้งกระทบอย่างร้ายแรงต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามการเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘
458468
ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง และวรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับ ยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้ ๑. พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ ๒. พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๔๙๓ ๓. พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ๔. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ๕. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ๖. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๗. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ ๘. พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๕๒๒ ๙. พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ ๑๐. พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ๑๑. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๒. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ ๑๓. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ๑๔. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ๑๕. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑๖. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕ ๑๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ ๑๘. พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ๑๙. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม ๒๐. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ทั้งนี้ ให้รวมถึงกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวข้างต้นด้วย ให้รองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ วรรคหกของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ใช้อำนาจตามประกาศนี้แทนนายกรัฐมนตรี และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติม ให้รองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๒/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘
458460
ประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศ ประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้มีหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนี้ ให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) เป็นหน่วยงานพิเศษตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้ ๑. แม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้(ผอ.สสส.จชต.) ๒. ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย เป็นรองผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รอง ผอ.สสส.จชต.) ๓. ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย เป็นรองผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รอง ผอ.สสส.จชต.) ๔. ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๙ เป็นรองผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รอง ผอ.สสส.จชต.) ๕. รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติฝ่ายปฏิบัติการ เป็นรองผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รอง ผอ.สสส.จชต.) ๖. ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ๗. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ๘. นายอำเภอในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ๙. ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ๑๐. ปลัดอำเภอประจำตำบลในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ๑๑. ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการฝ่ายพลเรือนอื่นที่ได้รับคำสั่งจากผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.สสส.จชต.) ให้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ให้กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้และให้มีอำนาจจัดตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล (กอ.สสส.จ./อ./กิ่ง อ./ต.) เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการได้ตามที่เห็นสมควร ในการปฏิบัติหน้าที่ของกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้(กอ.สสส.จชต.) ให้ปฏิบัติตามนโยบายที่คณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) กำหนด รวมทั้งนโยบายและการสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจในการกำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย ให้คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๐/๒๕๔๘ เรื่องนโยบายและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ยกเว้นภาคผนวก ข. ยังคงใช้บังคับอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๔/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘
458452
ประกาศตามมาตรา 11 ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประกาศตามมาตรา ๑๑ ประกาศตามมาตรา ๑๑ ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใด ๆ อันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง และมิใช่เป็นการกล่าวหาว่าบุคคลนั้นกระทำผิดอาญาซึ่งต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้ดำเนินการดังนี้ ๑.๑ ก่อนจับกุมและควบคุมตัวบุคคลตามข้อนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องร้องขอต่อศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจในพื้นที่ที่มีการจับกุมหรือควบคุมตัว หรือจะร้องขอต่อศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่อาจดำเนินการตามมาตรา ๕๙ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ ๑.๒ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลอนุญาต และให้นำตัวผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมตัวไปศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่ง ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุมและควบคุมตัวโดยพลันเพื่อเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาตและจัดสำเนารายงานนั้นไว้ ณ กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศาลากลางจังหวัดที่มีการจับกุมและควบคุมตัวและที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้โดยสะดวก รายงานตามข้อนี้ต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ ก. ชื่อและตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม และผู้ควบคุมตัว ข. ชื่อบุคคลที่ถูกจับกุมและควบคุมตัว ค. เหตุอันเป็นที่มาของการจับกุมและควบคุมตัว โดยให้ระบุพฤติการณ์ตามสมควร ง. สถานที่ที่จะนำไปควบคุมตัว จ. พยานผู้รู้เห็นในการจับกุมและควบคุมตัว อย่างน้อย ๒ คน ฉ. หากมีการย้ายที่ควบคุมตัวก็ต้องดำเนินการตามข้อ ก ข้อ ข ข้อ ง และข้อ จ ๑.๓ การควบคุมตัวบุคคลจะต้องควบคุมตัวไว้ ณ สถานที่ที่ไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขังทัณฑสถาน หรือเรือนจำ แต่ให้ควบคุมไว้ในสถานที่ที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนด ๑.๔ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อบุคคลผู้ถูกควบคุมตัวอย่างผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหา ทั้งนี้ จะล่ามโซ่ตรวน หรือขังในกรงขัง หรือกระทำการอื่นที่รุนแรงต่อบุคคลผู้ถูกควบคุมตัวมิได้ ๑.๕ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการร้องขอต่อศาล และดำเนินการตามข้อ ๑.๑ ถึงข้อ ๑.๔ ในแต่ละครั้งที่มีการร้องขอต่อศาล ทั้งนี้ โดยจะควบคุมตัวไว้ได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลอนุญาตวันแรก การปฏิบัติตามข้อนี้ ให้ยึดถือกฎหมายและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยเคร่งครัด ๒. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่เรียกมารายงานตัวนั้น ให้ดำเนินการตามข้อ ๑ โดยเคร่งครัด ๓. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้น เพื่อการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน ๔. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้นตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ๕. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ๖. ให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายตามที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกาศกำหนดต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ให้การซื้อขายบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (Sim card) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วราชอาณาจักรต้องเก็บหลักฐานที่ระบุชื่อผู้ซื้อตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศกำหนด สำหรับบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (Sim card) ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการขายไปก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บุคคลผู้ครอบครองบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการ (Sim card) ดังกล่าวทั่วราชอาณาจักรไปรายงานการครอบครองโดยระบุชื่อผู้ครอบครอง ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศกำหนด การประกาศตามข้อนี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๗. ให้กำลังทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไป แม้ว่าจะมีการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกแล้วก็ตาม โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ทั้งนี้ โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารปฏิบัติตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับการปฏิบัติการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้การใช้กำลังทหารเป็นไปตามกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร การดำเนินการตามประกาศนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำรายงานตามแบบที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนด เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๖/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘
