inputs
stringlengths
260
32.7k
targets
stringlengths
223
32.4k
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: นิวยอร์ก– เตา บุน ชิง (Teo Boon Ching) หรือที่รู้จักในนาม Zhang, Dato Sri และ Godfather อายุ58ปี ชาวมาเลเซีย ถูกตัดสินจำคุก18เดือนในข้อหาสมคบกระทำความผิดค้านอแรดหลายร้อยกิโลกรัม มูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ โดยเชื่อมโยงกับการลักลอบล่าแรดซึ่งเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์จำนวนมากโดยผิดกฎหมาย ทั้งนี้นายพอล เอ.ครอตตี ผู้พิพากษาศาลแขวงนิวยอร์กใต้ สหรัฐอเมริกา ได้ตัดสินโทษดังกล่าวในวันที่19กันยายน2566 นายชิงซึ่งถูกส่งตัวข้ามแดนจากประเทศไทย เป็นนักค้าสัตว์ป่ารายใหญ่คนที่6ที่สำนักงานอัยการสหรัฐฯ นิวยอร์กใต้ ส่งสำนวนฟ้องเมื่อเร็วๆ นี้ และถูกตัดสินลงโทษ ทั้งนี้สำนักงานอัยการยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งผู้ร้ายหลายรายข้ามแดนจากหลายประเทศในทวีปแอฟริกา โดยก่อนหน้านี้สำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศ (Office of Foreign Assets Control: OFAC) กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้คว่ำบาตรนายชิงและสมาชิกในเครือข่าย ตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร13581 ฉบับแก้ไข “การค้าสัตว์ป่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อทรัพยากรธรรมชาติและมรดกนิเวศที่หลายชุมชนทั่วโลกใช้ร่วมกัน การค้าสัตว์ป่าสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ลักลอบล่าสัตว์ที่ฆ่าแรดใกล้สูญพันธุ์จำนวนมากโดยผิดกฎหมายและไร้เหตุผล อีกทั้งยังส่งเสริมตลาดซื้อขายผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายเหล่านี้ด้วย” นายดาเมียน วิลเลียมส์ พนักงานอัยการสหรัฐฯ ประจำศาลแขวงนิวยอร์กใต้ กล่าว“คำพิพากษาลงโทษที่รุนแรงแสดงถึงความมุ่งมั่นของสำนักงานอัยการที่จะใช้เครื่องมือทั้งหมดที่เรามีเพื่อปกป้องสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์” จากข้อกล่าวหาและเอกสารอื่นๆ ที่ยื่นประกอบคดี ตลอดจนคำแถลงต่างๆ ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล พบว่านายชิงเป็นสมาชิกของเครือข่ายสมคบอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำเข้าและค้านอแรดระดับโลก เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ซื้อต่างชาติ รวมถึงผู้ซื้อที่ปรากฏว่าพำนักอยู่ในแมนแฮตตัน การค้าที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์หรือถูกคุกคามละเมิดกฎหมายสหรัฐฯ หลายฉบับ รวมทั้งสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่กฎหมายสหรัฐฯ บางฉบับนำมาใช้ ในช่วงเวลาของการสมคบและกระทำการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นายชิงได้สมคบเพื่อขนส่ง แจกจ่าย จำหน่าย และลักลอบนำเข้านอแรดอย่างน้อยประมาณ219กิโลกรัม ซึ่งเป็นผลมาจากการล่าแรดจำนวนมาก โดยนอแรดดังกล่าวมีมูลค่าประเมินอย่างน้อยประมาณ2.1ล้านเหรียญสหรัฐ ในหลายโอกาส นายชิงได้พบกับสายข่าวเพื่อเจรจาการขายนอแรด ตัวอย่างเช่นเมื่อวันที่17 และ18กรกฎาคม2562 สายข่าวดังกล่าวได้พบกับนายชิงที่มาเลเซีย ในระหว่างการพบปะกันนั้น นายชิงกล่าวว่า เขาเป็น “คนกลาง” ผู้ซึ่งจัดหานอแรดที่ผู้สมคบล่ามาจากแอฟริกา และจัดส่งนอแรดดังกล่าวให้แก่ลูกค้าจากทั่วโลก โดยคิดค่าธรรมเนียมเป็นกิโลกรัม นอกจากนี้ นายชิงยังสัญญากับสายข่าวด้วยว่า “ตราบใดที่คุณมีเงินสด คุณก็จะได้รับสินค้าภายใน1-2วัน” ในระหว่างการสื่อสารกัน นายชิงได้ส่งภาพถ่ายจำนวนมากให้แก่สายข่าวคนดังกล่าว โดยเป็นภาพนอแรดที่มีพร้อมจำหน่ายและจัดส่ง ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ส่งเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม2562 ภาพที่ส่งเมื่อวันที่19-20 สิงหาคม2562 ในเดือนสิงหาคม2562สายข่าวคนดังกล่าวได้ซื้อนอแรดจำนวน12ชิ้นจากนายชิง ตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย โดยใช้เงินที่นายชิงเชื่อว่าเป็นรายได้จากการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายอื่นๆ และอยู่ในบัญชีธนาคารในนิวยอร์ก ผู้ที่ทำงานในองค์กรค้าสัตว์ป่าได้ส่งนอแรดเหล่านี้มาในกระเป๋าเดินทางจากประเทศไทย ฝ่ายนิติเวชของสำนักงานกิจการปลาและสัตว์ป่าสหรัฐฯ (U.S. Fish and Wildlife Service) ตรวจสอบนอแรดและสรุปว่ามีนอ2ชิ้นมาจากแรดดำ และอีก10เป็นนอแรดขาว ตัวอย่างภาพแรดขาวและดำมีดังนี้ แรดขาว แรดดำ นอแรด12ชิ้นที่นายชิงจัดเตรียมเพื่อขายและนำส่งให้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายผ่านทางสายข่าว มีดังภาพด้านล่าง นายชิงถูกจับในประเทศไทยเมื่อวันที่29 มิถุนายน2565 ตามคำขอของสหรัฐฯ โดยปฏิบัติตามสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระดับทวิภาคี จากนั้นจึงถูกส่งตัวข้ามแดนไปยังสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม2565 นายชิงให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดสมคบเพื่อค้าสัตว์ป่าจำนวน1กระทง พนักงานอัยการสหรัฐฯ วิลเลียมส์ ชมเชยการทำงานที่ยอดเยี่ยมของสำนักงานกิจการปลาและสัตว์ป่าสหรัฐฯ อีกทั้งยังได้ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความช่วยเหลือในการส่งตัวนายชิงไปสหรัฐฯ ตลอดจนยกย่องเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและภาคีที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงสำนักงานอัยการสูงสุดและกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อัยการวิลเลียมส์ยังแสดงความขอบคุณสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และสำนักงานกิจการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ที่ให้ความช่วยเหลืออย่างสูงในการดูแลการจับกุมและส่งตัวนายชิงให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดย U.S. Embassy Bangkok | 22 กันยายน, 2023 | ประเภท: Exclude, ข่าว
NEW YORK– Teo Boon Ching, aka Zhang, Dato Sri, and Godfather, 58 of Malaysia, was sentenced to 18 months in prison for conspiring to traffic hundreds of kilograms of rhinoceros horns worth millions of dollars that involved the illegal poaching of numerous rhinoceros, an endangered wildlife species. The sentence was imposed on September 19, 2023 by U.S. District Judge Paul A. Crottyof the Southern District of New York. Ching, who was extradited from Thailand, is the sixth large-scale wildlife trafficker sentenced in cases recently brought by the U.S. Attorney’s Office for the Southern District of New York, which also involved the extradition of multiple individuals from several countries in Africa. Ching and his associated entities were previously sanctioned by the U.S. Department of the Treasury’s Office of Foreign Assets Control (OFAC) pursuant to E.O. 13581, as amended. “Wildlife trafficking is a serious threat to the natural resources and the ecological heritage shared by communities across the globe, enriching poachers responsible for the senseless illegal slaughter of numerous endangered rhinoceros and furthering the market for these illicit products,” said U.S. Attorney Damian Williams for the Southern District of New York.“The substantial sentence shows the resolve of this Office to use every tool at our disposal to ensure the protection of endangered species.” According to the charging and other documents filed in the case, as well as statements made in court proceedings, Ching was a member of a transnational criminal conspiracy engaged in the large-scale international trafficking and smuggling of rhinoceros horns to sell to foreign buyers, including buyers represented to be in Manhattan. Trade involving endangered or threatened species violates several U.S. laws as well as international treaties implemented by certain U.S. laws. During the course of the conspiracy and related conduct, Ching conspired to transport, distribute, sell and smuggle at least approximately 219 kilograms of rhinoceros horns resulting from the poaching of numerous rhinoceros and having an estimated value of at least approximately $2.1 million. On a number of occasions, Ching met with a confidential source to negotiate the sale of rhinoceros horns. For example, on July 17 and 18, 2019, the confidential source met with Ching in Malaysia. During those meetings, Ching stated that he served as a “middleman” — one who acquires rhinoceros horns poached by co-conspirators in Africa and ships them to customers around the world for a per-kilogram fee. He also promised the confidential source “as long as you have cash, I can give you the goods in 1-2 days.” During their communications, CHING sent the confidential source numerous photographs of rhinoceros horns that Ching had available for sale and shipment, including the following: July 28, 2019, Communications August 19-20, 2019, Communications In August 2019, the confidential source, at the direction of law enforcement, purchased 12 rhinoceros horns from Ching with money that Ching believed were the proceeds of other illegal wildlife trafficking and was in bank accounts in New York. These horns were delivered in a suitcase in Thailand by those working for the wildlife trafficking organization. A U.S. Fish and Wildlife Service forensics laboratory examined the rhinoceros horns and concluded that two horn pieces were black rhinoceros horns, and the other 10 pieces were white rhinoceros horns. Pictures of white and black rhinoceros are depicted below: White Rhinoceros Black Rhinoceros A picture of the 12 rhinoceros horns that Ching arranged to be sold to law enforcement through the confidential source and had delivered are depicted below: Ching was arrested in Thailand on June 29, 2022, at the request of the United States pursuant to a bilateral extradition treaty and was extradited to the United States on October 7, 2022. Ching pled guilty to one count of conspiracy to commit wildlife trafficking. U.S. Attorney Williams praised the outstanding work of the U.S. Fish and Wildlife Service. In addition, U.S. Attorney Williams thanked the Royal Thai Government for its assistance in the extradition of Ching to the United States and commended law enforcement authorities and conservation partners in Thailand, including the Office of the Attorney General and the Royal Thai Police, Natural Resources and Environmental Crime Suppression Division.U.S. Attorney Williams also thanked the U.S. Embassy in Bangkok and the Justice Department’s Office of International Affairs for providing substantial assistance in securing the arrest and extradition of Ching. By U.S. Embassy Bangkok | 22 September, 2023 | Topics: Exclude, News
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: วาระการเลือกนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ขึ้นดำรงตำแหน่ง คำแถลงโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี เจ. บลิงเคน สหรัฐอเมริกาขอแสดงความยินดีกับคุณเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศไทย ในปีนี้ เราเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 190 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างสหรัฐฯ และไทย ซึ่งนับเป็นไมตรีที่เก่าแก่อันดับต้น ๆ ที่เรามีกับนานาประเทศทั่วโลก ด้วยการผนึกกำลังกันในฐานะเพื่อนและพันธมิตร สหรัฐฯ และไทยได้เสริมสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน ส่งเสริมเสถียรภาพในภูมิภาค เผชิญหน้ากับความท้าทายด้านสาธารณสุขระดับโลก และสานสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของเราให้แน่นแฟ้นขึ้น เราตั้งตารอที่จะได้ทำงานกับนายกรัฐมนตรีเศรษฐา เพื่อต่อยอดจากแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในปีที่แล้ว อีกทั้งเสริมสร้างพันธไมตรีอันยืนนานของเราสองประเทศต่อไป เราจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลชุดใหม่ของไทย เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนค่านิยมที่มีร่วมกัน ตลอดจนสร้างเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง เชื่อมโยง สงบสุข และเข้มแข็งต่อไป โดย U.S. Embassy Bangkok | 24 สิงหาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
Selection of Thai Prime Minister Srettha Thavisin Press Statement Antony J. Blinken, Secretary of State The United States congratulates Prime Minister Srettha Thavisin on his selection as Thailand’s next prime minister. This year, we celebrate 190 years of formal diplomatic relations, making the U.S.-Thai partnership one of our oldest relationships in the world. Together, as friends and allies, we have deepened mutual prosperity, improved security in the region, faced global public health challenges, and forged strong people-to-people ties. We look forward to working with the Prime Minister to build on last year’s U.S.-Thailand Communiqué on Strategic Alliance and Partnership, and to further strengthen the enduring alliance between the United States and Thailand. We will collaborate closely with the new Thai government to continue advancing our shared values and a free and open, connected, peaceful, and resilient Indo-Pacific region. By U.S. Embassy Bangkok | 24 August, 2023 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand, U.S. Secretary of State
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สหรัฐอเมริกาและไทยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ PSI เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง สหรัฐฯ และไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความริเริ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงในการสกัดกั้นการแพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Proliferation Security Initiative: PSI) ระหว่างวันที่17-18สิงหาคม2566 ที่กรุงเทพมหานคร การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับพหุภาคีนี้มีผู้นำทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารจากประเทศกัมพูชา บรูไน สปป.ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ออสเตรเลีย สหรัฐฯ และไทยเข้าร่วมการประชุม โดยผู้เข้าร่วมจะได้ตรวจสอบเส้นทางการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD) สมัยใหม่ มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับพันธกรณีว่าด้วยการสกัดกั้นอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ศึกษากรอบด้านกฎหมายและวิธีปฏิบัติที่ดีของภาคี ตลอดจนขยายเครือข่ายชุมชน “ต่อต้านอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุมดังกล่าวยังมีเนื้อหารวมไปถึงข้อสรุปต่างๆ เช่นข้อสรุปของผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยภัยคุกคามจากการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงในระดับโลกและภูมิภาค จากสำนักงานกิจการการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disarmament Affairs) การอภิปรายต่างๆ ตลอดจนการอภิปรายแผนรับมือสถานการณ์จำลองบนโต๊ะโดยเน้นการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในรัฐบาลและการตัดสินใจเกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงซึ่งอาจเกิดขึ้นในภูมิภาค กรอบความริเริ่ม PSI จัดตั้งขึ้นเมื่อปี2546 เพื่อขัดขวางหรือยับยั้งการลำเลียงอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ระบบขนส่ง และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เข้าและออกจากรัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของอาวุธเหล่านี้ ปัจจุบันมีรัฐที่รับรองแถลงการณ์ว่าด้วยหลักการสกัดกั้นภายใต้กรอบความริเริ่ม PSI (PSI Statement of Interdiction Principles) กว่า100รัฐ ประเทศที่เข้าร่วมกรอบความริเริ่มPSI โดยยอมรับแถลงการณ์ว่าด้วยหลักการสกัดกั้น ได้ให้คำมั่นที่จะดำเนินการขัดขวางหรือยับยั้งการลำเลียงวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เข้าและออกรัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง โดยสอดคล้องกับกฎหมายและกรอบกฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้โดยดำเนินการดังกล่าวด้วยตนเองหรือในความร่วมมือกับรัฐภาคีอื่นๆ โดย U.S. Embassy Bangkok | 18 สิงหาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
U.S. and Thailand Co-host Proliferation Security Initiative (PSI) Workshop in Bangkok to Strengthen Regional Nonproliferation Coordination The United States and Thailand will co-host a Southeast Asia Proliferation Security Initiative (PSI) Workshop from August 17-18, 2023, in Bangkok, Thailand. This multilateral workshop brings together civilian and military leaders from Cambodia, Brunei, Laos, Malaysia, the Philippines, Singapore, Vietnam, Australia, the United States, and Thailand. During the workshop, participants will examine modern weapons of mass destruction (WMD) proliferation pathways, improve understanding of WMD interdiction obligations, explore legal frameworks and the best practices of partners, and enhance the connections of the “Countering WMD” community in Southeast Asia. The workshop also includes briefs, including an expert brief on global and regional proliferation threats from the United Nations Office for Disarmament Affairs, panel discussions, and a scenario-based tabletop discussion focused on intra-governmental information sharing and decision-making about potential WMD-related proliferation activities in the region. The PSI was established in 2003 to stop or impede transfers of WMD, their delivery systems, and related materials flowing to and from states and non-state actors of proliferation concern. Thus far, more than 100 states have endorsed the PSI Statement of Interdiction Principles. Countries that participate in the PSI by endorsing the PSI Statement of Interdiction Principles make a political commitment to take action to impede or stop, individually or in coordination with other partner states, shipments of WMD-related materials to and from states and non-state actors of proliferation concern, consistent with domestic and international laws and frameworks. By U.S. Embassy Bangkok | 18 August, 2023 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารถวายพระพรชัยมงคลจากเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย โรเบิร์ต โกเดค เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 12 สิงหาคม 2566 หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทย ขอถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงและทรงพระเกษมสำราญยิ่ง สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นมิตรที่มั่นคงของสหรัฐฯ เสมอมา และทรงเสริมสร้างไมตรีที่แน่นแฟ้นระหว่างชาติอันยิ่งใหญ่ของเราทั้งสอง พระองค์ทรงพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจผ่านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ตลอดหลายทศวรรษ เพื่อให้คนไทยทั่วทุกภูมิภาคมีชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์แห่งประเพณีและหัตถศิลป์ของไทย ขอพระองค์ทรงพระเจริญ และสุขสันต์วันแม่แห่งชาติแด่คุณแม่ชาวไทยทุกคน โดย U.S. Mission Thailand | 11 สิงหาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สถานทูต, สหรัฐอเมริกาและไทย
Message from Ambassador Robert Godec in Honor of the 91st Birthday of Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother, August 12, 2023 The United States Mission to the Kingdom of Thailand extends our warmest wishes to Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother on the auspicious occasion of Her Majesty’s 91st birthday. We wish Her Majesty good health and happiness. Her Majesty has been an unwavering friend to the United States and has strengthened the longstanding friendship between our two great nations. Through her SUPPORT Foundation, Her Majesty has worked tirelessly to improve the lives of Thai people throughout the Kingdom and to preserve the uniqueness of Thai traditions and craftsmanship over many decades. We wish Her Majesty and all Thai mothers a Happy Mother’s Day. By U.S. Embassy Bangkok | 11 August, 2023 | Topics: embassy, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารถวายพระพรชัยมงคลจากเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย โรเบิร์ต โกเดค เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทย ขอถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงและทรงพระเกษมสำราญ ตลอดจนขอให้ปวงชนชาวไทยมีความสุขกายสุขใจ ในความสัมพันธ์ทางการทูตกว่า 190 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ​และไทยได้ทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่ง เสรีภาพ และความมั่นคงให้แก่บรรดาประชาชนของเรา สหรัฐฯ หวังว่าจะได้กระชับมิตรภาพระหว่างเราสองชาติให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นสืบไป โดย U.S. Mission Thailand | 27 กรกฎาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกอัครราชทูต
Message from U.S. Ambassador to Thailand Robert Godec on the Occasion of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua’s 71st Birthday, July 28, 2023 On the occasion of the 71st birthday of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua, the United States Mission to the Kingdom of Thailand offers our most heartfelt congratulations. Over the past 190 years of diplomatic relations, the United States and Thailand have worked together to promote prosperity, freedom, and security for all our people. We look forward to deepening further the strong friendship between our great nations in the years to come. We wish His Majesty, the Royal Family, and the Thai people good health and happiness. By U.S. Embassy Bangkok | 27 July, 2023 | Topics: Ambassador, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: หน่วยงานสหรัฐฯ ในประเทศไทยบริจาคอุปกรณ์ด้านการศึกษาและการแพทย์ให้แก่โรงเรียนและโรงพยาบาลในภาคเหนือของไทย ระหว่างวันที่ 10-14 กรกฎาคม 2566 ทีมกิจการพลเรือน กองทัพบกสหรัฐฯ ได้ประสานการบริจาคเครื่องปั่นไฟ แผงโซลาร์เซลล์ คอมพิวเตอร์ และเฟอร์นิเจอร์ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโกแประ จ.แม่ฮ่องสอน ส่งมอบเครื่องฟอกอากาศ 76 เครื่องและเครื่องตรวจวัดคาร์บอนไดออกไซด์ 18 เครื่องเพื่อแจกจ่ายให้กับโรงเรียน 19 แห่งทั่วเชียงใหม่ และบริจาคเครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและเครื่องติดตามสัญญาณชีพให้แก่โรงพยาบาลแม่ออน จ.เชียงใหม่ โดยกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ ลิสา บูเจนนาสได้เป็นประธานส่งมอบในพิธีบริจาคทั้งสามพิธีนี้ร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่มีมาอย่างยาวนานของสหรัฐฯ ในการพัฒนาการศึกษา สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขในภาคเหนือของไทย โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 14 กรกฎาคม, 2023 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์
U.S. Mission to Thailand Donates Education and Medical Equipment to Schools and Hospitals in Northern Thailand From July 10-14, the U.S. Mission to Thailand Civil Affairs team organized a donation of generators, solar panels, computers, and furniture to the Kho Prae Border Patrol Police School in Mae Hong Son province; 76 air purifiers and 18 CO2 detectors to 19 schools throughout Chiang Mai province; and defibrillators, ECG machines and patient monitors to the Mae On Hospital in Chiang Mai.  Consul General Lisa Buzenas presided over the three donation ceremonies with local partners, demonstrating the long-standing U.S. commitment to improving education, the environment, and public health in northern Thailand. By U.S. Consulate Chiang Mai | 14 July, 2023 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่เพิ่มขีดความสามารถด้านอี-คอมเมิร์ซให้กับผู้ประกอบการในภาคเหนือของไทย สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ Amazon Global Selling Thailand จัดฝึกอบรมผู้ประกอบการทั่วภาคเหนือของไทยกว่า 80 คน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านการขายสินค้าออนไลน์ ในเวิร์คช้อประหว่างวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2566 ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ด้านการเงิน ตลาดออนไลน์ เครื่องมือในการซื้อขายออนไลน์ และวิธีการขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในตลาดอี-คอมเมิร์ซ โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 11 กรกฎาคม, 2023 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์
U.S. Consulate General Chiang Mai Powers Up E-Commerce Skills for Entrepreneurs in Northern Thailand U.S. Consulate General Chiang Mai partnered with the Bank of Thailand’s northern regional office, Digital Economy Promotion Agency (DEPA), and Amazon Global Selling Thailand to train more than 80 entrepreneurs across northern Thailand on how to power up their e-commerce skills. During the July 10-11 workshop, entrepreneurs learned about financial literacy, online marketing, online trading tools, and strategies to sell their local products in e-commerce marketplaces. By U.S. Consulate Chiang Mai | 11 July, 2023 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: เรือ USS Rafael Peralta มีกำหนดเยือนประเทศไทย เรือ USS Rafael Peralta (DDG 115) จะเยือนประเทศไทยตามกำหนดในระหว่างวันที่ 25-29 มิถุนายน 2566 การเข้าเยี่ยมท่าของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในด้านความมั่นคง ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเรือ USS Rafael Peralta จะร่วมการประชุมหารือกับคณะผู้แทนจากกองทัพเรือไทย นอกจากนี้ การเข้าเยี่ยมท่ายังเปิดโอกาสให้ทหารเรือสหรัฐฯ ได้สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นและมีส่วนร่วมในโครงการชุมชนสัมพันธ์อีกด้วย เรือ USS Rafael Peralta ซึ่งบังคับการโดย นาวาโท ชาร์ลส์ คูเปอร์ ได้ออกเดินทางจากเมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อปฏิบัติการทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2566 และตั้งแต่นั้นมา ได้มีส่วนในการฝึกร่วมผสมหลายครั้งกับภาคีและพันธมิตรทั่วภูมิภาค หมายเหตุ: ไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมเรือขณะเทียบท่าในประเทศไทย อ่านข่าวสารของกองเรือเฉพาะกิจ70ได้ที่ https://www.dvidshub.net/unit/TF70CSF-5 โดย U.S. Embassy Bangkok | 23 มิถุนายน, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
USS Rafael Peralta to visit Thailand The USS Rafael Peralta (DDG 115) will make a scheduled visit to Thailand June 25-29, 2023. U.S. Navy port visits are an opportunity to strengthen the U.S.-Thai security partnership and advance people-to-people ties. During the visit, Rafael Peralta leadership will conduct meetings with counterparts in the Royal Thai Navy. The visit also provides an opportunity for U.S. Sailors to explore the local culture and participate in community relations projects. Led by Cmdr. Charles Cooper, the Rafael Peralta departed Yokosuka, Japan, for a routine deployment in May 2023. Since then, the Rafael Peralta has participated in several joint and integrated training operations with partners and allies across the region. The ship will not be open for public tours while pier side in Thailand. For more news from CTF 70, visit: https://www.dvidshub.net/unit/TF70CSF-5 By U.S. Embassy Bangkok | 23 June, 2023 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 247 ปีวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เกว็น คาร์ดโนและกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ลิสา บูเจนนาส ร่วมเป็นเจ้าภาพในงานเฉลิมฉลองวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ ที่จัดขึ้นโดยสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน โดยมีองค์กรภาคีต่าง ๆ เพื่อนร่วมงาน มิตรของเรา รวมถึงแขกจากทั้ง 15 จังหวัดในเขตอาณาของสถานกงสุลใหญ่ฯ เข้าร่วม ซึ่งผู้ร่วมงานได้เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมภายใต้แนวคิด “Texas State Fair” ซึ่งนำเสนอนวัตกรรม วัฒนธรรม อาหาร และความสนุกสนานของรัฐเท็กซัส นอกจากนี้ ยังมีการนำชมทัวร์เสมือนจริงของมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบ 360 องศา และบอกเล่าเรื่องราวของวันจูนทีนท์ ซึ่งเป็นวันหยุดหนึ่งของสหรัฐฯ ที่เฉลิมฉลองการเลิกระบบทาสในทุกรัฐ โดยมีจุดกำเนิดในเมืองแกลเวสตัน รัฐเท็กซัส โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 15 มิถุนายน, 2023 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่
U.S. Consulate General Chiang Mai Celebrates 247th Independence Day of United States Chargé d’affaires Gwen Cardno and Consul General Lisa Buzenas hosted U.S. Consulate General Chiang Mai’s Independence Day celebration on June 15, which was attended by our counterparts, colleagues, and friends, including guests from all 15 provinces in our consular district. Attendees enjoyed our interactive “Texas State Fair” theme, which highlighted the innovation, culture, food, and fun of Texas. We also showcased U.S. universities and cultural sites through 360-dgree virtual reality tours, and highlighted the origins of Juneteenth – another U.S. holiday celebrating the end of slavery in all states – in Galveston, Texas. By U.S. Consulate Chiang Mai | 15 June, 2023 | Topics: Chiang Mai, Consul General, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ค่าธรรมเนียมหลักปฏิบัติต่างตอบแทน(Reciprocity Fee) ผู้สมัครจากบางประเทศอาจจำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหลักปฏิบัติต่างตอบแทนเพิ่มเติมหลังจากที่วีซ่าของตนได้รับการอนุมัติแล้ว ค่าธรรมเนียมนี้ขึ้นอยู่กับหลักปฏิบัติต่างตอบแทนที่สหรัฐฯมีกับบางประเทศรัฐบาลสหรัฐฯพยายามที่จะไม่ให้มีการคิดค่าธรรมเนียมดังกล่าวนี้อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลของประเทศใดคิดค่าธรรมเนียมหลักปฏิบัติต่างตอบแทนสำหรับวีซ่าบางประเภทกับบุคคลสัญชาติอเมริกัน รัฐบาลสหรัฐฯก็จะคิดค่าธรรมเนียมหลักปฏิบัติต่างตอบแทนสำหรับวีซ่าประเภทที่คล้ายคลึงกันนั้นกับบุคคลสัญชาติดังกล่าวด้วยเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศจะมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมหลักปฏิบัติต่างตอบแทนนี้พร้อมข้อมูลที่จะช่วยระบุว่าท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมนี้ด้วยหรือไม่ โดย U.S. Mission Thailand | 9 มิถุนายน, 2023 | ประเภท: กงสุล, ข่าว, วีซ่า, วีซ่าชั่วคราว
Nonimmigrant Visa Issuance (“Reciprocity”) Fees Applicants from certain countries may be required to pay a visa issuance fee after their application is approved. These fees are based on “reciprocity” (what another country charges a U.S. citizen for a similar-type of visa). The United States strives to eliminate visa issuance fees whenever possible, however, when a foreign government imposes these fees on U.S. citizens for certain types of visas, the United States will impose a “reciprocal” fee on citizens of that country for similar types of visas. The Department of State’swebsitehas more information about visa issuance fees and can help you determine if an issuance fee applies to your nationality. By U.S. Mission Thailand | 9 June, 2023 | Topics: Consular Affairs, News, Non Immigrant Visas, Visas | Tags: Reciprocity
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: AFRIMS ฉลองครบรอบ 62 ปีแห่งการบุกเบิกการวิจัยทางการแพทย์และสร้างคุณูปการสำคัญแก่ไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) เฉลิมฉลองครบรอบ62ปี โดยชูความสำเร็จโดดเด่นด้านการวิจัยทางการแพทย์และผลงานสำคัญๆ ต่อการสาธารณสุขของไทย พิธีฉลองวาระครบรอบดังกล่าวจัดให้มีขึ้นที่พระราชวังพญาไทและสำนักงานใหญ่ของAFRIMS โดยมีแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานมากมาย รวมถึงผู้อำนวยการกองอำนวยการหน่วยแพทย์ทหารบกสหรัฐฯ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (USAMD-AFRIMS) และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (สวพท.) นับตั้งแต่ปี2504 ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ที่ AFRIMS บุกเบิกโครงการริเริ่มด้านการวิจัยใหม่ๆ และเสริมสร้างความร่วมมือด้านการแพทย์ระหว่างประเทศ ซึ่งยังประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนไทยและช่วยหลายร้อยล้านชีวิตทั่วโลก ตลอดช่วง6ทศวรรษที่ผ่านมา AFRIMS ได้ดำเนินการวิจัยด้านโรคติดเชื้อและมีการค้นพบครั้งสำคัญๆ มากมาย ส่งผลให้เกิดการป้องกันและควบคุมโรคที่เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสาธารณสุข AFRIMS มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันที่เป็นแนวทางใหม่ๆ สำหรับโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้สมองอักเสบเจอี เอชไอวี/เอดส์ โควิด-19 และโรคอุบัติใหม่อื่นๆ AFRIMS มีความมุ่งมั่นอย่างเสมอมาในการรับมือความท้าทายด้านสุขภาพโลกโดยไม่หวังผลกำไร AFRIMS ได้สร้างคุณูปการสำคัญๆ ต่อการพัฒนาและการบรรจุวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของไทย โดยแสดงให้เห็นความปลอดภัยและประสิทธิผลของวัคซีนผ่านการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการมากถึง65,000คน ความสำเร็จดังกล่าวช่วยลดจำนวนผู้ป่วยไข้สมองอักเสบเจอีลงอย่างมีนัยสำคัญ เป็นการป้องกันการติดเชื้อได้อย่างอเนกอนันต์ในไทยและชุมชนทั่วโลก ในการต่อสู้กับมาลาเรีย AFRIMS ได้ดำเนินก้าวสำคัญในการค้นพบและพัฒนายาต้านมาลาเรียและอุปกรณ์ในการตรวจวินิจฉัย ซึ่งช่วยปกป้องและรักษาผู้คนหลายร้อยล้านชีวิตทั่วโลก ความก้าวหน้าดังกล่าว รวมถึงการอนุญาตจากองค์การอาหารและยาให้ใช้อุปกรณ์ตรวจวินิจฉัยมาลาเรียแบบรวดเร็ว Binax-Now ณ จุดดูแลผู้ป่วย ได้พลิกโฉมการวินิจฉัย ตลอดจนลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการป่วยที่เกี่ยวข้องกับมาลาเรียได้อย่างมีนัยสำคัญ AFRIMS ดำเนินการวิจัยซึ่งเป็นการค้นพบครั้งสำคัญเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ ได้แก่ การทดลองวัคซีน RV 144 ซึ่งเป็นวัคซีนเอชไอวีชนิดแรกและชนิดเดียวที่ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีในมนุษย์ได้สำเร็จ วัคซีน RV 144 ถือเป็นหนึ่งใน “20สิ่งประดิษฐ์สำคัญ” ของนิตยสาร Time Magazine ในปี2552และการค้นพบครั้งสำคัญนี้ยังนำโลกของเราอีกหนึ่งก้าวเข้าไปใกล้การพัฒนาวัคซีนเอชไอวีที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับหลายล้านคน ระหว่างการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ทาง AFRIMS ได้รับเอากลยุทธ์การตรวจขององค์การอนามัยโลกมาใช้อย่างรวดเร็วและพิสูจน์ว่ากลยุทธ์ดังกล่าวใช้ได้ผล ซึ่งช่วยให้ไทยมีบทบาทสำคัญในการตรวจหาและควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังทำให้ไทยเป็นผู้นำในการต่อสู้กับโควิด-19 อีกด้วย ในโอกาสครบรอบ62ปีแห่งความร่วมมือที่โดดเด่นระหว่างสหรัฐ-ไทย ด้านสุขภาพโลกนี้ เราฉลองความทุ่มเทของ AFRIMS ในการต่อสู้โรคติดเชื้อและผลิตนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยรุ่นต่อไป โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 มิถุนายน, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
AFRIMS Celebrates 62 Years of Pioneering Medical Research and Transformative Contributions to Thailand The Armed Forces Research Institute of Medical Sciences (AFRIMS) proudly commemorates its 62nd anniversary, highlighting its remarkable achievements in medical research and profound impact on public health in Thailand. Celebratory ceremonies held at the Phya Thai Palace and AFRIMS Headquarters brought together distinguished guests, including the Director of The U.S. Army Medical Directorate (USAMD)-AFRIMS and the Director General of Royal Thai Army AFRIMS. Since 1961, the AFRIMS Thai-U.S. partnership has spearheaded groundbreaking research initiatives and fostered international medical collaboration that has directly benefited the people of Thailand and saved hundreds of millions of global lives. Over the course of the past six decades, AFRIMS has achieved remarkable breakthroughs in infectious disease research, contributing to the prevention and control of diseases that pose significant threats to public health. AFRIMS has played a pivotal role in developing innovative diagnostics, treatments, and prevention strategies for diseases such as dengue fever, malaria, Japanese encephalitis, HIV/AIDS, COVID-19, and other emerging threats. AFRIMS has consistently been committed to addressing global health challenges without a profit motive. AFRIMS significantly contributed to the development and integration of the Japanese encephalitis vaccine into the Thai national immunization program, demonstrating its safety and effectiveness through a large-scale efficacy trial involving 65,000 participants. This achievement has significantly reduced Japanese encephalitis cases, preventing countless infections in Thailand and global communities. In the fight against malaria, AFRIMS has made remarkable strides in the discovery and development of antimalarial drugs and diagnostic devices, resulting in the protection and treatment of hundreds of millions of people worldwide. Their advancements, including the FDA approval of the Binax-Now point-of-care rapid diagnostic device for malaria, have revolutionized diagnosis and significantly reduced malaria-related mortality and morbidity. AFRIMS has conducted groundbreaking research on HIV-AIDS including its RV 144 vaccine trial; the first and only HIV vaccine candidate to successfully reduce the risk of HIV infection in humans. RV 144 was recognized as one of Time Magazine’s “Top 20 Inventions” in 2009 and this breakthrough brings the world one step closer to developing a HIV vaccine that will benefits millions. During the COVID-19 pandemic, AFRIMS quickly acquired and validated WHO testing strategies. This helped Thailand play a crucial role in early detection and containment efforts, and helped make Thailand a leader in the fight against COVID-19. On the occasion of the 62nd anniversary of this unique U.S.-Thai partnership in global health, we celebrate AFRIMS’ dedication combating infectious diseases and generating the next generation of Thai scientists. By U.S. Embassy Bangkok | 7 June, 2023 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: AFRIMS
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันและชาวไทยของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทยร่วมกับประชาชนชาวไทยถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎร์ และทรงพระวิริยะอุตสาหะในการอนุรักษ์ศิลปะและหัตถกรรมไทย ตลอดจนการส่งเสริมผู้ประกอบการในชุมชน สหรัฐฯ และไทยเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 190 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตในปีนี้ เราจึงตั้งตาคอยที่จะได้ทำงานร่วมกับไทยต่อไป เพื่อถักทอสายใยระหว่างชุมชนอเมริกัน ไทย และนานาประเทศให้ยิ่งแน่นแฟ้น ในวันอันเป็นมงคลยิ่งนี้ เราขอถวายพระพรให้พระองค์ทรงประสบแต่สันติสุขและความเจริญรุ่งเรือง และทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ รวมทั้งขอให้ชาวไทยถึงพร้อมด้วยความสุขกายสุขใจเช่นเดียวกัน โดย U.S. Mission Thailand | 2 มิถุนายน, 2023 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย
Statement on the Birthday of Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana The American and Thai community of the U.S. Mission to the Kingdom of Thailand join the Thai people in celebrating Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana’s birthday. Her Majesty is dedicated to public service and has pursued efforts to preserve Thai arts and crafts and empower local entrepreneurs. As this year marks the 190th anniversary of U.S.-Thai diplomatic relations, we look forward to continuing to work together to strengthen the interwoven threads of the American, Thai, and global communities. On this special day, we send our wishes for peace, prosperity, and good health to Her Majesty the Queen and the Thai people By U.S. Mission Thailand | 2 June, 2023 | Topics: U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: เอกอัครราชทูตโกเดคและกงสุลใหญ่บูเจนนาสสานต่อความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาคแม่น้ำโขงให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต โกเดคเยือนจังหวัดเชียงรายจังหวัดเหนือสุดของประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม 2566 โดยเอกอัครราชทูตโกเดคและกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ลิสา บูเจนนาส ได้พบกับข้าราชการท้องถิ่น ผู้นำกลุ่มประชาสังคม อาจารย์ และผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อหารือถึงการสานต่อความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาคแม่น้ำโขงให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เอกอัครราชทูตโกเดคได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ และความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในลุ่มน้ำโขงที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม และความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายสหรัฐ-ไทยในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำที่ช่วยปกป้องประเทศเราทั้งสอง เอกอัครราชทูตโกเดคยังได้เยี่ยมชมชุมชนทอผ้าใน อ.เชียงของ ที่ซึ่งเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการทอผ้าพื้นเมืองและรับฟังปัญหาจากชาวบ้านเกี่ยวกับแม่น้ำโขง โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 31 พฤษภาคม, 2023 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์, เอกอัครราชทูต
Ambassador Godec and Consul General Buzenas Deepen Partnerships in Mekong Region During a May visit to Thailand’s northernmost province of Chiang Rai, U.S. Ambassador to Thailand Robert Godec and Chiang Mai Consul General Buzenas met with local officials, civil society leaders, educators, and law enforcement partners to discuss deepening our partnerships in the Mekong Region.  Ambassador Godec highlighted the importance of the Mekong-U.S. Partnership (MUSP), ongoing efforts to empower Mekong communities impacted by environmental changes, and U.S.-Thai law enforcement cooperation in the Golden Triangle that protects both our countries.  Ambassador Godec also visited local weaving communities in Chiang Khong, where he learned about traditional weaving techniques and met with locals to listen to problems related to the Mekong River. By U.S. Consulate Chiang Mai | 31 May, 2023 | Topics: Ambassador, Chiang Mai, Consul General, Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สหรัฐฯ-ไทย ร่วมจัดการฝึกซ้อมการดำเนินงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และจำลองสถานการณ์ฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีในระดับภูมิภาค ภายใต้รหัสการฝึก “ราชพฤกษ์”16-18 พฤษภาคม2566 ราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอเมริกา ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมการดำเนินงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และจำลองสถานการณ์ฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีในระดับภูมิภาค ภายใต้รหัสการฝึก “ราชพฤกษ์” ระหว่างวันที่16-18 พฤษภาคม2566 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย การฝึกซ้อมดังกล่าวแสดงถึงความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ และไทยในการป้องกันเหตุฉุกเฉินทางรังสีและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์โจมตีทางรังสีแม้แทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นก็ตาม โดยกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมกับสำนักงานความมั่นคงและการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นำผู้เข้าร่วมจาก12ประเทศและทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ(IAEA) มาแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีและเสริมสร้างศักยภาพในการตอบสนองต่อสถานการณ์ในระดับภูมิภาค การฝึก “ราชพฤกษ์” ช่วยให้ผู้เข้าร่วมมีความพร้อมด้านการแพทย์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี ตลอดจนเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองทางการแพทย์ และนำเสนอแนวปฏิบัติในการติดตามและฟื้นฟูด้านสุขภาพในระยะยาว การฝึกครั้งนี้เป็นเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาชีพได้สร้างกลไกความร่วมมือที่ดีขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมการพูดคุยระหว่างชาติที่เข้าร่วมฝึกทั้ง12ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย ปากีสถาน สิงคโปร์ ไทย อุซเบกิสถาน และสหรัฐฯ การฝึก “ราชพฤกษ์” แสดงความมุ่งมั่นที่สหรัฐฯ และไทยมีร่วมกันในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านความมั่นคงนิวเคลียร์และการตอบสนองทางการแพทย์ อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงผลอันเป็นรูปธรรมซึ่งเกิดจากความร่วมมือ190ปีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย เพื่อประชาชนของเรา และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 พฤษภาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
U.S.-Thailand Co-Host Ratchaphruek Radiological Medical Response Workshop May 16-18, 2023 The Kingdom of Thailand and the United States co-hosted the Ratchaphruek Radiological Medical Response Workshop May 16-18, in Bangkok, Thailand. The workshop demonstrated U.S-Thai leadership to prevent radiological incidents and prepare for the unlikely event of a radiological attack. Conducted by the Thai Ministry of Public Health, the Office of Atoms for Peace, and the Bureau of International Security and Nonproliferation at the U.S. Department of State, the workshop brought together 12 participating countries and the International Atomic Energy Agency (IAEA) to share best practices and enhance regional response capabilities. The Ratchaphruek Radiological Medical Response Workshop trained participants on medical readiness for a radiological incident, strengthened medical radiological response capabilities, and highlighted long-term health monitoring and recovery practices. The workshop provided the platform for experts from a variety of disciplines to facilitate greater international cooperation mechanisms and promote dialogue among the 12 participating nations of: Argentina, Cambodia, India, Indonesia, Lao PDR, Malaysia, Mongolia, Pakistan, Singapore, Thailand, Uzbekistan, and the United States. The Ratchaphruek Radiological Medical Response Workshop showcased the U.S.-Thai shared commitment to enhance nuclear security and medical response capabilities, and is an example of how the 190-year-old U.S.-Thai partnership delivers tangible results for our people and the broader Indo-Pacific region. By U.S. Embassy Bangkok | 19 May, 2023 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: พลอากาศเอก เคนเนธ เอส. วิลส์บาก ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก จะเยือนไทย 22-23 พฤษภาคม 2566 พลอากาศเอก เคน วิลส์บาก ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก (PACAF) จะเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 22-23 พฤษภาคมนี้ เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศไทย โดยเป็นการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกในฐานะผู้บัญชาการ PACAF การเยือนครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงที่ทั้งสองประเทศมีร่วมกัน ตลอดจนยกระดับความซับซ้อนในการฝึกทางทหาร สนับสนุนการพัฒนากองทัพไทยให้ทันสมัย และเสริมสร้างอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง PACAF มีหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในพื้นที่ครอบคลุมกว่าครึ่งหนึ่งของโลกจากกองบัญชาการที่ดูแลทหารอากาศกว่า 46,000 นาย ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยส่วนใหญ่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ดูชีวประวัติฉบับเต็มได้ที่ https://www.af.mil/About-Us/Biographies/Display/Article/108478/kenneth-s-wilsbach/ โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 พฤษภาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
U.S. Air Force General Kenneth S. Wilsbach, Commander of Pacific Air Forces, to visit Thailand May 22-23, 2023 U.S. Air Force General Ken Wilsbach, Commander, Pacific Air Forces (PACAF), will visit Thailand May 22-23 to meet with counterparts in the Royal Thai Air Force. This will be General Wilsbach’s first official visit to Thailand as PACAF Commander. This visit is part of ongoing engagements to further shared security objectives, increase the complexity of military exercises, support Thailand’s military modernization, and advance a Free and Open Indo-Pacific. PACAF is responsible for Air Force activities spread over half the globe in a command that supports more than 46,000 Airmen serving principally throughout the Indo-Pacific. Full Bio: https://www.af.mil/About-Us/Biographies/Display/Article/108478/kenneth-s-wilsbach/ By U.S. Embassy Bangkok | 19 May, 2023 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารจากเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต โกเดค เมื่อวานนี้ประชาชนหลายสิบล้านคนได้มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วราชอาณาจักรไทย ในฐานะผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง สื่อมวลชน ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และที่สำคัญที่สุด ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง สหรัฐอเมริกาในฐานะเพื่อนและพันธมิตรที่ยาวนานของไทย ตั้งตารอที่จะได้ทราบผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โดย U.S. Embassy Bangkok | 15 พฤษภาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกอัครราชทูต
Statement from U.S. Ambassador Robert Godec Yesterday, tens of millions of people participated in the vote across the Kingdom of Thailand – as election observers, poll workers, members of the media, candidates, and, most importantly, voters. As a longstanding friend and ally of Thailand, the United States looks forward to the final results. By U.S. Embassy Bangkok | 15 May, 2023 | Topics: Ambassador, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการทหาร กองทัพบกไทย จะเข้าร่วมการประชุม Land Forces of the Pacific (LANPAC) Conference ณ เกาะโอวาฮู รัฐฮาวาย ตั้งแต่วันที่15-18พฤษภาคม2566 โดยเป็นการเยือนสหรัฐอเมริกาครั้งแรกของพลเอก ณรงค์พันธ์ ภายหลังเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกของไทย หลังจากนั้นคณะผู้แทนกองทัพบกไทยจะเดินทางเยือนโรงเรียนเตรียมทหารของสหรัฐฯ ที่เมืองเวสต์พอยต์ รัฐนิวยอร์ก, อาคารเพนตากอน, ฐานทัพ Fort Moore รัฐจอร์เจีย และฐานทัพ Joint Base Lewis-McCord รัฐวอชิงตัน ในโอกาสนี้ พลเอก ณรงค์พันธ์จะได้พบปะกับเจ้าหน้าที่กองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งดำเนินการฝึกอบรมแลกเปลี่ยนความรู้กับกองทัพบกไทยเป็นประจำ ตลอดจนเสริมสร้างพันธไมตรีด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LANPAC ได้จาก https://meetings.ausa.org/lanpac/2023/attendee_faqs.cfm โดย U.S. Embassy Bangkok | 15 พฤษภาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
General Narongpan Jittkaewtae and members of the Royal Thai Army (RTA) general staff will attend the Land Forces of the Pacific (LANPAC) Conference in Oahu, HI from May 15th through 18th. This is GEN Narongpan’s first visit to the United States during his tenure as Chief of the Royal Thai Army. The RTA delegation will also participate in follow-on visits to the United States Military Academy at West Point, NY; the Pentagon; Fort Moore, Georgia; and Joint Base Lewis-McCord, WA. These engagements will provide GEN Narongpan the opportunity to interact with U.S. Army personnel who routinely conduct training and exchanges with the Royal Thai Army, and further strengthen the U.S.-Thai security alliance. For more information about LANPAC, please visit: https://meetings.ausa.org/lanpac/2023/attendee_faqs.cfm By U.S. Embassy Bangkok | 15 May, 2023 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: การฝึกความร่วมมือและความพร้อมทางเรือ หรือ “การัต” (Cooperation Afloat Readiness and Training: CARAT) ในประเทศไทย ประจำปี 2566 จะจัดขึ้นที่ชายฝั่งทะเลในอำเภอสัตหีบ ประเทศไทย และนอกชายฝั่งในอ่าวไทย ระหว่างวันที่ 8-15 พฤษภาคม 2566 การฝึกการัตในประเทศไทย ประจำปี 2566 เป็นการฝึกซ้อมระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค สนับสนุนและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางทะเล รวมถึงยกระดับการปฏิบัติการร่วมทางทะเลระหว่างกองทัพเรือของทั้งสองประเทศ การฝึกการัตระดับพหุภาคีในปีนี้ระหว่างสหรัฐฯ และประเทศภาคีต่าง ๆ เป็นการฝึกครั้งที่ 29 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือของสหรัฐฯ และภาคีในการปฏิบัติการร่วมเพื่อรับมือความท้าทายด้านความมั่นคงทางทะเลแบบดั้งเดิมและในรูปแบบใหม่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดย U.S. Embassy Bangkok | 5 พฤษภาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
Cooperation Afloat Readiness and Training Thailand 2023 (CARAT Thailand 23) will take place ashore in Sattahip, Thailand, and at-sea in the gulf of Thailand, May 8-15, 2023. CARAT Thailand 23 is a bilateral exercise between Thailand and the United States which promotes regional security cooperation, maintains and strengthens maritime partnerships, and enhances maritime interoperability between our navies. This year marks the 29th iteration of the multinational CARAT exercise series, which is designed to enhance U.S. and partner navies’ abilities to operate together in response to traditional and non-traditional maritime security challenges in the Indo-Pacific region. By U.S. Embassy Bangkok | 5 May, 2023 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: CARAT
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: พลเรือเอก ซามูเอล ปาปาโร ผู้บัญชาการกองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ เยือนไทย 1-2 พฤษภาคม 2566 พลเรือเอก ซามูเอล ปาปาโร ผู้บัญชาการกองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา (PACFLT) จะเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคมนี้ เพื่อเข้าพบผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือไทย การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนราชอาณาจักรไทยครั้งที่2 ของพลเรือเอก ปาปาโร นับตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่ง ผบ.กองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานด้านความมั่นคงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อยกระดับพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ตลอดจนเสริมสร้างอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง พลเรือเอก ปาปาโร เกิดที่เมืองมอร์ตัน รัฐเพนซิลเวเนีย ในครอบครัวของอดีตนาวิกโยธินชั้นประทวน และเป็นหลานชายของนายทหารเรือชั้นประทวนในสงครามโลกครั้งที่ 2 พลเรือเอก ปาปาโร เข้าประจำการในฐานะทหารชั้นสัญญาบัตรของกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อปี 2530 และเป็นนักบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยสำเร็จหลักสูตร TOPGUN และมีชั่วโมงบินกว่า 6,000 ชั่วโมง รวมถึงลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว 1,100 ครั้ง พลเรือเอก ปาปาโร จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Villanova University อีกทั้งยังจบการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานานาชาติศึกษา จากมหาวิทยาลัย Old Dominion University และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิเคราะห์ระบบ จากสถาบัน Naval Postgraduate School ในฐานะผบ.กองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกองเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก พลเรือเอก ปาปาโร บังคับการเรือและเรือดำน้ำกว่า 200 ลำ อากาศยาน 1,200 ลำ ตลอดจนทหารเรือและเจ้าหน้าที่พลเรือนกว่า 130,000 ชีวิต อ่านชีวประวัติฉบับเต็มของ พลเรือเอก ปาปาโร ได้ที่https://www.cpf.navy.mil/Leaders/Article/2628260/admiral-samuel-j-paparo/ กองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ ทำงานร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลของอินโด-แปซิฟิก และส่งเสริมเสถียรภาพในภูมิภาค โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่https://www.cpf.navy.mil/ โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 เมษายน, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Admiral Samuel Paparo, Commander of the U.S. Pacific Fleet, to visit Thailand May 1-2, 2023 Commander of the U.S. Pacific Fleet (PACFLT), Admiral Samuel Paparo will visit Thailand May 1-2 to meet with senior leaders and counterparts in the Royal Thai Navy. This will be Admiral Paparo’s second visit to the Kingdom of Thailand since assuming command of PACFLT. His visit is part of our regular and ongoing engagements to strengthen the U.S.-Thai alliance and advance a Free and Open Indo-Pacific. Admiral Paparo, a native of Morton, Pennsylvania, was commissioned in the Navy in 1987. He is the son of a former enlisted Marine and the grandson of a World War II enlisted Sailor. A U.S. Naval Aviator, he is a TOPGUN graduate and has flown over 6,000 hours and has 1,100 carrier landings. Admiral Paparo graduated from Villanova University and earned a Master of Arts in International Studies from Old Dominion University, and a Master of Science in Systems Analysis from the Naval Postgraduate School. As Commander of the U.S. Pacific Fleet – the world’s largest fleet command – Admiral Paparo is responsible for over 200 ships/submarines, 1,200 aircraft, and more than 130,000 Sailors and civilians. Full bio:https://www.cpf.navy.mil/Leaders/Article/2628260/admiral-samuel-j-paparo/ U.S. Pacific Fleet works with allies and partners to advance Indo-Pacific maritime security and enhance regional stability. For more information, visit:https://www.cpf.navy.mil/ By U.S. Embassy Bangkok | 28 April, 2023 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 (CSG 11) เป็นกองกำลังทางทะเลภายใต้ผู้บัญชาการกำลังรบ ซึ่งมีศักยภาพในการตอบสนองและปรับตัวรับสถานการณ์ได้ดีในทุกสภาพอากาศ โดยสามารถดำเนินปฏิบัติการความมั่นคงทางทะเล รับมือภัยพิบัติ ตลอดจนผดุงไว้ซึ่งประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาและชาติภาคีทั่วโลก คำขวัญประจำกองเรือ: เจนสมรภูมิ [ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 11 พลเรือตรี คริสโตเฟอร์ สวีนีย์] องค์ประกอบ เรือ USS Nimitz (CVN 68) – เรือธงของ CSG 11 มีศักยภาพด้านการควบคุมทะเล การโจมตีเป้าหมายหลายประเภท ปฏิบัติการความมั่นคงทางทะเล การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการฝึกร่วมและผสมในพื้นที่ปฏิบัติการต่างๆ ฝูงบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 17 (CVW 17) – ประกอบด้วยอากาศยานต่างๆ ใน 9 กองบิน เช่น เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet เครื่องบินโจมตีทางอิเล็กทรอนิกส์ E/A-18G Growler เครื่องบินบังคับบัญชาและควบคุมทางอากาศ E-2C Hawkeye เฮลิคอปเตอร์ MH-60R/S Sea Hawk เครื่องบินลำเลียง C-2A Greyhound หมู่เรือพิฆาตที่ 9 (DESRON 9) และเรือ USS Bunker Hill (CG 52) – ประกอบด้วยเรือเช่น เรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถีชั้น Arleigh Burke เรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถีชั้น Ticonderoga ปฏิบัติการปัจจุบัน กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี Nimitz ออกเดินทางจากเมืองเบรเมอร์ตัน รัฐวอชิงตัน เพื่อปฏิบัติการทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยได้เข้าร่วมฝึกร่วมผสมหลายครั้ง และปฏิบัติการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่รับผิดชอบของกองเรือที่ 7 แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมทั้งทะเลจีนใต้และทะเลฟิลิปปิน เรือ USS Nimitz [นาวาเอก เครก ซิโคลา ผู้บังคับการเรือ USS Nimitz] เรือ USS Nimitz ประจำการเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2518 ขนานนามเพื่อเป็นเกียรติแก่จอมพลเรือ เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์ ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในฐานะผู้บัญชาการกองเรือภาคพื้นแปซิฟิกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบัน เรือลำนี้ประจำการที่เมืองเบรเมอร์ตัน รัฐวอชิงตัน และมีลูกเรือชายหญิงรวมประมาณ 4,600 คน ซึ่งรวมทั้งผู้ที่ประจำการบนเรือ ในฝูงบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่ 17 และส่วนอื่นๆ ภารกิจของเรือ USS Nimitz และฝูงบินประจำเรือคือการดำเนินปฏิบัติการทางอากาศ และสนับสนุนยุทธศาสตร์ทางทะเลในส่วนหน้า ลำเรือยาว 1,092 ฟุต กว้าง 252 ฟุต และสูง 244 ฟุต (เทียบเท่าตึก 23 ชั้น) ระวางขับน้ำของเรือเท่ากับ 97,000 ตัน และใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 เครื่องเพื่อขับเคลื่อนได้เป็นระยะไกลและเป็นเวลานานโดยแทบไม่มีข้อจำกัด เรือมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 30 นอต ส่วนดาดฟ้าบินที่กว้างที่สุดวัดได้ 257 ฟุต (78 เมตร) คำขวัญประจำเรือ: ทีมเวิร์กคือธรรมเนียมของเรา ปฏิบัติการบิน ลิฟต์ 4 ตัวของเรือลำเลียงอากาศยานและอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ บนดาดฟ้าบินได้อย่างรวดเร็ว โดยแต่ละตัวสามารถขนส่งสิ่งของน้ำหนักกว่า 130,000 ปอนด์ หรือเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet 2 ลำที่บรรจุเต็มกำลังบรรทุก ไปยังดาดฟ้าบินได้ นอกจากนี้ ยังมีลิฟต์สำหรับยุทโธปกรณ์อีก 9 ตัวตั้งอยู่ในโรงเก็บเครื่องบิน เพื่อขนส่งสรรพาวุธจากคลังแสงของเรือขึ้นไปยังโรงเก็บเครื่องบินและดาดฟ้าบิน โดย U.S. Embassy Bangkok | 27 เมษายน, 2023 | ประเภท: Exclude, เอกสารข้อเท็จจริง
CSG 11 provides combatant commanders with a responsive, flexible, all-weather naval force that can conduct maritime security operations, respond to crises, and protect U.S. and partner interests across the globe. CSG 11’s motto: Combat Proven [Commander of Carrier Strike Group Eleven, Rear Admiral Christopher Sweeney] Compositions USS Nimitz (CVN 68) – CSG 11’s flagship; Capable of sea control, strikes against several types of targets, maritime security operations, humanitarian assistance/disaster relief, and integrated multi-domain and joint training. Carrier Air Wing (CVW 17) – Nine squadrons of aircraft including: F/A-18E/F Super Hornet E/A-18G Growler E-2C Hawkeye MH-60R/S Sea Hawk C-2A Greyhound Destroyer Squadron (DESRON) 9 & USS Bunker Hill (CG 52) – include: Arleigh Burke-Class Guided-Missile Destroyer Ticonderoga-Class Guided-Missile Cruiser Current Operations Nimitz Carrier Strike group departed Bremerton, WA for a routine deployment in November 2022. Nimitz CSG has participated in several joint and integrated training operations. NIMSG has professionally executed operational tasking across the C7F AOR to include the South China Sea and the Philippine Sea. USS Nimitz [Captain Craig Sicola, commanding officer of USS Nimitz] USS Nimitz was commissioned May 3, 1975, and named in honor of Fleet Admiral Chester W. Nimitz who achieved the highest rank in the United States Navy as Commander in Chief, Pacific Fleet during World War II. Nimitz is home ported in Bremerton, Washington, and currently has about 4,600 men and women on board that are assigned to the ship, embarked Carrier Air Wing 17, and embarked staffs. The mission of Nimitz and its air wing is to conduct air operations while forward deployed in support of the Maritime Strategy. Nimitz is 1,092 ft. long, 252 ft. wide and 244 ft. high (as high as 23-story building). It displaces 97,000 tons and uses two nuclear reactors to provide virtually unlimited range and endurance, as well as a top speed in excess of 30+ knots. Width of flight deck at widest point – 257 feet (78 meters). USS Nimitz’s Motto: Teamwork, a Tradition Flight Operations The four elevators transport aircraft and equipment rapidly to and from the flight deck. Each of them can lift over 130,000 pounds or two, fully loaded FA/18E Super Hornets to the flight deck. Nine weapons elevators located in the hangar bays to support transferring ordnance from the ships magazines to the hangar bay and up to the flight deck. By U.S. Embassy Bangkok | 27 April, 2023 | Topics: Exclude, Fact Sheets
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีNimitz (CSG11) แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาจะเยือนประเทศไทยตามกำหนดในระหว่างวันที่24-29เมษายน2566 การเข้าเยี่ยมท่าของกองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ-ไทย ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของเรา ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ เรือUSSNimitz (CVN68) ซึ่งเป็นเรือธงของCSG11 จะจัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อฉลองวาระครบรอบ190ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ-ไทย การเข้าเยี่ยมท่ายังเปิดโอกาสให้ทหารเรือสหรัฐฯ ได้สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นและเข้าร่วมการประชุมหารือต่างๆ ตลอดจนมีส่วนร่วมในโครงการชุมชนสัมพันธ์ด้วย กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีNimitz ออกเดินทางจากเมืองเบรเมอร์ตัน รัฐวอชิงตัน เพื่อปฏิบัติการทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน2565 ตั้งแต่นั้นมา กองเรือได้เข้าร่วมฝึกร่วมผสมหลายครั้ง รวมทั้งเข้าเยี่ยมท่าเรือของภาคีและพันธมิตรหลายแห่งทั่วภูมิภาค กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีNimitz นำโดยพลเรือตรี คริสโตเฟอร์ สวีนีย์ ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่11 โดย U.S. Embassy Bangkok | 21 เมษายน, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
The U.S. Navy Nimitz Carrier Strike Group (CSG-11) will make a scheduled visit to Thailand April 24-29, 2023. U.S. Navy port visits are an opportunity to strengthen the U.S.-Thai security partnership and advance people-to-people ties. During the visit, the Strike Group flagship USS Nimitz (CVN 68) will host a reception to celebrate the 190th anniversary of U.S.-Thai diplomatic relations. The visit also provides an opportunity for U.S. Sailors to explore the local culture and participate in professional engagements and community relations projects. The Nimitz Carrier Strike group departed Bremerton, Washington, for a routine deployment in November 2022. Since then, the Nimitz Carrier Strike Group has participated in several joint and integrated training operations, and conducted multiple port visits with partners and allies across the region. The Nimitz Carrier Strike Group is led by Rear Admiral Christopher Sweeney, Commander, Carrier Strike Group 11. By U.S. Embassy Bangkok | 21 April, 2023 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก เดินทางเยือนไทย 17-20 เมษายน 2566 พลเอก ชาร์ลส์ ฟลินน์ ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก จะมาเยือนไทยเป็นครั้งที่สองตั้งแต่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่กองทัพบกไทย ระหว่างวันที่ 17-20 เมษายนนี้ พล.อ. ฟลินน์ มีความผูกพันกับไทยเป็นพิเศษผ่านความร่วมมือหลายครั้งนับตั้งแต่การเยือนไทยครั้งแรกในปี 2540 เมื่อครั้งยังเป็นพันตรี เพื่อเข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ การเดินทางเยือนไทยและชาติภาคีอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อเนื่องที่จะยกระดับวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงร่วมกัน ตลอดจนเพิ่มความซับซ้อนของการฝึกซ้อมทางทหาร สนับสนุนการพัฒนากองทัพไทยให้ทันสมัย และส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง อ่านประวัติของ พล.อ. ฟลินน์ ได้ที่ https://www.usarpac.army.mil/Our-Team/Our-Leaders/Biography-Display/Article/3219624/gen-charles-a-flynn/ โดย U.S. Embassy Bangkok | 18 เมษายน, 2023 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, สหรัฐอเมริกาและไทย
Commanding General of U.S. Army Pacific to Visit Thailand April 17-20, 2023 General Charles Flynn, Commanding General of U.S. Army Pacific, will visit Thailand to meet with counterparts from the Royal Thai Army on 17 – 20 April. This will be General Flynn’s second visit to Thailand as the Commanding General of U.S. Army Pacific, and he brings a special connection to Thailand through a long history of engagements dating back to his first visit in 1997 as a Major participating in Cobra Gold. This visit, including stops in other partner nations in Southeast Asia, is part of ongoing engagements to further shared security objectives, increase the complexity of military exercises, support Thailand’s military modernization, and advance a Free and Open Indo-Pacific. Link to Bio: https://www.usarpac.army.mil/Our-Team/Our-Leaders/Biography-Display/Article/3219624/gen-charles-a-flynn/ By U.S. Embassy Bangkok | 18 April, 2023 | Topics: East Asia & Pacific, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารจากรัฐมนตรีแอนโทนี เจ. บลิงเคน 12 เมษายน 2566 เทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ไทย ในนามของรัฐบาลและพลเมืองสหรัฐอเมริกา ผมขออวยพรให้ประชาชนแห่งราชอาณาจักรไทยประสบแต่สันติสุขและความเจริญเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันขึ้นปีใหม่ 13 เมษายนนี้ ในโอกาสที่สหรัฐฯ และไทยเฉลิมฉลองครบรอบ 190 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูต ผมภูมิใจที่สัมพันธไมตรีและความร่วมมือของเราแข็งแกร่งยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา เรารวมพลังกันก้าวผ่านการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และกำลังคว้าทุกโอกาสที่จะเสริมสร้างและขยายขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในเดือนมีนาคมเพียงเดือนเดียว นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ต้อนรับบริษัทอเมริกันกว่า 100 แห่งจาก 20 ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเดินทางมาเข้าร่วมการประชุม Trade Winds ที่ประเทศไทย โดยเป็นคณะผู้แทนทางการค้าสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดของปี และธุรกิจเกษตรภัณฑ์เกือบ 50 แห่งของสหรัฐฯ ยังได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารสัตว์ระดับโลก VIV Asia เพื่อยกระดับสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ-ไทยอีกด้วย นอกจากนี้ เราได้ต่อยอดความร่วมมือด้านสาธารณสุขกว่า 60 ปีของเรา ด้วยการมาเยือนไทยของแพทย์หญิงวาเลนสกี ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐฯ เพื่อหารือถึงวิธีผนึกกำลังป้องกัน เตรียมความพร้อม และตอบโต้โรคระบาดใหญ่ในอนาคต เรายังได้สานสัมพันธ์ใหม่ ๆ ด้านการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาของสหรัฐฯ และไทยหลายสิบแห่ง ตลอดจนจัดการฝึกคอบร้าโกลด์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในรอบกว่าทศวรรษ ในทุก ๆ วัน ความร่วมมือสหรัฐฯ-ไทยขับเคลื่อนเป้าหมายที่เรามีร่วมกัน เพื่อให้ภูมิภาคนี้เสรีและเปิดกว้าง เชื่อมโยง มั่งคั่ง มั่นคง และเข้มแข็ง ในวาระขึ้นปีใหม่ไทยนี้ เราตั้งตารอที่จะดำเนินการตามวิสัยทัศน์ของเราในแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2565 ผ่านการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ยกระดับความร่วมมือทางการศึกษา กระชับมิตรไมตรีระหว่างผู้คน และผลักดันเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเรา โดยสัมพันธ์กับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย ในปี 2566 ที่สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค เราหวังว่าชาวไทยจะมีความสุขสำราญใจในปีใหม่นี้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 13 เมษายน, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
Statement by Secretary Antony J. Blinken April 12, 2023 Thailand New Year – Songkran On behalf of the Government and people of the United States of America, I wish the people of the Kingdom of Thailand a peaceful and prosperous new year ahead on the occasion of Songkran on April 13. As the United States and Thailand commemorate 190 years of diplomatic ties, I am proud that our alliance and partnership are stronger than ever. Together, we have emerged from the COVID-19 pandemic and are seizing every opportunity to deepen and expand our ties. In March alone, Prime Minister Prayuth Chan-o-cha welcomed over 100 U.S. companies across 20 sectors who traveled to Thailand as part of Trade Winds, the United States’ largest annual trade mission and nearly 50 U.S. agricultural companies joined the VIV Asia global animal feed trade show to further our economic ties. In addition, we built on our over 60 years of public health partnership when U.S. Centers for Disease Control and Prevention Director Dr. Walensky visited Thailand to discuss how we can work together to prevent, prepare, and respond to future pandemics. We also forged new educational ties between dozens of U.S. and Thai universities and educational institutions and held our largest Cobra Gold exercise in over a decade. Every day, the U.S.-Thai partnership advances shared goals for a free and open, connected, prosperous, secure, and resilient region. In this New Year for Thailand, we look forward to bringing the vision of our 2022 Communiqué on Strategic Alliance and Partnership to life through revitalizing our economies, strengthening our education partnerships, deepening our people-to-people ties, and advancing our shared sustainability goals, in line with Thailand’s Bio-Circular Green Economy model, during the United States’ APEC 2023 host year. We wish the people of the Kingdom of Thailand a joyous New Year. By U.S. Mission Thailand | 13 April, 2023 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand, U.S. Secretary of State | Tags: Songkran, Thai New Year
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ให้สัมภาษณ์เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ 190 ปีสหรัฐฯ-ไทย กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ ลิสา บูเจนนาสให้สัมภาษณ์แก่นิตยสาร Citylife เชียงใหม่เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่เธอให้ความสำคัญในภาคเหนือของไทย ซึ่งรวมถึงการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 190 ปีความสัมพันธ์และความร่วมมือสหรัฐฯ-ไทยในด้านสาธารณสุข การพัฒนาเศรษฐกิจ การปรับปรุงคุณภาพอากาศ และการปราบปรามยาเสพติด กงสุลใหญ่บูเจนนาสตั้งเป้าหมายที่จะขยายความเป็นหุ้นส่วนกับประชาชนในภาคเหนือต่อไป โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 10 เมษายน, 2023 | ประเภท: กงสุลใหญ่, สหรัฐอเมริกาและไทย, เชียงใหม่, เหตุการณ์
Consul General Lisa Buzenas Interview Highlighting 190th Anniversary of U.S.-Thai Relations Consul General Lisa Buzenas gave an interview to Citylife Chiang Mai magazine about her priorities in northern Thailand, including celebrating and expanding on 190 years of U.S.-Thai diplomatic relations and cooperation in public health, economic development, improving air quality, and countering illicit drug trafficking. Consul General Buzenas shared her goal of growing this partnership with people in northern Thailand in the years to come. By U.S. Consulate Chiang Mai | 10 April, 2023 | Topics: Chiang Mai, Consul General, Events, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: USTDA จับมือกับไทยในโครงการสนับสนุนการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ วันนี้ องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (USTDA) ประกาศว่าได้มอบทุนสนับสนุนแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสนับสนุนการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (PSH) ที่เชื่อมกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า ณเขื่อนวชิราลงกรณ ทางภาคตะวันตกของไทย โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นทางเลือกในการกักเก็บพลังงานความจุสูงระยะยาว เพื่อส่งเสริมการบูรณาการพลังงานหมุนเวียนที่มีเพิ่มขึ้น รวมถึงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าในประเทศไทย “USTDA มีประวัติศาสตร์ความร่วมมือกับ กฟผ. มาเป็นเวลา30ปีในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่สำคัญๆ ของไทย การสนับสนุนโครงการนี้สะท้อนถึงเป้าหมายที่เรามีร่วมกันในการขยายขอบเขตการบรูณาการและเพิ่มความเชื่อถือได้ของพลังงานหมุนเวียน ตลอดจนส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึงและยั่งยืน” อีโน ที. อีบอง ผู้อำนวยการ USTDA กล่าว “ขณะเดียวกัน โครงการนี้ยังก่อให้เกิดโอกาสที่จะมีการใช้โซลูชันของสหรัฐฯ ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับด้วย” โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับมีอ่างเก็บน้ำ2แห่งที่มีระดับแตกต่างกัน โดยจะใช้ไฟฟ้าที่เหลือจากความต้องการใช้งาน สูบน้ำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำตอนบนจนกว่าจะต้องการใช้น้ำดังกล่าวอีกเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มในช่วงที่มีความต้องการสูง โครงการศึกษาของ USTDA จะประเมินความเป็นไปได้เชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ของโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ด้านธรณีเทคนิคและธรณีวิทยาของสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า การออกแบบโรงไฟฟ้า การประเมินผลกระทบเบื้องต้นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม การประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่าย ตลอดจนแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้า “ระบบกักเก็บพลังงานเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบไฟฟ้าของเรา เนื่องจากเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบไฟฟ้า ลดความผันผวนจากพลังงานหมุนเวียน รวมถึงรองรับแผนการพัฒนาปรับปรุงระบบผลิต ส่งและจำหน่ายไฟฟ้าของประเทศ” นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าว “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ USTDA ได้เลือกที่จะสนับสนุนเราในการเดินทางครั้งนี้ และหวังว่า เราจะมีความสัมพันธ์ที่ยืนนานและต่อเนื่อง ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของ USTDA กฟผ. เชื่อว่า เราจะทำงานร่วมกันในความร่วมมือระหว่างเราให้โครงการแล้วเสร็จ โดยบรรลุผลสำเร็จอันเป็นที่น่าพึงพอใจ เพื่อช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพและเชื่อถือได้” “โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ดีเลิศ ซึ่งแสดงถึงความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญด้านสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่เพียงแต่โดยการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกผ่านการใช้พลังงานสะอาดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดำเนินการเพื่อให้ไทยมีระบบไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพอีกด้วย” นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย กล่าว “รัฐบาลสหรัฐฯ โดยผ่านทาง USTDA ภาคภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกับไทยในโซลูชันที่เป็นนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและสนับสนุนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย” โครงการนี้แสดงให้เห็นการสนับสนุนของ USTDA ภายใต้กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก ในความร่วมมือกับภาคีภาครัฐและเอกชนทั่วภูมิภาค อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายของโครงการ Partnership for Global Infrastructure and Investment เพื่อส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาดทั่วโลก ### องค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Trade and Development Agency) หรือ USTDA ช่วยให้เกิดการสร้างงานในบริษัทของสหรัฐฯ ผ่านทางการส่งออกสินค้าและบริการให้แก่โครงการด้านการพัฒนาที่สำคัญๆ ในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ USTDA เชื่อมโยงธุรกิจของสหรัฐฯ กับโอกาสการส่งออกโดยให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมการเตรียมการดำเนินงานในโครงการและการสร้างความเป็นหุ้นส่วน ซึ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศภาคี สื่อมวลชนสามารถสอบถามข้อมูลได้จาก Paul Marin | (703) 875-4357 โดย U.S. Mission Thailand | 4 เมษายน, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
