title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลท่าข้าม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ว่าด้วยกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหาร ส่วนตำบลท่าข้ามโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามและนายอำเภออรัญประเทศจึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามเมื่อได้ประกาศไว้ โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความ ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง - การเลี้ยงม้า โค กระบือ - การเลี้ยงห่าน เป็ด ไก่ - การเลี้ยงสุกร - การเลี้ยงแพะ แกะ - การเลี้ยงสัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน (๑.๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอานม (๑.๓) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใด อันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชม หรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดู หรือค่าบริการ ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขาย ในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก (๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย และการขายในตลาด (๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ (๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดของสัตว์และพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๒.๘) การสะสมหรือการล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม (๓.๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๓.๘) การผลิตแบะแซ (๓.๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๐) การประกอบกิจการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ (๓.๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้น การผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๓) การผลิต การบรรจุน้ำตาล (๓.๑๔) การผลิต ผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว (๓.๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู (๓.๑๖) การคั่วกาแฟ (๓.๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๑๘) การผลิตผงชูรส (๓.๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร (๓.๒๕) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหาร และเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง (๔.๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ (๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๕.๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยเคมีเพื่อการค้า (๕.๘) การผลิต การสะสมปุ๋ยชีวภาพ (๕.๙) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร (๕.๑๐) การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (๖.๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่ หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่ (๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๗.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๗.๖) การปะ การเชื่อมยาง (๗.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาหรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร (๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพรและนวดแผนโบราณ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๓) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๔) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๕) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๖) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๘) การจัดให้มีการเล่นสเกตโดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๐) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุม ทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๑๑) การประกอบกิจการสวนสนุก เกมคอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต (๙.๑๒) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม (๙.๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกกอล์ฟ (๙.๑๔) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุก ตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น (๑๐.๓) การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิต ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๑๑.๙) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๒.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน (๗.๑) (๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ การบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตแชลแล็กหรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๓.๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การก่อสร้าง (๑๓.๑๐) กิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมีการควบคุม ตามประเภทที่ข้อบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นกิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพต้องมีการควบคุมในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใด ที่เข้าข่ายเป็นโรงงานหรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการ ที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่งสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพ ที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็น และเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณ และประเภทมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติ ว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิง อย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งในทำเล ซึ่งสามารถจะทำรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๒) ต้องทำรางระบายน้ำไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อ ซึ่งรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวรไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๓) การระบายน้ำ และรางระบายน้ำต้องไม่มีลักษณะเป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางสาธารณะหรือผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง (๔) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมรั่วไหลหรือขังได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครก หรือบำบัดน้ำเสีย หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันควัน กลิ่นไอ หรือสิ่งอื่นใด ซึ่งอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ (๕) ต้องให้มีแสงสว่าง และทางระบายลมเพียงพอ และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และแมลงนำโรค (๖) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่การประกอบกิจการนั้น (๗) ต้องมีที่รองรับมูลฝอยอันถูกสุขลักษณะ (๘) ต้องมีส้วมอันถูกสุขลักษณะให้พอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้นและต้องอยู่ในที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นชอบ (๙) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขัง และที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางพอ (๑๐) สถานที่เกี่ยวกับการตาก หรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตาก หรือผึ่งตามที่ เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นชอบ (๑๑) ปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่แนะนำ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้ง แจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียม ที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบังคับนี้ หรือเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พัฒนา รัตนธรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๒) ๔. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๓) ๕. คำร้องขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ อภ. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๑๙๙/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,152
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลกกแรต เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตและนายอำเภอกงไกรลาศ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้มีผลบังคับใช้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่า เจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เศษวัสดุที่มีน้ำขัง” หมายความว่า มูลฝอยหรือเศษสิ่งของที่มิได้ใช้แล้วในอาคาร หรือนอกอาคาร และมีน้ำขังอยู่ เช่น กระป๋อง ยางรถยนต์เก่า ไห กระถาง ขวด เป็นต้น หรือชิ้นส่วนของวัสดุดังกล่าวที่มีน้ำขังอยู่ “ภาชนะที่มีน้ำขัง” หมายความว่า อุปกรณ์ ของใช้ สิ่งของที่ใช้อยู่ในอาคารหรือนอกอาคาร และมีน้ำขังอยู่ เช่น โอ่ง ตุ่มน้ำ ถังซีเมนต์ในห้องน้ำ แจกัน ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง ถ้วยรองขาตู้ จานรองกระถางต้นไม้ อ่างบัว อ่างเลี้ยงปลา เป็นต้น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถานต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขัง อย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ อำภร รัดเลิศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๑๕๐/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,153
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลกกแรต เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตและนายอำเภอกงไกรลาศ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริการส่วนตำบลกกแรตตั้งแต่วันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่” หมายความว่า มูลฝอยทั่วไปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก “มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน” หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “น้ำชะมูลฝอย” หมายความว่า ของเหลวที่ไหลชะผ่านหรือของเหลวที่ออกมาจากมูลฝอยซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “อาคารอยู่อาศัยรวม” หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๙ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตและระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง กอง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะนอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตจัดไว้ให้ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือสิ่งเปรอะเปื้อนที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) ห้ามมิให้ผู้ใดลักลอบ หรือทำการถ่าย เท ทิ้ง กอง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างอันเป็นของเอกชน ทั้งของตนเองหรือบุคคลอื่น (๔) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขน คุ้ย เขี่ย หรือขุดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่สาธารณะอื่นใดขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต เว้นแต่จะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย (๕) หากผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างเปล่าปล่อยให้มีมูลฝอยสะสมจนก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ ผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินว่างเปล่านั้นจะต้องทำการจัดเก็บ ขน และกำจัด ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว หากผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างเปล่านั้นยังคงเพิกเฉย ละเลย หรือกระทำการไม่แล้วเสร็จโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญจากสถานที่ดังกล่าวและผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือที่ดินว่างเปล่านั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ (๖) ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรม ทิ้งกากอุตสาหกรรม และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานปะปนรวมไปกับมูลฝอยทั่วไป ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ ๑ ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) เอกสารหรือหลักฐานแสดงสถานที่รับกำจัดมูลฝอยทั่วไปที่ได้รับใบอนุญาตตามแบบ ๒ และมีการดำเนินกิจการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลโดยมีหลักฐานสัญญาว่าจ้างระหว่างผู้ขนกับผู้กำจัดมูลฝอย (๕) เสนอแผนการดำเนินงานในการเก็บขนมูลฝอยที่แสดงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน ความพร้อมด้านกำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการบริหารจัดการ (๖) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตประกาศกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไรโซน ๕%) (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตประกาศกำหนด (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) มีเอกสารสิทธิในที่ดินที่ใช้กำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๒) มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาล (๒.๒.๑) ที่ไม่ก่อให้เกิดปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังพื้นดิน แหล่งน้ำ น้ำใต้ดิน พืชผลทางการเกษตร (๒.๒.๒) ไม่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์พาหะนำโรค (๒.๒.๓) ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น สกปรกหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) หลักเกณฑ์ด้านยานพาหนะขนมูลฝอยต้องมีลักษณะดังนี้ (๓.๑.๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอยมีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิดเป็นแบบที่ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และทำความสะอาดง่าย (๓.๑.๒) มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอยเพื่อมิให้รั่วไหลตลอดการปฏิบัติงาน และนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย (๓.๑.๓) มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟวับวาบติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่ก่อให้เกิดความรำคาญและสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ (๓.๑.๔) ยานพาหนะขนมูลฝอยต้องมีความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงานระดับที่ขนถ่ายมูลฝอยใส่ในตัวถังยานพาหนะต้องไม่สูงเกินไป หรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติงาน (๓.๒) หลักเกณฑ์ด้านผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนส่ง (๓.๒.๑) ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี (๓.๒.๒) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ในขณะทำหน้าที่เกี่ยวกับเก็บขนมูลฝอย (๔) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) มีเอกสารสิทธิในที่ดินที่ใช้กำจัดมูลฝอย (๔.๒) หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะการกำจัดมูลฝอยต้องกำจัดมูลฝอยโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้ แต่วิธีการนี้ไม่นำไปใช้กับมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนและของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (๔.๒.๑) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (๔.๒.๒) การเผาในเตาเผา (๔.๒.๓) การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ (๔.๒.๔) การจัดการแบบผสมผสาน (๔.๒.๕) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๔.๓) ต้องทำการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นก่อนทำการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอย และมีมาตรการควบคุมกำกับการดำเนินงานกำจัดมูลฝอยในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (๔.๔) การกำ จัดมูลฝอยต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีวิธีดำเนินการดังนี้ (๔.๔.๑) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๒ ห่างจากสนามบิน บ่อน้ำดื่ม โรงงานผลิตน้ำประปา สถานศึกษา ศาสนสถาน โบราณสถาน หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในกรณีเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำป่าไหลหลากต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ๒) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่ฝังกลบจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการฝังกลบและปัญหากลิ่นรบกวน ๓) มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอยโดยมีการบดอัดก้นบ่อด้านล่างและด้านข้างให้แน่นและปูด้วยแผ่นวัสดุกันซึม ๔) มีระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน และมีกระบวนการบำบัดน้ำชะมูลฝอย ให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๕) มีการกลบทับหน้ามูลฝอยรายวันด้วยดินหรือวัสดุกลบทับอื่นและปิดการฝังกลบเมื่อบ่อฝังกลบเต็ม โดยปิดทับหน้าบ่อฝังกลบด้วยดินหน้าอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม เพื่อป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ๖) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ๗) ต้องมีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบและมีระบบเผาทำลายก๊าซ หรือมีระบบการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น ๘) มีบ่อสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน และในระหว่างการดำเนินการฝังกลบให้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทุก ๖ เดือน กรณีที่มีการปิดบ่อฝังกลบแล้วให้มีการตรวจสอบปีละ ๑ ครั้ง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา ๕ ปี (๔.๔.๒) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการเผาในเตาเผาต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑) สถานที่ตั้งเหมาะสมให้เป็นไปตามผลการศึกษาในข้อ ๔.๓ มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอย มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ๒) มีที่พักรวมมูลฝอยที่ด้วยสุขลักษณะดังนี้ (ก) เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะสามารถบรรจุมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่า ๒ วัน มีการแยกเก็บมูลฝอยเป็นสัดส่วน ตั้งอยู่ในสถานที่สะดวกต่อการเก็บรวบรวม ขนถ่าย อยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบอาหาร (ข) พื้น ผนัง เรียบ ทำด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่ายมีลักษณะปิดมิดชิดสามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค การระบายอากาศดี (ค) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้ง เชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสียเว้นแต่อาคารไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย (ง) ประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก (จ) มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งสถานที่พักรวมมูลฝอยมีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป” และมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ๓) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่เผามูลฝอยจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการเผาและปัญหากลิ่นรบกวน ๔) ต้องเผามูลฝอยที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๘๕๐ องศาเซลเซียส และมีระบบควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยให้ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๕) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ๖) มีการบำบัดน้ำเสียจากระบบกำจัด และน้ำเสียใด ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัดให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๗) มีการกำจัดเถ้าหนัก โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้าปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน และต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บขี้เถ้าหนักที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการในการนำขี้เถ้าหนักออกไปกำจัดเป็นประจำ ๘) มีการกำจัดขี้เถ้าเบาโดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บขี้เถ้าเบาที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการในการนำขี้เถ้าเบาออกไปกำจัดเป็นประจำ (๔.๔.๓) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑) สถานที่ตั้งเหมาะสมให้เป็นไปตามผลการศึกษาในข้อ ๔.๓ ๒) อาคารคัดแยกมูลฝอยมีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่นำมาหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพ มีการระบายอากาศและแสงสว่างในอาคารคัดแยกมูลฝอยที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ๓) มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยในอาคารคัดแยกมูลฝอยและอาคารระบบหมักทำปุ๋ย ๔) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงานความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแมลงพาหะนำโรค ๕) มูลฝอยจากการคัดแยกส่วนที่หมักทำ ปุ๋ยหรือหมักทำก๊าซชีวภาพไม่ได้ต้องมีระบบกำจัดหรือส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หรือการเผาในเตาเผา หรืออาจมีการนำมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไปใช้ประโยชน์ ๖) ต้องบำบัดน้ำ ชะมูลฝอย น้ำ เสียจากสถานที่คัดแยกและสถานที่หมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๗) กรณีหมักทำ ก๊าซชีวภาพ บ่อหมักต้องเป็นระบบปิดมีการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดการทำงาน (๔.๔.๔) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการแบบผสมผสาน ซึ่งระบบกำจัดใช้วิธีการกำจัดมากกว่า ๑ วิธีตามข้อ ๔.๑ ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑) สถานที่ตั้งเหมาะสมมีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่กำจัด ๒) ในกรณีที่มีอาคารคัดแยกมูลฝอย และอาคารอื่น ๆ ของระบบกำจัดมูลฝอยต้องมีการระบายอากาศและแสงสว่างในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ๓) ต้องมีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยในอาคารคัดแยกมูลฝอยและอาคารอื่น ๆ ๔) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงานความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ๕) ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำจัดโดยการเผาในเตาเผาดำเนินการเผาให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ตามข้อ ๔.๓ ๖) ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำ จัดโดยการหมักทำ ปุ๋ย หรือทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ตามข้อ ๔.๔.๓ (๔.๕) หลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงานดังนี้ (๔.๕.๑) ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุม กำกับในการจัดการมูลฝอย อย่างน้อย ๒ คน โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านสาธารณสุข ด้านสุขาภิบาล หรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาตรตร์ในด้านสุขาภิบาลวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือวิศวกรรมเครื่องกลด้านใดด้านหนึ่ง เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (๔.๕.๒) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่กำจัดมูลฝอยต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยจากการทำงาน (๔.๕.๓) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอย รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานมีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่กำจัดมูลฝอยด้วย ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ ๑ หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบ ๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตตามแบบ ๒ หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตแบบ ๒ หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางและรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลและทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไรโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดยานพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราดให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไรโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) ดำเนินงานระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของระบบกำจัด (๒.๒) ขณะปฏิบัติงานต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๒.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) ขณะทำการเก็บ ขนมูลฝอยต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุมถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๓.๒) ทำความสะอาดพาหนะเก็บขนมูลฝอยอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่แหล่งน้ำสาธารณะ (๓.๓) กรณีที่มีมูลฝอยตกหล่นบนทางสาธารณะให้จัดการเก็บให้เรียบร้อย (๓.๔) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) ดำเนินงานระบบกำจัดมูลฝอยตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของระบบกำจัด (๔.๒) ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้งและทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๔.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔.๔) ให้นำความในข้อ ๑๑ (๔) มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบ ๓ จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามแบบ ๒ ให้นำความในข้อ ๑๑, ๑๒, ๑๓ และข้อ ๑๔ ให้นำมาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้ จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอแบบ ๔ รับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแหง่ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรตเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ อำภร รัดเลิศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการขน เก็บ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการขน เก็บ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ๒) ๔. คำต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการขน เก็บ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ๓) ๕. คำร้องขออนุญาตการต่างๆ (แบบ ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๑๕๙/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,154
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองหมี เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีและนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูกเขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำ ความสะอาดหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หรือจะต้องมีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ ประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ) (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่เจ้าของสถานประกอบกิจการไม่มาดำเนินการด้วยตนเองหรือเป็นผู้แทนรับมอบอำนาจ กรณีที่เป็นนิติบุคคล (๔) หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล กรณีที่ผู้ขอเป็นนิติบุคคล (๕) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงกรานต์ พรหมหิตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๕๕/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,155
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีและนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณ หรือมีความเข้มข้นซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดโรคได้ กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้ ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ และการรักษาพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพ หรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ (๑) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด การตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง (๒) วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะ ที่ทำด้วยแก้ว สไลด์ และแผ่นกระจกปิดสไลด์ (๓) วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ หรือวัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่าง ๆ และท่อยาง (๔) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “ห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง” หมายความว่า ห้องรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อร้ายแรงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “สถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า (๑) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลของทางราชการ (๒) สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลของหน่วยงานอื่น ของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด “สถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลสัตว์ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลสัตว์ของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มิได้ตั้งอยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุข ซึ่งได้แก่ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุตัวอย่างจากร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย และห้องปฏิบัติการทดสอบ ด้านสาธารณสุขที่ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพส่วนประกอบ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย ทั้งนี้ ตามลักษณะและเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการ และสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า เจ้าของ หรือผู้ครอบครองห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย “ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในเขตราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นอำนาจ ของราชการส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ราชการส่วนท้องถิ่น อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทน ภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน หรือเขตพื้นที่การอนุญาต ให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๗ ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการ เชื้ออันตรายซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่นหรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียม การให้บริการแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยติดเชื้อ นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีสถานที่ถ่าย เท หรือทิ้งมูลฝอยติดเชื้อในที่หรือทางสาธารณะ หรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถ่าย เท หรือทิ้งโดยวิธีอื่นตามมาตรฐานหรือตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ข้อบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองด้วย และให้สถานบริการการสาธารณสุขหรือห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายนั้นแจ้งให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และเมื่อราชการส่วนท้องถิ่นได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข หรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายดังกล่าว จึงจะดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองได้ ในการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร้องขอให้อธิบดีกรมอนามัยหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมอนามัยมอบหมายจัดส่งเจ้าหน้าที่กรมอนามัยไปร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นได้ ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย และราชการส่วนท้องถิ่นรวมทั้งบุคคลซึ่งราชการ ส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัด มูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ในการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ และขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งคน โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ในด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านใดด้านหนึ่ง (๒) ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (๑) ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมเครื่องกล ด้านใดด้านหนึ่ง (๓) ในกรณีที่มีการดำเนินการทั้ง (๑) และ (๒) จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ก็ได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการแต่ราชการส่วนท้องถิ่น หรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้น จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บ การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น หรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ราชการส่วนท้องถิ่นและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจดำเนินกิจการร่วมกันในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ด้านใดด้านหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อร่วมกันก็ได้ หรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม อาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ได้ ข้อ ๑๑ ในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุข ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ หรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายของเอกชน ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายควบคุมดูแลให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และดำเนินการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแล ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น และของบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแลให้บุคคลดังกล่าวจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตามข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการมอบให้บุคคลใดดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ หรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดระยะเวลา และเส้นทางขน ตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ให้บุคคลดังกล่าวถือปฏิบัติไว้ด้วย ข้อ ๑๓ บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้ การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๔ ให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย และเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีหน้าที่ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตน และดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ ให้เก็บบรรจุมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อดังนี้ (๑) มูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุของมีคม ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุ มูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถัง (๒) มูลฝอยติดเชื้ออื่นซึ่งมิใช่ประเภทวัสดุของมีคม ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ต้องใช้เพียงครั้งเดียว และต้องทำลายพร้อมกับการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น ข้อ ๑๖ ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถังต้องทำด้วยวัสดุ ที่แข็งแรง ทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น พลาสติกแข็งหรือโลหะ มีฝาปิดมิดชิด และป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้ และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกโดยผู้ขนย้าย ไม่มีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ (๒) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงต้องทำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่น ที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย ทนทานต่อสารเคมีและการรับน้ำหนัก กันน้ำได้ ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึม ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ต้องมีสีแดง ทึบแสง และมีข้อความสีดำ ที่มีขนาดสามารถอ่านได้ชัดเจนว่า “มูลฝอยติดเชื้อ” อยู่ภายใต้รูปหัวกะโหลกไขว้ คู่กับตรา หรือสัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และต้องมีข้อความว่า “ห้ามนำกลับมาใช้อีก” และ “ห้ามเปิด” ในกรณีที่สถานบริการการสาธารณสุขมิได้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง สถานบริการการสาธารณสุขดังกล่าวจะต้องระบุชื่อ ของตนไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ และในกรณีที่ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นใช้สำหรับเก็บมูลฝอยติดเชื้อไว้เพื่อรอการขนไปกำจัดเกินกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น ให้ระบุวันที่ ที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อด้วย ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง มีได้หลายขนาดตามความเหมาะสม ของการเก็บ ขน และการกำจัด แต่ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเห็นสมควร เพื่อความสะดวกในการเก็บ ขน และการกำจัดจะกำหนดขนาดของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อสำหรับใช้ในสถานบริการ การสาธารณสุขใด หรือสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายใดก็ได้ ข้อ ๑๗ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออาจจะจัดให้มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อก็ได้ โดยภาชนะรองรับนั้นจะต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อสารเคมี ไม่รั่วซึม ทำความสะอาดได้ง่ายและต้องมีฝาปิดเปิดมิดชิด เว้นแต่ในห้องที่มีการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และจำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลา จะไม่มีฝาปิดเปิดก็ได้ภาชนะรองรับตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ได้หลายครั้งแต่ต้องดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๘ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อ ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อตรงแหล่งเกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น และต้องเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ โดยไม่ปนกับมูลฝอยอื่น และในกรณีที่ไม่สามารถเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้โดยทันทีที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อจะต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อนั้นลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อโดยเร็วที่สุดเมื่อมีโอกาสที่สามารถจะทำได้ (๒) ต้องบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไม่เกินสามในสี่ส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ แล้วปิดฝาให้แน่น หรือไม่เกินสองในสามส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุง แล้วผูกมัดปากถุงด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นให้แน่น (๓) กรณีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มีปริมาณมาก หากยังไม่เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นออกไปทันทีจะต้องจัดให้มีที่หรือมุมหนึ่งของห้องสำหรับเป็นที่รวมภาชนะที่ได้บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว เพื่อรอการเคลื่อนย้ายไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อแต่ห้ามเก็บไว้เกินหนึ่งวัน (๔) จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามข้อ ๒๐ เพื่อรอการขนไปกำจัด และต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ข้อ ๑๙ ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อจะต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นห้อง หรือเป็นอาคารเฉพาะแยกจากอาคารอื่นโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ สำหรับใช้เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัด (๑) มีลักษณะไม่แพร่เชื้อ และอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด (๒) มีขนาดกว้างเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อยสองวัน (๓) พื้นและผนังต้องเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย (๔) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย (๕) มีลักษณะโปร่ง ไม่อับชื้น (๖) มีการป้องกันสัตว์ แมลงเข้าไปมีประตูกว้างพอสมควรตามขนาดของห้อง หรืออาคารเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน และปิดด้วยกุญแจหรือปิดด้วยวิธีอื่นที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถที่จะเข้าไปได้ (๗) มีข้อความเป็นคำเตือนที่มีขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ” ไว้ที่หน้าห้องหรือหน้าอาคาร (๘) มีลานสำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ และลานนั้นต้องมีรางหรือท่อรวบรวมน้ำเสียจากการล้างรถเข็นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกินเจ็ดวัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นได้ ข้อ ๒๐ การเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อรอการขนไปกำจัดต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตร และระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และถ้าในการปฏิบัติงาน ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที (๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (๔) ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๑ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๒๐ (๑) ก็ได้ (๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด (๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ (๗) กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่า ต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษ แล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๘) ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อย วันละครั้ง และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ข้อ ๒๑ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยต้องมีลักษณะ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคและสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ (๒) มีพื้นและผนังทึบ เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป (๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า “รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น” (๔) ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่าง การเคลื่อนย้าย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อ ตกหล่น ตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๒ สถานบริการการสาธารณสุขดังต่อไปนี้ จะไม่จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อก็ได้แต่ต้องจัดให้มีบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ (๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (๒) สถานพยาบาลสัตว์ประเภทที่ไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืน หรือประเภทที่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนตามชนิดและจำนวนไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๓) สถานที่ที่อาจมีมูลฝอยติดเชื้อตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด บริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งให้มีลักษณะตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๒๓ ราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ซึ่งรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการ การสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องจัดให้มี (๑) ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ โดยให้มีจำนวนที่เพียงพอกับการประกอบการหรือการให้บริการ (๒) ผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อโดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๓) ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการกำจัดซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ โดยต้องมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะขนไปกำจัด และให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดง และมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ในสภาพถาวรด้วย (๔) บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นสถานที่เฉพาะ มีขนาดกว้างขวางเพียงพอ มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย และต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ข้อ ๒๔ การขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องขนโดยยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อเท่านั้น (๒) ต้องขนอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่กำหนด โดยคำนึงถึงปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อและสถานที่จัดเก็บเว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น (๓) ผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องถือปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะดังนี้ ก. ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และถ้าใน การปฏิบัติงาน ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที ข. ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ค. กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษ แล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๔) ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อและผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยติดเชื้อและภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นในระหว่างการขนห้ามนำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น และให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเว้นแต่กรณีภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกหรือมีการรั่วไหลต้องทำความสะอาดในโอกาสแรกที่สามารถจะทำได้ ข้อ ๒๕ ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้ (๑) ตัวถังปิดทึบผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดได้ง่ายไม่รั่วซึม (๒) ในกรณีที่เป็นยานพาหนะสำหรับใช้ขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เก็บกักภาชนะมูลฝอยติดเชื้อไว้เกิน ๗ วัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น ภายในตัวถังของยานพาหนะนั้นต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นได้ และจะต้องติดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย (๓) ข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนปิดไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านว่า “ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ” (๔) กรณีราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อให้ราชการส่วนท้องถิ่น แสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ กรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการ ส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนระบุวิธี การที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลนั้นดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นให้อย่างชัดเจนด้วย กรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมกับแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุรหัสหรือหมายเลขใบอนุญาต ชื่อ สถานที่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ (๕) ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารสำหรับใช้ติดต่อแจ้งเหตุอยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใช้รถเข็น สำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย แทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อรถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะมูลฝอยติดอย่างน้อยต้องมีลักษณะดังนี้ (๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรค และสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ (๒) มีพื้นและผนังทึบ เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป (๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า “รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น” (๔) ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาด ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใช้รถเข็น สำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย แทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อรถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะมูลฝอยติดต้องดำเนินการให้มีลักษณะดังนี้ (๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตร และระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และถ้าใน การปฏิบัติงาน ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำ ความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที (๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (๔) ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๑ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๑) ก็ได้ (๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด (๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ (๗) กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่า ต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษ แล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๘) ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อย วันละครั้ง และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ข้อ ๒๘ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ (๒) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามระยะเวลาที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดแต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ขนจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข หรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย (๓) ในระหว่างรอกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ในที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อบัญญัตินี้ โดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะทำการกำจัด รวมทั้งจัดให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ด้วย (๔) จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ ตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๕) จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัด มูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่น หรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่ตั้งระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (๖) กรณีที่สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้วิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผา ให้สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นตรวจวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐาน ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นประจำทุกเดือน และให้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์นั้นให้ราชการ ส่วนท้องถิ่นทราบเป็นประจำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน ข้อ ๒๙ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ มีวิธีการดังนี้ (๑) เผาในเตาเผา (๒) ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ (๓) ทำลายเชื้อด้วยความร้อน (๔) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๓๐ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผา ให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติดเชื้อและห้องเผาควัน การเผามูลฝอยติดเชื้อให้เผาที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๗๖๐ องศาเซลเซียส และใน การเผาควันให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ตามแบบเตาเผาที่ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือเห็นชอบ และในการเผาต้องมีการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๓๑ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำหรือวิธีทำลายเชื้อด้วยความร้อน หรือวิธีอื่นจะต้องดำเนินการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพ โดยมีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายเชื้อบัคเตรี เชื้อรา ไวรัส และปาราสิต ในมูลฝอยติดเชื้อได้หมด ภายหลังการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีดังกล่าวตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องมีการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์เชื้อบะซิลลัสสะเทียโรเธอร์โมฟิลลัสหรือบะซิลลัสซับทิลิส แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๓๒ เศษของมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือหลังจากการเผาในเตาเผา หรือที่ผ่านการกำจัดเชื้อแล้วให้ดำเนินการกำจัดตามวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไป เว้นแต่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๓๓ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ ระบุ...........) (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๓๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๓๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่า จะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการ ส่วนท้องถิ่น ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับ ใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๔๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลา ที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตราชการ ส่วนท้องถิ่น ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงกรานต์ พรหมหิตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ๕. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งมูลฝอยติดเชื้อ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๒๘/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,156
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลหาดยาย เรื่อง การกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เห็นเป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ว่าด้วยการกำจัด สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย และนายอำเภอหลังสวน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ได้ตราไว้แล้วและซึ่งขัด หรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตราย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน ซึ่งประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้านเรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ หมวด ๒ การรักษาความสะอาด ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดการหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหมวดนี้และหมวด ๓ รวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๗ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง วางหรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่ หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือในสถานที่ ที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะ การจัดการกับสิ่งปฏิกูลตามวรรคแรกต้องดำเนินการโดยใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลรั่วไหลหรือกลิ่นเหม็น ข้อ ๘ ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ขน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ที่อยู่ในที่รองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่รวบรวมสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๙ ห้ามผู้ใด ทำการคุ้ย เขี่ย รื้อ ขุดหรือทำให้กระจัดกระจายซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่อยู่ในที่รองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่รวบรวมสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย อันเป็นเหตุก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการรักษาความสะอาด การถ่าย เท ขนหรือเคลื่อนย้าย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่อยู่อาศัย อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ต้องดูแลจัดการมิให้สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่อยู่ในบริเวณสถานที่ดังกล่าวก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ แก่ผู้อื่นและจะต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยรวมทั้งการคัดแยกก่อนการจัดการหรือกำจัด โดยถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่อยู่อาศัย อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ จะต้องไม่ก่อให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยไม่จำเป็นรวมทั้งจัดการหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ด้วยตนเองในเบื้องต้นอย่างถูกวิธีและถูกต้องด้วยสุขลักษณะก่อนที่จะนำไปถ่าย เท ทิ้ง วางในสถานที่ ที่ได้รับอนุญาตหรือสถานที่ที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะ ข้อ ๑๒ การจัดการและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ติดเชื้อเป็นพิษหรืออันตราย นอกจากจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้แล้ว ยังจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการหลักเกณฑ์ตามที่ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๑๓ หากองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายเห็นว่าที่อยู่อาศัย อาคาร เคหสถาน สถานที่หรือบริเวณใด ๆ มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยจนเป็นเหตุให้ประชาชนเกิดความเดือดร้อนรำคาญ หรืออาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย อาจเข้าไปดำเนินการจัดการหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยเพื่อระงับเหตุดังกล่าว โดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการจัดการต่าง ๆ จากเจ้าของหรือและผู้ครอบครองสถานที่นั้นหรือจากผู้ก่อให้เกิดเหตุนั้น ทั้งนี้ เมื่อได้มีหนังสือแจ้งแก่เจ้าของหรือและผู้ครอบครองสถานที่นั้น หรือจากผู้ก่อให้เกิดเหตุนั้นให้ดำเนินการภายใน ๑๕ วัน และผู้นั้นไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายอาจเข้าไปดำเนินการโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก็ได้ หมวด ๓ การจัดการและการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ข้อ ๑๔ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ทั้งนี้ ภายใต้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามข้อบัญญัตินี้ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรืออาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินการแทนภายใต้ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขหรือสัญญาที่องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายกำหนด ข้อ ๑๕ ห้ามผู้ใดดำเนินการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบลหาดยายจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๗ ในการดำเนินกิจการตามข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขหรือสัญญาที่องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายกำหนด ข้อ ๑๘ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายให้การสนับสนุนอุปกรณ์หรือภาชนะที่ใช้รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้แก่หน่วยงาน องค์กร หมู่บ้าน ชุมชนหรือบุคคลใดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายตามที่ได้รับการร้องขอหรือตามที่เห็นสมควรโดยผู้รับยินยอมให้เป็นหน้าที่ ของหน่วยงาน องค์กร หมู่บ้าน ชุมชนหรือบุคคลนั้นในการจัดการและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ที่อยู่ในอุปกรณ์หรือภาชนะที่ใช้รองรับนั้น เว้นแต่องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยายจะเป็นผู้ดำเนินการจัดการและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยนั้นเองตามข้อ ๑๔ หมวด ๔ บทกำหนดโทษ ข้อ ๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ถึงข้อ ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่ในกรณีเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ หรือมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายต่อชุมชนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตามมาตรา ๗๓/๑ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่ในกรณีเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ หรือมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายต่อชุมชนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ตามมาตรา ๗๓/๒ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติข้อ ๑๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๒ บรรดาค่าธรรมเนียมใด ๆ และค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ธเรวัชร อบแพทย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๑๔๒/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,157
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองหมี เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีและนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) ในพื้นที่สาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย สนามกีฬา สนามเด็กเล่น วัด ศาลาประจำหมู่บ้านเป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อย ช้าง ม้า โค กระเบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ (๑.๒) บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน ฯลฯ ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีแต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งเจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงกรานต์ พรหมหิตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๕๒/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,158
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยทั่วไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีและนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “มูลฝอยทั่วไป” หมายความว่า มูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขที่เกิดจากอาคาร ที่พักอาศัย ธุรกิจร้านค้า สถานประกอบการ สถานบริการ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด สถาบันต่าง ๆ รวมทั้งมูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน แต่ไม่รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอย ที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่” หมายความว่า มูลฝอยที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ ได้แก่ แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก และวัสดุอื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ “มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน” หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “มูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า มูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัด มูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๔๕ “น้ำชะมูลฝอย” หมายความว่า ของเหลวที่ไหลชะผ่านหรือที่ออกมาจากมูลฝอย ซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “อาคารอยู่อาศัยรวม” หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนมูลฝอยทั่วไป หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจ ของราชการส่วนท้องถิ่นและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขนมูลฝอยทั่วไปของราชการส่วนท้องถิ่นหรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไปแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยทั่วไปราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้และตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยทั่วไป นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ ข้อ ๙ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ที่พักอาศัย ธุรกิจร้านค้า สถานประกอบการ สถานบริการโรงงานอุตสาหกรรม ตลาด สถาบันต่าง ๆ และสถานที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอยทั่วไป ต้องมีการคัดแยกมูลฝอยอย่างน้อยเป็น ๓ ประเภท ประกอบด้วย มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ มูลฝอยทั่วไปอื่น ๆ และมูลฝอยอินทรีย์ ข้อ ๑๐ ถุงหรือภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถุงบรรจุมูลฝอย (๑.๑) ถุงบรรจุมูลฝอยทั่วไปต้องมีความเหนียว ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่รั่วซึม ขนาดเหมาะสมสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก (๑.๒) ถุงพลาสติกหรือถุงที่ทำจากวัสดุอื่นสำหรับบรรจุมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องมีข้อความว่า “มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่” และต้องมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (๑.๓) ถุงพลาสติกหรือถุงที่ทำจากวัสดุอื่นสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปต้องมีข้อความว่า “มูลฝอยทั่วไป” และต้องมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (๒) ภาชนะบรรจุมูลฝอย (๒.๑) ภาชนะบรรจุมูลฝอยทั่วไปต้องทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดเปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ ขนาดพอเหมาะสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวกง่ายต่อการถ่าย เท มูลฝอย (๒.๒) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องมีข้อความว่า “มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่” และต้องมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (๒.๓) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปต้องมีข้อความว่า “มูลฝอยทั่วไป” และต้องมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ข้อ ๑๑ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ บรรจุมูลฝอยทั่วไปในถุง หรือภาชนะบรรจุมูลฝอยทั่วไปตามข้อ ๑๐ ในกรณีบรรจุในถุงต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมไม่ล้นถุงและมัดปากถุงให้แน่นด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นที่มีความเหนียวเพื่อป้องกันการหกหล่นของมูลฝอย กรณีบรรจุในภาชนะบรรจุต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมไม่ล้นภาชนะและปิดฝาภาชนะเพื่อป้องกัน การหกหล่นของมูลฝอยและต้องมีการทำความสะอาดเป็นประจำ ข้อ ๑๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารอยู่อาศัยรวมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ ๘๐ ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า ๔,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป หรือธุรกิจร้านค้า สถานประกอบการ สถานบริการ ตลาด สถาบันต่าง ๆ ที่มีปริมาณมูลฝอยเกิน ๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะตามข้อ ๑๕ หรือภาชนะรองรับที่มีขนาดใหญ่ที่มีลักษณะตามข้อ ๑๖ ข้อ ๑๓ ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมมูลฝอยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๔ ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานคัดแยกและเก็บรวบรวมมูลฝอย ข้อ ๑๕ ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปต้องมีลักษณะที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ (๑) เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะสามารถบรรจุมูลฝอยได้ ไม่น้อยกว่า ๒ วัน มีการแยกเก็บมูลฝอยทั่วไปเป็นสัดส่วนตั้งอยู่ในสถานที่สะดวกต่อการเก็บรวบรวมขนถ่ายอยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) พื้น ผนัง เรียบ ทำด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย มีลักษณะ สามารถปิดได้มิดชิดสามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคและมีการระบายอากาศดี (๓) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้ง เชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย (๔) ประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก (๕) มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งสถานที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปมีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป” และมีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นประจำอย่างน้อย สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ข้อ ๑๖ ภาชนะรองรับที่มีขนาดใหญ่ต้องมีลักษณะที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ (๑) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ พื้นฐานเรียบ มั่นคง แข็งแรง ทำความสะอาดง่าย มีรางระบายน้ำโดยรอบเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสียห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค สถานที่ปรุงประกอบอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ตั้งอยู่ในบริเวณที่สะดวกต่อการขนย้ายและไม่กีดขวางเส้นทางจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ (๓) มีลักษณะเปิดปิดได้มิดชิด แข็งแรง ทนทาน สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคสะดวกต่อการขนถ่ายมูลฝอย และสามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย มีระบบรวบรวม และป้องกันน้ำชะมูลฝอยไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม (๔) มีการทำความสะอาดเป็นประจำ หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ข้อ ๑๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอยทั่วไป ห้ามทิ้งของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานปะปนกับมูลฝอยทั่วไปและต้องปฏิบัติตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ในกรณีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมตามวรรคหนึ่งที่มีปริมาณมูลฝอยเกิน ๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปตามข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ ด้วย ข้อ ๑๘ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปในที่หรือทางสาธารณะ อย่างถูกสุขลักษณะตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๙ ในกรณีราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่น มอบให้ดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการ เก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการมีสถานที่แยกเก็บมูลฝอยทั่วไป ต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นพื้นที่เฉพาะมีขนาดเพียงพอเหมาะสมสามารถรองรับมูลฝอยทั่วไป ที่จะนำเข้ามาแยกเก็บตามประเภทของมูลฝอยได้ มีการรักษาบริเวณโดยรอบให้สะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ (๒) มีแสงสว่างเพียงพอสามารถมองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ชัดเจน (๓) มีการระบายอากาศเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๔) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือที่สะอาดเพียงพอสำหรับใช้งาน และชำระล้างร่างกาย (๕) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค (๖) มีการป้องกันฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการ ที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน (๗) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและมีการบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา (๘) มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียและน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไป ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๙) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมมูลฝอยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานสถานที่แยกเก็บมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะเป็นอาคารต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในกรณีวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนดำเนินการแยกเก็บมูลฝอยในลักษณะที่ไม่เป็นการค้าหรือหากำไรต้องแจ้งราชการส่วนท้องถิ่นที่วิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนนั้นตั้งอยู่ และให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำกับดูแลการดำเนินงานให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ข้อ ๒๐ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บ ขนมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการทำการเก็บรวบรวมและขนมูลฝอยทั่วไปจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ต้องดำเนินการขนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ (๑) ให้แยกขนมูลฝอยตามประเภทตามข้อ ๙ หรือกำหนดวันในการขนตามประเภทของมูลฝอย หรือตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ (๒) ใช้ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๑ (๓) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่เก็บ ขนมูลฝอยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๔) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บ ขนมูลฝอยทั่วไปรวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานมีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลไว้ประจำรถเก็บ ขนมูลฝอยทั่วไปด้วย (๕) ต้องจัดให้มีสถานที่ล้างยานพาหนะ ที่มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ทนทานมีความลาดเอียง น้ำไม่ท่วมขัง ทำความสะอาดง่ายมีรางหรือท่อระบายน้ำเสียเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย และมีการป้องกันเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ (๖) จัดให้มีบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปเป็นการเฉพาะ มีขนาดกว้างขวางเพียงพอ มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย (๗) ต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะและล้างทำความสะอาดยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขนมูลฝอยทั่วไปเป็นประจำทุกวัน (๘) ต้องมีมาตรการควบคุม กำกับการขนมูลฝอยเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งมูลฝอย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๒๑ ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปต้องมีลักษณะดังนี้ (๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอยทั่วไปมีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิด เป็นแบบที่ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และทำความสะอาดง่าย (๒) มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอย เพื่อมิให้รั่วไหลตลอดการปฏิบัติงานและนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย (๓) มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่มีเสียงดังก่อให้เกิดความรำคาญและสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ (๔) มีความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงาน ระดับที่ขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปใส่ในตัวถังยานพาหนะต้องไม่สูงเกินไป หรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติงาน กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการเก็บขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นให้บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้าน ของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปพร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นดำเนินการ และชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตแสดงชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลเลขที่ใบอนุญาตของบริษัทด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปพร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอนุญาตให้บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นดำเนินการ และชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๒๒ ในกรณีที่จัดให้มีสถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป สถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปต้องมีลักษณะและการขนถ่ายที่ต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่ต้องพักรอการขนถ่าย มีการระบายอากาศ และแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๒) มีการป้องกันกลิ่นจากมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงานและการขนส่ง การปลิวของมูลฝอย เสียงดังรบกวน สัตว์และแมลงพาหะนำโรค (๓) มีระบบบำบัดน้ำเสีย โดยน้ำที่ระบายออกสู่ภายนอกต้องได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ข้อ ๒๓ ในการกำจัดมูลฝอยทั่วไป ราชการส่วนท้องถิ่นหรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการ ส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการ เก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ต้องกำจัดมูลฝอยทั่วไป โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีตามที่กำหนดในข้อ ๒๔ (๒) ห้ามนำของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน มูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนมากำจัดร่วมกับมูลฝอยทั่วไป (๓) ต้องทำการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นก่อนทำการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอยทั่วไปและมีมาตรการควบคุมกำกับการดำเนินงานกำจัดมูลฝอยในแต่ละวิธีให้เป็นไป ตามสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไปเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (๔) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่กำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยทั่วไป รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่กำจัดมูลฝอ ทั่วไปด้วย ข้อ ๒๔ การกำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวิธีดำเนินการดังนี้ (๑) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (๒) การเผาในเตาเผา (๓) การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ (๔) การกำจัดแบบผสมผสาน (๕) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒๕ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๒ ห่างจากสนามบินบ่อน้ำดื่ม โรงงานผลิตน้ำประปา สถานศึกษา ศาสนสถาน โบราณสถาน หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในกรณีเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำป่าไหลหลาก ต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ระยะห่างและมาตรการป้องกันรวมทั้งเกณฑ์ ในการคัดเลือกสถานที่ตั้งอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด (๒) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่ฝังกลบ จัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดินเพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการฝังกลบและปัญหากลิ่นรบกวน (๓) มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอยโดยมีการบดอัดก้นบ่อด้านล่างและด้านข้างให้แน่นและปูด้วยแผ่นวัสดุกันซึม ทั้งนี้ ตามลักษณะและเงื่อนไขตามที่เจ้าพนักงานกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด (๔) มีระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนน้ำใต้ดินและมีกระบวนการบำบัดน้ำชะมูลฝอยให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) มีการกลบทับหน้ามูลฝอยรายวันด้วยดินหรือวัสดุกลบทับอื่น และปิดการฝังกลบเมื่อบ่อฝังกลบเต็มโดยปิดทับหน้าบ่อฝังกลบด้วยดินหนาอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือวัสดุอื่น ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอยไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๖) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนตลอดจน ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค (๗) ต้องมีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบและมีระบบเผาทำลายก๊าซหรือมีระบบการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง (๘) มีบ่อสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน และในระหว่างการดำเนินการฝังกลบให้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทุก ๖ เดือน กรณีที่มีการปิดบ่อฝังกลบแล้วให้มีการตรวจสอบ ปีละ ๑ ครั้ง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา ๕ ปี ทั้งนี้ หลักเกณฑ์วิธีการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๖ การเผาในเตาเผาต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ให้เป็นไปตามผลการศึกษาในข้อ ๒๓ (๓) มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอยทั่วไปมีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๒) มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะตามข้อ ๑๕ (๓) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่เผามูลฝอย จัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการเผาและปัญหากลิ่นรบกวน (๔) ต้องเผามูลฝอยทั่วไปที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๘๕๐ องศาเซลเซียส และมีระบบควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยทั่วไปให้ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ตลอดจน ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค (๖) มีการบำบัดน้ำเสียจากระบบกำจัด และน้ำเสียใด ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัดให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๗) มีการกำจัดเถ้าหนัก โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้าปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินและต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าหนักที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการในการนำเถ้าหนักออกไปกำจัดเป็นประจำ (๘) มีการกำจัดเถ้าเบาโดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าเบาที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการในการนำเถ้าเบาออกไปกำจัดเป็นประจำ ข้อ ๒๗ การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) สถานที่ตั้งเหมาะสมให้เป็นไปตามผลการศึกษาในข้อ ๒๓ (๓) (๒) อาคารเก็บรวบรวมมูลฝอยมีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่นำมาหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพ มีการระบายอากาศและแสงสว่างในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๓) มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยภายในอาคาร (๔) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค (๕) มูลฝอยจากการแยกเก็บส่วนที่หมักทำปุ๋ยหรือหมักทำก๊าซชีวภาพไม่ได้ ต้องมีระบบกำจัดหรือส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หรือการเผาในเตาเผา หรืออาจมีการนำมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไปใช้ประโยชน์ (๖) ต้องบำบัดน้ำชะมูลฝอยน้ำเสียจากสถานที่เก็บรวบรวมมูลฝอยและสถานที่หมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๗) กรณีหมักทำก๊าซชีวภาพบ่อหมักต้องเป็นระบบปิดมีการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดการทำงาน ข้อ ๒๘ การกำจัดแบบผสมผสานซึ่งระบบกำจัดใช้วิธีการกำจัดมากกว่า ๑ วิธีตามข้อ ๒๔ (๑) (๒) (๓) หรือวิธีอื่น ๆ ตามข้อ ๒๔ (๕) ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) สถานที่ตั้งเหมาะสมมีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่กำจัด (๒) อาคารรวบรวมมูลฝอย และอาคารอื่น ๆ ของระบบกำจัดมูลฝอยต้องมี การระบายอากาศและแสงสว่างในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๓) มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยภายในอาคาร (๔) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และแมลงพาหะนำโรค (๕) ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำจัดโดยการเผาในเตาเผาดำเนินการเผาให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ตามข้อ ๒๖ (๖) ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำจัดโดยการหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ตามข้อ ๒๗ ข้อ ๒๙ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ (๓) สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบกิจการ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หลักฐานแสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบกิจการสามารถใช้ประกอบกิจการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (๖) หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบกิจการ) (๗) สำเนาทะเบียนรถยนต์บรรทุกที่ใช้ประกอบกิจการ (๘) สำเนาแสดงสิทธิการครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ใช้ในการดำเนินการกำจัดมูลฝอย (๙) หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของไม่สามารถมายื่นคำขอด้วยตนเอง) (๑๐) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลา ที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณา ยังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๓๓ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๔๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสม กับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่ง โดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๔๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลเมืองหมีเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงกรานต์ พรหมหิตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ.๒๕๕๙ ๓. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการมูลฝอยทั่วไป ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการมูลฝอยทั่วไป ๕. ใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการมูลฝอยทั่วไป ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการมูลฝอยทั่วไป (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๑/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,159
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองหมี เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีและนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงได้ตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาดที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่า เจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ เป็นต้น นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่ขังน้ำได้ซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ เป็นต้น ในบริเวณอาคาร หรือเคหสถานรวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บใส่ลงถังรองรับมูลฝอยที่มีฝาเปิดปิด หรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัดเจ้าของอาคาร หรือเคหสถานมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติท้องถิ่น ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงกรานต์ พรหมหิตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๔๙/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,160
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีและนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “การจัดการสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การรองรับ การขนการบำบัดและการกำจัดสิ่งปฏิกูล “โถส้วมแบบนั่งยอง” หมายความว่า โถส้วมที่ผู้ใช้จะต้องวางเท้าบนที่วางเท้าของโถส้วมแล้วนั่งยอง “โถส้วมแบบนั่งราบ” หมายความว่า โถส้วมที่ผู้ใช้จะต้องนั่งลงบนที่รองนั่งของโถส้วม “ส้วม” หมายความว่า ระบบรองรับสิ่งปฏิกูล รวมทั้งตัวเรือนสำหรับปิดบังขณะใช้งาน “ส้วมสาธารณะ” หมายความว่า ส้วมที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจัดไว้ให้บุคคลทั่วไปเข้าใช้บริการหรือส้วมที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขประกาศกำหนดให้เป็นส้วมสาธารณะ “ส้วมเคลื่อนที่” หมายความว่า ส้วมบนยานพาหนะทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และหมายความรวมถึงห้องส้วมบนแพ “ส้วมชั่วคราว” หมายความว่า ส้วมที่ไม่ได้สร้างเป็นการถาวร รวมถึงส้วมประกอบสำเร็จรูป “การขนสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลจากถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลแล้วนำไปยังระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม “ถังเก็บกักสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า ถังหรือบ่อที่มีลักษณะที่มิดชิด น้ำซึมผ่านไม่ได้เพื่อใช้เป็นที่รองรับสิ่งปฏิกูลจากส้วมก่อนขนไปบำบัดหรือกำจัดต่อไป “การบำบัดสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การดำเนินการปรับปรุงหรือแปรสภาพสิ่งปฏิกูลทั้งที่สูบจากส้วมและสิ่งปฏิกูลจากระบบท่อให้ปราศจากพิษภัย การก่อให้เกิดโรค สภาพอันน่ารังเกียจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย “การกำจัดสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การนำสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการบำบัดแล้วดำเนินการจัดการตามความเหมาะสมหรือนำไปใช้ประโยชน์ “ระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแบบติดกับที่” หมายความว่า กระบวนการบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลจากอาคารเดี่ยว เช่น บ้านพักอาศัย อาคารชุด โรงเรียน หรืออาคารสถานที่ทำการเป็นต้น “ระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม” หมายความว่า กระบวนการบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลจากหลายอาคาร ทั้งนี้ ให้หมายรวมถึงระบบบำบัดน้ำเสียรวมที่รับสิ่งปฏิกูลบำบัดด้วย “กากตะกอน” หมายความว่า ส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเหลือจากการบำบัดสิ่งปฏิกูล “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีให้เป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลในที่หรือทางสาธารณะนอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ ข้อ ๙ ในกรณีจัดการชุมนุม หรือการอื่นใดในทำนองเดียวกัน ผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ใดในทำนองเดียวกันต้องจัดให้มีส้วม ส้วมสาธารณะ ส้วมเคลื่อนที่ หรือส้วมชั่วคราว ที่ถูกสุขลักษณะตามข้อ ๑๑ สำหรับให้บริการอย่างเพียงพอตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด เพื่อมิให้เป็นที่น่ารังเกียจหรือเป็นแหล่งแพร่โรค ในกรณีการจัดการชุมนุมหรือการอื่นใดในทำนองเดียวกันตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจสอบความเรียบร้อยในการรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่ของสถานที่นั้นให้ต้องด้วยสุขลักษณะ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือสาธารณภัยต่อสาธารณชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราวที่ถูกสุขลักษณะตามข้อ ๑๑ สำหรับให้บริการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ยานพาหนะ หรือสถานที่ที่จัดให้บริการส้วมสาธารณะทั้งเอกชนและหน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องดูแลพื้น ผนัง เพดาน โถส้วม โถปัสสาวะ ที่กดวาล์วเปิดน้ำของโถส้วมและโถปัสสาวะให้สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น และต้องดูแลให้พร้อมใช้งานตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการ (๒) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด มีฝาเปิดปิดมิดชิดอยู่ในสภาพดี ไม่รั่วซึม ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือ หรือบริเวณใกล้เคียง (๓) จัดให้มีสบู่ล้างมือ พร้อมให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ (๔) ต้องจัดให้มีถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลที่มีสภาพดี ไม่ชำรุด ไม่แตก หรือรั่วซึมสามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค เมื่อถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลเต็มหรือเลิกใช้งานต้องขนสิ่งปฏิกูลไปบำบัดและกำจัดให้ได้มาตรฐานตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บขนสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ (๑) จัดให้มียานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลและอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ และมีจำนวนเพียงพอกับการให้บริการ (๒) ให้ดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลในช่วงเวลาที่เหมาะสมมีมาตรการป้องกันกลิ่นในขณะที่ทำการสูบสิ่งปฏิกูลเพื่อไม่ให้รบกวนอาคารสถานที่ใกล้เคียงจนเป็นเหตุรำคาญ (๓) ให้ทำความสะอาดท่อสำหรับใช้สูบสิ่งปฏิกูลหลังจากสูบสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วโดยการสูบน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายสูบ และทำความสะอาดท่อหรือสายสูบด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราดให้ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำ (๕) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่สูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด (๖) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูลรวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนเครื่องมือสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ประจำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลด้วย (๗) ผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และรองเท้า พื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน (๘) ห้ามนำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลไปใช้กิจการอื่น และห้ามนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่สาธารณะหรือที่อื่นใดนอกจากสถานที่ที่ได้แจ้งไว้กับราชการส่วนท้องถิ่น (๙) ต้องทำความสะอาดยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลหลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง และน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องเข้าสู่ระบบบำบัดหรือกำจัดน้ำเสียหรือบ่อซึมโดยบ่อซึมต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร (๑๐) ต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลที่เป็นสถานที่เฉพาะมีขนาดกว้างขวางเพียงพอ ข้อ ๑๓ ยานพาหนะสำหรับขนสิ่งปฏิกูลต้องมีลักษณะดังนี้ (๑) ถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลมีฝาเปิดปิดอยู่ด้านบนโดยสามารถปิดได้มิดชิด ไม่รั่วซึมและป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงนำโรคได้ (๒) ท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูลต้องไม่รั่วซึม (๓) มีปั๊มสูบสิ่งปฏิกูลที่สามารถสูบตะกอนหนักได้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีและมีมาตรวัดสิ่งปฏิกูลด้วย (๔) มีช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล เช่น ถังใส่น้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น (๕) บนตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่า “ใช้เฉพาะขนสิ่งปฏิกูล” กรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ขนสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลพร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อ ที่อยู่ หมายเลข โทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน กรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้บุคคลนั้นแสดงรหัสหรือหมายเลขทะเบียนใบอนุญาตรวมทั้งแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อ ที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทหรือชื่อเจ้าของกิจการไว้ด้านข้างทั้งสองด้านของตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยขนาดตัวอักษรต้องสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร ข้อ ๑๔ ต้องมีมาตรการควบคุม กำกับดูแลการขนสิ่งปฏิกูล โดยการกำหนดเส้นทางที่แน่นอนเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูลในที่สาธารณะหรือที่อื่นใดนอกจากสถานที่ที่ได้แจ้งไว้กับราชการส่วนท้องถิ่น ข้อ ๑๕ ระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแบบติดกับที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรฐานและวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ทั้งนี้ ตามประเภท ขนาด และระยะเวลาในการสูบตะกอนจากระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ ๑๖ ระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ทั้งนี้ ตามประเภท ขนาด และระยะเวลาในการสูบตะกอนจากระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือตามหลักเกณฑ์ มาตรฐานและวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ ๑๗ ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่สูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลตามหลักสูตรที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด หรือหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๑๘ จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตลอดจนเครื่องมือสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่บำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วย ข้อ ๑๙ ผู้ปฏิบัติงานบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อนและรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน ข้อ ๒๐ การบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลไม่ว่าจะใช้วิธีการใด การนำน้ำทิ้งและกากตะกอนที่ผ่านการบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแล้ว ไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรหรือก่อนนำออกจากระบบ น้ำทิ้งและกากตะกอนต้องได้มาตรฐานปริมาณไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไลดังนี้ ประเภท ไข่หนอนพยาธิ จำนวน/กรมั หรือลิตร แบคทีเรียอีโคไล (Escherichia Coli Bacteria) (จำนวน/๑๐๐ กรัม หรือ MPN/๑๐๐ มิลลิลิตร) ๑. กากตะกอน < ๑ < ๑๐๓ ๒. น้ำทิ้ง < ๑ < ๑๐๓ ทั้งนี้ น้ำทิ้งที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต (๓) สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งของกิจการ หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ที่ขออนุญาตประกอบกิจการ (๔) ใบมอบอำนาจ (กรณีที่มีการมอบอำนาจ) (๕) แผนที่แสดงที่ตั้งและแผนผังระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล (๖) สำเนาแบบก่อสร้างของอาคารที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๘) ใบรับรองแพทย์ของผู้ปฏิบัติงาน (๙) หลักฐานแสดงว่ามีความรู้ในการประกอบกิจการของผู้ปฏิบัติ (๑๐) ใบอนุญาตการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ฉบับที่ยังไม่หมดอายุ (กรณีต่ออายุใบอนุญาต) (๑๑) ใบรับรองการตรวจสุขลักษณะการประกอบกิจการมีผลการตรวจไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีต่ออายุใบอนุญาต) (๑๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันทีกรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในเทศบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๒๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูง ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงกรานต์ พรหมหิตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ๔. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการการจัดการสิ่งปฏิกูล ๕. ใบอนุญาตประกอบกิจการ.................................................................. (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๑๗/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,161