640290
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 3/2548 เรื่อง มอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับ Update ล่าสุด)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓/๒๕๔๘ เรื่อง มอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคหก แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้ ๑. พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มีหน้าที่กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยให้ใช้อำนาจแทนนายกรัฐมนตรีได้ในกรณีดังต่อไปนี้ ๑.๑ การใช้อำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสามและมาตรา ๘ ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๑.๒ การใช้อำนาจตามประกาศเรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ๑.๓ การใช้อำนาจในฐานะผู้บังคับบัญชาหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พนักงานเจ้าหน้าที่และข้าราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย ๒. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจในการดำเนินการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกโครงการ การปรับปรุงระบบการศึกษาในพื้นที่ การสร้างความสมานฉันท์และความร่วมมือในพื้นที่โดยใช้สันติวิธี การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการต่าง ๆ ตลอดจนเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกฝ่าย โดยให้ใช้อำนาจแทนนายกรัฐมนตรีได้ในกรณีดังต่อไปนี้ ๒.๑ การใช้อำนาจตามมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามอำนาจหน้าที่ในข้อนี้ ๒.๒ การใช้อำนาจในฐานะผู้บังคับบัญชาหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พนักงานเจ้าหน้าที่และข้าราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ในข้อนี้ ๓. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๔๘ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๒] ข้อ ๑ ให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓/๒๕๔๘ เรื่อง มอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒ โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมตำแหน่งของนายจาตุรนต์ ฉายแสง จากรองนายกรัฐมนตรี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและให้คงข้อความอื่นไว้ทั้งหมด สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๒๔/๔ สิงหาคม ๒๕๔๘
640292
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2548 เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและคณะที่ปรึกษา (ฉบับ Update ล่าสุด)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๘ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะที่ปรึกษา[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม และวรรคสี่ มาตรา ๘ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ๑. ให้ผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดดังกล่าว กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ ทั้งนี้ เท่าที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนดมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ๒. ให้แม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๓. พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ๑. ผู้ใดจะใช้อำนาจหน้าที่ในเรื่องใดได้เพียงใด การแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงานระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ๑. กับหน่วยงานเดิมตามกฎหมายที่โอนมาเป็นของนายกรัฐมนตรีหรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ รวมทั้งวิธีปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบกำหนด ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการใช้อำนาจหน้าที่ตามที่รองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดด้วย ในการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ๑. ใช้อำนาจใดตามกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบและแจ้งให้หน่วยงานเดิมตามกฎหมายนั้นทราบด้วย ๔. ในการใช้อำนาจปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้และพนักงานเจ้าหน้าที่ถือหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้ (ก) การใช้อำนาจกำหนดการห้ามหรือการให้กระทำตามข้อกำหนดนี้จะต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ให้น้อยที่สุด และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนทุกศาสนา (ข) ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สั่งการแตกต่างไปจากที่ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สั่งการไว้ ให้ผู้อำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้และพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามการสั่งการนั้นของรองนายกรัฐมนตรีโดยพลัน ๕. ให้มีคณะที่ปรึกษาคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” (กสชต.) โดยมีองค์ประกอบดังนี้ (๑) รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) (๒)[๒] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานกรรมการ” (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) (๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รองประธานกรรมการ (๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ (๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองประธานกรรมการ (๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการ (๗)[๓] (ยกเลิก) (๘) ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ (๙) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ (๑๐) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ (๑๑) ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ (๑๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ (๑๓) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ กรรมการ และสังคมแห่งชาติ (๑๔) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ (๑๕) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการ (๑๖) ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ (๑๗) ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ (๑๘) ผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ (๑๙) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ (๒๐) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรรมการ (๒๑) หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กรรมการ ตามที่ประธานเห็นสมควร (๒๒) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการร่วม (๒๓) รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการและเลขานุการร่วม (พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ) (๒๔) รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการร่วม ที่ได้รับมอบหมาย (๒๕) อธิบดีกรมการปกครอง กรรมการและเลขานุการร่วม (๒๖) รองเสนาธิการทหารบก ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการและเลขานุการร่วม ให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดนี้และปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี มอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๔๘ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๔] สุนันทา/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กวินทราดา/ตรวจ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑๓/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ [๒] ข้อ ๕ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๔๘ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] ข้อ ๕ (๗) ยกเลิกโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๔๘ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๒๔/๔ สิงหาคม ๒๕๔๘
640296
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 2/2553 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (ฉบับ Update ล่าสุด)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒[๒] ข้อ ๒ ให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และรับผิดชอบในความป้องกัน แก้ไขปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๓[๓] ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามข้อ ๒ มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยให้มีอำนาจในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง รวมทั้งให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการ ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกัน แก้ไข ปราบปราม และระงับยับยั้งการกระทำผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือผู้กำกับการปฏิบัติงานมอบหมาย ข้อ ๔ ให้ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดดังกล่าวและเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนด ข้อ ๕ ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ ๙๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติม)[๔] คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๔/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติมครั้งที่สอง)[๕] กวินทราดา/จัดทำ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศิรวัชร์/ปรับปรุง ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๗/๗ เมษายน ๒๕๕๓ [๒] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๔/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติมครั้งที่สอง) [๓] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๔/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (เพิ่มเติมครั้งที่สอง) [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๓๘/๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๒๘/๔ ตุลาคม ๒๕๕๓
