title
stringlengths
0
33.4k
context
stringlengths
0
133k
raw
stringlengths
39
133k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ สนับสนุนการใช้มาตรการทำงานจากที่บ้าน Work from home ในช่วงวิกฤติการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2563 ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ สนับสนุนการใช้มาตรการทํางานจากที่บ้าน Work from home ในช่วงวิกฤติการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ สนับสนุนการใช้มาตรการทํางานจากที่บ้าน Work from home ในช่วงวิกฤติการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้ให้เกียรติสัมภาษณ์พิเศษ กับ ทางรายการ “ข่าวเย็น25” ช่อง GMM25 โดยคุณนพขวัญ นาคนวล (จุ๋ม ปอยเด้ง) เกี่ยวกับการสนับสนุนให้บุคลากรทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทํางานจากบ้าน (Work from home) ตามมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ภายในประเทศ เพื่อให้สามารถทํางานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยคํานึงถึงคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จึงได้ดําเนินการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐทํางานจากบ้าน (Work from Home) โดยครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ 1. การให้บริการ Work from Home (WFH) สําหรับหน่วยงานรัฐ 2. การจัดการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ 3. การเตรียมการรองรับการจัดประชุมทางไกลออนไลน์ (Web Conference) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 ณ สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชั้น 8 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ *******************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ สนับสนุนการใช้มาตรการทำงานจากที่บ้าน Work from home ในช่วงวิกฤติการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2563 ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ สนับสนุนการใช้มาตรการทํางานจากที่บ้าน Work from home ในช่วงวิกฤติการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ สนับสนุนการใช้มาตรการทํางานจากที่บ้าน Work from home ในช่วงวิกฤติการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้ให้เกียรติสัมภาษณ์พิเศษ กับ ทางรายการ “ข่าวเย็น25” ช่อง GMM25 โดยคุณนพขวัญ นาคนวล (จุ๋ม ปอยเด้ง) เกี่ยวกับการสนับสนุนให้บุคลากรทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทํางานจากบ้าน (Work from home) ตามมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ภายในประเทศ เพื่อให้สามารถทํางานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยคํานึงถึงคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จึงได้ดําเนินการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐทํางานจากบ้าน (Work from Home) โดยครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ 1. การให้บริการ Work from Home (WFH) สําหรับหน่วยงานรัฐ 2. การจัดการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ 3. การเตรียมการรองรับการจัดประชุมทางไกลออนไลน์ (Web Conference) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 ณ สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชั้น 8 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ *******************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28206
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วันธรรมสวนะ (วันพระ) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2560 วันธรรมสวนะ (วันพระ) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วันธรรมสวนะ (วันพระ) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ตรงกับวันธรรมสวนะ (วันพระ) เเรม ๘ ค่ํา เดือน ๔ เวลา ๐๙.๓๐ น. พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดร.พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม นายปรารพ เหล่าวานิช เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานภาครัฐเเละเอกชน สื่อมวลชน ผู้บริหาร เเละเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา เข้าร่วมสวดมนต์ทําวัตรเช้า ฟังพระธรรม โดยมี พระเทพวีราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานสงฆ์ เเละ พระครูวินัยธร กิตติศักดิ์ โคตมสิสฺโส เป็นองค์แสดงพระธรรมเทศนา ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ฟื้นฟูโครงการเข้าวัดปฎิบัติธรรมวันธรรมสวนะขึ้น โดยได้ตระหนักถึงความต้องการของพุทธศาสนิกชนที่ต้องการเข้าวัดปฎิบัติธรรมในวันธรรมสวนะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ได้รับฟังเเละน้อมนําหลักธรรมคําสอนของพระพุทธศาสนามากล่อมเกลาจิตใจ นํามาปรับใช้ในการดํารงชีวิตประจําวัน และร่วมรณรงค์ให้ประชาชน นุ่งขาว รักษาศีล ๕ ทุกวันพระ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วันธรรมสวนะ (วันพระ) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2560 วันธรรมสวนะ (วันพระ) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วันธรรมสวนะ (วันพระ) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ตรงกับวันธรรมสวนะ (วันพระ) เเรม ๘ ค่ํา เดือน ๔ เวลา ๐๙.๓๐ น. พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดร.พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม นายปรารพ เหล่าวานิช เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานภาครัฐเเละเอกชน สื่อมวลชน ผู้บริหาร เเละเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา เข้าร่วมสวดมนต์ทําวัตรเช้า ฟังพระธรรม โดยมี พระเทพวีราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานสงฆ์ เเละ พระครูวินัยธร กิตติศักดิ์ โคตมสิสฺโส เป็นองค์แสดงพระธรรมเทศนา ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ฟื้นฟูโครงการเข้าวัดปฎิบัติธรรมวันธรรมสวนะขึ้น โดยได้ตระหนักถึงความต้องการของพุทธศาสนิกชนที่ต้องการเข้าวัดปฎิบัติธรรมในวันธรรมสวนะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ได้รับฟังเเละน้อมนําหลักธรรมคําสอนของพระพุทธศาสนามากล่อมเกลาจิตใจ นํามาปรับใช้ในการดํารงชีวิตประจําวัน และร่วมรณรงค์ให้ประชาชน นุ่งขาว รักษาศีล ๕ ทุกวันพระ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2541
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯ วรวรรณ เป็นประธานการประชุม“คณะทำงานพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่” ระหว่างกระทรวงอุตฯ และ ส.อ.ท. เพื่อชงเข้าคณะกรรมการอำนวยการฯ ชุดใหญ่พิจารณา
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 รองปลัดฯ วรวรรณ เป็นประธานการประชุม“คณะทํางานพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่” ระหว่างกระทรวงอุตฯ และ ส.อ.ท. เพื่อชงเข้าคณะกรรมการอํานวยการฯ ชุดใหญ่พิจารณา นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะทํางานพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ ครั้งที่ 1/2563 ร่วมกับ คณะทํางานฝั่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ อาคาร สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ (17 ก.พ.63) ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ อาคาร สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะทํางานพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ ครั้งที่ 1/2563 ร่วมกับ คณะทํางานฝั่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นําโดย นายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธาน ส.อ.ท. เพื่อติดตามความก้าวหน้าของ 9 โครงการใน 5 ภูมิภาค ซึ่งได้รับการอนุมัติตามมติ ค.ร.ม.สัญจรที่ผ่านมา พร้อมข้อเสนอของคณะทํางานฯ เกี่ยวกับแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ ซึ่งจะนําเสนอในการประชุมคณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ต่อไป โดยผู้แทนฝั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย นายบรรจง สุกรีฑา ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายธนะ อัลภาชน์ รองเลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย มีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนฝั่ง ส.อ.ท. มีนายณรงค์ฤทธิ์ พาณิชชีวะ กรรมการ ส.อ.ท. ร่วมประชุม ทั้งนี้ อก. และ ส.อ.ท. ได้ตั้ง คณะกรรมการและคณะทํางานชุดต่างๆ รวม 5 ชุด เพื่อขับเคลื่อน/กระตุ้นเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยคณะทํางานอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ อยู่ในชุดที่ 5
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯ วรวรรณ เป็นประธานการประชุม“คณะทำงานพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่” ระหว่างกระทรวงอุตฯ และ ส.อ.ท. เพื่อชงเข้าคณะกรรมการอำนวยการฯ ชุดใหญ่พิจารณา วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 รองปลัดฯ วรวรรณ เป็นประธานการประชุม“คณะทํางานพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่” ระหว่างกระทรวงอุตฯ และ ส.อ.ท. เพื่อชงเข้าคณะกรรมการอํานวยการฯ ชุดใหญ่พิจารณา นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะทํางานพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ ครั้งที่ 1/2563 ร่วมกับ คณะทํางานฝั่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ อาคาร สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ (17 ก.พ.63) ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ อาคาร สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะทํางานพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ ครั้งที่ 1/2563 ร่วมกับ คณะทํางานฝั่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นําโดย นายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธาน ส.อ.ท. เพื่อติดตามความก้าวหน้าของ 9 โครงการใน 5 ภูมิภาค ซึ่งได้รับการอนุมัติตามมติ ค.ร.ม.สัญจรที่ผ่านมา พร้อมข้อเสนอของคณะทํางานฯ เกี่ยวกับแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ ซึ่งจะนําเสนอในการประชุมคณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ต่อไป โดยผู้แทนฝั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย นายบรรจง สุกรีฑา ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายธนะ อัลภาชน์ รองเลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย มีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนฝั่ง ส.อ.ท. มีนายณรงค์ฤทธิ์ พาณิชชีวะ กรรมการ ส.อ.ท. ร่วมประชุม ทั้งนี้ อก. และ ส.อ.ท. ได้ตั้ง คณะกรรมการและคณะทํางานชุดต่างๆ รวม 5 ชุด เพื่อขับเคลื่อน/กระตุ้นเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยคณะทํางานอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ อยู่ในชุดที่ 5
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พล.อ.อ. ประจินฯ ติดตามการปฏิรูปการทำงานและคดีสำคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจ
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561 พล.อ.อ. ประจินฯ ติดตามการปฏิรูปการทํางานและคดีสําคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจ การประชุมร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อติดตามผลการปฏิรูปการทํางานเกี่ยวกับความคืบหน้าคดีสําคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อติดตามผลการปฏิรูปการทํางานเกี่ยวกับความคืบหน้าคดีสําคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจ โดยมี พล.ต.ท.วรศักดิ์ นพสิทธิพร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีนายพงศธร สัจจชลพันธ์ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม พลตํารวจเอก เรืองศักดิ์ จริตเอก ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลอากาศโท นวรัตน์ มังคลา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พันตํารวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และนายวัลลภ นาคบัว ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการยุติธรรม พร้อมด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกรมสอบสวนคดีพิเศษ ชั้น ๑ อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร พล.อ.อ.ประจินฯ กล่าวว่า ได้มอบนโยบายสําคัญให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ปฏิรูปการปฏิบัติงาน ๓ ด้าน คือ ๑) ด้านเร่งรัดคดีพิเศษ โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษต้องมีมาตรการในการควบคุม เร่งรัด และตรวจสอบการดําเนินคดีพิเศษให้มีความรวดเร็ว โปร่งใส และอํานวยความยุติธรรมตามกฎหมาย ๒) ด้านการพิจารณารับคดีพิเศษ ต้องทําให้มีความชัดเจนไม่ซ้ําซ้อนกับหน่วยงานอื่น ในการดําเนินคดีพิเศษต้องทํางานแบบสหวิชาชีพ และอํานวยความยุติธรรมคดีอาญาอื่นด้วยเพื่อลดความเหลื่อมล้ําตามนโยบายรัฐบาล และ ๓) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน โดยเน้นการใช้เครื่องมือพิเศษในการทํางาน การพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน รวมทั้งเน้นการทํางานโดยบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งนี้ ได้เน้นย้ําเกี่ยวกับการทํางานโดยต้องช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้เกิดความยุติธรรม ภายใต้นโยบายที่ต้องดําเนินงานอํานวยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ํา ขจัดความทุกข์ยาก ซึ่งที่ผ่านมาพอใจกับการดําเนินงานของดีเอสไอ และหวังว่าจะตอบโจทย์ตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป นอกจากนี้ยังติดตามความคืบหน้ากลุ่มคดีสําคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจเกี่ยวกับคดีต่างๆ อาทิ คดีการค้ามนุษย์ของสถานบริการวิคตอเรีย ซีเครต คดีการฟอกเงินของกลุ่มกฤษฎามหานคร คดีการฟอกเงินเกี่ยวกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น คดีกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตภายในสหกรณ์สโมสรการรถไฟแห่งประเทศไทย คดีกล่าวหาสหกรณ์วิเศษชัยชาญ จํากัด กระทําผิดอาญาเกี่ยวกับการเสนอราคาจัดหาอาหารดิบให้ผู้ต้องขังในเรือนจํา คดีรถยนต์จดประกอบโดยหลีกเลี่ยงภาษีและรถยนต์ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสําแดงราคาต่ํากว่าความเป็นจริง รวมถึงคดีเกี่ยวกับการทุจริตการประมูลของทางราชการ (e-bidding) เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้รับฟังปัญหาอุปสรรค และข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้ง ได้เน้นย้ําให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าวให้เกิดความโปร่งใสและอํานวยความยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและดําเนินการให้เสร็จโดยเร็ว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พล.อ.อ. ประจินฯ ติดตามการปฏิรูปการทำงานและคดีสำคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจ วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561 พล.อ.อ. ประจินฯ ติดตามการปฏิรูปการทํางานและคดีสําคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจ การประชุมร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อติดตามผลการปฏิรูปการทํางานเกี่ยวกับความคืบหน้าคดีสําคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อติดตามผลการปฏิรูปการทํางานเกี่ยวกับความคืบหน้าคดีสําคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจ โดยมี พล.ต.ท.วรศักดิ์ นพสิทธิพร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีนายพงศธร สัจจชลพันธ์ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงยุติธรรม พลตํารวจเอก เรืองศักดิ์ จริตเอก ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลอากาศโท นวรัตน์ มังคลา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พันตํารวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และนายวัลลภ นาคบัว ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการยุติธรรม พร้อมด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกรมสอบสวนคดีพิเศษ ชั้น ๑ อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร พล.อ.อ.ประจินฯ กล่าวว่า ได้มอบนโยบายสําคัญให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ปฏิรูปการปฏิบัติงาน ๓ ด้าน คือ ๑) ด้านเร่งรัดคดีพิเศษ โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษต้องมีมาตรการในการควบคุม เร่งรัด และตรวจสอบการดําเนินคดีพิเศษให้มีความรวดเร็ว โปร่งใส และอํานวยความยุติธรรมตามกฎหมาย ๒) ด้านการพิจารณารับคดีพิเศษ ต้องทําให้มีความชัดเจนไม่ซ้ําซ้อนกับหน่วยงานอื่น ในการดําเนินคดีพิเศษต้องทํางานแบบสหวิชาชีพ และอํานวยความยุติธรรมคดีอาญาอื่นด้วยเพื่อลดความเหลื่อมล้ําตามนโยบายรัฐบาล และ ๓) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน โดยเน้นการใช้เครื่องมือพิเศษในการทํางาน การพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน รวมทั้งเน้นการทํางานโดยบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งนี้ ได้เน้นย้ําเกี่ยวกับการทํางานโดยต้องช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้เกิดความยุติธรรม ภายใต้นโยบายที่ต้องดําเนินงานอํานวยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ํา ขจัดความทุกข์ยาก ซึ่งที่ผ่านมาพอใจกับการดําเนินงานของดีเอสไอ และหวังว่าจะตอบโจทย์ตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป นอกจากนี้ยังติดตามความคืบหน้ากลุ่มคดีสําคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจเกี่ยวกับคดีต่างๆ อาทิ คดีการค้ามนุษย์ของสถานบริการวิคตอเรีย ซีเครต คดีการฟอกเงินของกลุ่มกฤษฎามหานคร คดีการฟอกเงินเกี่ยวกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น คดีกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตภายในสหกรณ์สโมสรการรถไฟแห่งประเทศไทย คดีกล่าวหาสหกรณ์วิเศษชัยชาญ จํากัด กระทําผิดอาญาเกี่ยวกับการเสนอราคาจัดหาอาหารดิบให้ผู้ต้องขังในเรือนจํา คดีรถยนต์จดประกอบโดยหลีกเลี่ยงภาษีและรถยนต์ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสําแดงราคาต่ํากว่าความเป็นจริง รวมถึงคดีเกี่ยวกับการทุจริตการประมูลของทางราชการ (e-bidding) เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้รับฟังปัญหาอุปสรรค และข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้ง ได้เน้นย้ําให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าวให้เกิดความโปร่งใสและอํานวยความยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและดําเนินการให้เสร็จโดยเร็ว
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11044
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คกก. นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สนับสนุนการลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์
วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2562 คกก. นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สนับสนุนการลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติเห็นชอบใช้มาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับเข้มข้น ทั้งด้านการบังคับใช้กฎหมาย สังคมและชุมชน และบําบัดรักษา เพื่อสนับสนุนการควบคุมและลดปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติเห็นชอบใช้มาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับเข้มข้น ทั้งด้านการบังคับใช้กฎหมาย สังคมและชุมชน และบําบัดรักษา เพื่อสนับสนุนการควบคุมและลดปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันนี้ (15 มีนาคม 2562) ที่สถาบันบําราศนราดูร กรมควบคุมโรค จังหวัดนนทบุรี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2562 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เข้าร่วมประชุม และให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสนับสนุนการควบคุมและลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2562 โดยมีมาตรการควบคุม 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบังคับใช้กฎหมายให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติ หน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด บูรณาการการดําเนินงานตามกฎหมาย โดยเน้นเรื่องการจําหน่ายในเวลาที่กฎหมายกําหนด รวมถึงจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจร่วมดําเนินการกับศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนนทุกจังหวัด เน้นการแยกผู้ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ให้ขับขี่ยานพาหนะ 2) มาตรการด้านสังคมและชุมชน ให้สมาชิกในครอบครัวตักเตือนและเฝ้าระวังคนในครอบครัวเพื่อป้องกันการสูญเสียจากการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงให้ผู้นําชุมชน ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ “เคาะประตูบ้าน” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องการขาย/การดื่มแอลกอฮอล์ ป้องกันการเมาแล้วขับ การทะเลาะวิวาท ควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาจนําไปสู่การสูญเสีย 3) ด้านการบําบัดรักษา ให้กรมคุมประพฤติ ดําเนินการตามคัดกรองและส่งต่อเพื่อบําบัดรักษา ยังโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยให้กรมควบคุมโรค รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบําบัดรักษาดังกล่าว และติดตาม ประเมินผลการดําเนินงาน รายงานให้คณะกรรมการฯ ทราบมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ดําเนินการในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา สามารถลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะดําเนินการต่อในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการขายเกินเวลา ขายให้เด็กอายุต่ํากว่า 20ปี ซึ่งทําให้เยาวชนที่อายุไม่ถึง 20 ปีมีการบาดเจ็บค่อนข้างมาก รวมทั้งกวดขันการจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อยู่ในเขตโซนนิ่งเล่นน้ําสงกรานต์ ส่วนรถเข็นขายแอลกอฮอล์ในบริเวณงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย จะทําหนังสือขอผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมสรรพสามิตดําเนินการต่อไป “สําหรับประเด็นการงดจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่ 13 เมษายน ที่ประชุมมีมติให้จัดประชุมเรื่องนี้เป็นวาระพิเศษ ในอีก 2 สัปดาห์ โดยให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน ในการลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติพิจารณาต่อไป” ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกลกล่าว ***************************************** 15 มีนาคม 2562 *******************************************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คกก. นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สนับสนุนการลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2562 คกก. นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สนับสนุนการลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติเห็นชอบใช้มาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับเข้มข้น ทั้งด้านการบังคับใช้กฎหมาย สังคมและชุมชน และบําบัดรักษา เพื่อสนับสนุนการควบคุมและลดปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติเห็นชอบใช้มาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับเข้มข้น ทั้งด้านการบังคับใช้กฎหมาย สังคมและชุมชน และบําบัดรักษา เพื่อสนับสนุนการควบคุมและลดปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันนี้ (15 มีนาคม 2562) ที่สถาบันบําราศนราดูร กรมควบคุมโรค จังหวัดนนทบุรี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2562 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เข้าร่วมประชุม และให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสนับสนุนการควบคุมและลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2562 โดยมีมาตรการควบคุม 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบังคับใช้กฎหมายให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติ หน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด บูรณาการการดําเนินงานตามกฎหมาย โดยเน้นเรื่องการจําหน่ายในเวลาที่กฎหมายกําหนด รวมถึงจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจร่วมดําเนินการกับศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนนทุกจังหวัด เน้นการแยกผู้ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ให้ขับขี่ยานพาหนะ 2) มาตรการด้านสังคมและชุมชน ให้สมาชิกในครอบครัวตักเตือนและเฝ้าระวังคนในครอบครัวเพื่อป้องกันการสูญเสียจากการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงให้ผู้นําชุมชน ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ “เคาะประตูบ้าน” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องการขาย/การดื่มแอลกอฮอล์ ป้องกันการเมาแล้วขับ การทะเลาะวิวาท ควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาจนําไปสู่การสูญเสีย 3) ด้านการบําบัดรักษา ให้กรมคุมประพฤติ ดําเนินการตามคัดกรองและส่งต่อเพื่อบําบัดรักษา ยังโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยให้กรมควบคุมโรค รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบําบัดรักษาดังกล่าว และติดตาม ประเมินผลการดําเนินงาน รายงานให้คณะกรรมการฯ ทราบมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ดําเนินการในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา สามารถลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะดําเนินการต่อในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการขายเกินเวลา ขายให้เด็กอายุต่ํากว่า 20ปี ซึ่งทําให้เยาวชนที่อายุไม่ถึง 20 ปีมีการบาดเจ็บค่อนข้างมาก รวมทั้งกวดขันการจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อยู่ในเขตโซนนิ่งเล่นน้ําสงกรานต์ ส่วนรถเข็นขายแอลกอฮอล์ในบริเวณงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย จะทําหนังสือขอผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมสรรพสามิตดําเนินการต่อไป “สําหรับประเด็นการงดจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่ 13 เมษายน ที่ประชุมมีมติให้จัดประชุมเรื่องนี้เป็นวาระพิเศษ ในอีก 2 สัปดาห์ โดยให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน ในการลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติพิจารณาต่อไป” ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกลกล่าว ***************************************** 15 มีนาคม 2562 *******************************************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19378
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.แรงงาน ร่วมเปิดแข่งขันฝีมือคนพิการ ครั้งที่ 8 พัฒนาฝีมือคนพิการให้มีมาตรฐาน ก้าวเข้าสู่การทำงานอย่างมั่นคง
วันพุธที่ 26 เมษายน 2560 รมว.แรงงาน ร่วมเปิดแข่งขันฝีมือคนพิการ ครั้งที่ 8 พัฒนาฝีมือคนพิการให้มีมาตรฐาน ก้าวเข้าสู่การทํางานอย่างมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 8 สนับสนุนให้คนพิการได้มีการพัฒนาฝีมือให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสังคม สามารถก้าวเข้าสู่การทํางานอย่างมั่นคง พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เฝ้ารับเสด็จและกล่าวรายงานต่อ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ องค์ประธาน พิธีเปิดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ณ อาคาร 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วันนี้ (26 เม.ย. 60) โดยการแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30-31 สิงหาคม 2546 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) จากนั้นคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 อนุมัติให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ จัดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ 2 ปีต่อ 1 ครั้ง สําหรับครั้งนี้เป็นการแข่งขันครั้งที่ 8 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2560 ณ อาคาร 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้แสดงความสามารถ และสนับสนุนให้คนพิการ ได้พัฒนาฝีมือให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสังคม สามารถก้าวเข้าสู่การทํางานที่มั่นคง มีผู้เข้าร่วมประชันฝีมือจํานวน 209 คน ใน 20 สาขา ซึ่งแต่ละสาขาจะมีผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่ 8-14 คน แข่งวันละ 10 สาขา โดยวันที่ 26 เมษายน ประกอบด้วย สาขา ระบายสีบนผ้าไหม สาขาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ สาขาสานตะกร้า สาขาประดิษฐสิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ระดับพื้นฐาน สาขาออกแบบสิ่งพิมพ์ สาขาออกแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สาขาออกแบบเว็บเพจ และสาขา ถักโครเชต์ ส่วนวันที่ 27 เมษายน แข่งขันอีก 10 สาขาประกอบด้วย สาขาวาดภาพระบายสี สาขาประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ระดับพื้นฐาน สาขาเย็บปักถักร้อย สาขาประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา สาขาออกแบบคาแรคเตอร์ สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ สาขาออกแบบโปสเตอร์ สาขาออกแบบเพื่องานอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สาขาพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด และสาขาถักนิตติ้ง วันที่ 28 เมษายน จะเป็นวันประกาศผลผู้ชนะการแข่งขันในแต่ละสาขา พร้อมมอบเหรียญรางวัล ใบประกาศเกีรติบัตรและเงินรางวัล ผู้ชนะเลิศระดับเหรียญทอง จะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท เหรียญเงิน 15,000 บาท เหรียญทองแดง 9,000 บาท และรางวัลชมเชย 3,000 บาท ภายในงาน ยังมีการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับพระราชกรณียกิจด้านคนพิการ การจัดแสดงสินค้าจําหน่าย ซึ่งเป็นผลงานของคนพิการ กิจกรรมสอนอาชีพคนพิการ อาทิ การทําเดคูพาจ การร้อยลูกปัด การจัดทําดอกไม้ประดิษฐ การจัดสานกระเป๋า การเย็บปักถักร้อย กิจกรรมสอนภาษามือ และกิจกรรมการแสดงความสามารถของคนพิการ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสันทนาการเพื่อให้ผู้ร่วมงานได้ร่วมกิจกรรมอีกมากมาย จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ เข้าร่วมชมกิจกรรมและร่วมเป็นกําลังใจแก่ผู้เข้าแข่งขันในครั้งนี้ด้วย +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร ข่าว/สมภพ ศีลบุตร ภาพ /กองสื่อสารองค์กร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ข้อมูล/26 เมษายน 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.แรงงาน ร่วมเปิดแข่งขันฝีมือคนพิการ ครั้งที่ 8 พัฒนาฝีมือคนพิการให้มีมาตรฐาน ก้าวเข้าสู่การทำงานอย่างมั่นคง วันพุธที่ 26 เมษายน 2560 รมว.แรงงาน ร่วมเปิดแข่งขันฝีมือคนพิการ ครั้งที่ 8 พัฒนาฝีมือคนพิการให้มีมาตรฐาน ก้าวเข้าสู่การทํางานอย่างมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 8 สนับสนุนให้คนพิการได้มีการพัฒนาฝีมือให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสังคม สามารถก้าวเข้าสู่การทํางานอย่างมั่นคง พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เฝ้ารับเสด็จและกล่าวรายงานต่อ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ องค์ประธาน พิธีเปิดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ณ อาคาร 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วันนี้ (26 เม.ย. 60) โดยการแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30-31 สิงหาคม 2546 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) จากนั้นคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 อนุมัติให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ จัดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ 2 ปีต่อ 1 ครั้ง สําหรับครั้งนี้เป็นการแข่งขันครั้งที่ 8 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2560 ณ อาคาร 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้แสดงความสามารถ และสนับสนุนให้คนพิการ ได้พัฒนาฝีมือให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสังคม สามารถก้าวเข้าสู่การทํางานที่มั่นคง มีผู้เข้าร่วมประชันฝีมือจํานวน 209 คน ใน 20 สาขา ซึ่งแต่ละสาขาจะมีผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่ 8-14 คน แข่งวันละ 10 สาขา โดยวันที่ 26 เมษายน ประกอบด้วย สาขา ระบายสีบนผ้าไหม สาขาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ สาขาสานตะกร้า สาขาประดิษฐสิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ระดับพื้นฐาน สาขาออกแบบสิ่งพิมพ์ สาขาออกแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สาขาออกแบบเว็บเพจ และสาขา ถักโครเชต์ ส่วนวันที่ 27 เมษายน แข่งขันอีก 10 สาขาประกอบด้วย สาขาวาดภาพระบายสี สาขาประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ระดับพื้นฐาน สาขาเย็บปักถักร้อย สาขาประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา สาขาออกแบบคาแรคเตอร์ สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ สาขาออกแบบโปสเตอร์ สาขาออกแบบเพื่องานอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สาขาพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด และสาขาถักนิตติ้ง วันที่ 28 เมษายน จะเป็นวันประกาศผลผู้ชนะการแข่งขันในแต่ละสาขา พร้อมมอบเหรียญรางวัล ใบประกาศเกีรติบัตรและเงินรางวัล ผู้ชนะเลิศระดับเหรียญทอง จะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท เหรียญเงิน 15,000 บาท เหรียญทองแดง 9,000 บาท และรางวัลชมเชย 3,000 บาท ภายในงาน ยังมีการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับพระราชกรณียกิจด้านคนพิการ การจัดแสดงสินค้าจําหน่าย ซึ่งเป็นผลงานของคนพิการ กิจกรรมสอนอาชีพคนพิการ อาทิ การทําเดคูพาจ การร้อยลูกปัด การจัดทําดอกไม้ประดิษฐ การจัดสานกระเป๋า การเย็บปักถักร้อย กิจกรรมสอนภาษามือ และกิจกรรมการแสดงความสามารถของคนพิการ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสันทนาการเพื่อให้ผู้ร่วมงานได้ร่วมกิจกรรมอีกมากมาย จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ เข้าร่วมชมกิจกรรมและร่วมเป็นกําลังใจแก่ผู้เข้าแข่งขันในครั้งนี้ด้วย +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร ข่าว/สมภพ ศีลบุตร ภาพ /กองสื่อสารองค์กร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ข้อมูล/26 เมษายน 2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3313
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.อุดรฯ เร่งจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2562 รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.อุดรฯ เร่งจัดทําแผนบริหารจัดการน้ําแบบบูรณาการ รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.อุดรฯ เร่งจัดทําแผนบริหารจัดการน้ําแบบบูรณาการ ลดความเสียหายน้ําท่วมน้ําแล้ง พร้อมเดินหน้าแผนพัฒนาลุ่มน้ําเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ําให้มากที่สุด นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี โดยรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ําและการบริหารจัดการน้ํา รวมทั้งสรุปโครงการพัฒนาลุ่มน้ําห้วยหลวงตอนล่าง โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาห้วยหลวง อ่างเก็บน้ําห้วยหลวง ต.โคกสะอาด อ.เมือง จ.อุดรธานีก่อนเดินตรวจระดับน้ําบริเวณสันเขื่อน จากนั้นพบปะและเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์จากกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และ Young Smart Farmer นายเฉลิมชัย กล่าวว่า สถานการณ์น้ําในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขณะนี้อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น เนื่องจากในหลายพื้นที่มีฝนตกหนัก ทําให้มีปริมาณน้ําในอ่างฯ เพิ่มขึ้น อีกทั้งจากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า วันที่ 29 ส.ค. – 1 ก.ย. 62 ฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน จากนั้นภาคเหนือและภาคอื่นๆ จะมีผลกระทบในระยะต่อไป ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โพดุล” ที่เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ทําให้มีฝนตกมากขึ้น ทําให้จังหวัดที่ประสบภัยแล้งมานานมีสัญญานที่ดีขึ้น อาทิ โคราช สุรินทร์ บุรีรัมย์ เป็นต้น มีน้ําใช้อุปโภค-บริโภค ได้เพียงพอ นอกจากนี้ได้สั่งการให้กรมชลประทานจัดทําแผนบริหารจัดการน้ําแบบบูรณาการในทุกเขื่อน เพื่อวางแผนจัดการน้ําแก้ปัญหาน้ําท่วม น้ําแล้งเพราะภัยธรรมชาติต้องวางแผนคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อลดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อประชาชนจะมีน้ําอุปโภค บริโภคไม่ขาด ในส่วนของน้ําเพื่อการเกษตรต้องรอดูปลายฤดูว่ามีปริมาณฝนตกมากน้อยแค่ไหน หากมีน้อยจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบและขอความร่วมมือเพาะปลูกพืชบางชนิด โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจะเข้าไปดูแลและช่วยแนะนํา ทั้งนี้ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาเกิดน้ําท่วมฉับพลัน กรมชลประทานจึงร่วมกับจังหวัดในการติดตั้งเครื่องสูบน้ํา เพื่อเร่งระบายน้ําออกให้ไวที่สุด อย่างไรก็ตามต้องขอความร่วมมือประชาชนขอให้อํานวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ด้วย นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า สําหรับ โครงการอ่างเก็บน้ําห้วยหลวงต.โคกสะอาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เกิดจากการขยายตัวของเมืองและจํานวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับแหล่งน้ําที่มีอยู่ไม่เพียงพอ จึงได้ดําเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําห้วยหลวง สําหรับเป็นแหล่งน้ําต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่อําเภอเมืองอุดรธานี และส่งน้ําให้พื้นที่การเกษตรต่างๆ สามารถเก็บกักน้ําได้สูงสุด 135.57 ล้าน ลบ.ม. มีระบบคลองส่งน้ําสายใหญ่ฝั่งขวาและฝั่งซ้าย ฝั่งละ 1 สาย สําหรับใช้ส่งน้ําเพื่อการอุปโภคและการเกษตรอีกทั้งได้ให้กรมชลประทานเดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ําให้มีมากขึ้นในพื้นที่ และบริหารจัดการน้ําที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อความต้องการของราษฎรในพื้นที่ โดยเน้นให้ทํางานเชิงรุก บูรณาการการทํางานร่วมกัน ยึดหลักบําบัดทุกข์บํารุงสุขบรรเทาปัญหาให้ราษฎรเป็นหลัก อีกทั้งหวังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์น้ําของจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่จํานวน 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ําห้วยหลวง มีปริมาณน้ํา 44 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 32 ของความจุอ่าง เป็นน้ําใช้การได้ 37.41 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ําขนาดกลาง 17 แห่ง มีปริมาณน้ํา 79 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 78 ของความจุอ่าง เป็นน้ําใช้การได้ 69 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ําขนาดเล็กอีก 24 แห่ง มีปริมาณน้ํารวมกันประมาณ 6 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่าง สําหรับแผนการบริหารจัดการน้ําของเขื่อนห้วยหลวง ปัจจุบันมีปริมาณน้ําต้นทุนสําหรับฤดูแล้งปี 2562/63 ช่วงระหว่างเดือน พ.ย. 62 ถึง เดือนเม.ย. 63 ประมาณ 28 ล้าน ลบ.ม. ได้จัดทําแผนจัดสรรน้ําฤดูแล้งปี 62/63 โดยแบ่งเป็นน้ําเพื่อการอุบโภคบริโภคประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร และรักษาระบบนิเวศประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ได้มีแผนสํารองน้ําต้นฤดูฝนปี 2563 ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนกรกฎาคม 63 ประมาณ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร ดร.ทองเปลว กล่าวต่อว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 ให้ดําเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ําห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย กําหนดแผนการดําเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 9 ปี (ตั้งแต่ปี 2561 – 2569) ในวงเงินทั้งสิน 21,000 ล้านบาท โดยโครงการประกอบไปด้วย สถานีสูบน้ําบ้านแดนเมือง มีอัตราการสูบน้ํารวม 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พนังกั้นน้ําความยาว 47.02 กิโลเมตร ประตูระบายน้ําตามลําน้ําสาขา จํานวน 12 แห่ง ประตูระบายน้ําในลําห้วยหลวง จํานวน 3 แห่ง ระบบกระจายน้ําในพื้นที่กว่า 315,195 ไร่ ระบบควบคุมอุทกภัยแบบอัจฉริยะ (Smart Flood Control System) หากดําเนินโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะสามารถบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ได้จากเดิม 90,000 ไร่ ลดลงเป็น 54,390 ไร่ ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งโดยการเพิ่มปริมาณน้ําต้นทุนกว่า 245.87 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน 315,195 ไร่ และในฤดูแล้ง 250,000 ไร่ และส่งน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคให้ราษฎรกว่า 29,835 ครัวเรือน 284 หมู่บ้าน 37 ตําบล 7 อําเภอ 2 จังหวัด ทั้งนี้ปัจจุบันมีผลการดําเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าว ดังนี้ สถานีสูบน้ําและอาคารผลการดําเนินงานร้อยละ 1.86 ของแผนงาน ประตูระบายน้ําห้วยปากโพง ผลการดําเนินงานร้อยละ 44.32 ของแผนงาน ประตูระบายน้ําหนองผักไหมล่าง ผลการดําเนินงานร้อยละ 45.32 ของแผนงาน และพนังกั้นน้ําบ้านท่าแสนสุข ผลการดําเนินงานร้อยละ 90.50 ของแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.อุดรฯ เร่งจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2562 รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.อุดรฯ เร่งจัดทําแผนบริหารจัดการน้ําแบบบูรณาการ รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.อุดรฯ เร่งจัดทําแผนบริหารจัดการน้ําแบบบูรณาการ ลดความเสียหายน้ําท่วมน้ําแล้ง พร้อมเดินหน้าแผนพัฒนาลุ่มน้ําเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ําให้มากที่สุด นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.อุดรธานี โดยรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ําและการบริหารจัดการน้ํา รวมทั้งสรุปโครงการพัฒนาลุ่มน้ําห้วยหลวงตอนล่าง โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาห้วยหลวง อ่างเก็บน้ําห้วยหลวง ต.โคกสะอาด อ.เมือง จ.อุดรธานีก่อนเดินตรวจระดับน้ําบริเวณสันเขื่อน จากนั้นพบปะและเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์จากกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และ Young Smart Farmer นายเฉลิมชัย กล่าวว่า สถานการณ์น้ําในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขณะนี้อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น เนื่องจากในหลายพื้นที่มีฝนตกหนัก ทําให้มีปริมาณน้ําในอ่างฯ เพิ่มขึ้น อีกทั้งจากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า วันที่ 29 ส.ค. – 1 ก.ย. 62 ฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน จากนั้นภาคเหนือและภาคอื่นๆ จะมีผลกระทบในระยะต่อไป ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โพดุล” ที่เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ทําให้มีฝนตกมากขึ้น ทําให้จังหวัดที่ประสบภัยแล้งมานานมีสัญญานที่ดีขึ้น อาทิ โคราช สุรินทร์ บุรีรัมย์ เป็นต้น มีน้ําใช้อุปโภค-บริโภค ได้เพียงพอ นอกจากนี้ได้สั่งการให้กรมชลประทานจัดทําแผนบริหารจัดการน้ําแบบบูรณาการในทุกเขื่อน เพื่อวางแผนจัดการน้ําแก้ปัญหาน้ําท่วม น้ําแล้งเพราะภัยธรรมชาติต้องวางแผนคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อลดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อประชาชนจะมีน้ําอุปโภค บริโภคไม่ขาด ในส่วนของน้ําเพื่อการเกษตรต้องรอดูปลายฤดูว่ามีปริมาณฝนตกมากน้อยแค่ไหน หากมีน้อยจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบและขอความร่วมมือเพาะปลูกพืชบางชนิด โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจะเข้าไปดูแลและช่วยแนะนํา ทั้งนี้ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาเกิดน้ําท่วมฉับพลัน กรมชลประทานจึงร่วมกับจังหวัดในการติดตั้งเครื่องสูบน้ํา เพื่อเร่งระบายน้ําออกให้ไวที่สุด อย่างไรก็ตามต้องขอความร่วมมือประชาชนขอให้อํานวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ด้วย นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า สําหรับ โครงการอ่างเก็บน้ําห้วยหลวงต.โคกสะอาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เกิดจากการขยายตัวของเมืองและจํานวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับแหล่งน้ําที่มีอยู่ไม่เพียงพอ จึงได้ดําเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําห้วยหลวง สําหรับเป็นแหล่งน้ําต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่อําเภอเมืองอุดรธานี และส่งน้ําให้พื้นที่การเกษตรต่างๆ สามารถเก็บกักน้ําได้สูงสุด 135.57 ล้าน ลบ.ม. มีระบบคลองส่งน้ําสายใหญ่ฝั่งขวาและฝั่งซ้าย ฝั่งละ 1 สาย สําหรับใช้ส่งน้ําเพื่อการอุปโภคและการเกษตรอีกทั้งได้ให้กรมชลประทานเดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ําให้มีมากขึ้นในพื้นที่ และบริหารจัดการน้ําที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อความต้องการของราษฎรในพื้นที่ โดยเน้นให้ทํางานเชิงรุก บูรณาการการทํางานร่วมกัน ยึดหลักบําบัดทุกข์บํารุงสุขบรรเทาปัญหาให้ราษฎรเป็นหลัก อีกทั้งหวังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์น้ําของจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่จํานวน 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ําห้วยหลวง มีปริมาณน้ํา 44 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 32 ของความจุอ่าง เป็นน้ําใช้การได้ 37.41 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ําขนาดกลาง 17 แห่ง มีปริมาณน้ํา 79 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 78 ของความจุอ่าง เป็นน้ําใช้การได้ 69 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ําขนาดเล็กอีก 24 แห่ง มีปริมาณน้ํารวมกันประมาณ 6 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่าง สําหรับแผนการบริหารจัดการน้ําของเขื่อนห้วยหลวง ปัจจุบันมีปริมาณน้ําต้นทุนสําหรับฤดูแล้งปี 2562/63 ช่วงระหว่างเดือน พ.ย. 62 ถึง เดือนเม.ย. 63 ประมาณ 28 ล้าน ลบ.ม. ได้จัดทําแผนจัดสรรน้ําฤดูแล้งปี 62/63 โดยแบ่งเป็นน้ําเพื่อการอุบโภคบริโภคประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร และรักษาระบบนิเวศประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ได้มีแผนสํารองน้ําต้นฤดูฝนปี 2563 ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนกรกฎาคม 63 ประมาณ 6 ล้านลูกบาศก์เมตร ดร.ทองเปลว กล่าวต่อว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 ให้ดําเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ําห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย กําหนดแผนการดําเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 9 ปี (ตั้งแต่ปี 2561 – 2569) ในวงเงินทั้งสิน 21,000 ล้านบาท โดยโครงการประกอบไปด้วย สถานีสูบน้ําบ้านแดนเมือง มีอัตราการสูบน้ํารวม 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พนังกั้นน้ําความยาว 47.02 กิโลเมตร ประตูระบายน้ําตามลําน้ําสาขา จํานวน 12 แห่ง ประตูระบายน้ําในลําห้วยหลวง จํานวน 3 แห่ง ระบบกระจายน้ําในพื้นที่กว่า 315,195 ไร่ ระบบควบคุมอุทกภัยแบบอัจฉริยะ (Smart Flood Control System) หากดําเนินโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะสามารถบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ได้จากเดิม 90,000 ไร่ ลดลงเป็น 54,390 ไร่ ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งโดยการเพิ่มปริมาณน้ําต้นทุนกว่า 245.87 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน 315,195 ไร่ และในฤดูแล้ง 250,000 ไร่ และส่งน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคให้ราษฎรกว่า 29,835 ครัวเรือน 284 หมู่บ้าน 37 ตําบล 7 อําเภอ 2 จังหวัด ทั้งนี้ปัจจุบันมีผลการดําเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าว ดังนี้ สถานีสูบน้ําและอาคารผลการดําเนินงานร้อยละ 1.86 ของแผนงาน ประตูระบายน้ําห้วยปากโพง ผลการดําเนินงานร้อยละ 44.32 ของแผนงาน ประตูระบายน้ําหนองผักไหมล่าง ผลการดําเนินงานร้อยละ 45.32 ของแผนงาน และพนังกั้นน้ําบ้านท่าแสนสุข ผลการดําเนินงานร้อยละ 90.50 ของแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22609
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เตือนปิดเทอมหน้าร้อน ระวังเด็กจมน้ำและถูกสุนัขกัด
วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 สธ.เตือนปิดเทอมหน้าร้อน ระวังเด็กจมน้ําและถูกสุนัขกัด รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเตือนปิดเทอมหน้าร้อนผู้ปกครองต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ระวังเด็กจมน้ําและถูกสุนัขกัด เสี่ยงเสียชีวิต แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปีเป็นการปิดเทอมภาคฤดูร้อนของเด็กประกอบกับประเทศไทยช่วงนี้มีอากาศที่ร้อนอบอ้าว เตือนผู้ปกครองต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดให้ระวังใน 2 เรื่องใหญ่ คือ การจมน้ํา เนื่องจากในช่วงปิดเทอม เด็กๆมักนิยมไปเล่นน้ําเพื่อคลายร้อน ซึ่งในปี2560พบเด็กอายุต่ํากว่า15ปีจมน้ําเสียชีวิต708ราย เฉพาะในช่วงปิดเทอมคือมีนาคม-พฤษภาคม มีเด็กเสียชีวิตจากตกน้ํา จมน้ําสูงถึง254รายส่วนในปีนี้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 22 มีนาคม 2561 มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ําแล้ว 26 รายแหล่งน้ําที่พบบ่อย คือ แหล่งน้ําธรรมชาติ หนองน้ํา คลองชลประทานอ่างเก็บน้ํา รองลงมาคือสระว่ายน้ํา ดังนั้น ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก อย่าปล่อยเด็กเล่นน้ําตามลําพังโดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ํากว่า 5 ปีเพราะเด็กวัยนี้ยังมีการทรงตัวไม่ดีไม่มีความพร้อมในการป้องกันตนเองจึงจมน้ําได้ง่าย แม้จะเป็นแหล่งน้ําใกล้บ้านหรือแหล่งน้ําที่คุ้นเคยหรือแหล่งน้ําที่มีน้ําเพียงเล็กน้อยก็ตาม สําหรับโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอีกเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและใส่ใจ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค 22 มีนาคม 2561 มีเด็กอายุต่ํากว่า 15 ปีสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 18,968 ราย ดังนั้นผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเด็กเล็ก สอนให้เด็กปฏิบัติตามคําแนะนําคาถา 5 ยเพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด ได้แก่อย่าแหย่ให้สุนัขโมโหอย่าเหยียบสุนัข หรือทําให้สุนัขตกใจอย่าแยกสุนัขที่กําลังกัดกันด้วยมือเปล่าอย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกําลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ และเมื่อเด็กถูกสุนัข/ แมว กัดข่วนหรือเลียผิวหนังที่มีแผล ให้รีบล้างแผล ใส่ยา ไปพบแพทย์ และฉีดวัคซีนให้ครบอย่าประมาทถึงแม้จะเป็นสุนัขหรือแมวที่เลี้ยงไว้ก็ตามแพทย์หญิงพรรณพิมลกล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.เตือนปิดเทอมหน้าร้อน ระวังเด็กจมน้ำและถูกสุนัขกัด วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 สธ.เตือนปิดเทอมหน้าร้อน ระวังเด็กจมน้ําและถูกสุนัขกัด รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเตือนปิดเทอมหน้าร้อนผู้ปกครองต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ระวังเด็กจมน้ําและถูกสุนัขกัด เสี่ยงเสียชีวิต แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปีเป็นการปิดเทอมภาคฤดูร้อนของเด็กประกอบกับประเทศไทยช่วงนี้มีอากาศที่ร้อนอบอ้าว เตือนผู้ปกครองต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดให้ระวังใน 2 เรื่องใหญ่ คือ การจมน้ํา เนื่องจากในช่วงปิดเทอม เด็กๆมักนิยมไปเล่นน้ําเพื่อคลายร้อน ซึ่งในปี2560พบเด็กอายุต่ํากว่า15ปีจมน้ําเสียชีวิต708ราย เฉพาะในช่วงปิดเทอมคือมีนาคม-พฤษภาคม มีเด็กเสียชีวิตจากตกน้ํา จมน้ําสูงถึง254รายส่วนในปีนี้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 22 มีนาคม 2561 มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ําแล้ว 26 รายแหล่งน้ําที่พบบ่อย คือ แหล่งน้ําธรรมชาติ หนองน้ํา คลองชลประทานอ่างเก็บน้ํา รองลงมาคือสระว่ายน้ํา ดังนั้น ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก อย่าปล่อยเด็กเล่นน้ําตามลําพังโดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ํากว่า 5 ปีเพราะเด็กวัยนี้ยังมีการทรงตัวไม่ดีไม่มีความพร้อมในการป้องกันตนเองจึงจมน้ําได้ง่าย แม้จะเป็นแหล่งน้ําใกล้บ้านหรือแหล่งน้ําที่คุ้นเคยหรือแหล่งน้ําที่มีน้ําเพียงเล็กน้อยก็ตาม สําหรับโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอีกเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและใส่ใจ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค 22 มีนาคม 2561 มีเด็กอายุต่ํากว่า 15 ปีสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 18,968 ราย ดังนั้นผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเด็กเล็ก สอนให้เด็กปฏิบัติตามคําแนะนําคาถา 5 ยเพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด ได้แก่อย่าแหย่ให้สุนัขโมโหอย่าเหยียบสุนัข หรือทําให้สุนัขตกใจอย่าแยกสุนัขที่กําลังกัดกันด้วยมือเปล่าอย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกําลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ และเมื่อเด็กถูกสุนัข/ แมว กัดข่วนหรือเลียผิวหนังที่มีแผล ให้รีบล้างแผล ใส่ยา ไปพบแพทย์ และฉีดวัคซีนให้ครบอย่าประมาทถึงแม้จะเป็นสุนัขหรือแมวที่เลี้ยงไว้ก็ตามแพทย์หญิงพรรณพิมลกล่าว
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10989
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงาน “วันดื่มนมโลก ประจำปี 2560” ร่วมสืบสาน “โคนมอาชีพพระราชทาน สานต่อที่พ่อสร้าง เสริมสร้างสุขภาพดี”
วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2560 กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงาน “วันดื่มนมโลก ประจําปี 2560” ร่วมสืบสาน “โคนมอาชีพพระราชทาน สานต่อที่พ่อสร้าง เสริมสร้างสุขภาพดี” กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงาน “วันดื่มนมโลก ประจําปี 2560” ร่วมสืบสาน “โคนมอาชีพพระราชทาน สานต่อที่พ่อสร้าง เสริมสร้างสุขภาพดี” ประกาศตั้งเป้าทําให้คนไทยดื่มนมเพิ่มขึ้นจาก 14 ลิตร/คน/ปี เป็น 20 ลิตร/คน/ปี ภายใน 10 ปี นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าวการจัดงาน “วันดื่มนมโลก ประจําปี 2560” ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ เป็นวันที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ได้ประกาศให้เป็น วันดื่มนมโลก ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจัดงาน “วันดื่มนมโลก” หรือ World Milk Day Thailand เพื่อรณรงค์เชิญชวนให้เด็กไทยและคนไทย หันมาให้ความสําคัญกับการดื่มนม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพดี พร้อมทั้งสานต่ออาชีพโคนมพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ให้การช่วยเหลือเกษตรผู้เลี้ยงโคนม และกลุ่มอุตสาหกรรมนมมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีนโยบายเกี่ยวกับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ที่เน้นย้ําในเรื่องคุณภาพน้ํานมที่ดี และความโปร่งใส เพื่อให้นักเรียน ทั่วประเทศได้ดื่มนมคุณภาพดีอย่างทั่วถึง รวมทั้งการแก้ไขปัญหาให้กับสหกรณ์โคนมอย่างยั่งยืน โดยจะมีการรณรงค์การบริโภคนม ตลอดทั้งปี 2560 แบ่งเป็น 5 ช่วง ได้แก่ ปีใหม่ สงกรานต์ วันดื่มนมโลก วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา สําหรับในปี 2560 ได้กําหนดรูปแบบการจัดงานภายใต้แนวคิด “โคนมอาชีพพระราชทาน สานต่อที่พ่อสร้าง เสริมสร้างสุขภาพดี” ในวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ณ ห้างแม็คโคร สาขาลาดพร้าว โดย FAO ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ และองค์การส่งเสริมกิจกรรมโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย (ส.อ.น.ท.) และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ได้ร่วมกันจัดงานขึ้น โดยจะเริ่มงานอย่างเป็นทางการในเวลา 10.00 น. มีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐและเอกชน เกษตร/สหกรณ์ และผู้บริโภค สําหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นิทรรศการวันดื่มนมโลก การนําผลิตภัณฑ์นมแจกให้แก่ผู้ร่วมงานฟรี การปล่อยขบวนคาราวานรณรงค์บริโภคนมไปใน 9 เส้นทาง ภายในพื้นที่กรุงเทพฯ และกิจกรรมพิเศษเพื่อร่วมรณรงค์การบริโภคนมที่สวนสัตว์ดุสิต ในระหว่างวันที่ 1 – 4 มิถุนายน 2560 และการจําหน่ายนมในราคาพิเศษ ในระหว่างวันที่ 1 – 15 มิถุนายน 2560 ณ ห้างสรรพสินค้าชั้นนําต่าง ๆ ได้แก่ Tesco Lotus, สยามแม็คโคร,ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต, บิ้กซี ซุปเปอร์มาร์เก็ต, แม็กซ์แวลู ซุปเปอร์มาร์เก็ต และ TOP ซุปเปอร์มาร์เก็ต “ การจัดงานในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมให้กับเกษตรกรตามแนวทางเกษตรประชารัฐของรัฐบาล และส่งเสริมคนไทยให้บริโภคนมเพิ่มมากขึ้น โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้มีนโยบายกําหนดเป้าหมายให้คนไทยดื่มนมเพิ่มขึ้นจาก 14 ลิตรต่อคนต่อปี เป็น 20 ลิตรต่อคนต่อปี ภายใน 10 ปี เพื่อเสริมสร้างสุขภาพของคนไทยให้แข็งแรงและเป็นกําลังสําคัญที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศไทยได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายธีรภัทร กล่าว กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงาน “วันดื่มนมโลก ประจำปี 2560” ร่วมสืบสาน “โคนมอาชีพพระราชทาน สานต่อที่พ่อสร้าง เสริมสร้างสุขภาพดี” วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2560 กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงาน “วันดื่มนมโลก ประจําปี 2560” ร่วมสืบสาน “โคนมอาชีพพระราชทาน สานต่อที่พ่อสร้าง เสริมสร้างสุขภาพดี” กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงาน “วันดื่มนมโลก ประจําปี 2560” ร่วมสืบสาน “โคนมอาชีพพระราชทาน สานต่อที่พ่อสร้าง เสริมสร้างสุขภาพดี” ประกาศตั้งเป้าทําให้คนไทยดื่มนมเพิ่มขึ้นจาก 14 ลิตร/คน/ปี เป็น 20 ลิตร/คน/ปี ภายใน 10 ปี นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าวการจัดงาน “วันดื่มนมโลก ประจําปี 2560” ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ เป็นวันที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ได้ประกาศให้เป็น วันดื่มนมโลก ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจัดงาน “วันดื่มนมโลก” หรือ World Milk Day Thailand เพื่อรณรงค์เชิญชวนให้เด็กไทยและคนไทย หันมาให้ความสําคัญกับการดื่มนม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพดี พร้อมทั้งสานต่ออาชีพโคนมพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ให้การช่วยเหลือเกษตรผู้เลี้ยงโคนม และกลุ่มอุตสาหกรรมนมมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีนโยบายเกี่ยวกับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ที่เน้นย้ําในเรื่องคุณภาพน้ํานมที่ดี และความโปร่งใส เพื่อให้นักเรียน ทั่วประเทศได้ดื่มนมคุณภาพดีอย่างทั่วถึง รวมทั้งการแก้ไขปัญหาให้กับสหกรณ์โคนมอย่างยั่งยืน โดยจะมีการรณรงค์การบริโภคนม ตลอดทั้งปี 2560 แบ่งเป็น 5 ช่วง ได้แก่ ปีใหม่ สงกรานต์ วันดื่มนมโลก วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา สําหรับในปี 2560 ได้กําหนดรูปแบบการจัดงานภายใต้แนวคิด “โคนมอาชีพพระราชทาน สานต่อที่พ่อสร้าง เสริมสร้างสุขภาพดี” ในวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ณ ห้างแม็คโคร สาขาลาดพร้าว โดย FAO ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ และองค์การส่งเสริมกิจกรรมโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย (ส.อ.น.ท.) และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ได้ร่วมกันจัดงานขึ้น โดยจะเริ่มงานอย่างเป็นทางการในเวลา 10.00 น. มีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐและเอกชน เกษตร/สหกรณ์ และผู้บริโภค สําหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นิทรรศการวันดื่มนมโลก การนําผลิตภัณฑ์นมแจกให้แก่ผู้ร่วมงานฟรี การปล่อยขบวนคาราวานรณรงค์บริโภคนมไปใน 9 เส้นทาง ภายในพื้นที่กรุงเทพฯ และกิจกรรมพิเศษเพื่อร่วมรณรงค์การบริโภคนมที่สวนสัตว์ดุสิต ในระหว่างวันที่ 1 – 4 มิถุนายน 2560 และการจําหน่ายนมในราคาพิเศษ ในระหว่างวันที่ 1 – 15 มิถุนายน 2560 ณ ห้างสรรพสินค้าชั้นนําต่าง ๆ ได้แก่ Tesco Lotus, สยามแม็คโคร,ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต, บิ้กซี ซุปเปอร์มาร์เก็ต, แม็กซ์แวลู ซุปเปอร์มาร์เก็ต และ TOP ซุปเปอร์มาร์เก็ต “ การจัดงานในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมให้กับเกษตรกรตามแนวทางเกษตรประชารัฐของรัฐบาล และส่งเสริมคนไทยให้บริโภคนมเพิ่มมากขึ้น โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้มีนโยบายกําหนดเป้าหมายให้คนไทยดื่มนมเพิ่มขึ้นจาก 14 ลิตรต่อคนต่อปี เป็น 20 ลิตรต่อคนต่อปี ภายใน 10 ปี เพื่อเสริมสร้างสุขภาพของคนไทยให้แข็งแรงและเป็นกําลังสําคัญที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศไทยได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายธีรภัทร กล่าว กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 moacnews@gmail.com www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3903
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน แจ้งข่าวด่วน! ได้รายชื่อจากกระทรวงการคลังแล้ว ลูกค้าได้เงินเยียวยาภัยโควิด 5,000 ที่ถูกตัดชำระหนี้อัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียนขอเงินคืน ธนาคารฯ พร้อมเร่งโอนเข้าบัญชีใน 3 วัน [กระทรวงการคลัง]
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 ออมสิน แจ้งข่าวด่วน! ได้รายชื่อจากกระทรวงการคลังแล้ว ลูกค้าได้เงินเยียวยาภัยโควิด 5,000 ที่ถูกตัดชําระหนี้อัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียนขอเงินคืน ธนาคารฯ พร้อมเร่งโอนเข้าบัญชีใน 3 วัน [กระทรวงการคลัง] ธ.ออมสินเผยได้รับรายชื่อผู้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาภัยโควิด 5,000 บาท ที่แจ้งบัญชีเงินฝากธนาคารออมสินขอรับโอนเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังแล้ว ลูกค้าถือบัญชีนี้แล้วถูกหักเงินชําระหนี้อัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียนขอคืนเงิน จะเร่งโอนเงินเข้าบัญชีใน 3 วัน ธนาคารออมสินเผยได้รับรายชื่อผู้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาภัยโควิด 5,000 บาท ที่แจ้งบัญชีเงินฝากธนาคารออมสินขอรับโอนเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังแล้ว ลูกค้าที่ถือบัญชีนี้แล้วถูกหักเงินชําระหนี้อัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียนขอคืนเงิน ธนาคารฯ จะเร่งโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 3 วัน พร้อมเตรียมประสานกระทรวงการคลัง ขอรายชื่อครั้งต่อไป เพื่อไม่ตัดเงินในบัญชีชําระเงินกู้อัตโนมัติอีก ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากกรณีที่ลูกค้าธนาคารออมสินลงทะเบียนมาตรการเยียวยาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้รับเงินช่วยเหลือจํานวน 5,000 บาท จากรัฐบาลเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารออมสิน และไม่สามารถเบิกเงินได้ เนื่องจากระบบธนาคารฯ ได้มีการนําไปหักชําระหนี้เงินกู้ที่เป็นหนี้ค้างชําระโดยอัตโนมัติ อันเป็นระบบที่สถาบันการเงินทั่วไปใช้เช่นกัน ซึ่งระบบไม่สามารถทราบได้ว่ามีลูกค้าท่านใดลงทะเบียน โดยขอให้ลูกค้าที่ถูกหักเงินในบัญชีดังกล่าวแจ้งเรื่องได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th ที่ได้เปิดช่องทางพิเศษในการแจ้งเรื่องได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 เป็นต้นไปนั้น เนื่องจากขณะนี้ ธนาคารออมสินได้รับรายชื่อลูกค้ากลุ่มดังกล่าวจากกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว ซึ่งธนาคารฯ เร่งโอนเงินกลับเข้าบัญชีลูกค้าได้ภายใน 3 วัน โดยลูกค้าไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งต้องขอขอบคุณกระทรวงการคลังที่เร่งรวบรวมและนําส่งบัญชีรายชื่อลูกค้ากลุ่มนี้มายังธนาคารออมสินได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน ได้ประสานกับกระทรวงการคลัง ขอรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุมัติรับเงินเยียวยาในครั้งต่อไปนํามาตรวจสอบและไม่นําไปหักบัญชีเพื่อชําระเงินกู้โดยอัตโนมัติอีก เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเงินเยียวยาที่รัฐบาลต้องการช่วยเหลือประชาชนที่กําลังเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน แจ้งข่าวด่วน! ได้รายชื่อจากกระทรวงการคลังแล้ว ลูกค้าได้เงินเยียวยาภัยโควิด 5,000 ที่ถูกตัดชำระหนี้อัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียนขอเงินคืน ธนาคารฯ พร้อมเร่งโอนเข้าบัญชีใน 3 วัน [กระทรวงการคลัง] วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 ออมสิน แจ้งข่าวด่วน! ได้รายชื่อจากกระทรวงการคลังแล้ว ลูกค้าได้เงินเยียวยาภัยโควิด 5,000 ที่ถูกตัดชําระหนี้อัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียนขอเงินคืน ธนาคารฯ พร้อมเร่งโอนเข้าบัญชีใน 3 วัน [กระทรวงการคลัง] ธ.ออมสินเผยได้รับรายชื่อผู้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาภัยโควิด 5,000 บาท ที่แจ้งบัญชีเงินฝากธนาคารออมสินขอรับโอนเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังแล้ว ลูกค้าถือบัญชีนี้แล้วถูกหักเงินชําระหนี้อัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียนขอคืนเงิน จะเร่งโอนเงินเข้าบัญชีใน 3 วัน ธนาคารออมสินเผยได้รับรายชื่อผู้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาภัยโควิด 5,000 บาท ที่แจ้งบัญชีเงินฝากธนาคารออมสินขอรับโอนเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังแล้ว ลูกค้าที่ถือบัญชีนี้แล้วถูกหักเงินชําระหนี้อัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียนขอคืนเงิน ธนาคารฯ จะเร่งโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 3 วัน พร้อมเตรียมประสานกระทรวงการคลัง ขอรายชื่อครั้งต่อไป เพื่อไม่ตัดเงินในบัญชีชําระเงินกู้อัตโนมัติอีก ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากกรณีที่ลูกค้าธนาคารออมสินลงทะเบียนมาตรการเยียวยาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้รับเงินช่วยเหลือจํานวน 5,000 บาท จากรัฐบาลเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารออมสิน และไม่สามารถเบิกเงินได้ เนื่องจากระบบธนาคารฯ ได้มีการนําไปหักชําระหนี้เงินกู้ที่เป็นหนี้ค้างชําระโดยอัตโนมัติ อันเป็นระบบที่สถาบันการเงินทั่วไปใช้เช่นกัน ซึ่งระบบไม่สามารถทราบได้ว่ามีลูกค้าท่านใดลงทะเบียน โดยขอให้ลูกค้าที่ถูกหักเงินในบัญชีดังกล่าวแจ้งเรื่องได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th ที่ได้เปิดช่องทางพิเศษในการแจ้งเรื่องได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 เป็นต้นไปนั้น เนื่องจากขณะนี้ ธนาคารออมสินได้รับรายชื่อลูกค้ากลุ่มดังกล่าวจากกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว ซึ่งธนาคารฯ เร่งโอนเงินกลับเข้าบัญชีลูกค้าได้ภายใน 3 วัน โดยลูกค้าไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งต้องขอขอบคุณกระทรวงการคลังที่เร่งรวบรวมและนําส่งบัญชีรายชื่อลูกค้ากลุ่มนี้มายังธนาคารออมสินได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน ได้ประสานกับกระทรวงการคลัง ขอรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุมัติรับเงินเยียวยาในครั้งต่อไปนํามาตรวจสอบและไม่นําไปหักบัญชีเพื่อชําระเงินกู้โดยอัตโนมัติอีก เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเงินเยียวยาที่รัฐบาลต้องการช่วยเหลือประชาชนที่กําลังเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28952
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แพลตฟอร์มวางแผนการท่องเที่ยว ระบบ GPS-Based
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม 2563 แพลตฟอร์มวางแผนการท่องเที่ยว ระบบ GPS-Based วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นแพลตฟอร์มวางแผนการท่องเที่ยวด้วยการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวจากรูปภาพและเป็นระบบที่ทางานด้วย GPS-Based โดยผู้ให้บริการเลือกรูปภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องการไป ระบบจะสรุปแผนการเดินทางออกมาให้ในเวลาอันรวดเร็วผ่าน www.getsneak.com เป็นการยกระดับและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยสู่ระดับโลก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แพลตฟอร์มวางแผนการท่องเที่ยว ระบบ GPS-Based วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม 2563 แพลตฟอร์มวางแผนการท่องเที่ยว ระบบ GPS-Based วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นแพลตฟอร์มวางแผนการท่องเที่ยวด้วยการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวจากรูปภาพและเป็นระบบที่ทางานด้วย GPS-Based โดยผู้ให้บริการเลือกรูปภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องการไป ระบบจะสรุปแผนการเดินทางออกมาให้ในเวลาอันรวดเร็วผ่าน www.getsneak.com เป็นการยกระดับและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยสู่ระดับโลก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33055
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของบุคคลที่จะบวชเป็นพระ
วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของบุคคลที่จะบวชเป็นพระ สรุปการตอบกระทู้ถามในการประชุมวุฒิสภา วันจันทร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๓ เรื่อง การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของบุคคลที่จะบวชเป็นพระ ผู้ตั้งกระทู้ถาม นายวันชัย สอนศิริ ถาม นายกรัฐมนตรี ผู้ตอบ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี (นายเทวัญ ลิปตพัลลภ) ผู้ถาม : นายคํานูณ สิทธิสมาน ถามกระทู้โดยสรุปดังนี้ ในปัจจุบันได้มีอาชญากรที่กระทําความผิดตามกฎหมายและได้มีการหลบหนีคดีไปอุปสมบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดที่อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ ขอเรียนถามว่า สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีมาตรการในการตรวจสอบ กลั่นกรองประวัติของพุทธศาสนิกชนผู้ที่จะทําการอุสมบทหรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ ได้เสนอให้สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่รับสนองงานต่อคณะสงฆ์เพื่อปกป้องและคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมถึงไม่ให้เกิดการทุจริตเงินอุดหนุนการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ผู้ตอบ : รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี (นายเทวัญ ลิปตพัลลภ) ตอบชี้แจงกระทู้โดยสรุปดังนี้ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้ได้รับมอบหมาย ให้ตอบกระทู้ถามตอบชี้แจงว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นมา สํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัด ได้มีการจัดทําบัตรประจําตัวพระ ๑๓ หลัก (บัตรประชาชนพระ) และได้ทําการตรวจสอบประวัติของพุทธศาสนิกชน ผู้ที่จะทําการอุปสมบทไปยังสํานักงานตํารวจแห่งชาติโดยละเอียด รวมทั้งเจ้าอาวาสซึ่งทําหน้าที่พระอุปัชฌาย์ก็ได้ทําการตรวจสอบประวัติของผู้ที่จะทําการอุปสมบทด้วยเช่นกันว่ามีประวัติ เป็นอาชญากร หรือเคยได้รับโทษจําคุก หรือรอลงอาญาหรือไม่ อีกทั้งได้มีการกํากับดูแลไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้นในสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และขอรับข้อคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภาผู้ตั้งกระทู้ถามไปดําเนินการต่อไป (โปรดตรวจสอบการถาม-ตอบ กระทู้ถามที่เป็นทางการ จากสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาอีกครั้ง)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของบุคคลที่จะบวชเป็นพระ วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของบุคคลที่จะบวชเป็นพระ สรุปการตอบกระทู้ถามในการประชุมวุฒิสภา วันจันทร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๓ เรื่อง การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของบุคคลที่จะบวชเป็นพระ ผู้ตั้งกระทู้ถาม นายวันชัย สอนศิริ ถาม นายกรัฐมนตรี ผู้ตอบ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี (นายเทวัญ ลิปตพัลลภ) ผู้ถาม : นายคํานูณ สิทธิสมาน ถามกระทู้โดยสรุปดังนี้ ในปัจจุบันได้มีอาชญากรที่กระทําความผิดตามกฎหมายและได้มีการหลบหนีคดีไปอุปสมบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดที่อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ ขอเรียนถามว่า สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีมาตรการในการตรวจสอบ กลั่นกรองประวัติของพุทธศาสนิกชนผู้ที่จะทําการอุสมบทหรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ ได้เสนอให้สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่รับสนองงานต่อคณะสงฆ์เพื่อปกป้องและคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมถึงไม่ให้เกิดการทุจริตเงินอุดหนุนการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ผู้ตอบ : รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี (นายเทวัญ ลิปตพัลลภ) ตอบชี้แจงกระทู้โดยสรุปดังนี้ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้ได้รับมอบหมาย ให้ตอบกระทู้ถามตอบชี้แจงว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นมา สํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัด ได้มีการจัดทําบัตรประจําตัวพระ ๑๓ หลัก (บัตรประชาชนพระ) และได้ทําการตรวจสอบประวัติของพุทธศาสนิกชน ผู้ที่จะทําการอุปสมบทไปยังสํานักงานตํารวจแห่งชาติโดยละเอียด รวมทั้งเจ้าอาวาสซึ่งทําหน้าที่พระอุปัชฌาย์ก็ได้ทําการตรวจสอบประวัติของผู้ที่จะทําการอุปสมบทด้วยเช่นกันว่ามีประวัติ เป็นอาชญากร หรือเคยได้รับโทษจําคุก หรือรอลงอาญาหรือไม่ อีกทั้งได้มีการกํากับดูแลไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้นในสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และขอรับข้อคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภาผู้ตั้งกระทู้ถามไปดําเนินการต่อไป (โปรดตรวจสอบการถาม-ตอบ กระทู้ถามที่เป็นทางการ จากสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาอีกครั้ง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33972
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงดำเนินโครงการบูรณะทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ยโสธร - อุบลราชธานี เปิดให้สัญจรแล้ว
วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2560 กรมทางหลวงดําเนินโครงการบูรณะทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ยโสธร - อุบลราชธานี เปิดให้สัญจรแล้ว กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม ดําเนินโครงการบูรณะทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ยโสธร - อุบลราชธานี เพื่อเพิ่มศักยภาพสายทาง เชื่อมโยงโครงข่ายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนการเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค รวมทั้งอํานวยความสะดวกในการเดินทางได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้สัญจรแล้ว นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และโฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้กําหนดยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการพัฒนาประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวงสายหลักทั่วประเทศ โดย ทล. ดําเนินการบูรณะโครงข่ายทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ยโสธร - อุบลราชธานี ระหว่าง กม.183+050 ถึง กม.272+000 รวมระยะทางประมาณ 47.94 กิโลเมตร ในพื้นที่อําเภอเมือง อําเภอคําเขื่องแก้ว จังหวัดยโสธร อําเภอเมือง อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ก่อสร้างทางแอสฟัลท์คอนกรีต มาตรฐานทางพิเศษ 4 ช่องจราจร ช่องจราจรกว้างข้างละ 3.5 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.5 เมตร พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง และอุปกรณ์อํานวยความปลอดภัย งบประมาณ 236,904,720 บาท ปัจจุบันโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้สัญจร เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยอํานวยความสะดวกในการเดินทาง การขนส่งสินค้าทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการของระบบทางหลวง และช่วยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุ สามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางได้ที่ แขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ 1 โทร. 0 4524 3426 ต่อ 15 หรือสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงดำเนินโครงการบูรณะทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ยโสธร - อุบลราชธานี เปิดให้สัญจรแล้ว วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2560 กรมทางหลวงดําเนินโครงการบูรณะทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ยโสธร - อุบลราชธานี เปิดให้สัญจรแล้ว กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม ดําเนินโครงการบูรณะทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ยโสธร - อุบลราชธานี เพื่อเพิ่มศักยภาพสายทาง เชื่อมโยงโครงข่ายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนการเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค รวมทั้งอํานวยความสะดวกในการเดินทางได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้สัญจรแล้ว นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และโฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้กําหนดยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการพัฒนาประสิทธิภาพโครงข่ายทางหลวงสายหลักทั่วประเทศ โดย ทล. ดําเนินการบูรณะโครงข่ายทางหลวงหมายเลข 23 ตอน ยโสธร - อุบลราชธานี ระหว่าง กม.183+050 ถึง กม.272+000 รวมระยะทางประมาณ 47.94 กิโลเมตร ในพื้นที่อําเภอเมือง อําเภอคําเขื่องแก้ว จังหวัดยโสธร อําเภอเมือง อําเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ก่อสร้างทางแอสฟัลท์คอนกรีต มาตรฐานทางพิเศษ 4 ช่องจราจร ช่องจราจรกว้างข้างละ 3.5 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.5 เมตร พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง และอุปกรณ์อํานวยความปลอดภัย งบประมาณ 236,904,720 บาท ปัจจุบันโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้สัญจร เพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยอํานวยความสะดวกในการเดินทาง การขนส่งสินค้าทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการของระบบทางหลวง และช่วยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุ สามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางได้ที่ แขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ 1 โทร. 0 4524 3426 ต่อ 15 หรือสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8567
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ขยายผล “ปัตตานีโมเดล” การแพทย์วิถีใหม่ ยุคโควิด 19
วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563 สธ.ขยายผล “ปัตตานีโมเดล” การแพทย์วิถีใหม่ ยุคโควิด 19 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศความสําเร็จ “ปัตตานีโมเดล” ปรับบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ แบ่งกลุ่มผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีให้คําปรึกษา พัฒนาเทคนิคบริการทันตกรรม ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศความสําเร็จ “ปัตตานีโมเดล” ปรับบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ แบ่งกลุ่มผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีให้คําปรึกษา พัฒนาเทคนิคบริการทันตกรรม ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ เป็นต้นแบบขยายผลไปยังจังหวัดอื่น วันนี้ (24 มิถุนายน 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี แถลงข่าว “แนวทางการแพทย์วิถีใหม่ (New Normal of Medical Services)” ว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 สร้างผลกระทบต่อการให้บริการทางการแพทย์อย่างมาก กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ปรับรูปแบบการให้บริการและบริหารจัดการทรัพยากรทางการแพทย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มุ่งเน้นให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเสริมผนวกกับเครือข่ายที่เข้มแข็งของอาสาสมัครประจําหมู่บ้านที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 1.4 ล้านคน ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด ภายใต้แนวคิด “การแพทย์วิถีใหม่” มีเป้าหมาย 3 ประการ คือความปลอดภัยสูงสุดทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย เพิ่มระยะห่าง ลดความแออัดในโรงพยาบาล และเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความเหลื่อมล้ําในสังคม นายแพทย์สมศักดิ์กล่าวว่า กรมการแพทย์ได้นําร่องการแพทย์วิถีใหม่ตามโครงการ “ปัตตานีโมเดล” (Pattani Model) สร้างนวัตกรรมการแพทย์รูปแบบใหม่เพื่อใช้ในห้องทันตกรรม ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด และการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCD (Non-Communicable Diseases) ให้ความสําคัญต่อการปรับรูปแบบการบริการทางการแพทย์ เช่น มีการพัฒนาเทคนิคลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอย (Aerosol) พัฒนาเทคนิคทําฟันแบบประสานสี่มือ หรือ Four-Handed Dentistry ระหว่างทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ในการใช้เครื่องมือเพื่อลดการฟุ้งกระจายละอองฝอย ส่วนห้องฉุกเฉิน ปรับบางส่วนเป็นห้องความดันลบ (Modify Negative Pressure Room) พัฒนาเทคนิคการทําหัตถการฟื้นชีพ ใส่ท่อหายใจอย่างปลอดภัย ห้องผ่าตัดปรับเป็นห้องความดันลบและสร้างมาตรฐานการคัดกรองโควิด 19 ก่อนทําหัตถการ และกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะจําแนกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มสีเขียวมีความเสี่ยงน้อย ควบคุมอาการได้ดีกลุ่มสีเหลืองมีความเสี่ยงปานกลาง และกลุ่มสีแดงมีความเสี่ยงสูง ควบคุมอาการได้ไม่ดี ให้การดูแลตามหลัก “Share Care Plan” เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ร่วมกับการนําระบบการรักษาทางไกล (Telemedicine) และอสม.ติดตามเยี่ยมบ้าน ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาลมีเวลาให้การดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า จังหวัดปัตตานี เริ่มพบผู้ป่วยรายแรก 15 มีนาคม 2563 รายสุดท้าย 20 เมษายน 2563 รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 91 คน ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ 64 วันแล้ว ใช้โครงสร้างศูนย์บริหารจัดการโควิด 19 ระดับจังหวัดและอําเภอ บูรณาการทุกภาคส่วนในการตั้งด่าน ค้นหา คัดกรอง และจัดศูนย์กักตัว 176 ศูนย์ ได้ร่วมโครงการ “ปัตตานีโมเดล” ปรับระบบบริการการแพทย์วิถีใหม่ในโรงพยาบาลทุกแห่ง ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ส่งผลดีต่อประชาชนในพื้นที่ ทั้งการป้องกัน การรักษาโรคโควิด 19 และการดูแลโรคอื่นๆ ตลอดจนลดความแออัดการใช้บริการโรงพยาบาล และยังช่วยลดความเหลื่อมล้ําในสังคม เมื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดี ย่อมส่งผลให้สามารถประกอบอาชีพ เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้น สามารถเป็นต้นแบบขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆ ได้ **********************************24 มิถุนายน 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.ขยายผล “ปัตตานีโมเดล” การแพทย์วิถีใหม่ ยุคโควิด 19 วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563 สธ.ขยายผล “ปัตตานีโมเดล” การแพทย์วิถีใหม่ ยุคโควิด 19 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศความสําเร็จ “ปัตตานีโมเดล” ปรับบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ แบ่งกลุ่มผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีให้คําปรึกษา พัฒนาเทคนิคบริการทันตกรรม ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศความสําเร็จ “ปัตตานีโมเดล” ปรับบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ แบ่งกลุ่มผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีให้คําปรึกษา พัฒนาเทคนิคบริการทันตกรรม ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ เป็นต้นแบบขยายผลไปยังจังหวัดอื่น วันนี้ (24 มิถุนายน 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี แถลงข่าว “แนวทางการแพทย์วิถีใหม่ (New Normal of Medical Services)” ว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 สร้างผลกระทบต่อการให้บริการทางการแพทย์อย่างมาก กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ปรับรูปแบบการให้บริการและบริหารจัดการทรัพยากรทางการแพทย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มุ่งเน้นให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเสริมผนวกกับเครือข่ายที่เข้มแข็งของอาสาสมัครประจําหมู่บ้านที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 1.4 ล้านคน ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด ภายใต้แนวคิด “การแพทย์วิถีใหม่” มีเป้าหมาย 3 ประการ คือความปลอดภัยสูงสุดทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย เพิ่มระยะห่าง ลดความแออัดในโรงพยาบาล และเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความเหลื่อมล้ําในสังคม นายแพทย์สมศักดิ์กล่าวว่า กรมการแพทย์ได้นําร่องการแพทย์วิถีใหม่ตามโครงการ “ปัตตานีโมเดล” (Pattani Model) สร้างนวัตกรรมการแพทย์รูปแบบใหม่เพื่อใช้ในห้องทันตกรรม ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด และการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCD (Non-Communicable Diseases) ให้ความสําคัญต่อการปรับรูปแบบการบริการทางการแพทย์ เช่น มีการพัฒนาเทคนิคลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอย (Aerosol) พัฒนาเทคนิคทําฟันแบบประสานสี่มือ หรือ Four-Handed Dentistry ระหว่างทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ในการใช้เครื่องมือเพื่อลดการฟุ้งกระจายละอองฝอย ส่วนห้องฉุกเฉิน ปรับบางส่วนเป็นห้องความดันลบ (Modify Negative Pressure Room) พัฒนาเทคนิคการทําหัตถการฟื้นชีพ ใส่ท่อหายใจอย่างปลอดภัย ห้องผ่าตัดปรับเป็นห้องความดันลบและสร้างมาตรฐานการคัดกรองโควิด 19 ก่อนทําหัตถการ และกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะจําแนกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มสีเขียวมีความเสี่ยงน้อย ควบคุมอาการได้ดีกลุ่มสีเหลืองมีความเสี่ยงปานกลาง และกลุ่มสีแดงมีความเสี่ยงสูง ควบคุมอาการได้ไม่ดี ให้การดูแลตามหลัก “Share Care Plan” เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ร่วมกับการนําระบบการรักษาทางไกล (Telemedicine) และอสม.ติดตามเยี่ยมบ้าน ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาลมีเวลาให้การดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า จังหวัดปัตตานี เริ่มพบผู้ป่วยรายแรก 15 มีนาคม 2563 รายสุดท้าย 20 เมษายน 2563 รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 91 คน ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ 64 วันแล้ว ใช้โครงสร้างศูนย์บริหารจัดการโควิด 19 ระดับจังหวัดและอําเภอ บูรณาการทุกภาคส่วนในการตั้งด่าน ค้นหา คัดกรอง และจัดศูนย์กักตัว 176 ศูนย์ ได้ร่วมโครงการ “ปัตตานีโมเดล” ปรับระบบบริการการแพทย์วิถีใหม่ในโรงพยาบาลทุกแห่ง ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ส่งผลดีต่อประชาชนในพื้นที่ ทั้งการป้องกัน การรักษาโรคโควิด 19 และการดูแลโรคอื่นๆ ตลอดจนลดความแออัดการใช้บริการโรงพยาบาล และยังช่วยลดความเหลื่อมล้ําในสังคม เมื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดี ย่อมส่งผลให้สามารถประกอบอาชีพ เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้น สามารถเป็นต้นแบบขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆ ได้ **********************************24 มิถุนายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32718
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ทส. ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมในพิธีเปิดโครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน ปี พ.ศ.2561
วันพุธที่ 23 พฤษภาคม 2561 รมว.ทส. ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมในพิธีเปิดโครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน ปี พ.ศ.2561 รมว.ทส. ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมในพิธีเปิดโครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน ปี พ.ศ.2561 วันที่22พ.ค. 61พลเอกสุรศักดิ์กาญจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในพิธีเปิดโครงการประชารัฐร่วมใจปลูกต้นไม้ให้แผ่นดินปีพ.ศ.2561 ที่จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 23 พฤษภาคม 2561 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับณศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดําริจังหวัดราชบุรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ทส. ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมในพิธีเปิดโครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน ปี พ.ศ.2561 วันพุธที่ 23 พฤษภาคม 2561 รมว.ทส. ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมในพิธีเปิดโครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน ปี พ.ศ.2561 รมว.ทส. ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมในพิธีเปิดโครงการประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน ปี พ.ศ.2561 วันที่22พ.ค. 61พลเอกสุรศักดิ์กาญจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในพิธีเปิดโครงการประชารัฐร่วมใจปลูกต้นไม้ให้แผ่นดินปีพ.ศ.2561 ที่จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 23 พฤษภาคม 2561 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับณศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดําริจังหวัดราชบุรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12466
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ม.ล.ปนัดดาฯ กล่าวสุนทรพจน์ทางวิชาการในนามส่วนราชการไทย ต่อสมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2561 ม.ล.ปนัดดาฯ กล่าวสุนทรพจน์ทางวิชาการในนามส่วนราชการไทย ต่อสมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ การประชุมคองเกรสนานาชาติของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํานายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม กล่าวสุนทรพจน์ทางวิชาการในนามส่วนราชการไทยต่อผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ คณะทูตานุทูต ผู้แทนฝ่ายกงสุล สมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศกว่า ๔๐ ประเทศ และนักวิชาการ ประมาณ ๔๐๐ คน เรื่อง หลักประกันความยุติธรรมที่มั่นคงและยั่งยืน (Guaranteeing a Secure and Sustainable Justice) ในการประชุมคองเกรสนานาชาติ ของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมและกรมบังคับคดี ร่วมกับสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ (UIHJ) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ณ ห้อง World Ballroom ABC ชั้น ๒๓ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ถนนราชดําริ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ม.ล.ปนัดดาฯ กล่าวสุนทรพจน์ทางวิชาการในนามส่วนราชการไทย ต่อสมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2561 ม.ล.ปนัดดาฯ กล่าวสุนทรพจน์ทางวิชาการในนามส่วนราชการไทย ต่อสมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ การประชุมคองเกรสนานาชาติของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํานายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม กล่าวสุนทรพจน์ทางวิชาการในนามส่วนราชการไทยต่อผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ คณะทูตานุทูต ผู้แทนฝ่ายกงสุล สมาชิกสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศกว่า ๔๐ ประเทศ และนักวิชาการ ประมาณ ๔๐๐ คน เรื่อง หลักประกันความยุติธรรมที่มั่นคงและยั่งยืน (Guaranteeing a Secure and Sustainable Justice) ในการประชุมคองเกรสนานาชาติ ของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๓ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมและกรมบังคับคดี ร่วมกับสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ (UIHJ) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ณ ห้อง World Ballroom ABC ชั้น ๒๓ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ถนนราชดําริ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11947
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ำเสียครัวเรือน ทางรอดหลัง SOCIAL DISTANCING
วันพุธที่ 29 เมษายน 2563 ประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ําเสียครัวเรือน ทางรอดหลัง SOCIAL DISTANCING ประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ําเสียครัวเรือน ทางรอดหลัง SOCIAL DISTANCING สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัจจุบันตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นสัญญาณที่ดี และปฏิเสธไม่ว่าได้ส่วนหนึ่งเป็นผลลัพธ์จากมาตรการ social distancing ที่ทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชนชาวไทยร่วมมือกันในการหยุดยั้งไวรัสนี้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มาตรการนี้ลดระดับความเข้มข้นลง นั่นก็หมายความว่าประเทศไทยก็ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะกลับมามีผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้นได้ทุกเมื่อ ดร.จุฑาทิพ บุญสมบัติ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ นักวิจัยโครงการสนับสนุนข้อมูลวิจัยเชิงลึกด้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า จากการที่ศึกษารวบรวมข้อมูลจากวารสารวิจัยนานาชาติ พบว่า ปัจจุบันมีนักวิจัยทั่วโลกมากกว่า 12 กลุ่ม เริ่มศึกษาการวิเคราะห์น้ําเสียที่ถูกปล่อยทิ้งจากครัวเรือนเพื่อตรวจหาไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการประมาณการจํานวนผู้ติดเชื้อในแต่ละชุมชน โดยวิธีการวิเคราะห์น้ําเสียจะใช้น้ําจากระบบระบายน้ําทิ้งจากครัวเรือนที่จะส่งต่อไปยังโรงบําบัดน้ําเสีย ซึ่งใช้ในการติดตามเชื้อโรคที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะหรืออุจจาระ เช่น เชื้อไวรัสโควิด-19 โรงบําบัดน้ําเสียแต่ละแห่งรองรับน้ําเสียจากคนจํานวนมาก ดังนั้นการติดตามตรวจสอบน้ําเสียแบบนี้จะทําให้สามารถประมาณการแพร่ระบาดของเชื้อ และมีความแม่นยํากว่าการทดสอบด้วยชุดทดสอบทางคลินิก เพราะการใช้น้ําเสียจะรวมผลจากคนที่ไม่ได้ตรวจเชื้อและมีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเข้ามาด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มวิจัยของ de Roda Husman นักวิจัยด้านโรคติดเชื้อ สถาบันสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในปริมาณเล็กน้อย ในน้ําเสียจากสนามบิน Schiphol ในเมือง Tilburg ในเวลาเพียง 4 วัน หลังจากที่ทางการเนเธอร์แลนด์ยืนยันผู้ติดเชื้อรายแรกจากวิธีการตรวจเชื้อทางคลินิก ปัจจุบันกลุ่มวิจัยของ de Roda Husman มีแผนที่จะขยายการตรวจสอบไปยังเมืองใหญ่ ในทั้ง 12 จังหวัดในเนเธอร์แลนด์ รวมถึงอีก 12 แห่งที่ยังไม่มีการยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อ ข้อดีของวิธีการประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ําเสียครัวเรือน คือตามที่มาตรการ social distance ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวิธีการที่ดีที่ช่วยลดการระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มาตรการนี้ลดระดับความเข้มงวดลง ก็มีโอกาสกลับมาของการระบาด ดังนั้นการเฝ้าติดตามด้วยการวิเคราะห์น้ําเสียจึงเป็นวิธีการที่ช่วยในการเฝ้าระวังและเพื่อเตือนภัยในกรณีที่การระบาดโควิด-19 กลับมาในชุมชน เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 จะปรากฏในอุจจาระภายใน 3 วัน หลังติดเชื้อ ซึ่งเป็นเวลาที่เร็วกว่าเวลาที่กว่าผู้ติดเชื้อจะแสดงอาการเข้าข่ายต้องสงสัยแล้วไปรับการการตรวจหาเชื้อทางคลินิค ดังนั้นการเฝ้าติดตามด้วยการวิเคราะห์น้ําเสีย จึงเป็นวิธีการที่ช่วยบ่งชี้สถานการณ์ได้เร็ว ทําให้การออกมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมทําได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การระบุได้อย่างรวดเร็วว่ามีผู้ติดเชื้อในชุมชน จะช่วยจํากัดความเสียหายจากการระบาดได้มาก โดยเฉพาะหากมีการระบาดของเชื้อโควิด-19 กลับมาในอนาคตข้างหน้า วิธีการนี้ยังสามารถช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการณ์ต่างๆ ที่มีในช่วงของการระบาดได้ด้วย การใช้การวิเคราะห์น้ําเสียเพื่อประเมินการระบาดของเชื้อโควิด-19 น่าจะเป็นมาตรการระยะยาวที่ทางรัฐสามารถนํามาใช้ เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมิน การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนั้นการสนับสนุนงานวิจัย เพื่อหาวิธีการทดสอบที่เหมาะสม ใช้ได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ น่าจะเกิดประโยชน์ โดยผลจากการวิจัยนี้ไม่เพียงจะใช้กับสถานการณ์ระบาดโควิด-19 แต่ยังอาจจะสามารถนํามาประยุกต์ใช้สําหรับการติดตาม ประเมิน ด้านสาธารณสุขในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย อ้างอิงข้อมูล 10.Mallapaty (2020) How Sewage Could Reveal True Scale of Coronavirus Outbreak. Nature. 10.1038/d41586-020-00973-x ภาพจาก : statnews ข้อมูลข่าวโดย : สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ำเสียครัวเรือน ทางรอดหลัง SOCIAL DISTANCING วันพุธที่ 29 เมษายน 2563 ประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ําเสียครัวเรือน ทางรอดหลัง SOCIAL DISTANCING ประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ําเสียครัวเรือน ทางรอดหลัง SOCIAL DISTANCING สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัจจุบันตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นสัญญาณที่ดี และปฏิเสธไม่ว่าได้ส่วนหนึ่งเป็นผลลัพธ์จากมาตรการ social distancing ที่ทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชนชาวไทยร่วมมือกันในการหยุดยั้งไวรัสนี้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มาตรการนี้ลดระดับความเข้มข้นลง นั่นก็หมายความว่าประเทศไทยก็ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะกลับมามีผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้นได้ทุกเมื่อ ดร.จุฑาทิพ บุญสมบัติ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ นักวิจัยโครงการสนับสนุนข้อมูลวิจัยเชิงลึกด้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า จากการที่ศึกษารวบรวมข้อมูลจากวารสารวิจัยนานาชาติ พบว่า ปัจจุบันมีนักวิจัยทั่วโลกมากกว่า 12 กลุ่ม เริ่มศึกษาการวิเคราะห์น้ําเสียที่ถูกปล่อยทิ้งจากครัวเรือนเพื่อตรวจหาไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการประมาณการจํานวนผู้ติดเชื้อในแต่ละชุมชน โดยวิธีการวิเคราะห์น้ําเสียจะใช้น้ําจากระบบระบายน้ําทิ้งจากครัวเรือนที่จะส่งต่อไปยังโรงบําบัดน้ําเสีย ซึ่งใช้ในการติดตามเชื้อโรคที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะหรืออุจจาระ เช่น เชื้อไวรัสโควิด-19 โรงบําบัดน้ําเสียแต่ละแห่งรองรับน้ําเสียจากคนจํานวนมาก ดังนั้นการติดตามตรวจสอบน้ําเสียแบบนี้จะทําให้สามารถประมาณการแพร่ระบาดของเชื้อ และมีความแม่นยํากว่าการทดสอบด้วยชุดทดสอบทางคลินิก เพราะการใช้น้ําเสียจะรวมผลจากคนที่ไม่ได้ตรวจเชื้อและมีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเข้ามาด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มวิจัยของ de Roda Husman นักวิจัยด้านโรคติดเชื้อ สถาบันสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในปริมาณเล็กน้อย ในน้ําเสียจากสนามบิน Schiphol ในเมือง Tilburg ในเวลาเพียง 4 วัน หลังจากที่ทางการเนเธอร์แลนด์ยืนยันผู้ติดเชื้อรายแรกจากวิธีการตรวจเชื้อทางคลินิก ปัจจุบันกลุ่มวิจัยของ de Roda Husman มีแผนที่จะขยายการตรวจสอบไปยังเมืองใหญ่ ในทั้ง 12 จังหวัดในเนเธอร์แลนด์ รวมถึงอีก 12 แห่งที่ยังไม่มีการยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อ ข้อดีของวิธีการประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ําเสียครัวเรือน คือตามที่มาตรการ social distance ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวิธีการที่ดีที่ช่วยลดการระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มาตรการนี้ลดระดับความเข้มงวดลง ก็มีโอกาสกลับมาของการระบาด ดังนั้นการเฝ้าติดตามด้วยการวิเคราะห์น้ําเสียจึงเป็นวิธีการที่ช่วยในการเฝ้าระวังและเพื่อเตือนภัยในกรณีที่การระบาดโควิด-19 กลับมาในชุมชน เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 จะปรากฏในอุจจาระภายใน 3 วัน หลังติดเชื้อ ซึ่งเป็นเวลาที่เร็วกว่าเวลาที่กว่าผู้ติดเชื้อจะแสดงอาการเข้าข่ายต้องสงสัยแล้วไปรับการการตรวจหาเชื้อทางคลินิค ดังนั้นการเฝ้าติดตามด้วยการวิเคราะห์น้ําเสีย จึงเป็นวิธีการที่ช่วยบ่งชี้สถานการณ์ได้เร็ว ทําให้การออกมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมทําได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การระบุได้อย่างรวดเร็วว่ามีผู้ติดเชื้อในชุมชน จะช่วยจํากัดความเสียหายจากการระบาดได้มาก โดยเฉพาะหากมีการระบาดของเชื้อโควิด-19 กลับมาในอนาคตข้างหน้า วิธีการนี้ยังสามารถช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการณ์ต่างๆ ที่มีในช่วงของการระบาดได้ด้วย การใช้การวิเคราะห์น้ําเสียเพื่อประเมินการระบาดของเชื้อโควิด-19 น่าจะเป็นมาตรการระยะยาวที่ทางรัฐสามารถนํามาใช้ เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมิน การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนั้นการสนับสนุนงานวิจัย เพื่อหาวิธีการทดสอบที่เหมาะสม ใช้ได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ น่าจะเกิดประโยชน์ โดยผลจากการวิจัยนี้ไม่เพียงจะใช้กับสถานการณ์ระบาดโควิด-19 แต่ยังอาจจะสามารถนํามาประยุกต์ใช้สําหรับการติดตาม ประเมิน ด้านสาธารณสุขในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย อ้างอิงข้อมูล 10.Mallapaty (2020) How Sewage Could Reveal True Scale of Coronavirus Outbreak. Nature. 10.1038/d41586-020-00973-x ภาพจาก : statnews ข้อมูลข่าวโดย : สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29951
