title
stringlengths
10
260
context
stringlengths
28
181k
raw
stringlengths
39
181k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ฯ นำทีมขอบคุณ ‘รมว.เกษตรฯ’ แก้ปัญหาราคาไข่ไก่ ผลักดันส่งออกในช่วงโควิด-19
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ฯ นําทีมขอบคุณ ‘รมว.เกษตรฯ’ แก้ปัญหาราคาไข่ไก่ ผลักดันส่งออกในช่วงโควิด-19 สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ฯ นําทีมขอบคุณ ‘รมว.เกษตรฯ’ แก้ปัญหาราคาไข่ไก่ ผลักดันส่งออกในช่วงโควิด-19 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ผู้แทนจากสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี เชียงใหม่ ลําพูน และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ เข้าพบ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่แก้ไขปัญหาราคาไก่ไข่ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 และได้มีการประชุมเร่งด่วนเพื่อผลักดันส่งออกไข่ไก่ เพื่อช่วยเหลือดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ไม่ให้ขาดทุน ตลอดจนเล็งเห็นความสําคัญในการแก้ไขปัญหาราคาไก่ไข่และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนทําให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งชื่นชมและเป็นกําลังใจให้เดินหน้าทํางานช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมให้ความช่วยเหลือ โดยยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ลดภาระต้นทุน และสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ได้อย่างยั่งยืน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ฯ นำทีมขอบคุณ ‘รมว.เกษตรฯ’ แก้ปัญหาราคาไข่ไก่ ผลักดันส่งออกในช่วงโควิด-19 วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ฯ นําทีมขอบคุณ ‘รมว.เกษตรฯ’ แก้ปัญหาราคาไข่ไก่ ผลักดันส่งออกในช่วงโควิด-19 สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ฯ นําทีมขอบคุณ ‘รมว.เกษตรฯ’ แก้ปัญหาราคาไข่ไก่ ผลักดันส่งออกในช่วงโควิด-19 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ผู้แทนจากสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี เชียงใหม่ ลําพูน และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ เข้าพบ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่แก้ไขปัญหาราคาไก่ไข่ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 และได้มีการประชุมเร่งด่วนเพื่อผลักดันส่งออกไข่ไก่ เพื่อช่วยเหลือดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ไม่ให้ขาดทุน ตลอดจนเล็งเห็นความสําคัญในการแก้ไขปัญหาราคาไก่ไข่และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนทําให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งชื่นชมและเป็นกําลังใจให้เดินหน้าทํางานช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมให้ความช่วยเหลือ โดยยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ลดภาระต้นทุน และสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ได้อย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37854
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเกษตรกรจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเกษตรกรจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน ธ.ก.ส. ออกมาตรการจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนวงเงินรวม 8,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ผ่าน 3 โครงการ ธ.ก.ส. ออกมาตรการจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ผ่าน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ สินเชื่อชําระดี มีวงเงิน Smart Cash เพื่อป้องกันการก่อหนี้นอกระบบ และโครงการสินเชื่ออาชีพเสริมเพิ่มรายได้ พร้อมวางกรอบสนับสนุนการเรียนรู้คู่เงินทุน โดยให้เกษตรกรเข้าอบรมพัฒนาทักษะอาชีพกับศูนย์เรียนรู้ ธ.ก.ส. หรือศูนย์พัฒนาของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพ วันนี้ (23 ธันวาคม 2563) นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. และนายวรชัย ศรีสุวรรณวัฒนา นายอําเภอจอมพระ เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 พร้อมแถลงนโยบายมาตรการจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน เพื่อเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่มีภาระหนี้นอกระบบอย่างครบวงจร โดยมีผู้บริหาร พนักงานและส่วนงานในท้องถิ่นเข้าร่วมงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 ตําบลเมืองลีง อําเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ นายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. มุ่งสนับสนุนให้เกษตรกรและประชาชนในภาคชนบทมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยส่งเสริมทั้งด้านความรู้ในการประกอบอาชีพ และเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทําให้ประชาชนบางส่วนว่างงานหรือไม่สามารถขายผลผลิตได้ตามปกติ ทําให้ไม่มีรายได้ จนนําไปสู่ปัญหาการกู้เงินนอกระบบ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาดังกล่าว ธ.ก.ส. จึงได้ออกมาตรการจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน จํานวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน สําหรับชําระหนี้นอกระบบ วงเงินกู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท เว้นแต่กรณีมีวัตถุประสงค์ในการสงวนที่ดินทํากินที่ลูกหนี้ใช้ที่ดินในการจํานองไม่เกินรายละ 150,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี ระยะเวลาชําระหนี้ 10 ปี สูงสุดไม่เกิน 12 ปี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองสินเชื่อกรณีเสียชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท และการคืนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 30 ของดอกเบี้ยที่ชําระหนี้ 2) โครงการสินเชื่อวงเงินพร้อมใช้ Smart Cash สําหรับผู้เข้าร่วมโครงการแก้ไขหนี้นอกระบบที่ชําระหนี้ตรงตามระยะเวลาที่กําหนดและมีเหตุจําเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉิน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการก่อหนี้นอกระบบของลูกค้า โดยสนับสนุนเงินเครดิตหมุนเวียนผ่านบัตร ATM ตามต้นเงินกู้ที่ได้รับชําระหนี้ตามโครงการแก้ไขหนี้นอกระบบ สูงสุดรายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยตามชั้นลูกค้า ระยะเวลาชําระหนี้ไม่เกิน 12 เดือน นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ผ่านการคุ้มครองสินเชื่อกรณีเสียชีวิต รายละไม่เกิน 50,000 บาท และ 3) โครงการสินเชื่ออาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เพื่อสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําให้กับลูกค้าที่ได้รับการแก้ไขหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบธนาคารแล้ว ให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพเสริม วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี ในช่วง 6 เดือนแรก และตั้งแต่เดือนที่ 7 เป็นต้นไปอัตราดอกเบี้ย MRR ระยะเวลาชําระหนี้ 10 ปี ในส่วนของหลักประกันสินเชื่อของทั้ง 3 โครงการ สามารถใช้ที่ดินจํานอง ได้จํานวนร้อยละ 95 ของวงเงิน กรณีบุคคล 2 คนค้ําประกัน วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท และกรณีข้าราชการ 1 คนค้ําประกัน วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท วงเงินสินเชื่อรวม 8,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 – 31 มีนาคม 2566 นายภานิต กล่าวอีกว่า เพื่อให้การแก้ไขหนี้นอกระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะใช้การพัฒนาเพิ่มทักษะอาชีพและความรู้ทางการเงินนํา แล้วจึงให้สินเชื่อตาม ธ.ก.ส. จึงได้สนับสนุนให้ลูกค้าผู้เข้าร่วมโครงการต้องเข้ารับการเสริมสร้างความรู้ การพัฒนาทักษะอาชีพต่าง ๆ กับศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ธ.ก.ส. ศูนย์เรียนรู้ 459 ตําบลเมืองลีง อําเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ รวมถึงศูนย์พัฒนาความรู้ พัฒนาอาชีพของส่วนงานอื่น ๆ เพื่อเติมเต็มศักยภาพของลูกค้า สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพหรือปรับเปลี่ยนการผลิต ทําให้เกษตรกรและบุคคลในครัวเรือนก้าวผ่านความยากจน สามารถสร้างอาชีพและรายได้อย่างมั่นคงยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้ดําเนินโครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ระยะที่ 1 - 3 ตั้งแต่ปี 2557 โดยมีลูกค้าเข้าร่วมโครงการจํานวน 53,869 ราย เป็นเงิน 4,478 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดโครงการฯ ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ Call Center 02 555 0555
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเกษตรกรจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเกษตรกรจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน ธ.ก.ส. ออกมาตรการจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนวงเงินรวม 8,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ผ่าน 3 โครงการ ธ.ก.ส. ออกมาตรการจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ผ่าน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ สินเชื่อชําระดี มีวงเงิน Smart Cash เพื่อป้องกันการก่อหนี้นอกระบบ และโครงการสินเชื่ออาชีพเสริมเพิ่มรายได้ พร้อมวางกรอบสนับสนุนการเรียนรู้คู่เงินทุน โดยให้เกษตรกรเข้าอบรมพัฒนาทักษะอาชีพกับศูนย์เรียนรู้ ธ.ก.ส. หรือศูนย์พัฒนาของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพ วันนี้ (23 ธันวาคม 2563) นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. และนายวรชัย ศรีสุวรรณวัฒนา นายอําเภอจอมพระ เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 พร้อมแถลงนโยบายมาตรการจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน เพื่อเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่มีภาระหนี้นอกระบบอย่างครบวงจร โดยมีผู้บริหาร พนักงานและส่วนงานในท้องถิ่นเข้าร่วมงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 ตําบลเมืองลีง อําเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ นายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. มุ่งสนับสนุนให้เกษตรกรและประชาชนในภาคชนบทมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยส่งเสริมทั้งด้านความรู้ในการประกอบอาชีพ และเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทําให้ประชาชนบางส่วนว่างงานหรือไม่สามารถขายผลผลิตได้ตามปกติ ทําให้ไม่มีรายได้ จนนําไปสู่ปัญหาการกู้เงินนอกระบบ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาดังกล่าว ธ.ก.ส. จึงได้ออกมาตรการจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน จํานวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน สําหรับชําระหนี้นอกระบบ วงเงินกู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท เว้นแต่กรณีมีวัตถุประสงค์ในการสงวนที่ดินทํากินที่ลูกหนี้ใช้ที่ดินในการจํานองไม่เกินรายละ 150,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี ระยะเวลาชําระหนี้ 10 ปี สูงสุดไม่เกิน 12 ปี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองสินเชื่อกรณีเสียชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท และการคืนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 30 ของดอกเบี้ยที่ชําระหนี้ 2) โครงการสินเชื่อวงเงินพร้อมใช้ Smart Cash สําหรับผู้เข้าร่วมโครงการแก้ไขหนี้นอกระบบที่ชําระหนี้ตรงตามระยะเวลาที่กําหนดและมีเหตุจําเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉิน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการก่อหนี้นอกระบบของลูกค้า โดยสนับสนุนเงินเครดิตหมุนเวียนผ่านบัตร ATM ตามต้นเงินกู้ที่ได้รับชําระหนี้ตามโครงการแก้ไขหนี้นอกระบบ สูงสุดรายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยตามชั้นลูกค้า ระยะเวลาชําระหนี้ไม่เกิน 12 เดือน นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ผ่านการคุ้มครองสินเชื่อกรณีเสียชีวิต รายละไม่เกิน 50,000 บาท และ 3) โครงการสินเชื่ออาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เพื่อสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําให้กับลูกค้าที่ได้รับการแก้ไขหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบธนาคารแล้ว ให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพเสริม วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี ในช่วง 6 เดือนแรก และตั้งแต่เดือนที่ 7 เป็นต้นไปอัตราดอกเบี้ย MRR ระยะเวลาชําระหนี้ 10 ปี ในส่วนของหลักประกันสินเชื่อของทั้ง 3 โครงการ สามารถใช้ที่ดินจํานอง ได้จํานวนร้อยละ 95 ของวงเงิน กรณีบุคคล 2 คนค้ําประกัน วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท และกรณีข้าราชการ 1 คนค้ําประกัน วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท วงเงินสินเชื่อรวม 8,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 – 31 มีนาคม 2566 นายภานิต กล่าวอีกว่า เพื่อให้การแก้ไขหนี้นอกระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะใช้การพัฒนาเพิ่มทักษะอาชีพและความรู้ทางการเงินนํา แล้วจึงให้สินเชื่อตาม ธ.ก.ส. จึงได้สนับสนุนให้ลูกค้าผู้เข้าร่วมโครงการต้องเข้ารับการเสริมสร้างความรู้ การพัฒนาทักษะอาชีพต่าง ๆ กับศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ธ.ก.ส. ศูนย์เรียนรู้ 459 ตําบลเมืองลีง อําเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ รวมถึงศูนย์พัฒนาความรู้ พัฒนาอาชีพของส่วนงานอื่น ๆ เพื่อเติมเต็มศักยภาพของลูกค้า สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพหรือปรับเปลี่ยนการผลิต ทําให้เกษตรกรและบุคคลในครัวเรือนก้าวผ่านความยากจน สามารถสร้างอาชีพและรายได้อย่างมั่นคงยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้ดําเนินโครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ระยะที่ 1 - 3 ตั้งแต่ปี 2557 โดยมีลูกค้าเข้าร่วมโครงการจํานวน 53,869 ราย เป็นเงิน 4,478 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดโครงการฯ ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ Call Center 02 555 0555
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37855
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีเกษตรฯ เปิดงานและมอบแนวทางการขับเคลื่อนงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2564 ในการสัมมนา เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 และแนวโน้มปี 2564
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รัฐมนตรีเกษตรฯ เปิดงานและมอบแนวทางการขับเคลื่อนงานสําคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2564 ในการสัมมนา เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 “เดินหน้าเกษตรวิถีใหม่ ขับเคลื่อนไทยอย่างยั่งยืน” เน้นย้ําต้องมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนต่อภาคการเกษตร นายเฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานและมอบแนวทางการขับเคลื่อนงานสําคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปี2564ในการสัมมนาเรื่องภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี2563และแนวโน้มปี2564 “เดินหน้าเกษตรวิถีใหม่ขับเคลื่อนไทยอย่างยั่งยืน”โดยมีนายนราพัฒน์แก้วทองผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายอลงกรณ์พลบุตรที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายธนาชีรวินิจเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายทองเปลวกองจันทร์ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯเข้าร่วมณโรงแรมรามาการ์เด้นส์ว่าภาคเกษตรถือว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศไทยเนื่องจากภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตที่เป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติโดยประชากรประมาณร้อยละ40ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรและจากการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภัยธรรมชาติที่รุนแรงการแพร่ระบาดของโควิด-19รวมถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลกสงครามทางการค้าระหว่างประเทศความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้วนส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทยซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯได้มีการขับเคลื่อนการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรและภาคเกษตรของไทยโดยเชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทอาทิการส่งเสริมสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นการทําเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์การพัฒนาสินค้าเกษตรจากฐานชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสู่เกษตรอัจฉริยะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรการจัดหาปัจจัยการผลิตรวมทั้งการเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตร สําหรับการดําเนินการในปี2564ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดวิธีการทํางานรวมทั้งนโยบายด้านการเกษตรให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศและทันต่อบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งแนวทางในการขับเคลื่อนภาคเกษตรภายใต้หลักตลาดนําการผลิตซึ่งจะให้ความสําคัญตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการของตลาดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อเชื่อมโยงกับการวางแผนการผลิตและนําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารการตรวจสอบย้อนกลับตลอดจนส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้แนวทางการพัฒนาในทุกด้านจะยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางและคํานึงถึงประโยชน์ของเกษตรกรเป็นหลักมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยได้ดําเนินการในเรื่องต่างๆได้แก่1)บริหารจัดการน้ําอย่างเป็นระบบบริหารจัดการน้ําอย่างมีคุณค่า2)บริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ตรงตามศักยภาพของที่ดินและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากที่สุด3)ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.)เพื่อบ่มเพาะเกษตรกรให้เป็นSmart Farmer 4)ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC)เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรสนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตรการประดิษฐ์นวัตกรรมรวมทั้งเครื่องจักรกลเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละจังหวัด5)ส่งเสริมสถาบันเกษตรกรผู้ประกอบการและStart upเป็นหน่วยธุรกิจให้บริการทางการเกษตร(Agricultural Service Providers: ASP)เพื่อยกระดับสู่การให้บริการทางการเกษตรแบบครบวงจร6)พัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตรเพื่อตอบสนองต่อโซ่อุปทานที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการค้าสินค้าเกษตรออนไลน์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง7)พัฒนาช่องทางการตลาดโดยเพิ่มช่องทางตลาดให้หลากหลายทั้งในรูปแบบตลาดออนไลน์และออฟไลน์8)เกษตรพันธสัญญา(Contract Farming)เพื่อสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการผลิตอย่างยั่งยืนระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการและร่วมกันยกระดับคุณภาพผลผลิตและแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด9)การประกันภัยพืชผลให้ความคุ้มครองความเสียหายหรือความสูญเสียต่อพืชผลที่เอาประกันภัย10)ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันและสร้างความมั่นคงแก่เกษตรกร11)สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก12)ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน13)การวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทยบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนํามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรและผู้บริโภคและ14)ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลBig Dataในการเชื่อมโยงการทําการเกษตรร่วมกับหน่วยงานต่างๆ “การที่จะดําเนินการตามนโยบายดังกล่าวให้บรรลุตามเป้าหมายนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งในระดับพื้นที่ระดับประเทศและระหว่างประเทศมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องรวมถึงทูตเกษตรทูตพาณิชย์และองค์การระหว่างประเทศในการหาตลาดและแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้เกษตรกรไทยได้ปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรการสัมมนาในวันนี้จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทําให้ทุกภาคส่วนได้ทราบถึงสถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตรและปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบรวมทั้งแนวโน้มที่กําลังจะเกิดขึ้นในปี2564ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรข้อคิดเห็นต่างๆที่ได้แลกเปลี่ยนกันนี้จะสามารถนําไปเป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายและมาตรการเพื่อรองรับกับสถานการณ์หรือปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรในระยะต่อไป”นายเฉลิมชัยกล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีเกษตรฯ เปิดงานและมอบแนวทางการขับเคลื่อนงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2564 ในการสัมมนา เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รัฐมนตรีเกษตรฯ เปิดงานและมอบแนวทางการขับเคลื่อนงานสําคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2564 ในการสัมมนา เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 “เดินหน้าเกษตรวิถีใหม่ ขับเคลื่อนไทยอย่างยั่งยืน” เน้นย้ําต้องมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนต่อภาคการเกษตร นายเฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานและมอบแนวทางการขับเคลื่อนงานสําคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปี2564ในการสัมมนาเรื่องภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี2563และแนวโน้มปี2564 “เดินหน้าเกษตรวิถีใหม่ขับเคลื่อนไทยอย่างยั่งยืน”โดยมีนายนราพัฒน์แก้วทองผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายอลงกรณ์พลบุตรที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายธนาชีรวินิจเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายทองเปลวกองจันทร์ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯเข้าร่วมณโรงแรมรามาการ์เด้นส์ว่าภาคเกษตรถือว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศไทยเนื่องจากภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตที่เป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติโดยประชากรประมาณร้อยละ40ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรและจากการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภัยธรรมชาติที่รุนแรงการแพร่ระบาดของโควิด-19รวมถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลกสงครามทางการค้าระหว่างประเทศความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้วนส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทยซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯได้มีการขับเคลื่อนการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรและภาคเกษตรของไทยโดยเชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทอาทิการส่งเสริมสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นการทําเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์การพัฒนาสินค้าเกษตรจากฐานชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสู่เกษตรอัจฉริยะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรการจัดหาปัจจัยการผลิตรวมทั้งการเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตร สําหรับการดําเนินการในปี2564ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดวิธีการทํางานรวมทั้งนโยบายด้านการเกษตรให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศและทันต่อบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งแนวทางในการขับเคลื่อนภาคเกษตรภายใต้หลักตลาดนําการผลิตซึ่งจะให้ความสําคัญตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการของตลาดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อเชื่อมโยงกับการวางแผนการผลิตและนําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารการตรวจสอบย้อนกลับตลอดจนส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้แนวทางการพัฒนาในทุกด้านจะยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางและคํานึงถึงประโยชน์ของเกษตรกรเป็นหลักมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยได้ดําเนินการในเรื่องต่างๆได้แก่1)บริหารจัดการน้ําอย่างเป็นระบบบริหารจัดการน้ําอย่างมีคุณค่า2)บริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ตรงตามศักยภาพของที่ดินและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากที่สุด3)ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.)เพื่อบ่มเพาะเกษตรกรให้เป็นSmart Farmer 4)ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC)เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรสนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตรการประดิษฐ์นวัตกรรมรวมทั้งเครื่องจักรกลเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละจังหวัด5)ส่งเสริมสถาบันเกษตรกรผู้ประกอบการและStart upเป็นหน่วยธุรกิจให้บริการทางการเกษตร(Agricultural Service Providers: ASP)เพื่อยกระดับสู่การให้บริการทางการเกษตรแบบครบวงจร6)พัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตรเพื่อตอบสนองต่อโซ่อุปทานที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการค้าสินค้าเกษตรออนไลน์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง7)พัฒนาช่องทางการตลาดโดยเพิ่มช่องทางตลาดให้หลากหลายทั้งในรูปแบบตลาดออนไลน์และออฟไลน์8)เกษตรพันธสัญญา(Contract Farming)เพื่อสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการผลิตอย่างยั่งยืนระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการและร่วมกันยกระดับคุณภาพผลผลิตและแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด9)การประกันภัยพืชผลให้ความคุ้มครองความเสียหายหรือความสูญเสียต่อพืชผลที่เอาประกันภัย10)ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันและสร้างความมั่นคงแก่เกษตรกร11)สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก12)ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน13)การวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทยบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนํามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรและผู้บริโภคและ14)ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลBig Dataในการเชื่อมโยงการทําการเกษตรร่วมกับหน่วยงานต่างๆ “การที่จะดําเนินการตามนโยบายดังกล่าวให้บรรลุตามเป้าหมายนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งในระดับพื้นที่ระดับประเทศและระหว่างประเทศมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องรวมถึงทูตเกษตรทูตพาณิชย์และองค์การระหว่างประเทศในการหาตลาดและแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้เกษตรกรไทยได้ปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรการสัมมนาในวันนี้จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทําให้ทุกภาคส่วนได้ทราบถึงสถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตรและปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบรวมทั้งแนวโน้มที่กําลังจะเกิดขึ้นในปี2564ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรข้อคิดเห็นต่างๆที่ได้แลกเปลี่ยนกันนี้จะสามารถนําไปเป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายและมาตรการเพื่อรองรับกับสถานการณ์หรือปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรในระยะต่อไป”นายเฉลิมชัยกล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37851
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มนัญญา แถลงข่าวเตรียมจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจำปี 2564
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รมช.มนัญญา แถลงข่าวเตรียมจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 รมช.มนัญญา แถลงข่าวเตรียมจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 หนุนเกษตรกรโคนมไทยสู่วิถีอนาคตNEXT NORMAL ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลักดันอุตสาหกรรมโคนมไทยมุ่งสู่ระดับสากล นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 ว่า งานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ดําเนินการโดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เตรียมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-17 มกราคม 2564 ซึ่งพิธีเปิดในวันที่ 8 มกราคม 2564 ได้รับเกียรติจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิดงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจําปี 2564 ณ บริเวณเชิงเขาตาแป้น องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เพื่อส่งเสริม พัฒนา ยกระดับและผลักดันอุตสาหกรรมโคนมไทยมุ่งสู่ระดับสากล สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแบบองค์รวม และสร้างความมั่นคงในอาชีพให้แก่เกษตรตรกรโคนมไทยทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา ปลายน้ํา ตลอดจนให้การส่งเสริมด้านความรู้แก่เกษตรกรโคนม โดยนําเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากระบวนผลิตให้ได้น้ํานมคุณภาพ เพื่อส่งต่อผลิตภัณฑ์นมจากเกษตรโคนมไทยสู่กลุ่มผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคนม ให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง และสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์นมของคนไทยอย่างยั่งยืน "กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสําคัญกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และเป็นที่ทราบดีว่าความตกลงการค้าเสรีจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์นมไปต่างประเทศได้โดยไม่มีการกีดกันทางการค้า ซึ่งเราต้องยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นมไทยให้ได้คุณภาพ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์นมไทยให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล โดย อ.ส.ค. มีองค์ความรู้ด้านต่างๆ ถ่ายทอดให้เกษตรกรนําองค์ความรู้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์นมต่อไป" รมช.มนัญญา กล่าว นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อํานวยการแทนผู้อํานวยการ อ.ส.ค. กล่าวเพิ่มเติมว่า งานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจําปี 2564 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีโคนมไทยสู่ NEXT NORMAL” โดยการนําเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสําคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมโคนมไทยที่ต้องมองไปข้างหน้าและกําลังเข้าสู่ Next Normal เพื่อปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างแข็งแกร่ง และเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมโคนมไทยเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคตได้ ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขับเคลื่อนภารกิจหลักด้านการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม พัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมโคนมไทยสู่ระดับนานาชาติ โดย อ.ส.ค. ให้การสนับสนุนองค์ความรู้การเลี้ยงโคนมแก่เกษตรกร เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่อาชีพ “โคนมพระราชทาน” น้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณใน “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่9) ภายในงาน เทศกาลเทศกาลโคนมแห่งชาติ ยังเป็นโอกาสให้กลุ่มสหกรณ์โคนม และเกษตรกรโคนมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเลี้ยงโคนม ด้านการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้น้ํานมดิบที่มีคุณภาพอีกด้วย เกษตรกรโคนมสามารถนําองค์ความรู้ไปปรับใช้ในฟาร์มโคนมของตน ช่วยยกระดับมาตรฐานของน้ํานมดิบให้มีคุณภาพ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02 281 0859 ต่อ 137 แฟกส์ 02 2822871
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มนัญญา แถลงข่าวเตรียมจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจำปี 2564 วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รมช.มนัญญา แถลงข่าวเตรียมจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 รมช.มนัญญา แถลงข่าวเตรียมจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 หนุนเกษตรกรโคนมไทยสู่วิถีอนาคตNEXT NORMAL ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลักดันอุตสาหกรรมโคนมไทยมุ่งสู่ระดับสากล นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 ว่า งานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ดําเนินการโดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เตรียมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-17 มกราคม 2564 ซึ่งพิธีเปิดในวันที่ 8 มกราคม 2564 ได้รับเกียรติจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิดงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจําปี 2564 ณ บริเวณเชิงเขาตาแป้น องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เพื่อส่งเสริม พัฒนา ยกระดับและผลักดันอุตสาหกรรมโคนมไทยมุ่งสู่ระดับสากล สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแบบองค์รวม และสร้างความมั่นคงในอาชีพให้แก่เกษตรตรกรโคนมไทยทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา ปลายน้ํา ตลอดจนให้การส่งเสริมด้านความรู้แก่เกษตรกรโคนม โดยนําเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากระบวนผลิตให้ได้น้ํานมคุณภาพ เพื่อส่งต่อผลิตภัณฑ์นมจากเกษตรโคนมไทยสู่กลุ่มผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคนม ให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง และสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์นมของคนไทยอย่างยั่งยืน "กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสําคัญกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และเป็นที่ทราบดีว่าความตกลงการค้าเสรีจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์นมไปต่างประเทศได้โดยไม่มีการกีดกันทางการค้า ซึ่งเราต้องยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นมไทยให้ได้คุณภาพ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์นมไทยให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล โดย อ.ส.ค. มีองค์ความรู้ด้านต่างๆ ถ่ายทอดให้เกษตรกรนําองค์ความรู้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์นมต่อไป" รมช.มนัญญา กล่าว นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อํานวยการแทนผู้อํานวยการ อ.ส.ค. กล่าวเพิ่มเติมว่า งานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจําปี 2564 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีโคนมไทยสู่ NEXT NORMAL” โดยการนําเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสําคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมโคนมไทยที่ต้องมองไปข้างหน้าและกําลังเข้าสู่ Next Normal เพื่อปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างแข็งแกร่ง และเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมโคนมไทยเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคตได้ ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขับเคลื่อนภารกิจหลักด้านการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม พัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมโคนมไทยสู่ระดับนานาชาติ โดย อ.ส.ค. ให้การสนับสนุนองค์ความรู้การเลี้ยงโคนมแก่เกษตรกร เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่อาชีพ “โคนมพระราชทาน” น้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณใน “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่9) ภายในงาน เทศกาลเทศกาลโคนมแห่งชาติ ยังเป็นโอกาสให้กลุ่มสหกรณ์โคนม และเกษตรกรโคนมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเลี้ยงโคนม ด้านการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้น้ํานมดิบที่มีคุณภาพอีกด้วย เกษตรกรโคนมสามารถนําองค์ความรู้ไปปรับใช้ในฟาร์มโคนมของตน ช่วยยกระดับมาตรฐานของน้ํานมดิบให้มีคุณภาพ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02 281 0859 ต่อ 137 แฟกส์ 02 2822871
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37847
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธำรง ให้แก่รองกรรมการผู้จัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธํารง ให้แก่รองกรรมการผู้จัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธํารง ชั้นที่ ๔ อันเป็นที่ชมเชยยิ่ง ประเภทบุคคลผู้ทําคุณประโยชน์ให้กับกระทรวงยุติธรรม ในวันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธํารง ชั้นที่ ๔ อันเป็นที่ชมเชยยิ่ง ประเภทบุคคลผู้ทําคุณประโยชน์ให้กับกระทรวงยุติธรรม ให้แก่นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด รองกรรมการผู้จัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ โดยมี พันตํารวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ร่วมแสดงความยินดี ณ ห้องประชุม ๓-๐๒ ชั้น ๓ อาคารที่ทําการกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีและขอบคุณวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ที่เห็นคุณค่าและให้โอกาสทางการศึกษา รวมทั้งโอกาสในการทํางานให้แก่เยาวชนในสถานพินิจฯ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรมด้วยดีเสมอมา และหวังว่าจะได้ร่วมกันพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้กลับคืนเป็นคนดีของสังคมต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธำรง ให้แก่รองกรรมการผู้จัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธํารง ให้แก่รองกรรมการผู้จัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธํารง ชั้นที่ ๔ อันเป็นที่ชมเชยยิ่ง ประเภทบุคคลผู้ทําคุณประโยชน์ให้กับกระทรวงยุติธรรม ในวันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธํารง ชั้นที่ ๔ อันเป็นที่ชมเชยยิ่ง ประเภทบุคคลผู้ทําคุณประโยชน์ให้กับกระทรวงยุติธรรม ให้แก่นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด รองกรรมการผู้จัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ โดยมี พันตํารวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ร่วมแสดงความยินดี ณ ห้องประชุม ๓-๐๒ ชั้น ๓ อาคารที่ทําการกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีและขอบคุณวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ที่เห็นคุณค่าและให้โอกาสทางการศึกษา รวมทั้งโอกาสในการทํางานให้แก่เยาวชนในสถานพินิจฯ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรมด้วยดีเสมอมา และหวังว่าจะได้ร่วมกันพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้กลับคืนเป็นคนดีของสังคมต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37865
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุชาติ เปิดของขวัญปีใหม่ให้ผู้ใช้แรงงาน 5 ชิ้น ชูแคมเปญ รักจากใจแรงงานไทยสุขใจถ้วนหน้า
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รมว.สุชาติ เปิดของขวัญปีใหม่ให้ผู้ใช้แรงงาน 5 ชิ้น ชูแคมเปญ รักจากใจแรงงานไทยสุขใจถ้วนหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย กระทรวงแรงงาน มอบของขวัญปีใหม่ 2564 แก่พี่น้องผู้ใช้แรงงาน 5 ชิ้น ภายใต้แนวคิด “รักจากใจแรงงานไทยสุขใจถ้วนหน้า” ประกอบด้วย ลดเงินสมทบให้นายจ้างและผู้ประกันตน เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร คลอดบุตร ลดดอกเบี้ยกู้ยืมกองทุนรับงาน เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาล ภายใต้การนําของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงาน ภายใต้การกํากับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะมอบของขวัญให้แก่พี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกคน ทุกกลุ่ม ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เพราะแรงงานเป็นฟันเฟืองสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในปี 2564 นี้ กระทรวงแรงงานได้เตรียมของขวัญปีใหม่ จํานวน 5 ชิ้น ภายใต้แนวคิด “รักจากใจแรงงานไทยสุขใจถ้วนหน้า” เพื่อมอบให้แก่แรงงานไทย ได้แก่ ชิ้นที่ 1 ลดเงินสมทบ โดยลดอัตราเงินสมทบให้กับนายจ้างและผู้ประกันตน โดยนําส่งในอัตราจากเดิมฝ่ายละ ร้อยละ 5 เป็นฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อเป็นการช่วยเหลือนายจ้าง จํานวน 486,192 แห่ง และผู้ประกันตน จํานวน 12.7 ล้านคน ซึ่งจะทําให้สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้างและผู้ประกันตนในการจ่ายเงินสมทบลดลง รวมเป็นจํานวนกว่า 15,660 ล้านบาท ชิ้นที่ 2 เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร คลอดบุตร โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร คลอดบุตร ฝากครรภ์ กรณีสงเคราะห์บุตรจากเดิม 600 เป็น 800 บาทต่อเดือนต่อคน (ไม่เกิน 3 คน) ซึ่งเคมเปญนี้จะทําให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์มากถึง 1.362 ล้านคน โดยใช้งบประมาณ 13,739 ล้านบาทต่อปี ส่วนกรณีคลอดบุตรและฝากครรภ์ค่าคลอดบุตร จากเดิม 13,000 บาท ปรับเพิ่มเป็น 15,000 บาท และค่าฝากครรภ์ จากเดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท เป็น 5 ครั้ง 1,500 บาท ชิ้นที่ 3 ลดดอกเบี้ยเงินกู้ โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ร้อยละ 0 ต่อปี แก่แรงงานที่รับงานไปทําที่บ้าน งวดที่ 1 – 12 ร้อยละ 0 ต่อปี งวดที่ 13 ขึ้นไป ร้อยละ 3 ต่อปี ภายใต้กรอบวงเงินกู้ 7,000,000 บาท รายบุคคลไม่เกิน 50,000 บาท รายกลุ่มไม่เกิน 300,000 บาท โดยผู้สนใจสามารถยื่นกู้ตั้งแต่ 1 ต.ค.2563 ไปจนถึง 31 ส.ค.2564 ผู้ที่สนใจสามารถยื่นกู้ ได้ที่ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 สํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ชิ้นที่ 4 ฟรีอบรมความปลอดภัย 10,000 คน โดยรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้การประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยจากการทํางานลดลง หรือไม่เกิดขึ้น มีหน่วยฝึกความปลอดภัยเข้าร่วมแคมเปญกว่า 180 หน่วย มีผู้ได้รับประโยชน์ 10,000 คน ฟรีค่าบริการฝึกอบรมตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2564 ชิ้นที่ 5 ฟรีฝึกอบรมออนไลน์ โดยได้จัดให้มีการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานผ่านระบบออนไลน์ ฝึกอบรมผ่านระบบ Online (Application Zoom Meeting) โดยผู้สนใจสามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรมบนเว็บไซต์ http://www.dsd.go.th/DSD/Intro/ List Training แจ้งผลการฝึกอบรมและพิมพ์วุฒิบัตรผ่านระบบ Online ฟรี ในช่วงเดือนมกราคม 2564 นี้ นายสุชาติ ยังกล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานยังคงมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านแรงงานต่างๆ ด้วยการส่งเสริมการมีงานทํา การพัฒนาทักษะฝีมือตามความต้องการของตลาดแรงงาน การคุ้มครองแรงงานในทุกกลุ่ม ทุกมิติให้มีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต เพื่อให้พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นพลังสําคัญในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ที่สําคัญขอให้พี่น้องแรงงานทุกคนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มุ่งหวังสิ่งใดสมความปรารถนาในทุกประการทั้งนี้ พี่น้องแรงงานสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคทั่วประเทศ หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุชาติ เปิดของขวัญปีใหม่ให้ผู้ใช้แรงงาน 5 ชิ้น ชูแคมเปญ รักจากใจแรงงานไทยสุขใจถ้วนหน้า วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รมว.สุชาติ เปิดของขวัญปีใหม่ให้ผู้ใช้แรงงาน 5 ชิ้น ชูแคมเปญ รักจากใจแรงงานไทยสุขใจถ้วนหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย กระทรวงแรงงาน มอบของขวัญปีใหม่ 2564 แก่พี่น้องผู้ใช้แรงงาน 5 ชิ้น ภายใต้แนวคิด “รักจากใจแรงงานไทยสุขใจถ้วนหน้า” ประกอบด้วย ลดเงินสมทบให้นายจ้างและผู้ประกันตน เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร คลอดบุตร ลดดอกเบี้ยกู้ยืมกองทุนรับงาน เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาล ภายใต้การนําของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงาน ภายใต้การกํากับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะมอบของขวัญให้แก่พี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกคน ทุกกลุ่ม ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เพราะแรงงานเป็นฟันเฟืองสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในปี 2564 นี้ กระทรวงแรงงานได้เตรียมของขวัญปีใหม่ จํานวน 5 ชิ้น ภายใต้แนวคิด “รักจากใจแรงงานไทยสุขใจถ้วนหน้า” เพื่อมอบให้แก่แรงงานไทย ได้แก่ ชิ้นที่ 1 ลดเงินสมทบ โดยลดอัตราเงินสมทบให้กับนายจ้างและผู้ประกันตน โดยนําส่งในอัตราจากเดิมฝ่ายละ ร้อยละ 5 เป็นฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อเป็นการช่วยเหลือนายจ้าง จํานวน 486,192 แห่ง และผู้ประกันตน จํานวน 12.7 ล้านคน ซึ่งจะทําให้สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้างและผู้ประกันตนในการจ่ายเงินสมทบลดลง รวมเป็นจํานวนกว่า 15,660 ล้านบาท ชิ้นที่ 2 เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร คลอดบุตร โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร คลอดบุตร ฝากครรภ์ กรณีสงเคราะห์บุตรจากเดิม 600 เป็น 800 บาทต่อเดือนต่อคน (ไม่เกิน 3 คน) ซึ่งเคมเปญนี้จะทําให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์มากถึง 1.362 ล้านคน โดยใช้งบประมาณ 13,739 ล้านบาทต่อปี ส่วนกรณีคลอดบุตรและฝากครรภ์ค่าคลอดบุตร จากเดิม 13,000 บาท ปรับเพิ่มเป็น 15,000 บาท และค่าฝากครรภ์ จากเดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท เป็น 5 ครั้ง 1,500 บาท ชิ้นที่ 3 ลดดอกเบี้ยเงินกู้ โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ร้อยละ 0 ต่อปี แก่แรงงานที่รับงานไปทําที่บ้าน งวดที่ 1 – 12 ร้อยละ 0 ต่อปี งวดที่ 13 ขึ้นไป ร้อยละ 3 ต่อปี ภายใต้กรอบวงเงินกู้ 7,000,000 บาท รายบุคคลไม่เกิน 50,000 บาท รายกลุ่มไม่เกิน 300,000 บาท โดยผู้สนใจสามารถยื่นกู้ตั้งแต่ 1 ต.ค.2563 ไปจนถึง 31 ส.ค.2564 ผู้ที่สนใจสามารถยื่นกู้ ได้ที่ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 สํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ชิ้นที่ 4 ฟรีอบรมความปลอดภัย 10,000 คน โดยรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้การประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยจากการทํางานลดลง หรือไม่เกิดขึ้น มีหน่วยฝึกความปลอดภัยเข้าร่วมแคมเปญกว่า 180 หน่วย มีผู้ได้รับประโยชน์ 10,000 คน ฟรีค่าบริการฝึกอบรมตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2564 ชิ้นที่ 5 ฟรีฝึกอบรมออนไลน์ โดยได้จัดให้มีการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานผ่านระบบออนไลน์ ฝึกอบรมผ่านระบบ Online (Application Zoom Meeting) โดยผู้สนใจสามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรมบนเว็บไซต์ http://www.dsd.go.th/DSD/Intro/ List Training แจ้งผลการฝึกอบรมและพิมพ์วุฒิบัตรผ่านระบบ Online ฟรี ในช่วงเดือนมกราคม 2564 นี้ นายสุชาติ ยังกล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานยังคงมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านแรงงานต่างๆ ด้วยการส่งเสริมการมีงานทํา การพัฒนาทักษะฝีมือตามความต้องการของตลาดแรงงาน การคุ้มครองแรงงานในทุกกลุ่ม ทุกมิติให้มีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต เพื่อให้พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นพลังสําคัญในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ที่สําคัญขอให้พี่น้องแรงงานทุกคนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มุ่งหวังสิ่งใดสมความปรารถนาในทุกประการทั้งนี้ พี่น้องแรงงานสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคทั่วประเทศ หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37837
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลาง "ยกเครื่อง" กฎกระทรวงส่งเสริม สนับสนุน SMEs พัสดุ Made in Thailand และ Eco-Friendly
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 กรมบัญชีกลาง "ยกเครื่อง" กฎกระทรวงส่งเสริม สนับสนุน SMEs พัสดุ Made in Thailand และ Eco-Friendly กรมบัญชีกลางออกกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ กรมบัญชีกลางออกกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ เพิ่มเติมหมวด 7/1 พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ และหมวด 7/2 พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศและสอดคล้องทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ดําเนินการยกร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบในหลักการจากคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (กวจ.) และการรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 โดยกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ดังนี้ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 2 พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ กําหนดให้พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน โดยกําหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้ 1) กรณีพัสดุตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 6 (1) - (5) เช่น ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในหมู่บ้านและตําบล ผลิตภัณฑ์ของร้านค้าสหกรณ์ หรือสถาบันเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเองหรืองานจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัยขององค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลิตภัณฑ์ขององค์กรหรือมูลนิธิเพื่อคนพิการที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย และผลิตภัณฑ์จากเรือนจํา สถานกักกัน หรือสถานกักขัง ตามเงื่อนไขที่กําหนด ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์ จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือวิธีคัดเลือกก็ได้ 2) กรณีผลิตผล ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิต หรือจัดทําขึ้นจาก SMEs ตามข้อ 6 (6) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างตามที่สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ขึ้นบัญชีไว้ โดยให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของงบประมาณ เพิ่มเติมหมวด 7/1 พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ กําหนดให้พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศตามที่ได้ขึ้นบัญชีรายการพัสดุและบัญชีรายชื่อไว้กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน 1) การจัดซื้อ ให้จัดซื้อพัสดุส่งเสริมการผลิตในประเทศตามวิธีการที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ ศ. 2560 แต่หากเป็นกรณีมีแต่ไม่พอเพียงต่อความต้องการ หรือมีจํานวนน้อยราย หรือมีความจําเป็นต้องใช้พัสดุที่ผลิตหรือนําเข้าจากต่างประเทศ ให้เสนอผู้มีอํานาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นพิจารณาโดยมีข้อยกเว้นตามที่กําหนด 2) การจัดจ้างงานก่อสร้าง ให้ใช้พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของพัสดุที่จะใช้ในงานก่อสร้าง โดยให้ดําเนินการตามที่กําหนด 3) การจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง ให้ใช้พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของวัสดุหรือครุภัณฑ์ที่จะใช้ในงานจ้าง ทั้งนี้ การจัดจ้างทั้งงานก่อสร้างและมิใช่งานก่อสร้างข้างต้น ให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นคู่สัญญากําหนดวิธีปฏิบัติ เพื่อให้คู่สัญญารายงานมูลค่า หรือปริมาณการใช้พัสดุให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นคู่สัญญาทราบ เพิ่มเติมหมวด 7/2 พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ ทั้งนี้ หากพัสดุที่จะจัดซื้อจัดจ้างมีผู้ขายหรือผู้ให้บริการเพียงรายเดียวให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง แต่ถ้าหากมีผู้ขายหรือผู้ให้บริการตั้งแต่สองรายขึ้นไป ให้ใช้วิธีคัดเลือก "นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ให้ครอบคลุมถึงสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐทุกแห่ง โดยการยกเลิกความใน (ก) ของ (1) ของข้อ 29 แห่งกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 สําหรับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฯ ในครั้งนี้ เพื่อกําหนดให้พัสดุที่จัดทําขึ้น หรือจําหน่ายโดยผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ และพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน เพื่อเป็นการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ และเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ รายละเอียดสามารถติดตามเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ www.cgd go.th หรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่ CGD Application หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวันและเวลาราชการ" อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลาง "ยกเครื่อง" กฎกระทรวงส่งเสริม สนับสนุน SMEs พัสดุ Made in Thailand และ Eco-Friendly วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 กรมบัญชีกลาง "ยกเครื่อง" กฎกระทรวงส่งเสริม สนับสนุน SMEs พัสดุ Made in Thailand และ Eco-Friendly กรมบัญชีกลางออกกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ กรมบัญชีกลางออกกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 โดยแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ เพิ่มเติมหมวด 7/1 พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ และหมวด 7/2 พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศและสอดคล้องทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ดําเนินการยกร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบในหลักการจากคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (กวจ.) และการรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 โดยกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ดังนี้ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 2 พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ กําหนดให้พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน โดยกําหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้ 1) กรณีพัสดุตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 6 (1) - (5) เช่น ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในหมู่บ้านและตําบล ผลิตภัณฑ์ของร้านค้าสหกรณ์ หรือสถาบันเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเองหรืองานจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัยขององค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลิตภัณฑ์ขององค์กรหรือมูลนิธิเพื่อคนพิการที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย และผลิตภัณฑ์จากเรือนจํา สถานกักกัน หรือสถานกักขัง ตามเงื่อนไขที่กําหนด ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์ จะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือวิธีคัดเลือกก็ได้ 2) กรณีผลิตผล ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิต หรือจัดทําขึ้นจาก SMEs ตามข้อ 6 (6) ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างตามที่สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ขึ้นบัญชีไว้ โดยให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของงบประมาณ เพิ่มเติมหมวด 7/1 พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ กําหนดให้พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศตามที่ได้ขึ้นบัญชีรายการพัสดุและบัญชีรายชื่อไว้กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน 1) การจัดซื้อ ให้จัดซื้อพัสดุส่งเสริมการผลิตในประเทศตามวิธีการที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ ศ. 2560 แต่หากเป็นกรณีมีแต่ไม่พอเพียงต่อความต้องการ หรือมีจํานวนน้อยราย หรือมีความจําเป็นต้องใช้พัสดุที่ผลิตหรือนําเข้าจากต่างประเทศ ให้เสนอผู้มีอํานาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นพิจารณาโดยมีข้อยกเว้นตามที่กําหนด 2) การจัดจ้างงานก่อสร้าง ให้ใช้พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของพัสดุที่จะใช้ในงานก่อสร้าง โดยให้ดําเนินการตามที่กําหนด 3) การจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง ให้ใช้พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของวัสดุหรือครุภัณฑ์ที่จะใช้ในงานจ้าง ทั้งนี้ การจัดจ้างทั้งงานก่อสร้างและมิใช่งานก่อสร้างข้างต้น ให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นคู่สัญญากําหนดวิธีปฏิบัติ เพื่อให้คู่สัญญารายงานมูลค่า หรือปริมาณการใช้พัสดุให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นคู่สัญญาทราบ เพิ่มเติมหมวด 7/2 พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ ทั้งนี้ หากพัสดุที่จะจัดซื้อจัดจ้างมีผู้ขายหรือผู้ให้บริการเพียงรายเดียวให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง แต่ถ้าหากมีผู้ขายหรือผู้ให้บริการตั้งแต่สองรายขึ้นไป ให้ใช้วิธีคัดเลือก "นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ให้ครอบคลุมถึงสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐทุกแห่ง โดยการยกเลิกความใน (ก) ของ (1) ของข้อ 29 แห่งกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 สําหรับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฯ ในครั้งนี้ เพื่อกําหนดให้พัสดุที่จัดทําขึ้น หรือจําหน่ายโดยผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ และพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน เพื่อเป็นการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ และเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ รายละเอียดสามารถติดตามเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ www.cgd go.th หรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือที่ CGD Application หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวันและเวลาราชการ" อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37841
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กยศ. มอบของขวัญปีใหม่สู้ภัยโควิด ลดเบี้ยปรับ 100%
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 กยศ. มอบของขวัญปีใหม่สู้ภัยโควิด ลดเบี้ยปรับ 100% กยศ.มอบของขวัญปีใหม่สู้ภัยโควิด ลดเบี้ยปรับ 80 - 100% และลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี เพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินที่ค้างชําระหนี้ รวมถึงลดเงินต้น 5% เมื่อชําระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียวสําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชําระ ระยะเวลา 6 เดือน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มอบของขวัญปีใหม่สู้ภัยโควิด ลดเบี้ยปรับ 80 - 100% และลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี เพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินที่ค้างชําระหนี้ รวมถึงลดเงินต้น 5% เมื่อชําระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียวสําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชําระ ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564 นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า “จากการที่กองทุนได้มีมาตรการช่วยเหลือและให้โอกาสผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาอย่างต่อเนื่อง และขณะนี้ประเทศไทยกําลังเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าว คณะกรรมการกองทุนฯ จึงได้มีมติเห็นชอบมาตรการชั่วคราว เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงินและเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้กู้ยืมเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 รวมระยะเวลา 6 เดือน ดังนี้ 1. ลดเบี้ยปรับ 100% กรณีชําระหนี้ปิดบัญชี สําหรับผู้กู้ยืมเงินทุกรายที่ยังไม่ถูกดําเนินคดี สามารถชําระได้ที่ธนาคารกรุงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา ส่วนผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดําเนินคดี ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิและนัดหมายวันที่ประสงค์จะชําระหนี้ปิดบัญชีได้ที่ www.studentloan.or.th โดยผู้กู้ยืมเงินต้องชําระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนปิดบัญชี 2. ลดเบี้ยปรับ 80% สําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดําเนินคดีที่ชําระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ 3. ลดเงินต้น 5% สําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชําระหนี้และชําระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว 4. ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี สําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดําเนินคดีและไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนด ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเป็นของขวัญปีใหม่ที่กองทุนมอบให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน โดยกองทุนขอเป็นกําลังใจให้ทุกท่านร่วมกันสู้เพื่อให้ผ่านสถานการณ์โควิดไปด้วยกัน ผู้กู้ยืมเงินสามารถดูรายละเอียดช่องทางการชําระหนี้เพื่อรับสิทธิตามมาตรการดังกล่าวได้ที่ www.studentloan.or.th โดยตรวจสอบยอดชําระได้ที่แอปพลิเคชัน กยศ. Connect หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ไลน์บัญชีทางการ กยศ. (Line Official Account กยศ.) หรือโทร. 0 2016 4888” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กยศ. มอบของขวัญปีใหม่สู้ภัยโควิด ลดเบี้ยปรับ 100% วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 กยศ. มอบของขวัญปีใหม่สู้ภัยโควิด ลดเบี้ยปรับ 100% กยศ.มอบของขวัญปีใหม่สู้ภัยโควิด ลดเบี้ยปรับ 80 - 100% และลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี เพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินที่ค้างชําระหนี้ รวมถึงลดเงินต้น 5% เมื่อชําระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียวสําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชําระ ระยะเวลา 6 เดือน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มอบของขวัญปีใหม่สู้ภัยโควิด ลดเบี้ยปรับ 80 - 100% และลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี เพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินที่ค้างชําระหนี้ รวมถึงลดเงินต้น 5% เมื่อชําระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียวสําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชําระ ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564 นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า “จากการที่กองทุนได้มีมาตรการช่วยเหลือและให้โอกาสผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาอย่างต่อเนื่อง และขณะนี้ประเทศไทยกําลังเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าว คณะกรรมการกองทุนฯ จึงได้มีมติเห็นชอบมาตรการชั่วคราว เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงินและเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้กู้ยืมเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 รวมระยะเวลา 6 เดือน ดังนี้ 1. ลดเบี้ยปรับ 100% กรณีชําระหนี้ปิดบัญชี สําหรับผู้กู้ยืมเงินทุกรายที่ยังไม่ถูกดําเนินคดี สามารถชําระได้ที่ธนาคารกรุงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา ส่วนผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดําเนินคดี ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิและนัดหมายวันที่ประสงค์จะชําระหนี้ปิดบัญชีได้ที่ www.studentloan.or.th โดยผู้กู้ยืมเงินต้องชําระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนปิดบัญชี 2. ลดเบี้ยปรับ 80% สําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดําเนินคดีที่ชําระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ 3. ลดเงินต้น 5% สําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชําระหนี้และชําระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว 4. ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี สําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดําเนินคดีและไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนด ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเป็นของขวัญปีใหม่ที่กองทุนมอบให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน โดยกองทุนขอเป็นกําลังใจให้ทุกท่านร่วมกันสู้เพื่อให้ผ่านสถานการณ์โควิดไปด้วยกัน ผู้กู้ยืมเงินสามารถดูรายละเอียดช่องทางการชําระหนี้เพื่อรับสิทธิตามมาตรการดังกล่าวได้ที่ www.studentloan.or.th โดยตรวจสอบยอดชําระได้ที่แอปพลิเคชัน กยศ. Connect หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ไลน์บัญชีทางการ กยศ. (Line Official Account กยศ.) หรือโทร. 0 2016 4888” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37844
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ยุติธรรม ประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รมว.ยุติธรรม ประชุมติดตามความคืบหน้าการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๔๑/๒๕๖๓ ในวันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๔๑/๒๕๖๓ โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายธนวัชร นิติกาญจนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับมาตรการของกระทรวงยุติธรรม ที่ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์โควิด-19 โดยให้มีการปรับห้องทดลองของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ให้สามารถตรวจพิสูจน์หาเชื้อโควิด-19 ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงให้กรมราชทัณฑ์มีมาตรการป้องกันอย่างเต็มที่ โดยงดการเยี่ยมญาติของผู้ต้องขังในรูปแบบปกติ แต่ให้เยี่ยมผ่านระบบแอปพลิเคชั่นไลน์ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ และเตรียมความพร้อมในการนําเทคโนโลยีมาใช้ในอนาคต นอกจากนี้ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อาทิ เรื่องความคืบหน้าการดําเนินงานของศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน (JSOC) และการจําหน่ายสินค้าราชทัณฑ์ในระบบออนไลน์ รวมถึงผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ยุติธรรม ประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รมว.ยุติธรรม ประชุมติดตามความคืบหน้าการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๔๑/๒๕๖๓ ในวันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๔๑/๒๕๖๓ โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายธนวัชร นิติกาญจนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับมาตรการของกระทรวงยุติธรรม ที่ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์โควิด-19 โดยให้มีการปรับห้องทดลองของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ให้สามารถตรวจพิสูจน์หาเชื้อโควิด-19 ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงให้กรมราชทัณฑ์มีมาตรการป้องกันอย่างเต็มที่ โดยงดการเยี่ยมญาติของผู้ต้องขังในรูปแบบปกติ แต่ให้เยี่ยมผ่านระบบแอปพลิเคชั่นไลน์ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ และเตรียมความพร้อมในการนําเทคโนโลยีมาใช้ในอนาคต นอกจากนี้ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อาทิ เรื่องความคืบหน้าการดําเนินงานของศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน (JSOC) และการจําหน่ายสินค้าราชทัณฑ์ในระบบออนไลน์ รวมถึงผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37867
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท. 1 เผย 9 ของขวัญปีใหม่มหาดไทย 64 เพื่อคนไทย Happy เมืองไทย Healthy
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 มท. 1 เผย 9 ของขวัญปีใหม่มหาดไทย 64 เพื่อคนไทย Happy เมืองไทย Healthy มท. 1 เผย 9 ของขวัญปีใหม่มหาดไทย 64 เพื่อคนไทย Happy เมืองไทย Healthy วันนี้ (23 ธ.ค. 63) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบโครงการของขวัญปีใหม่ 2564 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีความตั้งใจส่งมอบให้ประชาชนด้วย 9 ของขวัญ ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เพื่อคนไทย Happy เมืองไทย Healthy ปี 2564” ได้แก่ (1) สถานธนานุบาลทั่วไทยลดอัตราดอกเบี้ยตลอดปี โดยระหว่างเดือน ม.ค. – ก.พ. 64 กําหนดอัตราดอกเบี้ย ไม่คิดดอกเบี้ยกรณีเงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท 2 เดือนแรก หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน กรณีเงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน และสําหรับผู้มาใช้บริการตั้งแต่เดือน มี.ค. – ธ.ค. 64 กรณีเงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อเดือน และกรณีเงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน (2) ส่งสุขภาพดี วิถีใหม่ (Healthcare Delivery in the New Normal) โดยกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมการบริการทางการแพทย์เชิงรุกในโรงพยาบาลสังกัด กทม. 11 แห่ง ด้วยการพัฒนาระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Mobile lab การจัดยาไปมอบให้ที่บ้าน การให้คําปรึกษา และการรักษาพยาบาลผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) รองรับการดําเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) (3) รู้ง่าย เข้าใจไว กฎหมายอาคาร โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทํา Infographic เรื่อง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ผ่าน E –book Application Line และสื่อต่าง ๆ (4) SmartLands : App เดียวครบเครื่องเรื่องที่ดิน โดยกรมที่ดิน พัฒนาแอปพลิเคชั่นให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลในการติดต่อ/ติดตามงานบริการ 15 ด้าน อาทิ การนัดจดทะเบียนล่วงหน้า การค้นหารูปแปลงที่ดิน ในแอปฯ เดียว เพื่อความสะดวก ลดขั้นตอน ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และตอบสนองการใช้ชีวิต New normal (5) มท. สร้างสุข (Happy Creation) โดยกรมการพัฒนาชุมชนช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย และครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2562 โดยรวมผลผลิตจากกิจกรรม “90 วัน ปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” รวบรวมต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ผักแบ่งปันไม่น้อยกว่า 150,000 ครัวเรือน พร้อมมอบทุนอุปการะเด็ก หรือของใช้จําเป็นสําหรับเด็กแรกเกิด – 6 ปี เดือนละ 10 ทุน/จังหวัด ระยะเวลา 3 เดือน และมอบอุปกรณ์การประกอบอาชีพ ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย (6) ของถูก ขายฟรี ของดี พาส่งออก โดยองค์การตลาด ช่วยเหลือ สนับสนุน และพัฒนาช่องทางการกระจายสินค้า ให้ประชาชนจําหน่ายสินค้าฟรี ณ ตลาดน้ําสวนผัก คลองสองนครา เขตตลิ่งชัน พร้อมเปิดเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน และเปิดคลินิกช่วยเหลือผู้ประกอบการ ส่งสินค้าไปจีนฟรี ผ่านเว็บไซต์ www.poomjaimarket.com และ China Post (7) ติดมิเตอร์ใหม่ลดราคา การประปาจัดให้ โดยการประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ลดค่าติดตั้งประปา ร้อยละ 10 ให้ผู้ใช้น้ารายใหม่ประเภทที่อยู่อาศัย ที่ชําระเงินค่าติดตั้งในเดือน ม.ค. –ก.พ. 64 (8) งานไฟในบ้าน หารคนละครึ่ง กับไฟฟ้านครหลวง ลดภาระค่าใช้จ่ายการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าร้อยละ 50 (ส่วนลดสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท ต่อหมายเลขเครื่องวัดจนครบ 10 ล้านบาท) อาทิ ระบบแสงสว่าง งานวงจรเต้ารับ เครื่องทาน้าอุ่น ให้กับประชาชนในเขตพื้นที่บริการของ กฟน. ที่ใช้บริการ เมื่อใช้บริการและชําระเงินผ่านแอปพลิเคชัน MEA e-Fix ในเดือน ม.ค.–ก.พ. 64 และ (9) ติดมิเตอร์ทันใจกับไฟฟ้าภูมิภาค ด้วยการพัฒนาการบริการแบบ One Touch Service ในการขอใช้ไฟฟ้า และติดตั้งมิเตอร์รายใหม่ ที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ณ จุดเดียว ครั้งเดียว ทุกพื้นที่ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ของขวัญปีใหม่ของกระทรวงมหาดไทย จะช่วยให้พี่น้องประชาชนมีความสุข ลดภาระค่าใช้จ่าย พร้อมดูแลรักษาสุขภาพตามหลักชีวิตวิถีใหม่ ไปพร้อมกัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท. 1 เผย 9 ของขวัญปีใหม่มหาดไทย 64 เพื่อคนไทย Happy เมืองไทย Healthy วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 มท. 1 เผย 9 ของขวัญปีใหม่มหาดไทย 64 เพื่อคนไทย Happy เมืองไทย Healthy มท. 1 เผย 9 ของขวัญปีใหม่มหาดไทย 64 เพื่อคนไทย Happy เมืองไทย Healthy วันนี้ (23 ธ.ค. 63) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบโครงการของขวัญปีใหม่ 2564 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีความตั้งใจส่งมอบให้ประชาชนด้วย 9 ของขวัญ ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เพื่อคนไทย Happy เมืองไทย Healthy ปี 2564” ได้แก่ (1) สถานธนานุบาลทั่วไทยลดอัตราดอกเบี้ยตลอดปี โดยระหว่างเดือน ม.ค. – ก.พ. 64 กําหนดอัตราดอกเบี้ย ไม่คิดดอกเบี้ยกรณีเงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท 2 เดือนแรก หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน กรณีเงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน และสําหรับผู้มาใช้บริการตั้งแต่เดือน มี.ค. – ธ.ค. 64 กรณีเงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อเดือน และกรณีเงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน (2) ส่งสุขภาพดี วิถีใหม่ (Healthcare Delivery in the New Normal) โดยกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมการบริการทางการแพทย์เชิงรุกในโรงพยาบาลสังกัด กทม. 11 แห่ง ด้วยการพัฒนาระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Mobile lab การจัดยาไปมอบให้ที่บ้าน การให้คําปรึกษา และการรักษาพยาบาลผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) รองรับการดําเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) (3) รู้ง่าย เข้าใจไว กฎหมายอาคาร โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทํา Infographic เรื่อง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ผ่าน E –book Application Line และสื่อต่าง ๆ (4) SmartLands : App เดียวครบเครื่องเรื่องที่ดิน โดยกรมที่ดิน พัฒนาแอปพลิเคชั่นให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลในการติดต่อ/ติดตามงานบริการ 15 ด้าน อาทิ การนัดจดทะเบียนล่วงหน้า การค้นหารูปแปลงที่ดิน ในแอปฯ เดียว เพื่อความสะดวก ลดขั้นตอน ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และตอบสนองการใช้ชีวิต New normal (5) มท. สร้างสุข (Happy Creation) โดยกรมการพัฒนาชุมชนช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย และครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2562 โดยรวมผลผลิตจากกิจกรรม “90 วัน ปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” รวบรวมต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ผักแบ่งปันไม่น้อยกว่า 150,000 ครัวเรือน พร้อมมอบทุนอุปการะเด็ก หรือของใช้จําเป็นสําหรับเด็กแรกเกิด – 6 ปี เดือนละ 10 ทุน/จังหวัด ระยะเวลา 3 เดือน และมอบอุปกรณ์การประกอบอาชีพ ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย (6) ของถูก ขายฟรี ของดี พาส่งออก โดยองค์การตลาด ช่วยเหลือ สนับสนุน และพัฒนาช่องทางการกระจายสินค้า ให้ประชาชนจําหน่ายสินค้าฟรี ณ ตลาดน้ําสวนผัก คลองสองนครา เขตตลิ่งชัน พร้อมเปิดเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน และเปิดคลินิกช่วยเหลือผู้ประกอบการ ส่งสินค้าไปจีนฟรี ผ่านเว็บไซต์ www.poomjaimarket.com และ China Post (7) ติดมิเตอร์ใหม่ลดราคา การประปาจัดให้ โดยการประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ลดค่าติดตั้งประปา ร้อยละ 10 ให้ผู้ใช้น้ารายใหม่ประเภทที่อยู่อาศัย ที่ชําระเงินค่าติดตั้งในเดือน ม.ค. –ก.พ. 64 (8) งานไฟในบ้าน หารคนละครึ่ง กับไฟฟ้านครหลวง ลดภาระค่าใช้จ่ายการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าร้อยละ 50 (ส่วนลดสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท ต่อหมายเลขเครื่องวัดจนครบ 10 ล้านบาท) อาทิ ระบบแสงสว่าง งานวงจรเต้ารับ เครื่องทาน้าอุ่น ให้กับประชาชนในเขตพื้นที่บริการของ กฟน. ที่ใช้บริการ เมื่อใช้บริการและชําระเงินผ่านแอปพลิเคชัน MEA e-Fix ในเดือน ม.ค.–ก.พ. 64 และ (9) ติดมิเตอร์ทันใจกับไฟฟ้าภูมิภาค ด้วยการพัฒนาการบริการแบบ One Touch Service ในการขอใช้ไฟฟ้า และติดตั้งมิเตอร์รายใหม่ ที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ณ จุดเดียว ครั้งเดียว ทุกพื้นที่ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ของขวัญปีใหม่ของกระทรวงมหาดไทย จะช่วยให้พี่น้องประชาชนมีความสุข ลดภาระค่าใช้จ่าย พร้อมดูแลรักษาสุขภาพตามหลักชีวิตวิถีใหม่ ไปพร้อมกัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37850
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด สธ.เผย รพ.สนาม พร้อมรักษาแรงงานติดเชื้อโควิด 19 ในตลาดกลางกุ้ง
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 ปลัด สธ.เผย รพ.สนาม พร้อมรักษาแรงงานติดเชื้อโควิด 19 ในตลาดกลางกุ้ง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยโรงพยาบาลสนามบริเวณตลาดกลางกุ้ง พร้อมให้รักษาเบื้องต้นแรงงานติดเชื้อโควิด 19 หากมีอาการหนักจะส่งไปยังโรงพยาบาล ตามหลักมนุษยธรรม พร้อมส่งทีมเอ็มแคท ดูแลสภาพจิตใจ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยโรงพยาบาลสนามบริเวณตลาดกลางกุ้ง พร้อมให้รักษาเบื้องต้นแรงงานติดเชื้อโควิด 19 หากมีอาการหนักจะส่งไปยังโรงพยาบาล ตามหลักมนุษยธรรม พร้อมส่งทีมเอ็มแคท ดูแลสภาพจิตใจ วันนี้ (23 ธันวาคม 2563) ที่ตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิตปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ​อธิบดีกรมสนับสนุน​บริการ​สุขภาพ นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง​สาธารณสุข ​และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ​ติดตามความคืบหน้าสถานการณ์ ผู้ติดเชื้อโควิด 19 และการตั้งโรงพยาบาลสนามในบริเวณตลาดกลางกุ้ง นายแพทย์เกียรติภูมิ​กล่าวว่า รัฐบาลไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นที่บริเวณตลาดกลางกุ้งซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้ติดเชื้อค่อนข้างมาก ลักษณะเป็นCohortward ให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19ที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย และให้การรักษาเบื้องต้นโรคทั่วไป วางแผนครอบครัว ฉีดยาคุมกําเนิด และสุขภาพจิต ตามหลักมนุษยธรรม ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล มีทีมแพทย์และพยาบาลประจํา หากมีอาการรุนแรงจะส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาผู้ป่วยแล้ว ​75 คน สําหรับการวางระบบโรงพยาบาลสนาม มีสถาบันบําราศนราดูร กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเข้ามาจัดการระบบวิศวกรรม ระบบกรองอากาศ และการกําจัดสิ่งปฏิกูล ตามมาตรฐานโรงพยาบาลสนาม โดยแบ่งโซนบริการเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนสีแดงคือบริเวณหอพัก โซนสีส้ม คือจุดรอรักษาและคัดกรอง และโซนสีเขียวคือจุดพยาบาลปฏิบัติการ ขณะนี้ให้บริการแล้ว 30 เตียง กําลังเพิ่มจํานวนโดยได้รับการสนับสนุนเตียงจากทหาร คาดว่าจะจัดเตียงรองรับได้สูงสุด 100 เตียง นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า จากการประเมินการระบาด ขณะนี้เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 แล้ว วางแผนว่าจะนําคนที่กักตัวครบ 14 วันออกมาเจาะเลือดตรวจหาภูมิต้านทาน ซึ่งหากมีภูมิต้านทานแล้วถือว่าหายป่วย จะย้ายออกไปอยู่ในบริเวณอื่นที่ภาครัฐจัดไว้ให้ การดูแลสุขภาพแรงงานในหอพักที่ตลาดกลางกุ้งแห่งนี้ จัดว่าเป็นCluster Quarantine เพื่อกักกันไม่ให้เกิดการเดินทางและเกิดการแพร่เชื้อ มีทีมอาสาสมัครแรงงานต่างด้าว(อสต.) ช่วยในการสื่อสารและให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้ที่อยู่ภายในที่พัก มีการจัดส่งอาหารที่พอเพียงและระบบป้องกันโรค นอกจากนี้ยังมีทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT) ลงพื้นที่ดูแลด้านสุขภาพจิตด้วย “ในวันนี้ได้นําอาหารและเจลแอลกอฮอล์มาแจกจ่าย เพื่อดูแลสุขภาพตัวเอง ทุกคนที่อยู่ที่นี่จะได้รับการดูแลเบื้องต้นหากมีอาการหนักจะถูกส่งไปยังโรงพยาบาล การกักตัวในสถานที่แห่งนี้และการนําผู้ที่หายป่วยออกเป็นไปตามหลักการสาธารณสุข จากการสอบถามแรงงานที่อยู่ในหอพักพบว่ามีความเข้าใจกับมาตรการและจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ รักษามาตรการสวมหน้ากากล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง และช่วยกันดูแลหากพบเห็นแรงงานเล็ดลอดออกจากพื้นที่ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เพื่อป้องกันการหลบหนีไปแพร่เชื้อบริเวณอื่น” นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว ************************************* 23 ธันวาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด สธ.เผย รพ.สนาม พร้อมรักษาแรงงานติดเชื้อโควิด 19 ในตลาดกลางกุ้ง วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 ปลัด สธ.เผย รพ.สนาม พร้อมรักษาแรงงานติดเชื้อโควิด 19 ในตลาดกลางกุ้ง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยโรงพยาบาลสนามบริเวณตลาดกลางกุ้ง พร้อมให้รักษาเบื้องต้นแรงงานติดเชื้อโควิด 19 หากมีอาการหนักจะส่งไปยังโรงพยาบาล ตามหลักมนุษยธรรม พร้อมส่งทีมเอ็มแคท ดูแลสภาพจิตใจ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยโรงพยาบาลสนามบริเวณตลาดกลางกุ้ง พร้อมให้รักษาเบื้องต้นแรงงานติดเชื้อโควิด 19 หากมีอาการหนักจะส่งไปยังโรงพยาบาล ตามหลักมนุษยธรรม พร้อมส่งทีมเอ็มแคท ดูแลสภาพจิตใจ วันนี้ (23 ธันวาคม 2563) ที่ตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิตปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ​อธิบดีกรมสนับสนุน​บริการ​สุขภาพ นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง​สาธารณสุข ​และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ​ติดตามความคืบหน้าสถานการณ์ ผู้ติดเชื้อโควิด 19 และการตั้งโรงพยาบาลสนามในบริเวณตลาดกลางกุ้ง นายแพทย์เกียรติภูมิ​กล่าวว่า รัฐบาลไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นที่บริเวณตลาดกลางกุ้งซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้ติดเชื้อค่อนข้างมาก ลักษณะเป็นCohortward ให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19ที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย และให้การรักษาเบื้องต้นโรคทั่วไป วางแผนครอบครัว ฉีดยาคุมกําเนิด และสุขภาพจิต ตามหลักมนุษยธรรม ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล มีทีมแพทย์และพยาบาลประจํา หากมีอาการรุนแรงจะส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาผู้ป่วยแล้ว ​75 คน สําหรับการวางระบบโรงพยาบาลสนาม มีสถาบันบําราศนราดูร กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเข้ามาจัดการระบบวิศวกรรม ระบบกรองอากาศ และการกําจัดสิ่งปฏิกูล ตามมาตรฐานโรงพยาบาลสนาม โดยแบ่งโซนบริการเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนสีแดงคือบริเวณหอพัก โซนสีส้ม คือจุดรอรักษาและคัดกรอง และโซนสีเขียวคือจุดพยาบาลปฏิบัติการ ขณะนี้ให้บริการแล้ว 30 เตียง กําลังเพิ่มจํานวนโดยได้รับการสนับสนุนเตียงจากทหาร คาดว่าจะจัดเตียงรองรับได้สูงสุด 100 เตียง นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า จากการประเมินการระบาด ขณะนี้เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 แล้ว วางแผนว่าจะนําคนที่กักตัวครบ 14 วันออกมาเจาะเลือดตรวจหาภูมิต้านทาน ซึ่งหากมีภูมิต้านทานแล้วถือว่าหายป่วย จะย้ายออกไปอยู่ในบริเวณอื่นที่ภาครัฐจัดไว้ให้ การดูแลสุขภาพแรงงานในหอพักที่ตลาดกลางกุ้งแห่งนี้ จัดว่าเป็นCluster Quarantine เพื่อกักกันไม่ให้เกิดการเดินทางและเกิดการแพร่เชื้อ มีทีมอาสาสมัครแรงงานต่างด้าว(อสต.) ช่วยในการสื่อสารและให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้ที่อยู่ภายในที่พัก มีการจัดส่งอาหารที่พอเพียงและระบบป้องกันโรค นอกจากนี้ยังมีทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT) ลงพื้นที่ดูแลด้านสุขภาพจิตด้วย “ในวันนี้ได้นําอาหารและเจลแอลกอฮอล์มาแจกจ่าย เพื่อดูแลสุขภาพตัวเอง ทุกคนที่อยู่ที่นี่จะได้รับการดูแลเบื้องต้นหากมีอาการหนักจะถูกส่งไปยังโรงพยาบาล การกักตัวในสถานที่แห่งนี้และการนําผู้ที่หายป่วยออกเป็นไปตามหลักการสาธารณสุข จากการสอบถามแรงงานที่อยู่ในหอพักพบว่ามีความเข้าใจกับมาตรการและจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ รักษามาตรการสวมหน้ากากล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง และช่วยกันดูแลหากพบเห็นแรงงานเล็ดลอดออกจากพื้นที่ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เพื่อป้องกันการหลบหนีไปแพร่เชื้อบริเวณอื่น” นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว ************************************* 23 ธันวาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37870
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เผย 4 พื้นที่เสี่ยง จ.สมุทรสาคร มีประวัติเดินทางต้องตรวจหาเชื้อโควิด 19
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 สธ. เผย 4 พื้นที่เสี่ยง จ.สมุทรสาคร มีประวัติเดินทางต้องตรวจหาเชื้อโควิด 19 กระทรวงสาธารณสุข เผยผลคัดกรองโควิด 19 เชิงรุก จ.สมุทรสาคร 9,451 ราย ผลแล็บออก 6,314 ราย พบติดเชื้อ 1,202 ราย คิดเป็นร้อยละ 19 ภาพรวมการติดเชื้อลดลง และผู้ติดเชื้อที่ตรวจในโรงพยาบาล 76 ราย ทําให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อสมุทรสาครเป็น 1,278 ราย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลคัดกรองโควิด 19 เชิงรุก จ.สมุทรสาคร 9,451 ราย ผลแล็บออก 6,314 ราย พบติดเชื้อ 1,202 ราย คิดเป็นร้อยละ 19 ภาพรวมการติดเชื้อลดลง และผู้ติดเชื้อที่ตรวจในโรงพยาบาล 76 ราย ทําให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อสมุทรสาครเป็น 1,278 ราย และมีผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกับตลาดกลางกุ้งใน 22 จังหวัด รวม 65 ราย แนะประชาชนเคยเดินทางไป 4 พื้นที่เสี่ยง ได้แก่ ตลาดกลางกุ้ง ตลาดทะเลไทย ตลาดมหาชัย และชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 ให้ไปรับการตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (23 ธันวาคม 2563) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อํานวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค และแพทย์หญิงวลัยรัตน์ ไชยฟู นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 จังหวัดสมุทรสาคร โดยนายแพทย์โสภณกล่าวว่า ผลคัดกรองเชิงรุกในจ.สมุทรสาคร จํานวน 9,451 ราย ออกแล้ว 6,314 ราย พบติดเชื้อ 1,202 ราย อัตราการติดเชื้อคิดเป็นร้อยละ 19 ถือว่าลดลงจากก่อนหน้านี้ที่อยู่ประมาณร้อยละ 22.89 ผลไม่พบเชื้อ 5,112 ราย นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลใน จ.สมุทรสาครอีก 76 ราย เป็นคนไทย 72 ราย และเมียนมา 4 ราย ส่งผลให้การติดเชื้อโควิด 19 ใน จ.สมุทรสาคร รวมเป็น 1,278 ราย สําหรับจังหวัดอื่นๆ ที่พบผู้ป่วยโควิด 19 และมีความเชื่อมโยงกับตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร มีจํานวน 22 จังหวัด รวม 65 ราย ได้แก่ กทม. 16 ราย นครปฐม 10 ราย ฉะเชิงเทรา 6 ราย สมุทรปราการและสระบุรี จังหวัดละ 5 ราย ปทุมธานี 3 ราย กําแพงเพชร นนทบุรี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ 2 ราย กระบี่ ขอนแก่น นครราชสีมา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ภูเก็ต สุพรรณบุรี อุตรดิตถ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ และชัยนาท จังหวัดละ 1 ราย โดยตัวเลขของแต่ละจังหวัดอาจเพิ่มขึ้น หากมีการสอบสวนค้นหาผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเชื่อมโยงกับตลาดกุ้ง มีเพียง 1-2 รายที่ติดเชื้อจากการมีคนในครอบครัวไปตลาดกุ้งแล้วติดเชื้อ ทั้งนี้ การติดเชื้อของ จ.สมุทรสาคร จุดศูนย์กลางยังอยู่ที่ตลาดกลางกุ้ง โดยตรวจคัดกรอง 2,052 ราย พบติดเชื้อ 901 ราย คิดเป็นร้อยละ 44 ชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 ตรวจคัดกรอง 2,074 ราย พบติดเชื้อ 134 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.5 ตลาดทะเลไทย ตรวจคัดกรอง 963 ราย พบติดเชื้อ 137 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 สะพานปลา ตรวจคัดกรอง 491 ราย พบติดเชื้อ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.4 และชุมชนท่าจีน ตรวจคัดกรอง 449 ราย พบติดเชื้อ 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 4 ซึ่งผลดังกล่าวทําให้ทราบขอบเขตและขนาดของปัญหา คือ มีการติดเชื้อที่จุดแรกสูง แต่เมื่อห่างออกมาการติดเชื้อก็ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายชุมชนที่รอผลการตรวจ นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า สําหรับการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่กักกันในอยู่หอพักบริเวณตลาดกลางกุ้ง มีการตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อดูแลรักษากรณีมีอาการเจ็บป่วยน้อย หากมีอาการมากจะส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล โดยวันที่ 22 ธันวาคม 2563 มีแรงงานต่างด้าวมารับบริการ 75 ราย พบว่ามีอาการเล็กน้อย คือ ปวดเมื่อย ไข้ ปวดศีรษะ แต่ส่วนใหญ่ตรวจแล้วไม่ใช่โควิด 19 ส่วนวันที่ 23 ธันวาคม 2563 มารับบริการเพิ่ม 44 ราย พบ 1 ราย มีไข้ อาการทางเดินหายใจ และเหนื่อย จึงตรวจรักษาเบื้องต้นและส่งต่อโรงพยาบาลสมุทรสาคร ขณะนี้ถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้ จังหวัดอื่นมีการยกระดับการเฝ้าระวังคัดกรองผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนยังคงสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดจะช่วยป้องกันตนเองได้ แพทย์หญิงวลัยรัตน์ กล่าวว่า จากการสอบสวนประวัติการเดินทางของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในช่วง 14 วันก่อนเริ่มป่วย พบว่า ผู้ป่วยใน จ.สมุทรสาคร ร้อยละ 44 ไปตลาดกลางกุ้ง, ร้อยละ 14 ไปตลาดทะเลไทย, ร้อยละ 6 ไปตลาดมหาชัย, ร้อยละ 7 ไปชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13, ร้อยละ 1 ไปแพกุ้งมหาชัย และร้อยละ 1 ไปสะพานปลาไทย ส่วนผู้ป่วยนอก จ.สมุทรสาคร พบว่า ร้อยละ 60 ไปตลาดกลางกุ้ง, ร้อยละ 45 ไปตลาดทะเลไทย, ร้อยละ 10 ไปตลาดมหาชัย และร้อยละ 5 ไปแพกุ้งมหาชัย จากข้อมูลนี้ทําให้ระบุได้ว่า มี 4 พื้นที่เสี่ยงต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อทุกคน ได้แก่ ตลาดกลางกุ้ง ตลาดทะเลไทย ตลาดมหาชัย และชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 ส่วนคนที่เดินทางไปยังสถานที่อื่นของ จ.สมุทรสาคร ขอให้สังเกตอาการตนเอง หากมีไข้ ปวดเมื่อย ไอ มีน้ํามูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้มารับการตรวจโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สําหรับผู้ติดเชื้อกรณี จ.สมุทรสาคร มี 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.เดินทางมารักษาเองที่โรงพยาบาลและสอบสวนติดตามผู้สัมผัส 2. การค้นหาในชุมชน ส่วนหลักอยู่ในหอพักศรีเมืองบริเวณตลาดกลางกุ้ง แต่มีอีกกลุ่มหนึ่งที่พักอาศัยภายนอก จึงได้รวบรวมรายชื่อเพื่อติดตามให้มารับการตรวจหาเชื้อในจังหวัดที่อาศัย และ 3. คนที่อยู่ในหอพัก จังหวัดได้ส่งอาหารและน้ําดูแล แม้ความแออัดอาจทําให้มีการติดเชื้อเพิ่ม แต่มีทีมรักษาพยาบาลในพื้นที่ และได้ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนอยู่ในห้องและสวมหน้ากาก แม้จะคนติดเชื้อและไม่ติดเชื้อจะอยู่ร่วมห้อง แต่การไม่ไปสัมผัสกัน แยกกันรับประทานอาหาร และสวมหน้ากาก ก็ช่วยป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้ ทั้งนี้ ยืนยันว่า จ.สมุทรสาครไม่ได้ห้ามคนไทยเดินทางเข้าออก เพียงแต่มีการตั้งด่านเพื่อตรวจวัดไข้ และให้ข้อมูลข่าวสาร ต้องปฏิบัติตัวเหมือนคนในชุมชน คือ เว้นระยะห่างจากคนอื่น สวมหน้ากาก และหลีกเลี่ยงสถานที่คนหนาแน่น ************************************** 23 ธันวาคม 2563 ***********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เผย 4 พื้นที่เสี่ยง จ.สมุทรสาคร มีประวัติเดินทางต้องตรวจหาเชื้อโควิด 19 วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 สธ. เผย 4 พื้นที่เสี่ยง จ.สมุทรสาคร มีประวัติเดินทางต้องตรวจหาเชื้อโควิด 19 กระทรวงสาธารณสุข เผยผลคัดกรองโควิด 19 เชิงรุก จ.สมุทรสาคร 9,451 ราย ผลแล็บออก 6,314 ราย พบติดเชื้อ 1,202 ราย คิดเป็นร้อยละ 19 ภาพรวมการติดเชื้อลดลง และผู้ติดเชื้อที่ตรวจในโรงพยาบาล 76 ราย ทําให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อสมุทรสาครเป็น 1,278 ราย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลคัดกรองโควิด 19 เชิงรุก จ.สมุทรสาคร 9,451 ราย ผลแล็บออก 6,314 ราย พบติดเชื้อ 1,202 ราย คิดเป็นร้อยละ 19 ภาพรวมการติดเชื้อลดลง และผู้ติดเชื้อที่ตรวจในโรงพยาบาล 76 ราย ทําให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อสมุทรสาครเป็น 1,278 ราย และมีผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกับตลาดกลางกุ้งใน 22 จังหวัด รวม 65 ราย แนะประชาชนเคยเดินทางไป 4 พื้นที่เสี่ยง ได้แก่ ตลาดกลางกุ้ง ตลาดทะเลไทย ตลาดมหาชัย และชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 ให้ไปรับการตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (23 ธันวาคม 2563) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อํานวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค และแพทย์หญิงวลัยรัตน์ ไชยฟู นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 จังหวัดสมุทรสาคร โดยนายแพทย์โสภณกล่าวว่า ผลคัดกรองเชิงรุกในจ.สมุทรสาคร จํานวน 9,451 ราย ออกแล้ว 6,314 ราย พบติดเชื้อ 1,202 ราย อัตราการติดเชื้อคิดเป็นร้อยละ 19 ถือว่าลดลงจากก่อนหน้านี้ที่อยู่ประมาณร้อยละ 22.89 ผลไม่พบเชื้อ 5,112 ราย นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลใน จ.สมุทรสาครอีก 76 ราย เป็นคนไทย 72 ราย และเมียนมา 4 ราย ส่งผลให้การติดเชื้อโควิด 19 ใน จ.สมุทรสาคร รวมเป็น 1,278 ราย สําหรับจังหวัดอื่นๆ ที่พบผู้ป่วยโควิด 19 และมีความเชื่อมโยงกับตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร มีจํานวน 22 จังหวัด รวม 65 ราย ได้แก่ กทม. 16 ราย นครปฐม 10 ราย ฉะเชิงเทรา 6 ราย สมุทรปราการและสระบุรี จังหวัดละ 5 ราย ปทุมธานี 3 ราย กําแพงเพชร นนทบุรี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ 2 ราย กระบี่ ขอนแก่น นครราชสีมา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ภูเก็ต สุพรรณบุรี อุตรดิตถ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ และชัยนาท จังหวัดละ 1 ราย โดยตัวเลขของแต่ละจังหวัดอาจเพิ่มขึ้น หากมีการสอบสวนค้นหาผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเชื่อมโยงกับตลาดกุ้ง มีเพียง 1-2 รายที่ติดเชื้อจากการมีคนในครอบครัวไปตลาดกุ้งแล้วติดเชื้อ ทั้งนี้ การติดเชื้อของ จ.สมุทรสาคร จุดศูนย์กลางยังอยู่ที่ตลาดกลางกุ้ง โดยตรวจคัดกรอง 2,052 ราย พบติดเชื้อ 901 ราย คิดเป็นร้อยละ 44 ชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 ตรวจคัดกรอง 2,074 ราย พบติดเชื้อ 134 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.5 ตลาดทะเลไทย ตรวจคัดกรอง 963 ราย พบติดเชื้อ 137 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 สะพานปลา ตรวจคัดกรอง 491 ราย พบติดเชื้อ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.4 และชุมชนท่าจีน ตรวจคัดกรอง 449 ราย พบติดเชื้อ 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 4 ซึ่งผลดังกล่าวทําให้ทราบขอบเขตและขนาดของปัญหา คือ มีการติดเชื้อที่จุดแรกสูง แต่เมื่อห่างออกมาการติดเชื้อก็ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายชุมชนที่รอผลการตรวจ นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า สําหรับการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่กักกันในอยู่หอพักบริเวณตลาดกลางกุ้ง มีการตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อดูแลรักษากรณีมีอาการเจ็บป่วยน้อย หากมีอาการมากจะส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล โดยวันที่ 22 ธันวาคม 2563 มีแรงงานต่างด้าวมารับบริการ 75 ราย พบว่ามีอาการเล็กน้อย คือ ปวดเมื่อย ไข้ ปวดศีรษะ แต่ส่วนใหญ่ตรวจแล้วไม่ใช่โควิด 19 ส่วนวันที่ 23 ธันวาคม 2563 มารับบริการเพิ่ม 44 ราย พบ 1 ราย มีไข้ อาการทางเดินหายใจ และเหนื่อย จึงตรวจรักษาเบื้องต้นและส่งต่อโรงพยาบาลสมุทรสาคร ขณะนี้ถือว่าควบคุมสถานการณ์ได้ จังหวัดอื่นมีการยกระดับการเฝ้าระวังคัดกรองผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนยังคงสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดจะช่วยป้องกันตนเองได้ แพทย์หญิงวลัยรัตน์ กล่าวว่า จากการสอบสวนประวัติการเดินทางของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในช่วง 14 วันก่อนเริ่มป่วย พบว่า ผู้ป่วยใน จ.สมุทรสาคร ร้อยละ 44 ไปตลาดกลางกุ้ง, ร้อยละ 14 ไปตลาดทะเลไทย, ร้อยละ 6 ไปตลาดมหาชัย, ร้อยละ 7 ไปชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13, ร้อยละ 1 ไปแพกุ้งมหาชัย และร้อยละ 1 ไปสะพานปลาไทย ส่วนผู้ป่วยนอก จ.สมุทรสาคร พบว่า ร้อยละ 60 ไปตลาดกลางกุ้ง, ร้อยละ 45 ไปตลาดทะเลไทย, ร้อยละ 10 ไปตลาดมหาชัย และร้อยละ 5 ไปแพกุ้งมหาชัย จากข้อมูลนี้ทําให้ระบุได้ว่า มี 4 พื้นที่เสี่ยงต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อทุกคน ได้แก่ ตลาดกลางกุ้ง ตลาดทะเลไทย ตลาดมหาชัย และชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 ส่วนคนที่เดินทางไปยังสถานที่อื่นของ จ.สมุทรสาคร ขอให้สังเกตอาการตนเอง หากมีไข้ ปวดเมื่อย ไอ มีน้ํามูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้มารับการตรวจโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สําหรับผู้ติดเชื้อกรณี จ.สมุทรสาคร มี 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.เดินทางมารักษาเองที่โรงพยาบาลและสอบสวนติดตามผู้สัมผัส 2. การค้นหาในชุมชน ส่วนหลักอยู่ในหอพักศรีเมืองบริเวณตลาดกลางกุ้ง แต่มีอีกกลุ่มหนึ่งที่พักอาศัยภายนอก จึงได้รวบรวมรายชื่อเพื่อติดตามให้มารับการตรวจหาเชื้อในจังหวัดที่อาศัย และ 3. คนที่อยู่ในหอพัก จังหวัดได้ส่งอาหารและน้ําดูแล แม้ความแออัดอาจทําให้มีการติดเชื้อเพิ่ม แต่มีทีมรักษาพยาบาลในพื้นที่ และได้ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนอยู่ในห้องและสวมหน้ากาก แม้จะคนติดเชื้อและไม่ติดเชื้อจะอยู่ร่วมห้อง แต่การไม่ไปสัมผัสกัน แยกกันรับประทานอาหาร และสวมหน้ากาก ก็ช่วยป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้ ทั้งนี้ ยืนยันว่า จ.สมุทรสาครไม่ได้ห้ามคนไทยเดินทางเข้าออก เพียงแต่มีการตั้งด่านเพื่อตรวจวัดไข้ และให้ข้อมูลข่าวสาร ต้องปฏิบัติตัวเหมือนคนในชุมชน คือ เว้นระยะห่างจากคนอื่น สวมหน้ากาก และหลีกเลี่ยงสถานที่คนหนาแน่น ************************************** 23 ธันวาคม 2563 ***********************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37869