640298
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ 1/2553 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับ Update ล่าสุด)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้ว นั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคห้า และวรรคหก มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นหน่วยงานพิเศษตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ ๑.๑ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการ ๑.๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รองผู้อำนวยการ ๑.๓ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๑) ๑.๔ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๒) ๑.๕ ผู้บัญชาการทหารบก ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๓) ๑.๖ ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๔) ๑.๗ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๕) ๑.๘ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (๖) ๑.๙ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ กรรมการ และการสื่อสาร ๑.๑๔ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ ๑.๑๕ อัยการสูงสุด กรรมการ ๑.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ ๑.๑๗ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ ๑.๑๘ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ ๑.๑๙ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ ๑.๒๐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรรมการ ๑.๒๑ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรรมการ ๑.๒๒ เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรรมการ ๑.๒๒/๑[๒] ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรรมการ ๑.๒๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรรมการ ๑.๒๔ ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคง กรรมการ ภายในราชอาณาจักร ๑.๒๕ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (๑) กรรมการ ๑.๒๖ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (๒) กรรมการ ๑.๒๗ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการและ เลขานุการ ๑.๒๘ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคง กรรมการและ ภายในราชอาณาจักร ผู้ช่วยเลขานุการ ๑.๒๙ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒ ให้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓ ให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๓.๑ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี หรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีรักษาการ และประกาศของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง ๓.๒ จัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ และจัดให้มีหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการได้ตามที่เห็นสมควร ๓.๓ ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวกับสถานการณ์การก่อความไม่สงบและที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๓.๔ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง ๓.๕ จัดกำลังตำรวจ ทหาร และพลเรือนดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่นั้น ๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก ๓.๖ จัดชุดปฏิบัติการจากตำรวจ ทหาร และฝ่ายพลเรือนเข้าระงับการก่อความไม่สงบและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ๓.๗ มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ๓.๘ เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร ๓.๙ แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามความจำเป็น ๓.๑๐ ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ ๙๔/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (เพิ่มเติม)[๓] กวินทราดา/ผู้จัดทำ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓/๗ เมษายน ๒๕๕๓ [๒] ข้อ ๑.๒๒/๑ เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ ๙๔/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (เพิ่มเติม) [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๔๐/๒๐ เมษายน ๒๕๕๓
857692
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับ Update ล่าสุด)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พนักงานเจ้าหน้าที่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๒ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยผู้กำกับการปฏิบัติงานของนายกรัฐมนตรีเรียงตามลำดับการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามที่มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีไว้แล้ว และให้ปฏิบัติภารกิจตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๓ (๑) ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (๒) ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๓) ให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมสินค้า (๔) ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือผู้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศ (๕) ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ (๕/๑)[๒] ให้ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร (๕/๒)[๓] ให้ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา (๖) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง (๖/๑)[๔] ให้ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา (๗) ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประสานงานทั่วไป ข้อ ๔ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามข้อ ๓ มีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในส่วนที่รับผิดชอบ และให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด - 19 ในส่วนที่รับผิดชอบ (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ในกรณีมีปัญหาคาบเกี่ยวกับความรับผิดชอบของแต่ละส่วนหรือปัญหาในการปฏิบัติ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ประสานงานทั่วไปหารือกันเองหรือรายงานเพื่อให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ข้อ ๕ ให้ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตลอดจนข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดดังกล่าว และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายที่โอนมาเป็นหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรี เว้นแต่นายกรัฐมนตรีจะสั่งเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนด ข้อ ๖ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรีขึ้นไป หรือข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม[๕] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)[๖] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๖/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) [๗] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป วิชพงษ์/จัดทำ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ พนิดา/เพิ่มเติม ๑๖ เมษายน ๒๕๖๓ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๒๔ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๔/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ [๒] ข้อ ๓ (๕/๑) เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม [๓] ข้อ ๓ (๕/๒) เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) [๔] ข้อ ๓ (๖/๑) เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๖/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑๗/๘ เมษายน ๒๕๖๓ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๖๓/๑๕ เมษายน ๒๕๖๓ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๓๓/๒๑ เมษายน ๒๕๖๓
857694