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี เปิดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ปี 2563 ส่งเสริมสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
วันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2563 นายกรัฐมนตรี เปิดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ปี 2563 ส่งเสริมสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ นายกรัฐมนตรี เปิดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ปี 2563 ส่งเสริมสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ 8 – 16 สิงหาคม 2563 รวม 9 วัน ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี วันนี้ (10 ส.ค. 63) เวลา 15.00 น. ที่เวทีกลางอาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ประจําปี พ.ศ. 2563 โดยมี รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ท่านผู้หญิงกอบกุล อุบลเดชประชารักษ์ ผู้ช่วยงานส่งเสริมศิลปาชีพ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง คณะทูตานุทูต นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย คณะรัฐมนตรี นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการอํานวยการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมในพิธี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีโครงการพระราชดําริในการส่งเสริมอาชีพและรายได้ของพสกนิกรทั้งประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2513 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดนครพนม ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร โดยในการเสด็จครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชปรารภว่า การนําสิ่งของไปแจกเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทําอย่างไรจึงจะทําให้ชาวบ้านช่วยเหลือตนเองได้ในระยะยาว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงทรงตระหนักในพระราชหฤทัยทันทีและทรงมีพระราชเสาวนีย์ในการส่งเสริมการทอผ้าไหมมัดหมี่ไว้เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้ครอบครัวของประชาชนมากขึ้น และเพื่อเป็นการตอบสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รัฐบาลได้ให้ความสําคัญในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ของประชาชน ขยายผลและสนับสนุนให้มี “โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)” และมีการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP โดยพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ระดับ 1-3 ดาว และเพิ่มช่องทางการตลาดให้กว้างและก้าวไกลมากยิ่งขึ้น และรัฐบาลคาดหวังว่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และคาดหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ตลอดจนสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน จัดงานศิลปาชีพประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ประจําปี พ.ศ. 2563 ในระหว่างวันที่ 8 – 16 สิงหาคม 2563 รวม 9 วัน ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมถึงเพื่อเพิ่มช่องทางการจําหน่ายและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยที่กําเนิดมาจากโครงการศิลปาชีพ และเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านกลไกโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล โดยบูรณาการและอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ และส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สําหรับกิจกรรมในการจัดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ประจําปี พ.ศ. 2563 ในครั้งนี้ มีการจัดแสดงและจําหน่ายสินค้ามากกว่า 900 บูธ ผลิตภัณฑ์ OTOP มากกว่า 7,200 รายการ แบ่งเป็น 7 ส่วน ได้แก่ 1) การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี-พันปีหลวง 2) การจัดกิจกรรมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ 3) การจัดแสดงผ้าประเภทต่าง ๆ เช่น 1. ผ้าชนะเลิศการประกวดผ้า สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดินจาก 76 จังหวัด จํานวน 152 บูธ 2. ผ้าอัตลักษณ์ ผ้าและเครื่องแต่งกายชาติพันธุ์ อาทิ ชุดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจากชนเผ่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ้านาหมื่นศรี จังหวัดตรัง ผ้ายกทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ้ากาบบัว จังหวัดอุบลราชธานี ผ้าจกคูบัว จังหวัดราชบุรี ผ้าแต้มตระกรอ จังหวัดอุทัยธานี และผ้าไหมแพรวา จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. ผ้าที่ผ่านการพัฒนาของกรมการพัฒนาชุมชน อาทิ ผ้าที่จัดแสดงและจําหน่ายจากศิลปิน OTOP ผลิตภัณฑ์ผ้าจากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อจําหน่ายบนเครื่องบิน 4. การจัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP อาทิ OTOP Classic ระดับ 3 - 5 ดาว OTOP First Lady จัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า และชุดเสื้อผ้าสําเร็จรูป รวมทั้งการให้บริการออกแบบและตัดเย็บภายในงาน การจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทเครื่องแต่งกาย ประเภทเครื่องประดับ และประเภทจักสาน 5. การจัดพื้นที่โซนหัตถศิลป์ ศิลปิน OTOP โดยจัดแสดงเป็นพาวิลเลี่ยน (Pavilion) นําเสนองานฝีมือของศิลปิน OTOP ที่แสดงถึงคุณค่าความเป็นไทย มรดกทางภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินที่สืบสานงานศิลป์มายาวนาน ได้รับการยอมรับว่าเป็นหัตถศิลป์ถิ่นสยามที่ทรงคุณค่าเหนือกาลเวลา 6. การจัด OTOP ชวนชิม จําหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด และ 7. การจัดพื้นที่โซนสุขภาพ Health & Spa จําหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพระดับ 3-5 ดาว พร้อมบริการนวดผ่อนคลายเพื่อสุขภาพ รวมถึงการให้บริการเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชน เช่น จุดบริการ WiFi ธนาคาร ไปรษณีย์ ที่พักผ่อน เป็นต้น และมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย ทั้งการแสดงดนตรี การแสดงศิลปวัฒนธรรมภาคต่าง ๆ การจัดช่วงเวลานาทีทอง และกิจกรรมชิงรางวัลเป็นประจําทุกวัน โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้ดําเนินการภายใต้การประยุกต์ใช้มาตรการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นสําคัญ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี เปิดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ปี 2563 ส่งเสริมสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ วันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2563 นายกรัฐมนตรี เปิดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ปี 2563 ส่งเสริมสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ นายกรัฐมนตรี เปิดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ปี 2563 ส่งเสริมสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ 8 – 16 สิงหาคม 2563 รวม 9 วัน ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี วันนี้ (10 ส.ค. 63) เวลา 15.00 น. ที่เวทีกลางอาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ประจําปี พ.ศ. 2563 โดยมี รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ท่านผู้หญิงกอบกุล อุบลเดชประชารักษ์ ผู้ช่วยงานส่งเสริมศิลปาชีพ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง คณะทูตานุทูต นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย คณะรัฐมนตรี นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการอํานวยการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมในพิธี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีโครงการพระราชดําริในการส่งเสริมอาชีพและรายได้ของพสกนิกรทั้งประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2513 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดนครพนม ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร โดยในการเสด็จครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชปรารภว่า การนําสิ่งของไปแจกเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทําอย่างไรจึงจะทําให้ชาวบ้านช่วยเหลือตนเองได้ในระยะยาว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงทรงตระหนักในพระราชหฤทัยทันทีและทรงมีพระราชเสาวนีย์ในการส่งเสริมการทอผ้าไหมมัดหมี่ไว้เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้ครอบครัวของประชาชนมากขึ้น และเพื่อเป็นการตอบสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รัฐบาลได้ให้ความสําคัญในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ของประชาชน ขยายผลและสนับสนุนให้มี “โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)” และมีการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP โดยพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ระดับ 1-3 ดาว และเพิ่มช่องทางการตลาดให้กว้างและก้าวไกลมากยิ่งขึ้น และรัฐบาลคาดหวังว่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และคาดหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ตลอดจนสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน จัดงานศิลปาชีพประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ประจําปี พ.ศ. 2563 ในระหว่างวันที่ 8 – 16 สิงหาคม 2563 รวม 9 วัน ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมถึงเพื่อเพิ่มช่องทางการจําหน่ายและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยที่กําเนิดมาจากโครงการศิลปาชีพ และเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านกลไกโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล โดยบูรณาการและอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ และส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สําหรับกิจกรรมในการจัดงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ประจําปี พ.ศ. 2563 ในครั้งนี้ มีการจัดแสดงและจําหน่ายสินค้ามากกว่า 900 บูธ ผลิตภัณฑ์ OTOP มากกว่า 7,200 รายการ แบ่งเป็น 7 ส่วน ได้แก่ 1) การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี-พันปีหลวง 2) การจัดกิจกรรมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ 3) การจัดแสดงผ้าประเภทต่าง ๆ เช่น 1. ผ้าชนะเลิศการประกวดผ้า สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดินจาก 76 จังหวัด จํานวน 152 บูธ 2. ผ้าอัตลักษณ์ ผ้าและเครื่องแต่งกายชาติพันธุ์ อาทิ ชุดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจากชนเผ่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ้านาหมื่นศรี จังหวัดตรัง ผ้ายกทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ้ากาบบัว จังหวัดอุบลราชธานี ผ้าจกคูบัว จังหวัดราชบุรี ผ้าแต้มตระกรอ จังหวัดอุทัยธานี และผ้าไหมแพรวา จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. ผ้าที่ผ่านการพัฒนาของกรมการพัฒนาชุมชน อาทิ ผ้าที่จัดแสดงและจําหน่ายจากศิลปิน OTOP ผลิตภัณฑ์ผ้าจากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อจําหน่ายบนเครื่องบิน 4. การจัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP อาทิ OTOP Classic ระดับ 3 - 5 ดาว OTOP First Lady จัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า และชุดเสื้อผ้าสําเร็จรูป รวมทั้งการให้บริการออกแบบและตัดเย็บภายในงาน การจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทเครื่องแต่งกาย ประเภทเครื่องประดับ และประเภทจักสาน 5. การจัดพื้นที่โซนหัตถศิลป์ ศิลปิน OTOP โดยจัดแสดงเป็นพาวิลเลี่ยน (Pavilion) นําเสนองานฝีมือของศิลปิน OTOP ที่แสดงถึงคุณค่าความเป็นไทย มรดกทางภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินที่สืบสานงานศิลป์มายาวนาน ได้รับการยอมรับว่าเป็นหัตถศิลป์ถิ่นสยามที่ทรงคุณค่าเหนือกาลเวลา 6. การจัด OTOP ชวนชิม จําหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด และ 7. การจัดพื้นที่โซนสุขภาพ Health & Spa จําหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพระดับ 3-5 ดาว พร้อมบริการนวดผ่อนคลายเพื่อสุขภาพ รวมถึงการให้บริการเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชน เช่น จุดบริการ WiFi ธนาคาร ไปรษณีย์ ที่พักผ่อน เป็นต้น และมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย ทั้งการแสดงดนตรี การแสดงศิลปวัฒนธรรมภาคต่าง ๆ การจัดช่วงเวลานาทีทอง และกิจกรรมชิงรางวัลเป็นประจําทุกวัน โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้ดําเนินการภายใต้การประยุกต์ใช้มาตรการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นสําคัญ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34111
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ยืนยันไม่เคยช่วยเหลือใครหากทำผิดกฎหมาย ย้ำทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการ เร่ง สตช. ตั้งคณะกรรมตรวจสอบ
วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2563 นายกฯ ยืนยันไม่เคยช่วยเหลือใครหากทําผิดกฎหมาย ย้ําทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการ เร่ง สตช. ตั้งคณะกรรมตรวจสอบ นายกฯ ยืนยันไม่เคยช่วยเหลือใครหากทําผิดกฎหมาย ย้ําทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการ เร่ง สตช. ตั้งคณะกรรมตรวจสอบ ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด กรณีที่สํานักงานอัยการสูงสุดมีคําสั่งไม่ฟ้องคดีต่อนายวรยุทธ อยู่วิทยา ในทุกข้อกล่าวหา และสํานักงานตํารวจแห่งชาติไม่แย้งคําสั่งของอัยการ ทั้งนี้ เมื่อท่านนายกรัฐมนตรีทราบจากข่าวแล้ว ด้วยความไม่สบายใจ และเห็นว่าควรต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เกิดความชัดเจนเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยท่านนายกรัฐมนตรีรู้สึกเข้าใจดีถึงความรู้สึกของประชาชน พร้อมกับสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริงของคดีดังกล่าวตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ถึงขั้นตอนของอัยการว่าเป็นมาอย่างไร พร้อมทั้งรายงานโดยด่วน และยืนยันนายกรัฐมนตรีไม่เคยช่วยเหลือใคร ไม่เคยแทรกแซงการทํางานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ําว่าผู้ที่เกี่ยวข้องหลักตามกระบวนการยุติธรรมในกรณีนี้ คือ เจ้าหน้าที่ตํารวจเจ้าของคดี และพนักงานอัยการ โดยเฉพาะอัยการนั้นนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นผู้แต่งตั้งและมีอํานาจพิจารณาคดีได้อย่างอิสระตามขอบเขตของกฎหมาย ดังนั้น นายกรัฐมนตรีไม่สั่งการใครในคดีนี้ และทุกอย่างต้องเป็นไปตามพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง และขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม หากใครทําผิดจะต้องถูกลงโทษทั้งสิ้น พร้อมทั้งเตือนขอให้อย่านําเรื่องนี้ไปบิดเบือนหรือเชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ จนเกิดความเข้าใจผิดและสับสน นอกจากนี้ ขณะนี้ สตช. สนช.ในขณะนั้น กําลังเตรียมการตั้งคณะกรรมการพิจารณาดําเนินการเรื่องดังกล่าวโดยด่วน เพื่อให้สังคมปราศจากข้อสงสัยได้โดยเร็วที่สุด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ยืนยันไม่เคยช่วยเหลือใครหากทำผิดกฎหมาย ย้ำทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการ เร่ง สตช. ตั้งคณะกรรมตรวจสอบ วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2563 นายกฯ ยืนยันไม่เคยช่วยเหลือใครหากทําผิดกฎหมาย ย้ําทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการ เร่ง สตช. ตั้งคณะกรรมตรวจสอบ นายกฯ ยืนยันไม่เคยช่วยเหลือใครหากทําผิดกฎหมาย ย้ําทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการ เร่ง สตช. ตั้งคณะกรรมตรวจสอบ ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด กรณีที่สํานักงานอัยการสูงสุดมีคําสั่งไม่ฟ้องคดีต่อนายวรยุทธ อยู่วิทยา ในทุกข้อกล่าวหา และสํานักงานตํารวจแห่งชาติไม่แย้งคําสั่งของอัยการ ทั้งนี้ เมื่อท่านนายกรัฐมนตรีทราบจากข่าวแล้ว ด้วยความไม่สบายใจ และเห็นว่าควรต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เกิดความชัดเจนเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยท่านนายกรัฐมนตรีรู้สึกเข้าใจดีถึงความรู้สึกของประชาชน พร้อมกับสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริงของคดีดังกล่าวตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ถึงขั้นตอนของอัยการว่าเป็นมาอย่างไร พร้อมทั้งรายงานโดยด่วน และยืนยันนายกรัฐมนตรีไม่เคยช่วยเหลือใคร ไม่เคยแทรกแซงการทํางานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ําว่าผู้ที่เกี่ยวข้องหลักตามกระบวนการยุติธรรมในกรณีนี้ คือ เจ้าหน้าที่ตํารวจเจ้าของคดี และพนักงานอัยการ โดยเฉพาะอัยการนั้นนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นผู้แต่งตั้งและมีอํานาจพิจารณาคดีได้อย่างอิสระตามขอบเขตของกฎหมาย ดังนั้น นายกรัฐมนตรีไม่สั่งการใครในคดีนี้ และทุกอย่างต้องเป็นไปตามพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง และขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม หากใครทําผิดจะต้องถูกลงโทษทั้งสิ้น พร้อมทั้งเตือนขอให้อย่านําเรื่องนี้ไปบิดเบือนหรือเชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ จนเกิดความเข้าใจผิดและสับสน นอกจากนี้ ขณะนี้ สตช. สนช.ในขณะนั้น กําลังเตรียมการตั้งคณะกรรมการพิจารณาดําเนินการเรื่องดังกล่าวโดยด่วน เพื่อให้สังคมปราศจากข้อสงสัยได้โดยเร็วที่สุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33692
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนำพลังบวรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ณ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร
วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563 นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนําพลังบวรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ณ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนําพลังบวรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ณ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม เข้ากราบสักการะ พระพิพัฒนกิจวิธาน (บุญศักดิ์ สิริปุญโญ) เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร พร้อมทั้งเป็นประธาน "นําพลังบวรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เฉลิมพระเกียรติ” โดยจัดตั้งโรงทานตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แจกจ่ายอาหารให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้นํากลับไปรับประทานที่บ้าน รวมทั้งมอบถุงยังชีพ เครื่องอุปโภค-บริโภค ให้แก่ผู้แทนครอบครัวและชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) จํานวน ๗ ราย นอกจากนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม ร่วมมอบอาหารพร้อมน้ําดื่ม เครื่องอุปโภค - บริโภค ใส่ตู้แบ่งปัน น้ําใจ สู้ภัยโควิด ๑๙ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19 โดยมี นายสมเกียรติ พันธรรม รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายประดิษฐ์ โปซิว ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางประนอม คลังทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมเขตพระโขนง และภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม เข้าร่วม ณ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนำพลังบวรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ณ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2563 นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนําพลังบวรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ณ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนําพลังบวรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ณ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม เข้ากราบสักการะ พระพิพัฒนกิจวิธาน (บุญศักดิ์ สิริปุญโญ) เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร พร้อมทั้งเป็นประธาน "นําพลังบวรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เฉลิมพระเกียรติ” โดยจัดตั้งโรงทานตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แจกจ่ายอาหารให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้นํากลับไปรับประทานที่บ้าน รวมทั้งมอบถุงยังชีพ เครื่องอุปโภค-บริโภค ให้แก่ผู้แทนครอบครัวและชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) จํานวน ๗ ราย นอกจากนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม ร่วมมอบอาหารพร้อมน้ําดื่ม เครื่องอุปโภค - บริโภค ใส่ตู้แบ่งปัน น้ําใจ สู้ภัยโควิด ๑๙ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19 โดยมี นายสมเกียรติ พันธรรม รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายประดิษฐ์ โปซิว ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางประนอม คลังทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมเขตพระโขนง และภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม เข้าร่วม ณ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31677
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเดินหน้านโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP) ตามมติ ครม.
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเดินหน้านโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP) ตามมติ ครม. กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการ และกองทุนอื่น ๆ เดินหน้านโยบาย “UCEP” ตามมติ ครม. มีผล 1 เมษายน นี้ วันนี้ (31 มีนาคม 2560) ที่ศูนย์ประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการสํานักงานประกันสังคม ผู้แทนกรมบัญชีกลาง นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ประธานวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย และเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แถลงข่าว การดําเนินการนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกําหนดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่งทั้งรัฐและเอกชน โดยไม่ต้องสํารองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการ เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้รับการดูแลความสะดวกปลอดภัย รวมทั้งแก้ไขในสิ่งที่เป็นข้อกังวล เช่น นิยามผู้ป่วยฉุกเฉิน อัตราค่าบริการ การจ่ายเงิน การดูแลหลังพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมง เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ออกอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ได้แก่ 1.การจําแนกประเภทผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่สถานพยาบาลไม่เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลใน 72 ชั่วโมง 2. กําหนดหลักเกณฑ์ให้สถานพยาบาลในการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน และการส่งต่อผู้ป่วยหากเกินขีดความสามารถเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือภายหลังพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมง 3.หลักเกณฑ์อัตราค่าใช้จ่ายในการดําเนินการผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่จะได้รับการชดเชยจากกองทุนต่าง ๆในอัตราที่คณะกรรมการสถานพยาบาลได้เสนอไปและคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา สําหรับอนุบัญญัติ 2 ฉบับแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 31 มีนาคม 2560 นี้ และมีผลบังคับใช้ 1 เมษายน 2560 ซึ่งจะได้แจ้งเวียนประกาศฯไปยังสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป เพื่อให้ผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินได้รับการดูแลรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลทุกแห่ง ใน 72 ชั่วโมงแรก โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย สถานพยาบาลมีเจ้าภาพคือกองทุนต่าง ๆ ชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริการผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ทั้งนี้ ได้กําหนดให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เปิดศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เป็นผู้มีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บจากกองทุนต่าง ๆ ส่วนระบบสํารองเตียงรับผู้ป่วยหลังพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมงจากภาคเอกชนนั้น ในเขตกรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานให้โรงพยาบาลรัฐทุกสังกัด รวมทั้งโรงพยาบาลในเขตปริมณฑลรองรับ ในส่วนภูมิภาคโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งพร้อมรองรับเช่นกัน โดยมีเบอร์ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สพฉ. หมายเลข 02 872 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง มีนาคม 4/8************************************** 31 มีนาคม 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเดินหน้านโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP) ตามมติ ครม. วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเดินหน้านโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP) ตามมติ ครม. กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการ และกองทุนอื่น ๆ เดินหน้านโยบาย “UCEP” ตามมติ ครม. มีผล 1 เมษายน นี้ วันนี้ (31 มีนาคม 2560) ที่ศูนย์ประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการสํานักงานประกันสังคม ผู้แทนกรมบัญชีกลาง นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ประธานวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย และเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แถลงข่าว การดําเนินการนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกําหนดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่งทั้งรัฐและเอกชน โดยไม่ต้องสํารองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการ เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้รับการดูแลความสะดวกปลอดภัย รวมทั้งแก้ไขในสิ่งที่เป็นข้อกังวล เช่น นิยามผู้ป่วยฉุกเฉิน อัตราค่าบริการ การจ่ายเงิน การดูแลหลังพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมง เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ออกอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ได้แก่ 1.การจําแนกประเภทผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่สถานพยาบาลไม่เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลใน 72 ชั่วโมง 2. กําหนดหลักเกณฑ์ให้สถานพยาบาลในการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน และการส่งต่อผู้ป่วยหากเกินขีดความสามารถเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือภายหลังพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมง 3.หลักเกณฑ์อัตราค่าใช้จ่ายในการดําเนินการผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่จะได้รับการชดเชยจากกองทุนต่าง ๆในอัตราที่คณะกรรมการสถานพยาบาลได้เสนอไปและคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา สําหรับอนุบัญญัติ 2 ฉบับแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 31 มีนาคม 2560 นี้ และมีผลบังคับใช้ 1 เมษายน 2560 ซึ่งจะได้แจ้งเวียนประกาศฯไปยังสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป เพื่อให้ผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินได้รับการดูแลรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลทุกแห่ง ใน 72 ชั่วโมงแรก โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย สถานพยาบาลมีเจ้าภาพคือกองทุนต่าง ๆ ชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริการผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ทั้งนี้ ได้กําหนดให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เปิดศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เป็นผู้มีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บจากกองทุนต่าง ๆ ส่วนระบบสํารองเตียงรับผู้ป่วยหลังพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมงจากภาคเอกชนนั้น ในเขตกรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานให้โรงพยาบาลรัฐทุกสังกัด รวมทั้งโรงพยาบาลในเขตปริมณฑลรองรับ ในส่วนภูมิภาคโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งพร้อมรองรับเช่นกัน โดยมีเบอร์ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สพฉ. หมายเลข 02 872 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง มีนาคม 4/8************************************** 31 มีนาคม 2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2811
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วันสงกรานต์ปีนี้ อยู่บ้านหยุดเชื้อ เพื่อชาติ
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2563 วันสงกรานต์ปีนี้ อยู่บ้านหยุดเชื้อ เพื่อชาติ วันสงกรานต์ปีนี้ อยู่บ้านหยุดเชื้อ เพื่อชาติ วันสงกรานต์ปีนี้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วันสงกรานต์ปีนี้ อยู่บ้านหยุดเชื้อ เพื่อชาติ วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2563 วันสงกรานต์ปีนี้ อยู่บ้านหยุดเชื้อ เพื่อชาติ วันสงกรานต์ปีนี้ อยู่บ้านหยุดเชื้อ เพื่อชาติ วันสงกรานต์ปีนี้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28875
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2560
วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2560 รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนสิงหาคม 2560 เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และ กทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และ กทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนสิงหาคม 2560 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และกทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี” โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 42.9 ต่อปี ตามการลงทุนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.9 และ 13.1 ต่อปี ตามลําดับ ตามการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ สงขลา และสุราษฎร์ธานี สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวจากผลผลิตยางพารา และกุ้ง เป็นสําคัญ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับต่ําที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 13.3 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.5 และ 11.9 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตยางพารา สุกร ไก่เนื้อ และผลไม้ เป็นสําคัญ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 ต่อปี เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 121.1 ต่อปี ตามการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และปทุมธานี เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 13.0 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคในจังหวัดที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี ในจังหวัดขอนแก่น บุรีรัมย์ และหนองบัวลําภู สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.0 และ 8.1 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก มันสําปะหลัง สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคในภูมิภาคร้อยละ 2.7 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคเหนือ เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน ภาคเกษตร และภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และสุโขทัย เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.0 และ 8.9 ต่อปี ในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ และพิษณุโลก เป็นต้น สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก มันสําปะหลัง สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันตก เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชน ภาคเกษตรและการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี ในจังหวัดกาญจนบุรี และสมุทรสงคราม เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 5.1 และ 8.8 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก มันสําปะหลัง และสับปะรด เป็นต้น สําหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 ที่ยังอยู่ในระดับต่ําที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนการเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 7.5 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในจังหวัดสระบุรี และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น สําหรับเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ มีการลงทุนพิ่มในจังหวัดจังหวัดสระบุรีในโรงงานผลิตคอนกรีต เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2560 วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2560 รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนสิงหาคม 2560 เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และ กทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และ กทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนสิงหาคม 2560 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และกทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี” โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 42.9 ต่อปี ตามการลงทุนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.9 และ 13.1 ต่อปี ตามลําดับ ตามการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ สงขลา และสุราษฎร์ธานี สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวจากผลผลิตยางพารา และกุ้ง เป็นสําคัญ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับต่ําที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 13.3 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.5 และ 11.9 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตยางพารา สุกร ไก่เนื้อ และผลไม้ เป็นสําคัญ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 ต่อปี เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 121.1 ต่อปี ตามการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และปทุมธานี เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 13.0 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคในจังหวัดที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี ในจังหวัดขอนแก่น บุรีรัมย์ และหนองบัวลําภู สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.0 และ 8.1 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก มันสําปะหลัง สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคในภูมิภาคร้อยละ 2.7 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคเหนือ เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน ภาคเกษตร และภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และสุโขทัย เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.0 และ 8.9 ต่อปี ในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ และพิษณุโลก เป็นต้น สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก มันสําปะหลัง สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันตก เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชน ภาคเกษตรและการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี ในจังหวัดกาญจนบุรี และสมุทรสงคราม เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 5.1 และ 8.8 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก มันสําปะหลัง และสับปะรด เป็นต้น สําหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 ที่ยังอยู่ในระดับต่ําที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนการเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 7.5 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในจังหวัดสระบุรี และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น สอดคล้องกับผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตข้าวเปลือก สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น สําหรับเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ มีการลงทุนพิ่มในจังหวัดจังหวัดสระบุรีในโรงงานผลิตคอนกรีต เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7040
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม ปี 2561
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2561 รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนสิงหาคม ปี 2561 เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนสิงหาคม ปี 2561 "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 28.5 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 37.6 และ 34.9 ต่อปี ตามลําดับ จากขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นต้น ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 46.9 และ 19.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับเม็ดเงินลงทุนที่เริ่มประกอบกิจการ อยู่ที่ 3,116 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 106.3 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดชลบุรี และปราจีนบุรี เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.3 และ 8.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่ปรับเพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับ 100 เป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันมาอยู่ที่ 109.0 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเหล็ก เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 11.3 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 30.5 และ 10.3 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 18.1 และ 8.8 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสระบุรี และสิงห์บุรี เป็นต้น นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนที่เริ่มประกอบกิจการ อยู่ที่ 1,262 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 235.3 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดสระบุรี และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.7 และ 9.4 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคกลางที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 98.0 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคมเบื้องต้น 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคเหนือ เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.2 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดเชียงใหม่ ตาก แพร่ และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 6.5 และ 8.8 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 7.2 และ 12.5 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ อยู่ที่ 1,377 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 40.9 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดอุทัยธานี พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในกรกฎาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.5 และ 7.0 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง จากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา และเลย เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 9.0 และ 9.1 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับเงินทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 1,463.6 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 78.1 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดนครราชสีมา จากการลงทุนโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.1 และ 9.8 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคมเบื้องต้น ยังคงอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคสินค้าคงทน และการลงทุนภาคเอกชน เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 8.6 และ 2.9 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในกรุงเทพมหานคร ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 หดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.6 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 32.0 และ 19.3 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร เป็นต้น สอดคล้องกับเงินทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 7,452 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรปราการ เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามการขยายตัวทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือนสิงหาคมเบื้องต้น 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันตก เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ใน เดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวเร่งร้อยละ 6.9 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในจังหวัดเพชรบุรี และกาญจนบุรี เป็นต้นในขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนชะลอตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และสมุทรสงคราม เป็นต้น สอดคล้องกับเงินทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 530 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจํานวนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.6 และ 7.9 ต่อปี ตามลําดับ สําหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคและการผลิตภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในจังหวัดภูเก็ต พังงา และสตูล เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น จากเงินทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 1,524 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.8 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดนราธิวาส ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้จะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อน ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.4 และ 10.2 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ในระดับเอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม ปี 2561 วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2561 รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนสิงหาคม ปี 2561 เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนสิงหาคม ปี 2561 "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 28.5 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 37.6 และ 34.9 ต่อปี ตามลําดับ จากขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นต้น ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 46.9 และ 19.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับเม็ดเงินลงทุนที่เริ่มประกอบกิจการ อยู่ที่ 3,116 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 106.3 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดชลบุรี และปราจีนบุรี เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.3 และ 8.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่ปรับเพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับ 100 เป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันมาอยู่ที่ 109.0 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเหล็ก เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 11.3 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 30.5 และ 10.3 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 18.1 และ 8.8 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสระบุรี และสิงห์บุรี เป็นต้น นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนที่เริ่มประกอบกิจการ อยู่ที่ 1,262 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 235.3 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดสระบุรี และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.7 และ 9.4 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคกลางที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 98.0 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคมเบื้องต้น 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคเหนือ เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.2 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดเชียงใหม่ ตาก แพร่ และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 6.5 และ 8.8 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 7.2 และ 12.5 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ อยู่ที่ 1,377 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 40.9 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดอุทัยธานี พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในกรกฎาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.5 และ 7.0 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง จากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา และเลย เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 9.0 และ 9.1 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับเงินทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 1,463.6 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 78.1 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดนครราชสีมา จากการลงทุนโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.1 และ 9.8 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคมเบื้องต้น ยังคงอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคสินค้าคงทน และการลงทุนภาคเอกชน เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 8.6 และ 2.9 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในกรุงเทพมหานคร ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 หดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.6 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 32.0 และ 19.3 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร เป็นต้น สอดคล้องกับเงินทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 7,452 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรปราการ เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามการขยายตัวทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือนสิงหาคมเบื้องต้น 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันตก เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ใน เดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวเร่งร้อยละ 6.9 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในจังหวัดเพชรบุรี และกาญจนบุรี เป็นต้นในขณะที่การบริโภคสินค้าคงทนชะลอตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และสมุทรสงคราม เป็นต้น สอดคล้องกับเงินทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 530 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจํานวนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.6 และ 7.9 ต่อปี ตามลําดับ สําหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคและการผลิตภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในจังหวัดภูเก็ต พังงา และสตูล เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น จากเงินทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 1,524 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.8 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดนราธิวาส ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้จะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อน ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนกรกฎาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.4 และ 10.2 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ในระดับเอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15696
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-MEA เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 เพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล [กระทรวงมหาดไทย]
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2563 MEA เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 เพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล [กระทรวงมหาดไทย] MEA เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 เพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล MEA เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 เพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบแนวทางการดําเนินการมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 นั้น การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบระบบจําหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พร้อมตอบสนองนโยบายรัฐบาล โดยการดําเนินมาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย จํานวนประมาณ 22 ล้านราย เป็นวงเงินประมาณ 23,668 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีรายละเอียด ดังนี้ 1. สําหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน (ประเภทที่ 1.1 หรือ 1.1.1) ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี เป็นเวลา 3 เดือน ในรอบการใช้ไฟฟ้าเดือน มีนาคม ถึง พฤษภาคม 2563 หากใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยภายใน 3 เดือนดังกล่าวจะไม่ถูกจัดอยู่ในประเภทที่ 1.2 หรือ 1.1.2 2. สําหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน (ประเภทที่ 1.2 – 1.3 หรือประเภทที่ 1.1.2-1.1.3) ให้จ่ายค่าไฟฟ้ารายเดือนสําหรับรอบการใช้ไฟฟ้าเดือน มีนาคม ถึงพฤษภาคม 2563 โดยใช้หน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นฐานในการอ้างอิง ดังนี้ 2.1 หากการใช้ไฟฟ้ารายเดือนน้อยกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ให้จ่ายค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริงในเดือนนั้น ๆ 2.2 หากการใช้ไฟฟ้ารายเดือนมากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 แต่ไม่ถึง 800 หน่วย ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 2.3 หากการใช้ไฟฟ้ารายเดือนมากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และมากกว่า 800 หน่วย แต่ไม่ถึง 3,000 หน่วย ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 บวกด้วยค่าไฟฟ้าสําหรับหน่วยที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าไฟฟ้าจริง 2.4 หากการใช้ไฟฟ้ารายเดือนมากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และมากกว่า 3,000 หน่วย ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 บวกด้วยค่าไฟฟ้าสําหรับหน่วยที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ในอัตราร้อยละ 70 ของค่าไฟฟ้าจริง เพื่อการอํานวยความสะดวกให้กับประชาชน MEA จะคืนเงินด้วยวิธีการหักจากค่าไฟฟ้าของแต่ละเดือน โดยผู้ที่ชําระค่าไฟไปแล้ว จะมีการหักคืนให้ในบิลค่าไฟฟ้ารอบถัดไป นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าอื่น ๆ ที่ผ่านมา จะยังคงอยู่ เช่น การลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 3 ก็จะถูกคํานวนหลังจากมีการลดจากมาตรการอื่น ๆ ทั้งหมดแล้ว รวมถึงมาตรการผ่อนผันการเก็บค่าไฟฟ้าอัตราขั้นต่ํา และขยายเวลาชําระค่าไฟฟ้า 6 เดือนกับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ โดยสามารถดูรายละเอียดมาตรการเดิมได้ที่ https://www.mea.or.th/content/detail/87/5317 หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของ MEA ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line@ : @meathailand, Twitter : @mea_news, หรือ MEA Call Center 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-MEA เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 เพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล [กระทรวงมหาดไทย] วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2563 MEA เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 เพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล [กระทรวงมหาดไทย] MEA เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 เพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล MEA เดินหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 เพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบแนวทางการดําเนินการมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 นั้น การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบระบบจําหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พร้อมตอบสนองนโยบายรัฐบาล โดยการดําเนินมาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย จํานวนประมาณ 22 ล้านราย เป็นวงเงินประมาณ 23,668 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีรายละเอียด ดังนี้ 1. สําหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน (ประเภทที่ 1.1 หรือ 1.1.1) ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี เป็นเวลา 3 เดือน ในรอบการใช้ไฟฟ้าเดือน มีนาคม ถึง พฤษภาคม 2563 หากใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยภายใน 3 เดือนดังกล่าวจะไม่ถูกจัดอยู่ในประเภทที่ 1.2 หรือ 1.1.2 2. สําหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน (ประเภทที่ 1.2 – 1.3 หรือประเภทที่ 1.1.2-1.1.3) ให้จ่ายค่าไฟฟ้ารายเดือนสําหรับรอบการใช้ไฟฟ้าเดือน มีนาคม ถึงพฤษภาคม 2563 โดยใช้หน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นฐานในการอ้างอิง ดังนี้ 2.1 หากการใช้ไฟฟ้ารายเดือนน้อยกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ให้จ่ายค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริงในเดือนนั้น ๆ 2.2 หากการใช้ไฟฟ้ารายเดือนมากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 แต่ไม่ถึง 800 หน่วย ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 2.3 หากการใช้ไฟฟ้ารายเดือนมากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และมากกว่า 800 หน่วย แต่ไม่ถึง 3,000 หน่วย ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 บวกด้วยค่าไฟฟ้าสําหรับหน่วยที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าไฟฟ้าจริง 2.4 หากการใช้ไฟฟ้ารายเดือนมากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และมากกว่า 3,000 หน่วย ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 บวกด้วยค่าไฟฟ้าสําหรับหน่วยที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ในอัตราร้อยละ 70 ของค่าไฟฟ้าจริง เพื่อการอํานวยความสะดวกให้กับประชาชน MEA จะคืนเงินด้วยวิธีการหักจากค่าไฟฟ้าของแต่ละเดือน โดยผู้ที่ชําระค่าไฟไปแล้ว จะมีการหักคืนให้ในบิลค่าไฟฟ้ารอบถัดไป นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าอื่น ๆ ที่ผ่านมา จะยังคงอยู่ เช่น การลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 3 ก็จะถูกคํานวนหลังจากมีการลดจากมาตรการอื่น ๆ ทั้งหมดแล้ว รวมถึงมาตรการผ่อนผันการเก็บค่าไฟฟ้าอัตราขั้นต่ํา และขยายเวลาชําระค่าไฟฟ้า 6 เดือนกับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ โดยสามารถดูรายละเอียดมาตรการเดิมได้ที่ https://www.mea.or.th/content/detail/87/5317 หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของ MEA ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line@ : @meathailand, Twitter : @mea_news, หรือ MEA Call Center 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตภายใต้ชื่อ “โครงการบริจาคโลหิตเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” (ครั้งที่ ๓)
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563 กระทรวงยุติธรรม จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตภายใต้ชื่อ “โครงการบริจาคโลหิตเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” (ครั้งที่ ๓) กระทรวงยุติธรรม จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตภายใต้ชื่อ “โครงการบริจาคโลหิตเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” (ครั้งที่ ๓) ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมบริจาคโลหิต ภายใต้ชื่อ “โครงการบริจาคโลหิต เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการน้อมนําพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของการทําความดี ด้วยหัวใจ โดยการบริจาคโลหิตเป็นการทําความดีรูปแบบหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความเสียสละเพื่อส่วนรวม และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นการรณรงค์และปลูกจิตสํานึกข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในเรื่องของการบริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยมี พันตํารวจโท ปกรณ์ สุชีวกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร จิตอาสา ๙๐๔ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมฯ สําหรับกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒ ถึงเดือนเมษายน ๒๕๖๓ จํานวน ๔ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ วันจันทร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๒ วันจันทร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๓ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๓ และ ครั้งที่ ๔ วันจันทร์ที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓ ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตภายใต้ชื่อ “โครงการบริจาคโลหิตเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” (ครั้งที่ ๓) วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563 กระทรวงยุติธรรม จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตภายใต้ชื่อ “โครงการบริจาคโลหิตเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” (ครั้งที่ ๓) กระทรวงยุติธรรม จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตภายใต้ชื่อ “โครงการบริจาคโลหิตเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” (ครั้งที่ ๓) ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมบริจาคโลหิต ภายใต้ชื่อ “โครงการบริจาคโลหิต เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการน้อมนําพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของการทําความดี ด้วยหัวใจ โดยการบริจาคโลหิตเป็นการทําความดีรูปแบบหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความเสียสละเพื่อส่วนรวม และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นการรณรงค์และปลูกจิตสํานึกข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในเรื่องของการบริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยมี พันตํารวจโท ปกรณ์ สุชีวกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร จิตอาสา ๙๐๔ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมฯ สําหรับกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒ ถึงเดือนเมษายน ๒๕๖๓ จํานวน ๔ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ วันจันทร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๒ วันจันทร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๓ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๓ และ ครั้งที่ ๔ วันจันทร์ที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓ ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26025
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง ลธน.ม.เรณูฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ครั้งที่ 1/2560
วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2560 รอง ลธน.ม.เรณูฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดําเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ครั้งที่ 1/2560 ที่ประชุมรับทราบผลการจัดงานตลาดนัดวิถีวิทย์ มีรายได้กระจายสู่ชุมชนกว่า 18 ล้านบาท พร้อมเชิญชวนประชาชนมา ชม ชิม ช้อป ได้ต่อเนื่องถึงวันที่ 29 ม.ค. 60 วันนี้ (19 มกราคม 2560) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดําเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ครั้งที่ 1/2560 ที่ประชุมได้รับทราบการประเมินผลการจัดงาน ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาลภายใต้แนวคิด “ตลาดนัดวิถีวิทย์ 2560”จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยความร่วมมือของสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 9 - 29 มกราคม 2560 เวลา 10.00 - 19.00 น. โดยเปิดทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการหรือวันนักขัตฤกษ์ ทั้งนี้ ณ วันที่ 19 มกราคม 2560 มีรายได้กระจายสู่ชุมชนกว่า 18.2 ล้านบาท จึงขอเชิญชวนประชาชนมา ชม ชิม ช้อป สินค้าราคาย่อมเยาได้จนกระทั่งถึง วันที่ 29 มกราคม 2560 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข จัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล ภายใต้แนวคิด “เมืองสุขภาพดี วิถีไทย” โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 26 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งมีรายละเอียดโดยสรุป คือ การส่งเสริมด้านการตลาด เช่น มีการจัดจําหน่ายเวชสําอาง อาหารเสริม ยา เครื่องดื่ม wellness package (สปาน้ําพุร้อน) สวนสมุนไพร และไม้หอมไทย บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขฟรีแก่ประชาชน เช่น บริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด การดูสุขภาพดวงตา การวัดสายตาประกอบแว่น ตรวจสุขภาพผิว ชะลอวัย และการแพทย์แผนจีน ภูมิปัญญาไทย มีการนํานวัตกรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาจัดแสดงและจัดจําหน่าย เช่น หมอพื้นบ้านไทยเหยียบเหล็กแดง นวดขิดเส้น ตอกเส้น การนวดไทย พริกแกงไทยต้านมะเร็ง Package มารดาหลังคลอด ลด 30% และคอร์สเจ้าสาว ลด 30% อาหาร Clean Food Good Taste โดย มีการจําหน่ายอาหารรสชาติเด็ดจาก 4 ภูมิภาค พร้อมมีตลาดริมคลองฯ ช่วงบ่าย 3 โมงเย็นของทุกวัน รวมถึงเมนูต้านมะเร็ง และไอศรีมกล้วย อภัยภูเบศร์ มีบ้านเล่าเรื่องเมืองสมุนไพร พร้อมอาหาร และเครื่องดื่มสีสันจากสมุนไพรไทย เด็กรับประทานได้และผู้ใหญ่รับประทานดี เวทีกลาง จะมีการแสดงและการสาธิตต่าง ๆ เช่น สาธิตสปา@โฮม สาธิตเครื่องหอมกระตุ้นรัก สาธิตเรื่องกล้วยสวยด้วยมือเรา บ้านนี้มีรักษ์ ขยับกายสบายชีวี ประโยชน์ ของ “งาดํา” กฤษณาสมุนไพรมูลค่าหมื่นล้านบาท เครื่องเทศไทยก้าวไกลสู่สากล นอกจากนี้ในการจัดงานดังกล่าวในแต่ละสัปดาห์นั้น จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป และน่าสนใจ ดังนี้ สัปดาห์ที่ 1 (6 - 12 ก.พ. 60) เรื่องข้าว ได้แก่ จะมีการจําหน่ายอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสําอาง เทคโนโลยี การตลาดและมาตรฐานสากล สัปดาห์ที่ 2 (13 - 19 ก.พ. 60) สมุนไพรไทย ได้แก่ ยาไทย (ยาหอม ยาหม่อง ยาดม น้ํามันนวด ลูกประคบ) สมุนไพรสําหรับสัตว์ อาหารเสริม(เครื่องแกงไทย) และเครื่องดื่ม(ชาสมุนไพร) สัปดาห์ที่ 3 (20 - 26 ก.พ. 60) นวัตกรรมสมุนไพรไทย ได้แก่ น้ํามันหอมระเหย เครื่องสําอาง และสปา เทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรไทยและบรรจุภัณฑ์ กิจกรรมการประกวดอาหารและขนมที่ทําจากสมุนไพรไทย ******************************* กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง ลธน.ม.เรณูฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ครั้งที่ 1/2560 วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2560 รอง ลธน.ม.เรณูฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดําเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ครั้งที่ 1/2560 ที่ประชุมรับทราบผลการจัดงานตลาดนัดวิถีวิทย์ มีรายได้กระจายสู่ชุมชนกว่า 18 ล้านบาท พร้อมเชิญชวนประชาชนมา ชม ชิม ช้อป ได้ต่อเนื่องถึงวันที่ 29 ม.ค. 60 วันนี้ (19 มกราคม 2560) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดําเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ครั้งที่ 1/2560 ที่ประชุมได้รับทราบการประเมินผลการจัดงาน ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาลภายใต้แนวคิด “ตลาดนัดวิถีวิทย์ 2560”จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยความร่วมมือของสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 9 - 29 มกราคม 2560 เวลา 10.00 - 19.00 น. โดยเปิดทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการหรือวันนักขัตฤกษ์ ทั้งนี้ ณ วันที่ 19 มกราคม 2560 มีรายได้กระจายสู่ชุมชนกว่า 18.2 ล้านบาท จึงขอเชิญชวนประชาชนมา ชม ชิม ช้อป สินค้าราคาย่อมเยาได้จนกระทั่งถึง วันที่ 29 มกราคม 2560 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข จัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล ภายใต้แนวคิด “เมืองสุขภาพดี วิถีไทย” โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 26 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งมีรายละเอียดโดยสรุป คือ การส่งเสริมด้านการตลาด เช่น มีการจัดจําหน่ายเวชสําอาง อาหารเสริม ยา เครื่องดื่ม wellness package (สปาน้ําพุร้อน) สวนสมุนไพร และไม้หอมไทย บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขฟรีแก่ประชาชน เช่น บริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด การดูสุขภาพดวงตา การวัดสายตาประกอบแว่น ตรวจสุขภาพผิว ชะลอวัย และการแพทย์แผนจีน ภูมิปัญญาไทย มีการนํานวัตกรรมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาจัดแสดงและจัดจําหน่าย เช่น หมอพื้นบ้านไทยเหยียบเหล็กแดง นวดขิดเส้น ตอกเส้น การนวดไทย พริกแกงไทยต้านมะเร็ง Package มารดาหลังคลอด ลด 30% และคอร์สเจ้าสาว ลด 30% อาหาร Clean Food Good Taste โดย มีการจําหน่ายอาหารรสชาติเด็ดจาก 4 ภูมิภาค พร้อมมีตลาดริมคลองฯ ช่วงบ่าย 3 โมงเย็นของทุกวัน รวมถึงเมนูต้านมะเร็ง และไอศรีมกล้วย อภัยภูเบศร์ มีบ้านเล่าเรื่องเมืองสมุนไพร พร้อมอาหาร และเครื่องดื่มสีสันจากสมุนไพรไทย เด็กรับประทานได้และผู้ใหญ่รับประทานดี เวทีกลาง จะมีการแสดงและการสาธิตต่าง ๆ เช่น สาธิตสปา@โฮม สาธิตเครื่องหอมกระตุ้นรัก สาธิตเรื่องกล้วยสวยด้วยมือเรา บ้านนี้มีรักษ์ ขยับกายสบายชีวี ประโยชน์ ของ “งาดํา” กฤษณาสมุนไพรมูลค่าหมื่นล้านบาท เครื่องเทศไทยก้าวไกลสู่สากล นอกจากนี้ในการจัดงานดังกล่าวในแต่ละสัปดาห์นั้น จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป และน่าสนใจ ดังนี้ สัปดาห์ที่ 1 (6 - 12 ก.พ. 60) เรื่องข้าว ได้แก่ จะมีการจําหน่ายอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสําอาง เทคโนโลยี การตลาดและมาตรฐานสากล สัปดาห์ที่ 2 (13 - 19 ก.พ. 60) สมุนไพรไทย ได้แก่ ยาไทย (ยาหอม ยาหม่อง ยาดม น้ํามันนวด ลูกประคบ) สมุนไพรสําหรับสัตว์ อาหารเสริม(เครื่องแกงไทย) และเครื่องดื่ม(ชาสมุนไพร) สัปดาห์ที่ 3 (20 - 26 ก.พ. 60) นวัตกรรมสมุนไพรไทย ได้แก่ น้ํามันหอมระเหย เครื่องสําอาง และสปา เทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรไทยและบรรจุภัณฑ์ กิจกรรมการประกวดอาหารและขนมที่ทําจากสมุนไพรไทย ******************************* กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1420
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“18 รพ.สต.” อำเภอเถิน ร่วมมือพัฒนาระบบบริการ ให้ได้มาตรฐาน “รพ.สต. ติดดาว”
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2561 “18 รพ.สต.” อําเภอเถิน ร่วมมือพัฒนาระบบบริการ ให้ได้มาตรฐาน “รพ.สต. ติดดาว” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง จํานวน 18 แห่ง จับมือพัฒนาระบบบริการ มุ่งสู่มาตรฐานเกณฑ์ “รพ.สต.ติดดาว” เพื่อเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวกรวดเร็วและลดความแออัด จากโรงพยาบาลใหญ่ ด้วยแนวคิด “คนสําราญ งานสําเร็จ” นางกอบกุล สาวงศ์ตุ้ย พยาบาลวิชาชีพชํานาญการโรงพยาบาลเถิน อําเภอเถิน จังหวัดลําปางนําเสนอผลงาน เรื่อง “ลงขันพัฒนา รพ.สต. อําเภอเถิน สู่การรับประเมิน รพ.สต.ติดดาว” ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจําปี 2561 โดยพื้นที่อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.)มากถึง 18 แห่ง ซึ่งภายหลังจากการลงเยี่ยมเสริมพลังของทีมนายอําเภอและประชุมร่วมกับ รพ.สต. ทั้ง 18 แห่ง ได้ข้อสรุปว่าควรมีการร่วมมือกันปรับปรุงระบบการให้บริการตามเกณฑ์มาตรฐาน รพ.สต.ติดดาวทุกแห่ง ได้แก่ การพัฒนางานป้องกันการติดเชื้อ ยาและเวชภัณฑ์ มาตรฐานการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พัฒนาคุณภาพบริการ เช่น การประกันคุณภาพ ณ จุดบริการที่สําคัญ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในสถานบริการให้สวยงาม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้บริการและยอมรับในคุณภาพของ รพ.สต. ทุกแห่งในอําเภอเถิน นางกอบกุลกล่าวต่อว่า การดําเนินการร่วมมือพัฒนาครั้งนี้ เจ้าหน้าที่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้รับความสุขจากการทํางาน ลดความเครียดเกิดเป็นภาคีเครือข่ายการทํางานและทําให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจ พร้อมรับการประเมินเป็น รพ.สต.ติดดาว สามารถดูแลผู้รับบริการได้อย่างต่อเนื่องด้านผู้รับบริการมีความมั่นใจและพึงพอใจในการบริการของสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานใกล้บ้านลดความแออัดจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่และลดจํานวนการเสียชีวิตได้ซึ่งภายหลังการดําเนินงานพบว่า รพ.สต.ทุกแห่งสามารถพัฒนางานได้รวดเร็วได้รับการประเมินตนเองผ่านเกณฑ์ระดับอําเภอ และมีจํานวน 4 แห่ง ได้รับคัดเลือกให้เป็น รพ.สต.ติดดาว ได้แก่ รพ.สต.ดอนแก้ว รพ.สต.ห้วยแก้ว รพ.สต.ปางอ้า และ รพ.สต.วังหินโดย รพ.สต.อื่นๆที่ไม่ได้รับคัดเลือกยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมพร้อมรับการประเมิน รพ.สต.ติดดาว การร่วมมือกันปรับปรุง รพ.สต. 18 แห่ง ได้ดําเนินการตามแนวคิด“คนสําราญ งานสําเร็จ”โดยระดมเจ้าหน้าที่จาก 18 รพ.สต. ทั่วอําเภอเถิน ลงปฏิบัติงานร่วมกันทีละแห่ง มีขั้นตอนคือ 1.จัดตารางการทํางานเพื่อกําหนดวัน เวลาและสถานที่ที่จะลงไปพัฒนา รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง ครั้งละ 1 แห่ง 2.เตรียมอุปกรณ์ปฏิบัติงานและแบ่งบทบาทหน้าที่ตามความถนัด 3.ประชุมทีมหน้างานพร้อมลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น ปรับปรุงระบบให้บริการ ปรับตําแหน่งการวางอุปกรณ์ ได้แก่ รถทําแผล อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์สํานักงาน ทําความสะอาดห้องเตรียมอุปกรณ์ทําให้ปราศจากเชื้อและได้มาตรฐาน ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ให้สวยงาม เป็นต้น ******************* 19 ตุลาคม 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“18 รพ.สต.” อำเภอเถิน ร่วมมือพัฒนาระบบบริการ ให้ได้มาตรฐาน “รพ.สต. ติดดาว” วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2561 “18 รพ.สต.” อําเภอเถิน ร่วมมือพัฒนาระบบบริการ ให้ได้มาตรฐาน “รพ.สต. ติดดาว” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง จํานวน 18 แห่ง จับมือพัฒนาระบบบริการ มุ่งสู่มาตรฐานเกณฑ์ “รพ.สต.ติดดาว” เพื่อเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวกรวดเร็วและลดความแออัด จากโรงพยาบาลใหญ่ ด้วยแนวคิด “คนสําราญ งานสําเร็จ” นางกอบกุล สาวงศ์ตุ้ย พยาบาลวิชาชีพชํานาญการโรงพยาบาลเถิน อําเภอเถิน จังหวัดลําปางนําเสนอผลงาน เรื่อง “ลงขันพัฒนา รพ.สต. อําเภอเถิน สู่การรับประเมิน รพ.สต.ติดดาว” ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจําปี 2561 โดยพื้นที่อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.)มากถึง 18 แห่ง ซึ่งภายหลังจากการลงเยี่ยมเสริมพลังของทีมนายอําเภอและประชุมร่วมกับ รพ.สต. ทั้ง 18 แห่ง ได้ข้อสรุปว่าควรมีการร่วมมือกันปรับปรุงระบบการให้บริการตามเกณฑ์มาตรฐาน รพ.สต.ติดดาวทุกแห่ง ได้แก่ การพัฒนางานป้องกันการติดเชื้อ ยาและเวชภัณฑ์ มาตรฐานการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พัฒนาคุณภาพบริการ เช่น การประกันคุณภาพ ณ จุดบริการที่สําคัญ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในสถานบริการให้สวยงาม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้บริการและยอมรับในคุณภาพของ รพ.สต. ทุกแห่งในอําเภอเถิน นางกอบกุลกล่าวต่อว่า การดําเนินการร่วมมือพัฒนาครั้งนี้ เจ้าหน้าที่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้รับความสุขจากการทํางาน ลดความเครียดเกิดเป็นภาคีเครือข่ายการทํางานและทําให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจ พร้อมรับการประเมินเป็น รพ.สต.ติดดาว สามารถดูแลผู้รับบริการได้อย่างต่อเนื่องด้านผู้รับบริการมีความมั่นใจและพึงพอใจในการบริการของสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานใกล้บ้านลดความแออัดจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่และลดจํานวนการเสียชีวิตได้ซึ่งภายหลังการดําเนินงานพบว่า รพ.สต.ทุกแห่งสามารถพัฒนางานได้รวดเร็วได้รับการประเมินตนเองผ่านเกณฑ์ระดับอําเภอ และมีจํานวน 4 แห่ง ได้รับคัดเลือกให้เป็น รพ.สต.ติดดาว ได้แก่ รพ.สต.ดอนแก้ว รพ.สต.ห้วยแก้ว รพ.สต.ปางอ้า และ รพ.สต.วังหินโดย รพ.สต.อื่นๆที่ไม่ได้รับคัดเลือกยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมพร้อมรับการประเมิน รพ.สต.ติดดาว การร่วมมือกันปรับปรุง รพ.สต. 18 แห่ง ได้ดําเนินการตามแนวคิด“คนสําราญ งานสําเร็จ”โดยระดมเจ้าหน้าที่จาก 18 รพ.สต. ทั่วอําเภอเถิน ลงปฏิบัติงานร่วมกันทีละแห่ง มีขั้นตอนคือ 1.จัดตารางการทํางานเพื่อกําหนดวัน เวลาและสถานที่ที่จะลงไปพัฒนา รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง ครั้งละ 1 แห่ง 2.เตรียมอุปกรณ์ปฏิบัติงานและแบ่งบทบาทหน้าที่ตามความถนัด 3.ประชุมทีมหน้างานพร้อมลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น ปรับปรุงระบบให้บริการ ปรับตําแหน่งการวางอุปกรณ์ ได้แก่ รถทําแผล อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์สํานักงาน ทําความสะอาดห้องเตรียมอุปกรณ์ทําให้ปราศจากเชื้อและได้มาตรฐาน ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ให้สวยงาม เป็นต้น ******************* 19 ตุลาคม 2561
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16190
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สมาคมโรงแรมไทย” ชื่นชม “กระทรวงแรงงาน” ยื่นมือช่วยเหลือ แก้ไขสถานการณ์ได้ดีมาก
วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 “สมาคมโรงแรมไทย” ชื่นชม “กระทรวงแรงงาน” ยื่นมือช่วยเหลือ แก้ไขสถานการณ์ได้ดีมาก วันที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 13.30 น. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงาน นัดประชุมหารือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 วันที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 13.30 น. ที่สมาคมโรงแรมไทย ถนนราชดําเนินกลางหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมอบหมายให้ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงานนัดประชุมหารือ กับนางสาวศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคมโรงแรมไทยและ นางสาวจุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมพลังประชาชาติไทย ตั้งโต๊ะหารือ ช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงแรม หลังนักท่องเที่ยวหดหาย ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังประชุมหารือกับสมาคมโรงแรมไทย ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ขึ้นในหลายประเทศส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบโดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงแรมของไทยกําลังเผชิญกับภาวะการชะลอตัว ปิดกิจการ ไม่มีการจ้างงานลูกจ้างในโรงแรม จากการลดลงของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพอื่นรองรับ และบางส่วน ก็ไม่ได้ตั้งรับกับเหตุการณ์ดังกล่าว “สิ่งที่กระทรวงแรงงานและ สมาคมโรงแรมไทย เร่งดําเนินการคือ การหารือร่วมกันเพื่อหามาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มโรงแรมไทย โดยทั้งสองฝ่ายเห็นควรว่า ควรมีมาตรการรองรับช่วยเหลือ รวมทั้งผลักดัน ส่งเสริม กระตุ้นการจ้างงาน ซึ่งจากการรับฟังปัญหาของสมาคมโรงแรมไทย พบว่า สิ่งที่อยากให้รัฐบาลช่วยเร่งด่วนในตอนนี้คือ เรื่องการว่างงาน ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างอาชีพธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบหนักที่สุด จึงได้ร่วมกันประชุมเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป” ดร.ดวงฤทธิ์ฯ กล่าว ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับสถานการณ์การว่างงานจากผลกระทบดังกล่าว เพื่ออํานวยการประสานงาน และพิจารณามาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบเยียวยาลูกจ้าง และนายจ้าง โดยเน้นย้ํา ให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงแรงงาน ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วนสร้างความพอใจให้กับนายจ้างที่เข้าร่วมหารืออย่างมาก " เบื้องต้น จะรีบตรวจสอบสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจะบูรณาการทํางานร่วมกัน โดยกรมการจัดหางานซึ่งมีภารกิจหลักในด้านการส่งเสริมการมีงานทําให้แก่ประชาชนได้กําหนดมาตรการรองรับเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างดังนี้มาตรการก่อนมีการเลิกจ้างได้มีข้อสั่งการให้สํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ดําเนินการเฝ้าระวังและติดตามสถานประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการติดตามสถานการณ์ของสถานประกอบการในพื้นที่ที่รับผิดชอบที่มีแนวโน้มจะเลิกประกอบกิจการหรือเลิกจ้างหรือลดจํานวนลูกจ้างเพื่อเตรียมหาตําแหน่งงานว่างในประเภทกิจการเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันไว้รองรับผู้ถูกเลิกจ้างโดยจะมีการติดตามสถานการณ์เป็นระยะและประสานหน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลางและภูมิภาคเตรียมการรองรับ มาตรการหลังมีการเลิกจ้างกรณีมีความชัดเจนว่ามีการเลิกจ้างเป็นจํานวนมาก จะสํารวจความต้องการเบื้องต้นของผู้ถูกเลิกจ้างเพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ ด้านกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จะพัฒนาฝีมือแรงงงาน(up skill)ให้ตรงกับความต้องการของนายจ้าง ส่วนประกันสังคม จะสร้างการรับรู้ โดนลงพื้นที่เข้าไปยังสถานประกอบการ และกรมสวัสดิการและคุ้มครอง จะดูแล ตรวจสอบข้อมูลสถานประกอบการในกลุ่มเสี่ยงที่มีการเลิกจ้างงาน " ผู้ช่วยฯกล่าวในตอนท้าย +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 13 มีนาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สมาคมโรงแรมไทย” ชื่นชม “กระทรวงแรงงาน” ยื่นมือช่วยเหลือ แก้ไขสถานการณ์ได้ดีมาก วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 “สมาคมโรงแรมไทย” ชื่นชม “กระทรวงแรงงาน” ยื่นมือช่วยเหลือ แก้ไขสถานการณ์ได้ดีมาก วันที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 13.30 น. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงาน นัดประชุมหารือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 วันที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 13.30 น. ที่สมาคมโรงแรมไทย ถนนราชดําเนินกลางหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมอบหมายให้ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงานนัดประชุมหารือ กับนางสาวศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคมโรงแรมไทยและ นางสาวจุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมพลังประชาชาติไทย ตั้งโต๊ะหารือ ช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงแรม หลังนักท่องเที่ยวหดหาย ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังประชุมหารือกับสมาคมโรงแรมไทย ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ขึ้นในหลายประเทศส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบโดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงแรมของไทยกําลังเผชิญกับภาวะการชะลอตัว ปิดกิจการ ไม่มีการจ้างงานลูกจ้างในโรงแรม จากการลดลงของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพอื่นรองรับ และบางส่วน ก็ไม่ได้ตั้งรับกับเหตุการณ์ดังกล่าว “สิ่งที่กระทรวงแรงงานและ สมาคมโรงแรมไทย เร่งดําเนินการคือ การหารือร่วมกันเพื่อหามาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มโรงแรมไทย โดยทั้งสองฝ่ายเห็นควรว่า ควรมีมาตรการรองรับช่วยเหลือ รวมทั้งผลักดัน ส่งเสริม กระตุ้นการจ้างงาน ซึ่งจากการรับฟังปัญหาของสมาคมโรงแรมไทย พบว่า สิ่งที่อยากให้รัฐบาลช่วยเร่งด่วนในตอนนี้คือ เรื่องการว่างงาน ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างอาชีพธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบหนักที่สุด จึงได้ร่วมกันประชุมเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป” ดร.ดวงฤทธิ์ฯ กล่าว ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับสถานการณ์การว่างงานจากผลกระทบดังกล่าว เพื่ออํานวยการประสานงาน และพิจารณามาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบเยียวยาลูกจ้าง และนายจ้าง โดยเน้นย้ํา ให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงแรงงาน ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วนสร้างความพอใจให้กับนายจ้างที่เข้าร่วมหารืออย่างมาก " เบื้องต้น จะรีบตรวจสอบสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจะบูรณาการทํางานร่วมกัน โดยกรมการจัดหางานซึ่งมีภารกิจหลักในด้านการส่งเสริมการมีงานทําให้แก่ประชาชนได้กําหนดมาตรการรองรับเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างดังนี้มาตรการก่อนมีการเลิกจ้างได้มีข้อสั่งการให้สํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ดําเนินการเฝ้าระวังและติดตามสถานประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการติดตามสถานการณ์ของสถานประกอบการในพื้นที่ที่รับผิดชอบที่มีแนวโน้มจะเลิกประกอบกิจการหรือเลิกจ้างหรือลดจํานวนลูกจ้างเพื่อเตรียมหาตําแหน่งงานว่างในประเภทกิจการเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันไว้รองรับผู้ถูกเลิกจ้างโดยจะมีการติดตามสถานการณ์เป็นระยะและประสานหน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลางและภูมิภาคเตรียมการรองรับ มาตรการหลังมีการเลิกจ้างกรณีมีความชัดเจนว่ามีการเลิกจ้างเป็นจํานวนมาก จะสํารวจความต้องการเบื้องต้นของผู้ถูกเลิกจ้างเพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ ด้านกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จะพัฒนาฝีมือแรงงงาน(up skill)ให้ตรงกับความต้องการของนายจ้าง ส่วนประกันสังคม จะสร้างการรับรู้ โดนลงพื้นที่เข้าไปยังสถานประกอบการ และกรมสวัสดิการและคุ้มครอง จะดูแล ตรวจสอบข้อมูลสถานประกอบการในกลุ่มเสี่ยงที่มีการเลิกจ้างงาน " ผู้ช่วยฯกล่าวในตอนท้าย +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 13 มีนาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27140
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"หมอธี" ชูนโยบายคูปองอบรมครู ใน The Education World Forum 2018 ที่อังกฤษ
วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 "หมอธี" ชูนโยบายคูปองอบรมครู ใน The Education World Forum 2018 ที่อังกฤษ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Thailand Teacher Training Coupons: how to create teacher training system for the 4th industrial revolution” เมื่อวันอังคารที่ 23 มกราคม 2561 เวลา 11.00 น. (ตามเวลาสหราชอาณาจักร) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Thailand Teacher Training Coupons: how to create teacher training system for the 4th industrial revolution” ในการประชุมระดับโลกด้านการศึกษา ประจําปี 2561 (The Education World Forum 2018) ณ Park Plaza Westminster Bridge London นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการมีระบบการฝึกอบรมครูที่เน้นการรวมอํานาจไว้ที่ศูนย์กลาง กล่าวคือ ส่วนกลางจะทําหน้าที่เป็นผู้เลือกหลักสูตรการอบรม จัดหาวิทยากรหรือผู้ให้การอบรม รวมทั้งเลือกโรงเรียนและครูที่จะมาเข้ารับการอบรม ตลอดจนจัดอบรมในห้องประชุมหรือสถานที่เดียวกันในทุก ๆ ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพดําเนินงานโดยตรง ทําให้ไม่สามารถขยายหรือเพิ่มหลักสูตรอบรมใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของครูได้อย่างแท้จริง บั่นทอนกําลังใจและแรงจูงใจในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชันด้วย กระทรวงศึกษาธิการ จึงมีนโยบาย "คูปองอบรมครู" เพื่อพลิกโฉมระบบการฝึกอบรมครูใหม่ โดยลดอํานาจการวางแผนต่าง ๆ จากส่วนกลาง ให้คูปองแก่ครูคนละ 10,000 บาทต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่ต้องการ พร้อมจัดทําเว็บไซต์ลงทะเบียน และเลือกหลักสูตรอบรมแบบออนไลน์ และตั้ง "สถาบันคุรุพัฒนา" ทําหน้าที่กําหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การพัฒนาครู ตามแนวคิดและหลักการ “ครูเป็นผู้เลือก เกิดการแข่งขันระหว่างผู้จัดทําหลักสูตรอบรม โดยรัฐหรือส่วนกลาง จะเป็นเพียงผู้กํากับดูแลและให้ความช่วยเหลือ” ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นการใช้ฐานความต้องการของครูเป็นตัวขับเคลื่อนกลไกตลาด นอกจากนี้ ได้ปรับให้การฝึกอบรมครูสอดคล้องเชื่อมโยงกับความก้าวหน้าในสายงาน/สายอาชีพ โดยกําหนดให้การฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาขอ/มีวิทยฐานะของครู ในส่วนของผู้ให้การอบรมหรือผู้จัดทําหลักสูตรนั้น ต้องผ่านเกณฑ์และได้รับการรับรองหลักสูตรจากสถาบันคุรุพัฒนาเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น สถาบันอุดมศึกษา, องค์กรระหว่างประเทศ, หน่วยงานภาครัฐ, บริษัท, หน่วยงานภาคเอกชน, องค์กรไม่แสวงหากําไร หรืออื่น ๆ ส่วนผลการดําเนินนโยบายคูปองฝึกอบรมครู พบว่าครูมีความพึงพอใจในระดับดีมากและให้การตอบรับเป็นอย่างดีโดยภายใน 2 สัปดาห์ มีครูกว่า 3.2 แสนคนจากทั้งหมดกว่า 4 แสนคน เข้ามาลงทะเบียนอบรมทางเว็บไซต์ ในหลักสูตรอบรมทั้งหมด 2,000 หลักสูตร จากผู้จัดอบรมกว่า 1,500 หน่วยงาน นโยบายนี้จึงถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการดําเนินงาน/การทํางานแบบ e-Government ด้วย และเมื่อเปรียบเทียบระบบการฝึกอบรมครูแบบเก่ากับแบบใหม่ พบว่า การฝึกอบรมครูโดยใช้คูปอง สามารถลดการสั่งการจากส่วนกลาง มีหลักสูตรใหม่ ทันสมัย และหลากหลายมากขึ้น ครูทุกคนมีสิทธิ์ลงทะเบียนอบรมได้ด้วยตนเอง เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการเลื่อนวิทยฐานะ ในส่วนของผู้ให้การอบรม มีผู้จัดอบรมรายใหม่ ๆ ที่มีมาตรฐานชัดเจน ทําให้การฝึกอบรมมีระบบมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เกิดการทุจริตน้อยลงด้วย ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงมีแนวคิดที่จะขยายผลการดําเนินนโยบายคูปองอบรมครู สู่ครูในโรงเรียนเอกชน, สถาบันการอาชีวศึกษา และสถานศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ตลอดจนเชิญหน่วยงานที่มีศักยภาพสูงมาร่วมจัดหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตรอบรมแบบออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย อรพรรณ ฤทธิ์มั่น: สรุป นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง ขอบคุณคณะทํางาน รมว.ศธ.: ภาพ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สํานักงานรัฐมนตรี: รายงาน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"หมอธี" ชูนโยบายคูปองอบรมครู ใน The Education World Forum 2018 ที่อังกฤษ วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 "หมอธี" ชูนโยบายคูปองอบรมครู ใน The Education World Forum 2018 ที่อังกฤษ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Thailand Teacher Training Coupons: how to create teacher training system for the 4th industrial revolution” เมื่อวันอังคารที่ 23 มกราคม 2561 เวลา 11.00 น. (ตามเวลาสหราชอาณาจักร) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Thailand Teacher Training Coupons: how to create teacher training system for the 4th industrial revolution” ในการประชุมระดับโลกด้านการศึกษา ประจําปี 2561 (The Education World Forum 2018) ณ Park Plaza Westminster Bridge London นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการมีระบบการฝึกอบรมครูที่เน้นการรวมอํานาจไว้ที่ศูนย์กลาง กล่าวคือ ส่วนกลางจะทําหน้าที่เป็นผู้เลือกหลักสูตรการอบรม จัดหาวิทยากรหรือผู้ให้การอบรม รวมทั้งเลือกโรงเรียนและครูที่จะมาเข้ารับการอบรม ตลอดจนจัดอบรมในห้องประชุมหรือสถานที่เดียวกันในทุก ๆ ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพดําเนินงานโดยตรง ทําให้ไม่สามารถขยายหรือเพิ่มหลักสูตรอบรมใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของครูได้อย่างแท้จริง บั่นทอนกําลังใจและแรงจูงใจในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชันด้วย กระทรวงศึกษาธิการ จึงมีนโยบาย "คูปองอบรมครู" เพื่อพลิกโฉมระบบการฝึกอบรมครูใหม่ โดยลดอํานาจการวางแผนต่าง ๆ จากส่วนกลาง ให้คูปองแก่ครูคนละ 10,000 บาทต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่ต้องการ พร้อมจัดทําเว็บไซต์ลงทะเบียน และเลือกหลักสูตรอบรมแบบออนไลน์ และตั้ง "สถาบันคุรุพัฒนา" ทําหน้าที่กําหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การพัฒนาครู ตามแนวคิดและหลักการ “ครูเป็นผู้เลือก เกิดการแข่งขันระหว่างผู้จัดทําหลักสูตรอบรม โดยรัฐหรือส่วนกลาง จะเป็นเพียงผู้กํากับดูแลและให้ความช่วยเหลือ” ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นการใช้ฐานความต้องการของครูเป็นตัวขับเคลื่อนกลไกตลาด นอกจากนี้ ได้ปรับให้การฝึกอบรมครูสอดคล้องเชื่อมโยงกับความก้าวหน้าในสายงาน/สายอาชีพ โดยกําหนดให้การฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาขอ/มีวิทยฐานะของครู ในส่วนของผู้ให้การอบรมหรือผู้จัดทําหลักสูตรนั้น ต้องผ่านเกณฑ์และได้รับการรับรองหลักสูตรจากสถาบันคุรุพัฒนาเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น สถาบันอุดมศึกษา, องค์กรระหว่างประเทศ, หน่วยงานภาครัฐ, บริษัท, หน่วยงานภาคเอกชน, องค์กรไม่แสวงหากําไร หรืออื่น ๆ ส่วนผลการดําเนินนโยบายคูปองฝึกอบรมครู พบว่าครูมีความพึงพอใจในระดับดีมากและให้การตอบรับเป็นอย่างดีโดยภายใน 2 สัปดาห์ มีครูกว่า 3.2 แสนคนจากทั้งหมดกว่า 4 แสนคน เข้ามาลงทะเบียนอบรมทางเว็บไซต์ ในหลักสูตรอบรมทั้งหมด 2,000 หลักสูตร จากผู้จัดอบรมกว่า 1,500 หน่วยงาน นโยบายนี้จึงถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการดําเนินงาน/การทํางานแบบ e-Government ด้วย และเมื่อเปรียบเทียบระบบการฝึกอบรมครูแบบเก่ากับแบบใหม่ พบว่า การฝึกอบรมครูโดยใช้คูปอง สามารถลดการสั่งการจากส่วนกลาง มีหลักสูตรใหม่ ทันสมัย และหลากหลายมากขึ้น ครูทุกคนมีสิทธิ์ลงทะเบียนอบรมได้ด้วยตนเอง เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการเลื่อนวิทยฐานะ ในส่วนของผู้ให้การอบรม มีผู้จัดอบรมรายใหม่ ๆ ที่มีมาตรฐานชัดเจน ทําให้การฝึกอบรมมีระบบมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เกิดการทุจริตน้อยลงด้วย ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงมีแนวคิดที่จะขยายผลการดําเนินนโยบายคูปองอบรมครู สู่ครูในโรงเรียนเอกชน, สถาบันการอาชีวศึกษา และสถานศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ตลอดจนเชิญหน่วยงานที่มีศักยภาพสูงมาร่วมจัดหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตรอบรมแบบออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย อรพรรณ ฤทธิ์มั่น: สรุป นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง ขอบคุณคณะทํางาน รมว.ศธ.: ภาพ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สํานักงานรัฐมนตรี: รายงาน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9598
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การลงพื้นที่ ครม.สัญจร เพื่อติดตามนโยบายรัฐบาลด้านการอุดมศึกษา ที่เชียงรายและพะเยา
วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561 การลงพื้นที่ ครม.สัญจร เพื่อติดตามนโยบายรัฐบาลด้านการอุดมศึกษา ที่เชียงรายและพะเยา ศาสตรา​จารย์คลินิก​ นพ.อุดม​ คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ มอบหมายให้ รศ.นพ.ปรีชา​ สุนทร​านันท์ ผู้ช่วย​เลขานุการ​รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลง​พื้นที่ติดตามการดําเนินงานตาม​นโยบาย​ของรัฐบาล ก่อนการประชุม​คณะ​รัฐมนตรี​ ศาสตรา​จารย์คลินิก​ นพ.อุดม​ คชินทรรัฐมนตรีช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ มอบหมายให้ รศ.นพ.ปรีชา​ สุนทร​านันท์ ผู้ช่วย​เลขานุการ​รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลง​พื้นที่ติดตามการดําเนินงานตาม​นโยบาย​ของรัฐบาล ก่อนการประชุม​คณะ​รัฐมนตรี​อย่าง​เป็นทางการ​นอก​สถานที่​ ครั้ง​ที่​ 8​/2561​ กลุ่ม​จังหวัด​ภาคเหนือ​ตอ​นบน 2 (เชียงราย​ พะเยา​ แพร่​ น่าน)เมื่อวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม​ 2561 โดยมีนางอรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการ​การอุดมศึกษา​ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ​ ร่วมลงพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัย​ราชภัฏเชียงราย ​และมหาวิทยาลัย​พะเยา ติดตามการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย​ราชภัฏเชียงราย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รศ.นพ.ปรีชา​ สุนทร​านันท์ ผู้ช่วย​เลขานุการ​รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการกล่าวว่า จากการรับฟังสรุปผลการดําเนินงาน ทําให้ทราบว่าสถาบันการศึกษาในภาคเหนือมีความเข้มแข็งมาก จะเห็นได้จากการผลิตกําลังคน นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่ และระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงขอชื่นชมการดําเนินโครงการต่าง ๆ ที่มีความเป็นรูปธรรม ทั้งการผลิตครูที่มีความเป็นเลิศ, ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Work-integrated Learning และ School-integrated Learning อย่างเข้มข้น เป็นการเรียนควบคู่การฝึกอบรมนักศึกษานอกห้องเรียนในสถานที่ปฏิบัติงานจริง, การสร้างบัณฑิต​ที่มีคุณลักษณะพิเศษในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ตลอดจนขยายผลงานวิจัยสู่ชุมชน ในส่วนของการพัฒนา​การศึกษา​นั้น "ครู" ถือเป็นวิชาชีพที่สําคัญที่สุดทุกคนและทุกหน่วยงาน ​จึงต้องพยายามเดินไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกับบูรณาการ ขับเคลื่อน และเสริมการทํางานซึ่งกันและกัน โดยไม่ให้การบริหารจัดการทางภูมิศาสตร์มาเป็นอุปสรรค เพราะเราทุกคน​มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การสร้างบัณฑิตครูเพื่อไปสร้างประเทศชาติและสังคมโลก สร้างประโยชน์สูงสุดแก่บุตรหลานของเรา เพื่อนําความรู้กลับมาทําประโยชน์ให้ชุมชนและพื้นที่ต่อไป และขอย้ําว่า ควรเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพราะทุกการทํางานจะหลีกเลี่ยงความคิดต่างไม่ได้ แต่ขอให้ทุกคนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมหาจุดร่วมเพื่อพัฒนาแนวทางการทํางานสู่จุดหมายเดียวกันต่อไป สรุปโครงการการจัดการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 1) โครงการผลิตบัณฑิตครูคุณภาพเลิศโดยมุ่งผลิตบัณฑิต​ระดับปริญญาตรี​ที่มีสมรรถนะและประสิทธิภาพที่เป็นเลิศใน 15 สาขาวิชาของกลุ่มสังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์​ และวิทยาศาสตร์​ พร้อมทั้งพัฒนา​ระบบการจัดการศึกษา​และปรับหลักสูตร​ โดยเริ่มต้นจากการมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ​ในวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง​ มีทักษะ​ใน​การ​สอน และมีจิตวิญญาณ​ของ​ความเป็นครู เพื่อดูแลสถานศึกษาเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และโรงเรียนบางส่วนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จ​พระ​เทพรัตนราชสุดา​ฯ สยาม​บรม​ราช​กุมารีซึ่งให้ความสําคัญในเรื่องทรัพยากร​กายภาพ​ ทรัพยากร​ชีวภาพ​ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น​ โดยมีกรอบการเรียน​รู้​ทรัพยากร ​ทั้งด้านการใช้ประโยชน์ ​และการสร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์​ เชื่อมโยง​ผ่านเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย​ ด้วยการบูรณาการ​การเรียนการสอนในทุกสาขา​ที่เกี่ยวข้อง​ พร้อมกับฝึกประสบการณ์​วิชาชีพ​ให้กับนักศึกษาครุศาสตร์​ พัฒนา​ผลิตภัณฑ์​ฐานทรัพยากร​ สร้างแหล่งเรียนรู้​ทั้งในและนอกห้องเรียน​ ตลอดจนจัดทําฐานข้อมูล​ทรัพยากร 3) โครงการบูรณาการเพื่อยกระดับ​ห่วงโซ่ คุณ​ค่าชุมชน​ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมภายใต้กรอบแนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ขององค์การสหประชาชาติ โดยมีสถาบัน​พัฒนา​เศรษฐกิจ​และสิ่งแวดล้อม​ เป็นหน่วยงานหลักในการดําเนินโครงการ (ศูนย์สิ่งแวดล้อม​และทดสอบผลิตภัณฑ์​, ศูนย์เพาะเลี้ยง​เนื้อเยื่อ​พืช, ศูนย์เพิ่มมูลค่า​อาหาร​ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา, ศูนย์พลังงาน​และสมาร์ทกริดเทคโนโลยี) อาทิ การอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองเชียงแสน, ข้าวหอมดอย และข้าวหน่อแพร่, ภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งโก๋นธรรมชาติ​ เป็นต้น 4) โครงการ​พัฒนา​ระบบ​กสิกรรม​ไร้สารพิษ​เพื่อผลิตอาหาร​ปลอดภัย​โดยชุมชน​ ด้วยศาสตร์พระราชา เพื่อแก้ปัญหา​การใช้สารเคมี​และยาฆ่าแมลง​ในการทําการเกษตร​ หรือสารเคมี​ตกค้าง​ในผลิตภัณฑ์​อาหาร​ โดยเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์​และสารสกัด​ชีวภาพ​ เพื่อผลิต​อาหาร​ที่ปลอดภัยเพียงพอต่อการ​บริโภค​ในชุมชน ส่งผลให้ประชาชน​มีสุขภาพ​ดีขึ้น ทั้งยังเกิดเครือข่ายเกษตรกร และศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน​ด้วย 5) การผลิตและพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศโดยปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต เน้นผลิตบัณฑิตฐานสมรรถนะ​มาตรฐานสากล และทักษะ​การทํางานที่สามารถทํางานได้ทันทีเมื่อเรียนจบ นอกจากนี้ ยังมีผลการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย​แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย​ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีปณิธาน​ที่มุ่ง "สร้างคน สร้างความรู้ สร้างคุณธรรม​ และอนุรักษ์​ธรรมชาติ" โดยผลิต​บัณฑิต​แล้วจํานวน​ 23,984 คน พร้อมได้ปรับหลักสูตรมีจุด​เน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียน และผลลัพธ์ของการเรียนรู้เป็นหลัก ​ทั้งด้านความรู้​ ด้านทักษะ และสมรรถนะ ตลอดจนคุณลักษณะต่าง ๆ​ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นบัณฑิตที่จะช่วยสร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ความก้าวหน้าโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ของมหาวิทยาลัย​พะเยา มหาวิทยาลัยพะเยา มุ่งผลิตบัณฑิตให้จบการศึกษาแล้วมีงานทํา และสามารถใช้ชีวิตอยู่สังคมโลกและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้ โดยปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี​ 67 หลักสูตร ปริญญาโท 24 หลักสูตร​ และปริญญาเอก 9 หลักสูตร มีนิสิตรวมจํานวน 19,618 คน มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อพัฒนาคนไทยรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล ที่มีทักษะชีวิต มีความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ สามารถต่อยอดความรู้สู่การปฏิบัติ และสร้างนวัตกรรมได้ ประกอบด้วย 4 โครงการหลัก คือ 1) โครงการศึกษาทั่วไปสู่คนไทยพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพเป็นการหล่อหลอมบูรณาการทักษะชีวิตของสังคมดิจิทัล เข้ากับทักษะวิชาชีพ โดยพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมและการมีส่วนร่วมกับสังคม รวมทั้งมีทักษะด้านดิจิทัล มีความรู้ด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการเมือง ตลอดจนทักษะด้านการคิดและการเป็นผู้ประกอบการ​ สามารถนําความรู้ไปบูรณาการกับวิชาชีพได้ 2) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรม​ซอฟต์แวร์ (Ready to Work)เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างสมรรถนะตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยบูรณาการการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในสถานที่จริง ด้วยความร่วมมือจากสถานประกอบการ ​ในการรับนิสิตฝึกประสบการณ์กว่าร้อยละ 50 ของเวลาเรียน พร้อมทั้งได้เรียนรู้กับอาจารย์ที่มีความพร้อมด้านคุณวุฒิ และความสามารถด้านเทคโนโลยี​ ต่อยอดสู่นวัตกรรม​ ตลอดจนกิจกรรมการผลิตและสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เมื่อจบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองตามมาตรฐานสากล 3) หลักสูตรประกาศนียบัตรนักแปรรูปเนื้อสัตว์อัจฉริยะ (Smart Meat Processor)เพื่อส่งเสริมการออกแบบและพัฒนาการแปรรูปเนื้อสัตว์ ต่อยอดสู่การสร้างมูลค่า ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ โดยเรียนทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติจริง ซึ่งได้รับความร่วมมือกับสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญนอกคณะที่มาช่วยสอนในด้านต่าง ๆ อาทิ Markerting management, Accounting เป็นต้น 4) หลักสูตรประกาศนียบัตรนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการเกษตรสู่ Smart Farmingเพื่อพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ ด้านธุรกิจระบบเกษตรและการจัดการฟาร์มด้วยระบบอัจฉริยะ​ โดยจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี การปฏิบัติ​จริง​ และการศึกษา​ดูงาน​ พร้อมมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบูรณาการความรู้แก่ผู้เรียน ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนโลยีสารสนเทศ​ เป็นต้น​ รศ.นพ.ปรีชา​ สุนทร​านันท์ กล่าวด้วยว่า แนวทางการดําเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมบัณฑิต เพื่อให้มีทักษะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ โดยโครงการทั้งหมดมีความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่กําลังเร่งขับเคลื่อนในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ส่วนแนวโน้มจํานวนนิสิตนักศึกษาที่ลดลงนั้น สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งก็ประสบปัญหาเช่นนี้ สิ่งที่ควรทําคือ การปรับตัวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยและหลากหลายอาชีพ อาทิ เปิดหลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาทักษะแก่ผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี เมื่อจบหลักสูตรแล้วสามารถทํางานได้ทันที หรืออาจส่งเสริมให้คนเหล่านี้ค้นพบแนวทางการประกอบอาชีพของตนเองได้ Writtenbyอรพรรณ ฤทธิ์มั่น Photo Creditยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การลงพื้นที่ ครม.สัญจร เพื่อติดตามนโยบายรัฐบาลด้านการอุดมศึกษา ที่เชียงรายและพะเยา วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561 การลงพื้นที่ ครม.สัญจร เพื่อติดตามนโยบายรัฐบาลด้านการอุดมศึกษา ที่เชียงรายและพะเยา ศาสตรา​จารย์คลินิก​ นพ.อุดม​ คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ มอบหมายให้ รศ.นพ.ปรีชา​ สุนทร​านันท์ ผู้ช่วย​เลขานุการ​รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลง​พื้นที่ติดตามการดําเนินงานตาม​นโยบาย​ของรัฐบาล ก่อนการประชุม​คณะ​รัฐมนตรี​ ศาสตรา​จารย์คลินิก​ นพ.อุดม​ คชินทรรัฐมนตรีช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ มอบหมายให้ รศ.นพ.ปรีชา​ สุนทร​านันท์ ผู้ช่วย​เลขานุการ​รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลง​พื้นที่ติดตามการดําเนินงานตาม​นโยบาย​ของรัฐบาล ก่อนการประชุม​คณะ​รัฐมนตรี​อย่าง​เป็นทางการ​นอก​สถานที่​ ครั้ง​ที่​ 8​/2561​ กลุ่ม​จังหวัด​ภาคเหนือ​ตอ​นบน 2 (เชียงราย​ พะเยา​ แพร่​ น่าน)เมื่อวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม​ 2561 โดยมีนางอรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการ​การอุดมศึกษา​ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ​ ร่วมลงพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัย​ราชภัฏเชียงราย ​และมหาวิทยาลัย​พะเยา ติดตามการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย​ราชภัฏเชียงราย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รศ.นพ.ปรีชา​ สุนทร​านันท์ ผู้ช่วย​เลขานุการ​รัฐมนตรีว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการกล่าวว่า จากการรับฟังสรุปผลการดําเนินงาน ทําให้ทราบว่าสถาบันการศึกษาในภาคเหนือมีความเข้มแข็งมาก จะเห็นได้จากการผลิตกําลังคน นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่ และระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงขอชื่นชมการดําเนินโครงการต่าง ๆ ที่มีความเป็นรูปธรรม ทั้งการผลิตครูที่มีความเป็นเลิศ, ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Work-integrated Learning และ School-integrated Learning อย่างเข้มข้น เป็นการเรียนควบคู่การฝึกอบรมนักศึกษานอกห้องเรียนในสถานที่ปฏิบัติงานจริง, การสร้างบัณฑิต​ที่มีคุณลักษณะพิเศษในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ตลอดจนขยายผลงานวิจัยสู่ชุมชน ในส่วนของการพัฒนา​การศึกษา​นั้น "ครู" ถือเป็นวิชาชีพที่สําคัญที่สุดทุกคนและทุกหน่วยงาน ​จึงต้องพยายามเดินไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกับบูรณาการ ขับเคลื่อน และเสริมการทํางานซึ่งกันและกัน โดยไม่ให้การบริหารจัดการทางภูมิศาสตร์มาเป็นอุปสรรค เพราะเราทุกคน​มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การสร้างบัณฑิตครูเพื่อไปสร้างประเทศชาติและสังคมโลก สร้างประโยชน์สูงสุดแก่บุตรหลานของเรา เพื่อนําความรู้กลับมาทําประโยชน์ให้ชุมชนและพื้นที่ต่อไป และขอย้ําว่า ควรเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพราะทุกการทํางานจะหลีกเลี่ยงความคิดต่างไม่ได้ แต่ขอให้ทุกคนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมหาจุดร่วมเพื่อพัฒนาแนวทางการทํางานสู่จุดหมายเดียวกันต่อไป สรุปโครงการการจัดการอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 1) โครงการผลิตบัณฑิตครูคุณภาพเลิศโดยมุ่งผลิตบัณฑิต​ระดับปริญญาตรี​ที่มีสมรรถนะและประสิทธิภาพที่เป็นเลิศใน 15 สาขาวิชาของกลุ่มสังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์​ และวิทยาศาสตร์​ พร้อมทั้งพัฒนา​ระบบการจัดการศึกษา​และปรับหลักสูตร​ โดยเริ่มต้นจากการมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ​ในวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง​ มีทักษะ​ใน​การ​สอน และมีจิตวิญญาณ​ของ​ความเป็นครู เพื่อดูแลสถานศึกษาเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และโรงเรียนบางส่วนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จ​พระ​เทพรัตนราชสุดา​ฯ สยาม​บรม​ราช​กุมารีซึ่งให้ความสําคัญในเรื่องทรัพยากร​กายภาพ​ ทรัพยากร​ชีวภาพ​ และวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น​ โดยมีกรอบการเรียน​รู้​ทรัพยากร ​ทั้งด้านการใช้ประโยชน์ ​และการสร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์​ เชื่อมโยง​ผ่านเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย​ ด้วยการบูรณาการ​การเรียนการสอนในทุกสาขา​ที่เกี่ยวข้อง​ พร้อมกับฝึกประสบการณ์​วิชาชีพ​ให้กับนักศึกษาครุศาสตร์​ พัฒนา​ผลิตภัณฑ์​ฐานทรัพยากร​ สร้างแหล่งเรียนรู้​ทั้งในและนอกห้องเรียน​ ตลอดจนจัดทําฐานข้อมูล​ทรัพยากร 3) โครงการบูรณาการเพื่อยกระดับ​ห่วงโซ่ คุณ​ค่าชุมชน​ด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมภายใต้กรอบแนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ขององค์การสหประชาชาติ โดยมีสถาบัน​พัฒนา​เศรษฐกิจ​และสิ่งแวดล้อม​ เป็นหน่วยงานหลักในการดําเนินโครงการ (ศูนย์สิ่งแวดล้อม​และทดสอบผลิตภัณฑ์​, ศูนย์เพาะเลี้ยง​เนื้อเยื่อ​พืช, ศูนย์เพิ่มมูลค่า​อาหาร​ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา, ศูนย์พลังงาน​และสมาร์ทกริดเทคโนโลยี) อาทิ การอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองเชียงแสน, ข้าวหอมดอย และข้าวหน่อแพร่, ภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งโก๋นธรรมชาติ​ เป็นต้น 4) โครงการ​พัฒนา​ระบบ​กสิกรรม​ไร้สารพิษ​เพื่อผลิตอาหาร​ปลอดภัย​โดยชุมชน​ ด้วยศาสตร์พระราชา เพื่อแก้ปัญหา​การใช้สารเคมี​และยาฆ่าแมลง​ในการทําการเกษตร​ หรือสารเคมี​ตกค้าง​ในผลิตภัณฑ์​อาหาร​ โดยเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์​และสารสกัด​ชีวภาพ​ เพื่อผลิต​อาหาร​ที่ปลอดภัยเพียงพอต่อการ​บริโภค​ในชุมชน ส่งผลให้ประชาชน​มีสุขภาพ​ดีขึ้น ทั้งยังเกิดเครือข่ายเกษตรกร และศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน​ด้วย 5) การผลิตและพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศโดยปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต เน้นผลิตบัณฑิตฐานสมรรถนะ​มาตรฐานสากล และทักษะ​การทํางานที่สามารถทํางานได้ทันทีเมื่อเรียนจบ นอกจากนี้ ยังมีผลการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย​แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย​ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีปณิธาน​ที่มุ่ง "สร้างคน สร้างความรู้ สร้างคุณธรรม​ และอนุรักษ์​ธรรมชาติ" โดยผลิต​บัณฑิต​แล้วจํานวน​ 23,984 คน พร้อมได้ปรับหลักสูตรมีจุด​เน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียน และผลลัพธ์ของการเรียนรู้เป็นหลัก ​ทั้งด้านความรู้​ ด้านทักษะ และสมรรถนะ ตลอดจนคุณลักษณะต่าง ๆ​ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นบัณฑิตที่จะช่วยสร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ความก้าวหน้าโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ของมหาวิทยาลัย​พะเยา มหาวิทยาลัยพะเยา มุ่งผลิตบัณฑิตให้จบการศึกษาแล้วมีงานทํา และสามารถใช้ชีวิตอยู่สังคมโลกและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้ โดยปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี​ 67 หลักสูตร ปริญญาโท 24 หลักสูตร​ และปริญญาเอก 9 หลักสูตร มีนิสิตรวมจํานวน 19,618 คน มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อพัฒนาคนไทยรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล ที่มีทักษะชีวิต มีความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ สามารถต่อยอดความรู้สู่การปฏิบัติ และสร้างนวัตกรรมได้ ประกอบด้วย 4 โครงการหลัก คือ 1) โครงการศึกษาทั่วไปสู่คนไทยพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพเป็นการหล่อหลอมบูรณาการทักษะชีวิตของสังคมดิจิทัล เข้ากับทักษะวิชาชีพ โดยพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมและการมีส่วนร่วมกับสังคม รวมทั้งมีทักษะด้านดิจิทัล มีความรู้ด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการเมือง ตลอดจนทักษะด้านการคิดและการเป็นผู้ประกอบการ​ สามารถนําความรู้ไปบูรณาการกับวิชาชีพได้ 2) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรม​ซอฟต์แวร์ (Ready to Work)เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างสมรรถนะตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยบูรณาการการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในสถานที่จริง ด้วยความร่วมมือจากสถานประกอบการ ​ในการรับนิสิตฝึกประสบการณ์กว่าร้อยละ 50 ของเวลาเรียน พร้อมทั้งได้เรียนรู้กับอาจารย์ที่มีความพร้อมด้านคุณวุฒิ และความสามารถด้านเทคโนโลยี​ ต่อยอดสู่นวัตกรรม​ ตลอดจนกิจกรรมการผลิตและสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เมื่อจบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองตามมาตรฐานสากล 3) หลักสูตรประกาศนียบัตรนักแปรรูปเนื้อสัตว์อัจฉริยะ (Smart Meat Processor)เพื่อส่งเสริมการออกแบบและพัฒนาการแปรรูปเนื้อสัตว์ ต่อยอดสู่การสร้างมูลค่า ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ โดยเรียนทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติจริง ซึ่งได้รับความร่วมมือกับสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญนอกคณะที่มาช่วยสอนในด้านต่าง ๆ อาทิ Markerting management, Accounting เป็นต้น 4) หลักสูตรประกาศนียบัตรนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการเกษตรสู่ Smart Farmingเพื่อพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ ด้านธุรกิจระบบเกษตรและการจัดการฟาร์มด้วยระบบอัจฉริยะ​ โดยจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี การปฏิบัติ​จริง​ และการศึกษา​ดูงาน​ พร้อมมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบูรณาการความรู้แก่ผู้เรียน ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนโลยีสารสนเทศ​ เป็นต้น​ รศ.นพ.ปรีชา​ สุนทร​านันท์ กล่าวด้วยว่า แนวทางการดําเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมบัณฑิต เพื่อให้มีทักษะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ โดยโครงการทั้งหมดมีความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่กําลังเร่งขับเคลื่อนในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ส่วนแนวโน้มจํานวนนิสิตนักศึกษาที่ลดลงนั้น สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งก็ประสบปัญหาเช่นนี้ สิ่งที่ควรทําคือ การปรับตัวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยและหลากหลายอาชีพ อาทิ เปิดหลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาทักษะแก่ผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี เมื่อจบหลักสูตรแล้วสามารถทํางานได้ทันที หรืออาจส่งเสริมให้คนเหล่านี้ค้นพบแนวทางการประกอบอาชีพของตนเองได้ Writtenbyอรพรรณ ฤทธิ์มั่น Photo Creditยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16446
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สงกรานต์ปลอดโควิด เซฟชีวิตผู้สูงอายุ
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 สงกรานต์ปลอดโควิด เซฟชีวิตผู้สูงอายุ ร่วมกันลดและปรับกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดโควิด-19 -วีดีโอคอล / ทํากิจกรรมออนไลน์ -สรงน้ําพระพุทธรูปที่บ้าน -ทําบุญออนไลน์ -สั่งปิ่นโตเดลิเวอรี่
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สงกรานต์ปลอดโควิด เซฟชีวิตผู้สูงอายุ วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 สงกรานต์ปลอดโควิด เซฟชีวิตผู้สูงอายุ ร่วมกันลดและปรับกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดโควิด-19 -วีดีโอคอล / ทํากิจกรรมออนไลน์ -สรงน้ําพระพุทธรูปที่บ้าน -ทําบุญออนไลน์ -สั่งปิ่นโตเดลิเวอรี่
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28939
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จัดประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2560 ร่วมพิจารณากรอบการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561- 2565) ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559
วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2560 พม. จัดประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2560 ร่วมพิจารณากรอบการจัดทําร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561- 2565) ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 พม. จัดประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2560 ร่วมพิจารณากรอบการจัดทําร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561- 2565) ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 วันนี้ (24 พ.ค. 60) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ สะพานขาว กรุงเทพฯพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว. พม.)เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2560 เพื่อพิจารณากรอบการจัดทําร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561- 2565) ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรการกลไก เพื่อการควบคุม คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทําการขอทาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้แทนจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน เป็นต้น พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาคนขอทาน โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดําเนินการในรูปแบบคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 เตรียมเดินหน้ากําหนดยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานเพื่อลดจํานวนขอทาน พัฒนาระบบ กลไก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดําเนินงานสําคัญของคณะกรรมการควบคุมการขอทาน จํานวน 5 เรื่อง ดังนี้ 1. ผลการจัดระเบียบขอทาน ประจําปี 2560 ระหว่าง เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบัน (23 พ.ค. 60) พบว่า จํานวนขอทานที่เข้าสู่การจัดระเบียบ 776 ราย เป็นคนไทย 519 ราย คนต่างด้าว 257 ราย ส่งคืนครอบครัว 421 ราย ส่งกลับประเทศต้นทาง 168 ราย เข้าสู่กระบวนการคุ้มครองในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 11 แห่งทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้โครงการธัญบุรีโมเดล 98 ราย และอยู่ระหว่างตรวจ DNA พิสูจน์ความสัมพันธ์ 89 ราย 2. การออกระเบียบตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 จํานวน 3 ฉบับ ได้แก่ 2.1 องค์ประกอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของคณะอนุกรรมการควบคุมขอทาoจังหวัด 2.2 การเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานคุ้มครองและคุณภาพชีวิตพ.ศ. 2560 และ 2.3 สถานที่พักพิงชั่วคราวระหว่างดําเนินการตรวจสอบสารพันธุกรรม (DNA) พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่ออีกว่า 3.การออกบัตรประจําตัวผู้แสดงความสามารถ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน (23 พ.ค. 60) มีจํานวน 1,533 ราย แบ่งเป็น 3.1 ประเภทความสามารถ อาทิ ดนตรี 1,359 ราย นาฎศิลป์ 42 ราย และศิลปะ 34 ราย และ 3.2 ประเภทอื่นๆ อาทิ ลิเก ลีลาศ 62 ราย โดยจังหวัดที่มีผู้มาทําบัตรฯ มากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 429 ราย นนทบุรี 146 ราย และเชียงใหม่ 80 ราย ตามลําดับ ซึ่งผู้ที่ได้รับบัตรประจําตัวผู้แสดงความสามารถ กระทรวง พม. จะดําเนินการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพต่อไป 4. การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ 647 ราย ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 และ 5. แผนการขับเคลื่อนงานตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 โดยเริ่มตั้งแต่ 5.1 แผนต้นน้ํา การป้องกันและแก้ไขปัญหาขอทานในพื้นที่ต้นทาง ด้วยการค้นหากลุ่มเสี่ยงและ การช่วยเหลือ 5.2 แผนกลางน้ํา การพัฒนาศักยภาพฟื้นฟูอาชีพ ปรับทัศนคติ และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน และ 5.3 แผนปลายน้ํา การจัดบริการจัดระเบียบการรณรงค์ และติดตามผลการดําเนินงานแก้ไขปัญหาคนขอทาน พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทาน ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2565) โดยมีเป้าประสงค์ คือ การลดจํานวนขอทาน การพัฒนาระบบและกลไก การส่งเสริม การมีส่วนร่วม การคืนสู่ชุมชน สังคมเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วย 5 มาตรการ ดังนี้ 1. การลดจํานวนและป้องกันการขอทานซ้ํา ด้วยการพัฒนาระบบการบําบัด ฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพคนขอทาน 2. การพัฒนากลไกและระบบการทํางาน ทั้งผู้ปฏิบัติงาน ระบบการจัดสวัสดิการในสถาน/ศูนย์ และการเพิ่มช่องทางการบริการและหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ 3. การยกระดับความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีการทํางานด้านคนขอทานทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา ตลอดจนบูรณาการทํางานในระดับพื้นที่ 4. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นให้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาคนขอทาน และ 5. การบริหารที่มีประสิทธิภาพพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบติดตาม และประเมินผล รวมทั้งการศึกษาวิจัยและองค์ความรู้ เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ร่างแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวจําเป็นต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์ ความชัดเจนถึงสาเหตุการขอทาน เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ความเชื่อที่บางพื้นที่เชื่อว่ามาขอทานแล้วได้เงิน เรื่องการขาดทักษะในการประกอบอาชีพ หรือการบังคับขอทานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการค้ามนุษย์ ซึ่งสาเหตุข้างต้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยและบริบทของแต่ละพื้นที่ "การลดจํานวนขอทาน จําเป็นต้องสร้างความเข้าใจตามแนวคิด "ให้ทานถูกวิธี ลดวิถีการขอทาน” เนื่องจากการให้เงินขอทาน ย่อมจะทําให้มีขอทานเพิ่มมากขึ้น หรืออาจเกิดขบวนการค้ามนุษย์ตามมา ทั้งนี้ จึงต้องสร้างความตระหนักให้ทุกคนในสังคมคํานึงถึงการมีศักดิ์ศรีในการดํารงชีวิต และได้เน้นย้ําในที่ประชุมถึงการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาขอทานอย่างมuประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะยาวอย่างไรก็ตาม กระทรวง พม. มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาคนขอทาน การจัดระเบียบสังคม โดยแยกผู้กระทําความผิดออกจากผู้แสดงความสามารถในที่สาธารณะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้แสดงความสามารถ ให้สามารถประกอบอาชีพด้วยตนเอง และดําเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ หากพบคนขอทาน คนไร้ที่พึ่ง แจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน โทร. 1300 บริการ 24 ชั่วโมง”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จัดประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2560 ร่วมพิจารณากรอบการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561- 2565) ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2560 พม. จัดประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2560 ร่วมพิจารณากรอบการจัดทําร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561- 2565) ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 พม. จัดประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2560 ร่วมพิจารณากรอบการจัดทําร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561- 2565) ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 วันนี้ (24 พ.ค. 60) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ สะพานขาว กรุงเทพฯพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว. พม.)เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2560 เพื่อพิจารณากรอบการจัดทําร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561- 2565) ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรการกลไก เพื่อการควบคุม คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทําการขอทาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้แทนจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน เป็นต้น พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาคนขอทาน โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดําเนินการในรูปแบบคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 เตรียมเดินหน้ากําหนดยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทานเพื่อลดจํานวนขอทาน พัฒนาระบบ กลไก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดําเนินงานสําคัญของคณะกรรมการควบคุมการขอทาน จํานวน 5 เรื่อง ดังนี้ 1. ผลการจัดระเบียบขอทาน ประจําปี 2560 ระหว่าง เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบัน (23 พ.ค. 60) พบว่า จํานวนขอทานที่เข้าสู่การจัดระเบียบ 776 ราย เป็นคนไทย 519 ราย คนต่างด้าว 257 ราย ส่งคืนครอบครัว 421 ราย ส่งกลับประเทศต้นทาง 168 ราย เข้าสู่กระบวนการคุ้มครองในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 11 แห่งทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้โครงการธัญบุรีโมเดล 98 ราย และอยู่ระหว่างตรวจ DNA พิสูจน์ความสัมพันธ์ 89 ราย 2. การออกระเบียบตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 จํานวน 3 ฉบับ ได้แก่ 2.1 องค์ประกอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของคณะอนุกรรมการควบคุมขอทาoจังหวัด 2.2 การเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานคุ้มครองและคุณภาพชีวิตพ.ศ. 2560 และ 2.3 สถานที่พักพิงชั่วคราวระหว่างดําเนินการตรวจสอบสารพันธุกรรม (DNA) พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่ออีกว่า 3.การออกบัตรประจําตัวผู้แสดงความสามารถ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน (23 พ.ค. 60) มีจํานวน 1,533 ราย แบ่งเป็น 3.1 ประเภทความสามารถ อาทิ ดนตรี 1,359 ราย นาฎศิลป์ 42 ราย และศิลปะ 34 ราย และ 3.2 ประเภทอื่นๆ อาทิ ลิเก ลีลาศ 62 ราย โดยจังหวัดที่มีผู้มาทําบัตรฯ มากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 429 ราย นนทบุรี 146 ราย และเชียงใหม่ 80 ราย ตามลําดับ ซึ่งผู้ที่ได้รับบัตรประจําตัวผู้แสดงความสามารถ กระทรวง พม. จะดําเนินการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพต่อไป 4. การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ 647 ราย ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 และ 5. แผนการขับเคลื่อนงานตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 โดยเริ่มตั้งแต่ 5.1 แผนต้นน้ํา การป้องกันและแก้ไขปัญหาขอทานในพื้นที่ต้นทาง ด้วยการค้นหากลุ่มเสี่ยงและ การช่วยเหลือ 5.2 แผนกลางน้ํา การพัฒนาศักยภาพฟื้นฟูอาชีพ ปรับทัศนคติ และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน และ 5.3 แผนปลายน้ํา การจัดบริการจัดระเบียบการรณรงค์ และติดตามผลการดําเนินงานแก้ไขปัญหาคนขอทาน พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์ควบคุมการขอทาน ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 - 2565) โดยมีเป้าประสงค์ คือ การลดจํานวนขอทาน การพัฒนาระบบและกลไก การส่งเสริม การมีส่วนร่วม การคืนสู่ชุมชน สังคมเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วย 5 มาตรการ ดังนี้ 1. การลดจํานวนและป้องกันการขอทานซ้ํา ด้วยการพัฒนาระบบการบําบัด ฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพคนขอทาน 2. การพัฒนากลไกและระบบการทํางาน ทั้งผู้ปฏิบัติงาน ระบบการจัดสวัสดิการในสถาน/ศูนย์ และการเพิ่มช่องทางการบริการและหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ 3. การยกระดับความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีการทํางานด้านคนขอทานทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา ตลอดจนบูรณาการทํางานในระดับพื้นที่ 4. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นให้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาคนขอทาน และ 5. การบริหารที่มีประสิทธิภาพพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบติดตาม และประเมินผล รวมทั้งการศึกษาวิจัยและองค์ความรู้ เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ร่างแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวจําเป็นต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์ ความชัดเจนถึงสาเหตุการขอทาน เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ความเชื่อที่บางพื้นที่เชื่อว่ามาขอทานแล้วได้เงิน เรื่องการขาดทักษะในการประกอบอาชีพ หรือการบังคับขอทานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการค้ามนุษย์ ซึ่งสาเหตุข้างต้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยและบริบทของแต่ละพื้นที่ "การลดจํานวนขอทาน จําเป็นต้องสร้างความเข้าใจตามแนวคิด "ให้ทานถูกวิธี ลดวิถีการขอทาน” เนื่องจากการให้เงินขอทาน ย่อมจะทําให้มีขอทานเพิ่มมากขึ้น หรืออาจเกิดขบวนการค้ามนุษย์ตามมา ทั้งนี้ จึงต้องสร้างความตระหนักให้ทุกคนในสังคมคํานึงถึงการมีศักดิ์ศรีในการดํารงชีวิต และได้เน้นย้ําในที่ประชุมถึงการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาขอทานอย่างมuประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะยาวอย่างไรก็ตาม กระทรวง พม. มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาคนขอทาน การจัดระเบียบสังคม โดยแยกผู้กระทําความผิดออกจากผู้แสดงความสามารถในที่สาธารณะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้แสดงความสามารถ ให้สามารถประกอบอาชีพด้วยตนเอง และดําเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ หากพบคนขอทาน คนไร้ที่พึ่ง แจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน โทร. 1300 บริการ 24 ชั่วโมง”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3996
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองโฆษกรัฐบาลระบุ กรมเจ้าท่ารายงาน เรือเวสเตอร์ดามล่องเข้ากัมพูชาแล้ว สรุปยอดคนไทยในเรือ 21 คน
วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 รองโฆษกรัฐบาลระบุ กรมเจ้าท่ารายงาน เรือเวสเตอร์ดามล่องเข้ากัมพูชาแล้ว สรุปยอดคนไทยในเรือ 21 คน รองโฆษกรัฐบาลระบุ กรมเจ้าท่ารายงาน เรือเวสเตอร์ดามล่องเข้ากัมพูชาแล้ว สรุปยอดคนไทยในเรือ 21 คน วันที่ 13 ก.พ.63 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สําหรับการติดตามเรือโดยสารเวสเตอร์ดาม ซึ่งเดินทางไปยังประเทศกัมพูชานั้น กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้รายงานขั้นตอนในประเทศกัมพูชา มีดังนี้ 1. ให้เรือทิ้งสมอรอจนครบระยะเวลาเฝ้าระวัง 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2563 2.จัดทีมแพทย์ไปตรวจสุขภาพผู้โดยสารและลูกเรือก่อนจะพิจารณาอนุญาตให้ลงจากเรือ 3. จัดให้สายการบินรับมารับผู้โดยสารเดินทางไปยังสนามบินโดยตรงและยกเว้นวีซ่าทุกคน 4. เมื่อผู้โดยสารขึ้นหมด เรือจะทําความสะอาด ก่อนออกเดินทางไปเมืองท่าต่อไปในวันที่ 17 ก.พ. 2563 “ส่วนยอดผู้โดยสารภายในเรือมีจํานวน 1,455 คน และลูกเรืออีก 802 คน รวมทั้งหมด 2,257 คน โดยพบว่าบนเรือมีคนไทยเป็นผู้โดยสาร 2 คน โดยเป็นหญิง 2 คน ขณะที่ลูกเรือคนไทยมีทั้งหมด 19 คน เป็นชาย 13 คน หญิง 6 คน รวมคนไทยบนเรือ 21 คน ที่ผ่านมาเรือโดยสารเวสเตอร์ดามออกเดินทางจากเกาะฮ่องกงเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2563 โดยไปแวะเมืองเกาชุง ประเทศไต้หวัน ก่อนเดินทางออกจากไต้หวัน วันที่ 4 ก.พ. 2563 ซึ่งขณะนี้เรือเวสเตอร์ดามได้เทียบท่าที่กัมพูชาแล้วเมื่อเวลา 07.00 น.” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองโฆษกรัฐบาลระบุ กรมเจ้าท่ารายงาน เรือเวสเตอร์ดามล่องเข้ากัมพูชาแล้ว สรุปยอดคนไทยในเรือ 21 คน วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 รองโฆษกรัฐบาลระบุ กรมเจ้าท่ารายงาน เรือเวสเตอร์ดามล่องเข้ากัมพูชาแล้ว สรุปยอดคนไทยในเรือ 21 คน รองโฆษกรัฐบาลระบุ กรมเจ้าท่ารายงาน เรือเวสเตอร์ดามล่องเข้ากัมพูชาแล้ว สรุปยอดคนไทยในเรือ 21 คน วันที่ 13 ก.พ.63 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สําหรับการติดตามเรือโดยสารเวสเตอร์ดาม ซึ่งเดินทางไปยังประเทศกัมพูชานั้น กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้รายงานขั้นตอนในประเทศกัมพูชา มีดังนี้ 1. ให้เรือทิ้งสมอรอจนครบระยะเวลาเฝ้าระวัง 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2563 2.จัดทีมแพทย์ไปตรวจสุขภาพผู้โดยสารและลูกเรือก่อนจะพิจารณาอนุญาตให้ลงจากเรือ 3. จัดให้สายการบินรับมารับผู้โดยสารเดินทางไปยังสนามบินโดยตรงและยกเว้นวีซ่าทุกคน 4. เมื่อผู้โดยสารขึ้นหมด เรือจะทําความสะอาด ก่อนออกเดินทางไปเมืองท่าต่อไปในวันที่ 17 ก.พ. 2563 “ส่วนยอดผู้โดยสารภายในเรือมีจํานวน 1,455 คน และลูกเรืออีก 802 คน รวมทั้งหมด 2,257 คน โดยพบว่าบนเรือมีคนไทยเป็นผู้โดยสาร 2 คน โดยเป็นหญิง 2 คน ขณะที่ลูกเรือคนไทยมีทั้งหมด 19 คน เป็นชาย 13 คน หญิง 6 คน รวมคนไทยบนเรือ 21 คน ที่ผ่านมาเรือโดยสารเวสเตอร์ดามออกเดินทางจากเกาะฮ่องกงเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2563 โดยไปแวะเมืองเกาชุง ประเทศไต้หวัน ก่อนเดินทางออกจากไต้หวัน วันที่ 4 ก.พ. 2563 ซึ่งขณะนี้เรือเวสเตอร์ดามได้เทียบท่าที่กัมพูชาแล้วเมื่อเวลา 07.00 น.” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26481
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วท..ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือความร่วมมือด้าน วทน.
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 รมว.วท..ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตแคนาดาประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือความร่วมมือด้าน วทน. รมว.วท..ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตแคนาดาประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือความร่วมมือด้าน วทน. ทั้งนี้ สําหรับสถานภาพความร่วมมือด้าน วทน. ระหว่าง ไทย - แคนาดา มีความร่วมมือของหน่วยงาน วท. ดังนี้ 1 สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กับ Canadian Nuclear safety Commission (CNCS) สาขาความร่วมมือ Administrative arrangements for the import and Export of Radioactive Sources 2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพ.) กับ The Canadian Museum of Nature/Insectarium de Montreal สาขาความร่วมมือฺ Biodiversity 3.สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) กับ Canadian Light Source Inc. สาขาความร่วมมือ Synchrotron Research โครงการในปี 2560 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ National Research Council ในประเด็นลงนามความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนา Certified Reference Material – CRM สําหรับอ้างอิงการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์อาหาร (อาหารทะเล) ซึ่งประเทศแคนาดามีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา ร้อยละ 2.4 ของ GDP (2015) สาขาที่มีความโดดเด่น คือ การแพทย์/สาธารณสุข เทคโนโลยีชีวภาพ ICT และแคนาดายังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอวกาศ โดยมี Canada Space Agency เป็นหน่วยงานกลาง เชื่อมโยงบริษัทที่ดําเนินธุรกิจด้านดิจการอวกาศกว่า 200 บริษัท โดยมีดาวเทียมสํารวจที่มีชื่อเสียง เช่น RADARSAT ซึ่งเป็นดาวเทียมสํารวจด้วยเรดาห์ ที่ได้ชื่อว่ามึคุณภาพดีที่สุด และยังเป็น 1 ใน 8 ประเทศ ที่เคยอยู่ใน Short list ประเทศที่ไทย โดย สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จะให้พัฒนาดาวเทียมไทยโชต ให้กับประเทศไทย นากจากนั้น แคนาดา ยังมีสถาบันที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกในด้านกฏหมายอากาสและอวกาศ อาทิ Mcgill University ซึ่งเป็นนิติศาสตร์สาขาที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ ถ่ายภาพ : นายธนฉัตร มาลาเจริญ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 02 333 3728-3732 โทรสาร 02 333 3834 E-Mail:pr@most.go.thFacebook : sciencethailand Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 1313
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วท..ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือความร่วมมือด้าน วทน. วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 รมว.วท..ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตแคนาดาประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือความร่วมมือด้าน วทน. รมว.วท..ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตแคนาดาประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือความร่วมมือด้าน วทน. ทั้งนี้ สําหรับสถานภาพความร่วมมือด้าน วทน. ระหว่าง ไทย - แคนาดา มีความร่วมมือของหน่วยงาน วท. ดังนี้ 1 สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กับ Canadian Nuclear safety Commission (CNCS) สาขาความร่วมมือ Administrative arrangements for the import and Export of Radioactive Sources 2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพ.) กับ The Canadian Museum of Nature/Insectarium de Montreal สาขาความร่วมมือฺ Biodiversity 3.สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) กับ Canadian Light Source Inc. สาขาความร่วมมือ Synchrotron Research โครงการในปี 2560 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ National Research Council ในประเด็นลงนามความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนา Certified Reference Material – CRM สําหรับอ้างอิงการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์อาหาร (อาหารทะเล) ซึ่งประเทศแคนาดามีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา ร้อยละ 2.4 ของ GDP (2015) สาขาที่มีความโดดเด่น คือ การแพทย์/สาธารณสุข เทคโนโลยีชีวภาพ ICT และแคนาดายังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอวกาศ โดยมี Canada Space Agency เป็นหน่วยงานกลาง เชื่อมโยงบริษัทที่ดําเนินธุรกิจด้านดิจการอวกาศกว่า 200 บริษัท โดยมีดาวเทียมสํารวจที่มีชื่อเสียง เช่น RADARSAT ซึ่งเป็นดาวเทียมสํารวจด้วยเรดาห์ ที่ได้ชื่อว่ามึคุณภาพดีที่สุด และยังเป็น 1 ใน 8 ประเทศ ที่เคยอยู่ใน Short list ประเทศที่ไทย โดย สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จะให้พัฒนาดาวเทียมไทยโชต ให้กับประเทศไทย นากจากนั้น แคนาดา ยังมีสถาบันที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกในด้านกฏหมายอากาสและอวกาศ อาทิ Mcgill University ซึ่งเป็นนิติศาสตร์สาขาที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ข่าวโดย : นางสาวชลธิชา แสงเทียนสุวรรณ ถ่ายภาพ : นายธนฉัตร มาลาเจริญ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 02 333 3728-3732 โทรสาร 02 333 3834 E-Mail:pr@most.go.thFacebook : sciencethailand Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 1313
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1965
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดิจิทัลฯ เยี่ยมชม “ตลาดชุมชนออนไลน์บ้านหนองแข้” ต้นแบบต่อยอดเน็ตประชารัฐสร้างรายได้ชุมชนอย่างยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2562 กระทรวงดิจิทัลฯ เยี่ยมชม “ตลาดชุมชนออนไลน์บ้านหนองแข้” ต้นแบบต่อยอดเน็ตประชารัฐสร้างรายได้ชุมชนอย่างยั่งยืน กระทรวงดิจิทัลฯ นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเปิด “ตลาดชุมชนออนไลน์บ้านหนองแข้” ซึ่งเป็นต้นแบบตลาดชุมชนออนไลน์ที่ประสบความสําเร็จจากการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตในชุมชน ภายใต้โครงการเน็ตอาสาประชารัฐ เพื่อต่อยอดสร้างรายได้ ขายสินค้าของดีในชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหมบ้านหนองแข้ตามพระราชดําริ ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดป้าย"ตลาดชุมชนออนไลน์” พร้อมมอบเกียรติบัตรให้แก่เด็กเยาวชนที่ผ่านการอบรม และผู้ประกอบการชุมชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2562 ณ บ้านหนองแข้" ตําบลตองโขบ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร" ซึ่งภายในงานแนะนําการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ผู้สนใจ และการแสดงของนักเรียน รร.ราชประชานุเคราะห์ 53 การเดินโชว์เครื่องแต่งกายผ้าทอของคนในชุมชน รวมทั้งบูธสินค้าในชุมชน อาทิ บูธแสดงผ้าไหมย้อมคราม ชมสาธิตการย้อมครามของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองแข้ บูธแสดงสินค้าออนไลน์ Smart School Shop โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 53 บูธผ้าย้อมครามมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร บูธเน็ตประชารัฐ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) เป็นต้น *********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดิจิทัลฯ เยี่ยมชม “ตลาดชุมชนออนไลน์บ้านหนองแข้” ต้นแบบต่อยอดเน็ตประชารัฐสร้างรายได้ชุมชนอย่างยั่งยืน วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2562 กระทรวงดิจิทัลฯ เยี่ยมชม “ตลาดชุมชนออนไลน์บ้านหนองแข้” ต้นแบบต่อยอดเน็ตประชารัฐสร้างรายได้ชุมชนอย่างยั่งยืน กระทรวงดิจิทัลฯ นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเปิด “ตลาดชุมชนออนไลน์บ้านหนองแข้” ซึ่งเป็นต้นแบบตลาดชุมชนออนไลน์ที่ประสบความสําเร็จจากการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตในชุมชน ภายใต้โครงการเน็ตอาสาประชารัฐ เพื่อต่อยอดสร้างรายได้ ขายสินค้าของดีในชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหมบ้านหนองแข้ตามพระราชดําริ ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดป้าย"ตลาดชุมชนออนไลน์” พร้อมมอบเกียรติบัตรให้แก่เด็กเยาวชนที่ผ่านการอบรม และผู้ประกอบการชุมชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2562 ณ บ้านหนองแข้" ตําบลตองโขบ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร" ซึ่งภายในงานแนะนําการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ผู้สนใจ และการแสดงของนักเรียน รร.ราชประชานุเคราะห์ 53 การเดินโชว์เครื่องแต่งกายผ้าทอของคนในชุมชน รวมทั้งบูธสินค้าในชุมชน อาทิ บูธแสดงผ้าไหมย้อมคราม ชมสาธิตการย้อมครามของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองแข้ บูธแสดงสินค้าออนไลน์ Smart School Shop โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 53 บูธผ้าย้อมครามมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร บูธเน็ตประชารัฐ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) เป็นต้น *********************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19177
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘บิ๊กอู๋’ คิกออฟ เพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย ดัน SMEs มุ่งสู่ Thailand 4.0
วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2560 ‘บิ๊กอู๋’ คิกออฟ เพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย ดัน SMEs มุ่งสู่ Thailand 4.0 รมว.แรงงาน เปิดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SMEs 4.0 เน้นภารกิจเพิ่มผลิตแรงงานสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สู่ Thailand 4.0 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SMEs 4.0 (STEM Workforce Towards SME 4.0) เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานแก่คนทํางานในสถานประกอบกิจการ SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ณ ห้อง Phoenix 1-6 อาคาร IMPACT Exhibition เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วันนี้ (21 ธ.ค.60) โดย รมว.แรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนําของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยกําหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พัฒนาประเทศมุ่งสู่ Thailand 4.0 กระทรวงแรงงานจึงได้กําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนากําลังคนของประเทศ ระยะ 20 ปี เน้นภารกิจการเพิ่มผลิตแรงงานสู่ Thailand 4.0 ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เป็น Brain power ตอบสนองนโยบายของกระทรวงแรงงานด้านการบริหารแรงงานให้คนไทยมีงานทําอย่างถ้วนทั่ว สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ด้วยการประกาศนโยบายและเป้าหมายให้ “แรงงานที่มีศักยภาพสูงและคุณภาพชีวิตที่ดี ย่อมนําประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” จากข้อมูลของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ SMEs ในประเทศไทย มีมากกว่า 2 ล้านราย ครอบคลุมการจ้างงานมากกว่า 10 ล้านคน มูลค่าทางเศรษฐกิจรวมมากกว่า 5 ล้านล้านบาท กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เล็งเห็นความสําคัญของ SMEs จึงได้จัดทํา “โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน สู่ SMEs 4.0 (STEM Workforce Towards SME 4.0) เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานแก่คนทํางานในสถานประกอบกิจการ SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ให้ทีมงานที่เชี่ยวชาญเข้าไปปรับปรุงขบวนการผลิตสินค้าและบริการ และลดการสูญเสียให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ด้วยการให้ทีมปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปร่วมปรับปรุงขบวนการผลิต ในการลดความสูญเสียดังกล่าว พัฒนาบุคลากรของกพร. ให้มีความสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ที่ผ่านมาพัฒนาศักยภาพคนทํางานและผู้ประกอบกิจการจํานวน 73,576 คน เพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดการสูญเสียในวงจรการผลิต คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท สร้างความมั่นคงให้กับสถานประกอบกิจการ 918 แห่ง สําหรับในปี 2561 มีการวางเป้าหมายให้คําปรึกษาแก่ผู้ประกอบกิจการ 185 แห่ง และการทําตลาดเชิงรุกจัด “คลินิกผลิตภาพแรงงานสัญจร” ในพื้นที่กทม. และทั่วประเทศ เพื่อนําบริการของหน่วยงานให้เข้าถึงประชาชน ลดรายจ่ายครัวเรือน และขยายการให้บริการภาครัฐให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ห่างไกล สร้างเครือข่ายในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทยตามแนวทางประชารัฐ 5,000 คน “การดําเนินโครงการดังกล่าว มิได้จะคาดหวังเพียงเชิงตัวเลขเท่านั้น หากแต่ยังคํานึงถึงความมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาความคิดเชิงระบบ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน เมื่อผู้ประกอบกิจการและคนทํางานในกลุ่ม SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ได้รับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป” รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายที่สุด +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร ข่าว สมภพ ศีลบุตร ภาพ กองสื่อสารองค์กร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ข้อมูล 21 ธันวาคม 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘บิ๊กอู๋’ คิกออฟ เพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย ดัน SMEs มุ่งสู่ Thailand 4.0 วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2560 ‘บิ๊กอู๋’ คิกออฟ เพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย ดัน SMEs มุ่งสู่ Thailand 4.0 รมว.แรงงาน เปิดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SMEs 4.0 เน้นภารกิจเพิ่มผลิตแรงงานสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สู่ Thailand 4.0 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SMEs 4.0 (STEM Workforce Towards SME 4.0) เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานแก่คนทํางานในสถานประกอบกิจการ SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ณ ห้อง Phoenix 1-6 อาคาร IMPACT Exhibition เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วันนี้ (21 ธ.ค.60) โดย รมว.แรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนําของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยกําหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พัฒนาประเทศมุ่งสู่ Thailand 4.0 กระทรวงแรงงานจึงได้กําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนากําลังคนของประเทศ ระยะ 20 ปี เน้นภารกิจการเพิ่มผลิตแรงงานสู่ Thailand 4.0 ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เป็น Brain power ตอบสนองนโยบายของกระทรวงแรงงานด้านการบริหารแรงงานให้คนไทยมีงานทําอย่างถ้วนทั่ว สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ด้วยการประกาศนโยบายและเป้าหมายให้ “แรงงานที่มีศักยภาพสูงและคุณภาพชีวิตที่ดี ย่อมนําประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” จากข้อมูลของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ SMEs ในประเทศไทย มีมากกว่า 2 ล้านราย ครอบคลุมการจ้างงานมากกว่า 10 ล้านคน มูลค่าทางเศรษฐกิจรวมมากกว่า 5 ล้านล้านบาท กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เล็งเห็นความสําคัญของ SMEs จึงได้จัดทํา “โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน สู่ SMEs 4.0 (STEM Workforce Towards SME 4.0) เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานแก่คนทํางานในสถานประกอบกิจการ SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ให้ทีมงานที่เชี่ยวชาญเข้าไปปรับปรุงขบวนการผลิตสินค้าและบริการ และลดการสูญเสียให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ด้วยการให้ทีมปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปร่วมปรับปรุงขบวนการผลิต ในการลดความสูญเสียดังกล่าว พัฒนาบุคลากรของกพร. ให้มีความสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ที่ผ่านมาพัฒนาศักยภาพคนทํางานและผู้ประกอบกิจการจํานวน 73,576 คน เพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดการสูญเสียในวงจรการผลิต คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท สร้างความมั่นคงให้กับสถานประกอบกิจการ 918 แห่ง สําหรับในปี 2561 มีการวางเป้าหมายให้คําปรึกษาแก่ผู้ประกอบกิจการ 185 แห่ง และการทําตลาดเชิงรุกจัด “คลินิกผลิตภาพแรงงานสัญจร” ในพื้นที่กทม. และทั่วประเทศ เพื่อนําบริการของหน่วยงานให้เข้าถึงประชาชน ลดรายจ่ายครัวเรือน และขยายการให้บริการภาครัฐให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ห่างไกล สร้างเครือข่ายในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทยตามแนวทางประชารัฐ 5,000 คน “การดําเนินโครงการดังกล่าว มิได้จะคาดหวังเพียงเชิงตัวเลขเท่านั้น หากแต่ยังคํานึงถึงความมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาความคิดเชิงระบบ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน เมื่อผู้ประกอบกิจการและคนทํางานในกลุ่ม SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP ได้รับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป” รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายที่สุด +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ปริยรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร ข่าว สมภพ ศีลบุตร ภาพ กองสื่อสารองค์กร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ข้อมูล 21 ธันวาคม 2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8920
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)
วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2561 “ยุติธรรม” พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) กระทรวงยุติธรรม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ในวันอังคารที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมไชยานุกิจ ชั้น ๓ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ นายวิทยา สุริยะวงค์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย ของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑โดยที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับบที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ที่กําหนดให้มีการส่งเสริมการออกกฎหมาย เพื่อรับรองสิทธิกับทุกกลุ่มบุคคลอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ/อัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บางประการ ไม่รับรองสถานะกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้มีสิทธิในการสมรส หรือจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... . ตามที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเสนอ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) วันพุธที่ 19 ธันวาคม 2561 “ยุติธรรม” พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) กระทรวงยุติธรรม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ในวันอังคารที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมไชยานุกิจ ชั้น ๓ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ นายวิทยา สุริยะวงค์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย ของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑โดยที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับบที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ที่กําหนดให้มีการส่งเสริมการออกกฎหมาย เพื่อรับรองสิทธิกับทุกกลุ่มบุคคลอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ/อัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บางประการ ไม่รับรองสถานะกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้มีสิทธิในการสมรส หรือจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... . ตามที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเสนอ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17619
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กอู๋”มอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงแรงงานปี 2562
วันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2561 “บิ๊กอู๋”มอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงแรงงานปี 2562 รมว.แรงงาน เปิดสัมมนาวิชาการและมอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ปีงบประมาณ 2562 รมว.แรงงาน เปิดสัมมนาวิชาการและมอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ปีงบประมาณ 2562 เน้นจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้องตามกฎหมาย นําเข้าแรงงานตาม MOU ปรับตัวแรงงานให้ก้าวทันเทคโนโลยี เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 2564 คุ้มครองแรงงานได้ให้รับสิทธิตามกฎหมาย ส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน สร้างหลักประกันสังคมแก่แรงงาน ในระบบและนอกระบบ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาสัมมนาวิชาการและมอบนโยบายของกระทรวงแรงงาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยกล่าวว่า กระทรวงแรงงาน เป็นกระทรวงที่มีความสําคัญเพราะเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม การบริหารจัดการด้านแรงงาน เป็นงานที่มีความสําคัญส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในห้วงเวลาของการปฏิรูปประเทศที่ต้องนํายุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศไปสู่การปฏิบัติ ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการระดับภูมิภาค และเจ้าหน้าที่ทุกคนเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนกําลังแรงงานของประเทศให้มีงานทํา มีรายได้ มีอาชีพ ยกระดับฝีมือแรงงาน คุ้มครองและสร้างหลักประกันสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับแรงงานความท้าทายด้านแรงงานที่มีหลากหลายรูปแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขาดแคลนกําลังแรงงานจนส่งผลให้ต้องมีการนําเข้าแรงงานต่างด้าว พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงแรงงานจะดําเนินการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ได้รับผ่อนผันให้มีเอกสารยืนยันตัวบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการนําเข้าแรงงานตาม MOU อย่างถูกต้องตามกฎหมาย การก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งแรงงานต้องสามารถปรับให้ทันกับเทคโนโลยี การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในปี 2564 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์การคุ้มครองแรงงานได้รับสิทธิตามกฎหมาย และส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน รวมทั้งการสร้างหลักประกันสังคมให้กับแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ “ขอให้ทุกคนร่วมกันกําหนดยุทธการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสําเร็จในการวางรากฐานที่มั่นคงด้านแรงงานอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาประเทศ ให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ลดความเหลื่อมล้ํา ลดความขัดแย้งในสังคม และนําพาประเทศชาติสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อันเป็นวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ 20 ปี ต่อไป” พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวในท้ายสุด -------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ชนินทร เพ็ชรทับ - ข่าว/ สมภพ ศีลบุตร - ภาพ/ 24 กันยายน 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กอู๋”มอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงแรงงานปี 2562 วันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2561 “บิ๊กอู๋”มอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ขับเคลื่อนภารกิจกระทรวงแรงงานปี 2562 รมว.แรงงาน เปิดสัมมนาวิชาการและมอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ปีงบประมาณ 2562 รมว.แรงงาน เปิดสัมมนาวิชาการและมอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ปีงบประมาณ 2562 เน้นจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้องตามกฎหมาย นําเข้าแรงงานตาม MOU ปรับตัวแรงงานให้ก้าวทันเทคโนโลยี เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 2564 คุ้มครองแรงงานได้ให้รับสิทธิตามกฎหมาย ส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน สร้างหลักประกันสังคมแก่แรงงาน ในระบบและนอกระบบ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาสัมมนาวิชาการและมอบนโยบายของกระทรวงแรงงาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยกล่าวว่า กระทรวงแรงงาน เป็นกระทรวงที่มีความสําคัญเพราะเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม การบริหารจัดการด้านแรงงาน เป็นงานที่มีความสําคัญส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในห้วงเวลาของการปฏิรูปประเทศที่ต้องนํายุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศไปสู่การปฏิบัติ ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการระดับภูมิภาค และเจ้าหน้าที่ทุกคนเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนกําลังแรงงานของประเทศให้มีงานทํา มีรายได้ มีอาชีพ ยกระดับฝีมือแรงงาน คุ้มครองและสร้างหลักประกันสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับแรงงานความท้าทายด้านแรงงานที่มีหลากหลายรูปแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขาดแคลนกําลังแรงงานจนส่งผลให้ต้องมีการนําเข้าแรงงานต่างด้าว พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงแรงงานจะดําเนินการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ได้รับผ่อนผันให้มีเอกสารยืนยันตัวบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการนําเข้าแรงงานตาม MOU อย่างถูกต้องตามกฎหมาย การก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งแรงงานต้องสามารถปรับให้ทันกับเทคโนโลยี การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในปี 2564 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์การคุ้มครองแรงงานได้รับสิทธิตามกฎหมาย และส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน รวมทั้งการสร้างหลักประกันสังคมให้กับแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ “ขอให้ทุกคนร่วมกันกําหนดยุทธการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสําเร็จในการวางรากฐานที่มั่นคงด้านแรงงานอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาประเทศ ให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ลดความเหลื่อมล้ํา ลดความขัดแย้งในสังคม และนําพาประเทศชาติสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อันเป็นวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ 20 ปี ต่อไป” พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวในท้ายสุด -------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ชนินทร เพ็ชรทับ - ข่าว/ สมภพ ศีลบุตร - ภาพ/ 24 กันยายน 2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15619
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 วันนี้ (11 มีนาคม 2562) เวลา 15.00 น. ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธี บรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พร้อมความหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในการนี้ รัฐบาลขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเครื่องสักการะ และขอเชิญชวนประดับตราสัญลักษณ์ ตามอาคารสถานที่ และบ้านเรือน เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสานึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยพร้อมเพรียงกัน สําหรับหลักเกณฑ์การเชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ไปประดิษฐานหรือประดับในสิ่งของต่าง ๆ มีดังนี้ 1. ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธี บรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องงานพระราชพิธีฯ ประดับบนผืนธง ประดับบนซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนป้ายเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนโต๊ะหมู่บูชา ประดับตามอาคารสถานที่ บ้านเรือน และสถานที่ราชการ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและแสดงความจงรักภักดีในโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่งในครั้งนี้ โดยประดับในห้วงเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 2. ใช้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นการเชิญตราสัญลักษณ์ฯ มาประดิษฐานเป็นการถาวร ได้แก่ อาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ ประดับบนสิ่งของ เช่น เสื้อ และหมวก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติ สิ่งที่ไม่อนุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ไปใช้ประดับ เช่น แก้วน้ํา ขวดแก้ว จาน ชาม ช้อน แจกัน เหยือกน้ํา (เนื่องจากเป็นของแตกสลายได้) กําไล จี้ กล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยกเว้นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการจัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ซึ่งดําเนินการโดยคณะกรรมการอํานวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สําหรับหน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรม หรือ บริษัท / ห้าง / ร้าน ที่มีความประสงค์จะเชิญตราสัญลักษณ์ไปประดับหรือประดิษฐาน ให้มีหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมแบบคําขอใช้ตราสัญลักษณ์ไปที่คณะอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ทําเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร. 0 2283 4228 - 9 โทรสาร 0 2283 4248 - 9 ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม 2562 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (www.opm.go.th) ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแบบ เข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นแบบตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคําว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562” ซึ่งสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีดําเนินการจัดทําเข็มที่ระลึกฯ เพื่อจําหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขึ้นแบบเข็มที่ระลึก ทั้งนี้ รายได้จากการจําหน่ายเข็มที่ระลึกฯ ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล ตามพระราชอัธยาศัย ในส่วนของเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี อยู่ระหว่างดําเนินการจัดท้าเสื้อต้นแบบ คาดว่าจะสามารถจ้าหน่ายได้พร้อมกับเข็มที่ระลึกฯ ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2562 โดยในวันที่ 31 มีนาคม 2562 จะเปิดจําหน่ายให้ประชาชนทั่วไปเป็นปฐมฤกษ์ จํานวนอย่างละ 20,000 ณ อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ....................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก ข้อมูลโดย สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 วันนี้ (11 มีนาคม 2562) เวลา 15.00 น. ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธี บรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พร้อมความหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในการนี้ รัฐบาลขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเครื่องสักการะ และขอเชิญชวนประดับตราสัญลักษณ์ ตามอาคารสถานที่ และบ้านเรือน เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสานึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยพร้อมเพรียงกัน สําหรับหลักเกณฑ์การเชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ไปประดิษฐานหรือประดับในสิ่งของต่าง ๆ มีดังนี้ 1. ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธี บรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องงานพระราชพิธีฯ ประดับบนผืนธง ประดับบนซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนป้ายเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนโต๊ะหมู่บูชา ประดับตามอาคารสถานที่ บ้านเรือน และสถานที่ราชการ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและแสดงความจงรักภักดีในโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่งในครั้งนี้ โดยประดับในห้วงเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 2. ใช้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นการเชิญตราสัญลักษณ์ฯ มาประดิษฐานเป็นการถาวร ได้แก่ อาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ ประดับบนสิ่งของ เช่น เสื้อ และหมวก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติ สิ่งที่ไม่อนุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ไปใช้ประดับ เช่น แก้วน้ํา ขวดแก้ว จาน ชาม ช้อน แจกัน เหยือกน้ํา (เนื่องจากเป็นของแตกสลายได้) กําไล จี้ กล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยกเว้นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการจัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ซึ่งดําเนินการโดยคณะกรรมการอํานวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สําหรับหน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรม หรือ บริษัท / ห้าง / ร้าน ที่มีความประสงค์จะเชิญตราสัญลักษณ์ไปประดับหรือประดิษฐาน ให้มีหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมแบบคําขอใช้ตราสัญลักษณ์ไปที่คณะอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ทําเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร. 0 2283 4228 - 9 โทรสาร 0 2283 4248 - 9 ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม 2562 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (www.opm.go.th) ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแบบ เข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นแบบตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคําว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562” ซึ่งสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีดําเนินการจัดทําเข็มที่ระลึกฯ เพื่อจําหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขึ้นแบบเข็มที่ระลึก ทั้งนี้ รายได้จากการจําหน่ายเข็มที่ระลึกฯ ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล ตามพระราชอัธยาศัย ในส่วนของเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี อยู่ระหว่างดําเนินการจัดท้าเสื้อต้นแบบ คาดว่าจะสามารถจ้าหน่ายได้พร้อมกับเข็มที่ระลึกฯ ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2562 โดยในวันที่ 31 มีนาคม 2562 จะเปิดจําหน่ายให้ประชาชนทั่วไปเป็นปฐมฤกษ์ จํานวนอย่างละ 20,000 ณ อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ....................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก ข้อมูลโดย สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19258
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร.สุวพันธุ์ฯ ตรวจความพร้อมงานเลี้ยง ขอบคุณผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี
วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2561 รมต.นร.สุวพันธุ์ฯ ตรวจความพร้อมงานเลี้ยง ขอบคุณผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อมการเตรียมการจัดงานขอบคุณผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนและ ผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมีออกจากถ้ําหลวง เขตวนอุทยานถ้ําหลวง - ขุนน้ํานางนอน อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วันนี้ (5 กันยายน 2561) เวลา 16.00 น. นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อมการเตรียมการจัดงานขอบคุณผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมีออกจากถ้ําหลวง เขตวนอุทยานถ้ําหลวง - ขุนน้ํานางนอน อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (United as One) โดยมีนางพัชราภรณ์ อินทรียงค์ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี นําตรวจเยี่ยมการซักซ้อมเสมือนจริง ณ พระลานพระราชวังดุสิต การจัดงานเลี้ยงขอบคุณครั้งนี้ รัฐบาลได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระลานพระราชวังดุสิตเป็นสถานที่จัดงานในวันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2561 เวลา 18.00 - 21.00 น. และพระราชทานอาหารจัดเลี้ยง เป็นอาหารไทยและอาหารนานาชาติ เช่น แกงเขียวหวานพริกขี้หนู แกงมัสมั่น เป็ดย่างลูกทุ่ง ขาหมู - หมั่นโถ ขาหมูเยอรมัน หมูสะเต๊ะ ปอเปี๊ยะทอด ไก่ทอด สเต๊กไก่ สลัดไก่ บาร์บีคิว ซูชิ ซาชิมิ กุ้งอบเกลือ กระเพาะปลา เกี๊ยวกุ้ง ผัดไทย ไส้อั่ว ทองหยิบ ทองหยอด เสน่ห์จันทร์ บุหลันดั้นเมฆ จ่ามงกุฎ ม้าฮ่อ หรุ่ม ฯลฯ เครื่องดื่ม ประกอบด้วย เครื่องดื่มอเมซอน อินทนิล น้ําอ้อยสด และแดงโซดา ในส่วนของรัฐบาลได้จัดอาหารสมทบ เช่น ก๋วยเตี๋ยว (ก๋วยเตี๋ยวแกง เย็นตาโฟ เป็ด ปลา น้ําตกหมู - เนื้อ ราดหน้า ก๋วยจั๊บ) อาหารอีสาน (ส้มตํา - ไก่ย่าง ลาบ น้ําตกไส้กรอก สารพัดยํา หอยครก) และเครื่องดื่ม (กาแฟโบราณ ชาเย็น น้ําตาลสด) เป็นต้น การตรวจเยี่ยมครั้งนี้เป็นการตรวจความพร้อมเริ่มตั้งแต่การนําผู้เข้าร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จํานวนประมาณ 10,000 คน ผ่านจุดคัดกรอง การรับรอง และการนําเข้าสู่ที่นั่ง ซึ่งเป็นการจัดงานในเต็นท์ทั้งหมด แต่ได้รับการตกแต่งให้อบอุ่นเหมือนนั่งอยู่ในห้องจัดเลี้ยงใหญ่ ๆ การจัดพิธีรับพระราชทานพระราชกระแสทรงขอบใจเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เต็นท์บริการอาหารพระราชทานและเต็นท์อาหารรัฐบาล จุดบริการทางการแพทย์และพยาบาล การรักษาความปลอดภัย สิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งเต็นท์อํานวยการ และภาพรวมทั้งหมด สําหรับการซักซ้อมการแสดงบนเวทีที่เตรียมไว้ เป็นการขับร้องเพลงที่เน้นการสร้างพลังแห่งการทําความดี ความสามัคคี โดยวงดนตรีจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล *************************** ที่มา : สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร.สุวพันธุ์ฯ ตรวจความพร้อมงานเลี้ยง ขอบคุณผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2561 รมต.นร.สุวพันธุ์ฯ ตรวจความพร้อมงานเลี้ยง ขอบคุณผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อมการเตรียมการจัดงานขอบคุณผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนและ ผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมีออกจากถ้ําหลวง เขตวนอุทยานถ้ําหลวง - ขุนน้ํานางนอน อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วันนี้ (5 กันยายน 2561) เวลา 16.00 น. นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อมการเตรียมการจัดงานขอบคุณผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมีออกจากถ้ําหลวง เขตวนอุทยานถ้ําหลวง - ขุนน้ํานางนอน อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (United as One) โดยมีนางพัชราภรณ์ อินทรียงค์ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี นําตรวจเยี่ยมการซักซ้อมเสมือนจริง ณ พระลานพระราชวังดุสิต การจัดงานเลี้ยงขอบคุณครั้งนี้ รัฐบาลได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระลานพระราชวังดุสิตเป็นสถานที่จัดงานในวันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2561 เวลา 18.00 - 21.00 น. และพระราชทานอาหารจัดเลี้ยง เป็นอาหารไทยและอาหารนานาชาติ เช่น แกงเขียวหวานพริกขี้หนู แกงมัสมั่น เป็ดย่างลูกทุ่ง ขาหมู - หมั่นโถ ขาหมูเยอรมัน หมูสะเต๊ะ ปอเปี๊ยะทอด ไก่ทอด สเต๊กไก่ สลัดไก่ บาร์บีคิว ซูชิ ซาชิมิ กุ้งอบเกลือ กระเพาะปลา เกี๊ยวกุ้ง ผัดไทย ไส้อั่ว ทองหยิบ ทองหยอด เสน่ห์จันทร์ บุหลันดั้นเมฆ จ่ามงกุฎ ม้าฮ่อ หรุ่ม ฯลฯ เครื่องดื่ม ประกอบด้วย เครื่องดื่มอเมซอน อินทนิล น้ําอ้อยสด และแดงโซดา ในส่วนของรัฐบาลได้จัดอาหารสมทบ เช่น ก๋วยเตี๋ยว (ก๋วยเตี๋ยวแกง เย็นตาโฟ เป็ด ปลา น้ําตกหมู - เนื้อ ราดหน้า ก๋วยจั๊บ) อาหารอีสาน (ส้มตํา - ไก่ย่าง ลาบ น้ําตกไส้กรอก สารพัดยํา หอยครก) และเครื่องดื่ม (กาแฟโบราณ ชาเย็น น้ําตาลสด) เป็นต้น การตรวจเยี่ยมครั้งนี้เป็นการตรวจความพร้อมเริ่มตั้งแต่การนําผู้เข้าร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จํานวนประมาณ 10,000 คน ผ่านจุดคัดกรอง การรับรอง และการนําเข้าสู่ที่นั่ง ซึ่งเป็นการจัดงานในเต็นท์ทั้งหมด แต่ได้รับการตกแต่งให้อบอุ่นเหมือนนั่งอยู่ในห้องจัดเลี้ยงใหญ่ ๆ การจัดพิธีรับพระราชทานพระราชกระแสทรงขอบใจเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เต็นท์บริการอาหารพระราชทานและเต็นท์อาหารรัฐบาล จุดบริการทางการแพทย์และพยาบาล การรักษาความปลอดภัย สิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งเต็นท์อํานวยการ และภาพรวมทั้งหมด สําหรับการซักซ้อมการแสดงบนเวทีที่เตรียมไว้ เป็นการขับร้องเพลงที่เน้นการสร้างพลังแห่งการทําความดี ความสามัคคี โดยวงดนตรีจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล *************************** ที่มา : สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15175
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม 2561 นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อป้องกันน้ําท่วมอย่างยั่งยืน นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อป้องกันน้ําท่วมอย่างยั่งยืน วันนี้ (24 ธันวาคม 2561) เวลา 11.00 น. ณ โครงการประตูระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัดสมุทรปราการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อป้องกันน้ําท่วมอย่างยั่งยืน โดยนายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงระบบการระบายน้ํา และระดับน้ําในแต่ละช่วงเวลาด้วยความสนใจ จากนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ทั้งนี้ กรมชลประทานรับสนองพระราชดําริ ดําเนินการปรับปรุงคลองลัดโพธิ์ จากเดิมที่มีสภาพตื้นเขินมีความกว้างเพียง 12 เมตร ให้สามารถรับปริมาณน้ําได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ก่อสร้างประตูระบายน้ําบริเวณต้นคลองด้านทิศเหนือขนาด กว้าง 14 เมตร จํานวน 4 บาน ขุดคลองด้านเหนือประตูระบายน้ํากว้าง 65 เมตร ความยาวรวม 600 เมตร โดยก่อสร้างประตูระบายน้ําบริเวณต้นคลองด้านทิศเหนือกว้าง 14.00 เมตร จํานวน 4 บาน ขุดคลองด้านเหนือประตูระบายน้ํากว้าง 65 เมตร ท้ายประตูระบายน้ํากว้าง 66 เมตร ความยาวคลอง 600 เมตร ระดับก้นคลองอยู่ที่ - 7.0 เมตรจากระดับน้ําทะเลปานกลาง และระดับหลังคันคลอง +2.65 เมตรจากระดับน้ําทะเลปานกลาง การปิด - เปิด บานระบายช่วงฤดูแล้งจะปิดบานเพื่อป้องกันน้ําทะเลไหลกลับเข้าแม่น้ําเจ้าพระยา ช่วงฤดูน้ําหลากเมื่อน้ําทะเลกําลังขึ้นจะปิดบาน และเมื่อน้ําทะเลกําลังลงจะเปิดบานประตู สําหรับ โครงการประตูระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณตําบลทรงคนอง อําเภอพระประแดง เดิมมีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้มี การจัดทําโครงการตามแนวพระราชดําริ เพื่อบริหารจัดการน้ําและแก้ปัญหาน้ําท่วมกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักการ "เบี่ยงน้ํา" (Diversion) หรือ การย่นระยะทางในการระบายน้ําลงสู่ทะเล เวลาที่น้ําทะเลลด และปิดกันน้ําทะเลเข้าพื้นที่เมื่อน้ําทะเลหนุนสูง ภายใต้การดูแลของหน่วยงานนหลัก 3 หน่วยงาน คือ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ มีหลักการ คือ จากสภาพของแม่น้ําเจ้าพระยาเดิมที่มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่บริเวณบางกะเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร ทําให้การระบายน้ําที่ท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า ไม่ทันเวลาน้ําทะเลหนุน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงมีพระราชดําริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์ ซึ่งเดิมมีความตื้นเขินมีความยาวราว 600 เมตร ในการระบายน้ําที่หลากและน้ําที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ําเจ้าพระยาลงสู่ทะเลทันทีในช่วงก่อนที่น้ําทะเลหนุน และปิดคลองลัดโพธิ์เมื่อน้ําทะเลหนุน เพื่อหน่วงน้ําทะเลไม่ให้ขึ้นลัดเลาะไปตามแนวแม่น้ําเจ้าพระยาที่คดโค้งถึง 18 กิโลเมตรก่อนซึ่งใช้เวลามากจนถึงเวลาน้ําลง ทําให้ไม่สามารถขึ้นไปท่วมตัวเมืองได้ ........................................................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืน วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม 2561 นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อป้องกันน้ําท่วมอย่างยั่งยืน นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อป้องกันน้ําท่วมอย่างยั่งยืน วันนี้ (24 ธันวาคม 2561) เวลา 11.00 น. ณ โครงการประตูระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัดสมุทรปราการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อป้องกันน้ําท่วมอย่างยั่งยืน โดยนายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงระบบการระบายน้ํา และระดับน้ําในแต่ละช่วงเวลาด้วยความสนใจ จากนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ทั้งนี้ กรมชลประทานรับสนองพระราชดําริ ดําเนินการปรับปรุงคลองลัดโพธิ์ จากเดิมที่มีสภาพตื้นเขินมีความกว้างเพียง 12 เมตร ให้สามารถรับปริมาณน้ําได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ก่อสร้างประตูระบายน้ําบริเวณต้นคลองด้านทิศเหนือขนาด กว้าง 14 เมตร จํานวน 4 บาน ขุดคลองด้านเหนือประตูระบายน้ํากว้าง 65 เมตร ความยาวรวม 600 เมตร โดยก่อสร้างประตูระบายน้ําบริเวณต้นคลองด้านทิศเหนือกว้าง 14.00 เมตร จํานวน 4 บาน ขุดคลองด้านเหนือประตูระบายน้ํากว้าง 65 เมตร ท้ายประตูระบายน้ํากว้าง 66 เมตร ความยาวคลอง 600 เมตร ระดับก้นคลองอยู่ที่ - 7.0 เมตรจากระดับน้ําทะเลปานกลาง และระดับหลังคันคลอง +2.65 เมตรจากระดับน้ําทะเลปานกลาง การปิด - เปิด บานระบายช่วงฤดูแล้งจะปิดบานเพื่อป้องกันน้ําทะเลไหลกลับเข้าแม่น้ําเจ้าพระยา ช่วงฤดูน้ําหลากเมื่อน้ําทะเลกําลังขึ้นจะปิดบาน และเมื่อน้ําทะเลกําลังลงจะเปิดบานประตู สําหรับ โครงการประตูระบายน้ําคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณตําบลทรงคนอง อําเภอพระประแดง เดิมมีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้มี การจัดทําโครงการตามแนวพระราชดําริ เพื่อบริหารจัดการน้ําและแก้ปัญหาน้ําท่วมกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักการ "เบี่ยงน้ํา" (Diversion) หรือ การย่นระยะทางในการระบายน้ําลงสู่ทะเล เวลาที่น้ําทะเลลด และปิดกันน้ําทะเลเข้าพื้นที่เมื่อน้ําทะเลหนุนสูง ภายใต้การดูแลของหน่วยงานนหลัก 3 หน่วยงาน คือ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ มีหลักการ คือ จากสภาพของแม่น้ําเจ้าพระยาเดิมที่มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่บริเวณบางกะเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร ทําให้การระบายน้ําที่ท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า ไม่ทันเวลาน้ําทะเลหนุน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงมีพระราชดําริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์ ซึ่งเดิมมีความตื้นเขินมีความยาวราว 600 เมตร ในการระบายน้ําที่หลากและน้ําที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ําเจ้าพระยาลงสู่ทะเลทันทีในช่วงก่อนที่น้ําทะเลหนุน และปิดคลองลัดโพธิ์เมื่อน้ําทะเลหนุน เพื่อหน่วงน้ําทะเลไม่ให้ขึ้นลัดเลาะไปตามแนวแม่น้ําเจ้าพระยาที่คดโค้งถึง 18 กิโลเมตรก่อนซึ่งใช้เวลามากจนถึงเวลาน้ําลง ทําให้ไม่สามารถขึ้นไปท่วมตัวเมืองได้ ........................................................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17721
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงวิทย์ฯ ให้บริการกลุ่มชาติพันธุ์ 41 ชนเผ่า กว่า 4,000 คน เข้าพักที่สนามม้านางเลิ้ง ก่อนเข้าสักการะพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ในวันพรุ่งนี้
วันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2559 กระทรวงวิทย์ฯ ให้บริการกลุ่มชาติพันธุ์ 41 ชนเผ่า กว่า 4,000 คน เข้าพักที่สนามม้านางเลิ้ง ก่อนเข้าสักการะพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ในวันพรุ่งนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ 41 ชนเผ่า กว่า 4,000 คน หลังจากที่กลุ่มชาติพันธุ์ 41 ชนเผ่า กว่า 4,000 คน พร้อมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่เดินทางมาจากทั่วประเทศ มาถึงสถานียมราชตั้งแต่เวลา 09.00 น. เช้าวันที่ 11 ธันวาคม 2559 เพื่อเตรียมเดินทางเข้าสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ โดยจะพักค้างคืนที่สนามม้านางเลิ้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะหน่วยงานให้บริการประชาชนจุดบริการราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนามม้านางเลิ้ง) ซึ่งเป็นจุดที่พักค้างคืนให้แก่พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ ได้เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ทั้งเสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง อาหารและเครื่องดื่ม ไว้พร้อมรองรับ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากหลายหน่วยงาน อาทิ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กองทัพธรรมมูลนิธิ ร้านสหกรณ์ผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรช จํากัด กลุ่มกัลยาณมิตรจิตอาสา วัดรอบเขตกรุงเทพและปริมณฑล และครัวศรีวิชัย ฯลฯ สําหรับกําหนดการวันที่ 12 ธันวาคม จะเริ่มตั้งแต่เช้าเวลา 04.00-04.30 น. รับประทานอาหารเช้า 04.30-04.40 น. จัดขบวนเดินรถ โดยจัดกลุ่มละ 60 คนต่อคัน มีนักเรียนปฐมอโศกประกบหัวท้าย อสม./แกนนํา/ผู้ประสานงานประจําเผ่า/มบ./พื้นที่ จนท.สธ.ประจํารถ แต่ละคน โดยพี่น้องชนเผ่าแต่ละคนจะติดสติ๊กเกอร์ระบุโรคประจําตัว/ยาที่แพ้ และเบอร์โทรศัพท์ญาติที่สามารถติดต่อได้/ ขึ้นประจําที่นั่ง ต่อมาเวลา 04.45 น. รถขบวนแรกจํานวน 20 คัน ออกจากสนามม้านางเลิ้ง เข้าถนนพิษณุโลก เข้าถนนราชดําเนิน ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ เลี้ยวเข้าถนนอัษฎางค์ ข้ามสะพานช้างโรงสี แยกสะพานมอญ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชินี จอดให้ชนเผ่าลงเดินเข้าสวนสราญรมย์ฝั่งประตูราชินี แล้วรถวนมารับรอบ 2 (1 รอบขบวน มี 20 คัน คันละ 60 คน) เวลา 04.45-06.00 น. พี่น้องชาติพันธุ์กว่า 4,000 คน ถึงสวนสราญรมย์ และเวลา 05.00 น. หัวหน้าและปราชญ์ชนเผ่าทําพิธีกรรม และระหว่างนี้พี่น้องส่วนหนึ่งไปยังจุดตรวจคนเข้าสนามหลวง ณ จุดตรวจวงเวียน รด. (ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์) ข่าวและถ่ายภาพโดย นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์ นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ และนายธนฉัตร มาลาเจริญ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 02 333 3728-3732 โทรสาร 02 333 3834 E-Mail:pr@most.go.thFacebook : sciencethailand Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 1313
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงวิทย์ฯ ให้บริการกลุ่มชาติพันธุ์ 41 ชนเผ่า กว่า 4,000 คน เข้าพักที่สนามม้านางเลิ้ง ก่อนเข้าสักการะพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ในวันพรุ่งนี้ วันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2559 กระทรวงวิทย์ฯ ให้บริการกลุ่มชาติพันธุ์ 41 ชนเผ่า กว่า 4,000 คน เข้าพักที่สนามม้านางเลิ้ง ก่อนเข้าสักการะพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ในวันพรุ่งนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ 41 ชนเผ่า กว่า 4,000 คน หลังจากที่กลุ่มชาติพันธุ์ 41 ชนเผ่า กว่า 4,000 คน พร้อมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่เดินทางมาจากทั่วประเทศ มาถึงสถานียมราชตั้งแต่เวลา 09.00 น. เช้าวันที่ 11 ธันวาคม 2559 เพื่อเตรียมเดินทางเข้าสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ โดยจะพักค้างคืนที่สนามม้านางเลิ้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะหน่วยงานให้บริการประชาชนจุดบริการราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนามม้านางเลิ้ง) ซึ่งเป็นจุดที่พักค้างคืนให้แก่พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ ได้เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ทั้งเสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง อาหารและเครื่องดื่ม ไว้พร้อมรองรับ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากหลายหน่วยงาน อาทิ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กองทัพธรรมมูลนิธิ ร้านสหกรณ์ผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรช จํากัด กลุ่มกัลยาณมิตรจิตอาสา วัดรอบเขตกรุงเทพและปริมณฑล และครัวศรีวิชัย ฯลฯ สําหรับกําหนดการวันที่ 12 ธันวาคม จะเริ่มตั้งแต่เช้าเวลา 04.00-04.30 น. รับประทานอาหารเช้า 04.30-04.40 น. จัดขบวนเดินรถ โดยจัดกลุ่มละ 60 คนต่อคัน มีนักเรียนปฐมอโศกประกบหัวท้าย อสม./แกนนํา/ผู้ประสานงานประจําเผ่า/มบ./พื้นที่ จนท.สธ.ประจํารถ แต่ละคน โดยพี่น้องชนเผ่าแต่ละคนจะติดสติ๊กเกอร์ระบุโรคประจําตัว/ยาที่แพ้ และเบอร์โทรศัพท์ญาติที่สามารถติดต่อได้/ ขึ้นประจําที่นั่ง ต่อมาเวลา 04.45 น. รถขบวนแรกจํานวน 20 คัน ออกจากสนามม้านางเลิ้ง เข้าถนนพิษณุโลก เข้าถนนราชดําเนิน ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ เลี้ยวเข้าถนนอัษฎางค์ ข้ามสะพานช้างโรงสี แยกสะพานมอญ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชินี จอดให้ชนเผ่าลงเดินเข้าสวนสราญรมย์ฝั่งประตูราชินี แล้วรถวนมารับรอบ 2 (1 รอบขบวน มี 20 คัน คันละ 60 คน) เวลา 04.45-06.00 น. พี่น้องชาติพันธุ์กว่า 4,000 คน ถึงสวนสราญรมย์ และเวลา 05.00 น. หัวหน้าและปราชญ์ชนเผ่าทําพิธีกรรม และระหว่างนี้พี่น้องส่วนหนึ่งไปยังจุดตรวจคนเข้าสนามหลวง ณ จุดตรวจวงเวียน รด. (ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์) ข่าวและถ่ายภาพโดย นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์ นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ และนายธนฉัตร มาลาเจริญ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 02 333 3728-3732 โทรสาร 02 333 3834 E-Mail:pr@most.go.thFacebook : sciencethailand Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 1313
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1014
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 7– 13 ธันวาคม 2561 พบการกระทำผิด จำนวน 603 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 7.06 ล้านบาท
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2561 ผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 7– 13 ธันวาคม 2561 พบการกระทําผิด จํานวน 603 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 7.06 ล้านบาท กรมสรรพสามิตดําเนินมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายสรรพสามิต เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต นางสดศรี พงศ์อุทัย รองอธิบดีกรมสรรพสามิต รักษาการในตําแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดําเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้จัดทําแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกําลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสํานักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกําลัง กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทําผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการ ที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภค ให้บริโภคสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากการบริโภคสินค้าที่หลีกเลี่ยงภาษีจะเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าสินค้าโดยทั่วไป จากผลการตรวจค้นและจับกุมผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2562 (ระหว่างวันที่ 7 - 13 ธันวาคม 2561) พบว่ามีการกระทําผิด จํานวน 603 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 7.06 ล้านบาท โดยแยกเป็น - สุรา จํานวน 351 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.84 ล้านบาท - ยาสูบ จํานวน 151 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.93 ล้านบาท - ไพ่ จํานวน 12 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.20 ล้านบาท - น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 13 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.17 ล้านบาท - น้ําหอม จํานวน 2 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.06 ล้านบาท - รถจักรยานยนต์ จํานวน 59 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ จํานวน 0.60 ล้านบาท - สินค้าอื่น ๆ จํานวน 15 คดี รวมเป็นเงินค่าปรับ 0.25 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ําสุรา จํานวน 2,204.215 ลิตร ยาสูบ จํานวน 19,972 ซอง ไพ่ จํานวน 754 สํารับ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 3,330 ลิตร น้ําหอม จํานวน 148 ขวด รถจักรยานยนต์ จํานวน 57 คัน “หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทําความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนําจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว” ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต โทร/โทรสาร 0 2241 4778
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 7– 13 ธันวาคม 2561 พบการกระทำผิด จำนวน 603 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 7.06 ล้านบาท วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2561 ผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 7– 13 ธันวาคม 2561 พบการกระทําผิด จํานวน 603 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 7.06 ล้านบาท กรมสรรพสามิตดําเนินมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายสรรพสามิต เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต นางสดศรี พงศ์อุทัย รองอธิบดีกรมสรรพสามิต รักษาการในตําแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดําเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้จัดทําแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกําลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสํานักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกําลัง กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทําผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการ ที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภค ให้บริโภคสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากการบริโภคสินค้าที่หลีกเลี่ยงภาษีจะเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าสินค้าโดยทั่วไป จากผลการตรวจค้นและจับกุมผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2562 (ระหว่างวันที่ 7 - 13 ธันวาคม 2561) พบว่ามีการกระทําผิด จํานวน 603 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 7.06 ล้านบาท โดยแยกเป็น - สุรา จํานวน 351 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.84 ล้านบาท - ยาสูบ จํานวน 151 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.93 ล้านบาท - ไพ่ จํานวน 12 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.20 ล้านบาท - น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 13 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.17 ล้านบาท - น้ําหอม จํานวน 2 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.06 ล้านบาท - รถจักรยานยนต์ จํานวน 59 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ จํานวน 0.60 ล้านบาท - สินค้าอื่น ๆ จํานวน 15 คดี รวมเป็นเงินค่าปรับ 0.25 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ําสุรา จํานวน 2,204.215 ลิตร ยาสูบ จํานวน 19,972 ซอง ไพ่ จํานวน 754 สํารับ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 3,330 ลิตร น้ําหอม จํานวน 148 ขวด รถจักรยานยนต์ จํานวน 57 คัน “หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทําความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนําจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว” ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต โทร/โทรสาร 0 2241 4778
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17503
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มาตรการเยียวยา 5,000 บาทเริ่มเปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ในวันที่ 20 เมษายน 2563 เวลา 6.00 น. ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้นที่ www.เราไม่ทิ้งกัน. com [กระทรวงการคลัง]
วันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2563 มาตรการเยียวยา 5,000 บาทเริ่มเปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ในวันที่ 20 เมษายน 2563 เวลา 6.00 น. ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้นที่ www.เราไม่ทิ้งกัน. com [กระทรวงการคลัง] มาตรการเยียวยา 5,000 บาทเริ่มเปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ในวันที่ 20 เมษายน 2563 เวลา 6.00 น. ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้นที่ www.เราไม่ทิ้งกัน. com นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563 ตั้งแต่เวลา 6.00 น. เป็นต้นไป จะเริ่มเปิดให้ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองมาตรการเยียวยา 5,000 บาทขอทบทวนสิทธิ์ได้ที่www.เราไม่ทิ้งกัน.comโดยจะเปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสCovid-19ทั้งต่อตัวผู้ประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์เองและต่อส่วนรวมของสังคมไทย ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของผู้ประสงค์ขอทบทวนสิทธิ์ ขอให้ท่านรีบกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์www.เราไม่ทิ้งกัhttp://xn--q3c.com/ ไม่จําเป็นต้องมาที่กระทรวงการคลังโดยในระยะแรกนี้จะเปิดกว้างสําหรับทุกกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรองก่อนและในระยะต่อไปจะขยายไปยังกลุ่มผู้ที่ได้กดยกเลิกการลงทะเบียนโดยความเข้าใจผิดด้วยกลไกการทบทวนสิทธิ์จะดําเนินการอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่จริงเพื่อยืนยันตัวตนและการประกอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียนทั้งนี้ ขอเน้นย้ําว่าผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือนเนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์ในกรณีที่ทราบผลการพิจารณาในเดือนพฤษภาคม ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะได้รับเงินเยียวยาครั้งแรกจํานวน 10,000 บาท เพราะได้รวมเงินเยียวยา 5,000 บาท ของเดือนเมษายนด้วย โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นมาได้มีการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ต่อเนื่องทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดราชการ) โดยณ วันที่ 17 เมษายน 2563 ได้จ่ายเงินให้ผู้ลงทะเบียนไปแล้ว 3.2 ล้านคน และมีกําหนดจะจ่ายเงินในวันจันทร์และอังคารสัปดาห์หน้าอีก 900,000 คน รวมเป็น 4.1 ล้านคน คิดเป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาท Call Center ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3421, 3422, 3423, 3424, 3425, 3427, 3429, 3430, 3572 (ในวันและเวลาราชการ)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มาตรการเยียวยา 5,000 บาทเริ่มเปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ในวันที่ 20 เมษายน 2563 เวลา 6.00 น. ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้นที่ www.เราไม่ทิ้งกัน. com [กระทรวงการคลัง] วันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2563 มาตรการเยียวยา 5,000 บาทเริ่มเปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ในวันที่ 20 เมษายน 2563 เวลา 6.00 น. ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้นที่ www.เราไม่ทิ้งกัน. com [กระทรวงการคลัง] มาตรการเยียวยา 5,000 บาทเริ่มเปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ในวันที่ 20 เมษายน 2563 เวลา 6.00 น. ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้นที่ www.เราไม่ทิ้งกัน. com นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563 ตั้งแต่เวลา 6.00 น. เป็นต้นไป จะเริ่มเปิดให้ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองมาตรการเยียวยา 5,000 บาทขอทบทวนสิทธิ์ได้ที่www.เราไม่ทิ้งกัน.comโดยจะเปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสCovid-19ทั้งต่อตัวผู้ประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์เองและต่อส่วนรวมของสังคมไทย ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของผู้ประสงค์ขอทบทวนสิทธิ์ ขอให้ท่านรีบกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์www.เราไม่ทิ้งกัhttp://xn--q3c.com/ ไม่จําเป็นต้องมาที่กระทรวงการคลังโดยในระยะแรกนี้จะเปิดกว้างสําหรับทุกกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรองก่อนและในระยะต่อไปจะขยายไปยังกลุ่มผู้ที่ได้กดยกเลิกการลงทะเบียนโดยความเข้าใจผิดด้วยกลไกการทบทวนสิทธิ์จะดําเนินการอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่จริงเพื่อยืนยันตัวตนและการประกอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียนทั้งนี้ ขอเน้นย้ําว่าผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือนเนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์ในกรณีที่ทราบผลการพิจารณาในเดือนพฤษภาคม ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะได้รับเงินเยียวยาครั้งแรกจํานวน 10,000 บาท เพราะได้รวมเงินเยียวยา 5,000 บาท ของเดือนเมษายนด้วย โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นมาได้มีการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ต่อเนื่องทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดราชการ) โดยณ วันที่ 17 เมษายน 2563 ได้จ่ายเงินให้ผู้ลงทะเบียนไปแล้ว 3.2 ล้านคน และมีกําหนดจะจ่ายเงินในวันจันทร์และอังคารสัปดาห์หน้าอีก 900,000 คน รวมเป็น 4.1 ล้านคน คิดเป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาท Call Center ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) โทร. 02-111-1144 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3421, 3422, 3423, 3424, 3425, 3427, 3429, 3430, 3572 (ในวันและเวลาราชการ)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29325
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ชื่นชมเด็กชายสู้ชีวิต ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม แต่ปั่นรถจักรยานขายกับข้าว หารายได้จุนเจือครอบครัว ที่ จ.อำนาจเจริญ