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางและนายอำเภอกงไกรลาศ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางแล้ว ๗ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เคหสถาน” หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ แพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานส่วนตำบลผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น “หน่วยงานด้านสาธารณสุข” หมายความว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลไกรกลาง ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ข้อ ๗ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขัง อย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขว่าอาคารหรือเคหสถานหรือสถานที่ใดมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจมีคำสั่งให้ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ที่ครอบครองอาคารหรือเคหสถาน ปรับปรุงแก้ไขในเวลาตามสมควร หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจเข้าไปดำเนินการแก้ไขได้เองเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางหรือหน่วยงานด้านสาธารณสุข ได้จัดพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือ และอำนายความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนั่น อ่ำยิ้ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๙๒/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,162
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองหมี เรื่อง สถานที่จําหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีและนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารให้รูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “อาหารแห้ง” หมายความว่า อาหารที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งโดยการอบ รมควัน ตากแห้ง หรือวิธีการอื่นใด เพื่อลดปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในอาหารลงและเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น “เครื่องปรุงรส” หมายความว่า สิ่งที่ใช้ในกระบวนการปรุงอาหารให้มีรูปแบบ รสชาติ กลิ่นรส ชวนรับประทาน เช่น เกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู ซอส ผงชูรส รวมทั้งเครื่องเทศ สมุนไพร มัสตาร์ด เป็นต้น “วัตถุเจือปนอาหาร” หมายความว่า วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่งซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหารแต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น ความในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ “ผู้สัมผัสอาหาร” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่ายและเสิร์ฟอาหารรวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ “ผู้ประกอบกิจการ” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินการของสถานที่จำหน่ายอาหารนั้น “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๖ สถานที่และบริเวณที่ใช้ทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร ที่ใช้จำหน่ายอาหาร และที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) พื้นบริเวณที่ใช้ทำ ประกอบ ปรุงอาหารต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุดและทำความสะอาดง่าย (๒) กรณีที่มีผนัง หรือเพดานต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๓) มีการระบายอากาศเพียงพอ และในกรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหารเข้าข่ายสถานที่สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ (๔) มีความเข้มของแสงสว่างเพียงพอตามความเหมาะสมในแต่ละบริเวณ (๕) มีที่ล้างมือและอุปกรณ์สำหรับล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ (๖) โต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร หรือที่จำหน่ายอาหาร สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี (๗) โต๊ะเก้าอี้ที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๘) น้ำใช้เป็นน้ำประปา ยกเว้นกรณีที่ไม่มีน้ำประปาให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำประปาหรือเป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๙) ภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย และสภาพดี ข้อ ๗ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมูลฝอย โดยมีถังรองรับมูลฝอยที่มีสภาพดี ไม่รั่วซึม ไม่ดูดซับน้ำ มีฝาปิดมิดชิด แยกเศษอาหารจากมูลฝอยประเภทอื่น และต้องดูแลรักษาความสะอาดถังรองรับมูลฝอยและบริเวณโดยรอบตัวถังรองรับมูลฝอยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การจัดการเกี่ยวกับมูลฝอยและถังรองรับมูลฝอยให้เป็นไปตามข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีว่าด้วยการจัดการมูลฝอย ข้อ ๘ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับส้วม ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องจัดให้มีหรือจัดหาห้องส้วมที่มีสภาพดี พร้อมใช้ไว้บริการ และมีจำนวนเพียงพอ (๒) ห้องส้วมต้องสะอาดมีการระบายอากาศที่ดีมีแสงสว่างเพียงพอ (๓) มีอ่างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะและมีอุปกรณ์สำหรับล้างมือจำนวนเพียงพอ (๔) ห้องส้วมต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยประตูไม่เปิดโดยตรงสู่บริเวณที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ที่เก็บ ที่จำหน่ายและที่บริโภคอาหารที่ล้างและที่เก็บภาชนะอุปกรณ์ เว้นแต่จะมีการจัดการห้องส้วมให้สะอาดอยู่เสมอและมีฉากปิดกั้นที่เหมาะสม ทั้งนี้ ประตูห้องส้วมต้องปิดตลอดเวลา ข้อ ๙ จัดให้มีมาตรการ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอัคคีภัยจากการใช้เชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ข้อ ๑๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารสดตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารสดที่นำมาประกอบและปรุงอาหารต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดี สะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค (๒) อาหารสดต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมและเก็บเป็นสัดส่วนมีการปกปิด ไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้ ข้อ ๑๑ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารแห้งอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรสและวัตถุเจือปนอาหาร ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารแห้งต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม (๒) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร และสิ่งอื่นที่นำมาใช้ในกระบวนการประกอบหรือปรุงอาหารต้องปลอดภัยได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ข้อ ๑๒ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารประเภทปรุงสำเร็จตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกันการปนเปื้อนวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒) มีการควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสำเร็จให้สะอาดปลอดภัยสำหรับการบริโภคตามชนิดของอาหาร ข้อ ๑๓ น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่ใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร บรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และป้องกันการปนเปื้อนวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ในกรณีที่เป็นน้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาให้บริการ ข้อ ๑๔ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำแข็งตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ใช้น้ำแข็งที่สะอาดมีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) เก็บในภาชนะที่สะอาดสภาพดี มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนและต้องไม่ระบายน้ำจากถังน้ำแข็งลงสู่พื้นบริเวณที่วางภาชนะ (๓) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งโดยเฉพาะ (๔) ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค ข้อ ๑๕ สถานที่จำหน่ายอาหารซึ่งมีที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องจัดให้มีช้อนกลางสำหรับอาหารที่รับประทานร่วมกัน ข้อ ๑๖ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดเก็บสารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภค แยกบริเวณเป็นสัดส่วนต่างหากไม่ปะปนกับอาหารต้องติดฉลากและป้ายให้เห็นชัดเจนพร้อมทั้งมีคำเตือนและคำแนะนำเมื่อเกิดอุบัติภัยจากสารดังกล่าวกรณีที่มีการเปลี่ยนถ่ายสารเคมีจากภาชนะบรรจุเดิม ห้ามนำภาชนะบรรจุสารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภค มาใช้บรรจุอาหารและห้ามนำภาชนะบรรจุอาหารมาใช้บรรจุสารเคมี สารทำความสะอาดวัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภคโดยเด็ดขาด ข้อ ๑๗ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์ และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาดและทำจากวัสดุที่ปลอดภัย เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๒) มีการจัดเก็บภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์ และเครื่องใช้ไว้ในที่สะอาด โดยวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และมีการปกปิดหรือป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๓) ตู้เย็น ตู้แช่ หรืออุปกรณ์เก็บรักษาคุณภาพอาหารด้วยความเย็นอื่น ๆ ต้องสะอาดมีสภาพดี ไม่ชำรุด มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการเก็บรักษาคุณภาพอาหาร (๔) ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ อุปกรณ์ประกอบหรือปรุงอาหารด้วยความร้อนอื่น ๆ หรืออุปกรณ์เตรียมอาหาร ต้องสะอาด มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สภาพดีไม่ชำรุด ข้อ ๑๘ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหารอุปกรณ์และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ที่รอการทำความสะอาดต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ (๒) ทำความสะอาดภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ให้สะอาด ด้วยวิธีการตามหลักสุขาภิบาลอาหารและใช้สารทำความสะอาดที่เหมาะสม โดยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้สารทำความสะอาดนั้น ๆ จากผู้ผลิต ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป (๒) ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด (๓) ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาดและเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหารได้ (๔) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่าย และเสิร์ฟอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้ (๕) ต้องปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำเสีย ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องมีการระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง และไม่มีเศษอาหารตกค้าง (๒) ต้องมีการแยกเศษอาหารและไขมันไปกำจัดก่อนระบายน้ำทิ้งออกสู่ระบบระบายน้ำและน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๑ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ข้อ ๒๒ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดให้มีการป้องกันควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค รวมถึงสัตว์เลี้ยงตามที่รัฐมนตรีกำหนด ข้อ ๒๓ ห้ามใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารบริเวณโต๊ะรับประทานอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร ข้อ ๒๔ ห้ามใช้เมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ ปรุง หรืออุ่นอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร เว้นแต่เป็นการใช้แอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องได้รับมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อ ๒๕ ผู้จัดตั้งสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ตลอดจนสิ่งอื่นที่ใช้ในการประกอบกิจการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ที่ฝัง เผา หรือเก็บศพ ที่เททิ้งสิ่งปฏิกูล ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เว้นแต่สามารถปรับปรุงสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) พื้นทำด้วยวัสดุถาวรทำความสะอาดง่าย (๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๔) จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๕) จัดให้มีส้วมที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) ใบรับรองแพทย์ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งด้วยตนเอง (๖) สำเนาหลักฐานการอนุญาตหรือหลักฐานอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ ข้อ ๒๗ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันทีกรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๒๙ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) ใบรับรองแพทย์ (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๖) สำเนาหลักฐานการอนุญาต หรือหลักฐานอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ (๗) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๓๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในวรรคหนึ่งถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๙ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๔๐ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๑ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๔๓ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๔๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อ ๔๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงกรานต์ พรหมหิตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๓. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๖. แบบคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๗. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๘. แบบคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๙. คำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๘๔/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,163
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองหมี เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีและนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามและหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว หรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบหรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาด ให้สะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐ ที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วยและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติ เป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ ถึงข้อ ๑๓ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๔ ถึงข้อ ๑๘ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคาร สิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวม หรือที่รองรับมูลฝอยและที่จอดยานพาหนะตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวรมั่นคงและแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟและแข็งแรงทนทานความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวรและแข็งแรงสามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัขมิให้เข้าไปในตลาด (๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอเหมาะสมและไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่ายมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวกโดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสีย หรือสิ่งปฏิกูล โดย (๑๐.๑) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำ ไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุดต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (๑๐.๒) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๑๐.๓) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาดทางเข้าออกบริเวณตลาดและทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวันและสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วมที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนด ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาดหรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะมีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวกมีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือและที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จหรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวกมีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะและไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมัน หรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่ม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วมที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณ มูลฝอยในแต่ละวันและมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนา เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผน การพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามกฎกระทรวงนี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๐ การเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุง รักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปาและสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรง ดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำมิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาดใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวันโดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดและดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสียและทางระบายน้ำมิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาดใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาด ของโรคติดต่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการ และต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกร ในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใดนอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญมลพิษที่เป็นอันตรายหรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนดโดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนดและห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบ ต่อระบบการระบายอากาศ และแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนัง ที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหารและการรักษาความสะอาดของภาชนะน้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิ ไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ภาชนะที่สะอาด และต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง ข้อ ๒๘ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ขอรับใบอนุญาต (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน/หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) ของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารของอาคารตลาด (๔) แผนผัง แบบก่อสร้าง และรายการปลูกสร้างของตลาด (๕) รูปถ่าย ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (๖) ใบอนุญาตฉบับเดิม กรณีต่ออายุใบอนุญาต (๗) ใบมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ ข้อ ๒๙ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการหากไม่สามารถดำเนินการได้ ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลา ที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๓๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับ เสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงกรานต์ พรหมหิตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด ๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๗๑/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,164
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลแตล เรื่อง สถานที่จําหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลแตลโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแตลและนายอำเภอศีขรภูมิ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล เรื่อง สถานที่ จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแตลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม แต่ไม่รวมถึงยาวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมทั้งวัตถุเจือปนอาหารสี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหาร อันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตล “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอหนังสือรับรองการแจ้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๓) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้เพียงพอปลอดภัยและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๕) จัดให้มีบริเวณที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่น (๙) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑๐) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑๑) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑๒) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ คำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลแตลประกาศกำหนด ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็น ที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) วาง เก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาดถูกสุขลักษณะรวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๖) ใช้เครื่องปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหารเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้อยู่เสมอ (๗) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ใช้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้ และห้ามนำอาหารหรือของสิ่งใดแช่หรือเก็บรวบรวมไว้ด้วยกัน (๘) การทุบบดน้ำแข็งต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันมิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๙) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๑๐) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ (๑๑) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหาร หรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๑๒) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขพนักงานเจ้าหน้าที่และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลแตล ข้อ ๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง การอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแตลเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลา ที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลแตลประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรอง การแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไปให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่า จะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้าม การดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลแตล ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตลเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ครรชิต หนุนชู นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตล [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้ง/ต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้ง/รับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๓. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๔. ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๕. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต/รับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๖. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๗. ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๑๒๖/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,165
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลแตล เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลแตลโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแตลและนายอำเภอศีขรภูมิ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแตลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตลเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจาก การประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้านเรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตล “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๗ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแตล ๗.๑ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดู หรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๗.๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำและสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๗.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งจ่อม ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ่น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม ผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๗.๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๗.๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ย หรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๗.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๗.๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๗.๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ ๗.๗ กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๗.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๗.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการ ที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๗.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นใดในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองแง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๗.๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๗.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๗.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหินดินทรายซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๗.๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๕) ๗.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัว ทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบใน การผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือการบรรจุกาว ๗.๑๓ กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเชลและเอทานอล ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงานหรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย การนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็น และเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะ ของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการซึ่งมีการจำหน่ายใช้เก็บสะสมวัตถุมีพิษวัตถุไวไฟ ก๊าชปิโตรเลียมเหลว หรือวัตถุอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต้องจัดเก็บวัตถุอันตรายดังกล่าวให้ได้สุขลักษณะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง และต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงพลังงานโดยเคร่งครัด หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๙ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน และผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๒๐ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๗ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่เดียว ข้อ ๒๑ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๗ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนาที่รับรองถูกต้อง จำนวน ๑ ฉบับ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ฉบับ (๓) สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารของสถานที่ขออนุญาตประกอบกิจการค้า (กรณีที่ก่อสร้างหลังพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้บังคับ) จำนวน ๑ ชุด (๔) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลพร้อมสำเนา (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) จำนวน ๑ ชุด (๕) หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง) จำนวน ๑ ฉบับ (๖) ใบรับรองแพทย์เฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (๗) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าสมควรเรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต ข้อ ๒๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วีธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องดูแลรักษาสถานที่ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในหมวด ๒ หมวด ๓ หรือหมวด ๔ ให้อยู่ในสภาวะอันดีอยู่เสมอและทำความสะอาดกวาดล้างสถานที่ประกอบการค้าให้สะอาดทุกวัน (๒) ต้องประกอบกิจการนั้น ๆ ภายในเขตสถานที่และตามกำหนดวันเวลาที่ได้รับอนุญาต (๓) ต้องดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบการทุกอย่างให้สะอาดเรียบร้อย (๔) ต้องดูแลรักษาสถานที่อย่าให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์แมลงวัน ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ (๕) ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๖) ต้องปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ถูกต้องตามสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ต้องยินยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับ การแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าตรวจสถานที่ประกอบการ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบการค้านั้นได้ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ (๘) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลแตลประกาศกำหนด ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วีธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้ง แจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๕ ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแตลเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับ เสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๑ และข้อ ๒๒ ด้วย ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียม ที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลแตล ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบท แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่ง โดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๕ บรรดาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ครรชิต หนุนชู นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตล [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแตล เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต/รับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๑๐๘/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,166
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเมืองหมี เรื่อง การจําหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีและนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า อาหารและสิ่งของอื่นที่มิใช่อาหาร “อาหาร” หมายความว่า อาหารประเภทปรุงสำเร็จและอาหารที่ต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “ผู้จำหน่ายสินค้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ “ผู้สัมผัสอาหาร” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่ายและเสิร์ฟอาหารรวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ ได้แก่ ผู้เตรียม ผู้ปรุง ผู้ประกอบ ผู้เสิร์ฟ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทสิ่งของอื่นที่มิใช่อาหารโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าต้องแต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) แผงสำหรับวางสินค้า เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ รถเข็น ต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง มีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) จัดวางสินค้าอุปกรณ์ประกอบในการจำหน่ายสินค้าและทรัพย์สินใด ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนดรวมทั้งตัวผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร (๔) ห้ามจัดวางสินค้าที่จำหน่ายในลักษณะใด ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๕) รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอทั้งในระหว่างที่จำหน่ายสินค้าและหลังจากเลิกทำการจำหน่ายสินค้า (๖) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อหรือทางระบายน้ำหรือในที่หรือทางสาธารณะ (๗) ห้ามกระทำการใด ๆ กับต้นไม้ เช่น พาด ติดตั้ง วางแผงจำหน่ายสินค้า หรือเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้าหลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบในการจำหน่ายสินค้ารวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือกหรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยเด็ดขาด (๘) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องขยายเสียง หรือเปิดวิทยุเทป หรือกระทำโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดังจนเกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๙) เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจำหน่ายสินค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้าหลังจากเลิกทำการจำหน่ายสินค้า (๑๐) หยุดประกอบการจำหน่ายสินค้าเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขลักษณะการรักษาความสะอาดสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๑๑) ปฏิบัติการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ (๒) อาหารสดที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภครวมทั้งมีการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และเก็บเป็นสัดส่วนมีการปกปิดไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้ (๓) อาหารแห้งที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม (๔) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหาร ต้องปลอดภัยได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๕) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๖) น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่นำมาจำหน่ายต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมาย ว่าด้วยอาหาร โดยบรรจุในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิดและป้องกันการปนเปื้อนวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๗) น้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาจำหน่าย (๘) น้ำแข็งสำหรับบริโภคต้องสะอาดมีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร มีการเก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน รวมทั้งต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค (๙) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาดมีด้ามสำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งสำหรับบริโภคโดยเฉพาะ (๑๐) ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร เครื่องดื่ม และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาดและทำจากวัสดุที่ปลอดภัย เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๑๑) จัดเก็บภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไว้ในภาชนะที่สะอาด สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๑๒) ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ ต้องสะอาด มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สภาพดี ไม่ชำรุด (๑๓) ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่รอการล้าง และเศษอาหาร ต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ (๑๔) ล้างภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้ทุกประเภทให้สะอาดโดยใช้สารทำความสะอาด ที่ปลอดภัย (๑๕) น้ำใช้และภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย (๑๖) ผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่เป็นพาหะ นำโรคติดต่อหรือไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ โรคผิวหนัง ที่น่ารังเกียจ หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป (๑๗) ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาดและเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อน สู่อาหารได้ และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาดสวมรองเท้าหุ้มส้นมีสิ่งปกปิดเส้นผมมิให้ตกลงปนเปื้อนในอาหาร (๑๘) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่ายและเสิร์ฟอาหารให้ถูกสุขลักษณะรักษาความสะอาดมือและเล็บถ้ามีบาดแผลหรือถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๑๙) ห้ามผู้สัมผัสอาหารสูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหารหรือไม่ไอจามรดบนอาหารและไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิด การปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้ (๒๐) ต้องมีการป้องกันอันตรายและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒๑) ห้ามถ่าย เททิ้งน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันจากการล้างเครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะและอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารลงในท่อหรือทางระบายน้ำหรือในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่ได้รับอนุญาต (๒) แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย (๓) ห้ามทิ้งมูลฝอยจากการเร่ขายลงในท่อหรือทางระบายน้ำหรือในที่หรือทางสาธารณะ (๔) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทปหรือส่งเสียงดังในขณะที่เร่ขายจนเกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) หยุดประกอบการค้าเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขลักษณะการรักษาความสะอาดสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๖) ปฏิบัติการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) อาหารสดที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดีสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งมีการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และเก็บเป็นสัดส่วนมีการปกปิดไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้ (๓) อาหารแห้งที่นำมาจำหน่ายหรือนำมาประกอบปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายต้องสะอาด ปลอดภัยไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม (๔) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหารต้องปลอดภัย ได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๕) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกันการปนเปื้อนวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๖) น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่นำมาจำหน่ายต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมาย ว่าด้วยอาหารโดยบรรจุในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิดและป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๗) น้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาจำหน่าย (๘) น้ำแข็งสำหรับบริโภคต้องสะอาดมีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร มีการเก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะ สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนรวมทั้งต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค (๙) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งสำหรับบริโภคโดยเฉพาะ (๑๐) ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร เครื่องดื่ม และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาดและทำจากวัสดุที่ปลอดภัยเหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๑๑) จัดเก็บภาชนะ อุปกรณ์เครื่องใช้ไว้ในภาชนะที่สะอาดสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๑๒) ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ ต้องสะอาดมีประสิทธิภาพปลอดภัยสภาพดี ไม่ชำรุด (๑๓) ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่รอการล้าง และเศษอาหาร ต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ (๑๔) ล้างภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้ทุกประเภทให้สะอาดโดยใช้สารทำความสะอาดที่ปลอดภัย (๑๕) น้ำใช้และภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาดปลอดภัย (๑๖) ผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่เป็น พาหะนำโรคติดต่อ หรือไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป (๑๗) ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาดและเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อน สู่อาหารได้และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้นมีสิ่งปกปิดเส้นผมมิให้ตกลงปนเปื้อนในอาหาร (๑๘) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่าย และเสิร์ฟอาหาร ให้ถูกสุขลักษณะรักษาความสะอาดมือและเล็บถ้ามีบาดแผลหรือถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๑๙) ห้ามผู้สัมผัสอาหารสูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบปรุงหรือจำหน่ายอาหารหรือไม่ไอจามรดบนอาหารและไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้ (๒๐) ต้องมีการป้องกันอันตรายและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒๑) ห้ามถ่าย เททิ้งน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันจากการล้างเครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะและอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารลงในท่อหรือทางระบายน้ำหรือในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๙ ห้ามผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ ข้อ ๑๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสองให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าและสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้า ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติรวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) ใบรับรองแพทย์ของผู้รับใบอนุญาต และผู้ช่วยจำหน่าย (กรณีจำหน่ายอาหารและ/หรือเครื่องดื่ม) (๔) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑x๑ นิ้ว ของผู้รับใบอนุญาต และผู้ช่วยจำหน่าย คนละ ๓ รูป เพื่อติดไว้ในทะเบียน ๑ รูป ในใบอนุญาต ๑ รูป และบัตรสุขลักษณะประจำตัวอีก ๑ รูป (๕) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันทีกรณีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการหากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลา ที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๑๔ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสม กับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่ง โดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาต สิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๒ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น ข้อ ๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมีเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงกรานต์ พรหมหิตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๙๗/๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,167
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองและนายอำเภอศรีสำโรง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองแล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบลวังทอง ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำ เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่บริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุม เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และความหมายรวมถึงสิ่งอื่นใดที่เป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามมาตรา ๔๘ ก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้ขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารซึ่งขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ผู้จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง หรือเก็บสะสมอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบัญญัติ เงื่อนไข ประกาศคำสั่งที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองกำหนด พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองประกาศกำหนด ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อกำหนด และเงื่อนไขที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่อใบอายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่ง ไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๒ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทองเท่านั้น การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองกำหนด การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชน ข้อ ๒๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะขอตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) ใบรับรองแพทย์ของผู้ประกอบการ (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแจ้งแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันทำการนับแต่ที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองกำหนด การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๕ เมื่อผู้แจ้งตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินการให้บุคคลอื่นให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ดำเนินการใดดำเนินการกิจการตามที่ระบุไว้ในบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแสดงครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการจนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๗ การแจ้งของพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งหรือผู้ดำเนินการทราบในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้โดยเปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือ และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ประดิษฐ์ พละทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๔๐/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,168
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ว่าด้วยการจัดตั้งตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองและนายอำเภอศรีสำโรง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองแล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสดประกอบหรือปรุงแล้วหรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทเนื้อ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำชำระล้างอยู่เสมอ เช่น ปลา กุ้ง ไก่ สัตว์อื่น ๆ เป็นต้น “อาหารแปรรูป” หมายความว่า อาหารสดที่แปรรูป ทำให้แห้ง หรือหมักดอง หรือในรูปอื่น ๆ รวมทั้งที่ใช้สารปรุงแต่งอาหาร “อาหารปรุงสำเร็จรูป” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ ปรุง จนสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่มิได้บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงขายของในตลาด พื้น ผนัง เพดาน รางระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วม และบริเวณต่าง ๆ รอบตัวอาคารตลาด ให้สะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล มูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละออง คราบสกปรกและอื่น ๆ รวมทั้ง ให้มีการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “สิ่งปฎิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะ ที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาดเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ หมวด ๒ ลักษณะของตลาด ข้อ ๗ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคารและมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคารและมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ ข้อ ๘ ที่ตั้งตลาดต้องตั้งอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ส่วนที่ ๑ ตลาดประเภทที่ ๑ ข้อ ๙ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสมโดยมีส่วนประกอบของสถานที่ และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะ ที่พักรวมมูลฝอย และที่จอดรถตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๑๐ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องจัดให้มีอาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง แข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมี ความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น ๆ (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ ทำความสะอาดง่ายและไม่มีน้ำขัง (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร ผนังทำด้วยวัสดุถาวร หรือเป็นตาข่ายลวด แข็งแรง สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร (๖) มีการระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม (๗) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นที่ทำให้สีของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ (๘) แผงขายสินค้าทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง ทำความสะอาดง่าย มีพื้นที่แผงไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และมีทางเข้าออกแผงสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของไว้โดยเฉพาะอย่างเหมาะสมแยกต่างหากจากแผง (๙) จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ โดยต้องจัดให้มีที่ล้างสินค้าอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุดต่อทุก ๆ ๓๐ แผง โดยเศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก แต่สำหรับแผงขายอาหารสัตว์ชำแหละหรือแผงจำหน่ายอาหารต้องมีก๊อกน้ำประจำแผงและมีการวางท่อในลักษณะ ที่ปลอดภัยไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่ออุจจาระ และต้องจัดให้มีที่เก็บสำรองน้ำให้มีปริมาณเพียงพออย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง และสะดวกต่อการใช้ (๑๐) มีทางระบายน้ำทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ โดยทางระบายน้ำภายในตลาดต้องเป็นแบบเปิด ส่วนทางระบายน้ำรอบตลาดต้องเป็นรูปแบบตัวยูและมีฝาปิดที่สามารถเปิดทำความสะอาดได้ง่าย มีความลาดเอียงระบายน้ำได้สะดวก มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และระบบบำบัดน้ำเสีย โดยน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เว้นแต่จะได้จัดส่งน้ำเสียไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสียรวมของราชการส่วนท้องถิ่นโดยไม่เสียค่าบริการตามอัตราของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น (๑๑) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์เครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารติดตั้งไว้ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ข้อ ๑๑ ที่ขนถ่ายสินค้าต้องจัดให้มีและอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวันและสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ข้อ ๑๒ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารต้องแยก เป็นสัดส่วนเฉพาะ (๒) มีระบบการขับเคลื่อนอุจจาระและปัสสาวะลงสู่ที่เก็บกักซึ่งจะต้องป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ และไม่ปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำใต้ดินทุกขั้นตอน (๓) ห้องส้วมต้องสร้างด้วยวัสดุทนทานและทำความสะอาดง่ายมีขนาดเนื้อที่ภายใน ไม่น้อยกว่า ๐.๙๐ ตารางเมตรต่อหนึ่งที่นั่ง และมีความกว้างภายในไม่น้อยกว่า ๐.๙๐ ตารางเมตร มีประตูเปิดเข้าออกโดยสะดวก และมีผนังกั้นเพื่อมิให้ประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง (๔) ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงส่วนต่ำสุดของคานหรือเพดานหรือสิ่งอื่นที่ติดกับคาน หรือเพดานต้องไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร และช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ห้อง หรือมีพัดลมระบายอากาศ (๕) พื้นห้องส้วมต้องเรียบไม่ลื่นมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐๐ และไม่มีน้ำขัง มีจุดระบายน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของพื้นห้อง (๖) มีท่อระบายอุจจาระลงสู่ถังเก็บกักซึ่งต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐ (๗) มีท่อระบายก๊าซ ณ จุดฐานของโถส้วมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ เซนติเมตร สูงเหนือหลังคาส้วมหรือสูงจนกลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น (๘) ความเข้มของแสงสว่างในห้องส้วมไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์ (๙) จัดให้มีกระดาษชำระหรือน้ำสำหรับชำระให้เพียงพอสำหรับห้องส้วมทุกห้อง รวมทั้งจัดให้มีการทำความสะอาดและเก็บมูลฝอยเป็นประจำทุกวัน (๑๐) ห้องส้วมหญิงต้องมีภาชนะรองรับและมีวัสดุห่อผ้าอนามัยโดยเฉพาะ (๑๑) ที่ถ่ายปัสสาวะชายต้องเป็นวัสดุเคลือบหรือโลหะไม่เป็นสนิมและมีน้ำสำหรับชำระล้างตลอดเวลาที่ใช้ ข้อ ๑๓ จำนวนส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ และอ่างล้างมือให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคาร ข้อ ๑๔ ที่พักรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวรหรือเป็นที่พักที่มีลักษณะเป็นภาชนะรองรับมูลฝอยและมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน มีการปกปิดและป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบตามความเหมาะสมกับตลาดนั้น ๆ และตั้งอยู่ภายนอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเข้าออกได้สะดวก ข้อ ๑๕ ที่จอดรถต้องจัดให้มีตามความเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๖ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสมและให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ ส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะและอ่างล้างมือ และที่พักรวมมูลฝอยตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๑๗ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) พื้นต้องเรียบ แข็งแรง ทำความสะอาดง่ายและไม่มีน้ำขัง (๒) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาหลังคาหรือโครงสร้างที่ไม่ถาวร เช่น โครงเหล็ก โครงผ้าใบ เป็นต้น ต้องทำด้วยวัสดุที่มั่นคงแข็งแรง (๓) แผงขายสินค้าต้องทำด้วยวัสดุเรียบ ทำความสะอาดง่าย สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร อาจเป็นแผงที่พับเก็บได้และมีบริเวณสำหรับผู้ขายของกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร (๔) ทางเดินในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๕) จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอและจัดให้มีที่ล้างสำหรับอาหารสด อาหารสัตว์ชำแหละ รวมทั้งแผงจำหน่ายอาหารด้วย (๖) จัดให้มีทางระบายน้ำเฉพาะจุดที่มีการล้างสำหรับบริเวณที่มีการจำหน่ายอาหารสด อาหารสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารในตลาด โดยทำเป็นแบบเปิดด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง ระบายน้ำได้สะดวก มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ ต้องไม่ระบายน้ำสู่แหล่งน้ำสาธารณะและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง หากมีพื้นที่เกิน ๒,๕๐๐ ตารางเมตร จะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียด้วย ข้อ ๑๘ ส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๑๒ (๒) - (๑๑) และมีจำนวนตามกำหนดในข้อ ๑๓ และตั้งอยู่ในที่เหมาะสม นอกบริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งแผงขายสินค้า เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชน หรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ต้องมีระยะห่างไม่เกิน ๑๐๐ เมตร ข้อ ๑๙ ที่พักรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะที่เหมาะสมและมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณ มูลฝอยในแต่ละวันตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ หมวด ๓ การดำเนินกิจการตลาด ข้อ ๒๐ การจัดวางสินค้าแต่ละประเภทในตลาดต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่ไม่ปะปนกัน เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร สำหรับกรณีที่เป็นอาหารสดหรืออาหารเนื้อสัตว์ชำแหละซึ่งอาจมีน้ำหรือของเหลวไหลหยดเลอะเทอะต้องมีการกั้นไม่ให้มีน้ำหรือของเหลวนั้นไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และต้องจัดให้มีท่อหรือทางสำหรับระบายน้ำหรือของเหลวนั้นลงสู่ท่อระบายน้ำ ข้อ ๒๑ กำหนดเวลาการเปิดและปิดตลาดให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ได้แก่ ตัวอาคาร พื้น ผนัง เพดาน ห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ ก๊อกน้ำใช้ ระบบบำบัดน้ำเสีย อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ท่อน้ำประปา เป็นต้น และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดเป็นประจำและดูแลรักษาที่พักรวม มูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๓) จัดให้มีการทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวันและจัดให้มีการล้างตลาด ตามหลักสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง (๔) จัดให้มีการดูแลรักษาความสะอาดของห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ บ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และระบบบำบัดน้ำเสีย มิให้มีกลิ่นเหม็นและต้องเปิดให้มีการใช้ได้ตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดเป็นประจำและดูแลรักษาความสะอาดของห้องส้วมที่ถ่ายปัสสาวะและอ่างล้างมือ บ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และบ่อพักน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสียให้ใช้การได้ดีรวมทั้งดูแลรักษาที่พักรวมมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ และจัดให้มีการล้างตลาดด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินกิจการประจำวัน ข้อ ๒๔ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดต้องไม่กระทำการและดูแลมิให้ผู้ใดกระทำอันอาจก่อเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือการระบาดของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๒) ไม่สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้ในตลาดจนก่อให้เกิดความสกปรกรกรุงรังหรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์นำโรค (๓) ไม่ถ่าย เท ทิ้ง มูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใดนอกจากในที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๔) ไม่ทำให้น้ำใช้ในตลาดมีความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ (๕) ไม่ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัย (๖) ไม่กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หมวด ๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานสาธารณสุขและเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการดำเนินการที่เกี่ยวกับสุขลักษณะของตลาด ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่ของสินค้า (๓) การดูแลรักษาความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การเก็บกวาดรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องจัดวางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าในขอบเขตที่จัดไว้ให้เท่านั้น ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้าอันจะเป็นการกีดขวางทางเดินในตลาด และห้ามวางสินค้าในลักษณะหรือมีความสูงจากพื้นตลาดจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ การวางและเก็บสินค้าประเภทอาหารเครื่องดื่ม รวมทั้งเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับอาหารต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และห้ามวางวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคที่สังคมรังเกียจหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ อันได้แก่ วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคบิด ไข้สุกใส ไข้หัด โรคคางทูม โรคเรื้อน โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ และโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (๒) ในระหว่างการขายของต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ข้อ ๒๘ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะในการใช้กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ หรือสะสมอาหารหรือสินค้าอื่น และการเก็บรักษาความสะอาดของภาชนะน้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ลักษณะและประเภทของสินค้าที่จำหน่ายต้องสะอาดปลอดภัย (๒) อาหารสดที่อาจเกิดการเน่าเสียได้ง่ายต้องจัดเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม (๓) ในกรณีที่เป็นแผงลอยจำหน่ายอาหารซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะด้านสุขาภิบาลอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๔) การจำหน่ายอาหารที่ปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการหยิบจับ และมีการปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ ข้อ ๒๙ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองกำหนดพร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองกำหนด ข้อ ๓๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้อกำหนดแนบท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๓ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทองเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อ ๒๘ และข้อ ๒๙ โดยอนุโลม ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าเสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองกำหนด การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาประกอบด้วย (๒) ในกรณีที่ใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือ และให้ถือว่าผู้นั้นได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทองในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๔๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๔๔ ความในข้อ ๑๐ (๑) (๕) (๖) (๗) (๑๒) และข้อ ๑๐ มิให้ใช้บังคับกับผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ขึ้นก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ประดิษฐ์ พละทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๔๘/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,169
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางและนายอำเภอกงไกรลาศ จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางแล้ว ๗ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศและคำ สั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัสดุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่เศษอาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ตลอดจนที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “มูลฝอยอันตราย” หมายความว่า มูลฝอยที่มีองค์ประกอบทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนที่อาจทำให้เกิดอันตราย อันเนื่องมาจากปริมาณความเข้มข้น คุณภาพทางกายภาพเคมี และชีวภาพ เช่น ประเภทติดไฟง่าย สารกัดกร่อน สารประเภททำให้เกิดปฏิกิริยาการระเบิด สารพิษ วัตถุระเบิด สารที่สามารถถูกชะล้างได้ กากกัมมันตรังสี และประเภทที่ทำให้เกิดโรค “มูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นผลมาจากกระบวนการให้การรักษาพยาบาล การตรวจชันสูตรศพ การใช้สัตว์ทดลอง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานหรือเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้าง หรือพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในที่หรือทางสาธารณะ เป็นต้นว่าถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางจัดตั้งไว้ให้โดยเฉพาะ ข้อ ๗ ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิด ไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก และเป็นสถานที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางอนุญาตให้หรือจัดให้โดยเฉพาะ ข้อ ๘ ห้ามผู้ใด ทำการขน ถ่าย เท คุ้ย เขี่ย หรือขุดมูลฝอยในที่รองรับ หรือสถานที่พักมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เว้นแต่การกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีการรองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในอาคารหรือสถานที่นั้น ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วมีฝาปิดมิดชิด กันแมลงและสัตว์ได้ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่ายเท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๒ ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้จัดทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๓ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณใด ซึ่งนอกบริเวณเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการเผา ฝัง หรือโดยวิธีการอื่นใด โดยไม่ขัดต่อสุขลักษณะกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ผู้ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางกำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๔ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนโดยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๕ ผู้ใดประสงค์ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางกำหนด ข้อ ๑๖ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางกำหนด ข้อ ๑๗ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับอนุญาตให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นหากมิได้รับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๙ ในการให้บริการตามใบอนุญาตผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับผู้รับบริการทุกราย โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราบริการ ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบโดยการผิดสัญญา โดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่เริ่มให้บริการ ทั้งนี้ อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการชั้นสูงท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๐ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใดจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่ ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) รักษาคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๕ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต (๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๑๘ (๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบัญญัติและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๒๒ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตหากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๒๔ เมื่อผู้รับใบอนุญาต ไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๕ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๗ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกแบบใบแทนอนุญาตให้ใช้แบบ แบบ ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของอายุของใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัติตำบลนี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๙ ให้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ แบบ ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ แบบ ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ แบบ ๓ (๔) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ แบบ ๔ ข้อ ๓๐ กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ ๑๕ วัน กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุจะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนั่น อ่ำยิ้ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการขน เก็บ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการขน เก็บ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการขน เก็บ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ๓) ๕. คำขออนุญาตการต่าง ๆ (แบบ ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๘๕/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,170
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การควบคุม การเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การควบคุม การเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ว่าด้วยการควบคุม การเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางและนายอำเภอกงไกรลาศ จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การควบคุม การเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางแล้ว ๗ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งใดอื่นใดเพื่อให้การเป็นไปตามข้อบัญญัติ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครอง ควบคุม ดูแล เอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึง ผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ “แหล่งชุมชน” หมายความว่า หมู่บ้าน หรือสถานที่ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานส่วนตำบลผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ การควบคุมการลี้ยงสัตว์ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นและเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) ช้าง (๒) ม้า (๓) ล่อ ลา (๔) โค (๕) กระบือ (๖) สุกร (๗) แพะ (๘) แกะ (๙) กวาง (๑๐) ห่าน (๑๑) เป็ด (๑๒) ไก่ (๑๓) สุนัข (๑๔) แมว (๑๕) นก (๑๖) ปลา (๑๗) กระต่าย (๑๘) หนู (๑๙) สัตว์มีพิษ สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ (๒๐) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ข้อ ๗ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๖ ในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางโดยเด็ดขาด ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่การเลี้ยงสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วยหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ (๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางประกาศกำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ (๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของเจ้าของสัตว์ ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์ เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณีโดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง หรือเพื่อในพระราชพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนาตามประกาศของทางราชการ ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง มีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๖ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ ข้อ ๙ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยที่วิญญูชนพึงกระทำแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท ชนิด และวิสัยของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบระบายน้ำ และระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) การระบายน้ำเสียต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ (๓) ต้องรักษาสถานที่อย่าให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน แมลงสาบ ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ และต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการเลี้ยงสัตว์ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๔) ต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะในจำนวนที่เพียงพอ (๕) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๖) เมื่อสัตว์ตายลง เจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่นควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๗) จัดให้มีการเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์เพื่อป้องกันอันตรายอันเกิดจากเชื้อโรคที่อาจเกิดจากสัตว์ และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาดไปสู่สัตว์อื่นหรือมนุษย์ได้ (๘) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์ และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๙) ไม่นำสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน เว้นแต่เฉพาะเพื่อการเคลื่อนย้ายสัตว์ และได้ปฏิบัติตามคำแนะนำเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๑๐) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๑๑) ป้องกันไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๑๐ กรณีการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือการเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๙ อย่างเคร่งครัด เพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าสัตว์ที่เลี้ยงนั้นเป็นโรค อันอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพของบุคคลทั่วไป ให้เจ้าของสัตว์แยกกักสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทราบโดยทันที และแจ้งให้สัตว์แพทย์ของหน่วยงานราชการทราบด้วย ทั้งต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๒ เจ้าของสัตว์จะต้องควบคุมดูแลสัตว์และสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน มิให้ก่อเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น และต้องป้องกันมิให้เกิดโรคติดต่อหรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคที่อาจเป็นอันตรายแก่สัตว์อื่นหรือต่อประชาชน หมวด ๓ การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการเลี้ยงหรือการปล่อยสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะหรือในเขตห้ามปล่อยโดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจับและกักสัตว์ไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน ข้อ ๑๔ ในระหว่างการจับสัตว์ตามข้อ ๑๓ หากสัตว์วิ่งหนี หรือเกิดอุบัติเหตุอื่นใดต่อสัตว์ก็ตาม หากเป็นเหตุที่โดยพฤติการณ์ต้องเกิดขึ้นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ทางองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้น กรณีตามวรรคหนึ่งถ้าความเสียหายเกิดขึ้นต่อบุคคลที่สามอันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าว หากองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลผู้ต้องเสียหายแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของสัตว์นั้นได้ ข้อ ๑๕ เมื่อได้จับสัตว์และนำสัตว์มากักไว้ตามข้อ ๑๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะประกาศให้เจ้าของสัตว์ทราบและให้มารับสัตว์ภายในระยะเวลา ๓๐ วัน นับแต่ได้จับสัตว์มากักไว้ โดยประกาศไว้ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ถ้ามีเจ้าของสัตว์แสดงหลักฐานมาขอรับคืนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้เจ้าของสัตว์นั้นเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงสัตว์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางจ่ายไปจริง เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วันแล้ว ไม่มีผู้แสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของสัตว์มารับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๑๖ กรณีการกักสัตว์ไว้ตามข้อ ๑๓ อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นจะจัดการขายทอดตลาดก่อนกำหนด ๓๐ วันก็ได้ เงินที่ได้จากการขายเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการขายและการเลี้ยงดูสัตว์แล้ว ให้เก็บรักษาเงินส่วนที่เหลือนั้นไว้แทนสัตว์ต่อไป กรณีที่ปรากฏว่าสัตว์นั้นเจ็บป่วยหรือไม่ควรจำหน่ายต่อไป หรือเป็นโรคติดต่อหรือโรคติดต่อร้ายแรงที่อาจเป็นอันตรายแก่สัตว์อื่นหรือต่อประชาชน เมื่อสัตว์แพทย์หรือปศุสัตว์อำเภอได้ให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ทันทีโดยไม่ต้องรอเจ้าของสัตว์ ข้อ ๑๗ กรณีการเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ของเอกชนหรือทางสาธารณะก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้เจ้าของสัตว์ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควร และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำการโดยวิธีใด ๆ เพื่อระงับเหตุรำคาญนั้นหรือกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญขึ้นอีกในอนาคต โดยให้ระบุไว้ในคำสั่งนั้นด้วยก็ได้ ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจออกคำสั่งด้วยวาจาก็ได้ หมวด ๔ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น (๓) ยึดหรืออายัดสิ่งใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๔) นำสัตว์ที่สงสัยว่าไม่ถูกสุขลักษณะ อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรืออาจเป็นโรคติดต่อเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๙ หากเจ้าของสัตว์ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของสัตว์แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควร แต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีมีคำสั่งให้หยุดดำเนินการทันที ถ้าเจ้าของสัตว์ไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาตามวรรคสอง หรือถ้าการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์นั้นอาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพหรืออาชีวอนามัยของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินการนั้นทันทีเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์นั้นปราศจากเหตุรำคาญหรือเหตุอันตรายต่าง ๆ แล้ว หากเจ้าของสัตว์ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคหนึ่งและหรือวรรคสาม นอกจาก จะต้องระวางโทษตามข้อบัญญัตินี้แล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับและนำสัตว์ ไปกักไว้ในที่สำหรับกักสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดไว้ และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการ ในหมวดห้าแห่งข้อบัญญัตินี้ต่อไปด้วย ข้อ ๒๐ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีทำเป็นหนังสือแจ้งให้เจ้าของสัตว์ ผู้ดำเนินการหรือผู้ใดทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือ ให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนั่น อ่ำยิ้ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๖๔/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,171
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองและนายอำเภอศรีสำโรง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองแล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่าที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอาศัยอยู่ และหมายความรวมถึงบริเวณที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วยจะมีรั้วรอบหรือไม่ก็ตาม “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะที่เกินกว่า ๗ วัน ซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้นในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยรวมทั้งกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่อาจขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองจัดไว้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอย รวมทั้งกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยที่อาจขังน้ำได้ในเคหสถาน โดยการเก็บวัตถุดังกล่าว ถังที่มีฝาปิดมิดชิดหรือถุงพลาสติก ที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใด ที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ข้อ ๗ ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองที่ยังไม่สามารถให้บริการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยได้ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหสถานกำจัดเอง โดยวิธีการที่เหมาะสมหรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารเคหสถานต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในเเจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุก ๗ วัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ และจัดให้มีฝาตุ่มปิดน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหะสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขว่าอาคารเคหสถานหรือสถานที่ใดมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองปรับปรุงแก้ไขในเวลาตามสมควร รวมทั้งกระทำการโดยวิธีใดเพื่อระวังแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายหรือกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจดำเนินการแก้ไขเอง และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเกิดขึ้นอีก และถ้ามีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลยของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการแก้ไขนั้น ข้อ ๑๑ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองได้จัดให้เจ้าหน้าที่ไปทำการฉีดพ่นกำจัดยุงในอาคารหรือบริเวณสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหสถานหรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทองในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติในข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติในข้อ ๑๐ ต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับคำสั่ง หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ประดิษฐ์ พละทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๓๗/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,172
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองและนายอำเภอศรีสำโรง จึงได้ตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบและคำสั่งใด ๆ ในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัสดุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งไม่ใช่เป็นของเอกชนและ ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทองที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทองแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ห้ามผู้ใดดำเนินการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ผู้ครอบครองสถานที่อาคารหรือเคหสถานต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอยในสถานที่อาคารหรือเคหสถานในครอบครองของตน ข้อ ๗ ที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วและมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงวันและสัตว์ได้ตามแบบที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ ข้อ ๘ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถานต้องรักษาบริเวณสถานที่อาคาร หรือเคหสถานในครอบครองของตนไม่ให้มีมูลฝอยสิ่งปฏิกูลหรือสิ่งเปรอะเปื้อน หรือมีการถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยสิ่งปฏิกูลหรือสิ่งเปรอะเปื้อนที่เป็นการขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีมูลฝอย สิ่งปฏิกูล หรือสิ่งเปรอะเปื้อน ในที่หรือทางสาธารณะเว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองจัดไว้ให้ ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้สิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นออกมาข้างนอกและจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง สิ่งปฏิกูลลงในที่รองรับมูลฝอย ข้อ ๑๒ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคารสถานที่หรือบริเวณใดควรทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไปกำจัดให้ต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขน เมื่อมีหนังสือแจ้งแก่ผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๑๕ วัน หรือเมื่อได้ปิดประกาศกำหนดบริเวณเก็บสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันประกาศแล้วผู้ครอบครองอาคารสถานที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือบุคคลผู้ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยจากอาคารสถานที่ซึ่งตนครอบครองโดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๓ ห้ามมิให้ผู้ใดรับจ้างเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลจากสถานที่อาคารหรือเคหสถาน ซึ่งอยู่ในเขตเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ประกาศแล้วตามข้อ ๑๒ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามเงื่อนไขและวิธีการที่กำหนดไว้ในสัญญา ข้อ ๑๔ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถาน ซึ่งอยู่บริเวณเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล ตามข้อ ๑๒ และผู้ครอบครองสถานที่อาคารหรือเคหสถาน ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้กำหนดให้กำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลตามข้อ ๑๒ ต้องกำจัดมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยการเผาหรือฝังหรือวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๕ ห้ามผู้ซึ่งมิได้เป็นเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ทำการถ่ายเท ขนหรือเคลื่อนที่สิ่งปฏิกูลในถังรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่เทมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ข้อ ๑๖ ห้ามผู้ซึ่งมิได้เป็นเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ทำการถ่ายเท ขนหรือเคลื่อนที่สิ่งปฏิกูลในถังรับ รถขน สถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ข้อ ๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทองเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ประดิษฐ์ พละทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๖๑/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,173
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางและนายอำเภอกงไกรลาศ จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางแล้ว ๗ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ผลิตหรือมีไว้เพื่อขาย ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นของที่ผิดกฎหมาย “อาหาร” หมายความว่า ของที่กินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อมหรือนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามด้วยกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุมุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุ เจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นสี “การจำหน่ายสินค้า” หมายความว่า การจำหน่ายสิ่งของหรือวัสดุทุกชนิดที่สามารถนำมาขายหรือให้เช่าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าโดยมีราคาหรือมูลค่าในการนั้น “เร่ขาย” หมายความว่า การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยมิได้จัดวางอยู่ในที่หนึ่งที่ใดโดยปกติ ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่ของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษวัตถุ เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานส่วนตำบลที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ห้ามผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสองให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิด หรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติไว้ในใบอนุญาตด้วย การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว ข้อ ๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (๑) ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๔ (๒) เงื่อนไขอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางประกาศกำหนด ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่ใดที่หนึ่งเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดสุภาพเรียบร้อย (๒) จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ยื่นล้ำในบริเวณที่กำหนด ร่มหรือผ้าใบ บังแดด รวมทั้งตัวผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร (๓) แผงสำหรับวางขาย เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ ต้องทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง มีขนาดและความสูงจากพื้นตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๔) ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอทั้งในระหว่างจำหน่ายสินค้าและหลังเลิกทำการจำหน่ายสินค้าแล้ว (๕) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ (๖) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ห้ามพาด ติดตั้ง วางแผงค้า เกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขาย รวมตลอดถึงการตอกตะปูผูกเชือกหรือยึดสิ่งใดกับคอกต้นไม้หรือต้นไม้โดยเด็ดขาด (๘) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องมือกลเสียงดัง (๙) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทปหรือกระทำการสิ่งอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๑๐) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า (๑๑) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการ ตามประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง (๑๒) หลังเสร็จสิ้นการจำหน่ายทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง ออกจากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า (๑๓) การอื่นที่จำเป็นเพื่อรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้ง การป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) – (๑๒) (๒) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขนและสวมเสื้อผ้าที่สะอาดเรียบร้อย รวมทั้งสวมรองเท้าขณะเตรียมทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อน และสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม (๓) ต้องตัดเล็บมือให้สั้นถ้ามีบาดแผลมีการบาดเจ็บ การถูกลวก หรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร และไม่ไอจามรดบนอาหาร (๕) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และแผงจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี เป็นระเบียบ อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตร (๖) การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะ โดยล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะตามด้วยน้ำสะอาดสองครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล และอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตรและต้องไม่ถ่ายเทน้ำล้างภาชนะอุปกรณ์ที่มีเศษอาหารลงพื้นลงในท่อระบายน้ำสาธารณะ (๗) รักษาเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับใส่หรือเตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหารให้สะอาดปลอดภัยใช้การได้อยู่เสมอ (๘) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้สำหรับประกอบอาหารด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง แมลงวันและสัตว์ซึ่งเป็นพาหะนำโรค รวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๙) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่ ล้างอาหาร ภาชนะ เครื่องใช้ และปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๑๐) สารปรุงแต่งอาหารต้องมีเลขสารบบ (อย.) (๑๑) น้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด มีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๑๒) เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาดมีการปกปิดและมีที่ตักที่มีด้ามยาว หรือมีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๑๓) น้ำแข็งที่ใช้บริโภค (๑๓.๑) ต้องสะอาด (๑๓.๒) เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตร (๑๓.๓) ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว (๑๓.๔) ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง (๑๔) ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว (๑๕) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย โดยแยกประเภทเป็นแบบแห้งและเปียกที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ มีการรวบรวมมูลฝอยและเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด และไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำ หรือทางสาธารณะ (๑๖) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพรวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๑๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและพนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๑๐ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์เลี้ยงในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) – (๑๒) (๒) จัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยงทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (๔) ใช้กรงหรือคอกหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์ และสะอาดปลอดภัย (๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำหน่ายสัตว์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยติดเชื้อ โดยแยกประเภทที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ และไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ (๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย การกักขัง และการรักษาความสะอาด (๘) ปฏิบัติอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๑๑ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยวิธีการเร่ขายสินค้า ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่อนุญาตให้จำหน่ายได้ (๒) ต้องแต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๓) มูลฝอยจากการเร่ขาย ห้ามทิ้งลงในที่หรือทางสาธารณะ (๔) ในขณะที่เร่ขายสินค้า ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือส่งเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน ไปจอดบนทางเท้าเพื่อขายสินค้า (๖) หลังเสร็จสิ้นการจำหน่ายทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อย (๗) การอื่นที่จำเป็นเพื่อรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๑๒ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณโดยวิธีการเร่ขายสินค้า ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) – (๖) (๒) อาหารที่เร่ขายต้องสะอาดปลอดภัย (๓) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ภาชนะเครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัย (๔) จัดอาหารแยกตามประเภทของสินค้าให้เป็นระเบียบ (๕) สวมเสื้อมีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น มีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร (๖) รักษาความสะอาดของมือและเล็บ ตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๗) ไม่สูบบุหรี่ หรือไอ จาม รดบนอาหารในขณะเตรียมทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร (๘) ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๑๓ ในการเร่จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์เลี้ยงในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๑ (๑) – (๖) (๒) สัตว์เลี้ยงที่เร่ขายต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยงทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (๔) ใช้กรงหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่สะอาด ปลอดภัย (๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเร่ขายให้สะอาด และใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๖) ต้องป้องกันมิให้มีมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นเรี่ยราดในที่หรือทางสาธารณะ และไม่ถ่ายเททิ้งในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ (๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย กักขัง และการรักษาความสะอาด (๘) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ข้อ ๑๔ ห้ามผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยต์) (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคติดต่ออื่น ๆ ที่ทางราชการประกาศกำหนด หมวด ๒ ใบอนุญาต ข้อ ๑๕ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางกำหนดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับใบอนุญาต (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) ใบรับรองแพทย์ของผู้รับใบอนุญาต และผู้ช่วยจำหน่าย (กรณีจำหน่ายอาหารและ/เครื่องดื่ม) ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๓๐ วัน (๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับคำขอใบอนุญาตหรือคำขอต่อใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขอใบอนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายระยะเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางกำหนด ข้อ ๑๙ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางเท่านั้น การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางกำหนด ข้อ ๒๐ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๒ ในกรณีใบอนุญาตหรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือขอรับบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ แล้วแต่กรณี ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางกำหนด การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีบัตรสุขลักษณะประจำตัวสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่นำใบอนุญาตเดิมมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๓) ในกรณีใบอนุญาตหรือบัตรสุขลักษณะประจำตัว ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวนำใบอนุญาตหรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๔) รูปถ่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่ายขนาด ๑ × ๑ นิ้ว จำนวนคนละ ๒ รูป ข้อ ๒๓ การออกใบแทนใบอนุญาตหรือการออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ทีออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปีของใบแทน (๔) กรณีบัตรสุขลักษณะประจำตัว ให้ออกใบสุขลักษณะประจำตัวใหม่ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย ข้อ ๒๔ ห้ามโอนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมวด ๓ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบถ้วน ข้อ ๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง หมวด ๔ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกประกาศ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริการส่วนตำบลไกรกลางเป็นเขตหวงห้ามจำหน่ายหรือซื้อสินค้าโดยเด็ดขาด (๒) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลางเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท หรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าตามกำหนดเวลา หรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าโดยวิธีการจำหน่ายในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง หรือกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายสินค้าบริเวณนั้น หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สนั่น อ่ำยิ้ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๑) ๓. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ (แบบ สณ. ๒) ๔. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า (แบบ สณ. ๓) ๕. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยวิธีการวางสินค้าในที่หรือทางใดเป็นปกติ (แบบ สณ. ๔) ๖. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยวิธีการเร่ขายสินค้า (แบบ สณ. ๕) ๗. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ สณ. ๖) ๘. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๗๒/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,174