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับ Update ล่าสุด)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสามและวรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และโดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๓ กำหนดให้มีหน่วยงานพิเศษเป็นการเฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เรียกโดยย่อว่า “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19” ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๗๖/๒๕๖๓ เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นหน่วยงานพิเศษ ตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีผู้ปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ (๑) นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์ (๒) รองนายกรัฐมนตรี กรรมการ (๓) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ (๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรรมการ (๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ (๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ (๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ (๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ และความมั่นคงของมนุษย์ (๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ กรรมการ วิจัยและนวัตกรรม (๑๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ (๑๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ (๑๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรรมการ (๑๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กรรมการ และสิ่งแวดล้อม (๑๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ (๑๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ (๑๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ (๑๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการ (๑๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ (๑๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ (๒๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ (๒๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ (๒๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ (๒๓) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กรรมการ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) (๒๔) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ (๒๕) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการ (๒๖) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ (๒๗) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ ผู้ประสานงานทั่วไป (๒๘) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการและ ผู้ประสานงาน ทั่วไป (๒๙) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ ผู้ประสานงาน ทั่วไป (๓๐) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการและ ผู้ประสานงาน ทั่วไป (๓๑) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กรรมการและ (นายประทีป กีรติเรขา) เลขานุการ (๓๒) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร กรรมการและ (นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม) ผู้ช่วยเลขานุการ (๓๓) อธิบดีกรมการค้าภายใน กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ (๓๔) อธิบดีกรมควบคุมโรค กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ (๓๕) ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ เจ้าหน้าที่ และข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็น ประจำศูนย์ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ข้อ ๒ ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วและจะเรียกประชุมคณะกรรมการให้ทันท่วงทีมิได้ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจใช้อำนาจคณะกรรมการไปพลางก่อนได้หรือจะประชุมร่วมกับกรรมการเฉพาะบางคนในเรื่องที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของกรรมการผู้นั้น โดยอาจเชิญบุคคลอื่นมาร่วมหารือด้วยก็ได้ มติของที่ประชุมถือเป็นมติคณะกรรมการ นายกรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในการแก้ปัญหาสถานการณ์โควิด 19 เพื่อกลั่นกรอง เสนอแนะทางวิชาการ ป้องกัน แก้ไขปัญหาหรือดำเนินการเฉพาะเรื่องอันมีความจำเป็นเร่งด่วนก็ได้ การประชุมคณะกรรมการตามข้อ ๑ และข้อ ๒ อาจใช้วิธีการประชุมทางไกลหรือสื่อสารด้วยระบบอื่นแทนการเชิญมาประชุมร่วมกันก็ได้ ข้อ ๓ ให้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ กฎหมายที่โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ฉุกเฉินยุติลง (๒) จัดหาและบริหารจัดการหน้ากากอนามัย เจลล้างมือเพื่อกระจายให้ถึงประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์โดยวิธีแจกหรือจำหน่าย (๒/๑)[๒] แก้ไขเยียวยาความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 และให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู ชดเชย หรือเยียวยาประชาชนจำแนกมาตรการตามกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฉุกเฉินตามความเหมาะสม (๓) จัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ และจัดตั้งหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการเพื่อเป็นองค์กรปฏิบัติการตามที่เห็นสมควร (๔) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชน รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง (๕) จัดให้มีกำลังข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน เพื่อดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสถานที่นั้น ๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก (๖) จัดให้มีชุดปฏิบัติการจากข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือนเพื่อเข้าระงับเหตุในกรณีการก่อความไม่สงบหรือช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน (๗) มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเกี่ยวกับกำลังพลงบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (๘) เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร (๙) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ในการดำเนินการตาม (๒/๑) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 อาจมอบหมายส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ข้าราชการหรือพนักงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19[๓] ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑๓/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒)[๔] วิวรรธน์/จัดทำ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๓ พนิดา/เพิ่มเติม ๑๖ เมษายน ๒๕๖๓ นุสรา/ตรวจ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๖/๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ [๒] ข้อ ๔ (๒/๑) เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑๓/๒๕๖๓เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) [๓] ข้อ ๔ วรรคสอง เพิ่มโดยเพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑๓/๒๕๖๓เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๖๒/๑๕ เมษายน ๒๕๖๓
857716
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 6/2563 เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ฉบับ Update ล่าสุด)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อเป็นการจัดโครงสร้างขององค์กรให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่และเพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกอบกับข้อ ๔ (๓) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศบค.) มีการจัดโครงสร้างภายใน ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานเลขาธิการ มีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นหัวหน้าสำนักงาน (๒) สำนักงานประสานงานกลาง มีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหัวหน้าสำนักงาน (๓) ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด 19 มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าศูนย์ (๔) ศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชน มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ (๕) ศูนย์ปฏิบัติการกระจายหน้ากากและเวชภัณฑ์สำหรับประชาชน มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ (๖) ศูนย์ปฏิบัติการด้านการควบคุมสินค้า มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าศูนย์ (๗) ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าศูนย์ (๘) ศูนย์ปฏิบัติการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ มีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหัวหน้าศูนย์ (๙) ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าศูนย์ (๑๐) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อโควิด 19 มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าศูนย์ (๑๑)[๒] ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักรมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าศูนย์ (๑๒)[๓] ศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าศูนย์ (๑๓)[๔] ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา มีผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นหัวหน้าศูนย์ ข้อ ๒ ให้หัวหน้าสำนักงานและหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการตามข้อ ๑ มีอำนาจกำหนดองค์ประกอบของสำนักงานและศูนย์ปฏิบัติการได้ตามความเหมาะสม และเมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 เพื่อทราบด้วย ในกรณีที่เห็นสมควรผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จะปรับปรุงองค์ประกอบของสำนักงานหรือศูนย์ปฏิบัติการเพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้ ข้อ ๓ ให้ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 แต่งตั้งบุคคลเป็นคณะที่ปรึกษาด้านการแพทย์ ด้านกฎหมาย ด้านธุรกิจ และด้านอื่นได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) เพิ่มเติม[๕] คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)[๖] คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๗/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓)[๗] ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป วิวรรธน์/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๓ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๓ พนิดา/เพิ่มเติม ๑๖ เมษายน ๒๕๖๓ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๒๔ เมษายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๒๖/๒๗ มีนาคม ๒๕๖๓ [๒] ข้อ ๑ (๑๑) เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) เพิ่มเติม [๓] ข้อ ๑ (๑๒) เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕/๒๕๖๓เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) [๔] ข้อ ๑ (๑๓) เพิ่มโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๗/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๙๕/๑๐ เมษายน ๒๕๖๓ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๖๔/๑๕ เมษายน ๒๕๖๓ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๓๔/๒๑ เมษายน ๒๕๖๓
