title
stringlengths
0
33.4k
context
stringlengths
0
133k
raw
stringlengths
39
133k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ประชุมทางไกลขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 สธ.ประชุมทางไกลขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด กระทรวงสาธารณสุขประชุมทางไกลผ่านระบบ VDO นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ทบทวนองค์ประกอบคณะกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด วางแผน ดําเนินการตามยุทธศาสตร์ ลดนักดื่มหน้าใหม่ บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่อย่างเข้มข้น กระทรวงสาธารณสุขประชุมทางไกลผ่านระบบ VDO นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ทบทวนองค์ประกอบคณะกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด วางแผน ดําเนินการตามยุทธศาสตร์ ลดนักดื่มหน้าใหม่ บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่อย่างเข้มข้น วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2561) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมทางไกลผ่านระบบ VDO กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด ตามยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดนักดื่มหน้าใหม่และเข้มข้นการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ นายแพทย์ศุภกิจกล่าวว่า คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีมติเห็นชอบแนวปฏิบัติการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด และให้จังหวัดดําเนินการตามมติ ดังนี้ 1.ทบทวนความถูกต้อง ครบถ้วนองค์ประกอบคณะกรรมการฯ ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานให้เป็นปัจจุบัน โดยมอบหมายให้หน่วยราชการ และภาคประชาสังคมร่วมรับผิดชอบแผนงานต่าง ๆ 2. จัดการประชุมคณะกรรมการฯ จังหวัด อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามผลการดําเนินงานทุก 3 เดือน 3.ดําเนินการตามยุทธศาสตร์จังหวัดและยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น อาทิ จัดกิจกรรมป้องกันเยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ มีการเฝ้าระวังและออกตรวจเพื่อป้องปราม รณรงค์ให้งานบุญประเพณี งานกีฬา งานเลี้ยงเป็นงานปลอดภัยปลอดสุรา สนับสนุนการดําเนินงานของท้องถิ่นให้การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการบําบัดรักษาผู้มีปัญหาสุราสําเร็จ ในปี 2562 ตั้งเป้าให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1,068 แห่งทั่วประเทศ คัดกรองและบําบัดผู้ติดสุราให้ได้ร้อยละ 40 ของผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาล บังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 80 และใช้มาตรการชุมชนช่วยในการควบคุมการดื่มสุราอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง “การจัดประชุมวันนี้เป็นการกระตุ้นเตือนการดําเนินงานควบคุมเครื่องดื่มในระดับจังหวัดให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ มีการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือลดนักดื่มหน้าใหม่ ส่งเสริมให้เยาวชนไม่ริเริ่มการดื่มสุรา และเตรียมความพร้อมรับเทศกาลปีใหม่ 2562 เพื่อลดปัญหาการบาดเจ็บจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บในทุกเทศกาล ทั้งนี้ ข้อมูลสํานักงานสถิติแห่งชาติในปี 2560 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปดื่มแอลกอฮอล์ จํานวน 15,897,262 คน คิดเป็นร้อยละ 28.4 ส่วนเยาวชนอายุ 15-19 ปี ดื่มแอลกอฮอล์ จํานวน 623,773คน คิดเป็นร้อยละ 13.6 ในกลุ่มเยาวชน” นายแพทย์ศุภกิจกล่าว ******************************** 7 พฤศจิกายน 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ประชุมทางไกลขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 สธ.ประชุมทางไกลขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด กระทรวงสาธารณสุขประชุมทางไกลผ่านระบบ VDO นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ทบทวนองค์ประกอบคณะกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด วางแผน ดําเนินการตามยุทธศาสตร์ ลดนักดื่มหน้าใหม่ บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่อย่างเข้มข้น กระทรวงสาธารณสุขประชุมทางไกลผ่านระบบ VDO นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ทบทวนองค์ประกอบคณะกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด วางแผน ดําเนินการตามยุทธศาสตร์ ลดนักดื่มหน้าใหม่ บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่อย่างเข้มข้น วันนี้ (7 พฤศจิกายน 2561) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมทางไกลผ่านระบบ VDO กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ขับเคลื่อนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด ตามยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดนักดื่มหน้าใหม่และเข้มข้นการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ นายแพทย์ศุภกิจกล่าวว่า คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีมติเห็นชอบแนวปฏิบัติการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด และให้จังหวัดดําเนินการตามมติ ดังนี้ 1.ทบทวนความถูกต้อง ครบถ้วนองค์ประกอบคณะกรรมการฯ ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานให้เป็นปัจจุบัน โดยมอบหมายให้หน่วยราชการ และภาคประชาสังคมร่วมรับผิดชอบแผนงานต่าง ๆ 2. จัดการประชุมคณะกรรมการฯ จังหวัด อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามผลการดําเนินงานทุก 3 เดือน 3.ดําเนินการตามยุทธศาสตร์จังหวัดและยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น อาทิ จัดกิจกรรมป้องกันเยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ มีการเฝ้าระวังและออกตรวจเพื่อป้องปราม รณรงค์ให้งานบุญประเพณี งานกีฬา งานเลี้ยงเป็นงานปลอดภัยปลอดสุรา สนับสนุนการดําเนินงานของท้องถิ่นให้การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการบําบัดรักษาผู้มีปัญหาสุราสําเร็จ ในปี 2562 ตั้งเป้าให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1,068 แห่งทั่วประเทศ คัดกรองและบําบัดผู้ติดสุราให้ได้ร้อยละ 40 ของผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาล บังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 80 และใช้มาตรการชุมชนช่วยในการควบคุมการดื่มสุราอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง “การจัดประชุมวันนี้เป็นการกระตุ้นเตือนการดําเนินงานควบคุมเครื่องดื่มในระดับจังหวัดให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ มีการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือลดนักดื่มหน้าใหม่ ส่งเสริมให้เยาวชนไม่ริเริ่มการดื่มสุรา และเตรียมความพร้อมรับเทศกาลปีใหม่ 2562 เพื่อลดปัญหาการบาดเจ็บจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บในทุกเทศกาล ทั้งนี้ ข้อมูลสํานักงานสถิติแห่งชาติในปี 2560 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปดื่มแอลกอฮอล์ จํานวน 15,897,262 คน คิดเป็นร้อยละ 28.4 ส่วนเยาวชนอายุ 15-19 ปี ดื่มแอลกอฮอล์ จํานวน 623,773คน คิดเป็นร้อยละ 13.6 ในกลุ่มเยาวชน” นายแพทย์ศุภกิจกล่าว ******************************** 7 พฤศจิกายน 2561
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16612
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีข้อกล่าวหากติกาธุรกิจน้ำมัน
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561 กระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีข้อกล่าวหากติกาธุรกิจน้ํามัน กระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีข้อกล่าวหากติกาธุรกิจน้ํามัน วันที่ 29 พฤษภาคม 2561 นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน ชี้แจงกรณีข้อกล่าวหา “กติกาธุรกิจน้ํามัน” ตามที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง กติกาธุรกิจน้ํามัน ดังนี้ ประเด็นที่ 1 : ตั้งแต่มีการปฏิวัติในปี 2557 มีปรากฏการณ์หลายครั้ง ที่ราคาน้ํามันในตลาดโลกลดลง แต่ราคาขายปลีกในประเทศไทยไม่ลด หรือลดลงน้อยมาก ขณะที่ห่วงโซในธุรกิจน้ํามัน มีห่วงโซ่ของโรงกลั่นน้ํามันและห่วงโซ่ของการขายส่งขายปลีกน้ํามัน ซึ่งมีกติกาที่ไม่เหมาะสม • กระทรวงพลังงาน โดยสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจในการกํากับ ติดตาม และประเมินนโยบายและแผนบริหารพลังงานของประเทศ จึงมีการจัดทําโครงสร้างราคาน้ํามันเชื้อเพลิง เพื่อติดตามดูแลค่าการตลาดของราคาน้ํามันเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ที่ผู้ค้าไม่ขาดทุนจนกระทั่งปิดบริษัท และผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบโดยผู้ค้าน้ํามัน รวมไปถึงกรณีการใช้กลไกของกองทุนน้ํามันเชื้อเพลิงในการกํากับดูแลราคาขายปลีกน้ํามันเชื้อเพลิงไม่ให้มีความผันผวน • ตั้งแต่ปี 2557 พบว่าราคาขายปลีกในประเทศได้ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามทิศทางราคาน้ํามันตลาดโลกแต่ในบางช่วงเวลาอาจพบว่าราคาไม่ลดหรือลดลงน้อยมาก เนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน ราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล , ไบโอดีเซล ) รวมนโยบายปรับเพิ่มหรือลดภาษีหรือกองทุนต่าง ๆ ประเด็นที่ 2 : น้ํามันที่ค้นพบในประเทศไทยแล้วนําขึ้นมากลั่นในไทยเพื่อใช้ในประเทศไทย ไม่ควรอ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากน้ํามันส่วนนี้ไม่ใช่น้ํามันนําเข้าจากตะวันออกกลาง ประเด็นชี้แจง • ในปี 2560 น้ํามันดิบที่ค้นพบในประเทศแล้วส่งเข้าโรงกลั่นในประเทศมีเพียงร้อยละ 13 ของน้ํามันดิบที่ส่งเข้าโรงกลั่นในประเทศทั้งหมด (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2561) อีกร้อยละ 87 ต้องนําเข้าน้ํามันดิบจากต่างประเทศเข้ามากลั่น โดยที่ราคาน้ํามันสําเร็จรูปจะใช้หลักการอ้างอิงกับราคากลางน้ํามันสําเร็จรูปตลาดภูมิภาคเอเชีย คือตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการซื้อขาย (ส่งออก/นําเข้า) ของภูมิภาคเอเชียและเป็นตลาดการค้าเสรี ดังนั้น จึงมีปริมาณซื้อขายในระดับสูงเช่นเดียวกับตลาดในภูมิภาคอื่น ๆ สามารถสะท้อนถึงราคาน้ํามันของตลาดในภูมิภาคอื่นของโลกได้ มีปัจจัยน้อยที่จะส่งควบคุมการขึ้นและลงของราคาน้ํามันได้ • ในทางกลับกันหากราคาตั้งต้นของน้ํามันสําเร็จรูปใช้การคํานวณจากต้นทุนน้ํามันดิบที่นําเข้าบวกค่าการกลั่น (Cost Plus) เนื่องจากน้ํามันดิบที่โรงกลั่นแต่ละโรงใช้คุณภาพและราคาที่ไม่เท่ากันนั้น ทําให้ต้นทุนการกลั่นในแต่ละโรงแตกต่างกันไป ดังนั้น การกําหนดค่าเฉลี่ยการกลั่นที่เท่ากันและต้นทุนน้ํามันดิบที่เท่ากันในโครงสร้างราคาน้ํามันเชื้อเพลิง จะทําให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันและไม่สะท้อนต้นทุนของแต่ละโรงกลั่น จะทําให้โรงกลั่นของไทยไม่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ําลง รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้ในการขยายกําลังการผลิตรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต อันจะส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในระยะยาว ประเด็นที่ 3 : น้ํามันที่นําเข้าจากตะวันออกกลางและนํามากลั่นที่โรงกลั่นน้ํามัน ทั้งที่ในประเทศสิงคโปร์และในประเทศไทย ควรจะกําหนดราคาหน้าโรงกลั่นที่เท่ากัน จึงเป็นธรรมสําหรับโรงกลั่นน้ํามันในประเทศไทย ประเด็นชี้แจง • ราคาหน้าโรงกลั่นในแต่ละประเทศไม่จําเป็นต้องเท่ากัน เนื่องจากน้ํามันสําเร็จรูปที่มีคุณภาพเดียวกันปัจจัยหลักที่ทําให้ราคาในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศแตกต่างกันมาจากค่าขนส่ง หากส่วนต่างของน้ํามันสําเร็จรูปในสองพื้นที่แตกต่างกันเกินกว่าค่าขนส่ง ก็จะเกิดการขนส่งข้ามพื้นที่เพื่อรับส่วนต่างกําไรที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ส่วนต่างราคาเท่ากับค่าขนส่งอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี อาจมีข้อยกเว้นอยู่บ้างในกรณีในตลาดที่ไม่เกิดการแข่งขันโดยสมบูรณ์ หรือนโยบายเฉพาะของประเทศนั้นๆ เช่น การสร้างกําแพงภาษี หรือการควบคุมการนําเข้า-ส่งออก เป็นต้น ประเด็น 4 : ในเมื่อปัจจุบันประเทศไทยมีกําลังการกลั่นน้ํามันมากเพียงพอแล้วจึงไม่มีเหตุผลที่จะให้โรงกลั่นน้ํามันในประเทศไทยได้รับประโยชน์จากค่าขนส่งเทียมจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาประเทศไทย อีกต่อไป ประเด็นชี้แจง • ถึงแม้น้ํามันที่ใช้รับมาจากโรงกลั่นในประเทศ แต่วัตถุดิบที่นํามาผลิตก็ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ (ไทยนําเข้าน้ํามันดิบสูงถึงร้อยละ 87 ในปี 60) และมีค่าใช้จ่ายในการนําเข้า/ขนส่งเกิดขึ้นจริง แต่อยู่ในรูปของการนําเข้าน้ํามันดิบ -----------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีข้อกล่าวหากติกาธุรกิจน้ำมัน วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561 กระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีข้อกล่าวหากติกาธุรกิจน้ํามัน กระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีข้อกล่าวหากติกาธุรกิจน้ํามัน วันที่ 29 พฤษภาคม 2561 นายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน ชี้แจงกรณีข้อกล่าวหา “กติกาธุรกิจน้ํามัน” ตามที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง กติกาธุรกิจน้ํามัน ดังนี้ ประเด็นที่ 1 : ตั้งแต่มีการปฏิวัติในปี 2557 มีปรากฏการณ์หลายครั้ง ที่ราคาน้ํามันในตลาดโลกลดลง แต่ราคาขายปลีกในประเทศไทยไม่ลด หรือลดลงน้อยมาก ขณะที่ห่วงโซในธุรกิจน้ํามัน มีห่วงโซ่ของโรงกลั่นน้ํามันและห่วงโซ่ของการขายส่งขายปลีกน้ํามัน ซึ่งมีกติกาที่ไม่เหมาะสม • กระทรวงพลังงาน โดยสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจในการกํากับ ติดตาม และประเมินนโยบายและแผนบริหารพลังงานของประเทศ จึงมีการจัดทําโครงสร้างราคาน้ํามันเชื้อเพลิง เพื่อติดตามดูแลค่าการตลาดของราคาน้ํามันเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ที่ผู้ค้าไม่ขาดทุนจนกระทั่งปิดบริษัท และผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบโดยผู้ค้าน้ํามัน รวมไปถึงกรณีการใช้กลไกของกองทุนน้ํามันเชื้อเพลิงในการกํากับดูแลราคาขายปลีกน้ํามันเชื้อเพลิงไม่ให้มีความผันผวน • ตั้งแต่ปี 2557 พบว่าราคาขายปลีกในประเทศได้ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามทิศทางราคาน้ํามันตลาดโลกแต่ในบางช่วงเวลาอาจพบว่าราคาไม่ลดหรือลดลงน้อยมาก เนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน ราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอล , ไบโอดีเซล ) รวมนโยบายปรับเพิ่มหรือลดภาษีหรือกองทุนต่าง ๆ ประเด็นที่ 2 : น้ํามันที่ค้นพบในประเทศไทยแล้วนําขึ้นมากลั่นในไทยเพื่อใช้ในประเทศไทย ไม่ควรอ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากน้ํามันส่วนนี้ไม่ใช่น้ํามันนําเข้าจากตะวันออกกลาง ประเด็นชี้แจง • ในปี 2560 น้ํามันดิบที่ค้นพบในประเทศแล้วส่งเข้าโรงกลั่นในประเทศมีเพียงร้อยละ 13 ของน้ํามันดิบที่ส่งเข้าโรงกลั่นในประเทศทั้งหมด (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2561) อีกร้อยละ 87 ต้องนําเข้าน้ํามันดิบจากต่างประเทศเข้ามากลั่น โดยที่ราคาน้ํามันสําเร็จรูปจะใช้หลักการอ้างอิงกับราคากลางน้ํามันสําเร็จรูปตลาดภูมิภาคเอเชีย คือตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการซื้อขาย (ส่งออก/นําเข้า) ของภูมิภาคเอเชียและเป็นตลาดการค้าเสรี ดังนั้น จึงมีปริมาณซื้อขายในระดับสูงเช่นเดียวกับตลาดในภูมิภาคอื่น ๆ สามารถสะท้อนถึงราคาน้ํามันของตลาดในภูมิภาคอื่นของโลกได้ มีปัจจัยน้อยที่จะส่งควบคุมการขึ้นและลงของราคาน้ํามันได้ • ในทางกลับกันหากราคาตั้งต้นของน้ํามันสําเร็จรูปใช้การคํานวณจากต้นทุนน้ํามันดิบที่นําเข้าบวกค่าการกลั่น (Cost Plus) เนื่องจากน้ํามันดิบที่โรงกลั่นแต่ละโรงใช้คุณภาพและราคาที่ไม่เท่ากันนั้น ทําให้ต้นทุนการกลั่นในแต่ละโรงแตกต่างกันไป ดังนั้น การกําหนดค่าเฉลี่ยการกลั่นที่เท่ากันและต้นทุนน้ํามันดิบที่เท่ากันในโครงสร้างราคาน้ํามันเชื้อเพลิง จะทําให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันและไม่สะท้อนต้นทุนของแต่ละโรงกลั่น จะทําให้โรงกลั่นของไทยไม่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ําลง รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้ในการขยายกําลังการผลิตรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต อันจะส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในระยะยาว ประเด็นที่ 3 : น้ํามันที่นําเข้าจากตะวันออกกลางและนํามากลั่นที่โรงกลั่นน้ํามัน ทั้งที่ในประเทศสิงคโปร์และในประเทศไทย ควรจะกําหนดราคาหน้าโรงกลั่นที่เท่ากัน จึงเป็นธรรมสําหรับโรงกลั่นน้ํามันในประเทศไทย ประเด็นชี้แจง • ราคาหน้าโรงกลั่นในแต่ละประเทศไม่จําเป็นต้องเท่ากัน เนื่องจากน้ํามันสําเร็จรูปที่มีคุณภาพเดียวกันปัจจัยหลักที่ทําให้ราคาในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศแตกต่างกันมาจากค่าขนส่ง หากส่วนต่างของน้ํามันสําเร็จรูปในสองพื้นที่แตกต่างกันเกินกว่าค่าขนส่ง ก็จะเกิดการขนส่งข้ามพื้นที่เพื่อรับส่วนต่างกําไรที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ส่วนต่างราคาเท่ากับค่าขนส่งอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี อาจมีข้อยกเว้นอยู่บ้างในกรณีในตลาดที่ไม่เกิดการแข่งขันโดยสมบูรณ์ หรือนโยบายเฉพาะของประเทศนั้นๆ เช่น การสร้างกําแพงภาษี หรือการควบคุมการนําเข้า-ส่งออก เป็นต้น ประเด็น 4 : ในเมื่อปัจจุบันประเทศไทยมีกําลังการกลั่นน้ํามันมากเพียงพอแล้วจึงไม่มีเหตุผลที่จะให้โรงกลั่นน้ํามันในประเทศไทยได้รับประโยชน์จากค่าขนส่งเทียมจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาประเทศไทย อีกต่อไป ประเด็นชี้แจง • ถึงแม้น้ํามันที่ใช้รับมาจากโรงกลั่นในประเทศ แต่วัตถุดิบที่นํามาผลิตก็ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ (ไทยนําเข้าน้ํามันดิบสูงถึงร้อยละ 87 ในปี 60) และมีค่าใช้จ่ายในการนําเข้า/ขนส่งเกิดขึ้นจริง แต่อยู่ในรูปของการนําเข้าน้ํามันดิบ -----------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12726
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมธุรกิจพลังงานชี้แจงกรณี นโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันบี 7 พลัส
วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561 กรมธุรกิจพลังงานชี้แจงกรณี นโยบายส่งเสริมการใช้น้ํามันบี 7 พลัส กรมธุรกิจพลังงานชี้แจงกรณี นโยบายส่งเสริมการใช้น้ํามันบี 7 พลัส วันที่ 24 ตุลาคม 2561 นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ชี้แจงประเด็นปัญหานโยบายส่งเสริมการใช้น้ํามันบี 7 พลัส ตามที่นายครรชิต ไชยสุโพธิ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตถึงนโยบายส่งเสริมการใช้น้ํามันบี 7 พลัส ดังนี้ 1. สัดส่วนที่ผสมเพิ่มขึ้นหรือสเปคบี 7 พลัส ต้องไม่กระทบกับเครื่องยนต์ ซึ่งต้องหาสเปกที่ยอมรับได้และต้องทดสอบร่วมกัน 2. สัดส่วนไบโอดีเซลที่มาก จะมีปัญหาการตกตะกอนของไขมันที่จะกระทบเครื่องยนต์ได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อากาศเย็น ซึ่งในระยะยาวอาจทําให้เสียค่าบํารุงรักษาเพิ่มเติม3. ระยะเวลาประกันรถยนต์ ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่อาจเป็นเกิดปัญหา ย่อมกระทบต่อผู้บริโภค 4. ค่ายรถยนต์ต้องรับประกันว่าจะไม่มีปัญหาต่อเครื่องยนต์แต่อย่างใด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในฐานะผู้บริโภค 5. ที่ผ่านมา แม้กระทรวงพลังงานส่งเสริมการใช้บี 20 กับกลุ่มรถบรรทุก โดยช่วยเหลือราคาที่ลดลงต่ํากว่าดีเซลปกติ (บี7) ยังพบว่า การใช้น้อยมาก เนื่องจากไม่คุ้มกับการใช้งาน เพราะปัญหาไขเยอะต้องเพิ่มค่าบํารุงรักษา กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงประเด็น ดังนี้ ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ํามันปี 2561 สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้ประมาณการว่า จะมีปริมาณ 15.389 ล้านตัน ขณะที่ข้อมูลผลการตรวจสอบของคณะทํางานตรวจสต็อกน้ํามันปาล์มคงเหลือทั้งระบบระดับจังหวัด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561 ปรากฏว่ามีสต็อกน้ํามันปาล์มคงเหลือ 375,591 ตัน สูงกว่าระดับสต็อกปกติของประเทศที่ควรจะมีที่ 250,000 ตัน ซึ่งการมีสต็อกในระดับสูงมากดังกล่าว เป็นปัจจัยลบทําให้ราคาผลปาล์มน้ํามันเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ําอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ดังนั้น จึงมีความจําเป็นต้องมีการดําเนินมาตรการดูดซับสต็อกส่วนเกิน จํานวน 125,591 ตัน เพื่อให้ปริมาณสต็อกน้ํามันปาล์มดิบให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุล ข้อเท็จจริง สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จากปัญหาสต็อกปาล์มน้ํามันดิบส่วนเกินและราคาผลผลิตปาล์มน้ํามันตกต่ํา กระทรวงพลังงานจึงได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการดําเนินการปรับเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ํามันดีเซลหมุนเร็ว จากปัจจุบันที่กําหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5 – 7 โดยปริมาตร เป็น บี7 พลัส เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยดูดซับสต็อกน้ํามันปาล์มดิบส่วนเกินดังกล่าว ทั้งนี้ได้มีข้อสังเกตุจากนายครรชิต ไชยสุโพธิ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการใช้น้ํามันบี 7 พลัส ว่าจะต้องมีการดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์และการรับประกันรถยนต์ การแก้ไขปัญหา ในการปรับเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ํามันดีเซลหมุนเร็วเป็นบี7 พลัส กระทรวงพลังงานตระหนักดีถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้รถยนต์ ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการพิจารณาที่รอบคอบและรอบด้าน กระทรวงพลังงานจึงได้เชิญสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งมีบริษัทรถยนต์ต่าง ๆ ทั้งค่ายญี่ปุ่นและค่ายยุโรปเป็นสมาชิกเข้าประชุมเพื่อหารือผลกระทบต่างๆ ในการปรับเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซล ในน้ํามันดีเซลหมุนเร็วจากร้อยละ 6.7 – 7 โดยปริมาตร เป็น บี7 พลัส โดยปริมาตร ในวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์มในภาวะที่ปริมาณปาล์มล้นตลาด --------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมธุรกิจพลังงานชี้แจงกรณี นโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันบี 7 พลัส วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561 กรมธุรกิจพลังงานชี้แจงกรณี นโยบายส่งเสริมการใช้น้ํามันบี 7 พลัส กรมธุรกิจพลังงานชี้แจงกรณี นโยบายส่งเสริมการใช้น้ํามันบี 7 พลัส วันที่ 24 ตุลาคม 2561 นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ชี้แจงประเด็นปัญหานโยบายส่งเสริมการใช้น้ํามันบี 7 พลัส ตามที่นายครรชิต ไชยสุโพธิ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตถึงนโยบายส่งเสริมการใช้น้ํามันบี 7 พลัส ดังนี้ 1. สัดส่วนที่ผสมเพิ่มขึ้นหรือสเปคบี 7 พลัส ต้องไม่กระทบกับเครื่องยนต์ ซึ่งต้องหาสเปกที่ยอมรับได้และต้องทดสอบร่วมกัน 2. สัดส่วนไบโอดีเซลที่มาก จะมีปัญหาการตกตะกอนของไขมันที่จะกระทบเครื่องยนต์ได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อากาศเย็น ซึ่งในระยะยาวอาจทําให้เสียค่าบํารุงรักษาเพิ่มเติม3. ระยะเวลาประกันรถยนต์ ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่อาจเป็นเกิดปัญหา ย่อมกระทบต่อผู้บริโภค 4. ค่ายรถยนต์ต้องรับประกันว่าจะไม่มีปัญหาต่อเครื่องยนต์แต่อย่างใด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในฐานะผู้บริโภค 5. ที่ผ่านมา แม้กระทรวงพลังงานส่งเสริมการใช้บี 20 กับกลุ่มรถบรรทุก โดยช่วยเหลือราคาที่ลดลงต่ํากว่าดีเซลปกติ (บี7) ยังพบว่า การใช้น้อยมาก เนื่องจากไม่คุ้มกับการใช้งาน เพราะปัญหาไขเยอะต้องเพิ่มค่าบํารุงรักษา กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ขอชี้แจงประเด็น ดังนี้ ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ํามันปี 2561 สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้ประมาณการว่า จะมีปริมาณ 15.389 ล้านตัน ขณะที่ข้อมูลผลการตรวจสอบของคณะทํางานตรวจสต็อกน้ํามันปาล์มคงเหลือทั้งระบบระดับจังหวัด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561 ปรากฏว่ามีสต็อกน้ํามันปาล์มคงเหลือ 375,591 ตัน สูงกว่าระดับสต็อกปกติของประเทศที่ควรจะมีที่ 250,000 ตัน ซึ่งการมีสต็อกในระดับสูงมากดังกล่าว เป็นปัจจัยลบทําให้ราคาผลปาล์มน้ํามันเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ําอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ดังนั้น จึงมีความจําเป็นต้องมีการดําเนินมาตรการดูดซับสต็อกส่วนเกิน จํานวน 125,591 ตัน เพื่อให้ปริมาณสต็อกน้ํามันปาล์มดิบให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุล ข้อเท็จจริง สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จากปัญหาสต็อกปาล์มน้ํามันดิบส่วนเกินและราคาผลผลิตปาล์มน้ํามันตกต่ํา กระทรวงพลังงานจึงได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการดําเนินการปรับเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ํามันดีเซลหมุนเร็ว จากปัจจุบันที่กําหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5 – 7 โดยปริมาตร เป็น บี7 พลัส เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยดูดซับสต็อกน้ํามันปาล์มดิบส่วนเกินดังกล่าว ทั้งนี้ได้มีข้อสังเกตุจากนายครรชิต ไชยสุโพธิ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการใช้น้ํามันบี 7 พลัส ว่าจะต้องมีการดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์และการรับประกันรถยนต์ การแก้ไขปัญหา ในการปรับเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ํามันดีเซลหมุนเร็วเป็นบี7 พลัส กระทรวงพลังงานตระหนักดีถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้รถยนต์ ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการพิจารณาที่รอบคอบและรอบด้าน กระทรวงพลังงานจึงได้เชิญสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งมีบริษัทรถยนต์ต่าง ๆ ทั้งค่ายญี่ปุ่นและค่ายยุโรปเป็นสมาชิกเข้าประชุมเพื่อหารือผลกระทบต่างๆ ในการปรับเพิ่มสัดส่วนผสมไบโอดีเซล ในน้ํามันดีเซลหมุนเร็วจากร้อยละ 6.7 – 7 โดยปริมาตร เป็น บี7 พลัส โดยปริมาตร ในวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์มในภาวะที่ปริมาณปาล์มล้นตลาด --------------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16359
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พาณิชย์ จับมือเอกชน เซ็น MOU กระเทียมกับเกษตรกร ส่งผลให้ราคาดี
วันพุธที่ 26 เมษายน 2560 พาณิชย์ จับมือเอกชน เซ็น MOU กระเทียมกับเกษตรกร ส่งผลให้ราคาดี “ปลัดพาณิชย์”สั่งการพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ใช้นโยบายประชารัฐ ช่วยเหลือเกษตรกร เผยล่าสุดแม่ฮ่องสอนดึง “อโกรไทยยูเนี่ยน-ตะวันพืชผล” เซ็นเอ็มโอยูซื้อขายกระเทียมจากเกษตรกร และดึงเซ็นทรัลช่วยซื้อสินค้าโอทอป นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้พาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ใช้นโยบายประชารัฐในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสินค้าเกษตร และผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อช่วยดูแลราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ํา ช่วยระบายผลผลิตจากแหล่งผลิตออกสู่ตลาด และช่วยผู้ผลิตสินค้าโอทอปให้สามารถขายสินค้าที่ผลิตได้และมีรายได้สูงขึ้น ทั้งนี้ ล่าสุดได้รับแจ้งจากพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอนว่าสามารถผลักดันนโยบายประชารัฐ โดยผลักดันให้ภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท อโกรไทย ยูเนี่ยน จํากัด และบริษัท ตะวันพืชผล จํากัด ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) กับกลุ่มเกษตรกรไร้สารพิษบ้านห้วยโป้ง ทําสัญญาซื้อขายกระเทียมปริมาณ 60 ตัน มูลค่า 6.15 ล้านบาท ซึ่งทําให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ทันที มีตลาดรองรับ โดยในการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ได้ใช้สัญญาข้อตกลงมาตรฐานที่จัดทําโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ “เป็นความตั้งใจของกระทรวงพาณิชย์ที่มุ่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรทุกกลุ่ม ให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่คุ้มต้นทุน และมีรายได้ในการเลี้ยงชีพ ซึ่งกระทรวงฯ จะยังคงใช้โมเดลประชารัฐในการดึงภาคเอกชนให้เข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตสินค้าเกษตรต่อไป เพื่อเพิ่มช่องทางการจําหน่ายให้กับเกษตรกร และยังถือเป็นการวางแผนรับมือผลผลิตสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีตลาดรองรับ ทําให้ไม่มีปัญหาผลผลิตขายไม่ได้ และมีปัญหาราคาตกต่ําเกิดขึ้น” นางสาววิบูลย์ลักษณ์ กล่าว นางสาววิบูลย์ลักษณ์กล่าวว่า ในการผลักดันใช้โครงการประชารัฐครั้งนี้ ทางพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังได้เชิญบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จํากัด ผู้บริหารท็อป มาร์เก็ต มาเจรจาซื้อขายสินค้าโอทอป 5 ดาวจากกลุ่มผู้ผลิตในจังหวัดแม่ฮ่อนสอนด้วย ซึ่งประสบความสําเร็จ สามารถผลักดันให้มีการนําเข้าไปจําหน่ายในห้างได้ ถือเป็นการเพิ่มช่องทางการจําหน่ายให้กับสินค้าโอทอปอีกทางหนึ่ง และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิต สําหรับสินค้าโอทอปที่มีการเจรจาซื้อขายครั้งนี้ ได้แก่ น้ํามัลเบอร์รี่พร้อมดื่ม จากกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหมแม่ฮ่องสอน ข้าวกล้องเพาะงอก จากการเกษตรวิสาหกิจชุมชน ขนมงารสทิพย์ไทไทแบรนด์ จากบ้านทรงไทย และน้ํามันงาตรากล้วยไม้ ซึ่งจําหน่ายน้ํามันงาขาว งาดํา งาม้อนสกัด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พาณิชย์ จับมือเอกชน เซ็น MOU กระเทียมกับเกษตรกร ส่งผลให้ราคาดี วันพุธที่ 26 เมษายน 2560 พาณิชย์ จับมือเอกชน เซ็น MOU กระเทียมกับเกษตรกร ส่งผลให้ราคาดี “ปลัดพาณิชย์”สั่งการพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ใช้นโยบายประชารัฐ ช่วยเหลือเกษตรกร เผยล่าสุดแม่ฮ่องสอนดึง “อโกรไทยยูเนี่ยน-ตะวันพืชผล” เซ็นเอ็มโอยูซื้อขายกระเทียมจากเกษตรกร และดึงเซ็นทรัลช่วยซื้อสินค้าโอทอป นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้พาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ใช้นโยบายประชารัฐในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสินค้าเกษตร และผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อช่วยดูแลราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ํา ช่วยระบายผลผลิตจากแหล่งผลิตออกสู่ตลาด และช่วยผู้ผลิตสินค้าโอทอปให้สามารถขายสินค้าที่ผลิตได้และมีรายได้สูงขึ้น ทั้งนี้ ล่าสุดได้รับแจ้งจากพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอนว่าสามารถผลักดันนโยบายประชารัฐ โดยผลักดันให้ภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท อโกรไทย ยูเนี่ยน จํากัด และบริษัท ตะวันพืชผล จํากัด ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) กับกลุ่มเกษตรกรไร้สารพิษบ้านห้วยโป้ง ทําสัญญาซื้อขายกระเทียมปริมาณ 60 ตัน มูลค่า 6.15 ล้านบาท ซึ่งทําให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ทันที มีตลาดรองรับ โดยในการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ได้ใช้สัญญาข้อตกลงมาตรฐานที่จัดทําโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ “เป็นความตั้งใจของกระทรวงพาณิชย์ที่มุ่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรทุกกลุ่ม ให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่คุ้มต้นทุน และมีรายได้ในการเลี้ยงชีพ ซึ่งกระทรวงฯ จะยังคงใช้โมเดลประชารัฐในการดึงภาคเอกชนให้เข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตสินค้าเกษตรต่อไป เพื่อเพิ่มช่องทางการจําหน่ายให้กับเกษตรกร และยังถือเป็นการวางแผนรับมือผลผลิตสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีตลาดรองรับ ทําให้ไม่มีปัญหาผลผลิตขายไม่ได้ และมีปัญหาราคาตกต่ําเกิดขึ้น” นางสาววิบูลย์ลักษณ์ กล่าว นางสาววิบูลย์ลักษณ์กล่าวว่า ในการผลักดันใช้โครงการประชารัฐครั้งนี้ ทางพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังได้เชิญบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จํากัด ผู้บริหารท็อป มาร์เก็ต มาเจรจาซื้อขายสินค้าโอทอป 5 ดาวจากกลุ่มผู้ผลิตในจังหวัดแม่ฮ่อนสอนด้วย ซึ่งประสบความสําเร็จ สามารถผลักดันให้มีการนําเข้าไปจําหน่ายในห้างได้ ถือเป็นการเพิ่มช่องทางการจําหน่ายให้กับสินค้าโอทอปอีกทางหนึ่ง และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิต สําหรับสินค้าโอทอปที่มีการเจรจาซื้อขายครั้งนี้ ได้แก่ น้ํามัลเบอร์รี่พร้อมดื่ม จากกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหมแม่ฮ่องสอน ข้าวกล้องเพาะงอก จากการเกษตรวิสาหกิจชุมชน ขนมงารสทิพย์ไทไทแบรนด์ จากบ้านทรงไทย และน้ํามันงาตรากล้วยไม้ ซึ่งจําหน่ายน้ํามันงาขาว งาดํา งาม้อนสกัด
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3304
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนกรณีการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม
วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2560 “ยุติธรรม” สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนกรณีการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ในประเด็น “แก๊งค์ยันหว่างขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๒.๓๐ น. ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ในประเด็น “แก๊งค์ยันหว่างขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม” ทั้งนี้ ออกอากาศผ่านรายการ “ข่าวค่ํา” ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น. เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี (ช่อง ๙) MCOT HD
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนกรณีการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2560 “ยุติธรรม” สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนกรณีการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ในประเด็น “แก๊งค์ยันหว่างขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๒.๓๐ น. ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ในประเด็น “แก๊งค์ยันหว่างขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม” ทั้งนี้ ออกอากาศผ่านรายการ “ข่าวค่ํา” ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น. เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี (ช่อง ๙) MCOT HD
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5221
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รับเรื่องร้องทุก์ขอความเป็นธรรมจากประชาชน
วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รับเรื่องร้องทุก์ขอความเป็นธรรมจากประชาชน พันตํารวจเอกดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมจากประชาชน เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. ณ ห้องทํางานกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ พันตํารวจเอกดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมจากประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ ๑. นางสาวปวิตรา กองกําพล ขอความเป็นธรรมกรณีถุกกล่าวหาว่าชิงทรัพย์ผู้อื่น ศาลสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย ๒๘๙,๐๐๐ บาท เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๕๔ จังหวัดตรัง ๒. นายราตรี แสงอนันต์ ขอความเป็นธรรมกรณีถูกซัดทอดว่าเป็นคนร้ายทํากระทําผิดความผิด ต่อชีวิตพยายามทําให้เสียทรัพย์, ความผิดต่อ พรบ.อาวุธปืน ,ความผิดต่อ พรบ.จราจรทางบก ลหุโทษ ศาลตัดสินจําคุก ๓๓ ปี ๑๙ เดือน เหตุเกิดที่ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ใกล้ร้านอีสานหมู่เฮา จังหวัดสมุทรสาคร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รับเรื่องร้องทุก์ขอความเป็นธรรมจากประชาชน วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รับเรื่องร้องทุก์ขอความเป็นธรรมจากประชาชน พันตํารวจเอกดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมจากประชาชน เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. ณ ห้องทํางานกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ พันตํารวจเอกดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมจากประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ ๑. นางสาวปวิตรา กองกําพล ขอความเป็นธรรมกรณีถุกกล่าวหาว่าชิงทรัพย์ผู้อื่น ศาลสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย ๒๘๙,๐๐๐ บาท เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๕๔ จังหวัดตรัง ๒. นายราตรี แสงอนันต์ ขอความเป็นธรรมกรณีถูกซัดทอดว่าเป็นคนร้ายทํากระทําผิดความผิด ต่อชีวิตพยายามทําให้เสียทรัพย์, ความผิดต่อ พรบ.อาวุธปืน ,ความผิดต่อ พรบ.จราจรทางบก ลหุโทษ ศาลตัดสินจําคุก ๓๓ ปี ๑๙ เดือน เหตุเกิดที่ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ใกล้ร้านอีสานหมู่เฮา จังหวัดสมุทรสาคร
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1942
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กรมบังคับคดี” แลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ
วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560 “กรมบังคับคดี” แลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ (Conference on the Cross-Border Insolvency Laws) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องราชดําเนิน โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ (Conference on the Cross-Border Insolvency Laws) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการล้มละลาย และเป็นเวทีให้ผู้แทนจากประเทศในทวีปเอเชียได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กรมบังคับคดี” แลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560 “กรมบังคับคดี” แลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ (Conference on the Cross-Border Insolvency Laws) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องราชดําเนิน โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ (Conference on the Cross-Border Insolvency Laws) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการล้มละลาย และเป็นเวทีให้ผู้แทนจากประเทศในทวีปเอเชียได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4901
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม “ช่วยผู้บริสุทธิ์ เข้าถึงความยุติธรรม เพื่อเงินภาษีเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า”
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2562 กระทรวงยุติธรรม “ช่วยผู้บริสุทธิ์ เข้าถึงความยุติธรรม เพื่อเงินภาษีเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า” นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดําเนินงานกองทุนยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ ในวันศุกร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดําเนินงานกองทุนยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดําเนินการของกองทุนยุติธรรม และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสู่ภาคประชาชน โดยมี นางสาวรวิวรรณ์ ศรีวนาภิรมย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ด้านผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า เรามีเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง และขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่พยายามผลักดันให้ประชาชนเข้าถึงความช่วยเหลือในทุกช่องทาง ส่วนตนจะเร่งประชาสัมพันธ์และประสานหลาย ๆ องค์กรให้ทราบข้อมูลด้วย และคิดว่าการดําเนินงานของสํานักงานกองทุนยุติธรรมจะมีความคืบหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป ในโอกาสนี้ นายมนินธ์ สุทธิวัฒนานิติ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนยุติธรรม ได้รายงานความคืบหน้าในการเพิ่มช่องทางการสื่อสาร และผลการติดตามคดีฉ้อโกงประชาชนกรณีจํานําข้าว ซึ่งเป็นคดีแบบกลุ่มเหตุเกิด ณ พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก รวมถึงการเปิดรับคําขอผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก ซึ่งสํานักงานกองทุนยุติธรรมจัดให้มีในหลากหลายช่องทางทั้งทาง Mobile Application และ e-platform รวมทั้งเว็บไซต์กองทุนยุติธรรม www.jfo.moj.go.th เฟสบุ๊คกองทุนยุติธรรมกระทรวงยุติธรรม หรือสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๐๕ ๖๗๖๐
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม “ช่วยผู้บริสุทธิ์ เข้าถึงความยุติธรรม เพื่อเงินภาษีเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า” วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2562 กระทรวงยุติธรรม “ช่วยผู้บริสุทธิ์ เข้าถึงความยุติธรรม เพื่อเงินภาษีเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า” นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดําเนินงานกองทุนยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ ในวันศุกร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดําเนินงานกองทุนยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดําเนินการของกองทุนยุติธรรม และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสู่ภาคประชาชน โดยมี นางสาวรวิวรรณ์ ศรีวนาภิรมย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ด้านผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า เรามีเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง และขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่พยายามผลักดันให้ประชาชนเข้าถึงความช่วยเหลือในทุกช่องทาง ส่วนตนจะเร่งประชาสัมพันธ์และประสานหลาย ๆ องค์กรให้ทราบข้อมูลด้วย และคิดว่าการดําเนินงานของสํานักงานกองทุนยุติธรรมจะมีความคืบหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป ในโอกาสนี้ นายมนินธ์ สุทธิวัฒนานิติ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนยุติธรรม ได้รายงานความคืบหน้าในการเพิ่มช่องทางการสื่อสาร และผลการติดตามคดีฉ้อโกงประชาชนกรณีจํานําข้าว ซึ่งเป็นคดีแบบกลุ่มเหตุเกิด ณ พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก รวมถึงการเปิดรับคําขอผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก ซึ่งสํานักงานกองทุนยุติธรรมจัดให้มีในหลากหลายช่องทางทั้งทาง Mobile Application และ e-platform รวมทั้งเว็บไซต์กองทุนยุติธรรม www.jfo.moj.go.th เฟสบุ๊คกองทุนยุติธรรมกระทรวงยุติธรรม หรือสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๐๕ ๖๗๖๐
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22936
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ปลัดยุติธรรม" ลงพื้นที่ จ.ยโสธร ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 "ปลัดยุติธรรม" ลงพื้นที่ จ.ยโสธร ตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม "ปลัดยุติธรรม" ลงพื้นที่ จ.ยโสธร ตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นําคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ตรวจเยี่ยมหน่วยงานสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในจังหวัดยโสธร ได้แก่ สํานักงานคุมประพฤติจังหวัดยโสธร สํานักงานยุติธรรมจังหวัดยโสธร สํานักงานบังคับคดีจังหวัดยโสธร สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดยโสธร เรือนจําชั่วคราวบ้านบาก ต.สําราญ อ.เมือง จ.ยโสธร และเรือนจําจังหวัดยโสธร ในการนี้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้ติดตามความก้าวหน้าการนําระบบนําร่องศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรมต้นแบบ (Data Exchange Center : DXC) ซึ่งเป็นการบูรณาการข้อมูลจากหลายหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มาใช้ในหน่วยงาน โดย DXC จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาในการติดตาม และค้นหาข้อมูล รวมทั้งเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารในกระบวนการยุติธรรม โดยเน้นย้ําให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มีแนวทางการดําเนินงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีขั้นตอนและกระบวนการให้บริการประชาชนที่ชัดเจน รวมทั้งให้ลดจํานวนการใช้เอกสาร และเพิ่มการนําระบบเทคโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ปลัดยุติธรรม" ลงพื้นที่ จ.ยโสธร ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 "ปลัดยุติธรรม" ลงพื้นที่ จ.ยโสธร ตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม "ปลัดยุติธรรม" ลงพื้นที่ จ.ยโสธร ตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นําคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ตรวจเยี่ยมหน่วยงานสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในจังหวัดยโสธร ได้แก่ สํานักงานคุมประพฤติจังหวัดยโสธร สํานักงานยุติธรรมจังหวัดยโสธร สํานักงานบังคับคดีจังหวัดยโสธร สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดยโสธร เรือนจําชั่วคราวบ้านบาก ต.สําราญ อ.เมือง จ.ยโสธร และเรือนจําจังหวัดยโสธร ในการนี้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้ติดตามความก้าวหน้าการนําระบบนําร่องศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรมต้นแบบ (Data Exchange Center : DXC) ซึ่งเป็นการบูรณาการข้อมูลจากหลายหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มาใช้ในหน่วยงาน โดย DXC จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาในการติดตาม และค้นหาข้อมูล รวมทั้งเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารในกระบวนการยุติธรรม โดยเน้นย้ําให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มีแนวทางการดําเนินงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีขั้นตอนและกระบวนการให้บริการประชาชนที่ชัดเจน รวมทั้งให้ลดจํานวนการใช้เอกสาร และเพิ่มการนําระบบเทคโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14104
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-'ศาสตร์พระราชาจะดำรงอยู่กับลูกหลานตลอดไป' ณ โรงเรียนสามพรานวิทยา และโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2560 'ศาสตร์พระราชาจะดํารงอยู่กับลูกหลานตลอดไป' ณ โรงเรียนสามพรานวิทยา และโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยม พบปะสนทนากับผู้บริหาร นักเรียน และบรรยายพิเศษ เรื่อง 'ศาสตร์พระราชาจะดํารงอยู่กับลูกหลานตลอดไป และโครงการการใช้ภาษาต่างประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2560 ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยม พบปะสนทนากับผู้บริหาร นักเรียน และบรรยายพิเศษ เรื่อง 'ศาสตร์พระราชาจะดํารงอยู่กับลูกหลานตลอดไป และโครงการการใช้ภาษาต่างประเทศ (Diplomatic Language, ภาษาทางการทูต)' ณ โรงเรียนสามพรานวิทยา อ.สามพราน จ.นครปฐม และโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุลกล่าวมีใจความตอนหนึ่งว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานสอนหลักการ "รู้-รัก-สามัคคี" ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ประสานกันทั้งสามระดับ เพราะเมื่อเรารู้ก็จะเกิดความเข้าใจ เมื่อมีความรักก็จะเข้าถึงในทุก ๆ เรื่องอย่างถ่องแท้ ก็จะเกิดเป็นความสามัคคีของคนในชาติบ้านเมือง และเมื่อนั้นการพัฒนาในทุก ๆ ด้านก็จะตามมา โดยขอให้ลูกหลานนําหลักคําสอนเหล่านี้ พร้อมน้อมนําศาสตร์พระราชา ไปประกอบใช้ในการเรียนและการดํารงสัมมาชีพในอนาคตข้างหน้า เพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ตลอดจนขอให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทําให้พ่อแม่ผู้ปกครองภาคภูมิใจ และครูอาจารย์สามารถฝากอนาคตไว้กับลูกหลานได้ ในส่วนของภาษาอังกฤษนั้นนับว่าเป็นสิ่งสําคัญสําหรับการสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน แต่ลูก ๆ ต้องไม่หลงทางกับความคิดที่ว่า "น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นเมืองขึ้นใคร มิเช่นนั้นเราคงพูดภาษาอังกฤษเก่ง" จึงขอฝากให้พินิจพิจารณาประเด็นนี้ให้ดี เพราะมีคนไทยจํานวนมากที่พูดภาษาอังกฤษได้อย่างไพเราะ ชัดถ้อยชัดคํา และสามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเป็นเมืองขึ้น โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการใช้ภาษาทางการทูต สําหรับนักเรียนที่มีความสนใจศึกษาต่อด้านนี้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการพูด 5 ประการ ที่จะแสดงถึงความสุภาพทางการทูต คือ 1) การฟังและความเข้าใจ 2) หลีกเลี่ยงภาษาในทางลบ ที่ให้ความรู้สึกไม่ดีกับคู่สนทนา 3) พูดคํามหัศจรรย์ (Magic Word) เช่น คําว่า "sorry" 4) ใช้คําพูดที่เหมาะสม อ่อนนุ่ม รื่นหู 5) ไม่ควรชี้นิ้วใส่ผู้อื่นระหว่างที่สนทนา เพราะทางการทูตถือว่าไม่สุภาพและไม่มีมารยาท พร้อมทั้ง ฝากถึงลูกหลานนักเรียนให้ระมัดระวังเรื่องการใช้ Social Media แนะนําว่าควรใช้ในเชิงสร้างสรรค์ ไม่ใส่ร้ายป้ายสีใคร เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเรา ที่ต้องโพสต์แสดงความเห็นว่ากล่าวใคร และไม่ควรไปสุงสิงคนที่ใช้ Social Media อย่างไม่ถูกต้อง เพราะเราไม่สามารถหยุดพฤติกรรมได้ แต่เราก็จะไม่ยุ่งด้วย อนึ่ง นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการน้อมนําศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ ดังนี้ นายสิทธิโชติ ภุมมาลา: จะน้อมนํา "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" โดยเฉพาะเรื่องความพอเพียงไปประพฤติปฏิบัติ ด้วยการรู้จักใช้จ่ายเท่าที่จําเป็นต่อชีวิต โดยคิดพิจารณาก่อนที่จะซื้อ และคํานึงถึงค่าใช้จ่ายของครอบครัวด้วย น.ส.จันทร์นวล จันทร์: กล่าวถึงบทประพันธ์ เรื่อง กล้วยไม้ ของ ม.ล.ปิ่น มาลากุล อดีต รมว.ศธ. ที่ว่า "กล้วยไม้ออกดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น แต่ออกดอกคราวไร งามเด่น งานศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้ว แสนงาม" ซึ่งเปรียบได้ว่า กล้วยไม้ เป็นดอกไม้ที่ต้องใช้เวลาเพาะเลี้ยงนาน กว่าจะผลิดอกออกมา ต้องใส่ปุ๋ยและดูแลอย่างดี เช่นเดียวกับการที่ครูให้ความรู้อบรมสั่งสอนศิษย์ ก็ต้องใช้เวลาในการอบรมบ่มสอนนาน แต่เมื่อกล้วยไม้ออกดอกก็มีความงดงาม เช่นเดียวกับศิษย์ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจนประสบความสําเร็จ ความรู้เหล่านั้นก็ไม่มีใครนําไปจากเราได้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สํานักงานรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-'ศาสตร์พระราชาจะดำรงอยู่กับลูกหลานตลอดไป' ณ โรงเรียนสามพรานวิทยา และโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2560 'ศาสตร์พระราชาจะดํารงอยู่กับลูกหลานตลอดไป' ณ โรงเรียนสามพรานวิทยา และโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยม พบปะสนทนากับผู้บริหาร นักเรียน และบรรยายพิเศษ เรื่อง 'ศาสตร์พระราชาจะดํารงอยู่กับลูกหลานตลอดไป และโครงการการใช้ภาษาต่างประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2560 ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยม พบปะสนทนากับผู้บริหาร นักเรียน และบรรยายพิเศษ เรื่อง 'ศาสตร์พระราชาจะดํารงอยู่กับลูกหลานตลอดไป และโครงการการใช้ภาษาต่างประเทศ (Diplomatic Language, ภาษาทางการทูต)' ณ โรงเรียนสามพรานวิทยา อ.สามพราน จ.นครปฐม และโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุลกล่าวมีใจความตอนหนึ่งว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานสอนหลักการ "รู้-รัก-สามัคคี" ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ประสานกันทั้งสามระดับ เพราะเมื่อเรารู้ก็จะเกิดความเข้าใจ เมื่อมีความรักก็จะเข้าถึงในทุก ๆ เรื่องอย่างถ่องแท้ ก็จะเกิดเป็นความสามัคคีของคนในชาติบ้านเมือง และเมื่อนั้นการพัฒนาในทุก ๆ ด้านก็จะตามมา โดยขอให้ลูกหลานนําหลักคําสอนเหล่านี้ พร้อมน้อมนําศาสตร์พระราชา ไปประกอบใช้ในการเรียนและการดํารงสัมมาชีพในอนาคตข้างหน้า เพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ตลอดจนขอให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทําให้พ่อแม่ผู้ปกครองภาคภูมิใจ และครูอาจารย์สามารถฝากอนาคตไว้กับลูกหลานได้ ในส่วนของภาษาอังกฤษนั้นนับว่าเป็นสิ่งสําคัญสําหรับการสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน แต่ลูก ๆ ต้องไม่หลงทางกับความคิดที่ว่า "น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นเมืองขึ้นใคร มิเช่นนั้นเราคงพูดภาษาอังกฤษเก่ง" จึงขอฝากให้พินิจพิจารณาประเด็นนี้ให้ดี เพราะมีคนไทยจํานวนมากที่พูดภาษาอังกฤษได้อย่างไพเราะ ชัดถ้อยชัดคํา และสามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเป็นเมืองขึ้น โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการใช้ภาษาทางการทูต สําหรับนักเรียนที่มีความสนใจศึกษาต่อด้านนี้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการพูด 5 ประการ ที่จะแสดงถึงความสุภาพทางการทูต คือ 1) การฟังและความเข้าใจ 2) หลีกเลี่ยงภาษาในทางลบ ที่ให้ความรู้สึกไม่ดีกับคู่สนทนา 3) พูดคํามหัศจรรย์ (Magic Word) เช่น คําว่า "sorry" 4) ใช้คําพูดที่เหมาะสม อ่อนนุ่ม รื่นหู 5) ไม่ควรชี้นิ้วใส่ผู้อื่นระหว่างที่สนทนา เพราะทางการทูตถือว่าไม่สุภาพและไม่มีมารยาท พร้อมทั้ง ฝากถึงลูกหลานนักเรียนให้ระมัดระวังเรื่องการใช้ Social Media แนะนําว่าควรใช้ในเชิงสร้างสรรค์ ไม่ใส่ร้ายป้ายสีใคร เพราะไม่ใช่หน้าที่ของเรา ที่ต้องโพสต์แสดงความเห็นว่ากล่าวใคร และไม่ควรไปสุงสิงคนที่ใช้ Social Media อย่างไม่ถูกต้อง เพราะเราไม่สามารถหยุดพฤติกรรมได้ แต่เราก็จะไม่ยุ่งด้วย อนึ่ง นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการน้อมนําศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ ดังนี้ นายสิทธิโชติ ภุมมาลา: จะน้อมนํา "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" โดยเฉพาะเรื่องความพอเพียงไปประพฤติปฏิบัติ ด้วยการรู้จักใช้จ่ายเท่าที่จําเป็นต่อชีวิต โดยคิดพิจารณาก่อนที่จะซื้อ และคํานึงถึงค่าใช้จ่ายของครอบครัวด้วย น.ส.จันทร์นวล จันทร์: กล่าวถึงบทประพันธ์ เรื่อง กล้วยไม้ ของ ม.ล.ปิ่น มาลากุล อดีต รมว.ศธ. ที่ว่า "กล้วยไม้ออกดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น แต่ออกดอกคราวไร งามเด่น งานศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้ว แสนงาม" ซึ่งเปรียบได้ว่า กล้วยไม้ เป็นดอกไม้ที่ต้องใช้เวลาเพาะเลี้ยงนาน กว่าจะผลิดอกออกมา ต้องใส่ปุ๋ยและดูแลอย่างดี เช่นเดียวกับการที่ครูให้ความรู้อบรมสั่งสอนศิษย์ ก็ต้องใช้เวลาในการอบรมบ่มสอนนาน แต่เมื่อกล้วยไม้ออกดอกก็มีความงดงาม เช่นเดียวกับศิษย์ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจนประสบความสําเร็จ ความรู้เหล่านั้นก็ไม่มีใครนําไปจากเราได้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สํานักงานรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7777
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน เคาะมาตรการช่วยแรงงานอิสระ ลดผลกระทบโควิด-19 [กระทรวงแรงงาน]
วันพุธที่ 8 เมษายน 2563 ก.แรงงาน เคาะมาตรการช่วยแรงงานอิสระ ลดผลกระทบโควิด-19 [กระทรวงแรงงาน] ก.แรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เคาะมาตรการช่วยเหลือแรงงานอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป้าหมาย 7,800 คน ฝึกฟรี ! มีเบี้ยเลี้ยง นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนผู้ใช้แรงงาน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต้องหยุดงานขาดรายได้เพื่อใช้จ่ายในครอบครัว จึงมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน เร่งหามาตรการในการช่วยเหลือทั้งแรงงานในระบบและแรงงานอิสระ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกพร.เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาทักษะอาชีพ จึงกําหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน จากผลกระทบดังกล่าว รวมถึงแรงงานที่ต้องหยุดงานจากสถานประกอบกิจการหยุดกิจการชั่วคราว ได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ และมีรายได้ระหว่างการฝึกอบรมด้วย จึงจัดโครงการฝึกอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนขึ้น ตั้งเป้าดําเนินการกว่า 7,800 คน รวม 390 รุ่น มีเบี้ยเลี้ยงให้ระหว่างการฝึกอบรม กระจายเป้าหมายไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ นายธวัช กล่าวต่อไปว่า การฝึกอาชีพดังกล่าว มีระยะเวลาการฝึก 15 วัน หลักสูตรที่ดําเนินการ เช่นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ บาริสต้ามืออาชีพ การใช้สมาร์ทโฟนสร้างยอดขาย การประกอบธุรกิจกาแฟ การประกอบอาหาร และการทําขนม เป็นต้น ระหว่างฝึกอบรมจะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 150 บาท ดังนั้น ผู้ที่เข้าฝึกอบรมจะได้รับความรู้เพื่อนําไปประกอบอาชีพอิสระและมีรายได้สําหรับใช้จ่ายในครอบครัวด้วย สําหรับกลุ่มแรงงานในระบบ มีหลักสูตรการฝึกทั้ง Up skill และ Re skill พร้อมเสริมทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และทักษะอื่นๆ ตามความต้องการของสถานประกอบกิจการ มีเป้าหมายดําเนินการอีก 7,000 คน ทั้งนี้ จะพิจารณาสาขาที่ฝึกอบรมตามความต้องการของแต่ละพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ผู้สนใจสามารถติดต่อสมัครฝึกอบรมได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสํานักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้ง 76 จังหวัด และในกรุงเทพมหานคร สมัครได้ที่ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร 0 2392 4790-4 หรือ 0 2245 4317 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 หรือกองสื่อสารองค์กร 0 2245 4035
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน เคาะมาตรการช่วยแรงงานอิสระ ลดผลกระทบโควิด-19 [กระทรวงแรงงาน] วันพุธที่ 8 เมษายน 2563 ก.แรงงาน เคาะมาตรการช่วยแรงงานอิสระ ลดผลกระทบโควิด-19 [กระทรวงแรงงาน] ก.แรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เคาะมาตรการช่วยเหลือแรงงานอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป้าหมาย 7,800 คน ฝึกฟรี ! มีเบี้ยเลี้ยง นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนผู้ใช้แรงงาน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต้องหยุดงานขาดรายได้เพื่อใช้จ่ายในครอบครัว จึงมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน เร่งหามาตรการในการช่วยเหลือทั้งแรงงานในระบบและแรงงานอิสระ ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกพร.เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาทักษะอาชีพ จึงกําหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน จากผลกระทบดังกล่าว รวมถึงแรงงานที่ต้องหยุดงานจากสถานประกอบกิจการหยุดกิจการชั่วคราว ได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ และมีรายได้ระหว่างการฝึกอบรมด้วย จึงจัดโครงการฝึกอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนขึ้น ตั้งเป้าดําเนินการกว่า 7,800 คน รวม 390 รุ่น มีเบี้ยเลี้ยงให้ระหว่างการฝึกอบรม กระจายเป้าหมายไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ นายธวัช กล่าวต่อไปว่า การฝึกอาชีพดังกล่าว มีระยะเวลาการฝึก 15 วัน หลักสูตรที่ดําเนินการ เช่นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ บาริสต้ามืออาชีพ การใช้สมาร์ทโฟนสร้างยอดขาย การประกอบธุรกิจกาแฟ การประกอบอาหาร และการทําขนม เป็นต้น ระหว่างฝึกอบรมจะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 150 บาท ดังนั้น ผู้ที่เข้าฝึกอบรมจะได้รับความรู้เพื่อนําไปประกอบอาชีพอิสระและมีรายได้สําหรับใช้จ่ายในครอบครัวด้วย สําหรับกลุ่มแรงงานในระบบ มีหลักสูตรการฝึกทั้ง Up skill และ Re skill พร้อมเสริมทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และทักษะอื่นๆ ตามความต้องการของสถานประกอบกิจการ มีเป้าหมายดําเนินการอีก 7,000 คน ทั้งนี้ จะพิจารณาสาขาที่ฝึกอบรมตามความต้องการของแต่ละพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ผู้สนใจสามารถติดต่อสมัครฝึกอบรมได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสํานักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้ง 76 จังหวัด และในกรุงเทพมหานคร สมัครได้ที่ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร 0 2392 4790-4 หรือ 0 2245 4317 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 หรือกองสื่อสารองค์กร 0 2245 4035
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28626
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางไปตรวจราชการ จ.พะเยา และจ.เชียงราย และประชุมครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จ.เชียงราย ระว่างวันจันทร์ที่ 29 – วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561
วันพุธที่ 24 ตุลาคม 2561 นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางไปตรวจราชการ จ.พะเยา และจ.เชียงราย และประชุมครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จ.เชียงราย ระว่างวันจันทร์ที่ 29 – วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 ผู้ช่วยโฆษกรัฐบาลเผย นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางไปตรวจราชการ จ.พะเยา และ จ.เชียงราย และประชุมครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 8/2561 ณ จ.เชียงราย ระว่างวันจันทร์ที่ 29 – วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 วันนี้ ( 24 ต.ค. 61 ) เวลา 15.35 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงกําหนดการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเดินทางไปตรวจราชการจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย และประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 8/2561 ณ จังหวัดเชียงราย ระว่างวันจันทร์ที่ 29 – วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 ว่า วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2561 เวลาประมาณ 07.00 น. นายกรัฐมนตรีและคณะ จะออกเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง กรุงเทพฯ เพื่อเดินทางไปยังท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง ตําบลบ้านดู่ อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และเดินทางต่อไปยังจังหวัดพะเยา โดยเวลาประมาณ 10.00 น. นายกรัฐมนตรีจะพบปะกับประชาชน ณ ลานอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองพะเยา โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานสักขีพยานในพิธีมอบสมุดประจาตัวผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชน ตามนโยบายรัฐบาลในลักษณะแปลงรวมให้แก่ราษฎร พร้อมเยี่ยมชมตลาดประชารัฐ และศูนย์ฮอมฮักเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเรื้อรังด้วย หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปยังประตูระบายน้ํากว๊านพะเยา ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ําจืดพะเยา เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างฝายพับได้ ภายใต้โครงการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน และปล่อยพันธุ์ปลาบึก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ําจืดพะเยา ในช่วงบ่ายเวลาประมาณ 14.30 น. นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปยังจังหวัดเชียงราย เพื่อจะพบปะประชาชน ณ หมู่บ้านเมืองรวง ตําบลแม่กรณ์ อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นสักขีพยานในโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (ป่าสงวนแห่งชาติห้วยสัก) และผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา (ป่าสงวนแห่งชาติห้วยส้ม) และมอบหนังสือแสดงโครงการป่าชุมชน ให้แก่ประธานป่าชุมชน 4 จังหวัด (เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่) รวมทั้งปล่อยพันธุ์ปลาพื้นเมือง จํานวน 50,000 ตัว ด้วย หลังจากนั้นเวลา 17.00 น. นายกรัฐมนตรีจะเดินทางต่อไปยัง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ สําหรับวันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 ในช่วงเช้า นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะเดินทางไปสักการะพระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้ว ตําบลเวียง อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และคณะรัฐมนตรีถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่) และประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 8/2561 ณ ห้องประชุมแสนหวี หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรีฯ นายกรัฐมนตรีและคณะ จะเดินกลับกรุงเทพมหานครในเย็นวันเดียวกัน โดยคาดจะเดินทางถึงกรุงเทพฯ ในเวลาประมาณ 18.00 น. นอกจากนี้ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรี ห่วงใยประชาชนในภาคใต้ โดยได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ทางภาคใต้ให้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของฝนตกหนักและคลื่นสูงในทะเล เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมการรับมือกับสถานการณ์และเจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมในการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทันทวงที ---------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางไปตรวจราชการ จ.พะเยา และจ.เชียงราย และประชุมครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จ.เชียงราย ระว่างวันจันทร์ที่ 29 – วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 วันพุธที่ 24 ตุลาคม 2561 นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางไปตรวจราชการ จ.พะเยา และจ.เชียงราย และประชุมครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จ.เชียงราย ระว่างวันจันทร์ที่ 29 – วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 ผู้ช่วยโฆษกรัฐบาลเผย นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางไปตรวจราชการ จ.พะเยา และ จ.เชียงราย และประชุมครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 8/2561 ณ จ.เชียงราย ระว่างวันจันทร์ที่ 29 – วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 วันนี้ ( 24 ต.ค. 61 ) เวลา 15.35 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงกําหนดการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเดินทางไปตรวจราชการจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย และประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 8/2561 ณ จังหวัดเชียงราย ระว่างวันจันทร์ที่ 29 – วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 ว่า วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2561 เวลาประมาณ 07.00 น. นายกรัฐมนตรีและคณะ จะออกเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง กรุงเทพฯ เพื่อเดินทางไปยังท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง ตําบลบ้านดู่ อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และเดินทางต่อไปยังจังหวัดพะเยา โดยเวลาประมาณ 10.00 น. นายกรัฐมนตรีจะพบปะกับประชาชน ณ ลานอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองพะเยา โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานสักขีพยานในพิธีมอบสมุดประจาตัวผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชน ตามนโยบายรัฐบาลในลักษณะแปลงรวมให้แก่ราษฎร พร้อมเยี่ยมชมตลาดประชารัฐ และศูนย์ฮอมฮักเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเรื้อรังด้วย หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปยังประตูระบายน้ํากว๊านพะเยา ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ําจืดพะเยา เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างฝายพับได้ ภายใต้โครงการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน และปล่อยพันธุ์ปลาบึก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ําจืดพะเยา ในช่วงบ่ายเวลาประมาณ 14.30 น. นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปยังจังหวัดเชียงราย เพื่อจะพบปะประชาชน ณ หมู่บ้านเมืองรวง ตําบลแม่กรณ์ อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นสักขีพยานในโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (ป่าสงวนแห่งชาติห้วยสัก) และผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา (ป่าสงวนแห่งชาติห้วยส้ม) และมอบหนังสือแสดงโครงการป่าชุมชน ให้แก่ประธานป่าชุมชน 4 จังหวัด (เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่) รวมทั้งปล่อยพันธุ์ปลาพื้นเมือง จํานวน 50,000 ตัว ด้วย หลังจากนั้นเวลา 17.00 น. นายกรัฐมนตรีจะเดินทางต่อไปยัง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เพื่อตรวจเยี่ยมโครงการศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ สําหรับวันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561 ในช่วงเช้า นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะเดินทางไปสักการะพระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้ว ตําบลเวียง อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และคณะรัฐมนตรีถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่) และประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 8/2561 ณ ห้องประชุมแสนหวี หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรีฯ นายกรัฐมนตรีและคณะ จะเดินกลับกรุงเทพมหานครในเย็นวันเดียวกัน โดยคาดจะเดินทางถึงกรุงเทพฯ ในเวลาประมาณ 18.00 น. นอกจากนี้ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรี ห่วงใยประชาชนในภาคใต้ โดยได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ทางภาคใต้ให้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของฝนตกหนักและคลื่นสูงในทะเล เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมการรับมือกับสถานการณ์และเจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมในการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทันทวงที ---------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16284
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้ พร้อมถุงยังชีพมูลค่า 1 ล้านบาท บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องชาวใต้
วันพุธที่ 11 มกราคม 2560 EXIM BANK ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้ พร้อมถุงยังชีพมูลค่า 1 ล้านบาท บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องชาวใต้ EXIM BANK ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรงครอบคลุมถึงผู้ที่อยู่ในพื้นที่ตามประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัย นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรงครอบคลุมถึงผู้ที่อยู่ในพื้นที่ตามประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัย น้ําท่วมโรงงานหรือบริษัท จะได้รับความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ ทั้งขยายระยะเวลา ลดอัตราดอกเบี้ย และพักชําระหนี้ กล่าวคือ ขยายระยะเวลาให้ต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินได้สูงสุดถึง 360 วัน ลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อหมุนเวียนและเงินกู้เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นให้เป็นอัตราปกติ -0.5% และส่วนเงินกู้ระยะสั้น-ยาว สามารถพักชําระหนี้เงินต้นได้สูงสุด 1 ปี ส่วนลูกค้าสินเชื่อหมุนเวียนก่อนและหลังการส่งออกที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากอุทกภัยในภาคใต้ครั้งนี้ เนื่องจากน้ําท่วมโรงงานผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ ทําให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามระยะเวลา จะได้รับการขยายระยะเวลาให้ต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินเกินเทอมที่ธนาคารอนุมัติได้สูงสุดถึง 360 วัน กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า นอกจากนี้ ธนาคารยังจัดทําถุงยังชีพจํานวน 4,500 ถุง มูลค่ารวม 1 ล้านบาท และจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคใต้ ณ EXIM BANK สํานักงานใหญ่ โดยเชิญชวนพนักงานและประชาชนทั่วไปร่วมกันบริจาคอาหารแห้งและของใช้ที่จําเป็น เพื่อนําไปแจกจ่ายและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ผ่านกองทัพเรือ “EXIM BANK พร้อมช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวใต้ และช่วยเหลือภาคธุรกิจให้ดําเนินต่อไปได้ ด้วยมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากอุทกภัยในภาคใต้ครั้งนี้ และยินดีพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นรายกรณี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือให้ภาคธุรกิจ ประชาชน กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว” นายพิศิษฐ์กล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สํานักบริหาร EXIM BANK สํานักงานใหญ่ โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1141-6 EXIM Thailand Launches Measures to Help Exporting Clients Affected by Southern Floods Donating Relief Bags Worth 1 Million Baht Mr. Pisit Serewiwattana, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), said that EXIM Thailand launched relief measures to help its clients directly and indirectly affected by floods in the South. Those who live or whose business establishments are located in the areas announced as flood zones are eligible for such relief measures as extension of export bills repayment period of up to 360 days, interest rate reduction for revolving export credit for the period of 6 months followed by a 0.5% interest reduction from normal rate, debt suspension for short- or long-term loan up to one year. For pre- and post-shipment working capital loan customers indirectly stricken by the floods as a result of the delayed production following late delivery of goods by floods-damaged suppliers, an extension of promissory notes repayment schedule will be considered with a maximum overdue period of 360 days. Mr. Pisit further elaborated that in addition to the above support, the Bank will donate 4,500 relief bags worth one million baht as well as setting up a floods relief center at the Bank’s headquarters. The Bank is now inviting its staff members and the general public to help donate food and necessity items for the flood-stricken population in the South through the Royal Thai Navy. “EXIM Thailand is ready to help alleviate the plight of our fellow Southerners and promote business continuation among the Thai enterprises through various urgent relief measures targeted for those directly and indirectly affected by the Southern floods. We will also be pleased to extend further assistance as appropriate on a case by case basis, hoping to become a meaningful part of the country’s efforts to reduce the hardships of the Thai people and business sector while helping them to speedily return to their normal course of life,” said Mr. Pisit. For further information, please contact Public Relations Division, Office of Top Management Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 1141-6 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้ พร้อมถุงยังชีพมูลค่า 1 ล้านบาท บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องชาวใต้ วันพุธที่ 11 มกราคม 2560 EXIM BANK ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้ พร้อมถุงยังชีพมูลค่า 1 ล้านบาท บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องชาวใต้ EXIM BANK ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรงครอบคลุมถึงผู้ที่อยู่ในพื้นที่ตามประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัย นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรงครอบคลุมถึงผู้ที่อยู่ในพื้นที่ตามประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัย น้ําท่วมโรงงานหรือบริษัท จะได้รับความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ ทั้งขยายระยะเวลา ลดอัตราดอกเบี้ย และพักชําระหนี้ กล่าวคือ ขยายระยะเวลาให้ต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินได้สูงสุดถึง 360 วัน ลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อหมุนเวียนและเงินกู้เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นให้เป็นอัตราปกติ -0.5% และส่วนเงินกู้ระยะสั้น-ยาว สามารถพักชําระหนี้เงินต้นได้สูงสุด 1 ปี ส่วนลูกค้าสินเชื่อหมุนเวียนก่อนและหลังการส่งออกที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากอุทกภัยในภาคใต้ครั้งนี้ เนื่องจากน้ําท่วมโรงงานผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ ทําให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามระยะเวลา จะได้รับการขยายระยะเวลาให้ต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินเกินเทอมที่ธนาคารอนุมัติได้สูงสุดถึง 360 วัน กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า นอกจากนี้ ธนาคารยังจัดทําถุงยังชีพจํานวน 4,500 ถุง มูลค่ารวม 1 ล้านบาท และจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคใต้ ณ EXIM BANK สํานักงานใหญ่ โดยเชิญชวนพนักงานและประชาชนทั่วไปร่วมกันบริจาคอาหารแห้งและของใช้ที่จําเป็น เพื่อนําไปแจกจ่ายและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ผ่านกองทัพเรือ “EXIM BANK พร้อมช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวใต้ และช่วยเหลือภาคธุรกิจให้ดําเนินต่อไปได้ ด้วยมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากอุทกภัยในภาคใต้ครั้งนี้ และยินดีพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นรายกรณี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือให้ภาคธุรกิจ ประชาชน กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว” นายพิศิษฐ์กล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สํานักบริหาร EXIM BANK สํานักงานใหญ่ โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1141-6 EXIM Thailand Launches Measures to Help Exporting Clients Affected by Southern Floods Donating Relief Bags Worth 1 Million Baht Mr. Pisit Serewiwattana, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), said that EXIM Thailand launched relief measures to help its clients directly and indirectly affected by floods in the South. Those who live or whose business establishments are located in the areas announced as flood zones are eligible for such relief measures as extension of export bills repayment period of up to 360 days, interest rate reduction for revolving export credit for the period of 6 months followed by a 0.5% interest reduction from normal rate, debt suspension for short- or long-term loan up to one year. For pre- and post-shipment working capital loan customers indirectly stricken by the floods as a result of the delayed production following late delivery of goods by floods-damaged suppliers, an extension of promissory notes repayment schedule will be considered with a maximum overdue period of 360 days. Mr. Pisit further elaborated that in addition to the above support, the Bank will donate 4,500 relief bags worth one million baht as well as setting up a floods relief center at the Bank’s headquarters. The Bank is now inviting its staff members and the general public to help donate food and necessity items for the flood-stricken population in the South through the Royal Thai Navy. “EXIM Thailand is ready to help alleviate the plight of our fellow Southerners and promote business continuation among the Thai enterprises through various urgent relief measures targeted for those directly and indirectly affected by the Southern floods. We will also be pleased to extend further assistance as appropriate on a case by case basis, hoping to become a meaningful part of the country’s efforts to reduce the hardships of the Thai people and business sector while helping them to speedily return to their normal course of life,” said Mr. Pisit. For further information, please contact Public Relations Division, Office of Top Management Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 1141-6 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1308
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลด้านการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย
วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2562 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลด้านการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2562 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลด้านการจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย จะดําเนินการตั้งแต่การป้องกันก่อนเกิดภัย การให้ความช่วยเหลือระหว่างเกิดภัย และการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยจัดระบบติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและกําหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุดและทันท่วงที รวมทั้งพัฒนาการปฏิบัติการฝนหลวงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้มีการศึกษา รับฟังความเห็นของประชาชน และการดําเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นกลไกการบริหารปกครองประเทศที่เกิดประโยชน์สูงสุด ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลด้านการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2562 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลด้านการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2562 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลด้านการจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย จะดําเนินการตั้งแต่การป้องกันก่อนเกิดภัย การให้ความช่วยเหลือระหว่างเกิดภัย และการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยจัดระบบติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและกําหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุดและทันท่วงที รวมทั้งพัฒนาการปฏิบัติการฝนหลวงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้มีการศึกษา รับฟังความเห็นของประชาชน และการดําเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นกลไกการบริหารปกครองประเทศที่เกิดประโยชน์สูงสุด ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22063
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เตือนกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงโรคพยาธิ
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2563 สธ. เตือนกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงโรคพยาธิ กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนรับประทานเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ผักสดล้างไม่สะอาด เสี่ยงเป็นโรคพยาธิ ยึดหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ เน้นกินอาหาร “สุก ร้อน สะอาด” ล้างมือก่อนและหลังการปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนรับประทานเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ผักสดล้างไม่สะอาด เสี่ยงเป็นโรคพยาธิ ยึดหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ เน้นกินอาหาร “สุก ร้อน สะอาด” ล้างมือก่อนและหลังการปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ในการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร ได้ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เร่งให้ความรู้ประชาชนอย่างง่ายโดยใช้หลักสุขบัญญัติ 10 ประการ เน้นเรื่องล้างมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย รวมทั้งกินอาหารปรุงสุกสะอาด การเลือกซื้ออาหารสดที่สะอาด ปลอดสารพิษ คํานึงถึงประโยชน์และคุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ ควรปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางของตนเอง หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ซึ่งในช่วงฤดูฝนขอให้ระวังเรื่องการล้างผักสด หากล้างไม่สะอาดอาจมีไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิติดอยู่ และการกินเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ที่อาจมีตัวอ่อนพยาธิฝังอยู่เข้าสู่ร่างกาย เป็นโรคพยาธิได้ เช่นกรณีที่พบเป็นข่าวคลิปวิดีโอแพทย์ศูนย์วิจัยโรคปรสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ดึงพยาธิออกมาทางปากของผู้ป่วยชายวัย 48 ปี “ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ขอให้ประชาชนล้างมือบ่อย ๆ ซึ่งนอกจากจะป้องกันโรคโควิด 19 แล้ว ยังสามารถป้องกันโรคพยาธิ และโรคระบบทางเดินอาหารด้วย ขอให้ปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ ทําได้ง่าย จะช่วยให้ทุกคนมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ร่างกายแข็งแรง” นายแพทย์สุขุมกล่าว ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกหิวบ่อย กินอาหารมาก แต่น้ําหนักลด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เจ็บและบวมตามผิวหนัง เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด มีอาการแพ้ ทางผิวหนัง มีผื่นคันหรือเป็นแนวแดงๆ บนผิวหนัง มีตุ่มนูนจํานวนมากขึ้นตามผิวหนัง เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว อาจเกิดจากโรคพยาธิ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา และไม่ควรซื้อยาถ่ายพยาธิมารับประทานเอง เนื่องจากพยาธิมีหลายชนิด เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ตับ พยาธิแส้ม้า พยาธิตัวจี๊ด พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น ซึ่งชนิดของยาและปริมาณที่ใช้ในการรักษาจะแตกต่างกัน ***************************** 28 พฤษภาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เตือนกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงโรคพยาธิ วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2563 สธ. เตือนกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงโรคพยาธิ กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนรับประทานเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ผักสดล้างไม่สะอาด เสี่ยงเป็นโรคพยาธิ ยึดหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ เน้นกินอาหาร “สุก ร้อน สะอาด” ล้างมือก่อนและหลังการปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนรับประทานเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ผักสดล้างไม่สะอาด เสี่ยงเป็นโรคพยาธิ ยึดหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ เน้นกินอาหาร “สุก ร้อน สะอาด” ล้างมือก่อนและหลังการปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ในการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร ได้ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เร่งให้ความรู้ประชาชนอย่างง่ายโดยใช้หลักสุขบัญญัติ 10 ประการ เน้นเรื่องล้างมือด้วยน้ําและสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย รวมทั้งกินอาหารปรุงสุกสะอาด การเลือกซื้ออาหารสดที่สะอาด ปลอดสารพิษ คํานึงถึงประโยชน์และคุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ ควรปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางของตนเอง หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ซึ่งในช่วงฤดูฝนขอให้ระวังเรื่องการล้างผักสด หากล้างไม่สะอาดอาจมีไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิติดอยู่ และการกินเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ที่อาจมีตัวอ่อนพยาธิฝังอยู่เข้าสู่ร่างกาย เป็นโรคพยาธิได้ เช่นกรณีที่พบเป็นข่าวคลิปวิดีโอแพทย์ศูนย์วิจัยโรคปรสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ดึงพยาธิออกมาทางปากของผู้ป่วยชายวัย 48 ปี “ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ขอให้ประชาชนล้างมือบ่อย ๆ ซึ่งนอกจากจะป้องกันโรคโควิด 19 แล้ว ยังสามารถป้องกันโรคพยาธิ และโรคระบบทางเดินอาหารด้วย ขอให้ปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ ทําได้ง่าย จะช่วยให้ทุกคนมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ร่างกายแข็งแรง” นายแพทย์สุขุมกล่าว ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกหิวบ่อย กินอาหารมาก แต่น้ําหนักลด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เจ็บและบวมตามผิวหนัง เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด มีอาการแพ้ ทางผิวหนัง มีผื่นคันหรือเป็นแนวแดงๆ บนผิวหนัง มีตุ่มนูนจํานวนมากขึ้นตามผิวหนัง เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว อาจเกิดจากโรคพยาธิ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา และไม่ควรซื้อยาถ่ายพยาธิมารับประทานเอง เนื่องจากพยาธิมีหลายชนิด เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ตับ พยาธิแส้ม้า พยาธิตัวจี๊ด พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น ซึ่งชนิดของยาและปริมาณที่ใช้ในการรักษาจะแตกต่างกัน ***************************** 28 พฤษภาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31626
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลยกเว้นภาษีจดทะเบียนนิติบุคคล
วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2560 รัฐบาลยกเว้นภาษีจดทะเบียนนิติบุคคล การประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล จะทําให้รัฐบาลสามารถออกนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ง่ายขึ้น ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจตามมาตรการส่งเสริมการประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคลระหว่างวันที่ 10 ส.ค. 2559 – 31 ธ.ค. 2560 เพื่อเป็นแรงจูงใจและบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนไปประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการแสดงผลประกอบการที่แท้จริง ดําเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ง่าย เกิดความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการเสียภาษี ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง โดยแม้จะเก็บภาษีได้น้อยลงเล็กน้อย แต่จะสร้างฐานภาษีที่ยั่งยืนของประเทศในระยะยาว ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลยกเว้นภาษีจดทะเบียนนิติบุคคล วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2560 รัฐบาลยกเว้นภาษีจดทะเบียนนิติบุคคล การประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล จะทําให้รัฐบาลสามารถออกนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ง่ายขึ้น ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจตามมาตรการส่งเสริมการประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคลระหว่างวันที่ 10 ส.ค. 2559 – 31 ธ.ค. 2560 เพื่อเป็นแรงจูงใจและบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนไปประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการแสดงผลประกอบการที่แท้จริง ดําเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ง่าย เกิดความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการเสียภาษี ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง โดยแม้จะเก็บภาษีได้น้อยลงเล็กน้อย แต่จะสร้างฐานภาษีที่ยั่งยืนของประเทศในระยะยาว ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5078
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2561
วันพุธที่ 29 สิงหาคม 2561 ผลประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2561 พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2561 เมื่อวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2561 เมื่อวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมประชุม ศธ.เร่งจัดทําแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ 2562 สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท นายชลํา อรรถธรรม โฆษกกระทรวงศึกษาธิการเปิดเผยผลการประชุมว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ทุกกระทรวงจัดทําแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ให้สอดรับกับแผนงานโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ และสอดคล้องตามลําดับขั้นของยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (แบ่งเป็น 4 ห้วง ๆ ละ 5 ปี) ซึ่งเป็นแผนใหญ่ที่สุด รองลงมาก็คือแผนแม่บท รองรับแนวทางการพัฒนาโครงการสําคัญ (Flagship Project) ให้บรรลุเป้าหมาย และแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี ซึ่งเป็นภารกิจที่แต่ละกระทรวงจะต้องดําเนินการอยู่แล้ว ทั้งนี้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีข้อสั่งการเร่งด่วนให้ทุกองค์กรหลักจัดทําแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ 2562 เป็นระยะเวลา 1 ปี ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2561พร้อมกําชับให้ทบทวนแผนปฏิบัติราชการให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท โดยมอบหมายสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลัก ในการดูแล กํากับ และติดตามให้การจัดทําแผนปฏิบัติราชการเสร็จสมบูรณ์ในระยะเวลาที่กําหนด นโยบายการกีฬาแห่งชาติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการกล่าวด้วยว่านายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีได้รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งคณะรัฐมนตรีหารือร่วมกันและเห็นควรให้มีนโยบายส่งเสริมด้านการกีฬาให้มีความเด่นชัดมากขึ้น จึงมอบหมายให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนแนวทางการส่งเสริมด้านการออกกําลังกายและการกีฬาอย่างเป็นรูปธรรม โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายให้พิจารณาดําเนินการใน 3 ประเด็น คือ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเจ้าภาพหลักในการดําเนินการจัดการเรียนการสอนควบคู่กับกิจกรรมกีฬาของนักเรียนทุกสังกัดอาทิ การออกกําลังกาย, การนํากีฬาสู่ห้องเรียน, การส่งเสริมให้นักเรียนเล่นกีฬาตามความถนัด, การสอดแทรกกีฬาที่มีความจําเป็น ไม่ว่าจะเป็น การฝึกลอยตัวในน้ําเพื่อเอาตัวรอด การฝึกมวยไทยที่เป็นกีฬาประจําชาติ เป็นต้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะให้การสนับสนุนด้านการกีฬาในหลายส่วนอาทิ ด้านบุคลากรทางการกีฬา ด้านอุปกรณ์กีฬา สําหรับจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น โดยจะมีการจัดทําบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อความชัดเจนในการดําเนินงานร่วมกันในอนาคต สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักในการสํารวจความพร้อมของพื้นที่ในสถานศึกษาทุกสังกัดทั้งภาครัฐรัฐและภาคเอกชน เพื่อให้บริการแก่ประชาชนสําหรับเป็นสถานที่ออกกําลังกายและลานกีฬา อาทิ ลานจอดรถ สนามหญ้าภายในโรงเรียน เป็นต้น โดยอาจเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาร่วมบริหารจัดการด้วย ในส่วนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคเพื่ออํานวยความสะดวก เช่น ไฟฟ้าส่องสว่าง ทางรัฐบาลก็ยินดีที่จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ตามความเหมาะสมต่อไป Writtenbyปารัชญ์ ไชยเวช Photo Creditยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2561 วันพุธที่ 29 สิงหาคม 2561 ผลประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2561 พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2561 เมื่อวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2561 เมื่อวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมประชุม ศธ.เร่งจัดทําแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ 2562 สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท นายชลํา อรรถธรรม โฆษกกระทรวงศึกษาธิการเปิดเผยผลการประชุมว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ทุกกระทรวงจัดทําแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ให้สอดรับกับแผนงานโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ และสอดคล้องตามลําดับขั้นของยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (แบ่งเป็น 4 ห้วง ๆ ละ 5 ปี) ซึ่งเป็นแผนใหญ่ที่สุด รองลงมาก็คือแผนแม่บท รองรับแนวทางการพัฒนาโครงการสําคัญ (Flagship Project) ให้บรรลุเป้าหมาย และแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี ซึ่งเป็นภารกิจที่แต่ละกระทรวงจะต้องดําเนินการอยู่แล้ว ทั้งนี้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีข้อสั่งการเร่งด่วนให้ทุกองค์กรหลักจัดทําแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ 2562 เป็นระยะเวลา 1 ปี ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2561พร้อมกําชับให้ทบทวนแผนปฏิบัติราชการให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท โดยมอบหมายสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลัก ในการดูแล กํากับ และติดตามให้การจัดทําแผนปฏิบัติราชการเสร็จสมบูรณ์ในระยะเวลาที่กําหนด นโยบายการกีฬาแห่งชาติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการกล่าวด้วยว่านายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีได้รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งคณะรัฐมนตรีหารือร่วมกันและเห็นควรให้มีนโยบายส่งเสริมด้านการกีฬาให้มีความเด่นชัดมากขึ้น จึงมอบหมายให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนแนวทางการส่งเสริมด้านการออกกําลังกายและการกีฬาอย่างเป็นรูปธรรม โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้รับมอบหมายให้พิจารณาดําเนินการใน 3 ประเด็น คือ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเจ้าภาพหลักในการดําเนินการจัดการเรียนการสอนควบคู่กับกิจกรรมกีฬาของนักเรียนทุกสังกัดอาทิ การออกกําลังกาย, การนํากีฬาสู่ห้องเรียน, การส่งเสริมให้นักเรียนเล่นกีฬาตามความถนัด, การสอดแทรกกีฬาที่มีความจําเป็น ไม่ว่าจะเป็น การฝึกลอยตัวในน้ําเพื่อเอาตัวรอด การฝึกมวยไทยที่เป็นกีฬาประจําชาติ เป็นต้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะให้การสนับสนุนด้านการกีฬาในหลายส่วนอาทิ ด้านบุคลากรทางการกีฬา ด้านอุปกรณ์กีฬา สําหรับจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น โดยจะมีการจัดทําบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อความชัดเจนในการดําเนินงานร่วมกันในอนาคต สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักในการสํารวจความพร้อมของพื้นที่ในสถานศึกษาทุกสังกัดทั้งภาครัฐรัฐและภาคเอกชน เพื่อให้บริการแก่ประชาชนสําหรับเป็นสถานที่ออกกําลังกายและลานกีฬา อาทิ ลานจอดรถ สนามหญ้าภายในโรงเรียน เป็นต้น โดยอาจเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาร่วมบริหารจัดการด้วย ในส่วนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคเพื่ออํานวยความสะดวก เช่น ไฟฟ้าส่องสว่าง ทางรัฐบาลก็ยินดีที่จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ตามความเหมาะสมต่อไป Writtenbyปารัชญ์ ไชยเวช Photo Creditยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14990
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ( Novel Coronavirus;2019-nCoV) ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563
วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ( Novel Coronavirus;2019-nCoV) ประจําวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงสาธารณสุข เผยไม่มีผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เพิ่ม ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการดีขึ้น รายที่โรงพยาบาลราชวิถีรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้ง ส่วนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคกลุ่มคนไทยกลับบ้าน 5 ราย หายดีแล้ว แพทย์ให้ไปพ 1.สถานการณ์ ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 22 ราย กลับบ้านแล้ว 10 ราย รวมสะสม 32 ราย 2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม - 8 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 679 ราย คัดกรองจากสนามบิน 51 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 628 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 284 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 395 ราย โดยวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรครายใหม่ 25 ราย 3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 28 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม– 8 กุมภาพันธ์ 2563 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 34,880 ราย เสียชีวิต 724 ราย ส่วนประเทศจีน พบผู้ป่วย 34,546 ราย เสียชีวิต 722 ราย 4. ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข สถานการณ์จะดีขึ้นด้วยความร่วมมือจากประชาชน อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง “เช็คก่อนแชร์” งดแชร์ข้อมูลผู้ป่วยทางสื่อออนไลน์ และมาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแพร่หลาย เกิดความตระหนก และมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โปรดติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเว็บไซต์https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/และ Line@/เฟซบุ๊ค : รู้กันทันโรค,Coronavirus2019, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประชาชนตรวจสอบข่าวลวงได้ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมwww.antifakenewscenter.com 2.สธ. เผยผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019 ที่โรงพยาบาลราชวิถีอาการดีขึ้น กระทรวงสาธารณสุข เผยไม่มีผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เพิ่ม ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการดีขึ้น รายที่โรงพยาบาลราชวิถีรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้ง ส่วนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคกลุ่มคนไทยกลับบ้าน 5 ราย หายดีแล้ว แพทย์ให้ไปพักสังเกตอาการต่อที่อาคารรับรองฐานทัพเรือสัตหีบ ย้ําประชาชนกลุ่มเสี่ยง ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ หรือคนทั่วไปที่อยู่ในที่มีคนอยู่จํานวนมาก สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยรศ.พิเศษ นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ภก.พิพัฒน์ นิยมการ รองผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกยังคงต้องติดตามใกล้ชิด ในส่วนของประเทศไทย ไม่มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม จํานวนผู้ป่วยยืนยัน 32 รายเท่าเดิม ซึ่ง 1 ใน 3 เป็นผู้ติดเชื้อที่ได้จากการตรวจในผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพิ่มเติม มีอาการเล็กน้อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคของไทย โดยขณะนี้ หายดีกลับบ้านแล้ว 10 ราย ยังคงรักษาตัวในโรงพยาบาล 22 ราย ทุกรายอาการดีขึ้น รายที่มีอาการมากรักษาที่สถาบันบําราศนราดูร อาการทรงตัว แพทย์ให้การดูแลใกล้ชิด ส่วนผู้ป่วยที่โรงพยาบาลราชวิถีอาการดีขึ้นมากแล้ว รอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้ง สําหรับกลุ่มคนไทยกลับบ้านที่ฐานทัพเรือสัตหีบ 132 คน ทุกคนอาการปกติ ไม่มีไข้ ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อที่มี 1 รายรักษาตัวในห้องแยกรพ.ชลบุรี อาการทั่วไปปกติ ส่วนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค 5 รายแยกรักษาตัวที่โรงพยาบาล อาการปกติ ไม่มีไข้ ไม่ไอ ไม่มีน้ํามูก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ แพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลและเฝ้าระวังต่อเนื่องที่อาคารรับรอง โดยในวันนี้ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นประธานแถลงความคืบหน้าการดูแลสุขภาพคนไทยกลับบ้าน และลงพื้นที่เยี่ยมคนไทยกลับบ้านที่ฐานทัพเรือสัตหีบ และเยี่ยมให้กําลังใจผู้ป่วยที่โรงพยาบาลด้วย กระทรวงสาธารณสุขยังคงเข้มข้นการเฝ้าระวังและคัดกรองโรคทุกด่านทั้งทางอากาศ ทางบกที่ด่านชายแดน และท่าเรือ ที่สําคัญคือการให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยได้ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งเร่งรณรงค์ให้ความรู้ผู้ประกอบการ พนักงานขับรถสาธารณะ ในการทําความสะอาดสถานที่ และจุดสัมผัสเสี่ยงภายในรถ รวมทั้งการให้ความรู้ในการป้องกันโรค ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และแนะนําให้สวมหน้ากากอนามัย เน้นในกลุ่มผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มที่ทํางานในพื้นที่เช่น รถสาธารณะ ผู้ที่ทํางานกับนักท่องเที่ยว พนักงานห้างสรรพสินค้า รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่อยู่ในที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันจํานวนมาก ร่วมกับการล้างมือบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันการป่วยและการแพร่กระจายเชื้อได้ รวมทั้งได้ให้เร่งสํารวจปริมาณการใช้หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรค แจ้งมายังศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสํารองไว้ให้เพียงพอสําหรับการใช้งานของโรงพยาบาลและประชาชนในประเทศ 3. ผลการดําเนินงานที่ด่านควบคุมโรค - ตั้งแต่วันที่ 3 – 23 มกราคม 2563 ได้เฝ้าระวังคัดกรองผู้โดยสารเที่ยวบินตรงจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต และกระบี่ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2563 ขยายเพิ่มที่ท่าอากาศยานเชียงราย และตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2563 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ขยายการคัดกรองเป็นทุกเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออก รวมคัดกรองเที่ยวบินสะสม 616 เที่ยวบิน รวมคัดกรองผู้เดินทางและลูกเรือสะสม 49,812 ราย (ไม่รวมข้อมูลของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหลังขยายการคัดกรองเป็นทุกเที่ยวบิน) ทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดเจ้าหน้าที่หมุนเวียนไปสนับสนุนเจ้าหน้าที่ที่ด่าน เพื่อให้การทํางานมีประสิทธิภาพตลอด 24 ชั่วโมง -ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2563 ได้คัดกรองพื้นที่นอกสนามบิน ณ ท่าเรือกรุงเทพมหานคร สะสมรวม 899 ราย และที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่ 30 มกราคม 2563 มีผู้ได้รับการคัดกรองสะสมรวม 15,733 ราย - นักท่องเที่ยวทุกคนจะได้รับแจกคําแนะนําสุขภาพ (health beware card) จากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรค 4.ข้อแนะนําประจําวันในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ํา และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นํามือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จําเป็น และปฏิบัติตามคําแนะนํา “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” อย่างเคร่งครัด ******************** 9 กุมภาพันธ์ 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ( Novel Coronavirus;2019-nCoV) ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ( Novel Coronavirus;2019-nCoV) ประจําวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงสาธารณสุข เผยไม่มีผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เพิ่ม ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการดีขึ้น รายที่โรงพยาบาลราชวิถีรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้ง ส่วนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคกลุ่มคนไทยกลับบ้าน 5 ราย หายดีแล้ว แพทย์ให้ไปพ 1.สถานการณ์ ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 22 ราย กลับบ้านแล้ว 10 ราย รวมสะสม 32 ราย 2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม - 8 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 679 ราย คัดกรองจากสนามบิน 51 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 628 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 284 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 395 ราย โดยวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรครายใหม่ 25 ราย 3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 28 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม– 8 กุมภาพันธ์ 2563 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 34,880 ราย เสียชีวิต 724 ราย ส่วนประเทศจีน พบผู้ป่วย 34,546 ราย เสียชีวิต 722 ราย 4. ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข สถานการณ์จะดีขึ้นด้วยความร่วมมือจากประชาชน อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง “เช็คก่อนแชร์” งดแชร์ข้อมูลผู้ป่วยทางสื่อออนไลน์ และมาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแพร่หลาย เกิดความตระหนก และมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โปรดติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเว็บไซต์https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/และ Line@/เฟซบุ๊ค : รู้กันทันโรค,Coronavirus2019, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประชาชนตรวจสอบข่าวลวงได้ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมwww.antifakenewscenter.com 2.สธ. เผยผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019 ที่โรงพยาบาลราชวิถีอาการดีขึ้น กระทรวงสาธารณสุข เผยไม่มีผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เพิ่ม ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการดีขึ้น รายที่โรงพยาบาลราชวิถีรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้ง ส่วนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคกลุ่มคนไทยกลับบ้าน 5 ราย หายดีแล้ว แพทย์ให้ไปพักสังเกตอาการต่อที่อาคารรับรองฐานทัพเรือสัตหีบ ย้ําประชาชนกลุ่มเสี่ยง ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ หรือคนทั่วไปที่อยู่ในที่มีคนอยู่จํานวนมาก สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยรศ.พิเศษ นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ภก.พิพัฒน์ นิยมการ รองผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกยังคงต้องติดตามใกล้ชิด ในส่วนของประเทศไทย ไม่มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม จํานวนผู้ป่วยยืนยัน 32 รายเท่าเดิม ซึ่ง 1 ใน 3 เป็นผู้ติดเชื้อที่ได้จากการตรวจในผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพิ่มเติม มีอาการเล็กน้อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคของไทย โดยขณะนี้ หายดีกลับบ้านแล้ว 10 ราย ยังคงรักษาตัวในโรงพยาบาล 22 ราย ทุกรายอาการดีขึ้น รายที่มีอาการมากรักษาที่สถาบันบําราศนราดูร อาการทรงตัว แพทย์ให้การดูแลใกล้ชิด ส่วนผู้ป่วยที่โรงพยาบาลราชวิถีอาการดีขึ้นมากแล้ว รอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้ง สําหรับกลุ่มคนไทยกลับบ้านที่ฐานทัพเรือสัตหีบ 132 คน ทุกคนอาการปกติ ไม่มีไข้ ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อที่มี 1 รายรักษาตัวในห้องแยกรพ.ชลบุรี อาการทั่วไปปกติ ส่วนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค 5 รายแยกรักษาตัวที่โรงพยาบาล อาการปกติ ไม่มีไข้ ไม่ไอ ไม่มีน้ํามูก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ แพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลและเฝ้าระวังต่อเนื่องที่อาคารรับรอง โดยในวันนี้ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นประธานแถลงความคืบหน้าการดูแลสุขภาพคนไทยกลับบ้าน และลงพื้นที่เยี่ยมคนไทยกลับบ้านที่ฐานทัพเรือสัตหีบ และเยี่ยมให้กําลังใจผู้ป่วยที่โรงพยาบาลด้วย กระทรวงสาธารณสุขยังคงเข้มข้นการเฝ้าระวังและคัดกรองโรคทุกด่านทั้งทางอากาศ ทางบกที่ด่านชายแดน และท่าเรือ ที่สําคัญคือการให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยได้ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งเร่งรณรงค์ให้ความรู้ผู้ประกอบการ พนักงานขับรถสาธารณะ ในการทําความสะอาดสถานที่ และจุดสัมผัสเสี่ยงภายในรถ รวมทั้งการให้ความรู้ในการป้องกันโรค ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และแนะนําให้สวมหน้ากากอนามัย เน้นในกลุ่มผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มที่ทํางานในพื้นที่เช่น รถสาธารณะ ผู้ที่ทํางานกับนักท่องเที่ยว พนักงานห้างสรรพสินค้า รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่อยู่ในที่ที่มีคนอยู่ร่วมกันจํานวนมาก ร่วมกับการล้างมือบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันการป่วยและการแพร่กระจายเชื้อได้ รวมทั้งได้ให้เร่งสํารวจปริมาณการใช้หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรค แจ้งมายังศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสํารองไว้ให้เพียงพอสําหรับการใช้งานของโรงพยาบาลและประชาชนในประเทศ 3. ผลการดําเนินงานที่ด่านควบคุมโรค - ตั้งแต่วันที่ 3 – 23 มกราคม 2563 ได้เฝ้าระวังคัดกรองผู้โดยสารเที่ยวบินตรงจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต และกระบี่ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2563 ขยายเพิ่มที่ท่าอากาศยานเชียงราย และตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2563 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ขยายการคัดกรองเป็นทุกเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออก รวมคัดกรองเที่ยวบินสะสม 616 เที่ยวบิน รวมคัดกรองผู้เดินทางและลูกเรือสะสม 49,812 ราย (ไม่รวมข้อมูลของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหลังขยายการคัดกรองเป็นทุกเที่ยวบิน) ทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดเจ้าหน้าที่หมุนเวียนไปสนับสนุนเจ้าหน้าที่ที่ด่าน เพื่อให้การทํางานมีประสิทธิภาพตลอด 24 ชั่วโมง -ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2563 ได้คัดกรองพื้นที่นอกสนามบิน ณ ท่าเรือกรุงเทพมหานคร สะสมรวม 899 ราย และที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่ 30 มกราคม 2563 มีผู้ได้รับการคัดกรองสะสมรวม 15,733 ราย - นักท่องเที่ยวทุกคนจะได้รับแจกคําแนะนําสุขภาพ (health beware card) จากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรค 4.ข้อแนะนําประจําวันในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ํา และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นํามือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จําเป็น และปฏิบัติตามคําแนะนํา “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” อย่างเคร่งครัด ******************** 9 กุมภาพันธ์ 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26395
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพว.ออกมาตรการพักหนี้เติมทุนฟื้นธุรกิจ เยียวยาเอสเอ็มอีประสบอุทกภัยทั่วประเทศ
วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2561 ธพว.ออกมาตรการพักหนี้เติมทุนฟื้นธุรกิจ เยียวยาเอสเอ็มอีประสบอุทกภัยทั่วประเทศ "SME Development Bank" ออกมาตรการพักชําระหนี้ พร้อมสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ ใช้หมุนเวียนฟื้นฟูธุรกิจ เยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั่วประเทศ ยื่นกู้ฉับไวผ่านแอปพลิเคชัน SME D Bank พร้อมส่ง จนท.ลงพื้นที่ช่วยเหลือเร่งด่วน นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ําท่วมเข้าพื้นที่เกษตรและพื้นที่ชุมชนในหลายจังหวัด โดยเฉพาะทางภาคอีสาน และมีแนวโน้มจะขยายไปยังหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติขึ้นอยู่กับแต่ละจังหวัด ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ธนาคารได้ออก 2 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม แผ่นดินไหว เป็นต้น ได้แก่ มาตรการ 1. การพักชําระหนี้ สําหรับเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term loan) พักชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ส่วนสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) ออกมาตรการช่วยเหลือพักชําระดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน และมาตรการที่ 2. สินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย เพื่อเป็นเงินทุนฟื้นฟูและหมุนเวียนในกิจการสําหรับลูกค้าเดิมของธนาคาร ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 1 ปี วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อราย ดังนี้ 1.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้วงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท 2.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท 3.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติมากกว่า 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 4.99% ต่อปีตลอดอายุสัญญา ส่วนหลักประกันให้พิจารณาหลักประกันเดิมก่อนและสามารถใช้หลักประกัน บสย. ค้ําประกัน เฉพาะมาตรการที่เพิ่มไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยวงเงินกู้รวมทั้งโครงการไม่เกิน 15 ล้านบาท นอกจากนั้น สําหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนเพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว ธนาคารได้เตรียมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้รองรับ สําหรับใช้ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ และหมุนเวียน เช่น สินเชื่อเศรษฐกิจติดดาว สําหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ในกลุ่มธุรกิจเกษตรแปรรูป ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนและเชื่อมโยงต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ประกอบการใหม่ หรือธุรกิจผลิต มีนวัตกรรม หรือบริการต่างๆ ในชุมชน อัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 3 ปีแรก ผ่อนนาน 7 ปี กู้ 1 ล้านบาท ผ่อนเพียง 460 บาทต่อวัน และ สินเชื่อเถ้าแก่ 4.0 จากกระทรวงอุตสาหกรรม สําหรับผู้กู้ที่ขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 1% คงที่ตลอดระยะเวลา 7 ปี ปลอดชําระเงินต้น 3 ปีแรก เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหาทางการเงินสามารถกู้ได้ (แม้เคยปรับโครงสร้างหนี้ หรือผ่อนชําระไม่ต่อเนื่องมาก็ตาม) กู้ 1 ล้านบาท ผ่อนเพียง 410 บาทต่อวัน ที่สําคัญ ธนาคารมีบริการแอปพลิเคชัน SME D Bank ช่วยอํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถจะยื่นกู้ออนไลน์ได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟน รู้ผลการพิจารณาภายใน 7 วัน อีกทั้ง สั่งการให้เจ้าหน้าที่สาขาในพื้นที่เข้าเยี่ยมเยือนและสํารวจความเสียหายเพื่อช่วยเหลือได้ทันท่วงที และเปิด Call Center หมายเลข 1357 เพื่อรับแจ้งขอความช่วยเหลือด้านการเงิน ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้ มั่นใจได้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารอย่างเร่งด่วนที่สุด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพว.ออกมาตรการพักหนี้เติมทุนฟื้นธุรกิจ เยียวยาเอสเอ็มอีประสบอุทกภัยทั่วประเทศ วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2561 ธพว.ออกมาตรการพักหนี้เติมทุนฟื้นธุรกิจ เยียวยาเอสเอ็มอีประสบอุทกภัยทั่วประเทศ "SME Development Bank" ออกมาตรการพักชําระหนี้ พร้อมสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ ใช้หมุนเวียนฟื้นฟูธุรกิจ เยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั่วประเทศ ยื่นกู้ฉับไวผ่านแอปพลิเคชัน SME D Bank พร้อมส่ง จนท.ลงพื้นที่ช่วยเหลือเร่งด่วน นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ําท่วมเข้าพื้นที่เกษตรและพื้นที่ชุมชนในหลายจังหวัด โดยเฉพาะทางภาคอีสาน และมีแนวโน้มจะขยายไปยังหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติขึ้นอยู่กับแต่ละจังหวัด ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ธนาคารได้ออก 2 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม แผ่นดินไหว เป็นต้น ได้แก่ มาตรการ 1. การพักชําระหนี้ สําหรับเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term loan) พักชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ส่วนสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) ออกมาตรการช่วยเหลือพักชําระดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน และมาตรการที่ 2. สินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย เพื่อเป็นเงินทุนฟื้นฟูและหมุนเวียนในกิจการสําหรับลูกค้าเดิมของธนาคาร ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 1 ปี วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อราย ดังนี้ 1.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้วงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท 2.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท 3.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติมากกว่า 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 4.99% ต่อปีตลอดอายุสัญญา ส่วนหลักประกันให้พิจารณาหลักประกันเดิมก่อนและสามารถใช้หลักประกัน บสย. ค้ําประกัน เฉพาะมาตรการที่เพิ่มไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยวงเงินกู้รวมทั้งโครงการไม่เกิน 15 ล้านบาท นอกจากนั้น สําหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนเพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้ว ธนาคารได้เตรียมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้รองรับ สําหรับใช้ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ และหมุนเวียน เช่น สินเชื่อเศรษฐกิจติดดาว สําหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ในกลุ่มธุรกิจเกษตรแปรรูป ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนและเชื่อมโยงต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ประกอบการใหม่ หรือธุรกิจผลิต มีนวัตกรรม หรือบริการต่างๆ ในชุมชน อัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 3 ปีแรก ผ่อนนาน 7 ปี กู้ 1 ล้านบาท ผ่อนเพียง 460 บาทต่อวัน และ สินเชื่อเถ้าแก่ 4.0 จากกระทรวงอุตสาหกรรม สําหรับผู้กู้ที่ขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 1% คงที่ตลอดระยะเวลา 7 ปี ปลอดชําระเงินต้น 3 ปีแรก เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหาทางการเงินสามารถกู้ได้ (แม้เคยปรับโครงสร้างหนี้ หรือผ่อนชําระไม่ต่อเนื่องมาก็ตาม) กู้ 1 ล้านบาท ผ่อนเพียง 410 บาทต่อวัน ที่สําคัญ ธนาคารมีบริการแอปพลิเคชัน SME D Bank ช่วยอํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถจะยื่นกู้ออนไลน์ได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟน รู้ผลการพิจารณาภายใน 7 วัน อีกทั้ง สั่งการให้เจ้าหน้าที่สาขาในพื้นที่เข้าเยี่ยมเยือนและสํารวจความเสียหายเพื่อช่วยเหลือได้ทันท่วงที และเปิด Call Center หมายเลข 1357 เพื่อรับแจ้งขอความช่วยเหลือด้านการเงิน ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้ มั่นใจได้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารอย่างเร่งด่วนที่สุด
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14390
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ จุรินทร์ฯ เน้นย้ำให้สังคมเปิดโอกาสจ้างงานคนพิการมากขึ้น รวมทั้งให้มีความโปร่งใสในกระบวนการจ้างงานคนพิการ
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 รองนายกฯ จุรินทร์ฯ เน้นย้ําให้สังคมเปิดโอกาสจ้างงานคนพิการมากขึ้น รวมทั้งให้มีความโปร่งใสในกระบวนการจ้างงานคนพิการ รอง นรม.จุรินทร์ฯ ประชุม คกก.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ขับเคลื่อนงานสําคัญด้านคนพิการเพื่อให้สอดคล้องกับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เน้นย้ําให้สังคมเปิดโอกาสจ้างงานคนพิการมากขึ้น-ให้มีความโปร่งใสในกระบวนการจ้างงานคนพิการ วันนี้ (21 ตุลาคม 2562) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2562 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสําคัญดังนี้ ที่ประชุมรับทราบการขับเคลื่อนงานสําคัญด้านคนพิการประจําปีงบประมาณ 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the right of Persons with Disabilities: CRPD) เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี โดยมีเป้าหมายสําคัญในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีการขับเคลื่อน 7 ประเด็นเร่งด่วน คือ 1) การส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาอาชีพคนพิการ 2) การส่งเสริมเข้าถึงสิทธิคนพิการ 3) การส่งเสริมการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการ 4) การคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการ 5) การส่งเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมขององค์กรด้านคนพิการและเครือข่าย 6) การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายและแผนด้านคนพิการ 7) ระบบการบริหารจัดการด้านคนพิการให้มีผลสัมฤทธิ์สูง พร้อมกันนี้ ที่ประชุมพิจารณาการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการตามประเด็นสมัชชาเครือข่ายคนพิการประจําปี 2562 สืบเนื่องมาจากคณะกรรมการการขับเคลื่อนและติดตามการดําเนินงานสมัชชาเครือข่ายคนพิการระดับชาติ กําหนดประเด็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดสมัชชาเครือข่ายคนพิการระดับชาติประจําปี 2562 ได้แก่ 1) การเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการและใช้ประโยชน์จากสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการ โดยการผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์การจัดการสภาพแวดล้อมสาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (Accessibility for All Act: AAA) จัดสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการและทุกคนในสังคมอย่างรอบด้าน ได้แก่ ด้านคมนาคมขนส่งสาธารณะ ด้านเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก ด้านระบบดิจิทัล ด้านอาคารสถานที่ และด้านการบริการข้อมูลข่าวสารและโทรคมนาคม จัดทําระบบสวัสดิการครอบคลุมคนพิการทุกช่วงวัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กพิการสามารถเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาได้อย่างเสมอภาคอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างมีระบบ การศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาทางเลือก และให้คนพิการได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องช่วย สื่อบริการการเรียนการสอนและความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และทบทวนแนวทางและปรับปรุงระบบการให้บริการสาธารณสุขโดยกําหนดให้ศูนย์บริการทั่วไปเป็นหน่วยร่วมบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ รวมไปถึงการปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 2) การพัฒนาและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลด้านคนพิการ (Big Data) 3) การพัฒนามาตรการคุ้มครองแรงงานคนพิการและส่งเสริมการทํางานและอาชีพอิสระสําหรับคนพิการ 4) การยกระดับบทบาทหน้าที่ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดและทั่วไป กําหนดมาตรฐานการดําเนินงาน การบริหารจัดการ การสนับสนุนกลไกการเงินการคลังและจัดบริการของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 5) การสร้างเจตคติที่ดีของสังคมที่มีต่อคนพิการ พัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากร และมีช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้สังคมได้ตะหนักรับรู้และเข้าใจถึงความพิการและคนพิการ และสร้างเจตคติที่ดีของสังคมที่มีต่อคนพิการและครอบครัว เพื่อเสริมสร้างให้คนในสังคมรวมทั้งคนพิการมีเจตคติที่ดีต่อตนเอง ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้เน้นย้ําให้สังคมเปิดโอกาสให้มีการจ้างงานคนพิการมากขึ้น รวมทั้งให้มีความโปร่งใสในกระบวนการจ้างงานคนพิการ รวมไปถึงประเด็นที่นําเสนอโดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ศึกษาหาแนวทางเพื่อนํามาพิจารณาในที่ประชุมต่อไป ------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ จุรินทร์ฯ เน้นย้ำให้สังคมเปิดโอกาสจ้างงานคนพิการมากขึ้น รวมทั้งให้มีความโปร่งใสในกระบวนการจ้างงานคนพิการ วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 รองนายกฯ จุรินทร์ฯ เน้นย้ําให้สังคมเปิดโอกาสจ้างงานคนพิการมากขึ้น รวมทั้งให้มีความโปร่งใสในกระบวนการจ้างงานคนพิการ รอง นรม.จุรินทร์ฯ ประชุม คกก.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ขับเคลื่อนงานสําคัญด้านคนพิการเพื่อให้สอดคล้องกับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เน้นย้ําให้สังคมเปิดโอกาสจ้างงานคนพิการมากขึ้น-ให้มีความโปร่งใสในกระบวนการจ้างงานคนพิการ วันนี้ (21 ตุลาคม 2562) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2562 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสําคัญดังนี้ ที่ประชุมรับทราบการขับเคลื่อนงานสําคัญด้านคนพิการประจําปีงบประมาณ 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the right of Persons with Disabilities: CRPD) เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี โดยมีเป้าหมายสําคัญในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีการขับเคลื่อน 7 ประเด็นเร่งด่วน คือ 1) การส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาอาชีพคนพิการ 2) การส่งเสริมเข้าถึงสิทธิคนพิการ 3) การส่งเสริมการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการ 4) การคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการ 5) การส่งเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมขององค์กรด้านคนพิการและเครือข่าย 6) การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายและแผนด้านคนพิการ 7) ระบบการบริหารจัดการด้านคนพิการให้มีผลสัมฤทธิ์สูง พร้อมกันนี้ ที่ประชุมพิจารณาการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการตามประเด็นสมัชชาเครือข่ายคนพิการประจําปี 2562 สืบเนื่องมาจากคณะกรรมการการขับเคลื่อนและติดตามการดําเนินงานสมัชชาเครือข่ายคนพิการระดับชาติ กําหนดประเด็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดสมัชชาเครือข่ายคนพิการระดับชาติประจําปี 2562 ได้แก่ 1) การเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการและใช้ประโยชน์จากสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการ โดยการผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์การจัดการสภาพแวดล้อมสาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (Accessibility for All Act: AAA) จัดสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการและทุกคนในสังคมอย่างรอบด้าน ได้แก่ ด้านคมนาคมขนส่งสาธารณะ ด้านเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก ด้านระบบดิจิทัล ด้านอาคารสถานที่ และด้านการบริการข้อมูลข่าวสารและโทรคมนาคม จัดทําระบบสวัสดิการครอบคลุมคนพิการทุกช่วงวัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กพิการสามารถเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาได้อย่างเสมอภาคอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างมีระบบ การศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาทางเลือก และให้คนพิการได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องช่วย สื่อบริการการเรียนการสอนและความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และทบทวนแนวทางและปรับปรุงระบบการให้บริการสาธารณสุขโดยกําหนดให้ศูนย์บริการทั่วไปเป็นหน่วยร่วมบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ รวมไปถึงการปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 2) การพัฒนาและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลด้านคนพิการ (Big Data) 3) การพัฒนามาตรการคุ้มครองแรงงานคนพิการและส่งเสริมการทํางานและอาชีพอิสระสําหรับคนพิการ 4) การยกระดับบทบาทหน้าที่ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดและทั่วไป กําหนดมาตรฐานการดําเนินงาน การบริหารจัดการ การสนับสนุนกลไกการเงินการคลังและจัดบริการของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 5) การสร้างเจตคติที่ดีของสังคมที่มีต่อคนพิการ พัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากร และมีช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้สังคมได้ตะหนักรับรู้และเข้าใจถึงความพิการและคนพิการ และสร้างเจตคติที่ดีของสังคมที่มีต่อคนพิการและครอบครัว เพื่อเสริมสร้างให้คนในสังคมรวมทั้งคนพิการมีเจตคติที่ดีต่อตนเอง ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้เน้นย้ําให้สังคมเปิดโอกาสให้มีการจ้างงานคนพิการมากขึ้น รวมทั้งให้มีความโปร่งใสในกระบวนการจ้างงานคนพิการ รวมไปถึงประเด็นที่นําเสนอโดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ศึกษาหาแนวทางเพื่อนํามาพิจารณาในที่ประชุมต่อไป ------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23943
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเผยการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และรัฐจะต้องไม่เสียประโยชน์
วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2561 นายกรัฐมนตรีเผยการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz สิ่งสําคัญคือทําอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และรัฐจะต้องไม่เสียประโยชน์ นายกรัฐมนตรีเผยการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz สิ่งสําคัญคือทําอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และรัฐจะต้องไม่เสียประโยชน์ วันนี้ (19 มิถุนายน 2561) เวลา 14.00 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จัดขึ้นโดยสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สํานักงาน กสทช.) ว่า ยังไม่มีบริษัทมือถือใดมายื่นความประสงค์ประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว แต่ยังมีเวลาในการประมูล โดยสิ่งสําคัญคือทําอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและการบริการ ประชาชนต้องได้ประโยชน์ และรัฐจะต้องไม่เสียประโยชน์ ส่วนการจะประมูลหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของ กสทช. ที่ต้องดําเนินการตามกฎหมาย และหน้าที่ ---------------------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเผยการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และรัฐจะต้องไม่เสียประโยชน์ วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2561 นายกรัฐมนตรีเผยการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz สิ่งสําคัญคือทําอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และรัฐจะต้องไม่เสียประโยชน์ นายกรัฐมนตรีเผยการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz สิ่งสําคัญคือทําอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และรัฐจะต้องไม่เสียประโยชน์ วันนี้ (19 มิถุนายน 2561) เวลา 14.00 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จัดขึ้นโดยสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สํานักงาน กสทช.) ว่า ยังไม่มีบริษัทมือถือใดมายื่นความประสงค์ประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว แต่ยังมีเวลาในการประมูล โดยสิ่งสําคัญคือทําอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและการบริการ ประชาชนต้องได้ประโยชน์ และรัฐจะต้องไม่เสียประโยชน์ ส่วนการจะประมูลหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของ กสทช. ที่ต้องดําเนินการตามกฎหมาย และหน้าที่ ---------------------------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13180
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีขอให้ ครม. น้อมนำพระราชดำรัส สมเด็จพระเจ้าอยู่ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่
วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2560 นายกรัฐมนตรีขอให้ ครม. น้อมนําพระราชดํารัส สมเด็จพระเจ้าอยู่ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยโฆษกรัฐบาลเผย นายกรัฐมนตรี ขอให้ ครม. น้อมนําพระราชดํารัส สมเด็จพระเจ้าอยู่ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมย้ํายึดถือความซื่อสัตย์ สุจริต และความโปร่งใสในการทํางานเพื่อประเทศชาติและประชาชน วันนี้ ( 4 ธ.ค. 60 ) เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พันเอกอธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีกับรัฐมนตรีใหม่ พร้อมมอบนโยบายการทํางานให้กับคณะรัฐมนตรีทุกคน โดยน้อมนําพระราชดํารัสสมเด็จพระเจ้าอยู่ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ตั้งใจอุทิศตนทํางานเพื่อชาติและประชาชน และตระหนักอยู่เสมอว่าประชาชนต้องการความสุข ความมั่นใจ และความปลอดภัย รวมทั้งในการทํางานให้ใช้ปัญญา สติ และกําลังใจที่ได้มาช่วยขับเคลื่อนในการทํางาน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ําแนวทางการทํางานให้คณะรัฐมนตรีทุกคนยึดถือความซื่อสัตย์สุจริต และความโปร่งใสเป็นสําคัญ และทํางานบูรณาการร่วมกันทุกกระทรวง โดยให้รัฐมนตรีทุกคนศึกษางานทั้งในและนอกกระทรวงควบคู่กัน เพื่อให้การทํางานร่วมกันเกิดความเรียบร้อยและไปสู่เป้าหมายที่กําหนด รวมทั้ง กําชับให้รัฐมนตรีทุกคนลงพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกภาคของประเทศ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างทันท่วงที ควบคู่กับการสร้างความเข้าใจและแก้ไขข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหากมีการเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลมีเดียที่ไม่ถูกต้องและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะขยายออกไปในวงกว้าง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้รัฐมนตรีพิจารณาหารือในเรื่องของขวัญปีใหม่ที่รัฐบาลจะมอบให้กับประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ก่อนนําเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป โดยนายกรัฐมนตรี ให้คําแนะนําถึงการนําผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ ของเกษตรกรและประชาชนมาพิจารณา เช่น ข้าว ว่า ควรมีการบรรจุหีบห่ออย่างไรให้สวยงาน มีการเสนอผ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ไปพิจารณาดําเนินการนําข้าว กข43 มาจัดทําบรรจุหีบห่อเป็นผลิตภัณฑ์สําหรับเป็นของขวัญปีใหม่ด้วย ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการถึงเรื่องจิตอาสาที่ได้มีการทํางานเพื่อสังคมและแก้ปัญหาในด้าน ต่าง ๆ ว่า เรื่องใดที่แก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วก็ขอให้ดําเนินการดูแลรักษาให้อยู่ไว้คงเดิมและช่วยกันป้องกันไม่ให้ปัญหากลับไปเกิดขึ้นซ้ําอีก ------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีขอให้ ครม. น้อมนำพระราชดำรัส สมเด็จพระเจ้าอยู่ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2560 นายกรัฐมนตรีขอให้ ครม. น้อมนําพระราชดํารัส สมเด็จพระเจ้าอยู่ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยโฆษกรัฐบาลเผย นายกรัฐมนตรี ขอให้ ครม. น้อมนําพระราชดํารัส สมเด็จพระเจ้าอยู่ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมย้ํายึดถือความซื่อสัตย์ สุจริต และความโปร่งใสในการทํางานเพื่อประเทศชาติและประชาชน วันนี้ ( 4 ธ.ค. 60 ) เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พันเอกอธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีกับรัฐมนตรีใหม่ พร้อมมอบนโยบายการทํางานให้กับคณะรัฐมนตรีทุกคน โดยน้อมนําพระราชดํารัสสมเด็จพระเจ้าอยู่ เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ตั้งใจอุทิศตนทํางานเพื่อชาติและประชาชน และตระหนักอยู่เสมอว่าประชาชนต้องการความสุข ความมั่นใจ และความปลอดภัย รวมทั้งในการทํางานให้ใช้ปัญญา สติ และกําลังใจที่ได้มาช่วยขับเคลื่อนในการทํางาน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ําแนวทางการทํางานให้คณะรัฐมนตรีทุกคนยึดถือความซื่อสัตย์สุจริต และความโปร่งใสเป็นสําคัญ และทํางานบูรณาการร่วมกันทุกกระทรวง โดยให้รัฐมนตรีทุกคนศึกษางานทั้งในและนอกกระทรวงควบคู่กัน เพื่อให้การทํางานร่วมกันเกิดความเรียบร้อยและไปสู่เป้าหมายที่กําหนด รวมทั้ง กําชับให้รัฐมนตรีทุกคนลงพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกภาคของประเทศ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างทันท่วงที ควบคู่กับการสร้างความเข้าใจและแก้ไขข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหากมีการเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลมีเดียที่ไม่ถูกต้องและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะขยายออกไปในวงกว้าง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้รัฐมนตรีพิจารณาหารือในเรื่องของขวัญปีใหม่ที่รัฐบาลจะมอบให้กับประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ก่อนนําเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป โดยนายกรัฐมนตรี ให้คําแนะนําถึงการนําผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ ของเกษตรกรและประชาชนมาพิจารณา เช่น ข้าว ว่า ควรมีการบรรจุหีบห่ออย่างไรให้สวยงาน มีการเสนอผ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ไปพิจารณาดําเนินการนําข้าว กข43 มาจัดทําบรรจุหีบห่อเป็นผลิตภัณฑ์สําหรับเป็นของขวัญปีใหม่ด้วย ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการถึงเรื่องจิตอาสาที่ได้มีการทํางานเพื่อสังคมและแก้ปัญหาในด้าน ต่าง ๆ ว่า เรื่องใดที่แก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วก็ขอให้ดําเนินการดูแลรักษาให้อยู่ไว้คงเดิมและช่วยกันป้องกันไม่ให้ปัญหากลับไปเกิดขึ้นซ้ําอีก ------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8535
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาเมือง
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2562 รองนายกรัฐมนตรีส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาเมือง วันนี้ (13 กันยายน 2562) เวลา 10.00 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ครั้งที่ 2/2562 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ที่ประชุมรับทราบโครงการรักษ์คลองคูเมืองเดิมเฉลิมพระเกียรติ ตามที่กระทรวงกลาโหมนําเสนอร่างแผนแม่บทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่คลองคูเมืองเดิม เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ประกอบด้วยแนวคิดต่างๆ ทั้งการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ การปรับปรุงภูมิทัศน์ การเพิ่มจุดหมายตา ปรับปรุงแนวทางแนวเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่างๆ พื้นที่สาธารณะและสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ เพื่อการท่องเที่ยว การขุดลอกคลอง ทั้งนี้ ประธานได้ให้กระทรวงกลาโหมดําเนินการตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อนําเสนอคณะกรรมการฯ รับทราบต่อไป โอกาสนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบการก่อสร้างอาคารที่ทําการใหม่ของสถานีตํารวจนครบาลชนะสงคราม โดยการออกแบบอาคารที่พักอาศัยและบริเวณระเบียงจะต้องคํานึงถึงทัศนียภาพ พร้อมเห็นชอบการออกกฎหมายเพื่อควบคุมสีของอาคารและสีผนังอาคาร ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และฝั่งธนบุรีตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์ โดยให้กรมโยธาธิการและผังเมืองประสานกรุงเทพมหานครออกข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น การควบคุมสีของอาคาร วัสดุ ความสูงของอาคาร โดยผ่านกระบวนการศึกษาข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ และอัตลักษณ์ของพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ ที่ประชุมเห็นชอบโครงการจัดทําแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า จํานวน 4 เมือง ได้แก่ เมืองเก่าพิมาย เมืองเก่านครราชสีมา เมืองเก่านครศรีธรรมราช และเมืองเก่าภูเก็ต โดยมอบหมายให้จังหวัดจัดทําข้อวิเคราะห์แผนแม่บทเมืองเก่าและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า เพื่อนําเสนอต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งให้จัดทํารายละเอียดประกอบแผนงานเพื่อความครบถ้วนในขั้นตอนการนําไปปฏิบัติของหน่วยงานระดับพื้นที่ที่มีความสอดคล้องกับเมืองเก่าแต่ละเมือง พร้อมทั้ง มีมติเห็นชอบการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าพิษณุโลก ตามขอบเขตพื้นที่ตามที่ศึกษาและรับฟังความคิดเห็นกับจังหวัด รวมทั้งเห็นชอบกรอบแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิษณุโลก โดยประธานได้กําชับให้จังหวัดพิษณุโลกดําเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชน ส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่เมืองเก่าพิษณุโลกมีส่วนร่วมในการบูรณาการในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิษณุโลกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ดํารงคุณค่าสําคัญของประเทศและเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนต่อไป ....................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาเมือง วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2562 รองนายกรัฐมนตรีส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาเมือง วันนี้ (13 กันยายน 2562) เวลา 10.00 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ครั้งที่ 2/2562 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ที่ประชุมรับทราบโครงการรักษ์คลองคูเมืองเดิมเฉลิมพระเกียรติ ตามที่กระทรวงกลาโหมนําเสนอร่างแผนแม่บทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่คลองคูเมืองเดิม เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ประกอบด้วยแนวคิดต่างๆ ทั้งการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ การปรับปรุงภูมิทัศน์ การเพิ่มจุดหมายตา ปรับปรุงแนวทางแนวเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่างๆ พื้นที่สาธารณะและสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ เพื่อการท่องเที่ยว การขุดลอกคลอง ทั้งนี้ ประธานได้ให้กระทรวงกลาโหมดําเนินการตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุมเพื่อนําเสนอคณะกรรมการฯ รับทราบต่อไป โอกาสนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบการก่อสร้างอาคารที่ทําการใหม่ของสถานีตํารวจนครบาลชนะสงคราม โดยการออกแบบอาคารที่พักอาศัยและบริเวณระเบียงจะต้องคํานึงถึงทัศนียภาพ พร้อมเห็นชอบการออกกฎหมายเพื่อควบคุมสีของอาคารและสีผนังอาคาร ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และฝั่งธนบุรีตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์ โดยให้กรมโยธาธิการและผังเมืองประสานกรุงเทพมหานครออกข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น การควบคุมสีของอาคาร วัสดุ ความสูงของอาคาร โดยผ่านกระบวนการศึกษาข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ และอัตลักษณ์ของพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ ที่ประชุมเห็นชอบโครงการจัดทําแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า จํานวน 4 เมือง ได้แก่ เมืองเก่าพิมาย เมืองเก่านครราชสีมา เมืองเก่านครศรีธรรมราช และเมืองเก่าภูเก็ต โดยมอบหมายให้จังหวัดจัดทําข้อวิเคราะห์แผนแม่บทเมืองเก่าและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า เพื่อนําเสนอต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งให้จัดทํารายละเอียดประกอบแผนงานเพื่อความครบถ้วนในขั้นตอนการนําไปปฏิบัติของหน่วยงานระดับพื้นที่ที่มีความสอดคล้องกับเมืองเก่าแต่ละเมือง พร้อมทั้ง มีมติเห็นชอบการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าพิษณุโลก ตามขอบเขตพื้นที่ตามที่ศึกษาและรับฟังความคิดเห็นกับจังหวัด รวมทั้งเห็นชอบกรอบแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิษณุโลก โดยประธานได้กําชับให้จังหวัดพิษณุโลกดําเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชน ส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่เมืองเก่าพิษณุโลกมีส่วนร่วมในการบูรณาการในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าพิษณุโลกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ดํารงคุณค่าสําคัญของประเทศและเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนต่อไป ....................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23069
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ดำเนินการจัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำส่งคนไทยที่ตกค้างในอินเดีย กลับประเทศไทย [กระทรวงการต่างประเทศ]
วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม 2563 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ดําเนินการจัดเที่ยวบินเช่าเหมาลําส่งคนไทยที่ตกค้างในอินเดีย กลับประเทศไทย [กระทรวงการต่างประเทศ] สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ดําเนินการจัดเที่ยวบินเช่าเหมาลําส่งคนไทยที่ตกค้างในอินเดียเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 กลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2563 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี และทีมประเทศไทยได้จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลําของคนไทยส่งคนไทยตกค้างในอินเดียเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 กลับบ้าน 219 คน โดยมีพระภิกษุ 2 รูป (0.91%) นักท่องเที่ยว 63 คน (28.77%) นักเรียน/นักศึกษา 148 คน (67.58%) คนทํางาน 3 คน (1.37%) และอื่น ๆ 3 คน (1.37%) เที่ยวบินดังกล่าวนับเป็นเที่ยวบินที่ 2 ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี และเป็นเที่ยวบินที่ 7 ที่นําคนไทยจากอินเดียกลับสู่แดนมาตุภูมิ รวมเป็นการส่งคนไทยกลับประเทศไทยทั้งสิ้น 1,339 คน สถานเอกอัครราชทูตฯ และอีกสามสถานกงสุลใหญ่ในอินเดียได้ขอเที่ยวบินไว้สําหรับอีก 1,404 คน รวมคนไทยทั้งหมด 2,743 คน สถานเอกอัครราชทูตฯ และทีมประเทศไทยในอินเดียภูมิใจที่ได้มีส่วนนําคนไทยกลับบ้าน และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ และสายการบิน NokScoot ตลอดจนผู้ที่มีส่วนร่วมและช่วยเหลือการดําเนินภารกิจนี้ทุกท่าน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ดำเนินการจัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำส่งคนไทยที่ตกค้างในอินเดีย กลับประเทศไทย [กระทรวงการต่างประเทศ] วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม 2563 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ดําเนินการจัดเที่ยวบินเช่าเหมาลําส่งคนไทยที่ตกค้างในอินเดีย กลับประเทศไทย [กระทรวงการต่างประเทศ] สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ดําเนินการจัดเที่ยวบินเช่าเหมาลําส่งคนไทยที่ตกค้างในอินเดียเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 กลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2563 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี และทีมประเทศไทยได้จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลําของคนไทยส่งคนไทยตกค้างในอินเดียเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 กลับบ้าน 219 คน โดยมีพระภิกษุ 2 รูป (0.91%) นักท่องเที่ยว 63 คน (28.77%) นักเรียน/นักศึกษา 148 คน (67.58%) คนทํางาน 3 คน (1.37%) และอื่น ๆ 3 คน (1.37%) เที่ยวบินดังกล่าวนับเป็นเที่ยวบินที่ 2 ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี และเป็นเที่ยวบินที่ 7 ที่นําคนไทยจากอินเดียกลับสู่แดนมาตุภูมิ รวมเป็นการส่งคนไทยกลับประเทศไทยทั้งสิ้น 1,339 คน สถานเอกอัครราชทูตฯ และอีกสามสถานกงสุลใหญ่ในอินเดียได้ขอเที่ยวบินไว้สําหรับอีก 1,404 คน รวมคนไทยทั้งหมด 2,743 คน สถานเอกอัครราชทูตฯ และทีมประเทศไทยในอินเดียภูมิใจที่ได้มีส่วนนําคนไทยกลับบ้าน และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ และสายการบิน NokScoot ตลอดจนผู้ที่มีส่วนร่วมและช่วยเหลือการดําเนินภารกิจนี้ทุกท่าน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30688
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด ย้ำเป็นห่วงผู้ประสบภัย กำชับเจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเต็มที่ วอนประชาชนให้ความร่วมมือกับทางการ ป้องกันไม่ให้ความเสียหายลุกลาม
วันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2560 นายกฯ ติดตามสถานการณ์น้ําท่วมอย่างใกล้ชิด ย้ําเป็นห่วงผู้ประสบภัย กําชับเจ้าหน้าที่ทํางานอย่างเต็มที่ วอนประชาชนให้ความร่วมมือกับทางการ ป้องกันไม่ให้ความเสียหายลุกลาม นายกรัฐมนตรี ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด วันนี้ (22 ต.ค. 60) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยได้รับรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า โดยภาพรวมน้ําในภาคเหนือมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงมีน้ําท่วมขังในพื้นที่ต่ํา ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ “กรมชลประทานควบคุมการระบายน้ําท้ายเขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้เกิน 2,600 ลบ.ม.ต่อวินาที และเพิ่มการรับน้ําเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่งของแม่น้ําเจ้าพระยาให้สูงสุดตามศักยภาพ และยืนยันว่าขณะนี้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ยังปิดการระบายน้ําอยู่ เพื่อเก็บกักน้ําไว้ใช้ในฤดูแล้ง ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ได้เพิ่มการระบายน้ํามากขึ้นจึงส่งผลกระทบกับบางพื้นที่ เช่น อ.เมือง และ อ.น้ําพอง” ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กําชับผ่านกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้นําหน่วยทหารในพื้นที่ที่จะต้องรับน้ําจากเขื่อนอุบลรัตน์ให้แจ้งเตือนประชาชน จัดตั้งศูนย์อพยพหรือพักพิงชั่วคราวตามแผนเผชิญภัยพิบัติ พร้อมทั้งออกปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างทันท่วงที “นายกฯ เป็นห่วงผู้ประสบภัยเป็นอย่างมาก แต่ได้ขอความเห็นใจและความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการปฏิบัติตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากส่วนราชการได้ร่วมกับท้องถิ่นวางแผนการทํางานไว้อย่างดีพอสมควรแล้ว เช่น การวางกระสอบทรายบริเวณประตูน้ําป้องกันไม่ให้น้ําไหลเอ่อท่วม 2 ฝั่งคลองระบายน้ํา แต่พบว่ามีประชาชนบางส่วนขนย้ายกระสอบทรายไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง จึงอยากให้เจ้าหน้าที่และประชาชนพูดคุยทําความเข้าใจกันให้เกิดความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น” ........ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด ย้ำเป็นห่วงผู้ประสบภัย กำชับเจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเต็มที่ วอนประชาชนให้ความร่วมมือกับทางการ ป้องกันไม่ให้ความเสียหายลุกลาม วันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2560 นายกฯ ติดตามสถานการณ์น้ําท่วมอย่างใกล้ชิด ย้ําเป็นห่วงผู้ประสบภัย กําชับเจ้าหน้าที่ทํางานอย่างเต็มที่ วอนประชาชนให้ความร่วมมือกับทางการ ป้องกันไม่ให้ความเสียหายลุกลาม นายกรัฐมนตรี ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด วันนี้ (22 ต.ค. 60) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยได้รับรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า โดยภาพรวมน้ําในภาคเหนือมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงมีน้ําท่วมขังในพื้นที่ต่ํา ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ “กรมชลประทานควบคุมการระบายน้ําท้ายเขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้เกิน 2,600 ลบ.ม.ต่อวินาที และเพิ่มการรับน้ําเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่งของแม่น้ําเจ้าพระยาให้สูงสุดตามศักยภาพ และยืนยันว่าขณะนี้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ยังปิดการระบายน้ําอยู่ เพื่อเก็บกักน้ําไว้ใช้ในฤดูแล้ง ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ได้เพิ่มการระบายน้ํามากขึ้นจึงส่งผลกระทบกับบางพื้นที่ เช่น อ.เมือง และ อ.น้ําพอง” ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กําชับผ่านกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้นําหน่วยทหารในพื้นที่ที่จะต้องรับน้ําจากเขื่อนอุบลรัตน์ให้แจ้งเตือนประชาชน จัดตั้งศูนย์อพยพหรือพักพิงชั่วคราวตามแผนเผชิญภัยพิบัติ พร้อมทั้งออกปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างทันท่วงที “นายกฯ เป็นห่วงผู้ประสบภัยเป็นอย่างมาก แต่ได้ขอความเห็นใจและความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการปฏิบัติตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากส่วนราชการได้ร่วมกับท้องถิ่นวางแผนการทํางานไว้อย่างดีพอสมควรแล้ว เช่น การวางกระสอบทรายบริเวณประตูน้ําป้องกันไม่ให้น้ําไหลเอ่อท่วม 2 ฝั่งคลองระบายน้ํา แต่พบว่ามีประชาชนบางส่วนขนย้ายกระสอบทรายไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง จึงอยากให้เจ้าหน้าที่และประชาชนพูดคุยทําความเข้าใจกันให้เกิดความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น” ........ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7571
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ แถลงข่าวผลการศึกษาการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ในประเทศไทย และโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ แถลงข่าวผลการศึกษาการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ในประเทศไทย และโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานแถลงข่าวผลการศึกษาการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ในประเทศไทย และโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยจากผลการศึกษาฯกระทรวงฯ จะต้องทําการบูรณาการโครงข่ายเดิมที่มีอยู่ของรัฐวิสาหกิจในสังกัด คือ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมค้าปลีก เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกและสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งสอดคล้องกับมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีข้อตกลงร่วมกันในการดําเนินงานของธุรกิจย่อย และได้รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม โดยจะจัดตั้งบริษัท NBN Co. เพื่อดําเนินธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และจัดตั้งบริษัท NGDC Co. เพื่อดําเนินธุรกิจเคเบิลใยแก้วใต้น้ําและธุรกิจศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต ให้สามารถขับเคลื่อนโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม งานแถลงข่าวฯ ดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องโถง ชั้น G/LG มหาวิทยาลัย Stamford อาคาร Exchange Tower ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ***********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ แถลงข่าวผลการศึกษาการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ในประเทศไทย และโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ แถลงข่าวผลการศึกษาการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ในประเทศไทย และโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานแถลงข่าวผลการศึกษาการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ในประเทศไทย และโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยจากผลการศึกษาฯกระทรวงฯ จะต้องทําการบูรณาการโครงข่ายเดิมที่มีอยู่ของรัฐวิสาหกิจในสังกัด คือ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมค้าปลีก เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกและสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งสอดคล้องกับมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีข้อตกลงร่วมกันในการดําเนินงานของธุรกิจย่อย และได้รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม โดยจะจัดตั้งบริษัท NBN Co. เพื่อดําเนินธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และจัดตั้งบริษัท NGDC Co. เพื่อดําเนินธุรกิจเคเบิลใยแก้วใต้น้ําและธุรกิจศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต ให้สามารถขับเคลื่อนโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม งานแถลงข่าวฯ ดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องโถง ชั้น G/LG มหาวิทยาลัย Stamford อาคาร Exchange Tower ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ***********************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2041
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แถลงการณ์ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 22:00 น.
วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2559 แถลงการณ์ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 22:00 น. แถลงการณ์ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 22:00 น. ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย พี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพ รัฐบาลขอประกาศให้ประชาชนชาวไทยทั้งที่อยู่ในราชอาณาจักร และในต่างประเทศทั่วโลกทราบทั่วกันว่า บัดนี้ประเทศไทยมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่แล้ว ตามคํากราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงราชย์ของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทําหน้าที่ประธานรัฐสภา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยมีผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรี และประธานศาลฎีกา ร่วมเป็นสักขีในพิธีประวัติศาสตร์นี้ และทรงพระกรุณารับคํากราบบังคมทูลอัญเชิญ ดังที่ต่อมาได้มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อแจ้งประชาชนแล้ว การดําเนินการดังกล่าวเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ และโบราณราชประเพณีทุกประการ ทั้งสนองพระราชดําริสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมงกุฎราชกุมารที่พระราชทานไว้ตั้งแต่แรกว่า ในระหว่างที่พระองค์เองและประชาชนกําลังทุกข์โศกอย่างใหญ่หลวงจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ยังไม่ควรดําเนินการเรื่องการสืบราชสมบัติทันทีในขณะนั้น หากแต่ควรรอจนการบําเพ็ญพระราชกุศลและการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปถวายบังคมพระบรมศพผ่านพ้นไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งบัดนี้ถึงเวลาการบําเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวารคือครบ 50 วัน และประชาชนได้มีโอกาสเข้าถวายบังคมพระบรมศพแล้วนับล้านคน จึงขอพระราชทานพระราชานุญาตดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป อนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณี โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งยังสอดคล้องกับคตินิยมในนานาประเทศที่ว่า ราชอาณาจักรย่อมไม่ว่างเว้นขาดตอนจากการมีพระมหากษัตริย์ ดังนั้น การเริ่มรัชกาลใหม่จึงมีผลต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เป็นต้นไป ณ บัดนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งทรงสถิตอยู่ในพระราชสถานะองค์พระรัชทายาทมาตั้งแต่พุทธศักราช 2515 นับเป็นเวลาถึง 44 ปี จึงทรงเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจตามรัฐธรรมนูญทุกประการ ส่วนการจะดําเนินการต่อไปเพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชขัตติยประเพณีที่เรียกว่า " พระราชพิธีบรมราชาภิเษก " นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับพระราชวินิจฉัย ซึ่งมี พระราชดําริแล้วว่าควรดําเนินการเมื่อเสร็จสิ้นการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศแล้ว พี่น้องประชาชนทั้งหลาย ด้วยศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงวางไว้แล้วตลอดเวลา 70 ปี จะเป็นรากฐานอันแข็งแกร่ง เมื่อประกอบเข้ากับความศรัทธาเชื่อมั่นและสัตยาธิษฐานที่มหาชนชาวสยามทุกรูปทุกนามพร้อมใจกันเปล่งวาจามาตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 และ มากล่าวย้ําพร้อมกันอย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อเช้าวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้ว่า จะทําดีเพื่อพ่อ จะจดจําคําของพ่อ จะขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป จะสืบสานพระบรมราชปณิธาน คิดดี พูดดี ทําดี ซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี และจะอยู่อย่างพอเพียง รัฐบาลเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นดุจปราการอันมั่งคง บนพื้นฐานอันแข็งแกร่ง ประการสําคัญคือ ด้วยพระบรมเดชานุภาพของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ทุกอย่างจะดําเนินไปได้ด้วยดีท่ามกลางความเพียรอันบริสุทธิ์ของเราทั้งหลายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ทรงเป็นพระรัชทายาทที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนา และมีโอกาสโดยเสด็จพระราชดําเนินไปทรงงานในที่ต่าง ๆ มากว่า 44 ปี บัดนี้ทรงเป็นพระประมุข เป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ สืบสนองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเจริญรอยพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรมราชบุพการีทั้งสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่ได้ทรงกระทําบําเพ็ญมาแล้วอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ ดังนั้น แม้เราต่างก็รู้ว่าการพลัดพรากจากสิ่งที่รักและเคารพย่อมเป็นทุกข์ แม้การสูญเสีย ความวิปโยค จะเป็นวิกฤตที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่เราทั้งหลายควรใช้วิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส แปลงความทุกข์โศกให้เป็นพลังของแผ่นดิน พลังที่แม้จะไม่มีพระผู้เป็นพลังของแผ่นดินทางพระรูปกายอยู่คุ้มเกล้าคุ้มกระหม่อม แต่พลังของแผ่นดินยังจะมีอยู่ต่อไปด้วยพลังแห่งความศรัทธาเชื่อมั่น ในพระบรมราชปณิธานและศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ พระบรมราชปิโยรสเป็นผู้นําแทนพระองค์ พี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ขอให้เราทุกคนจงร่วมกันตั้งจิตอธิษฐาน ขอพระบรมเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า มีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระปิยมหากษัตริย์นักพัฒนา เป็นอาทิ ได้โปรดอภิบาลรักษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ให้ทรงพระเจริญ สถิตเป็นมิ่งขวัญปกเกล้าปกกระหม่อมอาณาประชาราษฎรชาวไทย และประเทศไทย ให้สามารถพัฒนาจนประสบความสําเร็จ บังเกิดความเจริญรุ่งเรือง มีสันติสุขและความสามัคคีปรองดอง สมดังพระราชปณิธานปรารถนา ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตราบกาลนานเทอญ -------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แถลงการณ์ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 22:00 น. วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2559 แถลงการณ์ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 22:00 น. แถลงการณ์ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 22:00 น. ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย พี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพ รัฐบาลขอประกาศให้ประชาชนชาวไทยทั้งที่อยู่ในราชอาณาจักร และในต่างประเทศทั่วโลกทราบทั่วกันว่า บัดนี้ประเทศไทยมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่แล้ว ตามคํากราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงราชย์ของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทําหน้าที่ประธานรัฐสภา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยมีผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ นายกรัฐมนตรี และประธานศาลฎีกา ร่วมเป็นสักขีในพิธีประวัติศาสตร์นี้ และทรงพระกรุณารับคํากราบบังคมทูลอัญเชิญ ดังที่ต่อมาได้มีประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อแจ้งประชาชนแล้ว การดําเนินการดังกล่าวเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ และโบราณราชประเพณีทุกประการ ทั้งสนองพระราชดําริสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมงกุฎราชกุมารที่พระราชทานไว้ตั้งแต่แรกว่า ในระหว่างที่พระองค์เองและประชาชนกําลังทุกข์โศกอย่างใหญ่หลวงจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ยังไม่ควรดําเนินการเรื่องการสืบราชสมบัติทันทีในขณะนั้น หากแต่ควรรอจนการบําเพ็ญพระราชกุศลและการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปถวายบังคมพระบรมศพผ่านพ้นไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งบัดนี้ถึงเวลาการบําเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวารคือครบ 50 วัน และประชาชนได้มีโอกาสเข้าถวายบังคมพระบรมศพแล้วนับล้านคน จึงขอพระราชทานพระราชานุญาตดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป อนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณี โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งยังสอดคล้องกับคตินิยมในนานาประเทศที่ว่า ราชอาณาจักรย่อมไม่ว่างเว้นขาดตอนจากการมีพระมหากษัตริย์ ดังนั้น การเริ่มรัชกาลใหม่จึงมีผลต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เป็นต้นไป ณ บัดนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งทรงสถิตอยู่ในพระราชสถานะองค์พระรัชทายาทมาตั้งแต่พุทธศักราช 2515 นับเป็นเวลาถึง 44 ปี จึงทรงเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจตามรัฐธรรมนูญทุกประการ ส่วนการจะดําเนินการต่อไปเพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชขัตติยประเพณีที่เรียกว่า " พระราชพิธีบรมราชาภิเษก " นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับพระราชวินิจฉัย ซึ่งมี พระราชดําริแล้วว่าควรดําเนินการเมื่อเสร็จสิ้นการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศแล้ว พี่น้องประชาชนทั้งหลาย ด้วยศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงวางไว้แล้วตลอดเวลา 70 ปี จะเป็นรากฐานอันแข็งแกร่ง เมื่อประกอบเข้ากับความศรัทธาเชื่อมั่นและสัตยาธิษฐานที่มหาชนชาวสยามทุกรูปทุกนามพร้อมใจกันเปล่งวาจามาตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 และ มากล่าวย้ําพร้อมกันอย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อเช้าวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้ว่า จะทําดีเพื่อพ่อ จะจดจําคําของพ่อ จะขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป จะสืบสานพระบรมราชปณิธาน คิดดี พูดดี ทําดี ซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี และจะอยู่อย่างพอเพียง รัฐบาลเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นดุจปราการอันมั่งคง บนพื้นฐานอันแข็งแกร่ง ประการสําคัญคือ ด้วยพระบรมเดชานุภาพของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ทุกอย่างจะดําเนินไปได้ด้วยดีท่ามกลางความเพียรอันบริสุทธิ์ของเราทั้งหลายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ทรงเป็นพระรัชทายาทที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนา และมีโอกาสโดยเสด็จพระราชดําเนินไปทรงงานในที่ต่าง ๆ มากว่า 44 ปี บัดนี้ทรงเป็นพระประมุข เป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ สืบสนองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเจริญรอยพระยุคลบาทของสมเด็จพระบรมราชบุพการีทั้งสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่ได้ทรงกระทําบําเพ็ญมาแล้วอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ ดังนั้น แม้เราต่างก็รู้ว่าการพลัดพรากจากสิ่งที่รักและเคารพย่อมเป็นทุกข์ แม้การสูญเสีย ความวิปโยค จะเป็นวิกฤตที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่เราทั้งหลายควรใช้วิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส แปลงความทุกข์โศกให้เป็นพลังของแผ่นดิน พลังที่แม้จะไม่มีพระผู้เป็นพลังของแผ่นดินทางพระรูปกายอยู่คุ้มเกล้าคุ้มกระหม่อม แต่พลังของแผ่นดินยังจะมีอยู่ต่อไปด้วยพลังแห่งความศรัทธาเชื่อมั่น ในพระบรมราชปณิธานและศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ พระบรมราชปิโยรสเป็นผู้นําแทนพระองค์ พี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ขอให้เราทุกคนจงร่วมกันตั้งจิตอธิษฐาน ขอพระบรมเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า มีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระปิยมหากษัตริย์นักพัฒนา เป็นอาทิ ได้โปรดอภิบาลรักษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ให้ทรงพระเจริญ สถิตเป็นมิ่งขวัญปกเกล้าปกกระหม่อมอาณาประชาราษฎรชาวไทย และประเทศไทย ให้สามารถพัฒนาจนประสบความสําเร็จ บังเกิดความเจริญรุ่งเรือง มีสันติสุขและความสามัคคีปรองดอง สมดังพระราชปณิธานปรารถนา ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตราบกาลนานเทอญ -------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/947
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการแพทย์และการศึกษาวิจัย
วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2562 รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการแพทย์และการศึกษาวิจัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการแพทย์และการศึกษาวิจัย ในวันจันทร์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชา เพื่อการศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางการแพทย์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการ ป.ป.ส. นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการ อย. และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกว่า ๔๐ คน เพื่อพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์ และแผนขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย คือ การประมาณการผู้ป่วยที่จะใช้กัญชาเพื่อการบําบัดรักษา การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสถานพยาบาล กลุ่มโรคที่จะใช้กัญชาเพื่อการบําบัดรักษา และแผนการวิจัย รวมทั้งพิจารณาแผนและมาตรการในการควบคุมและกํากับดูแลการใช้ประโยชน์ และแผนการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งดําเนินการ คือ การให้ความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจกับสังคมและบุคลากรทางการแพทย์ ผลักดันการมีส่วนร่วมในการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชา เพื่อการศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางการแพทย์ ได้เร่งดําเนินการและคาดว่าจะชี้แจงให้ความชัดเจนได้ภายในระยะเวลาประมาณ ๖ เดือน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการแพทย์และการศึกษาวิจัย วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2562 รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการแพทย์และการศึกษาวิจัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการแพทย์และการศึกษาวิจัย ในวันจันทร์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชา เพื่อการศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางการแพทย์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการ ป.ป.ส. นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการ อย. และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกว่า ๔๐ คน เพื่อพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์ และแผนขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย คือ การประมาณการผู้ป่วยที่จะใช้กัญชาเพื่อการบําบัดรักษา การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสถานพยาบาล กลุ่มโรคที่จะใช้กัญชาเพื่อการบําบัดรักษา และแผนการวิจัย รวมทั้งพิจารณาแผนและมาตรการในการควบคุมและกํากับดูแลการใช้ประโยชน์ และแผนการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งดําเนินการ คือ การให้ความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจกับสังคมและบุคลากรทางการแพทย์ ผลักดันการมีส่วนร่วมในการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชา เพื่อการศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางการแพทย์ ได้เร่งดําเนินการและคาดว่าจะชี้แจงให้ความชัดเจนได้ภายในระยะเวลาประมาณ ๖ เดือน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19272
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2559 เน้นท้องถิ่นทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2559 นายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2559 เน้นท้องถิ่นทํางานร่วมกับประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2559 เน้นท้องถิ่นทํางานร่วมกับประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน วันนี้ (23 พฤศจิกายน 2559) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 4/2559 โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม สรุปสาระสําคัญของผลการประชุมฯ ดังนี้ 1) ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ําและแผนปฏิบัติการ ปี 2561 รวมถึงแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในลุ่มน้ํา และแผนปฏิบัติการ ปี 2561 ทั้ง 25 ลุ่มน้ํา โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําแผนดังกล่าว ทั้ง 25 ลุ่มน้ํา เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี พร้อมจัดลําดับความสําคัญของโครงการ ให้สอดคล้องต่อความต้องการของพื้นที่ ตามเป้าหมายที่กําหนดในยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากร สําหรับกรณีที่ในพื้นที่ลุ่มน้ํามีปัญหารุนแรงให้หน่วยงานร่วมพิจารณาในลักษณะบูรณาการเชิงพื้นที่ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ําท่วมในลุ่มน้ํา และเพื่อให้โครงการมีผลสัมฤทธิ์ชัดเจน 2) ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการการปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ํา (พ.ศ.2558-2569) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และปรับปรุง ขยายเพิ่มเติมทิศทางเป้าหมายยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ําจากปี 2558 ถึง 2569 เป็นปี 2558 ถึง 2579 โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามภารกิจในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรจัดทํากรอบแนวทาง เป้าหมาย ตัวชี้วัด จัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามที่ฝ่ายเลขานุการ กนช. เสนอ และมอบหน่วยงานให้รับผิดชอบแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 กรมทรัพยากรน้ํา ยุทธศาสตร์ที่ 2 กรมชลประทาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมชลประทาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 กรมควบคุมมลพิษ ยุทธศาสตร์ที่ 5 กรมป่าไม้ และยุทธศาสตร์ที่ 6 กรมทรัพยากรธรรมชาติ แล้วจัดส่งฝ่ายเลขานุการ กนช. เพื่อวิเคราะห์สรุปรวบรวมเสนอในที่ประชุมฯ เพื่อพิจารณาต่อไป 3) ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการให้กรมชลประทานดําเนินโครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ คือ โครงการอ่างเก็บน้ําวังหีบ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเห็นชอบในหลักการให้กรมชลประทานดําเนินโครงการอ่างเก็บน้ําบ้านยางดี บ้านยางนาดี ตําบลชีบน อําเภอบ้านเขว้า และบ้านละหานค่าย ตําบลโคกสะอาด อําเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ 4) ที่ประชุมเห็นชอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ โครงการพัฒนาแหล่งน้ําในพื้นที่ 6 ตําบลของอําเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ทั้งนี้ ให้จังหวัดลพบุรี ดําเนินการในส่วนการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าปีสิรินธรโดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8,448,000 บาท โดยให้ทําความตกลงกับสํานักงานงบประมาณ พร้อมกับเห็นชอบในหลักการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดําเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ําของอ่างเก็บน้ําภายในพื้นที่โครงการ รวมทั้ง มอบหมายให้จังหวัดลพบุรี รายงานความก้าวหน้าของการดําเนินโครงการดังกล่าวด้วย และ 5) ในที่ประชุมเห็นชอบการขอยกเลิกรายการ และเปลี่ยนแปลงสถานที่ดําเนินงาน และขยายระยะเวลาดําเนินการ การใช้จ่ายงบประมาณโครงการพัฒนาแหล่งน้ําบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําอุปโภคบริโภคภายใต้แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ํา เพื่อการจัดหาน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคให้แก่ชุมชนครอบคลุมทุกหมู่บ้านเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในการดํารงชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดี ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวมอบนโยบายระหว่างการประชุมฯ ตอนหนึ่งว่า การบริหารจัดการน้ํา จะต้องดําเนินการอย่างเป็นขั้นตอน จากต้นทาง กลางทาง ไปสู่ปลายทาง และจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของสํานักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี เพื่อเชื่อมโยงการจัดการงบประมาณให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด สิ่งสําคัญคือ จะต้องสร้างการรับรู้ที่เข้าใจให้กับประชาชน ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง โดยที่ผ่านมา เป็นการจัดเตรียมขั้นพื้นฐาน ซึ่งต่อจากนี้จะเป็นการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2561 เพื่อส่งต่อให้คณะทํางานชุดต่อไป ตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี เพื่อสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ํา ทั้งหมดนี้คือแผนงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทําเพื่อประชาชนตลอดมา รััฐบาลเป็นเพียงเจ้าหลักในการดําเนินการ โดยจะมอบนโยบายและอนุมัติงบประมาณให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นทํางานร่วมกับประชาชนในรูปแบบประชารัฐ ทําให้ประชาชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ร่วมกันทํางานอย่างต่อเนิื่องเพื่่อนําประเทศไทยก้าวไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อไป --------------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2559 เน้นท้องถิ่นทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2559 นายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2559 เน้นท้องถิ่นทํางานร่วมกับประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2559 เน้นท้องถิ่นทํางานร่วมกับประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน วันนี้ (23 พฤศจิกายน 2559) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 4/2559 โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม สรุปสาระสําคัญของผลการประชุมฯ ดังนี้ 1) ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ําและแผนปฏิบัติการ ปี 2561 รวมถึงแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ําในลุ่มน้ํา และแผนปฏิบัติการ ปี 2561 ทั้ง 25 ลุ่มน้ํา โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําแผนดังกล่าว ทั้ง 25 ลุ่มน้ํา เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี พร้อมจัดลําดับความสําคัญของโครงการ ให้สอดคล้องต่อความต้องการของพื้นที่ ตามเป้าหมายที่กําหนดในยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากร สําหรับกรณีที่ในพื้นที่ลุ่มน้ํามีปัญหารุนแรงให้หน่วยงานร่วมพิจารณาในลักษณะบูรณาการเชิงพื้นที่ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ําท่วมในลุ่มน้ํา และเพื่อให้โครงการมีผลสัมฤทธิ์ชัดเจน 2) ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการการปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ํา (พ.ศ.2558-2569) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และปรับปรุง ขยายเพิ่มเติมทิศทางเป้าหมายยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ําจากปี 2558 ถึง 2569 เป็นปี 2558 ถึง 2579 โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามภารกิจในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรจัดทํากรอบแนวทาง เป้าหมาย ตัวชี้วัด จัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามที่ฝ่ายเลขานุการ กนช. เสนอ และมอบหน่วยงานให้รับผิดชอบแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 กรมทรัพยากรน้ํา ยุทธศาสตร์ที่ 2 กรมชลประทาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมชลประทาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 กรมควบคุมมลพิษ ยุทธศาสตร์ที่ 5 กรมป่าไม้ และยุทธศาสตร์ที่ 6 กรมทรัพยากรธรรมชาติ แล้วจัดส่งฝ่ายเลขานุการ กนช. เพื่อวิเคราะห์สรุปรวบรวมเสนอในที่ประชุมฯ เพื่อพิจารณาต่อไป 3) ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการให้กรมชลประทานดําเนินโครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ คือ โครงการอ่างเก็บน้ําวังหีบ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเห็นชอบในหลักการให้กรมชลประทานดําเนินโครงการอ่างเก็บน้ําบ้านยางดี บ้านยางนาดี ตําบลชีบน อําเภอบ้านเขว้า และบ้านละหานค่าย ตําบลโคกสะอาด อําเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ 4) ที่ประชุมเห็นชอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ โครงการพัฒนาแหล่งน้ําในพื้นที่ 6 ตําบลของอําเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ทั้งนี้ ให้จังหวัดลพบุรี ดําเนินการในส่วนการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าปีสิรินธรโดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8,448,000 บาท โดยให้ทําความตกลงกับสํานักงานงบประมาณ พร้อมกับเห็นชอบในหลักการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดําเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ําของอ่างเก็บน้ําภายในพื้นที่โครงการ รวมทั้ง มอบหมายให้จังหวัดลพบุรี รายงานความก้าวหน้าของการดําเนินโครงการดังกล่าวด้วย และ 5) ในที่ประชุมเห็นชอบการขอยกเลิกรายการ และเปลี่ยนแปลงสถานที่ดําเนินงาน และขยายระยะเวลาดําเนินการ การใช้จ่ายงบประมาณโครงการพัฒนาแหล่งน้ําบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําอุปโภคบริโภคภายใต้แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ํา เพื่อการจัดหาน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคให้แก่ชุมชนครอบคลุมทุกหมู่บ้านเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในการดํารงชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดี ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวมอบนโยบายระหว่างการประชุมฯ ตอนหนึ่งว่า การบริหารจัดการน้ํา จะต้องดําเนินการอย่างเป็นขั้นตอน จากต้นทาง กลางทาง ไปสู่ปลายทาง และจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของสํานักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี เพื่อเชื่อมโยงการจัดการงบประมาณให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด สิ่งสําคัญคือ จะต้องสร้างการรับรู้ที่เข้าใจให้กับประชาชน ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง โดยที่ผ่านมา เป็นการจัดเตรียมขั้นพื้นฐาน ซึ่งต่อจากนี้จะเป็นการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2561 เพื่อส่งต่อให้คณะทํางานชุดต่อไป ตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี เพื่อสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ํา ทั้งหมดนี้คือแผนงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทําเพื่อประชาชนตลอดมา รััฐบาลเป็นเพียงเจ้าหลักในการดําเนินการ โดยจะมอบนโยบายและอนุมัติงบประมาณให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นทํางานร่วมกับประชาชนในรูปแบบประชารัฐ ทําให้ประชาชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ร่วมกันทํางานอย่างต่อเนิื่องเพื่่อนําประเทศไทยก้าวไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อไป --------------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/872
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จิสด้า จับมือ ไบโอเทค เตรียมส่งโปรตีนไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติครั้งแรกของไทย
วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 จิสด้า จับมือ ไบโอเทค เตรียมส่งโปรตีนไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติครั้งแรกของไทย “จิสด้า จับมือ ไบโอเทค เตรียมส่งโปรตีนไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม” โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลึกโปรตีนที่มีความสมบูรณ์มากกว่าการทดลองบนพื้นโลก และสามารถนําไปพัฒนายาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อวันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค ส่งมอบโปรตีนให้กับองค์การสํารวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ณ เมืองสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสาร และเตรียมส่งขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ International Space Station : ISS ภายใต้โครงการวิจัยวิทยาศาสตร์อวกาศและการทดลองในอวกาศ National Space Exploration : NSE ของจิสด้า เพื่อให้ได้ผลึกโปรตีนที่มีความสมบูรณ์มากกว่าการทดลองบนพื้นโลกสู่การพัฒนายาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดร. อัมรินทร์ พิมพ์หนู หัวหน้าโครงการ NSE ของจิสด้า กล่าวว่า งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนและคัดเลือกเพื่อนําไปทดลองในอวกาศในครั้งนี้เป็นงานวิจัยของปี 2561 ที่มีชื่อว่า “การวิเคราะห์การตกผลึกโปรตีนในอวกาศเพื่อการพัฒนายาต้านมาลาเรีย (Protein Crystallization in space for Anti-Malaria Drug Development)” จากนักวิจัยของไบโอเทค นําทีมโดย ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ ซึ่งผลงานชิ้นนี้จะถูกนําไปตกผลึกในสภาวะไร้น้ําหนักบนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยใช้อุปกรณ์ทดลองภายในโมดูล KIBO ของ JAXA ซึ่งถือได้ว่าเป็นความพยายามตกผลึกโปรตีนเพื่อรักษาโรคมาลาเรียครั้งแรกของโลกด้วย ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ส่งผลงานวิจัยไปทดลองยังสถานีอวกาศนานาชาติและคาดว่าจะมีการส่งผลงานวิจัยประเภทอื่นๆ ที่ผ่านการคัดเลือกไปทดลองบนอวกาศอีกอย่างแน่นอน เพื่อนําผลที่ได้มาเรียนรู้ พัฒนา ปรับปรุงให้สามารถใช้ประโยชน์ได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดย จิสด้า และ JAXA มีการประสานความร่วมมือกันอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง เพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์บนอวกาศโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ โมดูลอวกาศ KIBO ที่ติดตั้งอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์สําหรับการทดลองในอวกาศหลายอย่าง เช่น อุปกรณ์ปลูกผลึก อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์น้ํา เตาหลอม เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับการทดลองสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น สําหรับการนําส่งโปรตีนในครั้งนี้จะถูกส่งไปกับจรวดของบริษัท SpaceX เร็วที่สุดภายในเดือนกรกฎาคม 2562 โดยจะเทียบท่า ณ สถานีอวกาศนานาชาติ ISS และนําส่งเข้าสู่ห้องปฏิบัติการอวกาศ Kibo Module ของ JAXA ทันที การทดลองตกผลึกโปรตีนในสภาวะไร้น้ําหนักนี้ คาดว่าจะได้ผลึกที่มีความสมบูรณ์มากกว่าทดลองบนโลก และช่วยให้นักวิจัยสามารถทราบข้อมูลของโครงสร้างผลึกโปรตีนได้ชัดเจน ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนายาต้านโรคมาลาเรียชนิดใหม่ที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดร.อัมรินทร์ กล่าว ทางด้าน ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ นักวิจัยอาวุโสทําหน้าที่ผู้อํานวยการหน่วยวิจัยของไบโอเทค กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับการทดลองในครั้งนี้ เราต้องการปลูกผลึกเอนไซม์โปรตีน DHFR-TS ที่พบในเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งทําให้เกิดโรคมาลาเรีย จะถูกนําไปตกผลึกในสภาวะไร้น้ําหนักบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อวิเคราะห์หาโครงสร้างของผลึกที่สมบูรณ์ โดยการปลูกผลึกในสถานีอวกาศนี้จะให้ผลึกที่มีลักษณะแตกต่างจากการปลูกผลึกบนโลก เนื่องจากไม่มีแรงโน้มถ่วง ซึ่งผลึกที่ปลูกบนอวกาศมักจะมีขนาดใหญ่กว่า สมบูรณ์กว่า และสามารถนําไปพัฒนาเป็นยาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จิสด้า จับมือ ไบโอเทค เตรียมส่งโปรตีนไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติครั้งแรกของไทย วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 จิสด้า จับมือ ไบโอเทค เตรียมส่งโปรตีนไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติครั้งแรกของไทย “จิสด้า จับมือ ไบโอเทค เตรียมส่งโปรตีนไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม” โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลึกโปรตีนที่มีความสมบูรณ์มากกว่าการทดลองบนพื้นโลก และสามารถนําไปพัฒนายาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อวันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค ส่งมอบโปรตีนให้กับองค์การสํารวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ณ เมืองสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสาร และเตรียมส่งขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ International Space Station : ISS ภายใต้โครงการวิจัยวิทยาศาสตร์อวกาศและการทดลองในอวกาศ National Space Exploration : NSE ของจิสด้า เพื่อให้ได้ผลึกโปรตีนที่มีความสมบูรณ์มากกว่าการทดลองบนพื้นโลกสู่การพัฒนายาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดร. อัมรินทร์ พิมพ์หนู หัวหน้าโครงการ NSE ของจิสด้า กล่าวว่า งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนและคัดเลือกเพื่อนําไปทดลองในอวกาศในครั้งนี้เป็นงานวิจัยของปี 2561 ที่มีชื่อว่า “การวิเคราะห์การตกผลึกโปรตีนในอวกาศเพื่อการพัฒนายาต้านมาลาเรีย (Protein Crystallization in space for Anti-Malaria Drug Development)” จากนักวิจัยของไบโอเทค นําทีมโดย ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ ซึ่งผลงานชิ้นนี้จะถูกนําไปตกผลึกในสภาวะไร้น้ําหนักบนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยใช้อุปกรณ์ทดลองภายในโมดูล KIBO ของ JAXA ซึ่งถือได้ว่าเป็นความพยายามตกผลึกโปรตีนเพื่อรักษาโรคมาลาเรียครั้งแรกของโลกด้วย ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ส่งผลงานวิจัยไปทดลองยังสถานีอวกาศนานาชาติและคาดว่าจะมีการส่งผลงานวิจัยประเภทอื่นๆ ที่ผ่านการคัดเลือกไปทดลองบนอวกาศอีกอย่างแน่นอน เพื่อนําผลที่ได้มาเรียนรู้ พัฒนา ปรับปรุงให้สามารถใช้ประโยชน์ได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดย จิสด้า และ JAXA มีการประสานความร่วมมือกันอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง เพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์บนอวกาศโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ โมดูลอวกาศ KIBO ที่ติดตั้งอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์สําหรับการทดลองในอวกาศหลายอย่าง เช่น อุปกรณ์ปลูกผลึก อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์น้ํา เตาหลอม เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับการทดลองสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น สําหรับการนําส่งโปรตีนในครั้งนี้จะถูกส่งไปกับจรวดของบริษัท SpaceX เร็วที่สุดภายในเดือนกรกฎาคม 2562 โดยจะเทียบท่า ณ สถานีอวกาศนานาชาติ ISS และนําส่งเข้าสู่ห้องปฏิบัติการอวกาศ Kibo Module ของ JAXA ทันที การทดลองตกผลึกโปรตีนในสภาวะไร้น้ําหนักนี้ คาดว่าจะได้ผลึกที่มีความสมบูรณ์มากกว่าทดลองบนโลก และช่วยให้นักวิจัยสามารถทราบข้อมูลของโครงสร้างผลึกโปรตีนได้ชัดเจน ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนายาต้านโรคมาลาเรียชนิดใหม่ที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดร.อัมรินทร์ กล่าว ทางด้าน ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ นักวิจัยอาวุโสทําหน้าที่ผู้อํานวยการหน่วยวิจัยของไบโอเทค กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับการทดลองในครั้งนี้ เราต้องการปลูกผลึกเอนไซม์โปรตีน DHFR-TS ที่พบในเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งทําให้เกิดโรคมาลาเรีย จะถูกนําไปตกผลึกในสภาวะไร้น้ําหนักบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อวิเคราะห์หาโครงสร้างของผลึกที่สมบูรณ์ โดยการปลูกผลึกในสถานีอวกาศนี้จะให้ผลึกที่มีลักษณะแตกต่างจากการปลูกผลึกบนโลก เนื่องจากไม่มีแรงโน้มถ่วง ซึ่งผลึกที่ปลูกบนอวกาศมักจะมีขนาดใหญ่กว่า สมบูรณ์กว่า และสามารถนําไปพัฒนาเป็นยาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18898
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 2563 ก.อุตฯ ร่วมพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 ก.อุตฯ ร่วมพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 วันนี้ (28 กรกฎาคม 2563) เวลา 07.00 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมทําบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ บริเวณพิธีท้องสนามหลวง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 2563 ก.อุตฯ ร่วมพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 ก.อุตฯ ร่วมพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 วันนี้ (28 กรกฎาคม 2563) เวลา 07.00 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมทําบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ บริเวณพิธีท้องสนามหลวง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33706
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือ และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือ และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือ และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 วันนี้ (10 ก.ค.63) เวลา 10.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมดังนี้ ประธานการกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นายปิติ ตัณฑเกษม นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ นายสุพัฒนาพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ซึ่งมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทําหน้าที่เลขานุการ และนางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีวาระการหารือเรื่อง 1. รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจ และกรอบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2563 2. การช่วยเหลือและฟื้นฟูวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 -----------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือ และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือ และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือ และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 วันนี้ (10 ก.ค.63) เวลา 10.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมดังนี้ ประธานการกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นายปิติ ตัณฑเกษม นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ นายสุพัฒนาพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ซึ่งมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทําหน้าที่เลขานุการ และนางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีวาระการหารือเรื่อง 1. รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจ และกรอบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2563 2. การช่วยเหลือและฟื้นฟูวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 -----------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33273