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักและนายอำเภอสวี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติกภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสักหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้และข้อ ๙ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตรายและผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยหรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสักและระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสักหรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะนอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักจัดไว้ให้ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) กำหนดวิธีการเก็บ ขน และการกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยหรือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือสถานที่ใด ๆ ปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามสภาพหรือลักษณะการใช้อาคารหรือสถานที่นั้น ๆ ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับใบอนุญาต (๔) บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ (๕) ตัวอย่างหนังสือสัญญาระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ (๖) ใบยินยอมให้ทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๗) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักประกาศกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลตามข้อ ๙ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตชื่อ บริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักประกาศกำหนด (๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๔) กรณีกำจัดสิ่งปฏิกูลเองต้องมีระบบบำบัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล โดยที่แหล่งกำจัดนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญและไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ ในการดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจาก เสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลโดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว ให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลและทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราดให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสักเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสักหรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสักในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุจิตรา อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. คำขอรับใบอนุญาตการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการ…………………………………………… ๕. รายการการต่อใบอนุญาตและการเสียค่าธรรมเนียม ๖. คำขอต่ออายุใบอนุญาตการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ๗. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๒๑/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,175
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงรายชื่อและค่าธรรมเนียมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลยายชาและนายอำเภอสามพราน จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยายชาตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๗ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยายชาเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “กิจการสปาเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้การดูแลและสร้างสุขภาพโดยบริการหลักที่จัดไว้ ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพ และการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ โดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วย เช่น การอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนบำบัดและการควบคุมอาหาร โยคะ และการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ หรือไม่ก็ได้ โดยทั้งนี้ บริการที่จัดไว้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ และกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทางการแพทย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด “การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปเลี้ยงและดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุไม่เกิน ๖ ปี ที่บ้านของผู้รับบริการ ทั้งนี้ ไม่ว่าการประกอบกิจการนั้นจะมีสถานที่รับเลี้ยงเด็กหรือสถานที่ฝึกอบรมพนักงานอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม “การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปดูแลผู้สูงอายุ (ที่มีอายุเกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) ที่บ้านของผู้รับบริการ ทั้งนี้ ไม่ว่าการประกอบกิจการนั้นจะมีสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุหรือสถานที่ฝึกอบรมพนักงานอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า “กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” หมายความว่า กิจการที่มีกระบวนการผลิต หรือกรรมวิธีการผลิตที่ก่อให้เกิดมลพิษหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ทางเสียง แสง ความร้อน ความสั่นสะเทือน รังสี ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า เป็นต้น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา (๖.๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๖.๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๖.๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๖.๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๖.๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๖.๒.๒) การฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๖.๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๖.๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๖.๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขน หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖.๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๖.๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๖.๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารสถานที่สะสมอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๖.๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้มหรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๖.๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลาหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึง (๖.๓.๓) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๖.๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๖.๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖.๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่คล้ายคลึงกัน (๖.๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้าหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึง (๖.๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๖.๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๖.๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๖.๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๖.๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๖.๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๖.๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๖.๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๖.๓.๑๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๖.๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๖.๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๖.๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๖.๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๖.๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ แบะแซ (๖.๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๖.๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๖.๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๖.๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๖.๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๖.๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๖.๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๖.๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๖.๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๖.๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๖.๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๖.๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๖.๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๖.๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๖.๕.๕) การผลิตยาสูบ (๖.๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๖.๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๖.๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๖.๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำประหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖.๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๖.๒) การถลุงแร่ การหลอมหรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน (๖.๖.๑) (๖.๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๖.๑) (๖.๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๖.๑) (๖.๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักรหรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๖.๑) (๖.๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือกหรือล้างแร่ (๖.๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๖.๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๖.๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๖.๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๖.๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๖.๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖.๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๖.๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๖.๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๖.๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๖.๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๖.๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๖.๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๖.๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้หวาย ชานอ้อย (๖.๘.๔) การอบไม้ (๖.๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖.๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๖.๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๖.๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๖.๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๖.๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๖.๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๖.๙.๓) การประกอบกิจการการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๖.๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๖.๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราว สำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖.๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖.๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๖.๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๖.๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๙.๑) (๖.๙.๑๐) การประกอบกิจการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๖.๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๖.๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๖.๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๖.๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๖.๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๖.๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๖.๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๖.๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๖.๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๖.๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๖.๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๖.๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖.๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖.๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๖.๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๖.๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๖.๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖.๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๖.๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๖.๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖.๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บดหรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑๑.๒) (๖.๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖.๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๖.๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๖.๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๖.๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๖.๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๖.๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๖.๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๖.๕) (๖.๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๖.๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๖.๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๖.๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๖.๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๖.๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๗.๑) (๖.๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัสดุที่คล้ายคลึง (๖.๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๖.๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๖.๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๖.๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัสดุที่คล้ายคลึง (๖.๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัสดุที่คล้ายคลึง (๖.๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๖.๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๖.๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๖.๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๖.๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๖.๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๖.๑๓) กิจการอื่น ๆ (๖.๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๖.๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๖.๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖.๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๖.๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖.๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๖.๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่ หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๖.๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๖.๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลาหรือแพปลา (๖.๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๖.๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๖.๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๖.๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตราย และขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหาร หรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบ จนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ การขออนุญาตและใบอนุญาต ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ขอรับใบอนุญาต (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารของสถานประกอบการ (๔) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (กรณีเข้าข่ายประกอบกิจการโรงงาน) (๕) หลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งในทำเลซึ่งจะทำรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกให้พ้นไปจากที่นั้นได้โดยสะดวก ลักษณะไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๒) ต้องทำรางระบายน้ำ และรางระบายน้ำสาธารณะ หรือบ่อซึ่งรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุมีลักษณะเรียบร้อย ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลสะดวก (๓) การระบายน้ำและรางระบายน้ำรวมทั้งบ่อต้องไม่มีลักษณะเป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ที่ใช้น้ำในทางสาธารณะ หรือแก่ผู้ที่พักอาศัยใกล้เคียง (๔) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุข เห็นว่าสถานที่ใดจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำรั่ว หรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อขังน้ำโสโครก หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำเครื่องป้องกันควัน มูลเถ้า กลิ่นไอ หรือสิ่งอื่นใดอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) ต้องให้มีแสงสว่างและช่องระบายลมเพียงพอ (๖) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่การค้านั้น (๗) ต้องจัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปนเปื้อนที่ถูกสุขลักษณะ (๘) ต้องมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะและให้เพียงพอ แก่จำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้นจะต้องอยู่ในที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๙) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขังและที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางพอ (๑๐) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๑) การปฏิบัติอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำ ขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้ง ให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตตามข้อ ๒๑ ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๔ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลยายชาเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลยายชา ข้อ ๒๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด และการออกใบแทนใบอนุญาตเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลยายชาในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๕ ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับตำบลยายชา เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งมีก่อนข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ให้ประกอบกิจการนั้นต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุและให้มาดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วาสนา กลิ่นพยอม นายกองคก์ ารบรหิ ารส่วนตาํ บลยายชา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. คำร้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๘๒/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,176
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลฝางคำ ว่าด้วยตลาดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลละองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำและนายอำเภอสิรินธร จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เรื่อง ตลาดสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๔ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคารแผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาดให้สะอาดไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคารและมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคารและมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสียโรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยและที่จอดยานพาหนะตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟและแข็งแรงทนทานความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ ล้างทำความสะอาดง่ายไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวรและแข็งแรงสามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัขมิให้เข้าไปในตลาด (๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียงและทำความสะอาดง่ายมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวกโดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัยไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล โดย (ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุด ต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละและแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้งและทางระบายน้ำตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาดทางเข้าออกบริเวณตลาดและทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวันและสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วมที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะมีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวกมีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือและที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะโดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่ายมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอและจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้างโดยเป็นรางแบบเปิดทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบมีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวกมีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือ แหล่งน้ำสาธารณะ และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมันหรือบ่อพักน้ำเสียก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่มหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามกฎกระทรวงนี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกันเพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๐ กำหนดเวลาการเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาดให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำมิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวันและดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วมที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาดและจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอยรวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวันและดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญมลพิษที่เป็นอันตรายหรือการระบาดของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกรในตลาดรวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาดจนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรังเป็นเหตุรำคาญเกิดมลพิษที่เป็นอันตรายหรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใดนอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญมลพิษที่เป็นอันตรายหรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนดโดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศและแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนดโดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตรายโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคลเช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียสในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาดและต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหารต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง ข้อ ๒๘ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำประกาศกำหนด ข้อ ๒๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความร่วมมือในการให้ถ้อยคำหรือมีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณาตลอดจนปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามเงื่อนไขในใบอนุญาต/ข้อกำหนดของท้องถิ่น (๒) อนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น (๓) อนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกลักษณะหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา (๔) อนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ยึดอายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน หรือและประโยชน์ในการดำเนินคดีเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๘ และข้อ ๒๙ ด้วย ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บุญมี พิกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ๓. ใบรับแจ้งการจัดตั้งตลาด ๔. ใบอนุญาตจัดตั้งตลาด ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๒๑๔/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,177
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนและนายอำเภอตระการพืชผล จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำ บลกุดยาลวนเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมาย สำหรับใช้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมทั้งวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้กับผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่าย โดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ราชการท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๖ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นที่ทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่สะสมอาหารตามที่กำหนดไว้ใน (๑.๑) - (๑.๗) (๒.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนกำหนด (๒.๕) จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒.๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน (๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อ ๘ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อ ๙ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะอุปกรณ์ น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหารและผู้ใช้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) วาง เก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาดถูกสุขลักษณะ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหาร รวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้น ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับการใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้และห้ามนำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่หรือเก็บรวมไว้ด้วยกัน (๔) การทุบ บดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันมิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำให้สะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหาร หรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาด และปฏิบัติตนให้ถูกต้องสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อ ๑๐ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หมวด ๓ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและออกใบอนุญาต ข้อ ๑๑ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องไม่เป็นโรคติดต่อและไม่จ้างหรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อ จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ สอ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนกำหนด ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่ง มีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร ให้ยื่นคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๒ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนกำหนด ข้อ ๑๓ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตหรือคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งแล้ว ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ สอ. ๓ หรือหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๔ แล้วแต่กรณี ผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ได้รับการรับรองการแจ้งต้องมารับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง และชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ เมื่อผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์ขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สอ. ๕ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๕ ผู้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นประจำทุกปี ตลอดระยะเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น โดยยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปีตามแบบ สอ. ๖ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนกำหนด และให้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนครบรอบในแต่ละปี หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อ ๑๗ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ไม่ประสงค์จะประกอบการต่อไปให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สอ. ๗ ข้อ ๑๘ หากผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ประสงค์การแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สอ. ๗ ข้อ ๑๙ หากปรากฏว่าใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้งแล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สอ. ๗ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๐ การออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สอ. ๓ หรือการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ สอ. ๔ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม หรือต้นขั้วหนังสือรับรองการแจ้งเดิมระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทน ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องแสดงใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ หมวด ๔ แบบพิมพ์ ข้อ ๒๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๑ (๒) คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๒ (๓) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๓ (๔) หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๔ (๕) คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๕ (๖) คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปี หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๖ (๗) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สอ. ๗ หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน กรณีถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ว่าที่ร้อยตรี ชัชวาล พุทธแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑) ๓. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒) ๔. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓) ๕. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร(แบบ สอ. ๔) ๖. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร(แบบ สอ. ๕) ๗. คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปีหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๖) ๘. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๗๗/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,178
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เห็นเป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรสและนายอำเภอขลุง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส เรื่อง การจัดการ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรสเมื่อได้ประกาศ โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรสแล้วสามสิบวัน ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึง มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “องค์การบริหารส่วนตำบล” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส ให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันได้เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยส่วนรวม ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบล หรืออนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด บทบัญญัติตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตรายและผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๕ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในทางสาธารณะ หรือสาธารณะอื่นใด เป็นต้นว่า ถนน ซอย ตรอก แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ในภาชนะหรือที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้จัดตั้งหรือจัดตั้งไว้ให้โดยเฉพาะ ข้อ ๖ ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปไว้ในทางสาธารณะหรือหรือที่สาธารณะอื่นใดตามข้อ ๕ เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก ข้อ ๗ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยนอกภาชนะหรือที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดไว้ให้โดยเฉพาะ ข้อ ๘ ห้ามผู้ใด ทำการถ่าย เท ขน คุ้ย เขี่ย หรือขุด หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลมูลฝอย ในที่รองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่พักมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ข้อ ๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่อาคารหรือเคหสถานต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยในสถานที่อาคารหรือเคหสถานในครอบครองของตนให้ถูกต้องตามสุขลักษณะอย่างพอเพียง และเหมาะสมซึ่งต้องไม่รั่วและมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้ หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบโดยคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถานต้องรักษาบริเวณสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานในครอบครองของตนไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือมีการถ่ายเทหรือทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๑ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าสถานที่หรือบริเวณใดควรทำการเก็บสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยไปทำการกำจัดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้นโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนเมื่อได้มีหนังสือแจ้งแก่ผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน หรือเมื่อได้ปิดประกาศกำหนดบริเวณเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ณ ที่เปิดเผยในบริเวณที่กำหนดไม่น้อยกว่า ๓ แห่ง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ วันนับแต่วันประกาศแล้ว ผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถานจะต้องให้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือบุคคลผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยจากสถานที่ อาคาร หรือเคหสถานซึ่งตนครอบครอง โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บ ขนตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ผู้ครอบครองสถานที่ อาคารหรือเคหสถานซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บ ขน สิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยตามข้อ ๑๑ ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๓ ผู้ใดจะดำเนินการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๔ ผู้ใดจะขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือจำกัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ สม. ๑ พร้อมด้วยหลักฐานตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารและหลักฐาน (๑.๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯ (๑.๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๑.๓) อื่น ๆ (๒) หลักเกณฑ์และเงื่อนไข (๒.๑) ผู้ขอรับใบอนุญาต ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูล (๒.๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์ แมลงพาหนะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่าย สิ่งปฏิกูล ให้รู้ว่าพาหนะ ขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รดดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลประกาศกำหนด (๒.๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๒.๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่า จะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒.๒) ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๒.๑) หลักฐานที่จำเป็นเพื่อแสดงการมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๒.๒.๒) แผนการดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ดังต่อไปนี้ (๑) ประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ต้องการรับกำจัด (๒) วิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ (๓) วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมเหตุรำคาญ ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน (๒.๒.๓) รายละเอียดในการดำเนินกิจการ ดังนี้ (๑) รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ที่จะใช้ในการดำเนินกิจการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๒) แบบแปลนและรายละเอียดของโรงงานกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) แสดงหลักฐานรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินและโรงงาน ที่ใช้ในการดำเนินกิจการดังกล่าว ว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขออนุญาตและมีภาระติดพันหรือไม่อย่างใด หรือสิ่งใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นที่ผู้ขออนุญาตได้เช่าหรือได้มาหรือจะได้มาด้วยวิธีการและเงื่อนไขใด (๔) หลักฐานอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๒.๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย (๒.๓.๑) หลักฐานที่จำเป็นเพื่อแสดงการมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อ ๑๐ (๒.๓.๒) แผนการดำเนินกิจการรับทำเก็บ ขน มูลฝอย ดังต่อไปนี้ (๑) ประเภทของมูลฝอยที่ต้องเก็บ ขน (๒) วิธีการเก็บ ขน มูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ (๓) วิธีการแยกหรือคัดเลือกมูลฝอยก่อนการเก็บ ขน (ถ้ามี) (๔) วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมเหตุรำคาญ ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน (๕) สถานที่และวิธีการในการกำจัดมูลฝอยที่เก็บ ขน (๒.๓.๓) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานและทรัพย์สินที่จะใช้ใน การดำเนินกิจการขั้นต้นดังนี้ (๑) จำนวนพนักงานที่คาดว่าจะต้องมีและหน้าที่โดยสังเขป (๒) จำนวนและประเภทของยานพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บ ขน (๓) สถานที่รวบรวมสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (ถ้ามี) ทั้งนี้ ผู้ขออนุญาตต้องระบุด้วยทรัพย์สินที่จะใช้ในการดำเนินกิจการดังกล่าวสิ่งใดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขออนุญาตและโดยมีภาระติดพันหรือไม่อย่างใดหรือสิ่งใดเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นที่ผู้ขออนุญาตได้เช่าหรือได้มาหรือจะได้มาด้วยวิธีและเงื่อนไขใด (๔) หลักฐานตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๕ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอแล้ว หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบ สม. ๒ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตให้มีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ทั้งหมดแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน ในกรณีจำเป็น ที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตให้ส่งคืนคำขอพร้อมแจ้งความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวัน นับจากวันที่ได้รับคำขอ ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจหรือยังไม่อาจออกใบอนุญาตได้ภายในกำหนดวรรคหนึ่ง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดตามวรรคหนึ่งหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตผู้แทนหรือผู้มอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ถ้าผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่า ๒ ครั้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๘ ในการดำเนินกิจการตามใบอนุญาตผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับผู้รับบริการทุกรายโดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงชื่อที่อยู่ของคู่สัญญา วัน เดือน ปีที่ทำสัญญา อัตราค่าบริการ ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดในกรณีผิดสัญญา โดยให้ส่งสำเนาสัญญาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่น้อยกว่าห้าวันทำการก่อนวันที่เริ่มการให้บริการ ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบ สม. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้ เว้นแต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๕ ข้อ ๒๐ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเท่านั้น ข้อ ๒๑ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนเลิกและต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน ข้อ ๒๒ หากปรากฏว่าใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญผู้ได้รับอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๓ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้ (๑) ใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงดำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ และให้มี วัน เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในใบแทน และต้นขั้วใบแทน (๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม โดยระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๒๔ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจง เป็นหนังสือ หรือส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้หรือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามเงื่อนไขใบอนุญาต หรือตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบ ตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้เวลา ข้อ ๒๕ หากผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยปฏิบัติ ไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการนั้น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าผู้ดำเนินกิจการไม่แก้ไขหรือถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินการนั้นไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้รับแก้ไขหรือปรับปรุงจนกว่าจะเป็นที่แน่ใจว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรไม่น้อยกว่า ๗ วัน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการทันทีและต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะปฏิบัติตามคำสั่งทราบในกรณีที่ไม่พบผู้ดำเนินกิจการหรือผู้ดำเนินกิจการไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ดำเนินกิจการ และให้ถือว่าผู้นั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๖ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ ภายในเวลาที่เห็นสมควรที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตและการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๘ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๕ ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทน หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตทราบ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ผู้ดำเนินกิจการรับทำการ เก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยุดดำเนินกิจการ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ดำเนินกิจการหรือผู้รับใบอนุญาตทราบ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๔ ข้อ ๑๘ และข้อ ๒๓ แห่งข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียก หรือไม่ยอมแจ้งข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานหรือขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามข้อ ๒๕ แห่งข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๓๒ ผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างที่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดดำเนินกิจการหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๗ และข้อ ๒๖ โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือดำเนินกิจการในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตตามข้อ ๒๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๓๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ข้อ ๓๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรสรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ชลากร ไชยพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงต่อท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรสเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ สำหรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ๓. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๑) ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๒) ๕. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (แบบ สม. ๓) ๖. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (แบบ สม. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๘๖/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,179
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยแห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักและนายอำเภอสวี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบอนุญาต ใบรับแจ้ง ข้อ ๖ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น สถานที่ดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง มีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๗ ความในข้อ ๖ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ ข้อ ๘ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ และเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวรทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับสุขลักษณะ คำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดไว้ใน (๑.๑) – (๑.๖) (๒.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักกำหนด (๒.๕) จัดให้มีบริเวณที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒.๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ข้อ ๙ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับมอบการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้ และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย และรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) วางเก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาดถูกสุขลักษณะ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกลักษณะสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้ และห้ามนำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่หรือเก็บรวมกันไว้ด้วย (๔) การทุบ การบดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันมิให้เสียงเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดโดยวิธีผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาดปลอดภัยสำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริหารต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล ข้อ ๑๑ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๑๒ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้หนังสือรับรองการแจ้งต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่จ้างหรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อ จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร ข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ สอ. ๑ ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักประกาศกำหนด ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อยื่นคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๒ พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ข้อ ๑๔ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอรับใบอนุญาตหรือการแจ้งแล้ว หากถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ สอ. ๓ หรือออกหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๔ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตผู้ใด หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งผู้ใดประสงค์จะขอต่อใบอนุญาตหรือขอต่อหนังสือรับรองการแจ้งให้ยื่นคำขอตามแบบ สอ. ๕ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุหรือหนังสือรับรองการแจ้งสิ้นอายุ ผู้ใดมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๗ ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือวันที่ออกหนังสือรับรองการแจ้ง และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสักเท่านั้น ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๙ หากผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้งไม่ประสงค์จะประกอบการต่อไปให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการตามแบบ สอ. ๖ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๐ หากผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับรองการแจ้งประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ยื่นคำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ตามแบบ สอ. ๗ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๑ หากปรากฏว่าใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง สูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี จะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง ตามแบบ สอ. ๘ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจกรณีสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิมกรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๒ การออกใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้ตามแบบ สอ. ๓ ท้ายข้อบัญญัตินี้ หรือการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้ตามแบบ สอ. ๔ ท้ายข้อบัญญัตินี้ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วยและให้วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม หรือต้นขั้วหนังสือรับรองการแจ้งเดิมระบุสาเหตุการสูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปีของใบแทน ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารต้องแสดงใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ หมวด ๓ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๖ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ผู้ใดปฏิบัติตามที่กล่าวในวรรคหนึ่งจำต้องเสียค่าปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เมื่อได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเปรียบเทียบปรับกำหนด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ข้อ ๒๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ บรรดาใบอนุญาตค้าอาหารหรือสะสมอาหารในสถานที่เอกชนที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจักได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่งดำเนินการยื่นคำร้องขอใบอนุญาตและหรือใบรับรองการแจ้งตามที่บัญญัติไว้ในข้อบัญญัตินี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุจิตรา อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑) ๓. แบบคำขอหนังสือรับแจ้งการตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒) ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓) ๕. หนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร (แบบ สอ. ๔) ๖. คำขอต่ออายุใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้งประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๕) ๗. คำขอบอกเลิกการดำเนินการประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๖) ๘. คำขอแก้ไขรายการใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๗) ๙. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๘) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๑๒/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,180
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๑ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนกโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนกและนายอำเภอบ้านโพธิ์ จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนกนับแต่วันถัดจากวันประกาศ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนกแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบล เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนกเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ประกอบกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปเลี้ยงและดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุไม่เกิน ๖ ปี ที่บ้านของผู้รับบริการ ทั้งนี้ ไม่ว่าการประกอบกิจการนั้นจะมีสถานที่รับเลี้ยงเด็กหรือสถานที่ฝึกอบรมพนักงานอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม “การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปดูแลผู้สูงอายุ (ที่มีอายุเกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) ที่บ้านของผู้รับบริการ ทั้งนี้ ไม่ว่าการประกอบกิจการนั้นจะมีสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุหรือสถานที่ฝึกอบรมพนักงานอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ ประเภทกิจการที่ต้องควบคุม ข้อ ๗ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง (๑.๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม (๑.๓) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก (๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขายและการขายในตลาด (๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ (๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๒.๘) การสะสมหรือการล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม (๓.๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิตการหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่ายกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้น ในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานจำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๓.๘) การผลิตแบะแซ (๓.๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๐) การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ (๓.๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล (๓.๑๔) การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว (๓.๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู (๓.๑๖) การคั่วกาแฟ (๓.๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๑๘) การผลิตผงชูรส (๓.๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร (๓.๒๕) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง (๔.๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ (๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๕.๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย (๕.๘) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร (๕.๙) การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ และอื่น ๆ (๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (๖.๒) การหลอม การหล่อ การถลุง แร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด การล้าง โลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใดยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่ (๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๗.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๗.๖) การปะ การเชื่อมยาง (๗.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสี เคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิตธูป ด้วยเครื่องจักร (๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) กิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๕) การประกอบการกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการใน (๙.๑) (๙.๙) การจัดให้มีการเล่นสเกตโดยมีแสงหรือเสียงประกอบหรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๑) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษการบริหารร่างกายหรือโดยวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๑๒) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม (๙.๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๔) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๕) การสักผิวหนัง การเจาะหูหรือเจาะอวัยวะอื่น (๙.๑๖) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน (๙.๑๗) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น (๑๐.๓) การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้า เพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๑๑.๙) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๒.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน (๗.๑) (๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ การบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การก่อสร้าง (๑๓.๖) กิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๗) การสะสมวัตถุ หรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้ว หรือเหลือใช้ (๑๓.๘) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๙) การล้างขวดภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๓.๑๐) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช้สิ่งทอ (๑๓.๑๑) การประกอบกิจการแพ้นปูน (๑๓.๑๒) การผลิตอิฐบล๊อค (๑๓.๑๓) กิจการศูนย์ฝึกการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น (๑๓.๑๔) กิจการอื่นใดที่ดำเนินกิจการนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ (เกิดขึ้นภายหลังจากข้อบัญญัตินี้ประกาศใช้) ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๓ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานสถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัย หรือหน่วยงานราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนกประกาศกำหนดเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องบันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอและมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมีวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำ ที่ล้างตา ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ ดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้อง (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องเก็บรวบรวมไว้ให้มิดชิดในที่ปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหารการสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๔ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๕ การควบคุม ของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๖ การขออนุญาตและใบอนุญาต ข้อ ๑๙ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๗ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๗ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนกประกาศกำหนด ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๓ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนกเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตการขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๐ โดยอนุโลม ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด และการออกใบแทนใบอนุญาตเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๗ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๓ ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับตำบลหนองตีนนก เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๖ อยู่ก่อนข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ให้ประกอบกิจการนั้นต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ และให้มาดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ วิลาศ สุวินัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๕๓/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,181
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนและนายอำเภอตระการพืชผล จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เรื่อง การกำจัด สิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้ โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ราชการท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ การกำจัดสิ่งปฏิกูล ข้อ ๕ การกำจัดสิ่งปฏิกูลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เป็นอำนาจหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้ ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อ ๖ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีสิ่งปฏิกูล ในที่หรือทางสาธารณะ เป็นต้นว่า ถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนจัดตั้งไว้ให้โดยเฉพาะ ข้อ ๗ ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งหรือเทในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะ หรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก ข้อ ๘ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในที่รองรับมูลฝอย ข้อ ๙ ห้ามผู้ใด ทำการถ่าย เท ขนหรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลในถังรับ รถขน เรือขน สถานที่เทเก็บหรือพักสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลในอาคารหรือสถานที่นั้น ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ข้อ ๑๑ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็น รั่วออกมาข้างนอก ตามแบบซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ ข้อ ๑๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่าย เท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๓ ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควันกลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๔ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคาร สถานที่หรือบริเวณใดควรทำการเก็บขน สิ่งปฏิกูลไปทำการกำจัดให้ต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยกำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลไม่น้อยกว่าสามแห่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับตั้งแต่วันประกาศแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บขนสิ่งปฏิกูลจากอาคาร สถานที่ หรือบริเวณนั้น ๆ ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่ โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณใด ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บขนสิ่งปฏิกูลตามข้อ ๑๔ ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการเผา ฝัง หรือโดยวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ หมวด ๓ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและออกใบอนุญาต ข้อ ๑๖ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ยื่นคำขอใบรับอนุญาตตามแบบ ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนกำหนด ข้อ ๑๘ คุณสมบัติของผู้รับใบขออนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนกำหนดไว้ดังนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) มีคุณสมบัติดังนี้ (๑.๑.๑) ต้องได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องไม่รั่วซึม ปกปิดมิดชิด สามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงได้มีอุปกรณ์หรือฝาปิด - เปิดถังที่สนิทอยู่ด้านบนและสามารถรับแรงดันจากการสูบสิ่งปฏิกูลได้ (๑.๑.๓) ท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูลต้องมีสภาพดีไม่รั่วซึม (๑.๑.๔) มีปั๊มสูบสิ่งปฏิกูลที่สามารถสูบของแข็งและมีการติดตั้ง มาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย ซึ่งอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี (๑.๑.๕) ต้องมีตัวถังรถเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล ต้องมีข้อความว่า “รถสูบสิ่งปฏิกูล” ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ หมายเลขโทรศัพท์ และเลขทะเบียนใบอนุญาต (กรณีที่ต้องขอใบอนุญาตหลายท้องถิ่นให้พิมพ์เฉพาะเลขทะเบียนใบแรก ส่วนใบอื่น ๆ ให้เก็บสำเนาหลักฐานใบอนุญาตไว้ที่รถเพื่อการตรวจสอบด้วย) ที่ด้านข้างทั้ง ๒ ด้านของตัวถังรถที่เห็นได้ชัดเจนและมีขนาดตัวอักษร ไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร (๑.๒) ต้องมีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังใส่น้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น น้ำยาไลโซน ๒% เป็นต้น) และน้ำยาดับกลิ่น (๑.๓) ต้องมีชุดปฏิบัติงาน ประกอบด้วย เสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้ายางหุ้มแข้ง (๑.๔) ผู้ประกอบกิจการรถสูบสิ่งปฏิกูลจะต้องระบุแหล่งที่จะนำสิ่งปฏิกูล ไปบำบัดและมีหลักฐานที่แสดงว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่บำบัดนั้น เว้นแต่จะมีระบบบำบัด ของตนเอง ทั้งนี้ ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลจะต้องมีลักษณะตามแบบที่ถูกสุขลักษณะ (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลมีคุณสมบัติดังนี้ (๒.๑) ผู้ประกอบการต้องระบุแหล่งที่จะนำสิ่งปฏิกูลที่เก็บ ขน ได้ไปที่ที่สำหรับกำจัดและต้องมีสถานที่สำหรับกำจัดสิ่งปฏิกูลเป็นของตนเอง ที่ตั้งของสถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูลต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและมีมาตรการในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชน และการร้องเรียนและต้องแสดงหลักฐานการยินยอมของเจ้าของสถานที่ที่นำไปกำจัด เว้นสถานที่นั้น เป็นของตนเองแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของ หรือสถานที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวนกำหนดให้ แล้วแต่กรณี (๒.๒) ต้องมีวิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ หรือการใช้ระบบอื่นใด ที่สามารถดำเนินการได้ตามหลักวิชาการและสามารถป้องกันพิษภัยการก่อให้เกิดโรค สภาพอันน่ารังเกียจ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ และมีมาตรการในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชน และผลกระทบต่อสุขภาพ (๒.๓) ต้องมีพนักงานคนงานที่ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสาธารณสุขตามสมควรหรือมีประสบการณ์ในการทำงานลักษณะนี้มาแล้ว ข้อ ๑๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับใบอนุญาตให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบ กส. ๒ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับมาชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้าย ข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ ในการให้บริการตามใบอนุญาตผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับผู้รับบริการทุกราย โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราค่าบริการ ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบในกรณีผิดสัญญา โดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่เริ่มการให้บริการ ทั้งนี้ อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๒ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใดจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งพนักงานท้องถิ่นล่วงหน้าก่อนเลิกการให้บริการอย่างน้อยสิบห้าวัน ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้รับใบอนุญาตกับผู้รับบริการ เช่น การเปลี่ยนอัตราค่าบริการผู้รับใบอนุญาตต้องสำเนาสัญญาที่แก้ไขแล้วนั้นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่ ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติ ดังนี้ (๑) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๘ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินการตามใบอนุญาต (๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ยื่นไว้ตามข้อ ๒๑ (๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อ ๒๔ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบ ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตหากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ จะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๕ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน ข้อ ๒๖ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ ๔ ข้อ ๒๗ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กส. ๔ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กส. ๔ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญแล้วแต่กรณีพร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๙ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วยและให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่าเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือ ชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๓๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ หมวด ๔ แบบพิมพ์ ข้อ ๓๑ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ ๓ (๔) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ ๔ หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๒ กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้มีต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ว่าที่ร้อยตรี ชัชวาล พุทธแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดยาลวน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล (แบบ ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล (แบบ ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล (แบบ ๓) ๕. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล (แบบ ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๗๐/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,182
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำและนายอำเภอสิรินธร จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบล เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดู หรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่ เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือบริโภคในครัวเรือน (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการเกี่ยวกับการอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยาเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการเกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้าง โลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรือัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรือุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการเพื่อสุขภาพ ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ยกเว้นกิจการใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการเกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรือการอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการใน (๑๑.๑) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการเกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่ง สารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของสาธารณสุข (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบ ไม่ซึมไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือที่อยู่อาศัยใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครก หรือทำการกำจัด น้ำโสโครก ไขมัน ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลหรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง ข้อกำหนดดังกล่าว ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) ต้องให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ (๘) ต้องมีที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอันได้ลักษณะจำนวนเพียงพอ (๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น และต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ ที่ขัง และปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอจะต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่ เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บุญมี พิกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฝางคำ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ ๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๕. รายการเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๙๗/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,183
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยแห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักและนายอำเภอสวี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึง ผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสักเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ช้าง (๒) ม้า (๓) โค หรือ วัว (๔) กระบือ (๕) สุกร (๖) แพะ (๗) แกะ (๘) ห่าน (๙) เป็ด (๑๐) ไก่ (๑๑) สุนัข (๑๒) แมว (๑๓) งู (๑๔) กระเข้ (๑๕) นก เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจกำหนดประเภทและชนิดของสัตว์ที่ต้องการควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงเฉพาะในเขตท้องที่หนึ่งหรือเต็มพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ข้อ ๖ นอกจากสัตว์เลี้ยงตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะและมีระบบบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) กำจัดซากและมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่นควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงให้สถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงสัตว์ และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ในสถานที่ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดห้าม และปฏิบัติอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงาน ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุควรสงสัยว่า สัตว์เลี้ยงนั้นเป็นโรคอันอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพของบุคคลทั่วไป ให้เจ้าของสัตว์กักสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้งานสาธารณสุข สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักทราบโดยทันที และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ข้อ ๘ เจ้าของสัตว์จะต้องควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น ข้อ ๙ เมื่อข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ห้ามให้ผู้ใดปล่อยสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ประกาศห้ามขององค์กรบริหารส่วนตำบลนาสัก ข้อ ๑๐ เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนปล่อยสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่กำหนดห้ามตามข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจจับสัตว์นั้นไป กัก ขัง ไว้ในสถานที่กักสัตว์ ขังสัตว์ หรือสถานที่อื่นใดที่เห็นสมควร ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท ข้อ ๑๑ เมื่อได้จับและนำสัตว์มากัก ขัง ไว้เป็นพาหนะ หรือสัตว์ที่กฎหมายกำหนดให้มีตั๋วรูปสัตว์คืนจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้ไปประกอบ คือ (๑) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับสัตว์คืน (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับสัตว์คืน (๓) ตั๋วรูปพรรณ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่ หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืน ข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อย ๓๐ วัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด และค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสักตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการที่สัตว์ซึ่งจับมากักหรือขังไว้ต้องตายลงระหว่างรอการรอรับสัตว์คืนไม่ว่าจะเป็นการตายลงโดยปกติหรือเป็นเพราะสาเหตุสุดวิสัย ผู้เป็นเจ้าของสัตว์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าชดเชยใด ๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น และซากสัตว์นั้นหลังจากผ่านการตรวจพิสูจน์ซากแล้ว ให้ทำลายนำออกจำหน่ายหรือใช้ให้เป็นประโยชน์ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสักในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสักเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุจิตรา อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๗/๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐
54,184
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพและนายอำเภอชุมแพ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” หมายถึง สถานที่ที่ทำการผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวด หรือใส่ภาชนะต่าง ๆ โดยมีการจ่ายเงินเป็นค่าน้ำบริโภค ณ สถานที่ผลิตน้ำ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง พนักงานส่วนตำบลที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติงานตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ เป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ข้อ ๕ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๔ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพกำหนด ข้อ ๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ประกอบกิจการค้านั้น ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ตั้ง สถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้น้ำดื่มเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย โดย (๑.๑) ต้องอยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีฝุ่นมาก แหล่งระบายน้ำเสีย แหล่งขยะมูลฝอย (๑.๒) ต้องเป็นสถานที่ที่ไม่มีแหล่งแมลงและสัตว์พาหะนำโรค (๑.๓) บริเวณพื้นที่ตั้งตู้น้ำไม่เฉอะแฉะ สกปรกและมีการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะ (๑.๔) การติดตั้งตู้ต้องยกระดับสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๐ เซนติเมตร (๑.๕) จัดให้มีอุปกรณ์เพียงพอและมีความสูงตามความเหมาะสมสำหรับวางภาชนะบรรจุน้ำ (๒) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณลักษณะน้ำ (๒.๑) ตู้น้ำและอุปกรณ์ ต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒.๒) ตู้น้ำจะต้องมีความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและไม่รั่วซึม รวมทั้งสามารถ ทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายได้ง่าย (๒.๓) หัวจ่ายน้ำและส่วนที่สัมผัสน้ำต้องทำจากวัสดุที่ใช้กับอาหารเท่านั้น และหัวจ่ายน้ำต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๓) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำ (๓.๑) แหล่งน้ำที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพดี เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล (๓.๒) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการผลิตน้ำเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเอง ต้องมีระบบการตรวจสอบ การควบคุมและการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผลิตให้มีคุณภาพดี (๓.๓) มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามความจำเป็นของคุณภาพแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้น้ำบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (๓.๔) มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำเป็นไปตามมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (๔) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภค (๔.๑) มีการเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย อย่างน้อย ๑ ครั้ง/ปี (๔.๒) มีการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านแบคทีเรียโดยใช้ชุดตรวจวัด อย่างง่ายในภาคสนาม อย่างน้อย ๑ ครั้ง/เดือน (๕) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด (๕.๑) มีการทำความสะอาดสถานที่ บริเวณที่ตั้งของตู้น้ำเป็นประจำ (๕.๒) มีการทำความสะอาดพื้นผิวตู้ ช่องระบายน้ำและหัวจ่ายน้ำเป็นประจำวัน (๕.๓) ล้างทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในตู้อย่างน้อย ๑ ครั้ง/เดือน (๕.๔) ล้างทำความสะอาดและเปลี่ยนวัสดุกรองตามระยะเวลาข้อแนะนำ ของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด หรือก่อนหน้านั้นหากพบผลการตรวจผิดปกติเกินมาตรฐาน (๖) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบันทึกและการรายงาน จัดทำระบบข้อมูลและการรายงานอย่างน้อยดังนี้ (๖.๑) บันทึกการปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำและการดูแลบำรุงรักษา ตามตารางแผนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ (๖.๒) รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๖.๓) จัดให้มีสัญลักษณ์แสดงคุณภาพน้ำบริโภคได้มาตรฐานหรือปรับปรุงต่อผู้บริโภคอย่างเปิดเผยเป็นประจำวัน ข้อ ๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติตามความในข้อ ๗ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ให้ออกใบอนุญาต ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาต และชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะในข้อ ๗ ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขโดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปตามข้อ ๑๐ ได้ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ข้อ ๑๔ การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้ จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๖ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่ในวันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญแล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต ตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๘ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมาย จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขโดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๐ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๑ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๗ หรือข้อ ๑๙ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๒๑ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทศพร เสิกภูเขียว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๔๗/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,185
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๕๔ และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาและนายอำเภอสทิงพระ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม แต่ไม่รวมถึง ยา วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมาย สำหรับใช้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมทั้งวัตถุ เจือปนอาหารสี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงสำเร็จ และจำหน่ายให้กับผู้ซื้อสามารถบริโภคทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่าย โดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุง เพื่อบริโภคภายหลัง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ หรือใช้สัญจรได้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะและหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุง พลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนนตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้วหรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณที่จัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และหรือพนักงานส่วนตำบลซึ่งได้รับการแต่งตั้งเพื่อให้ปฏิบัติการตามกฎหมาย ข้อ ๔ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น สถานที่ดังกล่าวตามวรรคหนึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๕ ความในข้อ ๔ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ ข้อ ๖ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดไว้ใน (๑.๑) - (๑.๖) (๒.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงากำหนด (๒.๕) จัดให้มีบริเวณที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒.๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ข้อ ๗ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับมอบการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้ และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย และรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ข้อ ๘ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ รักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนบุคคล ของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร ผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) วางเก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาดถูกสุขลักษณะ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์ นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหาร รวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษา เครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะ สามารถป้องกัน สิ่งปนเปื้อนได้และห้ามนำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่หรือเก็บรวมกันไว้ด้วย (๔) การทุบ การบดน้ำแข็งต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะ และสะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันมิให้เสียงเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดโดยวิธีผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีนํ้าสะอาดไว้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ข้อ ๙ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๑๐ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับรองการแจ้งต้องไม่เป็นโรคติดต่อและไม่จ้างหรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อ จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารตามแบบ สอ. ๑ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงากำหนด ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรให้ยื่นคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๒ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงากำหนด ข้อ ๑๒ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตหรือคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งแล้ว ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้ออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตามแบบ สอ. ๓ ท้ายข้อบัญญัตินี้ หรือหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๔ ท้ายข้อบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ผู้ใดรับอนุญาตหรือผู้ได้รับการรับรองการแจ้งต้องมารับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๓ เมื่อผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารตามแบบ สอ. ๖ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อพนักงานท้องถิ่น ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ใดมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๔ ผู้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นประจำทุกปีตลอดระยะเวลาดำเนินกิจการนั้น โดยยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปีตามแบบ สอ. ๕ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงากำหนด และให้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนครบรอบในแต่ละปี ผู้ใดมิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ข้อ ๑๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้งไม่ประสงค์จะประกอบการต่อไป ให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการตามแบบ สอ. ๗ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๗ หากผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับรองการแจ้งประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ยื่นคำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๘ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๘ หากปรากฏว่าใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง สูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี จะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๙ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๑๙ การออกใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้ตามแบบ สอ. ๑๐ ท้ายข้อบัญญัตินี้ หรือการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้ตามแบบ สอ. ๑๑ ท้ายข้อบัญญัตินี้ โดยประทับตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม หรือต้นขั้วหนังสือรับรองการแจ้งเดิมระบุสาเหตุการสูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปีของใบแทน ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องแสดงใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๑ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๑ (๒) คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๒ (๓) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๓ (๔) หนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ สอ. ๔ (๕) คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปีให้ใช้แบบ สอ. ๕ (๖) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่สะสมอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๖ (๗) คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการให้ใช้แบบ สอ. ๗ (๘) คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ สอ. ๘ (๙) คำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ สอ. ๙ (๑๐) ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๑๐ (๑๑) ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๑๑ ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน กรณีถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๓ ผู้ดำเนินกิจการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๔ และเคยได้รับโทษตามข้อบัญญัตินี้เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งขอหนังสือรับรองการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง หากยังปฏิบัติฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไปให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินการดังกล่าวหยุดดำเนินกิจการไว้ จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งขอหนังสือรับรองการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๔ ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามดำเนินกิจการนั้นไว้ตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสองปี ผู้ใดปฏิบัติตามที่กล่าวในวรรคหนึ่งจำต้องเสียค่าปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เมื่อได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเปรียบเทียบปรับกำหนดให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๔ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๖ ข้อ ๗ หรือข้อ ๙ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๑๘ หรือข้อ ๒๐ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามข้อ ๒๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สุธรรม ไชยแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑) ๓. แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒) ๔. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓) ๕. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๔) ๖. คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปี (แบบ สอ. ๕) ๗. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๖) ๘. คำขอบอกเลิกการดำเนินการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๗) ๙. คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง (แบบ สอ. ๘) ๑๐. คำขอใบแทนอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง (แบบ สอ. ๙) ๑๑. ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๐) ๑๒. ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๒๘/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,186