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุชาติ ตั้ง ศบค.รง. เป็นวอรูมบริหารสถานการณ์โควิด ช่วยเหลือแรงงานทุกมิติ
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รมว.สุชาติ ตั้ง ศบค.รง. เป็นวอรูมบริหารสถานการณ์โควิด ช่วยเหลือแรงงานทุกมิติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 กระทรวงแรงงาน (ศบค.รง.) อํานวยการดําเนินงานตามข้อสั่งการจาก ศบค.ชุดใหญ่ กํากับ ควบคุม ติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัดทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และต่างประเทศ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า รัฐบาล ภายใต้การนําของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงแรงงานภายใต้การกํากับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญกับการดูแลแรงงานทุกคน ทุกสัญชาติที่ทํางานในประเทศไทย พร้อมห่วงใยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงได้จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงแรงงาน (ศบค.รง.) ขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน เพื่อเป็นศูนย์อํานวยการบริหารสถานการณ์ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับภาคแรงงาน นายสุชาติยังกล่าวถึงโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงแรงงาน (ศบค.รง.) เป็นการผนึกกําลังร่วมกันระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทุกกรม โดยมี ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ที่ปรึกษาฯ และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นที่ปรึกษาศูนย์ฯ มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานอํานวยการฯ รองปลัดกระทรวง อธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวง และผู้บริหารระดับสูงร่วมเป็นคณะกรรรมการศูนย์ฯ ดังกล่าว เพื่ออํานวยการการดําเนินงานตามข้อสั่งการจาก ศบค. ชุดใหญ่ ในการกํากับ ควบคุม และติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และสํานักงานแรงงานไทยในต่างประเทศ สํารวจข้อมูลและบูรณาการประสานงานกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และออกมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง เช่น การหาตําแหน่งงานว่าง พัฒนาทักษะฝีมือ ให้สิทธิประโยชน์ และการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน เป็นต้น “นายจ้าง ลูกจ้าง พี่น้องผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สามารถประสานความช่วยเหลือมายังกระทรวงแรงงานได้ที่สายด่วน 1506 กด 5 โดยกระทรวงแรงงานจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านคอยบริการให้ความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนต่อไป”รมว.แรงงานกล่าวในท้ายสุด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุชาติ ตั้ง ศบค.รง. เป็นวอรูมบริหารสถานการณ์โควิด ช่วยเหลือแรงงานทุกมิติ วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 รมว.สุชาติ ตั้ง ศบค.รง. เป็นวอรูมบริหารสถานการณ์โควิด ช่วยเหลือแรงงานทุกมิติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 กระทรวงแรงงาน (ศบค.รง.) อํานวยการดําเนินงานตามข้อสั่งการจาก ศบค.ชุดใหญ่ กํากับ ควบคุม ติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัดทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และต่างประเทศ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า รัฐบาล ภายใต้การนําของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงแรงงานภายใต้การกํากับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญกับการดูแลแรงงานทุกคน ทุกสัญชาติที่ทํางานในประเทศไทย พร้อมห่วงใยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงได้จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงแรงงาน (ศบค.รง.) ขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน เพื่อเป็นศูนย์อํานวยการบริหารสถานการณ์ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับภาคแรงงาน นายสุชาติยังกล่าวถึงโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงแรงงาน (ศบค.รง.) เป็นการผนึกกําลังร่วมกันระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทุกกรม โดยมี ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ที่ปรึกษาฯ และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นที่ปรึกษาศูนย์ฯ มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานอํานวยการฯ รองปลัดกระทรวง อธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวง และผู้บริหารระดับสูงร่วมเป็นคณะกรรรมการศูนย์ฯ ดังกล่าว เพื่ออํานวยการการดําเนินงานตามข้อสั่งการจาก ศบค. ชุดใหญ่ ในการกํากับ ควบคุม และติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และสํานักงานแรงงานไทยในต่างประเทศ สํารวจข้อมูลและบูรณาการประสานงานกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และออกมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง เช่น การหาตําแหน่งงานว่าง พัฒนาทักษะฝีมือ ให้สิทธิประโยชน์ และการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน เป็นต้น “นายจ้าง ลูกจ้าง พี่น้องผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สามารถประสานความช่วยเหลือมายังกระทรวงแรงงานได้ที่สายด่วน 1506 กด 5 โดยกระทรวงแรงงานจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านคอยบริการให้ความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนต่อไป”รมว.แรงงานกล่าวในท้ายสุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37861
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ร่วมการอภิปราย หัวข้อเรื่อง "ขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนคือฐานของงานยาเสพติดไทย" ภายในงานการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ ปี ๒๕๖๓
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม ร่วมการอภิปราย หัวข้อเรื่อง "ขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนคือฐานของงานยาเสพติดไทย" ภายในงานการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ ปี ๒๕๖๓ นายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นวิทยากรอภิปราย หัวข้อเรื่อง "ขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนคือฐานของงานยาเสพติดไทย" ภายในงานการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ ปี ๒๕๖๓​ ในวันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นวิทยากรอภิปราย หัวข้อเรื่อง "ขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนคือฐานของงานยาเสพติดไทย"ภายในงานการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ ปี ๒๕๖๓​เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้รับทราบสถานการณ์ปัญหายาเสพติด​และทิศทางนโยบายในการดําเนินงาน รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้อันจะนําไปสู่การพัฒนางานและผลักดันนโยบายด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สําคัญ​โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน​ เข้าร่วมประชุมฯ การจัดงานดังกล่าว จัดโดย สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓​ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โอกาสนี้ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวใจความสําคัญ ตอนหนึ่งว่า การ “ป้องกัน” ปัญหาการติดยาเสพติด เป็นกระบวนการที่สําคัญในการไม่ให้คนเข้าไปสู่การติดยาเสพติด โดยจะต้องมีการจําแนกการคัดกรองผู้ติดยาเสพติด และนําไปบําบัดรักษาอย่างเหมาะสมไม่ให้กลับไปสู่สภาพแวดล้อมเดิมที่ก่อให้เกิดปัญหาการติดยาเสพติดดังนั้น จึงต้องมีการ “ค้นหา” “รักษา” และ “เฝ้าระวัง”นอกจากนี้ “ชุมชน” มีส่วนสําคัญในการค้นหาผู้ติดยาเสพติดเนื่องจากมีความใกล้ชิด และจะทราบว่าบุคคลใดเป็นกลุ่มเสี่ยง​และนําไปส่งต่อรักษาบําบัดได้อย่างถูกวิธี รวมทั้ง ให้มีการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการใช้ยาเสพติดเพราะการป้องกันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดแต่ต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาเพราะหากกลับออกมาจากการบําบัดแล้วกลับเข้าสู่สภาพแวดล้อมเดิมอาจทําให้กลับเข้าสู่การใช้ยาเสพติดได้อีกครั้ง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ร่วมการอภิปราย หัวข้อเรื่อง "ขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนคือฐานของงานยาเสพติดไทย" ภายในงานการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ ปี ๒๕๖๓ วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม ร่วมการอภิปราย หัวข้อเรื่อง "ขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนคือฐานของงานยาเสพติดไทย" ภายในงานการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ ปี ๒๕๖๓ นายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นวิทยากรอภิปราย หัวข้อเรื่อง "ขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนคือฐานของงานยาเสพติดไทย" ภายในงานการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ ปี ๒๕๖๓​ ในวันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นวิทยากรอภิปราย หัวข้อเรื่อง "ขอบฟ้าแห่งการเรียนรู้ : ชุมชนคือฐานของงานยาเสพติดไทย"ภายในงานการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ ปี ๒๕๖๓​เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้รับทราบสถานการณ์ปัญหายาเสพติด​และทิศทางนโยบายในการดําเนินงาน รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้อันจะนําไปสู่การพัฒนางานและผลักดันนโยบายด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สําคัญ​โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน​ เข้าร่วมประชุมฯ การจัดงานดังกล่าว จัดโดย สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓​ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โอกาสนี้ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวใจความสําคัญ ตอนหนึ่งว่า การ “ป้องกัน” ปัญหาการติดยาเสพติด เป็นกระบวนการที่สําคัญในการไม่ให้คนเข้าไปสู่การติดยาเสพติด โดยจะต้องมีการจําแนกการคัดกรองผู้ติดยาเสพติด และนําไปบําบัดรักษาอย่างเหมาะสมไม่ให้กลับไปสู่สภาพแวดล้อมเดิมที่ก่อให้เกิดปัญหาการติดยาเสพติดดังนั้น จึงต้องมีการ “ค้นหา” “รักษา” และ “เฝ้าระวัง”นอกจากนี้ “ชุมชน” มีส่วนสําคัญในการค้นหาผู้ติดยาเสพติดเนื่องจากมีความใกล้ชิด และจะทราบว่าบุคคลใดเป็นกลุ่มเสี่ยง​และนําไปส่งต่อรักษาบําบัดได้อย่างถูกวิธี รวมทั้ง ให้มีการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการใช้ยาเสพติดเพราะการป้องกันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดแต่ต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาเพราะหากกลับออกมาจากการบําบัดแล้วกลับเข้าสู่สภาพแวดล้อมเดิมอาจทําให้กลับเข้าสู่การใช้ยาเสพติดได้อีกครั้ง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37868
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. เพิ่มช่องทางการจ่ายชำระฯ สินเชื่อฉุกเฉินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และ A-Mobile
วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 ธ.ก.ส. เพิ่มช่องทางการจ่ายชําระฯ สินเชื่อฉุกเฉินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และ A-Mobile ธ.ก.ส. แนะช่องทางการจ่ายชําระฯ สินเชื่อฉุกเฉิน ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสและ A-Mobile เพิ่มเติมจากการชําระที่ ธ.ก.ส. สาขา เพื่ออํานวยความสะดวกในการใช้บริการและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ ตั้งแต่ 20 ธันวาคม เป็นต้นไป นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้เปิดให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปสมัครขอสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสําหรับผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อันเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่เกษตรกร ครอบครัวเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ช่วยลดปัญหาและป้องกันการพึ่งพาหนี้นอกระบบที่มีภาระดอกเบี้ยสูง โดยมีผู้ยื่นขอสินเชื่อฉุกเฉินผ่าน LINE Official BAAC Family ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน จนถึง 15 ธันวาคม 2563 ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้อนุมัติสินเชื่อและจ่ายเงินแล้วไปแล้วทั้งสิ้น 873,081 ราย เป็นเงิน 8,675 ล้านบาท สําหรับการชําระหนี้ในงวดแรก 30 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ธนาคารกําหนดให้ชําระที่ ธ.ก.ส. สาขาเท่านั้น ซึ่งลูกค้าบางรายไม่ได้รับความสะดวก ธ.ก.ส. จึงได้พัฒนารูปแบบการชําระหนี้ โดยมีการแจ้งเตือนยอดหนี้ของลูกค้าทุกรายที่มีหนี้ถึงกําหนดชําระผ่านทาง SMS ทุกวันที่ 15 ของเดือน โดยการชําระหนี้สามารถ ทําได้ 2 วิธี คือ ชําระหนี้เป็นเงินสด ซึ่งเมื่อลูกค้าได้รับ SMS แจ้งเตือน ตัวอย่างเช่น “เรียน คุณเกษตรกร สบายดี สินเชื่อฉุกเฉินโควิดของท่านจะครบกําหนดชําระวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ชําระได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา รายละเอียดคลิก (แนบลิ้งก์ ใบแจ้งเตือนหนี้โดยกรอก OTP และเลขบัตรประชาชนเพื่อเปิดเอกสาร) ขออภัยหากท่านชําระแล้ว” ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถเช็คข้อมูลเอกสารใบแจ้งหนี้ดังกล่าวผ่านลิ้งก์ที่แนบ จากนั้นให้ลูกค้านําไปชําระหนี้ที่สาขาหรือช่องทางที่ธนาคารกําหนด กรณีหักบัญชีเงินฝาก เมื่อได้ SMS แจ้งเตือน ให้ลูกค้านําเงินเข้าบัญชีเงินฝาก เพื่อที่ระบบจะหักชําระหนี้ต่อไป นอกจากชําระผ่าน ธ.ก.ส. สาขาทั่วประเทศแล้ว ธนาคารได้พัฒนาช่องทางการชําระเงิน เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อฉุกเฉินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสใน 7-Eleven โดยลูกค้าสามารถแสดงเอกสารใบแจ้งเตือนที่ส่งมาพร้อม SMS ต่อพนักงานผู้ให้บริการ ค่าธรรมเนียม 10 บาท และช่องทางผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile โดยสแกน QR Code ที่อยู่ในใบแจ้งเตือน ระหว่างเวลา 00.30 ถึง 21.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งสามารถใช้บริการข้างต้นได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส. เพิ่มช่องทางการจ่ายชำระฯ สินเชื่อฉุกเฉินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และ A-Mobile วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 ธ.ก.ส. เพิ่มช่องทางการจ่ายชําระฯ สินเชื่อฉุกเฉินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และ A-Mobile ธ.ก.ส. แนะช่องทางการจ่ายชําระฯ สินเชื่อฉุกเฉิน ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสและ A-Mobile เพิ่มเติมจากการชําระที่ ธ.ก.ส. สาขา เพื่ออํานวยความสะดวกในการใช้บริการและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ ตั้งแต่ 20 ธันวาคม เป็นต้นไป นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้เปิดให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปสมัครขอสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสําหรับผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อันเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่เกษตรกร ครอบครัวเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ช่วยลดปัญหาและป้องกันการพึ่งพาหนี้นอกระบบที่มีภาระดอกเบี้ยสูง โดยมีผู้ยื่นขอสินเชื่อฉุกเฉินผ่าน LINE Official BAAC Family ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน จนถึง 15 ธันวาคม 2563 ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้อนุมัติสินเชื่อและจ่ายเงินแล้วไปแล้วทั้งสิ้น 873,081 ราย เป็นเงิน 8,675 ล้านบาท สําหรับการชําระหนี้ในงวดแรก 30 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ธนาคารกําหนดให้ชําระที่ ธ.ก.ส. สาขาเท่านั้น ซึ่งลูกค้าบางรายไม่ได้รับความสะดวก ธ.ก.ส. จึงได้พัฒนารูปแบบการชําระหนี้ โดยมีการแจ้งเตือนยอดหนี้ของลูกค้าทุกรายที่มีหนี้ถึงกําหนดชําระผ่านทาง SMS ทุกวันที่ 15 ของเดือน โดยการชําระหนี้สามารถ ทําได้ 2 วิธี คือ ชําระหนี้เป็นเงินสด ซึ่งเมื่อลูกค้าได้รับ SMS แจ้งเตือน ตัวอย่างเช่น “เรียน คุณเกษตรกร สบายดี สินเชื่อฉุกเฉินโควิดของท่านจะครบกําหนดชําระวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ชําระได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา รายละเอียดคลิก (แนบลิ้งก์ ใบแจ้งเตือนหนี้โดยกรอก OTP และเลขบัตรประชาชนเพื่อเปิดเอกสาร) ขออภัยหากท่านชําระแล้ว” ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถเช็คข้อมูลเอกสารใบแจ้งหนี้ดังกล่าวผ่านลิ้งก์ที่แนบ จากนั้นให้ลูกค้านําไปชําระหนี้ที่สาขาหรือช่องทางที่ธนาคารกําหนด กรณีหักบัญชีเงินฝาก เมื่อได้ SMS แจ้งเตือน ให้ลูกค้านําเงินเข้าบัญชีเงินฝาก เพื่อที่ระบบจะหักชําระหนี้ต่อไป นอกจากชําระผ่าน ธ.ก.ส. สาขาทั่วประเทศแล้ว ธนาคารได้พัฒนาช่องทางการชําระเงิน เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อฉุกเฉินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสใน 7-Eleven โดยลูกค้าสามารถแสดงเอกสารใบแจ้งเตือนที่ส่งมาพร้อม SMS ต่อพนักงานผู้ให้บริการ ค่าธรรมเนียม 10 บาท และช่องทางผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile โดยสแกน QR Code ที่อยู่ในใบแจ้งเตือน ระหว่างเวลา 00.30 ถึง 21.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งสามารถใช้บริการข้างต้นได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37842
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ลงนามความร่วมมือพัฒนาที่อยู่อาศัย ด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา ในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคงทั่วประเทศ
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 พม. ลงนามความร่วมมือพัฒนาที่อยู่อาศัย ด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ําประปา ในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคงทั่วประเทศ พม. ลงนามความร่วมมือพัฒนาที่อยู่อาศัย ด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ําประปา ในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคงทั่วประเทศ วันนี้ (22 ธ.ค. 63) เวลา 14.30 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานสักขีพยานในพิธีการลงนามบันทึกความร่วมมือ “บูรณาการวางแผนและสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ําประปา ในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคง” ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และกระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมี 1. นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 2. นายวิลาศ เฉลยสัตย์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง 3. นายพงศกร ยุทธโกวิท ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 4. นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการการประปานครหลวง และ5. นายกฤษฎา ศังขมณี รองผู้ว่าการ รักษาการแทนผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค ร่วมลงนาม ณ บริเวณโถงชั้น 1 กระทรวง พม. สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นายจุติ กล่าวว่า การลงบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อให้ชุมชนผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาที่อยู่อาศัยด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า และน้ําประปาในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคง ทั้งรูปแบบการปรับปรุงที่อยู่อาศัยในที่ดินเดิม และการรื้อย้ายสร้างที่อยู่อาศัยแห่งใหม่บนที่ดินใหม่ ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการบ้านมั่นคงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย และมีระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสม อีกทั้งตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ที่ต้องการให้คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับความร่วมมือดังกล่าว กระทรวง พม. โดย พอช. จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการจัดการ การขออนุญาตเรื่องที่ดินและการรวบรวมข้อมูลพื้นที่ชุมชนภายใต้โครงการบ้านมั่นคงในการขอขยายเขตไฟฟ้าและน้ําประปาพร้อมจัดทําแผนระยะ 3 ปี และแผนรายปีระบุพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเสนอการไฟฟ้า การประปา และกระทรวงมหาดไทย โดยเชื่อมโยงกับองค์กรชุมชนและประสานการทํางานระหว่างหน่วยงาน ส่วนกระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะร่วมจัดทําแผนงานขยายเขตไฟฟ้า และประปา ในพื้นที่โครงการฯ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการให้กับครัวเรือนที่อยู่อาศัย โดยเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค จะสนับสนุนกระบวนการดําเนินงานตามระเบียบหลักเกณฑ์ของหน่วยงาน ร่วมกับองค์กรชุมชนในพื้นที่โครงการฯ เพื่อการติดตั้งขยายเขตน้ําประปาให้สําเร็จลุล่วง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ลงนามความร่วมมือพัฒนาที่อยู่อาศัย ด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา ในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคงทั่วประเทศ วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 พม. ลงนามความร่วมมือพัฒนาที่อยู่อาศัย ด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ําประปา ในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคงทั่วประเทศ พม. ลงนามความร่วมมือพัฒนาที่อยู่อาศัย ด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ําประปา ในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคงทั่วประเทศ วันนี้ (22 ธ.ค. 63) เวลา 14.30 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานสักขีพยานในพิธีการลงนามบันทึกความร่วมมือ “บูรณาการวางแผนและสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ําประปา ในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคง” ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และกระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมี 1. นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 2. นายวิลาศ เฉลยสัตย์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง 3. นายพงศกร ยุทธโกวิท ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 4. นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการการประปานครหลวง และ5. นายกฤษฎา ศังขมณี รองผู้ว่าการ รักษาการแทนผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค ร่วมลงนาม ณ บริเวณโถงชั้น 1 กระทรวง พม. สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นายจุติ กล่าวว่า การลงบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อให้ชุมชนผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาที่อยู่อาศัยด้านระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า และน้ําประปาในพื้นที่โครงการบ้านมั่นคง ทั้งรูปแบบการปรับปรุงที่อยู่อาศัยในที่ดินเดิม และการรื้อย้ายสร้างที่อยู่อาศัยแห่งใหม่บนที่ดินใหม่ ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการบ้านมั่นคงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย และมีระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสม อีกทั้งตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ที่ต้องการให้คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับความร่วมมือดังกล่าว กระทรวง พม. โดย พอช. จะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการจัดการ การขออนุญาตเรื่องที่ดินและการรวบรวมข้อมูลพื้นที่ชุมชนภายใต้โครงการบ้านมั่นคงในการขอขยายเขตไฟฟ้าและน้ําประปาพร้อมจัดทําแผนระยะ 3 ปี และแผนรายปีระบุพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเสนอการไฟฟ้า การประปา และกระทรวงมหาดไทย โดยเชื่อมโยงกับองค์กรชุมชนและประสานการทํางานระหว่างหน่วยงาน ส่วนกระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะร่วมจัดทําแผนงานขยายเขตไฟฟ้า และประปา ในพื้นที่โครงการฯ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการให้กับครัวเรือนที่อยู่อาศัย โดยเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค จะสนับสนุนกระบวนการดําเนินงานตามระเบียบหลักเกณฑ์ของหน่วยงาน ร่วมกับองค์กรชุมชนในพื้นที่โครงการฯ เพื่อการติดตั้งขยายเขตน้ําประปาให้สําเร็จลุล่วง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37823
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางลงพื้นที่ในการกำกับในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และติดตามการปฏิบัติราชการ
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางลงพื้นที่ในการกํากับในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และติดตามการปฏิบัติราชการ ในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและเขตตรวจราชการที่ ๑๒ ณ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมคณะ มีกําหนดเดินทางเยือนจังหวัดขอนแก่น เพื่อปฏิบัติภารกิจกํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและเขตตรวจราชการที่ ๑๒ ซึ่งครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังข้อเสนอแนะกับหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ ​ ในการเดินทางลงพื้นที่ดังกล่าว รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกําหนดประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด เพื่อติดตามงานนโยบายของรัฐบาลและมอบหมายนโยบายในการกํากับการปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาค ซึ่งประเด็นหลักในการหารือ ได้แก่ การดําเนินการของศูนย์ดํารงธรรม การดําเนินการของปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ เช่น การบุกรุกพื้นที่ป่าและพื้นที่สาธารณะ การเตรียมแผนรับมือภัยแล้งและอุทกภัย ราคาเกษตรตกต่ํา การบริหารจัดการขยะ น้ําเสียและปัญหาหมอกควัน เป็นต้น นอกจากนั้นจะร่วมหารือกับภาคเอกชน ภาควิชาการ และผู้อํานวยการสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ําโขง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังข้อเสนอแนะ โดยเน้นประเด็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งจะตรวจเยี่ยมโครงการและสถานที่สําคัญในพื้นที่ อาทิ โครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และศูนย์ Smart City Operation Center (SCOPC) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างจังหวัดในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ได้แก่ โครงการร้อยแก่นสารสินธุ์ และ Railway Innopolis (TRAM) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น นาเคียงอ้อฟาร์ม พื้นที่ของปราชญ์ด้านการปลูกผักอินทรีย์ ในโอกาสเดียวกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนสนามบิน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนเครือข่ายโครงการยุวทูตความดี และได้รับเกียรติบัตรเป็นต้นแบบในการดําเนินการโครงการยุวทูตความดี เพื่อพลังแผ่นดิน ในปี ๒๕๕๔ โดยจะร่วมหารือเกี่ยวกับโครงการเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน รับฟังความเห็นของผู้อํานวยการโรงเรียน ครู และนักเรียนยุวทูตความดี และจะเปิดโอกาสให้ตัวแทนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ได้เข้าร่วมในช่วงถาม-ตอบ กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้วย ที่มา :https://www.mfa.go.th/th/content/predpmfmtripkhonkaen22dec63
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางลงพื้นที่ในการกำกับในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และติดตามการปฏิบัติราชการ วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางลงพื้นที่ในการกํากับในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และติดตามการปฏิบัติราชการ ในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและเขตตรวจราชการที่ ๑๒ ณ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมคณะ มีกําหนดเดินทางเยือนจังหวัดขอนแก่น เพื่อปฏิบัติภารกิจกํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและเขตตรวจราชการที่ ๑๒ ซึ่งครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังข้อเสนอแนะกับหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ ​ ในการเดินทางลงพื้นที่ดังกล่าว รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกําหนดประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด เพื่อติดตามงานนโยบายของรัฐบาลและมอบหมายนโยบายในการกํากับการปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาค ซึ่งประเด็นหลักในการหารือ ได้แก่ การดําเนินการของศูนย์ดํารงธรรม การดําเนินการของปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ เช่น การบุกรุกพื้นที่ป่าและพื้นที่สาธารณะ การเตรียมแผนรับมือภัยแล้งและอุทกภัย ราคาเกษตรตกต่ํา การบริหารจัดการขยะ น้ําเสียและปัญหาหมอกควัน เป็นต้น นอกจากนั้นจะร่วมหารือกับภาคเอกชน ภาควิชาการ และผู้อํานวยการสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ําโขง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังข้อเสนอแนะ โดยเน้นประเด็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งจะตรวจเยี่ยมโครงการและสถานที่สําคัญในพื้นที่ อาทิ โครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และศูนย์ Smart City Operation Center (SCOPC) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างจังหวัดในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ได้แก่ โครงการร้อยแก่นสารสินธุ์ และ Railway Innopolis (TRAM) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น นาเคียงอ้อฟาร์ม พื้นที่ของปราชญ์ด้านการปลูกผักอินทรีย์ ในโอกาสเดียวกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนสนามบิน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนเครือข่ายโครงการยุวทูตความดี และได้รับเกียรติบัตรเป็นต้นแบบในการดําเนินการโครงการยุวทูตความดี เพื่อพลังแผ่นดิน ในปี ๒๕๕๔ โดยจะร่วมหารือเกี่ยวกับโครงการเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน รับฟังความเห็นของผู้อํานวยการโรงเรียน ครู และนักเรียนยุวทูตความดี และจะเปิดโอกาสให้ตัวแทนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ได้เข้าร่วมในช่วงถาม-ตอบ กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้วย ที่มา :https://www.mfa.go.th/th/content/predpmfmtripkhonkaen22dec63
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37822
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 59 สถานี เชื่อมการเดินทาง 3 จังหวัด
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 59 สถานี เชื่อมการเดินทาง 3 จังหวัด วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต เป็นหนึ่งในเส้นทางของระบบขนส่งมวลชนทางรางที่จะอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในเขตเมือง ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ล่าสุดเปิดให้บริการครบทุกสถานี ตลอดเส้นทาง ทั้ง 59 สถานี รวมระยะทาง 68 กม. เชื่อมการเดินทางได้ถึง 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ โดยคาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารทั้งระบบได้มากกว่า 1,500,000 คน/วัน อีกทั้ง ยังมีจุดเชื่อมต่อการเดินรถโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทองจากสถานีกรุงธนบุรี ไปยังสถานีคลองสาน ช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางสําหรับประชาชน และลดความแออัดของการใช้บริการได้เป็นอย่างดี “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 59 สถานี เชื่อมการเดินทาง 3 จังหวัด วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 59 สถานี เชื่อมการเดินทาง 3 จังหวัด วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต เป็นหนึ่งในเส้นทางของระบบขนส่งมวลชนทางรางที่จะอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในเขตเมือง ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ล่าสุดเปิดให้บริการครบทุกสถานี ตลอดเส้นทาง ทั้ง 59 สถานี รวมระยะทาง 68 กม. เชื่อมการเดินทางได้ถึง 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ โดยคาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารทั้งระบบได้มากกว่า 1,500,000 คน/วัน อีกทั้ง ยังมีจุดเชื่อมต่อการเดินรถโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทองจากสถานีกรุงธนบุรี ไปยังสถานีคลองสาน ช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางสําหรับประชาชน และลดความแออัดของการใช้บริการได้เป็นอย่างดี “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37798
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยบริเวณรอบตลาดกลางกุ้ง อัตราติดโควิดลดลง 3 เท่า
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สธ.เผยบริเวณรอบตลาดกลางกุ้ง อัตราติดโควิดลดลง 3 เท่า กระทรวงสาธารณสุข เผยผู้ป่วยโควิด 19 เพิ่มขึ้น 427 ราย มาจากต่างประเทศเข้ารับการกักกัน 14 ราย ติดเชื้อในประเทศเชื่อมโยงตลาดกลางกุ้ง 16 ราย กระจายใน 8 จังหวัด และแรงงานต่างด้าว 397 ราย ผลการตรวจยังพบการติดเชื้อสูงในตลาดกลางกุ้ง กระทรวงสาธารณสุข เผยผู้ป่วยโควิด 19 เพิ่มขึ้น 427 ราย มาจากต่างประเทศเข้ารับการกักกัน 14 ราย ติดเชื้อในประเทศเชื่อมโยงตลาดกลางกุ้ง 16 ราย กระจายใน 8 จังหวัด และแรงงานต่างด้าว 397 ราย ผลการตรวจยังพบการติดเชื้อสูงในตลาดกลางกุ้ง ส่วนบริเวณโดยรอบการติดเชื้อลดลง 3 เท่า ส่วนจังหวัดที่พบผู้ป่วยเชื่อมโยงตลาดกลางกุ้ง มี 1 รายที่เป็นผู้สัมผัสในครอบครัว เดินหน้าค้นหาผู้ป่วยโดยรอบเพิ่มขึ้น วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) และนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อํานวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โควิด 19 โดยนายแพทย์ทวีศิลป์กล่าวว่า วันนี้มีผู้ป่วยโควิด 19 รายใหม่เพิ่มขึ้น 427 ราย หายป่วยเพิ่ม 25 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 5,716 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 3,798 ราย มาจากต่างประเทศ 1,918 ราย หายกลับบ้านรวม 4,078 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 1,578 ราย และเสียชีวิตรวม 60 ราย ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็น 1.ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้ากักกัน 14 รายได้แก่ ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา ประเทศละ 3 ราย ซูดาน 2 ราย สวิตเซอร์แลนด์ บาห์เรน เยอรมนี ฝรั่งเศส คูเวต และปากีสถาน ประเทศละ 1 ราย เป็นคนไทย 10 ราย และคนต่างชาติ 4 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามระบบ 2.ผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 16 รายมีประวัติเชื่อมโยงกับตลาดกุ้ง จ.สมุทรสาคร เป็นชายไทย 4 ราย และหญิงไทย 12 ราย กระจายในกทม. 5 ราย สระบุรี 3 ราย ปทุมธานีและสมุทรปราการจังหวัดละ 2 ราย ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี อุตรดิตถ์ และนครปฐม จังหวัดละ 1 ราย ผู้ติดเชื้อมีอาการ 11 ราย ส่วนใหญ่มีไข้ ไอ น้ํามูก เจ็บคอ เสมหะ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส และติดเชื้อไม่มีอาการ 5 ราย และ 3.การติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุก)397 ราย โดยร้อยละ 90 ติดเชื้อไม่มีอาการ นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า จากการวิเคราะห์การติดเชื้อโควิด 19 พื้นที่ จ.สมุทรสาคร พื้นที่ไข่แดงที่มีการติดเชื้อสูงคือบริเวณตลาดกลางกุ้ง อัตราการติดเชื้อประมาณร้อยละ 44 บริเวณโดยรอบห่างออกมาการติดเชื้อลดลง คือ ตลาดทะเลไทยร้อยละ 14 และชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 ร้อยละ 8 โดยมีแผนจะตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาในการตรวจและทยอยรายงานผล สําหรับผู้ที่ไปซื้อสินค้าประจําที่ตลาดกลางกุ้งประมาณพันคนกระจายไปจังหวัดต่างๆ จากการสอบสวนโรคพบเดินทางมาจาก 23 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กทม. สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง สงขลา และอุตรดิตถ์ เพื่อแจ้งเตือนให้จังหวัดเหล่านี้ ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคและค้นหาผู้มีประวัติเสี่ยงเดินทางเข้ามา นพ.ทวีศิลป์กล่าวต่อว่า สําหรับผู้ที่มีประวัติเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งช่วง 14 วันก่อนมีอาการ คือ เดินทางมาจากเขตติดโรคหรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง คือ สมุทรสาคร ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรคหรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยยืนยัน และเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน ขอให้มารับการตรวจที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน โดยหากแพทย์พิจารณาว่ามีความเสี่ยง หรือมีอาการโควิด 19 อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ํามูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยปอดอักเสบ จะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สําหรับการตรวจเชิงรุกจะทยอยตรวจให้ได้ 10,300 คนในเบื้องต้น ส่วนที่ไม่ตรวจแรงงานเมียนมาทั้งหมดเป็นแสนคนนั้น ทางระบาดวิทยาระบุว่า ไม่จําเป็นต้องตรวจทั้งหมด แต่จะเน้นกลุ่มที่มีอาการสงสัย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่เราจะออกแบบเพื่อไปวางระบบในการตรวจเหมือนกรณีการวางแผนสุ่มตรวจที่ จ.ภูเก็ต อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชนในการคงมาตรการ คือ สวมหน้ากาก หมั่นล้างมือ สแกนชื่อด้วยไทยชนะ สําหรับสถานการณ์โควิด 19 ทั่วโลกวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรวม 77,715,069 ราย เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 534,219 ราย เสียชีวิต 1,708,919 ราย อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 18,473,716 รายอินเดีย 10,075,422 ราย บราซิล 7,264,221 ราย รัสเซีย 2,877,727 ราย ฝรั่งเศส 2,479,151 ราย ขณะที่อาเซียน แนวโน้มประเทศมาเลเซียพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000 ราย จึงต้องเฝ้าระวังชายแดนภาคใต้ นายแพทย์โสภณกล่าวว่า การสอบสวนโรคพื้นที่ จ.สมุทรสาครจากกรณีหญิงไทยอายุ 67 ปี มีการติดเชื้อจากกลุ่มนี้รวม 13 ราย เป็นคนไทย 9 ราย และเมียนมา 4 ราย และขยายการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก โดยคัดกรองแรงงานเมียนมาที่พักอาศัยบริเวณโดยรอบ ได้แก่บริเวณตลาดกลางกุ้งเก็บตัวอย่าง 2,051 ราย ผลบวก 914 รายคิดเป็นร้อยละ 44 อัตราการติดเชื้อสูง เนื่องจากการอยู่อาศัยแบบแออัด และตรวจติดตามสถานที่ที่มีโอกาสพบแรงงานเมียนมาไปทํางานหรือใช้บริการ คือตลาดทะเลไทย เก็บตัวอย่าง 653 ราย พบติดเชื้อ 91 รายคิดเป็นร้อยละ 14 ถือว่าต่ํากว่าจุดเกิดเหตุการณ์ระบาดครั้งแรก 3 เท่า อีกจุดคือชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 เก็บตัวอย่าง 1,099 ราย ติดเชื้อ 84 รายคิดเป็นร้อยละ 8 การสอบสวนโรคดังกล่าวช่วยให้ยับยั้งลดความเร็วการแพร่เชื้อได้สรุปภาพรวมผลการตรวจค้นหาผู้ป่วยจํานวน 5,066 ตัวอย่าง ผลออก 3,803 ตัวอย่าง พบเชื้อ 1,089 รายคิดเป็นร้อยละ 29 คาดว่าเมื่อมีการตรวจตัวอย่างที่เหลือและรายงานผลเพิ่มจะทําให้อัตราการติดเชื้อลดลง เนื่องจากมีการตรวจในสถานที่ห่างจากศูนย์กลางการระบาดมากขึ้น สําหรับจังหวัดที่มีผู้ป่วยโควิด 19 เชื่อมโยงกับตลาดกุ้ง รวม 66 ราย ได้แก่ สมุทรสาคร 39 ราย นครปฐม 6 ราย สมุทรปราการ 3 ราย สระบุรี 3 ราย ฉะเชิงเทรา 1 ราย ปทุมธานี 3 ราย เพชรบุรี 1 ราย อุตรดิตถ์ 1 รายและกทม. 9 ราย โดยทั้งหมดมีประวัติเกี่ยวข้องกับตลาดกลางกุ้ง มีเพียง 1 ราย ที่เป็นผู้สัมผัสในครอบครัวของผู้ไปตลาดกลางกุ้ง สําหรับหอพักที่ได้กักกันแยกผู้มีโอกาสรับเชื้อไว้อยู่ในสถานที่พักเพื่อความปลอดภัยของชุมชนโดยรอบ มีทีมแพทย์จากสถาบันบําราศนราดูรและโรงพยาบาลสมุทรสาครเข้าไปดูแลทุกวัน มีการให้ความรู้การดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่ถูกกักกัน ผู้ที่มีไข้ อาการระบบทางเดินหายใจ จะได้รับการตรวจโดยแพทย์ ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90 ไม่มีอาการ หากมีอาการมากจะส่งต่อไปโรงพยาบาล ทําให้สามารถบริหารจัดการคนติดเชื้อจํานวนมาก นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการควบคุมโรค เน้นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ โดยจะมีการตรวจคัดกรองสถานที่อื่น เช่น ที่พักแรงงานต่างด้าวที่อยู่บริเวณโดยรอบและห่างออกมา การตีวงจํากัดขอบเขตพื้นที่การป้องกันควบคุมโรค ลดความเสี่ยงของชุมชนโดยรอบ ทําให้บริหารจัดการกลุ่มติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฝ้าระวังเจ็บป่วยและตรวจหาเชื้อกลุ่มที่ยังไม่ได้รับตรวจ สื่อสารความเสี่ยงภาษาไทยและเมียนมา เน้นย้ําการสวมหน้ากาก 100 เปอร์เซ็นต์ หลีกเลี่ยงการไปที่ชุมชน งดการเดินทางที่ไม่จําเป็น สังเกตอาการป่วย คนที่เคยไปอําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ให้สังเกตอาการ หากมีอาการขอรับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน และสร้างความร่วมมือภาครัฐภาคเอกชน ประชาชนเพื่อควบคุมการระบาดให้สงบโดยเร็วทั้งนี้ รหัสพันธุกรรมของตลาดแห่งนี้จะเหมือนหรือแตกต่างจากกรณี อ.แม่สอด และ อ.แม่สายหรือไม่ ต้องใช้เวลาในการตรวจอีกประมาณ 2-3 วัน ******************************** 22 ธันวาคม 2563 **************************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เผยบริเวณรอบตลาดกลางกุ้ง อัตราติดโควิดลดลง 3 เท่า วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สธ.เผยบริเวณรอบตลาดกลางกุ้ง อัตราติดโควิดลดลง 3 เท่า กระทรวงสาธารณสุข เผยผู้ป่วยโควิด 19 เพิ่มขึ้น 427 ราย มาจากต่างประเทศเข้ารับการกักกัน 14 ราย ติดเชื้อในประเทศเชื่อมโยงตลาดกลางกุ้ง 16 ราย กระจายใน 8 จังหวัด และแรงงานต่างด้าว 397 ราย ผลการตรวจยังพบการติดเชื้อสูงในตลาดกลางกุ้ง กระทรวงสาธารณสุข เผยผู้ป่วยโควิด 19 เพิ่มขึ้น 427 ราย มาจากต่างประเทศเข้ารับการกักกัน 14 ราย ติดเชื้อในประเทศเชื่อมโยงตลาดกลางกุ้ง 16 ราย กระจายใน 8 จังหวัด และแรงงานต่างด้าว 397 ราย ผลการตรวจยังพบการติดเชื้อสูงในตลาดกลางกุ้ง ส่วนบริเวณโดยรอบการติดเชื้อลดลง 3 เท่า ส่วนจังหวัดที่พบผู้ป่วยเชื่อมโยงตลาดกลางกุ้ง มี 1 รายที่เป็นผู้สัมผัสในครอบครัว เดินหน้าค้นหาผู้ป่วยโดยรอบเพิ่มขึ้น วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) และนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อํานวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โควิด 19 โดยนายแพทย์ทวีศิลป์กล่าวว่า วันนี้มีผู้ป่วยโควิด 19 รายใหม่เพิ่มขึ้น 427 ราย หายป่วยเพิ่ม 25 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 5,716 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 3,798 ราย มาจากต่างประเทศ 1,918 ราย หายกลับบ้านรวม 4,078 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 1,578 ราย และเสียชีวิตรวม 60 ราย ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็น 1.ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้ากักกัน 14 รายได้แก่ ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา ประเทศละ 3 ราย ซูดาน 2 ราย สวิตเซอร์แลนด์ บาห์เรน เยอรมนี ฝรั่งเศส คูเวต และปากีสถาน ประเทศละ 1 ราย เป็นคนไทย 10 ราย และคนต่างชาติ 4 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามระบบ 2.ผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 16 รายมีประวัติเชื่อมโยงกับตลาดกุ้ง จ.สมุทรสาคร เป็นชายไทย 4 ราย และหญิงไทย 12 ราย กระจายในกทม. 5 ราย สระบุรี 3 ราย ปทุมธานีและสมุทรปราการจังหวัดละ 2 ราย ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี อุตรดิตถ์ และนครปฐม จังหวัดละ 1 ราย ผู้ติดเชื้อมีอาการ 11 ราย ส่วนใหญ่มีไข้ ไอ น้ํามูก เจ็บคอ เสมหะ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส และติดเชื้อไม่มีอาการ 5 ราย และ 3.การติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุก)397 ราย โดยร้อยละ 90 ติดเชื้อไม่มีอาการ นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า จากการวิเคราะห์การติดเชื้อโควิด 19 พื้นที่ จ.สมุทรสาคร พื้นที่ไข่แดงที่มีการติดเชื้อสูงคือบริเวณตลาดกลางกุ้ง อัตราการติดเชื้อประมาณร้อยละ 44 บริเวณโดยรอบห่างออกมาการติดเชื้อลดลง คือ ตลาดทะเลไทยร้อยละ 14 และชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 ร้อยละ 8 โดยมีแผนจะตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาในการตรวจและทยอยรายงานผล สําหรับผู้ที่ไปซื้อสินค้าประจําที่ตลาดกลางกุ้งประมาณพันคนกระจายไปจังหวัดต่างๆ จากการสอบสวนโรคพบเดินทางมาจาก 23 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กทม. สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง สงขลา และอุตรดิตถ์ เพื่อแจ้งเตือนให้จังหวัดเหล่านี้ ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคและค้นหาผู้มีประวัติเสี่ยงเดินทางเข้ามา นพ.ทวีศิลป์กล่าวต่อว่า สําหรับผู้ที่มีประวัติเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งช่วง 14 วันก่อนมีอาการ คือ เดินทางมาจากเขตติดโรคหรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง คือ สมุทรสาคร ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรคหรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยยืนยัน และเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน ขอให้มารับการตรวจที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน โดยหากแพทย์พิจารณาว่ามีความเสี่ยง หรือมีอาการโควิด 19 อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ํามูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยปอดอักเสบ จะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สําหรับการตรวจเชิงรุกจะทยอยตรวจให้ได้ 10,300 คนในเบื้องต้น ส่วนที่ไม่ตรวจแรงงานเมียนมาทั้งหมดเป็นแสนคนนั้น ทางระบาดวิทยาระบุว่า ไม่จําเป็นต้องตรวจทั้งหมด แต่จะเน้นกลุ่มที่มีอาการสงสัย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่เราจะออกแบบเพื่อไปวางระบบในการตรวจเหมือนกรณีการวางแผนสุ่มตรวจที่ จ.ภูเก็ต อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชนในการคงมาตรการ คือ สวมหน้ากาก หมั่นล้างมือ สแกนชื่อด้วยไทยชนะ สําหรับสถานการณ์โควิด 19 ทั่วโลกวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรวม 77,715,069 ราย เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 534,219 ราย เสียชีวิต 1,708,919 ราย อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 18,473,716 รายอินเดีย 10,075,422 ราย บราซิล 7,264,221 ราย รัสเซีย 2,877,727 ราย ฝรั่งเศส 2,479,151 ราย ขณะที่อาเซียน แนวโน้มประเทศมาเลเซียพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000 ราย จึงต้องเฝ้าระวังชายแดนภาคใต้ นายแพทย์โสภณกล่าวว่า การสอบสวนโรคพื้นที่ จ.สมุทรสาครจากกรณีหญิงไทยอายุ 67 ปี มีการติดเชื้อจากกลุ่มนี้รวม 13 ราย เป็นคนไทย 9 ราย และเมียนมา 4 ราย และขยายการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก โดยคัดกรองแรงงานเมียนมาที่พักอาศัยบริเวณโดยรอบ ได้แก่บริเวณตลาดกลางกุ้งเก็บตัวอย่าง 2,051 ราย ผลบวก 914 รายคิดเป็นร้อยละ 44 อัตราการติดเชื้อสูง เนื่องจากการอยู่อาศัยแบบแออัด และตรวจติดตามสถานที่ที่มีโอกาสพบแรงงานเมียนมาไปทํางานหรือใช้บริการ คือตลาดทะเลไทย เก็บตัวอย่าง 653 ราย พบติดเชื้อ 91 รายคิดเป็นร้อยละ 14 ถือว่าต่ํากว่าจุดเกิดเหตุการณ์ระบาดครั้งแรก 3 เท่า อีกจุดคือชุมชนซอยเศรษฐกิจ 13 เก็บตัวอย่าง 1,099 ราย ติดเชื้อ 84 รายคิดเป็นร้อยละ 8 การสอบสวนโรคดังกล่าวช่วยให้ยับยั้งลดความเร็วการแพร่เชื้อได้สรุปภาพรวมผลการตรวจค้นหาผู้ป่วยจํานวน 5,066 ตัวอย่าง ผลออก 3,803 ตัวอย่าง พบเชื้อ 1,089 รายคิดเป็นร้อยละ 29 คาดว่าเมื่อมีการตรวจตัวอย่างที่เหลือและรายงานผลเพิ่มจะทําให้อัตราการติดเชื้อลดลง เนื่องจากมีการตรวจในสถานที่ห่างจากศูนย์กลางการระบาดมากขึ้น สําหรับจังหวัดที่มีผู้ป่วยโควิด 19 เชื่อมโยงกับตลาดกุ้ง รวม 66 ราย ได้แก่ สมุทรสาคร 39 ราย นครปฐม 6 ราย สมุทรปราการ 3 ราย สระบุรี 3 ราย ฉะเชิงเทรา 1 ราย ปทุมธานี 3 ราย เพชรบุรี 1 ราย อุตรดิตถ์ 1 รายและกทม. 9 ราย โดยทั้งหมดมีประวัติเกี่ยวข้องกับตลาดกลางกุ้ง มีเพียง 1 ราย ที่เป็นผู้สัมผัสในครอบครัวของผู้ไปตลาดกลางกุ้ง สําหรับหอพักที่ได้กักกันแยกผู้มีโอกาสรับเชื้อไว้อยู่ในสถานที่พักเพื่อความปลอดภัยของชุมชนโดยรอบ มีทีมแพทย์จากสถาบันบําราศนราดูรและโรงพยาบาลสมุทรสาครเข้าไปดูแลทุกวัน มีการให้ความรู้การดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่ถูกกักกัน ผู้ที่มีไข้ อาการระบบทางเดินหายใจ จะได้รับการตรวจโดยแพทย์ ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90 ไม่มีอาการ หากมีอาการมากจะส่งต่อไปโรงพยาบาล ทําให้สามารถบริหารจัดการคนติดเชื้อจํานวนมาก นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการควบคุมโรค เน้นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ โดยจะมีการตรวจคัดกรองสถานที่อื่น เช่น ที่พักแรงงานต่างด้าวที่อยู่บริเวณโดยรอบและห่างออกมา การตีวงจํากัดขอบเขตพื้นที่การป้องกันควบคุมโรค ลดความเสี่ยงของชุมชนโดยรอบ ทําให้บริหารจัดการกลุ่มติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฝ้าระวังเจ็บป่วยและตรวจหาเชื้อกลุ่มที่ยังไม่ได้รับตรวจ สื่อสารความเสี่ยงภาษาไทยและเมียนมา เน้นย้ําการสวมหน้ากาก 100 เปอร์เซ็นต์ หลีกเลี่ยงการไปที่ชุมชน งดการเดินทางที่ไม่จําเป็น สังเกตอาการป่วย คนที่เคยไปอําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ให้สังเกตอาการ หากมีอาการขอรับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน และสร้างความร่วมมือภาครัฐภาคเอกชน ประชาชนเพื่อควบคุมการระบาดให้สงบโดยเร็วทั้งนี้ รหัสพันธุกรรมของตลาดแห่งนี้จะเหมือนหรือแตกต่างจากกรณี อ.แม่สอด และ อ.แม่สายหรือไม่ ต้องใช้เวลาในการตรวจอีกประมาณ 2-3 วัน ******************************** 22 ธันวาคม 2563 **************************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37835
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 8/2563
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 การประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 8/2563 รองปลัด กษ. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 8/2563 นายอําพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 8/2563 ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนจากสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติและคณะทํางานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม โดยการประชุมดังกล่าว มีการพิจารณาข้ออุทธรณ์ตามระเบียบว่าด้วยการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2563 จํานวน 4 เรื่อง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 8/2563 วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 การประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 8/2563 รองปลัด กษ. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 8/2563 นายอําพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ครั้งที่ 8/2563 ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนจากสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติและคณะทํางานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม โดยการประชุมดังกล่าว มีการพิจารณาข้ออุทธรณ์ตามระเบียบว่าด้วยการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2563 จํานวน 4 เรื่อง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37824
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ กำชับเร่งแก้ PM 2.5 ลดผลกระทบด้านสุขภาพประชาชน
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 นายกฯ กําชับเร่งแก้ PM 2.5 ลดผลกระทบด้านสุขภาพประชาชน วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยประชาชนที่อาศัยและทํากิจกรรมในพื้นที่ที่สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 รุนแรง โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง เช่น ยานพาหนะ อุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง การก่อสร้างและผังเมืองและภาคครัวเรือน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ รวมทั้งแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 12 มาตรการ พร้อมกับขอให้ช่วยประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ปัญหาและดูแลป้องกันตนเองจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ กำชับเร่งแก้ PM 2.5 ลดผลกระทบด้านสุขภาพประชาชน วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 นายกฯ กําชับเร่งแก้ PM 2.5 ลดผลกระทบด้านสุขภาพประชาชน วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยประชาชนที่อาศัยและทํากิจกรรมในพื้นที่ที่สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 รุนแรง โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง เช่น ยานพาหนะ อุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง การก่อสร้างและผังเมืองและภาคครัวเรือน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ รวมทั้งแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 12 มาตรการ พร้อมกับขอให้ช่วยประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ปัญหาและดูแลป้องกันตนเองจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37797
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 ธันวาคม 2563
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 ธันวาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี http://www.thaigov.go.th (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง) วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 09.00 น.ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบางบ่อ และตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจําตําแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาลค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. .... 11. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กําหนด (ฉบับที่..) พ.ศ. .... 14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... 15. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเพิ่มระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ 16. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. .... เศรษฐกิจ - สังคม 17. เรื่อง เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 18. เรื่อง การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงยุติธรรม 19. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการตามมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 20. เรื่อง รายงานผลการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลโดยการดําเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1 21. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนพฤศจิกายน 2563 22. เรื่อง รายงานผลการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ ประจําปีบัญชี 2562 23. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ ของกระทรวงคมนาคม 24. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลกระทบจากประกาศ คสช. คําสั่ง คสช. และคําสั่งหัวหน้า คสช. ศึกษากรณีการดําเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร การจํากัดเสรีภาพ การแสดงออกและการจํากัดเสรีภาพสื่อมวลชน 25. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา 26. เรื่อง รายงานผลการกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 27. เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2565 - 2568) 28. เรื่อง การจัดทํางบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอํานาจกํากับแผนงานบูรณาการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 29. เรื่อง การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ 30. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สําหรับประชาชน ปี 2564 31. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ของกระทรวงแรงงาน ปี 2564 32. เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกําหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก(บางพลี – สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2564 33. เรื่อง ของขวัญปีใหม่สําหรับประชาชน ประจําปี 2564 กระทรวงพลังงาน 34. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ ปี 2564 (กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กรมประชาสัมพันธ์ และสํานักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง) ต่างประเทศ 35. เรื่อง การลงนามหนังสือความร่วมมือด้านการต่อต้านอาชญากรรมยาเสพติด ระหว่างสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สํานักงาน ป.ป.ส.) และสํานักข่าวกรองแห่งชาติ สาธารณรัฐเกาหลี 36. เรื่อง บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ของประเทศไทยสําหรับการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 รอบที่ 2 37. เรื่อง การจัดทําบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 38. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 14 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 7 รวมทั้งการประชุมที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้ง 39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย) 40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักนายกรัฐมนตรี) 42. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 43. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ) 44. เรื่อง การต่อเวลาการดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (กระทรวงวัฒนธรรม) 45. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข) 46. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 47. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง 48. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์ 49. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง 50. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง) 51. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ******************* สํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดําเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และรับทราบแผนในการจัดทํากฎหมายลําดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสําคัญของกฎหมายลําดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่ อว. เสนอ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ อว. เสนอ เป็นการกําหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยสร้างกลไกให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐได้ เพื่อให้มีการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. กําหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเฉพาะกับการให้ทุนของหน่วยงานของรัฐที่มีวัตถุประสงค์หรือหน้าที่และอํานาจในการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ยกเว้นกรณีการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานตามหน้าที่และอํานาจของหน่วยงานรัฐ การวิจัยและนวัตกรรมซึ่งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐให้ทุนโดยใช้เงินรายได้ของตน การวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาวุธยุทโธปกรณ์ การวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติหรือประชาชนชาวไทยโดยรวมหรือจะต้องใช้เป็นพื้นฐานสําคัญของการวิจัยอื่น ซึ่งไม่สมควรให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นของบุคคลใดหรือองค์กรใดเป็นการเฉพาะ และการวิจัยและนวัตกรรมอื่นตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา 2. กําหนดให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมได้ รวมทั้งกําหนดหน้าที่ในการบริหารจัดการและการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ การจัดสรรรายได้จากการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และกลไกของหน่วยงานภาครัฐในการติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม 3. กําหนดหลักเกณฑ์ในการโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรมของผู้รับทุน หรือนักวิจัยซึ่งเป็นเจ้าของผลงานให้แก่บุคคลอื่น และกําหนดหน้าที่ของผู้รับโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ 4. กําหนดให้ผู้ซึ่งประสงค์จะใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยและนวัตกรรม สามารถขออนุญาตใช้ประโยชน์ได้โดยเสนอเงื่อนไขและค่าตอบแทนที่เพียงพอตามพฤติการณ์แห่งกรณี 5. กําหนดให้อํานาจนายกรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีในการออกคําสั่ง ให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมใด ๆ ที่เกิดจากทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมของรัฐ 6. กําหนดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอํานาจพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัตินี้ 2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 2. รับทราบแผนในการจัดทํากฎหมายลําดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสําคัญของกฎหมายลําดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่ สธ. เสนอ 3. ให้ สธ. รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า 1. ด้วยในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้แพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางไปทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) ซึ่งประเทศไทยได้ดําเนินการโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย และประกาศให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรบางท้องที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย รวมทั้งได้มีการอาศัยอํานาจตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร และได้ออกข้อกําหนด ประกาศและคําสั่งตามพระราชกําหนดดังกล่าวเพื่อให้ส่วนราชการนําไปดําเนินการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีแนวโน้มที่จะดําเนินต่อไปเป็นระยะเวลานาน ซึ่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สามารถรองรับหรือใช้บังคับกับบางสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือโรคติดต่อได้ ทําให้มาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งหากมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตามข้อ 1. แล้ว ย่อมส่งผลให้ข้อกําหนด ประกาศ และคําสั่งที่ได้ออกตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ถูกยกเลิกตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อให้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 สามารถใช้ดําเนินการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 หรือโรคติดต่อได้อย่างทันสถานการณ์และมีประสิทธิภาพ จึงมีความจําเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้มีความครอบคลุมและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ รวมทั้งกําหนดโทษสําหรับผู้ที่ฝ่าฝืนคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่ให้แยกกัก หรือกักกันโรค หรือผู้ที่ไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคเมื่อพบว่าตนเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้ผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศหลีกเลี่ยงการกักตัวโดยหน่วยงานของรัฐ 3. สธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้โดยจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค (www.ddc.moph.go.th) ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2563 และระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 13 กันยายน 2563 และ สธ. ได้จัดทําสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย พร้อมทั้งได้เปิดเผยเอกสารดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. กําหนดให้อธิบดีกรมควบคุมโรคมีอํานาจประกาศท้องที่หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักรที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด เฉพาะในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนหรือฉุกเฉินอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่เข้ามาในราชอาณาจักร 2. กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้มา เข้าถึง การเก็บรักษา การนําไปใช้การกํากับดูแล หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรค หรือผู้ที่เป็นพาหะ 3. กําหนดให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีอํานาจกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่กักกันหรือแยกกักโรค รวมทั้งมีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวจะมีอํานาจดําเนินการในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข หรือในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้น และโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดดังกล่าวได้แพร่อย่างรวดเร็วหรือกว้างขวาง 4. กําหนดให้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีอํานาจสั่งการหรือมอบหมายให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในพื้นที่ของตน รวมทั้งมีอํานาจสั่งการผู้ใดหรือกลุ่มบุคคลใด ให้ดําเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด 5. กําหนดเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร และคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น 6. กําหนดให้ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น ให้ผู้ที่พบว่าตนเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคดังกล่าวมีหน้าที่แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ 7. กําหนดให้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีอํานาจออกคําสั่งห้ามผู้ใดทํากิจกรรมหรือกิจการที่อาจก่อให้การแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด รวมทั้งมีอํานาจออกคําสั่งให้เจ้าของผู้ครอบครอง หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่ใด ๆ ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด 8. กําหนดให้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือกรณีที่โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดได้แพร่อย่างรวดเร็วหรือกว้างขวาง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอํานาจออกประกาศหรือคําสั่งให้ผู้ใดหรือกลุ่มบุคคลใดดําเนินการหรือละเว้นการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม 9. กําหนดโทษสําหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ดําเนินการตามคําสั่งหรือข้อกําหนดตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ทั้งนี้ สผ. เสนอว่า 1. โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 180 บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตําแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า และทรงให้พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่กรณีพ้นจากตําแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือพ้นจากราชการเพราะถูกลงโทษ แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 มาตรา 42 (2) บัญญัติให้การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และมาตรา 86 บัญญัติให้การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตาย ให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ กรณีจึงไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 180 เนื่องจากเป็นกฎหมายซึ่งตราขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีผลใช้บังคับ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 ในมาตรา 42 และมาตรา 86 ที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตําแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา ในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2563 วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการข้าราชการรัฐสภากฎหมายและระเบียบ (อ.กร. กฎหมายและระเบียบ) ด้วยแล้ว 3. สผ. ได้ดําเนินการตามแนวทางการจัดทําและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผ่านทางเว็บไซต์ www.parliament.go.th ระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2563 และจัดให้มีการส่งความเห็นทางระบบสอบถามและระบบประเมินออนไลน์ของสํานักงานสารสนเทศ รวมทั้งได้จัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดําเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะเกิดผลกระทบและประโยชน์ ดังนี้ 3.1 ผลประโยชน์แก่ประเทศ สังคม และประชาชน ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการประชาชน และมิได้เป็นการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน แต่การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตําแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญดังกล่าว จะส่งผลให้ส่วนราชการมีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะช่วยให้การดําเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ลดปัญหาการตีความข้อกฎหมาย 3.2 ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่มีอัตรากําลังคนที่ต้องใช้เพิ่ม เนื่องจากเป็นกรณีที่ส่วนราชการต้องดําเนินการตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตําแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับขั้นตอนในการดําเนินการหรือเสนอเรื่อง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 ดังนี้ 1. กําหนดให้การบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี นําเสนอคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาแล้ว ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง 2. กําหนดให้การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดํารงตําแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตําแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือออกจากราชการเพราะถูกลงโทษ 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสํานักงบประมาณและสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง กําหนดให้การใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี ถ้ายานยนตร์นั้นจะต้องผ่านสถานที่ที่จัดเก็บค่าธรรมเนียม ผู้ใช้ยานยนตร์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง ณ สถานที่ที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมนั้น โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะออกบัตรไว้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงว่าผู้ใช้ยานยนตร์นั้นได้เสียค่าธรรมเนียมแล้ว หรือชําระค่าธรรมเนียมผ่านบัตรอัตโนมัติหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่อธิบดีกรมทางหลวงประกาศกําหนด ทั้งนี้ คค. เสนอว่า 1. โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี สรุปได้ดังนี้ 1.1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้ผู้ใช้ยานยนตร์ต้องชําระเงินค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยเงินสด 1.2 กฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กําหนดเพิ่มวิธีการเสียค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์โดยการชําระเงินผ่านบัตรอัตโนมัติได้อีกวิธีหนึ่ง เพื่ออํานวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกในการชําระค่าธรรมเนียมแก่ประชาชนผู้ใช้ยานยนตร์ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 1.3 กฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี พ.ศ. 2558 ออกตามความในมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้ผู้ใช้ยานยนตร์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยเงินสดหรือโดยชําระเงินผ่านบัตรอัตโนมัติ 2. เนื่องจากปริมาณการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เดิมเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีปริมาณจราจรผ่านด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางเฉลี่ยประมาณ 57,000 คันต่อวัน ในปี พ.ศ. 2562 มีปริมาณจราจรมากกว่า 300,000 คันต่อวัน ทําให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด แออัด บริเวณหน้าด่านเก็บค่าธรรมเนียม กรมทางหลวงได้แก้ปัญหาดังกล่าว โดยได้เพิ่มจํานวนช่องจราจรและช่องเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง แต่การเพิ่มจํานวนช่องเก็บเงินมีข้อจํากัดที่สําคัญ คือ พื้นที่และการเวนคืนพื้นที่สําหรับการก่อสร้าง ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดําเนินการก่อสร้างขยายช่องเก็บเงินจนเต็มพื้นที่เขตทางเกือบทั้งหมดแล้ว อีกทั้งได้ดําเนินการใช้ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection System) แบบมีไม้กั้นเรียกว่าระบบ M-Pass พร้อมทั้งได้เชื่อมต่อระบบ M-Pass เข้ากับระบบ Easy-Pass ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งในรถ (On Board Unit : OBU) ร่วมกัน นอกจากนี้ แม้จะได้ปรับปรุงสภาพทางกายภาพของด่านเก็บค่าธรรมเนียม การเพิ่มเจ้าหน้าที่บริหารจัดการการจราจรบริเวณหน้าด่านแล้วก็ตาม ก็ยังไม่เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดที่หน้าด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง 3. กรมทางหลวงจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทําการศึกษาพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัจฉริยะ ผลการศึกษาเทคโนโลยีการจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่าความสามารถในการระบายรถของการจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางในรูปแบบต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน ดังนี้ 3.1 การจัดเก็บด้วยเงินสด (Manual Toll Collection System : MTC) ระบายรถได้ประมาณ 400 – 550 คัน/ช่อง/ชั่วโมง 3.2 การจัดเก็บแบบอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection : ETC) แบบมีไม้กั้น ซึ่งเป็นการชําระเงินผ่านบัตรอัตโนมัติ (M-Pass) ระบายรถได้ประมาณ 800 – 900 คัน/ช่อง/ชั่วโมง 3.3 การจัดเก็บแบบอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้นในรูปแบบของช่องทางเดี่ยว (Single Lane Free-Flow : SLFF) ระบายรถได้ประมาณ 1,200 – 1,500 คัน/ช่อง/ชั่วโมง 3.4 การจัดเก็บแบบอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้นในรูปแบบหลายช่องทาง (Multi Lane Free-Flow : MLFF) ระบายรถได้มากกว่า 2,000 คัน/ช่อง/ชั่วโมง 4. ที่ปรึกษามีความเห็นว่าแนวทางการพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 แบบไม่มีไม้กั้น ซึ่งมีการปรับใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยอาศัยเทคโนโลยีระบบปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบการอ่านหมายเลขทะเบียนรถอัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition : ALPR) ร่วมกับการตรวจจับยานพาหนะอัตโนมัติ (Automatic Vehicle Identification : AVI) เพื่อใช้ตรวจสอบยานพาหนะและระบุตัวตนผู้ใช้บริการและมีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางภายหลังการใช้บริการ (Post – Paid) ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถดําเนินการชําระค่าผ่านทางได้ผ่านหลากหลายช่องทางการชําระเงิน เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต การตัดเงินผ่านบัญชีธนาคาร แอปพลิเคชันของธนาคาร และการใช้ QR Code เป็นต้น และเพื่อให้สอดคล้องกับการดําเนินงานของกรมทางหลวง ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น จึงใช้ชื่อว่า “ระบบ M – Flow” โดยจะเริ่มดําเนินการนําร่องบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ที่ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 สําหรับรถยนต์ทุกชนิดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทางหลวงพิเศษ 5. กรมทางหลวงจึงได้ดําเนินโครงการ “งานติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow System Infrastructure)” บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 รวมถึงโครงการ “งานจ้างบริหารจัดการระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M – Flow) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9” โดยว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบและสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรมทางหลวงในด้านเทคนิคสําหรับการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้นดังกล่าว ตามแผนจะดําเนินการจัดหาผู้รับจ้างเพื่อจัดหาและติดตั้งระบบงานต่าง ๆ และเปิดให้บริการระบบ M – Flow ภายในต้นปี พ.ศ. 2564 โดยใช้แหล่งเงินจากทุนหมุนเวียนค่าธรรมเนียมที่กรมทางหลวงจัดเก็บได้ ทั้งนี้ การนําระบบเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Free Flow) มาใช้ในการจัดเก็บและชําระค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นการเพิ่มวิธีการเสียค่าธรรมเนียมโดยการชําระค่าธรรมเนียมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแตกต่างจากระบบเก็บค่าธรรมเนียมแบบบัตรอัตโนมัติ M – PASS ตามกฎกระทรวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน จึงจําเป็นต้องเสนอขอออกกฎกระทรวงนี้ 6. คค. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้แล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ 5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (คค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทํากฎหมายลําดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสําคัญของกฎหมายลําดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่ คค. เสนอ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ คค. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 โดยกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตประกาศกําหนด สามารถเป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตได้ เพื่อรองรับธุรกรรม/นวัตกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นใหม่ (Final Technology) ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และการกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นตัวกลางที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อสามารถนําส่งข้อมูลเครดิตของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และกลุ่มธุรกิจที่ตั้งต้นใหม่ (Start-up) ให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต ซึ่งจะทําให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมีข้อมูลประวัติทางการเงินในระบบ อันจะช่วยให้มีโอกาสได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น ๆ มากยิ่งขึ้นในอนาคต รวมถึงช่วยลดการกู้ยืมหนี้นอกระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่ม Start-up ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ เพราะไม่มีประวัติการขอสินเชื่อในฐานข้อมูลของระบบข้อมูลเครดิต โดย คค. ได้ดําเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทําร่างกฎหมาย และเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดําเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคําว่า “ข้อมูลเครดิต” และบทนิยามคําว่า “สมาชิก” และเพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ” 2. แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการและข้อห้ามในการเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกหรือผู้ใช้บริการ ดังนี้ 2.1 กําหนดให้บริษัทข้อมูลเครดิตแจ้งเป็นหนังสือแก่เจ้าของข้อมูลทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันเปิดเผยหรือให้ข้อมูล เว้นแต่เป็นข้อมูลโดยรวมของสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใด (สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อที่บริษัทข้อมูลเครดิตรับเข้าเป็นสมาชิก) ให้แจ้งแก่สมาชิกผู้นั้นทราบ 2.2 ห้ามมิให้บุคคลดังต่อไปนี้เปิดเผยข้อมูล (1) บริษัทข้อมูลเครดิต ผู้ควบคุมข้อมูล ผู้ประมวลผลข้อมูล สมาชิก หรือผู้ใช้บริการ (2) ผู้ซึ่งรู้ข้อมูลจากการทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ตาม (1) (3) ผู้ซึ่งรู้ข้อมูลจากบุคคลตาม (1) และ (2) 3. กําหนดหน้าที่ของผู้ใช้บริการในการใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กําหนด เช่น การใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อ การออกบัตรเครดิต การนําข้อมูลของลูกค้ามาจัดทําแบบจําลองด้านเครดิตของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ และต้องไม่เปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิรับรู้ข้อมูล 4. กําหนดสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อไว้เป็นการเฉพาะ ดังนี้ 4.1 กําหนดให้บริษัทข้อมูลเครดิตเปิดเผยหรือให้ข้อมูลแก่สมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อได้เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อแทนผู้จะให้สินเชื่อเท่านั้น 4.2 กําหนดให้สมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อนําข้อมูลของลูกค้าของตนที่ได้รับจากบริษัทข้อมูลเครดิตมาใช้จัดทําแบบจําลองด้านเครดิตได้ 4.3 กําหนดให้สมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อต้องแสดงเหตุผลในการปฏิเสธการให้บริการหรือการขึ้นค่าบริการโดยเหตุอันเนื่องมาจากการได้รับรู้ข้อมูลของลูกค้าผู้ขอสินเชื่อ รวมทั้งแหล่งที่มาของข้อมูลดังกล่าว ให้ลูกค้ารายนั้นทราบเป็นหนังสือ 5. แก้ไขเพิ่มเติมบทกําหนดโทษให้สอดคล้องกับการกําหนดหลักเกณฑ์ให้สมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อถือปฏิบัติ ดังนี้ 5.1 กําหนดโทษสําหรับสมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ หากนําข้อมูลของลูกค้าไปใช้ในกรณีจัดทําแบบจําลองด้านเครดิตที่นอกเหนือจากเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อแทนผู้ที่จะให้สินเชื่อ และการบริหารความเสี่ยงในกิจการของผู้ที่จะให้สินเชื่อ 5.2 กําหนดโทษสําหรับสถาบันการเงิน สมาชิก หรือผู้ใช้บริการ หากไม่แสดงเหตุผลในการปฏิเสธการให้บริการหรือการขึ้นค่าบริการโดยเหตุอันเนื่องมาจากการได้รับรู้ข้อมูลของลูกค้าผู้ขอสินเชื่อ รวมทั้งแหล่งที่มาของข้อมูลดังกล่าว ให้ลูกค้ารายนั้นทราบเป็นหนังสือ 6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบางบ่อ และตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบางบ่อ และตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ โดยให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย และให้ คค. ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตราร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างหรือขยายถนนโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ คค. เสนอว่า 1. สืบเนื่องจากพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบางบ่อและตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2555 เพื่อสร้างทางหลวงชนบทสายเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท สป. 2003 กับทางหลวงชนบท ฉช. 3001 ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 มีกําหนดระยะเวลาการใช้บังคับ 4 ปี (ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559) ได้สิ้นผลการบังคับใช้แล้ว ทําให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาใช้บังคับได้ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนต้องดําเนินโครงการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) จึงได้ชะลอการดําเนินโครงการไว้ก่อน ซึ่งปัจจุบันกรมทางหลวงชนบทมีความพร้อมที่จะดําเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท สป. 2003 กับทางหลวงชนบท ฉช. 3001 2. ต่อมากรมทางหลวงชนบทได้รับงบประมาณในการสํารวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ภายหลังจากพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1. สิ้นผลใช้บังคับแล้ว จึงได้สํารวจและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างทางหลวงชนบทสายเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท สป. 2003 กับทางหลวงชนบท ฉช. 3001 เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายถนนโลจิสติกส์ และการขนส่งในพื้นที่เพื่อให้สอดรับกับสนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบกับพื้นที่สองข้างทางของถนนดังกล่าวมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีหอพักจํานวนมาก และมีหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่หลายโครงการ จึงต้องมีการพัฒนาโครงข่ายถนนที่มีอยู่แล้วให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น 3. กรมทางหลวงชนบทมีความจําเป็นจะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้การสร้างทางหลวงชนบทตามโครงการดังกล่าวเป็นไปตามแผนการที่กําหนดไว้ และเพื่ออํานวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งทางบกอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด 4. กรมทางหลวงชนบทได้ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการดําเนินโครงการ พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่า 816.19 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) มีค่า 17.51 % อัตราผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) มีค่า 1.52 ซึ่งถือได้ว่าโครงการดังกล่าวนี้มีความเหมาะสมในการดําเนินการ และหากพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางอ้อมที่เกี่ยวกับการรองรับการขยายตัวของเมืองและการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต โครงการก็จะมีความเหมาะสมมากขึ้นอีก 5. ลักษณะของโครงการ เป็นการก่อสร้างถนนสร้างใหม่ ขนาด 4 ช่องจราจร ชนิดผิวจราจรแอสฟัลติกคอนกรีต ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.00 – 3.00 เมตร พร้อมเกาะกลาง รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 4.864 กิโลเมตร มีที่ดินที่ถูกเวนคืนประมาณ122 ไร่ มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนประมณ 65 รายการ ใช้งบประมาณในการดําเนินโครงการประมาณ 2,625 ล้านบาท แผนการดําเนินการ มีดังนี้ (1) กําหนดราคาและจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ในปี พ.ศ. 2565 - 2566 และ (2) เริ่มดําเนินการก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2567 - 2569ทั้งนี้ ได้ดําเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการก่อสร้างถนนสายดังกล่าว ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนพ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งผลการรับฟังความคิดเห็นโดยรวมมีผู้เห็นด้วยกับโครงการ ร้อยละ 68.97 ทั้งนี้ สํานักงบประมาณแจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณให้ตามความจําเป็นและเหมาะสม เพื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตําบลบางบ่อ และตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสร้างทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท สป. 2003 กับทางหลวงชนบท ฉช. 3001 มีส่วนแคบที่สุด 200 เมตร และส่วนกว้างที่สุด 1,600 เมตร 7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจําตําแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจําตําแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ อว. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจําตําแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกําหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น และสภามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กําหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ รง. เสนอว่า 1. โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 มาตรา 4 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวง ประกอบกับมาตรา 24 บัญญัติให้ผู้จ้างงานเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพ ในกรณีที่ผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นที่ใช้ในการทํางานที่ผู้จ้างงานจัดหาหรือส่งมอบให้ หรือเนื่องจากผู้จ้างงานไม่จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในการทํางาน หรือกรณีอุบัติเหตุเนื่องจากการทํางาน ณ สถานที่ทํางาน ทั้งนี้ การจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง รง. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพ ที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... เพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางด้านรายได้ และผู้รับงานไปทําที่บ้านมีโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและเป็นธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้รับความคุ้มครองและมีสวัสดิการการรักษาพยาบาล รวมทั้งเป็นการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2. ในคราวประชุมคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทําที่บ้าน ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1. แล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดให้ผู้รับงานไปทําที่บ้าน ทายาท ผู้จัดการศพ หรือผู้มีส่วนได้เสียแจ้งให้ผู้จ้างงานทราบโดยเร็ว เมื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย พร้อมทั้งแสดงเอกสารในแต่ละกรณี 2. กําหนดให้ผู้จ้างงานจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง 3. กําหนดให้ผู้จ้างงานจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานกรณีผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน ภายหลังการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท 4. กําหนดให้ผู้จ้างงานจ่ายค่าทําศพในอัตรา 40,000 บาท กรณีผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย 5. กําหนดให้ผู้จ้างงานจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือค่าทําศพ แล้วแต่กรณีโดยมิชักช้า นับแต่ได้รับแจ้งเหตุดังกล่าว 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รวมพิจารณาร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กับร่างกฎกระทรวงฯ ที่เป็นเรื่องทํานองเดียวกัน ซึ่งอยู่ระหว่างสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้เป็นฉบับเดียวกัน แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ กษ. เสนอ เป็นการกําหนดให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (สวพส.) ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดําเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคําสั่งทางปกครองได้ อันจะทําให้การบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง กําหนดให้ สวพส. เป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการทางปกครองแทนได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ รง. เสนอ เป็นการกําหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยสําหรับการทํางานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้างในสถานที่ดังกล่าว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดบทนิยาม คําว่า “ทํางานในที่สูง” “นั่งร้าน” และ “อาคาร” 2. กําหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทํางานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทําให้ลูกจ้างพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรับวัสดุ โดยอย่างน้อยต้องระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางาน การวางแผนการปฏิบัติงาน และการป้องกันและควบคุมอันตราย รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีสําเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ 3. กําหนดให้ในการประกอบ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้นายจ้างปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกําหนดไว้ นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย และจัดให้มีการบํารุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตราย 4. กําหนดให้ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในที่สูง นายจ้างต้องดําเนินการให้เหมาะสมกับสภาพของการทํางาน เช่น จัดให้มีนั่งร้าน กรณีที่ลูกจ้างทํางานในที่สูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป ต้องจัดทําราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่ายนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใด กรณีที่ลูกจ้างทํางานในที่สูงเกินหกเมตรขึ้นไปต้องใช้บันไดไต่ชนิดตรึงกับที่ที่มีความสูงเกินหกเมตรขึ้นไปต้องดูแลบันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่ เป็นต้น 5. กําหนดให้กรณีที่มีการลําเลียงวัสดุสิ่งของขึ้นหรือลงจากที่สูง นายจ้างต้องจัดให้มีราง ปล่อง เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมในการลําเลียง เพื่อป้องกันอันตรายจากวัสดุสิ่งของกระเด็นหรือตกหล่น และต้องกําหนดเขตอันตรายในบริเวณพื้นที่ โดยติดป้ายเตือนบริเวณพื้นที่ดังกล่าว 6. กําหนดให้ในกรณีที่ลูกจ้างทํางานในบริเวณหรือสถานที่มีลักษณะที่อาจพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เช่น ถัง บ่อ กรวย และบนภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุที่มีความสูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีสิ่งปิดกั้นที่มั่นคงแข็งแรง จัดทําราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มั่นคงแข็งแรงล้อมรอบภาชนะที่อาจทําให้ลูกจ้างพลัดตกลงไปได้ และต้องให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย หรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทํางานด้วย 11. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 1. ตามที่พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมสาระสําคัญสรุปได้ดังนี้ 1.1 แก้ไขบทนิยามคําว่า “ข้าราชการ” โดยตัด “ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ และข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ” ออกจากบทนิยาม 1.2 แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางโดยพาหนะรับจ้างและพาหนะส่วนตัว 1.3 กําหนดชั้นโดยสารเครื่องบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2. กค. พิจารณาแล้ว เพื่อให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาในข้อ 1. จึงดําเนินการยกร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้มีความเหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างระเบียบ 1. กําหนดให้ปลัดกระทรวงหรือตําแหน่งที่เทียบเท่าสามารถอนุมัติระยะเวลาในการเดินทางไปราชการก่อนเริ่มปฏิบัติราชการหรือหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ในกรณีผู้เดินทางมีความจําเป็นต้องเดินทางเกินกว่าระยะเวลาที่กําหนด 2. กําหนดให้การเดินทางไปราชการในท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้หัวหน้าส่วนราชการใช้ดุลพินิจอนุมัติเบิกจ่ายค่าที่พักสูงกว่าอัตราที่ระเบียบกําหนด เพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละ 25 เฉพาะการเบิกค่าเช่าที่พักแบบจ่ายจริง 3. กําหนดให้การเดินทางไปราชการให้ใช้ยานพาหนะประจําทาง และให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ไม่เกินสิทธิที่ผู้เดินทางจะพึงได้รับตามประเภทของพาหนะที่ใช้เดินทาง โดยให้เบิกค่าพาหนะได้ไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ เว้นแต่มีเหตุจําเป็นต้องเดินทางในเส้นทางอื่น 4. กําหนดผู้เดินทางที่สามารถเบิกเงินค่ารับรองได้เท่าที่จ่ายจริง (ยกเลิกสิทธิในการเบิกค่ารับรองในการเดินทางไปราชการของผู้ดํารงตําแหน่งประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา หรือประธานศาลอุทธรณ์ ออก เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560) 5. กําหนดค่าโดยสารเครื่องบิน กรณีผู้ให้ความช่วยเหลือไม่ออกค่าโดยสารเครื่องบิน หรือได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินเพียงเที่ยวเดียว ให้เบิกค่าโดยสารเครื่องบินไป – กลับ หรือค่าโดยสารเครื่องบินอีกหนึ่งเที่ยว ได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง หรือกรณีได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่นั่งต่ํากว่าสิทธิของผู้เดินทาง ให้เบิกค่าโดยสารเครื่องบินสมทบตามสิทธิของผู้เดินทาง 6. กําหนดการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ โดยการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมกับหัวหน้าคณะผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ และตําแหน่งตามที่กําหนด ต้องไม่เกินสิทธิของหัวหน้าคณะนั้น (ยกเลิกสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของผู้ดํารงตําแหน่งข้าราชการตุลาการและข้าราชการอัยการ และตัดตําแหน่งระดับ 9 ขึ้นไป ออก เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560) 7. ยกเลิกความในบัญชีท้ายระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และกําหนดบัญชีหมายเลขใหม่แทน 12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนแล้วดําเนินการต่อไปได้ รง. เสนอว่า 1. เนื่องจากในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ ทําให้แรงงานโดยเฉพาะครอบครัวมีรายได้ลดลง หรือไม่มีรายได้ ต้องหยุดงานหรือต้องออกจากงาน ในขณะที่รายจ่ายเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดเป็นรายจ่ายที่จําเป็น ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. 2561 เพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร โดยจ่ายให้กับผู้ประกันตนซึ่งเป็นลูกจ้างตามมาตรา 33 และผู้เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไปตามมาตรา 39 2. ในคราวประชุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา (ชุดที่ 13) ครั้งที่ 20/2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการการปรับเพิ่มประโชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมเหมาจ่ายในอัตรา 600 บาท ต่อเดือนต่อบุตร 1 คน เป็นเหมาจ่ายในอัตรา 800 บาทต่อเดือนต่อบุตร 1 คน โดยให้ดําเนินการเสนอเพื่อแก้ไขกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. 2561 ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 และคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันพุธที่ 2 ธันวาคม 2563 และได้รับรองมติการประชุมแล้ว 3. รง. ได้ดําเนินการตามมาตรา 7 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยสัดส่วนการใช้จ่ายเงินกองทุนประกันสังคมในกรณีสงเคราะห์บุตร โดยการจัดเก็บเงินสมทบในอัตราร้อยละ 1 (รัฐบาล) ของค่าจ้าง มีการใช้จ่ายในอัตราร้อยละ 0.62 ยังมีเงินคงเหลือในกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรในอัตราร้อยละ 0.38 การเพิ่มประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรจะทําให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.62 ของค่าจ้างเป็นร้อยละ 0.82 ของค่าจ้างในปี พ.ศ. 2564 ทําให้เหลือเงินสํารองสําหรับการจ่ายบํานาญชราภาพลดลงเหลือร้อยละ 0.18 ซึ่งการเพิ่มประโยชน์ทดแทนสงเคราะห์บุตรดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคมในส่วนของเงินชราภาพอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ การเพิ่มประโยชน์ทดแทนในกรณีดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผู้ประกันตนเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรของผู้ประกันตน ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ประกันตนดีขึ้น และจะทําให้ค่าใช้จ่ายกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคม จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. เพิ่มอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเป็นเงิน “จากเดิมในอัตรา 600 บาทต่อเดือนต่อบุตร 1 คน” เป็นในอัตรา “800 บาท ต่อเดือนต่อบุตร 1 คน” 2. กําหนดให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป 3. ผู้ใดมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรตามกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. 2561 และยังคงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรตามกฎกระทรวงนี้ ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรตามอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวงนี้ นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ 13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กําหนด (ฉบับที่..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กําหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ เป็นการล่วงหน้าแล้ว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวงฯ ให้ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี และตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 4 มกราคม 2564 ทั้งนี้ คค. เสนอว่า เนื่องจากวันหยุดราชการประจําปี กําหนดให้วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม 2563 เป็นวันหยุดสิ้นปี และวันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2564 เป็นวันหยุดขึ้นปีใหม่ ทําให้มีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2564 รวม 4 วัน ดังนั้นจึงคาดหมายได้ว่าจะมีประชาชนจํานวนมากเดินทางกลับภูมิลําเนา เป็นผลให้การจราจรติดขัดในทุกสายทางที่ออกและเข้ากรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเฉพาะบริเวณหน้าด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางซึ่งคาดว่าจะมีปัญหาจราจรติดขัดยาวหลายกิโลเมตร เนื่องจากประชาชนรอชําระค่าธรรมเนียมผ่านทางการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี และตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน การยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทําให้การจราจรมีความคล่องตัว ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือCovid -19รวมทั้งเป็นการลดการใช้พลังงานของประเทศ และลดมลพิษทางอากาศ จึงเห็นสมควรให้ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 4 มกราคม 2564 14. ร่างกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ ร่างกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... สาระสําคัญ ดังนี้ 1) ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2546 และยกเลิกกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2556 2) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 ให้รัฐบาลนายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.05 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละร้อยละ 1.85 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลปรับเป็น ร้อยละ 1.45 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลปรับเป็น ร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตนตามบัญชี ก. 3) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยกรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี ข. 15. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเพิ่มระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเพิ่มระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ทั้งนี้ มท. เสนอว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 16/2563 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 มีมติเห็นชอบให้เพิ่มระยะเวลาการพํานักในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเป็นระยะเวลา 15 วัน สําหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามที่กําหนดในมาตรา 34 (4) (8) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา ตามข้อ 13 (3) และ (4) แห่งกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และมอบหมายให้ มท. ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง มท. พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ทั้งประเภทที่ต้องได้รับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลและประเภทที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา ซึ่งมีระยะเวลาการพํานักในราชอาณาจักรไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยคนต่างด้าวดังกล่าวต้องเข้ารับการกักกันเป็นเวลา 14 วัน ทําให้มีระยะเวลาไม่เพียงพอสําหรับการดําเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับการอนุญาต จึงเห็นควรขยายระยะเวลาการพํานักในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวประเภทดังกล่าวอีก 15 วัน รวมเป็น 45 วัน ตั้งแต่วันที่ .. ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 16. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ทั้งนี้ รง. เสนอว่า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประกอบกับจากสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครซึ่งมีจํานวนแรงงานต่างด้าวที่มาประกอบอาชีพเป็นจํานวนมาก โดยพบมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่า 6 จังหวัดที่จะได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นจังหวัดพื้นที่โดยรอบจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม ราชบุรี และสมุทรสงคราม ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเป็นภัยอันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านสาธารณสุข และระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อนายจ้างทําให้ต้องหยุดกิจการชั่วคราวและลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้าง จึงเห็นควรนําเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร่งด่วน สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป 2. “เหตุสุดวิสัย” หมายความรวมถึง ภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และถึงขนาดที่ผู้ประกันตนไม่สามารถทํางานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ 3. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามกฎกระทรวงนี้ 4. ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เป็นผลกระทบให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้าง มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่ ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีปฏิทินมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยทุกครั้งรวมกันไม่เกินเก้าสิบวัน เศรษฐกิจ - สังคม 17. เรื่อง เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 พร้อมข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกําหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสําหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสําหรับปี 2564 ซึ่งกําหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 – 3 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรายงานว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะประธาน กนง. ได้ประชุมหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้เห็นชอบร่วมกันในการกําหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสําหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสําหรับปี 2564 โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. หลักการดําเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น บริบทของเศรษฐกิจโลกและไทยที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไทยในระยะข้างหน้าเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงทั้งจากปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน ได้แก่ (1) เศรษฐกิจโลกและไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าตามการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เผชิญข้อจํากัดมากขึ้นจากมาตรการคุมการระบาด (2) ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความผันผวนของราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกและการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความขัดแย้งทางการค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ทําให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และ (3) การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ e- Commerce และการนําเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานในกระบวนการผลิต (Automation) หลังการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ยังเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อให้ต่ําลงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 ที่ได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนสูง กระทรวงการคลัง (กค.)และ ธปท. จะได้มีความร่วมมือในการดําเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินให้มีความสอดประสานกันมากยิ่งขึ้น อันจะนําไปสู่การฟื้นตัวและเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ การดําเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นเอื้อให้ กนง. สามารถพิจารณานโยบายการเงินได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของไทยที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า โดยในปัจจุบัน กนง. ยังคงให้น้ําหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสําคัญเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลางและการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ในการตัดสินนโยบายการเงินแต่ละครั้ง กนง. จะพิจารณาความสําคัญของเป้าหมายด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ โดยคํานึงถึงผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และชั่งน้ําหนักข้อดีและข้อเสียของการดําเนินนโยบายการเงินในแต่ละทางเลือก (Policy Trade – off) ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงพร้อมใช้เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในลักษณะผสมผสานเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 2. เป้าหมายนโยบายการเงินสําหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสําหรับปี 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและ กนง. มีข้อตกลงร่วมกันโดยกําหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 - 3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสําหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสําหรับปี 2564 โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวเป็นระดับที่เหมาะสมกับพลวัตเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ เป้าหมายแบบช่วงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดําเนินนโยบายการเงินภายใต้โลกที่ผันผวนและมีความไม่แน่นอนสูงหลังการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ประกอบกับสามารถดูแลเป้าหมายด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ การกําหนดเป้าหมายระยะปานกลาง เพื่อให้สอดคล้องกับประสิทธิผลการดําเนินนโยบายการเงินที่ต้องใช้เวลาในการส่งผ่านผลไปยังภาคเศรษฐกิจจริง 3. การติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าหมายของนโยบายการเงิน กค. และ ธปท. จะหารือร่วมกันเป็นประจําและ/หรือเมื่อมีเหตุจําเป็นอื่นตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควร เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้การดําเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินเป็นไปในทิศทางที่สอดประสานกัน รวมทั้งจัดทํารายงานผลการดําเนินนโยบายการเงินทุกครึ่งปี ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ (1) การดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมา (2) แนวทางการดําเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป และ (3) การคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบ รวมถึงจะเผยแพร่รายงานนโยบายการเงินทุกไตรมาสเป็นการทั่วไปอันจะช่วยเพิ่มการรับรู้ของสาธารณชนถึงแนวทางการตัดสินนโยบายการเงินของ กนง. ซึ่งจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพของการดําเนินนโยบายการเงินในอนาคต 4. การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในระยะต่อไปจะผันผวนจากความไม่แน่นอนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด ความเสี่ยงจากต่างประเทศโดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้าของประเทศสหรัฐอมริกาและมาตรการตอบโต้ของประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ดังนั้น หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า เคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยจะชี้แจงถึง (1) สาเหตุของการเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายดังกล่าว (2) แนวทางการดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมาและในระยะต่อไปเพื่อนําอัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่เป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม และ (3) ระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยตามแนวทางข้างต้นยังคงอยู่นอกกรอบเป้าหมาย กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทุก 6 เดือน และจะรายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร 5. การแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงิน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจําเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กนง. อาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา 18. เรื่อง การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงยุติธรรม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สํานักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งให้ใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี (นร.) และกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) รวมทั้งสิ้น 200 อัตรา ตามมติ คปร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ดังนี้ 1. นร. (สํานักงาน ก.พ.ร.) จํานวน 30 อัตรา 2. นร. [สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.)] จํานวน 94 อัตรา 3. ยธ. (กรมบังคับคดี) จํานวน 76 อัตรา สําหรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของส่วนราชการดังกล่าวให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงบประมาณ (สงป.) กําหนด โดยการอนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัด นร. (สํานักงาน ก.พ.ร. และ สทนช.) และ ยธ. (กรมบังคับคดี) รวมทั้งสิ้น 200 อัตรา จะมีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลเพิ่มขึ้น รวมทั้งสิ้น 52,093,200 บาทต่อปี สรุปได้ ดังนี้ ส่วนราชการ ตําแหน่งข้าราชการที่ คปร. เห็นชอบ ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลที่เพิ่มขึ้น ตําแหน่งข้าราชการ จํานวน (อัตรา) ต่อเดือน (บาท) ต่อปี (บาท) (1) สํานักงาน ก.พ.ร. นักพัฒนาระบบราชการปฏิบัติการหรือชํานาญการ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 ธันวาคม 2563 วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 ธันวาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี http://www.thaigov.go.th (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง) วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 09.00 น.ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบางบ่อ และตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจําตําแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาลค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. .... 11. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กําหนด (ฉบับที่..) พ.ศ. .... 14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... 15. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเพิ่มระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ 16. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. .... เศรษฐกิจ - สังคม 17. เรื่อง เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 18. เรื่อง การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงยุติธรรม 19. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการตามมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 20. เรื่อง รายงานผลการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลโดยการดําเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1 21. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนพฤศจิกายน 2563 22. เรื่อง รายงานผลการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ ประจําปีบัญชี 2562 23. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ ของกระทรวงคมนาคม 24. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลกระทบจากประกาศ คสช. คําสั่ง คสช. และคําสั่งหัวหน้า คสช. ศึกษากรณีการดําเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหาร การจํากัดเสรีภาพ การแสดงออกและการจํากัดเสรีภาพสื่อมวลชน 25. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา 26. เรื่อง รายงานผลการกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 27. เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2565 - 2568) 28. เรื่อง การจัดทํางบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอํานาจกํากับแผนงานบูรณาการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 29. เรื่อง การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ 30. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สําหรับประชาชน ปี 2564 31. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ของกระทรวงแรงงาน ปี 2564 32. เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกําหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก(บางพลี – สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2564 33. เรื่อง ของขวัญปีใหม่สําหรับประชาชน ประจําปี 2564 กระทรวงพลังงาน 34. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ ปี 2564 (กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กรมประชาสัมพันธ์ และสํานักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง) ต่างประเทศ 35. เรื่อง การลงนามหนังสือความร่วมมือด้านการต่อต้านอาชญากรรมยาเสพติด ระหว่างสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สํานักงาน ป.ป.ส.) และสํานักข่าวกรองแห่งชาติ สาธารณรัฐเกาหลี 36. เรื่อง บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ของประเทศไทยสําหรับการประเมินติดตามการปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 รอบที่ 2 37. เรื่อง การจัดทําบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 38. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 14 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 7 รวมทั้งการประชุมที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้ง 39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย) 40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 41. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักนายกรัฐมนตรี) 42. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 43. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ) 44. เรื่อง การต่อเวลาการดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (กระทรวงวัฒนธรรม) 45. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข) 46. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 47. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง 48. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลิขสิทธิ์ 49. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง 50. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง) 51. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ******************* สํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดําเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และรับทราบแผนในการจัดทํากฎหมายลําดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสําคัญของกฎหมายลําดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่ อว. เสนอ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ อว. เสนอ เป็นการกําหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยสร้างกลไกให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐได้ เพื่อให้มีการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. กําหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเฉพาะกับการให้ทุนของหน่วยงานของรัฐที่มีวัตถุประสงค์หรือหน้าที่และอํานาจในการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ยกเว้นกรณีการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานตามหน้าที่และอํานาจของหน่วยงานรัฐ การวิจัยและนวัตกรรมซึ่งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐให้ทุนโดยใช้เงินรายได้ของตน การวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาวุธยุทโธปกรณ์ การวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติหรือประชาชนชาวไทยโดยรวมหรือจะต้องใช้เป็นพื้นฐานสําคัญของการวิจัยอื่น ซึ่งไม่สมควรให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นของบุคคลใดหรือองค์กรใดเป็นการเฉพาะ และการวิจัยและนวัตกรรมอื่นตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา 2. กําหนดให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมได้ รวมทั้งกําหนดหน้าที่ในการบริหารจัดการและการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ การจัดสรรรายได้จากการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และกลไกของหน่วยงานภาครัฐในการติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม 3. กําหนดหลักเกณฑ์ในการโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรมของผู้รับทุน หรือนักวิจัยซึ่งเป็นเจ้าของผลงานให้แก่บุคคลอื่น และกําหนดหน้าที่ของผู้รับโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ 4. กําหนดให้ผู้ซึ่งประสงค์จะใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยและนวัตกรรม สามารถขออนุญาตใช้ประโยชน์ได้โดยเสนอเงื่อนไขและค่าตอบแทนที่เพียงพอตามพฤติการณ์แห่งกรณี 5. กําหนดให้อํานาจนายกรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีในการออกคําสั่ง ให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมใด ๆ ที่เกิดจากทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมของรัฐ 6. กําหนดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอํานาจพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัตินี้ 2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 2. รับทราบแผนในการจัดทํากฎหมายลําดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสําคัญของกฎหมายลําดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่ สธ. เสนอ 3. ให้ สธ. รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า 1. ด้วยในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้แพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางไปทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) ซึ่งประเทศไทยได้ดําเนินการโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย และประกาศให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรบางท้องที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย รวมทั้งได้มีการอาศัยอํานาจตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร และได้ออกข้อกําหนด ประกาศและคําสั่งตามพระราชกําหนดดังกล่าวเพื่อให้ส่วนราชการนําไปดําเนินการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีแนวโน้มที่จะดําเนินต่อไปเป็นระยะเวลานาน ซึ่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สามารถรองรับหรือใช้บังคับกับบางสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือโรคติดต่อได้ ทําให้มาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งหากมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตามข้อ 1. แล้ว ย่อมส่งผลให้ข้อกําหนด ประกาศ และคําสั่งที่ได้ออกตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ถูกยกเลิกตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อให้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 สามารถใช้ดําเนินการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 หรือโรคติดต่อได้อย่างทันสถานการณ์และมีประสิทธิภาพ จึงมีความจําเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้มีความครอบคลุมและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ รวมทั้งกําหนดโทษสําหรับผู้ที่ฝ่าฝืนคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่ให้แยกกัก หรือกักกันโรค หรือผู้ที่ไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคเมื่อพบว่าตนเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้ผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศหลีกเลี่ยงการกักตัวโดยหน่วยงานของรัฐ 3. สธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้โดยจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค (www.ddc.moph.go.th) ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2563 และระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 13 กันยายน 2563 และ สธ. ได้จัดทําสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย พร้อมทั้งได้เปิดเผยเอกสารดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. กําหนดให้อธิบดีกรมควบคุมโรคมีอํานาจประกาศท้องที่หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักรที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด เฉพาะในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนหรือฉุกเฉินอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่เข้ามาในราชอาณาจักร 2. กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้มา เข้าถึง การเก็บรักษา การนําไปใช้การกํากับดูแล หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรค หรือผู้ที่เป็นพาหะ 3. กําหนดให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีอํานาจกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่กักกันหรือแยกกักโรค รวมทั้งมีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวจะมีอํานาจดําเนินการในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข หรือในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้น และโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดดังกล่าวได้แพร่อย่างรวดเร็วหรือกว้างขวาง 4. กําหนดให้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีอํานาจสั่งการหรือมอบหมายให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในพื้นที่ของตน รวมทั้งมีอํานาจสั่งการผู้ใดหรือกลุ่มบุคคลใด ให้ดําเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด 5. กําหนดเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร และคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น 6. กําหนดให้ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น ให้ผู้ที่พบว่าตนเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคดังกล่าวมีหน้าที่แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ 7. กําหนดให้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีอํานาจออกคําสั่งห้ามผู้ใดทํากิจกรรมหรือกิจการที่อาจก่อให้การแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด รวมทั้งมีอํานาจออกคําสั่งให้เจ้าของผู้ครอบครอง หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่ใด ๆ ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด 8. กําหนดให้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือกรณีที่โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดได้แพร่อย่างรวดเร็วหรือกว้างขวาง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอํานาจออกประกาศหรือคําสั่งให้ผู้ใดหรือกลุ่มบุคคลใดดําเนินการหรือละเว้นการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม 9. กําหนดโทษสําหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ดําเนินการตามคําสั่งหรือข้อกําหนดตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ทั้งนี้ สผ. เสนอว่า 1. โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 180 บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตําแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า และทรงให้พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่กรณีพ้นจากตําแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือพ้นจากราชการเพราะถูกลงโทษ แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 มาตรา 42 (2) บัญญัติให้การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และมาตรา 86 บัญญัติให้การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตาย ให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ กรณีจึงไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 180 เนื่องจากเป็นกฎหมายซึ่งตราขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีผลใช้บังคับ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 ในมาตรา 42 และมาตรา 86 ที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตําแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา ในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2563 วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการข้าราชการรัฐสภากฎหมายและระเบียบ (อ.กร. กฎหมายและระเบียบ) ด้วยแล้ว 3. สผ. ได้ดําเนินการตามแนวทางการจัดทําและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผ่านทางเว็บไซต์ www.parliament.go.th ระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2563 และจัดให้มีการส่งความเห็นทางระบบสอบถามและระบบประเมินออนไลน์ของสํานักงานสารสนเทศ รวมทั้งได้จัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดําเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะเกิดผลกระทบและประโยชน์ ดังนี้ 3.1 ผลประโยชน์แก่ประเทศ สังคม และประชาชน ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการประชาชน และมิได้เป็นการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน แต่การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตําแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญดังกล่าว จะส่งผลให้ส่วนราชการมีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะช่วยให้การดําเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ลดปัญหาการตีความข้อกฎหมาย 3.2 ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่มีอัตรากําลังคนที่ต้องใช้เพิ่ม เนื่องจากเป็นกรณีที่ส่วนราชการต้องดําเนินการตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตําแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับขั้นตอนในการดําเนินการหรือเสนอเรื่อง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 ดังนี้ 1. กําหนดให้การบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี นําเสนอคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาแล้ว ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง 2. กําหนดให้การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดํารงตําแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตําแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือออกจากราชการเพราะถูกลงโทษ 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสํานักงบประมาณและสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง กําหนดให้การใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี ถ้ายานยนตร์นั้นจะต้องผ่านสถานที่ที่จัดเก็บค่าธรรมเนียม ผู้ใช้ยานยนตร์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง ณ สถานที่ที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมนั้น โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะออกบัตรไว้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงว่าผู้ใช้ยานยนตร์นั้นได้เสียค่าธรรมเนียมแล้ว หรือชําระค่าธรรมเนียมผ่านบัตรอัตโนมัติหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่อธิบดีกรมทางหลวงประกาศกําหนด ทั้งนี้ คค. เสนอว่า 1. โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี สรุปได้ดังนี้ 1.1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้ผู้ใช้ยานยนตร์ต้องชําระเงินค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยเงินสด 1.2 กฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กําหนดเพิ่มวิธีการเสียค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์โดยการชําระเงินผ่านบัตรอัตโนมัติได้อีกวิธีหนึ่ง เพื่ออํานวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกในการชําระค่าธรรมเนียมแก่ประชาชนผู้ใช้ยานยนตร์ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 1.3 กฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี พ.ศ. 2558 ออกตามความในมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กําหนดให้ผู้ใช้ยานยนตร์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยเงินสดหรือโดยชําระเงินผ่านบัตรอัตโนมัติ 2. เนื่องจากปริมาณการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เดิมเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีปริมาณจราจรผ่านด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางเฉลี่ยประมาณ 57,000 คันต่อวัน ในปี พ.ศ. 2562 มีปริมาณจราจรมากกว่า 300,000 คันต่อวัน ทําให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด แออัด บริเวณหน้าด่านเก็บค่าธรรมเนียม กรมทางหลวงได้แก้ปัญหาดังกล่าว โดยได้เพิ่มจํานวนช่องจราจรและช่องเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง แต่การเพิ่มจํานวนช่องเก็บเงินมีข้อจํากัดที่สําคัญ คือ พื้นที่และการเวนคืนพื้นที่สําหรับการก่อสร้าง ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดําเนินการก่อสร้างขยายช่องเก็บเงินจนเต็มพื้นที่เขตทางเกือบทั้งหมดแล้ว อีกทั้งได้ดําเนินการใช้ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection System) แบบมีไม้กั้นเรียกว่าระบบ M-Pass พร้อมทั้งได้เชื่อมต่อระบบ M-Pass เข้ากับระบบ Easy-Pass ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งในรถ (On Board Unit : OBU) ร่วมกัน นอกจากนี้ แม้จะได้ปรับปรุงสภาพทางกายภาพของด่านเก็บค่าธรรมเนียม การเพิ่มเจ้าหน้าที่บริหารจัดการการจราจรบริเวณหน้าด่านแล้วก็ตาม ก็ยังไม่เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดที่หน้าด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง 3. กรมทางหลวงจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทําการศึกษาพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัจฉริยะ ผลการศึกษาเทคโนโลยีการจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่าความสามารถในการระบายรถของการจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางในรูปแบบต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน ดังนี้ 3.1 การจัดเก็บด้วยเงินสด (Manual Toll Collection System : MTC) ระบายรถได้ประมาณ 400 – 550 คัน/ช่อง/ชั่วโมง 3.2 การจัดเก็บแบบอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection : ETC) แบบมีไม้กั้น ซึ่งเป็นการชําระเงินผ่านบัตรอัตโนมัติ (M-Pass) ระบายรถได้ประมาณ 800 – 900 คัน/ช่อง/ชั่วโมง 3.3 การจัดเก็บแบบอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้นในรูปแบบของช่องทางเดี่ยว (Single Lane Free-Flow : SLFF) ระบายรถได้ประมาณ 1,200 – 1,500 คัน/ช่อง/ชั่วโมง 3.4 การจัดเก็บแบบอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้นในรูปแบบหลายช่องทาง (Multi Lane Free-Flow : MLFF) ระบายรถได้มากกว่า 2,000 คัน/ช่อง/ชั่วโมง 4. ที่ปรึกษามีความเห็นว่าแนวทางการพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 แบบไม่มีไม้กั้น ซึ่งมีการปรับใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยอาศัยเทคโนโลยีระบบปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบการอ่านหมายเลขทะเบียนรถอัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition : ALPR) ร่วมกับการตรวจจับยานพาหนะอัตโนมัติ (Automatic Vehicle Identification : AVI) เพื่อใช้ตรวจสอบยานพาหนะและระบุตัวตนผู้ใช้บริการและมีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางภายหลังการใช้บริการ (Post – Paid) ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถดําเนินการชําระค่าผ่านทางได้ผ่านหลากหลายช่องทางการชําระเงิน เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต การตัดเงินผ่านบัญชีธนาคาร แอปพลิเคชันของธนาคาร และการใช้ QR Code เป็นต้น และเพื่อให้สอดคล้องกับการดําเนินงานของกรมทางหลวง ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น จึงใช้ชื่อว่า “ระบบ M – Flow” โดยจะเริ่มดําเนินการนําร่องบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ที่ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 สําหรับรถยนต์ทุกชนิดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทางหลวงพิเศษ 5. กรมทางหลวงจึงได้ดําเนินโครงการ “งานติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow System Infrastructure)” บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 รวมถึงโครงการ “งานจ้างบริหารจัดการระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M – Flow) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9” โดยว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบและสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรมทางหลวงในด้านเทคนิคสําหรับการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้นดังกล่าว ตามแผนจะดําเนินการจัดหาผู้รับจ้างเพื่อจัดหาและติดตั้งระบบงานต่าง ๆ และเปิดให้บริการระบบ M – Flow ภายในต้นปี พ.ศ. 2564 โดยใช้แหล่งเงินจากทุนหมุนเวียนค่าธรรมเนียมที่กรมทางหลวงจัดเก็บได้ ทั้งนี้ การนําระบบเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Free Flow) มาใช้ในการจัดเก็บและชําระค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นการเพิ่มวิธีการเสียค่าธรรมเนียมโดยการชําระค่าธรรมเนียมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแตกต่างจากระบบเก็บค่าธรรมเนียมแบบบัตรอัตโนมัติ M – PASS ตามกฎกระทรวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน จึงจําเป็นต้องเสนอขอออกกฎกระทรวงนี้ 6. คค. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้แล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ 5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (คค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทํากฎหมายลําดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสําคัญของกฎหมายลําดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่ คค. เสนอ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ คค. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 โดยกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตประกาศกําหนด สามารถเป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตได้ เพื่อรองรับธุรกรรม/นวัตกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นใหม่ (Final Technology) ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และการกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นตัวกลางที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อสามารถนําส่งข้อมูลเครดิตของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และกลุ่มธุรกิจที่ตั้งต้นใหม่ (Start-up) ให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต ซึ่งจะทําให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมีข้อมูลประวัติทางการเงินในระบบ อันจะช่วยให้มีโอกาสได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น ๆ มากยิ่งขึ้นในอนาคต รวมถึงช่วยลดการกู้ยืมหนี้นอกระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่ม Start-up ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ เพราะไม่มีประวัติการขอสินเชื่อในฐานข้อมูลของระบบข้อมูลเครดิต โดย คค. ได้ดําเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทําร่างกฎหมาย และเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดําเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคําว่า “ข้อมูลเครดิต” และบทนิยามคําว่า “สมาชิก” และเพิ่มบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ” 2. แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการและข้อห้ามในการเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกหรือผู้ใช้บริการ ดังนี้ 2.1 กําหนดให้บริษัทข้อมูลเครดิตแจ้งเป็นหนังสือแก่เจ้าของข้อมูลทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันเปิดเผยหรือให้ข้อมูล เว้นแต่เป็นข้อมูลโดยรวมของสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใด (สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อที่บริษัทข้อมูลเครดิตรับเข้าเป็นสมาชิก) ให้แจ้งแก่สมาชิกผู้นั้นทราบ 2.2 ห้ามมิให้บุคคลดังต่อไปนี้เปิดเผยข้อมูล (1) บริษัทข้อมูลเครดิต ผู้ควบคุมข้อมูล ผู้ประมวลผลข้อมูล สมาชิก หรือผู้ใช้บริการ (2) ผู้ซึ่งรู้ข้อมูลจากการทํางานหรือปฏิบัติหน้าที่ตาม (1) (3) ผู้ซึ่งรู้ข้อมูลจากบุคคลตาม (1) และ (2) 3. กําหนดหน้าที่ของผู้ใช้บริการในการใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กําหนด เช่น การใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อ การออกบัตรเครดิต การนําข้อมูลของลูกค้ามาจัดทําแบบจําลองด้านเครดิตของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ และต้องไม่เปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิรับรู้ข้อมูล 4. กําหนดสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อไว้เป็นการเฉพาะ ดังนี้ 4.1 กําหนดให้บริษัทข้อมูลเครดิตเปิดเผยหรือให้ข้อมูลแก่สมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อได้เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อแทนผู้จะให้สินเชื่อเท่านั้น 4.2 กําหนดให้สมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อนําข้อมูลของลูกค้าของตนที่ได้รับจากบริษัทข้อมูลเครดิตมาใช้จัดทําแบบจําลองด้านเครดิตได้ 4.3 กําหนดให้สมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อต้องแสดงเหตุผลในการปฏิเสธการให้บริการหรือการขึ้นค่าบริการโดยเหตุอันเนื่องมาจากการได้รับรู้ข้อมูลของลูกค้าผู้ขอสินเชื่อ รวมทั้งแหล่งที่มาของข้อมูลดังกล่าว ให้ลูกค้ารายนั้นทราบเป็นหนังสือ 5. แก้ไขเพิ่มเติมบทกําหนดโทษให้สอดคล้องกับการกําหนดหลักเกณฑ์ให้สมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อถือปฏิบัติ ดังนี้ 5.1 กําหนดโทษสําหรับสมาชิกประเภทผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ หากนําข้อมูลของลูกค้าไปใช้ในกรณีจัดทําแบบจําลองด้านเครดิตที่นอกเหนือจากเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อแทนผู้ที่จะให้สินเชื่อ และการบริหารความเสี่ยงในกิจการของผู้ที่จะให้สินเชื่อ 5.2 กําหนดโทษสําหรับสถาบันการเงิน สมาชิก หรือผู้ใช้บริการ หากไม่แสดงเหตุผลในการปฏิเสธการให้บริการหรือการขึ้นค่าบริการโดยเหตุอันเนื่องมาจากการได้รับรู้ข้อมูลของลูกค้าผู้ขอสินเชื่อ รวมทั้งแหล่งที่มาของข้อมูลดังกล่าว ให้ลูกค้ารายนั้นทราบเป็นหนังสือ 6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบางบ่อ และตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบางบ่อ และตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ โดยให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย และให้ คค. ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตราร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างหรือขยายถนนโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ คค. เสนอว่า 1. สืบเนื่องจากพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบางบ่อและตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2555 เพื่อสร้างทางหลวงชนบทสายเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท สป. 2003 กับทางหลวงชนบท ฉช. 3001 ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 มีกําหนดระยะเวลาการใช้บังคับ 4 ปี (ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559) ได้สิ้นผลการบังคับใช้แล้ว ทําให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาใช้บังคับได้ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนต้องดําเนินโครงการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) จึงได้ชะลอการดําเนินโครงการไว้ก่อน ซึ่งปัจจุบันกรมทางหลวงชนบทมีความพร้อมที่จะดําเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท สป. 2003 กับทางหลวงชนบท ฉช. 3001 2. ต่อมากรมทางหลวงชนบทได้รับงบประมาณในการสํารวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ภายหลังจากพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1. สิ้นผลใช้บังคับแล้ว จึงได้สํารวจและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างทางหลวงชนบทสายเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท สป. 2003 กับทางหลวงชนบท ฉช. 3001 เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายถนนโลจิสติกส์ และการขนส่งในพื้นที่เพื่อให้สอดรับกับสนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบกับพื้นที่สองข้างทางของถนนดังกล่าวมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีหอพักจํานวนมาก และมีหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่หลายโครงการ จึงต้องมีการพัฒนาโครงข่ายถนนที่มีอยู่แล้วให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น 3. กรมทางหลวงชนบทมีความจําเป็นจะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้การสร้างทางหลวงชนบทตามโครงการดังกล่าวเป็นไปตามแผนการที่กําหนดไว้ และเพื่ออํานวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งทางบกอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด 4. กรมทางหลวงชนบทได้ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการดําเนินโครงการ พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่า 816.19 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) มีค่า 17.51 % อัตราผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C Ratio) มีค่า 1.52 ซึ่งถือได้ว่าโครงการดังกล่าวนี้มีความเหมาะสมในการดําเนินการ และหากพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางอ้อมที่เกี่ยวกับการรองรับการขยายตัวของเมืองและการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต โครงการก็จะมีความเหมาะสมมากขึ้นอีก 5. ลักษณะของโครงการ เป็นการก่อสร้างถนนสร้างใหม่ ขนาด 4 ช่องจราจร ชนิดผิวจราจรแอสฟัลติกคอนกรีต ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.00 – 3.00 เมตร พร้อมเกาะกลาง รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 4.864 กิโลเมตร มีที่ดินที่ถูกเวนคืนประมาณ122 ไร่ มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนประมณ 65 รายการ ใช้งบประมาณในการดําเนินโครงการประมาณ 2,625 ล้านบาท แผนการดําเนินการ มีดังนี้ (1) กําหนดราคาและจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ในปี พ.ศ. 2565 - 2566 และ (2) เริ่มดําเนินการก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2567 - 2569ทั้งนี้ ได้ดําเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการก่อสร้างถนนสายดังกล่าว ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนพ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งผลการรับฟังความคิดเห็นโดยรวมมีผู้เห็นด้วยกับโครงการ ร้อยละ 68.97 ทั้งนี้ สํานักงบประมาณแจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณให้ตามความจําเป็นและเหมาะสม เพื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตําบลบางบ่อ และตําบลเปร็ง อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสร้างทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท สป. 2003 กับทางหลวงชนบท ฉช. 3001 มีส่วนแคบที่สุด 200 เมตร และส่วนกว้างที่สุด 1,600 เมตร 7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจําตําแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจําตําแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ อว. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจําตําแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกําหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น และสภามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กําหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ รง. เสนอว่า 1. โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 มาตรา 4 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวง ประกอบกับมาตรา 24 บัญญัติให้ผู้จ้างงานเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพ ในกรณีที่ผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นที่ใช้ในการทํางานที่ผู้จ้างงานจัดหาหรือส่งมอบให้ หรือเนื่องจากผู้จ้างงานไม่จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในการทํางาน หรือกรณีอุบัติเหตุเนื่องจากการทํางาน ณ สถานที่ทํางาน ทั้งนี้ การจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง รง. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพ ที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... เพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางด้านรายได้ และผู้รับงานไปทําที่บ้านมีโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและเป็นธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้รับความคุ้มครองและมีสวัสดิการการรักษาพยาบาล รวมทั้งเป็นการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2. ในคราวประชุมคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทําที่บ้าน ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1. แล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และค่าทําศพที่ให้ผู้จ้างงานจ่าย พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดให้ผู้รับงานไปทําที่บ้าน ทายาท ผู้จัดการศพ หรือผู้มีส่วนได้เสียแจ้งให้ผู้จ้างงานทราบโดยเร็ว เมื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย พร้อมทั้งแสดงเอกสารในแต่ละกรณี 2. กําหนดให้ผู้จ้างงานจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง 3. กําหนดให้ผู้จ้างงานจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานกรณีผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน ภายหลังการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท 4. กําหนดให้ผู้จ้างงานจ่ายค่าทําศพในอัตรา 40,000 บาท กรณีผู้รับงานไปทําที่บ้านประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย 5. กําหนดให้ผู้จ้างงานจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือค่าทําศพ แล้วแต่กรณีโดยมิชักช้า นับแต่ได้รับแจ้งเหตุดังกล่าว 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รวมพิจารณาร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กับร่างกฎกระทรวงฯ ที่เป็นเรื่องทํานองเดียวกัน ซึ่งอยู่ระหว่างสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้เป็นฉบับเดียวกัน แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ กษ. เสนอ เป็นการกําหนดให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (สวพส.) ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดําเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคําสั่งทางปกครองได้ อันจะทําให้การบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง กําหนดให้ สวพส. เป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการทางปกครองแทนได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ รง. เสนอ เป็นการกําหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยสําหรับการทํางานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้างในสถานที่ดังกล่าว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กําหนดบทนิยาม คําว่า “ทํางานในที่สูง” “นั่งร้าน” และ “อาคาร” 2. กําหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทํางานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทําให้ลูกจ้างพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรับวัสดุ โดยอย่างน้อยต้องระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางาน การวางแผนการปฏิบัติงาน และการป้องกันและควบคุมอันตราย รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีสําเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ 3. กําหนดให้ในการประกอบ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้นายจ้างปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกําหนดไว้ นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย และจัดให้มีการบํารุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตราย 4. กําหนดให้ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในที่สูง นายจ้างต้องดําเนินการให้เหมาะสมกับสภาพของการทํางาน เช่น จัดให้มีนั่งร้าน กรณีที่ลูกจ้างทํางานในที่สูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป ต้องจัดทําราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่ายนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใด กรณีที่ลูกจ้างทํางานในที่สูงเกินหกเมตรขึ้นไปต้องใช้บันไดไต่ชนิดตรึงกับที่ที่มีความสูงเกินหกเมตรขึ้นไปต้องดูแลบันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่ เป็นต้น 5. กําหนดให้กรณีที่มีการลําเลียงวัสดุสิ่งของขึ้นหรือลงจากที่สูง นายจ้างต้องจัดให้มีราง ปล่อง เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมในการลําเลียง เพื่อป้องกันอันตรายจากวัสดุสิ่งของกระเด็นหรือตกหล่น และต้องกําหนดเขตอันตรายในบริเวณพื้นที่ โดยติดป้ายเตือนบริเวณพื้นที่ดังกล่าว 6. กําหนดให้ในกรณีที่ลูกจ้างทํางานในบริเวณหรือสถานที่มีลักษณะที่อาจพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เช่น ถัง บ่อ กรวย และบนภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุที่มีความสูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีสิ่งปิดกั้นที่มั่นคงแข็งแรง จัดทําราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มั่นคงแข็งแรงล้อมรอบภาชนะที่อาจทําให้ลูกจ้างพลัดตกลงไปได้ และต้องให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย หรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทํางานด้วย 11. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 1. ตามที่พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560 ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมสาระสําคัญสรุปได้ดังนี้ 1.1 แก้ไขบทนิยามคําว่า “ข้าราชการ” โดยตัด “ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ และข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ” ออกจากบทนิยาม 1.2 แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินทางโดยพาหนะรับจ้างและพาหนะส่วนตัว 1.3 กําหนดชั้นโดยสารเครื่องบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2. กค. พิจารณาแล้ว เพื่อให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาในข้อ 1. จึงดําเนินการยกร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้มีความเหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างระเบียบ 1. กําหนดให้ปลัดกระทรวงหรือตําแหน่งที่เทียบเท่าสามารถอนุมัติระยะเวลาในการเดินทางไปราชการก่อนเริ่มปฏิบัติราชการหรือหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการ ในกรณีผู้เดินทางมีความจําเป็นต้องเดินทางเกินกว่าระยะเวลาที่กําหนด 2. กําหนดให้การเดินทางไปราชการในท้องที่ที่มีค่าครองชีพสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้หัวหน้าส่วนราชการใช้ดุลพินิจอนุมัติเบิกจ่ายค่าที่พักสูงกว่าอัตราที่ระเบียบกําหนด เพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละ 25 เฉพาะการเบิกค่าเช่าที่พักแบบจ่ายจริง 3. กําหนดให้การเดินทางไปราชการให้ใช้ยานพาหนะประจําทาง และให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ไม่เกินสิทธิที่ผู้เดินทางจะพึงได้รับตามประเภทของพาหนะที่ใช้เดินทาง โดยให้เบิกค่าพาหนะได้ไม่เกินอัตราตามเส้นทางที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ เว้นแต่มีเหตุจําเป็นต้องเดินทางในเส้นทางอื่น 4. กําหนดผู้เดินทางที่สามารถเบิกเงินค่ารับรองได้เท่าที่จ่ายจริง (ยกเลิกสิทธิในการเบิกค่ารับรองในการเดินทางไปราชการของผู้ดํารงตําแหน่งประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา หรือประธานศาลอุทธรณ์ ออก เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560) 5. กําหนดค่าโดยสารเครื่องบิน กรณีผู้ให้ความช่วยเหลือไม่ออกค่าโดยสารเครื่องบิน หรือได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินเพียงเที่ยวเดียว ให้เบิกค่าโดยสารเครื่องบินไป – กลับ หรือค่าโดยสารเครื่องบินอีกหนึ่งเที่ยว ได้ตามสิทธิของผู้เดินทาง หรือกรณีได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่นั่งต่ํากว่าสิทธิของผู้เดินทาง ให้เบิกค่าโดยสารเครื่องบินสมทบตามสิทธิของผู้เดินทาง 6. กําหนดการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ โดยการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมกับหัวหน้าคณะผู้ดํารงตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ และตําแหน่งตามที่กําหนด ต้องไม่เกินสิทธิของหัวหน้าคณะนั้น (ยกเลิกสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของผู้ดํารงตําแหน่งข้าราชการตุลาการและข้าราชการอัยการ และตัดตําแหน่งระดับ 9 ขึ้นไป ออก เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2560) 7. ยกเลิกความในบัญชีท้ายระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และกําหนดบัญชีหมายเลขใหม่แทน 12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนแล้วดําเนินการต่อไปได้ รง. เสนอว่า 1. เนื่องจากในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ ทําให้แรงงานโดยเฉพาะครอบครัวมีรายได้ลดลง หรือไม่มีรายได้ ต้องหยุดงานหรือต้องออกจากงาน ในขณะที่รายจ่ายเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดเป็นรายจ่ายที่จําเป็น ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. 2561 เพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร โดยจ่ายให้กับผู้ประกันตนซึ่งเป็นลูกจ้างตามมาตรา 33 และผู้เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไปตามมาตรา 39 2. ในคราวประชุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา (ชุดที่ 13) ครั้งที่ 20/2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการการปรับเพิ่มประโชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมเหมาจ่ายในอัตรา 600 บาท ต่อเดือนต่อบุตร 1 คน เป็นเหมาจ่ายในอัตรา 800 บาทต่อเดือนต่อบุตร 1 คน โดยให้ดําเนินการเสนอเพื่อแก้ไขกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. 2561 ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 และคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันพุธที่ 2 ธันวาคม 2563 และได้รับรองมติการประชุมแล้ว 3. รง. ได้ดําเนินการตามมาตรา 7 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยสัดส่วนการใช้จ่ายเงินกองทุนประกันสังคมในกรณีสงเคราะห์บุตร โดยการจัดเก็บเงินสมทบในอัตราร้อยละ 1 (รัฐบาล) ของค่าจ้าง มีการใช้จ่ายในอัตราร้อยละ 0.62 ยังมีเงินคงเหลือในกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรในอัตราร้อยละ 0.38 การเพิ่มประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรจะทําให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.62 ของค่าจ้างเป็นร้อยละ 0.82 ของค่าจ้างในปี พ.ศ. 2564 ทําให้เหลือเงินสํารองสําหรับการจ่ายบํานาญชราภาพลดลงเหลือร้อยละ 0.18 ซึ่งการเพิ่มประโยชน์ทดแทนสงเคราะห์บุตรดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคมในส่วนของเงินชราภาพอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ การเพิ่มประโยชน์ทดแทนในกรณีดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผู้ประกันตนเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรของผู้ประกันตน ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ประกันตนดีขึ้น และจะทําให้ค่าใช้จ่ายกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคม จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. เพิ่มอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเป็นเงิน “จากเดิมในอัตรา 600 บาทต่อเดือนต่อบุตร 1 คน” เป็นในอัตรา “800 บาท ต่อเดือนต่อบุตร 1 คน” 2. กําหนดให้ใช้บังคับสําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป 3. ผู้ใดมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรตามกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. 2561 และยังคงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรตามกฎกระทรวงนี้ ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรตามอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวงนี้ นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ 13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กําหนด (ฉบับที่..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กําหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ เป็นการล่วงหน้าแล้ว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวงฯ ให้ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี และตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 4 มกราคม 2564 ทั้งนี้ คค. เสนอว่า เนื่องจากวันหยุดราชการประจําปี กําหนดให้วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม 2563 เป็นวันหยุดสิ้นปี และวันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2564 เป็นวันหยุดขึ้นปีใหม่ ทําให้มีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2564 รวม 4 วัน ดังนั้นจึงคาดหมายได้ว่าจะมีประชาชนจํานวนมากเดินทางกลับภูมิลําเนา เป็นผลให้การจราจรติดขัดในทุกสายทางที่ออกและเข้ากรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเฉพาะบริเวณหน้าด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางซึ่งคาดว่าจะมีปัญหาจราจรติดขัดยาวหลายกิโลเมตร เนื่องจากประชาชนรอชําระค่าธรรมเนียมผ่านทางการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน – บางพลี และตอนพระประแดง – บางแค ช่วงพระประแดง – ต่างระดับบางขุนเทียน การยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทําให้การจราจรมีความคล่องตัว ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือCovid -19รวมทั้งเป็นการลดการใช้พลังงานของประเทศ และลดมลพิษทางอากาศ จึงเห็นสมควรให้ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 4 มกราคม 2564 14. ร่างกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ ร่างกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... สาระสําคัญ ดังนี้ 1) ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2546 และยกเลิกกฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2556 2) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 ให้รัฐบาลนายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.05 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละร้อยละ 1.85 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลปรับเป็น ร้อยละ 1.45 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลปรับเป็น ร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตนตามบัญชี ก. 3) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยกรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สําหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี ข. 15. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเพิ่มระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเพิ่มระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ทั้งนี้ มท. เสนอว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 16/2563 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 มีมติเห็นชอบให้เพิ่มระยะเวลาการพํานักในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเป็นระยะเวลา 15 วัน สําหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามที่กําหนดในมาตรา 34 (4) (8) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา ตามข้อ 13 (3) และ (4) แห่งกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และมอบหมายให้ มท. ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง มท. พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ทั้งประเภทที่ต้องได้รับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลและประเภทที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา ซึ่งมีระยะเวลาการพํานักในราชอาณาจักรไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยคนต่างด้าวดังกล่าวต้องเข้ารับการกักกันเป็นเวลา 14 วัน ทําให้มีระยะเวลาไม่เพียงพอสําหรับการดําเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับการอนุญาต จึงเห็นควรขยายระยะเวลาการพํานักในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวประเภทดังกล่าวอีก 15 วัน รวมเป็น 45 วัน ตั้งแต่วันที่ .. ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 16. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ทั้งนี้ รง. เสนอว่า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประกอบกับจากสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครซึ่งมีจํานวนแรงงานต่างด้าวที่มาประกอบอาชีพเป็นจํานวนมาก โดยพบมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่า 6 จังหวัดที่จะได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นจังหวัดพื้นที่โดยรอบจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม ราชบุรี และสมุทรสงคราม ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเป็นภัยอันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านสาธารณสุข และระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อนายจ้างทําให้ต้องหยุดกิจการชั่วคราวและลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้าง จึงเห็นควรนําเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร่งด่วน สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป 2. “เหตุสุดวิสัย” หมายความรวมถึง ภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และถึงขนาดที่ผู้ประกันตนไม่สามารถทํางานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ 3. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามกฎกระทรวงนี้ 4. ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เป็นผลกระทบให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้าง มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่ ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาหนึ่งปีปฏิทินมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยทุกครั้งรวมกันไม่เกินเก้าสิบวัน เศรษฐกิจ - สังคม 17. เรื่อง เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 พร้อมข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกําหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสําหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสําหรับปี 2564 ซึ่งกําหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 – 3 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรายงานว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะประธาน กนง. ได้ประชุมหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้เห็นชอบร่วมกันในการกําหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสําหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสําหรับปี 2564 โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. หลักการดําเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น บริบทของเศรษฐกิจโลกและไทยที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไทยในระยะข้างหน้าเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงทั้งจากปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน ได้แก่ (1) เศรษฐกิจโลกและไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าตามการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เผชิญข้อจํากัดมากขึ้นจากมาตรการคุมการระบาด (2) ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความผันผวนของราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกและการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความขัดแย้งทางการค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ทําให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และ (3) การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ e- Commerce และการนําเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานในกระบวนการผลิต (Automation) หลังการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ยังเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อให้ต่ําลงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 ที่ได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนสูง กระทรวงการคลัง (กค.)และ ธปท. จะได้มีความร่วมมือในการดําเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินให้มีความสอดประสานกันมากยิ่งขึ้น อันจะนําไปสู่การฟื้นตัวและเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ การดําเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นเอื้อให้ กนง. สามารถพิจารณานโยบายการเงินได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของไทยที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า โดยในปัจจุบัน กนง. ยังคงให้น้ําหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสําคัญเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลางและการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ในการตัดสินนโยบายการเงินแต่ละครั้ง กนง. จะพิจารณาความสําคัญของเป้าหมายด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ โดยคํานึงถึงผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และชั่งน้ําหนักข้อดีและข้อเสียของการดําเนินนโยบายการเงินในแต่ละทางเลือก (Policy Trade – off) ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงพร้อมใช้เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในลักษณะผสมผสานเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 2. เป้าหมายนโยบายการเงินสําหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสําหรับปี 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและ กนง. มีข้อตกลงร่วมกันโดยกําหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 - 3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสําหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสําหรับปี 2564 โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวเป็นระดับที่เหมาะสมกับพลวัตเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ เป้าหมายแบบช่วงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดําเนินนโยบายการเงินภายใต้โลกที่ผันผวนและมีความไม่แน่นอนสูงหลังการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ประกอบกับสามารถดูแลเป้าหมายด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ การกําหนดเป้าหมายระยะปานกลาง เพื่อให้สอดคล้องกับประสิทธิผลการดําเนินนโยบายการเงินที่ต้องใช้เวลาในการส่งผ่านผลไปยังภาคเศรษฐกิจจริง 3. การติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าหมายของนโยบายการเงิน กค. และ ธปท. จะหารือร่วมกันเป็นประจําและ/หรือเมื่อมีเหตุจําเป็นอื่นตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควร เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้การดําเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินเป็นไปในทิศทางที่สอดประสานกัน รวมทั้งจัดทํารายงานผลการดําเนินนโยบายการเงินทุกครึ่งปี ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ (1) การดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมา (2) แนวทางการดําเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป และ (3) การคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบ รวมถึงจะเผยแพร่รายงานนโยบายการเงินทุกไตรมาสเป็นการทั่วไปอันจะช่วยเพิ่มการรับรู้ของสาธารณชนถึงแนวทางการตัดสินนโยบายการเงินของ กนง. ซึ่งจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพของการดําเนินนโยบายการเงินในอนาคต 4. การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในระยะต่อไปจะผันผวนจากความไม่แน่นอนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด ความเสี่ยงจากต่างประเทศโดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้าของประเทศสหรัฐอมริกาและมาตรการตอบโต้ของประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ดังนั้น หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า เคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยจะชี้แจงถึง (1) สาเหตุของการเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายดังกล่าว (2) แนวทางการดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมาและในระยะต่อไปเพื่อนําอัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่เป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม และ (3) ระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยตามแนวทางข้างต้นยังคงอยู่นอกกรอบเป้าหมาย กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทุก 6 เดือน และจะรายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร 5. การแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงิน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจําเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กนง. อาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา 18. เรื่อง การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงยุติธรรม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สํานักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งให้ใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี (นร.) และกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) รวมทั้งสิ้น 200 อัตรา ตามมติ คปร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ดังนี้ 1. นร. (สํานักงาน ก.พ.ร.) จํานวน 30 อัตรา 2. นร. [สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.)] จํานวน 94 อัตรา 3. ยธ. (กรมบังคับคดี) จํานวน 76 อัตรา สําหรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของส่วนราชการดังกล่าวให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงบประมาณ (สงป.) กําหนด โดยการอนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการในสังกัด นร. (สํานักงาน ก.พ.ร. และ สทนช.) และ ยธ. (กรมบังคับคดี) รวมทั้งสิ้น 200 อัตรา จะมีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลเพิ่มขึ้น รวมทั้งสิ้น 52,093,200 บาทต่อปี สรุปได้ ดังนี้ ส่วนราชการ ตําแหน่งข้าราชการที่ คปร. เห็นชอบ ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลที่เพิ่มขึ้น ตําแหน่งข้าราชการ จํานวน (อัตรา) ต่อเดือน (บาท) ต่อปี (บาท) (1) สํานักงาน ก.พ.ร. นักพัฒนาระบบราชการปฏิบัติการหรือชํานาญการ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ขับเคลื่อนนโยบาย ปี 2564 มุ่งเน้น 9 เรื่องสำคัญ ด้วยหลักการทำงาน H-SMILE
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สธ.ขับเคลื่อนนโยบาย ปี 2564 มุ่งเน้น 9 เรื่องสําคัญ ด้วยหลักการทํางาน H-SMILE กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนนโยบายปี 2564 โดยให้ความสําคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานโครงการตามแนวพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และมุ่งเน้น 9 เรื่องสําคัญ โดยใช้หลักการทํางาน H-SMILE พร้อมติดตามความก้าวหน้าทุก 3 เดือน กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนนโยบายปี 2564 โดยให้ความสําคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานโครงการตามแนวพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และมุ่งเน้น 9 เรื่องสําคัญ โดยใช้หลักการทํางาน H-SMILE พร้อมติดตามความก้าวหน้าทุก 3 เดือน วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามคํารับรองการปฏิบัติงาน (Performance Agreement : PA) ประจําปี 2564ของผู้บริหารสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ส่วนกลาง) ซึ่งได้จัดทําคํารับรองการปฏิบัติงาน เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดนําไปเป็นแนวทางการดําเนินงาน โดยให้ความสําคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานสาธารณสุขโครงการตามแนวพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และมีนโยบายที่มุ่งเน้น 9 เรื่องสําคัญ คือ ยกระดับระบบบริการปฐมภูมิ และอสม. ให้คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจําตัว 3 คน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและนวัตกรรมด้านสุขภาพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศ สนับสนุนการเข้าถึงสมุนไพร กัญชา กัญชง เพื่อสุขภาพได้อย่างครอบคลุม ปลอดภัย มุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบ New Normal เน้นอาหาร ออกกําลังกาย เพื่อการมีสุขภาพดี รองรับวิกฤติโรคโควิด 19 และโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ําที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ผลักดัน 30 บาท รักษาทุกที่ ให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ลดความแออัด ลดรอคอย ด้วยการแพทย์วิถีใหม่ มุ่งเน้นดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในกลุ่มเด็กปฐมวัย และผู้สูงอายุ พร้อมทั้งพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตเชิงรุก ให้หลักธรรมาภิบาลบริหารงาน และองค์กรต้นแบบสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน สามารถดูแลสุขภาพประชาชนได้อย่างยั่งยืนปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ (2P Safety) สําหรับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ใช้หลักการทํางาน H–SMILE คือ Health: บุคลากรเป็น Health Model ที่ดี ใส่ใจสุขภาพประชาชน Seamless: ทํางานไร้รอยต่อทุกพื้นที่ ทุกมิติ Mate: มีเพื่อน มีทีม มีเครือข่าย Integrate: คิดและทําอย่างบูรณาการด้วยเป้าหมายเดียวกัน Life: เป็นองค์กรคุณภาพ สร้างคน สร้างงาน ด้วยใจและปัญญา และ Encourage: เสริมพลัง เพื่อก้าวผ่านความท้าทายนําไปสู่ “คนไทยแข็งแรง เศรษฐกิจแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง” ทั้งนี้ การจัดทําคํารับรองการปฏิบัติราชการ หรือ PA ถือเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการบริหารงานให้เกิด ความสําเร็จตามเป้าหมาย และทํางานร่วมกันไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีการติดตามความคืบหน้าทุก 3, 6, 9 และ 12 เดือน *********************************** 22 ธันวาคม 2563 ****************************************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ขับเคลื่อนนโยบาย ปี 2564 มุ่งเน้น 9 เรื่องสำคัญ ด้วยหลักการทำงาน H-SMILE วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สธ.ขับเคลื่อนนโยบาย ปี 2564 มุ่งเน้น 9 เรื่องสําคัญ ด้วยหลักการทํางาน H-SMILE กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนนโยบายปี 2564 โดยให้ความสําคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานโครงการตามแนวพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และมุ่งเน้น 9 เรื่องสําคัญ โดยใช้หลักการทํางาน H-SMILE พร้อมติดตามความก้าวหน้าทุก 3 เดือน กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนนโยบายปี 2564 โดยให้ความสําคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานโครงการตามแนวพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และมุ่งเน้น 9 เรื่องสําคัญ โดยใช้หลักการทํางาน H-SMILE พร้อมติดตามความก้าวหน้าทุก 3 เดือน วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามคํารับรองการปฏิบัติงาน (Performance Agreement : PA) ประจําปี 2564ของผู้บริหารสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ส่วนกลาง) ซึ่งได้จัดทําคํารับรองการปฏิบัติงาน เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดนําไปเป็นแนวทางการดําเนินงาน โดยให้ความสําคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานสาธารณสุขโครงการตามแนวพระราชดําริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และมีนโยบายที่มุ่งเน้น 9 เรื่องสําคัญ คือ ยกระดับระบบบริการปฐมภูมิ และอสม. ให้คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจําตัว 3 คน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและนวัตกรรมด้านสุขภาพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศ สนับสนุนการเข้าถึงสมุนไพร กัญชา กัญชง เพื่อสุขภาพได้อย่างครอบคลุม ปลอดภัย มุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบ New Normal เน้นอาหาร ออกกําลังกาย เพื่อการมีสุขภาพดี รองรับวิกฤติโรคโควิด 19 และโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ําที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ผลักดัน 30 บาท รักษาทุกที่ ให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ลดความแออัด ลดรอคอย ด้วยการแพทย์วิถีใหม่ มุ่งเน้นดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในกลุ่มเด็กปฐมวัย และผู้สูงอายุ พร้อมทั้งพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตเชิงรุก ให้หลักธรรมาภิบาลบริหารงาน และองค์กรต้นแบบสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน สามารถดูแลสุขภาพประชาชนได้อย่างยั่งยืนปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ (2P Safety) สําหรับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ใช้หลักการทํางาน H–SMILE คือ Health: บุคลากรเป็น Health Model ที่ดี ใส่ใจสุขภาพประชาชน Seamless: ทํางานไร้รอยต่อทุกพื้นที่ ทุกมิติ Mate: มีเพื่อน มีทีม มีเครือข่าย Integrate: คิดและทําอย่างบูรณาการด้วยเป้าหมายเดียวกัน Life: เป็นองค์กรคุณภาพ สร้างคน สร้างงาน ด้วยใจและปัญญา และ Encourage: เสริมพลัง เพื่อก้าวผ่านความท้าทายนําไปสู่ “คนไทยแข็งแรง เศรษฐกิจแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง” ทั้งนี้ การจัดทําคํารับรองการปฏิบัติราชการ หรือ PA ถือเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการบริหารงานให้เกิด ความสําเร็จตามเป้าหมาย และทํางานร่วมกันไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีการติดตามความคืบหน้าทุก 3, 6, 9 และ 12 เดือน *********************************** 22 ธันวาคม 2563 ****************************************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37817
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ปูพรมตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสมุทรสาคร
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สธ.ปูพรมตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสมุทรสาคร กระทรวงสาธารณสุข ส่งรถเก็บตัวอย่างเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน ลงพื้นที่ เร่งปูพรมตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดอื่นๆ ให้ได้มากที่สุด กระทรวงสาธารณสุข ส่งรถเก็บตัวอย่างเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน ลงพื้นที่ เร่งปูพรมตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดอื่นๆ ให้ได้มากที่สุด วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้ความสําคัญกับการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในทุกพื้นที่ที่คาดว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงอาจเกิดการแพร่ระบาด รวมทั้งเพิ่มการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง แรงงานต่างด้าวที่อยู่รวมกันในที่พักหรือโรงงาน ผู้ต้องขัง ผู้ต้องกักในศูนย์กักกันคนเข้าเมือง หรือกลุ่มที่มีโอกาสพบปะผู้คนจํานวนมาก เช่น บุคลากรหรือพนักงานต้อนรับประจํารถสาธารณะ อาชีพเสี่ยงอื่น ๆ หรือกลุ่มที่มีแนวโน้มพบปะผู้ป่วยสูง คือ บุคลากรทางการแพทย์ ส่วนสถานที่เสี่ยง ได้แก่ ตลาดนัด ศาสนสถาน สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟฟ้า ชุมชนแออัด เป็นต้น สําหรับที่จังหวัดสมุทรสาคร ได้เร่งติดตามตรวจหาเชื้อในกลุ่มเสี่ยง ตั้งเป้าให้ได้ 10,300 ราย ภายใน 2 สัปดาห์ โดยนํารถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทานจํานวน 6 คัน และระดมบุคลากรทางการแพทย์จาก 8 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 5 เร่งตรวจคัดกรองค้นหาผู้ติดเชื้อในกลุ่มแรงงานต่างด้าวพร้อมทั้งประเมินสถานการณ์ เพื่อจํากัดตีวงในพื้นที่ที่มีการระบาดสูง และจะตรวจค้นหาอย่างต่อเนื่องให้ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งชุมชนแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในจังหวัดอื่นๆ ให้ได้มากที่สุด นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ขยายขีดความสามารถห้องปฏิบัติการในทุกจังหวัดและกทม. ให้พร้อมตรวจได้ทั่วถึง โดยความร่วมมือของ ภาครัฐ เอกชน และสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถตรวจได้ 50,000 ตัวอย่าง/วัน รวมทั้งมีระบบการจับคู่ห้องปฏิบัติการกับโรงพยาบาลต้นสังกัด เชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบออนไลน์กับกรมควบคุมโรคและโรงพยาบาลที่ส่งตรวจ ทําให้การรับส่งเชื้อรวดเร็ว รายงานผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง ช่วยให้การป้องกันควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ดําเนินการตรวจหาเชื้อเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เป็นต้นมา ได้ทําการตรวจปูพรมทั่วประเทศไปแล้วกว่า 200,000 ราย ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี RT-PCR เพื่อให้การวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว สามารถควบคุมโรค จํากัดวงการแพร่ระบาดได้ นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า ในระบบเฝ้าระวังในปัจจุบัน หากมีอาการสงสัยป่วยโรคโควิด19 ได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส ร่วมกับมีประวัติเสี่ยง สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองได้ที่โรงพยาบาล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ ให้ สปสช. ผ่านกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ สําหรับการตรวจโควิด 19 ให้กับโรงพยาบาล โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย จํานวน 13 คัน เพื่อสนับสนุนการตรวจเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะพื้นที่ที่เข้าถึงยาก และเพื่อให้บุคคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน ประชาชนสามารถโทรสอบถามการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช. โทร 1330 **********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ปูพรมตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสมุทรสาคร วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สธ.ปูพรมตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสมุทรสาคร กระทรวงสาธารณสุข ส่งรถเก็บตัวอย่างเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน ลงพื้นที่ เร่งปูพรมตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดอื่นๆ ให้ได้มากที่สุด กระทรวงสาธารณสุข ส่งรถเก็บตัวอย่างเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน ลงพื้นที่ เร่งปูพรมตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดอื่นๆ ให้ได้มากที่สุด วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้ความสําคัญกับการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในทุกพื้นที่ที่คาดว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงอาจเกิดการแพร่ระบาด รวมทั้งเพิ่มการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง แรงงานต่างด้าวที่อยู่รวมกันในที่พักหรือโรงงาน ผู้ต้องขัง ผู้ต้องกักในศูนย์กักกันคนเข้าเมือง หรือกลุ่มที่มีโอกาสพบปะผู้คนจํานวนมาก เช่น บุคลากรหรือพนักงานต้อนรับประจํารถสาธารณะ อาชีพเสี่ยงอื่น ๆ หรือกลุ่มที่มีแนวโน้มพบปะผู้ป่วยสูง คือ บุคลากรทางการแพทย์ ส่วนสถานที่เสี่ยง ได้แก่ ตลาดนัด ศาสนสถาน สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟฟ้า ชุมชนแออัด เป็นต้น สําหรับที่จังหวัดสมุทรสาคร ได้เร่งติดตามตรวจหาเชื้อในกลุ่มเสี่ยง ตั้งเป้าให้ได้ 10,300 ราย ภายใน 2 สัปดาห์ โดยนํารถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทานจํานวน 6 คัน และระดมบุคลากรทางการแพทย์จาก 8 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 5 เร่งตรวจคัดกรองค้นหาผู้ติดเชื้อในกลุ่มแรงงานต่างด้าวพร้อมทั้งประเมินสถานการณ์ เพื่อจํากัดตีวงในพื้นที่ที่มีการระบาดสูง และจะตรวจค้นหาอย่างต่อเนื่องให้ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งชุมชนแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในจังหวัดอื่นๆ ให้ได้มากที่สุด นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ขยายขีดความสามารถห้องปฏิบัติการในทุกจังหวัดและกทม. ให้พร้อมตรวจได้ทั่วถึง โดยความร่วมมือของ ภาครัฐ เอกชน และสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถตรวจได้ 50,000 ตัวอย่าง/วัน รวมทั้งมีระบบการจับคู่ห้องปฏิบัติการกับโรงพยาบาลต้นสังกัด เชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบออนไลน์กับกรมควบคุมโรคและโรงพยาบาลที่ส่งตรวจ ทําให้การรับส่งเชื้อรวดเร็ว รายงานผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง ช่วยให้การป้องกันควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ดําเนินการตรวจหาเชื้อเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เป็นต้นมา ได้ทําการตรวจปูพรมทั่วประเทศไปแล้วกว่า 200,000 ราย ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี RT-PCR เพื่อให้การวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว สามารถควบคุมโรค จํากัดวงการแพร่ระบาดได้ นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า ในระบบเฝ้าระวังในปัจจุบัน หากมีอาการสงสัยป่วยโรคโควิด19 ได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส ร่วมกับมีประวัติเสี่ยง สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองได้ที่โรงพยาบาล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ ให้ สปสช. ผ่านกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ สําหรับการตรวจโควิด 19 ให้กับโรงพยาบาล โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย จํานวน 13 คัน เพื่อสนับสนุนการตรวจเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะพื้นที่ที่เข้าถึงยาก และเพื่อให้บุคคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน ประชาชนสามารถโทรสอบถามการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช. โทร 1330 **********************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37804