USTDA, Thailand Partner on Pumped Storage Today, the U.S. Trade and Development Agency announced that it has awarded a grant to the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) for a feasibility study to support the development of a grid-connected pumped storage hydropower (PSH) plant at the Vajiralongkorn Dam in western Thailand. The PSH plant would serve as a long-duration, high-capacity energy storage option to support increased renewable energy integration and power system reliability in Thailand. “USTDA has a 30-year history of partnering with EGAT on the development of Thailand’s energy infrastructure priorities. Our support for this project reflects a shared goal of expanding renewable energy integration and reliability and promoting inclusive and sustainable economic growth,” said Enoh T. Ebong, USTDA’s Director. “At the same time, this project will create opportunities for U.S. solutions to be deployed in the development of the PSH plant.” PSH plants contain two water reservoirs at different elevations. The plants pump water to an upper reservoir using excess electricity when power supply exceeds demand, where it is stored until it is needed to produce additional hydroelectric power during peak demand periods. USTDA’s study will assess the technical and economic viability of the proposed PSH plant, including a geotechnical and geological analysis of the project site, PSH plant design, preliminary environmental and social impact assessment, risk assessment, cost and economic analysis and an implementation plan. “Energy storage systems are an important part of our electrical infrastructure. They are used as a tool to support power system management, reduce fluctuations from renewable energy and support the country’s grid modernization development plan,” said Boonyanit Wongrukmit, EGAT’s Governor. “We’re thrilled that USTDA has chosen to support us along our journey and hope for a long and ongoing relationship. With your expertise and experience, EGAT believes that we will work together through our mutual cooperation to accomplish the project with a successful and satisfactory result to secure the stability and reliability of the power system.” “This project is a perfect example of how the United States is helping Thailand meet its ambitious climate goals, not only by reducing emissions through clean energy generation, but while also by ensuring the security of Thailand’s power system,” said U.S. Ambassador to the Kingdom of Thailand Robert F. Godec. “Through USTDA, the U.S. government is proud to work together with Thailand on innovative solutions to promote the clean energy transition and to support Thailand’s Bio-Circular-Green economic model.” The grant highlights how USTDA advances the Indo-Pacific Economic Framework in collaboration with public and private sector partners across the region. USTDA’s grant also advances the goals of the Partnership for Global Infrastructure and Investment to support implementation of clean energy infrastructure globally. ### The U.S. Trade and Development Agency helps companies create U.S. jobs through the export of U.S. goods and services for priority infrastructure projects in emerging economies. USTDA links U.S. businesses to export opportunities by funding project preparation and partnership building activities that develop sustainable infrastructure and foster economic growth in partner countries. MEDIA INQUIRIES: Paul Marin | (703) 875-4357 By U.S. Embassy Bangkok | 4 April, 2023 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: USTDA ส่งเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทย วันนี้ องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (USTDA) ประกาศว่าได้มอบทุนสนับสนุนแก่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคมของไทย สำหรับความช่วยเหลือด้านวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนขับเคลื่อนการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของระบบขนส่งสินค้าในไทย ความช่วยเหลือของ USTDA ครั้งนี้จะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและงานด้านโลจิสติกส์ ซึ่งทำให้การขนส่งสินค้าทางถนนเปลี่ยนไปเป็นทางรางได้ง่ายขึ้น “โครงการนี้จะลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนน และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย” อีโน ที. อีบอง ผู้อำนวยการ USTDA กล่าว “ความร่วมมือของเรากับกระทรวงคมนาคมจะสนับสนุนความพยายามของไทยในการก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้บริษัทสหรัฐฯ ได้เข้าร่วมในหนึ่งในโครงการริเริ่มด้านการขนส่งสะอาดที่สำคัญที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ทุนสนับสนุนที่ USTDA มอบให้จะช่วยระบุงานด้านที่ต้องปรับปรุงในโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และการดำเนินงาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของไทย อีกทั้งจะเตรียมการออกแบบเชิงเทคนิคสำหรับสถานที่ที่รองรับระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อทดสอบแนวคิดและแสดงถึงประสิทธิผลของการขนส่งสินค้าแบบบูรณาการระหว่างบริษัทขนส่งทางถนนและทางรางได้ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค กล่าวว่า “การส่งเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเป็นหนึ่งในเสาหลักของกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก สหรัฐฯ ภูมิใจที่ได้ช่วยไทยสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบขนส่งที่สำคัญต่อเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมๆ ไปกับการแสดงให้เห็นว่าไทยจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ท้าทายด้วยโซลูชันที่ยั่งยืนได้อย่างไร” นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า “กระทรวงคมนาคมกำลังส่งเสริมระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและงานด้านโลจิกติกส์ให้มีการใช้การขนส่งทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งระดับภูมิภาค โครงการนี้จะเป็นก้าวสำคัญไปสู่ความสำเร็จของเรา” ดร. ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า “โครงการนี้จะช่วยไทยเร่งผลักดันการเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งรูปแบบใหม่ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค ความช่วยเหลือนี้จะระบุปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาการดำเนินงานที่สำคัญเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย ตลอดจนลดการปล่อยแก๊สคาร์บอน และปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนน ความร่วมมือของเราจะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานร่วมกันที่ดีเยี่ยม” โครงการนี้ช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายGlobal Partnership for Climate-Smart Infrastructure ของ USTDA ซึ่งเป็นการเชื่อมอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เข้ากับโครงการด้านการพัฒนาพลังงานสะอาดและการขนส่งที่สำคัญๆ ในตลาดเกิดใหม่ อีกทั้งยังสนับสนุนกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก ผ่านการส่งเสริมโลจิสติกส์ของห่วงโซ่อุปทานและการเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สำคัญ องค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Trade and Development Agency) หรือ USTDA ช่วยให้เกิดการสร้างงานในบริษัทของสหรัฐฯ ผ่านทางการส่งออกสินค้าและบริการให้แก่โครงการด้านการพัฒนาที่สำคัญๆ ในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ USTDA เชื่อมโยงธุรกิจของสหรัฐฯ กับโอกาสการส่งออกโดยให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมการเตรียมการดำเนินงานในโครงการและการสร้างความเป็นหุ้นส่วน ซึ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศภาคี สื่อมวลชนสามารถสอบถามข้อมูลได้จาก Paul Marin | 1 (703) 875-4357 โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 มีนาคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
USTDA Promotes Supply Chain Resilience in Thailand Today, the U.S. Trade and Development Agency announced that it has awarded a grant to the Thai Ministry of Transport’s Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) for technical assistance to strengthen Thailand’s supply chain network and advance the decarbonization of its freight transportation system. USTDA’s assistance will support the development of intermodal and logistics infrastructure that facilitates the shift of freight transportation from road to rail. “This project will reduce carbon dioxide emissions, improve road safety, and increase the efficiency of Thailand’s transportation infrastructure,” said Enoh T. Ebong, USTDA’s Director. “Our partnership with the Ministry of Transport will support Thailand’s efforts to establish itself as a regional transportation and logistics hub, and provide opportunities for U.S. companies to participate in one of Southeast Asia’s most significant clean transportation initiatives.” USTDA’s assistance will identify infrastructure, technology, and operational improvements to strengthen Thailand’s intermodal transportation system. The assistance will also prepare technical designs for specific intermodal facilities that can serve as a proof of concept to demonstrate the effectiveness of integrated freight operations between road and rail carriers. U.S. Ambassador to Thailand, Robert F. Godec, said: “Improving the resilience of regional supply chains is a key pillar of the Indo-Pacific Economic Framework. The United States is proud to support Thailand in strengthening the transportation systems essential to Southeast Asia’s supply chain network, while demonstrating how Thailand’s ambitious infrastructure development goals can be met with sustainable solutions.” Minister of Transport, Saksayam Chidchob, said: “The Ministry of Transport is promoting intermodal and logistics systems to efficiently utilize all modes of transport in order to develop Thailand into a regional transportation hub. This project will be a crucial step in achieving our success.” Dr. Punya Chupanit, Director-General of OTP, added: “This project will assist Thailand to further promote the modal shift with the ultimate goal to become a regional transportation and logistics hub. The assistance will identify crucial infrastructure and operational developments to enhance Thailand’s transport and logistics efficiency, lessen emissions and improve road safety. Our partnership will be the beginning of a great collaboration.” This activity advances the goals ofUSTDA’s Global Partnership for Climate-Smart Infrastructure, which connects U.S. industry to major clean energy and transportation infrastructure projects in emerging economies. The project also supports the Indo-Pacific Economic Framework, through the strengthening of supply chain logistics and vital transportation infrastructure linkages. The U.S. Trade and Development Agency helps companies create U.S. jobs through the export of U.S. goods and services for priority infrastructure projects in emerging economies. USTDA links U.S. businesses to export opportunities by funding project preparation and partnership building activities that develop sustainable infrastructure and foster economic growth in partner countries. MEDIA INQUIRIES: Paul Marin | 1 (703) 875-4357 By U.S. Embassy Bangkok | 1 March, 2023 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: USTDA
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: เส้นทางสู่ Trade Winds ASEAN: ประเทศไทย 25 มกราคม 2566 โดย จอห์น ไบรเดนสไตน์ เจ้าหน้าที่อาวุโสประจำภูมิภาคอาเซียนฝ่ายพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย บทความชิ้นที่ 2 ในชุดบทความเกี่ยวกับตลาดต่าง ๆ ที่จะมีบทบาทสำคัญในการประชุม Trade Winds 2023 บทความนี้มีลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บอื่น โปรดอ่านนโยบายการเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บอื่น บริษัทสหรัฐฯ ที่ต้องการขยายธุรกิจของตนด้วยการส่งออกควรพิจารณาประเทศไทย ซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป และมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในระดับโลก ประเทศไทยมีความสำคัญต่ออนาคตของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก อีกทั้งยังเป็นเพื่อน หุ้นส่วน และพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชีย โดยปีนี้ จะครบรอบ 190 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐฯ ประเทศไทยซึ่งมีการค้าระดับทวิภาคีกับสหรัฐฯ โดยรวมเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 50 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นปลายทางการส่งออกขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 26 ของสหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการส่งออก 12,700 ล้านเหรียญในปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 13 ในทางกลับกัน สหรัฐฯ ก็เป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ตามมาด้วยจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของเราทั้งสองจึงพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยบริษัทของสหรัฐฯ จำนวนมากต้องการโอกาสในภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ธุรกิจขนาดย่อม กลาง และใหญ่ของสหรัฐฯ ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ภาคพลังงาน ดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐาน การดูแลสุขภาพ อวกาศ และการป้องกันประเทศ สามารถประสบความสำเร็จในตลาดของไทยหากเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและมีคุณภาพสูง ตลอดจนทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้แทนจำหน่ายและหุ้นส่วนในประเทศไทย ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นสถานที่เหมาะสมที่จะทำธุรกิจด้วยเหตุผลมากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการมีวัตนธรรมที่เปิด ค่าครองชีพต่ำ กลุ่มแรงงานขนาดใหญ่ที่มีทักษะและปรับตัวได้ ฐานการผลิตที่เข้มแข็งและหลากหลาย หรือมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ จากรัฐบาล สำนักงานการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Administration) จึงเห็นว่ากรุงเทพฯ ประเทศไทย เหมาะสมที่จะเป็นสถานที่จัด Trade Winds Trade Mission and Business Development Forum ในปีนี้ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน ซึ่งจะใช้โอกาสอันดีนี้ทำความรู้จักกัน ในเวทีดังกล่าว จะมีการจัดการประชุมกับนักการทูตด้านพาณิชย์ของสหรัฐฯ จากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียกว่า 20 ประเทศ การประชุมจับคู่ระหว่างธุรกิจ และการประชุมกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย โดยในทุกการประชุม บริษัทสหรัฐฯ จะได้รับข้อมูลและมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับโอกาสและความร่วมมือที่เป็นไปได้ในตลาดต่าง ๆ และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น จะมีการสัมมนา SelectUSA Tech Seminar ในวันที่ 14 มีนาคม ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีที่เพิ่งเริ่มดำเนินการในเอเชีย-แปซิฟิก จะได้รับข้อมูลและเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อการเริ่มต้นธุรกิจในสหรัฐฯ ในวันที่ 15 มีนาคม บริษัทสตาร์ตอัปจะได้นำเสนอผลงานแก่คณะกรรมการเพื่อชิงโอกาสเข้าร่วมและนำเสนอผลงานที่การประชุม SelectUSA Investment Summit ระหว่างวันที่ 1-4 พฤษภาคม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม Trade Winds Mission and Business Forum ที่กรุงเทพฯ ได้ที่นี่ โดยคลิกที่ REGISTER จากนั้นให้เลือก Business Forum Only. The registration fee is $750 per attendee. นอกจากการประชุม Trade Winds แล้ว ยังมีการประชุมการค้าอื่น ๆ อีกมากมายสำหรับบริษัทสหรัฐฯ ที่ต้องการโอกาสทางการค้าในไทย โปรดติดต่อ สำนักงานบริการการค้าในประเทศ เพื่อรับทราบข้อมูลและโอกาสในประเทศไทยและตลาดอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุมการค้าอื่น ๆ ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ มีดังนี้ 13-17 มีนาคม 2566: Asia-Pacific Association for International Education Conference ช่วยให้ผู้แทนการประชุมจากทั่วโลกมีโอกาสแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีและทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิถีนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกกำลังจับมือกันทำงานภายในภูมิภาคและทั่วโลก 17-19 พฤษภาคม 2566: Future Energy Asia นำผู้นำด้านพลังงานจากประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแก๊ส, LNG, ไฟฟ้า หรือพลังงานหมุนเวียน มาพบปะกันในเวทีที่สำคัญที่สุดของภาคอุตสาหกรรมนี้ในภูมิภาค เพื่อการพูดคุยเชิงกลยุทธ์ที่จะช่วยกำหนดทิศทางการเปลี่ยนผ่านและปฏิรูปด้านพลังงานในทศวรรษหน้า 24 พฤษภาคม 2566: Smart Cyber Security Summit เป็นนิทรรศการและการประชุมเฉพาะผู้ได้รับเชิญเท่านั้น โดยไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน และเหมาะกับผู้มีอำนาจตัดสินใจระดับสูงและบุคลากรผู้ใช้งาน 14-17 มิถุนายน 2566: ProPak Asia เป็นการประชุมการค้าที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคสำหรับเทคโนโลยีผลิตและบรรจุหีบห่ออาหาร เครื่องดื่ม และยา โดย U.S. Embassy Bangkok | 30 มกราคม, 2023 | ประเภท: การค้าระหว่างประเทศ, เหตุการณ์
The Road to Trade Winds ASEAN: Thailand January 25, 2023 John Breidenstine is the ASEAN Regional Senior Commercial Officer at the U.S. Embassy in Thailand. This is the second piece in a blog series about different markets that will be featured during Trade Winds 2023. This post contains external links. Please review our external linking policy. U.S. businesses looking to grow their bottom line through export sales would be well advised to consider Thailand, the largest economy in mainland Southeast Asia and one that is increasingly important globally. Central to the future of the Indo-Pacific Region, Thailand is the United States’ oldest friend, partner, and ally in Asia, with this year marking the 190th anniversary of diplomatic relations. With overall bilateral trade jumping 50 percent over the past two years, Thailand is the 26th largest export destination for the United States and saw $12.7 billion in U.S. exports in 2021, 13 percent more than in 2020. In turn, the United States is Thailand’s largest export market, followed by China, Japan, and Vietnam. As such, the trade and investment relationship between our countries is on the up, with numerous U.S. companies pursuing opportunities across a variety of sectors. U.S. small, medium and large businesses in the energy, digital, infrastructure, healthcare, aerospace and defense sectors – among others – can find success in Thailand’s market if they offer innovative and high-quality products and work closely with local distributors and partners. There are numerous reasons that Thailand is an outstanding place to do business: it has an open culture; low cost of living; a large, skilled, and adaptable workforce; a strong and diversified manufacturing base; and a range of government incentives for businesses. Fittingly, the International Trade Administration chose Bangkok, Thailand, as this year’s location for the Trade Winds Trade Mission and Business Development Forum, March 13-15. Well over 200 participants are expected to attend and take advantage of this dynamic networking opportunity. The Business Development Forum will feature meetings with U.S. commercial diplomats from over 20 Asian countries, business-to-business matchmaking meetings, and engagements with Thai government officials, all of which will provide U.S. companies with information and insight into potential opportunities and partnerships across a variety of markets. Concurrently, a SelectUSA Tech Seminar on March 14 will give Asia-Pacific, early-stage technology companies the practical information and tools that they need to launch their businesses in the United States. On March 15, startups will pitch before a panel of judges to win an opportunity to attend and present during the May 1-4 SelectUSA Investment Summit in Washington, DC. To sign up to attend the Trade Winds Mission and Business Forum in Bangkok, go here, then click REGISTER. When prompted, select Business Forum Only. The registration fee is $750 per attendee. Beyond Trade Winds, there are several other trade events for U.S. companies interested in exploring Thailand. Please reach out to your local Commercial Service office for further information and opportunities to explore Thailand and other markets across Southeast Asia. Other Upcoming Trade Events in Bangkok March 13-17, 2023: The Asia-Pacific Association for International Education Conference offers delegates from around the world the opportunity to share best practices and learn more about the innovative ways in which Asia Pacific universities are partnering across the region and with the world. May 17-19, 2023: Future Energy Asia will convenes the world’s national gas, LNG, power and renewable energy leaders in person in the region’s most important industry platform to engage in strategic dialogues that will help shape the energy transition and transformation of the next decade. May 24, 2023: The Smart Cyber Security Summit is a complimentary, invite-only exhibition and conference tailored for senior decision makers and end-user professionals. June 14-17: ProPak Asia is the region’s number one international trade event for food, drink, and pharmaceutical processing and packaging technology. By U.S. Mission Thailand | 30 January, 2023 | Topics: Events, Trade
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: คำกล่าวโดยเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค ณ เวทีกรุงเทพธุรกิจ “Geopolitics: The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม” วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 สวัสดีครับ ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรี, ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เนชั่นกรุ๊ป, บรรณาธิการอำนวยการ เนชั่นกรุ๊ป และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมรู้สึกเป็นเกียรติยิ่งที่ได้มา ณ ที่นี้ในวันนี้ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับคำเชิญ โดยเฉพาะ ขอขอบคุณกรุงเทพธุรกิจ ที่ได้จัดงานสัมมนานี้ และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งนี้ ในนามสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และผมเอง ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้อีกครั้ง สิ่งที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ – การสร้างความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพและความมั่งคั่ง ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนประการหนึ่งคือ สหรัฐฯ มุ่งมั่นต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และต่อความเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับไทย เป็นเวลาเกือบสองศตวรรษที่ไทยและสหรัฐฯ มีความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนและเสาหลักที่สำคัญของสันติภาพและความมั่งคั่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2376 ท่านเจ้าพระยาพระคลังและผู้แทนทางการทูตเอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์ (Edmund Roberts) ได้ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างสยามและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศมาจนครบ 190 ปี ในปัจจุบันนี้ วันนี้ผมจะขอกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคและความมุ่งหวังของเราต่ออนาคตความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยและสหรัฐฯ การตอบสนองต่อโอกาสและความท้าทายระดับโลก ในตอนนี้เรามีโอกาสที่ยอดเยี่ยมที่จะช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้นทั่วโลก โอกาสที่จะสร้างและแบ่งปันความมั่งคั่ง เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงการศึกษาและสาธารณสุข ยกระดับความมั่นคง ตลอดจนช่วยให้ผู้คนตัดสินใจเลือกระบบการปกครองได้ด้วยตนเอง สิ่งที่ตามมากับโอกาสเหล่านี้ก็คือ ความท้าทายที่เราต้องเผชิญ ซึ่งรวมถึงการต่อสู้กับโรคโควิด-19 และการเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพโลกในอนาคต การฟื้นตัวจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ การรับมือกับภัยคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสร้างอนาคตแห่งพลังงานที่สะอาดขึ้น มั่นคงขึ้น และย่อมเยาขึ้น ไม่มีประเทศใดจะสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้หรือรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้เพียงลำพัง เราจะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่อเราร่วมแรงร่วมใจกันเท่านั้น กฎระเบียบและหน่วยงานต่างๆ ที่เรามีร่วมกันจะช่วยเป็นกรอบการดำเนินการเพื่อความก้าวหน้าต่อไป สหรัฐฯ จะทำงานกับหุ้นส่วน เพื่อน และพันธมิตรของเราเพื่อรับมือกับความท้าทายที่มีร่วมกัน และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีร่วมกัน อย่างไรก็ตาม หากมีประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกติการะหว่างประเทศ เราก็จำเป็นที่จะต้องยืนหยัดร่วมกัน เหมือนอย่างที่ประชาคมโลกได้ยืนหยัดร่วมกันกับยูเครน เพื่อต่อต้านสงครามที่ปราศจากซึ่งการยั่วยุและไร้ซึ่งความชอบธรรมของประธานาธิบดีปูติน และเราได้ทำงานร่วมกับหุ้นส่วนของเราเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมและความรับผิดชอบในพม่า และเพื่อยุติการกระทำอันโหดร้ายและรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่าที่มีต่อประชาชนของประเทศ อนาคตของเราขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะร่วมมือกันและเคารพต่อกฎระเบียบและข้อตกลงระหว่างประเทศ ความเคารพต่อกฎกติการะหว่างประเทศจะช่วยให้ผู้คนและธุรกิจต่าง ๆ มีเสถียรภาพและความสามารถที่จะคาดเดาทิศทางในการลงทุนและการเติบโตต่อไป เท่าที่ผมทราบ มีเรื่องหนึ่งที่คงอยู่ในใจของหลายๆ ท่านที่นี่ ผมอยากจะขอกล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและมีผลกระทบที่สำคัญกับสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งครอบคลุมความร่วมมือหลากหลายมิติ ตลอดจนการแข่งขันระหว่างกันท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ บลิงเคน จะเดินทางไปประเทศจีนเร็วๆ นี้เพื่อติดตามสิ่งที่ประธานาธิบดีไบเดนและประธานาธิบดีสี ได้พูดคุยกันไว้อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน เรามุ่งที่จะเปิดช่องทางการสื่อสารให้กว้างอยู่เสมอ และร่วมมือกันเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนทำทุกวิถีทางที่จะป้องกันมิให้การแข่งขันระหว่างกันกลายเป็นความขัดแย้ง ผมขอให้ความมั่นใจกับท่านว่า เรามุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการความสัมพันธ์ที่สำคัญนี้อย่างมีความรับผิดชอบ วิสัยทัศน์ของเราต่อภูมิภาค: ยุทธศาสตร์อินโด–แปซิฟิกของสหรัฐฯ กว่า 75 ปี สหรัฐฯ และไทยได้สนับสนุนวิสัยทัศน์ของอินโด-แปซิฟิก นั่นคือ วิสัยทัศน์ที่ส่งเสริมการพัฒนากฎกติกาที่โปร่งใสและนำไปใช้อย่างยุติธรรม โดยที่แต่ละประเทศต่างก็มีเสรีภาพที่จะตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวกับอธิปไตยของตนเอง วิสัยทัศน์ที่ส่งเสริมให้สินค้า แนวคิดใหม่ๆ และผู้คน เคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนทางบก ทางอากาศ ทางไซเบอร์สเปซ และน่านน้ำเปิดได้อย่างอิสระเสรี และวิสัยทัศน์ที่ส่งเสริมธรรมาภิบาลที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้คน ระบบนี้ได้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนหลายล้านคนในภูมิภาคนี้และทั่วโลกทุกประเทศในโลกนี้และคนทุกคนในห้องนี้ต่างก็ได้รับประโยชน์จากระบบดังกล่าวมาแล้ว ข้อริเริ่มระดับภูมิภาคของสหรัฐฯ ล่าสุด คือ กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก หรือ IPEF เรามีความยินดีที่ไทยเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้ง IPEF ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 เราจำเป็นต้องมีทางออกใหม่ๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายของศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่การค้าไปจนถึงห่วงโซ่อุปทาน พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง IPEF จะช่วยเราค้นหาทางออกเหล่านี้ IPEF จะช่วยปลดล็อกคุณค่าทางเศรษฐกิจระดับมหาศาลสำหรับภูมิภาคนี้โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดย่อม การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค เป็นอีกหนึ่งข้อริเริ่มที่มีความสำคัญยิ่งในการรับมือกับความท้าทายระดับภูมิภาคและช่วยให้เกิดกรอบการดำเนินงานของกลุ่มที่ช่วยขับเคลื่อนความก้าวหน้า ผมชื่นชมไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดงานเอเปคเมื่อปี 2565 ได้อย่างประสบความสำเร็จและในความพยายามที่จะส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนผ่านเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเรื่องโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy model) ในปี 2566 นี้ สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคและเราจะพยายามสานต่องานอันยอดเยี่ยมที่ไทยได้เคยทำไว้และเป้าหมายในภาพรวมของการส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เสรี เป็นธรรม และเปิดกว้าง ตลอดจนการเสริมสร้างการเติบโตที่ทั่วถึงและยั่งยืน ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย: แบบอย่างของความเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอนาคตของภูมิภาคนี้และอย่างที่ผมได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ความสัมพันธ์ของเราในปัจจุบันมีความแข็งแกร่ง พันธไมตรีระหว่างเราเปรียบเสมือนผ้าทอที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีส่วนร่วมในการถักทอ และเส้นด้ายที่ใช้ถักทอนั้นก็คือ ความร่วมมือในด้านต่างๆ ทั้งระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และภาคประชาชน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเรานั้นเป็นส่วนสำคัญยิ่งของผ้าทอผืนนี้ สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจทั้งสองประเทศของเรานั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่นและความสัมพันธ์ทางการค้าของเรามีความแข็งแกร่งและยังคงเติบโตต่อไป จริงๆแล้วการค้าระดับทวิภาคีของเราได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดถึงร้อยละ 50 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนหลักในเศรษฐกิจของไทยโดยมีบริษัทต่างๆ ของสหรัฐฯ เข้ามาดำเนินการอยู่ในหลายภาคอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งรวมถึง ภาคยานยนต์ การดูแลสุขภาพ และเทคโนโลยีขั้นสูง/ดิจิทัล ธุรกิจของสหรัฐฯ ในประเทศไทยคาดว่าก่อให้เกิดการจ้างงานชาวไทยโดยตรงเกือบ 200,000 คน และช่วยสนับสนุนการสร้างตำแหน่งงานอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างเรามีความสำคัญ โดยเห็นได้จากความร่วมมือต่างๆ ที่เราได้มีมาตลอดปีที่แล้วและที่เราได้ขยายขอบเขตออกไป ในเดือนมีนาคมนี้ กรุงเทพฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมทางการค้า Trade Winds ซึ่งเป็นเวทีการพัฒนาการค้าที่มีคณะผู้แทนทางการค้านำโดยรัฐบาลสหรัฐฯ เดินทางมาร่วมประชุม และถือเป็นคณะที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา ในงานนี้ ไทยถือเป็นศูนย์กลางหลักในระดับภูมิภาค และจะมีการเดินทางเยือนประเทศอื่นๆ ในอาเซียนอีกห้าประเทศ งานประชุม Trade Winds จะมีผู้บริหารระดับสูงสุดกว่า 100 คน จากบริษัทของสหรัฐฯ เข้าร่วมเพื่อพบปะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นของภาคเอกชนอเมริกันในการมาลงทุนในไทย Trade Winds เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ต่อไทย และความปรารถนาของเราที่จะบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึงตลอดทั้งภูมิภาคนี้ สหรัฐฯ และไทยยังได้ร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม ซึ่งรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ การยกระดับทักษะทางดิจิทัลให้กับแรงงานของเรา และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ตลอดจนนโยบายที่ส่งเสริมการค้าดิจิทัล บริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงที่สำคัญของสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึง Seagate, Amazon, Tesla, Ford, Netflix และ Google ต่างก็กำลังขยายการดำเนินงานในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในระยะใกล้ร่วมหลายพันล้านเหรียญสหรัฐยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีภาคเอกชนเหล่านี้กำลังลงทุนในอนาคตแห่งความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยและสหรัฐฯ และเห็นว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค สหรัฐฯ และไทยยังทำงานกันอย่างใกล้ชิดในการรับมือกับความท้าทายที่เป็นหัวใจสำคัญของเราในยุคนี้ นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราชื่นชมเป้าหมายอันมุ่งมั่นของไทยที่จะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลงร้อยละ 40 ภายในปี 2573 และสหรัฐฯ สนับสนุนความพยายามของไทยที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค การเสริมสร้างศักยภาพ รวมถึงการดำเนินงานและความร่วมมือทางการค้า ในด้านการดูแลสุขภาพ ไทยและสหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนร่วมกันมากว่า 60 ปี และด้วยการทำงานร่วมกันนั้น ส่งผลให้ผู้คนหลายร้อยล้านคนทั่วโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตัวอย่างของความร่วมมือนี้ ได้แก่ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (Centers for Disease Control) ในประเทศไทยที่มีพนักงานกว่า 100 คน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของกระทรวงสาธารณสุขของไทย ความร่วมมือดังกล่าวได้ช่วยชีวิตของเด็กนับไม่ถ้วน และช่วยให้พ่อแม่สามารถไปทำงานและดูแลครอบครัวของพวกเขาได้ในช่วงวิกฤตของการระบาดใหญ่ทั่วโลก วัคซีนของเรา รวมถึงการบริจาคอื่นๆ ตลอดจนความร่วมมือทางเทคนิคได้ช่วยให้วัคซีนโควิดชนิด mRNA ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไปถึงผู้คนในกรุงเทพฯ และทั่วทั้งประเทศไทย ตลอดจนช่วยให้ผู้คนในชุมชนคลองเตยสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางการแพทย์ที่สำคัญ รวมทั้งช่วยให้โรงพยาบาลรัฐในจังหวัดกาญจนบุรีมีอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการที่จำเป็น อนาคตของความสัมพันธ์สหรัฐฯ–ไทย และโอกาสของความเป็นหุ้นส่วน ท่านจะเห็นได้ว่า ไทยและสหรัฐฯ ต่างก็ทำงานอย่างหนักในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและครอบคลุมหลากหลายด้านมาตลอด 190 ปีที่ผ่านมา ในปีนี้ ขณะที่เราฉลองช่วงเวลา 190 ปี ดังกล่าว เราควรหาหนทางที่จะเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์นี้ให้แน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อทักถอผืนผ้านี้ให้งดงามสดใสยิ่งกว่าเดิม ผมว่า ในอีก 10 ปีต่อจากนี้ เราควรจะมีโครงการความร่วมมือเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกัน เราควรแสวงหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อยกระดับการค้าและการลงทุนทั้งจากไทยไปสหรัฐฯ และจากสหรัฐฯ มายังไทย และสร้างความมั่งคั่งสำหรับทุกคน เราสามารถส่งเสริมความร่วมมือทางโลกดิจิทัลและอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ เรายังมีโอกาสที่จะร่วมมือกันเพื่อยกระดับการใช้พลังงานสะอาดและการนำดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ เราควรเพิ่มจำนวนทุนการศึกษาสำหรับชาวไทยที่จะไปศึกษาต่อที่สหรัฐฯ และสำหรับชาวอเมริกันที่จะมาศึกษาต่อที่เมืองไทย เราสามารถร่วมมือกันเพื่อเร่งเครื่องการวิจัยร่วมกันทางวิทยาศาสตร์และทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นในระดับมหาวิทยาลัยหรือบริษัท ทุกสิ่งเป็นไปได้ตามจินตนาการของเรา โดยสรุป สหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะยกระดับสันติภาพและความมั่งคั่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ตลอดจนความเป็นหุ้นส่วนของเรากับไทย เรามุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับหุ้นส่วน เพื่อน และพันธมิตรของเรา เพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่มีร่วมกัน และนำโอกาสที่มีร่วมกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนสนับสนุนระบบอันเป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลก เมื่อเราร่วมมือกัน เราจะสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าเดิมให้กับชาวไทย ชาวอเมริกัน และผู้คนทั่วโลกครับ เราจะเดินหน้าไปด้วยกัน! ขอบคุณครับ โดย U.S. Embassy Bangkok | 25 มกราคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, เอกอัครราชทูต
U.S. Ambassador to Thailand Robert F. Godec’s Remarks at Krungthep Turakij newspaper’s seminar on “Geopolitics: The Big Challenge for Business” Monday, January 23, 2023 Vice Minister, Chairman and CEO of the Nation Group, Managing Editor of the Nation Group, ladies and gentlemen, Sawasdee Khrap! It is a great honor to be here today. So I want to say thank you for the very kind invitation. I especially want to thank Krungthep Turakit for convening this seminar and for facilitating this exchange of views. So again, and on behalf of the U.S. Embassy and myself, thank you. U.S. Priorities – Building Partnerships for Peace and Prosperity One truth is clear: The United States is committed to the Indo-Pacific region, and to our strong alliance with Thailand. For nearly two centuries, the Thai-U.S. partnership has been a force for good and a pillar of Indo-Pacific peace and prosperity. On March 23, 1833, Chao Phraya Phra Khlang and U.S. Minister Edmund Roberts signed the Treaty of Amity and Commerce between Siam and the United States, beginning what is now 190 years of growing partnership between our countries. Today I will outline the U.S. vision for the region and our hopes for the future of the Thailand-U.S. partnership. Responding to Global Opportunities and Challenges Right now, we have extraordinary opportunities to make the lives of people better across the globe. Opportunities to create and share wealth, improve access to education and health care, enhance security, and ensure people can make their own decisions about how they are governed. Of course, along with these opportunities, we face challenges, including the fight against COVID-19 and preparing for future global health emergencies, recovering from economic shocks, taking on the threat of climate change, and creating an energy future that’s cleaner, more secure, and more affordable. No country can realize these opportunities or meet these challenges alone. We can only do so together, and our shared set of rules and institutions provides the framework for progress. The United States will work with our partners, friends, and allies to tackle shared challenges and seize common opportunities. When countries reject the international rules, however, we must stand together. Hence, the international community has stood squarely with Ukraine against President Putin’s unprovoked and unjustified war. And we work with our partners to promote justice and accountability in Burma and to end the military regime’s brutal campaign of violence against the people of that country. Our future depends on our willingness to work together and to respect international norms and agreements. Respect for international rules provides people and businesses with the stability and predictability to invest and grow. As I know, it is also on the minds of many here, I would also like to mention our complex and consequential relationship with the PRC, which includes aspects of cooperation as well as competition. Secretary Blinken will soon travel to China to follow up on President Biden and President Xi’s open, candid conversation in November. We seek to keep the lines of communication open and to cooperate where we can, and to make every effort to prevent competition from veering into conflict. Let me reassure you, we are committed to managing this important relationship responsibly. Our Vision for the Region: U.S. Indo-Pacific Strategy For over 75 years, the United States and Thailand have supported an Indo-Pacific vision where rules are developed transparently and applied fairly; where countries are free to make their own sovereign decisions; where goods, ideas, and people flow freely across land, sky, cyberspace, the open seas, and good governance is responsive to the people. This system has improved the quality of life for millions of people in this region and across the globe. Every country in the world and every person in this room has benefitted from it. One new U.S. regional initiative is the Indo-Pacific Economic Framework or IPEF. We are pleased that Thailand was a founding member of IPEF when it was launched in May 2022. We need new solutions to address 21st Century challenges – from trade, to supply chains, to energy, and the environment – and IPEF will help us find them. IPEF will unlock enormous economic value for this region, especially for small businesses. The Asia-Pacific Economic Cooperation forum (APEC) is another vital initiative to address regional challenges and that helps provide an institutional framework for progress. I commend Thailand for successfully hosting APEC in 2022 and its effort to promote sustainable economic growth via the Bangkok Goals on the Bio-Circular Green Economy model. In 2023, the United States will host APEC and we will strive to build on Thailand’s great work and the overarching goal of promoting free, fair, and open trade and investment, and advancing inclusive and sustainable growth. U.S.-Thailand Relations – A Model for Regional Partnership Thailand is central to the future of this region and, as I said earlier, our relations today are strong. Our ties form a tapestry that each of us is weaving, and its threads are government to government, business to business, university to university, and people to people. Our economic partnership is an essential strand of our tapestry. The United States is Thailand’s largest export market. That means our economies are inextricably linked and our trade relationship is robust. And growing. In fact, our bilateral trade has jumped 50 percent over the past two years. The United States is a major investor in the Thai economy, with U.S. firms operating across diverse sectors including automobiles, healthcare and high tech/digital. U.S. firms’ operations in Thailand are estimated to directly employ nearly 200,000 Thai citizens and support countless other jobs. The importance of our economic ties can be seen in the engagement we have had over the last year and that we have on the horizon. In March, Bangkok will host Trade Winds, the largest U.S. government-led trade mission and business development forum. The forum will feature Thailand as its regional hub and include optional spin-off visits to five other ASEAN countries. Trade Winds will host well over 100 top executives from U.S. companies and feature meetings with officials, demonstrating the American private sector’s enthusiasm for investing in Thailand. Trade Winds is yet another example of the U.S. commitment to Thailand and our desire to achieve sustainable and inclusive economic growth across the region. The United States and Thailand are also collaborating on digital economic development to promote innovation, including in developing secure and stable digital infrastructure, enhancing the digital skills of our workforces, and developing smart cities and policies promoting digital trade. Key U.S high tech firms including Seagate, Amazon, Tesla, Ford, Netflix, Google and others are all expanding their operations in Thailand to the tune of billions of dollars in near term investment. These major private industry tech giants are investing in the future of the Thai-U.S. partnership and looking to Thailand as a regional hub. The United States and Thailand also work closely on the central challenge of our time: climate change. We applaud Thailand’s ambitious target of reducing greenhouse gas emissions by 40 percent by 2030, and the United States is supporting Thailand’s efforts to achieve this goal through a combination of technical assistance, capacity building, and commercial engagement and collaboration. In health care, for over 60 years Thailand and the United States have been partners. As a result of our shared efforts, the lives of hundreds of millions of people across the globe are better. The close nature of this partnership – for example, our Centers for Disease Control has more than 100 staff co-located in Thailand’s Ministry of Public Health – has saved the lives of countless children and ensured parents can work and take care of their families. During the height of the global pandemic, our vaccine and other donations – and technical cooperation –ensured that safe and effective mRNA covid vaccines got into the arms in Bangkok and across Thailand, that residents of Khlong Toei had access to critical medical supplies, and public hospitals in Kanchanaburi had lab equipment. Future of U.S.-Thai Relations and Opportunities for Partnership As you can see, Thailand and the United States have been hard at work building a strong and diverse relationship over the past 190 years. This year, as we celebrate those 190 years, we should look for ways to do even more together, to weave an ever more beautiful tapestry. Together, in fact, I believe we should launch a decade of work to take our relations to a new level. We should seek new ways to increase trade and investment, in both directions, and build prosperity for everyone. We can strengthen engagement in the digital world and in the creative industries. There are opportunities for us to cooperate to expand use of clean energy and put satellites in space. We should increase the number of scholarships for Thais to study in the United States, and for Americans to study here. We can work to accelerate joint scientific and technical research, whether by universities or companies. What we can do is only limited by our imagination. In conclusion, the United States is committed to enhancing peace and prosperity in the Indo-Pacific, and to our partnership with Thailand. We are actively working with our partners, friends, and allies to tackle shared challenges, seize common opportunities, and to support the international system that has improved life for people across the world. Together, we can build a better future for Thais, Americans, and for people everywhere. Rao ja daun naa pai duay gun! Khop khun khrap. By U.S. Embassy Bangkok | 25 January, 2023 | Topics: Ambassador, News
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: วันนี้ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค พร้อมด้วย ดร.คาเรน เอ็ม. เซนต์ เจอร์เมน ผู้อำนวยการภาควิทยาศาสตร์พื้นพิภพ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐฯ หรือนาซา ร่วมเป็นประธานเปิดตัวโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SERVIR-Southeast Asia) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และองค์การนาซา เพื่อช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการปรับตัวและรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศข้ามพรมแดนและระดับภูมิภาค รวมถึงลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “โครงการใหม่นี้จะขยายขอบเขตด้านภูมิศาสตร์ของโครงการเซอร์เวียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับองค์กรระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำเนินงานเพื่อให้มั่นใจว่าชุมชนและธุรกิจในไทยและอาเซียน ไม่เพียงแต่สามารถปรับตัวเข้ากับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ แต่สามารถเติบโตท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้” เอกอัครราชทูตโกเดค กล่าว โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งในห้าศูนย์ระดับโลกภายใต้โครงการเซอร์เวียร์ โดยต่อยอดจากความสำเร็จของโครงการเซอร์เวียร์แม่โขง (SERVIR-Mekong) ซึ่งใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีดาวเทียมสาธารณะเพื่อสนับสนุนองค์การระดับภูมิภาค รัฐบาล และชุมชนในการจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อภัยพิบัติ ความมั่นคงทางอาหาร การจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดิน รวมไปถึงปัญหามลพิษทางอากาศ ตั้งแต่ปี 2557-2565 โครงการเซอร์เวียร์แม่โขงได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ช่วยวิเคราะห์ตัดสินใจจำนวน 21 รายการ มีผู้ผ่านการอบรบมากกว่า 1,500 คน จัดสรรเงินทุนเพื่อใช้สำหรับพัฒนาโครงการเพิ่มเติม 500,000 เหรียญสหรัฐ ตลอดจนส่งผลให้มีการใช้นโยบาย 4 ประการเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ชุมชนที่อาศัยบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงกว่า 250 ล้านคน ในรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้น งานเปิดตัวโครงการครั้งนี้จัดขึ้นที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์อวกาศแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตโกเดค พร้อมด้วย ดร.คาเรน เอ็ม. เซนต์ เจอร์เมน ผู้อำนวยการภาควิทยาศาสตร์พื้นพิภพ องค์การนาซา และนายฮานส์ กุทมัน ผู้อำนวยการบริหาร ADPC ร่วมเยี่ยมชมนิทรรศการเซอร์เวียร์แม่โขง และพบปะกับคณะนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (สะเต็ม) รวมถึงการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีดาวเทียมแก่เยาวชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ADPC ร่วมมือกับองค์การระดับภูมิภาคที่สำคัญ เช่น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เพื่อดำเนินโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยต่อยอดความมุ่งมั่นของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างภูมิภาคอินโดแปซิฟิกให้เชื่อมโยง ยืดหยุ่น และยั่งยืน เกี่ยวกับ USAID องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐของอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) เป็นองค์กรด้านการพัฒนาระหว่างประเทศที่ขับเคลื่อนให้เกิดผลการพัฒนา ผลงานของ USAID เป็นการต่อยอดความสนับสนุนและเอื้ออาทรจากรัฐบาลสหรัฐฯ และชาวอเมริกันที่มีต่อชุมชนในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถปรับตัวและพึ่งพาตนได้อย่างยั่งยืน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.usaid.gov/asia-regional หรือ @USAIDAsia บน Facebook และ Twitter เกี่ยวกับ NASA องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐฯ หรือองค์การนาซา เป็นหน่วยงานส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในงานสำรวจโครงการอวกาศเพื่อบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจโลก การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงสำรวจสภาพอากาศ ดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะ และขยายความรู้เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ องค์การนาซามีบุคลากรหลากหลายระดับ ตั้งแต่ระดับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ดำเนินงานตามสัญญาจ้าง สถาบันการศึกษา และภาคีระหว่างประเทศและพันธมิตรเชิงพาณิชย์ นาซาพัฒนาและมอบทุนแก่เทคโนโลยีอวกาศและแบ่งปันข้อมูลเพื่อทำให้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกดีขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่ nasa.gov ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: ขวัญตา หน่อคำ Development Outreach and Communications Specialist USAID Regional Development Mission for Asia (USAID/RDMA) อีเมล: knorkum@usaid.gov มือถือ: +662-257-3159, +6681-750-1901 Ankit Joshi Communications and Public Affairs Lead SERVIR-Southeast Asia ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) อีเมล: ankit@adpc.net มือถือ: +669-281-90244 โดย U.S. Mission Thailand | 24 มกราคม, 2023 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว, เอกอัครราชทูต
Today, the U.S. Ambassador to Thailand Robert F. Godec and Dr. Karen M. St. Germain, Earth Science Division Director at the National Aeronautics and Space Administration (NASA), launched the SERVIR-Southeast Asia program – a collaboration between the United States Agency for International Development (USAID) and NASA – to help communities across Southeast Asia adapt to regional and transboundary climate issues and mitigate the impacts of climate change. “This new program expands the geographic focus of SERVIR in Southeast Asia and deepens our engagement with regional institutions to accelerate climate resilience,” said Ambassador Godec. “SERVIR-Southeast Asia will go a long way to ensure that communities and businesses throughout Thailand and across ASEAN are not only resilient to the impacts of climate change, but prosper in spite of these challenges.” SERVIR-Southeast Asia is one of five global hubs under SERVIR. The program builds on the successes of SERVIR-Mekong in using publicly available satellite technologies to support regional institutions, governments, and communities as they address climate-related challenges, including disaster preparedness and response, food security, water resource and land management, and air pollution. From 2014 to 2022, SERVIR-Mekong developed 21 decision support tools, trained over 1,500 people, mobilized $500,000 of additional investment, and influenced the adoption of four policies to ensure that the 250 million residents of the Lower Mekong Region are better prepared to respond to the impacts of climate change. At the event, Ambassador Godec and Dr. St. Germain, together with Hans Guttman, Executive Director of the Asian Disaster Preparedness Center (ADPC), also engaged with high school students from nearby communities to raise awareness about science, technology, engineering, and mathematics (STEM) opportunities and the use of space technologies among youth and other underrepresented groups. The event, held at the Space Inspirium–Thailand’s first space museum and part of the Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (GISTDA)–included a tour of a SERVIR-Mekong exhibit. ADPC, in partnership with key regional organizations such as the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the Mekong River Commission, is implementing SERVIR-Southeast Asia, which advances the U.S. government’s commitment to a connected, resilient and sustainable Indo-Pacific. About USAID The United States Agency for International Development (USAID) is the world’s premier international development agency and a catalytic actor driving development results. USAID’s work advances U.S. national security and economic prosperity, demonstrates American generosity, and promotes a path to recipient self-reliance and resilience. Please visit www.usaid.gov/asia-regional or @USAIDAsia on Facebook and Twitter for more information. About NASA The National Aeronautics and Space Administration is America’s civil space program and the global leader in space exploration. The agency has a diverse workforce of civil servants, U.S. contractors, academia, and international and commercial partners to explore, discover, and expand knowledge for the benefit of humanity. NASA studies Earth, including its climate, our Sun, and our solar system and beyond. The agency develops and funds space technologies and shares what it learns so that its information can make life better for people worldwide. Learn more at nasa.gov. For more information, please contact: Kwanta Norkum Development Outreach and Communications Specialist USAID Regional Development Mission for Asia (USAID/RDMA) E-mail: Knorkum@usaid.gov Mobile: +66.2.257.3159, +66.81.750.1901 Ankit Joshi Communications and Public Affairs Lead SERVIR-Southeast Asia Asian Disaster Preparedness Center E-mail: ankit@adpc.net Mobile: +66.928.190.244 By U.S. Mission Thailand | 24 January, 2023 | Topics: Ambassador, East Asia & Pacific, Environment, News, Press Releases, Science & Tech, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สหรัฐอเมริกามอบอุปกรณ์ตรวจจับอาวุธเคมี ชีวภาพ รังสี และนิวเคลียร์ ให้ไทย สำนักงานบรรเทาภัยคุกคามด้านการป้องกันประเทศ (DTRA) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มอบอุปกรณ์ตรวจจับอาวุธเคมี ชีวภาพ รังสี และนิวเคลียร์ (คชรน.) มูลค่า 2.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ของไทยในพิธีส่งมอบเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร นายเดวิด แอล. มัสเกรฟ ผู้อำนวยการส่วนตรวจสอบพื้นที่และสร้างศักยภาพเครือข่ายของ DTRA และนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดี ปภ. กล่าวระหว่างพิธีถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสหรัฐฯ และไทยในการรับมือกับความเสี่ยงจากอาวุธ คชรน. ซึ่งรวมถึงการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องโดยสหรัฐฯ เพื่อสร้างขีดความสามารถของไทยในการตรวจจับและตอบโต้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ระหว่างพิธีส่งมอบดังกล่าว สหรัฐฯ มอบอุปกรณ์กว่า 200 ชิ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งมาพร้อมการฝึกอบรมที่จำเป็นเพื่อใช้งานและดูแลรักษาอุปกรณ์ตรวจจับซึ่งมีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิผล ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไทยกว่า 2 ศตวรรษได้พัฒนาเป็นมิตรภาพ หุ้นส่วน และพันธไมตรีอันแน่นแฟ้น ซึ่งยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนของเราทั้งสองประเทศ ตลอดจนทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก พันธไมตรีด้านความมั่นคงของเราช่วยให้เราพร้อมรับมือภัยคุกคามแห่งอนาคตซึ่งส่งผลต่อประเทศของเราทั้งสอง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด และสถานการณ์วิกฤตด้านมนุษยธรรม ความร่วมมือระหว่าง DTRA และ ปภ. เพื่อลดความเสี่ยงจากอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐฯ-ไทย ด้านความมั่นคง ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรต่อประเทศและประชาชนของเราทั้งสองบ้าง โดย U.S. Embassy Bangkok | 22 ธันวาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
United States Donates CBRN Detection Equipment to Thailand The United States Defense Threat Reduction Agency (DTRA) donated chemical, biological, radiological, and nuclear (CBRN) detection equipment worth USD $2.1 million to the Kingdom of Thailand’s Department of Disaster Prevention and Mitigation (DDPM) during a handover ceremony on December 9, 2022 at DDPM headquarters in Bangkok. Mr. David L. Musgrave, Director of On-Site Inspection and Building Partner Capacity at DTRA, and Mr. Boontham Lertsukekasem, Director-General of the DDPM, provided remarks, noting the close partnership between the United States and the Kingdom of Thailand to address the risk of CBRN weapons, including the ongoing training provided by the United States to build Thailand’s capacity to detect and counter weapons of mass destruction. The handover ceremony officially transferred over 200 pieces of equipment, which included the necessary training to effectively operate and maintain the sophisticated detection equipment. For over two centuries, the U.S.-Thai relationship has evolved into a robust friendship, partnership, and alliance that benefits both our people and the broader Indo-Pacific region. Our security alliance ensures that we are prepared to address the future threats that affect both our countries, such as climate change, pandemics, and humanitarian crisis. The DTRA-DDPM partnership to reduce the risk from weapons of mass destruction is another example of how strong U.S.-Thai security ties benefit both our countries and our people. By U.S. Embassy Bangkok | 22 December, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สหรัฐอเมริกาขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัว มิตรสหาย และเพื่อนร่วมงานของกำลังพลกองทัพเรือที่สูญเสียชีวิตในโศกนาฏกรรมเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในช่วงเวลาที่น่าเศร้าใจนี้ เราขอส่งกำลังใจและภาวนาให้แก่พวกเขา ตลอดจนเพื่อนทหารเรือและเจ้าหน้าที่กองทัพเรือไทยทุกนาย สหรัฐฯ ขอยืนเคียงข้างรัฐบาลและประชาชนไทย โดย U.S. Mission Thailand | 21 ธันวาคม, 2022 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย
The United States extends its deepest condolences to the family, friends, and colleagues of the Royal Thai Navy personnel who lost their lives in the tragic sinking of the HTMS Sukhothai. At this moment of sadness, our thoughts and prayers are with them, and with their shipmates and all those serving in the Royal Thai Navy. The United States stands together with the government and people of Thailand. By U.S. Mission Thailand | 21 December, 2022 | Topics: U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ขอให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงหายจากพระอาการประชวรและมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ววัน โดย U.S. Mission Thailand | 15 ธันวาคม, 2022 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย
The U.S. Embassy in Thailand extends its best wishes for a speedy and full recovery to Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha Narendiradebyavati Krom Luang Ratchasarinee Siripatchara Maha Watchara Ratchathida. By U.S. Mission Thailand | 15 December, 2022 | Topics: U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารจากรัฐมนตรีแอนโทนี เจ. บลิงเคน เนื่องในโอกาสวันชาติไทย 5 ธันวาคม 2565 ในนามของสหรัฐอเมริกา ผมขอแสดงความยินดีกับราชอาณาจักรไทยเนื่องในโอกาสวันชาติไทย ในปีที่ผ่านมานี้ สหรัฐฯ และไทยได้เสริมสร้างความร่วมมือและพันธไมตรีของเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ไทยเป็นเจ้าภาพจัดเวทีการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยบรรลุผลสำเร็จ และเราได้จัดการหารือยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศระหว่างสหรัฐฯ กับไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ความร่วมมือระหว่างเรามีความสำคัญและครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่ด้านพลังงานและความยั่งยืน ไปจนถึงความมั่นคงในภูมิภาค ขณะที่เราก้าวเข้าสู่การเฉลิมฉลอง 190 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูต สหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง การสาธารณสุข ตลอดจนสายใยระหว่างประชาชนของเราที่มีอยู่แล้วให้แนบแน่นยิ่งขึ้น ในปีที่จะมาถึง ขณะที่เราทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับความร่วมมือตามกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก และการดำเนินงานตามแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ ชื่นชมความเป็นผู้นำของไทยในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและทั่วโลก ขอแสดงความยินดีกับประชาชนชาวไทยทุกท่านในวันสำคัญนี้ เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ไทยเป็นเพื่อน หุ้นส่วน และพันธมิตรของเรา ขอให้ท่านทั้งหลายมีสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองตลอดปีข้างหน้านี้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 3 ธันวาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
STATEMENT BY SECRETARY ANTONY J. BLINKEN Thailand National Day December 5, 2022 On behalf of the United States of America, I congratulate the Kingdom of Thailand as it celebrates Thai National Day. This past year, the United States and Thailand have strengthened our partnership and alliance. Thailand successfully hosted the Asia-Pacific Economic Cooperation forum, and we held our first-ever Strategic and Defense Dialogue. Our cooperation was far reaching, from energy and sustainability to regional security. As we enter the 190th anniversary of our diplomatic relationship, the United States is committed to deepening the economic, security, health, and people-to-people ties that exist between our two countries. In the coming year, as we work together to advance our cooperation through the Indo-Pacific Economic Framework and the implementation of the U.S.-Thai Communiqué on Strategic Alliance and Partnership, we welcome Thailand’s leadership in the Indo-Pacific region and beyond. Congratulations to all the people of Thailand on this important day. We are honored to have you as a friend, partner, and ally. I wish you a peaceful and prosperous year ahead. By U.S. Embassy Bangkok | 3 December, 2022 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: Thailand National Day
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: วันนี้ รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ร่วมพูดคุยกับผู้นำภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือของไทย ตลอดจนผู้นำธุรกิจที่ผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดของไทย รองประธานาธิบดีเน้นย้ำความทุ่มเทของรัฐบาลไบเดน-แฮร์ริสในการสนับสนุนอนาคตพลังงานสะอาดที่ยั่งยืนสำหรับไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รองประธานาธิบดียังกล่าวถึงวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศในฐานะประเด็นที่ทั้งสหรัฐฯ และไทยให้ความสำคัญ รวมถึงการสาธารณสุข การดำรงชีพที่ยั่งยืน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในระหว่างเสวนาโต๊ะกลม ผู้ร่วมการสนทนากล่าวถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ การเสริมพลังเยาวชนและการมีส่วนร่วมของพลเมือง ตลอดจนโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ การประกอบการ และนวัตกรรมในอนาคตพลังงานสะอาด รองประธานาธิบดีย้ำความสำคัญของพลังแห่งการสร้างพันธมิตรและความสำคัญของการรับฟังเสียงจากทุกฝ่าย เพื่อหาทางออกที่ยั่งยืนสำหรับสถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในโอกาสนี้ รองประธานาธิบดีได้ประกาศการมอบเงินทุนครั้งใหม่เพื่อสนับสนุนพลังงานสะอาดและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นอกจากรองประธานาธิบดีแล้ว ผู้ร่วมการสนทนาประกอบไปด้วย: โรเบิร์ต โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ลิสา บูเจนนาส กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ผู้ก่อตั้งกลุ่มรักษ์เชียงของ พอล เส่ง ทวา ผู้อำนวยการเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวทางสังคม ปิยฉัตร สินพิมลบูลย์ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ กลุ่มละครมะขามป้อม ฉัตรพล ศรีประทุม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากลยุทธ์และวางแผนการลงทุน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) อัจฉรา ปู่มี ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บาลาจิ เอ็ม.เค. ผู้อำนวยการโครงการ Advanced Energy Systems ภายใต้โครงการ USAID Southeast Asia’s Smart Power Program โดย U.S. Mission Thailand | 21 พฤศจิกายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
Readout of Vice President Harris’s Roundtable Discussion with Environmental and Clean Energy Leaders inThailand Vice President Kamala Harris today convened civil society leaders engaged in climate action and environmental activism in Northern Thailand and business leaders advancing Thailand’s clean energy transition.The Vice President reiterated the Biden-Harris Administration’s commitment to support a sustainable and clean energy future for Thailandand the broaderMekong sub-region.The Vice President also spoke to how the climate crisis is at the intersection of shared priorities between the UnitedStatesand Thailand, including public health, sustainable livelihoods, and economic growth. During the roundtable discussion, participantsaddressedthe importance of environmental protection and natural resource governance, youth empowerment and civic engagement, and the opportunities for economic development, entrepreneurship, and innovation in the clean energy future.The Vice President emphasized the power of coalition building and the importance of having all voices at the table in order to develop enduring solutions to the climate crisis. In connection with the roundtable, the Vice President announced new funding to support clean energy and sustainable economic development in the Mekong sub-region. The Vice President was joined by: •RobertGodec, U.S. Ambassador to Thailand •LisaBuzenas, U.S. Consul General,Chiang Mai •NiwatRoykaew,FounderofRakChiangKhongConservation Group •Paul SeinTwa, Executive Director of the Karen Environmental and SocialActionNetwork •PiyashatSinpimonboon, International ProgramDirectorof theMakhampomTheatreGroup •ChatraponSripratum,Vice President, Strategy Development and Investment Planning Department, Energy Absolute PCL •AtcharaPoomee,Founder and CEOof PAC Corporation •Balaji M.K., Director of Advanced Energy Systems, USAID Southeast Asia Smart Power Program By U.S. Mission Thailand | 21 November, 2022 | Topics: News, Press Releases
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: เอกสารข้อเท็จจริง: รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ประกาศความช่วยเหลือใหม่ของสหรัฐฯ สำหรับพลังงานสะอาดในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การเยือนไทยของรองประธานาธิบดีจะยืนยันความทุ่มเทของสหรัฐฯ ต่อเสถียรภาพ สันติภาพ ความมั่งคั่ง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ที่กรุงเทพมหานคร รองประธานาธิบดีจะพบผู้นำภาคประชาสังคมที่ดำเนินงานด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือของไทย ตลอดจนผู้นำธุรกิจที่เกี่ยวกับข้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด เพื่อขับเคลื่อนงานของเราในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รองประธานาธิบดีจะประกาศให้เงินทุนก้อนใหม่ เพื่อสนับสนุนพลังงานสะอาด การเชื่อมโยง และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การประกาศครั้งนี้ต่อยอดจากการประกาศของรองประธานาธิบดีเพื่อสนับสนุนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงโครงการ Mekong-Mississippi Sister Rivers Partnership และโครงการ Mekong NextGen Scientists หุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (JUMPP) รองประธานาธิบดีจะประกาศว่า รัฐบาลตั้งเป้าที่จะของบประมาณสูงถึง 20 ล้านเหรียญสหรัฐจากรัฐสภา โดยเพิ่มเติมจากเงินทุนในหุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (Japan-U.S. Mekong Power Partnership) หรือ JUMPP ซึ่งสนับสนุนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการแสวงหาความมั่นคงด้านพลังงาน พร้อมๆ กับส่งเสริมให้ภูมิภาคมีการไหลของกำลังไฟเพิ่มสูงขึ้น มีการบูรณาการพลังงานสะอาด การลดแก๊สคาร์บอน และความเข้มแข็งในภาคพลังงาน นับตั้งแต่การประกาศตัวกรอบความร่วมมือ JUMPP เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 พร้อมเงินลงทุนเริ่มต้นของสหรัฐฯ จำนวน 29.5 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้ขยายความร่วมมือกับประเทศลุ่มน้ำโขงเพื่อสร้างตลาดและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่มีผู้ให้บริการหลากหลายและมีความเชื่อมโยงกัน กรอบความร่วมมือ JUMPP สนับสนุนรัฐบาลของประเทศลุ่มน้ำโขงเพื่อบรรลุการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสะอาดและเป้าหมายการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค ประเทศลุ่มน้ำโขงกำลังเร่งบูรณาการโครงการพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เข้าด้วยกัน จึงต้องได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิคเพื่อปรับปรุงระเบียบปฏิบัติและกลไกตลาดให้ทันสมัย รวมทั้งดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงและความเชื่อถือได้ การเพิ่มศักยภาพการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วภูมิภาคลุ่มน้ำโขงช่วยให้ภูมิภาคมีพลังงานไฟฟ้าที่หลากหลาย และลดการพึ่งพาไฟฟ้าพลังน้ำเพียงอย่างเดียว กรอบความร่วมมือ JUMPP สนับสนุนประเทศต่างๆ ผ่านความช่วยเหลือด้านเทคนิคซึ่งส่งเสริมตลาดพลังงานที่เข้มแข็งและบูรณาการพลังงานหมุนเวียนอย่างมีเสถียรภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงพลังงานที่เชื่อถือได้ มั่นคง และราคาไม่แพง เป็นการสนับสนุนการเติบโตด้านเศรษฐกิจและความมั่งคั่งต่อไป โดย U.S. Mission Thailand | 20 พฤศจิกายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
FACT SHEET: Vice President Harris Announces New U.S. Support for Clean Energy in the MekongRegion The Vice President’s visit to Thailand is reaffirming United States’ commitment to the stability, peace, prosperity, and sustainable development of the Mekong sub-region through cooperation with Mekong-region countries. In Bangkok, the Vice President is convening civil society leaders involved in climate action and environmental protection in Northern Thailand and business leaders involved in the clean energy transition to advance our work in the Mekong sub-region. The Vice President is announcing new funding to support clean energy, connectivity, and sustainable economic development in the Mekong sub-region. This announcement builds on the announcements the Vice Presidentmadeto support the Mekong sub-region in protecting the environment and supporting sustainable use of natural resources, including the Mekong-Mississippi Sister Rivers Partnership and the Mekong NextGen Scientists program. Japan-U.S.-Mekong Power Partnership (JUMPP) The Vice President is announcing that the Administration intends to request from Congress up to $20 million in additional funding to JUMPP, which supports the Mekong sub-region’s pursuit of energy security while encouraging greater regional power flows, clean energy integration, decarbonization, and resilience.Since announcing JUMPP in August 2019 with an initial U.S. investment of $29.5 million, the United States and Japan have expanded partnerships with Mekong countries to build more competitive and connected energy markets and infrastructure. JUMPP supports Mekonggovernments in achieving their clean energy transition and regional interconnection goals. Mekong countries are rapidly integrating renewable energy projects that require technical assistance for modernizing regulations, market mechanisms, and for maintaining stability and reliability. Expanding renewable energy generation capacity across the Mekong helps diversify the region’s electricity mix and reduce reliance on hydropower capacity. JUMPP assists countries with technical assistance supporting strong energy markets and reliably integrating renewable energy to ensure citizens have access to reliable, secure, and affordable energy supplies to support economic growth and prosperity. By U.S. Mission Thailand | 20 November, 2022 | Topics: News, Press Releases