876934
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 3/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๓/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๙ จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ โดยคำแนะนำของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ กระทรวงมหาดไทย จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการตามข้อกำหนดฯ สำหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อจังหวัดที่กำหนดระดับของพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการแนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๓/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัมพิกา/จัดทำ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๗๑/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
875736
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 2/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๒/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๙ จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ โดยคำแนะนำของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ กระทรวงมหาดไทย จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการตามข้อกำหนด ฯ สำหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อจังหวัดที่กำหนดระดับของพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๒/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พัชรภรณ์/จัดทำ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๔๙/๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
873850
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 1/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๑/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๘ จนถึงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ โดยคำแนะนำของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขและศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ กระทรวงมหาดไทย จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการตามข้อกำหนดฯ สำหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อจังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดแนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด -๑๙) ที่ ๑ /๒๕๖๔ ลงวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/จัดทำ ๔ มกราคม ๒๕๖๔ ภาณุรุจ/ตรวจ ๔ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๔/๓ มกราคม ๒๕๖๔
871954
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ 29/2563 เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 9)
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๒๙/๒๕๖๓ เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๙)[๑] เพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศนายกรัฐมนตรี เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๘) ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และการให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓ (๖) ข้อ ๔ และข้อ ๕ และคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๑/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๑ จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ ๑. ให้การปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงในเรื่องปรับการตั้งจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด - ๑๙ จัดตั้งคณะตรวจการประกอบกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ มอบหน้าที่และอำนาจ และแต่งตั้งหัวหน้าคณะตรวจการประกอบกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย ยังมีผลใช้บังคับและปรับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนด รวมทั้งดำรงความต่อเนื่องในการตรวจกิจการและกิจกรรมที่ได้รับการผ่อนคลาย โดยเฉพาะกิจการและกิจกรรมที่มีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก และสถานประกอบการที่มีแนวโน้มการใช้แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมทั้งเพิ่มการรณรงค์ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการและประชาชนตระหนักและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ตลอดจนแจ้งเบาะแสแก่ทางราชการ หากพบว่ามีผู้ละเมิดมาตรการป้องกันโรค เพื่อรองรับฤดูหนาวและการเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ รวมถึงการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ ซึ่งจะมีการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก ๒. ดำรงความต่อเนื่องในการตั้งจุดตรวจร่วม และชุดสายตรวจร่วม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การก่ออาชญากรรม การรวมกลุ่มชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะหรือมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน ๓. เพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าตรวจ สกัดกั้น และจับกุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในเขตรับผิดชอบ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรคโควิด - ๑๙ และมีสถิติการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมทั้งประสานใช้กลไกด้านการปกครองในระดับพื้นที่ในการเฝ้าระวัง ค้นหา และการแจ้งเบาะแสผู้หลบหนีเข้าเมือง ตลอดจนเพิ่มมาตรการการตรวจสอบบุคคลและยานพาหนะในพื้นที่จังหวัดชายแดนและพื้นที่ชั้นใน โดยเฉพาะขบวนการนำพาและผู้ให้ที่พักพิงกับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ทั้งนี้ ให้ดำเนินการสอบสวนผู้กระทำผิดที่จับกุมได้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง อัมพิกา/จัดทำ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๓๙/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
870183
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ 28/2563เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 9)
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๒๘/๒๕๖๓ เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๙)[๑] เพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศนายกรัฐมนตรี เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๗) ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และการให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓ (๖) ข้อ ๔ และข้อ ๕ และคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๑/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๑ จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ ๑. ให้การปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงในเรื่องปรับการตั้งจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด - ๑๙ จัดตั้งคณะตรวจการประกอบกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ มอบหน้าที่และอำนาจ และแต่งตั้งหัวหน้าคณะตรวจการประกอบกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย ยังมีผลใช้บังคับและปรับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนด รวมทั้งเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจกิจการและกิจกรรมที่ได้รับการผ่อนคลาย โดยเฉพาะกิจการและกิจกรรมที่มีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก และสถานประกอบการที่มีแนวโน้มการใช้แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมทั้งรณรงค์ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการและประชาชนตระหนักและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ตลอดจนแจ้งเบาะแสแก่ทางราชการ หากพบว่ามีผู้ละเมิดมาตรการป้องกันโรค ๒. ดำรงความต่อเนื่องในการตั้งจุดตรวจร่วม และชุดสายตรวจร่วม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การก่ออาชญากรรม การรวมกลุ่มชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะหรือมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน ๓. เพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าตรวจ สกัดกั้น และจับกุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในเขตรับผิดชอบ โดยเฉพาะพื้นที่ตามตะเข็บชายแดน ช่องทาง ท่าข้ามธรรมชาติ พื้นที่เพ่งเล็ง พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่สนใจ ทั้งทางบกและทางน้ำ โดยประสานใช้กลไกด้านการปกครองในระดับพื้นที่ในการเฝ้าระวัง ค้นหา และการแจ้งเบาะแสผู้หลบหนีเข้าเมือง ตลอดจนเพิ่มมาตรการ การตรวจสอบบุคคลและยานพาหนะในพื้นที่จังหวัดชายแดนและพื้นที่ชั้นใน โดยเฉพาะขบวนการนำพาและผู้ให้ที่พักพิงกับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ๔. การดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายที่ถูกจับกุม ให้ดำเนินการสอบสวนให้ได้ข้อมูลด้านการลักลอบเข้าเมือง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการป้องกันการลักลอบเข้าเมืองต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๕๘ ง/หน้า ๓/๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
869266
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ 6/2563 เรื่อง ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม อาคาร หรือสถานที่