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เปิดให้ผู้ประกันตนเลือกเปลี่ยน รพ. ประจำปี 64
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 เปิดให้ผู้ประกันตนเลือกเปลี่ยน รพ. ประจําปี 64 วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ สํานักงานประกันสังคม เปิดให้ผู้ประกันตนสามารถแจ้งขอเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาลประจําปี 2564 ด้วยเหตุจําเป็นไม่ได้รับความสะดวก ในการเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่เลือกไว้ก่อนหน้านี้ เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ทํางาน โดยสามารถแจ้งเปลี่ยนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ หรือทํารายการผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ของสํานักงานประกันสังคม ได้ตั้งแต่บัดนี้ - 31 มี.ค. 64 หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สํานักงานประกันสังคมพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือโทร.สายด่วน 1506 “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เปิดให้ผู้ประกันตนเลือกเปลี่ยน รพ. ประจำปี 64 วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 เปิดให้ผู้ประกันตนเลือกเปลี่ยน รพ. ประจําปี 64 วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ สํานักงานประกันสังคม เปิดให้ผู้ประกันตนสามารถแจ้งขอเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาลประจําปี 2564 ด้วยเหตุจําเป็นไม่ได้รับความสะดวก ในการเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่เลือกไว้ก่อนหน้านี้ เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ทํางาน โดยสามารถแจ้งเปลี่ยนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ หรือทํารายการผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ของสํานักงานประกันสังคม ได้ตั้งแต่บัดนี้ - 31 มี.ค. 64 หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สํานักงานประกันสังคมพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือโทร.สายด่วน 1506 “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37796
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน รับใน “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของ UNEP FI
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ออมสิน รับใน “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของ UNEP FI ธนาคารออมสิน ย้ําจุดยืนการเป็นธนาคารเพื่อสังคม ลงนามรับใน “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของสํานักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มทางการเงิน หรือ UNEP Finance Initiative : UNEP FI ถือเป็นแบงก์รัฐแห่งแรก ที่ร่วมรับหลักการ ธนาคารออมสิน ย้ําจุดยืนการเป็นธนาคารเพื่อสังคม ลงนามรับใน “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของสํานักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มทางการเงิน หรือ UNEP Finance Initiative : UNEP FI ถือเป็นแบงก์รัฐแห่งแรก ที่ร่วมรับหลักการ เพื่อยกระดับการดําเนินการเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลของธนาคารให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยวางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 ด้านหลัก คือ ลดความยากจน และ ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม นายวิทัย รัตนากร ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะความเสียหายต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ ปัญหาความเหลื่อมล้ําในสังคม และปัญหาการดําเนินงานที่ไม่โปร่งใสในองค์กร ส่งผลให้โลกได้หันมาให้ความสําคัญกับการดําเนินธุรกิจตามแนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ที่เน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพและคํานึงถึงผลกระทบในระยะยาว ธนาคารออมสินตระหนักถึงการมุ่งเน้นดําเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment Social and Governance : ESG) เพื่อที่จะก้าวสู่การเป็นธนาคารที่ยั่งยืน (Sustainable Banking) จึงเข้าร่วมเป็นสมาชิก “สํานักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มทางการเงิน หรือ UNEP Finance Initiative (UNEP FI)” เพื่อเข้าร่วมรับใน “หลักการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” หรือ “Principles for Responsible Banking (PRB)” โดยถือเป็นสถาบันการเงินของรัฐแห่งแรกของไทยที่เข้าร่วมสนับสนุนหลักการดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย 6 หลักการ คือ 1. การดําเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Alignment) 2. การกําหนดเป้าหมายที่เพิ่มผลกระทบเชิงบวกหรือลดผลกระทบเชิงลบ (Impact & Target Setting) 3. การให้บริการลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ (Clients & Customers) 4. การร่วมดําเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียด้วยความรับผิดชอบ (Stakeholders) 5. การมีธรรมาภิบาลและการปลูกฝังวัฒนธรรมการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ (Governance & Culture) 6. เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ (Transparency & Accountability) ทั้งนี้ ธนาคารออมสินได้วางเป้าหมายที่จะมุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อสังคม หรือ Social Bank อย่างเต็มรูปแบบ และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal หรือ SDGs) 2 ด้านหลัก คือ ด้านที่ 1ลดความยากจน และด้านที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม ตามแนวคิด “Making POSITIVE Impact on Society” โดยจะดูแลลูกค้าและประชาชน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการรายย่อย (พ่อค้าแม่ค้า) และองค์กรชุมชน ด้วยการเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนภายใต้ดอกเบี้ยที่เป็นธรรม สนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนอย่างครบวงจร และส่งเสริมการออมและพัฒนาทักษะทางการเงิน เพื่อที่จะยกระดับรายได้ของประชาชนและต่อยอดการเจริญเติบโตให้กับผู้ประกอบการรายย่อย อันเป็นภารกิจสําคัญที่ธนาคารฯ มีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ที่ได้ดูแลกลุ่มลูกค้านี้อย่างใกล้ชิดมาตลอดระยะเวลาที่ยาวนาน นายวิทัย กล่าวในตอนท้ายว่า การเข้าร่วมเป็นสมาชิก UNEP FI และการยึดมั่นต่อ “หลักการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ (PRB)” ในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ําจุดยืนของธนาคารออมสินในการเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม” ในฐานะสถาบันการเงินที่เติบโตเคียงข้างประชาชน และประเทศชาติ ที่สืบทอดปณิธานที่มีมาตลอดระยะเวลา 107 ปี โดยธนาคารจะปรับภารกิจและกระบวนการทุกด้านให้สอดคล้องกับการเป็นธนาคารเพื่อสังคม เพื่อมุ่งให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกต่อสังคมที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น การร่วมลงทุนในธุรกิจสินเชื่อจํานําทะเบียนรถ รวมถึงการร่วมมือกับสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย ในการส่งเสริมให้ธุรกิจเพื่อสังคมประสบความสําเร็จในการประกอบการ ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหา พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การทําภารกิจเชิงพาณิชย์จะเป็นกิจการรองเพื่อสร้างกําไรที่จะนํามาสนับสนุนภารกิจด้านสังคม รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งทางการเงินด้วยการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ให้ความสําคัญด้านคุณภาพมากกว่าการเติบโตด้วยปริมาณ ซึ่งจะเป็นการสร้างสมดุลในการดําเนินธุรกิจขององค์กร ทําให้องค์กรเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน https://www.gsb.or.th/news/gsbpr78/
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน รับใน “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของ UNEP FI วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ออมสิน รับใน “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของ UNEP FI ธนาคารออมสิน ย้ําจุดยืนการเป็นธนาคารเพื่อสังคม ลงนามรับใน “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของสํานักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มทางการเงิน หรือ UNEP Finance Initiative : UNEP FI ถือเป็นแบงก์รัฐแห่งแรก ที่ร่วมรับหลักการ ธนาคารออมสิน ย้ําจุดยืนการเป็นธนาคารเพื่อสังคม ลงนามรับใน “หลักการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” ของสํานักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มทางการเงิน หรือ UNEP Finance Initiative : UNEP FI ถือเป็นแบงก์รัฐแห่งแรก ที่ร่วมรับหลักการ เพื่อยกระดับการดําเนินการเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลของธนาคารให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยวางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 ด้านหลัก คือ ลดความยากจน และ ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม นายวิทัย รัตนากร ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะความเสียหายต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ ปัญหาความเหลื่อมล้ําในสังคม และปัญหาการดําเนินงานที่ไม่โปร่งใสในองค์กร ส่งผลให้โลกได้หันมาให้ความสําคัญกับการดําเนินธุรกิจตามแนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ที่เน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพและคํานึงถึงผลกระทบในระยะยาว ธนาคารออมสินตระหนักถึงการมุ่งเน้นดําเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment Social and Governance : ESG) เพื่อที่จะก้าวสู่การเป็นธนาคารที่ยั่งยืน (Sustainable Banking) จึงเข้าร่วมเป็นสมาชิก “สํานักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มทางการเงิน หรือ UNEP Finance Initiative (UNEP FI)” เพื่อเข้าร่วมรับใน “หลักการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ” หรือ “Principles for Responsible Banking (PRB)” โดยถือเป็นสถาบันการเงินของรัฐแห่งแรกของไทยที่เข้าร่วมสนับสนุนหลักการดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย 6 หลักการ คือ 1. การดําเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Alignment) 2. การกําหนดเป้าหมายที่เพิ่มผลกระทบเชิงบวกหรือลดผลกระทบเชิงลบ (Impact & Target Setting) 3. การให้บริการลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ (Clients & Customers) 4. การร่วมดําเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียด้วยความรับผิดชอบ (Stakeholders) 5. การมีธรรมาภิบาลและการปลูกฝังวัฒนธรรมการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ (Governance & Culture) 6. เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ (Transparency & Accountability) ทั้งนี้ ธนาคารออมสินได้วางเป้าหมายที่จะมุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อสังคม หรือ Social Bank อย่างเต็มรูปแบบ และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal หรือ SDGs) 2 ด้านหลัก คือ ด้านที่ 1ลดความยากจน และด้านที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม ตามแนวคิด “Making POSITIVE Impact on Society” โดยจะดูแลลูกค้าและประชาชน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการรายย่อย (พ่อค้าแม่ค้า) และองค์กรชุมชน ด้วยการเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนภายใต้ดอกเบี้ยที่เป็นธรรม สนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนอย่างครบวงจร และส่งเสริมการออมและพัฒนาทักษะทางการเงิน เพื่อที่จะยกระดับรายได้ของประชาชนและต่อยอดการเจริญเติบโตให้กับผู้ประกอบการรายย่อย อันเป็นภารกิจสําคัญที่ธนาคารฯ มีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ที่ได้ดูแลกลุ่มลูกค้านี้อย่างใกล้ชิดมาตลอดระยะเวลาที่ยาวนาน นายวิทัย กล่าวในตอนท้ายว่า การเข้าร่วมเป็นสมาชิก UNEP FI และการยึดมั่นต่อ “หลักการเป็นธนาคารที่มีความรับผิดชอบ (PRB)” ในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ําจุดยืนของธนาคารออมสินในการเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม” ในฐานะสถาบันการเงินที่เติบโตเคียงข้างประชาชน และประเทศชาติ ที่สืบทอดปณิธานที่มีมาตลอดระยะเวลา 107 ปี โดยธนาคารจะปรับภารกิจและกระบวนการทุกด้านให้สอดคล้องกับการเป็นธนาคารเพื่อสังคม เพื่อมุ่งให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกต่อสังคมที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น การร่วมลงทุนในธุรกิจสินเชื่อจํานําทะเบียนรถ รวมถึงการร่วมมือกับสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย ในการส่งเสริมให้ธุรกิจเพื่อสังคมประสบความสําเร็จในการประกอบการ ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหา พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การทําภารกิจเชิงพาณิชย์จะเป็นกิจการรองเพื่อสร้างกําไรที่จะนํามาสนับสนุนภารกิจด้านสังคม รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งทางการเงินด้วยการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ให้ความสําคัญด้านคุณภาพมากกว่าการเติบโตด้วยปริมาณ ซึ่งจะเป็นการสร้างสมดุลในการดําเนินธุรกิจขององค์กร ทําให้องค์กรเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน https://www.gsb.or.th/news/gsbpr78/
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37814
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส ติดตามความก้าวหน้าการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 3/2563
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ดีอีเอส ติดตามความก้าวหน้าการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 3/2563 ดีอีเอส ติดตามความก้าวหน้าการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานการประชุมความร่วมมือการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 3/2563 โดยมีนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้รายงานความก้าวหน้าในการดําเนินโครงการร่วมกับโรงพยาบาลในภาคี ซึ่งดําเนินการโดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ หน่วยงานภายใต้สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ดําเนินการจัดทําระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล และประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลภาคี ในรูปแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ณ ห้องประชุม MDES ชั้น 9 สํานักปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ******************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส ติดตามความก้าวหน้าการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 3/2563 วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ดีอีเอส ติดตามความก้าวหน้าการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 3/2563 ดีอีเอส ติดตามความก้าวหน้าการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานการประชุมความร่วมมือการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 3/2563 โดยมีนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้รายงานความก้าวหน้าในการดําเนินโครงการร่วมกับโรงพยาบาลในภาคี ซึ่งดําเนินการโดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ หน่วยงานภายใต้สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ดําเนินการจัดทําระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล และประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลภาคี ในรูปแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ณ ห้องประชุม MDES ชั้น 9 สํานักปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ******************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37800
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แถลงการณ์นายกรัฐมนตรี เรื่อง “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง”
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 แถลงการณ์นายกรัฐมนตรี เรื่อง “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” แถลงการณ์นายกรัฐมนตรี เรื่อง “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” 22 ธันวาคม 2563 พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่านครับ การระบาดใหม่ของโควิด-19 ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่จังหวัดสมุทรสาครได้ถูกจัดการอย่างเร่งด่วนในทันที พร้อมกับการใช้มาตรการที่เข้มข้น ซึ่งผมขอขอบคุณทุกคน ทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี การระบาดที่เกิดใหม่นี้ เป็นสิ่งย้ําเตือนที่สําคัญว่าโควิด-19 ยังคงเป็นภัยร้ายแรงสําหรับประเทศของเรา และในช่วงเวลาเดียวกัน สถานการณ์โควิดทั่วโลกก็ดําดิ่งลงสู่ความหนักหนาสาหัสที่รุนแรงและกะทันหันด้วยไม่กี่วันก่อน ประเทศอังกฤษยืนยันว่าพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า มีรายงานจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนคนภายในแค่สัปดาห์เดียว และดูเหมือนว่าจะมีการพบโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ในประเทศอื่น ๆ แล้วด้วย เดือนธันวาคมนี้ ดูจะเป็นเดือนที่สําคัญ สถานการณ์โควิดทั่วโลกเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดมา หลายประเทศรายงานจํานวนผู้เสียชีวิตจากโควิดเป็นร้อย ๆ คน ภายในสัปดาห์เดียว และมีบางประเทศที่เสียชีวิตเป็นพัน ๆ คนภายในหนึ่งสัปดาห์ การที่สถานการณ์โควิดทั่วโลกแย่ลงขนาดนี้ย่อมจะส่งผลกระทบที่ไม่ดีมาถึงประเทศไทยด้วยแน่นอน และเราต้องคงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือ ผลกระทบอย่างแรก คือเศรษฐกิจทั่วโลกจะยิ่งฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะช้ากว่าที่คาดการณ์ตามไปด้วย ผลกระทบอย่างที่สอง คือเราจะยังคงต้องระมัดระวังมาตรการการผ่อนคลายให้คนต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยต่อไปอีก เพราะเมื่อสถานการณ์โควิดนอกประเทศแย่ขนาดนี้ ความเสี่ยงที่สุดของเราก็คือ คนต่างชาติที่เข้าประเทศไทย จะนําเชื้อโควิดเข้ามาในประเทศเราด้วย ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับระบบสาธารณสุขของไทย และสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจมากกว่าที่เราเจออยู่อีกหลายเท่า เราจึงต้องเข้มงวดและระมัดระวังอย่างเต็มที่ ทั้งที่สนามบิน และช่องทางเข้าประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟ รถบัส เรือ รวมถึงช่องทางธรรมชาติอื่น ๆ ด้วยเพราะหากมีผู้ติดเชื้อโควิดเล็ดลอดเข้าประเทศมาได้ แม้เพียงไม่กี่คนก็จะสร้างปัญหาอย่างหนักให้กับเศรษฐกิจและสุขภาพของคนนับแสน ๆ คน ผมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ตามช่องทางเข้าประเทศต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทํางานด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่น และมีประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่อง ชาวต่างชาติหลายคนที่เข้ามาที่สุวรรณภูมิ บอกกับผมว่าเค้าประทับใจในความเป็นมืออาชีพ และความมีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ทีมต่าง ๆ ที่บริหารจัดการขั้นตอนการเข้าประเทศได้อย่างน่าชื่นชม เราต้องคงประสิทธิภาพแบบนี้เอาไว้ ผลกระทบอย่างที่สาม คือเมื่อสถานการณ์ทั่วโลกยิ่งแย่ลง ก็ทําให้เรายิ่งต้องตั้งการ์ดให้สูงขึ้น เพิ่มและปรับมาตรการต่าง ๆ ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น สําหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่สมุทรสาคร ปัจจุบันได้มีการกักกันและอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคเชิงรุก และทางจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดใกล้เคียง และกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ทั้งการทํากิจกรรมต่าง ๆ การตรวจคัดกรอง การเข้า-ออกสถานที่ การเว้นระยะห่าง ทั้งนี้ ผมอาจจําเป็นต้องประกาศมาตรการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมเฉลิมฉลองปีใหม่จะมีมาตรการอย่างไร หรือต้องงดจัดงาน ผมเข้าใจดี ทุกคนต้องการผ่อนคลาย ธุรกิจร้านค้าก็อยากมีรายได้ อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์นี้ผมจะประชุมกับ ศบค. และจะมีการออกมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะในเมื่อเราได้เห็นมาแล้วว่าถ้าเราอ่อนหรือผ่อนคลายมาตรการมากเกินไป โควิดจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจที่มากกว่านี้และกระทบกันไปหมดทั้งประเทศ หลายประเทศตอนนี้ เริ่มกลับไปใช้มาตรการที่เข้มงวด มากมายหลายมาตรการ ทั้งการบังคับไม่ให้ประชาชนออกจากบ้าน การออกข้อกําหนดมากมายสําหรับคนที่ต้องการเข้าประเทศ ร้านค้าร้านอาหารส่วนใหญ่ต้องปิด รวมถึงสถานที่บันเทิงและสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ก็ต้องปิดด้วย หรือในบางประเทศ อย่างฝรั่งเศส ถึงขั้นห้ามไม่ให้มีการขนส่งสิ่งของ เข้า-ออกประเทศเป็นการชั่วคราว เมื่อต้นปี ตอนที่โควิดเริ่มเป็นภัยร้ายแรงของโลก มีประเทศที่ไม่เข้มงวดปกป้องดูแลเรื่องสุขภาพและสาธารณสุขด้วยเพราะกังวลว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของตัวเอง ปัจจุบันประเทศเหล่านี้ล้วนเจอผลกระทบหนักต่อเศรษฐกิจทั้งสิ้น เพราะสุดท้ายแล้วการระบาดของโควิด ทําให้ประชาชนไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ เมื่อคนเป็นโควิดเยอะ สุดท้ายก็สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจอยู่ดี เพราะฉะนั้นสําหรับผมมันชัดเจนมาก ว่าการเข้มงวดเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน และสาธารณสุขของประเทศ เป็นวิธีที่จะปกป้องความเสียหายต่อเศรษฐกิจไม่ให้รุนแรงมากกว่าที่เรากําลังเจออยู่ ตั้งแต่ต้น เราเข้มงวดในเรื่องการปกป้องดูแลสุขภาพของประชาชน นี่คือเหตุผลที่ประเทศไทยเจอปัญหาเศรษฐกิจที่เบากว่าประเทศอื่น ๆ หลายประเทศ และเรายังสามารถใช้ชีวิตประจําวันของเราได้อย่างเกือบเป็นปกติ โรงพยาบาล และสถานสาธารณสุขต่าง ๆ ยังทํางานกันได้ตามปกติ ดูแลคนไข้โรคอื่น ๆ ได้ โดยไม่ถูกคนไข้โควิดรบกวน และสิ่งสําคัญที่สุดก็คือคนไทยไม่ต้องเจอกับการสูญเสียชีวิตของพ่อแม่พี่น้องลูกหลานไปกับโควิด ซึ่งเป็นฝันร้ายที่คนในหลายประเทศทั่วโลกยังต้องเจอกันอยู่ทุกวัน การที่เราทําได้เช่นนี้ ต้องยกความดีความชอบเป็นของประชาชนคนไทยทุกคน ที่ให้ความร่วมมือ มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทุกวันนี้เรายังคงต้องเสียสละความสะดวกสบายส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมกันต่อไป เรายังสวมหน้ากากอนามัยกันอยู่ตลอด เรายังล้างมือบ่อย ๆ เป็นประจํา และรักษาระยะห่างทางสังคม และเราต้องยกความดีความชอบให้กับการทํางานอย่างหนักของอาสาสมัครสาธารณสุข บุคลากรสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐทุกส่วนที่ร่วมมือกันทํางานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เราต้องจําไว้ว่า เพียงคนไม่กี่คนที่ละเลยความรับผิดชอบต่อสังคม และมีพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว จะสร้างปัญหาให้คนเป็นล้าน ๆ ได้ ผมจึงต้องขอให้คนไทยทุกคนใช้ชีวิตในแต่ละวัน อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับที่สูงมากกว่าปกติ และขอให้ทําด้วยความภูมิใจว่า สิ่งที่ทุกคนทํา ทุกวัน ทุกวัน แม้จะดูเล็กน้อย แต่มีผลกับทั้งประเทศ สร้างความแตกต่างให้ประเทศไทยได้ และทุกคนได้มีส่วนช่วยกันทําให้ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าอีกหลายประเทศ ในส่วนของขบวนการนําแรงงานเถื่อนเข้าประเทศนั้น จะต้องถูกดําเนินคดี ถูกทําลายให้สิ้นซาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ หรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพราะการแพร่ระบาดครั้งนี้ ตรวจพบผู้ติดเชื้อจากแรงงานต่างด้าวมากที่สุด แม้ว่าเส้นทางจะยังอีกยาวไกลกว่าสถานการณ์จะกลับเป็นปกติ แต่ผมมั่นใจว่า ถ้าเราทุกคนยังร่วมมือกันแบบนี้ได้ เราจะยังเป็นหนึ่งในประเทศที่รับผลกระทบน้อยที่สุดในโลก เราเป็นประเทศที่ประชาชนรู้ว่าเราพึ่งพาตัวเองได้ และเราก็หวังพึ่งพาคนอื่น ๆ ในสังคมได้ด้วย ให้ทุกคนต่างทําหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด สําหรับผม ผมจะยังกําชับดูแลให้มั่นใจว่า หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ จะยังคงทํางานแบบบูรณาการ และใกล้ชิดกัน ผมจะกําชับดูแลให้ทุกฝ่ายยึดมั่นรับฟังคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุข และผมจะยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องต่อไป ในการเร่งจัดหาและพัฒนาวัคซีนให้พร้อมใช้งาน เร็วที่สุดเท่าที่จะเร่งได้ หลังจากที่เราประสบความสําเร็จมาแล้วในการเจรจา ให้ผู้พัฒนาวัคซีนที่ดีที่สุดในโลกรายหนึ่ง ตกลงมาตั้งศูนย์ผลิตวัคซีนในประเทศไทย ในช่วงเวลานี้ ที่พายุโควิดนอกประเทศไทย โหมกระหน่ํารุนแรงขึ้นอีก เรายิ่งต้องระมัดระวังให้มากขึ้น ผมขอให้คนไทยทุกคนให้ความร่วมมือ และอยู่เคียงข้าง ต่อสู้ไปด้วยกัน ให้ผ่านพ้นสถานการณ์ไปให้ได้ ขอบคุณมากครับ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แถลงการณ์นายกรัฐมนตรี เรื่อง “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 แถลงการณ์นายกรัฐมนตรี เรื่อง “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” แถลงการณ์นายกรัฐมนตรี เรื่อง “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” 22 ธันวาคม 2563 พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่านครับ การระบาดใหม่ของโควิด-19 ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่จังหวัดสมุทรสาครได้ถูกจัดการอย่างเร่งด่วนในทันที พร้อมกับการใช้มาตรการที่เข้มข้น ซึ่งผมขอขอบคุณทุกคน ทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี การระบาดที่เกิดใหม่นี้ เป็นสิ่งย้ําเตือนที่สําคัญว่าโควิด-19 ยังคงเป็นภัยร้ายแรงสําหรับประเทศของเรา และในช่วงเวลาเดียวกัน สถานการณ์โควิดทั่วโลกก็ดําดิ่งลงสู่ความหนักหนาสาหัสที่รุนแรงและกะทันหันด้วยไม่กี่วันก่อน ประเทศอังกฤษยืนยันว่าพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า มีรายงานจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนคนภายในแค่สัปดาห์เดียว และดูเหมือนว่าจะมีการพบโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ในประเทศอื่น ๆ แล้วด้วย เดือนธันวาคมนี้ ดูจะเป็นเดือนที่สําคัญ สถานการณ์โควิดทั่วโลกเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดมา หลายประเทศรายงานจํานวนผู้เสียชีวิตจากโควิดเป็นร้อย ๆ คน ภายในสัปดาห์เดียว และมีบางประเทศที่เสียชีวิตเป็นพัน ๆ คนภายในหนึ่งสัปดาห์ การที่สถานการณ์โควิดทั่วโลกแย่ลงขนาดนี้ย่อมจะส่งผลกระทบที่ไม่ดีมาถึงประเทศไทยด้วยแน่นอน และเราต้องคงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือ ผลกระทบอย่างแรก คือเศรษฐกิจทั่วโลกจะยิ่งฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะช้ากว่าที่คาดการณ์ตามไปด้วย ผลกระทบอย่างที่สอง คือเราจะยังคงต้องระมัดระวังมาตรการการผ่อนคลายให้คนต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยต่อไปอีก เพราะเมื่อสถานการณ์โควิดนอกประเทศแย่ขนาดนี้ ความเสี่ยงที่สุดของเราก็คือ คนต่างชาติที่เข้าประเทศไทย จะนําเชื้อโควิดเข้ามาในประเทศเราด้วย ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับระบบสาธารณสุขของไทย และสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจมากกว่าที่เราเจออยู่อีกหลายเท่า เราจึงต้องเข้มงวดและระมัดระวังอย่างเต็มที่ ทั้งที่สนามบิน และช่องทางเข้าประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟ รถบัส เรือ รวมถึงช่องทางธรรมชาติอื่น ๆ ด้วยเพราะหากมีผู้ติดเชื้อโควิดเล็ดลอดเข้าประเทศมาได้ แม้เพียงไม่กี่คนก็จะสร้างปัญหาอย่างหนักให้กับเศรษฐกิจและสุขภาพของคนนับแสน ๆ คน ผมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ตามช่องทางเข้าประเทศต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทํางานด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่น และมีประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่อง ชาวต่างชาติหลายคนที่เข้ามาที่สุวรรณภูมิ บอกกับผมว่าเค้าประทับใจในความเป็นมืออาชีพ และความมีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ทีมต่าง ๆ ที่บริหารจัดการขั้นตอนการเข้าประเทศได้อย่างน่าชื่นชม เราต้องคงประสิทธิภาพแบบนี้เอาไว้ ผลกระทบอย่างที่สาม คือเมื่อสถานการณ์ทั่วโลกยิ่งแย่ลง ก็ทําให้เรายิ่งต้องตั้งการ์ดให้สูงขึ้น เพิ่มและปรับมาตรการต่าง ๆ ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น สําหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่สมุทรสาคร ปัจจุบันได้มีการกักกันและอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคเชิงรุก และทางจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดใกล้เคียง และกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ทั้งการทํากิจกรรมต่าง ๆ การตรวจคัดกรอง การเข้า-ออกสถานที่ การเว้นระยะห่าง ทั้งนี้ ผมอาจจําเป็นต้องประกาศมาตรการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมเฉลิมฉลองปีใหม่จะมีมาตรการอย่างไร หรือต้องงดจัดงาน ผมเข้าใจดี ทุกคนต้องการผ่อนคลาย ธุรกิจร้านค้าก็อยากมีรายได้ อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์นี้ผมจะประชุมกับ ศบค. และจะมีการออกมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะในเมื่อเราได้เห็นมาแล้วว่าถ้าเราอ่อนหรือผ่อนคลายมาตรการมากเกินไป โควิดจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจที่มากกว่านี้และกระทบกันไปหมดทั้งประเทศ หลายประเทศตอนนี้ เริ่มกลับไปใช้มาตรการที่เข้มงวด มากมายหลายมาตรการ ทั้งการบังคับไม่ให้ประชาชนออกจากบ้าน การออกข้อกําหนดมากมายสําหรับคนที่ต้องการเข้าประเทศ ร้านค้าร้านอาหารส่วนใหญ่ต้องปิด รวมถึงสถานที่บันเทิงและสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ก็ต้องปิดด้วย หรือในบางประเทศ อย่างฝรั่งเศส ถึงขั้นห้ามไม่ให้มีการขนส่งสิ่งของ เข้า-ออกประเทศเป็นการชั่วคราว เมื่อต้นปี ตอนที่โควิดเริ่มเป็นภัยร้ายแรงของโลก มีประเทศที่ไม่เข้มงวดปกป้องดูแลเรื่องสุขภาพและสาธารณสุขด้วยเพราะกังวลว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของตัวเอง ปัจจุบันประเทศเหล่านี้ล้วนเจอผลกระทบหนักต่อเศรษฐกิจทั้งสิ้น เพราะสุดท้ายแล้วการระบาดของโควิด ทําให้ประชาชนไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ เมื่อคนเป็นโควิดเยอะ สุดท้ายก็สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจอยู่ดี เพราะฉะนั้นสําหรับผมมันชัดเจนมาก ว่าการเข้มงวดเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน และสาธารณสุขของประเทศ เป็นวิธีที่จะปกป้องความเสียหายต่อเศรษฐกิจไม่ให้รุนแรงมากกว่าที่เรากําลังเจออยู่ ตั้งแต่ต้น เราเข้มงวดในเรื่องการปกป้องดูแลสุขภาพของประชาชน นี่คือเหตุผลที่ประเทศไทยเจอปัญหาเศรษฐกิจที่เบากว่าประเทศอื่น ๆ หลายประเทศ และเรายังสามารถใช้ชีวิตประจําวันของเราได้อย่างเกือบเป็นปกติ โรงพยาบาล และสถานสาธารณสุขต่าง ๆ ยังทํางานกันได้ตามปกติ ดูแลคนไข้โรคอื่น ๆ ได้ โดยไม่ถูกคนไข้โควิดรบกวน และสิ่งสําคัญที่สุดก็คือคนไทยไม่ต้องเจอกับการสูญเสียชีวิตของพ่อแม่พี่น้องลูกหลานไปกับโควิด ซึ่งเป็นฝันร้ายที่คนในหลายประเทศทั่วโลกยังต้องเจอกันอยู่ทุกวัน การที่เราทําได้เช่นนี้ ต้องยกความดีความชอบเป็นของประชาชนคนไทยทุกคน ที่ให้ความร่วมมือ มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทุกวันนี้เรายังคงต้องเสียสละความสะดวกสบายส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมกันต่อไป เรายังสวมหน้ากากอนามัยกันอยู่ตลอด เรายังล้างมือบ่อย ๆ เป็นประจํา และรักษาระยะห่างทางสังคม และเราต้องยกความดีความชอบให้กับการทํางานอย่างหนักของอาสาสมัครสาธารณสุข บุคลากรสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐทุกส่วนที่ร่วมมือกันทํางานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เราต้องจําไว้ว่า เพียงคนไม่กี่คนที่ละเลยความรับผิดชอบต่อสังคม และมีพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว จะสร้างปัญหาให้คนเป็นล้าน ๆ ได้ ผมจึงต้องขอให้คนไทยทุกคนใช้ชีวิตในแต่ละวัน อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับที่สูงมากกว่าปกติ และขอให้ทําด้วยความภูมิใจว่า สิ่งที่ทุกคนทํา ทุกวัน ทุกวัน แม้จะดูเล็กน้อย แต่มีผลกับทั้งประเทศ สร้างความแตกต่างให้ประเทศไทยได้ และทุกคนได้มีส่วนช่วยกันทําให้ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าอีกหลายประเทศ ในส่วนของขบวนการนําแรงงานเถื่อนเข้าประเทศนั้น จะต้องถูกดําเนินคดี ถูกทําลายให้สิ้นซาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ หรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพราะการแพร่ระบาดครั้งนี้ ตรวจพบผู้ติดเชื้อจากแรงงานต่างด้าวมากที่สุด แม้ว่าเส้นทางจะยังอีกยาวไกลกว่าสถานการณ์จะกลับเป็นปกติ แต่ผมมั่นใจว่า ถ้าเราทุกคนยังร่วมมือกันแบบนี้ได้ เราจะยังเป็นหนึ่งในประเทศที่รับผลกระทบน้อยที่สุดในโลก เราเป็นประเทศที่ประชาชนรู้ว่าเราพึ่งพาตัวเองได้ และเราก็หวังพึ่งพาคนอื่น ๆ ในสังคมได้ด้วย ให้ทุกคนต่างทําหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด สําหรับผม ผมจะยังกําชับดูแลให้มั่นใจว่า หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ จะยังคงทํางานแบบบูรณาการ และใกล้ชิดกัน ผมจะกําชับดูแลให้ทุกฝ่ายยึดมั่นรับฟังคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุข และผมจะยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องต่อไป ในการเร่งจัดหาและพัฒนาวัคซีนให้พร้อมใช้งาน เร็วที่สุดเท่าที่จะเร่งได้ หลังจากที่เราประสบความสําเร็จมาแล้วในการเจรจา ให้ผู้พัฒนาวัคซีนที่ดีที่สุดในโลกรายหนึ่ง ตกลงมาตั้งศูนย์ผลิตวัคซีนในประเทศไทย ในช่วงเวลานี้ ที่พายุโควิดนอกประเทศไทย โหมกระหน่ํารุนแรงขึ้นอีก เรายิ่งต้องระมัดระวังให้มากขึ้น ผมขอให้คนไทยทุกคนให้ความร่วมมือ และอยู่เคียงข้าง ต่อสู้ไปด้วยกัน ให้ผ่านพ้นสถานการณ์ไปให้ได้ ขอบคุณมากครับ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37832
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศูนย์บริหารแรงงาน EEC ปี 63 ผลสำเร็จเกินเป้า
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ศูนย์บริหารแรงงาน EEC ปี 63 ผลสําเร็จเกินเป้า วันเสาร์ฺที่ 19 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลพอใจผลการดําเนินงานศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นศูนย์อํานวยความสะดวกด้านแรงงานให้แก่นายจ้าง ผู้ประกอบการ และแรงงาน ได้อย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จ โดยปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา เกิดผลสําเร็จเกินเป้าหมายในหลายด้าน เช่น ให้บริการจัดหางานให้กลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ หรือ First S-curve และกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือ New S-curve จากเดิมที่กําหนดไว้ 28,000 คน ซึ่งมีผู้สนใจมากถึงกว่า 40,000 คน รวมถึงฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 10 อุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบกิจการที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC ในอนาคตอีกด้วย “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศูนย์บริหารแรงงาน EEC ปี 63 ผลสำเร็จเกินเป้า วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ศูนย์บริหารแรงงาน EEC ปี 63 ผลสําเร็จเกินเป้า วันเสาร์ฺที่ 19 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลพอใจผลการดําเนินงานศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นศูนย์อํานวยความสะดวกด้านแรงงานให้แก่นายจ้าง ผู้ประกอบการ และแรงงาน ได้อย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จ โดยปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา เกิดผลสําเร็จเกินเป้าหมายในหลายด้าน เช่น ให้บริการจัดหางานให้กลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ หรือ First S-curve และกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือ New S-curve จากเดิมที่กําหนดไว้ 28,000 คน ซึ่งมีผู้สนใจมากถึงกว่า 40,000 คน รวมถึงฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 10 อุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบกิจการที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC ในอนาคตอีกด้วย “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37795
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ของขวัญปีใหม่ปี 2564 ของกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ของขวัญปีใหม่ปี 2564 ของกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทําของขวัญปีใหม่ปี 2564 สําหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ และลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทําของขวัญปีใหม่ปี 2564 สําหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ และลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารออมสิน 1) มอบเงินจํานวน 500 บาท ให้กับลูกค้าที่มีประวัติการส่งชําระหนี้ดีไม่น้อยกว่า 3 ปี ไม่มีประวัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือเป็นหนี้ NPLs โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 – มกราคม 2564 2) เพิ่มรางวัลพิเศษของสลากออมสิน Digital “ฉลองปีใหม่ 2564” จํานวน 20 รางวัล รางวัลละ 1 ล้านบาท รวม 20 ล้านบาท สําหรับการออกรางวัลในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564 2. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 1) โครงการชําระดีมีคืน สําหรับหนี้เงินกู้จัดชั้นปกติ โดยการโอนคืนดอกเบี้ยเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากให้แก่ (1) ลูกค้าเกษตรกรและบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชําระจริง รายละไม่เกิน 5,000 บาท และ (2) ลูกค้ากลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชําระจริง รายละไม่เกิน 50,000 บาท 2) โครงการลดภาระหนี้ สําหรับหนี้เงินกู้ NPLs หรือมีดอกเบี้ยค้างชําระเกิน 15 เดือน โดยการคืนดอกเบี้ยให้แก่ (1) ลูกค้าเกษตรกรและบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชําระจริง และ (2) ลูกค้ากลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชําระจริง ทั้งนี้ ระยะเวลาดําเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 31 มีนาคม 2564 3. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 1) กลุ่มที่ 1 ได้รับสิทธิของขวัญปีใหม่ เป็นเงินจํานวน 1,000 บาท สําหรับผู้มีเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีประวัติการชําระดี 48 เดือน และชําระเงินค่างวดผ่านแอปพลิเคชัน GHB ALL ในเดือนกันยายน – ธันวาคม 2563 2) กลุ่มที่ 2 ได้รับสิทธิของขวัญปีใหม่ เป็นเงินจํานวน 500 บาท จํานวนไม่เกิน 100,000 ราย สําหรับลูกค้าที่ไม่เป็นผู้รับสิทธิในกลุ่มที่ 1 มีการสมัครใช้งานแอปพลิเคชัน GHB ALL และผูกบัญชีเงินฝากในเดือนสิงหาคม – กันยายน 2563 และชําระเงินค่างวดผ่านแอปพลิเคชัน GHB ALL ในเดือนกันยายน – ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ ธอส. จะดําเนินการโอนเงินตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 – 4 มกราคม 2564 4. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) 1) เสริมสภาพคล่อง SMEs ไทย โดยลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์โครงการ (Front End Fee) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกําหนดสําหรับโครงการสินเชื่อจํานวน 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) (2) โครงการสินเชื่อ Smart SMEs และ (3) โครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง SME D Happy แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2564 2) โครงการ “จ่ายดี มีเติม” สําหรับลูกค้าเดิมที่มีวงเงินสินเชื่อประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Term Loan) และมีประวัติชําระหนี้ดีจนถึง 31 ธันวาคม 2563 ธพว. จะเติมทุน เพื่อเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมสูงสุดเท่ากับวงเงินสินเชื่อเดิม ทั้งนี้ เมื่อรวมกับวงเงินสินเชื่อเดิมจะต้องไม่เกินวงเงินสูงสุด 15 ล้านบาท 5. โครงการของขวัญปีใหม่ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 1) ช่วยจัดสรรการผ่อนชําระ สําหรับลูกหนี้ค่าประกันชดเชยขออนุมัติประนอมหนี้ครั้งแรก ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 โดยผ่อนชําระค่างวด ปีที่ 1 - 2 มากกว่าร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยประจําเดือน และปีที่ 3 - 5 มากกว่าร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยประจําเดือน 2) ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย สําหรับลูกหนี้ประกันชดเชยที่มีศักยภาพ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 โดยผ่อนชําระค่างวดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของดอ กเบี้ยปกติ (ผ่อนชําระภายใน 5 ปี) 3) ช่วยลดค่างวดผ่อนชําระ สําหรับลูกหนี้ค่าประกันชดเชยก่อนฟ้องและหลังฟ้อง ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 โดยผ่อนชําระค่างวด ปีที่ 1 - 2 มากกว่าร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยประจําเดือน และปีที่ 3 - 5 มากกว่าร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยประจําเดือน ทั้งนี้ ระยะเวลาดําเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564 6. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย 1) ด้านสินเชื่อ สําหรับผู้ประกอบการเริ่มต้นธุรกิจส่งออก สามารถยื่นขอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นเวลา 3 เดือน วงเงินสินเชื่อสูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย และสําหรับผู้ประกอบการ SMEs สามารถยื่นขอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ําสุดร้อยละ 4 ต่อปี สําหรับ 1 ปีแรก วงเงินสินเชื่อสูงสุด 8 ล้านบาทต่อราย 2) ด้านรับประกันการส่งออก สําหรับผู้เอาประกันรายใหม่จํานวน 100 รายแรก จะได้รับฟรี ค่าวิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อ ธนาคารผู้ซื้อ และผู้ซื้อสินค้า 1 ราย และสําหรับผู้เอาประกันรายเดิม จะได้รับส่วนลดค่าวิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อ ธนาคารผู้ซื้อ และผู้ซื้อสินค้า 2 ราย เหลือร้อยละ 50 ทั้งนี้ ระยะเวลาดําเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 7. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) สําหรับลูกค้าที่ขอใช้บริการสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล จะได้รับฟรีค่าธรรมเนียมนิติกรรมสัญญาและค่าประเมินหลักประกัน และสําหรับลูกค้าทั่วไป ธอท. จะให้อัตรากําไรพิเศษในช่วงเดือนมกราคม 2564 โดยระยะเวลาดําเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 31 มกราคม 2564 8. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ภาครัฐจะร่วมจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไปร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวันเช่นเดียวกับโครงการคนละครึ่ง โดยโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 นี้ แบ่งกลุ่มผู้ใช้สิทธิเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้ได้รับสิทธิเดิมตามโครงการคนละครึ่ง ไม่เกิน 10 ล้านคน จะได้รับสิทธิวงเงินสนับสนุนจากรัฐเพิ่มเติมคนละ 500 บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2564 ซึ่งเมื่อรวมกับวงเงินตามสิทธิที่มีอยู่เดิม 3,000 บาท เท่ากับจะมีวงเงินรวม 3,500 บาท สามารถใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 2) ผู้ลงทะเบียนใหม่ ไม่เกิน 5 ล้านคน จะได้รับสิทธิวงเงินสนับสนุนจากรัฐคนละ 3,500 บาท สําหรับใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564 9. โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 ภาครัฐช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จําเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นให้แก่กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จํานวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2564 10. การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2564 เป็นจํานวน 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง 11. โครงการกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัสของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สํานักงาน คปภ. ได้ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย จัดทํากรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส ที่ให้ความคุ้มครองทั้งอุบัติเหตุและโรค COVID-19 ในคราวเดียวกัน ระยะเวลาคุ้มครอง 30 วัน อัตราเบี้ยประกันภัย 10 บาท/ราย (ผู้ประกอบการสามารถซื้อเพื่อมอบความคุ้มครองให้กับพนักงาน และลูกค้าของตนได้ และสําหรับบุคคลทั่วไปสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป) ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดถึง 100,000 บาท และคุ้มครองกรณีโรค COVID-19 แบบ “เจอ-จ่าย-จบ” 3,000 บาท ทั้งนี้ สามารถซื้อกรมธรรม์ได้โดยตรงกับบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 - 31 มกราคม 2564 12. มาตรการเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีมาตรการเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564 ดังนี้ (1) มาตรการลดเบี้ยปรับ อัตราร้อยละ 100 สําหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชําระหนี้ปิดบัญชี (2) มาตรการลดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 80 สําหรับผู้กู้ยืมเงินกลุ่มก่อนฟ้องคดีที่มาชําระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชําระ) (3) มาตรการลดอัตราการคิดเบี้ยปรับจากเดิมอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเหลืออัตราร้อยละ 0.5 ต่อปี สําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดําเนินคดีและไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนด และ (4) เพิ่มอัตราการลดเงินต้นจากเดิมร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 กรณีชําระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว กรณีผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชําระหนี้มาชําระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 13. โครงการของขวัญปีใหม่ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จัดทําไมโครไซต์ Start to Grow (www.sec.or.th/starttogrow) เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่จําเป็นในการระดมทุนสําหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผู้ประกอบการใหม่ (Start-Up) และประชาชนที่สนใจ ซึ่งรวมถึงวิธีการสํารวจความพร้อมและรูปแบบการระดมทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจของตน ขั้นตอนและช่องทางติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระดมทุน ข่าวสารกิจกรรมการให้ความรู้ และช่องทางการขอรับคําปรึกษาฟรีผ่านคลินิกระดมทุนโดยเปิดใช้งานไมโครไซต์ดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ข้อ 1 ติดต่อธนาคารออมสิน โทร. 02 299 8000 หรือ 1115 ข้อ 2 ติดต่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555 หรือ 1593 ข้อ 3 ติดต่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000 ข้อ 4 ติดต่อธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 02 265 3000 หรือ 1357 ข้อ 5 ติดต่อบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 02 890 9999 ข้อ 6 ติดต่อธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 02 271 3700 ข้อ 7 ติดต่อธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 02 650 6999 หรือ 1302 ข้อ 8 ติดต่อสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509 ข้อ 9 ติดต่อสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3514 3513 3697 ข้อ 10 ติดต่อสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3512 3509 3529 3525 ข้อ 11 ติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โทร. 02 016 4888 กด 9 ข้อ 12 ติดต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โทร. 02 515 3999 หรือ 1186 ข้อ 13 ติดต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 02 033 9999 หรือ 1207
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ของขวัญปีใหม่ปี 2564 ของกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ของขวัญปีใหม่ปี 2564 ของกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทําของขวัญปีใหม่ปี 2564 สําหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ และลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทําของขวัญปีใหม่ปี 2564 สําหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ และลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารออมสิน 1) มอบเงินจํานวน 500 บาท ให้กับลูกค้าที่มีประวัติการส่งชําระหนี้ดีไม่น้อยกว่า 3 ปี ไม่มีประวัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือเป็นหนี้ NPLs โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 – มกราคม 2564 2) เพิ่มรางวัลพิเศษของสลากออมสิน Digital “ฉลองปีใหม่ 2564” จํานวน 20 รางวัล รางวัลละ 1 ล้านบาท รวม 20 ล้านบาท สําหรับการออกรางวัลในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564 2. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 1) โครงการชําระดีมีคืน สําหรับหนี้เงินกู้จัดชั้นปกติ โดยการโอนคืนดอกเบี้ยเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากให้แก่ (1) ลูกค้าเกษตรกรและบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชําระจริง รายละไม่เกิน 5,000 บาท และ (2) ลูกค้ากลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชําระจริง รายละไม่เกิน 50,000 บาท 2) โครงการลดภาระหนี้ สําหรับหนี้เงินกู้ NPLs หรือมีดอกเบี้ยค้างชําระเกิน 15 เดือน โดยการคืนดอกเบี้ยให้แก่ (1) ลูกค้าเกษตรกรและบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชําระจริง และ (2) ลูกค้ากลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชําระจริง ทั้งนี้ ระยะเวลาดําเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 31 มีนาคม 2564 3. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 1) กลุ่มที่ 1 ได้รับสิทธิของขวัญปีใหม่ เป็นเงินจํานวน 1,000 บาท สําหรับผู้มีเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีประวัติการชําระดี 48 เดือน และชําระเงินค่างวดผ่านแอปพลิเคชัน GHB ALL ในเดือนกันยายน – ธันวาคม 2563 2) กลุ่มที่ 2 ได้รับสิทธิของขวัญปีใหม่ เป็นเงินจํานวน 500 บาท จํานวนไม่เกิน 100,000 ราย สําหรับลูกค้าที่ไม่เป็นผู้รับสิทธิในกลุ่มที่ 1 มีการสมัครใช้งานแอปพลิเคชัน GHB ALL และผูกบัญชีเงินฝากในเดือนสิงหาคม – กันยายน 2563 และชําระเงินค่างวดผ่านแอปพลิเคชัน GHB ALL ในเดือนกันยายน – ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ ธอส. จะดําเนินการโอนเงินตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 – 4 มกราคม 2564 4. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) 1) เสริมสภาพคล่อง SMEs ไทย โดยลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์โครงการ (Front End Fee) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกําหนดสําหรับโครงการสินเชื่อจํานวน 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) (2) โครงการสินเชื่อ Smart SMEs และ (3) โครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง SME D Happy แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2564 2) โครงการ “จ่ายดี มีเติม” สําหรับลูกค้าเดิมที่มีวงเงินสินเชื่อประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Term Loan) และมีประวัติชําระหนี้ดีจนถึง 31 ธันวาคม 2563 ธพว. จะเติมทุน เพื่อเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมสูงสุดเท่ากับวงเงินสินเชื่อเดิม ทั้งนี้ เมื่อรวมกับวงเงินสินเชื่อเดิมจะต้องไม่เกินวงเงินสูงสุด 15 ล้านบาท 5. โครงการของขวัญปีใหม่ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 1) ช่วยจัดสรรการผ่อนชําระ สําหรับลูกหนี้ค่าประกันชดเชยขออนุมัติประนอมหนี้ครั้งแรก ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 โดยผ่อนชําระค่างวด ปีที่ 1 - 2 มากกว่าร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยประจําเดือน และปีที่ 3 - 5 มากกว่าร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยประจําเดือน 2) ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย สําหรับลูกหนี้ประกันชดเชยที่มีศักยภาพ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 โดยผ่อนชําระค่างวดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของดอ กเบี้ยปกติ (ผ่อนชําระภายใน 5 ปี) 3) ช่วยลดค่างวดผ่อนชําระ สําหรับลูกหนี้ค่าประกันชดเชยก่อนฟ้องและหลังฟ้อง ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 โดยผ่อนชําระค่างวด ปีที่ 1 - 2 มากกว่าร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยประจําเดือน และปีที่ 3 - 5 มากกว่าร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยประจําเดือน ทั้งนี้ ระยะเวลาดําเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564 6. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย 1) ด้านสินเชื่อ สําหรับผู้ประกอบการเริ่มต้นธุรกิจส่งออก สามารถยื่นขอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นเวลา 3 เดือน วงเงินสินเชื่อสูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย และสําหรับผู้ประกอบการ SMEs สามารถยื่นขอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ําสุดร้อยละ 4 ต่อปี สําหรับ 1 ปีแรก วงเงินสินเชื่อสูงสุด 8 ล้านบาทต่อราย 2) ด้านรับประกันการส่งออก สําหรับผู้เอาประกันรายใหม่จํานวน 100 รายแรก จะได้รับฟรี ค่าวิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อ ธนาคารผู้ซื้อ และผู้ซื้อสินค้า 1 ราย และสําหรับผู้เอาประกันรายเดิม จะได้รับส่วนลดค่าวิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อ ธนาคารผู้ซื้อ และผู้ซื้อสินค้า 2 ราย เหลือร้อยละ 50 ทั้งนี้ ระยะเวลาดําเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 7. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) สําหรับลูกค้าที่ขอใช้บริการสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล จะได้รับฟรีค่าธรรมเนียมนิติกรรมสัญญาและค่าประเมินหลักประกัน และสําหรับลูกค้าทั่วไป ธอท. จะให้อัตรากําไรพิเศษในช่วงเดือนมกราคม 2564 โดยระยะเวลาดําเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 31 มกราคม 2564 8. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ภาครัฐจะร่วมจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไปร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวันเช่นเดียวกับโครงการคนละครึ่ง โดยโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 นี้ แบ่งกลุ่มผู้ใช้สิทธิเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้ได้รับสิทธิเดิมตามโครงการคนละครึ่ง ไม่เกิน 10 ล้านคน จะได้รับสิทธิวงเงินสนับสนุนจากรัฐเพิ่มเติมคนละ 500 บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2564 ซึ่งเมื่อรวมกับวงเงินตามสิทธิที่มีอยู่เดิม 3,000 บาท เท่ากับจะมีวงเงินรวม 3,500 บาท สามารถใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 2) ผู้ลงทะเบียนใหม่ ไม่เกิน 5 ล้านคน จะได้รับสิทธิวงเงินสนับสนุนจากรัฐคนละ 3,500 บาท สําหรับใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564 9. โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 ภาครัฐช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จําเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นให้แก่กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จํานวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2564 10. การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2564 เป็นจํานวน 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง 11. โครงการกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัสของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สํานักงาน คปภ. ได้ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย จัดทํากรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส ที่ให้ความคุ้มครองทั้งอุบัติเหตุและโรค COVID-19 ในคราวเดียวกัน ระยะเวลาคุ้มครอง 30 วัน อัตราเบี้ยประกันภัย 10 บาท/ราย (ผู้ประกอบการสามารถซื้อเพื่อมอบความคุ้มครองให้กับพนักงาน และลูกค้าของตนได้ และสําหรับบุคคลทั่วไปสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป) ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดถึง 100,000 บาท และคุ้มครองกรณีโรค COVID-19 แบบ “เจอ-จ่าย-จบ” 3,000 บาท ทั้งนี้ สามารถซื้อกรมธรรม์ได้โดยตรงกับบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 - 31 มกราคม 2564 12. มาตรการเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีมาตรการเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564 ดังนี้ (1) มาตรการลดเบี้ยปรับ อัตราร้อยละ 100 สําหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชําระหนี้ปิดบัญชี (2) มาตรการลดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 80 สําหรับผู้กู้ยืมเงินกลุ่มก่อนฟ้องคดีที่มาชําระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชําระ) (3) มาตรการลดอัตราการคิดเบี้ยปรับจากเดิมอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเหลืออัตราร้อยละ 0.5 ต่อปี สําหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดําเนินคดีและไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนด และ (4) เพิ่มอัตราการลดเงินต้นจากเดิมร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 กรณีชําระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว กรณีผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชําระหนี้มาชําระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 13. โครงการของขวัญปีใหม่ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จัดทําไมโครไซต์ Start to Grow (www.sec.or.th/starttogrow) เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่จําเป็นในการระดมทุนสําหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผู้ประกอบการใหม่ (Start-Up) และประชาชนที่สนใจ ซึ่งรวมถึงวิธีการสํารวจความพร้อมและรูปแบบการระดมทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจของตน ขั้นตอนและช่องทางติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระดมทุน ข่าวสารกิจกรรมการให้ความรู้ และช่องทางการขอรับคําปรึกษาฟรีผ่านคลินิกระดมทุนโดยเปิดใช้งานไมโครไซต์ดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ข้อ 1 ติดต่อธนาคารออมสิน โทร. 02 299 8000 หรือ 1115 ข้อ 2 ติดต่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555 หรือ 1593 ข้อ 3 ติดต่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000 ข้อ 4 ติดต่อธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 02 265 3000 หรือ 1357 ข้อ 5 ติดต่อบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 02 890 9999 ข้อ 6 ติดต่อธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 02 271 3700 ข้อ 7 ติดต่อธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 02 650 6999 หรือ 1302 ข้อ 8 ติดต่อสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509 ข้อ 9 ติดต่อสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3514 3513 3697 ข้อ 10 ติดต่อสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3512 3509 3529 3525 ข้อ 11 ติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โทร. 02 016 4888 กด 9 ข้อ 12 ติดต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โทร. 02 515 3999 หรือ 1186 ข้อ 13 ติดต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 02 033 9999 หรือ 1207
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37828
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​นายกรัฐมนตรีสนับสนุนหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิญชวนประชาชนร่วมกันทำความดี กตัญญูต่อแผ่นดินและสถาบันของชาติ
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ​นายกรัฐมนตรีสนับสนุนหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิญชวนประชาชนร่วมกันทําความดี กตัญญูต่อแผ่นดินและสถาบันของชาติ ​นายกรัฐมนตรีสนับสนุนหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิญชวนประชาชนร่วมกันทําความดี กตัญญูต่อแผ่นดินและสถาบันของชาติ วันนี้ (22 ธ.ค. 63) เวลา 09.00 น. ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เยี่ยมชมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ โดยสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และผลิตภัณฑ์จากชุมชุนต้นแบบ ได้แก่ ส้มโอ ยาหม่อง และเมี่ยงคํา โดยมีนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีและนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ร่วมงาน ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีสนับสนุนให้มีการดําเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ อย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลต้องการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาล บ้าน วัด ราชการ “บวร” ให้เป็นหนึ่งในโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ช่วยให้เกิดความสงบ สันติสุข ความสามัคคี กลมเกลียวสมานฉันท์ของคนในชาติ ทั้งนี้ การเกิดความรัก สามัคคี ต้องมีศีลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมถึงความกตัญญูต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ยังถือเป็นคุณธรรมของแผ่นดินร่วมกัน ................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​นายกรัฐมนตรีสนับสนุนหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิญชวนประชาชนร่วมกันทำความดี กตัญญูต่อแผ่นดินและสถาบันของชาติ วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ​นายกรัฐมนตรีสนับสนุนหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิญชวนประชาชนร่วมกันทําความดี กตัญญูต่อแผ่นดินและสถาบันของชาติ ​นายกรัฐมนตรีสนับสนุนหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิญชวนประชาชนร่วมกันทําความดี กตัญญูต่อแผ่นดินและสถาบันของชาติ วันนี้ (22 ธ.ค. 63) เวลา 09.00 น. ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เยี่ยมชมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ โดยสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และผลิตภัณฑ์จากชุมชุนต้นแบบ ได้แก่ ส้มโอ ยาหม่อง และเมี่ยงคํา โดยมีนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีและนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ร่วมงาน ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีสนับสนุนให้มีการดําเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ อย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลต้องการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาล บ้าน วัด ราชการ “บวร” ให้เป็นหนึ่งในโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ช่วยให้เกิดความสงบ สันติสุข ความสามัคคี กลมเกลียวสมานฉันท์ของคนในชาติ ทั้งนี้ การเกิดความรัก สามัคคี ต้องมีศีลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมถึงความกตัญญูต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ยังถือเป็นคุณธรรมของแผ่นดินร่วมกัน ................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37802
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 2564
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 ครม.มีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กนง. และ รมว.คลัง เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 28/8 แห่ง พ.ร.บ. ธปท. พ.ศ.2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ธปท. พ.ศ.2485 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 28/8 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สรุปได้ ดังนี้ 1. กําหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสําหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสําหรับปี 2564 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะประธาน กนง. ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันในการกําหนดเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีสาระสําคัญ ดังนี้ 2.1 หลักการดําเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น บริบทของเศรษฐกิจโลกและไทยที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไทยในระยะข้างหน้าเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงทั้งจากปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน ได้แก่ (1) เศรษฐกิจโลกและไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าตามการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เผชิญข้อจํากัดมากขึ้นจากมาตรการควบคุมการระบาด (2) ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความผันผวนของราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกและการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความขัดแย้งทางการค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ทําให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และ (3) การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ E-Commerce และการนําเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานในกระบวนการผลิต (Automation) หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อให้ต่ําลงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนสูง กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้มีความร่วมมือในการดําเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินให้มีความสอดประสานกันมากยิ่งขึ้น อันจะนําไปสู่การฟื้นตัวและเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ การดําเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นเอื้อให้ กนง. สามารถพิจารณานโยบายการเงินได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของไทยที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า โดยในปัจจุบัน กนง. ยังคงให้น้ําหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสําคัญ เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง และการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ในการตัดสินนโยบายการเงินแต่ละครั้ง กนง. จะพิจารณาความสําคัญของเป้าหมายด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ โดยคํานึงถึงผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และชั่งน้ําหนักข้อดีและข้อเสียของการดําเนินนโยบายการเงินในแต่ละทางเลือก (Policy Trade-off) ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงพร้อมใช้เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในลักษณะผสมผสาน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 2.2 เป้าหมายของนโยบายการเงินสําหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสําหรับปี 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและ กนง. มีข้อตกลงร่วมกันโดยกําหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสําหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสําหรับปี 2564 โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวเป็นระดับที่เหมาะสมกับพลวัตเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ เป้าหมายแบบช่วงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดําเนินนโยบายการเงินภายใต้โลกที่ผันผวนและมีความไม่แน่นอนสูงหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประกอบกับสามารถดูแลเป้าหมายด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ การกําหนดเป้าหมายระยะปานกลาง เพื่อให้สอดคล้องกับประสิทธิผลการดําเนินนโยบายการเงินที่ต้องใช้เวลาในการส่งผ่านผลไปยังภาคเศรษฐกิจจริง 2.3 การติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าหมายของนโยบายการเงิน กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะหารือร่วมกันเป็นประจําและ/หรือเมื่อมีเหตุจําเป็นอื่นตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควร เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การดําเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินเป็นไปในทิศทางที่สอดประสานกัน กนง. จะจัดทํารายงานผลการดําเนินนโยบายการเงินทุกครึ่งปี ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ (1) การดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมา (2) แนวทางการดําเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป และ (3) การคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบ รวมถึงจะเผยแพร่รายงานนโยบายการเงินทุกไตรมาสเป็นการทั่วไป อันจะช่วยเพิ่มการรับรู้ของสาธารณชนถึงแนวทางการตัดสินนโยบายการเงินของ กนง. ซึ่งจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพของการดําเนินนโยบายการเงินในอนาคต 2.4 การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในระยะต่อไปจะผันผวนจากความไม่แน่นอนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด ความเสี่ยงจากต่างประเทศโดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา และมาตรการตอบโต้ของประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ดังนั้น หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้าเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยจะชี้แจงถึง (1) สาเหตุของการเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายดังกล่าว (2) แนวทางการดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมาและในระยะต่อไปเพื่อนําอัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่เป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม และ (3) ระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทุก 6 เดือน หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยตามแนวทางข้างต้นยังคงอยู่นอกกรอบเป้าหมาย และจะรายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร 2.5 การแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงิน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจําเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กนง. อาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา สํานักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงินสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3248
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 2564 วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 ครม.มีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กนง. และ รมว.คลัง เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 28/8 แห่ง พ.ร.บ. ธปท. พ.ศ.2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ธปท. พ.ศ.2485 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 28/8 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สรุปได้ ดังนี้ 1. กําหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสําหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสําหรับปี 2564 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะประธาน กนง. ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันในการกําหนดเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจําปี 2564 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีสาระสําคัญ ดังนี้ 2.1 หลักการดําเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น บริบทของเศรษฐกิจโลกและไทยที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไทยในระยะข้างหน้าเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงทั้งจากปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน ได้แก่ (1) เศรษฐกิจโลกและไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าตามการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เผชิญข้อจํากัดมากขึ้นจากมาตรการควบคุมการระบาด (2) ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความผันผวนของราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกและการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความขัดแย้งทางการค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ทําให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และ (3) การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ E-Commerce และการนําเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานในกระบวนการผลิต (Automation) หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อให้ต่ําลงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรงและยังมีความไม่แน่นอนสูง กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้มีความร่วมมือในการดําเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินให้มีความสอดประสานกันมากยิ่งขึ้น อันจะนําไปสู่การฟื้นตัวและเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ การดําเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นเอื้อให้ กนง. สามารถพิจารณานโยบายการเงินได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของไทยที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า โดยในปัจจุบัน กนง. ยังคงให้น้ําหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสําคัญ เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง และการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ในการตัดสินนโยบายการเงินแต่ละครั้ง กนง. จะพิจารณาความสําคัญของเป้าหมายด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ โดยคํานึงถึงผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และชั่งน้ําหนักข้อดีและข้อเสียของการดําเนินนโยบายการเงินในแต่ละทางเลือก (Policy Trade-off) ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงพร้อมใช้เครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในลักษณะผสมผสาน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 2.2 เป้าหมายของนโยบายการเงินสําหรับระยะปานกลาง และเป้าหมายสําหรับปี 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและ กนง. มีข้อตกลงร่วมกันโดยกําหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายของนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสําหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสําหรับปี 2564 โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวเป็นระดับที่เหมาะสมกับพลวัตเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ เป้าหมายแบบช่วงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดําเนินนโยบายการเงินภายใต้โลกที่ผันผวนและมีความไม่แน่นอนสูงหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประกอบกับสามารถดูแลเป้าหมายด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ การกําหนดเป้าหมายระยะปานกลาง เพื่อให้สอดคล้องกับประสิทธิผลการดําเนินนโยบายการเงินที่ต้องใช้เวลาในการส่งผ่านผลไปยังภาคเศรษฐกิจจริง 2.3 การติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าหมายของนโยบายการเงิน กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะหารือร่วมกันเป็นประจําและ/หรือเมื่อมีเหตุจําเป็นอื่นตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควร เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การดําเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินเป็นไปในทิศทางที่สอดประสานกัน กนง. จะจัดทํารายงานผลการดําเนินนโยบายการเงินทุกครึ่งปี ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ (1) การดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมา (2) แนวทางการดําเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป และ (3) การคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบ รวมถึงจะเผยแพร่รายงานนโยบายการเงินทุกไตรมาสเป็นการทั่วไป อันจะช่วยเพิ่มการรับรู้ของสาธารณชนถึงแนวทางการตัดสินนโยบายการเงินของ กนง. ซึ่งจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพของการดําเนินนโยบายการเงินในอนาคต 2.4 การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในระยะต่อไปจะผันผวนจากความไม่แน่นอนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด ความเสี่ยงจากต่างประเทศโดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา และมาตรการตอบโต้ของประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ดังนั้น หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้าเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยจะชี้แจงถึง (1) สาเหตุของการเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายดังกล่าว (2) แนวทางการดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมาและในระยะต่อไปเพื่อนําอัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่เป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม และ (3) ระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทุก 6 เดือน หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยตามแนวทางข้างต้นยังคงอยู่นอกกรอบเป้าหมาย และจะรายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร 2.5 การแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงิน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจําเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กนง. อาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา สํานักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงินสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3248
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37827
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กอช. จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก ประจำปี 2563 มอบเป็นของขวัญปีใหม่ รางวัลสร้อยคอทองคำกว่า 78 รางวัล และรางวัลอื่นๆ รวม 114 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท”
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 “กอช. จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก ประจําปี 2563 มอบเป็นของขวัญปีใหม่ รางวัลสร้อยคอทองคํากว่า 78 รางวัล และรางวัลอื่นๆ รวม 114 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท” กอช.จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก กอช. ประจําปี 2563 จํานวน 114 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) กอช. จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก กอช. ประจําปี 2563 จํานวน 114 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท ได้รับเกียรติจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดําเนินงานกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ เป็นประธานในพิธี โดยมี นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้การต้อนรับ ณ ห้องออกรางวัล อาคาร ๒ ธนาคารออมสิน สํานักงานใหญ่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดําเนินงานกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กล่าวว่า ที่ผ่านมา คณะขับเคลื่อนฯ ได้ร่วมดําเนินงานส่งเสริมวินัยการออมกับ กอช. ให้กับประชาชน ด้วยการลงพื้นที่ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการออมเงินกับ กอช. ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ ภายใต้ “โครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในระดับพื้นที่” เพื่อให้ประชาชนทุกจังหวัดที่ไม่มีสวัสดิการบําเหน็จบํานาญได้เข้าถึงการออมเงินกับ กอช. และมุ่งส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ทุกหมู่บ้าน ที่มีอยู่กว่า 74,000 หมู่บ้าน ได้มี “ตัวแทน กอช. ประจําหมู่บ้าน” ให้บริการปรึกษาวางแผนการออม อํานวยความสะดวกการสมัครสมาชิก ส่งเงินออมสะสมให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งในการจัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก กอช. ประจําปี 2563 ถือเป็นกิจกรรมที่ดี ที่ช่วยสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมการออมให้สมาชิกได้ส่งเงินออมสะสมต่อเนื่อง รวมทั้ง ผู้มีสิทธิสนใจสมัครสมาชิก ได้เข้าร่วมกิจกรรมการออมเงินเพื่อวัยเกษียณด้วย การออมกับ กอช. เป็นการออมระยะยาว ฝึกนิสัยการออมให้ตนเอง บุคคลรอบข้าง และคนในครอบครัว เพื่ออนาคตยามเกษียณหลังอายุ 60 ปี ในช่วงชีวิตที่เราไม่มีแรงทํางานจะได้มีเงินส่วนนี้ไว้ใช้ดํารงชีวิต ซึ่งการออมเงินกับ กอช. มีสิทธิพิเศษกว่าการออมรูปแบบอื่น เมื่อสมาชิกออม รัฐจะสมทบเงินเพิ่มให้อีกตามช่วงอายุ มีบํานาญใช้ตลอดชีพ รัฐบาลค้ําประกันผลตอบแทนจากการลงทุน และสามารถลดหย่อนภาษีได้เต็มจํานวนเงินออมอีกด้วย ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการออมให้แก่สมาชิก กอช. ในครั้งนี้ จะสร้างแรงจูงใจ ช่วยกระตุ้นให้สมาชิก กอช. มีการออมเงินอย่างต่อเนื่องและจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนทุกคนต่อไป และส่งเสริมให้ กอช. จัดกิจกรรมที่ดีแบบนี้ให้สมาชิกต่อไป นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กล่าวว่า กอช. จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก กอช. ในปีนี้จัดเป็นปีที่ 2 ซึ่งครั้งแรกได้จัดในปี 2562 ผลตอบรับจากสมาชิกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ปี 2563 กอช. ได้จัดกิจกรรมนี้ต่อเนื่องให้กับสมาชิก แม้สถานการณ์โควิด-19 อาจจะส่งผลกับการออมของสมาชิกบ้าง แต่เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกเกิดการตระหนักถึงการออมเงินสม่ําเสมอ กอช. จึงสร้างแรงจูงให้ผู้ที่สนใจ และสมาชิก กอช. ที่ส่งเงินออมสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึง 30 พฤศจิกายน 2563 เพียง 600 บาท นอกจากได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานจาก กอช. แล้ว ยังมีสิทธิเป็นผู้โชคดีรับรางวัลทองคํา รถจักรยานยนต์ เครื่องสูบน้ํา เครื่องตัดหญ้า โทรศัพท์มือถือ และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท โดยจําแนกชุดรางวัล ดังนี้ รางวัลชุดที่ 1 จํานวน 37 รางวัล ประกอบด้วย - รางวัลที่ 1 ทองคําหนัก 3 บาท จํานวน 1 รางวัล - รางวัลที่ 2 รถจักรยานยนต์ จํานวน 6 รางวัล - รางวัลที่ 3 เครื่องสูบน้ํา จํานวน 6 รางวัล - รางวัลที่ 4 เครื่องตัดหญ้า จํานวน 12 รางวัล - รางวัลที่ 5 โทรศัพท์มือถือ จํานวน 12 รางวัล รางวัลชุดที่ 2 รางวัลทองคําหนัก 1 สลึง จํานวน 77 รางวัล ให้กับทุกจังหวัด รางวัลชุดที่ 3 จํานวน 80 รางวัล ประกอบด้วย - รางวัลสลากออมสินพิเศษดิจิทัล 2 ปี รางวัลละ 1,000 บาท จํานวน 50 รางวัล - รางวัลเงินออมสะสมจากธนาคารกรุงไทย รางวัลละ 1,000 บาท จํานวน 30 รางวัล และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย โดยสมาชิกสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้โชคดีได้ทางเว็บไซต์ กอช. “www.nsf.or.th” และเฟซบุ๊ก “กองทุนการออมแห่งชาติ-กอช.” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายสื่อสารและสวัสดิการสมาชิก กองทุนการออมแห่งชาติ โทร. 02-049-9000 ต่อ 535 และ 551 (ในวันและเวลาทําการ) “คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บํานาญ”
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กอช. จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก ประจำปี 2563 มอบเป็นของขวัญปีใหม่ รางวัลสร้อยคอทองคำกว่า 78 รางวัล และรางวัลอื่นๆ รวม 114 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท” วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 “กอช. จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก ประจําปี 2563 มอบเป็นของขวัญปีใหม่ รางวัลสร้อยคอทองคํากว่า 78 รางวัล และรางวัลอื่นๆ รวม 114 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท” กอช.จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก กอช. ประจําปี 2563 จํานวน 114 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) กอช. จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก กอช. ประจําปี 2563 จํานวน 114 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท ได้รับเกียรติจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดําเนินงานกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ เป็นประธานในพิธี โดยมี นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้การต้อนรับ ณ ห้องออกรางวัล อาคาร ๒ ธนาคารออมสิน สํานักงานใหญ่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดําเนินงานกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กล่าวว่า ที่ผ่านมา คณะขับเคลื่อนฯ ได้ร่วมดําเนินงานส่งเสริมวินัยการออมกับ กอช. ให้กับประชาชน ด้วยการลงพื้นที่ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการออมเงินกับ กอช. ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ ภายใต้ “โครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในระดับพื้นที่” เพื่อให้ประชาชนทุกจังหวัดที่ไม่มีสวัสดิการบําเหน็จบํานาญได้เข้าถึงการออมเงินกับ กอช. และมุ่งส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ทุกหมู่บ้าน ที่มีอยู่กว่า 74,000 หมู่บ้าน ได้มี “ตัวแทน กอช. ประจําหมู่บ้าน” ให้บริการปรึกษาวางแผนการออม อํานวยความสะดวกการสมัครสมาชิก ส่งเงินออมสะสมให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งในการจัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก กอช. ประจําปี 2563 ถือเป็นกิจกรรมที่ดี ที่ช่วยสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมการออมให้สมาชิกได้ส่งเงินออมสะสมต่อเนื่อง รวมทั้ง ผู้มีสิทธิสนใจสมัครสมาชิก ได้เข้าร่วมกิจกรรมการออมเงินเพื่อวัยเกษียณด้วย การออมกับ กอช. เป็นการออมระยะยาว ฝึกนิสัยการออมให้ตนเอง บุคคลรอบข้าง และคนในครอบครัว เพื่ออนาคตยามเกษียณหลังอายุ 60 ปี ในช่วงชีวิตที่เราไม่มีแรงทํางานจะได้มีเงินส่วนนี้ไว้ใช้ดํารงชีวิต ซึ่งการออมเงินกับ กอช. มีสิทธิพิเศษกว่าการออมรูปแบบอื่น เมื่อสมาชิกออม รัฐจะสมทบเงินเพิ่มให้อีกตามช่วงอายุ มีบํานาญใช้ตลอดชีพ รัฐบาลค้ําประกันผลตอบแทนจากการลงทุน และสามารถลดหย่อนภาษีได้เต็มจํานวนเงินออมอีกด้วย ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการออมให้แก่สมาชิก กอช. ในครั้งนี้ จะสร้างแรงจูงใจ ช่วยกระตุ้นให้สมาชิก กอช. มีการออมเงินอย่างต่อเนื่องและจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนทุกคนต่อไป และส่งเสริมให้ กอช. จัดกิจกรรมที่ดีแบบนี้ให้สมาชิกต่อไป นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กล่าวว่า กอช. จัดกิจกรรมจับรางวัลให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิก กอช. ในปีนี้จัดเป็นปีที่ 2 ซึ่งครั้งแรกได้จัดในปี 2562 ผลตอบรับจากสมาชิกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ปี 2563 กอช. ได้จัดกิจกรรมนี้ต่อเนื่องให้กับสมาชิก แม้สถานการณ์โควิด-19 อาจจะส่งผลกับการออมของสมาชิกบ้าง แต่เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกเกิดการตระหนักถึงการออมเงินสม่ําเสมอ กอช. จึงสร้างแรงจูงให้ผู้ที่สนใจ และสมาชิก กอช. ที่ส่งเงินออมสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึง 30 พฤศจิกายน 2563 เพียง 600 บาท นอกจากได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานจาก กอช. แล้ว ยังมีสิทธิเป็นผู้โชคดีรับรางวัลทองคํา รถจักรยานยนต์ เครื่องสูบน้ํา เครื่องตัดหญ้า โทรศัพท์มือถือ และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท โดยจําแนกชุดรางวัล ดังนี้ รางวัลชุดที่ 1 จํานวน 37 รางวัล ประกอบด้วย - รางวัลที่ 1 ทองคําหนัก 3 บาท จํานวน 1 รางวัล - รางวัลที่ 2 รถจักรยานยนต์ จํานวน 6 รางวัล - รางวัลที่ 3 เครื่องสูบน้ํา จํานวน 6 รางวัล - รางวัลที่ 4 เครื่องตัดหญ้า จํานวน 12 รางวัล - รางวัลที่ 5 โทรศัพท์มือถือ จํานวน 12 รางวัล รางวัลชุดที่ 2 รางวัลทองคําหนัก 1 สลึง จํานวน 77 รางวัล ให้กับทุกจังหวัด รางวัลชุดที่ 3 จํานวน 80 รางวัล ประกอบด้วย - รางวัลสลากออมสินพิเศษดิจิทัล 2 ปี รางวัลละ 1,000 บาท จํานวน 50 รางวัล - รางวัลเงินออมสะสมจากธนาคารกรุงไทย รางวัลละ 1,000 บาท จํานวน 30 รางวัล และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย โดยสมาชิกสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้โชคดีได้ทางเว็บไซต์ กอช. “www.nsf.or.th” และเฟซบุ๊ก “กองทุนการออมแห่งชาติ-กอช.” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายสื่อสารและสวัสดิการสมาชิก กองทุนการออมแห่งชาติ โทร. 02-049-9000 ต่อ 535 และ 551 (ในวันและเวลาทําการ) “คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บํานาญ”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37829
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.อนุชา ย้ำที่ประชุมขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เร่งแก้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ เตรียมลงพื้นที่ติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 รมต.อนุชา ย้ําที่ประชุมขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เร่งแก้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ํา เตรียมลงพื้นที่ติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด รมต.อนุชา ย้ําที่ประชุมขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เร่งแก้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ํา เตรียมลงพื้นที่ติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่ 3 จังหวัด (จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี) ครั้งที่ 1/2563 โดยมี ดร.ธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายอนุรุทธิ์ นาคาศัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่ 3 จังหวัด (จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี) เข้าร่วม สําหรับการประชุมครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เพื่อทําหน้าที่ในการกํากับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ซึ่งนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี และ จ.ลพบุรี รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ย้ําที่ประชุมว่า ในการพิจารณาแผนงานหรือโครงการเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่ ขอให้ทั้ง 3 จังหวัดได้คํานึงถึงเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นกําลังซื้อหลักของประเทศ โดยเฉพาะภาคการเกษตร โดยปัจจุบันพบว่าเกษตรกรประสบปัญหาหลายด้าน หนึ่งในปัญหาระดับต้น คือ การบริหารจัดการน้ําเพื่อการเกษตร จากที่ทั้ง 3 จังหวัดรายงานมา ได้มีการพิจารณาจัดทําแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําควบคู่การพัฒนาด้านอื่นด้วย ขณะเดียวกันขอให้ทั้ง 3 จังหวัด หาแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ําที่เกิดขึ้นในสังคมทุกระดับ ยกระดับความเป็นอยู่ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้นไป ......................
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.อนุชา ย้ำที่ประชุมขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เร่งแก้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ เตรียมลงพื้นที่ติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 รมต.อนุชา ย้ําที่ประชุมขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เร่งแก้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ํา เตรียมลงพื้นที่ติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด รมต.อนุชา ย้ําที่ประชุมขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เร่งแก้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ํา เตรียมลงพื้นที่ติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่ 3 จังหวัด (จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี) ครั้งที่ 1/2563 โดยมี ดร.ธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายอนุรุทธิ์ นาคาศัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่ 3 จังหวัด (จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี) เข้าร่วม สําหรับการประชุมครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เพื่อทําหน้าที่ในการกํากับ ติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือเยียวยา และขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ซึ่งนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี และ จ.ลพบุรี รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ย้ําที่ประชุมว่า ในการพิจารณาแผนงานหรือโครงการเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่ ขอให้ทั้ง 3 จังหวัดได้คํานึงถึงเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นกําลังซื้อหลักของประเทศ โดยเฉพาะภาคการเกษตร โดยปัจจุบันพบว่าเกษตรกรประสบปัญหาหลายด้าน หนึ่งในปัญหาระดับต้น คือ การบริหารจัดการน้ําเพื่อการเกษตร จากที่ทั้ง 3 จังหวัดรายงานมา ได้มีการพิจารณาจัดทําแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําควบคู่การพัฒนาด้านอื่นด้วย ขณะเดียวกันขอให้ทั้ง 3 จังหวัด หาแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ําที่เกิดขึ้นในสังคมทุกระดับ ยกระดับความเป็นอยู่ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้นไป ......................
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37826
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"อนุชา" เผย ยกเลิกงานสวดมนต์ข้ามปี รวมถึงพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และงดการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 "อนุชา" เผย ยกเลิกงานสวดมนต์ข้ามปี รวมถึงพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และงดการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก ตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ "อนุชา" เผย ยกเลิกงานสวดมนต์ข้ามปี รวมถึงพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และงดการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก ตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่จังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลถึงการพบจํานวนผู้ติดเชื้อในจังหวัดใกล้เคียงอีกหลายราย ทางสํานักพระพุทธศาสนา ได้มติยกเลิกงานสวดมนต์ข้ามปี รวมถึงพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งจัดขึ้นทุกวันเสาร์ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และงดการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก ตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ช่วงเทศกาลวันหยุดส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ขอให้ประชาชนใช้ช่วงเวลาดังกล่าวพักผ่อนอยู่กับครอบครัว สวดมนต์อยู่ที่บ้าน ทั้งนี้ รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชน ขอให้ทุกคนปฎิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์ในสถานที่มีคนจํานวนมาก ............................................