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: เอกสารข้อเท็จจริง: รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส ประกาศข้อริเริ่มใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างพันธไมตรีสหรัฐฯ-ไทย และสนับสนุนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การเดินทางเยือนไทยของรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส จะเสริมสร้างความร่วมมือและพันธไมตรีเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทยต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า รองประธานาธิบดีแฮร์ริสกำลังยกระดับความร่วมมือทวิภาคีของเราในด้านต่างๆ อาทิ วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด การสร้างความพร้อมปรับตัวรับสภาพภูมิอากาศ และการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน สหรัฐฯ และไทยเน้นย้ำประโยชน์ที่เรามีร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ที่มั่งคั่งและเข้มแข็ง เรากำลังมุ่งสู่เป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและให้ความสำคัญกับสภาพภูมิอากาศ ผ่านกรอบความร่วมมือ Partnership for Global Infrastructure and Investment (PGII) และโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) นอกจากนี้ เรายังเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทย ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานผ่านกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) เพื่อแสดงถึงความทุ่มเทอันแน่วแน่ของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทย ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในภาพรวม รองประธานาธิบดีแฮร์ริสจึงประกาศข้อริเริ่มต่างๆ ดังนี้ การรับมือวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด สหรัฐฯ และไทยมุ่งมั่นเดินหน้านำการแก้ไขวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ ขณะที่เรายกระดับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของเรา พร้อมทั้งปลดล็อกการเติบโตทางเศรษฐกิจ เรากำลังดำเนินการร่วมกันเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก รวมถึงเสริมสร้างการปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สหรัฐฯ และไทยจะขยายโอกาสการลงทุน ขับเคลื่อนนวัตกรรม และพัฒนาการดำรงชีพของประชากรผ่าน IPEF และหุ้นส่วนด้านพลังงานแม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (Japan-U.S. Mekong Power Partnership) สหรัฐฯ ยังมีแผนที่จะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคด้านการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน เพื่อพัฒนากรอบกฎหมายและระเบียบปฏิบัติในไทย ตลอดจนการดึงดูดการลงทุนภาคเอกชน ข้อริเริ่ม Net Zero World: สหรัฐฯ ยินดีที่ไทยเข้าร่วมข้อริเริ่ม Net Zero World ซึ่งเป็นโครงการที่สหรัฐฯ เป็นผู้นำ และเปิดตัวไปในที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) ครั้งที่ 26 เพื่อให้องค์กรผู้เชี่ยวชาญจากรัฐบาลสหรัฐฯ องค์กรการกุศลอเมริกัน และชาติภาคีของเรา ได้มาเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เราจะจับมือกันเสริมสร้างความร่วมมือด้านยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ และการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อช่วยไทยตอบโจทย์ความต้องการทางพลังงานของประเทศในอนาคต ความร่วมมือในโครงการ FIRST Program: รองประธานาธิบดีเปิดตัวความร่วมมือด้านพลังงานสะอาดใหม่กับไทย เพื่อสร้างศักยภาพด้านการใช้เทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ล้ำสมัยอย่างมั่นคงและปลอดภัย ภายใต้โครงการ S. Foundational Infrastructure for Responsible Use of Small Modular Reactor Technology (FIRST) Program ซึ่งต่อยอดจากความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ภาคพลเรือนเกือบ 50 ปีระหว่างสหรัฐฯ และไทย โครงการ FIRST จะมุ่งทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ แวดวงวิชาการ ภาคอุตสาหกรรม และห้องทดลองเชิงปฏิบัติการของไทย เพื่อหาหนทางบรรลุเป้าหมายของไทยในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ผ่านการใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบโมดูลาร์ (SMR) ซึ่งได้มาตรฐานขั้นสูงสุดด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โครงการจะช่วยไทยให้สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์อันโดดเด่นของเครื่อง SMR ซึ่งผลิตพลังงานตลอดเวลาด้วยความเสถียร ส่งเสริมแหล่งพลังงานสะอาดอื่น ๆ ใช้พื้นที่น้อยในการติดตั้ง และบูรณาการองค์ประกอบด้านความปลอดภัยล้ำสมัย ความร่วมมือภายใต้โครงการ FIRST ยังจะกระชับความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ ส่งเสริมนวัตกรรมพลังงานสะอาด ตลอดจนยกระดับความร่วมมือด้านเทคนิคระหว่างเราสองประเทศ การส่งเสริมภาคเกษตรกรรมให้ตัดสินใจโดยคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ: สหรัฐฯ จะมอบเงินทุน 5 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่โครงการ Food for Progress ซึ่งจะทำงานกับรัฐบาลและเกษตรกรไทยในการพัฒนาศูนย์สภาพภูมิอากาศระดับภูมิภาค (Regional Climate Hub) โดยศูนย์จะเสริมสร้างศักยภาพให้ภาคีภาคเอกชนและภาครัฐเข้าใจ ส่งเสริม และทำการตลาดสำหรับนวัตกรรมที่คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศและบริการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ คาดว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถเข้าถึงบุคคล 30,000 คนและพัฒนาแนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการพื้นที่ 24,000 เฮกตาร์ เวิร์กช็อป YSEALI Enviro-Tech Regional Workshop: ไมตรีระหว่างประชากรของเรายิ่งเป็นที่ประจักษ์ด้วยมีศิษย์เก่าชาวไทยกว่า 30,000 คนที่เคยเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้ให้ทุนหรือสนับสนุน อันรวมไปถึงโครงการฟุลไบรท์, International Visitor Leadership Program (IVLP) และ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) และโครงการแลกเปลี่ยนอื่นๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยโครงการ YSEALI มีศิษย์เก่าที่เป็นผู้นำในด้านต่างๆ ซึ่งสำคัญต่ออนาคตความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไทย ได้แก่ การศึกษา ประชาธิปไตย การพัฒนาเศรษฐกิจ ฯลฯ เพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์เหล่านี้ สหรัฐฯ วางแผนที่จะให้ทุนกับเวิร์กช็อป YSEALI Enviro-Tech Regional Workshop ซึ่งมุ่งฝึกอบรมเยาวชนด้านการบรรเทาและปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีอุบัติใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อรับมือความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และทำให้ห่วงโซ่อุปทานมั่นคง: องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (USTDA) ประกาศคำมั่นที่จะมอบเงินทุนกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงในไทย แผนใหม่เหล่านี้รวมไปถึงทุนสำหรับกระทรวงคมนาคมของไทย ซึ่งจะใช้ทุนกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการเสริมสร้างศักยภาพให้ระบบโลจิสติกส์การคมนาคมและขนส่งสินค้าของไทย โครงการดังกล่าวจะเสริมสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานผ่านระเบียงคมนาคมสำคัญทั้งในประเทศและภูมิภาค อีกทั้งยังจะช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ขับเคลื่อนเป้าหมายด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการคมนาคมและด้านสภาพภูมิอากาศของไทย USTDA ยังประกาศสนับสนุนการสร้างโรงงานรีไซเคิลพลาสติก ซึ่งจะเสริมสร้างการดำเนินงานด้านการจัดการขยะของไทย ตลอดจนลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก โครงการนี้ยังจะช่วยยกระดับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย เพื่อการเติบโตที่ทั่วถึงและยั่งยืน การดำเนินงานเหล่านี้จะต่อยอดจากงานที่ USTDA กำลังทำอยู่ในปัจจุบันร่วมกับภาคีภาคเอกชน เพื่อเพิ่มความช่วยเหลือทางเทคนิคด้านยานยนต์ไฟฟ้าและการกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ การเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ: โทรคมนาคม สุขภาพโลก ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการค้ามนุษย์ การส่งเสริมความปลอดภัยของเครือข่าย 5G: สถาบัน S. Telecommunications Training Institute จะจัดเวิร์กช็อประดับภูมิภาคในไทยภายใต้หัวข้อความเชื่อมโยงและการใช้แอปพลิเคชัน 5G โดยผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศจะมาให้คำแนะนำแก่ผู้กำหนดนโยบายในไทยว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ล้ำสมัยอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย นอกจากนี้ USTDA ยังจะต้อนรับคณะผู้แทนทางการค้า 5G Ecosystem Reverse Trade Mission ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่อาวุโสและผู้บริหารธุรกิจของไทยได้ทำความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีอเมริกัน และใช้กรณีศึกษาด้านเครือข่าย 5G ไร้สาย เพื่อเร่งรัดการเปิดใช้เครือข่าย 5G ศูนย์มะเร็งระดับโลก: องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐฯ (USTDA) จะมอบทุนเกือบ 600,000 เหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนศูนย์มะเร็งแห่งใหม่ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี โดย USTDA จะช่วยพัฒนาเอกสารแผนแม่แบบสำหรับการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ตั้งแต่รากฐานด้านการเศรษฐกิจและการเงิน ไปจนถึงรายการเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์โดยละเอียด ตลอดจนคุณสมบัติของบุคลากร โครงการดังกล่าวจะช่วยขับเคลื่อนเป้าประสงค์ของไทยที่จะช่วยให้ผู้คนหลายแสนคนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลระดับโลกสำหรับโรคมะเร็งได้ การเสริมสร้างความพร้อมรับมือของเครือข่ายข้อมูลสำคัญ: กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะยังคงช่วยเสริมสร้างศักยภาพและให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ซึ่งจะรวมไปถึงความช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแผนรับมือภัยคุกคามและตอบสนองต่อเหตุการณ์ผิดปกติทางไซเบอร์ (Cyber Incident Response Plan) ตลอดจนการส่งเสริมศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Coordination Center) เราวางแผนที่จะร่วมมือกับสกมช. เพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนพัฒนาศูนย์ไทยเซิร์ตใหม่ๆ สำหรับภาคส่วนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ การดำเนินงานเหล่านี้จะช่วยไทยให้พัฒนาระบบนิเวศทางไซเบอร์ที่มั่นคงและพร้อมรับมือยิ่งขึ้น การส่งเสริมความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคเอกชน: กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะจับมือกับสกมช. เพื่อจัดการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผู้กำหนดนโยบายด้านความมั่นคงของชาติ และผู้บริหารธุรกิจ มาร่วมฝึกซ้อมการวางแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับภัยคุกคามต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่อาจเผชิญในอนาคต การฝึกดังกล่าวจะช่วยระบุด้านต่างๆ ที่อาจต้องการการลงทุนเพิ่มเติม และสร้างสะพานเชื่อมโยงผู้กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และผู้บริหารธุรกิจจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลสำคัญ การจัดตั้งโครงการเฝ้าระวังอาชญากรรมไซเบอร์: สำนักงานตำรวจสืบสวนกลางสหรัฐฯ (FBI) จะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่พิเศษด้านไซเบอร์ปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเป็นเวลา 90 วัน ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจะมีการให้คำแนะนำและประเมินขีดความสามารถด้านการสืบสวนสอบสวนทางไซเบอร์ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความต้องการด้านการพิสูจน์หลักฐานทางไซเบอร์ ความร่วมมือเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์: สหรัฐฯ และไทยมุ่งมั่นขจัดการค้ามนุษย์ สหรัฐฯ ตระหนักว่าไทยได้เพิ่มความพยายามต่อสู้กับการค้ามนุษย์ ส่งผลให้ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มที่ 2 ในรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2565 สหรัฐฯ จะยังคงทำงานร่วมกับไทยเพื่อยกระดับการต่อต้านการค้ามนุษย์ ด้วยทุนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ องค์การยุติธรรมนานาชาติ (IJM) กำลังช่วยเหลือไทยคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด่านหน้าให้บังคับใช้กฎหมายการค้ามนุษย์ของไทยซึ่งรวมไปถึงบทบัญญัติด้านการบังคับใช้แรงงาน การสนับสนุนภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สหรัฐฯ และไทยยืนยันความเป็นหุ้นส่วนของเราในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือของเราเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง การเป็นผู้ประกอบการ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงในรูปแบบใหม่ (non-traditional security) การสนับสนุนชุมชนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การสนับสนุนโครงการ Women Entrepreneurs – (WE) Inspire: สหรัฐฯ จะมอบเงินทุนกว่า 700,000 เหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการสตรีผ่านโครงการ WE Inspire ซึ่งสร้างทักษะความรู้ทางการเงิน การทำธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายให้แก่สตรีชายขอบที่อาศัยอยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อยที่มีสตรีเป็นเจ้าของได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรายย่อยและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ที่จะช่วยจัดลำดับความสำคัญของความจำเป็นด้านธุรกิจและสุขภาพ โครงการ WE Inspire ทำงานร่วมกับองค์กรการเงิน การประกันภัย และภาคีท้องถิ่นในประเทศลุ่มน้ำโขง เพื่อสร้างศักยภาพสตรีในการขยายธุรกิจ เสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี ซึ่งจะช่วยให้สามารถดูแลครอบครัวของตนได้ โครงการ Mekong One Health Innovation Program: สหรัฐฯ จะมอบเงินทุนกว่า 700,000 เหรียญสหรัฐให้แก่โครงการ Mekong One Health Innovation Program ซึ่งมีวัตถุประสงค์สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยชาวสหรัฐฯ และนักวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้แน่นแฟ้นและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยสร้างเครือข่ายที่มีพลวัตเพื่อดำเนินโครงการวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ผ่านแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) โครงการ Mekong One Health Innovation Program ช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการออกแบบและดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการระบุและตอบโต้โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ หลังจากทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันเพื่อเข้าถึงและใช้เครื่องมือด้านสุขภาพแล้ว ผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะได้รับเงินทุนและคำปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการวิจัยของตนเอง โครงการ Mekong NextGen Scientists: สหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะให้เงินทุนกว่า 500,000 เหรียญแก่โครงการ Mekong NextGen Scientists ซึ่งสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนและความมั่นคงด้านน้ำทั่วลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ผ่านการสร้างศักยภาพและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ โครงการนี้ให้ความสำคัญกับแนวทางใหม่ๆ ในการรับมือความท้าทายซับซ้อนหลากหลายด้านซึ่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเผชิญอยู่โดย 1) สนับสนุนทุนวิจัยระยะสั้นสำหรับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่และผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งกำลังทำวิจัยที่สหรัฐฯ ให้ทุนอยู่ 2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการฝึกอบรมระดับภูมิภาค เช่น Mekong Research Symposium และ 3) จัดให้มีการเข้าร่วมและนำเสนอผลงานในการประชุมระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ โครงการยังเน้นการมีส่วนร่วมของนักวิทยาศาสตร์สตรีรุ่นใหม่ ซึ่งมักเผชิญกับอุปสรรคมากกว่านักวิทยาศาสตร์ชายในการรับโอกาสทางการศึกษาและการทำงาน โครงการ Mekong-Mississippi Sister Rivers Partnership: สหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะให้เงินทุน 500,000 เหรียญสหรัฐแก่โครงการ Mekong-Mississippi Sister Rivers Partnership ซึ่งสนับสนุนความร่วมมือข้ามพรมแดนผ่านทาง 1) การแบ่งปันกลยุทธ์และตัวอย่างตามประสบการณ์ของสหรัฐฯ และนานาชาติ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสาธารณชนได้มีส่วนร่วมโดยเกิดประสิทธิผลและโปร่งใส 2) การสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองเพื่อสนับสนุนแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการและอภิบาลลุ่มน้ำ 3) การส่งเสริมเครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ เพื่อการร่วมมือกันลดความขัดแย้งเกี่ยวกับแหล่งน้ำที่ใช้ร่วมกัน และ 4) การสร้างเสริมศักยภาพในการดำเนินการและจัดการเขื่อนแบบขั้นบันไดหรือความปลอดภัยของเขื่อน การสร้างศักยภาพความมั่นคงในรูปแบบใหม่ การจัดการชายแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เพื่อรับมือปัญหาการค้ายาเสพติดและสารตั้งต้น: แม้กลุ่มองค์กรอาชญากรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะขนย้ายยาเสพติดและสารเคมีตั้งต้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่การจับยึดสารเคมีควบคุมกลับคงอยู่ในระดับต่ำทั่วภูมิภาค สหรัฐฯ จะมอบเงินทุน 5 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่วางไว้อยู่ก่อนแล้วโดยสำนักงานประสานงานชายแดนด้านยาเสพติดและอาชญากรรม (Border Liaison Office) ที่สหประชาชาติสนับสนุน นอกจากนี้ โครงการยังจะส่งเสริมให้ผู้กำหนดนโยบายมีส่วนช่วยผลักดันการตอบสนองในระดับภูมิภาคต่อการค้ายาเสพติดสังเคราะห์ข้ามพรมแดน เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางมีความครอบคลุมและยั่งยืน การเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามทรัพย์สิน: สหรัฐฯ จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อติดตาม จับยึด และจัดการรายได้จากการก่ออาชญากรรม ตามคำแนะนำในรายงานประเมิน Financial Action Task Force Mutual Evaluation of Thailand ล่าสุดของไทย สหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะให้เงินทุนประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการติดตามและจัดการทรัพย์สินเพื่อจัดการภัยอาชาญากรรมที่มีอยู่และเกิดขึ้นใหม่ นอกจากนี้ โครงการยังจะส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย อัยการ และภาคเอกชนได้มีส่วนร่วม เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางมีความครอบคลุมและยั่งยืน การร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย: สหรัฐฯ จะสนับสนุนศักยภาพของตำรวจน้ำของไทยในการลาดตระเวนแม่น้ำโขง และแก้ไขปัญหาภัยอาชญากรรมที่เกี่ยวข้อง โดยการบริจาคเรือยางท้องแข็ง(rigid-hull inflatable boat) จำนวน 12 ลำพร้อมเครื่องยนต์และเรือพ่วง โดย U.S. Mission Thailand | 20 พฤศจิกายน, 2022 | ประเภท: ข่าว
FACT SHEET: Vice President Harris Announces New Initiatives to Strengthen U.S.-Thailand Alliance and to Support MekongSub-Region Vice President Kamala Harris’s trip to Thailand is strengthening the U.S.-Thailand strategic partnership and alliance for many years to come. The Vice President is expanding our bilateral cooperation on areas such as the climate crisis and economic development by accelerating the clean energy transition, building climate resilience, and promoting sustainable development. The United States and Thailand reaffirm our shared interest in a prosperous and resilient Southeast Asia. We are pursuing sustainable, climate-focused economic goals via the Partnership for Global Infrastructure and Investment (PGII) and the Bio-Circular-Green Economy model, and we are strengthening our economic ties, including through the Indo-Pacific Economic Framework (IPEF). In a demonstration of the United States’ enduring commitment to Thailand, the Mekong Region, and Southeast Asia more broadly, the Vice President is launching the following initiatives. Addressing the Climate Crisis and Accelerating Clean Energy Transition The United States and Thailand are committed to continuing to play leading roles in addressing the climate crisis as we raise our climate ambitions to reach our net-zero targets and unlock economic growth. Together we are working to reduce emissions and enhance climate adaptation and resilience. Through IPEF and the Japan-U.S.-Mekong Power Partnership, the United States and Thailand will expand investment opportunities, spur innovation, and improve the livelihood of citizens. The United States will provide technical assistance on carbon capture, utilization and storage to support Thailand’s development of its legal and regulatory framework, as well as attract private investment. Net Zero World Initiative:The United States welcomes Thailand joining the Net Zero World Initiative, a U.S.-led program launched at COP26 to leverage U.S. government expertise, philanthropy, and partner countries to accelerate the transition to net zero emission energy systems. Together, we will promote cooperation in electric vehicles, solar energy and energy efficiency, to help Thailand meet its future energy demands. FIRST Program Partnership: The Vice President is launching a new clean energy partnership with Thailand to build capacity for the secure and safe deployment of advanced nuclear reactor technologies under the U.S. Foundational Infrastructure for Responsible Use of Small Modular Reactor Technology (FIRST) Program. This partnership builds on almost 50 years of U.S.-Thailand civil nuclear cooperation. The FIRST program will work with experts from government, academia, industry, and national laboratories to explore options to advance Thailand’s goal of Net Zero Emissions by 2065 through deployment of small modular reactors (SMRs) under the highest standards of safety, security and nonproliferation. This partnership will help Thailand take advantage of the unique benefits of SMRs that provide 24/7 reliable power, complement other clean energy sources, use a small land footprint, and incorporate advanced safety features. Cooperation under FIRST will also deepen strategic ties, support clean energy innovation, and advance technical collaboration between the two countries. Assisting Agriculture in Climate-Smart Decisions: The United States will provide $22.5 million toward Food for Progress, which will work with the government of Thailand and its farmers to develop a Regional Climate Hub. The Hub will build the capacity of private and public sector partners to understand, promote, and market climate-smart innovations and associated services. The project will reach 30,000 individuals and improve management practices on 24,000 hectares. YSEALI Enviro-Tech Regional Workshop:Our people-to-people ties are exemplified by the over 30,000 Thai alumni that have participated in a U.S. government-funded or facilitated exchanges including the Fulbright program, International Visitor Leadership Program (IVLP), the Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI), and other U.S. government exchange programs. YSEALI boasts leaders in areas vital to the future of the U.S.-Thai relationship: education, democracy, economic development, and more. To further enhance these ties, the United States will fund the YSEALI Enviro-Tech Regional Workshop, which seeks to train young people on climate change mitigation and adaptation, including the use of emerging technology, such as AI, clean energy, and biotech, to address environmental challenges in the Mekong sub-region. Creating Climate-Smart Infrastructure, Enhancing Environmental Protection, and Securing Supply Chains:The U.S. Trade and Development Agency (USTDA) announced more than $2 million in new commitments to support climate-smart infrastructure, environmental protection, and secure supply chains in Thailand. These new commitments include a grant to Thailand’s Ministry of Transport that will leverage over $2 billion to strengthen Thailand’s transportation and freight logistics capacity. This project will enhance supply chain networks through key domestic and regional transportation corridors and reduce greenhouse gas emissions, furthering Thailand’s transportation infrastructure and climate goals. USTDA also announced support for a plastic recycling facility that will strengthen Thailand’s waste management efforts and reduce greenhouse gas emissions. This project will advance Thailand’s Bio-Circular-Green economic model for inclusive and sustainable growth. These efforts build on USTDA’s ongoing work to partner with the private sector to increase technical support for electric vehicles and battery storage. Strengthening Bilateral Cooperation and Economic Development: Telecommunications, Global Health, Cybersecurity, and Trafficking in Persons Supporting Enhanced 5G Security: The U.S. Telecommunications Training Institute plans to host a regional workshop in Thailand on connectivity and 5G applications. The workshop will bring international experts to Thailand to advise policy makers on how to deploy next generation information communications technologies efficiently and securely. USTDA will also host a 5G Ecosystem Reverse Trade Mission to familiarize senior Thai officials and business executives with U.S. technologies and use cases for 5G wireless networks with the goal of accelerating Thailand’s 5G rollout. World Class Oncology Center:The U.S. Trade and Development Agency (USTDA) will provide nearly $600,000 to support a new oncology center located in Thailand’s Eastern Economic Corridor within Chonburi Province, Thailand. USTDA will help develop a master planning document for the oncology center buildout, ranging from economic and financial fundamentals to a detailed equipment list and staffing requirements. The project will advance Thailand’s goal of providing access to world-class cancer treatment to hundreds of thousands of people across the Lower Mekong Region. Bolstering the Resilience of Critical Information Networks:The U.S. Department of State will continue to provide capacity building and technical assistance to the National Cybersecurity Agency (NCSA). This assistance will include further support for the National Computer Emergency Response Team (CERT), assistance in developing a Cyber Incident Response Plan, and support for the National Coordination Center. We plan to partner with NCSA to support private sector efforts to develop new sectoral CERTs for key critical infrastructure sectors. These efforts will help Thailand develop a more secure and resilient cyber ecosystem. Supporting Cybersecurity Collaboration with Private Sector Stakeholders: The U.S. Department of State will partner with Thailand’s NCSA to host a table-top exercise bringing together cybersecurity experts, national security policy makers, and business executives to facilitate contingency planning for potential future cybersecurity threats. The exercise will both help identify areas where further investment may be necessary and build bridges between cybersecurity policy makers and business executives from Critical Information Infrastructure sectors. Establishing a Cybercrime Mentoring Program:The Federal Bureau of Investigation (FBI) will establish a 90-day Temporary Duty assignment for Cyber Special Agents to work with the Royal Thai Police’s (RTP) Cyber Crime Investigation Bureau. This will provide mentorship and assessment of cyber investigation capabilities, cybersecurity, and cyber forensic needs. Collaborating to Combat Trafficking in Persons (TIP):The United States and Thailand are committed to eliminating human trafficking. The United States acknowledges the increasing efforts Thailand has made to combat trafficking, resulting in a Tier 2 ranking in the 2022 TIP Report. The United States will continue to work with Thailand to elevate counter-trafficking efforts. Through a grant from the State Department, the International Justice Mission is assisting Thailand’s efforts to protect victims of human trafficking by helping to train frontline officials on implementing Thailand’s human trafficking laws, including those on forced labor. Supporting the Mekong Region The United States and Thailand reaffirm our partnership in the Mekong sub-region and agree to deepen our engagement to promote inclusive economic development, entrepreneurship, environmental protection, and non-traditional security. Supporting Communities in the Mekong Supporting Women Entrepreneurs – (WE) Inspire Program:The United States will provide more than $700,000 to support women entrepreneurs through the WE Inspire program. This program builds financial literacy, business and networking skills of marginalized women living in the Mekong sub-region and facilitates female-owned micro, small, and medium enterprises access to micro-insurance and financial products to help prioritize business and health needs. Working with finance, insurance, and local partners in Mekong countries, WE Inspire will empower women to grow their businesses, enhance their economic stability, and engage in positive health-seeking behavior that will enable them to support their families. Mekong One Health Innovation Program: The United States will provide more than $700,000 to the Mekong One Health Innovation Program, which is designed to foster stronger and sustained relationships between U.S. and Mekong sub-regional researchers, creating a vibrant network to carry out research projects on the human, animal, and environment nexus through the One Health approach. The Mekong One Health Innovation Program assists Mekong sub-regional health experts as they design and lead projects relating to the identification of and response to emerging infectious diseases. After working with U.S. experts to access and operate health tools, Mekong sub-regional researchers and scientists receive funds and mentoring to conduct their own research project. Mekong NextGen Scientists: The United States is committing more than $500,000 to Mekong NextGen Scientists, which promotes sustainable growth and water security across the Lower Mekong River Basin by building capacity and exchanging knowledge with early career professionals. This program focuses on innovative approaches to the complex multilateral challenges faced within the Mekong sub-region by: 1) supporting short-term fellowships for Mekong-region young scientists and early career professionals with ongoing U.S.-funded research; 2) enabling participation in regional events and trainings such as the Mekong Research Symposium; and 3) facilitating attendance and presentations at relevant international meetings and conferences. This program also emphasizes the participation of young women scientists, who often face disproportionate barriers to educational and professional opportunities. Mekong-Mississippi Sister Rivers Partnership:The United States is committing $500,000 to the Mekong-Mississippi Sisters Partnership, which promotes transboundary cooperation through: 1) sharing strategies and examples based on U.S. and international experiences for effective and transparent stakeholder engagement and public participation; 2) building political will to support best practices in river basin management and governance; 3) promoting tools and techniques, for collaboration to reduce conflict over shared water resources; and 4) enhancing capacity in operations and management of cascading dams or dam safety. Non-Traditional Security Capacity Building Border Management in the Lower Mekong Sub-Region to Address Drugs and Precursor Trafficking:Organized crime groups in Southeast Asia move drugs and precursor chemicals in Southeast Asia, but seizures of controlled chemicals have remained low across the region. The United States is providing $4.5 million to improve capacity in countries in the lower Mekong region, using pre-existing infrastructure laid by United Nations-supported Border Liaison Offices. To ensure a comprehensive and sustainable approach, the project will also engage policymakers to advance regional responsiveness to cross-border trafficking of synthetic drugs. Enhanced Asset Recovery:The United States will help enhance the Thai Anti-Money Laundering Organization’s capabilities to trace, seize, and manage proceeds of crime in response to recommendations in the most recent Financial Action Task Force Mutual Evaluation of Thailand. The United States is committing approximately $1.2 million to provide technical assistance and training to strengthen asset recovery and management to address existing and emerging criminal threats. To ensure a comprehensive and sustainable approach, the project will also engage law enforcement, prosecutors, and the private sector. Partnering with Law Enforcement: The United States will support the Royal Thai Marine Police’s ability to patrol the Mekong River and address related criminal threats through the donation of 12 rigid-hull inflatable boats with engines and trailers. By U.S. Mission Thailand | 20 November, 2022 | Topics: News
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ถ้อยแถลงจากการประชุมระหว่างนายแอนโทนี เจ. บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย สำนักงานโฆษก 17 พฤศจิกายน 2565 จัดเตรียมโดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เน็ด ไพรซ์: วันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี เจ. บลิงเคน พบกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่กรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีบลิงเคนและรองนายกรัฐมนตรีดอนยืนยันความสำคัญของพันธไมตรีตามสนธิสัญญาและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ รวมถึงความทุ่มเทของสหรัฐฯ ต่อทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความยินดีกับรองนายกรัฐมนตรีในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) โดยบรรลุผลสำเร็จ อีกทั้งยังชื่นชมไทยที่นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 21 เขตมาร่วมประชุมกันในช่วงเวลาสำคัญขณะที่โลกเผชิญกับความท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยกล่าวถึงพื้นฐานอันมั่นคงที่ไทยสร้างขึ้นและสหรัฐฯ จะต่อยอดเมื่อเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค 2566 รัฐมนตรีทั้งสองระลึกถึงการลงนามในแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา และการเริ่มต้นประชุมหารือว่าด้วยกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความมั่งคั่งในปี 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยินดีที่ไทยเข้าร่วมข้อริเริ่ม Net Zero World โดยเน้นย้ำความมุ่งมั่นที่เรามีร่วมกันในการแก้ไขวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึง ทั้งสองฝ่ายหารือถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันเรื่องการขับเคลื่อนด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน และรับทราบถึงบทบาทที่สำคัญของไทยในการแก้ปัญหาความท้าทายระดับภูมิภาคที่กว้างขึ้น เช่น สถานการณ์วิกฤตในพม่า อีกทั้งยังได้หารือเกี่ยวกับการรุกรานยูเครนของรัสเซียโดยปราศจากการยั่วยุ และผลที่ตามมาในระดับโลก ทั้งสองฝ่ายกล่าวว่าตั้งตารอที่จะได้ฉลองครบรอบ 190 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตในปีหน้า และเสริมสร้างความร่วมมือของเราเพื่อให้เกิดโอกาสและความมั่งคั่งต่อทั้งชาวไทยและชาวอเมริกัน โดย U.S. Mission Thailand | 18 พฤศจิกายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
READOUT OFFICE OF THE SPOKESPERSON NOVEMBER 17, 2022 The below is attributable to Spokesperson Ned Price: Secretary of State Antony J. Blinken met today with Thai Deputy Prime Minister and Foreign Minister Don Pramudwinai in Bangkok. Secretary Blinken and Deputy Prime Minister Don reaffirmed the importance of the U.S.-Thailandtreaty alliance and partnership, as well as the U.S. commitment to the broader Indo-Pacific region. The Secretary congratulated the Deputy Prime Minister on Thailand’s successful hosting of Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC). He commended Thailand for bringing together the 21 APEC economies at a critical time as the world navigates unprecedented challenges, noting the strong foundation built by Thailand as the United States takes the helm for APEC 2023. The ministers celebrated the signing of the U.S.-Thai Communiqué on Strategic Alliance and Partnership and the launch of negotiations for the Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity in 2022. The Secretary welcomed Thailand’s participation in Net Zero World, underscoring our joint commitment to address the climate crisis and ensure sustainable, inclusive economic growth. The two sides discussed the importance of working together on advancing respect for human rights, and acknowledged the pivotal role Thailand plays in resolving broader regional challenges, such as the crisis in Burma. They also discussed Russia’s unprovoked aggression against Ukraine and its global implications. The Secretary and the Deputy Prime Minister noted that they look forward to marking 190 years of diplomatic ties next year and deepening our cooperation to ensure opportunity and prosperity for both the Thai and American people. By U.S. Mission Thailand | 18 November, 2022 | Topics: News, Press Releases
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: Announcement for 2023-2024 Global Undergraduate Exchange Program (Global UGRAD) ทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ————————————————- ฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เปิดรับสมัครผู้สนใจรับทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับมหาวิทยาลัยในโครงการ Global Undergraduate Exchange Program เป็นเวลา1ภาคการศึกษา (ระยะเวลา4-5เดือน) โดยเริ่มเรียนในภาคการศึกษาฤดูใบไม้ร่วงปี2566 (สิงหาคม-ธันวาคม2566) หรือฤดูใบไม้ผลิปี2567 (มกราคม-พฤษภาคม2567) โครงการนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาไทยที่มีผลการเรียนดีและมีความเป็นผู้นำได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการเพื่อเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ โดยโครงการมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำ ตลอดจนเรียนรู้ชีวิต สังคม วัฒนธรรมและสถาบันอุดมศึกษาในสหรัฐฯ ประโยชน์ที่ผู้รับทุน Global UGRAD จะได้รับ ได้รับทุนแลกเปลี่ยนเต็มจำนวนจาก Bureau of Educational and Cultural Affairs (ECA) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ โดยมี World Learning (สหรัฐอเมริกา) และฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เป็นผู้บริหารทุนการศึกษา เข้าเรียนในหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันอุดมศึกษา และพักร่วมกับเพื่อนนักศึกษาชาวอเมริกันหรือครอบครัวชาวอเมริกัน ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชนเป็นเวลา20ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา และร่วมประชุมสัมมนากับผู้รับทุน Global UGRAD จากประเทศอื่นๆ ในหัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำและทักษะในการทำงาน ในกรณีที่ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ของโครงการ ทางคณะกรรมการจะพิจารณาให้ผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกเข้าอบรมภาษาอังกฤษก่อนรับทุน ได้รับการประสานงานในภาพรวม การปฐมนิเทศ และการดูแลจากฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และมีโอกาสสร้างเครือข่ายกับผู้ได้รับทุนท่านอื่นๆ ที่จะเดินทางไปในปีเดียวกัน รวมถึงศิษย์เก่าของโครงการชาวไทยและอเมริกัน ผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Global UGRAD และศึกษาคุณสมบัติและขั้นตอนการสมัครได้ที่ http://www.worldlearning.org/ugrad คุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุ18ปีขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับสมัครและต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมจนถึงปัจจุบันตั้งแต่2.50ขึ้นไป นักศึกษาที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย แต่สามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถสมัครขอรับทุนนี้ได้ ผู้สมัครต้องเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี โดยจะต้องเหลือระยะเวลาอย่างน้อย1ภาคการศึกษาก่อนจบการศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการเข้าร่วมโครงการและกลับจากสหรัฐฯ แล้ว (นักศึกษาไม่สามารถเข้าร่วมโครงการGlobal UGRADในภาคเรียนสุดท้าย เนื่องจากต้องกลับมาเรียนและจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทย) นักศึกษาในทุกสาขาวิชาสามารถสมัครได้ ทั้งนี้ ในบางสาขาวิชา เช่น นิติศาสตร์ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ใช้ในการทดลอง อาจจะมีข้อจำกัดในการลงเรียนวิชาเอกตามสาขาข้างต้น หากได้รับการคัดเลือกให้ร่วมโครงการ นักศึกษาอาจต้องลงเรียนในวิชาอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิชาเอกแทน มีผลการเรียนดี มีภาวะผู้นำ ทำกิจกรรมเพื่อชุมชนหรือกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยมีประสบการณ์หรือมีประสบการณ์น้อยมากในการเดินทางหรือรับทุนไปต่างประเทศ ทั้งในสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ต้องได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมโครงการจากผู้ปกครอง และมหาวิทยาลัยต้นสังกัดที่ผู้สมัครกำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและเอกสารครบถ้วน เงื่อนไข ทุนGlobal UGRADเป็นทุนที่ไม่มีปริญญา แต่อาจโอนถ่ายหน่วยกิตได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยต้นสังกัดของผู้สมัคร โดยผู้สมัครต้องรับผิดชอบการดำเนินการทั้งหมดเอง ผู้ได้รับทุนจะต้องเดินทางกลับทันทีหลังจากสิ้นสุดโครงการ ผู้ได้รับทุนไม่สามารถเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าร่วมโครงการได้ โดยทางWorld Learningเป็นผู้ดำเนินการเลือกมหาวิทยาลัยให้ตามความเหมาะสม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นผู้ตัดสินการคัดเลือกผู้สมัคร เอกสารสำคัญที่ต้องอัปโหลดขึ้นบนลิงก์ด้านล่าง ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 มีดังต่อไปนี้ https://webportalapp.com/sp/closed/ugrad_student_application_2023 จดหมายแนะนำ/สนับสนุนเป็นภาษาอังกฤษ (Letter of Recommendation) 2 ฉบับ โดยใช้แบบฟอร์มที่ดาวน์โหลดได้จากระบบ ฉบับที่1รับรองโดยอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์มหาวิทยาลัยในสาขาวิชาเอกที่นักศึกษากำลังเรียน/เคยเรียนด้วย ฉบับที่2รับรองโดยบุคคลอื่นที่นักศึกษาเคยร่วมงานด้วย เช่น หัวหน้างานที่เคยฝึกงาน โค้ช หรือหัวหน้าฝ่ายการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย (เพื่อนหรือบุคคลในครอบครัวไม่สามารถออกจดหมายแนะนำ/สนับสนุนได้) สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง ในกรณีที่ไม่มีหนังสือเดินทาง ให้แนบสำเนาบัตรประชาชนแทน และเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ภาษาอังกฤษฉบับจริงที่ออกโดยมหาวิทยาลัย มีลายเซ็นผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและตรามหาวิทยาลัยกำกับ (ผู้สมัครไม่ต้องเซ็นรับรองเนื่องจากเป็นเอกสารฉบับจริง) เรียงความภาษาอังกฤษ2ข้อ ตามหัวข้อที่ระบบกำหนด ข้อละ450-600คำ สำเนาเอกสารคะแนนTOEFLหรือIELTSที่ยังไม่หมดอายุ (ถ้ามี) และรับรองสำเนาถูกต้อง ขั้นตอนการสมัคร เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน–15 ธันวาคม 2565 ผู้สนใจสมัครชิงทุน Global Undergraduate Exchange Program (Global UGRAD) สามารถดาวน์โหลดระเบียบการและข้อแนะนำการกรอกใบสมัครได้จากเว็บไซต์ https://www.worldlearning.org/program/global-undergraduate-exchange-program/ และกรอกใบสมัครแบบออนไลน์ พร้อมอัปโหลดเอกสารสำคัญข้างต้นเข้าระบบ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของ World Learning ได้ที่ https://webportalapp.com/sp/closed/ugrad_student_application_2023 หากเลยกำหนดแล้ว ระบบจะปิดการรับสมัคร และผู้สมัครจะไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูล หรือพิมพ์เอกสารของตนเองได้ สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย สงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาใบสมัครที่ไม่สมบูรณ์ หรือใบสมัครที่นำมายื่นด้วยตนเอง ตารางการดำเนินงาน (วันและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) 1 พฤศจิกายน 2565 เปิดรับสมัครทุน 2023-2024 Global Undergraduate Exchange Program ทางออนไลน์ 15 ธันวาคม 2565 ปิดรับสมัครในระบบ 18 มกราคม 2566 ฝ่ายสื่อมวลชน และวัฒนธรรม สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ส่งลิงก์ Zoom เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์ให้แก่ผู้ได้รับการคัดเลือกสัมภาษณ์ 1 กุมภาพันธ์ 2566 สอบสัมภาษณ์ทาง Zoom 28 มีนาคม 2566 ผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานะได้รับ/ไม่ได้รับคัดเลือกใน https://webportalapp.com/sp/closed/ugrad_student_application_2023 7 เมษายน 2566 ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายสอบ TOEFL iBT (รายละเอียดจะแจ้งในภายหลัง) กรกฎาคม 2566 ผู้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการปฐมนิเทศก่อนเดินทาง สิงหาคม-ธันวาคม 2566 นักศึกษาเดินทางไปยังสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมโครงการในภาคการศึกษาฤดูใบไม้ร่วง มกราคม-พฤษภาคม 2567 นักศึกษาเดินทางไปยังสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมโครงการในภาคการศึกษาฤดูใบไม้ผลิ หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อ Usawadee@fan.gov โดยระบุหัวข้อ “Global UGRAD 2023-2024” โดย U.S. Embassy Bangkok | 2 พฤศจิกายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, ทุนการศึกษาและโครงการแลกเปลี่ยน
The Global Undergraduate Exchange Program (Global UGRAD) provides a diverse group of emerging student leaders with a scholarship for one semester of non-degree academic study at a U.S. college or university. Global UGRAD is a program of the Bureau of Educational and Cultural Affairs of the United States Department of State and aims to recruit participants from underrepresented backgrounds who have not had other opportunities to study in the United States. Successful applicants can expect an in-depth exposure to U.S. society, culture, and academic institutions, as well as opportunities to enhance their professional skills. The Global Undergraduate Exchange Program is a fully funded academic and cultural exchange program designed to increase participants’ knowledge and global connectivity. Global UGRAD participants come from 60+ countries and study for a semester at universities across the United States. After the program, participants are higher-achieving students, stronger leaders, and more actively engaged in their communities. All participants will be enrolled in full-time, non-degree, undergraduate coursework chosen from their host institution’s existing curriculum. Participants will be required to take one, 3-credit U.S. studies course to enhance their understanding of the United States. Participants will live in campus housing facilities with American peers and will be required to participate in twenty hours of community service. There will also be a virtual arrival orientation and an in-person end-of-program workshop. Eligibility: Applicants must be a Thai citizen for the Global UGRAD Program. Applicants must be studying in Thailand. Scholarships will be granted to students who currently are enrolled in full-time undergraduate programs only, having completed a minimum of their first semester of study. Participants must have at least one semester or an equivalent term to complete at their home institutions upon completion of the Global UGRAD Program. Applicants should demonstrate leadership potential through academic work, community involvement, and extracurricular activities. Applicants must achieve a minimum TOEFL score of 48iBT. Preference will be given to those who have had little or NO experience in the United States or outside of their home countries. Applicants are required to return directly to Thailand after the completion of the program. Applicants are over 18 years of age. Application and Program Timeline: Undergraduate students from all fields of study are encouraged to apply. Applications will be accepted from November 1, 2022, to December 15, 2022 for the 2023-2024 academic year. Application can be found at https://webportalapp.com/sp/closed/ugrad_student_application_2023. Participants will be placed at a U.S. university in either the fall 2023 semester (August to December 2023) or spring 2024 semester (January to May 2024). Application Deadline: December 15, 2022 Only shortlisted candidates will be contacted for an interview. The interviews will take place on February 1, 2023 via Zoom. We will notify finalists of their acceptance into the program by April 2023. For questions, please send an email to Usawadee@fan.gov with “Global UGRAD Inquiry”. By U.S. Embassy Bangkok | 2 November, 2022 | Topics: News, Scholarships and Exchanges
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: โครงการผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Youth Leadership Program) ประจำปี 2566 หมดเขตรับสมัคร: วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย สมัครเข้าร่วมโครงการผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Youth Leadership Program หรือ SEAYLP) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 7-28 เมษายน 2566 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะคัดเลือกเยาวชนจำนวน 60 คน จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน เข้าร่วมโครงการ สำหรับประเทศไทย จะมีนักเรียน 5 คน ได้รับคัดเลือกให้ร่วมโครงการ โครงการผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะใช้แนวทางการฝึกอบรมเชิงปฏิสัมพันธ์ ทั้งในรูปแบบของการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดกิจกรรมสาธารณะและกิจกรรมในชุมชน การร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนมัธยมปลาย องค์กรชุมชน กลุ่มเยาวชน และผู้นำชุมชนของสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทายที่สหรัฐฯ และอาเซียนกำลังเผชิญในศตวรรษที่ 21 โครงการแลกเปลี่ยนแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การปฐมนิเทศที่กรุงเทพฯ ก่อนการเดินทางไปสหรัฐฯ 2) โครงการแลกเปลี่ยนระยะเวลา 3 สัปดาห์ ในสหรัฐฯ ที่ให้โอกาสนักเรียนได้เรียนรู้หลักการของการเป็นผู้นำและการทำกิจกรรมในชุมชน* และ 3) กิจกรรมหลังเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะร่วมกันทำกิจกรรมหรือโครงการในชุมชนบ้านเกิดของตน โครงการแลกเปลี่ยนนี้จะมีเนื้อหาเข้มข้น เป็นวิชาการ และมีการปฏิสัมพันธ์สูง โดยมองหาผู้สมัครที่มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาความสามารถของตนในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียนและชุมชนของตน โครงการแลกเปลี่ยนนี้มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาเยาวชนและความเป็นผู้นำ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังจะได้ศึกษาถึงความท้าทายที่สหรัฐฯ กับประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังเผชิญร่วมกันผ่าน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ได้แก่ ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง การสร้างทักษะทางเศรษฐกิจ (ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการต่างๆ) และความเป็นผู้นำด้านประชาสังคมและวัฒนธรรม (ผ่านการลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง การประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา และการทัศนศึกษาเพื่อส่งเสริมการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ) ภายหลังเข้าร่วมโครงการที่สหรัฐฯ และเดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้ว ผู้ร่วมโครงการจะต้องร่วมกันดำเนินโครงการที่สนองตอบความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งของโรงเรียนหรือชุมชนของตนด้วย โครงการจะพิจารณาผู้สมัครที่ยังไม่เคยเดินทางไปสหรัฐฯ เป็นกรณีพิเศษ *ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทุกท่านจะต้องได้รับวัคซีนครบโดสเพื่อเดินทางเข้าร่วมโครงการที่สหรัฐฯ * * * * * * * โครงการผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง และกิจกรรมภาคประชาชนในหมู่เยาวชนที่จะเป็นผู้นำของเราในอนาคต โครงการยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้หลักการประชาธิปไตยและประชาสังคมในสหรัฐฯ และได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำในเวลาเดียวกัน ตลอดการเข้าร่วมการแลกเปลี่ยน จะมีการมุ่งเน้นอัตลักษณ์ของอาเซียนโดยแบ่งผู้ร่วมโครงการเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะประกอบไปด้วยเยาวชนจากประเทศต่างๆ เพื่อเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกจากทุกประเทศ สำหรับกิจกรรมในสหรัฐฯ ซึ่งมีทั้งการประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ ห้องเรียนการทูตเสมือนจริง การเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำ และการสร้างสัมพันธ์ในกลุ่ม ผู้ร่วมโครงการยังจะได้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียน ได้แก่ กิจกรรมอาสาสมัคร และการทัศนศึกษาองค์กรในชุมชน และจะได้อาศัยอยู่กับครอบครัวชาวอเมริกัน ตลอดจนเดินทางไปทัศนศึกษาที่เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี อีกด้วย ส่วนสำคัญของโครงการนี้ คือ การที่ผู้ร่วมจะต้องพัฒนาและดำเนินโครงการหลังจากเดินทางกลับประเทศของตน โดยโครงการเหล่านี้จะต้องสนองตอบความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งของโรงเรียนหรือชุมชนของตน เช่น การสนับสนุนการจัดตั้งสภานักเรียนหรือวิธีการอื่นๆ ที่จะทำให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของโรงเรียน การจัดทำทัศนูปกรณ์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสังคม การจัดทำโครงการหรือการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนหรือการไกล่เกลี่ยภายในกลุ่ม การร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสา หรือการสนับสนุนกิจกรรมที่ช่วยให้สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับเยาวชนมากขึ้น ผู้ร่วมโครงการทุกคนจะต้องดำเนินโครงการเหล่านี้จนเสร็จสิ้น รายละเอียดอื่นๆ ที่ควรทราบ ค่าใช้จ่ายที่โครงการรับผิดชอบ: รัฐบาลสหรัฐฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัย Northern Illinois University (NIU) จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางภายในสหรัฐฯ การเดินทางไปและกลับจากสหรัฐฯ กิจกรรมร่วมกับศิษย์เก่าโครงการ ที่พัก อาหาร ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมของโครงที่จัดขึ้นในประเทศ (ซึ่งรวมถึงค่าเดินทางภายในประเทศเพื่อสัมภาษณ์ขอวีซ่า และ/หรือการปฐมนิเทศก่อนเริ่มเดินทาง) ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายในประเทศ และค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายที่ผู้เข้าร่วมรับผิดชอบ: ผู้ร่วมโครงการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสมัครเข้าร่วมโครงการ (ค่าถ่ายสำเนาเอกสาร ค่าไปรษณียากร ค่ารูปถ่าย ฯลฯ) ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง ค่าของที่ระลึก ค่าโทรศัพท์ และค่าซื้อของใช้ส่วนตัวระหว่างที่อยู่ในสหรัฐฯ วีซ่า: ผู้ร่วมโครงการจะได้รับอนุมัติวีซ่าประเภทโครงการแลกเปลี่ยน เจ-1 ผู้ที่ได้รับวีซ่าประเภทนี้ต้องเดินทางกลับประเทศภูมิลำเนาและต้องพำนักอยู่ในประเทศเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ก่อนที่จะมีสิทธิ์ขอวีซ่าถาวรหรือวีซ่าทำงานชั่วคราวในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ผู้ได้รับวีซ่า เจ-1 ยังมีสิทธิ์ขอวีซ่าประเภทอื่นได้ เช่น วีซ่านักเรียนเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ เป็นต้น คุณสมบัติของผู้สมัครร่วมโครงการ มีสัญชาติไทย อาศัยและศึกษาอยู่ในประเทศไทยขณะยื่นใบสมัคร (ผู้สมัครที่ถือทั้งสัญชาติไทยและสหรัฐฯ จะไม่ได้รับการพิจารณา) เกิดระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2549 ถึง 1 เมษายน 2551 กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย และจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2567 หรือปีการศึกษาหลังจากนั้น มีทักษะภาษาอังกฤษดี ยังไม่เคยเดินทางไปสหรัฐฯ ได้รับอนุญาตจากทั้งผู้ปกครองและโรงเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ มีผลการเรียนและทักษะทางสังคมดี แสดงความเป็นผู้นำในโรงเรียนหรือชุมชน มีความสนใจหรือความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนที่จะอาสาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน มีความริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะสื่อสารที่ มีทัศนคติเชิงบวกและกระตือรือร้น สามารถทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้ และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ขั้นตอนการสมัคร ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการต้องกรอกใบสมัครให้ครบถ้วน พร้อมแนบจดหมายแนะนำ 2 ฉบับ และสำเนาผลการเรียนล่าสุดที่ https://forms.gle/9jew3CkecWzNVBE37 สำหรับจดหมายแนะนำ (letter of recommendation) ผู้สมัครต้องแนบจดหมายแนะนำ 2 ฉบับ พร้อมกับใบสมัคร เป็นจดหมายจากอาจารย์วิชาภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ และจากอาจารย์ประจำวิชาหรือเจ้าที่หน้าที่ของโรงเรียน อีก 1 ฉบับ ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์รับเฉพาะใบสมัครซึ่งส่งมาภายในเที่ยงคืนของวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565 โดยระบบของแบบฟอร์ม Google จะบันทึกวันเวลาที่ส่งใบสมัคร ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ จะใช้ระบุว่าผู้สมัครส่งใบสมัครเข้ามาภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่ โดยจะไม่พิจารณาใบสมัครที่ส่งเข้ามาเกินกำหนดเวลา และไม่รับใบสมัครที่นำมายื่นด้วยตนเอง ฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรมจะติดต่อไปยังผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อสอบสัมภาษณ์เท่านั้น การสัมภาษณ์จะจัดขึ้นที่แผนกสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ในวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565 โครงการจะแจ้งรายละเอียดการสัมภาษณ์ให้กับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้มาสัมภาษณ์ทราบล่วงหน้าก่อนการสอบสัมภาษณ์ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวจะต้องเดินทางมาสัมภาษณ์ด้วยตนเองเท่านั้น โครงการจะประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกและผู้ได้รับการคัดเลือกสำรองในเดือนมีนาคม 2566 หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการกรุณาติดต่อเราได้ที่ Usawadee@fan.gov พร้อมระบุหัวข้ออีเมล์ว่า “SEAYLP 2023_Questions” ขั้นตอนหลังจากนั้น นักเรียนที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์จะได้รับเอกสารการปฐมนิเทศเป็นเวลาหลายสัปดาห์ก่อนเริ่มโครงการเพื่อเตรียมตัวสำหรับการเข้าร่วมโครงการและการเดินทางไปยังสหรัฐฯ หนึ่งเดือนก่อนการเดินทาง จะมีการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมสำหรับนักเรียนและอาจารย์ที่จะร่วมเดินทางไปด้วย ในโอกาสนี้ นักเรียนและครอบครัวจะมีโอกาสซักถามฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรมเกี่ยวกับโครงการ หลังจากเดินทางกลับประเทศและในเวลาอีกหลายเดือนถัดมา นักเรียนมีหน้าที่จัดทำและดำเนินโครงการตามที่ระบุไว้ข้างต้นจนเสร็จสิ้น ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในโครงการนี้และขอให้โชคดี! โดย U.S. Embassy Bangkok | 31 ตุลาคม, 2022 | ประเภท: ทุนการศึกษาและโครงการแลกเปลี่ยน
2023 Southeast Asia Youth Leadership Program Thailand Information for Applicants Application Deadline: Wednesday, November 30, 2022 Secondary school students from Thailand are invited to apply for participation in the Southeast Asia Youth Leadership Program (SEAYLP), which will take place from April 7 to 28, 2023. The program will host 60 participants from ten countries in Southeast Asia that are members of the Association of South East Asian Nations (ASEAN). There will be five students selected to represent Thailand. The program will feature interactive workshops and sessions, including site visits to community organizations. Through engagement with U.S. high schools, community organizations, youth groups, and community leaders, student and adult mentor participants will explore challenges facing the U.S. and ASEAN in the 21st century. This is an intensive program with three segments: (1) A pre-departure orientation in Bangkok; (2) a three-week U.S.-based exchange program that will offer students and their adult mentor the opportunity to explore the principles of leadership and community activism in the United States*; and (3) follow-on activities related to participants conducting projects in their home communities. The program will be intensive, academic, and highly interactive. The program sponsors seek energetic applicants who are ready to develop their skills in order to be effective leaders in their schools and communities. The program focuses on leadership and youth development. It will also allow participants to explore shared challenges faced by the United States and ASEAN member countries. These challenges are explored through the three pillars of the ASEAN community: political and security cooperation, economic skills-building (through the exchange’s project development), and socio-cultural leadership (through hands-on activities, workshops, seminars, and site visits to foster greater communication). Participants will develop projects to address the needs of their communities upon their return home. Preference will be given to participants who have not traveled to the United States. *Note: All selected candidates are required to be fully vaccinated for the in-person program in the United States. * * * * * * * This program is designed to promote high-quality leadership, civic responsibility, and civic activism among our countries’ future leaders. It will offer a practical examination of the principles of democracy and civil society as practiced in the United States and provide participants with training that allows them to develop their leadership skills. The 2023 SEAYLP will emphasize ASEAN identity by organizing into multi-country teams to enhance cross-cultural experience wherever possible across the country cohorts. Exchange activities in the United States will include workshops, interactive sessions, diplomacy simulations, leadership training, and team-building exercises. Extracurricular activities round out the program with volunteer service opportunities as well as site visits with relevant organizations in host communities. All participants will have homestays with American families and study tours to Chicago, IL, and Washington, D.C. An important part of the program is the students’ development and implementation of projects upon their return home. These projects will respond to a need in their schools or communities. Examples include supporting student government or other means of student involvement in the decision-making process in schools, producing visual materials that share information on social issues, developing peer-support or peer-mediation programs or workshops, cooperating with local NGOs trying to develop a spirit of volunteerism, or supporting activities that help increase media coverage of youth issues. All participants will be expected to complete these follow-on projects. What else do I need to know? Covered Expenses: If you are selected for the program, the United States government, in conjunction with Northern Illinois University (NIU), will pay for domestic transportation, international transportation to and from the United States, alumni activities, lodging, stipends, in-country program related expenses (including domestic travel for visa interviews and/pr pre-departure orientation), in-country lodging and expenses, and accident and sickness coverage. Personal Expenses: Participants are responsible for expenses related to the application process (copying, mailing, photographs, etc.), passport fees, and spending money for souvenirs, telephone calls, and other personal items in the United States. Visas: Participants will travel to the United States on J-1 exchange visitor visas provided through this program. By accepting this visa, participants will be subject to a two-year home residency requirement, meaning they must return to and live in their home country for a total of two years before they would be eligible for an immigrant or temporary worker U.S. visa. This does not restrict other types of visas, however, so this would not prevent you from being able to apply for a student visa to attend university, for example. Who is eligible to apply? Student applicants must Be a Thai citizen currently residing and studying in Thailand (applicants with dual U.S. citizenship will not be considered); Be born between April 1, 2006 to April 1, 2008 Be a high school student and have a high school graduation year of 2024 or later; Have proficiency in English; Have not traveled to the United States Have permission from both parent(s)/guardian(s) and schools to participate in the entire program. What are the criteria for selection? Students will be evaluated on their ability to demonstrate the following characteristics: Have strong academic and social skills, leadership potential, an interest in or a commitment to civic action and community service; Be initiative, have good communication, and an energetic, positive attitude; Possess the ability to work cooperatively in a team and tolerate the opinions of others; How do I apply? Complete an application form along with two letters of recommendation (one from an English teacher, and the other from subject teacher and/or school official), and your most recent transcript, by filling out the application form at https://forms.gle/9jew3CkecWzNVBE37 Your complete package must be received by midnight of Wednesday, November 30, 2022. Submission via Google form will automatically log the date and time an application submission is made. The U.S. Embassy will use this information to determine whether an application has been submitted on time. Late applications are neither reviewed nor considered. We do not accept applications submitted by hand. Based on the criteria above, as demonstrated in the application, only shortlisted applicants will be contacted by the Media and Cultural Section for interviews. Interviews will take place on Wednesday, December 14, 2022 at the Media and Cultural Section, U.S. Embassy, Bangkok. Shortlisted candidates must be able to travel to the interview site. We will notify the candidates of the details of the interview before the interview date. The list of finalists and alternates will be announced in March 2023. Questions should be addressed to: Usawadee@fan.gov with the subject line “SEAYLP 2023_Questions” And after that…? Selected participants will receive orientation materials in the weeks prior to the start of the program to help prepare them for the program and their trip to the United States. A pre-departure orientation and training sessions with both students and the adult mentor will take place in the month prior to departure. Participants and their families will have an opportunity to speak with the Media and Cultural Section about the project at that time. After their return home and through the following months, participants will be responsible for completing their follow-on projects. Thank you for your interest in the program and good luck with your applications! By U.S. Embassy Bangkok | 31 October, 2022 | Topics: Scholarships and Exchanges | Tags: SEAYLP, Youth Leadership Program
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 เอกอัครราชทูตโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายอักษรสาส์นตราตั้งเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต https://th.usembassy.gov/wp-content/uploads/sites/90/100722-ambassador-godec-presented-letters-of-credence.mp4 โดย U.S. Embassy Bangkok | 11 ตุลาคม, 2022 | ประเภท: สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกอัครราชทูต
Ambassador Robert F. Godec presented his Letters of Credence to His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua as Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary to the Kingdom of Thailand at a ceremony held at Ambara Villa, Dusit Palace on October 7, 2022. https://th.usembassy.gov/wp-content/uploads/sites/90/100722-ambassador-godec-presented-letters-of-credence.mp4 By U.S. Embassy Bangkok | 11 October, 2022 | Topics: Ambassador, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารจากที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ เจค ซัลลิแวน กรณีกราดยิงในประเทศไทย สหรัฐอเมริกาสะเทือนใจต่อกรณีกราดยิงอันน่าสลด ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดหนองบัวลำภู ประเทศไทย ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความเศร้าโศกเกินพรรณนา เราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวที่สูญเสียผู้เป็นที่รัก สหรัฐฯ ประณามการใช้ความรุนแรงดังกล่าว และพร้อมช่วยเหลือประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรที่ยืนนานของเราในทุกด้านตามต้องการ โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 ตุลาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
Statement by National Security Advisor Jake Sullivan on Shooting in Thailand The United States was horrified by the tragic shooting at a day care center in Nong Bua Lam Phu Province, Thailand. The images are heartbreaking and our deepest condolences go out to the families who lost loved ones. We condemn this act of violence and stand ready to assist our long-standing ally Thailand in whatever they need. By U.S. Embassy Bangkok | 7 October, 2022 | Topics: News, Press Releases
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี เจ. บลิงเคน กรณีกราดยิงในประเทศไทย เราเศร้าสลดอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ในจังหวัดหนองบัวลำภูที่มือปืนคร่าชีวิตคนอย่างน้อย 38 คน ซึ่งรวมถึงเด็ก 24 คน ความรุนแรงนี้ไร้ซึ่งเหตุผลและทำให้เราใจสลาย เรายืนหยัดเคียงข้างชาวไทย และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในวันนี้ สหรัฐอเมริกาพร้อมช่วยเหลือพันธมิตรชาวไทยของเราภายหลังโศกนาฏกรรมครั้งนี้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 ตุลาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, เหตุการณ์, เอกสารข่าว
Statement by Secretary Antony J. Blinken Mass Shooting in Thailand We are deeply saddened by the tragedy in Nong Bua Lam Phu Province, where a gunman took the lives of at least 38 people, including 24 children. This violence is both senseless and heartbreaking. We stand with the people of Thailand and extend our deepest condolences to those who lost their loved ones today. The United States is ready to assist our Thai allies in the wake of this tragedy. By U.S. Embassy Bangkok | 7 October, 2022 | Topics: Events, News, Press Releases, U.S. Secretary of State
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: แถลงการณ์ต่อเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในจังหวัดหนองบัวลำภู สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยสะเทือนใจอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในจังหวัดหนองบัวลำภู เรายืนหยัดเคียงข้างพี่น้องชาวไทย และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต รวมทั้งครอบครัวของพวกเขา โดย U.S. Embassy Bangkok | 6 ตุลาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, เหตุการณ์, เอกสารข่าว
Statement on the tragic event in Nong Bua Lam Phu Province The Embassy of the United States of America in Bangkok is saddened by the tragic event in Nong Bua Lam Phu Province. We stand with the people of Thailand and offer our deepest condolences to the victims and their families. By U.S. Embassy Bangkok | 6 October, 2022 | Topics: Events, News, Press Releases | Tags: Statement
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: USTDA ช่วยไทยสู้มะเร็ง องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (USTDA) ประกาศว่าได้มอบทุนช่วยเหลือแก่บริษัทอมตะ คอร์ปอเรชันจำกัด (มหาชน) ของไทย เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาศูนย์มะเร็งระดับภูมิภาคใน จ.ชลบุรี ความช่วยเหลือของUSTDA ในครั้งนี้จะขับเคลื่อนเป้าประสงค์ของ บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน และประเทศไทยในการช่วยให้ผู้คนหลายแสนคนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างเข้าถึงการดูแลรักษามะเร็งระดับโลกได้ “การปรับปรุงการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพเป็นหนึ่งในประเด็นที่USTDA ให้ความสำคัญในประเทศไทยและเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่นๆ ทั่วโลก” อีโนที.อีบอง ผู้อำนวยการUSTDA กล่าว “โครงการนี้จะช่วยให้บริษัทสหรัฐฯ มีโอกาสมากมายในการนำเสนอบรรดาเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ล้ำสมัยซึ่งศูนย์มะเร็งต้องการ” การศึกษาของUSTDA จะช่วยให้ บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน มีข้อมูลและผลการวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาศูนย์มะเร็งแห่งใหม่ในระยะต่างๆ โดยศูนย์แห่งนี้จะช่วยผลักดันความมุ่งหมายของไทยในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังเป็นส่วนแรกของการพัฒนาโครงการ “เมดิทาวน์” แบบครบวงจรของอมตะด้วย “การสนับสนุนอย่างเต็มที่จากUSTDA ควรแก่เวลา เนื่องจากเป็นหมุดหมายสำคัญสู่การพัฒนาศูนย์กลางทางการแพทย์และชีววิทยาศาสตร์ของไทย ร่วมกับภาคีทางยุทธศาสตร์ของเรา นั่นคือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) และโรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล และเราตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานกับภาคีศูนย์มะเร็งระดับโลกในสหรัฐฯ ด้วย” วิกรมกรมดิษฐ์ ประธาน บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน กล่าว ลีน่า อึ้ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน เสริมว่า “ศูนย์แห่งนี้จะให้บริการด้านการแพทย์ระดับโลกผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติกับผู้นำอุตสาหกรรมด้านสำคัญๆ เช่น การผลิตยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และการวิจัย สหรัฐฯ มีความเป็นเลิศระดับสากลในฐานะผู้นำด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพันธุกรรมบำบัดและเซลล์บำบัด การศึกษาครั้งนี้จะยกระดับความร่วมมือของเรากับผู้ให้บริการชั้นนำด้านการดูแลรักษามะเร็งของสหรัฐฯ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งในเอเชียเข้าถึงวิธีการรักษาใหม่ๆ ได้มากขึ้น” อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เกว็น คาร์ดโน กล่าวว่า “โรคระบาดใหญ่แสดงให้เราทั้งหลายเห็นแล้วว่า การให้การดูแลทางการแพทย์ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับสูงสุด และการดูแลผู้ป่วยมะเร็งก็เช่นเดียวกัน ด้วยการดำเนินงานผ่านUSTDAรัฐบาลสหรัฐฯ ภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกับไทยเพื่อส่งเสริมโซลูชันอันทันสมัยของสหรัฐฯ ในการดูแลรักษาโรคมะเร็งเพื่อเสริมสร้างระบบสุขภาพของไทย” ความช่วยเหลือที่USTDA มอบให้แก่ บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน จะขับเคลื่อนหนึ่งในเสาหลักของกรอบความร่วมมือ Partnership for Global Infrastructure and Investment ภายใต้รัฐบาลไบเดน-แฮร์ริส ซึ่งมุ่งเสริมสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพโลกผ่านการลงทุนในบริการสาธารณสุขที่เน้นผู้รับบริการ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อฟื้นฟูโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศในพื้นที่ จ.ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา บริษัทของสหรัฐฯ ที่สนใจส่งข้อเสนอสำหรับโครงการศึกษาความเป็นไปได้นี้ สามารถดูข้อมูลได้ที่ www.ustda.gov/work/bid-on-an-overseas-project โดย U.S. Embassy Bangkok | 26 กันยายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
USTDA Assists Thailand’s Fight Against Cancer The U.S. Trade and Development Agency announced it awarded a grant to Thailand’s AMATA Corporation Public Company Limited (AMATA) for a feasibility study to develop a regional oncology center in Chonburi Province. USTDA’s assistance will advance AMATA’s and Thailand’s goal of providing access to world-class cancer treatment to hundreds of thousands of people across the Lower Mekong Region. “Improving access to quality healthcare is one USTDA’s top priorities in Thailand and other emerging economies around the world,” said Enoh T. Ebong, USTDA’s Director. “This project will offer significant opportunities for U.S. companies to offer the kinds of highly innovative healthcare technologies that the center will require.” USTDA’s study will provide AMATA the necessary data and analysis for the phased implementation of a new oncology center that will advance Thailand’s aspiration to be a medical hub in Southeast Asia. The center would be the first part of the broader “Meditown” hub project that AMATA is developing. “The strong support from USTDA is very timely, as this represents an important milestone toward developing Thailand’s medical and life sciences hub with our strategic partners, namely, the Thailand Center of Excellence for Life Science and Siriraj Hospital of Mahidol University. We look forward to working with world-class oncology center partners from the United States, as well,” said Vikrom Kromadit, Chairman of AMATA. AMATA Chief Investment Officer, Lena Ng, added: “The hub will provide world-class medical services through international collaboration with industry leaders across key areas such as pharmaceuticals, medical equipment, and research. The United States has excelled globally as a leader in healthcare and life sciences, especially in gene and cell therapy. This study will catalyze our collaboration with leading U.S. oncology service providers to enhance access to breakthrough treatments for cancer patients in Asia.” Chargé d’Affaires at the U.S. Embassy in Bangkok, Gwen Cardno, said: “As the pandemic has shown us, healthcare requires international cooperation at the highest levels, and that’s certainly applicable for cancer treatment. Through USTDA, the U.S. government is proud to work together with Thailand to promote innovative U.S. solutions for cancer treatment to strengthen its health system.” USTDA’s assistance to AMATA advances one of the key pillars of the Biden-Harris Administration’s Partnership for Global Infrastructure and Investment, which aims to strengthen global health security through investments in patient-centered health services. It also advances Thailand’s 4.0 scheme to revitalize the country’s eastern seaboard, including Rayong, Chonburi, and Chachoengsao provinces. U.S. businesses interested in submitting proposals for this feasibility study should visit www.ustda.gov/work/bid-on-an-overseas-project. By U.S. Embassy Bangkok | 26 September, 2022 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: USTDA ช่วยไทยออกแบบเมืองอัจฉริยะ วันนี้ องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (USTDA) มอบทุนช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ของไทย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะในด้านต่างๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของภูเก็ต “ไทยมีเป้าหมายที่มุ่งมั่นในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และ USTDA ภูมิใจที่ได้จับมือกับดีป้าและหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ตเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย” อีโน ที. อีบอง ผู้อำนวยการ USTDA กล่าว “การช่วยภูเก็ตปรับใช้โซลูชันที่ใหม่ล้ำสมัยเหล่านี้จะเป็นผลดีกับคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายล้านคนที่มาเยือนในแต่ละปี งานของเรายังจะช่วยให้บริษัทของสหรัฐฯ มีโอกาสมอบเทคโนโลยีและบริการที่ตรงตามความต้องการของภูเก็ตอีกด้วย” ความช่วยเหลือของ USTDA จะช่วยพัฒนาข้อกำหนดทางเทคนิคและกลยุทธ์ที่ละเอียดถี่ถ้วนสำหรับการยกระดับแพลตฟอร์มจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองภูเก็ต (Phuket City Data Platform) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนานวัตกรรมข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารเมืองและการให้บริการประชาชน ความช่วยเหลือนี้จะเสริมสร้างศักยภาพศูนย์บัญชาการและรวบรวมข้อมูล (Command Center) ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ที่สำคัญของภูเก็ต ซึ่งรวมไปถึงระบบควบคุมการจราจรและการแจ้งเหตุฉุกเฉิน โครงข่ายไฟเบอร์ออปติก เซิร์ฟเวอร์ข้อมูล การโอนย้ายข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเครือข่าย 5G “โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลที่สดใส และก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่ชาวไทย ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความพยายามของไทยในการเสริมสร้างภาคการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชาญฉลาด และมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น” อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เกว็นโดลิน เจ. คาร์ดโนกล่าว “ความเป็นหุ้นส่วนกับสหรัฐฯ ช่วยให้ไทยสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากนวัตกรรมอเมริกันที่สั่งสมมานานหลายทศวรรษและประสบความสำเร็จในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนี้ได้” ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการของดีป้า กล่าวว่า “ด้วยการทำงานกับดีป้าอย่างใกล้ชิด ภูเก็ตดำเนินงานเชิงรุกในการนำโซลูชันด้านเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดี ตลอดจนความสามารถในการเติบโตทางเศรษฐกิจของพลเมืองและผู้มาเยือนภูเก็ต ด้วยการสนับสนุนทั้งจาก USTDA และหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต เราเชื่อมั่นว่า ความช่วยเหลือด้านเทคนิคนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลโดยมีพลเมืองเป็นศูนย์กลางในระยะยาว รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย” ภูเก็ตเป็นจังหวัดบนเกาะทางใต้ของไทยในทะเลอันดามัน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ โดยต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 10 ล้านคนทุกปี อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 26 สมาชิกทางการของเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network) ซึ่งเป็นเวทีความร่วมมือเพื่อให้บรรดาเมืองจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ทำงานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาเมืองที่ชาญฉลาดและยังยืนร่วมกัน โครงการนี้ช่วยให้เป้าหมายของกรอบความร่วมมือ Partnership for Global Infrastructure and Investment (PGII) รุดหน้าเพื่อพัฒนาและนำเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยมาใช้ เพื่อเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและอำนวยให้เกิดสังคมดิจิทัลที่เปิดกว้าง บริษัทของสหรัฐฯ ที่สนใจส่งข้อเสนอโครงการเพื่อรับทุนช่วยเหลือด้านเทคนิคจาก USTDA สามารถดูข้อมูลได้ที่ www.ustda.gov/work/bid-on-an-overseas-project ดาวน์โหลดรูปภาพได้ที่นี่ ข้อมูลเกี่ยวกับทุนช่วยเหลือของ USTDA ภาพรวมการทำงานขององค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย เอกสารข้อมูล: ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา อรุณ เวนคาทรามันนำคณะผู้แทนด้านธุรกิจสาธารณสุขเยือนไทย ### องค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา(U.S. Trade and Development Agency)หรือUSTDAช่วยให้เกิดการสร้างงานในบริษัทของสหรัฐฯผ่านทางการส่งออกสินค้าและบริการให้แก่โครงการด้านการพัฒนาที่สำคัญๆในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่USTDAเชื่อมโยงธุรกิจของสหรัฐฯกับโอกาสการส่งออกโดยให้เงินสนับสนุนกิจกรรมการเตรียมการดำเนินงานในโครงการและการสร้างความเป็นหุ้นส่วนซึ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศภาคี สื่อมวลชนสามารถสอบถามข้อมูลได้จาก Paul Marin | (703) 875-4357 โดย U.S. Mission Thailand | 19 กันยายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกสารข่าว