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่อง ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม อาคาร หรือสถานที่[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชน และมิให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ และข้อ ๔ ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และข้อ ๕ แห่งประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จึงออกคำสั่งไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ดังต่อไปนี้ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือใช้ในภารกิจของทางราชการ (๑) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สายสุขุมวิท ได้แก่ สถานีอารีย์, สถานีสนามเป้า, สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สถานีพญาไท, สถานีราชเทวี, สถานีสยาม, สถานีชิดลม, สถานีเพลินจิต, สถานีนานา, สถานีอโศก และสถานีพร้อมพงษ์ (๒) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สายสีลม ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ, สถานีสยาม, สถานีราชดำริ และสถานีศาลาแดง (๓) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สายสีน้ำเงิน ได้แก่ สถานีสุขุมวิท, สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, สถานีลุมพินี และสถานีสีลม (๔) ทางเชื่อมระหว่างตึกหรือทางเดินระหว่างอาคารสูง (Skywalk) (๔.๑) สถานีเชื่อมต่อการเดินรถระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสพญาไท กับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีพญาไท (๔.๒) ทางเชื่อมตั้งแต่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอสสยามถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ (๔.๓) ทางเชื่อมตั้งแต่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอสสยามถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม (๔.๔) ทางเชื่อมตั้งแต่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอสอโศกถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีสุขุมวิท (๔.๕) ทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสีลมถึงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีศาลาแดง ข้อ ๒ มอบหมายให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการห้ามกระทำการอย่างใด ๆ ที่เป็นการปิดการจราจร ปิดเส้นทางคมนาคม หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ตามปกติในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และใช้มาตรการตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยระมัดระวังมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชญานิศ/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๔ ง/หน้า ๒/๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓
869260
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ 3/2563 เรื่อง ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม อาคาร หรือสถานที่
คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ ๓/๒๕๖๓ เรื่อง ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม อาคาร หรือสถานที่[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชน และมิให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ และข้อ ๔ ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ ประกอบมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และข้อ ๕ แห่งประกาศตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จึงออกคำสั่งไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑) ถนนพญาไท จากแยกราชเทวี ถึงแยกสามย่าน (๒) ถนนพระรามที่ ๑ จากแยกเฉลิมเผ่า ถึงแยกเจริญผล ข้อ ๒ ห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ดังต่อไปนี้ ระหว่างเวลา ๑๕.๐๐ ถึง ๐๒.๐๐ นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือใช้ในภารกิจของทางราชการ (๑) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสราชเทวี (๒) ทางเชื่อมระหว่างตึกหรือทางเดินระหว่างอาคารสูง (Skywalk) ตั้งแต่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอสสยามถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ (๓) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีสามย่าน ข้อ ๓ มอบหมายให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้ควบคุม กำกับ ดูแล สั่งการ และมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ชญานิศ/จัดทำ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๒๐/๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
868864
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 36/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๖/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง พนักงานเจ้าหน้าที่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ข้อ ๒ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงมีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๓ ให้ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่และอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตลอดจนข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดดังกล่าว การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย กำหนด ข้อ ๔ ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำยกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๔๑ ง/หน้า ๒/๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๓
873840
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 9/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 8)
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๙/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๘)[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคแนบท้ายคำสั่งนี้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - ๑๙ [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - ๑๙ แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๙/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/จัดทำ ๑ กันยายน ๒๕๖๓ ภาณุรุจ/ตรวจ ๒ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๙๙ ง/หน้า ๓๓/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
862169
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ 20/2563 เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 5)
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๒๐/๒๕๖๓ เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๕)[๑] เพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๑ และ ฉบับที่ ๑๒) คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๖/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๕) และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๗/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๖) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓ (๖) ข้อ ๔ และข้อ ๕ และคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๑/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๑ จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ ๑. ให้การปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ในเรื่องปรับการตั้งจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด - 19 จัดตั้งคณะตรวจการประกอบกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ มอบหน้าที่และอำนาจ และแต่งตั้งหัวหน้าคณะตรวจการประกอบกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย ยังมีผลบังคับใช้และปรับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนด รวมทั้งเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจกิจการและกิจกรรมที่ได้รับการผ่อนคลายซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด ตลอดจนให้คำแนะนำและกวดขันให้สถานประกอบการและประชาชนดำเนินชีวิตแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ๒. ดำรงความต่อเนื่องในการตั้งจุดตรวจร่วม และชุดสายตรวจร่วม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การก่ออาชญากรรม การรวมกลุ่มชุมนุมหรือมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หรือการกระทำอันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง พิไลภรณ์/จัดทำ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๔ ง/หน้า ๒๘/๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓
862010
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 7/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 6)
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกาหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๖)[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคแนบท้ายคำสั่งนี้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๗/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิไลภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๓๘/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
862008
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 6/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 5)
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๖/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๕)[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคแนบท้ายคำสั่งนี้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๖/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิไลภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๓๗/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
860809
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 5/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 4)