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2561 พม. ชื่นชมเด็กชายสู้ชีวิต ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม แต่ปั่นรถจักรยานขายกับข้าว หารายได้จุนเจือครอบครัว ที่ จ.อํานาจเจริญ พม. ชื่นชมเด็กชายสู้ชีวิต ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม แต่ปั่นรถจักรยานขายกับข้าว หารายได้จุนเจือครอบครัว ที่ จ.อํานาจเจริญ พร้อมเร่งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.ชัยนาท และเพชรบุรี เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 61 เวลา 08.30 น. พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 76/2561 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคม ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวง ร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากกรณีเด็กชายรายหนึ่ง ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม แต่สู้ชีวิตปั่นรถจักรยานช่วยผู้เป็นแม่ขายกับข้าว เพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว ที่จังหวัดอํานาจเจริญ นั้น ขอชื่นชมเด็กชายคนดังกล่าว ที่มีจิตใจเข้มแข็ง มีความกตัญญู ขยันหมั่นเพียร และมีมุมานะอดทน มีความตั้งใจช่วยเหลือครอบครัว ถึงแม้มีอุปสรรคทางร่างกาย แต่ไม่ย่อท้อต่อความยากลําบาก นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอํานาจเจริญ (พมจ.อํานาจเจริญ) พร้อมทีม One Home ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวง พม. พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น อีกทั้ง ให้แนะนําปรึกษาในเรื่องของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อให้ครอบครัวใช้เป็นทุนสําหรับการประกอบอาชีพในระยะยาว และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป อีกกรณีเด็กหญิงวัย 1 ขวบ เคยประสบอุบัติเหตุจมน้ํา จนสมองขาดออกซิเจน มีอาการชักเกร็งที่แขนและขา ร่างกายขยับไม่ได้ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อาศัยอยู่กับผู้เป็นแม่วัย 27 ปี ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ เนื่องจากต้องอยู่ดูแลเด็กหญิงอย่างใกล้ชิด มีเพียงผู้เป็นพ่อที่ต้องทํางานหารายได้จุนเจือครอบครัวเพียงคนเดียว และต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกอีก 2 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดชัยนาท และกรณีหญิงชราวัย 68 ปี พิการตาบอดทั้ง 2 ข้าง อาศัยอยู่กับสามีแก่ชราวัย 67 ปี พิการตาบอดทั้ง 2 ข้างเช่นกัน และมีตุ่มแผลมีเลือดไหลขึ้นทั่วร่างกาย และเดินไม่สะดวก มีลูกชาย 1 คน วัย 38 ปี แต่ถูกดําเนินคดีต้องโทษอยู่ในเรือนจํา ทั้ง 2 ชีวิต อาศัยอยู่เพียงลําพังในห้องเช่าสภาพเก่าทรุดโทรมและคับแคบ มีเพียงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการใช้ประทังชีวิต ที่จังหวัดเพชรบุรี นั้น ได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ พมจชัยนาท และ พมจ.เพชรบุรี พร้อมทีม One Home ทั้ง 2 จังหวัด เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของทั้ง 2 ครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ ของกระทรวง พม. พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลอาการป่วยของผู้ที่ป่วยทั้งหมดอย่างใกล้ชิด และการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้มั่นคง แข็งแรง และถูกสุขลักษณะ รวมทั้ง ให้คําแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายตามความเหมาะสม พร้อมให้คําแนะนําปรึกษาแก่ครอบครัวในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคงในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นหรือประสบปัญหาทางสังคม สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งกระทรวง พม. พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการช่วยเหลือต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ชื่นชมเด็กชายสู้ชีวิต ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม แต่ปั่นรถจักรยานขายกับข้าว หารายได้จุนเจือครอบครัว ที่ จ.อำนาจเจริญ วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2561 พม. ชื่นชมเด็กชายสู้ชีวิต ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม แต่ปั่นรถจักรยานขายกับข้าว หารายได้จุนเจือครอบครัว ที่ จ.อํานาจเจริญ พม. ชื่นชมเด็กชายสู้ชีวิต ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม แต่ปั่นรถจักรยานขายกับข้าว หารายได้จุนเจือครอบครัว ที่ จ.อํานาจเจริญ พร้อมเร่งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.ชัยนาท และเพชรบุรี เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 61 เวลา 08.30 น. พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 76/2561 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคม ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวง ร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากกรณีเด็กชายรายหนึ่ง ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม แต่สู้ชีวิตปั่นรถจักรยานช่วยผู้เป็นแม่ขายกับข้าว เพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว ที่จังหวัดอํานาจเจริญ นั้น ขอชื่นชมเด็กชายคนดังกล่าว ที่มีจิตใจเข้มแข็ง มีความกตัญญู ขยันหมั่นเพียร และมีมุมานะอดทน มีความตั้งใจช่วยเหลือครอบครัว ถึงแม้มีอุปสรรคทางร่างกาย แต่ไม่ย่อท้อต่อความยากลําบาก นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอํานาจเจริญ (พมจ.อํานาจเจริญ) พร้อมทีม One Home ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวง พม. พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น อีกทั้ง ให้แนะนําปรึกษาในเรื่องของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อให้ครอบครัวใช้เป็นทุนสําหรับการประกอบอาชีพในระยะยาว และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป อีกกรณีเด็กหญิงวัย 1 ขวบ เคยประสบอุบัติเหตุจมน้ํา จนสมองขาดออกซิเจน มีอาการชักเกร็งที่แขนและขา ร่างกายขยับไม่ได้ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อาศัยอยู่กับผู้เป็นแม่วัย 27 ปี ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ เนื่องจากต้องอยู่ดูแลเด็กหญิงอย่างใกล้ชิด มีเพียงผู้เป็นพ่อที่ต้องทํางานหารายได้จุนเจือครอบครัวเพียงคนเดียว และต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกอีก 2 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดชัยนาท และกรณีหญิงชราวัย 68 ปี พิการตาบอดทั้ง 2 ข้าง อาศัยอยู่กับสามีแก่ชราวัย 67 ปี พิการตาบอดทั้ง 2 ข้างเช่นกัน และมีตุ่มแผลมีเลือดไหลขึ้นทั่วร่างกาย และเดินไม่สะดวก มีลูกชาย 1 คน วัย 38 ปี แต่ถูกดําเนินคดีต้องโทษอยู่ในเรือนจํา ทั้ง 2 ชีวิต อาศัยอยู่เพียงลําพังในห้องเช่าสภาพเก่าทรุดโทรมและคับแคบ มีเพียงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการใช้ประทังชีวิต ที่จังหวัดเพชรบุรี นั้น ได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ พมจชัยนาท และ พมจ.เพชรบุรี พร้อมทีม One Home ทั้ง 2 จังหวัด เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของทั้ง 2 ครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ ของกระทรวง พม. พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลอาการป่วยของผู้ที่ป่วยทั้งหมดอย่างใกล้ชิด และการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้มั่นคง แข็งแรง และถูกสุขลักษณะ รวมทั้ง ให้คําแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายตามความเหมาะสม พร้อมให้คําแนะนําปรึกษาแก่ครอบครัวในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคงในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นหรือประสบปัญหาทางสังคม สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งกระทรวง พม. พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการช่วยเหลือต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12482
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยให้ความเชื่อมั่นต่อนักธุรกิจสหรัฐฯ
วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ไทยให้ความเชื่อมั่นต่อนักธุรกิจสหรัฐฯ ในฐานะศูนย์กลางการค้าการลงทุนของอาเซียน ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความเชื่อมั่นต่อสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน และสภาหอการค้าสหรัฐฯ โดยไทยให้ความสําคัญกับการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับหุ้นส่วนระหว่างประเทศโดยเฉพาะกับสหรัฐฯ ที่มีความสัมพันธ์อันดีในทุกด้าน พร้อมตั้งเป้าขจัดอุปสรรคทางการค้าการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศให้เข้มแข็งเพื่ออํานวยความสะดวกแก่มิตรประเทศ ทั้งนี้ ไทยมีความได้เปรียบเชิงที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ความพร้อมด้านโลจิสติกส์ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มประเทศลุ่มน้ําโขงและตลาดอาเซียน โดยให้ความสําคัญกับนโยบายประเทศไทย+1 การพัฒนาประเทศสู่ยุค 4.0 และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยให้ความเชื่อมั่นต่อนักธุรกิจสหรัฐฯ วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ไทยให้ความเชื่อมั่นต่อนักธุรกิจสหรัฐฯ ในฐานะศูนย์กลางการค้าการลงทุนของอาเซียน ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความเชื่อมั่นต่อสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน และสภาหอการค้าสหรัฐฯ โดยไทยให้ความสําคัญกับการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับหุ้นส่วนระหว่างประเทศโดยเฉพาะกับสหรัฐฯ ที่มีความสัมพันธ์อันดีในทุกด้าน พร้อมตั้งเป้าขจัดอุปสรรคทางการค้าการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดพัฒนาปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศให้เข้มแข็งเพื่ออํานวยความสะดวกแก่มิตรประเทศ ทั้งนี้ ไทยมีความได้เปรียบเชิงที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ความพร้อมด้านโลจิสติกส์ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มประเทศลุ่มน้ําโขงและตลาดอาเซียน โดยให้ความสําคัญกับนโยบายประเทศไทย+1 การพัฒนาประเทศสู่ยุค 4.0 และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8157
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา
วันอังคารที่ 26 กันยายน 2560 นายกรัฐมนตรี มีกําหนดเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรี มีกําหนดเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกําหนดเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 2 – 4 ตุลาคม 2560 ตามคําเชิญของนายโดนัลด์ เจ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้บริหารระดับสูงของไทยร่วมเดินทาง อาทิ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ คือ เป็นการตอบรับตามคําเชิญของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งได้กล่าวเชิญนายกรัฐมนตรีระหว่างการหารือทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งผู้นําทั้งสองจะได้มีการหารือในประเด็นความร่วมมือทั้งด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนแล้ว ยังจะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงสถานการณ์ในระดับภูมิภาคด้วย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะปฏิบัติภารกิจสําคัญ ประกอบด้วย การพบหารือกับผู้แทนภาคเอกชนไทย การหารือข้อราชการกับประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา การประชุมเต็มคณะ และร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ํา ซึ่งคณะนักธุรกิจจากหอการค้าสหรัฐอเมริกาและสภาธุรกิจอาเซียน – สหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ การพบปะของผู้นําทั้งสองประเทศครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นความสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาความเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็งระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้หารือเพื่อมุ่งผลักดันความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐ ฯ เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน อนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2376 จากที่ทั้งสองฝ่ายมีสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และประธานาธิบดี Andrew Jackson ของสหรัฐฯ และได้มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐ ฯ ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านความมั่นคงและการทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณสุข ภาคเอกชนและประชาชน รวมทั้งความสัมพันธ์ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งสหประชาชาติ เอเปค และอาเซียน เป็นต้น ซึ่งในปี 2561 ทั้งสองประเทศ จะได้มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี ของการติดต่อสัมพันธ์ในระดับประชาชนระหว่างไทย-สหรัฐ ฯ ด้วย _______________________
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา วันอังคารที่ 26 กันยายน 2560 นายกรัฐมนตรี มีกําหนดเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรี มีกําหนดเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกําหนดเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 2 – 4 ตุลาคม 2560 ตามคําเชิญของนายโดนัลด์ เจ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้บริหารระดับสูงของไทยร่วมเดินทาง อาทิ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ คือ เป็นการตอบรับตามคําเชิญของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งได้กล่าวเชิญนายกรัฐมนตรีระหว่างการหารือทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งผู้นําทั้งสองจะได้มีการหารือในประเด็นความร่วมมือทั้งด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนแล้ว ยังจะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงสถานการณ์ในระดับภูมิภาคด้วย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะปฏิบัติภารกิจสําคัญ ประกอบด้วย การพบหารือกับผู้แทนภาคเอกชนไทย การหารือข้อราชการกับประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา การประชุมเต็มคณะ และร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ํา ซึ่งคณะนักธุรกิจจากหอการค้าสหรัฐอเมริกาและสภาธุรกิจอาเซียน – สหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ การพบปะของผู้นําทั้งสองประเทศครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นความสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาความเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็งระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้หารือเพื่อมุ่งผลักดันความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐ ฯ เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน อนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2376 จากที่ทั้งสองฝ่ายมีสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และประธานาธิบดี Andrew Jackson ของสหรัฐฯ และได้มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐ ฯ ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านความมั่นคงและการทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณสุข ภาคเอกชนและประชาชน รวมทั้งความสัมพันธ์ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งสหประชาชาติ เอเปค และอาเซียน เป็นต้น ซึ่งในปี 2561 ทั้งสองประเทศ จะได้มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี ของการติดต่อสัมพันธ์ในระดับประชาชนระหว่างไทย-สหรัฐ ฯ ด้วย _______________________
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6951
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พล.ต.อ. อดุลย์ฯ เปิดงาน WorldSkills Thailand 2018 หาเยาวชนมีฝีมือ
วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2561 พล.ต.อ. อดุลย์ฯ เปิดงาน WorldSkills Thailand 2018 หาเยาวชนมีฝีมือ รมว.แรงงาน เปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 27 (WorldSkills Thailand 2018) เฟ้นหาเยาวชนมีทักษะฝีมือ 28 สาขา สู่การแข่งขันระดับนานาชาติ พลตํารวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 27 (WorldSkills Thailand 2018) ณ อาคาร 107 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ วันนี้ (19 มี.ค. 61) โดยกล่าวภายหลังการเปิดงานว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ได้น้อมนําแนวพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมด้านฝีมือแรงงาน เพื่อให้แรงงานไทยได้รับการยกระดับฝีมือให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติจึงถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้เยาวชนมีใจรักในอาชีพ และสนใจเข้ารับการเรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนาทักษะฝีมือของตนให้มีมาตรฐานสากล ทุกภาคส่วนมีการตื่นตัวและตระเตรียมกําลังแรงงานฝีมือในประเทศให้พร้อมรับการลงทุนของต่างประเทศ รวมถึงรับมือกับผลกระทบจากแรงงานข้ามชาติ นอกจากนี้ การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมให้สถานประกอบการไทยเล็งเห็นถึงความสําคัญของการใช้แรงงานฝีมือของไทย และร่วมผลักดันให้แรงงานฝีมือของไทยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศอีกด้วย การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 27 จะจัดแข่งขันระหว่างวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2561 และมีพิธีปิดการแข่งขันฯ วันที่ 22 มีนาคม 2561 ณ อาคาร 105 - 107 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพฯ มีเยาวชนเข้าแข่งขันจํานวนทั้งสิ้น 375 คน แบ่งเป็นกลุ่มสาขาต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีก่อสร้างและอาคาร 1.ปูกระเบื้อง 2.เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร 3.ก่ออิฐ 4.ไม้เครื่องเรือน 5.ต่อประกอบมุมไม้ 6.เทคโนโลยีระบบทําความเย็น 7.อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (ประเภททีม) กลุ่มสาขาอาชีพแฟชั่นและครีเอทีฟ 8.จัดดอกไม้ 9.แฟชั่นเทคโนโลยี 10.กราฟิกดีไชน์ กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีการสื่อสาร 11.เทคโนโลยีสารสนเทศ 12.เว็บดีไซน์ กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต 13. เมคคาทรอนิกส์ (ประเภททีม) 14. เขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ 15. เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง) 16. เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกัด) 17. เทคโนโลยีงานเชื่อม 18. อิเล็กทรอนิกส์ 19. หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ประเภททีม) 20. มาตรวิทยาด้านมิติ (ประเภททีม) 21. ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (ประเภททีม) 22. ซ่อมบํารุงเครื่องจักรกล (ประเภททีม) กลุ่มสาขาบริการส่วนบุคคลและสังคม 23. แต่งผม 24. เสริมความงาม 25. ประกอบอาหาร 26. บริการอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มสาขาอาชีพขนส่งและโลจิสติกส์ 27. เทคโนโลยียานยนต์ และ 28. สีรถยนต์ รวมทั้งสิ้น 28 สาขา เงินรางวัลสําหรับเยาวชนที่ชนะการแข่งขัน ประกอบด้วย ประเภทเยาวชน เหรียญทอง 30,000 บาท เหรียญเงิน 15,000 บาท เหรียญทองแดง 10,000 บาท และรางวัลชมเชย 5000 บาท ประเภททีมเยาวชน เหรียญทอง 60,000 บาท เหรียญเงิน 30,000 บาท เหรียญทองแดง 20,000 บาท และรางวัลชมเชย 10,000 บาท +++++++++++++++++++++++
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พล.ต.อ. อดุลย์ฯ เปิดงาน WorldSkills Thailand 2018 หาเยาวชนมีฝีมือ วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2561 พล.ต.อ. อดุลย์ฯ เปิดงาน WorldSkills Thailand 2018 หาเยาวชนมีฝีมือ รมว.แรงงาน เปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 27 (WorldSkills Thailand 2018) เฟ้นหาเยาวชนมีทักษะฝีมือ 28 สาขา สู่การแข่งขันระดับนานาชาติ พลตํารวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 27 (WorldSkills Thailand 2018) ณ อาคาร 107 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ วันนี้ (19 มี.ค. 61) โดยกล่าวภายหลังการเปิดงานว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ได้น้อมนําแนวพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมด้านฝีมือแรงงาน เพื่อให้แรงงานไทยได้รับการยกระดับฝีมือให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติจึงถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้เยาวชนมีใจรักในอาชีพ และสนใจเข้ารับการเรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนาทักษะฝีมือของตนให้มีมาตรฐานสากล ทุกภาคส่วนมีการตื่นตัวและตระเตรียมกําลังแรงงานฝีมือในประเทศให้พร้อมรับการลงทุนของต่างประเทศ รวมถึงรับมือกับผลกระทบจากแรงงานข้ามชาติ นอกจากนี้ การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมให้สถานประกอบการไทยเล็งเห็นถึงความสําคัญของการใช้แรงงานฝีมือของไทย และร่วมผลักดันให้แรงงานฝีมือของไทยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศอีกด้วย การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 27 จะจัดแข่งขันระหว่างวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2561 และมีพิธีปิดการแข่งขันฯ วันที่ 22 มีนาคม 2561 ณ อาคาร 105 - 107 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพฯ มีเยาวชนเข้าแข่งขันจํานวนทั้งสิ้น 375 คน แบ่งเป็นกลุ่มสาขาต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีก่อสร้างและอาคาร 1.ปูกระเบื้อง 2.เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร 3.ก่ออิฐ 4.ไม้เครื่องเรือน 5.ต่อประกอบมุมไม้ 6.เทคโนโลยีระบบทําความเย็น 7.อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (ประเภททีม) กลุ่มสาขาอาชีพแฟชั่นและครีเอทีฟ 8.จัดดอกไม้ 9.แฟชั่นเทคโนโลยี 10.กราฟิกดีไชน์ กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีการสื่อสาร 11.เทคโนโลยีสารสนเทศ 12.เว็บดีไซน์ กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต 13. เมคคาทรอนิกส์ (ประเภททีม) 14. เขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ 15. เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง) 16. เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกัด) 17. เทคโนโลยีงานเชื่อม 18. อิเล็กทรอนิกส์ 19. หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ประเภททีม) 20. มาตรวิทยาด้านมิติ (ประเภททีม) 21. ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (ประเภททีม) 22. ซ่อมบํารุงเครื่องจักรกล (ประเภททีม) กลุ่มสาขาบริการส่วนบุคคลและสังคม 23. แต่งผม 24. เสริมความงาม 25. ประกอบอาหาร 26. บริการอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มสาขาอาชีพขนส่งและโลจิสติกส์ 27. เทคโนโลยียานยนต์ และ 28. สีรถยนต์ รวมทั้งสิ้น 28 สาขา เงินรางวัลสําหรับเยาวชนที่ชนะการแข่งขัน ประกอบด้วย ประเภทเยาวชน เหรียญทอง 30,000 บาท เหรียญเงิน 15,000 บาท เหรียญทองแดง 10,000 บาท และรางวัลชมเชย 5000 บาท ประเภททีมเยาวชน เหรียญทอง 60,000 บาท เหรียญเงิน 30,000 บาท เหรียญทองแดง 20,000 บาท และรางวัลชมเชย 10,000 บาท +++++++++++++++++++++++
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10870
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลหนุนธุรกิจโรงแรมและบูติกโฮเทลขนาดเล็ก พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายบริการครบวงจร เน้นจุดขายด้านวัฒนธรรมและชุมชนรองรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ตั้งเป้าสร้างเม็ดเงินสะพัด 2 แสนลบ.ต่อปี
วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2560 รัฐบาลหนุนธุรกิจโรงแรมและบูติกโฮเทลขนาดเล็ก พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายบริการครบวงจร เน้นจุดขายด้านวัฒนธรรมและชุมชนรองรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ตั้งเป้าสร้างเม็ดเงินสะพัด 2 แสนลบ.ต่อปี รัฐบาลหนุนธุรกิจโรงแรมและบูติกโฮเทลขนาดเล็ก พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายบริการครบวงจร เน้นจุดขายด้านวัฒนธรรมและชุมชนรองรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ตั้งเป้าสร้างเม็ดเงินสะพัด 2 แสนลบ.ต่อปี วันนี้ (11 มิถุนายน 2560) พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า รัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก โรงแรมบูติกและโฮสเทล ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่เดินทางมายังประเทศไทย และชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและชุมชน โดยเน้นให้ผู้ประกอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบตกแต่งสถานที่ ให้บริการด้วยความใส่ใจและใกล้ชิด ผสมผสานกับวิถีชีวิตแบบไทยอย่างลงตัว รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการด้านต่าง ๆ เพื่ออํานวยความสะดวกและสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้บริการอย่างครบวงจร “ในปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้นําร่องพัฒนาธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในภาคเหนือ ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการธุรกิจบริการท่องเที่ยว 128 ราย และธุรกิจโรงแรมบูติกและโฮสเทล 167 ราย พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการจับคู่เครือข่ายธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ http://matching.smartthaibiz.com ทําให้ขณะนี้มีจํานวนผู้ประกอบในระบบประมาณ 3,000 และจะขยายผลไปยังภาคอื่น ๆ ให้มีจํานวนมากขึ้น” นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงกฎหมายและผ่อนปรนกฎระเบียบให้เหมาะสมกับการดําเนินธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาธุรกิจจากอาคารที่มีอยู่ โดยนําไปปรับเปลี่ยนเป็นธุรกิจโรงแรมที่ถูกต้อง ไม่จํากัดเฉพาะการมีพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ เป็นการสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มทุนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทําให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่มากขึ้นถึงร้อยละ 30 ต่อปี ที่สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์นําเสนอให้เกิดความแตกต่างและดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น “การสนับสนุนธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กทําให้มูลค่าทรัพย์สินของไทยสูงขึ้น เมื่ออสังหาริมทรัพย์ทั่วไปถูกแปรสภาพสู่ธุรกิจที่พักอาศัยเชิงการท่องเที่ยว และยกระดับมาตรฐานการให้บริการของโรงแรมทั่วประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดธุรกิจต่อยอดลงไปในชุมชน เช่น ทัวร์พาชิมและทําอาหารท้องถิ่น ธุรกิจสปา การปลูกผักออร์แกนิค ฯลฯ โดยผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถขยายตลาดได้กว้างขวางผ่านโลกออนไลน์ได้อีกด้วย” ทั้งนี้ โรงแรมขนาดเล็กในปัจจุบันมีจํานวน 4,727 ราย จากธุรกิจโรงแรมทั้งหมด 8,384 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 56 โดยรัฐบาลตั้งเป้าพัฒนาและสร้างรายได้จากธุรกิจโรงแรมให้ได้ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาทเช่นเดียวกับปี 2558 ซึ่งทําให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปีดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึงกว่า 13.5 ล้านล้านบาท ----------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลหนุนธุรกิจโรงแรมและบูติกโฮเทลขนาดเล็ก พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายบริการครบวงจร เน้นจุดขายด้านวัฒนธรรมและชุมชนรองรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ตั้งเป้าสร้างเม็ดเงินสะพัด 2 แสนลบ.ต่อปี วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2560 รัฐบาลหนุนธุรกิจโรงแรมและบูติกโฮเทลขนาดเล็ก พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายบริการครบวงจร เน้นจุดขายด้านวัฒนธรรมและชุมชนรองรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ตั้งเป้าสร้างเม็ดเงินสะพัด 2 แสนลบ.ต่อปี รัฐบาลหนุนธุรกิจโรงแรมและบูติกโฮเทลขนาดเล็ก พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายบริการครบวงจร เน้นจุดขายด้านวัฒนธรรมและชุมชนรองรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ตั้งเป้าสร้างเม็ดเงินสะพัด 2 แสนลบ.ต่อปี วันนี้ (11 มิถุนายน 2560) พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า รัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก โรงแรมบูติกและโฮสเทล ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่เดินทางมายังประเทศไทย และชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและชุมชน โดยเน้นให้ผู้ประกอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบตกแต่งสถานที่ ให้บริการด้วยความใส่ใจและใกล้ชิด ผสมผสานกับวิถีชีวิตแบบไทยอย่างลงตัว รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการด้านต่าง ๆ เพื่ออํานวยความสะดวกและสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้บริการอย่างครบวงจร “ในปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้นําร่องพัฒนาธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในภาคเหนือ ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการธุรกิจบริการท่องเที่ยว 128 ราย และธุรกิจโรงแรมบูติกและโฮสเทล 167 ราย พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการจับคู่เครือข่ายธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ http://matching.smartthaibiz.com ทําให้ขณะนี้มีจํานวนผู้ประกอบในระบบประมาณ 3,000 และจะขยายผลไปยังภาคอื่น ๆ ให้มีจํานวนมากขึ้น” นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงกฎหมายและผ่อนปรนกฎระเบียบให้เหมาะสมกับการดําเนินธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาธุรกิจจากอาคารที่มีอยู่ โดยนําไปปรับเปลี่ยนเป็นธุรกิจโรงแรมที่ถูกต้อง ไม่จํากัดเฉพาะการมีพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ เป็นการสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มทุนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทําให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่มากขึ้นถึงร้อยละ 30 ต่อปี ที่สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์นําเสนอให้เกิดความแตกต่างและดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น “การสนับสนุนธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กทําให้มูลค่าทรัพย์สินของไทยสูงขึ้น เมื่ออสังหาริมทรัพย์ทั่วไปถูกแปรสภาพสู่ธุรกิจที่พักอาศัยเชิงการท่องเที่ยว และยกระดับมาตรฐานการให้บริการของโรงแรมทั่วประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดธุรกิจต่อยอดลงไปในชุมชน เช่น ทัวร์พาชิมและทําอาหารท้องถิ่น ธุรกิจสปา การปลูกผักออร์แกนิค ฯลฯ โดยผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถขยายตลาดได้กว้างขวางผ่านโลกออนไลน์ได้อีกด้วย” ทั้งนี้ โรงแรมขนาดเล็กในปัจจุบันมีจํานวน 4,727 ราย จากธุรกิจโรงแรมทั้งหมด 8,384 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 56 โดยรัฐบาลตั้งเป้าพัฒนาและสร้างรายได้จากธุรกิจโรงแรมให้ได้ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาทเช่นเดียวกับปี 2558 ซึ่งทําให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปีดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึงกว่า 13.5 ล้านล้านบาท ----------------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4436
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 6.00% ช่วยผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ลดต้นทุนดำเนินธุรกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562 EXIM BANK ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 6.00% ช่วยผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ลดต้นทุนดําเนินธุรกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate สําหรับลูกค้าทั่วไปและ SMEs เทียบเท่า MRR ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทย สนองนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate สําหรับลูกค้าทั่วไปและ SMEs เทียบเท่า MRR ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทย สนองนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการหดตัวของการส่งออกตามปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะกีดกันทางการค้า นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีภารกิจสนับสนุนธุรกิจการส่งออก การนําเข้า และการลงทุน ขานรับทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ด้วยความเล็งเห็นถึงความจําเป็นของการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศในสภาวะที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า จึงพร้อมช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนทางการเงินที่ใช้ในการดําเนินธุรกิจให้แก่ลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ซึ่งเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี จากอัตราเดิม 6.125% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป “EXIM BANK พร้อมทํางานร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างไม่สะดุด แม้ในภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง” นายพิศิษฐ์กล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-4
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 6.00% ช่วยผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ลดต้นทุนดำเนินธุรกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562 EXIM BANK ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 6.00% ช่วยผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ลดต้นทุนดําเนินธุรกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate สําหรับลูกค้าทั่วไปและ SMEs เทียบเท่า MRR ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทย สนองนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate สําหรับลูกค้าทั่วไปและ SMEs เทียบเท่า MRR ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทย สนองนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการหดตัวของการส่งออกตามปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะกีดกันทางการค้า นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีภารกิจสนับสนุนธุรกิจการส่งออก การนําเข้า และการลงทุน ขานรับทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ด้วยความเล็งเห็นถึงความจําเป็นของการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศในสภาวะที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า จึงพร้อมช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนทางการเงินที่ใช้ในการดําเนินธุรกิจให้แก่ลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ซึ่งเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี จากอัตราเดิม 6.125% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป “EXIM BANK พร้อมทํางานร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างไม่สะดุด แม้ในภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง” นายพิศิษฐ์กล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-4
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24436
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินปิดบางสาขาที่ประชาชนหนาแน่นชั่วคราว แจงมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ไม่ต้องมาที่ธนาคารฯ
วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563 ออมสินปิดบางสาขาที่ประชาชนหนาแน่นชั่วคราว แจงมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ไม่ต้องมาที่ธนาคารฯ ออมสินปิดบางสาขาที่ประชาชนหนาแน่นชั่วคราว แจงมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ไม่ต้องมาที่ธนาคารฯ ...เงินพร้อมโอนเข้าบัญชีทุกธนาคาร ไม่ต้องรีบ ...ลงทะเบียนที่บ้านได้ 24 ชั่วโมง วอนทําตามรัฐบาลแนะนํา “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ออมสิน ปิดบางสาขาที่ประชาชนหนาแน่นชั่วคราว แจงมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ไม่ต้องมาที่ธนาคารฯ ...เงินพร้อมโอนเข้าบัญชีทุกธนาคาร ไม่ต้องรีบ ...ลงทะเบียนที่บ้านได้ 24 ชั่วโมง วอนทําตามรัฐบาลแนะนํา “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ได้มีมาตรการเยียวยาด้วยการชดเชยรายได้แก่แรงงาน ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา Covid-19 โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือนต่อต่อกัน (เมษายน – มิถุนายน 2563) โดยเปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 ผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน .com ในเวลา 18.00 น. เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม มีประชาชนจํานวนมากเร่งรีบไปติดต่อสาขาธนาคารออมสินในหลายพื้นที่จนแออัดแน่นบริเวณพื้นที่สาขา เพื่อทําการเปิดบัญชีเงินฝาก หรือเชื่อมต่อพร้อมเพย์กับบัญชีเงินฝาก เพื่อสะดวกต่อการรับเงินชดเชยนั้น ธนาคารฯ ขอแนะนําว่าไม่ต้องรีบเดินทางไปทําธุรกรรมดังกล่าว เพราะยังสามารถมาติดต่อได้เรื่อยๆ เพราะยังไม่ มีระยะเวลาสิ้นสุด โดยเมื่อลงทะเบียนเสร็จและมีการตรวจสอบคุณสมบัติเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินผ่าน 2 ช่องทาง คือ บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประจําตัวประชาชน หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารใดก็ได้ที่แจ้งไว้ ซึ่งผู้ลงทะเบียนไม่ต้องเดินทางมาที่ธนาคารออมสินเพื่อติดต่อใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสามารถลงทะเบียนที่บ้านผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน .com ได้เลย เพื่อให้สอดคล้องกับคําแนะนําของรัฐบาล และแพทย์ ซึ่งไม่ต้องการให้ประชาชนมาอยู่ใกล้ชิดกัน แออัด หรือรวมกันเป็นกลุ่ม อาจเป็นช่องทางให้เกิดการติดเชื้อไวรัสกันได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีประชาชนจํานวนมากไปทําธุรกรรมดังกล่าวที่สาขาธนาคารออมสินหลายแห่งในหลายพื้นที่ ช่วงวันที่ 26-27 มีนาคม 2563 จนเกิดความแออัดหนาแน่นภายในพื้นที่สาขา อาจทําให้เกิดความไม่ปลอดภัย ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ห้ามชุมนุมและรวมตัวกันในสถานที่แออัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ธนาคารฯ จึงขอปิดการให้บริการสาขาในบางสาขาที่มีประชาชนไปใช้บริการจํานวนมาก เพราะอาจเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ต่อทั้งประชาชนและพนักงานธนาคารออมสิน ตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินปิดบางสาขาที่ประชาชนหนาแน่นชั่วคราว แจงมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ไม่ต้องมาที่ธนาคารฯ วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563 ออมสินปิดบางสาขาที่ประชาชนหนาแน่นชั่วคราว แจงมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ไม่ต้องมาที่ธนาคารฯ ออมสินปิดบางสาขาที่ประชาชนหนาแน่นชั่วคราว แจงมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ไม่ต้องมาที่ธนาคารฯ ...เงินพร้อมโอนเข้าบัญชีทุกธนาคาร ไม่ต้องรีบ ...ลงทะเบียนที่บ้านได้ 24 ชั่วโมง วอนทําตามรัฐบาลแนะนํา “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ออมสิน ปิดบางสาขาที่ประชาชนหนาแน่นชั่วคราว แจงมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ไม่ต้องมาที่ธนาคารฯ ...เงินพร้อมโอนเข้าบัญชีทุกธนาคาร ไม่ต้องรีบ ...ลงทะเบียนที่บ้านได้ 24 ชั่วโมง วอนทําตามรัฐบาลแนะนํา “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ได้มีมาตรการเยียวยาด้วยการชดเชยรายได้แก่แรงงาน ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา Covid-19 โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือนต่อต่อกัน (เมษายน – มิถุนายน 2563) โดยเปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 ผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน .com ในเวลา 18.00 น. เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม มีประชาชนจํานวนมากเร่งรีบไปติดต่อสาขาธนาคารออมสินในหลายพื้นที่จนแออัดแน่นบริเวณพื้นที่สาขา เพื่อทําการเปิดบัญชีเงินฝาก หรือเชื่อมต่อพร้อมเพย์กับบัญชีเงินฝาก เพื่อสะดวกต่อการรับเงินชดเชยนั้น ธนาคารฯ ขอแนะนําว่าไม่ต้องรีบเดินทางไปทําธุรกรรมดังกล่าว เพราะยังสามารถมาติดต่อได้เรื่อยๆ เพราะยังไม่ มีระยะเวลาสิ้นสุด โดยเมื่อลงทะเบียนเสร็จและมีการตรวจสอบคุณสมบัติเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินผ่าน 2 ช่องทาง คือ บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประจําตัวประชาชน หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารใดก็ได้ที่แจ้งไว้ ซึ่งผู้ลงทะเบียนไม่ต้องเดินทางมาที่ธนาคารออมสินเพื่อติดต่อใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสามารถลงทะเบียนที่บ้านผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน .com ได้เลย เพื่อให้สอดคล้องกับคําแนะนําของรัฐบาล และแพทย์ ซึ่งไม่ต้องการให้ประชาชนมาอยู่ใกล้ชิดกัน แออัด หรือรวมกันเป็นกลุ่ม อาจเป็นช่องทางให้เกิดการติดเชื้อไวรัสกันได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีประชาชนจํานวนมากไปทําธุรกรรมดังกล่าวที่สาขาธนาคารออมสินหลายแห่งในหลายพื้นที่ ช่วงวันที่ 26-27 มีนาคม 2563 จนเกิดความแออัดหนาแน่นภายในพื้นที่สาขา อาจทําให้เกิดความไม่ปลอดภัย ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ห้ามชุมนุมและรวมตัวกันในสถานที่แออัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ธนาคารฯ จึงขอปิดการให้บริการสาขาในบางสาขาที่มีประชาชนไปใช้บริการจํานวนมาก เพราะอาจเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ต่อทั้งประชาชนและพนักงานธนาคารออมสิน ตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27981
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันพร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตำรวจมีประสิทธิภาพและดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2559 นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ยืนยันพร้อมให้การสนับสนุนการดําเนินงานสํานักงานตํารวจแห่งชาติให้การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตํารวจมีประสิทธิภาพและดํารงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมสํานักงานตํารวจแห่งชาติเพื่อมอบนโยบายแก่ข้าราชการตํารวจ โดยยืนยันพร้อมให้การสนับสนุนการดําเนินงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตํารวจมีประสิทธิภาพและดํารงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี วันนี้ (7ธ.ค.59) เวลา 14.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะกํากับดูแลสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เดินทางไปตรวจเยี่ยมสํานักงานตํารวจแห่งชาติเพื่อให้กําลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมมอบนโยบายแก่ผู้บังคับบัญชา ข้าราชการตํารวจ และหน่วยงานในสังกัดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมีความเป็นเอกภาพเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ทําหน้าที่กํากับดูแลสํานักงานตํารวจแห่งชาติมาโดยตลอด และมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตํารวจทุกนายที่ได้ช่วยกันทํางานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติอย่างเต็มกําลังความสามารถ และเตรียมความพร้อมที่จะร่วมกันดําเนินการในการขับเคลื่อนประเทศชาติให้เกิดความสงบสันติสุขและปฏิรูปประเทศไทยไปสู่การพัฒนาอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ซึ่งข้าราชการตํารวจมีความสําคัญในการปฏิรูปประเทศในครั้งนี้ด้วย เนื่องจากการปฏิรูปประเทศมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งหมดทุกภาคส่วน พร้อมกล่าวยืนยันว่าการดําเนินการต่าง ๆ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเพื่อให้การทํางานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติและข้าราชการตํารวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ประเทศชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนข้าราชการตํารวจโดยรวมด้วย และขอให้น้อมนําหลักทรงงานและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อถวายงานตามแนวพระราชดําริในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนสืบต่อไป พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้รับฟังรายงานความคืบหน้าการปฏิรูปองค์กรตํารวจในด้านต่าง ๆ เช่น การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง การปฏิรูประบบงานสอบสวนและการบังคับใช้กฎหมาย การนําระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนด้านการรักษาความปลอดภัย การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร การจัดระบบนิติวิทยาศาสตร์ การถ่ายโอนภารกิจ การกระจายอํานาจและการพัฒนาการบริหารงานตํารวจ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะกระบวนการผลิตบุคลากรจากกระบวนการสรรหามาสู่กระบวนการสร้างให้เป็นข้าราชการตํารวจ โดยโรงเรียนนายร้อยและโรงเรียนนายสิบจะมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นในเรื่องของหลักสิทธิมนุษยชน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการสอนและการปฏิบัติหน้าที่ เตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่องค์กรในกระบวนการพัฒนา ซึ่งมีหลักสูตรเฉพาะทางทั้งหลักสูตรสอบสวน หลักสูตรสารวัต หลักสูตรผู้การ และในอนาคตจะมีหลักสูตรผู้บัญชาการ ทั้งนี้ทุกหลักสูตรจะต้องมีการสอนในเรื่องของการสืบสวนสอบสวน ตามนโยบายพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะกํากับดูแลสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อให้จบออกไปแล้วสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการดําเนินงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติและดูแลข้าราชการตํารวจโดยรวมในการปฏิบัติหน้าที่และการดํารงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการของข้าราชการตํารวจต้องให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับภารกิจและสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งเน้นย้ําเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ได้ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและสามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริงเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม อีกทั้งให้มีการบูรณาการข้อมูลและการทํางานร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ขณะเดียวกันจะต้องสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดําเนินงานต่าง ๆ ของสํานักงานตํารวจแห่งชาติและข้าราชการตํารวจ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนและลดความหวาดระแวง ป้องกันความขัดแย้ง อันจะนําไปสู่ความร่วมมือพร้อมให้การสนับสนุนการดําเนินงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติและทําให้ประเทศชาติเกิดความสงบสุขสามารถขับเคลื่อนและเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน ---------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันพร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตำรวจมีประสิทธิภาพและดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2559 นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ยืนยันพร้อมให้การสนับสนุนการดําเนินงานสํานักงานตํารวจแห่งชาติให้การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตํารวจมีประสิทธิภาพและดํารงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมสํานักงานตํารวจแห่งชาติเพื่อมอบนโยบายแก่ข้าราชการตํารวจ โดยยืนยันพร้อมให้การสนับสนุนการดําเนินงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตํารวจมีประสิทธิภาพและดํารงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี วันนี้ (7ธ.ค.59) เวลา 14.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะกํากับดูแลสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เดินทางไปตรวจเยี่ยมสํานักงานตํารวจแห่งชาติเพื่อให้กําลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมมอบนโยบายแก่ผู้บังคับบัญชา ข้าราชการตํารวจ และหน่วยงานในสังกัดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมีความเป็นเอกภาพเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ทําหน้าที่กํากับดูแลสํานักงานตํารวจแห่งชาติมาโดยตลอด และมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตํารวจทุกนายที่ได้ช่วยกันทํางานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติอย่างเต็มกําลังความสามารถ และเตรียมความพร้อมที่จะร่วมกันดําเนินการในการขับเคลื่อนประเทศชาติให้เกิดความสงบสันติสุขและปฏิรูปประเทศไทยไปสู่การพัฒนาอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ซึ่งข้าราชการตํารวจมีความสําคัญในการปฏิรูปประเทศในครั้งนี้ด้วย เนื่องจากการปฏิรูปประเทศมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งหมดทุกภาคส่วน พร้อมกล่าวยืนยันว่าการดําเนินการต่าง ๆ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเพื่อให้การทํางานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติและข้าราชการตํารวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ประเทศชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนข้าราชการตํารวจโดยรวมด้วย และขอให้น้อมนําหลักทรงงานและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อถวายงานตามแนวพระราชดําริในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนสืบต่อไป พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้รับฟังรายงานความคืบหน้าการปฏิรูปองค์กรตํารวจในด้านต่าง ๆ เช่น การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง การปฏิรูประบบงานสอบสวนและการบังคับใช้กฎหมาย การนําระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนด้านการรักษาความปลอดภัย การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร การจัดระบบนิติวิทยาศาสตร์ การถ่ายโอนภารกิจ การกระจายอํานาจและการพัฒนาการบริหารงานตํารวจ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะกระบวนการผลิตบุคลากรจากกระบวนการสรรหามาสู่กระบวนการสร้างให้เป็นข้าราชการตํารวจ โดยโรงเรียนนายร้อยและโรงเรียนนายสิบจะมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นในเรื่องของหลักสิทธิมนุษยชน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการสอนและการปฏิบัติหน้าที่ เตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่องค์กรในกระบวนการพัฒนา ซึ่งมีหลักสูตรเฉพาะทางทั้งหลักสูตรสอบสวน หลักสูตรสารวัต หลักสูตรผู้การ และในอนาคตจะมีหลักสูตรผู้บัญชาการ ทั้งนี้ทุกหลักสูตรจะต้องมีการสอนในเรื่องของการสืบสวนสอบสวน ตามนโยบายพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะกํากับดูแลสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อให้จบออกไปแล้วสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการดําเนินงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติและดูแลข้าราชการตํารวจโดยรวมในการปฏิบัติหน้าที่และการดํารงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการของข้าราชการตํารวจต้องให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับภารกิจและสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งเน้นย้ําเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้ได้ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและสามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริงเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม อีกทั้งให้มีการบูรณาการข้อมูลและการทํางานร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ขณะเดียวกันจะต้องสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดําเนินงานต่าง ๆ ของสํานักงานตํารวจแห่งชาติและข้าราชการตํารวจ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนและลดความหวาดระแวง ป้องกันความขัดแย้ง อันจะนําไปสู่ความร่วมมือพร้อมให้การสนับสนุนการดําเนินงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติและทําให้ประเทศชาติเกิดความสงบสุขสามารถขับเคลื่อนและเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน ---------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/988
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การพบหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC)
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การพบหารือระหว่างผู้นําอาเซียนกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การพบหารือระหว่างผู้นําอาเซียนกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 17.35 – 18.05 น. ท่านประธาน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฯพณฯ ทั้งหลาย และผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนทุกท่าน ครึ่งปีที่ผ่านมา เราเผชิญกับวิกฤติครั้งสําคัญของมนุษยชาติจากการระบาดใหญ่ของโควิด–19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพและความปลอดภัยของมนุษย์และระบบเศรษฐกิจการค้าอย่างรุนแรง เราจึงจําเป็นต้องรักษาสมดุลของการสาธารณสุขและการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจควบคู่กันไปเพื่อให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังคงดําเนินต่อไปอย่างราบรื่น โดยห่วงโซ่การผลิตของประเทศ ภูมิภาคและโลกจะต้องเดินหน้าไปได้เพราะอาเซียนคือห่วงโซ่ที่สําคัญ ไทยตระหนักถึงความสําคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในฐานะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ดังนั้น เพื่อให้สามารถรับมือกับโควิด-19 ได้ตรงจุด ครอบคลุมและมีประสิทธิผล อาเซียนควรคํานึงถึงการส่งเสริมความร่วมมือที่ยั่งยืนในทั้ง 3 ระยะ หรือ 3R คือ หนึ่ง “Responsiveness (เรส-ปอน-สีฟ-เนส)” การตอบสนองต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าในช่วงล็อกดาวน์เพื่อกระจายสินค้าไปยังประชาชนและขนส่งสินค้าของผู้ผลิตและผู้ส่งออกในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการหารือในระดับภูมิภาคอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความร่วมมือเชิงรุกระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน สอง “Recovery (รี-คัฟ-เวอ-รี่)” การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแรง โดยมุ่งรักษาตลาดที่เปิดกว้างสําหรับการค้าและการลงทุนผ่านการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่และแสวงหาโอกาสจากการเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับประเทศที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สาม “Resilience (รี-ซี-เลี่ยนซ์)” การยืดหยุ่นในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคต โดยเร่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตและ การอํานวยความสะดวกทางการค้าเพื่อทําให้แน่ใจว่าห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่มูลค่ามีความเข้มแข็งและยั่งยืน สําหรับไทยยินดีต่อข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนเรื่องกลไกระดับภูมิภาคระหว่างภาครัฐกับเอกชน และสนับสนุนให้คณะกรรมการที่ปรึกษาธุรกิจพิเศษทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับคณะทํางานในเรื่องโควิด-๑๙ ภายใต้คณะมนตรีประสานงานอาเซียน ซึ่งเป็นกลไกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ําซ้อนในการทํางาน สุดท้ายนี้ ไทยพร้อมที่จะสนับสนุนภาคเอกชนอย่างเต็มที่เพื่อทําให้อาเซียนมีความเข้มแข็ง และกลับมาเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงที่สุดอีกครั้ง ตลอดจนเป็นฐานการผลิตและการลงทุนที่สําคัญจากต่างประเทศในฐานะหุ้นส่วนสําคัญของเศรษฐกิจโลก ขอบคุณครับ * * * * * * * * * *
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การพบหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การพบหารือระหว่างผู้นําอาเซียนกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี การพบหารือระหว่างผู้นําอาเซียนกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 17.35 – 18.05 น. ท่านประธาน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฯพณฯ ทั้งหลาย และผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนทุกท่าน ครึ่งปีที่ผ่านมา เราเผชิญกับวิกฤติครั้งสําคัญของมนุษยชาติจากการระบาดใหญ่ของโควิด–19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพและความปลอดภัยของมนุษย์และระบบเศรษฐกิจการค้าอย่างรุนแรง เราจึงจําเป็นต้องรักษาสมดุลของการสาธารณสุขและการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจควบคู่กันไปเพื่อให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังคงดําเนินต่อไปอย่างราบรื่น โดยห่วงโซ่การผลิตของประเทศ ภูมิภาคและโลกจะต้องเดินหน้าไปได้เพราะอาเซียนคือห่วงโซ่ที่สําคัญ ไทยตระหนักถึงความสําคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในฐานะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ดังนั้น เพื่อให้สามารถรับมือกับโควิด-19 ได้ตรงจุด ครอบคลุมและมีประสิทธิผล อาเซียนควรคํานึงถึงการส่งเสริมความร่วมมือที่ยั่งยืนในทั้ง 3 ระยะ หรือ 3R คือ หนึ่ง “Responsiveness (เรส-ปอน-สีฟ-เนส)” การตอบสนองต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าในช่วงล็อกดาวน์เพื่อกระจายสินค้าไปยังประชาชนและขนส่งสินค้าของผู้ผลิตและผู้ส่งออกในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการหารือในระดับภูมิภาคอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความร่วมมือเชิงรุกระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน สอง “Recovery (รี-คัฟ-เวอ-รี่)” การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแรง โดยมุ่งรักษาตลาดที่เปิดกว้างสําหรับการค้าและการลงทุนผ่านการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่และแสวงหาโอกาสจากการเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับประเทศที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สาม “Resilience (รี-ซี-เลี่ยนซ์)” การยืดหยุ่นในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคต โดยเร่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตและ การอํานวยความสะดวกทางการค้าเพื่อทําให้แน่ใจว่าห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่มูลค่ามีความเข้มแข็งและยั่งยืน สําหรับไทยยินดีต่อข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนเรื่องกลไกระดับภูมิภาคระหว่างภาครัฐกับเอกชน และสนับสนุนให้คณะกรรมการที่ปรึกษาธุรกิจพิเศษทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับคณะทํางานในเรื่องโควิด-๑๙ ภายใต้คณะมนตรีประสานงานอาเซียน ซึ่งเป็นกลไกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ําซ้อนในการทํางาน สุดท้ายนี้ ไทยพร้อมที่จะสนับสนุนภาคเอกชนอย่างเต็มที่เพื่อทําให้อาเซียนมีความเข้มแข็ง และกลับมาเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงที่สุดอีกครั้ง ตลอดจนเป็นฐานการผลิตและการลงทุนที่สําคัญจากต่างประเทศในฐานะหุ้นส่วนสําคัญของเศรษฐกิจโลก ขอบคุณครับ * * * * * * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32836
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ครั้งที่ 4/2561
วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 การสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ครั้งที่ 4/2561 สศค. จัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมไอยรา เลค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดอุทัยธานี สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้จัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมไอยรา เลค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดอุทัยธานี โดยได้รับเกียรติจากนางศศกร ลออศรีสกุลไชย คลังจังหวัดอุทัยธานี กล่าวต้อนรับ และได้กล่าวถึงศักยภาพของจังหวัดอุทัยธานี โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญ อาทิ ยอดเขาสะแกกรัง วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) เป็นต้น และนายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวเปิดการสัมมนา การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียงเกี่ยวกับการดําเนินมาตรการและนโยบายของกระทรวงการคลัง โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการศึกษา และประชาชนผู้สนใจจากจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท และสุพรรณบุรี รวมทั้งสิ้น 236 คน การสัมมนาประกอบด้วย 3 หัวข้อ ดังนี้ 1. การสัมมนาภายใต้หัวข้อ “โอกาสและการเติบโตของเศรษฐกิจภูมิภาค” โดยมีนางชลอ โนรี ประธานหอการค้าจังหวัดอุทัยธานี นายสราวุธ สงวนเผ่า ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี นายภฤศ พุทธนบ ผู้อํานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สํานักงานอุทัยธานี และทันตแพทย์กฤตพล พรพิบูลย์ ผู้แทนสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานี ร่วมเป็นวิทยากร โดยมีนายนรพัชร์ อัศววัลลภ ผู้อํานวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. เป็นผู้ดําเนินรายการ สรุปสาระสําคัญได้ ดังนี้ 1.1 เศรษฐกิจของจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี และนครสวรรค์ ส่วนใหญ่พึ่งพาภาคเกษตรกรรม ซึ่งในปัจจุบันประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ํา อีกทั้งต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานในตลาดโลก ส่งผลให้การลงทุนภาคเกษตรกรรมปรับตัวลดลง ภาครัฐจึงควรลดขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคทางการค้าการลงทุน โดยเฉพาะการอนุมัติสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) เพื่อสนับสนุนการลงทุนภายในจังหวัดอุทัยธานีและชะลอการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคบริการได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากจังหวัดอุทัยธานีมีพื้นที่เพาะปลูกสูงถึงกว่า 500,000 ไร่ นอกจากนี้ ภาคเอกชนได้ขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินภาครัฐให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่จังหวัดรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย 1.2 ด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดอุทัยธานีซึ่งอยู่ในภาคเหนือตอนล่างที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเที่ยวค่อนข้างสูง และมีโอกาสที่จะขยายตัวในอนาคตตามแนวโน้มการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่นิยมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวิถีชีวิตเพิ่มมากขึ้น โดยบรรยากาศการท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มสดใสต่อเนื่องจากปี 2560 เนื่องจากมีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ ประกอบกับการได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการท่องเที่ยวเมืองรองของรัฐบาล จึงเป็นแรงผลักดันในการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนภายในจังหวัดอุทัยธานีให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงมีแนวทางในการส่งเสริมการตลาดในต่างประเทศ เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้มาท่องเที่ยวในพื้นที่มากขึ้น 1.3 ด้านความท้าทายทางเศรษฐกิจของจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานียังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน เช่น ความตื่นตัวในการพัฒนาเทคโนโลยี 4.0 ประชากรวัยแรงงานของจังหวัดมีแนวโน้มลดลง กฎหมายเกี่ยวกับการวางผังเมืองเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน และข้อจํากัดด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เป็นต้น โดยสรุป โครงสร้างเศรษฐกิจของทั้ง 4 จังหวัดข้างต้น มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพิงภาคเกษตรกรรมสูง ซึ่งปัจจุบันแม้จะประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรผันผวนส่งผลกระทบต่อรายได้และการใช้จ่ายภายในจังหวัด แต่ภาครัฐก็มีนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพภาคเกษตรกรรมและให้ความช่วยเหลือเกษตรกร อีกทั้งบรรยากาศการค้า การลงทุน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยวยังเอื้ออํานวยทั้งจากจุดเด่นในเชิงภูมิศาสตร์และศักยภาพด้านการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ ประกอบกับ การสนับสนุนจากมาตรการท่องเที่ยวเมืองรองของรัฐบาล ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อีกมาก 2. การบรรยายภายใต้หัวข้อ “คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บํานาญกับ กอช.” ได้รับเกียรติจากนางจิราพร บุญวานิช อนุกรรมการประชาสัมพันธ์และการตลาด กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ได้กล่าวแนะนํา กอช. ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ และไม่อยู่ในระบบกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.) เช่น เกษตรกร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน ลูกจ้างรายวัน นักเรียน นักศึกษา เป็นต้น ได้ออมเงินและมีโอกาสได้รับบํานาญหลังอายุ 60 ปี เพื่อให้มีรายได้สําหรับใช้จ่ายหลังเกษียณอายุเริ่มต้นที่ 600 บาทต่อเดือน ผู้สนใจที่สามารถสมัครเป็นสมาชิก กอช. ต้องมีอายุ 15 – 60 ปี สะสมเงินขั้นต่ําได้ตั้งแต่ 50 บาทต่อเดือน รวมกันสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี และไม่จําเป็นต้องสะสมทุกเดือน โดยสมาชิกจะได้รับเงินสมทบเป็นอัตราส่วนของเงินสะสมของสมาชิกตามช่วงอายุ และรัฐบาลประกันผลตอบแทนกรณีสมาชิกอายุ 60 ปี ให้ได้รับอัตราผลตอบแทนไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจํา 1 ปีของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพาณิชย์ 5 แห่งที่กําหนด นอกจากนี้ เงินสะสมที่สมาชิกส่งเข้า กอช. สามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้ ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิก กอช. ได้ที่สํานักงานคลังจังหวัด และธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 3. การบรรยายภายใต้หัวข้อ “รู้ลึก รู้จริง การเงินภาคประชาชน” โดยนางสาวกฤติกา โพธิ์ไทรย์ นายชยเดช โพธิคามบํารุง และนายทิวนาถ ดํารงยุทธ จากสํานักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สศค. ได้กล่าวถึงความสําคัญของการเงินระดับฐานราก (Microfinance) โครงสร้างสินเชื่อระดับฐานรากของไทยซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีบทบาทสําคัญในการปล่อยสินเชื่อคิดเป็นร้อยละ 54 ของสินเชื่อระดับฐานรากทั้งหมด และนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการเงินฐานรากที่สําคัญ ได้แก่ การขับเคลื่อนการดําเนินงานตามแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560 – 2564 การดําเนินการเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน และการจัดทําร่างพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับองค์กรการเงินฐานรากให้มีสถานะนิติบุคคลโดยมีกฎหมายรองรับ แก้ปัญหาด้านการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนในชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินระดับฐานราก นอกจากนี้ ยังได้ให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาถึงเรื่องการวางแผนทางการเงิน ความรู้เกี่ยวกับหนี้นอกระบบ ธุรกิจการเงินนอกระบบที่เป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เช่น พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2560) และการใช้บริการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกํากับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. (02) 273-9020 ต่อ 3376, 3653
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ครั้งที่ 4/2561 วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 การสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ครั้งที่ 4/2561 สศค. จัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมไอยรา เลค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดอุทัยธานี สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้จัดงานสัมมนาวิชาการเวทีสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสํานักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมไอยรา เลค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดอุทัยธานี โดยได้รับเกียรติจากนางศศกร ลออศรีสกุลไชย คลังจังหวัดอุทัยธานี กล่าวต้อนรับ และได้กล่าวถึงศักยภาพของจังหวัดอุทัยธานี โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญ อาทิ ยอดเขาสะแกกรัง วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) เป็นต้น และนายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวเปิดการสัมมนา การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียงเกี่ยวกับการดําเนินมาตรการและนโยบายของกระทรวงการคลัง โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการศึกษา และประชาชนผู้สนใจจากจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท และสุพรรณบุรี รวมทั้งสิ้น 236 คน การสัมมนาประกอบด้วย 3 หัวข้อ ดังนี้ 1. การสัมมนาภายใต้หัวข้อ “โอกาสและการเติบโตของเศรษฐกิจภูมิภาค” โดยมีนางชลอ โนรี ประธานหอการค้าจังหวัดอุทัยธานี นายสราวุธ สงวนเผ่า ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี นายภฤศ พุทธนบ ผู้อํานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สํานักงานอุทัยธานี และทันตแพทย์กฤตพล พรพิบูลย์ ผู้แทนสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดอุทัยธานี ร่วมเป็นวิทยากร โดยมีนายนรพัชร์ อัศววัลลภ ผู้อํานวยการส่วนวิเทศและสถาบันสัมพันธ์ สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. เป็นผู้ดําเนินรายการ สรุปสาระสําคัญได้ ดังนี้ 1.1 เศรษฐกิจของจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี และนครสวรรค์ ส่วนใหญ่พึ่งพาภาคเกษตรกรรม ซึ่งในปัจจุบันประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ํา อีกทั้งต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานในตลาดโลก ส่งผลให้การลงทุนภาคเกษตรกรรมปรับตัวลดลง ภาครัฐจึงควรลดขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคทางการค้าการลงทุน โดยเฉพาะการอนุมัติสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) เพื่อสนับสนุนการลงทุนภายในจังหวัดอุทัยธานีและชะลอการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคบริการได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากจังหวัดอุทัยธานีมีพื้นที่เพาะปลูกสูงถึงกว่า 500,000 ไร่ นอกจากนี้ ภาคเอกชนได้ขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินภาครัฐให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่จังหวัดรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย 1.2 ด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดอุทัยธานีซึ่งอยู่ในภาคเหนือตอนล่างที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเที่ยวค่อนข้างสูง และมีโอกาสที่จะขยายตัวในอนาคตตามแนวโน้มการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่นิยมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวิถีชีวิตเพิ่มมากขึ้น โดยบรรยากาศการท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มสดใสต่อเนื่องจากปี 2560 เนื่องจากมีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ ประกอบกับการได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการท่องเที่ยวเมืองรองของรัฐบาล จึงเป็นแรงผลักดันในการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนภายในจังหวัดอุทัยธานีให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงมีแนวทางในการส่งเสริมการตลาดในต่างประเทศ เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้มาท่องเที่ยวในพื้นที่มากขึ้น 1.3 ด้านความท้าทายทางเศรษฐกิจของจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานียังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน เช่น ความตื่นตัวในการพัฒนาเทคโนโลยี 4.0 ประชากรวัยแรงงานของจังหวัดมีแนวโน้มลดลง กฎหมายเกี่ยวกับการวางผังเมืองเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน และข้อจํากัดด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เป็นต้น โดยสรุป โครงสร้างเศรษฐกิจของทั้ง 4 จังหวัดข้างต้น มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพิงภาคเกษตรกรรมสูง ซึ่งปัจจุบันแม้จะประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรผันผวนส่งผลกระทบต่อรายได้และการใช้จ่ายภายในจังหวัด แต่ภาครัฐก็มีนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพภาคเกษตรกรรมและให้ความช่วยเหลือเกษตรกร อีกทั้งบรรยากาศการค้า การลงทุน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยวยังเอื้ออํานวยทั้งจากจุดเด่นในเชิงภูมิศาสตร์และศักยภาพด้านการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ ประกอบกับ การสนับสนุนจากมาตรการท่องเที่ยวเมืองรองของรัฐบาล ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อีกมาก 2. การบรรยายภายใต้หัวข้อ “คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บํานาญกับ กอช.” ได้รับเกียรติจากนางจิราพร บุญวานิช อนุกรรมการประชาสัมพันธ์และการตลาด กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ได้กล่าวแนะนํา กอช. ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ และไม่อยู่ในระบบกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.) เช่น เกษตรกร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน ลูกจ้างรายวัน นักเรียน นักศึกษา เป็นต้น ได้ออมเงินและมีโอกาสได้รับบํานาญหลังอายุ 60 ปี เพื่อให้มีรายได้สําหรับใช้จ่ายหลังเกษียณอายุเริ่มต้นที่ 600 บาทต่อเดือน ผู้สนใจที่สามารถสมัครเป็นสมาชิก กอช. ต้องมีอายุ 15 – 60 ปี สะสมเงินขั้นต่ําได้ตั้งแต่ 50 บาทต่อเดือน รวมกันสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี และไม่จําเป็นต้องสะสมทุกเดือน โดยสมาชิกจะได้รับเงินสมทบเป็นอัตราส่วนของเงินสะสมของสมาชิกตามช่วงอายุ และรัฐบาลประกันผลตอบแทนกรณีสมาชิกอายุ 60 ปี ให้ได้รับอัตราผลตอบแทนไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจํา 1 ปีของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพาณิชย์ 5 แห่งที่กําหนด นอกจากนี้ เงินสะสมที่สมาชิกส่งเข้า กอช. สามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้ ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิก กอช. ได้ที่สํานักงานคลังจังหวัด และธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 3. การบรรยายภายใต้หัวข้อ “รู้ลึก รู้จริง การเงินภาคประชาชน” โดยนางสาวกฤติกา โพธิ์ไทรย์ นายชยเดช โพธิคามบํารุง และนายทิวนาถ ดํารงยุทธ จากสํานักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สศค. ได้กล่าวถึงความสําคัญของการเงินระดับฐานราก (Microfinance) โครงสร้างสินเชื่อระดับฐานรากของไทยซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีบทบาทสําคัญในการปล่อยสินเชื่อคิดเป็นร้อยละ 54 ของสินเชื่อระดับฐานรากทั้งหมด และนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการเงินฐานรากที่สําคัญ ได้แก่ การขับเคลื่อนการดําเนินงานตามแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560 – 2564 การดําเนินการเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน และการจัดทําร่างพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับองค์กรการเงินฐานรากให้มีสถานะนิติบุคคลโดยมีกฎหมายรองรับ แก้ปัญหาด้านการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนในชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินระดับฐานราก นอกจากนี้ ยังได้ให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาถึงเรื่องการวางแผนทางการเงิน ความรู้เกี่ยวกับหนี้นอกระบบ ธุรกิจการเงินนอกระบบที่เป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เช่น พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2560) และการใช้บริการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกํากับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. (02) 273-9020 ต่อ 3376, 3653
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14331
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจําเดือนพฤศจิกายน 2562 “ดัชนี RSI เดือนพฤศจิกายน 2562 ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ยังขยายตัว โดยเฉพาะภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเกษตรและภาคการบริการเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่ควรติดตามสถานการณ์ด้านการบริการของ กทม. และปริมณฑล” นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤศจิกายน 2562 ว่า “การประมวลผลข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุด จากสํานักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ขยายตัว โดยเฉพาะภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเกษตรและภาคการบริการเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่ควรติดตามสถานการณ์ด้านการบริการของ กทม. และปริมณฑล” ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก อยู่ที่ระดับ 65.6 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยใน 6 เดือนข้างหน้าจะได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคเกษตรและภาคบริการ เนื่องจากการขยายตัวของผลผลิต การเกษตรทั้งพืชผล ปศุสัตว์ และประมง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจากความต้องการของตลาดและการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคบริการเนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องและมีการยกระดับมาตรฐานการบริการและมาตรฐานความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวประกอบกับเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 65.6 สะท้อนการคาดการณ์เศรษฐกิจที่จะขยายตัวโดยเฉพาะในภาคเกษตรและภาคบริการ เนื่องจากเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ประกอบกับปริมาณผลผลิตภาคเกษตรอื่นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนภาคเกษตรให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคบริการ ได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งนโยบายรัฐบาลที่มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศส่งผลให้กิจการด้านการบริการขยายตัวสูงขึ้น สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนือ อยู่ที่ 63.8 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเป็นหลัก โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ SME อย่างไรก็ดี ยังมีหลายจังหวัดในภูมิภาคที่คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะหดตัวลงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ส่วนภาคบริการจะขยายตัวจากภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสนับสนุนการท่องเที่ยวจากภาครัฐ และการจัดกิจกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การค้าปลีกค้าส่งก็ได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ และจากการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออก ยังอยู่ในเกณฑ์ดีที่ 60.8 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ โดยแนวโน้มธุรกิจภาคอุตสาหกรรมดีขึ้น เนื่องจากมาตรการการกระตุ้นของภาครัฐที่ส่งเสริมการค้าการลงทุน และปัจจัยบวกในเรื่องของ EEC ที่มีการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุน อย่างไรก็ดี ยังคงมีหลายจังหวัดที่คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะชะลอลง และมีความกังวลจากผลกระทบของสงครามการค้าที่ต่อเนื่องจากปีนี้ ประกอบกับแนวโน้มการจ้างงานลดลงเนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนมีการปรับใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคใต้ อยู่ที่ระดับ 59.5 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคเกษตรเป็นหลัก ในส่วนของภาคบริการเนื่องจากเป็นช่วง High Season โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลและเกาะต่างๆ ประกอบกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเชิงรุกเพื่อรองรับฤดูกาลท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ในส่วนของการเกษตร เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรโดยการประกันราคา มีการเพิ่มกําลังการบริโภคน้ํามันปาล์มในประเทศเพื่อดูดซับผลผลิตออกจากระบบ เช่น นําน้ํามันปาล์มไปผลิตไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล และสนับสนุนการสร้างถนนที่มีส่วนผสมของยางพารา เป็นต้น สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง อยู่ในเกณฑ์ดีที่ระดับ 56.1 สะท้อนการคาดการณ์เศรษฐกิจที่จะขยายตัว โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคบริการและภาคการจ้างงาน จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.0 โดยควรติดตามสถานการณ์ด้านการบริการ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562 วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจําเดือนพฤศจิกายน 2562 “ดัชนี RSI เดือนพฤศจิกายน 2562 ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ยังขยายตัว โดยเฉพาะภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเกษตรและภาคการบริการเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่ควรติดตามสถานการณ์ด้านการบริการของ กทม. และปริมณฑล” นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤศจิกายน 2562 ว่า “การประมวลผลข้อมูลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุด จากสํานักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ขยายตัว โดยเฉพาะภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเกษตรและภาคการบริการเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่ควรติดตามสถานการณ์ด้านการบริการของ กทม. และปริมณฑล” ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก อยู่ที่ระดับ 65.6 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยใน 6 เดือนข้างหน้าจะได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคเกษตรและภาคบริการ เนื่องจากการขยายตัวของผลผลิต การเกษตรทั้งพืชผล ปศุสัตว์ และประมง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจากความต้องการของตลาดและการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคบริการเนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องและมีการยกระดับมาตรฐานการบริการและมาตรฐานความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวประกอบกับเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 65.6 สะท้อนการคาดการณ์เศรษฐกิจที่จะขยายตัวโดยเฉพาะในภาคเกษตรและภาคบริการ เนื่องจากเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ประกอบกับปริมาณผลผลิตภาคเกษตรอื่นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนภาคเกษตรให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคบริการ ได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีจํานวนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งนโยบายรัฐบาลที่มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศส่งผลให้กิจการด้านการบริการขยายตัวสูงขึ้น สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนือ อยู่ที่ 63.8 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเป็นหลัก โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ SME อย่างไรก็ดี ยังมีหลายจังหวัดในภูมิภาคที่คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะหดตัวลงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ส่วนภาคบริการจะขยายตัวจากภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสนับสนุนการท่องเที่ยวจากภาครัฐ และการจัดกิจกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การค้าปลีกค้าส่งก็ได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ และจากการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออก ยังอยู่ในเกณฑ์ดีที่ 60.8 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ โดยแนวโน้มธุรกิจภาคอุตสาหกรรมดีขึ้น เนื่องจากมาตรการการกระตุ้นของภาครัฐที่ส่งเสริมการค้าการลงทุน และปัจจัยบวกในเรื่องของ EEC ที่มีการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุน อย่างไรก็ดี ยังคงมีหลายจังหวัดที่คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะชะลอลง และมีความกังวลจากผลกระทบของสงครามการค้าที่ต่อเนื่องจากปีนี้ ประกอบกับแนวโน้มการจ้างงานลดลงเนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนมีการปรับใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคใต้ อยู่ที่ระดับ 59.5 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคเกษตรเป็นหลัก ในส่วนของภาคบริการเนื่องจากเป็นช่วง High Season โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลและเกาะต่างๆ ประกอบกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเชิงรุกเพื่อรองรับฤดูกาลท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ในส่วนของการเกษตร เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรโดยการประกันราคา มีการเพิ่มกําลังการบริโภคน้ํามันปาล์มในประเทศเพื่อดูดซับผลผลิตออกจากระบบ เช่น นําน้ํามันปาล์มไปผลิตไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล และสนับสนุนการสร้างถนนที่มีส่วนผสมของยางพารา เป็นต้น สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง อยู่ในเกณฑ์ดีที่ระดับ 56.1 สะท้อนการคาดการณ์เศรษฐกิจที่จะขยายตัว โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคบริการและภาคการจ้างงาน จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.0 โดยควรติดตามสถานการณ์ด้านการบริการ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24911
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกกำลังกายตามนโยบายของรัฐบาล
วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2560 รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะเจ้าหน้าที่สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกกําลังกายตามนโยบายของรัฐบาล 11 มค 60 รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะเจ้าหน้าที่สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกกําลังกายตามนโยบายของรัฐบาล วันนี้ (11 มกราคม 2560) เวลา 15.30 น. นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะเจ้าหน้าที่สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกกําลังกายตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับร่างกายและจิตใจ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกกำลังกายตามนโยบายของรัฐบาล วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2560 รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะเจ้าหน้าที่สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกกําลังกายตามนโยบายของรัฐบาล 11 มค 60 รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะเจ้าหน้าที่สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกกําลังกายตามนโยบายของรัฐบาล วันนี้ (11 มกราคม 2560) เวลา 15.30 น. นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นําคณะเจ้าหน้าที่สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกกําลังกายตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับร่างกายและจิตใจ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1328
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. แลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องพัฒนาการประกันสุขภาพในเวทีระหว่างประเทศด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีประกันสุขภาพ
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2561 คปภ. แลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องพัฒนาการประกันสุขภาพในเวทีระหว่างประเทศด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีประกันสุขภาพ • เลขาธิการ คปภ. ถกซีอีโอของหน่วยงานกํากับดูแลประกันภัยของฮ่องกงเจรจาทําความร่วมมือเสริมเขี้ยวเล็บเพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจประกันภัยไทย เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Health Insurance Development in Thailand: Opportunities and Challenges” ในงานประชุมวิชาการ “Health Insurance Innovation Congress Asia Pacific 2018” ณ เขตการปกครองพิเศษฮ่องกง โดยงานสัมมนาดังกล่าวรวบรวมผู้ประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้ประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาเทคโนโลยี จากหลายประเทศทั่วโลกมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และมุมมอง เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ โดยดร. สุทธิพล ได้กล่าวถึงโครงสร้างประชากรของเอเซียแปซิฟิกที่จะมีสัดส่วนโครงสร้างของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทําให้จําเป็นต้องมีการเตรียมตัวในเรื่องนี้ และเมื่อในสังคมมีผู้สูงอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพื่อดูแลสุขภาพให้ดําเนินชีวิตได้อย่างปกติก็จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งภาระค่าใช้จ่ายนี้มีทั้งในส่วนของประชาชนเอง และในส่วนของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบ สําหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แบ่งการดูแลด้านสุขภาพออกเป็นสามแผนหลัก ได้แก่ แผนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แผนประกันสังคม และแผนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการให้การดูแลด้านสุขภาพของบุคคลสามกลุ่มที่รัฐบาลมีส่วนสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีหลักประกันทางด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) เพื่อมารองรับอนาคตที่มีความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสอดคล้องกับบริบทความเจ็บป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่จะเพิ่มขึ้น โดยรัฐจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการเพิ่มความคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับประชาชนมากขึ้น โดยขั้นแรกจะเริ่มจากนายจ้างให้สวัสดิการด้านสุขภาพเพิ่มเติมกับลูกจ้าง และขั้นที่สองให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้เสนอความคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ สํานักงาน คปภ. จะเป็นผู้ดําเนินการเกี่ยวกับการกําหนดรายการในชุดสิทธิประโยชน์ประกันสุขภาพเอกชน สํานักงาน คปภ. จึงได้จัดให้มี โครงการปรับปรุงแบบและข้อความมาตรฐานสําหรับสัญญาประกันภัยสุขภาพ เพื่อให้มีสัญญาประกันภัยสุขภาพฉบับมาตรฐานที่สามารถรองรับกับแผนปฏิรูประบบสาธารณสุขของประเทศไทยได้ โดยปรับให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยี และวิธีการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบัน และสภาวการณ์อื่นๆที่เป็นปัจจุบัน ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความสนใจต่อพัฒนาการในด้านประกันสุขภาพของไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพัฒนาการในด้านการประกันภัยที่มีการนําเทคโนโลยีมาใช้ซึ่งจะทําให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น รวมถึงเป็นโอกาสของธุรกิจของบริษัทประกันภัยและบริษัทเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพที่จะประสานความร่วมมือต่อยอดไปสู่การมีผลิตภัณฑ์และบริการด้าน HealthTech และนําไปสู่โอกาสของประกันสุขภาพข้ามพรมแดนของประเทศต่างๆในเอเชียแปซิฟิกต่อไป ต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ ได้นําคณะผู้บริหารของ สํานักงาน คปภ. เข้าพบกับ Mr. Clement Cheung, Chief Executive Officer ของ Insurance Authority (IA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือในประเด็นต่างๆ รวมถึงการเตรียมการในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ร่วมกันระหว่าง สํานักงาน คปภ. และ IA เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือในการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยที่มีการประกอบธุรกิจในทั้งประเทศไทยและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในรูปของกลุ่มธุรกิจ รวมถึงพัฒนาองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งริเริ่มมาจากทางสํานักงานคปภ.โดยได้เจรจากับทาง IA จนเป็นผลสําเร็จ และคาดว่าจะสามารถลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ นอกจากนี้ ดร. สุทธิพล ยังได้หารือกับ Mr. Clement ให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของฮ่องกงเพื่อทาง คปภ.จะได้นํามาเป็นข้อมูลในการเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการประเมินภาคการเงิน (Financial Sector Assessment Program: FSAP) โดยเขตบริหารพิเศษฮ่องกงได้เคยมีประสบการณ์เข้ารับการประเมินดังกล่าว ซึ่ง Mr. Clement ได้ให้ข้อมูลว่า ในการประเมิน คณะผู้ประเมินจะพิจารณาจากสภาพธุรกิจของประเทศที่เข้ารับการประเมินและจะมุ่งเน้นในจุดที่มองว่ายังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนาการกํากับดูแลให้ได้มาตรฐานสากลด้านการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย และ Mr. Clement ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้ข้อมูลแก่คณะผู้ประเมินในเรื่องของการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศว่า นอกเหนือจาก MOU แล้ว ควรมีการกล่าวถึง การประชุมนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยด้วย เช่น การประชุม Asian Forum of Insurance Regulator: AFIR ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย และมีผู้สังเกตการจากหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวทางการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยใหม่ๆ เป็นประจําทุกปี นอกจากนี้ Mr. Clement ได้เสนอมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจประกันภัยในด้าน InsurTech ว่า น่าจะมีแนวทางในการพิจารณาออกใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันภัยสําหรับธุรกิจประเภท Start up ที่จะทําผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านการประกันภัยของตัวเอง และควรทําให้อยู่ในรูปแบบ Fast Track เพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการประกอบธุรกิจที่มีความฉับไว โดยได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอยู่ระหว่างการพิจารณาออกใบอนุญาตใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะใช้วิธีการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น โดยจะไม่มีการใช้บริการตัวแทนและนายหน้าประกันภัย ซึ่งมีผู้ที่สนใจขอรับใบอนุญาต โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาและสัมภาษณ์ผู้ขอรับใบอนุญาตที่มีแผนในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จะมุ่งเน้นไปยังตลาดกลุ่มวัยรุ่น และผู้ที่มีอายุยังน้อยผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้ง Mr. Clement ได้ให้ความเห็นสนับสนุนแนวทางของไทยในการผลักดันให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยมาตรฐานอาเซียน ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนที่จะมีการประชุมในปี 2562 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพโดยให้ข้อมูลว่าเขตบริหารพิเศษฮ่องกงก็มีแนวทางพัฒนาที่คล้ายๆ กัน ภายใต้ชื่อ Insurance Connect ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อการบริการด้านการประกันภัยของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงกับเมืองชายฝั่งทะเลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยจะมีการเปิด Service Center ของบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ในเมืองชายฝั่งทะเลของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อให้บริการเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งในการพิจารณารับประกันภัยและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันภัยเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาเพื่อติดต่อประสานงานไปมาระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการอํานวยความสะดวกแก่คนของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงที่เข้าไปลงทุนหรือทํางานในเมืองชายฝั่งทะเลดังกล่าว อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้มีการบริการด้านการประกันภัยดังกล่าวรวมถึงการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย เนื่องจากยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับมาตรการในการกํากับดูแลด้านการเสนอขาย ว่าจะมีการควบคุมการเสนอขายไม่ให้มีการ mis-selling และจะมีมาตรการลงโทษหากมีการฝ่าฝืนอย่างไร ซึ่งหากแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยอาเซียนตามที่ไทยจะผลักดันในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ micro-insurance ประกันภัยอุบัติเหตุแบบง่ายๆโดยใช้ช่องทางการจําหน่ายทางออนไลน์ ก็น่าจะมีความเป็นไปได้และมีโอกาสจะประสบความสําเร็จ จากการหารือกับ IA ดังกล่าว สํานักงาน คปภ. สามารถนําประสบการณ์ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเกี่ยวกับการเข้ารับการประเมินภาคการเงิน มาปรับใช้เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับการประเมินภาคการเงินของประเทศไทยที่คณะผู้ประเมินจะเดินทางเข้ามาประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยในต้นปี 2562 นอกจากนี้ รูปแบบการพัฒนาการให้บริการด้านประกันภัย Insurance Connect ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงกําลังดําเนินการอยู่ก็สามารถนํามาเป็นตัวอย่างในการพัฒนา ASEAN Micro Insurance Product ได้เช่นเดียวกัน โดยการลงนามใน MOU กับ IA ก็จะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สําคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ปัญหาข้อขัดข้องในเรื่องต่างๆ อันจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศไทยให้ยั่งยืน ต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. แลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องพัฒนาการประกันสุขภาพในเวทีระหว่างประเทศด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีประกันสุขภาพ วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2561 คปภ. แลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องพัฒนาการประกันสุขภาพในเวทีระหว่างประเทศด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีประกันสุขภาพ • เลขาธิการ คปภ. ถกซีอีโอของหน่วยงานกํากับดูแลประกันภัยของฮ่องกงเจรจาทําความร่วมมือเสริมเขี้ยวเล็บเพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจประกันภัยไทย เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Health Insurance Development in Thailand: Opportunities and Challenges” ในงานประชุมวิชาการ “Health Insurance Innovation Congress Asia Pacific 2018” ณ เขตการปกครองพิเศษฮ่องกง โดยงานสัมมนาดังกล่าวรวบรวมผู้ประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้ประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาเทคโนโลยี จากหลายประเทศทั่วโลกมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และมุมมอง เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ โดยดร. สุทธิพล ได้กล่าวถึงโครงสร้างประชากรของเอเซียแปซิฟิกที่จะมีสัดส่วนโครงสร้างของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทําให้จําเป็นต้องมีการเตรียมตัวในเรื่องนี้ และเมื่อในสังคมมีผู้สูงอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพื่อดูแลสุขภาพให้ดําเนินชีวิตได้อย่างปกติก็จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งภาระค่าใช้จ่ายนี้มีทั้งในส่วนของประชาชนเอง และในส่วนของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบ สําหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แบ่งการดูแลด้านสุขภาพออกเป็นสามแผนหลัก ได้แก่ แผนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แผนประกันสังคม และแผนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการให้การดูแลด้านสุขภาพของบุคคลสามกลุ่มที่รัฐบาลมีส่วนสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีหลักประกันทางด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) เพื่อมารองรับอนาคตที่มีความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสอดคล้องกับบริบทความเจ็บป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่จะเพิ่มขึ้น โดยรัฐจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการเพิ่มความคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับประชาชนมากขึ้น โดยขั้นแรกจะเริ่มจากนายจ้างให้สวัสดิการด้านสุขภาพเพิ่มเติมกับลูกจ้าง และขั้นที่สองให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้เสนอความคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ สํานักงาน คปภ. จะเป็นผู้ดําเนินการเกี่ยวกับการกําหนดรายการในชุดสิทธิประโยชน์ประกันสุขภาพเอกชน สํานักงาน คปภ. จึงได้จัดให้มี โครงการปรับปรุงแบบและข้อความมาตรฐานสําหรับสัญญาประกันภัยสุขภาพ เพื่อให้มีสัญญาประกันภัยสุขภาพฉบับมาตรฐานที่สามารถรองรับกับแผนปฏิรูประบบสาธารณสุขของประเทศไทยได้ โดยปรับให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยี และวิธีการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบัน และสภาวการณ์อื่นๆที่เป็นปัจจุบัน ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความสนใจต่อพัฒนาการในด้านประกันสุขภาพของไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพัฒนาการในด้านการประกันภัยที่มีการนําเทคโนโลยีมาใช้ซึ่งจะทําให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น รวมถึงเป็นโอกาสของธุรกิจของบริษัทประกันภัยและบริษัทเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพที่จะประสานความร่วมมือต่อยอดไปสู่การมีผลิตภัณฑ์และบริการด้าน HealthTech และนําไปสู่โอกาสของประกันสุขภาพข้ามพรมแดนของประเทศต่างๆในเอเชียแปซิฟิกต่อไป ต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ ได้นําคณะผู้บริหารของ สํานักงาน คปภ. เข้าพบกับ Mr. Clement Cheung, Chief Executive Officer ของ Insurance Authority (IA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือในประเด็นต่างๆ รวมถึงการเตรียมการในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ร่วมกันระหว่าง สํานักงาน คปภ. และ IA เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือในการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยที่มีการประกอบธุรกิจในทั้งประเทศไทยและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในรูปของกลุ่มธุรกิจ รวมถึงพัฒนาองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งริเริ่มมาจากทางสํานักงานคปภ.โดยได้เจรจากับทาง IA จนเป็นผลสําเร็จ และคาดว่าจะสามารถลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ นอกจากนี้ ดร. สุทธิพล ยังได้หารือกับ Mr. Clement ให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของฮ่องกงเพื่อทาง คปภ.จะได้นํามาเป็นข้อมูลในการเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการประเมินภาคการเงิน (Financial Sector Assessment Program: FSAP) โดยเขตบริหารพิเศษฮ่องกงได้เคยมีประสบการณ์เข้ารับการประเมินดังกล่าว ซึ่ง Mr. Clement ได้ให้ข้อมูลว่า ในการประเมิน คณะผู้ประเมินจะพิจารณาจากสภาพธุรกิจของประเทศที่เข้ารับการประเมินและจะมุ่งเน้นในจุดที่มองว่ายังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนาการกํากับดูแลให้ได้มาตรฐานสากลด้านการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย และ Mr. Clement ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้ข้อมูลแก่คณะผู้ประเมินในเรื่องของการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศว่า นอกเหนือจาก MOU แล้ว ควรมีการกล่าวถึง การประชุมนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยด้วย เช่น การประชุม Asian Forum of Insurance Regulator: AFIR ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยในภูมิภาคเอเชีย และมีผู้สังเกตการจากหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวทางการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยใหม่ๆ เป็นประจําทุกปี นอกจากนี้ Mr. Clement ได้เสนอมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจประกันภัยในด้าน InsurTech ว่า น่าจะมีแนวทางในการพิจารณาออกใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันภัยสําหรับธุรกิจประเภท Start up ที่จะทําผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านการประกันภัยของตัวเอง และควรทําให้อยู่ในรูปแบบ Fast Track เพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการประกอบธุรกิจที่มีความฉับไว โดยได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอยู่ระหว่างการพิจารณาออกใบอนุญาตใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะใช้วิธีการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น โดยจะไม่มีการใช้บริการตัวแทนและนายหน้าประกันภัย ซึ่งมีผู้ที่สนใจขอรับใบอนุญาต โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาและสัมภาษณ์ผู้ขอรับใบอนุญาตที่มีแผนในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จะมุ่งเน้นไปยังตลาดกลุ่มวัยรุ่น และผู้ที่มีอายุยังน้อยผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้ง Mr. Clement ได้ให้ความเห็นสนับสนุนแนวทางของไทยในการผลักดันให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยมาตรฐานอาเซียน ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนที่จะมีการประชุมในปี 2562 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพโดยให้ข้อมูลว่าเขตบริหารพิเศษฮ่องกงก็มีแนวทางพัฒนาที่คล้ายๆ กัน ภายใต้ชื่อ Insurance Connect ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อการบริการด้านการประกันภัยของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงกับเมืองชายฝั่งทะเลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยจะมีการเปิด Service Center ของบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ในเมืองชายฝั่งทะเลของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อให้บริการเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งในการพิจารณารับประกันภัยและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันภัยเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาเพื่อติดต่อประสานงานไปมาระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกงกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการอํานวยความสะดวกแก่คนของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงที่เข้าไปลงทุนหรือทํางานในเมืองชายฝั่งทะเลดังกล่าว อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้มีการบริการด้านการประกันภัยดังกล่าวรวมถึงการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย เนื่องจากยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับมาตรการในการกํากับดูแลด้านการเสนอขาย ว่าจะมีการควบคุมการเสนอขายไม่ให้มีการ mis-selling และจะมีมาตรการลงโทษหากมีการฝ่าฝืนอย่างไร ซึ่งหากแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยอาเซียนตามที่ไทยจะผลักดันในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ micro-insurance ประกันภัยอุบัติเหตุแบบง่ายๆโดยใช้ช่องทางการจําหน่ายทางออนไลน์ ก็น่าจะมีความเป็นไปได้และมีโอกาสจะประสบความสําเร็จ จากการหารือกับ IA ดังกล่าว สํานักงาน คปภ. สามารถนําประสบการณ์ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเกี่ยวกับการเข้ารับการประเมินภาคการเงิน มาปรับใช้เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับการประเมินภาคการเงินของประเทศไทยที่คณะผู้ประเมินจะเดินทางเข้ามาประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัยในต้นปี 2562 นอกจากนี้ รูปแบบการพัฒนาการให้บริการด้านประกันภัย Insurance Connect ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงกําลังดําเนินการอยู่ก็สามารถนํามาเป็นตัวอย่างในการพัฒนา ASEAN Micro Insurance Product ได้เช่นเดียวกัน โดยการลงนามใน MOU กับ IA ก็จะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สําคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ปัญหาข้อขัดข้องในเรื่องต่างๆ อันจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศไทยให้ยั่งยืน ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17644