USTDA Helps Thailand Design Smart Cities Today, the U.S. Trade and Development Agency awarded a technical assistance grant to Thailand’s Digital Economy Promotion Agency (DEPA) to advance the development of smart city projects and critical information and communications technology (ICT) infrastructure for Phuket. “Thailand has an ambitious smart cities agenda, and USTDA is proud to partner with DEPA and the Phuket Provincial Government to achieve their goals,” said Enoh T. Ebong, USTDA’s Director. “By helping Phuket deploy these innovative and cutting-edge solutions, we will have a positive impact on the lives of the Thai people and millions of international tourists who visit each year. Our work will also help create opportunities for U.S. companies to supply the kinds of technologies and services that meet Phuket’s specific needs.” USTDA’s assistance will help develop technical requirements and a detailed strategy for the buildout of the Phuket Smart City Data Platform, a tool that leverages data and technology innovations to improve the efficiency and effectiveness of city management and citizen services. The assistance will facilitate the upgrade of Phuket’s integrated operations center capabilities and core ICT infrastructure, including traffic control and emergency communications systems, fiberoptic networks, data servers, cloud migration, cybersecurity, and 5G. “This project is a great example of how the U.S.-Thai partnership can stimulate a vibrant digital economy and provide direct benefits for Thais, while contributing to Thailand’s efforts to build a greener, smarter, and higher-value tourism sector,” said Gwendolyn J. Cardno, Chargé d’Affaires at the U.S. Embassy in Bangkok. “With the United States as a partner, Thailand can benefit from decades of American innovation and thrive in this era of digital transformation.” DEPA President and Chief Executive Officer, Dr. Nuttapon Nimmanphatcharin, added: “Working closely with DEPA, Phuket has been proactive in adopting purposeful technological solutions to improve the well-being and economic viability of its citizens and visitors. Thanks to the strong support of both USTDA and the Phuket Provincial Government, we are confident that this technical assistance will lead to a long-term citizen-centric digital transformation and strengthen ties among all parties involved.” Phuket, an island province located in southern Thailand on the Andaman Sea, is one of the top tourist destinations in Southeast Asia, welcoming more than 10 million visitors per year.Phuket is one of the 26 official members of the ASEAN Smart Cities Network, a collaborative platform where cities from the ten ASEAN Member States work towards the common goal of smart and sustainable urban development. This activity advances the goals of Partnership for Global Infrastructure and Investment (PGII) to develop and deploy secure information and communications technology networks and infrastructure to catalyze economic growth and facilitate open digital societies. U.S. businesses interested in submitting proposals for the USTDA-funded technical assistance should visit www.ustda.gov/work/bid-on-an-overseas-project. Download Photos Information on USTDA’s Grant Overview of USTDA’s program in Thailand One-pager on U.S. Commerce Department Assistant Secretary Arun Venkataraman’s Healthcare Mission Thailand ### The U.S. Trade and Development Agency helps companies create U.S. jobs through the export of U.S. goods and services for priority infrastructure projects in emerging economies. USTDA links U.S. businesses to export opportunities by funding project preparation and partnership building activities that develop sustainable infrastructure and foster economic growth in partner countries. MEDIA INQUIRIES: Paul Marin | (703) 875-4357 By U.S. Embassy Bangkok | 19 September, 2022 | Topics: Events, News, Press Releases, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: การลงนามมอบทุนช่วยเหลือในโครงการเมืองอัจฉริยะภูเก็ต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 19 กันยายน 2565 ข้อมูลเกี่ยวกับทุนช่วยเหลือของ USTDA เกี่ยวกับ USTDA USTDA หรือองค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (U.S. Trade and Development Agency) เป็นหน่วยงานด้านการวางแผนโครงการระหว่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งมอบเครื่องมือเตรียมความพร้อม (ทุนช่วยเหลือเพื่อการศึกษาความพร้อมของโครงการ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค และโครงการนำร่อง) ให้แก่โครงการต่าง ๆ ตามคำขอ รวมถึงดำเนินโครงการพัฒนาความร่วมมือ (โครงการ Reverse Trade Mission การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการฝึกอบรมต่าง ๆ) เพื่อช่วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในไทยยกระดับการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ตลอดจนเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีและผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้จากสหรัฐฯ ทุนช่วยเหลือที่ USTDA มอบให้แก่ภูเก็ตใช้ทำอะไรบ้าง USTDA มอบทุนช่วยเหลือให้แก่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) มูลค่า 839,420 เหรียญสหรัฐ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการพัฒนาข้อกำหนดทางเทคนิคและกลยุทธ์ที่ละเอียดถี่ถ้วนสำหรับการยกระดับแพลตฟอร์มจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองภูเก็ต (Phuket City Data Platform) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนานวัตกรรมข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารเมืองและการให้บริการประชาชน ความช่วยเหลือนี้จะเสริมสร้างศักยภาพศูนย์บัญชาการและรวบรวมข้อมูล (Command Center) ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่สำคัญของภูเก็ต ซึ่งรวมไปถึงระบบควบคุมการจราจรและการแจ้งเหตุฉุกเฉิน โครงข่ายไฟเบอร์ออปติก เซิร์ฟเวอร์ข้อมูล การโอนย้ายข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเครือข่าย 5G ทุนช่วยเหลือส่งเสริมนโยบาย Thailand 4.0 และการเป็นผู้นำในอาเซียนอย่างไร ภูเก็ตเป็น 1 ใน 26 สมาชิกทางการของเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network หรือ ASCN) ซึ่งเป็นเวทีความร่วมมือเพื่อให้บรรดาเมืองจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ทำงานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาเมืองที่ชาญฉลาดและยั่งยืนร่วมกัน โครงการ Phuket Smart City Data Platform ที่ได้รับทุนช่วยเหลือจาก USTDA นี้เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของไทยภายใต้กรอบการทำงาน ASCN และเป็นกรณีอ้างอิงสำหรับเมืองอื่นๆ อีกหลายเมืองในไทยและภูมิภาคอาเซียน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นวาระระดับชาติ และให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้าง “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ทั่วประเทศไทย ภายใต้กรอบนโยบายที่ครอบคลุมนี้ เมืองอัจฉริยะถือเป็นการลงทุนสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาระดับประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งเป็นกรอบยุทธศาสตร์ระยะยาวที่จะนำไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ กำหนดแผนการดำเนินนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งรวมถึงการเน้นความสำคัญของเมืองที่น่าอยู่และการบริหารจัดการของภาครัฐที่ดีขึ้น USTDA สนับสนุนเมืองอัจฉริยะอย่างไรบ้าง เครื่องมือเตรียมความพร้อมและโครงการพัฒนาความร่วมมือของ USTDA ทั่วโลก จะขับเคลื่อนโซลูชันที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับความท้าทายด้านโครงสร้างพื้นฐานในเมือง โดย USTDA ช่วยเมืองต่างๆ ดำเนินการต่อไปนี้ เตรียมความพร้อม – เตรียมความพร้อมโครงการอย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนด้านการเงินและการดำเนินการ นำร่อง – นำร่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ล้ำสมัย เชื่อมโยง – เชื่อมโยงเมืองเข้ากับผู้เชี่ยวชาญ แนวปฏิบัติที่ดี และทรัพยากรจากสหรัฐฯ USTDA ให้เงินสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานในเมืองที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในกว่า 30 ประเทศและกว่า 100 เมือง ซึ่งมีแผนการที่จะต่อยอดการดำเนินการเหล่านี้ผ่านกรอบความร่วมมือ Global Partnership for Climate-Smart Infrastructure ของ USTDA USTDA กำลังสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอยู่ 7 แห่งทั่วภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย: รัฐยะโฮร์ ฟิลิปปินส์: เซบูซิตี และเมืองดาเวา ไทย: จังหวัดภูเก็ต เวียดนาม: กรุงฮานอย โฮจิมินห์ซิตี และเมือง Tam Ky โครงการ Reverse Trade Mission (RTM) ของ USTDA นำเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนเดินทางไปยังสหรัฐฯ เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีของสหรัฐฯ และแนวปฏิบัติที่ดีในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โครงการเมืองอัจฉริยะอื่นๆ ของ USTDA ที่เกี่ยวข้องกับไทยมีอะไรบ้าง USTDA จัดให้คณะผู้แทนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคมของไทย เดินทางไปยังสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 19-29 กันยายน 2565 เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี บริการ และแนวปฏิบัติที่ดีและล้ำสมัยของสหรัฐฯ ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมให้ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนมากขึ้น การเดินทางครั้งนี้จะเน้นนวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในภาคคมนาคมขนส่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับเมือง ทั้งนี้ คณะผู้แทนจะเข้าร่วมการประชุม ITS World Congress ที่นครลอสแอนเจลิสด้วย การดำเนินงานของ USTDA ในไทยมีอะไรบ้าง USTDA ให้เงินสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญๆ กว่า 135 โครงการในภาคพลังงาน การคมนาคม ICT โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข และธุรกิจเกษตร USTDA มีสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียอยู่ที่กรุงเทพฯ มาเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ (ตั้งแต่ปี 2545) โดยสนับสนุนโครงการความร่วมมือกับไทยและประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการ U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership คืออะไร โครงการ S.-ASEAN Smart Cities Partnership (USASCP) เป็นโครงการริเริ่มของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อปี2561 และมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมโซลูชันที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น และครอบคลุม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการ USASCP ทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ จำนวนมาก รวมถึงภาคีในมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนโครงการและโปรแกรมต่างๆ ที่ยกระดับเมืองที่ชาญฉลาดและยั่งยืนทั่วภูมิภาคอาเซียน การมอบทุนช่วยเหลือนี้ส่งเสริมเป้าหมายของ PGII และ IPEF อย่างไร การมอบทุนครั้งนี้ส่งเสริมเสาหลักด้านดิจิทัลของกรอบความร่วมมือ Partnership for Global Infrastructure and Investment (PGII) และความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF) ของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ขยาย และใช้เครือข่าย ICT ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยเพื่อเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและอำนวยให้เกิดสังคมดิจิทัลที่เปิดกว้าง โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 กันยายน, 2022 | ประเภท: Exclude, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Phuket Smart Cities Grant Signing Bangkok, Thailand September 19, 2022 Information on USTDA’s Grant What is USTDA? The U.S. Trade and Development Agency (USTDA) is the U.S. Government’s international project planning agency. USTDA’s on-demand project preparation tools (grants for feasibility studies, technical assistance, and pilot projects) and partnership building programs (reverse trade missions, workshops, and training) are available to support public and private sector entities in Thailand to catalyze sustainable infrastructure development and connect with trusted technology and service providers from the United States. What does USTDA’s grant to Phuket provide? The value of USTDA’s grant to DEPA is USD $839,420. This grant is funding technical assistance to develop the technical requirements and detailed strategy for the buildout of the Phuket Smart City Data Platform, a tool that leverages data and technology innovations to improve the efficiency and effectiveness of city management and citizen services. The assistance will facilitate the upgrade of Phuket’s integrated operations center capabilities and core ICT infrastructure, including traffic control and emergency communications systems, fiberoptic networks, data servers, cloud migration, cybersecurity, and 5G. How does this activity support Thailand 4.0 and leadership in ASEAN? Phuket is one of the 26 official members of the ASEAN Smart Cities Network (ASCN), a collaborative platform where cities from the ten ASEAN Member States work towards the common goal of smart and sustainable urban development. The Phuket Smart City Data Platform, supported by USTDA’s grant, is one of Thailand’s feature projects identified under the ASCN framework and serves as reference case for many other cities in Thailand and ASEAN region. Smart city development in Phuket is part of the “Thailand 4.0” framework, a national agenda and economic development model that provides a countrywide focus on the use of technology to advance national ‘security, prosperity, and sustainability’ in Thailand. Under this broad framework, the smart cities have been identified as a crucial investment for achieving national development goals. The 20-year National Strategy (for 2018-2037), the long-term strategic framework steering Thailand towards achieving the UN Sustainable Development Goals, lays out a roadmap for implementation of Thailand 4.0 that includes a focus on livable cities and improved public administration. How does USTDA support smart cities? Globally USTDA’s project preparation and partnership building tools are advancing sustainable and resilient solutions and best practices for urban infrastructure challenges. USTDA helps cities to: Prepare – Properly prepare projects to support financing and implementation. Pilot – Pilot new and innovative technologies. Connect – Connect with U.S. expertise, best practices, and resources. USTDA has funded projects focused on smart, urban infrastructure in more than 30 countries and over 100 cities with plans to build on these efforts through the Agency’s Global Partnership for Climate-Smart Infrastructure USTDA is supporting seven (7) ongoing smart cities activities across the ASEAN region, including projects in: Malaysia: Johor Philippines: Cebu City, and Davao Thailand: Phuket Vietnam: Hanoi, Ho Chi Minh City, and Tam Ky City USTDA’s Reverse Trade Missions (RTMs) bring public and private sector officials to the United States for 1-2 week visits to learn about U.S. technology and industry best practices. What are other USTDA smart cities programs involving Thailand? Delegates from Thailand’s Ministry of Transportation Office of Transport and Traffic Policy and Planning will join a USTDA hosted mission to the United States on September 19-29, 2022 to familiarize Southeast Asian representatives with state-of-the-art U.S. technologies, services, and best practices to improve the safety, efficiency, and sustainability of transportation infrastructure. The mission will focus on innovations that can support the decarbonization of the transportation sector, particularly at the city level, in Southeast Asia. The delegation will attend the ITS World Congress in Los Angeles. What is USTDA’s track record in Thailand? Funding support for more than 135 major infrastructure projects with focus on energy, transportation, ICT, healthcare infrastructure and agribusiness sectors. USTDA has maintained its Asia regional office in Bangkok for over two decades (since 2002) from which it supports partnership programs with Thailand and countries across Southeast Asia. What is the U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership? The U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership (USASCP) is a Department of State led initiative launched in 2018 aimed at promoting sustainable, resilient, and inclusive solutions to advance urban quality of life in Southeast Asian cities. The USASCP works in partnership with numerous U.S. government agencies, as well as university and private sector partners, to support projects and programs that advance smart sustainable cities throughout the ASEAN region. How does this activity support PGII & IPEF objectives? This activity also supports digital pillars of the U.S. administration’s Partnership for Global Infrastructure and Investment (“PGII”) and the Indo-Pacific Economic Framework (“IPEF”) with the goal of developing, expanding, and deploying secure information and communications technology (“ICT”) networks and infrastructure to catalyze economic growth and facilitate open digital societies. By U.S. Embassy Bangkok | 19 September, 2022 | Topics: Exclude, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ภาพรวมการทำงานขององค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐฯ (USTDA) เป็นหน่วยงานส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลสหรัฐฯโดย USTDA ดำเนินงานผ่านการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ความช่วยเหลือทางเทคนิค และโครงการนำร่องต่างๆ และยังทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการในไทยกับสหรัฐฯ ผ่านการดูงานในสหรัฐฯ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการฝึกอบรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทยอีกด้วย ทาง USTDA ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของประเทศไทย เพื่อช่วยพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญ ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและแนวปฏิบัติที่ดี สร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีที่เข้มแข็งขึ้น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนของสหรัฐฯ ในประเทศไทยโดยทาง USTDA มุ่งเน้นการสนับสนุนโครงการในภาคการขนส่ง พลังงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาธารณสุข และธุรกิจทางการเกษตร ประเทศไทยเป็นหนึ่งในพอร์ตการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของ USTDA ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย USTDA ได้ให้การสนับสนุนอย่างกว้างขวางสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเสริมสร้างขีดความสามารถในด้านต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของธนาคารพานิชย์การเตือนและการจัดการเหตุภัยพิบัติการออกแบบและประเมินความปลอดภัยของสนามบินระบบนำทางทางอากาศการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าการจัดการของเสียและน้ำเสียการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์ การจัดการก๊าซธรรมชาติเหลวและการพัฒนาระบบขนส่งทางราง โดย USTDA ได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการเหล่านี้ผ่านกลไกต่างๆ รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้และความช่วยเหลือทางเทคนิค และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยตั้งแต่ปี 2524 ทาง USTDA ได้สนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญกว่า 135 โครงการในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น หลังจากภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียในปี 2547 USTDA ได้ให้ทุนสนับสนุนสำหรับการพัฒนาศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของประเทศไทย ทั้งทางด้านเทคนิค การบูรณาการระบบการจัดการ และการพัฒนาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพัฒนาศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่เปิดตัวในปี 2548 นอกจากนี้ USTDA ยังช่วยบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของไทยอย่างเช่น บริษัท ปตท. จำกัดมหาชน ในการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แห่งแรกของประเทศ ที่อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยองโดยการศึกษาความเป็นไปได้ที่ได้รับทุนจาก USTDA นี้ช่วยให้ ปตท. สามารถพัฒนาโครงการให้ได้รับเงินลงทุนและดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่สำคัญนี้ ในปี 2554 USTDA ยังให้การช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของประเทศไทย (“กฟภ”) เพื่อช่วยปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้าให้ทันสมัยให้กับลูกค้าของ กฟภ กว่า 20 ล้านคนทั่วประเทศไทยโดยทุน USTDA ได้ช่วยพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าของของ กฟภ ผ่านการบูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูงที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้บริโภคและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทย –https://ustda.gov/ustda-supports-grid-modernization-in-thailand/ USTDA ยังให้การสนับสนุนภาคเอกชน รวมถึงการให้ทุนแก่บริษัทพลังงานหมุนเวียนของไทยเช่น บริษัท บลูโซลาร์ จำกัด เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมระบบกักเก็บพลังงานในจังหวัดสุพรรณบุรีการดำเนินโครงการจะช่วยสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดของประเทศต่อไป และยังเป็นโครงการที่ใช้ระบบจัดเก็บพลังงานแบตเตอรี่ขนาดใหญ่รายแรกในประเทศไทยอีกด้วยนอกจากนี้ USTDA อยู่ได้อนุมัติการให้ทุนสนับสนุนกับบริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในการพัฒนาแผนงานสำหรับการเปลี่ยนกองยานพาหนะอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ไปเป็นยานพาหนะพลังไฟฟ้า https://th.usembassy.gov/ustda-supports-electric-vehicle-transition-in-thailand/ นอกเหนือจากการช่วยพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐาน USTDA ยังดำเนินการในอีกหลายๆ กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคนิคและเป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ประกอบการในไทยและสหรัฐฯ ผ่านการ ดูงานในสหรัฐฯการอบรมด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และการร่วมมือด้านการบินพลเรือน โดยในกิจกรรมเหล่านี้ USTDA ได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมบัญชีกลาง และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นต้น USTDA ดำเนินการอยู่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและได้เพิ่มความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการสร้างพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและตลาดเพื่อนบ้านในอาเซียนโดย USTDA ได้ก่อตั้งสำนักงานภูมิภาคในกรุงเทพฯ ในปี 2545 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานของ USTDA ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ของสถานทูตสหรัฐฯ ควบคู่ไปกับตัวแทนจากกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ และ บรรษัทการเงินเพื่อการพัฒนาของสหรัฐฯ ที่มีสำนักงานภูมิภาคในกรุงเทพฯ ด้วย ติดต่อ USTDA สำนักงานภูมิภาคเอเชีย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จีพีเอฟวิทยุทาวเวอร์ ห้อง 302 93/1 ถนนวิทยุ กรุงเทพมหานคร 10330 สำนักงานใหญ่ 1101 Wilson Blvd., Suite 1100 Arlington, VA 22209 United States นายสิทธิศักดิ์ อภิชาติธนพัฒน์ รองผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชีย อีเมล:sapichatthanapath@ustda.gov โทร: +6680 087 9871 Ms. Verinda Fike Regional Director, Indo-Pacific Region E: vfike@ustda.gov T: +1 703 875 4357 โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 กันยายน, 2022 | ประเภท: Exclude, ข่าว
Overview of USTDA’s program in Thailand The U.S. Trade and Development Agency (USTDA) is the U.S. Government’s international project preparation agency. USTDA funds project development activities (feasibility studies, technical assistance, and pilot projects) and partnership building programs (reverse trade missions, workshops, and training) that support infrastructure development and economic growth in partner countries. Utilizing its program tools, USTDA works with Thai public and private sector entities to facilitate the implementation of priority infrastructure projects, promote transfer of technical knowledge and best practices, build stronger bilateral relationships, and encourage greater U.S. private sector engagement in Thailand. USTDA prioritizes program activities in the transportation, energy, ICT, healthcare, and agri-business sectors. Thailand has historically comprised USTDA’s largest country portfolio in Southeast Asia. USTDA has provided extensive support for infrastructure development and capacity building for Thailand in areas that include: banking IT systems; disaster warning and management; airport design and security assessments; air navigation systems; power generation and distribution; waste and wastewater management; natural gas vehicle and liquefied natural gas operations; and rail sector modernization. USTDA funds these programs through a variety of mechanisms, including feasibility studies and technical assistance grants, reverse trade missions and study tour visits to the United States, and technical workshops in country. Since 1981, USTDA has supported over 135 major infrastructure projects with Thailand. For example, following the devastation of the Indian Ocean tsunami in 2004, USTDA funded support for upgrading Thailand’s National Disaster Warning Center (NWDC) disaster management capabilities. USTDA’s grant connected the Thai government with technology, systems integration, and training to establish a disaster management and emergency communications facility that was launched in 2005. An ongoing USTDA technical assistance grant to Thailand’s Provincial Electricity Authority (PEA) is helping to modernize PEA’s electrical grid and transform the delivery of power to more than 20 million customers across Thailand. USTDA’s assistance, peformed by the Electric Power Research Insititute (EPRI), is developing a robust strategy to guide PEA’s digitalization that will help to accelerate the integration of advanced technologies, increase energy efficiency, lower costs for consumers, and support greater uptake of renewable energy generation capacity. (Press release: https://ustda.gov/ustda-supports-grid-modernization-in-thailand). USTDA’s support for the private sector includes a grant to the Thai renewable energy company Blue Solar Co. Ltd. to advance the development of a solar power plant with an integrated energy storage system in Suphan Buri Province, Thailand. Implementation of the Blue Solar project will support Thailand’s goals to expand the clean energy mix and represents one of the first private sector deployments of utility-scale battery storage in country. (Fact sheet: https://th.usembassy.gov/fact-sheet-ustda-blue-solar-grant-signing-ceremony-on-august-14-2019). USTDA has also awarded a grant to SCG International Corporation Co., Ltd. (SCG), one of Thailand’s largest conglomerates, to develop a roadmap for the transition of their industrial and commercial fleet to electric vehicles. (Press release: https://ustda.gov/ustda-supports-electric-vehicle-transition-in-thailand). In addition to its project preparation activities, USTDA has also supported a range of technical and commercial partnership building activities for Thailand, including Reverse Trade Mission (RTM) and study tour visits to the United States, procurement workforce training through the Global Procurement Initiative, and aviation sector training under the U.S.-Southeast Asia Aviation Cooperation Program. USTDA is active throughout the Asia Pacific region and has increased its commitment to supporting infrastructure development and partnership building, particularly in Thailand and neighboring ASEAN markets. USTDA established its regional office in Bangkok in 2002 to support the Agency’s business development and program management for the Asia Pacific region. USTDA’s office in Bangkok is located in the U.S. Embassy’s commercial section, alongside sister agencies, the U.S. Department of Commerce and the U.S. International Development Finance Corporation (DFC), that also maintain regional offices in Bangkok. USTDA contact information Asia Regional Office U.S. Embassy in Thailand GPF Witthayu Tower, Suite 302 93/1 Wireless Road Bangkok 10330, Thailand Verinda Fike Regional Director, Indo-Pacific E: vfike@ustda.gov Sithisakdi Apichatthanapath Deputy Regional Manager for Asia E: sapichatthanapath@ustda.gov T: +66 65 542 5656 By U.S. Embassy Bangkok | 19 September, 2022 | Topics: Exclude, News
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ อรุณ เวนคาทรามัน นำคณะผู้แทนการค้าจากบริษัทด้านสุขภาพของอเมริกา 12 แห่ง เดินทางเยือนไทย มาเลเซีย และเวียดนาม 19-23 กันยายนนี้ ในไทย คณะผู้แทนจะเข้าประชุมแบบตัวต่อตัวกับกลุ่มผู้ซื้อและภาคีเป้าหมาย เพื่อหาหนทางเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งจะขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศของเราทั้งสอง บริษัทและผู้ผลิตด้านการแพทย์สหรัฐฯ มีชื่อเสียงในด้านคุณภาพ บริการหลังการขาย และการสนับสนุนด้านการฝึกอบรม ธุรกิจเหล่านี้มีความชำนาญในการทำงานภายใต้ระเบียบข้อบังคับของระบบสาธารณสุขสหรัฐฯ ซึ่งมีความเข้มงวดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แม้จะเป็นเช่นนั้น สหรัฐฯ ก็รับรองเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล้ำสมัยมากมายให้เข้าสู่ตลาดเกือบทุกวัน ประสบการณ์ในตลาดสากลจึงทำให้บริษัทอเมริกันเปี่ยมด้วยศักยภาพที่จะช่วยไทยตอบสนองความต้องการด้านนี้ได้ บริษัทอเมริกันเล็งเห็นถึงศักยภาพใหม่ๆ ของตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทยที่คึกคัก เช่นเดียวกับโครงการการลงทุนภาครัฐและเอกชนในบริการทางการแพทย์และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประโยชน์ของการค้าและการลงทุนระหว่างสหรัฐฯ กับไทยมีมากมาย ไม่ว่าจะสร้างงานใหม่หลายพันตำแหน่ง เพิ่มรายรับ หรือนำนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์เข้าสู่ตลาดของทั้งสองประเทศ ไทยซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน เป็นหุ้นส่วนการค้าที่สำคัญของสหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการซื้อขายระหว่างกันรวมกว่า 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ยินดีที่ได้ทำงานกับภาคีในรัฐบาลไทยปีนี้ที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคประจำปี 2565 และในปี 2566 ที่สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพเอเปค เรามุ่งสานต่อประเด็นสำคัญที่ไทยเน้นย้ำระหว่างการเป็นผู้นำเอเปคปีนี้ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลไทยได้เข้าร่วมการหารือระดับรัฐมนตรีเพื่อยกระดับกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความมั่งคั่ง ซึ่งมีไทยเป็นภาคี ข้อตกลงทางเศรษฐกิจศตวรรษที่ 21 ฉบับนี้ จะช่วยเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความเป็นธรรม ความยั่งยืน และความเข้มแข็งยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานสำหรับทุกเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วม ผู้ช่วยรัฐมนตรีเวนคาทรามันกล่าวว่า “คณะผู้แทนการค้านี้จะสร้างตลาดใหม่ๆ และส่งผลให้ทั้งสหรัฐฯ และไทยได้รับประโยชน์ ในขณะที่เราเสริมสร้างการติดต่อและความร่วมมือเชิงพาณิชย์ระหว่างกัน” โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 กันยายน, 2022 | ประเภท: Exclude, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
U.S. Department of Commerce Assistant Secretary Arun Venkataraman is leading a trade mission of 12 U.S. healthcare companies to Thailand, Malaysia, and Vietnam, September 19-23. In Thailand, the delegation of U.S. businesses will have one-on-one meetings with potential buyers and partners to foster new business relationships that support economic growth in both of our countries. U.S. healthcare firms and manufacturers have a strong reputation for quality, after-sales service, and training support. These businesses are well-versed in working within the U.S. healthcare regulatory environment – one of the world’s most stringent – but also a system where innovative technologies and products receive market clearance on a near daily basis. Based on experience in international markets, U.S. companies are also well-positioned to assist Thailand in fulfilling its own needs. U.S. companies see potential new opportunities in Thailand’s robust medical travel market, as well as projects generated through public and private investment in the Eastern Economic Corridor medical services and wellness travel infrastructure projects. The benefits of U.S. trade and investment with Thailand are significant, resulting in thousands of new jobs, increased revenues, and useful innovations in both markets. As the second-largest economy in ASEAN, Thailand is an important trading partner for the United States. Last year, two-way trade of goods between our countries totaled more than $60 billion. The U.S. government has been pleased to work with its Thai government partners this year while Thailand serves as the APEC host for 2022. The United States will host APEC in 2023, and we look forward to building on some of the critical themes addressed during Thailand’s leadership of APEC this year, including in climate change and the digital economy. The Royal Thai Government recently participated in ministerial-level discussions in Los Angeles to advance the Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity. This 21st century economic agreement, which includes Thailand as a partner, will help expand economic opportunity and promote fairness, sustainability, and supply chain resiliency for all participating economies. Attributable to A/S Venkataraman: “This trade mission will open new markets and lead to win-win outcomes for both of our countries as we work to increase our commercial engagement and cooperation.” By U.S. Embassy Bangkok | 19 September, 2022 | Topics: Exclude, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: USAID ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และองค์กรไวล์ดเอด เปิดตัวโครงการรณรงค์เพื่อยุติความต้องการผลิตภัณฑ์จากงาช้าง กรุงเทพมหานคร, วันที่ 19 กันยายน 2565 – องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์กรไวล์ดเอด (WildAid) เปิดตัวโครงการรณรงค์ ”งาช้างอยู่กับช้างใช่ที่สุด – Only elephants wear ivory best” เพื่อลดความต้องการซื้อและสวมใส่เครื่องประดับจากงาช้างในหมู่ผู้ใช้สตรี โดยมีคุณซินดี้ สิรินยา บิชอพ นักแสดงและนางแบบ รวมทั้งอาจารย์ช้าง ทศพร ศรีตุลา นักโหราศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านฮวงจุ้ยชื่อดัง ช่วยขับเคลื่อนการรณรงค์ในฐานะทูตโครงการ โครงการรณรงค์ ”งาช้างอยู่กับช้างใช่ที่สุด – Only elephants wear ivory best” ต่อยอดมาจากโครงการ ”สวยที่ใจไม่ใช่ที่งา – Beautiful without ivory” ที่ USAID Wildlife Asia ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2563 โดยสามารถเข้าถึงผู้สวมใส่ และใช้เครื่องประดับจากงาช้างเพราะมองงาช้างเป็นของสวยงามได้เป็นผลสำเร็จ ผลการสำรวจชี้ว่า โครงการ “สวยที่ใจไม่ใช่ที่งา” สามารถลดความต้องการและการยอมรับการใช้เครื่องประดับจากงาช้างในหมู่ผู้มีแนวโน้มจะใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ราวครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับการสำรวจก่อนการรณรงค์ “ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่โครงการรณรงค์ ‘สวยที่ใจ ไม่ใช่ที่งา’ สามารถเปลี่ยนทัศนคติของผู้นิยมใช้เครื่องประดับจากงาช้างได้อย่างเห็นผลแม้เพียงระยะเวลาอันสั้น เราหวังว่า โครงการ ‘งาช้างอยู่กับช้างใช่ที่สุด’ จะช่วยลดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมืออันดีกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อยุติการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ปกป้องสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์ ผ่านโครงการรณรงค์เพื่อลดความต้องการผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าผิดกฎหมายต่อไป” ดร. ศุภสุข ประดับศุข ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาโครงการ สำนักงานสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค USAID สำนักงานภาคพื้นเอเชีย กล่าว นอกเหนือจากความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนความเชื่อในเรื่องความสวยงามของเครื่องประดับงาช้างแล้ว โครงการรณรงค์ยังมีเป้าหมายที่จะลดแรงจูงใจสำคัญในการซื้อและสวมใส่เครื่องประดับจากงาช้าง นั่นก็คือความเชื่อที่ว่างาช้างจะช่วยเสริมดวงและนำพาความโชคดีมาสู่ผู้สวมใส่ “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ได้ทำงานร่วมกับ USAID และองค์กรไวล์ดเอด (WildAid) อย่างใกล้ชิดในการดำเนินโครงการรณรงค์เพื่อลดความต้องการผลิตภัณฑ์จากงาช้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งการลดความต้องการของผู้บริโภค ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการยับยั้งการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส (CITES) เราเชื่อว่าการเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการรณรงค์เพื่อลดความต้องการผลิตภัณฑ์สัตว์ป่า อย่างเช่น โครงการ “งาช้างอยู่กับช้างใช่ที่สุด” จะช่วยสร้างทัศนคติใหม่ในสังคม ที่จะไม่ใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าและนำไปสู่การป้องกันการลักลอบค้างาช้างผิดกฎหมายได้” นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าว ทั้งสามองค์กรร่วมกันผลิตรายการพิเศษออกอากาศสดทางออนไลน์เพื่อเปิดตัวโครงการรณรงค์ โดยมีคุณซินดี้ อาจารย์ช้าง ตัวแทนจาก USAID และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมพูดคุยถึงสถานการณ์ล่าสุดของการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และความสำคัญของการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อทำให้การซื้อและสวมใส่ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าอย่างงาช้าง ไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป รับชมรายการย้อนหลังได้ทางเพจเฟซบุ๊กของ WildAid Thailand และเพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช “เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าคุณซินดี้ และอาจารย์ช้าง จะช่วยเราขับเคลื่อนโครงการและสื่อสารถึงผู้ที่นิยมใช้งาช้างว่างาช้างอยู่กับช้างใช่ที่สุด องค์กรไวล์ดเอด ดำเนินโครงการรณรงค์เพื่อลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้างมาตั้งแต่ปี 2559 โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีชื่อเสียง หน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรสื่อมวลชน เราหวังว่าสื่อรณรงค์ชุดใหม่จะทำให้ทุกคนมีความเชื่อใหม่เกี่ยวกับงาช้างและอยากร่วมปกป้องช้างมากขึ้น เราสามารถร่วมกันยุติความต้องการผลิตภัณฑ์จากงาช้างได้” จอห์น เบเกอร์ ผู้อำนวยการโครงการรณรงค์ องค์กรไวล์ดเอด กล่าว USAID องค์กรไวล์ดเอด และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะเผยแพร่สื่อรณรงค์โครงการ “งาช้างอยู่กับช้างใช่ที่สุด” ผ่านทางเฟซบุ๊ก ช่องทางโซเชียลมีเดียอื่น ๆ และสื่อโฆษณานอกบ้านเพื่อให้เข้าถึงสาธารณชนและผู้นิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากงาช้างอย่างทั่วถึง -###- ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับบรรณาธิการและผู้สื่อข่าว ดาวน์โหลดสื่อเพื่อประกอบข่าว: https://drive.google.com/drive/folders/1V-TgphHNBpiqixPdRsV30wHLh9A0OxWR?usp=sharing ชมวิดีโอรณรงค์ “งาช้างอยู่กับช้างใช่ที่สุด – ซินดี้ สิรินยา”: https://youtu.be/h5Mk3So_r64 ชมวิดีโอรณรงค์ “งาช้างอยู่กับช้างใช่ที่สุด – อาจารย์ช้าง”: https://youtu.be/EfUYhTKVc9w เกี่ยวกับองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) USAID เป็นหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศชั้นนำของโลกที่ดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์ของงานพัฒนา USAID ส่งเสริมความมั่นคงของชาติและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ผ่านโครงการด้านการพัฒนา แสดงให้เห็นถึงความเอื้อเฟื้อของชาวอเมริกัน และส่งเสริมเส้นทางสู่การพึ่งพาตนเองและความสามารถในการฟื้นฟูของผู้รับความช่วยเหลือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.usaid.gov/ เกี่ยวกับองค์กรไวล์ดเอด(WildAid) WildAid (www.wildaid.org) คือ องค์กรไม่แสวงผลกำไรมีเป้าหมายหลักเพื่อยุติการค้าสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าผิดกฎหมายWildAidเน้นรณรงค์เพื่อลดความต้องการบริโภค และความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่า โดยเราหวังว่า ผู้บริโภคจะไม่กินหูฉลาม ไม่ซื้องาช้าง นอแรด และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าอื่นๆ อีกต่อไปเราทำงานรณรงค์ที่เอเชียเป็นหลัก ในประเทศที่ยังมีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าสูงWildAidได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลกกว่า 100 คน ร่วมเผยแพร่ข้อความรณรงค์ ให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหา การฆ่าและค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ผ่านสโลแกนหลักขององค์กร“When the Buying Stops, the Killing Can Too หยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า” www.wildaidthai.org http://www.facebook.com/wildaidthailand IG: @wildaidthailand เกี่ยวกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2545 มีภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รวมถึงเป็นแหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการ และแหล่งการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน โดยการควบคุม ป้องกัน พื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิมที่มีอยู่และฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการส่งเสริม กระตุ้น และปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนมีความรู้สึกหวงแหนและมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น ภายใต้วิสัยทัศน์ “เพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ได้ร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2567” สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: ดอเรลิน โจเซ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร โครงการ USAID Reducing Demand for Wildlife โทร: 63-917-6746474 อีเมล: djose@usaidwildlifeasia.org ขวัญตา หน่อคำ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นเอเชีย (USAID Regional Development Mission for Asia) โทร: 66-2-257-3159 อีเมล: knorkum@usaid.gov ราเบีย มุสตัค ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร (ประเทศไทย), ไวล์ดเอด โทร: 081 666 7016 อีเมล: rabia@wildaid.org นุชหทัย โชติช่วง ตัวแทนไวล์ดเอด ประเทศไทย, ไวล์ดเอด โทร: 081 818 9251 อีเมล: nuthatai@wildaid.org โดย U.S. Mission Thailand | 19 กันยายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
USAID, DNP, AND WildAid Launch Media Campaign to End Demand for Ivory Products Bangkok, September 19, 2022– The United States Agency for International Development (USAID), Thailand’s Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation (DNP) and WildAid launched the “Only Elephants Wear Ivory Best” campaign to reduce the use and purchase of jewelry and accessories made from elephant ivory among women. The campaign features Cindy Sirinya Bishop, a Thai actress and supermodel, and Master Tossaporn Sritula (Master Chang), a renowned Thai astrology and feng shui expert, as wildlife demand reduction champions. This campaign builds upon USAID Wildlife Asia’s “Beautiful without Ivory” 2020 campaign that successfully reached those desiring to buy or use ivory jewelry because of its perceived beauty. Survey results showed the “Beautiful without Ivory” campaign decreased the demand and social acceptability of ivory consumption among prospective Thai consumers by half. “We found it very encouraging that the Beautiful without Ivory campaign was remarkably successful in changing attitudes of the target groups in just a short time. We hope that ‘Only Elephants Wear Ivory Best’ will continue this trend. The U.S. government remains committed to our productive partnership with the Thailand’s Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation —to end the illegal wildlife trade and protect our environmental and human health through reducing the demand for illegal wildlife products,” said Dr. Suphasuk Pradubsuk, Program Development Specialist, Regional Environment Office, USAID Regional Development Mission for Asia. In addition to addressing the perceived beauty of ivory among the target demographic, the campaign also aims to counter another key driver of the consumption of ivory products in Thailand – the belief that these products bring luck leading to a good life and happiness. “Since 2018, The Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation (DNP) has worked closely with USAID and WildAid to help reduce the demand for illegal elephant ivory products. Reducing demand for illegal wildlife product is one amongst the other strategies to halt illegal trade that aligns with the guidance of the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES). We truly believe that by putting an effort on law enforcement together with positive demand reduction campaigns like ‘Only Elephants Wear Ivory Best’, we can create new value in society to halt the use of wildlife products, which will contribute significantly to the prevention of illegal trade in ivory” said Mr. Rutchada Suriyakul Na Ayutya, Director General of the DNP. The campaign’s launch featured a virtual fireside chat among the two campaign influencers, USAID, and the DNP, where they engaged in a lively conversation about the situation of wildlife trade today and how the consumer attitudes and behaviors need to evolve so that the use of wildlife products becomes totally unacceptable. The virtual launch is available for viewing on WildAid Thailand’s and the DNP’s Facebook page. “Cindy Bishop and Master Tossaporn so eloquently expressed the message that ivory belongs only to elephants, and they wear it best. WildAid has been running campaigns to reduce the demand for elephant ivory in Thailand since 2016. With help from such influential voices, government agencies, and media partners, we hope to establish a new societal norm around ivory and protecting elephants. Together, we can end the demand for ivory,” said John Baker, Chief Program Officer, WildAid. USAID, WildAid, and the DNP will disseminate the campaign’s videos and key visuals through Facebook, other social media channels, and out-of-home media placements to maximize the campaign’s reach and audience engagement. -End- Link to download media assets: https://drive.google.com/drive/folders/1V-TgphHNBpiqixPdRsV30wHLh9A0OxWR?usp=sharing About USAID USAID is the world’s premier international development agency and a catalytic actor driving development results. USAID’s work advances U.S. national security and economic prosperity, demonstrates American generosity, and promotes a path to recipient self-reliance and resilience. For more information, please visit https://www.usaid.gov/ About WildAid WildAid is a non-profit organization with a mission to protect wildlife from illegal trade and other imminent threats. While most wildlife conservation groups focus on protecting animals from poaching, WildAid primarily works to reduce global consumption of wildlife products such as elephant ivory, rhino horn and shark fin. With an unrivaled portfolio of celebrity ambassadors and a global network of media partners, WildAid leverages more than $218 million in annual pro bono media support with a simple message:When the Buying Stops, the Killing Can Too.More information on WildAid can be found at www.wildaid.org or follow them on Twitter @wildaid About Thailand’s Department of National Parks, Wildlife and Plants Conservation The Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation (DNP) is a governmental organization under the Ministry of Natural Resources and Environment (MNRE), established on October 2, 2002. DNP’s missions include conservation, promotion and restoration of forest and wildlife resources in protected areas as a source of watersheds, wildlife habitats, livelihood, natural recreation, and tourism areas for the public. The DNP does so by controlling and protecting existing protected areas and recuperating deteriorated forest areas along with promoting, stimulating and raising awareness of local communities to cherish and feel encouraged to conserve local natural resources, under the vision of “By 2024, protected areas will increase to 25 percent of the country’s area”. For more information, please contact: Dorelyn Jose Communications, Outreach and Learning Specialist USAID Reducing Demand for Wildlife Tel: 63-917-6746474, Email: djose@usaidwildlifeasia.org Kwanta Norkum Development Outreach and Communications Specialist USAID Regional Development Mission for Asia Tel: 66-2-257-3159, E-mail: knorkum@usaid.gov Rabia Mushtaq Communications Specialist (Thailand),WildAid Tel: 66-81-666-7016, Email: rabia@wildaid.org Nuthatai Chotechuang Thailand Representative, WildAid Tel: 66-81-818-9251, Email: nuthatai@wildaid.org By U.S. Embassy Bangkok | 19 September, 2022 | Topics: News, Press Releases | Tags: DNP, USAID, WildAid
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) คำกล่าวโดยอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เกว็น คาร์ดโน พิธีรำลึกขบวนการเสรีไทย 2 กันยายน 2565 สวัสดีค่ะ ดิฉันขอขอบคุณสถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ได้กรุณาเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้และมีความมุ่งมั่นพยายามเสมอมาที่จะให้ชาวไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของขบวนการเสรีไทย ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านประธานองคมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้กรุณามาเป็นประธานพิธีในวันนี้ สุดท้ายนี้และสำคัญที่สุด ดิฉันขอขอบคุณครอบครัวเหล่าวีรชนจากขบวนการเสรีไทย ที่เป็นตัวแทนความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและยืนยาวระหว่างสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรไทย ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาร่วมรำลึกถึงผู้กล้าหาญแห่งขบวนการเสรีไทยที่เสียสละตนเป็นอย่างยิ่งในการต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยและเสรีภาพของประเทศไทย เรื่องราวของพวกเขาเป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงความสำคัญของมิตรภาพอันยาวนานระหว่างเราทั้งสองชาติ ขบวนการเสรีไทยเป็นเรื่องราวแห่งความกล้าหาญที่ยิ่งใหญ่ ทั้งยังเป็นการย้ำเตือนให้เราทราบถึงความสำคัญของผลประโยชน์ที่หยั่งรากลึกในการปกป้องอธิปไตยของชาติอันเป็นภารกิจสำคัญอันดับต้น ๆ ที่เราทั้งสองชาติมีร่วมกัน อาสาสมัครเสรีไทยได้รับความเคารพ ชื่นชม และรักใคร่อย่างมากจากเพื่อนร่วมปฏิบัติการชาวอเมริกัน งานของเสรีไทยถือเป็นรากฐานสำคัญแห่งชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร แม้ไทยจะประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรชาติอื่น ๆ แต่สหรัฐฯ ก็ไม่เคยถือว่าไทยเป็นข้าศึกในสงครามแต่อย่างใด แต่กลับสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งกับขบวนการเสรีไทย หลังสิ้นสุดสงคราม กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ โต้แย้งและยืนยันว่า “ไทยเป็นประเทศที่มีเสรีภาพและเอกราช มีอธิปไตยเฉกเช่นเดิม ทั้งยังปกครองโดยรัฐบาลที่เลือกขึ้นเอง” การสนับสนุนดังกล่าวเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นอันยาวนานที่สหรัฐฯ มีต่อไทยและการปกป้องอธิปไตยของไทย ในยามวิกฤตเมื่อชะตาของไทยและทั้งโลกแขวนอยู่บนเส้นด้าย อาสาสมัครเสรีไทยได้ผนึกกำลังกับสหรัฐฯ เพื่อต่อสู้และปกป้องเสรีภาพ ดิฉันขอสดุดีบุคคลผู้กล้าหาญเหล่านี้ ความเสียสละของพวกเขาปูทางสู่ความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างสหรัฐฯ กับไทยจวบจนทุกวันนี้ ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติมีมาอย่างยาวนานและยั่งยืน แต่ในการมาพบกันที่นี่ ในวันนี้ เราไม่ได้กล่าวถึงแต่ประวัติศาสตร์ในอดีตเท่านั้น วันนี้ยังเป็นโอกาสให้เราได้พิจารณาถึงช่วงเวลาสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ในแง่มุมของ “บทเรียนสำคัญสำหรับอนุชนรุ่นหลัง” อีกด้วย แม้ดิฉันจะอยู่ที่ประเทศไทยได้ไม่ถึงเดือน แต่ก็ตระหนักเป็นอย่างดีมานานแล้วถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างเราสองประเทศ ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาที่นี่ ในวันนี้ และมีโอกาสได้พบปะกับลูกหลานของทหารผู้กล้าเหล่านี้ เรื่องราวของพวกเขาแสดงถึงความมุ่งมั่นร่วมกันที่เรามีต่ออธิปไตย ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการก่อร่างสร้างอนาคตของเรา ในขณะที่เราเตรียมการเฉลิมฉลองครบรอบ 190 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปีหน้านั้น เรื่องราวมิตรภาพของขบวนการเสรีไทยเป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมของความร่วมมือและพันธไมตรี ซึ่งจะยังคงเป็นเสาหลักเสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราต่อไปอีกยาวไกลในอนาคต เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ท่านบลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มาเยือนประเทศไทย ทั้งท่านบลิงเคน และท่านดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ดำเนินการสานต่อความเป็นหุ้นส่วนดังกล่าว ซึ่งเราได้พัฒนามาตลอดหลายปี เราได้บรรลุอีกก้าวสำคัญทางประวัติศาสตร์ ด้วยการร่วมกันลงนามในแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา การลงนามครั้งนี้เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการขยายความร่วมมือระดับทวิภาคีของเราในอีก 190 ปีข้างหน้า กล่าวโดยย่อคือ เราจะทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ของชาวอเมริกันและไทย ทั้งปัจจุบันและอนาคต ความเสียสละทั้งหมดของทหารอเมริกันและไทยจะยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เราต่อไป เราต้องจดจำบทเรียนในอดีตในการเดินหน้าสร้างอนาคตของเรา ชาวไทยและอเมริกันหลายต่อหลายรุ่นรู้สึกสำนึกในบุญคุณของเสรีไทยผู้รักชาติ ความมุ่งมั่นอย่างไม่ระย่อของพวกเขาต่อเอกราชของชาติช่วยให้เรามาอยู่ ณ จุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ เมื่อมองไปยังวันข้างหน้า ดิฉันขอใช้โอกาสนี้กล่าวถึงคนรุ่นใหม่ผู้ปราดเปรื่องที่จะช่วยกันสรรค์สร้างอนาคต ซึ่งหลายท่านก็ได้มาอยู่ที่นี่ในวันนี้ ดิฉันรู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสแสดงความยินดีกับนักศึกษาเหล่านี้ที่ช่วยกันทำงานเพื่อรำลึกถึงขบวนการเสรีไทยด้วยการแข่งขันการจัดทำวิดีโอ ซึ่งเราจะได้รับชมกันในอีกสักครู่ สำหรับคนรุ่นใหม่ที่มาอยู่ที่นี่ในวันนี้ เรารอคอยที่จะได้เห็นพวกท่านสืบทอดเจตนารมณ์อันแรงกล้าของเสรีไทยในการปกป้องเอกราชและในความรักชาติต่อไป ดิฉันอยากเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมรำลึกถึงจิตวิญญาณของอาสาสมัครเสรีไทยที่จะคงอยู่ตลอดไป ในขณะที่ท่านกำลังจะเป็นผู้นำในอนาคต ดิฉันขอขอบคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่านอีกครั้งที่ยังคงทำงานอย่างอุทิศทุ่มเทเพื่อให้เรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์หน้าสำคัญนี้ยังคงดำรงอยู่ในความทรงจำของผู้คนตลอดไป ขอให้เราทั้งสองชาติ หุ้นส่วนอันยาวนานทั้งในเวลาแห่งสงครามและสันติภาพ ยังคงร่วมกันทำงานเพื่อนำมาซึ่งสันติภาพ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองของโลก สืบไป โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 กันยายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Remarks by U.S. Chargé d’Affaires Gwen Cardno Commemoration of Seri Thai Movement September 2, 2022 Good afternoon. I would like to thank the National Institute of Development Administration (NIDA) for hosting this event and for always striving to bring national attention to the Free Thai movement. I’d like to acknowledge the President of the Privy Council, the honorable General Surayud Chulanont. Finally, and most importantly, I’d like to recognize the families of the heroes from the Seri Thai movement who represent the deep and enduring relationship between the United States and the Kingdom of Thailand. I am honored to have the opportunity to recognize the brave heroes of the Seri Thai movement who sacrificed so much in their fight for Thai sovereignty and freedom. Their story exemplifies the importance of the enduring friendship between our nations. The Seri Thai movement is a story of incredible courage. It is also an important reminder of our deep-seated interest in protecting national sovereignty, a priority that our two nations share. The volunteers earned the deep respect, admiration, and affection of their American colleagues. Seri Thai’s work laid important groundwork for the Allied Victory. Despite Thailand’s declaration of war on other allies, the United States never recognized the Kingdom as an enemy combatant – instead building upon the critical relationship formed with the Free Thai movement. When the war ended, the U.S. State Department argued for a “free, independent Thailand, with sovereignty unimpaired and ruled by a government of its own choosing,” underscoring the United States’ enduring commitment to Thailand and the defense of its sovereignty. At a critical time, when the fate of not only Thailand but also of the world hung in the balance, Seri Thai volunteers allied with the United States in the fight for freedom. I would like to honor these brave individuals, whose sacrifices paved the way for the strong relationship that the United States and Thailand enjoy today. The history of our friendship is long and enduring. But today we’re not here just to talk about the past. Today we’re considering this important piece of history through the lens of “Lessons Learned for Posterity.” I arrived in Thailand less than a month ago, but I have long been keenly aware of the importance of the relationship between our two nations. I’m privileged to be here today to have the opportunity to meet with the descendants of these brave soldiers, whose stories demonstrate our shared commitment to sovereignty, which will be critical in shaping our future. As we prepare to celebrate our 190th year of diplomatic relations next year, the story of our friendship from the Seri Thai movement exemplifies the collaboration and the friendship that will continue to buttress our relationship long into in the future In July, when Secretary Blinken was here, he and Deputy Prime Minister/Foreign Minister Don took steps to build even further upon the partnership that we have developed over the years. In a historic move, our nations signed the United States-Thailand Communiqué on Strategic Alliance and Partnership. By signing this Communiqué, we established a foundation for expanding our bilateral cooperation for the next 190 years. Put simply, we will work together for the good of the American and Thai people, now and well into the future. The sacrifices that American and Thai soldiers made continue to inspire us. We must remember the lessons of our past as we create our future. Generations of Thais and Americans owe an eternal debt of gratitude to the Seri Thai patriots, whose steadfast commitment to independence helped us get to where we are today. In the spirit of looking toward the future, I want to take a moment to acknowledge the bright young minds who will shape that future, many of whom are here today. I am delighted to have the opportunity to celebrate these students who are working to commemorate the Seri Thai movement through the video contest that we’ll get to witness shortly. To the youth here today, we will be looking to you to carry the Seri Thai’s strong spirit of independence and patriotism forward. I ask you to remember the undying spirit of the Seri Thai volunteers as you become the leaders of tomorrow. Thank you again to all of our honored guests who continue to work hard to keep this important piece of history alive. May our two nations, which have been enduring partners in both war and peace, continue to work together for peace, security, and prosperity throughout the world. By U.S. Embassy Bangkok | 7 September, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand | Tags: Free Thai Movement
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: พลเรือเอก ซามูเอล ปาปาโร ผู้บัญชาการกองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ เยือนไทย 18-21 สิงหาคม 2565 พลเรือเอก ซามูเอล ปาปาโร ผู้บัญชาการกองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา (PACFLT) จะเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 18-21 สิงหาคมนี้ เพื่อเข้าพบผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือไทย การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนราชอาณาจักรไทยครั้งแรกของพลเรือเอก ปาปาโร นับตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่ง ผบ.กองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานด้านความมั่นคงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อยกระดับพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ตลอดจนเสริมสร้างอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง พลเรือเอก ปาปาโร เกิดที่เมืองมอร์ตัน รัฐเพนซิลเวเนีย ในครอบครัวของอดีตนาวิกโยธินชั้นประทวน และเป็นหลานชายของนายทหารเรือชั้นประทวนในสงครามโลกครั้งที่ 2 พลเรือเอก ปาปาโร เข้าประจำการในฐานะทหารชั้นสัญญาบัตรของกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อปี 2530 และเป็นนักบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยสำเร็จหลักสูตร TOPGUN และมีชั่วโมงบินกว่า 6,000 ชั่วโมง รวมถึงลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว 1,100 ครั้ง พลเรือเอก ปาปาโร จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Villanova University อีกทั้งยังจบการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานานาชาติศึกษา จากมหาวิทยาลัย Old Dominion University และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิเคราะห์ระบบ จากสถาบัน Naval Postgraduate School ในฐานะผบ.กองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกองเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก พลเรือเอก ปาปาโร บังคับการเรือและเรือดำน้ำกว่า 200 ลำ อากาศยาน 1,200 ลำ ตลอดจนทหารเรือและเจ้าหน้าที่พลเรือนกว่า 130,000 ชีวิต อ่านชีวประวัติฉบับเต็มของ พลเรือเอก ปาปาโร ได้ที่ https://www.cpf.navy.mil/Leaders/Article/2628260/admiral-samuel-j-paparo/ กองเรือภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ ทำงานร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลของอินโด-แปซิฟิก และส่งเสริมเสถียรภาพในภูมิภาค โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.cpf.navy.mil/ โดย U.S. Embassy Bangkok | 17 สิงหาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Admiral Samuel Paparo, Commander of the U.S. Pacific Fleet, to visit Thailand August 18-21, 2022 Commander of the U.S. Pacific Fleet (PACFLT), Admiral Samuel Paparo will visit Thailand August 18-21 to meet with senior leaders and counterparts in the Royal Thai Navy. This will be Admiral Paparo’s first visit to the Kingdom of Thailand since assuming his command of PACFLT. His visit is part of our regular and ongoing engagements to strengthen the U.S.-Thai alliance and advance a Free and Open Indo-Pacific. Admiral Paparo, a native of Morton, Pennsylvania, was commissioned in the Navy in 1987. He is the son of a former enlisted Marine and the grandson of a World War II enlisted Sailor. A U.S. Naval Aviator, he is a TOPGUN graduate and has flown over 6,000 hours and has 1,100 carrier landings. Admiral Paparo graduated from Villanova University and earned a Master of Arts in International Studies from Old Dominion University, and a Master of Science in Systems Analysis from the Naval Postgraduate School. As Commander of the U.S. Pacific Fleet – the world’s largest fleet command – Admiral Paparo is responsible for over 200 ships/submarines, 1,200 aircraft, and more than 130,000 Sailors and civilians. Full bio: https://www.cpf.navy.mil/Leaders/Article/2628260/admiral-samuel-j-paparo/ U.S. Pacific Fleet works with allies and partners to advance Indo-Pacific maritime security and enhance regional stability. For more information, visit: https://www.cpf.navy.mil/ By U.S. Embassy Bangkok | 17 August, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: USTDA ยกระดับการรีไซเคิลพลาสติกในไทย เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (USTDA) มอบทุนสนับสนุน695,820เหรียญสหรัฐ แก่บริษัทวีเอโอ เอเนอร์จี จำกัด เพื่อการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโรงงานรีไซเคิลพลาสติกขนาดใหญ่ ซึ่งจะเสริมสร้างการดำเนินงานด้านการจัดการขยะของไทย ตลอดจนลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก “USTDA สนับสนุนเป้าหมายที่ท้าทายของไทยในการต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจากมลพิษขยะพลาสติก” อีโน ที. อีบอง ผู้อำนวยการ USTDA กล่าว “ความช่วยเหลือของเราจะขับเคลื่อนการลงทุนในภาคเอกชนสำหรับเทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกที่ล้ำสมัย ซึ่งบริษัทของสหรัฐฯ มีความพร้อมที่จะหยิบยื่นให้กับไทย” การศึกษาของ USTDA จะช่วยให้บริษัทวีเอโอ เอเนอร์จี สามารถพัฒนาโรงงานที่แปรรูปขยะพลาสติกด้วยกระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis) ที่ใช้อุณหภูมิสูง ซึ่งทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มอย่างน้ำมันไพโรไลซิส เป็นทางเลือกของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้กันมานานและสามารถใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ โรงงานแห่งนี้จะช่วยลดการปล่อยแก๊สโดยเลิกใช้วิธีการจัดการขยะพลาสติกแบบเดิม เช่น การเผา ตลอดจนตอบสนองความต้องการรีไซเคิลพลาสติกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นอย่างดี โครงการนี้ยังจะช่วยยกระดับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) ของไทย เพื่อการเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน ซึ่งโมเดลดังกล่าวมุ่งใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแปลงโฉมประเทศให้กลายเป็นเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่าและขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคพลังงานชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และเคมีชีวภาพ เช่นเดียวกับภาคการเกษตรและอาหาร การแพทย์และสุขภาพ ตลอดจนภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “มลพิษขยะพลาสติก โดยเฉพาะขยะพลาสติกในมหาสมุทร ไม่มีพรมแดนทางการเมือง และการแก้ไขปัญหานี้ต้องอาศัยความร่วมมือระดับสากล” อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เกว็น คาร์ดโน กล่าว “รัฐบาลสหรัฐฯ ภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับไทยผ่าน USTDA ในการคิดหาโซลูชันล้ำสมัย เพื่อให้มหาสมุทรของเราปราศจากขยะพลาสติก และสนับสนุนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย” คุณอาวินาช ชูกานี่ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งบริษัทวีเอโอ เอเนอร์จี เสริมว่า “บริษัท วีเอโอ เอเนอร์จี กำลังทำงานร่วมกับUSTDA เพื่อคิดค้นโซลูชันล้ำสมัยในการลดมลพิษขยะพลาสติกในสเกลใหญ่ ทีมของUSTDA ในกรุงเทพฯ และวอชิงตันได้ช่วยเราอย่างมากในการพัฒนาแพลตฟอร์ม และยังคงสนับสนุนเราอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลพลาสติกจำนวนมหาศาลในไทยและทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โครงการนี้ช่วยให้เป้าหมาย Global Partnership for Climate-Smart Infrastructure ของ USTDA รุดหน้า ซึ่งเป็นการเชื่อมอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เข้ากับโครงการด้านการพัฒนาพลังงานสะอาดและการขนส่งที่สำคัญๆ ในตลาดเกิดใหม่ บริษัทของสหรัฐฯ ที่สนใจส่งข้อเสนอโครงการสำหรับการศึกษาความเป็นไปได้นี้ สามารถดูข้อมูลได้ที่ www.ustda.gov/work/bid-on-an-overseas-project ### องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา(U.S. Trade and Development Agency)หรือUSTDAช่วยให้เกิดการสร้างงานในบริษัทของสหรัฐฯผ่านทางการส่งออกสินค้าและบริการให้แก่โครงการด้านการพัฒนาที่สำคัญๆในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่USTDAเชื่อมโยงธุรกิจของสหรัฐฯกับโอกาสการส่งออกโดยให้เงินสนับสนุนกิจกรรมการเตรียมการดำเนินงานในโครงการและการสร้างความเป็นหุ้นส่วนซึ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศภาคี สื่อมวลชนสามารถสอบถามข้อมูลได้จาก Paul Marin | (703) 875-4357 โดย U.S. Embassy Bangkok | 17 สิงหาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
USTDA Advances Plastic Recycling in Thailand On August 16, the U.S. Trade and Development Agency awarded a $695,820 grant to Thailand’s VAO Energy Co., Ltd. (VAO) for a feasibility study to develop a large plastic recycling facility that will strengthen Thailand’s waste management efforts and reduce greenhouse gas emissions. “USTDA fully supports Thailand’s ambitious goals to combat the economic and environmental consequences of plastic pollution,” said Enoh T. Ebong, USTDA’s Director. “Our assistance will catalyze private sector investment in highly innovative plastic recycling technologies that U.S. companies are well positioned to supply.” USTDA’s study will help VAO develop a facility to process plastic waste using a high-temperature process called pyrolysis. The resulting value-added product, pyrolysis oil, is an alternative to traditional fossil fuels that can be used for industrial purposes. The facility will help reduce emissions by diverting plastic waste from existing waste management methods, such as incineration, and have great applicability to Southeast Asia’s plastic recycling needs. This project will also advance Thailand’s Bio-Circular-Green economic model for inclusive and sustainable growth. The model focuses on employing technology and innovation to transform the country to a value-based and innovation-driven economy in the bioenergy, biomaterial and biochemical sector, as well as agriculture and food; medical and wellness; and tourism and creative sectors. “Plastic pollution, in particular ocean plastic waste, does not respect political boundaries and addressing it requires international cooperation,” said Gwen Cardno, Chargé d’Affaires at the U.S. Embassy in Bangkok. “Through USTDA, the U.S. government is proud to work together with Thailand on innovative solutions in keeping plastic waste out of our oceans and to support Thailand’s Bio-Circular-Green economic model.” Managing Director and Founder of VAO, Ashwin Chugani, added: “VAO is working with USTDA to deliver a cutting-edge solution to reduce plastic pollution at scale. The USTDA teams in Bangkok and Washington have already been hugely helpful in the development of our platform, and their ongoing support will help us to recycle large volumes of plastic in Thailand and across Southeast Asia.” This project advances the goals of USTDA’s Global Partnership for Climate-Smart Infrastructure, which connects U.S. industry to major clean energy and transportation infrastructure projects in emerging markets. U.S. businesses interested in submitting proposals for this feasibility study should visit www.ustda.gov/work/bid-on-an-overseas-project. ### The U.S. Trade and Development Agency helps companies create U.S. jobs through the export of U.S. goods and services for priority infrastructure projects in emerging economies. USTDA links U.S. businesses to export opportunities by funding project preparation and partnership building activities that develop sustainable infrastructure and foster economic growth in partner countries. MEDIA INQUIRIES: Paul Marin | (703) 875-4357 By U.S. Embassy Bangkok | 17 August, 2022 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: USTDA
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: พลโท เจมส์ บี. จาร์ราร์ด รองผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก จะเยือนไทย 15-18 สิงหาคม 2565 รองผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USARPAC) พลโท เจมส์ บี. จาร์ราร์ด จะเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคมนี้ เพื่อเข้าพบผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพบกไทย การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนไทยครั้งแรกของพลโท จาร์ราร์ด นับตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งรอง ผบ. USARPAC และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานด้านความมั่นคงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อยกระดับพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ตลอดจนเสริมสร้างอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง พลโท จาร์ราร์ด เกิดในประเทศเยอรมนีขณะที่บิดาดำรงตำแหน่งร้อยโทช่างอาวุธที่นั่น พลโท จาร์ราร์ด เข้าประจำการและเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อ 2531 ก่อนประจำการที่ USARPAC พลโท จาร์ราร์ดดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 25 เมืองสโกฟิลด์ แบร์แร็กส์ รัฐฮาวาย ต่อมาดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ (USINDOPACOM) เมืองแคมป์สมิท รัฐฮาวาย พลโท จาร์ราร์ด จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจจากวิทยาลัย North Georgia College และปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์การปฏิบัติการทางการทหาร จากมหาวิทยาลัย Air University โดย U.S. Embassy Bangkok | 15 สิงหาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Lieutenant General James B. Jarrard, Deputy Commanding General for the U.S. Army Pacific, to visit Thailand August 15-18, 2022 Deputy Commanding General for the U.S. Army Pacific (USARPAC), Lieutenant General (LTG) James B. Jarrard, will visit Thailand August 15-18 to meet with senior leaders and counterparts in the Royal Thai Army. This will be LTG Jarrard’s first visit to Thailand since he assumed command as Deputy Commanding General for USARPAC. LTG Jarrard’s visit is part of our regular and ongoing security engagements to enhance the U.S.-Thai alliance and advance a Free and Open Indo-Pacific. LTG Jarrard was born in Germany where his father served as an Armor Lieutenant. He was commissioned and entered active duty on 1988. Before arriving at U.S. Army Pacific, he served as the Commanding General of the 25th Infantry Division at Schofield Barracks, Hawaii, then as the Chief of Staff, U.S. INDOPACOM at Camp Smith, Hawaii. LTG Jarrard holds a Bachelor of Business Administration from North Georgia College and a Master of Science in Military Operational Art and Science from the Air University. By U.S. Embassy Bangkok | 15 August, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารถวายพระพรชัยมงคลจากอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 12 สิงหาคม 2565 หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทย ขอถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงและทรงพระเกษมสำราญยิ่ง พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการยกระดับการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมและสิ่งแวดล้อมตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาเป็นแบบอย่างของคุณูปการที่ไทยมีต่อการพัฒนาโลกใบนี้ พระองค์ทรงเป็นมิตรที่มั่นคงยิ่งของสหรัฐฯ และทรงเสริมสร้างพันธไมตรีอันยืนนานระหว่างเราทั้งสองชาติเสมอมา ขอพระองค์ทรงพระเจริญ และสุขสันต์วันแม่แห่งชาติแด่คุณแม่ชาวไทยทุกคน โดย U.S. Embassy Bangkok | 12 สิงหาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, อุปทูต
Message from Chargé d’Affaires Michael Heath in Honor of The 90th Birthday of Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother, August 12, 2022 The United States Mission to the Kingdom of Thailand extends our warmest wishes to Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother on the auspicious occasion of Her Majesty’s 90th birthday. We wish Her Majesty good health and happiness. Her Majesty’s work to advance humanitarian and environmental causes over many decades exemplifies the positive contributions that Thailand has made to improving our world. Her Majesty has been an unwavering friend to the United States and has strengthened the longstanding friendship between our two great nations. We wish Her Majesty and all Thai mothers a Happy Thai Mother’s Day. By U.S. Embassy Bangkok | 12 August, 2022 | Topics: Chargé D’Affaires, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: โครงการ Academy for Women Entrepreneurs (AWE) ก่อตั้งขึ้นโดยสำนักงานกิจการการศึกษาและวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อปี 2561 โดยให้ความสำคัญกับสตรีและศักยภาพด้านเศรษฐกิจ โครงการนี้ช่วยให้ผู้ประกอบสตรีจากทั่วโลกมีเครื่องมือ แหล่งข้อมูล และเครือข่ายในการเสริมสร้างศักยภาพด้านเศรษฐกิจ โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมเสถียรภาพ ความมั่นคง และความมั่งคั่ง อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ AWE ได้ที่ https://eca.state.gov/awe โครงการ AWE มีโปรแกรมการเรียนรู้ทางออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการสตรีที่มีชื่อว่า “DreamBuilder” ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ Thunderbird School of Global Management แห่งมหาวิทยาลัย Arizona State University และ Freeport-McMoRan Foundation อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DreamBuilder ได้ที่ https://dreambuilder.org/ แปลEnglishAcademy for Women Entrepreneurs (AWE) สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทยวีซ่า บริการพลเมืองสหรัฐ ความสัมพันธ์ ธุรกิจ การศึกษาและวัฒนธรรม สถานทูตและสถานกงสุล ข่าวและเหตุการณ์ ความเป็นส่วนตัว แผนผังเว็บไซต์ สถานทูตสหรัฐฯ สถานทูตสหรัฐฯ กรุงเทพฯ 95 ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์: +66-2-205-4000 TwitterFacebookYouTubeInstagram สถานกงสุลสหรัฐฯ สถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ Footer Disclaimer นี่คือเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกาสถานทูตในประเทศไทย การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอกอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับรองของมุมมองหรือนโยบายความเป็นส่วนตัวที่อยู่ในนั้น
The AWE program was established by the Department of State’s Bureau of Educational and Cultural Affairs (ECA) in 2018 to focus on women and economic empowerment. The program provides women entrepreneurs around the world with tools, resources, and networks to fulfill their economic potential, creating conditions for increased stability, security, and prosperity. For more information about AWE, please visit https://eca.state.gov/awe The Academy for Women Entrepreneurs (AWE) has an online learning program for women entrepreneurs called “DreamBuilder.” It was invented by the collaborative partnership between the U.S. Department of State, Arizona State University’s Thunderbird School of Global Management, and the Freeport-McMoRan Foundation. Find more information about the DreamBuilder at https://dreambuilder.org/ TranslationไทยAcademy for Women Entrepreneurs (AWE) U.S. Embassy in ThailandVisas U.S. Citizen Services Our Relationship Business Education & Culture Embassy & Consulate News & Events Privacy Social Media Terms of Use Sitemap U.S. Embassy U.S. Embassy Bangkok 95 Wireless Road Bangkok 10330, Thailand Tel: +66-2-205-4000 TwitterFacebookYouTubeInstagram U.S. Consulate U.S. Consulate General Chiang Mai Footer Disclaimer This is the official website of the U.S. Embassy & Consulate in Thailand. External links to other Internet sites should not be construed as an endorsement of the views or privacy policies contained therein.