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"อนุชา" เผย ยกเลิกงานสวดมนต์ข้ามปี รวมถึงพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และงดการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 "อนุชา" เผย ยกเลิกงานสวดมนต์ข้ามปี รวมถึงพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และงดการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก ตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ "อนุชา" เผย ยกเลิกงานสวดมนต์ข้ามปี รวมถึงพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และงดการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก ตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่จังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลถึงการพบจํานวนผู้ติดเชื้อในจังหวัดใกล้เคียงอีกหลายราย ทางสํานักพระพุทธศาสนา ได้มติยกเลิกงานสวดมนต์ข้ามปี รวมถึงพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งจัดขึ้นทุกวันเสาร์ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และงดการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก ตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ช่วงเทศกาลวันหยุดส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ขอให้ประชาชนใช้ช่วงเวลาดังกล่าวพักผ่อนอยู่กับครอบครัว สวดมนต์อยู่ที่บ้าน ทั้งนี้ รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชน ขอให้ทุกคนปฎิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์ในสถานที่มีคนจํานวนมาก ............................................
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37805
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดเกษตรฯ ย้ำเจ้าหน้าที่ในสังกัดพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด พร้อมยืนยันอาหารทะเลไทยปลอดภัยด้วยมาตรฐานการตรวจสอบระดับสากล
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ปลัดเกษตรฯ ย้ําเจ้าหน้าที่ในสังกัดพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด พร้อมยืนยันอาหารทะเลไทยปลอดภัยด้วยมาตรฐานการตรวจสอบระดับสากล ปลัดเกษตรฯ ย้ําเจ้าหน้าที่ในสังกัดพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด พร้อมยืนยันอาหารทะเลไทยปลอดภัยด้วยมาตรฐานการตรวจสอบระดับสากล ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมศูนย์ประสานการปฏิบัติภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2563 ให้ส่วนราชการทุกหน่วยงานในสังกัด ดําเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและจํากัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยให้พิจารณาบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงติดตามสถานการณ์จากความก้าวหน้าผลการสอบสวนผู้ป่วย และตรวจสอบ timeline ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 หากมีความเกี่ยวข้องกับข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด ขอให้พิจารณาดําเนินการตามมาตรการกักตัวจนครบ 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงไปในพื้นที่ และให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และงดเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง แต่หากมีความจําเป็นต้องเดินทางไปราชการในพื้นที่เสี่ยง ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมาตรการตามข้อกําหนดของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหน่วยงานควบคุมโรคในพื้นที่อย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังให้หน่วยงานวางแผนล่วงหน้าในการปฏิบัติงาน สําหรับข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด กรณีให้ปฏิบัติราชการที่บ้าน (Work from Home) หากสถานการณ์การแพร่ระบาดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สําหรับข้อกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสัตว์น้ํานั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการตรวจพบโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนา 2019 ในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานการเกิดโรคจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกันนี้ อาทิ SAR CoV2 และ MERS ในสัตว์น้ําที่เป็นสัตว์เลือดเย็นมาก่อน จึงขอให้ผู้บริโภคโปรดมั่นใจในการบริโภคสัตว์น้ํา และกรมประมงยังมีมาตรการเข้มงวดในการควบคุมและตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ําก่อนถึงมือผู้บริโภคเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุด สําหรับสัตว์น้ําที่มาจากการเพาะเลี้ยงจะต้องได้มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําที่ดี หรือ GAP ส่วนที่มาจากการทําประมงต้องผ่านการประเมินสุขอนามัยบนเรือประมง อีกทั้งยังมีการสุ่มตรวจสินค้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําที่วางจําหน่ายในท้องตลาดโดยใช้ชุดทดสอบเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของกรมปศุสัตว์ยังได้มีการปรับแผนในการเข้าไปตรวจสอบมาตรฐานของโรงงานแปรรูปอาหารเพื่อส่งออก และฟารม์ต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมถึงมีการตั้งด่านสุ่มตรวจตามจุดต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และสําหรับองค์การสะพานปลาได้มีการประกาศปิดการใช้ท่าเรือสมุทรสาคร และท่าเรือสมุทรสงคราม รวมถึงได้คุมเข้ม 18 ท่าเรือทั่วประเทศ มาตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 มีการทําความสะอาดท่าเรือและพ่นยาฆ่าเชื้อ และยังได้มีมาตรการเยี่ยวยาผู้ประกอบการสําหรับเรือที่ออกจากท่าก่อนวันที่ 20 ธันวาคม 2563 สามารถนําเรือเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือสมุทรสาคร และท่าเรือสมุทรสงครามได้ แต่ต้องมีการแจ้งก่อนล่วงหน้า โดยทางองค์การสะพานปลาจะจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปรอตรวจสอบอย่างละเอียด นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเปิดตลาดสํารองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สําหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบนําสินค้ามาขาย เพื่อเป็นการเยียวยาในเบื้องต้น นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามมาตรการของกรมควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด รวมถึงกําชับในทุกหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เข้าไปรับฟังปัญหาและคอยช่วยเหลือประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดเกษตรฯ ย้ำเจ้าหน้าที่ในสังกัดพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด พร้อมยืนยันอาหารทะเลไทยปลอดภัยด้วยมาตรฐานการตรวจสอบระดับสากล วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ปลัดเกษตรฯ ย้ําเจ้าหน้าที่ในสังกัดพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด พร้อมยืนยันอาหารทะเลไทยปลอดภัยด้วยมาตรฐานการตรวจสอบระดับสากล ปลัดเกษตรฯ ย้ําเจ้าหน้าที่ในสังกัดพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด พร้อมยืนยันอาหารทะเลไทยปลอดภัยด้วยมาตรฐานการตรวจสอบระดับสากล ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมศูนย์ประสานการปฏิบัติภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2563 ให้ส่วนราชการทุกหน่วยงานในสังกัด ดําเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและจํากัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยให้พิจารณาบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงติดตามสถานการณ์จากความก้าวหน้าผลการสอบสวนผู้ป่วย และตรวจสอบ timeline ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 หากมีความเกี่ยวข้องกับข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด ขอให้พิจารณาดําเนินการตามมาตรการกักตัวจนครบ 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงไปในพื้นที่ และให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และงดเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง แต่หากมีความจําเป็นต้องเดินทางไปราชการในพื้นที่เสี่ยง ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมาตรการตามข้อกําหนดของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหน่วยงานควบคุมโรคในพื้นที่อย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังให้หน่วยงานวางแผนล่วงหน้าในการปฏิบัติงาน สําหรับข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด กรณีให้ปฏิบัติราชการที่บ้าน (Work from Home) หากสถานการณ์การแพร่ระบาดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สําหรับข้อกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสัตว์น้ํานั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการตรวจพบโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนา 2019 ในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานการเกิดโรคจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกันนี้ อาทิ SAR CoV2 และ MERS ในสัตว์น้ําที่เป็นสัตว์เลือดเย็นมาก่อน จึงขอให้ผู้บริโภคโปรดมั่นใจในการบริโภคสัตว์น้ํา และกรมประมงยังมีมาตรการเข้มงวดในการควบคุมและตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ําก่อนถึงมือผู้บริโภคเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุด สําหรับสัตว์น้ําที่มาจากการเพาะเลี้ยงจะต้องได้มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําที่ดี หรือ GAP ส่วนที่มาจากการทําประมงต้องผ่านการประเมินสุขอนามัยบนเรือประมง อีกทั้งยังมีการสุ่มตรวจสินค้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําที่วางจําหน่ายในท้องตลาดโดยใช้ชุดทดสอบเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของกรมปศุสัตว์ยังได้มีการปรับแผนในการเข้าไปตรวจสอบมาตรฐานของโรงงานแปรรูปอาหารเพื่อส่งออก และฟารม์ต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมถึงมีการตั้งด่านสุ่มตรวจตามจุดต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และสําหรับองค์การสะพานปลาได้มีการประกาศปิดการใช้ท่าเรือสมุทรสาคร และท่าเรือสมุทรสงคราม รวมถึงได้คุมเข้ม 18 ท่าเรือทั่วประเทศ มาตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 มีการทําความสะอาดท่าเรือและพ่นยาฆ่าเชื้อ และยังได้มีมาตรการเยี่ยวยาผู้ประกอบการสําหรับเรือที่ออกจากท่าก่อนวันที่ 20 ธันวาคม 2563 สามารถนําเรือเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือสมุทรสาคร และท่าเรือสมุทรสงครามได้ แต่ต้องมีการแจ้งก่อนล่วงหน้า โดยทางองค์การสะพานปลาจะจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปรอตรวจสอบอย่างละเอียด นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเปิดตลาดสํารองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สําหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบนําสินค้ามาขาย เพื่อเป็นการเยียวยาในเบื้องต้น นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามมาตรการของกรมควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด รวมถึงกําชับในทุกหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เข้าไปรับฟังปัญหาและคอยช่วยเหลือประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37830
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีมอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย เปิดทดลองนั่งเรือพลังงานไฟฟ้าฟรี 2 เดือน เริ่ม 23 ธ.ค.นี้ ในเส้นทางพระราม 5 – สาทร
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 นายกรัฐมนตรีมอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย เปิดทดลองนั่งเรือพลังงานไฟฟ้าฟรี 2 เดือน เริ่ม 23 ธ.ค.นี้ ในเส้นทางพระราม 5 – สาทร นายกรัฐมนตรีมอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย เปิดทดลองนั่งเรือพลังงานไฟฟ้าฟรี 2 เดือน เริ่ม 23 ธ.ค.นี้ ในเส้นทางพระราม 5 – สาทร วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 15.00 น. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดโครงการทดลองเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ําเจ้าพระยา (MINE Smart Ferry : “MISSION NO EMISSION” River Mass Transit) และเปิดท่าเทียบเรือสะพานพุทธยอดฟ้า ท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ณ ท่าเรือ แคท ทาวเวอร์ กสท. เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารและสื่อมวลชน เข้าร่วมงานด้วย โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผยว่านายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดโครงการฯ มีใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า รัฐบาลมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ให้ความสําคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ําด้วยการยกระดับเรือโดยสารและท่าเรือให้ทันสมัย สะดวกปลอดภัย ไร้มลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท สําหรับนํานวัตกรรมใหม่ของยานยนต์ในภาคการขนส่งทางน้ํามาให้บริการแก่ประชาชน อํานวยความสะดวกให้กับประชาชน ได้รับปลอดภัยในการสัญจร และยังเป็นการเชื่อมโยงการสัญจรทางบกและทางราง ช่วยลดปัญหาการจราจร ซึ่งเป็นก้าวสําคัญที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบการจราจรและการขนส่งอัจฉริยะในประเทศไทย ยกระดับการขนส่งสาธารณะของประเทศให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ให้เป็นระบบคมนาคมขนส่งหลักของประเทศ ทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานสะอาด ไร้มลพิษ สามารถช่วยลดปัญหาฝุ่น และ PM 2.5 เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังห่วงใยประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบด้านสุขภาพของจากปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ โดยขอให้สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งในที่สาธารณะ สําหรับสถานการณ์โควิด-19 นั้น รัฐบาลมีมาตรการชัดเจน สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อยู่ โดยคนไทยทุกคนช่วยกันและรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ทดลองนั่งเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ําเจ้าพระยาจากท่าเรือ แคท ทาวเวอร์ กสท. ไปยังท่าเรือสะพานพระพุทธยอดฟ้า เพื่อเปิดท่าเทียบเรือสะพานพุทธยอดฟ้า พร้อมเยี่ยมชมโครงการนําร่องพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ Smart Pier (ท่าเรืออัจฉริยะ) แห่งแรกของประเทศไทย พร้อมกล่าวชมการทํางานของกระทรวงคมนาคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมผนึกกําลังที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามแนวทาง “รวมไทย สร้างชาติ” ที่ขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า ซึ่งท่าเรือแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสําคัญอีกแห่งหนึ่งในแม่น้ําเจ้าพระยา ที่จะเปิดให้บริการประชาชนฟรี ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.63- 14 ก.พ.64 ในเส้นทางพระราม 5 - สาทร เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน เพื่อสร้างรอยยิ้มและความสุขแก่ผู้ใช้บริการทุกคนต่อไป และพร้อมจะเปลี่ยนท่าเรือให้สวยงาม ทันสมัย ทั้ง 29 ท่า ภายในปี 2565 ด้วย ................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีมอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย เปิดทดลองนั่งเรือพลังงานไฟฟ้าฟรี 2 เดือน เริ่ม 23 ธ.ค.นี้ ในเส้นทางพระราม 5 – สาทร วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 นายกรัฐมนตรีมอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย เปิดทดลองนั่งเรือพลังงานไฟฟ้าฟรี 2 เดือน เริ่ม 23 ธ.ค.นี้ ในเส้นทางพระราม 5 – สาทร นายกรัฐมนตรีมอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย เปิดทดลองนั่งเรือพลังงานไฟฟ้าฟรี 2 เดือน เริ่ม 23 ธ.ค.นี้ ในเส้นทางพระราม 5 – สาทร วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 15.00 น. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดโครงการทดลองเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ําเจ้าพระยา (MINE Smart Ferry : “MISSION NO EMISSION” River Mass Transit) และเปิดท่าเทียบเรือสะพานพุทธยอดฟ้า ท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ณ ท่าเรือ แคท ทาวเวอร์ กสท. เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารและสื่อมวลชน เข้าร่วมงานด้วย โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผยว่านายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดโครงการฯ มีใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า รัฐบาลมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ให้ความสําคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ําด้วยการยกระดับเรือโดยสารและท่าเรือให้ทันสมัย สะดวกปลอดภัย ไร้มลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท สําหรับนํานวัตกรรมใหม่ของยานยนต์ในภาคการขนส่งทางน้ํามาให้บริการแก่ประชาชน อํานวยความสะดวกให้กับประชาชน ได้รับปลอดภัยในการสัญจร และยังเป็นการเชื่อมโยงการสัญจรทางบกและทางราง ช่วยลดปัญหาการจราจร ซึ่งเป็นก้าวสําคัญที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบการจราจรและการขนส่งอัจฉริยะในประเทศไทย ยกระดับการขนส่งสาธารณะของประเทศให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ให้เป็นระบบคมนาคมขนส่งหลักของประเทศ ทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานสะอาด ไร้มลพิษ สามารถช่วยลดปัญหาฝุ่น และ PM 2.5 เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังห่วงใยประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบด้านสุขภาพของจากปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ โดยขอให้สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งในที่สาธารณะ สําหรับสถานการณ์โควิด-19 นั้น รัฐบาลมีมาตรการชัดเจน สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อยู่ โดยคนไทยทุกคนช่วยกันและรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ทดลองนั่งเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ําเจ้าพระยาจากท่าเรือ แคท ทาวเวอร์ กสท. ไปยังท่าเรือสะพานพระพุทธยอดฟ้า เพื่อเปิดท่าเทียบเรือสะพานพุทธยอดฟ้า พร้อมเยี่ยมชมโครงการนําร่องพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ Smart Pier (ท่าเรืออัจฉริยะ) แห่งแรกของประเทศไทย พร้อมกล่าวชมการทํางานของกระทรวงคมนาคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมผนึกกําลังที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามแนวทาง “รวมไทย สร้างชาติ” ที่ขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า ซึ่งท่าเรือแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสําคัญอีกแห่งหนึ่งในแม่น้ําเจ้าพระยา ที่จะเปิดให้บริการประชาชนฟรี ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.63- 14 ก.พ.64 ในเส้นทางพระราม 5 - สาทร เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน เพื่อสร้างรอยยิ้มและความสุขแก่ผู้ใช้บริการทุกคนต่อไป และพร้อมจะเปลี่ยนท่าเรือให้สวยงาม ทันสมัย ทั้ง 29 ท่า ภายในปี 2565 ด้วย ................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37833
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีกล่าวแถลงการณ์ “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 นายกรัฐมนตรีกล่าวแถลงการณ์ “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย นายกรัฐมนตรีกล่าวแถลงการณ์ “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย 22 ธันวาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวแถลงการณ์ “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการระบาดใหม่ของโควิด-19 ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ได้ถูกจัดการอย่างเร่งด่วนทันทีด้วยการใช้มาตรการที่เข้มข้น พร้อมขอบคุณเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี การระบาดที่เกิดใหม่นี้ย้ําว่า โควิด-19 ยังเป็นภัยร้ายแรงสําหรับประเทศ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ สถานการณ์โควิดทั่วโลกก็รุนแรงและกะทันหันด้วย ไม่กี่วันก่อนอังกฤษยืนยันพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า มีรายงานจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนคนภายในแค่สัปดาห์เดียวและพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ในประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งสถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลกในเดือนธันวาคมเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดมา หลายประเทศรายงานจํานวนผู้เสียชีวิตจากโควิดเป็นร้อย ๆ คนภายในสัปดาห์เดียว และมีบางประเทศที่เสียชีวิตเป็นพัน ๆ คนภายในหนึ่งสัปดาห์ นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงสถานการณ์โควิดทั่วโลกที่ส่งผลกระทบไม่ดีถึงประเทศไทย ผลกระทบแรก คือเศรษฐกิจทั่วโลกจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ที่จะช้ากว่าที่คาดการณ์ตามไปด้วย ผลกระทบที่สอง คือ ยังคงต้องระมัดระวังมาตรการการผ่อนคลายให้คนต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยต่อไปอีก ความเสี่ยงสุดคือคนต่างชาติที่เข้าประเทศไทยอาจจะนําเชื้อโควิดเข้ามาในประเทศซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับระบบสาธารณสุขของไทย และสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจมากกว่าที่มีอยู่หลายเท่า จึงต้องเข้มงวดและระมัดระวังเต็มที่ทั้งที่สนามบินและช่องทางเข้าประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟ รถบัส เรือรวมถึงช่องทางธรรมชาติ หากมีผู้ติดเชื้อ โควิดเล็ดลอดเข้าประเทศมาเพียงไม่กี่คนจะสร้างปัญหาอย่างหนักให้กับเศรษฐกิจ และสุขภาพของคนนับแสน ๆ ผลกระทบที่สาม คือ เมื่อสถานการณ์ทั่วโลกยิ่งแย่ลง ทําให้ยิ่งต้องตั้งการ์ดให้สูงขึ้น เพิ่มและปรับมาตรการต่าง ๆ ให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่สมุทรสาครว่า ปัจจุบันมีการกักกันและอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคเชิงรุก ซึ่งจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ทั้งการทํากิจกรรมต่าง ๆ การตรวจคัดกรอง การเข้า-ออกสถานที่ การเว้นระยะห่าง ทั้งนี้ อาจจําเป็นต้องประกาศมาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะกิจกรรมเฉลิมฉลองปีใหม่ ซึ่งจะมีมาตรการอย่างไรหรือต้องงดจัด ในสัปดาห์นี้จะประชุมกับ ศบค. และจะออกมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ถ้าอ่อนหรือผ่อนคลายมาตรการมากเกินไป โควิดจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจที่มากกว่านี้และกระทบทั้งประเทศ ซึ่งหลายประเทศตอนนี้เริ่มกลับไปใช้มาตรการที่เข้มงวด ทั้งการบังคับไม่ให้ประชาชนออกจากบ้าน การออกข้อกําหนดมากมายสําหรับคนที่ต้องการเข้าประเทศ ร้านค้าร้านอาหารส่วนใหญ่ต้องปิด รวมถึงปิดสถานที่บันเทิงและสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ด้วย หรือบางประเทศอย่างฝรั่งเศส ถึงขั้นห้ามไม่ให้มีการขนส่งสิ่งของ เข้าและออกประเทศเป็นการชั่วคราว นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงต้นปีที่ผ่านมาตอนที่โควิดเริ่มเป็นภัยร้ายแรงของโลก มีประเทศที่ไม่เข้มงวดปกป้องดูแลสุขภาพและสาธารณสุขเพราะกังวลว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของตนเอง ปัจจุบันเจอผลกระทบหนักต่อเศรษฐกิจทั้งสิ้น เพราะสุดท้ายแล้วการระบาดของโควิดทําให้ประชาชนไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ เมื่อคนเป็นโควิดเยอะ สุดท้ายก็สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ ฉะนั้นการเข้มงวดเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนและสาธารณสุขของประเทศ จึงเป็นวิธีที่จะปกป้องความเสียหายต่อเศรษฐกิจไม่ให้รุนแรงมากกว่าที่เรากําลังเจออยู่ นายกรัฐมนตรีเน้นถึงเหตุผลที่ไทยเจอปัญหาเศรษฐกิจที่เบากว่าประเทศอื่น ๆ หลายประเทศว่า ตั้งแต่ต้นไทยเข้มงวดการปกป้องดูแลสุขภาพของประชาชน จึงยังสามารถใช้ชีวิตประจําวันได้อย่างเกือบเป็นปกติ โรงพยาบาลและสถานสาธารณสุขต่าง ๆ ยังทํางานกันได้ตามปกติ ดูแลคนไข้โรคอื่น ๆ ได้ โดยไม่ถูกคนไข้โควิดรบกวน ที่สําคัญที่สุดก็คือ คนไทยไม่ต้องเจอกับการสูญเสียชีวิตของพ่อแม่พี่น้องลูกหลานไปกับโควิด ซึ่งเป็นฝันร้ายที่คนในหลายประเทศทั่วโลกยังต้องเจอกันอยู่ทุกวัน โดยต้องยกความดีความชอบให้ประชาชนคนไทยทุกคนที่ให้ความร่วมมือ มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคม เสียสละความสะดวกสบายส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมกันต่อไป สวมหน้ากากอนามัยกันอยู่ตลอด ล้างมือบ่อย ๆ เป็นประจํา และรักษาระยะห่างทางสังคม พร้อมชื่นชมการทํางานอย่างหนักของอาสาสมัครสาธารณสุข บุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐทุกส่วนที่ร่วมมือกันทํางานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย นายกรัฐมนตรีย้ําว่า เพียงคนไม่กี่คนที่ละเลยความรับผิดชอบต่อสังคม และมีพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว จะสร้างปัญหาให้คนเป็นล้าน ๆ จึงต้องขอให้คนไทยทุกคนใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับที่สูงมากกว่าปกติ และขอให้ทําด้วยความภูมิใจว่า สิ่งที่ทําทุกวัน ทุกวันแม้จะดูเล็กน้อยแต่มีผลกับทั้งประเทศ สร้างความแตกต่างให้ประเทศไทยได้ ทุกคนได้มีส่วนช่วยกันทําให้ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าอีกหลายประเทศ นายกรัฐมนตรียืนยันขบวนการนําแรงงานเถื่อนเข้าประเทศจะต้องถูกดําเนินคดี ถูกทําลายให้สิ้นซากไม่ว่าจะเป็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพราะการแพร่ระบาดครั้งนี้ ตรวจพบผู้ติดเชื้อจากแรงงานต่างด้าวมากที่สุด ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวมั่นใจว่า แม้ว่าเส้นทางจะยังยาวไกลกว่าสถานการณ์จะกลับเป็นปกติ หากทุกคนยังร่วมมือกัน ไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่รับผลกระทบน้อยที่สุดในโลก เราเป็นประเทศที่ประชาชนรู้ว่าเราพึ่งพาตัวเองได้ และหวังพึ่งพาคนอื่น ๆ ในสังคมได้ด้วย ขอให้ทุกคนต่างทําหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมกําชับดูแลให้มั่นใจว่า หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ จะยังคงทํางานแบบบูรณาการและใกล้ชิดกัน ให้ทุกฝ่ายยึดมั่นรับฟังคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุข และจะเร่งจัดหาและพัฒนาวัคซีนให้พร้อมใช้งานเร็วที่สุดเท่าที่จะเร่งได้ หลังจากที่ประสบความสําเร็จในการเจรจาให้ผู้พัฒนาวัคซีนที่ดีที่สุดในโลกรายหนึ่ง มาตั้งศูนย์ผลิตวัคซีนในประเทศไทย ในช่วงโควิดนอกประเทศไทยรุนแรงขึ้นอีก จึงยิ่งต้องระมัดระวังมากขึ้น ขอคนไทยทุกคนให้ความร่วมมือ และอยู่เคียงข้าง ต่อสู้ไปด้วยกัน ให้ผ่านพ้นสถานการณ์ไปให้ได้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีกล่าวแถลงการณ์ “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 นายกรัฐมนตรีกล่าวแถลงการณ์ “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย นายกรัฐมนตรีกล่าวแถลงการณ์ “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย 22 ธันวาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวแถลงการณ์ “การระบาดอีกครั้งของโควิด – เราต้องเข้มแข็ง” ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการระบาดใหม่ของโควิด-19 ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ได้ถูกจัดการอย่างเร่งด่วนทันทีด้วยการใช้มาตรการที่เข้มข้น พร้อมขอบคุณเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี การระบาดที่เกิดใหม่นี้ย้ําว่า โควิด-19 ยังเป็นภัยร้ายแรงสําหรับประเทศ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ สถานการณ์โควิดทั่วโลกก็รุนแรงและกะทันหันด้วย ไม่กี่วันก่อนอังกฤษยืนยันพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า มีรายงานจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนคนภายในแค่สัปดาห์เดียวและพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ในประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งสถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลกในเดือนธันวาคมเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดมา หลายประเทศรายงานจํานวนผู้เสียชีวิตจากโควิดเป็นร้อย ๆ คนภายในสัปดาห์เดียว และมีบางประเทศที่เสียชีวิตเป็นพัน ๆ คนภายในหนึ่งสัปดาห์ นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงสถานการณ์โควิดทั่วโลกที่ส่งผลกระทบไม่ดีถึงประเทศไทย ผลกระทบแรก คือเศรษฐกิจทั่วโลกจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ที่จะช้ากว่าที่คาดการณ์ตามไปด้วย ผลกระทบที่สอง คือ ยังคงต้องระมัดระวังมาตรการการผ่อนคลายให้คนต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยต่อไปอีก ความเสี่ยงสุดคือคนต่างชาติที่เข้าประเทศไทยอาจจะนําเชื้อโควิดเข้ามาในประเทศซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับระบบสาธารณสุขของไทย และสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจมากกว่าที่มีอยู่หลายเท่า จึงต้องเข้มงวดและระมัดระวังเต็มที่ทั้งที่สนามบินและช่องทางเข้าประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟ รถบัส เรือรวมถึงช่องทางธรรมชาติ หากมีผู้ติดเชื้อ โควิดเล็ดลอดเข้าประเทศมาเพียงไม่กี่คนจะสร้างปัญหาอย่างหนักให้กับเศรษฐกิจ และสุขภาพของคนนับแสน ๆ ผลกระทบที่สาม คือ เมื่อสถานการณ์ทั่วโลกยิ่งแย่ลง ทําให้ยิ่งต้องตั้งการ์ดให้สูงขึ้น เพิ่มและปรับมาตรการต่าง ๆ ให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่สมุทรสาครว่า ปัจจุบันมีการกักกันและอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคเชิงรุก ซึ่งจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ทั้งการทํากิจกรรมต่าง ๆ การตรวจคัดกรอง การเข้า-ออกสถานที่ การเว้นระยะห่าง ทั้งนี้ อาจจําเป็นต้องประกาศมาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะกิจกรรมเฉลิมฉลองปีใหม่ ซึ่งจะมีมาตรการอย่างไรหรือต้องงดจัด ในสัปดาห์นี้จะประชุมกับ ศบค. และจะออกมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ถ้าอ่อนหรือผ่อนคลายมาตรการมากเกินไป โควิดจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจที่มากกว่านี้และกระทบทั้งประเทศ ซึ่งหลายประเทศตอนนี้เริ่มกลับไปใช้มาตรการที่เข้มงวด ทั้งการบังคับไม่ให้ประชาชนออกจากบ้าน การออกข้อกําหนดมากมายสําหรับคนที่ต้องการเข้าประเทศ ร้านค้าร้านอาหารส่วนใหญ่ต้องปิด รวมถึงปิดสถานที่บันเทิงและสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ด้วย หรือบางประเทศอย่างฝรั่งเศส ถึงขั้นห้ามไม่ให้มีการขนส่งสิ่งของ เข้าและออกประเทศเป็นการชั่วคราว นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงต้นปีที่ผ่านมาตอนที่โควิดเริ่มเป็นภัยร้ายแรงของโลก มีประเทศที่ไม่เข้มงวดปกป้องดูแลสุขภาพและสาธารณสุขเพราะกังวลว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของตนเอง ปัจจุบันเจอผลกระทบหนักต่อเศรษฐกิจทั้งสิ้น เพราะสุดท้ายแล้วการระบาดของโควิดทําให้ประชาชนไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ เมื่อคนเป็นโควิดเยอะ สุดท้ายก็สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ ฉะนั้นการเข้มงวดเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนและสาธารณสุขของประเทศ จึงเป็นวิธีที่จะปกป้องความเสียหายต่อเศรษฐกิจไม่ให้รุนแรงมากกว่าที่เรากําลังเจออยู่ นายกรัฐมนตรีเน้นถึงเหตุผลที่ไทยเจอปัญหาเศรษฐกิจที่เบากว่าประเทศอื่น ๆ หลายประเทศว่า ตั้งแต่ต้นไทยเข้มงวดการปกป้องดูแลสุขภาพของประชาชน จึงยังสามารถใช้ชีวิตประจําวันได้อย่างเกือบเป็นปกติ โรงพยาบาลและสถานสาธารณสุขต่าง ๆ ยังทํางานกันได้ตามปกติ ดูแลคนไข้โรคอื่น ๆ ได้ โดยไม่ถูกคนไข้โควิดรบกวน ที่สําคัญที่สุดก็คือ คนไทยไม่ต้องเจอกับการสูญเสียชีวิตของพ่อแม่พี่น้องลูกหลานไปกับโควิด ซึ่งเป็นฝันร้ายที่คนในหลายประเทศทั่วโลกยังต้องเจอกันอยู่ทุกวัน โดยต้องยกความดีความชอบให้ประชาชนคนไทยทุกคนที่ให้ความร่วมมือ มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคม เสียสละความสะดวกสบายส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมกันต่อไป สวมหน้ากากอนามัยกันอยู่ตลอด ล้างมือบ่อย ๆ เป็นประจํา และรักษาระยะห่างทางสังคม พร้อมชื่นชมการทํางานอย่างหนักของอาสาสมัครสาธารณสุข บุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐทุกส่วนที่ร่วมมือกันทํางานอย่างมีประสิทธิภาพด้วย นายกรัฐมนตรีย้ําว่า เพียงคนไม่กี่คนที่ละเลยความรับผิดชอบต่อสังคม และมีพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว จะสร้างปัญหาให้คนเป็นล้าน ๆ จึงต้องขอให้คนไทยทุกคนใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับที่สูงมากกว่าปกติ และขอให้ทําด้วยความภูมิใจว่า สิ่งที่ทําทุกวัน ทุกวันแม้จะดูเล็กน้อยแต่มีผลกับทั้งประเทศ สร้างความแตกต่างให้ประเทศไทยได้ ทุกคนได้มีส่วนช่วยกันทําให้ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าอีกหลายประเทศ นายกรัฐมนตรียืนยันขบวนการนําแรงงานเถื่อนเข้าประเทศจะต้องถูกดําเนินคดี ถูกทําลายให้สิ้นซากไม่ว่าจะเป็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพราะการแพร่ระบาดครั้งนี้ ตรวจพบผู้ติดเชื้อจากแรงงานต่างด้าวมากที่สุด ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวมั่นใจว่า แม้ว่าเส้นทางจะยังยาวไกลกว่าสถานการณ์จะกลับเป็นปกติ หากทุกคนยังร่วมมือกัน ไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่รับผลกระทบน้อยที่สุดในโลก เราเป็นประเทศที่ประชาชนรู้ว่าเราพึ่งพาตัวเองได้ และหวังพึ่งพาคนอื่น ๆ ในสังคมได้ด้วย ขอให้ทุกคนต่างทําหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมกําชับดูแลให้มั่นใจว่า หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ จะยังคงทํางานแบบบูรณาการและใกล้ชิดกัน ให้ทุกฝ่ายยึดมั่นรับฟังคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุข และจะเร่งจัดหาและพัฒนาวัคซีนให้พร้อมใช้งานเร็วที่สุดเท่าที่จะเร่งได้ หลังจากที่ประสบความสําเร็จในการเจรจาให้ผู้พัฒนาวัคซีนที่ดีที่สุดในโลกรายหนึ่ง มาตั้งศูนย์ผลิตวัคซีนในประเทศไทย ในช่วงโควิดนอกประเทศไทยรุนแรงขึ้นอีก จึงยิ่งต้องระมัดระวังมากขึ้น ขอคนไทยทุกคนให้ความร่วมมือ และอยู่เคียงข้าง ต่อสู้ไปด้วยกัน ให้ผ่านพ้นสถานการณ์ไปให้ได้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37831
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุริยะ หารือหอการค้าเยอรมัน-ไทย ร่วมมือแก้วิกฤตมลพิษทางอากาศระยะยาว หนุนกฎหมายอากาศสะอาดแก้มลภาวะระดับลงลึก
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สุริยะ หารือหอการค้าเยอรมัน-ไทย ร่วมมือแก้วิกฤตมลพิษทางอากาศระยะยาว หนุนกฎหมายอากาศสะอาดแก้มลภาวะระดับลงลึก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หารือหอการค้าเยอรมัน-ไทย ร่วมมือแก้วิกฤตมลพิษทางอากาศระยะยาว หนุนกฎหมายอากาศสะอาดแก้มลภาวะระดับลงลึก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับประธานหอการค้าเยอรมัน-ไทย ว่า เยอรมนีมีความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในการสนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circu lar Economy) โดยมีความเห็นว่าการส่งเสริมอุตสาหกรรม อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้ภาคธุรกิจมีความเข้มแข็ง และอยู่ร่วมกับสังคมอย่างยั่งยืน โดยทางหอการค้าเยอรมัน-ไทย ได้นําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความสําคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวให้แก่กระทรวง เพื่อหาแนวทางดําเนินงานร่วมกันต่อไป ขณะเดียวกันยังได้เน้นย้ําถึงความสําคัญของการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ โดยสนับสนุนกฎหมายอากาศสะอาด (clean air act) ต้องมีการพิจารณาแก้ไขลงลึกถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง และมีการนํามาตรการต่าง ๆ มาใช้อย่างจริงจัง ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของการประกอบอุตสาหกรรมตามกรอบแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste) และเศรษฐกิจหมุนเวียน สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ประกอบกับขณะนี้เกิดปัญหามลภาวะทั่วโลก และในประเทศไทยมีปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นหากภาคอุตสาหกรรมมีส่วนช่วยผลักดันจิตสํานึกส่วนนี้จะส่งผลดีในระยะยาว พร้อมกันนี้อุตสาหกรรมที่ให้ความสําคัญด้านสิ่งแวดล้อมจะได้รับการยอมรับจากทุกตลาดทั่วโลก เป็นผลดีต่อการทําธุรกิจระยะยาวเช่นเดียวกัน “ประเด็นที่หอการค้าเยอรมนีหารือเป็นสิ่งที่กระทรวงให้ความสําคัญอยู่แล้ว ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมก็มีแผนที่จะดําเนินงานในส่วนที่เป็นมาตรการระยะยาวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มีแผนปรับจากมาตรฐานยูโร 4 ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นการใช้มาตรฐานยูโร 5 และ 6 ในอนาคตอันใกล้นี้ พร้อมทั้งการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต เป็นต้น โดยยอมรับว่าทุกการเปลี่ยนแปลงนํามาซึ่งต้นทุนแก่ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี จะเป็นผลดีต่อสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ในระยะยาว ซึ่งเราก็พยายามปรับไปตามความเหมาะสมของกระแสโลก” นายสุริยะ กล่าว นายอันเดร ริชเตอร์ ประธานหอการค้าเยอรมัน-ไทย กล่าวว่าขณะนี้ไทยยังมีปัญหาฝุ่นละอองซึ่งส่งผลต่อสภาพอากาศ จึงเล็งเห็นว่าหากทั้ง 2 หน่วยงานมีความร่วมมือกัน เยอรมนีในฐานะประเทศที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยี รวมทั้งมีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมและทํางานอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว หากทางกระทรวงฯ ช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการของเยอรมนีด้วย ก็จะส่งผลให้การลงทุน และการทํางานราบรื่น ซึ่งน่าจะช่วยกันแก้ปัญหาและมุ่งไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมรักษ์โลก ตอบโจทย์เทรนด์ของโลกในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี “ขณะนี้ทุกตลาดทั่วโลกมุ่งไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมรักษ์โลก แม้ต้นทุนในการปรับเปลี่ยนจะสูง แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว ดังนั้นเราจะต้องเดินหน้าพัฒนาให้ทันกับกระแส โดยเยอรมันนี มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีอยู่แล้วและพร้อมให้การสนับสนุนไทยต่อไป” นายอันเดร กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สุริยะ หารือหอการค้าเยอรมัน-ไทย ร่วมมือแก้วิกฤตมลพิษทางอากาศระยะยาว หนุนกฎหมายอากาศสะอาดแก้มลภาวะระดับลงลึก วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สุริยะ หารือหอการค้าเยอรมัน-ไทย ร่วมมือแก้วิกฤตมลพิษทางอากาศระยะยาว หนุนกฎหมายอากาศสะอาดแก้มลภาวะระดับลงลึก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หารือหอการค้าเยอรมัน-ไทย ร่วมมือแก้วิกฤตมลพิษทางอากาศระยะยาว หนุนกฎหมายอากาศสะอาดแก้มลภาวะระดับลงลึก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับประธานหอการค้าเยอรมัน-ไทย ว่า เยอรมนีมีความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในการสนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circu lar Economy) โดยมีความเห็นว่าการส่งเสริมอุตสาหกรรม อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้ภาคธุรกิจมีความเข้มแข็ง และอยู่ร่วมกับสังคมอย่างยั่งยืน โดยทางหอการค้าเยอรมัน-ไทย ได้นําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความสําคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวให้แก่กระทรวง เพื่อหาแนวทางดําเนินงานร่วมกันต่อไป ขณะเดียวกันยังได้เน้นย้ําถึงความสําคัญของการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ โดยสนับสนุนกฎหมายอากาศสะอาด (clean air act) ต้องมีการพิจารณาแก้ไขลงลึกถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง และมีการนํามาตรการต่าง ๆ มาใช้อย่างจริงจัง ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของการประกอบอุตสาหกรรมตามกรอบแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste) และเศรษฐกิจหมุนเวียน สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ประกอบกับขณะนี้เกิดปัญหามลภาวะทั่วโลก และในประเทศไทยมีปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นหากภาคอุตสาหกรรมมีส่วนช่วยผลักดันจิตสํานึกส่วนนี้จะส่งผลดีในระยะยาว พร้อมกันนี้อุตสาหกรรมที่ให้ความสําคัญด้านสิ่งแวดล้อมจะได้รับการยอมรับจากทุกตลาดทั่วโลก เป็นผลดีต่อการทําธุรกิจระยะยาวเช่นเดียวกัน “ประเด็นที่หอการค้าเยอรมนีหารือเป็นสิ่งที่กระทรวงให้ความสําคัญอยู่แล้ว ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมก็มีแผนที่จะดําเนินงานในส่วนที่เป็นมาตรการระยะยาวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มีแผนปรับจากมาตรฐานยูโร 4 ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นการใช้มาตรฐานยูโร 5 และ 6 ในอนาคตอันใกล้นี้ พร้อมทั้งการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต เป็นต้น โดยยอมรับว่าทุกการเปลี่ยนแปลงนํามาซึ่งต้นทุนแก่ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี จะเป็นผลดีต่อสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ในระยะยาว ซึ่งเราก็พยายามปรับไปตามความเหมาะสมของกระแสโลก” นายสุริยะ กล่าว นายอันเดร ริชเตอร์ ประธานหอการค้าเยอรมัน-ไทย กล่าวว่าขณะนี้ไทยยังมีปัญหาฝุ่นละอองซึ่งส่งผลต่อสภาพอากาศ จึงเล็งเห็นว่าหากทั้ง 2 หน่วยงานมีความร่วมมือกัน เยอรมนีในฐานะประเทศที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยี รวมทั้งมีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมและทํางานอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว หากทางกระทรวงฯ ช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการของเยอรมนีด้วย ก็จะส่งผลให้การลงทุน และการทํางานราบรื่น ซึ่งน่าจะช่วยกันแก้ปัญหาและมุ่งไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมรักษ์โลก ตอบโจทย์เทรนด์ของโลกในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี “ขณะนี้ทุกตลาดทั่วโลกมุ่งไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมรักษ์โลก แม้ต้นทุนในการปรับเปลี่ยนจะสูง แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว ดังนั้นเราจะต้องเดินหน้าพัฒนาให้ทันกับกระแส โดยเยอรมันนี มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีอยู่แล้วและพร้อมให้การสนับสนุนไทยต่อไป” นายอันเดร กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37812
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- กระทรวงยุติธรรม เตรียมพร้อมส่งความสุขมอบของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๔ ให้ประชาชน ผ่านบริการงานด้านยุติธรรม
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม เตรียมพร้อมส่งความสุขมอบของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๔ ให้ประชาชน ผ่านบริการงานด้านยุติธรรม นายวันฉัตร วณิชพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ด้านประชาสัมพันธ์) เป็นประธานการประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงยุติธรรม ในวันอังคารที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๕ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ นายวันฉัตร วณิชพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ด้านประชาสัมพันธ์) เป็นประธานการประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงยุติธรรม โดยมี หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ และผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ โดยที่ประชุมได้หารือแนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ หรือกิจกรรมที่จะมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ประจําปี พ.ศ.๒๕๖๔ ผ่านบริการงานด้านยุติธรรมในรูปแบบต่างๆ ให้สาธารณชนรับทราบ ภายใต้หลักการบริหารงานที่สําคัญของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยแนวทางในการส่งมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ประกอบด้วย การลดภาระค่าใช้จ่ายและช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความยุติธรรม การบริการความรู้ และความเข้าใจด้านกฎหมาย การบริการงานยุติธรรมช่วงเทศกาลปีใหม่ และการบริการงานยุติธรรมผ่านระบบเทคโนโลยี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบสถิติรายงานมูลค่าประชาสัมพันธ์ ประจําเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๓ เพื่อนํามาวิเคราะห์แนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ โดยเน้นขับเคลื่อนงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงยุติธรรมให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไปสู่สาธารณชนให้ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรมผ่านสื่อมวลชนได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และมีความต่อเนื่อง อันจะนําไปสู่การยกระดับการปฏิบัติงานด้านข่าวสารของกระทรวงยุติธรรมให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนมากยิ่งขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- กระทรวงยุติธรรม เตรียมพร้อมส่งความสุขมอบของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๔ ให้ประชาชน ผ่านบริการงานด้านยุติธรรม วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม เตรียมพร้อมส่งความสุขมอบของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๔ ให้ประชาชน ผ่านบริการงานด้านยุติธรรม นายวันฉัตร วณิชพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ด้านประชาสัมพันธ์) เป็นประธานการประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงยุติธรรม ในวันอังคารที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๕ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ นายวันฉัตร วณิชพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ด้านประชาสัมพันธ์) เป็นประธานการประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงยุติธรรม โดยมี หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ และผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ โดยที่ประชุมได้หารือแนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ หรือกิจกรรมที่จะมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ประจําปี พ.ศ.๒๕๖๔ ผ่านบริการงานด้านยุติธรรมในรูปแบบต่างๆ ให้สาธารณชนรับทราบ ภายใต้หลักการบริหารงานที่สําคัญของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยแนวทางในการส่งมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ประกอบด้วย การลดภาระค่าใช้จ่ายและช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความยุติธรรม การบริการความรู้ และความเข้าใจด้านกฎหมาย การบริการงานยุติธรรมช่วงเทศกาลปีใหม่ และการบริการงานยุติธรรมผ่านระบบเทคโนโลยี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบสถิติรายงานมูลค่าประชาสัมพันธ์ ประจําเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๓ เพื่อนํามาวิเคราะห์แนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ โดยเน้นขับเคลื่อนงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงยุติธรรมให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไปสู่สาธารณชนให้ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรมผ่านสื่อมวลชนได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และมีความต่อเนื่อง อันจะนําไปสู่การยกระดับการปฏิบัติงานด้านข่าวสารของกระทรวงยุติธรรมให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนมากยิ่งขึ้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37821
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมศุลกากรลงนามสัญญาให้สิทธิบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กรมศุลกากรลงนามสัญญาให้สิทธิบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) กรมศุลกากรร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ลงนามสัญญาให้สิทธิบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) เพื่อให้บริการและพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) หรือระบบกลางการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) กรมศุลกากรร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ลงนามสัญญาให้สิทธิบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) เพื่อให้บริการและพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) หรือระบบกลางการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และระหว่างประเทศ ณ ห้องโถง อาคาร 1 กรมศุลกากร (คลองเตย) นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดตั้งระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว National Single Window (NSW) ของประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2548 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนําเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ ให้ความร่วมมือเพื่อร่วมกันผลักดันให้ระบบ NSW จัดตั้งได้สําเร็จตามเป้าหมาย โดยระบบ NSW เป็นระบบอํานวยความสะดวกและบริการแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติควบคู่ไปกับการปฏิรูปกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ และการลดรูปเอกสาร เพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ เช่น ผู้ประกอบการนําเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ เป็นต้น สามารถทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัยและไร้เอกสาร เช่น การจัดเตรียมข้อมูลเพียงครั้งเดียวในการขอใบอนุญาตและใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ และการปฏิบัติพิธีการศุลกากรใบขนสินค้าและชําระค่าภาษีอากรแบบอัตโนมัติ การใช้ข้อมูลร่วมกันกับทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตและใบรับรองระหว่างหน่วยงานภาครัฐภายในประเทศ และการเชื่อมโยงข้อมูลภาคธุรกิจระหว่างประเทศ โดยผู้ใช้บริการทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ สามารถติดตามผลในทุก ๆ ขั้นตอนของการดําเนินงานนําเข้า ส่งออกและการอนุมัติต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.thainsw.net/ และแอพพลิเคชั่น NSW e-Tracking on Mobile ได้ทุกวันและตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐ จํานวน 37 หน่วยงาน รวมถึงภาคเอกชนได้เชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW อีกทั้งประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับประเทศสมาชิกอาเซียนผ่าน ASEAN Single Window (ASW) เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบัน ระบบ National Single Window หรือระบบกลางการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และระหว่างประเทศ ปีละกว่า 100 ล้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นปีละ 10 ล้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากนี้ไป NSW จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลธุรกรรมใหม่ ในรูปแบบ B2G (Business-to-Government) และการเชื่อมโยงข้อมูลกับต่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้น และเพื่อรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW ที่เพิ่มมากขึ้น ครอบคลุมทั่วทุกภาคส่วนทั้งระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ (Government-to-Government: G2G) ภาคเอกชนกับภาครัฐ (Business-to-Government : B2G) และระหว่างภาคเอกชนกับภาคเอกชน (Business-to-Business: B2B) รวมทั้งเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องในมิติอื่น อาทิ ด้านการค้าขาย (e-Trade) ด้านการขนส่ง (e-Freight) และด้านการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เป็นต้น กรมศุลกากร จึงมอบหมายให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นผู้ให้บริการระบบ National Single Window (NSW Operator) เนื่องจาก CAT มีความพร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และมีประสบการณ์ในการดําเนินธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงมีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารมาเป็นระยะเวลานาน กอปกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 มีมติเห็นชอบให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นผู้ให้บริการ NSW หรือ NSW Operator ของประเทศ จึงเชื่อมั่นได้ว่า ภายใต้การดําเนินการของกรมศุลกากรและบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) เกี่ยวกับการบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) จะประสบความสําเร็จ สามารถอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ รวมถึงสามารถเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW ของประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนผ่าน ASEAN Single Window (ASW) ได้อย่างราบรื่น พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่าระบบ National Single Window (NSW) เป็นระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ (G2G,G2B และ B2B) สําหรับการนําเข้า ส่งออกและโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นระบบบริการแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติควบคู่ไปกับการปฏิรูปกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการและการลดรูปเอกสาร โดยอํานวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัยและไร้เอกสาร รวมถึงการใช้ข้อมูลร่วมกันของทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตและใบรับรองระหว่างหน่วยงานภาครัฐภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยผู้ใช้บริการสามารถติดตามผลในทุก ๆ ขั้นตอนของการดําเนินงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต (e-Tracking)ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง “ระบบ NSW นี้มีความสําคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยอํานวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ รวมถึงช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ดังนั้น CAT ในฐานะผู้ให้บริการระบบ NSW จึงมีความตั้งใจและพร้อมที่จะนําบริการด้านดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่มาให้บริการ NSW อย่างเต็มกําลังความสามารถ เพื่อให้กรมศุลกากรในฐานะที่เป็นหน่วยงานอํานวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศสามารถพัฒนาการให้บริการให้เกิดประโยชน์ผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นและส่งผลดีต่อประเทศโดยรวมในที่สุด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมศุลกากรลงนามสัญญาให้สิทธิบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กรมศุลกากรลงนามสัญญาให้สิทธิบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) กรมศุลกากรร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ลงนามสัญญาให้สิทธิบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) เพื่อให้บริการและพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) หรือระบบกลางการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) กรมศุลกากรร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ลงนามสัญญาให้สิทธิบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) เพื่อให้บริการและพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) หรือระบบกลางการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และระหว่างประเทศ ณ ห้องโถง อาคาร 1 กรมศุลกากร (คลองเตย) นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดตั้งระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว National Single Window (NSW) ของประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2548 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนําเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ ให้ความร่วมมือเพื่อร่วมกันผลักดันให้ระบบ NSW จัดตั้งได้สําเร็จตามเป้าหมาย โดยระบบ NSW เป็นระบบอํานวยความสะดวกและบริการแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติควบคู่ไปกับการปฏิรูปกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ และการลดรูปเอกสาร เพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ เช่น ผู้ประกอบการนําเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ เป็นต้น สามารถทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัยและไร้เอกสาร เช่น การจัดเตรียมข้อมูลเพียงครั้งเดียวในการขอใบอนุญาตและใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ และการปฏิบัติพิธีการศุลกากรใบขนสินค้าและชําระค่าภาษีอากรแบบอัตโนมัติ การใช้ข้อมูลร่วมกันกับทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตและใบรับรองระหว่างหน่วยงานภาครัฐภายในประเทศ และการเชื่อมโยงข้อมูลภาคธุรกิจระหว่างประเทศ โดยผู้ใช้บริการทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ สามารถติดตามผลในทุก ๆ ขั้นตอนของการดําเนินงานนําเข้า ส่งออกและการอนุมัติต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.thainsw.net/ และแอพพลิเคชั่น NSW e-Tracking on Mobile ได้ทุกวันและตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐ จํานวน 37 หน่วยงาน รวมถึงภาคเอกชนได้เชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW อีกทั้งประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับประเทศสมาชิกอาเซียนผ่าน ASEAN Single Window (ASW) เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบัน ระบบ National Single Window หรือระบบกลางการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และระหว่างประเทศ ปีละกว่า 100 ล้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นปีละ 10 ล้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากนี้ไป NSW จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลธุรกรรมใหม่ ในรูปแบบ B2G (Business-to-Government) และการเชื่อมโยงข้อมูลกับต่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้น และเพื่อรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW ที่เพิ่มมากขึ้น ครอบคลุมทั่วทุกภาคส่วนทั้งระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ (Government-to-Government: G2G) ภาคเอกชนกับภาครัฐ (Business-to-Government : B2G) และระหว่างภาคเอกชนกับภาคเอกชน (Business-to-Business: B2B) รวมทั้งเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องในมิติอื่น อาทิ ด้านการค้าขาย (e-Trade) ด้านการขนส่ง (e-Freight) และด้านการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เป็นต้น กรมศุลกากร จึงมอบหมายให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นผู้ให้บริการระบบ National Single Window (NSW Operator) เนื่องจาก CAT มีความพร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และมีประสบการณ์ในการดําเนินธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงมีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารมาเป็นระยะเวลานาน กอปกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 มีมติเห็นชอบให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นผู้ให้บริการ NSW หรือ NSW Operator ของประเทศ จึงเชื่อมั่นได้ว่า ภายใต้การดําเนินการของกรมศุลกากรและบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) เกี่ยวกับการบริการระบบ National Single Window (NSW Operator) จะประสบความสําเร็จ สามารถอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ รวมถึงสามารถเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW ของประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนผ่าน ASEAN Single Window (ASW) ได้อย่างราบรื่น พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่าระบบ National Single Window (NSW) เป็นระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ (G2G,G2B และ B2B) สําหรับการนําเข้า ส่งออกและโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นระบบบริการแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติควบคู่ไปกับการปฏิรูปกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการและการลดรูปเอกสาร โดยอํานวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัยและไร้เอกสาร รวมถึงการใช้ข้อมูลร่วมกันของทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตและใบรับรองระหว่างหน่วยงานภาครัฐภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยผู้ใช้บริการสามารถติดตามผลในทุก ๆ ขั้นตอนของการดําเนินงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต (e-Tracking)ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง “ระบบ NSW นี้มีความสําคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยอํานวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ รวมถึงช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ดังนั้น CAT ในฐานะผู้ให้บริการระบบ NSW จึงมีความตั้งใจและพร้อมที่จะนําบริการด้านดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่มาให้บริการ NSW อย่างเต็มกําลังความสามารถ เพื่อให้กรมศุลกากรในฐานะที่เป็นหน่วยงานอํานวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศสามารถพัฒนาการให้บริการให้เกิดประโยชน์ผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นและส่งผลดีต่อประเทศโดยรวมในที่สุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37813
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 การประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2564 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2564 ณ ห้องประชุม อก.1 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 09.30 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2564 โดยมี นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และคณะกรรมการจัดงานฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2564 วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 การประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2564 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2564 ณ ห้องประชุม อก.1 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 09.30 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2564 โดยมี นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และคณะกรรมการจัดงานฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37811
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมาย
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม ประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมาย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบหมายให้ นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมาย ครั้ง ๑/๒๕๖๓ ในวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบหมายให้ นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมาย ครั้ง ๑/๒๕๖๓ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ เพื่อพิจารณารายงานพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ สภาผู้แทนราษฎร รวมทั้ง การรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ การรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. .... ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ รวมทั้ง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. ....
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมาย วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม ประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมาย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบหมายให้ นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมาย ครั้ง ๑/๒๕๖๓ ในวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบหมายให้ นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมาย ครั้ง ๑/๒๕๖๓ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ เพื่อพิจารณารายงานพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ สภาผู้แทนราษฎร รวมทั้ง การรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ การรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. .... ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานการพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ รวมทั้ง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. ....
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37819
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวง​ยุติธรรม​ พิจารณา​ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่​จำเลยในคดีอาญา​ ครั้งที่​ ๑๒/๒๕๖๓
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวง​ยุติธรรม​ พิจารณา​ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่​จําเลยในคดีอาญา​ ครั้งที่​ ๑๒/๒๕๖๓ นายวัลลภ​ นาค​บัว​ รองปลัด​กระทรวง​ยุติธรรม​ เป็นประธาน​การประชุม​คณะกรรมการ​พิจารณา​ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่​จําเลยในคดีอาญา​ ครั้งที่​ ๑๒/๒๕๖๓​ ในวันอังคารที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓​ เวลา​ ๐๙.๓๐​ น.​ ณ​ ห้องประชุม​กระทรวง​ยุติธรรม​ ๑​ ชั้น​ ๙​ ศูนย์​ราชการ​เฉลิม​พระ​เกียรติ​ฯ​ อาคาร​ราชบุรี​ดิเรก​ฤทธิ์​ ถนน​แจ้งวัฒนะ​ กรุงเทพ​ฯ นายวัลลภ​ นาค​บัว​ รองปลัด​กระทรวง​ยุติธรรม​ เป็นประธาน​การประชุม​คณะกรรมการ​พิจารณา​ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่​จําเลยในคดีอาญา​ ครั้งที่​ ๑๒/๒๕๖๓​ โดยมีผู้​เข้าร่วม​ประชุม​ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวง​การคลัง​ ผู้แทนกระทรวง​การพัฒนา​สังคม​และ​ความมั่นคง​ของ​มนุษย์​ ผู้แทนกรมการปกครอง​ ผู้แทนกรมคุ้มครองสิท​ธิและ​เสรีภาพ​ ผู้แทนกรมพระธรรมนูญ​ ผู้แทนกรม​ราชทัณฑ์​ ผู้แทนสํานักงาน​ตํารวจ​แห่งชาติ​ ผู้แทนสํานักงาน​ศาล​ยุติธรรม​ ผู้แทนสํานักงาน​อัยการ​สูงสุด​ ผู้แทนสภาทนายความ​ รวมทั้ง​ ผู้ทรงคุณวุฒิ​ด้านการแพทย์​ ด้านสังคมสงเคราะห์​ และด้านคุ้มครอง​สิทธิ​เสรีภาพ​ และผู้ที่เกี่ยวข้อง​ เข้าร่วมฯ โดย​ที่ประชุม​พิจารณา​จํานวน​ ๖๓ เรื่อง​ ประกอบด้วย​ กรณีเรื่องสืบเนื่อง​ จํานวน​ ๑​ เรื่อง​ กรณีผู้เสียหาย​อุทธรณ์​คําวินิจฉัย​คณะอนุกรรมการ​ จํานวน​ ๒๓ ​เรื่อง​ พิจารณาจ่าย จํานวน ๒๘๕,๑๖๙ บาท กรณี​จําเลย​ จํานวน​ ๔๐​ เรื่อง​ พิจารณาจ่าย จํานวน ๑,๐๐๔,๔๕๑ บาท รวมทั้งพิจารณา​ขออนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติ​ ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่จําเลยในคดีอาญา​ ฉบับที่​ ๓​ พ.ศ.​ .... นอกจากนี้​ ที่ประชุม​รับทราบ​สถิติการช่วยเหลื​อเยียวยาผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา​ ประจําปี​ พ.ศ.​ ๒๕๖๔ ​จนถึง​เดือนพฤศจิ​กายน ๒๕๖๓​ และช่วยเหลือ​คดีที่สาธารณชนให้ความสนใจ​ รวมทั้งรับทราบรายงานผลการติดตามให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย​ คดีความผิดเกี่ยวกับเพศตามข้อสั่งการของคณะกรรมการฯ​ และรับทราบสถิติยื่นอุทธรณ์​คําวินิจฉัย​ของคณะกรรมการต่อศาลอุทธรณ์ ​และรายงานผลคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์​ ประจําเดือนพฤศจิกายน​ ๒๕๖๓​
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวง​ยุติธรรม​ พิจารณา​ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่​จำเลยในคดีอาญา​ ครั้งที่​ ๑๒/๒๕๖๓ วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวง​ยุติธรรม​ พิจารณา​ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่​จําเลยในคดีอาญา​ ครั้งที่​ ๑๒/๒๕๖๓ นายวัลลภ​ นาค​บัว​ รองปลัด​กระทรวง​ยุติธรรม​ เป็นประธาน​การประชุม​คณะกรรมการ​พิจารณา​ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่​จําเลยในคดีอาญา​ ครั้งที่​ ๑๒/๒๕๖๓​ ในวันอังคารที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓​ เวลา​ ๐๙.๓๐​ น.​ ณ​ ห้องประชุม​กระทรวง​ยุติธรรม​ ๑​ ชั้น​ ๙​ ศูนย์​ราชการ​เฉลิม​พระ​เกียรติ​ฯ​ อาคาร​ราชบุรี​ดิเรก​ฤทธิ์​ ถนน​แจ้งวัฒนะ​ กรุงเทพ​ฯ นายวัลลภ​ นาค​บัว​ รองปลัด​กระทรวง​ยุติธรรม​ เป็นประธาน​การประชุม​คณะกรรมการ​พิจารณา​ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่​จําเลยในคดีอาญา​ ครั้งที่​ ๑๒/๒๕๖๓​ โดยมีผู้​เข้าร่วม​ประชุม​ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวง​การคลัง​ ผู้แทนกระทรวง​การพัฒนา​สังคม​และ​ความมั่นคง​ของ​มนุษย์​ ผู้แทนกรมการปกครอง​ ผู้แทนกรมคุ้มครองสิท​ธิและ​เสรีภาพ​ ผู้แทนกรมพระธรรมนูญ​ ผู้แทนกรม​ราชทัณฑ์​ ผู้แทนสํานักงาน​ตํารวจ​แห่งชาติ​ ผู้แทนสํานักงาน​ศาล​ยุติธรรม​ ผู้แทนสํานักงาน​อัยการ​สูงสุด​ ผู้แทนสภาทนายความ​ รวมทั้ง​ ผู้ทรงคุณวุฒิ​ด้านการแพทย์​ ด้านสังคมสงเคราะห์​ และด้านคุ้มครอง​สิทธิ​เสรีภาพ​ และผู้ที่เกี่ยวข้อง​ เข้าร่วมฯ โดย​ที่ประชุม​พิจารณา​จํานวน​ ๖๓ เรื่อง​ ประกอบด้วย​ กรณีเรื่องสืบเนื่อง​ จํานวน​ ๑​ เรื่อง​ กรณีผู้เสียหาย​อุทธรณ์​คําวินิจฉัย​คณะอนุกรรมการ​ จํานวน​ ๒๓ ​เรื่อง​ พิจารณาจ่าย จํานวน ๒๘๕,๑๖๙ บาท กรณี​จําเลย​ จํานวน​ ๔๐​ เรื่อง​ พิจารณาจ่าย จํานวน ๑,๐๐๔,๔๕๑ บาท รวมทั้งพิจารณา​ขออนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติ​ ค่าตอบแทน​ผู้เสียหาย​ และ​ค่าทดแทน​และ​ค่าใช้จ่าย​แก่จําเลยในคดีอาญา​ ฉบับที่​ ๓​ พ.ศ.​ .... นอกจากนี้​ ที่ประชุม​รับทราบ​สถิติการช่วยเหลื​อเยียวยาผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา​ ประจําปี​ พ.ศ.​ ๒๕๖๔ ​จนถึง​เดือนพฤศจิ​กายน ๒๕๖๓​ และช่วยเหลือ​คดีที่สาธารณชนให้ความสนใจ​ รวมทั้งรับทราบรายงานผลการติดตามให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย​ คดีความผิดเกี่ยวกับเพศตามข้อสั่งการของคณะกรรมการฯ​ และรับทราบสถิติยื่นอุทธรณ์​คําวินิจฉัย​ของคณะกรรมการต่อศาลอุทธรณ์ ​และรายงานผลคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์​ ประจําเดือนพฤศจิกายน​ ๒๕๖๓​
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37820
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส จับมือ ก.ล.ต. จัดสัมมนา เรื่อง DPO กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ดีอีเอส จับมือ ก.ล.ต. จัดสัมมนา เรื่อง DPO กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ดีอีเอส จับมือ ก.ล.ต. จัดสัมมนา เรื่อง DPO กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถา เรื่อง DPO กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล จัดโดยสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทําหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ สร้างแรงจูงใจ เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานเท่าเทียบสากล ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและประธานผู้บริหารฝ่ายข้อมูล “Data Protection Officer (OPD) -Chief Data Officer (CDO) จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมงานสัมมนา กว่า 500 ท่าน ณ ห้องคริสตัล ฮอลล์ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก ****************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส จับมือ ก.ล.ต. จัดสัมมนา เรื่อง DPO กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ดีอีเอส จับมือ ก.ล.ต. จัดสัมมนา เรื่อง DPO กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ดีอีเอส จับมือ ก.ล.ต. จัดสัมมนา เรื่อง DPO กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถา เรื่อง DPO กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล จัดโดยสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทําหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ สร้างแรงจูงใจ เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานเท่าเทียบสากล ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและประธานผู้บริหารฝ่ายข้อมูล “Data Protection Officer (OPD) -Chief Data Officer (CDO) จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมงานสัมมนา กว่า 500 ท่าน ณ ห้องคริสตัล ฮอลล์ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก ****************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37809
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรมจัดกิจกรรมปลูกป่า ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร ตามแนวทางปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรมจัดกิจกรรมปลูกป่า ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร ตามแนวทางปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กระทรวงยุติธรรมจัดกิจกรรมปลูกป่า ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร ตามแนวทางปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ นณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านมุทิตาตําบลคลองโยง อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมปลูกป่าภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยมี นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฯ โดยมี นายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ให้การต้อนรับการจัดกิจกรรมปลูกป่า ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ เด็กและเยาวชน ได้มีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ร่วมบูรณาการปลูกต้นไม้ สวนเกษตร และปลูกป่า รวมทั้งสร้างจิตสํานึกให้เห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนเป็นการพัฒนาพื้นที่ภายในศูนย์ฝึกและอบรมฯ เพื่อการกสิกรรมอย่างเต็มรูปแบบตามบริบทของลักษณะทางกายภาพ โดยการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ในโอกาสนี้ ประธานในพิธี พร้อมทั้งผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และแขกผู้มีเกียรติได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา และเดินชมบอร์ดนิทรรศการการดําเนินกิจกรรม/พื้นที่การเกษตร และชมการออกร้านของหน่วยงานในสังกัดและภาคีเครือข่าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรมจัดกิจกรรมปลูกป่า ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร ตามแนวทางปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรมจัดกิจกรรมปลูกป่า ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร ตามแนวทางปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กระทรวงยุติธรรมจัดกิจกรรมปลูกป่า ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร ตามแนวทางปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ นณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านมุทิตาตําบลคลองโยง อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมปลูกป่าภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยมี นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฯ โดยมี นายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ให้การต้อนรับการจัดกิจกรรมปลูกป่า ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ เด็กและเยาวชน ได้มีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ร่วมบูรณาการปลูกต้นไม้ สวนเกษตร และปลูกป่า รวมทั้งสร้างจิตสํานึกให้เห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนเป็นการพัฒนาพื้นที่ภายในศูนย์ฝึกและอบรมฯ เพื่อการกสิกรรมอย่างเต็มรูปแบบตามบริบทของลักษณะทางกายภาพ โดยการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ในโอกาสนี้ ประธานในพิธี พร้อมทั้งผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และแขกผู้มีเกียรติได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา และเดินชมบอร์ดนิทรรศการการดําเนินกิจกรรม/พื้นที่การเกษตร และชมการออกร้านของหน่วยงานในสังกัดและภาคีเครือข่าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37815
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทยชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงมหาดไทยชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทรวงมหาดไทยชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 วันนี้ (22 ธ.ค. 63) เวลา 09.45 น. ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) นายสมคิด จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวสารว่าเจ้าหน้าที่ตามแนวชายแดนปล่อยปะละเลยให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านผิดกฎหมายเข้ามาในประเทศ มีการจ่ายเงินค่าหัว จนทําให้แรงงานที่เข้ามาเป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายสมคิด จันทมฤก กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยขอชี้แจงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงมหาดไทย โดย ศบค.มท. ได้กําหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและสกัดกั้นการลักลอบเดินทางเข้าประเทศโดยผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้านผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณพื้นที่ชายแดน โดยแบ่งพื้นที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ได้แก่ 1) จังหวัดชายแดน แบ่งการปฏิบัติเป็น 3 ระดับ คือ (1) การปฏิบัติในพื้นที่ชายแดน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้อํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ผอ.รมน.จังหวัด) ประสานการปฏิบัติ วางมาตรการร่วมกับหน่วยทหารในพื้นที่ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลําแม่น้ําโขง (นรข.) ตํารวจตระเวนชายแดน กองกําลังป้องกันชายแดน ให้เข้มงวด ควบคุมการลักลอบเข้าประเทศ โดยตั้งเครื่องกีดขวาง เพิ่มการลาดตระเวนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังและสกัดกั้นป้องกันมิให้มีการลักลอบเดินทางเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณพื้นที่ชายแดน หากพบการลักลอบเข้าประเทศ ให้ดําเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มข้น (2) การปฏิบัติในพื้นที่ตอนใน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ประสานการปฏิบัติกับตํารวจภูธรจังหวัด สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และจุดคัดกรองโรค เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้าเมือง คัดกรองรถขนส่งสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งกําหนดให้มีผู้บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Commander : IC) ประจําช่องทางผ่านแดนทุกแห่งที่มีการอนุญาตให้ใช้ในการผ่านเข้า-ออก ของบุคคล สินค้าและยานพาหนะที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และ (3) การปฏิบัติในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ให้กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นําชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ ร่วมกันตรวจสอบบุคคลที่เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน/ชุมชน หากพบแรงงานต่างด้าวเดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมาย ให้ประสานหน่วยงานความมั่นคงดําเนินการตามกฎหมายทันที 2) จังหวัดชั้นใน ให้ดําเนินการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดคัดกรองโรค โดยให้ประสานการปฏิบัติกับตํารวจภูธรจังหวัด กองบัญชาการตํารวจนครบาล สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสกัดกั้นการเดินทางเข้าออกและการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว และในกรณีจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ ให้ตรวจสอบสถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่ที่จ้างแรงงานต่างด้าว โดยให้ตรวจคัดกรองโรคและตรวจหาเชื้อโดยการสุ่มตรวจ รวมทั้ง ให้สถานประกอบการจัดทําแผนความปลอดภัยด้านสาธารณสุข และดําเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด กรณีพบผู้ติดเชื้อให้ดําเนินการตามมาตรการสาธารณสุข และหากพบแรงงานลักลอบเดินทางเข้าประเทศ ให้ดําเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด นายสมคิด จันทมฤก เน้นย้ําว่า กระทรวงมหาดไทยได้ชี้แจงทําความเข้าใจและเน้นย้ํากับข้าราชการ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กําหนดอย่างเคร่งครัด ห้ามมิให้ปล่อยปละละเลยหรือรู้เห็นเป็นใจในพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และไม่สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) หากฝ่าฝืนอาจเข้าข่ายเป็นความผิดทางวินัยหรืออาญา สําหรับการดําเนินการในระยะต่อไป กระทรวงมหาดไทยจะดํารงความเข้มข้นในการปฏิบัติตามมาตรการ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการตรวจสอบและเฝ้าระวังในระดับพื้นที่
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทยชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงมหาดไทยชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทรวงมหาดไทยชี้แจงกรณีข้อวิจารณ์การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 วันนี้ (22 ธ.ค. 63) เวลา 09.45 น. ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) นายสมคิด จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวสารว่าเจ้าหน้าที่ตามแนวชายแดนปล่อยปะละเลยให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านผิดกฎหมายเข้ามาในประเทศ มีการจ่ายเงินค่าหัว จนทําให้แรงงานที่เข้ามาเป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายสมคิด จันทมฤก กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยขอชี้แจงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงมหาดไทย โดย ศบค.มท. ได้กําหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและสกัดกั้นการลักลอบเดินทางเข้าประเทศโดยผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้านผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณพื้นที่ชายแดน โดยแบ่งพื้นที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ได้แก่ 1) จังหวัดชายแดน แบ่งการปฏิบัติเป็น 3 ระดับ คือ (1) การปฏิบัติในพื้นที่ชายแดน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้อํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ผอ.รมน.จังหวัด) ประสานการปฏิบัติ วางมาตรการร่วมกับหน่วยทหารในพื้นที่ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลําแม่น้ําโขง (นรข.) ตํารวจตระเวนชายแดน กองกําลังป้องกันชายแดน ให้เข้มงวด ควบคุมการลักลอบเข้าประเทศ โดยตั้งเครื่องกีดขวาง เพิ่มการลาดตระเวนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังและสกัดกั้นป้องกันมิให้มีการลักลอบเดินทางเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณพื้นที่ชายแดน หากพบการลักลอบเข้าประเทศ ให้ดําเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มข้น (2) การปฏิบัติในพื้นที่ตอนใน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ประสานการปฏิบัติกับตํารวจภูธรจังหวัด สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และจุดคัดกรองโรค เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้าเมือง คัดกรองรถขนส่งสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งกําหนดให้มีผู้บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Commander : IC) ประจําช่องทางผ่านแดนทุกแห่งที่มีการอนุญาตให้ใช้ในการผ่านเข้า-ออก ของบุคคล สินค้าและยานพาหนะที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และ (3) การปฏิบัติในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ให้กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นําชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ ร่วมกันตรวจสอบบุคคลที่เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน/ชุมชน หากพบแรงงานต่างด้าวเดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมาย ให้ประสานหน่วยงานความมั่นคงดําเนินการตามกฎหมายทันที 2) จังหวัดชั้นใน ให้ดําเนินการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดคัดกรองโรค โดยให้ประสานการปฏิบัติกับตํารวจภูธรจังหวัด กองบัญชาการตํารวจนครบาล สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสกัดกั้นการเดินทางเข้าออกและการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว และในกรณีจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ ให้ตรวจสอบสถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่ที่จ้างแรงงานต่างด้าว โดยให้ตรวจคัดกรองโรคและตรวจหาเชื้อโดยการสุ่มตรวจ รวมทั้ง ให้สถานประกอบการจัดทําแผนความปลอดภัยด้านสาธารณสุข และดําเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด กรณีพบผู้ติดเชื้อให้ดําเนินการตามมาตรการสาธารณสุข และหากพบแรงงานลักลอบเดินทางเข้าประเทศ ให้ดําเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด นายสมคิด จันทมฤก เน้นย้ําว่า กระทรวงมหาดไทยได้ชี้แจงทําความเข้าใจและเน้นย้ํากับข้าราชการ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กําหนดอย่างเคร่งครัด ห้ามมิให้ปล่อยปละละเลยหรือรู้เห็นเป็นใจในพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และไม่สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) หากฝ่าฝืนอาจเข้าข่ายเป็นความผิดทางวินัยหรืออาญา สําหรับการดําเนินการในระยะต่อไป กระทรวงมหาดไทยจะดํารงความเข้มข้นในการปฏิบัติตามมาตรการ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการตรวจสอบและเฝ้าระวังในระดับพื้นที่
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37806
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- สมาคมธนาคารไทยแนะลูกค้าทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สมาคมธนาคารไทยแนะลูกค้าทําธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารสมาชิกของสมาคมธนาคารไทย แจ้งปิดสํานักงานและสาขาของธนาคารในพื้นที่สมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.2563 เป็นต้นไป เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน แนะลูกค้าทําธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารสมาชิกของสมาคมธนาคารไทย แจ้งปิดสํานักงานและสาขาของธนาคารในพื้นที่สมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน แนะลูกค้าทําธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องรับฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ และบริการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีประกาศจากคณะกรรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร ในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ด้วยมาตรการเด็ดขาด และรวดเร็ว โดยการควบคุมการเข้าออกพื้นที่และการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างเคร่งครัด ในพื้นที่การระบาดและพื้นที่เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 – 3 มกราคม 2564 นั้น เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า พนักงาน และดําเนินการตามมาตรการป้องกันโรค COVID-19 ของธนาคารสมาชิกเป็นไปมาตรการของรัฐ และแนวปฏิบัติของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขโดยเคร่งครัด ธนาคารสมาชิกของสมาคมธนาคารไทยจึงมีความจําเป็นต้องปิดการทํางานและบริการที่อาคารและสาขาของบางธนาคารภายในเขตพื้นที่ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป อนึ่ง ลูกค้าสามารถใช้บริการหลักของธนาคาร ทั้งการถอนเงิน โอนเงินและฝากเงินในเขตพื้นที่ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องรับฝากเงินและถอนเงินอัตโนมัติที่ตั้งกระจายในพื้นที่ และบริเวณหน้าสาขาของธนาคาร รวมถึงการทําธุรกรรมผ่านระบบ PromptPay และบริการสินเชื่อต่างๆ ที่อยู่ในกระบวนการของสินเชื่อแล้ว ทั้งนี้ บริการบางอย่างของธนาคารในเขตพื้นที่ที่มีการปิดสํานักงานและสาขาของธนาคารอาจจะต้องใช้เวลาการดําเนินการมากกว่าเดิม หรือล่าช้ากว่าปกติ ตามข้อจํากัดของแต่ละธนาคารในช่วงเวลานี้ โดยลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากทาง website ของแต่ละธนาคาร ทั้งนี้ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ดังกล่าว สมาคมธนาคารไทยและธนาคารพาณิชย์มีความห่วงใยความปลอดภัยและสวัสดิภาพของพนักงานและลูกค้าเป็นสําคัญ จึงขอให้ดําเนินการตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด สมาคมธนาคารไทย โทร. 0-2558-7500
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- สมาคมธนาคารไทยแนะลูกค้าทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 สมาคมธนาคารไทยแนะลูกค้าทําธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารสมาชิกของสมาคมธนาคารไทย แจ้งปิดสํานักงานและสาขาของธนาคารในพื้นที่สมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.2563 เป็นต้นไป เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน แนะลูกค้าทําธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารสมาชิกของสมาคมธนาคารไทย แจ้งปิดสํานักงานและสาขาของธนาคารในพื้นที่สมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน แนะลูกค้าทําธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องรับฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ และบริการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีประกาศจากคณะกรรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร ในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ด้วยมาตรการเด็ดขาด และรวดเร็ว โดยการควบคุมการเข้าออกพื้นที่และการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างเคร่งครัด ในพื้นที่การระบาดและพื้นที่เสี่ยงตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 – 3 มกราคม 2564 นั้น เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า พนักงาน และดําเนินการตามมาตรการป้องกันโรค COVID-19 ของธนาคารสมาชิกเป็นไปมาตรการของรัฐ และแนวปฏิบัติของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขโดยเคร่งครัด ธนาคารสมาชิกของสมาคมธนาคารไทยจึงมีความจําเป็นต้องปิดการทํางานและบริการที่อาคารและสาขาของบางธนาคารภายในเขตพื้นที่ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป อนึ่ง ลูกค้าสามารถใช้บริการหลักของธนาคาร ทั้งการถอนเงิน โอนเงินและฝากเงินในเขตพื้นที่ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องรับฝากเงินและถอนเงินอัตโนมัติที่ตั้งกระจายในพื้นที่ และบริเวณหน้าสาขาของธนาคาร รวมถึงการทําธุรกรรมผ่านระบบ PromptPay และบริการสินเชื่อต่างๆ ที่อยู่ในกระบวนการของสินเชื่อแล้ว ทั้งนี้ บริการบางอย่างของธนาคารในเขตพื้นที่ที่มีการปิดสํานักงานและสาขาของธนาคารอาจจะต้องใช้เวลาการดําเนินการมากกว่าเดิม หรือล่าช้ากว่าปกติ ตามข้อจํากัดของแต่ละธนาคารในช่วงเวลานี้ โดยลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากทาง website ของแต่ละธนาคาร ทั้งนี้ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ดังกล่าว สมาคมธนาคารไทยและธนาคารพาณิชย์มีความห่วงใยความปลอดภัยและสวัสดิภาพของพนักงานและลูกค้าเป็นสําคัญ จึงขอให้ดําเนินการตามมาตรฐานด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด สมาคมธนาคารไทย โทร. 0-2558-7500
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37799
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอระดมทีมวางกลยุทธ์ลงทุนเตรียมรับเศรษฐกิจฟื้นตัว