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอเดินหน้าช่วยผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเรือ
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2560 บีโอไอเดินหน้าช่วยผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเรือ บีโอไอเดินหน้าขยายกิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเรือ นําผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร กว่า 100 ราย ร่วมงานนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้า ระหว่าง 15-17 พ.ย.นี้พร้อมเปิดเวทีจับคู่ธุรกิจ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า บีโอไอได้เพิ่มบทบาทและภารกิจของกองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุน หรือ BUILD (บิลด์) เดิมที่ทําหน้าที่เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เป็นหลักให้ขยายไปสู่การช่วยพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน สําหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้น รวมถึงสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ล่าสุดได้ขยายกิจกรรมไปสู่การเชื่อมโยงในอุตสาหกรรมเรือ โดยระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2560 นี้ บิลด์จะนําผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยกว่า 100 ราย ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร ร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ภายในงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้า ครั้งที่ 4 (The 4th Ship Technology for The Next Decade: ShipTech IV) ซึ่งจัดโดย กรมอู่ทหารเรือ ณ โรงแรมรอยัลคลิฟบีช พัทยา จังหวัดชลบุรี สําหรับงานดังกล่าว เป็นงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้าของไทยมีการนําเสนอผลิตภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีเทคโนโลยีล้ําสมัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเรือ ของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องมาจัดแสดง ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของไทยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมเรือ กับผู้ผลิตรายใหญ่จาก ทั้งในและต่างประเทศ “ภายในงานนี้บีโอไอตั้งเป้าหมายที่จะสร้างเครือข่าย และเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างผู้ผลิตไทยกับผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเรือและชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่างานนี้จะมีผู้ประกอบการ ชั้นนําจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมจัดแสดงผลงานการผลิต นวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีระบบสื่อสาร และดาวเทียม” นางสาวดวงใจ กล่าว นางสาวดวงใจ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากงานนี้แล้ว บิลด์ยังจะมีกิจกรรมนําคณะผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยร่วมกิจกรรมตลาดกลางซื้อขายชิ้นส่วน การเยี่ยมชมโรงงาน การเจรจาจับคู่ธุรกิจ รวมถึงการร่วมงานสัมมนา และออกบูธทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดการผลิตชิ้นส่วน เช่น งานเมทัลเล็กซ์ 2017 ซึ่งเป็นงานแสดงเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหะการที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ณ ไบเทค บางนา งานไทย-เจเปน บิสซิเนส แมทชิ่ง ครั้งที่ 11 (11 th Thai-Japan Business Matching) ซึ่งจะมีกิจกรรมจับคู่ธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และเกษตรกรรม ระหว่างผู้ประกอบการญี่ปุ่นกับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย ณ ไบเทค บางนา งานเมดิคัล เจเปน 2018 (Medical Japan 2018) งานแสดงเทคโนโลยี อุปกรณ์ และชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ ณ เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น งานฮันโนเวอร์ เมซเซ่ 2018 (Hannover Messe 2018) ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต ณ เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี เป็นต้น ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอเดินหน้าช่วยผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเรือ วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2560 บีโอไอเดินหน้าช่วยผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเรือ บีโอไอเดินหน้าขยายกิจกรรมเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเรือ นําผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร กว่า 100 ราย ร่วมงานนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้า ระหว่าง 15-17 พ.ย.นี้พร้อมเปิดเวทีจับคู่ธุรกิจ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า บีโอไอได้เพิ่มบทบาทและภารกิจของกองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุน หรือ BUILD (บิลด์) เดิมที่ทําหน้าที่เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เป็นหลักให้ขยายไปสู่การช่วยพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน สําหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้น รวมถึงสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ล่าสุดได้ขยายกิจกรรมไปสู่การเชื่อมโยงในอุตสาหกรรมเรือ โดยระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2560 นี้ บิลด์จะนําผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยกว่า 100 ราย ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร ร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ภายในงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้า ครั้งที่ 4 (The 4th Ship Technology for The Next Decade: ShipTech IV) ซึ่งจัดโดย กรมอู่ทหารเรือ ณ โรงแรมรอยัลคลิฟบีช พัทยา จังหวัดชลบุรี สําหรับงานดังกล่าว เป็นงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้าของไทยมีการนําเสนอผลิตภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีเทคโนโลยีล้ําสมัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเรือ ของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องมาจัดแสดง ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของไทยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมเรือ กับผู้ผลิตรายใหญ่จาก ทั้งในและต่างประเทศ “ภายในงานนี้บีโอไอตั้งเป้าหมายที่จะสร้างเครือข่าย และเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างผู้ผลิตไทยกับผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเรือและชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่างานนี้จะมีผู้ประกอบการ ชั้นนําจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมจัดแสดงผลงานการผลิต นวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีระบบสื่อสาร และดาวเทียม” นางสาวดวงใจ กล่าว นางสาวดวงใจ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากงานนี้แล้ว บิลด์ยังจะมีกิจกรรมนําคณะผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยร่วมกิจกรรมตลาดกลางซื้อขายชิ้นส่วน การเยี่ยมชมโรงงาน การเจรจาจับคู่ธุรกิจ รวมถึงการร่วมงานสัมมนา และออกบูธทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดการผลิตชิ้นส่วน เช่น งานเมทัลเล็กซ์ 2017 ซึ่งเป็นงานแสดงเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหะการที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ณ ไบเทค บางนา งานไทย-เจเปน บิสซิเนส แมทชิ่ง ครั้งที่ 11 (11 th Thai-Japan Business Matching) ซึ่งจะมีกิจกรรมจับคู่ธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และเกษตรกรรม ระหว่างผู้ประกอบการญี่ปุ่นกับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย ณ ไบเทค บางนา งานเมดิคัล เจเปน 2018 (Medical Japan 2018) งานแสดงเทคโนโลยี อุปกรณ์ และชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ ณ เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น งานฮันโนเวอร์ เมซเซ่ 2018 (Hannover Messe 2018) ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต ณ เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี เป็นต้น ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7744
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองประธานบริษัท Microsoft Corporation เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 9 มกราคม 2561 รองประธานบริษัท Microsoft Corporation เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี รองประธานบริษัท Microsoft Corporation เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี วันนี้ (9 มกราคม 2561) เวลา 14.30 น. Mr. Ali Faramawy รองประธานบริษัท Microsoft Corporation เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ รองนายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่ได้พบกับ Mr. Ali Faramawy รองประธานบริษัท Microsoft Corporation โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อพัฒนาประเทศและประชาชนไทยให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยฝ่าย Microsoft ยินดีที่จะสนับสนุนประเทศไทยในด้าน Digital Transformation เพื่อเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ที่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย พร้อมทั้งมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล ทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เพื่อการเตรียมพร้อมบุคลากรในประเทศให้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล ที่สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งยังสอดคล้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย ทั้งนี้ ฝ่ายไทยยังประสงค์ให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SME ไทยครอบคลุมตั้งแต่ระดับฐานราก กลุ่มชุมชน ระดับกลางซึ่งมีความพร้อมในการทําธุรกิจในประเทศ ไปจนถึง SME ที่สามารถส่งออกได้ ให้สามารถแข่งขันทางการค้า และก้าวสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และ Digital Economy เพื่อสังคม ซึ่งบริษัทฯ พร้อมที่จะทํางานร่วมกับรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาได้ตามเป้าหมาย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองประธานบริษัท Microsoft Corporation เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี วันอังคารที่ 9 มกราคม 2561 รองประธานบริษัท Microsoft Corporation เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี รองประธานบริษัท Microsoft Corporation เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี วันนี้ (9 มกราคม 2561) เวลา 14.30 น. Mr. Ali Faramawy รองประธานบริษัท Microsoft Corporation เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ รองนายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่ได้พบกับ Mr. Ali Faramawy รองประธานบริษัท Microsoft Corporation โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อพัฒนาประเทศและประชาชนไทยให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยฝ่าย Microsoft ยินดีที่จะสนับสนุนประเทศไทยในด้าน Digital Transformation เพื่อเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ที่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย พร้อมทั้งมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล ทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เพื่อการเตรียมพร้อมบุคลากรในประเทศให้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล ที่สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งยังสอดคล้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย ทั้งนี้ ฝ่ายไทยยังประสงค์ให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SME ไทยครอบคลุมตั้งแต่ระดับฐานราก กลุ่มชุมชน ระดับกลางซึ่งมีความพร้อมในการทําธุรกิจในประเทศ ไปจนถึง SME ที่สามารถส่งออกได้ ให้สามารถแข่งขันทางการค้า และก้าวสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และ Digital Economy เพื่อสังคม ซึ่งบริษัทฯ พร้อมที่จะทํางานร่วมกับรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาได้ตามเป้าหมาย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9264
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ยอดขอส่งเสริมบีโอไอปี 2562 ได้ตามเป้า มูลค่ากว่า 7.56 แสนล้านบาท
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2563 ยอดขอส่งเสริมบีโอไอปี 2562 ได้ตามเป้า มูลค่ากว่า 7.56 แสนล้านบาท ยอดขอส่งเสริมบีโอไอปี 2562 ได้ตามเป้า มูลค่ากว่า 7.56 แสนล้านบาท ยอดขอส่งเสริมบีโอไอปี 2562 ได้ตามเป้ามูลค่ากว่า 7.56 แสนล้านบาท รองนายกรัฐมนตรี เผยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนบีโอไอปี 2562 มีมูลค่าเงินลงทุน 756,100 ล้านบาท ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ร้อยละ 59 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายแก่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า บีโอไอได้รายงานสถานการณ์การลงทุนในปี 2562 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจํานวน 1,624 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 756,100 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 750,000 ล้านบาท สําหรับคําขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี นั้น มีจํานวนทั้งสิ้น 506 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 444,880 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59 ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยจังหวัดระยอง มีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุด ตามด้วยจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทราตามลําดับ ทั้งนี้ยอดคําขอรับส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมีจํานวน 838 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 286,520 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุนรวม 80,490 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เงินลงทุนรวม 74,000 ล้านบาท และอันดับ 3 ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เงินลงทุนรวม 40,100 ล้านบาท นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า สําหรับปี 2563 คาดว่าการลงทุนยังมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากบีโอไอได้ปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนหลายด้าน เพื่อเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ผ่านมาตรการ Thailand Plus ที่เพิ่มสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี สําหรับโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2563 และมีการลงทุนจริงไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 รวมทั้งได้ขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ใช้อยู่เดิมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ก่อนที่บีโอไอจะนําเสนอมาตรการ SMEs ที่ปรับปรุงใหม่ในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป นอกจากนี้ บีโอไอยังได้ปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีโดยให้โครงการลงทุนในทุกพื้นที่ในอีอีซีสามารถได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม (ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% 3 ปี หรือยกเว้น2 ปี) ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมหรือไม่ หากโครงการรับนักศึกษาฝึกงานตามจํานวนขั้นต่ําที่กําหนด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่วนโครงการที่ตั้งในพื้นที่พิเศษ (เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา หรือ EECmd) รวมทั้งนิคมนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมอันเนื่องจากที่ตั้งอีกด้วยทั้งนี้ มาตรการนี้ใช้สําหรับคําขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่ 2 มกราคม 2563 จนถึงสิ้นปี 2564 แต่หากตั้งโครงการในเขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ ได้แก่ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา หรือ EECmd ผู้ประกอบการสามารถยื่นคําขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ไม่มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุด *****************************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ยอดขอส่งเสริมบีโอไอปี 2562 ได้ตามเป้า มูลค่ากว่า 7.56 แสนล้านบาท วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2563 ยอดขอส่งเสริมบีโอไอปี 2562 ได้ตามเป้า มูลค่ากว่า 7.56 แสนล้านบาท ยอดขอส่งเสริมบีโอไอปี 2562 ได้ตามเป้า มูลค่ากว่า 7.56 แสนล้านบาท ยอดขอส่งเสริมบีโอไอปี 2562 ได้ตามเป้ามูลค่ากว่า 7.56 แสนล้านบาท รองนายกรัฐมนตรี เผยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนบีโอไอปี 2562 มีมูลค่าเงินลงทุน 756,100 ล้านบาท ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ร้อยละ 59 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายแก่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า บีโอไอได้รายงานสถานการณ์การลงทุนในปี 2562 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจํานวน 1,624 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 756,100 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 750,000 ล้านบาท สําหรับคําขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี นั้น มีจํานวนทั้งสิ้น 506 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 444,880 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59 ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยจังหวัดระยอง มีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุด ตามด้วยจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทราตามลําดับ ทั้งนี้ยอดคําขอรับส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมีจํานวน 838 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 286,520 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุนรวม 80,490 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เงินลงทุนรวม 74,000 ล้านบาท และอันดับ 3 ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เงินลงทุนรวม 40,100 ล้านบาท นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า สําหรับปี 2563 คาดว่าการลงทุนยังมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากบีโอไอได้ปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนหลายด้าน เพื่อเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ผ่านมาตรการ Thailand Plus ที่เพิ่มสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี สําหรับโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2563 และมีการลงทุนจริงไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 รวมทั้งได้ขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ใช้อยู่เดิมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ก่อนที่บีโอไอจะนําเสนอมาตรการ SMEs ที่ปรับปรุงใหม่ในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป นอกจากนี้ บีโอไอยังได้ปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีโดยให้โครงการลงทุนในทุกพื้นที่ในอีอีซีสามารถได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม (ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% 3 ปี หรือยกเว้น2 ปี) ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมหรือไม่ หากโครงการรับนักศึกษาฝึกงานตามจํานวนขั้นต่ําที่กําหนด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่วนโครงการที่ตั้งในพื้นที่พิเศษ (เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา หรือ EECmd) รวมทั้งนิคมนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมอันเนื่องจากที่ตั้งอีกด้วยทั้งนี้ มาตรการนี้ใช้สําหรับคําขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่ 2 มกราคม 2563 จนถึงสิ้นปี 2564 แต่หากตั้งโครงการในเขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ ได้แก่ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา หรือ EECmd ผู้ประกอบการสามารถยื่นคําขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ไม่มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุด *****************************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25758
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2560 เน้นย้ำข้าราชการทำงานสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเกิดไว้วางใจ ดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการพลเรือน
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2561 นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 เน้นย้ําข้าราชการทํางานสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเกิดไว้วางใจ ดํารงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการพลเรือน นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 เน้นย้ําข้าราชการทํางานสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเกิดไว้วางใจ ดํารงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการพลเรือน เพื่อขับเคลื่อนประเทศชาติไปสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน วันนี้ (2 เม.ย.61) เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในกิจกรรมวันข้าราชการพลเรือน ประจําปี พ.ศ. 2561 และพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 เนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน 2561 (คณะรัฐมนตรี ได้กําหนดให้วันที่ 1 เมษายนของทุกปี เป็นวันข้าราชการพลเรือน เนื่องจากตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศให้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472) พร้อมกล่าวให้โอวาทเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติราชการ จัดโดยคณะกรรมการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการพลเรือนดีเด่นและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 800 คน เข้าร่วมงาน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 ทุกคนที่ได้รับรางวัลฯ ว่าทุกคนถือเป็นบุคคลที่สามารถครองตน ครองคน และครองงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งในด้านการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และประชาชน ทั้งนี้ สิ่งสําคัญของผู้นําองค์กรและผู้บังคับบัญชาคือเป็นผู้ที่จะทําให้เกิดการประพฤติปฏิบัติงานที่เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างจริงจัง ดังนั้นการทํางานข้าราชการทุกระดับทั้งระดับนโยบาย ระดับขับเคลื่อน และผู้ปฏิบัติในพื้นที่ต้องทํางานเชื่อมโยงและบูรณาการร่วมกัน ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ของทุกหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้ไปสู่ตามเป้าหมายที่กําหนดเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงโดยไม่ผิดหรือขัดต่อกฎหมายดังกล่าว ขณะเดียวกันหน้าที่สําคัญของผู้บังคับบัญชาระดับสูงก็เป็นทั้งผู้ที่ให้คุณและให้โทษ รวมถึงการทํางานอย่างมีวิสัยทัศน์มองให้ไกล สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานที่ไม่หลีกเลี่ยงกฎหมาย โดยเฉพาะการให้รางวัลและการแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสม ทําให้เกิดองค์กรที่มีจริยธรรมในหน่วยงานของตนเอง และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลดูแลซึ่งกันและกัน ทําให้เกิดความรัก ความผูกพันและความรักสามัคคี ปรองดองระหว่างกัน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงสอดคล้องตามศักยภาพและรายได้ของตนเอง นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวย้ําว่า ข้าราชการเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เพื่อให้บังเกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน และความเจริญก้าวหน้าของประเทศ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของประชาชนให้ทันและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งการที่ข้าราชการทุกคนได้ทุ่มเท เสียสละ อุทิศตนทั้งกําลังกายและกําลังใจปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความขยัน อดทน ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในการทํางาน จะทําให้ประชาชนมีความเชื่อถือ ไว้วางใจ ให้การยอมรับ ส่งผลให้ข้าราชการเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธา และยกย่องของบุคคลโดยทั่วไป ข้าราชการจึงต้องรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของข้าราชการ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างให้ระบบราชการมีความเข้มแข็ง มั่นคงตลอดไป นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้ดําเนินการปฏิรูปประเทศในทุกๆ ด้าน ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0 รวมทั้งมีการพัฒนาระบบและกลไก การบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หน้าที่ที่สําคัญอีกประการหนึ่งที่ข้าราชการทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมคือ การผลักดันให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยน้อมนําหลักการทรงงาน “การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” และ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นอกจากนี้ การดําเนินการในเรื่องใดที่เป็นเรื่องใหม่ หน่วยงานภาครัฐและข้าราชการต้องมีการชี้แจงอธิบายและสร้างการรับรู้ให้ประชาชนและสังคมเกิดความเข้าใจเพื่อป้องกันปัญหาและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้น และสามารถดําเนินงานสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม และเตรียมการไปสู่การเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ที่มีธรรมาภิบาล ซึ่งข้าราชการพลเรือน ตํารวจ ทหาร ถือเป็นกลไกที่สําคัญที่สุดในการที่จะทําให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยที่เป็นสากล คือเหมาะสมกับประเทศไทยและไม่ย้อนกลับไปเกิดปัญหาเช่นเดิมอีก ขณะเดียวกันข้าราชการไทยยุค 4.0 ข้าราชการทุกคนต้องปรับตัว ให้มีความพร้อมตลอดเวลา เสียสละ และรู้เท่าทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลกในยุคปัจจุบัน ต้องก้าวออกจากกรอบความคิดและวิธีการทํางานแบบเดิม และพร้อมรับสิ่งท้าทายใหม่ๆ รู้จักการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุมีผล รวมทั้งต้องสามารถประสานการทํางานแบบบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วนเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณและชื่นชมยินดีกับข้าราชการทุกคนทั้งที่ได้รับรางวัลและไม่ได้รับรางวัล โดยขอให้ข้าราชการทุกคนประพฤติปฏิบัติตนทําความดีและเป็นแบบอย่างที่ดี ดํารงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการพลเรือน และเป็นส่วนสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติไปสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับประชาชนโดยถ้วนหน้า สร้างสรรค์สังคมที่มีความรัก ความสามัคคี และความปรองดองตลอดไป พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบตราสัญลักษณ์วันข้าราชการพลเรือนแก่เจ้าภาพจัดงานวันข้าราชการพลเรือนปีต่อไป (พ.ศ. 2562) ประกอบด้วย สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลังและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จากนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนนายกรัฐมนตรี มอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 จํานวน 616 คน เพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการที่มีความประพฤติและผลการปฏิบัติงานดีเด่น มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน รวมทั้งสร้างขวัญกําลังใจในการปฏิบัติราชการต่อไป ------------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2560 เน้นย้ำข้าราชการทำงานสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเกิดไว้วางใจ ดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการพลเรือน วันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2561 นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 เน้นย้ําข้าราชการทํางานสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเกิดไว้วางใจ ดํารงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการพลเรือน นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 เน้นย้ําข้าราชการทํางานสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเกิดไว้วางใจ ดํารงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการพลเรือน เพื่อขับเคลื่อนประเทศชาติไปสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน วันนี้ (2 เม.ย.61) เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในกิจกรรมวันข้าราชการพลเรือน ประจําปี พ.ศ. 2561 และพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 เนื่องในงานวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน 2561 (คณะรัฐมนตรี ได้กําหนดให้วันที่ 1 เมษายนของทุกปี เป็นวันข้าราชการพลเรือน เนื่องจากตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศให้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472) พร้อมกล่าวให้โอวาทเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติราชการ จัดโดยคณะกรรมการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการพลเรือนดีเด่นและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 800 คน เข้าร่วมงาน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีกับข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 ทุกคนที่ได้รับรางวัลฯ ว่าทุกคนถือเป็นบุคคลที่สามารถครองตน ครองคน และครองงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งในด้านการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และประชาชน ทั้งนี้ สิ่งสําคัญของผู้นําองค์กรและผู้บังคับบัญชาคือเป็นผู้ที่จะทําให้เกิดการประพฤติปฏิบัติงานที่เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างจริงจัง ดังนั้นการทํางานข้าราชการทุกระดับทั้งระดับนโยบาย ระดับขับเคลื่อน และผู้ปฏิบัติในพื้นที่ต้องทํางานเชื่อมโยงและบูรณาการร่วมกัน ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ของทุกหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานได้ไปสู่ตามเป้าหมายที่กําหนดเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงโดยไม่ผิดหรือขัดต่อกฎหมายดังกล่าว ขณะเดียวกันหน้าที่สําคัญของผู้บังคับบัญชาระดับสูงก็เป็นทั้งผู้ที่ให้คุณและให้โทษ รวมถึงการทํางานอย่างมีวิสัยทัศน์มองให้ไกล สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานที่ไม่หลีกเลี่ยงกฎหมาย โดยเฉพาะการให้รางวัลและการแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสม ทําให้เกิดองค์กรที่มีจริยธรรมในหน่วยงานของตนเอง และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลดูแลซึ่งกันและกัน ทําให้เกิดความรัก ความผูกพันและความรักสามัคคี ปรองดองระหว่างกัน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงสอดคล้องตามศักยภาพและรายได้ของตนเอง นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวย้ําว่า ข้าราชการเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เพื่อให้บังเกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน และความเจริญก้าวหน้าของประเทศ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของประชาชนให้ทันและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งการที่ข้าราชการทุกคนได้ทุ่มเท เสียสละ อุทิศตนทั้งกําลังกายและกําลังใจปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความขยัน อดทน ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในการทํางาน จะทําให้ประชาชนมีความเชื่อถือ ไว้วางใจ ให้การยอมรับ ส่งผลให้ข้าราชการเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธา และยกย่องของบุคคลโดยทั่วไป ข้าราชการจึงต้องรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของข้าราชการ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างให้ระบบราชการมีความเข้มแข็ง มั่นคงตลอดไป นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้ดําเนินการปฏิรูปประเทศในทุกๆ ด้าน ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0 รวมทั้งมีการพัฒนาระบบและกลไก การบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หน้าที่ที่สําคัญอีกประการหนึ่งที่ข้าราชการทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมคือ การผลักดันให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยน้อมนําหลักการทรงงาน “การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” และ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นอกจากนี้ การดําเนินการในเรื่องใดที่เป็นเรื่องใหม่ หน่วยงานภาครัฐและข้าราชการต้องมีการชี้แจงอธิบายและสร้างการรับรู้ให้ประชาชนและสังคมเกิดความเข้าใจเพื่อป้องกันปัญหาและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้น และสามารถดําเนินงานสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม และเตรียมการไปสู่การเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ที่มีธรรมาภิบาล ซึ่งข้าราชการพลเรือน ตํารวจ ทหาร ถือเป็นกลไกที่สําคัญที่สุดในการที่จะทําให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยที่เป็นสากล คือเหมาะสมกับประเทศไทยและไม่ย้อนกลับไปเกิดปัญหาเช่นเดิมอีก ขณะเดียวกันข้าราชการไทยยุค 4.0 ข้าราชการทุกคนต้องปรับตัว ให้มีความพร้อมตลอดเวลา เสียสละ และรู้เท่าทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลกในยุคปัจจุบัน ต้องก้าวออกจากกรอบความคิดและวิธีการทํางานแบบเดิม และพร้อมรับสิ่งท้าทายใหม่ๆ รู้จักการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุมีผล รวมทั้งต้องสามารถประสานการทํางานแบบบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วนเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณและชื่นชมยินดีกับข้าราชการทุกคนทั้งที่ได้รับรางวัลและไม่ได้รับรางวัล โดยขอให้ข้าราชการทุกคนประพฤติปฏิบัติตนทําความดีและเป็นแบบอย่างที่ดี ดํารงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการพลเรือน และเป็นส่วนสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติไปสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับประชาชนโดยถ้วนหน้า สร้างสรรค์สังคมที่มีความรัก ความสามัคคี และความปรองดองตลอดไป พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบตราสัญลักษณ์วันข้าราชการพลเรือนแก่เจ้าภาพจัดงานวันข้าราชการพลเรือนปีต่อไป (พ.ศ. 2562) ประกอบด้วย สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลังและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จากนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนนายกรัฐมนตรี มอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี 2560 จํานวน 616 คน เพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการที่มีความประพฤติและผลการปฏิบัติงานดีเด่น มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน รวมทั้งสร้างขวัญกําลังใจในการปฏิบัติราชการต่อไป ------------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11265
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 15 มีนาคม 2563
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 15 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 15 มีนาคม 2563 1.สถานการณ์ ถึงวันที่15 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 76 ราย กลับบ้านแล้ว 37 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 114 ราย 2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 14 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 6,176 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 258 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 5,918 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 4,223 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,953 ราย 3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 147 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสําราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 15มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 155,817 ราย เสียชีวิต 5,814 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,824 ราย เสียชีวิต 3,189 ราย 2. สธ. พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพิ่ม 32 ราย รักษาหายกลับบ้าน 2 ราย แนะงดไปสถานที่แออัด กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่ม 32 ราย รักษาหายกลับบ้าน 2 ราย แนะหลีกเลี่ยง/งดเข้าไปในสถานบริการที่มีความแออัดและเสี่ยงสูง งดการเดินทางไปต่างประเทศ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา2019 ว่า จากการประชุมของกระทรวงสาธารณสุข โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเมื่อวานนี้ (14 มี.ค.) มีมาตรการที่จะนําเสนอศูนย์บริหารจัดการของรัฐบาล อาทิ มาตรการการลดผู้เดินทางเข้าประเทศ ปิดสถานบริการที่มีความแออัดและเสี่ยงสูง งดกิจกรรม รวมคนหมู่มาก เพื่อเสนอท่านนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรายงานผู้ป่วยที่มี ความสัมพันธ์กับ สถานบันเทิง และร้านอาหารก่อนหน้านี้ ในวันนี้ มีผู้ป่วยยืนยันเพิ่ม 32 ราย ที่มีความสัมพันธ์กับสถานที่ต่างๆ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เชื่อมโยงกับสนามมวย จํานวน 9 ราย กลุ่มที่2เชื่อมโยงกับสถานบันเทิง จํานวน 8 ราย กลุ่มที่3 ทํางานสัมผัสกับกลุ่มนักท่องเที่ยว จํานวน 3 ราย กลุ่มที่4 ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ จํานวน 7 ราย กลุ่มที่5 เป็นผู้สัมผัสเจ้าของร้านอาหารที่ติดเชื้อ จํานวน 2 ราย กลุ่มที่6 อยู่ระหว่างดําเนินการสอบสวนโรค จํานวน 3 ราย และยังอยู่ระหว่างรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จํานวน51 ราย โดยมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านได้เพิ่มอีก 2 ราย เป็นชายไทย อายุ 29 ปี และหญิงไทย อายุ 22 ปี จากสถาบันบําราศนราดูร สรุปมีผู้ป่วยยืนยันที่รักษาหายแล้ว 37 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล76 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยขณะนี้ 114 ราย ขณะนี้ เราพบผู้ป่วยรายใหม่จากสถานที่ที่มีคนหนาแน่น เช่น ผับ สนามมวย ร้านอาหาร จึงขอให้หลีกเลี่ยง หรืองดไปสถานที่ดังกล่าว แต่หากมีความจําเป็นต้องไปขอให้สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ แยกภาชนะแก้วน้ํา ช้อน หากเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ดังกล่าวขอให้สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ส่วนผู้ประกอบการให้เพิ่มความถี่ในการทําความสะอาดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และเปิดหน้าต่าง ประตู ระบายอากาศทุกวัน นอกจากนี้ ขอให้งดการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ทั้งนี้ ร้านอาหาร สถานบันเทิง ที่พบผู้ป่วย กรุงเทพมหานคร ได้ดําเนินการลงพื้นที่ทําความสะอาดเรียบร้อยแล้ว โดยในสัปดาห์หน้า คณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. จะมีการจัดประชุมเพื่อดําเนินการตามกฎหมาย มาตรา35 พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งการจะสั่งปิดสถานที่ใดๆ ต้องได้รับการเห็นชอบจาก คณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัด เช้าวันนี้ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ ได้รับผู้เดินทางจากประเทศอิตาลี จํานวน 83 คน ประกอบด้วย นักศึกษาแลกเปลี่ยน 78 คน นักท่องเที่ยว 3 คน พนักงานสายการบิน 2 คน ในจํานวนนี้ 6 คน เป็นผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังสังเกตอาการ เนื่องจากมีอาการไอ มีน้ํามูก ไม่มีไข้ ส่งไปรพ.สัตหีบกม.10 จํานวน 3 ราย รพ.บ้านฉาง 1 ราย รพ.มาบตาพุด 1 ราย และรพ.ระยอง 1 ราย ส่วนผู้เดินทางอีก 77 คน ส่งไปพักสังเกตอาการที่อาคารรับรองฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จนครบ 14 วัน 3. คําแนะนําสําหรับประชาชน ขอให้ประชาชนสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารได้ที่เว็บไซต์https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ และ“ไทยรู้ สู้โควิด” ทาง Twitter, Facebook, Line official, TikTok และ “Kor-Ror-OK” ChatBot 1422 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง “เช็คก่อนแชร์” ตรวจสอบข่าวลวงได้ที่www.antifakenewscenter.com **************************************15 มีนาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 15 มีนาคม 2563 วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 15 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 15 มีนาคม 2563 1.สถานการณ์ ถึงวันที่15 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 76 ราย กลับบ้านแล้ว 37 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 114 ราย 2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 14 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 6,176 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 258 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 5,918 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 4,223 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,953 ราย 3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 147 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสําราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 15มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 155,817 ราย เสียชีวิต 5,814 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,824 ราย เสียชีวิต 3,189 ราย 2. สธ. พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพิ่ม 32 ราย รักษาหายกลับบ้าน 2 ราย แนะงดไปสถานที่แออัด กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่ม 32 ราย รักษาหายกลับบ้าน 2 ราย แนะหลีกเลี่ยง/งดเข้าไปในสถานบริการที่มีความแออัดและเสี่ยงสูง งดการเดินทางไปต่างประเทศ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา2019 ว่า จากการประชุมของกระทรวงสาธารณสุข โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเมื่อวานนี้ (14 มี.ค.) มีมาตรการที่จะนําเสนอศูนย์บริหารจัดการของรัฐบาล อาทิ มาตรการการลดผู้เดินทางเข้าประเทศ ปิดสถานบริการที่มีความแออัดและเสี่ยงสูง งดกิจกรรม รวมคนหมู่มาก เพื่อเสนอท่านนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรายงานผู้ป่วยที่มี ความสัมพันธ์กับ สถานบันเทิง และร้านอาหารก่อนหน้านี้ ในวันนี้ มีผู้ป่วยยืนยันเพิ่ม 32 ราย ที่มีความสัมพันธ์กับสถานที่ต่างๆ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เชื่อมโยงกับสนามมวย จํานวน 9 ราย กลุ่มที่2เชื่อมโยงกับสถานบันเทิง จํานวน 8 ราย กลุ่มที่3 ทํางานสัมผัสกับกลุ่มนักท่องเที่ยว จํานวน 3 ราย กลุ่มที่4 ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ จํานวน 7 ราย กลุ่มที่5 เป็นผู้สัมผัสเจ้าของร้านอาหารที่ติดเชื้อ จํานวน 2 ราย กลุ่มที่6 อยู่ระหว่างดําเนินการสอบสวนโรค จํานวน 3 ราย และยังอยู่ระหว่างรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จํานวน51 ราย โดยมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านได้เพิ่มอีก 2 ราย เป็นชายไทย อายุ 29 ปี และหญิงไทย อายุ 22 ปี จากสถาบันบําราศนราดูร สรุปมีผู้ป่วยยืนยันที่รักษาหายแล้ว 37 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล76 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยขณะนี้ 114 ราย ขณะนี้ เราพบผู้ป่วยรายใหม่จากสถานที่ที่มีคนหนาแน่น เช่น ผับ สนามมวย ร้านอาหาร จึงขอให้หลีกเลี่ยง หรืองดไปสถานที่ดังกล่าว แต่หากมีความจําเป็นต้องไปขอให้สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ แยกภาชนะแก้วน้ํา ช้อน หากเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ดังกล่าวขอให้สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ส่วนผู้ประกอบการให้เพิ่มความถี่ในการทําความสะอาดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และเปิดหน้าต่าง ประตู ระบายอากาศทุกวัน นอกจากนี้ ขอให้งดการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ทั้งนี้ ร้านอาหาร สถานบันเทิง ที่พบผู้ป่วย กรุงเทพมหานคร ได้ดําเนินการลงพื้นที่ทําความสะอาดเรียบร้อยแล้ว โดยในสัปดาห์หน้า คณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. จะมีการจัดประชุมเพื่อดําเนินการตามกฎหมาย มาตรา35 พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งการจะสั่งปิดสถานที่ใดๆ ต้องได้รับการเห็นชอบจาก คณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัด เช้าวันนี้ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ ได้รับผู้เดินทางจากประเทศอิตาลี จํานวน 83 คน ประกอบด้วย นักศึกษาแลกเปลี่ยน 78 คน นักท่องเที่ยว 3 คน พนักงานสายการบิน 2 คน ในจํานวนนี้ 6 คน เป็นผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังสังเกตอาการ เนื่องจากมีอาการไอ มีน้ํามูก ไม่มีไข้ ส่งไปรพ.สัตหีบกม.10 จํานวน 3 ราย รพ.บ้านฉาง 1 ราย รพ.มาบตาพุด 1 ราย และรพ.ระยอง 1 ราย ส่วนผู้เดินทางอีก 77 คน ส่งไปพักสังเกตอาการที่อาคารรับรองฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จนครบ 14 วัน 3. คําแนะนําสําหรับประชาชน ขอให้ประชาชนสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารได้ที่เว็บไซต์https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ และ“ไทยรู้ สู้โควิด” ทาง Twitter, Facebook, Line official, TikTok และ “Kor-Ror-OK” ChatBot 1422 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง “เช็คก่อนแชร์” ตรวจสอบข่าวลวงได้ที่www.antifakenewscenter.com **************************************15 มีนาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27320
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม 2563 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ ๒๓ ก.ค.๖๓ พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมคณะ เดินทางไปปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในช่วงเช้าได้เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมกองพลทหารราบที่ ๑๕ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อติดตามสถานการณ์ในพื้นที่และขับเคลื่อนงานตามแผนงาน/โครงการ ตลอดจนรับทราบปัญหาข้อขัดข้องที่หน่วยงานในพื้นที่ปฏิบัติ ในห้วงที่ผ่านมา และ ที่จะต้องดําเนินการในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ในช่วงบ่ายได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปทุเรียน อ.เทพา จ.สงขลา ที่มีรูปแบบการผลิต คือ การทําผลไม้อบแห้งและทุเรียนแช่แข็งเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเกษตร สร้างเงิน สร้างงาน สร้างรายได้ในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่ หลังจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการทหารพันธุ์ดี และโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดําริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่รับผิดชอบโครงการโดยกองพลพัฒนาที่ ๔ ค่ายรัตนพล อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ซึ่งโครงการทั้งสองเป็นการน้อมนําแนวทางพระราชดําริที่หน่วยทหาร นํามาดําเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในการสร้างแหล่งเรียนรู้งานด้านการเกษตรฯ, แหล่งผลิตอาหารสําหรับเลี้ยงตนเองในยามสถานการณ์ไม่ปกติ, แหล่งสร้างอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ และแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม 2563 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ ๒๓ ก.ค.๖๓ พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมคณะ เดินทางไปปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในช่วงเช้าได้เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมกองพลทหารราบที่ ๑๕ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อติดตามสถานการณ์ในพื้นที่และขับเคลื่อนงานตามแผนงาน/โครงการ ตลอดจนรับทราบปัญหาข้อขัดข้องที่หน่วยงานในพื้นที่ปฏิบัติ ในห้วงที่ผ่านมา และ ที่จะต้องดําเนินการในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ในช่วงบ่ายได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปทุเรียน อ.เทพา จ.สงขลา ที่มีรูปแบบการผลิต คือ การทําผลไม้อบแห้งและทุเรียนแช่แข็งเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเกษตร สร้างเงิน สร้างงาน สร้างรายได้ในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่ หลังจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการทหารพันธุ์ดี และโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดําริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่รับผิดชอบโครงการโดยกองพลพัฒนาที่ ๔ ค่ายรัตนพล อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ซึ่งโครงการทั้งสองเป็นการน้อมนําแนวทางพระราชดําริที่หน่วยทหาร นํามาดําเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในการสร้างแหล่งเรียนรู้งานด้านการเกษตรฯ, แหล่งผลิตอาหารสําหรับเลี้ยงตนเองในยามสถานการณ์ไม่ปกติ, แหล่งสร้างอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ และแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33634
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 12 กรกฎาคม 2563
วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น และเข้ารับการเฝ้าระวังกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ ไม่มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่ม ทําให้มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,088 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.99 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 71 ราย หรือร้อยละ 2.21 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,217 ราย สําหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 1 ราย เป็นเพศชาย อายุ 39 ปี สัญชาติไทย อาชีพพนักงานบริษัท เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น ถึงประเทศไทยวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เข้าพักที่สถานเฝ้าระวังกักตัวที่รัฐจัดให้ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 แต่ไม่มีอาการ นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อํานวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะผ่านพ้นการระบาดในระลอกแรกไปแล้วเนื่องจากไม่พบการติดเชื้อในประเทศต่อเนื่องเป็นเวลา 48 วัน และจํานวนผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ในอันดับที่ 100 ของโลก เป็นผลมาจากความร่วมมือร่วมใจของประชาชนที่ช่วยกันป้องกันตัวเองจากโรคโควิด 19 แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ทั่วโลกยังพบการระบาดเป็นวงกว้างอยู่ โดยประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุดคือ สหรัฐอเมริกา 3,355,646 ราย รองลงมา บราซิล 1,840,812 ราย และ อินเดีย 850,358 ราย และยังมีอีกหลายประเทศที่กลับมาพบผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนอีกครั้ง อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน (เขตปกครองพิเศษฮ่องกง) เป็นต้น ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง เข้าไปอยู่ในพื้นที่แออัด เช่น สถานบันเทิง ตลาดค้าส่ง ขอให้คนไทยนําเหตุการณ์จากต่างประเทศมาเป็นบทเรียนไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ํารอย โดยยังต้องเข้มมาตรการป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด 19 ต่อไป และทําให้เป็นนิสัย ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน ไม่นําตัวเองไปสัมผัสกับความเสี่ยงต่างๆ เลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัดคนรวมกันจํานวนมาก เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ที่สําคัญคือเมื่อป่วยต้องอยู่บ้านพักรักษาตัวไม่ไปในสถานที่ต่างๆ ป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และเคร่งครัดการลงทะเบียนเข้า-ออก สถานที่เข้าใช้บริการในแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” เพราะเมื่อหากพบผู้ติดเชื้อ จะใช้เป็นข้อมูลในการติดตามผู้สัมผัสนําเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคต่อไป ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเตรียมรับมือหากเกิดการระบาดระลอก 2 ในประเทศ ****************************** 12 กรกฎาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น และเข้ารับการเฝ้าระวังกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ ไม่มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่ม ทําให้มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,088 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.99 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 71 ราย หรือร้อยละ 2.21 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,217 ราย สําหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 1 ราย เป็นเพศชาย อายุ 39 ปี สัญชาติไทย อาชีพพนักงานบริษัท เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น ถึงประเทศไทยวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เข้าพักที่สถานเฝ้าระวังกักตัวที่รัฐจัดให้ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 แต่ไม่มีอาการ นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อํานวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะผ่านพ้นการระบาดในระลอกแรกไปแล้วเนื่องจากไม่พบการติดเชื้อในประเทศต่อเนื่องเป็นเวลา 48 วัน และจํานวนผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ในอันดับที่ 100 ของโลก เป็นผลมาจากความร่วมมือร่วมใจของประชาชนที่ช่วยกันป้องกันตัวเองจากโรคโควิด 19 แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ทั่วโลกยังพบการระบาดเป็นวงกว้างอยู่ โดยประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุดคือ สหรัฐอเมริกา 3,355,646 ราย รองลงมา บราซิล 1,840,812 ราย และ อินเดีย 850,358 ราย และยังมีอีกหลายประเทศที่กลับมาพบผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนอีกครั้ง อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน (เขตปกครองพิเศษฮ่องกง) เป็นต้น ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง เข้าไปอยู่ในพื้นที่แออัด เช่น สถานบันเทิง ตลาดค้าส่ง ขอให้คนไทยนําเหตุการณ์จากต่างประเทศมาเป็นบทเรียนไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ํารอย โดยยังต้องเข้มมาตรการป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด 19 ต่อไป และทําให้เป็นนิสัย ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน ไม่นําตัวเองไปสัมผัสกับความเสี่ยงต่างๆ เลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัดคนรวมกันจํานวนมาก เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ที่สําคัญคือเมื่อป่วยต้องอยู่บ้านพักรักษาตัวไม่ไปในสถานที่ต่างๆ ป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และเคร่งครัดการลงทะเบียนเข้า-ออก สถานที่เข้าใช้บริการในแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” เพราะเมื่อหากพบผู้ติดเชื้อ จะใช้เป็นข้อมูลในการติดตามผู้สัมผัสนําเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคต่อไป ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเตรียมรับมือหากเกิดการระบาดระลอก 2 ในประเทศ ****************************** 12 กรกฎาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33316
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมควบคุมโรค แนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” กับ 8 วิธี ป้องกันโรคโควิด-19 [กระทรวงสาธารณสุข]
วันอังคารที่ 7 เมษายน 2563 กรมควบคุมโรค แนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” กับ 8 วิธี ป้องกันโรคโควิด-19 [กระทรวงสาธารณสุข] กรมควบคุมโรค แนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” กับ 8 วิธี ป้องกันโรคโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนไทยห่างไกลโรคโควิด-19โดยการปฏิบัติตาม8วิธีเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” เพื่อลดโอกาสในการสัมผัสเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อในวงกว้าง วันนี้ (7เมษายน2563) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(โควิด-19) ไปยังหลายพื้นที่ของประเทศ นั้น กรมควบคุมโรคมีความห่วงใยประชาชน จึงขอแนะให้ปฏิบัติตาม8วิธีเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดจากคนสู่คนไม่ให้เชื้อขยายเป็นวงกว้าง การเพิ่มระยะห่างทางสังคม“Social Distancing”8 วิธีปฎิบัติป้องกันโรคโควิด-19 ได้แก่1.ห้ามไปพื้นที่แออัดต่างๆ เช่น สถานบันเทิง โรงเรียน โรงภาพยนตร์ กิจกรรมกีฬา เป็นต้น เปลี่ยนเป็นการทํางานที่บ้าน สื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และเรียนออนไลน์2.เปลี่ยนพฤติกรรมการแสดงความสัมพันธ์ ห้ามกอด หรือจูบ3.หลีกเลี่ยงการเข้าไปในห้องที่แออัด ห้องประชุม/ชุมนุมขนาดใหญ่ เพื่อลดโอกาสการรับและแพร่กระจายเชื้อโรค 4.หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีคนเยอะ และใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการติดเชื้อ5.ระวังการใช้สิ่งของสาธารณะและของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ราวบันได ลูกบิด รีโมทคอนโทรล ปุ่มกดลิฟท์ และล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะ 6.ควรหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วนในสถานที่ที่มีคนเยอะ เช่น รถสาธารณะ ร้านสะดวกซื้อ 7.ควรอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ อย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อลดโอกาสการรับและแพร่กระจายเชื้อ และ 8.ควรอยู่ในบ้านให้มากที่สุด เมื่อไม่ออกไปรับเชื้อข้างนอกบ้าน โอกาสติดโรคน้อยลง ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคจึงขอเน้นย้ําให้ปฎิบัติตามวิธีการปฎิบัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อและทําให้จํานวนผู้ป่วยลดลงได้ ********************************** ข้อมูลจาก : ศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค วันที่7เมษายน2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมควบคุมโรค แนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” กับ 8 วิธี ป้องกันโรคโควิด-19 [กระทรวงสาธารณสุข] วันอังคารที่ 7 เมษายน 2563 กรมควบคุมโรค แนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” กับ 8 วิธี ป้องกันโรคโควิด-19 [กระทรวงสาธารณสุข] กรมควบคุมโรค แนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” กับ 8 วิธี ป้องกันโรคโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนไทยห่างไกลโรคโควิด-19โดยการปฏิบัติตาม8วิธีเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” เพื่อลดโอกาสในการสัมผัสเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อในวงกว้าง วันนี้ (7เมษายน2563) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(โควิด-19) ไปยังหลายพื้นที่ของประเทศ นั้น กรมควบคุมโรคมีความห่วงใยประชาชน จึงขอแนะให้ปฏิบัติตาม8วิธีเพิ่มระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดจากคนสู่คนไม่ให้เชื้อขยายเป็นวงกว้าง การเพิ่มระยะห่างทางสังคม“Social Distancing”8 วิธีปฎิบัติป้องกันโรคโควิด-19 ได้แก่1.ห้ามไปพื้นที่แออัดต่างๆ เช่น สถานบันเทิง โรงเรียน โรงภาพยนตร์ กิจกรรมกีฬา เป็นต้น เปลี่ยนเป็นการทํางานที่บ้าน สื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และเรียนออนไลน์2.เปลี่ยนพฤติกรรมการแสดงความสัมพันธ์ ห้ามกอด หรือจูบ3.หลีกเลี่ยงการเข้าไปในห้องที่แออัด ห้องประชุม/ชุมนุมขนาดใหญ่ เพื่อลดโอกาสการรับและแพร่กระจายเชื้อโรค 4.หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีคนเยอะ และใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการติดเชื้อ5.ระวังการใช้สิ่งของสาธารณะและของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ราวบันได ลูกบิด รีโมทคอนโทรล ปุ่มกดลิฟท์ และล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของสาธารณะ 6.ควรหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วนในสถานที่ที่มีคนเยอะ เช่น รถสาธารณะ ร้านสะดวกซื้อ 7.ควรอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ อย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อลดโอกาสการรับและแพร่กระจายเชื้อ และ 8.ควรอยู่ในบ้านให้มากที่สุด เมื่อไม่ออกไปรับเชื้อข้างนอกบ้าน โอกาสติดโรคน้อยลง ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคจึงขอเน้นย้ําให้ปฎิบัติตามวิธีการปฎิบัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อและทําให้จํานวนผู้ป่วยลดลงได้ ********************************** ข้อมูลจาก : ศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค วันที่7เมษายน2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28602
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สวทช. หนุนทรอปิก้า คิงส์ ต่อยอดธุรกิจด้วยโครงการ START-UP VOUCHER เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ และขยายช่องทางการตลาด
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 สวทช. หนุนทรอปิก้า คิงส์ ต่อยอดธุรกิจด้วยโครงการ START-UP VOUCHER เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ และขยายช่องทางการตลาด สวทช. หนุนทรอปิก้า คิงส์ ต่อยอดธุรกิจด้วยโครงการ START-UP VOUCHER เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ และขยายช่องทางการตลาด สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วม “โครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรม (Start-up Voucher)” เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการดําเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรม การบริหารธุรกิจ การตลาด ตลอดจนการสร้างรายได้จากการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ความคิด ต่อยอดนวัตกรรม และอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้เกิดผลเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล พร้อมทั้งสนับสนุนเงินทุนด้านการตลาดในอัตราร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ (ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม) แต่ไม่เกิน 800,000 บาท ต่อโครงการต่อราย นายสุรวิชญ์ ทิพยารมณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลพาร์ทเนอร์อินเตอร์ฟู้ด จํากัด หนึ่งในผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ทรอปิก้า คิงส์ ผลไม้ไทยพร้อมปั่นและท็อปปิ้งสําเร็จรูป ที่เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า โครงการ Start-up Voucher เป็นโครงการจากภาครัฐที่มีประโยชน์ และช่วยส่งเสริมได้ตรงจุดในแง่ของการเร่งการเติบโตให้กับธุรกิจเกิดใหม่ หรือ Startup ให้เติบโตรอดพ้นจากช่วงเริ่มต้นกิจการที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สําคัญของธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การสื่อสาร และช่วยต่อยอดให้การดําเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังได้รับคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการบริหารแผนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการบริหารงบประมาณ การตลาด และการช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาช่องทางการขายใหม่ ๆ เช่น พาไปออกงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารในงาน Thaiflex เป็นต้น ทําให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เป็นที่รู้จักแพร่หลาย สําหรับบริษัทฯ ดําเนินธุรกิจที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้ไทยและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย ซึ่งถือว่าเป็นภาคส่วนที่สําคัญของประเทศ อีกทั้งยังสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับผลไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ Start-up Voucher แล้ว ผลิตภัณฑ์ของบริษัท โกลบอลพาร์ทเนอร์อินเตอร์ฟู้ด จํากัด ได้นําเทคโนโลยีการแปรรูปใหม่ ๆ เข้าไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าทั้งคนไทย และคนต่างประเทศ รวมทั้งยังสามารถกระจายสินค้าไปถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้หลากหลาย และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าต่าง ๆ ซึ่งจากเดิมบริษัทฯ มีเฉพาะผลิตภัณฑ์ “ท็อปปิ้งมะม่วงน้ําดอกไม้พร้อมใช้บรรจุกระป๋อง” เท่านั้น ปัจจุบันได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์เป็น “มะม่วงน้ําดอกไม้พร้อมปั่นแบบซอง” ที่เพียงแค่ฉีกซองปั่นกับน้ําแข็งก็สามารถเสิร์ฟเป็นเมนูสมูทตี้มะม่วงน้ําดอกไม้ได้ทันที ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มร้านคาเฟ่ ร้านอาหาร โรงแรม หรือธุรกิจฟู้ดเซอร์วิส ทําให้ลูกค้ามีเมนูมะม่วงปั่นไว้เสิร์ฟได้ตลอดปี และใช้งานง่าย สะดวก ไม่ต้องแช่เย็น ยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน 4 เดือน ทําให้ไม่ต้องเจอปัญหามะม่วงสดเน่าเสียหายอีกต่อไป ซึ่งผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ําดอกไม้พร้อมปั่นแบบซอง สามารถสอบถามติดต่อได้ที่www.tropicaking.com “จากสถานการณ์จากไวรัสโควิด-19 ที่กําลังระบาดในเวลานี้ส่งผลกระทบในด้านอุปสงค์ของตลาดกลุ่มเป้าหมายที่ลดลงอย่างกะทันหันทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้ว่าเหตุการณ์นี้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ทําให้บริษัทฯ ต้องปรับแผนระยะสั้นและระยะกลางเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันโดยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ “ผลไม้ไทยพร้อมปั่น” เพื่อมุ่งเน้นเจาะตลาดในประเทศ ระหว่างที่รอให้สถานการณ์คลี่คลาย สําหรับแผนระยะยาวที่บริษัทฯ ตั้งใจจะนําผลิตภัณฑ์ผลไม้ไทยแปรรูปภายใต้แบรนด์ Tropica King (ทรอปิก้า คิงส์) ไปสร้างชื่อเสียงและตลาดที่ต่างประเทศเพื่อนํารายได้กลับเข้าประเทศต่อไป” นายสุรวิชญ์ กล่าวเพิ่มเติม ข้อมูลข่าวโดย : สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สวทช. หนุนทรอปิก้า คิงส์ ต่อยอดธุรกิจด้วยโครงการ START-UP VOUCHER เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ และขยายช่องทางการตลาด วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 สวทช. หนุนทรอปิก้า คิงส์ ต่อยอดธุรกิจด้วยโครงการ START-UP VOUCHER เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ และขยายช่องทางการตลาด สวทช. หนุนทรอปิก้า คิงส์ ต่อยอดธุรกิจด้วยโครงการ START-UP VOUCHER เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ และขยายช่องทางการตลาด สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วม “โครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรม (Start-up Voucher)” เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการดําเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรม การบริหารธุรกิจ การตลาด ตลอดจนการสร้างรายได้จากการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ความคิด ต่อยอดนวัตกรรม และอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้เกิดผลเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล พร้อมทั้งสนับสนุนเงินทุนด้านการตลาดในอัตราร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ (ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม) แต่ไม่เกิน 800,000 บาท ต่อโครงการต่อราย นายสุรวิชญ์ ทิพยารมณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลพาร์ทเนอร์อินเตอร์ฟู้ด จํากัด หนึ่งในผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ทรอปิก้า คิงส์ ผลไม้ไทยพร้อมปั่นและท็อปปิ้งสําเร็จรูป ที่เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า โครงการ Start-up Voucher เป็นโครงการจากภาครัฐที่มีประโยชน์ และช่วยส่งเสริมได้ตรงจุดในแง่ของการเร่งการเติบโตให้กับธุรกิจเกิดใหม่ หรือ Startup ให้เติบโตรอดพ้นจากช่วงเริ่มต้นกิจการที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สําคัญของธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การสื่อสาร และช่วยต่อยอดให้การดําเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังได้รับคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการบริหารแผนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการบริหารงบประมาณ การตลาด และการช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาช่องทางการขายใหม่ ๆ เช่น พาไปออกงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหารในงาน Thaiflex เป็นต้น ทําให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เป็นที่รู้จักแพร่หลาย สําหรับบริษัทฯ ดําเนินธุรกิจที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้ไทยและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย ซึ่งถือว่าเป็นภาคส่วนที่สําคัญของประเทศ อีกทั้งยังสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับผลไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ Start-up Voucher แล้ว ผลิตภัณฑ์ของบริษัท โกลบอลพาร์ทเนอร์อินเตอร์ฟู้ด จํากัด ได้นําเทคโนโลยีการแปรรูปใหม่ ๆ เข้าไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าทั้งคนไทย และคนต่างประเทศ รวมทั้งยังสามารถกระจายสินค้าไปถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้หลากหลาย และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าต่าง ๆ ซึ่งจากเดิมบริษัทฯ มีเฉพาะผลิตภัณฑ์ “ท็อปปิ้งมะม่วงน้ําดอกไม้พร้อมใช้บรรจุกระป๋อง” เท่านั้น ปัจจุบันได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์เป็น “มะม่วงน้ําดอกไม้พร้อมปั่นแบบซอง” ที่เพียงแค่ฉีกซองปั่นกับน้ําแข็งก็สามารถเสิร์ฟเป็นเมนูสมูทตี้มะม่วงน้ําดอกไม้ได้ทันที ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มร้านคาเฟ่ ร้านอาหาร โรงแรม หรือธุรกิจฟู้ดเซอร์วิส ทําให้ลูกค้ามีเมนูมะม่วงปั่นไว้เสิร์ฟได้ตลอดปี และใช้งานง่าย สะดวก ไม่ต้องแช่เย็น ยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน 4 เดือน ทําให้ไม่ต้องเจอปัญหามะม่วงสดเน่าเสียหายอีกต่อไป ซึ่งผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ําดอกไม้พร้อมปั่นแบบซอง สามารถสอบถามติดต่อได้ที่www.tropicaking.com “จากสถานการณ์จากไวรัสโควิด-19 ที่กําลังระบาดในเวลานี้ส่งผลกระทบในด้านอุปสงค์ของตลาดกลุ่มเป้าหมายที่ลดลงอย่างกะทันหันทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้ว่าเหตุการณ์นี้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ทําให้บริษัทฯ ต้องปรับแผนระยะสั้นและระยะกลางเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันโดยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ “ผลไม้ไทยพร้อมปั่น” เพื่อมุ่งเน้นเจาะตลาดในประเทศ ระหว่างที่รอให้สถานการณ์คลี่คลาย สําหรับแผนระยะยาวที่บริษัทฯ ตั้งใจจะนําผลิตภัณฑ์ผลไม้ไทยแปรรูปภายใต้แบรนด์ Tropica King (ทรอปิก้า คิงส์) ไปสร้างชื่อเสียงและตลาดที่ต่างประเทศเพื่อนํารายได้กลับเข้าประเทศต่อไป” นายสุรวิชญ์ กล่าวเพิ่มเติม ข้อมูลข่าวโดย : สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32757
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีพร้อมคู่สมรส ทำบุญขึ้นปีใหม่ ตักบาตรพระสงฆ์ 61 รูป ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี
วันพุธที่ 3 มกราคม 2561 นายกรัฐมนตรี นําคณะรัฐมนตรีพร้อมคู่สมรส ทําบุญขึ้นปีใหม่ ตักบาตรพระสงฆ์ 61 รูป ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีนํา ครม. เจ้าหน้าที่ ร่วมทําบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2561 วันนี้ (3 มกราคม 2561) เวลา 07.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีทําบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2561 โดยมี รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภริยา คณะรัฐมนตรี ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์พระสงฆ์ จํานวน 10 รูป และทําบุญตักบาตรพระสงฆ์ จํานวน 61 รูป หน้าบริเวณสนามหญ้า ข้างตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการทํางานวันแรกของปีเพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเริ่มการประชุมคณะรัฐมนตรีประจําสัปดาห์ ในเวลา 09.00 น. ซึ่งถือเป็นการประชุมนัดแรกของปี 2561 ............................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีพร้อมคู่สมรส ทำบุญขึ้นปีใหม่ ตักบาตรพระสงฆ์ 61 รูป ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี วันพุธที่ 3 มกราคม 2561 นายกรัฐมนตรี นําคณะรัฐมนตรีพร้อมคู่สมรส ทําบุญขึ้นปีใหม่ ตักบาตรพระสงฆ์ 61 รูป ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีนํา ครม. เจ้าหน้าที่ ร่วมทําบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2561 วันนี้ (3 มกราคม 2561) เวลา 07.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีทําบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2561 โดยมี รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภริยา คณะรัฐมนตรี ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์พระสงฆ์ จํานวน 10 รูป และทําบุญตักบาตรพระสงฆ์ จํานวน 61 รูป หน้าบริเวณสนามหญ้า ข้างตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการทํางานวันแรกของปีเพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเริ่มการประชุมคณะรัฐมนตรีประจําสัปดาห์ ในเวลา 09.00 น. ซึ่งถือเป็นการประชุมนัดแรกของปี 2561 ............................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9144
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เจลแอลกอฮอล์ ที่เก็บไว้ในรถยนต์ อาจส่งผลให้มีประสิทธิภาพลดลง จริงหรือไม่ ??
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2563 เจลแอลกอฮอล์ ที่เก็บไว้ในรถยนต์ อาจส่งผลให้มีประสิทธิภาพลดลง จริงหรือไม่ ?? เจลแอลกอฮอล์เก็บไว้ในรถยนต์ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่ Q :เจลแอลกอฮอล์ ที่เก็บไว้ในรถยนต์ อาจส่งผลให้มีประสิทธิภาพลดลง จริงหรือไม่ ?? A : จริง เพราะความร้อนในรถยนต์ ทําให้แอลกอฮอล์ระเหยจนความเข้มข้นลดลง และไม่สามารถฆ่าเชื้อฯ ได้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เจลแอลกอฮอล์ ที่เก็บไว้ในรถยนต์ อาจส่งผลให้มีประสิทธิภาพลดลง จริงหรือไม่ ?? วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2563 เจลแอลกอฮอล์ ที่เก็บไว้ในรถยนต์ อาจส่งผลให้มีประสิทธิภาพลดลง จริงหรือไม่ ?? เจลแอลกอฮอล์เก็บไว้ในรถยนต์ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่ Q :เจลแอลกอฮอล์ ที่เก็บไว้ในรถยนต์ อาจส่งผลให้มีประสิทธิภาพลดลง จริงหรือไม่ ?? A : จริง เพราะความร้อนในรถยนต์ ทําให้แอลกอฮอล์ระเหยจนความเข้มข้นลดลง และไม่สามารถฆ่าเชื้อฯ ได้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32044
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดีอีเอส ประชุมจัดทำโครงการสำคัญประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 กระทรวงดีอีเอส ประชุมจัดทําโครงการสําคัญประจําปี พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563 กระทรวงดีอีเอส ประชุมจัดทําโครงการสําคัญประจําปี พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563 นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) มอบหมายให้ นางคนึงนิจ คชศิลา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมการจัดทําโครงการสําคัญประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563 โดยร่วมกันวิเคราะห์จัดลําดับความสําคัญของโครงการสําคัญประจําปี พ.ศ. 2565 ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ณ ห้องประชุม 803 ชั้น 8 สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 *****************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดีอีเอส ประชุมจัดทำโครงการสำคัญประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563 วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 กระทรวงดีอีเอส ประชุมจัดทําโครงการสําคัญประจําปี พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563 กระทรวงดีอีเอส ประชุมจัดทําโครงการสําคัญประจําปี พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563 นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) มอบหมายให้ นางคนึงนิจ คชศิลา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมการจัดทําโครงการสําคัญประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 1/2563 โดยร่วมกันวิเคราะห์จัดลําดับความสําคัญของโครงการสําคัญประจําปี พ.ศ. 2565 ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ณ ห้องประชุม 803 ชั้น 8 สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 *****************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34012
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษก กค. เผย 13.4 ล้านคนที่ผ่านเกณท์ จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทภายในสัปดาห์หน้า พร้อมหามาตรการช่วยเหลือ 1.7 ล้านคน ที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2563 โฆษก กค. เผย 13.4 ล้านคนที่ผ่านเกณท์ จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทภายในสัปดาห์หน้า พร้อมหามาตรการช่วยเหลือ 1.7 ล้านคน ที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน โฆษก กค. เผย 13.4 ล้านคนที่ผ่านเกณท์ จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทภายในสัปดาห์หน้า พร้อมหามาตรการช่วยเหลือ 1.7 ล้านคน ที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน วันนี้ (7 พ.ค. 63) เวลา 12.00 น. ณศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) (ศบค.)โถงกลางตึกสันติไมตรีทําเนียบรัฐบาล นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง รายงานความคืบหน้าโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” มาตรการเยียวยา 5,000 บาท ซึ่งได้มีการลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2563 มียอดผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 28,800,000 ราย หักจากจํานวนที่มีการลงทะเบียนซ้ํา 4,800,000 ราย และ 1,700,000 รายที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน ทั้งนี้ ข้อมูลประชาชนที่ลงทะเบียนจํานวน 22,300,000 ราย ได้ถูกนํามาเข้าสู่ระบบกระบวนการคัดกรอง โดยผู้ผ่านเกณฑ์รอบแรกมีจํานวน 4,400,000 ราย กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ที่ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมมี 6,500,000 ราย มีการพิจารณาผ่านเกณฑ์คัดกรองแล้วอีก 5,100,000 ราย กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์มี 10,400,000 ราย มีการขอทบทวนสิทธิแล้ว 5,600,000 ราย ซึ่งในจํานวนนี้พิจารณาผ่านเกณฑ์แล้ว 3,800,000 ราย เมื่อรวมตัวเลขเบื้องต้นรอบแรกผู้ที่ผ่านเกณฑ์จากการขอข้อมูลเพิ่มเติม 5.1 ล้านราย และผู้ที่ผ่านเกณฑ์จากกระบวนการขอทบทวนสิทธิอีก 3,800,000 ราย ข้อมูลล่าสุดมีผู้ที่ผ่านเกณฑ์ทั้งสิ้น 13,400,000 ราย ซึ่งจํานวนส่วนใหญ่คือจํานวน 11 ล้านราย จะมีการโอนให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 8 พฤษภาคม นี้ ส่วนที่เหลืออีก 2,400,000 ราย จะมีการโอนเงินให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์หน้า ดังนั้น ประชาชน 13,400,000 ราย ที่ได้ผ่านเกณฑ์แล้ว สามารถเข้าไปตรวจสอบที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ไปที่ปุ่มสีเทา ตรวจสอบสถานะ ซึ่งจะได้ทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันที โดยไม่จําเป็นต้องรอ SMS มายืนยัน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ในช่วง 2- 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้เปิดช่องทางในการรับข้อร้องเรียน และผ่าน Call Center สรุป ข้อแรก คือ บัญชีที่ไม่ตรง โดยใน 13,400,000 ราย มีความพยายามโอนเงินเข้าบัญชีที่ลงทะเบียนไว้ แต่มีหลายคนที่บัญชีที่แจ้งไว้ไม่สามารถเข้าไปได้ ซึ่งจะได้รับแจ้งข้อความว่าเปลี่ยนข้อมูลช่องทางในการรับเงินแก้ไขบัญชีให้ถูกต้อง คนที่เข้ามาดําเนินการแก้ไขแล้ว และจะได้รับข้อความว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบวิธีการรับเงิน ถ้าท่านที่แก้ไขบัญชีแล้ว 1 ครั้งสําเร็จ บัญชีถูกต้อง เงินก็จะโอนเข้าในบัญชีของท่านที่แก้ไขในรอบต่อไปของการโอนเงิน กรณีการแก้ไขบัญชีครั้งที่ 1 ไม่สําเร็จแล้วมีการพยายามในการแก้ไขในครั้งที่ 2 3 4 แนะนําให้ไปสมัครพร้อมเพย์ที่ผูกบัตรกับประชาชน เพื่อให้การโอนเงินถูกต้องของตนเอง กรณีได้รับ sms ลงทะเบียนไม่สําเร็จเนื่องจากข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้องอาจจะอยู่ในกลุ่ม 1.7 ล้านราย ที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน ซึ่งจะยังไม่เข้าสู่กระบวนการคัดกรอง ซึ่งกระทรวงการคลังได้รับทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว และจะพิจารณาดูแลมาตรการเยียวยาที่เหมาะสมรองรับกลับกลุ่มพี่น้องประชาชนกลุ่มนี้ต่อไป ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การลงทะเบียนปิดตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งจะพยายามคัดกรองผลออกมาให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด ซึ่งเชื่อว่า 13.4 ล้านราย เป็นตัวเลข ณ วันนี้ แต่ตัวเลขมีการเพิ่มขึ้นทุกวันซึ่งจะมาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ทําให้ข้อมูลเพิ่มเติมและคัดกรองแล้วผ่านเกณฑ์ สําหรับประชาชนประมาณ 5 แสนรายยังไม่ได้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติม โฆษกกระทรวงการคลังได้ชี้แจง กรณีผู้พิทักษ์ติดต่อมาหาผู้ที่ลงทะเบียนไว้ แต่ผู้ที่ลงทะเบียนไม่สามารถไปพบได้ตามสิทธิจะเสียสิทธิหรือไม่ โดยผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลังยืนยันว่า จะไม่มีการเสียสิทธิ หากไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้แจ้งไว้ มีเหตุจําเป็นเคลื่อนย้ายสถานที่ ข้อมูลจะถูกส่งกลับมาที่ส่วนกลางแล้วจะมีการมอบมอบหมายทีมผู้พิทักษ์สิทธิที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในปัจจุบันลงไปพบประชาชน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวในตอนท้ายว่า กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ว่า กระบวนการการคัดกรองทั้งหมดของมาตรการเราไม่ทิ้งกัน จะสิ้นสุดภายในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ เชื่อว่า อย่างน้อยร้อยละ 98 - 99 อาจตกหล่นอยู่บ้างเล็กน้อย แต่เชื่อว่าจะต้องสิ้นสุดภายในวันดังกล่าว .......................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษก กค. เผย 13.4 ล้านคนที่ผ่านเกณท์ จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทภายในสัปดาห์หน้า พร้อมหามาตรการช่วยเหลือ 1.7 ล้านคน ที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2563 โฆษก กค. เผย 13.4 ล้านคนที่ผ่านเกณท์ จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทภายในสัปดาห์หน้า พร้อมหามาตรการช่วยเหลือ 1.7 ล้านคน ที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน โฆษก กค. เผย 13.4 ล้านคนที่ผ่านเกณท์ จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทภายในสัปดาห์หน้า พร้อมหามาตรการช่วยเหลือ 1.7 ล้านคน ที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน วันนี้ (7 พ.ค. 63) เวลา 12.00 น. ณศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) (ศบค.)โถงกลางตึกสันติไมตรีทําเนียบรัฐบาล นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง รายงานความคืบหน้าโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” มาตรการเยียวยา 5,000 บาท ซึ่งได้มีการลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2563 มียอดผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 28,800,000 ราย หักจากจํานวนที่มีการลงทะเบียนซ้ํา 4,800,000 ราย และ 1,700,000 รายที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน ทั้งนี้ ข้อมูลประชาชนที่ลงทะเบียนจํานวน 22,300,000 ราย ได้ถูกนํามาเข้าสู่ระบบกระบวนการคัดกรอง โดยผู้ผ่านเกณฑ์รอบแรกมีจํานวน 4,400,000 ราย กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ที่ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมมี 6,500,000 ราย มีการพิจารณาผ่านเกณฑ์คัดกรองแล้วอีก 5,100,000 ราย กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์มี 10,400,000 ราย มีการขอทบทวนสิทธิแล้ว 5,600,000 ราย ซึ่งในจํานวนนี้พิจารณาผ่านเกณฑ์แล้ว 3,800,000 ราย เมื่อรวมตัวเลขเบื้องต้นรอบแรกผู้ที่ผ่านเกณฑ์จากการขอข้อมูลเพิ่มเติม 5.1 ล้านราย และผู้ที่ผ่านเกณฑ์จากกระบวนการขอทบทวนสิทธิอีก 3,800,000 ราย ข้อมูลล่าสุดมีผู้ที่ผ่านเกณฑ์ทั้งสิ้น 13,400,000 ราย ซึ่งจํานวนส่วนใหญ่คือจํานวน 11 ล้านราย จะมีการโอนให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 8 พฤษภาคม นี้ ส่วนที่เหลืออีก 2,400,000 ราย จะมีการโอนเงินให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์หน้า ดังนั้น ประชาชน 13,400,000 ราย ที่ได้ผ่านเกณฑ์แล้ว สามารถเข้าไปตรวจสอบที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ไปที่ปุ่มสีเทา ตรวจสอบสถานะ ซึ่งจะได้ทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันที โดยไม่จําเป็นต้องรอ SMS มายืนยัน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า ในช่วง 2- 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้เปิดช่องทางในการรับข้อร้องเรียน และผ่าน Call Center สรุป ข้อแรก คือ บัญชีที่ไม่ตรง โดยใน 13,400,000 ราย มีความพยายามโอนเงินเข้าบัญชีที่ลงทะเบียนไว้ แต่มีหลายคนที่บัญชีที่แจ้งไว้ไม่สามารถเข้าไปได้ ซึ่งจะได้รับแจ้งข้อความว่าเปลี่ยนข้อมูลช่องทางในการรับเงินแก้ไขบัญชีให้ถูกต้อง คนที่เข้ามาดําเนินการแก้ไขแล้ว และจะได้รับข้อความว่า อยู่ระหว่างการตรวจสอบวิธีการรับเงิน ถ้าท่านที่แก้ไขบัญชีแล้ว 1 ครั้งสําเร็จ บัญชีถูกต้อง เงินก็จะโอนเข้าในบัญชีของท่านที่แก้ไขในรอบต่อไปของการโอนเงิน กรณีการแก้ไขบัญชีครั้งที่ 1 ไม่สําเร็จแล้วมีการพยายามในการแก้ไขในครั้งที่ 2 3 4 แนะนําให้ไปสมัครพร้อมเพย์ที่ผูกบัตรกับประชาชน เพื่อให้การโอนเงินถูกต้องของตนเอง กรณีได้รับ sms ลงทะเบียนไม่สําเร็จเนื่องจากข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้องอาจจะอยู่ในกลุ่ม 1.7 ล้านราย ที่ลงทะเบียนไม่ผ่าน ซึ่งจะยังไม่เข้าสู่กระบวนการคัดกรอง ซึ่งกระทรวงการคลังได้รับทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว และจะพิจารณาดูแลมาตรการเยียวยาที่เหมาะสมรองรับกลับกลุ่มพี่น้องประชาชนกลุ่มนี้ต่อไป ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การลงทะเบียนปิดตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งจะพยายามคัดกรองผลออกมาให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด ซึ่งเชื่อว่า 13.4 ล้านราย เป็นตัวเลข ณ วันนี้ แต่ตัวเลขมีการเพิ่มขึ้นทุกวันซึ่งจะมาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ทําให้ข้อมูลเพิ่มเติมและคัดกรองแล้วผ่านเกณฑ์ สําหรับประชาชนประมาณ 5 แสนรายยังไม่ได้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติม โฆษกกระทรวงการคลังได้ชี้แจง กรณีผู้พิทักษ์ติดต่อมาหาผู้ที่ลงทะเบียนไว้ แต่ผู้ที่ลงทะเบียนไม่สามารถไปพบได้ตามสิทธิจะเสียสิทธิหรือไม่ โดยผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลังยืนยันว่า จะไม่มีการเสียสิทธิ หากไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้แจ้งไว้ มีเหตุจําเป็นเคลื่อนย้ายสถานที่ ข้อมูลจะถูกส่งกลับมาที่ส่วนกลางแล้วจะมีการมอบมอบหมายทีมผู้พิทักษ์สิทธิที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในปัจจุบันลงไปพบประชาชน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวในตอนท้ายว่า กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ว่า กระบวนการการคัดกรองทั้งหมดของมาตรการเราไม่ทิ้งกัน จะสิ้นสุดภายในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ เชื่อว่า อย่างน้อยร้อยละ 98 - 99 อาจตกหล่นอยู่บ้างเล็กน้อย แต่เชื่อว่าจะต้องสิ้นสุดภายในวันดังกล่าว .......................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30438
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ มุ่งหวังเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดเทอม
วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561 ภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ มุ่งหวังเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดเทอม ภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ มุ่งหวังเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดเทอม วันนี้ (13 มีนาคม 2561) เวลา 08.30 น. ณ บริเวณโถงกลางชั้น 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พร้อมด้วยนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มาพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์” (เปิด) หน้าต่างสู่การเรียนรู้ จัดโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม อาทิ กรมพลศึกษา กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นต้น สําหรับ “กิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์” ประกอบด้วย กิจกรรมตามหาฝัน แบ่งปันสังคม ค้นหาตัวตน สนุกฝึกฝนเปิดโลกเรียนรู้ พร้อมกันนี้ได้มีตัวแทนเด็กเยาวชนวงออเคสตร้าจากชุมชนคลองเตย ตัวอย่างค่ายดนตรีปิดเทอมสร้างสรรค์ของกลุ่มมิวสิคแชร์ลิ่งที่ทํางานร่วมกับเด็กเยาวชนในชุมชนมาเรียนรู้กิจกรรมดนตรีในช่วงปิดเทอม พร้อมด้วยตัวอย่างกิจกรรมกีฬา จากสมาคมกีฬาฟุตบอลอาวุโสไทย นอกจากนี้กิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ IT LAB กิจกรรมที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้และสนุกสนาน ไปกับการทดลองควบคุมหุ่นยนต์ด้วยตนเอง IT walk rally ตะลุยพิพิธภัณฑ์เพื่อค้นหาคําตอบที่ซ่อนอยู่ในนิทรรศการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ IT Workshop Activity เรียน รู้ เล่น อย่างเป็นระบบ กับกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะ ความรู้ ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ภายใต้คําแนะนําของวิทยากร ชมตัวอย่างสัตว์สตัฟฟ์ ด้วยเทคนิคระดับสากลเพื่อการจัดแสดง ให้มีอิริยาบถการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ คล้ายมีชีวิต (Modern Technique on Taxidermy for Displaying) พร้อมเปิดตัวนิทรรศการชุดใหม่ล่าสุด Spy : Code Breaker เรียนรู้บทบาท หน้าที่ และความสําคัญของสายลับ ที่มีส่วนเกี่ยวพันกับเหตุการณ์สําคัญในประวัติศาสตร์โลกสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาการรหัส (Cryptography) ที่ครอบคลุมทั้งการสร้างชุดรหัสลับเพื่อเก็บรักษาและถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นความลับ และการถอดรหัสเพื่อให้ได้มาซึ่งความลับของฝ่ายศัตรู รวมทั้งพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรหัสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รองรับเยาวชนที่จะเข้ามาใช้บริการในช่วงปิดเทอม ทั้ง 3 พิพิธภัณฑ์ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ตั้งอยู่ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และแหล่งเรียนรู้ใจกลางเมือง จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ซึ่งตั้งอยู่ ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน กรุงเทพฯ ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ เพื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดวาระเด็กเยาวชนในช่วงปิดเทอม ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนจะพัฒนากิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่และกิจกรรมดี ๆ แก่เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองได้เข้าถึง สําหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ 0 2577 9999 ต่อ 2122, 2123 เว็บไซต์ www.nsm.or.th เฟซบุ๊ก www.facebook.com/NSMthailand ​ ................................................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ มุ่งหวังเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดเทอม วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561 ภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ มุ่งหวังเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดเทอม ภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ มุ่งหวังเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดเทอม วันนี้ (13 มีนาคม 2561) เวลา 08.30 น. ณ บริเวณโถงกลางชั้น 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พร้อมด้วยนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มาพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์” (เปิด) หน้าต่างสู่การเรียนรู้ จัดโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม อาทิ กรมพลศึกษา กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นต้น สําหรับ “กิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์” ประกอบด้วย กิจกรรมตามหาฝัน แบ่งปันสังคม ค้นหาตัวตน สนุกฝึกฝนเปิดโลกเรียนรู้ พร้อมกันนี้ได้มีตัวแทนเด็กเยาวชนวงออเคสตร้าจากชุมชนคลองเตย ตัวอย่างค่ายดนตรีปิดเทอมสร้างสรรค์ของกลุ่มมิวสิคแชร์ลิ่งที่ทํางานร่วมกับเด็กเยาวชนในชุมชนมาเรียนรู้กิจกรรมดนตรีในช่วงปิดเทอม พร้อมด้วยตัวอย่างกิจกรรมกีฬา จากสมาคมกีฬาฟุตบอลอาวุโสไทย นอกจากนี้กิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ IT LAB กิจกรรมที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้และสนุกสนาน ไปกับการทดลองควบคุมหุ่นยนต์ด้วยตนเอง IT walk rally ตะลุยพิพิธภัณฑ์เพื่อค้นหาคําตอบที่ซ่อนอยู่ในนิทรรศการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ IT Workshop Activity เรียน รู้ เล่น อย่างเป็นระบบ กับกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะ ความรู้ ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ภายใต้คําแนะนําของวิทยากร ชมตัวอย่างสัตว์สตัฟฟ์ ด้วยเทคนิคระดับสากลเพื่อการจัดแสดง ให้มีอิริยาบถการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ คล้ายมีชีวิต (Modern Technique on Taxidermy for Displaying) พร้อมเปิดตัวนิทรรศการชุดใหม่ล่าสุด Spy : Code Breaker เรียนรู้บทบาท หน้าที่ และความสําคัญของสายลับ ที่มีส่วนเกี่ยวพันกับเหตุการณ์สําคัญในประวัติศาสตร์โลกสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาการรหัส (Cryptography) ที่ครอบคลุมทั้งการสร้างชุดรหัสลับเพื่อเก็บรักษาและถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นความลับ และการถอดรหัสเพื่อให้ได้มาซึ่งความลับของฝ่ายศัตรู รวมทั้งพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรหัสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รองรับเยาวชนที่จะเข้ามาใช้บริการในช่วงปิดเทอม ทั้ง 3 พิพิธภัณฑ์ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ตั้งอยู่ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และแหล่งเรียนรู้ใจกลางเมือง จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ซึ่งตั้งอยู่ ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน กรุงเทพฯ ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ เพื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดวาระเด็กเยาวชนในช่วงปิดเทอม ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนจะพัฒนากิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่และกิจกรรมดี ๆ แก่เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองได้เข้าถึง สําหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ 0 2577 9999 ต่อ 2122, 2123 เว็บไซต์ www.nsm.or.th เฟซบุ๊ก www.facebook.com/NSMthailand ​ ................................................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10720
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“เชิญชวนแพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการบำนาญจากรัฐ วางแผนเกษียณกับ กอช.”