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สายได้รับความช่วยเหลือจากสโมสรโรตารีไทยทาวน์และทีมกิจการพลเรือนสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 สโมสรโรตารีไทยทาวน์ ลอสแอนเจลิส และทีมกิจการพลเรือน สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้บริจาคสิ่งของ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอักษรเบรลล์ 3 เครื่อง อูคูเลเลบริจาคโดยบริษัทเฟนเดอร์ อุปกรณ์เพื่อสุขอนามัยพื้นฐาน และเครื่องบริโภคต่าง ๆ ตลอดจนเลี้ยงอาหารกลางวันนักเรียนโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย ในโอกาสนี้ สโมสรโรตารีแห่งอื่น ๆ ในประเทศไทย รวมถึงสโมสรโรตารีแม่จันและสโมสรโรตารีเชียงราย ได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย คุณก้อย ใจยงค์ และคุณแซม พรหมพิชัย เจ้าหน้าที่ของสโมสรโรตารีไทยทาวน์ มีความผูกพันเป็นการส่วนตัวกับโครงการนี้เนื่องจากเป็นชาวแม่จันและแม่สาย “ตอนเด็ก ๆ ดิฉันอยู่ที่อำเภอแม่จัน จึงมีใจอยากจะกลับมาช่วยเหลือ” คุณก้อยกล่าว “โครงการเหล่านี้ช่วยเหลือคนจำนวนมากในพื้นที่ และการได้ให้กลับคืนสู่ชุมชนเป็นสิ่งพิเศษที่ไม่มีอะไรเหมือน ดิฉันดีใจมากเมื่อได้เห็นรอยยิ้มของเด็ก ๆ ตอนที่พวกเขาบอกขอบคุณ รู้สึกตื้นตันใจมากค่ะ” สโมสรโรตารีไทยทาวน์สนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สายมาตั้งแต่ปี 2561 โดยล่าสุดได้มอบไม้เท้าสั่งทำพิเศษและผ้าห่มให้กับนักเรียนแต่ละคนด้วย ในระหว่างการเยือนโรงเรียนครั้งนั้น คุณก้อยเห็นว่าเครื่องพิมพ์ดีดอักษรเบรลล์ของโรงเรียนชำรุด จึงเริ่มโครงการระดมทุนเพื่อซ่อมแซมและซื้อเครื่องพิมพ์ใหม่ เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 สมาชิกสโมสรโรตารีไทยทาวน์จึงไม่สามารถเดินทางมามอบสิ่งของเหล่านี้ได้ด้วยตนเองจนกระทั่งถึงตอนนี้ นับตั้งแต่ปี 2550 สโมสรโรตารีไทยทาวน์ ลอสแอนเจลิส ดิสทริกต์ 5280 ได้ดูแลไทยทาวน์และชุมชนชาวไทยในนครลอสแอนเจลิสมาโดยตลอด สโมสรก่อตั้งขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของโรตารีสากล และทำงานร่วมกับหุ้นส่วนจากนานาชาติ เช่น โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย เพื่อส่งเสริมสันติภาพและไมตรีจิต โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2559 โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด โรงเรียนแห่งนี้เปิดสอนเด็กที่มีปัญหาด้านการมองเห็นตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั้งนี้ โรงเรียนแรกที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2524 ภายใต้โครงการนี้คือโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ แล้วจึงมีการขยายโครงการไปยังจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศไทย การบริจาคครั้งนี้เป็นหนึ่งในหลายแผนโครงการความร่วมมือระหว่างโรตารีสากลและทีมกิจการพลเรือน โดยก่อนหน้านี้ทีมกิจการพลเรือนได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ไทยด้วยการบริจาคอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อรับมือปัญหาไฟไหม้ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล รวมทั้งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 โดย U.S. Embassy Bangkok | 8 สิงหาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Mae Sai School for the Blind Receives Support from Rotary Club of Thai Town and U.S. Civil Affairs Team On July 27, 2022, the Rotary Club of Thai Town, Los Angeles, and the U.S. Embassy Civil Affairs Team donated a collection of items and sponsored a lunch for students at the Mae Sai School for the Blind. Donated items included three Perkins Brailler machines, Fender-donated ukuleles, basic hygiene supplies, and food items. Local rotary clubs also in attendance included the Mae Chan Rotary Club and Chiang Rai Rotary Club. Rotary Club of Thai Town Officers Koy Jaiyong and Sam Prompichai have a deep personal connection to this project as they are from the Mae Chan and Mae Sai area. “I grew up in Mae Chan so being able to come back and do this is a labor of love,” said Koy. “These projects reach a lot of people in the area and there’s truly nothing like the feeling of giving back to the community. You can’t imagine how happy I got when I saw the students smiling and saying thank you. It’s very touching.” The club has sponsored activities with the Mae Sai School for the Blind since 2018. Most recently, the Rotary Club of Thai Town donated customized walking canes and blankets for each student. During that visit, Koy identified the school’s Brailler machines required repair and began a fundraising campaign to refurbish and purchase new machines. Due to COVID-19, Rotary Club of Thai Town members were unable to personally deliver their donations until now. Since 2007, the Rotary Club of Thai Town in Los Angeles District 5280 has served Thai Town and the Los Angeles Thai communities. Chartered as part of Rotary International, the club works with international partners, such as the Mae Sai School for the Blind, to foster peace and good will. The Mae Sai School for the Blind was founded in 2016 with Her Royal Princess Maha Chakri Sirindhorn presiding over the opening ceremony. The school serves visually impaired children from kindergarten to sixth grade. The first school of this program was established in 1981 in Khon Kaen under the Royal Patronage of His Majesty the King and later extended into other provinces across Thailand. This donation is the first of several collaboration projects planned between Rotary International and the U.S. Embassy Civil Affairs Team. The Civil Affairs Team has previously provided humanitarian assistance in Thailand through donations of firefighting equipment to address seasonal fires and medical supplies during COVID-19. By U.S. Embassy Bangkok | 8 August, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารถวายพระพรชัยมงคลจากอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล จี. ฮีธ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 70 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2565 เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 70 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทย ขอถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงและทรงพระเกษมสำราญ ตลอดจนขอให้ประชาชนชาวไทยมีความสุขกายสุขใจ สหรัฐฯ และไทยมีไมตรีที่ยืนนานกว่า 2 ศตวรรษ และได้ทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่ง เสรีภาพ และความมั่นคงให้แก่ประชาชนของเรา สหรัฐฯ หวังว่าจะได้สานสัมพันธ์ระหว่างเราสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในปีข้างหน้านี้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 กรกฎาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, อุปทูต
Message from U.S. Chargé d’Affaires Michael G. Heath on the Occasion of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua’s 70th Birthday, July 28, 2022 On the occasion of the 70th birthday of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua, the United States Mission to the Kingdom of Thailand offers our most sincere congratulations. The United States and Thailand have a long-standing partnership spanning over two centuries and have worked together to promote prosperity, freedom, and security for our people. We look forward to deepening the strong partnership between our two countries in the year to come. We wish His Majesty, the Royal Family, and the Thai people good health and happiness. By U.S. Embassy Bangkok | 28 July, 2022 | Topics: Chargé D’Affaires, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: รัฐมนตรีว่าการทบวงทหารเรือสหรัฐอเมริกา คาร์โลส เดล โทโร เดินทางเยือนไทย 23-25 กรกฎาคม 2565 รัฐมนตรีว่าการทบวงทหารเรือสหรัฐฯ คาร์โลส เดล โทโร จะเดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม เพื่อเข้าพบผู้นำระดับสูงและเจ้าหน้าที่กองทัพเรือไทย โดยเป็นการเยือนไทยครั้งแรกนับตั้งแต่สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการพัฒนากองทัพไทยให้ทันสมัย ยกระดับสัมพันธไมตรีสหรัฐฯ-ไทย และส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง รัฐมนตรีเดล โทโร สาบานตนเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงทหารเรือสหรัฐฯ คนที่ 78 ในวันที่ 9 สิงหาคม 2564 โดยมีหน้าที่ดูแลทหารเรือ นาวิกโยธิน กำลังสำรอง และเจ้าหน้าที่พลเรือนกว่า 900,000 ชีวิต และมีเป้าหมายหลักคือการรับมือกับความท้าทายเร่งด่วนอันดับต้น ๆ ที่กองทัพเรือและหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ประสบ ซึ่งรวมไปถึงความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐมนตรีเดล โทโร สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาความมั่นคงแห่งชาติ จากวิทยาลัย Naval War College รวมถึงปริญญาโท สาขาวิศวกรรมระบบอวกาศ จากสถาบัน Naval Postgraduate School และปริญญาโท สาขากฎหมาย จากมหาวิทยาลัย George Washington University โดย U.S. Embassy Bangkok | 22 กรกฎาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
Secretary of the Navy Carlos Del Toro to visit Thailand July 23-25, 2022 Secretary of the Navy Carlos Del Toro will visit Thailand July 23-25 to meet with senior leaders and counterparts in the Royal Thai Navy. This is the Secretary’s first visit to Thailand since being sworn into his position and is part of ongoing engagements to support Thailand’s military modernization, deepen the U.S.-Thai alliance, and advance a Free and Open Indo-Pacific. The Honorable Carlos Del Toro was sworn in as the 78th Secretary of the Navy August 9, 2021. As Secretary, he is responsible for over 900,000 Sailors, Marines, reservists, and civilian personnel. His priorities focus on addressing the most pressing challenges confronting the U.S. Navy and Marine Corps, including climate instability, and Covid’s ongoing impact. He holds a Masters in National Security Studies from the Naval War College, a Masters in Space Systems Engineering from the Naval Postgraduate School, and a Masters in Legislative Affairs from George Washington University. By U.S. Embassy Bangkok | 22 July, 2022 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ผู้อำนวยการสถาบัน APCSS เดินทางเยือนไทย 18-22 กรกฎาคม 2565 พลเรือตรี พีท กุมะเทาเทา (เกษียณ) ผู้อำนวยการสถาบัน Daniel K. Inouye Asia-Pacific Center for Security Studies (APCSS) ของสหรัฐอเมริกา จะเดินทางเยือนไทยตั้งแต่วันที่ 18-22 กรกฎาคม พร้อมคณะผู้สอนจาก APCSS ซึ่งจะช่วยสนับสนุนโครงการพัฒนาผู้นำทางยุทธศาสตร์และความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง (SSSP) ประจำปี 2565 ของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ (SSC) สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองทัพไทย การเยือนครั้งนี้นำมาสู่การประชุมครั้งที่ 3 ระหว่างสถาบัน APCSS และศูนย์ SSC โดยมีผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงระดับกลางและระดับผู้บริหารจำนวน 50 คนจากหน่วยงานกลาโหม ภาคพลเรือน และองค์กรวิชาการ มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านความมั่นคง การจัดการภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม ผู้อำนวยการสถาบัน APCSS พร้อมด้วยนายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และพลเอก ณตฐพล บุญงาม เสนาธิการทหาร กองทัพไทย และประธานศิษย์เก่าสถาบัน APCSS ประจำประเทศไทย จะร่วมเป็นประธานในกิจกรรมระหว่างศิษย์เก่าสถาบัน APCSS ที่สถาบันวิชาการป้องกันประเทศในกรุงเทพฯ ประเทศไทยมีศิษย์เก่าที่ผ่านหลักสูตรของสถาบัน APCSS กว่า 450 คน ซึ่งมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงชาวอเมริกันและไทยได้เสริมสร้างศักยภาพ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ตลอดจนพันธไมตรีระหว่างผู้นำและสถาบันด้านการทหารและพลเรือน เพื่อยกระดับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง สถาบัน APCSS ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 และอยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โดยมุ่งเน้นการรับมือประเด็นความมั่นคงระดับภูมิภาคและระดับโลก ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทั้งฝ่ายการทหารและพลเรือนซึ่งส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าร่วมโครงการด้านการศึกษาที่มีความครอบคลุมสำหรับผู้บริหารระดับสูง การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และกิจกรรมความช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้งในฮาวายและทั่วเอเชีย-แปซิฟิก ภารกิจของสถาบันคือการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายที่มีความสนใจร่วมกันผ่านการให้ความรู้ เชื่อมโยง และสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานด้านดังกล่าว เพื่อสร้างเสริมความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งนี้ สถาบัน APCSS เป็น 1 ใน 5 ศูนย์การศึกษาด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พล.ร.ต. พีท กุมะเทาเทา (เกษียณ) ผู้อำนวยการสถาบัน APCSS เกิดที่เกาะกวม สำเร็จการศึกษาจากสถาบัน United States Naval Academy ในปี 2524 และสำเร็จการศึกษาระดับศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษายุทธศาสตร์ด้านการป้องกันประเทศ จากวิทยาลัย U.S. Naval War College ในปี 2537 พล.ร.ต. พีท มีประสบการณ์หลายด้านและเคยประจำการมาแล้วทั่วโลกตลอดเวลา 37 ปี รวมทั้งดำรงตำแหน่งนายทหารชั้นนายพลของกองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นเวลา 8 ปี ดาวน์โหลดรูปภาพได้ที่: https://drive.google.com/drive/folders/1polbdlyPeDLVv4V1hWDak-Xx3iFze6s5 โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 กรกฎาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
Asia-Pacific Center for Security Studies Director to Visit Thailand July 18-22, 2022 Rear Admiral (retired) Pete Gumataotao, Director of the Daniel K. Inouye Asia-Pacific Center for Security Studies (APCSS), will visit Thailand from July 18-22. Director Gumataotao will lead a delegation of APCSS faculty who will support the 2022 Senior Security Studies Program (SSSP), organized by the Royal Thai Armed Forces’ Strategic Studies Center (SSC) of the National Defence Studies Institute. This visit, which marks the third joint conference between APCSS and SSC, will bring together 50 mid-to-executive-level security practitioners from military, civilian, and academic agencies to share best practices in security, disaster management, and humanitarian relief. On Friday, July 22, APCSS Director Gumataotao, U.S. Embassy Chargé d’Affaires Michael Heath, and Thailand APCSS Alumni President/RTARF Chief of the Joint Staff General Nothapol Boonngam will preside over an APCSS alumni event to recognize Thailand’s APCSS alumni at the National Defence Studies Institute in Bangkok. With over 450 alumni of APCSS courses, Thailand has the largest alumni network in the region. Through APCSS, U.S. and Thai security practitioners build capacity, improve mutual understanding, and strengthen relationships among civilian and military leaders and institutions to advance a free and open Indo-Pacific. Founded in 1995, the Daniel K. Inouye Asia-Pacific Center for Security Studies is a U.S. Department of Defense institute that addresses regional and global security issues. Military and civilian decision makers, most from U.S. and Asia-Pacific nations, participate in a comprehensive program of executive education, professional exchanges and outreach events, both in Hawaii and throughout the Asia-Pacific region. APCSS’ mission is to build capacities and communities of interest by educating, connecting, and empowering security practitioners to advance Asia-Pacific security. It is one of the Department of Defense’s five regional security studies centers. APCSS Director Rear Admiral (Ret) Pete Gumataotao, a native of Guam, is a 1981 graduate of the United States Naval Academy and earned his Master of Arts degree in National Security Strategic Studies from the U.S. Naval War College in 1994. Director Gumataotao has extensive experience operating globally during 37 years of active duty service, including eight years as a U.S. Navy flag officer. Download photos here. By U.S. Embassy Bangkok | 19 July, 2022 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทย เอกสารข้อเท็จจริง สำนักงานโฆษก 9 กรกฎาคม 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี เจ. บลิงเคน จะเดินทางเยือนกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยจะเข้าพบนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยืนยันพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ตลอดจนความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงซึ่งประสานความร่วมมืออันยืนนานของเรากับไทย รัฐมนตรีบลิงเคนจะพบกับศิษย์เก่าโครงการแลกเปลี่ยนของสหรัฐฯ เพื่อทำความเข้าใจประเด็นสำคัญๆ ในกลุ่มผู้นำชาวไทยรุ่นใหม่ ในระหว่างการเดินทางครั้งนี้ รัฐมนตรีบลิงเคนจะผลักดันให้มีการยุติความรุนแรงในพม่า และขยายความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางต่างๆ สหรัฐฯ และไทยเป็นหุ้นส่วนและพันธมิตรใกล้ชิด สหรัฐฯ ตั้งตารอที่จะได้เสริมสร้างความร่วมมืออันโดดเด่นระหว่างประเทศของเราทั้งสองในฐานะพันธมิตรและเพื่อน โดยในปีหน้า ความสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ-ไทยจะครบรอบ 190 ปี ความสัมพันธ์ของเราแน่นแฟ้นและยืนนาน สหรัฐฯ เริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไทยในปี 2376 ด้วยสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ และยืนยันความสัมพันธ์อีกครั้งด้วยกติกามะนิลา พ.ศ. 2497 ภายใต้องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนั้น เมื่อปี 2546 สหรัฐฯ ได้ประกาศให้ไทยเป็นชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้ ไทยและสหรัฐฯ มีความมุ่งมั่นร่วมกันต่อค่านิยมเดียวกัน อันได้แก่ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน หลักนิติธรรม ความมั่นคง และความมั่งคั่ง เราชื่นชมความตั้งใจของไทยในการรับมือวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุมจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ประจำปี 2565 และความร่วมมือภายใต้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เรารอคอยที่จะสานต่อการดำเนินงานของไทยในหัวข้อเหล่านี้ระหว่างที่สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปี 2566 ความร่วมมือด้านความมั่นคงเสริมสร้างพันธไมตรีของเราและยังประโยชน์แก่ภูมิภาค ไทยเป็นพันธมิตรในสนธิสัญญา เป็นผู้นำและผู้ส่งเสริมความมั่นคงในประชาคมนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นหุ้นส่วนที่ไว้ใจได้ ไทยเป็นหุ้นส่วนและผู้นำหลักด้านการบังคับใช้กฎหมายในระดับภูมิภาค สหรัฐฯ และไทยดำเนินงานสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ILEA) ในกรุงเทพฯ โดยนับตั้งแต่ปี 2541 ได้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ยุติธรรมทางอาญาแล้วกว่า 22,000 คนจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในหัวข้อเช่น การต่อต้านการทุจริต อาชญากรรมไซเบอร์ รวมถึงการค้ายาเสพติด สัตว์ป่า และมนุษย์ ไทยและสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกทางทหารระดับพหุภาคีประจำปีที่ใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดของภูมิภาค นับตั้งแต่ปี 2493 ไทยได้รับยุทโธปกรณ์ วัสดุภัณฑ์จำเป็น การฝึกอบรม ตลอดจนความช่วยเหลือด้านอื่นๆ จากสหรัฐฯ ในการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารสถานที่ต่างๆ โครงการช่วยเหลือทางทหารแบบ FMS (Foreign Military Sales) ที่กำลังดำเนินการอยู่ของเรามีมูลค่า 2,850 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ เรายังมีการฝึกซ้อมและปฏิบัติการทางทหารร่วมกันกว่า 400 กิจกรรมในแต่ละปีอีกด้วย สหรัฐฯ ส่งเสริมความเป็นผู้นำของไทยในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership: MUSP) ในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) และในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ซึ่งเป็นความร่วมมือในการประสานการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานระหว่างห้าชาติลุ่มน้ำโขง สหรัฐฯ ร่วมมือกับไทยและประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างประเทศอื่นๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือ MUSP เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน ตลอดจนรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ต่างๆ เช่น การจัดการทรัพยากร อาชญากรรมข้ามชาติ ความโปร่งใสและธรรมาภิบาล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชาวอเมริกันและชาวไทยได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของเราในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการศึกษา สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่สุดของไทย โดยได้ซื้อสินค้าจากไทยเมื่อปี 2564 รวมมูลค่ากว่า 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และการค้าสองฝ่ายในปีเดียวกันมีมูลค่ารวม 63,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ความสัมพันธ์ของเรา ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าบริโภคและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไปจนถึงความร่วมมือในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ได้ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในด้านต่างๆ นอกไปจากภาคเศรษฐกิจ รวมถึงเทคโนโลยีด้านความมั่นคงและด้านอวกาศ สหรัฐฯ ก่อให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในไทยเมื่อปี 2563 เป็นมูลค่า 17,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้สหรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนจากต่างประเทศรายใหญ่เป็นอันดับสามของไทย หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS) และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้ร่วมงานกับภาคีไทยมาเป็นเวลากว่า 60 ปีเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนอเมริกัน ไทย และนานาชาติ ผ่านทางการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ตลอดจนโครงการริเริ่มด้านสาธารณสุขต่างๆ โครงการด้านสิ่งแวดล้อมของ USAID ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจด้านนโยบายเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น คุณภาพอากาศ ต่อสู้กับการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และขยายการเข้าถึงแหล่งพลังงานสะอาด ปลอดภัย ราคาไม่แพง เสถียร และทันสมัย USAID และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ยังเสริมสร้างความร่วมมือผ่านทางการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาร่วมกันแก่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐฯ สนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนที่เชื่อมโยงเยาวชน นักเรียน นักการศึกษา ศิลปิน นักกีฬา และผู้นำชาวไทยรุ่นใหม่กับบุคคลจากวงการเดียวกันในสหรัฐฯ และภูมิภาคอาเซียน โดยให้พวกเขามีส่วนร่วมในประเด็นสำคัญๆ ทางยุทธศาสตร์ ตั้งแต่การมีส่วนร่วมของพลเมืองไปจนถึงความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ โครงการแลกเปลี่ยนของเรามีกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยโครงการฟุลไบรท์ โครงการ International Visitor Leadership Program (IVLP) และโครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) มีศิษย์เก่าชาวไทยมากกว่า 5,000 คน ส่วนโครงการที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นอย่างสมาคมศิษย์เก่าโครงการแลกเปลี่ยนไทย-สหรัฐฯ (Thailand-United States Alumni Association: TUSAA) ก็เชื่อมโยงศิษย์เก่าจากทั่วประเทศให้มาร่วมทำงานในโครงการที่สนับสนุนเป้าหมายร่วมกันของเรา อาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา (U.S. Peace Corps) ปฏิบัติหน้าที่ในไทยมาตั้งแต่ปี 2505 โดยเน้นการฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาและการพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชน โดย U.S. Mission Thailand | 10 กรกฎาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
The United States-Thailand Relationship FACT SHEET OFFICE OF THE SPOKESPERSON July 9, 2022 Secretary of State Antony J. Blinken will travel to Bangkok, Thailand where he will meet with Thai Prime Minister Prayut Chan-o-cha and Deputy Prime Minister and Foreign Minister Don Pramudwinai to reaffirm the U.S.-Thai alliance and the U.S. commitment to the Indo-Pacific region. They will also discuss the economic and security ties that bind our enduring partnership with Thailand. Secretary Blinken will visit a shelter for victims of human trafficking to demonstrate shared commitment to eliminating trafficking. The Secretary will meet with U.S. exchange alumni to gain perspective on priority issues for young Thai leaders. Throughout his visit, Secretary Blinken will push to end the violence in Burma and expand humanitarian assistance for vulnerable populations. The United States and Thailand are Close Partners and Allies The United States looks forward to strengthening the excellent cooperation between our two countries, as allies and friends. Next year marks 190 years of diplomatic relations. Our relationship is deep and enduring. The United States formalized diplomatic relations with Thailand in 1833 with a Treaty of Amity and Commerce and reaffirmed relations with the 1954 Manila Pact of the former Southeast Asia Treaty Organization. In 2003, the United States designated Thailand a major non-NATO Ally. Thailand and the United States share a commitment to the same values – democracy, human rights, labor rights, the rule of law, security, and prosperity. We welcome Thailand’s focus on tackling the climate crisis and fostering a sustainable and inclusive economic recovery from the COVID-19 pandemic, including through its 2022 Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) host year and partnership in the Association of Southeast Asian Nations. We look forward to advancing Thailand’s leadership on these topics during the U.S. 2023 APEC host year. Security Cooperation Strengthens Our Partnership and Benefits the Region Thailand is a treaty ally, a leader and guarantor of security in the international community, and a reliable partner. Thailand is a key regional law enforcement partner and leader. The United States and Thailand jointly operate the International Law Enforcement Academy (ILEA) in Bangkok, which since 1998 has provided training to more than 22,000 criminal justice sector officials from across Southeast Asia on topics such as anticorruption, cybercrime, and trafficking in narcotics, wildlife, and persons. Thailand and the United States co-host Cobra Gold, the region’s largest and longest-running annual multinational military exercise. Since 1950, Thailand has received U.S. military equipment, essential supplies, training, and other assistance in the construction and improvement of facilities. We have $2.85 billion in ongoing Foreign Military Sales and an annual slate of more than 400 joint military exercises and engagements. The United States supports Thailand’s leadership in the Mekong region through the Mekong-U.S. Partnership (MUSP), as a development partner of the Mekong River Commission, and as a development partner of the Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy (ACMECS), a partnership between the five Mekong–region countries to coordinate infrastructure development. Through the MUSP, the United States collaborates with Thailand and other Lower Mekong countries to strengthen transboundary economic connections and address emerging challenges, such as resource management, transnational crime, transparency and good governance, and human resource development. Americans and Thais Benefit from Our Close Economic, Environment, Health, and Educational Ties The United States is Thailand’s largest export market, purchasing more than $47 billion of goods from Thailand 2021. In 2021, our total two-way trade amounted to $63.7 billion. Our relationship, which ranges from trade in consumer goods and agricultural products to cooperation in the defense industries, has spurred collaboration in fields outside the economic realm, including security and space technology. The United States contributed $17.5 billion of foreign direct investment (FDI) to Thailand in 2020, making it Thailand’s third-largest foreign investor. For more than 60 years, U.S. agencies, such as the Centers for Disease Control and Prevention, the Armed Forces Research Institute of Medical Sciences, and the U.S. Agency for International Development (USAID), have partnered with Thai counterparts to safeguard the health of U.S., Thai, and international communities through medical research and innovation and public health initiatives. USAID environment programs promote sustainable resource management; conserve biodiversity; expand the use of data to inform policy decisions on issues including air quality; combat wildlife trafficking; and increase access to clean, safe, affordable, reliable, and modern sources of energy. USAID and the Thailand International Cooperation Agency (TICA) are also deepening cooperation through a Strategic Partnership to jointly provide development assistance to other countries in Southeast Asia. The United States supports exchange programs that connect Thai youth, students, educators, artists, athletes, and rising leaders to their counterparts in the United States and the ASEAN region, engaging them on strategic priorities ranging from civic engagement to economic sustainability.Our exchange programs are robust, with more than 5,000 Thai alumni of the Fulbright program, International Visitor Leadership Program (IVLP), and Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI).The newly established Thailand-United States Alumni Association brings together alumni from across the country to work together on projects that support our mutual goals. U.S. Peace Corps Volunteers, active in Thailand since 1962, focus on English teacher training in primary schools and youth life skills development. By U.S. Embassy Bangkok | 10 July, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand, U.S. Secretary of State
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ไทยและสหรัฐฯ จัดการหารือระหว่างผู้นำระดับสูง พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย และพลเรือเอก จอห์น ซี. อากีลีโน ผู้บัญชาการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการหารือระหว่างผู้นำระดับสูงของสหรัฐฯ กับไทย (U.S.-Thai Senior Leader Dialogue หรือ SLD) ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กองบัญชาการกองทัพไทย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา การประชุมดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลด้วยดี โดยพล.อ. เฉลิมพล และพล.ร.อ. อากีลีโน ได้ลงนามในกรอบแผนงานสนับสนุนแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย ค.ศ. 2020 (Thailand-United States Joint Vision Statement 2020 Support Framework) ซึ่งระบุวิธีดำเนินการตามแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญดังนี้ กลไกความมั่นคงในภูมิภาค: สหรัฐฯ ยังคงส่งเสริมไทยให้มีบทบาทสำคัญ ๆ ด้านการเป็นผู้นำของอาเซียนและความร่วมมือภายในอาเซียน อีกทั้งทำงานร่วมกับคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย (HADR) และการแพทย์ทหารของไทย เพื่อกำหนดมาตรฐานของทีมแพทย์ฉุกเฉิน การเป็นหุ้นส่วนกัน: สหรัฐฯ และไทยจะขยายขอบเขตและยกระดับความซับซ้อนของการฝึกร่วมกัน ซึ่งรวมถึงปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ผ่านการป้องกันระบบ และปฏิบัติการร่วมด้านการแพทย์ทหาร การดำรงบทบาท: เราสนับสนุนไทยในฐานะศูนย์กลางของภูมิภาคด้านปฏิบัติการมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย และด้านโลจิสติกส์ ความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ยั่งยืน: สหรัฐฯ สนับสนุนกองทัพไทยในการพัฒนาหน่วยงานให้ทันสมัย ตลอดจนเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระดับทวิภาคีระหว่างบุคลากรทหาร การเป็นผู้นำ: สหรัฐฯ จะสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากลของไทยให้กลายเป็นองค์กรผู้นำและตัวอย่างระดับภูมิภาคด้านปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย “การประชุม Senior Leader’s Dialogue ถือเป็นการประชุมสุดยอดในเวทีทางทหาร นับเป็นหมุดหมายสำคัญในการดำเนินความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหรัฐฯ และไทย โดยจะก้าวเดินไปบนผลประโยชน์และค่านิยมร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถและการปฏิบัติงานระหว่างกัน ไปสู่การเป็นพันธมิตรทางทหารที่มั่นคง เจริญรุ่งเรือง และมีความยั่งยืน” พล.อ. เฉลิมพล กล่าว ไทยและสหรัฐฯ มุ่งกระชับความร่วมมือให้ต่อเนื่องและชิดใกล้ในด้านที่สำคัญต่อชาติและความมั่นคงของเรา ซึ่งรวมถึงการต่อต้านการก่อการร้าย ความมั่นคงทางทะเล ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การบรรเทาภัยพิบัติ และประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย “ผมรู้สึกเป็นเกียรติและโชคดีเสมอที่ได้เดินทางเยือนไทย หนึ่งในพันธมิตรทางสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ไมตรีระหว่างไทยและสหรัฐฯ สำคัญยิ่งต่อการธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงและความั่งคั่งของภูมิภาคนี้ เพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งปวง” พล.ร.อ. อากีลีโน กล่าว ไทยและสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพร่วมจัดการฝึกคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ปี 2493 ไทยได้รับยุทโธปกรณ์ สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น การฝึกอบรม และความช่วยเหลืออื่นจากสหรัฐฯ เพื่อก่อสร้างและพัฒนาอาคารสถานที่ต่าง ๆ และเรายังจัดการฝึกซ้อมและกิจกรรมทางการทหารร่วมกันมากกว่า 400 ครั้งต่อปี สัมพันธภาพสหรัฐฯ-ไทยยังประโยชน์แก่ชาติของเรา และส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1zk7z3IfwDLwKg1rODUbY-kt-bWADF6y8 โดย U.S. Embassy Bangkok | 8 มิถุนายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Thailand, U.S. Host Senior Leader Dialogue General Chalermphon Srisawasdi, Chief of Defence Forces of the Royal Thai Armed Forces and Admiral John Aquilino, Commander of U.S. Indo-Pacific Command, held the first-ever 2022 U.S.-Thailand Senior Leader Dialogue (SLD) at Royal Thai Armed Forces Headquarters, Bangkok, June 8. General Chalermphon and Admiral Aquilino concluded the successful SLD by signing the Thailand – United States Joint Vision Statement 2020 Support Framework, which outlines the means to operationalize the Joint Vision Statement 2020. The key takeaways are: Regional Security Architecture: The United States continues to support Thailand’s critical leadership role in ASEAN and ASEAN partnerships, and works with Thai Humanitarian Assistance/Disaster Relief (HADR) and Military Medicine Experts Working Group to standardize emergency medical team standards. Partnership: The U.S. and Thailand will broaden the scope and complexity of exercises, including on defensive cyber security and joint military medicine operations. Presence: Support Thailand’s posture as a regional hub for HADR operations and logistics. Sustainable Security Cooperation: The U.S. supports long-term Royal Thai Armed Forces modernization and increase bilateral professional military education exchanges. Leadership: The U.S. will support the Thai Counter Terrorist Operations Center to become a regional leader and example in counter terrorist operations. “The Senior Leader’s Dialogue is a culmination of our military – to – military dialogues and it marks another important milestone for U.S. and Thailand partnership as we advance our mutual interests and shared values to enhance our capability and interoperability towards a stable, prosperous and sustainable defense alliance,” said General Chalermphon. Thailand and the U.S. look forward to ongoing, close cooperation in areas central to our national and security interests including counterterrorism, maritime security, cyber security, humanitarian assistance, disaster relief, and many others. “It is always an honor and privilege for me to come to Thailand, one of our oldest U.S. treaty allies. The alliance between Thailand and the United States is a very important part of ensuring regional stability and prosperity is maintained for the benefit of all,” said Admiral Aquilino. Thailand and the U.S. co-host Cobra Gold, the Indo-Pacific region’s largest annual multinational military exercise. Since 1950, Thailand has received U.S. military equipment, essential supplies, training, and assistance with construction and improvement of facilities. The U.S. has an annual slate of more than 400 joint military exercises and engagements with the Kingdom of Thailand. The U.S.-Thai alliance benefits both nations and supports peace and prosperity in the Indo-Pacific. Download more photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1zk7z3IfwDLwKg1rODUbY-kt-bWADF6y8 By U.S. Embassy Bangkok | 8 June, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand | Tags: Senior Leader Dialogue
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: Admiral John Aquilino, Commander, U.S. Pacific Fleet พล.ร.อ. จอห์น อากีลีโน ผู้บัญชาการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯจะเดินทางเยือนไทย 7-9 มิ.ย.นี้ พลเรือเอก จอห์น ซี. อากีลีโน ผู้บัญชาการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา (USINDOPACOM) จะเดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายนนี้ เพื่อนำคณะผู้แทนสหรัฐฯ เข้าร่วมการหารือระหว่างผู้นำระดับสูงของสหรัฐฯ กับไทย (U.S.-Thai Senior Leader Dialogue) ครั้งแรก ในโอกาสนี้ พล.ร.อ. อากีลีโน จะได้พบปะกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงกลาโหมและกองทัพไทยด้วย การเยือนครั้งนี้เป็นการเดินทางมาไทยครั้งที่ 2 ของ พล.ร.อ. อากีลีโน ในตำแหน่งดังกล่าว และเป็นส่วนหนึ่งของการหารืออย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการพัฒนากองทัพไทยให้ทันสมัย กระชับพันธไมตรีสหรัฐฯ-ไทย ตลอดจนส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง พล.ร.อ. อากีลีโน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน Navy Fighter Weapons School (TOPGUN) และสถาบัน Joint Forces Staff College อีกทั้งยังสำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านความมั่นคงในประเทศและระหว่างประเทศจากสถาบัน Harvard Kennedy School ด้วย พล.ร.อ. อากีลีโน เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการกองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2564 โดยเป็นผู้บัญชาการคนที่ 26 ของกองบัญชาการกำลังรบที่มีความเป็นมายาวนานและมีขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ กองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ประกอบไปด้วยทหารบก ทหารเรือ นาวิกโยธิน ทหารอากาศ ทหารอวกาศ ยามชายฝั่ง และบุคลากรพลเรือนของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กว่า 380,000 คน นอกจากนี้ยังรับผิดชอบกิจกรรมด้านการทหารของอเมริกาในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกทั้งหมด ซึ่งครอบคลุม 36 ประเทศ 14 เขตเวลา และมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรโลก อ่านประวัติของ พล.ร.อ. อากีลีโน เพิ่มเติมได้ที่ https://www.navy.mil/Leadership/Flag-Officer-Biographies/BioDisplay/Article/2236089/admiral-john-aquilino/ Admiral John Aquilino, Commander, U.S. Pacific Fleet โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 มิถุนายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Admiral John Aquilino, Commander, U.S. Pacific Fleet Admiral John Aquilino, Commander, U.S. Indo-Pacific Command to visit Thailand June 7-9 Admiral John Aquilino, Commander, U.S. Indo-Pacific Command, will visit Thailand June 7-9 to lead the United States side in the first U.S.-Thai Senior Leader Dialogue. Admiral Aquilino will also meet with counterparts from the Thai Ministry of Defense and the Royal Thai Armed Forces. This will be Admiral Aquilino’s second visit to Thailand as Commander of U.S. Info-Pacific Command and is part of ongoing engagements to support Thailand’s military modernization, deepen the U.S.-Thai alliance, and advance a Free and Open Indo-Pacific. Admiral Aquilino graduated from the Navy Fighter Weapons School (TOPGUN), and the Joint Forces Staff College and completed Harvard Kennedy School’s Executive Education Program in National and International Security. Admiral Aquilino assumed duties as commander, Indo-Pacific Command in May 2021. He is the 26th commander of the nation’s oldest and largest combatant command. U.S. Indo-Pacific Command includes 380,000 soldiers, sailors, marines, airmen, guardians, coast guardsmen and Department of Defense civilians and is responsible for all U.S. military activities in the Indo-Pacific, covering 36 nations, 14 time zones, and more than 50% of the world’s population. Link to Bio: https://www.navy.mil/Leadership/Flag-Officer-Biographies/BioDisplay/Article/2236089/admiral-john-aquilino/ Admiral John Aquilino, Commander, U.S. Pacific Fleet By U.S. Embassy Bangkok | 7 June, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันและชาวไทยของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในราชอาณาจักรไทยร่วมกับประชาชนชาวไทยถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2565 ขอพระองค์มีพระพลานามัยแข็งแรงและทรงพระเกษมสำราญยิ่ง สหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรไทยมีสัมพันธไมตรีอันดีมายาวนานกว่า 2 ศตวรรษ สหรัฐอเมริกาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้สานต่อความร่วมมือด้านสาธารณสุข ธุรกิจการค้า และความมั่นคงขณะที่มิตรภาพอันยั่งยืนยังประโยชน์ให้ทั้งสองชาติสืบไป โดย U.S. Embassy Bangkok | 3 มิถุนายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Statement on the Birthday of Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana The American and Thai community of the U.S. Mission to the Kingdom of Thailand join the people of the Kingdom of Thailand in extending our warmest wishes on the joyous occasion of Her Majesty Queen Suthida Bajrasudhabimalalakshana’s birthday anniversary on 3 June 2022. We wish Her Majesty the Queen and all Thais a year filled with health and happiness. The United States of America and Kingdom of Thailand have enjoyed friendly relations for more than two centuries. We look forward to deepening our partnerships in health, business, and security as our longstanding relationship continues to benefit our two nations. By U.S. Embassy Bangkok | 3 June, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กองทัพเรือสหรัฐฯ ส่งมอบระบบอากาศยานไร้คนขับให้กองทัพเรือไทย อ่าวไทย – เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ผู้บัญชาการกองเรือที่ 7 แห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. 7th Fleet) พลเรือโท คาร์ล โทมัส เป็นประธานในพิธีส่งมอบระบบอากาศยานไร้คนขับและไม่ติดอาวุธ RQ-21A Blackjack ให้กับกองทัพเรือไทย โดยระบบดังกล่าวออกแบบมาสำหรับการค้นหาข้อมูลข่าวกรอง เฝ้าระวัง และลาดตระเวนทางทะเล มีพิสัยทำการ 50 ไมล์ทะเล ความเร็ว 60 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง และบินติดต่อกันได้นาน 16 ชั่วโมง RQ-21A Blackjack จะเสริมสร้างขีดความสามารถด้านความมั่นคงทางทะเลของไทยสำหรับปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย รวมถึงการปราบปรามการค้ายาเสพติดและมนุษย์ อีกทั้งยังจะยกระดับการปฏิบัติการร่วมกันของกองทัพเรือสหรัฐฯ และไทยด้วย โครงการสำหรับกองทัพเรือไทยนี้ได้รับทุนจากโครงการความช่วยเหลือด้านความมั่นคงทางทะเล (MSI) ของสหรัฐฯ สำหรับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และประกอบไปด้วยอากาศยาน 5 ลำ, สถานีควบคุมภาคพื้นดิน 2 สถานี, อุปกรณ์การส่งและกลับคืน, การฝึกอบรมในสหรัฐฯ ตลอดจนที่ปรึกษาด้านเทคนิคที่จะช่วยแนะนำกองทัพเรือไทยในด้านปฏิบัติการและการบำรุงรักษาระบบ สัมพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ และไทย จะทำให้ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเสรีและเปิดกว้าง ซึ่งสำคัญยิ่งต่อสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพของภูมิภาค ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1yal37dcZRZ-61J6YAk7oi_PAiqh9ty9L โดย U.S. Mission Thailand | 24 พฤษภาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
U.S. Navy Formally Hands Over Unmanned Aircraft System to the Royal Thai Navy GULF OF THAILAND – Commander, U.S. 7th Fleet, Vice Admiral Karl Thomas presided over a ceremony to officially hand over the RQ-21A Unmanned Aircraft System to the Royal Thai Navy on May 24. The RQ-21A Blackjack is an unmanned and unarmed aircraft system designed for maritime intelligence, surveillance, and reconnaissance. With a range of 50 nautical miles, a speed of 60 nautical miles per hour, and an endurance of 16 hours, the RQ-21A Blackjack will enhance Thailand’s maritime security capabilities for search and rescue operations, and drug and human trafficking interdiction. It will also advance the interoperability of our navies. Funded via the Indo-Pacific Maritime Security Initiative (MSI), the Royal Thai Navy program includes five aircraft, two ground control stations, launch and recovery equipment, and in-residence training in the United States. The program also includes technical advisors to assist the Royal Thai Navy with operations and maintenance of the system. The U.S.-Thai alliance ensures a free and open Indo-Pacific that is vital to regional peace, security, and stability. Download more photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1yal37dcZRZ-61J6YAk7oi_PAiqh9ty9L By U.S. Embassy Bangkok | 24 May, 2022 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ไทย-สหรัฐฯ ร่วมการฝึกการัตประจำปี 2565 เพื่อยกระดับความร่วมมือทางทะเล อ่าวไทย – กองทัพเรือไทยและสหรัฐอเมริกาเริ่มการฝึกความร่วมมือและความพร้อมทางเรือ หรือ “การัต” (Cooperation Afloat Readiness and Training: CARAT) ประจำปี ครั้งที่ 28 ในวันที่ 23 พฤษภาคม การฝึกการัตในอ่าวไทยเน้นย้ำถึงความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยที่จะทำให้ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเสรีและเปิดกว้าง ซึ่งสำคัญยิ่งต่อสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพของภูมิภาค “การฝึกการัตในไทยเป็นเวลา 28 ปีแสดงถึงพันธไมตรีอันยาวนานระหว่างประชาชนไทยและอเมริกัน” นาวาโท ไบรอัน บันเก ผู้บัญชาการประจำเรือ USS Jackson (LCS 6) กล่าว “เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของโอกาสที่จะได้ทำงานร่วมกับกองทัพเรือไทยเพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับภูมิภาค พร้อมทั้งสร้างเสริมและยกระดับศักยภาพในการทำงานร่วมกัน” ทั้งสองประเทศจะแสดงถึงขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันผ่านกิจกรรมมากมาย รวมไปถึงยุทธวิธีที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างการสื่อสารขณะเดินเรือร่วมกันโดยใช้ยุทธวิธีการจัดกระบวนเรือที่ซับซ้อน การฝึกยังรวมไปถึงการติดตามเป้าหมายโดยใช้ความตระหนักรู้ทางทะเลด้วยเครื่องบิน P-8 ซึ่งมุ่งเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพเรือในการตามรอยและติดตามเป้าหมายที่อยู่เหนือพิสัยการมองเห็น นอกเหนือไปจากการฝึกค้นหาและกู้ภัย กองทัพเรือของทั้งสองชาติจะได้ฝึกลงจอดเฮลิคอปเตอร์บนเรือของกองทัพเรืออีกฝ่ายด้วย การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ชำนาญการเฉพาะเรื่องประกอบไปด้วยกิจกรรมการฝึกร่วมมากมายที่มีเป้าหมายเสริมสร้างขีดความสามารถและองค์ความรู้ ของผู้เข้าร่วม การฝึกนอกชายฝั่งจะดำเนินการในน่านน้ำอาณาเขตและน่านน้ำสากลใกล้สัตหีบและเกาะสมุย โดยสหรัฐฯ ส่งเรือ USS Jackson (LCS 6) และเครื่องบิน P-8A Poseidon ภายใต้กองเรือบัญชาการเฉพาะกิจ (CTF) ที่ 72 เข้าร่วมฝึกกับเรือและอากาศยานจากกองทัพเรือไทยเพื่อมุ่งเสริมสร้างการปฏิบัติการร่วมกันและกระชับความสัมพันธ์ของเรา กองทัพเรือไทยส่งเรือและอากาศยานเข้าร่วม ได้แก่ เรือฟริเกตจำนวน 3 ลำ คือ เรือหลวงนเรศวร (FFG 421) เรือหลวงบางปะกง (FFG 456) และเรือหลวงกระบุรี (FFG 457) อากาศยาน 1 ลำ คือ S-76B รวมถึงหน่วยฝึกนักประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ “กองทัพเรือไทยเห็นว่าการฝึกนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคลากรในกองทัพ” พลเรือโท ไพศาล มีศรี รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการกล่าว “ผมมั่นใจว่าทุกกองกำลังที่เข้าร่วมการฝึกจะได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนด้านเทคนิควิชาการ การฝึกภาคฝึก และการฝึกนอกชายฝั่ง” การฝึกการัตจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2538 และต่อยอดจากความร่วมมืออื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโด-แปซิฟิก โดยในแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยการประชุมสัมมนาระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และการฝึกนอกชายฝั่งที่ซับซ้อนทันยุคสมัยเพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติการร่วม ทั้งสองช่วงประกอบไปด้วยการพัฒนาศักยภาพทางทะเลที่หลากหลาย ตั้งแต่การฝึกถอดทำลายอมภัณฑ์ การยิงปืนใหญ่โดยใช้เครื่องกระสุนจริง การค้นหาและกู้ภัย การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการตอบสนองต่อภัยพิบัติ เรือ USS Jackson ซึ่งสังกัดกองเรือพิฆาต (DESRON) ที่ 7 ได้เวียนมาประจำการในพื้นที่ปฏิบัติการของกองเรือที่ 7 เพื่อสนับสนุนความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค ตลอดจนทำงานร่วมกันกับกองทัพเรือของชาติพันธมิตรและหุ้นส่วน เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพทางทะเล อันเป็นเสาหลักของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง กองเรือพิฆาตที่ 7 เป็นฝูงเรือพิฆาตส่วนหน้าของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีหน้าที่บัญชาการยุทธวิธีและปฏิบัติการของเรือโจมตีชายฝั่งที่เวียนไปประจำการในสิงคโปร์ อีกทั้งยังเป็นกองเรือบัญชาการรบทางทะเลของชุดจู่โจมโพ้นทะเล (Expeditionary Strike Group) ที่ 7 และทำหน้าที่เสริมสร้างความร่วมมือผ่านการฝึกอบรมและกิจกรรมร่วมกับกองทัพของชาติอื่น ๆ อีกด้วย ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1PqamsVT-lAqnKeQsYYQ0EYHwxOrdaHV5 โดย U.S. Embassy Bangkok | 23 พฤษภาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
Expanding Maritime Partnership: Thailand, U.S. 2022 CARAT Exercise GULF OF THAILAND – Royal Thai and U.S. navies begin maritime training during the 28th annual Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) exercise, May 23. Taking place in the Gulf of Thailand, the exercise highlights U.S. and Thailand’s cooperation to ensure a free and open Indo-Pacific that is vital to regional peace, security and stability. “Twenty-eight years of CARAT Thailand represents the longstanding alliance between the people of Thailand and the United States,” said Cmdr. Brian Bungay, commanding officer, USS Jackson (LCS 6). “We value these opportunities to work with the Royal Thai Navy, promoting regional security cooperation, and strengthening and enhancing our ability to work together while underway.” The countries will demonstrate their ability to work together through numerous events including tactics designed to enhance communication as ships sail together in complex maneuvers. The exercise includes maritime domain awareness tracking with a P-8 aimed at increasing both navies’ ability to track and pursue targets beyond visual range, and helicopter cross-deck landings in addition to search and rescue training. Subject matter expert exchanges featured a variety of joint training opportunities aimed at boosting participants’ capability and knowledge. The at-sea phase will take place in territorial and international waters near Sattahip and Ko Samui, where USS Jackson (LCS 6) and a P-8A Poseidon aircraft assigned to Commander, Task Force (CTF) 72 will join with ships and aircraft from the Royal Thai Navy for training focused on building interoperability and strengthening relationships. Royal Thai Navy ships at-sea include three frigates — HTMS Naresuan (FFG 421), HTMS Bangpakong (FFG 456), and HTMS Kraburi (FFG 457) — and one aircraft, S76-B, including Diving and Explosive Ordnance Disposal units. “The Royal Thai Navy considers this exercise very valuable in developing knowledge, competency, and experience for its own personnel,” said Vice Admiral Pisal Meesri, Deputy Commander-in-Chief Royal Thai Fleet. “I am confident that all participating forces will benefit from the professional sharing, field practice, and sea-phase training.” Beginning in 1995, CARAT builds upon other engagements in South Asia, Southeast Asia and the Indo-Pacific. Each CARAT exercise features professional symposia and a robust at-sea phase that incorporates complex evolutions to increase combined operations. Both feature a broad range of naval competencies ranging from explosive ordnance disposal and live-fire gunnery exercises to search-and-rescue and humanitarian assistance and disaster response. Attached to DESRON 7, Jackson is on a rotational deployment to the U.S. 7th Fleet area of operations in support of security and stability in the region, and to work alongside allied and partner navies to provide maritime security and stability, key pillars of a free and open Indo-Pacific. As the U.S. Navy’s forward-deployed destroyer squadron in Southeast Asia, DESRON 7 serves as the primary tactical and operational commander of littoral combat ships rotationally deployed to Singapore, functions as Expeditionary Strike Group 7’s Sea Combat Commander, and builds partnerships through training exercises and military-to-military engagements. Download more photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1PqamsVT-lAqnKeQsYYQ0EYHwxOrdaHV5 By U.S. Embassy Bangkok | 23 May, 2022 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: CARAT
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: พิธีเชิดชูเกียรติทหารสหรัฐฯ ผู้พลีชีพระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย ระยอง – สหรัฐอเมริกาส่งกลับกระดูกซึ่งค้นพบ ณ จุดที่คาดว่าเครื่องบินสหรัฐฯ ตกในจ.ลำปางเมื่อ 78 ปีที่แล้วระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักงานค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DPAA) ซึ่งนำทีมปฏิบัติภารกิจขุดค้น หวังว่ากระดูกและซากเครื่องบินที่ค้นพบนี้จะนำไปสู่การยืนยันตัวตนของทหารอเมริกันที่สูญหาย และท้ายที่สุด นำมาซึ่งข้อสรุปให้แก่ครอบครัว ทั้งนี้จะมีการส่งกระดูกที่ค้นพบกลับไปยังห้องปฏิบัติการอันทันสมัยของสำนักงาน DPAA ที่เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย เพื่อการตรวจพิสูจน์ต่อไป พิธีส่งร่างกลับมาตุภูมิซึ่งจัดขึ้นที่สนามบินอู่ตะเภาเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการค้นหาและสอบสวนเหตุการณ์เครื่องบินสูญหาย ตลอดจนตำแหน่งของนักบิน ซึ่งดำเนินมาตลอดเวลากว่า 3 ปี โดยมีรักษาการอัครราชทูตที่ปรึกษาสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เจมส์ แอล. เวย์แมน พร้อมด้วยพลอากาศเอก ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ (เกษียณ) แห่งกองทัพอากาศไทย รวมทั้งเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ จากสถานทูตสหรัฐฯ และรัฐบาลไทยเข้าร่วมพิธี ในกรณีที่สามารถยืนยันตัวตนจากกระดูกที่รวบรวมได้ ครอบครัวของทหารที่สูญหายจะได้รับแจ้ง และมีโอกาสที่จะจัดพิธีศพอย่างสมเกียรตินายทหาร รักษาการอัครราชทูตที่ปรึกษาเวย์แมน กล่าวว่า “พิธีส่งร่างกลับมาตุภูมิเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมุ่งมั่นแน่วแน่ของสหรัฐฯ ที่จะนำบรรดาทหารผู้สละชีพเพื่อชาติของเราทุกนายกลับบ้าน ภารกิจครั้งนี้ประสบผลสำเร็จได้เพราะความร่วมมือและมิตรภาพอันดีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ในนามของสหรัฐฯ และประชาชนอเมริกัน ผมขอแสดงความขอบคุณรัฐบาลไทย ตลอดจนชุมชนและชาวบ้านแม่กัวะ จ.ลำปาง ที่ช่วยเราปฏิบัติหน้าที่และทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับชาติของเรา” สำนักงาน DPAA ดำเนินการสอบสวนและค้นหาทั่วทวีปเอเชียและยุโรปอย่างสม่ำเสมอ โดยสนับสนุนปฏิบัติการค้นหาเจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐฯ กว่า 82,000 นายที่ยังคงสูญหายจากการสู้รบตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลอดช่วงสงครามดังกล่าว เครื่องบินสหรัฐฯ ของกลุ่มเสือบิน (Flying Tigers) ซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีน ปฏิบัติการบินลาดตระเวนและกวาดล้างทางอากาศทางเหนือของไทยเพื่อปกป้องอธิปไตยของราชอาณาจักรแห่งนี้ ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1gQ98aFfE9ekErAQWzRyqcofFhnHFhVDA ### เกี่ยวกับสำนักงาน DPAA ภารกิจของสำนักงาน DPAA คือการหาข้อมูลเกี่ยวกับทหารสหรัฐฯ ที่สูญหายจากเหตุการณ์ความขัดแย้งในอดีตอย่างเต็มความสามารถเพื่อครอบครัวของพวกเขาและชาติ ห้องปฏิบัติการของสำนักงาน DPAA เป็นห้องปฏิบัติการระบุอัตลักษณ์บุคคลจากกระดูกตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและหลากหลายที่สุดในโลก โดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยา นักโบราณคดี และทันตแพทย์ด้านนิติทันตวิทยากว่า 30 คนปฏิบัติงานอยู่ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภารกิจของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในการค้นหาชาวอเมริกันที่สูญหายระหว่างปฏิบัติภารกิจรับใช้ชาติได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน DPAA ที่ www.dpaa.mil หรือ www.facebook.com/dodpaa โดย U.S. Embassy Bangkok | 18 พฤษภาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Ceremony Honors Fallen U.S. Service Member from World War II in Thailand Rayong — The United States repatriated recovered osseous material from the probable crash site of a United States aircraft lost over Lampang Province, 78 years ago during World War Two. The U.S. Defense POW/MIA Accounting Agency (DPAA), which led the excavation mission, hopes that the recovered material and aircraft wreckage will lead to the positive identification of a missing U.S. Service Member, and ultimately provide closure to the family. The recovered material will be transported back to the DPAA Laboratory in Honolulu, Hawaii for further analysis at DPAA’s state of the art facility. The repatriation ceremony, conducted at the Utapao Royal Thai Navy Airfield, was the culmination of more than 3 years of research and investigation into the circumstances of the lost aircraft and whereabouts of the pilot, and was attended by James L. Wayman, Acting Deputy Chief of Mission at the American Embassy in Thailand, along with Air Chief Marshal (Retired) Sakpinit Phromthep of the Royal Thai Air Force and other members of the American Embassy and Royal Thai Government. If a positive identification is made based on the material collected, the family of the U.S. Service Member will be notified, and they will be given the opportunity to hold a funeral with full military honors. A/DCM Wayman said: “This repatriation is symbolic of the United States’s enduring commitment to bring home all our lost service members. The success of this mission was made possible by the great cooperation and friendship between the United States and Thailand. On behalf of the United States of America and the American people, I want to express gratitude to the Royal Thai Government, and to the community and people of Baan Mae Kua in Lampang for helping us fulfill our duty and promise to the nation.” DPAA routinely conducts investigations and recovery efforts across Asia and Europe, supporting efforts to account for more than 82,000 US Service Members who are still missing from conflicts dating back to World War Two. Throughout World War Two, U.S. aircraft of the Flying Tigers, based in southern China, flew reconnaissance and fighter sweep missions over northern Thailand to protect Thai sovereignty. Download more photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1gQ98aFfE9ekErAQWzRyqcofFhnHFhVDA ### ABOUT DPAA: DPAA’s mission is to provide the fullest possible accounting of U.S. personnel from past conflicts to their families and the nation. The DPAA Laboratory is the largest and most diverse forensic skeletal identification laboratory in the world and is staffed by more than 30 anthropologists, archaeologists and forensic odontologists. For additional information on the U.S. Defense Department’s mission to account for Americans who went missing while serving our country, visit the DPAA website at www.dpaa.mil , find us on social media at www.facebook.com/dodpaa. By U.S. Embassy Bangkok | 18 May, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand | Tags: DPAA
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: อิโซเบล โคลแมน รองผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และ นายวัฒนวิทย์ คชเสนี รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ร่วมหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการความร่วมมือไตรภาคี ภายใต้หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่าง TICA กับ USAID วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2565 สำหรับเผยแพร่ทันที เมื่อวานนี้ อิโซเบล โคลแมน รองผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) เข้าพบนายวัฒนวิทย์ คชเสนี รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency – TICA) เพื่อหารือเกี่ยวกับหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่าง TICA กับ USAID โดยภายใต้หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ฯ นี้ ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย รองผู้อำนวยการโคลแมน กล่าวขอบคุณรองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ สำหรับความเป็นหุ้นส่วนที่ยาวนานระหว่าง TICA กับ USAID โดยได้แสดงความสนใจต่อแผนงานของ TICA และ USAID ที่จะร่วมกันพัฒนาและเปิดตัวโครงการการพัฒนาด้านสาธารณสุข/สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างในปลายปีนี้ รองผู้อำนวยการโคลแมน ยังได้กล่าวยกย่อง TICA ที่ก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรผู้บริจาคและผู้นำในภูมิภาค รวมทั้งแสดงความยินดีกับ TICA ในการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน Global South-South Development Expo 2022 ร่วมกับสำนักงานสหประชาชาติเพื่อความร่วมมือใต้-ใต้ (United Nations Office for South-South Cooperation: UNOSSC) และคณะกรรมาธิการกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2565 นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการโคลแมน ยังได้เน้นว่าการยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่าง USAID และ TICA ถือเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ประเทศพันธมิตรสนธิสัญญาของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง USAID กับ TICA เป็นตัวอย่างของขีดความสามารถร่วมกันที่สหรัฐฯ พยายามเสริมสร้างผ่านยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก เพื่อยกระดับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีประเทศหุ้นส่วนเป็นผู้นำในการพัฒนา นายวัฒนวิทย์ รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ แสดงความชื่นชม USAID ที่ได้ยกระดับความร่วมมือและมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยและภูมิภาค รวมทั้งได้เน้นย้ำการสนับสนุนของ TICA ต่อความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนากับ USAID ที่กำลังก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินการผ่านการจัดทำแผนงานความร่วมมือไตรภาคีระหว่าง TICA กับ USAID ภายใต้หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 นอกจากนี้ นายวัฒนวิทย์ยังได้ย้ำถึงความพร้อมของ TICA ที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ USAID ในโครงการไตรภาคีภายใต้หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ฯ เพื่อเร่งส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ นายวัฒนวิทย์หวังว่า USAID จะเข้าร่วมงาน Global South-South Development Expo 2022 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2565 โดยเป็นโอกาสที่ USAID จะจัดแสดงผลงานด้านการพัฒนาในไทยและทั่วโลกที่ดำเนินมายาวนานหลายทศวรรษ ดาวน์โหลดรูปภาพได้ที่ https://flic.kr/s/aHBqjzPcii โดย U.S. Embassy Bangkok | 13 พฤษภาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
USAID Deputy Administrator Isobel Coleman and Acting Director-General of The Thailand International Cooperation Agency Wattanawit Gajaseni Discuss The Progress on Trilateral Cooperation Under TICA-USAID Strategic Partnership Friday, May 13, 2022 For Immediate Release Yesterday, U.S. Agency for International Development (USAID) Deputy Administrator for Policy and Programming Isobel Coleman and Wattanawit Gajaseni, Acting Director-General, Thailand International Cooperation Agency (TICA), met to discuss the TICA-USAID Strategic Partnership, through which TICA and USAID will jointly provide development assistance to other countries in Asia. Deputy Administrator Coleman thanked the Acting Director-General for TICA’s long-standing partnership with USAID and expressed her enthusiasm for TICA and USAID’s plans to co-design and launch development programs in health, environment, and other sectors, which will be implemented in the Lower Mekong region later this year. Deputy Administrator Coleman also lauded TICA as a rising donor and leader in the region and congratulated TICA on co-hosting the Global South-South Development Expo 2022 (GSSD Expo 2022) with the United Nations Office for South-South Cooperation (UNOSSC) and the United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP), to be held from September 12-14, 2022, in Bangkok. She also highlighted USAID’s expanded development cooperation with TICA as an important milestone that deepens the U.S. relationship with Thailand, one of our five regional treaty allies in the Indo-Pacific region. USAID’s partnership with TICA is an example of the collective capacity the U.S. seeks to marshal through our Indo-Pacific Strategy in order to elevate locally-led, sustainable development. Acting Director-General Gajaseni commended USAID’s continued and increasing engagement and cooperation to promote sustainable development in Thailand and the region. He reiterated TICA’s strong support to the growing development partnership with USAID, particularly through the recent formation of the TICA-USAID Trilateral Cooperation Workplan under the Strategic Partnership signed on August 10, 2021. Additionally, he conveyed TICA’s readiness to work closely with USAID to implement the TICA-USAID Strategic Partnership through trilateral projects to further accelerate sustainable economic and social development in the region, thereby contributing to the attainment of Sustainable Development Goals. Acting Director-General Gajaseni also looks forward to USAID’s participation in the GSSD Expo 2022 this September, in which USAID will showcase its decades-long contribution to the development in Thailand and around the world. Download  photos here: https://flic.kr/s/aHBqjzPcii By U.S. Embassy Bangkok | 13 May, 2022 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand | Tags: USAID
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: คณะผู้แทนประเทศร่วมการประชุมสุดยอดเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ-ไทย วันนี้ สหรัฐอเมริกาจะเริ่มต้นการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงกับไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อกระชับความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาคให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและตอกย้ำบทบาทที่สำคัญยิ่งของอาเซียนในการสร้างสันติภาพและความมั่งคั่งของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสหรัฐฯ และไทย จะพบกันที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 9-10 พฤษภาคม เพื่อเข้าร่วมการหารือยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศระหว่างสหรัฐฯ กับไทย (U.S.-Thailand Strategic and Defense Dialogue) เป็นครั้งแรก โดยมีนายแดเนียล คริเทนบริงค์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และนายอีไล แรตเนอร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ ในขณะที่นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย และพลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหมไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย การหารือยุทธศาสตร์และการหารือด้านการป้องกันประเทศเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยที่มีมายาวนาน ซึ่งการประชุมในปีนี้ถือเป็นการหารือร่วมกันและพบกันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดใหญ่ขึ้นทั่วโลก การหารือในปีนี้จะครอบคลุมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและความร่วมมือในหลากหลายด้านระหว่างสหรัฐฯ กับไทย นอกเหนือจากความร่วมมือที่กว้างขวางและหยั่งรากลึกของเราเพื่อรับมือกับความท้าทายนานัปการที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งรวมถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งหลังยุคโควิด-19 ความร่วมมือด้านสาธารณสุขและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนความพยายามในการต่อสู้กับวิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศ เราจะหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันที่แข็งแกร่งในฐานะที่สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดและหนึ่งในแหล่งลงทุนจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของไทย แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายในระดับภูมิภาคและระดับโลก สหรัฐฯ และไทย จะยืนยันการเป็นพันธมิตรในสนธิสัญญาและการเป็นหุ้นส่วนอันยาวนานระหว่างเรา ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือในการจัดการความท้าทายและการบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกันต่อไป หลังเสร็จสิ้นการหารือยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศระหว่างสหรัฐฯ กับไทย จะมีการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน สมัยพิเศษ (U.S.-ASEAN Special Summit) โดยประธานาธิบดีไบเดนจะเป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้นำประเทศอาเซียน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม การประชุมสุดยอดแบบพบกันครั้งนี้จะเน้นย้ำความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนต่ออาเซียนและบทบาทสำคัญของอาเซียนในการหาทางออกที่ยั่งยืนเพื่อรับมือความท้าทายเร่งด่วนสูงสุดของภูมิภาค การประชุมสมัยพิเศษครั้งนี้จะต่อยอดจากเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีไบเดนได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน เดือนตุลาคม 2564 ซึ่งจัดขึ้นทางออนไลน์ โดยในการประชุมดังกล่าว ประธานาธิบดีไบเดนได้ประกาศข้อริเริ่มใหม่ ๆ มูลค่า 102 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขยายความร่วมมือของเรากับอาเซียนในด้านการฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 และความมั่นคงด้านสุขภาพ ตลอดจนการต่อสู้วิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศ การกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในวงกว้าง การส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และการสานสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป้าหมายสำคัญอันดับต้น ๆ ของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริส คือการเป็นหุ้นส่วนที่มั่นคงและพึ่งพาได้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อปี 2564 สหรัฐฯ ได้ประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ซึ่งกำหนดกรอบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการต่างประเทศและความมุ่งมั่นที่ประธานาธิบดีไบเดนมีต่อความร่วมมือที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์กับพันธมิตร หุ้นส่วน และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค โดย U.S. Mission Thailand | 9 พฤษภาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
In-Person Summits Help U.S. and Thailand Advance Mutual Goals Today, the United States will kick off a series of high-level meetings with Thailand and its fellow ASEAN countries to strengthen our partnerships in the region and underscore the critical role ASEAN plays in creating a peaceful and prosperous Indo-Pacific region. Senior officials from the United States and Thailand will meet in Washington, D.C. on May 9 and 10 for the first joint U.S.-Thailand Strategic and Defense Dialogue. Assistant Secretary of State for East Asian and Pacific Affairs Daniel Kritenbrink and Assistant Secretary of Defense Ely Ratner will lead the U.S. delegation while Permanent Secretary of the Ministry of Foreign Affairs Thani Thongphakdi and Permanent Secretary of the Ministry of Defense General Warakiat Rattananont will lead the Thai delegation. The Strategic Dialogue and the Defense Strategic Dialogue have long been integral parts of the enduring U.S.-Thai relationship, and this year’s event will mark the first ever joint dialogue, as well as the first in-person dialogue since the start of the global pandemic. This year’s Dialogue will address the full range of the close and cooperative relationship between the United States and Thailand. In addition to our broad and deep cooperation across a wide range of global challenges, including post-COVID-19 economic recovery and prosperity, health and law enforcement cooperation, and efforts to combat the climate crisis, we will also discuss our robust economic relationship, as the United States is Thailand’s largest export market and one of Thailand’s largest sources of foreign investment. Faced with regional and global challenges, the United States and Thailand will reaffirm our long-standing treaty alliance and partnership as a vehicle to jointly tackle shared challenges and achieve mutual goals. The U.S.-Thailand Strategic and Defense Dialogue will be followed by the U.S.-ASEAN Special Summit. President Biden will host ASEAN leaders in Washington, D.C. on May 12 and 13. This in-person Summit will underscore the Biden administration’s enduring commitment to ASEAN and the central role that ASEAN plays in delivering sustainable solutions to the region’s most pressing challenges. The Special Summit will build on President Biden’s virtual participation in the October 2021 U.S.-ASEAN Summit, where the President announced $102 million in new initiatives to expand our engagement with ASEAN on COVID-19 recovery and health security, fighting the climate crisis, stimulating broad-based economic growth, promoting gender equality, and deepening people-to-people ties. It is a top priority for the Biden-Harris Administration to be a strong, reliable partner in Southeast Asia. In 2021, the United States announced the Indo-Pacific Strategy, which outlines President Biden’s foreign policy vision and commitment to sustained and creative collaboration with allies, partners, and institutions within and beyond the region. By U.S. Embassy Bangkok | 9 May, 2022 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สถานทูตและสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยสนับสนุนการอบรมภาษาอังกฤษแก่ครูโรงเรียนเทศบาลนครเชียงใหม่สำหรับโครงการสองภาษาโครงการใหม่ สถานทูตและสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยขอแสดงความยินดีกับคุณครูในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้เข้าร่วมโครงการอบรมภาษาอังกฤษที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สนับสนุนแก่ครูในโครงการสองภาษา โครงการสองภาษานี้เป็นโครงการใหม่ที่จะเริ่มสอนในโรงเรียนเทศบาลนครเชียงใหม่ในปีการศึกษานี้ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นายอัศนี บูรณุปกรณ์ และผู้อำนวยการสำนักงานฝ่ายโปรแกรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ คุณฟรานซิส เวสต์บรูก แสดงความยินดีกับคุณครูทั้ง 27 คนในพิธีปิดโครงการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 โครงการอบรมครูครั้งนี้ริเริ่มโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สนับสนุน ดำเนินการจัดอบรมโดยสถานสอนภาษาเอยูเอ เชียงใหม่ และมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เป็นผู้ประสานงานและให้คำแนะนำ นับตั้งแต่เริ่มโครงการในเดือนมกราคม 2565 ที่ผ่านมา คุณครูจากเอยูเอได้จัดการอบรมแก่ครูคณิตศาสตร์ 14 คน และครูภาษาอังกฤษ 13 คนในด้านวิธีการสอนวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง โครงการสองภาษานี้จะเริ่มการเรียนการสอนในโรงเรียนเทศบาลนครเชียงใหม่ในภาคการศึกษาใหม่ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ “สถานทูตและสถานกงสุลสหรัฐฯในประเทศไทยมีความภาคภูมิใจที่ได้สนับสนุนนโยบายของท่านนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ในการช่วยให้เยาวชนไทยมีโอกาสได้เป็นผู้นำในชุมชนของตนเองไม่ว่าพวกเขาจะมาจากพื้นฐานครอบครัวแบบใดก็ตาม โครงการสองภาษาโครงการใหม่นี้ นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการศึกษาที่ทันสมัยในโรงเรียนรัฐบาลในประเทศไทย” ผู้อำนวยการสำนักงานฝ่ายโปรแกรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ คุณฟรานซิส เวสต์บรูก กล่าว “ผมขอขอบพระคุณสถานทูตสหรัฐอเมริกา สำนักงานฝ่ายโปรแกรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Regional English Language Office: RELO) และสถานสอนภาษาเอยูเอ ที่สนับสนุนการอบรมครูสำหรับโครงการสองภาษาของเทศบาลนครเชียงใหม่ในครั้งนี้…เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนต่อไป” นายกเทศมนตรีฯ อัศนี บูรณุปกรณ์ กล่าว รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนงบประมาณแก่โครงการเป็นจำนวนประมาณ 45,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.5 ล้านบาท) นอกจากโครงการนี้แล้วยังมีโครงการสอนภาษาอังกฤษในชื่อ Access อีก 5 โครงการในปีนี้ โครงการดังกล่าวจะสอนภาษาอังกฤษแก่นักเรียนที่ขาดแคลน โดยจะดำเนินโครงการในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายด้วย ทั้งนี้ สถานสอนภาษาเอยูเอจะเป็นผู้ประสานงานและวิทยากรในโครงการเช่นกัน ซึ่งเห็นได้ว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพในประเทศไทยอย่างเต็มที่โดยเฉพาะในภาคเหนือของไทย โดย U.S. Mission Thailand | 6 พฤษภาคม, 2022 | ประเภท: การเรียนภาษาอังกฤษ, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
U.S. Mission Thailand Supports English Training for Chiang Mai Municipal Schoolteachers in New Bilingual Program U.S. Mission Thailand congratulates the Chiang Mai teachers who successfully completed a U.S.-funded training course for a new bilingual program which will be introduced later this year in Chiang Mai municipal schools. The Mayor of Chiang Mai Municipality Mr. Assanee Buranupakorn and Regional English Language Officer Frances Westbrook congratulated 27 teachers at the closing ceremony of the training program on May 6. The teachers’ training program is an initiative of Chiang Mai Municipality, supported by the United States government, and facilitated by AUA Language Center Chiang Mai. Instructors at Chiang Mai Rajabhat University provided important input. Throughout the program which started in January 2022, instructors based at AUA Language Center trained 14 math and 13 English language teachers in methods of teaching math and English skills to young learners using English as the medium of instruction. This new bilingual program is slated to begin in Chiang Mai municipal schools in the upcoming May-June 2022 semester. “The U.S. Mission to Thailand is proud to support the Mayor’s goal of giving all Thai youth the opportunity to become leaders within their communities, regardless of background. This new bilingual program is a great example of how a modern educational program can be implemented in the public school system in Thailand,” said Regional English Language Officer Frances Westbrook. “I would like to express my sincerest thanks to Embassy of the United States of America, Regional English Language Office (RELO), and AUA Language Center for supporting this bilingual training workshop for Chiang Mai Municipality… to develop educational opportunities for Chiang Mai Municipality Schools to be more effective in the learning and teaching of English, benefitting the students,” said Mayor of Chiang Mai Municipality Mr. Assanee Buranupakorn. The total budget from the U.S. government for this project is approximately $45,000 (1.5 million THB). In addition to this program, the U.S. Mission will have five English language Access programs in progress in 2022 that will provide English language education to students from lower socioeconomic backgrounds, including programs in Chiang Mai and Chiang Rai. These programs will be facilitated by AUA Language Centers. The U.S. government support of quality English language teaching is robust in Thailand, especially in the Northern region. By U.S. Mission Thailand | 9 May, 2022 | Topics: English Language Learning, Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: Photo credit: Abdulromae Taleh เอกสารข่าว USAID จับมือยูนิเซฟช่วยไทยต่อสู้โรคโควิด-19 ระลอกล่าสุด กระบอกฉีดยาเกือบ 3 ล้านชิ้นแจกจ่ายเพื่อสนับสนุนการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ กรุงเทพมหานคร 27 เมษายน 2565 – สหรัฐอเมริกายังคงสนับสนุนประเทศไทยในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 อย่างแข็งขันและต่อเนื่องโดยผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) และความร่วมมือกับองค์การยูนิเซฟ ในโอกาสสัปดาห์แห่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโลก ทั้งสององค์กรได้มอบกระบอกฉีดยาเกือบ 3 ล้านชิ้นและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนการฉีดวัคซีนในไทย นอกจากนี้ การสนับสนุนของ USAID และยูนิเซฟครั้งนี้ ยังรวมถึงการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งของเครื่องใช้เพื่อสุขอนามัยที่จำเป็น ตลอดจนการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน และการช่วยให้ประชากรกลุ่มเปราะบางเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประชากรรายได้ต่ำ ผู้อพยพ กลุ่มชาติพันธุ์ และชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี เชียงใหม่ ตาก ตลอดจนจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส นางคยองซัน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เข้าสู่ปีที่ 3 และสร้างความเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงกับทุกชีวิตในทุกพื้นที่ โดยประชากรกลุ่มเปราะบางที่สุดยังคงได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดทั้งในด้านสุขภาพและสุขภาวะไม่เพียงแค่ในวันนี้เท่านั้น แต่จะเป็นเช่นนี้ไปอีกหลายปีหากเราไม่เร่งดำเนินการ นั่นหมายความว่า เรายังจะต้องขับเคลื่อนความร่วมมือของเราในการให้ความช่วยเหลือสำคัญๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอีกเป็นอย่างมาก กว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพและการป้องกันของประชากรเหล่านี้ได้อย่างครบครัน ทั้งนี้ ด้วยความร่วมมือกับ USAID และภาคี เราจะยังคงเดินหน้าช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่เปราะบางที่สุดในด้านที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อไม่ให้มีใครต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ดร. สตีเวน จี โอลีฟ ผู้อำนวยการ USAID สำนักงานภาคพื้นเอเชีย กล่าวว่า “จนถึงปัจจุบัน USAID ได้ให้ความช่วยเหลือด้านโรคโควิด-19 เป็นมูลค่ามากกว่า 409 ล้านบาท (12.4 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเพิ่มเติมจากการจัดส่งวัคซีน mRNA ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจำนวน 2.5 ล้านโดสจากสหรัฐฯ ให้แก่รัฐบาลไทย ความช่วยเหลือครั้งล่าสุดของ USAID ยังสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามต่อเนื่องระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลไทยที่จะร่วมกันบรรเทาผลกระทบจากโรคระบาดใหญ่อย่างใกล้ชิด การทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่เพื่อรับมือการแพร่ระบาดแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือที่จะยกระดับสุขภาพและสุขภาวะของสังคมเรา โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุด” นับตั้งแต่การแพร่ระบาดเมื่อต้นปี 2563 USAID ได้มอบทุนสนับสนุนแก่ยูนิเซฟจำนวนรวม 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มประชากรที่เปราะบางที่สุดในประเทศไทย ความช่วยเหลือล่าสุดจาก USAID ซึ่งมีมูลค่า 1.45 ล้านเหรียญสหรัฐ มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีน และการส่งเสริมให้คนฉีดวัคซีน นอกจากนี้ ยังรวมถึงการจัดส่งสิ่งของที่จำเป็นต่างๆ ได้แก่ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรค เครื่องใช้เพื่อสุขอนามัย อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง กระบอกฉีดยาและน้ำยาละลายวัคซีนโซเดียมคลอไรด์ 0.9% เพื่อช่วยประเทศไทยรับมือกับโรคโควิด-19 นอกจากนี้ ยังได้มีการฝึกอบรมอาสาสมัครชุมชนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชียงใหม่ ตาก สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อให้มีความรู้และทักษะในด้านต่างๆ เพื่อปกป้องตนเองและชุมชนจากโรคโควิด-19 เจ้าหน้าที่อาสาสมัครชุมชน ซึ่งรวมถึงเยาวชนและอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว ได้ช่วยติดตามผู้ป่วยใหม่ ตรวจหาเชื้อในชุมชน เยี่ยมบ้านเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพเบื้องต้น อำนวยความสะดวกในการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาล และบรรเทาผลกระทบทางด้านจิตใจจากการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากนี้ อาสาสมัครยังกำลังรับการฝึกอบรมเพื่อให้ข้อมูลด้านสุขภาพและข้อมูลวัคซีนที่ถูกต้องแก่ประชาชนในพื้นที่อีกด้วย ภายใต้การสนับสนุนครั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังศึกษาผลกระทบจากโรคโควิด-19 ต่อเด็กและครอบครัวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผลการศึกษาจะส่งให้กับภาครัฐบาล ตลอดจนภาคีภาคธุรกิจและเอกชน เพื่อให้เกิดการปรับปรุงบริการและความช่วยเหลือสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดดังกล่าว อีกทั้งยังสนับสนุนให้วิทยุชุมชน ผู้นำทางศาสนา และผู้นำชุมชนช่วยกระจายข้อมูลเรื่องการป้องกันโรคโควิด-19 และความรู้ด้านวัคซีนไปยังทั่วทุกเขตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคีระดับประเทศและชุมชนในการดำเนินการนี้ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์พัฒนาสังคม กลุ่มลูกเหรียง มูลนิธิโกมลคีมทอง มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน มูลนิธิรักษ์ไทย และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่https://drive.google.com/drive/folders/1mDRm_K6AncsPz2GwwLGdDl_V2QzRxY8W ### สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ณัฐฐา กีนะพันธ์ 086 616 7555 หรือ nkeenapan@unicef.org USAID สำนักงานภาคพื้นเอเชีย วิรพร ศรีสุวรรณวัฒนา องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นเอเชีย 02 257 3160 หรือ wsrisuwanwattana@usaid.gov โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 เมษายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