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 บีโอไอระดมทีมวางกลยุทธ์ลงทุนเตรียมรับเศรษฐกิจฟื้นตัว บีโอไอระดมทีมวางกลยุทธ์ลงทุนเตรียมรับเศรษฐกิจฟื้นตัว บีโอไอระดมทีมวางกลยุทธ์ลงทุนเตรียมรับเศรษฐกิจฟื้นตัว บีโอไอ ระดมสมองภาครัฐ – เอกชนด้านเศรษฐกิจกว่า 30 องค์กร เตรียมแผนรองรับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวหลังโควิด-19 เร่งหารือผู้ประกอบการร่วมกําหนดกลยุทธ์กระตุ้นการลงทุนครั้งใหญ่ หวังสร้างบรรยากาศการลงทุน ผลักดันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวปี 2564 นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยว่าในวันที่ 23 ธันวาคม 2563 บีโอไอเตรียมจัดประชุมหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนรายใหญ่กว่า 30 องค์กร เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการกําหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศและเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุนของไทยในปี 2564 โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ สําหรับภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 ภาคธนาคาร รวมถึงภาคเอกชนซึ่งเป็นบริษัทชั้นนําของประเทศ ครอบคลุมกิจการที่มีความสําคัญ เช่น พลังงาน ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอุปโภคและบริโภค โทรคมนาคม นิคมอุตสาหกรรม โรงแรม “แนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในแต่ละประเทศ มีความคืบหน้าอย่างชัดเจน ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและบรรยากาศการลงทุนที่จะเริ่มกลับมาในปี 2564 ซึ่งไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สําคัญของการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน บีโอไอจึงเตรียมความพร้อมในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและหามาตรการรองรับกิจการใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต” นางสาวดวงใจกล่าว สําหรับการระดมความคิดเห็นครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลและบีโอไอมีความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนนโยบาย และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะนําข้อคิดเห็นของภาครัฐ ภาคธนาคาร และภาคเอกชน มากําหนดเป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้ตรงกับความต้องการของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของธุรกิจไทยในเวทีโลก นางสาวดวงใจ กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2563 นี้ แม้ผู้ประกอบการจะชะลอการลงทุนใหม่ แต่สําหรับคําขอรับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตกลับเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้สถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการในประเทศไทยมีการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว อุตสาหกรรมในประเทศไทยก็พร้อมที่จะรองรับการลงทุนที่จะกลับมาด้วยเช่นกัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอระดมทีมวางกลยุทธ์ลงทุนเตรียมรับเศรษฐกิจฟื้นตัว วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 บีโอไอระดมทีมวางกลยุทธ์ลงทุนเตรียมรับเศรษฐกิจฟื้นตัว บีโอไอระดมทีมวางกลยุทธ์ลงทุนเตรียมรับเศรษฐกิจฟื้นตัว บีโอไอระดมทีมวางกลยุทธ์ลงทุนเตรียมรับเศรษฐกิจฟื้นตัว บีโอไอ ระดมสมองภาครัฐ – เอกชนด้านเศรษฐกิจกว่า 30 องค์กร เตรียมแผนรองรับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวหลังโควิด-19 เร่งหารือผู้ประกอบการร่วมกําหนดกลยุทธ์กระตุ้นการลงทุนครั้งใหญ่ หวังสร้างบรรยากาศการลงทุน ผลักดันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวปี 2564 นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยว่าในวันที่ 23 ธันวาคม 2563 บีโอไอเตรียมจัดประชุมหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนรายใหญ่กว่า 30 องค์กร เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการกําหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศและเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุนของไทยในปี 2564 โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ สําหรับภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 ภาคธนาคาร รวมถึงภาคเอกชนซึ่งเป็นบริษัทชั้นนําของประเทศ ครอบคลุมกิจการที่มีความสําคัญ เช่น พลังงาน ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอุปโภคและบริโภค โทรคมนาคม นิคมอุตสาหกรรม โรงแรม “แนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในแต่ละประเทศ มีความคืบหน้าอย่างชัดเจน ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นและบรรยากาศการลงทุนที่จะเริ่มกลับมาในปี 2564 ซึ่งไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สําคัญของการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน บีโอไอจึงเตรียมความพร้อมในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและหามาตรการรองรับกิจการใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต” นางสาวดวงใจกล่าว สําหรับการระดมความคิดเห็นครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลและบีโอไอมีความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนนโยบาย และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะนําข้อคิดเห็นของภาครัฐ ภาคธนาคาร และภาคเอกชน มากําหนดเป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้ตรงกับความต้องการของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของธุรกิจไทยในเวทีโลก นางสาวดวงใจ กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2563 นี้ แม้ผู้ประกอบการจะชะลอการลงทุนใหม่ แต่สําหรับคําขอรับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตกลับเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้สถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการในประเทศไทยมีการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว อุตสาหกรรมในประเทศไทยก็พร้อมที่จะรองรับการลงทุนที่จะกลับมาด้วยเช่นกัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37803
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ชูอาสาสมัครคุมประพฤติเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างโอกาสด้านอาชีพแก่ผู้กระทำผิด พร้อมขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานสร้างสังคมปลอดภัย
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม ชูอาสาสมัครคุมประพฤติเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างโอกาสด้านอาชีพแก่ผู้กระทําผิด พร้อมขับเคลื่อนแนวทางการดําเนินงานสร้างสังคมปลอดภัย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาการบริหารองค์การอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อเป็นกลไกสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคม ในวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น แวนด้า แกรนด์ ถนนแจ้งวัฒนะ อําเภอปากเกร็ด กรุงเทพมหานคร นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาการบริหารองค์การอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อเป็นกลไกสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคม พร้อมบรรยายพิเศษในหัวขัอ “นโยบายของกระทรวงยุติธรรมกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคม” โดยมี นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ คณะผู้บริหารกรมคุมประพฤติ ประธานกรรมการอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดทั่วประเทศ ตัวแทนสมาคมอาสาสมัครคุมประพฤติ และผู้เกี่ยวข้องกว่า ๑๐๐ คน เข้าร่วมฯ เพื่อกําหนดทิศทางในการดําเนินงาน พร้อมบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงยุติธรรม สามารถสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคมได้ ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า กระทรวงยุติธรรมมุ่งเน้นการดําเนินงานให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย ในส่วนของกรมคุมประพฤติมีหน้าที่ดูแลควบคุมผู้กระทําผิดที่พ้นโทษ รวมทั้งการคุมประพฤติผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษ ทั้งนี้ เพื่อให้ภารกิจของกระทรวงยุติธรรมเกิดผลสัมฤทธิ์ เครือข่ายภาคประชาชนจึงเป็นส่วนสําคัญที่เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคม และยังเป็นกลไกในการช่วยให้ผู้กระทําผิดสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ช่วยเสริมสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคมตามนโยบายหลักของกระทรวงยุติธรรม อาทิ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การลดความแออัดในเรือนจํา เป็นต้น ในปัจจุบันผู้ต้องขังร้อยละ ๘๐ ในเรือนจํา เป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด บางส่วนได้รับการพักโทษเนื่องจากเป็นผู้ประพฤติดี แต่ยังต้องติดกําไลติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อติดตามพฤติกรรม ดังนั้น อาสาสมัครคุมประพฤติจึงเป็นกําลังสําคัญที่จะช่วยเหลือการทํางานของกระทรวงยุติธรรมในส่วนนี้ รวมถึงการช่วยขับเคลื่อนการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทําผิด ดูแลช่วยเหลือ สงเคราะห์ผู้กระทําผิดหรือผู้ได้รับการสงเคราะห์ การแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทําผิด ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนภารกิจของกรมคุมประพฤติ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ชูอาสาสมัครคุมประพฤติเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างโอกาสด้านอาชีพแก่ผู้กระทำผิด พร้อมขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานสร้างสังคมปลอดภัย วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม ชูอาสาสมัครคุมประพฤติเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างโอกาสด้านอาชีพแก่ผู้กระทําผิด พร้อมขับเคลื่อนแนวทางการดําเนินงานสร้างสังคมปลอดภัย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาการบริหารองค์การอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อเป็นกลไกสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคม ในวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น แวนด้า แกรนด์ ถนนแจ้งวัฒนะ อําเภอปากเกร็ด กรุงเทพมหานคร นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาการบริหารองค์การอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อเป็นกลไกสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคม พร้อมบรรยายพิเศษในหัวขัอ “นโยบายของกระทรวงยุติธรรมกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคม” โดยมี นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ คณะผู้บริหารกรมคุมประพฤติ ประธานกรรมการอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดทั่วประเทศ ตัวแทนสมาคมอาสาสมัครคุมประพฤติ และผู้เกี่ยวข้องกว่า ๑๐๐ คน เข้าร่วมฯ เพื่อกําหนดทิศทางในการดําเนินงาน พร้อมบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงยุติธรรม สามารถสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคมได้ ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า กระทรวงยุติธรรมมุ่งเน้นการดําเนินงานให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย ในส่วนของกรมคุมประพฤติมีหน้าที่ดูแลควบคุมผู้กระทําผิดที่พ้นโทษ รวมทั้งการคุมประพฤติผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษ ทั้งนี้ เพื่อให้ภารกิจของกระทรวงยุติธรรมเกิดผลสัมฤทธิ์ เครือข่ายภาคประชาชนจึงเป็นส่วนสําคัญที่เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับสังคม และยังเป็นกลไกในการช่วยให้ผู้กระทําผิดสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ช่วยเสริมสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคมตามนโยบายหลักของกระทรวงยุติธรรม อาทิ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การลดความแออัดในเรือนจํา เป็นต้น ในปัจจุบันผู้ต้องขังร้อยละ ๘๐ ในเรือนจํา เป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด บางส่วนได้รับการพักโทษเนื่องจากเป็นผู้ประพฤติดี แต่ยังต้องติดกําไลติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อติดตามพฤติกรรม ดังนั้น อาสาสมัครคุมประพฤติจึงเป็นกําลังสําคัญที่จะช่วยเหลือการทํางานของกระทรวงยุติธรรมในส่วนนี้ รวมถึงการช่วยขับเคลื่อนการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทําผิด ดูแลช่วยเหลือ สงเคราะห์ผู้กระทําผิดหรือผู้ได้รับการสงเคราะห์ การแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทําผิด ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนภารกิจของกรมคุมประพฤติ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37816
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. เปิดเสนอชื่อ “สตรีทำงานดีเด่น 2564”
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กสร. เปิดเสนอชื่อ “สตรีทํางานดีเด่น 2564” กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เชิญชวนเสนอชื่อสตรีทํางานดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติและเข้ารับโล่รางวัลในงานวันสตรีสากล ประจําปี 2564 หมดเขต 1 กุมภาพันธ์ 2564 กระทรวงแรงงาน ภายใต้การกํากับดูแลและบริหารงานโดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความมุ่งมั่นให้แรงงานสตรีได้รับการปกป้อง คุ้มครองสิทธิอย่างเท่าเทียมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ และกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสําคัญของสตรีทํางานทุกคนว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ สังคมที่ดี ทั้งในระดับครอบครัวจนถึงระดับชาติ จึงสนับสนุนส่งเสริมให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จัดงานวันสตรีสากลขึ้นเป็นประจําทุกปี เพื่อเชิดชูเกียรติสตรีทํางาน ซึ่งประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการครองตน ครองคน และครองงาน มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นกําลังสําคัญในการช่วยพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสร้างคุณประโยชน์แก่สังคม นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวต่อไปว่า ในปี 2564 กรมได้กําหนดจัดงานวันสตรีสากลขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร กําหนดแนวคิดหลัก (Theme) ในการจัดงานว่า “แรงงานสตรี รวมพลังฝ่าวิกฤต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน” โดยจัดกิจกรรมหลักสําคัญเพื่อส่งเสริมคุณค่าของสตรีทํางาน คือ การคัดเลือกสตรีทํางานดีเด่น เพื่อมอบโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ ซึ่งกําหนดประเภทสตรีทํางานดีเด่นประจําปี 2564 จํานวน 8 ประเภท ได้แก่ สตรีนักบริหารดีเด่น จํานวน 9 รางวัล สตรีผู้ปฏิบัติการดีเด่น จํานวน 9 รางวัล สตรีเครือข่ายด้านแรงงานดีเด่น จํานวน 6 รางวัล สตรีผู้ประกอบอาชีพอิสระดีเด่น จํานวน 4 รางวัล ศิลปินสตรีดีเด่น จํานวน 1 รางวัล สื่อมวลชนสตรีดีเด่น จํานวน 1 รางวัล สตรีองค์กรพัฒนาเอกชนดีเด่น จํานวน 1 รางวัล และสตรีนักวิชาการด้านแรงงานดีเด่น จํานวน 1 รางวัล รวมทั้งสิ้น 32 รางวัล ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด แบบเสนอชื่อ พร้อมคุณสมบัติ/หลักเกณฑ์การคัดเลือกสตรีทํางานดีเด่น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th หัวข้อ“ข่าวประชาสัมพันธ์” เรื่อง “การรับสมัครสตรีทํางานดีเด่น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564” หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน กองคุ้มครองแรงงาน โทรศัพท์: 0 2246 8024 หรือ E-mail : lpnd@labour.mail.go.th
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. เปิดเสนอชื่อ “สตรีทำงานดีเด่น 2564” วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กสร. เปิดเสนอชื่อ “สตรีทํางานดีเด่น 2564” กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เชิญชวนเสนอชื่อสตรีทํางานดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติและเข้ารับโล่รางวัลในงานวันสตรีสากล ประจําปี 2564 หมดเขต 1 กุมภาพันธ์ 2564 กระทรวงแรงงาน ภายใต้การกํากับดูแลและบริหารงานโดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความมุ่งมั่นให้แรงงานสตรีได้รับการปกป้อง คุ้มครองสิทธิอย่างเท่าเทียมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ และกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสําคัญของสตรีทํางานทุกคนว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ สังคมที่ดี ทั้งในระดับครอบครัวจนถึงระดับชาติ จึงสนับสนุนส่งเสริมให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จัดงานวันสตรีสากลขึ้นเป็นประจําทุกปี เพื่อเชิดชูเกียรติสตรีทํางาน ซึ่งประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการครองตน ครองคน และครองงาน มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นกําลังสําคัญในการช่วยพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสร้างคุณประโยชน์แก่สังคม นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวต่อไปว่า ในปี 2564 กรมได้กําหนดจัดงานวันสตรีสากลขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร กําหนดแนวคิดหลัก (Theme) ในการจัดงานว่า “แรงงานสตรี รวมพลังฝ่าวิกฤต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน” โดยจัดกิจกรรมหลักสําคัญเพื่อส่งเสริมคุณค่าของสตรีทํางาน คือ การคัดเลือกสตรีทํางานดีเด่น เพื่อมอบโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ ซึ่งกําหนดประเภทสตรีทํางานดีเด่นประจําปี 2564 จํานวน 8 ประเภท ได้แก่ สตรีนักบริหารดีเด่น จํานวน 9 รางวัล สตรีผู้ปฏิบัติการดีเด่น จํานวน 9 รางวัล สตรีเครือข่ายด้านแรงงานดีเด่น จํานวน 6 รางวัล สตรีผู้ประกอบอาชีพอิสระดีเด่น จํานวน 4 รางวัล ศิลปินสตรีดีเด่น จํานวน 1 รางวัล สื่อมวลชนสตรีดีเด่น จํานวน 1 รางวัล สตรีองค์กรพัฒนาเอกชนดีเด่น จํานวน 1 รางวัล และสตรีนักวิชาการด้านแรงงานดีเด่น จํานวน 1 รางวัล รวมทั้งสิ้น 32 รางวัล ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด แบบเสนอชื่อ พร้อมคุณสมบัติ/หลักเกณฑ์การคัดเลือกสตรีทํางานดีเด่น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th หัวข้อ“ข่าวประชาสัมพันธ์” เรื่อง “การรับสมัครสตรีทํางานดีเด่น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564” หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน กองคุ้มครองแรงงาน โทรศัพท์: 0 2246 8024 หรือ E-mail : lpnd@labour.mail.go.th
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37807
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทย จัดเสวนาฯ "การจัดทำงบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปี"
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 มหาดไทย จัดเสวนาฯ "การจัดทํางบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจําปี" มหาดไทย จัดเสวนาฯ "การจัดทํางบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจําปี" มุ่งเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทํางบประมาณ และการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการดําเนินงานให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมาย และสอดรับกับแนวทางของรัฐบาล วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 08.45 น. ณ ห้องประชุมราชสีห์ ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชยาวุธ จันทร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจาก นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) ครั้งที่ 1 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในหัวข้อเรื่อง “การจัดทํางบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจําปี” จัดขึ้นโดย สถาบันดํารงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของสํานักงบประมาณ เข้าร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ และได้มีการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Video Conference ไปยังศาลากลางจังหวัด ทั้ง 76 แห่งทั่วประเทศ ผ่านระบบ Video Streaming และผ่านระบบสถานีโทรทัศน์กรมการปกครอง (DOPA Channel) ไปยังทุกอําเภอด้วย โอกาสนี้ นายชยาวุธ จันทร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวขอบคุณสถาบันดํารงราชานุภาพ รวมทั้งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมกันจัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) ในครั้งนี้ ซึ่งมีทั้งการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อนําเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทํางบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการแก้ไขปัญหาการดําเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ให้มีความถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้ประสบผลสําเร็จ อันถือเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทํางบประมาณและการบริหารงบประมาณ ตลอดจนการนําประเด็นปัญหาหรือข้อจํากัดในการปฏิบัติงานมาหารือร่วมกัน เพื่อประโยชน์สาธารณะ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจําเป็นต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ตามที่ตกลงไว้กับสํานักงบประมาณ และสอดรับกับเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล สําหรับการจัดเสวนาฯ “การจัดทํางบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจําปี” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทํางบประมาณ และบริหารงบประมาณรายจ่ายประจําปีของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เป็นไปอย่างมีแบบแผน เป็นระบบ มีความคุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ได้ให้ความสําคัญกับการจัดทํางบประมาณที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างคุ้มค่าและโปร่งใส เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทย จัดเสวนาฯ "การจัดทำงบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปี" วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 มหาดไทย จัดเสวนาฯ "การจัดทํางบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจําปี" มหาดไทย จัดเสวนาฯ "การจัดทํางบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจําปี" มุ่งเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทํางบประมาณ และการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาการดําเนินงานให้บรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมาย และสอดรับกับแนวทางของรัฐบาล วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) เวลา 08.45 น. ณ ห้องประชุมราชสีห์ ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชยาวุธ จันทร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจาก นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) ครั้งที่ 1 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในหัวข้อเรื่อง “การจัดทํางบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจําปี” จัดขึ้นโดย สถาบันดํารงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของสํานักงบประมาณ เข้าร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ และได้มีการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Video Conference ไปยังศาลากลางจังหวัด ทั้ง 76 แห่งทั่วประเทศ ผ่านระบบ Video Streaming และผ่านระบบสถานีโทรทัศน์กรมการปกครอง (DOPA Channel) ไปยังทุกอําเภอด้วย โอกาสนี้ นายชยาวุธ จันทร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวขอบคุณสถาบันดํารงราชานุภาพ รวมทั้งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมกันจัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) ในครั้งนี้ ซึ่งมีทั้งการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อนําเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทํางบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการแก้ไขปัญหาการดําเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ให้มีความถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้ประสบผลสําเร็จ อันถือเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทํางบประมาณและการบริหารงบประมาณ ตลอดจนการนําประเด็นปัญหาหรือข้อจํากัดในการปฏิบัติงานมาหารือร่วมกัน เพื่อประโยชน์สาธารณะ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจําเป็นต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ตามที่ตกลงไว้กับสํานักงบประมาณ และสอดรับกับเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล สําหรับการจัดเสวนาฯ “การจัดทํางบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจําปี” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทํางบประมาณ และบริหารงบประมาณรายจ่ายประจําปีของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เป็นไปอย่างมีแบบแผน เป็นระบบ มีความคุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ได้ให้ความสําคัญกับการจัดทํางบประมาณที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างคุ้มค่าและโปร่งใส เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37810
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาด้านคดีความ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาด้านคดีความ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาด้านคดีความ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม (คําสั่งที่ ๖/๒๕๖๓) ครั้งที่ ๒/ ๒๕๖๓ ในวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาด้านคดีความ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม (คําสั่งที่ ๖/๒๕๖๓) ครั้งที่ ๒/ ๒๕๖๓ โดยมี นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางทัศนีย์ เปาอินทร์ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ คณะอนุกรรมการฯ ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และประชาชน เข้าร่วม สําหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้ร่วมกันพิจารณาเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการศึกษาฯ จํานวน ๑๓ กรณี กรณีส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการอื่น จํานวน ๕ กรณี กรณีสามารถดําเนินการได้ จํานวน ๘ กรณี รวมถึงมีการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชน ยกเลิกคําสั่ง คสช. และคําสั่งคณะปฏิวัติ ทุกฉบับที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยให้ตั้งคณะทํางานร่วมกันศึกษากรณีดังกล่าว นอกจากนี้ ได้มีประชาชนจากตําบลโพธ์ อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้รับผลกระทบจากเทศบาลเมืองศรีสะเกษดําเนินคดี พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาด้านคดีความ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาด้านคดีความ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาด้านคดีความ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม (คําสั่งที่ ๖/๒๕๖๓) ครั้งที่ ๒/ ๒๕๖๓ ในวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขปัญหาด้านคดีความ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม (คําสั่งที่ ๖/๒๕๖๓) ครั้งที่ ๒/ ๒๕๖๓ โดยมี นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางทัศนีย์ เปาอินทร์ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ คณะอนุกรรมการฯ ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และประชาชน เข้าร่วม สําหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้ร่วมกันพิจารณาเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการศึกษาฯ จํานวน ๑๓ กรณี กรณีส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการอื่น จํานวน ๕ กรณี กรณีสามารถดําเนินการได้ จํานวน ๘ กรณี รวมถึงมีการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชน ยกเลิกคําสั่ง คสช. และคําสั่งคณะปฏิวัติ ทุกฉบับที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยให้ตั้งคณะทํางานร่วมกันศึกษากรณีดังกล่าว นอกจากนี้ ได้มีประชาชนจากตําบลโพธ์ อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้รับผลกระทบจากเทศบาลเมืองศรีสะเกษดําเนินคดี พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37818
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ติดตามการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลัง และความก้าวหน้าของหมู่บ้านคชานุรักษ์
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ติดตามการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลัง และความก้าวหน้าของหมู่บ้านคชานุรักษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่ติดตามการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลัง และความก้าวหน้าของหมู่บ้านคชานุรักษ์ ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2563 นายอําพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามแผนงาน/โครงการและกิจกรรมเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว โดยได้เป็นประธานการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลัง พร้อมด้วยผู้แทนเกษตรจังหวัดสระแก้ว เกษตรอําเภอทุกอําเภอ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ โดยจังหวัดสระแก้วพบการระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลังตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2561 มีพื้นที่การระบาดสะสมรวม 7.4 หมื่นไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดําเนินการควบคุมโรคฯ ตามมาตรการ และกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เสนอโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ต่อ ครม. เพื่อขออนุมัติงบกลาง จํานวน 1.44 พันล้านบาท เพื่อใช้ในการดําเนินการควบคุมโรค ชดเชยและเยียวยาให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว เพื่อให้ทันต่อฤดูกาลเพาะปลูกในช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. นี้ต่อไป จากนั้นได้ลงพื้นที่หมู่ 20 บ้านวังสีทอง ตําบลหนองหว้า อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลัง แปลงของนางยุพา จิระเนตร พื้นที่จํานวน 18 ไร่ และแปลงของนายชัยณรงค์ สมบูรณ์ พื้นที่จํานวน 15 ไร่ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด พร้อมทั้งชี้แจงทําความเข้าใจให้เกษตรกรได้รับทราบถึงแนวทางมาตรการแก้ไขปัญหาและขั้นตอนการดําเนินการของภาครัฐและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยเร่งด่วน นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่หมู่บ้านคชานุรักษ์ โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ หมู่ 28 บ้านสระหลวง ตําบลทุ่งมหาเจริญ อําเภอวังน้ําเย็น จังหวัดสระแก้ว ติดตามความก้าวหน้าการดําเนินกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านเกษตรกรรม ในเขตพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) จังหวัดสระแก้ว โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยพบปะผู้นําชุมชน ยุวเกษตรกร และเกษตรกรต้นแบบ จํานวน 4 ราย เพื่อเป็นต้นแบบเมนูอาชีพในการนําไปขยายผลไปยังเกษตรกรรายอื่น ๆ ในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย ตามแผนการดําเนินงานฯ ในปี 2564 ต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ติดตามการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลัง และความก้าวหน้าของหมู่บ้านคชานุรักษ์ วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ติดตามการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลัง และความก้าวหน้าของหมู่บ้านคชานุรักษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่ติดตามการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลัง และความก้าวหน้าของหมู่บ้านคชานุรักษ์ ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2563 นายอําพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามแผนงาน/โครงการและกิจกรรมเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว โดยได้เป็นประธานการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลัง พร้อมด้วยผู้แทนเกษตรจังหวัดสระแก้ว เกษตรอําเภอทุกอําเภอ และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ โดยจังหวัดสระแก้วพบการระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลังตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2561 มีพื้นที่การระบาดสะสมรวม 7.4 หมื่นไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดําเนินการควบคุมโรคฯ ตามมาตรการ และกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เสนอโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ต่อ ครม. เพื่อขออนุมัติงบกลาง จํานวน 1.44 พันล้านบาท เพื่อใช้ในการดําเนินการควบคุมโรค ชดเชยและเยียวยาให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว เพื่อให้ทันต่อฤดูกาลเพาะปลูกในช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. นี้ต่อไป จากนั้นได้ลงพื้นที่หมู่ 20 บ้านวังสีทอง ตําบลหนองหว้า อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลัง แปลงของนางยุพา จิระเนตร พื้นที่จํานวน 18 ไร่ และแปลงของนายชัยณรงค์ สมบูรณ์ พื้นที่จํานวน 15 ไร่ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด พร้อมทั้งชี้แจงทําความเข้าใจให้เกษตรกรได้รับทราบถึงแนวทางมาตรการแก้ไขปัญหาและขั้นตอนการดําเนินการของภาครัฐและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยเร่งด่วน นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่หมู่บ้านคชานุรักษ์ โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ หมู่ 28 บ้านสระหลวง ตําบลทุ่งมหาเจริญ อําเภอวังน้ําเย็น จังหวัดสระแก้ว ติดตามความก้าวหน้าการดําเนินกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านเกษตรกรรม ในเขตพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) จังหวัดสระแก้ว โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยพบปะผู้นําชุมชน ยุวเกษตรกร และเกษตรกรต้นแบบ จํานวน 4 ราย เพื่อเป็นต้นแบบเมนูอาชีพในการนําไปขยายผลไปยังเกษตรกรรายอื่น ๆ ในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย ตามแผนการดําเนินงานฯ ในปี 2564 ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37801
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลอนุมัติโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 ให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนไม่ต้องเร่งขายข้าวในช่วงราคาตกต่ํา โดยให้สินเชื่อข้าวเปลือกที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 แก่เกษตรกรรายละไม่เกิน 300,000 บาท สหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท วิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท ขอสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ – 28 ก.พ. 2564 ภาคใต้เริ่มเดือน มี.ค. – 31 ก.ค. 2564 นอกจากนี้ยังให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ขอสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ – 30 ก.ย. 2564 สอบถามรายละเอียดได้ที่ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลอนุมัติโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 ให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนไม่ต้องเร่งขายข้าวในช่วงราคาตกต่ํา โดยให้สินเชื่อข้าวเปลือกที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 แก่เกษตรกรรายละไม่เกิน 300,000 บาท สหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท วิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท ขอสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ – 28 ก.พ. 2564 ภาคใต้เริ่มเดือน มี.ค. – 31 ก.ค. 2564 นอกจากนี้ยังให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ขอสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ – 30 ก.ย. 2564 สอบถามรายละเอียดได้ที่ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37585
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.แจงไม่ห้ามนำท่ารำไทยไปใช้ในเกม แนะพิจารณาบริบท - ความเหมาะสม ส่งเสริมผู้ผลิตผู้ประกอบการ นำวัฒนธรรม - ภาพลักษณ์ไทย สู่สากล
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 วธ.แจงไม่ห้ามนําท่ารําไทยไปใช้ในเกม แนะพิจารณาบริบท - ความเหมาะสม ส่งเสริมผู้ผลิตผู้ประกอบการ นําวัฒนธรรม - ภาพลักษณ์ไทย สู่สากล วธ.แจงไม่ห้ามนําท่ารําไทยไปใช้ในเกม แนะพิจารณาบริบท - ความเหมาะสม ส่งเสริมผู้ผลิตผู้ประกอบการ นําวัฒนธรรม - ภาพลักษณ์ไทย สู่สากล ส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กรณีมีประเด็นข่าวจากทวิตเตอร์“Kid Puvaphat”ของ นายคิด ภูวพัฒน์ ชนะสกล ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมและอีสปอร์ต สภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความกล่าวอ้างว่ากระทรวงวัฒนธรรมห้ามใช้ท่ารําไทยต่างๆ ใส่ประกอบในเกม“Home Sweet Home” เนื่องจากอาจทําให้คนกลัวการรําไทยได้ เพราะเกมดังกล่าวเป็นเกมผีสยองขวัญ ทําให้ผู้ผลิตเกมต้องคิดท่ารําใหม่หมด”รวมถึง นายศรุต ทับลอยDirectorเกม“Home Sweet Home” ของบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จํากัด ได้ออกมาทวิตข้อความไปในทางเดียวกัน ทําให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในโลกสังคมออนไลน์ต่อการดําเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม ตนมองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทฯ ได้เคยมีการติดต่อขอข้อมูลจากบุคคลหรือ หน่วยงานใด ตนขอเรียนว่ากระทรวงวัฒนธรรมและคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ได้กําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) โดยส่งเสริมสนับสนุนการนําศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของไทยสอดแทรกในสื่อต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น ละคร เกม แคแร็คเตอร์โฆษณา ฯลฯ จะทํางานลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวคิด“Content Thailand”ที่ช่วยเผยแพร่วัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจประเทศ กรณีการนําการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมการแสดงนาฏศิลป์ไทยท่ารํา การแต่งกาย เครื่องดนตรีไทยเหล่านี้ไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆหรือการนําวัฒนธรรมไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม อยากให้ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการคํานึงถึงบริบทและความเหมาะสมโดยกระทรวงวัฒนธรรมยินดีให้คําปรึกษาแนะนํากับผู้ประกอบการและสนับสนุน หากเป็นไปด้วยความถูกต้อง เหมาะสมถูกกาลเทศะ และหากเพื่อการเผยแพร่เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ รักษา พัฒนาต่อยอด ก็จะควรสนับสนุน ส่งเสริม ที่ผ่านมากระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินการดังกล่าวตลอดมา โดยเฉพาะการนําเสนอผ่านสื่อสมัยใหม่ หรือสื่อที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เช่น ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น ละคร เช่น โหมโรง เทริด หัวใจทองคํา 9 ศาสตรา ยักษ์ บุพเพสันนิวาส รามาวตารฯลฯ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้ว เบื้องต้นได้รับรายงานจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กํากับดูแลสื่อภาพยนตร์และเกม ทราบว่าเกมดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาไปแล้วเมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมา การพิจารณาขณะนั้นก็ไม่ได้มีการสั่งตัดท่ารําแต่อย่างใดและได้ผ่านการอนุญาตจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมไปเรียบร้อยแล้ว สําหรับประเด็นกระทรวงวัฒนธรรมห้ามใช้ท่ารําไทยต่างๆ ใส่ประกอบเข้าไปในเกม“Home Sweet Home” อาจเป็นการเข้าใจผิดหรือการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน และปัจจุบันเกม“Home Sweet Home” ได้รับการอนุญาตเผยแพร่จากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการดําเนินงานด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน กระทรวงวัฒนธรรมจะเชิญผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ร่วมประชุมหารือ และบูรณาการแนวทางการดําเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมเร็วๆ นี้ด้วย ..............................................
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.แจงไม่ห้ามนำท่ารำไทยไปใช้ในเกม แนะพิจารณาบริบท - ความเหมาะสม ส่งเสริมผู้ผลิตผู้ประกอบการ นำวัฒนธรรม - ภาพลักษณ์ไทย สู่สากล วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 วธ.แจงไม่ห้ามนําท่ารําไทยไปใช้ในเกม แนะพิจารณาบริบท - ความเหมาะสม ส่งเสริมผู้ผลิตผู้ประกอบการ นําวัฒนธรรม - ภาพลักษณ์ไทย สู่สากล วธ.แจงไม่ห้ามนําท่ารําไทยไปใช้ในเกม แนะพิจารณาบริบท - ความเหมาะสม ส่งเสริมผู้ผลิตผู้ประกอบการ นําวัฒนธรรม - ภาพลักษณ์ไทย สู่สากล ส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กรณีมีประเด็นข่าวจากทวิตเตอร์“Kid Puvaphat”ของ นายคิด ภูวพัฒน์ ชนะสกล ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมและอีสปอร์ต สภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความกล่าวอ้างว่ากระทรวงวัฒนธรรมห้ามใช้ท่ารําไทยต่างๆ ใส่ประกอบในเกม“Home Sweet Home” เนื่องจากอาจทําให้คนกลัวการรําไทยได้ เพราะเกมดังกล่าวเป็นเกมผีสยองขวัญ ทําให้ผู้ผลิตเกมต้องคิดท่ารําใหม่หมด”รวมถึง นายศรุต ทับลอยDirectorเกม“Home Sweet Home” ของบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จํากัด ได้ออกมาทวิตข้อความไปในทางเดียวกัน ทําให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในโลกสังคมออนไลน์ต่อการดําเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม ตนมองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทฯ ได้เคยมีการติดต่อขอข้อมูลจากบุคคลหรือ หน่วยงานใด ตนขอเรียนว่ากระทรวงวัฒนธรรมและคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ได้กําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) โดยส่งเสริมสนับสนุนการนําศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของไทยสอดแทรกในสื่อต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น ละคร เกม แคแร็คเตอร์โฆษณา ฯลฯ จะทํางานลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวคิด“Content Thailand”ที่ช่วยเผยแพร่วัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจประเทศ กรณีการนําการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมการแสดงนาฏศิลป์ไทยท่ารํา การแต่งกาย เครื่องดนตรีไทยเหล่านี้ไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆหรือการนําวัฒนธรรมไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม อยากให้ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการคํานึงถึงบริบทและความเหมาะสมโดยกระทรวงวัฒนธรรมยินดีให้คําปรึกษาแนะนํากับผู้ประกอบการและสนับสนุน หากเป็นไปด้วยความถูกต้อง เหมาะสมถูกกาลเทศะ และหากเพื่อการเผยแพร่เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ รักษา พัฒนาต่อยอด ก็จะควรสนับสนุน ส่งเสริม ที่ผ่านมากระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินการดังกล่าวตลอดมา โดยเฉพาะการนําเสนอผ่านสื่อสมัยใหม่ หรือสื่อที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เช่น ภาพยนตร์ แอนิเมชั่น ละคร เช่น โหมโรง เทริด หัวใจทองคํา 9 ศาสตรา ยักษ์ บุพเพสันนิวาส รามาวตารฯลฯ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้ว เบื้องต้นได้รับรายงานจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กํากับดูแลสื่อภาพยนตร์และเกม ทราบว่าเกมดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาไปแล้วเมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมา การพิจารณาขณะนั้นก็ไม่ได้มีการสั่งตัดท่ารําแต่อย่างใดและได้ผ่านการอนุญาตจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมไปเรียบร้อยแล้ว สําหรับประเด็นกระทรวงวัฒนธรรมห้ามใช้ท่ารําไทยต่างๆ ใส่ประกอบเข้าไปในเกม“Home Sweet Home” อาจเป็นการเข้าใจผิดหรือการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน และปัจจุบันเกม“Home Sweet Home” ได้รับการอนุญาตเผยแพร่จากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการดําเนินงานด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน กระทรวงวัฒนธรรมจะเชิญผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ร่วมประชุมหารือ และบูรณาการแนวทางการดําเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมเร็วๆ นี้ด้วย ..............................................
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37575
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. เร่งช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม และครอบครัวยากจน ที่ จ.นครศรีธรรมราช
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. เร่งช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม และครอบครัวยากจน ที่ จ.นครศรีธรรมราช ปลัด พม. เร่งช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม และครอบครัวยากจน ที่ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 63 เวลา 11.30 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และนางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจําสํานักเลขาธิการสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม โดยครอบครัวดังกล่าวมีผู้เป็นยายที่มีความพิการทางสายตา (เลือนลาง) ต้องรับภาระเลี้ยงดูหลาน จํานวน 7 คน อายุระหว่าง 2-13 ปี แทนผู้เป็นแม่ที่ถูกจับดําเนินคดี ทําให้ได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมและส่งผลต่อพัฒนาการสมวัยของเด็ก อีกทั้งครอบครัวมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเก็บของเก่าขาย รายได้ไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน จํานวน 5,000 บาท นอกเหนือจากที่ได้รับเบี้ยความพิการและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประจําเดือน ชุดนักเรียน และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น อีกทั้งได้กําชับทีม พม. One Home จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องทั้งชีวิตความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการศึกษาอย่างสม่ําเสมอของเด็ก เนื่องจากการศึกษาจะทําให้เด็กสามารถนําความรู้ไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวในอนาคต และหลุดพ้นจากความยากจนได้ นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับครอบครัวนี้ มีปัญหาที่สลับซับซ้อน มีทั้งลูกต่างบิดา หลากหลายช่วงอายุ กระทรวง พม. จะเข้ามาดูแลและประเมินการเลี้ยงดู สภาพความเป็นอยู่ที่อาศัยที่เหมาะสม โดยทีมงานนักสังคม และทีมสหวิชาชีพ ซึ่งจะต้องดําเนินการอย่างละเอียดอ่อน ดูแลสภาวะจิตใจของเด็ก และผู้ปกครองโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสําคัญ ซึ่งในทางกฏหมาย เด็กจะต้องได้รับปกป้องคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วมหรือประสบภัยพิบัติต่างๆ รวมทั้งประสบปัญหาทางสังคม ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งหรือดูแลอย่างไม่เหมาะสม สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. เร่งช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม และครอบครัวยากจน ที่ จ.นครศรีธรรมราช วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. เร่งช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม และครอบครัวยากจน ที่ จ.นครศรีธรรมราช ปลัด พม. เร่งช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม และครอบครัวยากจน ที่ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 63 เวลา 11.30 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และนางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจําสํานักเลขาธิการสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้ด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม โดยครอบครัวดังกล่าวมีผู้เป็นยายที่มีความพิการทางสายตา (เลือนลาง) ต้องรับภาระเลี้ยงดูหลาน จํานวน 7 คน อายุระหว่าง 2-13 ปี แทนผู้เป็นแม่ที่ถูกจับดําเนินคดี ทําให้ได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมและส่งผลต่อพัฒนาการสมวัยของเด็ก อีกทั้งครอบครัวมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเก็บของเก่าขาย รายได้ไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน จํานวน 5,000 บาท นอกเหนือจากที่ได้รับเบี้ยความพิการและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประจําเดือน ชุดนักเรียน และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น อีกทั้งได้กําชับทีม พม. One Home จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องทั้งชีวิตความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการศึกษาอย่างสม่ําเสมอของเด็ก เนื่องจากการศึกษาจะทําให้เด็กสามารถนําความรู้ไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวในอนาคต และหลุดพ้นจากความยากจนได้ นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับครอบครัวนี้ มีปัญหาที่สลับซับซ้อน มีทั้งลูกต่างบิดา หลากหลายช่วงอายุ กระทรวง พม. จะเข้ามาดูแลและประเมินการเลี้ยงดู สภาพความเป็นอยู่ที่อาศัยที่เหมาะสม โดยทีมงานนักสังคม และทีมสหวิชาชีพ ซึ่งจะต้องดําเนินการอย่างละเอียดอ่อน ดูแลสภาวะจิตใจของเด็ก และผู้ปกครองโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสําคัญ ซึ่งในทางกฏหมาย เด็กจะต้องได้รับปกป้องคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วมหรือประสบภัยพิบัติต่างๆ รวมทั้งประสบปัญหาทางสังคม ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งหรือดูแลอย่างไม่เหมาะสม สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37573
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. เข้าช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม พร้อมเยี่ยมผู้สูงอายุพิการ ป่วยติดเตียงในโครงการของ กคช. ที่ จ.นครศรีธรรมราช
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. เข้าช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม พร้อมเยี่ยมผู้สูงอายุพิการ ป่วยติดเตียงในโครงการของ กคช. ที่ จ.นครศรีธรรมราช ปลัด พม. เข้าช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม พร้อมเยี่ยมผู้สูงอายุพิการ ป่วยติดเตียงในโครงการของ กคช. ที่ จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 11 ธ.ค. 63 เวลา 09.30 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และนางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจําสํานักเลขาธิการสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) และคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อพบปะเยี่ยมและให้กําลังใจชาวชุมชนโครงการเคหะชุมชนนครศรีธรรมราช 1 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วม พร้อมทั้งมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น 660 ราย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากนั้น เดินทางไปมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น 412 ราย ให้กับชาวชุมชนโครงการบ้านเอื้ออาทรนครศรีธรรมราช 2 (โพธิ์เสด็จ) ซึ่งได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน อีกทั้งในชุมชนนี้ ยังมีผู้สูงอายุ 3 คน ที่พิการทางการเคลื่อนไหว เป็นผู้ป่วยติดเตียง จึงเดินไปเยี่ยมบ้านเพื่อพูดคุยให้กําลังใจ พร้อมให้ความช่วยเหลือต่างๆ ได้แก่ มอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น การต่อบัตรและทําบัตรใหม่สําหรับคนพิการ และการเปลี่ยนผู้ดูแล รวมทั้งได้ให้ ทีม พม. One Home จังหวัดนครศรีธรรมราชและอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ติดตามความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ได้เดินทางไปช่วยเหลือครอบครัวผู้ด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม ซึ่งผู้เป็นยายมีความพิการทางสายตา (เลือนลาง) ต้องรับภาระเลี้ยงดูหลาน จํานวน 7 คน อายุระหว่าง 2-13 ปี แทนผู้เป็นแม่ที่ถูกจับดําเนินคดี ทําให้ได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมและส่งผลต่อพัฒนาการสมวัยของเด็ก อีกทั้งครอบครัวมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเก็บของเก่าขาย รายได้ไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน จํานวน 5,000 บาท นอกเหนือจากที่ได้รับเบี้ยความพิการและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประจําเดือน ชุดนักเรียน และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น อีกทั้งได้กําชับทีม พม. One Home จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องทั้งชีวิตความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการศึกษาอย่างสม่ําเสมอของเด็ก เนื่องจากการศึกษาจะทําให้เด็กสามารถนําความรู้ไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวในอนาคต และหลุดพ้นจากความยากจนได้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. เข้าช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม พร้อมเยี่ยมผู้สูงอายุพิการ ป่วยติดเตียงในโครงการของ กคช. ที่ จ.นครศรีธรรมราช วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. เข้าช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม พร้อมเยี่ยมผู้สูงอายุพิการ ป่วยติดเตียงในโครงการของ กคช. ที่ จ.นครศรีธรรมราช ปลัด พม. เข้าช่วยเหลือเด็ก 7 พี่น้อง เดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม พร้อมเยี่ยมผู้สูงอายุพิการ ป่วยติดเตียงในโครงการของ กคช. ที่ จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 11 ธ.ค. 63 เวลา 09.30 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และนางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจําสํานักเลขาธิการสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) และคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อพบปะเยี่ยมและให้กําลังใจชาวชุมชนโครงการเคหะชุมชนนครศรีธรรมราช 1 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วม พร้อมทั้งมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น 660 ราย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากนั้น เดินทางไปมอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น 412 ราย ให้กับชาวชุมชนโครงการบ้านเอื้ออาทรนครศรีธรรมราช 2 (โพธิ์เสด็จ) ซึ่งได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน อีกทั้งในชุมชนนี้ ยังมีผู้สูงอายุ 3 คน ที่พิการทางการเคลื่อนไหว เป็นผู้ป่วยติดเตียง จึงเดินไปเยี่ยมบ้านเพื่อพูดคุยให้กําลังใจ พร้อมให้ความช่วยเหลือต่างๆ ได้แก่ มอบเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น การต่อบัตรและทําบัตรใหม่สําหรับคนพิการ และการเปลี่ยนผู้ดูแล รวมทั้งได้ให้ ทีม พม. One Home จังหวัดนครศรีธรรมราชและอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ติดตามความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ได้เดินทางไปช่วยเหลือครอบครัวผู้ด้อยโอกาสที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากภัยน้ําท่วม ซึ่งผู้เป็นยายมีความพิการทางสายตา (เลือนลาง) ต้องรับภาระเลี้ยงดูหลาน จํานวน 7 คน อายุระหว่าง 2-13 ปี แทนผู้เป็นแม่ที่ถูกจับดําเนินคดี ทําให้ได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมและส่งผลต่อพัฒนาการสมวัยของเด็ก อีกทั้งครอบครัวมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเก็บของเก่าขาย รายได้ไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน จํานวน 5,000 บาท นอกเหนือจากที่ได้รับเบี้ยความพิการและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประจําเดือน ชุดนักเรียน และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น อีกทั้งได้กําชับทีม พม. One Home จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องทั้งชีวิตความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการศึกษาอย่างสม่ําเสมอของเด็ก เนื่องจากการศึกษาจะทําให้เด็กสามารถนําความรู้ไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวในอนาคต และหลุดพ้นจากความยากจนได้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37572
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ระบบระงับข้อพิพาททรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ระบบระงับข้อพิพาททรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลพัฒนาระบบระงับข้อพิพาทออนไลน์ หรือ Online Dispute Resolution เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง โดยระบบนี้เป็นการนําขั้นตอนกระบวนการอนุญาโตตุลาการและกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทมาให้บริการ ซึ่งถ้าหากผลการเจรจาเป็นไปด้วยดีจะช่วยลดจํานวนคดีที่จะขึ้นสู่ชั้นศาล ช่วยให้คู่กรณีประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อีกทั้งลดการเผชิญหน้าของคู่กรณีอีกด้วย ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้ารับบริการระบบระงับข้อพิพาทออนไลน์ได้ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2564 เป็นต้นไปทางเว็บไซต์ https://thac.go.th โดยสามารถศึกษาขั้นตอนการดําเนินการได้ที่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ​ “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ระบบระงับข้อพิพาททรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ระบบระงับข้อพิพาททรัพย์สินทางปัญญาออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลพัฒนาระบบระงับข้อพิพาทออนไลน์ หรือ Online Dispute Resolution เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง โดยระบบนี้เป็นการนําขั้นตอนกระบวนการอนุญาโตตุลาการและกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทมาให้บริการ ซึ่งถ้าหากผลการเจรจาเป็นไปด้วยดีจะช่วยลดจํานวนคดีที่จะขึ้นสู่ชั้นศาล ช่วยให้คู่กรณีประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อีกทั้งลดการเผชิญหน้าของคู่กรณีอีกด้วย ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้ารับบริการระบบระงับข้อพิพาทออนไลน์ได้ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2564 เป็นต้นไปทางเว็บไซต์ https://thac.go.th โดยสามารถศึกษาขั้นตอนการดําเนินการได้ที่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ​ “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37584
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานฝ่ายฆรวาส ในพิธีเปิดงานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานฝ่ายฆรวาส ในพิธีเปิดงานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔ ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานฝ่ายฆรวาส ในพิธีเปิดงานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานฝ่ายฆรวาส ในพิธีเปิดงานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔ โดยมี พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าสายธรรมทูตประเทศอินเดีย-เนปาล เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมี นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภิกษุ ภิกษุณี และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธี ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ๙๘๙ อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้ โครงการ “งานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔” จัดโดยวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ๙๘๙ เพื่อยกย่องเชิดชูพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์สูงสุดที่รวบรวมหลักธรรมคําสอนในพระพุทธศาสนา โดยเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าร่วมสาธยายพระไตรปิฎก รวมทั้งส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้อ่านพระไตรปิฎกในรูปแบบของภาษาบาลี เพื่อน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานฝ่ายฆรวาส ในพิธีเปิดงานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานฝ่ายฆรวาส ในพิธีเปิดงานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔ ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานฝ่ายฆรวาส ในพิธีเปิดงานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานฝ่ายฆรวาส ในพิธีเปิดงานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔ โดยมี พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าสายธรรมทูตประเทศอินเดีย-เนปาล เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมี นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภิกษุ ภิกษุณี และพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธี ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ๙๘๙ อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้ โครงการ “งานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ ๒ แผ่นดิน พุทธภูมิ - สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔” จัดโดยวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ๙๘๙ เพื่อยกย่องเชิดชูพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์สูงสุดที่รวบรวมหลักธรรมคําสอนในพระพุทธศาสนา โดยเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าร่วมสาธยายพระไตรปิฎก รวมทั้งส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้อ่านพระไตรปิฎกในรูปแบบของภาษาบาลี เพื่อน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37576
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จัดพิธีประทานรางวัล ประชาบดี ประจำปี 2563 เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบความดี ช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 พม. จัดพิธีประทานรางวัล ประชาบดี ประจําปี 2563 เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบความดี ช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก พม. จัดพิธีประทานรางวัล ประชาบดี ประจําปี 2563 เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบความดี ช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 63เวลา 15.00 น.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถโปรดให้หม่อมหลวงสราลี กิติยากร เป็นผู้แทนพระองค์ประทานรางวัลประชาบดี ประจําปี 2563ในโครงการเชิดชูเกียรติผู้ทําคุณประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก และผู้อยู่ในสภาวะยากลําบากที่ประพฤติตนดีเด่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ที่ดูแลช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก อีกทั้งส่งเสริมเจตคติเชิงบวกในการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร เห็นคุณค่า และศักดิ์ศรีของผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก โดยมีนางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.)กล่าวรายงาน และคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ร่วมงาน ณ ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ นางพัชรีกล่าวว่าพระประชาบดีเทพผู้เป็นที่พึ่งและสงเคราะห์ประชาชน ด้วยพลังแห่งการให้และแบ่งปัน เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากสภาวะยากลําบาก ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงได้นําชื่อ ประชาบดี มาเป็นชื่อรางวัลแห่งเกียรติยศ อันเป็นที่สุดแห่งความภาคภูมิใจของต้นแบบความดี เพื่อช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ให้ได้รับการยกย่องและเชิดชูคุณความดีให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม ซึ่งตลอดระยะเวลา 13 ปี ที่ผ่านมา ด้วยพระเมตตาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ได้เสด็จมาประทาน หรือทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์ มาประทานรางวัลประชาบดีเป็นประจําทุกปีอย่างต่อเนื่อง นางพัชรีกล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. ได้ดําเนินโครงการเชิดชูเกียรติผู้ทําคุณประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก และผู้อยู่ในสภาวะยากลําบากที่ประพฤติตนดีเด่น อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2550 - 2562 โดยมีผู้ได้รับรางวัลแล้ว จํานวน 838 สําหรับปี 2563 มีผู้ได้รับรางวัล ประชาบดี จํานวน 36 ราย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทบุคคลผู้ทําคุณประโยชน์ 9 ราย อาทิ นางจินดา ศรีนุรัตน์ ซึ่งลงพื้นที่ในชุมชนต่างๆ พร้อมประสานหน่วยงานและเครือข่าย เพื่อร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนในทุกๆ ด้าน 2) ประเภทองค์กรที่ทําคุณประโยชน์ 4 องค์กร อาทิ องค์การบริหารส่วนตําบลเสม็ดใต้ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งประสานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในชุมชน เพื่อร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนในรูปแบบ Social Smart City 3) ประเภทสื่อสร้างสรรค์ 7 ราย อาทิ รายการวันใหม่ วาไรตี้ ช่วงร้องทุก(ข์) ลงป้ายนี้ สถานีโทรทัศน์ ช่อง ThaiPBS ซึ่งให้ประชาชนได้นําเสนอความทุกข์ยาก ทั้งส่วนรวมและปัจเจกบุคคล พร้อมทั้งหาแนวทางช่วยเหลือ และ 4) ประเภทต้นแบบคนสู้ชีวิต 16 คน อาทิ นางวันเพ็ญ สมบัน ซึ่งมีความยากลําบากในชีวิต แต่ไม่เคยยอมแพ้ ด้วยการหาความรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเอง จนมีความสามารถด้านอาชีพที่หลากหลาย และยังอุทิศตนไปช่วยสอนคนอื่นๆ นางพัชรีกล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวง พม. ขอแสดงความยินดีและยกย่องเชิดชูเกียรติกับทุกท่านและทุกองค์กรที่ได้รับรางวัลในวันนี้ และขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เป็นกลไกหนุนเสริมภารกิจของกระทรวง พม. เพื่อการลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรม และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จัดพิธีประทานรางวัล ประชาบดี ประจำปี 2563 เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบความดี ช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 พม. จัดพิธีประทานรางวัล ประชาบดี ประจําปี 2563 เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบความดี ช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก พม. จัดพิธีประทานรางวัล ประชาบดี ประจําปี 2563 เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบความดี ช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 63เวลา 15.00 น.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถโปรดให้หม่อมหลวงสราลี กิติยากร เป็นผู้แทนพระองค์ประทานรางวัลประชาบดี ประจําปี 2563ในโครงการเชิดชูเกียรติผู้ทําคุณประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก และผู้อยู่ในสภาวะยากลําบากที่ประพฤติตนดีเด่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ที่ดูแลช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก อีกทั้งส่งเสริมเจตคติเชิงบวกในการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร เห็นคุณค่า และศักดิ์ศรีของผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก โดยมีนางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.)กล่าวรายงาน และคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ร่วมงาน ณ ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ นางพัชรีกล่าวว่าพระประชาบดีเทพผู้เป็นที่พึ่งและสงเคราะห์ประชาชน ด้วยพลังแห่งการให้และแบ่งปัน เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากสภาวะยากลําบาก ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงได้นําชื่อ ประชาบดี มาเป็นชื่อรางวัลแห่งเกียรติยศ อันเป็นที่สุดแห่งความภาคภูมิใจของต้นแบบความดี เพื่อช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ให้ได้รับการยกย่องและเชิดชูคุณความดีให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม ซึ่งตลอดระยะเวลา 13 ปี ที่ผ่านมา ด้วยพระเมตตาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ได้เสด็จมาประทาน หรือทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์ มาประทานรางวัลประชาบดีเป็นประจําทุกปีอย่างต่อเนื่อง นางพัชรีกล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. ได้ดําเนินโครงการเชิดชูเกียรติผู้ทําคุณประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก และผู้อยู่ในสภาวะยากลําบากที่ประพฤติตนดีเด่น อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2550 - 2562 โดยมีผู้ได้รับรางวัลแล้ว จํานวน 838 สําหรับปี 2563 มีผู้ได้รับรางวัล ประชาบดี จํานวน 36 ราย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทบุคคลผู้ทําคุณประโยชน์ 9 ราย อาทิ นางจินดา ศรีนุรัตน์ ซึ่งลงพื้นที่ในชุมชนต่างๆ พร้อมประสานหน่วยงานและเครือข่าย เพื่อร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนในทุกๆ ด้าน 2) ประเภทองค์กรที่ทําคุณประโยชน์ 4 องค์กร อาทิ องค์การบริหารส่วนตําบลเสม็ดใต้ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งประสานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในชุมชน เพื่อร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนในรูปแบบ Social Smart City 3) ประเภทสื่อสร้างสรรค์ 7 ราย อาทิ รายการวันใหม่ วาไรตี้ ช่วงร้องทุก(ข์) ลงป้ายนี้ สถานีโทรทัศน์ ช่อง ThaiPBS ซึ่งให้ประชาชนได้นําเสนอความทุกข์ยาก ทั้งส่วนรวมและปัจเจกบุคคล พร้อมทั้งหาแนวทางช่วยเหลือ และ 4) ประเภทต้นแบบคนสู้ชีวิต 16 คน อาทิ นางวันเพ็ญ สมบัน ซึ่งมีความยากลําบากในชีวิต แต่ไม่เคยยอมแพ้ ด้วยการหาความรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเอง จนมีความสามารถด้านอาชีพที่หลากหลาย และยังอุทิศตนไปช่วยสอนคนอื่นๆ นางพัชรีกล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวง พม. ขอแสดงความยินดีและยกย่องเชิดชูเกียรติกับทุกท่านและทุกองค์กรที่ได้รับรางวัลในวันนี้ และขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เป็นกลไกหนุนเสริมภารกิจของกระทรวง พม. เพื่อการลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรม และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37574
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน เผยการยกเลิกการงาน บิ๊กเมาน์เท่น ยึดสุขภาพประชาชนเป็นหลัก
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 อนุทิน เผยการยกเลิกการงาน บิ๊กเมาน์เท่น ยึดสุขภาพประชาชนเป็นหลัก รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยการยกเลิกการจัดเทศกาลดนตรี บิ๊กเมาน์เท่น เฟสติวัล 2020 ผ่านมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ยึดสุขภาพประชาชนเป็นหลัก ไม่มีการกักตัวผู้ร่วมงาน ย้ําใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือ เว้นระยะห่าง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยการยกเลิกการจัดเทศกาลดนตรี บิ๊กเมาน์เท่น เฟสติวัล 2020 ผ่านมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ยึดสุขภาพประชาชนเป็นหลัก ไม่มีการกักตัวผู้ร่วมงาน ย้ําใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือ เว้นระยะห่าง และสังเกตอาการตนเอง 14 วัน หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ํามูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้รีบพบแพทย์ วันนี้ (14 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการมีคําสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาให้ยกเลิกการจัดเทศกาลดนตรี บิ๊กเมาน์เท่น เฟสติวัล 2020 (Big Mountain Music Festival 2020) ในวันที่ 13 ธันวาคม 2563 ที่สนามกอล์ฟ ดิโอเชียน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ว่า คําสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ดังนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจึงไปแจ้งความดําเนินคดี ซึ่งการยกเลิกการจัดงาน ในครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง รัฐบาลต้องใช้มาตรการกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะไม่ต้องการปล่อยให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อจากคนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ในเบื้องต้นไม่พบผู้ป่วยโควิด 19 เข้าไปในงานคอนเสิร์ตดังกล่าว จึงไม่ต้องมีการกักตัวผู้มาร่วมงานคอนเสิร์ต ขอให้ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันควบคุมโรคใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือ และเว้นระยะห่าง สังเกตอาการตนเอง 14 วัน สังเกตอาการตัวเอง หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ํามูกจมูกได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หรือหายใจเหนื่อย หากเกิดอาการคัดจมูก ไอจาม จมูกไม่ได้กลิ่นลิ้นไม่รับรส ขอให้รีบพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยง หากมีข้อสงสัยโทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 นายอนุทินกล่าวต่อว่า ช่วงนี้เป็นช่วงการจัดเทศกาลปีใหม่ การจัดกิจกรรมทุกอย่างต้องขออนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด และปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดงานของกระทรวงสาธารณสุข คือ จะต้องจํากัดผู้เข้าร่วมงาน วัดอุณหภูมิ ใส่หน้ากากอนามัย มีทางเข้าทางเดียว มีจุดวางเจลล้างมือให้พอเพียง ผู้จัดงานต้องแจ้งให้ประชาชนทราบ ว่าต้องใส่หน้ากากอนามัย หากทําตามมาตรการต่างๆ จะช่วยลดการติดเชื้อได้ “ย้ําอีกครั้งความสําเร็จในการป้องกันโควิด 19 ของประเทศเกิดจากความร่วมมือของประชาชนทําตามคําแนะนําของบุคลลากรทางการแพทย์ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ ต้องร่วมมือกัน รัฐต้องพร้อมให้ความรู้ ประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือกับรัฐจึงจะประสบความสําเร็จ” นายอนุทินกล่าว *************************** 14 ธันวาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน เผยการยกเลิกการงาน บิ๊กเมาน์เท่น ยึดสุขภาพประชาชนเป็นหลัก วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 อนุทิน เผยการยกเลิกการงาน บิ๊กเมาน์เท่น ยึดสุขภาพประชาชนเป็นหลัก รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยการยกเลิกการจัดเทศกาลดนตรี บิ๊กเมาน์เท่น เฟสติวัล 2020 ผ่านมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ยึดสุขภาพประชาชนเป็นหลัก ไม่มีการกักตัวผู้ร่วมงาน ย้ําใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือ เว้นระยะห่าง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยการยกเลิกการจัดเทศกาลดนตรี บิ๊กเมาน์เท่น เฟสติวัล 2020 ผ่านมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ยึดสุขภาพประชาชนเป็นหลัก ไม่มีการกักตัวผู้ร่วมงาน ย้ําใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือ เว้นระยะห่าง และสังเกตอาการตนเอง 14 วัน หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ํามูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้รีบพบแพทย์ วันนี้ (14 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการมีคําสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาให้ยกเลิกการจัดเทศกาลดนตรี บิ๊กเมาน์เท่น เฟสติวัล 2020 (Big Mountain Music Festival 2020) ในวันที่ 13 ธันวาคม 2563 ที่สนามกอล์ฟ ดิโอเชียน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ว่า คําสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ดังนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจึงไปแจ้งความดําเนินคดี ซึ่งการยกเลิกการจัดงาน ในครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง รัฐบาลต้องใช้มาตรการกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะไม่ต้องการปล่อยให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อจากคนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ในเบื้องต้นไม่พบผู้ป่วยโควิด 19 เข้าไปในงานคอนเสิร์ตดังกล่าว จึงไม่ต้องมีการกักตัวผู้มาร่วมงานคอนเสิร์ต ขอให้ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันควบคุมโรคใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือ และเว้นระยะห่าง สังเกตอาการตนเอง 14 วัน สังเกตอาการตัวเอง หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ํามูกจมูกได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หรือหายใจเหนื่อย หากเกิดอาการคัดจมูก ไอจาม จมูกไม่ได้กลิ่นลิ้นไม่รับรส ขอให้รีบพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยง หากมีข้อสงสัยโทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 นายอนุทินกล่าวต่อว่า ช่วงนี้เป็นช่วงการจัดเทศกาลปีใหม่ การจัดกิจกรรมทุกอย่างต้องขออนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด และปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดงานของกระทรวงสาธารณสุข คือ จะต้องจํากัดผู้เข้าร่วมงาน วัดอุณหภูมิ ใส่หน้ากากอนามัย มีทางเข้าทางเดียว มีจุดวางเจลล้างมือให้พอเพียง ผู้จัดงานต้องแจ้งให้ประชาชนทราบ ว่าต้องใส่หน้ากากอนามัย หากทําตามมาตรการต่างๆ จะช่วยลดการติดเชื้อได้ “ย้ําอีกครั้งความสําเร็จในการป้องกันโควิด 19 ของประเทศเกิดจากความร่วมมือของประชาชนทําตามคําแนะนําของบุคลลากรทางการแพทย์ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ ต้องร่วมมือกัน รัฐต้องพร้อมให้ความรู้ ประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือกับรัฐจึงจะประสบความสําเร็จ” นายอนุทินกล่าว *************************** 14 ธันวาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37591
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “TMF Power Fusion” กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม ครั้งที่ ๕
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “TMF Power Fusion” กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม ครั้งที่ ๕ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “TMF Power Fusion” กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม ครั้งที่ ๕ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “TMF Power Fusion” กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม ครั้งที่ ๕ และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์กับการมีส่วนร่วมของประชาชน” ซึ่งเป็นโครงการจัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ๕ ภูมิภาค (ภาคกลาง) จัดโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนใน ๕ ภูมิภาคของประเทศไทย ในการพัฒนาและสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ รวมถึงการส่งเสริมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ธนกร ศรีสุกใส ผู้อํานวยการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการฯ สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วัฒนธรรมจังหวัด ภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “TMF Power Fusion” กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม ครั้งที่ ๕ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “TMF Power Fusion” กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม ครั้งที่ ๕ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “TMF Power Fusion” กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม ครั้งที่ ๕ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “TMF Power Fusion” กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม ครั้งที่ ๕ และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์กับการมีส่วนร่วมของประชาชน” ซึ่งเป็นโครงการจัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ๕ ภูมิภาค (ภาคกลาง) จัดโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนใน ๕ ภูมิภาคของประเทศไทย ในการพัฒนาและสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ รวมถึงการส่งเสริมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ธนกร ศรีสุกใส ผู้อํานวยการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการฯ สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วัฒนธรรมจังหวัด ภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37577
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มนัญญา ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมช.มนัญญา ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ รมช.มนัญญา ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ ส่งเสริมการทําเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย พร้อมเชิญชวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานของสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ จํากัด ณ อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ว่าเป็นสหกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่โครงการหลวง ก่อตั้งขึ้นตามแนวพระราชดําริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรโดยเฉพาะชาวไทยภูเขาให้มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ต่อมาได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม และยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีความกินดีอยู่ดี ทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน จึงได้มีการจัดตั้งและจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2536 สมาชิกประกอบด้วยชนเผ่าม้งและกระเหรี่ยง ทั้งนี้ กิจกรรมที่สหกรณ์ฯ ดําเนินร่วมกัน เช่น รวบรวมผลผลิตทางการเกษตร การซื้อขายผลผลิตเพื่อจําหน่ายในตลาดท้องถิ่น ตลาดเกษตรกร และมีช่องทางการจําหน่ายอื่นด้วย อาทิ โครงการหลวง อีกทั้งยังจัดตั้งตลาดสินค้าชุมชน เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มสตรีและกลุ่มเยาวชนของบ้านขุนกลางให้มีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น โดยนําสินค้าที่ระลึกและผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาลมาจําหน่าย เช่น กะหล่ําปลี สลัด มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี หัวไชเท้า ซูกินี หอมญี่ปุ่น เซเลอรี่ เบบี้ฮ่องเต้ เป็นต้น ทั้งนี้ ผลผลิตทางการเกษตรของสหกรณ์ฯ เป็นสินค้าที่ผ่านมาตรฐานและรับรองให้เป็นสินค้าเกษตรปลอดภัย จึงทําให้ได้รับการเชื่อมั่นจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี รมช.มนัญญา กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการทําอาชีพการเกษตร พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมีการดําเนินนโยบายส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา ส่งเสริมให้เกษตรกรลดละเลิกการใช้สารเคมีในการกําจัดวัชพืชศัตรูพืช ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรในรูปแบบการทําเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) เพื่อให้สินค้าเกษตรมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีการยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์ให้เป็นองค์กรในระดับชุมชนในการรวบรวมจัดเก็บแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในระดับพื้นที่ รวมทั้งจัดหาตลาดโดยการจัดทําโครงการซุปเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ เพื่อให้เป็นสถานที่จําหน่ายสินค้าของสมาชิกที่มีคุณภาพ และเชื่อมโยงเครือข่ายการตลาดระหว่างขบวนการสหกรณ์กับภาคเอกชน เพื่อกระจายผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยไปสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังได้ริเริ่มโครงการนําลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร เพื่อให้ลูกหลานเกษตรกรได้กลับมาอยู่กับครอบครัว ใช้ความรู้และประสบการณ์จากภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ มาพัฒนาการเกษตรของครอบครัว เป็นการสร้างงานการเกษตรให้เกิดความยั่งยืนต่อไป จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เยี่ยมชมตลาดเกษตรกร ตลาดแม่บ้านและเยาวชนบ้านขุนกลาง ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ส่งเสริมกลุ่มสตรีซึ่งเป็นแม่บ้านและเยาวชน ของบ้านขุนกลางให้มีอาชีพและเพิ่มรายได้โดยการตั้งตลาดขายสินค้าชุมชน เพื่อจําหน่ายของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์การเกษตรตามฤดูกาล ปัจจุบันมีสมาชิก 80 คน มีทุนหมุนเวียนมากกว่า 5 แสนบาท สมาชิกกลุ่มสตรีมีรายได้เฉลี่ย 30,000 - 100,000 บาท/ปี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มนัญญา ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมช.มนัญญา ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ รมช.มนัญญา ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ ส่งเสริมการทําเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย พร้อมเชิญชวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานของสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ จํากัด ณ อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ว่าเป็นสหกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่โครงการหลวง ก่อตั้งขึ้นตามแนวพระราชดําริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรโดยเฉพาะชาวไทยภูเขาให้มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ต่อมาได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม และยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีความกินดีอยู่ดี ทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน จึงได้มีการจัดตั้งและจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2536 สมาชิกประกอบด้วยชนเผ่าม้งและกระเหรี่ยง ทั้งนี้ กิจกรรมที่สหกรณ์ฯ ดําเนินร่วมกัน เช่น รวบรวมผลผลิตทางการเกษตร การซื้อขายผลผลิตเพื่อจําหน่ายในตลาดท้องถิ่น ตลาดเกษตรกร และมีช่องทางการจําหน่ายอื่นด้วย อาทิ โครงการหลวง อีกทั้งยังจัดตั้งตลาดสินค้าชุมชน เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มสตรีและกลุ่มเยาวชนของบ้านขุนกลางให้มีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น โดยนําสินค้าที่ระลึกและผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาลมาจําหน่าย เช่น กะหล่ําปลี สลัด มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี หัวไชเท้า ซูกินี หอมญี่ปุ่น เซเลอรี่ เบบี้ฮ่องเต้ เป็นต้น ทั้งนี้ ผลผลิตทางการเกษตรของสหกรณ์ฯ เป็นสินค้าที่ผ่านมาตรฐานและรับรองให้เป็นสินค้าเกษตรปลอดภัย จึงทําให้ได้รับการเชื่อมั่นจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี รมช.มนัญญา กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการทําอาชีพการเกษตร พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมีการดําเนินนโยบายส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา ส่งเสริมให้เกษตรกรลดละเลิกการใช้สารเคมีในการกําจัดวัชพืชศัตรูพืช ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรในรูปแบบการทําเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) เพื่อให้สินค้าเกษตรมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีการยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์ให้เป็นองค์กรในระดับชุมชนในการรวบรวมจัดเก็บแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในระดับพื้นที่ รวมทั้งจัดหาตลาดโดยการจัดทําโครงการซุปเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ เพื่อให้เป็นสถานที่จําหน่ายสินค้าของสมาชิกที่มีคุณภาพ และเชื่อมโยงเครือข่ายการตลาดระหว่างขบวนการสหกรณ์กับภาคเอกชน เพื่อกระจายผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยไปสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังได้ริเริ่มโครงการนําลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร เพื่อให้ลูกหลานเกษตรกรได้กลับมาอยู่กับครอบครัว ใช้ความรู้และประสบการณ์จากภาคอุตสาหกรรมและบริการ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ มาพัฒนาการเกษตรของครอบครัว เป็นการสร้างงานการเกษตรให้เกิดความยั่งยืนต่อไป จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เยี่ยมชมตลาดเกษตรกร ตลาดแม่บ้านและเยาวชนบ้านขุนกลาง ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ส่งเสริมกลุ่มสตรีซึ่งเป็นแม่บ้านและเยาวชน ของบ้านขุนกลางให้มีอาชีพและเพิ่มรายได้โดยการตั้งตลาดขายสินค้าชุมชน เพื่อจําหน่ายของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์การเกษตรตามฤดูกาล ปัจจุบันมีสมาชิก 80 คน มีทุนหมุนเวียนมากกว่า 5 แสนบาท สมาชิกกลุ่มสตรีมีรายได้เฉลี่ย 30,000 - 100,000 บาท/ปี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37590
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเปิดตัวหนังสือและเสวนาวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจำปี ๒๕๖๓
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเปิดตัวหนังสือและเสวนาวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจําปี ๒๕๖๓ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเปิดตัวหนังสือและเสวนาวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจําปี ๒๕๖๓ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเปิดตัวหนังสือและเสวนาวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจําปี ๒๕๖๓ โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ดีไซเนอร์ และแขกผู้มีเกียรติ เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ไอคอนสยาม อาร์ต สเปซ ชั้น ๘ ไอคอนสยาม ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล จัดขึ้น เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านศิลปะการออกแบบเครื่องแต่งกายและสิ่งทอ พร้อมทั้งเผยแพร่หนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย “Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2022” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพิจารณาเนื้อหาต้นฉบับและพระราชทานคําแนะนําพร้อมแก้ไขรายละเอียดต่างๆ โดยมีกิจกรรมการจัดแสดงนิทรรศการ “แนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย” พร้อมทั้งจัดแสดงเครื่องแต่งกายที่ออกแบบโดย ๑๒ ดีไซเนอร์ชั้นนํา ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ ธันวาคมนี้ ณ ไอคอนสยาม อาร์ต สเปซ ชั้น ๘ ไอคอนสยาม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเปิดตัวหนังสือและเสวนาวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจำปี ๒๕๖๓ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเปิดตัวหนังสือและเสวนาวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจําปี ๒๕๖๓ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเปิดตัวหนังสือและเสวนาวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจําปี ๒๕๖๓ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเปิดตัวหนังสือและเสวนาวิชาการ การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจําปี ๒๕๖๓ โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ดีไซเนอร์ และแขกผู้มีเกียรติ เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ไอคอนสยาม อาร์ต สเปซ ชั้น ๘ ไอคอนสยาม ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล จัดขึ้น เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านศิลปะการออกแบบเครื่องแต่งกายและสิ่งทอ พร้อมทั้งเผยแพร่หนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย “Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2022” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพิจารณาเนื้อหาต้นฉบับและพระราชทานคําแนะนําพร้อมแก้ไขรายละเอียดต่างๆ โดยมีกิจกรรมการจัดแสดงนิทรรศการ “แนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย” พร้อมทั้งจัดแสดงเครื่องแต่งกายที่ออกแบบโดย ๑๒ ดีไซเนอร์ชั้นนํา ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ ธันวาคมนี้ ณ ไอคอนสยาม อาร์ต สเปซ ชั้น ๘ ไอคอนสยาม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37581
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เรียนประวัติศาสตร์ผ่านสื่อร่วมสมัย
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 เรียนประวัติศาสตร์ผ่านสื่อร่วมสมัย วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลพัฒนาโครงการอ่าน เขียน เรียนประวัติศาสตร์ โดยใช้การสื่อสารร่วมสมัยและเทคโนโลยีสื่อเสมือนจริง หรือ AR นําภาพเสมือนที่เป็นรูปแบบ 3 มิติ จําลองเข้าสู่โลกจริงผ่านกล้องและการประมวลผลที่นําวัตถุมาซ้อนทับเป็นภาพเดียวกันให้สามารถมองผ่านกล้องได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีวีดีทัศน์เรื่องราวเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ถ่ายทําจากสถานที่จริงดําเนินเรื่องโดยศิลปินที่เป็นขวัญใจของเยาวชน เช่น การพัฒนารถไฟไทย พัฒนาการสื่อสาร ชุดราชปะแตน การปฏิรูปการศึกษา พัฒนาการถนน ละครพันทางสู่ภาพยนตร์ วัฒนธรรมการรับประทานอาหารริมทาง และการเข้ามาของน้ําแข็ง เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้ครูนําไปใช้ปรับวิธีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในห้องเรียนให้มีความน่าสนใจมากขึ้น “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เรียนประวัติศาสตร์ผ่านสื่อร่วมสมัย วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 เรียนประวัติศาสตร์ผ่านสื่อร่วมสมัย วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลพัฒนาโครงการอ่าน เขียน เรียนประวัติศาสตร์ โดยใช้การสื่อสารร่วมสมัยและเทคโนโลยีสื่อเสมือนจริง หรือ AR นําภาพเสมือนที่เป็นรูปแบบ 3 มิติ จําลองเข้าสู่โลกจริงผ่านกล้องและการประมวลผลที่นําวัตถุมาซ้อนทับเป็นภาพเดียวกันให้สามารถมองผ่านกล้องได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีวีดีทัศน์เรื่องราวเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ถ่ายทําจากสถานที่จริงดําเนินเรื่องโดยศิลปินที่เป็นขวัญใจของเยาวชน เช่น การพัฒนารถไฟไทย พัฒนาการสื่อสาร ชุดราชปะแตน การปฏิรูปการศึกษา พัฒนาการถนน ละครพันทางสู่ภาพยนตร์ วัฒนธรรมการรับประทานอาหารริมทาง และการเข้ามาของน้ําแข็ง เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้ครูนําไปใช้ปรับวิธีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในห้องเรียนให้มีความน่าสนใจมากขึ้น “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37583