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563 “เชิญชวนแพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการบํานาญจากรัฐ วางแผนเกษียณกับ กอช.” กอช. เชิญชวนผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการบํานาญจากรัฐ วางแผนออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ด้วยการออมเงินกับ กอช. สมาชิกที่ออมเงินเต็มจํานวน 13,200 บาท กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เชิญชวนผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการบํานาญจากรัฐ วางแผนออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ด้วยการออมเงินกับ กอช. สมาชิกที่ออมเงินเต็มจํานวน 13,200 บาท ทั้งนี้เงินออมสะสมของสมาชิกสามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้เต็มจํานวน และได้รับกระเป๋าเดินทางพับได้จัดส่งให้ที่บ้าน สําหรับผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบสิทธิก่อนการสมัครได้ที่ แอปพลิเคชัน “กอช.” นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เปิดเผยว่า กอช. เชิญชวนผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ จากรัฐ วางแผนการออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ 60 ปี โดยตรวจสอบสิทธิและคุณสมบัติก่อนการสมัครสมาชิกได้ที่แอปพลิเคชัน “กอช.” ทั้งนี้สําหรับผู้ที่มีสิทธิสมัคร เพียงกรอกข้อมูลการสมัครได้ที่แอปพลิเคชัน “กอช.” หรือ หน่วยรับสมัครสมาชิกใกล้บ้านท่าน อาทิ ที่ว่าการอําเภอทั่วประเทศ ธนาคารของรัฐทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคาร ธ.ก.ส. ธอส. ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา เคาน์เตอร์เซอร์วิส เทสโก้โลตัส บิ๊กซี ตู้บุญเติม รวมทั้งสํานักงานคลังจังหวัด สถาบันการเงินชุมชน และเครือข่ายรับสมัครทั่วประเทศ สําหรับการออมเงินกับ กอช. เริ่มต้นออมเงินขั้นต่ําเพียง 50 บาท สูงสุด 13,200 บาทต่อปี และรัฐจะเติมเงินสมทบเพิ่มให้ตามช่วงอายุของสมาชิก (การรับเงินสมทบเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ. กอช.) และเงินออมสะสมสมาชิกสามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้เต็มจํานวนเงินออม ทั้งนี้สมาชิกที่ออมเงินเต็มจํานวน 13,200 บาท จะได้รับกระเป๋าเดินทางพับได้จัดส่งให้ที่บ้าน กอช. เป็นการออมภาคสมัครใจ ไม่บังคับออมติดต่อกันทุกเดือน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนเงินออม โทร. 02-049-9000 “คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บํานาญ”
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“เชิญชวนแพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการบำนาญจากรัฐ วางแผนเกษียณกับ กอช.” วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563 “เชิญชวนแพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการบํานาญจากรัฐ วางแผนเกษียณกับ กอช.” กอช. เชิญชวนผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการบํานาญจากรัฐ วางแผนออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ด้วยการออมเงินกับ กอช. สมาชิกที่ออมเงินเต็มจํานวน 13,200 บาท กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เชิญชวนผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการบํานาญจากรัฐ วางแผนออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ด้วยการออมเงินกับ กอช. สมาชิกที่ออมเงินเต็มจํานวน 13,200 บาท ทั้งนี้เงินออมสะสมของสมาชิกสามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้เต็มจํานวน และได้รับกระเป๋าเดินทางพับได้จัดส่งให้ที่บ้าน สําหรับผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบสิทธิก่อนการสมัครได้ที่ แอปพลิเคชัน “กอช.” นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เปิดเผยว่า กอช. เชิญชวนผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ ทนายความ เจ้าของกิจการ ที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ จากรัฐ วางแผนการออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ 60 ปี โดยตรวจสอบสิทธิและคุณสมบัติก่อนการสมัครสมาชิกได้ที่แอปพลิเคชัน “กอช.” ทั้งนี้สําหรับผู้ที่มีสิทธิสมัคร เพียงกรอกข้อมูลการสมัครได้ที่แอปพลิเคชัน “กอช.” หรือ หน่วยรับสมัครสมาชิกใกล้บ้านท่าน อาทิ ที่ว่าการอําเภอทั่วประเทศ ธนาคารของรัฐทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคาร ธ.ก.ส. ธอส. ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา เคาน์เตอร์เซอร์วิส เทสโก้โลตัส บิ๊กซี ตู้บุญเติม รวมทั้งสํานักงานคลังจังหวัด สถาบันการเงินชุมชน และเครือข่ายรับสมัครทั่วประเทศ สําหรับการออมเงินกับ กอช. เริ่มต้นออมเงินขั้นต่ําเพียง 50 บาท สูงสุด 13,200 บาทต่อปี และรัฐจะเติมเงินสมทบเพิ่มให้ตามช่วงอายุของสมาชิก (การรับเงินสมทบเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ. กอช.) และเงินออมสะสมสมาชิกสามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้เต็มจํานวนเงินออม ทั้งนี้สมาชิกที่ออมเงินเต็มจํานวน 13,200 บาท จะได้รับกระเป๋าเดินทางพับได้จัดส่งให้ที่บ้าน กอช. เป็นการออมภาคสมัครใจ ไม่บังคับออมติดต่อกันทุกเดือน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนเงินออม โทร. 02-049-9000 “คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บํานาญ”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32593
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ขยายสิทธิบัตรทอง ครอบคลุมโควิด-19
วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 ขยายสิทธิบัตรทอง ครอบคลุมโควิด-19 วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเห็นชอบให้การตรวจรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Covid-19 อยู่ในรายการประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งครอบคลุมการดูแลทั้งการป้องกันโรค สร้างเสริมสุขภาพ ตรวจวินิจฉัยโรค รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ทําให้เกิดความชัดเจนในการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แม้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในประเทศไทยยังสามารถควบคุมได้และมีจํานวนผู้ติดเชื้อไม่มากนัก แต่จําเป็นต้องเตรียมความพร้อมไว้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนโดยการสนับสนุนการบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเน้นย้ําว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นอันดับแรก ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ขยายสิทธิบัตรทอง ครอบคลุมโควิด-19 วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 ขยายสิทธิบัตรทอง ครอบคลุมโควิด-19 วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเห็นชอบให้การตรวจรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Covid-19 อยู่ในรายการประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งครอบคลุมการดูแลทั้งการป้องกันโรค สร้างเสริมสุขภาพ ตรวจวินิจฉัยโรค รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ทําให้เกิดความชัดเจนในการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แม้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในประเทศไทยยังสามารถควบคุมได้และมีจํานวนผู้ติดเชื้อไม่มากนัก แต่จําเป็นต้องเตรียมความพร้อมไว้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนโดยการสนับสนุนการบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเน้นย้ําว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นอันดับแรก ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27126
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกันยายน ปี 2561 และไตรมาสที่ 3 ปี 2561
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2561 รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจําเดือนกันยายน ปี 2561 และไตรมาสที่ 3 ปี 2561 เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ของปี 2561 มีการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณบวกจากปริมาณการจําหน่ายรถยนต์นั่งและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี “เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ของปี 2561 มีการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณบวกจากปริมาณการจําหน่ายรถยนต์นั่งและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศที่สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับด้านอุปทานที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและจํานวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน ส่วนเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง สามารถรองรับความผันผวนจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ปัจจัยภายนอกจากต่างประเทศที่ต้องติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ผลกระทบจากสงครามการค้าและจํานวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน” นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วย นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง และนายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจําเดือนกันยายนปี 2561 ว่า “เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ของปี 2561 มีการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณบวกจากปริมาณการจําหน่ายรถยนต์นั่งและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศที่สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับด้านอุปทานที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและจํานวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน ส่วนเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง สามารถรองรับความผันผวนจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ปัจจัยภายนอกจากต่างประเทศที่ต้องติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ผลกระทบจากสงครามการค้าและจํานวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน” โดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากปริมาณการจําหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกันยายน 2561 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 ต่อปี เป็นการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 21 นับตั้งแต่มกราคม 2560 ทําให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ปริมาณจําหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 21.2 ต่อปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 69.2 ปรับตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากราคาพืชผลเกษตรในบางรายการยังอยู่ในระดับต่ํา อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าจากระดับ 67.5 มาอยู่ที่ระดับ 69.6 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนในเดือนกันยายน 2561 ขยายตัวจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจําหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 13.5 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนหน้า แต่ยังเป็นการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 เนื่องจากยอดจําหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 23.7 ต่อปี ทําให้ในไตรมาส 3 ของปี 2561 ปริมาณจําหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวได้ร้อยละ 22.8 สําหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจําหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี ทําให้ในไตรมาส 3 ปี 2561 ปริมาณการจําหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 8.8 เช่นกัน สําหรับดัชนีวัสดุก่อสร้างในเดือนกันยายน 2561 เท่ากับ 108.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ทําให้ในไตรมาส 3 ปี 2561 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 ขณะที่ภาษีการทําธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ เดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 9.7 และในไตรมาส 3 ภาษีการทําธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนกันยายน 2561 พบว่า ดัชนีผลผลิตด้านเกษตรกรรมยังขยายตัวต่อเนื่องแม้จะไม่มากนัก โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนกันยายนขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี เป็นการขยายตัวได้ดีในผลผลิตไข่ไก่ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ทําให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 91.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ํามันที่เพิ่มสูงขึ้น และสถานการณ์ค่าเงินบาท ส่งผลให้ดัชนี TISI ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อยู่ที่ระดับ 92.4 นอกจากนี้ จํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกันยายน 2561 มีจํานวน 2.66 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี โดยจํานวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 40.1 ต่อปี นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดในรอบ 37 เดือน ในขณะที่ นักท่องเที่ยวประเทศอื่น ยังคงขยายตัวได้ดี เช่น นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง ลาว และไต้หวัน เป็นต้น ทําให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยมีจํานวน 9.06 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 มูลค่า 474.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยมีสาเหตุสําคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ํามันส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 และ 0.7 ต่อปีตามลําดับ สําหรับอัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจํานวนผู้ว่างงาน 3.7 แสนคน ทําให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.32 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สําหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสํารองระหว่างประเทศ ณ เดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 204.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกันยายน ปี 2561 และไตรมาสที่ 3 ปี 2561 วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2561 รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจําเดือนกันยายน ปี 2561 และไตรมาสที่ 3 ปี 2561 เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ของปี 2561 มีการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณบวกจากปริมาณการจําหน่ายรถยนต์นั่งและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี “เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ของปี 2561 มีการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณบวกจากปริมาณการจําหน่ายรถยนต์นั่งและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศที่สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับด้านอุปทานที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและจํานวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน ส่วนเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง สามารถรองรับความผันผวนจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ปัจจัยภายนอกจากต่างประเทศที่ต้องติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ผลกระทบจากสงครามการค้าและจํานวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน” นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วย นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง และนายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจําเดือนกันยายนปี 2561 ว่า “เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ของปี 2561 มีการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณบวกจากปริมาณการจําหน่ายรถยนต์นั่งและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศที่สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับด้านอุปทานที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและจํานวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน ส่วนเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง สามารถรองรับความผันผวนจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ปัจจัยภายนอกจากต่างประเทศที่ต้องติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ผลกระทบจากสงครามการค้าและจํานวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน” โดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากปริมาณการจําหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกันยายน 2561 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 ต่อปี เป็นการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 21 นับตั้งแต่มกราคม 2560 ทําให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ปริมาณจําหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 21.2 ต่อปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 69.2 ปรับตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากราคาพืชผลเกษตรในบางรายการยังอยู่ในระดับต่ํา อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าจากระดับ 67.5 มาอยู่ที่ระดับ 69.6 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนในเดือนกันยายน 2561 ขยายตัวจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจําหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 13.5 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนหน้า แต่ยังเป็นการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 เนื่องจากยอดจําหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 23.7 ต่อปี ทําให้ในไตรมาส 3 ของปี 2561 ปริมาณจําหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวได้ร้อยละ 22.8 สําหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจําหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี ทําให้ในไตรมาส 3 ปี 2561 ปริมาณการจําหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 8.8 เช่นกัน สําหรับดัชนีวัสดุก่อสร้างในเดือนกันยายน 2561 เท่ากับ 108.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ทําให้ในไตรมาส 3 ปี 2561 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 ขณะที่ภาษีการทําธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ เดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 9.7 และในไตรมาส 3 ภาษีการทําธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนกันยายน 2561 พบว่า ดัชนีผลผลิตด้านเกษตรกรรมยังขยายตัวต่อเนื่องแม้จะไม่มากนัก โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนกันยายนขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี เป็นการขยายตัวได้ดีในผลผลิตไข่ไก่ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ทําให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 91.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ํามันที่เพิ่มสูงขึ้น และสถานการณ์ค่าเงินบาท ส่งผลให้ดัชนี TISI ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อยู่ที่ระดับ 92.4 นอกจากนี้ จํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกันยายน 2561 มีจํานวน 2.66 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี โดยจํานวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 40.1 ต่อปี นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดในรอบ 37 เดือน ในขณะที่ นักท่องเที่ยวประเทศอื่น ยังคงขยายตัวได้ดี เช่น นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง ลาว และไต้หวัน เป็นต้น ทําให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยมีจํานวน 9.06 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 มูลค่า 474.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยมีสาเหตุสําคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ํามันส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 และ 0.7 ต่อปีตามลําดับ สําหรับอัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจํานวนผู้ว่างงาน 3.7 แสนคน ทําให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.32 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สําหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสํารองระหว่างประเทศ ณ เดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 204.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16400
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลปรับระบบการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2560 รัฐบาลปรับระบบการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เพื่อให้การดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและมาตรฐานสากล ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เพื่อให้การดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและมาตรฐานสากล เช่น กําหนดให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกําหนดแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน เพิ่มอํานาจให้เจ้าหน้าที่สามารถรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าอย่างผิดกฎหมาย ส่วนผู้ที่สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ป่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับมาดังเดิม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและขึ้นทะเบียนไว้กับกรมอุทยานฯ ได้อาศัยและทํากินเป็นการชั่วคราว เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลปรับระบบการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2560 รัฐบาลปรับระบบการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เพื่อให้การดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและมาตรฐานสากล ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เพื่อให้การดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและมาตรฐานสากล เช่น กําหนดให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกําหนดแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน เพิ่มอํานาจให้เจ้าหน้าที่สามารถรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าอย่างผิดกฎหมาย ส่วนผู้ที่สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ป่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับมาดังเดิม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและขึ้นทะเบียนไว้กับกรมอุทยานฯ ได้อาศัยและทํากินเป็นการชั่วคราว เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2496
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เปิดงาน“วัฒนธรรมสัญจร”สู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ที่จ.ลำปาง ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชน – ภาคประชาชน สร้างค่านิยมรักชาติ-ท้องถิ่น ปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2561 รมว.วธ.เปิดงาน“วัฒนธรรมสัญจร”สู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ที่จ.ลําปาง ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชน – ภาคประชาชน สร้างค่านิยมรักชาติ-ท้องถิ่น ปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน รมว.วธ.เปิดงาน“วัฒนธรรมสัญจร”สู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ที่จ.ลําปาง ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชน – ภาคประชาชน สร้างค่านิยมรักชาติ-ท้องถิ่น ปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน รมว.วธ.เปิดงาน“วัฒนธรรมสัญจร”สู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ที่จ.ลําปาง ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชน – ภาคประชาชน สร้างค่านิยมรักชาติ-ท้องถิ่น ปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน วันที่ 10 กันยายน 2561 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานวัฒนธรรมสัญจรสู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ภายใต้ชื่องาน “วัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ สร้างโอกาสให้เด็กจังหวัดลําปาง” ระหว่างวันที่ 10 -13 กันยายน 2561 พร้อมมอบหนังสือเข้าห้องสมุดโรงเรียน 50 แห่ง และมอบถังน้ํา 2,000 ลิตร ให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนถังเก็บน้ําไว้บริโภค 50 โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดลําปาง โดยมีนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลําปาง นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ประธานมูลนิธิเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน เข้าร่วม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)ได้ขับเคลื่อนนโยบาย“วิถีถิ่น วิถีไทย” ของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมและสร้างจิตสํานึกความเป็นไทย รวมทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์ในการใช้วัฒนธรรมสร้างคนดีและสังคมดี โดยมุ่งเสริมสร้างค่านิยม อัตลักษณ์ไทยและความเป็นไทย เทิดทูนชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ รักท้องถิ่นและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ดังนั้น วธ.ได้ร่วมกับมูลนิธิเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาคุณภาพชีวิต กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานรัฐ เอกชนและภาคประชาชนในจังหวัดลําปาง จัดโครงการวัฒนธรรมสัญจรสู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ภายใต้ชื่องาน “วัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ สร้างโอกาสให้เด็กจังหวัดลําปาง” ระหว่างวันที่ 10 -13 กันยายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า กิจกรรมภายในงานครั้งนี้มีทั้งนิทรรศการและกิจกรรมที่ให้ความรู้ด้านวัฒนธรรม ศาสนาและวิทยาศาสตร์ โดยกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและศาสนา ได้แก่ นิทรรศการประวัติศาสตร์และประเพณีท้องถิ่น นิทรรศการเพลินพยนต์ ชุมชนคุณธรรมน้อมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย ตลาดนัดภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลาดนัดศิลปะ(Art Maket) การสาธิตช่างสิบหมู่ กิจกรรมหมอภาษา กิจกรรมมารยาทไทย การสาธิตของเล่นเด็กไทย กิจกรรมเกมสีขาว รถพิพิธภัณฑ์สัญจรเคลื่อนที่ (Mobile Museum) การจัดฉายภาพยนตร์ 3 มิติ กิจกรรมธรรมะอารมณ์ดี การแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ มุมสงบพบพระ ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะและเกมคุณธรรม รวมทั้งมีการแนะแนวการศึกษาด้านนาฏศิลป์และดนตรี การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม เช่น การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีพื้นบ้าน การแสดงหุ่นละครเล็ก(โจหลุยส์)และหุ่นไทย การสาธิตเจิงดาบ ศาสตราแห่งล้านนา เป็นต้น นอกจากนี้ มีกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อาทิ นิทรรศการวิทยาศาสตร์แบบสัมผัส วิทยาศาสตร์หรรษา ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ นิทรรศการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมสาธิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน นวัตกรรมไฟฟ้า กิจกรรมสาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางสูง นิเทศการขับขี่ปลอดภัย การระงับอัคคีภัยในครัวเรือน เป็นต้น ซึ่งเด็ก เยาวชนและประชาชนสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ วธ.ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนจัดงานนี้มาตั้งแต่ปี 2551 และได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง 17 ครั้งใน 13 จังหวัด ซึ่งผลการจัดงานช่วงที่ผ่านมาประสบความสําเร็จเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานทั้งหมดประมาณ 5 แสนคน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เปิดงาน“วัฒนธรรมสัญจร”สู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ที่จ.ลำปาง ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชน – ภาคประชาชน สร้างค่านิยมรักชาติ-ท้องถิ่น ปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2561 รมว.วธ.เปิดงาน“วัฒนธรรมสัญจร”สู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ที่จ.ลําปาง ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชน – ภาคประชาชน สร้างค่านิยมรักชาติ-ท้องถิ่น ปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน รมว.วธ.เปิดงาน“วัฒนธรรมสัญจร”สู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ที่จ.ลําปาง ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชน – ภาคประชาชน สร้างค่านิยมรักชาติ-ท้องถิ่น ปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน รมว.วธ.เปิดงาน“วัฒนธรรมสัญจร”สู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ที่จ.ลําปาง ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชน – ภาคประชาชน สร้างค่านิยมรักชาติ-ท้องถิ่น ปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน วันที่ 10 กันยายน 2561 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานวัฒนธรรมสัญจรสู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ภายใต้ชื่องาน “วัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ สร้างโอกาสให้เด็กจังหวัดลําปาง” ระหว่างวันที่ 10 -13 กันยายน 2561 พร้อมมอบหนังสือเข้าห้องสมุดโรงเรียน 50 แห่ง และมอบถังน้ํา 2,000 ลิตร ให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนถังเก็บน้ําไว้บริโภค 50 โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดลําปาง โดยมีนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลําปาง นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ประธานมูลนิธิเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน เข้าร่วม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)ได้ขับเคลื่อนนโยบาย“วิถีถิ่น วิถีไทย” ของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมและสร้างจิตสํานึกความเป็นไทย รวมทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์ในการใช้วัฒนธรรมสร้างคนดีและสังคมดี โดยมุ่งเสริมสร้างค่านิยม อัตลักษณ์ไทยและความเป็นไทย เทิดทูนชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ รักท้องถิ่นและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ดังนั้น วธ.ได้ร่วมกับมูลนิธิเผยแผ่ศาสนาและพัฒนาคุณภาพชีวิต กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานรัฐ เอกชนและภาคประชาชนในจังหวัดลําปาง จัดโครงการวัฒนธรรมสัญจรสู่สถานศึกษา ครั้งที่ 18 ภายใต้ชื่องาน “วัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ สร้างโอกาสให้เด็กจังหวัดลําปาง” ระหว่างวันที่ 10 -13 กันยายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า กิจกรรมภายในงานครั้งนี้มีทั้งนิทรรศการและกิจกรรมที่ให้ความรู้ด้านวัฒนธรรม ศาสนาและวิทยาศาสตร์ โดยกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและศาสนา ได้แก่ นิทรรศการประวัติศาสตร์และประเพณีท้องถิ่น นิทรรศการเพลินพยนต์ ชุมชนคุณธรรมน้อมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย ตลาดนัดภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลาดนัดศิลปะ(Art Maket) การสาธิตช่างสิบหมู่ กิจกรรมหมอภาษา กิจกรรมมารยาทไทย การสาธิตของเล่นเด็กไทย กิจกรรมเกมสีขาว รถพิพิธภัณฑ์สัญจรเคลื่อนที่ (Mobile Museum) การจัดฉายภาพยนตร์ 3 มิติ กิจกรรมธรรมะอารมณ์ดี การแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ มุมสงบพบพระ ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะและเกมคุณธรรม รวมทั้งมีการแนะแนวการศึกษาด้านนาฏศิลป์และดนตรี การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม เช่น การแสดงนาฏศิลป์และดนตรีพื้นบ้าน การแสดงหุ่นละครเล็ก(โจหลุยส์)และหุ่นไทย การสาธิตเจิงดาบ ศาสตราแห่งล้านนา เป็นต้น นอกจากนี้ มีกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อาทิ นิทรรศการวิทยาศาสตร์แบบสัมผัส วิทยาศาสตร์หรรษา ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ นิทรรศการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมสาธิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน นวัตกรรมไฟฟ้า กิจกรรมสาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางสูง นิเทศการขับขี่ปลอดภัย การระงับอัคคีภัยในครัวเรือน เป็นต้น ซึ่งเด็ก เยาวชนและประชาชนสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ วธ.ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนจัดงานนี้มาตั้งแต่ปี 2551 และได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง 17 ครั้งใน 13 จังหวัด ซึ่งผลการจัดงานช่วงที่ผ่านมาประสบความสําเร็จเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานทั้งหมดประมาณ 5 แสนคน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15345
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME Development Bank ติดปีกอาวุธ SMEs ไทย บุกตลาด CLMV จัดสัมมนาเจาะลึก “เปิดขุมทรัพย์จับตลาด กัมพูชา-เวียดนาม” ครั้งที่ 2
วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2560 SME Development Bank ติดปีกอาวุธ SMEs ไทย บุกตลาด CLMV จัดสัมมนาเจาะลึก “เปิดขุมทรัพย์จับตลาด กัมพูชา-เวียดนาม” ครั้งที่ 2 SME Development Bank จัดสัมมนาเจาะลึก “เปิดขุมทรัพย์จับตลาด กัมพูชา-เวียดนาม” ครั้งที่ 2 ในวันนี้ (22 มิ.ย. 2560) นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) กล่าวถึงการขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งส่งเสริมองค์ความรู้ควบคู่แหล่งเงินทุน เดินหน้าจัดกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ให้ก้าวไกลสู่ประเทศกลุ่ม CLMV ซึ่งยอมรับว่าขณะนี้กลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก โดยจัดงานสัมมนาใหญ่เป็นครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “เปิดขุมทรัพย์จับตลาด กัมพูชา – เวียดนาม” เพื่อเปิดเผยเคล็ดไม่ลับกลยุทธ์การเข้าถึงฐานตลาดผู้บริโภคประเทศกัมพูชา-เวียดนาม จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรง ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบจากคู่แข่งขัน ลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสําเร็จได้ และเชื่อว่าหากมีการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV จริง จะสามารถกระตุ้นกําลังซื้อและดึงดูดเม็ดเงินเข้าประเทศได้อย่างแน่นอน เนื่องจากล้วนแต่เป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกับ สมาคมมิตรภาพไทย – กัมพูชา และได้รับเกียติจาก ท่านนายกสมาคมพล.อ.วิชิต ยาทิพย์ มาร่วมงานด้วย “การพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs นับเป็นภารกิจของธนาคารที่ต้องเร่งดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเติมเต็มองค์ความรู้จากประสบการณ์จริง จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดการตื่นตัวพัฒนาตัวเอง จนมีศักยภาพสามารถเชื่อมโยงให้เกิดการค้าขายไปยังประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มประเทศ CLMV ที่ขณะนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก และเป็นความโชคดีที่สินค้าหลักๆ ของประเทศไทยยังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคของประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น การแต่งตัวสินค้าอย่างไรให้ได้มาตรฐานโดนใจคนซื้อมากขึ้น การพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องสําคัญที่จะละเลยไม่ได้ หากธุรกิจต้องการสายป่านที่ยืนยาวและมั่นคง ธนาคารพร้อมเป็นไม้ค้ํายันที่จะสนับสนุนทั้งด้านองค์ความรู้ควบคู่แหล่งเงินทุน โดยมุ่งหวังผลักดันสร้างโอกาสทางธุรกิจกระจายสู่ผู้ประกอบการทุกพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชนให้เกิดการต่อยอด สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ซึ่งภายในงาน ธนาคารได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญรู้ลึกตลาดประเทศกัมพูชา-เวียดนาม นําโดย คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จํากัด(มหาชน) มาบรรยายประสบการณ์จริง ที่ประสบผลสําเร็จมาแล้ว การค้าการขายอย่างไรให้โดนใจผู้บริโภค กลยุทธ์เด็ดชิงส่วนแบ่งจากเจ้าตลาดเดิม คุณราเกส ซิงห์ เลขาธิการสภาธุรกิจไทย – เวียดนาม และคุณวรทัศน์ ตันติมงคลสุข เลขาธิการสภาธุรกิจไทย – กัมพูชา ภายใต้คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กกร.) มาร่วมเสวนาให้ความรู้ขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างความได้เปรียบ สําหรับธุรกิจที่ต้องการขยับขยายการลงทุนสู่ประเทศกัมพูชา-เวียดนาม และผู้ประกอบการที่มาร่วมงานสามารถนําสินค้ามาแสดงโชว์และจับคู่ธุรกิจกันได้อีกด้วย นอกจากนี้ ธนาคารได้เปิดบูธให้บริการรับคําปรึกษาแนะนําด้านแหล่งเงินทุน กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงินกองทุน 20,000 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล อัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา ระยะเวลาชําระคืน 7 ปี ไม่ต้องผ่อนชําระหนี้ใน 3 ปีแรก ไม่ต้องมีหลักประกัน ให้กู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย และ 75% ขึ้นไปจะเป็นวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย โดยธุรกิจต้องอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัด เช่น ภาคการเกษตร, แปรรูปอาหาร, แหล่งท่องเที่ยว, กลุ่ม START UP และกลุ่มเทคโนโลยี นวัตกรรม เป็นต้น โดยแต่ละจังหวัดจะกําหนดธุรกิจกลุ่มยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน สินเชื่อ SMEs Transformation Loan วงเงิน 15,000 ล้านบาท กู้ได้รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 7 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน อัตราดอกเบี้ยต่ํา 3% คงที่ 3 ปีแรก ปีที่ 4-7 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี นอกจากนี้ กรณีกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท สามารถใช้ บสย. ค้ําประกันได้โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล ที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ทําให้กิจการมีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อความเข้มแข็ง, เป็นผู้ประกอบการใหม่ (NEW/START UP) หรือที่มีนวัตกรรม, มีศักยภาพ หรือมีแนวโน้มเติบโตเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 และ SMEs 4.0 เช่น SMEs กลุ่มธุรกิจ S-Curve หรือ SMEs ที่ส่งออกหรือขยายธุรกิจในต่างประเทศ เป็นต้น โครงการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงินกองทุน 2,000 ล้านบาท จากสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในรูปแบบการให้เงินทุนหมุนเวียนหรือปรับปรุงกิจการรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ต้องผ่อนชําระหนี้คืนสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ไม่มีดอกเบี้ย ไม่ต้องใช้หลักประกัน โดยผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการฟื้นฟู ได้แก่ ธุรกิจเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่ยังคงดําเนินกิจการหรือพร้อมจะฟื้นฟูกิจการได้ ธุรกิจที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว หรือยังไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่ชําระหนี้ไม่สม่ําเสมอเนื่องจากเงินหมุนเวียนธุรกิจขาดสภาพคล่อง เป็นต้น ส่วนอีกหนึ่งโครงการดีๆ คือ โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงินกองทุน 1,000 ล้านบาท เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคล ที่ประสบปัญหาการชําระหนี้ หรือขาดเงินทุนหมุนเวียน สามารถยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้ รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชําระหนี้คืน 5-7 ปี ไม่มีดอกเบี้ย ไม่ต้องใช้หลักประกัน โดยผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่มีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท คณะบุคคลที่มีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท และนิติบุคคลที่มีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท ซึ่งกิจการจะต้องมีแผนฟื้นฟูเพื่อให้ธุรกิจดําเนินต่อไปได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้เจ้าหนี้ ลดปัญหาการล้มละลาย การเลิกจ้างงาน และช่วยผยุงภาพรวมเศรษฐกิจ SMEs ไว้ *ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ท่านสามารถแสดงความประสงค์ ยื่นคําขอกู้ได้ที่ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs (SME Support & Rescue Center) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ธพว. *สินเชื่อ SMEs Transformation Loan หรือสินเชื่ออื่นๆ ของธนาคาร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357 หรือ ธพว.ทุกสาขาทั่วประเทศ และติดตามกิจกรรมดีๆ ผ่านช่องทาง facebook.com/SMEDevelopmentBank *โครงการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและโครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2278-8800 ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม โทร. 085-9807861, 02-265-4571-3
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME Development Bank ติดปีกอาวุธ SMEs ไทย บุกตลาด CLMV จัดสัมมนาเจาะลึก “เปิดขุมทรัพย์จับตลาด กัมพูชา-เวียดนาม” ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2560 SME Development Bank ติดปีกอาวุธ SMEs ไทย บุกตลาด CLMV จัดสัมมนาเจาะลึก “เปิดขุมทรัพย์จับตลาด กัมพูชา-เวียดนาม” ครั้งที่ 2 SME Development Bank จัดสัมมนาเจาะลึก “เปิดขุมทรัพย์จับตลาด กัมพูชา-เวียดนาม” ครั้งที่ 2 ในวันนี้ (22 มิ.ย. 2560) นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) กล่าวถึงการขานรับนโยบายรัฐบาลเร่งส่งเสริมองค์ความรู้ควบคู่แหล่งเงินทุน เดินหน้าจัดกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ให้ก้าวไกลสู่ประเทศกลุ่ม CLMV ซึ่งยอมรับว่าขณะนี้กลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก โดยจัดงานสัมมนาใหญ่เป็นครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “เปิดขุมทรัพย์จับตลาด กัมพูชา – เวียดนาม” เพื่อเปิดเผยเคล็ดไม่ลับกลยุทธ์การเข้าถึงฐานตลาดผู้บริโภคประเทศกัมพูชา-เวียดนาม จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรง ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบจากคู่แข่งขัน ลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสําเร็จได้ และเชื่อว่าหากมีการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV จริง จะสามารถกระตุ้นกําลังซื้อและดึงดูดเม็ดเงินเข้าประเทศได้อย่างแน่นอน เนื่องจากล้วนแต่เป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกับ สมาคมมิตรภาพไทย – กัมพูชา และได้รับเกียติจาก ท่านนายกสมาคมพล.อ.วิชิต ยาทิพย์ มาร่วมงานด้วย “การพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs นับเป็นภารกิจของธนาคารที่ต้องเร่งดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเติมเต็มองค์ความรู้จากประสบการณ์จริง จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดการตื่นตัวพัฒนาตัวเอง จนมีศักยภาพสามารถเชื่อมโยงให้เกิดการค้าขายไปยังประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มประเทศ CLMV ที่ขณะนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก และเป็นความโชคดีที่สินค้าหลักๆ ของประเทศไทยยังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคของประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น การแต่งตัวสินค้าอย่างไรให้ได้มาตรฐานโดนใจคนซื้อมากขึ้น การพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องสําคัญที่จะละเลยไม่ได้ หากธุรกิจต้องการสายป่านที่ยืนยาวและมั่นคง ธนาคารพร้อมเป็นไม้ค้ํายันที่จะสนับสนุนทั้งด้านองค์ความรู้ควบคู่แหล่งเงินทุน โดยมุ่งหวังผลักดันสร้างโอกาสทางธุรกิจกระจายสู่ผู้ประกอบการทุกพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชนให้เกิดการต่อยอด สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ซึ่งภายในงาน ธนาคารได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญรู้ลึกตลาดประเทศกัมพูชา-เวียดนาม นําโดย คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จํากัด(มหาชน) มาบรรยายประสบการณ์จริง ที่ประสบผลสําเร็จมาแล้ว การค้าการขายอย่างไรให้โดนใจผู้บริโภค กลยุทธ์เด็ดชิงส่วนแบ่งจากเจ้าตลาดเดิม คุณราเกส ซิงห์ เลขาธิการสภาธุรกิจไทย – เวียดนาม และคุณวรทัศน์ ตันติมงคลสุข เลขาธิการสภาธุรกิจไทย – กัมพูชา ภายใต้คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กกร.) มาร่วมเสวนาให้ความรู้ขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างความได้เปรียบ สําหรับธุรกิจที่ต้องการขยับขยายการลงทุนสู่ประเทศกัมพูชา-เวียดนาม และผู้ประกอบการที่มาร่วมงานสามารถนําสินค้ามาแสดงโชว์และจับคู่ธุรกิจกันได้อีกด้วย นอกจากนี้ ธนาคารได้เปิดบูธให้บริการรับคําปรึกษาแนะนําด้านแหล่งเงินทุน กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงินกองทุน 20,000 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล อัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา ระยะเวลาชําระคืน 7 ปี ไม่ต้องผ่อนชําระหนี้ใน 3 ปีแรก ไม่ต้องมีหลักประกัน ให้กู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย และ 75% ขึ้นไปจะเป็นวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย โดยธุรกิจต้องอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัด เช่น ภาคการเกษตร, แปรรูปอาหาร, แหล่งท่องเที่ยว, กลุ่ม START UP และกลุ่มเทคโนโลยี นวัตกรรม เป็นต้น โดยแต่ละจังหวัดจะกําหนดธุรกิจกลุ่มยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน สินเชื่อ SMEs Transformation Loan วงเงิน 15,000 ล้านบาท กู้ได้รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 7 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน อัตราดอกเบี้ยต่ํา 3% คงที่ 3 ปีแรก ปีที่ 4-7 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี นอกจากนี้ กรณีกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท สามารถใช้ บสย. ค้ําประกันได้โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล ที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ทําให้กิจการมีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อความเข้มแข็ง, เป็นผู้ประกอบการใหม่ (NEW/START UP) หรือที่มีนวัตกรรม, มีศักยภาพ หรือมีแนวโน้มเติบโตเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 และ SMEs 4.0 เช่น SMEs กลุ่มธุรกิจ S-Curve หรือ SMEs ที่ส่งออกหรือขยายธุรกิจในต่างประเทศ เป็นต้น โครงการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงินกองทุน 2,000 ล้านบาท จากสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในรูปแบบการให้เงินทุนหมุนเวียนหรือปรับปรุงกิจการรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ต้องผ่อนชําระหนี้คืนสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ไม่มีดอกเบี้ย ไม่ต้องใช้หลักประกัน โดยผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการฟื้นฟู ได้แก่ ธุรกิจเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่ยังคงดําเนินกิจการหรือพร้อมจะฟื้นฟูกิจการได้ ธุรกิจที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว หรือยังไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่ชําระหนี้ไม่สม่ําเสมอเนื่องจากเงินหมุนเวียนธุรกิจขาดสภาพคล่อง เป็นต้น ส่วนอีกหนึ่งโครงการดีๆ คือ โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงินกองทุน 1,000 ล้านบาท เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคล ที่ประสบปัญหาการชําระหนี้ หรือขาดเงินทุนหมุนเวียน สามารถยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้ รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชําระหนี้คืน 5-7 ปี ไม่มีดอกเบี้ย ไม่ต้องใช้หลักประกัน โดยผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่มีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท คณะบุคคลที่มีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท และนิติบุคคลที่มีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท ซึ่งกิจการจะต้องมีแผนฟื้นฟูเพื่อให้ธุรกิจดําเนินต่อไปได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้เจ้าหนี้ ลดปัญหาการล้มละลาย การเลิกจ้างงาน และช่วยผยุงภาพรวมเศรษฐกิจ SMEs ไว้ *ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ท่านสามารถแสดงความประสงค์ ยื่นคําขอกู้ได้ที่ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs (SME Support & Rescue Center) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ธพว. *สินเชื่อ SMEs Transformation Loan หรือสินเชื่ออื่นๆ ของธนาคาร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357 หรือ ธพว.ทุกสาขาทั่วประเทศ และติดตามกิจกรรมดีๆ ผ่านช่องทาง facebook.com/SMEDevelopmentBank *โครงการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและโครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2278-8800 ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม โทร. 085-9807861, 02-265-4571-3
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4716
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดสธ.เข้าใจ ห่วงใยแพทย์และบุคลากรทำงานหนัก วางแนวทางแก้ไขเบื้องต้น 4 ข้อ
วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2560 ปลัดสธ.เข้าใจ ห่วงใยแพทย์และบุคลากรทํางานหนัก วางแนวทางแก้ไขเบื้องต้น 4 ข้อ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เข้าใจ ห่วงใยแพทย์และบุคลากรอื่นๆที่ทํางานหนักภายใต้ทรัพยากรอันจํากัด วางแนวทางแก้ไขเบื้องต้น 4 ข้อ พร้อมเร่งผลิตเติมในระบบให้เพียงพอกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เข้าใจ ห่วงใยแพทย์และบุคลากรอื่นๆที่ทํางานหนักภายใต้ทรัพยากรอันจํากัดวางแนวทางแก้ไขเบื้องต้น4ข้อ พร้อมเร่งผลิตเติมในระบบให้เพียงพอกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาความขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทยว่า เป็นห่วง เห็นใจ และเข้าใจถึงความยากลําบากในการทํางานของแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ทุกคน ที่พยายามทํางานเพื่อประชาชนให้ดีที่สุดภายใต้ทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่อย่างจํากัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารทุกคน ได้เร่งแก้ปัญหา ทั้งการปฎิรูประบบบริการ แผนพัฒนากําลังคน เชื่อมั่นว่าระบบสุขภาพของประเทศจะดีขึ้น มีความสมดุลระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ เบื้องต้นได้วางแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคต4ข้อดังนี้1.มอบผู้ตรวจราชการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อํานวยการโรงพยาบาลร่วมหารือจัดเวลาทํางานให้เหมาะสมตามสภาพของโรงพยาบาล และจํานวนผู้ป่วยหรือปริมาณงาน2.ให้ผู้อํานวยการโรงพยาบาลและผู้บริหารศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษา ดูแลให้คําปรึกษาน้องๆแพทย์จบใหม่ อย่าให้รู้สึกโดดเดี่ยว ช่วยให้คําแนะนําเมื่อมีปัญหา รวมทั้งร่วมแก้ปัญหา3.เร่งรัดจัดทําระเบียบช่วยเหลือเบื้องต้นกับบุคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการให้บริการและเสนอให้มีระเบียบเยียวยาช่วยเหลือ4.พัฒนาระบบฉุกเฉินให้มีแพทย์สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินดูแลในห้องฉุกเฉิน “ปัญหาการขาดแคลนแพทย์มีมานาน และมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหามาโดยตลอด ซึ่งเมื่อ20ปีก่อน สัดส่วนแพทย์1คนต้องดูแลประชากร ถึง5000คน แต่ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นหน่วยงานในการดูแลประชาชน ในบางพื้นที่ต้องดูแลถึง1:30000คนจึงต้องเร่งผลิตแพทย์เพิ่ม เกิดเป็นโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยตลอด23ปีของโครงการฯ ช่วยเพิ่มการผลิตแพทย์เข้าสู่ระบบได้มากถึง7000คน และยังคงปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข ทําให้ปัจจุบันสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรในภาพรวมดีขึ้นเป็น1ต่อ1,900คน และบางพื้นที่อาจ1:10,000ซึ่งยังไม่เพียงพอตามภาระงานและจํานวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นรวมทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและประชาชนเข้าถึงระบบบริการได้มากขึ้นตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ล่าสุดได้เพิ่มการผลิตแพทย์ โดยในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เพิ่มจากปีละ3,000เป็นปีละ3200คน คาดว่าใน10ปีข้างหน้าจะมีแพทย์ต่อประชากร1ต่อ1250คน” นายแพทย์โสภณ กล่าว อย่างไรก็ตาม นอกจากจะเพิ่มจํานวนแพทย์แล้ว ช่วยให้สัดส่วนต่อประชากรดีขึ้นมาก สิ่งที่ต้องตระหนักและให้ความสําคัญคือมาตรฐานการรักษา ตอบสนองความต้องการของสังคมด้านคุณภาพการรักษา ซึ่งสร้างความกดดันต่อระบบสาธารณสุข ต่อแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์จบใหม่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับแพทยสภาดูแลแพทย์กลุ่มนี้เป็นพิเศษ กําหนดให้มีหลักสูตร "แพทย์เพิ่มพูนทักษะ" เพื่อให้แพทย์จบใหม่ทุกคนในประเทศไทย ผ่านหลักสูตรนี้เป็นระยะเวลา1ปี ภายใต้การกํากับดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์พี่เลี้ยงและอาจารย์แพทย์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ตัวแพทย์เอง รวมถึงผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการเพื่อตรวจประเมินสถาบันและโรงพยาบาลที่ฝึกอบรมแพทย์กลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดทั้งในระดับเขตสุขภาพ และในระดับโรงพยาบาลที่มีองค์กรแพทย์ ซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์และทันตแพทย์ทั้งโรงพยาบาล ร่วมกันดูแลแพทย์กลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์จบใหม่ทุกคนมีทักษะ ประสบการการณ์ ให้บริการประชาชนด้วยความมั่นใจและจะร่วมหารือแพทยสภา ราชวิทยาลัย และคณะแพทย์เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ที่เหมาะสมต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดสธ.เข้าใจ ห่วงใยแพทย์และบุคลากรทำงานหนัก วางแนวทางแก้ไขเบื้องต้น 4 ข้อ วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2560 ปลัดสธ.เข้าใจ ห่วงใยแพทย์และบุคลากรทํางานหนัก วางแนวทางแก้ไขเบื้องต้น 4 ข้อ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เข้าใจ ห่วงใยแพทย์และบุคลากรอื่นๆที่ทํางานหนักภายใต้ทรัพยากรอันจํากัด วางแนวทางแก้ไขเบื้องต้น 4 ข้อ พร้อมเร่งผลิตเติมในระบบให้เพียงพอกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เข้าใจ ห่วงใยแพทย์และบุคลากรอื่นๆที่ทํางานหนักภายใต้ทรัพยากรอันจํากัดวางแนวทางแก้ไขเบื้องต้น4ข้อ พร้อมเร่งผลิตเติมในระบบให้เพียงพอกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาความขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทยว่า เป็นห่วง เห็นใจ และเข้าใจถึงความยากลําบากในการทํางานของแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ทุกคน ที่พยายามทํางานเพื่อประชาชนให้ดีที่สุดภายใต้ทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่อย่างจํากัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารทุกคน ได้เร่งแก้ปัญหา ทั้งการปฎิรูประบบบริการ แผนพัฒนากําลังคน เชื่อมั่นว่าระบบสุขภาพของประเทศจะดีขึ้น มีความสมดุลระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ เบื้องต้นได้วางแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคต4ข้อดังนี้1.มอบผู้ตรวจราชการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อํานวยการโรงพยาบาลร่วมหารือจัดเวลาทํางานให้เหมาะสมตามสภาพของโรงพยาบาล และจํานวนผู้ป่วยหรือปริมาณงาน2.ให้ผู้อํานวยการโรงพยาบาลและผู้บริหารศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษา ดูแลให้คําปรึกษาน้องๆแพทย์จบใหม่ อย่าให้รู้สึกโดดเดี่ยว ช่วยให้คําแนะนําเมื่อมีปัญหา รวมทั้งร่วมแก้ปัญหา3.เร่งรัดจัดทําระเบียบช่วยเหลือเบื้องต้นกับบุคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการให้บริการและเสนอให้มีระเบียบเยียวยาช่วยเหลือ4.พัฒนาระบบฉุกเฉินให้มีแพทย์สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินดูแลในห้องฉุกเฉิน “ปัญหาการขาดแคลนแพทย์มีมานาน และมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหามาโดยตลอด ซึ่งเมื่อ20ปีก่อน สัดส่วนแพทย์1คนต้องดูแลประชากร ถึง5000คน แต่ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นหน่วยงานในการดูแลประชาชน ในบางพื้นที่ต้องดูแลถึง1:30000คนจึงต้องเร่งผลิตแพทย์เพิ่ม เกิดเป็นโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยตลอด23ปีของโครงการฯ ช่วยเพิ่มการผลิตแพทย์เข้าสู่ระบบได้มากถึง7000คน และยังคงปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข ทําให้ปัจจุบันสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรในภาพรวมดีขึ้นเป็น1ต่อ1,900คน และบางพื้นที่อาจ1:10,000ซึ่งยังไม่เพียงพอตามภาระงานและจํานวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นรวมทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและประชาชนเข้าถึงระบบบริการได้มากขึ้นตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ล่าสุดได้เพิ่มการผลิตแพทย์ โดยในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เพิ่มจากปีละ3,000เป็นปีละ3200คน คาดว่าใน10ปีข้างหน้าจะมีแพทย์ต่อประชากร1ต่อ1250คน” นายแพทย์โสภณ กล่าว อย่างไรก็ตาม นอกจากจะเพิ่มจํานวนแพทย์แล้ว ช่วยให้สัดส่วนต่อประชากรดีขึ้นมาก สิ่งที่ต้องตระหนักและให้ความสําคัญคือมาตรฐานการรักษา ตอบสนองความต้องการของสังคมด้านคุณภาพการรักษา ซึ่งสร้างความกดดันต่อระบบสาธารณสุข ต่อแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์จบใหม่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับแพทยสภาดูแลแพทย์กลุ่มนี้เป็นพิเศษ กําหนดให้มีหลักสูตร "แพทย์เพิ่มพูนทักษะ" เพื่อให้แพทย์จบใหม่ทุกคนในประเทศไทย ผ่านหลักสูตรนี้เป็นระยะเวลา1ปี ภายใต้การกํากับดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์พี่เลี้ยงและอาจารย์แพทย์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ตัวแพทย์เอง รวมถึงผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการเพื่อตรวจประเมินสถาบันและโรงพยาบาลที่ฝึกอบรมแพทย์กลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดทั้งในระดับเขตสุขภาพ และในระดับโรงพยาบาลที่มีองค์กรแพทย์ ซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์และทันตแพทย์ทั้งโรงพยาบาล ร่วมกันดูแลแพทย์กลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์จบใหม่ทุกคนมีทักษะ ประสบการการณ์ ให้บริการประชาชนด้วยความมั่นใจและจะร่วมหารือแพทยสภา ราชวิทยาลัย และคณะแพทย์เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ที่เหมาะสมต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3884
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จับเพิ่ม อีก 8 ราย....พบต่างจังหวัดคดีพุ่งไม่หยุด พบขายหน้ากากอนามัย เจลล้างมือและแอลกอฮอล์ แพงเกินจริงทั้งออนไลน์และร้านทั่วไป.....ล่าสุดยอดสะสมทั่วประเทศรวม 319 ราย
วันพุธที่ 15 เมษายน 2563 จับเพิ่ม อีก 8 ราย....พบต่างจังหวัดคดีพุ่งไม่หยุด พบขายหน้ากากอนามัย เจลล้างมือและแอลกอฮอล์ แพงเกินจริงทั้งออนไลน์และร้านทั่วไป.....ล่าสุดยอดสะสมทั่วประเทศรวม 319 ราย นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการปฏิบัติการกรณีสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ของกระทรวงพาณิชย์ว่า ณ วันที่ 14 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการจับกุมผู้กระทําความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 สามารถจับกุมผู้กระทําความผิดกรณีหน้ากากอนามัย เจลล้างมือและแอลกอฮอล์เพิ่มอีก 8 ราย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 1 ราย เป็นร้านค้าทั่วไป พบจําหน่ายหน้ากากอนามัยแบบธรรมดา ในราคาชิ้นละ 20 บาท แจ้งข้อหากระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยราคาสูงเกินสมควร ตามมาตรา 29 ส่วนในต่างจังหวัดสามารถจับกุมเพิ่ม 7 ราย แบ่งเป็น ร้านจําหน่ายหน้ากากอนามัยผ่านทาง เฟซบุ๊ก 2 ราย ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ 1 ราย โดยเจ้าหน้าที่ทําการล่อซื้อและจับกุม พบจําหน่ายหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical mask) ในราคากล่องละ 690 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 13.80 บาท) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1 ราย จําหน่ายหน้ากากอนามัยบรรจุ 10 ชิ้น/แพค ในราคา 130 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 13 บาท) ร้านค้าทั่วไปในจังหวัดพิษณุโลก 3 ราย โดยทําการล่อซื้อและจับกุมพบจําหน่าย หน้ากากอนามัยบรรจุกล่อง 50 ชิ้น ในราคากล่องละ 760 – 790 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ15.20 – 15.80 บาท) โดยทั้ง 5 รายกระทําความผิดข้อหาจําหน่ายหน้ากากอนามัยราคาสูงเกินสมควร ตามมาตรา 29 นอกจากนี้พบผู้กระทําความผิดในจังหวัดกาฬสินธุ์ 1 ราย เป็นร้านค้าทั่วไปจําหน่ายเจลแอลกอฮอล์ โดยไม่ปิดป้ายแสดงราคา จึงแจ้งข้อหากระทําความผิด ตามมาตรา 28 และเจ้าหน้าที่ยังได้เข้าตรวจค้นโรงงานในจังหวัดปทุมธานี อีก 1 ราย ลักลอบผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical mask) ชนิด 3 ชั้น พบหน้ากากอนามัย จํานวน 138,000 ชิ้น จึงยึดเป็นของกลาง และแจ้งข้อหากระทําความผิด เป็นผู้ผลิตไม่แจ้งต้นทุน ราคาซื้อ ราคาจําหน่าย ปริมาณการผลิตต่อ กกร. ตามมาตรา 25 (5) โดยสถิติการจับกุมผู้กระทําความผิดกรณี หน้ากากอนามัย เจลล้างมือและแอลกอฮอล์ มีจํานวนเพิ่มขึ้นเป็น 319 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ 156 ราย และต่างจังหวัด 163 ราย สําหรับสถานการณ์ราคาไข่ไก่เริ่มปรับลดลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากขณะนี้มีปริมาณผลผลิต ไข่ไก่กระจายเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ฟาร์มไข่ไก่ที่ได้รับคําสั่งซื้อมีการชะลอตัวลงจากหลายสัปดาห์ก่อน ทําให้สามารถส่งไข่ไก่ให้กับผู้ค้าส่งได้มากขึ้น และมีสินค้าเพียงพอที่จะกระจายต่อไปยังผู้ค้าปลีก อีกทั้งผู้จําหน่ายรายใหญ่ทั้ง ซีพี เบทาโกร มีการกระจายผลผลิตไข่ไก่เข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น โดยมีสินค้าวางจําหน่ายทุกวันในห้างโมเดิร์นเทรด เช่น แมคโคร บิ๊กซี เทสโก้โลตัส และไม่จํากัดจํานวนการซื้อของประชาชน เนื่องจากความต้องการในการซื้อไข่ไก่ของผู้บริโภคมีปริมาณลดลงจากเดิม ซึ่งสถิติการจับกุมผู้กระทําความผิดจําหน่ายไข่ไก่เกินราคาทั่วประเทศ ณ วันที่ 14 เมษายน 2563 จึงไม่พบผู้กระทําความผิดเพิ่มเติม ยอดรวม 26 ราย คงที่ ทั้งนี้ โทษที่ผู้กระทําความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ข้อหาขายเกินราคาควบคุม มาตรา 25 (1) มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ข้อหาไม่แจ้งต้นทุนราคาซื้อ ราคาจําหน่าย ปริมาณการผลิต ปริมาณคงเหลือ ตามมาตรา 25 (5) มีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และปรับไม่เกินวันละ 2,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่าจะแจ้ง มาตรา26 ข้อหาเป็นผู้ผลิตไม่แจ้งชื่อ ราคาซื้อ ราคาจําหน่าย มาตรา28 ข้อหาไม่ปิดป้ายแสดงราคาขาย มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท และมาตรา 29 ข้อหาขายแพงเกินสมควรมีอัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ รองโฆษกฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ส่งเจ้าหน้าลงพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อติดตามตรวจสอบ จับกุมผู้กระทําความผิดตามข้อร้องเรียนทุกวัน และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง อยากจะย้ําเตือนผู้ที่มีพฤติกรรมกักตุนสินค้า และค้ากําไรเกินควร ซึ่งถือเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และแอลกอฮอล์ รวมถึงสินค้าจําเป็นอื่น ๆ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งหากพบมีการกระทําความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ จะถูกดําเนินคดีขั้นเด็ดขาดทันที โดยผู้บริโภคพบเห็นการกักตุนหรือค้ากําไรเกินควร สามารถร้องเรียนได้ทันทีที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 และในต่างจังหวัดร้องเรียนได้ที่สํานักงานพาณิชย์จังหวัดหรือศูนย์ดํารงธรรมจังหวัด นางลลิดากล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-จับเพิ่ม อีก 8 ราย....พบต่างจังหวัดคดีพุ่งไม่หยุด พบขายหน้ากากอนามัย เจลล้างมือและแอลกอฮอล์ แพงเกินจริงทั้งออนไลน์และร้านทั่วไป.....ล่าสุดยอดสะสมทั่วประเทศรวม 319 ราย วันพุธที่ 15 เมษายน 2563 จับเพิ่ม อีก 8 ราย....พบต่างจังหวัดคดีพุ่งไม่หยุด พบขายหน้ากากอนามัย เจลล้างมือและแอลกอฮอล์ แพงเกินจริงทั้งออนไลน์และร้านทั่วไป.....ล่าสุดยอดสะสมทั่วประเทศรวม 319 ราย นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองโฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการปฏิบัติการกรณีสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ของกระทรวงพาณิชย์ว่า ณ วันที่ 14 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการจับกุมผู้กระทําความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 สามารถจับกุมผู้กระทําความผิดกรณีหน้ากากอนามัย เจลล้างมือและแอลกอฮอล์เพิ่มอีก 8 ราย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 1 ราย เป็นร้านค้าทั่วไป พบจําหน่ายหน้ากากอนามัยแบบธรรมดา ในราคาชิ้นละ 20 บาท แจ้งข้อหากระทําความผิดจําหน่ายหน้ากากอนามัยราคาสูงเกินสมควร ตามมาตรา 29 ส่วนในต่างจังหวัดสามารถจับกุมเพิ่ม 7 ราย แบ่งเป็น ร้านจําหน่ายหน้ากากอนามัยผ่านทาง เฟซบุ๊ก 2 ราย ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ 1 ราย โดยเจ้าหน้าที่ทําการล่อซื้อและจับกุม พบจําหน่ายหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical mask) ในราคากล่องละ 690 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 13.80 บาท) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1 ราย จําหน่ายหน้ากากอนามัยบรรจุ 10 ชิ้น/แพค ในราคา 130 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ 13 บาท) ร้านค้าทั่วไปในจังหวัดพิษณุโลก 3 ราย โดยทําการล่อซื้อและจับกุมพบจําหน่าย หน้ากากอนามัยบรรจุกล่อง 50 ชิ้น ในราคากล่องละ 760 – 790 บาท (เฉลี่ยชิ้นละ15.20 – 15.80 บาท) โดยทั้ง 5 รายกระทําความผิดข้อหาจําหน่ายหน้ากากอนามัยราคาสูงเกินสมควร ตามมาตรา 29 นอกจากนี้พบผู้กระทําความผิดในจังหวัดกาฬสินธุ์ 1 ราย เป็นร้านค้าทั่วไปจําหน่ายเจลแอลกอฮอล์ โดยไม่ปิดป้ายแสดงราคา จึงแจ้งข้อหากระทําความผิด ตามมาตรา 28 และเจ้าหน้าที่ยังได้เข้าตรวจค้นโรงงานในจังหวัดปทุมธานี อีก 1 ราย ลักลอบผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical mask) ชนิด 3 ชั้น พบหน้ากากอนามัย จํานวน 138,000 ชิ้น จึงยึดเป็นของกลาง และแจ้งข้อหากระทําความผิด เป็นผู้ผลิตไม่แจ้งต้นทุน ราคาซื้อ ราคาจําหน่าย ปริมาณการผลิตต่อ กกร. ตามมาตรา 25 (5) โดยสถิติการจับกุมผู้กระทําความผิดกรณี หน้ากากอนามัย เจลล้างมือและแอลกอฮอล์ มีจํานวนเพิ่มขึ้นเป็น 319 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ 156 ราย และต่างจังหวัด 163 ราย สําหรับสถานการณ์ราคาไข่ไก่เริ่มปรับลดลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากขณะนี้มีปริมาณผลผลิต ไข่ไก่กระจายเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ฟาร์มไข่ไก่ที่ได้รับคําสั่งซื้อมีการชะลอตัวลงจากหลายสัปดาห์ก่อน ทําให้สามารถส่งไข่ไก่ให้กับผู้ค้าส่งได้มากขึ้น และมีสินค้าเพียงพอที่จะกระจายต่อไปยังผู้ค้าปลีก อีกทั้งผู้จําหน่ายรายใหญ่ทั้ง ซีพี เบทาโกร มีการกระจายผลผลิตไข่ไก่เข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น โดยมีสินค้าวางจําหน่ายทุกวันในห้างโมเดิร์นเทรด เช่น แมคโคร บิ๊กซี เทสโก้โลตัส และไม่จํากัดจํานวนการซื้อของประชาชน เนื่องจากความต้องการในการซื้อไข่ไก่ของผู้บริโภคมีปริมาณลดลงจากเดิม ซึ่งสถิติการจับกุมผู้กระทําความผิดจําหน่ายไข่ไก่เกินราคาทั่วประเทศ ณ วันที่ 14 เมษายน 2563 จึงไม่พบผู้กระทําความผิดเพิ่มเติม ยอดรวม 26 ราย คงที่ ทั้งนี้ โทษที่ผู้กระทําความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ข้อหาขายเกินราคาควบคุม มาตรา 25 (1) มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ข้อหาไม่แจ้งต้นทุนราคาซื้อ ราคาจําหน่าย ปริมาณการผลิต ปริมาณคงเหลือ ตามมาตรา 25 (5) มีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และปรับไม่เกินวันละ 2,000 บาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่าจะแจ้ง มาตรา26 ข้อหาเป็นผู้ผลิตไม่แจ้งชื่อ ราคาซื้อ ราคาจําหน่าย มาตรา28 ข้อหาไม่ปิดป้ายแสดงราคาขาย มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท และมาตรา 29 ข้อหาขายแพงเกินสมควรมีอัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ รองโฆษกฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ส่งเจ้าหน้าลงพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อติดตามตรวจสอบ จับกุมผู้กระทําความผิดตามข้อร้องเรียนทุกวัน และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง อยากจะย้ําเตือนผู้ที่มีพฤติกรรมกักตุนสินค้า และค้ากําไรเกินควร ซึ่งถือเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และแอลกอฮอล์ รวมถึงสินค้าจําเป็นอื่น ๆ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งหากพบมีการกระทําความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ จะถูกดําเนินคดีขั้นเด็ดขาดทันที โดยผู้บริโภคพบเห็นการกักตุนหรือค้ากําไรเกินควร สามารถร้องเรียนได้ทันทีที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 และในต่างจังหวัดร้องเรียนได้ที่สํานักงานพาณิชย์จังหวัดหรือศูนย์ดํารงธรรมจังหวัด นางลลิดากล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29116
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธานพิธีถวายบังคมและถวายเครื่องสักการะ เนื่องในวันสื่อสารแห่งชาติ ปี 2562
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธานพิธีถวายบังคมและถวายเครื่องสักการะ เนื่องในวันสื่อสารแห่งชาติ ปี 2562 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธานพิธีถวายบังคมและถวายเครื่องสักการะ เนื่องในวันสื่อสารแห่งชาติ ปี 2562 p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: center; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} span.s1 {font-kerning: none} นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในพิธี วางพานพุ่มถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส “วันสื่อสารแห่งชาติ ประจําปี 2562” 4 สิงหาคม 2562 โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ผู้บริหารสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ผู้บริหารส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ บริเวณลานหน้าอาคารอํานวยการ สํานักงาน กสทช. ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2562 จากนั้น รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ ได้เป็นประธานในพิธีถวายเครื่องสักการะพระอนุสาวรีย์จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เนื่องในโอกาส “วันสื่อสารแห่งชาติ” โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด เข้าร่วมพิธีฯ ณ พระอนุสาวรีย์ บริเวณเกาะกลางน้ํา บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ***********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธานพิธีถวายบังคมและถวายเครื่องสักการะ เนื่องในวันสื่อสารแห่งชาติ ปี 2562 วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธานพิธีถวายบังคมและถวายเครื่องสักการะ เนื่องในวันสื่อสารแห่งชาติ ปี 2562 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธานพิธีถวายบังคมและถวายเครื่องสักการะ เนื่องในวันสื่อสารแห่งชาติ ปี 2562 p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: center; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} span.s1 {font-kerning: none} นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในพิธี วางพานพุ่มถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส “วันสื่อสารแห่งชาติ ประจําปี 2562” 4 สิงหาคม 2562 โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ผู้บริหารสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ผู้บริหารส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ บริเวณลานหน้าอาคารอํานวยการ สํานักงาน กสทช. ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2562 จากนั้น รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ ได้เป็นประธานในพิธีถวายเครื่องสักการะพระอนุสาวรีย์จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เนื่องในโอกาส “วันสื่อสารแห่งชาติ” โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด เข้าร่วมพิธีฯ ณ พระอนุสาวรีย์ บริเวณเกาะกลางน้ํา บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ***********************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/21984
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ยุติธรรม" อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน
วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 "ยุติธรรม" อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน รุ่นที่ ๕ ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมทศพร ๑ โรงแรมริมปาว อําเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน รุ่นที่ ๕ เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามภารกิจของศูนย์ยุติธรรมชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนจากจังหวัดภาคอีสานตอนบน ๙จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลําภู อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร สกลนคร และกาฬสินธุ์ จํานวน ๒๖๐ คน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ยุติธรรม" อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 "ยุติธรรม" อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน รุ่นที่ ๕ ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมทศพร ๑ โรงแรมริมปาว อําเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน รุ่นที่ ๕ เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามภารกิจของศูนย์ยุติธรรมชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนจากจังหวัดภาคอีสานตอนบน ๙จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลําภู อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร สกลนคร และกาฬสินธุ์ จํานวน ๒๖๐ คน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10292
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครั้งที่ 1/2560
วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 การประชุมคณะกรรมการส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครั้งที่ 1/2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันพุธที่1กุมภาพันธ์2560ณ ห้องประชุม ชั้น 6 สํานักงาน กศน. •เห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดําเนินงาน สํานักงาน กศน. ปี 2560 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) ยุทธศาสตร์สํานักงาน กศน. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ภายใต้วิสัยทัศน์“กศน.ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อโอกาสและคุณภาพทางการศึกษาของประชาชนทุกช่วงวัย”โดยมีพันธกิจในการจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ พัฒนาระบบการวัดและประเมินผล พัฒนาบุคลากร อันจะนําไปสู่เป้าประสงค์ที่ทําให้ผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสได้รับการศึกษาตามความต้องการ ประชาชนได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนทุกภาคมีส่วนร่วมจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น นอกจากนี้ ได้เห็นชอบจุดเน้นการดําเนินงานของสํานักงาน กศน. ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล, การผลิต พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, การผลิตและพัฒนากําลังคน รวมทั้งงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ, การขยายโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษา, การพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และพัฒนาระบบบริหารจัดการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งนี้ มอบให้ฝ่ายเลขานุการรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปปรับปรุงในรายละเอียด เพื่อให้ยุทธศาสตร์มีความสมบูรณ์มากขึ้น เช่น หลักสูตร กศน.ต้องมีความยืดหยุ่นและอ่อนตัวตามบริบทและความต้องการของชุมชน, การเร่งค้นหาคนเก่ง ๆ คนที่มีความชํานาญในด้านต่าง ๆ มาช่วยจัดหลักสูตรและจัดการเรียนรู้, การนําเทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด, ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อนําหลักสูตรดี ๆ ที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ เป็นต้น •เห็นชอบระบบประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในหลักการ ระบบประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามที่สํานักงาน กศน.เสนอ ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของการจัดการศึกษาแต่ละประเภท และเพื่อเป็นการลดภาระด้านเอกสารโดยมีมาตรฐาน 3 ด้านได้แก่ มาตรฐานคุณภาพผู้เรียน ผู้รับบริการ, มาตรฐานการจัดการศึกษาและการให้บริการ และมาตรฐานประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษา ตลอดจนมีเกณฑ์การประเมิน 2 ส่วน คือ การประเมินมาตรฐานที่เป็นกระบวนการ และการประเมินมาตรฐานที่เป็นผลลัพธ์ ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เน้นให้ปรับระบบประกันคุณภาพของสํานักงาน กศน. ให้สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพรูปแบบใหม่ของประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดําเนินการ รวมทั้งให้มีการสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพว่าเป็นให้การบริการวิชาการมากกว่าเป็นเรื่องของเอกสาร ซึ่งจะส่งผลให้ผู้รับการประเมินมีความสุขและจูงใจให้เกิดการพัฒนามากขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การประชุมคณะกรรมการส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครั้งที่ 1/2560 วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 การประชุมคณะกรรมการส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครั้งที่ 1/2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันพุธที่1กุมภาพันธ์2560ณ ห้องประชุม ชั้น 6 สํานักงาน กศน. •เห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดําเนินงาน สํานักงาน กศน. ปี 2560 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) ยุทธศาสตร์สํานักงาน กศน. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ภายใต้วิสัยทัศน์“กศน.ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อโอกาสและคุณภาพทางการศึกษาของประชาชนทุกช่วงวัย”โดยมีพันธกิจในการจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ พัฒนาระบบการวัดและประเมินผล พัฒนาบุคลากร อันจะนําไปสู่เป้าประสงค์ที่ทําให้ผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสได้รับการศึกษาตามความต้องการ ประชาชนได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนทุกภาคมีส่วนร่วมจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น นอกจากนี้ ได้เห็นชอบจุดเน้นการดําเนินงานของสํานักงาน กศน. ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล, การผลิต พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, การผลิตและพัฒนากําลังคน รวมทั้งงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ, การขยายโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษา, การพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และพัฒนาระบบบริหารจัดการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งนี้ มอบให้ฝ่ายเลขานุการรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปปรับปรุงในรายละเอียด เพื่อให้ยุทธศาสตร์มีความสมบูรณ์มากขึ้น เช่น หลักสูตร กศน.ต้องมีความยืดหยุ่นและอ่อนตัวตามบริบทและความต้องการของชุมชน, การเร่งค้นหาคนเก่ง ๆ คนที่มีความชํานาญในด้านต่าง ๆ มาช่วยจัดหลักสูตรและจัดการเรียนรู้, การนําเทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด, ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อนําหลักสูตรดี ๆ ที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ เป็นต้น •เห็นชอบระบบประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในหลักการ ระบบประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามที่สํานักงาน กศน.เสนอ ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของการจัดการศึกษาแต่ละประเภท และเพื่อเป็นการลดภาระด้านเอกสารโดยมีมาตรฐาน 3 ด้านได้แก่ มาตรฐานคุณภาพผู้เรียน ผู้รับบริการ, มาตรฐานการจัดการศึกษาและการให้บริการ และมาตรฐานประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษา ตลอดจนมีเกณฑ์การประเมิน 2 ส่วน คือ การประเมินมาตรฐานที่เป็นกระบวนการ และการประเมินมาตรฐานที่เป็นผลลัพธ์ ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เน้นให้ปรับระบบประกันคุณภาพของสํานักงาน กศน. ให้สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพรูปแบบใหม่ของประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดําเนินการ รวมทั้งให้มีการสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพว่าเป็นให้การบริการวิชาการมากกว่าเป็นเรื่องของเอกสาร ซึ่งจะส่งผลให้ผู้รับการประเมินมีความสุขและจูงใจให้เกิดการพัฒนามากขึ้น
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1661