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาและนายอำเภอสทิงพระ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.๒๕๔๙ ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลการทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา (๕.๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๕.๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๕.๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๕.๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๕.๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๕.๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๕.๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๕.๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕.๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๕.๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๕.๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๕.๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๕.๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๕.๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๕.๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมักดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๕.๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้มตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕.๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๕.๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๕.๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๕.๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๕.๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๕.๓.๑๐) การผลิต สะสม หรืออแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสมผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๕.๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๕.๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๕.๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๕.๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๕.๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๕.๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๕.๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๕.๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๕.๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๕.๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๕.๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๕.๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๕.๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๕.๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๕.๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๕.๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๕.๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๕.๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๕.๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕.๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕.๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๕.๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๕.๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๕.๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๖.๑) (๕.๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วย เครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๖.๑) (๕.๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๖.๑) (๕.๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๖.๑) (๕.๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๕.๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๕.๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๕.๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๕.๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๕.๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕.๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๕.๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๕.๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๕.๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๕.๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๕.๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๕.๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๕.๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๕.๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้หวาย ชานอ้อย (๕.๘.๔) การอบไม้ (๕.๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๕.๘.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๕.๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๕.๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๕.๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๕.๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕.๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๕.๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕.๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕.๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรมสถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๕.๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๕.๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๕.๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๙.๑) (๕.๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆในทำนองเดียวกัน (๕.๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๕.๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๕.๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๕.๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๕.๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๕.๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๕.๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๕.๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๕.๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๕.๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๕.๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๕.๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๕.๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๕.๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๕.๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๕.๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕.๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕.๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๕.๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๕.๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่นๆ (๕.๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๕.๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ (๕.๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๕.๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๕.๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้ง การขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๑๑.๒) (๕.๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๕.๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๕.๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๕.๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๕.๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๕.๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๕.๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๕.๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๖.๕) (๕.๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเลียม ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๕.๑๒.๑) การผลิต ผสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๕.๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๕.๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หรือการผลิตยางมะตอย (๕.๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕.๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๕.๗.๑) (๕.๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๕.๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๕.๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๕.๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๕.๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๕.๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๕.๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๕.๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๕.๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๕.๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๕.๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๕.๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๕.๑๓) กิจการอื่น ๆ (๕.๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๕.๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๕.๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๕.๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕.๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๕.๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๕.๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่ หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๕.๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๕.๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๕.๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๕.๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลงหรือสัตว์พาหะนำโรค (๕.๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๕.๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ต้องอยู่ในเขตกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานสถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนะของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๘.๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๘.๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๘.๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมีวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉินที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑๐.๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๑๐.๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๑๐.๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อยปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑๕.๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๑๕.๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ ในระหว่างที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังไม่กำหนดมาตรฐานมลพิษด้านต่าง ๆ สำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาเลือกนำค่ามาตรฐานด้านมลพิษตามกฎมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ในข้อบัญญัตินี้โดยอนุโลม ข้อ ๑๘ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องการมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑๙.๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๑๙.๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๑๙.๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๑๙.๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงากำหนด ข้อ ๒๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ครอบคลุมทั้งด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมด้านสาธารณสุขและด้านความปลอดภัย ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ บรรดาใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริการส่วนตำบลกระดังงา ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่รับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๒๗.๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒๗.๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตอีก (๒๙.๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒๙.๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๙.๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัติหรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันเปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๔ ให้ถือว่าคำขออนุญาตตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ค้างการพิจารณาอยู่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นคำขออนุญาตตามข้อบัญญัติท้องถิ่นใหม่ที่ยื่นไว้ตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๕ ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการรายใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตราย พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุหรือถูกเพิกถอนตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงาเป็นผู้รักษาการให้เป็นตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจ ตีความ วินิจฉัย ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สุธรรม ไชยแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต/ขอรับใบแทนใบอนุญาต/คำขอแจ้งเลิก/คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลงขยายหรือลด ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ ๔. รายการต่ออายุใบอนุญาตและการเสียค่าธรรมเนียม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๑๒/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,187
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหาร ส่วนตำบลศรีฐานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานและนายอำเภอภูกระดึง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรดากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหรือลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามความในมาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้นแล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมทั้งวัตถุเจือปน อาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือที่สาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหาร หรือปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่าอาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้วหรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณที่จัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๔ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่อยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานกำหนด (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานกำหนด (๑.๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานกำหนด (๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดใน (๑.๑) – (๑.๖) (๒.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานกำหนด (๒.๕) จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒.๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๘ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๙ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานมีอำนาจผ่อนผันให้ผู้ขอรับใบอนุญาตผู้ขอหนังสือรับรองการแจ้ง งดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ และข้อ ๗ เพียงเท่าที่เห็นสมควรหรือจะเปลี่ยนแปลงอย่างใดเพื่อให้เหมาะสมแก่กิจการซึ่งให้ควบคุมนั้น ทั้งนี้ การผ่อนผันนั้นต้องไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนถึงสุขภาพอนามัยของประชาชน ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาคาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของอื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนตัวของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) วาง เก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาด ถูกสุขลักษณะรวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้อยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ใช้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้ และห้ามนำอาหารหรือของสิ่งใดแช่หรือเก็บรวบรวมไว้ด้วยกัน (๔) การทุบ บดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันมิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหาร หรือน้ำแข็ง โดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องไม่เป็นโรคติดต่อ และไม่จ้างหรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อ จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร ข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารซึ่งมีพื้นที่เกิน สองร้อยตารางเมตรให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ พร้อมหลักฐานต่าง ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานกำหนด ในกรณีที่สถานที่ตามวรรคหนึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบพร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งก่อนจัดตั้ง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่แก่ผู้แจ้งตามแบบเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ตามที่ขอ ข้อ ๑๔ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตหรือการแจ้งแล้วปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ หรือออกหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ แล้วแต่กรณี ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนด สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้แจ้ง ผู้แทน หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาต หรือแจ้งแล้วแต่กรณี ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว การแจ้งความตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้แจ้งผู้แทน หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งแล้วแต่กรณีทราบในกรณีไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือ ให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานทำการของผู้รับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึง หรือวันเปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต หรือขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสิ้นอายุ ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตหรือใบรับรองการแจ้งให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือวันที่ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๑๗ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งไม่ประสงค์จะประกอบการต่อไป ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด ข้อ ๑๘ หากผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด ข้อ ๑๙ หากปรากฏว่าใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งแล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำขอต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดเพื่อขอใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจกรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๐ การออกใบแทนใบอนุญาต ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งใหม่ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ แล้วแต่กรณีโดยประทับตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทน และต้นขั้วใบแทน (๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม แล้วแต่กรณี และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๒๑ แบบพิมพ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ประกาศกำหนด ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาต หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือจัดตั้งสถานที่สะสมอาหารรายใดไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้จะต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งอื่นใด เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ครรชิต พันสนิท นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑) ๓. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒) ๔. ใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓) ๕. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (แบบ สอ. ๔) ๖. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๕) ๗. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (แบบ สอ. ๖) ๘. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๗) ๙. คำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๘) ๑๐. คำขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ สอ. ๘) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๒๘/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,188
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องและนายอำเภอเมืองสกลนคร จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่ หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอย ที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคาร หรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำ ในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลโคกก่องประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนายความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ปกรณ์ยศ พิมพ์มีลาย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๔๗/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,189
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2558
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหาร ส่วนตำบลชิงโคโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโคและนายอำเภอสิงหนคร จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโคตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่บริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และความหมายรวมถึงสิ่งอื่นใดที่เป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๔ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๕ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๖ ผู้ขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ซึ่งขอรับใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้ง ผู้จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง หรือเก็บสะสมอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบัญญัติ เงื่อนไข ประกาศ คำสั่งที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลชิงโคประกาศกำหนด ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ที่กำหนดไว้ ในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๙ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่อใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง การอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๑ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลชิงโคเท่านั้น การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับ เสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชน ข้อ ๑๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๑ ผู้ใดประสงค์จะขอตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้ง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) ใบรับรองแพทย์ของผู้ประกอบการ (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลชิงโคกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแจ้งแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในสิบห้าวันทำการนับแต่ที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลชิงโคกำหนดไว้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรอง การแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๔ เมื่อผู้แจ้งตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๘ ประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินการให้บุคคลอื่นให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ผู้ดำเนินการใดดำเนินการกิจการตามที่ระบุไว้ในบัญญัตินี้ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๘ และเคยได้รับตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้ง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแสดงครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการจนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๘ ถ้ายังฝ่าฝืนอีก ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๖ การแจ้งของพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งหรือผู้ดำเนินการทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่ง โดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้โดยเปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือ และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโคเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อุทัย สุวรรณมณี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ๓. ใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายหรือสถานที่สะสมอาหาร ๔. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร ๕. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๗๔/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,190
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง ว่าด้วยการควบคุม การประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทองโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง และนายอำเภอแสวงหา จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทองตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” หมายถึง สถานที่ที่ทำการผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวด หรือใส่ภาชนะต่าง ๆ โดยมีการจ่ายเงินเป็นค่าน้ำบริโภค ณ สถานที่ผลิตน้ำ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง พนักงานส่วนตำบลที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ปฏิบัติงานตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ ให้การประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ เป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง ข้อ ๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทองในลักษณะที่เป็นการค้าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทองประกาศกำหนด ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ตั้งน้ำดื่มต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้น้ำดื่มเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย (๑.๑) ต้องอยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีฝุ่นมาก แหล่งระบายน้ำเสีย แหล่งขยะมูลฝอย (๑.๒) ต้องเป็นสถานที่ที่ไม่มีแหล่งแมลงและสัตว์พาหะนำโรค (๑.๓) บริเวณพื้นที่ตั้งตู้น้ำไม่เฉอะแฉะ สกปรกและมีการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะ (๑.๔) การติดตั้งตู้น้ำต้องยกระดับสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๐ เซนติเมตร (๑.๕) จัดให้มีอุปกรณ์เพียงพอและมีความสูงตามความเหมาะสมสำหรับวางภาชนะบรรจุน้ำ (๒) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณลักษณะตู้น้ำ (๒.๑) ตู้น้ำและอุปกรณ์ ต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒.๒) ตู้น้ำจะต้องมีความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและไม่รั่วซึม รวมทั้งสามารถ ทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายได้ง่าย (๒.๓) หัวจ่ายน้ำและส่วนที่สัมผัสน้ำต้องทำจากวัสดุที่ใช้กับอาหารเท่านั้น และหัวจ่ายน้ำต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๓) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำ (๓.๑) แหล่งน้ำที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพดี เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล (๓.๒) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการผลิตน้ำเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเอง ต้องมีระบบการตรวจสอบ การควบคุมและการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผลิตให้มีคุณภาพดี (๓.๓) มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามความจำเป็นของคุณภาพแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้น้ำบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (๓.๔) มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำเป็นไปตามมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (๔) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภค (๔.๑) มีการเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรียอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อปี (๔.๒) มีการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านแบคทีเรียโดยใช้ชุดตรวจวัดอย่างง่ายในภาคสนามอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อเดือน (๕) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด (๕.๑) มีการทำความสะอาดสถานที่ บริเวณที่ตั้งของตู้น้ำเป็นประจำ (๕.๒) มีการทำความสะอาดพื้นผิวตู้ ช่องระบายน้ำและหัวจ่ายน้ำเป็นประจำวัน (๕.๓) ล้างทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในตู้อย่างน้อย ๑ ครั้งต่อเดือน (๕.๔) ล้างทำความสะอาดและเปลี่ยนวัสดุกรองตามระยะเวลาข้อแนะนำของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด หรือก่อนหน้านั้นหากพบผลการตรวจผิดปกติเกินมาตรฐาน (๖) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบันทึกและการรายงานจัดทำระบบข้อมูลและการรายงานอย่างน้อยดังนี้ (๖.๑) บันทึกการปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำและการดูแลบำรุงรักษาตามตารางแผนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ (๖.๒) รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๖.๓) จัดให้มีสัญลักษณ์แสดงคุณภาพน้ำบริโภคได้มาตรฐานหรือปรับปรุงต่อผู้บริโภคอย่างเปิดเผยเป็นประจำวัน ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติตามความ ในข้อ ๘ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ก็ให้ออกใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตรา ท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้ มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธ์ ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขโดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน เพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปตามข้อ ๘ ได้ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง ข้อ ๑๔ การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้ จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๖ หากผู้รับใบอนุญาต ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่ในวันที่ได้รับทราบถึง การสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๑๘ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบแทนใบอนุญาตให้ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลง เล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติ ไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขโดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ สั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๘ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๑๑ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๑๗ หรือข้อ ๑๙ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตตามข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษ ตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ผู้ใดประกอบกิจการตู้น้ำหยอดเหรียญอยู่ก่อนข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้นั้นดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ มีผลบังคับใช้ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามข้อบัญญัตินี้มีโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทองมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ กิตติ์ บุญประสพ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ๕. รายการเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๕๐/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,191
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง การกำจัด สิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานตั้งแต่ถัดจาก วันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูล และขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้าราชการ พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานหรือผู้ที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานแต่งตั้งหรือมอบหมาย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ การเก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานอาจมอบให้บุคคลใด ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้ ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๖ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ในที่หรือทางสาธารณะเป็นต้นว่า ถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานจัดตั้งไว้ให้โดยเฉพาะ ข้อ ๗ ห้ามผู้ใด นำสิ่งปฏิกูลไปในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิด ไม่ให้สิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก ข้อ ๘ ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง ขน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยในถังรับ รถขน เรือขน สถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดทำการขน ถ่าย เท คุ้ย เขี่ยหรือขุดมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขน สถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เว้นแต่เป็น การกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูล และขยะมูลฝอยในอาคารหรือสถานที่นั้น ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ข้อ ๑๑ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็นออกมาข้างนอก และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วมีฝามิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้ตามแบบซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ ข้อ ๑๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคาร หรือสถานที่นั้น ไม่ให้มีการถ่าย เท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๓ ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล และขยะมูลฝอย อันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๔ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ควรทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ไปทำการกำจัดให้ต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน หรือเมื่อได้ทำการประกาศไว้ในที่เปิดเผย กำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยไม่น้อยกว่า ๓ แห่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วันนับแต่วันประกาศแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณใด ๆ จะต้องให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บ ขน สิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยจากอาคาร สถานที่ หรือบริเวณนั้น ๆ ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอยู่โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บ ขน อัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บขนสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยตามข้อ ๑๔ ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการเผา ฝัง หรือโดยวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๖ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการ เก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ยื่นคำขอใบอนุญาตตามแบบ สม. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานกำหนด ข้อ ๑๘ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการรับทำการ เก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานกำหนด ข้อ ๑๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับใบอนุญาต ให้ตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของคำขอ หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ออกใบอนุญาตตามแบบ สม.๒ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตรา ท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้ มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ ในการให้บริการตามใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ กับผู้รับบริการทุกราย โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุอัตราค่าบริการ ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบในกรณีผิดสัญญาโดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนด ๓๐ วันก่อนวันที่เริ่มการให้บริการ ทั้งนี้ อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการชั้นสูงท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๒ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใดจะต้องทำเป็นหนังสือ แจ้งพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนด ๓๐ วัน ก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่ ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๘ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต (๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๒๑ (๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๒๔ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๕ ใบอนุญาตให้มีอายุ ๑ ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๒๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ข้อ ๒๗ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔ ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญแล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๙ การออกใบแทน ใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สม. ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๓๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๑ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล และขยะมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๓ (๔) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สม. ๔ ข้อ ๓๒ กรณีปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้คราวหนึ่งไม่เกิน ๑๕ วัน กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไป และมีเหตุจะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ หรือข้อ ๒๔ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๒๙ หรือข้อ ๓๑ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๖ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๓๓ มีความผิดตามมาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อหนึ่งข้อใดต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เว้นแต่การฝ่าฝืนนั้นต้องด้วยความในข้อ ๓๔ ข้อ ๓๕ ข้อ ๓๖ และข้อ ๓๗ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ข้อ ๓๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ครรชิต พันสนิท นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย (แบบ สม. ๑) ๓. ใบอนุญาตให้รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย (แบบ สม. ๒) ๔. รายการต่ออายุใบอนุญาตให้รับทำการ เก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ๕. คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้รับทำการ เก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย (แบบ สม. ๓) ๖. คำขออนุญาตการต่าง ๆ (แบบ สม. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๒๑/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,192
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานและนายอำเภอภูกระดึง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” หมายความว่า กิจการที่มีกระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีการผลิต กิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ หรือกิจการเกี่ยวกับการบริการ ที่ก่อให้เกิดมลพิษหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ทางดิน ทางเสียง แสง ความร้อน ความสั่นสะเทือน รังสี ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า เป็นต้น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า ข้อ ๕ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ๕.๑ กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ๕.๑.๑ การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง ๕.๑.๒ การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม ๕.๑.๓ การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อทำให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อทำประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๕.๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ ๕.๒.๑ การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๒.๒ การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก ๕.๒.๓ การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป ๕.๒.๔ การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ ๕.๒.๕ การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขายและการขายในตลาด ๕.๒.๖ การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ ๕.๒.๗ การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสมหรือการกระทำอื่นต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ๕.๒.๘ การสะสมหรือการล้างครั่ง ๕.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ๕.๓.๑ การผลิตเนย เนยเทียม ๕.๓.๒ การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๓ การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๔ การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๕ การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๖ การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๗ การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ ๕.๓.๘ การผลิตแบะแซ ๕.๓.๙ การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ๕.๓.๑๐ การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ๕.๓.๑๑ การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๑๒ การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋องขวดหรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๑๓ การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล ๕.๓.๑๔ การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว ๕.๓.๑๕ การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู ๕.๓.๑๖ การคั่วกาแฟ ๕.๓.๑๗ การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร ๕.๓.๑๘ การผลิตผงชูรส ๕.๓.๑๙ การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค ๕.๓.๒๐ การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๒๑ การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ ๕.๓.๒๒ การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๒๓ การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึง ๕.๓.๒๔ การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร ๕.๓.๒๕ การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๕.๓.๒๖ การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงขึ้นไป ๕.๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง ๕.๔.๑ การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร ๕.๔.๒ การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ ๕.๔.๓ การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี ๕.๔.๔ การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ๕.๔.๕ การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ ๕.๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร ๕.๕.๑ การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช ๕.๕.๒ การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ ๕.๕.๓ การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร ๕.๕.๔ การสีข้าวด้วยเครื่องจักร ๕.๕.๕ การผลิตยาสูบ ๕.๕.๖ การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร ๕.๕.๗ การผลิต การสะสมปุ๋ย ๕.๕.๘ การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร ๕.๕.๙ การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง ๕.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ ๕.๖.๑ การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ๕.๖.๒ การหลอม การหล่อ การถลุง แร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๕.๖.๑ ๕.๖.๓ การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะ ด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖.๑ ๕.๖.๔ การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๕.๖.๑ ๕.๖.๕ การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖.๑ ๕.๖.๖ การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่ ๕.๗ กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ๕.๗.๑ การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ ๕.๗.๒ การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ๕.๗.๓ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย ๕.๗.๔ การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ ๕.๗.๕ การผลิต การซ่อม การผลิตแบตเตอรี่ ๕.๗.๖ การปะ การเชื่อมยาง ๕.๗.๗ การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ ๕.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้ ๕.๘.๑ การผลิตไม้ขีดไฟ ๕.๘.๒ การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร ๕.๘.๓ การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย ๕.๘.๔ การอบไม้ ๕.๘.๕ การผลิตธูป ด้วยเครื่องจักร ๕.๘.๖ การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ ๕.๘.๗ การผลิตกระดาษต่าง ๆ ๕.๘.๘ การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน ๕.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ ๕.๙.๑ การประกอบกิจการอาบ อบ นวด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙.๑ หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ๕.๙.๒ การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙.๑ หรือในสถานพยาบาลว่าด้วยสถานพยาบาล ๕.๙.๓ การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน ๕.๙.๔ การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน ๕.๙.๕ การประกอบกิจการโรงมหรสพ ๕.๙.๖ การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙.๑ ๕.๙.๗ การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙.๑ ๕.๙.๘ การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่นในทำนองเดียวกัน ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙.๑ ๕.๙.๙ การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ๕.๙.๑๐ การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการ ให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙.๑ หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ๕.๙.๑๑ การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม ๕.๙.๑๒ การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ๕.๙.๑๓ การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ๕.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ ๕.๑๐.๑ การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป ๕.๑๐.๒ การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น ๕.๑๐.๓ การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร ๕.๑๐.๔ การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร ๕.๑๐.๕ การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป ๕.๑๐.๖ การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ ๕.๑๐.๗ การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร ๕.๑๐.๘ การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๕.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๕.๑๑.๑ การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์เผา ๕.๑๑.๒ การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร ๕.๑๑.๓ การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๕.๑๑.๔ การสะสม การผสมซีเมนต์ ดิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๕.๑๑.๕ การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๕.๑๑.๖ การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ ๕.๑๑.๗ การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน ๕.๑๑.๘ การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น ๕๑๑.๙ การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว ๕.๑๑.๑๐ การผลิตกระดาษทราย ๕.๑๑.๑๑ การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว ๕.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี ๕.๑๒.๑ การผลิต การสะสม การบรรจุ การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย ๕.๑๒.๒ การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซการผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ ๕.๑๒.๓ การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก ๕.๑๒.๔ การพ่นสี ๕.๑๒.๕ การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๕.๑๒.๖ การโม่ การบดชัน ๕.๑๒.๗ การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี ๕.๑๒.๘ การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ ๕.๑๒.๙ การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๕.๑๒.๑๐ การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๕.๑๒.๑๑ การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง ๕.๑๒.๑๒ การผลิตน้ำแข็งแห้ง ๕.๑๒.๑๓ การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง ๕.๑๒.๑๔ การผลิตสารออกซิไดซ์หรือสารเคลือบเงา ๕.๑๒.๑๕ การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค ๕.๑๒.๑๖ การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว ๕.๑๓ กิจการอื่น ๆ ๕.๑๓.๑ การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร ๕.๑๓.๒ การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ๕.๑๓.๓ การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๕.๑๓.๔ การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร ๕.๑๓.๕ การสะสมวัตถุหรือสิ่งของชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ ๕.๑๓.๖ การประกอบกิจการโกดังสินค้า ๕.๑๓.๗ การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว ๕.๑๓.๘ การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ ๕.๑๓.๙ การก่อสร้าง ข้อ ๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดประกอบกิจการตามประเภทที่ต้องควบคุมที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์ประกอบกิจการตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบพร้อมกับหลักฐานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานกำหนด ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการตามข้อ ๕ ทั้งที่เป็นการค้าและไม่เป็นการค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้ ๘.๑ สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม ไม่มีน้ำท่วมขังและสามารถระบายน้ำออกได้โดยสะดวก ๘.๒ ต้องจัดทำรางระบาย หรือบ่อรับน้ำซึ่งรับน้ำเสียด้วยวัตถุถาวรมีลักษณะเรียบไม่ซึม ไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก ๘.๓ การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง ๘.๔ จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ๘.๕ จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ ๘.๖ จัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๘.๗ จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ และจัดสถานที่มิให้เป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค ๘.๘ จัดให้มีส้วมที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น และต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ๘.๙ ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้ออกใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาต พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียม ตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้มารับหรือชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ ข้อ ๑๑ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ ๑๑.๑ รักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอถ้าวัตถุดิบแห่งกิจการนั้นจะใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้น ให้พ้นจากฝุ่นละอองและสัตว์พาหะนำโรค ๑๑.๒ ประกอบกิจการภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาต ๑๑.๓ ปฏิบัติและจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการนั้นให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ๑๑.๔ ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าตรวจสถานที่เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควร ๑๑.๕ ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ข้อ ๑๒ การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๓ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๔ ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณีพร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ๑๔.๑ เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย ๑๔.๒ ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๑๕ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ ๑๕.๑ การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดง “ใบแทน” กำกับไว้ด้วยและให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน ๑๕.๒ ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น ๑๕.๓ บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๑๖ ให้ใช้แบบพิมพ์ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการรายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่แก้ไขหรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่สมควร ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการรายใดถูกพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีกหรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่งก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ครรชิต พันสนิท นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำรับใบอนุญาต (แบบ กอ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒) ๔. รายการการต่อใบอนุญาตและการเสียค่าธรรมเนียม ๕. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ กอ. ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๘/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,193
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้กโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้กและนายอำเภอวาปีปทุม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้กนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก หรือผู้ที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานสาธารณสุขที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก “สัตว์” หมายความว่า สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่คนสามารถนำมาเลี้ยงได้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแล เอาใจใส่ บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณเพื่อให้สัตว์นั้นเจริญเติบโตและมีชีวิตอยู่ได้ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือที่เลี้ยงสัตว์อื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ไม่ว่าจะมีขอบรั้วหรือไม่ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ (๑) การเลี้ยงสัตว์และปล่อยสัตว์ของทางราชการ (๒) การเลี้ยงสัตว์ของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ช้าง (๑๒) ไก่ (๒) ม้า (๑๓) สุนัข (๓) ลา ล่อ (๑๔) แมว (๔) โค (๑๕) งู (๕) กระบือ (๑๖) จระเข้ (๖) สุกร (๑๗) นก (๗) แพะ (๑๘) ปลา (๘) กบ (๑๙) กระต่าย (๙) กวาง (๒๐) หนู (๑๐) ห่าน (๒๑) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวน (๑๑) เป็ด และคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ (๒๒) สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคหรือมีผลกระทบต่อ สุขภาพอนามัยหรือเป็นอันตรายต่อประชาชน ข้อ ๗ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิด จากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึง ตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก ข้อ ๘ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าสัตว์ที่เลี้ยงนั้นเป็นโรค อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลทั่วไป ให้เจ้าของสัตว์แยกหรือกักสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทราบ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข พบสัตว์ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข มีอำนาจจับสัตว์และนำสัตว์ไปกักไว้ในที่สำหรับสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามสมควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วเก็บรักษาเงินไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้กตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ กรณีตามวรรคก่อน ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นต่อบุคคลที่สาม อันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าว บุคคลที่สามย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้กจะพิจารณาไล่เบี้ยความผิดตามข้อเท็จจริง ข้อ ๑๐ เมื่อได้จับสัตว์มากักไว้ตามความในข้อ ๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะปิดประกาศแจ้งให้เจ้าของทราบและให้มารับสัตว์คืนไปภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้จับสัตว์มากักไว้ โดยประกาศไว้ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก หรือที่เปิดเผย เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว ไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของ ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๒ กรณีการเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เอกชนหรือทางสาธารณะก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อื่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของสัตว์ หรือผู้ครอบครองสถานที่เลี้ยงสัตว์ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควร และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการ เพื่อป้องกันมิให้เหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งนั้น ข้อ ๑๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้กเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สมบัติ ปะโพทิง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก ภวรรณตรี/จัดทำ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๖๙/๒๘ เมษายน ๒๕๖๐
54,194
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร เรื่อง การเรียกเก็บค่าตอบแทนรายปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร เรื่อง การเรียกเก็บค่าตอบแทนรายปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๙ และมาตรา ๙/๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทรและนายอำเภอประโคนชัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร เรื่อง การเรียกเก็บค่าตอบแทนรายปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทรเมื่อได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทรแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ที่ดิน” หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไป และให้หมายความรวมไปถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย “ที่ดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร” หมายความว่า ที่ดินตามที่กำหนดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร “สิทธิในที่ดิน” หมายความว่า กรรมสิทธิ์ และให้หมายความรวมถึงสิทธิครอบครองด้วย “ใบไต่สวน” หมายความว่า หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนด และให้หมายความรวมถึงใบนำด้วย “ใบจอง” หมายความว่า หนังสือที่ราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน “โฉนดที่ดิน” หมายความว่า หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และให้หมายความรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และพนักงานส่วนตำบลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้ง “ผู้ชำระค่าตอบแทนรายปี” หมายความว่า ผู้ได้รับอนุญาตตามความในมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับอนุญาต ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ตามความในมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เสียค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทรดังนี้ ๕.๑ ผู้ได้รับอนุญาตตามความใน มาตรา ๙ (๑) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร ให้เสียค่าธรรมเนียม ไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท ๕.๒ ผู้ได้รับอนุญาตตามความใน มาตรา ๙ (๒) หรือ มาตรา ๙ (๓) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ให้เสียค่าตอบแทนในอัตรา ดังนี้ ๕.๒.๑ การขุด หรือ ดูดทราย ลูกบาศก์เมตรละ ๒๘ บาท ๕.๒.๒ การขุดดินหรือลูกรัง หรือ อื่น ๆ ไร่ละ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อปี หรือลูกบาศก์เมตรละ ๑๐ บาท อัตราค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร ออกประกาศตารางกำหนดราคาได้ตามความเหมาะสมแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ ข้อ ๖ ค่าตอบแทนเป็นรายปีให้ผู้ที่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เสียค่าตอบแทนเป็นรายปีให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ข้อ ๗ ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าตอบแทนเป็นรายปีให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทรรายใด ไม่ชำระค่าตอบแทนรายปีตามเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ ๑๐ บาท ของค่าตอบแทนรายปีสำหรับปีนั้น เงินเพิ่มให้ถือเป็นค่าตอบแทน ข้อ ๘ การชำระค่าตอบแทนรายปีนั้น ให้ถือว่าสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จที่พนักงานเจ้าหน้าที่ลงชื่อรับเงินแล้ว ข้อ ๙ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทรแบ่งค่าตอบแทนที่จัดเก็บได้ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในอัตราร้อยละสี่สิบของค่าตอบแทนที่ได้รับ ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ เพื่อเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และในกรณีที่ดินดังกล่าวไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ค่าตอบแทนที่ได้รับข้างต้น ตกเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทรทั้งหมด ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทรรักษาการตามข้อบัญญัตินี้และมีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฎิบัติตามข้อบัญญัติ ออกประกาศหรือมีคำสั่งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ประเชิด สุขกูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๖๘/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,195
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับและนายอำเภอศรีนคร จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศให้ประชาชนทราบโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับเป็นผู้รักษาการตามให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ “ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาดที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และให้หมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวด้วย “ผู้ได้รับมอบหมาย” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับให้ทำการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับให้ทำการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ หมวด ๒ การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ข้อ ๖ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะนอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับอนุญาตหรือจัดไว้ให้ ข้อ ๗ ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๘ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท หรือระบายสิ่งปฏิกูลจากอาคาร หรือยานพาหนะในที่หรือทางสาธารณะ หรือทางระบายน้ำสาธารณะ ข้อ ๙ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง สิ่งปฏิกูลในที่รองรับมูลฝอย ข้อ ๑๐ ห้ามผู้ใด ปล่อยปละละเลยให้มีสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในที่ดินของตน หรือของบุคคลอื่นในสภาพที่ประชาชนอาจเห็นได้จากที่สาธารณะ ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ขน หรือเคลื่อนที่สิ่งปฏิกูลในถังรับ รถขน หรือเรือขน สถานที่ถ่ายเท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ เว้นแต่จะทำเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับได้มอบหมาย ข้อ ๑๓ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยในสถานที่ อาคาร หรือสถานที่ใดในครอบครองของตนและรักษาความสะอาดบริเวณอาคารหรือสถานที่ของตนให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ ภาชนะตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่รั่วไหลและมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงวันและสัตว์อื่น ๆ ได้ ทั้งต้องเป็นไปตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ หมวด ๓ ค่าธรรมเนียม ข้อ ๑๔ เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับได้ดำเนินการเอง หรือได้มอบหมายหรือได้ออกใบอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย บุคคลผู้เป็นเจ้าของอาคารในเขตที่มีการดำเนินการดังกล่าว มีหน้าที่ต้องเสียค่าบริการในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในอัตราที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับกำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ซึ่งไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง อัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดตามความในวรรคแรกให้ทำเป็นประกาศด้วย ข้อ ๑๕ ค่าบริการในการดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยให้ชำระดังนี้ (๑) กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับเป็นผู้ดำเนินการเอง หรือมอบหมายให้ผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการแทนให้ชำระให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ (๒) กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับออกใบอนุญาตให้ผู้อื่นเป็นผู้ดำเนินการให้ชำระแก่ผู้ได้รับใบอนุญาต หมวด ๔ กิจการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ข้อ ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับโดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเป็นผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ดำเนินการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยแทนองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับตามเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกัน ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับหรืออาจอนุญาตให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยกัน บทบัญญัติตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตรายและผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๗ ห้ามผู้ใดทำการขน คุ้ย เขี่ย หรือขุดมูลฝอยในที่รองรับ รถขน หรือเรือขน หรือสถานที่เทมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ เว้นแต่จะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๘ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ หรือสถานที่สาธารณะอื่นใด เป็นต้นว่า ถนน ซอย ตรอก บึง แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้จัดไว้โดยเฉพาะ ข้อ ๑๙ ผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินว่างเปล่าปล่อยให้มีมูลฝอยสะสมหมักหมมเป็นจำนวนมากจนก่อให้เกิดเหตุรำคาญเห็นได้จากที่สาธารณะจะต้องจัดเก็บ ขน ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในเวลาที่กำหนด เมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้วผู้ครอบครองสถานที่หรืออาคารจะต้องให้เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับทำการเก็บขนจากสถานที่ดังกล่าวซึ่งตนครอบครองและต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับโดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ให้คิดค่าบริการได้ไม่เกินอัตราที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับมอบหมายหรือผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานท้องถิ่น และผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขในใบอนุญาต ข้อบัญญัตินี้ กฎกระทรวง และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข หมวด ๕ การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับมอบหมายหรือผู้ได้รับใบอนุญาต ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลดังนี้ (๑) ผู้ได้รับมอบหมายหรือผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีพนักงานขับรถ พนักงานเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอ และเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒) รถที่ใช้ในการเก็บ และขนสิ่งปฏิกูลต้องมีลักษณะดังนี้ (๒.๑) ส่วนของรถที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลนั้นต้องปกปิดมิดชิด ไม่รั่วซึม สามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์พาหนะนำโรคได้ (๒.๒) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล ควรอยู่ในสภาพดี ไม่รั่วซึม (๒.๓) มีหนังสือมอบหมายหรือใบอนุญาตติดไว้ประจำรถเพื่อตรวจสอบ (๓) ต้องมีการทำความสะอาดรถที่ใช้เก็บ ขน สิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้งและน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดต้องไม่ปล่อยทิ้งให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้อื่น (๔) พนักงานผู้ทำการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้ายางหรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถป้องกันการสัมผัสกับสิ่งปฏิกูลได้ โดยให้ถูกต้องตามสุขลักษณะทุกครั้งที่ทำการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล (๕) ในการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องมีการดำเนินการที่ถูกสุขลักษณะไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและแหล่งกำจัดนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หมวด ๖ การเก็บ ขน กำจัดมูลฝอย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับมอบหมายหรือผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยดังนี้ (๑) ผู้ได้รับมอบหมายหรือได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีพนักงานขับรถ พนักงานเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อย่างพอเพียงและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย (๒) รถขนถ่ายมูลฝอยต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๒.๑) ส่วนของรถที่ใช้สำหรับใส่มูลฝอยนั้นต้องมีโครงสร้างที่สามารถป้องกันการปลิว การตกหล่น และการรั่วซึมของมูลฝอยในขณะทำการจัดเก็บและขนย้าย อีกทั้งป้องกันกลิ่นและสัตว์พาหะนำโรคได้ (๒.๒) มีหนังสือมอบหมายหรือใบอนุญาตติดไว้ประจำรถเพื่อตรวจสอบ (๓) พนักงานผู้ทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางและรองเท้ายางหรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถป้องกันการสัมผัสกับมูลฝอยได้โดยถูกต้องตามหลักสุขลักษณะทุกครั้งที่ทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย (๔) ต้องมีการทำความสะอาดรถที่ใช้ขนถ่ายมูลฝอย อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง และน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดต้องได้รับการบำบัดหรือจัดการด้วยประการอื่นก่อนปล่อยทิ้งโดยประการที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น (๕) ในการกำจัดมูลฝอยต้องมีการดำเนินที่ถูกหลักสุขลักษณะ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและแหล่งกำจัดนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๖) ให้ดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยที่อยู่ในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับโดยถือเป็นหน้าที่ของผู้ได้รับมอบหมายหรือผู้ได้รับใบอนุญาตโดยไม่คิดค่าบริการเพิ่มขึ้นสำหรับในส่วนนี้ ความในวรรคแรกให้ใช้บังคับถึงการดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยอันเกิดจากการจัดงานมหรสพหรือกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐซึ่งจัดให้มีขึ้นภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับด้วย หมวด ๗ ใบอนุญาต ข้อ ๒๔ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๑ ชุด (กรณีบุคคลธรรมดา) (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ชุด (กรณีบุคคลธรรมดา) (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง/สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล จำนวน ๑ ชุด (กรณีนิติบุคคล) (๔) หนังสือมอบอำนาจ/ใบทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี/กรณีมอบอำนาจ) (๕) หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (ถ้ามี) (๖) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับกำหนด ข้อ ๒๕ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๒๔ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับประกาศกำหนด (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อ ๒๔ (๓) ต้องมีแผนงานการดำเนินกิจการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ดังต่อไปนี้ (๓.๑) ประเภทของสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยที่ต้องการรับกำจัด (๓.๒) วิธีการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ (๓.๓) วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมเหตุรำคาญ ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน รวมทั้งสุขอนามัยของประชาชน (๔) รายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมดังนี้ (๔.๑) รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ที่จะใช้ในการดำเนินกิจการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (๔.๒) แบบแปลนและรายละเอียดของโรงงานกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (๔.๓) แสดงหลักฐานรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน และโรงงานที่จะใช้ในการดำเนินกิจการดังกล่าวว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขออนุญาตและโดยมีภาระติดพันหรือไม่อย่างใดหรือสิ่งใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นที่ผู้ขออนุญาตได้เช่าหรือจะเช่าหรือได้มาหรือจะได้มาด้วยวิธีการและเงื่อนไขใด (๔.๔) หลักฐานอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๕) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย (๕.๑) หลักฐานที่จำเป็นเพื่อแสดงการมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อ ๒๕ (๖) แผนงานการดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย ดังต่อไปนี้ (๖.๑) ประเภทของมูลฝอยที่ต้องการ เก็บ ขน (๖.๒) วิธีการเก็บ ขน มูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ (๖.๓) วิธีการแยกหรือคัดเลือกมูลฝอยก่อนการเก็บ ขน (ถ้ามี) (๖.๔) วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมเหตุรำคาญ ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน รวมทั้งสุขอนามัยของประชาชน (๖.๕) สถานที่และวิธีการ ในการกำจัดมูลฝอยที่เก็บ ขน (๗) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานและทรัพย์สินที่จะใช้ในการดำเนินกิจการขั้นต้นดังนี้ (๗.๑) จำนวนพนักงานที่คาดว่าจะต้องมีและหน้าที่โดยสังเขป (๗.๒) จำนวนและประเภทของยานพาหนะ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บขน (๗.๓) สถานที่รวบรวมสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (ถ้ามี) ทั้งนี้ ผู้ขออนุญาตต้องระบุด้วยว่าทรัพย์สินที่จะใช้ในการดำเนินกิจการดังกล่าว สิ่งใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขออนุญาตและโดยมีภาระติดพันหรือไม่อย่างใด หรือสิ่งใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นที่ผู้ขออนุญาตได้เช่าหรือจะเช่าหรือได้มาหรือจะได้มาด้วยวิธีการและเงื่อนไขใด (๘) หลักฐานอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๖ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๘ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูล ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางและรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว ให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล และทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูล อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดในข้อ ๒๘ ข้อ ๒๙ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตยื่นคำ ขอต่อใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาบัตรข้าราชการ/สำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) ใบอนุญาตเดิม ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๑ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๘ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือเงื่อนไข ข้อกำหนดที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินการที่ได้รับใบอนุญาตนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้นั้นไว้ได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกิน ๑๕ วัน ข้อ ๔๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตมีเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือเงื่อนไข ข้อกำหนดที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๔๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบแทนใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๙ บทกำหนดโทษ ข้อ ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติในข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ ต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ลำยงค  แก้วหายเคราะห ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (แบบ สม. ๑) ๓. ใบอนุญาตให้รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (แบบ สม. ๒) ๔. รายการต่ออายุใบอนุญาตให้รับทำการ เก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ๕. คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้รับทำการ เก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (แบบ สม. ๓) ๖. คำขออนุญาตการต่าง ๆ (แบบ สม. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๖๕/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,196
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน และนายอำเภอกงไกรลาศ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในเรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหาร ส่วนตำบลไกรในแล้วเจ็ดวัน บรรดากฎระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดในที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหรือลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามความในมาตรา ๔๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกินดื่มแต่ไม่รวมถึงยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมทั้งวัตถุเจือปนอาหารสี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคารสถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือที่สาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคารสถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะและหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนนตลาดที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ หรืออาหาร อันมีสภาพเป็นของสดประกอบหรือปรุงแล้วหรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณที่จัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด ข้อ ๔ ห้ามผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๕ ความในข้อ ๔ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๖ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่อยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวรทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในกำหนด (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในกำหนด (๑.๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในกำหนด (๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขพนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดใน (๑.๑) - (๑.๖) (๒.๒) จัดให้มีโต๊ะเก้าอี้หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรงสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบปรุงเก็บและการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอปลอดภัยและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในกำหนด (๒.๕) จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพรวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่ายทำประกอบปรุงและเก็บอาหาร (๒.๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและคำสั่ง ขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ข้อ ๗ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๘ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในมีอำนาจผ่อนผันให้ผู้ขอรับใบอนุญาตผู้ขอหนังสือรับรองการแจ้งงดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ และข้อ ๗ เพียงเท่าที่เห็นสมควร หรือจะเปลี่ยนแปลงอย่างใด เพื่อให้เหมาะสมแก่กิจการซึ่งให้ควบคุมนั้น ทั้งนี้ การผ่อนผันนั้นต้องไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนถึงสุขภาพอนามัยของประชาชน ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอรวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขพนักงานเจ้าหน้าที่และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาคารกรรมวิธีการจำหน่ายทำประกอบปรุง เก็บรักษาอาหารตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะอุปกรณ์น้ำใช้ และของอื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนตัวของผู้จำหน่ายอาหารผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) วางเก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาดถูกสุขลักษณะรวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตลอดจนรักษา เครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้อยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ใช้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้และห้ามนำอาหารหรือของสิ่งใดแช่หรือเก็บรวบรวมไว้ด้วยกัน (๔) การทุบบดน้ำแข็งต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอรวมทั้งป้องกัน มิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาดปลอดภัยสำหรับปรุงใส่หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหารผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบข้อบัญญัติและคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องไม่เป็นโรคติดต่อและไม่จ้าง หรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อจำหน่ายทำประกอบปรุงเก็บอาหาร ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในกำหนด ในกรณีที่สถานที่ตามวรรคหนึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบพร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งก่อนจัดตั้งเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่แก่ผู้แจ้งตามแบบเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ ออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ตามที่ขอ ข้อ ๑๓ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตหรือการแจ้งแล้วปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ หรือออกหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ แล้วแต่กรณี ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนด สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้แจ้งผู้แทนหรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาต หรือแจ้งแล้วแต่กรณีได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการที่จะต้อง ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว การแจ้งความตามวรรคสองให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้แจ้งผู้แทนหรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งแล้วแต่กรณีทราบ ในกรณีไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานทำการของผู้รับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันเปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตหรือขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้งให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสิ้นอายุ ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตหรือใบรับรองการแจ้งให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต หรือวันที่ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๑๖ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งไม่ประสงค์จะประกอบการต่อไป ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด ข้อ ๑๗ หากผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งประสงค์จะแก้ไขรายการ ในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด ข้อ ๑๘ หากปรากฏว่าใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระสำคัญผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งแล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดเพื่อขอใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญแล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจกรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิมกรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๑๙ การออกใบแทนใบอนุญาตใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งใหม่ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบแล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วยและให้มีวันเดือนปีที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิมระบุสาเหตุการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม แล้วแต่กรณี และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๒๐ แบบพิมพ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในประกาศกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือจัดตั้งสถานที่สะสมอาหารรายใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้จะต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศคำสั่ง ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ปรีชา ทองชื่นตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๕/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,197
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกกทองโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกกทองและนายอำเภอเมืองเลย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง นับแต่วันถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกกทองแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๗ บรรดาข้อกำหนด ระเบียบ และหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อกำหนดอื่น หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง ลูกจ้าง และบุคคลอื่นใดที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะและหมายความถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้ามูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น ๆ ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกทองเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้เพื่อการนั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่ในครอบครองของตนไม่ให้มีสิ่งปฏิกูล มูลฝอย หรือมีการถ่าย เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ หมวด ๒ หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่สำหรับรองรับมูลฝอยจากอาคารหรือสถานที่ครอบครองของตน ที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่ว มีฝาปิดมิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้ตามแบบที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องเก็บรวบรวมมูลฝอยซึ่งเกิดขึ้นจากอาคารหรือสถานที่ในการครอบครองของตนไว้ในที่รองรับมูลฝอย ส่วนสิ่งปฏิกูลจะต้องถ่ายเททิ้งลงไว้ในถัง หรือ บ่อเก็บสิ่งปฏิกูลอันถูกสุขลักษณะตามแบบที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบเท่านั้นแล้วจะต้องมอบให้ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รวบรวม เก็บ ขน และกำจัด โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๙ เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และเพื่อประโยชน์ในการกำจัดมูลฝอยให้เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและประหยัด เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจประกาศกำหนดให้มีการแยกมูลฝอยออกเป็นประเภท ๆ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่จะต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอยแยกเป็นประเภทตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด และต้องแยกเก็บรวบรวมมูลฝอยแต่ละประเภทไว้ในที่รองรับมูลฝอยแต่ละที่ แล้วมอบให้ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รวบรวมเก็บขนมูลฝอยแต่ละประเภทไปทำการกำจัดต่อไป หมวด ๓ หลักเกณฑ์การขออนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควร ราชการส่วนท้องถิ่นอาจพิจารณาออกใบอนุญาตให้บุคคลใด เป็นผู้รับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยแทน โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นได้ ทั้งนี้ บุคคลนั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๑ ภายใต้บังคับข้อ ๙ ผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้รับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นผู้ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่ามีความพร้อมทั้งในด้านเครื่องมือเครื่องใช้ ด้านบุคลากร ด้านวิชาการ ด้านสถานที่ ฯลฯ และมีความน่าเชื่อถือว่าสามารถรับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยได้ (๒) ต้องทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรืออาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ตามวิธีการและรายละเอียดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๓) ต้องจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้อันได้มาตรฐานซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการมาให้พร้อมตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๔) เงื่อนไขและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเพิ่มเติมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามความเหมาะสมและจำเป็น ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐ สามารถเรียกเก็บค่าบริการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยได้ไม่เกินอัตราที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ ภายใต้บังคับข้อ ๑๐ ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตรับทำการเก็บขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ ปม.๑ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอแล้ว หากถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ ปม.๒ หรือแบบ ปม.๓ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมภายในกำหนด ๑๕ วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การแจ้งตามวรรคก่อนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการของผู้ต้องรับหนังสือ และให้ถือว่าผู้นั้นได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตให้มีอายุ ๑ ปี นับตั้งแต่วันออก ให้ผู้รับใบอนุญาตแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักทำการของตน ข้อ ๑๗ หากใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน ๑๕ วัน นับตั้งแต่วันทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมด้วยหลักฐานต่อไปนี้ คือ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ ในกรณีสูญหาย หรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตฉบับเดิมในกรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๑๘ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตใช้แบบ ปม.๒ หรือ ปม.๓ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้และลงวันที่ เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระของใบอนุญาตเดิม พร้อมระบุเล่มที่ เลขที่ วัน เดือน ปี ของใบแทนใบอนุญาตที่ออกให้ใหม่ ข้อ ๑๙ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ ปม.๔ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ การต่ออายุใบอนุญาตให้ทำได้คราวละ ๑ ปี นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ ข้อ ๒๐ การชำระค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัตินี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ หากมิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนดจะต้องเสียค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๒๐ ของยอดเงินค่าธรรมเนียม เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้น ก่อนถึงกำหนดการที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว ข้อ ๒๑ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ที่กำหนดท้ายข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตรับทำการเก็บขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ใช้แบบ ปม.๑ (๒) ใบอนุญาตให้รับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ ปม.๒ (๓) ใบอนุญาตให้รับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ ปม.๓ (๔) คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้รับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ใช้แบบ ปม.๔ (๕) คำร้องหรือคำขออื่นใดนอกจากที่ระบุข้างต้น (๑) - (๔) ให้ใช้แบบคำขอทั่วไป หมวด ๔ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๒ ผู้ใดดำเนินกิจการการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม ข้อ ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเก็บขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ หรือเรียกเก็บค่าบริการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยจากผู้ใช้บริการเกินกว่าอัตราที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดตามข้อ ๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืน ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ หรือข้อ ๙ แห่งข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ คำปุ่น วิจิตรปัญญา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตรับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ปม. ๑) ๓. ใบอนุญาตให้รับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ปม. ๒) ๔. ใบอนุญาตให้รับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ปม. ๓) ๕. คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้รับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ปม. ๔) ๖. แบบคำร้องทั่วไป (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๖๒/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,198
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่และนายอำเภอขาณุวรลักษบุรี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติกภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับ มูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่จัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ ให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกัน การวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้น จะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท ข้อ ๑๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมาณ อ่อนฤทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๑๖/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,199
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในและนายอำเภอกงไกรลาศ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน นับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง (๒) กิจการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใด ฆ่าสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๓.๔) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๕) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๖) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๗) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๔) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๔.๑) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๔.๒) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๔.๓) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๔.๔) การผลิตการสะสมปุ๋ย (๕) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๕.๑) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าช หรือไฟฟ้า (๕.๒) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่ (๖) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๖.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๖.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๖.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องจักรกลดังกล่าวด้วย (๖.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๖.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๖.๖) การปะ การเชื่อมยาง (๖.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๗.๑) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๗.๒) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทา สารเคลือบเงาสีหรือการตกแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๗.๓) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๘) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๘.๑) การประกอบการกิจการหอพัก ห้องพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า คาราโอเกะ หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๘.๒) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๘.๓) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๙.๑) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๙.๒) การซัก การอบ การรีด การอับกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๙.๓) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ได้แก่ การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๑.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าช (๑๑.๒) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๑.๓) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๑.๔) การพ่นสี (๑๑.๕) การโม่ การบดชัน (๑๑.๖) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๑.๗) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๑.๘) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒) กิจการอื่น ๆ (๑๒.๑) การผลิตการซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๒.๒) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๒.๓) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๒.๔) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๒.๕) การก่อสร้าง ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ ๔ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๔ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ กอ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในกำหนด ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ ๔ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบไม่ซึม ไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือการกำจัดน้ำโสโครกไขมันให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียงข้อกำหนดดังกล่าว ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) ต้องให้มีแสงสว่าง และการระบายอากาศเพียงพอ และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ (๘) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ (๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะ จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น และต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขัง และที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ ๘ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ กอ. ๒ ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะของการประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบการค้าทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าวัตถุแห่งการค้านั้นจะใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้นให้พ้นจากฝุ่นละอองและสัตว์พาหะนำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์พาหะนำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๔) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควรเมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งใช้สำหรับกิจการค้าประเภทเดียว และสำหรับสถานที่แห่งเดียว ถ้าประกอบกิจการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภทในขณะและสถานที่เดียวกันให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียวประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา ข้อ ๑๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ข้อ ๑๕ การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ให้ต่อใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการค้าต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ข้อ ๑๗ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจกรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิมกรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๑๙ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ กอ. ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี และลง เล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือรายละเอียดใด ๆ ให้ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้เป็นการเฉพาะกิจหรือเฉพาะรายได้ ข้อ ๒๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๓ (๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔ ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้งและมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีกเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๔ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้บังคับใช้ ผู้ดำเนินการตามประเภทที่ข้อบัญญัตินี้กำหนดเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๔ ในลักษณะที่เป็นการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน ข้อ ๒๕ ผู้ดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ข้อ ๘ และข้อ ๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีกเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๗ บรรดาความผิดซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนตามข้อบัญญัตินี้หากได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้แล้ว ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตตามข้อ ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน ข้อ ๒๙ ให้ผู้ประกอบกิจการตามลักษณะในข้อ ๔ อยู่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ให้เจ้าของกิจการตามความในวรรคหนึ่งดำเนินการแจ้งขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ปรีชา ทองชื่นตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำรับใบอนุญาต (แบบ กอ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒) ๔. รายการการต่อใบอนุญาตและการเสียค่าธรรมเนียม ๕. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ กอ. ๓) ๖. แบบคำขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ กอ. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๓/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,200