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอเยี่ยมชมศูนย์ Huawei OpenLab
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 บีโอไอเยี่ยมชมศูนย์ Huawei OpenLab บีโอไอเยี่ยมชมศูนย์ Huawei OpenLab เมื่อเร็วๆ นี้ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 4 จากขวา) นําคณะเยี่ยมชมการดําเนินงานของศูนย์ Huawei OpenLab ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของ Huawei ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ โดยเป็นการนําเทคโนโลยี IOT, Big Data, AI และ Cloud Computing มาใช้ในงานภาครัฐและภาคธุรกิจ ณ อาคาร G Tower ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอเยี่ยมชมศูนย์ Huawei OpenLab วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 บีโอไอเยี่ยมชมศูนย์ Huawei OpenLab บีโอไอเยี่ยมชมศูนย์ Huawei OpenLab เมื่อเร็วๆ นี้ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 4 จากขวา) นําคณะเยี่ยมชมการดําเนินงานของศูนย์ Huawei OpenLab ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของ Huawei ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ โดยเป็นการนําเทคโนโลยี IOT, Big Data, AI และ Cloud Computing มาใช้ในงานภาครัฐและภาคธุรกิจ ณ อาคาร G Tower ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23678
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2562 ครั้งที่ 39” (THAILAND TOURISM FESTIVAL : TTF 2019)
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2562 ครั้งที่ 39” (THAILAND TOURISM FESTIVAL : TTF 2019) “amazingไทยเท่” ภายใต้แนวคิด “เมืองไทย....สวยทุกที่ เท่ทุกเวลา” สร้างแรงบันดาลใจในการเดินทางท่องเที่ยว วันที่23มกราคม2562นายวีระศักดิ์โควสุรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(รมว.กก.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ประจําปี 2562 ครั้งที่ 39” (THAILAND TOURISM FESTIVAL : TTF2019) โดยมีนางกนกรัตน์ พันธ์นรารองผู้อํานวยการสํานักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานครนายยุทธศักดิ์สุภสรผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และผู้บริหาร ททท.ร่วมในพิธีฯ พร้อมชมการแสดงชุดพิเศษ “The Great Traditionalไทยเท่” จากดาราแถวหน้าร่วมแสดง ณ สวนลุมพินี งานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยนี้ เป็นงานสําคัญที่จัดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในครั้งนี้ เป็นการจัดงานครั้งที่39มุ่งปลุกกระแส “amazingไทยเท่” ภายใต้แนวคิด “เมืองไทย....สวยทุกที่ เท่ทุกเวลา” และสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยข้อมูลและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวทั่วประเทศให้ประชาชนได้รับทราบและสามารถวางแผนเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆได้ใน ภายหลัง อีกทั้งได้รับความสนุกสนาน ความบันเทิง ได้ชมศิลปะแขนงต่างๆ และชิมอาหารถิ่นจากต้นตํารับ พร้อมทั้งได้จับจ่ายสินค้าจากชุมชนผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งในปีนี้ ททท. ได้เพิ่มความพิเศษให้กับการจัดงาน ด้วยการเชิญสมาคมท่องเที่ยว สายการบิน บริษัทผู้ให้บริการการเดินทาง ชุมชน ได้มา ทําการเสนอขายแพ็คเกจทัวร์ ภายใต้แนวคิด “เที่ยวไทยสุดคุ้ม” ถึง 90 เส้นทาง และอีกกิจกรรมที่ถือเป็นจุดเน้นสําคัญและ ททท. ต้องการสร้างเป็นต้นแบบสําหรับการจัดกิจกรรมของ ททท. ต่อไปคือ คือ กิจกรรมภายใต้แนวคิด “ลด โลก เลอะ” ซึ่งถือปฏิบัติในทุกโซน ได้แก่ การลดการใช้โฟม พลาสติก และการกําจัดขยะอย่างเป็นระบบ อีกทั้งขอความร่วมมือจากผู้ร่วมงานและผู้ชมงานทุกคนใช้ถุงผ้า กระบอกน้ํา และกล่องบรรจุอาหาร นอกจากนี้ในโซนที่ 7 เมืองไทยสวยด้วยสองมือ “ขยะให้โชค” มีกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ กิจกรรมขยะให้โชค และการท่องเที่ยวแนวคิด“ 7Greens”อีกด้วย รวมถึง ททท. รับผิดชอบต่อขวดน้ําน้องสุขใจที่ ททท. เป็นผู้จําหน่าย โดยการสร้างกิจกรรม “ขวดสุขใจ 5 เปล่าแลก 1 น้ํา” คือ สามารถนําขวดเปล่าของน้ําน้องสุขใจ 5 ขวด ไปแลกน้ําน้องสุขใจได้ 1 ขวด หรือหากนําขวดเปล่าของน้ําน้องสุขใจไปเล่นเกมกิจกรรมขยะให้โชคก็จะได้แต้มพิเศษ ในการเล่นเกมแลกของรางวัล ได้อีกด้วยเช่นกัน โดย ททท.จะเป็นผู้รับผิดชอบในการกําจัดขยะดังกล่าวเองอีกทั้งมีกิจกรรมDIYถุงใส่ของในโซนต่าง ๆ เช่น โซน6 TAT Studio & Startupกับกิจกรรม “ชวนพับ อัพไซเคิล” ด้วยการนําวัสดุจากการประชาสัมพันธ์ของ ททท. ที่หมดอายุการใช้งาน มาพับเป็นถุงเพื่อใส่ของ เป็นต้น ทั้งนี้ทาง ททท. ขอเชิญชวนให้ผู้ร่วมงานทุกคน นําถุงผ้า กระบอกน้ํา กล่องข้าว มาร่วมงาน เพื่อช่วยกัน “ลด โลก เลอะ” และเดินทางด้วยรถสาธารณะ เพื่อความสะดวก ในการเข้าร่วมงานโดยสามารถค้นหาข้อมูลการจัดงานได้ที่www.tourismthailand.org และ Facebook : Amazing Thailandสอบถามข้อมูลที่ โทร 1672 เพื่อนร่วมทาง หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน“TTF2019”เพื่อบอกทิศทางและที่ตั้งของโซนต่าง ๆ หรือ เพิ่ม“Line : @TTF209”เพื่อค้นหาข้อมูลภายในงานหรือ หากมาในงานแล้วสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ “Ask Me”ก็ได้เช่นกัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2562 ครั้งที่ 39” (THAILAND TOURISM FESTIVAL : TTF 2019) วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2562 ครั้งที่ 39” (THAILAND TOURISM FESTIVAL : TTF 2019) “amazingไทยเท่” ภายใต้แนวคิด “เมืองไทย....สวยทุกที่ เท่ทุกเวลา” สร้างแรงบันดาลใจในการเดินทางท่องเที่ยว วันที่23มกราคม2562นายวีระศักดิ์โควสุรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(รมว.กก.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ประจําปี 2562 ครั้งที่ 39” (THAILAND TOURISM FESTIVAL : TTF2019) โดยมีนางกนกรัตน์ พันธ์นรารองผู้อํานวยการสํานักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานครนายยุทธศักดิ์สุภสรผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และผู้บริหาร ททท.ร่วมในพิธีฯ พร้อมชมการแสดงชุดพิเศษ “The Great Traditionalไทยเท่” จากดาราแถวหน้าร่วมแสดง ณ สวนลุมพินี งานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยนี้ เป็นงานสําคัญที่จัดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในครั้งนี้ เป็นการจัดงานครั้งที่39มุ่งปลุกกระแส “amazingไทยเท่” ภายใต้แนวคิด “เมืองไทย....สวยทุกที่ เท่ทุกเวลา” และสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยข้อมูลและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวทั่วประเทศให้ประชาชนได้รับทราบและสามารถวางแผนเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆได้ใน ภายหลัง อีกทั้งได้รับความสนุกสนาน ความบันเทิง ได้ชมศิลปะแขนงต่างๆ และชิมอาหารถิ่นจากต้นตํารับ พร้อมทั้งได้จับจ่ายสินค้าจากชุมชนผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งในปีนี้ ททท. ได้เพิ่มความพิเศษให้กับการจัดงาน ด้วยการเชิญสมาคมท่องเที่ยว สายการบิน บริษัทผู้ให้บริการการเดินทาง ชุมชน ได้มา ทําการเสนอขายแพ็คเกจทัวร์ ภายใต้แนวคิด “เที่ยวไทยสุดคุ้ม” ถึง 90 เส้นทาง และอีกกิจกรรมที่ถือเป็นจุดเน้นสําคัญและ ททท. ต้องการสร้างเป็นต้นแบบสําหรับการจัดกิจกรรมของ ททท. ต่อไปคือ คือ กิจกรรมภายใต้แนวคิด “ลด โลก เลอะ” ซึ่งถือปฏิบัติในทุกโซน ได้แก่ การลดการใช้โฟม พลาสติก และการกําจัดขยะอย่างเป็นระบบ อีกทั้งขอความร่วมมือจากผู้ร่วมงานและผู้ชมงานทุกคนใช้ถุงผ้า กระบอกน้ํา และกล่องบรรจุอาหาร นอกจากนี้ในโซนที่ 7 เมืองไทยสวยด้วยสองมือ “ขยะให้โชค” มีกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ กิจกรรมขยะให้โชค และการท่องเที่ยวแนวคิด“ 7Greens”อีกด้วย รวมถึง ททท. รับผิดชอบต่อขวดน้ําน้องสุขใจที่ ททท. เป็นผู้จําหน่าย โดยการสร้างกิจกรรม “ขวดสุขใจ 5 เปล่าแลก 1 น้ํา” คือ สามารถนําขวดเปล่าของน้ําน้องสุขใจ 5 ขวด ไปแลกน้ําน้องสุขใจได้ 1 ขวด หรือหากนําขวดเปล่าของน้ําน้องสุขใจไปเล่นเกมกิจกรรมขยะให้โชคก็จะได้แต้มพิเศษ ในการเล่นเกมแลกของรางวัล ได้อีกด้วยเช่นกัน โดย ททท.จะเป็นผู้รับผิดชอบในการกําจัดขยะดังกล่าวเองอีกทั้งมีกิจกรรมDIYถุงใส่ของในโซนต่าง ๆ เช่น โซน6 TAT Studio & Startupกับกิจกรรม “ชวนพับ อัพไซเคิล” ด้วยการนําวัสดุจากการประชาสัมพันธ์ของ ททท. ที่หมดอายุการใช้งาน มาพับเป็นถุงเพื่อใส่ของ เป็นต้น ทั้งนี้ทาง ททท. ขอเชิญชวนให้ผู้ร่วมงานทุกคน นําถุงผ้า กระบอกน้ํา กล่องข้าว มาร่วมงาน เพื่อช่วยกัน “ลด โลก เลอะ” และเดินทางด้วยรถสาธารณะ เพื่อความสะดวก ในการเข้าร่วมงานโดยสามารถค้นหาข้อมูลการจัดงานได้ที่www.tourismthailand.org และ Facebook : Amazing Thailandสอบถามข้อมูลที่ โทร 1672 เพื่อนร่วมทาง หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน“TTF2019”เพื่อบอกทิศทางและที่ตั้งของโซนต่าง ๆ หรือ เพิ่ม“Line : @TTF209”เพื่อค้นหาข้อมูลภายในงานหรือ หากมาในงานแล้วสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ “Ask Me”ก็ได้เช่นกัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18809
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การดำเนินการตามนโยบายหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563 การดําเนินการตามนโยบายหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล สรุปการตอบกระทู้ถามในการประชุมวุฒิสภา วันจันทร์ที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๓ เรื่อง การดําเนินการตามนโยบายหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ผู้ตั้งกระทู้ถาม นายอําพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา ถาม นายกรัฐมนตรี ผู้ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ถาม : นายอําพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา ถามกระทู้โดยสรุปดังนี้ ด้วยปัญหาหาบเร่แผงลอยเป็นปัญหาที่มีมายาวนาน และส่งผลกระทบในหลายมิติ เช่น ด้านวัฒนธรรม วิถีชุมชน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ตลอดจนการใช้พื้นที่สาธารณะของเมืองร่วมกัน อีกทั้งการค้าขายแบบหาบเร่แผงลอยเป็นกิจการของประชาชนฐานรากถึงชนชั้นกลางนับแสนคน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า ๒๐๐ ล้านบาท รวมทั้งสร้างชื่อเสียงเกี่ยวกับการมีแหล่งอาหารที่ราคาไม่สูงและสะดวกต่อการซื้อขาย อันเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์สําคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย โดยรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในนโยบายเร่งด่วนข้อที่ ๑ เรื่องการแก้ไขปัญหาการดํารงชีวิตของประชาชน ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "จะทบทวนรูปแบบและมาตรฐานหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อยังคงเอกลักษณ์ของเมืองหลวงแห่งร้านอาหารริมถนน" ซึ่งแสดงถึงการให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงขอถามว่ารัฐบาลได้ดําเนินการตามคําแถลงนโยบายดังกล่าวไปแล้วเพียงใด มีผลการดําเนินงานอย่างไร และจากนี้ไปมีแผนและมาตรการในขั้นต่อไปอย่างไร ทั้งนี้ได้เสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องโครงการถนนคนเดิน (Walking Street) ว่าให้มีการกําหนดสัดส่วนผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกจุดผ่อนผันให้มากขึ้น และให้มีการกําหนดนโยบายประชารัฐเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในระดับท้องที่ เพื่อให้ประชาชนผู้ค้า ผู้สัญจรในท้องที่นั้นได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย ผู้ตอบ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตอบชี้แจงกระทู้โดยสรุปดังนี้ รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับปัญหาหาบเร่แผงลอย เนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และได้ดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ โดยกําหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดกับประชาชนทั้งผู้ค้าและผู้ใช้ทางสัญจร ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นไม่อาจนําปัญหาหาบเร่แผงลอยไปเชื่อมโยงกับการค้าขายในรูปแบบถนนคนเดิน (Walking Street) หรือร้าน Street food ที่มีหน้าร้านเป็นหลักแหล่งได้ เพราะร้านเหล่านั้นไม่ได้กีดขวางทางสัญจร แต่อาจต้องมีการตรวจสอบในด้านสุขอนามัยในการประกอบกิจการ จึงต้องแยกร้านค้าประเภทนี้ออกจากร้านประเภทหาบเร่แผงลอยเสียก่อน ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้มอบหมายให้กรุงเทพมหานคร ดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการจัดระเบียบเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปัจจุบันได้มีการยกเลิกจุดผ่อนผันไปแล้วจํานวนหลายร้อยจุด แต่ก็ยังมีบางจุดที่กรุงเทพฯ ได้ดําเนินการด้วยมาตรการผ่อนปรน โดยตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ค้าและประชาชน และคํานึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นที่ตั้ง จึงยอมให้ผู้ค้ายังสามารถค้าขายในถนนสายรองและซอยย่อยในทุกเขตได้ นอกจากนี้เมื่อยกเลิกจุดผ่อนผันแล้วก็มีการดําเนินการจัดหาสถานที่ค้าขายใหม่ แต่ก็พบปัญหาบางแห่งไม่สามารถขายได้เพราะผู้ซื้อไม่ได้ตามไปซื้อทําให้ผู้ค้ามีรายได้ลดลง ซึ่งปัญหานี้ก็ต้องมีการประเมินและแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบ จึงได้มีการกําหนดโครงการถนนคนเดิน (Walking Street) ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายนําร่องในพื้นที่กรุงเทพฯ ๑๐ จุด และได้มอบหมายให้กรุงเทพฯ สํารวจพื้นที่ที่มีความเหมาะสมให้ผู้ค้าได้มีพื้นที่ค้าขาย โดยจะดําเนินการเริ่มต้นในพื้นที่ซึ่งมีความพร้อม จํานวน ๘ แห่ง และอนาคตจะมีการออกประกาศวางหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน สําหรับผู้ที่จะมาค้าขาย เช่น คุณสมบัติของผู้ค้า ประเภทอาหาร เรื่องสุขอนามัย เป็นต้น ส่วนข้อเสนอแนะ ที่จะให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมนั้น ขอรับไว้พิจารณาและจะดําเนินการต่อไป ​ (โปรดตรวจสอบการถาม-ตอบ กระทู้ถามที่เป็นทางการ จากสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาอีกครั้ง)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การดำเนินการตามนโยบายหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2563 การดําเนินการตามนโยบายหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล สรุปการตอบกระทู้ถามในการประชุมวุฒิสภา วันจันทร์ที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๓ เรื่อง การดําเนินการตามนโยบายหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ผู้ตั้งกระทู้ถาม นายอําพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา ถาม นายกรัฐมนตรี ผู้ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ถาม : นายอําพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา ถามกระทู้โดยสรุปดังนี้ ด้วยปัญหาหาบเร่แผงลอยเป็นปัญหาที่มีมายาวนาน และส่งผลกระทบในหลายมิติ เช่น ด้านวัฒนธรรม วิถีชุมชน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ตลอดจนการใช้พื้นที่สาธารณะของเมืองร่วมกัน อีกทั้งการค้าขายแบบหาบเร่แผงลอยเป็นกิจการของประชาชนฐานรากถึงชนชั้นกลางนับแสนคน คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า ๒๐๐ ล้านบาท รวมทั้งสร้างชื่อเสียงเกี่ยวกับการมีแหล่งอาหารที่ราคาไม่สูงและสะดวกต่อการซื้อขาย อันเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์สําคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย โดยรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ในนโยบายเร่งด่วนข้อที่ ๑ เรื่องการแก้ไขปัญหาการดํารงชีวิตของประชาชน ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "จะทบทวนรูปแบบและมาตรฐานหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อยังคงเอกลักษณ์ของเมืองหลวงแห่งร้านอาหารริมถนน" ซึ่งแสดงถึงการให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงขอถามว่ารัฐบาลได้ดําเนินการตามคําแถลงนโยบายดังกล่าวไปแล้วเพียงใด มีผลการดําเนินงานอย่างไร และจากนี้ไปมีแผนและมาตรการในขั้นต่อไปอย่างไร ทั้งนี้ได้เสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องโครงการถนนคนเดิน (Walking Street) ว่าให้มีการกําหนดสัดส่วนผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกจุดผ่อนผันให้มากขึ้น และให้มีการกําหนดนโยบายประชารัฐเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในระดับท้องที่ เพื่อให้ประชาชนผู้ค้า ผู้สัญจรในท้องที่นั้นได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย ผู้ตอบ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตอบชี้แจงกระทู้โดยสรุปดังนี้ รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับปัญหาหาบเร่แผงลอย เนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และได้ดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ โดยกําหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดกับประชาชนทั้งผู้ค้าและผู้ใช้ทางสัญจร ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นไม่อาจนําปัญหาหาบเร่แผงลอยไปเชื่อมโยงกับการค้าขายในรูปแบบถนนคนเดิน (Walking Street) หรือร้าน Street food ที่มีหน้าร้านเป็นหลักแหล่งได้ เพราะร้านเหล่านั้นไม่ได้กีดขวางทางสัญจร แต่อาจต้องมีการตรวจสอบในด้านสุขอนามัยในการประกอบกิจการ จึงต้องแยกร้านค้าประเภทนี้ออกจากร้านประเภทหาบเร่แผงลอยเสียก่อน ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้มอบหมายให้กรุงเทพมหานคร ดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการจัดระเบียบเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปัจจุบันได้มีการยกเลิกจุดผ่อนผันไปแล้วจํานวนหลายร้อยจุด แต่ก็ยังมีบางจุดที่กรุงเทพฯ ได้ดําเนินการด้วยมาตรการผ่อนปรน โดยตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ค้าและประชาชน และคํานึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นที่ตั้ง จึงยอมให้ผู้ค้ายังสามารถค้าขายในถนนสายรองและซอยย่อยในทุกเขตได้ นอกจากนี้เมื่อยกเลิกจุดผ่อนผันแล้วก็มีการดําเนินการจัดหาสถานที่ค้าขายใหม่ แต่ก็พบปัญหาบางแห่งไม่สามารถขายได้เพราะผู้ซื้อไม่ได้ตามไปซื้อทําให้ผู้ค้ามีรายได้ลดลง ซึ่งปัญหานี้ก็ต้องมีการประเมินและแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบ จึงได้มีการกําหนดโครงการถนนคนเดิน (Walking Street) ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายนําร่องในพื้นที่กรุงเทพฯ ๑๐ จุด และได้มอบหมายให้กรุงเทพฯ สํารวจพื้นที่ที่มีความเหมาะสมให้ผู้ค้าได้มีพื้นที่ค้าขาย โดยจะดําเนินการเริ่มต้นในพื้นที่ซึ่งมีความพร้อม จํานวน ๘ แห่ง และอนาคตจะมีการออกประกาศวางหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน สําหรับผู้ที่จะมาค้าขาย เช่น คุณสมบัติของผู้ค้า ประเภทอาหาร เรื่องสุขอนามัย เป็นต้น ส่วนข้อเสนอแนะ ที่จะให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมนั้น ขอรับไว้พิจารณาและจะดําเนินการต่อไป ​ (โปรดตรวจสอบการถาม-ตอบ กระทู้ถามที่เป็นทางการ จากสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาอีกครั้ง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32964
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นติดตามการใช้ประโยชน์ ศูนย์การเรียนรู้ ICT – เน็ตประชารัฐ ร่วมหารือผู้ว่าฯ ขอนแก่น-กาฬสินธุ์ ขับเคลื่อนงาน Smart City
วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นติดตามการใช้ประโยชน์ ศูนย์การเรียนรู้ ICT – เน็ตประชารัฐ ร่วมหารือผู้ว่าฯ ขอนแก่น-กาฬสินธุ์ ขับเคลื่อนงาน Smart City คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นติดตามการใช้ประโยชน์ ศูนย์การเรียนรู้ ICT – เน็ตประชารัฐ ร่วมหารือผู้ว่าฯ ขอนแก่น-กาฬสินธุ์ ขับเคลื่อนงาน Smart City ผศ.(พิเศษ) นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์ โดยได้ร่วมประชุมรับฟังรายงานผลการดําเนินงานแผนงาน/โครงการสําคัญ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดฯ อาทิ โครงการสํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2563 และโครงการภายใต้แผนงานการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นต้น พร้อมกันนี้คณะฯ ได้เข้าพบ นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เพื่อหารือข้อราชการเกี่ยวกับภารกิจของกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งดําเนินการในพื้นที่ อาทิ งานด้าน Smart City การเก็บข้อมูลโครงการสํามะโนประชากรและเคหะ การใช้ประโยชน์เน็ตประชารัฐ เป็นต้น จากนั้นคณะฯ ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะพูดคุยกับผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ณ เทศบาลตําบลยางตลาด อําเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และเข้าพบ นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อหารือข้อราชการเกี่ยวกับภารกิจสําคัญของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ในพื้นที่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความสนใจเรื่องการพัฒนาคนในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์ดิจิทัลในการขับเคลื่อนงานก่อนที่จะเริ่มดําเนินงานด้านพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มอบหมายให้สถิติจังหวัดกาฬสินธุ์ประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) และสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนากําลังคนด้านดิจิทัล เพื่อนําเสนอข้อมูลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ต่อไป ***************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นติดตามการใช้ประโยชน์ ศูนย์การเรียนรู้ ICT – เน็ตประชารัฐ ร่วมหารือผู้ว่าฯ ขอนแก่น-กาฬสินธุ์ ขับเคลื่อนงาน Smart City วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นติดตามการใช้ประโยชน์ ศูนย์การเรียนรู้ ICT – เน็ตประชารัฐ ร่วมหารือผู้ว่าฯ ขอนแก่น-กาฬสินธุ์ ขับเคลื่อนงาน Smart City คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นติดตามการใช้ประโยชน์ ศูนย์การเรียนรู้ ICT – เน็ตประชารัฐ ร่วมหารือผู้ว่าฯ ขอนแก่น-กาฬสินธุ์ ขับเคลื่อนงาน Smart City ผศ.(พิเศษ) นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์ โดยได้ร่วมประชุมรับฟังรายงานผลการดําเนินงานแผนงาน/โครงการสําคัญ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดฯ อาทิ โครงการสํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2563 และโครงการภายใต้แผนงานการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นต้น พร้อมกันนี้คณะฯ ได้เข้าพบ นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เพื่อหารือข้อราชการเกี่ยวกับภารกิจของกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งดําเนินการในพื้นที่ อาทิ งานด้าน Smart City การเก็บข้อมูลโครงการสํามะโนประชากรและเคหะ การใช้ประโยชน์เน็ตประชารัฐ เป็นต้น จากนั้นคณะฯ ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะพูดคุยกับผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ณ เทศบาลตําบลยางตลาด อําเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และเข้าพบ นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อหารือข้อราชการเกี่ยวกับภารกิจสําคัญของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ในพื้นที่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความสนใจเรื่องการพัฒนาคนในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์ดิจิทัลในการขับเคลื่อนงานก่อนที่จะเริ่มดําเนินงานด้านพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มอบหมายให้สถิติจังหวัดกาฬสินธุ์ประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) และสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนากําลังคนด้านดิจิทัล เพื่อนําเสนอข้อมูลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ต่อไป ***************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27145
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​“พาณิชย์”เผยครม.ไฟเขียวคุม“บริการส่งสินค้าออนไลน์-เดลิเวอรี่”หลังจำเป็นยุค New Normal [กระทรวงพาณิชย์]
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2563 ​“พาณิชย์”เผยครม.ไฟเขียวคุม“บริการส่งสินค้าออนไลน์-เดลิเวอรี่”หลังจําเป็นยุค New Normal [กระทรวงพาณิชย์] ​“พาณิชย์”เผยครม.ไฟเขียวคุม“บริการส่งสินค้าออนไลน์-เดลิเวอรี่”หลังจําเป็นยุค New Normal “พาณิชย์”เผย ครม. ไฟเขียวตัด “รถยนต์นั่ง” ออกจากบัญชีสินค้าควบคุม เหตุมีความหลากหลาย ขึ้นกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะใช้ เพิ่ม “บริการซื้อขายและหรือบริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์” หลังยุค New Normal คนใช้บริการออนไลน์พุ่ง และยังมีปัญหาร้องเรียนเดลิเวอรี่ส่งอาหารโขกราคา พร้อมเพิ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ “กากดีดีจีเอส” เป็นสินค้าควบคุมใหม่ ปลด “น้ํายาปรับผ้านุ่ม-บริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า” พ้นบัญชี ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบการกําหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 2563 ใหม่ มีจํานวน 51 รายการ แยกเป็นสินค้า 46 รายการ และบริการ 5 รายการ ตามที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เสนอ หลังจากบัญชีสินค้าและบริการควบคุมเดิมจะสิ้นสุดการบังคับใช้ในวันที่ 3 ก.ค.2563 โดยสินค้าและบริการควบคุมใหม่ จะมีผลบังคับใช้ไปอีก 1 ปี นับจากวันสิ้นสุด สําหรับการทบทวนครั้งนี้ ได้ปรับรายละเอียดรายการสินค้าและบริการควบคุม จํานวน 2 รายการ โดย 1.ปรับ “รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก” เป็น“รถจักรยานยนต์รถยนต์บรรทุก”เนื่องจากรถยนต์นั่งเป็นสินค้าที่มีความหลากหลาย การซื้อใช้งานขึ้นอยู่กับพฤติกรรม และไม่กระทบกับผู้บริโภคทั่วไป 2.ปรับ “บริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์” เป็น“บริการซื้อขาย และหรือบริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์”เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทําให้ประชาชนมีรูปแบบการดําเนินชีวิตแบบใหม่ที่แตกต่างจากอดีต (New Normal) เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ประกอบการและผู้บริโภคในยุคดิจิทัลที่นิยมใช้บริการการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับมีปัญหาการร้องเรียนผ่านสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค และคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา เกี่ยวกับความเดือดร้อนของผู้บริโภคในการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ และผู้บริโภคร้องเรียนเกี่ยวกับการให้ควบคุมราคาขนส่งของผู้ส่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาราคาสินค้า สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มรายการสินค้าควบคุม 1 รายการคือ กากดีดีจีเอส เนื่องจากการนําเข้ากากดีดีจีเอสจากต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกากดีดีจีเอสเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่สามารถนํามาปรับใช้ในสูตรอาหารสัตว์และทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ ที่ผลิตในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบด้านราคาที่เกษตรกรจะได้รับและเสถียรภาพของตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตในประเทศได้ ทั้งนี้ ได้เสนอให้ยกเลิกรายการสินค้าควบคุม จํานวน 2 รายการได้แก่ 1.น้ํายาปรับผ้านุ่มเนื่องจากเป็นสินค้าที่ไม่จําเป็นใช้ในทุกครัวเรือน และมีการแข่งขันสูง รวมทั้งเป็นสินค้าทางเลือกขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้บริโภค และ 2.บริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้าเนื่องจากปัจจุบันจํานวนสถานที่เก็บสินค้ามีมากกว่าความต้องการใช้บริการ มีการแข่งขันสูง จึงไม่กระทบต่อราคาค่าเช่าสถานที่เก็บสินค้า สําหรับรายละเอียดสินค้าและบริการควบคุมใหม่ปี 2563 จํานวน 51 รายการ แยกเป็นสินค้า 46 รายการ ได้แก่ 1.กระดาษทําลูกฟูก กระดาษเหนียว 2.กระดาษพิมพ์และเขียน 3.ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ 4.รถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุก 5.เครื่องสูบน้ํา 6.ปุ๋ย 7.ยาป้องกันหรือกําจัดศัตรูพืชหรือโรคพืช 8.รถเกี่ยวข้าว 9.รถไถนา 10.หัวอาหารสัตว์ อาหารสัตว์11.กากดีดีจีเอส 12.ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 13.น้ํามันเชื้อเพลิง 14.ยารักษาโรค15.เวชภัณฑ์เกี่ยวกับการรักษาโรค 16.ท่อพีวีซี 17.ปูนซีเมนต์ 18.สายไฟฟ้า 19.เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น 20.ข้าวเปลือก ข้าวสาร 21.ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ 22.ข้าวโพด 23.ต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ มันสําปะหลังและผลิตภัณฑ์ 24.ผลปาล์มน้ํามัน 25.มะพร้าวผลแก่ และผลิตภัณฑ์26.ยางพารา ได้แก่ น้ํายางสด ยางก้อน เศษยาง น้ํายางข้น ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ 27.กระดาษชําระ กระดาษเช็ดหน้า 28.แชมพู 29.ผงซักฟอก น้ํายาซักฟอก 30.ผลิตภัณฑ์ล้างจาน 31.ผ้าอนามัย 32.ผ้าอ้อมสําเร็จรูปเด็กและผู้ใหญ่ 33.สบู่ก้อน สบู่เหลว 34.กระเทียม 35.ไข่ไก่ 36.ทุเรียน 37.นมผง ผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ไม่รวมถึงนมเปรี้ยว 38.น้ํามัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้ 39.แป้งสาลี 40.มังคุด 41.ลําไย 42.สุกร เนื้อสุกร 43.หอมหัวใหญ่ 44.อาหารกึ่งสําเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก 45.อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 46.เครื่องแบบนักเรียน บริการ 5 รายการ ได้แก่ 47.การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า 48.บริการซื้อขาย และหรือบริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์ 49.บริการทางการเกษตร 50.บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรค 51.บริการรับชําระเงิน ณ จุดบริการ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​“พาณิชย์”เผยครม.ไฟเขียวคุม“บริการส่งสินค้าออนไลน์-เดลิเวอรี่”หลังจำเป็นยุค New Normal [กระทรวงพาณิชย์] วันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2563 ​“พาณิชย์”เผยครม.ไฟเขียวคุม“บริการส่งสินค้าออนไลน์-เดลิเวอรี่”หลังจําเป็นยุค New Normal [กระทรวงพาณิชย์] ​“พาณิชย์”เผยครม.ไฟเขียวคุม“บริการส่งสินค้าออนไลน์-เดลิเวอรี่”หลังจําเป็นยุค New Normal “พาณิชย์”เผย ครม. ไฟเขียวตัด “รถยนต์นั่ง” ออกจากบัญชีสินค้าควบคุม เหตุมีความหลากหลาย ขึ้นกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะใช้ เพิ่ม “บริการซื้อขายและหรือบริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์” หลังยุค New Normal คนใช้บริการออนไลน์พุ่ง และยังมีปัญหาร้องเรียนเดลิเวอรี่ส่งอาหารโขกราคา พร้อมเพิ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ “กากดีดีจีเอส” เป็นสินค้าควบคุมใหม่ ปลด “น้ํายาปรับผ้านุ่ม-บริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า” พ้นบัญชี ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบการกําหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 2563 ใหม่ มีจํานวน 51 รายการ แยกเป็นสินค้า 46 รายการ และบริการ 5 รายการ ตามที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เสนอ หลังจากบัญชีสินค้าและบริการควบคุมเดิมจะสิ้นสุดการบังคับใช้ในวันที่ 3 ก.ค.2563 โดยสินค้าและบริการควบคุมใหม่ จะมีผลบังคับใช้ไปอีก 1 ปี นับจากวันสิ้นสุด สําหรับการทบทวนครั้งนี้ ได้ปรับรายละเอียดรายการสินค้าและบริการควบคุม จํานวน 2 รายการ โดย 1.ปรับ “รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก” เป็น“รถจักรยานยนต์รถยนต์บรรทุก”เนื่องจากรถยนต์นั่งเป็นสินค้าที่มีความหลากหลาย การซื้อใช้งานขึ้นอยู่กับพฤติกรรม และไม่กระทบกับผู้บริโภคทั่วไป 2.ปรับ “บริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์” เป็น“บริการซื้อขาย และหรือบริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์”เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทําให้ประชาชนมีรูปแบบการดําเนินชีวิตแบบใหม่ที่แตกต่างจากอดีต (New Normal) เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ประกอบการและผู้บริโภคในยุคดิจิทัลที่นิยมใช้บริการการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับมีปัญหาการร้องเรียนผ่านสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค และคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา เกี่ยวกับความเดือดร้อนของผู้บริโภคในการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ และผู้บริโภคร้องเรียนเกี่ยวกับการให้ควบคุมราคาขนส่งของผู้ส่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาราคาสินค้า สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มรายการสินค้าควบคุม 1 รายการคือ กากดีดีจีเอส เนื่องจากการนําเข้ากากดีดีจีเอสจากต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกากดีดีจีเอสเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่สามารถนํามาปรับใช้ในสูตรอาหารสัตว์และทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ ที่ผลิตในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบด้านราคาที่เกษตรกรจะได้รับและเสถียรภาพของตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตในประเทศได้ ทั้งนี้ ได้เสนอให้ยกเลิกรายการสินค้าควบคุม จํานวน 2 รายการได้แก่ 1.น้ํายาปรับผ้านุ่มเนื่องจากเป็นสินค้าที่ไม่จําเป็นใช้ในทุกครัวเรือน และมีการแข่งขันสูง รวมทั้งเป็นสินค้าทางเลือกขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้บริโภค และ 2.บริการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้าเนื่องจากปัจจุบันจํานวนสถานที่เก็บสินค้ามีมากกว่าความต้องการใช้บริการ มีการแข่งขันสูง จึงไม่กระทบต่อราคาค่าเช่าสถานที่เก็บสินค้า สําหรับรายละเอียดสินค้าและบริการควบคุมใหม่ปี 2563 จํานวน 51 รายการ แยกเป็นสินค้า 46 รายการ ได้แก่ 1.กระดาษทําลูกฟูก กระดาษเหนียว 2.กระดาษพิมพ์และเขียน 3.ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ 4.รถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุก 5.เครื่องสูบน้ํา 6.ปุ๋ย 7.ยาป้องกันหรือกําจัดศัตรูพืชหรือโรคพืช 8.รถเกี่ยวข้าว 9.รถไถนา 10.หัวอาหารสัตว์ อาหารสัตว์11.กากดีดีจีเอส 12.ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 13.น้ํามันเชื้อเพลิง 14.ยารักษาโรค15.เวชภัณฑ์เกี่ยวกับการรักษาโรค 16.ท่อพีวีซี 17.ปูนซีเมนต์ 18.สายไฟฟ้า 19.เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น 20.ข้าวเปลือก ข้าวสาร 21.ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ 22.ข้าวโพด 23.ต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ มันสําปะหลังและผลิตภัณฑ์ 24.ผลปาล์มน้ํามัน 25.มะพร้าวผลแก่ และผลิตภัณฑ์26.ยางพารา ได้แก่ น้ํายางสด ยางก้อน เศษยาง น้ํายางข้น ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ 27.กระดาษชําระ กระดาษเช็ดหน้า 28.แชมพู 29.ผงซักฟอก น้ํายาซักฟอก 30.ผลิตภัณฑ์ล้างจาน 31.ผ้าอนามัย 32.ผ้าอ้อมสําเร็จรูปเด็กและผู้ใหญ่ 33.สบู่ก้อน สบู่เหลว 34.กระเทียม 35.ไข่ไก่ 36.ทุเรียน 37.นมผง ผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ไม่รวมถึงนมเปรี้ยว 38.น้ํามัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้ 39.แป้งสาลี 40.มังคุด 41.ลําไย 42.สุกร เนื้อสุกร 43.หอมหัวใหญ่ 44.อาหารกึ่งสําเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก 45.อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 46.เครื่องแบบนักเรียน บริการ 5 รายการ ได้แก่ 47.การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า 48.บริการซื้อขาย และหรือบริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์ 49.บริการทางการเกษตร 50.บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรค 51.บริการรับชําระเงิน ณ จุดบริการ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32978
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ จัดทัพใหญ่ร่วมหารือภาครัฐเอกชนขับเคลื่อน SME กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เร่งพัฒนาธุรกิจขนาดย่อมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ชูศูนย์ ITC จ.นครราชสีมา เป็นโรงงานต้นแ
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2561 ก.อุตฯ จัดทัพใหญ่ร่วมหารือภาครัฐเอกชนขับเคลื่อน SME กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เร่งพัฒนาธุรกิจขนาดย่อมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ชูศูนย์ ITC จ.นครราชสีมา เป็นโรงงานต้นแ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อน SMEs 4.0 ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา วันนี้ (13 กันยายน 2561) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อน SMEs 4.0 ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์) ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงอุตสาหกรรม นายสุวินัย ต่อศิริสุข เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางเบญจมาพร เอกฉัตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารองค์กรเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ร่วมหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน SME 4.0 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสู่การเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร เกษตรแปรรูป และของฝากของที่ระลึก “เรามีมาตรการที่จะช่วย SME ในพื้นที่ให้พัฒนาตนเอง และยกระดับผลิตภาพ (Productivity) ด้วยกลไกลประชารัฐที่ขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งแนวทางสําคัญหนึ่งก็คือ การสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยง SME สู่การนํานวัตกรรมมาประยุกต์ และสร้างโอกาสให้สินค้าและบริการของไทยเข้าสู่ตลาดโลกผ่าน E-Commerce แพลตฟอร์ม” การสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยง SME สู่การนํานวัตกรรมมาใช้ในเชิงพาณิชย์ จะทําผ่านศูนย์ปฏิรูปสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center : ITC) ซึ่งศูนย์ ITC เป็นศูนย์ต้นแบบ และพัฒนาอัตลักษณ์ Local Identity จากลักษณะเด่นของธุรกิจทางกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เพื่อสร้างเศรษฐกิจและชุมชน โดยศูนย์นี้เป็นการนํารูปแบบจากศูนย์ ITC ต้นแบบที่กรุงเทพมหานคร มาปรับให้เหมาะสมกับศักยภาพอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ เพื่อให้บริการและสนับสนุน SMEs ในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอาหาร เกษตรแปรรูป ของฝากและของที่ระลึกต่าง ๆ โดยศูนย์ ITC จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ สถาบันอาหาร ในการสนับสนุนการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมโคเนื้อ(อีสานวากิว) โดยบริการให้คําปรึกษา บริการเครื่องจักรด้านบรรจุภัณฑ์ การแปรรูปเนื้อโคส่วนเหลือทิ้ง และส่งเสริมให้มี Startup สู่การตลาดเชิงพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าผู้เลี้ยงโคมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการจ้างงาน ส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มอุตสาหกรรมโคเนื้อเกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะได้ร่วมดําเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อรองรับการเป็นเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไหมครบวงจรต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ จัดทัพใหญ่ร่วมหารือภาครัฐเอกชนขับเคลื่อน SME กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เร่งพัฒนาธุรกิจขนาดย่อมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ชูศูนย์ ITC จ.นครราชสีมา เป็นโรงงานต้นแ วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2561 ก.อุตฯ จัดทัพใหญ่ร่วมหารือภาครัฐเอกชนขับเคลื่อน SME กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เร่งพัฒนาธุรกิจขนาดย่อมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ชูศูนย์ ITC จ.นครราชสีมา เป็นโรงงานต้นแ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อน SMEs 4.0 ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา วันนี้ (13 กันยายน 2561) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อน SMEs 4.0 ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์) ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงอุตสาหกรรม นายสุวินัย ต่อศิริสุข เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางเบญจมาพร เอกฉัตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารองค์กรเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ร่วมหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน SME 4.0 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสู่การเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร เกษตรแปรรูป และของฝากของที่ระลึก “เรามีมาตรการที่จะช่วย SME ในพื้นที่ให้พัฒนาตนเอง และยกระดับผลิตภาพ (Productivity) ด้วยกลไกลประชารัฐที่ขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งแนวทางสําคัญหนึ่งก็คือ การสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยง SME สู่การนํานวัตกรรมมาประยุกต์ และสร้างโอกาสให้สินค้าและบริการของไทยเข้าสู่ตลาดโลกผ่าน E-Commerce แพลตฟอร์ม” การสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยง SME สู่การนํานวัตกรรมมาใช้ในเชิงพาณิชย์ จะทําผ่านศูนย์ปฏิรูปสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center : ITC) ซึ่งศูนย์ ITC เป็นศูนย์ต้นแบบ และพัฒนาอัตลักษณ์ Local Identity จากลักษณะเด่นของธุรกิจทางกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เพื่อสร้างเศรษฐกิจและชุมชน โดยศูนย์นี้เป็นการนํารูปแบบจากศูนย์ ITC ต้นแบบที่กรุงเทพมหานคร มาปรับให้เหมาะสมกับศักยภาพอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ เพื่อให้บริการและสนับสนุน SMEs ในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอาหาร เกษตรแปรรูป ของฝากและของที่ระลึกต่าง ๆ โดยศูนย์ ITC จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ สถาบันอาหาร ในการสนับสนุนการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมโคเนื้อ(อีสานวากิว) โดยบริการให้คําปรึกษา บริการเครื่องจักรด้านบรรจุภัณฑ์ การแปรรูปเนื้อโคส่วนเหลือทิ้ง และส่งเสริมให้มี Startup สู่การตลาดเชิงพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าผู้เลี้ยงโคมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการจ้างงาน ส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มอุตสาหกรรมโคเนื้อเกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะได้ร่วมดําเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อรองรับการเป็นเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไหมครบวงจรต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15353
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. เข้าร่วมกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 ทส. เข้าร่วมกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยาน Bike อุ่นไอรัก ในโอกาสพิธีเปิดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” ณ ลานพระราชวังดุสิต ระยะทาง 39 กิโลเมตร ทส. เข้าร่วมกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยาน Bike อุ่นไอรัก ในโอกาสพิธีเปิดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” ณ ลานพระราชวังดุสิต ระยะทาง 39 กิโลเมตร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์จัดกิจกรรมปั่นจักรยาน “Bike อุ่นไอรัก” ในโอกาสพิธีเปิดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสําคัญในการรักษาสุขภาพด้วยการออกกําลังกาย และส่งเสริมความรักความสามัคคีในครอบครัวและสังคม โดยทรงจักรยานนําผู้เข้าร่วมกิจกรรมเส้นทางพระลานพระราชวังดุสิต ถึงสวนสุขภาพลัดโพธิ์ อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และกลับมายังกองทัพภาคที่ ๑ รวมระยะทางไปกลับ ๓๙ กิโลเมตรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2561 โอกาสนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นําโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงในสังกัด ทส. ร่วมปั่นจักรยานในกิจกรรมดังกล่าวด้วยความพร้อมเพรียง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. เข้าร่วมกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 ทส. เข้าร่วมกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยาน Bike อุ่นไอรัก ในโอกาสพิธีเปิดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” ณ ลานพระราชวังดุสิต ระยะทาง 39 กิโลเมตร ทส. เข้าร่วมกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยาน Bike อุ่นไอรัก ในโอกาสพิธีเปิดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” ณ ลานพระราชวังดุสิต ระยะทาง 39 กิโลเมตร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์จัดกิจกรรมปั่นจักรยาน “Bike อุ่นไอรัก” ในโอกาสพิธีเปิดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสําคัญในการรักษาสุขภาพด้วยการออกกําลังกาย และส่งเสริมความรักความสามัคคีในครอบครัวและสังคม โดยทรงจักรยานนําผู้เข้าร่วมกิจกรรมเส้นทางพระลานพระราชวังดุสิต ถึงสวนสุขภาพลัดโพธิ์ อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และกลับมายังกองทัพภาคที่ ๑ รวมระยะทางไปกลับ ๓๙ กิโลเมตรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2561 โอกาสนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นําโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงในสังกัด ทส. ร่วมปั่นจักรยานในกิจกรรมดังกล่าวด้วยความพร้อมเพรียง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17422
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘ปลัดแรงงาน’ เปิดศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ‘สร้างแรงงานสัมพันธ์ให้เข้มแข็ง พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ สู่มาตรฐานสากล’
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ‘ปลัดแรงงาน’ เปิดศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ‘สร้างแรงงานสัมพันธ์ให้เข้มแข็ง พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ สู่มาตรฐานสากล’ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ฉะเชิงเทรา สร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ให้เกิดความเข้มแข็ง พร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีความมุ่งมั่นในการให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและพัฒนาวงการธุรก วันนี้ (12 พ.ย. 62) เวลา 11.30 น. นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย ณ ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย ตําบลสองคลอง อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดย ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า “สหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย เป็นองค์กรของลูกจ้างได้ร่วมมือก่อตั้งมาเป็นระยะเวลายาวนานถึง 38 ปี อันเกิดจากความสามัคคีปรองดองของสมาชิกที่ช่วยผลักดันให้การบริหารงานของสหภาพแรงงาน สามารถดําเนินการมาได้อย่างยาวนาน และล่าสุดได้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย จนแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสถานที่จัดกิจกรรมให้ความรู้กับสมาชิกสหภาพแรงงาน และเป็นการวางรากฐานการเรียนรู้ระบบแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งการเรียนรู้และพัฒนาแนวทางการสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืน เพื่อให้สมาชิกสหภาพแรงงานพร้อมรับสถานการณ์ด้านแรงงานในอนาคต จากวัตถุประสงค์การก่อตั้งดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน ได้ตระหนักและให้ความสําคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในอันที่จะพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสหภาพแรงงาน ให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงาน และนายจ้างให้ดียิ่งขึ้น และกระทรวงแรงงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย จะเป็นส่วนสําคัญในการส่งเสริมให้สมาชิกสหภาพแรงงาน ดําเนินกิจการขององค์กรอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์อันดี มีเหตุมีผล สร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ให้เกิดความเข้มแข็ง พร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีความมุ่งมั่นในการให้ความร่วมมือกับนายจ้าง ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและพัฒนาวงการธุรกิจอุตสาหกรรมให้เข้าสู่มาตรฐานสากลต่อไป” +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร ภาพและข่าว 12 พฤศจิกายน 2562
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘ปลัดแรงงาน’ เปิดศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ‘สร้างแรงงานสัมพันธ์ให้เข้มแข็ง พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ สู่มาตรฐานสากล’ วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ‘ปลัดแรงงาน’ เปิดศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ‘สร้างแรงงานสัมพันธ์ให้เข้มแข็ง พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ สู่มาตรฐานสากล’ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ฉะเชิงเทรา สร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ให้เกิดความเข้มแข็ง พร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีความมุ่งมั่นในการให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและพัฒนาวงการธุรก วันนี้ (12 พ.ย. 62) เวลา 11.30 น. นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย ณ ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย ตําบลสองคลอง อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดย ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า “สหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย เป็นองค์กรของลูกจ้างได้ร่วมมือก่อตั้งมาเป็นระยะเวลายาวนานถึง 38 ปี อันเกิดจากความสามัคคีปรองดองของสมาชิกที่ช่วยผลักดันให้การบริหารงานของสหภาพแรงงาน สามารถดําเนินการมาได้อย่างยาวนาน และล่าสุดได้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย จนแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสถานที่จัดกิจกรรมให้ความรู้กับสมาชิกสหภาพแรงงาน และเป็นการวางรากฐานการเรียนรู้ระบบแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งการเรียนรู้และพัฒนาแนวทางการสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืน เพื่อให้สมาชิกสหภาพแรงงานพร้อมรับสถานการณ์ด้านแรงงานในอนาคต จากวัตถุประสงค์การก่อตั้งดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน ได้ตระหนักและให้ความสําคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในอันที่จะพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสหภาพแรงงาน ให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงาน และนายจ้างให้ดียิ่งขึ้น และกระทรวงแรงงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมสหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย จะเป็นส่วนสําคัญในการส่งเสริมให้สมาชิกสหภาพแรงงาน ดําเนินกิจการขององค์กรอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์อันดี มีเหตุมีผล สร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ให้เกิดความเข้มแข็ง พร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีความมุ่งมั่นในการให้ความร่วมมือกับนายจ้าง ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและพัฒนาวงการธุรกิจอุตสาหกรรมให้เข้าสู่มาตรฐานสากลต่อไป” +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร ภาพและข่าว 12 พฤศจิกายน 2562
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24512
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร. กอบศักดิ์ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 2/2561
วันพุธที่ 7 มีนาคม 2561 รมต.นร. กอบศักดิ์ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 2/2561 ที่ประชุม กขร. มีมติเห็นชอบประเด็นสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน ประกอบด้วยร่างพระราชบัญญัติป่าชุมมชนฯ การบูรณาการระบบสวัสดิการภาครัฐและโครงการเพิ่มศักยภาพกําลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม วันนี้ (7 มีนาคม 2561) เวลา 08.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทําเนียบรัฐบาล นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 2/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. .... เสนอโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความสําคัญและมีความจําเป็นเร่งด่วน เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กําหนดให้รัฐต้องอนุรักษ์ คุ้มครองบํารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการและใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชน สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดําเนินการและได้รับประโยชน์พร้อมกําหนดให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิจัดการบํารุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบการดําเนินการตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของราชการ พ.ศ. 2558 เสนอโดยสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งพระราชบัญัติดังกล่าวประชาชนได้รับประโยชน์ ทั้งด้านความโปร่งใส ชัดเจน โดยรับรู้ขั้นตอน วิธีการ ระยะเวลา เอกสารประกอบ แบบฟอร์ม ค่าธรรมเนียมจากคู่มือสําหรับประชาชน ตลอดจนมีความรวดเร็วและฉับไว ด้วยการรับการตรวจเอกสารหากไม่ครบถ้วนต้องแจ้งให้ประชาชนผู้ยื่นเรื่องทราบและขอเพิ่มทันที รวมทั้งมีความถูกต้องและตรงต่อเวลา โดยรับบริการตามเวลาที่สัญญา หากดําเนินการไม่แล้วเสร็จต้องรีบเเจ้งเหตุผลที่ล่าช้าให้ประชาชนผู้ยื่นเรื่องทราบทุก ๆ 7 วันทันที ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบแนวทางการบูรณาการระบบสวัสดิการภาครัฐ เพื่อการเเก้ไขปัญหาความยากจน โดยเน้นเชื่อมโยงข้อมูลด้วยเลข 13 หลัก ของบัตรประจําตัวประชาชน พร้อมทั้ง มีการขับเคลื่อนด้วยโครงการพัฒนาฐานข้อมูลส่วนกลาง เพื่อการบูรณาการข้อมูลระบบสวัสดิการภาครัฐ โดยโครงการนี้คาดว่าจะเรียบร้อยในเร็ว ๆ นี้ เพื่ออํานวยประโยชน์แก่ประชาชนอย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบโครงการเพิ่มศักยภาพกําลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค เสนอโดยกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดทําโครงการเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา พร้อมพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาตามแนวทางการผลิต และพัฒนากําลังคนสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยเป็นความร่วมมือระหว่างสํานักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาและสถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่นใช้ระยะเวลาดําเนินโครงการ 7 ปี ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขัน ด้านกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรม โดยโครงการนี้จะส่งผลให้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษามีทักษะฝีมือความเชี่ยวชาญ เพราะมีความเป็นเลิศเฉพาะทางเพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนมีโอกาสพัฒนางานวิจัยสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมเทคโนโลยี และองค์ความรู้ในการพัฒนางานและการประกอบอาชีพ รวมทั้ง ได้รับค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับสมรรถนะทางอาชีพอีกด้วย ทั้งนี้ โครงการนี้จะเริ่มดําเนินการในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับกิจการสหกรณ์การเงินขนาดใหญ่ พ.ศ. .... เสนอโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงการคลัง โดยมีความคืบหน้า ซึ่งมีสาระสําคัญในการกําหนดให้มีคณะกรรมการกํากับกิจการสหกรณ์การเงินขนาดใหญ่มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดหลัเกณฑ์และมาตรฐานในการกํากับ ดูแล การประกอบกิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ยูเนี่ยน ขนาดใหญ่ และกําหนดให้มีสํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการสหกรณ์การเงินขนาดใหญ่ ซึ่งในเบื้องต้นจะกํากับดูแลสหกรณ์ที่มีสินทรัพย์เกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป ปัจจุบันมีจํานวน 134 แห่ง และกําหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนคุ้มครองเงินฝากสหกรณ์ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย เพื่อเป็นการเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสหกรณ์และระบบการเงินของประเทศให้มั่นคงมากขึ้น ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการดําเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีได้นําตัวแทนเครือข่ายป่าชุมชน ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง มากล่าวถึงผลดีของร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนที่เอื้อประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศว่า ขอขอบคุณ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ออกกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้ประชาชนอยู่กับป่าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยลักษณะทั้งคนและป่าเกื้อกูลกัน ทําให้การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืน และในอนาคตอันใกล้ จะทําให้ป่าไม้ในประเทศไทยที่ตั้งเป้าหมายไว้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยเกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป .......................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร. กอบศักดิ์ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 2/2561 วันพุธที่ 7 มีนาคม 2561 รมต.นร. กอบศักดิ์ฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 2/2561 ที่ประชุม กขร. มีมติเห็นชอบประเด็นสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน ประกอบด้วยร่างพระราชบัญญัติป่าชุมมชนฯ การบูรณาการระบบสวัสดิการภาครัฐและโครงการเพิ่มศักยภาพกําลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม วันนี้ (7 มีนาคม 2561) เวลา 08.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทําเนียบรัฐบาล นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 2/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. .... เสนอโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความสําคัญและมีความจําเป็นเร่งด่วน เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กําหนดให้รัฐต้องอนุรักษ์ คุ้มครองบํารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการและใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชน สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดําเนินการและได้รับประโยชน์พร้อมกําหนดให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิจัดการบํารุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบการดําเนินการตามพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของราชการ พ.ศ. 2558 เสนอโดยสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งพระราชบัญัติดังกล่าวประชาชนได้รับประโยชน์ ทั้งด้านความโปร่งใส ชัดเจน โดยรับรู้ขั้นตอน วิธีการ ระยะเวลา เอกสารประกอบ แบบฟอร์ม ค่าธรรมเนียมจากคู่มือสําหรับประชาชน ตลอดจนมีความรวดเร็วและฉับไว ด้วยการรับการตรวจเอกสารหากไม่ครบถ้วนต้องแจ้งให้ประชาชนผู้ยื่นเรื่องทราบและขอเพิ่มทันที รวมทั้งมีความถูกต้องและตรงต่อเวลา โดยรับบริการตามเวลาที่สัญญา หากดําเนินการไม่แล้วเสร็จต้องรีบเเจ้งเหตุผลที่ล่าช้าให้ประชาชนผู้ยื่นเรื่องทราบทุก ๆ 7 วันทันที ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบแนวทางการบูรณาการระบบสวัสดิการภาครัฐ เพื่อการเเก้ไขปัญหาความยากจน โดยเน้นเชื่อมโยงข้อมูลด้วยเลข 13 หลัก ของบัตรประจําตัวประชาชน พร้อมทั้ง มีการขับเคลื่อนด้วยโครงการพัฒนาฐานข้อมูลส่วนกลาง เพื่อการบูรณาการข้อมูลระบบสวัสดิการภาครัฐ โดยโครงการนี้คาดว่าจะเรียบร้อยในเร็ว ๆ นี้ เพื่ออํานวยประโยชน์แก่ประชาชนอย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบโครงการเพิ่มศักยภาพกําลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค เสนอโดยกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดทําโครงการเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา พร้อมพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาตามแนวทางการผลิต และพัฒนากําลังคนสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยเป็นความร่วมมือระหว่างสํานักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาและสถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่นใช้ระยะเวลาดําเนินโครงการ 7 ปี ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขัน ด้านกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรม โดยโครงการนี้จะส่งผลให้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษามีทักษะฝีมือความเชี่ยวชาญ เพราะมีความเป็นเลิศเฉพาะทางเพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนมีโอกาสพัฒนางานวิจัยสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมเทคโนโลยี และองค์ความรู้ในการพัฒนางานและการประกอบอาชีพ รวมทั้ง ได้รับค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับสมรรถนะทางอาชีพอีกด้วย ทั้งนี้ โครงการนี้จะเริ่มดําเนินการในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับกิจการสหกรณ์การเงินขนาดใหญ่ พ.ศ. .... เสนอโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงการคลัง โดยมีความคืบหน้า ซึ่งมีสาระสําคัญในการกําหนดให้มีคณะกรรมการกํากับกิจการสหกรณ์การเงินขนาดใหญ่มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดหลัเกณฑ์และมาตรฐานในการกํากับ ดูแล การประกอบกิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ยูเนี่ยน ขนาดใหญ่ และกําหนดให้มีสํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการสหกรณ์การเงินขนาดใหญ่ ซึ่งในเบื้องต้นจะกํากับดูแลสหกรณ์ที่มีสินทรัพย์เกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป ปัจจุบันมีจํานวน 134 แห่ง และกําหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนคุ้มครองเงินฝากสหกรณ์ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย เพื่อเป็นการเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสหกรณ์และระบบการเงินของประเทศให้มั่นคงมากขึ้น ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการดําเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีได้นําตัวแทนเครือข่ายป่าชุมชน ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง มากล่าวถึงผลดีของร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนที่เอื้อประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศว่า ขอขอบคุณ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ออกกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้ประชาชนอยู่กับป่าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยลักษณะทั้งคนและป่าเกื้อกูลกัน ทําให้การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืน และในอนาคตอันใกล้ จะทําให้ป่าไม้ในประเทศไทยที่ตั้งเป้าหมายไว้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยเกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป .......................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10597
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บสย. ลงนาม 18 สถาบันการเงิน คิกออฟ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” คาด SMEs ล็อตแรก จ่อคิวร่วมโครงการ ทะลุ 1 หมื่นราย
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2563 บสย. ลงนาม 18 สถาบันการเงิน คิกออฟ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” คาด SMEs ล็อตแรก จ่อคิวร่วมโครงการ ทะลุ 1 หมื่นราย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และ 18 สถาบันการเงิน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และ 18 สถาบันการเงิน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานลงนาม ย้ํามั่นใจ มาตรการดี มัดใจ SMEs ช่วยได้จริง ต่อลมหายใจ คนใกล้ล้ม คาดมีผู้ประกอบการ SMEs จ่อคิวร่วมโครงการทะลุ 1 หมื่นราย ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกและประเทศไทยกําลังเผชิญหน้ากับความผันผวนจากปัจจัยรอบด้าน การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าเงินบาท สงครามการค้า ย่อมจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการ SMEs ไทยอย่างแน่นอน แต่ในวันนี้ รัฐบาลได้เร่งออกมาตรการช่วยเหลือ SMEs ให้มีสภาพคล่อง โดยมีความร่วมมือที่เข้มแข็ง จากผู้นําระดับสูงของ 18 ธนาคาร ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ตอกย้ําการแสดงเจตจํานงในขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุน โดยใช้เครื่องมือของรัฐเป็นกลไกสําคัญ โดยจัดสรรวงเงินค้ําประกันสินเชื่อ 60,000 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียม 2 ปี มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” เป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่กําลังประสบปัญหาการดําเนินธุรกิจให้เดินต่อไปได้ ภายใต้มาตรการนี้ยังได้ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนปัญหาและอุปสรรครอบด้าน ระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และ บสย. สู่การปลดล็อคครั้งใหญ่ ปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ บสย.ได้แก่ การรับความเสียหายเพิ่มจาก 30% เป็น 40% เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบอย่างสบายใจ และเสริมสภาพคล่องให้กับต่อลมหายใจให้ธุรกิจได้ โดยความช่วยเหลือนี้ รัฐบาลจะใช้กลไกของการค้ําประกันสินเชื่อของ บสย. ช่วยเติมทุนให้ SMEs สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อ ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ํากว่าปกติ จากสถาบันการเงินที่ร่วมลงนามทั้ง 18 ธนาคาร ด้วยความมั่นใจ มีเงินทุนเข้าสู่ระบบ 180,000 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการได้ 142,000 ราย โดยรัฐบาลจะติดตามการทํางานอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์เห็นผลจริงโดยเร็ว ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะตอกย้ําความเชื่อมั่นและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งทุน คาดว่าจะมีผู้ประกอบการ SMEs ล็อตแรกกว่าหมื่นราย เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเป็นโครงการที่ช่วย SMEs เสริมสภาพคล่อง เติมเงินทุนหมุนเวียน ช่วย SMEs ที่มีปัญหาผ่อนชําระหนี้ หรืออาจกําลังจะเป็นหนี้ NPL ได้ขยายระยะเวลา ได้เงินทุน ต่อลมหายใจธุรกิจ หรือ ในกลุ่มที่มีศักยภาพ สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ หรือในกิจการที่กําลังต้องการเสริมสภาพคล่อง โดย บสย.และธนาคารพันธมิตร จะช่วยให้คนกลุ่มนี้เดินหน้าได้ต่อไป สําหรับ SMEs กลุ่มที่กําลังจะถึงทางตัน ชําระล่าช้า หรือกําลังอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ บสย. และ 18 สถาบันการเงิน จะช่วย SMEs เปลี่ยนจากการฟ้องมาเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ โดยสถาบันการเงินพร้อมให้การสนับสนุน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการ SMEs อีกหลายหมื่นรายสนใจเข้าร่วมโครงการ “บสย. SMEs สร้างไทย ต่อเติม เสริมทุน” วงเงินค้ําประกันสินเชื่อ 60,000 ล้านบาท สําหรับการขยายระยะเวลาการค้ําประกันสินเชื่อสําหรับลูกค้า บสย. ที่ใช้โครงการค้ําประกันสินเชื่อ PGS ระยะ 5-7 บสย. ได้ขยายเวลาการค้ําประกันออกไปอีก 5 ปี เพื่อให้ SMEs กลุ่มนี้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ โดย บสย.และธนาคารจะร่วมกันช่วยโดยการเข้าสู่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มนี้ ร่วมโครงการเต็มจํานวนเป้าหมาย 28,000 ราย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บสย. ลงนาม 18 สถาบันการเงิน คิกออฟ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” คาด SMEs ล็อตแรก จ่อคิวร่วมโครงการ ทะลุ 1 หมื่นราย วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2563 บสย. ลงนาม 18 สถาบันการเงิน คิกออฟ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” คาด SMEs ล็อตแรก จ่อคิวร่วมโครงการ ทะลุ 1 หมื่นราย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และ 18 สถาบันการเงิน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และ 18 สถาบันการเงิน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานลงนาม ย้ํามั่นใจ มาตรการดี มัดใจ SMEs ช่วยได้จริง ต่อลมหายใจ คนใกล้ล้ม คาดมีผู้ประกอบการ SMEs จ่อคิวร่วมโครงการทะลุ 1 หมื่นราย ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกและประเทศไทยกําลังเผชิญหน้ากับความผันผวนจากปัจจัยรอบด้าน การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าเงินบาท สงครามการค้า ย่อมจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการ SMEs ไทยอย่างแน่นอน แต่ในวันนี้ รัฐบาลได้เร่งออกมาตรการช่วยเหลือ SMEs ให้มีสภาพคล่อง โดยมีความร่วมมือที่เข้มแข็ง จากผู้นําระดับสูงของ 18 ธนาคาร ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ตอกย้ําการแสดงเจตจํานงในขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุน โดยใช้เครื่องมือของรัฐเป็นกลไกสําคัญ โดยจัดสรรวงเงินค้ําประกันสินเชื่อ 60,000 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียม 2 ปี มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” เป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่กําลังประสบปัญหาการดําเนินธุรกิจให้เดินต่อไปได้ ภายใต้มาตรการนี้ยังได้ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนปัญหาและอุปสรรครอบด้าน ระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และ บสย. สู่การปลดล็อคครั้งใหญ่ ปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ บสย.ได้แก่ การรับความเสียหายเพิ่มจาก 30% เป็น 40% เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบอย่างสบายใจ และเสริมสภาพคล่องให้กับต่อลมหายใจให้ธุรกิจได้ โดยความช่วยเหลือนี้ รัฐบาลจะใช้กลไกของการค้ําประกันสินเชื่อของ บสย. ช่วยเติมทุนให้ SMEs สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อ ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ํากว่าปกติ จากสถาบันการเงินที่ร่วมลงนามทั้ง 18 ธนาคาร ด้วยความมั่นใจ มีเงินทุนเข้าสู่ระบบ 180,000 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการได้ 142,000 ราย โดยรัฐบาลจะติดตามการทํางานอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์เห็นผลจริงโดยเร็ว ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะตอกย้ําความเชื่อมั่นและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งทุน คาดว่าจะมีผู้ประกอบการ SMEs ล็อตแรกกว่าหมื่นราย เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเป็นโครงการที่ช่วย SMEs เสริมสภาพคล่อง เติมเงินทุนหมุนเวียน ช่วย SMEs ที่มีปัญหาผ่อนชําระหนี้ หรืออาจกําลังจะเป็นหนี้ NPL ได้ขยายระยะเวลา ได้เงินทุน ต่อลมหายใจธุรกิจ หรือ ในกลุ่มที่มีศักยภาพ สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ หรือในกิจการที่กําลังต้องการเสริมสภาพคล่อง โดย บสย.และธนาคารพันธมิตร จะช่วยให้คนกลุ่มนี้เดินหน้าได้ต่อไป สําหรับ SMEs กลุ่มที่กําลังจะถึงทางตัน ชําระล่าช้า หรือกําลังอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ บสย. และ 18 สถาบันการเงิน จะช่วย SMEs เปลี่ยนจากการฟ้องมาเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ โดยสถาบันการเงินพร้อมให้การสนับสนุน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการ SMEs อีกหลายหมื่นรายสนใจเข้าร่วมโครงการ “บสย. SMEs สร้างไทย ต่อเติม เสริมทุน” วงเงินค้ําประกันสินเชื่อ 60,000 ล้านบาท สําหรับการขยายระยะเวลาการค้ําประกันสินเชื่อสําหรับลูกค้า บสย. ที่ใช้โครงการค้ําประกันสินเชื่อ PGS ระยะ 5-7 บสย. ได้ขยายเวลาการค้ําประกันออกไปอีก 5 ปี เพื่อให้ SMEs กลุ่มนี้สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ โดย บสย.และธนาคารจะร่วมกันช่วยโดยการเข้าสู่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มนี้ ร่วมโครงการเต็มจํานวนเป้าหมาย 28,000 ราย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26179
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงอุตสาหกรรมนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ประจำปี พ.ศ.2560
วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2560 กระทรวงอุตสาหกรรมนําสื่อมวลชนเยี่ยมชมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ประจําปี พ.ศ.2560 กระทรวงอุตสาหกรรมนําสื่อมวลชนเยี่ยมชมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ประจําปี พ.ศ.2560 วันนี้ (15 พฤษภาคม 2560) นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นําทีมสื่อมวลชนเยี่ยมชมบริษัท พงษ์-ศรา แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ประจําปี พ.ศ.2560 ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตลูกชิ้นหมูปิ้งแท้ 100% โดยสั่งหมูจากแหล่งที่ได้มาตรฐานจากคู่ค้าในจังหวัดนครปฐม มีลูกชิ้นหมูเป็นสินค้าหลักประมาณ 85-90% ส่วนอีก 5-10% เป็นลูกชิ้นเอ็นหมู มีการจําหน่ายในระบบแฟรนไซส์ทั่วประเทศและมีหน้าร้านตั้งอยู่ตามห้างสําคัญฯ มีกลุ่มลูกค้าในประเทศ 100% สําหรับบริษัทเข้าร่วมโครงการโอปอยในปี 2560 ประเภทแผนงานที่ 3 ด้านการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน เนื่องจากพนักงานขาดความเข้าใจ และการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าโครงการที่ดําเนิน 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ลดความสูญเสียเนื้อหมูและลูกชิ้นในกระบวนการผลิต สามารถลดความเสียหายได้ 494,807 บาทต่อปี และกลุ่มที่ 2 ลดความสูญเสียบรรจุภัณฑ์ในกระบวนการบรรจุลง 134,560 บาทต่อปี รวมสามารถลดต้นทนเพิ่มรายได้ให้สถานประกอบการรวมเป็นเงิน 829,367 บาทต่อปี โดยมีนางศราลี พรอํานวย กรรมการผู้จัดการบริษัท พงษ์-ศรา แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด ให้การต้อนรับ ณ อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงอุตสาหกรรมนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ประจำปี พ.ศ.2560 วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2560 กระทรวงอุตสาหกรรมนําสื่อมวลชนเยี่ยมชมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ประจําปี พ.ศ.2560 กระทรวงอุตสาหกรรมนําสื่อมวลชนเยี่ยมชมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ประจําปี พ.ศ.2560 วันนี้ (15 พฤษภาคม 2560) นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นําทีมสื่อมวลชนเยี่ยมชมบริษัท พงษ์-ศรา แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ประจําปี พ.ศ.2560 ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตลูกชิ้นหมูปิ้งแท้ 100% โดยสั่งหมูจากแหล่งที่ได้มาตรฐานจากคู่ค้าในจังหวัดนครปฐม มีลูกชิ้นหมูเป็นสินค้าหลักประมาณ 85-90% ส่วนอีก 5-10% เป็นลูกชิ้นเอ็นหมู มีการจําหน่ายในระบบแฟรนไซส์ทั่วประเทศและมีหน้าร้านตั้งอยู่ตามห้างสําคัญฯ มีกลุ่มลูกค้าในประเทศ 100% สําหรับบริษัทเข้าร่วมโครงการโอปอยในปี 2560 ประเภทแผนงานที่ 3 ด้านการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน เนื่องจากพนักงานขาดความเข้าใจ และการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าโครงการที่ดําเนิน 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ลดความสูญเสียเนื้อหมูและลูกชิ้นในกระบวนการผลิต สามารถลดความเสียหายได้ 494,807 บาทต่อปี และกลุ่มที่ 2 ลดความสูญเสียบรรจุภัณฑ์ในกระบวนการบรรจุลง 134,560 บาทต่อปี รวมสามารถลดต้นทนเพิ่มรายได้ให้สถานประกอบการรวมเป็นเงิน 829,367 บาทต่อปี โดยมีนางศราลี พรอํานวย กรรมการผู้จัดการบริษัท พงษ์-ศรา แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด ให้การต้อนรับ ณ อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3738
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ อนุทินรับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท
วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2563 รองนายกฯ อนุทินรับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่บุคลากรทางการแพทย์ จํานวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท รองนายกฯ อนุทินรับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่บุคลากรทางการแพทย์ จํานวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท วันนี้ (6 มีนาคม 2563) เวลา 08.30 น. ณ ตึกบัญชาการ 1 ห้องประชุม 301 ทําเนียบรัฐบาล นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อส่งมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 70,000 ฉบับ เบี้ยประกันภัย จํานวน 7 ล้านบาท โดยมีวงเงินความคุ้มครองรวมทั้งสิ้น จํานวน 3,500 ล้านบาท จากดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เพื่อมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองตั้งแต่วันที่แจ้งรายชื่อ ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2563 กรณีเจ็บป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา บริษัทผู้รับประกันภัยจะจ่ายตามความคุ้มครองทันที่ที่ตรวจพบ จํานวน 50,000 บาทต่อคน รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีขอบคุณที่ผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยได้มอบกรมธรรม์ประกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่เสียสละทํางานอย่างหนักในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสฯ ซึ่งทุกคนทํางานสุดความสามารถ เพื่อลดการแพร่กระจายไปในวงกว้าง จะเห็นว่าคนไทยจะไม่ทิ้งกันทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดี ถือเป็นขวัญและกําลังใจของผู้ปฏิบัติงาน ขอยืนยันว่าจะไม่ใช้กรมธรรม์ฟุ่มเฟื่อยอย่างแน่นอน เพราะทุกคนที่ทํางานสัมผัสผู้ป่วยได้รับการแนะแนวและฝึกฝนเป็นอย่างดี ในการนําตัวเองออกห่างจากเชื้อให้มากที่สุด ซึ่งโอกาสน้อยที่เจ้าหน้าที่จะได้รับเชื้อเหล่านั้น ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีติดตามสถานการณ์การติดเชื้อและแพร่ระบาดของ COVID-19 ด้วยความห่วงใยพี่น้องคนไทยทุกคน ถือเป็นวาระสําคัญที่ต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วนพร้อมมอบนโยบายในการปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ อนุทินรับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2563 รองนายกฯ อนุทินรับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่บุคลากรทางการแพทย์ จํานวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท รองนายกฯ อนุทินรับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่บุคลากรทางการแพทย์ จํานวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท วันนี้ (6 มีนาคม 2563) เวลา 08.30 น. ณ ตึกบัญชาการ 1 ห้องประชุม 301 ทําเนียบรัฐบาล นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อส่งมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 70,000 ฉบับ เบี้ยประกันภัย จํานวน 7 ล้านบาท โดยมีวงเงินความคุ้มครองรวมทั้งสิ้น จํานวน 3,500 ล้านบาท จากดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เพื่อมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองตั้งแต่วันที่แจ้งรายชื่อ ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2563 กรณีเจ็บป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา บริษัทผู้รับประกันภัยจะจ่ายตามความคุ้มครองทันที่ที่ตรวจพบ จํานวน 50,000 บาทต่อคน รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีขอบคุณที่ผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยได้มอบกรมธรรม์ประกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่เสียสละทํางานอย่างหนักในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสฯ ซึ่งทุกคนทํางานสุดความสามารถ เพื่อลดการแพร่กระจายไปในวงกว้าง จะเห็นว่าคนไทยจะไม่ทิ้งกันทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดี ถือเป็นขวัญและกําลังใจของผู้ปฏิบัติงาน ขอยืนยันว่าจะไม่ใช้กรมธรรม์ฟุ่มเฟื่อยอย่างแน่นอน เพราะทุกคนที่ทํางานสัมผัสผู้ป่วยได้รับการแนะแนวและฝึกฝนเป็นอย่างดี ในการนําตัวเองออกห่างจากเชื้อให้มากที่สุด ซึ่งโอกาสน้อยที่เจ้าหน้าที่จะได้รับเชื้อเหล่านั้น ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีติดตามสถานการณ์การติดเชื้อและแพร่ระบาดของ COVID-19 ด้วยความห่วงใยพี่น้องคนไทยทุกคน ถือเป็นวาระสําคัญที่ต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วนพร้อมมอบนโยบายในการปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27261
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.สกลนคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัย พร้อมกำชับ ทีม One Home น้อมนำศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มกำลัง
วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2560 รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.สกลนคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัย พร้อมกําชับ ทีม One Home น้อมนําศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มกําลัง รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.สกลนคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัย พร้อมกําชับ ทีม One Home น้อมนําศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มกําลัง วันนี้ (20 ต.ค. 60) เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ลงพื้นที่จังหวัดสกลนคร เพื่อติดตามการดําเนินงานตามภารกิจกระทรวง พม. ในการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส พร้อมเป็นประธานเปิดป้ายศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตําบลอากาศอํานวย โดยมี นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเทศบาลตําบลอากาศอํานวย อําเภออากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร อีกทั้ง ได้ตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ และมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เงินทุนการศึกษา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตําบลต้นผึ้ง อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะการลดความเหลื่อมล้ําของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับการดําเนินภารกิจกระทรวง พม. ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในทุกพื้นที่ ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส โดยจัดบริการสวัสดิการสังคมต่างๆ อาทิ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (0-3 ปี) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ การส่งเสริมการประกอบอาชีพและเงินทุนสําหรับผู้สูงอายุและคนพิการ และการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการและสิทธิสวัสดิการสังคมจากรัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งประชาชนจํานวนมากในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วมที่ผ่านมา ตนจึงได้ลงพื้นที่ไปยังศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตําบลต้นผึ้ง ในพื้นที่อําเภอพังโคน เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนและให้กําลังใจประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จํานวน 50 ครอบครัว และทุนการศึกษาสําหรับเด็กจํานวน 100 ราย อีกทั้งได้ติดตามการดําเนินงานด้านการจัดสวัสดิการชุมชนในด้านผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในชุมชน พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ตนได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเทศบาลตําบลอากาศอํานวย ในพื้นที่อําเภออากาศอํานวย พร้อมทั้งเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตําบลอากาศอํานวย ซึ่งเป็นการจัดสวัสดิการสังคมสําหรับผู้สูงอายุในชุมชนรูปแบบหนึ่ง โดยมีผู้สูงอายุ แกนนําอาสาสมัครชุมชน องค์กรเครือข่ายจากภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกันขับเคลื่อนการดําเนินงานของศูนย์ฯ ด้วยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้มีสถานที่ในการจัดกิจกรรมและบริการ เพื่อการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพผู้สูงอายุ อีกทั้งเป็นศูนย์ส่งเสริมอาชีพและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุ และเป็นศูนย์รวมการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่ ทั้งนี้ ภายหลังการตรวจเยี่ยมศูนย์ดังกล่าว ตนได้มอบทุนส่งเสริมการประกอบอาชีพสําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ จํานวน 30 ทุน และเงินทุนการศึกษา จํานวน 100 ทุน รวมทั้งได้เยี่ยมชมการดําเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมในชุมชน อาทิ ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ย ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน “ทั้งนี้ ตนได้มอบหมายภารกิจกระทรวง พม. ให้สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสกลนคร (พมจ.สกลนคร) และทุกหน่วยงานในพื้นที่ หรือ One Home บูรณาการทํางานอย่างเต็มกําลังร่วมกับทุกภาคีเครือข่ายตามแนวทางประชารัฐ พร้อมน้อมนําศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อการพัฒนาสังคมที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป” พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.สกลนคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัย พร้อมกำชับ ทีม One Home น้อมนำศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มกำลัง วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2560 รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.สกลนคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัย พร้อมกําชับ ทีม One Home น้อมนําศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มกําลัง รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.สกลนคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัย พร้อมกําชับ ทีม One Home น้อมนําศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มกําลัง วันนี้ (20 ต.ค. 60) เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ลงพื้นที่จังหวัดสกลนคร เพื่อติดตามการดําเนินงานตามภารกิจกระทรวง พม. ในการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส พร้อมเป็นประธานเปิดป้ายศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตําบลอากาศอํานวย โดยมี นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเทศบาลตําบลอากาศอํานวย อําเภออากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร อีกทั้ง ได้ตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ และมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เงินทุนการศึกษา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตําบลต้นผึ้ง อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะการลดความเหลื่อมล้ําของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับการดําเนินภารกิจกระทรวง พม. ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในทุกพื้นที่ ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส โดยจัดบริการสวัสดิการสังคมต่างๆ อาทิ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (0-3 ปี) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ การส่งเสริมการประกอบอาชีพและเงินทุนสําหรับผู้สูงอายุและคนพิการ และการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการและสิทธิสวัสดิการสังคมจากรัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งประชาชนจํานวนมากในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วมที่ผ่านมา ตนจึงได้ลงพื้นที่ไปยังศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตําบลต้นผึ้ง ในพื้นที่อําเภอพังโคน เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนและให้กําลังใจประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จํานวน 50 ครอบครัว และทุนการศึกษาสําหรับเด็กจํานวน 100 ราย อีกทั้งได้ติดตามการดําเนินงานด้านการจัดสวัสดิการชุมชนในด้านผู้สูงอายุ เด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในชุมชน พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ตนได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการดําเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเทศบาลตําบลอากาศอํานวย ในพื้นที่อําเภออากาศอํานวย พร้อมทั้งเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตําบลอากาศอํานวย ซึ่งเป็นการจัดสวัสดิการสังคมสําหรับผู้สูงอายุในชุมชนรูปแบบหนึ่ง โดยมีผู้สูงอายุ แกนนําอาสาสมัครชุมชน องค์กรเครือข่ายจากภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกันขับเคลื่อนการดําเนินงานของศูนย์ฯ ด้วยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้มีสถานที่ในการจัดกิจกรรมและบริการ เพื่อการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพผู้สูงอายุ อีกทั้งเป็นศูนย์ส่งเสริมอาชีพและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุ และเป็นศูนย์รวมการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่ ทั้งนี้ ภายหลังการตรวจเยี่ยมศูนย์ดังกล่าว ตนได้มอบทุนส่งเสริมการประกอบอาชีพสําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ จํานวน 30 ทุน และเงินทุนการศึกษา จํานวน 100 ทุน รวมทั้งได้เยี่ยมชมการดําเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมในชุมชน อาทิ ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ย ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน “ทั้งนี้ ตนได้มอบหมายภารกิจกระทรวง พม. ให้สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสกลนคร (พมจ.สกลนคร) และทุกหน่วยงานในพื้นที่ หรือ One Home บูรณาการทํางานอย่างเต็มกําลังร่วมกับทุกภาคีเครือข่ายตามแนวทางประชารัฐ พร้อมน้อมนําศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อการพัฒนาสังคมที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป” พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7545
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม จัดประชุมเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรมและหลักนิติธรรม ในกลุ่มประเทศอาเซียน+๓
วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 กระทรวงยุติธรรม จัดประชุมเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรมและหลักนิติธรรม ในกลุ่มประเทศอาเซียน+๓ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรมและหลักนิติธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน+๓ ในวันจันทร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องประชุม Infinity Ballroom ๒ โรงแรมพูลแมน คิง พาวเวอร์ กรุงเทพ (รางน้ํา) พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรมและหลักนิติธรรม ในกลุ่มประเทศอาเซียน+๓ : แนวทางการจัดเก็บ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลการกระทําผิดซ้ํา (The ASEAN +3 Workshop on Crime Trends and the Rule of Law: Guideline on the Collection, Analysis and Utilization of Big Data in Recidivism) โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวัลลภ นาคบัว ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กับการจัดทําระบบและฐานข้อมูลการกระทําผิดซ้ําในประเทศอาเซียน +๓ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ของประเทศไทย กัมพูชา มาเลเซีย บรูไนดารุสซาลาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และบริษัท Tata Consultancy Services (TCS) ประเทศอินเดีย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล และสถานการณ์อาชญากรรมในส่วนของการกระทําผิดซ้ําในประเทศอาเซียน รวมทั้งแนวทางในการจัดเก็บ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลการกระทําผิดซ้ํา เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและส่งเสริมหลักนิติธรรมในชุมชน และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการริเริ่มพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านการกระทําผิดซ้ํา ในส่วนของข้อมูลอาชญากรรมข้ามชาติต่อไป รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทําข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ในการแก้ปัญหาการกระทําผิดซ้ํา และเป้าหมายสูงสุดของการแก้ไขปัญหาการกระทําผิดซ้ํานั้น ไม่ใช่เพียงแค่อัตราการกระทําผิดซ้ําลดลงเท่านั้น แต่รวมไปถึงการที่ผู้ต้องขังที่ผ่านการเตรียมความพร้อม ออกไปแล้วเป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีขึ้น มีทักษะอาชีพ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพได้ จากนั้น ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการใช้ประโยชน์ : ประสบการณ์จากกระบวนการยุติธรรมไทย มีใจความตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจํานวนผู้ต้องขังประมาณ ๓๔๐,๐๐๐ คน ซึ่งมีสถิติการกลับมากระทําผิดซ้ํา ร้อยละ ๑๕ ในปีแรก ร้อยละ ๒๕ ในปีที่สอง และร้อยละ ๗ ในปีที่สาม โดยพบว่าผู้ต้องขังที่ได้รับโทษจนครบกําหนด มีอัตราการกลับมาทําผิดซ้ํามากกว่าผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษ การใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะเป็นเครื่องมือในการช่วยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ความเสี่ยงของผู้ต้องขังแต่ละคน เพื่อให้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ต้องขังได้อย่างตรงจุดมากขึ้น และที่สําคัญที่สุดคือโอกาสจากคนในสังคมที่ให้เขาเหล่านั้นสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม จัดประชุมเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรมและหลักนิติธรรม ในกลุ่มประเทศอาเซียน+๓ วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 กระทรวงยุติธรรม จัดประชุมเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรมและหลักนิติธรรม ในกลุ่มประเทศอาเซียน+๓ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรมและหลักนิติธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน+๓ ในวันจันทร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องประชุม Infinity Ballroom ๒ โรงแรมพูลแมน คิง พาวเวอร์ กรุงเทพ (รางน้ํา) พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์อาชญากรรมและหลักนิติธรรม ในกลุ่มประเทศอาเซียน+๓ : แนวทางการจัดเก็บ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลการกระทําผิดซ้ํา (The ASEAN +3 Workshop on Crime Trends and the Rule of Law: Guideline on the Collection, Analysis and Utilization of Big Data in Recidivism) โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวัลลภ นาคบัว ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กับการจัดทําระบบและฐานข้อมูลการกระทําผิดซ้ําในประเทศอาเซียน +๓ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ของประเทศไทย กัมพูชา มาเลเซีย บรูไนดารุสซาลาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และบริษัท Tata Consultancy Services (TCS) ประเทศอินเดีย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล และสถานการณ์อาชญากรรมในส่วนของการกระทําผิดซ้ําในประเทศอาเซียน รวมทั้งแนวทางในการจัดเก็บ วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลการกระทําผิดซ้ํา เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและส่งเสริมหลักนิติธรรมในชุมชน และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการริเริ่มพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านการกระทําผิดซ้ํา ในส่วนของข้อมูลอาชญากรรมข้ามชาติต่อไป รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทําข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ในการแก้ปัญหาการกระทําผิดซ้ํา และเป้าหมายสูงสุดของการแก้ไขปัญหาการกระทําผิดซ้ํานั้น ไม่ใช่เพียงแค่อัตราการกระทําผิดซ้ําลดลงเท่านั้น แต่รวมไปถึงการที่ผู้ต้องขังที่ผ่านการเตรียมความพร้อม ออกไปแล้วเป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีขึ้น มีทักษะอาชีพ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพได้ จากนั้น ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการใช้ประโยชน์ : ประสบการณ์จากกระบวนการยุติธรรมไทย มีใจความตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจํานวนผู้ต้องขังประมาณ ๓๔๐,๐๐๐ คน ซึ่งมีสถิติการกลับมากระทําผิดซ้ํา ร้อยละ ๑๕ ในปีแรก ร้อยละ ๒๕ ในปีที่สอง และร้อยละ ๗ ในปีที่สาม โดยพบว่าผู้ต้องขังที่ได้รับโทษจนครบกําหนด มีอัตราการกลับมาทําผิดซ้ํามากกว่าผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษ การใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะเป็นเครื่องมือในการช่วยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ความเสี่ยงของผู้ต้องขังแต่ละคน เพื่อให้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ต้องขังได้อย่างตรงจุดมากขึ้น และที่สําคัญที่สุดคือโอกาสจากคนในสังคมที่ให้เขาเหล่านั้นสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11701
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ตั้งเป้าคัด 100 ตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ สู่การใช้ประโยชน์ในปี 2560
วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2560 สธ. ตั้งเป้าคัด 100 ตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ สู่การใช้ประโยชน์ในปี 2560 กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าปี 2560 คัดเลือก 100 ตํารับยา จากตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ รอบ 9 เดือนนี้ เตรียมใช้ประโยชน์ตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ 4 กลุ่มโรค รวม 42 ตํารับ บรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์แผนไทย เป็นฐานข้อมูลประกอบการ ขึ้นทะเบียนของอย. ผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาตินําไปใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันในโรงพยาบาล บ่ายวันนี้ (20 กรกฎาคม 2560) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการอํานวยการจัดทําตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2560 ว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยที่สืบทอดมายาวนานให้เป็นสมบัติของชาติ ตั้งแต่ปี 2542 ถึงปัจจุบัน ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ทั้งสิ้น 12 ฉบับ จํานวน 198 ตําราการแพทย์แผนไทย 14,988 ตํารับ ตามคําแนะนําของคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาไทย อาทิ ตํารับยาแผนไทยในตําราการแพทย์แผนไทยที่จารึกบนศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) และตําราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) ซึ่งเป็นเอกสารโบราณในหอสมุดแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดทําตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ ได้คัดเลือกและกลั่นกรองตํารับยาแผนไทย จากตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ หมอพื้นบ้าน และบัญชียาหลักแห่งชาติ ในรอบ 9 เดือนนี้ มีมติเห็นชอบตํารับยาแผนไทย 4 กลุ่มโรค คือกลุ่มโรคโลหิตระดูสตรี กลุ่มโรคเด็ก กลุ่มโรคลม และกลุ่มโรคไข้ รวม 42 ตํารับ และครบ 100 ตํารับเมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2560 เพื่อนําองค์ความรู้ในตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนําไปบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนของแพทย์แผนไทย เป็นฐานข้อมูลหลักฐานในการตรวจสอบอ้างอิงการขึ้นทะเบียนตํารับยาไทยกับอย. ผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อให้โรงพยาบาลนําไปใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบัน และจัดทําข้อกําหนดมาตรฐานตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ สําหรับตํารับยาแผนไทยที่ได้รับคัดเลือกครั้งนี้ ได้แก่ ย 1.ยาหอมน้อย 2.ยาแก้ตานซาง 3.ยาแก้ทรางเพลิง 4.ยาแผ้วฝ้า 5.ยาแก้คอ แก้ไอ แก้อาเจียน แก้สะอึก 6.ยาแก้ระดูขัด 7.ยาแก้หญิงไม่มีระดูผอมแห้ง 8.ยาศุภมิตร 9.ยาครรภ์รักษา 10.ยาหญิงมีครรภ์ได้ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือนแม่เป็นพรรดึก 11.ยากินเมื่อคลอดลูก 12.ยาแก้อยู่ไฟไม่ได้ 13.ยาจําเริญอายุวัฒนะ 14.ยาหอมทิพโอสถ 15.ยาหอมเทพจิตร 16.ยาหอมนวโกฐ 17.ยาหอมอินทจักร์ 18.ยาจันทลีลา 19.ยาประสะจันทน์แดง 20.ยาแสงหมึก 21.ยาตรีหอม 22.ยาเขียวหอม 23.ยาประสะเปราะใหญ่ 24.ยาประสะกะเพรา 25.ยามหาจักรใหญ่ 26.ยามหานิลแท่งทอง27.ยากําลังราชสีห์ (ยาต้ม) 28.ยากําลังราชสีห์ (ยาผง) 29.ยาบํารุงเลือด 30.ยาต้มบํารุงเลือด 31.ยานนทเสน 32.ยาพรหมพักตร์ 33.ยาผายโลหิต 34.ยาสุวรรณเกษรา 35.ยาประสะไพล 36.ยาประสะผิวมะกรูด 37.ยาแก้ไข้ทับระดู/ระดูทับไข้(ขนานที่ 1) 38.ยาแก้ไข้ทับระดู/ระดูทับไข้(ขนานที่ 2) 39.ยาประสะว่านนางคํา 40.ยาปลูกไฟธาตุ 41.ยาต้มประสะน้ํานม และ42.ยาชําระโลหิตน้ํานม **************************************** 20 กรกฎาคม 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ตั้งเป้าคัด 100 ตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ สู่การใช้ประโยชน์ในปี 2560 วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2560 สธ. ตั้งเป้าคัด 100 ตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ สู่การใช้ประโยชน์ในปี 2560 กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าปี 2560 คัดเลือก 100 ตํารับยา จากตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ รอบ 9 เดือนนี้ เตรียมใช้ประโยชน์ตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ 4 กลุ่มโรค รวม 42 ตํารับ บรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์แผนไทย เป็นฐานข้อมูลประกอบการ ขึ้นทะเบียนของอย. ผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาตินําไปใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันในโรงพยาบาล บ่ายวันนี้ (20 กรกฎาคม 2560) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการอํานวยการจัดทําตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2560 ว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยที่สืบทอดมายาวนานให้เป็นสมบัติของชาติ ตั้งแต่ปี 2542 ถึงปัจจุบัน ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ทั้งสิ้น 12 ฉบับ จํานวน 198 ตําราการแพทย์แผนไทย 14,988 ตํารับ ตามคําแนะนําของคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาไทย อาทิ ตํารับยาแผนไทยในตําราการแพทย์แผนไทยที่จารึกบนศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) และตําราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) ซึ่งเป็นเอกสารโบราณในหอสมุดแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดทําตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ ได้คัดเลือกและกลั่นกรองตํารับยาแผนไทย จากตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ หมอพื้นบ้าน และบัญชียาหลักแห่งชาติ ในรอบ 9 เดือนนี้ มีมติเห็นชอบตํารับยาแผนไทย 4 กลุ่มโรค คือกลุ่มโรคโลหิตระดูสตรี กลุ่มโรคเด็ก กลุ่มโรคลม และกลุ่มโรคไข้ รวม 42 ตํารับ และครบ 100 ตํารับเมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2560 เพื่อนําองค์ความรู้ในตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนําไปบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนของแพทย์แผนไทย เป็นฐานข้อมูลหลักฐานในการตรวจสอบอ้างอิงการขึ้นทะเบียนตํารับยาไทยกับอย. ผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อให้โรงพยาบาลนําไปใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบัน และจัดทําข้อกําหนดมาตรฐานตํารับยาแผนไทยแห่งชาติ สําหรับตํารับยาแผนไทยที่ได้รับคัดเลือกครั้งนี้ ได้แก่ ย 1.ยาหอมน้อย 2.ยาแก้ตานซาง 3.ยาแก้ทรางเพลิง 4.ยาแผ้วฝ้า 5.ยาแก้คอ แก้ไอ แก้อาเจียน แก้สะอึก 6.ยาแก้ระดูขัด 7.ยาแก้หญิงไม่มีระดูผอมแห้ง 8.ยาศุภมิตร 9.ยาครรภ์รักษา 10.ยาหญิงมีครรภ์ได้ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือนแม่เป็นพรรดึก 11.ยากินเมื่อคลอดลูก 12.ยาแก้อยู่ไฟไม่ได้ 13.ยาจําเริญอายุวัฒนะ 14.ยาหอมทิพโอสถ 15.ยาหอมเทพจิตร 16.ยาหอมนวโกฐ 17.ยาหอมอินทจักร์ 18.ยาจันทลีลา 19.ยาประสะจันทน์แดง 20.ยาแสงหมึก 21.ยาตรีหอม 22.ยาเขียวหอม 23.ยาประสะเปราะใหญ่ 24.ยาประสะกะเพรา 25.ยามหาจักรใหญ่ 26.ยามหานิลแท่งทอง27.ยากําลังราชสีห์ (ยาต้ม) 28.ยากําลังราชสีห์ (ยาผง) 29.ยาบํารุงเลือด 30.ยาต้มบํารุงเลือด 31.ยานนทเสน 32.ยาพรหมพักตร์ 33.ยาผายโลหิต 34.ยาสุวรรณเกษรา 35.ยาประสะไพล 36.ยาประสะผิวมะกรูด 37.ยาแก้ไข้ทับระดู/ระดูทับไข้(ขนานที่ 1) 38.ยาแก้ไข้ทับระดู/ระดูทับไข้(ขนานที่ 2) 39.ยาประสะว่านนางคํา 40.ยาปลูกไฟธาตุ 41.ยาต้มประสะน้ํานม และ42.ยาชําระโลหิตน้ํานม **************************************** 20 กรกฎาคม 2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5347
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตรฯ ห่วงใยน้ำแล้ง สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทำงานและดูแลน้ำ อุปโภคบริโภคให้เพียงพอ
วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562 รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตรฯ ห่วงใยน้ําแล้ง สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทํางานและดูแลน้ํา อุปโภคบริโภคให้เพียงพอ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ห่วงใยน้ําแล้ง สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทํางานแก้ปัญหาภัยแล้ง ดูแลน้ําอุปโภคบริโภคให้เพียงพอ ย้ําเร่งประชาสัมพันธ์ประชาชนรับรู้ เตรียมรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและร่วมกันใช้น้ําอย่างประหยัดและรู้คุณค่า วันนี้ (20 ธ.ค.62) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3/2562 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี แผนงานโครงการขนาดใหญ่และโครงการสําคัญ กรอบแนวทางเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การใช้สอยทรัพยากรน้ําสาธารณะของหน่วยงานของรัฐหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 6 วรรคสาม) และร่างคําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัง โดยมีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุมด้วย รองนายกรัฐมนตรี แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2562/2563 พร้อมกําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบและปฏิบัติตามแผนบริหารจัดการน้ําอย่างเคร่งครัด รวมทั้งสั่งการทุกระทรวง ทบวง กรม เตรียมการแก้ปัญหาภัยแล้งที่จะมาถึง โดยให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) บูรณการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนรับมือเตรีมการดําเนินการดังกล่าว พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันรับมือในทุกมิติ รวมถึงร่วมกันประหยัดน้ําและใช้น้ําให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด บริหารจัดการให้น้ําเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค ไม่ให้ส่งผลต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยวันนี้ ที่ประชุม กนช. ได้มีมติเห็นชอบ 4 เรื่อง ได้แก่ 1. แผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี ประกอบด้วย (1)แผนปฏิบัติการด้านการจัดการน้ําเสียชุมชนระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ขององค์การจัดการน้ําเสีย โดยมีแผนปฏิบัติการปี 2564-2580 ที่ส่งเสริมให้มีการจัดสร้างระบบรวบรวมและบําบัดน้ําเสียชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญ (2)โครงการเพื่อการพัฒนา ปี 2562 และ ปี 2563 ของการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบผลิต ระบบส่งน้ํา และระบบจ่ายน้ําประปาในพื้นที่ที่ประสบปัญหา ให้สามารถบริการน้ําประปาแก่ประชาชนได้เพิ่มขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าอย่างพอเพียง รวม 14 โครงการ 2. แผนงานโครงการขนาดใหญ่และโครงการสําคัญ จํานวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนาแหล่งน้ําและการจัดการทรัพยากรน้ํารองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ปี 2563-2580) โดยมีแผนการดําเนินการ ดังนี้ (1) แผนงานพัฒนาแหล่งน้ําต้นทุน ปี 2563-2570 (2) แผนการบริหารจัดการด้านความต้องการใช้น้ํา ปี 2563-2580 (3) แผนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ปี 2563–2580 (4) แผนการจัดการคุณภาพน้ํา ปี 2563–2580 และ (5) มาตรการอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ํา ปี 2563-2580 2) แผนหลักการพัฒนาหนองหาร จ.สกลนคร รวมทั้งสิ้น 65 โครงการ ครอบคลุมการพัฒนา 10 ปี (พ.ศ. 2563-2572) โดยมีแผนงานระยะเร่งด่วน ปี 63 - 65 จํานวน 34 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาขยายเขตเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้าน ก่อสร้างสถานีสูบน้ํารอบหนองหาร ขุดลอกหนองหาร ก่อสร้างระบบระบายน้ําป้องกันพื้นที่ชุมชน เป็นต้น 3) เป้าหมายแผนงานโครงการขนาดใหญ่และโครงการสําคัญ เพิ่มเติมจํานวน 11 โครงการ แบ่งเป็น 5 ประเภท การผันน้ําระหว่างลุ่มน้ําหลัก 1 โครงการ บริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ําน้ํานอง 3 โครงการ แผนหลักการพัฒนาบึงและหนองน้ําธรรมชาติขนาดใหญ่ 3 โครงการ การบรรเทาอุทกภัยเมืองสําคัญ 3 โครงการ และจัดหาแหล่งน้ํารองรับพื้นที่เศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยว 1 โครงการ 3. พิจารณากรอบแนวทางเพื่อการกําหนดหลักเกณฑ์การใช้สอยทรัพยากรน้ําสาธารณะของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 6 วรรคสาม) เช่น ด้านการจัดทําแผนและติดตามผล ให้มีแผนงานการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบํารุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ําสาธารณะ ทั้งในภาวะปกติ และในภาวะน้ําแล้งหรือภาวะน้ําท่วม โดยให้สอดคล้องกับแผนแม่บทฯในเขตลุ่มน้ําของคณะกรรมการลุ่มน้ํา ที่ผ่านความเห็นชอบของ กนช. และ4. ร่างคําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัด เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วม การบูรณาการระหว่างหน่วยงานจังหวัด ------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตรฯ ห่วงใยน้ำแล้ง สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทำงานและดูแลน้ำ อุปโภคบริโภคให้เพียงพอ วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562 รองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตรฯ ห่วงใยน้ําแล้ง สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทํางานและดูแลน้ํา อุปโภคบริโภคให้เพียงพอ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ห่วงใยน้ําแล้ง สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทํางานแก้ปัญหาภัยแล้ง ดูแลน้ําอุปโภคบริโภคให้เพียงพอ ย้ําเร่งประชาสัมพันธ์ประชาชนรับรู้ เตรียมรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและร่วมกันใช้น้ําอย่างประหยัดและรู้คุณค่า วันนี้ (20 ธ.ค.62) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3/2562 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี แผนงานโครงการขนาดใหญ่และโครงการสําคัญ กรอบแนวทางเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การใช้สอยทรัพยากรน้ําสาธารณะของหน่วยงานของรัฐหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 6 วรรคสาม) และร่างคําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัง โดยมีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุมด้วย รองนายกรัฐมนตรี แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2562/2563 พร้อมกําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบและปฏิบัติตามแผนบริหารจัดการน้ําอย่างเคร่งครัด รวมทั้งสั่งการทุกระทรวง ทบวง กรม เตรียมการแก้ปัญหาภัยแล้งที่จะมาถึง โดยให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) บูรณการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนรับมือเตรีมการดําเนินการดังกล่าว พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันรับมือในทุกมิติ รวมถึงร่วมกันประหยัดน้ําและใช้น้ําให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด บริหารจัดการให้น้ําเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค ไม่ให้ส่งผลต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยวันนี้ ที่ประชุม กนช. ได้มีมติเห็นชอบ 4 เรื่อง ได้แก่ 1. แผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี ประกอบด้วย (1)แผนปฏิบัติการด้านการจัดการน้ําเสียชุมชนระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ขององค์การจัดการน้ําเสีย โดยมีแผนปฏิบัติการปี 2564-2580 ที่ส่งเสริมให้มีการจัดสร้างระบบรวบรวมและบําบัดน้ําเสียชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญ (2)โครงการเพื่อการพัฒนา ปี 2562 และ ปี 2563 ของการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบผลิต ระบบส่งน้ํา และระบบจ่ายน้ําประปาในพื้นที่ที่ประสบปัญหา ให้สามารถบริการน้ําประปาแก่ประชาชนได้เพิ่มขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าอย่างพอเพียง รวม 14 โครงการ 2. แผนงานโครงการขนาดใหญ่และโครงการสําคัญ จํานวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนาแหล่งน้ําและการจัดการทรัพยากรน้ํารองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ปี 2563-2580) โดยมีแผนการดําเนินการ ดังนี้ (1) แผนงานพัฒนาแหล่งน้ําต้นทุน ปี 2563-2570 (2) แผนการบริหารจัดการด้านความต้องการใช้น้ํา ปี 2563-2580 (3) แผนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ปี 2563–2580 (4) แผนการจัดการคุณภาพน้ํา ปี 2563–2580 และ (5) มาตรการอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ํา ปี 2563-2580 2) แผนหลักการพัฒนาหนองหาร จ.สกลนคร รวมทั้งสิ้น 65 โครงการ ครอบคลุมการพัฒนา 10 ปี (พ.ศ. 2563-2572) โดยมีแผนงานระยะเร่งด่วน ปี 63 - 65 จํานวน 34 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาขยายเขตเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้าน ก่อสร้างสถานีสูบน้ํารอบหนองหาร ขุดลอกหนองหาร ก่อสร้างระบบระบายน้ําป้องกันพื้นที่ชุมชน เป็นต้น 3) เป้าหมายแผนงานโครงการขนาดใหญ่และโครงการสําคัญ เพิ่มเติมจํานวน 11 โครงการ แบ่งเป็น 5 ประเภท การผันน้ําระหว่างลุ่มน้ําหลัก 1 โครงการ บริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ําน้ํานอง 3 โครงการ แผนหลักการพัฒนาบึงและหนองน้ําธรรมชาติขนาดใหญ่ 3 โครงการ การบรรเทาอุทกภัยเมืองสําคัญ 3 โครงการ และจัดหาแหล่งน้ํารองรับพื้นที่เศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยว 1 โครงการ 3. พิจารณากรอบแนวทางเพื่อการกําหนดหลักเกณฑ์การใช้สอยทรัพยากรน้ําสาธารณะของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 6 วรรคสาม) เช่น ด้านการจัดทําแผนและติดตามผล ให้มีแผนงานการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบํารุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ําสาธารณะ ทั้งในภาวะปกติ และในภาวะน้ําแล้งหรือภาวะน้ําท่วม โดยให้สอดคล้องกับแผนแม่บทฯในเขตลุ่มน้ําของคณะกรรมการลุ่มน้ํา ที่ผ่านความเห็นชอบของ กนช. และ4. ร่างคําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัด เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วม การบูรณาการระหว่างหน่วยงานจังหวัด ------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25370
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนรม. พล.อ.ประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 3/2561
วันพุธที่ 18 เมษายน 2561 รองนรม. พล.อ.ประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 3/2561 ที่ประชุม กกท. มีมติอนุมัติในหลักการให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดําเนินการนําเงินค่าที่พักที่ได้รับจากสมัชชาสหพันธ์นานาชาติ ไปเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าที่พัก) ในการจัดประชุม Sport Accord Convention 2018 วันนี้ (18 เมษายน 2561) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 3/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบการทบทวนแผนการดําเนินงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย ประจําปีงบประมาณ 2561 โดยให้มีการนําระบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ซึ่งส่งผลให้การกํากับดูแล เพื่อติตามผลการดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามที่กําหนดไว้ พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบประกาศกําหนดชนิดกีฬาที่สามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา เพิ่มเติม ได้แก่ กีฬาปาเป้า (ดาร์ท : Darts) เป็นเกมปาลูกดอกให้เข้าเป้าที่แขวนยึดไว้กับผนัง ถึงแม้ว่าในอดีตเป้าปาลูกดอกจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ในปัจจุบันเกมปาเป้ามีมาตรฐานในการเล่นเกม โดยมีเป้าที่ออกแบบมาเป็นการเฉพาะและมีกฎกติกาในการเล่น อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมแข่งขันระดับอาชีพอีกด้วย ซึ่งเคยจัดแข่งขันกีฬาดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมาแล้ว นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและอนุมัติในหลักการให้การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดําเนินการนําเงินค่าที่พักที่ได้รับจาก Sport Accord (สมัชชาสหพันธ์กีฬานานาชาติ) ไปเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าที่พัก) ในการจัดประชุม Sport Accord Convention 2018 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-20 เมษายน 2561 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ พร้อมรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดประชุมดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,900 คน จากองค์กรกีฬาระหว่างประเทศทั่วโลก จํานวน 65 ประเทศ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีขององค์กรกีฬาฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กําหนดไว้ต่อไป ................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนรม. พล.อ.ประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 3/2561 วันพุธที่ 18 เมษายน 2561 รองนรม. พล.อ.ประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 3/2561 ที่ประชุม กกท. มีมติอนุมัติในหลักการให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดําเนินการนําเงินค่าที่พักที่ได้รับจากสมัชชาสหพันธ์นานาชาติ ไปเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าที่พัก) ในการจัดประชุม Sport Accord Convention 2018 วันนี้ (18 เมษายน 2561) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ครั้งที่ 3/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบการทบทวนแผนการดําเนินงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย ประจําปีงบประมาณ 2561 โดยให้มีการนําระบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ซึ่งส่งผลให้การกํากับดูแล เพื่อติตามผลการดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามที่กําหนดไว้ พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบประกาศกําหนดชนิดกีฬาที่สามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬา เพิ่มเติม ได้แก่ กีฬาปาเป้า (ดาร์ท : Darts) เป็นเกมปาลูกดอกให้เข้าเป้าที่แขวนยึดไว้กับผนัง ถึงแม้ว่าในอดีตเป้าปาลูกดอกจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ในปัจจุบันเกมปาเป้ามีมาตรฐานในการเล่นเกม โดยมีเป้าที่ออกแบบมาเป็นการเฉพาะและมีกฎกติกาในการเล่น อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมแข่งขันระดับอาชีพอีกด้วย ซึ่งเคยจัดแข่งขันกีฬาดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมาแล้ว นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและอนุมัติในหลักการให้การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดําเนินการนําเงินค่าที่พักที่ได้รับจาก Sport Accord (สมัชชาสหพันธ์กีฬานานาชาติ) ไปเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าที่พัก) ในการจัดประชุม Sport Accord Convention 2018 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-20 เมษายน 2561 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ พร้อมรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดประชุมดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,900 คน จากองค์กรกีฬาระหว่างประเทศทั่วโลก จํานวน 65 ประเทศ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีขององค์กรกีฬาฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กําหนดไว้ต่อไป ................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11569
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานและมอบถ้วยรางวัลในการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ MOE CUP ครั้งที่ ๒
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานและมอบถ้วยรางวัลในการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ MOE CUP ครั้งที่ ๒ เผยประสบความสําเร็จสูง หวังเยาวชนรู้รัก สามัคคี มีน้ําใจนักกีฬา พร้อมสานฝันแข่งขันในระดับสูงขึ้น ๘-๑๐ มี.ค. จ.สงขลา พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานและมอบถ้วยรางวัลในการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ MOE CUP ครั้งที่ ๒ เผยประสบความสําเร็จสูง หวังเยาวชนรู้รัก สามัคคี มีน้ําใจนักกีฬา พร้อมสานฝันแข่งขันในระดับสูงขึ้น ๘-๑๐ มี.ค. จ.สงขลา เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ที่สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการมอบถ้วยรางวัลในโครงการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ MOU CUP ครั้งที่ ๒ ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๑ โดยมีนักเรียน นักศึกษาจากโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และ ๔ อําเภอในจังหวัดสงขลา โดยมีการแข่งขันกีฬาหลายชนิดกีฬา ทั้งวอลเลย์บอล ฟุตซอล และฟุตบอล ทั้งประเภทชายและหญิง เพื่อส่งเสริมให้นัดเรียนนักศึกษาได้มีการพัฒนาทักษะกีฬา เสริมสร้างประสบการณ์ในการแข่งขันกีฬา ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเพื่อสร้างความรัก ความสามัคคีให้แก่เยาวชน นอกจากนี้ยังเพื่อนักเรียน นักศึกษาได้รับการพัฒนาตนเองไปสู่การแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นในอนาคต นอกจากนี้โรงเรียนที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอล ได้รับถ้วยรางวัลและเงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐ บาท จากหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลคือ โรงเรียนสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส นอกจากนี้ยังมีรางวัลนักเตะยอดเยี่ยม นักเตะยอดเยี่ยม อีกด้วย การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ถือว่าประสบความสําเร็จอย่างยอดเยี่ยม โดยดําเนินการเป็นครั้งที่ ๒ ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลมอบให้กระทรวงศึกษาปฏิบัติโดยการนําการกีฬาเช้าสู่การศึกษา ในหลากหลายรูปแบบทั้งการส่งเสริมให้เล่นกีฬาทั้งในโรงเรียนและชุมชน การจัดโครงการให้นักเรียนเข้าสู่โครงการ อย่างโครงการสานฝันเพื่อการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้จะมีการแข่งขันให้ได้แสดงออกถึงความสามารถ ความรู้รักสามัคคีร่วมกัน รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีคุณภาพและเป็นคนที่มีคุณภาพในอนาคตข้างหน้าแก่สังคม พลเอกสุรเชษฐ์กล่าว ทั้งนี้การแข่งขันฟุตบอลในรุ่น 18 ปีจะมีการจัดการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้น สมาคมสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจัดแข่งขันฟุตบอลที่สนาม ติณณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา เพื่อชิงถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรี ในวันที่ ๘ มีนาคมเป็นการแข่งขันรอบตัดเชือก และในวันที่ ๑๐ มีนาคมจะเป็นรอบชิงชนะเลิศ โดยจะมีการแข่งขันนัดพิเศษจากทีมหมูป่า อะคาเดมี่ จ.เชียงราย กับโรงเรียนมหาวชิราวุธ รุ่น 15 ปี ถือว่าเป็นการแข่งขันที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อการศึกษา ขอเชิญชมและขอให้ทุกคนให้การสนับสนุนในกิจกรรมดังกล่าวด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานและมอบถ้วยรางวัลในการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ MOE CUP ครั้งที่ ๒ วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานและมอบถ้วยรางวัลในการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ MOE CUP ครั้งที่ ๒ เผยประสบความสําเร็จสูง หวังเยาวชนรู้รัก สามัคคี มีน้ําใจนักกีฬา พร้อมสานฝันแข่งขันในระดับสูงขึ้น ๘-๑๐ มี.ค. จ.สงขลา พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานและมอบถ้วยรางวัลในการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ MOE CUP ครั้งที่ ๒ เผยประสบความสําเร็จสูง หวังเยาวชนรู้รัก สามัคคี มีน้ําใจนักกีฬา พร้อมสานฝันแข่งขันในระดับสูงขึ้น ๘-๑๐ มี.ค. จ.สงขลา เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ที่สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการมอบถ้วยรางวัลในโครงการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ MOU CUP ครั้งที่ ๒ ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๑ โดยมีนักเรียน นักศึกษาจากโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และ ๔ อําเภอในจังหวัดสงขลา โดยมีการแข่งขันกีฬาหลายชนิดกีฬา ทั้งวอลเลย์บอล ฟุตซอล และฟุตบอล ทั้งประเภทชายและหญิง เพื่อส่งเสริมให้นัดเรียนนักศึกษาได้มีการพัฒนาทักษะกีฬา เสริมสร้างประสบการณ์ในการแข่งขันกีฬา ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเพื่อสร้างความรัก ความสามัคคีให้แก่เยาวชน นอกจากนี้ยังเพื่อนักเรียน นักศึกษาได้รับการพัฒนาตนเองไปสู่การแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นในอนาคต นอกจากนี้โรงเรียนที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอล ได้รับถ้วยรางวัลและเงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐ บาท จากหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลคือ โรงเรียนสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส นอกจากนี้ยังมีรางวัลนักเตะยอดเยี่ยม นักเตะยอดเยี่ยม อีกด้วย การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ถือว่าประสบความสําเร็จอย่างยอดเยี่ยม โดยดําเนินการเป็นครั้งที่ ๒ ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลมอบให้กระทรวงศึกษาปฏิบัติโดยการนําการกีฬาเช้าสู่การศึกษา ในหลากหลายรูปแบบทั้งการส่งเสริมให้เล่นกีฬาทั้งในโรงเรียนและชุมชน การจัดโครงการให้นักเรียนเข้าสู่โครงการ อย่างโครงการสานฝันเพื่อการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้จะมีการแข่งขันให้ได้แสดงออกถึงความสามารถ ความรู้รักสามัคคีร่วมกัน รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีคุณภาพและเป็นคนที่มีคุณภาพในอนาคตข้างหน้าแก่สังคม พลเอกสุรเชษฐ์กล่าว ทั้งนี้การแข่งขันฟุตบอลในรุ่น 18 ปีจะมีการจัดการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้น สมาคมสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจัดแข่งขันฟุตบอลที่สนาม ติณณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา เพื่อชิงถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรี ในวันที่ ๘ มีนาคมเป็นการแข่งขันรอบตัดเชือก และในวันที่ ๑๐ มีนาคมจะเป็นรอบชิงชนะเลิศ โดยจะมีการแข่งขันนัดพิเศษจากทีมหมูป่า อะคาเดมี่ จ.เชียงราย กับโรงเรียนมหาวชิราวุธ รุ่น 15 ปี ถือว่าเป็นการแข่งขันที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อการศึกษา ขอเชิญชมและขอให้ทุกคนให้การสนับสนุนในกิจกรรมดังกล่าวด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18805
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับประชาชนผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 20.15 น. ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทย “ในน้ํามีปลา ในนามีข้าว” ประชากรกว่า 30 ล้านคน หรือเกือบ 50% ของคนทั้งประเทศ มีอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรกรรม ทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และทําประมง เชื่อมโยงกันเป็น “ห่วงโซ่” ตั้งแต่ผู้ผลิต – อุตสาหกรรมแปรรูป – ไปจนถึงการค้าขาย ส่งออก ไปสู่ตลาดภายในและภายนอกประเทศ แต่ทําไมปัญหาชาวนาไทย ชาวสวน ชาวประมง ยังคงอยู่กับ “ฝันร้าย” ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ําบ้าง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ น้ําท่วม ฝนแล้ง แมลงลง โรคระบาดบ้าง เป็นหนี้เป็นสิน ต้องเช่าที่ดินของตนเองทํากินบ้าง ผลผลิตน้อยไม่คุ้มค่าเหนื่อยบ้าง เหล่านี้ คือ “ความเสี่ยง – ความมั่นคง” ในชีวิตและอาชีพของพี้น้องเกษตรกรไทย ดังนั้น ทั้งข้าราชการที่นํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยต้องสร้างการรับรู้ ทําความเข้าใจ ภาคเอกชน – ผู้ประกอบการ ต้องปรับตัว ร่วมมือ สนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ในรูปแบบ “ประชารัฐ” เพราะเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่การผลิต – แปรรูป – การตลาดของเกษตรกรรมไทย รวมไปถึงนักวิชาการเกษตรที่เป็น “แหล่งความรู้” และธนาคารที่เป็น “แหล่งเงินทุน” ที่จะคอยส่งเสริมการยกระดับอาชีพเกษตรกรเช่นกัน สําหรับนโยบายหลักด้านการเกษตร คือ “ตลาดนําการผลิต” กําหนด “โควตาเกษตรกรรม” ด้วยการอาศัยข้อมูลของ (1) พื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ (2) ความอุดมสมบูรณ์ของน้ํา (3) ลักษณะของดิน และ (4) ความต้องการของตลาดในประเทศและนอกประเทศ เช่น ที่ลุ่ม + น้ําดี ก็ควรปลูกข้าว ส่วนที่ลุ่มๆ ดอนๆ แถมน้ําน้อย หันไปปลูกข้าวโพดก็ได้ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการมาก ราว 4 ล้านตัน การแก้ไขที่ยั่งยืน คือ การจํากัดพื้นที่การปลูกข้าว ร่วมกับการส่งเสริมพันธุ์ข้าวที่ราคาดี เป็นความต้องการของตลาด เช่น ข้าวหอมมะลิที่ทั่วโลกนิยม ข้าว กข 43 ซึ่งมีดัชนีน้ําตาลต่ํา เป็นอาหารสุขภาพ เหมาะสําหรับผู้ต้องการควบคุมปริมาณน้ําตาลในเลือด และผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงข้าวที่ปลูกแบบอินทรีย์ ซึ่งขายได้ราคาสูงกว่าข้าวที่ใช้สารเคมีหลายเท่าตัว เป็นต้น ดังนั้น การส่งเสริมไม่เพียงแนะนําแต่เรื่องการเพาะปลูก แต่จะต้องดูเรื่องดิน – น้ํา – อากาศ – ไปจนถึงตลาดด้วย ซึ่งต้องพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Big Data) และมีแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) บูรณาการกันทั้งเกษตร – พาณิชย์ – นายอําเภอ – ธ.ก.ส. – พัฒนาที่ดิน ตลาดต่างประเทศ “ทูตเกษตร” กับ “ทูตพาณิชย์” ก็ต้องทํางานคู่ขนานกัน ออกสํารวจความต้องการตลาด และขยายตลาดทั่วโลกเพิ่ม ทั้งนี้ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) และระบบส่งเสริมการแบบแปลงใหญ่ เป็นเครื่องมือสําคัญในการสร้าง Smart Farmers และเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสถาบันเกษตรกรที่เข้มแข็ง เป็นสหกรณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชน เน้นการนํานวัตกรรมมาปรับใช้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต ปรับตัวไปสู่การค้าออนไลน์ – ตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยให้ความสําคัญกับมาตรฐาน GAP พืชอาหาร คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของเกษตรกรด้วย ยึดหลัก Smart & Strong together หรือ “ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทํา ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับประโยชน์ นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับอีก 2 เรื่อง คือ 1 การป้องกันความเสี่ยง ด้วย “การประกันพืชผล” จัดสรรแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ําจาก ธ.ก.ส. และรัฐจ่ายค่าเบี้ยประกันราคาถูกให้ (65 บาทต่อไร่) เมื่อเกิดภัยพิบัติ น้ําท่วม น้ําแล้ง โรคหรือแมลงลง รัฐจ่าย 1,000 กว่าบาทต่อไร่ และบริษัทประกันภัยก็ร่วมจ่าย 1,500 บาทต่อไร่ 2. หนี้สินเกษตรกร สาเหตุของการสูญเสียที่ดินทํากินของเกษตรกร เนื่องจากการกู้เงินนอกระบบ ไม่มีการคุ้มครอง ขาดความรู้ทางกฎหมาย รัฐบาลแก้ไขอย่างยั่งยืน โดยการผลักดันกฎหมายขายฝาก ใช้มาตรการไกล่เกลี่ยและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม สามารถส่งคืนทรัพย์สินให้กับประชาชนเกือบ 17,000 ราย มูลค่ารวม 19,000 ล้านบาท เป็นโฉนดที่ดิน 13,600 ฉบับ เนื้อที่รวม 43,000 ไร่ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงโครงการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจในอนาคต ได้แก่ (1) โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เป็นการพัฒนาภูมิภาค เพื่อกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ต่างๆ ของประเทศ เช่นเดียวกับ EEC และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อีก 10 แห่ง ทั่วประเทศ (2) โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ซึ่งเป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จแบบครบวงจร ด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม บนพื้นฐานของพืชผลทางการเกษตร ภายใต้นโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” จะผลักดันให้ขับเคลื่อนและส่งออกนวัตกรรม โดยในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาฝุ่นละออง เกินมาตรฐาน PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะเด็กนักเรียน ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจําตัว โรคภูมิแพ้ ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ หรือเพิกเฉยต่อปัญหา มีการใช้มาตรการจาก “เบาไปหาหนัก” เพื่อไม่ไปกระทบกับการใช้ชีวิตโดยปกติของประชาชน วันนี้ สังคมต้องเรียนรู้กับปัญหาร่วมกันแล้ว รัฐบาลมีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อเน้นการแก้ปัญหาที่ “ต้นตอ” โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดก็ขอความร่วมมือ ร่วมใจกัน จากทุกภาคส่วน ในการแก้ปัญหานี้ร่วมกันให้ได้อย่างยั่งยืน ........................................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับประชาชนผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 20.15 น. ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทย “ในน้ํามีปลา ในนามีข้าว” ประชากรกว่า 30 ล้านคน หรือเกือบ 50% ของคนทั้งประเทศ มีอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรกรรม ทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และทําประมง เชื่อมโยงกันเป็น “ห่วงโซ่” ตั้งแต่ผู้ผลิต – อุตสาหกรรมแปรรูป – ไปจนถึงการค้าขาย ส่งออก ไปสู่ตลาดภายในและภายนอกประเทศ แต่ทําไมปัญหาชาวนาไทย ชาวสวน ชาวประมง ยังคงอยู่กับ “ฝันร้าย” ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ําบ้าง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ น้ําท่วม ฝนแล้ง แมลงลง โรคระบาดบ้าง เป็นหนี้เป็นสิน ต้องเช่าที่ดินของตนเองทํากินบ้าง ผลผลิตน้อยไม่คุ้มค่าเหนื่อยบ้าง เหล่านี้ คือ “ความเสี่ยง – ความมั่นคง” ในชีวิตและอาชีพของพี้น้องเกษตรกรไทย ดังนั้น ทั้งข้าราชการที่นํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยต้องสร้างการรับรู้ ทําความเข้าใจ ภาคเอกชน – ผู้ประกอบการ ต้องปรับตัว ร่วมมือ สนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ในรูปแบบ “ประชารัฐ” เพราะเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่การผลิต – แปรรูป – การตลาดของเกษตรกรรมไทย รวมไปถึงนักวิชาการเกษตรที่เป็น “แหล่งความรู้” และธนาคารที่เป็น “แหล่งเงินทุน” ที่จะคอยส่งเสริมการยกระดับอาชีพเกษตรกรเช่นกัน สําหรับนโยบายหลักด้านการเกษตร คือ “ตลาดนําการผลิต” กําหนด “โควตาเกษตรกรรม” ด้วยการอาศัยข้อมูลของ (1) พื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ (2) ความอุดมสมบูรณ์ของน้ํา (3) ลักษณะของดิน และ (4) ความต้องการของตลาดในประเทศและนอกประเทศ เช่น ที่ลุ่ม + น้ําดี ก็ควรปลูกข้าว ส่วนที่ลุ่มๆ ดอนๆ แถมน้ําน้อย หันไปปลูกข้าวโพดก็ได้ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการมาก ราว 4 ล้านตัน การแก้ไขที่ยั่งยืน คือ การจํากัดพื้นที่การปลูกข้าว ร่วมกับการส่งเสริมพันธุ์ข้าวที่ราคาดี เป็นความต้องการของตลาด เช่น ข้าวหอมมะลิที่ทั่วโลกนิยม ข้าว กข 43 ซึ่งมีดัชนีน้ําตาลต่ํา เป็นอาหารสุขภาพ เหมาะสําหรับผู้ต้องการควบคุมปริมาณน้ําตาลในเลือด และผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงข้าวที่ปลูกแบบอินทรีย์ ซึ่งขายได้ราคาสูงกว่าข้าวที่ใช้สารเคมีหลายเท่าตัว เป็นต้น ดังนั้น การส่งเสริมไม่เพียงแนะนําแต่เรื่องการเพาะปลูก แต่จะต้องดูเรื่องดิน – น้ํา – อากาศ – ไปจนถึงตลาดด้วย ซึ่งต้องพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Big Data) และมีแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) บูรณาการกันทั้งเกษตร – พาณิชย์ – นายอําเภอ – ธ.ก.ส. – พัฒนาที่ดิน ตลาดต่างประเทศ “ทูตเกษตร” กับ “ทูตพาณิชย์” ก็ต้องทํางานคู่ขนานกัน ออกสํารวจความต้องการตลาด และขยายตลาดทั่วโลกเพิ่ม ทั้งนี้ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) และระบบส่งเสริมการแบบแปลงใหญ่ เป็นเครื่องมือสําคัญในการสร้าง Smart Farmers และเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสถาบันเกษตรกรที่เข้มแข็ง เป็นสหกรณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชน เน้นการนํานวัตกรรมมาปรับใช้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต ปรับตัวไปสู่การค้าออนไลน์ – ตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยให้ความสําคัญกับมาตรฐาน GAP พืชอาหาร คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของเกษตรกรด้วย ยึดหลัก Smart & Strong together หรือ “ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทํา ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับประโยชน์ นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับอีก 2 เรื่อง คือ 1 การป้องกันความเสี่ยง ด้วย “การประกันพืชผล” จัดสรรแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ําจาก ธ.ก.ส. และรัฐจ่ายค่าเบี้ยประกันราคาถูกให้ (65 บาทต่อไร่) เมื่อเกิดภัยพิบัติ น้ําท่วม น้ําแล้ง โรคหรือแมลงลง รัฐจ่าย 1,000 กว่าบาทต่อไร่ และบริษัทประกันภัยก็ร่วมจ่าย 1,500 บาทต่อไร่ 2. หนี้สินเกษตรกร สาเหตุของการสูญเสียที่ดินทํากินของเกษตรกร เนื่องจากการกู้เงินนอกระบบ ไม่มีการคุ้มครอง ขาดความรู้ทางกฎหมาย รัฐบาลแก้ไขอย่างยั่งยืน โดยการผลักดันกฎหมายขายฝาก ใช้มาตรการไกล่เกลี่ยและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม สามารถส่งคืนทรัพย์สินให้กับประชาชนเกือบ 17,000 ราย มูลค่ารวม 19,000 ล้านบาท เป็นโฉนดที่ดิน 13,600 ฉบับ เนื้อที่รวม 43,000 ไร่ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงโครงการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจในอนาคต ได้แก่ (1) โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เป็นการพัฒนาภูมิภาค เพื่อกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ต่างๆ ของประเทศ เช่นเดียวกับ EEC และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อีก 10 แห่ง ทั่วประเทศ (2) โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ซึ่งเป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จแบบครบวงจร ด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม บนพื้นฐานของพืชผลทางการเกษตร ภายใต้นโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” จะผลักดันให้ขับเคลื่อนและส่งออกนวัตกรรม โดยในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาฝุ่นละออง เกินมาตรฐาน PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะเด็กนักเรียน ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจําตัว โรคภูมิแพ้ ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ หรือเพิกเฉยต่อปัญหา มีการใช้มาตรการจาก “เบาไปหาหนัก” เพื่อไม่ไปกระทบกับการใช้ชีวิตโดยปกติของประชาชน วันนี้ สังคมต้องเรียนรู้กับปัญหาร่วมกันแล้ว รัฐบาลมีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อเน้นการแก้ปัญหาที่ “ต้นตอ” โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดก็ขอความร่วมมือ ร่วมใจกัน จากทุกภาคส่วน ในการแก้ปัญหานี้ร่วมกันให้ได้อย่างยั่งยืน ........................................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18539
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงการคลังจับมือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All”
วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2560 กระทรวงการคลังจับมือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” กระทรวงการคลัง โดย ธอส. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดย กคช. และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” กระทรวงการคลัง โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ (กคช.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” รวมทั้งเว็บไซต์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้แล้วตั้งแต่วันนี้ (16 พฤษภาคม 2560) เป็นต้นไป หวังนําผลสํารวจไปจัดทําฐานข้อมูลในการวางแผนพัฒนาปริมาณที่อยู่อาศัยใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน พร้อมเตรียมแคมเปญสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยพิเศษมอบให้ผู้ที่ร่วมตอบแบบสํารวจ พลตํารวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ํา และสร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการและบริหารของรัฐ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาส เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงได้กําหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ซึ่งมีเป้าหมายสําคัญประการหนึ่งในการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชนให้มีที่อยู่อาศัย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเพื่อเป็นการนํานโยบายมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อยของประเทศ จึงได้จัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) เพื่อใช้เป็นกรอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะยาวโดยบูรณาการความร่วมมือในการดําเนินงานกับภาคีทุกภาคส่วน ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในปี 2579 : Smart Housing” ซึ่งการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงการคลัง โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดทํา “โครงการแอพพลิเคชั่นคนไทยมีบ้าน : Home for All” เพื่อสํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” ที่ App Store (ระบบปฏิบัติการ iOS) และ Play Store (ระบบปฏิบัติการ Android) เพื่อกรอกแบบสํารวจผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ท หรือกรอกแบบสํารวจผ่านระบบอินเตอร์เน็ทบนคอมพิวเตอร์ได้ที่เว็บไซต์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ www.ghbank.co.th และเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ www.reic.or.th ขณะเดียวกัน การเคหะแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ซึ่งมีพันธกิจเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย จะนําผลสํารวจที่ได้ไปจัดทําเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์ วางแผนในการพัฒนาปริมาณที่อยู่อาศัยใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในแต่ละกลุ่ม มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ช่วยให้คนไทยได้มีบ้านอย่างทั่วถึงต่อไป ด้านนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานดําเนินการสํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรมจากประชาชนทั่วประเทศผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทย มีบ้าน : Home for All” ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่น และความพยายามของรัฐบาลในการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเท่าเทียม โดย ธอส.เป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นรวมทั้งดําเนินการด้านเทคนิคเพื่อให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นสํารวจและจัดเก็บข้อมูล จากนั้นศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ จะสรุปภาพรวมรายงานต่อกระทรวงการคลัง และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรายสัปดาห์ และรายเดือน พร้อมนํามาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับข้อมูลด้านอุปทานที่มีอยู่ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนําผลเข้าเสนอต่อคณะกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และนําไปจัดทําเป็นข้อเสนอในการจัดหาอุปทานที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตามแนวทางประชารัฐได้อย่างสมบูรณ์อีกทางหนึ่งด้วย ขณะที่นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า เมื่อประชาชนดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” แล้วจะสามารถเข้าไปตอบแบบสํารวจผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ทได้ทันที ซึ่งผู้ที่ตอบแบบสํารวจจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน วงเงินสินเชื่อที่ต้องการ ความสามารถในการผ่อนชําระสินเชื่อ วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ ช่วงเวลา(ปี)ที่ต้องการมีบ้าน รวมถึงทําเลที่อยู่อาศัยที่ต้องการ และเมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนจะได้รับรหัส หรือ QR Code สําหรับนํามาติดต่อกับธนาคารเพื่อขอรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสม สิทธิพิเศษเพื่อการมีบ้านในอนาคต หรือคําแนะนําเพิ่มเติมได้ที่ ธอส.ทุกสาขาทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ธอส. ยังสามารถนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวางแผนทางการเงินและพัฒนานวัตกรรมด้านสินเชื่อที่อาศัยที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อไป ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดและกรอกแบบสํารวจในแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” รวมถึงที่เว็บไซต์ www.ghbank.co.th และ www.reic.or.th ได้แล้วตั้งแต่วันนี้(16 พฤษภาคม 2560) เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงการคลังจับมือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2560 กระทรวงการคลังจับมือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” กระทรวงการคลัง โดย ธอส. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดย กคช. และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” กระทรวงการคลัง โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ (กคช.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” รวมทั้งเว็บไซต์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้แล้วตั้งแต่วันนี้ (16 พฤษภาคม 2560) เป็นต้นไป หวังนําผลสํารวจไปจัดทําฐานข้อมูลในการวางแผนพัฒนาปริมาณที่อยู่อาศัยใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน พร้อมเตรียมแคมเปญสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยพิเศษมอบให้ผู้ที่ร่วมตอบแบบสํารวจ พลตํารวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ํา และสร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการและบริหารของรัฐ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาส เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงได้กําหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ซึ่งมีเป้าหมายสําคัญประการหนึ่งในการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชนให้มีที่อยู่อาศัย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเพื่อเป็นการนํานโยบายมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อยของประเทศ จึงได้จัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) เพื่อใช้เป็นกรอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะยาวโดยบูรณาการความร่วมมือในการดําเนินงานกับภาคีทุกภาคส่วน ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในปี 2579 : Smart Housing” ซึ่งการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงการคลัง โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดทํา “โครงการแอพพลิเคชั่นคนไทยมีบ้าน : Home for All” เพื่อสํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” ที่ App Store (ระบบปฏิบัติการ iOS) และ Play Store (ระบบปฏิบัติการ Android) เพื่อกรอกแบบสํารวจผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ท หรือกรอกแบบสํารวจผ่านระบบอินเตอร์เน็ทบนคอมพิวเตอร์ได้ที่เว็บไซต์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ www.ghbank.co.th และเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ www.reic.or.th ขณะเดียวกัน การเคหะแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ซึ่งมีพันธกิจเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย จะนําผลสํารวจที่ได้ไปจัดทําเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์ วางแผนในการพัฒนาปริมาณที่อยู่อาศัยใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในแต่ละกลุ่ม มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ช่วยให้คนไทยได้มีบ้านอย่างทั่วถึงต่อไป ด้านนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานดําเนินการสํารวจความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรมจากประชาชนทั่วประเทศผ่านแอพพลิเคชั่น “คนไทย มีบ้าน : Home for All” ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่น และความพยายามของรัฐบาลในการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเท่าเทียม โดย ธอส.เป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นรวมทั้งดําเนินการด้านเทคนิคเพื่อให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นสํารวจและจัดเก็บข้อมูล จากนั้นศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ จะสรุปภาพรวมรายงานต่อกระทรวงการคลัง และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรายสัปดาห์ และรายเดือน พร้อมนํามาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับข้อมูลด้านอุปทานที่มีอยู่ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนําผลเข้าเสนอต่อคณะกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และนําไปจัดทําเป็นข้อเสนอในการจัดหาอุปทานที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตามแนวทางประชารัฐได้อย่างสมบูรณ์อีกทางหนึ่งด้วย ขณะที่นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า เมื่อประชาชนดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” แล้วจะสามารถเข้าไปตอบแบบสํารวจผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ทได้ทันที ซึ่งผู้ที่ตอบแบบสํารวจจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน วงเงินสินเชื่อที่ต้องการ ความสามารถในการผ่อนชําระสินเชื่อ วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ ช่วงเวลา(ปี)ที่ต้องการมีบ้าน รวมถึงทําเลที่อยู่อาศัยที่ต้องการ และเมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนจะได้รับรหัส หรือ QR Code สําหรับนํามาติดต่อกับธนาคารเพื่อขอรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสม สิทธิพิเศษเพื่อการมีบ้านในอนาคต หรือคําแนะนําเพิ่มเติมได้ที่ ธอส.ทุกสาขาทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ธอส. ยังสามารถนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวางแผนทางการเงินและพัฒนานวัตกรรมด้านสินเชื่อที่อาศัยที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อไป ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดและกรอกแบบสํารวจในแอพพลิเคชั่น “คนไทยมีบ้าน : Home for All” รวมถึงที่เว็บไซต์ www.ghbank.co.th และ www.reic.or.th ได้แล้วตั้งแต่วันนี้(16 พฤษภาคม 2560) เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3776
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เร่งเดินหน้าจ้างงานคนพิการในหน่วยงานรัฐ
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2561 เร่งเดินหน้าจ้างงานคนพิการในหน่วยงานรัฐ ให้ครบอัตราส่วนตามที่กฎหมายกําหนด คือ ต้องจ้างงานคนพิการ 1 คนต่อจํานวนบุคลากรของหน่วยงาน 100 คน เพื่อให้คนพิการมีอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ เร่งเดินหน้าจ้างงานคนพิการในหน่วยงานรัฐ ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการให้ครบอัตราส่วนตามที่กฎหมายกําหนด คือ ต้องจ้างงานคนพิการ 1 คนต่อจํานวนบุคลากรของหน่วยงาน 100 คน เพื่อให้คนพิการมีอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยในปีนี้หน่วยงานของรัฐมีจํานวนบุคลากรรวมทั้งหมด 1.25 ล้านคน จะต้องจ้างคนพิการให้ได้ 12,500 คน และขณะนี้ได้ดําเนินการว่าจ้างแล้ว 10,031 คน คิดเป็นร้อยละ 80.25 ดังนั้น รัฐบาลจึงตั้งเป้าว่าภายในสิ้นเดือน ก.ย.2561 นี้ จะจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วนตามที่กําหนด สําหรับผู้พิการสามารถหางานได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน หรือ โทร.สายด่วน 1694 เพื่อสอบถามข้อมูล ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เร่งเดินหน้าจ้างงานคนพิการในหน่วยงานรัฐ วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2561 เร่งเดินหน้าจ้างงานคนพิการในหน่วยงานรัฐ ให้ครบอัตราส่วนตามที่กฎหมายกําหนด คือ ต้องจ้างงานคนพิการ 1 คนต่อจํานวนบุคลากรของหน่วยงาน 100 คน เพื่อให้คนพิการมีอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ เร่งเดินหน้าจ้างงานคนพิการในหน่วยงานรัฐ ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการให้ครบอัตราส่วนตามที่กฎหมายกําหนด คือ ต้องจ้างงานคนพิการ 1 คนต่อจํานวนบุคลากรของหน่วยงาน 100 คน เพื่อให้คนพิการมีอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยในปีนี้หน่วยงานของรัฐมีจํานวนบุคลากรรวมทั้งหมด 1.25 ล้านคน จะต้องจ้างคนพิการให้ได้ 12,500 คน และขณะนี้ได้ดําเนินการว่าจ้างแล้ว 10,031 คน คิดเป็นร้อยละ 80.25 ดังนั้น รัฐบาลจึงตั้งเป้าว่าภายในสิ้นเดือน ก.ย.2561 นี้ จะจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วนตามที่กําหนด สําหรับผู้พิการสามารถหางานได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน หรือ โทร.สายด่วน 1694 เพื่อสอบถามข้อมูล ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14843
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถและพระยานมาศ ในพระราชิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2560 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถและพระยานมาศ ในพระราชิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถและพระยานมาศ ในพระราชิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันนี้ (21 กันยายน 2560) เวลา 14.51 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถ และพระยานมาศหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ออกจากโรงราชรถเพื่อใช้ในพระราชิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยมี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คณะกรรมการอํานวยการ และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการกรมศิลปากร จิตอาสา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธี สําหรับพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถ และพระยานมาศหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ออกจากโรงราชรถเพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตามโบราณราชประเพณีและเฉลิมพระเกียรติอย่างสูงสุด โดยพระมหาราชครูพิธีวิสุทธิคุณวิบูลย์เวทย์บรมหงส์ พรหมพงศ์ พฤฒาจารย์ หัวหน้าพราหมณ์หลวง ได้กําหนดเวลาฤกษ์ ในวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2560 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ํา เดือน 11 เวลา 14.51 นาฬิกา ลักนาสถิตราศีธนู เป็นมหัธโนฤกษ์ (แปลว่า คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผุ้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น “บูรณะฤกษ์” เหมาะสําหรับการมงคลต่าง ๆ ) เพื่อบวงสรวงเทพยดาและดวงวิญญาณพระมหากษัตริยาธิราช และครูอาจารย์ที่ประสิทธิ์วิทยาการทุกสาขา ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่ราชรถ และพระยานมาศเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลามหัทธโนฤกษ์ 14.51 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ประจําราชรถได้เคลื่อนขบวนตามลําดับ ดังนี้ 1.ราชรถปืนใหญ่ 2.ราชรถน้อย (9784) และ 3. พระมหาพิชัยราชรถ ---------------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถและพระยานมาศ ในพระราชิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2560 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถและพระยานมาศ ในพระราชิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถและพระยานมาศ ในพระราชิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันนี้ (21 กันยายน 2560) เวลา 14.51 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถ และพระยานมาศหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ออกจากโรงราชรถเพื่อใช้ในพระราชิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยมี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คณะกรรมการอํานวยการ และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการกรมศิลปากร จิตอาสา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธี สําหรับพิธีบวงสรวงการอัญเชิญราชรถ และพระยานมาศหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ออกจากโรงราชรถเพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตามโบราณราชประเพณีและเฉลิมพระเกียรติอย่างสูงสุด โดยพระมหาราชครูพิธีวิสุทธิคุณวิบูลย์เวทย์บรมหงส์ พรหมพงศ์ พฤฒาจารย์ หัวหน้าพราหมณ์หลวง ได้กําหนดเวลาฤกษ์ ในวันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2560 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ํา เดือน 11 เวลา 14.51 นาฬิกา ลักนาสถิตราศีธนู เป็นมหัธโนฤกษ์ (แปลว่า คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผุ้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น “บูรณะฤกษ์” เหมาะสําหรับการมงคลต่าง ๆ ) เพื่อบวงสรวงเทพยดาและดวงวิญญาณพระมหากษัตริยาธิราช และครูอาจารย์ที่ประสิทธิ์วิทยาการทุกสาขา ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่ราชรถ และพระยานมาศเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลามหัทธโนฤกษ์ 14.51 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ประจําราชรถได้เคลื่อนขบวนตามลําดับ ดังนี้ 1.ราชรถปืนใหญ่ 2.ราชรถน้อย (9784) และ 3. พระมหาพิชัยราชรถ ---------------------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6860
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กฤษฎา”ร่วมวงเสวนารวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร
วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2560 “กฤษฎา”ร่วมวงเสวนารวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร “กฤษฎา”ร่วมวงเสวนารวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร ยันรัฐเดินหน้านโยบายเข้มข้นพร้อมดึงเอกชนร่วมสร้างความเชื่อมั่นด้านตลาด มั่นใจขยายพท.เกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศได้อีกกว่า 6 แสนไร่ วันนี้ ( 20 ธ.ค.60 ) เวลา 10.00 น. นายกกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานพิธีเปิด และร่วมเสวนาโครงการ "รวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ณ กลุ่มเกษตรกรทํานานาโส่ ต.นาโส่ อ.กุดชุม จังหวัดยโสธร โดยมีนายนิกร สุกใส ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร กล่าวต้อนรับ พบปะหัวหน้าส่วนราชการและเกษตรกร มอบวงเงินสินเชื่อโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2560/61 ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทํานานาโส่ วงเงิน 20 ล้านบาท กลุ่มสหกรณ์การเกษตรธรรมชาติอินทรีย์หนองยอ วงเงิน 4 ล้านบาท สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ จํากัด วงเงิน 12 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรทํานาบากเรือ วงเงิน 9 ล้านบาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โป้งเสริญ (กุดแข้ด่อน) วงเงิน 1 ล้านบาท จากนั้นได้ร่วมกิจกรรมเสวนา "แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม) นายโจน จันได พ่อมั่น สามสี พ่อบุญส่ง มาตขาว ก่อนตรวจเยี่ยมกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ตรวจเยี่ยมการรับซื้อผลผลิตข้าวอินทรีย์ ของกลุ่มเกษตรกรทํานานาโส่ ตรวจเยี่ยมงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนในช่วงบ่ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ พร้อมคณะได้เดินทางต่อไปยัง สวนตาผอง บ้านสุขเกษม ต.โนนเปือย อ.กุดชุม จ.ยโสธร เพื่อตรวจเยี่ยมงาน Young Smart Farmer และคนกล้าคืนถิ่น (Young Farmer Club) โดยมี นางสาวรสสุคนธ์ สุวรรณเพชร บรรยายสรุป การพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เกิดการยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศถือเป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาล โดยมีแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการเกษตรอินทรีย์ , ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ซึ่งโดยจะใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนและส่งเสริมบูรณการยุทธศาสตร์ทั้งหมดให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มพื้นที่ทําการเกษตรอินทรีย์ได้ถึง 6 แสนไร่ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อให้มีความชัดเจนและแนวทางในการให้ความรู้แก่เกษตรกรที่จะมาใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ไว้แล้ว โดยแบ่งเกษตรกรออกเป็น3 กลุ่มสําคัญ คือ กลุ่มที่ 1 จะเป็นกลุ่มที่รับสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยจะได้รับการสนับสนุนทั้งปัจจัยการผลิตและความรู้เบื้องต้น กลุ่ม 2 จะเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมยกระดับต่อยอดความรู้ที่มีอยู่แล้ว และกลุ่มที่ 3 คือ เกษตรกรที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์แล้ว โดยทั้งหมดภาครัฐจะเข้าไปช่วยเหลือในการหาตลาดและเพิ่มช่องส่งเสริมการขายที่มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นและคุณภาพให้กับสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตออกมา และที่สําคัญที่สุดเพื่อยกระดับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปสู่ระดับที่เข้มข้นมากขึ้น จะต้องมุ่งเน้นไปที่การทํางานร่วมกับเกษตรกรมากยิ่งขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมอันได้แก่การเข้าถึงความรู้และข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสร้างความไว้วางใจและสร้างเครือข่ายกับหุ้นส่วนการพัฒนารายใหม่ๆ ระหว่างเกษตรกรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบธุรกิจเพื่อเอื้อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมไปถึงการสนับสนุนระบบสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง เป็นต้น ซึ่งการที่จะบรรลุผลสําเร็จเหล่านี้ได้ต้องอาศัยเกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรเอกชนทั้งหมดนี้ถือเป็นโอกาสที่จังหวัดยโสธรจะพัฒนาให้เป็น “เมืองเกษตรอินทรีย์” หรือ “Land of Organic” ซึ่งถือเป็นทางเลือกในการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านของคุณภาพชีวิตของเกษตรกร จังหวัดยโสธร ปัจจุบันมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รวมพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั้งสิ้น 134,406.25 ไร่ แบ่งเป็นมาตรฐานสากล จํานวน 54,906.75 ไร่ มาตรฐาน มกษ.9000 จํานวน 55,054.50 ไร่ การรับรองมาตรฐานตามระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS) จํานวน 24,445 ไร่ พืชอื่นๆ เช่น แตงโม ไผ่ กระเจียวหวาน ถั่วลิสง หอมแดง เป็นต้น ไข่ไก่อินทรีย์ จํานวน 74 ราย ประมงอินทรีย์ จํานวน 3 ราย ทั้งนี้ การจัดโครงการ “รวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ให้แพร่หลาย เพิ่มจํานวนเกษตรกรทําอินทรีย์และพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดให้มากขึ้น ที่ครอบคลุมทั้งต้นน้ํา กลางน้ําและปลายน้ํา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเพิ่มขึ้น เกิดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์และความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด โดยผู้ร่วมงานในวันนี้ เป็นเกษตรกรที่ทําเกษตรอินทรีย์ ทั้งกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ จํานวน 300 คน กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กฤษฎา”ร่วมวงเสวนารวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2560 “กฤษฎา”ร่วมวงเสวนารวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร “กฤษฎา”ร่วมวงเสวนารวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร ยันรัฐเดินหน้านโยบายเข้มข้นพร้อมดึงเอกชนร่วมสร้างความเชื่อมั่นด้านตลาด มั่นใจขยายพท.เกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศได้อีกกว่า 6 แสนไร่ วันนี้ ( 20 ธ.ค.60 ) เวลา 10.00 น. นายกกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานพิธีเปิด และร่วมเสวนาโครงการ "รวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ณ กลุ่มเกษตรกรทํานานาโส่ ต.นาโส่ อ.กุดชุม จังหวัดยโสธร โดยมีนายนิกร สุกใส ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร กล่าวต้อนรับ พบปะหัวหน้าส่วนราชการและเกษตรกร มอบวงเงินสินเชื่อโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2560/61 ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทํานานาโส่ วงเงิน 20 ล้านบาท กลุ่มสหกรณ์การเกษตรธรรมชาติอินทรีย์หนองยอ วงเงิน 4 ล้านบาท สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ จํากัด วงเงิน 12 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรทํานาบากเรือ วงเงิน 9 ล้านบาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โป้งเสริญ (กุดแข้ด่อน) วงเงิน 1 ล้านบาท จากนั้นได้ร่วมกิจกรรมเสวนา "แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม) นายโจน จันได พ่อมั่น สามสี พ่อบุญส่ง มาตขาว ก่อนตรวจเยี่ยมกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ตรวจเยี่ยมการรับซื้อผลผลิตข้าวอินทรีย์ ของกลุ่มเกษตรกรทํานานาโส่ ตรวจเยี่ยมงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนในช่วงบ่ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ พร้อมคณะได้เดินทางต่อไปยัง สวนตาผอง บ้านสุขเกษม ต.โนนเปือย อ.กุดชุม จ.ยโสธร เพื่อตรวจเยี่ยมงาน Young Smart Farmer และคนกล้าคืนถิ่น (Young Farmer Club) โดยมี นางสาวรสสุคนธ์ สุวรรณเพชร บรรยายสรุป การพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เกิดการยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศถือเป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาล โดยมีแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการเกษตรอินทรีย์ , ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ซึ่งโดยจะใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนและส่งเสริมบูรณการยุทธศาสตร์ทั้งหมดให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มพื้นที่ทําการเกษตรอินทรีย์ได้ถึง 6 แสนไร่ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อให้มีความชัดเจนและแนวทางในการให้ความรู้แก่เกษตรกรที่จะมาใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ไว้แล้ว โดยแบ่งเกษตรกรออกเป็น3 กลุ่มสําคัญ คือ กลุ่มที่ 1 จะเป็นกลุ่มที่รับสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยจะได้รับการสนับสนุนทั้งปัจจัยการผลิตและความรู้เบื้องต้น กลุ่ม 2 จะเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมยกระดับต่อยอดความรู้ที่มีอยู่แล้ว และกลุ่มที่ 3 คือ เกษตรกรที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์แล้ว โดยทั้งหมดภาครัฐจะเข้าไปช่วยเหลือในการหาตลาดและเพิ่มช่องส่งเสริมการขายที่มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นและคุณภาพให้กับสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตออกมา และที่สําคัญที่สุดเพื่อยกระดับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปสู่ระดับที่เข้มข้นมากขึ้น จะต้องมุ่งเน้นไปที่การทํางานร่วมกับเกษตรกรมากยิ่งขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมอันได้แก่การเข้าถึงความรู้และข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสร้างความไว้วางใจและสร้างเครือข่ายกับหุ้นส่วนการพัฒนารายใหม่ๆ ระหว่างเกษตรกรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบธุรกิจเพื่อเอื้อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมไปถึงการสนับสนุนระบบสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง เป็นต้น ซึ่งการที่จะบรรลุผลสําเร็จเหล่านี้ได้ต้องอาศัยเกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรเอกชนทั้งหมดนี้ถือเป็นโอกาสที่จังหวัดยโสธรจะพัฒนาให้เป็น “เมืองเกษตรอินทรีย์” หรือ “Land of Organic” ซึ่งถือเป็นทางเลือกในการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านของคุณภาพชีวิตของเกษตรกร จังหวัดยโสธร ปัจจุบันมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รวมพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั้งสิ้น 134,406.25 ไร่ แบ่งเป็นมาตรฐานสากล จํานวน 54,906.75 ไร่ มาตรฐาน มกษ.9000 จํานวน 55,054.50 ไร่ การรับรองมาตรฐานตามระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS) จํานวน 24,445 ไร่ พืชอื่นๆ เช่น แตงโม ไผ่ กระเจียวหวาน ถั่วลิสง หอมแดง เป็นต้น ไข่ไก่อินทรีย์ จํานวน 74 ราย ประมงอินทรีย์ จํานวน 3 ราย ทั้งนี้ การจัดโครงการ “รวมพลังขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ให้แพร่หลาย เพิ่มจํานวนเกษตรกรทําอินทรีย์และพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดให้มากขึ้น ที่ครอบคลุมทั้งต้นน้ํา กลางน้ําและปลายน้ํา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเพิ่มขึ้น เกิดเครือข่ายเกษตรอินทรีย์และความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด โดยผู้ร่วมงานในวันนี้ เป็นเกษตรกรที่ทําเกษตรอินทรีย์ ทั้งกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ จํานวน 300 คน กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8905
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ธำรงไว้ประเพณีไทยอันงดงาม
วันพุธที่ 11 เมษายน 2561 กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีรดน้ําขอพรผู้ใหญ่ ธํารงไว้ประเพณีไทยอันงดงาม กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีรดน้ําขอพรผู้ใหญ่ ธํารงไว้ประเพณีไทยอันงดงาม วันนี้ (11 เม.ย. 61) ที่กระทรวงมหาดไทยนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นําคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมรดน้ําขอพร พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเนื่องในประเพณีสงกรานต์ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่กระทรวงมหาดไทยได้จัดมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย และแสดงออกถึงความเคารพ ความกตัญญูกตเวที และความปรารถนาดี โดยมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรมอย่างเนื่องแน่น ท่ามกลางบรรยากาศอันอบอุ่น. ครั้งที่ 84/2561 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร. 0-22224131-2
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ธำรงไว้ประเพณีไทยอันงดงาม วันพุธที่ 11 เมษายน 2561 กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีรดน้ําขอพรผู้ใหญ่ ธํารงไว้ประเพณีไทยอันงดงาม กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีรดน้ําขอพรผู้ใหญ่ ธํารงไว้ประเพณีไทยอันงดงาม วันนี้ (11 เม.ย. 61) ที่กระทรวงมหาดไทยนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นําคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมรดน้ําขอพร พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเนื่องในประเพณีสงกรานต์ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่กระทรวงมหาดไทยได้จัดมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย และแสดงออกถึงความเคารพ ความกตัญญูกตเวที และความปรารถนาดี โดยมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรมอย่างเนื่องแน่น ท่ามกลางบรรยากาศอันอบอุ่น. ครั้งที่ 84/2561 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร. 0-22224131-2
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11482
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"บิ๊กบี้" ลงอุดรฯ พบเครือข่ายนอกระบบ ผู้สูงอายุ อสร. พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในพื้นที่
วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2560 "บิ๊กบี้" ลงอุดรฯ พบเครือข่ายนอกระบบ ผู้สูงอายุ อสร. พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในพื้นที่ รมว.แรงงาน ลงพื้นที่อุดรธานี พบปะเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ผู้สูงอายุ อาสาสมัครแรงงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในพื้นที่ ฝึกอาชีพ ให้มีงานทํา มีรายได้ ขยายหลักประกันความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม ตั้งเป้าปี 61 นําร่องฝึกอาชีพทั่วประเทศให้ได้ 1 ล้านคน พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยภายหลังการประชุมเครือข่ายภาคประชาชน (อสร.) และกลุ่มแรงงานไทยที่ไปทํางานต่างประเทศ ว่า การประชุมวันนี้ เพื่อติดตามงานด้านแรงงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ขอชื่นชมจังหวัดอุดรธานีในการขับเคลื่อนงานด้านแรงงานซึ่งสามารถเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยความร่วมมือของทุกส่วนราชการทํางานจนเป็นที่ประจักษ์ว่า จังหวัดอุดรธานีมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุด คนมีงานทําในพื้นที่มากขึ้นร้อยละ 6.1 มีสถานประกอบกิจการมากขึ้นร้อยละ 5.2 และมีคนไปทํางานต่างประเทศมากที่สุดของประเทศไทยก็ว่าได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี สามารถมีเงินเข้าประเทศปีที่แล้วกว่า 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้ นายจ้างในต่างประเทศยังได้ชื่นชมคนที่ไปทํางานในต่างประเทศว่า คนงานไทยเป็นคนขยัน อดทน มีความประพฤติดี ซึ่งกระทรวงแรงงานจะส่งเสริมในเรื่องการฝึกอบรมก่อนไปทํางาน และการประสานกับประเทศปลายทางเพื่อให้การคุ้มครองแรงงานไทยที่ไปทํางานต่างประเทศ พลเอก ศิริชัยกล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานยังสนับสนุนนโยบายการจัดสวัสดิการแห่งรัฐแก่ผู้มีรายได้น้อย โดยในส่วนของกระทรวงแรงงาน จะเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่แรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 ของประกันสังคม โดยเฉพาะในปี 2561 จะเห็นการดําเนินการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้แรงงานนอกระบบที่มีอยู่กว่า 20 ล้านคนได้รับประโยชน์ที่ใกล้เคียงกับแรงงานในระบบ อาทิ การได้รับการฝึกอาชีพ การจ้างงานเร่งด่วนและการพัฒนาทักษะฝีมือ รวมทั้งการมีมาตรการรองรับพี่น้องที่ประสบภัยธรรมชาติหรือว่างเว้นจากงานตามฤดูกาล นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะมุ่งเน้นการยกระดับแรงงานนอกระบบเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพ โดยตั้งเป้าหมายนําร่องฝึกอาชีพทั่วประเทศให้ได้ 1 ล้านคน ซึ่งภาคอีสานมีแรงงานนอกระบบที่ครอบคลุมถึง 5.9 ล้านคน ทั้งนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม ให้คนมีงานทํา มีรายได้ และแก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดไปตามนโยบายรัฐบาล ด้านหม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวว่า อาสาสมัครแรงงาน (อสร.) ถือเป็นกลไกสําคัญของกระทรวงแรงงานในการนําบริการด้านแรงงานเข้าถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่มีความต้องการฝึกอาชีพระหว่างว่างเว้นจากการรอฤดูกาลเกษตร ซึ่งกระทรวงแรงงานต้องการให้มีอาสาสมัครแรงงานในทุกระดับทั้งระดับตําบล อําเภอ และหมู่บัาน แต่เนื่องจากในแต่ละปีได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ค่อนข้างจํากัด ข้อเสนอในวันนี้กระทรวงจะรับไปพิจารณา ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวต่อว่า จากการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสวัสดิการแห่งรัฐ พบว่า มีผู้ลงทะเบียนรายได้น้อยจํานวน 14 ล้านคน ในจํานวนนี้มีผู้มีรายได้ต่ํากว่า 30,000 บาทต่อปี จํานวน 5 ล้านคน ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2561 กระทรวงแรงงานจะเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย แรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้สูงอายุ และคนพิการด้วย โดยเน้นการฝึกทักษะ สร้างงาน สร้างอาชีพ เสริมรายได้เพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบโครงการไว้แล้วและอยู่ระหว่างการเตรียมเพื่อเสนอโครงการต่อรัฐบาลต่อไป ---------------------------------------------- กลุ่มงานโฆษกและการข่าว/ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ชนินทร เพ็ชรทับ- ข่าว/ สมภพ ศีลบุตร - ภาพ/ 18 สิงหาคม 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"บิ๊กบี้" ลงอุดรฯ พบเครือข่ายนอกระบบ ผู้สูงอายุ อสร. พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในพื้นที่ วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2560 "บิ๊กบี้" ลงอุดรฯ พบเครือข่ายนอกระบบ ผู้สูงอายุ อสร. พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในพื้นที่ รมว.แรงงาน ลงพื้นที่อุดรธานี พบปะเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ผู้สูงอายุ อาสาสมัครแรงงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในพื้นที่ ฝึกอาชีพ ให้มีงานทํา มีรายได้ ขยายหลักประกันความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม ตั้งเป้าปี 61 นําร่องฝึกอาชีพทั่วประเทศให้ได้ 1 ล้านคน พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผยภายหลังการประชุมเครือข่ายภาคประชาชน (อสร.) และกลุ่มแรงงานไทยที่ไปทํางานต่างประเทศ ว่า การประชุมวันนี้ เพื่อติดตามงานด้านแรงงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ขอชื่นชมจังหวัดอุดรธานีในการขับเคลื่อนงานด้านแรงงานซึ่งสามารถเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยความร่วมมือของทุกส่วนราชการทํางานจนเป็นที่ประจักษ์ว่า จังหวัดอุดรธานีมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุด คนมีงานทําในพื้นที่มากขึ้นร้อยละ 6.1 มีสถานประกอบกิจการมากขึ้นร้อยละ 5.2 และมีคนไปทํางานต่างประเทศมากที่สุดของประเทศไทยก็ว่าได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี สามารถมีเงินเข้าประเทศปีที่แล้วกว่า 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้ นายจ้างในต่างประเทศยังได้ชื่นชมคนที่ไปทํางานในต่างประเทศว่า คนงานไทยเป็นคนขยัน อดทน มีความประพฤติดี ซึ่งกระทรวงแรงงานจะส่งเสริมในเรื่องการฝึกอบรมก่อนไปทํางาน และการประสานกับประเทศปลายทางเพื่อให้การคุ้มครองแรงงานไทยที่ไปทํางานต่างประเทศ พลเอก ศิริชัยกล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานยังสนับสนุนนโยบายการจัดสวัสดิการแห่งรัฐแก่ผู้มีรายได้น้อย โดยในส่วนของกระทรวงแรงงาน จะเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่แรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 ของประกันสังคม โดยเฉพาะในปี 2561 จะเห็นการดําเนินการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้แรงงานนอกระบบที่มีอยู่กว่า 20 ล้านคนได้รับประโยชน์ที่ใกล้เคียงกับแรงงานในระบบ อาทิ การได้รับการฝึกอาชีพ การจ้างงานเร่งด่วนและการพัฒนาทักษะฝีมือ รวมทั้งการมีมาตรการรองรับพี่น้องที่ประสบภัยธรรมชาติหรือว่างเว้นจากงานตามฤดูกาล นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะมุ่งเน้นการยกระดับแรงงานนอกระบบเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพ โดยตั้งเป้าหมายนําร่องฝึกอาชีพทั่วประเทศให้ได้ 1 ล้านคน ซึ่งภาคอีสานมีแรงงานนอกระบบที่ครอบคลุมถึง 5.9 ล้านคน ทั้งนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม ให้คนมีงานทํา มีรายได้ และแก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดไปตามนโยบายรัฐบาล ด้านหม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวว่า อาสาสมัครแรงงาน (อสร.) ถือเป็นกลไกสําคัญของกระทรวงแรงงานในการนําบริการด้านแรงงานเข้าถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่มีความต้องการฝึกอาชีพระหว่างว่างเว้นจากการรอฤดูกาลเกษตร ซึ่งกระทรวงแรงงานต้องการให้มีอาสาสมัครแรงงานในทุกระดับทั้งระดับตําบล อําเภอ และหมู่บัาน แต่เนื่องจากในแต่ละปีได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ค่อนข้างจํากัด ข้อเสนอในวันนี้กระทรวงจะรับไปพิจารณา ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวต่อว่า จากการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสวัสดิการแห่งรัฐ พบว่า มีผู้ลงทะเบียนรายได้น้อยจํานวน 14 ล้านคน ในจํานวนนี้มีผู้มีรายได้ต่ํากว่า 30,000 บาทต่อปี จํานวน 5 ล้านคน ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2561 กระทรวงแรงงานจะเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย แรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้สูงอายุ และคนพิการด้วย โดยเน้นการฝึกทักษะ สร้างงาน สร้างอาชีพ เสริมรายได้เพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบโครงการไว้แล้วและอยู่ระหว่างการเตรียมเพื่อเสนอโครงการต่อรัฐบาลต่อไป ---------------------------------------------- กลุ่มงานโฆษกและการข่าว/ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ชนินทร เพ็ชรทับ- ข่าว/ สมภพ ศีลบุตร - ภาพ/ 18 สิงหาคม 2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6061
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายก “ณรงค์”ติดตามงานพัฒนาคุณภาพชีวิต “คนไทย ใส่ใจดูแลกัน”ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2560 รองนายก “ณรงค์”ติดตามงานพัฒนาคุณภาพชีวิต “คนไทย ใส่ใจดูแลกัน”ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี รองนายกรัฐมนตรีณรงค์ ติดตามการขับเคลื่อนนโยบาย พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ ตามแนวคิด “คนไทย ใส่ใจดูแลกัน” รองนายกรัฐมนตรีณรงค์ ติดตามการขับเคลื่อนนโยบาย พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ ตามแนวคิด“คนไทย ใส่ใจดูแลกัน”เพิ่มคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ําด้วยการช่วยเหลือกัน เน้นหนักในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ เด็กปฐมวัย รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งเป้าครบทุกอําเภอในปี2561 วันนี้ (23สิงหาคม2560) ที่โรงพยาบาลแก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรีติดตามการขับเคลื่อนนโยบาย พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (District Health Board : DHB)”และให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่4 (ด้านสาธารณสุข) ได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ มีนายอําเภอเป็นประธาน สาธารณสุขอําเภอเป็นเลขานุการ ตัวแทนภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและตัวแทนภาครัฐเป็นคณะกรรมการ เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามสภาพปัญหาของแต่ละอําเภอ เน้นกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ เด็กปฐมวัย อุบัติเหตุ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ขยะ สิ่งแวดล้อม ให้ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการของรัฐ ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวคิด“คนไทย ใส่ใจดูแลกัน”มีเป้าหมายเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ํา ด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นโดยความร่วมมือของ4กระทรวงหลักและภาคีเครือข่ายอาทิ มหาดไทย สาธารณสุข การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาธิการในปี2559นําร่องใน73อําเภอ ในปี2560จะขยายไปใน200อําเภอและจะครอบคลุม878อําเภอในปี2561โดยได้ออกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีรองรับการดําเนินงานให้สามารถบูรณาการงบประมาณและนําทรัพยากรทั้งจากภาครัฐภาคเอกชนและประชาชนมาใช้ในการทํางาน พร้อมทั้งปรับแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพส่งเสริมให้เกิดกลไกประชารัฐขับเคลื่อนระบบสุขภาพครอบคลุมทุกพื้นที่ตามเป้าหมายที่วางไว้ สําหรับ ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรีมีประชากรประมาณ100,000คน เป็นผู้สูงอายุ60ปีขึ้นเกือบร้อยละ13และมีปัญหาคนสูงอายุ ผู้พิการ ไม่คนดูแล ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนด้อยโอกาส ทั้งด้านสังคม ความเป็นอยู่ และการสาธารณสุข ให้มีคุณภาพชีวิตและสถานะสุขภาพดีขึ้นลดความเหลื่อมล้ํา ด้วยการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน โดยมียุทธศาสตร์สําคัญดังนี้1.การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ ใช้ “พื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง”โดยรับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบประชารัฐ2.จัดประชุมระดมความคิดเพื่อกําหนดประเด็นปัญหา และวางแผนการแก้ไขและพัฒนา มอบหมายงานตามบทบาทของหน่วยงาน โดยคณะกรรมการฯได้วิเคราะห์พบมี8ประเด็นปัญหาสําคัญ และได้คัดเลือกมาแก้ไขและพัฒนาใน3ประเด็น คือคุณภาพอาหารเพื่อการบริโภค อุบัติเหตุจราจร ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ผลการดําเนินงาน ลดจุดเสี่ยงอุบัติเหตุได้116จุด จากทั้งหมด122จุด ช่วยลดจํานวนผู้เสียชีวิตจากจราจรได้ร้อยละ15จาก ปี2559พัฒนาตลาดสดน่าซื้อและตลาดนัดผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่งเสริมการการเลี้ยงสัตว์ปลูกผักปลอดสารพิษ ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส มีทีมโอบอุ้มจิตอาสาดูแล ได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ด้วยการสร้างบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ห้องน้ํารวม152หลัง และได้รับการเยี่ยมดูแลช่วยเหลือจากคณะกรรมการฯ1,133ราย พร้อมมีรถรับ-ส่งเข้าเมื่อต้องเข้ารับบริการ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายก “ณรงค์”ติดตามงานพัฒนาคุณภาพชีวิต “คนไทย ใส่ใจดูแลกัน”ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2560 รองนายก “ณรงค์”ติดตามงานพัฒนาคุณภาพชีวิต “คนไทย ใส่ใจดูแลกัน”ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี รองนายกรัฐมนตรีณรงค์ ติดตามการขับเคลื่อนนโยบาย พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ ตามแนวคิด “คนไทย ใส่ใจดูแลกัน” รองนายกรัฐมนตรีณรงค์ ติดตามการขับเคลื่อนนโยบาย พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ ตามแนวคิด“คนไทย ใส่ใจดูแลกัน”เพิ่มคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ําด้วยการช่วยเหลือกัน เน้นหนักในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ เด็กปฐมวัย รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งเป้าครบทุกอําเภอในปี2561 วันนี้ (23สิงหาคม2560) ที่โรงพยาบาลแก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรีติดตามการขับเคลื่อนนโยบาย พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (District Health Board : DHB)”และให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่4 (ด้านสาธารณสุข) ได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ มีนายอําเภอเป็นประธาน สาธารณสุขอําเภอเป็นเลขานุการ ตัวแทนภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและตัวแทนภาครัฐเป็นคณะกรรมการ เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามสภาพปัญหาของแต่ละอําเภอ เน้นกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ เด็กปฐมวัย อุบัติเหตุ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ขยะ สิ่งแวดล้อม ให้ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการของรัฐ ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวคิด“คนไทย ใส่ใจดูแลกัน”มีเป้าหมายเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ํา ด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นโดยความร่วมมือของ4กระทรวงหลักและภาคีเครือข่ายอาทิ มหาดไทย สาธารณสุข การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาธิการในปี2559นําร่องใน73อําเภอ ในปี2560จะขยายไปใน200อําเภอและจะครอบคลุม878อําเภอในปี2561โดยได้ออกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีรองรับการดําเนินงานให้สามารถบูรณาการงบประมาณและนําทรัพยากรทั้งจากภาครัฐภาคเอกชนและประชาชนมาใช้ในการทํางาน พร้อมทั้งปรับแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพส่งเสริมให้เกิดกลไกประชารัฐขับเคลื่อนระบบสุขภาพครอบคลุมทุกพื้นที่ตามเป้าหมายที่วางไว้ สําหรับ ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรีมีประชากรประมาณ100,000คน เป็นผู้สูงอายุ60ปีขึ้นเกือบร้อยละ13และมีปัญหาคนสูงอายุ ผู้พิการ ไม่คนดูแล ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนด้อยโอกาส ทั้งด้านสังคม ความเป็นอยู่ และการสาธารณสุข ให้มีคุณภาพชีวิตและสถานะสุขภาพดีขึ้นลดความเหลื่อมล้ํา ด้วยการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน โดยมียุทธศาสตร์สําคัญดังนี้1.การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ ใช้ “พื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง”โดยรับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบประชารัฐ2.จัดประชุมระดมความคิดเพื่อกําหนดประเด็นปัญหา และวางแผนการแก้ไขและพัฒนา มอบหมายงานตามบทบาทของหน่วยงาน โดยคณะกรรมการฯได้วิเคราะห์พบมี8ประเด็นปัญหาสําคัญ และได้คัดเลือกมาแก้ไขและพัฒนาใน3ประเด็น คือคุณภาพอาหารเพื่อการบริโภค อุบัติเหตุจราจร ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ผลการดําเนินงาน ลดจุดเสี่ยงอุบัติเหตุได้116จุด จากทั้งหมด122จุด ช่วยลดจํานวนผู้เสียชีวิตจากจราจรได้ร้อยละ15จาก ปี2559พัฒนาตลาดสดน่าซื้อและตลาดนัดผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่งเสริมการการเลี้ยงสัตว์ปลูกผักปลอดสารพิษ ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส มีทีมโอบอุ้มจิตอาสาดูแล ได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ด้วยการสร้างบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ห้องน้ํารวม152หลัง และได้รับการเยี่ยมดูแลช่วยเหลือจากคณะกรรมการฯ1,133ราย พร้อมมีรถรับ-ส่งเข้าเมื่อต้องเข้ารับบริการ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6138
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วว. ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายฯ เปิดตัวโครงการ Thai Cosmetopiea นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสำอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น กำเนิดธุรกิจคืนกำไรสู่สังคม
วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2562 วว. ผนึกกําลังภาคีเครือข่ายฯ เปิดตัวโครงการ Thai Cosmetopiea นําขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสําอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น กําเนิดธุรกิจคืนกําไรสู่สังคม 'ปลัดฯ สรนิต' เปิดโครงการ Thai Cosmetopiea นําขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสําอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น กําเนิดธุรกิจคืนกําไรสู่สังคม เวลา 10.30 น. (1 สิงหาคม 2562) ณ ห้องประชุม Salon A โรงแรมสวิสโซเทล บางกอก รัชดา กรุงเทพฯ / รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิด“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทย ด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสําอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น”หรือ“Thai Cosmetopiea”และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง “นโยบายแผนการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวง อว. และภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio base) ด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ซึ่งทาง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ผนึกกําลังร่วมกับ 24 ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ดําเนินโครงการโดยมีเป้าหมายมุ่งคืนกําไรสู่สังคมอย่างยั่งยืน พร้อมนําร่อง 10 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวอัตลักษณ์เครื่องสําอาง (innovative identity cosmetic) ที่มีความโดดเด่นและได้มาตรฐาน จากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ในพื้นที่ 10 จังหวัด ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)กล่าวว่า บทบาทของกระทรวง อว. มี 2 ภารกิจ หลักๆ แต่มีความสําคัญของประเทศอย่างมาก กล่าวคือ 1.ต้องเป็นกระทรวงที่เตรียมคนไทยไปสู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างให้คนไทยพันธุ์ใหม่ที่พร้อมรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ก้าวต่อไปของ อว. เราต้องสร้างเทคโนโลยีของเรา เพื่อใช้กับคนและทรัพยากรในบ้านเรา สร้างการเติบโตของประเทศแบบรากแก้ว มีรากฐานที่มั่นคง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากนอกบ้านให้น้อยลง 2.ต้องเป็นกระทรวงหลักในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจสังคมไปสู่ฐานนวัตกรรม (Innovation-driven economy) โดยเน้นการใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ แทนการเน้นทรัพยากรพื้นฐาน ที่นับวันจะหมดลงเรื่อยๆ เพื่อ สร้าง “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” “สร้างมูลค่า” แทนที่จะเป็นแค่ “เพิ่มมูลค่า” เน้น “ทําน้อยได้มาก” รวมทั้งสร้างแรงงานคุณภาพ Higher skill ไม่เน้นแรงงาน (Labor intensive) ไม่ให้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา “...แนวทางการขับเคลื่อนกระทรวง อว. ใหม่นี้ เน้นหนักให้นักวิจัยทํางาน เพื่อตอบโจทย์ภาคเอกชน สังคม และภาคประชาชนให้มากขึ้น สร้างนวัตกรรมที่สามารถทําได้จริง สร้างธุรกิจ โดยต้องทํางานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ใช่ต่างคนต่างทํา ให้ทํางานเชื่อมโยงกัน มีทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งจะก่อให้เกิดงานวิจัยขนาดใหญ่ ที่สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมสูงต่อประเทศ จะทําให้งานวิทยาศาสตร์มีพลังมากขึ้น สร้างความแตกต่าง และเอกลักษณ์เด่น โดยเฉพาะเอกลักษณ์ไทย นําไปผสมผสานภูมิปัญญา Local wisdom ที่ทรงคุณค่า โดยเน้นจากการสร้างความเข้มแข็งจากภายในสู่ภายนอก ซึ่งหมายถึงเริ่มที่พวกเรากันก่อน แล้วค่อยๆ เชื่อมโยงสู่อาเซียน สู่ประชาคมโลก ต่อไป ซึ่งโครงการ Thai Cosmetopoeia เป็นโครงการที่นํานวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาผสมกับอัตลักษณ์ของทรัพยากรท้องถิ่นไทย (Innovation + Identity) เพื่อให้เกิดเป็นนวัตอัตลักษณ์ขึ้นมา ให้ผู้ประกอบการนําไปสร้างจุดเด่น หรือสร้างโอกาสในการแข่งขันเชิงธุรกิจ จะเห็นได้ว่าโครงการมีการทํางานเกือบครบทุกมิติ และเป็นการรวมจุดแข็งของแต่ละหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีพี่ใหญ่ในแวดวงธุรกิจมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนร่วมด้วย นอกจากนั้นยังมีสถาบันการศึกษาที่จะเข้ามาเชื่อมโยงโจทย์จากท้องถิ่น ส่งต่อสู่การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันและสร้างการรับรู้ และConcept ของโครงการนี้ คือ ทุกโครงการต้อง คืนกําไรสู่สังคมอย่างยั่งยืน Sustainable Creation of Shared Values หากมีการนําเอาทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ ผู้ใช้ประโยชน์จะต้องคืนหรือทดแทนให้กับทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมที่ใช้ไป เพื่อให้เป็นต้นทุนและสร้างสมดุลอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต อีกทั้งหากเกิดการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรในท้องถิ่น ก็จะส่งผลต่อการจ้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ ลดการกระจุกตัวของงานในเมืองลง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําในสังคม จะเห็นได้ว่าโครงการ Thai Cosmetopoeia ส่งผลกระทบเชิงบวกทุกมิติ หากโครงการนี้ประสบความสําเร็จคาดว่า จะเป็นโครงการที่มีส่วนช่วยให้เราหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง อีกทั้งจะเป็น โครงการที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนประเทศภายใต้ Thailand 4.0 ได้อย่างแท้จริง...”ปลัดกระทรวง อว. กล่าว ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว.กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทยด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสําอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น (Thai Cosmetopoeia) เป็นโครงการตามยุทธศาสตร์การดําเนินงานของ วว. ในการวิจัยและพัฒนาด้านเครื่องสําอาง ปี 2020 โดยมีแนวคิดนําเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของฐานชีวภาพในพื้นที่ประเทศไทยมาพัฒนา ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ผ่านการนําเสนอในรูปแบบเครื่องสําอาง เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่และส่งเสริมอัตลักษณ์ในระดับชาติและนานาชาติ โดยนําเรื่องราวภูมิปัญญาของท้องถิ่น อัตลักษณ์ของพื้นที่ เศรษฐกิจชุมชน บรรจุอยู่ในเครื่องสําอางแต่ละชิ้นที่ผ่านการพัฒนาเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน โดยการดําเนินงานโครงการนั้น วว. ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายนําร่อง 24 หน่วยงาน ในภาคพื้นที่ระดับจังหวัด ภาคธุรกิจในพื้นที่ ภาคธุรกิจรายใหญ่ ภาคงานวิจัยและพัฒนา สถานที่ผลิตมาตรฐาน GMP ภาคการเงินทุน ภาคการตลาด ภาคสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อผลักดันให้ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ดังกล่าวถูกนําเสนอในระดับชาติและนานาชาติ สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมเครื่องสําอางเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและก่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ยั่งยืน โดยมีระยะเวลาโครงการ 5 ปี มีขอบเขตความร่วมมือในการร่วมกันดําเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการปลูก สายพันธุ์ กระบวนการแปรรูป การสกัด การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและเภสัชวิทยา ของพืชเป้าหมาย เพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางและเวชสําอาง รวมทั้งการทดสอบประสิทธิภาพและการประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และร่วมกันสนับสนุน ผลักดัน ให้เกิดการนําผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ “...ภาคีเครือข่ายนําร่อง 24 หน่วยงาน ที่ผนึกกําลังร่วมดําเนินงานกับ วว. ครั้งนี้ ได้แก่ 1.สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2. อินฟอร์มา มาร์เก็ต 3.บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) 4.บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ําตาล จํากัด 5.บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) 6.บริษัท เอส ซี จี เคมีคอลล์ จํากัด 7.บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จํากัด 8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 9.บริษัท รีเสิร์ช เอ็กซ์ จํากัด 10.สถาบันโรคผิวหนัง 11.บริษัท เอสแอนด์เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพรส์ พลับบลิค จํากัด 12.บริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด 13.บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จํากัด 14.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสําอาง) 15.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ประธานกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ) 16.หอการค้าจังหวัดน่าน 17.หอการค้าเชียงใหม่ 18.หอการค้าแม่ฮ่องสอน 19.บริษัท นอร์ทเทอร์สยามซีดแลด จํากัด 20.บริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี (แพร่) 21.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 22.บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จํากัด 23.บริษัท เอเดนอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด และ 24.สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ความร่วมมือบูรณาการระหว่าง วว. และภาคีเครือข่าย มีความสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสําอาง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากทรัพยากรธรรมชาติของไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรของท้องถิ่น...”ผู้ว่าการ วว. กล่าว นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ได้นําเสนอโครงการCosmetopiea และ 10 โครงการนําร่อง ในปี 2020ว่า ปีแรกของการดําเนินงานภายใต้โครงการ Thai Cosmetopoeia ในปี 2020 นั้น จะนําร่องโดย “โครงการพัฒนานวัตกรรมเครื่องสําอางจากทรัพยากรฐานชีวภาพเอกลักษณ์ภูมิภาคไทย” ภายใต้แนวคิด “มหัศจรรย์ความงามพฤกษาสู่ธารารัตน์” โดยจะคัดเลือกพืชที่มีความเป็นเอกลักษณ์จากจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย จากภาคเหนือ กลาง และใต้ มาเป็นพืชหลักและนําเข้าสู่กระบวนการวิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีศักยภาพในเชิงการค้า ได้แก่ 1.ใบหมี่ น่าน 2.ห้อม แพร่ 3.ครั่ง ลําปาง 4.ชาเมี่ยง เชียงใหม่ 5.บัวตอง แม่ฮ่องสอน 6.สับปะรดห้วยมุ่น อุตรดิตถ์ 7.ถั่วเหลือง อุดรธานี 8.ชะลูด ระยอง 9.มะพร้าวน้ําหอม สมุทรสงคราม และ 10.น้ําพุร้อนเค็ม กระบี่ “...มีการคาดการณ์ว่าในปี 2562 ตลาดเครื่องสําอางในประเทศไทย จะเติบโตมากถึง 2.7 แสนล้านบาท จากปี 2560 ที่มีมูลค่า 2 แสนล้านบาท (Euromonitor,2562) ทั้งนี้ประเทศไทยถือเป็นฮับในการผลิตเครื่องสําอางที่สําคัญในอาเซียน ไม่ว่าจะผลิตเพื่อจําหน่ายในประเทศหรือส่งออกก็ตาม โดยมีปัจจัยการันตีคือ ความน่าเชื่อถือ กระบวนการผลิตที่ครบครันตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา และส่วนผสมจากธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ ทําให้เครื่องสําอางที่ผลิตในไทยได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันไทยถือเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและเกาหลี และยังเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง โดยศักยภาพของเครื่องสําอางแบรนด์ไทยนอกจากการเติบโตในประเทศแล้ว หากได้รับการผลักดัน การเสริมองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ ก็จะสามารถเข้าไปสร้างการยอมรับในตลาดโลกได้ไม่ยาก งานวิจัยและพัฒนาจากความเชี่ยวชาญของ วว. รวมทั้งศักยภาพของภาคีเครือข่ายที่ร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นส่วนสําคัญในการผลักดันสร้างการรับรู้แบรนด์ไทยในตลาดโลกให้ได้มากขึ้น...”นายสายันต์ ตันพานิช กล่าว ภายในงาน ยังมีเวทีเสวนาผู้ประกอบการจากโครงการ Thai Cosmetopiea โมเดลต้นแบบทั้ง 4 ท่าน มาร่วมพูดคุยถึงแนวคิดที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน และนิทรรศการตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางจากโครงการ Thai Cosmetopiea มาให้ได้ชม ได้ลอง กันอีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วว. ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายฯ เปิดตัวโครงการ Thai Cosmetopiea นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสำอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น กำเนิดธุรกิจคืนกำไรสู่สังคม วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2562 วว. ผนึกกําลังภาคีเครือข่ายฯ เปิดตัวโครงการ Thai Cosmetopiea นําขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสําอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น กําเนิดธุรกิจคืนกําไรสู่สังคม 'ปลัดฯ สรนิต' เปิดโครงการ Thai Cosmetopiea นําขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสําอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น กําเนิดธุรกิจคืนกําไรสู่สังคม เวลา 10.30 น. (1 สิงหาคม 2562) ณ ห้องประชุม Salon A โรงแรมสวิสโซเทล บางกอก รัชดา กรุงเทพฯ / รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิด“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทย ด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสําอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น”หรือ“Thai Cosmetopiea”และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง “นโยบายแผนการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวง อว. และภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio base) ด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ซึ่งทาง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ผนึกกําลังร่วมกับ 24 ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ดําเนินโครงการโดยมีเป้าหมายมุ่งคืนกําไรสู่สังคมอย่างยั่งยืน พร้อมนําร่อง 10 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวอัตลักษณ์เครื่องสําอาง (innovative identity cosmetic) ที่มีความโดดเด่นและได้มาตรฐาน จากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ในพื้นที่ 10 จังหวัด ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)กล่าวว่า บทบาทของกระทรวง อว. มี 2 ภารกิจ หลักๆ แต่มีความสําคัญของประเทศอย่างมาก กล่าวคือ 1.ต้องเป็นกระทรวงที่เตรียมคนไทยไปสู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างให้คนไทยพันธุ์ใหม่ที่พร้อมรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ก้าวต่อไปของ อว. เราต้องสร้างเทคโนโลยีของเรา เพื่อใช้กับคนและทรัพยากรในบ้านเรา สร้างการเติบโตของประเทศแบบรากแก้ว มีรากฐานที่มั่นคง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากนอกบ้านให้น้อยลง 2.ต้องเป็นกระทรวงหลักในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจสังคมไปสู่ฐานนวัตกรรม (Innovation-driven economy) โดยเน้นการใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ แทนการเน้นทรัพยากรพื้นฐาน ที่นับวันจะหมดลงเรื่อยๆ เพื่อ สร้าง “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” “สร้างมูลค่า” แทนที่จะเป็นแค่ “เพิ่มมูลค่า” เน้น “ทําน้อยได้มาก” รวมทั้งสร้างแรงงานคุณภาพ Higher skill ไม่เน้นแรงงาน (Labor intensive) ไม่ให้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา “...แนวทางการขับเคลื่อนกระทรวง อว. ใหม่นี้ เน้นหนักให้นักวิจัยทํางาน เพื่อตอบโจทย์ภาคเอกชน สังคม และภาคประชาชนให้มากขึ้น สร้างนวัตกรรมที่สามารถทําได้จริง สร้างธุรกิจ โดยต้องทํางานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ใช่ต่างคนต่างทํา ให้ทํางานเชื่อมโยงกัน มีทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งจะก่อให้เกิดงานวิจัยขนาดใหญ่ ที่สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมสูงต่อประเทศ จะทําให้งานวิทยาศาสตร์มีพลังมากขึ้น สร้างความแตกต่าง และเอกลักษณ์เด่น โดยเฉพาะเอกลักษณ์ไทย นําไปผสมผสานภูมิปัญญา Local wisdom ที่ทรงคุณค่า โดยเน้นจากการสร้างความเข้มแข็งจากภายในสู่ภายนอก ซึ่งหมายถึงเริ่มที่พวกเรากันก่อน แล้วค่อยๆ เชื่อมโยงสู่อาเซียน สู่ประชาคมโลก ต่อไป ซึ่งโครงการ Thai Cosmetopoeia เป็นโครงการที่นํานวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาผสมกับอัตลักษณ์ของทรัพยากรท้องถิ่นไทย (Innovation + Identity) เพื่อให้เกิดเป็นนวัตอัตลักษณ์ขึ้นมา ให้ผู้ประกอบการนําไปสร้างจุดเด่น หรือสร้างโอกาสในการแข่งขันเชิงธุรกิจ จะเห็นได้ว่าโครงการมีการทํางานเกือบครบทุกมิติ และเป็นการรวมจุดแข็งของแต่ละหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีพี่ใหญ่ในแวดวงธุรกิจมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนร่วมด้วย นอกจากนั้นยังมีสถาบันการศึกษาที่จะเข้ามาเชื่อมโยงโจทย์จากท้องถิ่น ส่งต่อสู่การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันและสร้างการรับรู้ และConcept ของโครงการนี้ คือ ทุกโครงการต้อง คืนกําไรสู่สังคมอย่างยั่งยืน Sustainable Creation of Shared Values หากมีการนําเอาทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ ผู้ใช้ประโยชน์จะต้องคืนหรือทดแทนให้กับทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมที่ใช้ไป เพื่อให้เป็นต้นทุนและสร้างสมดุลอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต อีกทั้งหากเกิดการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรในท้องถิ่น ก็จะส่งผลต่อการจ้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ ลดการกระจุกตัวของงานในเมืองลง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําในสังคม จะเห็นได้ว่าโครงการ Thai Cosmetopoeia ส่งผลกระทบเชิงบวกทุกมิติ หากโครงการนี้ประสบความสําเร็จคาดว่า จะเป็นโครงการที่มีส่วนช่วยให้เราหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง อีกทั้งจะเป็น โครงการที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนประเทศภายใต้ Thailand 4.0 ได้อย่างแท้จริง...”ปลัดกระทรวง อว. กล่าว ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว.กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมไทยด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าเครื่องสําอางตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น (Thai Cosmetopoeia) เป็นโครงการตามยุทธศาสตร์การดําเนินงานของ วว. ในการวิจัยและพัฒนาด้านเครื่องสําอาง ปี 2020 โดยมีแนวคิดนําเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของฐานชีวภาพในพื้นที่ประเทศไทยมาพัฒนา ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ผ่านการนําเสนอในรูปแบบเครื่องสําอาง เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่และส่งเสริมอัตลักษณ์ในระดับชาติและนานาชาติ โดยนําเรื่องราวภูมิปัญญาของท้องถิ่น อัตลักษณ์ของพื้นที่ เศรษฐกิจชุมชน บรรจุอยู่ในเครื่องสําอางแต่ละชิ้นที่ผ่านการพัฒนาเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน โดยการดําเนินงานโครงการนั้น วว. ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายนําร่อง 24 หน่วยงาน ในภาคพื้นที่ระดับจังหวัด ภาคธุรกิจในพื้นที่ ภาคธุรกิจรายใหญ่ ภาคงานวิจัยและพัฒนา สถานที่ผลิตมาตรฐาน GMP ภาคการเงินทุน ภาคการตลาด ภาคสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อผลักดันให้ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ดังกล่าวถูกนําเสนอในระดับชาติและนานาชาติ สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมเครื่องสําอางเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและก่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ยั่งยืน โดยมีระยะเวลาโครงการ 5 ปี มีขอบเขตความร่วมมือในการร่วมกันดําเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการปลูก สายพันธุ์ กระบวนการแปรรูป การสกัด การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและเภสัชวิทยา ของพืชเป้าหมาย เพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางและเวชสําอาง รวมทั้งการทดสอบประสิทธิภาพและการประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และร่วมกันสนับสนุน ผลักดัน ให้เกิดการนําผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ “...ภาคีเครือข่ายนําร่อง 24 หน่วยงาน ที่ผนึกกําลังร่วมดําเนินงานกับ วว. ครั้งนี้ ได้แก่ 1.สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2. อินฟอร์มา มาร์เก็ต 3.บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) 4.บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ําตาล จํากัด 5.บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) 6.บริษัท เอส ซี จี เคมีคอลล์ จํากัด 7.บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จํากัด 8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 9.บริษัท รีเสิร์ช เอ็กซ์ จํากัด 10.สถาบันโรคผิวหนัง 11.บริษัท เอสแอนด์เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพรส์ พลับบลิค จํากัด 12.บริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด 13.บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จํากัด 14.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสําอาง) 15.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ประธานกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ) 16.หอการค้าจังหวัดน่าน 17.หอการค้าเชียงใหม่ 18.หอการค้าแม่ฮ่องสอน 19.บริษัท นอร์ทเทอร์สยามซีดแลด จํากัด 20.บริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี (แพร่) 21.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 22.บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จํากัด 23.บริษัท เอเดนอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด และ 24.สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ความร่วมมือบูรณาการระหว่าง วว. และภาคีเครือข่าย มีความสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสําอาง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากทรัพยากรธรรมชาติของไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรของท้องถิ่น...”ผู้ว่าการ วว. กล่าว นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ได้นําเสนอโครงการCosmetopiea และ 10 โครงการนําร่อง ในปี 2020ว่า ปีแรกของการดําเนินงานภายใต้โครงการ Thai Cosmetopoeia ในปี 2020 นั้น จะนําร่องโดย “โครงการพัฒนานวัตกรรมเครื่องสําอางจากทรัพยากรฐานชีวภาพเอกลักษณ์ภูมิภาคไทย” ภายใต้แนวคิด “มหัศจรรย์ความงามพฤกษาสู่ธารารัตน์” โดยจะคัดเลือกพืชที่มีความเป็นเอกลักษณ์จากจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย จากภาคเหนือ กลาง และใต้ มาเป็นพืชหลักและนําเข้าสู่กระบวนการวิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีศักยภาพในเชิงการค้า ได้แก่ 1.ใบหมี่ น่าน 2.ห้อม แพร่ 3.ครั่ง ลําปาง 4.ชาเมี่ยง เชียงใหม่ 5.บัวตอง แม่ฮ่องสอน 6.สับปะรดห้วยมุ่น อุตรดิตถ์ 7.ถั่วเหลือง อุดรธานี 8.ชะลูด ระยอง 9.มะพร้าวน้ําหอม สมุทรสงคราม และ 10.น้ําพุร้อนเค็ม กระบี่ “...มีการคาดการณ์ว่าในปี 2562 ตลาดเครื่องสําอางในประเทศไทย จะเติบโตมากถึง 2.7 แสนล้านบาท จากปี 2560 ที่มีมูลค่า 2 แสนล้านบาท (Euromonitor,2562) ทั้งนี้ประเทศไทยถือเป็นฮับในการผลิตเครื่องสําอางที่สําคัญในอาเซียน ไม่ว่าจะผลิตเพื่อจําหน่ายในประเทศหรือส่งออกก็ตาม โดยมีปัจจัยการันตีคือ ความน่าเชื่อถือ กระบวนการผลิตที่ครบครันตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา และส่วนผสมจากธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ ทําให้เครื่องสําอางที่ผลิตในไทยได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันไทยถือเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับที่ 3 ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและเกาหลี และยังเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง โดยศักยภาพของเครื่องสําอางแบรนด์ไทยนอกจากการเติบโตในประเทศแล้ว หากได้รับการผลักดัน การเสริมองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ ก็จะสามารถเข้าไปสร้างการยอมรับในตลาดโลกได้ไม่ยาก งานวิจัยและพัฒนาจากความเชี่ยวชาญของ วว. รวมทั้งศักยภาพของภาคีเครือข่ายที่ร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นส่วนสําคัญในการผลักดันสร้างการรับรู้แบรนด์ไทยในตลาดโลกให้ได้มากขึ้น...”นายสายันต์ ตันพานิช กล่าว ภายในงาน ยังมีเวทีเสวนาผู้ประกอบการจากโครงการ Thai Cosmetopiea โมเดลต้นแบบทั้ง 4 ท่าน มาร่วมพูดคุยถึงแนวคิดที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน และนิทรรศการตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางจากโครงการ Thai Cosmetopiea มาให้ได้ชม ได้ลอง กันอีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/21926
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทยชี้แจง กรณีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาน้ำท่วมของ จ.พระนครศรีอยุธยา
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2561 กระทรวงมหาดไทยชี้แจง กรณีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาน้ําท่วมของ จ.พระนครศรีอยุธยา กระทรวงมหาดไทยชี้แจง กรณีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาน้ําท่วมของ จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 1 เมษายน 2561 นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงกรณีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาน้ําท่วมของ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ให้ข้อเท็จจริง ดังนี้ การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ครัวเรือนละ 3,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรี และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสํารองรายจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ที่ได้ดําเนินการเรียบร้อยแล้ว และส่งข้อมูลให้กระทรวงเกษตรไปแล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2561 ดังนี้ 1. กรณีพายุตาลัส และเซินกา (ช่วงภัย วันที่ 5 กรกฎาคม ถึง วันที่ 15 สิงหาคม 2560) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 จํานวน 1 อําเภอ คือ อําเภอเสนา เกษตรกร จํานวน 480 ราย 2. กรณีพายุทกซูรี (ช่วงภัย วันที่ 16 สิงหาคม ถึง วันที่ 30 ตุลาคม 2560) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 จํานวน 11 อําเภอ ประกอบด้วย อําเภอเสนา บางปะหัน บางซ้าย บางปะอิน ผักไห่ ลาดบัวหลวง พระนครศรีอยุธยา มหาราช บางบาล บ้านแพรก บางไทร เกษตรกร จํานวน 16,375 ราย การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านการเกษตร) คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) ได้จัดประชุมและพิจารณาการให้ความช่วยเหลือเกษตรที่ประสบอุทกภัย จํานวน 5 ครั้ง สรุปให้ความช่วยเหลือ ดังนี้ 1. คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด พิจารณาให้ความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 โดยใช้จ่ายเงินทดรองราชการอํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอําเภออเสนา จํานวน 90 ราย (ด้านพืช 89 ราย ด้านประมง 1 ราย) ในวงเงิน 710,675.25 บาท 2. คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด พิจารณาให้ความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จํานวน 1,336 ราย เป็นเงิน 5,896,996.50 บาท และได้ส่งขอใช้เงินทดรองราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561 3. คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด จะพิจารณาการให้ความช่วยเหลือด้านประมงของอําเภอลาดบัวหลวงและอําเภอผักไห่ จํานวน 116 ราย ในวันที่ 2 เมษายน 2561 และจะสรุปเพื่อขอใช้จ่ายเงินทดรองราชการไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายในวันที่ 4 เมษายน 2561 ทั้งนี้ ขอเรียนว่าทางราชการได้ให้ความสําคัญในการฟื้นฟูบูรณะทรัพย์สินของประชาชน และการดํารงชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย แต่เนื่องจากมีการหารือในข้อกฎหมายบางประเด็น และความชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติของเกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งจะได้เร่งดําเนินการให้เป็นตามระเบียบทางราชการต่อไป -----------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทยชี้แจง กรณีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาน้ำท่วมของ จ.พระนครศรีอยุธยา วันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2561 กระทรวงมหาดไทยชี้แจง กรณีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาน้ําท่วมของ จ.พระนครศรีอยุธยา กระทรวงมหาดไทยชี้แจง กรณีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาน้ําท่วมของ จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 1 เมษายน 2561 นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงกรณีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาน้ําท่วมของ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ให้ข้อเท็จจริง ดังนี้ การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ครัวเรือนละ 3,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรี และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสํารองรายจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ที่ได้ดําเนินการเรียบร้อยแล้ว และส่งข้อมูลให้กระทรวงเกษตรไปแล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2561 ดังนี้ 1. กรณีพายุตาลัส และเซินกา (ช่วงภัย วันที่ 5 กรกฎาคม ถึง วันที่ 15 สิงหาคม 2560) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 จํานวน 1 อําเภอ คือ อําเภอเสนา เกษตรกร จํานวน 480 ราย 2. กรณีพายุทกซูรี (ช่วงภัย วันที่ 16 สิงหาคม ถึง วันที่ 30 ตุลาคม 2560) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 จํานวน 11 อําเภอ ประกอบด้วย อําเภอเสนา บางปะหัน บางซ้าย บางปะอิน ผักไห่ ลาดบัวหลวง พระนครศรีอยุธยา มหาราช บางบาล บ้านแพรก บางไทร เกษตรกร จํานวน 16,375 ราย การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ด้านการเกษตร) คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) ได้จัดประชุมและพิจารณาการให้ความช่วยเหลือเกษตรที่ประสบอุทกภัย จํานวน 5 ครั้ง สรุปให้ความช่วยเหลือ ดังนี้ 1. คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด พิจารณาให้ความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 โดยใช้จ่ายเงินทดรองราชการอํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอําเภออเสนา จํานวน 90 ราย (ด้านพืช 89 ราย ด้านประมง 1 ราย) ในวงเงิน 710,675.25 บาท 2. คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด พิจารณาให้ความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จํานวน 1,336 ราย เป็นเงิน 5,896,996.50 บาท และได้ส่งขอใช้เงินทดรองราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561 3. คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด จะพิจารณาการให้ความช่วยเหลือด้านประมงของอําเภอลาดบัวหลวงและอําเภอผักไห่ จํานวน 116 ราย ในวันที่ 2 เมษายน 2561 และจะสรุปเพื่อขอใช้จ่ายเงินทดรองราชการไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายในวันที่ 4 เมษายน 2561 ทั้งนี้ ขอเรียนว่าทางราชการได้ให้ความสําคัญในการฟื้นฟูบูรณะทรัพย์สินของประชาชน และการดํารงชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย แต่เนื่องจากมีการหารือในข้อกฎหมายบางประเด็น และความชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติของเกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งจะได้เร่งดําเนินการให้เป็นตามระเบียบทางราชการต่อไป -----------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11283
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่ทำงานสัมผัส ใกล้ชิดกับคนจีน
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2563 สธ. เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่ทํางานสัมผัส ใกล้ชิดกับคนจีน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่มีอาชีพสัมผัสใกล้ชิดกับคนจีน อาทิ ไกด์ พนักงานโรงแรม คนขับรถแท็กซี่ หากมีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ํามูก ให้โทรปรึกษาสายด่วน 1422 เพื่อเข้าระบบป้องกันควบคุมโรค ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่มีอาชีพสัมผัสใกล้ชิดกับคนจีน อาทิ ไกด์ พนักงานโรงแรม คนขับรถแท็กซี่ หากมีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ํามูก ให้โทรปรึกษาสายด่วน 1422 เพื่อเข้าระบบป้องกันควบคุมโรค บ่ายวันนี้ (30 มกราคม 2563) ที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เพื่อให้การเฝ้าระวังควบคุมป้องกัน มีความครอบคลุม กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่มีอาชีพทํางานสัมผัสใกล้ชิดกับคนจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย อาทิ ไกด์ พนักงานโรงแรม คนขับรถแท็กซี่ เจ้าหน้าที่สนามบิน ทําให้ช่วงนี้จํานวนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ต้องเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น โดยวานนี้ (29 มกราคม 2563) มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์รายใหม่ 44 ราย จนถึงวันนี้มีผู้ป่วยสะสม 202 ราย มีทั้งที่คัดกรองได้ที่ด่าน ขอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยตนเองและได้รับแจ้งจากที่พัก โรงแรม มัคคุเทศก์ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก การเพิ่มจํานวนแสดงถึงประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันของไทย ทั้งนี้การที่จะประกาศว่าผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค เป็นผู้ป่วยยืนยัน จะประกอบด้วย 1. มีประวัติการเดินทางจากประเทศระบาด (จีน) 2. มีอาการระบบทางเดินหายใจ ไข้ ไอ จาม น้ํามูก 3. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจาก 2 แห่ง ยืนยันตรงกัน 4. ผ่านการพิจารณาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ “ณ วันนี้ ยังไม่มีผู้ป่วยยืนยันเพิ่มเติม หากได้ผลการตรวจยืนยัน เราจะรีบแจ้งให้ทราบทันที ไม่มีปิดบังข้อมูล ซึ่งผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย เราได้ติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยทุกราย เข้ามาอยู่ในระบบตามมาตรฐานระดับสากล ประเทศไทยยังไม่พบการระบาด ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก ให้ติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข ขอให้ใช้ชีวิตประจําวันปกติ แต่ให้เพิ่มการระมัดระวัง ” นายแพทย์สุขุม กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้มีการบูรณาการการทํางาน จากบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งทหาร ตํารวจ ช่วยให้การคัดกรองมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น คนจีนทุกคนที่เดินทางเข้าประเทศ ต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิ สิ่งสําคัญประชาชนควรปฏิบัติตัวเหมือนเป็นโรคหวัดทั่วไป คือต้องทําให้ร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือด้วยน้ําสบู่หรือเจลล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัย โดยประชาชนทั่วไปแนะนําให้ใช้หน้ากากอนามัยที่ทําจากผ้า ซักทําความสะอาดและนํากลับมาใช้ได้อีก ส่วนผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ สวมให้ถูกวิธี นําด้านสีเขียวหรือด้านที่มีความมันไว้ด้านนอก ขณะนี้ ได้พัฒนาห้องปฏิบัติการรับรองเพิ่มจากเดิม 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลราชวิถี และห้องปฏิบัติการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพิ่มเติมจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทําให้ขณะนี้มีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรอง 4 แห่ง นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังได้พัฒนาเครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ รองรับการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อปอดอักเสบจากโคโรนาไวรัส 2019 ในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง เป็นมาตรฐานเดียวกัน เชื่อถือได้ ไม่จําเป็นต้องส่งมายังส่วนกลางทั้งหมด *************************** 30 มกราคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่ทำงานสัมผัส ใกล้ชิดกับคนจีน วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2563 สธ. เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่ทํางานสัมผัส ใกล้ชิดกับคนจีน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่มีอาชีพสัมผัสใกล้ชิดกับคนจีน อาทิ ไกด์ พนักงานโรงแรม คนขับรถแท็กซี่ หากมีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ํามูก ให้โทรปรึกษาสายด่วน 1422 เพื่อเข้าระบบป้องกันควบคุมโรค ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่มีอาชีพสัมผัสใกล้ชิดกับคนจีน อาทิ ไกด์ พนักงานโรงแรม คนขับรถแท็กซี่ หากมีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ํามูก ให้โทรปรึกษาสายด่วน 1422 เพื่อเข้าระบบป้องกันควบคุมโรค บ่ายวันนี้ (30 มกราคม 2563) ที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เพื่อให้การเฝ้าระวังควบคุมป้องกัน มีความครอบคลุม กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มการคัดกรองคนไทยที่มีอาชีพทํางานสัมผัสใกล้ชิดกับคนจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย อาทิ ไกด์ พนักงานโรงแรม คนขับรถแท็กซี่ เจ้าหน้าที่สนามบิน ทําให้ช่วงนี้จํานวนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ต้องเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น โดยวานนี้ (29 มกราคม 2563) มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์รายใหม่ 44 ราย จนถึงวันนี้มีผู้ป่วยสะสม 202 ราย มีทั้งที่คัดกรองได้ที่ด่าน ขอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยตนเองและได้รับแจ้งจากที่พัก โรงแรม มัคคุเทศก์ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก การเพิ่มจํานวนแสดงถึงประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันของไทย ทั้งนี้การที่จะประกาศว่าผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค เป็นผู้ป่วยยืนยัน จะประกอบด้วย 1. มีประวัติการเดินทางจากประเทศระบาด (จีน) 2. มีอาการระบบทางเดินหายใจ ไข้ ไอ จาม น้ํามูก 3. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจาก 2 แห่ง ยืนยันตรงกัน 4. ผ่านการพิจารณาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ “ณ วันนี้ ยังไม่มีผู้ป่วยยืนยันเพิ่มเติม หากได้ผลการตรวจยืนยัน เราจะรีบแจ้งให้ทราบทันที ไม่มีปิดบังข้อมูล ซึ่งผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย เราได้ติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยทุกราย เข้ามาอยู่ในระบบตามมาตรฐานระดับสากล ประเทศไทยยังไม่พบการระบาด ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก ให้ติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข ขอให้ใช้ชีวิตประจําวันปกติ แต่ให้เพิ่มการระมัดระวัง ” นายแพทย์สุขุม กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้มีการบูรณาการการทํางาน จากบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งทหาร ตํารวจ ช่วยให้การคัดกรองมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น คนจีนทุกคนที่เดินทางเข้าประเทศ ต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิ สิ่งสําคัญประชาชนควรปฏิบัติตัวเหมือนเป็นโรคหวัดทั่วไป คือต้องทําให้ร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือด้วยน้ําสบู่หรือเจลล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัย โดยประชาชนทั่วไปแนะนําให้ใช้หน้ากากอนามัยที่ทําจากผ้า ซักทําความสะอาดและนํากลับมาใช้ได้อีก ส่วนผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ สวมให้ถูกวิธี นําด้านสีเขียวหรือด้านที่มีความมันไว้ด้านนอก ขณะนี้ ได้พัฒนาห้องปฏิบัติการรับรองเพิ่มจากเดิม 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลราชวิถี และห้องปฏิบัติการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพิ่มเติมจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทําให้ขณะนี้มีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรอง 4 แห่ง นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังได้พัฒนาเครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ รองรับการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อปอดอักเสบจากโคโรนาไวรัส 2019 ในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง เป็นมาตรฐานเดียวกัน เชื่อถือได้ ไม่จําเป็นต้องส่งมายังส่วนกลางทั้งหมด *************************** 30 มกราคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26187
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเผยโทษประหารชีวิตเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ระบุเป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข
วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2561 นายกรัฐมนตรีเผยโทษประหารชีวิตเป็นการดําเนินการตามกฎหมาย ระบุเป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข นายกรัฐมนตรีเผยโทษประหารชีวิตเป็นการดําเนินการตามกฎหมาย ระบุเป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข วันนี้ (19 มิถุนายน 2561) เวลา 14.00 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณีกรมราชทัณฑ์ได้ดําเนินการบังคับโทษตามคําพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดว่า การประหารชีวิตเป็นการดําเนินการตามกฎหมายที่ยังบังคับใช้อยู่ ซึ่งจากการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้มีการประหารชีวิต ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวเป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย ตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข และเพื่อเป็นบทเรียนสอนใจ ไม่ให้กระทําความผิด จึงมีความจําเป็นต้องดําเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด ----------------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเผยโทษประหารชีวิตเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ระบุเป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2561 นายกรัฐมนตรีเผยโทษประหารชีวิตเป็นการดําเนินการตามกฎหมาย ระบุเป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข นายกรัฐมนตรีเผยโทษประหารชีวิตเป็นการดําเนินการตามกฎหมาย ระบุเป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข วันนี้ (19 มิถุนายน 2561) เวลา 14.00 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณีกรมราชทัณฑ์ได้ดําเนินการบังคับโทษตามคําพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดว่า การประหารชีวิตเป็นการดําเนินการตามกฎหมายที่ยังบังคับใช้อยู่ ซึ่งจากการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้มีการประหารชีวิต ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวเป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย ตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข และเพื่อเป็นบทเรียนสอนใจ ไม่ให้กระทําความผิด จึงมีความจําเป็นต้องดําเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด ----------------------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13181
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. เร่งรัดประกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทที่เสียชีวิต 6 ศพ บาดเจ็บ 52 รายกรณีรถทัวร์พลิกคว่ำที่จังหวัดปทุมธานี
วันอังคารที่ 8 มกราคม 2562 คปภ. เร่งรัดประกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทที่เสียชีวิต 6 ศพ บาดเจ็บ 52 รายกรณีรถทัวร์พลิกคว่ําที่จังหวัดปทุมธานี จากกรณีเกิดอุบัติเหตุรถยนต์โดยสารประจําทางสายกรุงเทพ-พนมไพร ของ บริษัท ประหยัดทัวร์ จํากัด หมายเลขทะเบียน 10-8175 นครราชสีมา เสียหลักพลิกคว่ํา บริเวณถนนพหลโยธิน ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดอุบัติเหตุรถยนต์โดยสารประจําทางสายกรุงเทพ-พนมไพร ของ บริษัท ประหยัดทัวร์ จํากัด หมายเลขทะเบียน 10-8175 นครราชสีมา เสียหลักพลิกคว่ํา บริเวณถนนพหลโยธิน ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจํานวน 6 ราย บาดเจ็บ 52 ราย เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2562 โดยเบื้องต้นได้สั่งการ สํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ตรวจสอบและลงพื้นที่เพื่ออํานวยความสะดวกด้านประกันภัยอย่างใกล้ชิด ตลอดจนติดตามเร่งรัดให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อเยียวยาความสูญเสียโดยเร็ว เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า สํานักงาน คปภ. มีความห่วงใยผู้บาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับ สํานักงาน คปภ. ภาค 6 (ชลบุรี) และสํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ติดตามบริษัทประกันภัยเพื่อเร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม พร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตมีการทําประกันชีวิตหรืออุบัติเหตุส่วนบุคคลประเภทอื่นๆไว้ด้วยหรือไม่ เพื่อใช้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ทั้ง 6 ราย และผู้บาดเจ็บอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ทั้งนี้ ได้รับรายงานเบื้องต้นจาก สํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ว่า รถยนต์โดยสารประจําทางหมายเลขทะเบียน 10-8175 นครราชสีมา ได้ทําประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับ บริษัท วิริยะประกันภัย จํากัด (มหาชน) กรมธรรม์เลขที่ 04647-61501/กธ/2434687 เริ่มความคุ้มครอง วันที่ 30 กันยายน 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 30 กันยายน 2562 และได้ทําประกันภัยรถภาคสมัครใจ ไว้กับ บริษัท วิริยะประกันภัย จํากัด (มหาชน) กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ 03795-61501/กธ/036552-30 เริ่มความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง 30 กันยายน 2562 โดยให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (ความเสียหายต่อชีวิต ร่ายกาย หรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. จํานวน 300,000 บาทต่อคน และ 10,000,000 บาทต่อครั้ง สําหรับความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ผู้ขับขี่ 1 คน จํานวน 200,000 บาท ผู้โดยสาร 45 คน จํานวน 200,000 บาทต่อคน ค่ารักษาพยาบาล จํานวน 200,000 บาทต่อคน การประกันตัวผู้ขับขี่ 200,000 บาทต่อครั้ง) สําหรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 6 ราย และผู้บาดเจ็บ นั้น สํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดและรายงานความคืบหน้า ว่า ญาติของผู้เสียชีวิตได้นําศพของผู้เสียชีวิตกลับไปบําเพ็ญกุศลที่บ้านเกิดในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 3 ราย จังหวัดสุรินทร์ 2 ราย และที่จังหวัดกาฬสินธุ์ 1 ราย โดยบริษัทประกันภัยได้ติดต่อทายาทของผู้เสียชีวิตทั้ง 6 รายแล้ว และจะเร่งดําเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดทําเอกสารประกอบการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ส่วนผู้บาดเจ็บทาง สํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตํารวจและโรงพยาบาลเพื่อแจ้งสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยในการรักษาพยาบาลตามสัญญากรมธรรม์ โดยแบ่งผู้บาดเจ็บออกเป็นกลุ่มๆ คือ บาดเจ็บมาก บาดเจ็บปานกลาง และบาดเจ็บเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการจ่ายค่าสินไหมทดแทนอีกด้วย "สํานักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในครั้งนี้ อุบัติเหตุนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงควรให้ความสําคัญกับการทําประกันภัยเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงภัย และขอฝากเตือนประชาชน ผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ ในส่วนของผู้ประกอบการรถโดยสารประจําทางควรหมั่นตรวจสอบวันหมดอายุกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (ประกันภัย พ.ร.บ.) ตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้งกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคสมัครใจ และกรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ เพื่อที่ระบบประกันภัยจะได้เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง และเยียวยาความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องประกันภัยสามารถติดต่อได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. เร่งรัดประกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทที่เสียชีวิต 6 ศพ บาดเจ็บ 52 รายกรณีรถทัวร์พลิกคว่ำที่จังหวัดปทุมธานี วันอังคารที่ 8 มกราคม 2562 คปภ. เร่งรัดประกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทที่เสียชีวิต 6 ศพ บาดเจ็บ 52 รายกรณีรถทัวร์พลิกคว่ําที่จังหวัดปทุมธานี จากกรณีเกิดอุบัติเหตุรถยนต์โดยสารประจําทางสายกรุงเทพ-พนมไพร ของ บริษัท ประหยัดทัวร์ จํากัด หมายเลขทะเบียน 10-8175 นครราชสีมา เสียหลักพลิกคว่ํา บริเวณถนนพหลโยธิน ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดอุบัติเหตุรถยนต์โดยสารประจําทางสายกรุงเทพ-พนมไพร ของ บริษัท ประหยัดทัวร์ จํากัด หมายเลขทะเบียน 10-8175 นครราชสีมา เสียหลักพลิกคว่ํา บริเวณถนนพหลโยธิน ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจํานวน 6 ราย บาดเจ็บ 52 ราย เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2562 โดยเบื้องต้นได้สั่งการ สํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ตรวจสอบและลงพื้นที่เพื่ออํานวยความสะดวกด้านประกันภัยอย่างใกล้ชิด ตลอดจนติดตามเร่งรัดให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อเยียวยาความสูญเสียโดยเร็ว เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า สํานักงาน คปภ. มีความห่วงใยผู้บาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับ สํานักงาน คปภ. ภาค 6 (ชลบุรี) และสํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ติดตามบริษัทประกันภัยเพื่อเร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม พร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตมีการทําประกันชีวิตหรืออุบัติเหตุส่วนบุคคลประเภทอื่นๆไว้ด้วยหรือไม่ เพื่อใช้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ทั้ง 6 ราย และผู้บาดเจ็บอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ทั้งนี้ ได้รับรายงานเบื้องต้นจาก สํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ว่า รถยนต์โดยสารประจําทางหมายเลขทะเบียน 10-8175 นครราชสีมา ได้ทําประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไว้กับ บริษัท วิริยะประกันภัย จํากัด (มหาชน) กรมธรรม์เลขที่ 04647-61501/กธ/2434687 เริ่มความคุ้มครอง วันที่ 30 กันยายน 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง วันที่ 30 กันยายน 2562 และได้ทําประกันภัยรถภาคสมัครใจ ไว้กับ บริษัท วิริยะประกันภัย จํากัด (มหาชน) กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ 03795-61501/กธ/036552-30 เริ่มความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2561 สิ้นสุดความคุ้มครอง 30 กันยายน 2562 โดยให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (ความเสียหายต่อชีวิต ร่ายกาย หรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. จํานวน 300,000 บาทต่อคน และ 10,000,000 บาทต่อครั้ง สําหรับความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ผู้ขับขี่ 1 คน จํานวน 200,000 บาท ผู้โดยสาร 45 คน จํานวน 200,000 บาทต่อคน ค่ารักษาพยาบาล จํานวน 200,000 บาทต่อคน การประกันตัวผู้ขับขี่ 200,000 บาทต่อครั้ง) สําหรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 6 ราย และผู้บาดเจ็บ นั้น สํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดและรายงานความคืบหน้า ว่า ญาติของผู้เสียชีวิตได้นําศพของผู้เสียชีวิตกลับไปบําเพ็ญกุศลที่บ้านเกิดในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 3 ราย จังหวัดสุรินทร์ 2 ราย และที่จังหวัดกาฬสินธุ์ 1 ราย โดยบริษัทประกันภัยได้ติดต่อทายาทของผู้เสียชีวิตทั้ง 6 รายแล้ว และจะเร่งดําเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดทําเอกสารประกอบการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ส่วนผู้บาดเจ็บทาง สํานักงาน คปภ. จังหวัดปทุมธานี ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตํารวจและโรงพยาบาลเพื่อแจ้งสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยในการรักษาพยาบาลตามสัญญากรมธรรม์ โดยแบ่งผู้บาดเจ็บออกเป็นกลุ่มๆ คือ บาดเจ็บมาก บาดเจ็บปานกลาง และบาดเจ็บเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการจ่ายค่าสินไหมทดแทนอีกด้วย "สํานักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในครั้งนี้ อุบัติเหตุนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงควรให้ความสําคัญกับการทําประกันภัยเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงภัย และขอฝากเตือนประชาชน ผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ ในส่วนของผู้ประกอบการรถโดยสารประจําทางควรหมั่นตรวจสอบวันหมดอายุกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (ประกันภัย พ.ร.บ.) ตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้งกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคสมัครใจ และกรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ เพื่อที่ระบบประกันภัยจะได้เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง และเยียวยาความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องประกันภัยสามารถติดต่อได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17987
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ลงพื้นที่ จ.สงขลา ติดตามพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ปลื้มแนวคิด “ คนนาทวีไม่ทอดทิ้งกัน”
วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2560 สธ. ลงพื้นที่ จ.สงขลา ติดตามพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ ปลื้มแนวคิด “ คนนาทวีไม่ทอดทิ้งกัน” กระทรวงสาธารณสุขชื่นชมการขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อําเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ด้วยแนวคิด “คนนาทวี ใส่ใจ ห่วงใย ดูแลกัน” ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนนาทวี ให้มีสุขภาวะที่ยั่งยืน กระทรวงสาธารณสุขชื่นชมการขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อําเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ด้วยแนวคิด “คนนาทวี ใส่ใจ ห่วงใย ดูแลกัน” ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนนาทวี ให้มีสุขภาวะที่ยั่งยืน นายแพทย์กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขติดตามความคืบหน้าการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.)อ.นาทวี จ.สงขลา พบว่าในพื้นที่ อ.นาทวี มีจํานวนผู้พิการเพิ่มขึ้นและมีการลงทะเบียนจํานวน 1,389 รายจึงได้ใช้ยุทธศาสตร์ “คนนาทวีไม่ทอดทิ้งกัน” ทําให้ผู้พิการเข้าถึงบริการและเข้าถึงระบบฐานข้อมูลการลงทะเบียนได้มากขึ้น ส่งผลให้ได้รับการดูแลด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู อย่างครอบคลุมและต่อเนื่องมีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนระดับตําบล และชมรมคนพิการระดับอําเภอ “ชมรมคนนาทวีไม่ทอดทิ้งกัน” สร้างอาชีพแก่ผู้พิการให้สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นโครงการอบรมหลักสูตรนวดแก่คนพิการทางการมองเห็นโครงการฝึกอาชีพกลุ่มทําขนมเป็นต้น สําหรับสาเหตุความพิการเกิดจากอุบัติเหตุและโรคเรื้อรังต่าง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง จึงได้แบ่งกลุ่มประชากรในพื้นที่เป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง กลุ่มป่วยที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนซึ่งประเภทความพิการที่พบมากที่สุดคือประเภททางกายและการเคลื่อนไหวจํานวน 688 รายและประเภททางการได้ยินและสื่อความหมายจํานวน337รายจึงดําเนินการดูแลสุขภาพกลุ่มโรคเรื้อรังโดยใช้โครงการหลักเศรษฐกิจพอเพียง“สุขภาพดีวิถีคนนาทวี:อ.อาหารเพื่อการบําบัด”ดึงเครือข่ายเกษตรจิตอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน แพทย์แผนไทยในพื้นที่ร่วมดําเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและใช้พื้นที่ในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ อาทิศูนย์เรียนรู้ตําบลนาหมอศรี ศูนย์เรียนรู้ตําบลทับช้าง โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อําเภอนาทวีเป็นต้นเกิดกระแสชวนกันปลูกผักกินเองประชาชนและผู้พิการในพื้นที่หันมาสนใจบริโภคเมนูที่ทําด้วยผักในท้องถิ่น ไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ดีต่อสุขภาพ ดีต่อสิ่งแวดล้อมและมีสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ได้จัดโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเพื่อลดคนพิการรายใหม่โดยการสร้างเครือข่ายสุขภาพระดับอําเภอค้นหาสิ่งดีในชุมชนและจัดทํากิจกรรมต่างๆ ตามบริบทของพื้นที่ อาทิกลุ่มช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้โดยชุมชน กลองยาวผู้สูงอายุ สินค้าOTOPโดยผู้สูงอายุผักปลอดสารพิษ กําลังใจจากเพื่อนเยี่ยมเพื่อนผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือโดยผู้สูงอายุและซ่อมแซมบ้านให้ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสที่ยากไร้เสริมทักษะด้านการผลิตและเสริมอาชีพเพิ่มเติมให้คนพิการและครอบครัว **************************************** 29 พฤศจิกายน 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ลงพื้นที่ จ.สงขลา ติดตามพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ปลื้มแนวคิด “ คนนาทวีไม่ทอดทิ้งกัน” วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2560 สธ. ลงพื้นที่ จ.สงขลา ติดตามพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ ปลื้มแนวคิด “ คนนาทวีไม่ทอดทิ้งกัน” กระทรวงสาธารณสุขชื่นชมการขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อําเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ด้วยแนวคิด “คนนาทวี ใส่ใจ ห่วงใย ดูแลกัน” ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนนาทวี ให้มีสุขภาวะที่ยั่งยืน กระทรวงสาธารณสุขชื่นชมการขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อําเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ด้วยแนวคิด “คนนาทวี ใส่ใจ ห่วงใย ดูแลกัน” ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนนาทวี ให้มีสุขภาวะที่ยั่งยืน นายแพทย์กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขติดตามความคืบหน้าการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.)อ.นาทวี จ.สงขลา พบว่าในพื้นที่ อ.นาทวี มีจํานวนผู้พิการเพิ่มขึ้นและมีการลงทะเบียนจํานวน 1,389 รายจึงได้ใช้ยุทธศาสตร์ “คนนาทวีไม่ทอดทิ้งกัน” ทําให้ผู้พิการเข้าถึงบริการและเข้าถึงระบบฐานข้อมูลการลงทะเบียนได้มากขึ้น ส่งผลให้ได้รับการดูแลด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู อย่างครอบคลุมและต่อเนื่องมีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนระดับตําบล และชมรมคนพิการระดับอําเภอ “ชมรมคนนาทวีไม่ทอดทิ้งกัน” สร้างอาชีพแก่ผู้พิการให้สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นโครงการอบรมหลักสูตรนวดแก่คนพิการทางการมองเห็นโครงการฝึกอาชีพกลุ่มทําขนมเป็นต้น สําหรับสาเหตุความพิการเกิดจากอุบัติเหตุและโรคเรื้อรังต่าง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง จึงได้แบ่งกลุ่มประชากรในพื้นที่เป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง กลุ่มป่วยที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนซึ่งประเภทความพิการที่พบมากที่สุดคือประเภททางกายและการเคลื่อนไหวจํานวน 688 รายและประเภททางการได้ยินและสื่อความหมายจํานวน337รายจึงดําเนินการดูแลสุขภาพกลุ่มโรคเรื้อรังโดยใช้โครงการหลักเศรษฐกิจพอเพียง“สุขภาพดีวิถีคนนาทวี:อ.อาหารเพื่อการบําบัด”ดึงเครือข่ายเกษตรจิตอาสา ปราชญ์ชาวบ้าน แพทย์แผนไทยในพื้นที่ร่วมดําเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและใช้พื้นที่ในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ อาทิศูนย์เรียนรู้ตําบลนาหมอศรี ศูนย์เรียนรู้ตําบลทับช้าง โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อําเภอนาทวีเป็นต้นเกิดกระแสชวนกันปลูกผักกินเองประชาชนและผู้พิการในพื้นที่หันมาสนใจบริโภคเมนูที่ทําด้วยผักในท้องถิ่น ไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ดีต่อสุขภาพ ดีต่อสิ่งแวดล้อมและมีสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ได้จัดโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเพื่อลดคนพิการรายใหม่โดยการสร้างเครือข่ายสุขภาพระดับอําเภอค้นหาสิ่งดีในชุมชนและจัดทํากิจกรรมต่างๆ ตามบริบทของพื้นที่ อาทิกลุ่มช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้โดยชุมชน กลองยาวผู้สูงอายุ สินค้าOTOPโดยผู้สูงอายุผักปลอดสารพิษ กําลังใจจากเพื่อนเยี่ยมเพื่อนผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือโดยผู้สูงอายุและซ่อมแซมบ้านให้ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสที่ยากไร้เสริมทักษะด้านการผลิตและเสริมอาชีพเพิ่มเติมให้คนพิการและครอบครัว **************************************** 29 พฤศจิกายน 2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8437
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. ฉัตรชัย มอบ พม. เป็นเจ้าภาพหลักจัดทำรูปแบบการปฏิรูปกระบวนการการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และติดตามการดําเนินการทางวินัย
วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 รอง นรม. ฉัตรชัย มอบ พม. เป็นเจ้าภาพหลักจัดทํารูปแบบการปฏิรูปกระบวนการการดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และติดตามการดําเนินการทางวินัย รอง นรม. ฉัตรชัย มอบ พม. เป็นเจ้าภาพหลักจัดทํารูปแบบการปฏิรูปกระบวนการการดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และติดตามการดําเนินการทางวินัย วันนี้ (24 ม.ค. 61) เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพมหานคร นายณรงค์ คงคํา โฆษกประจํากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 โดยมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ได้แก่ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (สตช.) กระทรวงแรงงาน สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสํานักงานเลขาธิการศาลยุติธรรม เพื่อร่วมกันหาแนวทางมาตรการการดําเนินการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ทางด้านวินัย รัฐบาลโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตริ ได้มอบนโยบาย "การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์” เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมเร่งรัดการบูรณาการทํางานของทุกกระทรวง ทบวง กรม ร่วมกับ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ภายใต้แนวคิด "ประชารัฐ ร่วมใจ ต้านภัยการค้ามนุษย์” เพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป เนื่องจากการค้ามนุษย์เป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง สําหรับการดําเนินการกับผู้กระทําความผิด ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและพลเรือนอย่างเด็ดขาด มีการออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมและให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศ 7 ฉบับ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินคดีและการยึดทรัพย์ การประชุมเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ครั้งนี้ มีการพิจารณา 2 ประเด็นสําคัญ ได้แก่ 1) มาตรการการดําเนินการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ป.ป.ท. และ ป.ป.ช. และ 2 ) มาตรการการดําเนินการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ทางด้านวินัย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายกระทรวง พม. เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทํารูปแบบการปฏิรูปกระบวนการการดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการความนุษย์ ทั้งในเรื่องกฎหมายและกระบวนการทํางาน โดยให้แล้วเสร็จภายใน 1 – 2 เดือน โดยมอบหมายกระทรวง พม. ดําเนินการจัดประชุมกลุุ่มเล็ก โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ สตช. DSI ป.ป.ท. ป.ป.ง. และ ป.ป.ช. เป็นต้น และมอบหมาย กระทรวง พม. ติดตามการดําเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ตามข้อ 16 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรการทางบริหารในการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2558 โดยให้รายงานเสนอ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ ทราบผลการดําเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายใน 7 วัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. ฉัตรชัย มอบ พม. เป็นเจ้าภาพหลักจัดทำรูปแบบการปฏิรูปกระบวนการการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และติดตามการดําเนินการทางวินัย วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 รอง นรม. ฉัตรชัย มอบ พม. เป็นเจ้าภาพหลักจัดทํารูปแบบการปฏิรูปกระบวนการการดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และติดตามการดําเนินการทางวินัย รอง นรม. ฉัตรชัย มอบ พม. เป็นเจ้าภาพหลักจัดทํารูปแบบการปฏิรูปกระบวนการการดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และติดตามการดําเนินการทางวินัย วันนี้ (24 ม.ค. 61) เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพมหานคร นายณรงค์ คงคํา โฆษกประจํากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 โดยมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ได้แก่ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (สตช.) กระทรวงแรงงาน สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสํานักงานเลขาธิการศาลยุติธรรม เพื่อร่วมกันหาแนวทางมาตรการการดําเนินการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ทางด้านวินัย รัฐบาลโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตริ ได้มอบนโยบาย "การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์” เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมเร่งรัดการบูรณาการทํางานของทุกกระทรวง ทบวง กรม ร่วมกับ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ภายใต้แนวคิด "ประชารัฐ ร่วมใจ ต้านภัยการค้ามนุษย์” เพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป เนื่องจากการค้ามนุษย์เป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง สําหรับการดําเนินการกับผู้กระทําความผิด ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและพลเรือนอย่างเด็ดขาด มีการออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมและให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศ 7 ฉบับ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินคดีและการยึดทรัพย์ การประชุมเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ครั้งนี้ มีการพิจารณา 2 ประเด็นสําคัญ ได้แก่ 1) มาตรการการดําเนินการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ป.ป.ท. และ ป.ป.ช. และ 2 ) มาตรการการดําเนินการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ทางด้านวินัย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายกระทรวง พม. เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทํารูปแบบการปฏิรูปกระบวนการการดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการความนุษย์ ทั้งในเรื่องกฎหมายและกระบวนการทํางาน โดยให้แล้วเสร็จภายใน 1 – 2 เดือน โดยมอบหมายกระทรวง พม. ดําเนินการจัดประชุมกลุุ่มเล็ก โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ สตช. DSI ป.ป.ท. ป.ป.ง. และ ป.ป.ช. เป็นต้น และมอบหมาย กระทรวง พม. ติดตามการดําเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ตามข้อ 16 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรการทางบริหารในการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2558 โดยให้รายงานเสนอ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ ทราบผลการดําเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายใน 7 วัน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9596
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.แรงงาน เยี่ยมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตแปรรูปจากไม้ ยกระดับฝีมือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จ.บุรีรัมย์
วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2561 รมว.แรงงาน เยี่ยมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตแปรรูปจากไม้ ยกระดับฝีมือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จ.บุรีรัมย์ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เยี่ยมชมกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตแปรรูปจากไม้ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตแปรรูปจากไม้ ต.หนองบอน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๔๐ น. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เยี่ยมชมกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตแปรรูปจากไม้ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตแปรรูปจากไม้ ต.หนองบอน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ปัจจุบันกลุ่มหัตถกรรมไม้ ต.หนองบอน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ได้มีการรวมกลุ่มคนที่มีฝีมือในการผลิตสินค้าจากไม้ ใน ต.หนองบอน เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นการแปรรูปสินค้าจากไม้ เช่น ไม้ตาล ไม้แดง เป็นต้น ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทําจากไม้ เช่น ช้อนชา ไม้เกาหลัง ไม้สําหรับนวด ถาดใส่ผลไม้ เพื่อจําหน่ายให้แก่จังหวัดเชียงราย และเพื่อส่งออก ในปี ๒๕๖๑ หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานได้จัดกิจกรรม "การบูรณาการประชารัฐร่วมใจ Safety Thailand แรงงานนอกระบบและอาสาสมัครแรงงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" โดยนําภารกิจของกระทรวงแรงงานเข้าไปให้บริการ อาทิ การสาธิตอาชีพอิสระ การลงทะเบียนหางานทําและแนะแนวอาชีพ การรับสมัครพัฒนาฝีมือแรงงาน การให้คําปรึกษาผู้ใช้แรงงาน การคุ้มครองแรงงานนอกระบบ การสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดํารงชีวิต และความปลอดภัยในการทํางาน เป็นต้น สําหรับกิจกรรม "การบูรณาการประชารัฐร่วมใจ Safety Thailand แรงงานนอกระบบและอาสาสมัครแรงงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจํานวน ๙๖๐ คน มีผู้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ รายใหม่ จํานวน ๑๐๓ คน สมัครพัฒนาฝีมือแรงงาน ๒ รุ่น หลักสูตร การปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์กับหลักสูตรแปรรูปจากเศษไม้เป็นถ่าน มีผู้ลงทะเบียนหางานทํา จํานวน ๒๓๐ คน ปัจจุบันมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กองทุนประกันสังคมในพื้นที่ ต.หนองบอน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ จํานวน ๒๐๒ คน -------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ - ข่าว/ สมภพ ศีลบุตร - ภาพ/ 7 พฤษภาคม 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.แรงงาน เยี่ยมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตแปรรูปจากไม้ ยกระดับฝีมือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จ.บุรีรัมย์ วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2561 รมว.แรงงาน เยี่ยมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตแปรรูปจากไม้ ยกระดับฝีมือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จ.บุรีรัมย์ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เยี่ยมชมกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตแปรรูปจากไม้ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตแปรรูปจากไม้ ต.หนองบอน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๔๐ น. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เยี่ยมชมกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตแปรรูปจากไม้ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตแปรรูปจากไม้ ต.หนองบอน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ปัจจุบันกลุ่มหัตถกรรมไม้ ต.หนองบอน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ได้มีการรวมกลุ่มคนที่มีฝีมือในการผลิตสินค้าจากไม้ ใน ต.หนองบอน เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นการแปรรูปสินค้าจากไม้ เช่น ไม้ตาล ไม้แดง เป็นต้น ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทําจากไม้ เช่น ช้อนชา ไม้เกาหลัง ไม้สําหรับนวด ถาดใส่ผลไม้ เพื่อจําหน่ายให้แก่จังหวัดเชียงราย และเพื่อส่งออก ในปี ๒๕๖๑ หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานได้จัดกิจกรรม "การบูรณาการประชารัฐร่วมใจ Safety Thailand แรงงานนอกระบบและอาสาสมัครแรงงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" โดยนําภารกิจของกระทรวงแรงงานเข้าไปให้บริการ อาทิ การสาธิตอาชีพอิสระ การลงทะเบียนหางานทําและแนะแนวอาชีพ การรับสมัครพัฒนาฝีมือแรงงาน การให้คําปรึกษาผู้ใช้แรงงาน การคุ้มครองแรงงานนอกระบบ การสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดํารงชีวิต และความปลอดภัยในการทํางาน เป็นต้น สําหรับกิจกรรม "การบูรณาการประชารัฐร่วมใจ Safety Thailand แรงงานนอกระบบและอาสาสมัครแรงงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจํานวน ๙๖๐ คน มีผู้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ รายใหม่ จํานวน ๑๐๓ คน สมัครพัฒนาฝีมือแรงงาน ๒ รุ่น หลักสูตร การปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์กับหลักสูตรแปรรูปจากเศษไม้เป็นถ่าน มีผู้ลงทะเบียนหางานทํา จํานวน ๒๓๐ คน ปัจจุบันมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กองทุนประกันสังคมในพื้นที่ ต.หนองบอน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ จํานวน ๒๐๒ คน -------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ - ข่าว/ สมภพ ศีลบุตร - ภาพ/ 7 พฤษภาคม 2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12055
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. ยก Mobile Unit ลงพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อน อำเภอหลังสวน ให้บริการประกันภัยครบวงจรเพื่อชุมชน
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 คปภ. ยก Mobile Unit ลงพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อน อําเภอหลังสวน ให้บริการประกันภัยครบวงจรเพื่อชุมชน • มอบโล่เกียรติคุณยกย่องชุมชนอําเภอหลังสวนเป็นต้นแบบรณรงค์การทําประกัน พ.ร.บ. 100% ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 ได้นําคณะผู้บริหาร สํานักงาน คปภ. เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ผู้ไกล่เกลี่ยของสํานักงาน คปภ. ผู้จัดการกองทุนประกันชีวิต และผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย พร้อมภาคธุรกิจประกันภัย ลงพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อน-ถ้ําเขาเงิน สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ชุมพร ตําบลท่ามะพลา อําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งนับเป็นครั้งที่สองของการลงพื้นที่ตาม “โครงการ คปภ. เพื่อชุมชนปี 2” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ประชาชนในชุมชนต่างๆของประเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยและสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนเกิดความตระหนักรู้ถึงความจําเป็นและประโยชน์ของการประกันภัย รวมทั้งเกิดความเชื่อมั่นว่าระบบประกันภัยสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัว ซึ่งจะเป็นการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งในด้านการบริหารความเสี่ยงด้วยระบบประกันภัย ในรูปแบบ Mobile Insurance Unit หรือศูนย์บริการประชาชนด้านการประกันภัยเคลื่อนที่ แบบครบวงจร การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บทบาทหน้าที่ของสํานักงานคปภ.และให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชน การให้ความช่วยเหลือเเละรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยผ่าน Mobile Complaint Unit หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้าน การประกันภัยเคลื่อนที่ โดยมีการลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวชุมชนและรับฟังสภาพปัญหาด้านการประกันภัย รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมฐานเรียนรู้ต่างๆภายในชุมชน ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร โดยมีนายสุทธิพันธ์ สุวรรณบัณฑิต ผู้นําชุมชนบ้านท่าสะท้อน พาเยี่ยมชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของผู้คนภายในชุมชน รวมทั้งเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ อาทิ ฐานเรียนรู้สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ชุมพร ถ้ําเขาเงิน ถ้ําไม้ขาว และ ถ้ํารอยควาย ฐานเรียนรู้ศูนย์ผลิต และจําหน่ายสินค้า OTOP การแปรรูปกล้วยเล็บมือนาง ตําบลท่ามะพลา ฐานเรียนรู้เกษตรแบบผสมผสานสวนผักพื้นบ้าน ผักเหลียง ผักกูด สวนมังคุด และฐาน เรียนรู้ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ทุเรียนกวน ทุเรียนกรอบ ตลาดหลังสวน รวมทั้งมีการถ่ายทํารายการกิจกรรมการเรียนรู้ และการเสวนาเพื่อนําไปออก รายการโทรทัศน์เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับชมผ่านรายการโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล ช่องอัมรินทร์ทีวี (ช่อง 34) อีกด้วย นอกจากนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมและสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กับชาวชุมชนบ้านท่าสะท้อนแบบครบวงจร สํานักงาน คปภ. ได้จัดเวทีเสวนาให้ความรู้ด้านประกันภัยภายใต้หัวข้อ “ประกันภัยน่ารู้ สู่ชุมชน” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจาก สํานักงาน คปภ. อาทิ นายชัยยุทธ มังศรี ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ นางคนึงนิจ สุจิตจร ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกํากับผลิตภัณฑ์ประกันภัย นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวางแผนและพัฒนากฎหมาย สํานักงาน คปภ. และนายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อํานวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยมีนายชนะพล มหาวงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค เป็นผู้ดําเนินรายการ สําหรับรูปแบบการให้ความรู้ด้านประกันภัยในครั้งนี้เป็นการให้ความรู้จากการถอดบทเรียนกรณีศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่เพื่อให้ชุมชนเข้าใจถึงบทบาทของระบบประกันภัยที่เข้ามาช่วยในการบริหารความเสี่ยง เช่น กรณีอดีตนักกีฬาเทนนิสทีมชาติมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัย แต่ในที่สุดสํานักงาน คปภ.ได้ส่งผู้บริหารสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค จากส่วนกลางเข้าไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าวทําให้เรื่องนี้ยุติลงด้วยความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตผู้สูงอายุ จนเกิดวลีผ่านช่องทางโซเซียลมีเดีย “ประกันชีวิตอาวุโส ไม่โอเค” ซึ่ง สํานักงาน คปภ. ได้เข้าไปแก้ไขข้อพิพาท จนเป็นที่พึงพอใจของผู้เอาประกันภัยและมีการปรับปรุงกรมธรรม์ประกันชีวิตอาวุโสให้มีความชัดเจนและแตกต่างไปจากกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบธรรมดาอีกด้วย เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า จากการลงพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อนในครั้งนี้ นอกจากรับฟังสภาพปัญหาด้านประกันภัยของชุมชนแห่งนี้แล้ว ยังได้รับรายงานจาก สํานักงาน คปภ. จังหวัดชุมพร ด้วยว่า จังหวัดชุมพรเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งถือเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศมีการส่งออกจํานวนมาก และมีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความต้องการของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประเทศจีน จึงทําให้เกษตรกรในอําเภอหลังสวนเปลี่ยนมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น ในขณะที่สภาพภูมิประเทศของอําเภอหลังสวนมีความสุ่มเสี่ยงต่อการประสบภัยทางธรรมชาติ ทั้งพายุ น้ําท่วม น้ําป่าไหลหลาก ส่งผลทําให้พืชผลทางการเกษตรและผลไม้ได้รับความเสียหายอยู่เนื่องๆ จึงรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่อําเภอหลังสวนเพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญต่อการนําระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าในจังหวัดชุมพรมีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก ดังนั้นจึงควรนําระบบประกันภัยทั้งประเภทที่กฎหมายบังคับและประเภทสมัครใจ เช่น กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางสําหรับธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างระยะเวลาการเดินทางและทําให้เกิดการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะสายตาหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงและค่ารักษาพยาบาล ก็จะได้รับความคุ้มครอง รวมทั้งกรมธรรม์ภาคสมัครใจ เช่น การประกันภัยอุบัติเหตุสําหรับผู้โดยสารแพ การประกันภัยท่องเที่ยว การประกันภัยสวนทุเรียน การประกันภัยบ้านพักอาศัย เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยเหล่านี้เข้ามาบริหารความเสี่ยง และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงหากเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น อันจะทําให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครองด้วยระบบประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ทั้งนี้ จากการที่กฎหมายกําหนดให้เจ้าของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องจัดทําประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ซึ่งจากข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 พบว่าในพื้นที่อําเภอหลังสวนมีรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมจํานวน 37,765 คัน มีรถยนต์ที่จัดทําประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จํานวน 35,602 คัน คิดเป็นร้อยละ 94.27 ของรถยนต์ที่มีการจดทะเบียนสะสม ในส่วนรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนสะสมจํานวน 24,991 คัน มีรถจักรยานยนต์ที่จัดทําประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จํานวน 23,545 คัน คิดเป็นร้อยละ 94.21 ของรถจักรยานยนต์ที่มีการจดทะเบียนสะสม ดังนั้นจึงขอชื่นชมประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อน อําเภอหลังสวน ที่ปฏิบัติตามกฎหมายและให้ความสําคัญต่อการทําประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อบริหารความเสี่ยงให้กับตัวเองและครอบครัว โดย สํานักงาน คปภ. ได้มอบโล่เกียรติคุณยกย่องและจะได้ใช้เป็นโมเดลต้นแบบเพื่อรณรงค์การทําประกันภัยรถภาคบังคับ (ประกันภัย พ.ร.บ.) รถจักรยานยนต์ 100% ต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. ยก Mobile Unit ลงพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อน อำเภอหลังสวน ให้บริการประกันภัยครบวงจรเพื่อชุมชน วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 คปภ. ยก Mobile Unit ลงพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อน อําเภอหลังสวน ให้บริการประกันภัยครบวงจรเพื่อชุมชน • มอบโล่เกียรติคุณยกย่องชุมชนอําเภอหลังสวนเป็นต้นแบบรณรงค์การทําประกัน พ.ร.บ. 100% ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 ได้นําคณะผู้บริหาร สํานักงาน คปภ. เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ผู้ไกล่เกลี่ยของสํานักงาน คปภ. ผู้จัดการกองทุนประกันชีวิต และผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย พร้อมภาคธุรกิจประกันภัย ลงพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อน-ถ้ําเขาเงิน สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ชุมพร ตําบลท่ามะพลา อําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งนับเป็นครั้งที่สองของการลงพื้นที่ตาม “โครงการ คปภ. เพื่อชุมชนปี 2” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ประชาชนในชุมชนต่างๆของประเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยและสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนเกิดความตระหนักรู้ถึงความจําเป็นและประโยชน์ของการประกันภัย รวมทั้งเกิดความเชื่อมั่นว่าระบบประกันภัยสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัว ซึ่งจะเป็นการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งในด้านการบริหารความเสี่ยงด้วยระบบประกันภัย ในรูปแบบ Mobile Insurance Unit หรือศูนย์บริการประชาชนด้านการประกันภัยเคลื่อนที่ แบบครบวงจร การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บทบาทหน้าที่ของสํานักงานคปภ.และให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชน การให้ความช่วยเหลือเเละรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยผ่าน Mobile Complaint Unit หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้าน การประกันภัยเคลื่อนที่ โดยมีการลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวชุมชนและรับฟังสภาพปัญหาด้านการประกันภัย รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมฐานเรียนรู้ต่างๆภายในชุมชน ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร โดยมีนายสุทธิพันธ์ สุวรรณบัณฑิต ผู้นําชุมชนบ้านท่าสะท้อน พาเยี่ยมชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของผู้คนภายในชุมชน รวมทั้งเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ อาทิ ฐานเรียนรู้สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ชุมพร ถ้ําเขาเงิน ถ้ําไม้ขาว และ ถ้ํารอยควาย ฐานเรียนรู้ศูนย์ผลิต และจําหน่ายสินค้า OTOP การแปรรูปกล้วยเล็บมือนาง ตําบลท่ามะพลา ฐานเรียนรู้เกษตรแบบผสมผสานสวนผักพื้นบ้าน ผักเหลียง ผักกูด สวนมังคุด และฐาน เรียนรู้ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ทุเรียนกวน ทุเรียนกรอบ ตลาดหลังสวน รวมทั้งมีการถ่ายทํารายการกิจกรรมการเรียนรู้ และการเสวนาเพื่อนําไปออก รายการโทรทัศน์เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับชมผ่านรายการโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล ช่องอัมรินทร์ทีวี (ช่อง 34) อีกด้วย นอกจากนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมและสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กับชาวชุมชนบ้านท่าสะท้อนแบบครบวงจร สํานักงาน คปภ. ได้จัดเวทีเสวนาให้ความรู้ด้านประกันภัยภายใต้หัวข้อ “ประกันภัยน่ารู้ สู่ชุมชน” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจาก สํานักงาน คปภ. อาทิ นายชัยยุทธ มังศรี ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ นางคนึงนิจ สุจิตจร ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกํากับผลิตภัณฑ์ประกันภัย นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวางแผนและพัฒนากฎหมาย สํานักงาน คปภ. และนายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อํานวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยมีนายชนะพล มหาวงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค เป็นผู้ดําเนินรายการ สําหรับรูปแบบการให้ความรู้ด้านประกันภัยในครั้งนี้เป็นการให้ความรู้จากการถอดบทเรียนกรณีศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่เพื่อให้ชุมชนเข้าใจถึงบทบาทของระบบประกันภัยที่เข้ามาช่วยในการบริหารความเสี่ยง เช่น กรณีอดีตนักกีฬาเทนนิสทีมชาติมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัย แต่ในที่สุดสํานักงาน คปภ.ได้ส่งผู้บริหารสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค จากส่วนกลางเข้าไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าวทําให้เรื่องนี้ยุติลงด้วยความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตผู้สูงอายุ จนเกิดวลีผ่านช่องทางโซเซียลมีเดีย “ประกันชีวิตอาวุโส ไม่โอเค” ซึ่ง สํานักงาน คปภ. ได้เข้าไปแก้ไขข้อพิพาท จนเป็นที่พึงพอใจของผู้เอาประกันภัยและมีการปรับปรุงกรมธรรม์ประกันชีวิตอาวุโสให้มีความชัดเจนและแตกต่างไปจากกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบธรรมดาอีกด้วย เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า จากการลงพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อนในครั้งนี้ นอกจากรับฟังสภาพปัญหาด้านประกันภัยของชุมชนแห่งนี้แล้ว ยังได้รับรายงานจาก สํานักงาน คปภ. จังหวัดชุมพร ด้วยว่า จังหวัดชุมพรเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งถือเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศมีการส่งออกจํานวนมาก และมีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความต้องการของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะประเทศจีน จึงทําให้เกษตรกรในอําเภอหลังสวนเปลี่ยนมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น ในขณะที่สภาพภูมิประเทศของอําเภอหลังสวนมีความสุ่มเสี่ยงต่อการประสบภัยทางธรรมชาติ ทั้งพายุ น้ําท่วม น้ําป่าไหลหลาก ส่งผลทําให้พืชผลทางการเกษตรและผลไม้ได้รับความเสียหายอยู่เนื่องๆ จึงรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่อําเภอหลังสวนเพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญต่อการนําระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าในจังหวัดชุมพรมีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก ดังนั้นจึงควรนําระบบประกันภัยทั้งประเภทที่กฎหมายบังคับและประเภทสมัครใจ เช่น กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางสําหรับธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างระยะเวลาการเดินทางและทําให้เกิดการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะสายตาหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงและค่ารักษาพยาบาล ก็จะได้รับความคุ้มครอง รวมทั้งกรมธรรม์ภาคสมัครใจ เช่น การประกันภัยอุบัติเหตุสําหรับผู้โดยสารแพ การประกันภัยท่องเที่ยว การประกันภัยสวนทุเรียน การประกันภัยบ้านพักอาศัย เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยเหล่านี้เข้ามาบริหารความเสี่ยง และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงหากเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น อันจะทําให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครองด้วยระบบประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ทั้งนี้ จากการที่กฎหมายกําหนดให้เจ้าของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องจัดทําประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ซึ่งจากข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 พบว่าในพื้นที่อําเภอหลังสวนมีรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมจํานวน 37,765 คัน มีรถยนต์ที่จัดทําประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จํานวน 35,602 คัน คิดเป็นร้อยละ 94.27 ของรถยนต์ที่มีการจดทะเบียนสะสม ในส่วนรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนสะสมจํานวน 24,991 คัน มีรถจักรยานยนต์ที่จัดทําประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จํานวน 23,545 คัน คิดเป็นร้อยละ 94.21 ของรถจักรยานยนต์ที่มีการจดทะเบียนสะสม ดังนั้นจึงขอชื่นชมประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านท่าสะท้อน อําเภอหลังสวน ที่ปฏิบัติตามกฎหมายและให้ความสําคัญต่อการทําประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อบริหารความเสี่ยงให้กับตัวเองและครอบครัว โดย สํานักงาน คปภ. ได้มอบโล่เกียรติคุณยกย่องและจะได้ใช้เป็นโมเดลต้นแบบเพื่อรณรงค์การทําประกันภัยรถภาคบังคับ (ประกันภัย พ.ร.บ.) รถจักรยานยนต์ 100% ต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14955
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 23 ธันวาคม 2559