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME Development Bank จับมือ Shopee ผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนเติบโต สู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ จัดโปรโมชั่นสุดคุ้มกระตุ้นยอดขาย 19-22 เม.ย. นี้
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2561 SME Development Bank จับมือ Shopee ผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนเติบโต สู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ จัดโปรโมชั่นสุดคุ้มกระตุ้นยอดขาย 19-22 เม.ย. นี้ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank)หรือ ธพว. จับมือ Shopee ผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนค้าขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ (E- commerce) เป็นครั้งแรกจัดโปรโมชั่นพิเศษคูปองส่วนลดราคาในช่วงวันที่ 19–22 เมษายน 2561 นี้ นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ SME Development Bank เปิดเผยว่า จากธนาคารได้ร่วมมือกับ ช้อปปี้(Shopee) อีคอมเมิร์ซชื่อดังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวันจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปภาคทฤษฎีและลงมือปฏิบัติ ส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและลูกค้าขึ้นค้าขายผ่านแพลตฟอร์มของช้อปปี้ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ ได้ผ่านการคัดเลือกมีอัตลักษณ์โดดเด่น ขึ้นค้าขายผ่าน Shopee Applicationรวม 20 กิจการ ทั้งในหมวดของกิน ของใช้ ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์ น้ําตาลปี๊บ น้ําตาลกรวด ผลิตภัณฑ์แปรรูปมะพร้าว ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สารสกัดธรรมชาติและทองคํา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สกินแคร์จากออร์แกนิคจากการเกษตร ขนมหวานจากเพชรบุรี ชาใบหม่อน สินค้าเกษตรแปรรูป ข้าว ถั่ว ธัญพืช กาแฟวาวี ผลิตภัณฑ์ขนมของฝากจากเวอร์จิ้น เครื่องดื่มสุขภาพ สมุนไพร ผลไม้แปรรูป เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า ผ้าบูติค และกระเป๋า หมวก เป็นต้น ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ช้อปปี้ได้นําผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยความร่วมมือกับสถาบันการเงินขึ้นวางจําหน่ายบนอีคอมเมิร์ซอย่างเป็นทางการ และเพื่อให้การส่งเสริมการตลาดกับผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อยอดสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง จึงร่วมกันจัดแคมเปญสุดคุ้ม“ผลิตภัณฑ์ชุมชน by SME Development Bank” โดยผู้สั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าภายใต้แคมเปญดังกล่าววงเงิน 250 บาทขึ้นไป จะได้รับคูปองส่วนลดทันที 50 บาท เพียงแค่ใช้โค้ด SMEBANK ซื้อขายผ่าน Shopee Application ในช่วง 4 วัน ระหว่างวันที่ 19-22 เมษายน 2561 นี้ ซึ่งถือเป็นแคมเปญส่งเสริมการตลาดใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นยอดขายสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนต่อไป “ตัวอย่างลูกค้าธนาคาร บริษัท เนทีฟฟู้ดส์ จํากัด ผลิตปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์ จังหวัดสระบุรี นับเป็นรายที่ไม่เคยค้าขายผ่านอีคอมเมิร์ซมาก่อนเลย เป็นครั้งแรกที่เข้าโครงการร่วมกับธนาคารและช้อปปี้ ทําให้ได้ความรู้มากมายนําไปปรับใช้ โดยเฉพาะกลยุทธ์ด้านการตลาด การสอนถ่ายภาพเพื่อโพสต์ขายในอีคอมเมิร์ซ การปรับเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้ง และการเปิดหน้าร้านขายผ่านเฟซบุ๊คของตัวเอง ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายนี้ มียอดขายสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วเป็นเท่าตัว เพราะมีโอกาสเปิดตลาดผ่านอีคอมเมิร์ซ และยังได้ช้อปปี้เป็นสื่อกลาง ทําให้สามารถขยายตลาดคู่ค้าเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดกําลังจะนําสินค้าไปลงในห้างบิ๊กซี และได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อไปลงทุนเครื่องจักรวงเงิน 2 ล้านบาท เพื่อผลิตสินค้าเพิ่มเติมอีกด้วย” กรรมการผู้จัดการ ธพว.กล่าวอีกว่า ความร่วมมือยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนพื้นบ้านเปิดตลาดค้าขายผ่านอีคอมเมิร์ซ ร่วมกับ ช้อปปี้ นับเป็นความสําเร็จ และน่าภาคภูมิใจที่ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการตัวเล็ก เปลี่ยนวิธีคิดปรับกลยุทธ์ธุรกิจสู่โลกอีคอมเมิร์ซ ช่วยสร้างรายให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้นและธนาคารมีโครงการจะจัดกิจกรรมดังกล่าวรุ่นที่ 2 อย่างต่อเนื่องต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME Development Bank จับมือ Shopee ผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนเติบโต สู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ จัดโปรโมชั่นสุดคุ้มกระตุ้นยอดขาย 19-22 เม.ย. นี้ วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2561 SME Development Bank จับมือ Shopee ผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนเติบโต สู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ จัดโปรโมชั่นสุดคุ้มกระตุ้นยอดขาย 19-22 เม.ย. นี้ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank)หรือ ธพว. จับมือ Shopee ผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนค้าขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ (E- commerce) เป็นครั้งแรกจัดโปรโมชั่นพิเศษคูปองส่วนลดราคาในช่วงวันที่ 19–22 เมษายน 2561 นี้ นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ SME Development Bank เปิดเผยว่า จากธนาคารได้ร่วมมือกับ ช้อปปี้(Shopee) อีคอมเมิร์ซชื่อดังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวันจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปภาคทฤษฎีและลงมือปฏิบัติ ส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและลูกค้าขึ้นค้าขายผ่านแพลตฟอร์มของช้อปปี้ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ ได้ผ่านการคัดเลือกมีอัตลักษณ์โดดเด่น ขึ้นค้าขายผ่าน Shopee Applicationรวม 20 กิจการ ทั้งในหมวดของกิน ของใช้ ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์ น้ําตาลปี๊บ น้ําตาลกรวด ผลิตภัณฑ์แปรรูปมะพร้าว ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สารสกัดธรรมชาติและทองคํา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สกินแคร์จากออร์แกนิคจากการเกษตร ขนมหวานจากเพชรบุรี ชาใบหม่อน สินค้าเกษตรแปรรูป ข้าว ถั่ว ธัญพืช กาแฟวาวี ผลิตภัณฑ์ขนมของฝากจากเวอร์จิ้น เครื่องดื่มสุขภาพ สมุนไพร ผลไม้แปรรูป เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า ผ้าบูติค และกระเป๋า หมวก เป็นต้น ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ช้อปปี้ได้นําผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยความร่วมมือกับสถาบันการเงินขึ้นวางจําหน่ายบนอีคอมเมิร์ซอย่างเป็นทางการ และเพื่อให้การส่งเสริมการตลาดกับผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อยอดสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง จึงร่วมกันจัดแคมเปญสุดคุ้ม“ผลิตภัณฑ์ชุมชน by SME Development Bank” โดยผู้สั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าภายใต้แคมเปญดังกล่าววงเงิน 250 บาทขึ้นไป จะได้รับคูปองส่วนลดทันที 50 บาท เพียงแค่ใช้โค้ด SMEBANK ซื้อขายผ่าน Shopee Application ในช่วง 4 วัน ระหว่างวันที่ 19-22 เมษายน 2561 นี้ ซึ่งถือเป็นแคมเปญส่งเสริมการตลาดใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นยอดขายสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนต่อไป “ตัวอย่างลูกค้าธนาคาร บริษัท เนทีฟฟู้ดส์ จํากัด ผลิตปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์ จังหวัดสระบุรี นับเป็นรายที่ไม่เคยค้าขายผ่านอีคอมเมิร์ซมาก่อนเลย เป็นครั้งแรกที่เข้าโครงการร่วมกับธนาคารและช้อปปี้ ทําให้ได้ความรู้มากมายนําไปปรับใช้ โดยเฉพาะกลยุทธ์ด้านการตลาด การสอนถ่ายภาพเพื่อโพสต์ขายในอีคอมเมิร์ซ การปรับเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้ง และการเปิดหน้าร้านขายผ่านเฟซบุ๊คของตัวเอง ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายนี้ มียอดขายสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วเป็นเท่าตัว เพราะมีโอกาสเปิดตลาดผ่านอีคอมเมิร์ซ และยังได้ช้อปปี้เป็นสื่อกลาง ทําให้สามารถขยายตลาดคู่ค้าเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดกําลังจะนําสินค้าไปลงในห้างบิ๊กซี และได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อไปลงทุนเครื่องจักรวงเงิน 2 ล้านบาท เพื่อผลิตสินค้าเพิ่มเติมอีกด้วย” กรรมการผู้จัดการ ธพว.กล่าวอีกว่า ความร่วมมือยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนพื้นบ้านเปิดตลาดค้าขายผ่านอีคอมเมิร์ซ ร่วมกับ ช้อปปี้ นับเป็นความสําเร็จ และน่าภาคภูมิใจที่ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการตัวเล็ก เปลี่ยนวิธีคิดปรับกลยุทธ์ธุรกิจสู่โลกอีคอมเมิร์ซ ช่วยสร้างรายให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้นและธนาคารมีโครงการจะจัดกิจกรรมดังกล่าวรุ่นที่ 2 อย่างต่อเนื่องต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11599
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​กสร.ออกประกาศมาตรการป้องกันโควิด-19 พร้อมขอความร่วมมือนายจ้างลูกจ้างร่วมป้องกัน [กระทรวงแรงงาน]
วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2563 ​กสร.ออกประกาศมาตรการป้องกันโควิด-19 พร้อมขอความร่วมมือนายจ้างลูกจ้างร่วมป้องกัน [กระทรวงแรงงาน] กสร.ออกประกาศเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19พร้อมขอความร่วมมือนายจ้างลูกจ้างร่วมป้องกันหากลูกจ้างมีต้องไปตรวจรักษาหรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วยหรือใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีตามกฎหมายหรือตามที่ตกลงกัน กสร.ออกประกาศเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19พร้อมขอความร่วมมือนายจ้างลูกจ้างร่วมป้องกันหากลูกจ้างมีต้องไปตรวจรักษาหรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วยหรือใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีตามกฎหมายหรือตามที่ตกลงกัน นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กสร. ได้ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวทางสําหรับเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังและการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และกําหนดให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งบุคลากรปฏิบัติตามแนวทางของประกาศดังกล่าว เช่น ให้เจ้าหน้าที่ระมัดระวังและป้องกันตนเอง ให้เจ้าหน้าที่งดหรือเลื่อนการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตการปกครองหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีการตรวจคัดกรองเจ้าหน้าที่ ประชาชนหรือผู้ที่มาติดต่อราชการทุกคน เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่วนของสถานประกอบกิจการ กสร. ได้ออกแนวทางในการขอความร่วมมือนายจ้าง ลูกจ้างเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวัง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวด้วย โดยขอให้สถานประกอบกิจการ ให้ความรู้แก่ลูกจ้าง ทําความสะอาดสถานที่ทํางานอย่างสม่ําเสมอ จัดหาสบู่ เจลล้างมือแอลกอฮอล์ให้กับลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการตรวจคัดกรองลูกจ้างก่อนเข้าทํางาน เป็นต้น สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีสถานการณ์สุ่มเสี่ยง เช่น พบลูกจ้างป่วยเป็นจํานวนมาก ให้พิจารณาหยุดการผลิต/บริการ ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเพื่อให้ลูกจ้างหยุดพักรักษาตัวและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค นายอภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะติดโรค หรือเป็น หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19 จําเป็นต้องไปรับการตรวจรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้าง ใช้สิทธิลาป่วย หรือใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีตามกฎหมายหรือตามที่ตกลงกัน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการของนายจ้าง นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้หยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without Pay) หรือให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างตามหลักสัญญาต่างตอบแทน (No Work No Pay) หรือให้หยุดงานโดยจ่ายค่าจ้างตามจํานวนที่ตกลงกับลูกจ้าง ตลอดระยะเวลาที่หยุดงานก็ได้ “กรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง มีข้อสงสัยเกี่ยวสิทธิหน้าที่ และการปฏิบัติตามแนวทางนี้ให้ติดต่อสอบถามได้ที่ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3” นายอภิญญากล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​กสร.ออกประกาศมาตรการป้องกันโควิด-19 พร้อมขอความร่วมมือนายจ้างลูกจ้างร่วมป้องกัน [กระทรวงแรงงาน] วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2563 ​กสร.ออกประกาศมาตรการป้องกันโควิด-19 พร้อมขอความร่วมมือนายจ้างลูกจ้างร่วมป้องกัน [กระทรวงแรงงาน] กสร.ออกประกาศเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19พร้อมขอความร่วมมือนายจ้างลูกจ้างร่วมป้องกันหากลูกจ้างมีต้องไปตรวจรักษาหรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วยหรือใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีตามกฎหมายหรือตามที่ตกลงกัน กสร.ออกประกาศเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19พร้อมขอความร่วมมือนายจ้างลูกจ้างร่วมป้องกันหากลูกจ้างมีต้องไปตรวจรักษาหรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วยหรือใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีตามกฎหมายหรือตามที่ตกลงกัน นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กสร. ได้ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวทางสําหรับเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังและการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และกําหนดให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งบุคลากรปฏิบัติตามแนวทางของประกาศดังกล่าว เช่น ให้เจ้าหน้าที่ระมัดระวังและป้องกันตนเอง ให้เจ้าหน้าที่งดหรือเลื่อนการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตการปกครองหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีการตรวจคัดกรองเจ้าหน้าที่ ประชาชนหรือผู้ที่มาติดต่อราชการทุกคน เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่วนของสถานประกอบกิจการ กสร. ได้ออกแนวทางในการขอความร่วมมือนายจ้าง ลูกจ้างเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวัง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวด้วย โดยขอให้สถานประกอบกิจการ ให้ความรู้แก่ลูกจ้าง ทําความสะอาดสถานที่ทํางานอย่างสม่ําเสมอ จัดหาสบู่ เจลล้างมือแอลกอฮอล์ให้กับลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการตรวจคัดกรองลูกจ้างก่อนเข้าทํางาน เป็นต้น สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีสถานการณ์สุ่มเสี่ยง เช่น พบลูกจ้างป่วยเป็นจํานวนมาก ให้พิจารณาหยุดการผลิต/บริการ ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเพื่อให้ลูกจ้างหยุดพักรักษาตัวและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค นายอภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะติดโรค หรือเป็น หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19 จําเป็นต้องไปรับการตรวจรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ ให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้าง ใช้สิทธิลาป่วย หรือใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีตามกฎหมายหรือตามที่ตกลงกัน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการของนายจ้าง นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้หยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without Pay) หรือให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างตามหลักสัญญาต่างตอบแทน (No Work No Pay) หรือให้หยุดงานโดยจ่ายค่าจ้างตามจํานวนที่ตกลงกับลูกจ้าง ตลอดระยะเวลาที่หยุดงานก็ได้ “กรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง มีข้อสงสัยเกี่ยวสิทธิหน้าที่ และการปฏิบัติตามแนวทางนี้ให้ติดต่อสอบถามได้ที่ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3” นายอภิญญากล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27253
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เด็กอายุระหว่าง ๓-๑๘ ปี กว่า ๒.๗ หมื่นคนกลับเข้ามาเรียนได้สำเร็จ
วันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2561 เด็กอายุระหว่าง ๓-๑๘ ปี กว่า ๒.๗ หมื่นคนกลับเข้ามาเรียนได้สําเร็จ “ สุรเชษฐ์ ” ก้าวเดินตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๐ ปี ด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ “ เห็นผลลัพธ์ในเชิงประจักษ์ ” “ นายอิชิโร มิยาซาวา ” ผู้แทนองค์การยูเนสโก “ กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีในความสําเร็จของประเทศไทย ” เมื่อ เวลา ๑๓.๓๐ น. ของวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีโครงการรายงานผลการดําเนินการแก้ปัญหาประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ โรงแรมเซาท์เทิร์น วิว ปัตตานี จังหวัดปัตตานี พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า ตั้งอยู่ที่กองพลทหารราบที่ ๑๕ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย อําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ทําหน้าที่ในการประสานงาน เชื่อมโยงให้หน่วยงานทางการศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ๕ จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ ๔ อําเภอของจังหวัดสงขลา คือ อําเภอจะนะ เทพา นาทวีและสะบ้าย้อย ให้สามารถบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการให้เกิดประสิทธิภาพและมีคุณภาพ โดยมีกรอบทิศทางการจัดการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๐ ปี ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ คือ ๑) การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ๒) ผลิตและพัฒนากําลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน ๓) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ๔) การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมทางการศึกษา ๕) การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ๖) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา การแก้ปัญหาประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหนึ่งในงานที่รัฐบาล นําโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ให้มีคุณภาพ พร้อมสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอันดีงามตามประเพณี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนเท่าทันต่อพัฒนาการและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องยอมรับว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ค่อนข้างยากและสะสมมาเป็นเวลานาน แต่ด้วยความเพียรและมุ่งมั่นตั้งใจของทุกคน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในตลอด ๗ เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่การประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันว่า “ พวกเราจะร่วมติดตาม ช่วยเหลือ สนับสนุน แก้ไขปัญหา ให้เด็กวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ ได้เข้ารับการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ครบทุกคน โดยเร็ว ” เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยน้อมนํายุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” เป็นหลักคิดในการดําเนินงาน ตั้งแต่การจัดทําฐานข้อมูลนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ การศึกษาระเบียบกฎหมาย ตลอดจนกําหนดแนวทางการดําเนินงาน ติดตาม ค้นหาสาเหตุ และจัดหาที่เรียน พร้อมกําหนดผู้รับผิดชอบดูแลนักเรียน และติดตามผลเป็นระยะ จึงได้เกิดเป็นวันแห่งความภาคภูมิใจร่วมกันในครั้งนี้ ซึ่งมีผลการดําเนินโครงการแก้ปัญหาอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ โดยสามารถนําประชากรวัยเรียนอายุระหว่าง ๓-๑๘ ปี เข้าสู่ระบบการศึกษาได้กว่า ๒๗,๓๗๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๔๕ ของจํานวนเด็กที่อยู่นอกระบบฯ จํานวน๔๕,๒๘๙ คน ภารกิจครั้งนี้ ถือว่าประสบความสําเร็จแล้วในระดับหนึ่ง ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ ประชารัฐ ” ที่เป็นแบบอย่างของการทํางานที่ดีในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ สูตรความสําเร็จ “ ความสําเร็จต้องเกิดจากความเพียร ความร่วมมือและประชารัฐ ” ความเพียรนั้นหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ความมุ่งมั่น ส่วนความร่วมมือ คือการทํางานในลักษณะการบูรณาการ สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น จึงขอขอบคุณทุกคนทุกฝ่ายทั้งสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า) ที่ริเริ่มและรวบรวมข้อมูลเชื่อมโยงสู่ระดับจังหวัดและอําเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอําเภอ ผู้นําท้องถิ่น ผู้นําศาสนา และทุกองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมขับเคลื่อนงานแต่ละขั้นตอนจนมีความก้าวหน้ามาโดยลําดับ รวมทั้งประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครองที่สนับสนุนให้บุตรหลานเข้ามาเรียนหนังสือ เพราะตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษาที่จะเป็นรากฐานสําคัญของชีวิต ขอขอบคุณทุกภาคส่วนอีกครั้ง ที่ได้ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาการศึกษาตลอดระยะเวลา ๓ ปีที่ผ่านมา โดยน้อมนําพระบรมราโชวาทในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐) มาเป็นหลักในการปฏิบัติงาน ซึ่งทรงพระราชทานเกี่ยวกับการศึกษาที่ต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน คือ ๑) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ที่ยึดมั่นในสถาบันชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ รู้รักสามัคคี ๒) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม ๓) มีงานทํา มีอาชีพ ๔) เป็นพลเมืองดี และได้มอบโล่เกียรติคุณ ให้กับหน่วยงาน จํานวน ๔๓ หน่วยงาน ประกอบด้วย ๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด ๕ จังหวัด ๒) สํานักงานศึกษาธิการจังหวัด ๕ จังหวัด ๓) สพป./สพม. ๑๓ เขต ๔) กศน.จังหวัด ๕ จังหวัด ๕) สช.จังหวัด ๕ จังหวัด ๖) สํานักงานอาชีวศึกษา ๕ จังหวัด และศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด ๕ จังหวัด พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตร/ทุนการศึกษาแก่เด็กดีขยันเรียน จํานวน ๒๖ คน ต่อจากนั้น นายอิชิโร มิยาซาวา ผู้เชี่ยวชาญด้านการรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต องค์การยูเนสโก ได้กล่าว ชื่นชมและแสดงความยินดีกับประเทศไทย ที่ประสบความสําเร็จในการแก้ปัญหาประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือว่าไทยเป็นประเทศผู้นําด้านการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน เพราะมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงการศึกษา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) ทรงมีพระราชดําริริเริ่มการส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะบริเวณชายแดน และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงสืบสานพระราชปณิธาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมาร นอกจากนี้ ไทยยังเป็นผู้นําในการยกร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนตกหล่น ซึ่งปฏิญญาฉบับนี้ได้รับการลงนามและรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน เมื่อปี ๒๕๕๐ ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน จํานวนประชากรตกหล่นทางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน มีมากถึง ๔.๑ ล้านคน ซึ่งจํานวนนี้เป็นเพียงการประมาณการของรัฐบาลเท่านั้น เชื่อว่าหากสํารวจอย่างจริงจังคงมีจํานวนสูงกว่านี้แน่นอน ดังนั้น จึงมีความจําเป็นที่ทุกประเทศต้องมีความร่วมมือในการให้การศึกษาแก่เด็กตกหล่นร่วมกัน ถือว่าความพยายามในแก้ปัญหาเด็กตกหล่นของไทยตลอด ๗ เดือนที่ผ่านมา ได้สอดคล้องและเป็นไปตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนตกหล่น จึงสมควรเผยแพร่ผลความสําเร็จให้ทั่วโลกรับรู้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล และในฐานะองค์การยูเนสโก ต้องขอแสดงความยินดีกับทุกหน่วยงานที่ได้รับโล่เกียรติคุณและเกียรติบัตรเด็กดีขยันเรียนทุกคนในวันนี้ และหวังว่าจะมีการขยายผลการดําเนินงานไปยังจังหวัดอื่นทั่วประเทศไทย รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เด็กอายุระหว่าง ๓-๑๘ ปี กว่า ๒.๗ หมื่นคนกลับเข้ามาเรียนได้สำเร็จ วันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2561 เด็กอายุระหว่าง ๓-๑๘ ปี กว่า ๒.๗ หมื่นคนกลับเข้ามาเรียนได้สําเร็จ “ สุรเชษฐ์ ” ก้าวเดินตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๐ ปี ด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ “ เห็นผลลัพธ์ในเชิงประจักษ์ ” “ นายอิชิโร มิยาซาวา ” ผู้แทนองค์การยูเนสโก “ กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีในความสําเร็จของประเทศไทย ” เมื่อ เวลา ๑๓.๓๐ น. ของวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีโครงการรายงานผลการดําเนินการแก้ปัญหาประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ โรงแรมเซาท์เทิร์น วิว ปัตตานี จังหวัดปัตตานี พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า ตั้งอยู่ที่กองพลทหารราบที่ ๑๕ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย อําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ทําหน้าที่ในการประสานงาน เชื่อมโยงให้หน่วยงานทางการศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ๕ จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ ๔ อําเภอของจังหวัดสงขลา คือ อําเภอจะนะ เทพา นาทวีและสะบ้าย้อย ให้สามารถบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการให้เกิดประสิทธิภาพและมีคุณภาพ โดยมีกรอบทิศทางการจัดการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๐ ปี ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ คือ ๑) การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ๒) ผลิตและพัฒนากําลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน ๓) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ๔) การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมทางการศึกษา ๕) การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ๖) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา การแก้ปัญหาประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหนึ่งในงานที่รัฐบาล นําโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ให้มีคุณภาพ พร้อมสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอันดีงามตามประเพณี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนเท่าทันต่อพัฒนาการและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องยอมรับว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ค่อนข้างยากและสะสมมาเป็นเวลานาน แต่ด้วยความเพียรและมุ่งมั่นตั้งใจของทุกคน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในตลอด ๗ เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่การประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันว่า “ พวกเราจะร่วมติดตาม ช่วยเหลือ สนับสนุน แก้ไขปัญหา ให้เด็กวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ ได้เข้ารับการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ครบทุกคน โดยเร็ว ” เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยน้อมนํายุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” เป็นหลักคิดในการดําเนินงาน ตั้งแต่การจัดทําฐานข้อมูลนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ การศึกษาระเบียบกฎหมาย ตลอดจนกําหนดแนวทางการดําเนินงาน ติดตาม ค้นหาสาเหตุ และจัดหาที่เรียน พร้อมกําหนดผู้รับผิดชอบดูแลนักเรียน และติดตามผลเป็นระยะ จึงได้เกิดเป็นวันแห่งความภาคภูมิใจร่วมกันในครั้งนี้ ซึ่งมีผลการดําเนินโครงการแก้ปัญหาอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ โดยสามารถนําประชากรวัยเรียนอายุระหว่าง ๓-๑๘ ปี เข้าสู่ระบบการศึกษาได้กว่า ๒๗,๓๗๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๔๕ ของจํานวนเด็กที่อยู่นอกระบบฯ จํานวน๔๕,๒๘๙ คน ภารกิจครั้งนี้ ถือว่าประสบความสําเร็จแล้วในระดับหนึ่ง ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ ประชารัฐ ” ที่เป็นแบบอย่างของการทํางานที่ดีในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ สูตรความสําเร็จ “ ความสําเร็จต้องเกิดจากความเพียร ความร่วมมือและประชารัฐ ” ความเพียรนั้นหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ความมุ่งมั่น ส่วนความร่วมมือ คือการทํางานในลักษณะการบูรณาการ สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น จึงขอขอบคุณทุกคนทุกฝ่ายทั้งสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า) ที่ริเริ่มและรวบรวมข้อมูลเชื่อมโยงสู่ระดับจังหวัดและอําเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอําเภอ ผู้นําท้องถิ่น ผู้นําศาสนา และทุกองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมขับเคลื่อนงานแต่ละขั้นตอนจนมีความก้าวหน้ามาโดยลําดับ รวมทั้งประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครองที่สนับสนุนให้บุตรหลานเข้ามาเรียนหนังสือ เพราะตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษาที่จะเป็นรากฐานสําคัญของชีวิต ขอขอบคุณทุกภาคส่วนอีกครั้ง ที่ได้ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาการศึกษาตลอดระยะเวลา ๓ ปีที่ผ่านมา โดยน้อมนําพระบรมราโชวาทในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐) มาเป็นหลักในการปฏิบัติงาน ซึ่งทรงพระราชทานเกี่ยวกับการศึกษาที่ต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน คือ ๑) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ที่ยึดมั่นในสถาบันชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ รู้รักสามัคคี ๒) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม ๓) มีงานทํา มีอาชีพ ๔) เป็นพลเมืองดี และได้มอบโล่เกียรติคุณ ให้กับหน่วยงาน จํานวน ๔๓ หน่วยงาน ประกอบด้วย ๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด ๕ จังหวัด ๒) สํานักงานศึกษาธิการจังหวัด ๕ จังหวัด ๓) สพป./สพม. ๑๓ เขต ๔) กศน.จังหวัด ๕ จังหวัด ๕) สช.จังหวัด ๕ จังหวัด ๖) สํานักงานอาชีวศึกษา ๕ จังหวัด และศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด ๕ จังหวัด พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตร/ทุนการศึกษาแก่เด็กดีขยันเรียน จํานวน ๒๖ คน ต่อจากนั้น นายอิชิโร มิยาซาวา ผู้เชี่ยวชาญด้านการรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต องค์การยูเนสโก ได้กล่าว ชื่นชมและแสดงความยินดีกับประเทศไทย ที่ประสบความสําเร็จในการแก้ปัญหาประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือว่าไทยเป็นประเทศผู้นําด้านการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน เพราะมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงการศึกษา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) ทรงมีพระราชดําริริเริ่มการส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะบริเวณชายแดน และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงสืบสานพระราชปณิธาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมาร นอกจากนี้ ไทยยังเป็นผู้นําในการยกร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนตกหล่น ซึ่งปฏิญญาฉบับนี้ได้รับการลงนามและรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน เมื่อปี ๒๕๕๐ ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน จํานวนประชากรตกหล่นทางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน มีมากถึง ๔.๑ ล้านคน ซึ่งจํานวนนี้เป็นเพียงการประมาณการของรัฐบาลเท่านั้น เชื่อว่าหากสํารวจอย่างจริงจังคงมีจํานวนสูงกว่านี้แน่นอน ดังนั้น จึงมีความจําเป็นที่ทุกประเทศต้องมีความร่วมมือในการให้การศึกษาแก่เด็กตกหล่นร่วมกัน ถือว่าความพยายามในแก้ปัญหาเด็กตกหล่นของไทยตลอด ๗ เดือนที่ผ่านมา ได้สอดคล้องและเป็นไปตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนตกหล่น จึงสมควรเผยแพร่ผลความสําเร็จให้ทั่วโลกรับรู้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล และในฐานะองค์การยูเนสโก ต้องขอแสดงความยินดีกับทุกหน่วยงานที่ได้รับโล่เกียรติคุณและเกียรติบัตรเด็กดีขยันเรียนทุกคนในวันนี้ และหวังว่าจะมีการขยายผลการดําเนินงานไปยังจังหวัดอื่นทั่วประเทศไทย รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนด้วย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13773
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-20 กรกฎาคม 2560
วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2560 20 กรกฎาคม 2560 คํากล่าวพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้" เวลา 09.30 น. ณ ห้อง World Ballroom A ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ รองนายกรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้บริหารระดับสูงของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้า คณาจารย์ต่าง ๆ ตลอดจน คณบดี จากหลายมหาวิทยาลัย และผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้”ในวันนี้ เรื่องวิจัยและพัฒนามีการพูดกันมานานแล้ว ตั้งแต่ในอดีตก่อนผมมาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือก่อนผมมาเป็นอะไรก็แล้วแต่ พูดกันมาตั้งแต่ผมยังเด็กยันโต สิ่งที่วันนี้ที่เป็นปัญหาในประเทศของเราคือการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ นําสิ่งที่เราคิดและปฏิบัติไปสู่การเดินหน้าประเทศของเรา การที่เราจะสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนนั้น เราต้องดูตัวอย่างจากต่างประเทศที่เขาเจริญเติบโตมานี้ด้วยอะไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิจัยและพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคง หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องดูว่าเขาโตมาอย่างไร จนเขามีวันนี้ วันนี้รัฐบาลนี้เข้ามา ก็มาดูในมิติเหล่านี้ด้วยว่าเราจะโตจะพาประเทศไปตรงไหน ถึงแม้เราจะเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่เราก็มีศักยภาพในหลาย ๆ ด้าน เราต้องค้นหาศักยภาพของเราให้เจอ เมื่อเราหาศักยภาพให้เจอ เราก็นําไปสู่กานวิจัยการคิดค้นงานวิจัยต่าง ๆ ออกมา นอกจากได้รายได้จากการส่งของของประเทศเพียงอย่างเดียว เหมือนตอนเด็กๆ ที่เรียนมาสินค้าส่งออกของเราคืออะไร ข้าว ยาง ไม้สัก ดีบุก ถ่านหิน ซึ่งหมดแล้ว เหลือแต่ข้าว ยางพารา ปาล์ม ที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ และผลิตผลทางการเกษตร นี่แหละสิ่งที่มีศักยภาพอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะเป็นต้นทางในการคิดทุกเรื่อง ในการทํางาน การนําประเทศให้ก้าวหน้าไปสู่ 4.0 เราจะต้องทําอย่างไร 4.0 จึงจะเกิด ใน 1.0 2.0 และ 3.0 ไปด้วย เอาเขาไปด้วย ฝึกให้แรงงานก็มี ด้านการเกษตรก็มี แปลงขนาดเล็กก็มี ขนาดกลางก็มี การใช้ภูมิปัญญาจะต้องไปด้วยกันทั้งหมดประเทศไทยมีคนตั้ง 60 กว่าล้านคน มีเกษตรกรหลาย 10 ล้านคน ซึ่งแน่นอนไม่มีความพอเพียงในการใช้จ่ายประจําวัน ซึ่งในโลกปัจจุบัน โลกยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคไอทีมาขับเคลื่อนสังคมอยู่ในขณะนี้ รวดเร็ว คิดน้อย ใช้ระยะเวลาสั้น ฉะนั้นทุกอย่างจะมาเร็วทั้งหมด ถ้าการศึกษาไม่คิด วิเคราะห์ให้เป็นก็จะไปกันใหญ่ ก็จะไปตามกระแสโลกทั้งหมด แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร เรายังไม่ต้องไปมอง 4.0 ไป 5.0 มันไปไม่ถึงหรอกครับ เพราะว่าเรายังไม่ได้ดู คนเหล่านี้ข้างล่างเราจะทําอย่างไรกับเขา วันนี้รัฐบาลพยายามทําทุกอย่าง ไม่ว่าจะรายได้น้อย รายได้ปานกลาง รายได้สูง เพราะทั้งหมดจะอยู่ในห่วงโซ่เดียวกันที่เป็นการเพิ่มมูลค่า ต้องถึงกัน ต้องกระจายรายได้ถึงกันให้ได้ ปัญหาของเราคือการกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง ความไม่เป็นธรรมในกายภาพ ถนนเส้นทางต่าง ๆ ก็ยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ บางพื้นที่ก็ไม่มีศักยภาพ ดินก็ไม่ดีน้ําก็น้อยอะไรก็น้อย ทั้งหมดคือแนวคิดของรัฐบาลว่า จะทําอย่างไรให้ทุกคนขับเคลื่อนไปสู่ 4.0 ได้อย่างไร การเป็น 4.0 ไม่ใช่ว่าเอาหุ่นยนต์มาทํานั่นนี่แล้วจะเป็น 4.0 ไม่ใช่ 4.0 ต้องทําตั้งกี่อย่าง ทําหลายอย่าง ตั้งแต่วิธีการคิด การบริหารจัดการ ทําให้มันรวดเร็วต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภายในภายนอก ต้องไปลดด้านเอกสารลง นําระบบไอทีมาบริหารงาน ทั้งหมดคือ 4.0 ไม่ใช่ทําแค่อย่างเดียว แล้วขึ้นป้ายว่า 4.0 ไม่ใช่ แม้กระทั้งทฤษฎีใหม่ แม้กระทั่งศาสตร์พระราชาก็เหมือนกัน ไม่ใช่ขึ้นป้ายเฉย ๆ ต้องเอากิจกรรมเอาปรัชญาที่ท่านเขียนไว้มาตีความ ว่าจะทําอะไรได้บ้าง แล้วเอาสิ่งนี้ไปขับเคลื่อนสังคม ประชาชน ขับเคลื่อนนักศึกษาว่าจะทําอะไร ไม่ใช่กล่าวแต่หลักการ หลักการ ไม่ได้ทําอะไรขึ้นมา แม้กระทั้งวิธีคิดของเด็กในวันนี้ ก็แตกต่างกันไปหมด ผมก็ได้ติดตามอยู่ว่าเป็นอย่างไร การขับเคลื่อนต่าง ๆ เป็นอย่างไร ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ การขับเคลื่อน 4.0 หรือขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา หรือขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือการศึกษาปัญหามีทั้งของเด็ก ของครู ปัญหาของผู้ปกครอง ของนักการเมือง ทั้งหมดการเมืองเข้ามาทั้งหมด แล้วจะไปได้ไหมประเทศของเรา ยังมีตัวอย่างอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้พูด เพราะเป็นปัญหาที่ผมต้องแบกรับอยู่ทุกวัน ซึ่งผมจําเป็นต้องทําอยู่แล้ว ไม่ได้บ่นว่าใครอยู่แล้ว แต่ทุกคนต้องคิดใหม่ทั้งหมด ถ้ายังติดตัวเองอยู่อย่างนี้ทั้งหมด ก็ไปไม่ได้ ว่าเราทําในวันนี้เราทําเพื่อใคร ปัญหาอยู่ตรงไหน เป้าหมายคืออะไร ต้องรวมกลุ่มกันให้ได้ รัฐบาลจะได้ส่งเสริมเป็นเรื่องเป็นราวไม่เช่นนั้นก็กระจัดกระจายเป็นเบี้ยหัวแตกทั้งหมด เพราะขั้นต้อนการพัฒนาเริ่มต้นจากการวิจัย เป้าหมายของการวิจัยคืออะไร และวิจัยเพื่อใคร กิจกรรมใดที่ควรจะต้องทํา เพราะถ้าเราไปทําแต่เรื่องใหม่ ๆ ก็ไม่ได้ เพราะเรื่องเก่า ๆ เราคือปัญหา ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เกิดจากยาง เกิดจากข้าว ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ต้องไปดูว่าสิ่งหนึ่งที่มีมาก แล้วไม่มีทางที่ราคาจะสูงขึ้น เพราะหลายประเทศเขามีการผลิตเอง หลายประเทศเขาไปซื้อในที่ถูกกว่า ในขณะต้นทุนของเราสูงที่สุด ในการผลิตข้าวสูงที่สุดในการผลิตยางต่อกิโล กิโลหนึ่งบอกว่าลงทุน 3.50 บาท ถ้าขายได้ 3.50 ก็จะเสมอตัวไม่มีกําไร นี่คือปัญหาของเรา และมีการทับซ้อนของกลุ่ม ต่าง ๆ จนประชาชนไม่เข้าใจ สบสนอลหม่านไปหมดเกิดอะไรกับเศรษฐกิจในวันนี้ ที่ไม่ดี ไม่ดีเพราะอะไร และไม่ดีจากเศรษฐกิจพื้นฐานหรือฐานรากหรือเปล่า หรือเศรษฐกิจไม่ดีที่เกิดจากรัฐบาลนี้ทํางาน ผมขอไม่กล่าวถึงเรื่อง ต่าง ๆ ของการทํางานที่ผ่าน ๆ มา เพราะภาระตกมาถึงรัฐบาลนี้ทั้งหมด แต่เราต้องแก้ให้ได้ ที่พูดในวันนี้คือเราต้องทําอย่างไร ให้การวิจัยและพัฒนาให้กลับมาสู่คนชั้นล่างสุด นี่คือเป้าหมายที่ผมต้องการ ส่วนที่จะก้าวไปสู่ 4.0 การใช้หุ่นยนต์ก็ว่ากันไป อันนี้เป็นการเพิ่มรายได้ อยู่ในS Curveใหม่ เราต้องวิจัยและพัฒนาจากS Curveเดิม การลดต้นทุน ถามว่าต้นทุนเกิดจากอะไร การทํานา เช่านา จ้างคนจ้างทั้งหมด ค่าจ้างคนวันละ 300 บาท ข้าวกี่เดือนเก็บเกี่ยว ค่าแรงงานหมดไปจํานวนเท่าไหร่ นั้นแหละคือสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งสังคมไม่รู้ ซึ่งถูกบิดเบือนมาโดยตลอด วันนี้รัฐบาลมาแก้ตั้งแต่ค่าเช่านา ตั้งแต่หนี้สิน ตั้งแต่อะไรต่าง ๆ แต่ทั้งหมดกลับมาว่ารัฐบาลแก้ไม่ได้ นี่คือสิ่งที่ผมไม่อยากจะบอกว่า นี่คือวิจัยพัฒนาความคิดก่อนว่าทําอย่างไรคนจึงจะเข้าใจตรงนี้ ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ก็เป็นอยู่อย่างนี้แหละครับ วันหน้าเป็นเช่นนี้อีกแล้วจะไปได้อย่างไร ประชุมกันตั้งไม่รู้กี่ครั้ง เพราะฉะนั้นทุกประเทศที่มีความก้าวหน้า ให้ความสําคัญกับการพัฒนางานวิจัยและงานประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ผมเปิดดูโทรทัศน์ เขามีการพัฒนาไฟฟ้าหลอดไฟฟ้า ทุกประเทศที่มีความก้าวหน้าให้ความสําคัญกับการพัฒนาและวิจัยการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ผมเปิดดูทีวีโทรทัศน์เขาผลิตตั้งแต่ไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า คนที่คิดหลอดไฟฟ้าคนแรก เอดิสัน จริง ๆ แล้วไม่ใช่มีคนหนึ่งผลิตออกมาแล้วเราสู้จนกระทั่งตัวตายนั่นแหละ ผลิตก่อนทํางานเสร็จแล้วผลิต ท้ายสุดก็ผลิตเอง คนนี้ก็ไม่ได้อะไร สู้คดีไม่รู้กี่ปี หลายอย่างเป็นแบบนี้หมด เฉพาะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เป็นตัวอย่าง เฉพาะฉะนั้นเราต้องให้กับคนที่วิจัยและพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนหรือภาคสถาบันการศึกษา วันนี้การพัฒนาอยู่ใน 3 ของรัฐ ราชการ 2. ภาคธุรกิจเอกชน 3. สถาบันการศึกษา ทั้ง 3 อย่างมีบุคลากรที่ผมคิดว่าพอเพียง ในครั้งนี้ ผมถึงอยากให้กลับมาย้อนดูว่า เราจะมาวิจัย พัฒนากันอย่างไร คลัสเตอร์ได้ไหม ถ้าเราต่างคนต่างทํา ต่างคนต่างวิจัยก็ได้ถึงประชาชนส่งมาไม่ได้ก็ไม่ก้าวหน้าติดอยู่ตรงนี้ สิ่งนี้ก็ได้แค่นี้ สิ่งนี้ได้ต่ํากว่า นี้แต่รวมกันไม่ได้ ทําไมเราไม่รวมเป็นคลัสเตอร์มา คลัสเตอร์เรื่องนี้จะทําอย่างไร มหาวิทยาลัยไหนมาร่วมตรงนี้ได้บ้าง สิ่งไหนเป็นหลักในการเป็นหัวหน้าคลัสเตอร์ ตรงนี้ต้องยอมรับรัฐบาลต้องสนับสนุนได้ สามารถที่จะกําหนดการช่วยเหลือ การสนับสนุนเป็นเรื่องเป็นราวต่อไป ถ้าทําก็มีคนละร้อยอย่าง ผมก็เดินดูทีละร้อยอย่าง ผมทําให้ไม่ได้ช้าเกินไป ฉะนั้น ตรงนี้ผมทําให้เป็นคลัสเตอร์ขึ้นมา มีหัวหน้ามหาวิทยาลัยไหนถัดทางไหนก็ทําตรงนั้น ที่เหลือก็ให้มหาวิทยาลัยเขาทํา เป็นหัวหน้าสนับสนุน รัฐบาลจะให้เป็นกลุ่มไปได้ และนําไปสู่การผลิต การขึ้นทะเบียน การผ่านคณะกรรมการอาหารและยา จนกระทั่งไปสู่การจับคู่ธุรกิจถ้าเราสามารถเริ่มต้นทางได้ ก็จะไปได้ตลอดทาง แล้วก็ฝากด้วยว่าควรกําหนดเป้าหมายไว้ด้วย ทุกอย่างรัฐบาลนี้เข้ามา มีการประชุมเป็นพันเรื่องที่เข้ามา ประชุมกว่าพันครั้ง หมื่นครั้งแล้วเหนื่อยนะ การประชุมเป็นการแก้ปัญหาที่โดยเร็วที่สุด หลักการทางวิชาการประชุม ไปและเพื่อจะไปประชุมต่อ แล้วกลับมาอีกทีถึงผู้รับผิดชอบแต่ก็มีอุปสรรคเกิดขึ้น หลังจากนี้ไป รัฐบาลต้องเร่งรัดในเรื่องเหล่านี้ การประชุมต้องมีข้อมติ ที่ประชุมได้อะไร และทําอะไรไปแล้วและทําเลย ผมปลดล็อคให้ถ้า ไม่ทําแบบนี้ก็ไม่ทําตาม Road Map ผมก็พยายามอย่างเต็มที่ ฉะนั้นเราต้องนําปัจจัยที่ประเทศมีอยู่เดิมที่กล่าวไปแล้วความสัมพันธ์ทางชีวภาพ หลากหลายทางวัฒนธรรม สร้างสรรค์เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม วันนี้มีหลายอย่างที่เป็นวิจัยนวัตกรรม สิ่งหนึ่งที่ผมเห็น เรื่องของเรื่องทางเมคคานิค ทางยานยนต์ สู่อุตสาหกรรมยานยนต์จักรยานยนต์ ผมบอกให้หลายอย่างผิดกฎหมาย แต่ถ้าทําออกมาแล้วคิดว่าทําสิ่งนี้ทําอย่างไรให้ถูกต้อง ไม่ใช่ทําเสียงดังเพียงอย่างเดียว ให้รถวิ่งเร็วขึ้น ไปเรียกมาบรรจุสรรพาวุธทําให้เป็นเรื่องเป็นราว ผลิตปืนพกภัยออกมา มีดดาบต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่เช่นนั้น นวัตกรรมก็สูญหายไปหมด ผมพูดในหลักการในทางบริหารต้องเป็นเช่นนี้ ผมอยากให้ยุติธรรมกันทําให้ถูกต้องนําคนเหล่านี้เข้ามาช่วยกันพัฒนาประเทศ ในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ วันนี้บางทีก็คิดเร็วเกินไป การคิดเร็วเกินไม่เกิดไม่ครบวงจร คิดแต่สิ่งดี ๆ ฉะนั้นไม่มีภูมิคุ้มกันในการทําเรื่องเหล่านั้น ก็ดูว่าผลิตมาแล้วจะขายใครความต้องการตลาดเพียงพอหรือไม่ ถ้าคิดไปแล้ว ต้องกําหนดตลาดว่าเช่นนี้จะพอไหม ต้องหารือกันตั้งแต่ต้น ถ้าผลิตแล้วจะไปแข่งขันกันในเรื่องของการตลาดจากพื้นฐานต้องคิดได้มาตรฐานว่าทําไปแล้วดีกับคนไทย ดีกับเกษตรกร ดีกับกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้น ถ้าทําธุรกิจก็ได้ประโยชน์ด้านเครื่องจักร เครื่องไม้ เครื่องมือก็ดีขึ้นขณะเดียวกันกลุ่มเกษตรกรก็ดีขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นการพัฒนามีอยู่ 2 อย่างก็คือ พัฒนาเพื่อยกระดับรายได้ของประเทศ คนฐานะระดับปานกลางวัตถุประสงค์หลักที่สําคัญ การวิจัยให้คนที่มีรายได้น้อยเขามีรายได้สูงขึ้น ไม่ใช่ชิ้นงานเดียวหลายชิ้นงานด้วยกัน ฝากคิดด้วยว่าจะทําอย่างไร เพราะวันนี้ราคาสินค้าการเกษตรไม่มีทางที่จะสูงขึ้นไปกว่านี้ เว้นแต่โลกจะถล่ม ภัยพิบัติ ปลูกข้าวไม่ได้ ปลูกยางไม่ได้ ถึงจะสูงขึ้นเพราะไม่มีใครปลูกได้เท่าประเทศ วันนี้ดูยอดการผลิต การขายของสินค้าเหล่านี้ สินค้าเกษตรส่งมาที่สุด ภูมิใจที่หนึ่งของโลกแต่ราคาต่ํา ราคาไม่ได้ขาดทุนผมไม่ภูมิใจตรงนั้น ผมภูมิใจว่าส่งให้น้อยที่สุดแต่ราคาดีที่สุด จึงไปสู่การพัฒนาข้าวคุณภาพไปสู่การข้าวอินทรีย์ ข้าว GAP วันนี้ผมให้แก้เรื่องข้าวแก้ไขไป เรื่องยางไปถามว่า แก้ไปทุกคนร่วมมือกันหรือไม่ ใครร่วมมือก็ได้ไม่ร่วมมือก็ได้ แต่ผมรู้ว่าแก้ไขได้ในบางส่วน แก้ไขแล้วถ้าทุกคนร่วมมือก็ได้ การทําโครงสร้างให้เข้มแข็งก็ได้ก็เกิด แต่บางคนก็ยังฟังคนข้างนอกเข้าเดี๋ยวเข้ามาจะทําให้ เข้ามาจะทําอย่างไร ก็ผมถามว่าจะทําอย่างไร จะไปเพิ่มตรงปลายให้เงินแบบเดิมเหรอ ให้ไม่ได้หรอก ผิดตั้งแต่พันธะสัญญา ผิดอะไรต่าง ๆ มากมายไปหมด จะไปเน้นว่าให้ประชาชนก็เป็นอยู่แบบเดิมท้ายสุดก็มีปัญหามากมายตามมา วันนี้ก็เราก็พยายามที่จะระบายออกไปให้ได้มากที่สุด ก็ถ้าทุกคนไม่ซื่อสัตย์ต่อกันก็จะลําบากกันไปหมดจะเอาแต่ประโยชน์ ๆ ไม่เคยรู้จักว่าจะทําอย่างไรให้ประเทศชาติ ผมก็เหน็ดเหนื่อยกับเรื่องพวกนี้ ผมตามไล่จับก็พยายามเต็มที่ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่จะหาประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น วันนี้เราต้องทําสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มีคุณค่าสูงขึ้น มีมูลค่ามากขึ้น ลดการพึ่งพาประเทศอื่น ๆ ให้มากขึ้น อะไรที่เขาคิดไว้แล้วราคาไม่แพงนักไม่ต้องคิดใหม่หรอกครับ คิดใหม่แล้วสู้เขาได้ไหมไม่ได้อีก เพราะเขาคิดมากแล้วมันสุดแค่นั้น ก็ไปคิดเรื่องใหม่ ๆ แล้วก็มาต่อยอดของเขา ทําจากตู้เย็นไปเป็นเครื่องรีดผ้าได้ไหม อะไรอย่างนี้คิดอย่างนี้ก็ไปได้ คิดอะไรที่นอกเหนือจากประเทศอื่นก็ทําได้เอง ทําเป็นเสียบไฟในนั้นเป็นทั้งตู้เย็น ตู้น้ําร้อนอยู่ในตู้เดียวกันคิดให้นอกกรอบก้าวหน้ามากขึ้นคิดให้แปลกแหวกแนว คิดแบบเดิม คิดว่าเป็นตู้เย็นก็คือตู้เย็น ไม่ได้หรอก ลองคิดให้มันแปลกๆ เขาเรียกว่าสร้างสรรค์แต่มันต้องทําได้จริง เราจะได้ลดการพึ่งพาประเทศอื่นและการส่งออกขายต่างประเทศได้ด้วย เพราะฉะนั้น วันนี้งานวิจัยรู้แล้วอยู่ที่ไหน ถามว่ามีกี่แห่งผลงานวิจัยเป็นแสนกว่ารายการ วันนี้ลดลงมาเหลือหมื่นกว่ารายการ ที่คัดกรองออกมาแล้วได้หมื่นกว่ารายการ ถ้าคัดอีกก็จะเหลือพันกว่ารายการ เอามาผลิตได้เองก็20กว่ารายการ ต้องย้อนกลับไปดูว่าปัญหาอยู่ตรงไหน ปัญหาเป้าหมายครั้งแรกนั้นถูกต้องมั้ย การสนุนทุนนั้นว่าอย่างไร ทุนมาจากไหนมาจากรัฐบาลมาจากมหาวิทยาลัยมาจากธุรกิจเอกชน เมื่อคิดออกมาแล้วคิดอะไรเป้าหมายในการผลิตไม่ใช่สั่งมาแล้ว เอาไปใช้ข้างนอกไปเพิ่มมูลค่ามหาศาลโดยผู้ผลิต มหาวิทยาลัย สถานศึกษาไม่ได้อะไรกลับมามากนัก ผมถึงบอกสิทธิของคนวิจัย สิทธิของสถาบัน สิทธิของรัฐจะต้องได้ เพราะทั้งหมดนั้นเป็นการพิจารณาโดยใช้คนของรัฐ ส่วนหนึ่งใช้อุปกรณ์ของรัฐ ห้องวิจัยพัฒนาของรัฐ ของมหาวิทยาลัย รัฐก็เป็นคนสนับสนุนด้วยต้องมองตรงนี้ว่าเราจะให้อย่างไร สัดส่วนเราควรจะเป็นเท่าไรไม่ว่าจะทําโดยรัฐให้ทํา โดยภาคเอกชนมาให้ทํามันมีทุนจากหลายส่วนมาด้วยกัน เหล่านี้ไปคิดให้เขา เขาจะได้มีกําลังใจในการทําต่อไปคิดต่อไปแต่ต้องมีเป้าหมายไม่ใช่ทําเพื่อวิทยฐานะ แล้วเสร็จแล้วกลับมาสู่การขับเคลื่อนตรงนี้ ตั้งแต่ทุน การวิจัย และนําสู่ความสําเร็จแต่ส่งต่อไม่ได้เอาไปขึ้นหิ้ง ผมอ่านแล้วก็สะท้อนใจ คิดออกมาได้ยังไงบางอันวิจัยออกมาได้อย่างไร มันไม่ตรงกับความเป็นจริงดี ๆ มีมากแต่บางคนเป็นผลการวิจัยไป ผมอ่านแบบนี้มันไม่ได้ขึ้นหิ้งนะ ไปย่อยสลายตรงนู้น คือคิดเองไปหมดคิดอย่างนี้คิดอย่างนั้น โลกสวยหมดเลยมันทําได้จริงหรือเปล่า มันต้องไปดูสิ่งความเป็นจริงของประเทศไทย ความเป็นจริงของคนไทยที่สุดยอดของโลกใบนี้ ผมว่าเราเก่งกาจสามารถในทุก ๆ เรื่อง ถ้าร่วมมือกัน เพราะฉะนั้น ขอให้ทําเรื่องนี้จริงจังมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 4 ประเด็น คือนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยว่าการของประเทศ ระบบทหารการจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการ ติดตามประเมินผล การพัฒนาบุคลากร วิทยาศาสตร์โดยต้องมีกระบวนการสองอย่าง 1. นักวิทยาพัฒนาปัจจุบัน 2. รุ่นใหม่ที่ผลิตออกมาของกระทรวงศึกษา หรือหน่วยงานไหนก็แล้วแต่ ต้องมีหน่วยงานรุ่นใหม่มารองรับตรงนี้ เราต้องตั้งกันตั้งแต่วันนี้ ถ้าเราไม่เปิดตัวเองอย่างนี้ไม่เปิดโลกให้กว้าง เราก็จะเป็นอยู่ของเราเช่นนี้หลายอย่างเราจําป็นต้องเอาคนมา ไม่ใช่เอามาแล้วว่าเราไม่เก่ง เอามาเพื่อชั่งการรับรู้ว่าเป็นความร่วมมือจากต่างประเทศ หมอ แพทย์ พยาบาล หมอแพทย์ที่มีชื่อเสียงในโลกมาเปิดหัวตรงนี้ มาที่ประเทศไทยอย่างน้อยบินมาเดือนละครั้ง 2 ครั้ง ลูกค้าก็ตามมาหมดตามหมอคนนี้เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เราอย่าปิดตัวเองให้มากนัก แต่จะต้องไม่ทําให้คนของเราเสียหาย เรื่องนี้นั้นเป็นสิ่งสําคัญ การศึกษาด้วย การพัฒนา บุคลากรวิจัยพัฒนา มีทั้งการผลิตใหม่ให้ดีกว่าเดิม ต่อยอดใครที่จบไปแล้วไม่มีงานทํา ไปทํางานที่ยังไม่ได้ไปทํางานด้านนี้เพราะว่าจําเป็นต้องหาหารายได้เลี้ยงชีพ เอาเขามาทํางานเอามาทําพาร์ทไทม์ไม่ก็ฟูลไทม์หรือว่าต่อยอดเขา บางคนวันนี้จบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ไปทําตั้งหลายอย่างบางคนก็ไปแล้ว แทนที่จะได้ทํางานแบบนี้เพราะว่ารายได้ไม่เพียงพอ พ่อแม่เดือดร้อน ออกไปทําเกษตรรวยมาก จบปริญญาเอก ปริญญาโท วิศวกรรมด้วยไปทําเหนือ อีสานไปทํานารวยอยู่แล้วตอนนี้ ช่วงที่ผมไปต่างประเทศ คนไทยที่ไปทํางานต่างประเทศจํานวนมากมาเจอผม เขาบอกว่าเขาพร้อมจะช่วยประเทศไทย คนที่ผลิตเสาอากาศขึ้นไปดาวอังคาร เพราะทีมของคนไทยเป็นคนคิดเขาบอกพร้อมจะช่วยไทย ต้องหาทางให้เขาร่วมมือ เขามีใจอยากจะทําแต่พอมาแล้วมันติดผมไม่ไว้หรอกครับผมคุยไม่ได้ มันต่อกันไม่ได้ ผมขอเถอะ หลาย ๆ ประเทศที่ผมไปทุกประเทศคนไทยมาดีใจนายกรัฐมนตรีไป มาขอพบผม อยากช่วยครับ ผมไม่ลืมแผ่นดินแม่แผ่นดินพ่อ แล้วถามว่างานไปถึงไหนเขาหนีกลับไปแล้วผมละเหนื่อย จริง ๆ ช่วยผมหน่อยเถอะเปิดใจให้กว้าง ใครก็ได้ทํางานให้ประเทศไทย การวิจัยพัฒนาวันนี้ ผมอยากให้เป็นการวิจัยพัฒนาเพื่อชาติและประชาชน ไม่ใช่เพื่อธุรกิจ ใด ๆ ทั้งสิ้น ธุรกิจมันอยู่ภายในตรงนี้อยู่แล้ว เพื่อชาติเพื่อประชาชนตรงนี้ มันจะรวมเพื่อเกษตรกร เพื่อธุรกิจ เพื่อ S-Curve , New S-Curve ซึ่งไปเขียนโครงสร้างมาให้ดีแล้วก็ทําให้เร็วด้วย เพระฉะนั้นที่เราสร้างสิ่งเหล่านี้ได้ ทั้งคนทั้งวิธีการทั้งบริหารจัดการ ทั้งทุน ผมว่าประเทศไทยจะเป็นมหาอํานาจได้อย่างน้อยก็มหาอํานาจทางอาหาร เพราะวันหน้าเราก็ไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้นในโลกใบนี้ วันนี้ระหว่างที่เขารบกันอยู่ ไทยก็ไม่ไปรบ ผมว่าคนไทยต้องดูแลกันเอง สิ่งเหล่านั้นที่มันอยู่รอบ ๆ บ้านเรา เราก็ต้องไปเพิ่มมาตรการเรื่องความมั่นคง แข็งแรง ส่วนเรื่องการวิจัย วิศวกรก็ไปดู จะวิจัยอะไรเอามาให้ผมแล้วจะซื้อ ซื้อได้มั้ยมันต้องผ่านมาตรฐาน AIJ ต่างประเทศ คิดให้มันผ่านมาตรฐาน AIJ ถ้าจะทําเสื้อเกราะมันต้องทําอุโมงค์เพื่อทดสอบเพื่อรับรองมาตรฐานว่าอุโมงค์แบบนี้รับได้ และส่งเสริมให้มันต่อกันให้ได้ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งแต่ละแหล่งมีความเข้มแข็งที่แตกต่างกัน บางอย่างก็เหมือนกันบางอย่างก็คล้ายกัน และบางอย่างก็แตกต่างกัน มอบหมายให้รัฐมนตรีกับรองนายกรัฐมนตรีไปขดําเนินการ จะได้ไปดูว่าจะสนับสนุนได้อย่างไรให้ครบวงจร เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจดิจิตอล เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็ขอชื่นชมผลงานของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ที่เป็นต้นแบบของการทํางานร่วมกันกับภาคเอกชน ขอบคุณภาคเอกชนด้วย ภาคธุรกิจเอกชน ประเทศไทยต้องเดินหน้าด้วยประชารัฐ ไม่ใช่รัฐ ประชารัฐ รัฐโดยข้าราชการ ประชาชน ประชาสังคม ไม่อย่างนั้นไม่เดินหน้าต่อไปได้ NGO วันนี้ก็ต้องร่วมมือกับรัฐบาลเปิดเวทีเข้ามา ไม่ใช่เข้ามาจับผิด เข้ามาดูว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน จะแก้อย่างไรโดยที่เราไม่ต้องละเมิดสิทธิมนุษยชน มันเป็นอย่างนั้นไม่ใช่หรือ ไม่ใช่ไม่ให้ทําอะไรเลย เพราะมันจะละเมิด ๆ ทําอะไรไม่ได้เลย แล้วประเทศไทยก็ติดกับดักอยู่แบบนี้ น้ําท่วม ฝนแล้ง ทําอะไรไม่ได้ ไฟฟ้า ขยะ เพราะจะทําให้เกิดความเสียหายกับคนตรงนี้ แล้วคนตรงอื่นละ สรุปว่าไม่มีใครสร้างโรงงานขยะ แล้วจะเอาขยะไปทิ้งไหนลงทะเลหรืออย่างไร มันไม่ได้ทั้งหมด ในเมื่อเขามีเทคโนโลยี มีการสร้างการรับรู้แล้วมันแก้ปัญหาได้ก็ลองดูว่าแก้ได้ไหม ถ้าเขาทําแล้วแก้ไม่ได้ก็ปิดกันไป เขาดูแลประชาชนในพื้นที่ไหม พอเพียงไหม บางที่บางโครงการ 80 เปอร์เซ็นต์ 90 เปอร์เซ็นต์สนับสนุนทั้งหมด แล้ว 10 เปอร์เซ็นต์ ก็รอให้ข้าราชการทําต่อ เสร็จแล้วก็ละเมิดสิทธิมนุษยชน บังคับเขา แล้วผมถามว่าเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้องเป็นเช่นนี้หรือไม่ ประชาชนคือเสียงส่วนใหญ่ใช่ไหม แล้วเขาดูแลประชาชนส่วนน้อยอย่างไรละ ถ้าการกีดกันการทํางานแบบนี้มันดูแลประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อยหรือมีสิ่ง วันนี้เขาก็ดูแลอยู่ในหลาย ๆ เรื่อง เรื่องพลังงานไฟฟ้า บางพื้นที่ก็ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า เพราะเขาดูแลให้ เงินสนับสนุนท้องที่ในการพัฒนาก็มีอยู่ ผมไม่ได้อะไรกับเขาเลย ข้ามมาในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างประมูลก็ว่ามาให้ถูกต้อง แต่มันต้องเกิด วันนี้ผมเห็นมีการระงับโรงงานกําจัดขยะมีพิษของกระทรวงสาธารณสุข แล้วจะไปทิ้งไหน ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่อีกหน่อยคงเอาขยะไปทิ้งบ้านคนไข้ ให้คนไข้แบกกลับไปด้วย เอากลับไปบ้าน มันต้องไปอธิบายคนให้เข้าใจ บางอย่างก็เพื่อส่วนร่วม แต่จะต้องระมัดระวัง แล้วจะทําอย่างไรถึงจะไม่เกิดขึ้น ไม่อย่างนั้นปัญหาก็อยู่อย่างนี้ หรือหมักหมมอยู่อย่างนี้ ข้าราชการก็โดนทุกวัน เข้าใจไม่ตรงกัน พื้นฐานไม่ตรงกัน เรื่องโอทอป เรื่องอะไรต่าง ๆ เรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์อะไรต่าง ๆ อะไรที่ทํามาแล้วหรือว่าขายไม่ออก อย่าคิดว่าทํา ๆ มีปริมาณมากไม่ได้ อันนี้พอเลิกเถอะ ทําอย่างนี้ดีกว่า ไม่อย่างนั้นก็ปล่อยเขาทําไปเรื่อยแล้วก็ขายไม่ออก แล้วถึงเวลาบางพื้นที่ก่อนหน้านี้ ผมไปดูตอนแรก ๆ ยังไม่ได้พัฒนาตอนนี้ ป้า ๆ ยาย ๆ เขาบอกว่ารัฐบาลก่อหวอดให้ผมให้ทําสาร ไม่รู้อะไรสักอย่าง สารนี้มาเลยเดี๋ยวรัฐบาลจะมาสนับสนุน ผมถามป้าตอนนี้อายุเท่าไร อายุ 67 ผมถามป้าเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็ยังอยู่ อันนี้ที่บอกจะมาเอาเขาไปทําต่อยังไม่มาเลย นี้ถึงจะเป็นข้อเท็จจริง ก่อนหน้านี้เราก็พัฒนาโอทอปมาแล้ว อันนี้ผมได้ข่าวว่าการสร้างงานในพื้นที่ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของกระทรวงลงมาซื้อได้อยู่ที่สําเพ็ง ซื้อของสําเพ็ง เอาขึ้นไปทางบนเขาทออะไรสักอย่าง มันได้คุ้มไหม หรือสักแต่ว่าทอตรงโน้น แล้วมาซื้อของตรงนี้เอาไปไว้ให้ของตรงโน้น ทําไหมไม่ไปทําตั้งแต่ต้นทางตรงโน้น มีอัตลักษณ์ ก็อย่างนี้มันไม่ได้ ซึ่งผมจะไม่ชอบเรื่องเหล่านี้นะ มาต่อยอดอะไรทําแล้วก็ทําต่อไป อย่างไหนที่เขาทําไว้แล้วหยุดอยู่ตรงนั้นแล้วดีก็มาต่อยอด ทําวิจัยเพิ่มเติม แล้วผลตอบแทนให้ได้ ทั้งมหาวิทยาลัย ทั้งกลุ่มงาน ผู้วิจัย รัฐบาลก็ต้องได้ อะไรที่จําเป็นต้องลดลง ต้องเป็นแรงจูงใจก็บอกมา รัฐบาลก็แก้ได้หมด ไปคิดที่เดียวให้ครบ ประชุมครั้งแรกสําคัญที่สุดทุกเรื่อง เอาทุกเรื่องมาพูด อันนี้ทําได้ ทําเลย ครั้งหน้ามารายงาน แล้วที่เหลือ ไปประชุมกันมา อนุกรรมการไปคุยกันมา ครั้งหน้ามาประชุมทําอย่างนี้สําเร็จทุกงาน เรื่องอาหารสัตว์เหมือนกัน ข้าวโพด ผมถามว่าปัญหาข้าวโพดอยู่ที่ไหน ก็ข้าวโพดมันดีมันล้นตลาด บางทีก็ขาดตลาด เพราะว่าปลูกพื้นที่ที่คุมไม่ได้ พอราคาดีก็ปลูกเพิ่ม จากราคาดีก็กลายเป็นราคาตก เพราะไปปลูกในพื้นที่ที่ไม่ใช้ของตัวเอง ไปปลูกในป่าในเขา พอปลูกเยอะก็ราคาตก พอปลูกน้อยขาดตลาด การจัดการทําไม่พอ พันธสัญญาโลกต้องรับซื้อข้าวสาลีเข้ามา ก็ต้องไปดูว่าต้องซื้อเท่าไร ซื้อน้อยกว่านี้ได้ไหม ภาษีจะขึ้นได้ไหม คือต้องดูที่ระบบการค้าเสรีเขาด้วย ไม่ใช่มามองต้นทาง จะแก้ต้นทางไปจนสุดปลายทางแล้ว ทั้งหมดนี้ไม่ทําอะไรเลย ไม่ทําตามหลักการทั้งสิ้น มันแก้ไม่ได้หรอกครับ อย่างนั้นก็ลองไปคิดดูว่าข้าวโพดจะทําอย่างไร อันนี้ไม่ต้องไปคิดเรื่องข้าวโพดให้ผลผลิตน้อยลง จากเดิมปลูกเยอะปลูกน้อยลง หาวิธีการไปคิดอาหารสัตว์ที่ต้องใช้ข้าวโพดมาก ๆ แล้วทําให้ข้าวโพดขายได้มากขึ้น ๆ แต่ราคาจะต้องไม่ตกต่ําจนเกินไป วันนี้ผมก็ได้แต่ให้นโยบายว่าอย่าไปซื้อในพื้นที่บุกรุก เรากําลังปรับเปลี่ยนไม่ได้สักอย่างเพราะว่ามันติดในเรื่องคนมีรายได้น้อย ติดกับคนที่เคยชินในวงจรในการธุรกิจแบบนี้ ชาวบ้านไม่ได้ผิดหรอกครับ พวกประกอบการที่ไม่ถูกต้อง พวกนี้ทําให้เขาเดือดร้อน เพราะตัวเองก็ไม่ยอมปรับเปลี่ยนตัวเอง เรื่องแรงงานก็พูดมากี่ปีแล้วไม่รู้ ฝากให้ฝ่ายพิจารณาเรื่องความคิดหน่อยว่าจะทําอย่างไร แต่ไม่เป็นไรเพื่อชาติ วันนี้ได้เวลาอันสมควรแล้วนะครับ ผมขอเปิดงาน “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้” ขออวยพรให้การจัดงานนี้ ประสบความสําเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ............................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-20 กรกฎาคม 2560 วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2560 20 กรกฎาคม 2560 คํากล่าวพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้" เวลา 09.30 น. ณ ห้อง World Ballroom A ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ รองนายกรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้บริหารระดับสูงของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้า คณาจารย์ต่าง ๆ ตลอดจน คณบดี จากหลายมหาวิทยาลัย และผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้”ในวันนี้ เรื่องวิจัยและพัฒนามีการพูดกันมานานแล้ว ตั้งแต่ในอดีตก่อนผมมาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือก่อนผมมาเป็นอะไรก็แล้วแต่ พูดกันมาตั้งแต่ผมยังเด็กยันโต สิ่งที่วันนี้ที่เป็นปัญหาในประเทศของเราคือการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ นําสิ่งที่เราคิดและปฏิบัติไปสู่การเดินหน้าประเทศของเรา การที่เราจะสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนนั้น เราต้องดูตัวอย่างจากต่างประเทศที่เขาเจริญเติบโตมานี้ด้วยอะไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิจัยและพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคง หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องดูว่าเขาโตมาอย่างไร จนเขามีวันนี้ วันนี้รัฐบาลนี้เข้ามา ก็มาดูในมิติเหล่านี้ด้วยว่าเราจะโตจะพาประเทศไปตรงไหน ถึงแม้เราจะเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่เราก็มีศักยภาพในหลาย ๆ ด้าน เราต้องค้นหาศักยภาพของเราให้เจอ เมื่อเราหาศักยภาพให้เจอ เราก็นําไปสู่กานวิจัยการคิดค้นงานวิจัยต่าง ๆ ออกมา นอกจากได้รายได้จากการส่งของของประเทศเพียงอย่างเดียว เหมือนตอนเด็กๆ ที่เรียนมาสินค้าส่งออกของเราคืออะไร ข้าว ยาง ไม้สัก ดีบุก ถ่านหิน ซึ่งหมดแล้ว เหลือแต่ข้าว ยางพารา ปาล์ม ที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ และผลิตผลทางการเกษตร นี่แหละสิ่งที่มีศักยภาพอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะเป็นต้นทางในการคิดทุกเรื่อง ในการทํางาน การนําประเทศให้ก้าวหน้าไปสู่ 4.0 เราจะต้องทําอย่างไร 4.0 จึงจะเกิด ใน 1.0 2.0 และ 3.0 ไปด้วย เอาเขาไปด้วย ฝึกให้แรงงานก็มี ด้านการเกษตรก็มี แปลงขนาดเล็กก็มี ขนาดกลางก็มี การใช้ภูมิปัญญาจะต้องไปด้วยกันทั้งหมดประเทศไทยมีคนตั้ง 60 กว่าล้านคน มีเกษตรกรหลาย 10 ล้านคน ซึ่งแน่นอนไม่มีความพอเพียงในการใช้จ่ายประจําวัน ซึ่งในโลกปัจจุบัน โลกยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคไอทีมาขับเคลื่อนสังคมอยู่ในขณะนี้ รวดเร็ว คิดน้อย ใช้ระยะเวลาสั้น ฉะนั้นทุกอย่างจะมาเร็วทั้งหมด ถ้าการศึกษาไม่คิด วิเคราะห์ให้เป็นก็จะไปกันใหญ่ ก็จะไปตามกระแสโลกทั้งหมด แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร เรายังไม่ต้องไปมอง 4.0 ไป 5.0 มันไปไม่ถึงหรอกครับ เพราะว่าเรายังไม่ได้ดู คนเหล่านี้ข้างล่างเราจะทําอย่างไรกับเขา วันนี้รัฐบาลพยายามทําทุกอย่าง ไม่ว่าจะรายได้น้อย รายได้ปานกลาง รายได้สูง เพราะทั้งหมดจะอยู่ในห่วงโซ่เดียวกันที่เป็นการเพิ่มมูลค่า ต้องถึงกัน ต้องกระจายรายได้ถึงกันให้ได้ ปัญหาของเราคือการกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง ความไม่เป็นธรรมในกายภาพ ถนนเส้นทางต่าง ๆ ก็ยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ บางพื้นที่ก็ไม่มีศักยภาพ ดินก็ไม่ดีน้ําก็น้อยอะไรก็น้อย ทั้งหมดคือแนวคิดของรัฐบาลว่า จะทําอย่างไรให้ทุกคนขับเคลื่อนไปสู่ 4.0 ได้อย่างไร การเป็น 4.0 ไม่ใช่ว่าเอาหุ่นยนต์มาทํานั่นนี่แล้วจะเป็น 4.0 ไม่ใช่ 4.0 ต้องทําตั้งกี่อย่าง ทําหลายอย่าง ตั้งแต่วิธีการคิด การบริหารจัดการ ทําให้มันรวดเร็วต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภายในภายนอก ต้องไปลดด้านเอกสารลง นําระบบไอทีมาบริหารงาน ทั้งหมดคือ 4.0 ไม่ใช่ทําแค่อย่างเดียว แล้วขึ้นป้ายว่า 4.0 ไม่ใช่ แม้กระทั้งทฤษฎีใหม่ แม้กระทั่งศาสตร์พระราชาก็เหมือนกัน ไม่ใช่ขึ้นป้ายเฉย ๆ ต้องเอากิจกรรมเอาปรัชญาที่ท่านเขียนไว้มาตีความ ว่าจะทําอะไรได้บ้าง แล้วเอาสิ่งนี้ไปขับเคลื่อนสังคม ประชาชน ขับเคลื่อนนักศึกษาว่าจะทําอะไร ไม่ใช่กล่าวแต่หลักการ หลักการ ไม่ได้ทําอะไรขึ้นมา แม้กระทั้งวิธีคิดของเด็กในวันนี้ ก็แตกต่างกันไปหมด ผมก็ได้ติดตามอยู่ว่าเป็นอย่างไร การขับเคลื่อนต่าง ๆ เป็นอย่างไร ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ การขับเคลื่อน 4.0 หรือขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา หรือขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือการศึกษาปัญหามีทั้งของเด็ก ของครู ปัญหาของผู้ปกครอง ของนักการเมือง ทั้งหมดการเมืองเข้ามาทั้งหมด แล้วจะไปได้ไหมประเทศของเรา ยังมีตัวอย่างอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้พูด เพราะเป็นปัญหาที่ผมต้องแบกรับอยู่ทุกวัน ซึ่งผมจําเป็นต้องทําอยู่แล้ว ไม่ได้บ่นว่าใครอยู่แล้ว แต่ทุกคนต้องคิดใหม่ทั้งหมด ถ้ายังติดตัวเองอยู่อย่างนี้ทั้งหมด ก็ไปไม่ได้ ว่าเราทําในวันนี้เราทําเพื่อใคร ปัญหาอยู่ตรงไหน เป้าหมายคืออะไร ต้องรวมกลุ่มกันให้ได้ รัฐบาลจะได้ส่งเสริมเป็นเรื่องเป็นราวไม่เช่นนั้นก็กระจัดกระจายเป็นเบี้ยหัวแตกทั้งหมด เพราะขั้นต้อนการพัฒนาเริ่มต้นจากการวิจัย เป้าหมายของการวิจัยคืออะไร และวิจัยเพื่อใคร กิจกรรมใดที่ควรจะต้องทํา เพราะถ้าเราไปทําแต่เรื่องใหม่ ๆ ก็ไม่ได้ เพราะเรื่องเก่า ๆ เราคือปัญหา ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เกิดจากยาง เกิดจากข้าว ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ต้องไปดูว่าสิ่งหนึ่งที่มีมาก แล้วไม่มีทางที่ราคาจะสูงขึ้น เพราะหลายประเทศเขามีการผลิตเอง หลายประเทศเขาไปซื้อในที่ถูกกว่า ในขณะต้นทุนของเราสูงที่สุด ในการผลิตข้าวสูงที่สุดในการผลิตยางต่อกิโล กิโลหนึ่งบอกว่าลงทุน 3.50 บาท ถ้าขายได้ 3.50 ก็จะเสมอตัวไม่มีกําไร นี่คือปัญหาของเรา และมีการทับซ้อนของกลุ่ม ต่าง ๆ จนประชาชนไม่เข้าใจ สบสนอลหม่านไปหมดเกิดอะไรกับเศรษฐกิจในวันนี้ ที่ไม่ดี ไม่ดีเพราะอะไร และไม่ดีจากเศรษฐกิจพื้นฐานหรือฐานรากหรือเปล่า หรือเศรษฐกิจไม่ดีที่เกิดจากรัฐบาลนี้ทํางาน ผมขอไม่กล่าวถึงเรื่อง ต่าง ๆ ของการทํางานที่ผ่าน ๆ มา เพราะภาระตกมาถึงรัฐบาลนี้ทั้งหมด แต่เราต้องแก้ให้ได้ ที่พูดในวันนี้คือเราต้องทําอย่างไร ให้การวิจัยและพัฒนาให้กลับมาสู่คนชั้นล่างสุด นี่คือเป้าหมายที่ผมต้องการ ส่วนที่จะก้าวไปสู่ 4.0 การใช้หุ่นยนต์ก็ว่ากันไป อันนี้เป็นการเพิ่มรายได้ อยู่ในS Curveใหม่ เราต้องวิจัยและพัฒนาจากS Curveเดิม การลดต้นทุน ถามว่าต้นทุนเกิดจากอะไร การทํานา เช่านา จ้างคนจ้างทั้งหมด ค่าจ้างคนวันละ 300 บาท ข้าวกี่เดือนเก็บเกี่ยว ค่าแรงงานหมดไปจํานวนเท่าไหร่ นั้นแหละคือสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งสังคมไม่รู้ ซึ่งถูกบิดเบือนมาโดยตลอด วันนี้รัฐบาลมาแก้ตั้งแต่ค่าเช่านา ตั้งแต่หนี้สิน ตั้งแต่อะไรต่าง ๆ แต่ทั้งหมดกลับมาว่ารัฐบาลแก้ไม่ได้ นี่คือสิ่งที่ผมไม่อยากจะบอกว่า นี่คือวิจัยพัฒนาความคิดก่อนว่าทําอย่างไรคนจึงจะเข้าใจตรงนี้ ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ก็เป็นอยู่อย่างนี้แหละครับ วันหน้าเป็นเช่นนี้อีกแล้วจะไปได้อย่างไร ประชุมกันตั้งไม่รู้กี่ครั้ง เพราะฉะนั้นทุกประเทศที่มีความก้าวหน้า ให้ความสําคัญกับการพัฒนางานวิจัยและงานประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ผมเปิดดูโทรทัศน์ เขามีการพัฒนาไฟฟ้าหลอดไฟฟ้า ทุกประเทศที่มีความก้าวหน้าให้ความสําคัญกับการพัฒนาและวิจัยการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ผมเปิดดูทีวีโทรทัศน์เขาผลิตตั้งแต่ไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า คนที่คิดหลอดไฟฟ้าคนแรก เอดิสัน จริง ๆ แล้วไม่ใช่มีคนหนึ่งผลิตออกมาแล้วเราสู้จนกระทั่งตัวตายนั่นแหละ ผลิตก่อนทํางานเสร็จแล้วผลิต ท้ายสุดก็ผลิตเอง คนนี้ก็ไม่ได้อะไร สู้คดีไม่รู้กี่ปี หลายอย่างเป็นแบบนี้หมด เฉพาะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เป็นตัวอย่าง เฉพาะฉะนั้นเราต้องให้กับคนที่วิจัยและพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนหรือภาคสถาบันการศึกษา วันนี้การพัฒนาอยู่ใน 3 ของรัฐ ราชการ 2. ภาคธุรกิจเอกชน 3. สถาบันการศึกษา ทั้ง 3 อย่างมีบุคลากรที่ผมคิดว่าพอเพียง ในครั้งนี้ ผมถึงอยากให้กลับมาย้อนดูว่า เราจะมาวิจัย พัฒนากันอย่างไร คลัสเตอร์ได้ไหม ถ้าเราต่างคนต่างทํา ต่างคนต่างวิจัยก็ได้ถึงประชาชนส่งมาไม่ได้ก็ไม่ก้าวหน้าติดอยู่ตรงนี้ สิ่งนี้ก็ได้แค่นี้ สิ่งนี้ได้ต่ํากว่า นี้แต่รวมกันไม่ได้ ทําไมเราไม่รวมเป็นคลัสเตอร์มา คลัสเตอร์เรื่องนี้จะทําอย่างไร มหาวิทยาลัยไหนมาร่วมตรงนี้ได้บ้าง สิ่งไหนเป็นหลักในการเป็นหัวหน้าคลัสเตอร์ ตรงนี้ต้องยอมรับรัฐบาลต้องสนับสนุนได้ สามารถที่จะกําหนดการช่วยเหลือ การสนับสนุนเป็นเรื่องเป็นราวต่อไป ถ้าทําก็มีคนละร้อยอย่าง ผมก็เดินดูทีละร้อยอย่าง ผมทําให้ไม่ได้ช้าเกินไป ฉะนั้น ตรงนี้ผมทําให้เป็นคลัสเตอร์ขึ้นมา มีหัวหน้ามหาวิทยาลัยไหนถัดทางไหนก็ทําตรงนั้น ที่เหลือก็ให้มหาวิทยาลัยเขาทํา เป็นหัวหน้าสนับสนุน รัฐบาลจะให้เป็นกลุ่มไปได้ และนําไปสู่การผลิต การขึ้นทะเบียน การผ่านคณะกรรมการอาหารและยา จนกระทั่งไปสู่การจับคู่ธุรกิจถ้าเราสามารถเริ่มต้นทางได้ ก็จะไปได้ตลอดทาง แล้วก็ฝากด้วยว่าควรกําหนดเป้าหมายไว้ด้วย ทุกอย่างรัฐบาลนี้เข้ามา มีการประชุมเป็นพันเรื่องที่เข้ามา ประชุมกว่าพันครั้ง หมื่นครั้งแล้วเหนื่อยนะ การประชุมเป็นการแก้ปัญหาที่โดยเร็วที่สุด หลักการทางวิชาการประชุม ไปและเพื่อจะไปประชุมต่อ แล้วกลับมาอีกทีถึงผู้รับผิดชอบแต่ก็มีอุปสรรคเกิดขึ้น หลังจากนี้ไป รัฐบาลต้องเร่งรัดในเรื่องเหล่านี้ การประชุมต้องมีข้อมติ ที่ประชุมได้อะไร และทําอะไรไปแล้วและทําเลย ผมปลดล็อคให้ถ้า ไม่ทําแบบนี้ก็ไม่ทําตาม Road Map ผมก็พยายามอย่างเต็มที่ ฉะนั้นเราต้องนําปัจจัยที่ประเทศมีอยู่เดิมที่กล่าวไปแล้วความสัมพันธ์ทางชีวภาพ หลากหลายทางวัฒนธรรม สร้างสรรค์เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม วันนี้มีหลายอย่างที่เป็นวิจัยนวัตกรรม สิ่งหนึ่งที่ผมเห็น เรื่องของเรื่องทางเมคคานิค ทางยานยนต์ สู่อุตสาหกรรมยานยนต์จักรยานยนต์ ผมบอกให้หลายอย่างผิดกฎหมาย แต่ถ้าทําออกมาแล้วคิดว่าทําสิ่งนี้ทําอย่างไรให้ถูกต้อง ไม่ใช่ทําเสียงดังเพียงอย่างเดียว ให้รถวิ่งเร็วขึ้น ไปเรียกมาบรรจุสรรพาวุธทําให้เป็นเรื่องเป็นราว ผลิตปืนพกภัยออกมา มีดดาบต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่เช่นนั้น นวัตกรรมก็สูญหายไปหมด ผมพูดในหลักการในทางบริหารต้องเป็นเช่นนี้ ผมอยากให้ยุติธรรมกันทําให้ถูกต้องนําคนเหล่านี้เข้ามาช่วยกันพัฒนาประเทศ ในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ วันนี้บางทีก็คิดเร็วเกินไป การคิดเร็วเกินไม่เกิดไม่ครบวงจร คิดแต่สิ่งดี ๆ ฉะนั้นไม่มีภูมิคุ้มกันในการทําเรื่องเหล่านั้น ก็ดูว่าผลิตมาแล้วจะขายใครความต้องการตลาดเพียงพอหรือไม่ ถ้าคิดไปแล้ว ต้องกําหนดตลาดว่าเช่นนี้จะพอไหม ต้องหารือกันตั้งแต่ต้น ถ้าผลิตแล้วจะไปแข่งขันกันในเรื่องของการตลาดจากพื้นฐานต้องคิดได้มาตรฐานว่าทําไปแล้วดีกับคนไทย ดีกับเกษตรกร ดีกับกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้น ถ้าทําธุรกิจก็ได้ประโยชน์ด้านเครื่องจักร เครื่องไม้ เครื่องมือก็ดีขึ้นขณะเดียวกันกลุ่มเกษตรกรก็ดีขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นการพัฒนามีอยู่ 2 อย่างก็คือ พัฒนาเพื่อยกระดับรายได้ของประเทศ คนฐานะระดับปานกลางวัตถุประสงค์หลักที่สําคัญ การวิจัยให้คนที่มีรายได้น้อยเขามีรายได้สูงขึ้น ไม่ใช่ชิ้นงานเดียวหลายชิ้นงานด้วยกัน ฝากคิดด้วยว่าจะทําอย่างไร เพราะวันนี้ราคาสินค้าการเกษตรไม่มีทางที่จะสูงขึ้นไปกว่านี้ เว้นแต่โลกจะถล่ม ภัยพิบัติ ปลูกข้าวไม่ได้ ปลูกยางไม่ได้ ถึงจะสูงขึ้นเพราะไม่มีใครปลูกได้เท่าประเทศ วันนี้ดูยอดการผลิต การขายของสินค้าเหล่านี้ สินค้าเกษตรส่งมาที่สุด ภูมิใจที่หนึ่งของโลกแต่ราคาต่ํา ราคาไม่ได้ขาดทุนผมไม่ภูมิใจตรงนั้น ผมภูมิใจว่าส่งให้น้อยที่สุดแต่ราคาดีที่สุด จึงไปสู่การพัฒนาข้าวคุณภาพไปสู่การข้าวอินทรีย์ ข้าว GAP วันนี้ผมให้แก้เรื่องข้าวแก้ไขไป เรื่องยางไปถามว่า แก้ไปทุกคนร่วมมือกันหรือไม่ ใครร่วมมือก็ได้ไม่ร่วมมือก็ได้ แต่ผมรู้ว่าแก้ไขได้ในบางส่วน แก้ไขแล้วถ้าทุกคนร่วมมือก็ได้ การทําโครงสร้างให้เข้มแข็งก็ได้ก็เกิด แต่บางคนก็ยังฟังคนข้างนอกเข้าเดี๋ยวเข้ามาจะทําให้ เข้ามาจะทําอย่างไร ก็ผมถามว่าจะทําอย่างไร จะไปเพิ่มตรงปลายให้เงินแบบเดิมเหรอ ให้ไม่ได้หรอก ผิดตั้งแต่พันธะสัญญา ผิดอะไรต่าง ๆ มากมายไปหมด จะไปเน้นว่าให้ประชาชนก็เป็นอยู่แบบเดิมท้ายสุดก็มีปัญหามากมายตามมา วันนี้ก็เราก็พยายามที่จะระบายออกไปให้ได้มากที่สุด ก็ถ้าทุกคนไม่ซื่อสัตย์ต่อกันก็จะลําบากกันไปหมดจะเอาแต่ประโยชน์ ๆ ไม่เคยรู้จักว่าจะทําอย่างไรให้ประเทศชาติ ผมก็เหน็ดเหนื่อยกับเรื่องพวกนี้ ผมตามไล่จับก็พยายามเต็มที่ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่จะหาประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น วันนี้เราต้องทําสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มีคุณค่าสูงขึ้น มีมูลค่ามากขึ้น ลดการพึ่งพาประเทศอื่น ๆ ให้มากขึ้น อะไรที่เขาคิดไว้แล้วราคาไม่แพงนักไม่ต้องคิดใหม่หรอกครับ คิดใหม่แล้วสู้เขาได้ไหมไม่ได้อีก เพราะเขาคิดมากแล้วมันสุดแค่นั้น ก็ไปคิดเรื่องใหม่ ๆ แล้วก็มาต่อยอดของเขา ทําจากตู้เย็นไปเป็นเครื่องรีดผ้าได้ไหม อะไรอย่างนี้คิดอย่างนี้ก็ไปได้ คิดอะไรที่นอกเหนือจากประเทศอื่นก็ทําได้เอง ทําเป็นเสียบไฟในนั้นเป็นทั้งตู้เย็น ตู้น้ําร้อนอยู่ในตู้เดียวกันคิดให้นอกกรอบก้าวหน้ามากขึ้นคิดให้แปลกแหวกแนว คิดแบบเดิม คิดว่าเป็นตู้เย็นก็คือตู้เย็น ไม่ได้หรอก ลองคิดให้มันแปลกๆ เขาเรียกว่าสร้างสรรค์แต่มันต้องทําได้จริง เราจะได้ลดการพึ่งพาประเทศอื่นและการส่งออกขายต่างประเทศได้ด้วย เพราะฉะนั้น วันนี้งานวิจัยรู้แล้วอยู่ที่ไหน ถามว่ามีกี่แห่งผลงานวิจัยเป็นแสนกว่ารายการ วันนี้ลดลงมาเหลือหมื่นกว่ารายการ ที่คัดกรองออกมาแล้วได้หมื่นกว่ารายการ ถ้าคัดอีกก็จะเหลือพันกว่ารายการ เอามาผลิตได้เองก็20กว่ารายการ ต้องย้อนกลับไปดูว่าปัญหาอยู่ตรงไหน ปัญหาเป้าหมายครั้งแรกนั้นถูกต้องมั้ย การสนุนทุนนั้นว่าอย่างไร ทุนมาจากไหนมาจากรัฐบาลมาจากมหาวิทยาลัยมาจากธุรกิจเอกชน เมื่อคิดออกมาแล้วคิดอะไรเป้าหมายในการผลิตไม่ใช่สั่งมาแล้ว เอาไปใช้ข้างนอกไปเพิ่มมูลค่ามหาศาลโดยผู้ผลิต มหาวิทยาลัย สถานศึกษาไม่ได้อะไรกลับมามากนัก ผมถึงบอกสิทธิของคนวิจัย สิทธิของสถาบัน สิทธิของรัฐจะต้องได้ เพราะทั้งหมดนั้นเป็นการพิจารณาโดยใช้คนของรัฐ ส่วนหนึ่งใช้อุปกรณ์ของรัฐ ห้องวิจัยพัฒนาของรัฐ ของมหาวิทยาลัย รัฐก็เป็นคนสนับสนุนด้วยต้องมองตรงนี้ว่าเราจะให้อย่างไร สัดส่วนเราควรจะเป็นเท่าไรไม่ว่าจะทําโดยรัฐให้ทํา โดยภาคเอกชนมาให้ทํามันมีทุนจากหลายส่วนมาด้วยกัน เหล่านี้ไปคิดให้เขา เขาจะได้มีกําลังใจในการทําต่อไปคิดต่อไปแต่ต้องมีเป้าหมายไม่ใช่ทําเพื่อวิทยฐานะ แล้วเสร็จแล้วกลับมาสู่การขับเคลื่อนตรงนี้ ตั้งแต่ทุน การวิจัย และนําสู่ความสําเร็จแต่ส่งต่อไม่ได้เอาไปขึ้นหิ้ง ผมอ่านแล้วก็สะท้อนใจ คิดออกมาได้ยังไงบางอันวิจัยออกมาได้อย่างไร มันไม่ตรงกับความเป็นจริงดี ๆ มีมากแต่บางคนเป็นผลการวิจัยไป ผมอ่านแบบนี้มันไม่ได้ขึ้นหิ้งนะ ไปย่อยสลายตรงนู้น คือคิดเองไปหมดคิดอย่างนี้คิดอย่างนั้น โลกสวยหมดเลยมันทําได้จริงหรือเปล่า มันต้องไปดูสิ่งความเป็นจริงของประเทศไทย ความเป็นจริงของคนไทยที่สุดยอดของโลกใบนี้ ผมว่าเราเก่งกาจสามารถในทุก ๆ เรื่อง ถ้าร่วมมือกัน เพราะฉะนั้น ขอให้ทําเรื่องนี้จริงจังมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 4 ประเด็น คือนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยว่าการของประเทศ ระบบทหารการจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการ ติดตามประเมินผล การพัฒนาบุคลากร วิทยาศาสตร์โดยต้องมีกระบวนการสองอย่าง 1. นักวิทยาพัฒนาปัจจุบัน 2. รุ่นใหม่ที่ผลิตออกมาของกระทรวงศึกษา หรือหน่วยงานไหนก็แล้วแต่ ต้องมีหน่วยงานรุ่นใหม่มารองรับตรงนี้ เราต้องตั้งกันตั้งแต่วันนี้ ถ้าเราไม่เปิดตัวเองอย่างนี้ไม่เปิดโลกให้กว้าง เราก็จะเป็นอยู่ของเราเช่นนี้หลายอย่างเราจําป็นต้องเอาคนมา ไม่ใช่เอามาแล้วว่าเราไม่เก่ง เอามาเพื่อชั่งการรับรู้ว่าเป็นความร่วมมือจากต่างประเทศ หมอ แพทย์ พยาบาล หมอแพทย์ที่มีชื่อเสียงในโลกมาเปิดหัวตรงนี้ มาที่ประเทศไทยอย่างน้อยบินมาเดือนละครั้ง 2 ครั้ง ลูกค้าก็ตามมาหมดตามหมอคนนี้เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เราอย่าปิดตัวเองให้มากนัก แต่จะต้องไม่ทําให้คนของเราเสียหาย เรื่องนี้นั้นเป็นสิ่งสําคัญ การศึกษาด้วย การพัฒนา บุคลากรวิจัยพัฒนา มีทั้งการผลิตใหม่ให้ดีกว่าเดิม ต่อยอดใครที่จบไปแล้วไม่มีงานทํา ไปทํางานที่ยังไม่ได้ไปทํางานด้านนี้เพราะว่าจําเป็นต้องหาหารายได้เลี้ยงชีพ เอาเขามาทํางานเอามาทําพาร์ทไทม์ไม่ก็ฟูลไทม์หรือว่าต่อยอดเขา บางคนวันนี้จบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ไปทําตั้งหลายอย่างบางคนก็ไปแล้ว แทนที่จะได้ทํางานแบบนี้เพราะว่ารายได้ไม่เพียงพอ พ่อแม่เดือดร้อน ออกไปทําเกษตรรวยมาก จบปริญญาเอก ปริญญาโท วิศวกรรมด้วยไปทําเหนือ อีสานไปทํานารวยอยู่แล้วตอนนี้ ช่วงที่ผมไปต่างประเทศ คนไทยที่ไปทํางานต่างประเทศจํานวนมากมาเจอผม เขาบอกว่าเขาพร้อมจะช่วยประเทศไทย คนที่ผลิตเสาอากาศขึ้นไปดาวอังคาร เพราะทีมของคนไทยเป็นคนคิดเขาบอกพร้อมจะช่วยไทย ต้องหาทางให้เขาร่วมมือ เขามีใจอยากจะทําแต่พอมาแล้วมันติดผมไม่ไว้หรอกครับผมคุยไม่ได้ มันต่อกันไม่ได้ ผมขอเถอะ หลาย ๆ ประเทศที่ผมไปทุกประเทศคนไทยมาดีใจนายกรัฐมนตรีไป มาขอพบผม อยากช่วยครับ ผมไม่ลืมแผ่นดินแม่แผ่นดินพ่อ แล้วถามว่างานไปถึงไหนเขาหนีกลับไปแล้วผมละเหนื่อย จริง ๆ ช่วยผมหน่อยเถอะเปิดใจให้กว้าง ใครก็ได้ทํางานให้ประเทศไทย การวิจัยพัฒนาวันนี้ ผมอยากให้เป็นการวิจัยพัฒนาเพื่อชาติและประชาชน ไม่ใช่เพื่อธุรกิจ ใด ๆ ทั้งสิ้น ธุรกิจมันอยู่ภายในตรงนี้อยู่แล้ว เพื่อชาติเพื่อประชาชนตรงนี้ มันจะรวมเพื่อเกษตรกร เพื่อธุรกิจ เพื่อ S-Curve , New S-Curve ซึ่งไปเขียนโครงสร้างมาให้ดีแล้วก็ทําให้เร็วด้วย เพระฉะนั้นที่เราสร้างสิ่งเหล่านี้ได้ ทั้งคนทั้งวิธีการทั้งบริหารจัดการ ทั้งทุน ผมว่าประเทศไทยจะเป็นมหาอํานาจได้อย่างน้อยก็มหาอํานาจทางอาหาร เพราะวันหน้าเราก็ไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้นในโลกใบนี้ วันนี้ระหว่างที่เขารบกันอยู่ ไทยก็ไม่ไปรบ ผมว่าคนไทยต้องดูแลกันเอง สิ่งเหล่านั้นที่มันอยู่รอบ ๆ บ้านเรา เราก็ต้องไปเพิ่มมาตรการเรื่องความมั่นคง แข็งแรง ส่วนเรื่องการวิจัย วิศวกรก็ไปดู จะวิจัยอะไรเอามาให้ผมแล้วจะซื้อ ซื้อได้มั้ยมันต้องผ่านมาตรฐาน AIJ ต่างประเทศ คิดให้มันผ่านมาตรฐาน AIJ ถ้าจะทําเสื้อเกราะมันต้องทําอุโมงค์เพื่อทดสอบเพื่อรับรองมาตรฐานว่าอุโมงค์แบบนี้รับได้ และส่งเสริมให้มันต่อกันให้ได้ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งแต่ละแหล่งมีความเข้มแข็งที่แตกต่างกัน บางอย่างก็เหมือนกันบางอย่างก็คล้ายกัน และบางอย่างก็แตกต่างกัน มอบหมายให้รัฐมนตรีกับรองนายกรัฐมนตรีไปขดําเนินการ จะได้ไปดูว่าจะสนับสนุนได้อย่างไรให้ครบวงจร เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจดิจิตอล เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็ขอชื่นชมผลงานของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ที่เป็นต้นแบบของการทํางานร่วมกันกับภาคเอกชน ขอบคุณภาคเอกชนด้วย ภาคธุรกิจเอกชน ประเทศไทยต้องเดินหน้าด้วยประชารัฐ ไม่ใช่รัฐ ประชารัฐ รัฐโดยข้าราชการ ประชาชน ประชาสังคม ไม่อย่างนั้นไม่เดินหน้าต่อไปได้ NGO วันนี้ก็ต้องร่วมมือกับรัฐบาลเปิดเวทีเข้ามา ไม่ใช่เข้ามาจับผิด เข้ามาดูว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน จะแก้อย่างไรโดยที่เราไม่ต้องละเมิดสิทธิมนุษยชน มันเป็นอย่างนั้นไม่ใช่หรือ ไม่ใช่ไม่ให้ทําอะไรเลย เพราะมันจะละเมิด ๆ ทําอะไรไม่ได้เลย แล้วประเทศไทยก็ติดกับดักอยู่แบบนี้ น้ําท่วม ฝนแล้ง ทําอะไรไม่ได้ ไฟฟ้า ขยะ เพราะจะทําให้เกิดความเสียหายกับคนตรงนี้ แล้วคนตรงอื่นละ สรุปว่าไม่มีใครสร้างโรงงานขยะ แล้วจะเอาขยะไปทิ้งไหนลงทะเลหรืออย่างไร มันไม่ได้ทั้งหมด ในเมื่อเขามีเทคโนโลยี มีการสร้างการรับรู้แล้วมันแก้ปัญหาได้ก็ลองดูว่าแก้ได้ไหม ถ้าเขาทําแล้วแก้ไม่ได้ก็ปิดกันไป เขาดูแลประชาชนในพื้นที่ไหม พอเพียงไหม บางที่บางโครงการ 80 เปอร์เซ็นต์ 90 เปอร์เซ็นต์สนับสนุนทั้งหมด แล้ว 10 เปอร์เซ็นต์ ก็รอให้ข้าราชการทําต่อ เสร็จแล้วก็ละเมิดสิทธิมนุษยชน บังคับเขา แล้วผมถามว่าเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้องเป็นเช่นนี้หรือไม่ ประชาชนคือเสียงส่วนใหญ่ใช่ไหม แล้วเขาดูแลประชาชนส่วนน้อยอย่างไรละ ถ้าการกีดกันการทํางานแบบนี้มันดูแลประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อยหรือมีสิ่ง วันนี้เขาก็ดูแลอยู่ในหลาย ๆ เรื่อง เรื่องพลังงานไฟฟ้า บางพื้นที่ก็ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า เพราะเขาดูแลให้ เงินสนับสนุนท้องที่ในการพัฒนาก็มีอยู่ ผมไม่ได้อะไรกับเขาเลย ข้ามมาในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างประมูลก็ว่ามาให้ถูกต้อง แต่มันต้องเกิด วันนี้ผมเห็นมีการระงับโรงงานกําจัดขยะมีพิษของกระทรวงสาธารณสุข แล้วจะไปทิ้งไหน ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่อีกหน่อยคงเอาขยะไปทิ้งบ้านคนไข้ ให้คนไข้แบกกลับไปด้วย เอากลับไปบ้าน มันต้องไปอธิบายคนให้เข้าใจ บางอย่างก็เพื่อส่วนร่วม แต่จะต้องระมัดระวัง แล้วจะทําอย่างไรถึงจะไม่เกิดขึ้น ไม่อย่างนั้นปัญหาก็อยู่อย่างนี้ หรือหมักหมมอยู่อย่างนี้ ข้าราชการก็โดนทุกวัน เข้าใจไม่ตรงกัน พื้นฐานไม่ตรงกัน เรื่องโอทอป เรื่องอะไรต่าง ๆ เรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์อะไรต่าง ๆ อะไรที่ทํามาแล้วหรือว่าขายไม่ออก อย่าคิดว่าทํา ๆ มีปริมาณมากไม่ได้ อันนี้พอเลิกเถอะ ทําอย่างนี้ดีกว่า ไม่อย่างนั้นก็ปล่อยเขาทําไปเรื่อยแล้วก็ขายไม่ออก แล้วถึงเวลาบางพื้นที่ก่อนหน้านี้ ผมไปดูตอนแรก ๆ ยังไม่ได้พัฒนาตอนนี้ ป้า ๆ ยาย ๆ เขาบอกว่ารัฐบาลก่อหวอดให้ผมให้ทําสาร ไม่รู้อะไรสักอย่าง สารนี้มาเลยเดี๋ยวรัฐบาลจะมาสนับสนุน ผมถามป้าตอนนี้อายุเท่าไร อายุ 67 ผมถามป้าเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็ยังอยู่ อันนี้ที่บอกจะมาเอาเขาไปทําต่อยังไม่มาเลย นี้ถึงจะเป็นข้อเท็จจริง ก่อนหน้านี้เราก็พัฒนาโอทอปมาแล้ว อันนี้ผมได้ข่าวว่าการสร้างงานในพื้นที่ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของกระทรวงลงมาซื้อได้อยู่ที่สําเพ็ง ซื้อของสําเพ็ง เอาขึ้นไปทางบนเขาทออะไรสักอย่าง มันได้คุ้มไหม หรือสักแต่ว่าทอตรงโน้น แล้วมาซื้อของตรงนี้เอาไปไว้ให้ของตรงโน้น ทําไหมไม่ไปทําตั้งแต่ต้นทางตรงโน้น มีอัตลักษณ์ ก็อย่างนี้มันไม่ได้ ซึ่งผมจะไม่ชอบเรื่องเหล่านี้นะ มาต่อยอดอะไรทําแล้วก็ทําต่อไป อย่างไหนที่เขาทําไว้แล้วหยุดอยู่ตรงนั้นแล้วดีก็มาต่อยอด ทําวิจัยเพิ่มเติม แล้วผลตอบแทนให้ได้ ทั้งมหาวิทยาลัย ทั้งกลุ่มงาน ผู้วิจัย รัฐบาลก็ต้องได้ อะไรที่จําเป็นต้องลดลง ต้องเป็นแรงจูงใจก็บอกมา รัฐบาลก็แก้ได้หมด ไปคิดที่เดียวให้ครบ ประชุมครั้งแรกสําคัญที่สุดทุกเรื่อง เอาทุกเรื่องมาพูด อันนี้ทําได้ ทําเลย ครั้งหน้ามารายงาน แล้วที่เหลือ ไปประชุมกันมา อนุกรรมการไปคุยกันมา ครั้งหน้ามาประชุมทําอย่างนี้สําเร็จทุกงาน เรื่องอาหารสัตว์เหมือนกัน ข้าวโพด ผมถามว่าปัญหาข้าวโพดอยู่ที่ไหน ก็ข้าวโพดมันดีมันล้นตลาด บางทีก็ขาดตลาด เพราะว่าปลูกพื้นที่ที่คุมไม่ได้ พอราคาดีก็ปลูกเพิ่ม จากราคาดีก็กลายเป็นราคาตก เพราะไปปลูกในพื้นที่ที่ไม่ใช้ของตัวเอง ไปปลูกในป่าในเขา พอปลูกเยอะก็ราคาตก พอปลูกน้อยขาดตลาด การจัดการทําไม่พอ พันธสัญญาโลกต้องรับซื้อข้าวสาลีเข้ามา ก็ต้องไปดูว่าต้องซื้อเท่าไร ซื้อน้อยกว่านี้ได้ไหม ภาษีจะขึ้นได้ไหม คือต้องดูที่ระบบการค้าเสรีเขาด้วย ไม่ใช่มามองต้นทาง จะแก้ต้นทางไปจนสุดปลายทางแล้ว ทั้งหมดนี้ไม่ทําอะไรเลย ไม่ทําตามหลักการทั้งสิ้น มันแก้ไม่ได้หรอกครับ อย่างนั้นก็ลองไปคิดดูว่าข้าวโพดจะทําอย่างไร อันนี้ไม่ต้องไปคิดเรื่องข้าวโพดให้ผลผลิตน้อยลง จากเดิมปลูกเยอะปลูกน้อยลง หาวิธีการไปคิดอาหารสัตว์ที่ต้องใช้ข้าวโพดมาก ๆ แล้วทําให้ข้าวโพดขายได้มากขึ้น ๆ แต่ราคาจะต้องไม่ตกต่ําจนเกินไป วันนี้ผมก็ได้แต่ให้นโยบายว่าอย่าไปซื้อในพื้นที่บุกรุก เรากําลังปรับเปลี่ยนไม่ได้สักอย่างเพราะว่ามันติดในเรื่องคนมีรายได้น้อย ติดกับคนที่เคยชินในวงจรในการธุรกิจแบบนี้ ชาวบ้านไม่ได้ผิดหรอกครับ พวกประกอบการที่ไม่ถูกต้อง พวกนี้ทําให้เขาเดือดร้อน เพราะตัวเองก็ไม่ยอมปรับเปลี่ยนตัวเอง เรื่องแรงงานก็พูดมากี่ปีแล้วไม่รู้ ฝากให้ฝ่ายพิจารณาเรื่องความคิดหน่อยว่าจะทําอย่างไร แต่ไม่เป็นไรเพื่อชาติ วันนี้ได้เวลาอันสมควรแล้วนะครับ ผมขอเปิดงาน “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้” ขออวยพรให้การจัดงานนี้ ประสบความสําเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ ............................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5706