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2557
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินและนายอำเภอเขาพนม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินแล้วสิบห้าวันเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจาก การประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใด ฆ่าสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๓.๔) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๕) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๖) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๗) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายและเพื่อการบริโภค ในครัวเรือน (๔) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๔.๑) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๔.๒) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๔.๓) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๔.๔) การผลิตการสะสมปุ๋ย (๔.๕) การผลิต การสกัดน้ำมันปาล์มจากผลปาล์มดิบ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๕.๑) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าช หรือไฟฟ้า (๕.๒) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่ (๖) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๖.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๖.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๖.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องจักรกลดังกล่าวด้วย (๖.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๖.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๖.๖) การปะ การเชื่อมยาง (๖.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๗.๑) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๗.๒) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสี หรือการตกแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๗.๓) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๘) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๘.๑) การประกอบการกิจการหอพัก ห้องพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า คาราโอเกะ หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๘.๒) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๘.๓) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๙.๑) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๙.๒) การซัก การอบ การรีด การอับกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๙.๓) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ได้แก่ การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๑.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าช (๑๑.๒) การผลิต การกลั่น การสะสมการขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๑.๓) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๑.๔) การพ่นสี (๑๑.๕) การโม่ การบดชัน (๑๑.๖) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๑.๗) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบ ในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๑.๘) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒) กิจการอื่น ๆ (๑๒.๑) การผลิตการซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๒.๒) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๒.๓) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๒.๔) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๒.๕) การก่อสร้าง ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ ๔ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบการ และมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๔ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัติตำบลนี้ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ กอ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินกำหนด ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ ๔ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสม ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบไม่ซึม ไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือการกำจัดน้ำโสโครก ไขมันให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่นไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง ข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) ต้องให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ (๘) ต้องมีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ (๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น และต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขัง และที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้า ต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่ เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหาร ส่วนตำบลเขาดิน ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ ๘ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ กอ. ๒ ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะของการประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบการค้าทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าวัตถุแห่งการค้านั้นจะใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้น ให้พ้นจากฝุ่นละอองและสัตว์พาหะนำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์พาหะนำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๔) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควรเมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไข โดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งใช้สำหรับกิจการค้าประเภทเดียว และสำหรับสถานที่แห่งเดียว ถ้าประกอบกิจการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภทในขณะและสถานที่เดียวกันให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียวประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา ข้อ ๑๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อ ๑๕ การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ให้ต่อใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการค้าต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ข้อ ๑๗ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระที่สำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระที่สำคัญแล้วแต่กรณีพร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๑๙ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ กอ. ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลง เล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัติตำบลนี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือรายละเอียดใด ๆ ให้ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้เป็นการเฉพาะกิจหรือเฉพาะรายได้ ข้อ ๒๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๒ (๓) คำขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๓ (๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔ ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้งและมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๔ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้บังคับใช้ผู้ดำเนินการตามประเภท ที่ข้อบัญญัตินี้กำหนดเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๔ ในลักษณะที่เป็นการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน ข้อ ๒๕ ผู้ดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ข้อ ๘ และข้อ ๑๑ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้งและมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๗ บรรดาความผิดซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนตามข้อบัญญัตินี้หากได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้แล้ว ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตตามข้อ ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน ข้อ ๒๙ ให้ผู้ประกอบกิจการตามลักษณะในข้อ ๔ อยู่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ให้เจ้าของกิจการตามความในวรรคหนึ่งดำเนินการแจ้งขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ บุญภาศ ซื่อตรง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๗ ๒. แบบคำรับใบอนุญาต (แบบ กอ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒) ๔. รายการการต่อใบอนุญาตและการเสียค่าธรรมเนียม ๕. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ กอ. ๓) ๖. คำขออนุญาตการต่าง ๆ (แบบ กอ. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๓๕/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,201
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน และนายอำเภอกงไกรลาศ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในได้เมื่อประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “ภาชนะที่มีน้ำขัง” หมายความว่า อุปกรณ์ ของใช้ สิ่งของที่ใช้อยู่ภายในอาคาร หรือนอกอาคาร และมีน้ำขังอยู่ เช่น โอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังซีเมนต์ในห้องน้ำ แจกัน ถ้วยรองขาตู้ จานรองกระถางต้นไม้ ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง อ่างบัว เป็นต้น “เศษวัสดุที่มีน้ำขัง” หมายความว่า มูลฝอยหรือเศษสิ่งของที่มิได้ใช้แล้วในอาคาร หรือนอกอาคารและมีน้ำขังอยู่ เช่น กระป๋อง ยางรถยนต์เก่า ไห กระถาง ขวด ฯลฯ เป็นต้น หรือชิ้นส่วนของวัสดุดังกล่าวที่มีน้ำขังอยู่ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่า ๗ วัน ซึ่งยุงสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ หรือแหล่งที่ตรวจพบลูกน้ำหรือตัวโม่งของยุง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ ภาชนะที่มีน้ำขัง เศษวัสดุที่มีน้ำขัง หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่อาจขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ เศษวัสดุที่มีน้ำขัง หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่อาจขังน้ำได้ในอาคารหรือเคหสถานรวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกมัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน ที่ดิน หรือสถานที่ใด ๆ มีแหล่งน้ำ หรือที่ที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถานต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น เปลี่ยนน้ำแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว อ่างบัว หรือภาชนะอื่น ๆ อย่างน้อยทุก ๆ ๗ วัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุง และจัดให้มีฝาปิดภาชนะที่บรรจุน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรในได้จัดให้มีการกำจัดยุงหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในอาคารหรือเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถานหรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร หมวด ๓ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๐ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใด เพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ จากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควร เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้ โดยไม่ต้องใช้ราคาเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรในในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่บุคคลดังกล่าวจะต้องแสดงบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องในขณะปฏิบัติหน้าที่ด้วย และให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๑ ถ้าเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำใด ๆ ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ ในอันที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน หรือจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชนเป็นส่วนรวมซึ่งสมควรจะดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนดังกล่าวแก้ไขหรือระงับเหตุนั้นหรือดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้หรือระงับเหตุนั้นได้ตามสมควรแล้วแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ หมวด ๔ บทกำหนดโทษ ข้อ ๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ปรีชา ทองชื่นตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ภวรรณตรี/จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๑/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,202
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อนและนายอำเภอธาตุพนม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อนนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อนเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า ส ภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อนเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง (๒) กิจการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใด ฆ่าสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๓.๔) การแกะ การล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๕) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๖) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๗) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๔) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๔.๑) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๔.๒) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๔.๓) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๔.๔) การผลิตการสะสมปุ๋ย (๕) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๕.๑) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าช หรือไฟฟ้า (๕.๒) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่ (๖) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๖.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๖.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่งระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๖.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องจักรกล ดังกล่าวด้วย (๖.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๖.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๖.๖) การปะ การเชื่อมยาง (๖.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตซ์ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๗.๑) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๗.๒) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสีหรือการตกแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๗.๓) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๘) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๘.๑) การประกอบการกิจการหอพัก ห้องพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า คาราโอเกะ หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๘.๒) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๘.๓) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๙.๑) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๙.๒) การซัก การอบ การรีด การอับกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๙.๓) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ได้แก่ การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๑.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าช (๑๑.๒) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำ มันปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๑.๓) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๑.๔) การพ่นสี (๑๑.๕) การโม่ การบดชัน (๑๑.๖) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๑.๗) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๑.๘) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๒) กิจการอื่น ๆ (๑๒.๑) การผลิตการซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๒.๒) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๒.๓) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๒.๔) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๒.๕) การก่อสร้าง หมวด ๒ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและออกใบอนุญาต ข้อ ๖ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ ๕ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อนในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ กอ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อนกำหนด ข้อ ๙ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ ๕ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบไม่ซึม ไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือการกำจัดน้ำโสโครก ไขมันให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียงข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) ต้องให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ (๘) ต้องมีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล อันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ (๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น และต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมรวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขังและที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน ข้อ ๑๐ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ ๙ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ กอ. ๒ ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะของการประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบการค้าทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าวัตถุแห่งการค้านั้นจะใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้นให้พ้นจากฝุ่นละอองและสัตว์พาหะนำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์พาหะนำโรคได้และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๔) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควรเมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไข โดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน ข้อ ๑๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งใช้สำหรับกิจการค้าประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ถ้าประกอบกิจการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภทในขณะและสถานที่เดียวกันให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียว ประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน ข้อ ๑๖ การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำ ขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ให้ต่อใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๗ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการค้าต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ข้อ ๑๘ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระที่สำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบ กอ. ๔ ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระที่สำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๐ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ กอ. ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี และลง เล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือรายละเอียดใด ๆ ให้ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้เป็นการเฉพาะกิจหรือเฉพาะรายได้ ข้อ ๒๓ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๒ (๓) คำขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๓ (๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔ หมวด ๓ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๔ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๕ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้บังคับใช้ผู้ดำเนินการตามประเภทที่ข้อบัญญัตินี้กำหนดเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน ข้อ ๒๖ ผู้ดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ ข้อ ๙ และข้อ ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน ข้อ ๒๗ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้งและมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๘ บรรดาความผิดซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนตามข้อบัญญัตินี้ หากได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้แล้ว ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตตามข้อ ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๐ ให้ผู้ประกอบกิจการตามลักษณะในข้อ ๕ อยู่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน ให้เจ้าของกิจการตามความในวรรคหนึ่งดำเนินการแจ้งขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ประกาศ ณ วนั ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ มอ ดีพรหม นายกองคก์ ารบรหิ ารส่วนตาํ บลนาถ่อน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาถ่อน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒) ๔. รายการการต่ออายุใบอนุญาตและการเสียค่าธรรมเนียม ๕. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ กอ. ๓) ๖. แบบคำขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ กอ. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๗๙/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,203
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2557
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ว่าด้วยตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และนายอำเภอเขาพนม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินนับแต่วันที่ได้ประกาศ โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินแล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าเป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบหรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคารแผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาดให้สะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมี ที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามข้อบัญญัตินี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสียโรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบ ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคาร สิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ ผิวเรียบ ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัขมิให้เข้าไปในตลาด (๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปา หรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้า หรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลโดย (๑๐.๑) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำ ไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุดต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (๑๐.๒) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๑๐.๓) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะมีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวกมีการปกปิด และป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีตพื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบทำความสะอาดง่ายมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้างโดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมันหรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่ม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วม ของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวันและมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนา เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามข้อบัญญัตินี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอน ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๐ การเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำมิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวันและดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอยรวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวันและดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวันโดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ ให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกรในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสม หรือหมักหมม สิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาดจนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตรายหรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญมลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศและแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือ ไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรค ในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหารไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาดและปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาด และ ต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและ ใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง ข้อ ๒๘ เมื่อมีกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เกิดขึ้นในตลาดของเอกชนหรือตลาด ของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐให้ถือว่าเป็นกรณีที่เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยเร่งด่วนตามบทบัญญัติมาตรา ๘ และมาตรา ๔๖ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑) ผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์จากการเก็บตัวอย่างอาหาร ตัวอย่างพื้นผิวภาชนะอุปกรณ์ หรือจากมือผู้ขายอาหารในตลาด พบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้ หรือมีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นตัวบ่งชี้ในปริมาณที่เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด (๒) มีปริมาณสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน หรือแมลงสาบเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยวิธีการตรวจวัดตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (๓) ตลาดเป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรค โรคเรื้อน ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคอื่นที่ต้องแจ้งความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ โดยพบว่าผู้ขายของหรือผู้ช่วยขายของในตลาดเป็นโรคติดต่อ หรือพบผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อซึ่งยืนยันว่าบริโภคอาหารหรือได้รับเชื้อโรคมาจากตลาดนั้น หรือตรวจพบเชื้อโรคซึ่งทำให้เกิดการระบาดของโรคในสินค้าที่จำหน่ายในตลาดนั้น (๔) ถังเกรอะหรือถังบำบัดสิ่งปฏิกูลเกิดการรั่วไหลออกมาสู่สิ่งแวดล้อมจนอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค ข้อ ๒๙ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดสดจำหน่ายสินค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๒ ชุด (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๒ ชุด (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ชุด (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๖) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินประกาศกำหนด ข้อ ๓๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๒ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐ โดยอนุโลม ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียม ที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับปรุงจนครบจำนวน ข้อ ๓๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินกำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๒ ความในข้อ ๙ (๑) (๕) (๖) (๗) (๑๐) (๑๒) และข้อ ๑๐ ให้ผู้รับใบอนุญาต ให้จัดตั้งตลาดอยู่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงตลาดให้ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ข้อ ๔๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๔ ความในบทบัญญัตินี้มิให้ส่งผลกระทบถึงตลาดที่จัดตั้งอยู่ก่อนที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ เนื่องจากสภาพพื้นที่ตั้งของตลาด ไม่อาจจัดให้มีหรือดำเนินการอย่างใด ๆ ตามข้อบัญญัตินี้ได้ ข้อ ๔๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และมีอำนาจ ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ บุญภาศ ซื่อตรง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๗ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด (แบบ ตล. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๓) ๕. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๔๔/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,204
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2557
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ว่าด้วยการควบคุม แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน และนายอำเภอเขาพนม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินนับแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดินแล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึง มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน สถานศึกษา โรงงานอุตสาหกรรม โรงมหรสพ ฟาร์มปศุสัตว์ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่ หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า แหล่งที่ตรวจพบลูกน้ำหรือตัวโม่งยุงลายตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป “ภาชนะที่มีน้ำขัง” หมายความว่า อุปกรณ์ ของใช้ สิ่งของที่ใช้อยู่ในอาคารหรือนอกอาคารและมีน้ำขังอยู่ เช่น โอ่ง/ตุ่มน้ำ ถังซีเมนต์ในห้องน้ำ แจกัน ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง ถ้วยรองขาตู้ จานรองกระถางต้นไม้ อ่างบัว อ่างเลี้ยงปลา เป็นต้นไป “เศษวัสดุที่มีน้ำขัง” หมายความว่า มูลฝอยหรือเศษสิ่งของที่มิได้ใช้แล้วในอาคาร หรือนอกอาคาร และมีน้ำขังอยู่ เช่น กระป๋อง ยางรถยนต์เก่า ไห กระถาง ขวด เป็นต้น หรือชิ้นส่วนของวัสดุดังกล่าวที่มีน้ำขัง “เหตุรำคาญ” ได้แก่ (๑) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใด ซึ่งอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็น หรือละอองเป็นพิษ หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนำโรค หรือก่อให้เกิดความเสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใดหรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๓) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์ โรงงานหรือสถานที่ประกอบการใดไม่มี การระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษ หรือมีแต่ไม่มีการควบคุม ให้ปราศจากกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียงจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๔) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๕) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “องค์การบริหารส่วนตำบล” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลผู้ซึ่งได้รับ การแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ อาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่มีภาชนะหรือเศษวัสดุที่มีน้ำขังจนเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ถือว่าเป็นเหตุรำคาญเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องไม่ปล่อยปละละเลยให้ มีภาชนะ หรือเศษวัสดุที่มีน้ำขังจนเป็นเหตุรำคาญ ข้อ ๗ ห้ามผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอย รวมทั้งกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่อาจขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดไว้ให้ ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอย รวมทั้งกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่อาจขังน้ำได้ในอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิด หรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุง หรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าหน้าที่แนะนำ หมวด ๒ การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถานต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำ ในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุก ๗ วัน หรือใส่สารที่ป้องกัน การวางไข่ของยุงได้ หรือการควบคุมลูกน้ำด้วยวิธีอื่นใดที่เหมาะสม และกรณีที่เป็นภาชนะกักเก็บน้ำต้องจัดให้มีฝาปิดที่มิดชิด ข้อ ๑๑ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดพนักงานเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุง หรือลูกน้ำยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร หมวด ๓ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขและพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งหลักฐานหรือเอกสารใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการ เพื่อทำการตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้เจ้าของผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีป้องกันและควบคุมหรือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามข้อบัญญัตินี้ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะหรือจะก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ บุคคลดังกล่าวจะต้องแสดงบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องในขณะปฏิบัติหน้าที่ด้วยและให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๓ ถ้าเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำใด ๆ ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ ในอันที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน หรือจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนเป็นส่วนรวมซึ่งสมควรจะดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนดังกล่าวแก้ไขหรือระงับเหตุนั้น หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้หรือระงับเหตุนั้นได้ตามสมควรแล้วแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ หมวด ๔ บทกำหนดโทษ ข้อ ๑๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ บุญภาศ ซื่อตรง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ภวรรณตรี/จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๓๐/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,205
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. 2557
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินและนายอำเภอเขาพนม จึงได้ตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารตำบลเขาดิน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินได้เมื่อประกาศไว้ โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินแล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบลเขาดิน เรื่อง การเก็บ ขน กำจัด สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๔๕ บรรดาข้อบัญญัติตำบล กฎ ระเบียบหรือคำสั่งใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า น้ำเสีย อุจาระ หรือปัสสาวะ และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดที่เป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งของต่าง ๆ และตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เป็นสิ่งเหลือใช้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้านเรือน โรงเรือน โรงงาน ร้าน แผง สำนักงาน ที่เก็บสินค้า หรือคลังเก็บสินค้า หรือสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นที่สร้างขึ้น ซึ่งมีบุคคลอาจเข้าอยู่อาศัย หรือ เข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า ถนน ทางเดิน ทางน้ำ หรือสถานที่อื่นใด ซึ่งมีไว้ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือมีไว้สำหรับการสัญจร และหรือที่เอกชนที่มีไว้เพื่อบริการประชาชนทั่วไป “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ในกรณีมีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อ ๖ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลทั้งหลายในที่สาธารณะ ให้ถ่าย เท ทิ้ง กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในที่ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินจัดไว้หรือกำหนดให้มี ข้อ ๗ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง มูลฝอย นอกที่รองรับที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินจัดไว้ หรือกำหนดให้มี หรือที่รองรับที่เจ้าหน้าที่ผู้ครอบครองอาคารสถานที่นั้น ๆ จัดให้มีขึ้นตามที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้อ ๘ ห้ามผู้ใด คุ้ย เขี่ย ขุด ขน มูลฝอย ในที่รองรับมูลฝอย รถขน หรือสถานที่ที่พักมูลฝอย เว้นแต่เป็นการกระทำขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน หรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๙ ห้ามผู้ใด ขน นำพา หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยไปในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้ใส่ในภาชนะหรือที่มิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมีกลิ่นรั่วซึมออกมาภายนอก และต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ยานพาหนะโดยสารทางบกและทางน้ำซึ่งได้จัดห้องสุขาที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ จะต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอย หรือที่กำจัดสิ่งปฏิกูล ในอาคารหรือเขตอาคารหรือสถานที่นั้น ๆ ไว้อย่างเพียงพอและถูกสุขลักษณะ ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่ายเทหรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๒ ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น แก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๓ กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคารหรือสถานที่ใด ๆ หรือบริเวณใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินต้องเก็บขนมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลไปกำจัดเพื่อถูกสุขลักษณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด หรือบริเวณใด ๆ ได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน หรือปิดประกาศไว้ ณ อาคารหรือสถานที่ใด ๆ หรือบริเวณใดไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ใด ๆ ต้องการให้องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน หรือผู้ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บ ขน มูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ หรือบริเวณใด ๆ ต้องเสียค่าธรรมเนียมเก็บขน ตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๔ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บขน สิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยตามข้อ ๑๓ ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการเผา ฝัง หรือวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๕ การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยข้ามเขตท้องถิ่นกันจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) เจ้าพนักงานทุกท้องถิ่นที่จะพิจารณาอนุญาตให้ผู้ใดได้รับการทำการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ โดยแจ้งว่าจะนำสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยไปกำจัด ณ เขตท้องถิ่นอื่นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องตรวจสอบว่ามีใบอนุญาต การกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือ ขยะมูลฝอยจากท้องถิ่นอื่นนั้น จึงจะอนุญาตให้เก็บขน โดยทำเป็นธุรกิจได้ (๒) กรณีที่ผู้ใดได้รับการทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยในเขตท้องถิ่นต้นทาง แล้วนำสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยไปกำจัดในเขตท้องถิ่นปลายทาง โดยคิดค่าบริการทั้งการเก็บขน และการกำจัด ผู้ประกอบการต้องขอใบอนุญาตทำการเก็บขนจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้นทาง และขอใบอนุญาตทำการกำจัดจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นปลายทาง ซึ่งผู้ประกอบการคิดค่าบริการได้ตามอัตราที่ท้องถิ่นต้นทางและปลายทางกำหนดไว้ในข้อกำหนดท้องถิ่นนั้น ทั้งนี้ หากมีการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยผ่านท้องถิ่นอื่น นอกจากท้องถิ่นต้นทางและท้องถิ่นปลายทางจะต้องแสดงใบอนุญาตทำการเก็บขนจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้นทาง และขอใบอนุญาตทำการกำจัดจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นปลายทาง รวมทั้งหลักฐานการขออนุญาตทำกิจการนอกเขตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย (๓) กรณีที่ผู้ใดได้รับการทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยโดยคิดค่าบริการในเขตท้องถิ่นหนึ่งแล้วนำมากำจัดโดยการถมที่ หรือโดยวิธีการอื่นใด ในที่ซึ่งอยู่ในเขตท้องถิ่นหนึ่ง บุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นจะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้น ข้อ ๑๖ ห้ามผู้ใดขุดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอย หรือนำสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยไปฝัง หรือถมในที่ดินใด หรือโดยวิธีการอื่นใด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๗ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริหาร เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๘ กรณีเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนต้องมี การปฏิบัติการตามที่จำเป็นเพื่อให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามลักษณะของมูลฝอยที่จัดเก็บ โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายและการแพร่ของเชื้อโรคตามวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการเก็บขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินกำหนดไว้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินกำหนด ข้อ ๒๐ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล และหรือมูลฝอย ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินกำหนด ข้อ ๒๑ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับใบอนุญาต ให้ตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของคำขอ หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้แล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาต ให้ตามคำขอ ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๐ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต (๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ข้อ ๒๔ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินกำหนดไว้ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๕ ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินกำหนดไว้ การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต และการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๗ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับใบอนุญาต จะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบันทึกแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีใบอนุญาตสูญหาย (๒) ใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่กรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๙ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับ ตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๓๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๑ กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใบอนุญาต หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ตามข้อบังคับนี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๖ ภายหลังข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้แล้วหากมีกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้บังคับใช้กฎกระทรวงนั้น ข้อ ๓๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ บุญภาศ ซื่อตรง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๒๓/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,206
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬและนายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ เรื่อง กิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬตั้งแต่วันที่ ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้้ในการประกอบกิจการที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า ข้อ ๕ ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการอันตรายที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบลคลองวาฬ (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย หรือการขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่ออาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้มหรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางรวมทั้งที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิตการ หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด การกะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตใยจากพืช (๕.๙) การตาก การสะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือการหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด การอัดโลหะ หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด โดยยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องจักกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้วหรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงาหรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บผ้า ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด การโม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายกัน (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้วหิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว (๑๓) กิจการที่อื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อันที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่ หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันให้ผู้ประกอบกิจการตามข้อ ๕ งดเว้น การปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ เพียงเท่าที่เห็นสมควรหรือจะเปลี่ยนแปลงอย่างใด เพื่อให้เหมาะสมกับการควบคุมการดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประชาชน หรือข้าราชการ หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬประกาศกำหนด ข้อ ๙ การขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการตามข้อ ๘ ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการตามข้อ ๕ ต้องยื่นเรื่องตามแบบที่ได้กำหนดไว้ต่อเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นและต้องปฏิบัติและจัดสถานที่สำหรับประกอบการค้านั้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้กำหนดไว้ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคาร (๒) สถานที่ประกอบการต้องตั้งอยู่ในทำเล ซึ่งจะทำรางระบายน้ำรับน้ำโสโครก ให้พ้นจากที่นั้นไว้โดยสะดวก (๓) ต้องทำรางระบายน้ำไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อ ซึ่งรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๔) การระบายน้ำและรางระบายน้ำต้องไม่มีลักษณะเป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำ ในทางสาธารณะหรือผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง (๕) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึ่งรั่วไหล หรือขังได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครก หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกัน ควัน มูล เถ้า กลิ่น ไอ หรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น (๖) ต้องให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอและต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หรือแมลงนำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาด เพียงพอแก่การประกอบกิจการนั้น (๘) ต้องมีที่รองรับมูลฝอยอันได้สุขลักษณะ (๙) ต้องมีส้วมอันได้สุขลักษณะ ให้พอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น และต้องอยู่ในที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นชอบ (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขัง และปล่อยสัตว์ให้กว้างขวาง (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตาก หรือผึ่งสิ่งของต้องมีที่สำหรับตาก หรือผึ่ง ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นชอบ (๑๒) ต้องปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่แนะนำ (๑๓) ต้องรักษาสถานที่ที่ใช้ประกอบการให้อยู่ในภาวะอันดีเสมอ และทำความสะอาดกวาด ล้าง สถานที่ประกอบกิจการให้สะอาดทุกวัน (๑๔) ต้องประกอบกิจการภายในเขตสถานที่และตามกำหนดวัน เวลา ที่ได้รับอนุญาต (๑๕) ต้องรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบการทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าเศษวัตถุหรือวัตถุแห่งกิจการนั้นจักใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้นให้พ้นจากฝุ่นละออง แมลง หรือสัตว์อื่น ๆ (๑๖) ต้องรักษาสถานที่อย่าให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงวันหรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ (๑๗) ถ้าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๑๘) ต้องปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ได้สุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๑๙) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขเข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพนั้นได้ในเวลาอันสมควรเมื่อได้รับแจ้งความประสงค์จากบุคคลดังกล่าว ข้อ ๑๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีที่จำเป็นจะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ ใบอนุญาตตามข้อ ๘ ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวกันและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต และการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬกำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาต สำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจ ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๕ อัตราค่าธรรมเนียมให้เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นเรียกเก็บในอัตราตามบัญชีที่กำหนดไว้ ใบอนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่กำหนดกิจการไว้ตามข้อ ๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เก็บอัตราค่าธรรมเนียม ตามบัญชีที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้อำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เสนาะ โตทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองวาฬ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอัตราต่อสุขภาพ ๓. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๘๙/๒๕ เมษายน ๒๕๖๐
54,207
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้างและนายอำเภอสามพราน จึงตราข้อบัญญัติได้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง แล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้างฉบับใดหรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่บริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และความหมายรวมถึงสิ่งอื่นใดที่เป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) เอกสารอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้างประกาศกำหนด ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อกำหนด และเงื่อนไขที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่อใบอายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๒ ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบางช้างเท่านั้น การขอต่อใบอนุญาต จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ ตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชน ข้อ ๑๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะขอตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) เอกสารอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้างประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแจ้งแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่ที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๓ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินการให้บุคคลอื่น ให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ผู้ดำเนินการใดดำเนินการกิจการตามที่ระบุไว้ในบัญญัตินี้ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแสดงครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการจนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๕ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้ง และภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้างเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นิคม ลิ้มสงวน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่อใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร ๓. ใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายหรือสถานที่สะสมอาหาร ๔. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๕. หนังสือรับรองการแจ้ง ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๘๒/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,208
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามและนายอำเภอบ้านแพ้ว จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามตั้งแต่วันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ๑. ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒. ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้มีอำนาจปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม (๑) กิจการที่เกี่ยวกับเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือการชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือการล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอบ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม ผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ แบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะ หรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อม หรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้ใบรับอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่ไม่ใช่โรงแรมที่จัดไว้ เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นเป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรือการอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อย ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจก หรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัสดุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุ หรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว หรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่ หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับหรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจาก ชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ หน่วยราชการ หรือตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามประกาศกำหนด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือการก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับ และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามประกาศกำหนด ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัติตำบลหลักสาม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ และข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ อยู่ก่อนข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ให้ประกอบกิจการนั้นต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุและให้มาดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุ ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เผอิญ ศรีนิเวศน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๒. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. คำขอรับใบแทน/ขอเลิกกิจการ/แก้ไขรายการใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๕. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๐๗/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,209
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวและนายอำเภอเมืองอุดรธานี จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำ เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “องค์การบริหารส่วนตำบล” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดและมิใช่เป็นการขายของในตลาดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๐ ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งตามข้อ ๒๑ ก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้ดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ดังนี้ (๑) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้ง ใช้ และดูแลรักษาสถานที่ และสุขลักษณะของบริเวณที่ใช้จำหน่ายอาหาร ที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหาร ที่ใช้ทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร (๑.๑) สถานที่รับประทานอาหาร และสถานที่เตรียม ทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร (๑.๑.๑) พื้นที่ทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๑.๑.๒) กรณีที่มีผนัง ผนังทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๑.๑.๓) กรณีที่มีเพดาน เพดานทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๑.๑.๔) มีการระบายอากาศเพียงพอ และติดเครื่องหมายห้ามสูบบุหรี่ บริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีเครื่องดูดควัน พัดลม ปล่องระบายควันสูงเพียงพอไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๑.๑.๕) มีแสงสว่างพอเพียง (๑.๑.๖) โต๊ะเก้าอี้ทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๑.๑.๗) จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการล้างมือในบริเวณเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร (๑.๑.๘) โต๊ะเตรียม ปรุง ผนังเตาไฟ ต้องทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี (๑.๑.๙) เตรียม ปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ไม่เตรียมบนพื้น และบริเวณหน้าหรือในห้องน้ำห้องส้วม (๑.๑.๑๐) ถังแก๊สเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารต้องได้มาตรฐาน (๑.๑.๑๑) ห้ามใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงบนโต๊ะรับประทานอาหาร (๑.๑.๑๒) มีการควบคุมสัตว์แมลงนำโรคไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด (๑.๒) ห้องส้วม (๑.๒.๑) สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดให้มีห้องส้วมไว้บริการจำนวนเพียงพอตามพระราชบัญญัติความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑.๒.๒) กรณีที่มีห้องส้วม ห้องส้วมต้องสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น ใช้การได้ดี (๑.๒.๓) กรณีที่มีห้องส้วม ต้องมีอ่างล้างมือที่สะอาด ใช้การได้ดี และมีสบู่หรือน้ำยาล้างมือใช้ตลอดเวลา (๑.๒.๔) กรณีที่มีห้องส้วม ห้องส้วมต้องแยกเป็นสัดส่วน ประตูไม่เปิดสู่บริเวณที่เตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ที่เก็บอาหาร ที่ล้างภาชนะ และเก็บอุปกรณ์ เว้นแต่จะมีการจัดการห้องส้วมให้สะอาดอยู่เสมอ และประตูห้องส้วมต้องปิดตลอดเวลา (๒) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อ (๒.๑) กรณีที่มีทางระบายน้ำเสีย ทางระบายน้ำเสียต้องง่ายต่อการทำความสะอาดและการบำรุงรักษา ระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง ไม่มีเศษอาหารตกค้าง (๒.๒) สถานประกอบการต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่มีน้ำเสียต้องจัดให้มีการดักเศษอาหารดักไขมันก่อนการระบายน้ำทิ้ง (๒.๓) ถังรองรับมูลฝอยต้องมีสภาพดี ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด (๒.๔) ทำความสะอาดถังรองรับมูลฝอยตามระยะเวลาที่เหมาะสม อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง (๒.๕) การรวบรวมมูลฝอยก่อนกำจัด ต้องมีการจัดเก็บอย่างมิดชิด (๓) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการ (๓.๑) แต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน และมีการป้องกันไม่ให้เส้นผมปนเปื้อนในอาหาร (๓.๒) ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนสีขาวหรือสีอ่อน และสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผมที่สะอาดขณะปฏิบัติงาน และต้องไม่ใส่เครื่องประดับที่นิ้วมือ ข้อมือ หรือที่หู (๓.๓) ห้ามใช้มือสัมผัสอาหารที่ปรุงสำเร็จหรือพร้อมบริโภคโดยตรง ต้องใช้อุปกรณ์หรือถุงมือที่สะอาดอยู่เสมอช่วยในการหยิบจับ (๓.๔) ไม่สูบบุหรี่ในขณะปฏิบัติงานเกี่ยวกับอาหาร (๓.๕) ผู้สัมผัสอาหารต้องตัดเล็บสั้นและสะอาดอยู่เสมอ ไม่ทาสีเล็บ (๓.๖) ห้ามใช้ทัพพีหรือช้อนชิมอาหารโดยตรงในการชิมอาหาร และต้องเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งในการปรุงอาหาร การชิมอาหารต้องไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับอาหาร (๓.๗) ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือ ต้องปกปิดบาดแผลให้มิดชิด และสวมถุงมือที่สะอาดอยู่เสมอ หรือหยุดปฏิบัติงานที่มีโอกาสสัมผัสกับอาหาร (๓.๘) การเสิร์ฟอาหารต้องเสิร์ฟให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในอาหาร (๓.๙) มีการป้องกันการปนเปื้อนอาหารจากการไอ จาม หรือพูดคุย ผู้สัมผัสอาหารต้องมีพฤติกรรมที่ถูกสุขลักษณะ (๓.๑๐) ขณะปฏิบัติงาน ผู้สัมผัสอาหารต้องไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้บริโภค เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่ รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หากเจ็บป่วยให้หยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะรักษาให้หายขาด (๓.๑๑) ผู้ปรุงต้องมีหลักฐานการตรวจสุขภาพในปีนั้นให้ตรวจสอบได้ (๓.๑๒) ผู้สัมผัสอาหาร ผู้จัดการ หรือผู้ควบคุม ต้องมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารหรือผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการ หรือองค์กรอื่น ๆ ตามหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากกรมอนามัย (๔) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษา (๔.๑) อาหารสดที่นำมาปรุง ต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยต่อผู้บริโภค (๔.๒) อาหารสด ต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงหรือเก็บ (๔.๓) อาหารสดมีการเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบ เก็บในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส และเก็บแยกประเภทเป็นสัดส่วน มีการปกปิด ไม่วางบนพื้น หรือในห้องส้วม (๔.๔) อาหารแห้ง เก็บในที่แห้ง ไม่อับชื้น สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ (๔.๕) ส่วนผสม เครื่องปรุงรส และอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท ต้องปลอดภัย มีเครื่องหมายได้รับรองจากทางราชการ (๔.๖) อาหารที่ปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค ต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิดอาหาร วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๔.๗) ต้องมีการควบคุมคุณภาพอาหารปรุงสำเร็จ ให้ปลอดภัยสำหรับการบริโภคตามชนิดของอาหาร เช่น ต้องมีการอุ่นอาหารทุก ๒ ชั่วโมง เป็นต้น (๔.๘) ห้ามใช้เมทิลแอลกอฮอล์ในการอุ่นอาหารบนโต๊ะรับประทานอาหาร (๔.๙) น้ำดื่ม เครื่องดื่ม สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และมีที่ตักที่มีด้ามยาวหรือมีก๊อกน้ำ หรือทางเทรินน้ำ (๔.๑๐) น้ำแข็ง มีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับคีบหรือตักโดยเฉพาะ น้ำแข็งสำหรับบริโภคต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมไว้ (๕) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ (๕.๑) ตู้เย็นหรือตู้แช่ มีประสิทธิภาพและต้องสะอาด (๕.๒) ภาชนะบรรจุอาหารหรือบรรจุเครื่องปรุงรส ต้องสะอาด และทำจากวัสดุที่ปลอดภัยเหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท (๕.๓) ภาชนะบรรจุอาหาร เช่น จาน ชาม แก้วน้ำ ฯลฯ เก็บคว่ำในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๕.๔) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้น หรือวางเป็นระเบียบในแนวนอน เก็บในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๕.๕) เขียงและมีด ต้องมีสภาพดี สะอาด แยกใช้ตามประเภทของอาหาร เช่น แยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์สุก เนื้อสัตว์ดิบ และผักผลไม้ (๕.๖) อาหารที่รับประทานร่วมกัน ต้องจัดให้มีช้อนกลาง (๕.๗) ไม่ใช้แก้วน้ำร่วมกัน แก้วน้ำที่ใช้แล้วต้องล้างด้วยวิธีที่ถูกสุขลักษณะตาม (๕.๘) ถึง (๕.๑๑) ก่อนนำมาใช้ใหม่ (๕.๘) ภาชนะที่รอการล้าง และเศษอาหาร ต้องเก็บในที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ (๕.๙) ล้างภาชนะอุปกรณ์ทุกประเภท ให้สะอาดด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน และน้ำสะอาดอีกอย่างน้อย ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก และผึ่งให้แห้ง (๕.๑๐) อุปกรณ์การล้าง ต้องสะอาด อยู่ในสภาพดี และวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๕.๑๑) ภาชนะอุปกรณ์ที่ล้างทำความสะอาดแล้ว ต้องมีการป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อน (๕.๑๒) น้ำใช้เป็นน้ำประปา หรือน้ำอื่นใดที่ผ่านการปรับปรุงได้มาตรฐานเทียบเท่าน้ำประปา และภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ข้อ ๘ ผู้ดำเนินกิจการสถานที่สะสมอาหาร ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประเภทของกิจการที่กำหนดไว้ดังนี้ (๑) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้ง ใช้ และดูแลรักษาสถานที่ และสุขลักษณะของบริเวณที่ใช้จำหน่าย ที่ใช้เตรียม ตัดแต่ง ปรุง บรรจุหีบห่อ หรือที่สะสมอาหาร (๑.๑) พื้นบริเวณที่ใช้รับสินค้า มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดีและสะอาด (๑.๒) แยกบริเวณรับสินค้าอาหารสดออกจากสินค้าอื่น กรณีที่ใช้พื้นที่เดียวกันต้องไม่รับสินค้าประเภทอาหารสดพร้อมกับสินค้าประเภทอื่น ต้องทำความสะอาดพื้นที่หลังใช้งาน (๑.๓) การขนถ่ายสินค้า ไม่วางสินค้าอาหารบนพื้นโดยตรง ต้องมีอุปกรณ์รองรับ (๑.๔) ต้องทำความสะอาดบริเวณรับสินค้าทุกครั้งหลังจากขนถ่ายอาหารเสร็จ โดยมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจน (๑.๕) บริเวณรับสินค้า ต้องไม่เป็นทางออกของสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หากจำเป็นต้องใช้ขนมูลฝอยต้องใช้เวลาต่างกัน และทำความสะอาดหลังจากใช้ขนมูลฝอยทุกครั้ง (๑.๖) พื้น ผนัง เพดาน ต้องทำด้วยวัสดุเรียบ มีสภาพดี สะอาด (๑.๗) บริเวณที่ใช้เก็บสินค้าอาหารแห้ง มีชั้น ที่วางอาหารแยกประเภทเป็นสัดส่วนและสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๑.๘) แยกอาหาร สินค้าที่หมดอายุหรือชำรุดที่รอการเก็บกลับคืน ในบริเวณหรือภาชนะที่แยกเฉพาะ และมีเครื่องหมายหรือป้ายแสดงบอกชัดเจน (๑.๙) บริเวณที่ใช้เก็บสินค้า อาหารแห้ง มีการระบายอากาศที่ดี และแสงสว่างเพียงพอ (๑.๑๐) ต้องแยกเก็บสารเคมีที่เป็นพิษ เช่น สารเคมีทำความสะอาด สารเคมีกำจัดแมลง เป็นต้น ให้เป็นสัดส่วนเฉพาะ ไม่ปะปนหรืออยู่ใกล้บริเวณที่ใช้เก็บอาหารแห้ง (๑.๑๑) พื้น ผนัง เพดาน สถานที่เตรียม ตัดแต่ง ปรุงอาหาร มีสภาพดี สะอาด (๑.๑๒) สถานที่เตรียม ตัดแต่ง ปรุงอาหาร ต้องแยกเป็นสัดส่วน โดยแยกระหว่างเนื้อสัตว์ดิบ และผักผลไม้ (๑.๑๓) สถานที่เตรียม ตัดแต่ง ปรุงอาหาร มีแสงสว่าง และการระบายอากาศที่ดี (๑.๑๔) โต๊ะที่ใช้เตรียม ตัดแต่งอาหาร ต้องทำด้วยสแตนเลสหรือวัสดุอื่นที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร เรียบ ไม่ดูดซึมน้ำ สภาพดี สะอาด สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ต้องทำความสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังการใช้งาน (๑.๑๕) วัสดุอุปกรณ์ภาชนะที่ใช้ในการตัดแต่งอาหารทุกชนิด ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร สภาพดี สะอาด แยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์ดิบ เนื้อสัตว์สุก ผัก ผลไม้ ต้องล้างทำความสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังการใช้งาน ต้องเก็บให้ถูกสุขลักษณะ และเครื่องบดหั่นมีการป้องกันอันตรายขณะใช้งาน (๑.๑๖) อ่างล้างอาหารหรืออ่างล้างภาชนะอุปกรณ์ ต้องทำด้วยสแตนเลสหรือวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร สภาพดี สะอาด และสามารถระบายน้ำได้ดี สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ก๊อกน้ำมีสภาพดี ต้องแยกระหว่างอ่างล้างอาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบ อ่างล้างผัก ผลไม้สด และอ่างล้างภาชนะอุปกรณ์ ต้องล้างทำความสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังใช้งาน (๑.๑๗) อ่างล้างมือ มีสภาพดี สะอาด มีน้ำใช้ และระบายน้ำได้ดี ก๊อกน้ำมีสภาพดีเปิดปิดโดยไม่ใช้มือสัมผัส มีสบู่เหลวหรือสบู่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และกระดาษเช็ดมือหรืออุปกรณ์ที่ทำให้มือแห้ง มีถังรองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ (๑.๑๘) ห้องน้ำห้องส้วม มีสภาพดี สะอาด มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดี และมีสบู่ใช้ตลอดเวลา (๒) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อ (๒.๑) ระบบระบายน้ำทิ้ง ต้องมีสภาพดี มีตะแกรงดักเศษอาหาร รางหรือท่อระบายน้ำไม่มีการอุดตัน ไม่มีน้ำขัง (๒.๒) บ่อดักไขมัน ใช้การได้ดี มีการตักไขมัน และทำความสะอาดเป็นประจำ (๒.๓) มีการแยกประเภทมูลฝอย และมีป้ายชี้บ่งชัดเจน (๒.๔) ถังรองรับมูลฝอย ต้องมีสภาพดี ไม่รั่วซึม มีฝาปิด และต้องใช้ถุงพลาสติกรองรับด้านในถัง (๒.๕) มีรถเข็นมูลฝอยเฉพาะ (๒.๖) มีระบบการควบคุม ป้องกัน และกำจัดสัตว์แมลงนำโรคอย่างมีประสิทธิภาพ (๓) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้สัมผัสอาหาร และผู้ให้บริการ (๓.๑) ผู้สัมผัสอาหาร ต้องสวมผ้ากันเปื้อนและหมวกคลุมผมตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน (๓.๒) ผู้สัมผัสอาหาร ต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนปฏิบัติงาน ภายหลังการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม และภายหลังสัมผัสสิ่งสกปรก (๓.๓) ผู้สัมผัสอาหาร ต้องมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีขณะปฏิบัติงาน (๓.๔) ผู้สัมผัสอาหาร ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ช่วยในการหยิบจับอาหารปรุงสุก เช่น ที่คีบ ที่ตัก หรือถุงมือ เป็นต้น ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารโดยตรง (๓.๕) ผู้สัมผัสอาหาร ถ้ามีแผลที่มือ ต้องปิดพาสเตอร์กันน้ำให้เรียบร้อยและต้องใช้ถุงมือในขณะปฏิบัติงาน (๓.๖) ผู้สัมผัสอาหาร ต้องผ่านการตรวจสุขภาพ และมีใบรับรองการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารหรือระบบทางเดินหายใจ หรือพาหะนำเชื้อโรคอื่น ๆ ผู้สัมผัสอาหารแผนกอาหารที่เข้างานใหม่ ต้องตรวจสุขภาพและทำ rectal swab (๓.๗) ผู้สัมผัสอาหาร ต้องผ่านการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม เรื่องการปฏิบัติเพื่อให้อาหารปลอดภัย และได้รับการฝึกอบรมสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถให้ดีขึ้น (๔) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย การเตรียม ตัดแต่ง ปรุง บรรจุหีบห่อ เก็บรักษาหรือสะสมอาหาร (๔.๑) อาหารสด ต้องนำเข้าเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุดภายใน ๓๐ นาที หลังจากรับสินค้า (๔.๒) อาหาร สินค้าที่รับมาจำหน่าย ต้องได้รับมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย สามารถระบุแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรต่าง ๆ (๔.๓) อาหาร เนื้อสัตว์ดิบ ปลา อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ นม และผลิตภัณฑ์พาสเจอร์ไรส์ อาหารพร้อมปรุง ต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส (๔.๔) อาหารแช่แข็ง เก็บในตู้หรือห้องแช่แข็งอุณหภูมิต่ำกว่า - ๑๘ องศาเซลเซียส (๔.๕) ผัก ผลไม้ ต้องเก็บที่อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการรักษาคุณภาพ (๔.๖) อาหารแห้ง และอาหารในภาชนะปิดสนิท ต้องเก็บในอุณหภูมิห้อง (๔.๗) อาหารดิบ วัตถุดิบทุกชนิด ต้องล้างให้สะอาดก่อนและหลังการตัดแต่ง และต้องบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษ สะอาด หลังจากตัดแต่งและบรรจุแล้วต้องเก็บเข้าตู้เย็นทันที (๔.๘) การวางจำหน่ายอาหาร ต้องแยกตามประเภท ตามความเหมาะสมกับชนิดของอาหาร (๔.๙) พื้น ผนัง เพดานบริเวณที่วางจำหน่ายอาหาร ต้องทำด้วยวัสดุเรียบ สภาพดี สะอาด (๔.๑๐) บริเวณที่วางจำหน่ายอาหาร ต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ และมีการระบายอากาศที่ดี (๔.๑๑) ชั้นหรือโต๊ะที่วางอาหาร ทำด้วยวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ผิวเรียบ มีสภาพดี สะอาด (๔.๑๒) ต้องมีการทำความสะอาดบริเวณที่วางสินค้าและพื้นโดยรอบ (๔.๑๓) การวางจำหน่ายอาหาร ต้องแยกชั้นวางให้ห่างจากสินค้าประเภทสารเคมีที่เป็นพิษ (๔.๑๔) ไม่วางจำหน่ายอาหารที่บรรจุในภาชนะที่ชำรุด เสียหาย หมดอายุ หรือมีลักษณะที่ผิดปกติ (๔.๑๕) ต้องทำความสะอาดโต๊ะ เคาน์เตอร์ กระบะใส่อาหาร ทุกวันหรือทุกครั้งที่พบการหกหรือรั่วของเนื้อสัตว์หรือน้ำจากเนื้อสัตว์ (๔.๑๖) อาหารดิบที่บรรจุในภาชนะปิดมิดชิด ต้องไม่ฉีกขาดหรือรั่วซึม วางอย่างมีระเบียบ เป็นสัดส่วน ไม่วางแน่นจนเกินไป (๔.๑๗) อาหารทุกชนิด ต้องมีฉลากแสดงชื่อ ชนิดอาหาร วันที่ผลิตหรือบรรจุ วันหมดอายุ และสถานที่ผลิตหรือบรรจุ (๔.๑๘) ปลาและอาหารทะเลดิบทุกชนิด ต้องวางจำหน่ายโดยแช่บนหรือในน้ำแข็งหรือน้ำผสมน้ำแข็ง หรือในตู้แช่เย็นหรือแช่แข็ง (๔.๑๙) สัตว์น้ำที่มีชีวิต ต้องวางจำหน่ายแยกเป็นสัดส่วนในภาชนะที่ไม่รั่วซึม สะอาด (๔.๒๐) เนื้อปลาที่ชำแหละ ต้องวางจำหน่ายในภาชนะหรือวัสดุอื่นที่ทำความเย็นได้ดี ไม่วางเนื้อปลาซ้อนกันเกินกว่า ๑ ชั้น และต้องวางภาชนะบนน้ำแข็ง (๔.๒๑) อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์ต้องวางจำหน่ายแยกจากอาหารที่ปรุงสุกแล้ว (๔.๒๒) อาหารพร้อมปรุง ต้องแยกส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ดิบ ปลา และอาหารทะเลดิบ บรรจุในภาชนะเฉพาะ เช่น ถุงพลาสติก เป็นต้น แล้วจึงบรรจุรวมกับส่วนประกอบอื่นในภาชนะรวมเดียวกัน (๔.๒๓) ไข่ดิบ ในกรณีที่วางจำหน่ายรวมกับอาหารประเภทอื่น ต้องบรรจุในภาชนะ กระดาษหรือพลาสติก หากพบว่ามีการแตกชำรุดของไข่ ต้องเก็บออกทันที และทำความสะอาดชั้นที่วางจำหน่าย (๔.๒๔) อาหารสัตว์เลี้ยงชนิดแช่แข็ง ต้องบรรจุปิดสนิท และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงว่าเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง มีตู้แช่แยกเฉพาะจากอาหารสำหรับคนบริโภค (๔.๒๕) ต้องจัดให้มีคำเตือนสำหรับผู้บริโภค เพื่อป้องกันการหยิบจับอาหารที่ไม่ได้บรรจุในถุงหรือกล่องด้วยมือ วางไว้ในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน และจัดให้มีพนักงานดูแลรับผิดชอบในการจำหน่ายและช่วยเหลือลูกค้า (๔.๒๖) การจำหน่ายสลัดผักผลไม้ ต้องแยกบรรจุตามประเภทไม่ปะปนกันในตู้ที่รักษาอุณหภูมิ ๕ องศาเซลเซียส หากใช้น้ำแข็งต้องฝังภาชนะบรรจุในน้ำแข็งให้ลึกเกินกว่าครึ่งหนึ่งของความสูงของภาชนะบรรจุ (๔.๒๗) ไม่วางจำหน่ายอาหารชนิดอื่นที่ไม่ใช่ส่วนประกอบของสลัดผักผลไม้ในบริเวณที่จำหน่ายสลัดผักผลไม้ (๔.๒๘) น้ำสลัดที่ไม่บรรจุในภาชนะปิดสนิท ต้องวางจำหน่ายที่อุณหภูมิต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส (๔.๒๙) ต้องจัดให้มีภาชนะอุปกรณ์ที่ทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารและมีจำนวนเพียงพอในการหยิบจับหรือตักหรือบรรจุอาหารสำหรับผู้บริโภค และมีการล้างทำความสะอาดอย่างน้อยทุก ๔ ชั่วโมง (๔.๓๐) ต้องจัดให้มีคำเตือนสำหรับผู้บริโภค “ห้ามหยิบจับอาหารด้วยมือ” วางไว้ในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน (๔.๓๑) การเติมอาหาร ต้องเปลี่ยนภาชนะใหม่ ไม่นำอาหารมาเติมในภาชนะบรรจุเดิม (๔.๓๒) อาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค ต้องมีการปกปิดขณะวางจำหน่ายในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละชนิด อาหารบริโภคเย็นต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส อาหารบริโภคร้อนต้องอุ่นให้ร้อนที่อุณหภูมิจุดกึ่งกลางสูงกว่า ๗๔ องศาเซลเซียส นานกว่า ๒ นาที ทุก ๔ ชั่วโมง (๔.๓๓) ภาชนะบรรจุอาหาร ต้องสะอาด ได้มาตรฐานสำหรับใช้บรรจุอาหารเท่านั้น (๔.๓๔) อาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค จะต้องปรุงจำหน่ายวันต่อวัน (๔.๓๕) วางจำหน่ายผัก ผลไม้ แยกตามประเภทไม่ปะปนกัน สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ไม่วางจำหน่ายผักผลไม้ที่เน่าเสียขึ้นรา (๔.๓๖) น้ำแข็งที่ใช้แช่อาหาร ต้องสะอาด คุณภาพเทียบเท่าน้ำแข็งสำหรับบริโภค (๔.๓๗) ในกรณีที่จัดน้ำดื่มไว้บริการ ต้องเป็นน้ำดื่มที่สะอาด ภาชนะที่ใช้ดื่มต้องเป็นแบบใช้ครั้งเดียว (๕) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ (๕.๑) โต๊ะ เคาน์เตอร์ ตู้ กระบะใส่อาหาร และภาชนะบรรจุอาหารต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ผิวเรียบ ไม่ดูดซึมน้ำ มีสภาพดี สะอาด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๕.๒) โต๊ะ เคาน์เตอร์จำหน่ายสลัด ต้องสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และมีอุปกรณ์ป้องกันการปนเปื้อนน้ำลาย (Sneeze guard) โดยให้มีช่องว่างจากขอบอุปกรณ์ป้องกันการปนเปื้อนน้ำลายถึงพื้นเคาน์เตอร์ไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร (๕.๓) ต้องทำความสะอาดรถขนส่ง ตะกร้า ภาชนะใส่อาหาร ด้วยวิธีที่ถูกสุขลักษณะทุกครั้งที่ใช้ขนส่ง และมีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียโดยวิธีการ swab ภาชนะที่บรรจุอาหารและรถขนส่งอาหารอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง (๕.๔) รถเข็นที่ใช้ขนส่งอาหาร ต้องไม่ใช้ปะปนกับรถขนมูลฝอย (๕.๕) น้ำใช้สำหรับล้างอาหารและภาชนะอุปกรณ์ ต้องสะอาด (๖) ตู้แช่เย็น ตู้แช่แข็ง ห้องแช่เย็น หรือห้องแช่แข็ง ที่ใช้เก็บหรือวางจำหน่ายอาหาร (๖.๑) โครงสร้างภายใน ต้องทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีสภาพดี สะอาด สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดได้ (๖.๒) ไม่มีน้ำแข็งเกาะหนาเกินกว่า ๗ นิ้ว (๖.๓) กรณีเป็นห้องเย็น พื้นต้องไม่มีน้ำเฉอะแฉะ สะอาด และไม่วางอาหารบนพื้น (๖.๔) ประตูและขอบยางห้องเย็น ตู้เย็น หรือตู้แช่แข็ง มีสภาพดี สะอาด (๖.๕) มีการติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์ ในบริเวณที่สามารถอ่านอุณหภูมิได้ตลอดเวลาจากภายนอก (๖.๖) มีการตรวจวัดอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก ๒ ชั่วโมง และมีตารางบันทึกอุณหภูมิที่สามารถตรวจสอบได้ (๗) อุณหภูมิของตู้เย็น สำหรับวางจำหน่ายอาหารชนิดต่าง ๆ (๗.๑) ตู้จำหน่ายอาหารเนื้อสัตว์ดิบและผลิตภัณฑ์ ต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส (๗.๒) ตู้จำหน่ายนมและผลิตภัณฑ์ และเครื่องดื่มที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบพาสเจอร์ไรส์ ต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส (๗.๓) ตู้จำหน่ายอาหารพร้อมปรุง ต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่า ๗ องศาเซลเซียส (๗.๔) ตู้จำหน่ายผัก ผลไม้ ต้องมีอุณหภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส (๗.๕) ตู้แช่แข็งสำหรับไอศกรีม และอาหารแช่แข็งอื่น ๆ ต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่า - ๑๘ องศาเซลเซียส (๘) ภาชนะอุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำด้วยสแตนเลส หรือวัสดุอื่นที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร สภาพดี ไม่ดูดซึมน้ำ สะอาด ต้องแยกใช้ระหว่างอาหารดิบและอาหารสุก และต้องล้าง ทำความสะอาดระหว่างใช้งาน หรือก่อนและหลังการปฏิบัติงานทุกวัน (๙) มีอ่างล้างมือสำหรับผู้บริโภค พร้อมสบู่ กระดาษเช็ดมือและถังรองรับมูลฝอยในบริเวณที่ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารได้เอง (๑๐) บริเวณสถานที่ผลิตและจำหน่ายขนมอบ (Bakery) ที่เข้าข่ายโรงงานต้องได้มาตรฐาน GMP ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และต้องจัดให้มีภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด และเพียงพอในการหยิบจับอาหารสำหรับผู้บริโภค และมีการล้างอย่างน้อยทุก ๔ ชั่วโมง ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด สำหรับกรณีการขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร (๓) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๒ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่เกินสามสิบวัน เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตามข้อ ๙ และข้อ ๑๐ โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวกำหนด การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๑ ผู้ใดประสงค์จะแจ้งเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด สำหรับกรณีการขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร (๓) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวประกาศกำหนด ข้อ ๒๒ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามข้อ ๒๑ ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามข้อ ๒๑ ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวกำหนด การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๕ เมื่อผู้แจ้งตามข้อบัญญัตินี้ ประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่น ให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้ ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๗ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งหรือผู้ดำเนินการทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือ ให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือ และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สุเวทย์ สุวรรณแสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๓๙/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,210
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว เรื่อง กำหนดค่าตอบแทนการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2557
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว เรื่อง กำหนดค่าตอบแทนการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] โดยที่สมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว ว่าด้วยการกำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๙ และมาตรา ๙/๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ และข้อ ๑๔ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๗ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าวและนายอำเภอสันป่าตอง จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว เรื่อง กำหนดค่าตอบแทนการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว นับถัดจากวันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “ที่ดิน” หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย “ที่ดินของรัฐ” หมายความว่า ที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งพลเมืองได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้ว และมีผู้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน “ค่าตอบแทน” หมายความว่า จำนวนเงินที่ผู้รับอนุญาตต้องเสียเป็นรายปีให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและพนักงานอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน “ทบวงการเมือง” หมายความว่า หน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น ข้อ ๔ การอนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ การดำเนินการ การออกใบอนุญาต การยกเลิกและเพิกถอนใบอนุญาต ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินและตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๕ ให้ผู้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินของรัฐ ดังต่อไปนี้ต้องเสียค่าตอบแทนตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ (๑) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่อสร้างหรือเผาป่า (๒) ทำด้วยประการใด ให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา หรือ (๓) ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน ข้อ ๖ ให้ผู้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว เสียค่าตอบแทนให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าวตามบัญชีอัตราค่าตอบแทนที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๗ ให้ผู้รับอนุญาตเสียค่าตอบแทนให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ในกรณีที่ระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งปีให้เสียค่าตอบแทนสำหรับปีต่อไปภายในสิบห้าวันนับแต่วันครบปีที่ได้รับอนุญาต ข้อ ๘ ผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐรายใดไม่ชำระค่าตอบแทนภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนค่าตอบแทนสำหรับปีนั้น ข้อ ๙ เงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินค่าตอบแทนและถือเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว ข้อ ๑๐ เงินค่าตอบแทนให้ตกเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าวและให้แบ่งค่าตอบแทนที่ได้รับดังกล่าวให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ในอัตราร้อยละสี่สิบของค่าตอบแทน ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ ข้อ ๑๑ ผู้รับอนุญาตรายใดมีหน้าที่ต้องชำระค่าตอบแทนให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว ไม่ชำระค่าตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ ๗ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าวเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ธนวัฒน์ สิงห์กันฑ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว เรื่อง กำหนดค่าตอบแทนการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๕๙/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,211
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน และนายอำเภอเมืองเลย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมานแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติ บรรดาข้อกำหนด ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อกำหนดอื่น หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง ลูกจ้างและบุคคลอื่นใดที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะและหมายความถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น ๆ ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมานเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้เพื่อการนั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่ในครอบครองของตนไม่ให้มีสิ่งปฏิกูล มูลฝอย หรือมีการถ่าย เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ หมวด ๒ หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่สำหรับรองรับมูลฝอยจากอาคารหรือสถานที่ครอบครองของตน ที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่ว มีฝาปิดมิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้ตามแบบที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องเก็บรวบรวมมูลฝอยซึ่งเกิดขึ้นจากอาคารหรือสถานที่ในการครอบครองของตนไว้ในที่รองรับมูลฝอย ส่วนสิ่งปฏิกูลจะต้องถ่ายเททิ้งลงไว้ในถังหรือบ่อเก็บสิ่งปฏิกูลอันถูกสุขลักษณะตามแบบที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบเท่านั้นแล้วจะต้องมอบให้ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รวบรวมเก็บ ขน และกำจัด โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๙ เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และเพื่อประโยชน์ในการกำจัดมูลฝอยให้เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและประหยัด เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจประกาศกำหนดให้มีการแยกมูลฝอยออกเป็นประเภท ๆ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่จะต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอยออกเป็นประเภทตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด และต้องแยกเก็บรวบรวมมูลฝอยแต่ละประเภทไว้ในที่รองรับมูลฝอยแต่ละที่แล้วมอบให้ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รวบรวมเก็บ ขน มูลฝอยแต่ละประเภทไปทำการกำจัดต่อไป หมวด ๓ หลักเกณฑ์การขออนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควร ราชการส่วนท้องถิ่นอาจพิจารณาออกใบอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยแทน โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นได้ ทั้งนี้ บุคคลนั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๑ ภายใต้บังคับข้อ ๙ ผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นผู้ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่ามีความพร้อมทั้งในด้านเครื่องมือเครื่องใช้ ด้านบุคลากร ด้านวิชาการ ด้านสถานที่ ฯลฯ และมีความน่าเชื่อถือว่าสามารถรับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยได้ (๒) ต้องทำการเก็บขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรืออาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมตามวิธีการและรายละเอียดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๓) ต้องจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้อันได้มาตรฐานซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการมาให้พร้อมตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๔) เงื่อนไขและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเพิ่มเติมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามความเหมาะสมและจำเป็น ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐ สามารถเรียกเก็บค่าบริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยได้ไม่เกินอัตราที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ ภายใต้บังคับข้อ ๑๐ ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบ ปม. ๑ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอแล้ว หากถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้ออกใบอนุญาตให้ ตามแบบ ปม. ๒ หรือแบบ ปม. ๓ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมภายในกำหนด ๑๕ วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การแจ้งตามวรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการของผู้ต้องรับหนังสือ และให้ถือว่าผู้นั้นได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตให้มีอายุ ๑ ปี นับตั้งแต่วันออกให้ผู้รับใบอนุญาตแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักทำการของตน ข้อ ๑๗ หากใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน ๑๕ วัน นับตั้งแต่วันทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมด้วยหลักฐานต่อไปนี้ คือ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ ในกรณีสูญหาย หรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตฉบับเดิมในกรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๑๘ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตใช้แบบ ปม. ๒ หรือ ปม. ๓ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้และลงวันที่ เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระของใบอนุญาตเดิม พร้อมระบุเล่มที่ เลขที่ วัน เดือน ปีของใบแทนใบอนุญาตที่ออกให้ใหม่ ข้อ ๑๙ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุในอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ ปม. ๔ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ การต่ออายุใบอนุญาตให้ทำได้คราวละ ๑ ปี นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ ข้อ ๒๐ การชำระค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัตินี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ หากมิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนดจะต้องเสียค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๒๐ ของยอดเงินค่าธรรมเนียม เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้น ก่อนถึงกำหนดการที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว ข้อ ๒๑ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ที่กำหนดท้ายข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ใช้แบบ ปม. ๑ (๒) ใบอนุญาตให้รับทำการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ ปม. ๒ (๓) ใบอนุญาตให้รับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ ปม. ๓ (๔) คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ใช้แบบ ปม. ๔ (๕) คำร้องหรือคำขออื่นใดนอกจากที่ระบุข้างต้น (๑) – (๔) ให้ใช้แบบคำร้องทั่วไป หมวด ๔ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๒ ผู้ใดดำเนินกิจการการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๑๒ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ หรือเรียกเก็บค่าบริการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยจากผู้ใช้บริการเกินกว่าอัตราที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดตามข้อ ๑๑ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืน ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ หรือข้อ ๙ แห่งข้อบัญญัตินี้มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ชาติชาย จิตรอารีย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมาน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตรับทำการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ปม. ๑) ๓. ใบอนุญาตให้รับทำการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (แบบ ปม. ๒) ๔. ใบอนุญาตให้รับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (แบบ ปม. ๓) ๕. คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย (แบบ ปม. ๔) ๖. แบบคำร้องทั่วไป (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๒๔/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,212