วันอังคารที่ 10 มกราคม 2560 ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 23 ธันวาคม 2559 ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2559 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน ด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้รัฐมนตรีซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งใหม่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในโอกาสนี้ผมขออัญเชิญ กระแสพระราชดํารัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร อันมีใจความสําคัญ เป็นสิริมงคล แก่คณะรัฐมนตรี และปวงพสกนิกร ทุกหมู่เหล่า ผมเห็นว่า พวกเราทุกคน ควรได้ระลึกถึงและรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม น้อมนําไปสู่การปฏิบัติ สรุปใจความได้ว่า... “...ขอให้น้อมนํา “ศาสตร์พระราชา” แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยให้ศึกษาวิเคราะห์พระราชดําริและแนวทางพระราชทาน นานัปการ ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่ผ่านมา รวมทั้ง พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติมา สําหรับประยุกต์ใช้ ในการบริหารราชการแผ่นดิน, การประกอบกิจการ และการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในความรับผิดชอบ รวมทั้งยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีในกิจวัตรประจําวัน อันจะเป็นสิริมงคลเป็นพระคุ้มครอง และเป็น “แสงสว่างนําทาง” ให้แก่ปวงชนชาวไทย ทุกคนตลอดไป เพื่อสนองพระราชปณิธาน และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทั้งปวง อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานใด ๆ ย่อมมีปัญหา ย่อมมีอุปสรรค ก็ขอให้ปรึกษากัน หาข้อมูลที่ถูกต้อง และปฏิบัติด้วยความรอบคอบ ทันกาล เหมาะสมกับสถานการณ์และมีเหตุมีผล ทั้งนี้ ปัญหาและอุปสรรค เหล่านั้น นอกจากจะเป็นเสมือน “บททดสอบ บทเรียน” แล้วยังจะเป็นสิ่งที่ช่วย เพิ่ม” ความสามารถให้กับเราทุกคนด้วย ดังนั้น ต้องมีความตั้งใจ มีขันติ มีความอดทน ตลอดจนมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาปัญหาและแก้ไขให้รอบคอบก็จะได้ผลต่อประเทศ และเป็นบุญเป็นกุศล กับตนเองด้วย...” “ศาสตร์พระราชา” ถือว่าเป็น “ตําราแห่งชีวิต” เพราะบันทึกจากประสบการณ์ จากการทรงงาน ที่ทําให้ประเทศไทยสามารถผ่านวิกฤตการณ์ต่าง ๆ มาได้ทุกมิติ ผมขอชื่นชนสื่อทุกแขนง ที่ได้นําเสนอในรูปแบบต่าง ๆ สู่สายตาประชาชน และเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้รับรู้เข้าใจได้ลึกซึ้งและถ่องแท้มากยิ่งขึ้น เพื่อสามารถน้อมนําไปสู่การปฏิบัติได้ เป็นอย่างดี ในส่วนของรัฐบาล ได้ดําเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่สําคัญ ได้แก่ ป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ํา และสัตว์ป่า โดยการน้อมนํา “ศาสตร์พระราชา” ที่มีหลักการครอบคลุม “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” ไปประยุกต์ใช้ อย่างจริงจัง ทั้งนี้ ก็เพื่อรักษาสมดุล และสร้างความยั่งยืน ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่าที่ผ่านมานั้นมีผลการดําเนินงานที่เป็น “รูปธรรม” กว่าอดีตที่ผ่านมามาก พอสมควร อาทิเช่น 1. ด้านป่าไม้ ได้มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์เพิ่มพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว ตั้งเป้าหมายไว้ที่ ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ ใน 20 ปีข้างหน้า/ ด้วยการดําเนินการมาตรการหลัก ได้แก่ (1) การป้องกันการบุกรุกพื้นที่ “ป่าสมบูรณ์” จํานวน 102 ล้านไร่ ไม่มีการบุกรุกป่าเกิดขึ้นอีกต่อไป ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวัง (2) การบังคับใช้กฎหมายกับผู้มีอิทธิพล เพื่อทวงคืนผืนป่าและฟื้นฟูพื้นที่ป่า ปัจจุบันได้มีการยึดพื้นที่ป่าคืนแล้ว ราว 4.3 แสนไร่ นํามาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการบริหารจัดการที่ดินซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่อย่างจํากัดให้เกิดความพอเพียงในอนาคต (3) การตั้งศูนย์ฟื้นฟู “ป่าต้นน้ํา” ในพื้นที่วิกฤติ 13 จังหวัด และป้องกันการบุกรุกพื้นที่ซ้ํา (4) การจัดตั้งพื้นที่ “ป่าชุมชน” 4,000 แห่ง เพื่อให้ประชาชนช่วยดูแลรักษาป่า และสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างเกื้อกูลกัน ได้ร่วมกันปลูกป่า หรือทําให้ประชาชนได้ร่วมในการดูแลรักษาให้อยู่รอดได้ด้วยนะครับ (5) การส่งเสริมให้ปลูก “ป่าเศรษฐกิจ”เพื่อใช้ประโยชน์ได้จริง ได้มีการลงทะเบียนสวนป่าผ่านระบบออนไลน์ที่สะดวก และรวดเร็วและลดปัญหาการประพฤติมิชอบ และ (6) การแก้ไขปัญหาชุมชนในพื้นที่ “ป่าอนุรักษ์” ราว 6 ล้านไร่ ซึ่งเป็นปัญหายืดเยื้อมามากว่า 20 ปี ด้วยการกําหนดกลุ่มและวิธีการดําเนินการ ตามกระบวนการทางกฎหมายที่ชัดเจน ควบคู่กันไป สําคัญที่สุด ประชาชนต้องเป็นหลักในการดูแลรักษาป่า ปลูกป่าเพิ่มเติมและใช้ประโยชน์ได้อย่างพอเพียง 2. ด้านการจัดการที่ดิน สําหรับเกษตรกร และผู้ที่มีรายได้น้อย ในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยได้จัดทําร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกําหนดพื้นที่เป้าหมาย ในปี 2560 จํานวน 4 แสนกว่าไร่ ใน 52 จังหวัด ก็ขอให้รวมกลุ่มกันได้ด้วย 3. ด้านทรัพยากรน้ํา ประกอบด้วย (1) พื้นที่ในเขตชลประทาน โดยการพัฒนาระบบกระจายน้ํา เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรชลประทานจํานวน 1.4 ล้านไร่ และเกษตรบาดาล กว่า 3 แสนไร่ และ (2) พื้นที่นอกเขตชลประทาน โดยการขุดลอก คู คลอง หนอง บึง ตามธรรมชาติ กว่า 700 แห่ง การขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร 1,700 บ่อ การฟื้นฟูระบบบําบัดน้ําเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กว่า 100 แห่ง และการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ําให้เป็นผู้บริหารจัดการ และดูแลรักษาเอง เป็นต้น เหล่านี้ต้องใช้เวลาในการที่จะต้องทําต่อไป ไม่เพียงพอ และ 4. การดูแลเรื่องสัตว์ป่า ผลการดําเนินงาน ตามมาตรการต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับ จากหน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง จนมีผลตอบรับใน “เชิงบวก” ได้แก่ (1) กรณีของ “ม้าน้ํา” ประเทศไทยได้รับการถอดรายชื่อออกจากกระบวนการทบทวนมาตรการทางการค้า และ (2) กรณีของ “ช้าง” ประเทศไทยได้รับการเลื่อนสถานะที่ “ดีขึ้น” เกี่ยวกับการค้างาช้างที่ผิดกฎหมาย ของ CITES เป็นต้น ด้วยองค์ความรู้จาก “ศาสตร์พระราชา” สอนให้เรารู้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น นอกจากเราจะต้องดูแลรักษาสมดุล ทั้งในมิติเศรษฐกิจและสังคม โดยจะต้องไม่มองข้าม “มิติสิ่งแวดล้อม” ด้วยแล้ว สิ่งสําคัญอีกประการ ก็คือสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานรากเหมือนเสาเข็มถึงแม้ไม่มีใครมองเห็น อาจจะถูกลืม แต่ก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานเริ่มแรกที่มีความสําคัญต่อโครงสร้างโดยรวมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนซึ่งเป็นฐานรากของประเทศนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงกําชับว่า “บทเรียนบทแรกก็คือ ให้ชาวบ้านเป็นครู” และ ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางโดยเน้น “การระเบิดจากข้างใน” ซึ่งไม่ใช่การยัดเยียดจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว วันนี้ ผมขอยกตัวอย่าง “ชุมชนบ้านหัวอ่าว” จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ “ต้นแบบ” ได้น้อมนํา “วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง” มาแก้ปัญหาร่วมกันของชุมชน จากเดิมที่ดํารงชีวิตด้วยวิถีเกษตรที่พึ่งพิงธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว ปริมาณผลผลิตขึ้นอยู่กับดิน-ฟ้า-อากาศ รวมทั้ง โรค-แมลง-และศัตรูพืช ที่ผลักดันให้หันไปพึ่งพาปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ซึ่งนอกจากทําให้ต้นทุนการผลิตสูง กระทบต่อรายได้ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และการกู้เงินนอกระบบ จนบางครัวเรือนต้องขายที่ดินเพื่อปลดหนี้ ต้องเช่านาทํากินแล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โรคร้ายคุกคาม ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน อายุสั้นลง และทรัพยากรดินเสื่อม แหล่งน้ําและอากาศเป็นพิษ แต่ภายหลังจากการรวมกลุ่มกันเองของชาวชุมชน จากกลุ่มเล็ก ๆ ขยายเป็นกลุ่มใหญ่ ด้วยการสนับสนุนจากกลไก “ประชารัฐ” เพิ่มเติมนะครับ ทําให้เกิดเป็นภาคีเครือข่ายภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มาร่วมกันสร้างความเข้มแข็ง เริ่มจากการปฏิเสธปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง แล้วหันมาผลิตปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยไส้เดือน ทั้งผลิตใช้เอง และผลิตขาย นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการใช้สารเคมีต่าง ๆ แล้ว ยังลดค่ารักษาพยาบาลได้ถึง 2,000 - 3,000 บาทต่อครัวเรือน จากนั้น ได้ยกระดับ “ความสําเร็จ” ต่อไปในเรื่อง (1) การปรับสภาพและดูแลรักษาดิน (2) การทําบัญชีครัวเรือน (3) การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค “สินค้าเกษตรอินทรีย์” ทั้งร้านอาหารและโรงแรมเจ้าประจํา (4) การเปิดช่องทางการตลาดใหม่ เช่น การประชาสัมพันธ์ เช่น ตลาดนัดสุขใจ และตลาด Online (5) การได้รับใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ที่เป็นมาตรฐานสากล และ (6) การจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่” ตามแนวทางพ่อหลวง เพื่อให้การบริการ ทั้งในและนอกชุมชน ประกอบไปด้วย แปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ การเลี้ยงปลาในร่องสวน ธนาคารต้นไม้ โรงสีชุมชน และการปลูกมะนาว ด้วยผักตบชวาแทนดิน เป็นต้น ทั้งนี้ “ปัจจัยสู่ความสําเร็จดังกล่าว”ประกอบไปด้วย (1) วิสัยทัศน์และการเป็นแบบอย่างที่ดี ของผู้นํา แกนนํา กรรมการหมู่บ้าน (2) ความร่วมแรง ร่วมใจ และความมุ่งมั่น รับผิดชอบในหน้าที่ และบทบาทของแต่ละคน (3) เวทีประชาคมที่เข้มแข็ง เน้นการมีส่วนร่วม รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุ่งให้การช่วยเหลือและร่วมแก้ปัญหา รวมทั้งความมีวินัยและเคร่งครัดในกฎกติกาของหมู่บ้าน และ (4) การใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือ ในการสานความสัมพันธ์ สมาชิกหมู่บ้าน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย เข้าด้วยกันเหล่านี้ เป็นต้น จากตัวอย่าง “ชุมชนต้นแบบเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง” นี้ มีอีกคุณสมบัติสําคัญของชาวบ้านหัวอ่าว ก็คือ “ความใฝ่รู้” นิยมการแสวงหาความรู้ และการพัฒนาตนเอง ด้วย “การอ่าน” ทั้งจากหนังสือและสื่อ โซเชียล ที่เป็นประโยชน์ ช่วยเพิ่มแนวคิด รับฟัง โต้ตอบ เสนอความคิดเห็น ไม่ใช่ฟังแต่คนอื่นอย่างเดียว แล้วไม่มีภูมิความรู้เป็นของตนเองเลย ก็ไม่เกิดการสื่อสารสองทาง ดังนั้น ผมอยากสนับสนุนให้คนไทย ทุกคน “รักการอ่าน” อันเป็นพื้นฐาน ในการสร้างแนวคิด เป็นคนมีเหตุมีผล และใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาของตนเองให้ลุล่วง เกิดความร่วมมือกับรัฐบาล ในการจะร่วมมือแก้ไขปัญหาให้กับประเทศในที่สุด โดยในวันนี้นั้น ผมอยากจะแนะนําหนังสือชื่อ “คุณธรรม จริยธรรม กับศีลธรรม จากมุมมองของปรัชญา” ของ ศ.ดร.ทินพันธ์ นาคะตะ ซึ่งกล่าวถึง ความรู้จักผิดชอบชั่วดีของคน และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นปกติสุข ไม่ว่าจะยุคสมัยใด ไม่ว่าเชื้อชาติศาสนาใด ล้วนมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผลในตัวเอง ในช่วงท้ายของหนังสือ ได้กล่าวถึง “จรรยาบรรณ” ในอาชีพต่าง ๆ ของไทย ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ ศาล ตํารวจ แพทย์ สื่อมวลชน ครู - อาจารย์ ฯลฯ ซึ่งต่างก็มีบทบาท หน้าที่ ที่สําคัญ และส่งผลกระทบต่อสังคม ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การดํารงตนให้อยู่ในกรอบ ในกฎเกณฑ์ ของทุกคน ทุกฝ่าย ย่อมช่วยให้สังคมมีแต่ความสุขความเจริญร่วมกัน หากเราไม่อยู่ในครรลองที่ถูกต้อง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือละเมิดสิทธิผู้อื่นแล้ว ก็ย่อมมีบทลงโทษกํากับไว้เสมอ โดยทุกคนในสังคมนั้น ๆ ต่างก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ เดียวกัน ทั้งสิ้น ลองหาอ่านดู เราจะได้เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้อย่างยั่งยืน สันติ และสงบสุข ได้ในอนาคต พี่น้องประชาชนทุกท่าน ครับ สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ ในวันนี้ ก็คือ การพัฒนาตนเอง ไปสู่คนที่มีหลักการ และเหตุผล ใช้สติปัญญาในการคิดวิเคราะห์ ใคร่ครวญ รู้จักแยกแยะ จัดกระบวนการคิดของตนเอง แยกให้เป็นกลุ่มความคิดต่าง ๆ อาทิเช่น สิ่งนี้ทําแล้วจะเกิดเป็นประโยชน์เพื่อใคร เพื่อตนเอง หรือเพื่อคนอื่น หรือเพื่อทั้ง 2 อย่าง เราน่าจะมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง อย่างน้อย ก็พยายามฟังในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตนเองบ้าง จะได้รู้ความเป็นมาเป็นไปของสถานการณ์รอบตัว ในปัจจุบัน ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยข้อมูลที่ดี ถูกต้อง และไม่ดี ไม่ถูกต้อง ถูกบิดเบือน ใครหลายคนอาจตัดสินใจไม่ได้ หรือตัดสินใจบนความยากลําบาก เพราะข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ไม่รอบด้าน จนคนเหล่านั้น อาจต้องใช้ความรู้สึก ความชอบ ในการตกลงใจ แล้วทําอะไรลงไป หากถูกชี้นํา โดยคนดี ๆ ข้อมูลถูกต้อง ทุกอย่างก็จะเป็นคุณ แต่หากถูกชี้นํา ด้วยคนไม่ดี มีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ ประกอบกับมีวาระซ้อนเร้นแล้ว ก็จะนําไปทางเสื่อม เสียโอกาส สําหรับตนเอง และส่วนรวมได้วันนี้เราต้องช่วยกันคิดพิจารณาว่าประเทศไทยของเรานั้น กําลังติดกับดักอะไรบ้าง และด้วยเหตุผลใด อาทิเช่น... 1. ความเคยชิน การไม่เคารพกฎหมาย ความไม่ชอบอยู่ในกฎระเบียบของสังคม การที่ชอบทําอะไรที่มักง่าย สบาย ๆ เป็นพวก “สะดวกนิยม” อาทิเช่น ขับรถสวนเลน ข้ามถนนใต้สะพานลอย จอดซื้อของในพื้นที่ห้ามจอด เหล่านี้เป็นต้น ยังมีอีกหลายอย่าง สิ่งเหล่านี้ นําไปสู่ปัญหาการจราจร อุบัติเหตุ ความเห็นแก่ตัวของคนบางคน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อคนอีกหลายคน รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ให้กับลูกหลาน ที่อยู่โดยรอบด้วย ข้าง ๆ 2. การทําความผิดโดยเลือกที่จะทํา เพื่อแลกกับผลประโยชน์ส่วนตน และความสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น อาทิเช่น การยอมจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่ฉ้อฉล เพื่อการอํานวยความสะดวก หรือให้ค่าตอบแทน ให้กับผู้ที่เรียกรับผลประโยชน์ในลักษณะสมยอม แล้วก็มาพูดให้ร้ายระบบ ให้ร้ายประเทศก็ยังคงมีอยู่ แบบนี้ ผมก็อยากจะถามว่า แล้วเราไปให้เขาทําไม เขาจะต้องมาร้องทุกข์ ร้องเรียน แจ้งความ เอาผิด เพราะฉะนั้นถ้าเรายังให้เขาอยู่ แล้วเรามาพูดก็ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ก็ขอให้มาร้องทุกข์ร้องเรียน เราต้องเคารพตนเอง เคารพกติกา รู้จักรอ รู้จักอดทนซะบ้าง ไม่อย่างนั้นเราก็โวยวายโทษแต่คนอื่นร่ําไป แต่พอตนเองได้รับประโยชน์ก็เงียบเฉย 3. พื้นฐานความรู้ การเรียนรู้ “ที่ไม่เท่าเทียมกัน” ด้วยการขาดโอกาส หรือเคยมีโอกาส แต่ก็ไม่ใส่ใจ หรือไม่รู้จักแสวงหา ทั้ง ๆ ที่ความรู้มีอยู่รอบตัว อย่างที่ผมบอกไปแล้ว ควรรับฟังคนอื่นบ้าง ทั้งจากการศึกษาในห้องเรียน นอกห้องเรียน ในบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชนต่าง ๆ เหล่านั้น จากการอ่านหนังสือทั่วไป หนังสือพิมพ์ จากการดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ จากอินเตอร์เน็ต จากสื่อออนไลน์ เป็นต้น โดยเลือกเสพความรู้ จากสื่อที่เชื่อถือได้ และแหล่งข้อมูลทางราชการที่ “เป็นกลาง” รวมทั้ง การตรวจสอบเพื่อยืนยัน “ความถูกต้อง” จากหลาย ๆ แหล่ง ก็จะทําให้เกิด “ปัญญา” โดยเฉพาะในเรื่องที่สําคัญ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตนเอง และประเทศชาติ ถ้าพวกเราไม่สามารถทําได้ตามนี้แล้ว ก็จะเป็นการยากที่จะพัฒนาตนเอง รวมทั้งยากที่จะทําความเข้าใจกัน แต่กลับนําไปสู่ความขัดแย้ง ไม่ฟังกัน ผลประโยชน์ที่จะได้รับก็ไม่ได้รับเพราะไม่ได้ฟัง 4. สมาธิไม่เท่ากัน บางคนสั้น บางคนยาว บางคนมากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไป ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือว่า ถ้าไม่ใช่เรื่องของตนเอง ก็ไม่สนใจ ไม่ตั้งใจฟัง ไม่รับฟัง ก็เลยไม่รับรู้ว่าอะไรคืออะไร ในวันนี้ ในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต สิ่งใดเป็นเรื่องส่วนตัวหรือส่วนรวม ประชาธิปไตยที่ถูกต้องคืออะไร ถ้าเรายังไม่รู้เรื่องเหล่านี้ “ลึกซึ้งถ่องแท้” จะทําให้เราติดกับดักประชาธิปไตยเหมือนทุก ๆ วันนี้นะครับ ยังมีการถกเถียงกันไม่สิ้นสุด ที่ยังคงวนเวียนและก็เข้าใจแต่เพียงว่า ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งเป็นหลัก มีอีกหลายอย่างประกอบกันเมื่อมีรัฐบาลแล้ว ควรจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือ ทวงสัญญาจากการหาเสียง หรือสัญญาว่าจะให้โดยไม่ยอมสร้างความเข้มแข็งให้กับ ตนเอง ชุมชน และสังคม แล้วก็จะเป็นช่องทางให้กับนักธุรกิจการเมืองเข้ามาลงทุน หมายความถึงว่าที่ไม่ดีนะครับ อาจจะเข้ามาได้จากการเลือกตั้ง แล้วมีการกอบโกยผลกําไรในอํานาจหน้าที่ เป็นความบกพร่องที่ผมพยายามให้สติกับสังคมไทยในวันนี้และตลอดมา เพื่อให้คนไทยรู้จักพัฒนาตนเอง และพัฒนาประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสังคมไทยร่วมกัน เราลองช่วยกันพิจารณา หาความแตกต่างในทางที่ดี ระหว่างวันนี้กับอดีตที่ผ่านมาว่า มีอะไรที่ดีขึ้นมาบ้าง อาจจะมีบ้างอย่าง มากบ้าง น้อยบ้าง หรือกําลังเริ่มต้น อาทิเช่น... 1. การพัฒนารถไฟไทย ซึ่งซบเซามานาน 60 ปีที่ผ่านมาไม่ได้มีการสร้างเส้นทางเพิ่มเติม และ 40 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการลงทุนใหม่ ๆ รัฐบาลนี้ ได้เดินหน้าจัดซื้อจัดจ้างขบวนรถด่วน 115 คัน ได้สําเร็จ ถูกกว่าวงเงินที่กําหนดไว้ กว่า 300 ล้านบาท โดยทราบว่ารถไฟชั้น 1 - สายเหนือ รุ่นใหม่ มีการจองตั๋วล่วงหน้าเต็มแล้ว 6 เดือน ปัจจุบันรัฐบาลได้ปรับ ปรุงรถไฟชั้น 3 จํานวน 20 คัน และจะทยอยทําให้ครบ 148 คัน เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการให้มีความสะดวก สบาย สะอาด ปลอดภัยแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยในทุกเส้นทาง ในการที่จะเข้าถึงการบริการระบบขนส่งสาธารณะที่ดีมีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ําในสังคมและเป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน สิ่งที่กําลังเดินหน้าต่อไป ก็คือ (1) การพัฒนา “ทางคู่” ให้ครบ 2,500 กว่ากิโลเมตร เพื่อสวนไปมาได้ เพื่อจะเพิ่มสัดส่วนทางคู่ เป็น 60% จะทําให้สะดวกรวดเร็วขึ้น จะได้ไม่ต้องไปรอเวลารถสวนกัน (2) การแก้ปัญหาจุดตัดรถไฟ 1,000 กว่าแห่ง ทั่วประเทศ ด้วยสะพานข้าม อุโมงค์ทางลอด และการติดตั้งสัญญาณไฟ ซึ่งวันนี้ก็มีเส้นทางที่เรียกว่านอกกฎหมายตัดเพิ่มเติม ด้วยความเคยชินอยู่หลายเส้นทางเหมือนกัน แล้วทําให้เกิดอันตรายต่ออุบัติเหตุที่เกิดกับระหว่างรถไฟกับรถยนต์นะครับ และ (3) โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ที่เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับเมืองเศรษฐกิจหลัก 4 ภาค แล้วจะเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการพูดคุยเจรจาหารือกันมากมายนะครับจนกว่าจะได้ข้อยุติที่เป็นผลประโยชน์กับชาติให้มากที่สุด 2. รัฐบาลนี้ ให้ความสําคัญกับการแก้ปัญหาของพี่น้องแรงงานไทยโดยได้จัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย แล้ว 44 ศูนย์ และในปี 2560 จะตั้งเพิ่มเติมอีก 43 ศูนย์ (รวมเป็น 87 ศูนย์) ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เปิดช่องทางการสมัครงานได้ “ทุกที่ - ทุกเวลา” ทั้งทางอินเทอร์เน็ต และแอพลิเคชั่นบนมือถือ รวมทั้ง การพัฒนารูปแบบการให้บริการ เพื่อจะช่วยลดขั้นตอนการทํางาน ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น เข้าถึงง่ายขึ้น แล้วมีการเชื่อมโยงข้อมูลระบบสารสนเทศเกี่ยวกับ “ตําแหน่งงาน” ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ ผลการดําเนินงาน 2 ปีที่ผ่านมานั้น มีผู้สมัครงานกว่า 6 แสนคน มีงานทําตามที่ต้องการแล้ว เกือบ 4 แสนคน สร้างรายได้ราว 9 หมื่นล้านบาท อย่าลืมในส่วนที่จะต้องมีการพัฒนาตนเองนะครับ มีศูนย์การพัฒนาฝีมือแรงงานอยู่ทั่วไป เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่จบในที่เรียนสูง ๆ มา แล้วไปทําอาชีพเกี่ยวกับเรื่อง Technician หรือเรียกว่า เจ้าหน้าที่ระดับบน ระดับสูง ขอให้มีการไปติดต่อ เพื่อขอทดสอบฝีมือแรงงานตนเอง จะได้มีใบประกอบรับรองให้เวลาไปหางานตามสถานที่ทํางานต่าง ๆ จะได้มีค่าแรงอะไรที่ถูกที่ดีขึ้นกว่าเดิม และมากไปกว่าเดิม ไม่อย่างนั้นแล้วก็จะไม่รับค่าแรงขั้นต่ํา เพราะฉะนั้นเราต้องดึงกันไปขึ้นไปร่วมกันให้ได้ ทั้งมีฝีมือ ไม่มีฝีมือ ถ้าต่างคนต่างพัฒนาตัวเองขึ้นไปอย่างนี้แล้วร่วมมือกับการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานเหล่านั้นก็จะมีรายได้สูงขึ้น ดีกว่าจะมาเรียกร้องทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ 3. ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัว อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลนี้ได้ใช้ความพยายามในทุกมิติ และกลไกประชารัฐเดินหน้าตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งทั้งคําว่าประชารัฐ ไทยแลนด์ 4.0 ก็มีความสงสัยอะไรต่าง ๆ มากกมาย แต่ผมคิดว่าถ้าคนหวังดีกับประเทศชาติ น่าจะเข้าใจ เว้นเสียแต่ว่าคนเหล่านั้นไม่ต้องการจะเข้าใจ นั้นคิดง่าย ๆ ก็คือเราจะมุ่งส่งเสริมให้มีการลงทุนจากภายในประเทศ เพื่อจะทําให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นสําคัญ สิ่งที่เราทํามาทั้งหมดนั้น ส่งผลให้มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ในครึ่งแรกของปี 2559 มีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 3 ร้อยละ 48 3 เท่าด้วยกัน เป็นการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มูลค่าราวประมาณ 1.3 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กว่า 7 พันล้านบาท และเป็นการลงทุนในคลัสเตอร์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ กว่า 1.7 หมื่นล้านบาท เป็นต้น ซึ่งก็ล้วนเป็นการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ตามนโยบายของรัฐบาลนี้ ทั้งสิ้น อย่าไปเชื่อฟังคําบิดเบือน เราก็พยายามเร่งติดตามดําเนินการ ในการหามาตรการณ์ต่าง ๆ เพื่อจะสร้างแรงจูงใจให้มากขึ้น แต่ก็ขอให้ไว้ใจ รัฐบาลจะไม่ทําอะไรให้ประเทศเสียหาย 4. การกําหนดนโยบายบนพื้นฐานของ ข้อมูลทางสถิติและฐานข้อมูล ที่รอบด้าน ทันสมัยเชื่อมโยงกัน ตลอดห่วงโซ่ อาทิเช่น การกําหนดแผนการผลิตและแผนการตลาดของ “ข้าว” สําหรับการบริหารจัดการ และกําหนดมาตรการต่าง ๆ รองรับ เพื่อป้องกันปัญหาราคาข้าวตกต่ํา ล้นตลาด ขาดน้ํา เหล่านี้เป็นต้น หลายอย่างพืชเศรษฐกิจอีกหลายตัว ปีนี้ก็ถือว่าโชคดีบางอย่างก็ราคายังสูงอยู่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขอให้ระมัดระวังในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต วันนี้ อาทิเช่น การลดพื้นที่การปลูกยางลงไป ก็ทําให้ยางมีจํานวนน้อยลง เมื่อน้อยลงราคาก็สูงขึ้น ความต้องการตลาดก็มาขึ้น เพราะเขารู้ว่ายางมีน้อย แต่ถ้าทุกคนยังบิดเบือนกันไป ให้กลับไปปลูกกันใหม่ ก็กลับมาที่เดิม ยางก็มีปริมาณมากขึ้น เรียกว่า ซัพพลาย มากกว่า ดีมานด์ ราคาก็ตกเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นก็อย่าไปเชื่อฟังคําบิดเบือน ผมเห็นหลายคนออกมาพูดบอกเสียดายโอกาสที่ไปโค่นต้นยางไปแล้ว ทําไมเราจะต้องกลับไปที่เดิม ไม่เข้าใจ เป็นความคิดของใครไม่ทราบ ไปทบทวนดูด้วย ในสถานการณ์การปลูกข้าว ปี 2559 ถึง 2560 นั้น มีพื้นที่คาดการณ์ รวมประมาณ 70 ล้านไร่ เราแยกเป็น “รอบแรก” 58 ล้านไร่ ได้ผลผลิตราว 25 ล้านตัน “รอบที่ 2” พื้นที่เพาะปลูก 10 ล้านไร่ ปลูกข้าว 9.8 ล้านไร่ ผลผลิตราว 6 ล้านตัน ที่เหลือเราปรับเปลี่ยนเป็นปลูกพืชชนิดอื่น และ “รอบที่ 3” คาดการณ์ปลูกข้าว 0.5 ล้านไร่ พักการปลูก 0.5 ล้านไร่ เพื่อปรับปรุงพื้นที่ ปรับปรุงดิน เราจะรณรงค์ให้ชาวนามีการพักแปลงนา เพื่อจะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นต้น ซึ่งหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบข้อมูล และเข้าใจ และคิดแบบเดิม โดยไม่ฟังคนอื่นที่ชักจูงกลับไปที่เก่า ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลนี้ ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้นอีก เหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา 5. การให้ความสําคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี “ดิจิทัล” ตามนโยบาย Digital Economy สําหรับการบริหารราชการแผ่นดิน การให้บริการกับประชาชน อาทิเช่น PromptPay ในการทําธุรกรรมการเงินภาครัฐ และ GAC หรือแก๊บ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแอพลิเคชั่นบนมือถือภาครัฐ เหล่านี้เป็นต้น ล่าสุด สํานักงานราชบัณฑิตยสภา เปิดตัวแอปพลิเคชัน “ภาษาอาเซียน” และหนังสือศัพท์ภาษาอาเซียน พร้อมปากกาอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนการเตรียมพร้อมและการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน และ 6. การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ “ด้านการกีฬา” ของประเทศตามแนวคิด “กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ” เห็นได้จากความสําเร็จก้าวแรก ๆ ของโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ อาทิเช่น “สายฝน รัตนภาณุ” เด็กไทยมุสลิมจากยะลา ที่ได้แชมป์มวย “ปูนเสือ” เป็นผลผลิตจากค่ายมวยรัตนภาณุ ของ ศอ.บต. ที่ใช้ยุทธศาสตร์ด้านการกีฬา สนับสนุนให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด และป้องกันการถูกดึงไปเป็นแนวร่วมในการสร้างความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูปการกีฬาในทุกมิติเช่น อาทิเช่น (1) การจัดตั้งมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติโดยยกระดับจากสถาบันการพลศึกษา 17 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มที่ จังหวัดชลบุรี ในเดือนสิงหาคมปีหน้า และสร้างความเชื่อมโยงกับโรงเรียนกีฬา 13 แห่ง ในการปูพื้นฐาน อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ตั้งเป้าการผลิตบุคลากรทางการกีฬาให้ได้ 4,500 คนต่อปี และ (2) การผลักดันแผนพัฒนาการกีฬาของประเทศ ระยะ 5 ปี (2560 - 2564) ซึ่งนอกจากจะมุ่งพัฒนาสุขภาพร่างกายและจิตใจของประชาชนคนไทยแล้ว ยังเป็นการปูพื้นฐานการพัฒนากีฬาไทยสู่สากล การที่เราจะเป็น Hub ด้านการกีฬาของอาเซียน ทั้งในเรื่องนักกีฬาอาชีพและสนามแข่งขันกีฬา รวมทั้ง รองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมการกีฬา ที่มีอัตราการเติบโตถึง 3 เท่าของ GDP ในปี 2557 มีมูลค่ากว่า 81,000 ล้านบาท อีกด้วย สิ่งเหล่านี้ เราอาจจะไม่เคยสังเกต หรือไม่เคยสนใจติดตาม อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับคนโน้นคนนี้บ้าง ต้องช่วยกันดู จะได้เกิดความร่วมมือเพราะเป็นห่วงโซ่เดียวกันทั้งสิ้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลนี้ต้องการให้เกิดการวิวัฒนาการที่ดีของประเทศไทยของเรา ที่เราเรียกว่าเตรียมการปฏิรูปไปสู่อนาคต ในขณะที่สถานการณ์จากภายนอกนั้น ก็ยังคงมี “พลวัต” และมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในลักษณะที่เป็นทั้ง “คุณและโทษ” ต่อประเทศ และชีวิตประจําวันของพวกเราทุกคน ผมจึงอยากให้พวกเรา “ทุกคน” นั้นพยายามสนใจในสิ่งที่อยู่รอบตัว ทั้งใกล้และไกลตัวของเราบ้าง ก็จะทราบ ความเป็นเหตุ เป็นผลในแนวคิดแนวปฏิบัติ ที่เกิดขึ้น ในทุกวันนี้ เพื่อพร้อมที่จะร่วมแก้ไขปัญหาและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน โดยขอให้เลิกพูดว่า “ธุระไม่ใช่” ไม่เห็นได้ประโยชน์ เลิกเรียกร้องแต่สิทธิ โดยไม่รู้จักหน้าที่ เลิกปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนโดยไม่นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของ ประเทศชาติไม่ใช่ของคนอื่นเลย ประเทศชาติของเรานั้นจึงจะมีอนาคต ประชาชนจึงจะมีความสุขได้ อย่างทั่วถึงและยั่งยืน พี่น้องประชาชน ครับ หากท่านกําลังหาของขวัญปีใหม่ เป็นสินค้าพื้นบ้าน แบบไทย หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในปัจจุบัน ผมขอแนะนํางาน OTOP CITY 2016 ของขวัญภูมิปัญญาไทยใต้ร่มพระบารมี ตั้งแต่วันที่ 18- 26 ธันวาคมนี้ ที่อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งมีทั้งสินค้า OTOP ที่ไปสู่ระดับสากล ได้แก่ OTOP คลาสสิก OTOP ระดับ 4 ดาว และ 5ดาว จากทั่วประเทศ กว่า 30,000 รายการ OTOP พรีเมี่ยม ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ และ OTOP Best seller เป็นสินค้าขายดีย้อนหลัง 5 ปี รวมทั้ง สินค้าดีจาก 76 จังหวัด มาจําหน่ายในที่เดียวกัน ทั้งนี้ ท่านสามารถนําใบกํากับภาษีไปลดหย่อนภาษีได้ตามนโยบาย “ช้อปช่วยชาติ” ขณะนี้รัฐบาลกําลังนํา OTOP ชุดที่ 2 ขึ้นจําหน่ายบนเครื่องบินอีกด้วย สุดท้ายนี้ ผมอยากฝากเกร็ดความรู้ การดูแลสุขภาพช่วงหน้าฤดูหนาวนี้ โดยพี่น้องประชาชน สามารถจะดูแลความอบอุ่นของร่างกาย ได้จาก (1) การรับประทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ ๆ (2) การกินดื่ม ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรไทย ที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น พริก ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด กะเพรา โหระพา แมงลัก ผักชี กระเทียม หอมแดง เหล่านี้เป็นต้น จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต และช่วยให้อาการหนาวชาบริเวณปลายมือและปลายเท้าลดลง (3) การรับประทานผัก ผลไม้ สมุนไพรรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ใบชะมวง ยอดผักติ้ว สับปะรด มะขามป้อม มะแว้งต้น มะแว้งเครือ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ทําให้ชุ่มคอ ขอให้ศึกษาวิธีใช้อย่างระมัดระวัง เอาไปประกอบอาหารแล้วรับประทานที่มีคุณสมบัติที่ตรวจสอบผ่านการรับรองมาแล้ว โดยจะมีฉลากติดที่ขวด ก็ทําตามคําแนะนําตามนั้น ใช้ตามนั้น นอกจากนั้นแล้ว เราจะต้องรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ “ครบ 5 หมู่” มีการออกกําลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สําคัญคือการรักษาความอบอุ่นของร่างกาย สวมเสื้อกันหนาว เสื้อผ้าหนา ๆ ห่มผ้า หรือใช้กระเป๋าน้ําร้อน ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย ไม่ไปหาวิถีการอื่นอย่างเช่น ดื่มเหล้าแก้หนาวแล้วก็แข็งตาย เพราะรับประทานมากเกินไป ร่างกายก็ไม่แข็งแรงอยู่ เพราะอาจจะเสี่ยงกับโรค เพราะมีความเสี่ยงกับโรคหัวใจวาย เสียชีวิตได้ เราเห็นเป็นตัวอย่างหลายปีมาแล้วตลอดมา รวมทั้งให้ระมัดระวังการก่อไฟ ผิงไฟ โดยไม่จําเป็น อย่าให้เกิดอุบัติเหตุ เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและกับผู้อื่น “ด้วยความห่วงใย” ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน”มีความสุข ในวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ *********************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 23 ธันวาคม 2559 วันอังคารที่ 10 มกราคม 2560 ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 23 ธันวาคม 2559 ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2559 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน ด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้รัฐมนตรีซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งใหม่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในโอกาสนี้ผมขออัญเชิญ กระแสพระราชดํารัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร อันมีใจความสําคัญ เป็นสิริมงคล แก่คณะรัฐมนตรี และปวงพสกนิกร ทุกหมู่เหล่า ผมเห็นว่า พวกเราทุกคน ควรได้ระลึกถึงและรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม น้อมนําไปสู่การปฏิบัติ สรุปใจความได้ว่า... “...ขอให้น้อมนํา “ศาสตร์พระราชา” แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยให้ศึกษาวิเคราะห์พระราชดําริและแนวทางพระราชทาน นานัปการ ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่ผ่านมา รวมทั้ง พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติมา สําหรับประยุกต์ใช้ ในการบริหารราชการแผ่นดิน, การประกอบกิจการ และการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในความรับผิดชอบ รวมทั้งยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีในกิจวัตรประจําวัน อันจะเป็นสิริมงคลเป็นพระคุ้มครอง และเป็น “แสงสว่างนําทาง” ให้แก่ปวงชนชาวไทย ทุกคนตลอดไป เพื่อสนองพระราชปณิธาน และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทั้งปวง อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานใด ๆ ย่อมมีปัญหา ย่อมมีอุปสรรค ก็ขอให้ปรึกษากัน หาข้อมูลที่ถูกต้อง และปฏิบัติด้วยความรอบคอบ ทันกาล เหมาะสมกับสถานการณ์และมีเหตุมีผล ทั้งนี้ ปัญหาและอุปสรรค เหล่านั้น นอกจากจะเป็นเสมือน “บททดสอบ บทเรียน” แล้วยังจะเป็นสิ่งที่ช่วย เพิ่ม” ความสามารถให้กับเราทุกคนด้วย ดังนั้น ต้องมีความตั้งใจ มีขันติ มีความอดทน ตลอดจนมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาปัญหาและแก้ไขให้รอบคอบก็จะได้ผลต่อประเทศ และเป็นบุญเป็นกุศล กับตนเองด้วย...” “ศาสตร์พระราชา” ถือว่าเป็น “ตําราแห่งชีวิต” เพราะบันทึกจากประสบการณ์ จากการทรงงาน ที่ทําให้ประเทศไทยสามารถผ่านวิกฤตการณ์ต่าง ๆ มาได้ทุกมิติ ผมขอชื่นชนสื่อทุกแขนง ที่ได้นําเสนอในรูปแบบต่าง ๆ สู่สายตาประชาชน และเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้รับรู้เข้าใจได้ลึกซึ้งและถ่องแท้มากยิ่งขึ้น เพื่อสามารถน้อมนําไปสู่การปฏิบัติได้ เป็นอย่างดี ในส่วนของรัฐบาล ได้ดําเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่สําคัญ ได้แก่ ป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ํา และสัตว์ป่า โดยการน้อมนํา “ศาสตร์พระราชา” ที่มีหลักการครอบคลุม “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” ไปประยุกต์ใช้ อย่างจริงจัง ทั้งนี้ ก็เพื่อรักษาสมดุล และสร้างความยั่งยืน ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่าที่ผ่านมานั้นมีผลการดําเนินงานที่เป็น “รูปธรรม” กว่าอดีตที่ผ่านมามาก พอสมควร อาทิเช่น 1. ด้านป่าไม้ ได้มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์เพิ่มพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว ตั้งเป้าหมายไว้ที่ ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ ใน 20 ปีข้างหน้า/ ด้วยการดําเนินการมาตรการหลัก ได้แก่ (1) การป้องกันการบุกรุกพื้นที่ “ป่าสมบูรณ์” จํานวน 102 ล้านไร่ ไม่มีการบุกรุกป่าเกิดขึ้นอีกต่อไป ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวัง (2) การบังคับใช้กฎหมายกับผู้มีอิทธิพล เพื่อทวงคืนผืนป่าและฟื้นฟูพื้นที่ป่า ปัจจุบันได้มีการยึดพื้นที่ป่าคืนแล้ว ราว 4.3 แสนไร่ นํามาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการบริหารจัดการที่ดินซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่อย่างจํากัดให้เกิดความพอเพียงในอนาคต (3) การตั้งศูนย์ฟื้นฟู “ป่าต้นน้ํา” ในพื้นที่วิกฤติ 13 จังหวัด และป้องกันการบุกรุกพื้นที่ซ้ํา (4) การจัดตั้งพื้นที่ “ป่าชุมชน” 4,000 แห่ง เพื่อให้ประชาชนช่วยดูแลรักษาป่า และสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างเกื้อกูลกัน ได้ร่วมกันปลูกป่า หรือทําให้ประชาชนได้ร่วมในการดูแลรักษาให้อยู่รอดได้ด้วยนะครับ (5) การส่งเสริมให้ปลูก “ป่าเศรษฐกิจ”เพื่อใช้ประโยชน์ได้จริง ได้มีการลงทะเบียนสวนป่าผ่านระบบออนไลน์ที่สะดวก และรวดเร็วและลดปัญหาการประพฤติมิชอบ และ (6) การแก้ไขปัญหาชุมชนในพื้นที่ “ป่าอนุรักษ์” ราว 6 ล้านไร่ ซึ่งเป็นปัญหายืดเยื้อมามากว่า 20 ปี ด้วยการกําหนดกลุ่มและวิธีการดําเนินการ ตามกระบวนการทางกฎหมายที่ชัดเจน ควบคู่กันไป สําคัญที่สุด ประชาชนต้องเป็นหลักในการดูแลรักษาป่า ปลูกป่าเพิ่มเติมและใช้ประโยชน์ได้อย่างพอเพียง 2. ด้านการจัดการที่ดิน สําหรับเกษตรกร และผู้ที่มีรายได้น้อย ในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยได้จัดทําร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกําหนดพื้นที่เป้าหมาย ในปี 2560 จํานวน 4 แสนกว่าไร่ ใน 52 จังหวัด ก็ขอให้รวมกลุ่มกันได้ด้วย 3. ด้านทรัพยากรน้ํา ประกอบด้วย (1) พื้นที่ในเขตชลประทาน โดยการพัฒนาระบบกระจายน้ํา เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรชลประทานจํานวน 1.4 ล้านไร่ และเกษตรบาดาล กว่า 3 แสนไร่ และ (2) พื้นที่นอกเขตชลประทาน โดยการขุดลอก คู คลอง หนอง บึง ตามธรรมชาติ กว่า 700 แห่ง การขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร 1,700 บ่อ การฟื้นฟูระบบบําบัดน้ําเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กว่า 100 แห่ง และการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ําให้เป็นผู้บริหารจัดการ และดูแลรักษาเอง เป็นต้น เหล่านี้ต้องใช้เวลาในการที่จะต้องทําต่อไป ไม่เพียงพอ และ 4. การดูแลเรื่องสัตว์ป่า ผลการดําเนินงาน ตามมาตรการต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับ จากหน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง จนมีผลตอบรับใน “เชิงบวก” ได้แก่ (1) กรณีของ “ม้าน้ํา” ประเทศไทยได้รับการถอดรายชื่อออกจากกระบวนการทบทวนมาตรการทางการค้า และ (2) กรณีของ “ช้าง” ประเทศไทยได้รับการเลื่อนสถานะที่ “ดีขึ้น” เกี่ยวกับการค้างาช้างที่ผิดกฎหมาย ของ CITES เป็นต้น ด้วยองค์ความรู้จาก “ศาสตร์พระราชา” สอนให้เรารู้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น นอกจากเราจะต้องดูแลรักษาสมดุล ทั้งในมิติเศรษฐกิจและสังคม โดยจะต้องไม่มองข้าม “มิติสิ่งแวดล้อม” ด้วยแล้ว สิ่งสําคัญอีกประการ ก็คือสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานรากเหมือนเสาเข็มถึงแม้ไม่มีใครมองเห็น อาจจะถูกลืม แต่ก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานเริ่มแรกที่มีความสําคัญต่อโครงสร้างโดยรวมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนซึ่งเป็นฐานรากของประเทศนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงกําชับว่า “บทเรียนบทแรกก็คือ ให้ชาวบ้านเป็นครู” และ ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางโดยเน้น “การระเบิดจากข้างใน” ซึ่งไม่ใช่การยัดเยียดจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว วันนี้ ผมขอยกตัวอย่าง “ชุมชนบ้านหัวอ่าว” จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ “ต้นแบบ” ได้น้อมนํา “วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง” มาแก้ปัญหาร่วมกันของชุมชน จากเดิมที่ดํารงชีวิตด้วยวิถีเกษตรที่พึ่งพิงธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว ปริมาณผลผลิตขึ้นอยู่กับดิน-ฟ้า-อากาศ รวมทั้ง โรค-แมลง-และศัตรูพืช ที่ผลักดันให้หันไปพึ่งพาปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ซึ่งนอกจากทําให้ต้นทุนการผลิตสูง กระทบต่อรายได้ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และการกู้เงินนอกระบบ จนบางครัวเรือนต้องขายที่ดินเพื่อปลดหนี้ ต้องเช่านาทํากินแล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โรคร้ายคุกคาม ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน อายุสั้นลง และทรัพยากรดินเสื่อม แหล่งน้ําและอากาศเป็นพิษ แต่ภายหลังจากการรวมกลุ่มกันเองของชาวชุมชน จากกลุ่มเล็ก ๆ ขยายเป็นกลุ่มใหญ่ ด้วยการสนับสนุนจากกลไก “ประชารัฐ” เพิ่มเติมนะครับ ทําให้เกิดเป็นภาคีเครือข่ายภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มาร่วมกันสร้างความเข้มแข็ง เริ่มจากการปฏิเสธปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง แล้วหันมาผลิตปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยไส้เดือน ทั้งผลิตใช้เอง และผลิตขาย นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการใช้สารเคมีต่าง ๆ แล้ว ยังลดค่ารักษาพยาบาลได้ถึง 2,000 - 3,000 บาทต่อครัวเรือน จากนั้น ได้ยกระดับ “ความสําเร็จ” ต่อไปในเรื่อง (1) การปรับสภาพและดูแลรักษาดิน (2) การทําบัญชีครัวเรือน (3) การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค “สินค้าเกษตรอินทรีย์” ทั้งร้านอาหารและโรงแรมเจ้าประจํา (4) การเปิดช่องทางการตลาดใหม่ เช่น การประชาสัมพันธ์ เช่น ตลาดนัดสุขใจ และตลาด Online (5) การได้รับใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ที่เป็นมาตรฐานสากล และ (6) การจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่” ตามแนวทางพ่อหลวง เพื่อให้การบริการ ทั้งในและนอกชุมชน ประกอบไปด้วย แปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ การเลี้ยงปลาในร่องสวน ธนาคารต้นไม้ โรงสีชุมชน และการปลูกมะนาว ด้วยผักตบชวาแทนดิน เป็นต้น ทั้งนี้ “ปัจจัยสู่ความสําเร็จดังกล่าว”ประกอบไปด้วย (1) วิสัยทัศน์และการเป็นแบบอย่างที่ดี ของผู้นํา แกนนํา กรรมการหมู่บ้าน (2) ความร่วมแรง ร่วมใจ และความมุ่งมั่น รับผิดชอบในหน้าที่ และบทบาทของแต่ละคน (3) เวทีประชาคมที่เข้มแข็ง เน้นการมีส่วนร่วม รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุ่งให้การช่วยเหลือและร่วมแก้ปัญหา รวมทั้งความมีวินัยและเคร่งครัดในกฎกติกาของหมู่บ้าน และ (4) การใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือ ในการสานความสัมพันธ์ สมาชิกหมู่บ้าน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย เข้าด้วยกันเหล่านี้ เป็นต้น จากตัวอย่าง “ชุมชนต้นแบบเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง” นี้ มีอีกคุณสมบัติสําคัญของชาวบ้านหัวอ่าว ก็คือ “ความใฝ่รู้” นิยมการแสวงหาความรู้ และการพัฒนาตนเอง ด้วย “การอ่าน” ทั้งจากหนังสือและสื่อ โซเชียล ที่เป็นประโยชน์ ช่วยเพิ่มแนวคิด รับฟัง โต้ตอบ เสนอความคิดเห็น ไม่ใช่ฟังแต่คนอื่นอย่างเดียว แล้วไม่มีภูมิความรู้เป็นของตนเองเลย ก็ไม่เกิดการสื่อสารสองทาง ดังนั้น ผมอยากสนับสนุนให้คนไทย ทุกคน “รักการอ่าน” อันเป็นพื้นฐาน ในการสร้างแนวคิด เป็นคนมีเหตุมีผล และใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาของตนเองให้ลุล่วง เกิดความร่วมมือกับรัฐบาล ในการจะร่วมมือแก้ไขปัญหาให้กับประเทศในที่สุด โดยในวันนี้นั้น ผมอยากจะแนะนําหนังสือชื่อ “คุณธรรม จริยธรรม กับศีลธรรม จากมุมมองของปรัชญา” ของ ศ.ดร.ทินพันธ์ นาคะตะ ซึ่งกล่าวถึง ความรู้จักผิดชอบชั่วดีของคน และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นปกติสุข ไม่ว่าจะยุคสมัยใด ไม่ว่าเชื้อชาติศาสนาใด ล้วนมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผลในตัวเอง ในช่วงท้ายของหนังสือ ได้กล่าวถึง “จรรยาบรรณ” ในอาชีพต่าง ๆ ของไทย ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ ศาล ตํารวจ แพทย์ สื่อมวลชน ครู - อาจารย์ ฯลฯ ซึ่งต่างก็มีบทบาท หน้าที่ ที่สําคัญ และส่งผลกระทบต่อสังคม ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การดํารงตนให้อยู่ในกรอบ ในกฎเกณฑ์ ของทุกคน ทุกฝ่าย ย่อมช่วยให้สังคมมีแต่ความสุขความเจริญร่วมกัน หากเราไม่อยู่ในครรลองที่ถูกต้อง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือละเมิดสิทธิผู้อื่นแล้ว ก็ย่อมมีบทลงโทษกํากับไว้เสมอ โดยทุกคนในสังคมนั้น ๆ ต่างก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ เดียวกัน ทั้งสิ้น ลองหาอ่านดู เราจะได้เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้อย่างยั่งยืน สันติ และสงบสุข ได้ในอนาคต พี่น้องประชาชนทุกท่าน ครับ สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ ในวันนี้ ก็คือ การพัฒนาตนเอง ไปสู่คนที่มีหลักการ และเหตุผล ใช้สติปัญญาในการคิดวิเคราะห์ ใคร่ครวญ รู้จักแยกแยะ จัดกระบวนการคิดของตนเอง แยกให้เป็นกลุ่มความคิดต่าง ๆ อาทิเช่น สิ่งนี้ทําแล้วจะเกิดเป็นประโยชน์เพื่อใคร เพื่อตนเอง หรือเพื่อคนอื่น หรือเพื่อทั้ง 2 อย่าง เราน่าจะมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง อย่างน้อย ก็พยายามฟังในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตนเองบ้าง จะได้รู้ความเป็นมาเป็นไปของสถานการณ์รอบตัว ในปัจจุบัน ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยข้อมูลที่ดี ถูกต้อง และไม่ดี ไม่ถูกต้อง ถูกบิดเบือน ใครหลายคนอาจตัดสินใจไม่ได้ หรือตัดสินใจบนความยากลําบาก เพราะข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ไม่รอบด้าน จนคนเหล่านั้น อาจต้องใช้ความรู้สึก ความชอบ ในการตกลงใจ แล้วทําอะไรลงไป หากถูกชี้นํา โดยคนดี ๆ ข้อมูลถูกต้อง ทุกอย่างก็จะเป็นคุณ แต่หากถูกชี้นํา ด้วยคนไม่ดี มีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ ประกอบกับมีวาระซ้อนเร้นแล้ว ก็จะนําไปทางเสื่อม เสียโอกาส สําหรับตนเอง และส่วนรวมได้วันนี้เราต้องช่วยกันคิดพิจารณาว่าประเทศไทยของเรานั้น กําลังติดกับดักอะไรบ้าง และด้วยเหตุผลใด อาทิเช่น... 1. ความเคยชิน การไม่เคารพกฎหมาย ความไม่ชอบอยู่ในกฎระเบียบของสังคม การที่ชอบทําอะไรที่มักง่าย สบาย ๆ เป็นพวก “สะดวกนิยม” อาทิเช่น ขับรถสวนเลน ข้ามถนนใต้สะพานลอย จอดซื้อของในพื้นที่ห้ามจอด เหล่านี้เป็นต้น ยังมีอีกหลายอย่าง สิ่งเหล่านี้ นําไปสู่ปัญหาการจราจร อุบัติเหตุ ความเห็นแก่ตัวของคนบางคน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อคนอีกหลายคน รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ให้กับลูกหลาน ที่อยู่โดยรอบด้วย ข้าง ๆ 2. การทําความผิดโดยเลือกที่จะทํา เพื่อแลกกับผลประโยชน์ส่วนตน และความสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น อาทิเช่น การยอมจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่ฉ้อฉล เพื่อการอํานวยความสะดวก หรือให้ค่าตอบแทน ให้กับผู้ที่เรียกรับผลประโยชน์ในลักษณะสมยอม แล้วก็มาพูดให้ร้ายระบบ ให้ร้ายประเทศก็ยังคงมีอยู่ แบบนี้ ผมก็อยากจะถามว่า แล้วเราไปให้เขาทําไม เขาจะต้องมาร้องทุกข์ ร้องเรียน แจ้งความ เอาผิด เพราะฉะนั้นถ้าเรายังให้เขาอยู่ แล้วเรามาพูดก็ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ก็ขอให้มาร้องทุกข์ร้องเรียน เราต้องเคารพตนเอง เคารพกติกา รู้จักรอ รู้จักอดทนซะบ้าง ไม่อย่างนั้นเราก็โวยวายโทษแต่คนอื่นร่ําไป แต่พอตนเองได้รับประโยชน์ก็เงียบเฉย 3. พื้นฐานความรู้ การเรียนรู้ “ที่ไม่เท่าเทียมกัน” ด้วยการขาดโอกาส หรือเคยมีโอกาส แต่ก็ไม่ใส่ใจ หรือไม่รู้จักแสวงหา ทั้ง ๆ ที่ความรู้มีอยู่รอบตัว อย่างที่ผมบอกไปแล้ว ควรรับฟังคนอื่นบ้าง ทั้งจากการศึกษาในห้องเรียน นอกห้องเรียน ในบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชนต่าง ๆ เหล่านั้น จากการอ่านหนังสือทั่วไป หนังสือพิมพ์ จากการดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ จากอินเตอร์เน็ต จากสื่อออนไลน์ เป็นต้น โดยเลือกเสพความรู้ จากสื่อที่เชื่อถือได้ และแหล่งข้อมูลทางราชการที่ “เป็นกลาง” รวมทั้ง การตรวจสอบเพื่อยืนยัน “ความถูกต้อง” จากหลาย ๆ แหล่ง ก็จะทําให้เกิด “ปัญญา” โดยเฉพาะในเรื่องที่สําคัญ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตนเอง และประเทศชาติ ถ้าพวกเราไม่สามารถทําได้ตามนี้แล้ว ก็จะเป็นการยากที่จะพัฒนาตนเอง รวมทั้งยากที่จะทําความเข้าใจกัน แต่กลับนําไปสู่ความขัดแย้ง ไม่ฟังกัน ผลประโยชน์ที่จะได้รับก็ไม่ได้รับเพราะไม่ได้ฟัง 4. สมาธิไม่เท่ากัน บางคนสั้น บางคนยาว บางคนมากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไป ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือว่า ถ้าไม่ใช่เรื่องของตนเอง ก็ไม่สนใจ ไม่ตั้งใจฟัง ไม่รับฟัง ก็เลยไม่รับรู้ว่าอะไรคืออะไร ในวันนี้ ในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต สิ่งใดเป็นเรื่องส่วนตัวหรือส่วนรวม ประชาธิปไตยที่ถูกต้องคืออะไร ถ้าเรายังไม่รู้เรื่องเหล่านี้ “ลึกซึ้งถ่องแท้” จะทําให้เราติดกับดักประชาธิปไตยเหมือนทุก ๆ วันนี้นะครับ ยังมีการถกเถียงกันไม่สิ้นสุด ที่ยังคงวนเวียนและก็เข้าใจแต่เพียงว่า ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งเป็นหลัก มีอีกหลายอย่างประกอบกันเมื่อมีรัฐบาลแล้ว ควรจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือ ทวงสัญญาจากการหาเสียง หรือสัญญาว่าจะให้โดยไม่ยอมสร้างความเข้มแข็งให้กับ ตนเอง ชุมชน และสังคม แล้วก็จะเป็นช่องทางให้กับนักธุรกิจการเมืองเข้ามาลงทุน หมายความถึงว่าที่ไม่ดีนะครับ อาจจะเข้ามาได้จากการเลือกตั้ง แล้วมีการกอบโกยผลกําไรในอํานาจหน้าที่ เป็นความบกพร่องที่ผมพยายามให้สติกับสังคมไทยในวันนี้และตลอดมา เพื่อให้คนไทยรู้จักพัฒนาตนเอง และพัฒนาประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสังคมไทยร่วมกัน เราลองช่วยกันพิจารณา หาความแตกต่างในทางที่ดี ระหว่างวันนี้กับอดีตที่ผ่านมาว่า มีอะไรที่ดีขึ้นมาบ้าง อาจจะมีบ้างอย่าง มากบ้าง น้อยบ้าง หรือกําลังเริ่มต้น อาทิเช่น... 1. การพัฒนารถไฟไทย ซึ่งซบเซามานาน 60 ปีที่ผ่านมาไม่ได้มีการสร้างเส้นทางเพิ่มเติม และ 40 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการลงทุนใหม่ ๆ รัฐบาลนี้ ได้เดินหน้าจัดซื้อจัดจ้างขบวนรถด่วน 115 คัน ได้สําเร็จ ถูกกว่าวงเงินที่กําหนดไว้ กว่า 300 ล้านบาท โดยทราบว่ารถไฟชั้น 1 - สายเหนือ รุ่นใหม่ มีการจองตั๋วล่วงหน้าเต็มแล้ว 6 เดือน ปัจจุบันรัฐบาลได้ปรับ ปรุงรถไฟชั้น 3 จํานวน 20 คัน และจะทยอยทําให้ครบ 148 คัน เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการให้มีความสะดวก สบาย สะอาด ปลอดภัยแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยในทุกเส้นทาง ในการที่จะเข้าถึงการบริการระบบขนส่งสาธารณะที่ดีมีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ําในสังคมและเป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน สิ่งที่กําลังเดินหน้าต่อไป ก็คือ (1) การพัฒนา “ทางคู่” ให้ครบ 2,500 กว่ากิโลเมตร เพื่อสวนไปมาได้ เพื่อจะเพิ่มสัดส่วนทางคู่ เป็น 60% จะทําให้สะดวกรวดเร็วขึ้น จะได้ไม่ต้องไปรอเวลารถสวนกัน (2) การแก้ปัญหาจุดตัดรถไฟ 1,000 กว่าแห่ง ทั่วประเทศ ด้วยสะพานข้าม อุโมงค์ทางลอด และการติดตั้งสัญญาณไฟ ซึ่งวันนี้ก็มีเส้นทางที่เรียกว่านอกกฎหมายตัดเพิ่มเติม ด้วยความเคยชินอยู่หลายเส้นทางเหมือนกัน แล้วทําให้เกิดอันตรายต่ออุบัติเหตุที่เกิดกับระหว่างรถไฟกับรถยนต์นะครับ และ (3) โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ที่เชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับเมืองเศรษฐกิจหลัก 4 ภาค แล้วจะเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการพูดคุยเจรจาหารือกันมากมายนะครับจนกว่าจะได้ข้อยุติที่เป็นผลประโยชน์กับชาติให้มากที่สุด 2. รัฐบาลนี้ ให้ความสําคัญกับการแก้ปัญหาของพี่น้องแรงงานไทยโดยได้จัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย แล้ว 44 ศูนย์ และในปี 2560 จะตั้งเพิ่มเติมอีก 43 ศูนย์ (รวมเป็น 87 ศูนย์) ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เปิดช่องทางการสมัครงานได้ “ทุกที่ - ทุกเวลา” ทั้งทางอินเทอร์เน็ต และแอพลิเคชั่นบนมือถือ รวมทั้ง การพัฒนารูปแบบการให้บริการ เพื่อจะช่วยลดขั้นตอนการทํางาน ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น เข้าถึงง่ายขึ้น แล้วมีการเชื่อมโยงข้อมูลระบบสารสนเทศเกี่ยวกับ “ตําแหน่งงาน” ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ ผลการดําเนินงาน 2 ปีที่ผ่านมานั้น มีผู้สมัครงานกว่า 6 แสนคน มีงานทําตามที่ต้องการแล้ว เกือบ 4 แสนคน สร้างรายได้ราว 9 หมื่นล้านบาท อย่าลืมในส่วนที่จะต้องมีการพัฒนาตนเองนะครับ มีศูนย์การพัฒนาฝีมือแรงงานอยู่ทั่วไป เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่จบในที่เรียนสูง ๆ มา แล้วไปทําอาชีพเกี่ยวกับเรื่อง Technician หรือเรียกว่า เจ้าหน้าที่ระดับบน ระดับสูง ขอให้มีการไปติดต่อ เพื่อขอทดสอบฝีมือแรงงานตนเอง จะได้มีใบประกอบรับรองให้เวลาไปหางานตามสถานที่ทํางานต่าง ๆ จะได้มีค่าแรงอะไรที่ถูกที่ดีขึ้นกว่าเดิม และมากไปกว่าเดิม ไม่อย่างนั้นแล้วก็จะไม่รับค่าแรงขั้นต่ํา เพราะฉะนั้นเราต้องดึงกันไปขึ้นไปร่วมกันให้ได้ ทั้งมีฝีมือ ไม่มีฝีมือ ถ้าต่างคนต่างพัฒนาตัวเองขึ้นไปอย่างนี้แล้วร่วมมือกับการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานเหล่านั้นก็จะมีรายได้สูงขึ้น ดีกว่าจะมาเรียกร้องทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ 3. ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัว อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลนี้ได้ใช้ความพยายามในทุกมิติ และกลไกประชารัฐเดินหน้าตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งทั้งคําว่าประชารัฐ ไทยแลนด์ 4.0 ก็มีความสงสัยอะไรต่าง ๆ มากกมาย แต่ผมคิดว่าถ้าคนหวังดีกับประเทศชาติ น่าจะเข้าใจ เว้นเสียแต่ว่าคนเหล่านั้นไม่ต้องการจะเข้าใจ นั้นคิดง่าย ๆ ก็คือเราจะมุ่งส่งเสริมให้มีการลงทุนจากภายในประเทศ เพื่อจะทําให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นสําคัญ สิ่งที่เราทํามาทั้งหมดนั้น ส่งผลให้มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ในครึ่งแรกของปี 2559 มีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 3 ร้อยละ 48 3 เท่าด้วยกัน เป็นการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มูลค่าราวประมาณ 1.3 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กว่า 7 พันล้านบาท และเป็นการลงทุนในคลัสเตอร์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ กว่า 1.7 หมื่นล้านบาท เป็นต้น ซึ่งก็ล้วนเป็นการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ตามนโยบายของรัฐบาลนี้ ทั้งสิ้น อย่าไปเชื่อฟังคําบิดเบือน เราก็พยายามเร่งติดตามดําเนินการ ในการหามาตรการณ์ต่าง ๆ เพื่อจะสร้างแรงจูงใจให้มากขึ้น แต่ก็ขอให้ไว้ใจ รัฐบาลจะไม่ทําอะไรให้ประเทศเสียหาย 4. การกําหนดนโยบายบนพื้นฐานของ ข้อมูลทางสถิติและฐานข้อมูล ที่รอบด้าน ทันสมัยเชื่อมโยงกัน ตลอดห่วงโซ่ อาทิเช่น การกําหนดแผนการผลิตและแผนการตลาดของ “ข้าว” สําหรับการบริหารจัดการ และกําหนดมาตรการต่าง ๆ รองรับ เพื่อป้องกันปัญหาราคาข้าวตกต่ํา ล้นตลาด ขาดน้ํา เหล่านี้เป็นต้น หลายอย่างพืชเศรษฐกิจอีกหลายตัว ปีนี้ก็ถือว่าโชคดีบางอย่างก็ราคายังสูงอยู่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขอให้ระมัดระวังในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต วันนี้ อาทิเช่น การลดพื้นที่การปลูกยางลงไป ก็ทําให้ยางมีจํานวนน้อยลง เมื่อน้อยลงราคาก็สูงขึ้น ความต้องการตลาดก็มาขึ้น เพราะเขารู้ว่ายางมีน้อย แต่ถ้าทุกคนยังบิดเบือนกันไป ให้กลับไปปลูกกันใหม่ ก็กลับมาที่เดิม ยางก็มีปริมาณมากขึ้น เรียกว่า ซัพพลาย มากกว่า ดีมานด์ ราคาก็ตกเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นก็อย่าไปเชื่อฟังคําบิดเบือน ผมเห็นหลายคนออกมาพูดบอกเสียดายโอกาสที่ไปโค่นต้นยางไปแล้ว ทําไมเราจะต้องกลับไปที่เดิม ไม่เข้าใจ เป็นความคิดของใครไม่ทราบ ไปทบทวนดูด้วย ในสถานการณ์การปลูกข้าว ปี 2559 ถึง 2560 นั้น มีพื้นที่คาดการณ์ รวมประมาณ 70 ล้านไร่ เราแยกเป็น “รอบแรก” 58 ล้านไร่ ได้ผลผลิตราว 25 ล้านตัน “รอบที่ 2” พื้นที่เพาะปลูก 10 ล้านไร่ ปลูกข้าว 9.8 ล้านไร่ ผลผลิตราว 6 ล้านตัน ที่เหลือเราปรับเปลี่ยนเป็นปลูกพืชชนิดอื่น และ “รอบที่ 3” คาดการณ์ปลูกข้าว 0.5 ล้านไร่ พักการปลูก 0.5 ล้านไร่ เพื่อปรับปรุงพื้นที่ ปรับปรุงดิน เราจะรณรงค์ให้ชาวนามีการพักแปลงนา เพื่อจะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นต้น ซึ่งหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบข้อมูล และเข้าใจ และคิดแบบเดิม โดยไม่ฟังคนอื่นที่ชักจูงกลับไปที่เก่า ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลนี้ ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้นอีก เหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา 5. การให้ความสําคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี “ดิจิทัล” ตามนโยบาย Digital Economy สําหรับการบริหารราชการแผ่นดิน การให้บริการกับประชาชน อาทิเช่น PromptPay ในการทําธุรกรรมการเงินภาครัฐ และ GAC หรือแก๊บ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแอพลิเคชั่นบนมือถือภาครัฐ เหล่านี้เป็นต้น ล่าสุด สํานักงานราชบัณฑิตยสภา เปิดตัวแอปพลิเคชัน “ภาษาอาเซียน” และหนังสือศัพท์ภาษาอาเซียน พร้อมปากกาอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนการเตรียมพร้อมและการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน และ 6. การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ “ด้านการกีฬา” ของประเทศตามแนวคิด “กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ” เห็นได้จากความสําเร็จก้าวแรก ๆ ของโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ อาทิเช่น “สายฝน รัตนภาณุ” เด็กไทยมุสลิมจากยะลา ที่ได้แชมป์มวย “ปูนเสือ” เป็นผลผลิตจากค่ายมวยรัตนภาณุ ของ ศอ.บต. ที่ใช้ยุทธศาสตร์ด้านการกีฬา สนับสนุนให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด และป้องกันการถูกดึงไปเป็นแนวร่วมในการสร้างความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูปการกีฬาในทุกมิติเช่น อาทิเช่น (1) การจัดตั้งมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติโดยยกระดับจากสถาบันการพลศึกษา 17 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มที่ จังหวัดชลบุรี ในเดือนสิงหาคมปีหน้า และสร้างความเชื่อมโยงกับโรงเรียนกีฬา 13 แห่ง ในการปูพื้นฐาน อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ตั้งเป้าการผลิตบุคลากรทางการกีฬาให้ได้ 4,500 คนต่อปี และ (2) การผลักดันแผนพัฒนาการกีฬาของประเทศ ระยะ 5 ปี (2560 - 2564) ซึ่งนอกจากจะมุ่งพัฒนาสุขภาพร่างกายและจิตใจของประชาชนคนไทยแล้ว ยังเป็นการปูพื้นฐานการพัฒนากีฬาไทยสู่สากล การที่เราจะเป็น Hub ด้านการกีฬาของอาเซียน ทั้งในเรื่องนักกีฬาอาชีพและสนามแข่งขันกีฬา รวมทั้ง รองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมการกีฬา ที่มีอัตราการเติบโตถึง 3 เท่าของ GDP ในปี 2557 มีมูลค่ากว่า 81,000 ล้านบาท อีกด้วย สิ่งเหล่านี้ เราอาจจะไม่เคยสังเกต หรือไม่เคยสนใจติดตาม อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับคนโน้นคนนี้บ้าง ต้องช่วยกันดู จะได้เกิดความร่วมมือเพราะเป็นห่วงโซ่เดียวกันทั้งสิ้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลนี้ต้องการให้เกิดการวิวัฒนาการที่ดีของประเทศไทยของเรา ที่เราเรียกว่าเตรียมการปฏิรูปไปสู่อนาคต ในขณะที่สถานการณ์จากภายนอกนั้น ก็ยังคงมี “พลวัต” และมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในลักษณะที่เป็นทั้ง “คุณและโทษ” ต่อประเทศ และชีวิตประจําวันของพวกเราทุกคน ผมจึงอยากให้พวกเรา “ทุกคน” นั้นพยายามสนใจในสิ่งที่อยู่รอบตัว ทั้งใกล้และไกลตัวของเราบ้าง ก็จะทราบ ความเป็นเหตุ เป็นผลในแนวคิดแนวปฏิบัติ ที่เกิดขึ้น ในทุกวันนี้ เพื่อพร้อมที่จะร่วมแก้ไขปัญหาและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน โดยขอให้เลิกพูดว่า “ธุระไม่ใช่” ไม่เห็นได้ประโยชน์ เลิกเรียกร้องแต่สิทธิ โดยไม่รู้จักหน้าที่ เลิกปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนโดยไม่นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของ ประเทศชาติไม่ใช่ของคนอื่นเลย ประเทศชาติของเรานั้นจึงจะมีอนาคต ประชาชนจึงจะมีความสุขได้ อย่างทั่วถึงและยั่งยืน พี่น้องประชาชน ครับ หากท่านกําลังหาของขวัญปีใหม่ เป็นสินค้าพื้นบ้าน แบบไทย หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในปัจจุบัน ผมขอแนะนํางาน OTOP CITY 2016 ของขวัญภูมิปัญญาไทยใต้ร่มพระบารมี ตั้งแต่วันที่ 18- 26 ธันวาคมนี้ ที่อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งมีทั้งสินค้า OTOP ที่ไปสู่ระดับสากล ได้แก่ OTOP คลาสสิก OTOP ระดับ 4 ดาว และ 5ดาว จากทั่วประเทศ กว่า 30,000 รายการ OTOP พรีเมี่ยม ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ และ OTOP Best seller เป็นสินค้าขายดีย้อนหลัง 5 ปี รวมทั้ง สินค้าดีจาก 76 จังหวัด มาจําหน่ายในที่เดียวกัน ทั้งนี้ ท่านสามารถนําใบกํากับภาษีไปลดหย่อนภาษีได้ตามนโยบาย “ช้อปช่วยชาติ” ขณะนี้รัฐบาลกําลังนํา OTOP ชุดที่ 2 ขึ้นจําหน่ายบนเครื่องบินอีกด้วย สุดท้ายนี้ ผมอยากฝากเกร็ดความรู้ การดูแลสุขภาพช่วงหน้าฤดูหนาวนี้ โดยพี่น้องประชาชน สามารถจะดูแลความอบอุ่นของร่างกาย ได้จาก (1) การรับประทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ ๆ (2) การกินดื่ม ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรไทย ที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น พริก ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด กะเพรา โหระพา แมงลัก ผักชี กระเทียม หอมแดง เหล่านี้เป็นต้น จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต และช่วยให้อาการหนาวชาบริเวณปลายมือและปลายเท้าลดลง (3) การรับประทานผัก ผลไม้ สมุนไพรรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ใบชะมวง ยอดผักติ้ว สับปะรด มะขามป้อม มะแว้งต้น มะแว้งเครือ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ทําให้ชุ่มคอ ขอให้ศึกษาวิธีใช้อย่างระมัดระวัง เอาไปประกอบอาหารแล้วรับประทานที่มีคุณสมบัติที่ตรวจสอบผ่านการรับรองมาแล้ว โดยจะมีฉลากติดที่ขวด ก็ทําตามคําแนะนําตามนั้น ใช้ตามนั้น นอกจากนั้นแล้ว เราจะต้องรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ “ครบ 5 หมู่” มีการออกกําลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สําคัญคือการรักษาความอบอุ่นของร่างกาย สวมเสื้อกันหนาว เสื้อผ้าหนา ๆ ห่มผ้า หรือใช้กระเป๋าน้ําร้อน ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย ไม่ไปหาวิถีการอื่นอย่างเช่น ดื่มเหล้าแก้หนาวแล้วก็แข็งตาย เพราะรับประทานมากเกินไป ร่างกายก็ไม่แข็งแรงอยู่ เพราะอาจจะเสี่ยงกับโรค เพราะมีความเสี่ยงกับโรคหัวใจวาย เสียชีวิตได้ เราเห็นเป็นตัวอย่างหลายปีมาแล้วตลอดมา รวมทั้งให้ระมัดระวังการก่อไฟ ผิงไฟ โดยไม่จําเป็น อย่าให้เกิดอุบัติเหตุ เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและกับผู้อื่น “ด้วยความห่วงใย” ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน”มีความสุข ในวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ *********************************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1101
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายเพิ่มสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. เปิดงานประชุม “THE BELT AND ROAD” CHINA-THAILAND UNIVERSITIES INTERNET & EDUCATION SUMMIT FORUM
วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2562 นายเพิ่มสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. เปิดงานประชุม “THE BELT AND ROAD” CHINA-THAILAND UNIVERSITIES INTERNET & EDUCATION SUMMIT FORUM นายเพิ่มสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. เปิดงานประชุม “THE BELT AND ROAD” CHINA-THAILAND UNIVERSITIES INTERNET & EDUCATION SUMMIT FORUM (3 ธันวาคม 2562) นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หน.ผตร.อว.) เป็นประธานเปิดงานประชุม “The Belt and Road” China-Thailand Universities Internet & Education Summit Forum เพื่อให้เกิดความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนออนไลน์ ทําความรู้จักกับระบบการเรียนออนไลน์ของจีน ส่งเสริมการขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมในมหาวิทยาลัยจีน-ไทย และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา พัฒนาความร่วมมือ แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอย่างรอบด้าน พร้อมส่งเสริมพัฒนาการศึกษาโดยสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระดับนานาชาติ ณ ห้อง Menam Grand ชั้น 2 โรงแรมรามาดา พลาซ่า แม่น้ํา ริเวอร์ไซด์ นายเพิ่มสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และกํากับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก จากนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” และ “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)” แผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นนโยบายที่มีความสอดคล้องกับนโยบาย “1 แถบ 1 เส้นทาง” ของรัฐบาลจีนนั้น ทั้งสองประเทศได้มีความร่วมมือในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี วัฒนธรรม รวมถึงด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนา เพราะการศึกษาในรูปแบบเดิมอาจจะไม่เพียงพอต่อยุคสมัยนี้ ทําให้การศึกษาในรูปแบบออนไลน์ จึงมีความจําเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การประชุมในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนออนไลน์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมมหาวิทยาลัยจีน-ไทยและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยินดีที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยไทย-จีน รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอย่างรอบด้านต่อไป เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายเพิ่มสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. เปิดงานประชุม “THE BELT AND ROAD” CHINA-THAILAND UNIVERSITIES INTERNET & EDUCATION SUMMIT FORUM วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2562 นายเพิ่มสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. เปิดงานประชุม “THE BELT AND ROAD” CHINA-THAILAND UNIVERSITIES INTERNET & EDUCATION SUMMIT FORUM นายเพิ่มสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. เปิดงานประชุม “THE BELT AND ROAD” CHINA-THAILAND UNIVERSITIES INTERNET & EDUCATION SUMMIT FORUM (3 ธันวาคม 2562) นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หน.ผตร.อว.) เป็นประธานเปิดงานประชุม “The Belt and Road” China-Thailand Universities Internet & Education Summit Forum เพื่อให้เกิดความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนออนไลน์ ทําความรู้จักกับระบบการเรียนออนไลน์ของจีน ส่งเสริมการขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมในมหาวิทยาลัยจีน-ไทย และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา พัฒนาความร่วมมือ แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอย่างรอบด้าน พร้อมส่งเสริมพัฒนาการศึกษาโดยสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระดับนานาชาติ ณ ห้อง Menam Grand ชั้น 2 โรงแรมรามาดา พลาซ่า แม่น้ํา ริเวอร์ไซด์ นายเพิ่มสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ อว. กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และกํากับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก จากนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” และ “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)” แผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นนโยบายที่มีความสอดคล้องกับนโยบาย “1 แถบ 1 เส้นทาง” ของรัฐบาลจีนนั้น ทั้งสองประเทศได้มีความร่วมมือในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี วัฒนธรรม รวมถึงด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนา เพราะการศึกษาในรูปแบบเดิมอาจจะไม่เพียงพอต่อยุคสมัยนี้ ทําให้การศึกษาในรูปแบบออนไลน์ จึงมีความจําเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การประชุมในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนออนไลน์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและขับเคลื่อนพัฒนานวัตกรรมมหาวิทยาลัยจีน-ไทยและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยินดีที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยไทย-จีน รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอย่างรอบด้านต่อไป เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25152
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 10 มิถุนายน 2563
วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 10 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการเฝ้าระวังในสถานที่รัฐจัดให้ (อินเดีย 2 ราย, ปากีสถาน 1 ราย, มาดากัสการ์ 1 ราย) มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 4 ราย ยอดผู้ป่วยก รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ประจําวันที่10 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการเฝ้าระวังในสถานที่รัฐจัดให้ (อินเดีย 2 ราย, ปากีสถาน 1 ราย, มาดากัสการ์ 1 ราย) มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 8 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 2,981 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.39 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 86 ราย หรือร้อยละ 2.75 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,125 ราย สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยระยะหลังมีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ไม่แสดงอาการเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และกลุ่มคนวัยทํางาน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการสอบสวนโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า กลุ่มอายุที่มีอัตราการติดเชื้อโควิดสูงสุด คือผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี จํานวน 806 ราย หรือประมาณร้อยละ 26 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด โดยกลุ่มนี้เป็นผู้ที่อยู่ในวัยเรียนและวัยทํางาน มีร่างกายแข็งแรง เมื่อป่วยมักจะไม่แสดงอาการ จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ง่าย ผนวกกับภาครัฐได้ผ่อนปรนมาตรการในระยะต่างๆ ทําให้ประชาชนรู้สึกผ่อนคลายออกท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะการใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือการร่วมงานพิธีการและกิจกรรมทางศาสนา มีการรวมตัวของคนเป็นกลุ่มก้อนทําให้เกิดความแออัด หากมีผู้ติดเชื้อปะปนอยู่ อาจมีการแพร่กระจายของเชื้อ เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจํานวนมากได้ ดังนั้น การสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน ยังมีความจําเป็นช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อรวมถึงแพร่เชื้อให้กับผู้ใกล้ชิดและคนในครอบครัวด้วย โดยองค์การอนามัยโลกได้ยืนยันว่า การสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ร่วมกับการล้างมือ และการเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ช่วยลดการติดเชื้อโควิด 19 และโรคระบบทางเดินหายใจได้ นอกจากนี้ขอแนะนําการสวมเฟซชิลล์ที่ถูกวิธี คือ ต้องสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าร่วมด้วย เนื่องจากการสวมเฟซชิลล์อย่างเดียวนอกจากจะไม่เป็นการป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด 19 แล้วหากป่วยจะแพร่เชื้อให้กับผู้ที่อยู่รอบข้างได้ ****************************** 10 มิถุนายน 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 10 มิถุนายน 2563 วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 10 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการเฝ้าระวังในสถานที่รัฐจัดให้ (อินเดีย 2 ราย, ปากีสถาน 1 ราย, มาดากัสการ์ 1 ราย) มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 4 ราย ยอดผู้ป่วยก รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ประจําวันที่10 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการเฝ้าระวังในสถานที่รัฐจัดให้ (อินเดีย 2 ราย, ปากีสถาน 1 ราย, มาดากัสการ์ 1 ราย) มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 8 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 2,981 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.39 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 86 ราย หรือร้อยละ 2.75 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,125 ราย สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยระยะหลังมีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ไม่แสดงอาการเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และกลุ่มคนวัยทํางาน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการสอบสวนโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า กลุ่มอายุที่มีอัตราการติดเชื้อโควิดสูงสุด คือผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี จํานวน 806 ราย หรือประมาณร้อยละ 26 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด โดยกลุ่มนี้เป็นผู้ที่อยู่ในวัยเรียนและวัยทํางาน มีร่างกายแข็งแรง เมื่อป่วยมักจะไม่แสดงอาการ จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ง่าย ผนวกกับภาครัฐได้ผ่อนปรนมาตรการในระยะต่างๆ ทําให้ประชาชนรู้สึกผ่อนคลายออกท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะการใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือการร่วมงานพิธีการและกิจกรรมทางศาสนา มีการรวมตัวของคนเป็นกลุ่มก้อนทําให้เกิดความแออัด หากมีผู้ติดเชื้อปะปนอยู่ อาจมีการแพร่กระจายของเชื้อ เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจํานวนมากได้ ดังนั้น การสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน ยังมีความจําเป็นช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อรวมถึงแพร่เชื้อให้กับผู้ใกล้ชิดและคนในครอบครัวด้วย โดยองค์การอนามัยโลกได้ยืนยันว่า การสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ร่วมกับการล้างมือ และการเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ช่วยลดการติดเชื้อโควิด 19 และโรคระบบทางเดินหายใจได้ นอกจากนี้ขอแนะนําการสวมเฟซชิลล์ที่ถูกวิธี คือ ต้องสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าร่วมด้วย เนื่องจากการสวมเฟซชิลล์อย่างเดียวนอกจากจะไม่เป็นการป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด 19 แล้วหากป่วยจะแพร่เชื้อให้กับผู้ที่อยู่รอบข้างได้ ****************************** 10 มิถุนายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32170
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ขอทุกหน่วยพิจารณากำหนดวันเลือกตั้งอย่างรอบคอบ แนะคำนึงถึงประโยชน์ชาติ-ประชาชนเป็นสำคัญ วอนทุกฝ่ายร่วมมือนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้า
วันพุธที่ 9 มกราคม 2562 นายกฯ ขอทุกหน่วยพิจารณากําหนดวันเลือกตั้งอย่างรอบคอบ แนะคํานึงถึงประโยชน์ชาติ-ประชาชนเป็นสําคัญ วอนทุกฝ่ายร่วมมือนําพาประเทศก้าวไปข้างหน้า นายกฯ ขอทุกหน่วยพิจารณากําหนดวันเลือกตั้งอย่างรอบคอบ แนะคํานึงถึงประโยชน์ชาติ-ประชาชนเป็นสําคัญ วอนทุกฝ่ายร่วมมือนําพาประเทศก้าวไปข้างหน้า วันที่ 9 มกราคม 2562 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขอให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งพิจารณาอย่างรอบคอบในการกําหนดวันเลือกตั้งให้เรียบร้อย มีความสอดคล้องกันทั้งกระบวนการจัดการเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง โดยคํานึงถึงช่วงเวลาของการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การสอบ TCAS และ GAT-PAT ของนักเรียน และเรื่องอื่น ๆ ประกอบกัน ซึ่งทั้งหมดจะต้องยึดหลักประโยชน์ของประเทศชาติและความสงบสุขของประชาชนเป็นสําคัญ ส่วนการตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนั้น นายกรัฐมนตรีอยากให้รับฟังความเห็นของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้ร่างกฎหมายขึ้นมา และทําความเข้าใจให้ตรงกันถึงเจตนารมณ์และสาระสําคัญของกฎหมาย เพื่อให้ได้ข้อยุติเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ พร้อมทั้งย้ําว่าทุกคนทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันทําให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าด้วยความสงบเรียบร้อย มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และไม่เกิดปัญหาซ้ํารอยอดีตที่เคยผ่านมา
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ขอทุกหน่วยพิจารณากำหนดวันเลือกตั้งอย่างรอบคอบ แนะคำนึงถึงประโยชน์ชาติ-ประชาชนเป็นสำคัญ วอนทุกฝ่ายร่วมมือนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้า วันพุธที่ 9 มกราคม 2562 นายกฯ ขอทุกหน่วยพิจารณากําหนดวันเลือกตั้งอย่างรอบคอบ แนะคํานึงถึงประโยชน์ชาติ-ประชาชนเป็นสําคัญ วอนทุกฝ่ายร่วมมือนําพาประเทศก้าวไปข้างหน้า นายกฯ ขอทุกหน่วยพิจารณากําหนดวันเลือกตั้งอย่างรอบคอบ แนะคํานึงถึงประโยชน์ชาติ-ประชาชนเป็นสําคัญ วอนทุกฝ่ายร่วมมือนําพาประเทศก้าวไปข้างหน้า วันที่ 9 มกราคม 2562 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขอให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งพิจารณาอย่างรอบคอบในการกําหนดวันเลือกตั้งให้เรียบร้อย มีความสอดคล้องกันทั้งกระบวนการจัดการเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง โดยคํานึงถึงช่วงเวลาของการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การสอบ TCAS และ GAT-PAT ของนักเรียน และเรื่องอื่น ๆ ประกอบกัน ซึ่งทั้งหมดจะต้องยึดหลักประโยชน์ของประเทศชาติและความสงบสุขของประชาชนเป็นสําคัญ ส่วนการตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนั้น นายกรัฐมนตรีอยากให้รับฟังความเห็นของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้ร่างกฎหมายขึ้นมา และทําความเข้าใจให้ตรงกันถึงเจตนารมณ์และสาระสําคัญของกฎหมาย เพื่อให้ได้ข้อยุติเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ พร้อมทั้งย้ําว่าทุกคนทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันทําให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าด้วยความสงบเรียบร้อย มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และไม่เกิดปัญหาซ้ํารอยอดีตที่เคยผ่านมา
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18015
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยอุตสาหกรรม ตรวจดูความพร้อมของศูนย์ ITC ที่ จ.พิษณุโลก
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 รัฐมนตรีช่วยอุตสาหกรรม ตรวจดูความพร้อมของศูนย์ ITC ที่ จ.พิษณุโลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจการเตรียมความพร้อมของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC) ซึ่งตั้งอยู่ภายใน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก รัฐมนตรีช่วยอุตสาหกรรม ตรวจดูความพร้อมของศูนย์ ITC ที่ จ.พิษณุโลก วันนี้ (15 ธันวาคม 2560) จังหวัดพิษณุโลก นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจการเตรียมความพร้อมของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC) ซึ่งตั้งอยู่ภายใน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้บริการแก่ เอสเอ็มอีและโอทอป ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เครื่องมือแพทย์ และเซรามิก โดยส่งเสริมให้นํานวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ ศูนย์ ITC แห่งนี้ มีบริการเครื่องจักรนําร่องให้ลองใช้พัฒนา การช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ การถ่ายรูปผลิตภัณฑ์เพื่อขายในสื่อออนไลน์ รวมทั้งพื้นที่ใช้สอยกลาง อาทิ ห้องประชุม ห้องสมุด โดยมีนายนายสุรพล ปลื้มใจ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 นําชมศูนย์ ITC และพบปะผู้ประกอบการที่มารอต้อนรับ นอกจากนี้ยังได้ประชุมมอบนโยบายให้แก่หน่วยงานในกํากับกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง (พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก) ผู้บริหารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME development Bank) สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และมีประเด็นที่ฝากให้ช่วยกระจายข่าวสาร เรื่องมาตรการใหม่ในการสนับสนุนเอสเอ็มอี ให้ผู้ประกอบการได้ใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น สําหรับคณะของรัฐมนตรีช่วยฯ ประกอบด้วย นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผอ.กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ ผอ.กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และนายเพทาย ล่อใจ ผอ.กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยอุตสาหกรรม ตรวจดูความพร้อมของศูนย์ ITC ที่ จ.พิษณุโลก วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 รัฐมนตรีช่วยอุตสาหกรรม ตรวจดูความพร้อมของศูนย์ ITC ที่ จ.พิษณุโลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจการเตรียมความพร้อมของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC) ซึ่งตั้งอยู่ภายใน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก รัฐมนตรีช่วยอุตสาหกรรม ตรวจดูความพร้อมของศูนย์ ITC ที่ จ.พิษณุโลก วันนี้ (15 ธันวาคม 2560) จังหวัดพิษณุโลก นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจการเตรียมความพร้อมของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC) ซึ่งตั้งอยู่ภายใน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้บริการแก่ เอสเอ็มอีและโอทอป ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เครื่องมือแพทย์ และเซรามิก โดยส่งเสริมให้นํานวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ ศูนย์ ITC แห่งนี้ มีบริการเครื่องจักรนําร่องให้ลองใช้พัฒนา การช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ การถ่ายรูปผลิตภัณฑ์เพื่อขายในสื่อออนไลน์ รวมทั้งพื้นที่ใช้สอยกลาง อาทิ ห้องประชุม ห้องสมุด โดยมีนายนายสุรพล ปลื้มใจ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 นําชมศูนย์ ITC และพบปะผู้ประกอบการที่มารอต้อนรับ นอกจากนี้ยังได้ประชุมมอบนโยบายให้แก่หน่วยงานในกํากับกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง (พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก) ผู้บริหารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME development Bank) สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และมีประเด็นที่ฝากให้ช่วยกระจายข่าวสาร เรื่องมาตรการใหม่ในการสนับสนุนเอสเอ็มอี ให้ผู้ประกอบการได้ใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น สําหรับคณะของรัฐมนตรีช่วยฯ ประกอบด้วย นายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผอ.กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ ผอ.กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และนายเพทาย ล่อใจ ผอ.กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8789
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาการให้บริการ 05.30 – 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 [กระทรวงคมนาคม]
วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาการให้บริการ 05.30 – 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 [กระทรวงคมนาคม] รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาการให้บริการ 05.30 – 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 ฉบับที่ 333/2563 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาการให้บริการ 05.30 – 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อํานวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามที่ได้ประกาศข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2) ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น โดยมีผลบังคับตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง นั้น บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นระหว่างเวลา 05.30 - 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป โดยรถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายจะออกจากสถานีพญาไท และสถานีสุวรรณภูมิ เวลา 21.00 น. และจะถึงสถานีปลายทางเวลา 21.30 น. หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข Call Center 1690 หรือ www.srtet.co.th, www.facebook.com/AirportRailLink และ Twitter : Airport Rail Link
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาการให้บริการ 05.30 – 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 [กระทรวงคมนาคม] วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาการให้บริการ 05.30 – 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 [กระทรวงคมนาคม] รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาการให้บริการ 05.30 – 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 ฉบับที่ 333/2563 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปรับเวลาการให้บริการ 05.30 – 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อํานวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามที่ได้ประกาศข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2) ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น โดยมีผลบังคับตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง นั้น บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นระหว่างเวลา 05.30 - 21.30 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป โดยรถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายจะออกจากสถานีพญาไท และสถานีสุวรรณภูมิ เวลา 21.00 น. และจะถึงสถานีปลายทางเวลา 21.30 น. หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข Call Center 1690 หรือ www.srtet.co.th, www.facebook.com/AirportRailLink และ Twitter : Airport Rail Link
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28388
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561
วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับประชาชนผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 เวลา 20.15 น. ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ เนื่องในโอกาส “วันงดสูบบุหรี่โลก” (31 พ.ค. 61) และ “วันดื่มนมโลก” (1 มิ.ย. 61) ของทุกปี จึงมีการรณรงค์ให้ทําในสิ่งที่ดี คือ การดื่มนม และละเว้นในสิ่งที่ไม่ดี คือ การงดสูบบุหรี่ ซึ่งตรงกับคําสอนของพระพุทธศาสนาที่ว่า “ทําความดี ละเว้นความชั่ว ทําจิตใจให้บริสุทธิ์” ทั้งนี้ ศาสนาอื่น ๆ ยังมีคําสอนของพระศาสดาที่ไม่แตกต่างกันนัก มุ่งสอนให้ทุกคนเป็นคนดี อีกทั้ง รัฐบาลได้มีแนวทางในการผลักดัน พ.ร.บ.ยาสูบ (ฉบับใหม่) ในปีที่ผ่านมานั้น โดยมีเจตนาที่ต้องการจะปกป้องเยาวชนไม่ให้เป็นนักสูบหน้าใหม่ คุ้มครองผู้คนรอบข้างให้ปลอดภัย ไม่ให้เป็น “ผู้รับควันบุหรี่มือสอง” และลดจํานวนผู้สูบลง อาทิ การห้ามขายบุหรี่ให้เด็ก การจํากัดพื้นที่สูบ การจํากัดช่องทางการเข้าถึง เป็นต้น ทั้งนี้ สําหรับผู้ที่สนใจอยากเลิกบุหรี่ สามารถโทรปรึกษารับคําแนะนํา ได้ที่ “สายด่วน 1600” ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ สําหรับสถิติที่คนไทยดื่มน้ําอัดลม เป็นอันดับ 1 ของอาเซียนการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอันดับ 5 ของโลก แต่กลับดื่มนมอยู่ในอันดับที่ 68 ของโลกนั้น รัฐบาลจึงพยายามสนับสนุนให้คนไทยดื่มนมมากขึ้น และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรโคนม พร้อมเสริมสร้างสุขภาพคนไทยให้แข็งแรง โดยงดเว้นการสูบบุหรี่ รวมทั้ง สนับสนุนส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้ตามลําดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลได้สนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวพันธุ์ กข 43 ซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพราะว่ามีปริมาณน้ําตาลต่ํา โดยได้ผ่านการวิจัยรับรองคุณสมบัติ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ฯ ของสถาบันอุดมศึกษาแล้ว ซึ่งจะเป็นการขยายผลการค้าให้มีมูลค่าสูงและน่าสนใจเชิงพาณิชย์มากขึ้น ช่วงสัปดาห์นี้ เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ (5 มิ.ย. 61) นี้ นายกรัฐมนตรีจึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ได้สัมผัสวิถี “ชาวนาไทย ยุค 4.0” ตามนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วยนโยบายตลาดนําการผลิต โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ตลอดจนการผลิตสินค้าแปรรูปจากข้าวเพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งนวัตกรรมจากงานวิจัย ผสานกับภูมิปัญญา พร้อมทั้งการปฏิรูป การบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแบบบูรณาการ และการเชื่อมโยงกันเป็นระบบนําไปสู่ประสิทธิภาพสูงสุด โดยร่วมกับคณะทํางานร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดําริ และสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (กปร.) ได้ตั้งสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) เพื่อดําเนินการอย่างเป็นเอกภาพ ด้วยการรวมหน่วยงานที่เกี่ยวกับน้ําไว้ด้วยกัน โดยการดําเนินการอย่างมียุทธศาสตร์ และมีการจัดทําแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2679) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้วยการส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน การร่วมมือกันของรัฐบาลทั่วโลก โดยยึดตามกฎหมายระหว่างประเทศ พร้อมส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ในการแก้ปัญหาน้ําและสุขาภิบาล อีกทั้งการเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของ องค์กรสหประชาชาติ (UN) อีกด้วย ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ําสําหรับภาคการผลิตที่สําคัญของประเทศ ไว้รองรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน พร้อมทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นกลไกสําคัญในการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศในยุคดิจิทัล ซึ่งต้องมีการศึกษาแนวเส้นทางการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ํา ให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาแหล่งน้ําต้นทุนภายในประเทศ รวมทั้งป้องกันน้ําท่วมพื้นที่สําคัญของ EEC ด้วย อีกทั้ง แนวทางการตามบริหารจัดการความต้องการ การลดการใช้น้ํา การใช้น้ําซ้ํา การผลิตน้ําจืดจากน้ําทะเล และการหาแหล่งน้ําสํารองของอุตสาหกรรม นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําว่าการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ําเพื่อชุมชนหนองบัวลําภูโมเดล หรือโครงการระบบกระจายน้ําด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจากการลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนจังหวัดหนองบัวลําภู (21 มี.ค. 61) ที่ผ่านมานั้น ทางจังหวัดได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยการปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ําเพื่อการเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ําใต้ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีน้ําทําการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี มีรายได้ต่อเนื่องและมั่นคง โดยร่วมกับการนําเทคโนโลยีระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) มาปรับใช้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยนําร่องในพื้นที่กลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ 58 กลุ่ม รวมทั้งพื้นที่ทําเกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐบาล ตลอดจนเกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรผสมผสาน ในการปลูกพืชทางเลือก เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้สารเคมี ทําให้ได้ผลผลิตปลอดภัยและสร้างรายได้สูงด้วย ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ที่เกิดจากความเข้มแข็งของชุมชน โดยรัฐบาล สําหรับจากการประเมินการรับรู้ประชาชน (DDC poll) เรื่องโรคไข้เลือดออก ซึ่งในปีนี้ มีแนวโน้มการระบาด พื้นที่เสี่ยงอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน โดยรูปแบบของการระบาดเปลี่ยนไป มีการเสียชีวิตในผู้ใหญ่มากขึ้น เนื่องจาก มีโรคประจําตัวด้วย เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเลือด ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต สําหรับใครที่มีอาการเหล่านี้ คือ มีอาการไข้สูง 2 วัน ไม่ดีขึ้น ไม่ไอ ไม่มีน้ํามูก ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ เป็นต้น ให้สังเกตตนเองและลูกหลานด้วย โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงเรื่องสะท้อนสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ในลักษณะการแจ้งเตือนภัย เพื่อให้ได้รู้ขั้นตอนการทํางานและรู้วิธีการรับมือกับสิ่งเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งมีเครือข่ายในโซเชียล เช่น เพจ Because We Care เพจแหม่มโพธิ์ดํา และเพจ Drama-Addict ที่เปิดรับเรื่องร้องเรียน ขอความช่วยเหลือของเด็กเยาวชน สตรี และผู้ถูกกระทํารุนแรง เมื่อมีการแจ้งเหตุความรุนแรงที่พบเห็นจะสอบถามข้อมูลเบื้องต้น จากนั้นสร้างระบบการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ ครบวงจร และสามารถส่งต่อเคสไป เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือที่ดีที่สุด พร้อมที่สุด โดยสามารถลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และทันต่อสถานการณ์ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดี เนื่องจากเป็นการบูรณาการทํางานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชนที่ได้ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโดยตรง จําเป็นอีกที่พึ่งของพี่น้องประชาชน ซึ่งรัฐบาลยินดีและพร้อมให้การสนับสนุนและให้กําลังใจทุกภาคส่วนในการร่วมแรงร่วมใจกันช่วยเหลือเพื่อส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม .............................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับประชาชนผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 เวลา 20.15 น. ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ เนื่องในโอกาส “วันงดสูบบุหรี่โลก” (31 พ.ค. 61) และ “วันดื่มนมโลก” (1 มิ.ย. 61) ของทุกปี จึงมีการรณรงค์ให้ทําในสิ่งที่ดี คือ การดื่มนม และละเว้นในสิ่งที่ไม่ดี คือ การงดสูบบุหรี่ ซึ่งตรงกับคําสอนของพระพุทธศาสนาที่ว่า “ทําความดี ละเว้นความชั่ว ทําจิตใจให้บริสุทธิ์” ทั้งนี้ ศาสนาอื่น ๆ ยังมีคําสอนของพระศาสดาที่ไม่แตกต่างกันนัก มุ่งสอนให้ทุกคนเป็นคนดี อีกทั้ง รัฐบาลได้มีแนวทางในการผลักดัน พ.ร.บ.ยาสูบ (ฉบับใหม่) ในปีที่ผ่านมานั้น โดยมีเจตนาที่ต้องการจะปกป้องเยาวชนไม่ให้เป็นนักสูบหน้าใหม่ คุ้มครองผู้คนรอบข้างให้ปลอดภัย ไม่ให้เป็น “ผู้รับควันบุหรี่มือสอง” และลดจํานวนผู้สูบลง อาทิ การห้ามขายบุหรี่ให้เด็ก การจํากัดพื้นที่สูบ การจํากัดช่องทางการเข้าถึง เป็นต้น ทั้งนี้ สําหรับผู้ที่สนใจอยากเลิกบุหรี่ สามารถโทรปรึกษารับคําแนะนํา ได้ที่ “สายด่วน 1600” ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ สําหรับสถิติที่คนไทยดื่มน้ําอัดลม เป็นอันดับ 1 ของอาเซียนการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอันดับ 5 ของโลก แต่กลับดื่มนมอยู่ในอันดับที่ 68 ของโลกนั้น รัฐบาลจึงพยายามสนับสนุนให้คนไทยดื่มนมมากขึ้น และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรโคนม พร้อมเสริมสร้างสุขภาพคนไทยให้แข็งแรง โดยงดเว้นการสูบบุหรี่ รวมทั้ง สนับสนุนส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้ตามลําดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลได้สนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวพันธุ์ กข 43 ซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพราะว่ามีปริมาณน้ําตาลต่ํา โดยได้ผ่านการวิจัยรับรองคุณสมบัติ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ฯ ของสถาบันอุดมศึกษาแล้ว ซึ่งจะเป็นการขยายผลการค้าให้มีมูลค่าสูงและน่าสนใจเชิงพาณิชย์มากขึ้น ช่วงสัปดาห์นี้ เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ (5 มิ.ย. 61) นี้ นายกรัฐมนตรีจึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ได้สัมผัสวิถี “ชาวนาไทย ยุค 4.0” ตามนโยบายรัฐบาล ประกอบด้วยนโยบายตลาดนําการผลิต โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ตลอดจนการผลิตสินค้าแปรรูปจากข้าวเพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งนวัตกรรมจากงานวิจัย ผสานกับภูมิปัญญา พร้อมทั้งการปฏิรูป การบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําแบบบูรณาการ และการเชื่อมโยงกันเป็นระบบนําไปสู่ประสิทธิภาพสูงสุด โดยร่วมกับคณะทํางานร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดําริ และสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (กปร.) ได้ตั้งสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) เพื่อดําเนินการอย่างเป็นเอกภาพ ด้วยการรวมหน่วยงานที่เกี่ยวกับน้ําไว้ด้วยกัน โดยการดําเนินการอย่างมียุทธศาสตร์ และมีการจัดทําแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2679) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้วยการส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน การร่วมมือกันของรัฐบาลทั่วโลก โดยยึดตามกฎหมายระหว่างประเทศ พร้อมส่งเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ในการแก้ปัญหาน้ําและสุขาภิบาล อีกทั้งการเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของ องค์กรสหประชาชาติ (UN) อีกด้วย ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ําสําหรับภาคการผลิตที่สําคัญของประเทศ ไว้รองรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน พร้อมทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ เนื่องจากเป็นกลไกสําคัญในการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศในยุคดิจิทัล ซึ่งต้องมีการศึกษาแนวเส้นทางการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ํา ให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาแหล่งน้ําต้นทุนภายในประเทศ รวมทั้งป้องกันน้ําท่วมพื้นที่สําคัญของ EEC ด้วย อีกทั้ง แนวทางการตามบริหารจัดการความต้องการ การลดการใช้น้ํา การใช้น้ําซ้ํา การผลิตน้ําจืดจากน้ําทะเล และการหาแหล่งน้ําสํารองของอุตสาหกรรม นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําว่าการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ําเพื่อชุมชนหนองบัวลําภูโมเดล หรือโครงการระบบกระจายน้ําด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจากการลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนจังหวัดหนองบัวลําภู (21 มี.ค. 61) ที่ผ่านมานั้น ทางจังหวัดได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยการปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ําเพื่อการเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ําใต้ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีน้ําทําการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี มีรายได้ต่อเนื่องและมั่นคง โดยร่วมกับการนําเทคโนโลยีระบบสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) มาปรับใช้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยนําร่องในพื้นที่กลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ 58 กลุ่ม รวมทั้งพื้นที่ทําเกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐบาล ตลอดจนเกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรผสมผสาน ในการปลูกพืชทางเลือก เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้สารเคมี ทําให้ได้ผลผลิตปลอดภัยและสร้างรายได้สูงด้วย ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ที่เกิดจากความเข้มแข็งของชุมชน โดยรัฐบาล สําหรับจากการประเมินการรับรู้ประชาชน (DDC poll) เรื่องโรคไข้เลือดออก ซึ่งในปีนี้ มีแนวโน้มการระบาด พื้นที่เสี่ยงอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน โดยรูปแบบของการระบาดเปลี่ยนไป มีการเสียชีวิตในผู้ใหญ่มากขึ้น เนื่องจาก มีโรคประจําตัวด้วย เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเลือด ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต สําหรับใครที่มีอาการเหล่านี้ คือ มีอาการไข้สูง 2 วัน ไม่ดีขึ้น ไม่ไอ ไม่มีน้ํามูก ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังตามแขนขา ข้อพับ เป็นต้น ให้สังเกตตนเองและลูกหลานด้วย โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงเรื่องสะท้อนสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ในลักษณะการแจ้งเตือนภัย เพื่อให้ได้รู้ขั้นตอนการทํางานและรู้วิธีการรับมือกับสิ่งเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งมีเครือข่ายในโซเชียล เช่น เพจ Because We Care เพจแหม่มโพธิ์ดํา และเพจ Drama-Addict ที่เปิดรับเรื่องร้องเรียน ขอความช่วยเหลือของเด็กเยาวชน สตรี และผู้ถูกกระทํารุนแรง เมื่อมีการแจ้งเหตุความรุนแรงที่พบเห็นจะสอบถามข้อมูลเบื้องต้น จากนั้นสร้างระบบการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ ครบวงจร และสามารถส่งต่อเคสไป เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือที่ดีที่สุด พร้อมที่สุด โดยสามารถลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และทันต่อสถานการณ์ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดี เนื่องจากเป็นการบูรณาการทํางานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชนที่ได้ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโดยตรง จําเป็นอีกที่พึ่งของพี่น้องประชาชน ซึ่งรัฐบาลยินดีและพร้อมให้การสนับสนุนและให้กําลังใจทุกภาคส่วนในการร่วมแรงร่วมใจกันช่วยเหลือเพื่อส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม .............................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12715
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)”
วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2560 นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)” นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)” วันนี้ (2 มีนาคม 2560) เวลา 09.00 น. ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดหลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ และกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)” โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการ ทหาร ตํารวจ ผู้บริหารสํานักงานเลขาธิการ กพร. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟัง สําหรับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ เป็นการประชุมเพื่อให้นักบริหารระดับสูงมีความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง พร้อมทั้ง สามารถถ่ายทอดความเข้าใจดังกล่าวไปสู่ข้าราชการระดับล่างให้สามารถปฏิบัติงานขับเคลื่อนภารกิจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อพัฒนานักบริหารระดับสูงให้มีขีดความสามารถและแรงจูงใจในการขับเคลื่อนภารกิจอย่างประสานสัมพันธ์ และบูรณาการ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามช่วงเวลาที่กําหนดตามเป้าหมายของรัฐบาล รวมถึงเพื่อพัฒนานักบริหารระดับสูงให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าในอนาคต โดยมีกลุ่มเป้าหมายสร้างการรับรู้และความเข้าใจทิศทางการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้แก่ ผู้ตรวจราชการกระทรวง รองอธิบดีหรือเทียบเท่า ผู้ช่วยปลัดกระทรวง ข้าราชการทหารที่ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น สังกัดกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการกองทัพไทย สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมข้าราชการตํารวจ ที่ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)” ตอนหนึ่งความว่า ประเทศชาติต้องสําคัญกว่าอย่างอื่น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องฝ่าฟันอุปสรรคไปให้ได้เพื่อประชาชน และเพื่อประเทศชาติ ต้องทํางานเพื่อส่วนร่วมเป็นอันดับแรก ซึ่งต้องจัดสรรปันส่วนเวลาให้เหมาะสมทั้งเวลาทํางาน และเวลาส่วนตัว ต้องรู้จักดํารงชีวิตให้เหมาะสม ข้าราชการต้องปฏิรูปตัวเอง และปฏิรูปการบริหารราชการ พร้อมทั้งเป็นผู้นําแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องความเข้าใจ จึงต้องสร้างความเข้าใจ และความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน มองปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาไปให้ได้ รวมไปถึงคนไทยทั้งประเทศต้องให้ความร่วมมือช่วยกันแก้ไขปัญหา และต้องเคารพ ปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน ถ้าทุกคนไม่เคารพ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการบังคับใช้กฎหมายก็ไม่มีผล ต่อให้บังคับใช้กฎหมายพิเศษก็ตาม ทั้งนี้ ข้าราชการจะต้องมีหลักการในการทํางาน ต้องมองหาข้อเท็จจริง และต้องเข้าให้ถึงปัญหา มีหลักคิดที่ถูกต้องอย่างมีหลักการให้เกิดประโยชน์ต่องานที่ตนเองรับผิดชอบ และเกิดประโยชน์ประเทศไทย และต้องสํานึกอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นบุคคลระดับบนที่มีความสําคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะข้าราชการคือตัวแปรสําคัญที่จะมีส่วนในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศ และที่มีหน้าที่ช่วยกันวางรากฐานให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนบนพื้นฐานของการเติบโตไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในส่วนของรัฐบาลได้กําหนดนโยบายในการปฏิรูปประเทศในทุก ๆ ด้าน เพื่อปรับปรุงพื้นฐานประเทศให้เข้มแข็ง เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยมีปัญหาสะสมมายาวนานจนไม่สามารถพัฒนาก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็น เพราะประเทศติดกับรายได้ปานกลาง กับดักความยากจน กับดักประชาธิปไตย รัฐบาลจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา โดยการสร้างความเข้มแข็งตั้งแต่ฐานรากของประเทศ และข้าราชการคือตัวจักรสําคัญที่ต้องทําหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการนําพาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีในวันหน้า โดยรัฐบาลเร่งผลักดันให้เรื่องการปฏิรูปประเทศและการสร้างความปรองดองมีความชัดเจน มีการดําเนินการที่เห็นผลเป็นรูปธรรมรวมทั้งกําหนดให้มีกลไกที่รัฐบาลสามารถบูรณาการการทํางานที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และยุทธศาสตร์ชาติ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2560 เป็นปีที่สําคัญ เป็นปีแห่งการเตรียมการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ตามครรลองที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยที่มีลักษณะเฉพาะ ด้วยกระบวนการที่เปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งเน้นสร้างความปรองดอง รู้รัก สามัคคี และยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมทั้งมีคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ภาครัฐและอื่น ๆ เป็นกลไกรองรับการขับเคลื่อนการดําเนินงาน ทั้งนี้ กลไกของ ป.ย.ป. จะขับเคลื่อนไปอย่างสอดคล้องรับกับ10 ประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1.การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 2. การสร้างวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 3. การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมและภาคบริการเป้าหมาย 4. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ 5. การบูรณาการอาเซียนและเชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก 6. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ 7. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงเครือข่าย 8. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา 9. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และ 10. การพัฒนากลไกการบริหารจัดการ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าต่อไปว่า การอบรมหลักสูตร ป.ย.ป. ในครั้งนี้ เป็นหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้บริหารภาครัฐทุกท่าน และเพื่อเตรียมความพร้อม รวมทั้งทําความเข้าใจในบริบทใหม่ และทิศทางของการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง โดยเน้นการทํางานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนประเด็นสําคัญต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะผู้นําภาคราชการทุกท่านจะเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงให้เกิดเป็นรูปธรรม วันนี้ รัฐบาลได้มุ่งมั่นทําหน้าที่ในการสร้างสะพานอันแข็งแกร่งที่จะนําพาประเทศไทยไปสู่หนทางที่ดีขึ้นในวันข้างหน้า ซึ่งข้าราชการทุกคนคือ ผู้ที่จะต้องเดินนําพาประชาชนก้าวผ่านข้ามสะพานนี้ไป และเป็นผู้เดินนําประชาชนไปสู่หนทางที่ดีกว่า นายกรัฐมนตรี ในวันนี้ ชาติบ้านเมืองของเรามีความสงบเรียบร้อยมากขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีมากขึ้น สามารถลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมีแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น จากนี้ไป จึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านที่สําคัญยิ่งของประเทศในการก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่าง ๆ หน้าที่สําคัญอีกประการหนึ่งของข้าราชการ นอกจากขับเคลื่อนภารกิจตามประเด็นเหล่านี้ คือ การสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐและเพื่อเป็นการสร้างความชัดเจนให้กับสังคมถึงแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว โดยในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวเป็นกําลังใจให้กับข้าราชการในการทํางานเพื่อประชาชน และประเทศชาติของทุกท่าน และขอให้ข้าราชการทุกท่านได้ร่วมแรงร่วมใจกันทําระบบราชการให้มีความเข้มแข็ง มีการบริหารราชการด้วยคุณธรรม จริยธรรม และมีธรรมาภิบาล และหวังว่าผลลัพธ์จากการเข้าอบรมหลักสูตร ป.ย.ป. จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการของทุกท่านต่อระบบราชการ และต่อชาติบ้านเมืองโดยรวมต่อไป ---------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)” วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2560 นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)” นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)” วันนี้ (2 มีนาคม 2560) เวลา 09.00 น. ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดหลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ และกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)” โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการ ทหาร ตํารวจ ผู้บริหารสํานักงานเลขาธิการ กพร. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟัง สําหรับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ เป็นการประชุมเพื่อให้นักบริหารระดับสูงมีความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง พร้อมทั้ง สามารถถ่ายทอดความเข้าใจดังกล่าวไปสู่ข้าราชการระดับล่างให้สามารถปฏิบัติงานขับเคลื่อนภารกิจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อพัฒนานักบริหารระดับสูงให้มีขีดความสามารถและแรงจูงใจในการขับเคลื่อนภารกิจอย่างประสานสัมพันธ์ และบูรณาการ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามช่วงเวลาที่กําหนดตามเป้าหมายของรัฐบาล รวมถึงเพื่อพัฒนานักบริหารระดับสูงให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าในอนาคต โดยมีกลุ่มเป้าหมายสร้างการรับรู้และความเข้าใจทิศทางการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้แก่ ผู้ตรวจราชการกระทรวง รองอธิบดีหรือเทียบเท่า ผู้ช่วยปลัดกระทรวง ข้าราชการทหารที่ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น สังกัดกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการกองทัพไทย สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมข้าราชการตํารวจ ที่ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โครงสร้างและแนวทางการบริการราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.)” ตอนหนึ่งความว่า ประเทศชาติต้องสําคัญกว่าอย่างอื่น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องฝ่าฟันอุปสรรคไปให้ได้เพื่อประชาชน และเพื่อประเทศชาติ ต้องทํางานเพื่อส่วนร่วมเป็นอันดับแรก ซึ่งต้องจัดสรรปันส่วนเวลาให้เหมาะสมทั้งเวลาทํางาน และเวลาส่วนตัว ต้องรู้จักดํารงชีวิตให้เหมาะสม ข้าราชการต้องปฏิรูปตัวเอง และปฏิรูปการบริหารราชการ พร้อมทั้งเป็นผู้นําแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเรื่องความเข้าใจ จึงต้องสร้างความเข้าใจ และความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน มองปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาไปให้ได้ รวมไปถึงคนไทยทั้งประเทศต้องให้ความร่วมมือช่วยกันแก้ไขปัญหา และต้องเคารพ ปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน ถ้าทุกคนไม่เคารพ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการบังคับใช้กฎหมายก็ไม่มีผล ต่อให้บังคับใช้กฎหมายพิเศษก็ตาม ทั้งนี้ ข้าราชการจะต้องมีหลักการในการทํางาน ต้องมองหาข้อเท็จจริง และต้องเข้าให้ถึงปัญหา มีหลักคิดที่ถูกต้องอย่างมีหลักการให้เกิดประโยชน์ต่องานที่ตนเองรับผิดชอบ และเกิดประโยชน์ประเทศไทย และต้องสํานึกอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นบุคคลระดับบนที่มีความสําคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะข้าราชการคือตัวแปรสําคัญที่จะมีส่วนในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศ และที่มีหน้าที่ช่วยกันวางรากฐานให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนบนพื้นฐานของการเติบโตไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในส่วนของรัฐบาลได้กําหนดนโยบายในการปฏิรูปประเทศในทุก ๆ ด้าน เพื่อปรับปรุงพื้นฐานประเทศให้เข้มแข็ง เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยมีปัญหาสะสมมายาวนานจนไม่สามารถพัฒนาก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็น เพราะประเทศติดกับรายได้ปานกลาง กับดักความยากจน กับดักประชาธิปไตย รัฐบาลจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา โดยการสร้างความเข้มแข็งตั้งแต่ฐานรากของประเทศ และข้าราชการคือตัวจักรสําคัญที่ต้องทําหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการนําพาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีในวันหน้า โดยรัฐบาลเร่งผลักดันให้เรื่องการปฏิรูปประเทศและการสร้างความปรองดองมีความชัดเจน มีการดําเนินการที่เห็นผลเป็นรูปธรรมรวมทั้งกําหนดให้มีกลไกที่รัฐบาลสามารถบูรณาการการทํางานที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และยุทธศาสตร์ชาติ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2560 เป็นปีที่สําคัญ เป็นปีแห่งการเตรียมการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ตามครรลองที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยที่มีลักษณะเฉพาะ ด้วยกระบวนการที่เปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งเน้นสร้างความปรองดอง รู้รัก สามัคคี และยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมทั้งมีคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ภาครัฐและอื่น ๆ เป็นกลไกรองรับการขับเคลื่อนการดําเนินงาน ทั้งนี้ กลไกของ ป.ย.ป. จะขับเคลื่อนไปอย่างสอดคล้องรับกับ10 ประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1.การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 2. การสร้างวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 3. การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมและภาคบริการเป้าหมาย 4. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ 5. การบูรณาการอาเซียนและเชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก 6. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ 7. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงเครือข่าย 8. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา 9. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และ 10. การพัฒนากลไกการบริหารจัดการ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าต่อไปว่า การอบรมหลักสูตร ป.ย.ป. ในครั้งนี้ เป็นหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้บริหารภาครัฐทุกท่าน และเพื่อเตรียมความพร้อม รวมทั้งทําความเข้าใจในบริบทใหม่ และทิศทางของการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง โดยเน้นการทํางานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนประเด็นสําคัญต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะผู้นําภาคราชการทุกท่านจะเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงให้เกิดเป็นรูปธรรม วันนี้ รัฐบาลได้มุ่งมั่นทําหน้าที่ในการสร้างสะพานอันแข็งแกร่งที่จะนําพาประเทศไทยไปสู่หนทางที่ดีขึ้นในวันข้างหน้า ซึ่งข้าราชการทุกคนคือ ผู้ที่จะต้องเดินนําพาประชาชนก้าวผ่านข้ามสะพานนี้ไป และเป็นผู้เดินนําประชาชนไปสู่หนทางที่ดีกว่า นายกรัฐมนตรี ในวันนี้ ชาติบ้านเมืองของเรามีความสงบเรียบร้อยมากขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีมากขึ้น สามารถลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมีแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น จากนี้ไป จึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านที่สําคัญยิ่งของประเทศในการก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่าง ๆ หน้าที่สําคัญอีกประการหนึ่งของข้าราชการ นอกจากขับเคลื่อนภารกิจตามประเด็นเหล่านี้ คือ การสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐและเพื่อเป็นการสร้างความชัดเจนให้กับสังคมถึงแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว โดยในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวเป็นกําลังใจให้กับข้าราชการในการทํางานเพื่อประชาชน และประเทศชาติของทุกท่าน และขอให้ข้าราชการทุกท่านได้ร่วมแรงร่วมใจกันทําระบบราชการให้มีความเข้มแข็ง มีการบริหารราชการด้วยคุณธรรม จริยธรรม และมีธรรมาภิบาล และหวังว่าผลลัพธ์จากการเข้าอบรมหลักสูตร ป.ย.ป. จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการของทุกท่านต่อระบบราชการ และต่อชาติบ้านเมืองโดยรวมต่อไป ---------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2155