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ปลัดแรงงาน”นำเครือข่าย“ดวงตาแรงงาน”ประกาศเจตนารมณ์รวมพลังต่อต้านทุจริต
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 “ปลัดแรงงาน”นําเครือข่าย“ดวงตาแรงงาน”ประกาศเจตนารมณ์รวมพลังต่อต้านทุจริต “ปลัดแรงงาน”นําเครือข่าย“ดวงตาแรงงาน”ประกาศเจตนารมณ์รวมพลังสร้างการมีส่วนร่วม ในมิติใหม่ พัฒนาความร่วมมือ ภาครัฐ ประชาชน ป้องกัน ยับยั้ง เฝ้าระวังในระดับพื้นที่ต่อต้านการทุจริต ในทุกรูปแบบให้หมดไปจากสังคมไทย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต “ดวงตาแรงงาน” และนํากล่าวประกาศเจตนารมณ์ “กระทรวงแรงงาน รวมพลังเครือข่ายแรงงานร่วมต้านทุจริต” ณ โรงแรม อะเดรียติค พาเลซ กรุงเทพ โดยกล่าวว่า รัฐบาลได้กําหนดให้การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องเร่งผลักดันและรวมพลังสร้างจิตสํานึกของคนในชาติ ร่วมสกัดกั้นและพัฒนาระบบป้องกันการทุจริตในทุกรูปแบบ การสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชน จึงเป็นกลไกสําคัญในการปลูกจิตสํานึกในการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตที่ยั่งยืน สร้างความตระหนักร่วมในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ และยับยั้งการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ได้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ดําเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยใช้กลไกตามแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564) ภายใต้วิสัยทัศน์ ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต (Zero Tolerance & Clean Thailand) นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้พยายาม ปรับปรุง และเสริมสร้างกลไก รวมทั้งกําหนดมาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในทุกมิติ จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 - 2580) ได้กําหนดยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ส่งเสริมให้ประชาชนและภาคีต่าง ๆ ในสังคมร่วมมือกันในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ นายจรินทร์ฯ กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้จัดโครงการสนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต “ดวงตาแรงงาน”ขึ้น เพื่อเป็นมิติใหม่แห่งแนวทางการมีส่วนร่วมพัฒนาความร่วมมือและบูรณาการการทํางานระหว่างภาคราชการ ประชาชน ในการป้องกัน ยับยั้ง และเฝ้าระวังการทุจริตในระดับพื้นที่ ซึ่งคงไม่มุ่งหวังที่จะใช้การลงโทษผู้กระทําผิดจากการทุจริตเพียงอย่างเดียว เนื่องจากหากเกิดการทุจริตขึ้นแล้ว ทําให้สูญเสียงบประมาณ และล่าช้าในการสร้างความเจริญของประเทศ รวมทั้งความน่าเชื่อถือและเกียรติภูมิของชาติในสายตาต่างชาติอีกด้วย ซึ่งเมื่อเครือข่ายการมีส่วนร่วมได้ผ่านการอบรมในครั้งนี้ จะทําให้เกิดความร่วมมือในการทํางานร่วมกัน เพื่อสร้างชาติ พัฒนาที่มีคุณธรรม เพื่อแก้ไชปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันให้หมดไปจากสังคมไทยต่อไป -------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ชนินทร เพ็ชรทับ - ข่าว/ ชาญชัย ชาวหนองเพียร - ภาพ/ 11 ธันวาคม 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ปลัดแรงงาน”นำเครือข่าย“ดวงตาแรงงาน”ประกาศเจตนารมณ์รวมพลังต่อต้านทุจริต วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 “ปลัดแรงงาน”นําเครือข่าย“ดวงตาแรงงาน”ประกาศเจตนารมณ์รวมพลังต่อต้านทุจริต “ปลัดแรงงาน”นําเครือข่าย“ดวงตาแรงงาน”ประกาศเจตนารมณ์รวมพลังสร้างการมีส่วนร่วม ในมิติใหม่ พัฒนาความร่วมมือ ภาครัฐ ประชาชน ป้องกัน ยับยั้ง เฝ้าระวังในระดับพื้นที่ต่อต้านการทุจริต ในทุกรูปแบบให้หมดไปจากสังคมไทย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต “ดวงตาแรงงาน” และนํากล่าวประกาศเจตนารมณ์ “กระทรวงแรงงาน รวมพลังเครือข่ายแรงงานร่วมต้านทุจริต” ณ โรงแรม อะเดรียติค พาเลซ กรุงเทพ โดยกล่าวว่า รัฐบาลได้กําหนดให้การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องเร่งผลักดันและรวมพลังสร้างจิตสํานึกของคนในชาติ ร่วมสกัดกั้นและพัฒนาระบบป้องกันการทุจริตในทุกรูปแบบ การสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชน จึงเป็นกลไกสําคัญในการปลูกจิตสํานึกในการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตที่ยั่งยืน สร้างความตระหนักร่วมในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ และยับยั้งการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ได้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ดําเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยใช้กลไกตามแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564) ภายใต้วิสัยทัศน์ ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต (Zero Tolerance & Clean Thailand) นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้พยายาม ปรับปรุง และเสริมสร้างกลไก รวมทั้งกําหนดมาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในทุกมิติ จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 - 2580) ได้กําหนดยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ส่งเสริมให้ประชาชนและภาคีต่าง ๆ ในสังคมร่วมมือกันในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ นายจรินทร์ฯ กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้จัดโครงการสนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต “ดวงตาแรงงาน”ขึ้น เพื่อเป็นมิติใหม่แห่งแนวทางการมีส่วนร่วมพัฒนาความร่วมมือและบูรณาการการทํางานระหว่างภาคราชการ ประชาชน ในการป้องกัน ยับยั้ง และเฝ้าระวังการทุจริตในระดับพื้นที่ ซึ่งคงไม่มุ่งหวังที่จะใช้การลงโทษผู้กระทําผิดจากการทุจริตเพียงอย่างเดียว เนื่องจากหากเกิดการทุจริตขึ้นแล้ว ทําให้สูญเสียงบประมาณ และล่าช้าในการสร้างความเจริญของประเทศ รวมทั้งความน่าเชื่อถือและเกียรติภูมิของชาติในสายตาต่างชาติอีกด้วย ซึ่งเมื่อเครือข่ายการมีส่วนร่วมได้ผ่านการอบรมในครั้งนี้ จะทําให้เกิดความร่วมมือในการทํางานร่วมกัน เพื่อสร้างชาติ พัฒนาที่มีคุณธรรม เพื่อแก้ไชปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันให้หมดไปจากสังคมไทยต่อไป -------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ชนินทร เพ็ชรทับ - ข่าว/ ชาญชัย ชาวหนองเพียร - ภาพ/ 11 ธันวาคม 2561
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17431
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรียืนยันยังไม่มีการนำเข้าหมูเนื้อแดง จากสหรัฐฯ
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2560 นายกรัฐมนตรียืนยันยังไม่มีการนําเข้าหมูเนื้อแดง จากสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรียืนยันยังไม่มีการนําเข้าหมูเนื้อแดง จากสหรัฐฯ วันนี้ (10 ตุลาคม 2560) เวลา 13.45 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตอบคําถามจากสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี กรณีการนําเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐอเมริกาว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงการศึกษาและเจรจาของเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย โดยไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาข้อมูลทางด้านกฎหมายของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งได้มอบหมายให้นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไปศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับการนําเข้าเนื้อหมูจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายของทั้งสองประเทศ ดังนั้น ในขณะนี้จึงยังไม่มีการดําเนินการใด เนื่องจากต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและเจรจาให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรียืนยันยังไม่มีการนำเข้าหมูเนื้อแดง จากสหรัฐฯ วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2560 นายกรัฐมนตรียืนยันยังไม่มีการนําเข้าหมูเนื้อแดง จากสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรียืนยันยังไม่มีการนําเข้าหมูเนื้อแดง จากสหรัฐฯ วันนี้ (10 ตุลาคม 2560) เวลา 13.45 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตอบคําถามจากสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี กรณีการนําเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐอเมริกาว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงการศึกษาและเจรจาของเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย โดยไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาข้อมูลทางด้านกฎหมายของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งได้มอบหมายให้นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไปศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับการนําเข้าเนื้อหมูจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายของทั้งสองประเทศ ดังนั้น ในขณะนี้จึงยังไม่มีการดําเนินการใด เนื่องจากต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและเจรจาให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7276
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง
วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2560 นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง วันนี้ (30ต.ค.60) เวลา 15:00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ เทศบาลตําบลบางจัก อําเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองพลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะ เยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัย โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง หัวหน้าส่วนราชการ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนร่วมต้อนรับเป็นจํานวนมาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานความห่วงใยถึงประชาชน พร้อมมีพระราชกระแสรับสั่งให้รัฐบาลดูแลประชาชนให้ดีที่สุด โดยในขณะนี้มีพี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั่วประเทศกว่า 1 แสนครัวเรือน ซึ่งรัฐบาลได้บูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ เอกชน เครือข่ายประชารัฐ ร่วมกันดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างดีที่สุด และสําหรับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปีนี้ รัฐบาลต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคกลางที่ยอมสละพื้นที่เป็นแก้มลิง และขอให้พี่น้องประชาชนจะต้องปรับตัวและเตรียมรับมือน้ําท่วมซึ่งเกิดขึ้นทุกปี ด้วยการวางแผนการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น การปลูกพืชอื่นชดเชยแทนการปลูกข้าว เป็นต้น รวมทั้งติดตามข่าวสารจากทางราชการอยู่เสมอ และขอเป็นกําลังใจพี่น้องประชาชนร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อทําให้ชุมชนเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันตนเอง อันจะส่งผลพลังทําให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จากนั้น นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ได้ร่วมกันมอบถุงยังชีพให้กับประชาชน และเดินทางต่อไปยังหอประชุมองค์การบริหารส่วนตําบลโผงเผง อําเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่. ครั้งที่ 158/2560 ฝ่ายเผยแพร่การประชาสัมพันธ์ กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง วันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2560 นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง วันนี้ (30ต.ค.60) เวลา 15:00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ เทศบาลตําบลบางจัก อําเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองพลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะ เยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัย โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง หัวหน้าส่วนราชการ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนร่วมต้อนรับเป็นจํานวนมาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานความห่วงใยถึงประชาชน พร้อมมีพระราชกระแสรับสั่งให้รัฐบาลดูแลประชาชนให้ดีที่สุด โดยในขณะนี้มีพี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั่วประเทศกว่า 1 แสนครัวเรือน ซึ่งรัฐบาลได้บูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ เอกชน เครือข่ายประชารัฐ ร่วมกันดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างดีที่สุด และสําหรับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปีนี้ รัฐบาลต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคกลางที่ยอมสละพื้นที่เป็นแก้มลิง และขอให้พี่น้องประชาชนจะต้องปรับตัวและเตรียมรับมือน้ําท่วมซึ่งเกิดขึ้นทุกปี ด้วยการวางแผนการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น การปลูกพืชอื่นชดเชยแทนการปลูกข้าว เป็นต้น รวมทั้งติดตามข่าวสารจากทางราชการอยู่เสมอ และขอเป็นกําลังใจพี่น้องประชาชนร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อทําให้ชุมชนเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันตนเอง อันจะส่งผลพลังทําให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จากนั้น นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ได้ร่วมกันมอบถุงยังชีพให้กับประชาชน และเดินทางต่อไปยังหอประชุมองค์การบริหารส่วนตําบลโผงเผง อําเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่. ครั้งที่ 158/2560 ฝ่ายเผยแพร่การประชาสัมพันธ์ กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7684
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-'ฟิทช์' คงเครดิตเรตติ้ง ธ.ก.ส. สูงสุดที่ 'AAA' / 'Stable' 4 ปีต่อเนื่อง
วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 'ฟิทช์' คงเครดิตเรตติ้ง ธ.ก.ส. สูงสุดที่ 'AAA' / 'Stable' 4 ปีต่อเนื่อง 'ฟิทช์ เรทติ้งส์' คงอันดับเครดิต ธ.ก.ส. ที่ระดับสูงสุด 'AAA(tha)' / 'Stable' ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ และความเสี่ยงการผิดนัดชําระหนี้ต่ํา ช่วยลดต้นทุนทางการเงิน 'ฟิทช์ เรทติ้งส์' คงอันดับเครดิต ธ.ก.ส. ที่ระดับสูงสุด 'AAA(tha)' / 'Stable' ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ และความเสี่ยงการผิดนัดชําระหนี้ต่ํา ช่วยลดต้นทุนทางการเงิน เพิ่มโอกาสและประสิทธิภาพในการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อยกระดับภาคการเกษตรไทยสู่เกษตรสมัยใหม่และการเกษตรยั่งยืน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้ประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ ธ.ก.ส. โดยคง อันดับเครติดภายในประเทศระยะยาว (National Long - Term Rating) อยู่ที่ระดับ 'AAA (tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ 'Stable' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short - Term Rating) ที่ 'F1+(tha)' ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ซึ่งเป็นอันดับเครดิตที่สูงสุดสําหรับการจัดอันดับเครดิตในประเทศ สะท้อนถึงระดับความสามารถสูงสุดในการชําระหนี้ได้ตรงตามกําหนด และมีความเสี่ยงของการผิดนัดชําระหนี้ต่ําที่สุด ซึ่งจะส่งผลดีต่อ ธ.ก.ส. ในด้านการลดต้นทุนทางการเงินเพื่อนําไปใช้สนับสนุนภาคการเกษตรของประเทศได้เพิ่มขึ้น สําหรับปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิตของ ธ.ก.ส. ฟิทช์ระบุว่า ธ.ก.ส. มีบทบาทสําคัญในเชิงนโยบายต่อรัฐบาลตามที่ได้กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งของธนาคารและการที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมดจึงมีสถานะทางกฎหมายเป็นธนาคารของรัฐที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต เช่น การเพิ่มเงินทุนให้กับธนาคาร และยังมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารหากมีความจําเป็นในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามผลการดําเนินงานและสถานะทางการเงินของธนาคารในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้อยู่ในระดับที่จําเป็นจะต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล “ปัจจัยที่ ฟิทช์ นํามาพิจารณาจัดอันดับเครดิตของธนาคารในระดับสูงสุดอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 มาจากการสนับสนุนของรัฐบาลที่มีให้กับ ธ.ก.ส. อย่างต่อเนื่อง และความสําคัญเชิงกลยุทธ์ในฐานะผู้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่เป็นพื้นฐานที่สําคัญของประเทศแล้วนั้น การจัดอันดับเครดิตนี้ ยังสะท้อนถึงการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีระบบ นําเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจัดการต้นทุนทางการเงิน และยังมีมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อและการให้บริการทางการเงินที่ทันสมัย ภายใต้เกณฑ์การกํากับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคการเกษตร โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร สู่เกษตรสมัยใหม่และการเกษตรยั่งยืน” นายอภิรมย์กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-'ฟิทช์' คงเครดิตเรตติ้ง ธ.ก.ส. สูงสุดที่ 'AAA' / 'Stable' 4 ปีต่อเนื่อง วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 'ฟิทช์' คงเครดิตเรตติ้ง ธ.ก.ส. สูงสุดที่ 'AAA' / 'Stable' 4 ปีต่อเนื่อง 'ฟิทช์ เรทติ้งส์' คงอันดับเครดิต ธ.ก.ส. ที่ระดับสูงสุด 'AAA(tha)' / 'Stable' ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ และความเสี่ยงการผิดนัดชําระหนี้ต่ํา ช่วยลดต้นทุนทางการเงิน 'ฟิทช์ เรทติ้งส์' คงอันดับเครดิต ธ.ก.ส. ที่ระดับสูงสุด 'AAA(tha)' / 'Stable' ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ และความเสี่ยงการผิดนัดชําระหนี้ต่ํา ช่วยลดต้นทุนทางการเงิน เพิ่มโอกาสและประสิทธิภาพในการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อยกระดับภาคการเกษตรไทยสู่เกษตรสมัยใหม่และการเกษตรยั่งยืน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้ประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ ธ.ก.ส. โดยคง อันดับเครติดภายในประเทศระยะยาว (National Long - Term Rating) อยู่ที่ระดับ 'AAA (tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ 'Stable' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short - Term Rating) ที่ 'F1+(tha)' ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ซึ่งเป็นอันดับเครดิตที่สูงสุดสําหรับการจัดอันดับเครดิตในประเทศ สะท้อนถึงระดับความสามารถสูงสุดในการชําระหนี้ได้ตรงตามกําหนด และมีความเสี่ยงของการผิดนัดชําระหนี้ต่ําที่สุด ซึ่งจะส่งผลดีต่อ ธ.ก.ส. ในด้านการลดต้นทุนทางการเงินเพื่อนําไปใช้สนับสนุนภาคการเกษตรของประเทศได้เพิ่มขึ้น สําหรับปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิตของ ธ.ก.ส. ฟิทช์ระบุว่า ธ.ก.ส. มีบทบาทสําคัญในเชิงนโยบายต่อรัฐบาลตามที่ได้กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งของธนาคารและการที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมดจึงมีสถานะทางกฎหมายเป็นธนาคารของรัฐที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต เช่น การเพิ่มเงินทุนให้กับธนาคาร และยังมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารหากมีความจําเป็นในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามผลการดําเนินงานและสถานะทางการเงินของธนาคารในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้อยู่ในระดับที่จําเป็นจะต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล “ปัจจัยที่ ฟิทช์ นํามาพิจารณาจัดอันดับเครดิตของธนาคารในระดับสูงสุดอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 มาจากการสนับสนุนของรัฐบาลที่มีให้กับ ธ.ก.ส. อย่างต่อเนื่อง และความสําคัญเชิงกลยุทธ์ในฐานะผู้ปฏิบัติการตามนโยบายของรัฐบาลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่เป็นพื้นฐานที่สําคัญของประเทศแล้วนั้น การจัดอันดับเครดิตนี้ ยังสะท้อนถึงการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีระบบ นําเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจัดการต้นทุนทางการเงิน และยังมีมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อและการให้บริการทางการเงินที่ทันสมัย ภายใต้เกณฑ์การกํากับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคการเกษตร โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร สู่เกษตรสมัยใหม่และการเกษตรยั่งยืน” นายอภิรมย์กล่าว
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8361
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมว.สธ.หนุน โรงพยาบาลชุมชนเป็น “โรงพยาบาลประชารัฐ”
วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน 2560 ​รมว.สธ.หนุน โรงพยาบาลชุมชนเป็น “โรงพยาบาลประชารัฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนการขับเคลื่อนโรงพยาบาลประชารัฐ ใช้พลังประชาชน เอกชน และรัฐ ร่วมพัฒนาคุณภาพการดูแลสุขภาพระดับอําเภอ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและญาติ เริ่มดําเนินการแล้ว 38 แห่ง ตั้งเป้าหมายโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลประชารัฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนการขับเคลื่อนโรงพยาบาลประชารัฐ ใช้พลังประชาชน เอกชน และรัฐ ร่วมพัฒนาคุณภาพการดูแลสุขภาพระดับอําเภอ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและญาติ เริ่มดําเนินการแล้ว 38 แห่ง ตั้งเป้าหมายโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลประชารัฐในปี 2562 ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนโยบายโรงพยาบาลประชารัฐ ซึ่งเป็นโครงการที่คณะปฏิรูปโรงพยาบาลชุมชนเสนอขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขว่า กระทรวงสาธารณสุข พร้อมสนับสนุนการดําเนินงานโรงพยาบาลประชารัฐ ได้มอบนโยบายให้นําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9มาใช้เป็นหลักในการทํางาน คือ เข้มแข็งจากภายใน เติบโตไปด้วยกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลที่มากกว่าโรงพยาบาล โดยคนในพื้นที่รู้สึกเป็นเจ้าของ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพระดับอําเภอ ที่เน้นการทํางานและการใช้ทรัพยากรร่วมกันของทุกภาคส่วน ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกลกล่าวต่อว่า ขณะนี้ ได้ดําเนินการในโรงพยาบาลอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พบว่าได้ผลดี โดยเปลี่ยนวิธีคิดและการบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงพยาบาล ให้ประชาชนร่วมบริจาควันละ 3 บาท หรือปีละ 1,000 บาท เมื่อป่วยสามารถใช้ห้องพิเศษฟรี ประสานภาคเอกชนรับผู้ป่วยที่พิการเข้าทํางาน และเชิญชวนบริษัทที่พร้อมทําธุรกิจที่ตอบแทนต่อสังคม ร่วมกับกรรมการสุขภาพอําเภอ และคลินิกหมอครอบครัว เริ่มระยะ1 ตั้งแต่กรกฎาคม 2560 - กันยายน 2560 ในโรงพยาบาลชุมชน 38 แห่ง ระยะที่ 2 ตุลาคม 2560-กันยายน 2561 ขยายเพิ่มจังหวัดละ 1 อําเภอทุกจังหวัด และระยะที่ 3 ตุลาคม 2561-กันยายน 2562 จะขยายผลในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ โรงพยาบาลชุมชนถือเป็นหัวใจของระบบสุขภาพระดับอําเภอ มีการทํางานเชื่อมต่อส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปอย่างไร้รอยต่อ และรับดูแลผู้ป่วยที่พ้นระยะวิกฤตและมีอาการคงที่กลับมาดูแลฟื้นฟู โดยเฉพาะ 3 โรคสําคัญ คือ โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่สมอง และการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง เพื่อช่วยลดการนอนรักษาในโรงพยาบาลใหญ่ ผู้ป่วยได้รับการดูแลฟื้นฟูจากทีมหมอครอบครัวสหวิชาชีพต่อเนื่องจากโรงพยาบาลจนถึงบ้าน ทั้งด้านการทํากายภาพบําบัด โภชนาการ สอนญาติในการดูแลผู้ป่วย เพื่อช่วยลดความพิการ หรือบางรายหายเป็นปกติกลับไปทํางานเป็นพลังของสังคมได้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมว.สธ.หนุน โรงพยาบาลชุมชนเป็น “โรงพยาบาลประชารัฐ” วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน 2560 ​รมว.สธ.หนุน โรงพยาบาลชุมชนเป็น “โรงพยาบาลประชารัฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนการขับเคลื่อนโรงพยาบาลประชารัฐ ใช้พลังประชาชน เอกชน และรัฐ ร่วมพัฒนาคุณภาพการดูแลสุขภาพระดับอําเภอ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและญาติ เริ่มดําเนินการแล้ว 38 แห่ง ตั้งเป้าหมายโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลประชารัฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนการขับเคลื่อนโรงพยาบาลประชารัฐ ใช้พลังประชาชน เอกชน และรัฐ ร่วมพัฒนาคุณภาพการดูแลสุขภาพระดับอําเภอ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและญาติ เริ่มดําเนินการแล้ว 38 แห่ง ตั้งเป้าหมายโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลประชารัฐในปี 2562 ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนโยบายโรงพยาบาลประชารัฐ ซึ่งเป็นโครงการที่คณะปฏิรูปโรงพยาบาลชุมชนเสนอขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขว่า กระทรวงสาธารณสุข พร้อมสนับสนุนการดําเนินงานโรงพยาบาลประชารัฐ ได้มอบนโยบายให้นําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9มาใช้เป็นหลักในการทํางาน คือ เข้มแข็งจากภายใน เติบโตไปด้วยกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลที่มากกว่าโรงพยาบาล โดยคนในพื้นที่รู้สึกเป็นเจ้าของ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพระดับอําเภอ ที่เน้นการทํางานและการใช้ทรัพยากรร่วมกันของทุกภาคส่วน ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกลกล่าวต่อว่า ขณะนี้ ได้ดําเนินการในโรงพยาบาลอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พบว่าได้ผลดี โดยเปลี่ยนวิธีคิดและการบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงพยาบาล ให้ประชาชนร่วมบริจาควันละ 3 บาท หรือปีละ 1,000 บาท เมื่อป่วยสามารถใช้ห้องพิเศษฟรี ประสานภาคเอกชนรับผู้ป่วยที่พิการเข้าทํางาน และเชิญชวนบริษัทที่พร้อมทําธุรกิจที่ตอบแทนต่อสังคม ร่วมกับกรรมการสุขภาพอําเภอ และคลินิกหมอครอบครัว เริ่มระยะ1 ตั้งแต่กรกฎาคม 2560 - กันยายน 2560 ในโรงพยาบาลชุมชน 38 แห่ง ระยะที่ 2 ตุลาคม 2560-กันยายน 2561 ขยายเพิ่มจังหวัดละ 1 อําเภอทุกจังหวัด และระยะที่ 3 ตุลาคม 2561-กันยายน 2562 จะขยายผลในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ โรงพยาบาลชุมชนถือเป็นหัวใจของระบบสุขภาพระดับอําเภอ มีการทํางานเชื่อมต่อส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปอย่างไร้รอยต่อ และรับดูแลผู้ป่วยที่พ้นระยะวิกฤตและมีอาการคงที่กลับมาดูแลฟื้นฟู โดยเฉพาะ 3 โรคสําคัญ คือ โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่สมอง และการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง เพื่อช่วยลดการนอนรักษาในโรงพยาบาลใหญ่ ผู้ป่วยได้รับการดูแลฟื้นฟูจากทีมหมอครอบครัวสหวิชาชีพต่อเนื่องจากโรงพยาบาลจนถึงบ้าน ทั้งด้านการทํากายภาพบําบัด โภชนาการ สอนญาติในการดูแลผู้ป่วย เพื่อช่วยลดความพิการ หรือบางรายหายเป็นปกติกลับไปทํางานเป็นพลังของสังคมได้
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4250
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวหญิงพิการวัย 44 ปี ต้องรับภาระเพียงลำพังเลี้ยงดูลูก 2 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ย่านราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ
วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2560 พม. โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวหญิงพิการวัย 44 ปี ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูลูก 2 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ย่านราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ พม. โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวหญิงพิการวัย 44 ปี ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูลูก 2 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ย่านราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ วันนี้ (10 ส.ค. 60) เวลา 14.30 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่านางนภา เศรษฐกร รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รองปลัด พม.)พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือครอบครัว หญิงพิการวัย 44 ปี ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูก 2 คน วัย 16 ปี และ 10 ขวบ ครอบครัวมีฐานะยากจน มีรายได้เพียงเดือนละ 800 บาท จากเบี้ยยังชีพคนพิการ และการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน บางครั้งต้องขออาหาร จากเพื่อนบ้านกินประทังชีวิต ที่ย่านราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร นางนภากล่าวว่า จากกรณีหญิงพิการวัย 44 ปี ได้ติดต่อมาที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ณ กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว กรุงเทพฯ เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องการสงเคราะห์ครอบครัวยากจน โดยหญิงดังกล่าวพิการด้านร่างกาย เนื่องจากมือผิดปกติทั้ง 2 ข้าง ตั้งแต่กําเนิด แต่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยอาศัยอยู่กับลูกอีก 2 คน ประกอบด้วย คนโตวัย 16 ปี เป็นบุตรของสามีคนแรก ซึ่งได้เลิกรา กันไปกว่า 10 ปี ปัจจุบันไม่สามารถติดต่อได้ ตอนนี้ลูกคนโตเรียนอยู่ชั้น ปวช. ปี 1 ต้องรับภาระจ่ายค่าเทอมละ 8,000 บาท และลูกชายคนเล็กวัย 10 ขวบ เป็นบุตรของสามีคนที่ 2 ที่เสียชีวิตไปแล้ว ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนดี แต่ไม่ค่อยได้ไปโรงเรียน เนื่องจากไม่มีเงินไปโรงเรียน ทั้งนี้ หญิงพิการดังกล่าวมีรายได้เพียงเดือนละ 800 บาท จากเบี้ยยังชีพคนพิการ และการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเล็กๆน้อยๆ ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน แต่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 คนเพียงลําพัง นั้น ตนพร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 และหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ได้แก่ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) และกรมส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) จึงได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และประเมินทางสังคม ของครอบครัวดังกล่าว อีกทั้ง เร่งดําเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านคนพิการและด้านเด็กของกระทรวง พม. นางนภากล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับการช่วยเหลือในเบื้องต้น หน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ แก่ครอบครัวดังกล่าว อาทิ 1) พส. ได้มอบเงินสงเคราะห์ครอบครัวยากจน พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคสําหรับใช้ในชีวิตประจําวัน และ 2) ดย. มอบเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว พร้อมอุปกรณ์ทางการศึกษา และ 3) พก. มอบเครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งติดต่อช่วยเหลือในเรื่องการออกบัตรประจําตัวผู้พิการ นอกจากนี้ ได้แนะนําให้คําปรึกษาในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่หญิงพิการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคง และเพียงพอ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ในระยะยาวต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวหญิงพิการวัย 44 ปี ต้องรับภาระเพียงลำพังเลี้ยงดูลูก 2 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ย่านราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2560 พม. โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวหญิงพิการวัย 44 ปี ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูลูก 2 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ย่านราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ พม. โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวหญิงพิการวัย 44 ปี ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูลูก 2 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ย่านราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ วันนี้ (10 ส.ค. 60) เวลา 14.30 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่านางนภา เศรษฐกร รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รองปลัด พม.)พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือครอบครัว หญิงพิการวัย 44 ปี ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูก 2 คน วัย 16 ปี และ 10 ขวบ ครอบครัวมีฐานะยากจน มีรายได้เพียงเดือนละ 800 บาท จากเบี้ยยังชีพคนพิการ และการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน บางครั้งต้องขออาหาร จากเพื่อนบ้านกินประทังชีวิต ที่ย่านราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร นางนภากล่าวว่า จากกรณีหญิงพิการวัย 44 ปี ได้ติดต่อมาที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ณ กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว กรุงเทพฯ เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องการสงเคราะห์ครอบครัวยากจน โดยหญิงดังกล่าวพิการด้านร่างกาย เนื่องจากมือผิดปกติทั้ง 2 ข้าง ตั้งแต่กําเนิด แต่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยอาศัยอยู่กับลูกอีก 2 คน ประกอบด้วย คนโตวัย 16 ปี เป็นบุตรของสามีคนแรก ซึ่งได้เลิกรา กันไปกว่า 10 ปี ปัจจุบันไม่สามารถติดต่อได้ ตอนนี้ลูกคนโตเรียนอยู่ชั้น ปวช. ปี 1 ต้องรับภาระจ่ายค่าเทอมละ 8,000 บาท และลูกชายคนเล็กวัย 10 ขวบ เป็นบุตรของสามีคนที่ 2 ที่เสียชีวิตไปแล้ว ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนดี แต่ไม่ค่อยได้ไปโรงเรียน เนื่องจากไม่มีเงินไปโรงเรียน ทั้งนี้ หญิงพิการดังกล่าวมีรายได้เพียงเดือนละ 800 บาท จากเบี้ยยังชีพคนพิการ และการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเล็กๆน้อยๆ ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน แต่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 คนเพียงลําพัง นั้น ตนพร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 และหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ได้แก่ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) และกรมส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) จึงได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และประเมินทางสังคม ของครอบครัวดังกล่าว อีกทั้ง เร่งดําเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านคนพิการและด้านเด็กของกระทรวง พม. นางนภากล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับการช่วยเหลือในเบื้องต้น หน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ แก่ครอบครัวดังกล่าว อาทิ 1) พส. ได้มอบเงินสงเคราะห์ครอบครัวยากจน พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคสําหรับใช้ในชีวิตประจําวัน และ 2) ดย. มอบเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว พร้อมอุปกรณ์ทางการศึกษา และ 3) พก. มอบเครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งติดต่อช่วยเหลือในเรื่องการออกบัตรประจําตัวผู้พิการ นอกจากนี้ ได้แนะนําให้คําปรึกษาในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่หญิงพิการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคง และเพียงพอ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ในระยะยาวต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5865
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีฯ สุริยะ เยี่ยมชมสถานประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ
วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2563 รัฐมนตรีฯ สุริยะ เยี่ยมชมสถานประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมสถานประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ และโครงการ Angel Fund สานฝันสู่ธุรกิจ SME วันนี้ (13 กรกฎาคม 2563) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมสถานประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ และโครงการ Angel Fund สานฝันสู่ธุรกิจ SME พร้อมด้วย นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเมธากุล สุวรรณบุตร รองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหาร โดยมี นายจาง ช่าย ซิง ประธานบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จํากัด นายยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ ผู้อํานวยการฝ่ายบริหาร และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ณ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีฯ สุริยะ เยี่ยมชมสถานประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2563 รัฐมนตรีฯ สุริยะ เยี่ยมชมสถานประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมสถานประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ และโครงการ Angel Fund สานฝันสู่ธุรกิจ SME วันนี้ (13 กรกฎาคม 2563) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมสถานประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ และโครงการ Angel Fund สานฝันสู่ธุรกิจ SME พร้อมด้วย นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเมธากุล สุวรรณบุตร รองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหาร โดยมี นายจาง ช่าย ซิง ประธานบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จํากัด นายยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ ผู้อํานวยการฝ่ายบริหาร และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ณ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33335
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 กันยายน 2561
วันพุธที่ 19 กันยายน 2561 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 กันยายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 7/2561 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 กันยายน 2561 วันพุธที่ 19 กันยายน 2561 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 กันยายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 7/2561 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15492
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มติบอร์ดสลาก รับทราบผลการศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ ให้ศึกษาเพิ่มเติมในมิติของกฎหมายและข้อห่วงใยของสังคม
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 มติบอร์ดสลาก รับทราบผลการศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ ให้ศึกษาเพิ่มเติมในมิติของกฎหมายและข้อห่วงใยของสังคม จากการที่คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลได้มีมติแต่งตั้งคณะทํางานศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ โดยให้มีหน้าที่สรุปผลการศึกษาผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 จัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) วันนี้ (31 กรกฎาคม 2562) เวลาประมาณ 15.00 น. ที่ห้องประชุมอเนกประสงค์ สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นายพชรอนันตศิลป์ ประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล พร้อมด้วยนายธนวรรธน์ พลวิชัย กรรมการและโฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลในฐานะประธานคณะทํางานศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ และพันตํารวจเอกบุญส่ง จันทรีศรี ผู้อํานวยการสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า จากการที่คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลได้มีมติแต่งตั้งคณะทํางานศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ โดยให้มีหน้าที่สรุปผลการศึกษาผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 จัดทําแผนปฏิบัติ(Action Plan) แนวทางการสื่อสาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้นําเสนอภายใน 30 วัน แล้วนําเสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลพิจารณานั้น คณะทํางานได้รวบรวมข้อมูลสลากกินแบ่งและรูปแบบเกมสลากจากประเทศต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) สลากแบบดั้งเดิม หรือสลากใบ (2) สลากแบบตัวเลข (3) สลากขูด (4) สลาก LOTTO และ(5) สลากกีฬา มาศึกษาและวิเคราะห์ โดยหลักการคือต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (ฉบับที่2) พ.ศ.2562 และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักคือ เป็นทางเลือกเพิ่มขึ้นสําหรับผู้ต้องการเสี่ยงโชคถูกกฎหมายนอกเหนือจากการซื้อสลากกินแบ่ง ในขณะเดียวกันต้องสามารถบรรเทาปัญหาสลากเกินราคา และมีผลข้างเคียงในการสกัดการเล่นหวยใต้ดิน คณะทํางานฯ ได้ศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ พบว่า รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสม มี 2 ประเภท คือสลากแบบตัวเลข และสลาก Lotto ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นเกมต่างๆ ดังนี้ (1) สลากตัวเลข 3 หลัก(Number3) (2) สลากตัวเลข 4 หลัก(Number4) (3) สลากรูปภาพ 12 นักษัตร (Picture12) (4) สลาก LOTTO 6/43 ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 แบบ มีราคาจําหน่ายรายการละ 50 บาท เป็นการออกรางวัลใหม่ ไม่อิงผลรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นการจําหน่ายผ่านออนไลน์หรือแอพพลิเคชั่น หรือระบบใดๆ ที่สามารถลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ซื้อได้เท่านั้น ในขณะเดียวกันก็มีวิธีการเล่น และข้อดี-ข้อด้อยต่างกันออกไป โดยสลากตัวเลข 3 หลัก(Number3) ซื้อ 1 รายการมีโอกาสถูกรางวัล 2 แบบ คือ 3 ตัวตรง และ 3 ตัวสลับหลัก ในส่วนของสลากตัวเลข 4 หลัก (Number4) มีโอกาสถูกรางวัลเช่นเดียวกับสลากตัวเลข 3 หลัก ข้อดีของสลากแบบตัวเลข 3 หลัก หรือแบบตัวเลข 4 หลัก คือ สามารถเลือกหมายเลข หรือเลือกภาพตามความต้องการได้ ตอบโจทย์ปัญหาของสลากใบ ในขณะที่มีข้อด้อยคือ เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เรียนรู้ง่าย คนไทยคุ้นเคย อาจสุ่มเสี่ยงให้ถูกมองว่าเป็นการมอมเมาได้สําหรับสลากแบบรูปภาพ 12 นักษัตร (Picture12) มี 4 หลัก วิธีเล่นให้เลือก 1 ภาพต่อ 1 หลัก จาก 12 ภาพนักษัตร มีรางวัลตรงและโต๊ด ข้อดีของสลากประเภทนี้คือ สามารถเลือกเลขได้ตามความต้องการ ไม่มีปัญหาเรื่องตัวเลขที่ไม่ได้รับความนิยม หรือเลขเน่า อีกทั้งเป็นเกมใหม่ ที่เน้นการเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ไม่อิงผลการออกรางวัลสลากแบบเดิม ในขณะที่ข้อด้อยคือไม่มีรางวัลแจ๊คพอต อาจไม่จูงใจให้มีผู้ซื้อมากพอในส่วนของเกมสลาก Lotto 6/43 ราคาจําหน่ายรายการละ 50 บาท เป็นการเลือกชุดตัวเลข 1 ชุด มี 6 ตัวเลือกจาก ตัวเลขทั้งหมด 43 ตัว ผู้ซื้อสามารถเลือกเลขได้ตามความต้องการเป็นเกมสากลที่มีจําหน่ายทั่วโลก แต่ก็ยังมีข้อด้อย คือเป็นเกมที่มีความซับซ้อน ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะเป็นเกมที่มีความเป็นสากล และได้รับความนิยมในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก คณะทํางานฯ ได้มีความเห็นเสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลว่ารูปแบบสลากรูปภาพ12นักษัตรหรือ picture 12 มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สําหรับการออกรางวัลสลากรูปภาพนี้ จะออกรางวัลในวันที่ 1 และ 16 แต่เป็นการออกรางวัลต่างหาก ไม่ใช้ผลการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล และมีการจํากัดอายุ และความสามารถในการซื้อของผู้ซื้อด้วยการคัดกรองผ่านระบบแอพลิเคชั่นที่จะนํามาใช้ในการจําหน่าย ทั้งนี้ จะคํานึงถึงผู้บริโภคเป็นสําคัญ แต่ยังคงให้ความเป็นธรรมและเปิดโอกาสให้ผู้ค้ารายย่อยและผู้พิการเข้าถึงการจําหน่ายสลากในรูปแบบใหม่ด้วยแต่อย่างไรก็ตาม ควรนําประเภทและรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่นําเสนอ หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นเกี่ยวกับการดําเนินการทั้งหมด พร้อมทั้งจัดทําร่างประกาศ/ร่างกฎกระทรวง ให้มีความสอดคล้องและเป็นไปตามพระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จากนั้น ให้รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และศึกษาผลกระทบทางสังคม ตามมาตรา 13(7/1) เพื่อนํามาประกอบการพิจารณา ก่อนนําเสนอต่อคณะกรรมการสลากฯ พิจารณาอีกครั้ง หากได้รับความเห็นชอบ จะได้นําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป จากการประชุมในวันนี้ คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล มีมติเห็นชอบกับรูปแบบสลากรูปภาพ 12นักษัตรหรือ picture 12 ตามที่คณะทํางานเสนอ และเพื่อให้เกิดความรอบคอบและเป็นไปตามกฎหมายจึงให้สํานักงานฯ หารือกฤษฎีกา พร้อมจัดทําร่างประกาศ/ร่างกฎกระทรวง แล้วนําเสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลพิจารณา หลังจากนั้น ให้นําข้อมูลดังกล่าวไปดําเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและศึกษาผลกระทบทางสังคม เสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลให้ความเห็นชอบอีกครั้ง ก่อนจะนําเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มติบอร์ดสลาก รับทราบผลการศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ ให้ศึกษาเพิ่มเติมในมิติของกฎหมายและข้อห่วงใยของสังคม วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 มติบอร์ดสลาก รับทราบผลการศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ ให้ศึกษาเพิ่มเติมในมิติของกฎหมายและข้อห่วงใยของสังคม จากการที่คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลได้มีมติแต่งตั้งคณะทํางานศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ โดยให้มีหน้าที่สรุปผลการศึกษาผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 จัดทําแผนปฏิบัติ (Action Plan) วันนี้ (31 กรกฎาคม 2562) เวลาประมาณ 15.00 น. ที่ห้องประชุมอเนกประสงค์ สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นายพชรอนันตศิลป์ ประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล พร้อมด้วยนายธนวรรธน์ พลวิชัย กรรมการและโฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลในฐานะประธานคณะทํางานศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ และพันตํารวจเอกบุญส่ง จันทรีศรี ผู้อํานวยการสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า จากการที่คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลได้มีมติแต่งตั้งคณะทํางานศึกษาผลิตภัณฑ์และเกมสลากรูปแบบอื่นๆ โดยให้มีหน้าที่สรุปผลการศึกษาผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 จัดทําแผนปฏิบัติ(Action Plan) แนวทางการสื่อสาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้นําเสนอภายใน 30 วัน แล้วนําเสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลพิจารณานั้น คณะทํางานได้รวบรวมข้อมูลสลากกินแบ่งและรูปแบบเกมสลากจากประเทศต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) สลากแบบดั้งเดิม หรือสลากใบ (2) สลากแบบตัวเลข (3) สลากขูด (4) สลาก LOTTO และ(5) สลากกีฬา มาศึกษาและวิเคราะห์ โดยหลักการคือต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (ฉบับที่2) พ.ศ.2562 และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักคือ เป็นทางเลือกเพิ่มขึ้นสําหรับผู้ต้องการเสี่ยงโชคถูกกฎหมายนอกเหนือจากการซื้อสลากกินแบ่ง ในขณะเดียวกันต้องสามารถบรรเทาปัญหาสลากเกินราคา และมีผลข้างเคียงในการสกัดการเล่นหวยใต้ดิน คณะทํางานฯ ได้ศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ พบว่า รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสม มี 2 ประเภท คือสลากแบบตัวเลข และสลาก Lotto ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นเกมต่างๆ ดังนี้ (1) สลากตัวเลข 3 หลัก(Number3) (2) สลากตัวเลข 4 หลัก(Number4) (3) สลากรูปภาพ 12 นักษัตร (Picture12) (4) สลาก LOTTO 6/43 ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 แบบ มีราคาจําหน่ายรายการละ 50 บาท เป็นการออกรางวัลใหม่ ไม่อิงผลรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นการจําหน่ายผ่านออนไลน์หรือแอพพลิเคชั่น หรือระบบใดๆ ที่สามารถลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ซื้อได้เท่านั้น ในขณะเดียวกันก็มีวิธีการเล่น และข้อดี-ข้อด้อยต่างกันออกไป โดยสลากตัวเลข 3 หลัก(Number3) ซื้อ 1 รายการมีโอกาสถูกรางวัล 2 แบบ คือ 3 ตัวตรง และ 3 ตัวสลับหลัก ในส่วนของสลากตัวเลข 4 หลัก (Number4) มีโอกาสถูกรางวัลเช่นเดียวกับสลากตัวเลข 3 หลัก ข้อดีของสลากแบบตัวเลข 3 หลัก หรือแบบตัวเลข 4 หลัก คือ สามารถเลือกหมายเลข หรือเลือกภาพตามความต้องการได้ ตอบโจทย์ปัญหาของสลากใบ ในขณะที่มีข้อด้อยคือ เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เรียนรู้ง่าย คนไทยคุ้นเคย อาจสุ่มเสี่ยงให้ถูกมองว่าเป็นการมอมเมาได้สําหรับสลากแบบรูปภาพ 12 นักษัตร (Picture12) มี 4 หลัก วิธีเล่นให้เลือก 1 ภาพต่อ 1 หลัก จาก 12 ภาพนักษัตร มีรางวัลตรงและโต๊ด ข้อดีของสลากประเภทนี้คือ สามารถเลือกเลขได้ตามความต้องการ ไม่มีปัญหาเรื่องตัวเลขที่ไม่ได้รับความนิยม หรือเลขเน่า อีกทั้งเป็นเกมใหม่ ที่เน้นการเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ไม่อิงผลการออกรางวัลสลากแบบเดิม ในขณะที่ข้อด้อยคือไม่มีรางวัลแจ๊คพอต อาจไม่จูงใจให้มีผู้ซื้อมากพอในส่วนของเกมสลาก Lotto 6/43 ราคาจําหน่ายรายการละ 50 บาท เป็นการเลือกชุดตัวเลข 1 ชุด มี 6 ตัวเลือกจาก ตัวเลขทั้งหมด 43 ตัว ผู้ซื้อสามารถเลือกเลขได้ตามความต้องการเป็นเกมสากลที่มีจําหน่ายทั่วโลก แต่ก็ยังมีข้อด้อย คือเป็นเกมที่มีความซับซ้อน ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะเป็นเกมที่มีความเป็นสากล และได้รับความนิยมในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก คณะทํางานฯ ได้มีความเห็นเสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลว่ารูปแบบสลากรูปภาพ12นักษัตรหรือ picture 12 มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สําหรับการออกรางวัลสลากรูปภาพนี้ จะออกรางวัลในวันที่ 1 และ 16 แต่เป็นการออกรางวัลต่างหาก ไม่ใช้ผลการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล และมีการจํากัดอายุ และความสามารถในการซื้อของผู้ซื้อด้วยการคัดกรองผ่านระบบแอพลิเคชั่นที่จะนํามาใช้ในการจําหน่าย ทั้งนี้ จะคํานึงถึงผู้บริโภคเป็นสําคัญ แต่ยังคงให้ความเป็นธรรมและเปิดโอกาสให้ผู้ค้ารายย่อยและผู้พิการเข้าถึงการจําหน่ายสลากในรูปแบบใหม่ด้วยแต่อย่างไรก็ตาม ควรนําประเภทและรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่นําเสนอ หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นเกี่ยวกับการดําเนินการทั้งหมด พร้อมทั้งจัดทําร่างประกาศ/ร่างกฎกระทรวง ให้มีความสอดคล้องและเป็นไปตามพระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จากนั้น ให้รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และศึกษาผลกระทบทางสังคม ตามมาตรา 13(7/1) เพื่อนํามาประกอบการพิจารณา ก่อนนําเสนอต่อคณะกรรมการสลากฯ พิจารณาอีกครั้ง หากได้รับความเห็นชอบ จะได้นําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป จากการประชุมในวันนี้ คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล มีมติเห็นชอบกับรูปแบบสลากรูปภาพ 12นักษัตรหรือ picture 12 ตามที่คณะทํางานเสนอ และเพื่อให้เกิดความรอบคอบและเป็นไปตามกฎหมายจึงให้สํานักงานฯ หารือกฤษฎีกา พร้อมจัดทําร่างประกาศ/ร่างกฎกระทรวง แล้วนําเสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลพิจารณา หลังจากนั้น ให้นําข้อมูลดังกล่าวไปดําเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและศึกษาผลกระทบทางสังคม เสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลให้ความเห็นชอบอีกครั้ง ก่อนจะนําเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/21908
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-'ปลัดแรงงาน'เปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล เชื่อมความสัมพันธ์ นายจ้าง ลูกจ้าง ภาครัฐ
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 'ปลัดแรงงาน'เปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล เชื่อมความสัมพันธ์ นายจ้าง ลูกจ้าง ภาครัฐ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล จัดโดยสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ณ บลูโอเมเจอร์ เมกา บางนา จ.สมุทรปราการ สร้างความสามัคคี ส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2562 นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งเพื่อการกุศล ครั้งที่ 1/2562 ของสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ณ บลูโอเมเจอร์ เมกา บางนา จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และคณะให้การต้อนรับ โดยปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การจัดการแข่งขันโบว์ลิ่งเพื่อการกุศลในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างความสามัคคีเชื่อมสัมพันธไมตรีของคณะกรรมการบริหารฯ กับมวลสมาชิก ส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์อันดีของผู้ใช้แรงงานกับฝ่ายนายจ้างและภาคราชการ ยังเป็นการส่งเสริมเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ที่นอกจากจะสนใจในการพัฒนาองค์กรของตนเองแล้วยังมีความห่วงใยและประสงค์ที่จะพัฒนาบุคลากรภายนอกองค์กรให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีคุณภาพสู่สังคม รวมทั้งการแข่งขันในครั้งนี้เพื่อจัดหารายได้เพื่อดําเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้ผู้ใช้แรงงาน นับเป็นการนํากิจกรรมที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์เชื่อมโยงเข้ากับกิจกรรมการกุศลได้อย่างสร้างสรรค์และมีประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ------------------ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ 6 ตุลาคม 2562
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-'ปลัดแรงงาน'เปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล เชื่อมความสัมพันธ์ นายจ้าง ลูกจ้าง ภาครัฐ วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 'ปลัดแรงงาน'เปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล เชื่อมความสัมพันธ์ นายจ้าง ลูกจ้าง ภาครัฐ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล จัดโดยสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ณ บลูโอเมเจอร์ เมกา บางนา จ.สมุทรปราการ สร้างความสามัคคี ส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2562 นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งเพื่อการกุศล ครั้งที่ 1/2562 ของสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ณ บลูโอเมเจอร์ เมกา บางนา จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และคณะให้การต้อนรับ โดยปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การจัดการแข่งขันโบว์ลิ่งเพื่อการกุศลในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างความสามัคคีเชื่อมสัมพันธไมตรีของคณะกรรมการบริหารฯ กับมวลสมาชิก ส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์อันดีของผู้ใช้แรงงานกับฝ่ายนายจ้างและภาคราชการ ยังเป็นการส่งเสริมเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ที่นอกจากจะสนใจในการพัฒนาองค์กรของตนเองแล้วยังมีความห่วงใยและประสงค์ที่จะพัฒนาบุคลากรภายนอกองค์กรให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีคุณภาพสู่สังคม รวมทั้งการแข่งขันในครั้งนี้เพื่อจัดหารายได้เพื่อดําเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้ผู้ใช้แรงงาน นับเป็นการนํากิจกรรมที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์เชื่อมโยงเข้ากับกิจกรรมการกุศลได้อย่างสร้างสรรค์และมีประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ------------------ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ 6 ตุลาคม 2562
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23659
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม. เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย
วันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560 ครม. เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยครม.มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย วันนี้ ( 28 มี.ค. 60 ) เวลา 15.50 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาเรื่อง มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย (Motor Driven Vehicle) ในประเทศไทย โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดําเนินการออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวว่า การสร้างฐานการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐจะต้องมีการดําเนินงานอย่างบูรณาการครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทาน (Supply) มาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ (Demand) การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน การจัดทํามาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า การบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ ส่วนมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทาน (Supply) นั้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้มีการนําเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาเปิดให้มีการส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตไฟฟ้าและชิ้นส่วนของรถยนต์ โดยครอบคลุมประเภทกิจการ ได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ การผลิตชิ้นส่วนสําคัญของรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้ง กิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้า ทั้งนี้ บีโอไอจะกําหนดเงื่อนไขว่าต้องมีการเสนอโครงการเป็นแผนงานรวม (Package) ประกอบด้วย การประกอบรถยนต์ การผลิตชิ้นส่วนหรือใช้ชิ้นส่วนสําคัญ เช่น แบตเตอรี่ มอเตอร์ (Traction Motor) ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ (DCU) แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต ได้มีการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ( 28 มีนาคม 2560) ในการกําหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตราพิเศษ โดยรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน จะลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากอัตราปกติลงกึ่งหนึ่งและรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากอัตราปกติเหลือร้อยละ 2 ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าจะต้องผ่านการอนุมัติโครงการจากบีโอไอ และมีการผลิตและใช้แบตเตอรี่ในประเทศ ในปีที่ 5 สําหรับมาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ (Demand) เพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจว่าภาครัฐให้การสนับสนุนนโยบายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างจริงจังและชัดเจน คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้หน่วยงานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่มาใช้งานได้ รวมทั้ง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการนํารถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่มาใช้เป็นรถยนต์บริการ ทั้งในส่วนของสนามบิน (รถยนต์ลีมูซีน) พื้นที่ปลอดมลพิษต่าง ๆ ภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economics Corridor Development: EEC) และเขตอุทยานประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เช่น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม จะมีบทบาทสําคัญในเรื่องของการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน โดยการดําเนินโครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ บนพื้นที่ 1,200 ไร่ ณ อําเภอสนามชัย จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสําคัญในการต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าด้วยนวัตกรรม ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศเป้าหมายของการลงทุนในการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต โดยศูนย์ทดสอบแห่งนี้จะเปิดดําเนินการในเฟสแรกภายในเดือนมีนาคม 2561 ขณะที่ในส่วนการจัดทํามาตรฐานไฟฟ้า สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ออกประกาศมาตรฐานเต้ารับและเต้าเสียบสําหรับรถยนต์ไฟฟ้า (มอก.2749) แล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทํามาตรฐานที่จําเป็นอื่น ๆ เช่น มาตรฐานระบบการประจุไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้ามาตรฐานความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า และมาตรฐานแบบเตอรี่สําหรับยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนั้นมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือรถยนต์แห่งอนาคต (Next-Generation Automotive) จะช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก้าวเข้าสู่ยุคของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ตามนโยบาย S Curve และ Thailand 4.0 ของรัฐบาล รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น พลาสติกและปิโตรเคมีอิเลคทรอนิกส์ ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพิ่มมากขึ้นด้วย ----------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก ข้อมูล:กระทรวงอุตสาหกรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม. เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย วันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560 ครม. เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยครม.มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย วันนี้ ( 28 มี.ค. 60 ) เวลา 15.50 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาเรื่อง มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย (Motor Driven Vehicle) ในประเทศไทย โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดําเนินการออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวว่า การสร้างฐานการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐจะต้องมีการดําเนินงานอย่างบูรณาการครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทาน (Supply) มาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ (Demand) การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน การจัดทํามาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า การบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ ส่วนมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทาน (Supply) นั้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้มีการนําเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาเปิดให้มีการส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตไฟฟ้าและชิ้นส่วนของรถยนต์ โดยครอบคลุมประเภทกิจการ ได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ การผลิตชิ้นส่วนสําคัญของรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้ง กิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้า ทั้งนี้ บีโอไอจะกําหนดเงื่อนไขว่าต้องมีการเสนอโครงการเป็นแผนงานรวม (Package) ประกอบด้วย การประกอบรถยนต์ การผลิตชิ้นส่วนหรือใช้ชิ้นส่วนสําคัญ เช่น แบตเตอรี่ มอเตอร์ (Traction Motor) ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และระบบควบคุมการขับขี่ (DCU) แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต ได้มีการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ( 28 มีนาคม 2560) ในการกําหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตราพิเศษ โดยรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน จะลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากอัตราปกติลงกึ่งหนึ่งและรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากอัตราปกติเหลือร้อยละ 2 ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าจะต้องผ่านการอนุมัติโครงการจากบีโอไอ และมีการผลิตและใช้แบตเตอรี่ในประเทศ ในปีที่ 5 สําหรับมาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ (Demand) เพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจว่าภาครัฐให้การสนับสนุนนโยบายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างจริงจังและชัดเจน คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้หน่วยงานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่มาใช้งานได้ รวมทั้ง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการนํารถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่มาใช้เป็นรถยนต์บริการ ทั้งในส่วนของสนามบิน (รถยนต์ลีมูซีน) พื้นที่ปลอดมลพิษต่าง ๆ ภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economics Corridor Development: EEC) และเขตอุทยานประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เช่น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม จะมีบทบาทสําคัญในเรื่องของการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน โดยการดําเนินโครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ บนพื้นที่ 1,200 ไร่ ณ อําเภอสนามชัย จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสําคัญในการต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าด้วยนวัตกรรม ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศเป้าหมายของการลงทุนในการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต โดยศูนย์ทดสอบแห่งนี้จะเปิดดําเนินการในเฟสแรกภายในเดือนมีนาคม 2561 ขณะที่ในส่วนการจัดทํามาตรฐานไฟฟ้า สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ออกประกาศมาตรฐานเต้ารับและเต้าเสียบสําหรับรถยนต์ไฟฟ้า (มอก.2749) แล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทํามาตรฐานที่จําเป็นอื่น ๆ เช่น มาตรฐานระบบการประจุไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้ามาตรฐานความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า และมาตรฐานแบบเตอรี่สําหรับยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนั้นมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือรถยนต์แห่งอนาคต (Next-Generation Automotive) จะช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก้าวเข้าสู่ยุคของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ตามนโยบาย S Curve และ Thailand 4.0 ของรัฐบาล รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น พลาสติกและปิโตรเคมีอิเลคทรอนิกส์ ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพิ่มมากขึ้นด้วย ----------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก ข้อมูล:กระทรวงอุตสาหกรรม
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2689
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​ไทย - สวิส แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาความสันพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างกัน
วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 ​ไทย - สวิส แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาความสันพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างกัน ​ไทย - สวิส แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาความสันพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างกัน วันนี้ (5 เมษายน 2561) เวลา 14.30 น. นางดอริส ลอยฮาร์ด (H.E. Mrs. Doris Leuthard) สมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส พร้อมด้วยคณะนักธุรกิจชาวสวิส เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางเยือนไทย ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีที่ได้พบกับนางดอริส ลอยฮาร์ด สมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส ที่นําคณะนักธุรกิจชาวสวิสมาเยือนไทยในวันนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างกัน และขอเชิญชวนให้นักลงทุนชาวสวิสเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการต่าง ๆ ที่จะสามารถร่วมมือกันได้ โดยเฉพาะในสาขาที่ฝ่ายสวิสมีความเชี่ยวชาญ ทั้งอุตสาหกรรมการแพทย์ การท่องเที่ยว การเกษตร และการขนส่งระบบราง ฯลฯ โอกาสนี้ สมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส ยังชื่นชมศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และสนใจในโครงการสําคัญของรัฐบาล อาทิ โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยเห็นถึงความสําคัญของไทยในฐานะศูนย์กลางด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาค ด้วย ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส ยังเห็นพ้องที่จะสนับสนุนการจัด Business Matching ระหว่างนักธุรกิจสวิสและไทย รวมทั้งผลักดันให้มีการจัดทํา FTA ระหว่างไทยกับสมาพันธรัฐสวิส และการจัดทํา FTA ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association: EFTA) เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม ในตอนท้าย สมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส แสดงเชื่อมั่นในความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่ต้องการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และไทยจะเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยของไทยโดยเร็วต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​ไทย - สวิส แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาความสันพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างกัน วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 ​ไทย - สวิส แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาความสันพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างกัน ​ไทย - สวิส แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาความสันพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างกัน วันนี้ (5 เมษายน 2561) เวลา 14.30 น. นางดอริส ลอยฮาร์ด (H.E. Mrs. Doris Leuthard) สมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส พร้อมด้วยคณะนักธุรกิจชาวสวิส เข้าเยี่ยมคารวะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางเยือนไทย ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีที่ได้พบกับนางดอริส ลอยฮาร์ด สมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส ที่นําคณะนักธุรกิจชาวสวิสมาเยือนไทยในวันนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างกัน และขอเชิญชวนให้นักลงทุนชาวสวิสเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการต่าง ๆ ที่จะสามารถร่วมมือกันได้ โดยเฉพาะในสาขาที่ฝ่ายสวิสมีความเชี่ยวชาญ ทั้งอุตสาหกรรมการแพทย์ การท่องเที่ยว การเกษตร และการขนส่งระบบราง ฯลฯ โอกาสนี้ สมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส ยังชื่นชมศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และสนใจในโครงการสําคัญของรัฐบาล อาทิ โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยเห็นถึงความสําคัญของไทยในฐานะศูนย์กลางด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาค ด้วย ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส ยังเห็นพ้องที่จะสนับสนุนการจัด Business Matching ระหว่างนักธุรกิจสวิสและไทย รวมทั้งผลักดันให้มีการจัดทํา FTA ระหว่างไทยกับสมาพันธรัฐสวิส และการจัดทํา FTA ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association: EFTA) เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม ในตอนท้าย สมาชิกคณะมนตรีแห่งสมาพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม คมนาคม พลังงานและสารสนเทศสมาพันธรัฐสวิส แสดงเชื่อมั่นในความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่ต้องการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และไทยจะเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยของไทยโดยเร็วต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11383
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ภาครัฐและภาคเอกชน ลงนามความร่วมมือ “Censor Plastic Bags”
วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2562 ทส. ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ภาครัฐและภาคเอกชน ลงนามความร่วมมือ “Censor Plastic Bags” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการงดเผยแพร่ภาพพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทางโทรทัศน์ "CENSOR PLASTIC BAGS" ทส. ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ภาครัฐและภาคเอกชน ลงนามความร่วมมือ “Censor Plastic Bags” วานนี้ (18 ธ.ค.62) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการงดเผยแพร่ภาพพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทางโทรทัศน์ "CENSOR PLASTIC BAGS" โดยมี นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ลงนามความร่วมมือฯ กับผู้แทนสถานี โทรทัศน์ 8 แห่ง ได้แก่ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จํากัด (ช่อง 7HD) บริษัท อสมท. จํากัด (มหาชน) (ช่อง MCOT HD) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย (ช่อง NBT) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ช่อง TPBS) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จํากัด (ช่อง GMM25) บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จํากัด (ช่อง One31) บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์ เทนเมนท์ จํากัด (มหาชน) (Workpoint ช่อง23) บริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จํากัด (ช่อง8) พร้อมด้วย ตัวแทนศิลปิน ดารา ในการจะงดการเผยแพร่ภาพหรือเบลอภาพพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single - Use Plastic) ในละครหรือรายการโทรทัศน์ ตลอดจนสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นถึงความสําคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างการรับรู้และความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนเกิดการจัดการขยะพลาสติกอย่างถูกวิธีตามหลักการ 3Rs และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. กล่าวว่า ปัญหาการจัดการขยะ เป็นวิกฤตการณ์ระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการขยะพลาสติก ซึ่งมีจํานวนมหาศาล โดยเฉพาะถุงพลาสติกหูหิ้วหรือถุงก๊อบแก๊บ ที่มีปริมาณการใช้สูงถึง 45,000 ล้านใบต่อปี และใช้เวลาการย่อยสลายกว่า 400 ปี แต่อายุการใช้งาน สั้นมาก บางครั้งไม่ถึง 1 นาที เป็นภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตทั้งทางบกและทางทะเล การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อน เพื่อมุ่งสู่ประเทศไทยปราศจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ภายในปี 2565 ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลอดจนร้านสะดวกซื้อ มากกว่า 90 บริษัท ทั่วประเทศ จะงดบริการถุงพลาสติกหูหิ้วให้กับลูกค้า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป และในวันนี้ นับเป็นอีกหนึ่งพลังความร่วมมือที่สําคัญที่จะช่วยสร้างการรับรู้ให้เข้าถึงประชาชนได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องขอบคุณสถานีโทรทัศน์ชั้นนําของประเทศ ทั้ง 8 แห่ง ที่ได้ให้ความสําคัญและตระหนักถึงปัญหานี้ โดยจะยังคงขยายความร่วมมือเช่นนี้กับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ร่วมด้วย ทั้งนี้ จากการรณรงค์อย่างจริงจัง และต่อเนื่องที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวและเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนสู่ความเคยชินใหม่ ที่กําลังจะมาถึงในอีก 13 วันข้างหน้า ได้เกิดกระแสตอบรับที่ดีจากพี่น้องประชาชนเป็นจํานวนมาก ที่ถึงแม้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอยของตัวเองลงบ้างก็ตาม ดังเห็นได้จากผลสํารวจดุสิตโพล ที่ผ่านมา ประชาชน ถึงประมาณ ร้อยละ 90 เห็นด้วยกับนโยบายงดแจกถุงฯ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองกันบ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องขอความร่วมมือและขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนและทุกภาคส่วนมาเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติก ด้วยการลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่สําคัญ คือ เปลี่ยนวัฒนธรรมการใช้แล้วทิ้ง ไปสู่วัฒนธรรมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้คุ้มค่า เพื่อส่งคืนโลกใบนี้ที่น่าอยู่ให้กับลูกหลานของเราในอนาคต ต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ภาครัฐและภาคเอกชน ลงนามความร่วมมือ “Censor Plastic Bags” วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2562 ทส. ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ภาครัฐและภาคเอกชน ลงนามความร่วมมือ “Censor Plastic Bags” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการงดเผยแพร่ภาพพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทางโทรทัศน์ "CENSOR PLASTIC BAGS" ทส. ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ภาครัฐและภาคเอกชน ลงนามความร่วมมือ “Censor Plastic Bags” วานนี้ (18 ธ.ค.62) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการงดเผยแพร่ภาพพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทางโทรทัศน์ "CENSOR PLASTIC BAGS" โดยมี นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ลงนามความร่วมมือฯ กับผู้แทนสถานี โทรทัศน์ 8 แห่ง ได้แก่ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จํากัด (ช่อง 7HD) บริษัท อสมท. จํากัด (มหาชน) (ช่อง MCOT HD) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย (ช่อง NBT) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ช่อง TPBS) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จํากัด (ช่อง GMM25) บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จํากัด (ช่อง One31) บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์ เทนเมนท์ จํากัด (มหาชน) (Workpoint ช่อง23) บริษัท อาร์.เอส. เทเลวิชั่น จํากัด (ช่อง8) พร้อมด้วย ตัวแทนศิลปิน ดารา ในการจะงดการเผยแพร่ภาพหรือเบลอภาพพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single - Use Plastic) ในละครหรือรายการโทรทัศน์ ตลอดจนสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นถึงความสําคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างการรับรู้และความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนเกิดการจัดการขยะพลาสติกอย่างถูกวิธีตามหลักการ 3Rs และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. กล่าวว่า ปัญหาการจัดการขยะ เป็นวิกฤตการณ์ระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการขยะพลาสติก ซึ่งมีจํานวนมหาศาล โดยเฉพาะถุงพลาสติกหูหิ้วหรือถุงก๊อบแก๊บ ที่มีปริมาณการใช้สูงถึง 45,000 ล้านใบต่อปี และใช้เวลาการย่อยสลายกว่า 400 ปี แต่อายุการใช้งาน สั้นมาก บางครั้งไม่ถึง 1 นาที เป็นภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตทั้งทางบกและทางทะเล การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อน เพื่อมุ่งสู่ประเทศไทยปราศจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ภายในปี 2565 ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลอดจนร้านสะดวกซื้อ มากกว่า 90 บริษัท ทั่วประเทศ จะงดบริการถุงพลาสติกหูหิ้วให้กับลูกค้า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป และในวันนี้ นับเป็นอีกหนึ่งพลังความร่วมมือที่สําคัญที่จะช่วยสร้างการรับรู้ให้เข้าถึงประชาชนได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องขอบคุณสถานีโทรทัศน์ชั้นนําของประเทศ ทั้ง 8 แห่ง ที่ได้ให้ความสําคัญและตระหนักถึงปัญหานี้ โดยจะยังคงขยายความร่วมมือเช่นนี้กับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ร่วมด้วย ทั้งนี้ จากการรณรงค์อย่างจริงจัง และต่อเนื่องที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวและเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนสู่ความเคยชินใหม่ ที่กําลังจะมาถึงในอีก 13 วันข้างหน้า ได้เกิดกระแสตอบรับที่ดีจากพี่น้องประชาชนเป็นจํานวนมาก ที่ถึงแม้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอยของตัวเองลงบ้างก็ตาม ดังเห็นได้จากผลสํารวจดุสิตโพล ที่ผ่านมา ประชาชน ถึงประมาณ ร้อยละ 90 เห็นด้วยกับนโยบายงดแจกถุงฯ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองกันบ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องขอความร่วมมือและขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนและทุกภาคส่วนมาเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติก ด้วยการลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่สําคัญ คือ เปลี่ยนวัฒนธรรมการใช้แล้วทิ้ง ไปสู่วัฒนธรรมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้คุ้มค่า เพื่อส่งคืนโลกใบนี้ที่น่าอยู่ให้กับลูกหลานของเราในอนาคต ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25338