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามและนายอำเภอบ้านแพ้ว จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริการส่วนตำบลหลักสาม ตั้งแต่วันที่ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่” หมายความวา มูลฝอยทั่วไปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก “มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน” หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “น้ำชะมูลฝอย” หมายความว่า ของเหลวที่ไหลชะผ่านหรือของเหลวที่ออกมาจากมูลฝอยซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้มีอำนาจปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “อาคารอยู่อาศัยรวม” หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เขตห้ามเทกองขยะมูลฝอย” หมายความว่า เขตพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ข้อ ๖ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามอาจมอบให้บุคคลใดหรือจะจ้างให้บุคคลหรือเอกชนใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทน ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามหรืออาจอนุญาตหรือจ้างให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๑๐ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง กอง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามจัดไว้ให้ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือสิ่งเปรอะเปื้อนที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) ห้ามผู้ใดลักลอบ หรือทำการถ่าย เท ทิ้ง กอง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างอันเป็นของเอกชน ทั้งของตนเอง หรือบุคคลอื่น (๔) ห้ามผู้ใดทำการขน คุ้ย เขี่ย หรือขุดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่สาธารณะอื่นใดขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เว้นแต่จะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย (๕) หากผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างเปล่าปล่อยให้มีมูลฝอยสะสมจนก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ ผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินว่างเปล่านั้นจะต้องทำการจัดเก็บ ขน และกำจัดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว หากผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างเปล่านั้นยังคงเพิกเฉย ละเลย หรือกระทำการไม่แล้วเสร็จโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญจากสถานที่ดังกล่าว และผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือที่ดินว่างเปล่านั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ (๖) ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรม ทิ้งกากอุตสาหกรรม และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานปะปนรวมไปกับมูลฝอยทั่วไป (๗) ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป ต้องมีลักษณะที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ (๗.๑) เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ สามารถบรรจุมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่า ๒ วัน มีการแยกเก็บมูลฝอยทั่วไปเป็นสัดส่วน ตั้งอยู่ในสถานที่สะดวกต่อการเก็บรวบรวม ขนถ่าย อยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบอาหาร ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗.๒) พื้น ผนัง เรียบ ทำด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย มีลักษณะปิดมิดชิดสามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค และมีการระบายอากาศดี (๗.๓) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้ง เชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย (๗.๔) ประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก (๗.๕) มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งสถานที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปมีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป” และมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง (๘) ภาชนะรองรับที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีลักษณะที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ (๘.๑) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ พื้นฐานเรียบ มั่นคงแข็งแรง ทำความสะอาดง่าย มีรางระบายน้ำโดยรอบเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค สถานที่ปรุงประกอบอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๘.๒) ตั้งอยู่ในบริเวณที่สะดวกต่อการขนย้ายและไม่กีดขวางเส้นทางจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ (๘.๓) มีลักษณะปิดมิดชิด แข็งแรง ทนทาน สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคสะดวกต่อการขนถ่ายมูลฝอย และสามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย มีระบบรวบรวมและป้องกันน้ำชะมูลฝอยไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม (๘.๔) มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ข้อ ๑๐ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) เอกสารหรือหลักฐานแสดงสถานที่รับกำจัดมูลฝอยทั่วไปที่ได้รับใบอนุญาตและมีการดำเนินกิจการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลโดยมีหลักฐานสัญญาว่าจ้างระหว่างผู้ขนกับผู้กำจัดมูลฝอย (๕) เสนอแผนการดำเนินงานในการเก็บขนมูลฝอยที่แสดงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน ความพร้อมด้านกำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการบริหารจัดการ (๖) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามประกาศกำหนด (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเอง ต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) มีเอกสารสิทธิในที่ดินที่ใช้กำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๒) มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาล (๒.๒.๑) ที่ไม่ก่อให้เกิดปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังพื้นดิน แหล่งน้ำ น้ำใต้ดิน พืชผลทางการเกษตร (๒.๒.๒) ไม่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์พาหะนำโรค (๒.๒.๓) ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น สกปรกหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) หลักเกณฑ์ด้านยานพาหนะขนมูลฝอย ต้องมีลักษณะดังนี้ (๓.๑.๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอยมีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิด เป็นแบบที่ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และทำความสะอาดง่าย (๓.๑.๒) มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอยเพื่อมิให้รั่วไหลตลอดการปฏิบัติงาน และนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย (๓.๑.๓) มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟวับวาบติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่ก่อให้เกิดความรำคาญและสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ (๓.๑.๔) ยานพาหนะขนมูลฝอยต้องมีความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงาน ระดับที่ขนถ่ายมูลฝอยใส่ในตัวถังยานพาหนะต้องไม่สูงเกินไป หรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติงาน (๓.๒) หลักเกณฑ์ด้านผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขน (๓.๒.๑) ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี (๓.๒.๒) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ในขณะทำหน้าที่เกี่ยวกับเก็บ ขนมูลฝอย (๔) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) มีเอกสารสิทธิในที่ดินที่ใช้กำจัดมูลฝอย (๔.๒) หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะการกำจัดมูลฝอย ต้องกำจัดมูลฝอยโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้ แต่วิธีการนี้ไม่นำไปใช้กับมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนและของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (๔.๒.๑) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (๔.๒.๒) การเผาในเตาเผา (๔.๒.๓) การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ (๔.๒.๔) การจัดการแบบผสมผสาน (๔.๒.๕) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๔.๓) ต้องทำการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นก่อนทำการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอย และมีมาตรการควบคุมกำกับการดำเนินงานกำจัดมูลฝอยในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (๔.๔) การกำจัดมูลฝอยต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีวิธีดำเนินการดังนี้ (๔.๔.๑) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๒ ห่างจากสนามบิน บ่อน้ำดื่ม โรงงานผลิตน้ำประปา สถานศึกษา ศาสนสถาน โบราณสถาน หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในกรณีเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำป่าไหลหลากต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (๒) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่ฝังกลบ จัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการฝังกลบและปัญหากลิ่นรบกวน (๓) มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอยโดยมีการบดอัดก้นบ่อด้านล่างและด้านข้างให้แน่นและปูด้วยแผ่นวัสดุกันซึม (๔) มีระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน และมีกระบวนการบำบัดน้ำชะมูลฝอย ให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) มีการกลบทับหน้ามูลฝอยรายวันด้วยดินหรือวัสดุกลบทับอื่นและปิดการฝังกลบเมื่อบ่อฝังกลบเต็ม โดยปิดทับหน้าบ่อฝังกลบด้วยดินหน้าอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม เพื่อป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๖) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค (๗) ต้องมีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบ และมีระบบเผาทำลายก๊าซ หรือมีระบบการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น (๘) มีบ่อสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน และในระหว่างการดำเนินการฝังกลบให้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทุก ๖ เดือน กรณีที่มีการปิดบ่อฝังกลบแล้วให้มีการตรวจสอบปีละ ๑ ครั้ง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา ๕ ปี (๔.๔.๒) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการเผาในเตาเผา ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ให้เป็นไปตามผลการศึกษาตามความใน (๔.๓) มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอย มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๒) มีที่พักรวมมูลฝอย ที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ (ก) เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ สามารถบรรจุมูลฝอยได้ ไม่น้อยกว่า ๒ วัน มีการแยกเก็บมูลฝอยเป็นสัดส่วน ตั้งอยู่ในสถานที่สะดวกต่อการเก็บรวบรวม ขนถ่าย อยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบอาหาร (ข) พื้น ผนัง เรียบ ทำด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย มีลักษณะปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค การระบายอากาศดี (ค) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้ง เชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย เว้นแต่อาคารไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย (ง) ประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก (จ) มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งสถานที่พักรวมมูลฝอย มีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป” และมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง (๓) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่เผามูลฝอย จัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการเผาและปัญหากลิ่นรบกวน (๔) ต้องเผามูลฝอยที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๘๕๐ องศาเซลเซียส และมีระบบควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยให้ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค (๖) มีการบำบัดน้ำเสียจากระบบกำจัด และน้ำเสียใด ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัดให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๗) มีการกำจัดเถ้าหนัก โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้าปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน และต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บขี้เถ้าหนักที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการในการนำขี้เถ้าหนักออกไปกำจัดเป็นประจำ (๘) มีการกำจัดขี้เถ้าเบาโดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บขี้เถ้าเบาที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการในการนำขี้เถ้าเบาออกไปกำจัดเป็นประจำ (๔.๔.๓) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ให้เป็นไปตามผลการศึกษาตามความใน (๔.๓) (๒) อาคารคัดแยกมูลฝอย มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่นำมาหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพ มีการระบายอากาศและแสงสว่างในอาคารคัดแยกมูลฝอยที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๓) มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยในอาคารคัดแยกมูลฝอยและอาคารระบบหมักทำปุ๋ย (๔) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค (๕) มูลฝอยจากการคัดแยกส่วนที่หมักทำปุ๋ยหรือหมักทำก๊าซชีวภาพไม่ได้ ต้องมีระบบกำจัดหรือส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หรือการเผาในเตาเผา หรืออาจมีการนำมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไปใช้ประโยชน์ (๖) ต้องบำบัดน้ำชะมูลฝอย น้ำเสียจากสถานที่คัดแยกและสถานที่หมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๗) กรณีหมักทำก๊าซชีวภาพ บ่อหมักต้องเป็นระบบปิด มีการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดการทำงาน (๔.๔.๔) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการแบบผสมผสาน ซึ่งระบบกำจัดใช้วิธีการกำจัดมากกว่า ๑ วิธีตามความใน ๔.๑ ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่กำจัด (๒) ในกรณีที่มีอาคารคัดแยกมูลฝอย และอาคารอื่น ๆ ของระบบกำจัดมูลฝอยต้องมีการระบายอากาศและแสงสว่างในอาคาร ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (๓) ต้องมีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยในอาคารคัดแยกมูลฝอยและอาคารอื่น ๆ (๔) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแมลงพาหะนำโรค (๕) ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำจัดโดยการเผาในเตาเผาดำเนินการเผาให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ ตามข้อ (๔.๓.๒) (๖) ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำจัดโดยการหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ ตามความใน (๔.๔.๓) (๔.๕) หลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงานดังนี้ (๔.๕.๑) ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุม กำกับในการจัดการมูลฝอยอย่างน้อย ๒ คน โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านสาธารณสุข ด้านสุขาภิบาล หรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือวิศวกรรมเครื่องกลด้านใดด้านหนึ่ง เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (๔.๕.๒) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่กำจัดมูลฝอย ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยจากการทำงาน (๔.๕.๓) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอย รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่กำจัดมูลฝอยด้วย ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๕ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูล ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางและรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล และทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดยานพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) ดำเนินงานระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของระบบกำจัด (๒.๒) ขณะปฏิบัติงาน ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางและรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๒.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) ขณะทำการเก็บ ขนมูลฝอยต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๓.๒) ทำความสะอาดพาหนะเก็บ ขนมูลฝอย อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานเก็บ ขนมูลฝอยแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่แหล่งน้ำสาธารณะ (๓.๓) กรณีที่มีมูลฝอยตกหล่นบนทางสาธารณะให้จัดการเก็บให้เรียบร้อย (๓.๔) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บ ขนมูลฝอย อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) ดำเนินงานระบบกำจัดมูลฝอยตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของระบบกำจัด (๔.๒) ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๔.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔.๔) ให้นำความในข้อ ๑๑ (๔) มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๖ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้นำความในข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ ให้นำมาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้ จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๔ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๕ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๙ ผู้ใดที่รับอนุญาตเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการไปจนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ หรือไม่เกิน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อต่ออายุใบอนุญาตให้ปฏิบัติให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เผอิญ ศรีนิเวศน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ๕. คำร้องขออนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๙๐/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,213
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพลและนายอำเภอบ่อไร จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล แล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัสดุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมตลอดถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล “พนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงวางสินค้าหรือจัดวางในลักษณะอื่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) แผงวางสินค้าทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและมีความสูงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๔) จัดวางสินค้าและสิ่งของใด ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำออกนอกบริเวณที่กำหนด ทั้งนี้ รวมทั้งตัวของผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าด้วย (๕) ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าในระหว่างการจำหน่ายอยู่เสมอ (๖) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป เป็นต้น (๗) เมื่อเสร็จสิ้นการจำหน่ายทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้องจากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า (๘) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพลประกาศกำหนด (๙) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ (๒) แผงจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี เป็นระเบียบ อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๓) อาหารปรุงสุกมีการปกปิดหรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค (๔) สารปรุงแต่งอาหารต้องมีเลขและเครื่องหมาย (อย.) กำกับ (๕) น้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด มีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๖) เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และมีที่ตักที่มีด้ามยาว หรือก๊อก หรือทางเทรินน้ำ (๗) น้ำแข็งที่ใช้บริโภค (๗.๑) ต้องสะอาด (๗.๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๗.๓) ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว (๗.๔) ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง (๘) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล และอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๙) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาด และมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๑๐) มีการรวบรวมมูลฝอยและเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด (๑๑) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนและสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม (๑๒) ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว (๑๓) ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือต้องปกปิดแผลให้มิดชิด ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) ไม่ทิ้งมูลฝอยลงในที่หรือทางสาธารณะ (๓) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องขยายเสียง เป็นต้น (๔) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพลประกาศกำหนด (๕) การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) สวมเสื้อที่มีแขนใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้นมีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร (๓) รักษาความสะอาดมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร (๕) ไม่ไอหรือจามรดบนอาหาร (๖) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และแผงวางจำหน่ายอาหารต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๗) ไม่เททิ้งเศษอาหาร หรือน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายน้ำสาธารณะ (๘) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด (๙) ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง แมลงวันและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๑๐) ใช้น้ำที่สะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่หรือล้างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ และไม่เททิ้งมูลฝอยลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคติดต่ออื่น ๆ ที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพลกำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพลประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ ถึงข้อ ๑๐ ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ในการออกใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาต ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ จะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพลประกาศกำหนด และจะต้องติดบัตรประจำตัวไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพลเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ โดยอนุโลม ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการ ตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพลกำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๔ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๕ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพลเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พันตำรวจตรี วุฒิพงษ์ โสภาพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่อใบอนุญาตการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๓๐/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,214
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ว่าด้วยการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายและนายอำเภอบ้านโพธิ์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายเมื่อได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น มัสยิด วัดโบสถ์ หรือศาสนสถานที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งจะออกระเบียบ ประกาศ มิให้ใช้บังคับข้อบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้ ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” หมายความว่า สถานที่ที่ทำการผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวด หรือใส่ภาชนะต่าง ๆ โดยมีการจ่ายเงินเป็นค่าน้ำบริโภค ณ สถานที่ผลิตน้ำ “ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” หมายถึง บุคคล นิติบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ซึ่งประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๖ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมีการควบคุม ต้องปฏิบัติและจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำหยอดเหรียญรายใดประกอบกิจการอยู่ก่อนข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ข้อ ๗ สถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้น้ำดื่มเกิดการปนเปื้อนได้ง่ายดังนี้ (๑) ต้องอยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีฝุ่นมาก แหล่งระบายน้ำเสีย และแหล่งขยะมูลฝอย (๒) ต้องเป็นสถานที่ที่ไม่มีแหล่งแมลงและสัตว์พาหะนำโรค (๓) บริเวณพื้นที่ตั้งตู้น้ำไม่เฉอะแฉะ สกปรกและมีการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะ (๔) การติดตั้งตู้น้ำต้องยกระดับสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๐ เซนติเมตร (๕) จัดให้มีอุปกรณ์เพียงพอและมีความสูงตามความเหมาะสมสำหรับวางภาชนะบรรจุน้ำ ข้อ ๘ ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีคุณลักษณะดังนี้ (๑) ตู้น้ำและอุปกรณ์ต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) ตู้น้ำจะต้องมีความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและไม่รั่วซึม รวมทั้งสามารถทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายได้ง่าย (๓) หัวจ่ายน้ำและส่วนที่สัมผัสน้ำต้องทำจากวัสดุที่ใช้กับอาหารเท่านั้น (Food Grade) และหัวจ่ายน้ำต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร ข้อ ๙ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำดังนี้ (๑) แหล่งน้ำที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพดี เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล (๒) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการผลิตน้ำเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเองต้องมีระบบการตรวจสอบ การควบคุม และการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผลิตให้มีคุณภาพดี (๓) มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามความจำเป็นของคุณภาพแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้น้ำบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีการเก็บตัวอย่างน้ำ ส่งตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย อย่างน้อย ๑ ครั้งต่อปี ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านแบคทีเรียโดยใช้ชุดตรวจวัดอย่างง่ายในภาคสนามอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อเดือน ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีการบำรุงรักษาและการทำความสะอาดดังนี้ (๑) มีการทำความสะอาดสถานที่ บริเวณที่ตั้งของตู้น้ำเป็นประจำทุกวัน (๒) มีการทำความสะอาดพื้นผิวตู้ ช่องระบายน้ำและหัวจ่ายน้ำเป็นประจำวัน (๓) ล้างทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในตู้อย่างน้อย ๑ ครั้งต่อเดือน (๔) ล้างทำความสะอาดและเปลี่ยนวัสดุกรองตามระยะเวลาข้อแนะนำของผลิตภัณฑ์ที่กำหนดหรือเมื่อพบผลการตรวจผิดปกติเกินมาตรฐาน ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องจัดทำระบบข้อมูลและการรายงานอย่างน้อยดังนี้ (๑) บันทึกการปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำ และการดูแลบำรุงรักษาตามตารางแผนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ (๒) รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๓) จัดให้มีสัญลักษณ์แสดงคุณภาพน้ำบริโภคได้มาตรฐานหรือปรับปรุงต่อผู้บริโภคอย่างเปิดเผยเป็นประจำวัน ข้อ ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายประกาศกำหนด ข้อ ๑๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลา และเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไข โดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๗ ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายเท่านั้น การต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นขอก่อนใบอนุญาตครบกำหนดพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๑๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและสังเกตเห็นได้ง่าย ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มาแสดงด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมที่เหลืออยู่มาแสดงด้วย ข้อ ๒๒ ในกรณีปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุพล สุขโขใจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ…………………………………………………… ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ………………………………………………… ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการ……………………….….…………..... ๕. รายการเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๔๐/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,215
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เห็นเป็นการสมควรแก้ไขและปรับปรุงรายชื่อกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียนและนายอำเภอตระการพืชผล จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียนตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียนแล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “องค์การบริหารส่วนตำบล” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือการให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้านเรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” หมายความว่า กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียน โดยพิจารณาตามขอบเขตความหมายของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขสำหรับการประกอบกิจการแนบท้ายข้อบัญญัตินี้ ๕.๑ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม ๕.๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่ประกอบอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๕.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึง (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๕.๔ กิจการเกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕.๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๕.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน ๕.๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๕.๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๕.๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือกหรือล้างแร่ ๕.๗ กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดรถยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๕.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘) การเผาถ่านหรือการสะสมถ่าน ๕.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน (๑๘) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๑๙) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๒) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๕.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก การอบ การรีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๕.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด การโม่ การย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อย ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือ (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖ (๕) ๕.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน ๕.๗ (๑) (๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติกเซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม การบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว ๕.๑๓ กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการควรตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขพิจารณาเห็นสมควร ไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว กรณีดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมหลายประเภทในสถานที่เดียวกัน ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในทุกประเภทตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด กรณีเป็นนิติบุคคล (๔) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่รับรองความถูกต้อง ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจกรณีผู้ขอใบอนุญาตไม่สามารถยื่นคำขอได้ด้วยตนเอง (๕) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๖) ใบอนุญาตฉบับจริงกรณีต่ออายุใบอนุญาต (๗) อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้โดยเฉพาะในใบอนุญาตหรือแนบท้ายใบอนุญาต (๒) หากปรากฏในภายหลังว่าการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ (๓) อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือเห็นสมควร ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลตำบลกระเดียนเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลตำบลกระเดียน ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และให้ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระเดียนรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วุฒิชัย อินทร์แก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลกระเดียน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลกระเดียน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ............................................................. ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ………………………………………………… ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการ………………………………………………… ๕. รายการเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๖๕/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,216
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดมและนายอำเภอปากเกร็ด จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารตำบลคลองพระอุดม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม นับแต่วันถัดจากวันประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม แล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ออกตามความใน มาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของ หรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบการดำเนินการในสถานประกอบกิจการนั้น “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ผู้ดำเนินการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม ๖.๑ กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม ๖.๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์ และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๖.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดองแช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้มตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๖.๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๖.๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตในข้อ ๖.๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือกหรือล้างแร่ ๖.๗ กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๖.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๖.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตในข้อ ๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๖.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ๖.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหิน ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๖ (๕) ๖.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต บรรจุ สะสม หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต กลั่น สะสม หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต การสะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต บรรจุ สะสม ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๖.๑๓ กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงานหรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจาก (ชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง) ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมาตรการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจำกัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกัน และกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีความมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุมครองแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีทีมีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ การควบคุมกิจการ และการออกใบอนุญาต ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบใบอนุญาตที่แนบท้ายข้อบัญญัตินี้ ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านผู้ดำเนินกิจการ และทะเบียนบ้านของสถานประกอบกิจการ (๓) หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ) (๔) สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารของสถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการ (๕) หนังสือให้ความเห็นชอบการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๖) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๗) หลักฐานที่แสดงการเป็นผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล (๘) แผนผังแสดงบริเวณที่ตั้งของสถานประกอบกิจการ (๙) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๑๐) เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็นซึ่งเจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควรเรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๕ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องประกอบกิจการนั้น ๆ ภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาต วันเวลา ที่ได้รับอนุญาต (๒) ต้องรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกชนิด ให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและปลอดภัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ (๓) ต้องรักษาสภาพแวดล้อม สถานที่ประกอบกิจการ ให้สะอาดและปลอดภัย ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ แมลงวัน ยุง สัตว์พาหะนำโรคติดต่อ และมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๔) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัย และระบบความปลอดภัยเวลาที่เกิดอัคคีภัยขึ้น มีบันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉิน ที่ถูกต้องตามกฎหมาย (๕) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต (๖) ต้องจัดให้มีระบบการป้องกันการปนเปื้อนสารพิษในผลิตภัณฑ์ที่เป็น “อาหาร” (๗) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการ มีความประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือเพิ่มเติมสถานที่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๘) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าตรวจสอบ สถานที่ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบการค้า ตามกฎหมาย ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เมื่อได้รับแจ้งให้ทราบแล้ว (๙) ปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ ๕ ทราบภายในสามสิบวันนับแต่ที่ได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันโดยจะมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้ง ให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๑๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ข้อ ๒๔ ใบอนุญาตให้มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดมเท่านั้น การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมและให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่อนุญาต การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ข้อ ๒๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียม การออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุม ตามอัตราท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดมนี้ ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตหรือวันที่มายื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าหรือที่มาขอต่ออายุใบอนุญาตรายใดไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง จะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่จะได้บอกเลิกกิจการก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม ข้อ ๒๘ ผู้ใดรับใบประกอบกิจการค้าต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการ ตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าประเภทใดที่ประสงค์จะประกอบกิจการค้าเช่นนั้นต่อไป จะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันสิ้นอายุใบอนุญาต เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต และการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ โดยอนุโลม ข้อ ๓๑ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๒ หากผู้รับใบอนุญาต ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๓ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้ แบบ กอ. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้ แบบ กอ. ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาต ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้ แบบ กอ. ๓ (๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔ ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใด ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง และถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่แก้ไขหรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควร ไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวง ที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๖ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต และคำสั่งเพิกถอนใช้ใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่วันที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๗ ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการค้าที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ในข้อ ๑๗ มีความผิดตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๓๙ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ในข้อ ๗ ข้อ ๘ มีความผิดตามมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๔๐ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตตามข้อ ๑๙ มีความผิดตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท หากฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ในข้อ ๑๙ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๔๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือไม่ยอมแจ้งข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๔๒ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใด ฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ในข้อ ๒๗ หรือ ข้อ ๒๘ มีความผิดตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ข้อ ๔๓ ผู้รับใบอนุญาต ผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต มีความผิดตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน ข้อ ๔๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ในข้อหนึ่งข้อใด มีความผิดตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท เว้นแต่การฝ่าฝืนนั้นต้องด้วยความในข้อ ๓๖ ข้อ ๓๗ ข้อ ๓๘ ข้อ ๓๙ ข้อ ๔๐ ข้อ ๔๑ แห่งข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย มีอำนาจเปรียบเทียบคดีสำหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เมื่อได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือยินยอมแล้วแต่ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ดำเนินคดีต่อไป ข้อ ๔๖ บรรดาใบอนุญาตประกอบการค้า ซึ่งเป็นที่รังเกียจหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันประกาศใช้ข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ได้ต่อไป จนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ข้อ ๔๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สนิท นวลละออ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,217
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้งและนายอำเภอพรานกระต่าย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้งนับตั้งแต่วันถัดจากวันปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้งแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานที่ประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบ หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอามัยสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ผู้ดำเนินกิจการในสถานประกอบกิจการประเภทที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้ออกข้อกำหนดของท้องถิ่นกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องควบคุมและมีผลใช้บังคับในท้องถิ่นนั้นแล้ว ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง (๕.๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง (๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม (๓) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมเพื่อประโยชน์ของกิจการนี้ ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตราย และขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน และปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงาน ที่ทางราชการกำหนด หรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๔ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องการมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (ในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตัวเอง) (๖) เอกสารอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้งเห็นสมควร ข้อ ๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ครอบคลุมทั้งด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข และด้านความปลอดภัย ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้งเท่านั้น ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่รับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการ ตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัติ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันเปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ผู้ประกอบกิจการรายใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ หรือถูกเพิกถอนตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้งเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ขจรศักดิ์ อินทพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง [เอกสารแนบท้าย] ๑. “บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยั้ง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๕๓/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,218
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ประกอบกับมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๒๕ (๑) (๕) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลควนเมาโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมาและนายอำเภอรัษฎา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลควมเมานับแต่วันที่ได้ปิดประกาศ โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมาแล้ว ๗ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัสดุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึง มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ หรือใช้สัญจรได้ “ภาชนะที่มีน้ำขัง” หมายความว่า อุปกรณ์ ของใช้ สิ่งของที่อยู่ในอาคารหรือนอกอาคาร และมีน้ำขังอยู่ เช่น โอ่ง/ตุ่มน้ำ ถังซีเมนต์ในห้องน้ำ แจกัน ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง ถ้วยรองขาตู้ จานรองกระถางต้นไม้ อ่างบัว อ่างเลี้ยงปลา เป็นต้น “เศษวัสดุที่มีน้ำขัง” หมายความว่า มูลฝอยหรือเศษสิ่งของที่มิได้ใช้แล้วในอาคารหรือนอกอาคาร และมีน้ำขังอยู่ เช่น กระป๋อง ยางรถยนต์เก่า ไห กระถาง ขวด เป็นต้น หรือชิ้นส่วนของวัสดุดังกล่าว ที่มีน้ำขังอยู่ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า แหล่งที่ตรวจพบลูกน้ำหรือตัวโม่งยุงลายตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่อาจขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา จัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถาน ต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่อาจขังน้ำได้ ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา ให้บริการเก็บขนมูลฝอย เพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานที่มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขัง อย่างน้อยทุก ๗ วัน หรือใส่สารป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลควนเมาได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้น จะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมาเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สำราญ ปราบปราม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนเมา ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๖๒/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,219
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า เรื่อง กิจการประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า พ.ศ. 2558
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า เรื่อง กิจการประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้าและนายอำเภอเทพา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า เรื่อง กิจการประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า นับถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ บัญญัติ หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ยกเลิกและให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ พร้อมทั้งให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นเจ้าหน้าที่การประปาได้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “การประปา” หมายถึง การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา “เจ้าหน้าที่การประปา” หมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า หรือบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า “ผู้ขอใช้น้ำ” หมายถึง บุคคล หน่วยงาน องค์กรหรือสถานประกอบการที่ยื่นความประสงค์ขอใช้น้ำต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น “ผู้ใช้น้ำ” หมายถึง บุคคล หน่วยงาน องค์กรหรือสถานประกอบการที่ได้ทำสัญญาการใช้น้ำประปาไว้กับการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า “อัตราค่าน้ำประปาและค่าธรรมเนียมในการใช้น้ำประปา” หมายถึง เงินหรือค่าธรรมเนียมอื่นใดที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำประปา รวมทั้งค่ามาตรวัดน้ำ ค่าท่อ อุปกรณ์ ค่าแรง และค่าดำเนินการติดตั้งประปาจนแล้วเสร็จ แต่ไม่รวมถึงค่าติดตั้งประปาภายในอาคาร “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า หรือข้าราชการ หรือพนักงานส่วนตำบลตำแหน่งอื่นที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมวด ๒ การขอใช้น้ำประปา ข้อ ๖ การขอใช้น้ำประปา ผู้ขอจะต้องยื่นคำร้องขอใช้น้ำต่อเจ้าหน้าที่การประปา ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้ากำหนด ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า พร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) ทะเบียนบ้าน (ตัวจริง) พร้อมสำเนา จำนวน ๑ ฉบับ (๒) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา จำนวน ๑ ฉบับ (๓) กรณีผู้ยื่นคำขอใช้น้ำเป็นผู้เช่าจะต้องนำหนังสือยินยอมของผู้ให้เช่ามายื่นพร้อมคำร้อง (๔) หากวางท่อตัดผ่านที่ดินของผู้อื่น จะต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินมายื่นพร้อมคำร้อง ข้อ ๗ ผู้ขอใช้น้ำประปา ต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ เมื่อเจ้าหน้าที่การประปาพิจารณาอนุญาตให้ใช้น้ำประปา ข้อ ๘ ให้เจ้าหน้าที่การประปาพิจารณาคำร้องขอใช้น้ำภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอใช้น้ำประปาจากผู้ยื่นคำร้อง กรณีเจ้าหน้าที่ประปาพิจารณาแล้วอนุญาตให้ใช้น้ำประปา ให้แจ้งผู้ยื่นคำร้องดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการใช้น้ำประปาต่อไป กรณีเจ้าหน้าที่การประปาพิจารณาแล้วไม่อนุญาตให้ใช้น้ำประปา ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำร้องทราบเป็นการด่วนพร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่อนุญาต ข้อ ๙ การขอใช้น้ำชั่วคราว ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๖ และข้อ ๗ และให้นำเอกสารการครอบครองที่ดิน หรือหนังสือรับรองการใช้พื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ มาตรวัดน้ำชั่วคราวเมื่อเลิกใช้แล้วให้ตกเป็นสมบัติของการประปาและให้ติดตั้งได้ขนาดไม่เกินกว่า Ø ๑/๒ นิ้ว ข้อ ๑๐ การขอยกเลิกการใช้น้ำประปาชั่วคราว ให้ผู้ใช้น้ำยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบพิมพ์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้ากำหนด โดยผู้ใช้น้ำต้องฝากมาตรวัดน้ำไว้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า และต้องเสียค่าถอดมาตรวัดน้ำตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การฝากมาตรวัดน้ำนั้นให้มีกำหนดเวลาคราวละหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลา หากผู้ใช้น้ำประสงค์จะฝากมาตรวัดน้ำต่อ ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้ากำหนดภายใน ๓๐ วัน นับถัดจากวันครบกำหนด ๑ ปี หากไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าสิทธิการใช้น้ำประปาเป็นอันพับไป ข้อ ๑๑ เมื่อผู้ใช้น้ำขอยกเลิกใช้ ย้ายที่อยู่ โอนหรือเปลี่ยนชื่อผู้ใช้น้ำ ให้ยื่นคำร้องต่อการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๓ วัน และต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในท้ายข้อบัญญัตินี้ มิฉะนั้นจะถือว่ายังเป็นผู้ใช้น้ำอยู่และจะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าน้ำตามอัตราที่กำหนด ผู้เข้ามาอยู่ต่อจากผู้ใช้น้ำตามวรรคหนึ่ง หากมีความประสงค์จะขอใช้น้ำประปาต้องยื่นคำร้องต่อการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ภายใน ๗ วัน นับแต่วันย้ายเข้ามาอยู่ มิฉะนั้น จะต้องรับผิดชอบในจำนวนหนี้ที่ผู้ใช้น้ำรายเก่าค้างชำระอยู่ หมวด ๓ ระเบียบปฏิบัติของผู้ใช้น้ำประปา ข้อ ๑๒ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เป็นกรรมสิทธิ์ของการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า (๑) ท่อเมนประปา ท่อภายนอกที่ต่อจากท่อเมนรวมไปถึงมาตรวัดน้ำและอุปกรณ์เกี่ยวกับการประปา ที่สร้างโดยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า รวมถึงเครื่องกั้นน้ำและตราผนึก (๒) ท่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประปา ที่ต่อหรือติดตั้งอยู่ใน ตรอก ซอย ถนน หรือทางสาธารณะ (๓) ท่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประปา ที่ต่อหรือติดตั้งไป ลอดใต้หรือทับพื้นดินหรือทรัพย์สินของผู้ใช้น้ำประปาหรือของผู้อื่น เพื่อประโยชน์ในการส่งน้ำ และจ่ายน้ำให้แก่ประชาชน หรือเพื่อการสาธารณะ หรือเพื่อใช้ป้องกันสาธารณภัย ข้อ ๑๓ การต่อท่อประปาภายนอกจากท่อเมนถึงมาตรวัดน้ำ และการติดตั้งมาตรวัดน้ำเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า และเมื่อติดตั้งแล้วให้ถือเป็นทรัพย์สินของการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ข้อ ๑๔ การต่อท่อประปาภายในจากมาตรวัดน้ำ เป็นหน้าที่ของผู้ใช้น้ำดำเนินการเอง และเมื่อติดตั้งแล้วเป็นทรัพย์สินของผู้ใช้น้ำ ข้อ ๑๕ มาตรวัดน้ำ เมื่อติดตั้งแล้ว และปรากฏว่าในเดือนที่ผ่านมาผู้ใช้น้ำจะใช้น้ำหรือไม่ก็ตาม การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า จะคิดค่ารักษาเป็นรายเดือนตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๖ การติดตั้งมาตรวัดน้ำจะต้องติดตั้ง ในตอนต้นทางในเขตสถานที่ของผู้ใช้น้ำ หรือที่สาธารณะอื่นซึ่งเหมาะสมแก่การตรวจสอบการจดปริมาตรการใช้น้ำ หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงซ่อมแซมบำรุงรักษาได้โดยสะดวก ข้อ ๑๗ การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า จะตีตราผนึกไว้ที่มาตรวัดน้ำหรือเครื่องวัดน้ำ และเป็นหน้าที่ของผู้ใช้น้ำที่จะต้องรับผิดชอบดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย หากเกิดความชำรุดเสียหายโดยความผิดของผู้ใช้น้ำ ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือสัตว์เลี้ยง ผู้นั้นจะต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๘ บรรดาท่อเมนประปา ท่อภายนอกรวมถึงมาตรวัดน้ำที่เป็นทรัพย์สินของการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ผู้ใด หรือสัตว์เลี้ยงของผู้ใด กระทำให้เกิดการชำรุดเสียหาย ผู้นั้นจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายสำหรับการนั้น ข้อ ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใช้น้ำ หรือผู้หนึ่งผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงท่อเมนประปา ท่อประปา หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตหรือทำความตกลงกับการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ข้อ ๒๐ หากท่อเมนประปา ท่อภายนอก ภายในเกิดชำรุดมีน้ำประปารั่วไหลภายในหรือภายนอกมาตรวัดน้ำเป็นหน้าที่ของผู้ใช้น้ำหรือผู้ที่พบเห็น ต้องรีบแจ้งให้การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้าทราบเพื่อทำการแก้ไขหรือซ่อมแซมโดยเร็ว ข้อ ๒๑ กรณีท่อภายในเกิดการชำรุดเสียหาย ผู้ใช้น้ำจะต้องดำเนินการซ่อมแซมและออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด และต้องชำระค่าน้ำที่สูญไปจากการรั่วไหลเนื่องจากเหตุชำรุดนั้น ข้อ ๒๒ ผู้ใช้น้ำจะต้องรับผิดชอบในการดูแลรักษา ประตูน้ำ มาตรวัดน้ำ และท่อภายใน ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ถ้าเกิดการชำรุดเสียหายโดยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ใช้น้ำเอง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า จะไม่รับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใช้น้ำประปา นำน้ำประปาที่การประปาอนุญาตให้ใช้ในบ้าน ไปจำหน่ายในรูปแบบใด ๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ผู้ใดประสงค์จะนำน้ำประปาของการประปาไปจำหน่าย ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่การประปาตามระเบียบ และหลักเกณฑ์ให้ถูกต้อง และให้เจ้าหน้าที่การประปาอนุญาตพิจารณาเป็นรายกรณีไป ข้อ ๒๔ ผู้ใช้น้ำประปารายใดประสงค์จะสูบน้ำส่งขึ้นบนอาคารสูง จะต้องทำบ่อพัก หรือที่พักน้ำก่อนแล้วจึงสูบน้ำจากบ่อพักน้ำอีกต่อหนึ่ง ห้ามไม่ให้สูบน้ำจากเส้นท่อประปาโดยตรง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า กรณีที่เจ้าหน้าที่การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ตรวจพบว่ามีการสูบน้ำจากเส้นท่อประปาโดยตรง ผู้ใช้น้ำหรือผู้กระทำดังกล่าวจะมีความผิดและต้องชำระค่าปรับตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๕ ผู้ใช้น้ำจะต้องไม่ทำการปลูกสร้าง ต่อเติมโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอื่นใด หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเกิดความเสียหายหรือเป็นอุปสรรคต่อระบบส่งน้ำประปา การบำรุงรักษามาตรวัดน้ำ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า หากเจ้าหน้าที่การประปาพบเห็นการกระทำตามวรรคแรก ให้เจ้าหน้าที่ประปามีสิทธิเข้าทำการรื้อถอนได้ตามสมควรแก่กรณี โดยผู้ใช้น้ำจะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ข้อ ๒๖ หากผู้ใดมีเจตนาทุจริตเอาน้ำประปาไปใช้ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวเลขในมาตรวัดน้ำ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตามเพื่อเอาน้ำประปาไปใช้ การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้าจะงดจ่ายน้ำทันที และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า และจะดำเนินคดีตามกฎหมาย ข้อ ๒๗ ผู้ใช้น้ำประปา จะต้องยินยอมและอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบท่อประปา หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประปา ได้ทุกเวลาเมื่อมีเหตุจำเป็น หมวด ๔ อัตราค่าน้ำและการชำระค่าใช้น้ำ ข้อ ๒๘ ค่าน้ำประปาจะคิดเป็นลูกบาศก์เมตร ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้และราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยการประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้าจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๒๙ ค่าบำรุงรักษามาตรวัดน้ำ การเรียกเก็บค่าบำรุงรักษามาตรวัดน้ำ การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า จะเรียกเก็บรวมอยู่ในใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาเป็นรายเดือน ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้ ข้อ ๓๐ ผู้ใช้น้ำจะต้องชำระค่าน้ำเมื่อเจ้าหน้าที่การประปาได้นำบิลมาขอรับเงิน มิฉะนั้น จะต้องนำเงินไปชำระที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งหนี้ ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดการประปาจะงดส่งน้ำจนกว่าจะได้รับการชำระค่าน้ำเสร็จสิ้น ข้อ ๓๑ ถ้าน้ำประปาสูญเสียอันเกิดจากการรั่วไหลหรือเกิดจากการต่อท่อรับน้ำใช้โดยไม่ผ่านมาตรวัดน้ำหรือกระทำการทุจริต หรือมีพฤติการณ์ที่ทำให้เชื่อได้ว่าส่อไปในทางทุจริตให้คิดตามขนาดท่อ ดังต่อไปนี้ ๑. ท่อขนาด Ø ๑/๒ นิ้ว คิดวันละ ๑๐ ม๓ ๒. ท่อขนาด Ø ๓/๔ นิ้ว คิดวันละ ๑๕ ม๓ ๓. ท่อขนาด Ø ๑ นิ้ว คิดวันละ ๒๕ ม๓ ๔. ท่อขนาด Ø ๑ ๑/๒ - ๒ นิ้ว คิดวันละ ๑๐๐ ม๓ ๕. ท่อขนาด Ø ๒ นิ้ว คิดวันละ ๓๐๐ ม๓ หมวด ๕ บทเบ็ดเตล็ด ข้อ ๓๒ การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า จะทำการงดส่งน้ำเมื่อมีเหตุจำเป็น โดยแจ้งให้ผู้ใช้น้ำทราบล่วงหน้า การงดส่งน้ำตามวรรคหนึ่งหากมีระยะเวลาเกิน ๒๔ ชั่วโมงขึ้นไป ต้องประกาศให้ผู้ใช้น้ำประปาทราบโดยทั่วกัน ข้อ ๓๓ หากผู้ใช้น้ำกระทำการฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำตักเตือนโดยชอบของเจ้าหน้าที่การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้าทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะงดส่งน้ำได้ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุทิน ปาโต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า เรื่อง กิจการประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า พ.ศ. ๒๕๕๘ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๔๖/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,220
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขและปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนดอนทราย ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายและนายอำเภอบ้านโพธิ์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนดอนทราย ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบล เรื่อง “ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๕” บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายเป็นผู้รักษาการให้เป็นตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ ตีความ วินิจฉัย ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า “กิจการสปาเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้การดูแลและสร้างสุขภาพโดยบริการหลักที่จัดไว้ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพ การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ โดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วยเช่นการอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโภชนะบำบัด และการควบคุมอาหาร โยคะและการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ หรือไม่ก็ได้ โดยทั้งนี้บริการที่จัดไว้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทางการแพทย์และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจาก การประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือ โลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๕) การขัดล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ ๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำรำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการ การเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหิน ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อย ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕) ๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๑๓. กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล หมวด ๒ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญ ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉิน มีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสม กับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน และปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๘ ในระหว่างที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังไม่กำหนดมาตรฐานมลพิษด้านต่าง ๆ สำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายเลือกนำค่ามาตรฐานด้านมลพิษตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ในข้อบัญญัตินี้โดยอนุโลม ข้อ ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ในท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายประกาศกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องดูแลรักษาสถานที่ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้อยู่ในสภาวะดีอยู่เสมอ และทำความสะอาดกวาดล้างสถานที่ประกอบการค้าให้สะอาดทุกวัน (๒) ต้องประกอบกิจการนั้น ภายในเขตสถานที่ และตามกำหนด วัน เวลา ที่ได้รับอนุญาต (๓) ต้องดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบการทุกอย่างให้สะอาดเรียบร้อย (๔) ต้องดูแลรักษาสถานที่อย่าให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ยุงหรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ (๕) ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๖) ต้องปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ถูกต้องตามสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ต้องยินยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าตรวจสถานที่/สถานประกอบการ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบการค้านั้นได้ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ (๘) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายประกาศกำหนด ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายระยะเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ใบอนุญาต ให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาต จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุภายในกำหนดสามสิบวัน เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับเป็นกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ที่ผู้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ข้อ ๒๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตสำหรับกิจการใดตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาต และการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๑ คำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนทรายในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๕ ผู้ประกอบกิจการรายใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบังคับตำบล เรื่อง ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ หรือถูกเพิกถอนตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุพล สุขโขใจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต/ขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท.................................................................. ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ........................................................ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๒๑/๑๙ เมษายน ๒๕๖๐
54,221
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อยและนายอำเภอดอยหลวง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้ในข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ “ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ ประเภทกิจการที่ต้องควบคุม ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย ๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิต บะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือ แบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๒) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๓) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๓. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุ ยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๔. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุ แป้ง มันสำปะหลัง แป้ง สาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๕. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๕ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ ๖. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๗. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๘. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๘ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๘ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๕) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะหรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๗) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๘) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๐) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๑) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๒) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๑๔) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๙. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร (๒) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๓) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๔) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๖) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๗) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๐ (๒) ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๒) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๓) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค ๑๒. กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๔) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๕) การประกอบกิจการโกดังสินค้า หมวด ๓ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉิน เมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่าง และระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตราย และขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณ และประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับ และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๔ การชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๕ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่ประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หมวด ๖ ใบอนุญาต ข้อ ๑๘ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อยกำหนด พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือที่ดินที่ใช้ประกอบกิจการ ในกรณีที่มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือที่ดินที่ใช้ประกอบกิจการจะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของอาคารหรือที่ดินให้ประกอบกิจการตามที่ขอรับใบอนุญาตได้ (๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) หลักฐานสำคัญอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกให้นำมาแสดง ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต หรือคำขอต่อใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอ พร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่นับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุอันจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อยเท่านั้น การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะไม่ต่อใบอนุญาต ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่รับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนในอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้าได้เสียค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างอยู่ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย ข้อ ๒๕ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ กรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด การขอรับใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในส่วนสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ หมวด ๗ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๓ ผู้ประกอบกิจการรายใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ หรือถูกเพิกถอนตามข้อบัญญัตินี้ และเมื่อประสงค์จะต่อใบอนุญาตให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ศรีทน ชุ่มมงคล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๙๓/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,222
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์โดยได้รับความชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์และนายอำเภอควนขนุน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ข้อบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่ (๑) การเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ของทางราชการ (๒) การเลี้ยงสัตว์ของผู้ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ว่าด้วยการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “สัตว์” หมายความว่า สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุง ตลอดถึงการให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของสัตว์หรือรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร มูลสัตว์หรือ ซากสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นจากชุมชน ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ช้าง (๑๐) ไก่ (๒) ม้า (๑๑) สุนัข (๓) โค (๑๒) แมว (๔) กระบือ (๑๓) นก (๕) สุกร (๑๔) กบ (๖) แพะ (๑๕) จิ้งหรีด (๗) แกะ (๑๖) ด้วง (๘) ห่าน (๑๗) ผึ้ง (๙) เป็ด (๑๘) สัตว์อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๗ ห้ามมิให้มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดหรือประเภทเหล่านี้ในเขตพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์โดยเด็ดขาด (๑) งูทุกชนิด (๒) ปลาปิรันยา (๓) สัตว์ดุร้ายต่าง ๆ (๔) สัตว์มีพิษร้ายอื่น ๆ (๕) สัตว์ต้องห้ามตามกฎหมายอื่น ๆ ข้อ ๘ ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตพาณิชยกรรม และเขตประชากรหนาแน่น (๒) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (๓) สถานที่ท่องเที่ยว ข้อ ๙ การเลี้ยงนอกเขตพื้นที่ที่ระบุไว้ในข้อ ๘ นั้น สามารถกระทำได้แต่ห้ามมิให้ปล่อยสัตว์นั้นออกนอกที่เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดดังนี้ (๑) จำนวนสัตว์ต้องไม่มากเกินควร ทั้งนี้ ตามองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์กำหนด (๒) การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อมลภาวะและก่อเหตุรำคาญ (๓) ต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากคนสู่สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามข้อบัญญัตินี้และตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์โดยเคร่งครัด ข้อ ๑๐ การเลี้ยงสัตว์ต้องปฏิบัติการภายใต้มาตรการต่อไปนี้ (๑) สถานที่ตั้ง (๑.๑) ต้องตั้งอยู่ในสถานที่ที่ไม่ก่อเหตุรำคาญให้กับผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง (๑.๒) ต้องมีบริเวณเลี้ยงสัตว์ซึ่งกั้นเป็นสัดส่วน และให้อยู่ห่างเขตทางน้ำสาธารณะอย่างน้อย ๓๐ เมตร ที่ดินสาธารณะหรือที่ดินต่างเจ้าของและมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุม โดยรอบบริเวณเลี้ยงสัตว์นั้นไม่น้อยกว่า ๕ เมตร ทุก ๆ ด้าน เว้นแต่ด้านที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกับที่ดินของผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทเดียวกัน (๒) อาคารและส่วนประกอบ (๒.๑) ต้องเป็นอาคารเอกเทศและมั่นคงแข็งแรงมีลักษณะเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ประเภทนั้น ๆ ไม่มีการพักอาศัยหรือประกอบกิจการอื่นใด (๒.๒) พื้นต้องเป็นพื้นแน่น ไม่เฉอะแฉะ ทำความสะอาดง่าย เว้นแต่การเลี้ยงสุกร พื้นจะต้องเป็นคอนกรีตและมีความลาดเอียงเพื่อให้น้ำและสิ่งปฏิกูลไหลลงทางระบายน้ำได้โดยสะดวก (๒.๓) หลังคาต้องสูงจากพื้นพอสมควรและมีช่องทางให้แสงสว่างหรือแสงแดดส่องภายในอาคารอย่างทั่วถึง (๒.๔) ต้องมีการกั้นคอกอย่างเป็นสัดส่วนเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ไม่ให้สัตว์อยู่กันอย่างแออัด (๒.๕) การระบายอากาศต้องถ่ายเทได้อย่างเพียงพอ (๓) การสุขาภิบาลทั่วไป (๓.๑) การระบายน้ำ ๑) ต้องจัดให้มีรางระบายน้ำโดยรอบตัวอาคารให้มีความลาดเอียงเพียงพอให้น้ำไหลได้สะดวก ๒) น้ำทิ้งต้องมีการบำบัดก่อนระบายลงสู่ทางระบายน้ำ แหล่งน้ำสาธารณะหรือในที่เอกชน (๓.๒) การกำจัดมูลสัตว์ ๑) ต้องเก็บกวาดมูลสัตว์เป็นประจำทุกวัน ๒) ต้องจัดให้มีที่กักเก็บมูลสัตว์โดยเฉพาะไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็นอันเป็นเหตุรำคาญ และต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค (๓.๓) การป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ ๑) ถ้ามีการสุมไฟไล่แมลงให้สัตว์ต้องมิให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง ๒) ต้องป้องกันเสียงร้องของสัตว์มิให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง ๓) การเลี้ยงสัตว์ที่มีขนต้องมีการป้องกันไม่ให้ขนฟุ้งกระจายออกไปนอกสถานที่ ๔) ต้องควบคุมดูแลไม่ให้สัตว์ออกไปทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง (๓.๔) การรักษาความสะอาดต้องรักษาความสะอาดที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ (๓.๕) การกำจัดซากสัตว์ให้ใช้วิธีการเผา หรือฝังเพื่อป้องกันการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและแมลงนำโรคดังนี้ ๑) การกำจัดซากสัตว์โดยการฝังต้องมีเนื้อที่เพียงพอและอยู่ในบริเวณน้ำท่วมไม่ถึงโดยฝังซากลึกจากผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสมทำการราดหรือโรยบนส่วนต่าง ๆ ของซากสัตว์จนทั่วและกลบหลุมดิน ๒) การกำจัดซากสัตว์โดยการเผาต้องมีสถานที่เผาหรือเตาเผาอยู่ในบริเวณที่เหมาะสมในการใช้เผาซากจนหมด การเผาต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือเหตุรำคาญ ๓) สถานที่กำจัดซากสัตว์ต้องห่างจากบริเวณอาคาร หรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อาคารสำนักงาน อาคารพักอาศัย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๘ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นอย่างน้อย ๓๐ วัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่กล่าวในวรรคหนึ่งนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ กรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่เกี่ยวกับสัตว์ในเขตพื้นที่ต้องจัดให้มีวิธีการควบคุมป้องกัน มิให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในสถานที่เลี้ยงสัตว์ ทั้งในตัวสัตว์ อาหาร น้ำใช้ คนเลี้ยง และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ข้อหนึ่งข้อใดมีความผิดตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบการที่ได้ประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ตามข้อ ๖ มาก่อนข้อบัญญัติฉบับนี้ ใช้บังคับใช้ให้ผู้ประกอบกิจการปรับปรุงกิจการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน ๑๘๐ วัน ข้อ ๑๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกคำสั่ง ระเบียบ ตามที่เห็นสมควร เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมชาติ รักชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๓๘/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,223
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์และนายอำเภอควนขนุน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๔๘ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์แต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๙ มิให้ใช้บังคับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตรายและผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามมิให้ผู้ใดทำ การถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะนอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์จัดไว้ให้โดยเฉพาะ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) ห้ามมิให้ผู้ใด ทำการถ่าย เท ทิ้ง นำสิ่งปฏิกูลไปในที่หรือทางสาธารณะ (๔) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง สิ่งปฏิกูลลงในที่รับรองมูลฝอย (๕) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ขน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในถังรับ รถขน เรือขน สถานที่เท เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ (๖) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขน ถ่าย เท คุ้ย เขี่ย หรือขุดมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่พักมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ (๗) ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องถูกตามหลักสุขาภิบาล (๘) ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคาร สถานที่ หรือบริเวณใดควรทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไปทำการกำจัดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือบริเวณนั้น ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย กำหนดบริเวณที่ต้องทำการขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ไม่น้อยกว่า ๓ แห่ง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันประกาศแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณใด ๆ จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจากอาคารสถานที่ หรือบริเวณนั้น ๆ ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (๙) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่าย เท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ (๑๐) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือบริเวณใดซึ่งอยู่นอกบริเวณการให้บริการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น และผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยการเผา ฝัง หรือวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต (๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๓) หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ ในกรณีเจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควรเรียกเพิ่มหรือประกอบการพิจารณาอนุญาต (เช่น เอกสารการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ) ข้อ ๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๙ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด – เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทย ซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ประกาศกำหนดดังนี้ รถขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ปริมาตรบรรจุ........................................................ลูกบาศก์เมตร ได้รับใบอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ใบอนุญาตเลขที่.............../...................... ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ (ด้วยตัวหนังสือขนาดที่เห็นชัดเจน) (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเอง ต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) ต้องมีแผนงานการดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล ดังต่อไปนี้ (๒.๑.๑) ประเภทของสิ่งปฏิกูลที่ต้องการรับกำจัด (๒.๑.๒) วิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒.๑.๓) วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมเหตุรำคาญ ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน รวมทั้งสุขอนามัยของประชาชน (๒.๒) กรณีไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเอง ต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายมูลฝอย (รถเก็บขยะมูลฝอย) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๓.๑.๑) รถเก็บขนขยะมูลฝอยต้องได้รับการออกแบบ ประกอบ และสร้างให้มีลักษณะถูกต้องตามกฎหมายขนส่งทางบกและและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถป้องกันการปลิวการตกหล่นของมูลฝอยและการรั่วไหลของน้ำเสียจากมูลฝอย ในขณะทำการเก็บและขนย้ายมูลฝอยไปยังสถานที่กำจัด (๓.๑.๒) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (๓.๑.๓) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายมูลฝอยให้รู้ว่าเป็นพาหนะ เก็บ ขนถ่ายมูลฝอย เช่น “รถเก็บขนมูลฝอย” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทย ซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ประกาศกำหนดดังนี้ รถเก็บขนมูลฝอย ได้รับใบอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ใบอนุญาตเลขที่.............../...................... ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ (ด้วยตัวหนังสือขนาดที่เห็นชัดเจน) (๓.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๓.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดมูลฝอยของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำมูลฝอยไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๔) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) ต้องมีแผนงานการดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย ดังต่อไปนี้ (๔.๑.๑) ประเภทของสิ่งปฏิกูลที่ต้องการรับกำจัด (๔.๑.๒) วิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๔.๑.๓) วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมเหตุรำคาญ ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินรวมทั้งสุขอนามัยของประชาชน (๔.๒) ต้องไม่ก่อเหตุรำคาญให้กับประชาชนผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง (๔.๓) กรณีไม่มีระบบกำจัดมูลฝอยของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำมูลฝอยไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลโดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลและทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะการบำบัดน้ำทิ้งโดยใช้ลานทรายซึมหรือร่องซึมจะต้องห่างจากแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราดให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) ในขณะทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๒.๒) ในการปฏิบัติการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องระวังและป้องกันการปลิวตกหล่นของสิ่งปฏิกูลในขณะกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) ในขณะทำการเก็บ ขนมูลฝอยต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๓.๒) ในการปฏิบัติการเก็บ ขนมูลฝอยต้องระวังและป้องกันการปลิวตกหล่นของมูลฝอยและการรั่วไหลของน้ำเสียจากมูลฝอย ในขณะจัดเก็บ ขนมูลฝอย ไปยังสถานที่กำจัด (๓.๓) ต้องจัดให้มีลานจอดรถ สำหรับรถเก็บ ขนมูลฝอยที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และต้องดูแลรักษาสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ดีและถูกสุขลักษณะ (๓.๔) ผู้รับจ้างต้องจัดให้มีสถานที่ทำงานถาวร ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์หรือสถานที่ซึ่งสามารถติดต่องานได้สะดวก โดยต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตลอดเวลาทำงานปกติและสถานที่ทำการจะต้องเปิดให้ประชาชนเข้ามาติดต่อขอรับบริการหรือร้องเรียนได้ในเวลาระหว่างทำงานได้โดยสะดวก (๓.๕) ทำความสะอาดพาหนะเก็บ ขนมูลฝอย อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกไปปฏิบัติงานเก็บ ขนมูลฝอยแล้วด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ (๓.๖) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) ในขณะทำการกำจัดมูลฝอยต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๔.๒) ในการปฏิบัติการกำจัดมูลฝอยต้องระวังและป้องกันการปลิวตกหล่นของมูลฝอยในขณะกำจัดมูลฝอย (๔.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์เท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุจะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๖ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใด เพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ หรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หรือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริง หรือเรียกหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาต หรือตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะ หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ข้อ ๒๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๘ ในกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ดำเนินการให้บริการ เก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์เองต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมชาติ รักชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๓) ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๔) ๖. คำขอบอกเลิกการประกอบกิจการ รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๕) ๗. คำขอโอนการดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๖) ๘. คำขออนุญาตการต่าง ๆ (แบบ สม. ๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๒๕/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,224
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์และนายอำเภอควนขนุน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือปนอาหารสีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้า ประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามและหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามที่กำหนด “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะและหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) การขายของในตลาด ข้อ ๗ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ ก. สถานที่สะสมอาหาร (๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือแหล่งที่น่ารังเกียจ เช่น ที่ทิ้งหรือกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ไม่มีน้ำขังและทำความสะอาดง่าย (๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำทำด้วยวัตถุถาวรและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๕) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างเพียงพอและถูกสุขลักษณะ (๖) ปฏิบัติการอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข. สถานที่จำหน่ายอาหาร (๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดตามข้อ ก. (๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ รวมทั้งครัวปรุงอาหารต้องสะอาด (๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องใช้วัตถุถาวร แข็งแรง มีผิวเรียบ ไม่ดูดซึมน้ำ และทำความสะอาดได้ง่ายไม่มีน้ำขัง (๔) จัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ ณ จุดที่ทำการปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหาร และต้องมีการระบายอากาศภายในร้านเพียงพอโดยมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ห้องบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีเครื่องดูดควันและปล่องระบายควันซึ่งสูงพียงพอไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๖) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้เพียงพอ ปลอดภัยและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๗) จัดให้มีบริเวณที่ทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะและต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๘) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์อย่างเพียงพอ (๙) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพรวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และการเก็บอาหาร (๑๐) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ (๑๑) ปฏิบัติการอื่นใด ๆ ให้ต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอและต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดพื้น ทุกอาทิตย์ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้สะอาดอยู่เสมอ การเก็บ ขน กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๓) รักษาส้วมให้ได้สุขลักษณะไม่ให้มีกลิ่นเหม็นและสะอาดอยู่เสมอ (๔) ถ้ามีสัตว์ที่จะฆ่าเป็นอาหารต้องแยกให้อยู่ในที่เหมาะสม (๕) จัดหาสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๖) ปฏิบัติการอื่นใดให้ต้องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการกำหนดเวลาห้ามผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้งขายอาหารบางประเภทหรือชนิดใดในเขตที่ระบุไว้ ข้อ ๑๐ ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) ต้องแต่งกายให้เรียบร้อยและสะอาด (๒) ต้องไม่ป่วย หรือเป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจ (๓) ห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง สะสมอาหาร เมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อ หรือซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจแล้วปรากฏว่าเป็นพาหะและได้รับแจ้งความเป็นหนังสือว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อ ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ รักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) การจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง วาง เก็บ รักษาอาหาร หรือการล้างภาชนะ อุปกรณ์ต้องทำในที่สะอาดซึ่งสูงกว่าพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่ประกอบอาหาร (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหารตลอดถึงภาชนะและอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ให้ป้องกันฝุ่นละอองและสัตว์นำโรคได้ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดให้สะอาด ใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๓) การเตรียมอาหารก่อนปรุงต้องล้างให้สะอาดโดยเฉพาะผักสดและผลไม้ น้ำที่ใช้ปรุง ประกอบแช่ ล้างอาหารและภาชนะต้องใช้น้ำสะอาด (๔) ใช้ภาชนะที่สะอาดสำหรับใส่หรือปรุงอาหาร ภาชนะที่ใช้แล้วต้องล้างและเก็บให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ส่วนภาชนะประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ (๕) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะ สามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้ไม่นำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่ปนกับน้ำแข็งเพื่อการบริโภค (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ใช้อย่างเพียงพอ กรณีน้ำดื่ม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ต้องสะอาด เก็บไว้ในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด มีก๊อกหรือทางรินน้ำหรือมีอุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับตักโดยเฉพาะ (๗) ห้ามมิให้เลี้ยงสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคหรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ในสถานที่ประกอบอาหาร (๘) ไม่ขายอาหารให้ผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อที่มีสภาพน่ารังเกียจ บริโภคในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต (๙) ใช้ภาชนะที่ทำด้วยวัสดุที่ปลอดภัยในการปรุงอาหาร (๑๐) ห้ามขายอาหารอันเป็นการไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค (๑๑) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ต้องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารตามที่กำหนด ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขอก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอใบอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้นแล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์เท่านั้น ใบอนุญาตที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ได้ออกก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่งแล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารตามที่กำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบรูณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ยื่นขอรับ ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๕ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๗ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมชาติ รักชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง สถานที่จำหน่ายและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑) ๓. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒) ๔. ใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓) ๕. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (แบบ สอ. ๔) ๖. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๕) ๗. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (แบบ สอ. ๖) ๘. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๗) ๙. คำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้งเพื่อจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร (แบบ สอ. ๘) ๑๐. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๙) ๑๑. คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๐) ๑๒. คำขอแก้ไขรายการใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๑) ๑๓. คำขอโอนการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๒) ๑๔. คำร้องขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ สอ. ๑๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๔๔/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,225
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ว่าด้วยตลาดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์และนายอำเภอควนขนุน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า เครื่องอุปโภค บริโภคหรือสิ่งของต่าง ๆ ที่วางจำหน่ายในตลาด “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารแปรรูป” หมายความว่า อาหารสดที่แปรรูป ทำให้แห้งหรือหมัก ดอง หรือในรูปอื่น ๆ รวมทั้งสารปรุงแต่งอาหาร เช่น พริกแห้ง กุ้งแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารแช่อิ่ม กะปิ น้ำปลา ซอส เป็นต้น “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบหรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักวิชาการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาด ตัวอาคาร แผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาดให้สะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์การของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดมูลฝอย อันเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้เห็นชอบแล้ว ส่วนที่ ๑ ตลาดประเภทที่ ๑ ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคาร สิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด (๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสีย หรือสิ่งปฏิกูล โดย (ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุดต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะมีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมัน หรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่มหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามข้อบัญญัตินี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๐ การเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ หรือสุกร ในตลาด รวมทั้ง ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศ และแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาด และต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง ข้อ ๒๘ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ที่ใช้เป็นที่ตั้งของตลาด (๓) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๔) หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ ในกรณีเจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๕) หลักฐานแสดงว่าอาคารนั้นสามารถใช้ประกอบการได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (๖) แผนผังบริเวณจัดตั้งตลาด (๗) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๘) หลักฐานเอกสารอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์กำหนด ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ตลาดได้เปิดดำเนินการก่อนประกาศใช้ข้อบัญญัตินี้ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขตลาดให้ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน ๑๘๐ วัน ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งร้องขอและมีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจขยายเวลาตามวรรคหนึ่งออกไปได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละ ๑๕ วัน ข้อ ๓๐ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๒๘ ได้จัดสถานที่ตั้งตลาดและมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับตลาดต้องด้วยสุขลักษณะและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ก็ให้ออกใบอนุญาตได้โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๑ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อ ๓๐ แล้ว จะขอเปลี่ยนตัวผู้รับใบอนุญาตได้โดยยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับการนี้ ข้อ ๓๓ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขสิ่งปลูกสร้างในสถานที่ตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขเท่าที่เห็นสมควรหรือจะเปลี่ยนแปลงอย่างใดเพื่อให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ได้ ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ประสงค์จะขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำร้องขอต่อใบอนุญาตต่อจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่กำหนดภายในกำหนดสามสิบวัน ก่อนสิ้นอายุใบอนุญาต ข้อ ๓๖ หากผู้ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ประสงค์จะประกอบการต่อไปให้ยื่นคำร้องขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และหากปรากฏว่าใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าวสูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๓๗ ผู้ประกอบกิจการซึ่งได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งถ้าหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราที่กำหนดในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เว้นแต่จะได้บอกเลิกกิจการนั้นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ หากปรากฏว่ามีการค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินการไว้จนกว่าจะเสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับครบถ้วน ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๙ บรรดาใบอนุญาตตลาดที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้คงให้ใช้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ข้อ ๔๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมชาติ รักชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพนมวังก์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๑) ๓. ใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๓) ๕. การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลด สิ่งปลูกสร้าง หรือบริเวณของตลาด (แบบ ตล. ๔) ๖. เงื่อนไขการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลด สิ่งปลูกสร้าง หรือบริเวณของตลาด (แบบ ตล. ๕) ๗. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๖) ๘. คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการตลาด ประเภทที่......... (แบบ ตล. ๗) ๙. คำขอโอนการดำเนินกิจการ (แบบ ตล. ๘) ๑๐. คำขออนุญาตการต่าง ๆ (แบบ ตล. ๙) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๕๔/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,226