Photo credit: Abdulromae Taleh Joint Press Release USAID and UNICEF help Thailand fight the latest wave of COVID-19 Nearly three million syringes distributed nationwide in support of the vaccination campaign BANGKOK, 27 April 2022 – The United States, through the U.S. Agency for International Development (USAID), and the United Nations Children’s Fund (UNICEF), continues to build upon its ongoing, robust COVID-19 response in Thailand. Coinciding with World Immunization Week, the two agencies are providing nearly three million syringes and associated vaccine delivery supplies to hospitals and health centers to support Thailand’s nationwide COVID-19 vaccination campaign. Additionally, the assistance included providing hygiene and medical supplies as well as promoting vaccine literacy and access to health services among vulnerable groups including low-income populations, migrants, ethnic minorities, and communities in Bangkok, Nonthaburi, Pathum Thani, Chiang Mai, Tak and in the Southern Border Provinces of Songkhla, Pattani, Yala and Narathiwat. “With the COVID-19 pandemic entering its third year, upending the lives of families everywhere, the most vulnerable populations continue to suffer the worst consequences in health and well-being, not just today but for years to come if we don’t ramp up our response,” said Kyungsun Kim, UNICEF Representative for Thailand. “This means our collective efforts to provide critical support, both immediate and long-term, are far from over for meeting their health and protection needs. Together with USAID and partners, we will continue reaching the most vulnerable children and families with lifesaving support and ensure that no one is left behind.” “To date, USAID has provided more than 409 million baht ($12.4 million) in COVID-19 assistance, which complements the delivery by the United States of 2.5 million doses of safe, effective mRNA vaccines to the Royal Thai Government. This latest round of USAID COVID-19 support reflects the sustained effort by the U.S. and the Royal Thai Governments to work in close partnership to mitigate the pandemic’s impact. Working side by side, responding to this pandemic, illustrates our collective effort to improve the health and well-being of our communities and serve the most vulnerable among them,” said Steven G. Olive, Ph.D., Mission Director of USAID’s Regional Development Mission for Asia. Since the beginning of the pandemic in early 2020, USAID has provided UNICEF with grants totaling US$2.5 million to help curb the spread of COVID-19 and mitigate its social and economic impact on the most vulnerable communities in Thailand. This most recent package of support from USAID is worth US$1.45 million with a focus on improving access to COVID-19 vaccines as well as addressing vaccine hesitancy. Critical items including lifesaving medical equipment, pharmaceuticals, medical and hygiene supplies, personal protective equipment, COVID-19 Antigen Test Kit, syringes and 0.9% sodium chloride are contributing to Thailand’s COVID-19 response efforts. Support has also enabled the training of community volunteers in health promotion, vaccine literacy, emergency care, psychological first aid and case management in high-risk provinces including the greater Bangkok area, Chiang Mai, Tak, Songkhla, Pattani, Yala and Narathiwat. The trained community volunteers track new COVID-19 cases, support community testing, provide first aid and case management, facilitate referrals to health services in addition to providing counselling and home visits to help relieve stress and anxiety caused by COVID-19. Village volunteers, including youth and migrant volunteers, are under training to provide accurate and timely information about COVID-19 prevention and vaccine literacy. Through this grant, Prince of Songkla University is also conducting a study on the impact of the COVID-19 pandemic on children and families in the Southern Border Provinces. Findings will be shared with the government and with public and private sector partners to improve services and support to affected communities in these provinces. Community radio and religious and community leaders will spread messages on COVID-19 prevention and vaccine literacy throughout the Southern Border Provinces. National and local partners of this initiative include: Diocesan Social Action Center, Help Without Frontiers, Komol Keemthong Foundation, Luk Riang Group, Ministry of Public Health, Prince of Songkla University, Raks Thai Foundation and World Vision Foundation of Thailand. Download more photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1mDRm_K6AncsPz2GwwLGdDl_V2QzRxY8W ### For more information, please contact UNICEF Thailand: Iman Morooka, 062 581 3683 or imorooka@unicef.org Nattha Keenapan, 086 616 7555 or nkeenapan@unicef.org USAID Regional Development Mission for Asia: Joseph Truong, 02 257 3138 or jotruong@usaid.gov Wiraporn Srisuwanwattana, 02 257 3160 or wsrisuwanwattana@usaid.gov By U.S. Mission Thailand | 28 April, 2022 | Topics: News, Press Releases
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: การส่งมอบวัคซีนให้ไทยภายใต้ความร่วมมือด้านวัคซีนของกลุ่มภาคี 4 ประเทศ ภายใต้ความร่วมมือด้านวัคซีนของกลุ่มภาคี 4 ประเทศ (Quad’s Vaccine Partnership) ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง นางสุจิตรา ทุไร เอกอัครราชทูตอินเดีย, นายอัลลัน แมคคินนอน เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย, นายคะสุยะ นะชิดะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น และนายเจมส์ เวย์แมน อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ร่วมกันส่งมอบวัคซีน Covovax สำหรับโรคโควิด-19 จำนวน 200,000 โดส ซึ่งเป็นวัคซีนที่ผลิตในอินเดีย ให้กับราชอาณาจักรไทย โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับมอบในวันที่ 21 เมษายน 2565 ที่กรุงเทพมหานคร วัคซีนล็อตนี้เป็นการส่งมอบครั้งที่ 2 โดยอินเดียภายใต้ความร่วมมือด้านวัคซีนของกลุ่มภาคี 4 ประเทศ หลังการส่งมอบครั้งแรกให้กัมพูชาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565 โดยเป็นไปตามคำมั่นสัญญาของนายนเรนทร โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย ณ การประชุมผู้นำกลุ่มภาคี 4 ประเทศ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เดือนกันยายน 2564 ที่จะบริจาควัคซีนโควิด-19 จำนวน 500,000 โดสให้แก่บรรดาประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ผู้นำกลุ่มภาคี 4 ประเทศประกาศความร่วมมือด้านวัคซีนนี้ที่การประชุมแรกของกลุ่มเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 โดยใช้ความแข็งแกร่งจากการผนึกกำลังของทั้งสี่ชาติ เพื่อทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงวัคซีนที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพได้อย่างเสมอภาค สมาชิกกลุ่มภาคี 4 ประเทศได้มอบวัคซีนโควิด-19 ให้ไทยแล้วรวมทั้งสิ้น 4.5 ล้านโดส อีกทั้งยังช่วยเหลือด้านการส่งวัคซีนจากสถานที่จัดเก็บไปยังจุดหมายปลายทางและด้านการเงิน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้คนจะได้รับการฉีดวัคซีน ออสเตรเลียกำลังช่วยไทยส่งวัคซีนให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไปยังประชากร ซึ่งรวมถึงผ่านการพัฒนาระบบข้อมูลและกลยุทธ์การสื่อสารที่มุ่งเน้นกลุ่มผู้อพยพ อินเดียได้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของไทยในการต่อสู้กับโรคระบาดด้วยการมอบเครื่องผลิตออกซิเจนและยาสำคัญ ๆ ญี่ปุ่นได้ส่งมอบเครื่องผลิตออกซิเจนเพื่อใช้รักษาผู้ป่วย รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือคุณภาพสูงสำหรับการจัดเก็บและขนส่งวัคซีนผ่านโครงการ Last One Mile Support ในขณะที่สหรัฐฯ ช่วยเหลือด้านการเฝ้าระวังและติดตามโรค สอบสวนโรค ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบริหารจัดการข้อมูล รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้แสดงความขอบคุณสำหรับวัคซีนที่ได้รับจากกลุ่มภาคี 4 ประเทศ ตลอดจนสำหรับความช่วยเหลือทั้งหมดที่สมาชิกกลุ่มได้มอบให้ โดยทั้งสี่ชาติได้เน้นย้ำกับไทยว่ายินดีที่จะช่วยไทยต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่ดังกล่าวในทุกทางทีเป็นไปได้ ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1lhNA8HZMSBbrcM47RwsN6rQ7nkwXDfu4 กรุงเทพฯ 21 เมษายน 2565 โดย U.S. Embassy Bangkok | 21 เมษายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, เหตุการณ์
Vaccine Handover to Thailand under the Quad Vaccine Partnership Under the Quad’s flagship Vaccine Partnership, a consignment of COVID vaccines was handed over jointly by the Ambassador of India, H.E. Ms. Suchitra Durai, Ambassador of Australia, H.E. Mr. Allan McKinnon, Ambassador of Japan, H.E. Mr. Nashida Kazuya and the Chargé d’Affaires of the United States of America, H.E. Mr. James Wayman to the Kingdom of Thailand. The consignment comprising 200,000 doses of Made-in-India Covovax vaccines was presented to H.E. Mr. Anutin Charnvirakul, Deputy Prime Minister and the Minister of Public Health of Thailand on 21 April 2022 in Bangkok. This is the second consignment of vaccines delivered by India under the Quad Vaccine Partnership, after the inaugural delivery to Cambodia took place on 12 April 2022. These vaccines been supplied to fulfill Prime Minister Shri Narendra Modi’s commitment made at the Quad Leaders’ Summit in Washington DC in September 2021 to donate 500,000 doses of COVID vaccines to countries in the Indo-Pacific region. The Quad Vaccine Partnership was announced by the Quad Leaders at their first Summit on 12 March 2021 to leverage the Quad’s collective strength to ensure equitable access to safe, effective, and quality-assured vaccines. Quad countries have so far provided Thailand four and a half million COVID-19 vaccine doses. Quad countries have also provided last mile delivery assistance and monetary support to ensure that vaccines are translated into vaccinations. Australia is supporting Thailand to deliver vaccines safely and effectively to its population, including through strengthening data systems and developing communication strategies with a focus on migrant populations. India extended support to Thailand in augmenting its capabilities to fight the pandemic by providing oxygen concentrators and essential medicines. Japan has provided oxygen concentrators for the treatment of the disease and high-quality equipment for vaccine storage and transport through ‘Last One Mile Support.’ The US has provided assistance with surveillance and contact tracing, case investigation, training health care workers, and data management. The Government of the Kingdom of Thailand has conveyed its appreciation for the vaccines received from the Quad and for its collective assistance to Thailand. Quad countries have assured Thailand about their desire to extend all possible support to combat the pandemic. Download more photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1lhNA8HZMSBbrcM47RwsN6rQ7nkwXDfu4 Bangkok April 21, 2022 By U.S. Embassy Bangkok | 21 April, 2022 | Topics: Events, News
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: แถลงการณ์โดยโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน สมัยพิเศษ 16 เมษายน 2565 ประธานาธิบดีไบเดนจะต้อนรับผู้นำจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในการประชุมสุดยอดสหรัฐอเมริกา-อาเซียน สมัยพิเศษ (U.S.-ASEAN Special Summit) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคมนี้ การประชุมดังกล่าวจะแสดงถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทที่สหรัฐฯ มีต่ออาเซียนมาอย่างยาวนาน โดยเล็งเห็นถึงบทบาทหลักของอาเซียนในการคลี่คลายความท้าทายเร่งด่วนที่สุดของภูมิภาคอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังจะเป็นการเฉลิมฉลอง 45 ปีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอาเซียนอีกด้วย การประชุมครั้งนี้จะต่อยอดจากเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีไบเดนได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน เดือนตุลาคม 2564 และประกาศข้อริเริ่มใหม่ๆ มูลค่า 102 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อขยายความร่วมมือของเรากับอาเซียนในด้านการฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 และความมั่นคงด้านสุขภาพ ตลอดจนการต่อสู้วิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในวงกว้าง ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และสานสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป้าหมายสำคัญอันดับต้นๆ ของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริส คือการเป็นหุ้นส่วนที่มั่นคงและพึ่งพาได้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีเจตนารมณ์ที่สอดคล้องกันสำหรับภูมิภาคนี้ ซึ่งจะยังคงเป็นรากฐานความมุ่งมั่นร่วมกัน เพื่อยกระดับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง มั่นคง เชื่อมโยง และพร้อมรับมือ ### โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 เมษายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
Statement by Press Secretary JenPsaki on U.S.-ASEAN SpecialSummit APRIL 16, 2022 President Biden will host the Leaders of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) in Washington, DCon May 12and 13 for a U.S.-ASEAN Special Summit. The Special Summit will demonstrate the United States’ enduring commitment to ASEAN, recognizing its central role in delivering sustainable solutions to the region’s most pressing challenges, and commemorate 45 years of U.S.-ASEAN relations. It will build on President Biden’s participation in the October 2021 U.S.-ASEAN Summit, where the President announced $102 million in new initiatives to expand our engagement with ASEAN on COVID-19 recovery and health security, fighting the climate crisis, stimulating broad-based economic growth, promoting gender equality, and deepening people-to-people ties. It is a top priority for the Biden-Harris Administration to serve as a strong, reliable partner in Southeast Asia. Our shared aspirations for the region will continue to underpin our common commitment to advance an Indo-Pacific that is free and open, secure, connected, and resilient. ### By U.S. Embassy Bangkok | 19 April, 2022 | Topics: East Asia & Pacific, News | Tags: ASEAN
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี เจ. บลิงเคน 12 เมษายน 2565 เทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ไทย ในนามของสหรัฐอเมริกา ผมขออวยพรให้ประชาชนชาวไทยมีสุขภาพแข็งแรงและเจริญมั่งคั่งเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นวาระวันขึ้นปีใหม่ไทย สัมพันธไมตรีและมิตรภาพระหว่างสหรัฐฯ กับไทยก่อร่างบนความทุ่มเทที่เรามีร่วมกันเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับประชาชนชาวอเมริกันและไทยทุกหมู่เหล่า ด้วยการร่วมมือกัน เราได้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อ รับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปกป้องคุ้มครองความมั่นคงทางเศรษฐกิจในสองฟากฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ความร่วมมือของเราดำรงอยู่สืบมา และเรายืนหยัดพร้อมเผชิญหน้าความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังโรคระบาดใหญ่และวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรดาพลเมืองโลก ในขณะเดียวกัน เราจะยังคงพัฒนาต่อยอดจากสายใยอันแนบแน่นระหว่างประชาชนของเราทั้งสองชาติ ตลอดจนค่านิยมร่วมกันสืบไป ภายหลังจาก 2 ปีที่การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้ทำลายบรรยากาศอันน่าชื่นมื่น การเฉลิมฉลองในปีนี้จึงย้ำเตือนว่า ประเพณีในเทศกาลต่างๆ สะท้อนถึงค่านิยมและเจตนารมณ์อันแก่กล้าของชาติมากเพียงใด เราขอส่งความปรารถนาดีให้ประชาชนชาวไทยประสบแต่ความสุขสวัสดีในปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 12 เมษายน, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
Statement by Secretary Antony J. Blinken April 12, 2022 Thailand New Year – Songkran On behalf of the United States of America, I wish the people of the Kingdom of Thailand a healthy and prosperous year ahead as you celebrate Songkran, the Thai New Year. The alliance and friendship between the United States and Thailand are built on a shared commitment to a safe and secure future for all American and Thai people. Together, we have fought infectious diseases, responded to natural disasters, and protected economic security across the Pacific Ocean. Our partnership endures, and we stand ready to face evolving challenges — like the pandemic and the climate crisis — that impact all global citizens. At the same time, we will continue to build on our strong people-to-people ties and shared values. After two years in which the COVID-19 pandemic has dampened festivities, this year’s celebration is a particularly poignant reminder of how holiday traditions express a nation’s deepest values and aspirations. We offer our best wishes to all Thai people in the coming year. By U.S. Embassy Bangkok | 12 April, 2022 | Topics: News, Press Releases, U.S. & Thailand, U.S. Secretary of State | Tags: Songkran, Thai New Year
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: พลเอก ชาร์ลส์ ฟลินน์ ผู้บัญชาการกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก จะมาเยือนไทยเป็นครั้งแรกตั้งแต่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่กองทัพบกไทย ระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคมนี้ โดยจะเข้าร่วมพิธีปิดการฝึกหนุมานการ์เดียน ซึ่งเป็นการฝึกผสมระดับทวิภาคีประจำปีระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก นอกจากนี้ พล.อ. ฟลินน์ ยังจะเยี่ยมชมสถานที่จัดกิจกรรมความร่วมมือซึ่งมีสำคัญระหว่างกองทัพสหรัฐฯ และไทยอีกหลายแห่ง ทั้งนี้ พล.อ. ฟลินน์ มีความผูกพันกับไทยเป็นพิเศษผ่านความร่วมมือหลายครั้งนับตั้งแต่การเยือนไทยครั้งแรกในปี 2540 เมื่อครั้งยังเป็นพันตรี เพื่อเข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ การเยือนไทยในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อเนื่องของเราที่จะยกระดับวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงร่วมกัน ตลอดจนเพิ่มความซับซ้อนของการฝึกซ้อมทางทหาร สนับสนุนการพัฒนากองทัพไทยให้ทันสมัย และส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง นอกจากนี้ พล.อ. ฟลินน์ จะเดินทางไปยังชาติภาคีอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดย U.S. Mission Thailand | 22 มีนาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, สหรัฐอเมริกาและไทย
General Charles Flynn, Commanding General of U.S. Army Pacific, will visit Thailand to meet with counterparts from the Royal Thai Army on 23 – 25 March. While in Thailand, he will participate in the Closing Ceremony for Hanuman Guardian, an annual bilateral exercise between the Royal Thai Army and U.S. Army Pacific, and visit the sites of several significant cooperative activities between the U.S. and Thai militaries. This will be General Flynn’s first visit to Thailand as the Commanding General of U.S. Army Pacific, and he brings a special connection to Thailand through a long history of engagements dating back to his first visit in 1997 as a Major participating in Cobra Gold. This visit, including stops in other partner nations in Southeast Asia, is part of ongoing engagements to further shared security objectives, increase the complexity of military exercises, support Thailand’s military modernization, and advance a Free and Open Indo-Pacific. By U.S. Mission Thailand | 22 March, 2022 | Topics: East Asia & Pacific, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: พลอากาศเอก เคน วิลส์บาก ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก (PACAF) กล่าวว่า “ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย และคณะติดตาม ระหว่างที่ท่านเดินทางเยือนสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในฐานะผู้บัญชาการทหารอากาศไทย เราหวังว่า การประชุมระหว่างผู้นำกองทัพอากาศสหรัฐฯ และกองทัพอากาศไทยจะยังประโยชน์ในขณะที่กองทัพของเราทั้งสองชาติมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่เพื่ออินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่งคั่งต่อไป กองทัพอากาศสหรัฐฯ มุมานะที่จะยกระดับความสัมพันธ์กับกองทัพอากาศไทยขณะที่กองทัพอากาศไทยปรับการทำงานให้ทันสมัย พลอากาศเอก นภาเดช เป็นเพื่อนและหุ้นส่วนกับสหรัฐฯ มาเป็นเวลานาน โดยได้เข้าร่วมการฝึกอบรม United States Air Force Undergraduate Pilot Training และเข้าศึกษาที่สถาบัน Air Command and Staff College ในเวลาต่อมา ผมยินดีที่ได้ใช้โอกาสนี้หารือในประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับสัมพันธไมตรีด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ และไทยต่อไปครับ” โดย U.S. Embassy Bangkok | 8 มีนาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
Attributed to: General Ken Wilsbach, Commander Pacific Air Forces (PACAF) “I am extremely delighted to host the Royal Thai Air Forces (RTAF) Commander-in-Chief Air Chief Marshal Napadej Dhupatemiya and accompanying delegation for ACM Napadej’s first trip to the United States as the RTAF Commander-in-Chief. We look forward to a productive visit between USAF and RTAF leaders as the two forces continue the pursuit of a free, open, and prosperous Indo-Pacific. The United States Air Force (USAF) seeks to advance the relationship with the RTAF as they continue their modernization efforts. ACM Napadej has a long history of friendship and partnership with the United States, having attended United States Air Force Undergraduate Pilot Training, and later, Air Command and Staff College. I welcome the occasion for productive discussions that will further the U.S.-Thai security alliance.” By U.S. Embassy Bangkok | 8 March, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สหรัฐฯ ร่วมกับไทยค้นหานักบินสูญหายระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับเผยแพร่ทันที 3 มีนาคม 2565 วันนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเริ่มปฏิบัติการร่วมกับไทยเพื่อค้นหานักบินอเมริกันที่สูญหายมากว่า 70 ปี ทั้งนี้ เชื่อว่านักบินคนดังกล่าวพร้อมด้วยเครื่องบิน P-38 ตกใกล้กับ ม.บ้านแม่กัวะ อ.สบปราบ จ.ลำปาง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้เชี่ยวชาญ 9 คนจากสำนักงานค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหาย (DPAA) สำนักงานใหญ่ในฮาวาย กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เดินทางมาเพื่อร่วมปฏิบัติการค้นหาโดยได้รับการสนับสนุนจากชุมชนบ้านแม่กัวะ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ, กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ ฌอน โอนีลล์ และพันเอก อลงกต ดอนมูล ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้ลงพื้นที่และพบกับคณะค้นหา อีกทั้งยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญกลุ่มดังกล่าว ตลอดจนร่วมในปฏิบัติการค้นหาด้วย อุปทูตฮีธ กล่าวว่า “แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปีแล้ว แต่สหรัฐฯ ยังคงดำเนินการเพื่อนำทหารทุกนายของเรากลับบ้าน ภารกิจด้านมนุษยธรรมนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความร่วมมือและมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ในนามของสหรัฐฯ และประชาชนอเมริกัน ผมขอขอบคุณสมาชิกชุมชนและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ตลอดจนรัฐบาลไทยที่ช่วยเราปฏิบัติหน้าที่ที่สำคัญและทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับชาติของเรา” พันตรี ไบรอัน ดับเบิลยู. สมิท หัวหน้าคณะค้นหา กล่าวว่า “เป้าหมายของเราที่นี่คือการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด และสื่อสารกับครอบครัวของผู้สูญหายอย่างเปิดเผย ผมขอขอบคุณเจ้าภาพชาวไทยที่ช่วยเรานำทหารของเรากลับสู่มาตุภูมิ” ทหารอเมริกันประมาณ 81,600 คนยังคงสูญหายจากเหตุการณ์ความขัดแย้งในอดีต รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นหาข้อมูลของผู้สูญหายอย่างเต็มความสามารถเพื่อนำพวกเขากลับสู่มาตุภูมิและครอบครัว ภารกิจนี้เป็นปฏิบัติการนำตัวผู้สูญหายกลับสู่มาตุภูมิที่สำคัญครั้งแรกในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2550 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 สำนักงาน DPAA ได้รับข้อมูลชุดใหม่เกี่ยวกับการพบเครื่องบินที่สูญหายไปของสหรัฐฯ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองจำนวน 3 ลำในพื้นที่ภาคเหนือของไทย ซึ่งนำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานเครื่องบินที่สูญหายในพื้นที่ ความสูญเสียแต่ละเหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับทหารอเมริกันที่ยังคงสูญหายอยู่ ภารกิจนี้เกิดขึ้นได้จากการค้นคว้าโดยละเอียดของนักประวัติศาสตร์และอาสาสมัครทั้งจากไทยและสหรัฐฯ ตลอดจนใช้ข้อมูลที่ได้จากบันทึกของผู้เห็นเหตุการณ์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทหารอเมริกันที่สูญหายหรือสำนักงาน DPAA และภารกิจได้จากเว็บไซต์ www.DPAA.mil ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1y6Vj2k9y2XXFKftC3cfUZX7OO3n50fn3 โดย U.S. Embassy Bangkok | 3 มีนาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
U.S. and Thailand Work Together in Search for Missing WWII Airman For Immediate Release March 3, 2022 Today, the U.S. government launched a joint U.S.-Thailand operation in search of an American pilot missing for more than 70 years. The airman, along with his P-38 aircraft, are believed to have gone down near Baan Mae Kua village, in Sop Prap district of Lampang province during World War II. Nine specialists have arrived from the U.S. Defense Prisoner of War/Missing in Action Accounting Agency’s Hawaii headquarters to conduct the search mission, supported by the Baan Mae Kua community. Chargé d’Affaires Michael Heath, Consul General Sean O’Neill, and Colonel Alongkot Donmoon, representing the Governor of Lampang Province visited the site to meet with the team and learn about their specific duties, while assisting in the search. CDA Heath said: “After more than 70 years the United States is still working to bring home all of our service members. This humanitarian mission is a symbol of the great cooperation and friendship between the United States and Thailand. On behalf of the United States of America and the American people, I want to express gratitude to the local community, the local authorities, and the government of Thailand for helping us fulfill our sacred duty and promise to the nation.” Major Brian W. Smith, the mission commander, said: “Our goal here is to give the fullest possible accounting of the incident and maintain open communication with the families of the missing. A sincere thank you to our Thai hosts for helping us bring our service members home.” Approximately 81,600 American personnel are still unaccounted for from past conflicts. The U.S. government is committed to providing the fullest possible accounting of the missing to the nation and their families. This mission is the first significant recovery operation in Thailand since 2007. In July 2018, DPAA obtained new information regarding three missing U.S. World War II aircraft located in northern Thailand which led to further investigation of the missing aircraft reports in the area.  Each of these losses is associated with a U.S. service member who has yet to be accounted for. This mission has been made possible by extensive research conducted by both historians and volunteers from both Thailand and the United States, and incorporates information learned from eyewitness accounts. For further information on the missing American Service Member or DPAA and its mission please refer to DPAA’s website at www.DPAA.mil. Download more photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1y6Vj2k9y2XXFKftC3cfUZX7OO3n50fn3 By U.S. Embassy Bangkok | 3 March, 2022 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: DPAA
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของไทยในแม่ฮ่องสอน สำหรับเผยแพร่ทันที 2 มีนาคม 2565 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ประกาศมอบทุนจำนวน 220,000 เหรียญสหรัฐจากกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม หรือ AFCP ให้แก่มหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อการอนุรักษ์โลงไม้โบราณที่ถ้ำผีแมนโลงลงรัก จ.แม่ฮ่องสอน อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ มอบทุนสนับสนุนดังกล่าว โดยมีศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้อำนวยการโครงการ พร้อมด้วยนายสืบพงษ์ นิ่มพูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นตัวแทนรับมอบ เงินทุนจากโครงการ AFCP ดังกล่าวจะสนับสนุนคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการบูรณะโลงไม้เก่าแก่และโบราณวัตถุอื่น ๆ ออกแบบทางเดินภายในถ้ำผีแมนโลงลงรัก ตลอดจนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ไม้กับผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกัน โครงการนี้จะส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่และชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มีส่วนร่วมและภาคภูมิใจในมรดกของตน อีกทั้งยังจะจัดให้มีการอบรมในชุมชนเพื่อเชื่อมอดีตกับปัจจุบัน ให้คนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการทอ เครื่องเขิน งานจักสาน และการแกะสลักไม้ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากการอนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณแล้ว โครงการนี้จะเป็นต้นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบใหม่ ซึ่งอาจยังผลทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนท้องถิ่น ในระดับนานาชาติ โครงการจะถือเป็นตัวอย่างของวิธีปฏิบัติที่ดีในการอนุรักษ์ถ้ำ และวิธีการที่ชุมชนสามารถช่วยปกป้องมรดกทางโบราณคดีของตน “โครงการนี้จะช่วยให้เราได้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับผู้คนในภาคเหนือและวิถีชีวิตของพวกเขาโดยผ่านทางโบราณวัตถุและมรดกทางวัฒนธรรมที่พวกเขาทิ้งเอาไว้ อเมริกามีความสัมพันธ์ที่หยั่งรากลึกกับไทย ดังเช่นความเคารพและรู้คุณค่าที่เรามีต่อวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของไทย” อุปทูต ไมเคิล ฮีธ กล่าว นับตั้งแต่ปี 2544 กองทุน AFCP ได้สนับสนุนโครงการในประเทศไทยมาแล้ว 20 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยครั้งนี้เป็นโครงการ AFCP โครงการที่ 3 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากที่เคยได้รับการสนับสนุนในโครงการบริหารจัดการมรดกทางโบราณคดีที่เพิงผาบ้านไร่และเพิงผาถ้ำลอด จ.แม่ฮ่องสอน และโครงการบันทึกสภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1KehJn6JOVuL4UWzQChgY9IWg_wJOxHNH โดย U.S. Mission Thailand | 2 มีนาคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
U.S. Mission Thailand Supports Conservation of Thailand’s Cultural Heritage in Mae Hong Son For Immediate Release March 2, 2022 On March 2, the U.S. Mission to Thailand announced a $220,000 U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) award to Silpakorn University for the conservation of ancient log coffins of Phi Man Long Long Rak Cave, Mae Hong Son. Chargé d’Affaires Michael Heath presented the grant to the senior leadership of Silpakorn University and Project Director Prof. Dr. Rasmi Shoocongdej from the Faculty of Archaeology, alongside the Deputy Governor of Mae Hong Son Mr. Suebpong Nimpoonsawat. Through this AFCP grant, Silpakorn University’s Faculty of Archaeology will restore ancient log coffins and other archaeological finds, design a walking path inside Phi Man Long Long Rak Cave, and foster technical exchanges in wood conservation with American experts.  This project will encourage local youth and ethnic communities to be involved with, and take pride in, their heritage. To connect the past to the present, community training will teach the next generation about the prehistoric techniques of weaving, lacquerware, basketry, and wood carving. In addition to preserving ancient heritage, this project could also be a prototype for new design products with the potential to create economic benefits for local communities. On the international level, the project will serve as an example of best practices in cave conservation and how communities can help safeguard their archaeological heritage. “This project will help us learn more about the people of Northern Thailand and how they lived through the artifacts and cultural heritage that they left behind.  America’s roots in Thailand run deep, as does our respect and appreciation for Thailand’s rich culture,” said Chargé d’Affaires Michael Heath. Since 2001, the AFCP program has supported 20 projects throughout Thailand, totaling over $2.5 million U.S. dollars.  This is the third AFCP grant to Silpakorn University, following archaeological heritage management at Ban Rai and Tam Lod rock shelters in Mae Hong Son, and the documentation of the Ramayana mural paintings at Wat Suthat Thepwararam in Bangkok. Download more photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1KehJn6JOVuL4UWzQChgY9IWg_wJOxHNH By U.S. Mission Thailand | 2 March, 2022 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: วันนี้ ผู้แทนจากรัฐบาลสหรัฐฯ รัฐบาลไทย และผู้นำภาคธุรกิจจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของนวัตกรรมเทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) แห่งอนาคต และการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 6 GHz ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้การเชื่อมต่อ Wi-Fi ในบ้านเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างบทบาทของไทยในฐานะศูนย์กลางนวัตกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมที่ล้ำสมัยอีกด้วย องค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (USTDA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เริ่มการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลา 2 วัน เพื่อหารือเกี่ยวกับการใช้งานคลื่นความถี่ 6 GHz ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สาย เช่น Wi-Fi โดยการประชุมดังกล่าวมีผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนและภาครัฐของสหรัฐฯ และไทยร่วมแบ่งปันข้อเสนอแนะทางเทคนิค และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ไทยเข้าใกล้เป้าหมายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ย่านความถี่ที่ไม่ต้องได้รับอนุญาต (unlicensed spectrum) หรือคลื่นความถี่วิทยุ ตลอดจนเทคโนโลยี Wi-Fi มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจดิจิทัลระดับโลก อุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์ค้นหาเส้นทางเครือข่ายไร้สาย (wireless router) สมาร์ตโฟน และคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปที่ใช้คลื่นความถี่ Wi-Fi และมาตรฐานอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งใช้ความถี่ที่ไม่ต้องได้รับอนุญาตนั้น กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจสามารถใช้อุปกรณ์ไร้สายต่าง ๆ ได้ในราคาถูก ปัจจุบันมีอุปกรณ์จำนวนมากที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi ประมาณกว่า 30,000 ล้านชิ้นทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่าจะเป็นช่องทางเชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่กว่าร้อยละ 70 ภายในปี 2566 การใช้งานเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่แพร่หลายเหล่านี้ส่งผลให้ความต้องการใช้งานคลื่นความถี่เพิ่มมากขึ้น ไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนอยู่ระหว่างการพิจารณาการจัดสรรคลื่นความถี่ 6 GHz ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ที่เชื่อมโยงกันผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet of Things: IoT) และการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาเทคโนโลยี แอปพลิเคชัน และบริการที่ใช้นวัตกรรม ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลยุคใหม่ และยังเป็นประโยชน์ให้กับผู้บริโภคต่อไป “รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งมั่นสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 โดยทาง USTDA ทำงานร่วมกับภาคเอกชนของสหรัฐฯ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ และคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Communications Commission) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่จะช่วยให้ Wi-Fi รุ่นใหม่ทำงานได้ ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการเติบโตของการใช้อุปกรณ์ IoT ในประเทศไทย” อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ไมเคิล ฮีธ กล่าว เมื่อเดือนเมษายน 2563 สหรัฐฯ เป็นประเทศแรกในโลกที่จัดสรรคลื่นความถี่ 6 GHz ทั้งหมดเพื่อให้ใช้กับเทคโนโลยีแบบเปิด (open technology) เช่น Wi-Fi “ผมขอแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อสถานทูตสหรัฐฯ USTDA และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหรัฐฯ ที่ช่วยให้เกิดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้น ประเทศไทยตระหนักถึงความจำเป็นในการเร่งรัดให้เกิดแอปพลเคิชันและบริการบนระบบเครือข่ายไร้สายรุ่นใหม่ที่มีราคาไม่แพง ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าถึงคลื่นความถี่ 6 GHz นี้ด้วย” นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ประกอบไปด้วยผู้แทนรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากภาคธุรกิจของทั้งสองประเทศ รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลจากประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช. ได้ร่วมให้ข้อมูลด้านความคืบหน้าในการพิจารณาการจัดสรรคลื่นความถี่ 6 GHz ของไทย “สำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ 6 GHz ของเราให้เต็มศักยภาพที่สุด เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจของไทย สำนักงาน กสทช. ยึดมั่นปฏิบัติตามความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technological Neutrality) โดยได้เข้าร่วมการหารือด้านเทคนิคภายใต้กรอบการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และเราคาดว่าจะได้รับทราบแนวทางฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ 6 GHz จากผลการประชุมภายใต้กรอบดังกล่าวในปีหน้า ทั้งนี้ ผมเชื่อว่าผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทั้งจากภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงผู้แทนหน่วยงานกำกับดูแลจากชาติสมาชิกอาเซียน จะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายจากการประชุมที่จัดขึ้นในช่วง 2 วันนี้ โดยเฉพาะข้อมูลประสบการณ์ตรงจากสหรัฐฯ ที่ถือเป็นผู้นำในการจัดสรรคลื่นความถี่ 6 GHz และภาคธุรกิจอเมริกัน” นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช. กล่าว สหรัฐฯ และไทยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยาวนานกว่า 2 ศตวรรษ ความร่วมมือที่สำคัญของเราสานต่อจากช่วงเวลาตั้งแต่สมัยการเดินเรือมาจนถึงยุคโทรเลข จากสมัยการใช้วิทยุมาจนถึงยุคดิจิทัลในวันนี้ ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระดับโลก อีกทั้งยังประสบความสำเร็จในการเป็นกลุ่มประเทศแรก ๆ ที่เริ่มใช้เทคโนโลยี 5G ตลอดจนมีอัตราการใช้โมบายแบงก์กิ้งและโซเชียลมีเดียที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สหรัฐฯ และภาคเอกชนพร้อมที่จะต่อยอดจากพันธไมตรีที่ยาวนานนี้ โดยขยายนวัตกรรม การลงทุน และการแบ่งปันองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งร่วมกัน โดย U.S. Embassy Bangkok | 17 กุมภาพันธ์, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
The United States, the Royal Thai Government, and business leaders began a workshop today to exchange information on the importance of next generation Wi-Fi technology and the allocation of 6 GHz spectrum, which will not only make home Wi-Fi faster, but further strengthen Thailand’s position as a center of advanced manufacturing and industry innovation. The U.S. Trade and Development Agency (USTDA), Thailand’s Ministry of Digital Economy and Society (MDES), the Office of the National Digital Economy and Society Commission (ONDE) and the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC), kicked off a two-day workshop today on the utilization of the 6 GHz spectrum band, including wireless technologies such as Wi-Fi. The event included industry and government experts from the United States and Thailand, who shared technical advice and best practices that will foster further development of Thailand’s communications infrastructure and economic development goals. Unlicensed spectrum (or radio frequency) bands and Wi-Fi technologies play an important role in the global digital economy. Devices such as wireless routers, smart phones and laptops that employ Wi-Fi and other unlicensed standards have become indispensable for providing low-cost wireless connectivity in countless products used by consumers and industry. Wi-Fi already supports an estimated 30 billion connected devices globally and will be the connection point for over 70 percent of mobile data traffic by 2023. The proliferation of these technologies and new applications will require additional spectrum capacity. Thailand and other ASEAN countries are now determining how to allocate the 6 GHz spectrum band, which not only will impact applications such as Internet of Things (IoT) and advanced manufacturing, but will also empower innovative technologies, applications and services that will drive the new digital economy and benefit consumers. “The U.S. Government is committed to supporting Thailand 4.0. Working in partnership with America’s private sector, the U.S. Department of State, Department of Commerce, Federal Communications Commission, USTDA is helping to share experience that will enable the next generation of Wi-Fi and play a major role in the growth of Internet of Things in Thailand,” noted Chargé d’Affaires Michael Heath. In April 2020, the United States became the first country in the world to allocate the entire 6 GHz spectrum band for open technologies such as Wi-Fi. “I would like to express sincere gratitude towards the U.S. Embassy, USTDA and other related U.S. agencies for making this workshop possible. Thailand recognizes the need to accelerate the availability and affordability of next-generation wireless applications and services, and howaccess to the 6 GHz band will play a part in this equation,” said Minister of Digital Economy and Society Chaiwut Thanakamanusorn. Key participants included Thai and U.S. government officials, U.S. and Thai industry experts, as well as regulatory stakeholders from the ASEAN region. The Office of the NBTC also provided updates on the current state-of-play on Thailand’s 6 GHz spectrum allocation. “The Office of the NBTC is exploring options that would maximize the utilization of our 6 GHz resources to drive further digitization and innovation for our economy. We have been following the Technological Neutrality principle while participating in the ongoing technical discussions at the International Telecommunication Union (ITU) World Radiocommunication Conferences, from which we expect final recommendations on the 6 GHz spectrum next year. I strongly believe that all participants from both governmental and non-governmental sectors, including regulators from ASEAN countries, will acquire many informative inputs during this two-day workshop, especially from those at the forefront in allocating 6 GHz band like the United States and their respective industries.” said NBTC Acting Secretary General Trairat Viriyasirikul. The United States and Thailand have enjoyed a strong relationship that spans two centuries. The historic partnership extends from the age of sail to the telegraph; from wireless radio to the digital age of today. Thailand has already made its mark in the global digital economy, boasting a successful early rollout of 5G and ranks among the world’s highest mobile banking and social media usage rates. The United States and its private sector stand ready to build on this long partnership with Thailand by expanding innovation, investment, and knowledge sharing to achieve shared prosperity. By U.S. Embassy Bangkok | 17 February, 2022 | Topics: News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: เอกสารข้อเท็จจริง: ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา “เรามองเห็นอินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง เชื่อมโยง มั่งคั่ง พร้อมรับมือ และมั่นคง และเราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับพวกท่านแต่ละคนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น” ประธานาธิบดี โจ ไบเดน การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก 27 ตุลาคม 2564 รัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริส ได้สร้างความก้าวหน้าครั้งประวัติศาสตร์เพื่อฟื้นฟูความเป็นผู้นำของอเมริกาในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และปรับบทบาทของรัฐสำหรับศตวรรษที่ 21 ในปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้พัฒนาพันธไมตรีที่มีมาช้านานของเราให้เหมาะสมกับยุคสมัย ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นใหม่ และเชื่อมโยงพันธมิตรของเราด้วยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้รับมือกับความท้าทายเร่งด่วน ตั้งแต่การแข่งขันกับประเทศจีนไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโรคระบาดใหญ่ สหรัฐฯ ดำเนินการดังกล่าวในช่วงเวลาที่พันธมิตรและหุ้นส่วนทั่วโลกกำลังมีส่วนร่วมในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมากขึ้น และยังเป็นช่วงเวลาที่พรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองฝ่ายในรัฐสภาสหรัฐฯ เห็นพ้องกันเป็นวงกว้างว่าจะต้องทำเช่นนี้ ความมุ่งมั่นที่ประเทศต่างๆ มีต่อภูมิภาคนี้โดยพร้อมเพรียง ไม่ว่าจะมีมหาสมุทรกางกั้นหรือมีนโยบายทางการเมืองเช่นใดก็ตาม สะท้อนให้เห็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อินโด-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก และอนาคตของภูมิภาคนี้ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก ความจริงข้อนั้นเป็นพื้นฐานของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ยุทธศาสตร์นี้แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของประธานาธิบดีไบเดนที่จะให้สหรัฐฯ ยืนหยัดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอย่างเต็มภาคภูมิยิ่งขึ้น และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภูมิภาคนี้ไปพร้อมกัน โดยหัวใจสำคัญคือความร่วมมืออย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์กับพันธมิตร หุ้นส่วน และองค์การต่างๆ ภายในภูมิภาคและนอกภูมิภาค สหรัฐฯ จะดำเนินการเพื่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่มีลักษณะดังนี้ 1. เสรีและเปิดกว้าง ผลประโยชน์สำคัญของเราและบรรดาพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเราจะบังเกิดได้ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง และภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างก็จำต้องมีรัฐบาลที่สามารถตัดสินใจได้เองและมีการบริหารปกครองพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันตามหลักกฎหมาย ยุทธศาสตร์ของเราเริ่มต้นด้วยการเสริมสร้างความพร้อมรับมือ ทั้งภายในแต่ละประเทศ ดังที่เราทำในสหรัฐฯ และระหว่างประเทศเหล่านั้น เราจะพัฒนาภูมิภาคที่เสรีและเปิดกว้างด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การลงทุนในสถาบันประชาธิปไตย สื่อเสรี และภาคประชาสังคมที่มุ่งมั่นขับเคลื่อน การพัฒนาความโปร่งใสด้านการเงินการคลังในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เพื่อเปิดโปงการทุจริตและขับเคลื่อนการปฏิรูป การดูแลให้น่านน้ำและน่านฟ้าของภูมิภาคมีการบริหารปกครองและใช้งานตามกฎหมายระหว่างประเทศ การพัฒนาแนวทางร่วมกันในการใช้เทคโนโลยีที่สำคัญและอุบัติใหม่ ตลอดจนอินเทอร์เน็ตและไซเบอร์สเปซ 2. เชื่อมโยง ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราสร้างขีดความสามารถร่วมกันสำหรับยุคใหม่ พันธมิตร องค์กร และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สหรัฐฯ และหุ้นส่วนได้ร่วมกันสร้างจะต้องปรับตัว เราจะสร้างขีดความสามารถร่วมกันภายในและนอกภูมิภาคด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การกระชับพันธไมตรีในสนธิสัญญากับ 5 ประเทศในภูมิภาค ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ฟิลิปปินส์ และไทย การกระชับความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนชั้นนำในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย มองโกเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เวียดนาม และหมู่เกาะแปซิฟิก การร่วมสร้างพลังและความเป็นปึกแผ่นของอาเซียน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มภาคี 4 ประเทศ (Quad) และปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา การสนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่องและความเป็นผู้นำระดับภูมิภาคของอินเดีย การร่วมมือเพื่อสร้างความพร้อมรับมือในหมู่เกาะแปซิฟิก การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและยูโร-แอตแลนติก การยกระดับบทบาททางการทูตของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะแปซิฟิก 3. มั่งคั่ง ความมั่งคั่งของคนอเมริกันทั่วไปเชื่อมโยงกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการลงทุนเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สร้างงานที่มีรายได้ดี ฟื้นฟูห่วงโซ่อุปทาน และขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับครอบครัวชนชั้นกลาง เนื่องจากประชาชน 1,500 ล้านคนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกจะกลายเป็นกลุ่มชนชั้นกลางพร้อมกับผู้คนทั่วโลกในทศวรรษนี้ เราจะขับเคลื่อนความมั่งคั่งของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเสนอกรอบเศรษฐกิจภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งจะอำนวยให้เรา พัฒนาแนวทางการค้าใหม่ๆ ที่ได้มาตรฐานสูง ทั้งด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการเศรษฐกิจดิจิทัลของเราและกระแสข้อมูลข้ามพรมแดนตามหลักการแบบเปิดกว้าง รวมถึงผ่านกรอบเศรษฐกิจดิจิทัลใหม่ พัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นและมั่นคง ซึ่งมีความหลากหลาย เปิดกว้าง และคาดเดาได้ ร่วมลงทุนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และในพลังงานสะอาด การส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เสรี เป็นธรรม และเปิดกว้าง ผ่านกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) รวมถึงในปี 2566 ที่สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพ การปิดช่องว่างด้านโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคผ่านโครงการ Build Back Better World กับพันธมิตรกลุ่มประเทศ G7 4. มั่นคง เป็นเวลา 75 ปีแล้วที่สหรัฐฯ ดำรงบทบาทด้านความมั่นคงโดยหนักแน่นและสม่ำเสมอ ซึ่งจำเป็นต่อการสนับสนุนสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ และความมั่งคั่งในภูมิภาค เรากำลังขยายและปรับปรุงบทบาทนั้นให้ทันสมัย รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการปกป้องผลประโยชน์ของเรา และเพื่อยับยั้งการรุกรานดินแดนของสหรัฐฯ ตลอดจนพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรา เราจะเสริมสร้างความมั่นคงของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยใช้อำนาจทุกรูปแบบที่มี เพื่อยับยั้งการรุกรานและเพื่อตอบโต้การบีบบังคับ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การยกระดับการป้องปรามแบบบูรณาการ การยกระดับความร่วมมือและความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันกับพันธมิตรและหุ้นส่วน การรักษาสันติภาพและเสถียรภาพตลอดแนวช่องแคบไต้หวัน การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อดำเนินการในสภาพแวดล้อมที่ภัยคุกคามเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงด้านอวกาศ ไซเบอร์สเปซ ตลอดจนเทคโนโลยีที่สำคัญและอุบัติใหม่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องปรามและประสานงานที่ครอบคลุมมากขึ้นกับพันธมิตรของเราในสาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่น และผลักดันการปลดอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ในคาบสมุทรเกาหลี การสานต่อปณิธานของหุ้นส่วนไตรภาคีด้านความมั่นคงระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ (AUKUS) การขยายบทบาทของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ และความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามข้ามชาติอื่นๆ การทำงานร่วมกับรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อให้ทุนแก่โครงการ Pacific Deterrence Initiative และ Maritime Security Initiative 5. พร้อมรับมือ ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเผชิญกับความท้าทายข้ามชาติที่สำคัญหลายประการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ธารน้ำแข็งในเอเชียใต้ละลายและหมู่เกาะแปซิฟิกต่อสู้กับปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19ยังคงส่งผลกระทบแสนสาหัสต่อผู้คนและเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาค และรัฐบาลของบรรดาชาติอินโด-แปซิฟิกต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ การขาดแคลนทรัพยากร ความขัดแย้งภายใน และความท้าทายด้านการเมืองการปกครอง หากไม่พึงระวัง ภัยร้ายเหล่านี้เหล่านี้อาจทำลายเสถียรภาพของภูมิภาคได้ เราจะสร้างความพร้อมรับมือในระดับภูมิภาคต่อภัยคุกคามข้ามชาติในศตวรรษที่ 21 ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทำงานร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนเพื่อพัฒนาเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และนโยบายของสำหรับปี 2573 และ 2593 ซึ่งสอดคล้องกับการจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส การลดความเปราะบางในระดับภูมิภาคเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การยุติการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และเสริมสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพโลก ### หมายเหตุ: อ่าน Indo-Pacific Strategy ฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) ได้ที่ https://www.whitehouse.gov/wp-content/uploads/2022/02/U.S.-Indo-Pacific-Strategy.pdf และภาษาไทยได้ที่ https://th.usembassy.gov/th/us-indo-pacific-strategy-th/ โดย U.S. Embassy Bangkok | 16 กุมภาพันธ์, 2022 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
FACT SHEET: Indo-Pacific Strategy of the United States “We envision an Indo-Pacific that is open, connected, prosperous, resilient, and secure—and we are ready to work together with each of you to achieve it.” President Joe Biden East Asia Summit October 27, 2021 The Biden-Harris Administration has made historic strides to restore American leadership in the Indo-Pacific and adapt its role for the 21stcentury. In the last year, the United States has modernized its longstanding alliances, strengthened emerging partnerships, and forged innovative links among them to meet urgent challenges, from competition with China to climate change to the pandemic. It has done so at a time when allies and partners around the world are increasingly enhancing their own engagement in the Indo-Pacific; and when there is broad, bipartisan agreement in the U.S. Congress that the United States must, too. This convergence in commitment to the region, across oceans and across political-party lines, reflects an undeniable reality: the Indo-Pacific is the most dynamic region in the world, and its future affects people everywhere. That reality is the basis of the Indo-Pacific Strategy of the United States. This strategy outlines President Biden’s vision to more firmly anchor the United States in the Indo-Pacific and strengthen the region in the process. Its central focus is sustained and creative collaboration with allies, partners, and institutions, within the region and beyond it. The United States will pursue an Indo-Pacific region that is: 1. FREE AND OPEN Our vital interests and those of our closest partners require a free and open Indo-Pacific, and a free and open Indo-Pacific requires that governments can make their own choices and that shared domains are governed lawfully. Our strategy begins with strengthening resilience, both within individual countries, as we have done in the United States, and among them. We will advance a free and open region, including by: Investing in democratic institutions, a free press, and a vibrant civil society Improving fiscal transparency in the Indo-Pacific to expose corruption and drive reform Ensuring the region’s seas and skies are governed and used according to international law Advancing common approaches to critical and emerging technologies, the internet, and cyber space 2.CONNECTED A free and open Indo-Pacific can only be achieved if we build collective capacity for a new age. The alliances, organizations, and rules that the United States and its partners have helped to build must be adapted. We will build collective capacity within and beyond the region, including by: Deepening our five regional treaty alliances with Australia, Japan, the Republic of Korea (ROK), the Philippines, and Thailand Strengthening relationships with leading regional partners, including India, Indonesia, Malaysia, Mongolia, New Zealand, Singapore, Taiwan, Vietnam, and the Pacific Islands Contributing to an empowered and unified ASEAN Strengthening the Quad and delivering on its commitments Supporting India’s continued rise and regional leadership Partnering to build resilience in the Pacific Islands Forging connections between the Indo-Pacific and the Euro-Atlantic Expanding U.S. diplomatic presence in the Indo-Pacific, particularly in Southeast Asia and the Pacific Islands 3.PROSPEROUS The prosperity of everyday Americans is linked to the Indo-Pacific. That fact requires investments to encourage innovation, strengthen economic competitiveness, produce good-paying jobs, rebuild supply chains, and expand economic opportunities for middle-class families: 1.5 billion people in the Indo-Pacific will join the global middle class this decade. We will drive Indo-Pacific prosperity, including by: Proposing an Indo-Pacific economic framework, through which we will: Develop new approaches to trade that meet high labor and environmental standards Govern our digital economies and cross-border data flows according to open principles, including through a new digital economy framework Advance resilient and secure supply chains that are diverse, open, and predictable Make shared investments in decarbonization and clean energy Promoting free, fair, and open trade and investment through the Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC), including in our 2023 host year Closing the region’s infrastructure gap through Build Back Better World with G7 partners 4. SECURE For 75 years, the United States has maintained a strong and consistent defense presence necessary to support regional peace, security, stability, and prosperity. We are extending and modernizing that role and enhancing our capabilities to defend our interests and to deter aggression against U.S. territory and against our allies and partners. We will bolster Indo-Pacific security, drawing on all instruments of power to deter aggression and to counter coercion, including by: Advancing integrated deterrence Deepening cooperation and enhancing interoperability with allies and partners Maintaining peace and stability across the Taiwan Strait Innovating to operate in rapidly evolving threat environments, including space, cyberspace, and critical- and emerging-technology areas Strengthening extended deterrence and coordination with our ROK and Japanese allies and pursuing the complete denuclearization of the Korean Peninsula Continuing to deliver on AUKUS Expanding U.S. Coast Guard presence and cooperation against other transnational threats Working with Congress to fund the Pacific Deterrence Initiative and the Maritime Security Initiative 5. RESILIENT The Indo-Pacific faces major transnational challenges. Climate change is growing ever-more severe as South Asia’s glaciers melt and the Pacific Islands battle existential rises in sea levels. The COVID-19 pandemic continues to inflict a painful human and economic toll across the region. And Indo-Pacific governments grapple with natural disasters, resource scarcity, internal conflict, and governance challenges. Left unchecked, these forces threaten to destabilize the region. We will build regional resilience to 21st-century transnational threats, including by: Working with allies and partners to develop 2030 and 2050 targets, strategies, plans, and policies consistent with limiting global temperature increase to 1.5 degrees Celsius Reducing regional vulnerability to the impacts of climate change and environmental degradation Ending the COVID-19 pandemic and bolstering global health security Read the full strategy here: https://www.whitehouse.gov/wp-content/uploads/2022/02/U.S.-Indo-Pacific-Strategy.pdf By U.S. Embassy Bangkok | 16 February, 2022 | Topics: East Asia & Pacific, News, President of the United States | Tags: Indo-Pacific
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: พลร่มสังกัดกองทัพบกสหรัฐฯ และกองทัพบกไทยจะร่วมกันฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ (Strategic Airborne Operation: SAO) ณ ค่ายธนะรัชต์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ภายหลังการฝึกกระโดดร่ม ณ ฐานทัพ Joint Base Lewis McChord (JBLM) รัฐวอชิงตันที่กองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิกเป็นผู้จัดและสนับสนุนทุน ทั้งนี้ การฝึกดังกล่าวจะจัดขึ้นภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุขที่เคร่งครัดเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 กองทัพบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิกจะต้อนรับกำลังพลกองทัพบกไทย 120 นาย ณ ฐานทัพ Joint Base Lewis McChord รัฐวอชิงตัน ระหว่างวันที่ 11-23 กุมภาพันธ์ การฝึกผสมนี้จะเสริมสร้างศักยภาพของพลร่มไทยและอเมริกัน ฝึกอบรมการใช้ร่มชูชีพ T-11 ตลอดจนพัฒนาความพร้อมปฏิบัติการของกำลังพลทั้งสองฝ่าย ในตอนท้ายของการฝึก พลร่มไทยจะฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ ณ สนามกระโดดร่ม ค่ายธนะรัชต์ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ร่วมกับพลร่มสหรัฐฯ 115 นายจากกองพลน้อยที่ 4 กองทหารราบที่ 25 ฐานทัพ Joint Base Elmendorf Richardson รัฐอะแลสกา พลร่มไทยและอเมริกันจะเดินทางตรงจากรัฐวอชิงตันมายังประเทศไทยด้วยเครื่องบินลำเลียง C-17 Globemaster ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ โดยทั้งหมดจะเข้ารับการกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 7 วัน รวมถึงผ่านการตรวจคัดกรองตามขั้นตอนเมื่อถึงที่หมายในไทย พลร่มทุกนายจะพักอยู่ภายในพื้นที่ควบคุม ณ ค่ายธนะรัชต์ ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของรัฐบาลไทย และจะไม่พบปะกับประชาชนในพื้นที่หรือบุคคลอื่นใดนอกบริเวณที่กำหนดไว้ตลอดระยะเวลา 7 วันดังกล่าว การฝึกผสมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกที่ต่อเนื่องเป็นประจำระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และกองทัพไทย ความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างกำลังพลของเราเป็นหัวใจของพันธไมตรีด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ กับไทย อันมีรากฐานอยู่บนความทุ่มเทร่วมกันในการธำรงไว้ซึ่งภูมิภาคที่สันติ มั่งคั่ง และมั่นคง ด้วยการร่วมมือร่วมใจ สหรัฐฯ และไทยจะสามารถรับมือความท้าทายที่ซับซ้อนในอนาคต ซึ่งไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถกระทำได้โดยลำพัง โดย U.S. Embassy Bangkok | 11 กุมภาพันธ์, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
U.S. Army and Royal Thai Army (RTA) paratroopers will participate in a joint Strategic Airborne Operation (SAO) landing at Fort Thanarat in Prachuap Khiri Khan following paratrooper training exercises hosted and fully funded by U.S. Army Pacific Command at Joint Base Lewis McChord (JBLM), Washington. The training exercise and SAO will be conducted with strict COVID-19 health protocols in place. U.S. Army Pacific Command will host 120 RTA soldiers at Joint Base Lewis McChord in Washington from February 11-23. The joint exercise will enhance the capabilities of both Thai and U.S. paratroopers, train participants on T-11 parachutes, and improve operational readiness for both U.S. and Thai personnel. The training will conclude with a Strategic Airborne Operation landing at the Fort Thanarat Drop Zone on February 24, where the RTA soldiers will be joined by 115 U.S. paratroopers from the 4th Brigade, 25th Infantry Division, Joint Base Elmendorf Richardson, Alaska. The Thai and U.S. paratroopers will fly together directly from Washington State to Thailand aboard U.S. Air Force C-17 Globemaster transportation aircraft. U.S. and Thai paratroopers are subject to a strict, seven-day COVID-19 quarantine and screening regimen upon landing in Thailand. Thai and U.S. troops will remain in a secure area on Fort Thanarat, in compliance with Royal Thai Government COVID-19 mitigation measures and will have no contact with the local population or anyone outside this bubble throughout these seven days. This joint exercise is part of regular and ongoing training between the United States Department of Defense and Royal Thai Armed Forces. The interoperability of our forces is a cornerstone of the U.S.-Thai security alliance – an alliance that is rooted in a shared commitment to preserve a peaceful, prosperous, and secure region. Working together, the United States and Thailand can tackle the complex challenges of the future that no single country can solve alone. By U.S. Embassy Bangkok | 11 February, 2022 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: คำแถลงโดยโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคปี 2566 ของสหรัฐอเมริกา วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เราภูมิใจที่สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความทุ่มเทของเราในการยกระดับการค้าและการลงทุนที่เป็นธรรมและเปิดกว้าง ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอเมริกา และธำรงภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริสเสนอเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีหน้า เพราะเรามุ่งมั่นขยายและสร้างเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และเราขอขอบคุณมิตรสหายสมาชิกเอเปคที่สนับสนุนสหรัฐฯ ในบทบาทดังกล่าว เป้าหมายสูงสุดประการหนึ่งของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริส คือ การเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งและพึ่งพาได้ของสมาชิกเอเปค ตลอดจนกำหนดวิถีทางสู่โอกาส ความมั่งคั่ง และการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับเราร่วมกันทุกฝ่าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เรมอนโด พร้อมด้วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เอกอัครราชทูตไท และคณะทำงานของเรากำลังพัฒนากรอบเศรษฐกิจภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ร่วมกับหุ้นส่วนของสหรัฐฯ เอกสารดังกล่าวจะระบุถึงวัตถุประสงค์ที่เรามีร่วมกันในด้านต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่ออนาคตของเรา อาทิ การอำนวยความสะดวกเชิงพาณิชย์ มาตรฐานสำหรับเศรษฐกิจและเทคโนโลยีดิจิทัล ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน การลดการปล่อยคาร์บอนและพลังงานสะอาด โครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ บลิงเคน ยังได้เดินทางเยือนภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกในสัปดาห์นี้ เพื่อสานต่อพันธไมตรีทางการทูตที่สำคัญและผลักดันประเด็นที่เราให้ความสนใจอย่างสูงร่วมกันต่อไป สหรัฐฯ มุ่งมั่นร่วมมือกับไทยอย่างใกล้ชิด ในฐานะเจ้าภาพเอเปคปี 2565 รวมถึงเปรู ในฐานะเจ้าภาพเอเปคปี 2567 ตลอดจนบรรดาสมาชิกเอเปคในประเด็นที่เป็นประโยชน์กับประชาชนของเราทั้งหลาย โดย U.S. Mission Thailand | 11 กุมภาพันธ์, 2022 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
Statement by Press Secretary Jen Psaki on the United States Hosting APEC in 2023 February 10, 2022 We’re proud that the United States will be the host of the Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) in 2023, underscoring our commitment to advance fair and open trade and investment, bolster American competitiveness, and ensure a free and open Indo-Pacific. President Biden and Vice President Harris offered to host APEC next year because of our focus on expanding and deepening economic ties in the region – and we thank our fellow APEC economies for supporting the U.S. offer to host. It is a top priority for the Biden-Harris Administration to serve as a strong, reliable partner to APEC economies and identify common ways to unleash economic opportunity, prosperity, and growth for us all. Secretary of Commerce Raimondo, United States Trade Representative Ambassador Tai, and our team are working to develop with our partners an Indo-Pacific economic framework that will define our shared objectives around issues vital to our future, including trade facilitation, standards for the digital economy and technology, supply chain resiliency, decarbonization and clean energy, infrastructure, and worker standards. Secretary of State Blinken is also in the region this week to continue strengthening key diplomatic relationships and advancing our shared priorities. The United States looks forward to working closely with Thailand, the 2022 APEC host, Peru, the 2024 APEC host, and all of the APEC economies on an agenda that benefits all our people. By U.S. Mission Thailand | 11 February, 2022 | Topics: East Asia & Pacific, News, Press Releases, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สหรัฐฯ มอบอุปกรณ์เพิ่มเติมในการตรวจวินิจฉัยและการฉีดวัคซีนให้แก่ไทยเพื่อต่อสู้โรคโควิด-19 สำหรับเผยแพร่ทันที วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 วันนี้ สหรัฐฯ มอบอุปกรณ์เพิ่มเติม มูลค่ากว่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (49.5 ล้านบาท) เพื่อช่วยไทยต่อสู้โรคโควิด-19 นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ส่งมอบอุปกรณ์การตรวจวินิจฉัยเชื้อโควิด-19 และอุปกรณ์การฉีดวัคซีนให้แก่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี การส่งมอบอุปกรณ์ในนามขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development: USAID) ครั้งนี้ ประกอบไปด้วยน้ำยาตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR และตรวจหาการกลายพันธุ์ด้วยเทคโนโลยี NGS (Next Generation Sequencing) อุปกรณ์สำหรับการฉีดวัคซีน และชุดป้องกันร่างกายส่วนบุคคล “การสนับสนุนของเราสะท้อนถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ และรัฐบาลไทยในการดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาด การส่งมอบเวชภัณฑ์จากชาวอเมริกันในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงเพื่อปกป้องประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง ในขณะที่ไทยรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกล่าสุด” อุปทูตฮีธกล่าว ความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ นี้จะช่วยให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง รวมถึงลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอันเนื่องมาจากการติดเชื้อโควิด-19 การสนับสนุนอุปกรณ์เพิ่มเติมในการตรวจวินิจฉัยและอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ จะช่วยสนับสนุนความพยายามของไทยในการลดอัตราการระบาด การตรวจหาการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 อย่างเต็มความสามารถ และยกระดับการรับมือกับโรคระบาดของรัฐบาลไทย จนถึงปัจจุบัน USAID ได้มอบความช่วยเหลือในการรับมือกับโรคโควิด-19 ให้แก่รัฐบาลไทยแล้วกว่า 12.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (409 ล้านบาท) นอกเหนือจากการสนับสนุนวัคซีนชนิด mRNA ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจำนวน 2.5 ล้านโดส และความช่วยเหลือด้านโรคโควิด-19 อื่น ๆ มูลค่าหลายสิบล้านเหรียญสหรัฐ (หลายร้อยล้านบาท) ผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ในทศวรรษที่ผ่านมา USAID ให้การสนับสนุนไทยมาตลอด โดยเฉพาะการส่งเสริมศักยภาพในการวินิจฉัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ในช่วงแรกของการระบาด ความร่วมมือนี้มีส่วนช่วยยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 รายแรกในผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย นอกจากนี้ USAID ยังได้มอบอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของไทย สื่อสารข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แก่แรงงานข้ามชาติและบุคคลในชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่า 117,000 คน รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพในการวินิจฉัยและกำลังคนในการตรวจโรค ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้มอบความช่วยเหลือให้แก่ไทยแล้วเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (33,000 ล้านบาท) ทั้งนี้เกือบ 212 ล้านเหรียญสหรัฐ (7,000 ล้านบาท) เป็นความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการส่งมอบความช่วยเหลือล่าสุดนี้ด้วย สหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับไทยเพื่อยุติการระบาดของโรคโควิด-19 บรรเทาผลกระทบอันเลวร้ายต่อสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนฟื้นฟูความพร้อมรับมือกับโรคระบาดในอนาคต ดาวน์โหลดภาพได้ที่ https://flic.kr/s/aHBqjzBqS9 โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 กุมภาพันธ์, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
United States Provides Thailand Additional Diagnostic and Vaccine Delivery Supplies to Combat COVID-19 For Immediate Release February 7, 2022 Today, the United States provided additional COVID-19 supplies worth more than $1.5 million (49.5 million baht) to help Thailand fight COVID-19. The Chargé d’Affaires of the U.S. Embassy in Thailand, Michael Heath, handed over COVID-19 diagnostic and vaccine delivery supplies to Deputy Prime Minister and Minister of Public Health, Anutin Charnvirakul, today at the Ministry of Public Health. The supplies provided on behalf of the United States Agency for International Development (USAID) include reagents for Real-Time RT-PCR diagnostic tests, next generation sequencing for variant detection, vaccine delivery supplies, and personal protective equipment. “Our support reflects a sustained effort by the United States and the Royal Thai Governments to work in close partnership to mitigate the pandemic’s impact. These medical supplies from the American people will help support health care workers and vaccine delivery, getting shots into arms to protect high risk populations and vulnerable communities as Thailand responds to the most recent wave of COVID-19,” said Chargé d’Affaires Heath. This assistance will extend delivery of safe and effective vaccines to highest risk populations, reducing severe illness and hospitalizations resulting from COVID-19. Additional support for diagnostic tests and related equipment will aid efforts to slow transmission, enable robust variant tracking, and enhance the Royal Thai Government’s response to the pandemic. To date, USAID has provided more than $12.4 million (409 million baht) in COVID-19 assistance, complementing the delivery by the United States of 2.5 million doses of safe, effective mRNA vaccines to the Royal Thai Government and tens of millions of dollars in other U.S. Government-provided COVID-19 support to Thailand. Over the last decade, USAID has provided sustained support to boost Thailand’s diagnostic capacity for emerging infectious diseases of pandemic potential. At the inception of the pandemic, more than a decade of USAID support in partnership with Thailand for detection of emerging viruses contributed to Thailand’s confirmation of the first traveler-imported COVID-19 case. USAID also provided personal protective equipment for Thai health workers; reached more than 117,000 migrants and persons from high-risk communities with vital COVID-19 information; and strengthened diagnostic and testing surge capacity. This latest round of COVID-19 support builds upon U.S Government assistance to Thailand of more than $1 billion (33 billion baht) over the past 20 years, which includes nearly $212 million (seven billion baht) for health. The United States is committed to partnering with Thailand to end the COVID-19 pandemic, mitigate the devastating social and economic impacts, and build back a world that is better prepared for future outbreaks. Download photos here: https://flic.kr/s/aHBqjzBqS9 By U.S. Embassy Bangkok | 7 February, 2022 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ในขณะที่สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยกำลังก่อสร้างอาคารสำนักงานหลังใหม่ เราก็อนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญไปควบคู่กัน โดยศาลาเฉลิมพระเกียรติและศาลาไทย ซึ่งก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 2531 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะยังคงเป็นองค์ประกอบอันโดดเด่นภายในบริเวณของสถานทูตหลังการก่อสร้างเสร็จสิ้น ศาลาเฉลิมพระเกียรติและศาลาไทยในสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ก่อสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย สารคดีสั้นนี้แสดงถึงความสำคัญของศาลาทั้งสองหลัง เน้นย้ำไมตรีที่แน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐฯ และไทยผ่านการทูตวัฒนธรรม แสดงความเคารพที่เรามีต่อวัฒนธรรมไทยและความขอบคุณต่อภาคีชาวไทยของเรา ตลอดจนร่วมปกป้องคุ้มครองธรรมเนียมทางวัฒนธรรม พิธีกรรม ประเพณี และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้รูปแบบอื่น ๆ ที่สำคัญต่อบรรดาประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานทูตสหรัฐฯ และชุมชนทั่วโลก วันนี้ 3 กุมภาพันธ์ เป็นวันครบรอบ 10 ปีที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดศาลาเฉลิมพระเกียรติ เมื่อปีพ.ศ. 2555 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ 5 ธันวาคม 2554 ณ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ของสถานทูตสหรัฐฯ ที่นี่ โดย U.S. Mission Thailand | 3 กุมภาพันธ์, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย
While the U.S. Embassy in Bangkok is constructing a new office building, we’re also preserving important existing structures. The Royal Sala and Sala Thai, constructed in 1988 to commemorate His Majesty King Bhumibol Adulyadej The Great’s 60th birthday, will remain a prominent feature of our new compound. The Royal Sala and Sala Thai are dedicated to the King and Royal family to symbolize respect for and appreciation of the monarchy. The short film below showcases the significance of The Royal Sala and Sala Thai and highlights the strong relationship between the U.S. and Bangkok through cultural diplomacy. It also demonstrates the United States’ respect for Thai culture, shows appreciation for our Thai colleagues, and reinforces the protection of cultural practices, rituals, traditions, and other forms of intangible heritage valued by host nations and communities abroad. Today, February 3, marks the 10th anniversary of the visit of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn to the U.S. Embassy Bangkok to preside over the rededication ceremony of the Royal Sala in 2012. This was in celebration of the auspicious occasion of His Majesty King Bhumibol Adulyadej the Great’s 84th birthday on December 5, 2011. Read more about U.S. Embassy Bangkok’s new annex here By U.S. Mission Thailand | 3 February, 2022 | Topics: Art & Culture, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: แถลงการณ์โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในโอกาสครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์รัฐประหารในพม่า 31 มกราคม 2565 เมื่อ 1 ปีที่แล้ว กองทัพทหารพม่าปฏิเสธเจตจำนงของประชาชน ล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย และยึดอำนาจโดยการก่อรัฐประหาร ตั้งแต่นั้นมา รัฐบาลทหารได้กระทำการโหดเหี้ยมทารุณนับครั้งไม่ถ้วน และใช้ความรุนแรงที่เลวร้ายเหลือพรรณนาต่อประชาชน รวมไปถึงเด็ก มีผู้ถูกสังหารกว่า 1,500 ชีวิต อีกหลายพันคนถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรมหรือถูกดำเนินคดีโดยมิชอบ การทุจริตลุกลามไปทั่ว ความขัดแย้งภายในประเทศทวีความรุนแรง เหตุการณ์รัฐประหารสร้างความทนทุกข์แสนสาหัสทั่วพม่าและบ่อนทำลายเสถียรภาพของภูมิภาค ในขณะที่ผู้นำรัฐบาลทหารและผู้สนับสนุนมุ่งกอบโกยผลประโยชน์จากภาวะวิกฤตที่พวกตนเป็นผู้สร้าง และแม้ว่าหลายล้านชีวิตในพม่าจะขาดแคลนความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตอย่างหนัก รัฐบาลทหารก็ยังขัดขวางการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและโจมตีผู้ดำเนินความช่วยเหลือดังกล่าว เราขอประณามการกระทำที่โหดร้ายรุนแรงเหล่านี้ และยังจะเดินหน้าร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคีและพันธมิตรของเรา ซึ่งรวมถึงอาเซียน เพื่อให้เกิดภาระรับผิดในเหตุการณ์รัฐประหารและการโจมตีประชาชน รัฐบาลทหารจะต้องกลับการกระทำของตน และปล่อยตัวทุกคนที่ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งรวมไปถึง นางออง ซาน ซู จี และนายอูวินมยิน ตลอดจนผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย สื่อมวลชน ผู้นำภาคประชาสังคม นักเคลื่อนไหว และชาวต่างชาติ จะต้องมีการเปิดทางให้ผู้ดำเนินความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าถึงประชาชนได้โดยไม่ถูกกีดขวาง และรัฐบาลทหารพม่าควรจะต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับทุกฝ่ายโดยทันทีเพื่อให้ประเทศกลับคืนสู่หนทางแห่งประชาธิปไตย ตราบใดที่รัฐบาลทหารพม่ายังคงไม่รับฟังเสียงเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน เราจะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการเพื่อให้กองทัพพม่าและผู้สนับสนุนชดใช้การกระทำของตน ถึงประชาชนพม่า เรายังไม่ลืมการต่อสู้ดิ้นรนของท่านทั้งหลาย และจะยังคงสนับสนุนความมุ่งมั่นโดยหาญกล้าในการนำประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมกลับคืนสู่มาตุภูมิของท่าน โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 กุมภาพันธ์, 2022 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
Statement by President Joe Biden Marking One Year Since the Coup in Burma JANUARY 31, 2022 One year ago, the Burmese military denied the will of the people of Burma, overthrew the democratically elected government, and seized power in a coup d’etat. Since then, the regime has perpetrated countless brutal actions and committed unspeakable violence against civilians, including children. More than 1,500 people have been killed. Thousands have been unjustly detained or subjected to sham trials. Corruption is rampant. Civil conflict has worsened. The coup has caused immense suffering across Burma and undermined regional stability, while the leaders of theregime and their supportersseek to profitoff the chaos they have created.And though millions across Burma are in desperate need of life-saving aid, the regime denies humanitarian access and attacks aid workers. We condemn these outrages and we are working closely with our partners and allies, including in ASEAN, to hold accountable all those responsible for the coup and attacks on civilians. The military regime must reverse course and release all those unjustly detained—including Aung San Suu Kyi and Win Myint, other democratically electedleaders, journalists, civil society leaders, activists, and foreign citizens. Humanitarian workers must be allowed unhindered access. And the regime should immediately engage in a meaningful dialogue with all parties to return Burma to its democratic path. As long as the regime continues to deny the people of Burma their democratic voice, we will continue to impose further costs on the military and its supporters. To the people of Burma: We have not forgotten your struggle. And we will continue to support your valiant determination to bring democracy and the rule of law to your country. By U.S. Embassy Bangkok | 1 February, 2022 | Topics: East Asia & Pacific, News, President of the United States