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔)[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคแนบท้ายคำสั่งนี้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๕/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๙ ง/หน้า ๒๘/๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๓
863464
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ 17/2563 เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 3)
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๑๗/๒๕๖๓ เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓)[๑] เพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๙) และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓ (๖) ข้อ ๔ และข้อ ๕ และคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๑/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๑ จึงกำหนด แนวทางการปฏิบัติดังนี้ ๑. ให้การปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงในเรื่องปรับการตั้งจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด - 19 และจุดตรวจเพื่อบังคับใช้มาตรการในห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน จัดตั้งคณะตรวจการประกอบกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ มอบหน้าที่และอำนาจ และแต่งตั้งหัวหน้าคณะตรวจการประกอบกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย ซึ่งออกตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๕ และฉบับที่ ๖) และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๒/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังมีผลบังคับใช้ โดยปรับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดต่อไป ๒. การเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดรวมทั้งให้ปฏิบัติตามมาตรการที่แต่ละจังหวัดกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ สำหรับการเดินทางในห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถานให้ปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๙/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ๓. ยานพาหนะที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสาธารณะที่เป็นการขนส่งคนหรือสินค้าระหว่างจังหวัดที่เริ่มออกจากจังหวัดต้นทางก่อนเวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา และถึงจังหวัดปลายทางหลังเวลา ๐๓.๐๐ นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น สามารถเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดในช่วงเวลาการห้ามออกนอกเคหสถานได้ โดยต้องแสดงหลักฐานรับรองจากบริษัทฯ หรือหน่วยงานต้นสังกัด ระบุรายละเอียดที่จำเป็น ได้แก่ ผู้ขับขี่ พนักงานประจำรถ เส้นทางและตำบลเดินทาง ชนิดและรายการสินค้า หรือบัญชีรายชื่อผู้โดยสาร ควบคู่กับบัตรประชาชนหรือบัตรแสดงตนอย่างอื่น รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ ห้ามมิให้ผู้โดยสารขึ้นหรือลงจากยานพานะในห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน เว้นแต่เป็นผู้ที่ได้รับการยกเว้นตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒ และฉบับที่ ๓) โดยให้ปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๙/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง พัชรภรณ์/จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๕๔/๑ มิถุนายน ๒๕๖๓
860177
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ที่ 4/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 3)
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓)[๑] ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคแนบท้ายคำสั่งนี้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พนิดา/จัดทำ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง/หน้า ๓๘/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓
858279
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ 11/2563 เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๑๑/๒๕๖๓ เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] เพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๕) ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๖) และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด - 19) ที่ ๒/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓ (๖) ข้อ ๔ และข้อ ๕ คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ที่ ๑/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๑ จึงให้หน่วยขึ้นตรงของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ปฏิบัติดังนี้ ๑. ปรับการจัดตั้งจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และจุดตรวจเพื่อบังคับใช้มาตรการในห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งจัดชุดสายตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือชุดสายตรวจร่วมข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือน และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยดำรงความต่อเนื่องในการบังคับใช้มาตรการ ข้อกำหนด การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันการก่ออาชญากรรม และ เพิ่มการปฏิบัติเชิงรุกต่อพื้นที่เสี่ยง พื้นที่เพ่งเล็ง ทำการตรวจกิจการและกิจกรรมที่ได้รับการผ่อนคลาย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยหลักในการวางแผนและประสานการปฏิบัติกับศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กองทัพบก ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กองทัพเรือ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กองทัพอากาศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ๒. ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ทั้งสี่ศูนย์ตามข้อ ๑ สนับสนุนการใช้กำลังในการจัดชุดตรวจเฉพาะกิจร่วม เพื่อปฏิบัติตามมาตรการค้นหาผู้ป่วยโรคโควิด 19 เชิงรุกในพื้นที่เสี่ยงและกลุ่มเสี่ยง ตามที่ได้รับการร้องขอจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามแนวทางนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หารือผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเป็นการทั่วไปในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือรายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ชญานิศ/จัดทำ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๔ (เล่มที่ ๓)/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓
858229
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร ที่ 3/2563 เรื่อง ข้อปฏิบัติในการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศในสถานการณ์ฉุกเฉิน
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่ง ทั่วราชอาณาจักร ที่ ๓/๒๕๖๓ เรื่อง ข้อปฏิบัติในการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศในสถานการณ์ฉุกเฉิน[๑] โดยที่นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ กำหนดมาตรการในการใช้รถยนต์เดินทางเข้าออกราชอาณาจักร เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ดังนั้น เพื่อให้ผู้ขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๑๑/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม จึงออกคำสั่งกำหนดข้อปฏิบัติในการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศในสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ขนส่งสินค้า ผู้ขับรถ และผู้ติดตามประจำรถที่ทำการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศ ปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ที่กำหนดโดยจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอย่างเคร่งครัด ข้อ ๒ ให้ผู้ขนส่งพิจารณาวิธีการขนถ่ายและลำเลียงสินค้าให้เกิดความรวดเร็ว เช่น การขนถ่ายหรือลำเลียงสินค้าโดยใช้หัวลากหางลาก หรือใช้ตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ขับรถหรือผู้ติดตามประจำรถสามารถกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้ทันตามระยะเวลาที่จังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนด ข้อ ๓ ให้ผู้ขนส่งกำชับผู้ขับรถและผู้ติดตามประจำรถไม่ให้ออกนอกรถโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการสัมผัสบุคคลอื่น และเมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้เดินทางกลับราชอาณาจักรทันที ข้อ ๔ ให้ผู้ขนส่งสินค้าจัดเตรียมมาตรการรองรับเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่ผู้ขับรถหรือผู้ติดตามประจำรถไม่ผ่านการตรวจคัดกรอง ณ ช่องทางเข้าออก ด่าน จุดผ่านแดน หรือจุดผ่อนปรน หรือมีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเข้าสู่กระบวนการกักตัวไว้เพื่อสังเกตอาการเป็นระยะเวลา ๑๔ วัน รวมถึงกรณีที่ไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้ภายในกำหนด ข้อ ๕ ผู้ขนส่งสินค้าอาจพิจารณาจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมเพิ่มเติม นอกเหนือจากหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และแอลกอฮอล์เจล ไว้สำหรับผู้ขับรถและผู้ติดตามประจำรถใช้เพื่อป้องกันโรค เช่น ชุดอุปกรณ์ป้องกันโรคส่วนบุคคล (PPE) หน้ากากพลาสติกป้องกันใบหน้า (Face shield) เป็นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร ชญานิศ/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๔๕/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓
858225
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร ที่ 2/2563 เรื่อง จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงคมนาคม "ศปก.คค." และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำ ศปก.คค.