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่บ้านถูกไฟไหม้ ขณะประสบภัยน้ำท่วม
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่บ้านถูกไฟไหม้ ขณะประสบภัยน้ําท่วม ปลัด พม. ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่บ้านถูกไฟไหม้ ขณะประสบภัยน้ําท่วม วันที่ 10 ธ.ค. 63 เวลา 15.30 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. และทีม พม. One Home เดินทางไปลงพื้นที่เยี่ยมให้กําลังใจชาย อายุ 55 ปี ที่บ้านเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทําให้ไฟไหม้บ้านเสียหายเกือบทั้งหลังในพื้นที่ตําบลไทยบุรี อําเภอท่าศาลา จังหวัดศรีธรรมราช พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน อาทิ เงินสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน 10,000 บาท และเงินช่วยเหลือตามระเบียบของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สํานักงานภาคใต้ 18,000 บาท จากนั้น เดินทางไปเยี่ยมให้กําลังใจหญิงชรา อายุ 89 ปี พิการตาบอดและทางการเคลื่อนไหว ที่บ้านเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทําให้ไฟไหม้บ้านจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ในพื้นที่ตําบลกะหรอ อําเภอนบพิตํา พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน อาทิ เงินปรับปรุง ซ่อมแซมบ้านในโครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย 40,000 บาท เงินปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกของผู้พิการให้เหมาะสมและปลอดภัย 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือตามระเบียบของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สํานักงานภาคใต้ 18,000 บาท นอกจากนี้ ได้มอบรถเข็นสําหรับคนพิการ จากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) จํานวน 1 คัน นายพัชรี กล่าวว่า ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วมหรือประสบภัยพิบัติต่างๆ สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่บ้านถูกไฟไหม้ ขณะประสบภัยน้ำท่วม วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่บ้านถูกไฟไหม้ ขณะประสบภัยน้ําท่วม ปลัด พม. ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่บ้านถูกไฟไหม้ ขณะประสบภัยน้ําท่วม วันที่ 10 ธ.ค. 63 เวลา 15.30 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. และทีม พม. One Home เดินทางไปลงพื้นที่เยี่ยมให้กําลังใจชาย อายุ 55 ปี ที่บ้านเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทําให้ไฟไหม้บ้านเสียหายเกือบทั้งหลังในพื้นที่ตําบลไทยบุรี อําเภอท่าศาลา จังหวัดศรีธรรมราช พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน อาทิ เงินสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน 10,000 บาท และเงินช่วยเหลือตามระเบียบของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สํานักงานภาคใต้ 18,000 บาท จากนั้น เดินทางไปเยี่ยมให้กําลังใจหญิงชรา อายุ 89 ปี พิการตาบอดและทางการเคลื่อนไหว ที่บ้านเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทําให้ไฟไหม้บ้านจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ในพื้นที่ตําบลกะหรอ อําเภอนบพิตํา พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน อาทิ เงินปรับปรุง ซ่อมแซมบ้านในโครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย 40,000 บาท เงินปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกของผู้พิการให้เหมาะสมและปลอดภัย 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือตามระเบียบของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สํานักงานภาคใต้ 18,000 บาท นอกจากนี้ ได้มอบรถเข็นสําหรับคนพิการ จากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) จํานวน 1 คัน นายพัชรี กล่าวว่า ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วมหรือประสบภัยพิบัติต่างๆ สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37571
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. ลุยน้ำท่วมแจกอาหารปรุงสุกจากครัวกลางชุมชนให้ผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. ลุยน้ําท่วมแจกอาหารปรุงสุกจากครัวกลางชุมชนให้ผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ปลัด พม. ลุยน้ําท่วมแจกอาหารปรุงสุกจากครัวกลางชุมชนให้ผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 10 ธ.ค. 63 เวลา 12.00 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และนางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจําสํานักเลขาธิการสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. และทีม พม. One Home ลงพื้นที่ ณ ชุมชนบ้านช้าง หมู่ 7 ตําบลท่าเรืออําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเยี่ยมให้กําลังใจประชาชนและกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วม พร้อมทั้งเดินลุยน้ําและนั่งเรือเพื่อนําอาหารปรุงสุก สด สะอาดจากครัวกลางชุมชน และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น ไปแจกจ่ายให้ชาวชุมชนที่บ้านยังคงถูกน้ําท่วมและเดินทางออกมาภายนอกด้วยความยากลําบาก โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด นางพัชรี กล่าวว่า ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วมหรือประสบภัยพิบัติต่างๆ สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. ลุยน้ำท่วมแจกอาหารปรุงสุกจากครัวกลางชุมชนให้ผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. ลุยน้ําท่วมแจกอาหารปรุงสุกจากครัวกลางชุมชนให้ผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ปลัด พม. ลุยน้ําท่วมแจกอาหารปรุงสุกจากครัวกลางชุมชนให้ผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 10 ธ.ค. 63 เวลา 12.00 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และนางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจําสํานักเลขาธิการสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. และทีม พม. One Home ลงพื้นที่ ณ ชุมชนบ้านช้าง หมู่ 7 ตําบลท่าเรืออําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเยี่ยมให้กําลังใจประชาชนและกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วม พร้อมทั้งเดินลุยน้ําและนั่งเรือเพื่อนําอาหารปรุงสุก สด สะอาดจากครัวกลางชุมชน และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น ไปแจกจ่ายให้ชาวชุมชนที่บ้านยังคงถูกน้ําท่วมและเดินทางออกมาภายนอกด้วยความยากลําบาก โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด นางพัชรี กล่าวว่า ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วมหรือประสบภัยพิบัติต่างๆ สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37570
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าวของนายกรัฐมนตรี ในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี ในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี ในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี ในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD ----------------------------- ท่านประธานาธิบดี นายเอมานูว์แอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ท่านนายกรัฐมนตรี นายเปโดร ซานเซซ แห่งสเปน ท่านเลขาธิการ OECD (โออีซีดี) ผมขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD และขอชื่นชม OECD ที่ทําให้เศรษฐกิจโลกมีความก้าวหน้า ภายใต้กฎระเบียบที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นสากล ไทยยินดีที่ได้ร่วมมือกับ OECD ตลอดมา โดยเฉพาะในโครงการ Country Programme ที่ได้ช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย ควบคู่กับการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งนี้ ไทยจะต่อยอดโครงการ Country Programme กับ OECD เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมถึงพลเมืองไทยรุ่นต่อ ๆ ไป ปี 2563 ที่กําลังจะผ่านพ้นไปนี้ เป็นปีที่เราทุกคนต่างต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวางในทุกมิติ ในการนี้ ผมจึงขอเป็นกําลังใจให้ทุกประเทศ สามารถฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน และขอเสนอประเด็นที่เราควรผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยกลับมาเข้มแข็งกว่าเดิม ดังนี้ ประการแรก ประชากรโลกต้องสามารถเข้าถึงยาและวัคซีนต้าน COVID-19 ตลอดจนได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยไทยพร้อมที่จะร่วมมือและแบ่งปันประสบการณ์กับนานาประเทศ รวมทั้งพร้อมที่จะเป็นฐานการผลิตยาและวัคซีนดังกล่าว ให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคใกล้เคียง ประการที่สอง การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ผ่านพ้นวิกฤติทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ Micro SMEs แรงงานภาคบริการ และสตรี ซึ่งรัฐบาลไทยมีโครงการช่วยเหลือเป็นการเฉพาะ เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน และโครงการคนละครึ่ง ขณะที่ในระดับภูมิภาค ไทยกําลังพัฒนาข้อริเริ่ม ASEAN SMEs Recovery Facility เพื่อการนี้ด้วย ประการที่สาม ในวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ หลายประเทศย่อมประสบภาวะการคลังและหนี้สินตึงตัว ผมจึงหวังว่าประชาคมโลกจะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน โดยเฉพาะต่อประเทศกําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ผ่านการบริหารจัดการหนี้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวอย่างทั่วถึง สุดท้ายนี้ ผมปรารถนาที่จะเห็นความร่วมมือฉันท์หุ้นส่วนระหว่าง OECD กับไทยและภูมิภาคนี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันของเรา ขอบคุณครับ สวัสดีครับ *****************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าวของนายกรัฐมนตรี ในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี ในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี ในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD คํากล่าวของนายกรัฐมนตรี ในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD ----------------------------- ท่านประธานาธิบดี นายเอมานูว์แอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ท่านนายกรัฐมนตรี นายเปโดร ซานเซซ แห่งสเปน ท่านเลขาธิการ OECD (โออีซีดี) ผมขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญา OECD และขอชื่นชม OECD ที่ทําให้เศรษฐกิจโลกมีความก้าวหน้า ภายใต้กฎระเบียบที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นสากล ไทยยินดีที่ได้ร่วมมือกับ OECD ตลอดมา โดยเฉพาะในโครงการ Country Programme ที่ได้ช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย ควบคู่กับการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งนี้ ไทยจะต่อยอดโครงการ Country Programme กับ OECD เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมถึงพลเมืองไทยรุ่นต่อ ๆ ไป ปี 2563 ที่กําลังจะผ่านพ้นไปนี้ เป็นปีที่เราทุกคนต่างต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวางในทุกมิติ ในการนี้ ผมจึงขอเป็นกําลังใจให้ทุกประเทศ สามารถฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน และขอเสนอประเด็นที่เราควรผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยกลับมาเข้มแข็งกว่าเดิม ดังนี้ ประการแรก ประชากรโลกต้องสามารถเข้าถึงยาและวัคซีนต้าน COVID-19 ตลอดจนได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยไทยพร้อมที่จะร่วมมือและแบ่งปันประสบการณ์กับนานาประเทศ รวมทั้งพร้อมที่จะเป็นฐานการผลิตยาและวัคซีนดังกล่าว ให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคใกล้เคียง ประการที่สอง การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ผ่านพ้นวิกฤติทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ Micro SMEs แรงงานภาคบริการ และสตรี ซึ่งรัฐบาลไทยมีโครงการช่วยเหลือเป็นการเฉพาะ เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน และโครงการคนละครึ่ง ขณะที่ในระดับภูมิภาค ไทยกําลังพัฒนาข้อริเริ่ม ASEAN SMEs Recovery Facility เพื่อการนี้ด้วย ประการที่สาม ในวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ หลายประเทศย่อมประสบภาวะการคลังและหนี้สินตึงตัว ผมจึงหวังว่าประชาคมโลกจะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน โดยเฉพาะต่อประเทศกําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ผ่านการบริหารจัดการหนี้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวอย่างทั่วถึง สุดท้ายนี้ ผมปรารถนาที่จะเห็นความร่วมมือฉันท์หุ้นส่วนระหว่าง OECD กับไทยและภูมิภาคนี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันของเรา ขอบคุณครับ สวัสดีครับ *****************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37606
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นโยบายปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 นโยบายปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์ วันศูกร์ที่ 11 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลอนุมัติร่างกฎหมายปรับอัตราความเร็วของรถยนต์ทุกประเภทบนถนนที่มีช่องจราจรตั้งแต่ 4 ช่องขึ้นไป ให้สามารถใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 120 กม./ชม. เพื่อประโยชน์ต่อการขนส่งของประเทศ และช่วยให้การจราจรมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยกําหนดให้รถแต่ละประเภทใช้ความเร็วที่แตกต่างกัน เช่น รถบรรทุกที่มีผู้โดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม./ชม. รถบรรทุกคนโดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม. ส่วนรถจักรยานยนต์ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. หรือรถจักรยานยนต์ที่มีกําลังเครื่องยนต์สูงให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม. รถรับส่งนักเรียนให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. เป็นต้น “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นโยบายปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 นโยบายปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์ วันศูกร์ที่ 11 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลอนุมัติร่างกฎหมายปรับอัตราความเร็วของรถยนต์ทุกประเภทบนถนนที่มีช่องจราจรตั้งแต่ 4 ช่องขึ้นไป ให้สามารถใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 120 กม./ชม. เพื่อประโยชน์ต่อการขนส่งของประเทศ และช่วยให้การจราจรมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยกําหนดให้รถแต่ละประเภทใช้ความเร็วที่แตกต่างกัน เช่น รถบรรทุกที่มีผู้โดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม./ชม. รถบรรทุกคนโดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม. ส่วนรถจักรยานยนต์ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. หรือรถจักรยานยนต์ที่มีกําลังเครื่องยนต์สูงให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กม./ชม. รถรับส่งนักเรียนให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. เป็นต้น “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานพิธีเปิดงาน "Immersive Art of Thawan Duchanee"
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.วธ.เป็นประธานพิธีเปิดงาน "Immersive Art of Thawan Duchanee" รมว.วธ.เป็นประธานพิธีเปิดงาน "Immersive Art of Thawan Duchanee" วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานพิธีเปิดงาน "Immersive Art of Thawan Duchanee" การแสดงผลงานศิลปะของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๔๔ ผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีครั้งแรกของโลก ระหว่างวันที่ ๑๑ ธ.ค. ๖๓ – ๑๑ ม.ค. ๖๔ โดยมี ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี ผู้อํานวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดําให้การต้อนรับ และมีศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๕๒ อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จํากัด บริษัท ฟูลโดม โปร จํากัด ศิลปิน แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ไอคอนสยามพาร์ค ชั้น ๒ ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานพิธีเปิดงาน "Immersive Art of Thawan Duchanee" วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.วธ.เป็นประธานพิธีเปิดงาน "Immersive Art of Thawan Duchanee" รมว.วธ.เป็นประธานพิธีเปิดงาน "Immersive Art of Thawan Duchanee" วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานพิธีเปิดงาน "Immersive Art of Thawan Duchanee" การแสดงผลงานศิลปะของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๔๔ ผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีครั้งแรกของโลก ระหว่างวันที่ ๑๑ ธ.ค. ๖๓ – ๑๑ ม.ค. ๖๔ โดยมี ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี ผู้อํานวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดําให้การต้อนรับ และมีศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๕๒ อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จํากัด บริษัท ฟูลโดม โปร จํากัด ศิลปิน แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ไอคอนสยามพาร์ค ชั้น ๒ ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37580
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ของขวัญปีใหม่ชาวนา! จุรินทร์ จี้ ตรวจการโอนเงินส่วนต่างชาวนางวดที่5 ให้ชาวนาได้เฮ! รับปีใหม่ เงินออกวันนี้ 14 ธ.ค.63
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ของขวัญปีใหม่ชาวนา! จุรินทร์ จี้ ตรวจการโอนเงินส่วนต่างชาวนางวดที่5 ให้ชาวนาได้เฮ! รับปีใหม่ เงินออกวันนี้ 14 ธ.ค.63 ของขวัญปีใหม่ชาวนา! จุรินทร์ จี้ ตรวจการโอนเงินส่วนต่างชาวนางวดที่5 ให้ชาวนาได้เฮ! รับปีใหม่ เงินออกวันนี้ 14 ธ.ค.63 14 ธันวาคม 2563 เวลา 9.30 น.นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความเป็นห่วงชาวนาซึ่งจะต้องได้รับส่วนต่างประกันรายได้ผู้ปลูกข้าวงวดที่ 5 ในวันนี้ (14ธันวาคม2563) จึงให้ประสานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ทั้งนี้เพื่อการติดตามการกดปุ่มโอนเงินให้ถึงมือชาวนาที่จะได้รับส่วนต่างงวดที่ 5 ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่รออยู่ นางมัลลิกา กล่าวว่า สืบเนื่องจากการประชุมอนุเกณฑ์กลางอ้างอิง กระทรวงพาณิชย์ประชุมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 แล้วตามระเบียบทางธ.ก.ส.จะโอนเงินใน 3 วันทําการหลังจากประชุมแต่ด้วยติดวันหยุดต่อเนื่องจึงคาดว่าสามารถดําเนินการได้วันนี้ โดยประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องกําหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563 / 2564 งวดที่5 สําหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 6 ธันวาคม 2563 ราคาเกณฑ์กลางต่อตัน คือ ข้าวหอมมะลิ 12,232.86 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 11,726 .91 บาท ข้าวเปลือกจ้าว 9,189.93 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 10,079.73 บาทข้าวเปลือกเหนียว 11,213.54 บาท เนื่องจากข้าวเปลือกหอมมะลิ ประกันรายได้ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน จะได้ส่วนต่างตันละ 2,767 บาท จึงได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 38,739 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ประกันรายได้ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 2,273 บาท จะได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 36,369 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 810 บาท จะได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 24,302 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประกันรายได้ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 920 บาท ได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 23,006 บาท และ ข้าวเหนียวประกันรายได้ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 786 บาท จะได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 12,583 บาท ทั้งนี้ชาวนาจะได้ส่วนต่างจํานวนเท่าใดขึ้นอยู่กับปริมาณการแจ้งปลูกตามจริงไว้ตอนขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเกษตรตําบล-เกษตรอําเภอ กรมส่งเสริมการเกษตร คอยดูแลการขึ้นทะเบียนมาก่อนหน้านี้และการจ่ายเงินก็ไม่เกินจํานวนตันที่รัฐระบุไว้ ในส่วนของงวดที่5 เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหรือชาวนาประมาณ 300,000 กว่าราย ซึ่งเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงนี้ สําหรับการประกันรายได้ชาวนาหรือประกันรายได้ผู้ปลูกข้าวปี2 นั้นนายจุรินทร์ให้ความสําคัญมากเพราะชาวนาเกิดปัญหาหลายสภาพเมื่อราคาข้าวไม่ถึงราคาเป้าหมายประกันรายได้จึงให้ติดตามกระบวนการที่เกี่ยวข้องแทนชาวนาอย่างใกล้ชิดและรีบจ่ายเงินเป็นของขวัญปีใหม่ให้ชาวนาเหมือนเกษตรกรชาวสวนยาง ข้าวโพด มันสําปะหลัง ส่วนชาวสวนปาล์มนั้นปัจจุบันนี้ด้วยมาตรการเสริมของรัฐทําให้ปาล์มราคาดีมากทะลุเป้าหมายราคาประกันรายได้ไปมากแล้ว "สําหรับข้าว เราเริ่มจ่ายส่วนต่างมาร่วมเดือนแล้วโดยงวดที่1จ่ายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 จากนั้นทะยอยจ่ายทุกสัปดาห์ตามการอ้างอิงราคากลางและจ่ายหลังจากการเก็บเกี่ยวตามเวลาเก็บเกี่ยวที่ชาวนาแจ้งตอนลงทะเบียนไว้ จึงอยากให้พี่น้องเกษตรกรชาวนาติดตามข่าวสารที่เกี่ยวกับตัวอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะประกาศกระทรวงพาณิชย์ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้ผลักดันนโยบายประกันรายได้และทํางานอย่างใส่ใจมาตลอดแม้บางจังหวะอาจมีปัญหาทางเทคนิคด้านงบประมาณบ้างแต่ก็ผลักดันการแก้ไขเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้รวดเร็วอย่างล่าสุดส่วนต่างข้าวงวดนี้เป็นงบประมาณตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 63 คือการอนุมัติให้ปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการจากที่อนุมัติไว้เบื้องต้น จํานวน 18,096 ล้านบาท เพิ่มเติมอีก 28,711 ล้านบาท รวมเป็น 46,807 ล้านบาท ดังนั้นสําหรับเกษตรกรที่แจ้งวันที่คาดว่าเก็บเกี่ยวในช่วงวันที่ 15 - 29 พ.ย.2563 หมายถึงงวดที่ 2 บางส่วน และงวดที่ 3 งวดที่4 ซึ่งตกค้างอยู่จํานวน 2.22 ล้านครัวเรือน ทางธ.ก.ส.รายงานว่าได้โอนให้ไปตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค. 2563 แล้วจึงขอแจ้งย้ําให้ทราบว่า ธ.ก.ส.โอนเงินให้เกษตรกรกลุ่มดังกล่าวเป็นเงินรวมจํานวน 20,218 ล้านบาทแล้ว ดังนั้นพี่น้องเกษตรกรชาวนาท่านใดยังไม่ได้ตรวจสอบบัญชีก็ให้ไปตรวจสอบบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ใกล้บ้านได้เลย ส่วนเกษตรกรในงวดที่5 ก็สามารถตรวจสอบบัญชีได้หลังจากนี้ " นางมัลลิกา กล่าว ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุด้วยว่าหลังจากนี้อยากให้ชาวนาพัฒนาคุณภาพข้าวโดยเฉพาะให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวเพราะมันเป็นมูลค่าเพิ่มและสืบเนื่องจากปีนี้ไทยเราได้รับรางวัลชนะเลิศ World’s Best Rice Award 2020 ข้าวที่ดีที่สุดในโลกปี 2020 คือ ข้าวพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่เพิ่งเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน 2563 นี้ ยืนยันได้ว่าคุณภาพของข้าวไทยไม่เป็นรองใครในโลก ถ้าเราสามารถช่วยกันพัฒนาและเดินตามนโยบายของท่านรองนายกฯจุรินทร์ที่กําลังทํายุทธศาสตร์นโยบายข้าว รางวัลนี้จึงเป็นรูปธรรมของการประกาศยุทธศาสตร์ข้าวไทยปี 2563-2567 ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลแล้วมีการตั้งเป้าหมายชัดเจนว่าใน 5 ปีนี้เราจะทําให้ไทยเป็นผู้นําการผลิต ผู้นําการตลาดข้าว และผู้นําผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก รางวัลนี้เป็นการยกระดับความเชื่อมั่นด้านคุณภาพข้าวของไทยในตลาดโลก ส่งผลดีกับทั้งตัวเกษตรกรและการส่งออกข้าวของประเทศไทยต่อไปในอนาคตด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ของขวัญปีใหม่ชาวนา! จุรินทร์ จี้ ตรวจการโอนเงินส่วนต่างชาวนางวดที่5 ให้ชาวนาได้เฮ! รับปีใหม่ เงินออกวันนี้ 14 ธ.ค.63 วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ของขวัญปีใหม่ชาวนา! จุรินทร์ จี้ ตรวจการโอนเงินส่วนต่างชาวนางวดที่5 ให้ชาวนาได้เฮ! รับปีใหม่ เงินออกวันนี้ 14 ธ.ค.63 ของขวัญปีใหม่ชาวนา! จุรินทร์ จี้ ตรวจการโอนเงินส่วนต่างชาวนางวดที่5 ให้ชาวนาได้เฮ! รับปีใหม่ เงินออกวันนี้ 14 ธ.ค.63 14 ธันวาคม 2563 เวลา 9.30 น.นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความเป็นห่วงชาวนาซึ่งจะต้องได้รับส่วนต่างประกันรายได้ผู้ปลูกข้าวงวดที่ 5 ในวันนี้ (14ธันวาคม2563) จึงให้ประสานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ทั้งนี้เพื่อการติดตามการกดปุ่มโอนเงินให้ถึงมือชาวนาที่จะได้รับส่วนต่างงวดที่ 5 ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่รออยู่ นางมัลลิกา กล่าวว่า สืบเนื่องจากการประชุมอนุเกณฑ์กลางอ้างอิง กระทรวงพาณิชย์ประชุมเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 แล้วตามระเบียบทางธ.ก.ส.จะโอนเงินใน 3 วันทําการหลังจากประชุมแต่ด้วยติดวันหยุดต่อเนื่องจึงคาดว่าสามารถดําเนินการได้วันนี้ โดยประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องกําหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563 / 2564 งวดที่5 สําหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 6 ธันวาคม 2563 ราคาเกณฑ์กลางต่อตัน คือ ข้าวหอมมะลิ 12,232.86 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 11,726 .91 บาท ข้าวเปลือกจ้าว 9,189.93 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 10,079.73 บาทข้าวเปลือกเหนียว 11,213.54 บาท เนื่องจากข้าวเปลือกหอมมะลิ ประกันรายได้ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน จะได้ส่วนต่างตันละ 2,767 บาท จึงได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 38,739 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ประกันรายได้ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 2,273 บาท จะได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 36,369 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 810 บาท จะได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 24,302 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประกันรายได้ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 920 บาท ได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 23,006 บาท และ ข้าวเหนียวประกันรายได้ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 786 บาท จะได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 12,583 บาท ทั้งนี้ชาวนาจะได้ส่วนต่างจํานวนเท่าใดขึ้นอยู่กับปริมาณการแจ้งปลูกตามจริงไว้ตอนขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเกษตรตําบล-เกษตรอําเภอ กรมส่งเสริมการเกษตร คอยดูแลการขึ้นทะเบียนมาก่อนหน้านี้และการจ่ายเงินก็ไม่เกินจํานวนตันที่รัฐระบุไว้ ในส่วนของงวดที่5 เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหรือชาวนาประมาณ 300,000 กว่าราย ซึ่งเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงนี้ สําหรับการประกันรายได้ชาวนาหรือประกันรายได้ผู้ปลูกข้าวปี2 นั้นนายจุรินทร์ให้ความสําคัญมากเพราะชาวนาเกิดปัญหาหลายสภาพเมื่อราคาข้าวไม่ถึงราคาเป้าหมายประกันรายได้จึงให้ติดตามกระบวนการที่เกี่ยวข้องแทนชาวนาอย่างใกล้ชิดและรีบจ่ายเงินเป็นของขวัญปีใหม่ให้ชาวนาเหมือนเกษตรกรชาวสวนยาง ข้าวโพด มันสําปะหลัง ส่วนชาวสวนปาล์มนั้นปัจจุบันนี้ด้วยมาตรการเสริมของรัฐทําให้ปาล์มราคาดีมากทะลุเป้าหมายราคาประกันรายได้ไปมากแล้ว "สําหรับข้าว เราเริ่มจ่ายส่วนต่างมาร่วมเดือนแล้วโดยงวดที่1จ่ายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 จากนั้นทะยอยจ่ายทุกสัปดาห์ตามการอ้างอิงราคากลางและจ่ายหลังจากการเก็บเกี่ยวตามเวลาเก็บเกี่ยวที่ชาวนาแจ้งตอนลงทะเบียนไว้ จึงอยากให้พี่น้องเกษตรกรชาวนาติดตามข่าวสารที่เกี่ยวกับตัวอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะประกาศกระทรวงพาณิชย์ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้ผลักดันนโยบายประกันรายได้และทํางานอย่างใส่ใจมาตลอดแม้บางจังหวะอาจมีปัญหาทางเทคนิคด้านงบประมาณบ้างแต่ก็ผลักดันการแก้ไขเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้รวดเร็วอย่างล่าสุดส่วนต่างข้าวงวดนี้เป็นงบประมาณตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 63 คือการอนุมัติให้ปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการจากที่อนุมัติไว้เบื้องต้น จํานวน 18,096 ล้านบาท เพิ่มเติมอีก 28,711 ล้านบาท รวมเป็น 46,807 ล้านบาท ดังนั้นสําหรับเกษตรกรที่แจ้งวันที่คาดว่าเก็บเกี่ยวในช่วงวันที่ 15 - 29 พ.ย.2563 หมายถึงงวดที่ 2 บางส่วน และงวดที่ 3 งวดที่4 ซึ่งตกค้างอยู่จํานวน 2.22 ล้านครัวเรือน ทางธ.ก.ส.รายงานว่าได้โอนให้ไปตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค. 2563 แล้วจึงขอแจ้งย้ําให้ทราบว่า ธ.ก.ส.โอนเงินให้เกษตรกรกลุ่มดังกล่าวเป็นเงินรวมจํานวน 20,218 ล้านบาทแล้ว ดังนั้นพี่น้องเกษตรกรชาวนาท่านใดยังไม่ได้ตรวจสอบบัญชีก็ให้ไปตรวจสอบบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ใกล้บ้านได้เลย ส่วนเกษตรกรในงวดที่5 ก็สามารถตรวจสอบบัญชีได้หลังจากนี้ " นางมัลลิกา กล่าว ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุด้วยว่าหลังจากนี้อยากให้ชาวนาพัฒนาคุณภาพข้าวโดยเฉพาะให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวเพราะมันเป็นมูลค่าเพิ่มและสืบเนื่องจากปีนี้ไทยเราได้รับรางวัลชนะเลิศ World’s Best Rice Award 2020 ข้าวที่ดีที่สุดในโลกปี 2020 คือ ข้าวพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่เพิ่งเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน 2563 นี้ ยืนยันได้ว่าคุณภาพของข้าวไทยไม่เป็นรองใครในโลก ถ้าเราสามารถช่วยกันพัฒนาและเดินตามนโยบายของท่านรองนายกฯจุรินทร์ที่กําลังทํายุทธศาสตร์นโยบายข้าว รางวัลนี้จึงเป็นรูปธรรมของการประกาศยุทธศาสตร์ข้าวไทยปี 2563-2567 ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลแล้วมีการตั้งเป้าหมายชัดเจนว่าใน 5 ปีนี้เราจะทําให้ไทยเป็นผู้นําการผลิต ผู้นําการตลาดข้าว และผู้นําผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก รางวัลนี้เป็นการยกระดับความเชื่อมั่นด้านคุณภาพข้าวของไทยในตลาดโลก ส่งผลดีกับทั้งตัวเกษตรกรและการส่งออกข้าวของประเทศไทยต่อไปในอนาคตด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37588
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ โดยมี นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม อนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมใหญ่ สํานักหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ รมว.วธ.เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ โดยมี นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม อนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมใหญ่ สํานักหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37578
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางประสบภัยน้ำท่วม
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางประสบภัยน้ําท่วม ปลัด พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางประสบภัยน้ําท่วม วันที่ 10 ธ.ค. 63 เวลา 09.30 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และนางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจําสํานักเลขาธิการสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเร่งช่วยเหลือเยียวยาประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วม โดยตนเป็นประธานเปิดโครงการ มหกรรม พม. เคลื่อนที่สร้างสุขสู่ชุมชน ณ เทศบาลตําบลปากนคร อําเภอเมือง ซึ่งมีนายสมพงษ์ มากมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวรายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จากนั้น ได้มอบเครื่องอุปโภคบริโภค จํานวน 100 ครอบครัว เงินสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน จํานวน 98 ราย รถสามล้อชนิดโยกสําหรับคนพิการ จํานวน 8 คัน เงินซ่อมแซมบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยสําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ และอาหารปรุงสุก สด สะอาด จํานวน 500 กล่อง นอกจากนี้ ทีม พม. One Home จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันออกหน่วยบริการเคลื่อนที่สําหรับประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ การให้คําปรึกษาแก่ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ําท่วม การสาธิตอาชีพ การบริการซ่อมจักรยานยนต์ การบริการตัดผมฟรี กิจกรรมเรียนรู้สําหรับเด็ก และการจําหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด นางพัชรี กล่าวว่า ด้วย รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงสั่งการทุกหน่วยงานลงพื้นที่ช่วยเหลืออย่างเร่งรวดเร็ว สําหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ขณะนี้ มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั้งชีวิตและทรัพย์สินในทุกพื้นที่จํานวน 23 อําเภอ โดยมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จํานวน 919,003 คน 323,536 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต จํานวน 21 ราย อีกทั้งมีบ้านที่พังเสียหายบางส่วน จํานวน 4,216 หลัง และบ้านพังเสียหายทั้งหลัง จํานวน 29 หลัง ทั้งนี้ กระทรวง พม. จึงเร่งดําเนินภารกิจตามแผนการฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประสบอุทกภัย 4 ด้าน คือ 1) ด้านชีวิต ด้วยการช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ เป็นต้น 2) ด้านที่อยู่อาศัย ด้วยการช่วยหลือปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ 3) ด้านอาชีพ ด้วยการฟื้นฟูผู้ประสบภัยทั้งระยะสั้นและระยะยาว และ 4) ด้านสาธารณประโยชน์ ด้วยการพื้นฟูวิถีชุมชนและสภาพแวดล้อมของผู้ประสบภัย โดยทําความสะอาดบ้าน วัด มัสยิด และโรงเรียน รวมทั้งการประสานให้ความช่วยเหลือร่วมกับภาคเอกชน นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วมหรือประสบภัยพิบัติต่างๆ สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางประสบภัยน้ำท่วม วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปลัด พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางประสบภัยน้ําท่วม ปลัด พม. ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เร่งช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางประสบภัยน้ําท่วม วันที่ 10 ธ.ค. 63 เวลา 09.30 น. นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และนางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ประจําสํานักเลขาธิการสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเร่งช่วยเหลือเยียวยาประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วม โดยตนเป็นประธานเปิดโครงการ มหกรรม พม. เคลื่อนที่สร้างสุขสู่ชุมชน ณ เทศบาลตําบลปากนคร อําเภอเมือง ซึ่งมีนายสมพงษ์ มากมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวรายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จากนั้น ได้มอบเครื่องอุปโภคบริโภค จํานวน 100 ครอบครัว เงินสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน จํานวน 98 ราย รถสามล้อชนิดโยกสําหรับคนพิการ จํานวน 8 คัน เงินซ่อมแซมบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยสําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ และอาหารปรุงสุก สด สะอาด จํานวน 500 กล่อง นอกจากนี้ ทีม พม. One Home จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันออกหน่วยบริการเคลื่อนที่สําหรับประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ การให้คําปรึกษาแก่ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ําท่วม การสาธิตอาชีพ การบริการซ่อมจักรยานยนต์ การบริการตัดผมฟรี กิจกรรมเรียนรู้สําหรับเด็ก และการจําหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด นางพัชรี กล่าวว่า ด้วย รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงสั่งการทุกหน่วยงานลงพื้นที่ช่วยเหลืออย่างเร่งรวดเร็ว สําหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ขณะนี้ มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั้งชีวิตและทรัพย์สินในทุกพื้นที่จํานวน 23 อําเภอ โดยมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จํานวน 919,003 คน 323,536 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต จํานวน 21 ราย อีกทั้งมีบ้านที่พังเสียหายบางส่วน จํานวน 4,216 หลัง และบ้านพังเสียหายทั้งหลัง จํานวน 29 หลัง ทั้งนี้ กระทรวง พม. จึงเร่งดําเนินภารกิจตามแผนการฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประสบอุทกภัย 4 ด้าน คือ 1) ด้านชีวิต ด้วยการช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ เป็นต้น 2) ด้านที่อยู่อาศัย ด้วยการช่วยหลือปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ 3) ด้านอาชีพ ด้วยการฟื้นฟูผู้ประสบภัยทั้งระยะสั้นและระยะยาว และ 4) ด้านสาธารณประโยชน์ ด้วยการพื้นฟูวิถีชุมชนและสภาพแวดล้อมของผู้ประสบภัย โดยทําความสะอาดบ้าน วัด มัสยิด และโรงเรียน รวมทั้งการประสานให้ความช่วยเหลือร่วมกับภาคเอกชน นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ ประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วมหรือประสบภัยพิบัติต่างๆ สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37569
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ผู้มีเกียรติทุกท่าน องค์การสหประชาชาติกําหนดให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล” ประเทศไทยจึงได้จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากลขึ้น เพื่อแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงพลังความร่วมมือและเจตนารมณ์ร่วมกันของคนไทยในการรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ในวันนี้ รัฐบาลได้กําหนดให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ โดยดําเนินการปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ให้ครอบคลุมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเป็นระบบ ก้าวข้ามค่านิยมอุปถัมภ์ ผลประโยชน์ทับซ้อน ตลอดจนเร่งรัดให้มีการดําเนินคดีต่อผู้กระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในด้านวินัยและอาญาอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และสร้างวัฒนธรรมการทํางานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสในสังคมไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในนามของรัฐบาล ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมมือกันดูแลปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ และทุกหน่วยงานที่ได้ทุ่มเท เสียสละแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ขอให้พลังแห่งคุณความดี จงปกป้องคุ้มครองท่าน และนําพาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรือง ในโอกาสนี้ ผมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทยและทุกภาคส่วนร่วมแสดงเจตนารมณ์ที่จะประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อสร้างสังคมไทยให้ปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชันตลอดไป ขอบคุณครับ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล คํากล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ผู้มีเกียรติทุกท่าน องค์การสหประชาชาติกําหนดให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล” ประเทศไทยจึงได้จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากลขึ้น เพื่อแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงพลังความร่วมมือและเจตนารมณ์ร่วมกันของคนไทยในการรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ในวันนี้ รัฐบาลได้กําหนดให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ โดยดําเนินการปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ให้ครอบคลุมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเป็นระบบ ก้าวข้ามค่านิยมอุปถัมภ์ ผลประโยชน์ทับซ้อน ตลอดจนเร่งรัดให้มีการดําเนินคดีต่อผู้กระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในด้านวินัยและอาญาอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และสร้างวัฒนธรรมการทํางานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสในสังคมไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในนามของรัฐบาล ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมมือกันดูแลปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ และทุกหน่วยงานที่ได้ทุ่มเท เสียสละแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ขอให้พลังแห่งคุณความดี จงปกป้องคุ้มครองท่าน และนําพาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรือง ในโอกาสนี้ ผมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทยและทุกภาคส่วนร่วมแสดงเจตนารมณ์ที่จะประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อสร้างสังคมไทยให้ปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชันตลอดไป ขอบคุณครับ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37568
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.ร่วมชมการแสดงดนตรีไทยจีนสร้างสรรค์ฉลองความสัมพันธ์ ๔๕ ปี ไทย-จีน “The Dawn of Spring” รุ่งอรุณ ฤดูใบไม้ผลิ
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.วธ.ร่วมชมการแสดงดนตรีไทยจีนสร้างสรรค์ฉลองความสัมพันธ์ ๔๕ ปี ไทย-จีน “The Dawn of Spring” รุ่งอรุณ ฤดูใบไม้ผลิ รมว.วธ.ร่วมชมการแสดงดนตรีไทยจีนสร้างสรรค์ฉลองความสัมพันธ์ ๔๕ ปี ไทย-จีน “The Dawn of Spring” รุ่งอรุณ ฤดูใบไม้ผลิ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมชมการแสดงดนตรีไทยจีนสร้างสรรค์ฉลองความสัมพันธ์ ๔๕ ปี ไทย-จีน “The Dawn of Spring” รุ่งอรุณ ฤดูใบไม้ผลิ โดยมี รศ.นราพร จันทร์โอชา ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และนายหยางซิน อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เป็นประธาน และมี รศ.คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา กรรมการฯ ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจําประเทศไทย ศิลปิน นักดนตรี อาจารย์ นักศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมชมการแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.ร่วมชมการแสดงดนตรีไทยจีนสร้างสรรค์ฉลองความสัมพันธ์ ๔๕ ปี ไทย-จีน “The Dawn of Spring” รุ่งอรุณ ฤดูใบไม้ผลิ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.วธ.ร่วมชมการแสดงดนตรีไทยจีนสร้างสรรค์ฉลองความสัมพันธ์ ๔๕ ปี ไทย-จีน “The Dawn of Spring” รุ่งอรุณ ฤดูใบไม้ผลิ รมว.วธ.ร่วมชมการแสดงดนตรีไทยจีนสร้างสรรค์ฉลองความสัมพันธ์ ๔๕ ปี ไทย-จีน “The Dawn of Spring” รุ่งอรุณ ฤดูใบไม้ผลิ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมชมการแสดงดนตรีไทยจีนสร้างสรรค์ฉลองความสัมพันธ์ ๔๕ ปี ไทย-จีน “The Dawn of Spring” รุ่งอรุณ ฤดูใบไม้ผลิ โดยมี รศ.นราพร จันทร์โอชา ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และนายหยางซิน อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย เป็นประธาน และมี รศ.คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา กรรมการฯ ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจําประเทศไทย ศิลปิน นักดนตรี อาจารย์ นักศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมชมการแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37579
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 โครงการค้ําประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเห็นชอบโครงการค้ําประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายเล็ก วงเงิน 5,700 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงิน ช่วยเสริมสภาพคล่องและช่วยแก้ไขปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบ โดยใช้กลไกการค้ําประกันสินเชื่อ วงเงินค้ําประกันต่อราย ไม่เกิน 500,000 บาท โดยรัฐบาลรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ําประกันสินเชื่อแทนปีละไม่เกินร้อยละ 1.5 เป็นเวลา 2 ปี หรือไม่เกินร้อยละ 3 ตลอดอายุการค้ําประกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายย่อย และ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือมีความเสี่ยงในการชําระหนี้คืน ให้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 โครงการค้ําประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเห็นชอบโครงการค้ําประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายเล็ก วงเงิน 5,700 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงิน ช่วยเสริมสภาพคล่องและช่วยแก้ไขปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบ โดยใช้กลไกการค้ําประกันสินเชื่อ วงเงินค้ําประกันต่อราย ไม่เกิน 500,000 บาท โดยรัฐบาลรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ําประกันสินเชื่อแทนปีละไม่เกินร้อยละ 1.5 เป็นเวลา 2 ปี หรือไม่เกินร้อยละ 3 ตลอดอายุการค้ําประกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายย่อย และ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือมีความเสี่ยงในการชําระหนี้คืน ให้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37562
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ร่วมประชุม
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ร่วมประชุม การประชุมคณะอนุกรรมการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจสาขาเกษตรและสาขาทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อพิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ (Pre-Position Paper : PPP) ประจําปี 2564 นายอําพันธุ์เวฬุตันติรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจสาขาเกษตรและสาขาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อพิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ(Pre-Position Paper : PPP)ประจําปี2564โดยมีนางพัลลภาเรืองรองเป็นประธานณห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)อาคารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จากนั้นได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการฯในส่วนขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.)โดยหารือถึงประเด็นสําคัญในการดําเนินงานโดยเฉพาะด้านการเงินเป็นหลักทบทวนยุทธศาสตร์เป้าหมาย/ตัวชี้วัดความท้าทายที่สามารถทําได้จริงและตอบสนองต่อความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้ารวมถึงพิจารณาเกณฑ์ประเมินผลรัฐวิสาหกิจแบบใหม่(Core business Enablers)เพื่อให้อ.ต.ก.เป็นศูนย์กลางและช่องทางจําหน่ายสินค้าเกษตรที่มีความโดดเด่นน่าเชื่อถือด้านคุณภาพเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการฯขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.)เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายแผนการดําเนินงานแนวทางการส่งเสริมด้านการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และด้านการบริหารต้นทุนประกอบกับร่วมพิจารณาเกณฑ์ประเมินผลรัฐวิสาหกิจแบบใหม่(Core business Enablers)เพื่อให้อ.ส.ค.บรรลุวิสัยทัศน์“นมแห่งชาติ”
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ร่วมประชุม วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ร่วมประชุม การประชุมคณะอนุกรรมการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจสาขาเกษตรและสาขาทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อพิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ (Pre-Position Paper : PPP) ประจําปี 2564 นายอําพันธุ์เวฬุตันติรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจสาขาเกษตรและสาขาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อพิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดําเนินงานรัฐวิสาหกิจ(Pre-Position Paper : PPP)ประจําปี2564โดยมีนางพัลลภาเรืองรองเป็นประธานณห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)อาคารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จากนั้นได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการฯในส่วนขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.)โดยหารือถึงประเด็นสําคัญในการดําเนินงานโดยเฉพาะด้านการเงินเป็นหลักทบทวนยุทธศาสตร์เป้าหมาย/ตัวชี้วัดความท้าทายที่สามารถทําได้จริงและตอบสนองต่อความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้ารวมถึงพิจารณาเกณฑ์ประเมินผลรัฐวิสาหกิจแบบใหม่(Core business Enablers)เพื่อให้อ.ต.ก.เป็นศูนย์กลางและช่องทางจําหน่ายสินค้าเกษตรที่มีความโดดเด่นน่าเชื่อถือด้านคุณภาพเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการฯขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.)เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายแผนการดําเนินงานแนวทางการส่งเสริมด้านการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และด้านการบริหารต้นทุนประกอบกับร่วมพิจารณาเกณฑ์ประเมินผลรัฐวิสาหกิจแบบใหม่(Core business Enablers)เพื่อให้อ.ส.ค.บรรลุวิสัยทัศน์“นมแห่งชาติ”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37610
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุริยะ เป็นประธานสักขีพยาน mou ระหว่างกนอ.กับ บ.ทีโอที และเป็นประธานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันสถาปนา กนอ. ครบรอบ 48 ปี
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.สุริยะ เป็นประธานสักขีพยาน mou ระหว่างกนอ.กับ บ.ทีโอที และเป็นประธานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันสถาปนา กนอ. ครบรอบ 48 ปี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานสักขีพยาน mou ระหว่างกนอ.กับ บ.ทีโอที และเป็นประธานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันสถาปนา กนอ. ครบรอบ 48 ปี ณ ห้องคริสตัล ฮอลล์ โรงแรม เดอะ แอทธินี โฮเตล กทม. วันนี้ (14 ธ.ค. 63) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการวางระบบสื่อสารความเร็วสูง (Fiber to The Factory) ระหว่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และบริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) โดยนายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) เพื่อศึกษาและกําหนดแนวทางการพัฒนาและเตรียมให้บริการด้านระบบโครงข่ายโทรคมนาคมในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับเทคโนโลยี 5G สําหรับเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการดําเนินงานของผู้ประกอบการ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการ-นักลงทุนที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจที่จะลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม จากนั้นนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันสถาปนาการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย( กนอ.) ครบรอบ 48 ปี "The Journey of Sustainable Partnership" ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร และเครือข่ายพันธมิตร โดยมีนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับ และมีนายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นเกียรติ ณ ห้องคริสตัล ฮอลล์ โรงแรม เดอะ แอทธินี โฮเตล กทม.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุริยะ เป็นประธานสักขีพยาน mou ระหว่างกนอ.กับ บ.ทีโอที และเป็นประธานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันสถาปนา กนอ. ครบรอบ 48 ปี วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.สุริยะ เป็นประธานสักขีพยาน mou ระหว่างกนอ.กับ บ.ทีโอที และเป็นประธานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันสถาปนา กนอ. ครบรอบ 48 ปี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานสักขีพยาน mou ระหว่างกนอ.กับ บ.ทีโอที และเป็นประธานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันสถาปนา กนอ. ครบรอบ 48 ปี ณ ห้องคริสตัล ฮอลล์ โรงแรม เดอะ แอทธินี โฮเตล กทม. วันนี้ (14 ธ.ค. 63) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการวางระบบสื่อสารความเร็วสูง (Fiber to The Factory) ระหว่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และบริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) โดยนายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) เพื่อศึกษาและกําหนดแนวทางการพัฒนาและเตรียมให้บริการด้านระบบโครงข่ายโทรคมนาคมในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับเทคโนโลยี 5G สําหรับเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการดําเนินงานของผู้ประกอบการ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการ-นักลงทุนที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจที่จะลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม จากนั้นนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันสถาปนาการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย( กนอ.) ครบรอบ 48 ปี "The Journey of Sustainable Partnership" ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร และเครือข่ายพันธมิตร โดยมีนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับ และมีนายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นเกียรติ ณ ห้องคริสตัล ฮอลล์ โรงแรม เดอะ แอทธินี โฮเตล กทม.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37611
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส MOU ผู้รับทุนกองทุนดิจิทัล ปี 2563 ครั้งที่ 2 จำนวน 41 โครงการ วงเงิน 588 ล้านบาท
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ดีอีเอส MOU ผู้รับทุนกองทุนดิจิทัล ปี 2563 ครั้งที่ 2 จํานวน 41 โครงการ วงเงิน 588 ล้านบาท ดีอีเอส MOU ผู้รับทุนกองทุนดิจิทัล ปี 2563 ครั้งที่ 2 จํานวน 41 โครงการ วงเงิน 588 ล้านบาท นายพุทธิพงษ์ปุณณกันต์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานพิธีลงนามสัญญารับทุนกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประจําปีงบประมาณพ.ศ. 2563ครั้งที่2โดยมีนางสาวอัจฉรินทร์พัฒนพันธ์ชัยปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้าร่วมพิธี และนางวรรณพรเทพหัสดินณอยุธยาเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้การต้อนรับณห้องวีนัสชั้น3โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่นถนนแจ้งวัฒนะเขตหลักสี่กรุงเทพฯ และในวันนี้ได้มีการรับทุนกองทุนฯจํานวน41โครงการวงเงินกว่า588ล้านบาทซึ่งโครงการดังกล่าวฯจะเริ่มดําเนินการในเดือนธันวาคมนี้เมื่อโครงการที่กองทุนได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนแล้วเสร็จจะส่งผลดีต่อประชาชนในภาพรวมในหลายด้าน ด้านการค้า/ธุรกิจ/บริการด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการสาธารณสุขด้านการเกษตรพร้อมกันนี้ขอเชิญชวนผู้สนใจเตรียมยื่นข้อเสนอโครงการซึ่งคาดว่าจะเปิดรับข้อเสนอได้ต้นปี2564 นี้ *************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส MOU ผู้รับทุนกองทุนดิจิทัล ปี 2563 ครั้งที่ 2 จำนวน 41 โครงการ วงเงิน 588 ล้านบาท วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ดีอีเอส MOU ผู้รับทุนกองทุนดิจิทัล ปี 2563 ครั้งที่ 2 จํานวน 41 โครงการ วงเงิน 588 ล้านบาท ดีอีเอส MOU ผู้รับทุนกองทุนดิจิทัล ปี 2563 ครั้งที่ 2 จํานวน 41 โครงการ วงเงิน 588 ล้านบาท นายพุทธิพงษ์ปุณณกันต์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานพิธีลงนามสัญญารับทุนกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประจําปีงบประมาณพ.ศ. 2563ครั้งที่2โดยมีนางสาวอัจฉรินทร์พัฒนพันธ์ชัยปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้าร่วมพิธี และนางวรรณพรเทพหัสดินณอยุธยาเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้การต้อนรับณห้องวีนัสชั้น3โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่นถนนแจ้งวัฒนะเขตหลักสี่กรุงเทพฯ และในวันนี้ได้มีการรับทุนกองทุนฯจํานวน41โครงการวงเงินกว่า588ล้านบาทซึ่งโครงการดังกล่าวฯจะเริ่มดําเนินการในเดือนธันวาคมนี้เมื่อโครงการที่กองทุนได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนแล้วเสร็จจะส่งผลดีต่อประชาชนในภาพรวมในหลายด้าน ด้านการค้า/ธุรกิจ/บริการด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการสาธารณสุขด้านการเกษตรพร้อมกันนี้ขอเชิญชวนผู้สนใจเตรียมยื่นข้อเสนอโครงการซึ่งคาดว่าจะเปิดรับข้อเสนอได้ต้นปี2564 นี้ *************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37612
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คกก.นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบ 3 มาตราเข้ม “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” ลดอุบัติเหตุเทศกาลปีใหม่ 64
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 คกก.นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบ 3 มาตราเข้ม “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” ลดอุบัติเหตุเทศกาลปีใหม่ 64 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบแนวทางลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” เน้น 3 มาตรการ ห้ามขายอายุต่ํากว่า 20 ปี ไม่ลดแลกแจกแถม และห้ามโฆษณา ตั้งด่านชุมชนให้ อสม. คัดกรองสกัดคนเมาในชุมชน คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบแนวทางลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” เน้น 3 มาตรการ ห้ามขายอายุต่ํากว่า 20 ปี ไม่ลดแลกแจกแถม และห้ามโฆษณา ตั้งด่านชุมชนให้ อสม. คัดกรองสกัดคนเมาในชุมชน ส่วนจัดงานรื่นเริงปีใหม่ทําได้ แต่ต้องมีมาตรการป้องกันโควิด 19 คัดกรองวัดไข้และคนเมา ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง สแกนไทยชนะ วันนี้ (14 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2563 นายอนุทินให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบแนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 โดยเน้นรณรงค์ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” เข้มงวดใน 3 มาตรการ คือ ห้ามขายให้ผู้มีอายุต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์ ห้ามขายลักษณะการลด แลก แจก แถม ชิงโชค และห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แสดงชื่อหรือเครื่องหมายที่เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ดื่ม โดยจะมีการตั้งด่านชุมชน ให้ อสม.ประเมิน และคัดกรองคนเมาเบื้องต้น เพื่อสกัดกั้นผู้ดื่มในชุมชนไม่ให้ขับขี่พาหนะ หากเกิดอุบัติเหตุจะมีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ทุกราย หากเป็นเด็กและเยาวชนดื่มแล้วขับ จะเอาผิดถึงผู้ขายด้วย และนําไปสู่การคุมประพฤติและบําบัดรักษาตามที่ศาลสั่ง ทั้งนี้ ยืนยันว่าช่วงปีใหม่จัดงานรื่นเริงได้ แต่ต้องขออนุญาตและเสนอแผนมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณา หากมีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องมีใบอนุญาตขายจากกรมสรรพสามิต การจัดงานต้องปฏิบัติตามมาตรการที่เสนอ ทั้งการคัดกรองวัดไข้ และคนเมาไม่ให้เข้าร่วมงานการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง และลงทะเบียนไทยชนะ หากพบว่าไม่ดําเนินการตามมาตรการจะสั่งระงับการจัดงาน ส่วนนักดื่มต้องระวังโรคโควิด 19 เนื่องจากความมึนเมาอาจทําให้หยิบแก้วปะปนกันหรือสัมผัสละอองฝอยจากการพูดคุยตะโกนใส่กัน นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2564 – 2570 โดยมีเป้าหมายป้องกันและควบคุมปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบ 7 กลยุทธ์ คือ 1.ควบคุมและจํากัดการเข้าถึง 2.ควบคุมพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่ม 3.คัดกรองและบําบัดรักษาผู้มีปัญหาจากสุรา 4.ควบคุมการโฆษณาส่งเสริมการขาย และการให้ทุนอุปถัมภ์ 5.ขึ้นราคาผ่านระบบภาษี 6.สร้างค่านิยมเพื่อลดการดื่ม เพื่อนําเสนอภาพลักษณ์ของสินค้าแอลกอฮอล์ เป็นสินค้าเสพติด ทําลายสุขภาพทําร้ายสังคม และ7.พัฒนากลไกการขับเคลื่อนนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกระดับ และการบริหารจัดการที่ดี โดยแต่ละกลยุทธ์จะมีโครงการและกิจกรรมรับรอง เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง สามารถจัดการปัญหาแอลกอฮอล์และขยายผลได้ ************************************ 14 ธันวาคม 2563 **********************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คกก.นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบ 3 มาตราเข้ม “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” ลดอุบัติเหตุเทศกาลปีใหม่ 64 วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 คกก.นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบ 3 มาตราเข้ม “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” ลดอุบัติเหตุเทศกาลปีใหม่ 64 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบแนวทางลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” เน้น 3 มาตรการ ห้ามขายอายุต่ํากว่า 20 ปี ไม่ลดแลกแจกแถม และห้ามโฆษณา ตั้งด่านชุมชนให้ อสม. คัดกรองสกัดคนเมาในชุมชน คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบแนวทางลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” เน้น 3 มาตรการ ห้ามขายอายุต่ํากว่า 20 ปี ไม่ลดแลกแจกแถม และห้ามโฆษณา ตั้งด่านชุมชนให้ อสม. คัดกรองสกัดคนเมาในชุมชน ส่วนจัดงานรื่นเริงปีใหม่ทําได้ แต่ต้องมีมาตรการป้องกันโควิด 19 คัดกรองวัดไข้และคนเมา ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง สแกนไทยชนะ วันนี้ (14 ธันวาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2563 นายอนุทินให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบแนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 โดยเน้นรณรงค์ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” เข้มงวดใน 3 มาตรการ คือ ห้ามขายให้ผู้มีอายุต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์ ห้ามขายลักษณะการลด แลก แจก แถม ชิงโชค และห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แสดงชื่อหรือเครื่องหมายที่เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ดื่ม โดยจะมีการตั้งด่านชุมชน ให้ อสม.ประเมิน และคัดกรองคนเมาเบื้องต้น เพื่อสกัดกั้นผู้ดื่มในชุมชนไม่ให้ขับขี่พาหนะ หากเกิดอุบัติเหตุจะมีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ทุกราย หากเป็นเด็กและเยาวชนดื่มแล้วขับ จะเอาผิดถึงผู้ขายด้วย และนําไปสู่การคุมประพฤติและบําบัดรักษาตามที่ศาลสั่ง ทั้งนี้ ยืนยันว่าช่วงปีใหม่จัดงานรื่นเริงได้ แต่ต้องขออนุญาตและเสนอแผนมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณา หากมีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องมีใบอนุญาตขายจากกรมสรรพสามิต การจัดงานต้องปฏิบัติตามมาตรการที่เสนอ ทั้งการคัดกรองวัดไข้ และคนเมาไม่ให้เข้าร่วมงานการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง และลงทะเบียนไทยชนะ หากพบว่าไม่ดําเนินการตามมาตรการจะสั่งระงับการจัดงาน ส่วนนักดื่มต้องระวังโรคโควิด 19 เนื่องจากความมึนเมาอาจทําให้หยิบแก้วปะปนกันหรือสัมผัสละอองฝอยจากการพูดคุยตะโกนใส่กัน นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2564 – 2570 โดยมีเป้าหมายป้องกันและควบคุมปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบ 7 กลยุทธ์ คือ 1.ควบคุมและจํากัดการเข้าถึง 2.ควบคุมพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่ม 3.คัดกรองและบําบัดรักษาผู้มีปัญหาจากสุรา 4.ควบคุมการโฆษณาส่งเสริมการขาย และการให้ทุนอุปถัมภ์ 5.ขึ้นราคาผ่านระบบภาษี 6.สร้างค่านิยมเพื่อลดการดื่ม เพื่อนําเสนอภาพลักษณ์ของสินค้าแอลกอฮอล์ เป็นสินค้าเสพติด ทําลายสุขภาพทําร้ายสังคม และ7.พัฒนากลไกการขับเคลื่อนนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกระดับ และการบริหารจัดการที่ดี โดยแต่ละกลยุทธ์จะมีโครงการและกิจกรรมรับรอง เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง สามารถจัดการปัญหาแอลกอฮอล์และขยายผลได้ ************************************ 14 ธันวาคม 2563 **********************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37603
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือหญิงสาวแม่เลี้ยงเดี่ยว มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เสี่ยงต่ออันตรายรอบด้าน ที่ย่านประชาสงเคราะห์ กรุงเทพฯ
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 พม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือหญิงสาวแม่เลี้ยงเดี่ยว มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เสี่ยงต่ออันตรายรอบด้าน ที่ย่านประชาสงเคราะห์ กรุงเทพฯ พม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือหญิงสาวแม่เลี้ยงเดี่ยว มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เสี่ยงต่ออันตรายรอบด้าน ที่ย่านประชาสงเคราะห์ กรุงเทพฯ วันนี้ (14 ธ.ค. 63) เวลา 13.30 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เปิดเผยว่า จากกรณีสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เรื่องราวขอความช่วยเหลือหญิงสาววัย 21 ปี มีลูกวัย 1 ขวบ ซึ่งสามีแยกทางกัน ทําให้เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว และมีปัญหาด้านสุขภาพจิต มีพฤติกรรมชอบใช้ชีวิตนอกบ้าน และไปอาศัยอยู่ในบ้านร้าง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่างๆ ที่ย่านประชาสงเคราะห์ เขตดินแดง กรุงเทพฯ ทั้งนี้ จากกรณีดังกล่าว วันนี้ตนได้มอบหมายให้ นายสนองวิชญ์ ภูวันทมาตย์ ผู้อํานวยการศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ความช่วยเหลือตามภารกิจของกระทรวง พม. นางพัชรี กล่าวว่า จากการตรวจสอบขอเท็จจริงพบว่า หญิงสาวคนดังกล่าวได้แยกทางกับสามี และมีพฤติกรรมชอบใช้ชีวิตนอกบ้าน อาศัยนอนบ้านร้าง มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้ ต้องให้ตากับยายช่วยเลี้ยงดู ซึ่งศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. ได้ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นด้วยการมอบนมผงและสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็นสําหรับเด็ก ส่วนผู้เป็นแม่ได้นําตัวไปตรวจรักษาด้านสุขภาพจิตที่โรงพยาบาล อีกทั้งได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รวมทั้งอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือในระยะยาวทั้งเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การประกอบอาชีพ และนํากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ช่วยในการเยียวยาจิตใจเพื่อให้หญิงรายดังกล่าวได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติต่อไป นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ หากประชาชนประสบปัญหาทางสังคม สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือหญิงสาวแม่เลี้ยงเดี่ยว มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เสี่ยงต่ออันตรายรอบด้าน ที่ย่านประชาสงเคราะห์ กรุงเทพฯ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 พม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือหญิงสาวแม่เลี้ยงเดี่ยว มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เสี่ยงต่ออันตรายรอบด้าน ที่ย่านประชาสงเคราะห์ กรุงเทพฯ พม. ลงพื้นที่ช่วยเหลือหญิงสาวแม่เลี้ยงเดี่ยว มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เสี่ยงต่ออันตรายรอบด้าน ที่ย่านประชาสงเคราะห์ กรุงเทพฯ วันนี้ (14 ธ.ค. 63) เวลา 13.30 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เปิดเผยว่า จากกรณีสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เรื่องราวขอความช่วยเหลือหญิงสาววัย 21 ปี มีลูกวัย 1 ขวบ ซึ่งสามีแยกทางกัน ทําให้เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว และมีปัญหาด้านสุขภาพจิต มีพฤติกรรมชอบใช้ชีวิตนอกบ้าน และไปอาศัยอยู่ในบ้านร้าง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่างๆ ที่ย่านประชาสงเคราะห์ เขตดินแดง กรุงเทพฯ ทั้งนี้ จากกรณีดังกล่าว วันนี้ตนได้มอบหมายให้ นายสนองวิชญ์ ภูวันทมาตย์ ผู้อํานวยการศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ความช่วยเหลือตามภารกิจของกระทรวง พม. นางพัชรี กล่าวว่า จากการตรวจสอบขอเท็จจริงพบว่า หญิงสาวคนดังกล่าวได้แยกทางกับสามี และมีพฤติกรรมชอบใช้ชีวิตนอกบ้าน อาศัยนอนบ้านร้าง มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้ ต้องให้ตากับยายช่วยเลี้ยงดู ซึ่งศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. ได้ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นด้วยการมอบนมผงและสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็นสําหรับเด็ก ส่วนผู้เป็นแม่ได้นําตัวไปตรวจรักษาด้านสุขภาพจิตที่โรงพยาบาล อีกทั้งได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รวมทั้งอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือในระยะยาวทั้งเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การประกอบอาชีพ และนํากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ช่วยในการเยียวยาจิตใจเพื่อให้หญิงรายดังกล่าวได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติต่อไป นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ หากประชาชนประสบปัญหาทางสังคม สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อขอความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยตนเองได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37598
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เตรียมพร้อมกับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 เริ่มลงทะเบียนวันที่ 16 ธันวาคม 2563
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 เตรียมพร้อมกับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 เริ่มลงทะเบียนวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ระบบการลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 พร้อมเปิดรับลงทะเบียนสําหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมอีก 5 ล้านคน ในวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 ดยจะเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 23.00 น. จนกว่าจะครบ 5 ล้านสิทธิ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ระบบการลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 พร้อมเปิดรับลงทะเบียนสําหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมอีก 5 ล้านคน ในวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนจะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีบัตรประจําตัวประชาชน และไม่ใช่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 23.00 น. จนกว่าจะครบ 5 ล้านสิทธิ โดยผู้ที่ถูกตัดสิทธิจากการไม่ใช่สิทธิโครงการคนละครึ่งระยะแรกสามารถลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ได้ สําหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งกลุ่มเดิมสามารถกดปุ่มยืนยันการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป การลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการนี้มีขั้นตอนเช่นเดียวกับโครงการคนละครึ่งระยะแรก คือ 1) ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com โดยกรอกข้อมูลชื่อ - สกุล เลขบัตรประจําตัวประชาชน รหัสหลังบัตรประจําตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด และเบอร์โทรศัพท์ที่จะติดตั้งแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” 2) รอรับ SMS แจ้งผลการลงทะเบียน และ 3) ติดตั้งแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” และยืนยันตัวตน และเมื่อดําเนินการครบก็สามารถใช้จ่ายกับร้านค้าที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อรับสิทธิเงินร่วมจ่ายจากรัฐร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2564 ระหว่างเวลา 06.00 น. – 23.00 น. ซึ่งผู้ได้รับสิทธิจะต้องเริ่มใช้จ่ายภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ตนได้รับ SMS แจ้งรับสิทธิหรือวันที่เปิดให้เริ่มใช้จ่ายตามโครงการ มิเช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิและไม่สามารถลงทะเบียนได้อีก สําหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งกลุ่มเดิมสามารถกดปุ่มยืนยันการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” โดยจะใช้จ่ายวงเงิน 3,000 บาทเดิม ได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 และใช้จ่ายวงเงินเพิ่มอีก 500 บาท ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2564 ซึ่งปุ่มยืนยันการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 จะปรากฏเตือนบนหน้าแอปพลิเคชันทุกครั้งจนกว่าผู้ได้รับสิทธิเดิมจะกดยืนยันรับสิทธิ และปุ่มดังกล่าวจะไม่มีวันหมดอายุ (แผนภาพตัวอย่างปุ่มยืนยันการเข้าร่วมโครงการสําหรับผู้ได้รับสิทธิเดิมปรากฏตามด้านล่าง) ทั้งนี้ ขอย้ําว่าผู้ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งระยะแรกและระยะที่ 2 จะไม่สามารถใช้สิทธิมาตรการช้อปดีมีคืนได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่จําแนกกลุ่มเป้าหมายของโครงการและมาตรการต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนไม่ให้ซ้ําซ้อนลักลั่นกัน สําหรับผู้ประกอบการร้านค้ายังคงสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง สําหรับความคืบหน้าล่าสุดของโครงการคนละครึ่ง ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 9.7 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจํานวน 9,537,093 คน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 43,330.80 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 22,156.50 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 21,174.3 ล้านบาท โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา ชลบุรี เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ตามลําดับ โครงการคนละครึ่ง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509 ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน ) โทร. 02-111-1144
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เตรียมพร้อมกับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 เริ่มลงทะเบียนวันที่ 16 ธันวาคม 2563 วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 เตรียมพร้อมกับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 เริ่มลงทะเบียนวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ระบบการลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 พร้อมเปิดรับลงทะเบียนสําหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมอีก 5 ล้านคน ในวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 ดยจะเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 23.00 น. จนกว่าจะครบ 5 ล้านสิทธิ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ระบบการลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 พร้อมเปิดรับลงทะเบียนสําหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมอีก 5 ล้านคน ในวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนจะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีบัตรประจําตัวประชาชน และไม่ใช่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 23.00 น. จนกว่าจะครบ 5 ล้านสิทธิ โดยผู้ที่ถูกตัดสิทธิจากการไม่ใช่สิทธิโครงการคนละครึ่งระยะแรกสามารถลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ได้ สําหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งกลุ่มเดิมสามารถกดปุ่มยืนยันการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป การลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการนี้มีขั้นตอนเช่นเดียวกับโครงการคนละครึ่งระยะแรก คือ 1) ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com โดยกรอกข้อมูลชื่อ - สกุล เลขบัตรประจําตัวประชาชน รหัสหลังบัตรประจําตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด และเบอร์โทรศัพท์ที่จะติดตั้งแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” 2) รอรับ SMS แจ้งผลการลงทะเบียน และ 3) ติดตั้งแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” และยืนยันตัวตน และเมื่อดําเนินการครบก็สามารถใช้จ่ายกับร้านค้าที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อรับสิทธิเงินร่วมจ่ายจากรัฐร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2564 ระหว่างเวลา 06.00 น. – 23.00 น. ซึ่งผู้ได้รับสิทธิจะต้องเริ่มใช้จ่ายภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ตนได้รับ SMS แจ้งรับสิทธิหรือวันที่เปิดให้เริ่มใช้จ่ายตามโครงการ มิเช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิและไม่สามารถลงทะเบียนได้อีก สําหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งกลุ่มเดิมสามารถกดปุ่มยืนยันการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” โดยจะใช้จ่ายวงเงิน 3,000 บาทเดิม ได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 และใช้จ่ายวงเงินเพิ่มอีก 500 บาท ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2564 ซึ่งปุ่มยืนยันการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 จะปรากฏเตือนบนหน้าแอปพลิเคชันทุกครั้งจนกว่าผู้ได้รับสิทธิเดิมจะกดยืนยันรับสิทธิ และปุ่มดังกล่าวจะไม่มีวันหมดอายุ (แผนภาพตัวอย่างปุ่มยืนยันการเข้าร่วมโครงการสําหรับผู้ได้รับสิทธิเดิมปรากฏตามด้านล่าง) ทั้งนี้ ขอย้ําว่าผู้ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งระยะแรกและระยะที่ 2 จะไม่สามารถใช้สิทธิมาตรการช้อปดีมีคืนได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่จําแนกกลุ่มเป้าหมายของโครงการและมาตรการต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนไม่ให้ซ้ําซ้อนลักลั่นกัน สําหรับผู้ประกอบการร้านค้ายังคงสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง สําหรับความคืบหน้าล่าสุดของโครงการคนละครึ่ง ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 9.7 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจํานวน 9,537,093 คน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 43,330.80 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 22,156.50 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 21,174.3 ล้านบาท โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา ชลบุรี เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ตามลําดับ โครงการคนละครึ่ง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509 ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน ) โทร. 02-111-1144
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37595
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2563 พร้อมจับมือเอกชนขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG เศรษฐกิจชีวภาพ / เศรษฐกิจหมุนเวียน / เศรษฐกิจสีเขียว
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจําปี 2563 พร้อมจับมือเอกชนขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG เศรษฐกิจชีวภาพ / เศรษฐกิจหมุนเวียน / เศรษฐกิจสีเขียว นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจําปี 2563 พร้อมจับมือเอกชนขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG เศรษฐกิจชีวภาพ / เศรษฐกิจหมุนเวียน / เศรษฐกิจสีเขียว วันนี้ (14 ธ.ค. 63) เวลา 13.30 น. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจํา 2563 โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวมอบนโยบายมีใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสําคัญอย่างมากในการช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ยุค 4.0 จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง และเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจึงต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสําคัญที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไทยเข้มเข็ง พร้อม ๆ ไปกับนํารายได้ให้กับประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย รัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve จากเดิมที่มี 5 ประเภทเพิ่มอีก 7 ประเภท เพื่อเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยสู่สากล ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพ SMEs และผู้ประกอบการชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในระดับภาค มุ่งยกระดับสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย พลังงาน และบูรณาการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแบบครบวงจร ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่จะพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ การเชื่อมโยงและพัฒนาระบบฐานข้อมูล หรือ BIG DATA สู่อุตสาหกรรม 4.0 การบริหารข้อมูลที่ทันสมัย ด้วยการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยถึง 300 รายการที่ขึ้นทะเบียน ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีย้ําถึงหัวใจสําคัญของการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทยว่า จะต้องช่วยกันดูแลผู้ประกอบการ SMEs รายย่อย ยกระดับภาคธุรกิจรายย่อยมีความแข็งแรง เติบโตควบคู่ไปกับการใช้หลักสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ “เคารพ คุ้มครอง เยียวยา” รวมไปถึงการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาน้ําเสีย ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งจะต้องร่วมมือช่วยกันทุกฝ่ายด้วย จากนั้น นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรมแก่ผู้ประกอบการ ทั้งสิ้น 79 รางวัล โดยรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม (The Prime Minister’s Best Industry Award) ในปีนี้ ได้แก่ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จํากัด และเยี่ยมชมนิทรรศการของบริษัทที่ได้รับรางวัล ก่อนเดินทางกลับ ..................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2563 พร้อมจับมือเอกชนขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG เศรษฐกิจชีวภาพ / เศรษฐกิจหมุนเวียน / เศรษฐกิจสีเขียว วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจําปี 2563 พร้อมจับมือเอกชนขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG เศรษฐกิจชีวภาพ / เศรษฐกิจหมุนเวียน / เศรษฐกิจสีเขียว นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจําปี 2563 พร้อมจับมือเอกชนขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG เศรษฐกิจชีวภาพ / เศรษฐกิจหมุนเวียน / เศรษฐกิจสีเขียว วันนี้ (14 ธ.ค. 63) เวลา 13.30 น. นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจํา 2563 โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวมอบนโยบายมีใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสําคัญอย่างมากในการช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ยุค 4.0 จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง และเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจึงต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสําคัญที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไทยเข้มเข็ง พร้อม ๆ ไปกับนํารายได้ให้กับประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย รัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve จากเดิมที่มี 5 ประเภทเพิ่มอีก 7 ประเภท เพื่อเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยสู่สากล ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพ SMEs และผู้ประกอบการชุมชน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในระดับภาค มุ่งยกระดับสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย พลังงาน และบูรณาการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแบบครบวงจร ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่จะพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ การเชื่อมโยงและพัฒนาระบบฐานข้อมูล หรือ BIG DATA สู่อุตสาหกรรม 4.0 การบริหารข้อมูลที่ทันสมัย ด้วยการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยถึง 300 รายการที่ขึ้นทะเบียน ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีย้ําถึงหัวใจสําคัญของการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทยว่า จะต้องช่วยกันดูแลผู้ประกอบการ SMEs รายย่อย ยกระดับภาคธุรกิจรายย่อยมีความแข็งแรง เติบโตควบคู่ไปกับการใช้หลักสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ “เคารพ คุ้มครอง เยียวยา” รวมไปถึงการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาน้ําเสีย ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งจะต้องร่วมมือช่วยกันทุกฝ่ายด้วย จากนั้น นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรมแก่ผู้ประกอบการ ทั้งสิ้น 79 รางวัล โดยรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม (The Prime Minister’s Best Industry Award) ในปีนี้ ได้แก่ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จํากัด และเยี่ยมชมนิทรรศการของบริษัทที่ได้รับรางวัล ก่อนเดินทางกลับ ..................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37601
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย กระทรวงเกษตรฯ จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ครั้งที่ 10/2563 โดยมีนายอําพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมผ่านระบบ VDO Conference จากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยที่ประชุมได้นําเสนอความก้าวหน้าการดําเนินงานต่าง ๆ ดังนี้ - การกระจายเกลือทะเล ซึ่งดําเนินการผ่านเครือข่ายสหกรณ์และร้านธงฟ้า - การแก้ไขปัญหาการนําเข้าเกลือจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการพัฒนาระบบภายในการพัฒนาเกลือทะเลไทยควบคู่กับการทําความเข้าใจไม่ให้กระทบต่อข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ - การพัฒนางานวิจัยเกลือทะเล เช่น การพัฒนาเกลือดําที่ใช้ในการเพิ่มแร่ธาตุในดินให้เป็นเกลือสตุ ที่สามารถรับประทานได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าได้ 3 - 6 เท่า - การจัดทํามรดกทางการเกษตรโลกเกลือทะเลไทย ให้จัดทําทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ รวมทั้งการนําข้อมูลการทําเกลือทะเลไทยเพื่อนําไปพัฒนาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร - การดําเนินการด้านมาตรฐานเกลือทะเลไทย ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทําหลักเกณฑ์ และการเสนอระเบียบกระทรวงเกษตรฯ ว่าด้วยการขอและออกใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สําหรับการทํานาเกลือทะเล ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแผนการประชุมคณะกรรมการฯ และแผนการตรวจเยี่ยมฯ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนการทํางานร่วมกันต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย กระทรวงเกษตรฯ จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ครั้งที่ 10/2563 โดยมีนายอําพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมผ่านระบบ VDO Conference จากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยที่ประชุมได้นําเสนอความก้าวหน้าการดําเนินงานต่าง ๆ ดังนี้ - การกระจายเกลือทะเล ซึ่งดําเนินการผ่านเครือข่ายสหกรณ์และร้านธงฟ้า - การแก้ไขปัญหาการนําเข้าเกลือจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการพัฒนาระบบภายในการพัฒนาเกลือทะเลไทยควบคู่กับการทําความเข้าใจไม่ให้กระทบต่อข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ - การพัฒนางานวิจัยเกลือทะเล เช่น การพัฒนาเกลือดําที่ใช้ในการเพิ่มแร่ธาตุในดินให้เป็นเกลือสตุ ที่สามารถรับประทานได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าได้ 3 - 6 เท่า - การจัดทํามรดกทางการเกษตรโลกเกลือทะเลไทย ให้จัดทําทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ รวมทั้งการนําข้อมูลการทําเกลือทะเลไทยเพื่อนําไปพัฒนาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร - การดําเนินการด้านมาตรฐานเกลือทะเลไทย ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทําหลักเกณฑ์ และการเสนอระเบียบกระทรวงเกษตรฯ ว่าด้วยการขอและออกใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สําหรับการทํานาเกลือทะเล ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแผนการประชุมคณะกรรมการฯ และแผนการตรวจเยี่ยมฯ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานเพื่อการขับเคลื่อนการทํางานร่วมกันต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37593
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชี้แจงแบบเรียนชื่อ “ชีวิตกับสังคมไทย”
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชี้แจงแบบเรียนชื่อ “ชีวิตกับสังคมไทย” สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชี้แจงแบบเรียนชื่อ “ชีวิตกับสังคมไทย” วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการวิจารณ์แบบเรียนชื่อ “ชีวิตกับสังคมไทย” เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ปี 2563 ของสํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่า หลักสูตรดังกล่าวอยู่ในหลักสูตรกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ที่มีจุดประสงค์รายวิชา และสมรรถนะ แกนกลาง ประกอบด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาของไทย สามารถวิเคราะห์และประเมิน การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและวัฒนธรรมไทยตระหนักและเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาของไทย โดยครูผู้สอนสามารถเลือกใช้หนังสือต่าง ๆ ประกอบการเรียนได้ โดยให้มีวัตถุประสงค์และสามารถสร้างสมรรถนะได้ตามที่หลักสูตรกําหนดไว้ โดยบางเนื้อหาที่มีความไม่ถูกต้อง เหมาะสม ก็มิได้นํามาเป็นบทเรียน ทั้งนี้ก็จะอยู่ในดุลยพินิจของผู้สอน โดยเชื่อมโยงกับแผนการสอน และในแต่ละรายวิชาของหลักสูตร ปวส. จะมีหนังสือเรียนที่หลากหลาย และแต่ละบทเรียน ก็มิได้บังคับหรือจําเป็นจะต้องใช้หนังสือเรียนเพียงเล่มเดียว สามารถใช้หนังสือหลายเล่มประกอบกัน รวมถึงสามารถนําบริบท ชุมชนมาร่วมในการจัดการเรียนการสอนด้วย สอศ.จะกําหนดการหารือร่วมกับบริษัทผู้พิมพ์ผู้โฆษณา กองบรรณาธิการ และผู้เขียน พร้อมทั้งจะให้มีการทบทวนในเรื่องของการใช้หนังสือเรียนในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) นําแนวคิดและกระบวนการในการคัดเลือกหนังสือเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ครูผู้ใช้หลักสูตร เป็นผู้ตรวจประเมิน และผ่านการกลั่นกรองจากคณะภาคี 4 ฝ่าย (ผู้แทนนักเรียน นักศึกษา ครู ผู้ปกครอง และชุมชน) เป็นผู้คัดเลือกหนังสือสําหรับใช้ในการเรียน มาปรับใช้ในการคัดเลือกหนังสือเรียนในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชี้แจงแบบเรียนชื่อ “ชีวิตกับสังคมไทย” วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชี้แจงแบบเรียนชื่อ “ชีวิตกับสังคมไทย” สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชี้แจงแบบเรียนชื่อ “ชีวิตกับสังคมไทย” วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการวิจารณ์แบบเรียนชื่อ “ชีวิตกับสังคมไทย” เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ปี 2563 ของสํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่า หลักสูตรดังกล่าวอยู่ในหลักสูตรกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ที่มีจุดประสงค์รายวิชา และสมรรถนะ แกนกลาง ประกอบด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาของไทย สามารถวิเคราะห์และประเมิน การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและวัฒนธรรมไทยตระหนักและเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาของไทย โดยครูผู้สอนสามารถเลือกใช้หนังสือต่าง ๆ ประกอบการเรียนได้ โดยให้มีวัตถุประสงค์และสามารถสร้างสมรรถนะได้ตามที่หลักสูตรกําหนดไว้ โดยบางเนื้อหาที่มีความไม่ถูกต้อง เหมาะสม ก็มิได้นํามาเป็นบทเรียน ทั้งนี้ก็จะอยู่ในดุลยพินิจของผู้สอน โดยเชื่อมโยงกับแผนการสอน และในแต่ละรายวิชาของหลักสูตร ปวส. จะมีหนังสือเรียนที่หลากหลาย และแต่ละบทเรียน ก็มิได้บังคับหรือจําเป็นจะต้องใช้หนังสือเรียนเพียงเล่มเดียว สามารถใช้หนังสือหลายเล่มประกอบกัน รวมถึงสามารถนําบริบท ชุมชนมาร่วมในการจัดการเรียนการสอนด้วย สอศ.จะกําหนดการหารือร่วมกับบริษัทผู้พิมพ์ผู้โฆษณา กองบรรณาธิการ และผู้เขียน พร้อมทั้งจะให้มีการทบทวนในเรื่องของการใช้หนังสือเรียนในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) นําแนวคิดและกระบวนการในการคัดเลือกหนังสือเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ครูผู้ใช้หลักสูตร เป็นผู้ตรวจประเมิน และผ่านการกลั่นกรองจากคณะภาคี 4 ฝ่าย (ผู้แทนนักเรียน นักศึกษา ครู ผู้ปกครอง และชุมชน) เป็นผู้คัดเลือกหนังสือสําหรับใช้ในการเรียน มาปรับใช้ในการคัดเลือกหนังสือเรียนในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางจับมือ BCI เป็นหน่วยงานราชการแห่งแรก ที่ให้บริการขอหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเทคโนโลยี Blockchain