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: แถลงการณ์ร่วมระหว่างผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งแอลเบเนีย ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สาธารณรัฐเกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ในโอกาสครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 กองทัพได้ยึดอำนาจในเมียนมา โดยปฏิเสธปณิธานที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยของชาวเมียนมา หนึ่งปีต่อมา รัฐประหารครั้งนั้นก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประชาชนเมียนมา ผู้คนกว่า 14 ล้านชีวิตต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤต ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นประชาธิปไตยถูกตัดสิทธิ์ และเกิดความขัดแย้งกระจายไปทั่วประเทศ รัฐบาลทหารเป็นผู้ก่อให้เกิดสถานการณ์วิกฤตดังกล่าว ซึ่งบ่อนทำลายสันติภาพและเสถียรภาพของเมียนมาและภูมิภาคอย่างร้ายแรง เราจึงเรียกร้องอีกครั้งให้ยุติความรุนแรงโดยทันที และให้ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกโดยสันติวิธี เราย้ำข้อเรียกร้องของเราให้รัฐบาลทหารดำเนินการโดยทันทีเพื่อยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน อนุญาตให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้โดยไม่ถูกกีดขวาง ปล่อยตัวทุกคนที่ถูกคุมขังตามอำเภอใจ รวมถึงชาวต่างชาติ และให้ประเทศกลับคืนสู่กระบวนการประชาธิปไตยโดยเร็ว เนื่องในโอกาสครบรอบการรัฐประหาร เราจึงร่วมระลึกถึงผู้เสียชีวิตในปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมไปถึงสตรี เด็ก ผู้ดำเนินความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน และผู้ชุมนุมประท้วงโดยสงบ เราประณามการละเมิดและการกระทำผิดด้านสิทธิมนุษยชนในทั่วประเทศโดยรัฐบาลทหาร ซึ่งหมายรวมถึงการกระทำต่อชาวโรฮีนจา และชนกลุ่มน้อยด้านชาติพันธุ์และศาสนา เรามีความกังวลอย่างยิ่งต่อรายงานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับกรณีการทรมาน ตลอดจนความรุนแรงทางเพศและด้วยเหตุแห่งเพศ เรามีความกังวลอย่างยิ่งต่อผู้คนอีกกว่า 400,000 ชีวิตที่ต้องหลบหนีจากบ้านเรือนของตนนับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร เรายังมีความกังวลอย่างยิ่งต่อวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่ทวีความรุนแรงทั่วประเทศ และเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเปิดทางให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้อย่างเต็มที่และรวดเร็วโดยไม่ถูกกีดขวาง ซึ่งรวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เรามีความกังวลอย่างยิ่งต่อผู้คนจำนวนมากที่ถูกคุมขังตามอำเภอใจ และต่อการตัดสินโทษนางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และผู้ต้องขังทางการเมืองคนอื่นๆ เราเรียกร้องให้ประชาคมโลกสนับสนุนความพยายามในการส่งเสริมความยุติธรรมเพื่อประชาชนเมียนมา ส่งเสียงให้ผู้ละเมิดและกระทำผิดด้านสิทธิมนุษยชนต้องรับผิดชอบ หยุดการขายและส่งมอบอาวุธและยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้ทั้งในทางทหารและทางพลเรือน ตลอดจนความช่วยเหลือทางเทคนิค ให้กับกองทัพเมียนมาและบรรดาตัวแทน และสนับสนุนประชาชนเมียนมาต่อไปโดยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน เราเน้นย้ำการสนับสนุนฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน และความพยายามของผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนในการส่งเสริมการคลี่คลายสถานการณ์โดยสันติเพื่อประโยชน์ของประชาชนเมียนมา เราเรียกร้องให้รัฐบาลทหารมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในความพยายามของอาเซียนที่จะดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้ออย่างครบถ้วนและเร่งด่วน โดยรวมถึงการอำนวยให้ผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนสามารถเข้าถึงทุกฝ่าย รวมถึงกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตย ในเมียนมาได้ เรายังชื่นชมการทำงานของผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติในประเด็นเมียนมา และเรียกร้องให้รัฐบาลทหารมีส่วนร่วมหารืออย่างสร้างสรรค์ร่วมกับท่านผู้แทน โดย U.S. Embassy Bangkok | 1 กุมภาพันธ์, 2022 | ประเภท: ข่าว, ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
A joint statement by the High Representative on behalf of the European Union, and the Foreign Ministers of Albania, Australia,Canada, New Zealand, Norway, Republic of Korea, Switzerland, the United Kingdom and the United States, on the one year anniversary of the military coup in Myanmar. On 1 February 2021, the military seized power in Myanmar, denying the democratic aspirations of Myanmar’s people. One year later, the devastating impact on the people of Myanmar is clear. Over 14 million people are in humanitarian need, the economy is in crisis, democratic gains have been reversed, and conflict is spreading across the country. The military regime bears responsibility for this crisis, which has gravely undermined peace and stability in Myanmar and the region. We once again call for the immediate cessation of violence and for constructive dialogue among all parties to resolve the crisis peacefully. We reiterate our call on the military regime to immediately end the State of Emergency, allow unhindered humanitarian access, release all arbitrarily detained persons, including foreigners, and swiftly return the country to the democratic process. On the anniversary of the coup, we remember those who have lost their lives over the past year, including women, children, humanitarian personnel, human rights defenders, and peaceful protesters. We strongly condemn the military regime’s human rights violations and abuses across the country, including against Rohingya and other ethnic and religious minorities. We express grave concern at the credible reports of torture and sexual and gender-based violence. We express serious concern over the more than 400,000 additional people who have fled their homes since the coup. We also express grave concern at the deepening humanitarian crisis across the country and urge the military regime to provide rapid, full, and unhindered humanitarian access to vulnerable populations, including for the purposes of vaccination against COVID-19. We express grave concern over the large number of persons arbitrarily detained and the sentencing of State Counsellor Aung San Suu Kyi and other political detainees. We call on all members of the international community to support efforts to promote justice for the people of Myanmar; to hold those responsible for human rights violations and abuses accountable; to cease the sale and transfer of arms, materiel, dual-use equipment, and technical assistance to the military and its representatives; and to continue supporting the people of Myanmar in meeting urgent humanitarian needs. We emphasise our support for theASEAN Five-Point Consensus and the efforts of the ASEAN Special Envoy to support a peaceful resolution in the interests of the people of Myanmar. We call on the military regime to engage meaningfully with ASEAN’s efforts to pursue full and urgent implementation of the Five-Point Consensus, which includes ensuring that the ASEAN Special Envoy has access to all parties in Myanmar, including pro-democracy groups. We also welcome the work of the UN Special Envoyof the Secretary-General onMyanmar and urge the military regime to engage constructively with her. By U.S. Embassy Bangkok | 1 February, 2022 | Topics: East Asia & Pacific, News
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สหรัฐฯ และไทยเปิดศูนย์ฝึกอบรมทันสมัยสำหรับตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ พร้อมด้วยพลตำรวจตรี วรายุทธ สุขวัฒน์ รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (รอง ผบช.ตชด.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ฝึกอบรมการปฏิบัติการรบในอาคารแบบ “ระยะประชิด” ณ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยอาคารและส่วนต่อขยายที่สร้างขึ้นด้วยทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ แห่งนี้แสดงถึงความร่วมมือที่ยาวนานระหว่างสหรัฐฯ กับไทย อีกทั้งยังจะช่วยให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายสามารถยกระดับการปกป้องประชาชนในไทยและทั่วภูมิภาคจากอาชญากรรมข้ามชาติ อาคารและส่วนต่อขยายมูลค่า 600,000 เหรียญสหรัฐ (19.8 ล้านบาท) ประกอบไปด้วยสนามซ้อมยิงปืน หมู่บ้านจำลอง อาคารฝึกยุทธวิธีสูง 3 ชั้น และอุปกรณ์อื่นๆ รวมไปถึงระบบบันทึกภาพกล้องวงจรปิดแบบดิจิทัล ซึ่งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.) จะใช้เพื่อฝึกฝนทักษะในสถานการณ์จำลองสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนทบทวนและวิเคราะห์ภาพการฝึกที่บันทึกไว้เพื่อการพัฒนาต่อไป สหรัฐฯ มอบการสนับสนุนมูลค่ารวม 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (40 ล้านบาท) ให้แก่ตำรวจตระเวนชายแดนในภาคเหนือ โดยส่งเสริมการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้และจะจัดโครงการฝึกอบรมต่างๆ ในอนาคต ในพิธี อุปทูตฮีธได้เน้นย้ำมิติของพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ตลอดจนความร่วมมือด้านความมั่นคงของเรา “ความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ยาวนานของเราปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งรวมไปถึงการลักลอบค้ามนุษย์ ยาเสพติด และสัตว์ป่า โดยช่วยให้ประชาชนของเราทั้งสองชาติ ตลอดจนภูมิภาคนี้ปลอดภัย” อุปทูตฮีธกล่าว “ความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ มอบให้เพื่อพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ จะยกระดับความสามารถของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนในการต่อต้านกิจกรรมผิดกฎหมายข้ามพรมแดน อีกทั้งยังแสดงถึงความทุ่มเทที่เรามีให้แก่ประเทศไทย ซึ่งเป็นภาคีและพันธมิตรของเรา” พลเรือตรี ชาร์ลส์ ฟอซี ผู้อำนวยการกองกำลังเฉพาะกิจร่วมตะวันตก (JIATF West) กองบัญชาการภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ กล่าว ทั้งนี้ JIATF West เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนทุนเพื่อการก่อสร้างอาคารและปรับปรุงศูนย์ฝึกอบรมดังกล่าว พล.ต.ต. วรายุทธ รอง ผบช.ตชด. กล่าวว่า “ผมรู้สึกขอบคุณหน่วยงานภาคีสหรัฐฯ ที่สนับสนุนเรามายาวนานและร่วมมือกับเราอย่างต่อเนื่อง” สหรัฐฯ และไทย จับมือกันเพื่อขับเคลื่อนผลประโยชน์ที่เรามีร่วมกันในทุกภาคส่วน รวมถึงการสาธารณสุข การพาณิชย์ การศึกษา และความมั่นคง ความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ครอบคลุมระหว่างกันสะท้อนความสำคัญของไทยต่อสหรัฐฯ ในฐานะภาคีของเราและผู้นำระดับภูมิภาค ดาวน์โหลดภาพได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1cZbyF79J12_gshlewXTV6e3JL3O4-nOL โดย U.S. Embassy Bangkok | 28 มกราคม, 2022 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
United States and Thailand Inaugurate Elite Border Patrol Police Training Facility U.S. Embassy Chargé d’Affaires Michael Heath and Police Major General Varayuth Sukhawat, Border Patrol Police (BPP) Deputy Commissioner, Royal Thai Police, presided over the unveiling of U.S.-funded enhancements to the Close Quarter Battle (CQB) Thai Border Patrol Police (BPP) training facility in Mae Taeng, Chiang Mai on January 28. This upgraded facility, a testament to the long-standing U.S.-Thai partnership, will help ensure law enforcement authorities can better protect communities in Thailand and across the region from transnational crime. This $600,000 (19.8 million THB) facility includes ranges, a mock village, a three-story tactical training building, and equipment. The BPP will utilize the updated facility, new equipment, and closed-circuit digital recording system to conduct training scenarios in a variety of environments and review and analyze footage of the training for future improvements. The United States’ overall $1.2 million (40 million THB) contribution to the BPP in northern Thailand includes support for this facility as well as upcoming training programs. At the event, U.S. Embassy Chargé d’Affaires Michael Heath highlighted the breadth and depth of the U.S.-Thai partnership and underscored our security collaboration. “Our longstanding law enforcement cooperation combats transnational crime, including illicit trafficking of people, narcotics and wildlife, helping to keep people in both our countries and the region safe,” said Chargé d’Affaires Heath. “U.S. support for this facility, which will enhance the BBP’s ability to counter illicit transborder activity, demonstrates our commitment to our partner and ally Thailand,” said Rear Admiral Charles Fosse, the Director of U.S. Indo-Pacific Command’s Joint Interagency Task Force West (JIATF West), which provided funding for this training center. BPP Deputy Commissioner Pol.Maj.Gen. Varayuth said, “I am grateful to our U.S. partners for your long-term support and continued collaboration.” The United States and Thailand cooperate to advance mutual interests in all sectors, including health, commerce, education, and security. Our extensive law enforcement partnership signals the importance we place on Thailand as a partner and regional leader. Download photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1cZbyF79J12_gshlewXTV6e3JL3O4-nOL By U.S. Embassy Bangkok | 28 January, 2022 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: แถลงการณ์เกี่ยวกับการเยือนสหรัฐอเมริกา ของพลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย สหรัฐฯ ต้อนรับการเยือนของ พล.อ. เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย ระหว่างวันที่ 11-20 ธันวาคม 2564 โดยเป็นการเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งแรกของ พล.อ. เฉลิมพล นับตั้งแต่ที่เข้าดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ณ อาคารที่ทำการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พล.อ.เฉลิมพล เข้าพบผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสหรัฐฯ พล.อ. มาร์กเอ.มิลลีย์ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วม เพื่อหารือเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ร่วมสำหรับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และโอกาสในการเสริมสร้างพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับไทยต่อไป นอกจากนี้ พล.อ. เฉลิมพล ยังได้พบกับ ดร.อีไล เอส. แรตเนอร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ฝ่ายกิจการความมั่นคงภาคพื้นอินโด-แปซิฟิกด้วย พล.อ. เฉลิมพล เป็นแขกในงานเลี้ยงอาหารค่ำที่ทำเนียบของ พล.อ. แดเนียล อาร์. โฮเกนสัน ผู้บัญชาการหน่วยรักษาดินแดน ทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยถึงความร่วมมือระหว่างไทยและกองกำลังรักษาดินแดนวอชิงตันที่มีมานาน 19 ปี ตลอดจนผลประโยชน์ร่วมกันของเราในการยกระดับความมั่นคงทางไซเบอร์ และความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างกองกำลังของเราเพื่อยังประโยชน์แก่ชาวอเมริกัน ชาวไทย และประชาคมทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในวันที่ 14 ธันวาคม พล.อ. เฉลิมพล ได้เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลากับทหารจากกรมทหารราบที่ 3 ของสหรัฐฯ หรือที่รู้จักกันในนาม “The Old Guard” ณ สุสานแห่งชาติ Arlington National Cemetery หนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในสหรัฐฯ เนินที่สลับกันเป็นทิวแถวในบริเวณสุสานเป็นสถานที่พักสุดท้ายของทหารผ่านศึกและสมาชิกครอบครัวกว่า 400,000 คน โดยการเข้าร่วมในพิธีครั้งนี้เป็นการรำลึกถึงชาวอเมริกันและชาวไทยที่ได้อุทิศชีวิตของตนตลอดประวัติศาสตร์พันธไมตรีที่ยาวนานของเรา ในวันที่ 16 ธันวาคม พล.อ. เฉลิมพล เยี่ยมเยือนโรงเรียนเตรียมทหาร West Point และเข้าพบ พล.ท. แดร์ริล วิลเลียมส์ ผู้บัญชาการโรงเรียน โรงเรียนเตรียมทหารแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน เมื่อปี 2345 โดยเป็นสถาบันด้านการทหารที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ และมีนักเรียนเตรียมทหารมาศึกษาแลกเปลี่ยนถึง 60 คนต่อปี ในโอกาสนี้ คณะได้เยี่ยมชมสถานที่ซึ่งมีชื่อเสียงของ West Point รวมถึงได้แวะชมพื้นที่สวนสนาม “The Plain” ระหว่างการเยือนครั้งนี้ พล.อ. เฉลิมพล ได้พบกับนักเรียนเตรียมทหารแลกเปลี่ยนชาวไทยด้วย โดยเป็นโอกาสพิเศษที่นักเรียนเตรียมทหารคนดังกล่าวได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยและเชื่อมโยงกับมาตุภูมิก่อนจะต้องกลับไปอ่านหนังสือเตรียมสอบ การเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งแรกของ พล.อ. เฉลิมพล ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยเป็นอีกหนึ่งหมุดสำคัญในความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทย #FriendsPartnersAllies โดย U.S. Embassy Bangkok | 23 ธันวาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เอกสารข่าว
Statement on the Visit of Thailand Chief of Defense Forces General Chalermpol Srisawasdi to the United States The United States welcomed the visit of the Royal Thai Armed Forces Chief of Defense Forces (CDF) General Chalermpol Srisawasdi from December 11-20. The visit was General Chalermpol’s first overseas trip since assuming the role of Chief of Defense Forces. At the Pentagon, General Chalermpol met with his American counterpart, General Mark A. Milley, Chairman of the Joint Chiefs of Staff, to discuss shared objectives for the Indo-Pacific region and opportunities to further strengthen the U.S.-Thai alliance. General Chalermpol also met with Dr. Ely S. Ratner, the Assistant Secretary of Defense for Indo-Pacific Security Affairs. General Chalermpol was hosted for dinner at the official residence of General Daniel R. Hokanson, Chief of the National Guard Bureau. The two discussed Thailand’s 19-year-old state partnership with the Washington National Guard, our mutual interests in enhanced cybersecurity, and how the interoperability of our forces benefits Americans, Thais, and communities across the broader Indo-Pacific region. On December 14, General Chalermpol took part in a wreath laying ceremony with soldiers from the 3rd U.S. Infantry Regiment, known as “The Old Guard,” at Arlington National Cemetery. Arlington National Cemetery is the most hallowed ground in the United States, and its rolling hills mark the final resting place for more than 400,000 veterans and family members. General Chalermpol’s participation in this ceremony is a reminder of the shared sacrifices Americans and Thais have made over the long history of our alliance. On 16 December, General Chalermphon visited the United States Military Academy at West Point and met with Superintendent Lieutenant General Darryl Williams. Established by President Thomas Jefferson in 1802, West Point is the United States’ oldest service academy, and hosts up to 60 exchange cadets annually. The delegation toured West Point’s famous grounds, including a stop at “The Plain” parade field. During the visit, General Chalermpol also met with a Thai exchange cadet. It was a special opportunity for the cadet to speak with the highest-ranking Thai officer and reconnect with home before returning to studying for exams. General Chalermpol’s first overseas trip as Thailand Chief of Defense Forces is another significant marker in the U.S.-Thai partnership. #FriendsPartnersAllies By U.S. Embassy Bangkok | 23 December, 2021 | Topics: Press Releases, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง รัฐมนตรีแอนโทนี เจ. บลิงเคน 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัย Universitas Indonesia กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ดร.กุสุมายาติ: ท่านรัฐมนตรี ท่านเอกอัครราชทูต ท่านเลขาธิการอาเซียน ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัย Universitas Indonesia และท่านประธานคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยสหรัฐฯ-อินโดนีเซีย แขกผู้มีเกียรติ สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน ก่อนอื่น ขอให้เรากล่าวสรรเสริญพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพที่ทรงประทานพรแก่เราให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และมั่งคั่งจนเราต่างสามารถมาประชุมกันที่นี่ในวันนี้ ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติยิ่งและขอต้อนรับทุกท่านสู่มหาวิทยาลัย Universitas Indonesia เมืองเดปก มหาวิทยาลัย Universitas Indonesia รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานกล่าวปาฐกถาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แอนโทนี บลิงเคน ดังที่ชื่อของเราได้บ่งบอก มหาวิทยาลัย Universitas Indonesia ภาคภูมิใจยิ่งที่ได้ใช้ชื่อประเทศเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เราตระหนักดีว่านี่เป็นทั้งอภิสิทธิ์และภาระรับผิดชอบของเรา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเราเน้นย้ำความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม รวมถึงแนวทางพัฒนาความรู้เหล่านี้เพื่อยังประโยชน์แก่ประชาชนชาวอินโดนีเซียตามภาระหน้าที่ของเราที่มีต่อโลก ท่านผู้มีเกียรติ สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ เราทุกคนต่างเผชิญปัญหานานาที่ทั้งซับซ้อนและมีผลกระทบกว้างไกล เช่น การระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาเหล่านั้นไม่มีวิธีแก้ไขที่ได้ผลฉับพลัน แต่เราเชื่อมั่นในการลงทุนสละเวลามาพบปะหารือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับแรงบันดาลใจ อันนำไปสู่ความร่วมมือ นโยบาย และการดำเนินการ วันนี้เป็นวาระพิเศษยิ่งสำหรับเรา ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน ได้ให้เกียรติมาที่นี่เพื่อแบ่งปันทรรศนะของท่าน บุคคลสำคัญๆ จากหลายวงการและสาขาความเชี่ยวชาญก็มาร่วมงานนี้กับเราด้วย และเราเชื่อมั่นว่า ความรู้อันหลากหลายในที่นี้จะผสานสู่เป้าหมายหนึ่งเดียวคือ การปกป้องคนรุ่นต่อๆ ไปพร้อมทั้งแก้ปัญหาท้าทายทั้งหลายที่เราเผชิญในปัจจุบัน ท่านผู้มีเกียรติ สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษคะ โปรดต้อนรับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน ค่ะ (เสียงปรบมือ) รัฐมนตรีบลิงเคน: สวัสดีครับ ผมรู้สึกยินดีมากที่ได้มาอยู่ที่นี่กับทุกท่าน และขอบคุณมากครับ ดร.กุสุมายาติที่กรุณาแนะนําตัวผม ทว่า ยิ่งไปกว่านั้น ผมขอขอบคุณสำหรับการทำงานตลอดหลายสิบปีของท่านเพื่อพัฒนาการสาธารณสุขและอบรมให้ความรู้แก่แพทย์และพยาบาลรุ่นต่อไป รวมถึงการที่ท่านเป็นสตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้วย การอุทิศตนเพื่อชุมชนของท่านนับจากงานวิจัยด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ไปจนถึงความเป็นผู้นําของท่านในคณะทำงานเฉพาะกิจโควิดของอินโดนีเซียสร้างแรงบันดาลใจอย่างแท้จริง ผมขอแสดงความชื่นชมครับ (เสียงปรบมือ) อรุณสวัสดิ์ทุกท่านในที่นี้ครับ ซาลามัต ปากี ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้กลับมาจาการ์ตา ผมเคยมาที่นี่ 2 หนสมัยที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผมรอคอยโอกาสนี้ที่จะกลับมาเยือนประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง สำหรับนักศึกษาที่อยู่ในห้องนี้ ผมคาดว่า พวกคุณคงดีใจที่ได้กลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัย ผมทราบมาว่า พวกคุณหลายคนต้องเรียนทางไกลมาระยะหนึ่งแล้วและรอคอยที่จะได้กลับมาเรียนในห้องเรียน ผมดีใจที่เรามีข้ออ้างเล็กน้อยให้พวกคุณกลับมามหาวิทยาลัยกันในวันนี้ ท่านด็อกเตอร์ครับ ผมทราบว่าคุณและคณะทำงานเฉพาะกิจต้องการให้นักศึกษากลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัย และทราบดีว่า ทุกคนตั้งตารอเวลานั้น ผมมาอยู่ตรงนี้ พวกเรามาอยู่ที่นี่ได้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกจะกำหนดวิถีของโลกในศตวรรษที่ 21 มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นใด อินโด-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยคิดเป็นร้อยละ 60 ของเศรษฐกิจโลก 2 ใน 3 ของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งหมดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้เป็นที่อยู่อาศัยของประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลกและเป็นที่ตั้งของ 7 ใน 15 เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด ภูมิภาคนี้มีความหลากหลายที่น่าทึ่ง มีภาษามากกว่า 3,000 ภาษา รวมถึงศาสนาและลัทธิความเชื่อมากมายที่ครอบคลุม 2 มหาสมุทรและ 3 ทวีป แม้ภายในประเทศเดียวอย่างอินโดนีเซียก็ยังเป็นแหล่งรวมความหลากหลายที่งดงามอันยากจะกลั่นกรอง ยกเว้นความแตกต่างหลากหลายของประเทศ และคําขวัญของประเทศนี้คือ เอกภาพในความหลากหลาย (Bhinneka Tunggal Ika) ซึ่งฟังดูคุ้นมากสำหรับชาวอเมริกัน ในสหรัฐฯ เราพูดว่า จากหลากหลายกลายเป็นหนึ่ง (E Pluribus Unum) อันเป็นแนวคิดเดียวกัน สหรัฐฯ เป็นประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมาโดยตลอดและจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป นี่คือข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ จากรัฐริมชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของเราไปจนถึงกวมอันเป็นดินแดนของเราในแปซิฟิก อีกทั้งยังเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ อันจะเห็นได้จากประวัติการค้าและความสัมพันธ์อื่นๆ ของเรากับประเทศในภูมิภาคนี้ตลอด 2 ศตวรรษ วันนี้ ครึ่งหนึ่งของประเทศคู่ค้าอันดับต้นๆ ของสหรัฐฯ อยู่ในอินโด-แปซิฟิก ภูมิภาคนี้เป็นจุดหมายปลายทางของสินค้าส่งออกเกือบ 1 ใน 3 ของเรา เป็นแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสหรัฐฯ ที่มีมูลค่า 900,000 ล้านเหรียญ และนั่นคือการสร้างงานหลายล้านตำแหน่งทั่วทั้ง 50 รัฐของเรา จำนวนทหารของเราที่ประจําการในภูมิภาคนี้มีมากกว่าที่อื่นใดนอกภาคพื้นทวีปของสหรัฐฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันแห่งสันติภาพและเสถียรภาพที่มีความสำคัญยิ่งต่อความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคนี้ อันเป็นประโยชน์ต่อเราทุกฝ่าย แน่นอนว่า เราผูกพันกันโดยประชาชนของเราซึ่งมีความสัมพันธ์กันย้อนกลับไปหลายชั่วรุ่น ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียมากกว่า 24 ล้านคนอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ รวมถึงท่านเอกอัครราชทูตซุง คิม เมื่อท่านไม่ได้ทำงานรับใช้ประเทศในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกดังที่ท่านได้ปฏิบัติมาตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ก่อนการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 มีนักเรียนนักศึกษามากกว่า 775,000 คนจากภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกศึกษาอยู่ในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ เพื่อนร่วมชั้นชาวอเมริกันของคุณที่ Universitas Indonesia ก็เป็นส่วนหนึ่งของชาวอเมริกันหลายล้านคนที่มาที่ภูมิภาคนี้เพื่อศึกษา ทำงาน และใช้ชีวิตที่นี่ รวมถึงผู้ที่ต่อมาได้กลายเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ด้วย มีสุภาษิตอินโดนีเซียบทหนึ่งที่มีคนบอกผมว่าจะสอนให้เด็กๆ กันตั้งแต่อายุยังน้อย นั่นคือ “เรามีหูสองข้าง แต่มีเพียงปากเดียว” หมายความว่า ก่อนที่เราจะพูดหรือทำสิ่งใด เราพึงต้องฟัง และในช่วงปีแรกแห่งการบริหารประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดนี้ เราตั้งใจฟังเสียงของผู้คนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นอย่างมากเพื่อทำความเข้าใจวิสัยทัศน์ของท่านที่มีต่ออินโด-แปซิฟิกและอนาคตของภูมิภาคนี้ เราได้ต้อนรับผู้นําจากภูมิภาคนี้สู่ประเทศของเรา รวมถึงผู้นําต่างประเทศ 2 ท่านแรกจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ประธานาธิบดีไบเดนเป็นเจ้าภาพต้อนรับหลังเข้ารับตําแหน่ง ตลอดจนรัฐมนตรีต่างประเทศทุกท่านที่ผมได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพให้การรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงท่านรัฐมนตรีต่างประเทศเร็ตโน และฝ่ายเราก็ได้มาเยือนภูมิภาคของท่าน เช่น รองประธานาธิบดีแฮร์ริส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไรมอนโด และสมาชิกคณะรัฐมนตรีอื่นๆ อีกหลายท่าน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศจากคณะทำงานของผม ท่านประธานาธิบดีของเราได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดระดับผู้นําประเทศต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยองค์กรสำคัญระดับภูมิภาค เช่น การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) การประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และการประชุมผู้นำกลุ่มภาคี 4 ประเทศ (Quad) ซึ่งประกอบด้วยอินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ผมเองก็ได้เข้าร่วมประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศต่างๆ รวมถึงเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ส่วนท่านประธานาธิบดีไบเดนได้พบกับผู้นําของอินโด-แปซิฟิกในต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งรวมถึงการประชุมที่มีประสิทธิผลอย่างมากกับท่านประธานาธิบดีโจโกวีที่เมืองกลาสโกว์ในช่วงการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) แต่เราไม่ได้ฟังแต่เสียงของผู้นําเท่านั้น ที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของเราทั่วภูมิภาค นักการทูตของเราใช้หูสองข้างเพื่อฟังทรรศนะของผู้คนกลุ่มต่างๆ ทั้งนักเรียนนักศึกษา นักกิจกรรม นักวิชาการ และผู้ประกอบการ และแม้ว่าภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกจะเป็นภูมิภาคแห่งความหลากหลายพิเศษยิ่งกอปรด้วยความสนใจและทรรศนะที่มีลักษณะเฉพาะ สหรัฐฯ มองเห็นความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ที่เราได้ยินจากอินโด-แปซิฟิกและวิสัยทัศน์ของเราเอง ผู้คนและรัฐบาลในภูมิภาคนี้ต้องการโอกาสที่มากขึ้นและดีขึ้นสำหรับทุกคนในภูมิภาค พวกเขาต้องการโอกาสเพิ่มขึ้นในการเชื่อมโยงภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และทั่วโลก พวกเขาต้องการเตรียมพร้อมยิ่งขึ้นสำหรับรับมือวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เช่น โรคระบาดใหญ่ที่เราเผชิญอยู่ พวกเขาต้องการสันติภาพและเสถียรภาพ พวกเขาต้องการให้สหรัฐฯ มีบทบาทและมีส่วนร่วมมากขึ้น และเหนือสิ่งอื่นใด พวกเขาต้องการภูมิภาคที่เสรีและเปิดกว้างมากขึ้น ฉะนั้น สิ่งที่ผมอยากจะทำในวันนี้ คือ พยายามดำเนินการตามวิสัยทัศน์ที่เรามีร่วมกัน รวมถึงแนวทางที่เราจะร่วมมือกันสร้างวิสัยทัศน์นั้นให้เป็นจริง มีองค์ประกอบหลัก 5 ประการอย่างที่ผมอยากเน้น ประการแรก เราจะดำเนินการส่งเสริมให้อินโด-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่เสรีและเปิดกว้าง ขณะนี้เราพูดถึงอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างบ่อยมาก แต่เรามักไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่า คำว่าอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างนั้นเราหมายถึงสิ่งใด เสรีภาพเป็นเรื่องของความสามารถในการลิขิตอนาคตของคุณเอง รวมทั้งการมีสิทธิมีเสียงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนและประเทศของคุณไม่ว่าคุณจะเป็นใครหรือรู้จักใคร และการเปิดกว้างมักเป็นผลพวงของเสรีภาพ สถานที่ที่เสรีจะเปิดกว้างรับข้อมูลและมุมมองใหม่ๆ จะเปิดใจกับวัฒนธรรม ศาสนา และวิถีชีวิตที่แตกต่าง ตลอดจนเปิดรับคำวิพากษ์วิจารณ์ การส่องสะท้อนตนเอง และการเริ่มต้นใหม่ เมื่อกล่าวว่าเราต้องการภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ความหมายของเราก็คือสำหรับผู้คนทั่วไป พวกเขาจะมีเสรีในการดำเนินชีวิตประจำวัน และอาศัยอยู่ในสังคมที่เปิดกว้าง ความหมายของเราก็คือ สำหรับประเทศทั้งหลาย พวกเขาจะสามารถเลือกหนทางของตนเองและหุ้นส่วนของตนได้ และความหมายของเราก็คือ สำหรับภูมิภาคนี้ ปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไขอย่างเปิดเผย กฎกติกาจะกำหนดขึ้นอย่างโปร่งใสและบังคับใช้โดยเท่าเทียม สินค้าและแนวคิด ตลอดจนผู้คนจะหลั่งไหลไปอย่างไม่ถูกปิดกั้นทั่วแผ่นดิน โลกไซเบอร์ และน่านน้ำอันกว้างไกล เราทุกคนมีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างความมั่นใจว่า ภูมิภาคที่มีพลวัตสูงสุดในโลกภูมิภาคนี้จะปราศจากการบีบบังคับและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ นับเป็นสิ่งดีสำหรับผู้คนทั่วภูมิภาคนี้ และดีสำหรับชาวอเมริกันเพราะประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า เมื่อภูมิภาคอันกว้างใหญ่นี้เสรีและเปิดกว้าง อเมริกาย่อมมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ดังนั้น เราจะร่วมมือกับหุ้นส่วนของเราทั่วภูมิภาคนี้ในการพยายามทำให้วิสัยทัศน์นี้กลายเป็นความจริง เราจะยังคงสนับสนุนกลุ่มต่อต้านการทุจริตและส่งเสริมความโปร่งใส ผู้สื่อข่าวเชิงสืบสวน คลังสมองทั่วภูมิภาค เช่น สถาบัน Advocata Institute ในศรีลังกา ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐฯ สถาบันได้สร้างระเบียนสาธารณะของรัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น ธนาคารและสายการบินที่ดําเนินงานขาดทุนมาก และเสนอวิธีปฏิรูปองค์กรเหล่านั้น เราหาหุ้นส่วนในภาครัฐบาลด้วย เช่น วิกเตอร์ ซอตโต้ วิกเตอร์เป็นนายกเทศมนตรีของเมืองปาซิกในประเทศฟิลิปปินส์ เขาจัดตั้งสายด่วนที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้ประชาชนรายงานกรณีทุจริต ทำให้การอนุมัติสัญญาจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ของรัฐมีความโปร่งใสมากขึ้น และทำให้องค์กรชุมชนมีสิทธิมีเสียงในการตัดสินใจว่าเมืองจะใช้ทรัพยากรอย่างไร วิกเตอร์เป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลผู้ต่อต้านการทุจริตสากลกลุ่มแรกของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เราประกาศเปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และเราจะยังเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดจากมิตรประเทศประชาธิปไตยของเราต่อไป นั่นคือแนวคิดเบื้องหลังการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย (Summit for Democracy) ที่ประธานาธิบดีไบเดนเป็นเจ้าภาพเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งท่านประธานาธิบดีโจโกวีได้กล่าวในที่ประชุมด้วย โดยท่านขึ้นกล่าวเป็นคนแรก อีกทั้งเป็นแนวคิดเบื้องหลังการประชุม Bali Democracy Forum ซึ่งอินโดนีเซียเพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 14 ส่วนตัวผมมีโอกาสกล่าวในที่ประชุมด้วย นอกจากนี้ เราจะยืนหยัดต่อสู้กับผู้นําที่ไม่เคารพสิทธิของประชาชนดังที่เราเห็นในพม่า เราจะยังคงร่วมมือกับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรากดดันรัฐบาลพม่าให้ยุติการใช้ความรุนแรงอย่างไม่เลือกหน้า ปลดปล่อยผู้ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรมทุกคน อนุญาตให้เข้าพื้นที่ได้โดยปราศจากการกีดขวาง และฟื้นฟูเส้นทางพม่าสู่ประชาธิปไตยที่ทุกกลุ่มมีส่วนร่วม อาเซียนได้พัฒนาฉันทามติ 5 ข้อ (Five-Point Consensus) และเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าเข้าร่วมการเจรจาอย่างสร้างสรรค์กับทุกฝ่ายเพื่อแสวงหาการแก้ปัญหาอย่างสันติที่เคารพเจตนารมณ์ของชาวพม่า ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สหรัฐฯ จะไม่ยอมละทิ้ง อีกวิธีหนึ่งที่เราจะส่งเสริมเสรีภาพและการเปิดกว้างคือ การปกป้องระบบอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้าง เชื่อมโยงกันได้ ปลอดภัย และเชื่อถือได้ จากผู้ที่ทำการอย่างแข็งขันเพื่อให้อินเทอร์เน็ตปิดแคบลง แตกแยกมากขึ้น และมีความปลอดภัยน้อยลง เราจะร่วมมือกับหุ้นส่วนของเราปกป้องหลักการเหล่านี้และจะช่วยสร้างระบบที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้อันเป็นรากฐานสำหรับอินเทอร์เน็ตที่เรามุ่งปกป้อง ในการประชุมสุดยอดผู้นําระหว่างประธานาธิบดีมูนกับประธานาธิบดีไบเดนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา สาธารณรัฐเกาหลีและสหรัฐฯ ประกาศลงทุนกว่า 3,500 ล้านเหรียญในเทคโนโลยีอุบัติใหม่ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเครือข่าย 5G และ 6G ที่ปลอดภัย สุดท้าย เราจะร่วมมือกับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราปกป้องระเบียบที่ยึดมั่นในกฎกติกาที่เราได้สร้างขึ้นตลอดช่วงหลายทศวรรษ เพื่อเป็นหลักประกันว่า ภูมิภาคนี้จะยังคงเปิดกว้างและเข้าถึงได้ ผมขอกล่าวให้ชัดเจนในประเด็นหนึ่ง นั่นคือ เป้าหมายในการปกป้องระเบียบที่ยึดมั่นในกฎกติกานั้นมิใช่เพื่อกดประเทศใด แต่เป็นการปกป้องสิทธิของทุกประเทศในการเลือกเส้นทางของตนเองโดยปราศจากการบีบบังคับ ปราศจากการข่มขู่ เป้าหมายนี้ไม่เกี่ยวกับการแข่งประชันระหว่างภูมิภาคที่สหรัฐฯ มีบทบาทนำหรือภูมิภาคที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นตัวของตัวเอง เป้าหมายที่กล่าวข้างต้นนั้นเป็นเรื่องของการเชิดชูสิทธิและข้อตกลงที่มีผลต่อช่วงเวลาที่สงบสุขและเจริญรุ่งเรืองที่สุดที่ภูมิภาคนี้และโลกเราประสบมา นั่นเป็นเหตุผลว่าเหตุใดจึงมีความกังวลอย่างมากทั้งจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากแม่น้ำโขงไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก เกี่ยวกับการกระทำก้าวร้าวของปักกิ่งซึ่งอ้างว่าทะเลเปิดเป็นของตนเอง บิดผันตลาดเสรีด้วยการอุดหนุนบริษัทที่ดำเนินการโดยรัฐ ปฏิเสธการส่งออกหรือเพิกถอนข้อตกลงกับประเทศที่มีนโยบายซึ่งตนไม่เห็นพ้อง มีส่วนร่วมในการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคต้องการให้พฤติกรรมนี้เปลี่ยนไป สหรัฐฯ ปรารถนาเช่นเดียวกัน และนั่นคือเหตุผลที่เรามุ่งมั่นสร้างหลักประกันเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลจีนใต้ซึ่งการกระทำก้าวร้าวของปักกิ่งในเขตดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อการขนส่งสินค้ามูลค่ากว่า 3 ล้านล้านเหรียญทุกปี เราพึงระลึกว่า สิ่งที่ผูกติดอยู่กับมูลค่ามหาศาลถึง 3 ล้านล้านเหรียญนั้นคือ หนทางดำรงชีพและความเป็นอยู่ของผู้คนหลายล้านทั่วโลก เมื่อการค้าไม่สามารถเดินทางข้ามทะเลเปิด นั่นหมายความว่าเกษตรกรถูกกีดกั้นไม่ให้ขนส่งผลผลิตของพวกเขา โรงงานไม่อาจจัดส่งไมโครชิป และโรงพยาบาลถูกขวางไม่ให้ได้รับยาช่วยชีวิต เมื่อห้าปีก่อน คณะตุลาการระหว่างประเทศมีคำตัดสินเป็นเอกฉันท์และมีผลผูกพันทางกฎหมายซึ่งปฏิเสธข้อเรียกร้องทางทะเลในทะเลจีนใต้ที่ผิดกฎหมายและกินความมาก โดยกล่าวว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ รวมถึงผู้อ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้จะยังคงต่อต้านพฤติกรรมดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้ นี่ยังเป็นเหตุผลที่เราให้ความสนใจในสันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวันเสมอมา ซึ่งสอดคล้องกับพันธกรณีอันยาวนานของเรา ประการที่ 2 เราจะสร้างสัมพันธภาพที่แข็งแกร่งขึ้นทั้งภายในและนอกเหนือภูมิภาคนี้ เราจะกระชับพันธไมตรีในสนธิสัญญาของเรากับญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และไทย พันธไมตรีเหล่านั้นเป็นรากฐานแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคนี้มาเป็นเวลานาน เราจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างพันธมิตรเหล่านี้ให้มากขึ้นเช่นกัน นั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่เราได้ดำเนินการโดยกระชับความร่วมมือไตรภาคีระหว่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และริเริ่มข้อตกลงความร่วมมือด้านความมั่นคงฉบับใหม่ครั้งประวัติศาสตร์กับออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร เราจะหาวิธีสานสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรกับหุ้นส่วนของเราดังที่เราได้ดำเนินการไปแล้วด้วยการฟื้นฟูความแข็งแกร่งของกลุ่มภาคี 4 ประเทศ และเราจะกระชับความร่วมมือของเรากับอาเซียนที่แข็งแกร่งและเป็นเอกเทศ ความเป็นแกนกลางของอาเซียนหมายความว่า เราจะยังคงร่วมมือกับอาเซียนและดำเนินการผ่านอาเซียนเพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของเรากับภูมิภาคนี้ เนื่องด้วยวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ และมุมมองของอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกมีความสอดคล้องกัน เมื่อเดือนตุลาคม ท่านประธานาธิบดีไบเดนประกาศงบประมาณกว่า 100 ล้านเหรียญเพื่อสนับสนุนความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนในด้านสำคัญต่างๆ เช่น การสาธารณสุขและการเสริมสร้างศักยภาพสตรี และท่านประธานาธิบดีเตรียมเชิญผู้นําอาเซียนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่สหรัฐฯ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเพื่อหารือว่าเราจะสามารถยกระดับความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ของเราได้อย่างไร เรากําลังสร้างเสริมความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และที่แน่นอนคือ อินโดนีเซีย และนี่คือเหตุผลที่ผมเดินทางมาครั้งนี้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังพยายามกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของเรา โครงการ YSEALI เป็นโครงการสำคัญที่มุ่งส่งเสริมผู้นํารุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมาชิกกว่า 150,000 คนและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้าย เราจะพยายามสานความสัมพันธ์ของเราที่มีในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเข้ากับระบบพันธมิตรและหุ้นส่วนที่เด่นล้ำของเรานอกภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป เมื่อเร็วๆ นี้ สหภาพยุโรปประกาศยุทธศาสตร์ว่าด้วยภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่สอดคล้องยิ่งกับวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ทางด้านองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) เรากําลังปรับปรุงแนวความคิดทางยุทธศาสตร์ของเราให้สะท้อนความสำคัญที่ทวีขึ้นของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และจัดการกับภัยคุกคามใหม่ๆ เช่น ผลกระทบของวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคง เราให้ความเป็นแกนกลางของอาเซียนเป็นหัวใจการดำเงินงานกับหุ้นส่วนของเรา เราลงมือทำเช่นนั้นแล้วเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เมื่อรัฐมนตรีกลุ่มประเทศ G7 เข้าร่วมประชุมที่สหราชอาณาจักรและพบปะกับรัฐมนตรีจากอาเซียนเป็นครั้งแรก ทั้งหมดนี้เราทำเพื่อเหตุผลอันเรียบง่าย นั่นคือ สิ่งนี้เอื้อให้เราสามารถรวมกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือที่กว้างขวางที่สุดและทรงประสิทธิผลที่สุดเพื่อรับมือความท้าทาย เพื่อคว้าโอกาส เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายใดๆ ยิ่งเรารวมกำลังเพื่อประโยชน์ร่วมกันได้หลายประเทศ เราทั้งหมดก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้น ประการที่ 3 เราจะส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในวงกว้างอย่างทั่วถึง สหรัฐฯ ดำเนินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ภูมิภาคนี้บอกกับเราอย่างเต็มเสียงและชัดแจ้งว่าต้องการให้เราทำมากกว่านี้ และเรามุ่งหมายตอบสนองเสียงเรียกร้องนั้น ภายใต้การกำกับของท่านประธานาธิบดีไบเดน เราอยู่ระหว่างพัฒนากรอบเศรษฐกิจภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่ครอบคลุมถ้วนทั่วเพื่อมุ่งบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของเรา อันรวมทั้งด้านการค้าและเศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยี ห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น การลดการปล่อยคาร์บอนและพลังงานสะอาด โครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานแรงงาน ตลอดจนความสนใจร่วมกันด้านอื่นๆ การทูตของเราจะมีบทบาทสำคัญ เราจะเฟ้นหาโอกาสนอกเหนือจากที่บริษัทอเมริกันค้นหาเอง และจะเอื้ออำนวยให้บริษัทเหล่านี้นำความเชี่ยวชาญและเงินทุนไปสู่สถานที่ใหม่และภาคอุตสาหกรรมใหม่ได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น หน่วยงานการทูตของเรา สถานเอกอัครราชทูตของเราทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกนำทางการดำเนินงานเหล่านี้แล้ว และเราเตรียมเร่งเพิ่มขีดความสามารถให้ดำเนินการได้มากยิ่งขึ้นอีก ผู้นำภาคธุรกิจและภาครัฐกว่า 2,300 คนจากภูมิภาคนี้ได้เข้าร่วมการประชุม Indo-Pacific Business Forum ประจำปีนี้พร้อมกับผม ซึ่งสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพร่วมกับอินเดีย และ ณ ที่นั้น เราประกาศโครงการใหม่ภาคเอกชนมูลค่ารวมเกือบ 7,000 ล้านเหรียญ เราจะร่วมงานกับบรรดาประเทศหุ้นส่วนของเรากำหนดแนวทางกฎระเบียบของเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตขึ้นในประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล ตามวิถีทางที่สะท้อนค่านิยมของเรา รวมทั้งเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนของเรา เพราะถ้าเราไม่กำหนดแนวทางเหล่านี้ ย่อมมีผู้อื่นเข้ามากำหนด และเป็นไปได้ว่าเขาเหล่านั้นจะกำหนดแนวทางอย่างที่ไม่ขับเคลื่อนผลประโยชน์ร่วมกันหรือค่านิยมร่วมกันของเรา ที่การประชุมเอเปคเมื่อเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีไบเดนวางวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าด้วยแนวทางที่เราสามารถสานสร้างหนทางเดินหน้าร่วมกันในภูมิภาคนี้ ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ท่านประธานาธิบดีกล่าวถึงความจำเป็นของระบบอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้าง เชื่อมโยงกันได้ เชื่อถือได้ และปลอดภัย รวมถึงความสนใจหนักแน่นของเราต่อการลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการพัฒนามาตรฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะวางตำแหน่งเศรษฐกิจทั้งหมดของเราสู่การแข่งขันในอนาคต ตอนที่คุณไท ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ พร้อมกับผมนำคณะผู้แทนสหรัฐฯ ร่วมประชุมรัฐมนตรีเอเปคเมื่อเดือนพฤศจิกายน เรามุ่งเน้นประเด็นความจำเป็นที่จะรับรองว่าเทคโนโลยีนั้นส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง เราจะส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมและยืดหยุ่นทนทานด้วย นั่นก็คือที่มาของโครงการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (ASEAN Single Window) ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนโดยสหรัฐฯ เพื่อสร้างระบบอัตโนมัติรวมจุดเดียวสำหรับพิธีการศุลกากรทั่วภูมิภาค ทั้งยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการค้าโดยเสริมความโปร่งใสและความปลอดภัย ส่งผลช่วยธุรกิจลดต้นทุนและลดราคาสำหรับผู้บริโภค นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนจากงานศุลกากรบนเอกสารกระดาษเป็นรูปแบบดิจิทัลทำให้การค้าข้ามพรมแดนยังคงดำเนินต่อไปได้แม้ระหว่างช่วงล็อกดาวน์ ช่วงปีแรกของสถานการณ์โรคระบาดใหญ่ บรรดาประเทศที่มีการใช้งานแพลตฟอร์มนี้มากที่สุดพบว่าปริมาณกิจกรรมทางการค้าของประเทศขยายตัวร้อยละ 20 ขณะที่การค้าข้ามพรมแดนลักษณะอื่นส่วนใหญ่ลดน้อยลง ณ การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ (U.S.-ASEAN Summit) เมื่อเดือนตุลาคม ประธานาธิบดีไบเดนให้คำมั่นว่า สหรัฐฯ จะสนับสนุนโครงการ Single Window เพิ่มเติมอีก เราจะทำงานร่วมกับบรรดาหุ้นส่วนเพื่อปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานของเราให้ปลอดภัยและยืดหยุ่นยิ่งขึ้น ผมคิดว่า เราทุกคนล้วนเห็นกันมาแล้วตลอดช่วงที่เกิดโรคระบาดใหญ่ว่าห่วงโซ่เหล่านี้เปราะบางเพียงใด และความเปลี่ยนแปลงฉับพลันก่อความเสียหายได้ขนาดไหน เช่น หน้ากากอนามัยและไมโครชิปขาดแคลน และสินค้าคั่งค้างที่ท่าเรือ สหรัฐฯ ได้เป็นผู้นำการดำเนินงานประสานประชาคมนานาชาติเข้าหากันเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาคอขวด พร้อมทั้งสร้างความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นต่อเหตุสั่นสะเทือนในอนาคต ท่านประธานาธิบดีไบเดนจัดประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน รองประธานาธิบดีแฮร์ริสตั้งประเด็นนี้เป็นแก่นความสนใจหลักของการประชุมวาระต่างๆ ที่ท่านเข้าร่วมเมื่อครั้งเยือนภูมิภาคนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไรมอนโดร่วมจัดการประเด็นนี้กับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และมาเลเซียระหว่างเดินทางเยือนเมื่อไม่นานนี้ ส่วนคุณไท ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เปิดตัวคณะทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานการค้าด้านห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Trade Task Force) และชูประเด็นนี้ระหว่างเดินทางเยือนญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และอินเดีย ปีใหม่นี้ คุณจีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พร้อมด้วยตัวผมจะร่วมกันจัดประชุมผู้นำภาครัฐและภาคธุรกิจจากทั่วโลกเพื่อหารือรับมือประเด็นเหล่านี้ ณ การประชุม Global Supply Chain Forum ในฐานะศูนย์กลางการผลิตและการค้าพาณิชย์ปริมาณมากยิ่งของโลก ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกจะเป็นแกนกลางความพยายามเหล่านี้ สุดท้ายนั้น เราจะช่วยลดช่องว่างด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่นเดียวกับทั่วโลก ภูมิภาคนี้มีช่องว่างใหญ่ระหว่างความต้องการโครงสร้างพื้นฐานกับสิ่งที่มีให้ขณะนี้ ท่าเรือ ถนน โครงข่ายไฟฟ้า อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบสู่การค้าโลก สู่การพาณิชย์ สู่การเชื่อมต่อ สู่โอกาส สู่ความเจริญมั่งคั่ง ทั้งยังจำเป็นยิ่งต่อการเติบโตอย่างครอบคลุมของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ทว่า เราได้ยินได้ฟังข้อกังวลเพิ่มขึ้นจากเจ้าหน้าที่รัฐ ภาคอุตสาหกรรม แรงงาน และชุมชนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อโครงการโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง เช่น เมื่อมีการตกลงโครงการผ่านกระบวนการที่ขาดความโปร่งใส ฉ้อฉล หรือโครงการก่อสร้างโดยบริษัทต่างชาติที่นำเข้าแรงงานของตน สูบทรัพยากร สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และผลักชุมชนเข้าสู่ภาวะหนี้สิน ประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกปรารถนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่านี้ แต่หลายประเทศยังคงรู้สึกว่ามีราคาแพงเกินไป หรือถูกกดดันให้รับข้อตกลงที่ไม่ดีภายใต้เงื่อนไขที่ตั้งโดยฝ่ายอื่นดีกว่าที่จะไม่บรรลุข้อตกลงใดเลย ด้วยเหตุนี้ เราจะร่วมงานกับประเทศในภูมิภาคนี้เพื่อส่งมอบโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูง มาตรฐานสูงอย่างที่ประชาชนควรได้รับ ซึ่งที่จริง เราก็กำลังทำอยู่แล้ว ในสัปดาห์นี้เอง สหรัฐฯ ร่วมกับออสเตรเลียและญี่ปุ่นประกาศความร่วมมือกับสหพันธรัฐไมโครนีเซีย คิริบาส และนาอูรู สร้างสายเคเบิลใต้น้ำโครงการใหม่เพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปยังชาติแปซิฟิกเหล่านี้ นับตั้งแต่ปี 2558 สมาชิกกลุ่มภาคี 4 ประเทศ มอบทุนแล้วมากกว่า 48,000 ล้านเหรียญในรูปแบบทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคนี้ผ่านหลายพันโครงการในกว่า 30 ประเทศ ไม่ว่าจะโครงการพัฒนาชนบทหรือโครงการพลังงานหมุนเวียน ได้ยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนหลายล้านคน เมื่อไม่นานนี้ กลุ่มภาคี 4 ประเทศได้เปิดตัวกลุ่มประสานงานด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นการลงทุนเพิ่มมากขึ้น และกำลังพิจารณาร่วมมือกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเด็นโครงสร้างพื้นฐานและอีกหลายประเด็นสำคัญร่วมกันอื่นๆ สหรัฐฯ จะทำมากกว่านั้น โครงการ Build Back Better World ที่เราริเริ่มร่วมกับหุ้นส่วนกลุ่มประเทศ G7 เมื่อเดือนมิถุนายน มุ่งมั่นอัดฉีดเม็ดเงินหลายแสนล้านเหรียญเพื่อเป็นทุนสนับสนุนที่โปร่งใสและยั่งยืนเป็นเวลาหลายปีจากนี้ นอกจากนั้น สหรัฐฯ ยังจับมือกับออสเตรเลียและญี่ปุ่นเปิดตัวโครงการ Blue Dot Network เพื่อเริ่มรับรองมาตรฐานโครงการโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูงที่บรรลุตามเกณฑ์ที่พัฒนาโดยกลุ่มประเทศ G20 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) และอื่นๆ อีกทั้งดึงดูดนักลงทุนเพิ่มเติม ประการที่ 4 เราจะช่วยสร้างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศตอกย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของภารกิจนี้ โรคระบาดใหญ่คร่าชีวิตผู้คนหลายแสนตลอดทั่วภูมิภาค รวมถึงชาย หญิงและเด็กมากกว่า 143,000 คนในอินโดนีเซียเอง ทั้งยังสร้างความเสียหายมหาศาลต่อเศรษฐกิจ โรงงานพากันปิดตัว การท่องเที่ยวหยุดชะงัก สหรัฐฯ ยืนหยัดเคียงข้างผู้คนในภูมิภาคนี้ตลอดทุกย่างก้าวแม้ในยามที่เราต่อกรกับโรคระบาดใหญ่ในประเทศของเราเอง จากจำนวนวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพกว่า 300 ล้านโดสที่สหรัฐฯ กระจายไปยังทั่วโลก เราได้จัดส่งวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดสมายังภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยกว่า 25 ล้านโดสนั้นส่งมาที่นี่ ที่อินโดนีเซีย ภายในสิ้นปีหน้า รวมแล้วสหรัฐฯ จะบริจาควัคซีนทั่วโลกมากกว่า 1,200 ล้านโดส นอกจากนี้ เรายังได้มอบความช่วยเหลือเพิ่มเติมมูลค่ากว่า 2,800 ล้านเหรียญแก่ภูมิภาคนี้เพื่อช่วยรักษาชีวิต จำนวนนี้รวมถึงที่มอบแก่อินโดนีเซียมูลค่า 77 ล้านเหรียญสำหรับทุกอย่างตั้งแต่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ไปจนถึงออกซิเจนทางการแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาล เราให้ความช่วยเหลือนี้โดยไม่เรียกค่าใช้จ่าย ไม่มีพันธะผูกพัน การบริจาคส่วนใหญ่ดำเนินการผ่านโครงการโคแวกซ์ (COVAX) จึงรับรองได้ว่าจะมีการกระจายความช่วยเหลือเหล่านี้อย่างเสมอภาคบนพื้นฐานของความจำเป็น ไม่ใช่การเมือง ขณะเดียวกัน เราทำงานร่วมกับหุ้นส่วนของเราเพื่อยุติการระบาดใหญ่นี้ ความร่วมมือด้านวัคซีนของกลุ่มภาคี 4 ประเทศ มีบทบาทสำคัญในจุดนี้ เราร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนเงินทุน เพื่อผลิต เพื่อกระจายวัคซีน และเพื่อฉีดวัคซีนให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้านแต่ละประเทศก็กำลังเร่งดำเนินการ เมื่อไม่นานนี้ อินเดียให้คำมั่นว่าจะผลิตวัคซีนเพิ่ม 5,000 ล้านโดสภายในสิ้นปี 2565 สาธารณรัฐเกาหลีและไทยก็กำลังเร่งการผลิตด้วยเช่นกัน เราระดมกำลังภาคเอกชนให้เข้าร่วมกับเรา ในการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ผมเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนก่อน เราเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า Global COVID Corps อันเป็นกลุ่มพันธมิตรบริษัทชั้นนำที่จะนำความรู้ความชำนาญ เครื่องมือ และขีดความสามารถมาช่วยสนับสนุนโลจิสติกส์และส่งเสริมการดำเนินงานด้านวัคซีนในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการขนส่งขั้นสุดท้าย (last mile) ซึ่งล้วนจำเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งมอบวัคซีนให้ไปถึงแขนของประชาชน นี่คือสิ่งที่เราเห็นบ่อยครั้งขึ้นทั่วโลก การผลิตวัคซีนเพิ่มจำนวนขึ้น มีการกระจายวัคซีนออกไป แต่กลับไปไม่ถึงแขนของประชาชนเนื่องจากอุปสรรคด้านการขนส่งขั้นสุดท้าย เป็นปัญหาโลจิสติกส์ที่ต้องได้รับการแก้ไข และนี่เองคือจุดที่เรามุ่งเน้น ขณะเดียวกับที่เราต่อกรกับเชื้อไวรัสนี้ เรากำลังสร้างระบบสุขภาพให้กลับคืนมาในแบบที่ดีกว่าเดิมทั้งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและทั่วโลก เพื่อป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อโรคระบาดใหญ่ครั้งต่อไป ประเด็นคือ ที่จริงแล้วเรารู้ว่าต้องทำอย่างไร สหรัฐฯ และหุ้นส่วนร่วมกันดำเนินงานเสริมสร้างระบบสุขภาพในภูมิภาคนี้มาหลายทศวรรษ แค่เฉพาะในอาเซียน เราลงทุนด้านสาธารณสุขแล้วมากกว่า 3,500 ล้านเหรียญตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เรามีสิ่งยืนยันมากมายที่สะท้อนถึงการดำเนินการนี้ ทั้งการปรับปรุงงานสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญ ตลอดจนความสัมพันธ์หยั่งลึกที่เราสร้างขึ้นจากการทำงานลงพื้นที่จริง เมื่อไม่นานนี้ ประธานาธิบดีไบเดนประกาศว่า สหรัฐฯ จะมอบเงิน 40 ล้านเหรียญแก่โครงการ U.S.-ASEAN Health Futures Initiative โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนจากเราต่ออาเซียน เพื่อเร่งขับเคลื่อนการศึกษาวิจัยร่วม เสริมความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ ตลอดจนฝึกอบรมบุคลากรวิชาชีพสายสุขภาพรุ่นใหม่ นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนการพัฒนาระบบประสานงานภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอาเซียน (ASEAN Public Health Emergency Coordination System) ซึ่งจะช่วยให้ประเทศในภูมิภาคสามารถประสานงานตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งแรกของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติของสหรัฐฯ (U.S. Centers for Disease Control and Prevention) ซึ่งเพิ่งเปิดทำการที่กรุงฮานอยช่วงฤดูร้อนปีนี้ ก็กำลังสนับสนุนการดำเนินงานเหล่านี้ในพื้นที่จริง แน่นอนว่าวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสากลที่เราต้องรับมือร่วมกัน ผู้คนทั่วทั้งภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกต่างรู้สึกได้ถึงผลกระทบอันใหญ่หลวงของวิกฤตการณ์นี้ กล่าวคือ ร้อยละ 70 ของภัยธรรมชาติบนโลกเกิดขึ้นที่ภูมิภาคนี้ อีกทั้งมีประชาชนกว่า 90 ล้านคนในภูมิภาคได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเมื่อปี 2562 ในปีต่อมา ณ ชายฝั่งแปซิฟิกของสหรัฐฯ เองนั้น รัฐแคลิฟอร์เนียเผชิญเหตุไฟไหม้ป่า 5 ใน 6 เหตุการณ์ครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐ ขณะนี้ หลายประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในภูมิภาคต่างตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังที่เราเห็นจากคำปฏิญาณแรงกล้าที่ให้ไว้ ณ การประชุม COP26 ประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก 15 ประเทศรวมถึงอินโดนีเซียร่วมลงนามในปฏิญญามีเทนโลก (Global Methane Pledge) ที่เมืองกลาสโกว์ เพื่อมุ่งลดการปล่อยก๊าซลงร้อยละ 30 ในช่วงทศวรรษจากนี้ หากประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดทุกประเทศมาร่วมมือกับเรา ย่อมส่งผลลดภาวะโลกร้อนยิ่งกว่านำเรือทุกลำออกจากผืนน้ำและเครื่องบินทุกลำออกจากแผ่นฟ้า แต่คงเป็นเรื่องผิดพลาดหากจะคิดถึงประเด็นสภาพภูมิอากาศผ่านเพียงแค่มุมมองภัยคุกคาม เหตุผลคือ ทุกประเทศบนดาวเคราะห์ดวงนี้ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบอันไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านที่จำเป็นสู่เทคโนโลยีใหม่และอุตสาหกรรมใหม่นั้นยังเป็นการให้โอกาสที่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งหนึ่งในชั่วอายุคนในการสร้างอาชีพใหม่รายได้ดี เราเชื่อว่า โอกาสมีอยู่ตลอดทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และเราได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนของเราไขว่คว้าโอกาสนั้น แค่ช่วงห้าปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ อัดฉีดเงินกว่า 7,000 ล้านเหรียญลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคนี้ ขณะที่เราทวีความพยายามนี้ เราได้รับความร่วมมือจากหุ้นส่วนหลากหลายอย่างยากเสมอเหมือนที่เราได้สานสัมพันธ์สั่งสมไว้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรพหุภาคีและกลุ่มสนับสนุน ภาคธุรกิจและองค์กรการกุศล นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ลองพิจารณาโครงการ Clean EDGE Initiative ที่เราจะเปิดตัวเดือนนี้ ซึ่งโครงการเตรียมนำความรู้ความชำนาญและนวัตกรรมของรัฐบาลสหรัฐฯ และภาคเอกชนมาช่วยพัฒนาโซลูชันพลังงานสะอาดตลอดทั่วภูมิภาคนี้ ลองพิจารณาเงินทุนมากกว่า 20 ล้านเหรียญที่ประธานาธิบดีไบเดนเพิ่งให้คำมั่นไว้แก่โครงการ U.S.-ASEAN Climate Futures หรือทุนสนับสนุนจำนวน 500 ล้านเหรียญที่หน่วยงานความร่วมมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (U.S. International Development Finance Corporation) เพิ่งประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อนเพื่อช่วยก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดีย โรงงานนี้สร้างโดยบริษัทอเมริกันที่มีชื่อว่า First Solar โดยมีสมรรถนะการผลิตต่อปีที่ 3.3 กิกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสู่กว่า 2 ล้านครัวเรือน การก่อสร้างและการดำเนินงานโรงงานแห่งนี้จะสร้างงานหลายพันตำแหน่งในอินเดีย ส่วนใหญ่สำหรับผู้หญิง รวมถึงอีกหลายร้อยตำแหน่งในสหรัฐฯ นี่เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางที่สหรัฐฯ มุ่งสนับสนุนอินเดียบรรลุเป้าหมายใหญ่ที่จะขยายขีดความสามารถพลังงานหมุนเวียนให้ถึง 500 กิกะวัตต์ภายในปี 2573 พร้อมกับช่วยโลกให้รอดพ้นจากหายนะทางสภาพภูมิอากาศไปด้วย ขณะนี้ เราตระหนักว่า ถึงแม้การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวจะสร้างตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นอย่างที่เรามั่นใจว่าจะเป็นเช่นนั้น ก็ใช่ว่าแรงงานที่สูญเสียอาชีพในอุตสาหกรรมเก่าและภาคธุรกิจเก่าระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านนี้จะได้เข้ามาเติมเต็มตำแหน่งงานใหม่นั้นทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีพันธะหนึ่งที่ยึดมั่นไว้ นั่นคือการพาทุกคนไปด้วยกัน ประการที่ 5 และประการสุดท้าย เราจะส่งเสริมความมั่นคงของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เมื่อภัยคุกคามพัฒนาขึ้น แนวทางความมั่นคงของเราต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วย เราจะกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงภาคพลเรือนให้ยิ่งใกล้ชิดขึ้นเพื่อรับมือความท้าทายต่างๆ ตั้งแต่แนวคิดรุนแรงสุดโต่ง การประมงผิดกฎหมาย ไปจนถึงการค้ามนุษย์ เราจะใช้กลยุทธ์ที่อาศัยเครื่องมือพลังอำนาจแห่งชาติทั้งหมดที่เรามี ทั้งการทูต การทหาร และข้อมูลข่าวกรอง ผสานเข้ากับเครื่องมือของพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราอย่างสนิทแน่นยิ่งขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ลอยด์ ออสติน เรียกสิ่งนี้ว่า “การป้องปรามแบบบูรณาการ” (integrated deterrence) ทั้งยังเป็นเรื่องของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเราเพื่อให้เราธำรงสันติภาพไว้ได้อย่างที่ทำมาหลายทศวรรษในภูมิภาคนี้ เราไม่ต้องการความขัดแย้งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก นี่คือเหตุผลที่เราดำเนินการทูตกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี เราจะร่วมมือกับพันธมิตรและหุ้นส่วนจัดการภัยคุกคามจากโครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ผ่านแนวทางปฏิบัติจริงที่มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม พร้อมกับกระชับแนวทางการป้องปรามต่อเนื่องของเรา และนั่นคือเหตุผลที่ประธานาธิบดีไบเดนกล่าวกับประธานาธิบดีสีเมื่อเดือนที่แล้วว่า เราต่างมีความรับผิดชอบลึกซึ้งร่วมกันที่จะรับรองว่าการแข่งขันระหว่างประเทศเราทั้งสองจะไม่หันเหกลายเป็นความขัดแย้ง เรารับความรับผิดชอบนี้ไว้อย่างจริงจังยิ่ง เพราะหากไม่ทำเช่นนั้นแล้ว ย่อมนำหายนะมาสู่พวกเราทั้งหมด เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2505 โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น เดินทางมากล่าวสุนทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ท่านพูดถึงการต่อสู้ดิ้นรนอันยืดเยื้อที่ประชาชนของประเทศเราต่างเผชิญร่วมกัน ซึ่งจากคำของท่านแล้ว คือสิ่งที่เยาวชนเฉกเช่นนักศึกษาทุกคนในที่นี้ต้องแบกรับต่อไป ท่านหยิบยกคำพูดที่พี่ชายของท่าน จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้นได้กล่าวไว้ถึงวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ต่อโลกใบนี้ว่า “เป้าหมายมูลฐานของเรายังคงเดิม นั่นคือ โลกที่สงบสุข ประชาคมแห่งรัฐอิสระเสรี มีเสรีภาพที่จะเลือกอนาคตและระบบของตนเอง ตราบเท่าที่ไม่คุกคามเสรีภาพของผู้อื่น” เมื่อพิจารณาสรรพสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเกือบ 70 ปีนับตั้งแต่ประธานาธิบดีเคนเนดีกล่าวถ้อยคำเหล่านั้น ช่างน่าทึ่งที่วิสัยทัศน์นั้นยังคงสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่เรามีร่วมกันนี้มากเพียงใด และเหตุผลที่ผมรู้สึกซาบซึ้งใจที่ได้มีโอกาสมาพูดเรื่องนี้ ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ พร้อมด้วยนักศึกษาและศิษย์เก่าจำนวนมากจากโครงการผู้นำเยาวชนของเรา นั่นเพราะพวกคุณคือผู้ซึ่งอยู่ ณ วันนี้ที่จะผลักดันวิสัยทัศน์นี้ต่อไป ในขณะที่คุณทำ ขอให้ทราบว่าคุณมีผู้คนทั่วทั้งภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมถึงสหรัฐฯ ที่มีความหวังและโชคชะตาผูกพันกับคุณ และจะเป็นหุ้นส่วนอันแน่วแน่ของคุณเพื่อสร้างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกแห่งนี้ที่เราอาศัยร่วมกันให้เปิดกว้างและเสรียิ่งขึ้น ขอบคุณที่รับฟังครับ (เสียงปรบมือ) *การแปลนี้จัดทำขึ้นโดยความอนุเคราะห์และเฉพาะต้นฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้นที่ควรถือว่าเชื่อถือได้ โดย U.S. Embassy Bangkok | 23 ธันวาคม, 2021 | ประเภท: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, สุนทรพจน์, เหตุการณ์
A Free and Open Indo-Pacific Secretary Antony J. Blinken December 14, 2021 Universitas Indonesia Jakarta, Indonesia MS KUSUMAYATI: Excellency, ambassadors, ASEAN Secretary General, Honorable Rector of Universitas Indonesia, and the chairperson of the U.S.-Indonesia Board of Trustees, distinguished guests, ladies and gentlemen: First of all, let’s praise our God Almighty for the blessings that we receive, so today we can gather here in healthy and wealthy condition. I am honored to extend our warmest welcome to the campus of Universitas Indonesia here in Depok City. Universitas Indonesia are humbled and delighted to be the host of the honorary speech will be delivered by the Honorable U.S. Secretary of the State, Mr. Antony Blinken. Universitas Indonesia, as the name suggests, take the pride to carrying the name of the nation. We equally recognize this as the privilege as well as also our responsibility. Our visions underscores the importance of science, technology, and culture, and how we take them forward to benefit the people in Indonesia as we are asked in the world. Excellencies, ladies and gentlemen, as we all experience, far-reaching and complex problems are unfolding around us. The COVID-19 pandemic, natural disaster, global warming, climate change, are some among others. There are no instant solutions of those matters, but we believe in investing our time to meet our minds together our ideas and acquire inspirations, and then transform it to collaborations, policies, and actions. Today marks a unique moment for us. We are privileged to have His Excellency the U.S. Secretary of State Antony Blinken present among us to share his view. Many key figures from different backgrounds and expertise are here already with us, and we really believe that the diversity of knowledge will align into one goal: to safeguarding our future generations while at the same time to solve the challenges that we have faced at the present days. Excellencies, ladies and gentlemen, please welcome the Honorable U.S. Secretary of State, Mr. Antony Blinken. (Applause.) SECRETARY BLINKEN: Well, good morning, everyone. It is wonderful to be with all of you. And Dr. Kusumayati, thank you so much for the generous introduction. But more than that, thank you for decades of service working to improve public health, to educate the next generation of doctors and nurses – including as the first woman to serve as the University’s Dean of the School of Public Health. From your research on reproductive health to your leadership on Indonesia’s COVID task force, your dedication to your community is truly inspirational, and I thank you. (Applause.) And good morning to everyone here. Selamat pagi. It is wonderful to be back in Jakarta. I was here on a couple of occasions when I was last in government as deputy secretary of state, and I was looking forward to this opportunity to return to Southeast Asia’s largest democracy. And for the students who are in this room, I expect it feels good to be back on campus. I understand many of you have been studying remotely for some time and are looking forward to actually getting back in the classroom, and I’m glad we’ve had a little bit of an excuse to bring you back together today. I know, Doctor, you and the task force want the students back, and I know how much everyone is looking forward to that. I’m here, we’re here, because what happens in the Indo-Pacific will, more than any other region, shape the trajectory of the world in the 21st century. The Indo-Pacific is the fastest growing region on the planet. It accounts for 60 percent of the world economy, two-thirds of all economic growth over the last five years. It’s home to more than half the world’s people, seven of the 15 biggest economies. And it’s magnificently diverse, more than 3,000 languages, numerous faiths stretching across two oceans and three continents. Even a single country like Indonesia is home to a rich patchwork that is hard to distill, except for its variety. And this nation’s motto holds – Bhinneka Tunggal Ika, unity in diversity – which sounds pretty familiar to an American. In the United States we say E Pluribus Unum, out of many, one. It’s the same idea. The United States has long been, is, and always will be an Indo-Pacific nation. This is a geographic fact, from our Pacific coast states to Guam, our territories across the Pacific. And it’s a historical reality, demonstrated by our two centuries of trade and other ties with the region. Today, half of the United States’ top trading partners are in the Indo-Pacific. It’s the destination for nearly one-third of our exports, the source of $900 billion in foreign direct investment in the United States, and that’s creating millions of jobs spread across all 50 of our states. And more members of our military are stationed in the region than anywhere outside the continental U.S., ensuring peace and security that have been vital to prosperity in the region, benefiting us all. And of course, we’re tied together by our people, whose connections go back generations. There are more than 24 million Asian Americans living in the United States, including Ambassador Sung Kim, when he’s not serving his country in one part of the world or another, as he has been for the last three decades. Before the pandemic, there were more than 775,000 students from the Indo-Pacific studying at U.S. colleges and universities. And your American classmates here at Universitas Indonesia are among the millions of Americans who have come to the region to study, to work, to live, including one who went onto become our president. There’s an Indonesian proverb – one that I’m told kids are taught from a young age: “We have two ears, but only one mouth.” That means that before we speak or act, we have to listen. And we’ve done a lot of listening to people in the Indo-Pacific in the first year of this administration to understand your vision for the region and its future. We’ve welcomed leaders from the region in our country, including the first two foreign leaders President Biden hosted after taking office from Japan and South Korea, and all the foreign ministers whom I’ve had the privilege of hosting at the State Department, including Foreign Minister Retno. And we’ve come to your region – Vice President Harris, Secretary of Defense Austin, Secretary of Commerce Raimondo, and so many other Cabinet members, not to mention many senior State Department officials from my team. The President has participated in multi leader-level summits held by key regional bodies: APEC; the U.S.-ASEAN and East Asia Summits; and the Quad, made up of India, Japan, and Australia. I’ve done the same with fellow foreign ministers, including hosting the Mekong-U.S. Partnership Ministerial. And President Biden has met with Indo-Pacific leaders overseas as well, including a very productive meeting with President Jokowi in Glasgow during the COP26. But we’re not just listening to leaders. At our embassies and consulates across the region, our diplomats are using two ears to take in the views of people from all walks of life – students, activists, academics, entrepreneurs. And while it’s an extraordinarily diverse region with distinct interests, distinct views, we see a great deal of alignment between the vision we’re hearing from the Indo-Pacific and our own. People and governments of the region want more, better opportunities for all of their people. They want more chances to connect – within their nations, between their nations, around the world. They want to be better prepared for crises like the pandemic that we’re living through. They want peace and stability. They want the United States to be more present and more engaged. And above all, they want a region that is more free and more open. So what I’d like to do today is to try to set out that shared vision, and how together we’re going to work to make it a reality. And there are five core elements that I’d like to focus on. First, we will advance a free and open Indo-Pacific. Now, we talk a lot about a free and open Indo-Pacific, but we don’t often define what we actually mean by that. Freedom is about the ability to write your future and have a say in what happens in your community and your country, no matter who you are or who you know. And openness naturally flows from freedom. Free places are opento new information and points of view. They’re open to different cultures, religions, ways of life. They’re open to criticism, to self-reflection, as well as to renewal. When we say that we want a free and open Indo-Pacific, we mean that on an individual level, that people will be free in their daily lives and live in open societies. We mean that on a state level, that individual countries will be able to choose their own path and their own partners. And we mean that on a regional level, that in this part of the world problems will be dealt with openly, rules will be reached transparently and applied fairly, goods and ideas and people will flow freely across land, cyberspace, and the open seas. We all have a stake in ensuring that the world’s most dynamic region is free from coercion and accessible to all. This is good for people across the region. It’s good for Americans because history shows that when this vast region is free and open, America is more secure and more prosperous. So we will work with our partners across the region to try to realize this vision. We will continue to support anti-corruption and transparency groups, investigative journalists, think tanks across the region like the Advocata Institute in Sri Lanka. With our support, that institute created a public registry of state-owned enterprises like banks and airlines that operate with big losses, and proposed ways to reform them. We’re finding partners in government, too, like Victor Sotto. He’s the mayor of the city of Pasig in the Philippines. Victor set up a 24/7 hotline for constituents to report cases of corruption. It has made the awarding in public contracts more transparent, has given community-based organizations a say in the way the city spends its resources. He’s part of the State Department’s first group of global anti-corruption champions that we announced earlier this year. And we’ll continue to learn best practices from our fellow democracies. That’s the idea behind the Summit for Democracy that President Biden convened last week, where President Jokowi spoke – indeed, he was the first speaker – and the Bali Democracy Forum that Indonesia just held for the fourteenth time, and where I had an opportunity to speak. We’ll also stand up against leaders who don’t respect their people’s rights, as we are seeing now in Burma. We will continue to work with our allies and partners to press the regime to cease its indiscriminate violence, release all of those unjustly detained, allow unhindered access, and restoreBurma’s path to inclusive democracy. ASEAN has developed a Five-Point Consensus, and it calls on the regime to engage in constructive dialogue with all parties to seek a peaceful resolution that respects the will of the Burmese people, a goal we will not give up on. Another way we will promote freedom and openness is by defending an open, interoperable, secure, and reliable internet against those who are actively working to make the internet more closed, more fractured, and less secure. We’ll work with our partners to defend these principles, and help build the secure, trusted systems that lay the foundation for it. At the Moon-Biden Leaders’ Summit earlier this year, the Republic of Korea and the United States announced more than $3.5 billion in investments in emerging technologies, including research and development on secure 5G and 6G networks. Finally, we’ll work with our allies and partners to defend the rules-based order that we’ve built together over decades to ensure the region remains open and accessible. And let me be clear about one thing: the goal of defending the rules-based order is not to keep any country down. Rather, it’s to protect the right of all countries to choose their own path, free from coercion, free from intimidation. It’s not about a contest between a U.S.-centric region or a China-centric region. The Indo-Pacific is its own region. Rather, it’s about upholding the rights and agreements that are responsible for the most peaceful and prosperous period that this region and the world has ever experienced. That’s why there is so much concern, from northeast Asia to southeast Asia, and from the Mekong River to the Pacific Islands, about Beijing’s aggressive actions, claiming open seas as their own, distorting open markets through subsidies to its state-run companies, denying the exports or revoking deals for countries whose policies it does not agree with, engaging in illegal, unreported, and unregulated fishing activities. Countries across the region want this behavior to change. We do, too, and that’s why we’re determined to ensure freedom of navigation in the South China Sea, where Beijing’s aggressive actions there threaten the movement of more than $3 trillion worth of commerce every year. It’s worth remembering that, tied up in that colossal number, $3 trillion, are the actual livelihoods and well-being of millions of people across the world. When commerce can’t traverse open seas, that means that farmers are blocked from shipping their produce; factories can’t ship their microchips; hospitals are blocked from getting lifesaving medicines. Five years ago, an international tribunal delivered a unanimous and legally binding decision firmly rejecting unlawful, expansive South China Sea maritime claims as being inconsistent with international law. We and other countries, including South China Sea claimants, will continue to push back on such behavior. It’s also why we have an abiding interest in peace and stability in the Taiwan Strait, consistent with our longstanding commitments. Second, we will forge stronger connections within and beyond the region. We’ll deepen our treaty alliances with Japan, the Republic of Korea, Australia, the Philippines, and Thailand. Those bonds have long provided the foundation for peace, security, and prosperity in the region. We’ll foster greater cooperation among these allies, as well. That’s one of the things we’ve done by deepening U.S.-Japan-South Korea trilateral cooperation, and launching an historic new security cooperation agreement with Australia and the United Kingdom. We’ll find ways to knit our allies together with our partners, as we’ve done by reinvigorating the Quad. And we’ll strengthen our partnership with a strong and independent ASEAN. ASEAN centrality means we will keep working with and through ASEAN to deepen our engagement with the region all the more, given the alignment between our vision and ASEAN’s outlook on the Indo-Pacific. In October, President Biden announced more than $100 million to bolster our cooperation with ASEAN across key areas, to include public health, women’s empowerment. And the President will be inviting ASEAN’s leaders to a summit in the United States in the coming months to discuss how we can deepen our strategic partnership. We’re strengthening strategic partnerships with other countries in the region: Singapore, Vietnam, Malaysia, and, of course, Indonesia. And that’s the reason I’ve made this trip. We’re also deepening ties between our people. YSEALI, the signature program to empower the rising generation of leaders in Southeast Asia, has more than 150,000members and counting. Finally, we’ll work to connect our relationships in the Indo-Pacific with an unmatched system of alliances and partnerships beyond the region, particularly in Europe. The European Union recently released an Indo-Pacific strategy that aligns closely with our own vision. At NATO, we’re updating our Strategic Concept to reflect the Indo-Pacific’s growing significance, and address new threats, like the security implications of the climate crisis. And we’re putting ASEAN’s centrality at the heart of our work with partners. We did that just a few days ago, when the G7 ministers were meeting in the UK, and met with their ASEAN counterparts for the first time. We’re doing all this for a simple reason: it allows us to assemble the broadest, most effective coalitions to tackle any challenge, to seize any opportunity, to work toward any goal. The more countries that we can rally around common interests, the stronger we all are. Third, we will promote broad-based prosperity. The United States has already provided more than $1 trillion in foreign direct investment in the Indo-Pacific. The region has told us loud and clear that it wants us to do more. We intend to meet that call. At President Biden’s direction, we’re developing a comprehensive Indo-Pacific economic framework to pursue our shared objectives, including around trade and the digital economy, technology, resilient supply chains, decarbonization and clean energy, infrastructure, worker standards, and other areas of shared interest. Our diplomacy will play a key part. We’ll identify opportunities that American firms aren’t finding on their own, and make it easier for them to bring their expertise and their capital to new places and new sectors. Our diplomatic posts, our embassies across the Indo-Pacific are already leading on this, and we’re going to surge capacity so that they can do more. More than 2,300 business and government leaders from the region joined me for this year’s Indo-Pacific Business Forum, which we co-hosted with India, and where we announced nearly $7billion in new private-sector projects. We’ll work with our partners to shape the rules of the growing digital economy on key issues like data privacy and security, but in a way that reflects our values, and unlocks opportunities for our people. Because if we don’t shape them, others will. And there’s a good chance they’ll do it in a way that doesn’t advance our shared interests or our shared values. At APEC in November, President Biden set out a clear vision for how we can build a common way forward in the region. On digital technologies, he talked about the need for an open, interoperable, reliable, and secure Internet, and our strong interest in investing in cybersecurity and developing digital economy standards that will position all of our economies to compete in the future. And when U.S. Trade Representative Tai and I co-led our delegation to the APEC ministerial in November, we focused on the need to ensure that technology serves a free and open Indo-Pacific. We’ll also promote fair and resilient trade. That’s the story of the ASEAN Single Window, a project the United States supported to create a single automated system for clearing customs across the region. It helped streamline trade by making it more transparent and secure, lowering costs for business and prices for consumers. And the move from paper to digital customs has made is possible to keep cross-border trade moving, even during the lockdowns. During the first year of the pandemic, the countries that were most active on the platform saw their trade activity rise by 20 percent, when most other cross-border trade was actually falling. And at the U.S.-ASEAN Summit in October, President Biden committed additional U.S. support to the Single Window. We’ll work with partners to make our supply chains more secure and more resilient. I think we have all seen, through the pandemic, just how vulnerable they are, how damaging disruptions can be, including shortages of masks and microchips and pileups at ports. We’ve been leading efforts to bring the international community together to try to resolve bottlenecks and build greater resiliency against future shocks. President Biden convened a Leaders Summit on supply chain resilience. Vice President Harris made it a core focus of her meetings during her visit to the region. Commerce Secretary Raimondo has tackled the issue with Australia, New Zealand, Singapore, and Malaysia on her recent travel. And U.S. Trade Representative Tai launched the interagency Supply Chain Trade Task Force, and raised the issue in her travel to Japan, the Republic of Korea, and India. In the new year, the Commerce Secretary, Gina Raimondo, and I will team up to convene government and private-sector leaders from around the world to tackle these issues at a Global Supply Chain Forum. As the hub of so much of the globe’s production and commerce, this region, the Indo-Pacific, will be core to these efforts. Finally, we’ll help close the gap on infrastructure. There is, in this region as well as around the world, a large gap when it comes to infrastructure needs and what’s currently being provided. Ports, roads, power grids, broadband – all are building blocks for global trade, for commerce, for connectivity, for opportunity, for prosperity. And they’re essential to the Indo-Pacific’s inclusive growth. But we’re hearing increasing concerns from government officials, industry, labor, and communities in the Indo-Pacific about what happens when infrastructure isn’t done right, like when it’s awarded through opaque, corrupt processes, or built by overseas companies that import their own labor, extract resources, pollute the environment, and drive communities into debt. Countries in the Indo-Pacific want a better kind of infrastructure. But many feel it’s too expensive, or they feel pressured to take bad deals on terms set by others rather than no deals at all. So we will work with countries in the region to deliver the high-quality, high-standards infrastructure that people deserve. In fact, we’re already doing that. Just this week, together with Australia and Japan, we announced a partnership with the Federated States of Micronesia, with Kiribati, and Nauru to build a new undersea cable to improve internet connectivity to these Pacific nations. And since 2015, the members of the Quad have provided more than $48 billion in government-backed financing for infrastructurefor the region. This represents thousands of projects across more than 30 countries, from rural development to renewable energy. It benefits millions of people. The Quad recently launched an infrastructure coordination group to catalyze even more investment, and it is looking to partner with Southeast Asia on infrastructure and many other shared priorities. The United States will do more than that. Build Back Better World, which we launched with our G7 partners in June, is committed to mobilizing hundreds of billions of dollars in transparent, sustainable financing over the coming years. And together with Australia and Japan, we launched the Blue Dot Network to start certifying high-quality infrastructure projects that meet the benchmarks developed by the G20, the OECD, and others, and to attract additional investors. Fourth, we will help build a more resilient Indo-Pacific. The COVID-19 pandemic and the climate crisis have underscored the urgency of that task. The pandemic has taken the lives of hundreds of thousands of people across the region, including more than 143,000 men, women, and children here in Indonesia. It has also inflicted a massive economic toll, from shuttered factories to the halt of tourism. The United States has been there with the people of this region at every step, even as we battle the pandemic at home. Of the 300 million doses of safe, effective vaccines that the United States has already distributed worldwide, we’ve sent more than 100 million doses to the Indo-Pacific. And over 25 million of those have come here, to Indonesia. By the end of next year, we will have donated more than 1.2 billion doses to the world. And we’ve provided over $2.8 billion in additional assistance to the region to save lives, including $77 million here in Indonesia for everything from personal protective equipment to medical oxygen for hospitals. And we’ve been providing this aid free of charge, with no strings attached. By making most of these donations through COVAX, we have ensured they are distributed equitably, based on need, not on politics. At the same time, we’re working together with our partners to end the pandemic. The Quad vaccine partnership is playing a key part in that. We’re working together to finance, to manufacture, to distribute, and to put as many shots in arms as quickly as possible. Individual countries are stepping up. India recently committed to produce an additional 5 billion doses by the end of 2022. The Republic of Korea and Thailand are ramping up their production as well. We are rallying the private sector to our side. At a ministerial that I convened last month, we launched something called the Global COVID Corps. It is a coalition of leading companies that will provide expertise, tools, and capabilities to support logistics and vaccine efforts in developing countries, including the last mile, and that is critical for actually getting shots into arms. This is what we’re seeing increasingly around the world, where the production of vaccines has increased, they are getting out there, but then they are not getting into arms because of the last-mile difficulties, the logistics that need to be solved, and that is exactly what we are focusing on. At the same time, as we fight the virus, we’re building the health systems back better in the Indo-Pacific, around the world, to prevent, detect, and respond to the next pandemic. And the thing is, we actually know how to do this. The United States has been working with partners to strengthen health systems in the region for decades. In ASEAN alone, we’ve invested more than $3.5 billion in public health over the past 20years. And we have a lot to show for it, both in significant improvements to public health, and also in deep relationships that we’ve built on the ground. As part of our support for ASEAN, President Biden recently announced that we’ll provide $40 million for the U.S.-ASEAN Health Futures Initiative, and that’s going to accelerate joint research, strengthen health systems, train a rising generation of health professionals. We’re also supporting the development of an ASEAN Public Health Emergency Coordination System. That’s going to help countries in the region coordinate their response to future health emergencies. And the first Southeast Asian regional office of the U.S. Centers for Disease Control and Prevention, which we opened in Hanoi this summer, is already supporting these efforts on the ground. The climate crisis, of course, is another global challenge that we have to tackle together. People across the Indo-Pacific are already feeling its catastrophic impact: 70 percent of the world’s natural disasters strike in this region, and over 90 million people in the region were affected by climate-related disasters in 2019. The following year, on our own Pacific coast, California endured five of the six biggest wildfires in its history. Now, many of the biggest emitters in the region have recognized the need to act urgently, as we saw in the ambitious pledges that they set out at COP26. In Glasgow, 15 Indo-Pacific countries, including Indonesia, signed the Global Methane Pledge to cut emissions by 30 percent over the next decade. If all the biggest emitters join us, that would do more to reduce warming than taking every ship out of the seas and every plane out of the skies. But it would be a mistake to think about climate only through the prism of threats. Here is why: every country on the planet has to reduce emissions and prepare for the unavoidable impacts of climate change. And that necessary transformation to new technologies and new industries also offers a once-in-a-generation opportunity to create new, good-paying jobs. We believe that opportunity runs through the Indo-Pacific, and we’re already working with our partners to seize it. In the last five years alone, the United States has mobilized more than $7billion in renewable energy investments in the region. As we step up our efforts, we’re bringing to bear the unique constellation of partnerships that we’ve built up: multilateral organizations and advocacy groups, businesses and philanthropies, researchers and technical experts. Consider the Clean EDGE Initiative that we’re launching this month, which will bring together the expertise and innovation of the U.S. Government and private sector to help advance clean energy solutions across the region. Consider the more than $20 million that President Biden recently committed to a U.S.-ASEAN Climate Futures initiative, or the $500 million in financing announced just last week by the U.S. International Development Finance Corporation to help build a solar manufacturing facility in Tamil Nadu, India. The factory, being built by the American company First Solar, will have an annual capacity of 3.3 gigawatts. That’s enough to power more than two million homes. Building and operating this facility will create thousands of jobs in India, the majority for women, and hundreds more jobs in the United States. And that’s just one of the ways in which the United States will help India reach its ambitious goal of 500 gigawatts of renewable energy capacity by 2030, and, in turn, help the world avoid a climate catastrophe. Now, we recognize that, even if the transition to a green economy produces a big increase in jobs, which we’re confident it will, not all of those positions will be filled by workers who lost jobs in old industries and old sectors during this transition. So we have an obligation that we are committed to, to bring everyone along. Fifth, and finally, we will bolster Indo-Pacific security. Threats are evolving. Our security approach has to evolve with them. We’ll seek closer civilian security cooperation to tackle challenges ranging from violate extremism, to illegal fishing, to human trafficking. And we’ll adopt a strategy that more closely weaves together all our instruments of national power– diplomacy, military, intelligence– with those of our allies and our partners. Our Secretary of Defense, Lloyd Austin, calls this “integrated deterrence.” And it’s about reinforcing our strengths so that we can keep the peace, as we’ve done in the region for decades. We don’t want conflict in the Indo-Pacific. That’s why we seek serious and sustained diplomacy with the DPRK, with the ultimate goal of denuclearizing the Korean Peninsula. We’ll work with allies and partners to address the threat posed by the DPRK’s nuclear and missile programs through a calibrated, practical approach, while also strengthening our extended deterrence. And that’s why President Biden told President Xi last month that we share a profound responsibility to ensure that the competition between our countries does not veer into conflict. We take that responsibility with the greatest of seriousness, because the failure to do so would be catastrophic for all of us. On February 14th, 1962, the United States Attorney General, Robert F. Kennedy, came to speak at this university. He talked about the enduring struggles that our people shared, which, he said, had to be carried forward by young people like the students here today. And he quoted something that his brother, John F. Kennedy, then President of the United States, said about our vision for the world. President Kennedy said, “Our basic goal remains the same: a peaceful world, a community of free and independent states, free to choose their own future and their own system, so long as it does not threaten the freedom of others.” For all that’s changed in the nearly 70 years since President Kennedy spoke those words, it’s remarkable how much that vision aligns with the one we share. And the reason I am so grateful to be able to speak about this here at this university, with students and alumni of so many of our youth leadership programs present, is because you are the ones still today who will carry forward that vision. As you do, know that you have people across the Indo-Pacific, including in the United States, whose hopes and fates are tied up with yours, and who will be your steadfast partners in making the Indo-Pacific, this region that we share, more open and more free. Thanks so much for listening. (Applause.) By U.S. Embassy Bangkok | 23 December, 2021 | Topics: East Asia & Pacific, Events, Speeches, U.S. Secretary of State | Tags: Indo-Pacific