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขและปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์และนายอำเภอควนขนุน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำ ให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทต่าง ๆ ต่อไปนี้ เป็นการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ตามมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑) กิจการที่เกี่ยวกับเลี้ยงสัตว์ ๑. การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด ๒. การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ ๑. การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด ๒. การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ ๓. การสะสมเขาสัตว์ กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป ๔. การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ ๕. การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร ๖. การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ๗. การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๑. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ ๒. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ๓. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ๔. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้มตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด ๕. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ลูกชิ้น ๖. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ๗. การผลิต มะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ๘. การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ ๙. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ ๑๐. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม ๑๑. การผลิตไอศกรีม ๑๒. การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ ๑๓. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ ๑๔. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา ๑๕. การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ ๑๖. การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง ๑๗. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผักผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด ๑๘. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ๑๙. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร ๒๐. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม ๒๑. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ แบะแช ๒๒. การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ๒๓. การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร ๒๔. การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ๑. การผลิต โม่ บด ผสม การบรรจุยา ๒. การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย ๓. การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี ๔. การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ๕. การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร ๑. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช ๒. การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ ๓. การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ๔. การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม ๕. การผลิตยาสูบ ๖. การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช ๗. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย ๘. การผลิตส้นใยจากพืช ๙. การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ ๑. การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ ๒. การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖) ๑ ๓. การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าช หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖) ๑ ๔. การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖) ๑ ๕. การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖) ๑ ๖. การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ๑. การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ ๒. การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ๓. การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ๔. การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย ๕. การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ ๖. การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม การอัดแบตเตอรี่ ๗. การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ ๘. การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ ๙. การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่า หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ ๑. การผลิตไม้ขีดไฟ ๒. การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร ๓. การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย ๔. การอบไม้ ๕. การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป ๖. การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ ๗. การผลิตกระดาษต่าง ๆ ๘. การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ ๑. การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ๒. การประกอบกิจการอาบ อบ นวด ๓. การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙) ๑ หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ๔. การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙) ๑ หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ๕. การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน ๖. การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นใดในทำนองเดียวกัน ๗. การประกอบกิจการโรงมหรสพ ๘. การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ๙. การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙) ๑ ๑๐. การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ๑๑. การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ๑๒. การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังร่างกาย ๑๓. การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก ๑๔. การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม ๑๕. การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ ๑๖. การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ๑๗. การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม ๑๘. การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ๑๙. การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ ๒๐. การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ ๒๑. การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ ๑. การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก ๒. การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ ๓. การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร ๔. การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร ๕. การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร ๖. การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ ๗. การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร ๘. การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑. การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา ๒. การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร ๓. การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๔. การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑) ๒ ๕. การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๖. การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ๗. การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน ๘. การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม ๙. การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว ๑๐. การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย ๑๑. การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว ๑๒. การล้าง การขัดด้วยการพ่นทราย ลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖) ๕ (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ ๑. การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย ๒. การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าช ๓. การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ๔. การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก ๕. การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗) ๑ ๖. การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๗. การโม่ สะสม หรือบดชัน ๘. การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี ๙. การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ ๑๐. การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑๑. การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑๒. การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง ๑๓. การผลิตน้ำแข็งแห้ง ๑๔. การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง ๑๕. การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา ๑๖. การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหนะนำโรค ๑๗. การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ ๑. การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร ๒. การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือุปกรณ์ไฟฟ้า ๓. การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๔. การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร ๕. การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ ๖. การประกอบกิจการโกดังสินค้า ๗. การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๘. การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ ๙. การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา ๑๐. การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร ๑๑. การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหนะนำโรค ๑๒. การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง ๑๓. การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน ให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะ และประเภทของการประกอบกิจการ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานประกอบการที่มีอาคาร อาคารต้องมีความมั่นคง แข็งแรง มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศ มีห้องน้ำและห้องส้วม เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒) ต้องทำทางระบายน้ำหรือบ่อพักน้ำรับน้ำเสียด้วยวัตถุถาวร มีลักษณะเรียบไม่ซึมไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก และการระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะ หรือแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง (๓) ต้องมีการบำบัด หรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสีย หรือกากของเสียให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์กำหนด (๔) ต้องมีระบบป้องกันการเกิดกลิ่น เสียง ฝุ่นละออง ควัน ฯลฯ มิให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง (๕) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขังหรือที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางพอ และจัดสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชน และไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความทุกข์ทรมานแก่สัตว์ และให้มีการเก็บรวบรวมและกำจัดมูลสัตว์ เศษอาหาร หรือซากสัตว์ให้ได้สุขลักษณะ ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ และข้อ ๙ ได้ตามที่เห็นสมควร และให้มีอำนาจกำหนดเงื่อนไข ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายได้ตามสมควร ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยส่วนรวม ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกัน และกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหนะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๔ สถานประกอบการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีมีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๙ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารตามที่กำหนด ข้อ ๒๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติตามข้อ ๙ ให้อยู่ในสภาวะอันดีและต้องรักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ (๒) ต้องประกอบกิจกรรมภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาต (๓) ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบกิจกรรมทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์แห่งกิจการค้า วัสดุใช้เป็นอาหาร ต้องป้องกันวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้น ให้พ้นจากการปนเปื้อนฝุ่นละออง แมลงและสัตว์ที่เป็นพาหนะของโรคติดต่อให้ถูกหลักสุขาภิบาล (๔) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำ หรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น และผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขอก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอใบอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์เท่านั้น ใบอนุญาตที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ได้ออกก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ ด้วย ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบังคับนี้ หรือเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมชาติ รักชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๓) ๕. คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดการประกอบกิจการ สถานที่ หรือเครื่องจักร ของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๔) ๖. เงื่อนไขการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลด การประกอบกิจการ สถานที่ หรือเครื่องจักร ของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๕) ๗. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๖) ๘. คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการ (แบบ อภ. ๗) ๙. คำขอโอนการดำเนินกิจการ (แบบ อภ. ๘) ๑๐. คำร้องขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ อภ. ๙) ๑๑. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบกิจการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๐๙/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,227
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ว่าด้วยตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันและนายอำเภอควนโดน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว หรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกันได้ตามกฎหมาย “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทสัตว์หรือเนื้อสัตว์ ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารแปรรูป” หมายความว่า อาหารสดที่แปรรูป ทำให้แห้ง หรือหมักดอง หรือในรูปอื่น ๆ รวมทั้งที่ใช้สารปรุงแต่งอาหาร “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “แผงจำหน่ายอาหาร” หมายความว่า แผงหรือสถานที่ที่มีการปรุง ประกอบอาหารจนสำเร็จที่ผู้บริโภคสามารถซื้อบริโภคได้โดยจะมีการล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะอุปกรณ์ด้วย “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหนะนำโรค เป็นต้น “การล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือและบริเวณต่าง ๆ รอบตัวอาคารตลาดให้สะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูลมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือหรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคารและมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคารและมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องตั้งอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครกที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ส่วนที่ ๑ ตลาดประเภทที่ ๑ ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคาร สิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวม หรือที่รองรับมูลฝอยและที่จอดรถยานพาหนะตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวรมั่นคงและแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟและแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ ทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขัง และไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารและประตูมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัขมิให้เข้าไปในตลาด (๗) มีการระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอเหมาะสมและไม่มีกลิ่นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นที่ทำให้สีของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่ายมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวกโดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัยไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล โดย (ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๒ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุด ต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้งและทางระบายน้ำตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) มีการติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาดทางเข้าออกบริเวณตลาดและทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวันและสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาดหรือในกรณีที่อยู่ในตัวอาคารต้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ (๒) สร้างด้วยวัสดุทนทานและทำความสะอาดง่าย (๓) ห้องส้วมต้องมีขนาดเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่า ๐.๙๐ ตารางเมตร ถ้าเป็นห้องอาบน้ำด้วยต้องมีเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ ตารางเมตร (๔) ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงส่วนต่ำสุดของคานหรือเพดาน หรือสิ่งอื่นที่ติดกับคานหรือเพดาน ต้องไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร (๕) ต้องมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ห้องหรือมีพัดลมระบายอากาศ (๖) มีแสงสว่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์ (๗) พื้นห้องส้วมต้องมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐๐ และมีจุดระบายน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของพื้นห้อง (๘) จัดให้มีกระดาษชำระ หรือน้ำสำหรับชำระให้เพียงพอสำหรับห้องส้วมทุกห้อง รวมทั้งจัดให้มีการทำความสะอาดและเก็บมูลฝอยเป็นประจำทุกวัน (๙) มีโถส้วมชนิดคอห่านสูงจากพื้นห้องไม่น้อยกว่า ๐.๒๐ เมตร (๑๐) มีท่อระบายอุจจาระลงสู่ถังเก็บกัก ซึ่งต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐ (๑๑) มีท่อระบายก๊าซ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ เซนติเมตร สูงเหนือหลังคาส้วมหรือสูงจนกลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวมรวมหรือรองรับมูลฝอยตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก มีการปกปิด และป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือและที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดในส่วนนี้ ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่ายและไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จหรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ เป็นต้น (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีการล้างโดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงสามารถระบายน้ำได้สะดวก มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ทางระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมันหรือบ่อพักน้ำเสียก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคาโครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่ม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๑๑ (๒) - (๑๑) และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ต้องมีระยะห่างไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวันและมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภท ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทในตลาดต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่ไม่ปะปนกัน เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาดให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปาและสาธารณูปโภคอื่น ๆ (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดและดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำมิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวันและดูแลที่เก็บรวบรวมหรือรองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วมที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาดใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวันโดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาดและจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดและดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสียและทางระบายน้ำมิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือรองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาดใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวันโดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๒ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกรในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาดจนทำให้สถานที่สกปรกรกรุงรังเป็นเหตุรำคาญเกิดมลพิษที่เป็นอันตรายหรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากในที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตรายหรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๒๓ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่ของสินค้า (๓) การดูแลรักษาความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนดโดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายหรือขอบเขตที่กำหนดและห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศและแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหารเครื่องดื่มและภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ และโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าเจ้าของต้องแต่งกายสุภาพ สะอาดเรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้ และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาดและปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ภาชนะที่สะอาดและต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่แผงจำหน่ายอาหารซึ่งมีการทำประกอบและปรุงอาหารต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง ข้อ ๒๗ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) แผนผัง แบบก่อสร้างและรายการปลูกสร้างของตลาด (๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันประกาศกำหนด ข้อ ๒๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามหมวด ๑ ว่าด้วยลักษณะของตลาดแห่งข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๙ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๒๗ หรือคำขอต่อใบอนุญาตตามข้อ ๓๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ความถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้แจ้งขยายเวลาให้ผู้ขออนุญาตทราบทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘ โดยอนุโลม ข้อ ๓๒ ให้ใช้แบบฟอร์มต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (๑) แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดให้ใช้แบบ ตล. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาดให้ใช้แบบ ตล. ๒ (๓) หนังสือแจ้งผลการอนุญาตให้ใช้แบบ ตล. ๓ (๔) หนังสือแจ้งเหตุผลที่จะไม่อนุญาตให้ใช้แบบ ตล. ๔ (๕) หนังสือแจ้งคำสั่งการไม่อนุญาตให้ใช้แบบ ตล. ๕ (๖) คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งตลาดให้ใช้แบบ ตล. ๖ (๗) คำขออนุญาตดำเนินการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ ตล. ๗ ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๗ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ ตล. ๒ โดยประทับตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปีของใบแทน ข้อ ๓๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๓ เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการมีระยะเวลาในการดำเนินกิจการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติฉบับนี้ นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ภายใน ๙๐ วัน ข้อ ๔๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมัย ละไบแด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด (แบบ ตล. ๒) ๔. หนังสือแจ้งผลการอนุญาต (แบบ ตล. ๓) ๕. หนังสือแจ้งเหตุผลที่จะไม่อนุญาต (แบบ ตล. ๔) ๖. หนังสือแจ้งคำสั่งการไม่อนุญาต (แบบ ตล. ๕) ๗. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๖) ๘. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๓/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,228
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือและนายอำเภอคลองท่อม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ ให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ การจัดการมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ จัดไว้ให้แต่ละพื้นที่ของหมู่บ้านโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ และเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สาคร มีแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๙๐/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,229
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันและนายอำเภอควนโดน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกันได้ตามกฎหมาย “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เร่ขาย” หมายความว่า การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยมิได้จัดวางอยู่ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดให้บริเวณที่หรือทางสาธารณะหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตห้ามกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเขตห้ามจำหน่ายหรือซื้อสินค้าโดยเด็ดขาด (๒) เป็นเขตที่ห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท (๓) เป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าตามเวลาที่กำหนด ข้อ ๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสองให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว ข้อ ๘ การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงวางสินค้าหรือจัดวางในลักษณะอื่นตามที่พนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) แผงสำหรับวางขาย ต้องทำด้วยวัตถุที่แข็งแรง มีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๔) จัดวางสินค้าและสิ่งของใด ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำออกนอกบริเวณที่กำหนด ทั้งนี้ รวมทั้งตัวของผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าด้วย (๕) ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอ ทั้งในระหว่างทำการค้าและหลังจากเลิกทำการค้าแล้ว (๖) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องตามลักษณะไว้ให้เพียงพอ (๗) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันประกาศกำหนด (๘) ห้ามพาดติดตั้งวางแผงค้า เกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขาย รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือกหรือยึดเหนี่ยวสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับต้นไม้หรือคอกต้นไม้โดยเด็ดขาด (๙) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือกระทำโดยวิธีอื่นใด ต้องไม่ก่อให้เกิดเสียงดังจนเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๑๐) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า (๑๑) เมื่อเสร็จสิ้นการจำหน่ายทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ ที่ใช้ในการประกอบการค้าออกจากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อย (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามข้อ ๒๙ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ และข้อบังคับขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๑) – (๑๒) (๒) สวมเสื้อที่มีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าขณะเตรียม ทำ ปรุง ประกอบหรือจำหน่ายอาหาร มีสิ่งปกปิดกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร (๓) ตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผล มีการบาดเจ็บ การถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุง หรือไม่ไอหรือจามรดอาหาร (๕) อาหารปรุงสุกมีการปกปิดหรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค (๖) สารปรุงแต่งอาหารต้องมีเลขสารบบอาหาร (อย.) และระบุ วัน เดือน ปีที่ผลิต หรือวัน เดือน ปี ที่หมดอายุ (๗) น้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด มีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๘) เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และมีที่ตักที่มีด้ามยาวหรือมีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ (๙) น้ำแข็งที่ใช้บริโภค (๙.๑) ต้องสะอาด (๙.๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๙.๓) ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว (๙.๔) ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง (๑๐) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล และอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๑๑) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาดและมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๑๒) สถานที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และแผงวางจำหน่ายอาหาร ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๑๓) การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะอุปกรณ์ และวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และต้องไม่ถ่ายเทน้ำล้างภาชนะอุปกรณ์ลงพื้น น้ำล้างภาชนะอุปกรณ์ที่มีเศษอาหารต้องมีที่รองรับเศษอาหารก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ (๑๔) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับจำหน่ายหรือประกอบอาหารด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง แมลงวันและสัตว์ซึ่งเป็นพาหะนำโรค รวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๑๕) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ปรุง ประกอบ แช่ ล้างอาหาร ภาชนะเครื่องใช้ และปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๑๖) ใช้วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับใส่หรือเตรียม ทำ ปรุง ประกอบและจำหน่ายอาหาร (๑๗) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย โดยแยกประเภทเป็นแบบแห้งและเปียกที่ถูกต้องสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ และไม่ถ่ายเททิ้งลงในในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ (๑๘) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามข้อ ๒๙ รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อ ๑๐ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่อนุญาตให้จำหน่ายได้ (๒) ต้องแต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย (๓) ไม่ทิ้งมูลฝอยจากการเร่ขาย ลงในที่หรือทางสาธารณะ (๔) ในขณะที่เร่ขายสินค้า การใช้เครื่องขยายเสียงหรือวิทยุเทป หรือส่งเสียงดังหรือกระทำการใด ๆ ต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันประกาศกำหนด (๖) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อขายสินค้า (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามข้อ ๒๙ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ และข้อบังคับขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อ ๑๑ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะประเภทอาหารโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ (๑) – (๑๘) (๒) สวมเสื้อที่มีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้า มีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผม มิให้ตกลงในอาหาร (๓) รักษาความสะอาดเล็บมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร (๕) ไม่ไอหรือจามรดบนอาหาร (๖) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และแผงวางจำหน่ายอาหาร ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บเศษอาหาร (๗) ไม่เททิ้งเศษอาหารหรือน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายน้ำสาธารณะ (๘) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด (๙) ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง แมลงวันและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๑๐) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ปรุง ประกอบ แช่หรือล้างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รับรองมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ และไม่เททิ้งมูลฝอยลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามข้อ ๒๙ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบและข้อบังคับขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้จำหน่าย ผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า ประกอบกิจการเมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อที่ระบุไว้หรือเมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจหรือพบเห็นปรากฏว่าตนเป็นพาหะของโรคและได้รับแจ้งเป็นหนังสือว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อ ซึ่งระบุไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้ไทฟอยด์ (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) ไข้หัด (๑๑) โรคติดต่ออื่น ๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเพิ่มเติม ข้อ ๑๓ ถ้าปรากฏว่าผู้จำหน่าย ผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า ผู้ใดเป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒ ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่า ถ้าอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะต่อไปจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดดำเนินกิจการจนกว่าผู้นั้นจะมีสุขภาพแข็งแรง และไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒ หมวด ๒ การขออนุญาตและใบอนุญาต ข้อ ๑๔ ผู้ขอรับอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้ (๑) ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อที่ระบุไว้ในข้อ ๑๒ (๒) เงื่อนไขอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันกำหนด ข้อ ๑๕ ผู้ใดประสงค์จะขอรับอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ยื่นคำขอ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) ใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบัน ออกให้ไม่เกิน ๑ เดือน (ผู้จำหน่ายอาหารปรุงจำหน่าย) (๔) สำเนาใบอนุญาตอื่น ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันประกาศกำหนด ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้แจ้งขยายเวลาให้ผู้ขออนุญาตทราบทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ ในการออกใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะ วิธีการจำหน่ายสินค้าและสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตต่อไป ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๙ กรณีที่ ๑ การขอใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ กรณีที่ ๒ การขอต่อใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียม ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ จะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันประกาศกำหนดและจะต้องติดบัตรประจำตัวไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๑ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๓ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาสามสิบวันแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๕ โดยอนุโลม ข้อ ๒๔ หากปรากฏว่าใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องที่ประกอบด้วย ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๓ การแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ หมวด ๔ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๐ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้บังคับใช้ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมัย ละไบแด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๑) ๓. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ (แบบ สณ. ๒) ๔. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า (แบบ สณ. ๓) ๕. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ (แบบ สณ. ๔) ๖. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยวิธีการเร่ขายสินค้า (แบบ สณ. ๕) ๗. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ สณ. ๖) ๘. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,230
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง สถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง สถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันและนายอำเภอควนโดน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง สถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ การขออนุญาตหรือแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การกำหนดประเภทของสถานที่จำหน่ายอาหาร กำหนดตามลักษณะของสถานที่ประกอบกิจการเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (๑.๑) สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีลักษณะเป็นตึกแถวหรืออาคารอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ให้คำนวณพื้นที่บริเวณที่จำหน่ายอาหารทั้งหมดในอาคารนับจากขอบผนังด้านในทุกชั้นที่ประกอบกิจการ ยกเว้นพื้นที่ซึ่งกั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้สอยเพื่อการอื่น (๑.๒) สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีบริเวณให้คำนวณพื้นที่บริเวณภายในตัวอาคารและรวมพื้นที่รอบอาคารที่ใช้สำหรับการจำหน่ายอาหารนั้นด้วย ถ้าไม่มีขอบเขตที่แน่นอนให้คำนวณจากแนวเขตของพื้นที่ที่ประกอบกิจการนั้น (๑.๓) สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีอาคารเชื่อมติดถึงกันให้คำนวณพื้นที่ประกอบกิจการรวมกันและให้มีใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งฉบับเดียว แล้วแต่กรณี ถ้าอาคารนั้นไม่เชื่อมติดถึงกันให้คำนวณพื้นที่แต่ละอาคารและแยกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งแห่งละฉบับ แล้วแต่กรณี (๑.๔) สถานที่จำหน่ายอาหารที่ตั้งอยู่ในอาคารใด ๆ ให้ใช้เลขที่ของอาคารนั้น โดยให้พิจารณาจากลักษณะพื้นที่ที่ประกอบการ ถ้าแยกเป็นสัดส่วนแต่ละแห่งไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเดียวกันหรือไม่ ให้มีใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งแห่งละฉบับ แล้วแต่กรณี การคำนวณพื้นที่ให้คำนวณพื้นที่ประกอบกิจการ ในกรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหารนั้นจัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วมไว้ให้บริการ ให้คำนวณพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วมรวมกับพื้นที่ของสถานที่จำหน่ายอาหารนั้นด้วย (๒) การกำหนดประเภทของสถานที่สะสมอาหาร กำหนดตามลักษณะของสถานที่ประกอบกิจการเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (๒.๑) สถานที่สะสมอาหารที่มีลักษณะเป็นตึกแถวหรืออาคารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่มีการตั้งวางสินค้าอาหารเต็มพื้นที่หรือตั้งวางสินค้าอาหารทั่ว ๆ ไปหลายจุด ให้คำนวณพื้นที่บริเวณที่ตั้งวางสินค้าอาหารทั้งหมดภายในอาคารนับจากขอบผนังด้านในทุกชั้นที่ประกอบกิจการรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วม ยกเว้นพื้นที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้สอยเพื่อการอื่น กรณีตั้งวางสินค้าอาหารไม่เต็มพื้นที่หรือตั้งวางสินค้าอาหารที่จุดใดจุดหนึ่ง เช่น ตู้แช่ โต๊ะ ชั้นวาง สินค้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึง ให้คำนวณพื้นที่บริเวณที่ตั้งวางสินค้าอาหารนั้นรวมกับพื้นที่ห้องน้ำห้องส้วมเปรียบเทียบกับพื้นที่ของอาคารทั้งหมด หากมีพื้นที่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของพื้นที่อาคารทั้งหมด ให้คำนวณพื้นที่ของอาคารทั้งหมด กรณีสถานที่ประกอบกิจการนั้นมีหลายห้องติดกันกึ่งหนึ่งของพื้นที่ให้หมายถึงกึ่งหนึ่งของห้องที่วางสินค้าอาหารนั้น (๒.๒) สถานที่สะสมอาหารที่เป็นอาคารโกดังเก็บสินค้าที่มีอาคารโกดังหลายหลังแต่มีเลขที่ของอาคารโกดังเลขที่เดียวและมีเจ้าของคนเดียวกัน ให้คำนวณพื้นที่ของอาคารโกดังทั้งหมดรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วม และออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งฉบับเดียว แล้วแต่กรณี กรณีที่มีอาคารโกดังหลายหลังและมีเลขที่ของอาคารโกดังเลขที่เดียวแต่มีเจ้าของหลายเจ้าของ ให้คำนวณพื้นที่ของอาคารโกดังของแต่ละเจ้าของรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วม และออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี ให้แต่ละเจ้าของ กรณีที่มีอาคารโกดังหลายหลังและมีเลขที่อาคารโกดังแต่ละหลัง ให้คำนวณพื้นที่ของอาคารโกดังแต่ละหลังรวมกับพื้นที่ของห้องน้ำ ห้องส้วม และออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี แยกแต่ละโกดัง กรณีที่มีเจ้าของสินค้าอาหารหลายเจ้าของในอาคารโกดังนั้น ให้คำนวณพื้นที่ของสถานที่สะสมอาหารของแต่ละเจ้าของรวมกับพื้นที่ห้องน้ำ ห้องส้วม และออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี ให้แต่ละเจ้าของ (๓) การจัดตั้ง ใช้ และการดูแลรักษาสถานที่และสุขลักษณะของบริเวณที่ใช้จำหน่ายอาหารและเก็บสะสมอาหาร ที่จัดไว้สำหรับอาหารบริโภคที่ใช้ทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร หรือที่สะสมอาหาร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๓.๑) สถานที่เตรียมปรุง จำหน่าย และเก็บอาหารต้องสะอาดเป็นระเบียบ (๓.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาดอยู่เสมอ (๓.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องใช้วัตถุถาวร แข็งแรง มีผิวเรียบไม่ดูดซึมน้ำ และทำความสะอาดได้ง่าย การจัดตั้งถังบรรจุก๊าซต้องตั้งอยู่ในที่ปลอดภัย (๓.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการประกอบ ปรุง การเก็บและการบริโภค วางให้เป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาด และมีการปกปิดเก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๓.๕) จัดให้มีที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล และที่ล้างภาชนะต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๓.๖) จัดให้มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดีและมีสบู่ล้างมือได้ตลอดเวลา (๓.๗) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสีย และมูลฝอยด้วยวิธีที่ถูกหลักสุขาภิบาล (๓.๘) พื้นทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๓.๙) จัดให้มีทางระบายน้ำเสีย ทางระบายน้ำเสียต้องง่ายต่อการทำความสะอาดและบำรุงรักษา ระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง ไม่มีเศษอาหารตกค้าง จัดให้มีการดักเศษอาหาร ดักไขมันก่อนระบายน้ำทิ้ง ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม (๓.๑๐) จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ ณ จุดที่ทำการปรุง ประกอบ จำหน่ายอาหาร และต้องมีการระบายอากาศภายในร้านเพียงพอโดยมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ (๓.๑๑) เตรียม ปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ไม่เตรียมบนพื้นและบริเวณหน้าห้องน้ำห้องส้วม (๓.๑๒) จัดให้มีห้องส้วมไว้บริการในอัตรา ๓๐ ที่นั่งต่อ ๑ ห้องส้วม (๓.๑๓) ถ้าจะขยายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบการค้าและทำให้สุขลักษณะเปลี่ยนแปลงไป จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน (๓.๑๔) จัดให้มีเครื่องมือดับเพลิงติดตั้งไว้ในที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวก มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และถังแก๊สต้องได้มาตรฐาน (๓.๑๕) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๔) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและป้องกันโรคติดต่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๔.๑) มีการระบายอากาศเพียงพอและติดเครื่องหมายห้ามสูบบุหรี่ บริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีเครื่องดูดควัน พัดลม ปล่องระบายควันสูงเพียงพอไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๔.๒) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ (๔.๓) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยก่อนกำจัดต้องมีการจัดเก็บอย่างมิดชิด (๔.๔) ดูแลรักษาส้วมให้ถูกสุขลักษณะ ต้องมีอ่างล้างมือที่สะอาด ใช้การได้ดี และมีสบู่หรือน้ำยาล้างมือใช้ตลอดเวลา (๔.๕) ถ้ามีสัตว์ที่จะฆ่าเป็นอาหาร ต้องแยกให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม (๔.๖) จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๔.๗) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๕) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือกำกับดูแลสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารที่ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเวลาจำหน่ายอาหารบางประเภทหรือบางชนิดได้ (๖) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องปฏิบัติดังนี้ (๖.๑) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการต้องแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผมที่สะอาดขณะปฏิบัติงาน (๖.๒) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการต้องผ่านการตรวจสุขภาพว่าไม่เป็นโรคที่น่ารังเกียจและต้องผ่านการอบรมความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร (๖.๓) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการต้องล้างมือให้สะอาด ก่อนเตรียมปรุง ประกอบ จำหน่ายอาหารทุกครั้ง ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงแล้วทุกชนิด และถ้ามีบาดแผลที่มือต้องปิดแผลให้มิดชิด หรือสวมถุงมือที่สะอาดอยู่เสมอ หรือหยุดปฏิบัติงานที่มีโอกาสสัมผัสกับอาหาร (๖.๔) ไม่สูบบุหรี่ในขณะปฏิบัติงานเกี่ยวกับอาหาร (๖.๕) ห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี ทำการจำหน่ายอาหาร ปรุงอาหาร ให้บริการและสะสมอาหาร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าตนเป็นโรคติดต่อหรือซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเป็นพาหะและได้รับแจ้งความเป็นหนังสือว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อ (๗) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย การทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาหรือสะสมอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ ต้องมีการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๗.๑) การจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง วาง เก็บ สะสมอาหารหรือการล้างภาชนะอุปกรณ์ ต้องทำในที่สะอาด ซึ่งสูงกว่าพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และที่เก็บสะสมอาหารต้องป้องกันสัตว์นำโรคได้ (๗.๒) จัดให้มีน้ำดื่ม เครื่องดื่มที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิด และมีที่ตักที่มีด้ามยาวหรือมีก๊อกน้ำหรือทางเทรินน้ำ (๗.๓) น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาดมีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขและควรเก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร พร้อมทั้งมีอุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับคีบหรือตักโดยเฉพาะไม่นำอาหารหรือสิ่งของอื่นแช่ปนกับน้ำแข็ง เพื่อสำหรับบริโภค (๗.๔) ใช้เครื่องปกปิดอาหารตลอดจนภาชนะที่ใช้สำหรับประกอบ ปรุง เก็บรักษาหรือสะสมอาหาร ให้ป้องกันฝุ่นละอองและสัตว์นำโรคได้ (๗.๕) การเตรียมอาหารก่อนปรุงต้องล้างให้สะอาดโดยเฉพาะผักสดและผลไม้ น้ำที่ใช้ ประกอบ ปรุง แช่ ล้างอาหารและภาชนะต้องใช้น้ำสะอาด (๗.๖) ใช้ภาชนะที่สะอาดสำหรับใส่และปรุงอาหาร อาหารที่ปรุงสำเร็จพร้อมบริโภคต้องเก็บในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิดอาหาร วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๗.๗) ห้ามมิให้ใช้ภาชนะที่ทำด้วยสังกะสีหรือตะกั่วต้มอาหารที่มีเกลือปนอยู่ด้วย (๗.๘) ห้ามมิให้ขายอาหารอันเป็นการไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค (๗.๙) ภาชนะที่บรรจุอาหารหรือใส่เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ต้องใช้วัสดุที่ออกแบบที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค (๗.๑๐) ภาชนะที่ใช้แล้วต้องล้างและเก็บให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ส่วนภาชนะประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งห้ามนำกลับมาใช้อีก (๗.๑๑) เนื้อสัตว์ที่มีไว้ขาย ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ต้องผ่านการตรวจจากสัตวแพทย์และเก็บในภาชนะปกปิด (๗.๑๒) ห้ามนำสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว เข้ามาในสถานที่ประกอบอาหาร (๗.๑๓) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต (๓) สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ (๔) แผนผัง หรือแผนที่แสดงที่ตั้ง (๕) ใบมอบอำนาจ (กรณีที่มีการมอบอำนาจ) (๖) เอกสารอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันประกาศกำหนด ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อกำหนด และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือข้อบัญญัติฉบับนี้ ข้อ ๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้แจ้งขยายเวลาให้ผู้ขออนุญาตทราบทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการ สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ (๓) สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ (๔) แผนผังหรือแผนที่แสดงที่ตั้ง (๕) ใบมอบอำนาจ (กรณีที่มีการมอบอำนาจ) (๖) เอกสารอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามข้อบัญญัติฉบับนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ หลังจากนั้นห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินกิจการ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมัย ละไบแด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร ๔. รายการเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ๕. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร ๖. แบบคำขอแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร ๗. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร ๘. รายการเสียค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการแจ้ง ๙. แบบคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,231
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบและนายอำเภอเมืองอุบลราชธานี จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบโดยมีผลนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พุทธศักราช ๒๕๕๔ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “สถานประกอบกิจการ การเคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์” หมายความว่า สถานประกอบกิจการที่มีการเคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ ทั้งหมดหรือที่มีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน “สถานประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า สถานที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า รวมถึงการเพาะพันธุ์ การอนุบาล และการเพาะเลี้ยงสัตว์ แต่ไม่รวมถึงการเลี้ยงในที่สาธารณะ และการเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่นหรือบริโภคในครัวเรือน “สถานประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์น้ำ” หมายความว่า สถานที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการค้า รวมถึงการเพาะพันธุ์ การอนุบาล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่ไม่รวมถึงการเลี้ยงในแหล่งน้ำหรือที่สาธารณะและการเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่นหรือบริโภคในครัวเรือน “สัตว์น้ำ” หมายความว่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำเป็นปกติ สัตว์จำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำท่วมถึง สัตว์ที่มีการดำรงชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำ เช่น ปลา กุ้ง หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๗ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมดูแลมิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมของประชาชนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ๗.๑ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๗.๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๗.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลาหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุการกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๗.๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๗.๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๗.๖ กิจการเกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอมหรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักรหรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ ๗.๗ กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลเก่า ๗.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๗.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการ อาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะหรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงหรือดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๗.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่นหรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๗.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๕) ๗.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าส (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดขัน (๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต การสะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๗.๑๓ กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลาหรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง หมวด ๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ตั้ง ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจาก ศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ หรือสถานที่อื่นใดที่ต้องมีการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนเป็นพิเศษ ซึ่งต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หรือต้องมีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานประกอบกิจการ ความในวรรคแรก มิให้ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการที่ตั้งขึ้นก่อนวันที่ข้อบัญญัติท้องถิ่นใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องการย้ายสถานที่ตั้ง ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพและเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๑๐ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ตั้งของสถานประกอบกิจการ การเลี้ยงสัตว์น้ำต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม ตามกฎหมายว่าด้วยผังเมืองและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อันไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อันไม่ก่อปัญหาเหตุรำคาญแก่ประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง ความในวรรคแรก มิให้ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการที่ตั้งขึ้นก่อนวันที่ข้อบัญญัติท้องถิ่นใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องการย้ายสถานที่ตั้ง ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพและเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงอย่างมีประสิทธิภาพ หมวด ๓ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะ ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑๑.๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๑๑.๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๑๑.๓) ต้องมีห้องน้ำ และห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน (๑๑.๔) ต้องทำรางระบายน้ำไปสู่รางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อพัก ซึ่งรับน้ำเสียด้วยวัตถุถาวร มีลักษณะเรียบ ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๑๑.๕) การระบายน้ำ และรางระบายนํ้า ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเหตุรำคาญ (๑๑.๖) ต้องมีการบำบัดหรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสีย หรือกากของเสียให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบกำหนด (๑๑.๗) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขังหรือปล่อยสัตว์กว้างพอและจัดสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชน และไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความทุกข์ทรมานแก่สัตว์ และให้มีการเก็บรวบรวมกำจัดมูลสัตว์ เศษอาหาร ซากสัตว์ ให้ได้สุขลักษณะ ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการ การเคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ ต้องดำเนินการเกี่ยวกับสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑๒.๑) อาคาร ต้องมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย (๑๒.๒) พื้น ต้องทำด้วยคอนกรีต หรือวัสดุอื่นใดที่แข็งแรง อยู่ในสภาพดี เหมาะสม ปลอดภัย และทำความสะอาดง่าย (๑๒.๓) พื้นอาคารในส่วนที่ล้างรถ ควรมีความลาดเอียงที่เหมาะสมสำหรับระบายน้ำจากการล้าง (๑๒.๔) ผนัง ต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง และทำความสะอาดง่าย (๑๒.๕) หลังคา ต้องมุงด้วยกระเบื้องหรือวัสดุอื่นใดที่แข็งแรง (๑๒.๖) มีประตู หรือทางเข้า – ออกสถานประกอบกิจการ ที่มีความกว้างเพียงพอ กับการเข้า – ออกของยานพาหนะ และการเคลื่อนย้ายในกรณีฉุกเฉิน (๑๒.๗) มีการแบ่งพื้นที่ดำเนินกิจการแต่ละส่วนอย่างเป็นสัดส่วนและเหมาะสม โดยบริเวณผสมสี บริเวณพ่นสีและอบสียานยนต์ต้องมีการแยกห้องอย่างชัดเจนเป็นห้องปิดมิดชิด และจัดให้มีระบบระบายอากาศและบำบัดอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ (๑๒.๘) มีการระบายอากาศในอาคารโดยวิธีธรรมชาติหรือกลวิธีที่เหมาะสม (๑๒.๙) ทำความสะอาด และบำรุงรักษาอาคาร รวมทั้งพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ อย่างเหมาะสม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการ การเลี้ยงสัตว์น้ำ ต้องดำเนินการเกี่ยวกับสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑๓.๑) กรณีที่เป็นอาคาร ต้องดำเนินการดูแลอาคาร พื้น ฝาผนัง หลังคา ให้มั่นคงแข็งแรง และทำความสะอาดง่าย โดยจัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เหมาะสม (๑๓.๒) จัดให้มีการแบ่งพื้นที่ดำเนินกิจการแต่ละส่วนอย่างเป็นสัดส่วนและเหมาะสม เช่น บ่อเพาะพันธุ์ บ่ออนุบาล บ่อเลี้ยง อาคารสำนักงาน บ้านพักอาศัย เป็นต้น (๑๓.๓) จัดให้พื้นที่ในการเก็บรักษาวัสดุ เคมีภัณฑ์ และอาหารสัตว์ที่เหมาะสมและเป็นสัดส่วน (๑๓.๔) จัดให้มีการทำความสะอาด และบำรุงรักษาอาคารสถานประกอบกิจการ รวมทั้งพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ เป็นประจำ เช่น บริเวณที่เตรียมอาหารสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น ข้อ ๑๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจผ่อนผันให้ผู้รับใบอนุญาตงดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๘ ได้ตามที่เห็นสมควร และให้มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยส่วนรวม ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็น และเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑๖.๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณ และประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๑๖.๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๑๖.๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใด ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๙ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๔ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ข้อ ๒๐ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๑ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๒๑.๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒๑.๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๒ สถานประกอบกิจการ การเคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๒๒.๑) จัดให้มีทางหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉิน พร้อมแผนผังแสดงโดยต้องมีป้ายแสดงให้เห็นชัดเจน (๒๒.๒) จัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย ๖ เดือน/ครั้ง ทั้งนี้ ให้มีการบำรุงรักษาตามข้อกำหนดของผู้ผลิต (๒๒.๓) มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ของจำนวนผู้ปฏิบัติงานในแต่ละแผนกของสถานประกอบกิจการนั้น และจัดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รับการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง กรณีที่มีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป ให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒๒.๔) มีสถานที่จัดเก็บสารเคมีที่ใช้ในการประกอบกิจการ ที่มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย และแยกออกจากบริเวณการผลิตอื่น ๆ โดยต้องจัดให้มีป้ายแสดงชนิดประเภทของสารเคมี แต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน จัดให้มีบัญชีรายชื่อและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS : safety data sheets) โดยเอกสารทั้งหมดให้แสดงเป็นภาษาไทย จัดเก็บไว้ในที่เปิดเผยและเรียกดูได้ง่าย (๒๒.๕) จัดให้มีแสงสว่างภายในสถานประกอบกิจการที่เพียงพอตามลักษณะงานตามกฎหมายว่าด้วยคามปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒๒.๖) มีการควบคุมปริมาณฝุ่นละออง และความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศ การทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒๒.๗) จัดให้มีมาตรการป้องกัน ควบคุมปัญหาเสียงดังภายในสถานประกอบกิจการให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒๒.๘) จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้เพียงพอและเหมาะสม ตามลักษณะงาน เช่น หน้ากากป้องกันกลิ่น ไอระเหยสารเคมี ที่ครอบหูหรือที่อุดหู และแว่นตากรองแสง เป็นต้น และจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ทั้งนี้ ต้องมีมาตรการในการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดเวลาการปฏิบัติงาน (๒๒.๙) จัดให้มีคู่มือหรือเอกสารที่แสดงขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน ณ จุดปฏิบัติงาน ในที่เปิดเผยและเรียกดูได้ง่าย (๒๒.๑๐) จัดให้มีน้ำดื่มที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่ม สำหรับบริการผู้ปฏิบัติงาน อย่างเพียงพอ และต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่แยกออกจากบริเวณการผลิต โดยลักษณะการจัดบริการน้ำดื่มต้องปราศจากความสกปรกหรือการปนเปื้อน (๒๒.๑๑) จัดให้มีน้ำใช้สะอาด และมีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้ในแต่ละวัน (๒๒.๑๒) สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้ให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร (๒๒.๑๓) จัดให้มีอ่างหรือที่ล้างมือ พร้อมสบู่ ที่มีจำนวนเพียงพอและถูกสุขลักษณะ (๒๒.๑๔) จัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานแรกรับเข้าทำงาน และผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และตรวจตามปัจจัยเสี่ยงตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (๒๒.๑๕) ผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมหรือให้ความรู้ก่อนเข้าปฏิบัติงาน เช่น ทักษะในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย สุขอนามัยส่วนบุคคล และวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน เป็นต้น พร้อมทั้งมีการบันทึกผลของการอบรมทุกครั้ง (๒๒.๑๖) จัดให้มีที่ชำระล้างร่างกาย และชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ภายในสถานประกอบกิจการ (๒๒.๑๗) กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินต้องมีการดูแลผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย รวมถึงมีการส่งต่อผู้ป่วยได้ทันท่วงที (๒๒.๑๘) มีข้อบังคับกับผู้ปฏิบัติงาน มิให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่หรือเสพสารเสพติดและไม่รับประทานอาหารขณะปฏิบัติงาน (๒๒.๑๙) จัดให้มีมาตรการป้องกัน ควบคุมสัตว์และแมลงพาหะนำโรคในพื้นที่สถานประกอบกิจการ ข้อ ๒๓ สถานประกอบกิจการ การเลี้ยงสัตว์น้ำ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๒๓.๑) กรณีที่เป็นอาคารต้องจัดให้มีทางหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉิน พร้อมแผนผังแสดง โดยต้องมีป้ายแสดงให้เห็นเด่นชัดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน (๒๓.๒) กรณีที่เป็นอาคารต้องจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องมีการบันทึกผลการตรวจสอบ และบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิง อย่างน้อย ๖ เดือน/ครั้ง (๒๓.๓) มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่ผู้ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ของจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ในแต่ละแผนกของสถานประกอบกิจการนั้น และจัดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รับการฝึกซ้อมดับเพลิง และการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง กรณีที่มีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป ให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒๓.๔) จัดให้มีชุดปฏิบัติงานที่มีความสะอาดและเหมาะสม พร้อมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมตามลักษณะงาน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ หน้ากาก เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องมีมาตรการในการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดเวลาการปฏิบัติงานทุกครั้ง (๒๓.๕) จัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานแรกรับเข้าทำงาน และผู้ปฏิบัติงาน ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจตามความเสี่ยง ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (๒๓.๖) จัดให้มีสถานที่ชำระล้างร่างกาย และชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ภายในสถานประกอบกิจการ (๒๓.๗) กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินต้องมีการดูแลผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย รวมถึงมีการส่งต่อผู้ป่วยได้ทันท่วงที (๒๓.๘) มีมาตรการ หรือแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน การดูแลด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และมีมาตรการในการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด (๒๓.๙) จัดให้มีน้ำดื่มที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่ม สำหรับบริการผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ โดยลักษณะการจัดบริการน้ำดื่มต้องไม่ก่อให้เกิดความสกปรกหรือการปนเปื้อน (๒๓.๑๐) จัดให้มีน้ำใช้ที่สะอาด และมีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้ในแต่ละวัน (๒๓.๑๑) สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร (๒๓.๑๒) จัดให้มีอ่างหรือที่ล้างมือพร้อมสบู่ที่มีจำนวนเพียงพอและถูกสุขลักษณะ (๒๓.๑๓) จัดให้มีมาตรการ การป้องกัน ควบคุมสัตว์ และแมลงพาหะนำโรคในอาคารสำนักงานและบริเวณที่เก็บอาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ หมวด ๕ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการมลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง ข้อ ๒๔ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๒๕ สถานประกอบกิจการ การเคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๒๕.๑) ห้องผสมสี พ่นสี และอบสียานยนต์ต้องจัดให้มีระบบระบายอากาศ และระบบบำบัดอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการบำบัดฝุ่นละออง สารอินทรีย์ระเหยง่าย และผู้ประกอบกิจการจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งมีมาตรการในการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานเปิดระบบระบายอากาศและระบบบำบัดอากาศขณะปฏิบัติงานทุกครั้ง และให้ติดตั้งมิเตอร์ไฟแยกเฉพาะสำหรับระบบบำบัดอากาศ เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าสถานประกอบกิจการมีการเดินเครื่องระบบบำบัดอากาศ ทั้งนี้ ห้ามทำการผสมสี พ่นสี และอบสียานยนต์นอกห้องดังกล่าวโดยเด็ดขาด (๒๕.๒) มีการป้องกัน ควบคุม หรือบำบัดกลิ่นจากการประกอบกิจการที่มีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง (๒๕.๓) มีการป้องกัน ควบคุมไอระเหยของสารเคมี และฝุ่นละออง จากการประกอบกิจการ เพื่อไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒๕.๔) กรณีที่ระบบบำบัดอากาศเป็นแบบการใช้วัสดุดูดซับกลิ่นหรือสารอินทรีย์ระเหยง่าย ให้ดำเนินการตรวจตราวัสดุดูดซับกลิ่นหรือวัสดุกรองฝุ่นละอองสีในห้องพ่นสีเป็นประจำ หากพบการอุดตันของวัสดุดูดซับ หรือวัสดุกรองฝุ่นละอองสีให้ทำการเปลี่ยนทันทีหรือเปลี่ยนตามกำหนดเวลา พร้อมทั้งให้มีการบันทึกผลเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา (๒๕.๕) จัดให้มีบริเวณหรือห้องสำหรับทำการเคาะ ปะผุยานยนต์ที่ปิดมิดชิด และมีการควบคุมระดับเสียงให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๖ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการน้ำเสีย มูลฝอย ของเสียอันตราย และสิ่งปฏิกูล ข้อ ๒๖ สถานประกอบกิจการ การเคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๒๖.๑) ต้องจัดให้มีรางหรือท่อระบายน้ำ บ่อพักที่มีขนาดเพียงพอโดยต้องจัดทำบ่อดักไขมันที่มีขนาดเพียงพอ (๒๖.๒) มีการบำบัดหรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียจากการประกอบกิจการก่อนการระบายสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒๖.๓) จัดให้มีภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย มีการทำความสะอาดภาชนะรองรับ และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ รวมทั้งมีการรวบรวมและกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ (๒๖.๔) มีการจัดการกากของเสีย สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หรือวัสดุที่เสื่อมคุณภาพจากกระบวนการผลิต รวมทั้งวัสดุอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒๖.๕) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วม และอ่างหรือที่ล้างมือ พร้อมสบู่ที่มีจำนวนเพียงพอและถูกสุขลักษณะ ตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสม โดยจัดห้องส้วมแยกชาย – หญิง และมีจำนวนอย่างน้อยในอัตรา ๑ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๑๕ คน อัตรา ๒ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๔๐ คน อัตรา ๓ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๘๐ คน และเพิ่มขึ้นต่อจากนี้ในอัตราส่วน ๑ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงาน ไม่เกิน ๕๐ คน ข้อ ๒๗ สถานประกอบกิจการ การเลี้ยงสัตว์น้ำต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๒๗.๑) จัดให้มีการบำบัดหรือการจัดการน้ำทิ้งให้คุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม (๒๗.๒) ไม่ควรให้อาหารเกินความต้องการของสัตว์น้ำ เพื่อป้องกันมิให้เศษอาหารเหลือตกค้างในแหล่งน้ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำได้ (๒๗.๓) จัดให้มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับมูลฝอยที่เหมาะสมและเพียงพอ ทั้งนี้ ภาชนะรองรับมูลฝอยต้องทำจากวัสดุที่แข็งแรง ไม่รั่วซึม ทำความสะอาดง่าย มีฝาปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์ไม่ให้คุ้ยเขี่ย รวมทั้งมีการรวบรวมและกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ (๒๗.๔) ให้เก็บเศษอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ หรือเศษวัสดุอื่นที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ทิ้งลงภาชนะของรับมูลฝอยเป็นประจำทุกวัน (๒๗.๕) มีการจัดการซากสัตว์น้ำอย่างถูกสุขลักษณะ เช่น การฝังกลบ เป็นต้น (๒๗.๖) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วม และอ่างหรือที่ล้างมือ พร้อมสบู่ ที่มีจำนวนเพียงพอและถูกสุขลักษณะ ตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสม โดยจัดห้องส้วมแยกชาย – หญิง และมีจำนวนอย่างน้อย ในอัตรา ๑ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๑๕ คน อัตรา ๒ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๔๐ คน อัตรา ๓ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๘๐ คน และเพิ่มขึ้นต่อจากนี้ในอัตราส่วน ๑ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๕๐ คน โดยให้รวมถึงสำนักงานและบ้านพักคนงาน หมวด ๗ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ ข้อ ๒๘ สถานประกอบกิจการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๒๘.๑) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ รวมถึงสวิตซ์และสายไฟต่าง ๆ ต้องติดตั้งหรือจัดเก็บอย่างเป็นสัดส่วน เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี (๒๘.๒) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ ที่มีส่วนที่เป็นอันตรายต้องมีครอบป้องกันอันตราย (๒๘.๓) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ ที่เปลือกนอกเป็นโลหะจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน เช่น สายดิน และเครื่องตัดไฟรั่ว เป็นต้น และได้รับการตรวจสอบเป็นประจำ (๒๘.๔) การเดินสายไฟต้องเดินสายไฟให้เรียบร้อยและเดินในท่อร้อยสาย (๒๘.๕) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต้องได้รับการตรวจตราเป็นประจำ ถ้าพบการชำรุดต้องดำเนินการซ่อมแซมและแก้ไข พร้อมทั้งต้องมีป้ายหรือสัญญาณเตือนกรณีเครื่องจักรชำรุดหรือขัดข้องเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน หมวด ๘ ใบอนุญาต ข้อ ๒๙ ในระหว่างที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังไม่กำหนดมาตรฐานมลพิษด้านต่าง ๆ สำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบเลื่อนนำค่ามาตรฐานด้านมลพิษตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ในข้อบัญญัตินี้โดยอนุโลม ข้อ ๓๐ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๗ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๓๑ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๗ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๓๑.๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๓๑.๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓๑.๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓๑.๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบประกาศกำหนด ข้อ ๓๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ครอบคลุมทั้งด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ด้านการสาธารณสุข และด้านความปลอดภัย ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ ข้อ ๓๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๖ บรรดาใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ ด้วย ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ข้อ ๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๑ ในกรณีที่ปรากฏหรือมีผู้ร้องเรียนว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๔๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๔๒.๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๔๒.๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔๒.๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๗ บรรดาใบอนุญาตการค้าซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบให้คงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้นและเมื่อสิ้นอายุใบอนุญาตนั้นแล้วให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ นิคม พันธุ์คำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๕๖/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,232
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันและนายอำเภอควนโดน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “โรงงาน” หมายความว่า เป็นอาคารสถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ ๕ แรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม โดยกำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น ๓ ประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญ การป้องกันความเสียหายและการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม คือ ๑. โรงงานจำพวกที่ ๑ เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน ๒๐ แรงม้า ไม่ก่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมหรือเหตุเดือดร้อนอันตราย ๒. โรงงานจำพวกที่ ๒ เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน ๒๐ แรงม้า แต่ไม่เกิน ๕๐ แรงม้า อาจก่อปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กน้อยแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก ๓. โรงงานจำพวกที่ ๓ เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน ๕๐ แรงม้า อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือเหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด “ผู้ประกอบการ” หมายความว่า ผู้ที่จัดตั้งธุรกิจใหม่ โดยเผชิญความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทางธุรกิจเพื่อแสวงหาผลกำไรและความเติบโตมุ่งหาความต้องการของตลาดเพื่อสนองความต้องการโดยผู้ประกอบการอาจจะเป็นบริษัท ห้างร้าน หรือเอกชนเพียงคนเดียวก็ได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิต บะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่ม ชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่ง บรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิต ผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุขวดด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะหรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้กและสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ต้องให้ความร่วมมือต่อองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านสิ่งแวดล้อม ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้แจ้งขยายเวลาให้ผู้ขออนุญาตทราบทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจันเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมัย ละไบแด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต ๔. แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้ง ๕. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๖. รายการการต่อใบอนุญาตและการเสียค่าธรรมเนียม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๓๙/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,233
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ และนายอำเภอเมืองอุบลราชธานี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง สถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง ควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๐ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม แต่ไม่รวมถึง ยา วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมาย สำหรับใช้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมทั้งวัตถุเจือปนอาหารสี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงสำเร็จ และจำหน่ายให้กับผู้ซื้อสามารถบริโภคทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่าย โดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคภายหลัง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้าสำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และหรือพนักงานส่วนตำบลซึ่งได้รับการแต่งตั้งเพื่อให้ปฏิบัติการตามกฎหมาย ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาด ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น สถานที่ดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง มีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๕) จัดให้มีห้องสุขาจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ คำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อ (๑.๑) - (๑.๖) (๒.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบกำหนด (๒.๕) จัดให้มีบริเวณที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือ พร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒.๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ข้อ ๘ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับมอบการแจ้ง ต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาความสะอาดของห้องสุขาให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้ และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย และรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ข้อ ๙ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับรองการแจ้ง จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ รักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ รวมทั้ง สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร ผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) วางเก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาดถูกสุขลักษณะ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหาร รวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้น ให้สะอาด ใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภค ต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้และห้ามนำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่หรือเก็บรวมกันไว้ด้วย (๔) การทุบ การบดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะ และสะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันมิให้เสียงเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการ ต้องทำความสะอาดโดยวิธีผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีนํ้าสะอาดไว้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ข้อ ๑๐ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการ ต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๑๑ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับรองการแจ้ง ต้องไม่เป็นโรคติดต่อและไม่จ้างหรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อ จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตามแบบ สอ. ๑ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบกำหนด ในกรณีสถานที่ตามวรรคหนึ่ง มีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร ให้ยื่นคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๒ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบกำหนด ข้อ ๑๓ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตหรือคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งแล้ว ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตามแบบ สอ. ๓ ท้ายข้อบัญญัตินี้ หรือหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๔ ท้ายข้อบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ผู้ใดรับอนุญาตหรือผู้ได้รับการรับรองการแจ้ง ต้องมารับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ เมื่อผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารตามแบบ สอ. ๖ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ต่อพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ใดมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ จะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๕ ผู้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นประจำทุกปี ตลอดระยะเวลาดำเนินกิจการนั้น โดยยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปีตามแบบ สอ. ๕ ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบกำหนด และให้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนครบรอบในแต่ละปี ผู้ใดมิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด จะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ ข้อ ๑๗ เมื่อผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ไม่ประสงค์จะประกอบการต่อไปให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการตามแบบ สอ. ๗ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๘ หากผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับรองการแจ้ง ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ยื่นคำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๘ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๙ หากปรากฏว่าใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง สูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี จะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๙ ท้ายข้อบัญญัตินี้ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๐ การออกใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้ตามแบบ สอ. ๑๐ ท้ายข้อบัญญัตินี้ หรือการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้ตามแบบ สอ. ๑๑ ท้ายข้อบัญญัตินี้ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม หรือต้นขั้วหนังสือรับรองการแจ้งเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปีของใบแทน ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับรองการแจ้ง ให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องแสดงใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑ (๒) คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๒ (๓) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๓ (๔) หนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ สอ. ๔ (๕) คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปีให้ใช้แบบ สอ. ๕ (๖) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่สะสมอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๖ (๗) คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการให้ใช้แบบ สอ. ๗ (๘) คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ สอ. ๘ (๙) คำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ สอ. ๙ (๑๐) ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๑๐ (๑๑) ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๑๑ ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน กรณีถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้ดำเนินกิจการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๔ และเคยได้รับโทษตามข้อบัญญัตินี้เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งขอหนังสือรับรอง การแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง หากยังปฏิบัติฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินการดังกล่าวหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งขอหนังสือรับรองการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๔ ถ้ายังฝ่าฝืนอีก ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามดำเนินกิจการนั้นไว้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสองปี ผู้ใดปฏิบัติตามที่กล่าวในวรรคหนึ่ง จำต้องเสียค่าปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เมื่อได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเปรียบเทียบปรับกำหนด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๕ มีความผิดมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๗ ข้อ ๘ หรือข้อ ๑๐ มีความผิดตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๑๙ หรือข้อ ๒๑ มีความผิดตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามข้อ ๒๓ วรรคหนึ่ง มีความผิดตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๙ บรรดาใบอนุญาตค้าอาหารหรือสะสมอาหารในสถานที่เอกชนที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจักได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่งดำเนินการยื่นคำร้องขอใบอนุญาตและหรือใบรับรองการแจ้งตามที่บัญญัติไว้ในข้อบัญญัตินี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ นิคม พันธุ์คำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑) ๓. แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒) ๔. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓) ๕. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๔) ๖. คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปี (แบบ สอ. ๕) ๗. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๖) ๘. คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร.(แบบ สอ. ๗) ๙. คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง (แบบ สอ. ๘) ๑๐. คำขอใบแทนอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง (แบบ สอ. ๙) ๑๑. ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๐) ๑๒. ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๑๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๘๑/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
54,234