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 กรมบัญชีกลางจับมือ BCI เป็นหน่วยงานราชการแห่งแรก ที่ให้บริการขอหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเทคโนโลยี Blockchain กรมบัญชีกลางลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ บจ.บีซีไอ (ประเทศไทย) หรือ Thailand Blockchain Community Initiative (BCI) โดยร่วมให้บริการขอหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อยกระดับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ในวันนี้ (14 ธ.ค. 63) กรมบัญชีกลางได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับบริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จํากัด หรือ Thailand Blockchain Community Initiative (BCI) โดยร่วมกันให้บริการขอหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ (e-LG) ผ่านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อยกระดับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของหน่วยงานราชการที่มีการนําเทคโนโลยี Blockchain มาประกอบใช้ในการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ถือเป็นการพลิกบทบาทสู่การให้บริการภาคเอกชนและประชาชนโดยตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ “กรมบัญชีกลางเป็นหน่วยงานราชการแห่งแรกที่มุ่งเน้นพัฒนาการให้บริการขอหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ (e-LG) ผ่านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการข้อมูลมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การบริการมีความสะดวก รวดเร็ว สามารถอนุมัติรายการได้เร็วสุดภายในไม่เกิน 10 นาที ตอกย้ําการให้บริการด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยทาง Cyber ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และยังช่วยลดการใช้กระดาษ ลด Carbon Footprint เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอีกด้วย” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวเพิ่มเติมว่า “ขณะนี้มีธนาคารที่พร้อมให้บริการ e-LG ผ่านเทคโนโลยี Blockchain ของ BCI Platform ร่วมกับกรมบัญชีกลางมากกว่า 16 ธนาคาร โดยในปี พ.ศ.2564 จะขยายให้รองรับบริการได้มากกว่า 22 ธนาคาร เพื่อยกระดับการให้บริการก้าวทันโลกในยุคดิจิทัล ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ”
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางจับมือ BCI เป็นหน่วยงานราชการแห่งแรก ที่ให้บริการขอหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเทคโนโลยี Blockchain วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 กรมบัญชีกลางจับมือ BCI เป็นหน่วยงานราชการแห่งแรก ที่ให้บริการขอหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเทคโนโลยี Blockchain กรมบัญชีกลางลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ บจ.บีซีไอ (ประเทศไทย) หรือ Thailand Blockchain Community Initiative (BCI) โดยร่วมให้บริการขอหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อยกระดับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ในวันนี้ (14 ธ.ค. 63) กรมบัญชีกลางได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับบริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จํากัด หรือ Thailand Blockchain Community Initiative (BCI) โดยร่วมกันให้บริการขอหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ (e-LG) ผ่านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อยกระดับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของหน่วยงานราชการที่มีการนําเทคโนโลยี Blockchain มาประกอบใช้ในการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ถือเป็นการพลิกบทบาทสู่การให้บริการภาคเอกชนและประชาชนโดยตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ “กรมบัญชีกลางเป็นหน่วยงานราชการแห่งแรกที่มุ่งเน้นพัฒนาการให้บริการขอหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ (e-LG) ผ่านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการข้อมูลมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การบริการมีความสะดวก รวดเร็ว สามารถอนุมัติรายการได้เร็วสุดภายในไม่เกิน 10 นาที ตอกย้ําการให้บริการด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยทาง Cyber ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และยังช่วยลดการใช้กระดาษ ลด Carbon Footprint เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอีกด้วย” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวเพิ่มเติมว่า “ขณะนี้มีธนาคารที่พร้อมให้บริการ e-LG ผ่านเทคโนโลยี Blockchain ของ BCI Platform ร่วมกับกรมบัญชีกลางมากกว่า 16 ธนาคาร โดยในปี พ.ศ.2564 จะขยายให้รองรับบริการได้มากกว่า 22 ธนาคาร เพื่อยกระดับการให้บริการก้าวทันโลกในยุคดิจิทัล ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37596
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ยืนยันไทยพร้อมร่วมมือ OECD เร่งฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจโลก หลังวิกฤตโควิด-19
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 นายกฯ ยืนยันไทยพร้อมร่วมมือ OECD เร่งฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจโลก หลังวิกฤตโควิด-19 นายกฯ ยืนยันไทยพร้อมร่วมมือ OECD เร่งฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจโลก หลังวิกฤตโควิด-19 วันนี้ (วันที่ 14 ธันวาคม 2563) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงผ่านวีดิทัศน์ในพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และเป็นเวทีเจรจาเพื่อพัฒนาและกลั่นกรองนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก รวมทั้งประสานงานและช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในการจัดการแก้ไขปัญหาตามบริบทแวดล้อมในปัจจุบัน โดยเป็นการจัดพิธีผ่านเว็ปไซต์ของ OECDสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดี และชื่นชม OECD ที่ทําให้เศรษฐกิจโลกมีความก้าวหน้าภายใต้กฎระเบียบที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นสากล ซึ่งไทยยินดีที่ได้ร่วมมือกับ OECD ตลอดมา โดยเฉพาะโครงการ Country Programme ที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย พร้อมจะต่อยอดโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมถึงพลเมืองไทยรุ่นต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีปรารถนาที่จะเห็นความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนระหว่าง OECD กับไทยและภูมิภาคให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม เป็นเป้าหมายร่วมกันของทุกฝ่าย นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําว่า ในปี 2563 ถือเป็นปีที่ทุกประเทศต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยนําเสนอ 3 ประเด็นสําคัญที่ควรผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้ ประชากรโลกต้องสามารถเข้าถึงยาและวัคซีนต้านโควิด-19 ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงโดยเท่าเทียมและเป็นธรรม ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือและแบ่งปันประสบการณ์ การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ผ่านพ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ Micro SMEs แรงงานภาคบริการและสตรี เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการคนละครึ่ง และในระดับภูมิภาค ไทยกําลังพัฒนาข้อริเริ่ม ASEAN SMEs Recovery Facility การบริหารจัดการหนี้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวอย่างทั่วถึง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ยืนยันไทยพร้อมร่วมมือ OECD เร่งฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจโลก หลังวิกฤตโควิด-19 วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 นายกฯ ยืนยันไทยพร้อมร่วมมือ OECD เร่งฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจโลก หลังวิกฤตโควิด-19 นายกฯ ยืนยันไทยพร้อมร่วมมือ OECD เร่งฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจโลก หลังวิกฤตโควิด-19 วันนี้ (วันที่ 14 ธันวาคม 2563) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงผ่านวีดิทัศน์ในพิธีเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี การลงนามในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และเป็นเวทีเจรจาเพื่อพัฒนาและกลั่นกรองนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก รวมทั้งประสานงานและช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในการจัดการแก้ไขปัญหาตามบริบทแวดล้อมในปัจจุบัน โดยเป็นการจัดพิธีผ่านเว็ปไซต์ของ OECDสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดี และชื่นชม OECD ที่ทําให้เศรษฐกิจโลกมีความก้าวหน้าภายใต้กฎระเบียบที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นสากล ซึ่งไทยยินดีที่ได้ร่วมมือกับ OECD ตลอดมา โดยเฉพาะโครงการ Country Programme ที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย พร้อมจะต่อยอดโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมถึงพลเมืองไทยรุ่นต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีปรารถนาที่จะเห็นความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนระหว่าง OECD กับไทยและภูมิภาคให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม เป็นเป้าหมายร่วมกันของทุกฝ่าย นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําว่า ในปี 2563 ถือเป็นปีที่ทุกประเทศต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยนําเสนอ 3 ประเด็นสําคัญที่ควรผลักดันเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้ ประชากรโลกต้องสามารถเข้าถึงยาและวัคซีนต้านโควิด-19 ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงโดยเท่าเทียมและเป็นธรรม ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือและแบ่งปันประสบการณ์ การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ผ่านพ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ Micro SMEs แรงงานภาคบริการและสตรี เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการคนละครึ่ง และในระดับภูมิภาค ไทยกําลังพัฒนาข้อริเริ่ม ASEAN SMEs Recovery Facility การบริหารจัดการหนี้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวอย่างทั่วถึง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37604
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดยิ่งใหญ่ “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจำปี 2564 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมแก่พสกนิกรชาวไทย
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดยิ่งใหญ่ “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 เพื่อน้อมรําลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมแก่พสกนิกรชาวไทย กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดยิ่งใหญ่ “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 เพื่อน้อมรําลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมแก่พสกนิกรชาวไทย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เตรียมจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 ระหว่างวันที่ 8 – 17 มกราคม 2564 ณ บริเวณเชิงเขาตาแป้น องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินเป็นองค์ประธานเปิดงานในวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 จัดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2530 ซึ่งกําหนดให้วันที่ 17 มกราคมของทุกปีเป็น “วันโคนมแห่งชาติ” เพื่อน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมแก่พสกนิกรชาวไทย โดยร่วมกับพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์ก ทรงประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ในวันที่ 16 มกราคม 2505 ซึ่งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) หรือฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ถือเป็นฟาร์มโคนมแห่งแรกของประเทศไทยที่เป็นต้นแบบในการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมอย่างเป็นระบบ เกษตรกรสามารถนําไปประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง ทั้งยังส่งเสริมการบริโภคนมเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ อ.ส.ค. จึงได้ถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ที่จะให้มีการจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ณ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นประจําทุกปี สําหรับการจัดงานในปีนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เกี่ยวข้องในวงการโคนมและอุตสาหกรรมนมจะได้พบปะ แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ความรู้ ทัศนคติ การเลี้ยง การผลิต ระหว่างเกษตรกรด้วยกัน รวมทั้งเป็นเวทีในการแสดงความก้าวหน้าเกี่ยวกับวิทยาการด้านการเลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมนมของประเทศ นอกจากนี้ยัง เป็นศูนย์กลางการหาแนวทางในการพัฒนาโคนมในภูมิภาคอาเซียน โดยมีการจัดประชุมระดับนานาชาติภายในงาน ส่วนกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ประกอบด้วย นิทรรศการทางวิชาการของหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน การสัมมนาทางวิชาการ การประกวดโคนม รวมทั้งการออกร้านจําหน่ายสินค้าปัจจัยการเลี้ยงโคนม และสินค้าอุปโภคบริโภคอีกด้วย.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดยิ่งใหญ่ “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจำปี 2564 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมแก่พสกนิกรชาวไทย วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดยิ่งใหญ่ “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 เพื่อน้อมรําลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมแก่พสกนิกรชาวไทย กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดยิ่งใหญ่ “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 เพื่อน้อมรําลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมแก่พสกนิกรชาวไทย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เตรียมจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 ระหว่างวันที่ 8 – 17 มกราคม 2564 ณ บริเวณเชิงเขาตาแป้น องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินเป็นองค์ประธานเปิดงานในวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ประจําปี 2564 จัดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2530 ซึ่งกําหนดให้วันที่ 17 มกราคมของทุกปีเป็น “วันโคนมแห่งชาติ” เพื่อน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานอาชีพการเลี้ยงโคนมแก่พสกนิกรชาวไทย โดยร่วมกับพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์ก ทรงประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ในวันที่ 16 มกราคม 2505 ซึ่งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) หรือฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ถือเป็นฟาร์มโคนมแห่งแรกของประเทศไทยที่เป็นต้นแบบในการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมอย่างเป็นระบบ เกษตรกรสามารถนําไปประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง ทั้งยังส่งเสริมการบริโภคนมเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ อ.ส.ค. จึงได้ถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ที่จะให้มีการจัดงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ” ณ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นประจําทุกปี สําหรับการจัดงานในปีนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เกี่ยวข้องในวงการโคนมและอุตสาหกรรมนมจะได้พบปะ แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ความรู้ ทัศนคติ การเลี้ยง การผลิต ระหว่างเกษตรกรด้วยกัน รวมทั้งเป็นเวทีในการแสดงความก้าวหน้าเกี่ยวกับวิทยาการด้านการเลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมนมของประเทศ นอกจากนี้ยัง เป็นศูนย์กลางการหาแนวทางในการพัฒนาโคนมในภูมิภาคอาเซียน โดยมีการจัดประชุมระดับนานาชาติภายในงาน ส่วนกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน ประกอบด้วย นิทรรศการทางวิชาการของหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน การสัมมนาทางวิชาการ การประกวดโคนม รวมทั้งการออกร้านจําหน่ายสินค้าปัจจัยการเลี้ยงโคนม และสินค้าอุปโภคบริโภคอีกด้วย.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37597
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล รองผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะชี้แจงประเด็นข่าว : เพจ “วิชชั่นใหม่ เพื่อเศรษฐกิจไทยมั่นคง” เผยแพร่ข้อมูลที่ระบุว่า ธนาคารโลกรายงานประเด็นเศรษฐกิจไทยจะเผชิญภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง หนึ่งในปัญหาสําคัญที่สุดคือ ตัวเลขหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นทะลุเพดานสูงสุดในรอบ 18 ปี ซึ่งเกิดจากรัฐบาลกู้เงินจํานวน 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 13% ของ GDP ถือว่ามากสุดในภูมิภาคอาเซียน ว่า ไม่เป็นความจริง ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 อย่างรุนแรง รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกําหนด (พ.ร.ก.) เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 จํานวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) พ.ร.ก. ให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท 2) พ.ร.ก. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วงเงิน 500,000 ล้านบาท และ 3) พ.ร.ก. การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ วงเงิน 400,000 ล้านบาท ทั้งนี้ พ.ร.ก. 2) และ 3) เป็นการช่วยเหลือทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน มิได้เป็นการกู้เงินเพื่อนําไปดําเนินงาน จึงไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ ดังนั้น สรุปได้ว่า รัฐบาลจะมีภาระจากการกู้เงินโดยตรงเพียง 1 ล้านล้านบาท มิใช่ 1.9 ล้านล้านบาท ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังดําเนินการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. ดังกล่าวแล้วจํานวน 348,761 ล้านบาท สําหรับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 มีจํานวนทั้งสิ้น 7.8 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เท่ากับ ร้อยละ 49.53 ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังซึ่งกําหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ขณะที่ปี 2543 มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPสูงสุดเท่ากับ ร้อยละ 59.98 เนื่องจากประสบกับวิกฤติของสถาบันการเงินในประเทศ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) พบว่า รัฐบาลไทยมีหนี้อยู่ในระดับต่ํา (ร้อยละ 44.37) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย (Emerging and Developing Asia Countries)ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 62.89 (IMF, 2563) นอกจากนี้ สัดส่วนของไทยยังอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม ASEAN และประเทศกําลังพัฒนาด้วยกัน เนื่องจากหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เกิดจากการกู้เพื่อเป็นรายจ่ายลงทุนในระบบงบประมาณ และการกู้เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้านต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ GDP ของประเทศเกิดการขยายตัวตามไปด้วย นอกจากนี้ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agencies) ระดับสากล ได้แก่ S&P Moody’s และ Fitch ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating)ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) ที่แข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล รองผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะชี้แจงประเด็นข่าว : เพจ “วิชชั่นใหม่ เพื่อเศรษฐกิจไทยมั่นคง” เผยแพร่ข้อมูลที่ระบุว่า ธนาคารโลกรายงานประเด็นเศรษฐกิจไทยจะเผชิญภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง หนึ่งในปัญหาสําคัญที่สุดคือ ตัวเลขหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นทะลุเพดานสูงสุดในรอบ 18 ปี ซึ่งเกิดจากรัฐบาลกู้เงินจํานวน 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 13% ของ GDP ถือว่ามากสุดในภูมิภาคอาเซียน ว่า ไม่เป็นความจริง ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 อย่างรุนแรง รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกําหนด (พ.ร.ก.) เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 จํานวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) พ.ร.ก. ให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท 2) พ.ร.ก. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วงเงิน 500,000 ล้านบาท และ 3) พ.ร.ก. การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ วงเงิน 400,000 ล้านบาท ทั้งนี้ พ.ร.ก. 2) และ 3) เป็นการช่วยเหลือทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน มิได้เป็นการกู้เงินเพื่อนําไปดําเนินงาน จึงไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ ดังนั้น สรุปได้ว่า รัฐบาลจะมีภาระจากการกู้เงินโดยตรงเพียง 1 ล้านล้านบาท มิใช่ 1.9 ล้านล้านบาท ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังดําเนินการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. ดังกล่าวแล้วจํานวน 348,761 ล้านบาท สําหรับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 มีจํานวนทั้งสิ้น 7.8 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เท่ากับ ร้อยละ 49.53 ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังซึ่งกําหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ขณะที่ปี 2543 มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPสูงสุดเท่ากับ ร้อยละ 59.98 เนื่องจากประสบกับวิกฤติของสถาบันการเงินในประเทศ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) พบว่า รัฐบาลไทยมีหนี้อยู่ในระดับต่ํา (ร้อยละ 44.37) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย (Emerging and Developing Asia Countries)ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 62.89 (IMF, 2563) นอกจากนี้ สัดส่วนของไทยยังอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม ASEAN และประเทศกําลังพัฒนาด้วยกัน เนื่องจากหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เกิดจากการกู้เพื่อเป็นรายจ่ายลงทุนในระบบงบประมาณ และการกู้เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้านต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ GDP ของประเทศเกิดการขยายตัวตามไปด้วย นอกจากนี้ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agencies) ระดับสากล ได้แก่ S&P Moody’s และ Fitch ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating)ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) ที่แข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37566
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ.2563 (The Prime Ministry Award 2020)
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 พิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี พ.ศ.2563 (The Prime Ministry Award 2020) พิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี พ.ศ.2563 (The Prime Ministry Award 2020) วันนี้ (14 ธันวาคม 2563) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2563 เพื่อให้กําลังใจและประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบการธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความวิริยะอุตสาหะในการพัฒนาการประกอบการให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กําหนด พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการของบริษัทที่ได้รับรางวัล โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และผู้ประกอบการธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต สําหรับพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 28 โดยรางวัลอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการได้รับ ถือเป็นบทพิสูจน์สําคัญที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการคงคุณภาพ และพัฒนาการประกอบการให้มีประสิทธิภาพ แม้ในสภาวะวิกฤติได้อย่างน่าชื่นชม ทั้งนี้ผลการพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2563 มีผู้ประกอบการได้รับการพิจารณาคัดเลือก จํานวน 79 รางวัล พร้อมรางวัลชมเชย 5 รางวัล แบ่งออกเป็น รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ซึ่งถือเป็นรางวัลอันสูงสุดในปีนี้ จํานวน 1 รางวัล โดยบริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จํากัด ผู้ผลิตและจําหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์ครีมต่างๆ ภายใต้ตราสินค้า คาร์เนชัน ทีพอท ตราหมี ฯลฯ เป็นผู้ได้รับรางวัลในปีนี้ รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น จํานวน 48 รางวัล และรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น จํานวน 30 รางวัล
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ.2563 (The Prime Ministry Award 2020) วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 พิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี พ.ศ.2563 (The Prime Ministry Award 2020) พิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี พ.ศ.2563 (The Prime Ministry Award 2020) วันนี้ (14 ธันวาคม 2563) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2563 เพื่อให้กําลังใจและประกาศเกียรติคุณผู้ประกอบการธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความวิริยะอุตสาหะในการพัฒนาการประกอบการให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กําหนด พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการของบริษัทที่ได้รับรางวัล โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และผู้ประกอบการธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต สําหรับพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 28 โดยรางวัลอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการได้รับ ถือเป็นบทพิสูจน์สําคัญที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการคงคุณภาพ และพัฒนาการประกอบการให้มีประสิทธิภาพ แม้ในสภาวะวิกฤติได้อย่างน่าชื่นชม ทั้งนี้ผลการพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจําปี 2563 มีผู้ประกอบการได้รับการพิจารณาคัดเลือก จํานวน 79 รางวัล พร้อมรางวัลชมเชย 5 รางวัล แบ่งออกเป็น รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ซึ่งถือเป็นรางวัลอันสูงสุดในปีนี้ จํานวน 1 รางวัล โดยบริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จํากัด ผู้ผลิตและจําหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์ครีมต่างๆ ภายใต้ตราสินค้า คาร์เนชัน ทีพอท ตราหมี ฯลฯ เป็นผู้ได้รับรางวัลในปีนี้ รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น จํานวน 48 รางวัล และรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น จํานวน 30 รางวัล
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37607
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส.จัดงานออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศ ประจำปี 2563 ลุ้นของรางวัลรวม 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ล้านบาท 23 ธันวาคมนี้
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ธ.ก.ส.จัดงานออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศ ประจําปี 2563 ลุ้นของรางวัลรวม 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ล้านบาท 23 ธันวาคมนี้ ธ.ก.ส.ออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศให้แก่ลูกค้าที่ฝากเงินสะสมต่อเนื่อง จัดเต็มแจกรถยนต์ 25 คัน และทองคําแท่ง หนัก 1 บาท 100 รางวัล รวม 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ลบ. พร้อมชมโชว์สุดพิเศษจากตุ้ย AF3 ณ ห้องโถงชั้น 2 อาคารทาวเวอร์ ธ.ก.ส. สํานักงานใหญ่ ธ.ก.ส. ออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศให้แก่ลูกค้าที่ฝากเงินสะสมต่อเนื่อง จัดเต็มแจกรถยนต์ 25 คัน และทองคําแท่ง หนัก 1 บาท 100 รางวัล รวม 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ล้านบาท พร้อมชมโชว์สุดพิเศษจากตุ้ย AF3 ณ ห้องโถงชั้น 2 อาคารทาวเวอร์ ธ.ก.ส. สํานักงานใหญ่ กรุงเทพฯ ในวันพุธที่ 23 ธันวาคมนี้ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. จัดงานออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศ ประจําปี 2563 ภายใต้แนวคิด “ธ.ก.ส. ยิ่งออม ยิ่งดี ทวีโชค แจกใหญ่ทุกปี” ให้ลูกค้าผู้ฝากเงินกับบัญชีออมทรัพย์ทวีโชค หรือเงินฝาก สมุดเล่มแดง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ ธ.ก.ส. จัดทําเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป และเกษตรกรลูกค้าได้ออมเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการดําเนินชีวิตโดยการฝากเงินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากแล้ว ยังได้รับสิทธิ์ลุ้นรางวัล โดยยอดคงเหลือในบัญชีทุกๆ 2,000 บาท และฝากติดต่อกัน 3 เดือน จะได้รับสิทธิ์ลุ้นจับรางวัลระดับจังหวัดปีละ 2 ครั้ง และจับรางวัลในระดับประเทศปีละ 1 ครั้ง และพิเศษ เมื่อยอดเงินฝากคงเหลือทุก 10,000 บาท ติดต่อกัน 7 เดือน จะได้รับสิทธิ์ลุ้นรางวัล 1 สิทธิ์ และหากฝากต่อเนื่อง 10 เดือน จะได้รับสิทธิ์ลุ้นรางวัล 2 สิทธิ์ (เพิ่มอีก 1 สิทธิ์) ทั้งนี้ มีเกษตรกรลูกค้าและประชาชนทั่วไปได้ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ทวีโชคกับ ธ.ก.ส. แล้วจํานวน 18.77 ล้านบัญชี เป็นเงิน 395,553 ล้านบาท ซึ่งเงินทุกบาท ธ.ก.ส. จะนําไปพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนและเสริมความแข็งแกร่งของภาคชนบทต่อไป นายกษาปณ์ กล่าวต่อไปว่า สําหรับการออกรางวัลฯ ระดับประเทศ ประจําปี 2563 จะมอบให้กับผู้ที่ฝากเงินระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2563 โดยรางวัลในกิจกรรมมอบโชคในครั้งนี้ ประกอบด้วย รถยนต์นั่งอเนกประสงค์ นิสสัน เทอร์ร่า จํานวน 5 รางวัล รถกระบะ นิสสัน นาวารา จํานวน 5 รางวัล รถยนต์นิสสัน อัลเมร่า จํานวน 15 รางวัล และรางวัลทองคําแท่ง หนัก 1 บาท จํานวน 100 รางวัล รวมทั้งสิ้น 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ล้านบาท นอกจากนี้ ภายในงานยังมีโชว์สุดพิเศษจากศิลปินนักแสดง ชื่อดัง “ตุ้ย AF3” ที่จะมานําทีมสร้างสีสัน พร้อมร่วมลุ้นรางวัลส่งท้ายปีไปกับผู้โชคดี ในวันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 ณ ห้องโถงชั้น 2 ธ.ก.ส. สํานักงานใหญ่ กรุงเทพฯ โดยสามารถติดตามการถ่ายทอดสดการออกรางวัลฯ ได้ทาง Facebook LIVE ที่ Page ธกส BAAC Thailand ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส.จัดงานออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศ ประจำปี 2563 ลุ้นของรางวัลรวม 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ล้านบาท 23 ธันวาคมนี้ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ธ.ก.ส.จัดงานออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศ ประจําปี 2563 ลุ้นของรางวัลรวม 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ล้านบาท 23 ธันวาคมนี้ ธ.ก.ส.ออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศให้แก่ลูกค้าที่ฝากเงินสะสมต่อเนื่อง จัดเต็มแจกรถยนต์ 25 คัน และทองคําแท่ง หนัก 1 บาท 100 รางวัล รวม 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ลบ. พร้อมชมโชว์สุดพิเศษจากตุ้ย AF3 ณ ห้องโถงชั้น 2 อาคารทาวเวอร์ ธ.ก.ส. สํานักงานใหญ่ ธ.ก.ส. ออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศให้แก่ลูกค้าที่ฝากเงินสะสมต่อเนื่อง จัดเต็มแจกรถยนต์ 25 คัน และทองคําแท่ง หนัก 1 บาท 100 รางวัล รวม 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ล้านบาท พร้อมชมโชว์สุดพิเศษจากตุ้ย AF3 ณ ห้องโถงชั้น 2 อาคารทาวเวอร์ ธ.ก.ส. สํานักงานใหญ่ กรุงเทพฯ ในวันพุธที่ 23 ธันวาคมนี้ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. จัดงานออกรางวัลออมทรัพย์ทวีโชคระดับประเทศ ประจําปี 2563 ภายใต้แนวคิด “ธ.ก.ส. ยิ่งออม ยิ่งดี ทวีโชค แจกใหญ่ทุกปี” ให้ลูกค้าผู้ฝากเงินกับบัญชีออมทรัพย์ทวีโชค หรือเงินฝาก สมุดเล่มแดง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ ธ.ก.ส. จัดทําเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป และเกษตรกรลูกค้าได้ออมเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการดําเนินชีวิตโดยการฝากเงินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากแล้ว ยังได้รับสิทธิ์ลุ้นรางวัล โดยยอดคงเหลือในบัญชีทุกๆ 2,000 บาท และฝากติดต่อกัน 3 เดือน จะได้รับสิทธิ์ลุ้นจับรางวัลระดับจังหวัดปีละ 2 ครั้ง และจับรางวัลในระดับประเทศปีละ 1 ครั้ง และพิเศษ เมื่อยอดเงินฝากคงเหลือทุก 10,000 บาท ติดต่อกัน 7 เดือน จะได้รับสิทธิ์ลุ้นรางวัล 1 สิทธิ์ และหากฝากต่อเนื่อง 10 เดือน จะได้รับสิทธิ์ลุ้นรางวัล 2 สิทธิ์ (เพิ่มอีก 1 สิทธิ์) ทั้งนี้ มีเกษตรกรลูกค้าและประชาชนทั่วไปได้ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ทวีโชคกับ ธ.ก.ส. แล้วจํานวน 18.77 ล้านบัญชี เป็นเงิน 395,553 ล้านบาท ซึ่งเงินทุกบาท ธ.ก.ส. จะนําไปพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนและเสริมความแข็งแกร่งของภาคชนบทต่อไป นายกษาปณ์ กล่าวต่อไปว่า สําหรับการออกรางวัลฯ ระดับประเทศ ประจําปี 2563 จะมอบให้กับผู้ที่ฝากเงินระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2563 โดยรางวัลในกิจกรรมมอบโชคในครั้งนี้ ประกอบด้วย รถยนต์นั่งอเนกประสงค์ นิสสัน เทอร์ร่า จํานวน 5 รางวัล รถกระบะ นิสสัน นาวารา จํานวน 5 รางวัล รถยนต์นิสสัน อัลเมร่า จํานวน 15 รางวัล และรางวัลทองคําแท่ง หนัก 1 บาท จํานวน 100 รางวัล รวมทั้งสิ้น 125 รางวัล มูลค่ากว่า 19 ล้านบาท นอกจากนี้ ภายในงานยังมีโชว์สุดพิเศษจากศิลปินนักแสดง ชื่อดัง “ตุ้ย AF3” ที่จะมานําทีมสร้างสีสัน พร้อมร่วมลุ้นรางวัลส่งท้ายปีไปกับผู้โชคดี ในวันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 ณ ห้องโถงชั้น 2 ธ.ก.ส. สํานักงานใหญ่ กรุงเทพฯ โดยสามารถติดตามการถ่ายทอดสดการออกรางวัลฯ ได้ทาง Facebook LIVE ที่ Page ธกส BAAC Thailand ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37602
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME D Bank จัดงานใหญ่ ‘SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข’ เชิญช้อปสินค้าดีเอสเอ็มอีไทย พาเปิดตลาดออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์มดังระดับโลก
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 SME D Bank จัดงานใหญ่ ‘SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข’ เชิญช้อปสินค้าดีเอสเอ็มอีไทย พาเปิดตลาดออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์มดังระดับโลก SME D Bank สนับสนุน SMEs ไทยยกระดับธุรกิจสู่โลกออนไลน์ จัดงานยิ่งใหญ่ ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ “SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข” ต่อเนื่อง 3 วัน ระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2563 พร้อมติดอาวุธผู้ประกอบการ รับยุค New Normal SME D Bank สนับสนุนเอสเอ็มไทยยกระดับธุรกิจสู่โลกออนไลน์ จัดงานยิ่งใหญ่ ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ “SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข” ต่อเนื่อง 3 วัน ระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2563 พร้อมติดอาวุธผู้ประกอบการ รับยุค New Normal พาเปิดตลาดบนแพลตฟอร์ม E-commerce ชั้นนํา ห้ามพลาด! รับสิทธิพิเศษฟรีเฉพาะงานนี้เท่านั้น นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า SME D Bank เตรียมจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2564 “SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข” 3 วันต่อเนื่อง ระหว่างวันที่23-25 ธันวาคม 2563 ณ สํานักงานใหญ่ SME D Bank สนับสนุนลูกค้าธนาคาร และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย เพิ่มยอดขาย สร้างรายได้ พร้อมยกระดับธุรกิจสู่โลกออนไลน์ ขยายตลาดบนแพลตฟอร์ม E-commerce และสัมมนารับฟังแนวคิดทําธุรกิจจากผู้ประกอบการที่พลิกวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาสได้ สําหรับงานมหกรรมส่งต่อความสุขครั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมงานสามารถเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของดี ของเด่นจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศกว่า 40 ร้านค้า ยกขบวนสินค้ามาวางจําหน่ายในราคาสุดพิเศษ พร้อมโปรโมชั่นที่แต่ละร้าน มานําเสนอส่งท้ายปีเก่า 2563 ต้อนรับปีใหม่ เพื่อจูงใจผู้บริโภคแบบลด แลก แถมกันเต็มที่ตลอดทั้ง 3 วัน เช่น กาแฟสด ซาวบาทคอฟฟี่ จ.เชียงใหม่, น้ํามันมะพร้าวสกัด พร้าวไทย By สวนลุงสงค์ จ.สุราษฏร์ธานี, ขาหมู อ.อินดี้บุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์, ขนมหม้อแกงและขนมหวาน แม่กิมไล้ จ.เพชรบุรี เป็นต้น พิเศษสุดทุกเวลา 12.12 น. ยังมีกิจกรรม Flash sale นาทีทองของนักช้อปที่มีสินค้ามาจัดรายการลดราคาสุดพิเศษ ห้ามพลาดของมีจํานวนจํากัด “สินค้าที่วางจําหน่ายภายในงาน นอกจากจะมีการจัดโปรโมชั่นจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้ว ผู้บริโภคยังใช้สิทธิผ่านโครงการคนละครึ่งได้ด้วย ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ผ่านการจับจ่ายใช้สอย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมียอดขายและรายได้ที่เพิ่มขึ้น” นางสาวนารถนารี กล่าว ทั้งนี้ ไฮไลท์งาน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 ร่วมฟังสัมมนา SME D Seminar จากวิทยากรชื่อดัง หัวข้อ “เศรษฐกิจไทยไปต่อ” โดยนายพิเชฐ ด่านไทยนํา ผู้ช่วยผู้อํานวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM Bank และ “SMEs ยุคใหม่ทําไมต้อง Transform” โดยนายโอฬาร วีระนนท์ ประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย และCEO and Co-Founder บริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จํากัด มาร่วมถ่ายทอดแนวคิดปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ วันที่ 24 ธันวาคม 2563 สัมมนารวบรวมผู้นําแพลตฟอร์ม E-commerce ชื่อดังมาครบจบในที่เดียว เช่น Lazada, Thailandpostmart.com, Alibaba.com, JD Central เป็นต้น นําเสนอและบรรยายพิเศษตอบโจทย์โดนใจธุรกิจเอสเอ็มอี เช่น เทคนิคการขาย เพิ่มรายได้ สร้างการแข่งขัน ช่วยให้ผู้ประกอบการขยายตลาดออนไลน์สู่ความสําเร็จอย่างมั่นคง พร้อมมอบสิทธิพิเศษสุด ๆ มากมายภายในงานนี้เท่านั้น เช่น ฟรี ค่าสมัครเป็นผู้ขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์, ฟรี บริการตกแต่งหน้าร้านค้าออนไลน์ และ ฟรี ออกแบบ Artwork และ Content เป็นต้น ปิดท้ายวันที่ 25 ธันวาคม 2563 พบกับสัมมนา SME D Show ถ่ายทอดประสบการณ์โดยตรงจากผู้ประกอบการตัวจริงเสียงจริง หัวข้อ “พลิกวิกฤต Covid-19 อย่างไรให้เป็นโอกาส” โดยนายธวัชชัย สหัสสพาศน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซดาพริ้นติ้ง จํากัด ผู้ปรับมุมธุรกิจพัฒนาสินค้าคืนรายได้สู่ชุมชนกว่า 100 ครัวเรือน และนายกฤษดา รัตนแสงศรี เจ้าของธุรกิจไกด์ไก่บาร์บีคิว พลิกชีวิตชนะวิกฤต Covid-19 จากไกด์นําเที่ยวสู่เจ้าของธุรกิจขายไก่หลักล้านบาท ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมสัมมนาฟรีได้ที่หน้าแรกเว็บไซต์ www.powersmethai.com หรือกดเข้าลิงค์ที่ https://bit.ly/37dnY4A สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02-265-3192, 02-265-3775 หรือ Facebook : powersmethai (ศูนย์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี) LINE OA : @powersmethai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME D Bank จัดงานใหญ่ ‘SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข’ เชิญช้อปสินค้าดีเอสเอ็มอีไทย พาเปิดตลาดออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์มดังระดับโลก วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 SME D Bank จัดงานใหญ่ ‘SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข’ เชิญช้อปสินค้าดีเอสเอ็มอีไทย พาเปิดตลาดออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์มดังระดับโลก SME D Bank สนับสนุน SMEs ไทยยกระดับธุรกิจสู่โลกออนไลน์ จัดงานยิ่งใหญ่ ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ “SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข” ต่อเนื่อง 3 วัน ระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2563 พร้อมติดอาวุธผู้ประกอบการ รับยุค New Normal SME D Bank สนับสนุนเอสเอ็มไทยยกระดับธุรกิจสู่โลกออนไลน์ จัดงานยิ่งใหญ่ ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ “SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข” ต่อเนื่อง 3 วัน ระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2563 พร้อมติดอาวุธผู้ประกอบการ รับยุค New Normal พาเปิดตลาดบนแพลตฟอร์ม E-commerce ชั้นนํา ห้ามพลาด! รับสิทธิพิเศษฟรีเฉพาะงานนี้เท่านั้น นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า SME D Bank เตรียมจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2564 “SME D SHOPPING มหกรรมส่งต่อความสุข” 3 วันต่อเนื่อง ระหว่างวันที่23-25 ธันวาคม 2563 ณ สํานักงานใหญ่ SME D Bank สนับสนุนลูกค้าธนาคาร และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย เพิ่มยอดขาย สร้างรายได้ พร้อมยกระดับธุรกิจสู่โลกออนไลน์ ขยายตลาดบนแพลตฟอร์ม E-commerce และสัมมนารับฟังแนวคิดทําธุรกิจจากผู้ประกอบการที่พลิกวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาสได้ สําหรับงานมหกรรมส่งต่อความสุขครั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมงานสามารถเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของดี ของเด่นจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศกว่า 40 ร้านค้า ยกขบวนสินค้ามาวางจําหน่ายในราคาสุดพิเศษ พร้อมโปรโมชั่นที่แต่ละร้าน มานําเสนอส่งท้ายปีเก่า 2563 ต้อนรับปีใหม่ เพื่อจูงใจผู้บริโภคแบบลด แลก แถมกันเต็มที่ตลอดทั้ง 3 วัน เช่น กาแฟสด ซาวบาทคอฟฟี่ จ.เชียงใหม่, น้ํามันมะพร้าวสกัด พร้าวไทย By สวนลุงสงค์ จ.สุราษฏร์ธานี, ขาหมู อ.อินดี้บุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์, ขนมหม้อแกงและขนมหวาน แม่กิมไล้ จ.เพชรบุรี เป็นต้น พิเศษสุดทุกเวลา 12.12 น. ยังมีกิจกรรม Flash sale นาทีทองของนักช้อปที่มีสินค้ามาจัดรายการลดราคาสุดพิเศษ ห้ามพลาดของมีจํานวนจํากัด “สินค้าที่วางจําหน่ายภายในงาน นอกจากจะมีการจัดโปรโมชั่นจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้ว ผู้บริโภคยังใช้สิทธิผ่านโครงการคนละครึ่งได้ด้วย ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ผ่านการจับจ่ายใช้สอย ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมียอดขายและรายได้ที่เพิ่มขึ้น” นางสาวนารถนารี กล่าว ทั้งนี้ ไฮไลท์งาน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 ร่วมฟังสัมมนา SME D Seminar จากวิทยากรชื่อดัง หัวข้อ “เศรษฐกิจไทยไปต่อ” โดยนายพิเชฐ ด่านไทยนํา ผู้ช่วยผู้อํานวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM Bank และ “SMEs ยุคใหม่ทําไมต้อง Transform” โดยนายโอฬาร วีระนนท์ ประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย และCEO and Co-Founder บริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จํากัด มาร่วมถ่ายทอดแนวคิดปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ วันที่ 24 ธันวาคม 2563 สัมมนารวบรวมผู้นําแพลตฟอร์ม E-commerce ชื่อดังมาครบจบในที่เดียว เช่น Lazada, Thailandpostmart.com, Alibaba.com, JD Central เป็นต้น นําเสนอและบรรยายพิเศษตอบโจทย์โดนใจธุรกิจเอสเอ็มอี เช่น เทคนิคการขาย เพิ่มรายได้ สร้างการแข่งขัน ช่วยให้ผู้ประกอบการขยายตลาดออนไลน์สู่ความสําเร็จอย่างมั่นคง พร้อมมอบสิทธิพิเศษสุด ๆ มากมายภายในงานนี้เท่านั้น เช่น ฟรี ค่าสมัครเป็นผู้ขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์, ฟรี บริการตกแต่งหน้าร้านค้าออนไลน์ และ ฟรี ออกแบบ Artwork และ Content เป็นต้น ปิดท้ายวันที่ 25 ธันวาคม 2563 พบกับสัมมนา SME D Show ถ่ายทอดประสบการณ์โดยตรงจากผู้ประกอบการตัวจริงเสียงจริง หัวข้อ “พลิกวิกฤต Covid-19 อย่างไรให้เป็นโอกาส” โดยนายธวัชชัย สหัสสพาศน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซดาพริ้นติ้ง จํากัด ผู้ปรับมุมธุรกิจพัฒนาสินค้าคืนรายได้สู่ชุมชนกว่า 100 ครัวเรือน และนายกฤษดา รัตนแสงศรี เจ้าของธุรกิจไกด์ไก่บาร์บีคิว พลิกชีวิตชนะวิกฤต Covid-19 จากไกด์นําเที่ยวสู่เจ้าของธุรกิจขายไก่หลักล้านบาท ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมสัมมนาฟรีได้ที่หน้าแรกเว็บไซต์ www.powersmethai.com หรือกดเข้าลิงค์ที่ https://bit.ly/37dnY4A สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02-265-3192, 02-265-3775 หรือ Facebook : powersmethai (ศูนย์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี) LINE OA : @powersmethai
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37599
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปล่อยคาราวานฟางอัดฟ่อน ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปล่อยคาราวานฟางอัดฟ่อน ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ​‘รมช.ประภัตร’ ปล่อยคาราวานฟางอัดฟ่อน ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ เคลื่อนขบวนกว่า 30 คัน นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีปล่อยขบวนรถบริจาคฟางอัดฟ่อนเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ณ สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด จ.ราชบุรี ว่า จากเหตุการณ์อุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดของภาคใต้ ทําให้ประชาชนจํานวนมากประสบกับปัญหาความเดือดร้อน รวมไปถึงกลุ่มเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ แพะ และแกะ ในพื้นที่ภาคใต้ก็ประสบปัญหาความเดือดร้อน จากการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น รวมถึงอาหารที่ใช้สําหรับการเลี้ยงสัตว์ รมช.เกษตรฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ได้เห็นถึงน้ําใจของชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จํากัด และสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) พร้อมด้วยสมาชิก องค์กรเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม สมาชิกกว่า 5,000 ราย และประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ได้ตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จึงร่วมแรงร่วมใจกันบริจาคฟางอัดฟ่อน รวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น เพื่อร่วมกันให้ความช่วยเหลือ พี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ รวมจํานวน 30 คันรถ ซึ่งเป็นฟางอัดฟ่อน จํานวน 20,000 ฟ่อน โดยมอบให้กับกรมปศุสัตว์เพื่อทําการส่งมอบให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป ทั้งนี้ รมช.เกษตรฯ ได้ประชาสัมพันธ์ชี้แจงโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และเกี่ยวกับกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ (โคขุน กู้วิกฤต Covid-19) ให้กับเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้รับทราบ ซึ่งเป็นโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ํา มีตลาดรองรับที่แน่นอน มีการประกันราคา สําหรับการสนับสนุนเงินทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 100 บาท/ปี ถือเป็นดอกเบี้ยที่ต่ําและไม่ต้องนําทรัพย์สินมาค้ําประกัน เพียงรวมเป็นกลุ่มและสมาชิก 7 คนขึ้นไป ยื่นจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกับเกษตรอําเภอ ดําเนินการจัดทําแผนธุรกิจเพื่อผ่านความเห็นชอบต่อไป ซึ่งจะสามารถเป็นแหล่งเงินทุนที่ช่วยส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอีก จากนั้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่ ให้แก่ผู้ร่วมบริจาค สิ่งของและฟางอัดฟ่อนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดของภาคใต้อีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปล่อยคาราวานฟางอัดฟ่อน ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ปล่อยคาราวานฟางอัดฟ่อน ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ​‘รมช.ประภัตร’ ปล่อยคาราวานฟางอัดฟ่อน ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ เคลื่อนขบวนกว่า 30 คัน นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีปล่อยขบวนรถบริจาคฟางอัดฟ่อนเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ณ สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด จ.ราชบุรี ว่า จากเหตุการณ์อุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดของภาคใต้ ทําให้ประชาชนจํานวนมากประสบกับปัญหาความเดือดร้อน รวมไปถึงกลุ่มเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ แพะ และแกะ ในพื้นที่ภาคใต้ก็ประสบปัญหาความเดือดร้อน จากการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น รวมถึงอาหารที่ใช้สําหรับการเลี้ยงสัตว์ รมช.เกษตรฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ได้เห็นถึงน้ําใจของชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จํากัด และสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) พร้อมด้วยสมาชิก องค์กรเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม สมาชิกกว่า 5,000 ราย และประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ได้ตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จึงร่วมแรงร่วมใจกันบริจาคฟางอัดฟ่อน รวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคที่จําเป็น เพื่อร่วมกันให้ความช่วยเหลือ พี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ รวมจํานวน 30 คันรถ ซึ่งเป็นฟางอัดฟ่อน จํานวน 20,000 ฟ่อน โดยมอบให้กับกรมปศุสัตว์เพื่อทําการส่งมอบให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป ทั้งนี้ รมช.เกษตรฯ ได้ประชาสัมพันธ์ชี้แจงโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และเกี่ยวกับกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ (โคขุน กู้วิกฤต Covid-19) ให้กับเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้รับทราบ ซึ่งเป็นโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ํา มีตลาดรองรับที่แน่นอน มีการประกันราคา สําหรับการสนับสนุนเงินทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 100 บาท/ปี ถือเป็นดอกเบี้ยที่ต่ําและไม่ต้องนําทรัพย์สินมาค้ําประกัน เพียงรวมเป็นกลุ่มและสมาชิก 7 คนขึ้นไป ยื่นจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกับเกษตรอําเภอ ดําเนินการจัดทําแผนธุรกิจเพื่อผ่านความเห็นชอบต่อไป ซึ่งจะสามารถเป็นแหล่งเงินทุนที่ช่วยส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอีก จากนั้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่ ให้แก่ผู้ร่วมบริจาค สิ่งของและฟางอัดฟ่อนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดของภาคใต้อีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37600
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​‘รมช.ประภัตร’ คิกออฟเปิดแปลงนาอัจฉริยะ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพและรายได้อย่างยั่งยืน
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ​‘รมช.ประภัตร’ คิกออฟเปิดแปลงนาอัจฉริยะ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพและรายได้อย่างยั่งยืน ​‘รมช.ประภัตร’ คิกออฟเปิดแปลงนาอัจฉริยะ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพและรายได้อย่างยั่งยืน หนุนถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร เผยปลูกข้าว 1 ไร่ ทุนไม่เกิน 3 พันบาท นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิด “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีแปลงนาอัจฉริยะ” ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2564 ณ แปลงเรียนรู้ ต.นางบวช อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายสําคัญในการสนับสนุนส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยการดําเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การทํานาโดยใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงานภาคการเกษตร การเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ และเกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับการบูรณาการกับทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร นายประภัตร กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันการผลิตทางการเกษตรมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัย สามารถนํามาใช้ในไร่นาได้ผลดีและจะส่งผลให้การผลิตในภาพรวมของประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ร่วมกันพัฒนา โดยกรมการข้าว ได้มอบหมายให้สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ทําการศึกษาทดลองซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าว โดยใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ พัฒนาเมล็ดพันธุ์ จนได้ชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมและพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวไปสู่เกษตรกร ได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเกษตรกร จัดทําแปลงเรียนรู้ด้านข้าว พื้นที่แปลงนากว่า 138 ไร่ ซึ่งการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัย จะเป็นเครื่องมือสําคัญ ในการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ จากการศึกษาและการทดลองเทคโนโลยีแปลงนาอัจฉริยะ พบว่า ต้นทุนในการปลูกข้าว ไม่เกิน 3,000 บาท/ไร่ และหวังอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรทั่วประเทศ ทั้งนี้ แนวทางเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะชุดนี้ มี 6 ประเด็นสําคัญ ตั้งแต่ 1.การเตรียมดิน โดยใช้เครื่องปรับดินเลเซอร์ (Laser land levelling) เพื่อการบริหารจัดการน้ําแบบเปียกสลับแห้ง ปรับระดับผิวดินให้เรียบ สม่ําเสมอ 2.การจัดระบบน้ํา ใช้ท่อวัดน้ําอัจฉริยะ แสดงผลปริมาณระดับน้ําทุกชั่วโมงผ่าน Line Application บนมือถือของเกษตรกร โดยใช้ Solar Cell เป็นแหล่งให้พลังงาน เมื่อน้ําต่ํากว่าระดับผิวดิน จึงจะปล่อยน้ําเข้าแปลงนา สามารถลดปริมาณการให้น้ําได้ 46% 3.การติดตามสภาพแวดล้อม สถานีตรวจวัดอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ต่างๆ แบบ real time เข้าระบบ IOT 4.การจัดการปุ๋ย ด้วยเครื่องวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในใบพืช (Crop Space) เพื่อเป็นการให้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการของข้าว 5.การอารักขาพืช โดยการใช้โดรนติดกล้องถ่ายภาพบินตรวจการทําลายของโรค และแมลง รวมทั้งข้าวปนและวัชพืชในข้าว และ 6. มีระบบช่วยตัดสินใจด้วยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (IOT Platform) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลไปยังมือถือเกษตรกร ได้ตลอดเวลา ครอบคลุมรัศมี 2 กิโลเมตร หรือประมาณ 1 หมื่นไร่เศษ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​‘รมช.ประภัตร’ คิกออฟเปิดแปลงนาอัจฉริยะ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพและรายได้อย่างยั่งยืน วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ​‘รมช.ประภัตร’ คิกออฟเปิดแปลงนาอัจฉริยะ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพและรายได้อย่างยั่งยืน ​‘รมช.ประภัตร’ คิกออฟเปิดแปลงนาอัจฉริยะ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพและรายได้อย่างยั่งยืน หนุนถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร เผยปลูกข้าว 1 ไร่ ทุนไม่เกิน 3 พันบาท นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิด “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีแปลงนาอัจฉริยะ” ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2564 ณ แปลงเรียนรู้ ต.นางบวช อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายสําคัญในการสนับสนุนส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยการดําเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การทํานาโดยใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงานภาคการเกษตร การเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ และเกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับการบูรณาการกับทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร นายประภัตร กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันการผลิตทางการเกษตรมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัย สามารถนํามาใช้ในไร่นาได้ผลดีและจะส่งผลให้การผลิตในภาพรวมของประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ร่วมกันพัฒนา โดยกรมการข้าว ได้มอบหมายให้สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ทําการศึกษาทดลองซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าว โดยใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ พัฒนาเมล็ดพันธุ์ จนได้ชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมและพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวไปสู่เกษตรกร ได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเกษตรกร จัดทําแปลงเรียนรู้ด้านข้าว พื้นที่แปลงนากว่า 138 ไร่ ซึ่งการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัย จะเป็นเครื่องมือสําคัญ ในการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ จากการศึกษาและการทดลองเทคโนโลยีแปลงนาอัจฉริยะ พบว่า ต้นทุนในการปลูกข้าว ไม่เกิน 3,000 บาท/ไร่ และหวังอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรทั่วประเทศ ทั้งนี้ แนวทางเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะชุดนี้ มี 6 ประเด็นสําคัญ ตั้งแต่ 1.การเตรียมดิน โดยใช้เครื่องปรับดินเลเซอร์ (Laser land levelling) เพื่อการบริหารจัดการน้ําแบบเปียกสลับแห้ง ปรับระดับผิวดินให้เรียบ สม่ําเสมอ 2.การจัดระบบน้ํา ใช้ท่อวัดน้ําอัจฉริยะ แสดงผลปริมาณระดับน้ําทุกชั่วโมงผ่าน Line Application บนมือถือของเกษตรกร โดยใช้ Solar Cell เป็นแหล่งให้พลังงาน เมื่อน้ําต่ํากว่าระดับผิวดิน จึงจะปล่อยน้ําเข้าแปลงนา สามารถลดปริมาณการให้น้ําได้ 46% 3.การติดตามสภาพแวดล้อม สถานีตรวจวัดอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ต่างๆ แบบ real time เข้าระบบ IOT 4.การจัดการปุ๋ย ด้วยเครื่องวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในใบพืช (Crop Space) เพื่อเป็นการให้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการของข้าว 5.การอารักขาพืช โดยการใช้โดรนติดกล้องถ่ายภาพบินตรวจการทําลายของโรค และแมลง รวมทั้งข้าวปนและวัชพืชในข้าว และ 6. มีระบบช่วยตัดสินใจด้วยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (IOT Platform) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลไปยังมือถือเกษตรกร ได้ตลอดเวลา ครอบคลุมรัศมี 2 กิโลเมตร หรือประมาณ 1 หมื่นไร่เศษ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37586
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานในพิธีเปิดงานลานวัฒนธรรม ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ประจำปี ๒๕๖๓
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานในพิธีเปิดงานลานวัฒนธรรม ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ประจําปี ๒๕๖๓ ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานในพิธีเปิดงานลานวัฒนธรรม ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ประจําปี ๒๕๖๓ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานลานวัฒนธรรม ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ประจําปี ๒๕๖๓ และร่วมชมการแสดงโขนรามเกียรติ์ ชุด "พระรามราชสุริยวงศ์" โดยมี นางสรัลพัชร ประโมทะกะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดร.จิระพันธุ์ พิพพันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ เครือข่ายวัฒนธรรม ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมพิธี ณ บริเวณลานวัฒนธรรม หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดําเนินการจัดกิจกรรม "ลานวัฒนธรรม" ภายในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ระหว่างวันที่ ๑๑ -๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย การจําลองบรรยากาศย้อนรอยวิถีชีวิตอยุธยา การละเล่นของเด็กไทย การสาธิตและจําหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงแบบผ้าไทย และการสาธิตศิลปหัตถกรรม เป็นต้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานในพิธีเปิดงานลานวัฒนธรรม ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ประจำปี ๒๕๖๓ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานในพิธีเปิดงานลานวัฒนธรรม ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ประจําปี ๒๕๖๓ ผู้ช่วยรมว.วธ.เป็นประธานในพิธีเปิดงานลานวัฒนธรรม ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ประจําปี ๒๕๖๓ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานลานวัฒนธรรม ในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ประจําปี ๒๕๖๓ และร่วมชมการแสดงโขนรามเกียรติ์ ชุด "พระรามราชสุริยวงศ์" โดยมี นางสรัลพัชร ประโมทะกะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดร.จิระพันธุ์ พิพพันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ เครือข่ายวัฒนธรรม ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมพิธี ณ บริเวณลานวัฒนธรรม หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ สภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดําเนินการจัดกิจกรรม "ลานวัฒนธรรม" ภายในงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ระหว่างวันที่ ๑๑ -๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย การจําลองบรรยากาศย้อนรอยวิถีชีวิตอยุธยา การละเล่นของเด็กไทย การสาธิตและจําหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงแบบผ้าไทย และการสาธิตศิลปหัตถกรรม เป็นต้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37582
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานงานเปิดตัวหนังสือ “Sri Lanka Charika Kavya : A Thai Niras by Khun Ballobh Kritayanavaj” ในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและศรีลังกา
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.วธ.เป็นประธานงานเปิดตัวหนังสือ “Sri Lanka Charika Kavya : A Thai Niras by Khun Ballobh Kritayanavaj” ในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและศรีลังกา รมว.วธ.เป็นประธานงานเปิดตัวหนังสือ “Sri Lanka Charika Kavya : A Thai Niras by Khun Ballobh Kritayanavaj” ในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและศรีลังกา วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานงานเปิดตัวหนังสือ “Sri Lanka Charika Kavya : A Thai Niras by Khun Ballobh Kritayanavaj” ในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและศรีลังกา โดยมี นางสมันตา เค ชยสุริยะ (H.E. Mrs. Samantha K. Jayasuriya) เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจําประเทศไทย ให้การต้อนรับ และมี นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตฯ พระภิกษุสงฆ์ พุทธศาสนิกชน แขกผู้มีเกียรติ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานงานเปิดตัวหนังสือ “Sri Lanka Charika Kavya : A Thai Niras by Khun Ballobh Kritayanavaj” ในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและศรีลังกา วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 รมว.วธ.เป็นประธานงานเปิดตัวหนังสือ “Sri Lanka Charika Kavya : A Thai Niras by Khun Ballobh Kritayanavaj” ในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและศรีลังกา รมว.วธ.เป็นประธานงานเปิดตัวหนังสือ “Sri Lanka Charika Kavya : A Thai Niras by Khun Ballobh Kritayanavaj” ในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและศรีลังกา วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานงานเปิดตัวหนังสือ “Sri Lanka Charika Kavya : A Thai Niras by Khun Ballobh Kritayanavaj” ในโอกาสครบรอบ ๖๕ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและศรีลังกา โดยมี นางสมันตา เค ชยสุริยะ (H.E. Mrs. Samantha K. Jayasuriya) เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจําประเทศไทย ให้การต้อนรับ และมี นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตฯ พระภิกษุสงฆ์ พุทธศาสนิกชน แขกผู้มีเกียรติ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงาน ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37609
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระตุ้นเศรษฐกิจภูเก็ต! จุรินทร์ ยกขบวนพาณิชย์ ลุยฟื้นช่วยเศรษฐกิจภูเก็ต กระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศเต็มเหนี่ยว
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 กระตุ้นเศรษฐกิจภูเก็ต! จุรินทร์ ยกขบวนพาณิชย์ ลุยฟื้นช่วยเศรษฐกิจภูเก็ต กระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศเต็มเหนี่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภูเก็ต! จุรินทร์ ยกขบวนพาณิชย์ ลุยฟื้นช่วยเศรษฐกิจภูเก็ต กระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศเต็มเหนี่ยว 11 ธ.ค.2563 เวลา 16.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน “ธงฟ้า on the beach & Seafood festival หรอยริมเล @ป่าตอง" ณ บริเวณชายหาดป่าตอง อําเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายจุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตพึ่งพาเศรษฐกิจขาเดียวคือการท่องเที่ยวทําให้กระทบมากในเรื่องเศรษกิจหดตัวและซ้ํากับโควิด-19 ถ้าเทียบกับจังหวัดรอบข้างพึ่งพา 2 ขาคือท่องเที่ยวและการเกษตรด้วย เมื่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศหายแต่ยังเหลือคนเที่ยวในประเทศ รัฐบาลเห็นใจอยากเปิดประเทศให้เร็วที่สุดแต่ต้องคํานึงถึงทั้งเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจไปด้วยต้องตอบโจทก์ทั้ง 2 ข้อ ดังนั้นเวลานี้จึงต้องกระตุ้นให้ไทยเที่ยวไทย โดยรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อให้ฟื้นจากผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งจังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดที่พึ่งพาการท่องเที่ยว จากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้ประกอบการ และชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ในการนี้กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ มีภารกิจสําคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจและช่องทางการกระจายสินค้า สําหรับเกษตรกร และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ผ่านการจัดกิจกรรมงานแสดงสินค้า ซึ่งในขณะเดียวกัน จะเป็นการอํานวยความสะดวกให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี ในราคาเป็นธรรมได้อีกด้วย จับมือกับหลายฝ่ายเพื่อต่อลมหายใจให้ชาวป่าตองและภูเก็ต นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้การจัดงาน “ธงฟ้า on the beach & Seafood festival หรอยริมเล @ป่าตอง” โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายและศักยภาพของประเทศข้างต้น มีสินค้าราคาย่อมเยามาขายให้ประชาชนเสริมไปด้วยในช่วง 3 วันคือ 11-13 ธ.ค. 2563 ซึ่งถือโอกาสดีที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวจะได้ไปร่วมซื้อหาสินค้าและลิ้มรสอาหารอร่อยและคุณภาพดี รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคราคาเป็นธรรมภายในงาน โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดงานอาหารทะเลมาแล้ว 5 ครั้ง ที่กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ภูเก็ต พังงา และสงขลา ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก " สําหรับการจัดงานในวันนี้ ผมขอขอบคุณจังหวัดภูเก็ตที่อนุเคราะห์สถานที่จัดงาน เพื่อให้เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ค้า รวมถึงวิสาหกิจชุมชน (OTOP) นําสินค้าอาหารทะเล ผลไม้ อาหารท้องถิ่น และสินค้าอุปโภคบริโภค มาจําหน่ายให้แก่พี่น้องชาวภูเก็ตและนักท่องเที่ยว และขอบคุณนักช้อปทุกท่านที่มาอุดหนุนสินค้าและเลือกชิมอาหารรสเลิศในวันนี้ รวมทั้งขอบคุณกรมการค้าภายใน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ร่วมกันจัดงานในวันนี้ขึ้น และในโอกาสนี้ ขออวยพรให้การจัดงานครั้งนี้ประสบความสําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ บัดนี้ ถึงเวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดงาน “ธงฟ้า on the beach & Seafood festival หรอยริมเล @ป่าตอง” อย่างเป็นทางการ ขอบคุณครับ "
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระตุ้นเศรษฐกิจภูเก็ต! จุรินทร์ ยกขบวนพาณิชย์ ลุยฟื้นช่วยเศรษฐกิจภูเก็ต กระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศเต็มเหนี่ยว วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 กระตุ้นเศรษฐกิจภูเก็ต! จุรินทร์ ยกขบวนพาณิชย์ ลุยฟื้นช่วยเศรษฐกิจภูเก็ต กระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศเต็มเหนี่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภูเก็ต! จุรินทร์ ยกขบวนพาณิชย์ ลุยฟื้นช่วยเศรษฐกิจภูเก็ต กระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศเต็มเหนี่ยว 11 ธ.ค.2563 เวลา 16.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน “ธงฟ้า on the beach & Seafood festival หรอยริมเล @ป่าตอง" ณ บริเวณชายหาดป่าตอง อําเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายจุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตพึ่งพาเศรษฐกิจขาเดียวคือการท่องเที่ยวทําให้กระทบมากในเรื่องเศรษกิจหดตัวและซ้ํากับโควิด-19 ถ้าเทียบกับจังหวัดรอบข้างพึ่งพา 2 ขาคือท่องเที่ยวและการเกษตรด้วย เมื่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศหายแต่ยังเหลือคนเที่ยวในประเทศ รัฐบาลเห็นใจอยากเปิดประเทศให้เร็วที่สุดแต่ต้องคํานึงถึงทั้งเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจไปด้วยต้องตอบโจทก์ทั้ง 2 ข้อ ดังนั้นเวลานี้จึงต้องกระตุ้นให้ไทยเที่ยวไทย โดยรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อให้ฟื้นจากผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งจังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดที่พึ่งพาการท่องเที่ยว จากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้ประกอบการ และชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ในการนี้กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ มีภารกิจสําคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจและช่องทางการกระจายสินค้า สําหรับเกษตรกร และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ผ่านการจัดกิจกรรมงานแสดงสินค้า ซึ่งในขณะเดียวกัน จะเป็นการอํานวยความสะดวกให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี ในราคาเป็นธรรมได้อีกด้วย จับมือกับหลายฝ่ายเพื่อต่อลมหายใจให้ชาวป่าตองและภูเก็ต นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้การจัดงาน “ธงฟ้า on the beach & Seafood festival หรอยริมเล @ป่าตอง” โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายและศักยภาพของประเทศข้างต้น มีสินค้าราคาย่อมเยามาขายให้ประชาชนเสริมไปด้วยในช่วง 3 วันคือ 11-13 ธ.ค. 2563 ซึ่งถือโอกาสดีที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวจะได้ไปร่วมซื้อหาสินค้าและลิ้มรสอาหารอร่อยและคุณภาพดี รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคราคาเป็นธรรมภายในงาน โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดงานอาหารทะเลมาแล้ว 5 ครั้ง ที่กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ภูเก็ต พังงา และสงขลา ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก " สําหรับการจัดงานในวันนี้ ผมขอขอบคุณจังหวัดภูเก็ตที่อนุเคราะห์สถานที่จัดงาน เพื่อให้เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ค้า รวมถึงวิสาหกิจชุมชน (OTOP) นําสินค้าอาหารทะเล ผลไม้ อาหารท้องถิ่น และสินค้าอุปโภคบริโภค มาจําหน่ายให้แก่พี่น้องชาวภูเก็ตและนักท่องเที่ยว และขอบคุณนักช้อปทุกท่านที่มาอุดหนุนสินค้าและเลือกชิมอาหารรสเลิศในวันนี้ รวมทั้งขอบคุณกรมการค้าภายใน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ร่วมกันจัดงานในวันนี้ขึ้น และในโอกาสนี้ ขออวยพรให้การจัดงานครั้งนี้ประสบความสําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ บัดนี้ ถึงเวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดงาน “ธงฟ้า on the beach & Seafood festival หรอยริมเล @ป่าตอง” อย่างเป็นทางการ ขอบคุณครับ "
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37587
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สนั่นพังงา! "จุรินทร์"เคาะจ่ายประกันรายได้ยางพาราทั่วประเทศวันนี้ ชาวสวนยาง"ยิ้มรับเงินส่วนต่างถ้วนหน้า" ทั้งบัตรเขียว-บัตรชมพู
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สนั่นพังงา! "จุรินทร์"เคาะจ่ายประกันรายได้ยางพาราทั่วประเทศวันนี้ ชาวสวนยาง"ยิ้มรับเงินส่วนต่างถ้วนหน้า" ทั้งบัตรเขียว-บัตรชมพู สนั่นพังงา! "จุรินทร์"เคาะจ่ายประกันรายได้ยางพาราทั่วประเทศวันนี้ ชาวสวนยาง"ยิ้มรับเงินส่วนต่างถ้วนหน้า" ทั้งบัตรเขียว-บัตรชมพู 11 ธ.ค.2563 เวลา 10.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน Kick off หรือกดปุ่มจ่ายโอนเงินส่วนต่างประกันรายได้ชาวสวนยางพาราปีที่ 2 ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบเรื่องที่นายจุรินทร์เสนอเรื่องเข้าจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทําให้เกษตรกรได้รับเงินส่วนต่างจะมีทั้งเกษตรกรชาวสวนยางที่ถือบัตรสีเขียวหรือผู้มีเอกสารสิทธิและที่ถือบัตรสีชมพูหรือเกษตรกรกลุ่มด้อยโอกาสที่แจ้งปลูก โดยผู้ถือบัตรสีเขียวมีประมาณ 9.6 แสนราย ส่วนผู้ถือบัตรสีชมพูจะมีประมาณ 3.4 แสนราย รวมแล้วจะมีเกษตรกรชาวสวนยางที่จะได้รับสิทธิเงินส่วนต่างประมาณ 1.3 ล้านรายทั่วประเทศ แต่ด้วยการประกาศราคาเกณฑ์กลางงวดนี้จะได้รับการชดเชย 2 ชนิดคือยางก้อนถ้วย น้ํายางสดเท่านั้น เพราะน้ํายางดิบได้ประโยชน์จากราคายางที่สูงทะลุราคาประกันรายได้ไปแล้ว นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้เกษตรกรชาวสวนยางพาราจะได้รับส่วนต่างพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งนายจุรินทร์ระบุว่าโครงการประกันรายได้เกิดจากนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ที่เข้าร่วมรัฐบาลและให้หลักประกันความมั่นคงทางอาชีพเกษตรกรและแถลงต่อรัฐสภามาแล้วและได้ดําเนินการสําเร็จมาแล้ว 1 ปีขณะนี้เดินหน้าปีที่2 โครงการนี้มีหลักคือถ้าราคายางตกต่ําเกษตรกรจะได้ส่วนต่างมาชดเชย เกษตรกรจะได้เงิน 2 กระเป๋านั่นเอง และการจ่ายเงินส่วนต่างโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 หรือประกันรายได้ยางพาราปี2 สําหรับโครงการดังกล่าวนี้ทั่วประเทศจะครอบคลุมเกษตรกรชาวสวนยางพื้นที่ปลูกยางพารากว่า 18 ล้านไร่ โดยยึดหลักเกณฑ์เดิมตามโครงการระยะที่ 1 ประกันรายได้ยาง 3 ชนิด คือ 1)ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม 2)น้ํายางสด (DRC 100%) ราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม และ3)ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา 23 บาทต่อกิโลกรัม โดยกําหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ คือ ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จํานวนไม่เกิน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จํานวนไม่เกิน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน สําหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดยางไปแล้วรายละไม่เกิน 25 ไร่ มีสัดส่วนแบ่งรายได้ระหว่างเจ้าของ 60% และคนกรีดยาง 40% ส่วนระยะเวลาโครงการ เดือนกันยายน 2563 – กันยายน 2564 รายงานข่าวการยางแห่งประเทศไทย ระบุว่าสําหรับจังหวัดพังงา ข้อมูลโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดพังงาพื้นที่สวนยางทั้งหมด 734,430 ไร่ชาวสวนยางขึ้นทะเบียนและแจ้งพื้นที่ปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทยจํานวน 34,095 รายเนื้อที่สวนยางบัตรสีเขียว 20,694 ราย พื้นที่ 302,904 ไร่ บัตรสีชมพู 13,401 รายพื้นที่ 214,509 ราย โดยเมื่อปีก่อนเกษตรกรชาวสวนยางได้รับเงินช่วยเหลือไปแล้วจํานวน 20,600 ราย ส่วนปีนี้โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระยะที่2 จ่ายเงินรอบที่หนึ่งในวันที่ 11 ธันวาคม 2563 เกษตรกรพังงาได้รับเงินช่วยเหลือ 16,421 ราย แบ่งเป็นบัตรเขียวจํานวน 13,652 ราย บัตรชมพูจํานวน 4179 รายแต่งวดนี้ชดเชยเฉพาะยางก้อนถ้วยและน้ํายางสดเนื่องจากราคายางแผ่นดิบสูงกว่าราคาประกัน ด้านนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย ระบุว่า ส่วนมาตรการเสริมที่นายจุรินทร์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และดูแลกระทรวงเกษตรฯผลักดันให้รัฐบาลอนุมัติซึ่งเป็นมาตรการคู่ขนานที่เป็นปัจจัยกระตุ้นราคาที่สําคัญคือ 1. มาตรการกํากับดูแลด้านปริมาณ ผู้ประกอบกิจการยางที่มีปริมาณการรับซื้อตั้งแต่เดือนละ 5,000 กก.ขึ้นไป แจ้งปริมาณการซื้อ ปริมาณการจําหน่าย ปริมาณการใช้ไป ปริมาณคงเหลือ และ สถานที่เก็บสินค้ายางพารา ตลอดจนให้จัดทําบัญชีคุมรายวัน 2. ส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ ระหว่าง ต.ค. 62 - ก.ย. 65 3.โครงการสนับสนุนสินเชื่อ 5 โครงการ คือ โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวมยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 1 เม.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท ระยะเวลาดําเนินงาน 1 ก.ย. 57 - 31 ธ.ค. 67 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) (20,000 ล้านบาท) ระยะเวลาดําเนินงาน ม.ค. 63 – ธ.ค. 64 โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ ปี 59 – 69 โดยสนับสนุนวงเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราร้อยละ 3 ไม่เกิน 600 ล้านบาท
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สนั่นพังงา! "จุรินทร์"เคาะจ่ายประกันรายได้ยางพาราทั่วประเทศวันนี้ ชาวสวนยาง"ยิ้มรับเงินส่วนต่างถ้วนหน้า" ทั้งบัตรเขียว-บัตรชมพู วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 สนั่นพังงา! "จุรินทร์"เคาะจ่ายประกันรายได้ยางพาราทั่วประเทศวันนี้ ชาวสวนยาง"ยิ้มรับเงินส่วนต่างถ้วนหน้า" ทั้งบัตรเขียว-บัตรชมพู สนั่นพังงา! "จุรินทร์"เคาะจ่ายประกันรายได้ยางพาราทั่วประเทศวันนี้ ชาวสวนยาง"ยิ้มรับเงินส่วนต่างถ้วนหน้า" ทั้งบัตรเขียว-บัตรชมพู 11 ธ.ค.2563 เวลา 10.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน Kick off หรือกดปุ่มจ่ายโอนเงินส่วนต่างประกันรายได้ชาวสวนยางพาราปีที่ 2 ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบเรื่องที่นายจุรินทร์เสนอเรื่องเข้าจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทําให้เกษตรกรได้รับเงินส่วนต่างจะมีทั้งเกษตรกรชาวสวนยางที่ถือบัตรสีเขียวหรือผู้มีเอกสารสิทธิและที่ถือบัตรสีชมพูหรือเกษตรกรกลุ่มด้อยโอกาสที่แจ้งปลูก โดยผู้ถือบัตรสีเขียวมีประมาณ 9.6 แสนราย ส่วนผู้ถือบัตรสีชมพูจะมีประมาณ 3.4 แสนราย รวมแล้วจะมีเกษตรกรชาวสวนยางที่จะได้รับสิทธิเงินส่วนต่างประมาณ 1.3 ล้านรายทั่วประเทศ แต่ด้วยการประกาศราคาเกณฑ์กลางงวดนี้จะได้รับการชดเชย 2 ชนิดคือยางก้อนถ้วย น้ํายางสดเท่านั้น เพราะน้ํายางดิบได้ประโยชน์จากราคายางที่สูงทะลุราคาประกันรายได้ไปแล้ว นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้เกษตรกรชาวสวนยางพาราจะได้รับส่วนต่างพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งนายจุรินทร์ระบุว่าโครงการประกันรายได้เกิดจากนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ที่เข้าร่วมรัฐบาลและให้หลักประกันความมั่นคงทางอาชีพเกษตรกรและแถลงต่อรัฐสภามาแล้วและได้ดําเนินการสําเร็จมาแล้ว 1 ปีขณะนี้เดินหน้าปีที่2 โครงการนี้มีหลักคือถ้าราคายางตกต่ําเกษตรกรจะได้ส่วนต่างมาชดเชย เกษตรกรจะได้เงิน 2 กระเป๋านั่นเอง และการจ่ายเงินส่วนต่างโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 หรือประกันรายได้ยางพาราปี2 สําหรับโครงการดังกล่าวนี้ทั่วประเทศจะครอบคลุมเกษตรกรชาวสวนยางพื้นที่ปลูกยางพารากว่า 18 ล้านไร่ โดยยึดหลักเกณฑ์เดิมตามโครงการระยะที่ 1 ประกันรายได้ยาง 3 ชนิด คือ 1)ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม 2)น้ํายางสด (DRC 100%) ราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม และ3)ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา 23 บาทต่อกิโลกรัม โดยกําหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ คือ ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จํานวนไม่เกิน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จํานวนไม่เกิน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน สําหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดยางไปแล้วรายละไม่เกิน 25 ไร่ มีสัดส่วนแบ่งรายได้ระหว่างเจ้าของ 60% และคนกรีดยาง 40% ส่วนระยะเวลาโครงการ เดือนกันยายน 2563 – กันยายน 2564 รายงานข่าวการยางแห่งประเทศไทย ระบุว่าสําหรับจังหวัดพังงา ข้อมูลโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดพังงาพื้นที่สวนยางทั้งหมด 734,430 ไร่ชาวสวนยางขึ้นทะเบียนและแจ้งพื้นที่ปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทยจํานวน 34,095 รายเนื้อที่สวนยางบัตรสีเขียว 20,694 ราย พื้นที่ 302,904 ไร่ บัตรสีชมพู 13,401 รายพื้นที่ 214,509 ราย โดยเมื่อปีก่อนเกษตรกรชาวสวนยางได้รับเงินช่วยเหลือไปแล้วจํานวน 20,600 ราย ส่วนปีนี้โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระยะที่2 จ่ายเงินรอบที่หนึ่งในวันที่ 11 ธันวาคม 2563 เกษตรกรพังงาได้รับเงินช่วยเหลือ 16,421 ราย แบ่งเป็นบัตรเขียวจํานวน 13,652 ราย บัตรชมพูจํานวน 4179 รายแต่งวดนี้ชดเชยเฉพาะยางก้อนถ้วยและน้ํายางสดเนื่องจากราคายางแผ่นดิบสูงกว่าราคาประกัน ด้านนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย ระบุว่า ส่วนมาตรการเสริมที่นายจุรินทร์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และดูแลกระทรวงเกษตรฯผลักดันให้รัฐบาลอนุมัติซึ่งเป็นมาตรการคู่ขนานที่เป็นปัจจัยกระตุ้นราคาที่สําคัญคือ 1. มาตรการกํากับดูแลด้านปริมาณ ผู้ประกอบกิจการยางที่มีปริมาณการรับซื้อตั้งแต่เดือนละ 5,000 กก.ขึ้นไป แจ้งปริมาณการซื้อ ปริมาณการจําหน่าย ปริมาณการใช้ไป ปริมาณคงเหลือ และ สถานที่เก็บสินค้ายางพารา ตลอดจนให้จัดทําบัญชีคุมรายวัน 2. ส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ ระหว่าง ต.ค. 62 - ก.ย. 65 3.โครงการสนับสนุนสินเชื่อ 5 โครงการ คือ โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวมยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 1 เม.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท ระยะเวลาดําเนินงาน 1 ก.ย. 57 - 31 ธ.ค. 67 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) (20,000 ล้านบาท) ระยะเวลาดําเนินงาน ม.ค. 63 – ธ.ค. 64 โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ ปี 59 – 69 โดยสนับสนุนวงเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราร้อยละ 3 ไม่เกิน 600 ล้านบาท
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37567
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บก.เพิ่มเติมรายการยาในระบบ OCPA สำหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา ให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 บก.เพิ่มเติมรายการยาในระบบ OCPA สําหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา ให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ กรมบัญชีกลางห่วงใย ใส่ใจคุณภาพชีวิตผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มเติมรายการยา Erlotinib ในระบบ OCPA ซึ่งใช้รักษาโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามถึงแพร่กระจาย ให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ กรมบัญชีกลางห่วงใย ใส่ใจคุณภาพชีวิตผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มเติมรายการยา Erlotinib ในระบบ OCPA ซึ่งใช้รักษาโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามถึงแพร่กระจาย ให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ เพื่อลดภาระให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว เริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. 63 นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันมีผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา และจําเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งยาบางชนิดไม่สามารถเบิกจ่ายตรงได้ ทําให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวต้องสํารองเงินจ่ายไปก่อน กรมบัญชีกลางโดยคณะทํางานพิจารณาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาระบบเบิกจ่ายค่ายากลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งได้ดําเนินโครงการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสําหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา (ระบบ OCPA) มาอย่างต่อเนื่อง จึงได้ดําเนินการเพิ่มเติมรายการยาในระบบ OCPA อีก 1 รายการ ได้แก่ ยา Erlotinib เพื่อใช้สําหรับการรักษาโรคมะเร็งปอด ชนิด Non-small cell lung carcinoma (NSCLC) ระยะลุกลามถึงแพร่กระจายที่มีผลตรวจการกลายพันธ์ของยีน Epidermal growth factor receptor (EGFR) เป็นบวก เพื่อบรรเทาภาระให้กับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ โดยไม่ต้องทดรองจ่ายเงินไปก่อน เริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป “สถานพยาบาลจะต้องดําเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้ทําการรักษาและผู้ป่วย พร้อมทั้งส่งข้อมูลการใช้ยาในระบบ OCPA เพื่อขออนุมัติเบิกค่ายา ขอต่ออายุการเบิกค่ายา ขอหยุดการใช้ยาและต้องได้รับอนุมัติจากระบบ OCPA ก่อน จึงจะสามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้ ซึ่งปัจจุบันระบบ OCPA มีรายการยาสําหรับการรักษาโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาที่เบิกจ่ายตรงได้ จํานวนทั้งสิ้น 23 รายการ และ 36 เงื่อนไขข้อบ่งชี้ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางยังคงปรับปรุงแนวทางการรักษาโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวันและเวลาราชการ ” อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บก.เพิ่มเติมรายการยาในระบบ OCPA สำหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา ให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 บก.เพิ่มเติมรายการยาในระบบ OCPA สําหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา ให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ กรมบัญชีกลางห่วงใย ใส่ใจคุณภาพชีวิตผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มเติมรายการยา Erlotinib ในระบบ OCPA ซึ่งใช้รักษาโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามถึงแพร่กระจาย ให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ กรมบัญชีกลางห่วงใย ใส่ใจคุณภาพชีวิตผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มเติมรายการยา Erlotinib ในระบบ OCPA ซึ่งใช้รักษาโรคมะเร็งปอดระยะลุกลามถึงแพร่กระจาย ให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ เพื่อลดภาระให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว เริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. 63 นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันมีผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา และจําเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งยาบางชนิดไม่สามารถเบิกจ่ายตรงได้ ทําให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวต้องสํารองเงินจ่ายไปก่อน กรมบัญชีกลางโดยคณะทํางานพิจารณาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาระบบเบิกจ่ายค่ายากลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งได้ดําเนินโครงการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสําหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา (ระบบ OCPA) มาอย่างต่อเนื่อง จึงได้ดําเนินการเพิ่มเติมรายการยาในระบบ OCPA อีก 1 รายการ ได้แก่ ยา Erlotinib เพื่อใช้สําหรับการรักษาโรคมะเร็งปอด ชนิด Non-small cell lung carcinoma (NSCLC) ระยะลุกลามถึงแพร่กระจายที่มีผลตรวจการกลายพันธ์ของยีน Epidermal growth factor receptor (EGFR) เป็นบวก เพื่อบรรเทาภาระให้กับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวให้สามารถเบิกจ่ายตรงได้ โดยไม่ต้องทดรองจ่ายเงินไปก่อน เริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป “สถานพยาบาลจะต้องดําเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้ทําการรักษาและผู้ป่วย พร้อมทั้งส่งข้อมูลการใช้ยาในระบบ OCPA เพื่อขออนุมัติเบิกค่ายา ขอต่ออายุการเบิกค่ายา ขอหยุดการใช้ยาและต้องได้รับอนุมัติจากระบบ OCPA ก่อน จึงจะสามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้ ซึ่งปัจจุบันระบบ OCPA มีรายการยาสําหรับการรักษาโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาที่เบิกจ่ายตรงได้ จํานวนทั้งสิ้น 23 รายการ และ 36 เงื่อนไขข้อบ่งชี้ ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางยังคงปรับปรุงแนวทางการรักษาโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวันและเวลาราชการ ” อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37561