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีสุริยะฯ รับหนังสือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแบน 3 สาร จากประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา
วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 รัฐมนตรีสุริยะฯ รับหนังสือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแบน 3 สาร จากประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รับหนังสือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแบน 3 สาร จากประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา ณ หน้าห้องประชุมชั้น 2 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ (27 พฤศจิกายน 2562) เวลา 09.55 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับหนังสือจากนายอันวาร์ สา และ ประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญาและคณะเกี่ยวกับการข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะการแบน 3 สาร ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ณ หน้าห้องประชุม ชั้น 2 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม #สุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ #คณะกรรมการวัตถุอันตราย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีสุริยะฯ รับหนังสือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแบน 3 สาร จากประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 รัฐมนตรีสุริยะฯ รับหนังสือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแบน 3 สาร จากประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รับหนังสือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแบน 3 สาร จากประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา ณ หน้าห้องประชุมชั้น 2 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ (27 พฤศจิกายน 2562) เวลา 09.55 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับหนังสือจากนายอันวาร์ สา และ ประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญาและคณะเกี่ยวกับการข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะการแบน 3 สาร ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ณ หน้าห้องประชุม ชั้น 2 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม #สุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ #คณะกรรมการวัตถุอันตราย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24877
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธปท. ย้ำซอฟต์โลนยังเหลือ กำชับแบงก์เร่งยื่นเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs และห้ามเก็บค่าธรรมเนียม [กระทรวงการคลัง]
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2563 ธปท. ย้ําซอฟต์โลนยังเหลือ กําชับแบงก์เร่งยื่นเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs และห้ามเก็บค่าธรรมเนียม [กระทรวงการคลัง] ธปท. ย้ําซอฟต์โลนยังเหลือ กําชับแบงก์เร่งยื่นเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs และห้ามเก็บค่าธรรมเนียม นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อซอฟต์โลนของแบงก์ชาติ วงเงินรวม 5 แสนล้านบาท ที่เปิดรับคําขอมา 2 สัปดาห์แล้ว มีการใช้วงเงินไปแล้วทั้งสิ้น 36,000 ล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ 22,000 ราย มูลค่าสินเชื่อเฉลี่ยต่อรายอยู่ที่ 1.6 ล้านบาท กระจายครอบคลุมทั่วประเทศ โดย 74% เป็น SMEs ที่อยู่ในต่างจังหวัด (ไม่รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล) และเป็น SMEs ขนาดเล็ก ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ตอบสนองต่อนโยบาย และยื่นคําขอเข้ามามากที่สุด คือ ธ.กรุงเทพ ธ.ก.ส. ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์ ขณะที่มีสถาบันการเงินอีกหลายแห่งที่ยังส่งคําขอเข้ามาไม่มากหรือยังไม่ได้ยื่นคําขอเลย ธปท. ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้กําชับและติดตามให้สถาบันการเงินเร่งช่วยเหลือลูกค้า อย่างไรก็ดี การยื่นคําขอสินเชื่อซอฟต์โลนในช่วงที่ผ่านมายังมีไม่มากนั้น ส่วนหนึ่งเพราะมีวันหยุดหลายวันและหลายสถาบันการเงินใช้เวลามากกว่าที่คาดในเรื่องการจดจํานองหลักประกัน ทั้งนี้ ธปท. ได้ให้สถาบันการเงินเร่งดําเนินการ เพื่อให้สามารถส่งต่อสินเชื่อไปถึงลูกหนี้ SMEs ได้เร็วที่สุด ธปท. ขอย้ําว่าซอฟต์โลนแบงก์ชาติ ยังมีวงเงินเหลือเพียงพอ พร้อมให้สถาบันการเงินนําไปปล่อยกู้ต่อให้กับ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และขอให้สถาบันการเงินสื่อสารไปยังผู้ปฏิบัติงานที่สาขาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้ซอฟต์โลน เช่น ห้ามคิดค่าธรรมเนียม ห้ามกําหนดเงื่อนไขการขายประกันต่าง ๆ เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อ และหากพบว่า SMEs นั้นขาดคุณสมบัติในการขอซอฟต์โลนให้พิจารณาช่วยเหลือในรูปแบบอื่น ๆ ตามแนวทางของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง สําหรับ SMEs ที่ต้องการขอสินเชื่อซอฟต์โลนแบงก์ชาติ สามารถติดต่อสถาบันการเงินที่ท่านเป็นลูกค้า หากพบว่ามีปัญหาในการขอสินเชื่อดังกล่าว สามารถติดต่อ call center ของสถาบันการเงินนั้น ๆ หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของแบงก์ชาติ (ศคง.) โทร. 1213
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธปท. ย้ำซอฟต์โลนยังเหลือ กำชับแบงก์เร่งยื่นเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs และห้ามเก็บค่าธรรมเนียม [กระทรวงการคลัง] วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2563 ธปท. ย้ําซอฟต์โลนยังเหลือ กําชับแบงก์เร่งยื่นเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs และห้ามเก็บค่าธรรมเนียม [กระทรวงการคลัง] ธปท. ย้ําซอฟต์โลนยังเหลือ กําชับแบงก์เร่งยื่นเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs และห้ามเก็บค่าธรรมเนียม นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อซอฟต์โลนของแบงก์ชาติ วงเงินรวม 5 แสนล้านบาท ที่เปิดรับคําขอมา 2 สัปดาห์แล้ว มีการใช้วงเงินไปแล้วทั้งสิ้น 36,000 ล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ 22,000 ราย มูลค่าสินเชื่อเฉลี่ยต่อรายอยู่ที่ 1.6 ล้านบาท กระจายครอบคลุมทั่วประเทศ โดย 74% เป็น SMEs ที่อยู่ในต่างจังหวัด (ไม่รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล) และเป็น SMEs ขนาดเล็ก ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ตอบสนองต่อนโยบาย และยื่นคําขอเข้ามามากที่สุด คือ ธ.กรุงเทพ ธ.ก.ส. ธ.กรุงไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์ ขณะที่มีสถาบันการเงินอีกหลายแห่งที่ยังส่งคําขอเข้ามาไม่มากหรือยังไม่ได้ยื่นคําขอเลย ธปท. ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้กําชับและติดตามให้สถาบันการเงินเร่งช่วยเหลือลูกค้า อย่างไรก็ดี การยื่นคําขอสินเชื่อซอฟต์โลนในช่วงที่ผ่านมายังมีไม่มากนั้น ส่วนหนึ่งเพราะมีวันหยุดหลายวันและหลายสถาบันการเงินใช้เวลามากกว่าที่คาดในเรื่องการจดจํานองหลักประกัน ทั้งนี้ ธปท. ได้ให้สถาบันการเงินเร่งดําเนินการ เพื่อให้สามารถส่งต่อสินเชื่อไปถึงลูกหนี้ SMEs ได้เร็วที่สุด ธปท. ขอย้ําว่าซอฟต์โลนแบงก์ชาติ ยังมีวงเงินเหลือเพียงพอ พร้อมให้สถาบันการเงินนําไปปล่อยกู้ต่อให้กับ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และขอให้สถาบันการเงินสื่อสารไปยังผู้ปฏิบัติงานที่สาขาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้ซอฟต์โลน เช่น ห้ามคิดค่าธรรมเนียม ห้ามกําหนดเงื่อนไขการขายประกันต่าง ๆ เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อ และหากพบว่า SMEs นั้นขาดคุณสมบัติในการขอซอฟต์โลนให้พิจารณาช่วยเหลือในรูปแบบอื่น ๆ ตามแนวทางของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง สําหรับ SMEs ที่ต้องการขอสินเชื่อซอฟต์โลนแบงก์ชาติ สามารถติดต่อสถาบันการเงินที่ท่านเป็นลูกค้า หากพบว่ามีปัญหาในการขอสินเชื่อดังกล่าว สามารถติดต่อ call center ของสถาบันการเงินนั้น ๆ หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของแบงก์ชาติ (ศคง.) โทร. 1213
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30454
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. กำชับ จนท. เร่งช่วยเหลือครอบครัวหญิงสาววัย 20 ปี ที่ต้องเลี้ยงดูลูกชายวัย 3 ขวบ ป่วยพิการทางสมอง และเป็นโรคลมชัก และลูกสาววัย 1 ขวบ ครอบครัวฐานะยากจน ที่ จ.หนองคาย
วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม 2560 รมว.พม. กําชับ จนท. เร่งช่วยเหลือครอบครัวหญิงสาววัย 20 ปี ที่ต้องเลี้ยงดูลูกชายวัย 3 ขวบ ป่วยพิการทางสมอง และเป็นโรคลมชัก และลูกสาววัย 1 ขวบ ครอบครัวฐานะยากจน ที่ จ.หนองคาย รมว.พม. กําชับ จนท. เร่งช่วยเหลือครอบครัวหญิงสาววัย 20 ปี ที่ต้องเลี้ยงดูลูกชายวัย 3 ขวบ ป่วยพิการทางสมอง และเป็นโรคลมชัก และลูกสาววัย 1 ขวบ ครอบครัวฐานะยากจน ที่ จ.หนองคาย วันนี้ (6 ก.ค. 60) เวลา 07.45 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่าพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 666/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า จากกรณีหญิงสาววัย 20 ปี ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกชายวัย 3 ขวบ ที่ป่วยพิการทางสมองตั้งแต่กําเนิด และเป็นโรคลมชัก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องอยู่ดูแลอย่างใกล้ชิด อีกทั้งมีลูกสาวคนเล็กวัย 1 ขวบที่ต้องเลี้ยงดู มีเพียงผู้เป็นสามีที่ทําหน้าที่เป็นเสาหลักหารายได้จุนเจือครอบครัว ครอบครัวมีฐานะยากจน ไม่มีเงินเพียงพอค่ารักษาพยาบาล ที่อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย (พมจ.หนองคาย) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กและคนพิการของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลของเด็กชายดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และการช่วยเหลือให้คําปรึกษาแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายและความเหมาะสม นอกจากนี้ ให้คําแนะนําปรึกษาแก่ครอบครัวในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง สามารถเลี้ยงดูครอบครัวในระยะยาวได้ต่อไป พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับกรณีหญิงวัย 56 ปี ถูกคนร้ายถีบรถจักรยานยนต์ล้ม เพื่อชิงทรัพย์ ทําให้ศีรษะแตกจากการกระแทกพื้น มีเลือดคั่งในสมองอย่างรุนแรง กลายเป็นคนพิการ นอนป่วยติดเตียง แขนขาลีบ ต้องเจาะคอเพื่อให้อาหารทางสายยาง และมีแผลกดทับทั่วร่างกาย ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อาศัยอยู่กับลูกสาว ที่ต้องลาออกจากงานเพื่อมาอยู่ดูแลอย่างใกล้ชิด ทําให้ครอบครัวขาดรายได้ อีกทั้ง ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกที่มีพัฒนาการช้า ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่อําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ (พมจ.นครสวรรค์) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สังกัดกระทรวง การพัฒนาสังคมฯ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านคนพิการและด้านเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ ที่จําเป็น รวมทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลอาการป่วยของหญิงดังกล่าวและหลานที่มีพัฒนาการช้าอย่างใกล้ชิด และให้ความช่วยเหลือในเรื่องสวัสดิการสังคมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ ช่วยเหลือในการให้คําแนะนําปรึกษาแก่ลูกสาวของผู้ป่วยในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง สามารถเลี้ยงดูครอบครัวในระยะยาวได้ต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. กำชับ จนท. เร่งช่วยเหลือครอบครัวหญิงสาววัย 20 ปี ที่ต้องเลี้ยงดูลูกชายวัย 3 ขวบ ป่วยพิการทางสมอง และเป็นโรคลมชัก และลูกสาววัย 1 ขวบ ครอบครัวฐานะยากจน ที่ จ.หนองคาย วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม 2560 รมว.พม. กําชับ จนท. เร่งช่วยเหลือครอบครัวหญิงสาววัย 20 ปี ที่ต้องเลี้ยงดูลูกชายวัย 3 ขวบ ป่วยพิการทางสมอง และเป็นโรคลมชัก และลูกสาววัย 1 ขวบ ครอบครัวฐานะยากจน ที่ จ.หนองคาย รมว.พม. กําชับ จนท. เร่งช่วยเหลือครอบครัวหญิงสาววัย 20 ปี ที่ต้องเลี้ยงดูลูกชายวัย 3 ขวบ ป่วยพิการทางสมอง และเป็นโรคลมชัก และลูกสาววัย 1 ขวบ ครอบครัวฐานะยากจน ที่ จ.หนองคาย วันนี้ (6 ก.ค. 60) เวลา 07.45 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่าพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 666/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า จากกรณีหญิงสาววัย 20 ปี ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกชายวัย 3 ขวบ ที่ป่วยพิการทางสมองตั้งแต่กําเนิด และเป็นโรคลมชัก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องอยู่ดูแลอย่างใกล้ชิด อีกทั้งมีลูกสาวคนเล็กวัย 1 ขวบที่ต้องเลี้ยงดู มีเพียงผู้เป็นสามีที่ทําหน้าที่เป็นเสาหลักหารายได้จุนเจือครอบครัว ครอบครัวมีฐานะยากจน ไม่มีเงินเพียงพอค่ารักษาพยาบาล ที่อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย (พมจ.หนองคาย) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กและคนพิการของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลของเด็กชายดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และการช่วยเหลือให้คําปรึกษาแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายและความเหมาะสม นอกจากนี้ ให้คําแนะนําปรึกษาแก่ครอบครัวในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง สามารถเลี้ยงดูครอบครัวในระยะยาวได้ต่อไป พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับกรณีหญิงวัย 56 ปี ถูกคนร้ายถีบรถจักรยานยนต์ล้ม เพื่อชิงทรัพย์ ทําให้ศีรษะแตกจากการกระแทกพื้น มีเลือดคั่งในสมองอย่างรุนแรง กลายเป็นคนพิการ นอนป่วยติดเตียง แขนขาลีบ ต้องเจาะคอเพื่อให้อาหารทางสายยาง และมีแผลกดทับทั่วร่างกาย ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อาศัยอยู่กับลูกสาว ที่ต้องลาออกจากงานเพื่อมาอยู่ดูแลอย่างใกล้ชิด ทําให้ครอบครัวขาดรายได้ อีกทั้ง ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกที่มีพัฒนาการช้า ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่อําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์ (พมจ.นครสวรรค์) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สังกัดกระทรวง การพัฒนาสังคมฯ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านคนพิการและด้านเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ ที่จําเป็น รวมทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลอาการป่วยของหญิงดังกล่าวและหลานที่มีพัฒนาการช้าอย่างใกล้ชิด และให้ความช่วยเหลือในเรื่องสวัสดิการสังคมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ ช่วยเหลือในการให้คําแนะนําปรึกษาแก่ลูกสาวของผู้ป่วยในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง สามารถเลี้ยงดูครอบครัวในระยะยาวได้ต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5049
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลสนับสนุนการจ้างงานคนพิการอย่างไม่เลือกปฏิบัติ
วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 รัฐบาลสนับสนุนการจ้างงานคนพิการอย่างไม่เลือกปฏิบัติ รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเพื่อสนับสนุนให้คนพิการได้รับโอกาสทางอาชีพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลตั้งเป้าปี 2560 ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการเพิ่มขึ้นอีก 10,000 คน ด้วยการบังคับใช้กฎหมายจ้างงานคนพิการอย่างจริงจังเพื่อให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันสนับสนุนการสร้างอาชีพแก่คนพิการอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับการจ้างงานลูกจ้างปกติ โดยแต่ละหน่วยงานมี 3 ทางเลือก ได้แก่ 1.จ้างงานคนพิการในสัดส่วนลูกจ้างคนพิการ 1 คน ต่อลูกจ้าง 100 คน 2.ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือ 3.ให้สัมปทานแก่คนพิการเข้าไปขายสินค้าและบริการในพื้นที่ของหน่วยงาน ซึ่งคนพิการสามารถดูข้อมูลหน่วยงานที่เปิดรับสมัครงาน หรือเปิดพื้นที่ให้ขายสินค้า ได้ที่ www.ตลาดงานคนพิการ.com และสามารถร้องเรียนปัญหาหรือขอความช่วยเหลือเรื่องการจ้างงานได้ที่ศูนย์บริการคนพิการ 02 354 4542 ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลสนับสนุนการจ้างงานคนพิการอย่างไม่เลือกปฏิบัติ วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 รัฐบาลสนับสนุนการจ้างงานคนพิการอย่างไม่เลือกปฏิบัติ รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเพื่อสนับสนุนให้คนพิการได้รับโอกาสทางอาชีพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลตั้งเป้าปี 2560 ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการเพิ่มขึ้นอีก 10,000 คน ด้วยการบังคับใช้กฎหมายจ้างงานคนพิการอย่างจริงจังเพื่อให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันสนับสนุนการสร้างอาชีพแก่คนพิการอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับการจ้างงานลูกจ้างปกติ โดยแต่ละหน่วยงานมี 3 ทางเลือก ได้แก่ 1.จ้างงานคนพิการในสัดส่วนลูกจ้างคนพิการ 1 คน ต่อลูกจ้าง 100 คน 2.ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือ 3.ให้สัมปทานแก่คนพิการเข้าไปขายสินค้าและบริการในพื้นที่ของหน่วยงาน ซึ่งคนพิการสามารถดูข้อมูลหน่วยงานที่เปิดรับสมัครงาน หรือเปิดพื้นที่ให้ขายสินค้า ได้ที่ www.ตลาดงานคนพิการ.com และสามารถร้องเรียนปัญหาหรือขอความช่วยเหลือเรื่องการจ้างงานได้ที่ศูนย์บริการคนพิการ 02 354 4542 ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2956
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กอู๋”เผย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ชื่นชมแรงงานไทยขยัน มีฝีมือ แนะพัฒนาภาษาเพิ่ม
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561 “บิ๊กอู๋”เผย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ชื่นชมแรงงานไทยขยัน มีฝีมือ แนะพัฒนาภาษาเพิ่ม รมว.แรงงาน เผย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ชื่นชมแรงงานไทยขยัน อดทนในการทํางาน และมีฝีมือสูง แนะพัฒนาทักษะด้านภาษาเพิ่มเติม ประยุกต์ใช้ในการทํางาน สามารถแข่งขันกับแรงงานชาติอื่นได้ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2561 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงผลการหารือข้อราชการร่วมกับนายจักรี ศรีชวนะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ณ สถานเอกอัครราชทูตณ กรุงเบิร์นว่า ปัจจุบันมีคนไทยอาศัยอยู่ในสมาพันธรัฐสวิสต์ราว 30,000 คน ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดกิจกรรมให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมกลุ่มชมรม/สมาคมคนไทย รวมถึงการให้ความรู้แก่กลุ่มลูกครึ่งคนไทยซึ่งมีการจัดตั้งโรงเรียน 14 แห่ง และมีครูอาสาสมัครสอน พล.ต.อ.อดุลย์ฯ ได้เสนอแนะให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น บูรณาการในด้านงบประมาณกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีเงินสนับสนุนให้แก่กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ นอกจากนั้นเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ยังได้กล่าวชื่นชมแรงงานไทยซึ่งมีความขยันขันแข็ง อดทนในการทํางาน และมีฝีมือในระดับสูง แต่อย่างไรก็ตาม แรงงานไทยยังต้องพัฒนาในด้านภาษาเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับแรงงานชาติอื่นๆ ได้ รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ในการทํางานของตนเอง พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณกระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพฝีมือแรงงาน ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาผู้ประกอบอาหาร ซึ่งมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจํานวนมากอีกด้วย ------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ชนินทร เพ็ชรทับ - ข่าว/ สํานักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ข้อมูล - ภาพ/ 4 มิถุนายน 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กอู๋”เผย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ชื่นชมแรงงานไทยขยัน มีฝีมือ แนะพัฒนาภาษาเพิ่ม วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561 “บิ๊กอู๋”เผย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ชื่นชมแรงงานไทยขยัน มีฝีมือ แนะพัฒนาภาษาเพิ่ม รมว.แรงงาน เผย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ชื่นชมแรงงานไทยขยัน อดทนในการทํางาน และมีฝีมือสูง แนะพัฒนาทักษะด้านภาษาเพิ่มเติม ประยุกต์ใช้ในการทํางาน สามารถแข่งขันกับแรงงานชาติอื่นได้ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2561 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงผลการหารือข้อราชการร่วมกับนายจักรี ศรีชวนะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ณ สถานเอกอัครราชทูตณ กรุงเบิร์นว่า ปัจจุบันมีคนไทยอาศัยอยู่ในสมาพันธรัฐสวิสต์ราว 30,000 คน ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดกิจกรรมให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมกลุ่มชมรม/สมาคมคนไทย รวมถึงการให้ความรู้แก่กลุ่มลูกครึ่งคนไทยซึ่งมีการจัดตั้งโรงเรียน 14 แห่ง และมีครูอาสาสมัครสอน พล.ต.อ.อดุลย์ฯ ได้เสนอแนะให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น บูรณาการในด้านงบประมาณกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีเงินสนับสนุนให้แก่กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ นอกจากนั้นเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ยังได้กล่าวชื่นชมแรงงานไทยซึ่งมีความขยันขันแข็ง อดทนในการทํางาน และมีฝีมือในระดับสูง แต่อย่างไรก็ตาม แรงงานไทยยังต้องพัฒนาในด้านภาษาเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับแรงงานชาติอื่นๆ ได้ รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ในการทํางานของตนเอง พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณกระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพฝีมือแรงงาน ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาผู้ประกอบอาหาร ซึ่งมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจํานวนมากอีกด้วย ------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ชนินทร เพ็ชรทับ - ข่าว/ สํานักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ข้อมูล - ภาพ/ 4 มิถุนายน 2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12746
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวง อว. ร่วมกับเอกชน ขับเคลื่อนงานวิจัยใช้ได้จริง ตอบโจทย์นโยบาย “BCG EPISIDE 1”
วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2562 กระทรวง อว. ร่วมกับเอกชน ขับเคลื่อนงานวิจัยใช้ได้จริง ตอบโจทย์นโยบาย “BCG EPISIDE 1” กระทรวง อว. ร่วมกับเอกชน ขับเคลื่อนงานวิจัยใช้ได้จริง ตอบโจทย์นโยบาย “BCG EPISIDE 1” “สุวิทย์” ขานรับนโยบายรัฐบาล งดใช้ถุงพลาสติก ดีเดย์ 1 ม.ค. 2563 นี้ ผนึกภาคเอกชน - SMEs ไทย สร้างนวัตกรรมถุงพลาสติกย่อยสลาย 100% จากแป้งมันสําปะหลัง ปฏิวัติรูปแบบถุงพลาสติกไทย ตอกย้ําแนวคิดนํานวัตกรรมต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรแบบดั้งเดิมเพิ่มมูลค่าให้สินค้าการเกษตร ตอบโจทย์ BCG​ Economy (9 ธันวาคม 2562) ณ บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัด (SMS Corporation) อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี : ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชมกระบวนการพัฒนาผลิตพลาสติกชีวภาพ ด้วยการนําแป้งมันสําปะหลังมาพัฒนาเป็นพลาสติก โดย บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัด ได้ร่วมวิจัยและพัฒนา "ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับขยะเศษอาหาร” กับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. และมีบริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) สนับสนุนกระบวนการเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ดร.สุวิทย์ รมว.อว.เปิดเผยว่า จากการที่ ครม. มีมติเห็นชอบการงดใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยเป็นนโยบายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดําเนินงานเพื่อลดและเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 กระทรวง อว. จึงขานรับนโยบายในการคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากขยะพลาสติก โดยปฏิวัติรูปแบบถุงพลาสติกในประเทศไทย ด้วยการวิจัยและพัฒนา"ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับขยะเศษอาหาร”ผลงานวิจัยของ เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ บ.เอสเอ็มเอสฯ เปลี่ยนมันสําปะหลัง โดยพัฒนาสูตรในห้องปฏิบัติการเป็นเม็ดพลาสติกชีวภาพและทําการผสมสูตรเพื่อเพิ่มคุณสมบัติทางวิศวกรรมให้เหมาะสมกับการนําไปขึ้นรูปเป็นฟิล์มบางและผลิต "ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับขยะเศษอาหาร” สามารถย่อยสลายได้ภายใน 3 - 4 เดือน ซึ่งได้นําร่องใช้งานจริงแล้วในงานกาชาด ประจําปี 2562 เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นวัตกรรมดังกล่าววิจัยและพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยและภาคเอกชนของไทย โดย เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับภาคเอกชน บ.เอสเอ็มเอสฯ พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากภาคีอุตสาหกรรมพลาสติก ได้แก่ บ.โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ (ประเทศไทย) จํากัด และ บ.บีเอเอสเอฟ (ไทย) จํากัด สนับสนุนวัตถุดิบเม็ดพลาสติกชีวภาพ และบริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) สนับสนุนกระบวนการเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สําคัญในการปฎิวัติรูปแบบถุงพลาสติก และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของเมืองไทย ทั้งนี้ ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับใส่ขยะเศษอาหาร นับเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ต้นแบบในการพัฒนาตอบโจทย์ BCG Economyด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) โดยการนําเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มคุณค่าหรือการประยุกต์ใช้งานและการแปรรูปของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเกษตร เพื่อทําให้ผลผลิตทางการเกษตรแบบดั้งเดิม มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ลดปริมาณถุงพลาสติก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ SMEs ไทย และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดร.ณรงค์ ผู้อํานวยการ สวทช.กล่าวว่า ปัญหาของ “ขยะพลาสติก” ทั้งบนบกและในทะเล เป็นปัญหาที่สําคัญที่ทั่วโลกตื่นตัวกันมากประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลําดับที่ 10 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกสู่ท้องทะเลมากที่สุดในโลกสาเหตุมาจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งมีอัตราส่วนมากถึง 40% ของขยะพลาสติกทั้งหมด และจากนโยบายของรัฐบาลที่กําหนดการลดและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง จํานวน 7 ชนิด ที่พบมากในทะเลของประเทศไทย ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระบวนการจัดการขยะมีความจําเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกเพื่อรวบรวมและขนส่งขยะ เช่น ขยะเศษอาหาร ไม่ให้ปนเปื้อนกับขยะที่รีไซเคิลได้และขยะอื่น ๆ สวทช. โดย เอ็มเทค จึงได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีคอมพาวด์ย่อยสลายและถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับขยะเศษอาหาร โดยนําแป้งมันสําปะหลังมาเป็นวัตถุดิบเริ่มต้น ตอบโจทย์ BCG เพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมแป้งมันสําปะหลังและยกระดับรายได้ให้เกษตรกร พร้อมทั้งเตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีกล่าวให้กับภาคเอกชนต่อไป นายเขม หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัดเปิดเผยว่า จุดเริ่มโครงการนี้มาจากความร่วมมือทางด้านงานวิจัยระหว่าง บ.เอสเอ็มเอสฯ และ เอ็มเทค สวทช. และขยายผลให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในระดับอุตสาหกรรมซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก บ.ทานตะวันอุตสาหกรรมฯ ในการเป่าขึ้นรูปถุง ทําให้ประชาชนผู้ใช้มั่นใจได้ว่าถุงขยะสําหรับใส่ขยะเศษอาหารที่มีส่วนผสมของ TAPIOPLAST สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ ไม่เหลือสิ่งตกค้างที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ในปัจจุบันนี้มีการใช้พลาสติกชีวภาพเพียง 1% ของการใช้พลาสติกทั้งหมด และอุปสรรคในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพที่สําคัญ คือ ปัญหาในด้านต้นทุนการผลิต และประสิทธิภาพในการใช้งาน ทําให้การนํามาประยุกต์ใช้จริงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นบริษัทจึงได้คิดค้นพัฒนาแป้งมันสําปะหลังดัดแปรให้อยู่ในรูปของเม็ดพลาสติก เป็นรายแรกของประเทศไทยที่ตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง โดยถุงสําหรับใส่ขยะเศษอาหารนี้มีส่วนผสมของไบโอพลาสติกนี้มีชื่อว่า TAPIOPLAST สามารถทําให้เกิดการย่อยสลายได้ดีขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นเมื่อใช้ TAPIOPLAST เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ย่อยลายทางชีวภาพหลากหลายชนิด รวมถึงถุงเพาะชํากล้าไม้ เป็นต้น จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และราคาลดลง ซึ่งจะทําให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น ทําให้ขยายการใช้ในวงกว้างประกอบกับการจัดการขยะที่ถูกวิธี อย่างไรก็ดี เมื่อทุกภาคส่วนช่วยกันผลักดัน ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาชนและเกษตรกรเพื่อสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ ความต้องการของประเทศสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขันในระดับชาติ ทําให้ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เกิดความมั่นคงทางด้านวัตถุดิบ เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ดังนั้นการพัฒนาแป้งมันสําปะหลังดัดแปรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ จึงเป็นการปฏิบัติที่ใช้หลักการเศรษฐกิจแบบ BCG ด้านนางสาวนฤศสัย มหฐิติรัฐกรรมการบริหาร บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน)กล่าวเสริมว่า บ.ทานตะวันฯ เล็งเห็นถึงความสําคัญของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและดําเนินงาน ภายใต้แนวคิด “ทานตะวันเพื่อทุกชีวิตที่ยั่งยืน” ด้วยหลัก 6R คือ Re-Thinking, Re-Designing, Re-Duce Material, Re-Process, Re-Energy และ Re-Covering เช่น ตั้งเป้านําพลาสติกที่เหลือจากขบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ 100% และริเริ่มผลักดันผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากกระบวนการผลิตดังกล่าวมาต่อยอดทางธุรกิจ ในส่วนของ Bio และ Green Economy บริษัทฯ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยนําวัตถุดิบที่ผลิตจากธรรมชาติ เช่น อ้อย และข้าวโพด มาใช้ผลิตสินค้าประเภท Bio Plastic ซึ่งรวมถึงพลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ หรือที่เรียกว่า Compostable Plastic เช่น หลอด ถุงขยะ ถุงซิป ภายใต้เครื่องหมายการค้า“SUNBIO” ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม สําหรับการสนับสนุนหรือต่อยอดงานวิจัยไทย บริษัทฯ ร่วมทําวิจัยกับมหาวิทยาลัยชั้นนําหลายโครงการ และ ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัยจาก เอ็มเทค สวทช. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าถุงยืดอายุผักและผลไม้ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “Fresh & Fresh” ที่คิดค้นด้วยเทคโนโลยี MAP คือบรรจุภัณฑ์ที่มีการควบคุมระดับการเข้าออกของก๊าซภายในถุง ให้อยู่ในสภาพดัดแปลงบรรยากาศแบบสมดุล (EMA) เรียกได้ว่าเป็น “ถุงหายใจได้” มีคุณสมบัติทําให้ผักและผลไม้มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานกว่าถุงทั่วไป ยืดอายุความสดใหม่ของผักและผลไม้ “ทั้งนี้ บ.ทานตะวันฯ ในฐานะองค์กรหนึ่งที่ดําเนินธุรกิจในประเทศไทย ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งรณรงค์ส่งเสริมกับพันธมิตรทุกภาคส่วนเพื่อให้สังคมของเราจัดการปัญหาพลาสติกได้อย่างยั่งยืน และอยากย้ําเตือนว่าพลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย พลาสติกเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เมื่อเรานํามาใช้ซ้ํา และมีการจัดการอย่างถูกวิธีและเหมาะสม” นางสาวนฤศสัย กล่าวทิ้งท้าย เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวง อว. ร่วมกับเอกชน ขับเคลื่อนงานวิจัยใช้ได้จริง ตอบโจทย์นโยบาย “BCG EPISIDE 1” วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2562 กระทรวง อว. ร่วมกับเอกชน ขับเคลื่อนงานวิจัยใช้ได้จริง ตอบโจทย์นโยบาย “BCG EPISIDE 1” กระทรวง อว. ร่วมกับเอกชน ขับเคลื่อนงานวิจัยใช้ได้จริง ตอบโจทย์นโยบาย “BCG EPISIDE 1” “สุวิทย์” ขานรับนโยบายรัฐบาล งดใช้ถุงพลาสติก ดีเดย์ 1 ม.ค. 2563 นี้ ผนึกภาคเอกชน - SMEs ไทย สร้างนวัตกรรมถุงพลาสติกย่อยสลาย 100% จากแป้งมันสําปะหลัง ปฏิวัติรูปแบบถุงพลาสติกไทย ตอกย้ําแนวคิดนํานวัตกรรมต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรแบบดั้งเดิมเพิ่มมูลค่าให้สินค้าการเกษตร ตอบโจทย์ BCG​ Economy (9 ธันวาคม 2562) ณ บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัด (SMS Corporation) อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี : ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชมกระบวนการพัฒนาผลิตพลาสติกชีวภาพ ด้วยการนําแป้งมันสําปะหลังมาพัฒนาเป็นพลาสติก โดย บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัด ได้ร่วมวิจัยและพัฒนา "ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับขยะเศษอาหาร” กับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. และมีบริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) สนับสนุนกระบวนการเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ดร.สุวิทย์ รมว.อว.เปิดเผยว่า จากการที่ ครม. มีมติเห็นชอบการงดใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยเป็นนโยบายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดําเนินงานเพื่อลดและเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 กระทรวง อว. จึงขานรับนโยบายในการคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากขยะพลาสติก โดยปฏิวัติรูปแบบถุงพลาสติกในประเทศไทย ด้วยการวิจัยและพัฒนา"ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับขยะเศษอาหาร”ผลงานวิจัยของ เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ บ.เอสเอ็มเอสฯ เปลี่ยนมันสําปะหลัง โดยพัฒนาสูตรในห้องปฏิบัติการเป็นเม็ดพลาสติกชีวภาพและทําการผสมสูตรเพื่อเพิ่มคุณสมบัติทางวิศวกรรมให้เหมาะสมกับการนําไปขึ้นรูปเป็นฟิล์มบางและผลิต "ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับขยะเศษอาหาร” สามารถย่อยสลายได้ภายใน 3 - 4 เดือน ซึ่งได้นําร่องใช้งานจริงแล้วในงานกาชาด ประจําปี 2562 เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นวัตกรรมดังกล่าววิจัยและพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยและภาคเอกชนของไทย โดย เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับภาคเอกชน บ.เอสเอ็มเอสฯ พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากภาคีอุตสาหกรรมพลาสติก ได้แก่ บ.โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ (ประเทศไทย) จํากัด และ บ.บีเอเอสเอฟ (ไทย) จํากัด สนับสนุนวัตถุดิบเม็ดพลาสติกชีวภาพ และบริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน) สนับสนุนกระบวนการเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สําคัญในการปฎิวัติรูปแบบถุงพลาสติก และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของเมืองไทย ทั้งนี้ ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับใส่ขยะเศษอาหาร นับเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ต้นแบบในการพัฒนาตอบโจทย์ BCG Economyด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) โดยการนําเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มคุณค่าหรือการประยุกต์ใช้งานและการแปรรูปของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเกษตร เพื่อทําให้ผลผลิตทางการเกษตรแบบดั้งเดิม มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ลดปริมาณถุงพลาสติก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ SMEs ไทย และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดร.ณรงค์ ผู้อํานวยการ สวทช.กล่าวว่า ปัญหาของ “ขยะพลาสติก” ทั้งบนบกและในทะเล เป็นปัญหาที่สําคัญที่ทั่วโลกตื่นตัวกันมากประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลําดับที่ 10 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกสู่ท้องทะเลมากที่สุดในโลกสาเหตุมาจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งมีอัตราส่วนมากถึง 40% ของขยะพลาสติกทั้งหมด และจากนโยบายของรัฐบาลที่กําหนดการลดและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง จํานวน 7 ชนิด ที่พบมากในทะเลของประเทศไทย ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระบวนการจัดการขยะมีความจําเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกเพื่อรวบรวมและขนส่งขยะ เช่น ขยะเศษอาหาร ไม่ให้ปนเปื้อนกับขยะที่รีไซเคิลได้และขยะอื่น ๆ สวทช. โดย เอ็มเทค จึงได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีคอมพาวด์ย่อยสลายและถุงพลาสติกย่อยสลายได้สําหรับขยะเศษอาหาร โดยนําแป้งมันสําปะหลังมาเป็นวัตถุดิบเริ่มต้น ตอบโจทย์ BCG เพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมแป้งมันสําปะหลังและยกระดับรายได้ให้เกษตรกร พร้อมทั้งเตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีกล่าวให้กับภาคเอกชนต่อไป นายเขม หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัดเปิดเผยว่า จุดเริ่มโครงการนี้มาจากความร่วมมือทางด้านงานวิจัยระหว่าง บ.เอสเอ็มเอสฯ และ เอ็มเทค สวทช. และขยายผลให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในระดับอุตสาหกรรมซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก บ.ทานตะวันอุตสาหกรรมฯ ในการเป่าขึ้นรูปถุง ทําให้ประชาชนผู้ใช้มั่นใจได้ว่าถุงขยะสําหรับใส่ขยะเศษอาหารที่มีส่วนผสมของ TAPIOPLAST สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ ไม่เหลือสิ่งตกค้างที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ในปัจจุบันนี้มีการใช้พลาสติกชีวภาพเพียง 1% ของการใช้พลาสติกทั้งหมด และอุปสรรคในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพที่สําคัญ คือ ปัญหาในด้านต้นทุนการผลิต และประสิทธิภาพในการใช้งาน ทําให้การนํามาประยุกต์ใช้จริงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นบริษัทจึงได้คิดค้นพัฒนาแป้งมันสําปะหลังดัดแปรให้อยู่ในรูปของเม็ดพลาสติก เป็นรายแรกของประเทศไทยที่ตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง โดยถุงสําหรับใส่ขยะเศษอาหารนี้มีส่วนผสมของไบโอพลาสติกนี้มีชื่อว่า TAPIOPLAST สามารถทําให้เกิดการย่อยสลายได้ดีขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นเมื่อใช้ TAPIOPLAST เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ย่อยลายทางชีวภาพหลากหลายชนิด รวมถึงถุงเพาะชํากล้าไม้ เป็นต้น จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และราคาลดลง ซึ่งจะทําให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น ทําให้ขยายการใช้ในวงกว้างประกอบกับการจัดการขยะที่ถูกวิธี อย่างไรก็ดี เมื่อทุกภาคส่วนช่วยกันผลักดัน ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาชนและเกษตรกรเพื่อสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ ความต้องการของประเทศสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขันในระดับชาติ ทําให้ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เกิดความมั่นคงทางด้านวัตถุดิบ เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ดังนั้นการพัฒนาแป้งมันสําปะหลังดัดแปรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ จึงเป็นการปฏิบัติที่ใช้หลักการเศรษฐกิจแบบ BCG ด้านนางสาวนฤศสัย มหฐิติรัฐกรรมการบริหาร บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จํากัด (มหาชน)กล่าวเสริมว่า บ.ทานตะวันฯ เล็งเห็นถึงความสําคัญของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและดําเนินงาน ภายใต้แนวคิด “ทานตะวันเพื่อทุกชีวิตที่ยั่งยืน” ด้วยหลัก 6R คือ Re-Thinking, Re-Designing, Re-Duce Material, Re-Process, Re-Energy และ Re-Covering เช่น ตั้งเป้านําพลาสติกที่เหลือจากขบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ 100% และริเริ่มผลักดันผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากกระบวนการผลิตดังกล่าวมาต่อยอดทางธุรกิจ ในส่วนของ Bio และ Green Economy บริษัทฯ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยนําวัตถุดิบที่ผลิตจากธรรมชาติ เช่น อ้อย และข้าวโพด มาใช้ผลิตสินค้าประเภท Bio Plastic ซึ่งรวมถึงพลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ หรือที่เรียกว่า Compostable Plastic เช่น หลอด ถุงขยะ ถุงซิป ภายใต้เครื่องหมายการค้า“SUNBIO” ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม สําหรับการสนับสนุนหรือต่อยอดงานวิจัยไทย บริษัทฯ ร่วมทําวิจัยกับมหาวิทยาลัยชั้นนําหลายโครงการ และ ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัยจาก เอ็มเทค สวทช. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าถุงยืดอายุผักและผลไม้ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “Fresh & Fresh” ที่คิดค้นด้วยเทคโนโลยี MAP คือบรรจุภัณฑ์ที่มีการควบคุมระดับการเข้าออกของก๊าซภายในถุง ให้อยู่ในสภาพดัดแปลงบรรยากาศแบบสมดุล (EMA) เรียกได้ว่าเป็น “ถุงหายใจได้” มีคุณสมบัติทําให้ผักและผลไม้มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานกว่าถุงทั่วไป ยืดอายุความสดใหม่ของผักและผลไม้ “ทั้งนี้ บ.ทานตะวันฯ ในฐานะองค์กรหนึ่งที่ดําเนินธุรกิจในประเทศไทย ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งรณรงค์ส่งเสริมกับพันธมิตรทุกภาคส่วนเพื่อให้สังคมของเราจัดการปัญหาพลาสติกได้อย่างยั่งยืน และอยากย้ําเตือนว่าพลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย พลาสติกเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เมื่อเรานํามาใช้ซ้ํา และมีการจัดการอย่างถูกวิธีและเหมาะสม” นางสาวนฤศสัย กล่าวทิ้งท้าย เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25220
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร.นายเทวัญฯ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย จำนวน 4 ราย จากกองทุนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี
วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2563 รมต.นร.นายเทวัญฯ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย จํานวน 4 ราย จากกองทุนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี รมต.นร.นายเทวัญฯ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย จํานวน 4 ราย จากกองทุนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี วันนี้ (16 พ.ค.63) เวลา 09.30 น. ที่วัดศรีษะละเลิง ตําบลบ้านใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีและคณะ ลงพื้นที่มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย (อัคคีภัย) จํานวน 4 ราย จากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ผู้ประสบอัคคีภัย จํานวน 4 ราย ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่ หมู่ 5 ตําบลบ้านใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ งบประมาณในการช่วยเหลือในวันนี้เป็นเงินจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี โดยมอบให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายทั้งหลังจํานวน 2 ราย ๆ ละ 235,000 บาท แบ่งเป็นค่าวัสดุก่อสร้าง จํานวน 230,000 บาท และค่าเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องมือประกอบอาชีพ และเครื่องใช้ที่จําเป็นแก่ครัวเรือน จํานวน 5,000 บาท ผู้ที่ได้รับความเสียหายบางส่วน จํานวน 2 ราย รายละ 75,000 บาท แบ่งเป็นค่าวัสดุก่อสร้าง จํานวน 70,000 บาท และค่าเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องมือประกอบอาชีพ และเครื่องใช้ที่จําเป็นแก่ครัวเรือน จํานวน 5,000 บาท รวมเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 620,000 บาท ซึ่งเงินที่ให้การช่วยเหลือจํานวนนี้ เป็นเพียงบางส่วนที่ให้การช่วยเหลือเพื่อการบรรเทาทุกข์ ซึ่งมูลค่าความเสียหายนั้นมีมูลค่ามากกว่า รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยอยู่ในความดูแลของสํานักนายกรัฐมนตรี ไว้คอยดูแลความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบภัยสาธารณะต่าง ๆ ทั้งวาตภัย อัคคีภัย อุทกภัย ซึ่งผู้ประสบภัยทั้ง 4 ราย ทางกองทุนฯ ได้พิจารณาแล้วว่าอยู่ในหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีการดําเนินการตามขั้นตอน ระเบียบ จนกระทั่งมีการนําเงินมามอบให้กับผู้ประสบอัคคีภัยในครั้งนี้ ซึ่งการช่วยเหลือจากกองทุนอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือได้เต็มมูลค่าความเสียหาย แต่จะช่วยเหลือได้เพียงบางส่วนเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเท่านั้น จากนั้นได้มอบถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ อีกจํานวน 300 ราย สําหรับการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 หลังจากที่ทางรัฐบาลมีกําหนดผ่อนปรนเฟส 2 ในวันที่ 17 พ.ค.63 นี้ นายกรัฐมนตรีได้กําชับทุกหน่วยงานให้มีการดูแลมาตรการให้มีความเข้มแข็ง ไม่ประมาท ซึ่งหากมีการผ่อนปรนในเฟส 2 แล้ว ในพื้นที่ไหนมีปัญหาหรือมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม ให้มีการสั่งปิดพื้นที่ดังกล่าวทันทีเพื่อเป็นการควบคุมโรค ซึ่งทุกพื้นที่ต้องมีการดูแลสถานการณ์อย่างจริงจัง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร.นายเทวัญฯ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย จำนวน 4 ราย จากกองทุนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2563 รมต.นร.นายเทวัญฯ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย จํานวน 4 ราย จากกองทุนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี รมต.นร.นายเทวัญฯ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย จํานวน 4 ราย จากกองทุนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี วันนี้ (16 พ.ค.63) เวลา 09.30 น. ที่วัดศรีษะละเลิง ตําบลบ้านใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีและคณะ ลงพื้นที่มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย (อัคคีภัย) จํานวน 4 ราย จากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ผู้ประสบอัคคีภัย จํานวน 4 ราย ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่ หมู่ 5 ตําบลบ้านใหม่ อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ งบประมาณในการช่วยเหลือในวันนี้เป็นเงินจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี โดยมอบให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายทั้งหลังจํานวน 2 ราย ๆ ละ 235,000 บาท แบ่งเป็นค่าวัสดุก่อสร้าง จํานวน 230,000 บาท และค่าเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องมือประกอบอาชีพ และเครื่องใช้ที่จําเป็นแก่ครัวเรือน จํานวน 5,000 บาท ผู้ที่ได้รับความเสียหายบางส่วน จํานวน 2 ราย รายละ 75,000 บาท แบ่งเป็นค่าวัสดุก่อสร้าง จํานวน 70,000 บาท และค่าเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องมือประกอบอาชีพ และเครื่องใช้ที่จําเป็นแก่ครัวเรือน จํานวน 5,000 บาท รวมเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 620,000 บาท ซึ่งเงินที่ให้การช่วยเหลือจํานวนนี้ เป็นเพียงบางส่วนที่ให้การช่วยเหลือเพื่อการบรรเทาทุกข์ ซึ่งมูลค่าความเสียหายนั้นมีมูลค่ามากกว่า รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยอยู่ในความดูแลของสํานักนายกรัฐมนตรี ไว้คอยดูแลความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบภัยสาธารณะต่าง ๆ ทั้งวาตภัย อัคคีภัย อุทกภัย ซึ่งผู้ประสบภัยทั้ง 4 ราย ทางกองทุนฯ ได้พิจารณาแล้วว่าอยู่ในหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีการดําเนินการตามขั้นตอน ระเบียบ จนกระทั่งมีการนําเงินมามอบให้กับผู้ประสบอัคคีภัยในครั้งนี้ ซึ่งการช่วยเหลือจากกองทุนอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือได้เต็มมูลค่าความเสียหาย แต่จะช่วยเหลือได้เพียงบางส่วนเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเท่านั้น จากนั้นได้มอบถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ อีกจํานวน 300 ราย สําหรับการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 หลังจากที่ทางรัฐบาลมีกําหนดผ่อนปรนเฟส 2 ในวันที่ 17 พ.ค.63 นี้ นายกรัฐมนตรีได้กําชับทุกหน่วยงานให้มีการดูแลมาตรการให้มีความเข้มแข็ง ไม่ประมาท ซึ่งหากมีการผ่อนปรนในเฟส 2 แล้ว ในพื้นที่ไหนมีปัญหาหรือมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม ให้มีการสั่งปิดพื้นที่ดังกล่าวทันทีเพื่อเป็นการควบคุมโรค ซึ่งทุกพื้นที่ต้องมีการดูแลสถานการณ์อย่างจริงจัง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30939
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วิถีชีวิตใหม่ที่ทุกคนควรปฏิบัติ มีคร่าวๆ อย่างไรบ้าง ??
วันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2563 วิถีชีวิตใหม่ที่ทุกคนควรปฏิบัติ มีคร่าวๆ อย่างไรบ้าง ?? มีอะไรบ้างนะ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วิถีชีวิตใหม่ที่ทุกคนควรปฏิบัติ มีคร่าวๆ อย่างไรบ้าง ?? วันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2563 วิถีชีวิตใหม่ที่ทุกคนควรปฏิบัติ มีคร่าวๆ อย่างไรบ้าง ?? มีอะไรบ้างนะ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32088
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-!!เตือนระวัง ‘ฟิชชิง’ ภัยหลอกลวง ดักเอาข้อมูลส่วนบุคคล
วันอังคารที่ 10 กันยายน 2562 !!เตือนระวัง ‘ฟิชชิง’ ภัยหลอกลวง ดักเอาข้อมูลส่วนบุคคล .. แอดมินห่วงใยผู้ใช้อีเมลทั้งหลาย ขอให้ระมัดระวังอีเมลแปลกปลอมที่ไม่แสดงชื่อ หรือชอบใช้ข้อความว่า "ด่วน" หรือ "สําคัญมาก" แถมบางครั้งยังมีไฟล์แนบหรือลิงค์ที่ให้เราต้องคลิกเพื่อล็อกอินอีกด้วย เมื่อได้รับอีเมลแบบนี้เมื่อไรอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวของเราเด็ดขาดครับ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-!!เตือนระวัง ‘ฟิชชิง’ ภัยหลอกลวง ดักเอาข้อมูลส่วนบุคคล วันอังคารที่ 10 กันยายน 2562 !!เตือนระวัง ‘ฟิชชิง’ ภัยหลอกลวง ดักเอาข้อมูลส่วนบุคคล .. แอดมินห่วงใยผู้ใช้อีเมลทั้งหลาย ขอให้ระมัดระวังอีเมลแปลกปลอมที่ไม่แสดงชื่อ หรือชอบใช้ข้อความว่า "ด่วน" หรือ "สําคัญมาก" แถมบางครั้งยังมีไฟล์แนบหรือลิงค์ที่ให้เราต้องคลิกเพื่อล็อกอินอีกด้วย เมื่อได้รับอีเมลแบบนี้เมื่อไรอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวของเราเด็ดขาดครับ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22982
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- เดินหน้ายกระดับความสามารถทางการแข่งขันของไทย
วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561 เดินหน้ายกระดับความสามารถทางการแข่งขันของไทย ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลกดีขึ้นกว่าเดิม 2 อันดับ จากอันดับที่ 40 ในปีที่ผ่านมาเป็นอันดับที่ 38 ศุกร์ที่ 9 พ.ย.61 เดินหน้ายกระดับความสามารถทางการแข่งขันของไทย ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลกดีขึ้นกว่าเดิม 2 อันดับ จากอันดับที่ 40 ในปีที่ผ่านมาเป็นอันดับที่ 38 จาก 140 ประเทศทั่วโลกในปีนี้ โดยเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่มีรายได้ต่อประชากรไม่สูงนักแต่สามารถเข้ามาอยู่ใน 40 อันดับแรกของโลกได้ เนื่องจากประเทศไทยมีจุดแข็งด้านระบบการเงิน เช่น มีความพร้อมด้านเงินทุน วงเงินสินเชื่อที่ให้กับเอกชน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs และ Startup และยังมีตลาดขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 18 ของโลก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะเร่งปรับปรุงจุดอ่อนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เปิดโอกาสให้บริษัทต่าง ๆ แข่งขันกันอย่างเท่าเทียม ขจัดปัญหากฎระเบียบที่ซับซ้อนให้คล่องตัวมากขึ้น เพื่อยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้สูงขึ้นต่อไป ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- เดินหน้ายกระดับความสามารถทางการแข่งขันของไทย วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561 เดินหน้ายกระดับความสามารถทางการแข่งขันของไทย ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลกดีขึ้นกว่าเดิม 2 อันดับ จากอันดับที่ 40 ในปีที่ผ่านมาเป็นอันดับที่ 38 ศุกร์ที่ 9 พ.ย.61 เดินหน้ายกระดับความสามารถทางการแข่งขันของไทย ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลกดีขึ้นกว่าเดิม 2 อันดับ จากอันดับที่ 40 ในปีที่ผ่านมาเป็นอันดับที่ 38 จาก 140 ประเทศทั่วโลกในปีนี้ โดยเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่มีรายได้ต่อประชากรไม่สูงนักแต่สามารถเข้ามาอยู่ใน 40 อันดับแรกของโลกได้ เนื่องจากประเทศไทยมีจุดแข็งด้านระบบการเงิน เช่น มีความพร้อมด้านเงินทุน วงเงินสินเชื่อที่ให้กับเอกชน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs และ Startup และยังมีตลาดขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 18 ของโลก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะเร่งปรับปรุงจุดอ่อนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เปิดโอกาสให้บริษัทต่าง ๆ แข่งขันกันอย่างเท่าเทียม ขจัดปัญหากฎระเบียบที่ซับซ้อนให้คล่องตัวมากขึ้น เพื่อยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้สูงขึ้นต่อไป ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16687
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ธีระเกียรติ" บรรยายในการประชุมเตรียมความพร้อมผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ "ผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" ปี 2560
วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2560 "ธีระเกียรติ" บรรยายในการประชุมเตรียมความพร้อมผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ "ผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" ปี 2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2560 (กรณีคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2559) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทุกท่าน ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย จึงขอบรรยายให้เห็นภาพการปฏิรูปประเทศ และการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลในปัจจุบัน 4 เรื่อง คือ 1) ข้อมูลพื้นฐานระบบการศึกษาของประเทศ 2)การดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ3) การน้อมนําแนวพระราชดําริและพระบรมราโชบายด้านการศึกษาใส่เกล้าฯ เป็นแนวทางปฏิบัติ 4) นโยบายThailand 4.0 1)ข้อมูลพื้นฐานระบบการศึกษาของประเทศ (Education in THAILAND) นพ.ธีระเกียรติกล่าวว่า หากพิจารณาจากข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์ (Evidence-based Policy) โดยอ้างอิงจากผลประเมินจากการทดสอบ PISA (Programme for International Student Assessment) จัดโดยองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า OECD (Organization for Economic Cooperation and Development)ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นปรอทวัดอุณหภูมิการศึกษาที่สําคัญของโลกในวิชาที่เป็นหัวใจของการพัฒนา 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน โดยทําการประเมินทุก ๆ 3 ปี เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการศึกษาสําหรับเด็กอายุ 15 ปีในประเทศตนเองและกับประเทศอื่น ๆ ปี พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) เป็นปีที่ประเทศไทยเริ่มมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ของประเทศ และเป็นปีที่ไทยเข้าร่วมPISAซึ่งผลคะแนนของการทดสอบPISAทุก ๆ 30 คะแนนที่ห่างจากค่าเฉลี่ยPISAจะเท่ากับ 1 ปีการศึกษา นั่นก็คือผลสอบปีล่าสุด พบว่าเด็กไทยอายุ 15 ปีที่เข้ารับการทดสอบPISAมีความรู้ใน 3 วิชาดังกล่าว ห่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉลี่ยเกือบ 3 ปีการศึกษา หรือยังคงอยู่ห่างจากสิงคโปร์ 5 ชั้นปี นอกจากนี้ ข้อมูลการสอบPISAในช่วงเวลา 16 ปีที่ผ่านมาก็พบด้วยว่า เด็กที่ติดอันดับสูงสุดของไทย 10%ได้คะแนนเฉลี่ยเกือบ 550 คะแนน แต่เด็กที่อ่อนที่สุดได้คะแนนเฉลี่ย 350 คะแนน ซึ่งเท่ากับว่าเราห่างกันเอง 200 คะแนน มากกว่าเราห่างจากสิงคโปร์ สะท้อนให้เห็นว่าทิศทาง 16 ปีที่ผ่านมา วิธีการและการลงทุนในการปฏิรูปการศึกษาด้านต่าง ๆ ของไทยต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์กลุ่มโรงเรียนที่เข้ารับการทดสอบPISAของไทยพบว่าโรงเรียนสังกัด กทม.ได้คะแนนต่ําที่สุด ถัดมาตามลําดับคือ อบต./อบจ.,โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, โรงเรียนเอกชน, โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป, โรงเรียนสาธิต จนถึงกลุ่มที่ได้คะแนนสูงที่สุดซึ่งเป็นกลุ่มโรงเรียนชั้นนํา เช่น เตรียมอุดมศึกษา สวนกุหลาบวิทยาลัย หรือกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ คือ จุฬาภรณราชวิทยาลัย และมหิดลวิทยานุสรณ์, ส่วนคะแนนการสอบของโรงเรียนขยายโอกาสฯ ทําให้เห็นว่าไม่ได้มีคุณภาพต่ําไปกว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป แต่ที่ต้องให้ความสนใจที่จะต้องดูแล คือ โรงเรียนเอกชน เพราะรับผิดชอบดูแลเด็กนักเรียนกว่า 2 ล้านคน ถัดมาคือ กทม. ซึ่งมีคะแนนไม่ถึง 400 สิ่งเหล่านี้ เป็นความจําเป็นที่กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการศึกษาปฏิรูปการศึกษา ได้ให้ความสนใจวิเคราะห์เพื่อนําไปแก้ปัญหาใน 2 เรื่องหลัก คือ "คุณภาพการศึกษา" และ "ความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา" เพื่อต้องการยกระดับเส้นล่างสุดของคะแนนสอบPISAให้ขึ้นมาให้อุณหภูมิทางการศึกษาสูงขึ้นในขณะที่โรงเรียนชั้นนํา เช่น มหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งสูงติดอันดับต้นของโลก ก็ไม่น่าห่วงเรื่องเหล่านี้ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนา และการจัดสรรทรัพยากรให้แก่โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและอยู่ในระดับล่างสุดแต่ในขณะเดียวผลการวิเคราะห์ยังพบว่า"จนแล้ว ไม่จําเป็นต้องมีผลการเรียนตามความยากจน"ซึ่งตัวอย่างที่ดีคือประเทศเวียดนามที่ได้อันดับPISAติดอันดับต้นของโลก เพราะเด็กยากจนที่สุดของเวียดนามสามารถเอาชนะเด็กที่มีความพร้อมหรือเด็กรวยที่สุดของOECDที่อยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปได้ทําให้เห็นบทเรียนสําคัญของเวียดนามที่ทําให้ประสบความสําเร็จ คือการส่งเสริมให้เด็กอยากที่จะเรียนหนังสือ (Mindset)เพราะสถิติพบว่าเด็กเวียดนามตื่นเต้นกับการเรียนหนังสืออยู่ตลอดเวลา โดยในจํานวนเด็ก 100 คนจะพบเด็กอยากเรียนหนังสือมากถึง 77 คน ส่วนเด็กไทยที่อยากเรียนหนังสือใน 100 คนจะพบเพียง 18 คน หากเราปล่อยไปแบบนี้ เวียดนามก็จะห่างจากเราไปเรื่อย ๆ รัฐบาลจึงได้มีโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็น 1 ในโครงการสําคัญเพื่อคัดเลือกคนดี คนเก่ง เข้ามาเป็นครูในท้องถิ่นของตนเอง และเป็นระบบที่สอดคล้องกับแนวคิดของBill Gatesที่ว่า"วิธีการเปลี่ยนระบบการศึกษาที่สําคัญที่สุด คือ หาครูที่เก่งที่สุด ไปสอนเด็กที่อ่อนที่สุด" จึงขอให้ "ว่าที่ครูผู้ช่วย" ผู้เข้ารับการปฐมนิเทศครั้งนี้ทั้ง 3,554 คน จงภูมิใจในตัวเองที่จะเป็นผู้ปฏิรูประบบการศึกษาครั้งสําคัญของประเทศในอนาคต 2)การดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี กระทรวงศึกษาธิการได้ดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”โดยมียุทธศาสตร์ด้านการศึกษาที่ดําเนินการ 6 ด้านคือ 1) ความมั่นคงตัวอย่างคือ กิจกรรมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กํากับดูแลและลงพื้นที่อย่างสม่ําเสมอ หากในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ไม่สงบก็จะส่งผลถึงคุณภาพการศึกษา หรือการฟื้นฟูการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย ก็เป็นเรื่องของการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยส่งเสริมให้มีคนไทยมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ อาทิ การส่งเสริมด้านภาษาอังกฤษ หรือการอาชีวศึกษาแนวใหม่ที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งจะทําให้การอาชีวศึกษาของไทยมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศมากขึ้น ก็ถือเป็นตัวอย่างกิจกรรมโครงการของยุทธศาสตร์ด้านนี้ 3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการลงทุนกับเด็กเล็กในระดับ Pre-school เป็นสิ่งสําคัญมากเพราะเป็นการลงทุนที่ได้ผลมากที่สุด รวมถึงการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital) อีกด้วย 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม อาทิ ผลการประเมินการทดสอบPISAซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเป็นตัวอย่างของความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่มีความพร้อมกับโรงเรียนในชนบทที่ยังขาดการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จึงต้องกลับไปพิจารณาว่าโรงเรียนเหล่านั้นยังขาดอะไรบ้าง เช่น ขาดครูกี่คน มีครูครบชั้นหรือไม่ ครูสอนไม่ตรงสาขา เป็นต้น เพื่อทําการสนับสนุนและแก้ปัญหาได้ตรงจุด 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีหลากหลายโครงการที่สําคัญ อาทิ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง นโยบายโรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยกลไกสําคัญที่สุดคือ ปฏิรูประบบบริหารราชการ หรือการใช้มาตรา 44 ในการดําเนินการด้านต่าง ๆ ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เพื่อปรับปรุงระบบบริหารราชการให้ภูมิภาคมีความเข้มแข็งมากขึ้น 3)น้อมนําแนวพระราชดําริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่หน่วยงานในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนําแนวพระราชดําริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่9และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรในหลวงรัชกาลที่10ใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่หน่วยงานในสังกัด สําหรับการสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9พระองค์ได้ทรงมีแนวพระราชกระแสฯ ที่ได้ทรงพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆเกี่ยวกับนักเรียน ครู และการศึกษา อาทิ ประการสําคัญที่พระองค์ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท คือ วันที่ 5 กรกฎาคม 2555ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชกระแสฯ เกี่ยวกับปัญหาที่ครูมุ่งเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อให้ได้ตําแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้นํามาเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ที่ไม่เน้นให้ครูมุ่งเน้นไปที่การจัดทําเอกสารทางวิชาการ งานวิจัย หรือการเขียนวิทยานิพนธ์มาเสนอ แต่ระบบใหม่จะเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง เพื่อให้ครูที่สอนเก่ง สอนดี สอนมาก โดยพิจารณาทั้งปริมาณการสอนและคุณภาพการสอน โดยจะประกาศใช้หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะครั้งใหม่ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 สําหรับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10มีใจความสําคัญว่า"การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 3ด้าน คือ 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character Education) 3) ให้นักเรียนมีอาชีพ มีงานทํา 4)การดําเนินการตามนโยบายThailand 4.0 โลกได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม (IndustrialRevolution) มาแล้ว 4 ครั้ง นับตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมระบบกลไก (Mechanical) ครั้งที่ 2 เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมไฟฟ้า (Electrical)ครั้งที่ 3การปฏิวัติอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) และครั้งที่ 4 ในเวลานี้ คือการปฏิวัติอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ (Integral) ซึ่งส่งผลให้ระบบสมอง ทั้งสมองมนุษย์ สมองเทียม สมองกล ประมวลผลจนมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และมีการใช้สมองกลควบคุมเครื่องจักรกลโดยอัตโนมัติมากขึ้น เช่น โครงการSmart Cityในหลายนครชั้นนําของโลก สําหรับนโยบายThailand 4.0คือโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่แตกต่างกันที่กลุ่มการลงทุนหลักของประเทศในขณะนั้น โดยเริ่มต้นที่ Thailand 1.0 ซึ่งรัฐบาลเน้นการลงทุนทางภาคเกษตรกรรม ส่วน Thailand 2.0 มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเบา และมีการใช้แรงงานจํานวนมากแทน จนถึงยุคปัจจุบันคือ Thailand 3.0 ซึ่งเป็นยุคของอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เน้นเรื่องชิ้นส่วนยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น มีการไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันรัฐบาลเห็นว่าสร้างรายได้ประเทศอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น ไม่สามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ และความไม่สมดุลในการพัฒนา ทําให้รัฐบาลเร่งพัฒนาปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและพื้นฐานเพื่อให้ก้าวข้ามจาก Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0 ให้ได้ใน 3-5 ปีนี้ Thailand 4.0 จึงเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมโดยนําเอาความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดัน และนํานวัตกรรมเข้ามาช่วย เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าไปสู่การบริการมากขึ้นที่จะมีกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) เพิ่มเข้ามา กระทรวงศึกษาธิการจึงมีส่วนสําคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สมดุล มีคุณภาพ มีการผลิตกําลังคนเพื่อสนองตอบความต้องการกําลังคน ทั้งสาขาวิชาFirst S-CurveและNew S-Curveรวมทั้งการน้อมนําศาสตร์พระราชาเข้าสู่การพัฒนาThailand 4.0มีโครงการโรงเรียนคุณธรรมเกิดขึ้นโดยครูรุ่นใหม่จะต้องสร้างระบบการศึกษาและเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้น เพื่อให้สังคมไทยมีความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ํา กระทรวงศึกษาธิการ จึงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สําคัญต่อการ "สร้างคน" เพื่อขับเคลื่อน Thailand 4.0 เกี่ยวกับ "โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" ดร.สุภัทร จําปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษากล่าวว่า โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2560ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่29มีนาคม 2559ที่ได้เห็นชอบโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2559-2572) ซึ่งแต่เดิมคือชื่อโครงการคุรุทายาท แต่เปลี่ยนชื่อเป็น "โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกคนดี คนเก่ง เข้ามาเป็นครู เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อสําเร็จการศึกษาแล้ว บัณฑิตครูจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สํานักงาน กศน.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยในปี2559เป็นปีแรกที่เริ่มดําเนินการ และปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ได้ดําเนินการโดยได้คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ(กรณีคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2559)ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร(GPAX)ในภาพรวมทุกวิชา วิชาเอก และวิชาชีพครู ไม่ต่ํากว่า3.00และผ่านการสอบคัดเลือกใน3วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)จํานวน 3,792คน โดยมารายงานตัวจํานวนทั้งสิ้น 3,554 คน การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จึงเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้รับทราบแนวปฏิบัติต่าง ๆ ในระหว่างการเตรียมตัวและการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะออกไปเป็นครูในพื้นที่ต่าง ๆ อันถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้บัณฑิตเมื่อจบแล้วกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง. บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน อิทธิพล รุ่งก่อน: ถ่ายภาพ 3/7/2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ธีระเกียรติ" บรรยายในการประชุมเตรียมความพร้อมผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ "ผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" ปี 2560 วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2560 "ธีระเกียรติ" บรรยายในการประชุมเตรียมความพร้อมผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ "ผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" ปี 2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2560 (กรณีคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2559) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทุกท่าน ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย จึงขอบรรยายให้เห็นภาพการปฏิรูปประเทศ และการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลในปัจจุบัน 4 เรื่อง คือ 1) ข้อมูลพื้นฐานระบบการศึกษาของประเทศ 2)การดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ3) การน้อมนําแนวพระราชดําริและพระบรมราโชบายด้านการศึกษาใส่เกล้าฯ เป็นแนวทางปฏิบัติ 4) นโยบายThailand 4.0 1)ข้อมูลพื้นฐานระบบการศึกษาของประเทศ (Education in THAILAND) นพ.ธีระเกียรติกล่าวว่า หากพิจารณาจากข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์ (Evidence-based Policy) โดยอ้างอิงจากผลประเมินจากการทดสอบ PISA (Programme for International Student Assessment) จัดโดยองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า OECD (Organization for Economic Cooperation and Development)ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นปรอทวัดอุณหภูมิการศึกษาที่สําคัญของโลกในวิชาที่เป็นหัวใจของการพัฒนา 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน โดยทําการประเมินทุก ๆ 3 ปี เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการศึกษาสําหรับเด็กอายุ 15 ปีในประเทศตนเองและกับประเทศอื่น ๆ ปี พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) เป็นปีที่ประเทศไทยเริ่มมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ของประเทศ และเป็นปีที่ไทยเข้าร่วมPISAซึ่งผลคะแนนของการทดสอบPISAทุก ๆ 30 คะแนนที่ห่างจากค่าเฉลี่ยPISAจะเท่ากับ 1 ปีการศึกษา นั่นก็คือผลสอบปีล่าสุด พบว่าเด็กไทยอายุ 15 ปีที่เข้ารับการทดสอบPISAมีความรู้ใน 3 วิชาดังกล่าว ห่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉลี่ยเกือบ 3 ปีการศึกษา หรือยังคงอยู่ห่างจากสิงคโปร์ 5 ชั้นปี นอกจากนี้ ข้อมูลการสอบPISAในช่วงเวลา 16 ปีที่ผ่านมาก็พบด้วยว่า เด็กที่ติดอันดับสูงสุดของไทย 10%ได้คะแนนเฉลี่ยเกือบ 550 คะแนน แต่เด็กที่อ่อนที่สุดได้คะแนนเฉลี่ย 350 คะแนน ซึ่งเท่ากับว่าเราห่างกันเอง 200 คะแนน มากกว่าเราห่างจากสิงคโปร์ สะท้อนให้เห็นว่าทิศทาง 16 ปีที่ผ่านมา วิธีการและการลงทุนในการปฏิรูปการศึกษาด้านต่าง ๆ ของไทยต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์กลุ่มโรงเรียนที่เข้ารับการทดสอบPISAของไทยพบว่าโรงเรียนสังกัด กทม.ได้คะแนนต่ําที่สุด ถัดมาตามลําดับคือ อบต./อบจ.,โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, โรงเรียนเอกชน, โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป, โรงเรียนสาธิต จนถึงกลุ่มที่ได้คะแนนสูงที่สุดซึ่งเป็นกลุ่มโรงเรียนชั้นนํา เช่น เตรียมอุดมศึกษา สวนกุหลาบวิทยาลัย หรือกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ คือ จุฬาภรณราชวิทยาลัย และมหิดลวิทยานุสรณ์, ส่วนคะแนนการสอบของโรงเรียนขยายโอกาสฯ ทําให้เห็นว่าไม่ได้มีคุณภาพต่ําไปกว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป แต่ที่ต้องให้ความสนใจที่จะต้องดูแล คือ โรงเรียนเอกชน เพราะรับผิดชอบดูแลเด็กนักเรียนกว่า 2 ล้านคน ถัดมาคือ กทม. ซึ่งมีคะแนนไม่ถึง 400 สิ่งเหล่านี้ เป็นความจําเป็นที่กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการศึกษาปฏิรูปการศึกษา ได้ให้ความสนใจวิเคราะห์เพื่อนําไปแก้ปัญหาใน 2 เรื่องหลัก คือ "คุณภาพการศึกษา" และ "ความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา" เพื่อต้องการยกระดับเส้นล่างสุดของคะแนนสอบPISAให้ขึ้นมาให้อุณหภูมิทางการศึกษาสูงขึ้นในขณะที่โรงเรียนชั้นนํา เช่น มหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งสูงติดอันดับต้นของโลก ก็ไม่น่าห่วงเรื่องเหล่านี้ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนา และการจัดสรรทรัพยากรให้แก่โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและอยู่ในระดับล่างสุดแต่ในขณะเดียวผลการวิเคราะห์ยังพบว่า"จนแล้ว ไม่จําเป็นต้องมีผลการเรียนตามความยากจน"ซึ่งตัวอย่างที่ดีคือประเทศเวียดนามที่ได้อันดับPISAติดอันดับต้นของโลก เพราะเด็กยากจนที่สุดของเวียดนามสามารถเอาชนะเด็กที่มีความพร้อมหรือเด็กรวยที่สุดของOECDที่อยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปได้ทําให้เห็นบทเรียนสําคัญของเวียดนามที่ทําให้ประสบความสําเร็จ คือการส่งเสริมให้เด็กอยากที่จะเรียนหนังสือ (Mindset)เพราะสถิติพบว่าเด็กเวียดนามตื่นเต้นกับการเรียนหนังสืออยู่ตลอดเวลา โดยในจํานวนเด็ก 100 คนจะพบเด็กอยากเรียนหนังสือมากถึง 77 คน ส่วนเด็กไทยที่อยากเรียนหนังสือใน 100 คนจะพบเพียง 18 คน หากเราปล่อยไปแบบนี้ เวียดนามก็จะห่างจากเราไปเรื่อย ๆ รัฐบาลจึงได้มีโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็น 1 ในโครงการสําคัญเพื่อคัดเลือกคนดี คนเก่ง เข้ามาเป็นครูในท้องถิ่นของตนเอง และเป็นระบบที่สอดคล้องกับแนวคิดของBill Gatesที่ว่า"วิธีการเปลี่ยนระบบการศึกษาที่สําคัญที่สุด คือ หาครูที่เก่งที่สุด ไปสอนเด็กที่อ่อนที่สุด" จึงขอให้ "ว่าที่ครูผู้ช่วย" ผู้เข้ารับการปฐมนิเทศครั้งนี้ทั้ง 3,554 คน จงภูมิใจในตัวเองที่จะเป็นผู้ปฏิรูประบบการศึกษาครั้งสําคัญของประเทศในอนาคต 2)การดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี กระทรวงศึกษาธิการได้ดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”โดยมียุทธศาสตร์ด้านการศึกษาที่ดําเนินการ 6 ด้านคือ 1) ความมั่นคงตัวอย่างคือ กิจกรรมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กํากับดูแลและลงพื้นที่อย่างสม่ําเสมอ หากในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ไม่สงบก็จะส่งผลถึงคุณภาพการศึกษา หรือการฟื้นฟูการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย ก็เป็นเรื่องของการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยส่งเสริมให้มีคนไทยมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ อาทิ การส่งเสริมด้านภาษาอังกฤษ หรือการอาชีวศึกษาแนวใหม่ที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งจะทําให้การอาชีวศึกษาของไทยมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศมากขึ้น ก็ถือเป็นตัวอย่างกิจกรรมโครงการของยุทธศาสตร์ด้านนี้ 3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการลงทุนกับเด็กเล็กในระดับ Pre-school เป็นสิ่งสําคัญมากเพราะเป็นการลงทุนที่ได้ผลมากที่สุด รวมถึงการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital) อีกด้วย 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม อาทิ ผลการประเมินการทดสอบPISAซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเป็นตัวอย่างของความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่มีความพร้อมกับโรงเรียนในชนบทที่ยังขาดการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จึงต้องกลับไปพิจารณาว่าโรงเรียนเหล่านั้นยังขาดอะไรบ้าง เช่น ขาดครูกี่คน มีครูครบชั้นหรือไม่ ครูสอนไม่ตรงสาขา เป็นต้น เพื่อทําการสนับสนุนและแก้ปัญหาได้ตรงจุด 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีหลากหลายโครงการที่สําคัญ อาทิ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง นโยบายโรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยกลไกสําคัญที่สุดคือ ปฏิรูประบบบริหารราชการ หรือการใช้มาตรา 44 ในการดําเนินการด้านต่าง ๆ ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เพื่อปรับปรุงระบบบริหารราชการให้ภูมิภาคมีความเข้มแข็งมากขึ้น 3)น้อมนําแนวพระราชดําริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่หน่วยงานในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนําแนวพระราชดําริ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่9และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรในหลวงรัชกาลที่10ใส่เกล้าฯ และมอบเป็นนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติแก่หน่วยงานในสังกัด สําหรับการสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9พระองค์ได้ทรงมีแนวพระราชกระแสฯ ที่ได้ทรงพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆเกี่ยวกับนักเรียน ครู และการศึกษา อาทิ ประการสําคัญที่พระองค์ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท คือ วันที่ 5 กรกฎาคม 2555ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชกระแสฯ เกี่ยวกับปัญหาที่ครูมุ่งเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อให้ได้ตําแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้นํามาเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ที่ไม่เน้นให้ครูมุ่งเน้นไปที่การจัดทําเอกสารทางวิชาการ งานวิจัย หรือการเขียนวิทยานิพนธ์มาเสนอ แต่ระบบใหม่จะเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง เพื่อให้ครูที่สอนเก่ง สอนดี สอนมาก โดยพิจารณาทั้งปริมาณการสอนและคุณภาพการสอน โดยจะประกาศใช้หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะครั้งใหม่ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 สําหรับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10มีใจความสําคัญว่า"การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 3ด้าน คือ 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character Education) 3) ให้นักเรียนมีอาชีพ มีงานทํา 4)การดําเนินการตามนโยบายThailand 4.0 โลกได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม (IndustrialRevolution) มาแล้ว 4 ครั้ง นับตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมระบบกลไก (Mechanical) ครั้งที่ 2 เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมไฟฟ้า (Electrical)ครั้งที่ 3การปฏิวัติอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) และครั้งที่ 4 ในเวลานี้ คือการปฏิวัติอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ (Integral) ซึ่งส่งผลให้ระบบสมอง ทั้งสมองมนุษย์ สมองเทียม สมองกล ประมวลผลจนมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และมีการใช้สมองกลควบคุมเครื่องจักรกลโดยอัตโนมัติมากขึ้น เช่น โครงการSmart Cityในหลายนครชั้นนําของโลก สําหรับนโยบายThailand 4.0คือโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่แตกต่างกันที่กลุ่มการลงทุนหลักของประเทศในขณะนั้น โดยเริ่มต้นที่ Thailand 1.0 ซึ่งรัฐบาลเน้นการลงทุนทางภาคเกษตรกรรม ส่วน Thailand 2.0 มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเบา และมีการใช้แรงงานจํานวนมากแทน จนถึงยุคปัจจุบันคือ Thailand 3.0 ซึ่งเป็นยุคของอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เน้นเรื่องชิ้นส่วนยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น มีการไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันรัฐบาลเห็นว่าสร้างรายได้ประเทศอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น ไม่สามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ และความไม่สมดุลในการพัฒนา ทําให้รัฐบาลเร่งพัฒนาปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและพื้นฐานเพื่อให้ก้าวข้ามจาก Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0 ให้ได้ใน 3-5 ปีนี้ Thailand 4.0 จึงเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมโดยนําเอาความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดัน และนํานวัตกรรมเข้ามาช่วย เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าไปสู่การบริการมากขึ้นที่จะมีกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) เพิ่มเข้ามา กระทรวงศึกษาธิการจึงมีส่วนสําคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สมดุล มีคุณภาพ มีการผลิตกําลังคนเพื่อสนองตอบความต้องการกําลังคน ทั้งสาขาวิชาFirst S-CurveและNew S-Curveรวมทั้งการน้อมนําศาสตร์พระราชาเข้าสู่การพัฒนาThailand 4.0มีโครงการโรงเรียนคุณธรรมเกิดขึ้นโดยครูรุ่นใหม่จะต้องสร้างระบบการศึกษาและเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้น เพื่อให้สังคมไทยมีความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ํา กระทรวงศึกษาธิการ จึงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สําคัญต่อการ "สร้างคน" เพื่อขับเคลื่อน Thailand 4.0 เกี่ยวกับ "โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" ดร.สุภัทร จําปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษากล่าวว่า โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2560ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่29มีนาคม 2559ที่ได้เห็นชอบโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2559-2572) ซึ่งแต่เดิมคือชื่อโครงการคุรุทายาท แต่เปลี่ยนชื่อเป็น "โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกคนดี คนเก่ง เข้ามาเป็นครู เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อสําเร็จการศึกษาแล้ว บัณฑิตครูจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สํานักงาน กศน.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยในปี2559เป็นปีแรกที่เริ่มดําเนินการ และปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ได้ดําเนินการโดยได้คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ(กรณีคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2559)ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร(GPAX)ในภาพรวมทุกวิชา วิชาเอก และวิชาชีพครู ไม่ต่ํากว่า3.00และผ่านการสอบคัดเลือกใน3วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)จํานวน 3,792คน โดยมารายงานตัวจํานวนทั้งสิ้น 3,554 คน การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จึงเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้รับทราบแนวปฏิบัติต่าง ๆ ในระหว่างการเตรียมตัวและการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะออกไปเป็นครูในพื้นที่ต่าง ๆ อันถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้บัณฑิตเมื่อจบแล้วกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง. บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน อิทธิพล รุ่งก่อน: ถ่ายภาพ 3/7/2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4967
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงวิทย์ฯ ทำบุญ “ วันแม่ 12 สิงหา ” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2560 กระทรวงวิทย์ฯ ทําบุญ “ วันแม่ 12 สิงหา ” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) จัดพิธีทําบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2560 เมื่อเวลา 7.30 น. ( 10 สิงหาคม 2560 ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) ได้จัดพิธีทําบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2560 โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ วท. ร่วมพิธี ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพิธีสงฆ์ เริ่มด้วยนิมนต์พระสงฆ์จํานวน 9 รูป จากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ประจําอาสน์สงฆ์ เพื่อฉันภัตตาหารเช้า จากนั้น รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานในพิธี คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ วท. ได้ร่วมกันใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง ภายในห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงวิทย์ฯ ทำบุญ “ วันแม่ 12 สิงหา ” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2560 กระทรวงวิทย์ฯ ทําบุญ “ วันแม่ 12 สิงหา ” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) จัดพิธีทําบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2560 เมื่อเวลา 7.30 น. ( 10 สิงหาคม 2560 ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) ได้จัดพิธีทําบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2560 โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ วท. ร่วมพิธี ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพิธีสงฆ์ เริ่มด้วยนิมนต์พระสงฆ์จํานวน 9 รูป จากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ประจําอาสน์สงฆ์ เพื่อฉันภัตตาหารเช้า จากนั้น รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานในพิธี คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ วท. ได้ร่วมกันใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง ภายในห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สํานักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6264
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ ครม.สัญจร “บึงกาฬ – หนองคาย” ทำหมันแมลงวันผลไม้ 7 พันไร่ พร้อมติดตามโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม
วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ ครม.สัญจร “บึงกาฬ – หนองคาย” ทําหมันแมลงวันผลไม้ 7 พันไร่ พร้อมติดตามโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม ดร.สุวิทย์ ลงพื้นที่เยี่ยมขม “โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ห้องเรียนเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ตั้งเป้าสร้างให้ได้ 150 แห่ง ทั้งในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ ตามแบบนโยบาย “วิทย์สร้างคน” กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ ครม.สัญจร “บึงกาฬ – หนองคาย” จับมือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทําหมันแมลงวันผลไม้ 7 พันไร่ ที่ ”หนองวัวซอ” จ.อุดรฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่งออกมะม่วงคุณภาพไปต่างประเทศ สั่งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ใช้ “รังสี” ควบคุมตั้งแต่ในแปลงปลูกไม่ให้กระทบการส่งออก พร้อมติดตามโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรมที่วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลําภู เตรียมสร้างให้ได้ 150 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างนวัตกร 15,000 คน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 61 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) พร้อมผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร จ.บึงกาฬ - หนองคาย เพื่อปฏิบัติราชการ โดยจุดแรกได้เดินทางไปยังวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลําภู จ.หนองบัวลําภู เพื่อเยี่ยมขม “โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เข้าไปดําเนินงาน เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทยทั้งระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาตามนโยบาย “วิทย์สร้างคน” รวมทั้งนําแนวคิดสะเต็มศึกษา ซึ่งประกอบด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มาใช้ในการเสริมสร้างความเข้าใจของศาสตร์ต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ศาสตร์สะเต็มศึกษาในการแก้ปัญหาจริงผ่านการเรียนรู้แบบผ่านการตั้งโจทย์และลงมือปฏิบัติจริง โดยโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรมจะเป็นสถานที่ฝึกการเรียนรู้ ทดลองและลงมือสร้างชิ้นงานต่าง ๆ อันจะนําไปสู่ความเขาใจในศาสตร์ต่าง ๆ และการสร้างนวัตกรรมต่อไป “ทั้งนี้ โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม หรือ ห้องเรียนเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ตั้งเป้าจะสร้างให้ได้ 150 แห่ง ทั้งในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ เพื่อสร้างนวัตกรให้ได้ 15,000 คน โดยโรงประลองฯ จะมีมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง 10 แห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เชียงใหม่, สงขลานครินทร์, บูรพา, ลาดกระบัง, พระจอมเกล้าพระนครเหนือ และพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น และจะมีการสร้างรูปแบบการทํางานร่วมกันระหว่าง สวทช. มหาวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค โรงเรียน ให้มีการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อขยายผลสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรในอนาคต ที่สําคัญโรงประลองฯ จะเกิดการสร้างงานใหม่ให้กับวิศวกรผู้ช่วย จํานวน 150 คน เพื่อส่งไปประจําสถานศึกษาทั่วประเทศและจะกลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพทางเลือกใหม่ในอนาคตได้” ดร.สุวิทย์ กล่าว จากนั้น ดร.สุวิทย์ พร้อมคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ไปหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี และพบกับเกษตรกรผู้เพาะปลูกมะม่วงและผลไม้อื่น พร้อมรับฟังแนวทางการดําเนินการของเกษตรกรพร้อมปัญหาศัตรูพืชจากเกษตรกร จํานวน 10 กลุ่ม กว่า 250 คน มีเกษตรกรเครือข่าย 450 หลังคาเรือน โดยพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้ ประมาณ 7000 ไร่ เป็นมะม่วงน้ําดอกไม้ที่มีคุณภาพสําหรับการส่งออก ทั้งนี้ ในพื้นที่พบปัญหาแมลงวันทองหรือแมลงผลไม้ ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สําคัญของผลไม้ในประเทศไทย นอกจากหนอนแมลงวันผลไม้ที่ฟักตัวออกมาจะกัดกินภายในผลไม้ทําให้เน่าเสียแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาที่ต่างประเทศกีดกันไม่ให้นําผลไม้จากประเทศไทยผ่านเข้าประเทศปลายทางได้ ยกเว้นผลไม้ที่ผ่านการกําจัดแมลงทางกักกันพืช เช่น การอบไอน้ํา การฉายรังสี การรมด้วยสารเคมี เป็นต้น หลังรับฟังปัญหา ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า ตนได้มอบให้สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) เข้าไปทําหมันแมลงวันทองในพื้นที่ อ.หนองวัวซอ ให้เป็นพื้นที่นําร่องทําหมันด้วยรังสี ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมแมลงเชิงรุกตั้งแต่ในแปลงปลูกที่ใช้ได้ผลในหลายประเทศ และในประเทศไทยมีการนําเทคนิคนี้มาใช้ในหลายพื้นที่ โดยการปล่อยแมลงวันผลไม้สายพันธุ์หลังขาวที่เป็นหมันร่วมกับวิธีอื่นในพื้นที่ควบคุมแมลงวันผลไม้ พบว่า จํานวนแมลงวันผลไม้สายพันธุ์ปกติจะลดลง 96.02% เพราะจํานวนดักแด้ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการควบคุมแมลงวัน และการใช้แมลงวันสายพันธุ์หลังขาวในการตรวจสอบติดตามประชากรแมลงวัน พบว่า มีความถูกต้องในการจําแนกแมลงที่เป็นหมันออกจากแมลงในธรรมชาติมากกว่า ใช้เวลาและต้นทุนวัสดุน้อยกว่า วิธีการนี้ใช้ได้ผลในหลายประเทศมาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา (ฟลอริดา) เม็กซิโก ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา เปรู ชิลี อิสราเอล และในประเทศไทยมีการนําเทคนิคนี้มาใช้ในหลายพื้นที่เช่นเดียวกัน ได้แก่ ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี อ.บ้านฉาง จ.ระยอง อ.สามเหล็ก จ.พิจิตร อ.ขลุง จ.จันทบุรี และ อ.ลอง จ.แพร่ พบว่าสามารถลดความเสียหายผลไม้ของเกษตรกรที่ถูกทําลายโดยแมลงวันผลไม้ ในธรรมชาติได้มาก โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะนําผู้ส่งออกผักผลไม้สดไปยังต่างประเทศ จัดทําเกษตรพันธะสัญญากับเกษตรกรผู้เพาะปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้เพื่อการส่งออกทันทีถ้าทําสําเร็จ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ ครม.สัญจร “บึงกาฬ – หนองคาย” ทำหมันแมลงวันผลไม้ 7 พันไร่ พร้อมติดตามโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ ครม.สัญจร “บึงกาฬ – หนองคาย” ทําหมันแมลงวันผลไม้ 7 พันไร่ พร้อมติดตามโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม ดร.สุวิทย์ ลงพื้นที่เยี่ยมขม “โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ห้องเรียนเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ตั้งเป้าสร้างให้ได้ 150 แห่ง ทั้งในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ ตามแบบนโยบาย “วิทย์สร้างคน” กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ ครม.สัญจร “บึงกาฬ – หนองคาย” จับมือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทําหมันแมลงวันผลไม้ 7 พันไร่ ที่ ”หนองวัวซอ” จ.อุดรฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่งออกมะม่วงคุณภาพไปต่างประเทศ สั่งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ใช้ “รังสี” ควบคุมตั้งแต่ในแปลงปลูกไม่ให้กระทบการส่งออก พร้อมติดตามโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรมที่วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลําภู เตรียมสร้างให้ได้ 150 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างนวัตกร 15,000 คน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 61 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) พร้อมผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร จ.บึงกาฬ - หนองคาย เพื่อปฏิบัติราชการ โดยจุดแรกได้เดินทางไปยังวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลําภู จ.หนองบัวลําภู เพื่อเยี่ยมขม “โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เข้าไปดําเนินงาน เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทยทั้งระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาตามนโยบาย “วิทย์สร้างคน” รวมทั้งนําแนวคิดสะเต็มศึกษา ซึ่งประกอบด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มาใช้ในการเสริมสร้างความเข้าใจของศาสตร์ต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ศาสตร์สะเต็มศึกษาในการแก้ปัญหาจริงผ่านการเรียนรู้แบบผ่านการตั้งโจทย์และลงมือปฏิบัติจริง โดยโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรมจะเป็นสถานที่ฝึกการเรียนรู้ ทดลองและลงมือสร้างชิ้นงานต่าง ๆ อันจะนําไปสู่ความเขาใจในศาสตร์ต่าง ๆ และการสร้างนวัตกรรมต่อไป “ทั้งนี้ โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม หรือ ห้องเรียนเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ตั้งเป้าจะสร้างให้ได้ 150 แห่ง ทั้งในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ เพื่อสร้างนวัตกรให้ได้ 15,000 คน โดยโรงประลองฯ จะมีมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง 10 แห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เชียงใหม่, สงขลานครินทร์, บูรพา, ลาดกระบัง, พระจอมเกล้าพระนครเหนือ และพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น และจะมีการสร้างรูปแบบการทํางานร่วมกันระหว่าง สวทช. มหาวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค โรงเรียน ให้มีการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อขยายผลสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรในอนาคต ที่สําคัญโรงประลองฯ จะเกิดการสร้างงานใหม่ให้กับวิศวกรผู้ช่วย จํานวน 150 คน เพื่อส่งไปประจําสถานศึกษาทั่วประเทศและจะกลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพทางเลือกใหม่ในอนาคตได้” ดร.สุวิทย์ กล่าว จากนั้น ดร.สุวิทย์ พร้อมคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ไปหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี และพบกับเกษตรกรผู้เพาะปลูกมะม่วงและผลไม้อื่น พร้อมรับฟังแนวทางการดําเนินการของเกษตรกรพร้อมปัญหาศัตรูพืชจากเกษตรกร จํานวน 10 กลุ่ม กว่า 250 คน มีเกษตรกรเครือข่าย 450 หลังคาเรือน โดยพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้ ประมาณ 7000 ไร่ เป็นมะม่วงน้ําดอกไม้ที่มีคุณภาพสําหรับการส่งออก ทั้งนี้ ในพื้นที่พบปัญหาแมลงวันทองหรือแมลงผลไม้ ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สําคัญของผลไม้ในประเทศไทย นอกจากหนอนแมลงวันผลไม้ที่ฟักตัวออกมาจะกัดกินภายในผลไม้ทําให้เน่าเสียแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาที่ต่างประเทศกีดกันไม่ให้นําผลไม้จากประเทศไทยผ่านเข้าประเทศปลายทางได้ ยกเว้นผลไม้ที่ผ่านการกําจัดแมลงทางกักกันพืช เช่น การอบไอน้ํา การฉายรังสี การรมด้วยสารเคมี เป็นต้น หลังรับฟังปัญหา ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า ตนได้มอบให้สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) เข้าไปทําหมันแมลงวันทองในพื้นที่ อ.หนองวัวซอ ให้เป็นพื้นที่นําร่องทําหมันด้วยรังสี ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมแมลงเชิงรุกตั้งแต่ในแปลงปลูกที่ใช้ได้ผลในหลายประเทศ และในประเทศไทยมีการนําเทคนิคนี้มาใช้ในหลายพื้นที่ โดยการปล่อยแมลงวันผลไม้สายพันธุ์หลังขาวที่เป็นหมันร่วมกับวิธีอื่นในพื้นที่ควบคุมแมลงวันผลไม้ พบว่า จํานวนแมลงวันผลไม้สายพันธุ์ปกติจะลดลง 96.02% เพราะจํานวนดักแด้ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการควบคุมแมลงวัน และการใช้แมลงวันสายพันธุ์หลังขาวในการตรวจสอบติดตามประชากรแมลงวัน พบว่า มีความถูกต้องในการจําแนกแมลงที่เป็นหมันออกจากแมลงในธรรมชาติมากกว่า ใช้เวลาและต้นทุนวัสดุน้อยกว่า วิธีการนี้ใช้ได้ผลในหลายประเทศมาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา (ฟลอริดา) เม็กซิโก ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา เปรู ชิลี อิสราเอล และในประเทศไทยมีการนําเทคนิคนี้มาใช้ในหลายพื้นที่เช่นเดียวกัน ได้แก่ ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี อ.บ้านฉาง จ.ระยอง อ.สามเหล็ก จ.พิจิตร อ.ขลุง จ.จันทบุรี และ อ.ลอง จ.แพร่ พบว่าสามารถลดความเสียหายผลไม้ของเกษตรกรที่ถูกทําลายโดยแมลงวันผลไม้ ในธรรมชาติได้มาก โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะนําผู้ส่งออกผักผลไม้สดไปยังต่างประเทศ จัดทําเกษตรพันธะสัญญากับเกษตรกรผู้เพาะปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้เพื่อการส่งออกทันทีถ้าทําสําเร็จ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17555