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์และนายอำเภอเดชอุดม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า "ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์แล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน "เร่ขาย" หมายความว่า การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยมิได้จัดวางอยู่ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ หรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ หรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๕ การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามจำหน่ายสินค้าในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศห้าม (๒) ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายต้องแต่งกายสะอาดสุภาพเรียบร้อย (๓) จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด ร่มหรือผ้าใบบังแดดรวมทั้งตัวผู้ค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร (๔) แผงสำหรับวางขาย เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ ต้องทำด้วยวัตถุที่แข็งแรง มีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๕) รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอ ทั้งในระหว่างทำการค้าและหลังจากเลิกทำการค้าแล้ว (๖) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ (๗) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่น ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๘) ห้ามพาด ติดตั้ง วางแผงค้าเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขาย รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือกหรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับคอกต้นไม้ หรือต้นไม้โดยเด็ดขาด (๙) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์มีเสียงดัง (๑๐) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๑๑) ห้ามนำรถยนต์รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า (๑๒) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวัน และให้หยุดกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๑๓) หลังจากเลิกทำการค้าต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า (๑๔) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้ง ระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ข้อ ๖ การจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่าย ผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ (๑) - (๑๔) (๒) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน และสวมเสื้อผ้าที่สะอาดเรียบร้อย รวมทั้งสวมรองเท้าขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร (๓) ต้องตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผล มีการบาดเจ็บ การถูกลวก หรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือ หรือนิ้วมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหาร ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร หรือไม่ไอจามรดบนอาหาร (๕) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และวางแผงจำหน่ายอาหาร ต้องสูงอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตร (๖) การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะอุปกรณ์ และวางสูงจากพื้นที่หรือลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ (๗) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำหน่ายอาหารให้สะอาด และใช้การได้อยู่เสมอ (๘) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้สำหรับประกอบอาหาร ด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง แมลงวัน และสัตว์ ซึ่งเป็นพาหะนำโรค รวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๙) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่ ล้างอาหาร ภาชนะ เครื่องใช้ และปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๑๐) ใช้วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับใส่หรือเตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย โดยแยกประเภทเป็นแบบแห้งและเปียกที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ และไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำ หรือทางสาธารณะ (๑๒) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ข้อ ๗ การจำหน่ายสินค้า ประเภท สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า หรือสัตว์น้ำ ในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ (๑) - (๑๔) (๒) จัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (๔) ใช้กรง หรือคอก หรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับชนิดของสัตว์ และสะอาดปลอดภัย (๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำหน่ายสัตว์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมูลฝอยติดเชื้อ โดยแยกประเภทที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ และไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ (๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย การกักขัง และการรักษาความสะอาด (๘) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ข้อ ๘ การเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่อนุญาตให้จำหน่ายได้เท่านั้น (๒) ต้องแต่งกายสะอาด สุภาพ เรียบร้อย (๓) มูลฝอยจากการเร่ขาย ห้ามทิ้งลงในที่หรือทางสาธารณะ และจัดให้มีที่รองรับน้ำทิ้งที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้า และต้องมีการรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องตามลักษณะไว้ให้เพียงพอ และต้องมีการเก็บรวบรวมมูลฝอยนำไปกำจัดหรือนำไปทิ้งในที่รวบรวมมูลฝอย (๔) ในขณะที่เร่ขายสินค้า ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือส่งเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อขายสินค้า (๖) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ข้อ ๙ การเร่ขายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๑) - (๖) (๒) อาหารที่เร่ขายต้องสะอาด ปลอดภัย (๓) ใช้วัสดุ ภาชนะหีบห่อที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับใส่อาหาร (๔) ดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเร่ขายอาหารให้สะอาด และใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๕) จัดอาหารแยกตามประเภทของสินค้าให้เป็นระเบียบ (๖) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน สะอาดเรียบร้อย และสวมรองเท้าขณะทำการเร่ขายอาหาร (๗) ตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๘) ไม่สูบบุหรี่ หรือไอ จาม รดบนอาหารในขณะขาย (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ข้อ ๑๐ การเร่ขายสินค้าประเภท สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า หรือสัตว์น้ำ ในที่หรือทางสาธารณะผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๑) - (๖) (๒) สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่เร่ขายต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่าทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (๔) ใช้กรงหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่สะอาดปลอดภัย (๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเร่ขายให้สะอาด และใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๖) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ข้อ ๑๑ ห้ามผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่าย ประกอบกิจการเมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อที่ระบุไว้ หรือเมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจปรากฏว่าตนเป็นพาหะของโรค และได้รับแจ้งความเป็นหนังสือแจ้งว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อซึ่งระบุไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๒ ถ้าปรากฏว่าผู้จำหน่ายผู้ใดเป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าถ้าอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะต่อไปจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้จำหน่ายหยุดการจำหน่ายอาหารได้ทันทีจนกว่าจะรักษาให้หายเป็นปกติ ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (๑) ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๑ (๒) เงื่อนไขอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์กำหนด ข้อ ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ประกาศกำหนด ข้อ ๑๕ ผู้ใดจะขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ หรือลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า ให้ยื่นคำขอตามแบบ สณ. ๑ หรือ สณ. ๔ แล้วแต่กรณี ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์กำหนด และรูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑×๑.๕ นิ้ว ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายคนละ ๓ รูป เพื่อติดไว้ในทะเบียน ๑ รูป ในใบอนุญาต ๑ รูป และบัตรสุขลักษณะประจำตัวอีก ๑ รูป ข้อ ๑๖ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตแล้วปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ สณ. ๒ หรือ สณ. ๕ แล้วแต่กรณี พร้อมบัตรประจำตัวผู้รับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายตามแบบ สณ. ๓ หรือ สณ. ๖ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาต พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๘ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงชนิด หรือประเภทสินค้า หรือลักษณะการจำหน่าย หรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุในใบอนุญาตหรือรายการอื่นใด ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๘ ข้อ ๑๙ ในขณะทำการจำหน่ายสินค้าหรือเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตของตนได้เสมอ และทำการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามประเภทสินค้าและลักษณะการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต ข้อ ๒๐ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้ได้เฉพาะผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตไม่เกินหนึ่งคน และห้ามมิให้โอนใบอนุญาต ข้อ ๒๑ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๑ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ จะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์เท่านั้น ข้อ ๒๓ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๘ ก่อนการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ใบอนุญาต หรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือขอรับบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ แล้วแต่กรณี ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตหรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ (๓) รูปถ่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่าย ขนาด ๑×๑.๕ นิ้ว จำนวนคนละ ๓ รูป ข้อ ๒๕ การออกใบแทนใบอนุญาต หรือการออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สณ. ๒ หรือแบบ สณ. ๕ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต (๔) กรณีบัตรสุขลักษณะประจำตัว ได้ออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ ตามแบบ สณ. ๓ หรือแบบ สณ. ๖ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย ข้อ ๒๖ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ให้ใช้แบบ สณ. ๑ (๒) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ให้ใช้แบบ สณ. ๒ (๓) บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ให้ใช้แบบ สณ. ๓ (๔) คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้เร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยให้ใช้แบบ สณ. ๔ (๕) ใบอนุญาตเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ใช้แบบ สณ. ๕ (๖) บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้ได้รับใบอนุญาตเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ใช้แบบ สณ. ๖ (๗) คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ หรือเร่ขายในที่หรือทางสาธารณะ ให้ใช้แบบ สณ. ๑ (๘) คำร้องขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สณ. ๘ ข้อ ๒๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ข้อ ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่ต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๔ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๕ ถึงข้อ ๑๑ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๒๑ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๒๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๓ บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกก่อนวันที่ใช้ข้อบัญญัตินี้ ให้คงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ข้อ ๓๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร มีอำนาจออกประกาศ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดบริเวณหรือทางสาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เป็นเขตหวงห้ามจำหน่ายหรือซื้อสินค้าโดยเด็ดขาด (๒) กำหนดบริเวณหรือทางสาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดในพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท หรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าตามกำหนดเวลาหรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้า โดยวิธีการจำหน่ายในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจำหน่ายสินค้าในบริเวณนั้น ข้อ ๓๕ ห้ามมิให้โอนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๖ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อนวันหมดอายุของใบอนุญาตนั้นได้ ข้อ ๓๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมควร จารีย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๑) ๓. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๒) ๔. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ (แบบ สณ. ๓) ๕. คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้เร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๔) ๖. ใบอนุญาตเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๕) ๗. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้ได้รับใบอนุญาตเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ (แบบ สณ. ๖) ๘. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะหรือเร่ขายในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๗) ๙. คำร้องขออนุญาตการต่าง ๆ (แบบ สณ. ๘) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๓๕/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,235
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึง ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบึงและนายอำเภอเขวาสินรินทร์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงนับแต่วันถัดจากวันประกาศ ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถานต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขัง อย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคารหรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บุญจันทร์ เจริญยิ่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึง ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๑๐/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,236
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกและนายอำเภอสองพี่น้อง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ “กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” หมายความว่า กิจการที่มีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ “กิจการที่เกี่ยวเนื่องกัน” หมายความว่า กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่มีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนโดยผลผลิตที่ได้เป็นผลผลิตเดียวกัน “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือการให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า “กิจการสปาเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้การดูแลและสร้างสุขภาพ โดยบริการหลักที่จัดไว้ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพ การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ โดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วย เช่น การอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนาบำบัด และการควบคุมอาหาร โยคะและการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ หรือไม่ก็ได้ โดยทั้งนี้ บริการที่จัดไว้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทางการแพทย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง (๑.๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม (๑.๓) การประกอบกิจการเลี้ยงรวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชม หรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒.๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังไม่ได้ฟอก (๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังไม่แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขายและการขายในตลาด (๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ (๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๒.๘) การสะสมหรือการล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม (๓.๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมัน กุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาดและการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ (๓.๘) การผลิตแบะแซ (๓.๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๐) การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ (๓.๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล (๓.๑๔) การผลิตผลิตภัณฑ์จากนมวัว (๓.๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู (๓.๑๖) การคั่วกาแฟ (๓.๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๑๘) การผลิตผงชูรส (๓.๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร (๓.๒๕) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง (๔.๑) การผลิต การโม่ การลด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ (๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันพืช (๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๕.๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย (๕.๘) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร (๕.๙) การตาก การสะสม หรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (๖.๒) การหลอม หล่อ ถลุงแร่ หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือก การล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่งระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าว (๗.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๗.๕) การปะ การเชื่อมยาง (๗.๖) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย การซอย การตัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การประดิษฐ์ไม้ หวายเป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๘.๔) กรอบไม้ (๘.๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร (๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเขียนกระดาษไม้ (๘.๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) กิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นใดในทำนองเดียวกัน (๙.๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๙) การจัดให้มีการเล่นสเกตโดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๑) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการ ให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๑๒) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม (๙.๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๔) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๕) การสักผิวหนัง การเจาะหูหรือเจาะอวัยวะอื่น (๙.๑๖) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น (๑๐.๓) การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรมหรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทอต่าง ๆ (๑๐.๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หินกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้า เพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๑๑.๙) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๒.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำลาย (๑๒.๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสมการขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ การบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุสารดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบ ในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ สะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต การซ่อมแซมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๓.๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การก่อสร้าง (๑๓.๑๐) กิจการท่าเทียบเรือหรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงานหรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และสุขาภิบาล ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานให้เป็นไปตามประกาศ ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญ โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการ ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง มีบันไดหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่การประกอบกิจการนั้น (๔) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน (๕) สถานประกอบกิจการต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบร้อย ไม่ซึมไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก มีบ่อกำจัดไขมัน มีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง และต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางสาธารณหรือผู้อาศัยใกล้เคียง (๗) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขัง และมีบริเวณปล่อยสัตว์ที่กว้างขวางเพียงพอและต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๘) สถานที่เกี่ยวกับตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๙) ต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อ ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบการค้าทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าวัตถุแห่งการค้านั้นจักใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้นให้พ้นจากฝุ่นละอองและสัตว์พาหะนำโรค (๑๐) ต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ (๑๑) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๑๒) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ ในเวลาอันสมควรเมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันผู้รับใบอนุญาต หรืองดเว้นปฏิบัติการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ เพียงเท่าที่เห็นสมควร หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างใดเพื่อให้เหมาะสมแก่ในการค้าแต่ละประเภทซึ่งได้ควบคุมนั้นก็ได้ ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำองเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาต ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในลักษณะที่เป็นการค้า ข้อ ๑๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกกำหนด ข้อ ๑๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ ๑๗ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนจึงให้ออกใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้สำหรับกิจการค้าประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ถ้ามีการประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภทในสถานที่และเวลาเดียวกันให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกเท่านั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๓ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงคำว่า “แทน” กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกให้แทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและใบคู่ฉบับ (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๒๔ การต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยินคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือไม่ประสงค์จะประกอบกิจการนั้นต่อไป ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอกกำหนด ข้อ ๒๖ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๗ ถ้าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือตามเงื่อนไขโดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๖ วรรค ๒ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๒๑ วรรค ๒ หรือข้อ ๒๒ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๔ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามข้อ ๒๗ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๕ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำเนินกิจการที่ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ก่อนหรือมีขึ้นใหม่นับตั้งแต่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการที่ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันผู้รับใบอนุญาต หรืองดเว้นปฏิบัติการ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ ก็ได้ ข้อ ๓๗ บรรดาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอื่นใดที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สุรพล ตันกสิกิจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคอก เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต (แบบ กอ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒) ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ กอ. ๓) ๕. คำขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ กอ. ๔) ๖. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต (แบบ กอ.๕) ๗. ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๖) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๘๗/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,237
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัวโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัวและนายอำเภอนครชัยศรี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัวตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการสัตว์เลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชม หรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่มิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผา หรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ปั่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์ หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารสถานที่สะสมอาหาร เร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่างๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผักผลไม้หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืช หรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่ม ชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอม อาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำ ความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ย หรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะ หรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอมหรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้ายกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ประกอบ ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตซ์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่า หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับนักเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการร้านเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุขวิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้า ด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไขหรือ วัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุ หรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่ หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๐) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๑) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๒) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และต้องปฏิบัติรวมทั้งจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการนั้น ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบไม่ซึมไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก (๒) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะ หรือผู้อาศัยใกล้เคียง (๓) จัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๔) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ (๕) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขัง และที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอและต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๖) สถานที่เกี่ยวกับการตาก หรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตาก หรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวกับสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอและมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวมหรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัวประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแบบ กอ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัวกำหนด (๒) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อบัญญัตินี้และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ อภ. ๒ (๓) การต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิสำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนในอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ อภ. ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๓ (๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔ ข้อ ๓๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๔ บรรดาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ ให้คงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น เมื่อใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุและผู้นั้นยังคงประสงค์ที่จะดำเนินกิจการต่อไป ผู้นั้นจะต้องมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ก่อนการดำเนินกิจการ ข้อ ๓๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัวเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติตามให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สงคราม ห้วยกรดวัฒนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๖๔/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,238
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอ เรื่อง ควบคุมกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอ เรื่อง ควบคุมกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอและนายอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอเรื่อง ควบคุมกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” หมายความว่า สถานที่ที่ทำการผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวดหรือใส่ภาชนะต่าง ๆ โดยมีการจ่ายเงินเป็นค่าน้ำบริโภค ณ สถานที่ผลิตน้ำ “ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์สำหรับติดตั้งกับท่อจ่ายน้ำเพื่อกรองน้ำให้สะอาด กำจัดสิ่งปนเปื้อนหรือสิ่งไม่พึงประสงค์ในการดื่ม ได้แก่ ความขุ่น สี กลิ่น แบคทีเรียบางชนิด ที่อาจปนเปื้อนในระบบส่งน้ำ ถังพักน้ำ หรือระบบจ่ายท่อนํ้า ซึ่งมีการนำน้ำมากักเก็บไว้และจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยผ่านเครื่องอัตโนมัติ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่น ข้อ ๖ ผู้ดำเนินกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ สถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือสถานประกอบกิจการที่มีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้น้ำดื่มเกิดการปนเปื้อนได้ง่ายโดย ๗.๑ อยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีฝุ่นมาก แหล่งระบายน้ำเสีย และแหล่งขยะมูลฝอย ๗.๒ เป็นสถานที่ที่ไม่มีแหล่งแมลงและสัตว์พาหะนำโรค ๗.๓ บริเวณพื้นที่ตั้งตู้น้ำดื่มไม่เฉอะแฉะ สกปรก และมีการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะ ๗.๔ การติดตั้งตู้น้ำดื่มต้องยกระดับสูงจากพื้นอย่างน้อยสิบเซนติเมตร ๗.๕ จัดให้มีอุปกรณ์เพียงพอและมีความสูงตามความเหมาะสมสำหรับวางภาชนะ บรรจุน้ำ ข้อ ๘ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณลักษณะตู้น้ำดื่ม ๘.๑ ตู้น้ำดื่มและอุปกรณ์ต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๘.๒ ตู้น้ำดื่มจะต้องมีความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและไม่รั่วซึม รวมทั้งสามารถทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายได้ง่าย ๘.๓ หัวจ่ายน้ำและส่วนที่สัมผัสน้ำจะต้องทำจากวัสดุที่ใช้กับอาหารเท่านั้น (Food Grade) และหัวจ่ายน้ำต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร ข้อ ๙ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ๙.๑ แหล่งน้ำที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพดี เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล ๙.๒ กรณีที่ผู้ประกอบกิจการผลิตน้ำเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเอง ต้องมีระบบการตรวจสอบ การควบคุม และการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผลิตให้มีคุณภาพดี ๙.๓ มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามความจำเป็นของคุณภาพแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้น้ำบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ข้อ ๑๐ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภค ๑๐.๑ มีการเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ๑๐.๒ มีการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านแบคทีเรีย โดยใช้ชุดตรวจวัดอย่างง่ายในภาคสนามอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ข้อ ๑๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด ๑๑.๑ มีการทำความสะอาดสถานที่ บริเวณที่ตั้งของตู้น้ำดื่มเป็นประจำวัน ๑๑.๒ มีการทำความสะอาดพื้นผิวตู้น้ำดื่ม ช่องระบายน้ำ และหัวจ่ายน้ำเป็นประจำวัน ๑๑.๓ ล้างทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในตู้น้ำดื่มอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ๑๑.๔ ล้างทำความสะอาดและเปลี่ยนวัสดุกรองตามระยะเวลาและข้อแนะนำของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด ข้อ ๑๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบันทึกและการรายงาน ๑๒.๑ บันทึกการปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำและการดูแลบำรุงรักษาตามตารางแผนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ๑๒.๒ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๑๒.๓ จัดให้มีสัญลักษณ์แสดงคุณภาพน้ำบริโภคได้มาตรฐานหรือปรับปรุงต่อผู้บริโภคอย่างเปิดเผยเป็นประจำวัน ข้อ ๑๓ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณสุขเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดพร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ) (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๑๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๑๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอ ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พันจ่าอากาศเอก จุมพล ทวิชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคลองจุกกระเฌอ เรื่อง ควบคุมกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๒๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,239
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ว่าด้วยตลาดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์และนายอำเภอเดชอุดม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์แล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคารแผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาด ให้สะอาดไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละออง และคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนนตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้ มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้ และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ หมวด ๒ ลักษณะของตลาด ข้อ ๗ ตลาด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และดำเนินกิจการเป็นประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และดำเนินกิจการเป็นประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ข้อ ๘ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ส่วนที่ ๑ ตลาดประเภทที่ ๑ ข้อ ๙ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๐ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ ไม่ดูดซึมน้ำ ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด (๗) มีการระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล โดย (ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุดต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผงถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ มีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๔ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๕ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๖ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นที่ลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) มีน้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละและแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมันหรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่มหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือ ตามจำนวนและหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชน หรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๘ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามข้อบัญญัตินี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด หมวด ๓ การดำเนินกิจการตลาด ข้อ ๒๐ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกันเพื่อสะดวกในการดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๑ การเปิดและปิดตลาดให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาดให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดและดูแลรักษาความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาด และการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอยรวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ ให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ หรือสุกรในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีก ในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาดจนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็น หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น หมวด ๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่ของสินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศและแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ โรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคลเช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๘ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จแล้วต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาดและต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาด และใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาด และจัดเก็บที่ถูกต้อง หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๒๙ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด และต้องยื่นแผนผังแบบก่อสร้าง และรายการปลูกสร้างในสถานที่จัดตั้งตลาดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ประกาศกำหนด ข้อ ๓๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๑ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์เท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต และการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐ โดยอนุโลม ข้อ ๓๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต หรือคำขอต่อใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลา และเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๓ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ยื่นคำขอพร้อมกับสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อประกอบเรื่องด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในส่วนที่เป็นสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อประกอบเรื่องด้วย การออกใบแทนใบอนุญาต ให้มีอายุเท่ากับระยะเวลาที่เหลือของใบอนุญาตเดิม การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายในใบแทนและต้นขั้วใบแทน ให้บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทน ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตสำหรับกิจการใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน (๓) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๖ ค่าธรรมเนียม และค่าปรับ ข้อ ๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตรา และตามระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔๐ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาต มิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๔๑ บรรดาค่าธรรมเนียม และค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ หมวด ๗ อำนาจ หน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๔๒ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือรับรองการแจ้งหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือตามข้อบัญญัตินี้ หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะหรือจะก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนตำบลเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น บุคคลดังกล่าวจะต้องแสดงบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องในขณะปฏิบัติหน้าที่ด้วย และให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดำเนินกิจการหรือผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อบัญญัตินี้ ประกาศหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าผู้ดำเนินกิจการไม่แก้ไขหรือถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการนั้นไว้ทันทีเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการทันทีและต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้ดำเนินกิจการหรือผู้ดำเนินกิจการไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ดำเนินกิจการ และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำใด ๆ ที่ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าตามวรรคหนึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน หรือจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนเป็นส่วนรวมซึ่งสมควรจะดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนดังกล่าวแก้ไขหรือระงับเหตุนั้น หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้ไขหรือระงับเหตุนั้นได้ตามสมควร แล้วให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ ข้อ ๔๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๔๒ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเพื่อประโยชน์ในการจับกุมหรือปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมวด ๘ การอุทธรณ์ ข้อ ๔๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งตามข้อ ๔๒ วรรคสอง ข้อ ๔๓ หรือมีคำสั่งในเรื่องการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ หรือในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีคำสั่งตามข้อ ๔๔ วรรคสอง ถ้าผู้ที่ได้รับคำสั่งไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่รัฐมนตรีจะเห็นสมควรให้มีการทุเลาการบังคับตามคำสั่งนั้นไว้ชั่วคราว หมวด ๙ บทกำหนดโทษ ข้อ ๔๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๒๕ หรือข้อ ๒๖ หรือข้อ ๒๗ หรือข้อ ๒๘ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๓๓ หรือข้อ ๓๔ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามข้อ ๓๕ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๑ ผู้ใดปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัตินี้ นอกจากที่ได้กล่าวในข้อ ๔๗ ข้อ ๔๘ ข้อ ๔๙ และข้อ ๕๐ ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๕๒ บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ ให้คงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุในอนุญาตนั้น ข้อ ๕๓ ภายใต้บังคับข้อ ๑๑ วรรคสอง และข้อ ๑๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดอยู่ในวันที่กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงตลาดให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. ๒๕๕๑ ภายในกำหนดเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ ข้อ ๕๔ ภายใต้บังคับข้อ ๑๑ วรรคสอง และข้อ ๑๒ ให้กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐ ที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่อยู่ในวันที่กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงตลาดให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. ๒๕๕๑ ภายในกำหนดเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และต้องเสนอแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การของรัฐเสนอแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นให้เสนอแผนดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมควร จารีย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๑) ๓. ใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๒) ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ ตล. ๓) ๕. คำร้องขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ ตล. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๔๖/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,240
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอมโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอมและนายอำเภอบางกล่ำ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอมตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม ๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่าสัตว์ หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขากระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่ออาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บดผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสมหรือล้างครั่ง ๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ่น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่ม ชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิตน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผักผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต การโม่ การบด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิตบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือการสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำ ปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตากสะสมขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๓) การกลึงเจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสานรีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน (๖.๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยกคัดเลือกหรือล้างแร่ ๗. กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน ๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำอบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๗) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) (๙) การประกอบกิจการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๑) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๒) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๓) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๔) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๕) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๖) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๑๗) การประกอบกิจการสักผิวหนังหรือเจาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (๑๘) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักรหรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายนุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้ายนุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรมหรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บผ้า ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบรีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อยตัดหรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาวดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕) ๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือการขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารจำกัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๑๓. กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวดภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอและมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด กรณีเป็นนิติบุคคล (๔) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่รับรองความถูกต้องของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ กรณีผู้ขอใบอนุญาตไม่สามารถยื่นคำขอได้ด้วยตนเอง (๕) ใบอนุญาตฉบับจริงกรณีต่ออายุใบอนุญาต (๖) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอมประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้โดยเฉพาะในใบอนุญาตหรือแนบท้ายใบอนุญาต (๒) หากปรากฏในภายหลังว่าการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ (๓) อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือเห็นสมควร ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอมเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ชวลิต บุญช่วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๑๓/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,241
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อและนายอำเภอห้วยยอด จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๒ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตรการผลิต หรือให้บริหารใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘ ๑. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยง ๑.๑ การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด ๑.๒ การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ ๒.๑ การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด ๒.๒ การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ ๒.๓ การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป ๒.๔ การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ ๒.๕ การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกกระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร ๒.๖ การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช ส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ๒.๗ การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ๓.๑ การผลิต สะสม หรือการแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ ๓.๒ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ๓.๓ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผักผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ๓.๔ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุอาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด ๓.๕ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น ๓.๖ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวยเต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ๓.๗ การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ๓.๘ การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอื่น ๆ ๓.๙ การผลิต สะสม หรือบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ ๓.๑๐ การผลิต สะสม หรือบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม ๓.๑๑ การผลิตไอศกรีม ๓.๑๒ การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ ๓.๑๓ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ ๓.๑๔ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอททิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา ๓.๑๕ การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ ๓.๑๖ การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง ๓.๑๗ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด ๓.๑๘ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด ๓.๑๙ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรสหรือสารปรุงแต่งอาหาร ๓.๒๐ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม ๓.๒๑ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ ๓.๒๒ การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ๓.๒๓ การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร ๓.๒๔ การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ๔.๑ การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา ๔.๒ การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย ๔.๓ การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี ๔.๔ การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ๔.๕ การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำ ความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร ๕.๑ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช ๕.๒ การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ ๕.๓ การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆในทำนองเดียวกัน ๕.๔ การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม ๕.๕ การผลิตยาสูบ ๕.๖ การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช ๕.๗ การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย ๕.๘ การผลิตเส้นใยจากพืช ๕.๙ การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ ๖.๑ การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ ๖.๒ การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖.๑ ๖.๓ การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖.๑ ๖.๔ การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖.๑ ๖.๕ การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖.๑ ๖.๖ การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือกหรือล้างแร่ ๗. กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ๗.๑ การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ ๗.๒ การตั้งผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ๗.๓ การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ๗.๔ การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย ๗.๕ การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ ๗.๖ การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ ๗.๗ การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ ๗.๘ การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ ๗.๙ การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรกลเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลเก่า ๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ ๘.๑ การผลิตไม้ขีดไฟ ๘.๒ การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร ๘.๓ การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย ๘.๔ การอบไม้ ๘.๕ การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป ๘.๖ การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ ๘.๗ การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ ๘.๘ การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ ๙.๑ การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายสถานพยาบาล อาบ อบ นวด ๙.๒ การประกอบกิจการอาบ อบ นวด ๙.๓ การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน ๙.๑ หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ๙.๔ การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน ๙.๑ หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ๙.๕ การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน ๙.๖ การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่าหรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นใดทำนองเดียวกัน ๙.๗ การประกอบกิจการโรงมหรสพ ๙.๘ การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ๙.๙ การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙.๑ ๙.๑๐ การประกอบกิจการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ๙.๑๑ การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ๙.๑๒ การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย ๙.๑๓ การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก ๙.๑๔ การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม ๙.๑๕ การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ ๙.๑๖ การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ๙.๑๗ การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม ๙.๑๘ การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ๙.๑๙ การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ ๙.๒๐ การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ ๙.๒๑ การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ ๑๐.๑ การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก ๑๐.๒ การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ ๑๐.๓ การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร ๑๐.๔ การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร ๑๐.๕ การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร ๑๐.๖ การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ ๑๐.๗ การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร ๑๐.๘ การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑๑.๑ การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา ๑๑.๒ การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร ๑๑.๓ การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑๑.๔ การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑.๒ ๑๑.๕ การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑๑.๖ การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ๑๑.๗ การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน ๑๑.๘ การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม ๑๑.๙ การผลิต ตัด บดกระจก หรือผลิตภัณฑ์แก้ว ๑๑.๑๐ การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย ๑๑.๑๑ การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว ๑๑.๑๒ การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖.๕ ๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ ๑๒.๑ การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย ๑๒.๒ การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ ๑๒.๓ การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ ๑๒.๔ การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก ๑๒.๕ การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน ๗.๑ ๑๒.๖ การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑๒.๗ การโม่ การบดชัน ๑๒.๘ การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี ๑๒.๙ การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ ๑๒.๑๐ การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑๒.๑๑ การผลิต การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑๒.๑๒ การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง ๑๒.๑๓ การผลิตน้ำแข็งแห้ง ๑๒.๑๔ การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมี อันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง ๑๒.๑๕ การผลิตเชลแล็กหรือสารเคมีเคลือบเงา ๑๒.๑๖ การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค หรือสารกำจัดวัชพืช ๑๒.๑๗ การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว ๑๓. กิจการอื่น ๆ ๑๓.๑ การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร ๑๓.๒ การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ๑๓.๓ การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง ๑๓.๔ การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร ๑๓.๕ การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ ๑๓.๖ การประกอบกิจการโกดังสินค้า ๑๓.๗ การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่ หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๑๓.๘ การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ ๑๓.๙ การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา ๑๓.๑๐ การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร ๑๓.๑๑ การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลงหรือสัตว์พาหนะนำโรคโดยใช้เครื่องจักร ๑๓.๑๒ การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง ๑๓.๑๓ การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมีการควบคุม ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ซึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำหนดไว้ตามความเหมาะสม และต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการของเจ้าของกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอและมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน (๔) ต้องทำรางระบายน้ำ ไปสู่รางระบายน้ำ ไปสู่รางระบายน้ำสาธารณะ หรือบ่อพัก ซึ่งรับน้ำเสียด้วยวัตถุมีลักษณะเรียบ ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๕) การระบายน้ำและรางระบายน้ำต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเหตุรำคาญ (๖) ต้องมีการบำบัด หรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสีย หรือกากของเสียให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อกำหนด (๗) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขังหรือปล่อยสัตว์กว้างพอและจัดสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนและไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความทุกข์ทรมานแก่สัตว์ และให้มีการเก็บรวบรวมกำจัดมูลสัตว์ เศษอาหาร ซากสัตว์ ให้ได้สุขลักษณะ ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันให้ผู้รับใบอนุญาตงดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ ๘ ได้ตามที่เห็นสมควร และให้มีอำนาจกำหนดเงื่อนไข ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยส่วนรวม ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๑๙ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ๒๐.๑ บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ๒๐.๒ สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒๐.๓ อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน ในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้รับคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตการขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ข้อ ๒๔ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๓ บรรดาใบอนุญาตการค้าซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ต่อจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น และเมื่อสิ้นใบอนุญาตนั้นแล้ว ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ทิพย์ ศรีเทพ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๓) ๕. คำขออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๙๓/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,242
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ว่าด้วยตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮและนายอำเภอเซกา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบหรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสียที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาดให้สะอาดไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ส่วนที่ ๑ ตลาดประเภทที่ ๑ ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรงสามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด (๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียงและทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตรและมีทางเข้าออกสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลโดย (ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุด ต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไปต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่าย อาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ มีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมันหรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่ม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามกฎกระทรวงนี้ ตามระยะเวลา และขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๐ การเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาด และการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาดให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกร ในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศ และแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ หรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาด และต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหารต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง ข้อ ๒๘ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮประกาศกำหนด ข้อ ๒๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามหมวด ๒ ว่าด้วยลักษณะของตลาด แห่งข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๘ และข้อ ๒๙ ด้วย ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุวรรณา กุมภิโร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด ๔. แบบคำต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๓๕/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,243
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลางและนายอำเภอโกสุมพิสัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการ “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บดนึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำ ความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสีแต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุขวิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซล และเอทานอล หมวด ๓ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจาก ชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลางกำหนดเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๔ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๕ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๖ ใบอนุญาต ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลางประกาศกำหนด ข้อ ๒๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับนํ้าโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบ ไม่ซึม ไม่รั่วระบายน้ำได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมรั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือทำการกำจัดน้ำโสโครก ไขมันให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลหรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ (๗) จัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น (๘) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอและจัดสถานที่มิให้เป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค (๙) จัดให้มีส้วมที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น และต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขังและที่ปล่อยสัตว์ กว้างขวางเพียงพอและต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้า ตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศกำหนดขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลางเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ด้วย ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ วิบูลย์ ดรอินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต ๔. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๕. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๗๖/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,244
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยมโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยมและนายอำเภอพนัสนิคม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยมนับแต่วันถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครอง และดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้เลี้ยงในการควบคุมสัตว์เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ในพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยมเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปลา (๒) ม้า (๓) ลา ล่อ (๔) โค (๕) กระบือ (๖) สุกร (๗) แพะ (๘) กบ (๙) กวาง (๑๐) ห่าน (๑๑) เป็ด (๑๒) ไก่ (๑๓) สุนัข (๑๔) แมว (๑๕) งู (๑๖) จระเข้ (๑๗) นก (๑๘) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ (๑๙) สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือเป็นอันตรายต่อประชาชนตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดประเภทและชนิดสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงเฉพาะในเขตท้องที่หนึ่งหรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม ข้อ ๖ ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ตามข้อ ๕ ในพื้นที่ซึ่งเป็นที่หรือทางสาธารณะ เช่น ถนนสาธารณะทุกสาย หรือทางเดินรถไป บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง บริเวณแม่น้ำทุกสาย เป็นต้น ข้อ ๗ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้วเจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ และขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะ และมีระบบบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ (๓) กำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คนโดยสัตวแพทย์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม ข้อ ๘ กรณีการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๗ อย่างเคร่งครัดเพื่อการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคหรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ดังนี้ (๑) การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องทำรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกไปให้พ้นจากที่นั้น โดยสะดวกและเหมาะสม (๒) การระบายน้ำเสียต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้แหล่งน้ำสาธารณะ (๓) ต้องจัดให้มีระบบกักเก็บหรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อาศัยข้างเคียง (๔) ต้องทำความสะอาด กวาดล้างสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในภาวะอันดีเสมอ (๕) ต้องรักษาสถานที่ อย่าให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงวัน แมลงสาบ ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ และต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๖) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะจำนวนเพียงพอ ข้อ ๙ หลักจากที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับให้ผู้ใดประสงค์จะเลี้ยงสัตว์ตามข้อ ๘ ต้องได้รับความยินยอมจากการประชุมประชาคมหมู่บ้าน และได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การอนุญาตตามวรรคหนึ่งนั้นต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าสถานที่เลี้ยงสัตว์นั้นเป็นบริเวณที่โปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก มีต้นไม้ให้ร่มเงาพอสมควร ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ศาสนสถาน โบราณสถาน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่ของราชการอื่น ๆ ในระยะที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ และไม่ก่อเหตุรำคาญต่อชุมชน โดยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวและแหล่งน้ำสาธารณะในระยะ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๕๐ - ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตร (๓) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร (๔) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไปต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เมตร ผู้ขออนุญาตดังกล่าวให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบและเงื่อนไขที่กำหนดพร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้ อย่างละ ๑ ชุด (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาทะเบียน (๓) หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน (๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเรียกเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าสัตว์ที่เลี้ยงนั้นเป็นโรค อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลทั่วไปให้เจ้าของสัตว์แยกหรือกักสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทราบ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขพบสัตว์ในพื้นที่ตามข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข มีอำนาจจับสัตว์และนำสัตว์ไปกักไว้ในที่สำหรับสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน หรือกรณีสัตว์นั้นอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรในระหว่างการจับสัตว์ หากสัตว์วิ่งหนีหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นใดต่อสัตว์ก็ตาม หากเป็นเหตุที่โดยพฤติการณ์ต้องเกิดขึ้นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยมจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นต่อบุคคลที่สาม อันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าวบุคคลที่สามย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยมจะพิจารณาไล่เบี้ยความผิดตามข้อเท็จจริง ข้อ ๑๒ เมื่อได้จับสัตว์มากักไว้ตามความในข้อ ๑๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะปิดประกาศแจ้งให้เจ้าของทราบและให้มารับสัตว์คืนไปภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้จับสัตว์มากักไว้โดยประกาศไว้ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยมหรือที่เปิดเผย เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้วไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม ข้อ ๑๓ กรณีที่กักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดนั้นตามสมควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดสิบห้าวันก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายหรือขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาเงินนั้นไว้แทนสัตว์ที่จำหน่ายไป กรณีสัตว์นั้นตายหรือเจ็บป่วยหรือไม่สมควรจำหน่ายต่อไป หรือเป็นโรคติดต่อที่อาจเป็นอันตรายแก่สัตว์อื่น ๆ หรือเมื่อสัตวแพทย์หรือปศุสัตว์อำเภอได้ตรวจสอบและให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๔ สัตว์ใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกักไว้ ในกรณีที่เจ้าของสัตว์แสดงหลักฐานรับคืนไปภายในกำหนดตามข้อ ๑๒ เจ้าของสัตว์จะต้องเสียค่าเลี้ยงดูตามจำนวนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จ่ายจริง ข้อ ๑๕ หากเจ้าของสัตว์ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของสัตว์แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าเจ้าของสัตว์ไม่แก้ไขหรือถ้าการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์นั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน นอกจากจะต้องระวางโทษปรับตามข้อบัญญัตินี้แล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจจับสัตว์และนำสัตว์ไปกักไว้ในที่สำหรับกักสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดเลี้ยงสัตว์ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีมีคำสั่งให้หยุดดำเนินการทันที ข้อ ๑๖ กรณีการเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ของเอกชนหรือทางสาธารณะก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของสัตว์ หรือผู้ครอบครองสถานที่เลี้ยงสัตว์ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันควร และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งนั้น ข้อ ๑๗ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕และข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ หรือควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้เจ้าของสัตว์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติหรือตามพระราชบัญญัติผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือตามข้อบัญญัตินี้ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าไม่ถูกสุขลักษณะ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณพอสมควร เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจปรับได้ตามอัตราที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเห็นสมควร ทั้งนี้ ต้องไม่เกินค่าปรับตามที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดไว้ ข้อ ๑๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สมบัติ นรวรา ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม (นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับต้น) ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๒๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,245
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮและนายอำเภอเซกา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ๖.๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งต้องจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ ก. สถานที่สะสมอาหาร (๑) ไม่อยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮกำหนด (๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮกำหนด (๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮกำหนด (๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ข. สถานที่จำหน่ายอาหาร (๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดใน ก. (๑) – (๖) (๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และ การบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮกำหนด (๕) จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ๖.๒ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ๖.๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ๖.๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาอาหารตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของอื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนตัวของผู้จำหน่ายอาหารผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) วาง เก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาด ถูกสุขลักษณะรวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบ ปรุงเก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้อยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ใช้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้ และห้ามนำอาหารหรือของสิ่งใดแช่หรือเก็บรวบรวมไว้ด้วยกัน (๔) การทุบ บดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอรวมทั้งป้องกันมิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็ง โดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขพนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ๖.๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องไม่เป็นโรคติดต่อ และไม่จ้างหรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อ จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮประกาศกำหนด ข้อ ๘ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๙ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๖ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๑ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๓ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้ง และภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุวรรณา กุมภิโร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๓. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๕. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๖. ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๗. แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๘. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๙. แบบคำขอชำระค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๑๐. แบบคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๑๑. ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๑๒. แบบคำขอเลิกการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๑๓. แบบคำขอโอนการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๑๔. คำขอแก้ไขรายการใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๖๖/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,246
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮและนายอำเภอเซกาจึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ๕.๑ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๕.๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๕.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๕.๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕.๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๕.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ ๕.๗ กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๕.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๕.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๕.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๕.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อย ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๖ (๕) ๕.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๕.๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๕.๑๓ กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบไม่ซึม ไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่า สถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือการกำจัดน้ำโสโครกไขมัน ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง ข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) ต้องให้มีแสงสว่าง และการระบายอากาศเพียงพอ และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ (๘) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ (๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะ จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้นและต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขังและที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สุวรรณา กุมภิโร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลป่งไฮ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๔๙/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,247
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมและนายอำเภอวชิรบารมี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมประกาศกำหนด ข้อ ๘ องค์ประกอบของสิ่งปลูกสร้าง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ขายของในตลาด ผู้รับใบอนุญาต ผู้ประกอบ ปรุง จำหน่าย และเสิร์ฟในสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารตลอดจนหลักเกณฑ์วิธีการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมกำหนดพร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปี ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ชอบ ถาวร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลุม เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. ใบแทนใบอนุญาต ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต ๔. แบบคำขอรับใบแทน ๕. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๖. ใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ภวรรณตรี/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๑๗/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
54,248
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ว่าด้วยตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณและนายอำเภอดอกคำใต้ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดา ข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายอาหารซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำชำระล้างอยู่เสมอ เช่น ปลา กุ้ง ไก่ สัตว์อื่น ๆ เป็นต้น “อาหารแปรรูป” หมายความว่า อาหารสดที่แปรรูป ทำให้แห้ง หรือหมักดองหรือในรูปอื่น ๆ รวมทั้งที่ใช้สารปรุงแต่งอาหาร “อาหารปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ ปรุง จนสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่มิได้บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท “แผงจำหน่ายอาหาร” หมายความว่า แผงหรือสถานที่ที่มีการปรุง ประกอบอาหารจนสำเร็จที่ผู้บริโภคสามารถซื้อบริโภคได้ โดยจะมีการล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะอุปกรณ์ด้วย “การล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงขายของในตลาด พื้น ผนัง เพดาน รางระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วม และบริเวณต่าง ๆ รอบตัวอาคารตลาดให้สะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล มูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละออง คราบสกปรกและอื่น ๆ รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรค และกำจัดสัตว์พาหะนำโรค ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ห้ามผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามข้อบัญญัตินี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ หมวด ๒ ลักษณะของตลาด ข้อ ๗ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ ข้อ ๘ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยเว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบ ข้อ ๙ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๐ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ ผิวเรียบ ล้างทำความสะอาดง่ายไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด (๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียงและทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตรและมีทางเข้าออกสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปา หรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล โดย (ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผง ขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุดต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ มีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวกมีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๔ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๕ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๖ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีตพื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละและแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบมีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมันหรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่มหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน๕๐ เมตร ข้อ ๑๘ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามข้อบัญญัตินี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด หมวด ๓ การดำเนินกิจการตลาด ข้อ ๒๐ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกันเพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๑ การเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลาเช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวันและดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดีและเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวันและดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดีและเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกร ในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสม หรือหมักหมม สิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น หมวด ๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศ และแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนดโดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคลเช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๘ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่ายทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาดและต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหารต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง หมวด ๕ การควบคุมกิจการตลาดของเอกชน และตลาดของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐ ข้อ ๒๙ เมื่อมีกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เกิดขึ้นในตลาดของเอกชนหรือตลาดของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยเร่งด่วนตามบทบัญญัติมาตรา ๘ และมาตรา ๔๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑) ผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์จากการเก็บตัวอย่างอาหาร ตัวอย่างพื้นผิวภาชนะอุปกรณ์ หรือจากมือผู้ขายอาหารในตลาด พบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้หรือมีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นตัวบ่งชี้ในปริมาณที่เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด (๒) มีปริมาณสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน หรือแมลงสาบเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยวิธีการตรวจวัดตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (๓) ตลาดเป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรค โรคเรื้อน ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคอื่นที่ต้องแจ้งความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ โดยพบว่าผู้ขายของหรือผู้ช่วยขายของในตลาดเป็นโรคติดต่อ หรือพบผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อซึ่งยืนยันว่าบริโภคอาหารหรือได้รับเชื้อโรคมาจากตลาดนั้น หรือตรวจพบเชื้อโรคซึ่งทำให้เกิดการระบาดของโรคในสินค้าที่จำหน่ายในตลาดนั้น (๔) ถังเกรอะหรือถังบำบัดสิ่งปฏิกูลเกิดการรั่วไหลออกมาสู่สิ่งแวดล้อมจนอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค หมวด ๖ ใบอนุญาต ข้อ ๓๐ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดสดจำหน่ายสินค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๒ ชุด (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๒ ชุด (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ชุด (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๖) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ประกาศกำหนด ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๓ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐ โดยอนุโลม ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับปรุงจนครบจำนวน ข้อ ๓๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำ หรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๒ หากผู้ใดกระทำการใด ๆ ที่เป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้จะเป็นด้วยเหตุบังเอิญหรือเจตนาก็ตาม หากมีหลักฐานยืนยันได้ผู้นั้นจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือต้องระวางโทษตามกำหนดแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ดาบตำรวจ อุดม บานเย็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๒๐๑/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,249
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่งโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่งและนายอำเภอแม่แจ่ม จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่งตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๕ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สัตว์” หมายความว่าสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า กรรมวิธีหรือวิธีการที่จะดูแลให้สัตว์นั้นเจริญเติบโตและมีชีวิตอยู่ได้เพื่อไว้ขายหรือการค้าหรือเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเป็นงานอดิเรก การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร มูลสัตว์หรือ ซากสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่นจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง ข้อ ๕ ห้ามมิให้มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดหรือประเภทเหล่านี้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่งโดยเด็ดขาดได้แก่ (๑) งูพิษและงูที่อาจเกิดอันตรายแก่คนและสัตว์เลี้ยง (๒) ปลาปิรันยา (๓) คางคกไฟ (๔) สัตว์ดุร้ายต่าง ๆ (๕) สัตว์มีพิษร้ายอื่น ๆ (๖) สัตว์ต้องห้ามตามกฎหมายอื่น ๆ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่งเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๖.๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด ๑. พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตพาณิชย์กรรมและเขตประชากรหนาแน่น ๒. ผืนที่ผังเมืองประกาศเป็นประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ๓. สถานที่ท่องเที่ยว ๔. วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ (๖.๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์เกินจำนวนที่กำหนดดังนี้ ๑. พื้นที่นอกจากที่ระบุใน (๖.๑) และในเขตชุมชน ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภทดังต่อไปนี้เกินจำนวนดังนี้ (๑) ช้าง ม้า ไม่เกิน ๑ ตัว (๒) สุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข ประเภทละ ไม่เกิน ๓ ตัว (๓) เป็ด ไก่ นก ห่าน ประเภทละ ไม่เกิน ๒๐ ตัว (๔) จำนวนสัตว์อื่นนอกจาก (๑) - (๓) ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๕) การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อมลภาวะและเหตุรำคาญ (๖) ต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน (๖.๓) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๑) พื้นที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น หรือห่างจากชุมชน เกิน ๕๐๐ เมตร เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทดังนี้ ก. การเลี้ยงสุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข จำนวนไม่เกิน ๒๐ ตัว ข. การเลี้ยงไก่ นก เป็ด ห่าน จำนวนไม่เกิน ๕๐ ตัว ค. สัตว์อื่น ๆ นอกจาก ข้อ ก. และ ข. จำนวนไม่เกิน ๕ ตัว (๒) พื้นที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น หรือห่างจากชุมชน เกิน ๑ กิโลเมตร เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทดังนี้ ก. การเลี้ยงสุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข จำนวนไม่เกิน ๑๐๐ ตัว ข. การเลี้ยงไก่ นก เป็ด ห่าน จำนวนไม่เกิน ๕๐๐ ตัว ค. สัตว์อื่น ๆ นอกจาก ข้อ ก. และ ข. จำนวนไม่เกิน ๑๐ ตัว ต้องมีการปฏิบัติภายใต้มาตรการดังนี้ ๑. สถานที่ตั้ง (๑) ต้องตั้งอยู่ในสถานที่ที่ไม่ก่อเหตุรำคาญให้กับผู้อาศัยอยู่ใกล้เคียง (๒) ต้องมีบริเวณเลี้ยงสัตว์ซึ่งกั้นเป็นสัดส่วนและให้อยู่ห่างเขตที่ดินสาธารณะ ทางน้ำสาธารณะหรือที่ดินต่างเจ้าของ และมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบบริเวณเลี้ยงสัตว์นั้นไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตรทุกด้าน เว้นแต่ด้านที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกับที่ดินของผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทเดียวกัน ๒. อาคารและส่วนประกอบ (๑) อาคารต้องเป็นอาคารเอกเทศและมั่นคงแข็งแรงมีลักษณะเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ประเภทนั้น ๆ ไม่มีการพักอาศัยหรือประกอบกิจการอื่นใด (๒) พื้นต้องเป็นพื้นแน่นทำความสะอาดง่ายไม่เฉอะแฉะ เว้นแต่การเลี้ยงสุกรพื้นจะต้องเป็นคอนกรีตและมีความลาดเอียงเพื่อให้น้ำและสิ่งปฏิกูลไหลลงทางระบายน้ำได้โดยสะดวก (๓) หลังคาต้องมีความสูงจากพื้นมากพอสมควรและมีช่องทางให้แสงสว่างหรือแสงแดดส่องภายในอาคารอย่างทั่วถึง (๔) คอกต้องมีการกั้นคอกเป็นสัดส่วนเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ไม่ให้สัตว์อยู่กันอย่างแออัด (๕) การระบายอากาศต้องจัดให้มีการระบายอากาศถ่ายเทให้เพียงพอ ๓. การสุขาภิบาลทั่วไป (๑) การระบายน้ำ (๑.๑) รางระบายน้ำ ต้องจัดให้มีรางระบายน้ำโดยรอบตัวอาคารให้มีความลาดเอียงเพียงพอให้น้ำไหลได้สะดวก (๑.๒) น้ำทิ้งต้องมีการบำบัดก่อนระบายลงสู่ทางระบายน้ำแหล่งน้ำสาธารณะหรือในที่เอกชน (๒) การกำจัดมูลสัตว์ ต้องเก็บกวาดมูลสัตว์เป็นประจำทุกวัน ต้องจัดให้มีที่กักเก็บมูลสัตว์โดยเฉพาะ ไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็นอันเป็นเหตุรำคาญ และต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์แมลงหรือสัตว์นำโรค (๒.๑) ถ้ามีการสุมไฟไล่แมลงให้สัตว์ต้องไม่ให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง (๒.๒) ต้องป้องกันเสียงร้องของสัตว์ไม่ให้เป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง (๒.๓) การเลี้ยงสัตว์ที่มีขน ตัวอาคารต้องสามารถป้องกันขนไม่ให้ปลิวฟุ้งกระจายออกไปนอกสถานที่ (๒.๔) ต้องควบคุมดูแลไม่ให้สัตว์ออกไปทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง (๒.๕) ต้องรักษาความสะอาดที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดเสมอ ๔. การกำจัดซากสัตว์ให้ใช้วิธีการเผาหรือฝังเพื่อป้องกันการเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงและสัตว์นำโรคและการก่อเหตุรำคาญจากกลิ่นเหม็น ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช่จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันจากเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่งในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลช่างเคิ่งเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออก ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ อุดร ปิโย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๕๙/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,250
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณและนายอำเภอดอกคำใต้ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดา ข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบัญญัติหรือคำสั่งอื่นใด เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่าอาหารตามกฎหมายอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือที่สาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่าอาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ การดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๖ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ก. สถานที่สะสมอาหาร (๑) ไม่อยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณกำหนด (๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณกำหนด (๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณกำหนด (๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหาร ส่วนตำบลดงสุวรรณ ข. สถานที่จำหน่ายอาหาร (๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดใน ก. (๑) – (๖) (๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และ เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณกำหนด (๕) จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่ง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหาร ส่วนตำบลดงสุวรรณ หมวด ๓ ใบอนุญาต ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต ตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ประกาศกำหนด ข้อ ๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหาร ก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้ผู้นั้นประกอบกิจการนั้นต่อไปได้เสมือนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัติแล้ว แต่เมื่อข้อบัญญัตินี้บังคับใช้หากผู้นั้นยังคงประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไปผู้นั้นจะต้องมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ก่อนการดำเนินการ (๒) ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบการค้า ตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ (๓) ใบอนุญาตฉบับหนึ่งใช้สำหรับการค้าประเภทเดียวและสำหรับสถานที่เดียว ถ้าประกอบการค้าซึ่งให้ควบคุมหลายประเภทในขณะ และสถานที่เดียวกัน ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียว ประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดในข้อกำหนดของท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อกำหนดของท้องถิ่น ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต และการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อกำหนดของท้องถิ่น ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนรับใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๔ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือข้อกำหนดของท้องถิ่นที่ออกตามข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่อง ที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อกำหนดของท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับ หนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อกำหนด ของท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๓ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตราและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการ โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๕ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มาแจ้ง และภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ ข้อ ๒๗ หากผู้ใดกระทำการใด ๆ ที่เป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้จะเป็นด้วยเหตุบังเอิญหรือเจตนาก็ตาม หากมีหลักฐานยืนยันได้ผู้นั้นจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือต้องระวางโทษตามกำหนดแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่าย อาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๖ หรือหนังสือรับรองการแจ้งตามมาตรา ๔๘ และผู้จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหารในสถานที่ จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่ สะสมอาหารตามมาตรา ๓๘ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของท้องถิ่น หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน ประกาศ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ดาบตำรวจ อุดม บานเย็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดงสุวรรณ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วริญา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๗๖/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
54,251