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่ง ทั่วราชอาณาจักร ที่ ๒/๒๕๖๓ เรื่อง จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) กระทรวงคมนาคม “ศปก.คค.” และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำ ศปก.คค.[๑] ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อมาได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม สั่ง ณ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม สั่ง ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการป้องกันการแพร่ระบาด และการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฉุกเฉิน อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) อาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๖๓ สั่ง ณ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ “(๕/๑) ให้ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร” และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑/๒๕๖๓ สั่ง ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จึงจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) กระทรวงคมนาคม ตัวย่อ “ศปก.คค.” และแต่งตั้งหัวหน้า และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำ ศปก.คค. ดังนี้ ๑. ฝ่ายบริหารสถานการณ์ อำนวยการ ประสานงาน และการต่างประเทศ ให้รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านอำนวยการ) เป็นหัวหน้าฯ และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานดังนี้ (๑) หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้อง (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน (๓) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม (ตำแหน่งเลขที่ ๓๔๔) (๔) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข (๕) ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ (๖) ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (๗) ผู้อำนวยการกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (๘) ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (๙) ผู้อำนวยการกองต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) อำนวยการและสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบุคลากร งบประมาณ และปฏิบัติหน้าที่เลขานุการของศูนย์บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) กระทรวงคมนาคม (๒) ดำเนินงานตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและปัญหาด้านการคมนาคมและการขนส่ง (๓) ประสานและปฏิบัติงานสนับสนุนด้านการต่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๔) รับบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (๕) รายงานสถานการณ์และความคืบหน้าการดำเนินงานด้านการคมนาคมและการขนส่ง ต่อปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ทราบเป็นประจำ (๖) มอบหมายเจ้าหน้าที่ระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป เข้าร่วมประชุม ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) เป็นประจำทุกวัน จนกว่าจะมีการแจ้งยกเลิก และให้รายงานผลการประชุมให้หัวหน้าฯ ทราบ (๗) เชิญบุคคลเข้าร่วมประชุมหรือเรียกข้อมูลจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ศปก.คค. (๘) ดำเนินการอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและปลัดกระทรวงคมนาคมมอบหมาย ๒. ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์และมาตรการช่วยเหลือเยียวยา ให้รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เป็นหัวหน้าฯ และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานดังนี้ (๑) หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้อง (๒) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม (ตำแหน่งเลขที่ ๓๔๓) (๓) ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (๔) ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (๕) หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยคมนาคม สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รับเรื่องราวร้องทุกข์ ข้อร้องเรียนจากประชาชน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาโดยเร็ว (๒) ติดตามสถานการณ์ รวบรวมข้อมูลข่าวสาร วิเคราะห์ผลกระทบ และจัดทำแผน/มาตรการ/แนวทาง/ข้อเสนอ การให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและการขนส่ง และรายงานปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ทราบ (๓) ประมวลผลข้อร้องเรียน และการให้ความช่วยเหลือ แล้วรายงานปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ทราบเป็นประจำ (๔) เชิญบุคคลเข้าร่วมประชุมหรือเรียกข้อมูลจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ศปก.คค. (๕) ดำเนินการอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและปลัดกระทรวงคมนาคมมอบหมาย ๓. ฝ่ายสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ ให้รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง) เป็นหัวหน้าฯ และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานดังนี้ (๑) หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้อง (๒) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม (ตำแหน่งเลขที่ ๓๔๓) (๓) ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (๔) ผู้อำนวยการกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) รวบรวมและจัดทำข้อมูลสถิติด้านการคมนาคมและการขนส่ง และรายงานให้ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ทราบเป็นประจำ (๒) ติดตามข่าวสารทั่วไป รวมทั้งการแถลงข่าวสถานการณ์ประจำวันของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) และรวบรวมสรุปประเด็นสำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและการขนส่ง ให้ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ทราบเป็นประจำ (๓) จัดทำสื่อและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องในทุกช่องทาง ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างทันท่วงที เพื่อสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นแก่สาธารณชน (๔) ประสานความร่วมมือด้านข้อมูลข่าวสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อมูลประกอบการชี้แจงและการแถลงข่าวของกระทรวงคมนาคม (๕) ดำเนินการอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและปลัดกระทรวงคมนาคมมอบหมาย ๔. ให้ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคมรับผิดชอบการประสานงาน ๓ ฝ่ายฯ และกำกับดูแล สั่งการ กอง ศูนย์ ในสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามคำสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง สั่ง ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร ชญานิศ/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๔๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓
858223
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร ที่ 1/2563 เรื่อง ข้อปฏิบัติในการขนส่งสินค้าทางถนนในสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างช่วงเวลาห้ามบุคคลออกนอกเคหสถาน
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่ง ทั่วราชอาณาจักร ที่ ๑/๒๕๖๓ เรื่อง ข้อปฏิบัติในการขนส่งสินค้าทางถนนในสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างช่วงเวลาห้ามบุคคลออกนอกเคหสถาน[๑] โดยที่นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๓ กำหนดห้ามบุคคลใดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๔.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น โดยกำหนดข้อยกเว้นในการปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าบางประเภท และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๓ กำหนดข้อยกเว้นในการปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๒) ให้ชัดเจนขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๑๑/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๓ เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม จึงออกคำสั่งกำหนดข้อปฏิบัติในการขนส่งสินค้าทางถนนในสถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างช่วงเวลาห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บุคคลที่มีความจำเป็นในการขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร น้ำมันเชื้อเพลิง ไปรษณียภัณฑ์ พัสดุภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ หรือสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก จัดเตรียมใบอนุญาตขับรถ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวพนักงานหรือหนังสือรับรองการทำงาน และเอกสารเกี่ยวกับสินค้าตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ เพื่อใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่และต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมถึงการยอมรับการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ข้อ ๒ การขนส่งสินค้าตามข้อ ๑ ให้หมายความรวมถึงการขนส่งเที่ยวเปล่าหรือตู้สินค้าเปล่า ในกรณีเดินทางไปรับสินค้าและเดินทางกลับภายหลังเสร็จสิ้นการขนส่งสินค้าเรียบร้อยแล้วด้วย โดยให้ผู้ขนส่งจัดเตรียมเอกสารตามข้อ ๑ ไว้แสดงต่อเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารเกี่ยวกับสินค้า (แบบแนบท้ายคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักร ที่ ๑/๒๕๖๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๓๙/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓
863485
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 21/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)[๑] เพื่อให้การปฏิบัติงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสามารถลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ ข้อ ๒ นายกรัฐมนตรีจึงแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นทางวิชาการ เสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีองค์ประกอบดังนี้ ๑) ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา ประธาน ๒) ศาสตราจารย์กิตติคุณเทียนฉาย กีระนันทน์ รองประธาน ๓) ศาสตราจารย์นายแพทย์นิธิ มหานนท์ กรรมการ ๔) ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย กรรมการ ๕) รองศาสตราจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กรรมการ ๖) รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการ ๗) พลตรี นายแพทย์เหรียญทอง แน่นหนา กรรมการ ๘) นายบัณฑิต นิจถาวร กรรมการ ๙) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการ ๑๐) นายวีระ ธีระภัทรานนท์ กรรมการ ๑๑) นายสมชัย จิตสุชน กรรมการ ๑๒) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ และเลขานุการ ๑๓) รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ ที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชญานิศ/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๘/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓
863487
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 2/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๒/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ตามที่นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมา ได้ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑) ลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคแนบท้ายคำสั่งนี้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๒/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