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: โครงการนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยฝึกงานประจำปี 2565 ในโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) ร่วมกับกองทุนโบราณสถานโลก (WFP) ด้วยเงินสนับสนุนจากฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ประกาศ กองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund) และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ประกาศเปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงานในโครงการฝึกงานประจำปี 2565 สำหรับโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) นับตั้งแต่การก่อตั้งกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation) หรือ AFCP เมื่อ พ.ศ. 2544 กองทุน AFCP ได้ช่วยอนุรักษ์โบราณสถานทางวัฒนธรรม วัตถุทางวัฒนธรรม และรูปแบบการแสดงออกทางวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก มรดกทางวัฒนธรรมคงอยู่ในฐานะที่เป็นเครื่องย้ำเตือนถึงผลงานและประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ สหรัฐฯ ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้นำในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ได้แสดงให้เห็นถึงการเคารพในวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ โครงการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน AFCP ครอบคลุมตั้งแต่การอนุรักษ์สิ่งปลูกสร้างเก่าแก่และทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ การประเมินและอนุรักษ์เอกสารหายากและของสะสมของพิพิธภัณฑ์ การอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ ตลอดจนการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคงานฝีมือแบบดั้งเดิมและภาษาพื้นเมืองที่เสี่ยงต่อการสูญหาย ด้วยเงินสนับสนุนของกองทุน ACFP นี้ กองทุนโบราณสถานโลกและกรมศิลปากร อยู่ระหว่างดำเนินการโครงการความร่วมมือระยะยาว เพื่อดำเนินการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม สิ่งก่อสร้างศตวรรษที่ 17 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการนักศึกษามหาวิทยาลัยไทยฝึกงานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อการศึกษาของฝ่ายการทูตสาธารณะ สถานทูตสหรัฐฯ ซึ่งร่วมกับกองทุนโบราณสถานโลกจัดขึ้นภายใต้โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีสัญชาติไทยเข้าร่วม ในปี 2565 นี้ การฝึกงานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1) ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน – 27 พฤษภาคม 2565 และ 2) ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน – 29 กรกฎาคม 2565 ในแต่ละช่วงเวลา จะมีนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกจำนวน 2 คน (รวมทั้งสิ้น 4 คน) และฝึกงานเป็นเวลา 6 สัปดาห์ (40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการติดต่อให้มาสัมภาษณ์ และประกาศรายชื่อภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 *ผู้เข้าร่วมโครงการจะไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการฝึกงาน อย่างไรก็ตาม กองทุนโบราณสถานโลกจะสนับสนุนค่าที่พักและค่าอาหารตลอดระยะเวลาการฝึก **นักศึกษาฝึกงานจะได้รับประกาศนียบัตรหลังเสร็จสิ้นโครงการและผ่านการประเมินโดยผู้จัดการโครงการ นักอนุรักษ์ และช่างอนุรักษ์ ***การเข้าร่วมโครงการฝึกงานมิได้รับประกันถึงการจ้างงานที่กองทุนโบราณสถานโลกในอนาคต นักศึกษาที่สนใจสามารถส่งใบสมัคร พร้อมแนบหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักศึกษา ระเบียนแสดงผลการเรียน เอกสารรับรองการได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบโดส และบัตรประจำตัวประชาชน มาที่อีเมล afcpwatchai@gmail.com ภายในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 25 มกราคม 2565 พร้อมตั้งชื่ออีเมลด้วยข้อความต่อไปนี้ “2022 AFCP Wat Chai Intern Program – ชื่อ-นามสกุลผู้สมัคร” สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1rWSJ8iwDu6VC9fi5ysfXBAw4RQVVmRpC/view?usp=sharing หากต้องการตรวจสอบคุณสมบัติว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการหรือไม่ ผู้ต้องการสมัครสามารถส่งคุณสมบัติสั้น ๆ เพียง 1 ย่อหน้า มาให้พิจารณาเบื้องต้นได้ที่อีเมล afcpwatchai@gmail.com ก่อนหมดเขตรับสมัคร สถานที่ปฏิบัติงาน: วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ มีสัญชาติไทย เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีแบบเต็มเวลา ชั้นปีที่ 3 หรือชั้นปีที่ 4 ในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย และยังเหลือภาคการศึกษาอีกอย่างน้อย 1 ภาค ก่อนสำเร็จการศึกษา มีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.80 มีเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบโดส (เฉพาะวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลกเท่านั้น) ในกรณีที่ยังไม่มีเอกสารรับรองก่อนการสัมภาษณ์ นักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วมโครงการสามารถยื่นเอกสารดังกล่าวก่อนเริ่มโครงการได้ มีความรู้ภาษาอังกฤษแบบใช้งานได้ สามารถทำงานกลางแจ้งได้ สามารถทำงานบนที่สูงบนนั่งร้านได้ มีทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ดี และสามารถทำงานร่วมกับผู้ที่มีภูมิหลังแตกต่าง ตลอดจนมีความเข้าใจและเคารพความหลากหลาย สามารถทำงานในสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนและในสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ท้าทายได้ สามารถดูแลสาธารณสมบัติของโครงการได้ ทั้งสถานที่ปฏิบัติงานในวัดไชยวัฒนารามและบ้านพัก คำบรรยายลักษณะงาน ประเมินและวิเคราะห์สภาพวัสดุ และจัดทำแผนผังแสดงความเสียหาย จัดเก็บเอกสารความก้าวหน้าการบูรณะ วิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุเพื่อการฟื้นฟูบูรณะในอนาคต สนับสนุนงานบูรณะอิฐและปูนฉาบ สนับสนุนงานบูรณะเพดานไม้และลวดลายประดับ สนับสนุนงานบูรณะพระพุทธรูปที่มีการลงรักและลวดลายประดับ ตลอดจนงานบูรณะสีผนัง วางแผนและดำเนินการบูรณะ (การฝึกตามความสนใจ) ภายในวัดไชยวัฒนาราม ตลอดระยะเวลาการฝึก นักศึกษาจะได้มีส่วนร่วมในกระบวนการบูรณะทุกระยะ โดยมีสาระสังเขปดังนี้ การอนุรักษ์ฟื้นฟู การออกแบบ การตรวจสอบ การวิเคราะห์สถานะของการบูรณะ โครงสร้างของกระบวนการผลิต การจัดเตรียมสถานที่ก่อสร้างและโรงปฏิบัติงาน งานด้านโลจิสติกส์ การบริหารงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการโครงการของกรมศิลปากร ความรู้เกี่ยวกับภาพรวมกฎหมายด้านความปลอดภัย ความรู้เกี่ยวกับระบบการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย ซึ่งเป็นไปตามระเบียบในปัจจุบัน เทคนิคและวิธีการทำงานเพื่อการฟื้นฟูบูรณะ (งานอิฐและปูนฉาบ งานบูรณะเพดานไม้และพระพุทธรูปที่มีการลงรักและมีลวดลายประดับ งานอนุรักษ์สีผนัง) ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ความรู้เกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในงานอนุรักษ์ ระบบการจัดเก็บเอกสาร การวิเคราะห์จดหมายเหตุและลำดับชั้นหิน เป็นต้น การช่วยเหลือในกิจกรรมให้ความรู้เพื่อสาธารณะต่าง ๆ (ถ่ายภาพ แก้ไขรูปภาพ เขียนสรุปกิจกรรม) การเขียนบล็อกและรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทักษะที่จำเป็น สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office และอินเตอร์เน็ตได้ มีทักษะการแก้ไขรูปภาพเบื้องต้น มีความรู้ด้านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Facebook, Line และ Instagram มีทักษะการสื่อสารที่ดีเยี่ยม สามารถทำงานโดยอิสระและทำงานเป็นกลุ่มได้ดี มีความรู้ภาษาอังกฤษแบบใช้งานได้ มีทัศนคติที่ดีและเปิดกว้างกับทุกๆงาน การศึกษา ผู้สมัครต้องกำลังศึกษาอยู่ในสาขาที่เกี่ยวกับศิลปะ ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ การจัดการวัฒนธรรม หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อคุณวราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล สถาปนิกและผู้จัดการโครงการกองทุนโบราณสถานโลก ที่หมายเลขโทรศัพท์ 088-456-6219 อีเมล afcpwatchai@gmail.com หรือคุณกัญชลี จิตต์แจ้ง ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านวัฒนธรรม ฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-205-4597 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) สามารถไปที่เว็บไซต์กองทุนโบราณสถานโลก https://www.wmf.org/slideshow/five-years-work-wat-chaiwatthanaram หรืออ่านข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน AFCP ได้ที่ https://eca.state.gov/cultural-heritage-center/ambassadors-fund-cultural-preservation ————————————————————————————————— *กรุณาใช้ระบบปฏิบัติการ Windows OS ในการกรอกใบสมัคร* **เอกสารประกอบการสมัครทุกฉบับต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf เท่านั้น** ***ขอสงวนสิทธิ์งดรับเอกสารประกอบการสมัครที่อัปโหลดอยู่บนระบบ Cloud (เช่น Google Drive, One Drive, Dropbox)*** โดย U.S. Embassy Bangkok | 17 ธันวาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว
The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) Wat Chaiwatthanaram Conservation Project in Ayutthaya 2022 Thai University Student Intern Program with World Monuments Fund as part of a grant from the Public Affairs Section, U.S. Embassy, Bangkok, Thailand Announcement The World Monuments Fund and the Thai Ministry of Culture’s Fine Arts Department, in partnership with U.S. Embassy Bangkok, are pleased to announce the 2022 call for applications for the U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) Wat Chaiwatthanaram Conservation Project Internship Opportunity. Since its inception in 2001, AFCP has helped preserve cultural sites, cultural objects, and forms of traditional cultural expression in Thailand and around the world. Cultural heritage endures as a reminder of the contributions and historical experiences of humanity. By taking a leading role in efforts to preserve cultural heritage, the U.S. shows its respect for other cultures. AFCP-supported projects include the restoration of ancient and historic buildings, assessment and conservation of rare manuscripts and museum collections, preservation and protection of important archaeological sites, and the documentation of vanishing traditional craft techniques and indigenous languages. Under the AFCP Grants Program, World Monuments Fund and the Fine Arts Department are undertaking a long-term collaborative project to preserve the 17th-century Wat Chaiwatthanaram in Ayutthaya. The Thai University Student Intern Program is part of the World Monuments Fund work with the U.S. Embassy’s Public Diplomacy educational outreach activities at Wat Chaiwatthanaram Conservation Project and is designed for students who are Thai citizens. In 2022, the internship will be offered for two (2) sessions. Session 1: From April 4, 2022 through May 27, 2022 Session 2: From June 6, 2022 through July 29, 2022 Two (2) interns will be selected for each session (total of four interns) and internship duration is six weeks (40 hours per week). Only short-listed candidates will be invited for interviews and selected candidates will be notified by February 2, 2022. Note that: *This internship is an unpaid role, but housing and meals will be provided by the World Monuments Fund throughout the internship. **Student interns will beofferedan internship certificate after completing the program and passing an evaluation conducted by the project manager, conservators, and technicians. **This internship program doesn’t guarantee a future employment at the Word Monuments Fund. Interested students should submit an application form with verification of student status, transcript, fully vaccinated certificate and Thai ID card via email to afcpwatchai@gmail.com with the subject line: “2022 AFCP Wat Chai Intern Program – Applicant Name” by midnight of January 25, 2022. Please download application form from https://drive.google.com/file/d/1rWSJ8iwDu6VC9fi5ysfXBAw4RQVVmRpC/view?usp=sharing To determine if your qualification fits into the internship requirements, interested applicants can email a short one-paragraph of their qualifications to afcpwatchai@gmail.com any time before the deadline for an initial review. Job Location: Wat Chaiwatthanaram, Ayutthaya, Thailand Applicant must meet the following criteria: Be a Thai citizen; Be a full-time third or fourth year undergraduate student at an accredited university located in Thailand, with at least one semester remaining before graduation/certification; Minimum 2.80 GPA; Proof of being fully vaccinated against Covid-19 (only WHO approved vaccines are accepted).In case, a vaccination proof cannot be acquired before an interview appointment, successful applicants can submit it before the internship starts. Possess working knowledge of English; Able to work outdoors; Able to work at height on scaffolding; Possess strong interpersonal skills and can adapt to people from different backgrounds, understanding and respecting diversity; Able to work in changeable weather and a physically-challenging environment; Must take care of the project’s shared assets, both at the Wat Chai worksite and the guesthouse. Job Description: Assess and analyze material conditions and map deteriorations; Document conservation process and analyze material deterioration for future intervention; Assist with brick and stucco intervention; Assist with wood ceilings and their decorations intervention; Assist with Buddha statues,lacquered and decorated surfaces, wall painting intervention; Plan and conduct intervention plan (independent exercise) at Wat Chaiwatthanaram; During the internship, the student is involved in all phases of the restoration process briefly described below: Preservation, design, diagnostics; Analysis of the state of preservation; Organization of the production process; Construction site/workshop set-up; Logistic, administrative and legislative aspects of the sector; Relationship with Works Management and Fine Arts Department; Knowledge of the legislative panorama in the field of safety; Knowledge of safety operating systems according to current regulations; Techniques and working methods for conservative restoration (bricks and stucco intervention, wood ceilings and Buddha statues with lacquered and decorated surfaces, wall paintings conservation); Practical experience; Knowledge of conservative materials in use; Systems of documentation, archiving and stratigraphic analysis, etc. Assist with Public Education Outreach activities (take/edit photos, write activity summary); Write blogs and reports about activities in Thai and English. Skills Required: Demonstrate a proficiency in Microsoft office products and Internet; Basic photo editing skills; Good knowledge of social media, especially Facebook, Line and Instagram; Excellent communication skills, able to work well independently and as part of a group; Working knowledge of English language; Positive, can-do attitude. Education: Candidate must be currently enrolled in a university majoring in arts/fine and applied arts, architecture, cultural management, or related fields to conservation work. For more information, please contact Ms. Waraporn Suwatchotikul, WMF Project Architect and Manager, at Tel: 088-456-6219, Email: afcpwatchai@gmail.com or Ms. Kanchalee Jitjang, Senior Cultural Specialist at Public Affairs Section of U.S. Embassy Bangkok, at Tel: 02-205-4597. For additional information about the AFCP Wat Chaiwatthanaram Conservation project, please visit the WMF website https://www.wmf.org/search/Wat%20Chaiwatthanaram, and for information about the AFCP Program, please visit https://eca.state.gov/cultural-heritage-center/ambassadors-fund-cultural-preservation. ————————————————————————————————— *Please use Windows OS when filling out Application form* ** Please send all documents in PDF format only** *** Supporting documents on any Cloud Storage Provider (e.g. Google drive, One drive, Dropbox) are NOT acceptable*** By U.S. Embassy Bangkok | 17 December, 2021 | Topics: Culture, News | Tags: AFCP
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: แถลงการณ์จากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เน็ด ไพรซ์ เกี่ยวกับการยกเลิกกำหนดการเยือนไทยของรัฐมนตรีบลิงเคน 15 ธันวาคม 2564 นายแอนโทนี เจ. บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พูดคุยกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในวันนี้ (15 ธันวาคม 2564) เพื่อแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ไม่สามารถเดินทางเยือนกรุงเทพมหานครในสัปดาห์นี้ได้ โดยให้เหตุผลว่า ตนจะเดินทางกลับไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เนื่องด้วยจำต้องระมัดระวังอย่างสูงเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดจนปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของคณะผู้ติดตามและบุคคลอื่น ๆ ที่อาจพบเจอตามกำหนดการเดิม ทั้งนี้ รัฐมนตรีบลิงเคนได้ส่งคำเชิญถึงรัฐมนตรีดอนให้เดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อมีโอกาส และกล่าวว่าตนหวังจะได้เดินทางมายังประเทศไทยโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งสองฝ่ายต่างเน้นย้ำว่าจะยังคงเสริมสร้างพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ผ่านการหารือและดำเนินการต่าง ๆ ร่วมกันในอนาคตต่อไป โดย U.S. Embassy Bangkok | 16 ธันวาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, เอกสารข่าว
Statement from State Department Spokesperson Ned Price Regarding the Cancellation of Secretary Blinken’s Visit to Thailand December 15, 2021 Secretary of State Antony J. Blinken spoke today with Thai Deputy Prime Minister and Foreign Minister Don Pramudwinai. The Secretary expressed his deep regret to the Foreign Minister that he would not be able to visit Bangkok this week. He explained that, in order to mitigate the risk of the spread of COVID-19 and to prioritize the health and safety of the U.S. traveling party and those they would otherwise come into contact with, the Secretary would be returning to Washington, D.C. out of an abundance of caution. The Secretary extended an invitation for the Foreign Minister to visit Washington, D.C. at the earliest opportunity and noted that he looked forward to traveling to Thailand as soon as possible. They affirmed that they would use the upcoming engagements to further deepen the U.S.-Thai alliance. By U.S. Embassy Bangkok | 16 December, 2021 | Topics: News, Press Releases
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: เพราะทุก ๆ วันคือวันที่เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างภาคภูมิใจ สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิซิสเตอร์ ศูนย์ชุมชนคนข้ามเพศ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “เติมไฟ เติมฝัน” เสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนข้ามเพศในไทยเมื่อวันที่ 4-6 ธันวาคมที่ผ่านมา ในกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมทั้ง 21 คนได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในงานพิทักษ์สิทธิ และร่วมกันเขียนเส้นทางขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของหญิงข้ามเพศในไทย โดยมีคุณฮั้ว ณชเล บุญญาภิสมภาร นักกิจกรรมข้ามเพศมากประสบการณ์จากสหรัฐฯ และคุณจ๊อด สุมาลี โตกทอง นักกิจกรรมเพื่อสิทธิสตรี เป็นผู้นำการสนทนา โดย U.S. Mission Thailand | 14 ธันวาคม, 2021 | ประเภท: ฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม, สถานทูต, เหตุการณ์
On December 4-6, U.S. Embassy Bangkok partnered with Sisters Foundation to host a workshop to empower transgender human rights defenders (THRDs) in Thailand. Twenty-one THR activists participated in interactive activities to be better equipped to defend trans rights. The participants also created a timeline of the trans-women’s rights movement in Thailand. The workshop was facilitated by Khun Nachale “Hua” Boonyapisomparn, a prominent transgender activist with extensive experience in the United States, and Khun Sumalee Tokthong, a prominent women’s rights activist. Every day is Pride Day! By U.S. Embassy Bangkok | 14 December, 2021 | Topics: Art & Culture, embassy, Events, Public Affairs
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: รัฐมนตรีบลิงเคนเดินทางเยือนลิเวอร์พูล จาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพมหานคร และโฮโนลูลู ถ้อยแถลง เน็ด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แอนโทนี เจ. บลิงเคน จะเดินทางเยือนสหราชอาณาจักร อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และฮาวาย ระหว่างวันที่ 9-17 ธันวาคม 2564 รัฐมนตรีบลิงเคนจะเดินทางเยือนลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร เป็นเมืองแรก ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศและการพัฒนาของกลุ่มประเทศ G7 รัฐมนตรีบลิงเคนจะหารือกับสมาชิกของกลุ่ม G7 และประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม อันได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย สาธารณรัฐเกาหลี และสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหลากหลายประเด็น เช่น ประเด็นภูมิศาสตร์การเมืองและความมั่นคง การจัดตั้งกองกำลังของรัสเซียตามแนวชายแดนยูเครน โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผ่านข้อริเริ่ม Build Back Better World (B3W) วัคซีนโรคโควิด-19 และความมั่นคงด้านสุขภาพโลก ตลอดจนการเติบโตในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จากนั้นรัฐมนตรีบลิงเคนจะเดินทางเยือนอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ระหว่างวันที่ 13-16 ธันวาคม ในกรุงจาการ์ตา รัฐมนตรีบลิงเคนจะกล่าวปาฐกถาเรื่องความสำคัญของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และเน้นย้ำลักษณะสำคัญของหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ กับอินโดนีเซีย ในมาเลเซีย รัฐมนตรีบลิงเคนจะผลักดันความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับมาเลเซียในการรับมือความท้าทายที่มีร่วมกัน ได้แก่ โรคโควิด-19 การสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น ตลอดจนการส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ในประเทศไทย รัฐมนตรีบลิงเคนจะยืนยันความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ต่อพันธไมตรีในสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐฯ กับไทย การทำงานเพื่อฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหลังการเกิดโรคระบาด และการรับมือสถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศ โดยในแต่ละประเทศดังกล่าว รัฐมนตรีบลิงเคนจะกล่าวถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นในพม่า ตลอดการเดินทางครั้งนี้ รัฐมนตรีบลิงเคนจะพบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ผู้นำภาคประชาสังคม นักธุรกิจ และพนักงานสถานทูตสหรัฐฯ สุดท้ายรัฐมนตรีบลิงเคนจะเดินทางไปยังโฮโนลูลู รัฐฮาวาย ในวันที่ 17 ธันวาคม เพื่อพบกับพลเรือเอก จอห์น อากีลีโน ผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก โดย U.S. Embassy Bangkok | 9 ธันวาคม, 2021 | ประเภท: เอกสารข่าว
Secretary Blinken’s Travel to Liverpool, Jakarta, Kuala Lumpur, Bangkok, and Honolulu PRESS STATEMENT NED PRICE, DEPARTMENT SPOKESPERSON DECEMBER 8, 2021 Secretary of State Antony J. Blinken will travel to the United Kingdom, Indonesia, Malaysia, Thailand, and Hawaii from December 9-17, 2021. Secretary Blinken will first travel to Liverpool, United Kingdom, December 10-12 to attend the G7 Foreign and Development Ministers’ Meeting. The Secretary looks forward to speaking with G7 members and additional countries joining as guests, including Australia, India, the Republic of Korea, and members of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN). Secretary Blinken will discuss a range of issues, including geopolitical and security matters, the buildup of Russian forces on Ukraine’s border, development infrastructure through the Build Back Better World (B3W) initiative, COVID-19 vaccines and global health security, and growth in the Indo-Pacific region. Secretary Blinken will then travel to Indonesia, Malaysia, and Thailand, December 13-16. In Jakarta, the Secretary will deliver remarks on the significance of the Indo-Pacific region and underscore the importance of the U.S.-Indonesia Strategic Partnership. In Malaysia, he will advance the U.S.-Malaysia partnership on addressing shared challenges, including COVID-19, building resilient supply chains, and ensuring a free and open Indo-Pacific region. In Thailand, Secretary Blinken will reaffirm the U.S. commitment to the U.S.-Thailand treaty alliance, working toward post-pandemic economic recovery, and addressing the climate crisis. In each country, Secretary Blinken will address the worsening crisis in Burma. Throughout the trip, Secretary Blinken will meet with government officials, civil society leaders, business stakeholders, and U.S. embassy personnel. The Secretary will conclude his travel with a visit to Honolulu, Hawaii, on December 17 to meet with INDOPACOM Commander Admiral John Aquilino. By U.S. Embassy Bangkok | 9 December, 2021 | Topics: Press Releases, U.S. Secretary of State
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ผู้ช่วยรัฐมนตรีคริเทนบริงค์ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางเยือนกรุงเทพฯ ในวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และไทย โดยได้พบปะกับภาคีด้านกิจการมนุษยธรรม นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลไทย ซึ่งรวมไปถึงพลเอก สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือถึงการดำเนินการด้านการฟื้นตัวจากโรคโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับชาวพม่า โดย U.S. Embassy Bangkok | 7 ธันวาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
On December 3, Assistant Secretary Kritenbrink was in Bangkok to strengthen the United States’ partnership with Thailand. Assistant Secretary Kritenbrink, who leads the State Department’s Bureau of East Asian and the Pacific Affairs, met with humanitarian partners, academics, and senior Thai officials, including National Security Council Secretary-General Gen. Supot Malaniyom, Minister of Natural Resources and Environment Varawut Silpa-archa, and Permanent Secretary for Foreign Affairs Thani Thongpakdi, to discuss COVID-19 recovery efforts, climate change, and humanitarian assistance for the people of Burma. By U.S. Embassy Bangkok | 7 December, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: Announcement for 2022-2023 Global Undergraduate Exchange Program (Global UGRAD) ทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยนสำหรับมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ฝ่ายข่าวสารและวัฒนธรรม สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เปิดรับสมัครแข่งขันเพื่อรับทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับมหาวิทยาลัย ในโครงการ Global Undergraduate Exchange Program (ทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยนสำหรับมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่นอกกรุงเทพฯ) สำหรับ 1 ภาคการศึกษา (ระยะเวลา 4-5 เดือน) โดยเริ่มเรียนในภาคการศึกษา ฤดูใบไม้ร่วงปี 2022 หรือ ฤดูใบไม้ผลิปี 2023 โครงการนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาไทยที่มีผลการเรียนดีและมีภาวะความเป็นผู้นำ ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ เพื่อเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ โดยโครงการมุ่งหวังให้ผู้ได้รับการคัดเลือกได้รับภาวะผู้นำและเรียนรู้ชีวิต สังคม วัฒนธรรมและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ประโยชน์ที่จะได้รับสำหรับทุน Global Undergraduate Exchange Program ได้รับทุนแลกเปลี่ยนเต็มจำนวนจาก The Bureau of Educational and Cultural Affairs (ECA) กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยมี World Learning (ประเทศสหรัฐอเมริกา) และฝ่ายข่าวสารและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เป็นผู้บริหารทุนการศึกษา เข้าเรียนในหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันอุดมศึกษา และพักร่วมกับเพื่อนนักศึกษาชาวอเมริกันหรือครอบครัวชาวอเมริกัน ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชนเป็นเวลา 20 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา และร่วมประชุมสัมมนาร่วมกับผู้รับทุน Global UGRAD จากประเทศอื่น ๆ ในหัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำและทักษะในการทำงาน ในกรณีที่ผู้สมัครไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีพอสำหรับการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาที่สหรัฐฯ ทางคณะกรรมการจะพิจารณาให้ผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกเข้าอบรมภาษาอังกฤษก่อนเข้ารับทุน ได้รับการประสานงานในภาพรวม การปฐมนิเทศ และการดูแล จากฝ่ายข่าวสารและวัฒนธรรม สถานทูตสหรัฐอเมริกา และมีโอกาสสร้างเครือข่ายกับผู้ได้รับทุนท่านอื่น ๆ ทั้งที่จะไปในปีเดียวกัน รวมถึงศิษย์เก่าของโครงการชาวไทยและอเมริกัน ผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Global UGRAD และศึกษาคุณสมบัติและขั้นตอนการสมัครได้ที่ http://www.worldlearning.org/ugrad คุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับสมัครและต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมจนถึงปัจจุบันตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป นักศึกษาที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย แต่สามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถสมัครทุนนี้ได้ ผู้สมัครต้องเป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 เป็นต้นไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีอื่น จะต้องเหลือระยะเวลาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาก่อนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหลังจากที่กลับจากสหรัฐฯ (นักศึกษาไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ Global UGRAD ในภาคเรียนสุดท้ายของการศึกษาระดับปริญญาตรี นักศึกษาจะต้องกลับมาเรียนและจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทย) นักศึกษาในทุกสาขาวิชาสามารถสมัครได้ ทั้งนี้ ในบางสาขาวิชา เช่น กฎหมาย แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ใช้ในการทดลอง อาจจะมีข้อจำกัดในการลงเรียนวิชาเอกตามสาขาข้างต้น หากได้รับการคัดเลือกให้ร่วมโครงการ นิสิต/นักศึกษาอาจต้องลงเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิชาเอกแทน มีผลการเรียนดี มีภาวะผู้นำ ทำกิจกรรมเพื่อชุมชนหรือกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยมีประสบการณ์หรือมีประสบการณ์น้อยมากในการเดินทางหรือรับทุนไปต่างประเทศ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ต้องได้รับอนุญาตเข้าร่วมโครงการจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัดที่ผู้สมัครกำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและเอกสารครบถ้วน รวมถึงต้องสามารถเข้าร่วมการสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง(หรือผ่าน Zoom ในกรณีที่สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 รุนแรงเพิ่มขึ้น) เงื่อนไข ทุน Global UGRAD เป็นทุนที่ไม่มีปริญญา แต่อาจโอนถ่ายหน่วยกิตได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยต้นสังกัดของผู้สมัคร โดยผู้สมัครต้องรับผิดชอบการดำเนินการทั้งหมดเอง ผู้ที่ได้รับทุนจะต้องเดินทางกลับทันทีหลังจากสิ้นสุดโครงการ สถานทูตสหรัฐฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาเฉพาะนักศึกษาที่ได้รับการเสนอชื่อจากมหาวิทยาลัยที่ผู้สมัครสังกัดเท่านั้น ผู้ได้รับทุนไม่สามารถเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าร่วมโครงการได้ โดยทาง World Learning เป็นผู้ดำเนินการเลือกมหาวิทยาลัยให้ตามความเหมาะสม กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ เป็นผู้ตัดสินการคัดเลือกผู้สมัคร เอกสารสำคัญที่ต้องส่ง มีดังนี้ เอกสารใบสมัครที่พิมพ์จากระบบใบสมัครออนไลน์ Online Application http://ow.ly/s2jS50CTmBr ซึ่งต้องพิมพ์เอกสารก่อนระบบปิดรับสมัครภายในวันที่ 6 มกราคม 2565 เรียงความภาษาอังกฤษ 2 ข้อ ตามหัวข้อที่ระบบกำหนด ข้อละ 450-600 คำ Official Transcript (ภาษาอังกฤษ) ตัวจริง ที่ออกโดยมหาวิทยาลัย มีลายเซ็นผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและตรามหาวิทยาลัยกำกับ (ผู้สมัครไม่ต้องเซ็นรับรองเนื่องจากเป็นเอกสารฉบับจริง) จดหมายแนะนำ/สนับสนุนเป็นภาษาอังกฤษ (Letters of Recommendation) 2 ฉบับ โดยใช้แบบฟอร์มที่ดาวโหลดได้จากระบบ ฉบับที่ 1 รับรองโดยอาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์มหาวิทยาลัยในสาขาวิชาเอก ที่นิสิต/นักศึกษากำลังเรียน/เคยเรียนด้วย ฉบับที่ 2 รับรองโดยบุคคลอื่นที่นิสิต/นักศึกษาเคยร่วมงานด้วย เช่น หัวหน้างานที่เคยฝึกงาน, โค้ช, หรือหัวหน้าฝ่ายการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย (เพื่อนหรือบุคคลในครอบครัวไม่สามารถออกจดหมายแนะนำ/สนับสนุนได้) สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง ในกรณีที่ไม่มีหนังสือเดินทาง ให้แนบสำเนาบัตรประชาชนแทน และเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง สำเนาเอกสารคะแนน TOEFL หรือ IELTS ที่ยังไม่หมดอายุ (เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง) หากไม่มี ไม่ต้องส่งเอกสารฉบับนี้ หมายเหตุ: เอกสารสำคัญข้างต้นใช้อย่างละ 1 ชุด (สแกนและอัพโหลดเอกสารทั้งหมด เข้าระบบ Online Application และส่งพร้อมใบสมัครไปยังมหาวิทยาลัยต้นสังกัด เพื่อทำการคัดเลือกเบื้องต้น) ขั้นตอนการสมัคร เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – 6 มกราคม 2565 เวลา 12:00 น. เที่ยงวันตามเวลาในประเทศไทย ผู้สนใจสมัครชิงทุน Global Undergraduate Exchange Program (Global UGRAD) สามารถดาวน์โหลดระเบียบการและข้อแนะนำการกรอกใบสมัคร ได้จากเว็บไซต์ https://www.worldlearning.org/program/global-undergraduate-exchange-program/ และกรอกใบสมัครแบบออนไลน์ (Online Application) พร้อมอัพโหลดเอกสารสำคัญข้างต้นเข้าระบบ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของ World Learning ได้ที่ http://ow.ly/s2jS50CTmBr หากเลยกำหนดแล้ว ระบบจะปิดการรับสมัคร และผู้สมัครจะไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูล หรือพิมพ์เอกสารของตนเองได้ ผู้สมัครพิมพ์เอกสารใบสมัครทุกหน้าจากระบบ พร้อมแนบเอกสารสำคัญประกอบตามรายละเอียดข้างต้น และส่งไปที่ กองวิเทศสัมพันธ์หรือสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย/วิทยาเขตต้นสังกัดของผู้สมัครเท่านั้น เพื่อทำการคัดเลือกภายใน โดยมหาวิทยาลัยอาจกำหนดวันปิดรับสมัครภายในเอง สถานทูตสหรัฐฯขอสงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาใบสมัครที่เอกสารไม่ครบสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยทำการคัดเลือกภายใน และเสนอรายชื่อนักศึกษาที่มีคุณสมบัตรครบถ้วนจำนวน 2 คนต่อวิทยาเขต โดยนำส่งเอกสารตามที่กำหนดในข้อ 2 ของนักศึกษาทั้ง 2 คน พร้อมหนังสือนำส่งจากมหาวิทยาลัย พร้อมข้อมูลสำหรับการติดต่อผู้ประสานงานหลักของมหาวิทยาลัย ให้คุณอุษาวดี เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการ ประจำแผนกข่าวสารและวัฒนธรรม สถานทูตสหรัฐฯ ภายในวันที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 16.00 น. ทางอีเมล Usawadee@state.gov หรือทางไปรษณีย์ที่ คุณ อุษาวดี เกตุพิชัย ฝ่ายข่าวสารและวัฒนธรรม สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย 95 ถ. วิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 สถานทูตฯขอสงวนสิทธิ์งดพิจารณาผู้สมัครจากมหาวิทยาลัยที่มิได้ส่งรายชื่อภายในวันดังกล่าว โดยจะยึดวันที่ ๆ ส่งไปรษณีย์ ตารางการดำเนินงาน (วันและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) 1 พฤศจิกายน 2564 เปิดรับสมัครทุน 2022-2023 Global Undergraduate Exchange Program ทางระบบ Online Application 6 มกราคม 2565 ปิดรับสมัครในระบบ Online Application 3-17 มกราคม 2565 มหาวิทยาลัยทำการคัดเลือกภายใน (หากคัดเลือกเสร็จก่อนกำหนด สามารถส่งรายชื่อและเอกสารได้ทันที) 21 มกราคม 2565 ปิดรับเอกสารเสนอชื่อตัวแทนจากทางมหาวิทยาลัย (อีเมลรายชื่อมาที่ Usawadee@state.gov หรือทางไปรษณีย์) 8 กุมภาพันธ์ 2565 ฝ่ายข่าวสาร และวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ส่งอีเมลถึงผู้ได้รับการคัดเลือกสัมภาษณ์ โดยจะจัดส่งลิ้งค์ซูมทางอีเมล 15 กุมภาพันธ์ 2565 สอบสัมภาษณ์ที่ฝ่ายข่าวสาร และวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ 15 เมษายน 2565 ฝ่ายข่าวสาร และวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ แจ้งผลการคัดเลือกให้แก่ผู้สมัคร และมหาวิทยาลัย 29 เมษายน 2565 ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายสอบ TOEFL iBT (รายละเอียดการสอบจะแจ้งในภายหลัง) กรกฎาคม 2565 ผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารวมการปฐมนิเทศก่อนเดินทาง สิงหาคม-พฤศจิกายน 2565 นักศึกษาเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมโครงการใน ภาคการศึกษา ฤดูใบไม้ร่วง มกราคม-พฤษภาคม 2566 นักศึกษาเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมโครงการใน ภาคการศึกษา ฤดูใบไม้ผลิ หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ โดยส่งอีเมลล์มาที่ Usawadee@state.gov โดยระบุหัวข้อ “Global UGRAD 2022-2023” ** ฝ่ายข่าวสารและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับพิจารณาใบสมัคร ที่ไม่ได้ส่งจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัดตามเวลาที่กำหนด โดย U.S. Embassy Bangkok | 29 พฤศจิกายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, ทุนการศึกษาและโครงการแลกเปลี่ยน
The Global Undergraduate Exchange Program (Global UGRAD) provides a diverse group of emerging student leaders with a scholarship for one semester of non-degree academic study at a U.S. college or university. Global UGRAD is a program of the Bureau of Educational and Cultural Affairs of the United States Department of State, and aims to recruit participants from underrepresented backgrounds who have not had other opportunities to study in the United States. Successful applicants can expect an in-depth exposure to U.S. society, culture, and academic institutions, as well as opportunities to enhance their professional skills. All participants will be enrolled in full-time, non-degree, undergraduate coursework chosen from their host institution’s existing curriculum. Participants will be required to take one, 3-credit U.S. studies course to enhance their understanding of the United States. Participants will live in campus housing facilities with American peers, and will be required to participate in twenty hours of community service. There will also be a virtual arrival orientation and an in-person end-of-program workshop. Eligibility: Applicants must be a Thai citizen for the Global UGRAD Program. Applicants must be studying in Thailand. Scholarships will be granted to students who currently are enrolled in full-time undergraduate programs only, having completed a minimum of their first semester of study. Participants must have at least one semester or an equivalent term to complete at their home institutions upon completion of the Global UGRAD Program. Applicants should demonstrate leadership potential through academic work, community involvement, and extracurricular activities. Applicants must achieve a minimum TOEFL score of 48iBT. Preference will be given to those who have had little or NO experience in the United States or outside of their home countries. Applicants are required to return directly to Thailand after the completion of the program. Applicants are over 18 years of age. Only shortlisted candidates will be contacted for an interview. The interviews will take place on February 15, 2022 at the Media and Cultural Section, U.S. Embassy Bangkok. If the COVID-19 pandemic situation deteriorates, we will conduct the interviews via Zoom, and we will share the link with interviewees. More information: Application Review Criteria:English (PDF 201KB) | Thai (PDF 190KB) Global UGRAD Timeline (PDF 118KB) For questions, contact: Usawadee@state.gov To apply, please go to https://webportalapp.com/sp/login/ugrad_student_application_2022 By U.S. Embassy Bangkok | 23 November, 2021 | Topics: News, Scholarships and Exchanges
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: วันนี้ สหรัฐอเมริกาส่งมอบวัคซีน mRNA ของโมเดอร์นาจำนวน 1 ล้านโดส เพื่อช่วยชีวิตผู้คนและสนับสนุนการต่อสู้โรคโควิด-19 ของไทย อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ, นายวิชชุ เวชชาชีวะ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ และนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมพิธีรับวัคซีน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การส่งมอบวัคซีนโมเดอร์นาครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่สหรัฐฯ ได้มอบวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ของไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดสให้แก่ไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนี้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด “การจัดส่งครั้งใหม่นี้เน้นย้ำถึงการสนับสนุนที่สหรัฐฯ มีให้แก่ไทยขณะที่เราทั้งสองชาติยืนเคียงบ่าเคียงไหล่เพื่อเอาชนะการระบาดใหญ่ทั่วโลกนี้ วัคซีนล็อตแรกของเราได้ช่วยไทยควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 และล็อตที่สองนี้จะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนประชากรให้ได้ร้อยละ 70 ภายในเดือนมกราคม อันเป็นการปูทางสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ” อุปทูตไมเคิล ฮีธ กล่าว วัคซีนโมเดอร์นาที่สหรัฐฯ มอบให้จะช่วยสนับสนุนการฉีดวัคซีนของไทยในขณะนี้ และเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนระหว่างที่ไทยดำเนินการตามแผนการเปิดประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจ สหรัฐฯ และไทยมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่พิเศษมาตั้งแต่การลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์เมื่อเกือบ 200 ปีที่แล้ว ในปัจจุบันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของเรายิ่งเข้มแข็งขึ้น และสหรัฐฯ กลายเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย เราภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของราชอาณาจักรไทย ผ่านการมอบวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การส่งมอบวัคซีนครั้งล่าสุดนี้ต่อยอดจากการลงทุนในไทยของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าความช่วยเหลือรวมกว่า 1,000 ล้านเหรียญตลอด 20 ปีที่ผ่านมา โดยในจำนวนนี้เป็นทุนสนับสนุนด้านสุขภาพเกือบ 214 ล้านเหรียญ นอกจากวัคซีนโควิด-19 จำนวน 2.5 ล้านโดสแล้ว สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องแก่ไทยเป็นมูลค่ารวมหลายสิบล้านเหรียญ นับตั้งแต่ที่โรคโควิด-19 เริ่มระบาด สหรัฐฯ ทำงานร่วมกับภาคีทั่วโลกเพื่อหยุดยั้งผลกระทบที่รุนแรงในด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ โดยได้ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 มากกว่า 250 ล้านโดสไปยังกว่า 100 ประเทศ ประธานาธิบดีไบเดนมุ่งมั่นในการกระจายวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไปถึงมือผู้คนทั้งหลายบนโลกใบนี้ การมอบวัคซีน mRNA รวม 2.5 ล้านโดสให้แก่ไทย และอีกหลายล้านโดสแก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย จะช่วยให้ไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเร่งฉีดวัคซีน ทำให้ผู้คนปลอดภัย และผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับโลก วัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นาพัฒนาขึ้นโดยบริษัทโมเดอร์นา ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ร่วมกับสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ สหรัฐฯ (NIAID) และสำนักงานวิจัยและพัฒนาชีวการแพทย์ขั้นสูง (BARDA) ทั้งนี้ องค์การอาหารและยาของทั้งสหรัฐฯ และไทย รวมถึงองค์การอนามัยโลก ได้รับรองการใช้วัคซีนดังกล่าวในกรณีฉุกเฉิน ดาวน์โหลดรูปถ่ายและวิดีโอได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/13uLiTr1fCpZ4V7GIZnMvK8dSSEE5YIU8 โดย U.S. Embassy Bangkok | 22 พฤศจิกายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
Today, the United States delivered one million life-saving doses of the Moderna mRNA vaccine to help Thailand fight COVID-19. Charge d’Affaires Michael Heath, Witchu Vejjajiva, Director-General of the Department of American and South Pacific Affairs, and Dr. Sophon Iamsirithavorn, Deputy Director-General of the Department of Disease Control attended the arrival ceremony at Suvarnabhumi Airport. This delivery of Moderna doses complements the historic shipment of 1.5 million Pfizer mRNA COVID-19 vaccine doses provided by the United States to Thailand in July of this year. “This new shipment reaffirms our support to Thailand as we stand shoulder-to-shoulder to overcome this global pandemic. While the first tranche of vaccines helped Thailand contain the COVID-19 outbreak, this second tranche will help Thailand reach its goal of vaccinating 70 percent of the population by January, paving the way for the country’s economic recovery,” said Chargé d’Affaires Michael Heath. The U.S.-provided Moderna doses will support Thailand’s ongoing vaccination efforts and boost public confidence as Thailand moves forward with plans to reopen and reenergize its economy. The United States and Thailand have had a special economic relationship since the signing of the Treaty of Amity and Commerce nearly 200 years ago. Today, our economic partnership is even stronger, and the United States is Thailand’s largest export market. The United States is proud to contribute to the Kingdom’s economic recovery by ensuring the availability of safe and effective vaccines. This latest vaccine delivery builds upon U.S. Government investments in Thailand of more than $1 billion in total assistance over the past 20 years, which includes nearly $214 million for health. In addition to these 2.5 million COVID-19 vaccine doses, the United States has provided tens of millions of dollars in COVID-19 related assistance to Thailand since the start of the outbreak. Working with partners across the globe to end the devastating public health and economic effects of this pandemic, the United States has so far delivered more than 250 million doses of COVID-19 vaccines to more than 100 countries. President Biden has committed to getting safe and effective shots in arms around the world. The provision of 2.5 million mRNA doses, and the millions of doses the United States is providing to neighboring countries, will help Thailand and the region accelerate vaccination campaigns, keep people safe, and speed up the global economic recovery. The Moderna COVID-19 vaccine was developed by the American company Moderna, the United States National Institute of Allergy and Infectious Diseases (NIAID) and the Biomedical Advanced Research and Development Authority (BARDA). It has received emergency use authorization by the U.S. and Thai Food and Drug Administrations and the World Health Organization. Download photos and videos at https://drive.google.com/drive/folders/13uLiTr1fCpZ4V7GIZnMvK8dSSEE5YIU8 By U.S. Embassy Bangkok | 22 November, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: สถานทูตสหรัฐอเมริการ่วมงานกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย วันนี้ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (TJA) เปิดงานสัมมนาสำหรับผู้สื่อข่าว ระยะเวลา 3 วัน เกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ และเสริมสร้างความเข้าใจเชิงลึกว่าด้วยความร่วมมือระดับทวิภาคีทุกภาคส่วนระหว่างสหรัฐฯ และไทย ระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ สถานที่จัดงาน ผู้สื่อข่าวจำนวน 20 คนที่ได้รับคัดเลือกจากบรรดาผู้สมัครทั่วประเทศจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความร่วมมือด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การบังคับใช้กฎหมาย และสาธารณสุข ตลอดจนการดำเนินงานเกี่ยวกับวีซ่าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ซึ่งสานสัมพันธ์ระหว่างประชากรของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยความหลากหลายของหัวข้อสัมมนาสะท้อนถึงความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และไทยที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ไมเคิล ฮีธ กล่าวว่า “งานสัมมนานี้เป็นความร่วมมือแรกระหว่างสถานทูตสหรัฐฯ และ TJA ในลักษณะนี้ และผมรู้สึกตื่นเต้นที่ผู้สื่อข่าวที่เข้าร่วมจะได้ใช้เวลาสองสามวันนี้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานสถานทูตในแผนกต ่าง ๆ กับภาคีชาวไทยในทุกวันเพื่อสานต่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ สหรัฐฯ จะยังคงสนับสนุนสื่อมวลชนให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเสรีและแข็งขันต่อไป ดังเช่นที่เราได้ดำเนินการในทั่วโลก พวกเขาเหล่านี้ทำให้เราทันโลก สร้างเกราะป้องกันการแพร่กระจายข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือน อีกทั้งยังเป็นเสาหลักของประชาธิปไตยด้วย” นายมงคล บางประภา นายกสมาคม TJA กล่าวว่า งานสัมมนานี้เป็นโครงการแรกของสมาคมที่จัดขึ้นภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 โดย “แสดงถึงความร่วมมือที่สำเร็จลุล่วงระหว่าง TJA และสถานทูตสหรัฐฯ ในการจัดโครงการฝึกอบรมนี้ให้แก่สื่อมวลชน มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่าจำนวนผู้เข้าร่วมจริงที่เรากำหนดไว้เกือบเท่าตัว ซึ่งสะท้อนถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นอย่างดี ผู้สื่อข่าวไทยจะได้พัฒนามุมมองเกี่ยวกับกิจการของสถานทูตสหรัฐฯ ให้แม่นยำและครอบคลุมรอบด้านยิ่งขึ้น เพื่อใช้ในการรายงานข่าว” โครงการระยะเวลา 3 วันนี้ครอบคลุมกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การร่วมอภิปรายระหว่างคณะวิทยากรและผู้เข้าร่วม กิจกรรมออนไลน์ที่จัดร่วมกับผู้เชี่ยวชาญซึ่งพำนักอยู่ในอเมริกา และการพูดคุยร่วมกับหน่วยงานสหรัฐฯ ในไทย ซึ่งได้ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับภาคีชาวไทยมานานหลายปี ผู้เข้าร่วมยังจะมีโอกาสพบปะกับศิษย์เก่าโครงการแลกเปลี่ยนของสหรัฐฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันจากบรรดาหน่วยงานสหรัฐฯ ผู้ซึ่งจะมาอภิปรายประเด็นที่อเมริกาให้ความสำคัญ และยังจะได้เห็นตัวอย่างความร่วมมือที่สัมฤทธิ์ผลด้วย กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐฯ และองค์กรสื่อมวลชนไทย เพื่อเสริมสร้างทักษะการรายงานข่าว ระบุและรับมือข้อมูลบิดเบือน และทำความเข้าใจหัวข้อเฉพาะทางต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น TJA เป็นองค์กรสื่อมวลชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้ดำเนินการเพื่อปกป้องสิทธิของผู้สื่อข่าว ตลอดจนสร้างศักยภาพด้านวารสารศาสตร์ให้แก่สมาชิกสมาคมมาเป็นระยะเวลานาน ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1wEwksQ33m5ZnLQ5ub5dn4seugtUBMlBy โดย U.S. Embassy Bangkok | 16 พฤศจิกายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์
U.S. Embassy Partners with Thai Journalists Association Today U.S. Embassy Bangkok, in partnership with the Thai Journalists Association (TJA), kicked off a three-day seminar that explains U.S. foreign policy in the region and provides journalists with insight into the full range of U.S.-Thai bilateral cooperation. During the in-person media workshop, 20 journalists, selected from a nationwide application process, will learn about U.S.-Thai security, economic, environment, law enforcement, and health cooperation and about the visa operations and cultural exchanges that strengthen our people-to-people ties. The diversity of topics reflects the full spectrum of our bilateral partnership. U.S. Embassy Charge d’Affaires Michael Heath said, “This seminar marks the first collaborative effort of its kind between the U.S. Embassy and TJA, and I am thrilled the participating journalists will spend the next few days learning more about how staff from across the U.S. Embassy partner with their Thai counterparts every day to advance our mutual interests. Like we do across the world, the United States will continue to support a vibrant, free press which keeps us informed, prevents the spread of mis and dis-information, and serves as a cornerstone of democracy.” Mongkol Bangprapa, TJA President, said this is the first TJA outreach program after COVID-19 restrictions were lifted. He said the program “showcases successful teamwork between TJA and the U.S. Embassy in organizing this training program for reporters. We received almost double the number of participant applications than we can accept, showing the expected benefits. Thai reporters will have a more accurate and well-rounded perspective on U.S. Embassy activities in their reporting.” The three-day program covers a wide range of activities, including interactive panels, virtual events with U.S.-based experts, and engagements with U.S. agencies in Thailand which have been working hand-in-hand with their Thai partners for years. Participants will have an opportunity to meet alumni of U.S. exchange programs and American officers from a range of U.S. agencies to discuss U.S. priorities and to hear examples of successful cooperation. The program complements other U.S. Embassy-sponsored efforts to partner with Thai media organizations to strengthen reporting skills, identify and counter disinformation, and deepen understanding of specialized topics. TJA, Thailand’s largest media association, has long worked to protect the rights of journalists, and to build journalism capacity among its membership. Download high resolution photos here: https://drive.google.com/drive/folders/1wEwksQ33m5ZnLQ5ub5dn4seugtUBMlBy By U.S. Embassy Bangkok | 16 November, 2021 | Topics: Events, News, U.S. & Thailand | Tags: Journalists, Thai Journalists Association
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ นำโดยนายอาเมริช เบรา กรรมาธิการต่างประเทศแห่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านกิจการเอเชีย แปซิฟิก เอเชียกลาง และการไม่แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ได้เดินทางเยือนกรุงเทพฯ พร้อมพบปะหารือกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาไทย นอกจากนี้ คณะสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ ยังได้พบกับยุวสมาชิกรัฐสภาจากหลากหลายพรรคการเมือง ตลอดจนผู้แทนภาคประชาสังคม และนักวิชาการภาคส่วนต่าง ๆ อีกทั้งได้เยี่ยมเยือนสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้วย โดย U.S. Embassy Bangkok | 12 พฤศจิกายน, 2021 | ประเภท: ข่าว, ความสัมพันธ์ทางการเมือง, สหรัฐอเมริกาและไทย, อุปทูต
From November 7-11, a Congressional Delegation from the U.S. House of Representatives led by Amerish Bera, a member of the House Foreign Affairs Committee and Chairman of the Subcommittee on Asia, the Pacific, Central Asia and Nonproliferation, visited Bangkok. The delegation met with Prime Minister Prayut Chan-o-cha, Deputy Prime Minister/Foreign Minister Don Pramudwinai and the House Speaker Chuan Leekpai. The delegation also met with young members of Parliament from across the political spectrum of Thailand, members of civil society, and a variety of academics. Their trip also included a visit to a shelter that offers a safe space to victims of trafficking. By U.S. Embassy Bangkok | 12 November, 2021 | Topics: Chargé D’Affaires, News, Political Affairs, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: ข้อมูลสำหรับผู้สมัคร หมดเขตรับสมัคร: วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565 ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย สมัครเข้าร่วมโครงการผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Youth Leadership Program) ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2565 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะคัดเลือกเยาวชนจำนวน 50-60 คน จากประเทศสมาชิกอาเซียน เข้าร่วมโครงการ สำหรับประเทศไทย จะมีนักเรียน 6 คน ได้รับคัดเลือกให้ร่วมโครงการ โครงการผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะใช้แนวทางการฝึกอบรมเชิงปฏิสัมพันธ์ ทั้งในรูปแบบของการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดกิจกรรมสาธารณะและกิจกรรมในชุมชน การร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนมัธยมปลาย องค์กรชุมชน กลุ่มเยาวชน และผู้นำชุมชนของสหรัฐฯ จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทายที่สหรัฐฯ และอาเซียนกำลังเผชิญในศตวรรษที่ 21 โครงการแลกเปลี่ยนแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การปฐมนิเทศที่กรุงเทพฯ ก่อนการเดินทางไปสหรัฐฯ 2) โครงการแลกเปลี่ยนนาน 3 สัปดาห์ ในสหรัฐอเมริกาที่ให้โอกาสนักเรียนได้เรียนรู้หลักการของการเป็นผู้นำและการทำกิจกรรมในชุมชน* และ 3) กิจกรรมหลังเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะร่วมกันทำกิจกรรมหรือโครงการในชุมชนบ้านเกิดของตน โครงการแลกเปลี่ยนนี้จะมีเนื้อหาเข้มข้น เป็นวิชาการ และมีการปฏิสัมพันธ์สูง โดยโครงการต้องการผู้สมัครที่กระตือรือร้นซึ่งพร้อมที่จะพัฒนาความสามารถของตนในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียนและชุมชนของตน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน จะเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ที่เน้นเรื่องการพัฒนาเยาวชนและความเป็นผู้นำ ขณะเดียวกันก็จะได้ศึกษาถึงความท้าทายที่สหรัฐฯ กับประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังเผชิญร่วมกันผ่าน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ได้แก่ ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง การสร้างทักษะทางเศรษฐกิจ (ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการต่างๆ) และความเป็นผู้นำทางสังคมวัฒนธรรม (ผ่านการลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา และการทัศนศึกษาเพื่อส่งเสริมการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ) ภายหลังเข้าร่วมโครงการที่สหรัฐฯ และเดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้ว ผู้ร่วมโครงการจะต้องร่วมกันดำเนินโครงการที่ต้องสนองตอบความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งของโรงเรียนหรือชุมชนของตนด้วย *โครงการที่สหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์โรคโควิด-19 ในปีหน้า ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทุกท่านจะต้องได้รับวัคซีนครบโดสเพื่อเดินทางไปเข้าร่วมโครงการที่สหรัฐฯ ได้ * * * * * * * โครงการผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง และกิจกรรมภาคประชาชนในหมู่เยาวชนที่จะเป็นผู้นำของเราในอนาคต โครงการยังเปิดโอกาสแก่ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้หลักการประชาธิปไตยและประชาสังคมในสหรัฐฯ และได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำในเวลาเดียวกัน ตลอดการเข้าร่วมการแลกเปลี่ยน จะมีการแบ่งผู้ร่วมโครงการเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มจะประกอบไปด้วยเยาวชนจากประเทศต่างๆ เพื่อเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกจากทุกประเทศ สำหรับกิจกรรมในสหรัฐฯ รวมไปถึงการประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ ห้องเรียนการทูตเสมือนจริง การเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำ การแก้ไขข้อขัดแย้ง และการเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำ ผู้ร่วมโครงการยังจะได้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียน ได้แก่ กิจกรรมอาสาสมัคร และการทัศนศึกษาในองค์กรในชุมชน และจะได้อาศัยอยู่กับครอบครัวชาวอเมริกันอีกด้วย ส่วนสำคัญของโครงการนี้ คือ การที่ผู้ร่วมจะต้องพัฒนาและดำเนินโครงการหลังจากเดินทางกลับประเทศของตน โดยโครงการเหล่านี้จะต้องสนองตอบความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งของโรงเรียนหรือชุมชนของตน เช่น การสนับสนุนการจัดตั้งสภานักเรียนหรือวิธีการอื่นๆ ที่จะทำให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของโรงเรียน การจัดทำทัศนูปกรณ์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสังคม การจัดทำโครงการหรือการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนหรือการไกล่เกลี่ยภายในกลุ่ม การร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสา หรือการสนับสนุนกิจกรรมที่ช่วยให้สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับเยาวชนมากขึ้น ผู้ร่วมโครงการทุกคนต้องทำโครงการเหล่านี้จนเสร็จสิ้น รายละเอียดอื่นๆ ที่ควรทราบ รัฐบาลสหรัฐฯ ร่วมกับภาคเอกชนที่ร่วมอุปถัมภ์โครงการจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางภายในสหรัฐฯ การเดินทางไปและกลับจากสหรัฐฯ การปฐมนิเทศ ค่าธรรมเนียมในการจัดและบริหารโครงการ ค่าใช้จ่ายในการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ และการสัมมนา ที่พักและอาหารส่วนใหญ่ กิจกรรมทางวัฒนธรรม วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา ค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วย และเงินสำหรับใช้ส่วนตัวจำนวนหนึ่ง ผู้ร่วมโครงการจะพักอาศัยกับครอบครัวชาวอเมริกันที่สมัครเป็นผู้สนับสนุน ผู้ร่วมโครงการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสมัครเข้าร่วมโครงการ (ค่าถ่ายสำเนาเอกสาร ค่าไปรษณียากร ค่ารูปถ่าย ฯลฯ) ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง ค่าของที่ระลึก ค่าโทรศัพท์ และค่าซื้อของใช้ส่วนตัวระหว่างที่อยู่ในสหรัฐฯ ผู้ร่วมโครงการจะได้รับอนุมัติวีซ่าประเภทโครงการแลกเปลี่ยน เจ-1 ผู้ที่ได้รับวีซ่าประเภทนี้ต้องเดินทางกลับประเทศภูมิลำเนาและต้องพำนักอยู่ในประเทศเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ก่อนที่จะมีสิทธิ์ขอวีซ่าถาวรหรือวีซ่าทำงานชั่วคราวในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ผู้ได้รับวีซ่า เจ-1 ยังมีสิทธิ์ขอวีซ่าประเภทอื่นได้ เช่น วีซ่านักเรียนเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐฯ เป็นต้น คุณสมบัติของผู้สมัครร่วมโครงการ มีสัญชาติไทย อาศัยและศึกษาอยู่ในประเทศไทยขณะยื่นใบสมัคร (ผู้สมัครที่ถือทั้งสัญชาติไทยและสหรัฐฯ จะไม่ได้รับการพิจารณา) เกิดตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2548 ถึง 1 พฤษภาคม 2550 กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย และจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2565 หรือปีการศึกษาหลังจากนั้น มีทักษะภาษาอังกฤษดี ได้รับอนุญาตจากทั้งผู้ปกครองและโรงเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ มีผลการเรียนและทักษะทางสังคมดี แสดงความเป็นผู้นำในโรงเรียนหรือชุมชน มีความสนใจและความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนที่จะอาสาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน มีทักษะดีในการเข้าสังคมและการสื่อสาร สามารถทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ขั้นตอนการสมัคร ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการต้องกรอกใบสมัคร (ดาวน์โหลดที่นี่) ให้ครบถ้วน พร้อมแนบจดหมายแนะนำ 2 ฉบับ และสำเนาผลการเรียนล่าสุด ส่งมาที่อีเมล์ Usawadee@state.gov พร้อมระบุหัวข้ออีเมล์ว่า “SEAYLP 2022_ชื่อ-นามสกุลของผู้สมัคร” ภายในวันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565 สำหรับจดหมายแนะนำ (letter of recommendation) ผู้สมัครต้องแนบจดหมายแนะนำ 2 ฉบับ พร้อมกับใบสมัคร (รูปแบบจดหมายอยู่หน้า 7-10 ของใบสมัคร) เป็นจดหมายจากอาจารย์วิชาภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ และจากอาจารย์ประจำชั้น อาจารย์ที่ปรึกษา หรือเจ้าที่หน้าที่ของโรงเรียน อีก 1 ฉบับ ผู้สมัครยังสามารถส่งใบสมัครพร้อมเอกสารต่างๆ มาทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ต่อไปนี้ ฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม (SEAYLP 2022) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา 95 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 **กรุณาส่งใบสมัครด้วยเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งเท่านั้น ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์รับเฉพาะใบสมัครที่ส่งมาถึงฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม ภายในวันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565 และไม่รับใบสมัครที่นำมายื่นด้วยตนเอง** ฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรมจะติดต่อไปยังผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อสอบสัมภาษณ์เท่านั้น การสัมภาษณ์จะจัดขึ้นที่แผนกสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ในวันพุธ ที่ 19 มกราคม 2565 โครงการจะแจ้งรายละเอียดการสัมภาษณ์ให้กับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้มาสัมภาษณ์ทราบล่วงหน้าก่อนการสอบสัมภาษณ์ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวจะต้องมาสัมภาษณ์ด้วยตนเองเท่านั้น ส่วนรายชื่อผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์และตัวสำรอง ทางโครงการจะประกาศในเดือนมีนาคม 2565 หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการกรุณาติดต่อเราได้ที่ Usawadee@state.gov พร้อมระบุหัวข้ออีเมล์ว่า “SEAYLP 2022_Questions” ขั้นตอนหลังจากนั้น นักเรียนที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์จะได้รับเอกสารการปฐมนิเทศก่อนเริ่มโครงการเพื่อเตรียมตัวสำหรับโครงการและการเดินทางไปยังสหรัฐฯ หนึ่งเดือนก่อนการเดินทาง จะมีการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมสำหรับนักเรียนและอาจารย์ที่จะร่วมเดินทางไปด้วย ในโอกาสนี้ นักเรียนและครอบครัวจะมีโอกาสซักถามฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรมเกี่ยวกับโครงการทางอีเมลที่จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง หลังจากเดินทางกลับประเทศ นักเรียนมีหน้าที่จัดทำและดำเนินโครงการตามที่ระบุไว้ข้างต้นจนเสร็จสิ้น ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในโครงการนี้และขอให้โชคดี! โดย U.S. Embassy Bangkok | 27 ตุลาคม, 2021 | ประเภท: ทุนการศึกษาและโครงการแลกเปลี่ยน
Information for Applicants Application Deadline: Friday, January 7, 2022 Secondary school students from Thailand are invited to apply for participation in the Southeast Asia Youth Leadership Program (SEAYLP), which will take place in May 2022. The program will host 50 to 60 participants from ten countries in Southeast Asia that are members of the Association of South East Asian Nations (ASEAN). There will be six students selected to represent Thailand. The program will feature interactive workshops and sessions, including site visits to community organizations. Through engagement with U.S. high schools, community organizations, youth groups, and community leaders, student and adult mentor participants will explore challenges facing the U.S. and ASEAN in the 21st century. This is an intensive program with three segments: A pre-departure orientation in Bangkok; a three-week U.S.-based exchange program that will offer students and their adult mentors the opportunity to explore the principles of leadership and community activism in the United States*; and follow-on activities related to participants conducting projects in their home communities. The program will be intensive, academic, and highly interactive. The program sponsors seek energetic applicants who are ready to develop their skills in order to be effective leaders in their schools and communities. The program convenes high school students from ten ASEAN member countries for a three-week exchange program focused on leadership and youth development and to explore shared challenges faced by the United States and ASEAN member countries. These challenges are explored through the three pillars of the ASEAN community: political and security cooperation, economic skills-building (through the exchange’s project development), and socio-cultural leadership (through hands-on activities, workshops, seminars, and site visits to foster greater communication). Participants will develop projects to address the needs of their communities upon their return home. *Note: The in-person portion of the program is dependent on the COVID-19 situation next year. All selected candidates are required to be fully vaccinated for the in-person program. * * * * * * * This program is designed to promote high-quality leadership, civic responsibility, and civic activism among our countries’ future leaders. It will offer a practical examination of the principles of democracy and civil society as practiced in the United States and provide participants with training that allows them to develop their leadership skills. The 2022 SEAYLP will emphasize ASEAN identity by organizing into multi-country teams to enhance cross-cultural experience wherever possible across the country cohorts. Exchange activities in the United States will include workshops, interactive sessions, diplomacy simulations, leadership training, and team-building exercises. Extracurricular activities round out the program with volunteer service opportunities as well as site visits with relevant organizations in host communities. All participants will have homestays with American families and side study tours to the location of the implementer and Washington, D.C. An important part of the program is the students’ development and implementation of projects upon their return home. These projects will respond to a need in their schools or communities. Examples include supporting student government or other means of student involvement in the decision-making process in schools, producing visual materials that share information on social issues, developing peer-support or peer-mediation programs or workshops, cooperating with local NGOs trying to develop a spirit of volunteerism, or supporting activities that help increase media coverage of youth issues. All participants will be expected to complete these follow-on projects. What else do I need to know? Covered Expenses: If you are selected for the program, the United States government, in conjunction with its private partners, will pay for domestic transportation, international transportation to and from the United States, orientations, program fees and administration, site visits and seminars, lodging and most meals, some cultural activities, educational materials, accident and sickness coverage, and a modest amount of pocket money. Participants will stay with volunteer host families. Personal Expenses: Participants are responsible for expenses related to the application process (copying, mailing, photographs, etc.), passport fees, and spending money for souvenirs, telephone calls, and other personal items in the United States. Visas: Participants will travel to the United States on J-1 exchange visitor visas provided through this program. By accepting this visa, participants will be subject to a two-year home residency requirement, meaning they must return to and live in their home country for a total of two years before they would be eligible for an immigrant or temporary worker U.S. visa. This does not restrict other types of visas, however, so this would not prevent you from being able to apply for a student visa to attend university, for example. Who is eligible to apply? Student applicants must Be a Thai citizen currently residing and studying in Thailand (applicants with dual U.S. citizenship will not be considered); Be born from May 1, 2005-May 1, 2007 Be a high school student and have a high school graduation year of 2022 or later; Have proficiency in English; Have permission from both parent(s)/guardian(s) and schools to participate in the entire program. What are the criteria for selection? Students will be evaluated on their ability to demonstrate the following characteristics: Have strong academic and social skills, leadership potential, an interest in or a commitment to civic action and community service; Initiative, good communication, and an energetic, positive attitude; Possess the ability to work cooperatively in a team and tolerate the opinions of others; How do I apply? Complete an application form (Download here) along with two letters of recommendation (one from an English teacher, and the other from another teacher and/or school official), and your most recent transcript, and submit your complete package to the Media and Cultural Section of the U.S. Embassy Bangkok via email: Usawadee@state.gov with the subject line of “SEAYLP 2022_Your Full Name”. Alternatively, you can submit your application via post to the following address: Media and Cultural Section (SEAYLP 2022) U.S. Embassy Bangkok 95 Wireless Road, Lumpini Pathumwan, Bangkok 10330 Your complete package must be received by Friday, January 7, 2022. Submission via email or post will automatically log the date and time an application submission is made. The U.S. Embassy will use this information to determine whether an application has been submitted on time. Late applications are neither reviewed nor considered. We do not accept applications submitted by hand. Based on the criteria above, as demonstrated in the application, only shortlisted applicants will be contacted by the Media and Cultural Section for interviews. Interviews will take place on Wednesday, January 19, 2022 at the Media and Cultural Section, U.S. Embassy, Bangkok. Shortlisted candidates must be able to travel to the interview site. If the COVID-19 pandemic, however, poses risks for an in-person interview at the time, we’ll conduct the interview via Zoom. We will notify the candidates of the details of the interview before the interview date. The list of finalists and alternates will be announced in March 2022. Questions should be addressed to: Usawadee@state.gov with the subject line “SEAYLP 2022” And after that…? Selected participants will receive orientation materials in the weeks prior to the start of the program to help prepare them for the program and their trip to the United States. A pre-departure orientation and training sessions with both students and the adult mentor will take place in the month prior to departure. Participants and their families will have an opportunity to speak with the Media and Cultural Section about the project at that time. After their return home and through the following months, participants will be responsible for completing their follow-on projects. Thank you for your interest in the program and good luck with your applications! By U.S. Embassy Bangkok | 27 October, 2021 | Topics: Scholarships and Exchanges | Tags: SEAYLP, Youth Leadership Program
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: แถลงการณ์เกี่ยวกับการเยือนประเทศไทยของที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เดเร็ก โชเลต์ นายเดเร็ก โชเลต์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นายคิน มอย หัวหน้าคณะรองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก พร้อมด้วยคณะผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เดินทางเยือนราชอาณาจักรไทยระหว่างวันที่ 18-19 ตุลาคมนี้ เพื่อหารือเชิงยุทธศาสตร์กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลไทยและผู้นำภาคประชาสังคม ที่ปรึกษาโชเลต์ได้เข้าพบนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และพลเอก สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ การเยือนไทยของที่ปรึกษาโชเลต์ในครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส เดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อไม่นานมานี้ และเน้นย้ำถึงความสำคัญที่สหรัฐฯ ให้กับภูมิภาคนี้ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ที่ปรึกษาโชเลต์และคณะผู้แทนมุ่งหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ การดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมข้ามพรมแดน ที่ปรึกษาโชเลต์ยังกล่าวเน้นถึงความมุ่งมั่นที่สหรัฐฯ มีต่อประเทศไทย และหารือถึงความร่วมมือที่ต่อเนื่องของเราในด้านความมั่นคง การค้า สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการศึกษา คณะผู้แทนมีกำหนดการเยือนประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์ต่อไป โดย U.S. Embassy Bangkok | 19 ตุลาคม, 2021 | ประเภท: ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, เหตุการณ์, เอกสารข่าว
Statement on the Visit of Counselor Derek Chollet to Thailand State Department Counselor Derek Chollet, Principal Deputy Assistant Secretary for the Bureau of East Asia and Pacific Affairs Kin Moi and an interagency delegation visited the Kingdom of Thailand Oct. 18-19 for strategic discussions with senior Royal Thai Government officials and civil society leaders. The Counsellor met with Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs Don Pramudwinai and Secretary General of the National Security Council, General Supot Malaniyom. Following Vice President Kamala Harris’s recent trip to Southeast Asia, Counselor Chollet’s visit highlights the importance the United States places on the region and its relationship with Thailand. The Counselor and delegation focused their discussions on the Thai-U.S. partnership, implementing ASEAN’s Five Point Consensus, and cross-border humanitarian aid. The Counselor reaffirmed the U.S. commitment to Thailand and discussed our ongoing cooperation in security, trade, environment, health, and educational sectors. The delegation will also visit Indonesia and Singapore during this trip. By U.S. Embassy Bangkok | 19 October, 2021 | Topics: Events, News, Press Releases, U.S. & Thailand
แปลประโยคหรือย่อหน้าต่อไปนี้จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ และกงสุลใหญ่ฌอน โอนีลล์เข้าเยี่ยมคารวะผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่คนใหม่ นายประจญ ปรัชญ์สกุลในโอกาสเยือน จ.เชียงใหม่สัปดาห์นี้ โดยอุปทูตได้เน้นย้ำความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างประเทศสหรัฐฯและประเทศไทยในภาคเหนือในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความร่วมมือด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ท่านยังส่งความปรารถนาดีมายังชาวเชียงใหม่ในขณะที่เชียงใหม่กำลังค่อย ๆ เปิดเมืองต้อนรับผู้มาเยือนที่ฉีดวัคซีนแล้ว นอกจากนี้อุปทูตและกงสุลใหญ่ยังได้เยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างสถานกงสุลใหญ่แห่งใหม่เพื่อติดตามความคืบหน้าอีกด้วย โดย U.S. Consulate Chiang Mai | 16 ตุลาคม, 2021 | ประเภท: กงสุลใหญ่, ข่าว, สหรัฐอเมริกาและไทย, อุปทูต, เชียงใหม่, เหตุการณ์
Charge d’Affaires Michael Heath and Consul General Sean O’Neill met with the new Chiang Mai Governor Mr. Prajon Pratsakun during Charge Heath’s visit to Chiang Mai this week. CDA Heath reaffirmed the strong U.S.-Thai partnership in northern Thailand on a range of areas including health, environment and economic cooperation. He sends his warm wishes to the people of Chiang Mai as the province gradually reopens safely to vaccinated visitors. CDA Heath and Consul General O’Neill also visited the New Consulate Compound site to see the construction progress. By U.S. Consulate Chiang Mai | 16 October, 2021 | Topics: Chargé D’Affaires, Chiang Mai, Consul General, Events, News, U.S. & Thailand