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"บังคับคดี" โชว์ผลงานไตรมาส 3 ผลักดันทรัพย์สินได้กว่า 33,869 ล้านบาท
วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2560 "บังคับคดี" โชว์ผลงานไตรมาส 3 ผลักดันทรัพย์สินได้กว่า 33,869 ล้านบาท นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมผู้บริหารกรมบังคับคดี แถลงข่าวสรุปผลการดําเนินงานของกรมบังคับคดี ไตรมาสที่ 3 ประจําปีงบประมาณ 2560 (เมษายน-มิถุนายน 2560) เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2560 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์บังคับคดีล้มละลายส่วนหน้า อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมผู้บริหารกรมบังคับคดี แถลงข่าวสรุปผลการดําเนินงานของกรมบังคับคดี ไตรมาสที่ 3 ประจําปีงบประมาณ 2560 (เมษายน-มิถุนายน 2560) โดยมีผลงานที่สําคัญ ดังนี้ 1) ผลักดันทรัพย์สินรอการขายได้ จํานวน 33,869,321,763 บาท รวม 9 เดือน ผลักดันได้ จํานวน 95,596,747,494.63 บาท 2) ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีได้สําเร็จ จํานวน 5,765 เรื่อง คิดเป็นทุนทรัพย์ จํานวน 1,751,914,234,37 บาท จากเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการฯ จํานวน 6,387 เรื่อง รวม 9 เดือน สามารถไกล่เกลี่ยได้สําเร็จ จํานวน 14,730 เรื่อง จากเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการฯ ทั้งสิ้น จํานวน 16,361 เรื่อง 3) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 4) สามารถเร่งรัดดําเนินการสํานวนคดีค้างดําเนินการ 10 ปี ที่มีอยู่จํานวน 12,900 เรื่อง ได้สําเร็จ จํานวน 2,520 เรื่อง 5) ติดตั้งระบบบัตรคิวอัตโนมัติให้บริการงานบังคับคดีแก่ประชาชนเพิ่มเติม จํานวน 4 แห่ง ได้แก่ ฝ่ายคําคู่ความ กองบริหารกองคลัง กองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ รวมทั้งได้นําระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาดําเนินการ โดยเริ่มใช้กับสํานวนคดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สินก่อน ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา 6) จัดประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่ง : การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนําไปสู่แนวปฏิบัติ ที่ดีเลิศ เมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเบอร์เคลีย์ ประตูน้ํา กรุงเทพฯ 7) จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"บังคับคดี" โชว์ผลงานไตรมาส 3 ผลักดันทรัพย์สินได้กว่า 33,869 ล้านบาท วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2560 "บังคับคดี" โชว์ผลงานไตรมาส 3 ผลักดันทรัพย์สินได้กว่า 33,869 ล้านบาท นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมผู้บริหารกรมบังคับคดี แถลงข่าวสรุปผลการดําเนินงานของกรมบังคับคดี ไตรมาสที่ 3 ประจําปีงบประมาณ 2560 (เมษายน-มิถุนายน 2560) เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2560 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์บังคับคดีล้มละลายส่วนหน้า อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมผู้บริหารกรมบังคับคดี แถลงข่าวสรุปผลการดําเนินงานของกรมบังคับคดี ไตรมาสที่ 3 ประจําปีงบประมาณ 2560 (เมษายน-มิถุนายน 2560) โดยมีผลงานที่สําคัญ ดังนี้ 1) ผลักดันทรัพย์สินรอการขายได้ จํานวน 33,869,321,763 บาท รวม 9 เดือน ผลักดันได้ จํานวน 95,596,747,494.63 บาท 2) ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีได้สําเร็จ จํานวน 5,765 เรื่อง คิดเป็นทุนทรัพย์ จํานวน 1,751,914,234,37 บาท จากเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการฯ จํานวน 6,387 เรื่อง รวม 9 เดือน สามารถไกล่เกลี่ยได้สําเร็จ จํานวน 14,730 เรื่อง จากเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการฯ ทั้งสิ้น จํานวน 16,361 เรื่อง 3) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 4) สามารถเร่งรัดดําเนินการสํานวนคดีค้างดําเนินการ 10 ปี ที่มีอยู่จํานวน 12,900 เรื่อง ได้สําเร็จ จํานวน 2,520 เรื่อง 5) ติดตั้งระบบบัตรคิวอัตโนมัติให้บริการงานบังคับคดีแก่ประชาชนเพิ่มเติม จํานวน 4 แห่ง ได้แก่ ฝ่ายคําคู่ความ กองบริหารกองคลัง กองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ รวมทั้งได้นําระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาดําเนินการ โดยเริ่มใช้กับสํานวนคดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สินก่อน ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา 6) จัดประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่ง : การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนําไปสู่แนวปฏิบัติ ที่ดีเลิศ เมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมเบอร์เคลีย์ ประตูน้ํา กรุงเทพฯ 7) จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กฎหมายล้มละลายข้ามชาติ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5293
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บสย.- สวทช. ผลักดันค้ำประกันสินเชื่อ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดล TTRS
วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 บสย.- สวทช. ผลักดันค้ําประกันสินเชื่อ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดล TTRS กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. ร่วมกับผู้อํานวยการสวทช.ร่วมแถลงความคืบหน้าการส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดลการประเมินเทคโนโลยี (Thailand Technology Rating System : TTRS) นายนิธิศ มนุญพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมกับ ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมแถลงความคืบหน้าการส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดลการประเมินเทคโนโลยี (Thailand Technology Rating System : TTRS) ซึ่งเป็นการต่อยอดจากโครงการ KSP (Knowledge Sharing Program) ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากหน่วยงาน Korea Technology Finance Corporation (KOTEC) ประเทศเกาหลีใต้ ณ อาคาร INC 2 สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 TTRS เป็นโมเดลที่พัฒนามาจาก Kibo Technology Rating System (KTRS) ซึ่งเป็นต้นแบบในการประเมินเทคโนโลยีที่ประสบความสําเร็จในประเทศเกาหลีใต้ในการช่วยเหลือ SMEs ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยได้รับการยอมรับในระดับสากล แผนงานจากนี้ บสย. เตรียมเปิดตัวโครงการค้ําประกันสินเชื่อสําหรับผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้แนวทางการประเมินเทคโนโลยี TTRS ในวงเงิน 500 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างหารือรายละเอียดกับสถาบันการเงินที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการ ก่อนนําเสนอร่างโครงการต่อกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถเปิดตัวโครงการค้ําประกันฯ ดังกล่าว ในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการในปี 2561 ประมาณ 50 ราย สําหรับความสําเร็จของโครงการค้ําประกันสินเชื่อ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดล TTRS เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและเกาหลีใต้ ผ่าน 3 หน่วยงานหลัก คือ บสย. สวทช. และ KOTEC จากเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้กับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทย ซึ่งจากการดําเนินงานกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ทําให้ประเทศไทยมีเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่โดดเด่น ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย โดยคาดหวังว่าในอนาคต ไทยและเกาหลีใต้ จะสามารถต่อยอดความสัมพันธ์ผ่านความร่วมมือระหว่าง บสย. สวทช. และ KOTEC ในการส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ของทั้ง 2 ประเทศต่อไป Thai Credit Guarantee Corporation (TCG) and National Science and Technology Development Agency (NSTDA) announced cooperation to push forward Technology Guarantee through TTRS model Mr. Nitid Manoonporn, President of TCG, together with Dr. Narong Sirilertworakul, President of NSTDA, announced progress in promoting technology-based/innovative SMEs through the use of Thailand Technology Rating System, or TTRS, at INC 2 Building, National Science and Technology Development Agency, Thailand Science Park (TSP), on 7 February 2018. TTRS was developed on the basis of KTRS, a distinctive technology rating system of the Korea Technology Finance Corporation (KOTEC). KTRS has earned world-wide recognition as a good practice and its excellence has been verified through its contribution to supporting innovative SMEs in Korea. “KTRS has been instrumental in supporting innovative SMEs as it is a proven successful technology rating tool that has been recognized as a good practice by renowned institutions in many countries” said by Dr. Narong and Mr. Nitid. TCG plans to launch a new credit guarantee product with TTRS worth Baht 500 million for technology-based/innovative SMEs. Currently TCG is under discussion with financial institutions that are interested in joining this scheme before proposing the draft guarantee product to the Ministry of Finance for approval. This new product is expected to be launched during the second or third quarter of this year with anticipated 50 SMEs applying for the scheme. The success of setting up technology guarantee scheme with TTRS model was attributable to close collaboration between Thai government and Korean government, an opportunity provided by the Knowledge Sharing Program (KSP) of the latter. Under the program, TCG and NSTDA worked closely with KOTEC, which showed sincere commitment in sharing with Thai experts valuable knowledge and experiences in helping the SMEs in this segment to get access to finance. Over 2 years of KSP implementation, the program has enabled Thailand to develop the TTRS that could effectively identify and facilitate promising technology-based/innovative SMEs with access to funding sources, which will consequently help to enhance economic value of Thailand. TCG and NSTDA expect to have a continued cooperation among TCG, NSTDA, and KOTEC for the purpose of promoting and supporting technology-based/innovative SMEs of the 2 countries in the future. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 0-2890-9999 ชนิญญา สันสมภาค 081-860-7477 chaninya@tcg.or.th www.tcg.or.th ศรัญยู ตันติเสรี 091-771-2885 saranyu@tcg.or.th www.facebook.com/tcg.or.th วิขุดา ก้องกีรติ 089-605-9870 wichuda@tcg.or.th
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บสย.- สวทช. ผลักดันค้ำประกันสินเชื่อ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดล TTRS วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 บสย.- สวทช. ผลักดันค้ําประกันสินเชื่อ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดล TTRS กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. ร่วมกับผู้อํานวยการสวทช.ร่วมแถลงความคืบหน้าการส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดลการประเมินเทคโนโลยี (Thailand Technology Rating System : TTRS) นายนิธิศ มนุญพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมกับ ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมแถลงความคืบหน้าการส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดลการประเมินเทคโนโลยี (Thailand Technology Rating System : TTRS) ซึ่งเป็นการต่อยอดจากโครงการ KSP (Knowledge Sharing Program) ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากหน่วยงาน Korea Technology Finance Corporation (KOTEC) ประเทศเกาหลีใต้ ณ อาคาร INC 2 สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 TTRS เป็นโมเดลที่พัฒนามาจาก Kibo Technology Rating System (KTRS) ซึ่งเป็นต้นแบบในการประเมินเทคโนโลยีที่ประสบความสําเร็จในประเทศเกาหลีใต้ในการช่วยเหลือ SMEs ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยได้รับการยอมรับในระดับสากล แผนงานจากนี้ บสย. เตรียมเปิดตัวโครงการค้ําประกันสินเชื่อสําหรับผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้แนวทางการประเมินเทคโนโลยี TTRS ในวงเงิน 500 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างหารือรายละเอียดกับสถาบันการเงินที่สนใจในการเข้าร่วมโครงการ ก่อนนําเสนอร่างโครงการต่อกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถเปิดตัวโครงการค้ําประกันฯ ดังกล่าว ในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการในปี 2561 ประมาณ 50 ราย สําหรับความสําเร็จของโครงการค้ําประกันสินเชื่อ SMEs กลุ่มเทคโนโลยี-นวัตกรรม โดยใช้โมเดล TTRS เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและเกาหลีใต้ ผ่าน 3 หน่วยงานหลัก คือ บสย. สวทช. และ KOTEC จากเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้กับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทย ซึ่งจากการดําเนินงานกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ทําให้ประเทศไทยมีเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่โดดเด่น ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย โดยคาดหวังว่าในอนาคต ไทยและเกาหลีใต้ จะสามารถต่อยอดความสัมพันธ์ผ่านความร่วมมือระหว่าง บสย. สวทช. และ KOTEC ในการส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ของทั้ง 2 ประเทศต่อไป Thai Credit Guarantee Corporation (TCG) and National Science and Technology Development Agency (NSTDA) announced cooperation to push forward Technology Guarantee through TTRS model Mr. Nitid Manoonporn, President of TCG, together with Dr. Narong Sirilertworakul, President of NSTDA, announced progress in promoting technology-based/innovative SMEs through the use of Thailand Technology Rating System, or TTRS, at INC 2 Building, National Science and Technology Development Agency, Thailand Science Park (TSP), on 7 February 2018. TTRS was developed on the basis of KTRS, a distinctive technology rating system of the Korea Technology Finance Corporation (KOTEC). KTRS has earned world-wide recognition as a good practice and its excellence has been verified through its contribution to supporting innovative SMEs in Korea. “KTRS has been instrumental in supporting innovative SMEs as it is a proven successful technology rating tool that has been recognized as a good practice by renowned institutions in many countries” said by Dr. Narong and Mr. Nitid. TCG plans to launch a new credit guarantee product with TTRS worth Baht 500 million for technology-based/innovative SMEs. Currently TCG is under discussion with financial institutions that are interested in joining this scheme before proposing the draft guarantee product to the Ministry of Finance for approval. This new product is expected to be launched during the second or third quarter of this year with anticipated 50 SMEs applying for the scheme. The success of setting up technology guarantee scheme with TTRS model was attributable to close collaboration between Thai government and Korean government, an opportunity provided by the Knowledge Sharing Program (KSP) of the latter. Under the program, TCG and NSTDA worked closely with KOTEC, which showed sincere commitment in sharing with Thai experts valuable knowledge and experiences in helping the SMEs in this segment to get access to finance. Over 2 years of KSP implementation, the program has enabled Thailand to develop the TTRS that could effectively identify and facilitate promising technology-based/innovative SMEs with access to funding sources, which will consequently help to enhance economic value of Thailand. TCG and NSTDA expect to have a continued cooperation among TCG, NSTDA, and KOTEC for the purpose of promoting and supporting technology-based/innovative SMEs of the 2 countries in the future. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 0-2890-9999 ชนิญญา สันสมภาค 081-860-7477 chaninya@tcg.or.th www.tcg.or.th ศรัญยู ตันติเสรี 091-771-2885 saranyu@tcg.or.th www.facebook.com/tcg.or.th วิขุดา ก้องกีรติ 089-605-9870 wichuda@tcg.or.th
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9920
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. ห่วงความปลอดภัยช่วงปีใหม่ แนะนายจ้างจัดมาตรการป้องกันอัคคีภัย
วันพุธที่ 26 ธันวาคม 2561 กสร. ห่วงความปลอดภัยช่วงปีใหม่ แนะนายจ้างจัดมาตรการป้องกันอัคคีภัย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แนะนายจ้างเตรียมความพร้อมป้องกันอัคคีภัยช่วงหยุดยาว ปีใหม่ ย้ํานายจ้างและลูกจ้างร่วมสร้างจิตสํานึกขับขี่ปลอดภัย นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาล ปีใหม่ซึ่งเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ก็จะกําหนดเป็นวันหยุดเพื่อให้ลูกจ้างได้กลับภูมิลําเนาหรือท่องเที่ยวในช่วงดังกล่าว ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยและความไม่ปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ กสร. จึงขอฝากไปยังนายจ้าง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานและผู้ที่เกี่ยวข้องกําหนดมาตรการหรือแนวทางป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งก่อนและในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ เช่น กําหนดมาตรการในการตรวจสอบดูแลเครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพปลอดภัย กําหนดมาตรการในการป้องกันเหตุ ทบทวนแผนฉุกเฉินเพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น และขอให้นายจ้างย้ําเตือนให้ลูกจ้างปิดเครื่องจักร อุปกรณ์และระบบต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนหยุดยาว นายวิวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ความปลอดภัยในการเดินทางบนท้องถนนก็เป็นเรื่องที่ต้องตระหนักและให้ความสําคัญ กสร. ขอความร่วมมือนายจ้าง สถานประกอบกิจการทุกแห่งร่วมกันรณรงค์สร้างจิตสํานึกความปลอดภัยและให้ความรู้ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแก่ลูกจ้าง รวมทั้งเทคนิคการขับขี่อย่างปลอดภัย การตรวจสภาพของยานพาหนะและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการเดินทางและกลับมาทํางานได้อย่างปลอดภัย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. ห่วงความปลอดภัยช่วงปีใหม่ แนะนายจ้างจัดมาตรการป้องกันอัคคีภัย วันพุธที่ 26 ธันวาคม 2561 กสร. ห่วงความปลอดภัยช่วงปีใหม่ แนะนายจ้างจัดมาตรการป้องกันอัคคีภัย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แนะนายจ้างเตรียมความพร้อมป้องกันอัคคีภัยช่วงหยุดยาว ปีใหม่ ย้ํานายจ้างและลูกจ้างร่วมสร้างจิตสํานึกขับขี่ปลอดภัย นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาล ปีใหม่ซึ่งเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ก็จะกําหนดเป็นวันหยุดเพื่อให้ลูกจ้างได้กลับภูมิลําเนาหรือท่องเที่ยวในช่วงดังกล่าว ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยและความไม่ปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ กสร. จึงขอฝากไปยังนายจ้าง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานและผู้ที่เกี่ยวข้องกําหนดมาตรการหรือแนวทางป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งก่อนและในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ เช่น กําหนดมาตรการในการตรวจสอบดูแลเครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพปลอดภัย กําหนดมาตรการในการป้องกันเหตุ ทบทวนแผนฉุกเฉินเพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น และขอให้นายจ้างย้ําเตือนให้ลูกจ้างปิดเครื่องจักร อุปกรณ์และระบบต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนหยุดยาว นายวิวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ความปลอดภัยในการเดินทางบนท้องถนนก็เป็นเรื่องที่ต้องตระหนักและให้ความสําคัญ กสร. ขอความร่วมมือนายจ้าง สถานประกอบกิจการทุกแห่งร่วมกันรณรงค์สร้างจิตสํานึกความปลอดภัยและให้ความรู้ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแก่ลูกจ้าง รวมทั้งเทคนิคการขับขี่อย่างปลอดภัย การตรวจสภาพของยานพาหนะและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการเดินทางและกลับมาทํางานได้อย่างปลอดภัย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17765
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นรม. มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง และ สตช. สอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีหมุดคณะราษฎรหาย ยืนยันจะทำทุกอย่างเพื่อให้แผ่นดินมีความสุข
วันอังคารที่ 18 เมษายน 2560 นรม. มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง และ สตช. สอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีหมุดคณะราษฎรหาย ยืนยันจะทําทุกอย่างเพื่อให้แผ่นดินมีความสุข นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง และสํานักงานตํารวจแห่งชาติสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีหมุดคณะราษฎรหาย ยืนยันจะทําทุกอย่างเพื่อให้แผ่นดินมีความสุข วันนี้ (18 เมษายน 2560) เวลา 13.20 น. ณ บริเวณห้องโถงตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีหมุดคณะราษฎร หรือหมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าหายไป และถูกแทนด้วยหมุดใหม่ที่มีข้อความใหม่แทนในจุดเดิมว่า ได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง และสํานักงานตํารวจแห่งชาติติดตามสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมา 80 ปีแล้ว พร้อมกล่าวยืนยันว่า ตนเองก็เป็นประชาธิปไตย ซึ่งที่สําคัญประชาธิปไตยอยู่ในใจทุกคน ขอให้เรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของกระบวนการสืบสวนสอบสวน สําหรับการรวมกลุ่มเพื่อทวงหมุดคืนนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ และขอให้ระมัดระวังในการเคลื่อนไหว เพราะไม่ต้องการให้บ้านเมืองติดขัด เดินต่อไปไม่ได้ โดยรัฐบาลจําเป็นต้องใช้กฎหมายถ้าเกิดผลกระทบ มีความเดือนร้อนขึ้น และขอให้เคารพ ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยกําลังเดินหน้าเข้าสู่ประชาธิปไตย ทุกคนต้องการประชาธิปไตย และต้องการเดินหน้าสู่เลือกตั้ง เพื่อให้ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล พร้อมกล่าวยืนยันว่า จะพยายามทําทุกอย่าง เพื่อให้แผ่นดินนี้มีความสุข จึงต้องการขอความร่วมมืออะไรที่ไม่ใช่ประเด็นคอขาดบาดตายจนเกินไป อย่านํามาเป็นประเด็นให้แก้ไข ซึ่งเข้าใจความรู้สึกของประชาชนดีเพราะเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ และขอให้มองอนาคตว่าจะทําอย่างไรดีกว่า ขออย่าโต้แย้งกันไปกันมา ---------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นรม. มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง และ สตช. สอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีหมุดคณะราษฎรหาย ยืนยันจะทำทุกอย่างเพื่อให้แผ่นดินมีความสุข วันอังคารที่ 18 เมษายน 2560 นรม. มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง และ สตช. สอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีหมุดคณะราษฎรหาย ยืนยันจะทําทุกอย่างเพื่อให้แผ่นดินมีความสุข นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง และสํานักงานตํารวจแห่งชาติสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีหมุดคณะราษฎรหาย ยืนยันจะทําทุกอย่างเพื่อให้แผ่นดินมีความสุข วันนี้ (18 เมษายน 2560) เวลา 13.20 น. ณ บริเวณห้องโถงตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีหมุดคณะราษฎร หรือหมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าหายไป และถูกแทนด้วยหมุดใหม่ที่มีข้อความใหม่แทนในจุดเดิมว่า ได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง และสํานักงานตํารวจแห่งชาติติดตามสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมา 80 ปีแล้ว พร้อมกล่าวยืนยันว่า ตนเองก็เป็นประชาธิปไตย ซึ่งที่สําคัญประชาธิปไตยอยู่ในใจทุกคน ขอให้เรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของกระบวนการสืบสวนสอบสวน สําหรับการรวมกลุ่มเพื่อทวงหมุดคืนนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ และขอให้ระมัดระวังในการเคลื่อนไหว เพราะไม่ต้องการให้บ้านเมืองติดขัด เดินต่อไปไม่ได้ โดยรัฐบาลจําเป็นต้องใช้กฎหมายถ้าเกิดผลกระทบ มีความเดือนร้อนขึ้น และขอให้เคารพ ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยกําลังเดินหน้าเข้าสู่ประชาธิปไตย ทุกคนต้องการประชาธิปไตย และต้องการเดินหน้าสู่เลือกตั้ง เพื่อให้ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล พร้อมกล่าวยืนยันว่า จะพยายามทําทุกอย่าง เพื่อให้แผ่นดินนี้มีความสุข จึงต้องการขอความร่วมมืออะไรที่ไม่ใช่ประเด็นคอขาดบาดตายจนเกินไป อย่านํามาเป็นประเด็นให้แก้ไข ซึ่งเข้าใจความรู้สึกของประชาชนดีเพราะเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ และขอให้มองอนาคตว่าจะทําอย่างไรดีกว่า ขออย่าโต้แย้งกันไปกันมา ---------------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3118
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี เปิดงาน Thailand Social Expo 2018 มหกรรมแสดงผลงานและนโยบายด้านสังคมครั้งแรกของประเทศ
วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2561 นายกรัฐมนตรี เปิดงาน Thailand Social Expo 2018 มหกรรมแสดงผลงานและนโยบายด้านสังคมครั้งแรกของประเทศ นายกรัฐมนตรี เปิดงาน Thailand Social Expo 2018 มหกรรมแสดงผลงานและนโยบายด้านสังคมครั้งแรกของประเทศ โดยเป็นการบูรณาการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านสังคมทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม จัดขึ้นระหว่าง 3 – 5 สิงหาคมนี้ วันนี้ (3 ส.ค.61) เวลา 09.30 น. ณ ฮอลล์ 5 – 7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน Thailand Social Expo 2018 ภายใต้แนวคิด “สู่อนาคตสดใส ด้วยคนคุณภาพ Brighter Future Stronger People”พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสังคมในยุค 4.0” โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านสังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม กว่า 90 องค์กร/หน่วยงาน จัดงานดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 3 – 5 สิงหาคม 2561 เพื่อสร้างพลังความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ทํางานด้านสังคมของประเทศ แสดงผลงานด้านสังคมของรัฐบาลและงานมหกรรมด้านสังคมครั้งแรกของประเทศไทย ที่เป็นการแสดงผลงานนวัตกรรมทางสังคม เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาสังคมและประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม ผลการคิดค้นและการดําเนินงานสําคัญในด้านสังคมของไทยและอาเซียน ตลอดจนการแสดงเจตนารมณ์ในการทํางานด้านสังคมของกระทรวงฯ และภาคีเครือข่าย รวมถึงการผลักดันขับเคลื่อนนโยบายสังคมที่สําคัญของประเทศอย่างสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภาคีเครือข่ายกระทรวงฯ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานประมาณ 800 คน นายกรัฐมนตรี ได้รับชมการแสดง “โขนรามเกียรติ์ ตอนยกรบ” จากผู้พิการทางการได้ยิน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการจัดงาน Thailand Social Expo 2018ว่า ถือเป็นการรวมพลังประชารัฐจากทุกภาคส่วนในสังคมมาร่วมมือกันทํางาน พร้อมกล่าวถึงเรื่อง “การขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสังคมในยุค 4.0” ว่า คนไทยทุกคนต้องพัฒนาและปรับตัวให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของโลก ซึ่งจะเป็นการเดินหน้าไปสู่การใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย รัฐบาลจึงได้กําหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยขณะนี้รัฐบาลกําลังเดินหน้าประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และมีการจัดทําแผนแม่บท โดยทุกกระทรวง ทบวง กรม จะต้องเร่งดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการออกมาและให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อร่วมกับขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยร่วมมือกันในรูปแบบประชารัฐทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการเสริมสร้างสังคมไทยให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง โดยนอกจากจะพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแล้ว สิ่งสําคัญต้องพัฒนาด้านสังคมของประเทศควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาจิตใจ มีความเป็นธรรมและขจัดความเหลื่อมล้ํา เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข อันจะนําประเทศเดินหน้าไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในอนาคตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงความพร้อมของประเทศไทยกับความท้าทายด้านสังคมว่า สังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีปัญหารูปแบบใหม่เกิดขึ้นมาตลอดเวลา และมีความซับซ้อนเชื่อมโยงกันหลายมิติ ตามที่ปรากฏในภาพข่าวจากสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ รวมถึงปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการก่อการร้าย การค้ามนุษย์ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ซึ่งแนวทางการแก้ไขต่อสู้กับปัญหาเหล่านี้ เราต้องทํางานเชิงรุกอย่างหนักและรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะในเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุการณ์ รวมทั้งต้องมีการประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย เพื่อหาแนวทางรองรับสถานการณ์ในอนาคต ขณะที่เจ้าหน้าที่ทุกระดับต้องมีการเตรียมความพร้อมทุกด้าน มีความจริงใจในการที่จะมาร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองและสังคมไทยไปด้วยกัน นอกจากนี้ กุญแจสําคัญในการพัฒนาประเทศ คือ การพัฒนาคน หรือ ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ประเทศไทยมีคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีความพร้อมสําหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่เข้มแข็งสําหรับครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการจัดระเบียบสังคม เพื่อเดินหน้าพัฒนาให้ก้าวไกล ว่า ก่อนหน้าที่รัฐบาลจะเข้ามาบริหารประเทศ บ้านเมืองของเรามีปัญหาหลายประการ โดยรัฐบาลปัจจุบันได้เร่งสะสางปัญหาเฉพาะหน้าที่เรื้อรังมานาน ทั้งการจัดระเบียบสังคมใหม่ และวางรากฐานในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยจะเห็นจากนโยบายด้านสังคมของรัฐบาลที่ให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ําทางสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาประเทศไทย 4.0 และประชารัฐ ซึ่งที่ผ่านมาได้ดําเนินการสําเร็จในหลายเรื่อง ทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติ อาทิ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อความสะดวกในการเชื่อมโยงระบบการเงินการคลังสําหรับจัดสรรสวัสดิการให้แก่ประชาชน การดูแลสวัสดิการสําหรับประชาชนในภาพรวม เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การศึกษาฟรี เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ รูปแบบประกันสังคม ทั้งผู้ประกันตนในระบบและนอกระบบ กองทุนการออมแห่งชาติ การสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน รวมถึงรูปแบบช่วยเหลือทางสังคมแก่ผู้มีรายได้น้อยหรือประสบปัญหาทางสังคม การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งรัฐบาลกําหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ความสําคัญกับการป้องกันและปราบปรามมาอย่างต่อเนื่อง จนสหรัฐอเมริกาเห็นถึงความพยายามจากที่เคยถูกจัดอันดับให้อยู่ทั้งระดับแย่ที่สุดและระดับที่ต้องจับตามอง และเลื่อนระดับให้ไทยอยู่ในระดับ Tier 2 การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย เช่น แฟลตดินแดงที่เป็นปัญหาเรื้อรังมากว่า 50 ปี คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดําเนินโครงการฟื้นฟูชุมชนเมืองดินแดง เพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยกว่า 20,000 ยูนิต ซึ่งได้ไปเปิดอาคารและส่งมอบกุญแจห้องพักอาศัย ระยะที่ 1 แปลง G เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 รวมทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง เพื่อแก้ไขปัญหาการรุกล้ําลําคลองสาธารณะและปรับทัศนียภาพให้สวยงาม นอกจากนั้น รัฐบาลยังให้ความสําคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด รวมถึงการพัฒนาศักยภาพคนพิการ ซึ่งรัฐบาลให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการมีอาชีพและรายได้ โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เร่งให้เกิดการจ้างงานคนพิการเพิ่มขึ้นจากที่มีการจ้างงานเพียงไม่ถึงร้อยละ 50 (ร้อยละ 49.48) ปัจจุบันมีการจ้างงานทั้งในภาครัฐและสถานประกอบการกว่าร้อยละ 70 รวมถึงการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระในชุมชน มากไปกว่านั้นรัฐบาลยังส่งเสริมให้มีโอกาสได้แสดงศักยภาพในทางที่ชอบและถนัด เช่น โครงการ From Street to Star หรือ S2S และที่สําคัญในด้านการเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ นอกจากรัฐบาลได้เพิ่มเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่ยากจน การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 450,000 คน การเร่งผลักดันให้จัดตั้งกองทุนบําเหน็จบํานาญแห่งชาติ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมมือกันเตรียมความพร้อมในการเป็นสังคมสูงวัยกันอย่างเต็มที่ ทั้งด้านที่อยู่อาศัย infrastructure สภาพแวดล้อม การเตรียมพร้อมก่อนเกษียณ การส่งเสริมด้านเงินออม การส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาการทางการแพทย์สําหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคอุบัติใหม่ซึ่งเกิดกับผู้สูงวัย ตลอดจนการดําเนินการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายด้าน นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงก้าวต่อไปของรัฐบาลกับนโยบายด้านสังคมว่า รัฐบาลมุ่งสร้างคนไทยให้เป็นพลังสําคัญในการพัฒนาชาติ โดยใช้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” รวมทั้งมุ่งเป้าหมายที่จะพัฒนางานให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในอีกหลายประเด็น เช่น การขจัดการค้ามนุษย์ให้หมดไปจากสังคมไทย ซึ่งในเรื่องนี้จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยต้องดําเนินการให้ได้รับการเลื่อนระดับขึ้นเป็น Tier 1 ให้ได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน ปัจจุบันได้จัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุสามปีแล้ว ในระยะต่อไปรัฐบาลจะขยายระยะเวลาการให้เงินอุดหนุนดังกล่าวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุหกปี ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่าการเลี้ยงดูเด็กในช่วงแรกเกิดจนถึงปฐมวัยนี้เป็นเวลาทองที่จะทําให้เด็กเติบโตได้อย่างแข็งแรงและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 และยุคต่อ ๆ ไป และ การส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ต้องเร่งรัดดําเนินการโดยเร็ว การพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมบทบาทสตรี ต้องส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมในการเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ ทั้งการเมือง สังคม และการประกอบอาชีพ ฯลฯ โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมที่มีคุณค่ากับสังคม รวมทั้งการรณรงค์ยุติความรุนแรงในครอบครัวและสังคมโดยขอให้ทุกคนใช้สติในการใช้ชีวิต และการเคารพกฎหมายต่าง ๆ ในสังคม การเป็นสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ ระยะต่อไปรัฐบาลยังคงมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้สูงอายุสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีคุณค่าต่อสังคม ใน 4 มาตรการ คือ มาตรการที่1เพิ่มการจ้างงานผู้สูงอายุ เพื่อสร้างหลักประกัน / ความมั่นคงในเรื่องรายได้ของผู้สูงอายุให้สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ยาวนานขึ้น มาตรการที่2รัฐบาลพร้อมจะส่งเสริมการสร้างที่พักอาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมาตรการที่3สินเชื่อที่อยู่อาศัยสําหรับผู้สูงอายุ (Reverse mortgage) โดยใช้ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภาระหนี้ของผู้สูงอายุเป็นหลักประกัน มาตรการที่4การบูรณาการระบบบําเหน็จบํานาญ สําหรับการพัฒนาคนไทย 4.0 นั้น นายกัฐมนตรี ได้กล่าวย้ําว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัยและทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ลืมตาดูโลกจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต โดยเฉพาะการค้นหาศักยภาพและพรสวรรค์ หรือ Talent ของเด็ก ต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก รวมทั้งการเตรียมคนของประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องของความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการปฏิบัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างไรก็ตามการที่รัฐบาลส่งเสริมและพัฒนาเรื่องในเรื่องของหุ่นยนต์และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อใช้สิ่งเหล่านี้มาทํางานร่วมกับคน โดยยืนยันไม่ต้องการให้คนได้รับผลกระทบหรือตกงาน แต่ต้องการให้คนในประเทศพัฒนาตนเองให้ทันกับสถานการณ์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประเทศในอนาคตตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ ทั้งนี้ในส่วนของการประกอบอาชีพ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการยกระดับจาก “ผู้ใช้แรงงาน” เป็น “ผู้ใช้พลังสมอง” เน้นความมั่นคงในอาชีพและรายได้ โดยได้ดําเนินการหลายด้าน เช่น (1) จัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย (Smart Job Center) (2) จัดตั้งศูนย์ที่นี่มีงานทํา (Job Ready Center) (3) สร้างระบบมาตรฐานแรงงานเพื่อให้คนทํางานได้รับค่าจ้างค่าแรงและสวัสดิการที่เป็นธรรม เป็นต้น ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวฝากทุกภาคส่วนว่า วันนี้จะมองเพียงเศรษฐกิจด้านเดียวไม่ได้ แต่ต้องมองครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม การรักษาป่า การดูแลประชาชนทุกกลุ่มของประเทศ พร้อมกล่าวขอบคุณกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่ผสานพลังในการจัดงาน“Thailand Social Expo 2018” เผยแพร่ผลงานและนวัตกรรมทางสังคม บริการ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงไปด้วยกัน นับเป็นการแสดงพลังทางสังคมที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง ตามแนวคิดของงานที่ว่า “สู่อนาคตสดใส ด้วยคนคุณภาพ Brighter Future Stronger People” จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมนิทรรศการที่จัดแสดงไว้ ณ บริเวณฮอลล์ 6 ก่อนเดินทางกลับ ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจนายกรัฐมนตรี จะมีการเสวนาและบรรยายพิเศษและเสวนาเกี่ยวกับการจัดงาน โดยผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และภาคเอกชน สําหรับงาน Thailand Social Expo 2018 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ฮอลล์ 5 – 8 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ภายในงานมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การประชุมวิชาการการแสดงผลงานนวัตกรรม การแสดงผลิตผลด้านสังคม และการแสดงศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย 4 Zone ดังนี้ 1) การประชุมวิชาการ เสวนา ปาฐกถา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาสังคม และการนําเสนอรายงานสถานการณ์ทางสังคมทั้งในเชิงประเด็นและเชิงกลุ่มเป้าหมาย อาทิ "พลังสตรีอาเซียน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ”ASEAN Women Empowerment and Economic development “เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หยุดการกระทําความรุนแรงในทุกรูปแบบ” “Digital Society : ความท้าทายต่อกระบวนทัศน์การพัฒนาเด็กและเยาวชน” “การนําเสนอมติสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ” เป็นต้น 2) การแสดงผลงานนวัตกรรมด้านสังคมของประเทศไทย ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสังคม ต้นแบบที่ดีของการพัฒนาสังคม เทคโนโลยีเพื่อสังคม อาทิ การจําลองบ้านและที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อคนพิการ การจําลองสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ นวัตกรรมโรงรับจํานํา นวัตกรรมด้านการออม การเปิดจองนวัตกรรมสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ และการให้บริการทางสังคม อาทิ การทําบัตรประชาชนเคลื่อนที่การออกหน่วยให้บริการทําบัตรประจําตัวคนพิการ การลงทะเบียนทําบัตรผู้แสดงความสามารถในที่สาธารณะ รถทันตกรรมเคลื่อนที่ การนวดแผนไทย บริการวัดสายตาและบริการแว่นตา การประมูลทรัพย์หลุดจํานํา เป็นต้น 3) การแสดงผลิตผลด้านสังคมของกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน อาทิ ธงฟ้าราคาประหยัด สินค้า OTOP ตลาดเคหะประชารัฐ เครื่องอุปโภคบริโภคในรูปแบบตลาดชุมชน ผลิตภัณฑ์ทอฝัน By พม. บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ สินเชื่อประชารัฐการเปิดจองบ้าน ผ่านระบบ Online ในโครงการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นต้น และ 4) การแสดงศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดี และสร้างสรรค์ของคนในสังคม อาทิ การแสดงศิลปิน S2S กับนักร้องวงดุริยางค์ทหารบกการแสดงโขนรามเกียรติ์ของผู้พิการทางการได้ยินตอน “ยกรบ” การแสดงของชนเผ่าอาข่า การเดินแฟชั่นโชว์ผู้สูงอายุ โดยคุณต่าย เพ็ญพักตร์ ศิริกุล และทีมมีสแกรนด์ ปี 2018 --------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี เปิดงาน Thailand Social Expo 2018 มหกรรมแสดงผลงานและนโยบายด้านสังคมครั้งแรกของประเทศ วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2561 นายกรัฐมนตรี เปิดงาน Thailand Social Expo 2018 มหกรรมแสดงผลงานและนโยบายด้านสังคมครั้งแรกของประเทศ นายกรัฐมนตรี เปิดงาน Thailand Social Expo 2018 มหกรรมแสดงผลงานและนโยบายด้านสังคมครั้งแรกของประเทศ โดยเป็นการบูรณาการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านสังคมทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม จัดขึ้นระหว่าง 3 – 5 สิงหาคมนี้ วันนี้ (3 ส.ค.61) เวลา 09.30 น. ณ ฮอลล์ 5 – 7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน Thailand Social Expo 2018 ภายใต้แนวคิด “สู่อนาคตสดใส ด้วยคนคุณภาพ Brighter Future Stronger People”พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสังคมในยุค 4.0” โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านสังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม กว่า 90 องค์กร/หน่วยงาน จัดงานดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 3 – 5 สิงหาคม 2561 เพื่อสร้างพลังความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ทํางานด้านสังคมของประเทศ แสดงผลงานด้านสังคมของรัฐบาลและงานมหกรรมด้านสังคมครั้งแรกของประเทศไทย ที่เป็นการแสดงผลงานนวัตกรรมทางสังคม เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาสังคมและประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม ผลการคิดค้นและการดําเนินงานสําคัญในด้านสังคมของไทยและอาเซียน ตลอดจนการแสดงเจตนารมณ์ในการทํางานด้านสังคมของกระทรวงฯ และภาคีเครือข่าย รวมถึงการผลักดันขับเคลื่อนนโยบายสังคมที่สําคัญของประเทศอย่างสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภาคีเครือข่ายกระทรวงฯ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานประมาณ 800 คน นายกรัฐมนตรี ได้รับชมการแสดง “โขนรามเกียรติ์ ตอนยกรบ” จากผู้พิการทางการได้ยิน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการจัดงาน Thailand Social Expo 2018ว่า ถือเป็นการรวมพลังประชารัฐจากทุกภาคส่วนในสังคมมาร่วมมือกันทํางาน พร้อมกล่าวถึงเรื่อง “การขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสังคมในยุค 4.0” ว่า คนไทยทุกคนต้องพัฒนาและปรับตัวให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของโลก ซึ่งจะเป็นการเดินหน้าไปสู่การใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย รัฐบาลจึงได้กําหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยขณะนี้รัฐบาลกําลังเดินหน้าประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และมีการจัดทําแผนแม่บท โดยทุกกระทรวง ทบวง กรม จะต้องเร่งดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการออกมาและให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อร่วมกับขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยร่วมมือกันในรูปแบบประชารัฐทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการเสริมสร้างสังคมไทยให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง โดยนอกจากจะพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแล้ว สิ่งสําคัญต้องพัฒนาด้านสังคมของประเทศควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาจิตใจ มีความเป็นธรรมและขจัดความเหลื่อมล้ํา เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข อันจะนําประเทศเดินหน้าไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในอนาคตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงความพร้อมของประเทศไทยกับความท้าทายด้านสังคมว่า สังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีปัญหารูปแบบใหม่เกิดขึ้นมาตลอดเวลา และมีความซับซ้อนเชื่อมโยงกันหลายมิติ ตามที่ปรากฏในภาพข่าวจากสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ รวมถึงปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการก่อการร้าย การค้ามนุษย์ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ซึ่งแนวทางการแก้ไขต่อสู้กับปัญหาเหล่านี้ เราต้องทํางานเชิงรุกอย่างหนักและรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะในเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุการณ์ รวมทั้งต้องมีการประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย เพื่อหาแนวทางรองรับสถานการณ์ในอนาคต ขณะที่เจ้าหน้าที่ทุกระดับต้องมีการเตรียมความพร้อมทุกด้าน มีความจริงใจในการที่จะมาร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองและสังคมไทยไปด้วยกัน นอกจากนี้ กุญแจสําคัญในการพัฒนาประเทศ คือ การพัฒนาคน หรือ ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ประเทศไทยมีคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีความพร้อมสําหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่เข้มแข็งสําหรับครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการจัดระเบียบสังคม เพื่อเดินหน้าพัฒนาให้ก้าวไกล ว่า ก่อนหน้าที่รัฐบาลจะเข้ามาบริหารประเทศ บ้านเมืองของเรามีปัญหาหลายประการ โดยรัฐบาลปัจจุบันได้เร่งสะสางปัญหาเฉพาะหน้าที่เรื้อรังมานาน ทั้งการจัดระเบียบสังคมใหม่ และวางรากฐานในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยจะเห็นจากนโยบายด้านสังคมของรัฐบาลที่ให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ําทางสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาประเทศไทย 4.0 และประชารัฐ ซึ่งที่ผ่านมาได้ดําเนินการสําเร็จในหลายเรื่อง ทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติ อาทิ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อความสะดวกในการเชื่อมโยงระบบการเงินการคลังสําหรับจัดสรรสวัสดิการให้แก่ประชาชน การดูแลสวัสดิการสําหรับประชาชนในภาพรวม เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การศึกษาฟรี เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ รูปแบบประกันสังคม ทั้งผู้ประกันตนในระบบและนอกระบบ กองทุนการออมแห่งชาติ การสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน รวมถึงรูปแบบช่วยเหลือทางสังคมแก่ผู้มีรายได้น้อยหรือประสบปัญหาทางสังคม การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งรัฐบาลกําหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ความสําคัญกับการป้องกันและปราบปรามมาอย่างต่อเนื่อง จนสหรัฐอเมริกาเห็นถึงความพยายามจากที่เคยถูกจัดอันดับให้อยู่ทั้งระดับแย่ที่สุดและระดับที่ต้องจับตามอง และเลื่อนระดับให้ไทยอยู่ในระดับ Tier 2 การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย เช่น แฟลตดินแดงที่เป็นปัญหาเรื้อรังมากว่า 50 ปี คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดําเนินโครงการฟื้นฟูชุมชนเมืองดินแดง เพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยกว่า 20,000 ยูนิต ซึ่งได้ไปเปิดอาคารและส่งมอบกุญแจห้องพักอาศัย ระยะที่ 1 แปลง G เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 รวมทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง เพื่อแก้ไขปัญหาการรุกล้ําลําคลองสาธารณะและปรับทัศนียภาพให้สวยงาม นอกจากนั้น รัฐบาลยังให้ความสําคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด รวมถึงการพัฒนาศักยภาพคนพิการ ซึ่งรัฐบาลให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการมีอาชีพและรายได้ โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เร่งให้เกิดการจ้างงานคนพิการเพิ่มขึ้นจากที่มีการจ้างงานเพียงไม่ถึงร้อยละ 50 (ร้อยละ 49.48) ปัจจุบันมีการจ้างงานทั้งในภาครัฐและสถานประกอบการกว่าร้อยละ 70 รวมถึงการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระในชุมชน มากไปกว่านั้นรัฐบาลยังส่งเสริมให้มีโอกาสได้แสดงศักยภาพในทางที่ชอบและถนัด เช่น โครงการ From Street to Star หรือ S2S และที่สําคัญในด้านการเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ นอกจากรัฐบาลได้เพิ่มเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่ยากจน การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 450,000 คน การเร่งผลักดันให้จัดตั้งกองทุนบําเหน็จบํานาญแห่งชาติ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมมือกันเตรียมความพร้อมในการเป็นสังคมสูงวัยกันอย่างเต็มที่ ทั้งด้านที่อยู่อาศัย infrastructure สภาพแวดล้อม การเตรียมพร้อมก่อนเกษียณ การส่งเสริมด้านเงินออม การส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาการทางการแพทย์สําหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคอุบัติใหม่ซึ่งเกิดกับผู้สูงวัย ตลอดจนการดําเนินการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายด้าน นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงก้าวต่อไปของรัฐบาลกับนโยบายด้านสังคมว่า รัฐบาลมุ่งสร้างคนไทยให้เป็นพลังสําคัญในการพัฒนาชาติ โดยใช้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” รวมทั้งมุ่งเป้าหมายที่จะพัฒนางานให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในอีกหลายประเด็น เช่น การขจัดการค้ามนุษย์ให้หมดไปจากสังคมไทย ซึ่งในเรื่องนี้จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยต้องดําเนินการให้ได้รับการเลื่อนระดับขึ้นเป็น Tier 1 ให้ได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน ปัจจุบันได้จัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุสามปีแล้ว ในระยะต่อไปรัฐบาลจะขยายระยะเวลาการให้เงินอุดหนุนดังกล่าวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุหกปี ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่าการเลี้ยงดูเด็กในช่วงแรกเกิดจนถึงปฐมวัยนี้เป็นเวลาทองที่จะทําให้เด็กเติบโตได้อย่างแข็งแรงและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 และยุคต่อ ๆ ไป และ การส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ต้องเร่งรัดดําเนินการโดยเร็ว การพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมบทบาทสตรี ต้องส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมในการเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ ทั้งการเมือง สังคม และการประกอบอาชีพ ฯลฯ โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมที่มีคุณค่ากับสังคม รวมทั้งการรณรงค์ยุติความรุนแรงในครอบครัวและสังคมโดยขอให้ทุกคนใช้สติในการใช้ชีวิต และการเคารพกฎหมายต่าง ๆ ในสังคม การเป็นสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ ระยะต่อไปรัฐบาลยังคงมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้สูงอายุสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีคุณค่าต่อสังคม ใน 4 มาตรการ คือ มาตรการที่1เพิ่มการจ้างงานผู้สูงอายุ เพื่อสร้างหลักประกัน / ความมั่นคงในเรื่องรายได้ของผู้สูงอายุให้สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ยาวนานขึ้น มาตรการที่2รัฐบาลพร้อมจะส่งเสริมการสร้างที่พักอาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมาตรการที่3สินเชื่อที่อยู่อาศัยสําหรับผู้สูงอายุ (Reverse mortgage) โดยใช้ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภาระหนี้ของผู้สูงอายุเป็นหลักประกัน มาตรการที่4การบูรณาการระบบบําเหน็จบํานาญ สําหรับการพัฒนาคนไทย 4.0 นั้น นายกัฐมนตรี ได้กล่าวย้ําว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัยและทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ลืมตาดูโลกจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต โดยเฉพาะการค้นหาศักยภาพและพรสวรรค์ หรือ Talent ของเด็ก ต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก รวมทั้งการเตรียมคนของประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องของความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับการปฏิบัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างไรก็ตามการที่รัฐบาลส่งเสริมและพัฒนาเรื่องในเรื่องของหุ่นยนต์และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อใช้สิ่งเหล่านี้มาทํางานร่วมกับคน โดยยืนยันไม่ต้องการให้คนได้รับผลกระทบหรือตกงาน แต่ต้องการให้คนในประเทศพัฒนาตนเองให้ทันกับสถานการณ์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประเทศในอนาคตตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ ทั้งนี้ในส่วนของการประกอบอาชีพ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการยกระดับจาก “ผู้ใช้แรงงาน” เป็น “ผู้ใช้พลังสมอง” เน้นความมั่นคงในอาชีพและรายได้ โดยได้ดําเนินการหลายด้าน เช่น (1) จัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย (Smart Job Center) (2) จัดตั้งศูนย์ที่นี่มีงานทํา (Job Ready Center) (3) สร้างระบบมาตรฐานแรงงานเพื่อให้คนทํางานได้รับค่าจ้างค่าแรงและสวัสดิการที่เป็นธรรม เป็นต้น ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวฝากทุกภาคส่วนว่า วันนี้จะมองเพียงเศรษฐกิจด้านเดียวไม่ได้ แต่ต้องมองครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม การรักษาป่า การดูแลประชาชนทุกกลุ่มของประเทศ พร้อมกล่าวขอบคุณกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่ผสานพลังในการจัดงาน“Thailand Social Expo 2018” เผยแพร่ผลงานและนวัตกรรมทางสังคม บริการ และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงไปด้วยกัน นับเป็นการแสดงพลังทางสังคมที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง ตามแนวคิดของงานที่ว่า “สู่อนาคตสดใส ด้วยคนคุณภาพ Brighter Future Stronger People” จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมนิทรรศการที่จัดแสดงไว้ ณ บริเวณฮอลล์ 6 ก่อนเดินทางกลับ ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจนายกรัฐมนตรี จะมีการเสวนาและบรรยายพิเศษและเสวนาเกี่ยวกับการจัดงาน โดยผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และภาคเอกชน สําหรับงาน Thailand Social Expo 2018 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ฮอลล์ 5 – 8 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ภายในงานมีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การประชุมวิชาการการแสดงผลงานนวัตกรรม การแสดงผลิตผลด้านสังคม และการแสดงศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย 4 Zone ดังนี้ 1) การประชุมวิชาการ เสวนา ปาฐกถา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาสังคม และการนําเสนอรายงานสถานการณ์ทางสังคมทั้งในเชิงประเด็นและเชิงกลุ่มเป้าหมาย อาทิ "พลังสตรีอาเซียน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ”ASEAN Women Empowerment and Economic development “เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หยุดการกระทําความรุนแรงในทุกรูปแบบ” “Digital Society : ความท้าทายต่อกระบวนทัศน์การพัฒนาเด็กและเยาวชน” “การนําเสนอมติสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ” เป็นต้น 2) การแสดงผลงานนวัตกรรมด้านสังคมของประเทศไทย ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสังคม ต้นแบบที่ดีของการพัฒนาสังคม เทคโนโลยีเพื่อสังคม อาทิ การจําลองบ้านและที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อคนพิการ การจําลองสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ นวัตกรรมโรงรับจํานํา นวัตกรรมด้านการออม การเปิดจองนวัตกรรมสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ และการให้บริการทางสังคม อาทิ การทําบัตรประชาชนเคลื่อนที่การออกหน่วยให้บริการทําบัตรประจําตัวคนพิการ การลงทะเบียนทําบัตรผู้แสดงความสามารถในที่สาธารณะ รถทันตกรรมเคลื่อนที่ การนวดแผนไทย บริการวัดสายตาและบริการแว่นตา การประมูลทรัพย์หลุดจํานํา เป็นต้น 3) การแสดงผลิตผลด้านสังคมของกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน อาทิ ธงฟ้าราคาประหยัด สินค้า OTOP ตลาดเคหะประชารัฐ เครื่องอุปโภคบริโภคในรูปแบบตลาดชุมชน ผลิตภัณฑ์ทอฝัน By พม. บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ สินเชื่อประชารัฐการเปิดจองบ้าน ผ่านระบบ Online ในโครงการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นต้น และ 4) การแสดงศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดี และสร้างสรรค์ของคนในสังคม อาทิ การแสดงศิลปิน S2S กับนักร้องวงดุริยางค์ทหารบกการแสดงโขนรามเกียรติ์ของผู้พิการทางการได้ยินตอน “ยกรบ” การแสดงของชนเผ่าอาข่า การเดินแฟชั่นโชว์ผู้สูงอายุ โดยคุณต่าย เพ็ญพักตร์ ศิริกุล และทีมมีสแกรนด์ ปี 2018 --------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14324
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมอ. ติดปีก OTOP นำ QR CODE มาช่วยพัฒนาสู่ SMEs 4.0 พร้อมเดินหน้าลดขั้นตอนขอ มผช. เหลือเพียง 33 วันทำการ
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2560 สมอ. ติดปีก OTOP นํา QR CODE มาช่วยพัฒนาสู่ SMEs 4.0 พร้อมเดินหน้าลดขั้นตอนขอ มผช. เหลือเพียง 33 วันทําการ สมอ. ติดปีก OTOP นํา QR CODE มาช่วยพัฒนาสู่ SMEs 4.0 พร้อมเดินหน้าลดขั้นตอนขอ มผช. เหลือเพียง 33 วันทําการ สมอ. เสริมศักยภาพผู้ผลิตชุมชนที่ได้รับการรับรอง มผช. ด้วย QR CODE ให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลด้านการรับรองได้อย่างสะดวกผ่าน Smart Phone ได้ทุกที่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมเดินหน้าลดระยะเวลาในการขอใบรับรอง มผช. เหลือ 33 วันทําการ นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า ขณะนี้สมอ. ได้นํานวัตกรรมการเข้าถึงข้อมูลด้านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยเพิ่ม QR CODE ในใบรับรองเรียบร้อยแล้ว โดยให้ผู้ได้รับการรับรองนําไปแสดงบนฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลการรับรองของผลิตภัณฑ์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน และเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์สินค้าที่ได้รับการรับรอง มผช. ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ สมอ. ได้ปรับปรุงกระบวนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยลดระยะเวลาในการดําเนินการลงจาก 73 วันทําการ เหลือ 33 วันทําการ คาดว่าจะเริ่มดําเนินการได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ใบรับรอง มผช. ที่แสดงเครื่องหมาย QR CODE เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา สําหรับผู้ประกอบการ ที่ได้รับการรับรอง มผช. ภายในปี 2558-2560 นั้น สมอ. จะดําเนินการจัดส่ง QR CODE ให้กับผู้ประกอบการย้อนหลังต่อไป โดยเครื่องหมาย QR CODE จะเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการรับรองผลิตภัณฑ์ เช่น รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ อายุการรับรองผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า มผช. นอกจากนี้ การลดขั้นตอนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข โดยคํานึงถึงความพร้อมและศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ยื่นคําขอ ความพร้อมของสถานประกอบการ เช่น จะต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน และต้องมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชนเพียงพอสําหรับการเก็บตัวอย่างเพื่อทําการตรวจสอบตามที่มาตรฐานกําหนด เลขาธิการ สมอ. กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้ผู้ผลิตชุมชนขอรับการรับรองได้อย่างรวดเร็วแล้ว ขั้นตอนกระบวนการออกใบรับรอง มผช. ยังมีความชัดเจน โปร่งใสยิ่งขึ้น และเป็นไปตามแนวทางสากล ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถสอบถามข้อมูลการรับรองผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มเติมได้ที่ กองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. โทร 0 2202 3344-46 ในวันและเวลาราชการ 20 พฤศจิกายน 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมอ. ติดปีก OTOP นำ QR CODE มาช่วยพัฒนาสู่ SMEs 4.0 พร้อมเดินหน้าลดขั้นตอนขอ มผช. เหลือเพียง 33 วันทำการ วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2560 สมอ. ติดปีก OTOP นํา QR CODE มาช่วยพัฒนาสู่ SMEs 4.0 พร้อมเดินหน้าลดขั้นตอนขอ มผช. เหลือเพียง 33 วันทําการ สมอ. ติดปีก OTOP นํา QR CODE มาช่วยพัฒนาสู่ SMEs 4.0 พร้อมเดินหน้าลดขั้นตอนขอ มผช. เหลือเพียง 33 วันทําการ สมอ. เสริมศักยภาพผู้ผลิตชุมชนที่ได้รับการรับรอง มผช. ด้วย QR CODE ให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลด้านการรับรองได้อย่างสะดวกผ่าน Smart Phone ได้ทุกที่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมเดินหน้าลดระยะเวลาในการขอใบรับรอง มผช. เหลือ 33 วันทําการ นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า ขณะนี้สมอ. ได้นํานวัตกรรมการเข้าถึงข้อมูลด้านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยเพิ่ม QR CODE ในใบรับรองเรียบร้อยแล้ว โดยให้ผู้ได้รับการรับรองนําไปแสดงบนฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลการรับรองของผลิตภัณฑ์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน และเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์สินค้าที่ได้รับการรับรอง มผช. ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ สมอ. ได้ปรับปรุงกระบวนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยลดระยะเวลาในการดําเนินการลงจาก 73 วันทําการ เหลือ 33 วันทําการ คาดว่าจะเริ่มดําเนินการได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ใบรับรอง มผช. ที่แสดงเครื่องหมาย QR CODE เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา สําหรับผู้ประกอบการ ที่ได้รับการรับรอง มผช. ภายในปี 2558-2560 นั้น สมอ. จะดําเนินการจัดส่ง QR CODE ให้กับผู้ประกอบการย้อนหลังต่อไป โดยเครื่องหมาย QR CODE จะเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการรับรองผลิตภัณฑ์ เช่น รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ อายุการรับรองผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า มผช. นอกจากนี้ การลดขั้นตอนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข โดยคํานึงถึงความพร้อมและศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ยื่นคําขอ ความพร้อมของสถานประกอบการ เช่น จะต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน และต้องมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชนเพียงพอสําหรับการเก็บตัวอย่างเพื่อทําการตรวจสอบตามที่มาตรฐานกําหนด เลขาธิการ สมอ. กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้ผู้ผลิตชุมชนขอรับการรับรองได้อย่างรวดเร็วแล้ว ขั้นตอนกระบวนการออกใบรับรอง มผช. ยังมีความชัดเจน โปร่งใสยิ่งขึ้น และเป็นไปตามแนวทางสากล ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถสอบถามข้อมูลการรับรองผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มเติมได้ที่ กองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. โทร 0 2202 3344-46 ในวันและเวลาราชการ 20 พฤศจิกายน 2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8256
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยเซ็น MOU ขอนแก่นสังคมไร้เงินสด และขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ สู่ Thailand 4.0
วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2560 กรุงไทยเซ็น MOU ขอนแก่นสังคมไร้เงินสด และขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ สู่ Thailand 4.0 ธ.กรุงไทยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับขอนแก่นสังคมไร้เงินสด 4.0 และขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ เพื่อศึกษาและพัฒนา สนับสนุนให้จังหวัดขอนแก่นเป็นเมืองอัจฉริยะ และพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่สังคมไร้เงินสดที่สมบูรณ์แบบ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในวันนี้(31 ตุลาคม) ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทางธนาคารได้ทําการลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU)กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยรศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่สังคมไร้เงินสด 4.0 และภาคเอกชน คือ บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง จํากัด บริษัท ช ทวี จํากัด(มหาชน) และบริษัท จัมป์อัพ จํากัด ในโครงการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นสู่เมืองอัจฉริยะ(Khon Kaen Smart City) โดยพิธีดังกล่าวได้รับเกียรติจากนายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มาร่วมเป็นสักขีพยาน โดยความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายด้าน National e-Payment ของภาครัฐ และสอดคล้องแผนแม่บทของสมาร์ทซิตี้จังหวัดขอนแก่น ธนาคารกรุงไทยจะเป็นผู้ให้บริการจัดการทางการเงินผ่านระบบ KTB Digital Platform เช่น การออกบัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์(e-Money Card) การรับชําระเงินด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร(Debit& Credit Card) ผ่านเครื่องรูดบัตร EDC (Electronic Data Capture Device) การรับชําระเงินด้วย QR Code ผ่านอุปกรณ์ Smart Device เป็นต้น เพื่อมุ่งเน้นการลดการใช้เงินสด ลดความเสี่ยงและความยุ่งยากในการบริหารจัดการเงินสด ที่ผ่านมากรุงไทยในฐานะธนาคารของรัฐได้ให้การสนับสนุนในการขับเคลื่อนนโยบาย Cashless society ของรัฐ อย่างเต็มที่เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการเข้าถึงและความสะดวกในการใช้บริการทางการเงินอย่างทั่วถึงของประชาชนทุกภาคส่วน เช่น การให้บริการพร้อมเพย์ การสนับสนุนการออกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมทั้ง ธนาคารได้เปิดตัวแอปพลิเคชั่น “เป๋าตุง” และให้บริการรับชําระเงินด้วยระบบ QR Code ทําให้การซื้อ-ขาย สะดวกสบาย และ ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น “ ธนาคารมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่สังคมไร้เงินสดที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเชื่อว่าการเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมไร้เงินสดต่างๆ ของกรุงไทยจะช่วยเป็นแรงผลักดันสําคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงิน และทําให้เศรษฐกิจประเทศเติบโตไปในอนาคตอย่างแข็งแรงและมั่นคง” ฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ โทร.0-2208-4174-7
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยเซ็น MOU ขอนแก่นสังคมไร้เงินสด และขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ สู่ Thailand 4.0 วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2560 กรุงไทยเซ็น MOU ขอนแก่นสังคมไร้เงินสด และขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ สู่ Thailand 4.0 ธ.กรุงไทยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับขอนแก่นสังคมไร้เงินสด 4.0 และขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ เพื่อศึกษาและพัฒนา สนับสนุนให้จังหวัดขอนแก่นเป็นเมืองอัจฉริยะ และพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่สังคมไร้เงินสดที่สมบูรณ์แบบ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในวันนี้(31 ตุลาคม) ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทางธนาคารได้ทําการลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU)กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยรศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่สังคมไร้เงินสด 4.0 และภาคเอกชน คือ บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง จํากัด บริษัท ช ทวี จํากัด(มหาชน) และบริษัท จัมป์อัพ จํากัด ในโครงการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นสู่เมืองอัจฉริยะ(Khon Kaen Smart City) โดยพิธีดังกล่าวได้รับเกียรติจากนายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มาร่วมเป็นสักขีพยาน โดยความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายด้าน National e-Payment ของภาครัฐ และสอดคล้องแผนแม่บทของสมาร์ทซิตี้จังหวัดขอนแก่น ธนาคารกรุงไทยจะเป็นผู้ให้บริการจัดการทางการเงินผ่านระบบ KTB Digital Platform เช่น การออกบัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์(e-Money Card) การรับชําระเงินด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร(Debit& Credit Card) ผ่านเครื่องรูดบัตร EDC (Electronic Data Capture Device) การรับชําระเงินด้วย QR Code ผ่านอุปกรณ์ Smart Device เป็นต้น เพื่อมุ่งเน้นการลดการใช้เงินสด ลดความเสี่ยงและความยุ่งยากในการบริหารจัดการเงินสด ที่ผ่านมากรุงไทยในฐานะธนาคารของรัฐได้ให้การสนับสนุนในการขับเคลื่อนนโยบาย Cashless society ของรัฐ อย่างเต็มที่เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการเข้าถึงและความสะดวกในการใช้บริการทางการเงินอย่างทั่วถึงของประชาชนทุกภาคส่วน เช่น การให้บริการพร้อมเพย์ การสนับสนุนการออกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมทั้ง ธนาคารได้เปิดตัวแอปพลิเคชั่น “เป๋าตุง” และให้บริการรับชําระเงินด้วยระบบ QR Code ทําให้การซื้อ-ขาย สะดวกสบาย และ ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น “ ธนาคารมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นให้เป็นเมืองอัจฉริยะ และพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่สังคมไร้เงินสดที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเชื่อว่าการเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมไร้เงินสดต่างๆ ของกรุงไทยจะช่วยเป็นแรงผลักดันสําคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงิน และทําให้เศรษฐกิจประเทศเติบโตไปในอนาคตอย่างแข็งแรงและมั่นคง” ฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ โทร.0-2208-4174-7
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7692
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. ลงพื้นที่ติดตามการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ
วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560 ทส. ลงพื้นที่ติดตามการฟื้นฟูป่าต้นน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติงานการบริหารจัดการป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน (เขาหัวโล้น) พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติงานการบริหารจัดการป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน (เขาหัวโล้น) หน่วยฟื้นฟูป่าต้นน้ํายอดเนินแม่วังน้อย 1175 (ลูกเนินขุนสรวย 978) พื้นที่อุทยานแห่งชาติลําน้ํากก (เตรียมการ) สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 พร้อมรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับข้อมูลการเจรจาขอคืนพื้นที่ป่าในปี พ.ศ.2558 - 2559 แผนการฟื้นฟูพื้นที่ป่า แผนการปฏิบัติงานในปี พ.ศ.2560 ปัญหาอุปสรรคของการดําเนินงานเจรจาขอคืนพื้นที่ การฟื้นฟู สําหรับบริเวณหน่วยฟื้นฟูป่าต้นน้ํายอดเนินแม่วังน้อย 1175 (ลูกเนินขุนสรวย 978) นั้น อุทยานแห่งชาติลําน้ํากก (เตรียมการ) ได้ร่วมกับผู้นําชุมชนบ้านโป่งกลางน้ํา บ้านห้วยนากาด บ้านขุนสรวย จังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทหาร ตํารวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจสอบพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก โดยได้ดําเนินการเจราจาขอคืนพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก ได้ 42 แปลง เนื้อที่ 2,799.27 ไร่ ปัจจุบันได้มีการฟื้นฟู ใน 3 รูปแบบ คือ 1) การปล่อยให้ป่าฟื้นฟูตัวธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา จํานวน 15 แปลง เนื้อที่ 901.49 ไร้ โดยมีการป้องกันไฟป่าและลาดตระเวนเฝ้าระวังการบุกรุกซ้ํา 2) ปลูกป่าแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ขนาดใหญ่ จํานวน 17 แปลง เนื้อที่ 1,827.90 ไร่ 3) ปลูกป่าโดยหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ จํานวน 10 แปลง เนื้อที่ 69.88 ไร่ นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2560 สบอ.15 มีแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชันอย่างยั่งยืน จํานวน 18,284.39 ไร่ ตามบันทึกข้อตกลงฯ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.59 ที่ผ่านมา
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. ลงพื้นที่ติดตามการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560 ทส. ลงพื้นที่ติดตามการฟื้นฟูป่าต้นน้ํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติงานการบริหารจัดการป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน (เขาหัวโล้น) พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติงานการบริหารจัดการป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชัน (เขาหัวโล้น) หน่วยฟื้นฟูป่าต้นน้ํายอดเนินแม่วังน้อย 1175 (ลูกเนินขุนสรวย 978) พื้นที่อุทยานแห่งชาติลําน้ํากก (เตรียมการ) สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 พร้อมรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับข้อมูลการเจรจาขอคืนพื้นที่ป่าในปี พ.ศ.2558 - 2559 แผนการฟื้นฟูพื้นที่ป่า แผนการปฏิบัติงานในปี พ.ศ.2560 ปัญหาอุปสรรคของการดําเนินงานเจรจาขอคืนพื้นที่ การฟื้นฟู สําหรับบริเวณหน่วยฟื้นฟูป่าต้นน้ํายอดเนินแม่วังน้อย 1175 (ลูกเนินขุนสรวย 978) นั้น อุทยานแห่งชาติลําน้ํากก (เตรียมการ) ได้ร่วมกับผู้นําชุมชนบ้านโป่งกลางน้ํา บ้านห้วยนากาด บ้านขุนสรวย จังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทหาร ตํารวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจสอบพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก โดยได้ดําเนินการเจราจาขอคืนพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก ได้ 42 แปลง เนื้อที่ 2,799.27 ไร่ ปัจจุบันได้มีการฟื้นฟู ใน 3 รูปแบบ คือ 1) การปล่อยให้ป่าฟื้นฟูตัวธรรมชาติ ตามศาสตร์พระราชา จํานวน 15 แปลง เนื้อที่ 901.49 ไร้ โดยมีการป้องกันไฟป่าและลาดตระเวนเฝ้าระวังการบุกรุกซ้ํา 2) ปลูกป่าแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ขนาดใหญ่ จํานวน 17 แปลง เนื้อที่ 1,827.90 ไร่ 3) ปลูกป่าโดยหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ จํานวน 10 แปลง เนื้อที่ 69.88 ไร่ นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2560 สบอ.15 มีแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนป่าต้นน้ําเสื่อมสภาพบนพื้นที่สูงชันอย่างยั่งยืน จํานวน 18,284.39 ไร่ ตามบันทึกข้อตกลงฯ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.59 ที่ผ่านมา
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1538
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษแก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เน้นย้ำการบำเพ็ญความเพียร ความซื่อตรง ความเป็นสุภาพชนเพื่อเกียรติคุณของประเทศชาติ
วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2561 ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษแก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เน้นย้ําการบําเพ็ญความเพียร ความซื่อตรง ความเป็นสุภาพชนเพื่อเกียรติคุณของประเทศชาติ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํานายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษ เรื่อง “แรงบันดาลใจในการรับราชการ” ให้แก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ ๑๑ -๑๒ เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๓๐ น. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํานายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษ เรื่อง “แรงบันดาลใจในการรับราชการ” ให้แก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหาร การเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ ๑๑ -๑๒ ณ ห้องบอลรูม โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ อําเภอเมือง จ.ชลบุรี ม.ล.ปนัดดาฯ กล่าวว่า “การรับราชการสนองพระเดชพระคุณของเหล่าข้าราชการ ตั้งแต่แรกเริ่มต้นทํางาน ถือเป็นความบริสุทธิ์ใจ ด้วยความจริงใจ มีความตั้งใจ และไม่ปรารถนาสิ่งอื่นใด นอกจากอยากแลเห็นสังคมมีความร่มเย็นเป็นสุข ประเทศไทยมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ข้าราชการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้สังคมเกิดความไว้วางใจ ไม่ใช่สร้างความทุกข์ร้อนใจ ความห่วงใย และความกังวลใจ ความสําเร็จในเรื่องใด ๆ ที่เกิดขึ้นถือเป็นความภาคภูมิใจของเหล่าข้าราชการในองค์กร ไม่ใช่เรื่องของวงศาคณาญาติหรือเรื่องของพวกพ้อง แต่เป็นเรื่องของสถาบันข้าราชการ เป็นเรื่องของแผ่นดินอันมีบุญคุณใหญ่หลวง ข้าราชการไม่หาเสียงหาคะแนนนิยม แต่มองความสําเร็จในเรื่องหนึ่ง ๆ เป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของสมาชิกในองค์กร และบําเพ็ญปฏิบัติเพื่อเกียรติคุณของประเทศชาติ ความเพียร ความซื่อตรง ความเป็นสุภาพชน ความไม่โลภโมโทสัน ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ ของผู้เป็นข้าราชการอันพึงประสงค์ ปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ได้ ความดี ความซื่อตรง ความเพียรของผู้เป็นข้าราชการ ย่อมถือเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความเชื่อมั่นศรัทธาและแซ่ซ้องยินดี”
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษแก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เน้นย้ำการบำเพ็ญความเพียร ความซื่อตรง ความเป็นสุภาพชนเพื่อเกียรติคุณของประเทศชาติ วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2561 ม.ล.ปนัดดาฯ บรรยายพิเศษแก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เน้นย้ําการบําเพ็ญความเพียร ความซื่อตรง ความเป็นสุภาพชนเพื่อเกียรติคุณของประเทศชาติ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํานายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษ เรื่อง “แรงบันดาลใจในการรับราชการ” ให้แก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ ๑๑ -๑๒ เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๓๐ น. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํานายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษ เรื่อง “แรงบันดาลใจในการรับราชการ” ให้แก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหาร การเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) รุ่นที่ ๑๑ -๑๒ ณ ห้องบอลรูม โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ อําเภอเมือง จ.ชลบุรี ม.ล.ปนัดดาฯ กล่าวว่า “การรับราชการสนองพระเดชพระคุณของเหล่าข้าราชการ ตั้งแต่แรกเริ่มต้นทํางาน ถือเป็นความบริสุทธิ์ใจ ด้วยความจริงใจ มีความตั้งใจ และไม่ปรารถนาสิ่งอื่นใด นอกจากอยากแลเห็นสังคมมีความร่มเย็นเป็นสุข ประเทศไทยมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ข้าราชการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้สังคมเกิดความไว้วางใจ ไม่ใช่สร้างความทุกข์ร้อนใจ ความห่วงใย และความกังวลใจ ความสําเร็จในเรื่องใด ๆ ที่เกิดขึ้นถือเป็นความภาคภูมิใจของเหล่าข้าราชการในองค์กร ไม่ใช่เรื่องของวงศาคณาญาติหรือเรื่องของพวกพ้อง แต่เป็นเรื่องของสถาบันข้าราชการ เป็นเรื่องของแผ่นดินอันมีบุญคุณใหญ่หลวง ข้าราชการไม่หาเสียงหาคะแนนนิยม แต่มองความสําเร็จในเรื่องหนึ่ง ๆ เป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของสมาชิกในองค์กร และบําเพ็ญปฏิบัติเพื่อเกียรติคุณของประเทศชาติ ความเพียร ความซื่อตรง ความเป็นสุภาพชน ความไม่โลภโมโทสัน ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ ของผู้เป็นข้าราชการอันพึงประสงค์ ปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ได้ ความดี ความซื่อตรง ความเพียรของผู้เป็นข้าราชการ ย่อมถือเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความเชื่อมั่นศรัทธาและแซ่ซ้องยินดี”
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12024
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม.พล.อ.ประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2561
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2561 รอง นรม.พล.อ.ประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2561 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบการดําเนินงาน อ.ก.บ.ภ. ภาคกลาง การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปี โดยการบูรณาการแผนโครงการและงบประมาณของส่วนราชการ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่จะดําเนินการตามแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2560-2564 วันนี้ (26 มกราคม 2561) เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบกรอบการดําเนินงาน อ.ก.บ.ภ. ภาคกลาง ปีงบประมาณ 2561 ที่สอดคล้องกับปฏิทินการทํางานของสํานักงบประมาณที่ได้กําหนดหน่วยงานต่าง ๆ จัดทําข้อเสนองบประมาณประจําปี 2562 โดยเสนอสํานักงบประมาณภายในเดือนมกราคม 2561 พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลาง (กรณีกระทบแผน) โดยเห็นควรสนับสนุนโครงการตามคําขอโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจําปี พ.ศ. 2562 ของจังหวัด จํานวน 25 โครงการ เป็นเงิน 75,418,552 บาท และมอบให้ฝ่ายเลขานุการดําเนินการแจ้งเวียนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดรับข้อสังเกตของฝ่ายเลขานุการฯ ไปประกอบการพิจารณา ดําเนินการต่อไป รวมทั้งมีมติเห็นชอบแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) เพื่อกําหนดทิศทางการพัฒนาภาคไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ เพื่อเป็นกรอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบการบูรณาการแผนโครงการและงบประมาณของส่วนราชการ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่จะดําเนินการตามแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564 ในโครงการของส่วนราชการในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร โครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อส่วนราชการจะได้จัดทําคําของบประมาณะายใต้แผนพัฒนาบูรณาการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามปฏิทินงบประมาณของสํานักงบประมาณต่อไป พร้อมมอบกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนกําหนดแผนงานโครงการขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคที่เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรริเริ่มร่วมกันออกแบบโครงการ (project design) ตามแนวทางของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อให้แผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มีความครบถ้วนสมบูรณ์และสามารถบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาฯ บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ***************************** กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม.พล.อ.ประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2561 วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2561 รอง นรม.พล.อ.ประวิตรฯ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2561 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบการดําเนินงาน อ.ก.บ.ภ. ภาคกลาง การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปี โดยการบูรณาการแผนโครงการและงบประมาณของส่วนราชการ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่จะดําเนินการตามแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2560-2564 วันนี้ (26 มกราคม 2561) เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ภาคกลาง ครั้งที่ 1/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบกรอบการดําเนินงาน อ.ก.บ.ภ. ภาคกลาง ปีงบประมาณ 2561 ที่สอดคล้องกับปฏิทินการทํางานของสํานักงบประมาณที่ได้กําหนดหน่วยงานต่าง ๆ จัดทําข้อเสนองบประมาณประจําปี 2562 โดยเสนอสํานักงบประมาณภายในเดือนมกราคม 2561 พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคกลาง (กรณีกระทบแผน) โดยเห็นควรสนับสนุนโครงการตามคําขอโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจําปี พ.ศ. 2562 ของจังหวัด จํานวน 25 โครงการ เป็นเงิน 75,418,552 บาท และมอบให้ฝ่ายเลขานุการดําเนินการแจ้งเวียนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดรับข้อสังเกตของฝ่ายเลขานุการฯ ไปประกอบการพิจารณา ดําเนินการต่อไป รวมทั้งมีมติเห็นชอบแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) เพื่อกําหนดทิศทางการพัฒนาภาคไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ เพื่อเป็นกรอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบการบูรณาการแผนโครงการและงบประมาณของส่วนราชการ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่จะดําเนินการตามแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564 ในโครงการของส่วนราชการในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร โครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อส่วนราชการจะได้จัดทําคําของบประมาณะายใต้แผนพัฒนาบูรณาการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามปฏิทินงบประมาณของสํานักงบประมาณต่อไป พร้อมมอบกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนกําหนดแผนงานโครงการขับเคลื่อนแผนพัฒนาภาคที่เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรริเริ่มร่วมกันออกแบบโครงการ (project design) ตามแนวทางของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อให้แผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มีความครบถ้วนสมบูรณ์และสามารถบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาฯ บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ***************************** กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9642
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม พิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2561 กระทรวงยุติธรรม พิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๑ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๑ โดยมี นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนสํานักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม สําหรับการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้แจ้งเพื่อทราบเกี่ยวกับรายงานผลการดําเนินงาน ของสํานักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา ประจําเดือนตุลาคม ๒๕๖๑ คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ จํานวน ๗ เรื่อง แบ่งเป็น กรณีผู้เสียหาย จํานวน ๓ เรื่อง และกรณีจําเลย จํานวน ๔ เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานตามข้อสั่งการคณะกรรมการ การติดตามผลการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ โดยได้รับรายงานผลการดําเนินงานกลับมา จํานวน ๓๒ ราย รวมถึงได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมาย มาตรการ กลไก เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา การพิจารณาแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย กรณีผู้เสียหายเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีสืบเนื่อง และกรณีพิจารณาอุทธรณ์คําวินิจฉัย นอกจากนี้ ยังได้ร่วมพิจารณาแนวทางการดําเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดตามนโยบายกระทรวงยุติธรรม ที่กําหนดให้การพิจารณาคําขอผู้เสียหายและจําเลยให้แล้วเสร็จภายใน ๒๑ วัน เรื่องหนังสือขอความเป็นธรรมกรณีจําเลย และการแจ้งสิทธิและรับคําขอค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม พิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2561 กระทรวงยุติธรรม พิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๑ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๑ โดยมี นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนสํานักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม สําหรับการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้แจ้งเพื่อทราบเกี่ยวกับรายงานผลการดําเนินงาน ของสํานักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา ประจําเดือนตุลาคม ๒๕๖๑ คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ จํานวน ๗ เรื่อง แบ่งเป็น กรณีผู้เสียหาย จํานวน ๓ เรื่อง และกรณีจําเลย จํานวน ๔ เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานตามข้อสั่งการคณะกรรมการ การติดตามผลการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ โดยได้รับรายงานผลการดําเนินงานกลับมา จํานวน ๓๒ ราย รวมถึงได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมาย มาตรการ กลไก เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา การพิจารณาแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย กรณีผู้เสียหายเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีสืบเนื่อง และกรณีพิจารณาอุทธรณ์คําวินิจฉัย นอกจากนี้ ยังได้ร่วมพิจารณาแนวทางการดําเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดตามนโยบายกระทรวงยุติธรรม ที่กําหนดให้การพิจารณาคําขอผู้เสียหายและจําเลยให้แล้วเสร็จภายใน ๒๑ วัน เรื่องหนังสือขอความเป็นธรรมกรณีจําเลย และการแจ้งสิทธิและรับคําขอค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17207
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการองค์การตลาด และมอบแนวทางการปฏิบัติราชการตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมเยี่ยมชมกิจการขององค์การตลาด สาขาตลิ
วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการดําเนินงานให้แก่คณะกรรมการองค์การตลาด และมอบแนวทางการปฏิบัติราชการตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมเยี่ยมชมกิจการขององค์การตลาด สาขาตลิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการดําเนินงานให้แก่คณะกรรมการองค์การตลาด และมอบแนวทางการปฏิบัติราชการตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมเยี่ยมชมกิจการขององค์การตลาด สาขาตลิ่งชัน วันนี้ (22 ก.พ.61) เวลา 16:00 น. ที่ห้องประชุมองค์การตลาด ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการดําเนินงานให้แก่คณะกรรมการองค์การตลาด และมอบแนวทางการปฏิบัติราชการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย โดยมี นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ประธานกรรมการองค์การตลาด พร้อมด้วยคณะกรรมการองค์การตลาด นายภาณุพล รัตนกาญจนภัทร ผู้อํานวยการองค์การตลาด และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า คณะกรรมการองค์การตลาดเป็นกําลังสําคัญในการนําพาองค์การตลาดไปสู่องค์กรที่มีความเข้มแข็ง มีภารกิจสําคัญในการสร้างประโยชน์สุขให้แก่พี่น้องเกษตรกรเพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ โดยดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาด พ.ศ. 2496 และคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภาคส่วนต่าง ๆ จะต้องนําความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมา ร่วมให้คําแนะนํา ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพการดําเนินงานขององค์การตลาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เป้าหมายสําคัญในการดําเนินการขององค์การตลาด คือ การมุ่งเน้นสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ชุมชน การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เกษตรกร ให้มีความอยู่ดี กินดี ผ่านการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตรในสังกัด ถือเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ จะต้องดําเนินการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เพื่อสามารถขับเคลื่อนภารกิจให้มีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และสร้างเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ได้เยี่ยมชมกิจการขององค์การตลาด สาขาตลิ่งชัน โดยมี คณะผู้บริหารองค์การตลาด และผู้ประกอบการ ร่วมให้การต้อนรับ. ครั้งที่ 39/2561 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร 0-22224131-2
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการองค์การตลาด และมอบแนวทางการปฏิบัติราชการตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมเยี่ยมชมกิจการขององค์การตลาด สาขาตลิ วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการดําเนินงานให้แก่คณะกรรมการองค์การตลาด และมอบแนวทางการปฏิบัติราชการตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมเยี่ยมชมกิจการขององค์การตลาด สาขาตลิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการดําเนินงานให้แก่คณะกรรมการองค์การตลาด และมอบแนวทางการปฏิบัติราชการตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมเยี่ยมชมกิจการขององค์การตลาด สาขาตลิ่งชัน วันนี้ (22 ก.พ.61) เวลา 16:00 น. ที่ห้องประชุมองค์การตลาด ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการดําเนินงานให้แก่คณะกรรมการองค์การตลาด และมอบแนวทางการปฏิบัติราชการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย โดยมี นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ประธานกรรมการองค์การตลาด พร้อมด้วยคณะกรรมการองค์การตลาด นายภาณุพล รัตนกาญจนภัทร ผู้อํานวยการองค์การตลาด และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า คณะกรรมการองค์การตลาดเป็นกําลังสําคัญในการนําพาองค์การตลาดไปสู่องค์กรที่มีความเข้มแข็ง มีภารกิจสําคัญในการสร้างประโยชน์สุขให้แก่พี่น้องเกษตรกรเพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ โดยดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาด พ.ศ. 2496 และคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภาคส่วนต่าง ๆ จะต้องนําความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมา ร่วมให้คําแนะนํา ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพการดําเนินงานขององค์การตลาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เป้าหมายสําคัญในการดําเนินการขององค์การตลาด คือ การมุ่งเน้นสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ชุมชน การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เกษตรกร ให้มีความอยู่ดี กินดี ผ่านการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตรในสังกัด ถือเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ จะต้องดําเนินการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เพื่อสามารถขับเคลื่อนภารกิจให้มีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และสร้างเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ได้เยี่ยมชมกิจการขององค์การตลาด สาขาตลิ่งชัน โดยมี คณะผู้บริหารองค์การตลาด และผู้ประกอบการ ร่วมให้การต้อนรับ. ครั้งที่ 39/2561 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร 0-22224131-2
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10299